โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ไทยมอบรางวัลร่วมปราบยาเสพติดให้กองทัพรัฐฉาน SSA

Posted: 25 Jun 2012 10:01 AM PDT

สภากอบกู้รัฐฉาน RCSS กองทัพรัฐฉาน SSA ได้รับรางวัลต่อต้านยาเสพติดจากทางการไทย ด้าน พล.ท.ยอดศึก เผยดีใจพร้อมระบุ RCSS/SSA จะจัดพิธีเผาทำลายยาเสพติดร่วมกับพม่า ในวันต่อต้านยาเสพติดโลก 26 มิ.ย. นี้ 

 

มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมา ทางการไทยโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ได้มอบรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ในด้านการรณรงค์ ส่งเสริมในการป้องกันต่อต้านอาชญากรรมและยาเสพติดเพื่อความมั่นคงแห่งปี  “คนดี คิดดี ทำดี สังคมดี ตามรอยพระยุคคลบาท” รางวัล “อินทรีทอง Award” ครั้งที่ 1 ประจำปี 2555 เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก วันที่ 26 มิ.ย. ของทุกปี 

พิธีมอบรางวัลจัดขึ้น ณ สโมสรบุณยะจินดา (ดุริยางค์ตำรวจ) กองสวัสดิการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถ.แจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี  มี พล.อ พิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรี เป็นประธานมอบในพิธีมอบรับรางวั

ทั้งนี้ ผู้ได้รับมอบรางวัลนอกเหนือจากบุคคล องค์กร และหน่วยงานต่างๆ แล้ว สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน RCSS (Restoration Council of Shan State) องค์กรการเมืองกองทัพรัฐฉาน SSA (Shan State Army) ภายใต้การนำของพล.ท.เจ้ายอดศึก ได้รับรางวัลดังกล่าวในฐานะเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการต่อต้านยาเสพติด

โดยรางวัล “อินทรีทอง Award” ครั้งที่ 1 ประจำปี 2555 ที่สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน RCSS / SSA ได้รับเป็นรางวัลประเภทเครือข่ายความร่วมมือการข่าวเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยทางRCSS ได้ส่งตัวแทนเดินทางไปรับมอบ

ด้านพล.ท.เจ้ายอดศึก กล่าวว่า ตนในฐานะผู้นำสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน RCSS กองทัพรัฐฉาน SSA รู้สึกยินดีและดีใจที่ RCSS / SSA ได้รับมอบรางวัลดังกล่าวจากทางการไทย ขอขอบคุณประชาชนคนไทยและทางการไทยเป็นอย่างยิ่ง

พล.ท.เจ้ายอดศึก เผยด้วยว่า วันพรุ่งนี้ (26 มิ.ย.) สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน RCSS / SSA จะจัดพิธีเผาทำลายยาเสพติดร่วมกับรัฐบาลพม่า ในพื้นที่ระหว่างเมืองหนองและเมืองลายค่า ของรัฐฉาน โดยยาเสพติดที่จะนำมาเผาทำลายครั้งนี้ เป็นยาเสพติดที่ยึดได้จากโรงงานผลิตยาเสพติดในเมืองน้ำจ๋าง และของกลุ่มกองกำลังอาสาสมัครบ้านป่าง เมืองลายค่า เมื่อช่วงปีที่ผ่านมา 

“สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน RCSS/SSA มีนโยบายปราบปรามยาเสพติดชัดเจน แต่ที่ผ่านมาไม่มีการประสาน และไม่ได้รับความร่วมมือกับรัฐบาลพม่า ฝ่ายรัฐบาลพม่ากล่าวหา RCSS/SSA เกี่ยวข้องยาเสพติด และทาง RCSS/SSA ก็กล่าวหารัฐบาลพม่าอยู่เบื้องหลังปัญหายาเสพติด ต่างฝ่ายต่างกล่าวหากัน หลังจาก RCSS/SSA หยุดยิงกับรัฐบาลพม่าได้เสนอแผนปราบปรามยาเสพติดให้แก่รัฐบาลพม่าระหว่างการเจรจาสันติภาพระดับสหภาพครั้งที่ 2 ที่เมืองเชียงตุง เมื่อ 19 พ.ค. ที่ผ่านมา เพื่อร่วมมือกันปราบปรามอย่างจริงจัง” พล.ท.เจ้ายอดศึก กล่าว

 
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/
 



"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลแพ่งรับไต่สวน 'ยูโรจอดำ' คุ้มครองก่อนมีคำพิพากษา 26 มิ.ย.

Posted: 25 Jun 2012 08:22 AM PDT

25 มิ.ย.55 ศาลแพ่งรับไต่สวน เพื่อคุ้มครองก่อนมีคำพิพากษา  กรณีผู้บริโภคยื่นฟ้อง ยื่นฟ้องกับทั้ง 4 จำเลย ประกอบด้วย บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด(มหาชน) ที่ 1 กองทัพบก ที่ 2 บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ที่ 3 และบริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด ที่ 4 ข้อหาร่วมกันละเมิดและทำผิดสัญญา (การให้บริการสาธารณะในการแพร่ภาพและกระจาย เสียง) เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ดำเนินการแพร่ภาพและกระจายเสียงรายการถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร 2012 ผ่านระบบส่งภาคพื้นดิน ผ่านระบบจานรับสัญญาณดาวเทียม ผ่านระบบอื่นใด หรือดำเนินการใดๆ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการชมรายการผ่านการรับสัญญาณทุกประเภทตามที่เคย ปฏิบัติโดยด่วนที่สุดก่อนการแข่งขันจะสิ้นสุดในวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 โดยนัดฟังคำสั่งในวันที่ 26 มิถุนายน เวลา 09.00 น. ห้องพิจารณาคดี 711 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไต่สวนการตายชุมนุมปี 53 พนักงานสอบสวน-ช่างภาพยันยิงจากฝั่งทหาร

Posted: 25 Jun 2012 08:08 AM PDT

25 มิ.ย. เว็บไซต์เดลินิวส์ รายงานว่า ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนคำร้อง ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิตของนายชาติชาญ ชาเหลา อายุ 25 ปี ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตบริเวณหน้าอาคารอื้อจื่อเหลียง ในช่วงที่มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อวันที่ 13 พ.ค.53 ในสมัยรัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีโดยพนักงานอัยการเตรียมพยานเข้าเบิก 2 ปาก คือ พ.ต.อ. สืบศักดิ์ พันธุ์สุระ รองผบก.น.6 และนางพลอย ขบวนฮาม มารดาของนายชาติชาย โดย พ.ต.อ.สืบศักดิ์ เข้าเบิกความปากแรกสรุปว่า ตนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน ชุดที่ 3 โดยเมื่อวันที่ 19 ก.ย.54 กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ส่งสำนวนมาให้กองบัญชาการตำรวจนครบาลสอบสวน (บช.น.) สอบสวนต่อ เนื่องจากเชื่อว่าการเสียชีวิตของนายชาติชายเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงทำหนังสือยื่นต่อสำนักงานอัยการสูงสุดขอให้ส่งพนักงานอัยการร่วมสืบสวนคดีนี้ด้วย โดยผลการสืบสวนสรุปว่า คดีนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. -19 พ.ค.53 โดยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) เริ่มชุมนุมที่ถนนราชดำเนิน เพื่อขอให้รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ยุบสภา แต่รัฐบาลไม่ยอมทำตาม กลุ่มผู้ชุมนุมจึงขยายการชุมนุมไปหลายพื้นที่ รวมถึงแยกราชประสงค์ ซึ่งมีผู้มาร่วมชุมนุมจำนวนมาก นายอภิสิทธิ์จึงได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพฯ และพื้นที่ใกล้เคียง แล้วออกคำสั่งตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) โดยมีคำสั่งให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีขณะนั้น เป็นผู้อำนวยการ และให้เจ้าหน้าที่รัฐเป็นพนักงานปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อระงับสถานการณ์รุนแรง รวมทั้งได้ประกาศห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ห้ามเข้าไปในพื้นที่การชุมนุม ห้ามเดินรถโดยสารบางพื้นที่ ห้ามให้บริการรถไฟฟ้าบางสถานี และตัดสาธารณูปโภค

พ.ต.อ. สืบศักดิ์ เบิกความต่อว่า ในวันเกิดเหตุวันที่ 13 พ.ค.53 ศูนย์ศอฉ.มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ทหาร เป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมสถานการณ์ โดยกองกำลังทหารชุดดังกล่าวประมาณ 165 นายได้ตั้งด่านแข็งแรงที่บริเวณสะพานลอยหน้าอาคารอื้อจื่อเหลียง มีอาวุธปืนเอ็ม 16 เอ็ม 653 เอชเค ปืนลูกซองกระสุนยาง กระสุนซ้อมรบ และกระสุนจริงประจำกาย ซึ่งนอกจากทหารแล้วผู้อื่นไม่สามารถเข้าไปในบริเวณนั้นได้ ขณะที่ผู้ชุมนุมจำนวนมากจากแยกถนนวิทยุมุ่งหน้าตรงเข้าหาด่านของทหาร โดยใช้พลุและตะไลยิงเข้าใส่ด่าน เจ้าหน้าที่ทหารจึงใช้ปืนยิงตอบโต้กระทั่งเวลาประมาณ 22.50 น. ขณะที่นายชาติชายซึ่งมาร่วมชุมนุมและถือกล้องวีดีโอยืนถ่ายภาพเหตุการณ์อยู่หน้าบริษัทปริศนา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ใกล้อาคารอื้อจื่อเหลียง ได้ถูกกระสุนปืนยิงเข้าที่หน้าผากด้านขวาทะลุศรีษะ 1 นัด เสียชีวิตที่รพ.จุฬา ภายหลังการเสียชีวิตพนักงานสอบสวนสน.ปทุมวัน พร้อมด้วยแพทย์นิติเวช พนักงานอัยการ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ได้ร่วมกันชันสูตรพลิกศพปรากฏว่า นายชาติชายถูกกระสุนความเร็วสูงยิงเข้าที่ศรีษะทำลายอวัยวะสำคัญเป็นเหตุให้เสียชีวิต และจากการตรวจสอบพยานหลักฐานจากที่เกิดเหตุพบเศษชิ้นเนื้อ เส้นผม คราบเลือดของผู้ตาย และเศษหัวกระสุนตกที่พื้นใกล้จุดที่นายชาติชาย ผู้ตายล้มลง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืนตรวจพิสูจน์พบเพียงแค่รอยแนววิถีกระสุนที่นายชาติชายถูกยิง และยืนยันว่าเป็นกระสุนความเร็วสูง แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นกระสุนชนิดใด เนื่องจากเศษกระสุนเสียสภาพมาก อย่างไรก็ตาม จากการรวบรวมพยานเอกสารหลักฐาน ประจักษ์พยานแล้วไม่พบชายชุดดำปะปนกับผู้ร่วมชุมนุม จึงเชื่อว่านายชาติชายเสียชีวิตเนื่องจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ  ภายหลังศาลไต่สวนพยานปาก พ.ต.อ.สืบศักดิ์ เสร็จสิ้นแล้ว ศาลได้ไต่สวนนางพลอยต่อ และนัดไต่สวนครั้งต่อไป 23 ก.ค. นี้ และให้คู่ความทั้งสองฝ่ายส่งเอกสารทั้งหมดให้ศาลพิจารณาเพิ่มเติม

ด้านเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ รายงานการไต่สวนชันสูตรการเสียชีวิต ในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนการชันสูตร ศพ ของนายชาญณรงค์ พลศรีลา ผู้ร่วมชุมนุมในกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ถูกยิงเสียชีวิตที่หน้าปั๊มน้ำมันเชลล์ ซอยรางน้ำ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553

โดยในวันนี้พนักงานอัยการนำพยานเข้าเบิกความจำนวน 2 ปากประกอบด้วย นางศิริพร เมืองศรีนุ่น ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ และ นายไชยวัฒน์ พุ่มพวง ช่างภาพสำนักข่าวเนชั่น ซึ่งเคยได้รับบาดเจ็บจากการทำข่าวสถานการณ์การชุมนุม

นายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความกล่าวภายหลังไต่สวนว่า วันนี้พยานคนแรกคือ นาง ศิริพร เมืองศรีนุ่น ขึ้นเบิกความถึงขั้นตอนระเบียบในการสลายการชุมนุม และคำสั่งของการปฏิบัติการของทหารในการสลายการชุมนุม ส่วนพยาน ปากที่ 2 นายไชยวัฒน์ เบิกความถึงเหตุการณ์ในวันนั้นว่าวิถีของกระสุนปืนถูกระดมยิงมาจากทางฝั่งที่มีทหารประจำการอยู่ และตัวของพยานเองก็โดนกระสุนยิงเข้าที่ขา และเห็นตอนนายชาญณรงค์ผู้เสียชีวิตถูกยิงด้วย

ภายหลังเมื่อหมดเวลาราชการนายไชยวัฒน์ยังเบิกความไม่เเล้วเสร็จ ศาลจึงนัดไต่สวนอีกครั้งวันที่ 2 ก.ค.นี้ เวลา 09.00น. โดยอัยการจะนำพยานเบิกความในเพิ่มเติมอีก 3 ปาก คือ นายสรศักดิ์ ดุจปรีชา และนักข่าวอีก 2 คน ซึ่งทั้งหมดอยู่ในที่เกิดเหตุ เเละนายไชยวัฒน์ มาเบิกความเพิ่มเติม รวมเป็น 4 ปากในครั้งหน้าด้วย

 

 

......................
ที่มา: เว็บไซต์เดลินิวส์, เว็บไซต์กรุงเทพธรกิจ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จวกวิดีโอโปรโมทให้ผู้หญิงหันมาเรียนวิทย์ฯ ของคณะกมธ.ยุโรป "ดูถูกผู้หญิง"

Posted: 25 Jun 2012 04:56 AM PDT


 

เว็บไซต์ jusci ซึ่งเป็นเว็บไซต์เผยแพร่ข่าววิทยาศาสตร์ รายงานว่า หลังคณะกรรมาธิการยุโรป หรือ European Commission (EC) ปล่อยคลิป teaser โปรโมทโครงการรณรงค์ "Science: It's A Girl Thing!" ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้หญิงหันมาสนใจอยากเรียนและประกอบอาชีพในสายวิทยาศาสตร์มากขึ้น ก็เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่ากลับกลายเป็นการดูถูกผู้หญิง โดยล่าสุด คณะกรรมาธิการยุโรปตัดสินใจปิดวิดีโอดังกล่าวไม่ให้คนทั่วไปเข้าชมแล้ว

สำหรับโครงการรณรงค์เปิดตัวเมื่อ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากมองว่า ปัจจุบันวงการวิชาชีพ ที่เรียกรวมๆ ว่า STEM (ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering, and Math) มีผู้หญิงอยู่ไม่ถึง 1 ใน 4 ทำให้เกิดภาพลักษณ์ (stereotype) ว่าวงการวิชาชีพนี้เป็นวงการที่ผู้ชายเป็นใหญ่และไม่เหมาะกับผู้หญิง ส่งผลให้ผู้หญิงรู้สึกตะขิดตะขวงใจที่จะเลือกเรียนสายวิทยาศาสตร์ แม้ว่าจะสนใจในพื้นฐานสายนี้ก็ตาม ซึ่งเป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์ "ผู้หญิงไม่เหมาะเป็นนักวิทยาศาสตร์" ขึ้นไปอีก

โดยภารกิจหลักของการรณรงค์นี้ คือการลบล้างภาพลักษณ์ดังกล่าว โดยเผยแพร่ตัวอย่างนักวิทยาศาสตร์หญิงที่ประสบความสำเร็จในสายวิชาชีพวิทยาศาสตร์ให้สาธารณชนได้รู้จักในวงกว้าง


(คลิปข้างบนนี้ไม่ใช่ "ต้นฉบับ" ในช่องของโครงการรณรงค์ แต่เป็นคลิปที่มีผู้อัพโหลดอีกทีในภายหลัง)

ในคลิป teaser "Science: It's A Girl Thing!" ประกอบด้วยเด็กวัยรุ่นผู้หญิงหลายคนกำลังแสดงท่าทางมีความสุข หัวเราะคิกคักกันอย่างสนุกสนาน เด็กทุกคนใส่ชุดแฟชันทันสมัย, แต่งหน้าสวยงามหมดจด, สวมรองเท้าส้นสูง, เดินโฉบฉายไปมา, ใช้ลิปสติกเขียนสูตรอะไรสักอย่างบนกระดาน โทนสีที่ใช้ตลอดวิดีโอก็เป็นสีชมพูที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ชื่นชอบ

ผลตอบรับจากผู้ชมวิดีโอดังกล่าว โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นผู้หญิงเกือบ 100% ไม่พอใจอย่างแรง โดยมองว่าเนื้อหาใน teaser เป็นการดูถูกผู้หญิง ขณะที่แบบสำรวจใน Huffington Post ระบุว่า เกือบครึ่งหนึ่งเห็นว่า teaser นี้ดูถูกเพศหญิง ขณะที่มีเพียง 13% เท่านั้นที่คิดว่า teaser นี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์หญิงดูเซ็กซี่ดี ที่เหลือไม่รู้สึกอะไรแต่คิดว่ามันไม่ได้ผลตามจุดประสงค์ของการรณรงค์

Martha Gill เขียนลงใน New Statesman ว่าแคมเปญลักษณะนี้เป็นการดูถูกผู้หญิงที่มีความสนใจในวิทยาศาสตร์และมีศักยภาพทัดเทียมเด็กผู้ชายอยู่แล้ว ซึ่งเด็กเหล่านี้ควรจะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ EC ควรนึกถึงให้มาก

ดร.Meghan Gray นักดาราศาสตร์หญิงแห่ง University of Nottingham เห็นว่า teaser ตัวนี้ของ EC ไม่ได้ลบล้างภาพลักษณ์ "ผู้หญิงไม่เหมาะเป็นนักวิทยาศาสตร์" แต่กลับเสริมสร้างภาพลักษณ์ว่าผู้หญิงทุกคนจะต้องบ้าเครื่องสำอาง รักสวยรักงาม หัวเราะกิ๊กกั๊กเล่นหัวกันอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ เธอไม่คิดว่า teaser ตัวนี้จะเป็นประโยชน์ในการชักจูงให้เด็กผู้หญิงหันมาเลือกเรียนและประกอบวิชาชีพสายวิทยาศาสตร์มากขึ้น ในทางตรงข้ามเด็กผู้หญิงบางคนที่ได้ดู teaser ตัวนี้อาจจะคิดไปว่าผู้หญิงที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ต้องทั้งสวยและเก่ง ทำให้เกิดความรู้สึกท้อใจว่ามันเป็นเป้าหมายที่ยากเกินเอื้อม

ด้านคณะกรรมาธิการยุโรป ออกมายอมรับความผิดพลาดนี้ และพยายามเปลี่ยนแนวทางการนำเสนอแคมเปญให้ดีขึ้นโดยเน้นไปที่ตัวอย่างผู้หญิงที่เป็นนักวิทยาศาสตร์จริงๆ ให้มากขึ้น รวมทั้งเปลี่ยนแท็กแคมเปญใน Twitter จาก #sciencegirlthing มาเป็น #realwomeninscience ด้วย

ที่มา: http://jusci.net/node/2650
ข่าวนี้ใช้สัญญาอนุญาตแบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นศ.มข.แฟลชม็อบ กระตุ้นเพื่อนเรื่อง ม.นอกระบบ

Posted: 25 Jun 2012 03:14 AM PDT

เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบแฟลชม็อบตะโกนในโรงอาหาร กระตุ้นเพื่อนนักศึกษาให้ตื่นตัวเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ย้ำ “การศึกษาไม่ได้มีไว้ขาย”


ภาพจากเฟซบุ๊กดาวดิน Law Kku x

วันนี้ (25 มิ.ย.) เวลา 12.00 น. ที่ศูนย์อาหารและบริการ (คอมเพล็กซ์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ กว่า 10 คน ปฏิบัติการแฟลชม็อบ โดยการแต่งชุดนักศึกษา พร้อมด้วยผ้าปิดปากและป้ายข้อความรณรงค์แขวนคอเดินรอบบริเวณดังกล่าว เช่น ข้อความ “หยุดฆ่านักศึกษา หยุด ม.นอกระบบ” “การศึกษาไม่ได้มีไว้ขาย” เป็นต้น และยืนนิ่งเรียงแถวหน้ากระดานและตะโกนพร้อมกันว่า "การศึกษา เป็นสมบัติของชาติ อย่าเอาไปขาย หยุดม.ขอนแก่นออกนอกระบบ" โดยใช้เวลาดำเนินกิจกรรมประมาณ 30 นาที เพื่อให้นักศึกษาตื่นตัวเกี่ยวกับการที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นจะออกนอกระบบ

วรรณวิศา เกตุใหม่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์เครือข่ายนักศึกษาคัดค้านการนำมหาวิทยาลัยขอนแก่นออกนอกระบบ เปิดเผยถึงวัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรมครั้งนี้ว่า เป็นการการจุดประเด็นให้นักศึกษาตื่นตัวเกี่ยวกับการที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นจะออกนอกระบบ โดยที่ผ่านมา เครือข่ายได้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลมาโดยตลอด และมีการจัดเวทีสัมมนาวิชาการในหัวข้อ "ม.นอกระบบ นโยบายการเปลี่ยนแปลงเพื่อประโยชน์ของใคร?” เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (22 มิ.ย.) คิดว่าการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ต่างๆที่เครือข่ายฯ ได้ทำมาตลอดคงพอทำให้นักศึกษาส่วนใหญ่ได้ทราบข้อมูลพอสมควรเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียและเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นเองที่กำลังเตรียมการจะออกนอกระบบ การทำแฟลชม็อบครั้งนี้ก็เพื่อให้กระแสเรื่องนี้ไม่หายไป

“การเอาผ้าปิดปาก แต่งชุดนักศึกษา ใส่ป้ายแขวนคอ ผ้าปิดปากเพื่อแสดงว่า นักศึกษากำลังโดนปิดปาก โดนปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเนื่องจากการจะนำมหาลัยออกนอกระบบส่งผลกระทบต่อนักศึกษาโดนตรง แต่ผู้บริหารก็ละเลยที่จะให้ข้อมูลและสอบถามความเห็นของนักศึกษา” วรรณวิศา อธิบายถึงรูปแบบกิจกรรม
นอกจากนี้ วรรณวิศา ยังได้เปิดเผยอีกว่าในวันที่ 3-4 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้ทางเครือข่ายฯ จะมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ในประเด็นนี้ต่อไป
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผลเลือกตั้งปธน. อียิปต์ พรรคของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมคว้าชัย

Posted: 25 Jun 2012 03:12 AM PDT

 
เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2012 ได้มีการประกาศผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีอียิปต์ โดยที่ โมฮัมเม็ด เมอซี ผู้สมัครจากพรรคฟรีดอมแอนด์จัสติส (FJP) ของกลุ่มภราดรภาพมุสลิมได้รับชัยชนะหลังจากที่มีการเลือกตั้งรอบสอง
 
คณะกรรมการการเลือกตั้งของอียิปต์ประกาศว่า โมฮัมเม็ดชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 13,230,131 เสียง จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 26,420,763  คน นับเป็น ร้อยละ 51.73 ซึ่งมากกว่าคะแนนเสียงของคู่แข่งคือ อดีตนายกรัฐมนตรี อาห์เม็ด ชาฟิค ที่ได้รับคะแนนเสียง 12,347,380 เสียง
 
มีบัตรลงคะแนนราว 800,000 ใบที่ถูกนับเป็นบัตรเสีย 
 
ฟารูค สุลตาน หัวหน้ากกต.อียิปต์ ได้ออกมากล่าวคำปราศรับขนาดยาวก่อนที่ประกาศผล ซึ่งสุลตานได้กล่าวปกป้องความซื่อตรงและเป็นอิสระขององค์กรกกต. แม้จะมีความพยายามแทรกแซงจากกลุ่มการเมืองบางกลุ่มก็ตาม
 
สุลตานกล่าวอีกว่า ทางศาลได้รับดำเนินการพิจารณาข้อร้องเรียน 456 คำร้อง เกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้ง ส่วนใหญ่เป็นการกล่าวหาเรื่องการปลอมแปลง หรือกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวคริสเตียนถูกสกัดกั้นไม่ให้เข้าไปในคูหา โดยขอร้องเรียนส่วนใหญ่ถูกยกฟ้อง
 
"ทางคณะกรรมการได้ปฏิบัติตามข้อกฏหมายเมื่อมีการนับคะแนน ไม่มีอะไรที่อยู่สูงกว่ากฏหมาย" สุลตานกล่าว
 
การประกาศผลในครั้งนี้ ทำให้เกิดความปลื้มปิติในหมู่ผู้ชุมนุมที่จัตุรัสทาห์เรียในกรุงไคโร ที่มีกลุ่มผู้สนับสนุนเมอซีมาร่วมชุมนุม
 
โดยหลายวันก่อนหน้านี้ผู้ชุมนุมได้ร่วมชุมนุมประท้วงต่อต้านการออกกฏข้อบังคับของสภาคณะทหารสูงสุดของอียิปต์ (Scaf) ที่พวกเขาบอกว่าเป็นความพยายามลดทอนอำนาจประธานาธิบดี และฝังรากทางอำนาจให้กับกองทัพ
 
ในวันประกาศผลกลุ่มผู้ชุมนุมหลายหมื่นคนที่เป้นผู้สนับสนุนเมอซี ก็มาชุมนุมฟังผลการนับคะแนนผ่านจอภาพขนาดยักษ์ รวมถึงกลุ่มซาลาฟิสท์ซึ่งเป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยมจัดด้วย
 
เกฮัด เอล-ฮัดดัด โฆษกหาเสียงของเมอซี กล่าวให้สัมภาษณ์หลังการประกาศผลว่า เมอซีจะทำงานเพื่อเป็นประธานาธิบดีของชาวอียิปต์ทุกคน โดยประธานาธิบดีคนใหม่จะต้องเข้ารับพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในเดือนหน้า
 
การเมืองยังไม่แน่นอน
สำนักอัลจาซีร่ารายงานว่าชัยชนะของเมอซี ชี้ให้เห็นจุดสำคัญของการเจรจาเบื้องหลังระหว่างกลุ่มภราดรภาพฯ กับสภาทหาร โดยแหล่งข่าวรายงานว่า ไครัท อัล-ชาเตอ ผู้นำทางการเมืองของกลุ่มภราดรภาพฯ ได้เคยเข้าพบผู้นำทหารจากสภาทหารฯ มาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้งเพื่อเจรจาต่อรองว่าประธานาธิบดีจะมีอำนาจอะไรบ้าง
 
แม้ว่าเมอซีจะได้รับชัยชนะ แต่ยังมีคำถามอีกมากมายเกี่ยวกับเรื่องอำนาจของเขาที่ยังไม่ได้รับคำตอบ
 
"นี่ไม่ใช่ตอนจบของเกม แต่เป็นจุดเริ่มต้นของความรับผิดชอบครั้งใหญ่" เอล-ฮัดดัด กล่าว "มันมาพร้อมกับความท้าทายที่มากขึ้น ในการเปลี่ยนจากกลุ่มต่อต้านที่ใหญ่ที่สุดในอียิปต์กลายมาเป็นการเป็นผู้นำพร้อมกับแนวหน้าของประเทศ"
 
 
 
ที่มา
Muslim Brotherhood's Mursi declared Egypt president, BBC, 24-06-2012
 
Morsi wins Egypt's presidential election, Aljazeera, 24-06-2012
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

[คลิป] เกษียร เตชะพีระ - ปฤณ เทพนรินทร์ ปาฐกถานำ "นิทานประชาธิปไตยไทย"

Posted: 24 Jun 2012 07:02 PM PDT

เกษียร เตชะพีระ และปฤณ เทพนรินทร์ นักศึกษารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปาฐกถา "นิทานประชาธิปไตยไทย: ตำนานฐานรากของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" โดยเทียบคติความเชื่อฐานราก 8 ประการของประชาธิปไตยแบบไทยๆ กับประชาธิปไตยต้นแบบจากตะวันตก

การปาฐกถาดังกล่าว เป็นการปาฐกถานำงานสัมมนา "100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ.130 - 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475"(SIAMESE-THAI POLITICS: FROM the 1912 COUP TO the 1932 REVOLUTION) ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วันที่ 24 มิ.ย.2555 จัดโดยหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ฯ และสมาคมจดหมายเหตุสยาม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การเผยแพร่ประชาธิปไตยในอีสาน หลังการปฏิวัติ 2475 บทบาทปัญญาชน-ส.ส.อีสาน

Posted: 24 Jun 2012 05:23 PM PDT

กันย์ ชโลธรรังษี บอกเล่าประวัติศาสตร์การเผยแพร่แนวคิดประชาธิปไตยในภาคอีสาน หลังการปฏิวัติ 2475 จาก “ทัศนะกลางๆ” จนถึง “การกอบกู้ชาติ” ที่เป็นประชาธิปไตยโดยบทบาทของปัญญาชนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
 
 
 
กันย์ ชโลธรรังษี นิสิตปริญญาโท ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายเรื่อง “การเผยแพร่ประชาธิปไตยในภาคอีสาน หลังการปฏิวัติ 2475” ในการสัมมนา “จาก 100 ปี ร.ศ.130 ถึง 80 ปี ประชาธิปไตย” จัดโดยภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันนโยบายศึกษา โดยการสนับสนุนของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ และนิตยสารศิลปวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.55
 
กันย์ กล่าวถึงผลจากการปฏิวัติ 24 มิถุนา 2475 ที่ส่งผลสะเทือนในภาคอีสานว่า ความเปลี่ยนแปลงจาก “รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์” มาสู่ “รัฐประชาธิปไตย” หรือ “รัฐประชาชาติ” เกิดขึ้นทั้งในเชิงโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ส่งผลต่อภาคอีสาน ใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1.บทบาทและอำนาจทางการเมืองของกลุ่มเจ้านายท้องถิ่นและข้าราชการในระบอบเก่า 2.ความคาดหวังต่อความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในการปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจภายใต้ระบอบใหม่ และ 3.การเปิดโอกาสการมีส่วนรวมทางการเมืองของคนทุกชนชั้น
 
จากผลพวงของการศึกษาสมัยใหม่จากการปฏิรูปสมัยรัชกาลที่ 5 มีความสำคัญต่อการปฏิรูปการศึกษาในมณฑลภาคอีสาน ทำให้เกิด “ปัญญาชนอีสาน” ประกอบด้วย กลุ่มข้าราชการท้องถิ่น ครู พระสงฆ์ นักกฎหมาย คหบดี ชาวบ้านผู้มีภูมิความรู้ ซึ่งพัฒนาตัวเองผ่านการศึกษาสมัยใหม่ที่เปิดโอกาสให้คนทุกชนชั้นเข้าสู่ระบบการศึกษา และคนกลุ่มนี้เป็นต้นทางการสื่อสารแนวคิดประชาธิปไตย
 
กันย์ กล่าวด้วยว่า การเผยแพร่ประชาธิปไตยในอีสาน ระยะแรกนั้นบรรยากาศเป็นการประนีประนอมของกระบวนการทางการเมืองระหว่างกระบวนการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองจากระบอบเก่าไปสู่ระบอบใหม่ เป็นการสร้างสมดุลอำนาจ โดยลักษณะสำคัญที่จะมีการสืบสานแนวคิดประชาธิปไตยนั้นคือการไม่สนองตอบต่อยุคสมัยของระบอบเก่า ควบคู่ไปกับการส่งเสริมภาพลักษณ์และสถานะของระบอบใหม่ รวมทั้งมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่อระบอบใหม่เองด้วย และมีความพยายามผลักดัน ยกสถานะตนเองของปัญญาชนเข้าสู่วงการเมืองระดับชาติซึ่งก็คือ “ส.ส.อีสาน”
 
 
บางทัศนะจาก “ปัญญาชนอีสาน”  ต่อ “การปฏิวัติ 2475”
 
นิสิตจากภาควิชาประวัติศาสตร์ ยกตัวอย่าง ทัศนะของปัญญาชนอีสานที่มีต่อการปฏิวัติ 2475 โดยตัวอย่างแรกคือ รองอำมาตย์โทขุนพรมประศาสน์ (วรรณ พรหมกสิกร) ข้าราชการท้องถิ่น ชาว อ.พนา ซึ่งสมัยนั้นขึ้นกับ จ.อุบลราชธานี แต่ปัจจุบันคือ จ.อำนาจเจริญ ซึ่งได้มีงานเขียนหลังเกิดการเปลี่ยนแปลงเพียง 3 เดือน (ธ.ค.2475) ชื่อ “เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินสยาม” เขียนเป็นคำกลอนภาษาไทยภาคอีสาน โดยมีการพูดถึงสภาพเหตุการณ์ บรรยายถึงกฎหมายรัฐธรรมนูญ และหลัก 6 ประการของคณะราษฎร ซึ่งน้ำเสียงและถ้อยคำแสดงออกถึงการประนีประนอมระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่
 
“...แต่ก่อนพุ้นคนบ่คือกัน มันบ่คือสมัยเดียวนี้ แต่ก่อนกี้บ้านข้อนเมืองฮอม แต่ย่อมมีอาณาเขตกว้าง ในหลวงตุ้มปกครองคือลูก... บัดนี้บ้านเมืองข้อนคนดีฮู้มาก ให้ยากยุ่งหลายอย่างนานา ปูปลาอึดขาดเขินวังน้ำ ซ้ำลำบากการค้าขาย บ่สมหมายหากินลำบาก ทุกข์ยากแค้นผิดจากปางหลัง บ่สมหวังรัฐบาลเก่า คือพระเจ้าผู้อยู่เหนือหัว ทรงปิ่นปัวแก้มาหลายทอด บ่ตลอดหนักหน้าตื่มแถม แฮมปีมาไพร่เมืองฮ้อนเดือด เฮาอย่าเคียดว่าพระกษัตริย์ เป็นผู้จัดให้เฮาเดือดร้อน บ้านเมืองข้อนหากเป็นไปเอง...”
 
ปัญญาชนอีกคน หนึ่งที่กันย์กล่าวถึง คือ อ่ำ บุญไทย อดีตข้าราชการครู ที่ผันตัวเองมาเป็นนักการเมือง โดยเสนอตัวเป็น ส.ส.อุบลราชธานี ในการเลือกตั้งครั้งแรกใน พ.ศ.2476 เขาได้เขียนหนังสือ “กฤดาการบนที่ราบสูง” ซึ่งเป็นเอกสารแนะนำตัวเพื่อสมัครเป็น ส.ส.ที่มีความหลากหลายมาก ประกอบไปด้วยเรื่องประวัติศาสตร์ ศาสนา เศรษฐกิจ และแม้กระทั่งปรัชญา ซึ่งแสดงถึงคามเป็นผู้รู้กว้างขวางของเขาเอง โดยในแง่การให้ความหมายของการปฏิวัติ 2475 ยึดโยงกับประวัติศาสตร์โลกที่แบ่งเป็น 2 ช่วงคือสมัยอำนาจกษัตริย์กับสมัยอำนาจประชาชน ซึ่งการเปลี่ยนผ่านระหว่าง 2 ช่วงนี้ คือ ประชาชนจะมาช่วยจัดการบ้านเมืองกับกษัตริย์ โดยเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่แทนตนเองในการใช้อำนาจนั้นร่วมกับกษัตริย์
 
 
“... (ง) สมัยอำนาจกษัตริย์ ผู้ชกเก่ง ต่อยเก่ง คิดเก่ง รบเก่งได้ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ใช้หลักของผีหรือพระเจ้าและของศาสนาหรือศาสดาคุมกันเข้ากับแนวความคิดและประเพณีนิยมเป็นหลักกฎหมาย มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองอย่างพ่อใหญ่ดูแลทุกข์สุข มีข้าราชการแบ่งแยกงานไปช่วยทำแทนหูแทนตา...(จ) สมัยอำนาจประชาชน ต่อมาฝูงชนฉลาดขึ้น จึงเข้าช่วยคิดอ่านจัดการบ้านเมืองร่วมมือกับกษัตริย์ตามความต้องการของประชาชน เลือกตั้งผู้แทนเข้าออกเสียงแทนตน เพราะจะไปประชุมทุกคนไม่ได้ด้วยว่าเป็นจำนวนมากไม่มีที่พอ...บัดนี้เราเดินทางมาถึงอำนาจประชาชน และท่านจะใช้เสียงเลือกผู้เป็นปากเสียงแทนท่าน...”
 
การเสนอในลักษณะดังกล่าว สอดคล้องกับระบอบ “Limited monarchy” นั่นคือการพยายามจำกัดอำนาจของกษัตริย์ลง แต่ไม่ได้พยายามทำให้รัฐเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง นอกจากนั้นอ่ำยังเสนอต่อมาในหนังสือดังกล่าวว่า ต้องการให้สถาบันกษัตริย์ไทยมีความสำคัญเทียบเท่าสถาบันจักรพรรดิญี่ปุ่น ซึ่งการเสนอโมเดลนี้น่าสนใจว่ารัฐธรรมนูญในสมัยนั้นของญี่ปุ่นคือรัฐธรรมนูญเมจิ ยังให้อำนาจกับจักรพรรดิญี่ปุ่นอย่างมาก ทั้งในแง่การควบคุมการทำงานของสภาได้เอท และในแง่การบังคับบัญชากองทัพ ซึ่งหมายความว่าสถาบันกษัตริย์จะยังคงมีอำนาจอยู่อย่างน้อย 2 ทางคือ ทางการทหารและทางการบริหาร
 
“แม้ว่าปัญญาชน 2 ท่านนี้จะได้นำเสนอแนวคิดที่ให้ความหมาย หรือว่าให้คุณค่าต่อการปฏิวัติ 2475 แต่ในระยะแรกเราก็ไม่พบปฏิกิริยาหรือแรงสะท้อนกลับมาจากตัวท้องถิ่นเอง ว่ามีการตอบสนอง หรือสื่อสารกลับมาอย่างไรเกี่ยวกับระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย แม้ว่าภูมิอีสานเองจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญหลังการปฏิวัติ 2475 นั่นคือกบฏบวรเดชในปี 2476 ซึ่งมีฐานการก่อการส่วนใหญ่อยู่ที่ภูมิภาคอีสาน ซึ่งเราก็จะเห็นบรรยากาศในช่วงนั้นว่า คนในภาคอีสานก็มีส่วนร่วมในการปราบกบฏ มีความตื่นตัวที่จะช่วยรัฐบาลในการส่งข่าว ส่งกำลังบำรุงต่างๆ ให้รัฐบาลคณะราษฎร แต่เราก็ไม่สามารถประเมินได้ว่าการทำเช่นนั้นเป็นการตอบรับต่อระบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง อาจเป็นเพียงการตอบสนองต่อรัฐบาลในภาวการณ์สู้รบหรือสงครามเท่านั้น” กันย์กล่าว
 
 
“ส.ส.อีสาน” กับการสื่อสาร “แนวคิดประชาธิปไตย”
 
ส่วนในช่วงที่พบเห็นว่าราษฎรหรือสามัญชนในท้องถิ่นมีการตอบสนองต่อการสื่อสารแนวคิดประชาธิปไตยจริงๆ คือหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในปี 2476 และการเกิดขึ้นของกลุ่มคนที่เรียกว่า “ส.ส.อีสาน” โดยการสื่อสารแนวความคิดประชาธิปไตยของคนกลุ่มนี้จะเน้นการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้สัมผัสบรรยากาศอันเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่งกิจกรรมที่คนกลุ่มนี้ได้กระทำในระบบรัฐสภามีอยู่ 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ 1.การเน้นสะท้อนปัญหาเกี่ยวกับนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ โดยในภูมิภาคอีสานจะเน้นอยู่ 2 เรื่อง คือเงินรัชชูปการ และการจัดเก็บอากรค่านา ซึ่งในช่วงสมัยแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2476-2480 จะพบว่าปัญหาเรื่องเศรษฐกิจในภูมิภาคอีสานถูกหยิบยกมาพูดอย่างมากในรัฐสภา มีการแปรญัตติและอภิปรายกันอย่างกว้างขวางโดย ส.ส.อีสานเอง
 
2.มีการตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์การบริหารงานของรัฐบาล และเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย เช่นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญบางมาตราที่มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางโดยมี ส.ส.สานเป็นผู้นำในการอภิปราย
 
สำหรับการวัดผลการตอบสนองของราษฎรต่อกิจกรรมของคนกลุ่มนี้ กันย์ ชี้แจงว่า สามารถประเมินได้จากการเลือกตั้งในครั้งถัดมา ซึ่งการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2476 ไม่ใช่การเลือกตั้งโดนตรงโดยสมบูรณ์ แต่เป็นการเลือกตั้งโดยผู้แทนตำบลที่ประชาชนเลือกมาให้ไปเป็นตัวแทนออกเสียงเลือก ส.ส. ส่วนการเลือกตั้งครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2480 นั้นเป็นการเลือกตั้งทางตรงโดยสมบูรณ์ ราษฎรทุกคนมีสิทธิออกเสียงเลือกผู้แทนด้วยตนเอง ซึ่งจะพบว่าเหล่าผู้แทนที่ทำหน้าที่เปิดประเด็นถกเถียง หรือดำเนินกิจกรรมในรัฐสภาเพื่อสะท้อนปัญหาของท้องถิ่นจะได้รับการเลือกตั้งกลับมาทั้งหมด
 
“ความคาดหวังต่อผู้แทนของราษฎรในภาคอีสานนั่นก็คือ ความคาดหวังที่ว่าผู้แทนจะต้องทำหน้าที่สะท้อนปัญหาของท้องถิ่นไปสู่วงการการเมืองระดับชาติ ซึ่งจะได้รับการแก้ไขหรือไม่ก็ตามแต่ แต่ว่าหน้าที่เบื้องต้นของผู้แทนก็คือสะท้อนปัญหาของท้องถิ่นให้ได้” กันย์นำเสนอ
 
 
“กู้ชาติ” แนวคิด “ชาตินิยมประชาธิปไตย” ปลดปล่อยประเทศจากเผด็จการ
 
กันย์กล่าวด้วยว่า ช่วงสำคัญถัดมาซึ่งมีการสื่อสารแนวคิดประชาธิปไตยที่สำคัญอีกช่วงหนึ่ง คือช่วงที่เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งมีการเข้ายึดครองประเทศไทยของญี่ปุ่น และเกิดขบวนการเสรีไทยขึ้นซึ่งขบวนการเสรีไทยนี้ประกอบด้วยกลุ่ม ส.ส.อีสาน เป็นกลุ่มดำเนินการกลุ่มหลักแยกออกมาต่างหากอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีความสำคัญมากและมีงานศึกษาจำนวนมาก
 
การสื่อสารแนวคิดประชาธิปไตยของเสรีไทยในภาคอีสาน เน้นการสื่อสารแนวคิด “ชาตินิยมประชาธิปไตย” คือการชูธงการปลดปล่อยชาติ กอบกู้เอกราช อธิปไตย เป็นการกู้ชาติที่เป็นประชาธิปไตยจากการยึดครองของอำนาจรัฐที่เป็นเผด็จการของญี่ปุ่น ร่วมไปถึงรัฐเผด็จการของไทยเองคือรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม และมีการสนับสนุนจากฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นแนวร่วม ซึ่งประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนมากปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ทำให้มีความคาดหวังว่าชาตินิยมประชาธิปไตยจะทำให้การกอบกู้ชาติเป็นผลสำเร็จได้ และการเผยแพร่แนวคิดชาตินิยมประชาธิปไตยนี้ก็ทำให้เกิดการขยายตัวของเครือข่ายความร่วมมือของปัญญาชนและราษฎรในอีสานอย่างมาก โดยเฉพาะบทบาทของกลุ่มครูในการฝึกอาวุธต่อต้านญี่ปุ่น การสร้างสนามบินลับเพื่อส่งกำลังบำรุงของฝ่ายพันธมิตร
 
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการสื่อสารแนวคิดทางการเมืองของปัญญาชนอีสานที่มีการแตกขั้วระหว่าง 2 กลุ่มอย่างชัดเจน คือกลุ่มที่เคยเป็นเสรีไทย และกลุ่มที่ไม่ใช่เสรีไทย ซึ่งไม่เห็นด้วยกับแนวทางการต่อต้านญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมื่อมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2489 ที่มีการอนุญาตให้ตั้งพรรคการเมือง กลุ่มคนที่แตกออกเป็น 2 ขั้วพรรคการเมืองอย่างชัดเจน โดยกลุ่มที่เป็นเสรีไทยสายอีสานนั้นเป็นหัวแรงในการก่อตั้งพรรคสหชีพ ที่มีแนวทางทางการเมืองแบบเสรีนิยมและมีแนวทางทางเศรษฐกิจค่อนไปทางสังคมนิยม อันเป็นแนวทางเศรษฐกิจที่ดำเนินรอยตามเค้าโครงทางเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)
 
ขณะที่กลุ่มที่ไม่ใช้เสรีไทยได้ไปรวมกลุ่มกับนักการเมืองจากภูมิภาคต่างๆ ทั้งภาคใต้ ภาคกลาง เพื่อก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีแนวทางการเมืองอิงไปในทางอนุรักษ์นิยมเสรีนิยม โดยเฉพาะการส่งเสริมสถานะและบทบาทของสถาบันกษัตริย์
 
ส.ส.อีสานคนสำคัญ นับจากซ้ายบนคือ  เลียง ไชยกาล ผู้เป็นหัวแรงก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ และถัดมาจากซ้ายไปขวาคือ 4 รัฐมนตรีอีสาน เสรีไทยอีสานและผู้ก่อตั้งพรรคสหชีพ ประกอบด้วย ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ส.ส.อุบลราชธานี เตียง ศีริขันธ์ ส.ส.สกลนคร ซ้ายล่างคือ ถวิล อุดล ส.ส.ร้อยเอ็ด และถัดมา จำลอง ดาวเรือง ส.ส.มหาสารคาม
 
ทั้งนี้ สามารถแบ่งการเผยแพร่ประชาธิปไตยในภาคอีสานออกเป็น 3 ช่วงหลักๆ ด้วยกัน หากนับตั้งแต่ พ.ศ.2475 - 2490 นั่นคือ 2-3 ปีแรกมีการให้ความหมายต่อการปฏิวัติ 2475 แบบกลางๆ ต่อมาในระยะที่สองการเผยแพร่ประชาธิปไตยด้วยรูปธรรมของความพยายามแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ และการตรวจสอบอำนาจรัฐอย่างเข้มข้น คือการสะท้อนปัญหาของท้องถิ่นไปสู่วงการการเมืองระดับชาติ และระยะที่สามการเผยแพร่แนวคิดชาตินิยมประชาธิปไตย เน้นการกอบกู้ชาติที่เป็นประชาธิปไตยโดยบทบาทของปัญญาชน
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"สุริยะใส" แนะ นปช. ศึกษาแถลงการณ์คณะราษฎรและหลัก 6 ประการอย่างถ่องแท้

Posted: 24 Jun 2012 04:57 PM PDT

ชู "คณะราษฎร" ต่อสู้เพื่อคนทั้งชาติไม่ใช่คนๆ เดียว คนเสื้อแดงยกตนเทียบวีรกรรมคณะราษฎรนั้นเป็นสิ่งไม่คู่ควร ด้าน "กรณ์" ชี้ประเทศได้ประชาธิปไตยมาจาก "อำมาตย์" แย่งอำนาจ "อำนาตย์" อีกกลุ่ม ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม

สุริยะใสอัด นปช. ขโมยซีนประวัติศาสตร์คณะราษฎร

เอเอสทีวี ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่าเมื่อวานนี้ (24 มิ.ย.) นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน กล่าวว่า ตนเห็นว่าการชุมนุมรำลึกครบรอบ 80 ปี เหตุการณ์การปฏิวัติ 2475 ของ นปช. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยใช้ชื่องานนี้ว่า “80 ปี ยังไม่มีประชาธิปไตย” นั้น ถือเป็นการขโมยเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยมาบิดเบือน และรับใช้ผลประโยชน์และจุดมุ่งหมายทางการเมืองของกลุ่ม นปช.เท่านั้น ถ้าจะสืบทอดเจตนารมณ์คณะราษฎรกันจริงๆ คนเสื้อแดงและแกนนำก็ต้องไปศึกษาแถลงการณ์ของคณะราษฎรฉบับที่ 1 หรือหลัก 6 ประการ ให้ถ่องแท้ ไม่ว่าจะเป็นเอกราชทางเศรษฐกิจ ความเสมอภาค ความอยู่ดีกินดี ซี่งเป็นการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของคนทั้งชาติ ไม่ใช่เพื่อคนๆ เดียวฉะนั้น การยกเอาขบวนต่อสู้ของคนเสื้อแดงไปเชื่อมโยงกับวีรกรรมของคณะราษฏรในการอภิวัฒน์สยามประเทศนั้น เป็นสิ่งที่ไมคู่ควร เพราะการต่อสู้ของคนเสื้อแดงแม้อ้างว่าต่อต้านรัฐประหารและเรียกร้องประชาธิปไตย แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วก็ปรากฏชัดเจนว่า ขบวน นปช.ยังเป็นแค่กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง ยังถูกอิทธิพลและความเป็นความตายของ พ.ต.ท.ทักษิณชี้นำและครอบงำอยู่ตลอดเวลา

“ถ้า นปช.อยากยกระดับการต่อสู้หรือทำให้ขบวนการ นปช.เป็นกลุ่มอุดมการณ์จริงๆ ก็ต้องปลดปล่อยตัวเองการครอบงำของ พ.ต.ท.ทักษิณให้ได้ก่อน ไม่เช่นนั้นประชาธิปไตยของคนเสื้อแดงก็แยกไม่ออกจากผลประโยชน์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และแกนนำเท่านั้น ไม่เห็นต้องยก 80 ปี ของเหตุการณ์อภิวัฒน์สยามมาแอบอ้างซึ่งถือเป็นการกระทำชำเราประวัติศาสตร์กันเลย วันนี้คนเสื้อแดงควรใช้โอกาสที่กำลังจะครบรอบ 1 ปี ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ถามและตั้งโจทย์กันภายในว่าทำไม วันนี้ถึงมีการออกแบบกันนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ออกจากคนเสื้อแดง ทั้งๆ ที่ใครๆ ก็รู้ว่าคนเสื้อแดงคือหัวคะแนนละมีส่วนสำคัญช่วยให้คุณยิ่งลักษณ์ได้เป็นนายกฯ แต่วันนี้คุณยิ่งลักษณ์ได้รักษาระยะห่างจากการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง” นายสุริยะใสกล่าว

นายสุริยะใสกล่าวต่อว่า ปรากฏการณ์นี้ย่อมชี้ให้เห็นว่า ทั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ รวมทั้งพี่ชายก็พร้อมถอยห่างและทิ้งขบวนการคนเสื้อแดงทันทีเมื่อสมประสงค์ในภารกิจของตัวเองแล้ว เหมือนในเหตุการณ์รำลึก 2 ปีที่ราชประสงค์ ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณวิดีโอลิงก์มาร่ำลาคนเสื้อแดง ก่อนจะหวนกลับมาเมื่อภารกิจส่วนตัวยังไม่บรรลุ

 

"กรณ์" ชี้ 2475 ประเทศได้ประชาธิปไตยจาก "อำมาตย์" แย่งอำนาจ "อำมาตย์"

ขณะที่นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เขียนบทความ "24 มิถุนายน 2475" เผยแพร่ในเฟซบุค KornChatikavanijDP มีเนื้อหาว่า

"24 มิถุนายน 2475 

วันนี้ก็มีการรำลึกการครบรอบ 80 ปี การปฏิวัติที่นำมาซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 

และวันนี้เมื่อ 80 ปีที่แล้ว เป็นวันสุดท้ายที่คุณปู่ผม พระยาอธิกรณ์ประกาศ ในฐานะอธิบดีตำรวจ ได้รับใช้บ้านเมืองในฐานะข้าราชการ คุณปู่ผมท่านเป็นคนไทยเชื้อสายจีน เป็นต้นตระกูล 'จาติกวณิช' และจึงเป็นคนสุดท้ายในตระกูลที่มีชื่อจีน (โซว เทียน หลุย) แต่ที่ต่างกับชาวจีนส่วนใหญ่ในยุคสมัยนั้นก็คือคุณปู่ผมเลือกที่จะรับราชการแทนที่จะเป็นพ่อค้า

ในฐานะข้าราชการ ท่านจึงมีหน้าที่โดยตรงที่จะปกป้องสถานะของสถาบันและในช่วง 2475 เจ้านายโดยตรงของคุณปู่คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ในฐานะที่พระองค์ท่านเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งสมเด็จฯก็คือท่านปู่ของผู้ว่ากทม.คนปัจจุบันของเรา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ และ ส.ส.ประชาธิปัตย์อีกคนหนึ่งคือ ม.ล.อภิมงคล นั่นเอง

ในวันนี้เมื่อ 80 ปีที่แล้ว คุณปู่ผมได้รุกไปที่วังบางขุนพรหม เพื่อที่จะปกป้องเจ้านาย และตามประวัติศาสตร์ ได้ควักปืนขึ้นมาจะยิงนายทหารที่ทำการปฏิวัติในวันนั้น แต่เจ้านายได้ทรงสั่งห้ามไม่ให้ใช้ความรุนแรง หนึ่งในนายทหารที่อยู่ในคณะปฏิวัติวันนั้นคือ พลโทประยูร ภมรมนตรี คุณพ่อของคุณแซม อดีต ส.ส.ไทยรักไทย เมื่อก่อนวันเกิดเหตุ เขาเล่ากันว่าคุณปู่ผมได้พยายามจะเตือนเจ้านายถึงการปฏิวัติที่จะเกิดขึ้น แต่เมื่อเจ้านายได้ทรงเห็นรายชื่อผู้ที่คาดว่าอยู่ในคณะปฏิวัติแล้ว ทรงไม่เชื่อ เพราะทุกคนเป็นคนสนิทกันมาทั้งสิ้น ทรงไม่คิดว่าจะหักหลังกันได้

และจากนั้นคุณปู่ผมก็ไม่ยอมกลับมารับราชการอีก ไม่รับคำชวนของคณะราษฎร์ในการรับตำแหน่งใดๆ ลึกๆท่านคิดอย่างไรผมไม่ทราบ เพราะท่านเสียชีวิตไปก่อนผมเกิด แต่คุณป้าผมเคยเล่าให้ผมฟังว่า คุณปู่เคร่งในหน้าที่ และถึงแม้ไม่พอใจต่อความคิดของพวกนักเรียนนอกในยุคนั้น ก็มองเห็นความสำคัญของการศึกษาที่กว้างขวางขึ้นจึงได้ส่งลูกไปเรียนต่างประเทศทุกคน 

จนถึงวันนี้ก็ยังมีการพูดถึงการปฎิวัติอยู่เสมือนเป็นหนึ่งทางเลือกในการแก้ปัญหาการเมือง ว่าไปแล้ว การได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตยของเรา ก็ได้มาจากการปฏิวัติโดยกลุ่ม 'อำมาตย์' กลุ่มหนึ่งแย่งอำนาจจาก 'อำมาตย์' อีกกลุ่มหนึ่ง ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมมากนัก

วันนี้เราพัฒนามาไกลขึ้นมาก แต่การมีความเป็นตัวของตัวเองในความคิดของประชาชนก็ยังมีไม่พอ และประชาธิปไตยแบบตะวันออกจะเป็นไปได้ตามทฤษฎี ประชาชนต้องไม่อยู่ในระบอบอำนาจนิยม คือทำทุกอย่างตามผู้มีอำนาจในระบอบอุปถัมภ์ อย่างเช่นที่ยังเป็นอยู่อย่างกว้างขวาง

วันนี้ทั้งผม ทั้งหม่อมสุขุมพันธุ์ หม่อมอภิมงคล และคุณแซม ยุรนันทน์ เลือกที่จะเข้ามารับใช้บ้านเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่ยังไม่สมบูรณ์นักของไทย อดีตคือสิ่งที่ผ่านไปแล้ว หน้าที่เราทุกคนคือทำเพื่ออนาคตที่ดีขึ้น และเพื่อให้คนไทยเราอยู่ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คำปราศรัยอภิสิทธิ์-สุเทพ "เดินหน้าผ่าความจริงฯ" ที่พิษณุโลก

Posted: 24 Jun 2012 12:14 PM PDT

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และสุเทพ เทือกสุบรรณ เดินสายปราศรัยที่พิษณุโลก สุเทพชี้ความรุนแรงเกิดจากทักษิณและ "พวกลัทธิแดง"  เพราะทักษิณหนีคำพิพากษาลงโทษจำคุก 2 ปี โอดสภาไม่ยอมฟังเสียงฝ่ายค้าน "ยกทั้งมือทั้งตีน แพ้ทุกวัน" ขณะที่อภิสิทธิ์ท้ายิ่งลักษณ์ให้รีบเอาพี่ชายกลับมาจะได้รู้ดีรู้ชั่วกันไปเลย เล็งตั้งเวทีปราศรัยทั่วประเทศ 

หมายเหตุ: เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ [1] และ [2] เผยแพร่คำปราศรัยของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปไตย ซึ่งได้ปราศรัยในเวที "เดินหน้าผ่าความจริง หยุดล้างผิดคนโกง" ที่สวนชมน่าน จ.พิษณุโลก เมื่อ 23 มิถุนายน มีรายละเอียดดังนี้

 

สุเทพ เทือกสุบรรณ

"ผมต้องใช้คำว่าลัทธิแดงเพราะไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไร จะเรียกมันว่าคอมมิวนิสต์มันก็ไม่รับ แต่ว่ามันทำเหมือนคอมมิวนิสต์เปี๊ยบเลย มีพรรคการเมือง มีมวลชนจัดตั้ง มีกองกำลังติดอาวุธ เหมือนกับสมัยอดีตที่เราเจอพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย วันนี้เป็นอย่างนั้นครับ แล้วพวกลัทธิแดงนี่ประกาศชัดเจนว่า เขาจะเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย เขาจะสร้างรัฐไทยใหม่ เขาจะมีประธานาธิบดี แล้วเขาแพลม ๆ มาว่าจะให้ทักษิณเป็นประธานาธิบดี"

 

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนี้ มันเป็นเหตุมาจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวกลัทธิแดงทั้งสิ้น ไอ้พวกนี้แหละครับ ตัวก่อการ ตัวก่อเหตุ เพราะว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ยอมติดคุก ถูกศาลพิพากษาลงโทษลงโทษจำคุก 2 ปี หนีเลย

ทักษิณ อยากจะได้ทรัพย์สินที่ถูกศาลพิพากษายึดเข้ามาเป็นสมบัติของแผ่นดิน เพราะว่าโกงเราไป ร่ำรวยด้วยการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ 46,373 ล้านบาท ยึดเข้าหลวงไปแล้ว รัฐบาลอภิสิทธิ์ใช้หมดแล้ว ถ้ามันจะเอาคืนก็ต้องมาเก็บภาษีพี่น้องทั้งหลายคืนให้กับทักษิณ พี่น้องเต็มใจคืนไม๊ครับ ตอบให้ทักษิณได้ยินถึงดูไบหน่อยสิครับว่า คืนหรือไม่คืน

พี่น้องที่เคารพรักทั้งหลาย คุณทักษิณเขารอเวลาที่จะกลับมาประเทศไทยแบบเท่ ๆ ไม่ต้องติดคุก แล้วกลับมามีอำนาจในประเทศไทยเหมือนเดิม มาใช้ระบอบทักษิณเหมือนเดิม พี่น้องยอมไม๊ครับ

ในขณะเดียวกันพวกลัทธิแดง ผมต้องใช้คำว่าลัทธิแดงเพราะไม่รู้ว่าจะเรียกว่าอะไร จะเรียกมันว่าคอมมิวนิสต์มันก็ไม่รับ แต่ว่ามันทำเหมือนคอมมิวนิสต์เปี๊ยบเลย มีพรรคการเมือง มีมวลชนจัดตั้ง มีกองกำลังติดอาวุธ เหมือนกับสมัยอดีตที่เราเจอพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย วันนี้เป็นอย่างนั้นครับ แล้วพวกลัทธิแดงนี่ประกาศชัดเจนว่า เขาจะเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย เขาจะสร้างรัฐไทยใหม่ เขาจะมีประธานาธิบดี แล้วเขาแพลม ๆ มาว่าจะให้ทักษิณเป็นประธานาธิบดี

เขามีแผนที่จะรวบอำนาจ ทั้งอำนาจฝ่ายบริหาร ทั้งอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ทั้งอำนาจฝ่ายตุลาการไว้ในกำมือของพวกเขาแต่ฝ่ายเดียว เขาประกาศว่าถ้าเขามีรัฐไทยใหม่เขาจะมีพรรคการเมืองของเขาเพียงพรรคเดียวที่ปกครองบริหารประเทศ พวกลัทธิแดงนี้ครับ ได้ปลุกระดมประชาชนมา 5-6 ปีแล้ว แบ่งแยกชนชั้น แบ่งคนไทยออกเป็น 2 ชั้น ชั้น 1 เรียกว่าไพร่ เช่นไอ้ไพร่ณัฐวุฒิ เช่นไอ้ไพร่จตุพร วันนี้ณัฐวุฒิเปลี่ยนตัวเองจากไพร่ไปเป็นอำมาตย์แล้ว เป็นรัฐมนตรีแล้ว ส่วนจตุพรยังเป็นคางคกไพร่เหมือนเดิม

มันบอกว่า พวกไพร่ทั้งหลายนี้ต้องลุกขึ้นพัง ทำสงครามชนชั้น โค่นล้มอำมาตย์ และเครือข่ายอำมาตย์ เดือดร้อนกันหมดทั่วประเทศไทยพี่น้องครับ พี่น้อง คุณป้า คุณพี่ คุณน้าทั้งหลายถามตัวเองสิครับว่า มีห้องแถวกับเขาห้องนึง ค้าขายอยู่เล็ก ๆ น้อย มีที่นาอยู่ 14-15 ไร่ สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์มีนโยบายช่วยดูแลแก้ปัญหาให้ ราคาข้าวดีพอลืมตาอ้าปากได้ แล้ววันนี้เป็นไพร่ หรือเป็นอำมาตย์ครับ ไม่มีใครตอบได้ แต่ว่ามันพยายามแบ่งแยกคน พยายามให้ประเทศไทยเรามันแตกแยกกันในหมู่ประชาชน มอมเมา ปลุกระดม บิดเบือนข้อเท็จจริงตลอดเวลา ตอนที่ท่านอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียงข้างมาก จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นนายกรัฐมนตรี มันลุกขึ้นอ้างเป็นเหตุว่านายกฯ อภิสิทธิ์ เป็นนายกฯ โดยไม่ชอบธรรม ทั้ง ๆ ที่ได้มีการแข่งขันกันอย่างเปิดเผยกับคนที่มันส่งลงแข่ง คือ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก พอมันแพ้ มันไม่ยอมรับ ปลุกระดมลุกขึ้นก่อเหตุร้าย ก่อจลาจล เอาอาวุธสงครามมาเข่นฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ มาฆ่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ มาฆ่าเจ้าหน้าที่ทหารกลางกรุงเทพมหานคร พี่น้องได้เห็นภาพในภาพในทีวี กองกำลังคนชุดดำคลุมหัวเป็นไอ้โม่ง พวกกระบวนการลัทธิแดงทั้งสิ้นที่ทำกับเรา แล้วก็เผาบ้านเผาเมือง เผาทั้งในกรุงเทพฯ เผาทั้งต่างจังหวัด ศาลากลาง 4-5 แห่ง วอดวายไปกับน้ำมือของคนพวกนี้ แล้วต้องเอาเงินภาษีอากรของเราทั้งนั้นครับ ที่ไปสร้างศาลากลางใหม่

พี่น้องที่เคารพ ปี 2552 ปี 2553 คนไทยมีความทุกข์ที่สุด กลุ้มใจที่สุด เพราะพวกลัทธิแดงนี้ลุกขึ้นอาละวาด ข่มขู่ คุกคาม เหมือนกับจับเอาคนไทยเป็นตัวประกัน คนกรุงเทพนั้นน่าสงสารที่สุดครับ เพราะว่าเป็นที่ที่เขาก่อเหตุ เดือดร้อนกันแทบแย่

พวกผมได้แก้ปัญหาด้วยความอดทน ด้วยความกลั้น จนกระทั่งคลี่คลายปัญหาได้ บ้านเมืองคืนกลับสู่ความสงบสุข ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังสามารถที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปจนครบเทอม แต่เห็นว่าเพื่อให้บรรยากาศการเมืองมันผ่อนคลาย พอมีความสงบเรียบร้อย พอประมาณแล้ว ท่านนายกฯ ก็จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่

พี่น้องทั้งหลายครับ คนไทยทุกคนก็คิดว่า ถ้าเลือกตั้งเสร็จแล้ว บ้านเมืองจะสงบเรียบร้อย แล้วเป็นไงครับ เลือกตั้งเสร็จเขาชนะเลือกตั้งแล้ว เขาได้เป็นรัฐบาลแล้ว แต่เขาก็ยังไม่หยุด ยังก่อเหตุอยู่ตลอดเวลา ยังข่มขู่คนไทยอยู่ตลอดเวลา ยังข่มขู่ศาล ยังลุกขึ้นมาประท้วงเรื่องนั้นเรื่องนี้ ยังยกขบวนไปปิดล้อมสภาผู้แทนราษฎรอยู่ นี่พรุ่งนี้จะมาอีกแล้วครับ เห็นว่าพรุ่งนี้จะซ้อมใหญ่ แล้วก็วันที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาไต่สวนเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญที่พวกเขาเสนอเข้าไปนั้น ได้ข่าวว่าเขาจะยกพวกไปล้อมศาลรัฐธรรมนูญ มันอะไรกันครับ ถ้าพวกเขาอยากให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ก็ตั้งหน้าตั้งตาเป็นรัฐบาลดูแลแก้ไขปัญหาของประเทศชาติ ของประชาชนไปสิ มาก่อเหตุวุ่นวายกันทำไม

พวกผมเสียอีกครับ เลือกตั้งแพ้ ทำตัวสงบเรียบร้อย เห็นไม๊ครับ นายกฯ ยิ่งลักษณ์ไปปักษ์ใต้ ไม่มีมือตบ ตีนตบไปรังควาญเลย แกจะทัวร์ให้สนุกสนานก็เชิญ แกจะเปลี่ยนชุดยังไงผมก็ชอบ เอาไป ไม่ว่า แต่ว่าที่เจ็บใจพี่น้องครับ เมื่อมีเสียงข้างมากในสภา แทนจะระดมสมอง ระดมปัญหาเอาพลังเสียงข้างมากมาช่วยเยียวยาแก้ไขปัญหาประชาชนให้พี่น้องมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รีบช่วยประชาชนที่เดือดร้อนเพราะของแพง เพราะว่าพืชผลเกษตรราคาต่ำ โน่นครับ พวกที่ปลูกยางพาราสมัยรัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ ขายยางได้กิโล 170-180 มาสมัยนี้ 80 บาทก็ไม่ถึง ราคาข้าวไม่ต้องพูดถึง เดี๋ยวหมอ (วรงค์ เดชกิจวิกรม) เขาจะมาพูดให้ฟัง เพราะคนนี้ไม่ชำนาญเรื่องแพทย์แล้ว ชำนาญเรื่องข้าว

แทนที่จะทำหน้าที่รัฐบาลที่ดีเหมือนที่ประเทศอื่น ๆ เขาทำกัน มันกลับรีบที่จะมาเขียนกฎหมาย 2 ฉบับ ที่มันจะทำลายชาติอย่างขนานใหญ่ กฎหมายฉบับแรกนี่เขียนขึ้นเพื่อช่วยเหลือให้ทักษิณไม่ต้องติดคุก เขียนเพื่อให้ทักษิณ ได้เงิน 46,373 ล้านบาทคืน เขียนเพื่อให้บรรดาผู้ก่อการที่ฆ่าตำรวจ ฆ่าทหาร เผาบ้านเผาเมือง ไม่ต้องมีความผิดติดแม้แต่นิดเดียว

พี่น้องทั้งหลายครับ แม้คดีที่ศาลพิพากษาแล้ว เช่นคดียิงวัดพระแก้ว คดีเผาศาลากลางทั้งหลาย ถ้ากฎหมายของพวกนี้ผ่านสภาฯ คราวนี้ คนเหล่านั้นถือว่าไม่มีความผิดหลุดหมดครับ นี่คือเหตุครับพี่น้องครับ ไม่มีที่ไหนในโลกเขาทำกันอย่างนี้ ถามเถอะครับทุกประเทศในโลก ใครฆ่าคนตายผิดกฎหมายทั้งสิ้น ใครวางเพลิงเผาทรัพย์ผิดกฎหมายทั้งสิ้น แต่มีประเทศไทยของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ที่พี่ชายแกสั่งว่าให้เขียนกฎหมายพิเศษสำหรับประเทศไทยยุคนี้ ฆ่าคนตายไม่ผิด เผาบ้านเผาเมืองไม่ผิด ยิงวัดพระแก้วไม่ผิด เผาศาลากลางไม่ผิด แล้วเมื่อไหรพ่อมึงจะผิดวะ

พี่น้องที่เคารพครับ แล้วเขาจะเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ตามอำเภอใจเขา ไม่ฟังเสียงประชาชนอย่างพวกเราเลย ไอ้เรื่องรัฐธรรมนูญนี่พี่น้องต้องตามให้ดีครับ หนังมันยาว สิ่งที่เขาจะเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ที่ผมได้เห็นแพลม ๆ มาแล้วเนี่ยครับ เขาจะเขียนเพื่อรวบอำนาจทั้งหมดในประเทศไทยให้อยู่ในกำมือเขา ผมเรียนกับพี่น้องครับ ในระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก เขาจะแบ่งแยกอำนาจครับ ฝ่ายบริหาร คือรัฐบาล ฝ่ายนิติบัญญัติ คือสภา ฝ่ายตุลาการคือศาล ไม่ขึ้นกันเป็นอิสระ แน่นอนครับ ฝ่ายรัฐบาล กับฝ่ายสภา มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเพราะว่าใครได้สส.มาก ก็มีสิทธิ์จัดตั้งรัฐบาล ไม่ว่ากัน แต่ว่าศาลนี่ต้องเป็นอิสระ เป็นเครื่องค้ำประกันความยุติธรรมให้เกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนทุกคน ทุกครอบครัว ทุกประเทศเขาทำอย่างนี้

แต่วันนี้ไอ้พวกนี้มันโกรธศาลครับ ศาลปกครองเคยตัดสินว่าการเลือกตั้งเมื่อปี 2548 เป็นโมฆะ ศาลรัฐธรรมนูญเคยยุบพรรคไทยรักไทย เคยมีคำวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชน ศาลฎีกาตัดสินจำคุกทักษิณ ยึดทรัพย์ทักษิณ มันโกรธศาล มันไม่มองว่ามันทำผิด ถ้ามันไม่โกงเลือกตั้งเขาก็ไม่ยุบพรรคมัน แต่นี่มันโกงเลือกตั้ง เขาก็ต้องยุบ นอกจากยุบแล้วพวกที่สมคบกับมันตั้งแต่กรรมการ กกต. เจ้าหน้าที่ รองหัวหน้าพรรคยศพลเอก ติดคุกเรียบหมด แล้วอย่างนี้จะมาโกรธศาลมันจะถูกที่ไหนครับ แต่คนพวกนี้มันลำพอง มันเชื่อว่าพวกมันมาก มันไม่เกรงใจใคร มันบอกว่าถ้ามันเขียนรัฐธรรมนูญใหม่คราวนี้ ศาลต้องอยู่ในกำมือของมัน เพราะมันจะตั้งประธานศาลฎีกาเอง มันจะตั้งทุกตำแหน่งในศาลเอง

พี่น้องครับ ทีนี้พวกมันทำผิดอะไร ไม่มีวันติดคุก ที่เหลือติดคุกก็คือท่านกับผมเท่านั้น แล้วมันเล่ห์เหลี่ยมมากครับพวกนี้ พี่น้องครับ เวลามันเสนอกฎหมายเพื่อที่จะลบล้างความผิดให้กับตัวเองกับทักษิณ มันเขียนหน้าปกซะสวยเลยครับ บอกว่ากฎหมายปรองดองแห่งชาติ แต่พอไปอ่านเนื้อใน ไม่มีเรื่องปรองดองเลยครับ มีเรื่องไม่ให้พวกมันผิดทั้งสิ้น ลบล้างความผิดของมันทั้งสิ้น

พี่น้องครับ พวกผมพรรคประชาธิปัตย์รู้เท่าทัน พยายามที่จะต่อสู้ในสภา มันก็หลอกล่อสารพัดครับ ชื่อกฎหมายน่ะมันบอกว่าปรองดอง แล้วมันมีอ่อยเหยื่อครับ ว่าที่จะลบล้างความผิดให้เนี่ย จะลบล้างให้อภิสิทธิ์ด้วย จะลบล้างให้สุเทพด้วย ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ก็พูดเพราะ บอก ไม่ต้องมาลบล้างให้กับพวกผม แต่ถ้าสุเทพพูดจะบอกว่า ไม่ต้องมาลบล้างให้กู ! กูพร้อมที่จะสู้คดี เราเป็นคนไทย เราเคารพกฎหมายไทย เราเคารพศาลไทย เราพร้อมที่จะพิสูจน์ตามกระบวนการยุติธรรม เราจะไม่ทำตัวเป็นคนเหนือกฎหมายอย่างทักษิณ และพวกพ้องของทักษิณเป็นเด็ดขาด ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ถึงพูดแล้วว่า ไม่ต้องมาเผื่อแผ่ถึงพวกผม 2 คน เชิญเลย เอาเลยวันนี้มีอำนาจเป็นรัฐบาลจะฟ้องกี่คดี ก็พร้อมทั้งนั้น ถ้าผมพลาดพลั้งก็ไปส่งข้าวห่อบ้างแล้วกันนะครับ

 

"แหมทีไอ้จ่าประสิทธิ์ ไชยศีรษะ ลุกขึ้นพูดมันให้พูดยาวเหยียดเลย โอ้ มันน่าเกลียดมาก พี่น้องที่เคารพครับ แล้วเวลายกมือไม่ต้องพูดถึงครับ พวกผมในสภา ฝ่ายค้าน ประชาธิปัตย์มี 160 คน ข้างมันมี 300 กว่า ยกทั้งมือทั้งตีน แพ้ทุกวัน"

 

พี่น้องที่เคารพครับ ว่าที่จริงเนี่ย ถ้าสภาฯ มันมีเหตุมีผลพูดกันด้วยเหตุด้วยผล พูดกันด้วยความจริงเนี่ย ไม่ต้องเดือดร้อนพี่น้องเลย แต่พี่น้องดูการถ่ายทอดการประชุมสภาสิครับ มันไม่ฟังเหตุผลข้างเราเลย วันดีคืนดีท่านอภิสิทธิ์กำลังลุกขึ้นอภิปรายประธานสภาฯ ไม่รู้ฟังคำสั่งมาจากดูไบหรือยังไง บอกพอแล้วพูดเยอะแล้ว ท่านหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านพูดมันยังปิดไมค์เลยครับ

แหมทีไอ้จ่าประสิทธิ์ ไชยศีรษะ ลุกขึ้นพูดมันให้พูดยาวเหยียดเลย โอ้ มันน่าเกลียดมาก พี่น้องที่เคารพครับ แล้วเวลายกมือไม่ต้องพูดถึงครับ พวกผมในสภา ฝ่ายค้าน ประชาธิปัตย์มี 160 คน ข้างมันมี 300 กว่า ยกทั้งมือทั้งตีน แพ้ทุกวัน

พี่น้องที่เคารพ คือถ้าแพ้กฎหมายอื่นผมทนได้ครับ พวกเราทนได้ แต่ว่ากฎหมาย 2 ฉบับนี้ถ้าเกิดเขาชนะ ถ้าเขาเกิดทำสำเร็จ ความหายนะเกิดขึ้นกับประเทศไทย ต่อไปนี้นานาประเทศไม่มีใครเชื่อระบบนิติบัญญัติของประเทศไทยแล้ว เพราะว่าฝ่ายข้างมากจะเขียนกฎหมายอย่างไรก็ได้ ใครเขาจะมาเชื่อเรา เท่านั้นไม่พอครับ มันจะไม่มีความเป็นธรรมเหลืออยู่ในสังคมประเทศไทย พอพวกเขาชนะได้เสียงมากอะไรที่เคยฉ้อ เคยโกง เคยทุจริต เขียนกฎหมายลบความผิดให้หมด จบ ต่อไปนี้มันก็โกง จนแทะเราเหลือกระดูกเท่านั้นเองพี่น้องครับ ผมเรียนกับพี่น้องกระดูกก็ไม่เหลือคุณป้าบอก ใช่

พี่น้องที่เคารพครับ ฝ่ายค้านอย่างพวกผมยืนยันกับพี่น้องครับว่าในสภาพวกผมจะทำหน้าที่เต็มที่ ไอ้กฎหมายลบล้างความผิดเนี่ย จะสู้กับมันตั้งแต่ชื่อพระราชบัญญัติเลย ชื่อกฎหมายเลย ที่มันเขียนว่ากฎหมายปรองดองนี่ ผมก็จะไปแปรญัตติว่า เป็นกฎหมายช่วยทักษิณและบริวาร แปลมันทุกบรรทัด แต่ว่ายืนยันกับพี่น้องว่า แพ้แน่นอน

อันตรายมากครับ แล้วถ้ามันเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ได้ตามใจมัน รับรองลูกหลานเราหมดสิ้นอิสระภาพ เสรีภาพ วันหนึ่งข้างหน้าลัทธิแดงยึดครองประเทศไทย เปลี่ยนแปลงโครงสร้างบ้านเมืองหมด ลูกหลานเราน้ำตาตกครับ มันเคยมีตัวอย่างมาแล้วพี่น้อง ที่ประเทศเยอรมัน ฮิตเลอร์ชนะเลือกตั้งได้เสียงข้างมาก สส.ในสภาเขียนกฎหมายใหม่ เขียนรัฐธรรมนูญใหม่มอบอำนาจให้ฮิตเลอร์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในประเทศเยอรมันวันนั้น ประเทศเยอรมันเจ๊งเลย แล้วเจ๊งเฉพาะเยอรมันไม่พอ โลกเจ๊งไปด้วยครับ เพราะว่าเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เราอย่าให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในประเทศไทยเลยครับพี่น้องครับ สงสารลูกหลานเรา ผมเรียนเลยครับว่าถ้าพวกนี้สามารถยึดประเทศไทยได้ตามเป้าหมายเขา ประเทศเราก็จะเหมือนเกาหลีเหนือ ประเทศเราก็จะเหมือนคิวบา ไม่มีวันที่ลูกหลานเราจะลืมตาอ้าปากได้ ไม่มีวันที่จะมีสิทธิเสรีภาพอย่างที่คนรุ่นพ่อรุ่นแม่เคยมี

พี่น้องครับ นี่คือเหตุผลที่พวกผมจะมาบอกความจริงกับพี่น้องโดยการตั้งเวทีประชาชน ชักชวนพี่น้องว่าอยู่เฉยไม่ได้แล้วครับ พึ่งเฉพาะฝ่ายค้านในสภาไม่พอหรอกครับ วันนี้พี่น้องทั่วประเทศต้องลุกขึ้นมายืนพร้อม ๆ กัน ส่งเสียงพร้อม ๆ กันว่า กูไม่เอา กูไม่เห็นด้วย กูจะสู้กับมึง พี่น้องพร้อมจะสู้กับเขาไม๊ครับ พร้อมที่จะสู้มันไม๊ครับ พวกผมทั้งหลายเหล่านี้ และที่อยู่ในสภาอีกร้อยกว่าชีวิตพร้อมที่จะยืนหยัดต่อสู้เคียงข้างกับพี่น้อง เพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตยที่บริสุทธิ์เอาไว้ รักษาแผ่นดินนี้ไว้ให้เป็นสมบัติตกทอดถึงลูกถึงหลานให้เขามีโอกาสได้เบ่งบานเป็นเสรีชนที่เป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้อำนาจเผด็จการยุคใหม่ที่พวกนี้กำลังพยายามจะทำ

พี่น้องครับ ผมขอกราบฝากเรื่องนี้ไว้ให้เป็นภาระของพี่น้องทั้งหลาย และเราจะร่วมมือกันต่อสู้ เพื่อต่อต้านกฎหมายที่จะทำลายชาติทั้ง 2 ฉบับนี้ด้วยกัน เราจะเคียงข้างกันตลอดไป ขอบคุณครับพี่น้องครับ สวัสดีครับ

 

000

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

พี่น้องที่เคารพรักทุกท่านครับ วันนี้ผมถือว่าเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งนะครับที่พรรคประชาธิปัตย์ได้มาพบปะกับพี่น้องเพื่อเอาความจริงเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังเผชิญกับบ้านเมืองของเรา และอนาคตของลูกหลานเรามาบอกเล่าให้แก่พี่น้องประชาชนได้รับรู้ รับทราบ

ที่ผมบอกว่า วันนี้สำคัญก็เพราะว่าแม้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้จัดเวทีที่คุณสุเทพเรียกว่าโรงเรียนการเมือง หรือการสานเสวนามามากพอสมควรในหลายภูมิภาค แต่การตั้งเวทีผ่าความจริงฯ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้พี่น้องประชาชนได้รับรู้รับทราบเกี่ยวกับอันตรายของการทำงานของรัฐบาลใน 2 เรื่องหลัก คือการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะนำไปสู่การรื้อรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ กับการคิดที่จะออกกฎหมายล้างผิด นิรโทษกรรมให้ผ่านสภา และให้พรรคพวกให้คุณทักษิณนั้นพ้นผิด เราได้จัดเวทีแบบนี้มาเพียง 3 ครั้ง ทั้ง 3 ครั้งเริ่มตั้งแต่ลานคนเมือง ไปที่วงเวียนใหญ่ แล้วก็ไปที่มีนบุรีเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว อยู่ในกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น จนกระทั่งเรามาพูดคุยกันบอกว่า มีความจำเป็นที่จะต้องเอาความจริงเหล่านี้มาเผยแพร่ให้พี่น้องประชาชนในจังหวัดอื่น ๆ ในภูมิภาคอื่น ๆ ได้รับรู้ รับทราบ ในที่สุดเราก็ตกลงครับว่า ต่อจากนี้ไปทุกวันเสาร์ เราก็จะสัญจรออกไปในจังหวัดต่าง ๆ ภูมิภาคต่าง ๆ แต่วันนี้ถือเป็นครั้งแรกที่เราออกมานอกกรุงเทพมหานคร มาที่นี่ครับ ที่จังหวัดพิษณุโลก ของพี่น้องที่นี่

อุตส่าห์มาถึงนี่ยังต่อว่าเลยนะ ต่อว่าว่าทำไมไม่เอารังสิมามาด้วย ไม่เอามา กลัวมาแย่งเก้าอี้ผม พี่น้องครับ มาครั้งแรกที่ต่างจังหวัดมาที่นี่ แล้วก็จะเดินสายต่อ แต่ผมทราบว่าวันนี้ที่มาที่นี่ไม่ได้มาจากพี่น้องที่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลกเท่านั้น หลายจังหวัดใกล้เคียงก็มาใช่ไม๊ครับ สุโขทัยก็มา เมื่อสักครู่ก็มีกำแพงเพชร อุตรดิตถ์ หลายต่อหลายจังหวัดนะครับที่ใกล้เคียง พิจิตร มากันเยอะแยะไปหมดครับ ส่งเสียงดัง ๆ หน่อยครับ

ส.ส. ก็มาจากหลายจังหวัดนี่ไล่เรียงกันมาเลยนั่น กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ ตาก สุโขทัย นครศรีธรรมราช อุทัยธานี นครสวรรค์ แต่วันนี้ที่มาไกลที่สุดคือผม เพราะว่าก่อนที่พรรคจะตกลงว่าจะมาจัดเวทีที่นี่ ผมไปรับงานเป็นประธานยกช่อฟ้าที่พัทลุง เพราะฉะนั้นเมื่อเช้าผมตื่นตั้งแต่ตี 4 ขึ้นเครื่องบินรีบไปเลยครับ 6 โมงเช้าเที่ยวแรก ไปหาดใหญ่ นั่งรถไปพัทลุงไปยกช่อฟ้า 1 วัด ไปฉลองอุโบสถอีก 1 วัด ที่พัทลุง แล้วก็รีบกลับมาขึ้นเครื่องที่หาดใหญ่ เพื่อบินมาลงสุวรรณภูมิ แล้วก็เปลี่ยนเครื่องบินจากสุวรรณภูมิไปลงสุโขทัยเพราะไม่มีเครื่องมาพิษณุโลกแล้ว แล้วก็เดินทางมาที่นี่ ที่พูดจะบอกก็คือว่า ไม่รักกันจริง ไม่มานะครับวันนี้

แต่ว่าจำได้ว่า ประชาธิปัตย์มาตั้งเวทีตรงนี้ทุกครั้ง คึกคักทุกครั้งพี่น้องประชาชนมาแล้วก็มาให้กำลังใจ มาให้การสนับสนุน สนอกสนใจในสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์จะได้บอกกล่าวให้พี่น้องฟัง พอเครื่องลงสุโขทัย เขาก็บอกว่าฝนตกหนัก แต่ผมก็มั่นใจว่าไม่มีใครหนี แล้วพอผมมาถึง ฝนก็หยุด แล้วจะตกหนักอีกทีวันที่เสื้อแดงมาที่นี่ เพราะว่าเกิดขึ้นแล้วที่มีนบุรี ของเรานั้นซ้อมใหญ่เฉย ๆ ตอนไปปราศรัย ฟ้าซ้อมใหญ่ฝนตกลงมาบ้าง คือไม่ตกไม่ได้เดี๋ยวถูกว่า สองมาตรฐาน แต่ตกมาพอให้เห็นแล้วก็พอวันรุ่งขึ้นเขาไปก็ตกหนัก เสียอย่างเดียว พอฝนตกหนักปรากฎว่านายจตุพรเลยไปอ้างศาลเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา จะต้องเป็นจำเลยในคดีที่ผมฟ้องอ้างว่าฝนตกหนักเป็นหวัด ศาลก็ใจดี๊ ใจดีเชื่อมัน ปรากฎว่ายอมเลื่อนคดีให้ เย็นวันนั้นมันไปขึ้นเวทีปราศรัยอีก หวัดมันหายเร็วจังเลยนะ ไม่รู้คนหรือคางคกเป็นหวัดแล้วหายเร็ว

พี่น้องครับ วันนี้ยังต้องมาย้ำหลายสิ่งหลายอย่างคือตอนแรก เขากลัวว่าตั้งเวทีกรุงเทพฯ ตั้งเวทีวงเวียนใหญ่ ที่นั่นที่นี่ คนที่อื่นอาจจะไม่รู้ แต่เดี๋ยวนี้ปรากฎว่าพอมีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ คือบลูสกาย กับทีวีดี ถ่ายทอดแล้วทีนิวส์ ถ่ายทอดการปราศรัยทราบว่าพี่น้องให้ความสนใจติดตามอย่างต่อเนื่อง ผมเลยคงไม่จำเป็นต้องพูดซ้ำ ๆ ในสิ่งที่พูดมาแล้ว 3 เวที แต่ต้องขยายความบางเรื่อง และต้องมาเล่าให้ฟังว่า การต่อสู้ในเรื่องนี้แม้สภาปิดสมัยประชุมไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา แต่เรายังวางใจไม่ได้ และมันมีกระบวนการหลายสิ่งหลายอย่างที่จะเกิดขึ้นต่อไป

ผมกราบเรียนพี่น้องครับ อาทิตย์ที่แล้วตอนที่ไปมีนบุรี การปราศรัยก็ให้ความรู้เรื่องกฎหมาย เรื่องรัฐธรรมนูญ ก็เรียบร้อยดีทุกประการ บังเอิญคนจัดเวทีชื่อ สุเทพ เทือกสุบรรณหงุดหงิด หงุดหงิดเพราะว่าขึ้นปราศรัยเป็นคนสุดท้าย ที่ต้องขึ้นปราศรัยเป็นคนสุดท้ายเพราะว่าผมยื่นคำขาดว่าถ้าให้ผมพูดเป็นคนสุดท้ายอีก ผมไม่ไปแล้ว ยืนหงุดหงิด ๆ 4 ทุ่มยังไม่ได้ขึ้นเวที รู้ว่า 5 ทุ่มคนจะรีบไปดูบอล 4 ทุ่ม 5 นาทียังไม่พูด 4 ทุ่ม 10 นาที ยังไม่ได้พูด พอขึ้นเวทีปั๊บ พิธีกรส่งกระดาษขึ้นมา อย่าพูดนาน คนจะกลับไปดูบอล คุณสุเทพ ก็เลยไม่รู้ว่าจะพูดอะไร ก็เลยเอาให้คุ้มเลยครับ พูดไป 8 นาที แต่เป็นพาดหัวข่าวใหญ่ไปอีก 1 อาทิตย์ เพราะเอาความจริงมาเปิดเผย มาแฉว่า หลายเรื่องที่ทักษิณ ที่แกนนำพรรคเพื่อไทย ที่แกนนำเสื้อแดงพูดเสมือนกับว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำเป็นเรื่องของความคิด เป็นเรื่องของอุดมการณ์ เป็นเรื่องของประชาธิปไตย แท้ที่จริงไม่ใช่

คุณสุเทพเปิดเผยความจริงเพียงแค่ว่าคุณทักษิณนั้น พยายามทุกวิถีทางเพื่อไปสู่เป้าหมายที่หลายคนบนเวทีนี้พูดไปแล้วก็คือว่า ขอให้ตัวเองไม่ติดคุก แล้วถ้าไม่ติดคุกแล้ว ก็จะได้คิดเอาเงิน 46,000 ล้านไปเป็นของตัวเองอีก และถ้าได้เงินคืนแล้วก็ค่อยคิดถึงเรื่องของการที่จะมีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเล่นการเมือง แล้วก็คงมีเป้าหมายเบื้องต้นเป็นนายกรัฐมนตรี

แล้วก็ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ถ้าไปถึงจุดนั้นแล้วจากเดิมที่บอกว่า เคยสำนึกผิดในบางเรื่อง วันนี้ก็หลุดออกมาแล้วเพิ่งไปให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนต่างประเทศบอก ถ้ากลับมาเป็นนายกฯ นั้นจะทำทุกอย่างเหมือนเดิม

ทำเหมือนเดิม ก็คุก อีกสิครับ พี่ !

เพราะประเทศไทยยอมอย่างนั้นไม่ได้ คุณสุเทพก็เลยเปิดเผยให้ทราบว่า ในขณะที่จะยื่นกฎหมาย ในขณะที่มีการปลุกระดมมวลชน ก็ยังมีความพยายามในการหาวิธีการอื่นอีก เช่น ส่งคนมาทาบทามให้ไปเจรจาให้พรรคประชาธิปัตย์ไปเจรจา ผมยืนยันว่า คุณสุเทพไม่พูดเท็จหรอกครับ เพราะถ้าคุณสุเทพพูดเฉพาะที่มีนบุรี เมื่ออาทิตย์ที่แล้วนี่ ผมคงต้องสงสัยเหมือนกันว่าอยู่ดี ๆ เอาอะไรมาพูด แต่ข้อเท็จจริงก็คือว่า คุณสุเทพเล่าให้ผมฟังถึงความพยายามในการติดต่อในเรื่องเหล่านี้มาอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญก็คือว่า ไม่ใช่คุณสุเทพคนเดียวครับ มีคนอื่น ๆ ที่อยู่ในพรรค ที่ใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยมารายงานให้ผมทราบถึงแนวคิดที่จะมีการเจรจาแบบเดียวกับที่คุณสุเทพเล่าให้ผมฟัง

ฉะนั้นผมจึงกล้าพูดได้ว่า ไม่ใช่คุณสุเทพหงุดหงิดนึกสนุก กุเรื่องเล่น ๆ ขึ้นมาเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว เพราะคุณสุเทพก็ไม่มีนิสัยอย่างนั้น แต่เป็นเรื่องที่ผมรับรู้รับทราบ มีการรายงาน และเล่าให้ฟังก็ได้ครับ ถึงขั้นที่ว่า ผมเชิญผู้หลักผู้ใหญ่ในพรรคมาประชุม เพราะผมเกรงว่าถ้ามีการติดต่ออย่างนี้มาก ๆ เข้า เดี๋ยวคนในพรรคสับสน หวาดระแวงว่าเอ๊ะ ทำไมผู้หลักผู้ใหญ่ของพรรค คนนั้นคนนี้มีการไปพูดคุยกับฝ่ายพรรคเพื่อไทย กับฝ่ายคุณทักษิณ จะไขว้เขวไปหรือไม่ในแนวทางต่าง ๆ แล้วในที่สุดพอประชุมกันก็เป็นเสียงเอกฉันท์ครับว่า ใครจะมาติดต่ออย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์ยืนยันจุดยืนชัดเจนครับว่า ไม่ประสงค์ที่จะเข้าไปร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทย แต่พร้อมเป็นฝ่ายค้านต่อสู้เคียงข้างพี่น้องประชาชนเพื่อความถูกต้อง

แล้วที่คุณสุเทพ อ.แก้วสรร คุณสำราญ พูดก่อนหน้านี้ บางทีก็มาเจรจา พูดจาแบบไพเราะอ่อนหวาน มาร่วมกันเถอะ บ้านเมืองจะได้สงบ แต่บางทีก็ใช้วิธีข่มขู่ ข่มขู่ว่าคดีเหตุการณ์ปี 53 กำลังมีการไต่สวนในศาลเดี๋ยวจะเดือดร้อนมาถึงผม เดือดร้อนมาถึงคุณสุเทพ ก็นิรโทษกรรมทุกฝ่ายเลิกแล้วกันไป ผมก็ตอบมาทุกครั้งครับ ทำไปเถอะครับ ตามกระบวนการยุติธรรม พี่น้องสูญเสียชีวิต มีข้อสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่หรือไม่ ไต่สวนตามกระบวนการของกฎหมาย พวกผมมั่นใจในความบริสุทธิ์ใจของตัวเอง พร้อมต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรมทุกประการ

เพราะฉะนั้นนี่คือแนวทางที่ชัดเจนของพรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทยหลายคนออกมาโวยวาย โวยวายพวกที่โวยวายบอก ไม่อยากร่วมรัฐบาลกับประชาธิปัตย์ไม่ว่ากันครับ ผมก็ไม่ได้อยากร่วมกับคุณ

แต่ผมไม่ร่วมกับคุณ ผมก็ต่อสู้ตามวิถีทางของสังคมที่เจริญแล้ว ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ปลุกระดม ไม่ไปจลาจล ไม่ไปเผาบ้านเผาเมือง เมื่อคุณไม่อยากร่วมกับผม ผมไม่อยากร่วมกับคุณ เรื่องก็น่าจะจบ แต่มันก็ดิ้นรนกันนักหนานะครับ ให้ข่าวว่าไม่ได้ นายสุเทพต้องเปิดเผยชื่อ เป็นใคร ผมจำไม่ได้ 2 หญิง 1 ชาย เป็นใครต้องบอกมา ไม่บอกแปลว่าโกหก ท้าไปสาบาน ท้าไปสาบาน ผมก็แปลกใจ ผมเห็นจตุพร ณัฐวุฒิ ก่อแก้ว ทักษิณ ใครต่อใคร พูดจาเหลวไหลมาไม่รู้กี่เรื่อง เอ่ยชื่อก็ไม่เอ่ย ว่าเป็นใครมาล้มล้างรัฐบาลบ้าง จะปฏิวัติบ้าง กดขี่พี่น้องประชาชนบ้าง เรียกว่าอำมาตย์บ้าง เรียกว่าบุคคลผู้มีอิทธิพลเหนือ นอกรัฐธรรมนูญบ้าง ไม่เห็นมันเคยเปิดเผยชื่อสักครั้งนึงเลยครับ

แล้วทำไมไม่ไปสาบานบ้างล่ะ ว่าพูดจริงหรือไม่จริง สุดท้ายเขาก็ท้าคุณสุเทพไปสาบาน คุณสุเทพก็ไม่ไปนะ ที่ไม่ไปเนี่ย มาอธิบายกับผม เหตุผลฟังขึ้น คือเดี๋ยวนี้อากาศแปรปรวน กลัวฟ้าไม่แม่น เคยเจอพวกเหลวไหลใจร้อนไปหน่อย ผ่าตู้ม แต่เกิดการคลาดเคลื่อนเล็กน้อยมาโดยฝ่ายเรา ก็เลยไม่ไป ไม่ไปก็ไม่แปลกนะครับ ผมเรียนตรง ๆ ผมจำได้เรื่องสาบานเนี่ย ยุคไหนแต่ไหนแต่ไร ชอบมีอย่างนี้ครับ สาบานกันในสภา อะไรต่าง ๆ แต่ผมก็จำได้เหมือนกันนะครับว่าที่เขาจัดจริงจังเป็นเรื่องเป็นราวเลย ผมจำได้ก็คือเมื่อปี 50 ตอนเลือกตั้ง กกต.เนี่ยเชิญพรรคการเมือง และสส. หรือผู้สมัคร สส. ระบบสัดส่วน และคนที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในกทม. ไปสาบานว่าจะไม่ซื้อเสียง ปรากฎว่าพวกผมไปกันครบครับ แต่ฝั่งนู้น บางคนไม่ไป เช่นเอาคนเดียวพอ เฉลิม อยู่บำรุง ไม่ไป

ที่จริง จตุพร ก็ไม่ไป ใครก็ไม่ไปครับ ไอ้อย่างนั้นสิครับ มีการจัดเป็นเรื่องเป็นราวเป็นพิธี ผมไม่ได้ว่าเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยกับวิธีนี้ แต่เราแสดงความบริสุทธิ์ใจ แต่นี่ผมไม่รู้สาบานกันเรื่องอะไร แล้วอยู่ดี ๆ ก็เลยมีการไปฝ่ายเดียว ไอ้คนที่ไปก็ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลย ไม่รู้จะไปสาบานอะไร เลยมาสาบานแทนนายสุเทพ คือชินกับระบบนอมินี ก็เลยบอกไปแทนนายสุเทพ ผมก็ถาม เอ๊ะ เขาไปทำอะไร เขาบอกไปพูดว่า ถ้านายสุเทพพูดไม่จริงขอให้พรรคเขาเจริญ มันสาบานแบบไหนวะ ถ้าสาบานมันต้องไปพูดเช่นว่า ถ้าพวกผมที่มาสาบานไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวอะไรกับเขาเนี่ย ขอให้ฉลาดเท่าเดิมไปทุกชาติ

อย่างนี้แหละครับ ถึงจะเป็นการสาบาน ผมไม่รู้ว่าจะกล้าไม๊ครับ หรือกลัวฉลาดเท่าเดิม ผมจึงบอกพี่น้องว่า วันนี้ต้องชัดเจนว่าเรื่องราวทั้งหมด มันไม่ใช่เรื่องอุดมการณ์ พรุ่งนี้ที่บอกจะซ้อมใหญ่ก็จะอ้างเป็นเรื่องอุดมการณ์ อิงกับว่าวันพรุ่งนี้ 24 มิถุนา ครบรอบเปลี่ยนแปลงการปกครอง 80 ปี จะจัดเวทีใหญ่จัดไป ผมไม่รู้ว่าจะไปปลุกระดมอะไรอีกนะครับ แต่ถ้ามาตรฐานเหมือนกับที่จัดที่ดอนเมืองเมื่อวานนี้ ก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องน่าเศร้าว่า 80 ปี ผ่านไปนักการเมืองไทยบางพวก ถอยหลัง แย่กว่าเดิม เพราะไม่มียุคไหนหยาบคาย ไร้สาระแบบนั้นครับ

แต่ว่าถ้าอยากฟังของดี ๆ แหมบังเอิญตั๋วหมดแล้ว ไม่กล้าโฆษณา พรุ่งนี้ท่านนายกฯ ชวน กับผมก็จะไปจัดกิจกรรมที่จะพูดจากับพี่น้องซึ่งกรุณาซื้อตั๋วไปแล้วก็จะเอารายได้ที่หักรายจ่ายแล้วมอบให้กับสภากาชาด ก็จะได้เหลียวหลัง แลหน้าประชาธิปไตยไทย ว่ากันด้วยเหตุผล ว่ากันด้วยหลักการ ว่าด้วยเนื้อหาสาระที่เราคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับการพัฒนาการเมืองของเรา

แต่วันนี้ที่มาตั้งเวทีตรงนี้ก็ต้องย้ำอีกครั้งครับ 2 เรื่องหลักของเรายังไม่จบ เรื่องแรก เรื่องรัฐธรรมนูญ ปิดสมัยประชุมไปขณะนี้ศาลก็กำลังจะมีการไต่สวน พิจารณาเพราะมีคนไปร้องว่า การพยายามที่จะล้มล้างรัฐธรรมนูญด้วยการยื่นแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 หรือจะเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มอื่น ๆ ในสังคมนั้นเข้าข่ายตามมาตรา 68 หรือไม่ ซึ่งแทนที่เราจะได้ยินพรรคเพื่อไทยผู้เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญออกมาพยายามอธิบายถึงเหตุ ถึงผลต่าง ๆ เรากลับได้ยินการไปตั้งเวทีขู่ศาลรัฐธรรมนูญ แกนนำเสื้อแดงพยายามจะบอกว่าศาลต้องตัดสินให้ดีนะ ไม่งั้นบ้านเมืองจะมีปัญหา เขาไปตั้งเวทีที่มีนบุรีเขาบอกว่า ถ้าศาลตัดสินไม่ดี ไม่ดีของเขาคือไม่ถูกใจ เขาก็จะมายึดกรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง

พี่น้องยอมรับได้ไหมครับ วิธีการแบบนี้ ท่านประธานศาลเมื่อวานถึงกับเอ่ยปากออกมาว่า ด้วยประสบการณ์ของท่านในวงการตุลาการ คดีนี้เป็นคดีที่แปลกมาก จำเลยไม่คิดต่อสู้โจทก์ จำเลยคิดต่อสู้ศาล

เราจะเอาระบบอย่างนี้เหรอครับ ถ้าเราปล่อยระบบอย่างนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราจะไม่มีทางได้รับความยุติธรรมในสังคม กลายเป็นใครเสียงดัง ใครพวกมาก ใครมีอำนาจก็สามารถข่มขู่คุกคาม ผิดก็เป็นถูก ถูกก็เป็นผิดได้ ไม่มีประเทศประชาธิปไตยที่ไหนยอมอย่างนั้นได้ สหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดี เลือกตั้งมาจากคนทั้งประเทศโดยตรง ยังต้องอยู่ภายใต้ศาลสูงสุด ที่สามารถชี้ได้ว่าการกระทำการออกกฎหมายนั้น ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ เขาไม่มาบอกหรอกครับว่ามีเสียงมากี่ล้านเสียง ผู้พิพากษากี่คนจะมาใหญ่กว่า เพราะเขารู้ว่า มันมีการแบ่งแยกอำนาจ ถ่วงดุล ตรวจสอบ เพื่อเป็นหลักประกันว่า ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยทุกคนเป็นเจ้าของประเทศจริง ๆ ไม่ใช่ระบบพวกมากลากไป หรือพวกมากทำอะไรก็ได้

 

"ความจริงพวกเรา ส.ส. ในพื้นที่ คุณสุเทพ และแม้กระทั่งอดีตนายกฯ ชวนนะครับ ขึ้นอภิปรายแนะนำในเรื่องกฎหมายการยางซึ่งรัฐบาลที่แล้วจะผ่านสภาอยู่แล้ว ยุบสภา นึกว่ารัฐบาลนี้ใครเข้ามาจะทำต่อ กลับไปเริ่มต้นใหม่ สอนเท่าไหร่แกไม่ฟังครับ แกนึกว่าแกเก่ง เพราะแกมีประสบการณ์เรื่องขนยางมาเผา"

 

พี่น้องที่เคารพครับ ดังนั้นเรื่องรัฐธรรมนูญนี้จึงยังเป็นปมที่พวกเราทุกคนต้องเป็นกำลังใจให้ศาลนั้นดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา ท่านจะวินิจฉัยอย่างไร ถูกใจหรือไม่ถูกใจ เราต้องยอมรับ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหลายเรื่องไม่ถูกใจประชาธิปัตย์มาแล้ว แต่เราก็ยอมรับเพราะเราต้องรักษาระบบ และเห็นว่าระบบสำคัญกว่าตัวเรา ถูกต้องใช่ไหมครับ พี่น้องครับ ถ้าเรารักษาแนวทางอย่างนี้ให้กำลังใจตุลาการ งานต่าง ๆ ของบ้านเมืองมันก็จะเดินได้ ไม่ใช่ตัดสินไม่ถูกใจปั๊บ ก็ปลุกระดม เอาคนมา มาใช้การข่มขู่คุกคามมีความรุนแรง และเดี๋ยวนี้หนักข้อว่า ยังไม่ทันตัดสิน ก็คิดจะไปล้อมไปข่มขู่ ต่อไปถ้าเป็นอย่างนี้นะครับ ไม่ต้องดูกฎหมายกันแล้ว ใครผิดใครถูกก็ทุกคนก็ดูเอาก็แล้วกันว่า กลัวใคร หรือไม่กลัวใคร ผมว่าเป็นอันตรายอย่างมาก เรื่องรัฐธรรมนูญก็ต้องว่ากันต่อไป

อาทิตย์ที่ผ่านมาผมยังโดนพาดพิงจาก คุณจาตุรนต์ ฉายแสง เอ้าเอ่ยชื่อก็ได้ เขาบอกว่านายอภิสิทธิ์นี่ไม่เชื่อมั่นระบบรัฐสภาจริง ถ้าเชื่อมั่นระบบรัฐสภาจริงทำไมไม่สนับสนุนให้สภาสู้กับศาลรัฐธรรมนูญ เขาพยายามยุว่าสภาต้องลงมติไปเลย ไม่ต้องฟังคำสั่งศาล คำสั่งศาลไม่ผูกพันสภา เขาบอกนั่นแหละเป็นการปกป้องสภา รักษาเกียรติยศของสภา

ผมไปออกรายการโทรทัศน์ บังเอิญอาทิตย์ก่อนเขาเชิญคุณจาตุรนต์ ผู้ดำเนินรายการก็เลยถามผมบอกว่า คุณจาตุรนต์ถามผมอย่างนี้ ผมว่าอย่างไร ผมก็บอก ผมและพรรคประชาธิปัตย์รักสภา ปกป้องสภา และหวงแหนอำนาจของสภา แต่แนวคิดของคุณจาตุรนต์ที่บอกรักสถาบันสภา จะให้สภาไปสู้กับศาล ไม่ต่างจากนักเลงอาชีวะ ที่ไปไล่ตีสถาบันอื่นแล้วอ้างว่านั่นคือการปกป้องสถาบันตนเอง

ไม่ใช่ครับ ถ้าเรารักสถาบันของเรา เราต้องรู้ว่าขอบเขตอำนาจของเราอยู่ตรงไหน อะไรควร อะไรไม่ควร การรักษาสภาไม่ให้ไปเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งผมว่าที่ทำอยู่ตอนนี้ถูกต้อง คือไม่ว่าจะคิดว่าคำสั่งศาล ถูกไม่ถูก ผูกพัน ไม่ผูกพัน จะเป็นอะไรไปล่ะครับ ที่จะรอให้ศาลเขาไต่สวนให้เรียบร้อยวินิจฉัยให้เรียบร้อย ถ้ามั่นใจว่าถูกต้องศาลเขาบอกว่ารัฐธรรมนูญพิจารณาต่อไปได้ ก็รอไปอีกซักอย่างมากก็เดือน 2 เดือน แล้วก็ลงมติกัน จะเป็นอะไรไปครับ ใครรอไม่ได้ จะรีบไปตายที่ไหนล่ะครับ

ผมจึงบอกว่า ที่เราต้องให้ความรู้กับพี่น้องประชาชนส่วนหนึ่งนั้น ผมไม่ได้บอกว่าเราบอกว่าใครถูกใครผิด แต่เราต้องการให้สังคมมีการยับยั้งชั่งใจ เมื่อมีระบบการแบ่งแยกอำนาจ ถ่วงดุลอำนาจ เคารพซึ่งกันและกัน แล้วจะทำให้บ้านเมืองมีความสมดุลแล้วเดินต่อไปได้ นั่นเรื่องรัฐธรรมนูญ

ถัดมาก็เรื่องกฎหมายล้างผิด 4 ฉบับที่ว่า ที่เล่ากันมาหลายครั้งแล้วละครับว่า ตกลงอะไรก็ไม่ผิดทั้งนั้น เผาบ้านเผาเมือง จะศูนย์การค้า ศาลากลาง ไม่ผิด เอาเงินงบประมาณต้องไปซ่อมแซมเยียวยา ไม่รู้กี่พันล้าน ก็จะสูญเปล่าไปไม่ต้องมีใครรับผิดชอบ มีการฆ่า มีการเอากำลังมา มีการปาระเบิด มีการยิง M79 ยิง RPG ก็ไม่ต้องรับผิด อย่างนี้คือสิ่งที่เป็นเนื้อหาสาระสำคัญของกฎหมายที่เขาเรียกว่าเป็นกฎหมายปรองดอง แล้วก็พ่วงแถมเข้าไปครับ ขาดไม่ได้ตกหล่นไม่ได้ เรื่องของนายใหญ่ นอกจากบรรดาความผิดที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเหตุการณ์การชุมนุมขัดแย้งทางการเมือง ขอพ่วงพวกที่ถูกศาลลงโทษในคดีทุจริต ที่เริ่มต้นมาจากการทำงานของ คตส. ก็คนได้ประโยชน์สูงสุดก็ไม่ใช่ใครหรอกครับ ก็ทักษิณ

ใครที่ยังคิดว่าจำเป็นต้องทำอย่างนี้ เพราะทักษิณถูกกลั่นแกล้ง เพราะคตส. ศาลไม่ให้ความยุติธรรม ผมว่าฟังอ.แก้วสรรแล้วต้องเข้าใจ เอาข้อเท็จจริงมาหักล้างสิ่งที่ อ.แก้วสรร พูดสิครับ อย่าไปเพียงพูดลอย ๆ ว่า ตั้งคนมีอคติ สอบสวนแล้วก็กลั่นแกล้งทักษิณ กลั่นแกล้งครอบครัว ต้องคืนความยุติธรรม หลังสุดนี่เลขาของประธานสภาบอก ต้องเยียวยาให้คุณทักษิณเขาน่าสงสารมาก ที่ถูกกระทำแบบนี้

ที่นี่ไม่ค่อย ผมนึกว่าคนที่นี่ใจอ่อนนะ ขอ 46,000 ล้านก็ไม่ให้ ขอไม่ติดคุกก็ไม่ให้ ผมเรียนตรง ๆ ละครับ ตอบแทนพี่น้องมันไม่ใช่เรื่องใจอ่อน ใจแข็ง มันไม่ใช่เรื่องทักษิณ หรือไม่ทักษิณครับ มันเป็นเรื่องหลักการความถูกต้องของบ้านเมือง ใครทำแบบทักษิณก็ต้องรับผลการกระทำตามกฎหมายไทย มาตรฐานเดียวกันทุกคน

พี่น้องก็ยังจำเป็นจะต้องช่วยกันเล่าให้ฟัง บอกกันต่อ ๆ ไปครับ เพราะไม่งั้นกระบวนการของการบิดเบือน ของการสร้างกระแสก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องว่าจะต้องมาลบล้างความผิดเพราะทักษิณถูกกลั่นแกล้ง ผมไม่ย้ำแล้วนะครับเพราะว่า ข้อสังเกตของผมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคดีที่ขึ้นไปที่ศาลว่า ไม่ใช่ คตส. นะ มีเรื่องอัยการกลั่นกรองแล้ว ทักษิณก็กลับมากราบแผ่นดินเข้าไปต่อสู้คดีในศาลแล้ว อุตส่าห์มีถุงขนม 2 ล้านก็แล้ว แล้วศาลก็อุตส่าห์ยกฟ้องไป 2 ข้อหา ยกฟ้องคุณหญิงพจมานก็แล้ว ครอบครัวคุณทักษิณก็เอาประโยชน์จากคำพิพากษาไม่ต้องเสียภาษีไปเป็นร้อยล้านแล้ว ยังจะมาบอกได้อย่างไรว่าเป็นเรื่องของการกลั่นแกล้ง

แต่ความพยายามตรงนี้ไม่จบครับ ขณะนี้เขารอสภาเปิดมาในวันที่ 1 สิงหาคม ถ้าการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรเป็นไปตามปกติ นั่นหมายความว่าเรื่องแรกที่จะต้องพิจารณากันในการประชุมครั้งแรกของสภาผู้แทนราษฎร ก็คือกฎหมาย 4 ฉบับนี้ครับ เพราะเขาเลื่อนขึ้นมาจ่อเอาไว้ กลายเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ในการทำงานของรัฐบาล เป็นไปได้ยังไงครับ พี่น้องประชาชนเดือดร้อนทั้งแผ่นดิน ที่วันนี้คุณสุเทพบอกว่าประชาธิปัตย์ไม่ได้มาไล่รัฐบาล ไม่ได้มาไล่คุณยิ่งลักษณ์ ถ้าจะไล่คือไล่ให้ไปทำงานให้ประชาชนสักทีครับ อย่ามัวทำอย่างอื่นอยู่

ผมไปใต้เขาก็บ่นอย่างที่คุณสุเทพเล่าให้ฟัง ตอนประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลพ้นจากตำแหน่งมา ยาง 180 บาท วันนี้ผ่านไป 1 ปี เลข 1 หายไปเฉย ๆ ยางเหลือ 80 บาท แล้วดูสิครับ นายกฯ ก็ทำร้ายจิตใจประชาชนคนใต้เหลือเกิน เอาใครไปรับผิดชอบงานแก้ไขปัญหายางพารา ทราบไหมครับ

กรุณาอย่าเรียกไอ้นะครับ เป็นอำมาตย์แล้ว สรุปสั้น ๆ คือเอาคนใต้ที่คนใต้ไม่เอา ไปแก้ปัญหาให้คนใต้ แล้วก็ไม่รู้เรื่องรู้ราว พรรคประชาธิปัตย์พยายามเสนอว่าต้องแก้ 1-2-3-4-5 ไม่ฟังทั้งนั้น เพราะความจริงพวกเรา ส.ส. ในพื้นที่ คุณสุเทพ และแม้กระทั่งอดีตนายกฯ ชวนนะครับ ขึ้นอภิปรายแนะนำในเรื่องกฎหมายการยางซึ่งรัฐบาลที่แล้วจะผ่านสภาอยู่แล้ว ยุบสภา นึกว่ารัฐบาลนี้ใครเข้ามาจะทำต่อ กลับไปเริ่มต้นใหม่ สอนเท่าไหร่แกไม่ฟังครับ แกนึกว่าแกเก่ง เพราะแกมีประสบการณ์เรื่องขนยางมาเผา

ซึ่งพวกเราไม่เคยทำ เราเลยไม่รู้ แต่วันนี้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาหนักอก หนักใจ เดือดร้อนไป สำหรับพี่น้องที่ปลูกยางพารา ซึ่งปัจจุบันไม่ได้มีเฉพาะภาคใต้ ภาคตะวันออกก็มี ภาคอีสานก็มี ภาคเหนือก็มี ภาคกลางก็มี พิษณุโลกก็มี นี่ยังไม่นับเรื่องข้าว เรื่องมัน ทำกันจนชนิดที่เรียกว่าพวกเราติดตามตรวจสอบ เหนื่อยมากกับเรื่องนี้ ผมก็บังเอิญไปตั้งคุณหมอวรงค์ (เดชกิจวิกรม) อยู่นู้น ๆ บังเอิญไปตั้งเป็นรัฐมนตรีเงากระทรวงพาณิชย์ เหนื่อยมากครับ ต้องคอยไปติดตาม ลานมัน โรงสี พี่น้องเกษตรกร ถ่ายคลิป ถ่ายวิดีโอ ตั้งกระทู้ถามให้รัฐบาลเข้าใจ ผมจะเตือนว่าต่อไปนี้ใครจะคลอดลูกอย่าไปหาหมอวรงค์ ลืมหมดแล้ว แต่ใครปลูกข้าว ใครปลูกมัน ใครเป็นเกษตรกร เรียกใช้ได้ตลอดเวลา เดี๋ยวนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญ

รัฐบาลก็ต้องไปทำเรื่องแบบนี้ ไม่ใช่มามั่วแก้ปัญหาให้กับพี่ชาย ให้กับนายใหญ่ นี่เรื่องแค่เรื่องเดียวนะครับ เรื่องพืชผลทางการเกษตร ซึ่งขณะนี้แก้ไม่เป็นจนกระทั่งโครงการก็ทุจริต คอร์รัปชั่นมาก ปปช. ก็ทำจดหมายเตือน ผู้ส่งออกก็กำลังเตือนว่าทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ข้าวไทยเสียแชมป์ในตลาดโลกแน่ ปัญหานี้ เป็นปัญหาใหญ่

ฝนตกตอนนี้ผมไปที่ไหน เจอพี่น้องประชาชนก็ถามอย่างเดียวว่า ปีนี้น้ำจะท่วมอีกไหม ผมก็บอกว่า ผมฟังไม่ถนัด ตกลงเอาอยู่หรือไม่อยู่ เอ้า ใครเอาอยู่ ใครว่าเอาไม่อยู่ ส่งเสียงหน่อยซิ ใจเย็น ๆ หนู ผมแนะนำว่า อย่าไปร้องเรียนกับรัฐบาลเลย ทำได้อย่างเดียวคือร้องเรียนต่อฟ้ากับฝนครับ ภาวนาว่าอย่าตกหนักมากเหมือนปีที่แล้ว เพราะ 1 ปีผ่านไป ยังไม่มีอะไรเป็นรูปธรรมเลยว่า จะบริหารจัดการต่างจากปีที่แล้วอย่างไร ใครมาจากบางระกำบ้างเนี่ย จำบางระกำโมเดลได้ไม๊ ผมอธิบายหน่อยนะฮะ เดี๋ยวคนไม่เข้าใจ หรือเข้าใจภาษาอังกฤษดีไป โมเดลที่นี่แปลว่าแบบจำลอง ไม่ได้แปลว่านายแบบนะครับ ที่บอกว่าเป็นบางระกำโมเดล ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ แล้วทัวร์รอบ 2 ก็รู้สึกว่าพยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปพื้นที่ที่ยังคงเป็นปัญหา ผมจึงบอกไม่หรอกครับ ไม่มาไล่รัฐบาล แต่จะไล่ให้ไปทำงานแก้ปัญหาเหล่านี้ หยุดสนอกสนใจแต่เรื่องของพวกพ้องของตัวเอง

 

"วันนี้ถึงเวลาต้องพิสูจน์ครับ เพราะถูกกดดันอย่างมากจากพี่ชายนายใหญ่ ที่จะต้องทำเรื่องนั้น จะต้องทำเรื่องนี้ ถูกกดดันมาโดยตลอด ถ้ายอมไปเรื่อย ๆ เอาพี่ชายกลับมาเป็นเลยครับ จะได้รู้ดี รู้ชั่วกันไปเลย ผมกลัวแต่ว่า ผมกลัวแต่ว่ามาเห็นหน้าพวกเราแล้วไม่กล้ากลับมา"

 

เพราะฉะนั้นนะครับ การต่อสู้ของพวกเราจึงต้องเป็นการต่อสู้ที่มีระเบียบวินัย ที่ต้องอดทน เพราะเขาจะพยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างให้เกิดปัญหาเสมือนกับว่าเป็นเรื่องมวลชน ชนกับมวลชน เป็นเรื่องของความพยายามที่จะล้มล้างเสียงข้างมาก เป็นเรื่องของผู้มีอิทธิพล อำมาตย์ มนุษย์ลึกลับที่ไหนไม่ทราบที่กำลังจะมาล้มล้างเสียงของประชาชน เราต้องใจเย็นหนักแน่น แล้วก็บอกว่าไม่ใช่ เราเพียงแต่ต้องการคัดค้านการใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้อง

ผมเรียนให้ทราบครับ คำว่าปรองดอง ความจริงเป็นคำที่ดี แล้วกระบวนการการปรองดองสมควรจะเกิดขึ้น แต่การจะปรองดองให้ถูกวิธีมันมีคนที่ทำงาน มันมีคนที่ศึกษาเยอะแยะไปหมดครับ ผมเพิ่งไปให้ข้อมูล ให้ความเห็นกับคณะกรรมการอิสระในเรื่องของการปรองดอง ที่มี อ.คณิต เป็นประธานเมื่อวันพฤหัสฯ ที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดนี้กำลังจะเสนอรายงานฉบับสุดท้ายให้รัฐบาลในเดือนหน้า แต่เขาได้ทำบันทึกมาถึงผม ทำบันทึกไปถึงรัฐบาล ทำบันทึกไปถึงประธานสภา และผู้ที่เกี่ยวข้องว่าการเร่งผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมในขณะนี้ไม่ได้ช่วยให้เกิดบรรยากาศการปรองดอง แต่กำลังทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้นในสังคม

ความจริงไม่ใช่เฉพาะ คอป. หรอกครับ หลายชุด นักวิชาการหลายคนก็เตือน และผมว่าใช้สามัญสำนึกพี่น้องประชาชนก็ทราบ เพราะก่อนที่รัฐบาลจะผลักดันกฎหมาย 4 ฉบับ ผลักดันเรื่องรัฐธรรมนูญ บ้านเมืองก็สงบเรียบร้อยดีทุกอย่าง มีชุมนุมบ้าง ก็มีแต่พวกรัฐบาลเอง คือเสื้อแดง แล้วมีไม่พอใจนายกฯ ไม่พอใจรัฐบาลบ้าง แต่ว่าส่วนใหญ่ทำใจแล้วว่า ก็เป็นอย่างนี้ ไม่มีใครบอกว่าจะต้องไปล้มล้าง จะไปปลุกระดมให้คนมาขัดแย้งต่อสู้กัน แต่ขณะนี้พอทำเรื่องนี้บ้านเมืองสุ่มเสี่ยง ผมเห็นข่าววันก่อนบอก กฎหมายปรองดองเนี่ยแหละ เหลืองกับแดงคุยกันปรากฏว่าแทงกันตายเรียบร้อย นี่เกิดแล้วนะครับ นี่คุยกันแค่ 1 คน ต่อ 1 คนนะครับ ถ้าวันหนึ่งเกิดมีคนเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยต่างมาชุมนุมแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

ผมจึงบอกว่ากฎหมายปรองดองเป็นเพียงปรองดองแต่ชื่อ ไม่มีสาระของการปรองดอง และถ้ารัฐบาลจริงใจกับการปรองดองต้องหยุด วันนี้เขาไม่ทำอย่างนั้นครับ ข้างหน้าบอกที่บ้านหย่ากันไปเรียบร้อยแล้ว มีอีกไม๊ครับ เดี๋ยวจะได้ขึ้นบัญชีเอาไว้ ผมเรียนว่ารัฐบาลต้องหยุด แต่ขณะนี้ผมทราบว่าเขาไม่หยุด แล้วกำลังทำบางสิ่งบางอย่างครับที่อยากให้พี่น้องช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับเราแล้วบอกเรา คือพอปิดสภา เขากำลังจะไปใช้วิธีการหาทางที่จะบอกว่าปิดสภาแล้วมีการไปสำรวจตรวจสอบแล้วประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับกฎหมายปรองดอง โดยยังไงครับ คือทุกคนที่อยากปรองดองโดยเฉพาะ คอป. ก็ดี สถาบันพระปกเกล้าฯ ก็ดี กรรมาธิการของสภา ซึ่งพยายามทำเรื่องนี้มาก่อนหน้านี้ก็ดี เขาบอกว่า ถ้าจะมีการทำกฎหมาย ถ้าจะมีการดำเนินการในเรื่องนี้ สิ่งที่ต้องเริ่มต้นคือ จัดทำสิ่งที่เขาเรียกว่า สานเสวนา ออกไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

สถาบันพระปกเกล้าฯ เขาก็เสนอตัวครับ เขาบอกเขาเป็นกลางเขาพร้อมที่จะทำงานนี้ให้กับรัฐบาล พอเรื่องไปถึงรัฐบาล คณะรัฐมนตรีก็มีมติบอก ความคิดที่จะไปทำสานเสวนาดี แต่ไม่ให้สถาบันพระปกเกล้าฯ ทำจะให้กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพ เสร็จแล้วหลังจากที่มอบหมายกระทรวงมหาดไทยไปสักพักนึง ปรากฎว่าหน่วยงานของกระทรวงมหาดไทยบอกว่าไม่มีความชำนาญในการทำเรื่องการสานเสวนา ก็ทำเรื่องไปขอให้สถาบันพระปกเกล้าฯ ช่วยทำคู่มือให้หน่อยว่าจะต้องไปทำยังไง คือเขาอาสาทำให้ไม่ให้เขาทำ พอตัวเองจะทำ ทำไม่เป็นไปขอให้เขาส่งคู่มือมาให้ ปัญหาขณะนี้ครับ ผมกลัวว่าอ่านคู่มือของพระปกเกล้าฯ ก็จะอ่านไม่รู้เรื่อง ผมได้เห็นคู่มือแล้ว มันมีหลักสำคัญ 3 ข้อในการที่จะทำนะครับ

ข้อที่ 1 เขาบอกว่า คนที่จะเป็นคนกลางจัดสานเสวนาเอาคนมาพูดคุยแลกเปลี่ยน เอาข้อมูลแลกเปลี่ยนกัน เพื่อที่จะหาทางออกจะต้องเป็นกลาง ถ้าเอาคนที่มีอคติ มีฝักมีฝ่ายเป็นพวกหนึ่งพวกใดมาทำ แน่นอนครับ มันจะไม่ได้คำตอบที่เหมาะสม

ข้อที่ 2 เขาบอกว่า เวลาไปทำสานเสวนาอะไรต่าง ๆ จะเชิญใครมานั้น มันต้องใช้หลักวิชาว่าจะให้ใครมาบ้าง เช่น ต้องสุ่มตัวอย่างให้ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่ม มีความหลากหลาย หลากหลายเรื่องเพศ ศาสนา ที่อยู่ รายได้ อาชีพ อย่างนี้เป็นต้น ไม่ใช่จัดเวทีแล้วก็ใช้วิธีกะเกณฑ์คนเข้ามา โดยเฉพาะคือกะเกณฑ์เฉพาะพรรคพวกของตัวเองเข้ามาแล้วมาให้ความเห็น

และสำคัญที่สุดที่ 3 ครับ การสร้างความปรองดองนั้น มาพูดคุยกันแล้วต้องหาข้อยุติในลักษณะที่ทุกฝ่ายคิดร่วมกันแล้วเห็นว่าเดินไปอย่างนี้ด้วยกัน นั่นจึงจะเป็นการปรองดอง แต่ขณะนี้ แต่ขณะนี้เขาเตือนมาว่าถ้าไม่ใช้วิธีนี้แต่กลับไปใช้วิธีว่า ยกมือซิ ข้างไหนมากกว่ากันแล้วสรุปอย่างนั้น อย่างนี้ไม่ใช่ปรองดอง เพราะการปรองดองจะเกิดจากการยัดเยียดจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้โดยเด็ดขาดครับพี่น้องครับ

ที่ผมจะเตือนพี่น้องคืออะไรครับ วันนี้มันมีข่าวว่าข้อแรก แทนที่จะหาคนกลางมาจัดเวที เขาจะบอกว่า เขามอบหมาย สส. ข้าราชการ บรรดาบุคคลที่มีตำแหน่งทั้งหลาย ในรัฐบาลบ้าง ในราชการบ้าง เป็นคนไปสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เพราะฉะนั้นพี่น้องต้องดูนะครับ พวก ส.ส. ทั้งหลายพรรคเพื่อไทยที่เวลาน้ำท่วมแล้วไม่โผล่มา แต่วันนี้จะโผล่มาขอความเห็นเนี่ยต้องรู้ทันว่ากำลังจะมาหาความชอบธรรมให้กับกฎหมาย 4 ฉบับ ผิดหลักข้อแรกไปแล้ว ไม่เอาคนกลางมาทำ ข้อที่ 2 เขาจะไปพูดคุยกับคนที่รู้ว่าสนับสนุนฝ่ายเขา คงไม่มาถามแถวนี้แหละ ยิ่งพวกโพกหัวสีฟ้า ๆ แบบนี้เขาไม่มาคุยด้วย

สำคัญที่สุดตอนนี้เริ่มมีเอกสารคล้าย ๆ แบบสอบถาม หรือแบบฟอร์ม ที่กำลังจะไปให้ประชาชนเซ็น แล้วบอกว่า สนับสนุนร่างพรบ. จุดจุดจุด สุดท้ายพอ 1 สิงหา มาเขาก็จะบอกว่าจากการไปประชาพิจารณ์ สานเสวนา พูดคุยกับประชาชนพบว่าประชาชน 90 กว่าเปอร์เซนต์บอกให้ออกกฎหมายปรองดอง

พวกเราจึงต้องเอาความจริงเหล่านี้ไปบอกพี่น้องประชาชนทั้งหลายว่า 1. อย่าเป็นเหยื่อของกระบวนการตรงนี้ และ 2. ช่วยกันเป็นหูเป็นตาครับ ชุมชนไหน ตำบลไหน หมู่บ้านไหน อำเภอไหน มีการกระทำแบบนี้ บอกพวกเราครับ เราจะได้เปิดโปงให้รู้ว่ากำลังมีความพยายามอ้างความชอบธรรมจากประชาชน ไปออกกฎหมายล้างผิดให้กับคนทุจริตโกงชาติ และพวกก่อความวุ่นวายให้กับบ้านเมือง

เพราะฉะนั้นวันนี้มาฟังแล้ว มีการบ้านติดตัวกลับไป ไปตรวจสอบ สำรวจตรวจสอบ เป็นหูเป็นตาและไปเผยแพร่ความจริงเหล่านี้ให้กับพี่น้องประชาชนในชุมชนของท่าน ในหมู่บ้าน ในตำบล ในอำเภอของท่านและพี่น้องทั่วประเทศ มิเช่นนั้นแล้ว วิกฤติใหญ่รออยู่ต้นเดือนสิงหาคม ที่เขาจะพยายามผลักดันเรื่องนี้อ้างมวลชน แล้วก็จะมีการปลุกระดมอย่างเช่นที่กำลังตั้งเวทีของเสื้อแดงมาจะล้อมศาล ล้อมสภา เพื่อที่จะผลักดันสิ่งเหล่านี้ให้ได้

ผมจึงบอกครับว่า สิ่งสุดท้าย ที่วันนี้ต้องบอกไปยังรัฐบาล ฝากไปถึงนายกฯ ยิ่งลักษณ์ คุณเป็นรัฐบาล คุณเป็นนายกรัฐมนตรี  คุณบอกว่าคุณมีนโยบายให้บ้านเมืองสงบปรองดอง คุณต้องไปไล่ดำเนินคดีกับคนที่กำลังข่มขู่คุกคามตุลาการ ข่มขู่คุกคามประชาชน ถ้าคุณทำ คุณจะพิสูจน์ตัวเองได้ว่า คุณเป็นนายกรัฐมนตรีของคนไทยอย่างแท้จริง แต่ถ้าคุณไม่ทำ เพียงเพราะคนที่ทำผิด คนที่กำลังทำตัวเป็นอันธพาลครองเมือง เป็นพวกคุณ นั่นหมายความว่าคุณเป็นได้ก็เพียงเฉพาะนายกรัฐมนตรีของคนพวกนั้น

วันนี้ถึงเวลาต้องพิสูจน์ครับ เพราะถูกกดดันอย่างมากจากพี่ชายนายใหญ่ ที่จะต้องทำเรื่องนั้น จะต้องทำเรื่องนี้ ถูกกดดันมาโดยตลอด ถ้ายอมไปเรื่อย ๆ เอาพี่ชายกลับมาเป็นเลยครับ จะได้รู้ดี รู้ชั่วกันไปเลย ผมกลัวแต่ว่า ผมกลัวแต่ว่ามาเห็นหน้าพวกเราแล้วไม่กล้ากลับมา วันนี้เราต้องเรียกร้องครับ รัฐบาลต้องเป็นรัฐบาลของประชาชน ต้องเป็นรัฐบาลของประเทศ ต้องเอากฎหมายความถูกต้อง ความสงบเรียบร้อยมาก่อนผลประโยชน์ของพวก ต้องยืนยันอย่างนี้ มิเช่นนั้นประชาธิปไตยของไทยที่ผ่านมา 80 ปี ไม่ได้เดินไปไหน

ผมจึงกราบวิงวอนพีน้องครับ เราจะต้องตั้งเวทีอย่างนี้ไปอีกหลายเวทีทั่วประเทศ พี่น้องก็อาจจะได้มีโอกาสติดตามเมื่อมีการถ่ายทอดบ้าง หรือไม่ได้มีโอกาสติดตาม ก็อาจจะต้องพยายามรับฟังผ่านสื่อสารมวลชนอื่น ๆ บ้าง แต่พี่น้องทิ้งประเด็นเหล่านี้ไม่ได้ เขายังเคลื่อนไหวเดินหน้าตลอด และนี่เป็นเพียงก้าวแรก เป้าหมายแรกของเขาที่ไปไกลกว่านั้น คุณสุเทพ และอีกหลายต่อหลายคนได้พูดไปแล้ว ผมเชื่อว่าสิ่งที่รออยู่ปลายทางเป็นเป้าหมายของเขาไม่ใช่ประเทศไทยแบบที่พวกเราต้องการ เพราะฉะนั้นพวกเรายังต้องปักหลักสู้กับความไม่ถูกต้องต่อไป และต่อเนื่อง

ต้องถามทุกครั้งครับ สู้ไม่สู้ (ผู้ชุมนุมกล่าวว่า - สู้) อันนี้ได้ยินมาอยู่ในพิษณุโลกอย่างเดียวไม่มีประโยชน์ครับ สู้ไม่สู้ (สู้) ดังขึ้นอีกหน่อย ยังไม่ถึงดูไบ เอาดัง ๆ อีกครั้งแล้วไม่ใช่สู้ครั้งเดียว เมื่อกี้สำราญ บอก 2 ครั้งใช่ไหม งั้นผมขอ 3 สู้ไม่สู้ (สู้ สู้ สู้) ถ้าอย่างนี้พวกผม สู้กับพี่น้องตลอดไปครับ กราบขอบพระคุณครับ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปฤณ เทพนรินทร์

Posted: 24 Jun 2012 11:25 AM PDT

ในวาระของการรำลึกวันชาติในอดีต 24 มิถุนา หากเราต้องการสืบทอดเจตนาของคณะราษฎรแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องช่วงชิงความหมายเหล่านี้คืนมาจากนิทานประชาธิปไตยแบบไทยๆ เพื่อไม่ให้การอภิวัฒน์ของคณะราษฎรต้องสูญเปล่า และที่สำคัญที่สุด เพื่อให้อำนาจสูงสุดของประเทศนี้นั้น ได้เป็นของราษฎรทั้งหลายเสียที

นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปาฐกถานำร่วมกับเกษียร เตชะพีระ "นิทานประชาธิปไตยไทย", 24 มิ.ย. 55

อภิชาต สถิตนิรามัย: 80 ปี 2475 คลื่นประชาธิปไตยลูกที่สาม

Posted: 24 Jun 2012 10:51 AM PDT

ชนชั้นนำไทยจะฟังและเก็บรับบทเรียนทางประวัติศาสตร์ 80 ปีนี้หรือไม่ เมื่อขณะนี้คนชั้นกลางรุ่นใหม่ได้เกิดขึ้นแล้ว เขาเรียกร้องต้องการความเสมอภาคทางการเมืองแบบ “หนึ่งคนหนึ่งเสียง” ในขณะที่ระบอบการเมืองไทยภายใต้การกำกับของ “มือที่มองไม่เห็น” ในปัจจุบันกลับมองคนกลุ่มนี้เป็นคนต่ำชั้นที่มีลักษณะ “โง่-จน-เจ็บ” 

คำกล่าวโดยอภิชาต สถิตนิรามัย อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเวทีอภิปราย "80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475" ซึ่งมีผู้อภิปรายประกอบด้วย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์-สุดสงวน สุธีสร-ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์-อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์-อภิชาต สถิตนิรามัย-มรกต เจวจินดา ไมยเออร์ จัดโดย หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ฯ และสมาคมจดหมายเหตุสยาม

000

หากจะเข้าใจมูลเหตุของการปฏิวัติสยาม 2475 เราคงต้องเริ่มต้นที่สนธิสัญญาเบาว์ริงในรัชการที่ 4 และการรวมศูนย์อำนาจรัฐ ผ่านการปฏิรูประบบราชการในรัชกาลที่ 5 เช่นกัน หากจะเข้าใจความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน เราอาจต้องเริ่มอย่างช้าที่สุด ตั้งแต่พลเอกเปรมลงจากอำนาจ ยี่สิบปีเศษที่ผ่านมานั้น สังคมเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนไปจนจำเค้าเดิมไม่ได้ ในทศวรรษแรกเศรษฐกิจไทยมีอัตราการขยายตัวสูงที่สุดในโลก โครงสร้างการผลิตได้ก้าวข้ามภาคเกษตรกรรมเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมและการบริการอย่างเต็มตัว และจบลงด้วยวิกฤต 2540 ในทศวรรษที่ 2 แม้ว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะช้าลงก็ตาม แต่ผลรวมของการขยายตัวและการเปลี่ยนผ่านของโครงสร้างการผลิตใน 20 กว่าปีนี้ก็ได้ทำหน้าที่ทางประวัติศาสตร์ของมันอย่างซื่อสัตย์เฉกเช่นเดิม กล่าวคือ การก่อเกิดขึ้นของคนชั้นกลางรุ่นใหม่ หรือชนชั้นกลางระดับล่าง ซึ่งกลายเป็นคนส่วนข้างมากของสังคม ซึ่งมีประมาณร้อยละ 40 ของครัวเรือนทั้งประเทศ กระจายตัวอยู่ทั้งในเมืองและชนบท ในขณะที่คนยากจนลดเหลือเพียงเหลือเพียงร้อยละ 8 หรือประมาณ 5 ล้านคนในปี 2553 เท่านั้น ซึ่งไม่น่าแปลกใจ เพราะโดยรวมแล้วรายได้ครัวเรือนได้เพิ่มขึ้นถึง 9 เท่าตัว ทำให้คนไทยมีรายได้เฉลี่ย 6 บาทเศษต่อคนต่อเดือนในปี 2552

คนชั้นกลางใหม่ร้อยละ 40 นี้คือใคร ? คงถกเถียงกันได้ในเรื่องคำนิยาม แต่ผมประเมินว่าคือคนที่มีรายได้ระหว่าง 5,000-10,000 บาทต่อเดือน อาชีพของคนเหล่านี้ในเศรษฐกิจนอกภาคการเกษตรคือเป็นเสมียน เป็นผู้ที่อยู่ในภาคการค้าและบริการ และคนงานในภาคการผลิต ซึ่งมีประมาณเกือบร้อยละ 35 ของครัวเรือนทั้งหมดในปี 2552 ข้อสังเกตคือในชนกลุ่มนี้อาชีพการค้าและบริการเป็นกลุ่มที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากร้อยละ 10 เศษในปี 2529 เป็นร้อยละ 20 ของครัวเรือนทั้งหมดในปี 2552 และยังมีแนวโน้มกระจายตัวออกจากเขตเมืองไปสู่เขตชนบท และกระจายตัวออกจากทม.ไปทุกภูมิภาคอีกด้วย กลุ่มนี้มีรายได้ 5,828 บาทต่อเดือน ใกล้เคียงกับรายได้ของคนงานภาคอุตสาหกรรมการผลิตและรายได้เฉลี่ยของทั้งประเทศแต่สูงกว่าเกษตรกรทั่วไปเกือบสองเท่า ส่วนภาคเกษตรกรรมในปี 2547 มีเกษตรกรเชิงพาณิชย์จำนวน 1.36 ล้านครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ19 ของครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมดหรือประมาณร้อยละ5 ของครัวเรือนทั้งประเทศ มีรายได้ต่อเดือนถึง 9,311 บาท ซึ่งสูงกว่ารายได้เฉลี่ยของเกษตรกรทั่วไปร้อยละ 70 ดังนั้น เราจึงอาจจัดเกษตรกรในกลุ่มนี้ได้ว่าเป็น “ชนชั้นกลางใหม่” ในภาคเกษตรกรรม
 
แล้วอะไรคือปัญหาร่วม หรือเป็นผลประโยชน์เฉพาะของชนชั้นใหม่นี้ ? คนกลุ่มนี้คือผู้ที่วิถีชีวิตทั้งด้านการผลิตและการบริโภคผูกพันกับระบบทุนนิยมไทยอย่างแนบแน่น จำนวนมากเป็นผู้ค้าขาย ผู้ประกอบการอิสระเช่นขับรถแท็กซี่ จักรยานยนต์รับจ้าง สารพัดช่างซ่อม ช่างเสริมสวย ฯลฯ หรือแม้เป็นเกษตรกรก็เป็นเกษตรกรเชิงพาณิชย์ มีเป้าหมายการผลิตเพื่อป้อนตลาด เขาไม่ใช่เกษตรกรแบบเศรษฐกิจพอเพียง ผู้คนเหล่านี้ต่างวาดหวังต้องการไต่เต้า-ยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมภายใต้ระบบตลาดสมัยใหม่ ไม่แตกต่างไปจากชนชั้นกลางระดับกลางขึ้นไป (ชั้นกลางเก่า) สิ่งที่แตกต่างคือเขาอาจมีคุณสมบัติ (capabilities) เช่น ระดับการศึกษา ทักษะ ความสามารถ และ/หรือการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โอกาสต่างๆ ทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำกว่าชนชั้นกลางเก่า สิ่งเหล่านี้ทำให้ชนชั้นกลางใหม่ ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใช่คนจน แต่ก็จนกว่ามากทั้งในด้านรายได้และทรัพย์สิน (69เท่า) เมื่อเปรียบเทียบกับชนชั้นกลางเก่า ยิ่งกว่านั้นเนื่องจากสถานะทางอาชีพของชนชั้นกลางใหม่มักอยู่นอกภาคการผลิตที่เป็นทางการ (informal sector) จึงทำให้เขาขาดหลักประกันความมั่นคงในชีวิต ในขณะที่อาชีพของเขาผูกพันกับระบบตลาดอย่างแนบแน่นก็ทำให้เขามีรายได้ที่ไม่แน่นอน ผันผวนไปตามวงจรธุรกิจ แต่โดยสรุปแล้ว สิ่งที่ผู้คนเหล่านี้ต้องการคือ 1.หลักประกันความมั่นคงในชีวิต 2.การกระจายรายได้-โอกาส หรือการอุดหนุน-ส่งเสริมจากรัฐ เพื่อยกฐานะทางเศรษฐกิจของเขาให้ใกล้เคียงกับชนชั้นกลางเก่ามากขึ้น
 
ด้วยลักษณะของชนชั้นกลางใหม่เหล่านี้เอง เมื่อรัฐบาลทักษิณ 1 ผลักดันและปฏิบัติตามสัญญาที่ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งเมื่อปี 2544 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “นโยบายประชานิยม” เช่น โครงการหลักประกันสุขภาพ การพักการชำระหนี้ กองทุนหมู่บ้าน ผลงานนี้จึงทำให้ตัวนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลพรรคไทยรักไทยได้รับความนิยมและความชื่นชมสูง เพราะโครงการเหล่านี้ตอบสนองและสอดรับกับความต้องการทางเศรษฐกิจของชนชั้นกลางใหม่ เนื่องจากโครงการพวกนี้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ชีวิตชนชั้นกลางใหม่มีความมั่นคงสูงขึ้น เช่นโครงการหลักประกันสุขภาพ หรือไม่ก็ช่วยให้เขามีโอกาสทางเศรษฐกิจมากขึ้น เช่นกองทุนหมู่บ้านทำให้การเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่ายขึ้น และ/หรือด้วยต้นทุนที่ถูกลง ในขณะที่ OTOP ก็เปิดโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างรายได้ เป็นต้น
 
โดยสรุปคือ มีคนชั้นกลางระดับล่างจำนวนมาก ซึ่งต่อมามีพัฒนาการทางความคิดกลายเป็น “คนเสื้อแดง” นั้น มีจุดเริ่มต้นจากความชื่นชมนายกทักษิณและรัฐบาลพรรคไทยรักไทย เพราะเขาได้ประโยชน์โดยตรงจากนโยบายของรัฐบาลนี้
 
แต่การปรากฏตัวขึ้นของชนชั้นใหม่นี้ อย่างมากก็เป็นแค่เงื่อนไขทางภาวะวิสัยที่เอื้อแก่การก่อตัวของพลังทางสังคมชนิดใหม่ หรือผู้เล่นกลุ่มใหม่ในสังคมการเมือง แต่สิ่งนี้ไม่ใช่ปัจจัยที่จำเป็นหรือเพียงพอที่จะเปลี่ยนคนกลุ่มใหม่ให้กลายเป็นกลุ่มพลังใหม่ทางสังคม แต่ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในรอบสิบกว่าปีที่ผ่านมาได้ทำให้ บางส่วนของคนกลุ่มใหม่นี้ ซึ่งก็คือคนเสื้อแดงมีจิตสำนึกทางการเมืองแบบใหม่ขึ้น นั้นคือสำนึกว่า ตนไม่ใช่ไพร่ ข้า หรือพสกนิกร ซึ่งไม่มีสิทธิ์มีเสียงในการกำหนดความเป็นไปของบ้านเมือง แต่กลับมีสำนึกว่า ตนเป็นพลเมือง หรือเป็นหุ้นส่วนของสังคมการเมืองนี้ ตนจึงมีสิทธิที่จะกำหนดชะตากรรมของบ้านเมืองเช่นกัน
 
“คนเหล่านี้ต้องการพื้นที่ทางการเมือง เพื่อผลักดันผลประโยชน์ของตนเอง ปัญหาที่เขาเผชิญอยู่เป็นปัญหาทางการเมือง ไม่ใช่การร้องทุกข์ทางเศรษฐกิจ หรือร้องขอการอุปถัมภ์จากรัฐ” ดังที่ช่างเฟอร์นิเจอร์เสื้อแดงในจังหวัดเชียงใหม่กล่าวว่า “(เมื่อก่อน) พึ่งพานโยบายรัฐน้อย หมดหน้าข้าวก็ต้องปลูกแตง ปลูกอย่างอื่นต่อ วนๆ กันไป ไม่ได้คิดถึงนโยบายของรัฐ คิดว่าต้องช่วยเหลือตัวเองเป็นหลัก เมื่อก่อนยังมีที่ดินทำกินอยู่ แต่พอที่ดินไม่มี เราก็ต้องพึ่งพิงนโยบายรัฐมากขึ้น และรู้สึกว่าการเลือกตั้งสำคัญกับตัวเองมากขึ้น”
 
จึงกล่าวได้ว่าสำนึกความเป็นพลเมืองที่แพร่หลายในหมู่คนเสื้อแดงคือ ความหวงแหนสิทธิการเลือกตั้งของตน กล่าวอีกแบบคือ เขาให้นิยามขั้นต่ำของความเป็นประชาธิปไตยว่าจะต้องมีการเลือกตั้ง ซึ่งทุกคนมีหนึ่งเสียงเท่าเทียมกันในการแต่งตั้งและถอดถอนผู้ปกครองของตน ดังที่เสื้อแดงผู้หนึ่งนิยามประชาธิปไตยว่า “ต้องมาจากประชาชนโดยตรง ตราบใดที่ต้องให้ (ผู้มีอำนาจ) คอยอนุญาต มันก็ไม่เป็นประชาธิปไตย ต้องมีสิทธิในการเลือกผู้นำของเรา ถ้าไม่ดีก็ว่ากันไป ต้องไม่ถูกรัฐประหารไล่คนของเราออก”
 
ดังนั้น การรัฐประหาร การแทรกแซงทางการเมืองในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร หรือตุลาการภิวัตน์โดยผู้มีอำนาจหลังฉาก จึงเป็นการเมืองที่ขาดความชอบธรรมในสายตาของคนกลุ่มนี้ เพราะมันเท่ากับการปฏิเสธความเป็นหุ้นส่วนทางการเมืองของเขา รวมทั้งเป็นการปิดพื้นที่ทางการเมือง ซึ่งเป็นเครื่องมือหลักในการผลักดันและต่อรองผลประโยชน์ของเขา คำถามคือ สำนึกความเป็นพลเมืองนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
 
การลงหลักปักฐานของการเมืองแบบเลือกตั้งระดับชาติ นับแต่ พ.ศ.2521 ภายใต้ระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยครึ่งใบ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นระบอบการเลือกตั้งที่มีการกำกับจากอำนาจนอกระบบก็ตาม แต่การเลือกตั้งระดับชาติก็เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ผู้คนเห็นว่า การเมืองปกติก็คือการเมืองที่มีการเลือกตั้ง แม้ว่าการเลือกตั้งในช่วงเวลาก่อนปี 2544 ผู้ออกเสียงจะไม่ได้ประโยชน์โดยตรงจากนโยบายในระดับมหภาค เนื่องจากเนื้อหาของนโยบายมหภาคถูกครอบงำจากข้าราชการระดับสูงและเทคโนแครต ทำให้ไม่มีการใช้นโยบายมหภาคที่เป็นรูปธรรมในการหาเสียงเลย อย่าว่าแต่การผลักดันและการปฏิบัติตามนโยบายหลังการเลือกตั้ง ผลประโยชน์โดยตรงที่ผู้ออกเสียงอาจได้รับจึงมีลักษณะไม่ทั่วหน้า เฉพาะที่ เฉพาะถิ่น ส่วนใหญ่ในรูปโครงการพัฒนาต่างๆ ที่ส.ส.ดึงงบประมาณจากส่วนกลางมาลงในเขตเลือกตั้งของตัวเอง หรือมีลักษณะเฉพาะตัว เช่นเงินสดที่ได้รับแจกในช่วงหาเสียง หรือความช่วยเหลือส่วนบุคคลที่ผู้ออกเสียงได้รับโดยตรงจาก ส.ส.และเครือข่ายหัวคะแนนของเขาในช่วงระหว่างการเลือกตั้ง ดังนั้น จึงไม่แปลกเมื่อเกิดการรัฐประหารขัดจังหวะวงจรการเลือกตั้งเป็นครั้งคราวเช่นในปี 2534 แล้ว กระแสการต่อต้านจากประชาชนในวงกว้างจึงไม่เกิดขึ้น เนื่องจากเขาไม่มีผลประโยชน์จากการเลือกตั้งที่จะต้องปกป้อง
 
จุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดคือเมื่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มีผลบังคับใช้ กล่าวได้ว่า 2 ประเด็นหลักที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ตั้งใจออกแบบไว้ค่อนข้างประสบความสำเร็จคือ 1.การสร้างฝ่ายบริหารที่เข้มเข็งเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการทำงานของรัฐไทย 2.การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
 
ในเรื่องแรก รัฐธรรมนูญเปลี่ยนแปลงกฎ-กติกาทางการเมืองหลายประการเพื่อ ก) กระตุ้นการสร้างพรรคการเมืองขนาดใหญ่และการสร้างนโยบายของพรรคการเมือง โดยการเปลี่ยนระบบการเลือกตั้งจากแบบหนึ่งเขตมี ส.ส.ได้หลายคนเป็นแบบเขตเดียวคนเดียว และให้มี ส.ส.จากระบบบัญชีรายชื่อ ข) เพิ่มอำนาจต่อรองให้แก่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคต่อรัฐมนตรีและหัวหน้ามุ้ง เช่นการกำหนดให้ผู้ที่จะสมัครส.ส.ต้องสังกัดพรรคเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน ในขณะที่บังคับให้กำหนดวันเลือกตั้งไม่เกิน 60 วันหลังประกาศยุบสภาผู้แทนฯ ฯลฯ กติกาเหล่านี้ตั้งใจออกแบบขึ้นเพื่อสร้างให้ฝ่ายบริหารมีความเข้มแข็งและมีเสถียรภาพมากขึ้น กล่าวอีกแบบคือ รัฐธรรมนูญ 2540 จงใจออกแบบมาเพื่อสร้างให้รัฐบาลมีสมรรถนะสูงขึ้นในการผลักดันนโยบายใหม่ๆ
 
พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ในปี 2544 ได้ประโยชน์และทำตามแรงจูงใจที่กำหนดโดยกติกาใหม่ๆ เหล่านี้อย่างเต็มที่ ผลที่ตามมาคือ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีรัฐบาลซึ่งชนะการเลือกตั้งด้วยการใช้นโยบายระดับมหภาคในการหาเสียง ยิ่งไปกว่านั้น ยังทำสามารถผลัดดันนโยบายเหล่านั้นจนสำเร็จภายหลังการเลือกตั้งอย่างรวดเร็ว
 
สรุปแล้ว ผลงานของรัฐบาลทักษิณทำให้ผู้ออกเสียงตระหนักว่า บัตรเลือกตั้งของเขานั้น “กินได้” ในรูปของนโยบายระดับมหภาค ในแง่นี้ หากรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 มิได้เกิดขึ้นจริงแล้ว รัฐบาลทักษิณจะสามารถสร้างผลงานได้ดังที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ ผมไม่แน่ใจ
 
ในประเด็นที่สอง รัฐธรรมนูญนี้บังคับให้รัฐต้องถ่ายโอนหน้าที่และงบประมาณสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท) ในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นับตั้งแต่ พ.ศ.2546 เป็นต้นมา อปท.ในทุกระดับ ตั้งแต่ อบต. เทศบาล และอบจ.ทุกแห่ง ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในแต่ละท้องถิ่นเป็นครั้งแรก และคุมงบประมาณรวมกันเทียบเท่ากับร้อยละ 30 ของรายได้ของรัฐบาลกลาง ในขณะที่ อปท.มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่ส่งผลโดยตรงและชัดเจนต่อชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง นับตั้งแต่การสร้างถนน แหล่งน้ำ ประปา ศูนย์เลี้ยงเด็ก ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้การเลือกตั้งท้องถิ่นมีความสำคัญและมีความหมายต่อผู้คนแต่ละท้องถิ่นอย่างมาก
 
สรุปคือ การเลือกตั้งทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นมีความหมายเชิงรูปธรรมต่อชีวิตผู้ออกเสียงเลือกตั้งมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา ดังนั้น คงไม่ผิดนักที่จะอ้างว่า สำนึกทางการเมืองที่หวงแหนสิทธิทางการเมืองได้เพิ่มขึ้นมากในช่วงเวลาสิบปีเศษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในการเลือกตั้ง ซึ่ง “กินได้”
 
ในแง่นี้การรัฐประหาร 2549 จึงเป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองครั้งใหญ่ การรัฐประหารครั้งนี้แตกต่างจากทุกครั้งก่อนหน้านี้ มันเป็นครั้งแรกที่มีการเคลื่อนไหวมวลชนขนานใหญ่ในขอบเขตทั่วประเทศต่อต้านการรัฐประหาร ในอดีตเช่นกรณีกุมภาพันธ์ 2534 การเคลื่อนไหวต่อต้านเกิดขึ้นในวงแคบและกระจุกตัวในหมู่ชนชั้นกลางเก่าจำนวนน้อยในเขตเมืองเท่านั้น เนื่องจากการก่อตัวของชนชั้นกลางใหม่ยังไม่เกิดขึ้น และมวลชนส่วนข้างมากยังไม่มีสำนึกความเป็นพลเมือง พูดอีกแบบคือการรัฐประหาร 2549 ทำให้ชนชั้นกลางใหม่ ตระหนักรู้ว่าการโค่นล้มรัฐบาลทักษิณ ซึ่งเขาเป็นผู้แต่งตั้งและเป็นผู้ทำประโยชน์ให้เขา เป็นการริบคืนสิทธิการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ได้ผลที่สุดในการต่อรองผลประโยชน์เฉพาะทางชนชั้นของเขา การรัฐประหารจึงเปรียบเสมือนการจุดสายฉนวนระเบิดทางเมือง เปิดทางให้แก่การรวมตัวจัดตั้งและการเคลื่อนไหวทางเมืองของขบวนการคนเสื้อแดงจนถึงปัจจุบัน ในขณะที่การเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อเหลืองและผู้มีอำนาจนอกระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโค่นล้มรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวชและรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ การตัดสินยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนโดยฝ่ายตุลาการ รวมทั้งเหตุการณ์ พ.ค.อำมหิต ได้กลายเป็นอาหารสมองชั้นเลิศ ซึ่งหล่อเลี้ยงให้คนเสื้อแดง “ตาสว่าง” จนกระทั่งทักษิณก็ปิดไม่ลงในขณะนี้
 
กล่าวโดยสรุป คนเสื้อแดงคือตัวแทนทางชนชั้นของกลุ่มคนประเภทใหม่ ซึ่งก่อตัวขึ้นทั้งในเมืองและชนบท ทั้งในและนอกภาคเกษตรกรรม ทั้งในภาคเศรษฐกิจที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ คนกลุ่มนี้ได้ก้าวข้ามความยากจนกลายเป็นชนชั้นกลางระดับล่างและเป็นคนส่วนข้างมากของสังคม แม้ว่าความเติบโตทางเศรษฐกิจในรอบสองทศวรรษที่ผ่านมาจะยังประโยชน์ ยกระดับฐานะของเขาให้พ้นความยากจน แต่ความเหลื่อมล้ำทางรายได้และทรัพย์สินระหว่างชนชั้นใหม่กับกับชนชั้นกลางเก่ายังคงทรงตัวในระดับสูงตลอดมา และเขายังขาดหลักประกันความมั่นคงในชีวิตอีกด้วย ในขณะที่พัฒนาการทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงหลักปักฐานของการเมืองแบบเลือกตั้งทั้งระดับชาติและท้องถิ่นในรอบสิบกว่าปีที่ผ่านมา ได้สร้างและกระตุ้นสำนึกความเป็นพลเมืองแก่เขา ทำให้เขาตระหนักว่า ตนเป็นหุ้นส่วนหนึ่งของสังคมการเมือง ดังนั้นตนจึงมีสิทธิที่จะกำหนดชะตากรรมของบ้านเมือง และเนื่องจากเขาเป็นชนส่วนข้างมากของสังคม ในขณะที่เขามีพื้นที่หรือเครื่องมืออื่นในการต่อรองทางการเมืองที่จำกัด การเลือกตั้งจึงเป็นกลายเครื่องมือที่มีประสิทธิผลที่สุดในการผลักดันให้นโยบายของรัฐเป็นประโยชน์แก่เขา การรัฐประหาร 2549 และการแทรกแซงทางการเมืองที่ตามมาของชนชั้นนำ จึงเป็นการทำลายเครื่องมือหลักของชนชั้นนี้ ซึ่งเป็นการปฏิเสธความเป็นพลเมืองของเขาด้วย ในแง่นี้การต่อสู้ทางการเมืองของคนเสื้อแดงจึงเป็นไปเพื่อปกป้องการเมืองแบบเลือกตั้ง ซึ่งเป็นสถาบันที่ปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นกลางใหม่ได้ดีที่สุด
 
อ.ธงชัย วินิจจะกุล เคยกล่าวเตือนชนชั้นนำไทยไว้ว่า ขบวนรถไฟแห่งการเปลี่ยนแปลงได้ออกจากสถานีแล้ว และจะไม่มีวันหวนกลับ พวกเขามองไม่เห็นว่า การปฏิรูปรวมศูนย์อำนาจรัฐโดยการสร้างระบบราชการสมัยใหม่ขึ้นในรัฐกาลที่ 5 ได้สร้างคนรุ่นใหม่ขึ้นกลุ่มหนึ่งที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่ให้พื้นที่ ไม่เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยข้อหาว่า คนกลุ่มนี้เป็นเพียงสามัญชน จึงไม่มีสายเลือดที่เหมาะสมกับการเป็นผู้ปกครอง ถึงจุดหนึ่ง 2475 จึงเกิดขึ้น
 
เช่นเดียวกัน เผด็จการทหารในระบอบสฤษดิ์และถนอม-ประภาสก็มองไม่เห็นว่า การเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้แผนพัฒนาฉบับต่างๆ ได้ผลิตคนรุ่นใหม่ขึ้นมาอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งระบอบเผด็จการไม่ให้พื้นที่และการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยข้อหาเช่นว่า เป็นลูกเจ็ก-เป็นจีน ไม่มีความเป็นไทยเพียงพอ หรือกระทั่งเป็นคอมมูนนิสต์ ถึงจุดหนึ่ง 14 ตุลาคม 2516 จึงเกิดขึ้น
 
ผมไม่แน่ใจว่า ชนชั้นนำไทยจะฟังและเก็บรับบทเรียนทางประวัติศาสตร์ 80 ปีนี้หรือไม่ ณ ขณะนี้คนชั้นกลางรุ่นใหม่ได้เกิดขึ้นแล้ว เขาเรียกร้องต้องการความเสมอภาคทางการเมืองแบบ “หนึ่งคนหนึ่งเสียง” ในขณะที่ระบอบการเมืองไทยภายใต้การกำกับของ “มือที่มองไม่เห็น” ในปัจจุบันกลับมองคนกลุ่มนี้เป็น คนต่ำชั้นที่มีลักษณะ “โง่-จน-เจ็บ” ถูกจูงจมูกโดยนักการเมืองจากการเลือกตั้ง ดังนั้นจึงไม่สมควรที่จะมีสิทธิเท่าเทียมกับชนชั้นสูงในการกำหนดอนาคตของบ้านเมือง ถึงจุดหนึ่ง เหตุการณ์เมษา 52 และพฤษภาอำมหิต 53 ก็เกิดขึ้น แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็ยังคงออกคำสั่งก้าวล่วงอำนาจรัฐสภาเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ผมเชื่อว่า ณ จุดนี้ไม่มีใครแน่ใจว่า เหตุการณ์ใดจะเกิดขึ้นอีก และประวัติศาสตร์ในอนาคตจะตั้งชื่อเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นนี้ว่าอะไร
 
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475": ประชาธิปไตยของประเทศนี้ยังมีปัญหา

Posted: 24 Jun 2012 09:19 AM PDT

นักวิชาการถก ประชาธิปไตยไทยชิงสุกก่อนห่าม หรือเป็นไปตามบริบทสังคมโลก ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ชี้การทำให้อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้นป็นมรดกที่สำคัญที่สุดของคณะราษฎร ขณะปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์วิพากษ์เครือข่ายกษัตริย์ที่ปลุกเร้าความจงรักภักดีจะเป็นปัญหาต่อสถาบันเสียเอง

การอภิปราย "80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475" ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์-สุดสงวน สุธีสร-ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์-อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์-อภิชาต สถิตนิรามัย-มรกต เจวจินดา ไมยเออร์ เป็นส่วนหนึ่งของงานสัมมนา "100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ.130 - 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475

จัดโดย หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ฯ และสมาคมจดหมายเหตุสยาม

 

 

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ : แม้แต่ชื่อเรียกวันรัฐธรรมนูญยังมี 2 แบบ แสดงว่าประเทศนี้ยังมีปัญหา

 

 

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ระบุว่า เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว เขานำเสนองานมีคนฟังอยู่สิบกว่าคน แต่ก็ไม่รู้ว่าเหตุอะไรวันนี้จึงกลายเป็นเรื่องร้อนแรง

ชิงสุกก่อนห่ามจริงหรือกระแสความเปลี่ยนแปลงสะพัดทั่วโลก

ส่วนคำถามว่าการฏิวัติ 2475 เป็นการชิงสุกก่อนห่ามหรือเปล่า จึงทำให้ทุกวันนี้ประชาธิปไตยของไทยจึงไม่สมบูรณ์ ธำรงศักดิ์ตั้งคำถามกลับว่า ประชาธิปไตยสมบูรณ์คืออะไร และอะไรคือการชิงสุกก่อนห่าม หรือจริงๆ แล้วมันเป็นความสุกอย่างเต็มที่เพียงแต่คณะราษฎรเอาไม้แยงก็หล่นลงมา

ถ้าท่านอธิบายว่าเป็นการชิงสุกก่อนห่าม ท่านก็ต้องเริ่มต้นว่ามีความพยายามที่จะวางแผนเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยมาตั้งแต่สมัย ร.5 ร.6 และร.7 มีการร่างอะไรสักอย่างหนึ่งที่เราเรียกว่าเป็นรัฐธรรมนูญ มีความพยายามในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่จะสร้างแนวทางพัฒนาประชาธิปไตย

แต่อีกแนวทาง คำอธิบายจะเริ่มต้นว่าระบอบการปกครองของสยามหรือประเทศไทยขณะนั้นได้รับกระแสอิทธิพลของโลกตะวันตก ซึ่งแม้แต่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็มีที่มาจากตะวันตก ผู้ปกครองของโลกตะวันตกมีการกระชับอำนาจเข้าสู่ตนเอง และสร้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นมา ไม่ใช่ระบอบไทยๆ แต่เป็นนวัตกรรมของราชวงศ์ของโลกตะวันตก สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นการหยิบเอาวิธีการโลกตะวันตก กระชับเข้าสู่ศูนย์กล่างคือ Monarch

ในขณะที่กระแสประชาธิปไตย ประชาราษฎร เรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง มีสภาผู้แทนราษฎร มีผู้แทนฝ่ายบริหาร ดังกรณีเทียนวรรณ กบฏยังเติร์ก เกิดขึ้นเป็นลำดับมา การอภิวัฒน์ 2475 มันไม่ได้ลอยจากฟ้า แต่มีพัฒนาการ สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าการปฏิวัติ2475 ไม่ได้ลอยมาจากฟากฟ้า

แต่คำถามคือทำไมเมล็ดพันธุ์ประชาธิปไตย ไม่เติบโตมาสู่ประชาธิปไตย ถ้ากล่าวว่าเพราะคณะราษฎร ชิงอำนาจมาเพื่อสถาปนาอำนาจของตัวเอง คำกล่าวแบบนี้ ต้องถามว่าเรากล่าวโทษอดีต และการกระทำในอดีตภายใต้บริบทอดีตได้เชียวหรือ เราไม่คิดหรือว่า เมล็ดพันธุ์ประชาธิปไตยนั้นเป็นสากล มันแพร่กระจายอยู่ในอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา ระบอบการปกครองของโลกใบนี้มันพัฒนามาจากระบอบศักดินา ระบอบกษัตริย์ แล้วเมล็ดพันธุ์ประชาธิปไตยมันได้พัดระบอบเหล่านี้ล้มระเนระนาดมาก่อนการปฏิวัติ 2475 เช่น กรณี ญี่ปุ่น เลือกที่จะมีรัฐธรรมนูญ สภา การเลือกตั้ง ในสมัยราชวงศ์เมจิ ใน จีน ซุนยัดเซ็น ล้มราชวงศ์ชิง ในสเปน ล้มราชวงศ์ลงเพื่อเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ ดังนั้นกระแสประชาธิปไตยมันมา ยังไงมันก็ต้องมา ไม่ช้าก็เร็วมันต้องมาถึงแผ่นดินนี้

มีคำกล่าวว่ารัฐกาลที่ 7 เตรียมการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาธิปไตยแล้ว คำถามคือใครมีอำนาจในบ้าน ตัวท่านหรือเมียท่าน ท่านต้องดูว่าใครเป็นผู้บัญชาการใช้เงิน ใครถือเงินไว้ ใช้เงินและลงโทษ ถ้าท่านรู้แล้วลองกลับบ้านไปบอกกับภรรยาดูว่าขอยึดอำนาจคืน ท่านก็จะรู้ได้เองว่าใครบ้างยอมสละอำนาจที่ตัวเองมี ตรรกะนั้นคือ ไม่มีใครยอมมอบอำนาจของตัวเองให้คนอื่นหรอก เว้นแต่ปรับเชิงภาพลักษณ์

ร. 7 พยายามอธิบายว่าคณะราษฎรชิงสุกก่อนห่าม โดยอ้างว่ามีการปรึกษาหารือกับฝรั่งคนหนึ่งทำร่างเค้าโครงเบื้องต้น และทำเป็นภาษาอังกฤษ ประเด็นคือแผ่นดินนี้ใช้ภาษาไทย การใช้ภาษาอังกฤษหมายความไม่ต้องการสื่อสารกับใครแน่ๆ

จากนั้นอีกสี่ห้าปี ก็มีร่างการเปลี่ยนรูปแบบรัฐบาล เป็นภาษาอังกฤษอีก เพราะในบริบท 2475 นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ องค์ประมุข หรือกษัตริย์นั้นเป็น Head of ของทุกสิ่ง อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่พระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะฝ่ายบริหาร ไม่ว่าจะดำเนินนโยบายอะไร มีทั้งคนชอบและไม่ชอบ ชื่นชมและไม่ชื่นชม ด้วยเหตุนี้ จึงมีแนวคิดว่าหากมีคนหนึ่งมารับหน้าที่แทนจะดีไหม เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบต่อการวิพากษ์วิจารณ์แทนด้วย นี่คือการคิดที่จะมี prime minister ที่รับผิดชอบต่อองค์พระมหากษัตริย์ ไม่ใช่ต่อ parliament และเมื่อคิดถึงสภาผู้แทนราษฎร สมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่มีทางคิดเรื่องสภาผู้แทนราษฎร ด้วยเหตุนี้ คณะราษฎรได้มีแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงอำนาจ

ดังนั้นรัฐธรรมนูญภายใต้แนวคิดของ ร. 7 นั้น กรณีมาตรา 1 ระบุว่าอำนาจสูงสุดของแผ่นดินนั้นเป็นของพระมหากษัตริย์ ในขณะที่มาตรา 1 รัฐธรรมนูญของคณะราษฎร อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย

เวลาที่มีคนถามว่าอะไรคือมรดกของคณะราษฎร ผมก็ตอบว่า คือการบอกว่า แผ่นดินเป็นของราษฎรทั้งหลายก็เพียงพอแล้วไม่ใช่หรือ

การเปลี่ยนแปลงของคนกลุ่มเล็กๆ กับการตอบโต้พวกไม่มีหัวนอนปลายตีน

ส่วนคำกล่าวหาว่า เป็นการทำโดยคนกลุ่มเล็กๆ ไม่มีประชาชนเข้าร่วม คำถามคือ ถ้าเป็นเรื่องที่รู้กันทั่วไป จะถูกจับไหม และการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้เป็นการต่อสู้โดยพลังประชาชนที่ยืดเยื้อยาวนาน คณะราษฎรเลือกที่จะสู้เปลี่ยนแปลงโดยใช้กลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ ที่ทำการเปลี่ยนแปลง

ธำรงศักดิ์ตั้งคำถามต่อไปว่าในวันที่มีการยึดอำนาจ อะไรที่ทำให้ร. 7 เสด็จกลับมาเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแรก ทำไมไม่สู้ทั้งๆ ที่คณะทหารและขุนนางชั้นสูงแนะนำ และหารือกันว่า ให้สู้กับพวกไม่มีหัวนอนปลายตีน โดยเขาเห็นว่าพระองค์ก็ตระหนักว่า ภายใต้สมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระองค์ก็ไม่ได้มีอำนาจ แต่ที่ต้องตระหนักคือพระองค์นั้นป็นเจ้าเหนือหัวของประเทศ และต้องระมัดระวังหากตัดสินใจที่ผิดพลาด โดยธำรงศักดิ์ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นไปได้หรือไม่ว่าบนทางเลือกของการเปลี่ยนแปลงขณะนั้น อาจจะมี 2 แนวทางคือ กษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ กับอีกทางเลือกคือสาธารณรัฐ

ธำรงศักดิ์กล่าวต่อไปว่า แม้จะมีการพูดว่าการปฏิวัติ 2475 ไร้การนองเลือด แต่เราดูเฉพะสามสี่วันนั้นไม่ได้ ต้องดูความต่อเนื่องยาวกว่านั้น เพียงอีกไม่กี่เดือนก่อนจะครบรอบ 1 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น เกิดการปฏิวัติรัฐประหารซ้อนกัน 2 ครั้ง ครั้งแรก พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีคนแรกซึ่งได้รับการเสนอชื่อโดยนายปรีดี พนมยงค์ ทำยึดอำนาจรัฐบาลตนเองโดยการออกกฎหมายฉบับหนึ่งที่เรียกว่า พระราชกฤษฎีกา ยึดอำนาจโดยกฎหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่นักกฎหมายเขาทำกันมาตั้งแต่อดีต คณะทหารและขุนนางชั้นสูงแนะนำ

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ใช้พระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภา และระบุว่าให้เปิดประชุมสภาเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ เป็นการยุบสภา และให้รัฐบาลมที่อยู่มาก่อนนั้นล้มลง แปลว่ายุบคณะรัฐมนตรี และระบุว่าให้พระยามโนปกรณ์ เป็นนายก และให้นายกออกกฎหมายได้ด้วยตัวเอง เป็นการรวบรัดตัดตอนเป็น monocracy

จากนั้น 81 วันต่อมาคณะราษฎรยึดอำนาจกลับในวันที่ 21 มิ.ย 2476 เป็นการต่อสู้ภายใต้ระบอบใหม่ อีกสามเดือนแผนการที่เคยวางไว้ที่หัวหินให้ปฏิบัติการโต้ตอบคณะราษฎร ก็ถูกใช้จริงโดยคณะกบฏบวรเดช คาดหัวตัวเองว่า “คณะกู้บ้านกู้เมือง” แต่หลวงพิบูลย์สงครามไม่ยอม ในที่สุดคณะกู้บ้านกู้เมืองแพ้ และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ สละราชสมบัติ ข้อเรียกร้องของคณะบวรเดชทั้งหมดอยู่ตรงที่การปรับรูปแบบราชาธิปไตยภายใต้เสื้อคลุมของการมีรัฐธรรมนูญและมีสภา โดยข้อเรียกร้องที่สำคัญ คือให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าแต่งตั้งสมาชิกสภาครึ่งหนึ่ง นี่คือการต่อสู้ที่เป็นจริงว่าใครเป็นผู้นำในระบอบใหม่ และการต่อสู้ยังยืนยาวถึงปัจจุบัน

จากนั้น พ.ศ. 2482 มีการสถาปนาอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขึ้นมา เลือกสถาปนาหลัก 6 ประการของคณะราษฎรบนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แต่ต่อมา 2500 คณะราษฎรแพ้ราบเป็นหน้ากลอง วันที่ 24 มิ.ย. จึงถูกยกเลิกจากการเป็นวันชาติ จากที่เคยมีวันหยุดสามวัน 23 -25 มิ.ย. ก็ยกเลิกไป นี่แสดงให้เห็นว่า วันชาติของประเทศนี้เกิดได้ก็ตายได้

อีกตัวอย่างที่รวบรัดคือวันที่ 10 ธ.ค. กลายเป็นวันหยุดที่ประชาชนไม่รู้จะไปทำอะไร แถมยังมีชื่อที่เรียกกันสองแบบ ถ้าไปซื้อปฏิทินจีนแบบฉีกที่เยาวราช ซึ่งใช้แท่นพิมพ์เก่าไม่เคยเปลี่ยนเลยตั้งแต่ 80 ปีที่ผ่านมาจะระบุว่า วันรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าเป็นปฏิทินสมัยใหม่ จะเขียนว่าวันพระราชทานรัฐธรรมนุญ แม้แต่วันหยุดยังมีชื่อเรียกสองอย่าง แสดงว่าประเทศนี้ยังคงมีปัญหา

 

สุดสงวน สุธีสร : 2475 คือการตอกเสาเข็มให้กับประชาธิปไตย เรียกร้องสื่อเคียงข้างประชาชน

สุดสงวน สุธีสร อภิปรายว่าการเปลี่ยนแปลง 2475 เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เป็นการตอกเสาเข็มให้กับประชาธิปไตย เป็นหลักของประเทศ แต่หลังจากนั้นก็มีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างโดยเฉพาะสื่อที่ทำให้บิดเบี้ยวไปอีกอย่าง

สมัยนั้น คนไทยมีการศึกษาน้อยมาก ถูกกีดกันไม่ให้มีการศึกษาที่เท่าเทียมกัน และบางครั้งก็เรียนมาจากต่างประเทศเมื่อปรับมาใช้ในไทยก็ใช้กันอย่างสับสน

ในปี 2477 อาจารย์ปรีดีเห็นว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่เข้าใจในแก่นแท้ของประชาธิปไตย เพียงแต่บังคับให้เชื่อ ก็พยายามสร้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขึ้นมาใช้ชื่อว่ามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองเพื่อปลูกฝังให้คนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยมากขึ้น ไม่ใช่แค่ฟังชนชั้นปกครองบอกมาแล้วเชื่อ แต่ต้องรู้เท่าทันกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม แต่ทุกวันนี้ประชาธิปไตยกลับไปงอกงามอยู่นอกธรรมศาสตร์ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเปลี่ยนไป ไม่มองเจตนาของอ.ปรีดี และอ.ป๋วย ไปยืนอยู่ตรงข้ามกับประชาชน

ทั้งนี้ สุดสงวนกล่าวว่า ประชาธิปไตยคือสิทธิเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ คนที่จะเป็นผู้นำประชาธิปไตยต้องมีความกล้าหาญออกมายืนหยัดปกป้องประชาชนทุกคน ประชาชนอยากจะนอนหลับฝันดี ทำงานหนักรู้ว่าโอกาสก้าวหน้าของชีวิตเรามี ไม่ต้องไปคอร์รัปชั่น เลียเจ้านาย ตื่นมาโดยที่คนทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยต้องกินได้ ไม่ใช่กินไม่ได้ แม้จะมีการกล่าวว่าประชาธิปไตยเป็นแค่หลักการ แต่ต้องยึดมั่นสิทธิมนุษยชน คือการคุ้มครองประชาชนทุกคน สิทธิมนุษยชนสำคัญที่สุด

สุดสงวนกล่าวว่าขณะนี้ประชาธิปไตยของเราไม่ได้เป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ แต่เธอมองว่าประชาธิปไตยไทยนั้นเหมือนเป็นภาพลวงตา ยิ่งถ้าดูรัฐธรรมนูญ 50 จะเห็นภาพคนที่กุมอำนาจอยู่ มีการล็อกมีห่วงโซ่ แม้แต่การจะขอแก้รัฐธรรมนูญ กฎหมายกำหนดรองรับไว้แต่ก็มีคนไปจัดเวทีต่างๆ นานา เป็นกังวลว่าขณะนี้ประชาชนคนตาดำๆ อย่างพวกเราทั้งหลาย เรากำลังถูกการเมืองทำอะไรเราหรือเปล่า เมื่อไหร่นักการเมืองจะเข้าใจและเห็นประโยชน์ของประชาชน ก้าวออกมายืนเคียงข้างประชาชน คุ้มครองประโยชน์สุขของประชาชน ไม่ใช่ว่าฉันมีอำนาจ มีอาวุธ จัดการได้ทุกอย่าง

บทบาทของสื่อมวลชนก็มีบทบาทอย่างยิ่งในการควบคุมสังคมเพราะสื่อมวลชนก็ควบคุมแนวคิดต่างๆ เมื่อไหร่สื่อมวลชนจะมีจริยธรรม จรรยาบรรณที่ถูกต้อง เอาประโยชน์หาความจริงบมาบอกกับประชาชน เพื่อให้เรามีประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ใช่ไปปกปิดสิ่งที่บางฝ่ายไปทำไม่ดีไว้

ขณะนี้คนเสื้อแดงน่าเห็นใจเพราะถูกมองเป็นโจรของแผ่นดิน (ขออนุญาตอาจารย์ชาญวิทย์ เพราะไม่ค่อยมีโอกาสได้พูดในเวทีอื่น) จริงๆ แล้วสื่อควรจะถึงเวลาทำข่าวเสียทีว่าคนเสื้อแดงออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย และคนที่ทำหน้าที่ภารกิจใหญ่ของคณะราษฎรคือคนเสื้อแดง ทุกคนมาด้วยใจจริงๆ ทุกชนชั้น

ประชาธิปไตยของเราแปดสิบปีที่ผ่านมายังมีกลุ่มอำมาตย์ทื่คิดว่าฉลาดกว่าคนอื่น อยากจะบอกว่าคนสมัยนี้เขาเรียนหนังสือกันมาแล้ว เขาเรียนเมืองนอกกันด้วยนะ เขาอ่านภาษาอังกฤษออก เขาเรียนรู้หลักสากลของต่างชาติมาทั้งนั้น เราไม่ได้อยู่ในยุค 2475 แล้วที่คิดว่าจะอ่านภาษาอังกฤษออกฝ่ายเดียว

สรุปง่ายๆ แปดสิบปีของประชาธิปไตยขอเรียกร้องสื่อ ถ้าสื่อร่วมมือกับประชาชน ประชาธิปไตยต้องกลับคืนสู่สังคมแน่นอน

 

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: มรดกของราชาธิปไตยอยู่ได้อย่างไร

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ร่วมอภิปรายในหัวข้อ 80 ปีปฏิวัติประชาธิปไตยไทย พ.ศ. 2475 ชี้ การเปลี่ยนแปลงการปกครองผ่านมา 80 ปีแต่มีอะไรหลายอย่างที่ตกค้างจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งเขาขอตั้งชื่อว่า Die Hard Absolute Monarchy และเรายังเพ้อฝันว่าเรายังมีประชาธิปไตยอยู่

มรดกตกทอดฟังแล้วเหมือนดูดีแต่ การเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เริ่มตั้งแต่ปี 2475 มีจุดมุ่งหมายต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้มีความเป็นอารยะมากขึ้น คนไทยก็มีความภูมิใจอย่างมากที่เรามีความเปลี่ยนแปลง และทุกวันนี้เราก็ยังพูดกันอยู่ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นเอกราชด้วยเรามีพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถ แต่เหตุการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญออกมาพูดว่าเราตีความรัฐธรรมนูญตามภาษาอังกฤษ ผมเริ่มไม่แน่ใจ แต่เอาละนี่เป็นพระปรีชาสามารถที่ไทยไม่ต้องตกเป็นอาณานิคม และมีการเลิกทาส และมีการสร้างทางรถไฟ นี่เป็นจุดพีคมากๆ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 จนกระทั่งมองกลับไปถึงช่วงนั้นจนเคารพนับถือรัชกาลที่5 จนมากล้นจนล้นเกิน ในแง่ที่เป็นจุดดี ก็ทำให้เรามีความเป็นอารยะมากขึ้นในเปลือกนอก ดูเหมือนว่าสถาบันกษัตริย์จะมีความมั่นคงอย่างมากในยุรรัชกาลที่ 5 แต่อย่างไรก็ตามมันไม่สามารถสร้างหลักประกันให้ความอยู่รอดของสถาบันกษัตริย์ หลังจากเสด็จสวรรคตไม่นานเพียง 22 ปี ถัดมาก็เกิดการล่มสลายของระบบสมบูรณาญาสิทธาชย์ และในรัชสมัยต่อมาในร. 6 และ ร.7 ก็ชี้ว่า เป็นความไม่สามารถของสถาบันพระมหากษัตริย์ในยุคนั้นในการปรับต่อต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในและต่างประเทศ

ปวินกล่าวว่า แปดสิบปีถัดจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยก็มาถึงจุดเปลี่ยนอีกแล้ว เป็นจุดที่ critical มากๆ และภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงนั้นสถาบันกษัตริย์จะสามารถปรับตัวให้กับการเปลี่ยนในยุคนี้ได้หรือไม่ ถ้าไม่ ก็จะเป็นแบบที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่เจ็ด

บทบาทของสถาบันกษัตริย์ในการคลายปมการเมืองปัจจุบัน และสิ่งที่เป็นมรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่หล่อหลอมการเมืองไทยอยู่ในปัจจุบัน มีผลกระทบครอบงำการเมืองไทยอย่างยิ่งยวด และอาจจะถึงจุดที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนปาระชาธิปไตยของไทยและตอกย้ำให้เกิดความแตกแยกทางการเมืองและนำไปสู่ความรุนแรงมาแล้ว และอาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ตัวอย่าง การก้าวขึ้นของทักษิณ ชินวัตร ก็ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม จะว่าคอร์รัปชั่นก็แล้วแต่ แต่นักการเมืองคนไหนไม่คอร์รัปชั่นบ้าง ทักษิณกินแล้วยังคายบ้าง แต่บางคนกินแล้วไม่คาย

ทักษิณกลายเป็นภัยของฝ่ายอนุรักษ์นิยม และในการกำจัดทักษิณนั้น หนึ่งในข้อกล่าวหาคือไม่จงรักภักดีและประสบความสำเร็จอย่างดี และปัจจุบันนนี้ ก็ยังใช้กลวิธีเดิมๆ ในการใช้กฎหมายหมิ่นฯ กำจัดคู่แข่งทางการเมือง และจุดนี้เอง อย่าคิดว่าคุณมีอำนาจในการใช้มาก เพราะยิ่งใช้มากยิ่งทำให้สถาบันอ่อนแอ และยิ่งเป็นการดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกลือกกลั้วกับการเมือง และนักการเมืองและกลุ่มการเมืองที่เป็นตัวเล่นนอกเวทีการเมืองก็ยังใช้สถาบันกษัตริย์เป็นเครื่องมือ

ถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนมาตรา 112 ก็ส่วนหนึ่งในการชี้ว่าสถาบันกษัตริย์พร้อมที่จะปลี่ยนแปลงหรือไม่

แม้ว่าสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะจบไปแล้ว แต่ยังมีอิทธิพล แฃละฝ่ายอนุรักษ์นิยม ฝ่ายราชานิยม ก็ไม่ยอมละทิ้งแต่พยายามสืบสายใช้ให้เข้มแข็งมากขึ้น

ปัจจุบันมีการมองสถาบันฯ สองแบบ ที่ขัดแย้งกันอยู่แบบแรกเป็นมุมมองมาตรฐาน เป็นมุมมองปกติทั่วไป ให้เห็นคุณูปการมากมายของสถาบันกษัตริย์ที่มีต่อประเทศ เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยเป็นผู้ปกป้องบูรณภาพของแผ่นดิน เป็นมุมมองที่ครอบงำสังคม ปกป้องจารีตประเพณี คอยให้คำแนะนำแก่รัฐบาล เป็นต้น เป็นมุมมมองมาตรฐาน เหมือนคนไทยจะต้องกินข้าว จะไปกินมันฝรั่ง ก็ดูไม่ใช่คนไทย

แต่อีกมุมมองหนึ่งก็เห็นว่าพระราชอำนาจที่ทรงพลานุภาพอย่างมากนั้นไม่สอดคล้องกับประชาธิปไตยในปัจุบัน มีการใช้กฎหมายหมิ่นฯ เป็นเกราะกำบังสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้เกิดกระบวนการ หรือทัศนคติที่มีการต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์เกิดขึ้น และการใช้พระราชอำนาจที่มีอยู่อย่างยิ่งยวดเป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย มีการสรรเสริญพระราชอำนาจอย่างล้นเกิน เป็น hyper royalist แม้แต่บ.การบินไทยก็มีการฉายพระราชกรณียกิจในเครื่องบิน

กลุ่มราชานิยมได้ร่วมมือจัดตั้งเป็นทีมงาน ร่วมมือกับนักประวัติศาสตร์ อนุรักษนิยม ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย สื่อที่ทรงอิทธิพลทั้งหลายในการสรางภาพลักษณ์ที่ไม่มีที่ติ ขณะเดียวกันก็สร้างภาพลบที่เลวร้ายอย่างมากต่อการเมืองไทย แปดเปื้อนด้วยนักการเมืองเลวๆ ไร้ศีลธรรมจรรยาอย่างทักษิณ ข้อบกพร่องทั้งหมดเกิดจากนักการเมืองชั่วๆ ไม่ได้เกิดจากการที่ตนเองเข้าไปแทรกแซงทางการเมืองตลอดเวลา นี่เป็นจุดสำคัญทำให้คนคิดถึงสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเรียกร้องคนดีมาปกครองบ้านเมือง ซึ่งเดี๋ยวนี้ใครๆ ก็เป็นคนดีกันไปหมด

เมื่อพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นเราไม่ได้พูดถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง นี่คือเครือข่าย คือทั้งองคาพยพที่เกาะเกี่ยวโหนห้อยกัยสถาบันพระมหากษัตริบย รวมถึงราชนิกูลและองคมนตรี

โดยปวินเสนอ “ผังสร้างเจ้า” ที่เป็นตัวแปรนอกระบบรัฐสภา เกาะเกี่ยวกันและมีอิทธิพลทางการเมืองไทยอย่างล้นหลาม เช่น องคมนตรี ราษฎรอาวุโส กงอทัพ นักธุรกิจใหญ่ ข้าราชการ ไฮเปอร์รอยัลลิสม์ แม้แต่ในแต่ละกลุ่มก็มีการเชื่อมโยงเกาะเกี่ยวกันอย่างเห็นได้ชัด เช่นองคมนตรีกับนักธุรกิจ กองทัพกับราชการ ทั้งหมดทำงานกันเป็นทีมเวิร์ก

ปวินกล่าวว่า แนวคิดในการมองเครือข่ายสถาบันกษัตริย์ (Nework monarchy) นี้ ดันแคน แมกคาร์โก นักวิชาการชาวอังกฤษคิดเป็นคนแรก ซึ่งดันแคนเสนอว่าถ้าเรามองแบบเครือข่ายเราจะเข้าใจได้อย่างดี และเครือข่ายที่ชัดเจนที่สุดคือเครือข่ายพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่ปกคลุมการเมืองทั้หมดตั้งแต่ปี 2480 เป็นต้นมา และคนเหล่านี้ทรงอิทธิพลโดยมีสถาบันกษัตริย์ตั้งอยู่บนยอดของเครือข่ายเหล่านี้

ความรู้ภูมิปัญญา ชุดความคิดทั้งหลายถูกผูกรวมเข้ากับสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเราหลีกหนีไม่ได้ แม้แต่จะตั้งคำถามอย่างตรงไปตรงมาก็ทำเกือบจะไม่ได้ในทุกวันนี้ แม้แต่ในแวดวงนักวิชาการก็อยู่ภายใต้การกดดันอย่างมาก มีไม่กี่ประเทศที่รัฐเข้ามาแทรกแซงแวดวงวิชาการ ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้นเป็นผลจากการปกป้องระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ปวินระบุต่อไปว่า การที่ผูกโยงสิ่งต่างๆ เข้ากับสถาบันฯ นั้นเป็นดาบสองคม ด้านหนึ่งทำให้สถาบันดูเข้มแข็งแต่ในทางตรงกันข้ามก็ทำให้ประชาธิปไตยอ่อนแอลง การสรรเสริญเยินยอส่งผลให้เกิดสายใยความเกี่ยวโยงที่แนบแน่นระหว่างสถาบันกษัตริย์กับสังคม เหมือนเป็นเรือนจำกักขังไม่ให้คนไทยแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา การคิดนอกกรอบอาจนำไปสู่การคุกคามเครือข่ายสถาบันกษัตริย์ คนที่ละเมิดข้อห้ามดังกล่าวมักจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง

"ประเทศไทยอ้างตัวเองว่าเป็นดินแดนแห่งความเสรี รักความอิสระ ดัดจริตไปถึงขั้นพูดว่าคนไทยทุกคนมีความจงรักภักดีแต่จับกันระเบิดเถิดเทิง" ปวิน กล่าว

การยกยอปอปั้นที่มีอย่างต่อเนื่องไม่จบสิ้น แม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น การต้องเข้าไปดูหนังมีการฉายเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ และต้องยืนตรงก่อนดูหนัง ทั้งที่ประเทศอื่นเคยมีมาแล้วแต่หมดไปแล้ว ต้องถามว่าของเรายังมีอยู่เพราอะไร ประเพณีการหมอบคลานที่ถูกยกเลิกไปแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ห้า แต่คนไทยก็ยังหมอบคลานอยู่

วิธีที่พวกนี้อธิบายว่าต้องเลือกใช้แนวคิดต่างประเทศให้เข้ากับประเพณีแบบไทยๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดมาตั้งแต่ ร 5 แล้ว ในความเป็นจริงหลักที่มาจากตะวันตกไม่ได้รับการส่งเสริม เป็นเพียงแต่ข้ออ้าง เป็นวาทกรรมของชนชั้นนำปัจจุบัน

หลังยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์มา เรายังเป็นประชาธิปไตยแบบเปลือกนอก เพราะแก่นแท้ยังเป็นอุดมการณ์กษัตริย์นิยม กล่าวคือ แม้จะมีรูปแบบที่เป็นประชาธิปไตย แต่ฝ่ายราชานิยมยังมีบทบาทสำคัญด้านการเมือง ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้ถูกเนรมิตเป็นนิทานให้สอดคล้องกับทัศนะของคนกรุงเทพฯเป็นหลัก รวมถึงสร้างประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยม ทำหน้าที่ผูกโยงความคิดให้ประชาชนยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข

ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมากระบวนการยกย่องสรรเสริญกษัตริย์เข้มข้นจนถึงระดับที่น่ากังวลใจ พระมหากษัตริย์กลายมาเป็นเหมือนเพทพเจ้าที่ล่วงละเมิดไม่ได้ ขณะเดียวกันก็มีอีกภาพคือภาพพ่อของแผ่นดิน เป็นภาพต้นรัชสมัย ที่เดินทางไปทุกแห่ง ไม่มีรัฐบาลชุดใดในปัจจุบันที่จะสามารถเทียบทันพระมหากษัตริย์ในการเอาชนะใจปวงชน ประชาชนเห็นว่ากษัตริย์เป็นคำตอบสุดท้ายของทุกวิกฤตการณ์ แต่ภาพลักษณ์ทั้งสองแบบขัดแย้งกัน เพราะแม้จะใกล้ชิดกับประชาชนมากเพียงใด แต่ภาพที่เหมือนเทวราชาเป็นกำแพงปิดกั้นระหว่างสถาบันฯ กับประชาชน

ปวินกล่าวว่า ปัจจุบันมีการยกสถานะสถาบันกษัตริยให้เป็นมากกว่าธรรมราชา แต่เป็นเทวราชา ความแตกต่างนี้สร้างความซับซ้อนเมื่อพิจารณาจากบทบาทในทางการเมือง

พอล แฮนเลย์ ผู้เขียน The King Never Smile ระบุว่าการที่สถาบันกษัตริย์ลงมาเป็นผู้เล่นในทางการเมืองเสียเอง ก่อให้เกิดคำถามว่าสถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการเมืองจริงหรือไม่ เพราะถ้าทรงมีสถานะเป็นตัวแทนทางการเมืองเองก็ทำให้เกิดปัญหา conflict of interest เพราะเมื่อไหร่ที่รัฐบาลเข้มแข็งก็จะถูกกำจัดไปในที่สุด และหนทางท้ายที่สุดก็มีการใช้มาตรา 112 มีการใช้มากขึ้นหลังรัฐประหารมากขึ้น ความพยายามทั้งหมดนี้ เป็นผลงานของฝ่ายราชานิยม แต่จำนวนใม่น้อยเป็นผลจากพระราชกรณียกิจของพระองค์เองในฐานะเป็นกษัตริย์นักพัฒนา

เกี่ยวกับวัฒนธรรมสาธาณณะ ความนิยมตั้งอยู่บนความเชื่อว่าถสายันกษัตริย์เข้ามายุติปัญหาทางการเมืองนับครั้งไม่ถ้วน และสถานการณ์ในภูมิภาค ในช่วงสงครามเย็น และการต่อต้านกับคอมมิวนิสต์ การเข้ายุติจลาจลปี 2535 เป็นถ้วยรางวัลที่กษัตริยืได้ไปในฐานะผู้นรักษาเสถียรภาพของไทย ทำให้เห็นว่าสถาบันกษัตริย์ไม่สามารถแยกออกจากการเมือง

และที่ย้ำไปเบื้องต้นยังมีอะไรหลายอย่างที่ปลูกฝังลักษณะที่ไปด้วยกันไม่ได้กับประชาธิปไตย เช่น ความขัดแย้งระหว่างอำนาจของสถาบันกษัตริย์กับอำนาจที่มาจากเสียงข้างมากของประชาชน

ปวินกล่าวว่า คำว่าประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้นเป็นปฏิพจน์กัน เป็นหลุมดำขนาดใหญ่ที่จะดูดกลืนระบบการเมืองเข้าไปในตัวเองทั้งหมด

และสุดท้ายกรณีการสืบสันตติวงศ์ เป็นประเด็นสำคัญที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และอยากจะตั้งเป็นคำถามว่า บทบาทสำคัญของสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นมีความผูกพันอยู่กับตัวองค์พระมหากษัตริย์มากกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ การสืบสันตติวงศ์และ

ปวินกล่าวว่า ฝ่ายราชานิยมเริ่มกังวลใจถึงความนิยมในหมู่ประชาชน และขอฝากไว้กับพวกคลั่งเจ้าว่า ยิ่งสรรเสริญเยินยอรัชสมัยนี้ก็จะยิ่งทำให้รัชสมัยต่อไปอยู่ยากขึ้น

 

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์: ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ กับรากฐานการใช้สื่อของรัฐครอบงำประชาชน

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ร่วมอภิปรายในหัวข้อ “80 ปีปฏิวัติประชาธิปไตยไทย พ.ศ.2475” กล่าวถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสื่อมวลชนในระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ โดยเริ่มต้นจากคำประกาศคณะราษฎรซึ่งประกอบด้วยหลัก 6 ประการ คือ ความเป็นเอกราช ความปลอดภัย การบำรุงความสุขสมบูรณ์ในทางเศรษฐกิจ ราษฎรมีสิทธิเสรีภาพเสมอกัน (ไม่ใช้พวกเจ้ามีสิทธิมากกว่าราษฎร์อย่างที่เป็นอยู่) มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระโดยไม่ขัดต่อหลักข้างต้น และให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร์ โดยหลักการเหล่านี้เป็นการรับรองศักดิ์ศรีความเป็นคนและเสรีชนของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งหมายถึงสิ่งที่เรารู้จักในปัจจุบันคือหลักสิทธิมนุษยชนสากล
 
ต่อคำถามเมล็ดพันธุ์ของประชาธิปไตยเติบโตงอกงามหรือไม่นั้น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลักสิทธิมนุษยชนสากลเป็นที่รับรองกว้างขวางในทางสังคม และได้ถูกบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มา จะเห็นได้ว่าสิ่งเหล่านี้สังคมได้รับทราบ เรียนรู้ เข้าถึงและได้อ้างอิงใช้ประโยชน์เรื่อยมา แต่ก็มีปัญหาในการบังคับใช้สำหรับสังคมไทย ทั้งนี้ กติกาในระดับสากลขององค์การสหประชาชาติ อาทิ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง (ค.ศ.1976) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม (ค.ศ.1976) ประเทศไทยให้การรับรองในปี พ.ศ.2539 และพ.ศ.2542 ตามลำดัง ซึ่งค่อนข้างล่าช้า โดยกติกาทั้ง 2 ฉบับ อยู่ในช่วง 2540 ซึ่งมีเงื่อนไขสังคมค่อนข้างอยู่ในภาวะของรัฐธรรมนูญสีเขียว รัฐบาลจึงเห็นว่าเป็นโอกาสอันควรที่ต้องรับรอง
 
อุบลรัตน์ กล่าวต่อมาว่า หลัง 2475 ในบริบทการสื่อสาร การสร้างวาทะกรรม การสร้างสัญลักษณ์ประชาธิปไตยและการต่อต้านประชาธิปไตยนั้นมีการต่อสู้กันตลอดเวลา ซึ่งในส่วนของการวางรากฐานระบบวิทยุโทรทัศน์ของรัฐ ในช่วง 25 ปีแรกหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ผู้นำคือปรีดี พนมยงค์ และจอมพล ป.พิบูลสงครามยังเป็นสมาชิกของคณะผู้ก่อการในคณะราษฎร แม้มีรัฐประหาร 2490 แต่การก่อร่างสร้างระบอบใหม่ที่ต่อต้านประชาธิปไตยได้เริ่มอย่างแข็งขันหลังปี 2500
 
ช่วงต้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 การสร้างสัญลักษณ์ซึ่งเป็นรูปธรรมของรัฐธรรมนูญนั้นมีมากมายหลากหลาย รวมทั้งมีการเฉลิมฉลอง โดยสื่อที่ใช้คือวิทยุซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณปี 2473 จึงถือเป็นสื่อที่ก้าวหน้าและทันสมัยที่สุดที่คณะราษฎรและรัฐบาลหลังจากนั้นได้นำมาใช้ จะเห็นได้ว่าสื่อสารมวลชนเป็นเครือมือ กลไกในทางการเมืองที่ทั้งสำหรับฝ่ายประชาธิปไตย ฝ่ายเผด็จการ และทุกฝ่ายที่เข้ามามีบทบาททางการเมือง รวมทั้งประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตยด้วย
 
ในช่วงท้ายของสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีการตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งแรกขึ้น คือช่อง 4 บางขุนพรม ซึ่งสร้างความนิยมมากก่อนการเลือกตั้งในปี 2500 จนมาหลังการรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ ในขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกก็ได้ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 เพื่อสู้กับช่อง 4 บางขุนพรม โดยใช้วันกองทัพไทย 25 ม.ค.2501 เป็นวันก่อตั้ง และเมื่อเข้าสู่อำนาจก็ได้ใช้ทั้งช่อง 7 และเข้าควบคุมช่อง 4 ในการช่วงชิงอำนาจ โฆษณาชวนเชื่อ และทำสงครามจิตวิทยากับประชาชน และใช้ต่อมาในการต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยมีหลวงวิจิตร วาทการ เป็นคีย์สำคัญที่ทำงานให้ทั้งในจอมพล ป.และจอมพลสฤษดิ์
 
อุบลรัตน์ กล่าวต่อมาถึงนิยาม “ประชาธิปไตยแบบไทย” ว่านำมาจากงานวิจัยของทักษ์ เฉลิมเตียรณ ซึ่งยกคำพูดมาจากคณะรัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ที่บอกว่า คณะปฏิวัติมีความมุ่งหมายที่จะทำประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตย จึงได้ทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 20 ต.ค.2501 ยกเลิกระบอบประชาธิปไตยที่นำมาจากต่างประเทศทั้งดุ้น และเสนอว่าจะสร้างระบอบประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับลักษณะพิเศษและสภาวการณ์ของไทย ซึ่งทักษ์ เฉลิมเตียรณ เรียกว่า “ระบบข่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ” มีคุณสมบัติสำคัญคือ ปกครองแบบพ่อขุน รักษาความสงบเรียบร้อยในครอบครัว ส่งเสริมสุขภาพและศีลธรรมซึงตกทอดมาถึงปัจจุบันดังกรณีรายการไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ ปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยและพัฒนาเศรษฐกิจ ควบคุมระบบราชการและทหาร และส่งเสริมสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งส่วนตัวขอเพิ่มเติมว่ามีเรื่องควบคุมเสรีภาพของสื่อมวลชนและปัญญาชนเข้าไปด้วย
 
วิธีการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ คือ การฟื้นฟูโบราณราชประเพณี เช่น พิธีแรกนาขวัญ พิธีแห่พระกฐิน เปลี่ยนวันชาติจากวันครบรอบการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนา เป็นวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ และส่งเสริมพระมหากษัตริย์ให้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของกองทัพ โดยนัยยะนี้สถาบันจึงเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและศีลธรรม และนัยยะสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการสร้างความชอบธรรมให้กับระบอบอำนาจนิยมทหารของตนเอง เกิดคำศัพท์ “กองทัพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” โดยกองทัพเป็นผู้ปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
 
ในยุคนี้มีการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ผู้เป็นปฏิปักษ์ทางการเมืองจะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ไม่จงรักภักดี ทำลายความมั่นคงของชาติ เป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีผู้ถูกกล่าวหาด้วยข้อกล่าวหาเหล่านี้และถูกประหารชีวิต เช่น สส.ในภาคอีสาน โดยมีเครื่องมือคือ มาตรา 17 ของธรรมนูญการปกครองราชอาญาจักร พ.ศ.2502 ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีในการรักษาความสงบเรียบร้อย ปราบปรามผู้มาบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาราจักร ราชบัลลัง และเศรษฐกิจของประเทศ
 
อุบลรัตน์ กล่าวด้วยว่า ระบอบ 3 จอมพล คือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร มีสิ่งที่ตกทอดมาในส่วนการวางโครงสร้างด้านการสื่อสาร นอกเหนือจากจากการก่อตั้งโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 หรือ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ที่สนามเป้าในปัจจุบัน คือการขยายเครือข่ายวิทยุทหารที่สำคัญเช่น กองพลหนึ่งรักษาพระองค์ จเรทหารสื่อสาร วิทยุยานเกราะ กองทัพภาคและวิทยุประจำถิ่นต่างๆ ที่ลงไปในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
 
จากสถิติ จำนวนสถานีวิทยุที่ขณะนั้นถือว่าเป็นสื่อที่เข้าถึงประชาชนมากที่สุด ปี 2515 ก่อนที่จอมพลถนอมและจอมพลประภาสจะถูกขับไล่ กองทัพบกมีสถานีวิทยุ 64 สถานี ขณะที่กรมประชาสัมพันธ์ซึ่งเป็นตัวแทนหน่วยราชการถือเป็นสถานีวิทยุแห่งชาติมี 21 สถานี มาในปี 2525 กองทัพบกมี 90 สถานี ส่วนกรมประชาสัมพันธ์มี 71 สถานี โดยในส่วนของกระทรวงกลาโหมมีทั้งสิ้น 140 สถานี เกินครึ่งของจำนวนสถานีที่มีทั้งหมดในขณะนั้น จนในปี 2535 สถานีวิทยุของกองทัพบกก็ยังขยายจำนวนเป็น 128 สถานี
 
จะเห็นได้ว่าโครงสร้างนี้สถาปนาได้มั่นคง เพราะสามารถขยายไปได้เรื่อยๆ แม้บริบททางการเมืองจะมีการเลือกตั้ง หรือมีเหตุการณ์ 14 ตุลา ในขณะที่กรมประชาสัมพันธ์มี 136 สถานี และหากนับทุกกองทัพในกระทรวงกลาโหมจะพบว่ามีถึง 211 สถานนี้ ตรงนี้เป็นขุมอำนาจทางการเมืองที่สำคัญของฝ่ายกองทัพที่ใช้สร้างความชอบธรรมทางการเมือง และปัจจุบันยังคงต้องรักษาไว้
 
สำหรับโทรทัศน์ซึ่งในปัจจุบันถือเป็นสื่อที่สำคัญมากสำหรับประชาชน ก็มีการขยายเครือข่ายสถานีโทรทัศน์โดยวิธีการให้สัมปทาน ช่อง 7 และ ช่อง 3 ซึ่งตรงนี้มีความสำคัญคือเป็นการสร้างหนี้บุญคุณ ทำให้เกิดความเกรงใจ ต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง ต้องไม่วิจารณ์เจ้าของสัมปทานคลื่น และตรงนี้กลายวัฒนธรรมการเมืองในสื่อโทรทัศน์ไทยมาจนถึงทุกวันนี้
 
อุบลรัตน์ กล่าวต่อมาถึงโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ (ทีวีพลู) ซึ่งก่อตั้งขึ้นด้วยเรื่องเทคนิคในสมัยที่ทรัพยากรจำกัด มีโทรทัศน์เพียง 2 ช่อง เพื่อใช้ในการถ่ายทอดกีฬาซีเกมส์และเอเชียนเกมส์ เมื่อปี 2509 และ 2510 ต่อมาเมื่อมีสัมปทานโทรทัศน์จึงมีการมาตกลงรวมกัน และมีการสถาปนาเป็นโครงสร้างโดยแกนนำคือกองทัพบกช่อง 5 ทำหน้าที่เป็นประธานมาโดยตลอดไม่มีการหมุนเวียน และงานของทีวีพลูจากเดิมถ่ายทอดกิจกรรมแห่งชาติในเรื่องกีฬา ใน 20 ปีมานี้ได้เปลี่ยนมาเป็นการถ่ายทอดพระราชพิธีสำคัญต่างๆ ทั้งของทหาร รัฐบาล และพิธีสำคัญทางศาสนา
 
เมื่อระบอบจอมพลสฤษดิ์ได้สถาปนากลไกเครื่องมือหรือโครงสร้างของสถานีวิทยุโทรทัศน์เอาไว้ โดยมีเครื่องมือคือมาตรา 17 การเปลี่ยนแปลงในระบอบการเมืองคลี่คลายสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข เมื่อเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา รัฐบาลคณะกรรมการปฏิรูปได้ประกาศ ปร.15 และ ปร.17 ซึ่งควบคุมข่าวสารในวิทยุและโทรทัศน์ โดยให้ถ่ายทอดข่าว ซึ่งกลายเป็นมรดกมาจนถึงปัจจุบันในการถ่ายทอดข่าวภาค 07.00 น.และ19.00 น.ปัจจุบันขยายมาเป็นข่าวในพระราชสำนักเวลา 18.00 น. และมี ปร.42 ซึ่งในส่วนสื่อสิ่งพิมพ์ได้มีการเคลื่อนไหวให้ยกเลิกไปในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ส่วน ปร.15-17 มายกเลิกหลังปี 2540
 
จนมาถึงรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ หลัง พ.ศ.2549 ได้มีการปฏิรูปกฎหมาย 6 ฉบับที่สำคัญต่อสิทธิในการสื่อสารของประชาชนแม้จะมีการพูดถึงกันน้อย คือ 1.พ.ร.บ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งย้ายการควบคุมสิทธิเสรีภาพจากสื่อสิ่งพิมพ์มาควบคุมประชาชนที่ใช้อินเตอร์เน็ต 2.พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ที่แก้ไขกฎหมายเก่าที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2484 3.พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ.2551 ที่เหมือจะทันสมัยแต่กลับมีการกำหนดเรตติ้งที่ไม่เป็นสากล เปิดให้มีการแบนภาพยนตร์ได้
 
4.พ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 เป็นที่มาของการก่อตั้งทีวีสาธารณะคือไทยพีบีเอส 5.พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 แก้ไขมาจากปี 2498 ซึ่งเป็นปีที่มีการก่อตั้งช่อง 4 บางขุนพรม และ 6.พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ.2553 ซึ่งกำหนดให้ตั้งกรรมการกิจการโทรคมและวิทยุโทรทัศน์รวมเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้มองเห็นถึงอำนาจในการควบคุมการสื่อสารของรัฐที่ขยายออกไป
 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น