ประชาไท | Prachatai3.info |
- เก็บสตูลไว้ให้ลูกหลาน ชีวิตและศรัทธาของคนสตูล
- กองทัพสหรัฐว้าซื้ออาวุธจากเกาหลีเหนือเสริมทัพ
- สรส. บุกทำเนียบฯ ขอขึ้นเงินเดือน 5%
- ทรูฯ ปรับข้อความขอโทษสมาชิก กสทช.จี้เร่งถ่ายบอลยูโร
- ศชต.อินเทรนด์ สั่งจัดแถวภาษาอังกฤษ ทำป้าย 3 ภาษารับอาเซียน
- 24 มิถุนายน 2555 วันประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานคร
- ผู้ป่วยมะเร็ววอนยิ่งลักษณ์ลดเหลื่อม บัตรทองไม่ได้ยาแพง มีแต่ ขรก.เบิกได้
- โวหารและความเห็นต่างกฎหมายหมิ่นฯ (2): อภิปรายโดยแอนดรูว์ มาร์แชลและ ส.ศิวรักษ์
- เสียงไม่ถึงครึ่ง! สภาไม่ยอมพิจารณาเรื่อง คำสั่งศาล รธน. มีผลผูกพันรัฐสภาหรือไม่
- ทูตซาอุยังหวังไทยแก้ปมคดีเพชรซาอุ
- Status: ปกิณกะจากอาระกัน
- ถามหาความคืบหน้าระบบแจ้งเตือน-อพยพ หลังเหตุโรงงานระเบิดในมาบตาพุด
- กองกำลังคะเรนนี KNPP เจรจาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่าแล้ว
- อดีต ‘วาดะห์’ รวมกลุ่ม? ถกการเมืองเรื่องดับไฟใต้
เก็บสตูลไว้ให้ลูกหลาน ชีวิตและศรัทธาของคนสตูล Posted: 12 Jun 2012 01:10 PM PDT
รายงานบรรยากาศ เวที “สัญญาประชาคมคนสตูลไม่เอาท่าเรืออุตสาหกรรมปากบารา” ที่จุดชมวิวลานสาธารณะ 18 ล้าน ชายหาดปากบารา ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล และการเตรียมงานโดยเครือข่ายประชาชนตำบลปากน้ำ เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาภาคใต้ และเครือข่ายรักจังสตูล เมื่อวันที่ 9-10 มิ.ย.55 พร้อมเหตุผลการคัดค้านโครงการขนาดใหญ่ของคนในพื้นที่ “โลกปัจจุบันมันต้องมองถึงระบบธรรมชาติ ถ้ามัวแต่ไม่คัดค้าน ปล่อยให้มันเกิดขึ้น หรือมัวแต่ปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น แล้วสังคมจะพูดทำไมเรื่องโลกร้อน สังคมจะพูดทำไมเรื่องทรัพยากร ผมไม่ได้บอกว่าเราไม่ต้องการอุตสาหกรรม แต่เราขอต้องการแบบ เราขอได้ไหมอุตสาหกรรมที่เข้ามาต้องสอดคลองกับวิถีชีวิต สอดคล้องกับพื้นที่ แล้วก็ไม่ทำลายธรรมชาติ” วัชระ เศรษฐขาว นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี “วันนี้เราต่างขอบคุณบรรพบุรุษของเราที่เก็บทรัพยากร และแหล่งอาหาร ไว้ให้เราได้ใช้ แต่วันข้างหน้า หากเราไม่ได้ลงมือปกป้องทรัพยากร และแหล่งอาหาร ลูกหลานของเราคงตราหน้าว่าเราช่างเห็นแก่ตัว ไม่ได้รัก และเก็บสิ่งดีงามไว้ให้พวกเขา” ถ้อยคำจากผู้จัดทำ ชายหาดปากบารา จ.สตูล คือพื้นที่ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราและลานกองสินค้า โดยโครงการจะมีการถมทะเล ใกล้แนวน้ำลึก 4.2 กิโลเมตร ทั้งนี้ หลังจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกและถมทะเล ระยะที่ 1 บริเวณปากคลองปากบารา อ.ละงู จ.สตูล เมื่อวันที่ 30 ต.ค.52 กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการก็เดินหน้าขอให้มีการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราเพื่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จำนวน 4,734 – 0 – 62 ไร่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||
กองทัพสหรัฐว้าซื้ออาวุธจากเกาหลีเหนือเสริมทัพ Posted: 12 Jun 2012 12:08 PM PDT กองกำลังว้า UWSA เสริมสร้างศักยภาพกองทัพ จัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ สำนักข่าวฉาน อ้างอิงแหล่งข่าวจากชายแดนรัฐฉาน – จีน ซึ่งรายงานว่า ตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้ กองทัพสหรัฐว้า (United Wa State Army - UWSA) ซึ่งมีกองบัญชาการใหญ่อยู่ที่เมื แหล่งข่าวเผยว่า อาวุธที่ถูกส่งขายให้กองกำลังว้ อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวไม่ได้เปิดเผยรายละเอี โดยเจ้าโจงตาง ผู้นำด้านการทหารของ UWSA ได้กล่าวเนื่องในวันก่อตั้ กองทัพสหรัฐว้า UWSA ประกาศแยกตัวออกจากพรรคคอมมิวนิ ทั้งนี้ กองทัพสหรัฐว้า UWSA ถือเป็นกองกำลังติดอาวุธใหญ่ที่ ก่อนหน้านี้ กองทัพสหรัฐว้า UWSA ถูกทางการพม่ากดดันแปรสถานะเป็ ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ http://www.khonkhurtai.org/
"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||
สรส. บุกทำเนียบฯ ขอขึ้นเงินเดือน 5% Posted: 12 Jun 2012 10:27 AM PDT 12 มิ.ย. 55 - ที่ประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีออกมารับหนังสือร้องเรียนจากนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) แทนนายกรัฐมนตรี ?ซึ่งหนังสือดังกล่าวเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาแก้ไขข้อเรียกร้องของ ผู้ใช้แรงงาน ที่ให้ปรับอัตราเงินเดือนให้แก่พนักงาน รัฐวิสาหกิจเช่นเดียวกับข้าราชการและเป็นไปตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐ วิสาหกิจสัมพันธ์(ครส.) ในอัตราร้อยละ5 เท่ากันทุกตำแหน่ง สืบเนื่องจากมติครม.รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้กำหนดไว้ว่าให้ปรับเงินเดือนร้อยละ 5 แต่ไม่เกิน5หมื่นบาท โดยมติดังกล่าวถือว่าไม่เคารพหลักการไตรภาคี และเลือกปฏิบัติส่งผลกระทบต่อโครงสร้างเงินเดือนและขวัญกำลัง ซึ่ง ร.ต.อ.เฉลิมรับปากที่จะผลักดันเรื่องนี้เข้าที่ประชุมกลั่นกรองคณะ 4 ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลังเป็นประธานให้พิจารณาต่อไป ที่มาข่าว: แนวหน้า | |||||||||||||||||
ทรูฯ ปรับข้อความขอโทษสมาชิก กสทช.จี้เร่งถ่ายบอลยูโร Posted: 12 Jun 2012 10:17 AM PDT ทรูฯ ปรับข้อความขอโทษสมาชิกจอดำ หลังเจอแกรมมี่ออกแถลงการณ์อัดกลับ ด้านกสทช.เข้มร่อนหนังสือ บังคับให้ถ่ายทอดบอลยูโร ภายในวันที่ 12 มิ.ย. อ้างเหตุผลที่ให้มาฟังไม่ขึ้น (ที่มาภาพ: มติชนออนไลน์) 12 มิ.ย. 55 - มติชนออนไลน์รายงานว่ากรณีปัญหาการแพร่ภาพ ศึกฟุตบอลยูโร 2012 ความเคลื่อนไหวล่าสุดภายหลังแกรมมี่ออกมาแถลงถึงเบื้องหลังของการเจรจากับทรูวิชั่นส์ โดยเรียกร้องให้ทรูวิชั่นส์ทำความเข้าใจกับสมาชิกอย่างตรงไปตรงมา อย่าให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่เป็นผู้รับผิดชอบในปัญหา ซึ่งการเรียกร้องดังกล่าว ส่งผลให้ทรูวิชั่น ปรับข้อความแถลงการณ์ต่อสมาชิกในช่วงจอดำ โดยใช้คำแถลงการณ์ของสถานีเข้ามาแทน โดยในช่วงจอดำ ช่วงแรก ทรูวิชั่นส์ แถลงการณ์ต่อสมาชิกว่า เนื่องจากการระงับการเผยเเพร่จากช่องฟรีทีวี 3, 5, 9 ตามข้อตกลงกับผู้ถือลิขสิทธิ์ (บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่) โดยจำกัดสิทธิ์การถ่ายทอดต่อ ฟุตบอลยูโร ไม่ให้เผยเเพร่ในทุกระบบทั่วประเทศ ทำให้ทรูวิชั่นส์มีความรู้สึกผิดหวังต่อการจํากัดสิทธิ์ของฟรีทีวีในครั้งนี้ เพราะตลอดมานั้นไม่เคยมีการจํากัดสิทธิ์สาธารณชนในการเผยเเพร่ในกรณีช่องฟรีทีวีมาก่อน ต่อมาเมื่อแกรมมี่ออกมาแถลงข่าว เรียกร้องให้ ทรูวิชั่นส์แถลงการณ์อย่างตรงไปตรงมา ทางทรูวิชั่นส์ได้เปลี่ยนข้อความแถลงการณ์ที่เป็นของสถานีฯ โดยอ้างถึงข้อกำหนดของสหพันธ์แห่งชาติยุโรปแทน ทั้งนี้ นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการบริหารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เปิดเผยว่า ได้เจรจากับนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ทรูวิชั่นส์ แต่ยังหาทางออกเรื่องนี้ไม่ได้ เพราะหากแกรมมี่ปล่อยสัญญาณให้ทรูวิชั่นส์ แล้วจะร่วมกันรับผิดชอบลูกค้าทรูที่ซื้อกล่องจีเอ็มเอ็มแซทไปอย่างไร และจะช่วยแกรมมี่อย่างไร เพื่อไม่ให้ประชาชนมองว่าหลอกขายกล่อง กสทช.จี้ทรูเร่งถ่ายบอลยูโร จีเอ็มเอ็มเกริ่นขอแลกสิทธิ์ UCL ด้านไทยโพสต์รายงานว่าสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทำหนังสือถึง บมจ.ทรู วิชั่นส์ แจ้งเตือนให้ทรูวิชั่นส์ หาทางแก้ไขปัญหาจอดำ ไม่สามารถถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร 2012 ได้ โดยในหนังสือจาก กสทช. ระบุว่า เหตุผลที่ทรูวิชั่นส์อ้างว่า บริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด ผู้ได้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลยูโร 2012 ไม่ยินยอมให้ทรูวิชั่นส์ถ่ายทอดสดนั้น เป็นเพียงการกล่าวอ้างที่ปราศจากหลักฐานประกอบ จึงไม่สามารถนำมาใช้ในทางกฎหมายได้ ดังนั้น ทาง กสทช.จึงเตือนให้ทรูวิชั่นส์ เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อเป็นการรักษาสิทธิ์ของสมาชิกให้เป็นธรรม โดยกำหนดให้รายงานผลการแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จภายใน 16.30 น. ของวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา รวมทั้ง ต้องเสียค่าปรับวันละ 20,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน เป็นต้นไป จนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งแก้ไขให้แล้วเสร็จ อย่างไรก็ดี หลังจากนั้น ทาง ทรูวิชั่นส์ ได้ทำหนังสือตอบโต้คำสั่ง "กสทช." ดังกล่าว โดย นายอาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา กรรมการผู้จัดการ ทรูวิชั่นส์ ได้ส่งหนังสือกลับไปยัง กสทช. โดยระบุว่า บริษัททรูฯ เห็นว่าคำสั่งของ กสทช.คลาดเคลื่อน ไม่ถูกต้องและไม่อาจรับฟังได้ ทั้งนี้ยังไม่ปรากฎว่า บริษัททรูฯ ทำผิดตาม พ.ร.บ.องค์การจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2551 ที่ให้อำนาจ กสทช.ชำระค่าปรับทางปกครองได้ ในจดหมายของนายอาณัติ ระบุอีกว่า สัญญาณภาพรายการฟุตบอลยูโร 2012 เป็นลิขสิทธิ์ของ บมจ.จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ที่ให้เผยแพร่รายการภายในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว และกลุ่มบริษัทจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ยังคงยืนยันไม่ให้ความยินยอมในการเผยแพร่สัญญาณผ่านทางกล่องสัญญาณเคเบิลทีวีของทรูฯ และหากบริษัททรูฯ แพร่สัญญาณโดยละเมิดลิขสิทธิ์ กสทช.อาจพักใช้หรือพักใบอนุญาต “บริษัทฯ ขอยืนว่า จะใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดในการปฏิบัติตามข้อกำหนดในเงื่อนไขการให้บริการและการเผยแพร่โฆษณาของบริษัท และภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย พร้อมทั้งสงวนสิทธิในการโต้แย้งอุทธรณ์คำสั่งหรือมาตรการบังคับใดๆ ในเรื่องดังกล่าวจนถึงที่สุด” นายอาณัติ ระบุในหนังสือถึงกสทช.พร้อมทั้งเรียกร้องให้ กสทช.ทบทวนอย่างรอบคอบอีกครั้ง และยกเลิกหรือแก้ไขคำสั่ง ขณะเดียวกัน ทางด้านสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้เชิญตัวแทนผู้บริหารจากคู่กรณีจากจีเอ็มเอ็ม แซท และ ทรู วิชั่นส์ มาหารือถึงกรณีมีผู้บริโภคร้องเรียนไม่สามารถดูถ่ายทอดสดฟุตบอล ยูโร 2012 ทางฟรีทีวี ผ่านจาน ทรู วิชั่นส์ ทั้งนี้ นายจิรชัย มูลทองโร่ย รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กล่าวว่า ได้เชิญ 2 บริษัทมาไกล่เกลี่ย จากสมาชิกของ ทรูฯ ประมาณ 20 คนร้องเรียนเข้ามา อย่างไรก็ดี หลังการหารือ นายเดียว วรตั้งตระกูล กรรมการผู้จัดการสายงาน แพลตฟอร์ม สเตทติจี บริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ยังย้ำคำเดิมต้องรอไฟเขียวจากยูฟ่า-เจ้าของสิทธิ์ที่ไปซื้อมาเผยแพร่ในประเทศไทย ว่าจะให้ ทรูฯ สามารถถ่ายทอดสดเกมการแข่งขันทางฟรีทีวีผ่านเครื่องรับตนเองได้หรือไม่ โดยยังไม่ทราบวันและเวลาที่จะได้รับคำตอบแน่นอน พร้อมทั้งระบุหากสามารถทำได้ ทางด้านทรูฯ จะต้องนำลิขสิทธิ์ถ่ายทอดกีฬาของตนเองที่ออกทางช่องฟรีทีวีฤดูกาลหน้ามาเป็นข้อแลกเปลี่ยน นำโดยศึก ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีก (UCL). | |||||||||||||||||
ศชต.อินเทรนด์ สั่งจัดแถวภาษาอังกฤษ ทำป้าย 3 ภาษารับอาเซียน Posted: 12 Jun 2012 08:34 AM PDT
พล.ต.ท.ไพฑูรย์ ชูชัยยะ ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศชต.) เปิดเผยว่า ศชต.มีแนวคิดที่จะจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ทั้งอักษรรูมีและอักษรยาวี ภายใน ศชต.และหน่วยงานในสังกัดทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มารับบริการ พล.ต.ท.ไพฑูรย์ เปิดเผยอีกว่า ขณะนี้การจัดทำป้าย 3 ภาษาของหน่วยงานในสังกัด ศชต. หลายแห่งยังไม่ได้จัดทำเป็นรูปธรรม มีเพียงป้ายประชาสัมพันธ์และป้ายต้อนรับเท่านั้น “ส่วนการจัดทำป้ายหน่วยงานให้มี 3 ภาษานั้น จำเป็นต้องทำป้ายใหม่ขึ้นมา แยกออกจากป้ายเดิม เนื่องจากตามระเบียบของทางราชการที่ไม่สามารถทุบป้ายเดิมทิ้งได้” พล.ต.ท.ไพฑูรย์ กล่าว พล.ต.ท.ไพฑูรย์ เปิดเผยด้วยว่า ศชต.ยังได้เริ่มโครงการภาษามลายูวันละคำด้วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นคนนอกพื้นที่ได้เรียนรู้ภาษามลายูและเข้าใจความหมาย โดยเริ่มดำเนินการภายใน ศชต.ก่อน พล.ต.ท.ไพฑูรย์ เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้สถานีตำรวจภูธรต่างๆ ในจังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการจัดทำป้าย 3 ภาษามาแล้ว ตนจึงนำมาใช้กับ ศชต.ด้วย ตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 นอกจากนี้ยังสั่งการให้มีการสั่งจัดแถวเคารพธงชาติในช่วงเช้าเป็นภาษาอังกฤษด้วย เพื่อเป็นการต้อนรับการเป็นประชาคมอาเซียน ร.ต.ต.พายัพ เจริญกัลป์ รองสารวัตรปราบปราม สถานีตำรวจภูธร (สวป.สภ.) ไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ช่วยราชการที่ ศชต. ทำหน้าที่สั่งจัดแถวเคารพธงชาติ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีการสั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าแถวเคารพธงชาติตอนเช้าเป็นภาษาไทยมาตลอด แต่ระยะหลังมานี้ ผู้บัญชาการ ศชต.มีนโยบายให้ใช้คำสั่งเข้าแถวเคารพธงชาติในช่วงเช้าเป็นภาษาอังกฤษ “วิธีการคือ ในระยะเริ่มต้นจะมีตำรวจที่เป็นต้นแบบหน้าแถว เป็นผู้ทำตามคำสั่งที่เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้ตำรวจคนอื่นที่อยู่ในแถวทำตาม แต่หลังจากที่ทุกคนเริ่มชินกับคำสั่งภาษาอังกฤษแล้ว ทุกคนก็จะทำตามได้โดยไม่ต้องมีต้นแบบนำ” ร.ต.ต.พายัพ กล่าว
สำหรับคำสั่งในการจัดแถวมีหลายคำสั่ง ดังนี้ คำกล่าวนายตำรวจเวรอำนวยการ
การรายงานของนายร้อยตำรวจเวร
การรายงานตัวกรณีผู้บังคับบัญชามาตรวจเยี่ยม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||
24 มิถุนายน 2555 วันประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานคร Posted: 12 Jun 2012 08:19 AM PDT วันที่ 24 มิถุนายนในปีนี้นอกจากจะเป็นวันระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยที่เปลี่ยนจากการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้ว วันที่ 24 มิถุนายน 2555 นี้ในเวลาบ่ายแก่ๆ (15.00 น.) จนถึงค่ำ สำหรับชาวเชียงใหม่แล้วถือได้ว่าเป็นเวลาที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะจะเป็นวันที่คนเชียงใหม่จะประกาศเจตนารมณ์ว่าเชียงใหม่พร้อมแล้วที่จะจัดการตนเอง โดยประกาศการขับเคลื่อนเพื่อรณรงค์ลงชื่อเสนอร่าง “พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร พ.ศ. ...” ณ บริเวณหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ หลังจากที่ได้ยกร่างและระดมความเห็นจากเวที 25 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีอีก 45 จังหวัดเป็นแนวร่วมที่พร้อมจะขับเคลื่อนตามมาหากเชียงใหม่ทำสำเร็จ ในหลักการเหตุผลประกอบร่าง พ.ร.บ.ได้ชี้ว่าประเทศไทย มีระบบการบริหารราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคเป็นกลไกสำคัญในการบริหารประเทศ ทำหน้าที่ตัดสินใจ กำหนดนโยบาย บริหารจัดการบริหารบุคลากร และจัดสรรงบประมาณ มีรัฐบาลเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยมีกระทรวง ทบวง กรม เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ครอบคลุมทั้งประเทศกว่า 120 ปีที่ผ่านมา ระบบการบริหารงานดังกล่าวได้สร้างคุณูปการแก่ประเทศไทยอย่างใหญ่หลวงจนสามารถทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการล่าอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจมาได้ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งสังคมมีความซับซ้อน และการรวมศูนย์การตัดสินใจ และการดำเนินการปฏิบัติการ กลายเป็นความซับซ้อน ระบบใหญ่โต ไร้ประสิทธิภาพ ไม่สอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชน ประชาชนขาดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง จากปัญหาเชิงโครงสร้างนี้ จึงจำเป็นต้องคืนอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นตัดสินใจ และมีอิสระในการกำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต สวัสดิการ การศึกษา สาธารณสุข การจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่สอดคล้องกับชุมชนท้องถิ่นให้มีอำนาจบริหารจัดการบุคลากร มีงบประมาณที่เพียงพอ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนท้องถิ่นได้ใช้อำนาจทางตรงในการกำหนดทิศทางการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและเข้าถึงการตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานได้ ร่าง พ.ร.บ.จึงมีสาระสำคัญที่จะมุ่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยดำเนินการใน 3 แนวทางด้วยกัน คือ 1.) ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เหลือเพียงราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่น เต็มพื้นที่และมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจในการกำหนดแนวนโยบาย ระเบียบ ข้อบัญญัติ การจัดงบประมาณ การคลัง การจัดการบริหารบุคลากรและกลไกโครงสร้างการบริหารงานภายในท้องถิ่นเพื่อการบริหารราชการท้องถิ่นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นได้ครอบคลุมทุกเรื่อง ยกเว้น 4 เรื่องหลัก คือ การทหาร ระบบเงินตรา การต่างประเทศ และการศาล โดยจัดการปกครองเป็น 2 ระดับ คือ ระดับบน (เชียงใหม่มหานคร) และระดับล่าง (เทศบาล) ทำให้สามารถดูแลครอบคลุมเต็มพื้นที่ โดยทั้ง 2 ระดับมีการบริหารงานในลักษณะของการแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจน โดยการจัดให้มีการปกครองท้องถิ่น 2 ระดับ (two tiers) นี้ เป็นการประยุกต์มาจากญี่ปุ่นและเกาหลี ซึ่งแตกต่างจากกรุงเทพมหานครซึ่งมีระดับเดียวที่รวมศูนย์อยู่ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร และแตกต่างจากรูปแบบเมืองพัทยาที่กำหนดพื้นที่เฉพาะตรงไข่แดงเท่านั้น แต่เชียงใหม่มหานครนี้จะครอบคลุมเต็มพื้นที่แทน อบจ.ซึ่งจะถูกยุบเลิกไป เพราะทุกพื้นที่ของเชียงใหม่ประกอบด้วยคนเชียงใหม่เหมือนกัน การกำหนดเฉพาะพื้นที่ที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียวจึงเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ในระดับล่างมีการยกระดับองค์กรปกครองท้องถิ่นทั้งหมดให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน คือ เทศบาล เพราะในปัจจุบันมีการลักลั่นกันมาก ดังจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันในพื้นที่ตำบลเดียวกันมีทั้งเทศบาลและ อบต.มีนายกฯถึง 2 คน มีที่ทำการถึง 2 แห่ง ในส่วนของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งสังกัดราชการส่วนภูมิภาคก็ต้องเลือกเอาว่าจะกลับไปสังกัดกระทรวง ทบวง กรม เดิมของตนที่ส่วนกลาง หรือเลือกที่จะอยู่ในพื้นที่ โดยสังกัดกับท้องถิ่นที่มีผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นผู้บังคับบัญชา สำหรับกำนันผู้ใหญ่บ้านก็ยังคงอยู่ต่อไป แต่จะกำหนดบทบาทและหน้าที่ให้ชัดเจนแยกออกจากผู้บริหารท้องถิ่น โดยเพิ่มบทบาทไปในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย ในฐานะหัวหน้าฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ของตนเช่นเดียวกับตำรวจซึ่งต้องขึ้นกับท้องถิ่นที่มีผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารเช่นในนานาอารยประเทศทั้งหลาย โดยจะยังคงมีกองปราบหรือFBI/DSI ฯลฯ เพื่อปฏิบัติการในกรณีคาบเกี่ยวในเขตพื้นที่หรือเป็นคดีสำคัญ ซึ่งการให้ตำรวจมาสังกัดท้องถิ่นนี้จะทำให้เกิดการคล่องตัวทั้งสายการบังคับบัญชาและงบประมาณที่จะทำให้ตำรวจท้องที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2.) ทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมจริยธรรม โดยมีระบบการตรวจสอบที่มีความเข้มแข็ง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการสร้างดุลยภาพ 3 ส่วนเพื่อป้องกันการ “ฮั้ว”กัน ซึ่งต่างจากโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นทั่วๆไปที่มีเพียง 2 ส่วนคือฝ่ายบริหารกับฝ่ายออกข้อบัญญัติ โดยจัดโครงสร้างใหม่เป็น ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร สภาเชียงใหม่มหานครและสภาพลเมือง (civil juries) รวมถึงการสนับสนุนให้ประชาชนสามารถใช้อำนาจประชาชนโดยตรงในการกำหนดทิศทางการพัฒนาตรวจสอบการทำงานหน่วยงาน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ และเข้าถึงการใช้งบประมาณ ผ่านกระบวนการกลไกต่างๆ อาทิ สภาพลเมือง การไต่สวนสาธารณะ การจัดตั้งกรรมาธิการด้านต่างๆ เช่น การศึกษา เกษตร การจัดการปัญหาหมอกควัน ฯลฯ 3.) การปรับโครงสร้างด้านภาษี โดยภาษีทุกชนิดที่เก็บได้ในพื้นที่จะส่งคืนรัฐบาลส่วนกลางร้อยละ 30 และคงไว้ที่เชียงใหม่มหานคร ร้อยละ 70 ซึ่งจะเป็นการตอบคำถามที่ว่าแล้วเชียงใหม่มหานครมีรายได้เพียงพอหรือ เพราะในปัจจุบันกฎหมายกำหนดให้ท้องถิ่นเก็บภาษีได้เพียงจิ๊บจ๊อย เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย ภาษีล้อเลื่อน ฯลฯ แต่เมื่อเปลี่ยนโครงสร้างภาษีไปเช่นนี้แล้วปัญหาในเรื่องรายได้ก็จะหมดไป แล้วต่อคำถามที่ว่าแล้วใครจะเป็นคนเก็บล่ะ คำตอบก็คือผู้มีหน้าที่นั่นแหล่ะเป็นผู้เก็บ ซึ่งก็คือ สรรพากร สรรพสามิต ศุลกากร ฯลฯ ที่เป็นข้าราชการหรือหน่วยงานสังกัดเชียงใหม่มหานครนั่นเอง ซึ่งอัตราส่วนแบ่งภาษีนี้อย่าว่าแต่ญี่ปุ่นมีส่วนแบ่ง 30/70 เลย จีนที่ถึงแม้ว่าจะมีการควบคุมสิทธิทางการเมืองอย่างเคร่งครัดยังมีส่วนแบ่งภาษี 40/60 เลย ในส่วนของมายาคติหรือข้อสงสัยว่าหากเป็นเช่นนั้นแล้วจะได้นักเลงมาครองเมือง เปลี่ยนจากอำมาตย์ใหญ่ไปสู่อำมาตย์เล็ก หรือ เป็นการแบ่งแยกรัฐหรือไม่ ฯลฯ สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1663 ครับ ในวันนั้นนอกจากจะมีประชาชนชาวเชียงใหม่ที่คาดว่าจะมาร่วมงานกันอย่างมืดฟ้ามัวดินเพื่อประกาศเจตนารมณ์โดยใช้สัญญลักษณ์ริบบินหรือธงผ้าสีส้ม(เหลือง+แดง=ส้ม)ดังกล่าวแล้ว ยังจะมีการจัดเวทีสาธารณะ “ปฏิรูปประเทศไทย ให้เชียงใหม่จัดการตนเอง” โดยมีผู้ร่วมรายการ คือ คุณพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตคณะกรรมการปฏิรูปประเทศและอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย, ดร.วณี ปิ่นประทีป รองผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป, คุณไพโรจน์ พลเพชร คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย, คุณไพรัช ใหม่ชมพู ผู้อำนวยการกองการศาสนาและวัฒนธรรม อบจ.เชียงใหม่, ศ.ดร.ธเนศว์ เจริญเมือง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, คุณสงวน พงศ์มณี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ, คุณสวิง ตันอุด ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการทางสังคม, คุณชำนาญ จันทร์เรือง ประธานเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น, คุณพรหมศักดิ์ แสนโพธิ์ คณะทำงานเชียงใหม่จัดการตนเอง, คุณพัชรินทร์ สุกัณศีล นักธุรกิจและชมรมเพื่อเชียงใหม่, คุณประทีป บุญหมั้น สภาองค์กรชุมชนจังหวัดเชียงใหม่, คุณอารักษ์ หาญฤทธิ์ สมาพันธ์ครูจังหวัดเชียงใหม่ ฯลฯ โดยมีการรายงานข่าวและบันทึกเทปพร้อมทั้งดำเนินรายการโดยคุณนาตยา แวววีรคุปต์ จากไทยพีบีเอส โลกหมุนไปข้างหน้า ผู้ที่ขวางกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงเพราะเหตุที่ต้องการปกป้องผลประโยชน์และอาณาจักรของตนเอง ย่อมที่จะถูกกระแสแห่งโลกาภิวัตน์กวาดตกเวทีไปอย่างช่วยไม่ได้ครับ
..................................................... หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 13 มิถุนายน 2555 ในหัวข้อเรือง “เชียงใหม่มหานครพร้อมแล้ว” ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||
ผู้ป่วยมะเร็ววอนยิ่งลักษณ์ลดเหลื่อม บัตรทองไม่ได้ยาแพง มีแต่ ขรก.เบิกได้ Posted: 12 Jun 2012 07:53 AM PDT นางระเบียบ ฤทธิ์คำหาร อายุ 44 ปี ชาว อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง กล่าวว่า ตนเองป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมานานกว่า 3 ปี แต่ไม่มีเงินซื้อยา เพราะมีราคาแพง ป่วยตั้งแต่ปี 2552 โดยถือสิทธิบัตรทองอยู่ที่จั “หมอบอกว่า ยาตัวนี้อยู่นอกบัญชียาหลัก สิทธิบัตรทองเบิกไม่ได้ ผู้ป่วยต้องจ่ายเงินเอง แต่หมอบอกว่าถ้าเป็นข้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||
โวหารและความเห็นต่างกฎหมายหมิ่นฯ (2): อภิปรายโดยแอนดรูว์ มาร์แชลและ ส.ศิวรักษ์ Posted: 12 Jun 2012 07:19 AM PDT เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ที่ผ่านมา เวลา 19.00 น. ณ เรือนร้อยฉนำ สวนเงินมีมา มีการจัดงานเสวนา "Rhetoric and Dissent: Where to next for Thailand's lese majeste law?" (วาทกรรมและความเห็นต่าง: อนาคตของกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับประเทศไทย) มีวิทยากรร่วมเสวนา ได้แก่ เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน ศาสตราจารย์ด้านเอเชียศึกษามหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสเดอะ เนชั่น สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ปัญญาชนและนักเขียน แอนดรูว์ แมกเกรเกอร์ มาร์แชล อดีตนักข่าวอาวุโสรอยเตอร์และผู้เขียนหนังสือ Thai Story: a Secret History of 21st Century Siam ดำเนินรายการโดยผู้สื่อข่าวอิสระ ลิซ่า การ์ดเนอร์ โดยในตอนแรก ประชาไทได้นำเสนอการอภิปรายของประวิตร โรจนพฤกษ์ และเบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) และในส่วนที่สอง เป็นการอภิปรายของแอนดรูว์ แมกเกรเกอร์ มาร์แชล และสุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักเขียนและปัญญาชนไทย
การอภิปรายโดยแอนดรูว์ มาร์แชลผ่านวิดีโอลิ้ง แอนดรูว์ แมกเกรเกอร์ มาร์แชล ผู้เขียนหนังสือ "Thai Story" และอดีตผู้สื่อข่าวอาวุโสรอยเตอร์ กล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้ว่า รู้สึกผิดหวังอย่างมากที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย ปฏิเสธการจัดงานนี้ และชี้ว่า สื่อต่างประเทศ มีบทบาทสำคัญอย่างมากที่จะผลักดันการถกเถียงเรื่องการเมืองที่สำคัญๆ ในประเทศไทยด้วยการรายงานความจริง แต่ส่วนใหญ่ กลับเลือกที่จะ "รายงานแบบพอเพียง" เท่านั้น ในฐานะที่ตนเป็นนักข่าวรอยเตอร์มากว่า 17 ปีที่รายงานในภาวะสงคราม แอนดรูว์ระบุว่า เป็นหน้าที่ของนักข่าวที่จะรายงานความจริง เพราะหากผู้คนได้รับรู้เรื่องการเมือง ผู้นำและประวัติศาสตร์ของเขามากขึ้นเท่าไร ประชาชนก็จะสามารถตัดสินใจอนาคตของตนเองได้รอบด้านมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อแอนดรูว์สามารถเข้าถึงโทรเลขสถานทูตสหรัฐเกี่ยวกับประเทศไทยจากวิกิลีกส์ จึงไม่ลังเลที่จะรายงานออกมา "ผมรู้ดีว่ามันจะทำให้ผมเป็นอาชญากร และรู้ว่าผมจำเป็นต้องลาออกจากงาน แต่สำหรับนักข่าว เราจำเป็นต้องรายงานความจริง เราไม่สามารถแกล้งทำเป็นว่า คุณไม่รู้อะไรบางอย่าง และจะเดินหนีจากไปเฉยๆ ไม่ได้" เขากล่าว "คุณต้องพยายามต่อสู้เพื่อให้ได้บอกเล่าความจริง และนั่นก็คือสิ่งที่ผมทำ" แอนดรูว์มองว่า วิกฤติการเมืองที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ทำให้การรายงานข่าวไม่อาจเป็นไปได้อย่างตรงไปตรงมา เนื่องจากโดยพื้นฐานแล้ว มันเกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์และกองทัพในสังคมไทย รวมถึงการสืบสันตติวงศ์ และด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทำให้การถกเถียงเรื่องนี้ เป็นไปอย่างยากลำบาก เขากล่าวถึงสถานการณ์แบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาเมื่อทศวรรษ 1980 ว่า ในทุกๆ คืนที่สำนักข่าวบีบีซีรายงานข่าว จะมีการแจ้งข้อความปฏิเสธการรับผิดชอบ (discliamer) ตอนท้ายของรายงาน โดยระบุว่า รายงานนี้ถูกทำขึ้นภายใต้ข้อจำกัดและเงื่อนไขของกฎหมายความมั่นคงของรัฐบาลแอฟริกาใต้ ซึ่งเขามองว่า วิธีนี้มีพลังมาก เนื่องจากมันกำลังบอกประชาชนว่า พวกเขาไม่ได้รับข้อเท็จจริงที่สมบูรณ์ เพราะรัฐบาลนั้นพยายามจะปิดกั้น "ผมคิดว่าอย่างน้อย นักข่าวควรจะยึดมั่นในการซื่อตรงเรื่องนี้" แอนดรูว์กล่าว "ถ้าเราไม่สามารถพูดความจริงเพราะกฎหมาย เราควรจะบอกผู้อ่านและผู้ฟังของเราให้ได้ทราบ... ชนชั้นนำไทยมีความสัมพันธ์ที่แปลกๆ กับความคิดเห็นของต่างชาติ ในแง่หนึ่ง พวกเขาก็โหยหาการยอมรับจากต่างชาติ แต่ในขณะเดียวกันก็สั่งแบนคนต่างชาติเหล่านั้นด้วย" "คนไทยกำลังเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ ถึงแม้ว่าเขาอาจจะยังไม่สามารถถกเถียงเรื่องอนาคตของพวกเขาได้อย่างเต็มที่และเปิดเผย และนั่นก็เป็นวิธีที่เราจะจัดการรับมือกับวิกฤติ ไม่ใช่ด้วยความรุนแรง แต่ด้วยการถกเถียงที่เสรีและเปิดเผยต่างหาก" อดีตผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ระบุ ทั้งนี้ เขากล่าวว่า ตนกำลังเขียนรีวิวหนังสือ "Bhumibol Adulyadej: a Life's Work" ซึ่งเป็นอัตชีวประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีอานันท์ ปันยารชุนเป็นที่ปรึกษาบรรณาธิการ โดยตั้งใจจะให้งานรีวิวชิ้นนี้ "เป็นการเขียนประวัติศาสตร์ทางเลือกของประเทศไทย" การอภิปรายโดยสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ในขณะที่สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ปัญญาชนและนักเขียนไทย กล่าวว่า การขึ้นมามีอำนาจของสถาบันกษัตริย์ไทย เพิ่งเริ่มขึ้นในสมัยพลเอกสฤษดิ์ ธนะรัตช์ ที่ขึ้นมามีอำนาจในปี 2500 โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา และที่จริงแล้ว การพูดความจริงและการวิพากษ์วิจารณ์ที่ตรงไปตรงมาเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะจากสื่อมวลชนที่ต้องมีความกล้าหาญในการพูดความจริง เขาเสนอว่า เพื่อจะให้สถาบันกษัตริย์อยู่รอด สถาบันต้องแยกให้เป็นอิสระจากสถาบันทหารและสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่มักทำการไล่รื้อที่อยู่อาศัยของประชาชน ถ้าสามารถทำได้เช่นนี้ สถาบันก็จะมีอำนาจน้อยลง และเหมาะสมตามรัฐธรรมนูญ โดยอยู่ในสถานะเป็นเอกในหมู่ที่เท่าเทียมกัน (First among Equals) ทั้งนี้ ลิซ่า การ์ดเนอร์ นักข่าวอิสระและผู้ประสานการจัดงาน ระบุว่า ก่อนหน้านี้ได้พยายามจัดงานอภิปรายดังกล่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) แต่ภายหลังได้รับการปฏิเสธ โดยทางสมาคมให้เหตุผลว่าเกิดเหตุขัดข้อง จึงได้ย้ายสถานที่มาที่เรือนร้อยฉนำ สวนเงินมีมาแทน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||
เสียงไม่ถึงครึ่ง! สภาไม่ยอมพิจารณาเรื่อง คำสั่งศาล รธน. มีผลผูกพันรัฐสภาหรือไม่ Posted: 12 Jun 2012 03:44 AM PDT ในการประชุมร่วมสองสภาวันนี้มีการลงมติว่าจะนำญัตติคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ มีผลผูกพันรัฐสภามาพิจารณาหรือไม่ โดยมีผู้เห็นชอบ 318 เสียง ไม่เห็นด้วย 2 งดออกเสียง 2 แต่เสียงเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่งคือ 323 เสียง ทำให้ญัตติตกไป วันนี้ (12 มิ.ย.) ในการประชุมร่วมของรัฐสภา นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ได้ขอให้มีการลงมติว่าญัตติคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ มีผลผูกพันรัฐสภามาพิจารณาในที่ประชุมหรือไม่ ทำให้ ส.ส.ฝ่ายค้าน และ ส.ว.บางส่วนรวมถึง ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลได้เดินออกจากห้องประชุมไป โดยนายสมศักดิ์แจ้งว่าองค์ประชุมสภาร่วม 644 คน กึ่งหนึ่งเท่ากับ 322 คน ฉะนั้นเสียงข้างมากจะต้องมี 323 คน นายสมศักดิ์ จึงขออนุญาตไปทำธุระส่วนตัว 5 นาที เพื่อเปิดโอกาสให้วิปรัฐบาลตามตัว ส.ส.มาลงมติ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเช็กองค์ประชุม มีสมาชิกอยู่ในห้องประชุมเพียง 323 คน ผลปรากฏว่า มีผู้เห็นด้วย 318 เสียง ไม่เห็นด้วย 2 งดออกเสียง 2 ถือว่าไม่ถึงกึ่งหนึ่งคือขาดไป 5 เสียง ถือว่าที่ประชุมไม่เห็นด้วยที่จะนำญัตติดังกล่าวมาพิจารณา โดย ส.ส.พรรคเพื่อไทยหลายคนแสดงสีหน้าผิดหวัง ส่วน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งไม่ได้ร่วมประชุมพากันส่งเสียงดีใจ ขณะเดียวกัน ไทยรัฐ ได้ตั้งข้อสังเกตว่าผู้ที่ลงคะแนนเห็นด้วย มี 7 ส.ส.ของพรรคภูมิใจไทย คือ น.ส.นันทนา สงฆ์ประชา ส.ส.ชัยนาท นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล นายวิสิษฐ์ พิทยากร นางประนอม โพธิ์คำ นายมนู บุญประเสริฐ และนางบุญยิ่ง นิติกาญจนา โดยไทยรัฐให้ความเห็นว่า ส.ส.ทั้ง 7 คน ไปอยู่กับรัฐบาลแล้ว และยังรายงานด้วยว่า ส.ว. ซึ่งมีจำนวน 146 คนที่มีสิทธิลงคะแนน แต่มาร่วมลงมติเพียง 46 คนเท่านั้น
ที่มา: เรียบเรียงจากสำนักข่าวแห่งชาติ ไทยรัฐออนไลน์ และมติชนออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||
ทูตซาอุยังหวังไทยแก้ปมคดีเพชรซาอุ Posted: 12 Jun 2012 01:10 AM PDT ทูตซาอุฯแถลงอำลาตำแหน่ง แนะไทยตั้งกรรมการพิเศษรับผิดชอบคดีนักธุรกิจ-นักการทูต คาดหวังปัญหาที่ยืดเยื้อจะได้ข้อยุติ ความสัมพันธ์ 2 ชาติจะกลับมาเหมือนเดิม มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน นายนาบิล อัชรี่ หัวหน้าคณะทูตซาอุดีอาระเบีย ประจำประเทศไทย จัดงานเลี้ยงอำลาเนื่องในวาระพ้นจากตำแหน่ง ที่บริเวณบ้านพักซอยโสภณ ถนนบางนา-ตราด กรุงเทพฯ พร้อมให้สัมภาษณ์แสดงความเชื่อและความคาดหวังว่าประเทศไทยและซาอุดีอาระเบียจะสามารถแก้ไขคดีต่างๆ ที่คั่งค้างอยู่ให้ลุล่วงไป เพื่อให้สามารถฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตระดับปกติซึ่งกันและกันได้อีกครั้ง ในถ้อยแถลงเป็นลายลักษณ์อักษรที่จัดเตรียมไว้เผยแพร่ นายนาบิลระบุว่า รู้สึกใจหายที่ต้องจากเมืองไทยไป นับตั้งแต่เดินทางมาถึงเมื่อต้นปี 2549 และยืนยันว่าจะเก็บความทรงจำที่ดีกับความผูกพันที่มีต่อประเทศที่สวยงาม และมิตรภาพอันดีของผู้คนที่นี่เอาไว้กับครอบครัวว่าครั้งหนึ่งเคยใช้เวลาที่เต็มไปด้วยสีสัน ความสนุกที่นับไม่ได้ ในประเทศที่สวยงามแห่งนี้ และแสดงความปรารถนาเอาไว้ด้วยว่าจะสามารถดำรง ตำแหน่งอยู่ได้นานขึ้น เพื่อทำงานฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ และได้มีโอกาสร่วมเป็นพยานในวันที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับซาอุฯกลับเป็นปกติดังเดิม นอกจากนั้น นายนาบิลยังใช้โอกาสนี้ขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกคนในรัฐบาล 6 รัฐบาลที่ขึ้นมามีอำนาจในช่วง 6 ปีครึ่งที่อยู่ในตำแหน่ง ซึ่งมีส่วนร่วมในการทำงานบนเป้าหมายเดียวกัน คาดหวังสิ่งที่ดีร่วมกัน เพื่อให้ความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศดีขึ้น เสริมสร้างความเข้าใจอันดีให้เกิดขึ้น "ผมขอใช้โอกาสนี้ อวยพรให้ทุกท่านมีสุขภาพดี มีความสุข สงบ สามัคคี และประสบความสำเร็จ และขอถวายพระพรแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ รวมถึงพระราชวงศ์ทุกพระองค์ของไทย ขอจงทรงพระเจริญ" นายนาบิลระบุ นอกจากถ้อยแถลงที่จัดเตรียมไว้แล้ว นายนาบิลยังเปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวได้สอบถามอย่างเป็นกันเองในหลายๆ ด้าน เมื่อถูกถามว่าคิดว่าอะไรเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หลายคดีที่เกี่ยวพันกับประเทศซาอุฯไม่ประสบความคืบหน้าอย่างที่ควรจะเป็น นายนาบิลระบุว่า ในทรรศนะของตน สาเหตุหลักมี 2 ประการ ประการแรกคือ การที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยมาก และคดีต้องกลับมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง แต่ถือเป็นเรื่องของสถานการณ์ทางการเมืองภายในของไทย ประการถัดมา นอกจากรัฐบาลจะเปลี่ยนแปลงบ่อยแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในคดีบ่อยๆ อีกด้วย ทำให้ผู้ที่เข้ามารับผิดชอบใหม่ต้องกลับมาเริ่มนับหนึ่งใหม่อีกเช่นเดียวกัน "ผมคิดว่า ถ้าหากรัฐบาลจะแสดงความจริงจังกับเรื่องนี้ให้มากกว่าที่เป็นมา น่าจะจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อให้ทำหน้าที่ ในคดีที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมดเป็นการเฉพาะเพื่อแก้ปัญหา ไม่ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ทุกครั้ง" นายนาบิลกล่าว พร้อมแสดงความคาดหวังว่า อุปสรรคต่างๆ ที่ยืดเยื้อมานานบนความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศจะได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน และยืนยันว่าราชอาณาจักรซาอุฯ กับชาวซาอุฯทุกคนหวังที่จะได้เห็นปัญหานี้ยุติลงโดยเร็ว เพื่อให้สามารถหันกลับมาพัฒนาความสัมพันธ์อันเป็นมิตรซึ่งกันและกันต่อไป "ซาอุฯ มีนโยบายมองตะวันออก เช่นเดียวกับประเทศอีกหลายประเทศ แต่เมื่อมองมาทางตะวันออก เราก็ไม่สามารถทำอะไรได้กับประเทศไทย ที่เป็นประเทศที่สำคัญในภูมิภาคนี้ นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราต้องการให้เรื่องทั้งหมดจบลงโดยเร็ว" นายนาบิลกล่าว ทั้งนี้ นายนาบิล อัชรี่ พร้อมครอบครัวเตรียมเดินทางออกจากประเทศไทยปลายเดือนนี้ เพื่อไปรับหน้าที่กงสุลใหญ่ประจำสถานกงสุลซาอุฯ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี โดยคาดว่าทางการซาอุฯจะมอบหมายให้บุคคลที่เหมาะสมเดินทางมารับตำแหน่งทดแทนในเร็ววันนี้ สำหรับปัญหาที่ทำให้ทางการซาอุฯตัดสินใจลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทยลงนั้น เกิดขึ้นเมื่อ 21 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากนายเกรียงไกร เตชะโม่ง ลักลอบนำอัญมณีล้ำค่าจำนวนมากที่ขโมยมาจากพระราชวังเจ้าชายซาอุฯกลับประเทศ จนกลายเป็นที่มาของคดีต่อเนื่องตามมาอีกหลายคดี รวมทั้งคดีลอบสังหารนักการทูตและนักธุรกิจซาอุฯที่ยังไม่สามารถจับกุมคนร้ายได้ในเวลานี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||
Posted: 11 Jun 2012 11:35 PM PDT
เห็นข่าวคราวความขัดแย้งทางศาสนา ระหว่างคนพุทธและมุสลิม ในแคว้นอาระกัน ประเทศเมียนมาร์ ก็ให้นึกเกร็ดความรู้ที่เคยอ่าน เคยฟัง เคยค้นเจอสมัยเตรียมตัวไปพม่าถึง 3 หน 3 ครา โดยจดบันทึกไว้เลยขอเอามาให้รู้จักกับแคว้นอาระกันครับ (1) แคว้นอาระกัน หลายคนคงทราบหรืออาจไม่ทราบ ว่าดินแดนแห่งนี้ ก็คือ "เมืองยะไข่" ในประวัติศาสตร์และพงศาวดารทั้งไทยและพม่า (กระทั่งในนวนิยาย "ผู้ชนะสิบทิศ" ของ ยาขอบ) (2) ดินแดนยะไข่ เดิมกว่านั้นในครั้งพุทธกาล คือ เมือง "เวสาลี" (มีโบราณสถานใน จ.ไวสาลี แคว้นอาระกัน) ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาจำพรรษาสุดท้าย ณ ป่ามหาวัน และที่นี่เป็นสถานที่ผนวช "ภิกษุณี" เป็นครั้งแรก และหลังจากพระพุทธเจ้า เสด็จกลับจากเวสาลีผ่านเมืองปาวา ไปยังเมืองกุสินารา ทรงแวะสวนมะม่วงนายจุณฑะ เสวย "สุกรมัทวะ" กระทั่งประชวรและปรินิพพานในอีก 3 เดือนถัดมา (3) เมืองยะไข่ มีชัยภูมิเป็นเมืองท่าตั้งอยู่ปากน้ำ "กาลาดาน" และปากน้ำ "อัคยับ" จึงเป็นชนชาติที่ชำนาญการเดินเรือ และสามารถรบทางเรือได้เก่งกาจ ชนชาติยะไข่จึงขึ้นชื่อ ในการเป็นโจรสลัดที่ชาวพม่าและอินเดียหวาดกลัว กระทั่งปัจจุบัน "โจรสลัดโรฮิงยา" ที่ก่อปัญหาในมหาสมุทรอินเดีย ณ ปัจจุบัน แม้ไม่ใช่ชนชาวยะไข่เดิม แต่ก็มีฐานกำลังอยู่ที่แคว้นนี้ (4) ดินแดนยะไข่ในอดีตเจริญรุ่งเรืองมาก ถึงขนาดเคยมีบันทึกของฝรั่งที่เข้ามาค้าขาย ว่าพระราชวังเมืองยะไข่ทำด้วยทองคำทั้งหลัง แม้กระทั่งพื้นก็ยังเป็นแผ่นทอง (ดังนั้น ทองคำที่พระเจดีย์ชเวย์ดากอง ก็อย่าทึกทักว่าเป็นทองของอยุธยาทั้งหมด-ฮา) (5) สมัยพระนเรศวรฯ ซึ่งเป็นกษัตริย์ไทยเพียงพระองค์เดียว ที่สามารถบุกตีเข้าไปในดินแดนพม่า โดยเข้าไปล้อมกรุงหงสาวดีไว้ แต่ก็ยังไม่ทันกองทัพของแคว้นยะไข่ ที่เข้าไปกวาดต้อน ปล้นชิง และเผาเมืองหงสาวดี (พะโค) จนวอดวายก่อนทัพพระนเรศวรจะไปถึง มีนักประวัติศาสตร์ไทยและพม่า สันนิษฐานว่าอาจมีเจ้านายเชื้อพระวงศ์ ของกรุงอยุธยาที่ถูกจับเป็นเชลยครั้งเสียกรุง ครั้งที่ 1 ได้ถูกกวาดต้อนไปยะไข่ด้วย (6) มีหลักฐานทางพม่า ถึงขนาดกล่าวว่าทัพพระนเรศวร เคยเข้ารบกับทัพของยะไข่ แต่พลาดท่าเสียทีทำให้พระเอกาทศรถ ถูกทัพยะไข่จับกุมตัว ก่อนมีการเจรจายุติศึกและขอให้ปล่อยตัวประกัน (7) ยะไข่มีแนวเขา "อะระกันโยมา" เป็นกำแพงธรรมชาติ และมีป้อมค่ายที่ถือเป็นป้อมค่ายอันแข็งแกร่ง กระทั่งกษัตริย์พม่าหลายพระองค์ ทั้ง ตะเบ็งชะเวตี, บุเรงนอง (ผู้นำศึกครั้งเสียกรุงอยุธยา ครั้งที่ 1), อลองพญา หรือ มังระ (ผู้นำศึกครั้งเสียกรุงอยุธยา ครั้งที่ 2) ก็มิอาจเข้าตียึดยะไข่ได้ มีเพียง "พระเจ้าปดุง" (ลูกชายคนที่ 5 ของพระเจ้าอลองพญา-น้องชายพระเจ้ามังระ ผู้นำศึกสงครามเก้าทัพกับไทย) เท่านั้นที่เข้าตียะไข่ได้สำเร็จ (8) หลังเมืองยะไข่แตก ครั้งยุคพระเจ้าปดุง "พระมหามัยมุนี" (ในภาพ) พระพุทธรูปทองคำคู่บ้านคู่เมืองยะไข่ พระเจ้าปดุงได้อัญเชิญมาไว้กรุงอังวะ (เมืองหลวงพม่าขณะนั้น ซึ่งอยู่ติดกับเมืองมัณฑะเลย์ในปัจจุบัน) โดยตัดองค์พระเป็น 3 ท่อนเพื่อเคลื่อนย้าย (9) ในปลายราชวงศ์คองบอง หรือ รางวงศ์อลองพญา สมัย "พระเจ้าจักกายแมง" (ต่อสมัยพระเจ้าปดุง) ได้ไปทำสงครามยึดแคว้นอัสสัมของอินเดีย ก่อให้เกิดสงครามระหว่างพม่า กับจักรวรรดิอังกฤษ (อังกฤษได้อินเดียเป็นอาณานิคมในขณะนั้น) เป็นครั้งแรก กินระยะเวลาถึง 2 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2367-2369 แต่สุดท้ายอังกฤษชนะ และได้มีการทำสัญญาชดใช้สินสงคราม ในชื่อ " สนธิสัญญายันดาโบ (Yandabo)" ซึ่งพม่าจำต้องยกเมืองที่สำคัญ เช่น ยะไข่ มณีปุระ ตะนาวศรี ให้กับอังกฤษ ดินแดนยะไข่จึงตกเป็นของจักรวรรดิอังกฤษ ไปโดยปริยาย แต่ไม่นานพม่าทั้งดินแดนตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ในสงครามพม่า-อังกฤษ ครั้งที่ 2 (พระเจ้ามินดง) และครั้งสุดท้าย ในยุคสมัยพระเจ้าสีป่อ (10) ปี พ.ศ.2484-2486 นายพลอูอองซาน ได้ร่วมมือกับกองทัพญี่ปุ่น และรวบรวมชนชาติต่าง ๆ ในพม่าที่ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เข้าร่วมกันต่อสู้เพื่อประกาศอิสรภาพ โดยมี "สนธิสัญญาปางโหลง" เป็นเครื่องรับประกันในการได้รับชนชาติต่าง ๆ จะได้รับเอกราช หลังจากได้รับชัยชนะ และ "แคว้นยะไข่" ก็คือหนึ่งในชนชาติที่เข้าร่วมต่อสู้ เพื่อประกาศอิสรภาพของพม่าในครั้งนั้น กระทั่งวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 นายพลอองซาน ได้ถูกลอบสังหารพร้อมกับสมาชิกสภาอีก 6 คน โดยมิทันได้เห็นการประกาศเอกราชของพม่า ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 และ "สนธิสัญญาปางโหลง" ได้ถูกนายพลเนวิน ที่กระทำรัฐประหารฉีกข้อตกลงนี้ทิ้งไป ทำให้ดินแดนยะไข่ และดินแดนของชนชาติอื่น ๆ ในพม่ามิได้รับอิสรภาพอย่างแท้จริง (11) แม้ว่าชาวยะไข่ จะมีบรรพบุรุษสืบเชื้อสายเดียวกันกับชาวพม่า แต่คนพม่าก็ยังมองว่า พวกยะไข่มีนิสัยใจคอไปทางแขก ด้วยที่ตั้งที่อยู่ใกล้กับประเทศบังกลาเทศ และประเทศอินเดีย คนพม่า (ที่ไม่ใช่คนยะไข่) จึงมักมีโวหารเปรียบเปรยว่า "หากสู้แขกไม่ไหว ให้ถามพวกยะไข่" ด้วยว่าชาวยะไข่นั้น ไม่ค่อยจะยอมอ่อนข้อให้ผู้อื่น และร้ายจนพวกแขกก็ไม่กล้ามาตอแยด้วย บ้างก็ว่ายะไข่มักรู้เห็นเป็นใจกับชาวมุสลิม ด้วยนิสัยของชาวยะไข่เช่นนี้ คนพม่าจึงมีโวหารอีกอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับชาวยะไข่คือ "หากเจองูกับยะไข่ ให้ตียะไข่ก่อนตีงู" (12) ความสัมพันธ์ที่เกิดปัญหารุนแรง ระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิมในดินแดน อาระกัน หรือ ยะไข่ จะมีสาเหตุต้นตอมาจากที่ใด เรื่องนี้ท่าน ๆ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ครับ ผมคงไม่อาจก้าวล่วงหาข้อสรุป เพราะสติปัญญายังไม่ถึงหางอึ่ง จึงได้แต่นำเกล็ดโน่นนี่มาให้อ่านกัน ตามประสาเท่าทีเคยอ่าน เคยฟัง เคยค้นหาเรื่องราวเหล่านี้ครับ แต่ยังไงก็ตามหวังว่าสันติสุข จะคืนกลับดินแดนแห่งนั้นในเร็ววัน... หมายเหตุ: 1.สาระและภาพประกอบจาก Facebook ของ Nuk Chemchem ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||
ถามหาความคืบหน้าระบบแจ้งเตือน-อพยพ หลังเหตุโรงงานระเบิดในมาบตาพุด Posted: 11 Jun 2012 10:16 PM PDT หลังจากโรงงานบีเอสที อิลาสโตเมอร์ส ของบริษัทกรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด ระเบิด เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2555 จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานข้อเท็จจริงของการเกิดระเบิดโรงงาน BST เพื่อใช้ในการป้องกันการเกิดเหตุซ้ำ รวมทั้งยังไม่มีรายงานการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมืออาชีพเผยแพร่ต่อสาธารณะ แต่มีข่าวว่าอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมและคณะได้เดินทางไปศึกษาดูงานด้านอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industry) ณ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อจะนำมาวางกลยุทธ์เตรียมยกระดับโรงงานทั่วประเทศพัฒนาเป็นนิคมเชิงนิเวศ นโยบายนี้ไม่ได้แก้ปัญหาด้านการพัฒนาระบบดูแลความปลอดภัยประชาชนจากสารพิษอุตสาหกรรมในมาบตาพุดขณะนี้ แต่เป็นนโยบายเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต ในขณะที่ปัญหาของอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิมยังไม่มีการควบคุมให้ได้มาตรฐาน จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการประกอบอาชีพของประชาชน กรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานของรัฐที่สามารถใช้กฎหมายกำกับโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของชุมชน จึงหวังว่าการไปศึกษาดูงานครั้งนี้จะนำมาใช้ในการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ 3 ปีหลังจากที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกาศพื้นที่ตำบลมาบตาพุด ห้วยโป่ง เนินพระ ทับมา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ตำบลมาบข่า อำเภอนิคมพัฒนา ตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉางและพื้นที่ทะเลภายในแนวเขต เป็นเขตควบคุมมลพิษ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2552 ขณะนี้ยังไม่เห็นแนวโน้มว่าปริมาณมลพิษจะถูกควบคุมให้ลดลง ในทางตรงกันข้าม รัฐยังอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ มีการประกาศเขตพื้นที่เพื่อก่อสร้างเป็นนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นใหม่ มีการอนุญาตให้โรงงานที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนในด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพให้ดำเนินการผลิตได้ และมีการก่อสร้างโรงงานก่อนได้รับอนุญาตตามกฎหมายในมาตรา 67 วรรค 2 โดยขาดเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายไปตรวจสอบและควบคุม ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโรงงาน ไม่ทราบจะทำอย่างไรเพราะการเข้าไปในพื้นที่ของโรงงานนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากมีรั้วรอบขอบชิดและมียามเฝ้า ดังนั้นถึงแม้จะรู้ว่ามีการก่อสร้างก่อนได้รับอนุญาตก็ไม่ทราบจะทำอย่างไร เพราะหากผู้มีหน้าที่ไม่เข้ามาตรวจสอบก็ไม่สามารถที่จะปกป้องสิทธิของประชาชนได้ ด้วยเหตุนี้ประชาชนจึงได้พยายามใช้กฎหมายอื่นมาต่อสู้ เช่น การแจ้งจับแรงงานต่างด้าว เป็นต้น ส่วนมาตรการป้องกันผลกระทบต่อชุมชนที่ทำได้ง่ายๆ ได้แก่ การปลูกต้นไม้ยืนต้นล้อมรอบโรงงานให้มีความสูง 3 ระดับเรือนยอด เป็นแนวป้องกัน ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสี่ฝ่ายแก้ปัญหามาบตาพุดนั้น ถึงแม้กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับว่าจะนำไปใช้ประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตและต่ออายุโรงงาน รวมทั้งสำนักนโยบายและแผนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้แจ้งในที่ประชุมว่าจะนำไปใส่เป็นข้อกำหนดในการศึกษารายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (อี ไอ เอ) นับถึงวันนี้พบว่ามีการปลูกต้นไม้ล้อมรอบพื้นที่โรงงเพียงไม่กี่แห่ง และเป็นการปลูกต้นไม้ขนาดเล็กซึ่งใช้เวลาหลายปีกว่าที่จะเติบโตเป็นรั้วธรรมชาติที่ช่วยลดผลกระทบจากโรงงานสู่ชุมชนที่อยู่ชิดติดกัน ดังนั้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2555 เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกพร้อมผู้นำชุมชนและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรม ได้รวมตัวกันนำต้นกล้วยกว่า 100 ต้น ไปมอบให้ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (รูปที่ 1) เพื่อเรียกร้องให้โรงงานอุตสาหกรรมปฏิบัติตามข้อตกลงในการประชุมของคณะกรรมการสี่ฝ่ายแก้ปัญหามาบตาพุด
แนวป้องกัน (protection strip) นี้ คณะกรรมการสี่ฝ่ายได้พิจารณาจากแนวทางของประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้มีการปลูกต้นไม้เป็นรั้วในพื้นที่ของโรงงาน ทำให้มีระยะห่างระหว่างโรงงานและชุมชน เป็นระยะทาง 0, 3, 6, 10, 30 และ 50 เมตร ทั้งนี้แล้วแต่ประเภทของโรงงาน (รูปที่ 2)
รูปที่ 2 ผังการปลูกต้นไม้เป็นแนวป้องกันอยู่ในพื้นที่ของโรงงาน
ส่วนพื้นที่กันชนเป็นพื้นที่นอกเขตโรงงานและอยู่ในชุมชน จึงควรซื้อที่ดินจากชุมชนในราคาที่เหมาะสม มิใช่อาศัยกลไกรัฐในการเวนคืนที่ดิน นอกจากการซื้อแล้วยังสามารถเช่าที่ หรือให้เจ้าของที่เป็นหุ้นส่วน รวมทั้งออกพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนต่อเนื่องในระยะยาว เพื่อให้ประชาชนได้รับผลตอบแทนประจำปี นอกเหนือจากเงินก้อนแรกเพื่อโยกย้ายไปอยู่ที่ใหม่ที่ปลอดภัยกว่า การไปศึกษาดูงานของอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมและคณะในประเทศญี่ปุ่น จึงเป็นความคาดหวังของสังคมว่า จะได้เรียนรู้แบบก้าวกระโดดและนำความรู้มาประยุกต์ใช้พัฒนาการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของโรงงานอุตสาหกรรมที่มีอยู่หนาแน่นมากในมาบตาพุด โดยเฉพาะการนำแนวปฏิบัติที่ดีของโรงงานในประเทศญี่ปุ่นที่มีความรับผิดชอบต่อชุมชนมาวางแผนและบังคับใช้ เช่น การแยกโซนของพื้นที่อุตสาหกรรมออกจากพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำการเกษตรและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและสาหร่ายที่ใช้เป็นอาหาร การปลูกต้นไม้เป็นแนวป้องกัน ห่งอบพื้นที่โรงานผนแจ้งในที่ประชุมว่าจะนำไปใส่เป็นข้อกำหนดในการศึกษารายงานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ้งสำนักนโยบายและแผนกการทำข้อตกลงระหว่างโรงงานกับชุมชนและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การรายงานชนิดและปริมาณสารเคมีที่ใช้และจัดเก็บสำรองเพื่อการผลิต รวมทั้งปริมาณมลพิษที่ได้ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม การขอโทษและแสดงความรับผิดชอบเมื่อมีอุบัติเหตุ รวมทั้งให้ข้อมูลหลังจากศึกษาพบสาเหตุและวิธีป้องกันเพื่อมิให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำ โดยเผยแพร่บนเว็บไซต์ของโรงงาน และจัดทำข่าวเผยแพร่สู่ชุมชน ตัวอย่างที่ดีของความร่วมมือระหว่างโรงงานกับชุมชนที่ได้ผลดีต่อการลดมลพิษในประเทศญี่ปุ่น คือ การลงนามทำข้อตกลงในการกำหนดโควตาการปล่อยมลพิษ เช่น โรงงานทำข้อตกลงว่าจะปล่อยซัลเฟอร์ออกไซด์ในรูปของ SOx ปีละ 1 ล้านตัน ดังนั้นถ้าในเดือนพฤษภาคมปรากฏว่าโรงงานเกิดอุบัติเหตุในกระบวนการผลิตทำให้ปล่อย SOx ไปแล้วตามโควตาที่ตกลงไว้กับชุมชน โรงงานจึงต้องหยุดผลิต และใช้เวลาที่เหลือปรับปรุงโรงงานและพัฒนาคนงานรอไปจนถึงเดือนมกราคมของปีถัดไปจึงจะเริ่มผลิตใหม่ได้ ตัวอย่างนี้ทำให้โรงงานมีความเสียหายมาก เพราะต้องหยุดการผลิตถึง 7 เดือน ส่งสินค้าให้คู่ค้าไม่ทัน และยังต้องจ่ายเงินเดือนพนักงานขณะที่หยุดการผลิตด้วย ดังนั้นจึงไม่มีโรงงานใดปล่อยให้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามตัวอย่างที่กล่าวถึง เพราะนั่น คือ ความเสียหายทางธุรกิจที่มีค่าสูงทั้งมูลค่าและความน่าเชื่อถือ ทำให้ทุกโรงงานให้ความสำคัญกับการคัดเลือกคนเข้าทำงานและพัฒนาระบบงาน รวมทั้งมอบหมายงานสำคัญในการควบคุมการผลิตแต่ละขั้นตอนให้กับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกมาอย่างดีเลิศ การระเบิดของโรงงาน BST ผ่านมาเป็นเวลา 1 เดือนเศษแล้ว แต่ยังไม่มีความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบและกลไกในการแจ้งเหตุ และอพยพประชาชนเพื่อความปลอดภัย ดังนั้นถ้ามีเหตุการณ์ระเบิดของโรงงานขึ้นอีก เชื่อว่าข่าวที่ปรากฏต่อสื่อต่างๆ ถึงการแจ้งเหตุ เตือนภัยให้อพยพก็จะไม่แตกต่างกับภาพที่เห็นการหนีตายของประชาชนจากการเกิดก๊าซรั่วที่มาจากโรงงานของบริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลล์ (ประเทศไทย) จำกัด และการระเบิดของโรงงาน BST ภาพบนหน้าจอทีวีที่เห็นความแตกตื่น ความสับสนของประชาชนที่พยายามอพยพหนีอุบัติภัย แต่ก็ไม่ทราบว่าควรจะหนีไปอยู่ที่ใดถึงจะปลอดภัย ครอบครัวที่มีแต่รถจักรยานยนต์และมีผู้สูงวัยที่เป็นอัมพาต ต่างชะเง้อรอรถยนต์ที่จะมาช่วยอพยพตามที่ผู้นำชุมชนเคยนัดหมายไว้เมื่อครั้งที่ซ้อมเผชิญเหตุ ยามที่เกิดเหตุจริงผู้นำชุมชนไม่ได้รับแจ้งเหตุ หรือรถที่นัดหมายไว้ก็ไปต่างจังหวัด ดังนั้นทุกคนจึงต้องพึ่งตนเอง ทำให้ถนนทุกสายเต็มไปด้วยรถทุกประเภทแต่เคลื่อนที่ไปได้ช้ามาก ในฐานะนักวิชาการที่ไม่ได้ไปศึกษาดูงาน จึงใช้วิธีสืบค้นข้อมูลเพื่อเรียนรู้ว่าเมื่อโรงงานในประเทศญี่ปุ่นระเบิด โรงงานและภาครัฐปฏิบัติอย่างไร จึงขอใช้กรณีศึกษาจากการระเบิดของโรงงานอิวากูนิ-โอตาเกะ ของบริษัท มิตซุย เคมิคอล จังหวัดยามากูจิ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งระเบิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2555 เวลาบ่าย 14.15 น. หลังจากควบคุมเหตุการณ์ซึ่งการระเบิดถึง 2 ครั้ง ห่างกันประมาณ 3 ชั่วโมง บริษัทได้ตั้งคณะทำงานสำรวจความเสียหายของชุมชน การบาดเจ็บและเสียชีวิต ในเวลา 19.00 น. ของวันเดียวกัน ประธานบริษัท มิตซุย เคมิคอล จากสำนักงานใหญ่ในเมืองโตเกียว ได้ออกประกาศความเสียหายที่สำรวจพบจากบ้านเรือนประชาชน 267 แห่ง และโรงงาน 14 แห่ง รวมทั้งให้ข้อมูลสารเคมีซึ่งเป็นผลกระทบที่ชุมชนกังวลอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้จะขาดรายละเอียดที่ต้องตรวจสอบสาเหตุและผลกระทบต่อการผลิตในรายละเอียด ซึ่งต้องใช้เวลาศึกษาและแจ้งให้ทราบต่อไป ภาคราชการทั้งตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนมากเข้ามาตรวจสอบและกำกับให้โรงงานปฏิบัติตามกฎหมาย และช่วยปกป้องสิทธิของชุมชน อีก 2 วันต่อมา บริษัท มิตซุย เคมิคอล ได้ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษาสาเหตุของการระเบิดของโรงงานเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงระบบความปลอดภัยและป้องกันการเกิดเหตุซ้ำในอนาคต คณะกรรมการประกอบด้วยบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ โดยเป็นศาสตราจารย์ 3 คน จากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงซึ่งจัดการสอนด้านเทคโนโลยี 3 แห่ง และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยด้านวิศวกรรมความปลอดภัย 1 คน และเป็นผู้บริหารของบริษัท 5 คน มาจากด้านการจัดการ ด้านความปลอดภัย ด้านการวิจัย ด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ด้านการผลิตและเทคโนโลยี ด้านละ 1 คน โดยประกาศฉบับนี้บริษัทได้แสดงความเสียใจและขอโทษชุมชนที่ได้รับผลกระทบ และอีก 6 วันต่อมา คณะกรรมการบริหารได้แสดงความรับผิดชอบโดยประกาศต่อสาธารณะในการลดค่าตอบแทนลง ประธานกรรมการบริหารลดลง 40% กรรมการภายในลดลง 30% และบริษัทได้จัดทำประกาศให้ข้อเท็จจริงแก่ผู้มีส่วนได้เสีย รวม 7 ฉบับ โดยเฉพาะข้อมูลความปลอดภัยของแหล่งเก็บยูเรเนียมของโรงงานซึ่งเป็นข้อห่วงใยของคนทั้งประเทศ เพราะโรงงานใช้ยูเรเนียมเป็นแหล่งพลังงาน ปัญหาอุบัติเหตุจากโรงงานอุตสาหกรรมในมาบตาพุดจะแก้ไขได้ ถ้ามีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เริ่มจากการนำกฎหมายที่กำกับโดยหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงมหาดไทยซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดรับผิดชอบหลักในพื้นที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมแรงงาน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยทุกหน่วยงานมุ่งเน้นการป้องกันไว้ก่อน และรัฐต้องให้ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหาย การเกิดอุบัติเหตุของโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุ่นครั้งสำคัญ เช่น การะเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมา ก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง รัฐบาลญี่ปุ่นมิได้นำงบประมาณของรัฐมาจ่ายชดเชยให้ประชาชน แต่รัฐบาลให้โรงงานกู้เงินเพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าชดเชย จึงแตกต่างจากวิธีแก้ปัญหามาบตาพุดที่รัฐบาลไทยใช้งบประมาณของรัฐเพื่อแก้ปัญหา ทำให้เจ้าของโรงงานไม่ต้องรับผิดชอบในการละเมิดและการทำความผิดต่างๆ ไม่มีการคิดค่าเสียหายที่โรงงานก่อให้เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ทั้งๆ ที่เจ้าหน้าที่รัฐมีกฎหมายที่จะบังคับใช้ การระเบิดของโรงงานก่อให้เกิดความร้อนทั้งจากการลุกไหม้ และทำให้อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้นจากการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ปริมาณน้ำที่ใช้ในการดับเพลิงที่ฉีดชะสารเคมีและสารพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ไหลบ่าลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ฝนที่ตกยังช่วยพัดพาสารปนเปื้อนไปตกค้างอยู่ในดินและพืช ในปีงบประมาณ 2552 รัฐอนุมัติวงเงิน 2,182.22 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนโครงการเพื่อลดและขจัดมลพิษของจังหวัดระยอง ซึ่งมีแผนงานรองรับเหตุฉุกเฉินและเตือนภัยสารพิษด้วย และในปีงบประมาณ 2553 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนงานแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของมาบตาพุดเพิ่มเติมอีก 255.72565 ล้านบาท ประชาชนชาวไทยต้องร่วมกันติดตามว่า การอนุมัติเงินที่มาจากภาษีราษฎรจะสามารถแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็น ทำให้เกิดลดมลพิษในพื้นที่และส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตควบคุมมลพิษดีขึ้น โครงการจำนวนมากเป็นการป้องกันปัญหา หรือตามแก้ปัญหา กรมควบคุมมลพิษได้รายงานผลการตรวจเฝ้าระวังผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยตรวจน้ำในพื้นที่ซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากที่โรงงาน BST ระเบิด ระหว่าง 8-14 พฤษภาคม 2555 ซึ่งตรวจพบโทลูอีน เบนซีน และสไตรีน ในปริมาณสูง แต่ไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มที่ยอมรับได้โดยองค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยมีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำตาม มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งกำหนดไว้เฉพาะค่ามาตรฐานน้ำใต้ดินที่ให้ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 1,000 ไมโครกรัม/ลิตร หรือพีพีเอ็ม แต่ค่าโทลูอีนที่ตรวจพบนั้นพบสูงสุด ประมาณ 550 ไมโครกรัม/ลิตร (รูปที่ 3)
นอกจากนี้กรมควบคุมมลพิษยังได้ตรวจตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทั่วไป เป็นที่น่าเสียดายที่กรมควบคุมมลพิษไม่ได้ตรวจหาสารเคมีที่เป็นอันตรายที่เกิดจากการเผาไหม้สารเคมีของโรงงาน เพราะการตรวจเพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยนั้นควรตรวจในพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุให้ครบถ้วนด้วย มิใช่เน้นที่ตรวจตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทั่วไป ส่วนการตรวจคุณภาพอากาศนั้นตรวจสารอินทรีย์ระเหยง่าย 5 ชนิด ด้วยเครื่องตรวจแบบพกพาและรายงานว่า พบโทลูอีน สไตรีน 1,3 บิวทาไดอีน (สารก่อมะเร็งในคน กลุ่ม 1) แอมโมเนียและไวนีลคลอไรด์ (สารก่อมะเร็งในคน กลุ่ม 1) อยู่ในระดับต่ำไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน นอกจากนี้ยังตรวจพบไวนีลคลอไรด์และ 1,3 บิวทาไดอีน ตกค้างปนเปื้อนในดินด้วย แต่ก็สรุปว่าตรวจพบในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นที่น่าแปลกใจว่าค่าพารามิเตอร์ที่เกิดจากการเผาไหม้สารเคมีที่อยู่ในอุบัติเหตุครั้งนี้ กรมควบคุมมลพิษทราบดีว่ามีอะไรบ้างที่เป็นอันตราย เหตุใดจึงไม่มีการตรวจ หรือตรวจแล้ว แต่ไม่สามารถรายงานผลได้ นอกจากนี้กรมควบคุมมลพิษควรที่จะระมัดระวังในการสรุปว่าปริมาณสารเคมีที่ตรวจพบทั้งในน้ำ ในอากาศและในดิน นั้นไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะสารก่อมะเร็งนั้นในด้านการแพทย์มิได้มีการกำหนดไว้ว่าค่าที่คนได้รับเป็นเท่าใดจึงก่อให้เกิดมะเร็งได้ นอกจากนี้แต่ละบุคคลยังมีความไวต่อสารพิษแตกต่างกันด้วย โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยและผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีความไวต่อสารพิษสูงด้วย ดังนั้นถึงแม้ปริมาณน้อยๆ ก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ การแก้ปัญหาในมาบตาพุดนั้น นอกจากความรับผิดชอบที่เจ้าหน้าที่รัฐต้องเรียกร้องจากโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว รัฐต้องเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐที่ละเลย ไม่ปฏิบัติหน้าที่ อนึ่ง โรงงานอุตสาหกรรมในมาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดระยองนั้น หากนับอายุโรงงานแล้วก็ถือว่ามีการใช้งานมานานและถึงเวลาต้องตรวจสอบความปลอดภัยครั้งใหญ่ เพื่อป้องกันปัญหาการเกิดอุบัติเหตุซ้ำ นับจากที่นายกรัฐมนตรีลงมารับฟังปัญหาและสั่งการให้แก้ปัญหาด้านต่างๆ โดยเฉพาะให้แต่งตั้งคณะกรรมการไตรภาคีประกอบด้วยภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนเพื่อลงพื้นที่ตรวจวัดสารเคมีตกค้าง และให้ปรับปรุงแผนการสื่อสารและแผนเตือนภัย บัดนี้ยังไม่มีความคืบหน้าให้สาธารณชนได้รับทราบ บทเรียนจากอุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้คนตายไม่น้อยกว่า 11 คน และบาดเจ็บอีกนับร้อย รวมทั้งความเสียหายต่อทรัพย์สินและสุขภาพของประชาชน จึงไม่ควรจบลงแบบเงียบๆ ตามกลิ่นและกลุ่มควันจากการเผาไหม้สารเคมีที่จางลง ชาวต่างชาติที่ทำงานในพื้นที่กล่าวว่า “ปัญหาของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ไม่น่าจะแก้ไขได้ เพราะคนไทยเมื่อจ่ายเงิน เรื่องก็จบลงแล้ว” หากเกิดอุบัติเหตุในโรงงานซ้ำ โดยไม่ได้มีระบบการแจ้งเหตุและการช่วยเหลืออพยพประชาชนในชุมชนที่เป็นระบบ โดยเฉพาะการอพยพเด็กนักเรียนในโรงเรียนไปยังพื้นที่ปลอดภัย ย่อมแสดงความล้มเหลวของการลงพื้นที่ของผู้บริหารระดับประเทศ ตั้งแต่ระดับนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา เพราะบ่งชี้ว่า นอกจากจะไม่มีระบบแล้ว กลไกก็ยังไม่ทำงานด้วย การลงพื้นที่เพื่อติดตามสารเคมีและน้ำปริมาณมากที่ใช้ในการดับเพลิงว่ามีการบำบัดอย่างไร เมื่อติดตามเส้นทางระบายน้ำไปลงทะเลที่อ่าวตากวน ก็พบภาพที่น่าตกใจจนแทบไม่เชื่อสายตาตนเองว่า มีตะกอนเลนสีดำทับถมบนหาดทรายสีขาวและใต้ท้องทะเลจำนวนมาก เมื่อใช้ขวดน้ำดื่มตักน้ำขึ้นมาตรวจ พบว่าน้ำมีสีดำปี๋ ชาวประมงบอกว่าเป็นสิ่งปกติเมื่อถึงช่วงเวลาน้ำลง ที่สำคัญพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่เลี้ยงหอยแมลงภู่ สัมภาษณ์ผู้เลี้ยงหอยทำให้ทราบว่าปกติหอยที่เพาะเลี้ยงไว้จะสามารถชั่งได้ 1 พวง หนักประมาณ 9 กิโลกรัม แต่หลังจากโรงงาน BST ระเบิด พบว่าลูกหอยและหอยที่เติบโตถึงระยะหนึ่งก็ทิ้งพวงหอยเหลือพวงละ 1 กิโลกรัม จึงพบเปลือกลูกหอยและเปลือกหอยขนาดกลาง เกลื่อนหาด (รูปที่ 4) กรมประมงและกรมควบคุมมลพิษควรเข้ามาดูแล เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงหอยแมลงภู่ หากพบว่าเป็นพื้นที่ไม่เหมาะสม ควรที่จะมีการชดเชยการสูญเสียพื้นที่ทำกินให้แก่เกษตรกรกลุ่มนี้
รูปที่ 4 สภาพชายหาดเมื่อน้ำลง สังเกตตะกอนเลนสีดำ (ภาพบน) ที่กลุ่มประมงตากวน-อ่าวประดู่
หมายเหตุ: ชื่อบทความเดิม: ถามหา ??? ความคืบหน้าของการปรับปรุงระบบแจ้งเตือนและอพยพประชาชน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||
กองกำลังคะเรนนี KNPP เจรจาหยุดยิงกับรัฐบาลพม่าแล้ว Posted: 11 Jun 2012 08:22 PM PDT แต่ยังตกลงเรื่องให้ทหารพม่าถอนทหารออกจากพื้นที่ควบคุมของ KNPP ไม่ได้ ทำให้ขณะนี้เหลือเพียงทหารคะฉิ่น KIA ที่ยังรบกับทหารพม่า โดยล่าสุดทหารคะฉิ่น KIA ได้ประกาศปิดถนนในรัฐฉานภาคเหนือสายท่าเดื่อ-หมู่แจ้ในช่วงกลางคืน เนื่องจากเกรงทหารพม่าจะปลอมตัวเป็นพลเรือนแล้วใช้เป็นเส้นทางเคลื่อนกำลัง หลังจากต่อสู้กับรัฐบาลเพื่อเรียกร้องเอกราชของรัฐคะเรนนีมานานกว่า 6 ทศวรรษ พรรคก้าวหน้าแห่งชาติคะเรนนี (Karenni National Progressive Party - KNPP) ได้ลงนามหยุดยิงกับรัฐบาลแล้ว หลังจากมีการเจรจากับรัฐบาลเมื่อวันที่ 9-10 มิ.ย. ที่ผ่านมาที่เมืองลอยก่อ รัฐคะเรนนี ผลจากข้อตกลงหยุดยิง ทำให้เหลือเพียงองค์กรอิสรภาพคะฉิ่น (Kachin Independence Organization) ซึ่งมีกองกำลังทางทหารนามกองทัพอิสรภาพคะฉิ่น (Kachin Independence Army) ชนกลุ่มน้อยกลุ่มเดียวในรัฐคะฉิ่น ที่ยังคงจับอาวุธต่อสู้กับรัฐบาลพม่า เว็บไซต์อิระวดี รายงานว่า อ่อง ซาน มินท์ เลขาธิการทั่วไปคนที่ 2 ของ KNPP กล่าวกับผู้สื่อข่าวอิระวดีเมื่อวานนี้ (11 มิ.ย.) ว่า สามารถตกลงกับรัฐบาลพม่าได้ 17 ข้อจาก 20 ข้อ ส่วนข้อที่ยังตกลงกันไม่ได้อีก 3 ข้อ จะมีการเจรจาในการพบกันรอบต่อไป โดยข้อที่ยังตกลงกันไม่ได้ ได้แก่ หนึ่ง KNPP ขอจัดตั้งฐานทัพใหม่ในรัฐคะเรนนี สอง ขอให้ทหารรัฐบาลถอนออกจากพื้นที่ควบคุมของ KNPP และสาม หยุดการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำสาละวิน ช่วงรัฐคะเรนนี ทั้งนี้ KNPP ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1955 หรือ พ.ศ. 2498 มีกำลังพล 1,000 นาย ทั้งนี้ในรอบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา มีชาวคะเรนนีหลายพันค้นต้องอพยพออกจากรัฐคะยาห์ เนื่องจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และต้องเข้ามาพักพิงในค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทย และจำนวนมากได้เดินทางไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่ 3 KNPP แถลงด้วยว่า ในอนาคตจะร่วมมือกับรัฐบาลในการพัฒนาด้านการศึกษา สาธารณสุข และพุ่งความสนใจไปยังการปราบปรามยาเสพติในรัฐคะเรนนี ในการเจรจาที่เมืองลอยก่อ ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันที่ตั้งคณะสังเกตการณ์ความคืบหน้าของกระบวนการสันติภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องเขื่อนในแม่น้ำสาละวินที่จะนำมาหารือกันในการเจรจารอบต่อไป KNPP กล่าวด้วยว่าจะพบปะกับผู้แทนองค์กรทางสังคมที่เมืองลอยก่อในวันจันทร์ (11 มิ.ย.) และจะตั้งสำนักงานประสานงานที่เมืองลอยก่อ อันเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงในระดับสหภาพกับรัฐบาลพม่า สำหรับคณะเจรจาของ KNPP ประกอบด้วย เลขาธิการคนที่ 1 คูอูเหร่ ซึ่งเป็นผู้ลงนามสันติภาพ ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลพม่าคือ ขิ่น หม่อง ซอ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานไฟฟ้า ทั้งนี้รัฐบาลพม่าสามารถลงนามหยุดยิงและวางแผนสันติภาพร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มนับตั้งแต่ขึ้นสู่อำนาจในเดือนมีนาคมปี 2554 ขณะที่ล่าสุดเมื่อวานนี้ เกิดเหตุระเบิดติดต่อกันหลายครั้งที่เมืองหมู่แจ้ ชายแดนรัฐฉาน-จีน โดยระเบิดลูกหนึ่งเกิดระเบิดขึ้นในถังขยะใกล้กับบ้านของรองประธานาธิบดีพม่าจายหมอกคำ ซึ่งเป็นบ้านที่กำลังก่อสร้าง และรองประธานาธิบดีไม่ได้อยู่ในบ้านในเวลานั้น ทั้งนี้ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ และไม่มีกลุ่มไหนออกมาแสดงความรับผิดชอบกับเหตุระเบิดนี้ ขณะเดียวกัน เว็บไซต์ Taifreedom รายงานด้วยว่า กองทัพอิสรภาพคะฉิ่น KIA ซึ่งเคลื่อนไหวในรัฐคะฉิ่น จนถึงรัฐฉานภาคเหนือ ได้ออกแถลงการณ์ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. จะทำการปิดเส้นทางเดินรถเชื่อมต่อระหว่างเมืองท่าเดื่อ และเมืองหมู่แจ้ ซึ่งเป็นเส้นทางสายเศรษฐกิจตามแนวชายแดนที่ใหญ่ที่สุดในสหภาพพม่า โดยนายทหารของกองพลน้อยที่ 4 KIA ให้เหตุผลในการปิดเส้นทางดังกล่าวว่าเป็นเพราะมีทหารพม่าปลอมตัวสวมใส่ชุดพลเรือน แล้วใช้รถพลเรือนขับสัญจรไปมาบนเส้นทางดังกล่าวในยามค่ำคืน จึงจำต้องปิดเส้นทางเดินรถระหว่างล่าเสี้ยว – หมู่เจ้ โดยมีผลเฉพาะช่วงเวลากลางคืน ส่วนในเวลากลางวันนั้นรถชนิดต่าง ๆ ยังสามารถสัญจรผ่านไป – มา ได้ตามปกติ ซึ่งแถลงการณ์ของ KIA ฉบับนี้ มีการติดประกาศไปทั่วตลอดบนเส้นทางสายดังกล่าว พร้อมทั้งมีการทำเป็นใบปลิวสำหรับแจกแก่ประชาชนทั่วไปด้วย นอกจากนี้ เส้นทางเดินรถที่เชื่อมต่อระหว่างหม่านโต่ง – น้ำตู้ ก็ถูกทหารคะฉิ่น KIA สังกัดกองพันทหารราบที่ 8 และกองพันทหารราบที่ 34 ซึ่งขึ้นตรงต่อกองพลน้อยที่ 4 เข้าทำการควบคุม สั่งห้ามสัญจรในยามค่ำคืนเช่นเดียวกัน
แปลและเรียบเรียงจาก Karennis Sign Ceasefire with Naypyidaw, By LAWI WENG / THE IRRAWADDY June 11, 2012 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |||||||||||||||||
อดีต ‘วาดะห์’ รวมกลุ่ม? ถกการเมืองเรื่องดับไฟใต้ Posted: 11 Jun 2012 02:47 PM PDT อดีตวาดะห์ร่วมเสวนา หาทางดับไฟใต้ ‘เด่น – วันนอร์ – อารีเพ็ญ – นัจมุดดีน’ ร่วมแถลง 5 ข้อแก้ปัญหาชายแดนใต้ ส่งนัยยะอาจรวมกลุ่มทางการเมือง
วาดะห์รวมกลุ่ม? – นักการเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่เป็นอดีตแกนนำและสมาชิกกลุ่มวาดะห์ เช่น นายเด่น โต๊ะมีนา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ และนายนัจมุดดีน อูมา รวมสานเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาและทางออกระหว่างนักการเมืองจังหวัดชายแดนใต้ ครั้งที่ 6 เมื่อ 11 มิถุนายน 2555 ที่โรงแรม ซีเอส ปัตตานี
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 11 มิถุนายน 2555 ที่ห้องฟาฎอนี โรงแรม ซีเอส ปัตตานี สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดแถลงข่าว หลังจากการสานเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาและทางออกระหว่างนักการเมืองจังหวัดชายแดนใต้ ครั้งที่ 6 โดยมีนักการเมืองจากพรรคต่างๆ โดยมีนายเด่น โต๊ะมีนา สมาชิกพรรคมาตุภูมิ อดีตแกนนำกลุ่มวาดะห์ เป็นผู้นำแถลงข่าว โดยมีผู้ร่วมแถลงข่าว ส่วนใหญ่อดีตแกนนำและสมาชิกกลุ่มวาดะห์ ได้แก่นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา อดีตรองนายกรัฐมนตรี นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์และนายนัจมุดดีน อูมา สมาชิกพรรคมาตุภูมิ นอกจานี้ยังมีนายมุกตา วาบา สมาชิกพรรคภูมิใจไทย นายอับดุลเร๊าะห์มาน อับดุลสมัด ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ระบบบัญชีรายชื่อ(ปาร์ตี้ลิสต์) พรรคเพื่อไทย เป็นต้น นายเด่น แถลงสรุปข้อเสนอจากการสานเสวนาว่า มี 5 ประเด็น (อ่านรายละเอียดในล้อมกรอบด้านล่าง) เช่น ให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) ยกร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555-2557 ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้นำหลักรัฐประศาสโนบายของรัชกาลที่ 6 มาใช้ในการปรับปรุงระเบียบข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ การส่งเสริมให้คนในพื้นที่เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐเป็นส่วนใหญ่ อาจจะเริ่มจากใน ศอ.บต.ก่อน เร่งพัฒนาความยุติธรรมกระแสหลักให้สอดคล้องกับความเป็นจริง รวดเร็ว และเป็นธรรม เป็นต้น นายวันมูหะมัดนอร์ แถลงด้วยว่า การเสวนาครั้งนี้มีผู้ร่วมเสวนาจากหลายพรรคการเมือง ซึ่งหลังจากได้ข้อสรุปจากการเสวนาแล้วทุกคน ทุกพรรคการเมือง คงจะนำไปเสนอที่ประชุมของพรรคการเมืองการต่างๆ ไม่ว่า พรรครัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งจะมีส่วนผลักดันนโยบาย เพื่อไปสู่การปฏิบัติได้มากยิ่งขึ้น นางสาวงามศุกร์ รัตนเสถีตร อาจารย์สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า โครงการสานเสวนานี้ จัดมาแล้ว 5 ครั้ง โดยสลับกันใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เดือนละ 1 ครั้ง ในเวลา 1 ปี โดยทุกครั้งจะมีการสรุปและทำเป็นข้อเสนอ พร้อมแถลงต่อสื่อมวลชน โดยผู้เข้าร่วมเสวนาครั้งนี้ แต่ละคนเข้าร่วมเสวนามาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง นางสาวงามศุกร์ เปิดเผยอีกว่า การเสวนาว่าในโครงการนี้ มีการนำร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ภาคใต้ 2555 - 2557 และนโยบายการบริหารงานและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของสภาความมั่นคงแห่งชาติมาเป็นฐานในการเสวนาและจัดทำข้อเสนอ โดยข้อเสนอที่ได้จะเสนอต่อนายกราชมนตรีต่อไป รายงานข่าวแจ้งว่า ในช่วงการสานเสวนา นายวันมูหะมัดนอร์ ได้กล่าวในวงเสวนาว่า นักการเมืองในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ น่าจะต้องมีพื้นที่ร่วมกันในการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ .................................................... ข้อเสนอจากการสานเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาและทางออก ระหว่างนักการเมืองจังหวัดชายแดนใต้ ครั้งที่ 6 ประเด็นที่ 1 ตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว และในขณะนี้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้กำลังยกร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555-2557 ให้สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว ที่ประชุมมีความเห็นว่า ทั้งนโยบายและยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติใช้ได้ผลจริงในพื้นที่ ประเด็นที่ 2 ตามที่ร่างยุทธศาสตร์ระบุว่าจะ “จะน้อมนำหลักรัฐประศาสโนบายของล้นเกล้าราชกาลที่ 6 ข้อที่ 1 ที่ได้ทรงฯวางไว้ว่า “วิธีปฏิบัติการอย่างใด เป็นทางให้พลเมืองรู้สึกเห็นไปว่า เป็นการเบียดเบียนกดขี่ศาสนาอิสลาม ต้องยกเลิกหรือแก้ไขเสียทันที การใดจะจัดขึ้นใหม่ต้องอย่าให้ขัดกับลัทธินิยมของอิสลาม หรือยิ่งทำให้เห็นเป็นการอุดหนุนศาสนามหมัดได้ยิ่งดี” มาใช้ในการปรับปรุงระเบียบข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ” นั้น การปฏิบัติข้อนี้น่าจะเป็นการปฏิบัติ “ลัทธินิยมของอิสลาม” ที่เป็นข้อวินิจฉัย 23 ข้อ ของอดีตจุฬาราชมนตรีท่านประเสร็จ มะหะหมัด โดยข้อราชการได้รับทราบอย่างกว้าง เช่น ปิดประกาศข้อวินิจฉัยในที่ทำการอำเภอและโรงเรียนทุกแห่ง อนึ่ง ขอให้ผู้บังคับบัญชากำชับ ข้าราชการให้เคารพประเพณีนิยมโดยเฉพาะในเรื่องทางเพศอย่างเคร่งครัด และจะต้องลงโทษทางวินัยแก่ผู้ที่ละเมิดอย่างจริงจัง ประเด็นที่ 3 ตามที่ร่างยุทธศาสตร์ ระบุว่าจะ “ส่งเสริมให้มีส่วนสรรหาเพื่อบรรจุแต่งตั้งผู้มีภูมิลำเนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐเป็นส่วนใหญ่” นั้น การปฏิบัติอาจจะเริ่มจากการขออนุมัติให้มีอัตรากำลังของข้าราชการเป็นของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อดำเนินการ บรรจุแต่งตั้งผู้มีลำเนาเป็นส่วนใหญ่ และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรเสนอแนะกระทรวงต่างๆ ส่งข้าราชการที่เข้าใจและตั้งใจจริงมาปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มิใช่ผู้ที่ขาดความสนใจหากต้องการเพียงดำแห่นงและใจจดจ่อกับการขอย้ายจากพื้นที่ ทั้งนี้ ขอให้ปฏิบัติตามหลักรัฐประศาสโนบายล้นเกล้าราชการที 6 อย่างจริงจัง ประเด็นที่ 4 ตามที่ร่างยุทธศาสตร์ระบุว่าจะ “เร่งพัฒนาความยุติธรรมกระแสหลักให้สอดคล้องกับความเป็นจริง รวดเร็ว และเป็นธรรม” ที่ประชุมมีความเห็นว่า กระบวนการยุติธรรมมีความล่าช้า การสอบสวนและส่งฟ้องยังไม่เป็นธรรม เช่นมีการ “ผ่อนฟ้อง” และระว่างปี พ.ศ.2552-2554มีการยกฟ้องถึง 63- 78 เปอร์เซ็นต์ ประเด็นที่ 5 ในประเด็นทางเศรษฐกิจ ตามที่ร่างยุทธศาสตร์ระบุว่าจะดำเนินการถึง 23 เรื่องนั้น ที่ประชุมขอเน้นว่า ขณะนี้ปัญหาความไม่สงบเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อยกับการมีงานทำของเยาวชน ซึ่งจะช่วยนำพลังของเยาวชนมาสู่การสร้างสรรค์ อนึ่ง ในปัจจุบันมีพลเมืองไทยไปประกอบอาชีพที่ประเทศมาเลเซียจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่ประกอบอาชีพการขายอาหาร เช่น ต้มยำ อาจมีสูงถึง 200,000 คน จึงขอให้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พิจารณาดำเนินการให้มีการตกลงในระดับนโยบายระหว่างรัฐบาลไทยกับมาเลเซีย เพื่ออำนวยความสะดวกและการสนับสนุนการประกอบอาชีพ และลดค่าใช้จ่ายและอุปสรรคต่างๆ รวมทั้งการขอใบอนุญาตการทำงานได้สะดวกและมีค่าจ่ายที่ลดลง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น