โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

เรย์ แบรดบิวรี ผู้แต่ง "ฟาเรนไฮต์ 451" เสียชีวิตแล้ว

Posted: 06 Jun 2012 12:36 PM PDT

เรย์ แบรดบิวรี (Ray Bradbury) นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อดังชาวอเมริกัน เจ้าของผลงาน "Fahrenheit 451" เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 91 ปี ที่ลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา เมื่อคืนวันอังคาร (5 มิ.ย.) ที่ผ่านมา

แบรดบิวรี เขียนนิยาย เรื่องสั้น บทละคร บทโทรทัศน์และบทภาพยนตร์มาแล้วหลายร้อยเรื่อง นับแต่ยุค 1940 เป็นต้นมา

สำหรับ Fahrenheit 451 ตีพิมพ์ในปี 1953 เล่าถึงโลกอนาคตที่หนังสือเป็นของต้องห้าม โดยชื่อหนังสือหมายถึงอุณหภูมิที่หนังสือจะติดไฟจนมอดไหม้ ต่อมา Fahrenheit 451 ถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์โดย ฟรองซัวส์ ทรุฟโฟต์ ผู้กำกับชื่อดังชาวฝรั่งเศสในปี 1966

แบรดบิวรีเคยห้ามแปลง Fahrenheit 451 เป็นอี-บุ๊ก เพราะเขามองว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้นมีกลิ่นเหมือน "เชื้อเพลิงที่กำลังลุกไหม้" เขาบอกว่า "มันดูไม่มีค่า ไม่จริง มันเป็นสิ่งที่ลอยอยู่ในอากาศ"

อย่างไรก็ตาม ในปี 2011 เมื่อสัญญาตีพิมพ์หนังสือของเขาหมดลง ตัวแทนจำหน่ายได้อธิบายว่า ไม่อาจจะต่อสัญญาใหม่ได้หากไม่ได้สิทธิแปลงเป็นอีบุ๊กด้วย ซึ่งที่สุด เขาก็เข้าใจและให้อนุญาต

สำหรับฉบับภาษาไทย มีการตีพิมพ์ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2529 ในชื่อ "ฟาเรนไฮต์ 451 อุณหภูมิเผาหนังสือ" แปลเป็นไทยโดย ชาญ คำไพรัช สำนักพิมพ์ทศวรรษ

 

ที่มา: Author Ray Bradbury dies, aged 91
http://www.bbc.co.uk/news/entertainment-arts-18345350

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อภิสิทธิ์เผย ปชป. เคารพคำสั่งศาล - รัฐสภาก็ควรเคารพคำสั่งศาล

Posted: 06 Jun 2012 12:11 PM PDT

เพื่อปลดชนวนขัดแย้ง พร้อมแนะทุกฝ่ายอดทน-ประคับประคองบ้านเมือง เสนอรัฐบาลปิดสมัยประชุมสภา แล้วฝ่ายค้านจะยินดีร่วมมือในการหาทางออกระหว่างที่ปิดสมัยประชุม

อภิสิทธิ์ยืนยันประชาธิปัตย์เคารพคำสั่งศาล รัฐสภาก็ควรเคารพคำสั่งศาล

เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์รายงานว่า เมื่อวานนี้ (6 มิ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ในรายการ 101 องศาข่าว ช่วงตรงไปตรงมากับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทางสถานีวิทยุ INN 101 ถึงจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ต่อมติของศาลรัฐธรรมนูญว่า พรรคประชาธิปัตย์นั้นชัดเจนว่าพรรคฯ ถือว่าเมื่อศาลมีคำสั่ง ทางรัฐสภาก็ควรเคารพคำสั่งของศาล หากศาลมีคำวินิจฉัยแล้วค่อยมาพิจารณารัฐธรรมนูญต่อ ก็ไม่มีปัญหาอะไร และคิดว่าเป็นการปลดชนวนความขัดแย้งไปในตัว

“เราชัดเจนนะครับ เราถือว่า เมื่อศาลท่านได้มีคำสั่ง ทางรัฐสภาก็ควรที่จะเคารพคำสั่งของศาล แล้วก็ช่วงนี้ก็เป็นการรอให้ศาลวินิจฉัย เมื่อศาลท่านวินิจฉัยเสร็จแล้วก็มาพิจารณารัฐธรรมนูญกันต่อ ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร และผมคิดว่าก็เป็นการปลดชนวนความขัดแย้งประการนึงไปด้วย”

เมื่อถามว่าความพยายามในการใช้มาตราต่างๆ มาตีความว่าศาลมีอำนาจในการวินิจฉัยนั้น มีมุมมองอย่างไร นายอภิสิทธิ์ ได้ตั้งคำถามกลับไปว่า เมื่อเกิดกรณีปัญหาในข้อกฎหมายต่าง ๆ แล้ว จะให้ข้อยุติไปอยู่ตรงไหน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถูกใจฝ่ายรัฐบาล รัฐบาลก็ขอบคุณ แต่เมื่อวินิจฉัยออกมาแล้วทำให้รัฐบาลไม่พอใจ ก็ปลุกระดมว่าเป็น 2 มาตรฐาน หากทำอย่างนี้แล้ว ต่อไปเราจะหาข้อยุติกันอย่างไร

 

เผยตอนที่ศาล รธน. วินิจฉัยว่ารัฐบาลไม่ได้แทรกแซงถุงยังชีพก็ไม่เคยโวยวาย

“เราก็ต้องตั้งคำถามว่า เวลาเกิดกรณีปัญหาข้อกฎหมายต่าง ๆ แล้วจะให้ข้อยุติไปอยู่ตรงไหน ที่นี้ผมเห็นเวลาศาลรัฐธรรมนูญท่านวินิจฉัยถูกใจฝ่ายรัฐบาล ก็ขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่าง ก็พูดจาดีหมด เวลาที่วินิจฉัยออกมาแล้ว รัฐบาลไม่พอใจก็ปลุกระดมกันยกใหญ่ 2 มาตรฐานอะไรต่าง ๆ เยอะแยะไปหมด แต่นี่ไปไกลถึงขั้นว่าเป็นส่วนหนึ่งของการจะพยายามจะยึดอำนาจอะไร ทีนี้ผมก็ถามว่า ผมเองนั้นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหลายกรณีและผมก็ไม่เห็นด้วย เรื่อง พรก. 4 ฉบับ นึกออกไม๊ ที่ไปยื่น ผมก็ยังมีความเห็นว่ามันไม่เร่งด่วน และผมคิดว่าตอนนี้เหตุการณ์ก็พิสูจน์ด้วยซ้ำว่ามันไม่เร่งด่วน เพราะถ้าเร่งด่วนจริงทำไมรัฐบาลยังอนุมัติเงินไปไม่ถึง 10% ของเงินที่ขอไป ทั้ง ๆ ที่บอกว่าจะต้องรีบทำก่อนหน้าฝน

แต่ผมก็ไม่เคยออกมาโวยวาย หรือกรณีที่วินิจฉัยว่า ทางฝ่ายรัฐบาลไม่ได้แทรกแซงถุงยังชีพ หรืออะไรนั้น หรือถ้าจะย้อนกลับไป 10 กว่าปีที่แล้ว ที่คุณทักษิณเป็นนายกฯ ต่อได้ ก็มีคดีซุกหุ้นภาค 1 ซึ่งจนถึงปัจจุบันก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ เพราะเกิดข้อเท็จจริงภายหลังตามมาเป็นข้อครหาเยอะแยะไปหมด เพราะฉะนั้นตรงนี้ จริง ๆ แล้วก็ต้องบอกว่า ถ้าแต่ละฝ่ายใครไม่พอใจ แล้วแทนที่จะยอมรับ เหมือนเวลาที่ฝ่ายผมมีคำวินิจฉัยไม่ตรงกับใจ ก็ยอมรับ ถ้าไม่ทำกันอย่างนี้ แล้วต่อไปเราจะหาข้อยุติกันยังไง เพราะฉะนั้นผมว่า เราจำเป็นที่จะต้องเรียกร้องให้ทุกฝ่ายนั้น เคารพคำวินิจฉัยของศาล เพราะว่านั่นคือหน้าที่ของท่านโดยตรง เป็นอำนาจหน้าที่ของท่านโดยตรง”

 

ชี้การล่าชื่อถอดถอน ตลก.ศาล รธน.เป็นสิทธิ์ แต่ไม่เห็นด้วยกับปลุกระดม

สำหรับการล่ารายชื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น นายอภิสิทธิ์มองว่าเป็นสิทธิ์ตามกฎหมายที่จะถอดถอน แต่ตนไม่เห็นด้วยกับการปลุกระดมให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดว่า ศาลเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องการเมือง

“อันนั้นไม่เป็นไรหรอกครับ คือหมายความว่า ถ้าเห็นว่าอยู่ในข่ายตามกฎหมายที่จะถอดถอนได้ ก็มีสิทธิ์ที่จะใช้สิทธิ์ตามกฎหมายในการที่จะถอดถอน แต่ผมไม่เห็นด้วยกับการปลุกระดม ไปล้อมศาล แล้วก็มาพูดจาให้ประชาชนมีความเข้าใจผิดว่า ศาลเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องของการเมืองอะไรอย่างไร เพราะผมมองดูก็คือว่า ผมเชื่อว่าทางพรรคเพื่อไทยต้องเล่นบทนี้ พูดง่าย ๆ เหตุผลที่ต้องเล่นบทนี้ก็เพราะว่า ศาลรัฐธรรมนูญน่าจะต้องเป็นปลายทางของกฎหมายล้างผิด 4 ฉบับนี้อยู่แล้ว เพราะเป็นกฎหมายที่ผมเห็นหลายคนนะครับ ไม่ใช่เฉพาะทางพวกผมเท่านั้นมองว่าค่อนข้างชัดว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ”

 

แนะทุกฝ่ายตั้งหลัก เลี่ยงการเผชิญหน้าด้วยการปิดสมัยประชุมสภา

ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์ ปฏิเสธที่จะประเมินแรงกดดันหรือความรุนแรงที่จะมีต่อศาล แต่เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหาทางตั้งหลัก และหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า แต่ที่ดีที่สุดหากนายกรัฐมนตรีต้องการเห็นทุกอย่างสงบเรียบร้อย ก็ควรเสนอ พรฎ.ปิดสมัยประชุมสภา

“ผมไม่อยากไปประเมินเรื่องความรุนแรง เรื่องอะไร ผมอยากจะเรียกร้องว่าทำอย่างไรให้ทุกฝ่ายนั้นหาทางมาตั้งหลัก แล้วก็เลี่ยงการเผชิญหน้า ซึ่งความจริงแล้ว คนที่อยู่ในฐานะที่จะทำเรื่องนี้ง่ายที่สุดก็คือรัฐบาล แล้วก็ท่านนายกฯ เพราะว่า สภาฯ ความจริงขณะนี้เราขยายเวลามาตั้งแต่เมษา แล้วก็ตั้งแต่ขยายเวลามา ผมก็ไม่เห็นทำเรื่องอะไรเลย นอกจากเรื่องที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง คือรัฐธรรมนูญกับกฎหมายล้างผิด

เพราะฉะนั้นพอเป็นอย่างนั้นปุ๊บ ผมว่าอำนาจ ถามว่าอำนาจใครในการปิดสภา ก็เป็นอำนาจของครม. ท่านนายกฯ นั้นถ้าเกิดอยากจะเห็นทุกอย่างสงบเรียบร้อย แล้วก็เรามีเวลามานั่งพูดคุยกัน มันก็สามารถที่จะขอให้มีพระราชกฤษฎีกาปิดสมัยประชุมสภาไป แล้วก็ 1 สิงหาก็มาว่ากันใหม่ ระหว่างนี้ถึง 1 สิงหา เดือนกว่า ๆ รัฐบาลจะได้ไปแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ประชาชนเดือดร้อนกันเยอะแยะไปหมด แล้วก็ขณะเดียวกันในส่วนของสภาฯ จะให้วิป จะให้รัฐบาล นายกฯ จะคุย ผมก็ยินดีทุกอย่างในการที่จะหาทางออกที่เราเห็นว่าเหมาะสม”

เมื่อสอบถามถึงการพิจารณากฎหมายฟอกเงินที่ยังค้างอยู่ในสภานั้น นายอภิสิทธิ์มองว่า กฎหมายดังกล่าวยังมีเวลาพิจารณาจนถึงสิ้นเดือนมกราคม และเชื่อว่าฝ่ายค้านจะไม่ค้านกฎหมายฉบับนี้ เพราะเป็นกฎหมายที่ได้พยายามผลักดันมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลที่แล้ว

 

ยันกฎหมาย 8 มาตราไม่ใช่ พ.ร.บ.ปรองดอง แต่เป็นการล้างผิดให้คนโกง

นายอภิสิทธิ์ได้ให้คำอธิบายถึงสาเหตุที่ตนเรียกกฎหมายปรองดอง ที่รัฐบาลพยายามผลักดันนี้ว่า กฎหมายล้างผิด เป็นเพราะ กฎหมายทั้ง 8 มาตรานั้น ไม่ใช่กฎหมายปรองดอง แต่เป็นการล้างผิดให้กับคนโกง

“ผมมองไม่เห็นว่ามันปรองดองตรงไหน แล้วก็ตั้งแต่มันมีเรื่องนี้มา ผมก็ยังไม่เห็นว่ามีความปรองดองเกิดมากขึ้นตรงไหน ผมเข้าใจว่าหลายฝ่ายก็ได้แสดงความคิดเห็นชัดเจนตรงกันในเรื่องนี้ เห็นว่าทาง คอป. เองก็ส่งหนังสือมา ถึงหลาย ๆ ฝ่าย รวมทั้งผมด้วย ออกเป็นแถลงการณ์ด้วย มันไม่ได้ปรองดองเลย เพราะฉะนั้นก็ไม่เรียกว่าปรองดองครับ เพราะกฎหมายมันมีอยู่ 8 มาตรา

มาตรา 1 เป็นชื่อ

มาตรา 2 ใช้บังคับเมื่อไหร่

มาตรา 3 ก็ล้างผิดทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมือง

มาตรา 4 ก็บอกล้างเสร็จแล้วแปลว่า ใครว่าศาลตัดสินว่าผิด ก็บอกไม่ผิด ใครที่กำลังถูกฟ้อง ก็ให้ถอนฟ้อง ถ้ายังไม่ฟ้อง ก็อย่าส่งฟ้อง หรือเลิกสอบสวน

พอมาตรา 5 ก็ล้างผิดคนโกง เพราะว่าถูก คตส. เป็นผู้สอบสวน แล้วก็ส่งไป

แล้วมาตรา 6 ก็ล้างความผิดให้กับ 119

ผมก็เลยยังไม่ค่อยเห็นว่ามันเป็นกฎหมายปรองดอง มันก็มีแต่ล้างผิดครับ”

 

เย้ยถ้า ปชป. ต้องขอโทษจากเหตุวุ่นวายในสภา ฝ่ายเผาเมืองต้องขอนิรโทษกรรมใช่หรือไม่

ส่วนเรื่องความวุ่นวายในสภา สัปดาห์ที่ผ่านมา และอีกฝั่งก็ออกมาเรียกร้องความรับผิดชอบนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เกี่ยวกับเรื่องนี้ทาง คอป. ก็ได้ส่งหนังสือมา ดังนั้นตนจะได้พูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องว่าจะมีแนวทางอย่างไรต่อไป ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์มองว่ารัฐบาลน่าจะรู้ดีว่าต้นเหตุนั้นอยู่ที่ใคร นอกจากนี้ยังตั้งคำถามต่ออีกด้วยว่า หากการกระทำอย่างอาทิตย์ที่แล้วนั้นต้องขอโทษ แต่ถ้าทำหนักหนาสาหัสกว่านั้น อย่างเผาบ้านเผาเมืองจึงต้องออกมาขอนิรโทษกรรมให้ตัวเอง ใช่หรือไม่

“คอป. เองก็ได้แสดงความเห็นเรื่องนี้มาด้วย เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ผมก็จะได้พูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องว่า เราน่าจะมีแนวทางอย่างไร แต่ก็อยากจะชี้แจงนะครับ เพราะว่าผมเห็นว่า ทุกฝ่ายถ้าใครติดตามเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นจะเข้าใจได้ดีกว่า ถ้าสมมติว่าดูแค่ที่ตรงปลายเหตุ แล้วก็ผมว่าทุกคนที่ทำอะไรลงไป ก็ต้องรับผิดชอบในการกระทำนั้น ๆ ซึ่งก็ต้องไปว่ากันว่า อะไรอย่างไร

แต่ที่ผมเคยเรียนนั้น ผมเข้าใจดีครับว่า เรื่องนี้มันกระทบกับภาพลักษณ์สภา แล้วก็พวกผมก็ไม่ต้องการให้มันเป็นอย่างนั้น แล้วก็ผมเข้าใจพี่น้องประชาชน คนกลางทั้งหลายที่ออกมาตำหนิ หรือมีความรู้สึกไม่พอใจ เราก็ไม่สบายใจในเรื่องนั้น แต่ว่าที่ผมรับได้ยากก็คือ ฝ่ายรัฐบาล ซึ่งพยายามออกมาเรียกร้องเรื่องเหล่านี้ เหตุผลก็ง่าย ๆ นะครับ

หนึ่ง รัฐบาลน่าจะทราบว่าต้นเหตุของความวุ่นวายทั้งหมดนั้นมันอยู่ที่ใคร

ถ้าบอกว่าพฤติกรรมในสภาอาทิตย์ที่แล้ว มันหนักหนาสาหัสขนาดนั้น ผมถามว่า แล้วกรณีที่ไปเผาบ้าน เผาเมือง ปลุกระดมกัน บุกโรงพยาบาล ขึ้นเวทีกัน แล้วก็ยุยงให้คนทำผิดกฎหมาย ถึงขึ้นไปฝึกอาวุธคน อะไรกันต่าง ๆ ซึ่งเป็นพฤติกรรมของ สส. ของพรรคเพื่อไทยหลายคน ผมไม่เห็นว่าเจ้าตัวจะแสดงความรู้สึกเลยว่า เป็นสิ่งที่ผิด และยังไม่ต้องพูดถึงว่า ผมก็ไม่เคยไปเรียกร้องว่า คุณทักษิณ หรือใครต่อใคร ต้องออกมาทำอย่างนั้นอย่างนี้ ผมก็แปลกใจนะครับ เพราะว่าถ้าเป็นเรื่องการทำอย่างอาทิตย์ที่แล้วนั้นต้องขอโทษ แต่ว่าถ้าหนักหนาสาหัสกว่านั้น ก็ขอนิรโทษอย่างนั้นใช่ไหม เพราะว่าทั้งหมดที่ทำนี่ก็คือกฎหมายที่กำลังจะมาบอกว่าไม่ผิดนะครับ

 

เตือนถ้าไม่อยากให้รัฐสภาเกิดลุกลามบานปลาย ทุกฝ่ายต้องเคารพกติกา

ส่วนคำถามว่ามีกังวลหรือไม่ว่าคนจะมองว่าหัวหน้าพรรคเอาไม่อยู่ ปกครองไม่ได้ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ตนเอง ก็ไม่ได้อยากให้เกิดเรื่องอย่างนี้ แต่ในการสกัดกั้นกฎหมายล้างผิด ทำลายระบบนิติรัฐ ตรงนี้ก็ถือว่าเป็นต้นทุนส่วนหนึ่ง

“ผมก็ได้พูดไปแล้วว่า ผมก็ไม่อยากให้เกิดอย่างนี้ แต่ว่าถามว่าในการสกัดกั้นกฎหมายล้างผิด ทำลายระบบนิติรัฐ ถ้าตรงนี้มันเป็นต้นทุนส่วนหนึ่ง ผมก็บอกว่าผมก็คงต้องยอมรับ แต่ว่าเอาละวันนี้ทาง คอป. เขาก็ทักท้วงมาอีกทางหนึ่ง ผมก็จะพูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่งครับ”

เมื่อได้ถามว่าทางพรรคมีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ถ้าไม่อยากให้มีประเด็นนี้ ทุกฝ่ายก็ต้องเคารพกติกา และรับฟังความเห็นของแต่ละฝ่าย โดยเชื่อว่าเหตุการณ์จะไม่ลุกลามบานปลาย และที่สำคัญในการทำหน้าที่ของรองประธานสภาฯ ท่านอื่นก็ไม่เห็นมีปัญหาเหมือนประธานสภา

“คือมันไม่อยากจะให้มีประเด็นนี้ ถ้าทุกฝ่ายเคารพกติกา ความเห็นของแต่ละฝ่าย ผมเชื่อว่าเหตุการณ์มันไม่ลุกลามบานปลาย ก็เห็นนะครับประชุมสภากันมาเป็นปี อันแรกก็คือว่า เหตุวุ่น ๆ จะเกิดเฉพาะเวลามันมีเรื่องซึ่งไม่ถูกต้องเข้ามา และเป็นขัดแย้ง แล้วก็ปรากฏว่า ฝ่ายค้าน หรือสส. ไม่สามารถทำหน้าที่ของตนเองได้ คำว่าทำหน้าที่ไม่ได้ก็คือว่า บางทีถูกตัดบทไม่ให้พูด ถูกตัดไมค์ กำลังอภิปรายอยู่ อยู่ดี ๆ ประธานบอกให้หยุดโดยที่ไม่ให้โอกาสฝ่ายค้านได้แสดงเหตุ แสดงผล กรณีอย่างนี้มันจึงเกิดปัญหาขึ้น

สอง ต้องบอกว่า 1 ปีที่ผ่านมา เหตุวุ่น ๆ ที่เกิด มีประธานท่านเดียว ที่ทำให้เกิดเหตุวุ่น ๆ เพราะฉะนั้นถ้าลองเทียบเคียงดู ยุคนี้ผมก็ยืนยันเป็นยุคที่ฝ่ายค้านยกมือให้กับกฎหมายรัฐบาล มากที่สุดยุคหนึ่งที่ผมจำได้ในการทำงานการเมืองของผม แล้วก็ข้อตกลงมาตรา 190 อะไรต่าง ๆ ยกให้เกือบหมดเลยนะครับ เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆ พรรคประชาธิปัตย์ไปค้านทุกเรื่อง แพ้เลือกตั้งแล้วก็เลยไม่ยอมรับอะไร ไม่ใช่ เรื่องที่มันวุ่น ๆ นี่เกิดจากกฎหมายที่ว่า นั่นอันที่ 1

อันที่ 2 ก็อย่างที่บอก ผมเห็นเวลาท่านรองประธานท่านอื่น ๆ ทำหน้าที่กัน แล้วก็ไม่มีการมาตัดบท ปิดไมค์อย่างนี้ปัญหามันก็ไม่เกิด”

“หวังว่ามันจะมีบทเรียนนะครับในส่วนของประธานเองด้วย ในขณะเดียวกันก็แน่นอนครับ พวกเราก็ฟังเสียงพี่น้องประชาชนนะครับ ไม่ใช่ไม่ฟัง แล้วก็อย่างที่บอกก็คือว่า คอป. ก็เพิ่งท้วงมา เราก็คงจะต้องพูดคุยกันเพิ่มเติมเรื่องนี้ครับ”

ส่วนคำถามที่ว่าการเมืองข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น โดยเฉพาะวันศุกร์ที่จะถึงนี้ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ในวันศุกร์ ประธานฯ ได้ออกหนังสือเชิญประชุมรัฐสภา ซึ่งมีวาระที่ไม่น่าจะเป็นปัญหา หากการประชุมเป็นไปตามวาระ

“ในขณะนี้ท่านประธานได้ออกหนังสือเชิญประชุมรัฐสภาในวันศุกร์ แต่ผมเห็นในวาระ ถ้าท่านประธานทำตามอย่างที่ได้ออกระเบียบวาระมาก็ไม่น่าจะเป็นปัญหา ก็คือท่านประธานจะแจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงคำวินิจฉัยของศาล ส่วนเรื่องที่จะพิจารณากันจะเป็นเรื่องของข้อตกลงระหว่างประเทศตามมาตรา 190”

 

วอนทุกฝ่ายอดทน ประคับประคองบ้านเมือง นายกฯ ต้องปิดประชุมสภาแล้วมาหาทางออก

นายอภิสิทธิ์ได้กล่าวทิ้งท้ายในรายการว่า อยากให้ทุกฝ่ายอดทนกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และช่วยกันประคับประคองบ้านเมือง ทั้งนี้ยังเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจปิดสมัยประชุมสภา แล้วทุกอย่างก็จะจบ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีโอกาสพบปะพูดคุยในการหาทางออกร่วมกัน

“อยากให้ทุกฝ่ายได้อดทนนะครับ กับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ แล้วก็ช่วยกันประคับประคองบ้านเมือง และผมก็ยังเรียกร้องนายกรัฐมนตรีครับว่า การทำให้บ้านเมืองผ่อนคลายในขณะนี้ทำได้ง่ายนิดเดียวครับ ท่านก็ตัดสินใจปิดสมัยประชุมสภา มันก็จบเรื่องไป แล้วก็ฝ่ายค้านยินดีให้ความร่วมมือในการหาทางออกร่วมกันระหว่างที่มีการปิดสมัยประชุม”

ต่อกรณีที่นายสาธิต ปิตุเตชะ ออกมาความเป็นธรรมในเรื่องการทำงานกับสื่อนั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า คงเป็นเรื่องเฉพาะตัว เฉพาะกลุ่มมากกว่า ทางพรรคฯ เองไม่ได้มีปัญหากับสื่อมวลชน แต่เห็นได้ว่าสื่อเองก็มีข้อจำกัดในการนำเสนอข่าวของฝ่ายค้านมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่บรรยากาศของเสรีภาพ ประชาธิปไตย

“เรื่องสื่อนั้น คงเป็นเรื่องเฉพาะตัว เฉพาะกลุ่มมากกว่า คงไม่ได้พูดถึงในภาพรวมว่าสื่อมีปัญหาอะไรกับพรรค เพราะไม่ได้มีปัญหา แต่ว่าได้เห็นว่าสื่อนั้นมีข้อจำกัดมากยิ่งขึ้น ในการนำเสนอข่าวสารของฝ่ายค้าน และความจริงไม่ใช่เฉพาะสื่อ จะเห็นว่าการทำงานของฝ่ายค้านไปตั้งเวที ก็รู้สึกผู้กำกับก็ถูกย้ายนะครับ มันไม่ใช่บรรยากาศของเสรีภาพแล้วก็ประชาธิปไตย หวังว่าอาทิตย์หน้าจะยังได้คุยกันอยู่นะครับ”

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"สนธิ ลิ้มทองกุล" เผยเงื่อนไขจะชุมนุมอีกเมื่อมีการสั่นคลอนสถาบัน-ทำให้ทักษิณพ้นผิด

Posted: 06 Jun 2012 11:12 AM PDT

ส่วนกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากยังไม่เห็นเนื้อหาสาระจึงต้องยกประโยชน์ให้จำเลย ส่วนข้อเสนอแก้ ม.112 ของนิติราษฎร์นั้นไม่เห็นด้วย เห็นด้วยเฉพาะข้อเสนอเปลี่ยนกระบวนการฟ้องให้รอบคอบกว่านี้และให้เป็นธรรม พร้อมแนะ "เฉลิม-เพรียวพันธุ์" ปัดฝุ่นคดีลอบยิงสนธิ

เมื่อวานนี้ (6 มิ.ย.) มติชนออนไลน์ รายงานว่า แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นำโดย นายสนธิ ลิ้มทองกุล พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายพิภพ ธงชัย นายศรัณยู วงศ์กระจ่าง แถลงท่าทีพันธมิตรฯ ภายหลังการประชุม เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2555 โดยนายสนธิ กล่าวว่า พันธมิตรฯ เราจะออกมานำประชาชนรวมตัวชุมนุม ในเงื่อนไข 2 เรื่อง ประกอบด้วย หนึ่ง มีกระบวนการหรือการดำเนินการที่กระทำโดยรัฐบาล หรือรัฐสภา ที่จะทำให้เป็นการทำลายหรือการสั่นคลอนสถาบันกษัตริย์ ไม่ว่าจะเป็นการแก้ มาตรา 112 หรือการลดพระราชอำนาจ อันนี้ชัดเจน ถ้าหากเกิดเหตุการณ์นี้จะออกมาทันที สอง เมื่อใดที่มีการดำเนินการตามกฎหมายเพื่อยกโทษความผิด ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคพวก เพื่อให้พ้นความผิด เราก็จะออกมาชุมนุมเช่นกัน

ส่วนเรื่องรัฐธรรมนูญ ในขณะนี้ เราถือว่า ยังไม่เห็นเนื้อหาสาระ ยังไม่ทราบ จึงต้องยกประโยชน์ให้กับจำเลยเสียก่อน แต่ว่า ถ้าเมื่อใดก็ตาม การร่าง รัฐธรรมนูญ มีเนื้อหาเข้าข่าย 2 ประการ ที่ตั้งเป็นเงื่อนไข เราก็จะออกมาชุมนุม

"ส่วนเหตุที่เรามาชุมนุมและเราไม่ถอยกรณี พ.ร.บ.ปรองดอง เพราะเป็นการเอา ร่าง พ.ร.บ.เข้าไปตัดสินใจในสภา แล้วใช้การยกมือของเสียงข้างมาก โดยไม่ฟังเสียงประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งพ.ร.บ.ปรองดองนี้ หากก่อนจะทำ มีการฟังเสียงประชาชนทั่วประเทศอยู่ก่อน แล้วเอาผลจากประชาชนทั่วประเทศออกมา ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เราพิจารณาอย่างหนัก ว่าเราควรชุมนุมหรือไม่ แต่เป็นเพราะมีเพียงเสียงข้างมากในสภา แล้วจะใช้วิธีพวกมากลากไป พันธมิตรฯ พูดมานานแล้วว่า เราไม่ยอมเด็ดขาด และผลของการออกมาของ พันธมิตรฯ ก็พิสูจน์ชัดว่า ประชาชนจำนวนมาก ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล" นายสนธิกล่าว

นายสนธิ กล่าวด้วยว่า ส่วนจะมีการพิจารณา ร่างรัฐธรรมนูญวาระ 3 ของสภา หรือไม่นั้น เป็นหน้าที่สภา ต้องตกลงใจเองว่าจะฟังคำสั่งศาล หรือฝืนคำสั่งศาล เพราะถือว่าพันธมิตรฯ ได้ทำหน้าที่สมบูรณ์แล้ว เพราะศาลได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ออกมาแล้ว หากว่า ไม่ทำตาม ก็เป็นเรื่องที่ศาลต้องเดินหน้าต่อไป

"พันธมิตรฯ จะไม่ยุ่ง ถ้าจะไปผ่านวาระ 3 เป็นเรื่องของ สภา พรรคเพื่อไทย ศาลรัฐธรรมนูญ ต้องเผชิญหน้ากันเอง  แต่ถ้าจะสอดแทรก พ.ร.บ.ปรองดองเมื่อไหร เราจะออกมาชุมนุมทันที ไม่แน่ใจว่าจะมีการสอดแทรกหรือไม่ เพราะไม่มีอะไร ที่เชื่อใจรัฐบาลชุดนี้ได้และในแถลงการณ์ถ้าเอา พ.ร.บ.ปรองดองเข้ามา นอกจากจะประท้วง พ.ร.บ.ปรองดองแล้ว เราจะยกระดับ ไล่รัฐบาลด้วยและคราวนี้ยืดเยื้อเลย"

มีผู้สื่อข่าวถามนายสนธิว่า ประเมินสถานการณ์หรือไม่ว่าพรรคเพื่อไทยจะถอยหรือไม่ นายสนธิ กล่าวว่า ไม่ทราบจริงๆ เพราะไม่เคยเชื่อใจอะไรได้เลยแม้แต่นิดเดียว เพราะเป็นการพูดจาที่ไม่เคยอยู่กับร่องกับรอย เนื่องจาก รัฐบาล ไม่เคยมีสิทธิในการตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง ทุกอย่างต้องฟังมาจากเมืองนอกทั้งสิ้น และไม่ทราบว่าคนเมืองนอกจะเอายังไง และคนเมืองไทยอยากจะเอาใจคนเมืองนอก เลยแข่งกันเสนอเพราะอยากได้รางวัล อยากได้ตำแหน่ง อยากได้หน้า นี่คือปัญหาใหญ่ของรัฐบาลเพื่อไทย

"อย่าได้ประมาทจุดยืนพันธมิตรฯ 2 เรื่องนี้ เรื่อง 112  กับเรื่อง ออกกฎหมายเพื่อล้างโทษ ส่วนเรื่องอื่นจะโยกย้ายข้าราชการอย่างไร ตั้งงบประมาณอย่างไร เป็นเรื่องนักการเมือง ต้องแก้กันเอง แต่ 2 เรื่องนี้ เราตีเส้นไว้แล้ว ถ้าล้ำเส้นเมื่อไหร่ เราพร้อมจะออกมาทุกเมื่อ เชื่อว่า ประชาชนคนไทยทั่วประเทศ พร้อมออกมายืนหลังเส้นนี้ แล้วยัน ไม่ให้ใครมาล้ำเส้นเส้นนี้ อยากเตือนไว้อย่าล้ำเส้น" นายสนธิกล่าว

นายสนธิ กล่าวว่า ถ้ามีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และเปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์ อย่างที่เกิดขึ้น พันธมิตรฯ จะออกมาต่อสู้แน่นอน

เมื่อถามว่ามองอย่างไร กับเหตุผลของคณะนิติราษฎร์ ที่ชี้ว่ามาตราดังกล่าวมีปัญหา นายสนธิ กล่าวว่า "ผมคิดว่า คณะนิติราษฎร์ ไม่ได้ใช้หลักการเหตุผลที่แท้จริง เหตุผลที่แท้จริงปัญหาก็คือว่า  การดำเนินคดีกับผู้ที่โดนมาตรา 112 นั้น ควรจะมีระบบระเบียบที่รอบคอบมากกว่านี้ ถ้าคณะนิติราษฎร์ บอกว่า การดำเนินคดีจะต้องรอบคอบมากกว่านี้  อันนี้ฟังได้ แต่ถ้าหากจะมาบอกว่ามาตรา 112 นั้น ไม่ถูกต้อง และถ้าบอกว่า พระมหากษัตริย์ ควรจะถูกใครก็ได้วิพากษ์วิจาณ์เหมือนประชาชนทั่วไป อันนี้ ไม่ใช่ แต่ถ้าบอกว่า ใครก็ตาม โดนข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แล้วจู่ๆ ถูกตำรวจเล่นงานแล้วส่งฟ้องทันที ถ้าจะแก้ไขตรงนี้ อันนี้ผมเห็นด้วย เปลี่ยนกระบวนการให้รอบคอบกว่านี้และให้เป็นธรรม นั่นละครับ"

พล.ต.จำลอง กล่าวถึงการเคลื่อนไหวแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ว่า คำว่าวิพากษ์วิจารณ์ยังเบาไป เพราะที่แล้วๆ มา จนกระทั่งบัดนี้มีการใส่ร้ายป้ายสี สาดเสียเทเสีย ถ้าขืนเรายอมให้ปล่อยไปจะกระทบกระเทือนความมั่นคงของชาติอย่างยิ่ง เราจึงยอมไม่ได้ นอกจากนั้น ปี 2545-2552 เป็นเวลา 7 ปี คดีมาตรา 112  มีเพิ่ม ร้อยกว่าคดี เพราะรัฐบาลที่แล้วและรัฐบาลนี้เพิกเฉย ไม่หาทางหยุดยั้งการหมิ่นเหม่ การใส่ร้ายป้ายสี ถ้ายอมให้กฎหมายนี้ผ่านยิ่งไปกันใหญ่ จากร้อยกว่าคดี จะเพิ่มขึ้นเป็นพันๆ เป็นหมื่น แล้วประเทศชาติ จะอยู่ได้อย่างไร  

พล.ต.จำลอง กล่าวว่า ที่ประชุมซึ่งมีแกนนำรุ่น 1-2 ประชุมแล้ว เห็นว่า ควรให้ นายประพันธ์ คูณมี และ นายปานเทพ พัวพงศ์พัน มาเป็นแกนนำรุ่น 2 ด้วย

นอกจากนี้นายสนธิยังฝากไปถึง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และ พล.ต.อ.เพรียวพันธุ์ และ รักษาการ ผบช.น. โดยขอให้ช่วยรื้อฟื้นคดี ที่โดนยิง 200 นัด ขึ้นมาหน่อย หรือว่าจะรอให้ผมโดนอีก 200 นัด สมัยพรรคประชาธิปัตย์ ก็ไม่ยอมทำ สมัยพรรคเพื่อไทย ก็ไม่ยอมทำ ถ้าจะรักษากฎหมาย ให้มันมีมาตรฐานหน่อยได้ไหม อย่ามาอวดเก่งกับประชาชนที่ไม่มีอาวุธ หลักฐานมีอยู่แล้วว่าผมโดนยิง 200 นัด ถ้าจริงใจ จริงจัง เต็มใจ ก็รื้อคดีนี้ขึ้นมาเลยทันทีเลย แล้วหาออกมาให้ได้ ว่าใครลอบยิงผม ไม่ยากครับ เพราะผลการสอบสวน มันอยู่ในระดับหนึ่งที่สามารถจะชี้ตัวคนได้แล้ว สำนวนการสอบสวนของเก่าก็มี รื้อคดีสักหน่อยสิครับ อย่านั่งเฉย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสื้อแดงสมุทรปราการชุมนุมปักหลักล่าชื่อถอด ตลก.รธน หนุน พรบ.ปรองดองฉบับ นปช.ประณาม ส.ส.ปชป.ป่วนสภา

Posted: 06 Jun 2012 11:03 AM PDT



เสื้อแดงสมุทรปราการ นำโดยกลุ่มผู้กล้าประชาธิปไตยสมุทรปราการ สถานีวิทยุ FM 90.25 ประมาณ 500 คน ได้ชุมนุมบริเวณลานศาลากลางสมุทรปราการ เพื่อสนับสนุน พรบ.ปรองดอง ฉบับ นปช. ที่ไม่มีการนิรโทษกรรมผู้มีส่วนร่วมสลายการชุมนุม เมษา-พ.ค.53 ประณามการป่วนสภาของ ส.ส.พรรคประชาธิปปัตย์ พร้อมทั้งตั้งโต๊ะล่ารายชื่อถอดถอน ตลก.ศาลรัฐธรรมนูญ
 
ล่ารายชื่อถอดถอน ตลก.ศาลรัฐธรรมนูญ
 
ชาญ ไชยะ ประธานกลุ่มผู้กล้าประชาธิปไตยและผอ.สถานีวิทยุ FM 90.25 เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าทางกลุ่มมีการชุมนุมบริเวณลานหน้าศาลากลางนี้มาตั้งแต่วันที่ 1มิถุนายน โดยแต่ละวันจะเริ่มชุมนุมปราศรัยตั้งแต่เวลา 16.00 น. จนถึงเวลาประมาณ 23.00 น เพื่อสนับสนุน พรบ.ปรองดอง ฉบับที่เสนอโดย นปช. ภายใต้การนำของนายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ที่จะไม่มีการนิรโทษกรรมผู้สลายการชุมนุมเสื้อแดงเมื่อปี 53 รวมทั้งคัดค้านการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์ที่ประท้วงอย่างหนักในรัฐสภาต่อการพิจารณา ร่าง พรบ.ปรอดงดองฯ ที่ผ่านมา  ซึ่งทางกลุ่มนี้มองว่าพฤติกรรมของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เป็นการทำลายฝ่ายนิติบัญญัติที่มาจากประชาชน ทั้งๆที่พรรคประชาธิปัตย์ก็มาจากประชาชนเช่นกัน ทางกลุ่มจึงได้มาชุมนุมปราศรัยให้ข้อมูลกับประชาชนได้รับรู้พฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์ดังกล่าว
 
“เพราะฉะนั้นพวกเราในฐานะประชาชนจึงออกมาเรียกร้องสิทธิในฐานะที่เราเป็นเสียงข้างมากเลือกพรรคเพื่อไทยเข้าไปในสภา และสภาก็เป็นตัวแทนของประชาชน เพราะฉะนั้นเราต้องการให้กระบวนการของสภาเดินต่อ ต้องการให้รัฐบาลบริหารประเทศชาติอย่างสมบูรณ์แบบ นั่นหมายความว่าเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง” ชาญ ไชยะ กล่าว
 
ชาญ ไชยะเสนอว่าอยากให้มีการเอาผิดคณะรัฐประหาร 19 ก.ย.49 เพื่อเยี่ยงอย่างไม่ให้เกิดการรัฐประหารซ้ำอีก และถ้าเป็นไปได้อยากเสนอแนวทางลบล้างผลพวงรัฐประหารตามที่คณะนิติราษฎร์ได้เคยเสนอไว้ด้วย
ส่วนกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งระงับให้สภาระงับการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ม.291 นั้น ชาญ ไชยะ มองว่า เป็นกระบวนการแทรกแซง เป็นการทำลายกระบวนการยุติธรรม แล้วเป็นการแทรกแซงฝ่ายบริการและฝ่ายนิติบัญญัติ ส่วนของตุลาการควรอยู่ในกรอบการพิจารณาของข้อกฎหมาย แต่ไม่ควรแทรกแซงกรบวนการฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเสนอทั้งกฎหมาย เสนอทั้งงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งมันเป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องงานบริหารและเป็นเรื่องของตัวแทนประชาชน ฝ่ายตุลาการเป็นฝ่ายที่มาจากการแต่ตั้งไม่ควรเข้ามาแทรกแซง
 
ประธานกลุ่มผู้กล้าประชาธิปไตย ยังเปิดเผยว่าการชุมนุมครั้งนี้ยังได้มีการตั้งโต๊ะล่ารายชื่อ 20,000 ชื่อเพื่อยื่นถอดถอน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด จากการแทรกแซงฝ่ายนิติบัญญัติ ละเมิดประชาชน เข้าข้างฝ่ายรัฐประหาร จากกรณีที่มีคำสั่งให้สภาระงับการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา และจากการล่ารายชื่อมา 2 วันของกลุ่มนี้ได้จำนวนรายชื่อ 4,000 รายชื่อแล้ว โดยตั้งเป้าไว้ให้ครบ 20,000 รายชื่อภายในวันศุกร์นี้ และนำรายชื่อดังกล่าวส่งให้สภาเพื่อให้สภาพิจารณาว่าเราไม่เป็นด้วยกับศาลรัฐธรรมนูญในการชี้มูลครั้งนี้  ทั้งนี้การชุมนุมตลอด 4 วันที่ผ่านมาเป็นไปอย่างสงบยังไม่มีปัญหาอะไร 
 
คลิปสัมภาษณ์ ชาญ ไชยะ ประธานกลุ่มผู้กล้าประชาธิปไตย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักวิเคราะห์คาด "เฟซบุ๊ก" จะตายภายในปี 2020

Posted: 06 Jun 2012 10:23 AM PDT

เว็บไซต์ blognone รายงานว่า เอริค แจ็คสัน ผู้ก่อตั้งสถาบัน Ironfire Capital ได้ออกมาพูดในรายการ Squawk on the Street ช่อง CNBC ว่า "ในอนาคตนี้ Facebook จะหายไปจากโลกอินเทอร์เน็ตเหมือนที่ Yahoo ได้หายไป" … "แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม Yahoo ก็ยังสามารถทำเงินได้และก็ยังมีพนักงานกว่า 13,000 คน ถึงแม้ว่ามันจะมีมูลค่าเพียงแค่ 10% จากราคาตลาดสมัยที่ Yahoo รุ่งที่สุดเมื่อปี 2000"

สำหรับสาเหตุที่เขาเชื่อว่า Facebook จะหายไปนั้น เขาบอกว่าบนตลาดมือถือ Facebook ยังไม่สามารถปรับตัวได้ และโลกเราก็หมุนเร็วกว่าเดิม การแข่งขันก็มากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ที่เคยครองตลาดในโลกเทคโนโลยีในเจอเนอเรชั่นก่อนหน้า มักจะมีปัญหาในการก้าวข้ามไปเจอเนอเรชั่นต่อไปเสมอ

หลังจาก Facebook ได้เข้าไปขายหุ้นของตัวเองในตลาดหุ้น ทุกอย่างก็ดูแย่ไปหมด รวมถึงความสงสัยในความสามารถในการทำเงินของ Facebook ทำให้ล่าสุดหุ้นของ Facebook มีราคาปิดตลาดอยู่ที่ 26.90 ดอลลาร์เท่านั้น จากที่เข้าตลาดหุ้น (เปิด IPO) ที่ราคา 38 ดอลลาร์ต่อหุ้น

Jackson ยังบอกอีกว่า เราสามารถแบ่งบริษัทอินเทอร์เน็ตออกเป็นสามยุค ยุคแรกคือยุคที่เว็บอย่าง Google และ Yahoo เกิดขึ้นมา โดยในยุคนี้เว็บเหล่านี้มีหน้าที่เป็น Portal ที่คอยจัดการข้อมูลต่าง ๆ บนโลกอินเทอร์เน็ต ในขณะที่ยุคที่สองคือเว็บอย่าง Facebook ที่เก็บข้อมูลจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ส่วนยุคที่สามคือบริษัทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาเพื่อทำรายได้จากผู้ใช้งานผ่านทางมือถือ

และจากที่สังเกตมา จนถึงทุกวันนี้ใครที่เป็นเจ้าตลาดในยุคใดยุคหนึ่ง จะมีปัญหาในการสร้างความสำเร็จในตลาดของอีกยุคหนึ่งเสมอ (ยกตัวอย่าง Google+) ไม่ว่าบริษัทเหล่านี้จะมีเงินมากมายในธนาคารแค่ไหนก็ตาม หรือไม่ว่าบริษัทจ้างอัจฉริยะมาร่วมงานด้วยมากมายแค่ไหนก็ตาม

เช่นกัน Facebook เองก็จะมีปัญหาในการก้าวเข้ามาสู่ยุคที่สาม นั่นคือยุคการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ

 

 

ที่มา: นักวิเคราะห์: Facebook น่าจะตายภายในปี 2020

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: ความยุติธรรมในบริบทของเศรษฐศาสตร์(6)

Posted: 06 Jun 2012 10:03 AM PDT

ถึงแม้ Lorenz curve และ Gini Index จะเป็นเครื่องมือคณิตศาสตร์ที่นิยมใช้ในการวัดการกระจายทรัพยากร ก็มีข้อจำกัดและไม่สามารถวัดความไม่เท่าเทียมกันได้อย่างรอบด้าน Lorenz curve สามารถวัดการกระจายทรัพยากรได้แค่ตัวแปรเดียวโดยไม่สามารถวัดการกระจายทรัพยกรสองชนิดได้พร้อมๆกัน เช่น ถ้าเราต้องการทราบถึงการกระจายบริการสาธารณสุขว่าสัมพันธ์กับรายได้อย่างไร คนรวยใช้บริการสาธารณสุขมากกว่าคนจนหรือไม่เป็นต้น ดังนั้นเครื่องมือคณิตศาสตร์ อีกชนิดหนึ่งคือ Concentration curve & index จึงถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อวัดการกระจายทรัพยากรอย่างหนึ่งอย่างใดโดยสัมพันธ์กับตัวแปรเศรษฐกิจและสังคมอีกชุดหนึ่ง(socioeconomic variables)

Concentration curve & index เป็นเครื่องมือที่ถูกใช้มากในเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขเพื่อวัดความเท่าเทียมกันในระบบสาธารณสุข เช่น วัดความไม่เท่าเทียมกันของสุขภาพระหว่างคนรวยคนจน ความไม่เท่าเทียมกันของการบริโภคการรักษาของคนจนคนรวย จากรูปข้างล่าง [1] แสดงConcentration curve เกี่ยวกับการกระจายการอุดหนุนของภาครัฐในบริการสธารณสุขในประชากรกลุ่มต่างๆเรียงจากจนสุดไปมากสุด เส้นสีฟ้าทแยงมุมเป็นเส้นความเท่าเทียมกัน ถ้ารัฐกระจายเงินอุดหนุนอย่างเท่าเทียมกันเส้น Concentration curve จะทับกับเส้นนี้ ถ้าเงินอุดหนุนของรัฐให้กับคนจนมากกว่าCurveจะอยู่เหนือเส้นทแยงมุม ถ้าเส้นCurveอยู่ใต้เส้นทแยงมุมแสดงว่ารัฐให้เงินอุดหนุนกับคนรวยมากกว่าคนจน

ภาคภูมิ แสงกนกกุล: ความยุติธรรมในบริบทของเศรษฐศาสตร์(6)

Concentration index คือ2 เท่าของพื้นที่ระหว่างเส้นทแยงมุมกับเส้นConcentration curve ค่านี้สามารถมีได้ตั้งแต่ –1ถึง1 และจะมีค่าเป็นบวกถ้าCurve อยู่ใต้เส้นทแยงมุม มีค่าเป็นลบถ้าCurve อยู่เหนือเส้นทแยงมุม และมีค่าเท่ากับศูนย์ถ้ามีความเท่าเทียมกันระหว่างประชากรทั้งหมด จากรูปภาพข้างบน Curve ของโรงพยาบาลรัฐ(เส้นโค้งสามเส้นที่อยู่เหนือเส้นทแยงมุม)แสดงว่ารัฐมีการอุดหนุนให้โรงพยาบาลรัฐเพื่อบริการสาธารณสุขโดยให้คนจนมากกว่าคนรวย ส่วนCurve ของโรงพยาบาลเอกชน(เส้นสีแดง)อยู่ใต้เส้นทแยงมุมแสดงว่าเงินอุดหนุนจากรัฐกระจุกที่คนรวยมากกว่าคนจน

อย่างไรก็ตามLorenz curve และ Concentration curve มีจุดอ่อนสำคัญที่มันสามารถบอกเราได้แค่ว่ามีการกระจายตัวทรัพยากรอย่างไม่เท่ากัน (Inequality) มากเท่าไร ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันที่แสดงออกมานั้นอาจไม่ใช่ความไม่เท่าเทียม(Inequity) ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่านิยมในสังคม ปทัสถานในสังคมว่า สิ่งใดเป็นความเท่าเทียมที่ชอบธรรม (legitimate inequality) หรือ ความไม่เท่าเทียมกันที่ไม่ชอบธรรม (illegitimate inequality) ซึ่งแนวความคิดนี้มาจาก Roemer และนักวิชาการสาย Egalitalisme liberale เป็นสำคัญและเป็นที่นิยมในวงวิชาการปัจจุบัน

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราบอกว่าความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้เป็นเรื่องไม่ชอบธรรมแล้ว ดังนั้นรัฐต้องแก้ไขโดยการออกนโยบายให้คนทุกคนมีรายได้เท่ากันหมด แต่ถ้าเราวิเคราะห์ลึกลงไปอีกว่า มันเป็นการสมควรหรือไม่ถ้าคนที่ไม่ทำงานเลยกลับมีรายได้เท่ากับคนทำงานตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง ดังนี้มันจะมีความยุติธรรมในสังคมหรือ? แนวความคิดที่นิยมปัจจุบันจึงมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขความไม่เท่าเทียมกันซึ่งเกิดจากสาเหตุที่ไม่ชอบธรรม และสามารถยอมรับความแตกต่างได้ถ้ามันมีสาเหตุที่มีความชอบธรรม เช่นคนที่มีการศึกษาระดับประถมควรมีรายได้ไม่ต่างกันมากกับคนที่จบมหาวิทยาลัยถ้าสองคนนี้ทำงานจำนวนชั่วโมงเท่ากัน ถ้ามีความแตกต่างรายได้เกิดขึ้นคนที่รายได้มากกว่าต้องชดเชย(compensate)ให้คนรายได้น้อยกว่า แต่ถ้าคนแรกรายได้มากกว่าเพราะทำงานจำนวนชั่วโมงมากกว่าคนๆนั้นสามารถรับผลประโยชน์นี้ได้โดยถือว่าเป็นรางวัล (reward) จากความขยันของเขา

ดังนั้นจากการที่ Concentration curve เป็นเครื่องมือคณิคศาสตร์ที่ไม่ดีพอที่จะวัดความไม่เท่ากันในสังคม(Inequity) ไม่สามารถจำแนกความไม่เท่าเทียมกันที่ชอบธรรมและความไม่เท่าเทียมกันที่ไม่ชอบธรรมได้ ดังนั้นนักคณิตศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากจึงหาวิธีพัฒนาการวัดต่างๆ เช่นการพัฒนา Concentration curve ใหม่โดยเทคนิคเช่น direct standardization และ indirect standardization ซึ่งจะไม่ขอกล่าวรายละเอียดในที่นี้ แต่จะกล่าวเฉพาะแนวความคิดหลักคือ พยายามหาความไม่เท่าเทียมกันของการกระจายทางทรัพยากรหรือผลลัพธ์อย่างหนึ่งที่มาจากผลกระทบจากตัวแปรที่ไม่ชอบธรรมเท่านั้น ซึ่งทำโดยการกำหนดตัวแปรไม่ชอบธรรมให้เป็นค่าคงที่มาตรฐานค่าหนึ่ง

กรณีรูปข้างบน เราจะพบว่ามีความไม่เท่าเทียมกันในระบบสาธารณสุข โดยรัฐบาลให้เงินอุดหนุนกับคนจนมากกว่าคนรวยที่มาใช้บริการสาธารณสุขกับโรงพยาบาลรัฐ จนพื้นที่ระหว่าง Curve กับเส้นทแยงมุมกว้างมากนั่นหมายถึง Concentration index และความไม่เท่ากันมีสูงมาก ถ้ารัฐบาลให้ความสำคัญว่าทุกคนต้องได้รับการอุดหนุนจากรัฐเท่าเทียมกันหมดไม่ว่าคนรวยหรือคนจน ความไม่เท่าเทียมกันนี้ย่อมเป็นปัญหาและรัฐบาลต้องออกนโยบายใหม่เพื่อให้เกิดการอุดหนุนที่เป็นธรรมจนกระทั่ง Concentration index เท่ากับศูนย์

แต่ถ้าเราให้ความสำคัญว่าบริการสาธารณสุขเป็นสิ่งสำคัญ คนจนควรได้รับการรักษาและรัฐต้องอุดหนุนให้คนจนมากกว่าคนรวยแล้ว ดังนั้นความไม่เท่ากันนี้จึงเป็นสิ่งที่รับได้และควรกระทำ รัฐไม่จำเป็นต้องออกนโยบายใหม่เพื่อมาแก้ไขให้จนกระทั่ง Concentration index เท่ากับศูนย์

โดยสรุป ในการกระจายทรัพยากรอย่างเท่าเทียม สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดคือ ชุดปรัชญาเศรษฐศาสตร์เพื่อเป็นการจุดแนวความคิดใหม่ๆหรือ แนวความคิดที่ควรจะเป็นในสังคม โดยวิชาเศรษฐศาสตร์ทำหน้าที่แปลงแนวความคิดทางปรัชญาเศรษฐศาสตร์นี้เพื่อให้กลายเป็นนโยบายสาธารณะที่จับต้องได้ โดยมีเครื่องมือคณิตศาสตร์ที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยวัดสภาวะที่เกิดขึ้นในสังคมออกเป็นตัวเลขเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนเป็นรูปธรรม ดังนั้นรัฐบาลฝ่ายเดียวไม่สามารถสร้างการกระจายรายได้อย่างยุติธรรมได้ ตราบใดที่ค่านิยมร่วมกันของสังคมไม่สามารถกำหนดว่าอะไรเป็นความยุติธรรมที่ควรพึงกระทำ หรืออะไรที่เป็นค่านิยมสากลที่เราในฐานะมนุษย์รู้สึกว่าพึงกระทำเพื่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น ตราบใดที่สังคมยังให้ค่านิยมว่า คนจบปริญญาเอกต้องมีรายได้มากกว่าคนกวาดถนนมากชนิดอย่างน่าใจหายแล้ว เป็นเรื่องที่ถูกต้องชอบธรรม ,คนที่เกิดมาจนแล้วเป็นเพราะชาติที่แล้วทำบาปไว้มาก คนที่เกิดมารวยแสดงว่าชาติที่แล้วทำบุญไว้มาก การกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมในประเทศไทยคงเป็นเรื่องฝันไกลเกินเอื้อม

 

อ้างอิง:

  1. สุวิทย์ วิบูญผลประสิทธิ์ (บรรณาธิการ) (2550). การสาธารณสุขไทย 2548-2550. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ม.อุบลฯ ปล่อย นศ.“ว้ากน้อง”

Posted: 06 Jun 2012 09:47 AM PDT

ม.อุบลราชธานียังปล่อยให้ให้มีการรับน้องด้วยระบบว้ากเย้ยคำสั่งเจ้ากระทรวงศึกษา นศ.ใหม่เจ็บระนาวส่งโรงพยาบาลจากความเครียด ระบุอาจารย์ในมหาวิทยาลัยให้ท้ายเด็ก อาจารย์ต่างชาติงงกิจกรรมละเมิดสิทธิมนุษยชน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้ว่านายศักดา กงเพชร รัฐมนตรีข่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จะได้ออกมากำชับเรื่องกิจกรรมการรับน้องใหม่ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ว่า ไม่ให้เกิดความรุนแรง เน้นกิจกรรมสร้างสรรค์ก็ตาม แต่การจัดกิจกรรมรับน้องในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ม.อุบลฯ) ก็ยังคงดำเนินไปแบบผสมผสานทั้งกิจกรรมสันทนาการและการว้ากน้องกันอย่างเอิกเกริก
 
โดยกิจกรรมรับน้องของแต่ละคณะของ ม.อุบลฯเริ่มตั้งแต่คืนวันที่ 5 มิถุนายน ที่ผ่านมา และจากการเข้าไปสังเกตการณ์กิจกรรมรับน้องที่บริเวณอาคารพลศึกษา พบว่า มีนักศึกษาใหม่ที่เข้าร่วมกิจกรรมรับน้องของคณะหนึ่งมีอาการป่วยจากความเครียดเนื่องจากถูกว้ากกว่า 60 คน โดยมีรุ่นพี่ที่ทำหน้าที่ปฐมพยาบาลและมีรถพยาบาลกู้ชีพ (โทร 1669) คอยวิ่งรับส่งระหว่างมหาวิทยาลัยกับโรงพยาบาลที่ห่างออกไป 12 กิโลเมตร และมีเพียง 1 – 2 คันเท่านั้น และแต่ละวันจะมีรถกู้ชีพวิ่งเข้า – ออก ม.อุบลฯหลายรอบ
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กิจกรรมรับน้องโดยภาพรวมของ ม.อุบลฯนั้นยังเน้นการว้ากน้องโดยพี่วินัย โดยบางคณะใช้ห้องเรียนขนาดใหญ่สำหรับการว้ากน้อง บางคณะใช้ห้องประชุม และบางคณะนำนักศึกษาใหม่ให้มายืนเข้าแถวริมฟุตบาทในความมืดโดยมีรุ่นพี่ที่เป็นว้ากเก้อ 30 - 40 คน คอยตะโกนตะคอกข่มขู่เสียงดัง
 
การเชียร์ การว้ากน้องแต่ละคณะจะเริ่มประมาณ 17.00 น.เลิกเชียร์หรือเลิกว้ากของแต่ละคณะนั้นเป็นประมาณ 22.00 -24.00 น.
ทั้งนี้ จากการสอบถามอาจารย์ ม.อุบลฯ หลายคนพบว่า ในช่วงเปิดเทอมมักมีเรื่องไม่สบายใจ เพราะการรับน้องด้วยการว้ากเป็นกิจกรรมอำนาจนิยมที่รุ่นพี่เองถูกกระทำมาก่อนและต้องการเอาคืนกับรุ่นน้องโดยอ้างความสามัคคี ความมีวินัย โดยไม่สนใจว่า มันจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของนักศึกษาใหม่หรือไม่ และอาจารย์บางคณะเองก็สนับสนุนให้มีกิจกรรมนี้อย่างเต็มที่
 
อาจารย์ชาวต่างชาติท่านหนึ่งของ ม.อุบลฯ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า กิจกรรมว้ากน้องเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง เพราะมีนักศึกษาใหม่จำนวนมากล้มป่วยจากกิจกรรมนี้ ไม่น่าเชื่อว่า ผู้บริหารทั้งในระดับคณะและระดับมหาวิทยาลัยเองปล่อยให้มีกิจกรรมรับน้องที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนเช่นนี้ได้อย่างไร
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คอป.เตือนศาล รธน.ระวังเสื่อม พร้อมเบรค พ.ร.บ.ปรองดอง

Posted: 06 Jun 2012 08:54 AM PDT

คอป. แนะศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงหลักการแบ่งแยกอำนาจ-ตีความตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัดตามเจตนารมณ์ ไม่เช่นนั้นอาจนำไปสู่ความเสื่อมศรัทธาของประชาชน แนะรัฐบาลจัดเวทีสร้างการมีส่วนร่วมก่อนพิจารณา พ.ร.บ.ปรองดอง

คณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ทำจดหมายเปิดผนึกลงวันที่ 5 มิถุนายน 2555 ถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน

โดยมีข้อเสนอต่อรัฐบาลและรัฐสภา โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ให้ทบทวนการเร่งรัดพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ เพื่อลดกระแสความขัดแย้งและความแตกแยกในสังคม โดยจัดเวทีสาธารณะให้ทุกฝ่ายทราบข้อมูลและมีส่วนร่วม

นอกจากนี้ คอป. ยังเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบและความระมัดระวังเป็นพิเศษในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงแห่งคดีและหลักกฎหมายด้วยความเที่ยงธรรม โดยคำนึงถึงหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา หลักความเป็นกลาง หลักทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การใช้อำนาจตุลาการโดยชอบด้วยกระบวนการตามกฎหมาย และการตีความตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัดตามเจตนารมณ์

 

รายละเอียดมีดังนี้

0000

เรื่อง ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน

 

จากการประเมินสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน โดยเฉพาะช่วงระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) มีความกังวลอย่างยิ่งต่อเหตุการณ์ดังกล่าว และเห็นว่า หากกระบวนการสร้างความปรองดองในชาติดำเนินการอย่างไม่เหมาะสมโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งแล้ว สถานการณ์ดังกล่าวอาจบานปลายและนำไปสู่ความขัดแย้งครั้งใหม่ที่นำมาซึ่งความรุนแรงและความสูญเสียที่มิอาจประเมินได้ 


เพื่อเป็นการลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมและส่งเสริมให้เกิดความปรองดองของคนในชาติ คอป. ขอเน้นย้ำถึงการยึดถือและปฏิบัติตามหลักการสำคัญที่ปรากฏในข้อเสนอแนะตามรายงานความคืบหน้า คอป.ครั้งที่ 3 โดยเฉพาะข้อ 3.1 ที่ว่า "กระบวนการปรองดองเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยเวลา ความอดทน และการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายและทุกภาคส่วนในประเทศ…การดำเนินการใดๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยพยายามที่จะรวบรัดหรือเร่งรัดกระบวนการปรองดองนั้นเป็นการกระทำที่ไม่เอื้อต่อบรรยากาศของการปรองดอง ทำให้สังคมเกิดความหวาดระแวงและไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน และถือเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อความพร้อมในการเจรจาร่วมกันเพื่อหาทางออกไปสู่ความเข้าใจที่ดีของคนในสังคมและการปรองดองในชาติต่อไป ดังนั้นการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการปรองดองจึงต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง รอบคอบ โปร่งใส และตั้งอยู่บนหลักประชาธิปไตยโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย"
 


นอกจากนี้ คอป.ขอเรียกร้องต่อรัฐบาล นายกรัฐมนตรี ผู้นำฝ่ายค้าน พรรคการเมือง กลุ่มการเมือง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำกับและควบคุมการใช้อำนาจรัฐ องค์กรตุลาการ กลุ่มบุคคล และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างความปรองดองในชาติทุกฝ่าย ดังต่อไปนี้

1. คอป.เห็นว่าการกระทำใดๆ เพื่อเร่งรัดให้มีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ... โดยรัฐสภาเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งของคนในสังคม และเป็นการกระทำที่กระทบกระเทือนต่อบรรยากาศของการปรองดองในชาติ อันอาจนำไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงได้ในอนาคต

คอป.จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลและรัฐสภาโดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลและคุมเสียงข้างมากในรัฐสภาทบทวนการเร่งรัด เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อลดกระแสความขัดแย้งและความแตกแยกในสังคม รวมทั้งป้องกันมิให้เกิดการเคลื่อนไหวใดๆ อันอาจเป็นการยั่วยุเพื่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นได้
 
นอกจากนี้ คอป.เห็นว่ารัฐบาล รัฐสภา และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรจัดให้มีเวทีสาธารณะและเวทีประชาเสวนา รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูล เหตุผลความจำเป็น ข้อคิดเห็น และประเด็นข้อโต้แย้งต่างๆ เกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนและสังคมทุกภาคส่วนได้รับทราบและมีความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนมีส่วนร่วมในการพิจารณาและแสดงความคิดเห็นประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับร่าง พ.ร.บ.นี้ รวมถึงประเด็นเกี่ยวกับการนิรโทษกรรม สิทธิและหน้าที่ของประชาชนในการใช้สิทธิทางการเมือง และการกระทำความผิดอันเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง อันเป็นเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมของสังคมต่อการก้าวข้ามความขัดแย้งที่เกิดขึ้นร่วมกัน

2. คอป.เห็นว่ารัฐสภาเป็นสถาบันหลักของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองและสมาชิกรัฐสภาทุกท่าน จึงมีหน้าที่สำคัญที่จะต้องรักษาไว้ซึ่งกฎ ระเบียบ และข้อบังคับของรัฐสภา คอป.มีความกังวลต่อสถานการณ์และเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 30-31 พ.ค.55 ว่าจะนำไปสู่การสร้างบรรทัดฐานที่ไม่เหมาะสมต่อการทำหน้าที่ของรัฐสภา

คอป.เห็นว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งบรรทัดฐานที่ดีในการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในฐานะที่เป็นตัวแทนของประชาชน และเป็นการส่งเสริมบรรยากาศอันดีในการสร้างความปรองดองของคนในชาติ

3. คอป.เห็นว่าในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น องค์กรตุลาการเป็นสถาบันที่มีความสำคัญสูงสุด เพราะเป็นสถาบันหลักในการรักษากฎหมายและธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ในการนี้จึงมีความจำเป็นที่องค์กรตุลาการต้องรักษาไว้ซึ่งหลักความเป็นอิสระ และความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายและยึดถือหลักนิติธรรมอย่างเคร่งครัด แม้การกระทำดังกล่าวจะเป็นหน้าที่ซึ่งต้องพึงกระทำอยู่แล้วตามปกติ

แต่ในภาวะที่ประเทศชาติมีความขัดแย้งเช่นนี้ องค์กรตุลาการยิ่งต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการพิจารณา วินิจฉัยและมีคำสั่งที่เกี่ยวเนื่องกับรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

ในการมีคำสั่ง การวินิจฉัยคำร้อง หรือการพิจารณาพิพากษาคดีใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบและความระมัดระวังเป็นพิเศษในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงแห่งคดีและหลักกฎหมายด้วยความเที่ยงธรรม โดยคำนึงถึงหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา หลักความเป็นกลาง หลักทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การใช้อำนาจตุลาการโดยชอบด้วยกระบวนการตามกฎหมาย และการตีความตัวบทกฎหมายอย่างเคร่งครัดตามเจตนารมณ์ เพราะหากสาธารณชนเกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่าองค์กรตุลาการมิได้ปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาความถูกต้องตามกฎหมายและประสาทความยุติธรรมให้กับสังคมโดยชอบด้วยกฎหมายและหลักนิติธรรมแล้ว อาจนำไปสู่ความเสื่อมศรัทธาของประชาชนต่อองค์กรตุลาการ ระบบกฎหมาย และหลักนิติธรรมของประเทศได้

4. คอป.เรียกร้องให้ประชาชนและสังคมทุกภาคส่วนเคารพกระบวนการตามกรอบของกฎหมาย ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเคารพสิทธิ เสรีภาพ และการแสดงความคิดเห็นตามกรอบรัฐธรรมนูญ โดยใช้กระบวนการทางสันติวิธีเพื่อจัดการความขัดแย้ง และใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษที่จะไม่ดำเนินการใดๆ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง

5. คอป.เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมีบทบาทในการรักษาความสงบเรียบร้อยและการควบคุมฝูงชนดำเนินการโดยเคารพหลักสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามกรอบ รัฐธรรมนูญและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลอย่างเคร่งครัด

6. คอป.เรียกร้องให้พรรคการเมือง กลุ่มการเมือง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและการสร้างความปรองดองทุกฝ่าย พึงตระหนักว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่มาจนถึงปัจจุบันได้สร้างความสูญเสียอย่างมหาศาลต่อประเทศไทย ฉะนั้นทุกฝ่ายต้องไม่ดำเนินการใดๆ ที่จะเป็นการซ้ำเติมให้สถานการณ์เลวร้ายกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องไม่นำเอาข้อได้เปรียบทางการเมืองมาใช้เป็นประโยชน์ในการยั่วยุให้เกิดความเกลียดชังและความแตกแยกของคนในสังคมเพื่อความได้เปรียบ เฉพาะหน้า และขอให้ทุกฝ่ายช่วยกันประคับประคองสถานการณ์ไม่ให้เหตุการณ์ความรุนแรง และความสูญเสียย้อนกลับมาอีก และร่วมกันนำพาประเทศชาติไปสู่การปรองดองอย่างแท้จริง

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักแปล

Posted: 06 Jun 2012 08:34 AM PDT

จะเห็นว่าในระบบ UN ที่เจริญแล้ว ถึงเขาใช้ภาษาหลัก 5 ภาษา (จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และเสปน) แต่เขาให้ความสำคัญกับการแปลกฎบัตรต่าง ๆ ให้มีเนื้อหาเท่าเทียมกันมาก ดังนั้น กฎบัตรหลัก ๆ ของ UN ไม่ว่าจะเป็น ICCPR, ICESCR, CEDAW, ICERD, CAT, ฯลฯ ข้อสุดท้ายของกฎบัตรเหล่านี้มักระบุว่า “ต้นฉบับของกติกา/อนุสัญญานี้ซึ่งทำไว้เป็นภาษาจีน อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และสเปน มีความถูกต้องเท่าเทียมกัน”

 

 

6 มิ.ย. 2555 ความเห็นต่อกรณีประธานศาลรัฐธรรมนูญแจงให้อ่านตัวบทรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในภาษาอังกฤษว่ามีความชัดเจนกว่าภาษาไทย

กวีประชาไท: เอาอานแอกแบกใส่บ่า

Posted: 06 Jun 2012 08:25 AM PDT

 

รัฐประหารศาลว่าน่านับถือ

ใครมาหือถือว่าท้ากฎหมาย

แก้รัฐธรรมนูญศาลว่าน่าวุ่นวาย

กลัวทำลายล้มล้างการปกครอง

 

ตีความตามตัวบทหมายกดหัว

ไม่เกรงกลัวมึงกลับรับคำร้อง

เสียงส่วนน้อยคล้อยตามในครรลอง

ใครลองของจ้องจับจนอัปปาง

 

เหี้ยห่าสารพัดเดรัจฉาน

อันธพาลพวกหมามาขัดขวาง

เสียงส่วนมากสากกะเบืออำพราง

อยู่ท่ามกลางเสียงส่วนน้อยคอยบงการ

 

มีขื่อคาค้ำคออยู่กูไม่สน

ใช้เล่ห์กลสัปดนคนหน้าด้าน

พินอบพิเทาเป็นเต่าหมอบคลาน

เอาแอกตนแบกบ่าบ้าฉิบหาย

 

 

สมยศ พฤกษาเกษมสุข

6 มิ.ย.55 
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นศ.ขอนแก่น ร้อง สกอ.ยุตินำ มข.ออกนอกระบบ

Posted: 06 Jun 2012 07:50 AM PDT

เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบยื่นหนังสือถึง สกอ.กรณีผู้บริหาร ม.ขอนแก่น ลักไก่ยืนยันว่าประชาคม ม.ขอนแก่น ทั้งหมดสนับสนุนการออกนอกระบบ โดยเครือข่ายเรียกร้องให้กระบวนการทั้งหมดต้องโปร่งใส

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน เวลา 11 .00 น. ตัวแทนเครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ พร้อมด้วยตัวแทนแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ณ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ถนนศรีอยุธยา

สืบเนื่องจากวันที่ 2 เมษายน 2555 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้มีหนังสือสอบถามมายังมหาวิทยาลัยขอนแก่นเกี่ยวกับการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ ว่าประชาคมในมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ยังไม่เห็นด้วยในการออกนอกระบบ มีความเห็นสอดคล้องร่วมกันในการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้วหรือไม่  ต่อมามหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีหนังสือตอบกลับไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุคมศึกษ (สกอ.) ยืนยันความพร้อมในการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นไปออกนอกระบบพร้อมยืนยันว่าไม่มีนักศึกษาหรือประชาคมคัดค้านแต่อย่างใด  โดยที่ข้อเท็จจริงนั้น ยังมีเครือข่ายนักศึกษาที่ไม่เห็นด้วยกับการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นไม่ได้จัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นอย่างทั่วถึง ทำให้ตัวแทนเครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบต้องมายื่นหนังสือที่สกอ.ในวันนี้

ทั้งนี้เนื่องจากนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ออกไปปฏิบัติราชการภายนอกจึงได้มอบหมายให้นายนายศิระวิทย์ คลี่สุวรรณผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ คณะกรรมการการ มารับหนังสือแทน โดยนายศิระวิทย์ ได้เปิดห้องรับรองให้ตัวแทนนักศึกษากลุ่มดังกล่าวเข้าพูดคุยเป็นเวลากว่า 20 นาที  ในท้ายที่สุด นายศิระวิทย์มีข้อสรุปร่วมกับนักศึกษาว่า  “การนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบนั้น ต้องมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาคมในมหาวิทยาลัย ซึ่งในกรณี ม.ขอนแก่น ถ้านักศึกษายืนยันว่ายังไม่มีกระบวนการดังกล่าว ทางสกอ.คงต้องทำหนังสือกลับไปสอบถามสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น และอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น อีกครั้ง"

ด้านนางสาวศศิประภา ไร่สงวน ตัวแทนเครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ กล่าวว่า “อธิการบดีและสภามหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะบอกว่าไม่มีนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทลัยขอนแก่นออกนอกระบบได้อย่างไร ในเมื่อทางเครือข่ายฯ ได้ยื่นหนังสือคัดค้านที่สำนักงานอธิการบดี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2554 ดังนั้นที่เรามาในวันนี้ ก็เพื่อยืนยันกับผู้ใหญ่ในสกอ.ว่ามีนักศึกษาม.ขอนแก่นคัดค้านการนำมหาวิทยาลันออกนอกระบบโดยส่วนตัวเห็นว่าการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบเป็นเรื่องที่สภามหาวิทยาลัยต้องทำให้โปร่งใสและเปิดให้ประชาคมเข้าไปมีส่วนร่วม มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยของคนอีสาน จึงต้องเปิดโอกาสให้คนอีสานเข้ามาร่วมกำหนดทิศทางของมหาวิทยาลัย”                

ด้านนายนิพิฐพนธ์ คำยศ กลุ่มเสรีนนทรี ม.เกษตร ผู้ประสานงานแนวร่วมนิสิตนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ซึ่งเป็นองค์กรประสานงานนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ กล่าวว่า “ประเด็นม.นอกระบบ เป็นประเด็นสาธารณะที่ยังไม่ได้มีการสรุปบทเรียนข้อดี-ข้อเสียของการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบตามหลักวิชาการ ซึ่งพวกเราเคยยื่นหนังสือทั้งระดับกระทรวงและยื่นโดยตรงต่อท่านนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า เราไม่ได้คัดค้านการพัฒนาการศึกษา เพียงแต่มีความเห็นว่า การศึกษาต้องเป็นสวัสดิการที่รัฐควรจัดให้ประชาชนเข้าถึงอย่างเท่าเทียม การนำม.ออกนอกระบบโดยปราศจากการมีส่วนร่วมจะเป็นอุปสรรคในการทำสิ่งดังกล่าวให้เป็นจริงได้”                

จากนั้นนักศึกษากลุ่มดังกล่าวได้เดินทางไปยื่นหนังสือร้องเรียนที่คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
 

ที่ พิเศษ/2555                                                                          เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ                                                                                        235/41 ถนนหลังศูนย์ราชการ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
                                                          
6  มิถุนายน  2555
เรื่อง  ขอให้ยุติการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
เรียน  เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
 
                จากสถานการณ์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2555 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้มีหนังสือสอบถามมายังมหาวิทยาลัยขอนแก่นเกี่ยวกับนโยบายการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐว่าประชาคมในมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ยังไม่เห็นด้วยในการแปรสภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีความเห็นสอดคล้องร่วมกันในอันที่ปรับเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐหรือไม่ ปรากฏว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีหนังสือตอบกลับไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุคมศึกษา (สกอ.) ยืนยันความพร้อมในการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ว่าประชาคมที่ไม่เห็นด้วยดังกล่าวมีความเห็นสอดคล้องในอันที่ปรับเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแล้ว โดยที่ข้อเท็จจริงนั้น ยังมีเครือข่ายนักศึกษาที่ไม่เห็นด้วยกับการปรับเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐอยู่ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยขอนแก่นไม่ได้จัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นอย่างทั่วถึง
                จากเหตุการณ์ดังกล่าว เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบเห็นว่า การนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจะส่งผลกระทบต่อนักศึกษาอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านการตัดโอกาสทางการศึกษาของลูกหลานคนยากคนจนในเรื่องค่าเล่าเรียนที่สูงขึ้น ด้านคุณภาพการศึกษาที่ด้อยลง และด้านอุดมการณ์ที่แท้จริงของการศึกษา อีกทั้งการไม่เปิดเผยข้อมูล ลายละเอียดในเรื่องดังกล่าว  ทำให้นักศึกษาและประชาชนไม่สามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐได้  ซึ่งเป็นการขัดต่อหลักการการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง
                 ดังนั้น เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบจึงขอให้ยุติกระบวนการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและเปิดให้มีกระบวนการการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่นจากนักศึกษาและประชาชนอย่างทั่วถึง
ขอแสดงความนับถือ
 
( นางสาวศศิประภา  ไร่สงวน )
ผู้ประสานงานเครือข่ายนักศึกษาคัดค้าน
การนำ มหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ
รายชื่อสนับสนุน
1.ภัทรภรณ์  บุตรศรีภูมิ                              คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2.บุษยา  แจ่มฟ้า                                       คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3.อาภากร  สีหนองโปร่ง                             คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
4.อจิรวดี  เหลาอ่อน                  คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5.วรรณวิศา  เกตุใหม่                 คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
6.วศนี  บุญที                                             คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
7.ศศิประภา  ไร่สงวน                 คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
8.จตุภัทร์  บุญภัทรรักษา                            คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
9.สันต์  เศรษสิทธิ์                                     คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
10.ศุภณัฐ  พูลสน                                      คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
11.วาทินี  ศิริอมรพันธ์                               คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
12.วิภาดา  ประสันแพงศรี                          คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
13.พรรณิภา  ธัญญเจริญ                            คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
14.รัฐศาสตร์  บาทชาลี                              คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
15.สุวิชชากร  พิทังกร                                คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
16.วิชชากร  อนุชน                                    คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
17.สุทธิศักดิ์  ศีรักษา                                คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
18.ธวัชชัย  สังข์สีมา                  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
19.ถิรนัย อาป้อง                                        คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
20.ศิวพันธ์  นาทองบ่อ                               คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
21.วิภานันท์  นามวงศ์                                คณะสัตวแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
22.นรินทร์  เฉยฉิว                                     คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
23.กุลธิดา ยิ่งยืน                                       คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
24.อรพรรณ ลือกระโทก                            คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
25.กัญริญา อินทรา                                    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
26.วัชรพล จงใจภักดิ์                 คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
27.ภูวดล โพธิ์ศรี                                       คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
28.พงศ์ปณต อินทร์พรมมา                        คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
29.อาภากร มงคงปรีดากุล                         คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
30.ศิริศักดิ์ นามศิริ                                     มหาวิทยาลัยขอนแก่น  วิทยาเขตหนองเคย
31.เจย์มิญช์ ชูเลิศ                                     คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
32.วงศกร  สารปรัง                                    คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
33.พิชิต  ชัยสิทธ์                                      คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
34.ธนดล  คงเกษม                                   คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
35.วิทูวัจน์ ทองบุ                                       คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
36.นิติกร  ค้ำชู                                          คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
37.พรเทพ เปรมพงษ์                                คณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
38.พิชญ์พงศ์ ทองศิริกุล                            คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
39.บดินทร์ สมบัติดี                   คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
40.ปฏัก หนุนชู                                          คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
41.ชิดชนก วิสุงเร                                      คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
42.ชนกนันท์ ทรัพย์ซ้อน                           คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
43.เมธา รูปดี                                            คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
44.อรอุมา ลัดดางาม                 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
45.สิทธิกร หาญลคร                  คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
46.อภิจิรา นาเลาห์                                    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
47.พิษณุ แก้วอัคฮาด                                คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
48.อุษณีษ์ ไชยวิเศษ                 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
49.สุพัชชา ภูครองหิน                                คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
50.ประภา ฝ่ายแก้ว                                    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
51.บุษยมาศ บุตรคำโชติ                            คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
52.โชติกะ คำสุขะ                                     คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
53.ธนาวุธ ทองลิ่มสุด                                คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
54.อุษณีษ์ ไชยวิเศษ                 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
55.ภานุพงศ์ ไชยชุมพล                             วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น   มหาวิทยาลัยขอนแก่น
56.กลยุทธ สายกระสุน                              วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น   มหาวิทยาลัยขอนแก่น
57.จิรวิชญ์ ฉิมมานุกูล                                คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
58.วิภาดา ประสันแพงสี                             คณะนิติศาสตร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ร.ร.รัฐเปิดพื้นที่สอนมลายูกลางอักษรยาวี

Posted: 06 Jun 2012 07:29 AM PDT

ภาษาเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ของคนมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คนส่วนใหญ่ในพื้นที่พูดมลายูถิ่นเป็นภาษาแม่ แต่ในอดีตลูกหลานของชาวบ้านกลับไม่ได้รับอนุญาตให้พูดภาษามลายูในโรงเรียนของรัฐ ไม่ต้องเอ่ยถึงการเรียนภาษานี้โดยผ่านระบบโรงเรียนรัฐ ครูในพื้นที่เล่าว่าแต่เดิมใครพูดภาษามลายูในโรงเรียนจะโดนหักเงินครั้งละบาท

ภาษาจึงเป็นประเด็นหัวใจประเด็นหนึ่งที่เป็นเงื่อนไขของความขัดแย้งที่ปะทุขึ้นเป็นความรุนแรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คนมลายูมุสลิมจำนวนหนึ่งมองว่าโรงเรียนเป็นสถานที่ที่รัฐไทยใช้เพื่อกลืนวัฒนธรรมของพวกเขา และนั่นดูเหมือนจะเป็นเหตุผลว่าทำไมโรงเรียนของรัฐหลายร้อยโรงจึงถูกเผา

ท่ามกลางกระแสความรุนแรง ทางศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดลได้ริเริ่มโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาท้องถิ่นและภาษาไทยเป็นสื่อ : กรณีการจัดการศึกษาแบบทวิภาษา (ภาษาไทย - ภาษามลายูถิ่น) ในโรงเรียนเขตพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ขึ้นในปี 2550 เป้าหมายสำคัญของโครงการนี้คือต้องการใช้ทุนทางภาษาและวัฒนธรรมที่เด็กมีอยู่ในการเชื่อมโยงไปสู่ภาษาไทย โดยคาดว่าเด็กจะมีพัฒนาการทางภาษาได้เร็วขึ้น คณะผู้วิจัยมองว่าการใช้ภาษาไทยเป็นสื่อในการเรียนการสอนเพียงอย่างเดียวอย่างที่ปฏิบัติกันมานั้นทำให้ผลการศึกษาของเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของประเทศมาโดยตลอด

โรงเรียนที่เข้าร่วมในโครงการนำร่องนี้มี 4 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านประจัน อ.ยะรัง จ.ปัตตานี โรงเรียนบ้านบึงนำใส อ.รามัน จ.ยะลา โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 10 (บ้านใหม่) อ.เมือง จ.นราธิวาส โรงเรียนตำมะลัง อ.เมือง จ.สตูล โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ในขณะที่โครงการทวิภาษานี้ได้รับความชื่นชมและเป็นที่พอใจของผู้ปกครองที่เห็นว่าบุตรหลานของตนมีพัฒนาการในการเรียนรู้เร็วขึ้น แต่ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากนักคิดมลายูมุสลิมส่วนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการสอนภาษามลายูผ่านอักษรไทยซึ่งเป็นระบบที่ไม่มีการใช้จริงในชีวิตประจำวัน การเขียนภาษามลายูนั้นเขียนได้สองระบบ คือ ใช้อักษรยาวีซึ่งเป็นระบบดั้งเดิมที่ยังคงมีให้เห็นอยู่ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ และการใช้อักษรโรมันซึ่งเป็นระบบมาตรฐานที่ใช้ในประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน เดิมมาเลเซียก็ใช้อักษรยาวีแต่ได้เปลี่ยนไปใช้อักษรโรมันในการเขียนในสมัยที่อังกฤษเข้ามาปกครอง อักษรยาวีจึงเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของคนมลายูที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งก็มีความเสื่อมถอยลง ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาเพราะไม่ได้ถูกถ่ายทอดอย่างเป็นระบบผ่านโรงเรียนของรัฐ เยาวชนจะได้เรียนภาษามลายูอักษรยาวีก็ต่อเมื่อเขาเข้าเรียนวิชาศาสนาอิสลามในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามหรือปอเนาะดั้งเดิม

“แน่นอนที่สุดวิธีการนี้คือวิธีการอาณานิคม” นายมันโซร์ สาและ รองประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ซึ่งเป็นนักจัดรายการวิทยุภาษามลายูในจังหวัดยะลากล่าวถึงโครงการทวิภาษา เขาเป็นผู้หนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการสอนภาษามลายูด้วยอักษรไทย เขามองว่าโครงการนี้มีเจตนาแอบแฝงที่จะทำให้เด็กคุ้นเคยกับภาษาไทยและลืมภาษามลายู เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการผสมกลมกลืน (assimilation) ซึ่งเป็นวิธีการที่รัฐไทยพยายามใช้ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา

นักเรียนรุ่นแรกในโรงเรียนนำร่องทั้งสี่แห่งได้ขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในปีนี้ ซึ่งทางนักวิจัยและผู้บริหารโครงการจะได้ริเริ่มให้มีการสอนการพูดและฟังภาษามลายูกลางและเขียนภาษามลายูด้วยอักษรยาวี โดยในปีถัดไปก็สอนการเขียนด้วยอักษรโรมัน (ในพื้นที่เรียกว่า “รูมี”) ความริเริ่มนี้น่าจะตอบโจทย์ความคลางแคลงใจของคนในพื้นที่ที่ตั้งคำถามกับการใช้อักษรไทยในการเขียนภาษามลายูได้บ้าง

นายแวยูโซะ สามะอาลี รองประธานฝ่ายบริหารโครงการทวิภาษาเปิดเผยว่าการสอนภาษามลายูด้วยอักษรยาวีจะอยู่ในวิชามลายูศึกษา โดยนอกจากภาษาแล้วจะมีการเรียนในเรื่องวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนมลายูมุสลิมด้วย

อ.แวมายิ ปารามัล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษามลายู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการทวิภาษาอธิบายว่าในเทอมแรกนี้จะเน้นที่เรื่องของการพูดและฟังภาษามลายูกลางก่อน เพราะที่ผ่านมาเด็กๆ เรียนภาษามลายูถิ่นซึ่งการออกเสียงจะแตกต่างจากภาษามลายูกลางเล็กน้อย โดยจะเริ่มสอนเขียนแบบอักษรยาวีในเทอมที่สอง โดยในช่วงแรก สื่อการสอนอักษรยาวีจะเป็นเอกสารแบบชั่วคราวและต่อไปจะมีการผลิตตำราด้วย

ศ.ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ ประธานที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤติ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวว่าการนำเอาอักษรยาวีมาสอนนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นั้นอยู่ในแผนตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ในระดับชั้นอนุบาลและประถมตอนต้น เราเน้นที่การฟังและพูด ตอนนี้เราจะเริ่มสอนการอ่านและเขียนด้วยระบบอักษรยาวี และต่อไปในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็จะเริ่มสอนระบบอักษรโรมัน ซึ่งการเชื่อมกับอักษรโรมันจะเป็นการปูพื้นที่มีประโยชน์อย่างสำคัญสำหรับการรวมตัวของประชาคมอาเซียนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

นายมันโซร์กล่าวว่าเห็นด้วยที่ทางโครงการมีการเรียนสอนภาษามลายูด้วยอักษรยาวีและโรมันและคิดว่าโครงการนี้จะมีส่วนทำให้คนในพื้นที่มีทัศนคติต่อรัฐในทางที่ดีขึ้นเพราะเป็นการเปิดพื้นที่ให้กับภาษาท้องถิ่น เขาคิดว่าการริเริ่มนี้จะช่วยลด “ความรู้สึกกดทับ” ที่คนมลายูมุสลิมคิดว่ารัฐไทยต้องการที่จะทำลายอัตลักษณ์ของท้องถิ่น

เขาอธิบายว่าการดำเนินการในเรื่องนี้จะเป็นผลบวกต่อการอธิบายกับประชาคมโลกอีกด้วย โดยเฉพาะกับองค์การความร่วมมืออิสลาม (โอไอซี) ซึ่งได้จับตาการแก้ปัญหาคนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง

ในระหว่างการเยือนจังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วงวันที่ 7 – 13 พฤษภาคม 2555 ตามคำเชิญของรัฐบาลไทย นาย Sayed Kassem El-Masry ซึ่งเป็นที่ปรึกษาและผู้แทนพิเศษของเลขาธิการโอไอซีได้กล่าวว่า “เขารู้สึกดีใจที่เห็นว่ารัฐบาลได้เริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษา เริ่มให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาถิ่น คือการใช้ภาษามลายูควบคู่กับภาษาไทยในสถาบันการศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นมิตรหมายที่ดี และผมได้ทราบว่าเป็นโครงการนำร่องเมื่อหลายปีที่ผ่านมา ….ซึ่งอย่างน้อยจะเป็นการรักษาซึ่งวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในพื้นที่ให้ความสำคัญ”

นายมันโซร์กล่าวว่าผู้แทนระดับสูงโอไอซีได้พูดกับตัวแทนภาคประชาสังคมในภาคใต้ในช่วงที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยว่าเขาจะติดตามดูว่าประเทศไทยให้สิทธิต่อชนกลุ่มน้อยมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะในเรื่องภาษา เพราะว่าภาษาคืออัตลักษณ์ที่สำคัญ ทางโอไอซีสนับสนุนในเรื่องการให้สิทธิกลุ่มชนน้อยอย่างเต็มที่

นอกจากนี้ นายมันโซร์แสดงความเห็นว่าการสอนภาษามลายูด้วยอักษรยาวีและโรมันจะเป็นการพัฒนาศักยภาพทางภาษาให้คนในพื้นที่เพื่อรองรับการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน เขาย้ำว่าภาษามลายูนั้นเป็นภาษาที่มีคนพูดมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน

นอกจากการนำอักษรยาวีและโรมันมาใช้ในการเรียนการสอนในโรงเรียนนำร่องทั้งสี่แห่งแล้ว ศ.ดร.สุวิไลกล่าวว่าในปีนี้จะได้มีการขยายโครงการทวิภาษานี้ไปสู่โรงเรียนอีก 12 แห่งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยทางศอ.บต.จะให้งบประมาณสนับสนุนอีกด้วย

นับว่าเป็นความเคลื่อนไหวก้าวสำคัญของรัฐในการเปิดพื้นที่ให้กับการรักษาอัตลักษณ์ของคนมลายูมุสลิม น่าจับตามองต่อไปว่าจะมีเสียงตอบรับจากคนในพื้นที่อย่างไรบ้าง

 


อ.ต่วนเยาะ สานิ อาจารย์โรงเรียนบ้านประจันกำลังอธิบายรูปแบบวิธีการสอนภาษามลายูสำหรับเด็กเล็กในโครงการทวิภาษาซึ่งใช้วิธีเขียนด้วยอักษรไทย ในปีการศึกษา 2555 นี้จะมีการเริ่มสอนให้นักเรียนชั้นป. 3 เขียนด้วยอักษรยาวี

 

อ.ซาบีดิง สาและดิง ครูโรงเรียนบ้านประจัน กำลังฝึกให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พูดภาษามลายูกลางซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชามลายูศึกษา โดยในเทอมที่สองจะเริ่มสอนการเขียนด้วยอักษรยาวี (ภาพ : ฮัสซัน โตะดง)

 

 


รายชื่อ 12 โรงเรียนใหม่ที่เข้าร่วมโครงการ “โรงเรียนทวิภาษา ” ในปี 2555

นราธิวาส
โรงเรียนกำปงปีแซ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส
โรงเรียนบ้านหัวคลอง อ.ตาบใบ จ.นราธิวาส
โรงเรียนบ้านลูโบ๊ะซามา อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส
โรงเรียนบ้านบูเกะตาโมง อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส

ปัตตานี
โรงเรียนจือโร๊ะ อ.เมือง ปัตตานี
โรงเรียนบ้านลดา อ.เมือง จ.ปัตตานี
โรงเรียนบ้านกรือเซะ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
โรงเรียนบ้านบูโกะ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี
โรงเรียนบ้านบน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี

ยะลา
โรงเรียนบ้านปงตา อ.รามัน จ.ยะลา
โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ อ.รามัน จ.ยะลา
โรงเรียนบ้านปาแดรู อ.ยะหา จ.ยะลา

 

 

 


ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักศึกษาม.อ.ตานีชุมนุม ชวนคนใต้บุกสตูลต้านท่าเรือปากบารา

Posted: 06 Jun 2012 07:21 AM PDT

นักศึกษา ม.อ.ปัตตานี ชุมนุมเชิญชวนคนใต้ ร่วมต้านท่าเรือน้ำลึกปากบารา วันที่ 9-10 มิ.ย.ที่ละงู จังหวัดสตูล ชี้มีแต่นายทุนที่ได้ประโยชน์

เมื่อเวลาประมาณ 15.30 น. วันที่ 6 มิถุนายน 2555 ที่ลานประดู่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี นักศึกษาชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.อ.ปัตตานี ในนามเครือข่ายนักศึกษาเพื่อสังคมภาคใต้ ประมาณ 50 คน ร่วมชุมนุมถือป้ายข้อความเรียกร้องและต่อต้านให้ยุติโครงการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้

นายสุไลมาน บือราเฮง ผู้ประสานงานเครือข่ายนักศึกษาเพื่อสังคมภาคใต้ เปิดเผยว่า กิจกรรมนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เครือข่ายนักศึกษาเพื่อสังคมภาคใต้ ออกมาต่อต้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้

นายสุไลมาน เปิดเผยอีกว่า เป้าหมายในการชุมนุมมี 3 ข้อ ประกอบด้วย 1.เพื่อต้องการให้ความรู้เกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ โดยเฉพาะการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัดสตูล และอุตสาหกรรมที่ยอดหลังจากการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก และชี้แจงให้เห็นถึงผลกระทบของโครงการดังกล่าวต่อประชาชน โดยเฉพาะกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในภาคใต้

2.เพื่อบอกกล่าวถึงบทบาทของนักศึกษาต่อการช่วยเหลือสังคม เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษามีจิตสำนึกในการช่วยเหลือสังคมมากขึ้น และ 3.เพื่อเรียกร้องและเชิญชวนให้นักศึกษา และประชาชนทั่วไปร่วมไปชุมนุมต่อต้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ ที่บริเวณจุดก่อสร้างท่าเรือปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ในวันที่ 9 – 10 มิถุนายน 2555 เวลาประมาณ 09.00 น.

“ขอให้หยุดการพัฒนาที่ทำลายแผ่นดินภาคใต้ สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ผู้ได้ผลประโยชน์ที่แท้จริงคือ นายทุนและรัฐบาล แต่ผู้ที่สูญเสียพื้นที่ทำมาหากินคือประชาชน” นายสุไลมาน ผู้ประสานงานเครือข่ายนักศึกษาเพื่อสังคมภาคใต้ กล่าว

 

นึกไม่ถึง

Posted: 06 Jun 2012 07:17 AM PDT

 

เส้นทางประชาชน ฉบับที่แล้วผมเขียนถึง พ.ร.บ.ปรองดอง ของพลเอกสนธิว่า เนื้อความกฎหมายที่เขียนอย่างนั้น แกจะไปปรองดองกับใคร? ซึ่งบทความนั้น ผมเขียนขึ้นก่อนที่เขาจะนำเข้าสู่สภา

และผลของมันก็เป็นดังคาด คือ พ.ร.บ.ปรองดองฉบับนั้นได้รับการต่อต้านจากทุกสารทิศ  แม้คนเสื้อแดงจะไม่ออกไปต่อต้านกลางถนน แต่คนเสื้อแดงก็มีความรู้สึกไม่พอใจ พ.ร.บ.นั้นกันค่อนข้างจะทั่วหน้า

เพราะ พ.ร.บ.นั้น ได้บัญญัติให้เรื่องราวทางการเมืองที่เกิดขึ้นในรอบ 6 ปีที่ผ่านมานี้ “ เจ๊า” กันหมดในทุกกรณี ก็แปลว่า คนเสื้อแดงที่ตายหรือบาดเจ็บก็ต้องจบลงที่ได้รับเงินเยียวยา โดยไม่ต้องรู้กันว่าความจริงเป็นเช่นไร?  ใครเป็นคน “ สั่งฆ่าประชาชน”  ทั้งยังเอาโทษเอาโพยอะไรไม่ได้กับพวกเผด็จการที่ทำลายประชาธิปไตย  อันหมายถึงคณะ คมช.-ผู้กระทำการรัฐประหาร

ส่วนพวกพันธมารและพรรคประชาธิปัตย์นั้น เขารับไม่ได้กับการที่จะต้องคืนเงิน 46,000 ล้านบาทให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พร้อมๆกับการนิรโทษกรรมให้ในทุกกรณี

เมื่อเนื้อหามันเป็นอย่างนี้ การต่อต้านจากฝ่ายต่างๆมันจึงปรากฎขึ้นอย่างที่เรา-ท่านได้เห็นกันแล้วในวันที่ พ.ร.บ.นั้นเข้าสภา

ผมจึงมีความสงสัยว่า การที่บิ๊กบังเข็ญ พ.ร.บ.อย่างนี้ออกไป มัน “ไม่น่าจะมีความปรารถนาดี” ต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือต่อขบวนประชาธิปไตย โดยเฉพาะคนเสื้อแดง  หากแต่มันจะยิ่งทำให้สังคมมีความขัดแย้งรุนแรงมากยิ่งขึ้น  มันทำให้พันธมารและกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยที่เคยสนับสนุนการทำรัฐประหารล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณและพรรคประชาธิปัตย์ กลับมารวมตัวกันได้อีกครั้งหนึ่ง ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ พวกเขาอยู่ในสภาพแตกแยกกันและกำลังก็เหลือน้อยเต็มที

การเสนอกฎหมายอย่างนี้จึงอ่านเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากต้องอ่านว่า เป็นกฎหมาย ปรองดองฉบับ “ ลับ-ลวง-พราง” ที่หวังจะให้เกิดสถานการณ์ปั่นป่วนไปทุกองคาพยพ และในที่สุด สังคมก็ต้องถูกบีบให้ต้องออกในทางรัฐประหาร

และจะได้ปิดประตูการเดินทางกลับประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างถาวร !

แต่แผนการอย่างนั้นต้อง “ แป๊ก” เพราะคนเสื้อแดงรู้ทันและไม่ออกไปเล่นด้วยดังที่กล่าวมา

ในสภานั้น พรรคประชาธิปัตย์ได้ “ ทุ่มสุดตัว” ก่อหวอดสร้างเงื่อนไขแห่งความปั่นป่วนนับแต่เปิดสภา  บทบาทที่เคยลวงโลกว่าพวกเขาเป็นนักประชาธิปไตยนั้น ได้เปลือยออกมาอย่างล่อนจ้อนให้คนทั้งโลกได้เห็นกันชัดเจนว่า  เนื้อแท้แล้วพวกเขาคือ อันธพาลในรัฐสภา นั่นเอง  เมื่อไม่ได้ดังใจพวกเขา ก็แสดงสันดานทรามต่างๆออกมาจนหมดสิ้น ใช้คำพูดที่หยาบคายเป็นที่สุดอย่างที่เราไม่เคยได้ยินกันมาก่อน  ทั้งบุกขึ้นไปลากประธานสภาลงจากเก้าอี้ เอาเอกสารขว้างใส่ประธาน ลากเก้าอี้ประธานหนี ตลอดไปถึงการบีบคอ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลที่เอาโทรศัพท์มือถือออกมาถ่ายรูป  อาการที่พลพรรคประชาธิปัตย์แสดงออกในวันนั้น ถือว่า ได้ทำลายเกียรติภูมิ ของสภาผู้แทนราษฎร  เกียรติภูมิของประธานสภา ให้หมดลงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นเรื่องที่เหนือการคาดคิดของผู้รักประชาธิปไตยมั้งมวล

ในประเทศประชาธิปไตยต่างๆนั้น ก็มีข้อขัดแย้งถึงกับทะเลาะกันในสภาเป็นธรรมดา แต่ก็จะเป็นการทะเลาะ ชกต่อย หรือขว้างปากันระหว่าง ส.ส. กับ ส.ส. ไม่มีประเทศไหนในโลกที่จะก้าวล่วงไปจนถึงประธานสภาอย่างที่พรรคประชาธิปัตย์กระทำต่อสภาไทย

เห็นอาการป่าเถื่อนทางการเมืองของพลพรรคประชาธิปัตย์วันนั้นแล้ว ทำให้นึกไปถึงตอนปี 2553 ที่คนเสื้อแดงบุกไปถึงรัฐสภา เพื่อยับยั้งการออกกฎหมายควบคุมม็อบของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์   มีการสร้างสถานการณ์ยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ม็อบ  แล้วส.ส.พรรคประชาธิปัตย์นายหนึ่งได้ลากปืนกลอูซี่ อันเป็นอาวุธสงครามออกมาถือพร้อมจะยิงเพื่อคุ้มกันนายสุเทพที่บริเวณใต้ถุนสภา

นี่แสดงให้เห็นว่าพวกเขานั้นเป็น “ อันธพาลการเมือง”  ซึ่งไม่น่าจะมาเป็น “ ผู้ทรงเกียรติในสภา” เลย

สัปดาห์ที่แล้วนั้น   ประเทศไทยยังโชคดีที่คนเสื้อแดงยังมีสติสัมปชัญญะ วิเคราะห์เหตุการณ์ได้ชัด จึงไม่ออกไปชุมนุมหน้าสภากับเขาด้วย  เพราะหากเสื้อแดงไปชุมนุมและเกิดตีกันกับม็อบพันธมาร  ก็ลองนึกดูเถิดว่าหากหน้าสภาตีกันนัวเนีย  ในสภาก็ฟัดกันจนประชุมกันไม่ได้  โอกาสของ “ กรรมการ” ก็จะมาในทันที นั่นคือการยึดอำนาจเพื่อรักษาความสงบ ซึ่งฝ่ายอำมาตย์คอยจังหวะอยู่ตลอดเวลา

แต่เกมนี้ไม่สำเร็จเพราะคนเสื้อแดงไม่ออกไปผสมโรงดังกล่าวมา

เมื่อแผน 1 ไม่เข้าง่าม พวกเขาจึงเดินแผน 2 โดยให้สมุน คมช. 4-5 คน ไปยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญกล่าวหาว่า การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลเสนอต่อสภานั้น อาจมีผลทำให้เป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตาม ม. 68 แห่งรัฐธรรมนูญ 2550

ยื่นในวันที่ 30 และ 31  พฤษภาคม   วันที่ 1 มิถุนายน  ศาลรัฐธรรมนูญสั่งการให้สภายุติการลงมติที่จะมีขึ้นในวันที่ 5 มิ.ย.อย่างเด็ดขาด  !

รับลูกกันได้อย่างรวดเร็ว  ทันใจเหลือเกิน !

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หยุดคิดสักนิดก่อนเดินหน้าโหวตร่างรัฐธรรมนูญ

Posted: 06 Jun 2012 07:11 AM PDT

วันนี้ขอถอดหมวก “นักวิชาการ” วิเคราะห์ความเป็นไปได้เกี่ยวกับสถานการณ์ที่ร้ายแรงที่สุด (worst case scenario) ของการเดินหน้าพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในวาระที่สามและนำเสนอทางเลือกอื่น

เบื้องต้น เห็นว่า คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่รับคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ไว้พิจารณา และคำสั่งให้รัฐสภารอการดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุผลดังที่มีนักวิชาการและนักกฎหมายหลายภาคส่วนนำเสนอไปแล้ว

ก่อนที่รัฐสภาจะเดินหน้าพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในวาระที่สาม ตามมาตรา 291 (5) ทั้ง ๆ ที่ยังมีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้ชะลอการดำเนินการไปก่อน ท่านสมาชิกรัฐสภาได้โปรดไตร่ตรองและตอบคำถามต่อไปนี้เสียก่อน

1. สถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2549 การชุมนุมพันธมิตร ยุบสภา บอยคอตเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ เรื่อยมาจนถึงการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 หรือไม่

การดึงดันเดินหน้าพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป จะถูกใช้เป็นข้ออ้างปลุกม็อบ และสร้างความชอบธรรมให้แก่เทียบเชิญรัฐประหารที่ปลิวว่อนเกลื่อนกรุงอยู่ ณ ขณะนี้ ด้วยหรือไม่

2. การพิจารณาวาระที่สามต่อไปนั้นเป็นไปได้หรือไม่ที่จะนำมาซึ่งความรับผิดทางกฎหมายต่อไปนี้

2.1 สมาชิกรัฐสภาที่โหวตเห็นชอบให้ผ่านร่างรัฐธรรมนูญในวาระสาม เสี่ยงต่อการถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ (รธน.) มาตรา 270 ในข้อหา“ส่อว่า”จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

เสียงของพรรคฝ่ายค้านที่จะชงเรื่องเกิน 1 ใน 4 อยู่แล้ว หากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) มีมติเสียงข้างมาก (5 จาก 9 ท่าน) ว่าข้อกล่าวหามีมูล “ส.ส. ส.ว. ที่ถูกกล่าวหาจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ จนกว่าวุฒิสภาจะมีมติ” ณ จุดนี้ มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ ปปช. จะชี้มูลดังกล่าว

เมื่อชี้มูล ส.ส. พรรคร่วมรัฐบาลที่โหวตเห็นชอบร่าง รธน. กว่า 290 ท่านโดยประมาณ แม้ยังดำรงตำแหน่ง แต่ก็ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ทำให้เหลือ ส.ส. เฉพาะพรรคฝ่ายค้านในสภาผู้แทนฯ สถานการณ์การเมืองไทยจะเป็นเช่นไร

ยิ่งไปกว่านั้น เป็นไปได้หรือไม่ที่ ปปช. อาจชี้มูลในระหว่างสมัยประชุมสามัญทั่วไปหาก ส.ส. ฝ่ายค้านยื่นญัตติไม่ไว้วางใจในระหว่างนั้น นายกรัฐมนตรีก็ไม่อาจยุบสภาได้ ผลการโหวตในสภาจะเป็นเช่นไร และน่าจะจินตนาการกันต่อ ๆ ไปได้

เมื่อเรื่องกลับมาจาก ปปช. ในการลงมติเพื่อถอดถอนของวุฒิสภา ส.ว. ที่ถูกกล่าวหาด้วยข้อนี้ทำหน้าที่ไม่ได้ ดังนั้น คะแนนเสียง 3 ใน 5 (ประมาณ 66 เสียง) ของจำนวน ส.ว. เท่าที่มีอยู่(ประมาณ 110 คน) ที่ต้องใช้ในการลงมติถอดถอนจึงไม่ใช่ตัวเลขที่เป็นไปไม่ได้เลยเสียทีเดียวเพราะเพียงแค่ ส.ว. สรรหาก็ 73 คนแล้ว

อนึ่ง จำนวนเสียงขั้นต่ำเพื่อผ่านวาระ 3 คือ 325 เสียง กลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลจึงน่าจะต้องการเสียง ส.ว. ประมาณการคร่าว ๆ บวก/ลบ 40 ทั้งนี้ ไม่รวมปัจจัยอื่น ๆ เช่น หาก ส.ส. พรรคร่วมอื่นไม่เอาด้วย ก็จำเป็นต้องมีเสียง ส.ว. มากขึ้น ดังนั้น จำนวน ส.ว. ที่เหลืออยู่ในกระบวนการถอดถอนจะอยู่ที่ประมาณ 110 คน

ผลของการถอดถอนก็คือ ส.ส. ส.ว. ดังกล่าว ต้องพ้นจากตำแหน่งทันที และถูกตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ เป็นเวลา 5 ปี

2.2 แม้ ส.ส. ส.ว. จะมิใช่ “เจ้าพนักงาน” ตามประมวลกฎหมายอาญา และมิใช่ “ข้าราชการการเมือง” ตาม พรบ. ข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 แต่ก็เป็น “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ตามพรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ในฐานะ “ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง”

หาก ปปช.เกิดมีเหตุสงสัย (อาจต่อเนื่องจากข้อ 2.1) หรือมีผู้กล่าวหาต่อ ปปช. ว่า มีการกระทำผิดตามมาตรา 123/1 ของ พรบ. ดังกล่าว  และ ป.ป.ช. มีมติว่าข้อกล่าวหามีมูล เรื่องก็จะไปสู่อัยการสูงสุด เพื่อยื่นคำฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งในกรณีนี้ ท่าน ส.ส. ส.ว. จะไม่มีความคุ้มกันตาม รธน. ม. 131 (ดู รธน. ม. 277 วรรคสาม) ดังนั้น จึงยื่นฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาได้ตลอดเวลาไม่ติดข้อจำกัดในเรื่องสมัยประชุม

ยิ่งไปกว่านั้น หากศาลพิพากษาว่า การฝ่าฝืนคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญจัดระเบียบวาระการประชุมแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระที่สาม (ประธานรัฐสภา) และการลงมติเห็นชอบให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ (ส.ส. ส.ว.) เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตามมาตรา 123/1 กฎหมาย ปปช. ขึ้นมา สถานการณ์การเมืองไทยจะเป็นเช่นไร

หากศาลพิพากษาให้จำคุก แม้จะรอการลงโทษ สมาชิกภาพของ ส.ส. และ ส.ว. เหล่านั้น ก็จะสิ้นสุดลงทันที และตลอดระยะเวลาที่รอการลงโทษบวกไปอีก 5 ปีจะลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้ (รธน. ม. 102 (5) และ ปอ. ม.56-57)

2.3 การลงมติในวาระที่สามทั้ง ๆ ที่ยังมีคำสั่งศาลคาอยู่นี้ อาจถูกศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเหตุยุบพรรคการเมืองที่ ส.ส. ในสังกัดโหวตเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ เพราะขณะนี้ คดีมาตรา 68 ก็ตั้งแท่นรออยู่ในศาลแล้ว-- เสี่ยงถูกยุบพรรคตามวรรคสามและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการพรรคตามวรรค 4 หรือไม่

ทั้งนี้ แม้ตามหลักกฎหมายยุบพรรคในรัฐเสรีประชาธิปไตยและตราสารด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรณีเช่นนี้ไม่อาจถือเป็นเหตุแห่งการยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งได้แน่ ๆ แต่ผลการตัดสินหลายคดีที่ผ่านมา ล้วนบ่งชี้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญไทยมิได้ถือตามหลักกฎหมายสากลดังกล่าว (ประเด็นนี้มิได้วิจารณ์ลอย ๆ แต่มีงานวิจัยรองรับ)

3. การตอบโต้การก้าวล่วงอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภาโดยศาลรัฐธรรมนูญนั้น สามารถกระทำโดยช่องทางอื่นที่มิใช่การเดินหน้าพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในวาระที่สาม  ได้หรือไม่ อาทิ
3.1 การยื่นถอดถอนตุลาการรัฐธรรมนูญออกจากตำแหน่งตามรธน. ม. 270

3.2 การเร่งพิจารณากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ตามรธน. ม. 216 วรรคหก ให้แล้วเสร็จเสียที (ดูม. 300 วรรคห้า) เพื่อมิให้มีช่องทางใช้ข้อกำหนดศาลโยงไปใช้วิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ. แพ่ง เช่นนี้ได้อีก รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการรับพิจารณาคำร้องตามรธน. ม. 68 ให้ชัดเจน เช่นเดียวกันกับกรณีการสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลรัฐธรรมนูญจะมีได้ในกรณีใดบ้างและภายใต้เงื่อนไขเช่นไร

3.3 การเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับองค์ประกอบ ที่มา และอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ในวาระโอกาสต่อ ๆ ไป

3.4 การเสนอญัตติให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาลงมติประกาศความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ชะลอการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในวาระที่สามออกไปก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย

กล่าวคือ ณ ขณะนี้ ตามสารบบงาน ยังไม่ถือว่ารัฐสภารับทราบคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวแม้สมาชิกรัฐสภาแต่ละคนจะทราบจากสื่อต่าง ๆ แล้วก็ตาม ทั้งนี้ ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องมีการประชุมรัฐสภาเพื่อให้เลขาธิการสภาผู้แทนฯ แจ้งคำสั่งดังกล่าวต่อที่ประชุมรัฐสภา ในการนี้ ให้สมาชิกรัฐสภาเสนอญัตติที่ 1 รับทราบคำสั่งศาลและขอให้มีมติชะลอการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญออกไปก่อน  จากนั้น เสนอญัตติที่ 2 ขอให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณาลงมติประกาศความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญของคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ (การรับคำร้องตามมาตรา 68 และคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว) อย่างเป็นทางการ เพื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์รัฐสภาไทย

แม้ทางเลือกนี้ดูจะย้อนแย้งกันอยู่ในที เพราะทางหนึ่ง บอกว่า คำสั่งไม่ชอบ ซึ่งโดยตรรกะ เมื่อไม่ชอบ ก็ไม่สมควรที่รัฐสภาจะปฏิบัติตาม แต่อีกทางหนึ่ง กลับยอมรับสภาพบังคับของคำสั่งนั้นโดยยินยอมชะลอการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แต่ทางเลือกนี้ ก็เสี่ยงต่อความรับผิดต่าง ๆ น้อยกว่า และเป็นช่องโหว่นำไปสู่เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์น้อยกว่า การยืนยันอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภากลับไป โดยพิจารณาวาระที่สามต่อไปในทันที

การตอบโต้การใช้อำนาจระหว่างกันขององค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในรัฐเสรีประชาธิปไตยทั้งหลาย หากแต่เมื่อใดที่เหตุการณ์เช่นนั้นบังเกิดขึ้นบนพื้นปฐพีแห่งนี้ ท่าน ส.ส. และ ส.ว. ทุกท่านโปรดตระหนักไว้ว่า การตัดสินใจของท่านในครานี้ อาจนำไปสู่ทางตันทางการเมือง รัฐประหาร และการนองเลือด

.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น