โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

รายงานเสวนา : รัฐไทย-ชายแดนใต้ ภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน ในมุมมองฝ่ายประชาธิปไตย

Posted: 14 Jun 2012 10:04 AM PDT

เสวนาวิเคราะห์รัฐไทยไม่รู้จักวิธีการจัดการความแตกต่าง อำนาจกองทัพอยู่เหนือรัฐบาล ปัจจุบันมีกลุ่มอิทธิพล ค้ายาเสพติดฉวยโอกาส เสนอไม่ยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน ก็ต้องคุมพื้นที่ นิยามให้ชัดและห้ามยกเว้นโทษ จนท.ล่วงหน้า

13.30 น. 7 มิ.ย.55 ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ถนนราชดำเนิน  สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาชายแดนใต้(สนนตชต.) ได้จัดเสวนาหัวข้อ "รัฐไทย-ชายแดนใต้ ภายใต้พรก.ฉุกเฉิน ในมุมมองฝ่าย ประชาธิปไตย" โดยมีวิทยากรประกอบด้วย รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะอักษร ศาสตร์ จุฬาฯ นายศราวุฒิ ประทุมราช นักสิทธิมนุษยชน จามาล กีไร ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนนิสิตนักศึกษา พิทักษ์ประชาชน(คพช.) นางสาวจิตรา คชเดช นักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อความ เป็นธรรมและประชาธิปไตย และนายพรชัย ยวนยี เลขาธิการ สนนท. ดำเนินรายการโดย นายศุภชัย เมืองรัก นศ.กลุ่มกล้าคิด ม.รามคำแหง 

โดย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ได้อธิบายเหตุผลในการจัดกิจกรรมเสวนาในครั้งนี้ว่า สนนท.มีบทบาทในนามนักศึกษาเพื่อเรียกร้องในสิ่งที่เป็นธรรม และยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความไม่เป็นธรรมในสังคมที่เกิดขึ้นกับพี่น้องสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่ถูกมองจากรัฐโดยรวมว่าเป็นผู้ก่อความไม่สงบ อันเป็นผลให้รัฐต้องประกาศ พรก.ฉุกเฉิน เป็นเวลาหลายปี ตั้งแต่เหตุการณ์ตากใบ เหตุการณ์กรือแซะ แน่นอนเมื่อมี พรก.ฉุกเฉินได้นำไปสู่การจัดการปัญหาโดยทหาร อันนำมาสู่การริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนในพื้นที่ ดูถูกความเป็นมนุษย์ และเมื่อไม่นานมานี้มีนักศึกษาที่ทำกิจกรรมทางการเมืองถูกทหารจับตัวไปสอบสวน ดังนั้น สนนท.จึงต้องการให้ความรู้กับประชาชนในสิ่งที่ถูกต้อง โดยการจัดเสวนาดังกล่าวขึ้นมา

000

“..มันสะท้อนความไม่เข้าในระดับกรอบความคิด มันสะท้อในการไม่รู้จักวิธีการจัดการความแตกต่าง คุณคิดไม่เหมือนผลบังคับให้คุณคิด คุณต้องคิดเหมือนผม ถ้าคุณไม่นับถือเหมือนผมไปอยู่ประเทศอื่น หรือถ้าคุณไม่นับถือเหมือนผมติดคุก กรอบความคิดของชนชั้นนำที่มีความคิดแบบนี้จะไปจัดการปัญหาอะไร 3 จว.ชายแดนภาคใต้ รัฐไทยจัดการไม่เป็น จัดการเป็นคือปราบ อันนี้คือที่มาของการประกาศภาวะฉุกเฉินใน 3 จว.ชายแดนภาคใต้ อันนี้คือที่มาของการเอากองกำลังทหารไปตั้งเต็มไปหมด..”

รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะอักษร ศาสตร์ จุฬาฯ

รากฐานทางประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ลึกซึ้งและยาวนาน เกิดจากการเปลี่ยนรูปของรัฐ

เนื่องจากศึกษาประวัติศาสตร์มา ผมอยากจะย้อนกลับไปพูดถึงประวัติศาสตร์สักหน่อย ผมคิดว่าปัญหา 3 จว.ชายแดนภาคใต้มันมีรากฐานทางประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ลึกซึ้งและยาวนาน เกิดจากการเปลี่ยนรูปของรัฐ ย้อนหลังกลับไปสมัยศักดินา เจ้าแต่ละแห่งก็เป็นอิสระในตัวมันเอง การยอมรับอำนาจระหว่างเจ้า มันเป็นการยอมรับแบบลำดับชั้น หมายถึงเจ้าปัตตานี เจ้าพิษณุโลก เจ้าเชียงใหม่ ทั้งหมดก็มีลำดับชั้นของตัวเองที่แน่นอน เจ้าที่ใหญ่ที่สุดที่บริเวณนี้ก็คือเจ้าที่กรุงเทพ การเมืองในระบบเก่า ระบบก่อนยุคใหม่ มันมีระบบมาเฟีย ที่มีมาเฟียจำนวนมากซึ่งมีอำนาจไม่เท่ากัน มาเฟียที่มีอำนาจากที่สุดก็จะเป็นทียอมรับมากที่สุด  แต่มาเฟียใหญ่ก็ไม่สามารถไปทำอะไรมาเฟียเล็กได้ เลยประสานประโยชน์เข้าด้วยกัน เพราะฉะนั้นลักษณะการแบ่งประโยชน์ก็จะคลายๆอย่างนี้ทั้งนั้น กษัตริย์ส่วนกลางที่กรุงเทพก็มีอำนาจที่กรุงเทพและรอบๆ อำนาจที่ปัตตานีไม่มี อำนาจปัตตานีก็มีกษัตริย์ปัตตานี เพียงแต่ว่ากษัตริย์ปัตตานีลำดับชั้นเล็ก เพราะฉะนั้นโดยลำดับชั้นก็ถือว่าขึ้นต่อกรุงเทพ ทีนี้การขึ้นต่อมันก็มีสัญญาลักษณ์ เช่น ถวายดอกไม้เงินดอกไม้ทอง เก็บสวยเก็บภาษี ส่วนการบริหารภายในอะไรเขาก็ทำกันเอง

ทีนี้สมัยรัชการที่ 5 เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแห่งรัฐ รัชการที่ 5 ไม่เอาวิธีการแบบเดิมมันไม่ทันสมัย สิ่งที่พระองค์ทำคือจัดการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง เป็นวิธีการปกครองแบบ บรีติส อินเดีย (British India)ปกครองอาณานิคม เอามาใช้กับไทย คือใช้การทำลายอำนาจท้องถิ่น และรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ทำให้กรุงเทพเป็นแห่งเดียวที่เป็นที่มาแห่งอำนาจทั้งหมด แล้วจัดการรวมปัตตานีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม ซึ่งต่อมา 2476 ก็จัดเป็นจังหวัดปัตตานี โดยการยกเลิกเจ้าครองนครทั้งหมด

การรวมประเทศโดยรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลางทั้งหมดนี่ มันไม่เกิดประชาธิปไตย มันเกิดสิ่งที่เรียกว่าสมบูรณาญาสิทธิราช คืออำนาจสูงสุดอยู่ที่คนๆเดียว อยู่ที่สถาบันกษัตริย์ ซึ่งที่มามาจากการที่อังกฤษปกครองอาณานิคม ว่า ร.5 ไปเอารูปแบบตะวันตกมาปกครองนั้น ร.5 ไม่ได้เอาที่ลอนดอนหรือปารีส แต่เอาจากอินเดียมา ผลกระทบต่อแว่นแคว้นต่างๆก็คือความเป็นอิสระของแว่นแคว้นทั้งหลายมันถูกทำลาย มันไม่ใช่เกิดแค่ปัตตานี มันเกิดขึ้นที่ล้านนา มันเกิดขึ้นที่อีสาน ทั้งหมดเป็นแบบเดียวกันหมด คือประชาชนไม่ได้รับสิทธิเสรีภาประชาชนต้องอยู่ภายใต้อำนาจสมบูรณาญาสิทธิที่มีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด ใครคิดกบฏก็จะถูกปราบปรามอย่างรุนแรงโดยรัชกาลที่ 5 สร้างกองทัพประจำการสมัยใหม่ขึ้นมา กองทัพนี่ไม่ได้สร้างมารบกับข้าศึกภายนอก เพราะว่าข้าศึกภายนอกขณะนั้นเป็นอังกฤษ ฝรั่งเศส ไม่มีทางรบชนะ กองทัพที่สร้างขึ้นมาเป็นกองทัพที่ใช้จัดการประชาชนของตัวเองภายใน ในกรณีที่ประชาชนนั้นกระด้างกระเดื่องไม่ยอมรับอำนาจของศูนย์กลาง ไม่ใช่แค่ประชาชน รวมทั้งเจ้าเมืองต่างๆด้วยที่จะไม่ยอมรับอำนาจศูนย์กลาง และโดนปราบ  ดังนั้นการเกิดของรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ รวมทั้งการเกิดกองทัพประจำการสมัยใหม่ทั้งหมด มันอุดมการณ์คิดเดียวกันหมด อุดมการณ์ของศูนย์กลางที่จะรวบรวมผู้ขาดอำนาจ  

เกิด 2475 ขึ้นมาทำให้เกิดรูปแบบความสัมพันธ์บางอย่าง เกิดความเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน คือรูปแบบเดิมที่ประชาชนไม่มีสิทธิ์ไม่มีเสียง มาถึง 2475 คณะราษฎรบอกไม่ได้แล้วประชาชนต้องมีสิทธิ เพราะฉะนั้นแล้วมันก็เลยเกิดอย่างน้อยในทางทฤษฎีมันเกิดการคลี่คลายที่ทำให้ประชาชนมีสิทธิในลักษณะหนึ่ง ซึ่งอันนี้มันสามารถตอบสนองต่อประชาชนส่วนอื่นได้ ผมไม่ได้บอกว่ามันไม่มีปัญหา มันมีปัญหาเช่นกัน คือประชาชนทั่วทั้งประเทศมีสิทธิเลือกตั้งและกระบวนการเปลี่ยนแปลงอันใหม่นี่เองที่ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้ง มันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการรวมรัฐไทย เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้ภาพชาตินิยม หรือชาติไทยสมัยจอมพล ป. เกิดการตื่นตัวของประชาชนในภาคอีสาน เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการประชาธิปไตย และกระบวนการอันนี้ทำให้การหลอมรวมเป็นเอกภาพเข้าสู่ศูนย์กลางมันค่อยๆสมบูรณ์มากขึ้น อีสานกลายเป็นไทย ล้านนาถูกทำลายอัตตาลักษณ์หายไป กลายเป็นไทย

นโยบายแบบจอพล.ป นี่ล่ะทำให้ความขัดแย้งระหว่างเจ้าปัตตานีกับเจ้าสยามไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประชาชน

การเกิดขององคาพยพชาติไทยสมบูรณ์มันเกิดสมัยจอมพล ป. แต่การเปิดความเป็นเอกภาพชาติไทยอันนี้ใช้ไม่ได้กับ 3 จว.ชายแดนภาคใต้ เป็นที่เดียวที่มีปัญหาพิเศษเพราะว่ามีปัญหาความแตกต่างในเชิงอัตตาลักษณ์กับส่วนอื่นๆ ความแตกต่างนั้นคือเรื่อศาสนาอิสลาม รวมทั้งความเป็นมาลายูหรืออะไรก็ตามมันไม่ค่อยไป ไม่ค่อยกลืนกับความเป็นไทย ตามที่รัฐบาลจอมพล ป. รณรงค์

มันนำไปสู่ส่วนที่ 2 คือ สิ่งที่รัฐบาลจอมพล ป. รับมรดกจาก 2475 คือ “รัฐเดี่ยว” ความเป็นรัฐเดี่ยวที่ ร.5 ต้องการสร้างและรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลางนี้ไม่มีการเปลี่ยน สิ่งที่จอมพล ป. เติมเข้าไป ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมาคือเรื่อง “เชื้อชาติ” คือความยิ่งใหญ่ของชาติไทย เชื้อชาติไทย คนไทย ความเป็นไทยทั้งหลายทั้งปวงนี้ แล้วเอาสิ่งที่เรียกว่าความเป็นไทยเข้าไปครอบ ความเป็นไทยนั้นเป็นความเป็นไทยที่ถูกตีความโดยรัฐ โดยจอมพล ป. ความเป็นไทยจะต้องไม่ได้หมายถึงการนุ่งจูงกระเบนกินหมาก แต่ความเป็นไทยหมายถึงต้องทำแบบตะวันตกต้องใส่เสื้อใส่กางเกงอย่างที่เราใส่กันนี้ จะต้องมีวิถีใหม่แบบตะวันตก จะต้องมีความรักชาติ จะต้องนับถือพุทธ จะต้องเรียนหนังสือแบบตะวันตก ทีนี้ 2 อย่างที่ต่อท้ายพอเอาไปใช้ใน 3 จว.ชายแดนใต้ มันเกิดปัญหา เพราะว่าเวลาที่คุณเอาโรงเรียนสมัยใหม่เข้าไปสอนในภาคใต้ เอาครูสมัยใหม่เข้าไปสอน สอนความรู้ตะวันตก เอาความเป็นพุทธเข้าไป เมื่อเข้าโรงเรียนแล้วคุณต้องสวดมนต์แบบพุทธ ความเป็นพุทธคือความเป็นไทย มันก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางวัฒนธรรมขึ้นมาอย่างรุนแรง แต่เดิมคนที่ต่อต้านการรวมปัตตานีเข้าสู่ส่วนกลางเป็นเจ้าปัตตานี แต่ผมคิดว่านโยบายแบบจอพล.ป นี่ล่ะทำให้ความขัดแย้งระหว่างเจ้าปัตตานีกับเจ้าสยามไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประชาชน เพราะว่าชาตินิยมแบบจอมพล ป. มันไปกระทบชีวิตของผู้คน 
 
ตอนหลังสงครามที่ อ.ปรีดี พยายามสร้างประชาธิปไตย ถึงได้พยายามแก้ปัญหา พยายามเจรจา ฮาหยีซูหลง เป็นผู้นำท้องถิ่น เสนอข้อเสนอ 10 ประการในการที่จะแก้ปัญหาภาคใต้ รัฐบาลปรีดีมีแนวโน้มที่จะรับฟังและพยายามที่จตะแก้ไขตามนั้น แต่บังเอิญเกิดรัฐประหารจอมพล ป.กลับมาใหม่ปี 2490 ขวาจัด ชาตินิยมรัฐเดี่ยว แล้วก็ไม่เป็นประชาธิปไตยเหมือนเดิม ปัญหาเริ่มบานปลายขึ้นมา ฮาหยีซูหลง ถูกจับเข้าคุก แล้วต่อมาถูกเอาไปฆ่า ความรุนแรงใน 3 จว.ภาคใต้มันพัฒนาขึ้นมา มันเกิดขบวนการพลูโล ขบวนการแยกดินแดนปัตตานีอะไรมากมาย ขวบวนการนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือกลายเป็นอันเดียวกันในสมัยเดียวกันกับที่พรรคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยลุกขึ้นสู้ แล้วช่วงพีคของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยคือราวปี 08 จนถึงปี 22 ที่พรรคคอมมิวนิสต์นำประชาชนลุกขึ้นสู้ในชนบททั่วประเทศ มีการตั้งกอกำลัง 3 จว.ชายแดนภาคใต้ก็มีการตั้งกองกำลังในลักษณะเดียวกันแบบนั้นด้วย พอหลัง 2522 แล้วพรรคคอมมิวนิสต์เริ่มพัง กองกำลังเริ่มล้ม กองกำลังใน 3 จว.ภาคใต้ เริ่มสลายมีการมอบตัว คือ รัฐบาลได้ใช้นโยบาย 66/23 ไปใช้ใน 3 จว.ภาคใต้ ที่จะทำให้สงครามกลางเมืองยุติ ก็ได้ผลพอสมควร เหมือนปัญหา 3 จว.ภาคใต้หมดไปสักระยะหนึ่ง จนกระทั้งมาปะทุใหม่ปี 47 ก่อนหน้านั้นมันมีไหม ผมคิดว่าก่อนหน้านั้นตั้งแต่ปี 25-47 ผมว่ามันเบาลงไปเยอะ แต่มันเบาไปเยอะไม่ได้แปลว่าได้มีปัญหา
 
เปลี่ยนจากจอมพล ป.ที่รณรงค์เรื่องความเป็นไทย เชื้อชาติไทย ตอนนี้สิ่งใหม่ที่เอามารณรงค์คือ “ราชาชาตินิยม”
 
ปัญหาหลังอันหนึ่งคือการรณรงค์ความเป็นไทยไปทั่วประเทศโดยที่ไม่มีการแยกแยะ เชื้อชาติไทยเข้าไปครอบงำนี่ มันหมายถึงรัฐบาลกลางไม่รู้จักหรือไม่มีแนวคิดเรื่องการเคารพ ในเรื่องความต่างทางวัฒนธรรม การไม่รู้จักเคารพความต่างทางวัฒนธรรม หรือการมองไม่เห็นประเด็นอันนี้มันไม่ได้หายไปไหนรัฐไทยหลังปี 2525 ก็เป็นเช่นนั้นอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนจากจอมพล ป.ที่รณรงค์เรื่องความเป็นไทย เชื้อชาติไทย ตอนนี้สิ่งใหม่ที่เอามารณรงค์คือ “ราชาชาตินิยม” หมายถึงความเป็นไทยที่มีกษัตริย์เป็นแกนกลาง จะต้องให้คนไทยทั่วประเทศนับถือกษัตริย์แบบเดียวกัน ภัคดีต่อกษัตริย์แบบเดียวกัน มีความยึดมั่น เอกภาพที่เกิดขึ้นหลัง 2525 เป็นเอกภาพของชาติภายใต้บารมีอันล้นพ้นของพระมหากษัตริย์ไทย 
 
มันสะท้อนความไม่เข้าในระดับกรอบความคิด มันสะท้อนในการไม่รู้จักวิธีการจัดการความแตกต่าง
 
และด้วยความหวังของรัฐส่วนกลาง คือหวังว่าความเป็นไทยอันนี้มันสมบูรณ์ มันจะแก้ปัญหาความแตกต่างความขัดแย้งภายในชาติได้ แก้ได้โดยเมื่อทุกคนภักดีในสิ่งเดียวกัน ทุกคนรักในสิ่งเดียวกัน เราก็เป็นไทยด้วยกัน เป็นไทยภายใต้กรอบอันเดียวกัน ลักษณะอย่างนี้มันก็ข้ามความต่างทางวัฒนธรรม ถ้าใครไม่ทำหรือเห็นด้วยกับอันนี้ อันนี้เป็นปัญหาร่วมที่ยังแก้ไม่ตก คือรัฐไทยไม่มีวิธีการจัดการ ในทางความคิดก็จัดการไม่ได้ สมติว่ามีใครไม่รักไม่ภัคดีเหมือนเธอ สิ่งที่จะตอบโต้ก็คือ เมื่อเธอไม่รักเหมือนฉันก็ไปอยู่ประเทศอื่นสิ มีคำอธิบายแบบนี้ด้วย เมื่อเกิดปัญหาภาคใต้หลังปี 47 มีคนอธิบายว่าให้เอาพวก 3 จว.ภาคใต้ไปอยู่ประเทศอื่นให้หมด อันนี้สะท้อนความคิดหรือความไร้เดียวสาของคนจำนวนมากที่ไม่เข้าใจปัญหา 3 จว.ภาคใต้ ไม่รู้เลยว่าเขาอยู่ของเขาแต่เดิมแล้วเราขยายไปผนวกเขาเข้ามา พวกเราไปคิดว่านี่เป็นแผ่นดินไทยแล้วพวกนี้อพยพเข้ามาแล้วยังไม่ภักดีต่อเจ้าของประเทศ มันสะท้อนความไม่เข้าในระดับกรอบความคิด มันสะท้อในการไม่รู้จักวิธีการจัดการความแตกต่าง คุณคิดไม่เหมือนผลบังคับให้คุณคิด คุณต้องคิดเหมือนผม ถ้าคุณไม่นับถือเหมือนผมไปอยู่ประเทศอื่น หรือถ้าคุณไม่นับถือเหมือนผมติดคุก กรอบความคิดของชนชั้นนำที่มีความคิดแบบนี้จะไปจัดการปัญหาอะไร 3 จว.ชายแดนภาคใต้ รัฐไทยจัดการไม่เป็น จัดการเป็นคือปราบ อันนี้คือที่มาของการประกาศภาวะฉุกเฉินใน 3 จว.ชายแดนภาคใต้ อันนี้คือที่มาของการเอากองกำลังทหารไปตั้งเต็มไปหมด 
 
มองว่าคนเหล่านั้นที่แยกดินแดนเป็นโจนกบฏ เป็นคนชั่ว แล้วสร้างกรอบเหล่านี้ เราไม่เคยย้อนนึกเลยว่าคนที่เขารักแผ่นดินเกิดปัตตานีเขาอยากให้ปัตตานีเป็นเอกราชนี่เป็นคนดี รักชาติบ้านเมือง เป็นคนชั่วเพราะอะไร เพราะคิดต่างจากรัฐ ดังนั้นคิดว่าวิธีการแก้ปัญหามันจึงเป็นแบบเดียวกัน ชนชั้นนำไทยเป็นชนชั้นนำที่คับแคบ แก้ปัญหาด้วยแพทเทินเดียว 
 
ประเทศไทยพิเศษมากในทางไม่เคารพสิทธิมนุษยชน
การละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องเล็กมากสำหรับรัฐไทย เพราะรัฐไทยไม่เคยเคารพสิทธิมนุษยชน อย่าว่า 3 จว.ชายแดนใต้เลย แม้กระทั้งประชาชนไทยด้วยกันแท้ๆก็ไม่เคารพ ถ้ามีการเคารพในสิทธิมนุษยชนนี่ การฆ่ากันกลางเมือง การฆ่าประชาชน 90 กว่าศพกลางเมืองนี่มันเกิดขึ้นไม่ได้หรอก ผมไม่คิดว่ารัฐบาลอังกฤษฆ่าประชาชนอังกฤษ 90 คนแล้วประชาชนจะยอม ถ้ารัฐบาลฝรั่งเศสฆ่าประชาชนกลางปารีสยิงทิ้งกลางถนน แล้วบอกว่ามีโจรชุดดำมาไล่ยิงประชาชนไปตาย 90 คน ผมว่าประชาชนฝรั่งเศสไม่ฟังนะ รัฐบาลชุดนั้นจะอยู่ไม่ได้ ผมว่าประเทศไทยพิเศษมากในทางไม่เคารพสิทธิมนุษยชนเลย ดังนั้นการละเมิดสิทธิใน 3 จังหวัดภาคใต้จึงเกิดขึ้นจนเป็นภาวะปรกติ
 
รัฐไทยต้องปรับกระบวนทัศน์
 
จะแก้อย่างไร ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องใหญ่มาก ผมคิดว่ารัฐไทยต้องประบกระบวนทัศน์ ขนานใหญ่ในเรื่องสิทธิมนุษยชน รัฐไทยต้องปรับกระบวนทัศน์ในแง่ของวิธีการจัดการประชาชน  โดยการที่จะจัดการกับประชาชนอย่างไรโดยที่ไม่ต้องฆ่า  โดยที่ไม่ต้องใช้ภาวะฉุกเฉินไปเล่นงาน รัฐไทยจะทำอย่างไรถึงจะต้องเคารพในความต่างทางวัฒนธรรม จะต้องแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 1 ไหม ประเทศไทยเป็นรัฐอันหนึ่งอันเดียวกัน รัฐไทยจะต้องประกอบด้วยกลุ่มชนชาติพันธ์ต่างๆหลากหลายมารวมกัน ถ้าเราสามารถปรับมาตรา 1 ให้หน้าตาคลายๆอันนี้นะ เราน่าจะแก้ปัญหาได้เยอะทีเดียว ก็คือเริ่มตั้งแต่ยอมรับถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม ทางศาสนา และเราหาทางอยู่ร่วมกันโดยสันติวิธีได้อย่างไร เรายอมรับความขัดแย้งมีได้ แต่เราแก้ความขัดแย้งโดยสันติ ไม่ใช่บังคับหรือกลบเกลื่อนว่าสังคมไทยเรารู้รักสามัคคี เป็นเอกภาพไม่มีความขัดแย้ง ทุกคนรักในสิ่งเดียวกัน ภักดีในสิ่งเดียวกัน คิดเหมือนกัน เพราะฉะนั้นใครคิดต่างไอ้นั้นคือพวกญวนพวกแกว 
 
มันไม่ใช่แค่ปัญหาเฉพาะ 3 จว.ชายแดนใต้ มันเป็นการแก้ปัญหาที่กรอบความคิด แก้วิธีการปฏิบัติโดยรัฐ ผมคิดว่ารัฐไทยอาจจะเป็นอย่างรัฐสวิตเซอร์แลนด์ รัฐไทยคิดแบบรัฐสวีเดน อย่าทำให้รัฐไทยคิดแบบรัฐพม่า เราคงจะแก้ปัญหาได้ ถ้าวันใดก็ตามเรามีชนชั้นนำที่คิดแบบซีวิลไลน์แก้ปัญหาโดยสันติวิธีละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ดูถูกประชาชน เคารพในความแตกต่างมันน่าจะแก้ปัญหาได้ ถ้าชนชั้นนำไม่เป็นอย่างนั้น ประชาชนจะบีบบังคับอย่างไร เราต้องหาประชาชนบีบให้ชนชั้นนำเปลี่ยน
 
”ไทย”เป็นมรดกของคณะราษฎร์ “สยาม” เป็นมรกดของพวกเจ้า
 
ผมเองจริงๆนี่ผมไม่ต่อต้านจอมพล ป. นะ ผมรักจอมพล ป. เป็นจอมพล ป.อิสซึ่ม ที่ผมพูดเรื่องจอพล ป.ผมมองในเชิงเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ เราจะต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า เราจะรักจะเกลียดใครนี่ คือจอมพล ป. ผิดได้ ถูกได้ ใครก็ตามที่ไม่มีถูกไม่มีผิดอันนั้นเรารับไม่ได้  เรื่องไทยสยาม ผมว่า”ไทย”เป็นมรดกของคณะราษฎร์ “สยาม” เป็นมรกดของพวกเจ้า เพราะว่า คำว่าสยาม ร.4 เป็นคนใช้ เมื่อก่อนนี้ประเทศไทย ฝรั่งเรียก “บางกอก” แต่ว่า ร.4 เรียกประเทศไทยว่ากรุงสยาม แต่เดิมประเทศเราเรียกกรุงศรีอยุธยาในสมัย ร.3 ร.4 เอาสยามมาใช้ ร.5, ร.6 ใช่คำว่า “สยามรัฐ” ผมชอบมรดกของคณะราษฎร์เพราะใกล้ชิดพวกเรามากกว่าพวกนั้นเขาอยู่สูงๆเอื้อมไม่ค่อยถึง คณะราษฎร์ถูกได้ผิดได้ดีได้ชั่วได้ผมชอบอย่างนี้
 
พรก.ฉุกเฉินมีปัญหาเยอะ ถ้าจะใช้ต่อไป ต้องจัดการแก้เรื่องนิยามและไม่ให้มันละเมิดสิทธิมนุษยชน
 
ปัญหาเรื่อง พรก.ฉุกเฉินมีปัญหาเยอะ ถ้าจะใช้ต่อไป ต้องจัดการแก้เรื่องนิยามและไม่ให้มันละเมิดสิทธิมนุษยชน จริงๆผมว่ายกทิ้งไปดีกว่า ประเทศไทยมีกฎหมายแบบนี้เยอะแยะมากมาย ประเทศไทยเราชนชั้นนำมักคิดว่ามีปัญหาแล้วแก้ปัญหาโดยการออกกฎหมายใหม่ กฎหมายมีมากมายจนกระทั้งนักเรียนนิติศาสตร์ไทยไม่สามารถจำได้หมด แต่ว่ามีกฎหมายเยอะแยะมากมายก็แก้ปัญหาไม่ได้  
“ถ้าไม่ยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน อยากให้มีการแก้ไขตัว พรก.ฉุกเฉินให้ มีความเป็นธรรมมากขึ้น อย่างน้อยในเรื่องของการห้ามอะไรต่างๆนั้น หรือว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินให้เขียนนิยามให้ชัดเจน นิยามความหมายของสถานการณ์ฉุกเฉินให้แคบลง แล้วให้เขียนให้ชัดเลยว่าห้าม ม.17 ที่บอกว่าไม่มีโทษตามกฎหมายนี่ เขียนยกเว้นโทษไว้ล่วงหน้านี่ ไม่ต้องรับผิดของเจ้าพนักงานที่ตามกฎหมายจะต้องยกเลิกมาตรานี้”

 

 ศราวุฒิ ประทุมราช นักสิทธิมนุษยชน 

เหตุผลของการมี พรก.ฉุกเฉิน เพราะว่ารัฐไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะใช้มาตราการปกติในการควบคุมสถานการณ์

พรก.ฉุกเฉิน มันมีที่มาประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน ฉบับเก่ามันล้าสมัย และเหตุผลที่ต้องแก้ไขเมื่อปี 48 สมัยที่คุณทักษิณเข้ามาบริหารประเทศ เขาเขียนไว้ในคำปรารภในตัว พรก. หมายเหตุท้าย พรก. ซึ่งหมายความว่าเวลากฎหมายหลายๆฉบับเขาจะพูดถึงเจตนารมณ์ว่าทำไมถึงต้องประกาศใช้กฎหมายนี้ เขาบอกว่า  “เพราะว่ากฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับเดิม คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2495 ) ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติต่าง ๆ ไม่สามารถนำมาใช้แก้ไขสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐที่มีหลากหลายรูปแบบให้ยุติลงได้โดยเร็ว” ข้อที่ 2 “ไม่อาจนำมาใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติสาธารณะและการฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายได้” เหตุผลข้อที่ 3 “ความร้ายแรงของสถานการณ์ความมั่นคงของรัฐมากยิ่งขึ้นกระทบต่อเอกราชและบูรณภาพแห่งดินแดน  เกิดความไม่สงบเรียบร้อย รบกวนความเป็นอยู่ของประชาชนโดยปกติ” เราจะเห็นว่าตอนประกาศฉุกเฉินในกรุงเทพนี่เขาหาว่าเสื้อแดงรบกวนความสงบสุขของประชาชนโดยรวม ข่มขู่คุกคาม เราจะเห็นข่าวว่าเวลาเข้าไปในบ้านถูกตรวจถูกค้น มาปิดถนนมาปิดแยกทำลายเศรษฐกิจสารพัด เลยบอกว่ากลุ่มเสื้อแดงเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรงต้องปราบ เลยเอาทหารมา อันนี้เป็นเหตุผลของการมี พรก.ฉุกเฉิน เพราะว่ารัฐไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะใช้มาตรการปกติในการควบคุมสถานการณ์บ้านเมืองได้

ปัญหาความหมายของสถานการณ์ฉุกเฉินกว้างขวางมาก

กฎหมายฉุกเฉินมันเป็นกฎหมายที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชน ทำไมกฎหมายนี้จึงไม่เคารพสิทธิมนุษยชน เพราะว่ามีการใช้กฎหมาย โดยที่ตั้งแต่ความหมายแล้ว เราไปดูความหมายของคำว่า “สถานการณ์ฉุกเฉิน” เขียนนิยามไว้เลยในกฎหมายนี้ “สถานการณ์ฉุกเฉิน หมายความว่า สถานการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของประเทศอยู่ในภาวะคับขัน หรือเป็นการกระทำเกี่ยวเนื่องกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา” ในกรุงเทพต้องให้เสื้อแดงเป็นผู้ก่อการร้ายถึงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้ และถามว่าเหตุการณ์ตรงไหนเป็นเหตุการณ์ก่อการร้าย ถ้าภาคใต้ยังพอจะมองเห็นว่ามีระเบิดเป็นภัยคุกคาม แต่ในกรุงเทพเมื่อช่วง 2 ปีที่แล้วมันมีอะไร แค่ไปปิดสภา บุกเข้าไปในสภา คุณอริสมันต์บุกสภาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน วันที่ 7 เมษา อันนี้ก็เป็นปัญหาความหมายของสถานการณ์ฉุกเฉินกว้างขวางมาก ถ้าเกิดว่าในกฎหมายระหว่างประเทศการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้จะต้องมีเหตุผลเพียงพอที่กระทบต่อความอยู่รอดของชาติ

กฎหมายที่เป็นลักษณะการลงโทษหรือมีความผิดทางอาญานี่ มันจะต้องเขียนไว้อย่างชัดเจน เขียนให้ตีความโดยเคร่งครัด

พอมาเขียนกว้างขวางให้เลือกใช้อันใดอันหนึ่งก็ได้ การประกาศการเขียนกฎหมายกว้างๆแบบนี้ โดยหลักการกฎหมายที่เป็นลักษณะการลงโทษหรือมีความผิดทางอาญานี่ มันจะต้องเขียนไว้อย่างชัดเจน เขียนให้ตีความโดยเคร่งครัด ไม่ใช่ให้มาเลือกใช้อันใดอันหนึ่ง และในการมอบอำนาจให้นายกรัฐมนตรีประกาศเขตสถานการณ์ฉุกเฉินได้แล้วมาขออนุญาตสภาทีหลัง ผมคิดว่านี่เป็นอันตรายมาก เพราะเห็นว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจสูงสุดเพราะว่าผู้ประกาศสถานการณ์ตามกฎหมายนี่คือนายกรัฐมนตรี

กฎหมายนี้ให้อำนาจอะไรบ้าง มันมีปัญหาเยอะในเรื่องของการจะควบคุมใครก็ได้ที่สงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน คือนอกจากมีสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว ใน พรก.ฉุกเฉิน เขียนว่าสถานการณ์นั้นเป็นภัยอย่างร้ายแรงเป็นสถานการณ์ที่ก่อการร้าย ให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพิ่มดีกรีของความฉุกเฉินมาก เดิมทีถ้าฉุกเฉินปรกติ ทำอะไรได้บ้าง ในมาตรา 9 ห้ามออกนอกเคหะสถาน ห้ามชุมนุม 5 คนขึ้นไป ในกฎหมายอาญาเขียนว่า 10 แต่ในนี้เขียนว่า 5 ห้ามเสนอข่าว ปิดเวปก็ได้ใช้ไหม ห้ามจำหน่ายห้ามเผยแพร่สิ่งพิมพ์หนังสือ หรือข้อความทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเข้าใจผิด มันเป็นข้อความที่เขียนไว้กว้างๆเพราะฉะนั้นการใส่ข้อมูลว่า ข่าวไหน วิทยุชุมชนเรียกร้องอย่างไรให้มาต่อต้านรัฐ ในรัฐบาลชุดที่แล้วพยายามจะเขียนแล้วก็ลงโทษฟ้องร้องประชาชนที่ออกมาชุมนุมโดยสงบ คือกวาดไปหมดเลยว่าคนที่มาชุมนุม ถือเป็นพวกที่ก่อความไม่สงบไปหมดเลย ไม่มีการแยกแยะอันนี้เป็นปัญหา ฯลฯ อันนี้เป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั้งนั้น เพราะโดยปกติประชาชนมีสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะวิธีการใด จะโดยรับข่าวสาร เข้าข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือพิมพ์ ดูทีวี ทำได้หมด แต่พอมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐสามารถเข้ามาแทรกแซงความเป็นอยู่ ผมก็ไม่รู้ว่าระหว่างผู้ที่ก่อความไม่สงบประชาชนถูกกระทบกระเทือนกว่าหรือการที่รัฐไปปิดกันเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนนี่ใครก่อความไม่สงบกว่ากัน 

รัฐเข้ามาแทรกแซงความเป็นอยู่ของประชาชนมากทำให้มีปัญหาว่าแล้วจะทำให้ประชาชนรู้ข้อมูลได้อย่างไร รัฐอาจจะปิดกั้นข้อมูล โดยกล่าวหาอีกฝ่ายให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง บิดเบือน แต่รัฐก็ให้ข้อมูลซึ่งในช่วงสถานการณ์ภาคใต้ เรามักไม่เห็นว่าเวลามีการปะทะกันนี่ เราจะไม่เห็นว่ามีการซ่องสุมอะไรอย่างไร แต่การปะทะกันแล้วมีคนนอนเสียชีวิตอยู่ มีแต่รูประเบิดอะไรวางๆอยู่ แล้วถามว่าคานี้เขาต่อสู้กันจริงหรือปล่าว มันเหมือนการวิสามัญฆาตรกรรมเวลาผู้ร้ายต่อสู้เจ้าหน้าที่ หลายกรณีได้มีอาวุธอยู่ในมือ หรือแม้แต่ตอนช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพ คนที่ถูกยิงส่วนใหญ่ ผมว่าทั้งหมดไม่มีอาวุธอยู่ในมือ หรือตัวเองก็ไม่มี แล้วก็ไปหาว่าคนมาชุมนุมเป็นพวกใช้อาวุธยิงต่อสู้กับทหาร เราจะจับกุมหรือจะฆ่าใครมันต้องมีเหตุผลพอที่จะเชื่อได้ว่าคนนั้นทำอะไรที่เป็นการละเมิดต่อกฎหมาย 

พอสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ทำอะไรได้อีก นายกให้เจ้าพนักงานทำการจับกุมควบคุมตัวได้อีก ทีนี้โดยหลักกฎหมายการจะควบคุมใครก็ตามต้องมีหมาย พรก.ฉุกเฉิน ต้องขอหมายจากศาล ทีนี้ปกติการขอหมายจากศาล ถ้าเป็นคดีอาญาทั่วไป ศาลต้องทำการไต่สวนว่ามีเหตุผลอะไร มีหลักฐานที่ควรจะเชื่อได้อย่างสิ้นข้อสงสัยว่าผู้ที่ศาลจะออกหมายให้ควบคุมตัวหรือไปจับกุมตัว หรือไปค้นอะไร มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามกฎหมาย ทีนี้เราไม่ทราบเวลาที่คนในภาคใต้ถูกหมายฉุกเฉินมีการไต่สวนข้อมูลกันหรือปล่าว 

ออกหมายฉุกเฉินเจ้าหน้าที่ของรัฐนี่ ไม่มีหลักฐานเพียงพอ ถ้าเกิดว่าในทางคดีอาญาทั่วไปเขาจะต้องพิสูจน์จนไม่มีข้อสงสัย

ในทางปฏิบัติจากข้อมูลของคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล เจ้าหน้าที่ทหารเขาแบ่งกลุ่มคนที่ต้องสงสัยที่เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 4 กลุ่ม

กลุ่มแรก กลุ่มที่มีความรุนแรงมากที่สุด คือ ผู้ที่เคยก่อการร้ายมาก่อนแล้ว บุคคลเหล่านี้จะถูกจับกุมและตั้งข้อหาทางอาญา หมายถึงว่ามีบัญชีดำอยู่ ฝ่ายทหารก็จะมีชุดหนึ่ง ตำรวจมีชุดหนึ่ง ฝ่ายความมั่นคงมีอีกชุดหนึ่งหมายถึงพวกข่างกรอง คือคนละชุด มีชุดก็ไม่เหมือนกัน อยู่ที่วิธีการได้มา

กลุ่มที่ 2 คือผู้ให้ความร่วมมือกับผู้ก่อการร้าย บุคคลเหล่านี้จะถูกควบคุมตัว สักถามเบื้องต้น ตาม พรก.ฉุกเฉิน ถ้าถึงที่สุดแล้วนั้นเขาอาจจะตั้งข้อหาได้

กลุ่มที่ 3 คือผู้ที่รู้เห็น อันนี้กว้างมาก รู้ว่ามีการระเบิด รู้ว่ามีการยิง ก็จะถูกควบคุมตัว รู้เห็นถึงความไม่สงบ 

กลุ่มที่ 4 คือผู้ที่ถูกชักจูง หรือเป็นกลุ่มเสี่ยง มันแปลกคนกลุ่มเสี่ยงควรจะได้รับการคุมครอง แต่กลุ่มเสี่ยงถูกควบคุมตัว ถูกเชิญตัวมาให้ข้อเท็จจริง

ข้อมูลแบบนี้ทำให้การที่จะออกหมายฉุกเฉินเจ้าหน้าที่ของรัฐนี่ ไม่มีหลักฐานเพียงพอ ถ้าเกิดว่าในทางคดีอาญาทั่วไปเขาจะต้องพิสูจน์จนไม่มีข้อสงสัย โดยหลักการทั่วไปว่า คนเหล่านี้ไปเกี่ยวข้องอะไร มันเกิดการลักลั่นว่าการจับกุมมันเหมือนกับเพียงแต่สงสัยเท่านั้นเองว่าบุคคลนั้นจะเกี่ยวข้องก็เชิญตัวมาได้แล้ว อันนี้เป็นอันตรายเพราะมันขัดแย้งต่อหลักการทั่วไป 

การเชิญมาแล้วยังไม่ต้องข้อกล่าวหาแต่สามารถควบคุมได้ถึง 30 วันเลย อันนี้เป็นปัญหามาก บางรายก็ควบคุมเกิน หากควบคุมเกินรัฐต้องจ่ายค่าเสียหาย การควบคุมตัวเป็นวิธีการเดียวที่รัฐสามารถหาข้อมูล จริงๆแล้วมันมีวิธีอื่นในการหาหลักฐาน เพื่อที่จะพิสูจน์ว่าใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดไม่ต้องจับไว้ก่อนหรือควบคุมตัวไว้ก่อน เพราะเหตุแห่งหารควบคุมตัวไว้ในกฎหมายนี้เขียนเอาไว้ด้วยซ้ำว่า ควบคุมไว้ในสถานที่ใดก็ได้ที่ไม่ใช่โรงพัก มันจึงมีค่ายอิงคยุทธ มีหน่วย ฉก. หน่วยทหารพิเศษที่อยู่ในวัด มีหน่วยนั้นหน่วยนี้เต็มไปหมด เพราะเขาถือว่าห้ามคุมขังในเรือนจำหรือที่โรงพัก

ปกติแล้วคนที่ถูกควบคุมตัวนี่ถ้าถูกจับโดยตำรวจ เอาไว้ที่โรงพักภายใน 48 ชม.ต้องพาตัวไปที่ศาลเพื่อขอฝากขังต่อ แล้วก็ดูความหนักเบาของข้อหาว่าจะขังได้กี่วัน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเขียนไว้ชัดเจน และสูงสุดควบคุมได้ไม่เกิน 84 วัน ทีนี้ พรก.ฉุกเฉินนี่ นอกจากควบคุมไว้ 30 วันแล้ว ถ้าสงสัยว่าจะสอบสวนไม่เสร็จ หาหลักฐานไม่เพียงพอก็ไปใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาควบคุมตัวต่ออีกได้ เพราะฉะนั้นโดยปกติแล้วคนที่ถูกควยคุมตัวโดยกฎหมายฉุกเฉินนี่ ส่วนมากในภาคใต้จะถูกควบคุมมาแล้ว 7 วันโดยกฎอัยการศึก เพราะฉะนั้นควบคุมตัวยาวเลย 

กฎหมายทั่วไปนี่การควบคุมคนจะต้องแจ้งข้อหาให้ทราบ นี่คุมตัวไว้เฉยๆโดยไม่แจ้งข้อกล่าวหา

การควบคุมโดยไม่แจ้งข้อหา ถามว่ามีสิทธิอะไรในการควบคุมคน เพราะในกฎหมายทั่วไปนี่การควบคุมคนจะต้องแจ้งข้อหาให้ทราบ นี่คุมตัวไว้เฉยๆโดยไม่แจ้งข้อกล่าวหา ในความหมายที่พวกเราทราบกันดีว่าทหารเอาไปเพื่อจะหาข่าว อยากรู้ว่าใครเกี่ยวข้อง เพื่อซักถามและวิธีการซักถามอาจจะได้รับการฝึกฝนมาจากมหามิตร แถวกวนตานาโมก็ใช้วิธีการแบบนี้ ใช้น้ำหยดบ้าง เอาขังห้องเย็นบ้าง ห้องร้อนบ้าง ซักถามทั้งกลางวันกลางคืนไม่ต้องให้นอน  คนที่ไหนมันจะทนทานได้ เพื่อหาข่าวว่าคุณเกี่ยวข้องอะไรกับเหตุการณ์ความไม่สงบ อันนี้เป็นปัญหาที่ทำให้กฎหมายนี้มันไม่สมควรที่จะใช้

ที่สำคัญเจ้าหน้าที่ทำตามอำนาจหน้าที่แล้วอ้างว่าสุจริตไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกินสมควรแก่เหตุ หรือไม่เกินกว่าความจำเป็น ไม่มีโทษนะ ฟ้องร้องทางแพ่ง ทางอาญาไม่ได้นะ ห้ามสั่งห้ามร้องศาลปกครอง อันนี้อันตรายมาก ถ้าเกิดว่าโดยหลักแล้วเจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำอะไรได้ ต้องมีกฎหมายให้อำนาจถึงจะทำได้ ถ้ากฎหมายไม่ให้อำนาจถือว่าทำเกินอำนาจก็สั่งฟ้องต่อศาลปกครองขอให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายได้ ซึ่งกฎหมายอันนี้เขียนยกเว้นโทษไว้เลยล่วงหน้า แต่ไม่ตัดสิทธิ์ทางแพ่งว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเขียนแบบนี้ไม้ได้ เพราะว่าเจ้าหน้าที่ก็อ้างว่าปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาสั่งมาให้ดำเนินการ

วิธีการจะจับกุมมันต้องเป็นไปตามหลักมนุษยธรรม การควบคุมตัวโดยหลักการต้องควบคุมไว้เพื่อไม่ให้หลบหนี ถ้าต่อสู้ก็สามารถดำเนินการพอสมควรเพื่อไม่ให้ต่อสู้ได้ อย่างที่เราเห็นการจับนอนคว่ำแล้วมัดมือ ถามว่าคนเหล่านี้จะหนีหรอ แล้วเขาเป็นผู้กระทำความผิดหรือปล่าว หรือเป็นเพียงเดินผ่านตลาดมาไปดูว่าเขาชุมนุมอะไรกันก็ถูกจับไปแล้ว อันนี้เป็นข้อเท็จจริงที่หลายคนที่ถูกจับกรณีตากใบรับไม่ได้

ผมมีความเห็นว่าอันที่ 1 ถ้าตัวกฎหมายยังไม่ยกเลิก ถ้าตัวรัฐมีสติปัญญาไม่มากพอคงไม่กล้ายกเลิก เพราะว่ารัฐไทยค่อนข้างเป็นรัฐที่อำนาจนิยม ชอบเผด็จการ คนไทยชอบเผด็จการชอบจอมพลสฤษดิ์ ถ้าไม่ยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน อยากให้มีการแก้ไขตัว พรก.ฉุกเฉินให้ มีความเป็นธรรมมากขึ้น อย่างน้อยในเรื่องของการห้ามอะไรต่างๆนั้น หรือว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินให้เขียนนิยามให้ชัดเจน นิยามความหมายของสถานการณ์ฉุกเฉินให้แคบลง แล้วให้เขียนให้ชัดเลยว่าห้าม ม.17 ที่บอกว่าไม่มีโทษตามกฎหมายนี่ เขียนยกเว้นโทษไว้ล่วงหน้านี่ ไม่ต้องรับผิดของเจ้าพนักงานที่ตามกฎหมายจะต้องยกเลิกมาตรานี้

เวลาเราพูดถึงกฎหมายพิเศษนี่ มันควรจะใช้ชั่วคราว

เวลาเราพูดถึงกฎหมายพิเศษนี่ มันควรจะใช้ชั่วคราว ในเวลาที่เกิดเหตุฉุกเฉินแล้วเลิกไป นี่ 7 ปีแล้ว คิดว่ามันไม่ใช่กฎหมายที่ฉุกเฉินแล้วล่ะ เพราะว่าเจตนารมณ์เขาต้องการใช้ชั่วคราวเมื่อสถานการณ์บรรเทาก็ประกาศยกเลิก เพราะฉะนั้นในช่วงที่ไม่ต่ออายุหรือว่าถ้าต่ออายุยังมีความจำเป็นต้องใช้อยู่ เสนออย่างนี้ว่า 

1. คุมพื้นที่ให้มันแคบลงได้ไหม หาข้อมูลดูว่าพื้นที่ไหน ตำบลไหนมีสถานการณ์รุนแรง ที่เป็นประจำ ถี่ๆบ่อยๆ ประกาศฉุกเฉินแค่ตำบลนั้น อำเภอนั้น ไม่ต้องประกาศคลุมทั้ง 3 จว. ไม่เปลืองงบประมาณด้วย ถ้าเราสโคปพื้นที่ลงข้อเรียกร้องให้ถอนทหารมันเป็นไปโดยปริยาย ส่วนระยะยาวตัวกฎหมายเองที่มีปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนนี่ หลายคนจะบอกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วก็มีกฎหมายฉุกเฉิน แต่ของเขาใช้โดยมีขีดจำกัด ไม่ได้เปิดกว้างอย่างที่บ้านเราทำอยู่ 

2. แก้ไขกฎหมายฉุกเฉินถ้ายังไม่ยกเลิก

3. ต้องยกเลิก พรก.ฉุกเฉินไปเลย ถ้าเขตไหน อำเภอไหนไม่มีความรุนแรงก็ไม่ต้องต่ออายุ 

ภายในระยะยาวตัว พรก.ฉุกเฉินควรต้องทบทวนดูว่าเนื้อหาใน พรก.ฉุกเฉินต้องเป็นอย่างไร คนในพื้นที่ภาคได้รู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการถูกจับกุมตัว อะไรแบบนี้ มันทำให้เกิดความระแวงต่อรัฐ เพราะฉะนั้นความต้องการให้ถอนทหารออกไปจากพื้นที่นั้นเป็นความต้องการส่วนใหญ่ในพื้นที่ และหลายๆโพลหลายการวิจัยก็พูดแบบเดียวกันหมด เพราะฉะนั้นรัฐบาลนี้ต้องกล้าหาคุมทหารลงเฉพาะพื้นที่ที่รุนแรง แล้วไม่ต่ออายุ พรก.ฉุกเฉินในพื้นที่ที่ไม่รุนแรง

 
“..ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน อำนาจอยู่ที่นายก ถ้านายกไม่สามารถควบคุมกองทัพได้ก็จบ ดูอย่างสมัยรัฐบาลสมัคร  แต่ก็แปลกการประกาศ พรก.ฉุกเฉินที่สมัยรัฐบาลสมัคร สั่งให้เคลื่อนในกรุงเทพไม่ได้ แต่ทำไมกลไก พรก.ฉุกเฉิน ใน 3 จว.จึงเคลื่อนตัวไปได้ ไม่ว่าจะรัฐบาลไหนขึ้นมา มันสามารถเคลื่อนไปได้โดยกลไกอะไร ก็เชื่อว่าน่าจะเป็นกลไกทหารและก็อ้าง พรก.ฉุกเฉิน..”
จิตรา คชเดช นักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อความเป็นธรรมและประชาธิปไตย
เวลาเราพูดถึง พรก.ฉุกเฉิน นี่ คนที่ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์จะรู้สึกว่าไม่เห็นมีปัญหาอะไรเลย เพราะว่าเราก็มีชีวิตอยู่ปกติ เราไม่รู้จักด้วยซ้ำไปว่า พรก.ฉุกเฉิน มันจะกระทบอะไรกับเรา ตอนที่กฎหมาย พรก.ฉุกเฉินออกมา พวกเราก็ออกไปคัดค้านตอนนั้น เพราะเป็นการใช้อำนาจโดนเหมือนกับนายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจและไม่ต้องผ่านรัฐสภา ซึ่งเราเห็นว่าอำนาจนี่เป็นอำนาจเบ็ดเสร็จ และการใช้อำนาจแบบนี้มันแทบไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ ซึ่งเราเห็นว่าการให้อำนาจกับใครคนใดคนหนึ่งโดยไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ มันจะนำมาสู่การทำอะไรโดยที่ไม่สามารถที่จะยับยั้งได้ ตัว พรก.ฉุกเฉินตอนออกมาใหม่ คนก็อาจจะยังไม่เห็นผลร้าย ถ้าไม่ได้ไปใช้กับใครก็จะไม่รู้สึกอะไร แต่เมื่อมันถูกประกาศใช้ใน 3 จว.ชายแดนใต้ คนที่ 3 จว.ก็จะรู้ว่ามันมีผลกระทบอะไร
 
การประกาศ พรก.ฉุกเฉินที่สมัยรัฐบาลสมัคร สั่งให้เคลื่อนในกรุงเทพไม่ได้ แต่ทำไมกลไก พรก.ฉุกเฉิน ใน 3 จว.จึงเคลื่อนตัวไปได้ ไม่ว่าจะรัฐบาลไหนขึ้นมา
 
คนกรุงเทพ มีการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน จำได้ว่าในสมัยรัฐบาลสมัครก็มีการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน แต่ตอนนั้นไม่มีผลกระทบอะไร เพราะว่าคำสั่งภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน เมื่อสั่งทหารแล้วสั่งไม่ได้ ก็ไม่มีผล แต่ พรก.ฉุกเฉนมันปรากฏผลเอาตอนรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งก็จะเห็นว่าจะมีผลกระทบถึงขั้นเสียชีวิต บาดเจ็บ มีการสลายการชุมนุม และมีการเรียกคนที่รัฐสงสัยเข้าไปรายงานตัวกับ ศอฉ. 
 
ในฐานที่ทำงานเคลื่อนไหวด้านแรงงานและเห็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง เราคิดว่ากฎหมายพวกนี้มันควบคุมสิมธิความเป็นคน แล้วก็สิทธิที่เราจะเรียกร้องสิทธิมนุษยชน ในตัวของแรงงานตอนนั้นปี 51 ในสมัยรัฐบาลสมัคร ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน พวกเราคนงานตอนนั้นชุมนุมอยู่ที่หน้าโรงงาน พวกเราตื่นเต้นกันมาก เพราะคิดว่า พรก.ฉุกเฉินที่ประกาศถึงสมุทรปราการ จะสั่งให้ยุติการชุมนุมไหม จะควบคุมตัวเราไหม ก็เอาโทรทัศน์มาตั้งที่ชุมนุมเลย ปรากฏว่าคำสั่ง พรก.ฉุกเฉินตอนนั้น ไม่ได้ใช้งานได้เลย เพราะฉะนั้น พรก.ฉุกเฉิน จะใช้งานได้ก็ต้องมีเครื่องมือด้วย คำสั่งของนายกรัฐมนตรีสั่งโดยที่ไม่มีเครื่องมือก็ไม่ได้ เครื่องมือนั้นคือทหารนั้นเอง ซึ่งีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง เพราะฉะนั้นถ้าประกาศ พรก.ฉุกเฉิน อำนาจอยู่ที่นายก ถ้านายกไม่สามารถควบคุมกองทัพได้ก็จบ ดูอย่างสมัยรัฐบาลสมัคร  แต่ก็แปลกการประกาศ พรก.ฉุกเฉินที่สมัยรัฐบาลสมัคร สั่งให้เคลื่อนในกรุงเทพไม่ได้ แต่ทำไมกลไก พรก.ฉุกเฉิน ใน 3 จว.จึงเคลื่อนตัวไปได้ ไม่ว่าจะรัฐบาลไหนขึ้นมา มันสามารถเคลื่อนไปได้โดยกลไกอะไร ก็เชื่อว่าน่าจะเป็นกลไกทหารและก็อ้าง พรก.ฉุกเฉิน อำนาจของนายกคงไม่ได้ลงไปดูอีกแล้วหลังจากได้มอบหมายคำสั่งลงไปแล้ว ก็คงจะแยกส่วน
 
พรก.ฉุกเฉิน ถ้าประเทศเป็นประชาธิปไตยก็ไม่ควรมี
 
พรก.ฉุกเฉิน ถ้าประเทศเป็นประชาธิปไตยก็ไม่ควรมี มันจะต้องไม่มีกฎหมายแบบนี้กฎหมายที่ให้อำนาจเบ็ดเสร็จ กฎหมายที่สั่งไปแล้วเอาคืนยากมันควรจะไม่มี การที่เราไม่มีส่วนร่วมในการเข้าไปตรวจสอบกองทัพ กำหนดกรอบนโยบายกองทัพ สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนใต้ ที่มีปัญหาที่เขาบอกกองทัพเป็นตัวปัญหาอันหนึ่ง ซึ่งไม่มีใครสามารถเข้าไปได้ เพราะเมื่อไหร่ที่คุณตรวจสอบกองทัพคุณก็จะเจอนานทหารที่นิสัยดีๆออกมาต้อนรับแล้วก็พาไปดูพื้นที่ดีๆ ก็จะมีแต่นายทหารพัฒนา ไม่เคยพูดถึงนายทหารที่มีปัญหานี่เป็นอย่างไร ประกอบกับพวกเราจะไม่พูดเรื่องปัญหาความขัดแย้งในกรณีที่ทนายสมชาย นีละไพจิตรที่สูญหายไปจากกรณีที่เข้ามาช่วยเหลือกรณีซ้อมทรมาน คิดว่าจะนำไปสู่การจับหรือการชี้ให้เห็นว่ามีการซ้อมทรมานจริงเจ้าหน้าที่ได้ แล้วก็ทำให้ทนายสมชาย หายตัวไป และก็คิดว่าอันนี้ ก็เป็นปัญหาค้างคาใจอันหนึ่ง
 
สิ่งที่สำคัญเราไม่ต้องการรู้ว่าสถานการณ์ 3 จว.มีข้อมูลจริงเป็นอย่างไร
 
สำคัญที่สุดคือปัญหาชายแดนภาคใต้พวกเราไม่รู้ว่าสถานการณ์จริงเป็นอย่างไรไม่มีการตรวจสอบหาข้อมูลข้อเท็จจริง แล้วก็สิ่งที่สำคัญเราไม่ต้องการรู้ว่าสถานการณ์ 3 จว.มีข้อมูลจริงเป็นอย่างไร เราอยากรู้ว่ากองทัพมีปฏิบัติงานใน 3 จว.อย่างไร แล้วก็เอางบประมาณเราลงไปทำอะไรบ้าง ตรงนี้ต่างหากที่เราไม่สามารถตรวจสอบกองทัพได้ เพราะฉะนั้นภายใต้ พรก.ฉุกเฉินมันจะมีอำนาจก็ต่อเมื่อมีกองทัพเข้ามีมีส่วนร่วมให้ พรก.ฉุกเฉินมีอำนาจมากขึ้น มันก็เหมือนกับคนที่อยู่ในกรุงเทพ คนเสื้อแดงก็ได้รับผลกระทบจาก พรก.ฉุกเฉิน ก็ได้เห็นแล้วว่า พรก.ฉุกเฉิน นี่มันควรจะต้องถูกยกเลิก มันจะมีอยู่ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยไม่ได้
 
ทางออกใน 3 จว.ชายแดนภาคใต้ ก็คือต้องถอนกำลังทหารทันที ยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน พรบ.ความมั่นคง กฎอัยการศึก แล้วให้อำนาจประชาชน เขาควรจะเลือกเขาควรจะปกครองตัวเองในรูปแบบไหน สามารถเลือกตั้งผู้ว่าได้ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารโรงพยาบาล โรงพัก โรงเรียน มีบอร์ดโรงพยาบาล บอร์ดโรงพัก บอร์ดโรงเรียน โดยที่ประชาชนเข้าไปเป็นคณะกรรมการ และการใช้ภาษาถิ่น เข้าใจวัฒนธรรม เพราะวัฒนธรรมในแต่ละท้องทีก็มีความแตกต่างกันออกไป  การเคารพบางอย่างมันอาจจะไม่เหมือนกัน  ผู้นำนำกองทัพต้องมาจากคณะกรรมการที่มาจากการเลือกตั้ง จะเลือกตั้งผ่านสภาหรือโดยตรงจากประชาชนมันก็ควรจะมี เพราะไม่เช่นนั้นก็ทัพก็จะบอกว่าไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง จริงๆมันต้องเกี่ยวกับการเมือง การเมืองต้องเข้าไปควบคุมกองทัพได้ 
 
สังคมเรากำลังจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในเร็วๆนี้ มันควรจะยกเลิกกองกำลังทหารใน 3 จว.ชายแดนเสีย เพราะว่าเราจะพัฒนาประเทศได้อย่างไรในเมื่อรอบๆข้างบ้านเราเราจะเป็นประเทศเดียวกันแล้ว เราจะข้ามไปมาหาสู้กันได้ตามปกติแล้ว แล้ว 3 จว.นี้จะควบคุมสถานการณ์โดยรัฐไทยที่จะควบคุมไว้ให้มันมีกองกำลังอยู่ตรงนั้นหรือ เพราะฉะนั้นถ้าคิดว่าเราจะก้าวสู้สังคมอาเซียน ก็ควรจะต้องยกเลิกทหาร ยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน  และถอนกำลังทหาร
 
ควรเอางบลงไปพัฒนาดีกว่าไปลงที่ทหาร
 
งบประมาณที่ลงไปดับไฟใต้นี่ถ้าถัวเฉลี่ยแล้วมันสามารถแบ่งให้คนใน 3 จว.ชายแดนใต้ ซึ่งงบประมาณตั้งแต่ปี 47 – 54 นี่ 1 แสน 4 หมื่น 5 พันล้านบาท ถ้าให้ 3 จว.แบ่งกันแล้วใช้การพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียนหรือว่าสร้างระบบสาธารณูประโภคทั้งหมดนี่ 3 จว.น่าจะมีรถไฟฟ้าที่ดีกว่าในกรุงเทพแล้ว เพราะฉะนั้นก็ควรจัดการตรงนั้น เปิดพื้นที่ให้มีการพัฒนาดีๆ ดีกว่าที่จะเอางบประมาณตรงนี้ลงไปให้กับทหารแล้วเกิดการฆ่ากันตาย
 
“เหตุการณ์ความรุนแรงเป็นที่ประจักษ์แล้วในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนใต้ ณ ปัจจุบันภาคใต้เองมันไม่ได้มีเพียงแค่กลุ่มอุดมาการณ์ขบวนการแบ่งแยกดินแดนแล้ว มันเริ่มมีกลุ่มอิทธิพล ยาเสพติดด้วย หลังปี 47 เป็นที่สงสัยสำหรับประชาชนชาวมาลายูปัตตานีในพื้นที่ว่าเหตุใดยาเสพติดมันระบาดมากเหลือเกินในพื้นที่ 3 จว. ทั้งๆที่เรามี พรก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก เรามีทหารเต็มบ้านเต็มเมืองมากที่สุดในประเทศไทย”
 
จามาล กีไร ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนนิสิตนักศึกษา พิทักษ์ประชาชน
พวกเราภูมิใจในความเป็นมาลายูปัตตานีมาตั้งนานแล้ว รัฐเองต้องหาวิธีการหรือช่องทางให้เปิดโอกาสให้กับคนมาลายูปัตตานีภูมิใจโดยที่ไม่ต้องสงสัยว่าคนที่ภูมิใจความเป็นมาลายูปัตตานีจะต้องเป็นผู้ก่อการร้ายทุกคน หรือว่าคนที่ภูมิใจในฐานะมาลายูปัตตานีจะต้องเป็นผู้ต้องสงสัยในมิติของรัฐในกรณีเหตุการณ์ต่างๆ ตรงนี้รัฐจะต้องแยกแยะให้ได้
 
พูดถึงปัตตานี พูดถึงเหตุการณ์ใน 3 จว.ชายแดนใต้ มาถึงวันนี้เหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น ปัตตานีเสียเอกราชให้กับสยามแล้วมีการแบ่งแยกและปกครองช่วงขณะนั้นจะมีการเคลื่อนไหวก็เพียงแค่เจ้านครของปัตตานีเท่านั้นเอง ยังไม่มีการเคลื่อนไหวในมิติของภาคประชาชน จนกระทั้งมาในช่วงของฮายีสุหลง หลังจากที่มีการปฏิวัติประเทศไทยของคณะราษฎร ฮายีสุหลงเองกลับมาประเทศไทย จากไปศึกษาที่ซาอุดิอาระเบียไปศึกษาด้านศาสนาที่เมกกะกลับมาบ้านเกิดของตนเอง  แกมีอุดมคติที่จะให้พี่น้องจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความรู้ด้านศาสนายิ่งขึ้น
 
จอมพล ป.พยายามที่จะใช้ one nation one race พยายามให้พวกเราในฐานะที่เป็นมาลายูปัตตานีเป็นคนๆเดียวกันของไทยหรือว่าสยามในช่วงขณะนั้น ก็เริ่มที่จะมีข้อขัดแย้งกับทางการรัฐไทย
 
แต่ในช่วงขณะนั้นเองการเคลื่อนไหวของกลุ่มขบวนการเกิดขึ้นแล้วหรือยัง ยังไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการมากนักจะเป็นรายบุคคลเท่านั้นเอง ยังไม่เป็นขบวนการที่มีมวลชนมากมาย ในช่วงขณะนั้นช่วงคณะราษฎร์ที่อาจารย์ปรีดีเป็นผู้มีอำนาจ ภาคใต้เองก็ไม่ได้มีลักษณะเรื่องของความวุ่นวายเลย อาจารย์ปรีดีก็เข้าใจในมิติที่เกิดขึ้นได้มีจุฬาราชมนตรีขึ้นมาอาจารย์แช่ม พรมยงค์ ซึ่งมาดูแลเรื่องของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงขณะนั้นอาจารย์ปรีดีก็ลงมาทุกครั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังจากที่ได้เชิญมาเปิดโรงเรียนบ้าง แต่หลังจากที่อาจารย์ปรีดีถูกปฏิวัติโดยจอมพล ป. ในยุคขณะนั้นเป็นยุคที่เริ่มมีขบวนการขึ้นมาเพราะว่าหลังจากที่จอมพล ป.พยายามที่จะใช้ one nation one race พยายามให้พวกเราในฐานะที่เป็นมาลายูปัตตานีเป็นคนๆเดียวกันของไทยหรือว่าสยามในช่วงขณะนั้น ก็เริ่มที่จะมีข้อขัดแย้งกับทางการรัฐไทย ประกาศ 12 ฉบับของจอมพล ป. ไม่ใช่ทุกฉบับที่ชาวมาลายูปัตตานีเราไม่เห็นด้วย จะมี 2-3 ฉบับเท่านั้นเองที่มีผลกระทบต่อเรา ด้านวัฒนธรรมอัตตาลักษณ์ของตนเอง ด้านศาสนาในช่วงขณะนั้น เราก็มีการรวมตัวขึ้นโดยมีแกนนำคือฮายีสุหลง จนกระทั้งมีการเสนอให้กับจอมพล ป. 7 ข้อด้วยกัน จะมีผู้นำจะต้องเป็นคนมาจากพื้นที่ 80% ต้องใช้ภาษามาลายูควบคู่กับภาษาไทย ซึ่ง 7 ข้อเหล่านั้นรัฐบาลน่าจะรับในช่วงขณะนั้น 
 
ฮายีสุหลงหายตัวไปความรุนแรงเริ่มเกิดขึ้น…อาจจะเป็นปฐมเหตุของเหตุการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้
 
แล้วหลังจากที่ถูกปฏิเสธแล้ว ฮายีสุหลงรวมทั้งลูกชายก็ถูกจับแล้วก็มีกลุ่มลูกศิษย์ของฮายีสุหลง เริ่มออกมาเรียกร้อง แล้วก็ประชาชนรู้จักฮายีสุหลงกันหมด แม้แต่รัฐใกล้เคียงก็รู้จัก จนกระทั้งฮายีสุหลงหายตัวไปความรุนแรงเริ่มเกิดขึ้นแล้ว การก่อตัวก่อม๊อปชุมนุมเกิดขึ้น เรียกร้องความเป็นธรรมตรงนี้ ถือได้ว่าอาจจะเป็นปฐมเหตุของเหตุการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วงนั้นก็ว่าได้ จนกระทั้งมีการใช้ขบวนการติดอาวุธ
 
หลังจากที่ปัตตานียอมรับว่าตนเองมีเอกราชของตนเอง ทราบว่ามีอัตลักษณ์ มีรูปแบบการปกครองของตนเองขึ้นมา พอรู้สึกว่าตนเองเสียอำนาจให้แก่ไทย ตกเป็นอาณานิคมให้แก่สยามแล้ว หลังจากนั้นมันมีเมล็ดพันธุ์ของอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนขึ้นมา มีการเผาโรงเรียนเขาบอกว่าสาเหตุการเผาเนื่องจากกลุ่มขบวนการไม่พอใจนโยบายการศึกษาของรัฐ รัฐเองพยายามยังยอกเด็กมาลายูให้ยอมรับความเป็นไทยมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ซึ่งผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีอุดมการณ์มาลายูปัตตานีก็ยอมรับไม่ได้
 
ไม่ได้มีเพียงแค่กลุ่มอุดมาการณ์ขบวนการแบ่งแยกดินแดนแล้ว มันเริ่มมีกลุ่มอิทธิพล ยาเสพติดด้วย
 
พอเหตุการณ์ความรุนแรงเป็นที่ประจักษ์แล้วในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนใต้ ณ ปัจจุบันภาคใต้เองมันไม่ได้มีเพียงแค่กลุ่มอุดมาการณ์ขบวนการแบ่งแยกดินแดนแล้ว มันเริ่มมีกลุ่มอิทธิพล ยาเสพติดด้วย หลังปี 47 เป็นที่สงสัยสำหรับประชาชนชาวมาลายูปัตตานีในพื้นที่ว่าเหตุใดยาเสพติดมันระบาดมากเหลือเกินในพื้นที่ 3 จว. ทั้งๆที่เรามี พรก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก เรามีทหารเต็มบ้านเต็มเมืองมากที่สุดในประเทศไทย ผมประทับใจวีดีโอคลิปอันหนึ่งที่ทำจากช่องทีวีช่องหนึ่งที่ดูผ่านทางทีวิเคเบิล ตอนนี้แพร่หลายทาง Facebook มาก เป็นหน่วยเก็บกู้ระเบิด หน่วยเก็บกู้ระเบิดเขาได้เขียนว่า เดี๋ยวนี้ไม่ได้เจาะจงเฉพาะกลุ่มก่อการร้ายที่สร้างเหตุการณ์ระเบิดขึ้นมาสร้างความวุ้นวายขึ้นมา บางครั้งคนบางกลุ่ม เจ้าหน้าที่บางกลุ่มที่แสวงหาผลประโยชน์ และก็การสร้างความวุ่นวายเพื่อให้ได้ผลประโยชน์นั้นมา เป็นช่วงที่ผู้สื่อข่าวสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่กำลังไปดูเหตุการณ์ยิงปืน M79 ซึ่งนายทหารคนนั้นก็บอกว่า ดูแล้วก็น่าจะรู้ว่ามันเป็นฝีมือของใคร เพราะ M79 มันไม่ได้มีให้เฉพาะประชาชนชาวบ้านทั่วไป แต่มันมีเฉพาะสถานที่ของมันที่จะต้องอยู่ของปืน เจ้าหน้าที่เองก็สงสัยว่ามันไม่ใช่กลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน มันจะต้องมีกลุ่มหลายๆกลุ่มขึ้นมา
 
จะแก้ปัญหาต้องเอาตัวจริงทั้ง 2 ฝ่ายมาเจรจา
 
รัฐเองก็จะต้องให้ความจริงใจจริงจังต่อการแก้ปัญหา ปัญหา 3 จว.ชายแดนใต้มันสิ้นสุด ปัญหาของขบวนการแบ่งแยกดินแดน มันสิ้นสุด มันต้องมีพื้นที่ของการเจรจา ผมยังยืนยันเรื่องของการเจรจา มันจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อความจริงใจและความจริงจัง ของทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นขบวนการแบ่งแยกดินแดนเอง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่มีอำนาจของรัฐไทย เพื่อไทยที่เป็นรัฐบาลปัจจุบันจะเปิดพื้นที่เจรจามีการพูดคุยแล้ว ทำไมเหตุการณ์ยังไม่จบ เพราะว่าการเจรจายังไม่ใช่ตัวจริงของกลุ่ขบวนการ รัฐเอกก็ต้องเอาตัวจริงของรัฐออกมาด้วย พวกเราหวังปราถนาความสันติสุขในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนใต้ 
 
วันนี้เราอยู่ภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน ภายใต้กฎอัยการศึก แล้วอยู่มานานด้วยอยู่มากว่า 7 ปี พรก.ฉุกเฉินถูกประกาศมาโดยตลอด ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งที่ 26-27 แล้ว ที่ถูกแประกาศ พรก.ฉุกเฉิน แต่เหตุการณ์มันก็ยังเหมือนเดิม สิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนภาคใต้ มันก็ยังเหมือนเดิม แถมความรุนแรงมันยิ่งเพิ่มขึ้น ดังนั้นหากว่าวิธีการแก้ไขจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังเป็นเป็นลักษณะนี้อยู่ ผมเกรงนะผมกลัวนะกลัวว่ามันจะถูกแยกออกมาจริงๆ เพราะหากว่ายังคงไว้ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาแบบนี้ ประชาชนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจาก พรก. ที่ได้รับผลกระทบจากกฎอัยการศึก ครอบครัวที่เสียชีวิตจากการ พรก. จากกฎอัยการศึก วันนี้ไม่ได้รับความเป็นธรรม  หากว่าเขายังเห็นความเป็นธรรมไม่เจอในประเทศไทย มีกลุ่มขบวนการที่อ้าแขนยอมรับ พร้อมที่จะรับ พร้อมที่จะอ้าแขนรับ ดังนั้นเมือไหร่ที่ประชาชนกลับเห็นว่าเสรีภาพแล้ความยุติธรรมไม่เกิดขึ้นกับตัวเองแล้วนี่ แน่นอนว่าประชาชนเหล่านั้นต้องไปสู่แนวทางของขบวนการแบ่งแยกดินแดนอย่างแน่นอน ดังนั้นวันนี้รัฐจะต้องไตร่ตรองและจริงจังมากขึ้น
 
“...เครื่องมือของรัฐ มันใหญ่กว่ารัฐหรือปล่าว คือตอนนี้เราเข้ามาเจาะที่รัฐไทย รัฐสามารถควบคุมตัว Actor (ตัวแสดง)เราจะสังเกตุเห็นตลอดช่วงปีที่ผ่านมาเราก็จะเห็นรัฐบาลไม่สามารถไปแก้ปัญหา พรบ.กลาโหม ได้ อย่างนี้สรุปแล้วเครื่องมือที่รัฐใช้ รัฐควบคุมได้หรือปล่าว หรือว่ามีอำนาจมากกว่ารัฐ”
พรชัย ยวนยี เลขาธิการ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.)
ถ้าเราจะมองหน้าที่ของรัฐมองว่ารัฐมันทำหน้าที่อะไร ก็คือการตั้งรัฐขึ้นมาของแต่ละประเทศหน้าที่ของมันมีแค่ 2 อย่าง อย่างแรกคือ มีหน้าที่รักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับพลเมืองของรัฐ หน้าที่อย่างที่ 2 ของมันคือจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้พลเมืองทุกคนที่มีความต้องการที่ไม่จำกัด นี่คือหน้าที่ของรัฐ
 
เครื่องมือของรัฐ มันใหญ่กว่ารัฐหรือปล่าว
 
แล้วตัวแสดงของรัฐคืออะไร ก็คือรัฐบาล แล้วเครื่องมือที่รัฐใช้ในการให้คนเชื่อ ก็คือคุก ศาล ทหาร ตำรวจ แต่สิ่งที่ผมชวนให้ท่านคิดคือว่า สรุปแล้วรัฐมันทำหน้าที่ตรงนี้จริงๆไหม แล้วตัวที่เป็นเครื่องมือของรัฐ มันใหญ่กว่ารัฐหรือปล่าว คือตอนนี้เราเข้ามาเจาะที่รัฐไทย รัฐสามารถควบคุมตัว Actor (ตัวแสดง)เราจะสังเกตุเห็นตลอดช่วงปีที่ผ่านมาเราก็จะเห็นรัฐบาลไม่สามารถไปแก้ปัญหา พรบ.กลาโหม ได้ อย่างนี้สรุปแล้วเครื่องมือที่รัฐใช้ รัฐควบคุมได้หรือปล่าว หรือว่ามีอำนาจมากกว่ารัฐ
 
สังคมไทยคิดว่าความมั่นคงทางหารทหารเป็นความมั่นคงสุดยอด
 
ที่บอกไปรัฐมีหน้าที่รักษาความมั่นคงปลอดภัย รัฐชอบอ้างความมั่นคง ซึ่งแน่นอนความมั่นคงมีหลายความมั่นคง แต่สังคมไทยมักสโคปความมั่นคงเป็นความมั่นคงเกี่ยวกับทหาร การอยู่ดีกินดีของพลเมืองถือเป็นความมั่นคงหรือปล่าว คือถ้ารัฐไม่มีคนก็ไม่สามารถเรียกรัฐได้ การที่รัฐมีโรงพยาบาลที่รักษาเราอยู่รอดเป็นความมั่นคงทั้งนั้น เรามีโรงเรียนที่สอนพลเมืองให้มีการศึกษาเป็นความมั่งคง ทุกอย่างเป็นความมั่นคง แต่สังคมไทยคิดว่าความมั่นคงทางหารทหารเป็นความมั่นคงสุดยอด และเราก็เลยเชื่ออย่างนั้นจริงๆเพราะว่ารัฐก็จะสอนเราอยู่อย่างนี้ จนกลายเป็นว่าการทหารคือสิ่งสำคัญที่สุด 
 
แต่ถ้าเราพยายามทำความเข้าใจสังคมองค์รวมทั้งหมด เราจะพบว่า ณ ปัจจุบันมันหมดไปแล้ว หมดยุคทหารไปแล้ว มันไม่ใช่การต่อสู้เรื่องอาวุธ มันไม่ใช่การต่อสู้เรื่องการทหารอีกต่อไป แต่มันคือการต่อสู้ความอยู่ดีกินดี การต่อสู้กับต่างประเทศในเรื่องเศรษฐกิจ การต่อสู้กับไม่ว่าจะเป็น neo liberalism ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ของพลเมืองเพื่อให้ได้ประชาธิปไตยมา สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่การทหารอีกต่อไป แต่เรากลับเห็นปรากฏการณ์ที่ว่าทหารพยายามเข้ามามีอำนาจเช่นในอดีต 


ปัจจุบันถ้าไม่มีการสู้รบเกิดขึ้น ทหารก็จะไม่มีหน้าที่อะไรเลย 
 
คำที่ผมพยายามใช้ว่า “การพยายามแช่แข็งของเก่าในของใหม่” คือว่า ณ ปัจจุบันถ้าไม่มีการสู้รบเกิดขึ้น ทหารก็จะไม่มีหน้าที่อะไรเลย เพราะว่ารัฐบาลก็จะไม่เรียกใช้ แต่สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นคือว่า มันมีชุดความคิดหนึ่งที่ว่าทำอย่างไรให้รัฐบาลเรียกใช้ การที่ทำให้เกิดความไม่สงบเกิดขึ้น ยกตัวอย่างกรณีหนึ่ง ในสมัยที่สงคมไทยมีภัยคอมมิวนิสต์เชื่อไหมครับว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเกือบทุกจังหวัดอยากให้จังหวัดตัวเองมีคอมมิวนิสต์ อยากให้จังหวัดตนเองเป็นพื้นที่สีแดง เพราะว่างบประมาณจะได้ลง มันเริ่มเข้าไปสู้สิ่งที่เรียกว่าผลประโยชน์ เปรียบเทียบกับ ใน 3 จว.ชายแดนใต้ ความพยายามที่จะทำให้มีความไม่สงบเกิดขึ้นเพื่อที่จะผันงบลงกองทัพ เพื่อให้ผันงบลงมากๆโดยที่มีตัวอ้างว่า พื้นที่ตรงนี้มีความไม่สงบเกิดขึ้น ถ้าไม่สร้างทหารก็ไม่มีประโยชน์ รัฐก็ไม่เรียกใช้
 
ใน 3 จว.ชายแดนใต้ ทหารใช้เครื่องมือคือกฎหมาย ซึ่งกฎหมายสำคัญซึ่งออกง่ายที่สุด และคิดว่าก็ใช้ได้ตลอดก็คือ พรก.ฉุกเฉิน เพราะออกโดยฝ่ายบริหาร ผมไม่เคยเห็นฝ่ายบริหารชุดไหนต้องการที่จะเลิกจริงๆจังๆ สรุปแล้วรัฐมีอำนาจจริงๆหรือปล่าว วันนี้ผมคิดว่าทุกอย่างโดนกดดันโดยทหาร วันนี่เรายังเกรงกลัวว่าจะมีรัฐประหารหรือปล่าว วันนี่เรายังไม่มีหลักประกันว่าจะไม่มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น ใช่ว่าพื้นที่ 3 จว.จะโดน ในฐานะที่ สนนท.ร่วมเคลื่อนไหวก็โดนเหมือนกัน พี่น้องเสื้อแดงก็โดนเหมือนกัน ทุกๆกลุ่มก็โดนเหมือนกันเพราะไม่มีหลักประกัน และรัฐก็ไม่มีความพยายามที่จะสร้างหลักประกันเพราะมันมีคนได้คนเสีย ซึ่งคนที่เสียมาโดยตลอดก็คือประชาชนทั้งนั้น ดังนั้นเราจะทำอย่างไรให้เราอยู่ได้บนความขัดแย้งที่ไม่ใช้ความรุนแรง ต้องสร้างกติกาที่ยอมรับร่วมกัน คนในสังคมยอมรับกติการ่วมกัน ซึ่งกติกาใหญ่ในสังคมไทยตอนนี้ก็คือรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญปัจจุบันเป็นกติกาที่สังคมไทยยอมรับหรือปล่าว ถ้ามันไม่เป็นที่ยอมรับมาตั้งกติกากันใหม่ ให้ทุกคนมีส่วนร่วม
 
นอกจากนี้ ฮากิม พงตีกอ กรรมการบริหาร สนนท. ภาคใต้ ยังได้ร่วมอภิปรายในประเด็นที่มีนักศึกษาถูกควบคุมตัวเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา(ดู น.ศ.เดินขบวนร้องทหารปล่อยตัวอดีตนักกิจกรรม)ว่า “เรารวมตัวนักศึกษาประมาณ 100 คน เพื่อไปสอบถามถึง ฉก. 11ที่ไปคุมตัวนักศึกษาว่าเหตุผลอะไร ที่เอานักศึกษาไป แต่เขาก็ปัดไม่ได้ชี้แจงอะไร และเรื่องนี้จะไม่จบจนกว่าจะกระจ่างชัดขึ้นเพราะว่าคิดว่าถ้าเรื่องนี้ไม่กระจ่างหลังจากนี้ก็จะมีคนที่รับเคราะห์อย่าง เช่น เพื่อนักศึกษาที่ยังอยู่ในกระบวนการสอบสวน ซึ่งอาจจะมีเหตุซ้อมทรมาน”
 
การซ้อมทรมานในชั้นสอบสวนก็มีหลากหาย ล่าสุดก็เปิดเผยว่ามากกว่า 33 รูปแบบ มองที่ตัวละครระหว่างรัฐกับคนที่ในพื้นที่เรียกกลุ่มขบวนการอุดมการณ์กอบกู้และปลอดปล่อยเอกราชปัตตานี ไม่ใช่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนอย่างที่รัฐใช้ อันนี้เป็นสงครามวาทกรรมด้วย รัฐไทยต้องยอมรับว่าคู่สงครามของตัวเองคือใคร ระหว่างคู่สงครามตรงนี่เป็นการต่อสู้แย่งชิงความชอบธรรม  รัฐไทยเป็นรัฐที่ขาดความชอบธรรมที่จะไปดูแลปกครองในดินแดนแห่งนี้แล้ว ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องประสานความชอบธรรมนี้ขึ้นมาใหม่ แต่ พรก.ฉุกเฉินไม่ได้ตอบสิ่งนี้ แต่พยายามตอกย้ำให้มันขัดต่อไป

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนงานร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับใหม่เสร็จแล้ว หวังล่าชื่อครบภายในเดือนนี้

Posted: 14 Jun 2012 09:55 AM PDT

 

เว็บไซต์วอยซ์เลเบอร์ รายงานว่า นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า คณะทำงานขับเคลื่อนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฉบับปฏิรูป ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สหพันธ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ ยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย สภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายแรงงานข้ามชาติ และนักวิชาการด้านกฎหมายแรงงาน ได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฉบับปฏิรูป โดยร่างกฎหมายฉบับใหม่นี้ได้ยึดหลักการสำคัญ 5 ข้อ ดังนี้

1. สอดคล้องกับหลักอนุสัญญาองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อสร้างหลักประกันในสิทธิเสรีภาพในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง

2. กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ฉบับเดียว ครอบคลุมแรงงานทุกภาคส่วน

3. เปลี่ยนกรอบคิดแรงงานสัมพันธ์ จากความสัมพันธ์แบบ “นายกับบ่าว” ไปสู่ “ หุ้นส่วนสังคมและเศรษฐกิจ”

4. มุ่งสร้างกระบวนการแรงงานสัมพันธ์เพื่อความเป็นธรรม

5. ส่งเสริมพัฒนา คุ้มครองระบบแรงงานสัมพันธ์

และคณะทำงานยกร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ได้มีการพิจารณายกร่างกฎหมายรายมาตราเสร็จสิ้นแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการเดินสายให้ความรู้กับกลุ่มผู้ใช้แรงงานย่านต่างๆ เพื่อกระทำการล่าลายมือมือเตรียมเสนอร่างกฎหมายพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ….ฉบับขบวนการแรงงาน ซึ่งได้มีการลงพื้นที่และล่าลายมือชื่อแล้ว โดยจะต้องได้ครบ 15,000 ชื่อภายในเดือนนี้

ทั้งนี้ หากประชาชนหรือผู้ใช้แรงงานที่ต้องการสนับสนุนร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ฉบับใหม่ที่เสนอโดยขบวนการแรงงานสามารถร่วมลงลายมือได้ โดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มเสนอกฎหมาย พร้อมทั้งถ่ายสำเนาเอกสารบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านพร้อมเซ็นต์กำกับสำเนาถูกต้อง ส่งกลับมาที่สำนักงานประสานงานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย 503/20 ถนนนิคมรถไฟ มักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์/โทรสาร 02-251-317

ชาลีระบุว่า หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความสนับสนุนจากทุกกลุ่ม หลังจากได้มีการสนับสนุนลงลายมือชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ของภาคประชาชน 14,264 ชื่อ ซึ่งขณะนี้รอการพิจารณาจากรัฐสภา ซึ่งยังไม่ได้มีการนำเข้ามาบรรจุเป็นวาระพิจารณาด้วยยังมีการพยายามดันเรื่องร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ และร่างกฎหมายปรองดอง กฎหมายของภาคประชาชนหลายฉบับจึงต้องรอ ไม่รู้ว่าจะมีการหยิบขึ้นมาบรรจุเข้าวาระการประชุม

แต่อย่างไรก็ตาม การล่าลายมือชื่อเสนอร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์อีกครั้งเพื่อการมีส่วนร่วมของแรงงานทุกกลุ่มนี้เป็นช่องทางที่จะเสนอร่างกฎหมายซึ่งเป็นของประชาชนโดยตรง ฉะนั้นขอเชิญชวนทุกท่านที่สนใจลงลายมือชื่อร่วมกันเสนอร่างกฎหมายของภาคประชาชนอีกครั้ง

 

ที่มา: เฮ!! ร่างพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ เสร็จแล้วพร้อมทำความเข้าใจ ลุยล่าลายมือชื่อหวังเสร็จเดือนนี้, voicelabour.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จี้ 3 ฝ่ายแก้ยูโรจอดำ ชี้กล่อง GMM ควรลดเหลือ 200-300 บาท

Posted: 14 Jun 2012 06:33 AM PDT

จี้ กสทช.- แกรมมี่ - ทรู แก้ยูโรจอดำ ชี้ปัญหาเกิดขึ้นสะท้อนระบบทุนนิยม สุดท้ายประชาชนเสียเปรียบ พร้อมแนะ GMM Z ควรลดราคากล่องเหลือ 200-300 บาท รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ย้ำคนไทยทั้งประเทศต้องดูได้ห้ามจอดำ ขีดเส้นพรุ่งนี้ต้องรู้ผล
 
14 มิ.ย. 55 - RYT9.COM รายงานว่า นพ.ทศพร เสรีรักษ์ สมาชิกพรรคเพื่อไทย อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ออกมาเรียกร้องต่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชท จำกัด และบริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ให้ 3 ฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันแก้ปัญหาให้ประชาชนสามารถดูการถ่ายทอดสดยูโร 2012 ได้ โดย นพ.ทศพร ชี้ว่า กสทช.ควรแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรมกว่าที่เป็นอยู่ ควรทำให้คุ้มเงินเดือน 4 แสนกว่าบาท ส่วนบริษัท จีเอ็มเอ็ม ควรลดราคากล่องสัญญาณลงมาจาก 1,500 บาท เหลือ 200-300 บาท พร้อมฝากให้กระทรวงพาณิชย์ไปตรวจสอบกล่องสัญญาณ มีการค้ากำไรเกินจริงหรือไม่
 
สำหรับทรู ควรซื้อหรือเช่ากล่องสัญญาณจากบริษัท จีเอ็มเอ็ม มาให้ผู้ซื้อแพ็คเกจของบริษัททรู ซึ่งเรื่องนี้อยากให้เห็นแก่อนาคตของประเทศ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นภาพสะท้อนระบบทุนนิยม และผู้ได้รับผลกระทบคือประชาชน
 
ย้ำคนไทยทั้งประเทศต้องดูได้ห้ามจอดำ ขีดเส้นพรุ่งนี้ต้องรู้ผล
 
ด้าน Mthai News รายงานว่าจากข้อพิพาทระหว่างทรู และแกรมมี่ เรื่องลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร 2012 จนส่งผลให้ประชาชนที่ติดจานดาวเทียมได้รับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าว จนไม่สามารถรับชมการถ่ายทอดสดได้ เนื่องจากติดเรื่องลิขสิทธิ์ นั้น
 
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลได้ออกหนังสือในนามรัฐบาล เพื่อให้บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ยื่นเจรจากับทางสหพันธ์ฟุตบอลแห่งยุโรป หรือ ยูฟ่า เป็นกรณีพิเศษ โดยการเจรจาครั้งนี้ ทางแกรมมี่จะต้องสรุปผลในช่วงบ่ายของวันพรุ่งนี้ (15 มิ.ย.)
 
ส่วนการที่เข้ามามีส่วนร่วมของรัฐบาลในเรื่องดังกล่าวก็เพื่อให้ผู้รับชมฟรีทีวีในประเทศไทย สามารถรับชมการถ่ายทอดสดสัญญาณการแข่งขันฟุตบอลยูโร ผ่านดาวเทียมได้ทุกจาน โดยไม่จำกัดสิทธิ์
 
ขณะเดียวกันหากไม่สามารถตกลงเจรจาได้ รัฐบาลก็ได้เตรียมทางออกไว้ 2 แนวทาง คือ 1.จบลงด้วยดี ผู้ชมได้รับชมฟุตบอลยูโรทุกจานดาวเทียม และ 2.มาตรการดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งกรณีนี้ถือเป็นคดีพิเศษเนื่องจากผู้บริโภคได้รับผลกระทบโดยตรง
 
ด้าน นายเดียว วรตั้งตระกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องดีที่รัฐบาลเข้ามาเจรจาช่วยรับรองกับทางยูฟ่าโดยตรง เพราะจะช่วยให้ทุกอย่างเป็นไปด้วยดีมากขึ้น  ซึ่งทางแกรมมี่ยินดีดำเนินการเปิดสัญญาณหากได้รับอนุญาตจากทางยูฟ่า แต่ทั้งนี้ หากเปิดให้มีการรับชมทุกจานดาวเทียมแล้ว ผู้ประกอบการทุกรายจะต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบค่าลิขสิทธิ์ในครั้งนี้ด้วย.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชงปรับเงินพนักงานมหาวิทยาลัยเพิ่มสวัสดิการเทียบเท่าข้าราชการ

Posted: 14 Jun 2012 06:16 AM PDT

ที่ประชุม ทปอ. ชงปรับเงินเดือน-สวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัยเทียบเท่าข้าราชการ ทั้งประกันสังคม ค่ารักษาพ่อ-แม่ ค่าเทอมลูก โบนัส รวมถึงทุนสำรองเลี้ยงชีพ
 
14 มิ.ย. 55 - โลกวันนี้รายงานว่านายสุมิตร สุวรรณ ประธานเครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา เปิดเผยว่า จากการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลของพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีผู้แทนจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ที่ประชุมได้เสนอแนวทางปฏิบัติ/เกณฑ์กลางในการบริหารงานบุคคลสำหรับการบริหารพนักงานมหาวิทยาลัยดังนี้
 
สวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อกูลไม่น้อยกว่าของระบบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยที่เคยได้รับ โดยอาจปรับเปลี่ยนรูปแบบ ได้แก่ การประกันสังคม การประกันสุขภาพกลุ่ม ค่ารักษาพยาบาลบิดามารดา คู่สมรสและบุตร ปีละ 50,000 บาท ให้สะสมได้ การตรวจสุขภาพประจำปี เงินค่าเล่าเรียนบุตร เงินช่วยเหลือค่าทำศพ เงินตอบแทนพิเศษประจำปี (โบนัส) การเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้ง ครั้งละร้อยละ 3 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานสะสมร้อยละ 4-8 มหาวิทยาลัยสมทบร้อยละ 8 กองทุนสวัสดิภาพบุคลากร การให้เงินกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย/หอพัก/ค่าเช่าบ้าน ทุนการศึกษาและการฝึกอบรม การลาศึกษาต่อ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์
 
นอกจากนั้นยังเสนอปรับโครงสร้างค่าตอบแทน/อัตราเงินเดือนแรกบรรจุของพนักงานมหาวิทยาลัยดังนี้ ในระยะ 2 ปีแรก 1.ให้จ้างพนักงานสายวิชาการในอัตราไม่ต่ำกว่า 1.5 เท่าของเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ 2.ให้จ้างพนักงานสายสนับสนุนวิชาการในอัตราไม่ต่ำกว่า 1.3 เท่าของเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ ส่วนระยะ 2 ปีถัดมา 1.ให้จ้างพนักงานสายวิชาการในอัตราไม่ต่ำกว่า 1.6 เท่าของเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ 2.ให้จ้างพนักงานสายสนับสนุนวิชาการในอัตราไม่ต่ำกว่า 1.4 เท่าของเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ
 
3.การได้รับเงินประจำตำแหน่งแบ่งเป็น สายวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 5,600 บาท บวกเงินค่าตอบแทน 5,600 บาท รองศาสตราจารย์ จำนวน 9,900 บาท บวกเงินค่าตอบแทน 9,900 บาท ศาสตราจารย์ ระดับ 10 จำนวน 13,000 บาท บวกเงินค่าตอบแทน 13,000 บาท ศาสตราจารย์ ระดับ 11 จำนวน 15,600 บาท บวกเงินค่าตอบแทน 15,600 บาท
 
ส่วนสายสนับสนุนวิชาการ ชำนาญการ 3,500 บาท ชำนาญการพิเศษ 5,600 บาท บวกเงินค่าตอบแทน 5,600 บาท เชี่ยวชาญ 9,900 บาท บวกเงินค่าตอบแทน 9,900 บาท เชี่ยวชาญพิเศษ 13,000 บาท บวกเงินค่าตอบแทน 13,000 บาท สำหรับเรื่องการออกจากงานกรณีพนักงานสัญญาจ้างทดลองงาน 1 ปี สัญญาต่อไปจนถึง 60 ปี แต่สามารถยกเลิกสัญญาจ้างได้ถ้าไม่ผ่านการประเมิน ให้ใช้วิธีการประเมินแบบ 360 องศา หรือคณะกรรมการเป็นผู้ประเมิน
 
นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปเบื้องต้นโดยมอบหมายให้ ทปอ. ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย และที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ไปศึกษารายละเอียดและความเป็นไปได้ของหลักเกณฑ์ตามที่เครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัยเสนอ เพราะการบริหารจัดการต่างๆขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาไม่มีอำนาจไปบังคับ และหากได้ข้อสรุปอย่างไรจะต้องเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) พิจารณาอีกครั้ง หาก ก.พ.อ. เห็นชอบ จะต้องออกเป็นประกาศ ก.พ.อ. เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เสวนา ปรีดี พนมยงค์กับหลักแบ่งแยกอำนาจ: วิพากษ์องค์กรอิสระ - บ้านพักคนชราที่น่าผิดหวัง

Posted: 14 Jun 2012 04:19 AM PDT

พนัส ทัศนียานนท์ สารภาพ สสร. 2540 ทำบาปสร้างอค์กรอิสระให้กลายเป็นอำนาจที่ 4 อยู่เหนืออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เสนอถ้าแก้รัฐธรรมนูญใหม่ ต้องแก้ไของค์กรอิสระที่กลายเป็นบ้านพักชราที่น่าผิดหวัง พรีพันธุ์ พาลุสุข ชี้ ส.ส. 300 กว่าคน เตรียมเป็นผู้ก่อการร้ายได้หากศาลรธน. ชี้ว่าผิดตามรธน. มาตรา 68

14 มิ.ย. 2555 วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการเสวนาเรื่อง “ปรีดี พนมยงค์ กับหลักการแบ่งแยกอำนาจในระบอบประชาธิปไตย: ตุลาการ VS นิติบัญญัติ” ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, โภคิณ พลกุล, พนัส ทัศนียานนท์, พีระพันธุ์ พาลุสุข ดำเนินรายการโดย มรกต เจวจินดา ไมยเออร์

โภคิณ พลกุล: กฎหมายพัฒนามาไกลมาก แต่กลับย้อนถอยหลังกลับไปได้ โดยไม่มีตรรกะรองรับ
ดร.โภคิณ พลกุล อดีตประธานรัฐสภา กล่าวถึงมรดกของปรีดี พนมยงค์ในเรื่องหลัการแบ่งแยกอำนาจ และปัญหาฝ่ายศาลและนิติบัญญัติว่า การเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นได้วางหลักการแบ่งแยกอำนาจไว้

โดยแนวคิดเรื่องหลักแบ่งแยกอำนาจในอดีตนั้นถือว่าเป็นของผู้ปกครองมนุษย์ก็ต่อสู้กันมาตลอดว่าอำนาจนั้นควรเป็นของใคร ในที่สุดปราชญ์ต่างๆ ก็บอกว่าอำนาจถ้าเป็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ประชาชนก็ไม่มีวันได้มีสิทธิเสรีภาพ ผู้ปกครองก็ใช้อำนาจตามอำเภอใจ รุซโซจึงบอกว่าอำนาจต้องเป็นของทุกคนในสังคม มองเตสกิเออร์ ก็บอกว่าควรจะแบ่งเป็นสามอำนาจใหญ่ๆ คือนิติบัญญัติ บริหาร ตลาการ และไดรับการยอมรับค่อนข้างมากบนสมมติฐานว่า ถ้าองค์กรเดียวใช้อำนาจทั้งสามพร้อมๆ กันแล้วจะไม่มีการคานกัน แต่ถ้าจะจะคานอำนาจแล้วจะให้อำนาจอะไรคานกับอะไร ตอนนั้นยังไม่มีประชาธิปไตยหรือการเลือกตั้ง มองเตสกิเอออร์ อยู่ในอังกฤษและเห็นปัญหาระหว่างขุนนางและกษัตริย์จนกระทั่งมีรัฐธรรมนูญของอังกฤษ มีการคานอำนาจกันทั้งโดยรัฐธรรมนูญและโดยจารีตประเพณี โดยกฎหมายต่างๆ กัน แต่การคานอำนาจจะไม่ขัดกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ส่วนประเทศที่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรประเทศแรกของโลกคืออเมริกา ยอมรับสิทธิในฐานะเป็นมนุษย์ด้วยกันและวางหลักกฎหมายอาญาด้วยว่าคนจะต้องรับผิดหรือถูกลงโทษได้ต้องมีกฎหมายบัญญติขณะที่เขากระทำ เป็นการเปลี่ยนแปลงแนวคิดยุคโบราณ ที่ลงโทษรุนแรงเจ็ดชั่วโคตร พ่อทำผิด ลูกผิดด้วยเหมือนกรณีบ้านเลขที่ 111 แม้จะไม่ได้กระทำผิดด้วยแต่ก็ถูกลงโทษ ซึ่งน่าสังเกตว่าจริงๆ กฎหมายพัฒนามาไกลมาก แต่กลับย้อนถอยหลังกลับไปได้ โดยไม่มีตรรกะรองรับ

สำหรับฝรั่งเศส นั้นศาลในอดีตขัดขวางอำนาจฝ่ายบริหารมาก และในที่สุดฝ่ายปฏิวัติที่ล้มกษัตริย์ลงไปก็ไม่เห็นด้วยกับอำนาจของศาล จึงมีศาลปกครองขึ้นมา และแบ่งระบบศาลใหม่ คนที่นั่งอยู่ในศาลปกครองไม่ใช่ฝ่ายตุลาการแต่เป็นฝ่ายบริหาร คำพิพากษาที่ออกมา อยู่ที่ว่คนยอมรับ ตัดสินได้ถูกหลักเกณฑ์มีเหตผล ไม่ได้สำคัญว่าคุณจะเป็นตุลการหรือศาลหรือไม่ แต่เมื่อมาทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดแล้วต้องมีความเป็นกลาง

ดร. โภคิณกล่าวว่า รัฐธรรมนูญของไทยฉบับแรกเริ่มวางหลักแบ่งแยกอำนาจเช่นกัน แต่หลังจากนั้น ไทยก็มีปัญหาในเรื่องเขตอำนาจศาลที่เข้ามามีบทบาทในการตีความรัฐธรรมนูญตลอดมา

ดร. โภคิณ กล่าวว่าสิ่งที่ปรีดี พนมยงค์ทำคือการยืนยันหลักการแบ่งแยกอำนาจ และสิทธิเสรีภาพ “วันนี้ที่เราทำกันนี้ ท่านคงแปลกใจมากว่ายุคท่านยังไม่เป็นอย่างนี้ แต่ยุคนี้ทำไมย้อนหลังขนาดนี้”
การข่มเหงประชาธปิไตยจะทำยากขึ้น จึงต้องดิ้นสุดลิ่มทิ่มประตู

ดร. โภคิณ กล่าวว่าปัญหาของบ้านเมืองขณะนี้มี 2 เรื่องใหญ่ ๆ การแก้ไขรัฐธรรมนูญและการปรองดอง คือ รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นเครื่องมือของการจัดการกับฝ่ายประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีระบุว่า ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม ซึ่งก็ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร ซึ่งนายมีชัย ฤชุพันธ์ เคยอธิบายไว้แล้วว่า หลักนิติธรรมจะอยู่ใต้บริบทที่ไม่เป็นประชาธิปไตยไม่ได้

แต่กรณีตามม. 68 นำไปสู่การสั่งยุบพรรค ก็ต้องถามว่านี่เป็นไปตามหลักนิติธรรมหรือไม่ หรือกรณีมาตรา 309 เป็นเรื่องนิรโทษกรรมผู้ที่ยึดอำนาจ ยกโทษให้ตัวเองในสิ่งที่ได้กระทำมาแล้ว ก็น่าสงสัยว่าใครเป็นนักกฎหมายที่ช่วยคิดเรื่องเลวร้ายแบบนี้ได้ เรื่องดีๆ ไม่คิด

“คือคำสั่งคณะรัฐประหารเขียนว่าประกาศคำสั่งคณะรัฐประหารให้มีผล และชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยระฐธรรมนูญ นี่ก็บ้าเต็มทนแล้ว พอมาเขียนรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็ไปยืนยันว่าที่เขียนไว้ในปี 2549 ให้ชอบด้วยรธน. 2550 อีก กฎหมายคำสั่งนี้ไม่ยุติธรรม รังแกคน เขาเขียนให้ชอบด้วยกฎหมาย เขาจึงกลัวมาก ว่าการข่มเหงประชาธปิไตยจะทำยากขึ้น จึงต้องดิ้นสุดลิ่มทิ่มประตู”

ประการที่สองคือปรองดอง ซึ่งประเด็นหลักของการปรองดองคือความชอบธรรม ทำกับเขาผิดหลักนิติธรรมแล้วจะยอมรับกันได้หรือไม่ ประเด็นการปรองดองมีสองเรื่องคือนิรโทษกรรมสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือยกโทษอาญาให้สองฝ่าย แต่แพ่งไม่ยก คนที่ถูกรังแก คนที่ตาย บาดเจ็บ สามารถไปฟ้องได้

ประเด็นต่อมาคือไปทำกับเขาไม่ถูกต้อง มีหลายคนไม่ชอบคุณทักษิณ บอกว่าบ้านเมืองจะสงบคือทักษิณยอมติดคุก ต้องถามว่าทำกับเขาถูกตามหลักนิติธรรมและประชาธิปไตยหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องแล้วจะดีได้ยังไง บ้านเมืองไปได้ขนาดนี้ ดังนี้นเมื่อทำกับเขาไม่ถูกต้องสิ่งที่ต้องแก้ไขคือคืนความถูกต้องให้เขาไปก่อน ทักษิณไปได้ทั่วโลกยกเว้นประเทศไทย แปลว่าทั้งโลกไม่เข้าใจหลักนิติธรรมของประเทศไทยใช่หรือไม่ ข้อเสนอพระปกเกล้าแม้จะเสนอให้คืนความยุติธรรม แต่ก็คืนความยุติธรรมแปลกๆ คือลงโทษแล้วให้มีผลต่อเนื่องไป ถ้าเริ่มไม่ถูกก็ต้องแกไข ตัดสิทธินักการเมืองไม่ถูกต้อง ก็ต้องคืนสิทธิเขาไป

ศาลรัฐธรรมนูญฝ่าไฟแดงแล้วหลายป้าย
ดร. โภคิณกล่าวยกตัวอย่างโดยสรุปว่ากลไกเหล่านี้ถูกวางไว้หมดแล้ว เขาจึงเสียกลไกนี้ไปไม่ได้ จะปรองดองอย่างไร ถ้าคืนประชาธิปไตยให้ประชาชน คืนความชอบธรรมให้ใครก็ตามที่ไม่ได้รับความชอบธรรม จะทำให้กลไกที่รังแกนั้นอยู่ต่อไปไม่ได้อีกต่อไป

สำหรับเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระสามจะทำอย่างไรต่อไป ดร.โภคิณสรุปว่า งานนี้ศาลรัฐธรรมนูญฝ่าไฟแดงหก-เจ็ดป้าย คือเว็บไซต์ของศาลเองก็ระบุว่า ให้ผ่านอัยการเท่านั้น และเคยมีการวินิจฉัยไว้แล้ว ในมาตรา63 เดิม ซึ่งก็คือ 68 ปัจจุบัน ศาลบอกว่า ยื่นคำร้องโดยตรงไม่ได้ต้องไปยื่นผ่านอัยการสูงสุด

ประเด็นต่อมาคือ ศาล เมื่อมีคนมายื่นคำร้อง ต้องดูว่าเป็นผู้เสียหายหรือเปล่า ประการต่อมา คือขั้นตอน มาตรา 68 บอกว่า ถ้าการใช้สิทธิในหมวดนี้ ถ้าไปกระทบกระเทือนล้มล้างระบอบประชาธิปไตยและได้อำนาจที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ก็ให้ไปร้องตรวจสอบ เวลานี้อ่านภาษาไทยก็ไม่เข้าใจให้ไปอ่านภาษาอังกฤษ สรุปคือคำมันต่อเนื่องกัน ไปยื่นอัยการแล้วอัยการพิจารณา และไม่มีกฎหมายให้ยื่นคำร้องสองทางพร้อมกัน

ถ้าศาลวินิจฉัยว่าผิด ส.ส. ส.ว. สามร้อยกว่าคนก็ต้องถูกดำเนินคดี แล้วอัยการก็ต้องดำเนินคดี ทั้งๆ ที่อัยการเพิ่งวินิจฉัยไปหยกๆ ว่าไม่ผิด ถามว่าถ้าตนเขียนกฎหมายเป็นอย่างนี้ต้องโทษสสร. หรือเปล่า ก็ไม่ใช่

ดร.โภคิณ กล่าวว่า จากนี้สิ่งที่ไม่ง่ายสำหรับฝ่ายประชาธิปไตย คือ แม้จะผ่านวาระสามได้ แต่ถามว่าเรื่องไปไหนต่อ สิ่งที่ยุ่งคือ เรื่องไปที่นายก นายกต้องทูลเกล้าเพื่อลงพระปรมาภิไธยภายใน 20 วัน ที่น่าห่วงคือศาลจะสั่งนายกห้ามทูลเกล้าฯ อีก แล้วถ้านายกไม่ยื่นก็จะมีคนร้องว่านายกไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ

“ตรงนี้เป็นเรื่องน่าเหนื่อยสำหรับฝ่ายบริหารเหมือนกัน ฝ่ายประชาธิปไตยแทนที่จะมีทางเดินอย่างกว้างขวางสบาย แต่กลับมีทางเดินที่ถูกขีดเส้นอยู่แคต่นี้ จะทำอะไรก็ยาก แต่ต้องอดทน และต้องอธิบายด้วยเหตุด้วยผล เมื่อเรายืนบนหลักประชาธิปไตย บนหลักนิติธรรม เราต้องบอกว่าหลักที่ถูกคืออะไร อะไรคือประชาธิปไตยที่แท้จริงและอะไรไม่ใช่ เราต้องสู้ด้วยวิถีทางประชาธิปไตยเท่านั้น” อดีตประธานรัฐสภากล่าวทิ้งท้าย

พนัส ทัศนียานนท์: บาปของสสร. 2540 ให้กำเนิดอำนาจที่ 4 มาใช้อำนาจเหนือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ
พนัส ทัศนียานนท์ กล่าวในฐานะที่เป็น สสร. 2540 ว่า กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจก้าวล่วงมาวินิจฉัยและมีคำสั่งกรณ๊การลงมติแก้ไขรธน. วาระ 3 ของรัฐสภาครั้งนี้ เป็นบาปที่เกิดจากการร่างรัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้มีอำนาจอื่นเข้ามาใช้อำนาจเหนืออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ

“อาจจะเป็นบาปของผมด้วย เพราะตอนนั้นผมเป็นสสร. 2540 คือสถานการณ์ตอนนั้นมันเลวร้ายมาก จึงจำเป็นต้องหามือปราบ หาเปาบุ้นจิ้นมา ในขณะนั้นเรามีความหวังกันมาก ในรธน. 2540 ก็หวังว่าการเมืองจะใสสะอาด การเลือกตั้งจะไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียงไม่โกงกัน นักการเมืองก็จะทำงานกันอย่างบริสุทธิ์โปร่งใส เพราะกลไกต่างๆ มันมัดไว้หมดเลย เรามีองค์กรอิสระ กกต. ปปช. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งองค์กรอิสระต่างๆ เหล่านี้ มีอีกหลายองค์กรล้วนแค่เกิดขึ้นมาเพื่อเป็นเบาปุ้นจิ้นปราบนักการเมืองมที่ได้อำนาจมาโดยมิชอบ นี่เป็นกระแสของความรู้สึกในขณะนั้น เรามีรธน. เขียนออกมา ก็เฮโลเห็นดีเห็นงามกันไป ผมเองก็คัดค้านว่านี่คือการสร้างระบบขุนนางขึ้นมา ไม่ได้ผ่านความเห็นดีเห็นงามของประชาชนเลย ผ่านการสรรหาทั้งสิ้น แล้วกรรมการก็ล้วนแต่อำมาตย์

“การมีองค์กรอิสระก็เพื่อจะควบคุมการบริหารแผ่นดินโดยการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามระบอบรัฐสภา ศาล หรือองค์กรอิสระต่างๆ นั้นแนวคิดพื้นฐานเพื่อเอามาควบคุมรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีโดยตรง โดยสรุปคือองค์กรต่างๆ เหล่นี้มีอำนาจเหนือกว่าฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ในความรู้สึกผมหลังจากที่เหตุการณ์มันพัฒนามาถึงปัจจุบันนี้แล้ว ผมคิดว่าอันที่จริงแล้วตอนที่เราทำรัฐธรรมนูญ 2540 นั้น หลักการคานอำนาจถูกทำลายลงโดยสิ้นเชิงโดยอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แหม เรารู้สึกภูมิองภูมิใจเหลือเกินว่าเราสร้างรัฐธรรมนูญของประชาชนขึ้นมา แต่มันได้ทำลายระบอบรัฐสภาลงโดยสิ้นเชิง เป็นการสร้างระบอบนี้ขึ้นมาเป็นอำนาจที่สี่ ควบคุมอีกสามอำนาจที่เหลือ

“ถ้ามีช่องเมื่อไหร่ท่านก็จะอ้างอำนาจทันที นี่คือตุลาการภิวัตน์ เรามาถึง รธน. 2550 นี่จึงไม่น่าแปลกใจเลย เริ่มจากใครเป็นสสร.-ตุลาการเข้ามาเต็มไปหมดเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ การที่ศาลรธน. สร้างอำนาจตรงนี้ ออกคำสั่งมายังสภา ถือว่าผิดต่อหลักการกระจายอำนาจไหม”

อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าวถึงการตีความของศาลรัฐธรรมนูญในการใช้ม. 68 ว่า ศาลคงตีความว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นการทำลายล้างรัฐธรรมนูญ และอ้างว่าตัวเองเป็นผู้แทนของอำนาจในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรซึ่งมีอำนาจในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

“แต่ผมอยากจะถามว่าถ้าเป็นเหตุผลที่ฟังขึ้นจริง แล้วรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเขียนไว้ทำไมในหมวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เวลาฟังท่านฟังให้ดีๆ นะครับเพราเวลาพูดแล้วฟังดูลื่นมาก ถ้าไม่มีท่านก็ไม่มีใครทำหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ”

สสร. 2540 ผู้นี้ยืนยันว่าคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญนี้เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ แต่หลายฝ่ายอาจจะรู้สึกแหยงเพราะผลงานที่ผ่านมาของศาลรัฐธรรมนูญนั้นน่าแขยง ทั้งการพจนานุกรมมาตีความ การยุบพรรคการเมืองชนิดที่ทำผิดคนเดียวก็ถือว่าผิดทั้งหมู่

“เรากำลังอยู่ในวิกฤตรัฐธรรมนูญครั้งสำคัญที่สุด และไม่รู้จะหาใครเป็นคนตัดสิน ในเมื่ออำนาจในการตัดสินอยู่ที่ท่าน ในเมื่อรัฐสภาเองก็ยังลงมติไม่ได้ว่าจะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง แต่มีความเห็นว่าศาลไม่มีอำนาจออกคำสั่ง แต่การโต้แย้งนี้ ไปยื่นต่อศาลซึ่งผลก็เท่ากับเป็นการยอมรับอำนาจโดยปริยาย แล้วถ้าศาลตัดสินว่าใช่ตามที่ผู้ร้องเขาร้องแล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็ขอให้คิดกันต่อไป”

เสนอ รัฐสภา สู้ศาลรธน. สองแนวทาง แก้รธน. ไปเอง และยุบศาลรธน. ทิ้ง
อดีตคณบดีคณะนิติศาสต์ มธ. และอดีต สสร. 2540 กล่าวเสนอวิธีการทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหากรณีศาลรธน. สั่งชั่วคราวระงับการลงมติวาระ 3 แก้ไขรัฐธรรนูญของรัฐสภา เพื่อรอการพิจารณคำร้องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ว่า ส.ส. ต้องไม่กลัว เพราะที่ศาลรธน. ทำคือต้องการให้หยุด แต่ส.ส.และส.ว.จะไม่ฟังคำสั่งก็ไม่ได้ เพราะเสี่ยงต่อการจะถูกถอดถอน
อย่างไรก็ตาม ส.ส. ต้องมีความกล้าให้มาก ในเมื่อรัฐสภาเป็นตัวแทนของประชาชน เสียงข้างมากของสภาต้องการให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ แต่ศาลรัฐธรรมนูญกับพวกกลับขัดขวาง ดังนั้นมีทางเลือก 2 ทางคือ หนึ่ง ยุบศาลรัฐธรรมนูญทิ้งไป แล้วส.ส. เข้าชื่อกันใหม่ ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญแก้ไขรัฐธรรมนูญเองเลยโดยไม่ต้องมีสสร. และในอันดับแรกที่จะแก้ไขคือ ยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญเสีย แต่แนวทางนี้ต้องอาศัยความกล้า ส่วนประธานรัฐสภาที่ไม่มีความกล้าต้องเอาออกไป

ทางเลือกที่สอง ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้ เป็นการขัดขวางความต้องการของประชาชน เมื่อขัดขวางประชาชนก็ต้องเอาอาวุธของประชาชนมาใช้คือลงประชามติ โดยวิธีการประชามตินั้นทำได้โดยนายกรัฐมนตรี ปรึกษาประธานสภาผู้แนและประธานวุฒิสภาโดยมีเหตุผลว่าขณะนี้เกิดวิกฤตรัฐธรรมนูญ ก็ขอใประชาชนให้ลงประชามติเพียงอย่างเดียวว่าต้องการให้แก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ และในการลงประชามตินั้นก็สามารถให้ประชาชนลงประชามติไปพร้อมกันเลยว่าต้องการให้ยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย

“นายกยิ่งลักษณ์ต้องเลิกไปดูน้ำเสียที มาปรึกษาหารือกันว่าจะแก้ลำเขาอย่างไร ดูสิว่าจะสู้กับอำนาจประชาชนได้หรือไม่” อดีตคณบดี นิติศาสตร์ มธ. กล่าวในที่สุด

พีรพันธุ์ พาลุสุข: ถ้าศาลรธน. ตัดสินว่าผิด ส.ส. สามร้อยกว่าคนก็เตรียมตัวเป็นผู้ก่อการร้ายได้เลย
นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส. พรรคเพื่อไทยกล่าวว่า นายปรีดี พนมยงค์ขอเจรจากับต่างประเทศให้ยอมรับเขตอำนาจศาลไทย โดยแสดงให้เห็นว่าไทยมีหลักแบ่งแยกอำนาจและมีรัฐธรรมนูญแล้ว แต่เกรณีการรัฐประหาร 2549 เป็นการทำลายรัฐธรรมนูญลงจึงไม่แปลกที่ในปี 2550 จะรณรงค์ให้ยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวไปก่อน เพื่อยืนยันกับนานาประเทศว่าบ้านเมืองเรามีรัฐธรรมนูญแล้ว

“ทำไมวันนี้ยังเกิดเรื่องแบบนี้ ผมคิดว่าถ้ามีอำนาจได้จะขอแก้ไขเรื่องศาลรธน. หลายคนรูสึกว่า ขณะนี้เลยขอบเขตที่ควรจะเป็นแล้ว และบอกว่าศาลเหล่านี้ไม่ใช่ศาลยุติธรรม เป็นศาลพิเศษ เมื่อเป็นศาลพิเศษ อำนาจหน้าที่ตามหลักแล้ว กฎหมายให้แค่ไหนก็แค่นั้น ไม่มีกฎหมายก้ไม่มีอำนาจ อย่าตีความขยาย แล้วจะมีปัญหา ตอนที่ MOU สมัยรัฐบาลสมัคร ก็ไปตีความว่าสัญญานี้อาจจะทำให้เสียดินแดน การตีความขยาย ก็เหมือนกับการไปแก้รัฐธรรมนูญเสียเอง นี่ยังไม่นับกรณีคุณสมัคร กรณีถูกร้องว่าเป็นลูกจ้างจาการออกรายการทำกับข้าว

“ผมกำลังแก้ไขรัฐธรรมนูญวันนี้กลายเป็นว่าผมกำลังทำลายล้างรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และถ้าศาลบอกว่าผิดก็เตรียมตัวไว้ ว่าเขาจะยื่นถอดถอน ส่งเรื่องไปประธานวุฒิ แล้วส่งต่อไปยังปปช. และถ้าปปช. ชี้ว่าคดีมีมูลก็ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ สามร้อยกว่าคน ก็เตรียมตัวเป็นผู้ก่อการร้ายด้วยกัน นี่มองจากมุมที่เลวร้ายที่สุด

“มีคนบอกผมว่าอาจารย์ใจเย็นๆ เขากำลังหาทางลง คือเขาจะยกคำร้องแล้วเดินหน้าต่อ ผมคิดว่าไม่ได้ ถึงยกคำร้อง แต่หนังสือที่มาถึงสภา วันนี้ผมโหวตวาระที่สามไม่ได้ แล้วใครยังอาจมาสั่งสภาให้หยุด ผมอ้างมาตรา 291 ว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พรรคฝ่ายค้านเขาพูดบ่อยมากว่าจะฉีกรัฐธรรมนูญ ผมก็บอกว่าผมไม่ได้ฉีก แต่แก้ไขแค่มาตราเดียวคือ291 ซึ่งมาตรา 291 ไม่ได้ห้าม ที่ห้ามคือห้ามเปลี่ยนรูปประเทศ เช่น เปลี่ยนจากรัฐเดี่ยวเป็นสาธารณรัฐ เปลี่ยนรูปแบบประมุข หรือห้ามแก้หมวดพระมหากษัตริย์ก็ได้ แล้วผมไปล้มล้างการปกครองตรงไหน ตกลงการใชสิทธิแก้รัฐธรรมนูญตามที่รัฐธรรมนูญให้ไว้ตาม 291 ไม่ได้ แล้วพอทำไม่ได้ จะทำอย่างไง จะแก้ไขก็ใช้ปืน พอเขาใช้ปืนก็บอกว่า เขาเป็นรัฏฐาธิปัตย์” ผู้แทนจากพรคเพื่อไทยกล่าว ก่อนจะย้ำว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ เป็นการแก้ไขโดย ส.ส. ไม่ใช่โดยพรรคการเมือง

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ: องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ คือบ้านพักคนชราที่น่าผิดหวัง
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ กล่าวว่า การเขียนรัฐธรรมนูญให้มีองค์กรอิสระหรือบ้านพักคนชรานี่คือการทำบาป ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ควรมี ส.ว. แต่งตั้ง องค์กรอิสระนั้น บางอย่างอาจจะดี บางอย่างก็ไม่น่าจะดี แต่โดยรวมแล้วผิดหวังกับบ้านพักคนชรากลุ่มนี้มาก

อดีตอธิการบดี มธ. กล่าวถึงมองเตสกิเออร์นักคิดผู้สถาปนาหลักการแบ่งแยกอำนาจนั้นเกิดปี ค.ศ.1689 คือ 100 ปีก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส และ 1 ปีหลังการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ของอังกฤษที่ทำให้สถาบันกษัตริย์อยู่คู่กับประชาธิปไตยอย่างมั่นคง สถาบันกษัตริย์ที่ไม่สามารถปรองดองตกลงกันได้กับหลักประชาธิปไตย จะอ่อนแอและเป็นปัญหา ถ้าดูประวัติศาสตร์ของโลกทั้งโลก อิทธิพลของการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ของอังกฤษนั้นน่าจะมีอิทธิพลต่อมองเตสกิเออร์มาก ขณะที่ก็เห็นความเหลวแหลกของระบอบปกครองในฝรั่งเศส เราต้องเข้าใจว่าเขาให้ความสนใจอย่างยิ่งต่อการปกครองของอังกฤษที่เขาคิดว่าพัฒนาก้าวหน้ามากๆ คืออำนาจไม่ได้อยู่ที่คนๆ เดียวหรือสถาบันเดียว การแบ่งแยกอำนาจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก นี่เป็นความคิดที่สำคัญมากสำหรับประเทศประชาธิปไตยทีเป็นอารยะ

ความคิดแบบนี้เข้ามาสู่อ.ปรีดี พนมยงค์ อย่างไรนั้นก็ต้องอ่านว่าปรีดีเขียนอะไร พูดอะไร โดยเขากล่าวว่าอาจารย์ปรีดีมีทัศนวิสัยที่กว้างไกลมาก จนน่าตกใจมาก โดยอ.ปรีดีเขียนไว้เมื่อ พ.ศ. 2500 ว่าการแบ่งอำนาจรัฐเป็นสามส่วนตามทฤษฎีของมองเตสกิเออร์ คือการแบ่งเป็นนิติบัญญัตติ บริหาร ตุลาการนั้น เป็นเรื่องจำแนกกลไกอำนาจรัฐออกเป็นสามส่วนใหญ่ๆ คล้ายกับการแบ่งกระทรวง ทบวงกรมนั่นเอง ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ลายลักษณ์อักษร และสถาบันอันเป็นนามธรรม แต่อยู่ที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจใช้กลไกนั้น และเป็นวรรณะใด หรือเป็นสมุนหรือซากของวรรณะใด ความเป็นธรรมสำหรับสังคมอาจมีได้ในกรณีที่สมาชิกแห่งสังคมที่พิพาทกันเป็นคนแห่งวรรณอื่นด้วยกัน แต่ถ้าเป็นเรื่องพิพาทระหว่างคนในวรรณหนึ่ง กับคนในวรรณะเดียวกับผู้ถือกลไกหรือเป็นกลไกแห่งอำนาจรัฐแล้ว ความเป็นธรรมก็เกิดขึ้นยาก

“เราคงต้องตีความกันว่า ตอนนี้เราถึงตอนไหน พวกที่เกี๊ยเซี๊ยะ ปรองดองหรือไม่ปรองดอง เป็นวรณณะใด”

ดร. ชาญวิทย์กล่าวว่ารัฐธรรมนูญที่กำหนดหลักแบ่งแยกอำนาจที่ดีที่สุดของไทยคือรัฐธรรมนูญ 2489 คือถวายรัฐธรรมนุญต่อร. 8 และลงพระปรมาภิไธย วันที่ 9 พ.ค. 2489 และอธิบายต่อมาว่ารัฐธรรมนูญนั้นต้องถวายก่อนแล้วจึงพระราชทานคืน ดังที่ปรากฏเป็นพานแว่นฟ้าบนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภายหลังลงพระปรมาภิไธยแล้วจากนั้น 9 มิ.ย. ก็เสด็จสวรรคต 

โดยหลักแล้วความพยายามของคณะราษฎรจากที่เห็นจากบทบาทของปรีดี พนมยงค์ คือการสถาปนาการปกครองที่เป็นประชาธิปไตย และอ.ปรีดีแปล Constitutional Monarchy ว่า “ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ” ซึ่งน่าจะชัดเจนกว่า และไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งมีความหมายแตกต่างกัน “ถ้าเราตีตรงนี้ไม่แตกเราจะถูกวาทกรรม คำว่าประชาธิปไตยแบบไทย ไทยไม่เหมือนคนอื่นในโลกนี้ เราเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวาทกรรมของฝ่ายอำมาตย์ที่ช่วงชิงบทบาทในแง่ของการสถาปนาประชาธิปไตยและรอบบรัฐธรรมนูญไปจากคณะราษฎร คือนับจาก พ.ศ.2490 เป็นต้นมานั้นได้เบี่ยงเบนหักเห เกิดปัญหาและไม่ใช่ประชาธิปไตยอีกต่อไปแล้ว”

ดร. ชาญวิทย์กล่าวว่า ไม่ว่าผลของพิจารณากรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร แต่นี่จะเป็นกรณีที่ทำให้คนหูตาสว่างมาก เหมือนกรณีการปลุกระดมเรื่อง MOU ปราสาทเขาพระวิหารเพื่อล้มรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และประสบความสำเร็จมาก แต่ก็ทำให้หูตาสว่างมากขึ้น โดยเขาเองก็ถูกกล่าวหาว่าหนักแผ่นดิน ขายชาติ จาการศึกษาเรื่องเขตแดน และได้เข้าใจว่าเรื่องนี้ก็ทำให้เข้าใจว่าวาทกรรมเสียดินแดน ก็เหมือนวาทกรรมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เปนประมุขนั่นเอง
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มิตรภัยในเอเชีย

Posted: 14 Jun 2012 03:43 AM PDT

 

สหรัฐอเมริกาประกาศเอกราชจากอังกฤษด้วยการต่อสู้ปฏิวัติมาอย่างยากลำบาก  ทุกวันนี้ไม่มีความรู้สึกโกรธแค้นต่อกันหลงเหลืออีกแล้ว  พันธมิตรแองโกล-อเมริกันผูกพันกันแน่นแฟ้น  เราชาวอเมริกันชื่นชอบซีรีส์ชุด Downton Abbeyและการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างชาวอเมริกันกับอังกฤษส่วนใหญ่จำกัดแค่การเถียงกันว่า ซิทคอมชุด The Office เวอร์ชั่นประเทศไหนตลกกว่ากัน  หรือควรสะกดและออกเสียงคำว่า “aluminum” อย่างไรถึงจะถูกต้องกว่ากัน  

ชาวอเมริกันเคยรบพุ่งกับชาวเยอรมัน ญี่ปุ่นและอิตาเลียน  แต่ความสัมพันธ์ระหว่างชาวอเมริกันกับชนชาติเหล่านี้ในปัจจุบันก็แน่นแฟ้นเช่นกัน  ความสัมพันธ์กับเกรนาดาและปานามาก็ไม่แย่มากนัก ทั้ง ๆ ที่สหรัฐฯ ไปเปิดฉากสงครามย่อย ๆ ในประเทศเหล่านี้เมื่อไม่กี่ทศวรรษก่อน  ศัตรูเก่าก่อนของชาวอเมริกันล้วนแล้วแต่กลายเป็นมิตรในปัจจุบัน  

แต่ประเด็นสำคัญก็คือ เดี๋ยวนี้อังกฤษไม่ใช่ระบอบกษัตริย์แบบเจ้าอาณานิคมอีกแล้ว  พวกนาซี ฟาสซิสต์และรัฐบาลจักรพรรดิญี่ปุ่นก็ไม่มีเหลือหลอ  เกรนาดากับปานามาก็มีระบอบการปกครองแตกต่างไปจากเมื่อก่อน  เช่นเดียวกับอดีตปัจจามิตรประเทศอื่นที่กลายเป็นพันธมิตรในปัจจุบันอย่างอัฟกานิสถานและอิรัก  

นี่ทำให้เวียดนามเป็นกรณีที่น่าสนใจ  ตอนแรกพวกเวียดกงต่อสู้กับฝรั่งเศส  แล้วก็มาต่อสู้กับชาวอเมริกันอีกหลายทศวรรษ ก่อนที่จะชนะศึกทั้งในสมรภูมิและบนโต๊ะเจรจา  ชาวเวียดนามกว่า 2 ล้านคน (และอาจมากถึง 3.8 ล้านคน) เสียชีวิตระหว่างการสู้รบ  ประเทศเวียดนามโดนทิ้งระเบิดมากกว่าที่สหรัฐอเมริกาใช้ในสงครามโลกครั้งที่สองถึงสองเท่า  ในท้ายที่สุด เวียดนามก็รวมประเทศเป็นปึกแผ่นภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ และพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามยังรักษาการปกครองระบบพรรคเดียวมาจนถึงทุกวันนี้  กล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ พวกเขาเอาชนะสหรัฐฯได้และยังรักษาระบอบการเมืองของตัวเองไว้ได้ไม่มากก็น้อย  

แล้วทีนี้ จะอธิบายอย่างไรต่อการที่รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม นายลีออน พาเน็ตตา ไปแถลงการณ์ยืนยันที่อ่าว Cam Ranh Bay ในประเทศเวียดนามเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า การเปิดช่องทางให้กองทัพเรืออเมริกันเข้ามาในน่านน้ำของประเทศเวียดนามมากขึ้น “คือกุญแจสำคัญของความสัมพันธ์นี้และเรามองเห็นศักยภาพอันยิ่งใหญ่ที่นี่ในอนาคต”  เรือรบอเมริกันเข้าไปทอดสมอแล้วที่เมืองท่าดานัง  ถ้ามุ่งหน้าลงใต้ไปตามชายฝั่งเวียดนาม อดีตฐานทัพเรือของโซเวียตที่อ่าว Cam Ranh Bay คือทางออกสู่ทะเลจีนใต้  โดยมีหมู่เกาะพาราเซลและหมู่เกาะสแปรตลีอยู่ในเขตน่านน้ำทางตะวันออกที่ค่อนไปทางประเทศฟิลิปปินส์  ในปัจจุบัน  หลายประเทศกำลังแย่งชิงกันอ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะและอาณาเขตทางทะเลโดยรอบ  แน่นอน ประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีอำนาจที่สุดที่เข้ามาอ้างสิทธิ์ก็คือ ประเทศจีน  

พาเน็ตตายืนยันในการเดินทางเยือนเอเชียครั้งนี้ว่า การที่สหรัฐอเมริกากำลังเอาอกเอาใจเวียดนามอยู่ตอนนี้ ไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ทั้งสิ้นกับการพยายามคานอำนาจกับประเทศจีน  ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ลองมาดูกันซิว่า นั่นหมายความว่า การที่สหรัฐฯต้องการส่งเรือรบเข้าไปในเวียดนามมากขึ้นเป็นเพราะอะไรได้บ้าง

1. เพนตากอนทำข้อตกลงเชิงพลเรือน-กองทัพกับเวียดนามเพื่อการผลิตน้ำปลาคุณภาพสูงเพื่อการส่งออก โดยใช้กองเรือรบขนไปร้านอาหารรสนิยมเลิศวิไลในนิวยอร์กซิตี

2. โจรสลัดโซมาเลียดันเลี้ยวพวงมาลัยมาทางมหาสมุทรแปซิฟิกและขยายปฏิบัติการมาถึงทะเลจีนใต้

3. ทหารผ่านศึกในสงครามเวียดนามจำนวนมหาศาลเกิดเต็มใจที่จะจ่ายเงินก้อนใหญ่เพื่อมาท่องเที่ยวรำลึกความหลัง อันจะช่วยให้เพนตากอนได้งบประมาณเพียงพอแก่ความต้องการขึ้นมา  

เอาล่ะ พูดกันตรง ๆ ดีกว่า  สหรัฐอเมริกาทำเช่นนี้เพราะจีนนั่นแหละ  แต่สหรัฐฯพูดออกมาไม่ได้  อนึ่ง ทั้งจีนและเวียดนามก็จัดอยู่ในกลุ่มนโยบายต่างประเทศอันประหลาดพิสดารของการเป็น “มิตรกึ่งศัตรู”(frenemy) ของอเมริกา  จะว่าเป็นศัตรูก็ไม่ใช่  จะว่าเป็นหุ้นส่วนพันธมิตรก็ไม่เชิง  อเมริกาค้าขายกับพวกเขา ทอดไมตรีให้  สร้างความสัมพันธ์เชิงกองทัพต่อกองทัพ  พอลับหลัง อเมริกาก็บ่นวิจารณ์พวกเขา  อเมริกาอยู่กับพวกเขาไม่ได้ อยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีพวกเขา และหมากตาล่าสุดที่เข้าไปอี๋อ๋อกับเวียดนามก็คือกรณีคลาสสิกของความคิดแบบว่า....มิตรกึ่งศัตรูของมิตรกึ่งศัตรูคือมิตรกึ่งศัตรูที่ใกล้ชิดกว่าเดิม  สำหรับเวียดนามเอง มิตรกึ่งศัตรูที่มีพรมแดนติดกันเป็นเรื่องน่ากังวลมากกว่ามิตรกึ่งศัตรูที่อยู่โพ้นทะเล  วอชิงตันจึงได้กลิ่นโอกาสทางการเมืองในสถานการณ์เช่นนี้  

แน่นอน เวียดนามก็อยากได้บางอย่างตอบแทน  อเมริกายกระดับความสัมพันธ์ทางการทูตเข้าสู่ภาวะปรกติใน ค.ศ. 1995  20 ปีหลังสงครามเวียดนาม  ในเวลานั้น สหรัฐอเมริกากลายเป็นผู้ลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในระบบเศรษฐกิจเวียดนาม  เป็นเจ้าของมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเกือบร้อยละ 50 ใน ค.ศ. 2009  หากสหรัฐอเมริกาต้องการปฏิบัติการร่วมทางการทหารที่แนบแน่นกว่าเดิม  เวียดนามก็ต้องการให้วอชิงตันยกเลิกการคว่ำบาตรการขายอาวุธให้เวียดนามที่ดำเนินติดต่อมานมนานเสียที  

อย่าเพิ่งคาดว่าจะได้เห็นเข็มกลัดตรา “สหรัฐฯ-เวียดนาม มิตรแท้” ปรากฏบนปกเสื้อนอกของกระทรวงต่างประเทศในเร็ววันนี้  การไปเยือนของพาเน็ตตา “ไม่ใช่หลักฐานบ่งบอกถึง ‘ความสัมพันธ์แนบแน่นลึกซึ้ง’ ระหว่างสหรัฐอเมริกากับเวียดนาม”  คือคำเตือนจาก Andrew Wells-Dang ผู้เขียนงานค้นคว้าวิจัยชิ้นล่าสุดในชื่อ Civil Society Networks in China and Vietnam  “เพราะประการแรก ผู้นำเวียดนามระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะสร้างสมดุลระหว่างการติดต่อพัวพันกับสหรัฐอเมริกาให้เท่า ๆ กับหรือน้อยกว่าการไปเยือนและร่วมมือกับจีน  ประการที่สอง ผู้แทนอย่างเป็นทางการของสหรัฐฯ เช่น วุฒิสมาชิกแมคเคนและลีเบอร์มัน ได้ส่งสัญญาณอย่างชัดเจนว่า การยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯกับเวียดนามโดยรวมจะไม่เกิดขึ้น หากปราศจากความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชน [ในเวียดนาม—ผู้แปล] (หรืออย่างน้อยที่สุด ก็สำคัญเป็นรองจากประเด็นสิทธิมนุษยชนที่สหรัฐอเมริกาให้ความสนใจอยู่)”  

ประเด็นที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอาจอยู่ที่สถานการณ์ในทะเลจีนใต้ ซึ่งเวียดนามประท้วงอย่างดุเดือดต่อการที่จีนตั้งหน้าตั้งตาอ้างกรรมสิทธิ์เหนือน่านน้ำรอบหมู่เกาะพาราเซลและสแปรตลี  สหรัฐอเมริกาพยายามวางตัวเป็นคนกลางผู้จริงใจในความขัดแย้งนี้  ใน ค.ศ. 2010 ฮิลลารี คลินตันแถลงว่า ทะเลจีนใต้เป็น “ความสนใจระดับชาติ” สำหรับสหรัฐอเมริกา  เมื่อเดือนพฤศจิกายนศกก่อน  คลินตันให้คำอธิบายเพิ่มเติมในการแสดงความคิดเห็นที่ประเทศฟิลิปปินส์  “สหรัฐอเมริกาไม่ได้เข้าข้างใครในการอ้างสิทธิ์เหนืออาณาเขต  เพราะทุกประเทศมีสิทธิ์ที่จะยืนยันถึงสิทธิเหนืออาณาเขตของตัวเอง” คลินตันกล่าวต่อว่า “แต่ทุกประเทศไม่มีสิทธิ์ที่จะอ้างสิทธินั้นด้วยการข่มขู่หรือใช้กำลังบีบบังคับ  ทุกประเทศควรปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ  หลักนิติธรรม อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล”  

เมื่อคำนึงถึงการที่สหรัฐอเมริกาใช้ทั้งการข่มขู่และการบีบบังคับในกลุ่มประเทศที่ถือเป็นหลังบ้านของตัวเอง  ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการใช้กำลังทหารโดยตรงแล้ว  คำกล่าวของคลินตันฟังดูแล้วก็ไม่ค่อยจริงใจเลย  เช่นเดียวกับการที่เธอยืนยันให้ประเทศต่าง ๆ ปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติ ทั้ง ๆ ที่สหรัฐอเมริกาไม่ยอมลงนามอย่างหน้าตาเฉยด้วยซ้ำไป  อันที่จริง ประเทศจีนปฏิบัติต่อทะเลจีนใต้ไม่ต่างจากสหรัฐอเมริกาปฏิบัติต่อหมู่เกาะแคริบเบียนสักเท่าไร  

ลองดูข้อพิพาทล่าสุดที่จีนมีกับฟิลิปปินส์  ปีที่แล้ว ฟิลิปปินส์ทำสัญญากับบริษัทแห่งหนึ่งให้สำรวจคลื่นไหวสะเทือนในบริเวณใกล้เกาะปาลาวัน ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกในการสำรวจหาแหล่งน้ำมัน  เกาะปาลาวันเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์ที่อยู่ใกล้หมู่เกาะสแปรตลีมากที่สุด  เรือตรวจการณ์ของจีนสองลำเข้ามาขัดขวางการสำรวจครั้งนี้  ทำให้ฟิลิปปินส์ต้องส่งเครื่องบินเจ็ตของกองทัพสองลำเข้าไปบีบให้เรือของจีนถอยออกไป  

หลังจากนั้น ในเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้เอง  ข้อพิพาทคาราคาซังคล้าย ๆ กันนี้เกิดขึ้นอีกทางตอนเหนือใกล้กับแนวกลุ่มเกาะปะการังสกาโบโร  คราวนี้ทางการฟิลิปปินส์จับชาวประมงชาวจีนที่เข้ามาหาปลาในพื้นที่นั้น  กล่าวหาพวกเขาว่าจับสัตว์น้ำหายากและละเมิดอธิปไตยของฟิลิปปินส์  จีนส่งเรือรบของตัวเองมาขับไล่เรือรบของฟิลิปปินส์และตอบโต้ทางเศรษฐกิจ  ผู้ปลูกกล้วยในฟิลิปปินส์ถูกกีดกันจากตลาดจีน จนได้แต่นั่งมองผลิตผลของตนกองเน่าเสียตาปริบ ๆ   นี่คือผลพวงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมิตรกึ่งศัตรูทะเลาะเบาะแว้งกันขึ้นมา  

ในขณะเดียวกัน สหรัฐอเมริกาเองก็รอท่าอยู่แล้วที่จะเก็บเกี่ยวผลพลอยได้  “ผลสรุป ณ ตอนนี้” เคิร์ก สปิตเซอร์ เขียนไว้ในนิตยสาร Time ว่า “สหรัฐอเมริกากับฟิลิปปินส์ได้ข้อตกลงที่จะเปิดฐานทัพอากาศคลาร์กและฐานทัพเรือที่อ่าวซูบิกให้กองเรือสหรัฐฯ เข้ามาสับเปลี่ยนกำลังพล เข้ามาแวะจอดเรือและซ้อมรบ  สหรัฐฯมอบเรือตรวจการณ์ชายฝั่งที่ปลดประจำการแล้วสองลำให้แก่กองทัพเรือฟิลิปปินส์  รวมทั้งส่งเรดาร์และอุปกรณ์ตรวจสอบทางทะเลเพื่อคอยจับตาดูคนที่คุณก็รู้ว่าใคร”

แน่นอน ทั้งหมดนี้ไม่ใช่แค่การเดินหมากด้านภูมิศาสตร์การเมืองเท่านั้น  “สหรัฐฯมีมูลค่าการซื้อขายเกือบ 1.2 พันล้านดอลลาร์ไหลเวียนอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกกับมหาสมุทรอินเดียผ่านช่องทางทะเลจีนใต้”  ตามการวิเคราะห์ของดีเร็ก โบลตัน ผู้เขียนบทความให้แก่ Foreign Policy In Focus (FPIF) ในบทความชื่อ “Pivoting Toward the South China Sea” “ในแง่ของการค้าระดับโลก  ร้อยละ 90 ของสินค้าเชิงพาณิชย์ทั้งหมดถูกขนส่งทางทะเลจากทวีปหนึ่งไปอีกทวีปหนึ่ง  ในจำนวนนี้ เกือบครึ่งหนึ่งของปริมาตรการขนส่งทางเรือและหนึ่งในสามของมูลค่าทางการเงินทั้งหมดถูกส่งผ่านทะเลจีนใต้  นอกจากนี้ ทะเลจีนใต้ยังอุดมไปด้วยแร่ ทรัพยากรการประมง ก๊าซธรรมชาติและแหล่งน้ำมันอีกต่างหาก”  กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทะเลจีนใต้ก็คือเกาะมหาสมบัติคูณพันเท่าดี ๆ นี่เอง  

ประเทศจีนอยู่ในตำแหน่งที่ค่อนข้างมีอำนาจต่อรองสูงในการรักษาขุมสมบัตินี้ไว้  “แผนที่เส้นประเก้าเส้น” (nine-dash line หรือ nine-dotted line map) ของจีนครอบคลุมพื้นที่ทะเลจีนใต้ไปเป็นส่วนใหญ่  ถึงขนาดกินพื้นที่เข้าไปในพื้นที่ชายฝั่งของเวียดนาม มาเลเซีย บรูไนและฟิลิปปินส์ด้วย  ประเทศจีนอ้างว่า จีนมีประวัติศาสตร์และแผนที่เดินเรือมากมายเป็นหลักฐานสนับสนุน  นั่นก็คงจริง  แต่ในเมื่อจีนลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายทะเลระหว่างประเทศไปแล้ว  ย่อมหมายความว่า จีนตกลงให้สนธิสัญญาฉบับใหม่มีผลบังคับแทนที่ข้ออ้างสิทธิ์ก่อนหน้านี้  

โดยรวมแล้ว นอกเหนือจากเหตุพิพาทเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่กี่ครั้ง  ประเทศจีนก็ยังจำกัดการอ้างสิทธิ์ของตนโดยไม่ใช้ความรุนแรง  บางครั้งบางคราวจีนก็คล้ายมีแนวโน้มที่จะคิดว่า ทะเลจีนใต้เป็น “ความสนใจหลัก” (core interest—ศัพท์ตัวนี้เป็นคำศัพท์ด้านนโยบายต่างประเทศของจีนโดยเฉพาะ—ผู้แปล) ในระดับเดียวกับไต้หวันและทิเบต  แต่แล้วจีนก็ถอยออกมาจากการยืนยันความคิดนี้  จีนยังคงยอมรับว่าสหรัฐอเมริกาครองความเป็นใหญ่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งหมายความว่า จีนยังไม่ได้คิดที่จะรับเอาลัทธิมอนโรมาใช้กับนโยบายต่างประเทศของตัวเอง  นักวิเคราะห์ทางตะวันตกมักแสดงความกังวลเกี่ยวกับการที่จีนพัฒนาเทคโนโลยีต่อต้านการโจมตีทางทหาร (anti-access technologies)  เช่น อาวุธต่อต้านขีปนาวุธที่ยิงจากเรือรบ เป็นต้น  แต่มีประเทศไหนบ้างจะไม่หาทางป้องกันตัวเองในสถานการณ์ที่คล้ายนักเล่นเกมส์โกะกำลังเผชิญกับตัวหมากสีดำจำนวนมากพยายามเข้ามาล้อมหมากสีขาวกลุ่มใหญ่  

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มดูไม่น่าไว้วางใจนัก  จีนกังวลกับการถูกห้อมล้อมด้วยมิตรกึ่งศัตรู  โดยมีสหรัฐฯเป็นหัวเรือใหญ่  และจีนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างหลักประกันว่า จะมีทรัพยากรด้านพลังงานไหลเข้าประเทศอย่างพอเพียงต่อการขับเคลื่อนความเติบโตทางเศรษฐกิจของตน  ส่วนสหรัฐอเมริกาก็เที่ยวพูดถึงแปซิฟิกอย่างโน้นแปซิฟิกอย่างนี้  ราวกับการอ้างถึงเอเชียจะช่วยลบเลือนรสชาติขมขื่นของอิรักกับอัฟกานิสถานได้  ในขณะที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ตั้งหน้าตั้งตาซื้ออาวุธกันราวกับเตรียมพร้อมที่จะรบพุ่งกันวุ่นวายในทะเลจีนใต้  ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มการใช้จ่ายด้านอาวุธถึง 13.5 เปอร์เซ็นต์เมื่อปีที่แล้ว  แม้แต่ประเทศขนาดจิ๋วอย่างสิงคโปร์ยังกลายเป็นผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดอันดับห้าของโลก  

ขาใหญ่ในภูมิภาคนี้ประกาศตัวอยู่เหนือความขัดแย้ง  สหรัฐอเมริกาไม่ได้เข้ามาอ้างสิทธิ์เหนืออาณาเขตใด ๆ   จีนวางตัวด้วยการ “ก้าวสู่ความเป็นใหญ่อย่างสันติ”  แต่พฤติกรรมของทั้งสองฝ่าย ถ้าไม่ควบคุมให้ดี ก็สามารถเปลี่ยนทะเลจีนใต้ให้กลายเป็นคาบสมุทรบอลข่านแห่งแปซิฟิกไปได้เหมือนกัน  แน่นอน มิตรย่อมเป็นมิตรตลอดกาล  แต่มิตรกึ่งศัตรูไม่มีหลักประกันให้อุ่นใจเช่นนั้น

 

 

 

หมายเหตุผู้แปล:

1.ลัทธิมอนโร หมายถึง นโยบายของประธานาธิบดีเจมส์ มอนโรในช่วงศตวรรษที่ 19 ที่ถือว่า ทวีปอเมริกาทั้งเหนือและใต้ทั้งหมดอยู่ภายใต้อำนาจการครองความเป็นใหญ่ของสหรัฐอเมริกา  และมหาอำนาจภายนอกใด ๆ ที่เข้ามาแทรกแซงย่อมถือเป็นปฏิปักษ์ของสหรัฐฯ

2.John Feffer เป็นผู้อำนวยการร่วมของ Foreign Policy In Focus ซึ่งเป็นเว็บไซท์ของ Institute for Policy Studies  เฟฟเฟอร์เขียนหนังสือหลายเล่มและบทความจำนวนมาก  เคยเป็นรองบรรณาธิการวารสาร World Policy Journal  เคยทำงานเป็นตัวแทนด้านกิจการต่างประเทศให้แก่ American Friends Service Committee  และเคยเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัย Sungkonghoe ในกรุงโซลประเทศเกาหลีใต้  ได้รับเชิญไปบรรยายในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก  มหาวิทยาลัยคอร์แนล  มหาวิทยาลัยโซเฟีย (โตเกียว) เป็นต้น

3ในต้นฉบับเดิมของบทความนี้  ผู้เขียนใช้คำว่า “เรา” ในความหมายถึงชาวอเมริกันและมีนัยยะแฝงที่ประชดประชันพอประมาณ  แต่ในการแปลนั้น ผู้แปลได้เปลี่ยนคำว่า “เรา” เป็นสหรัฐอเมริกาหรือชาวอเมริกัน) 

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พนัส ทัศนียานนท์ เสนอสู้ศาลรธน. สองแนวทาง สภาแก้รธน. ไปเอง และยุบศาลรธน. ทิ้ง

Posted: 14 Jun 2012 03:34 AM PDT

 

นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสต์ มธ. และอดีต สสร. 2540 เสนอวิธีการทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหากรณีศาลรธน. สั่งชั่วคราวระงับการลงมติวาระ 3 แก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภา เพื่อรอการพิจารณคำร้องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ว่า ส.ส. ต้องไม่กลัว เพราะที่ศาลรธน. ทำคือต้องการให้หยุด แต่ส.ส.และส.ว.จะไม่ฟังคำสั่งก็ไม่ได้ เพราะเสี่ยงต่อการจะถูกถอดถอน

อย่างไรก็ตาม ส.ส. ต้องมีความกล้าให้มาก ในเมื่อรัฐสภาเป็นตัวแทนของประชาชน เสียงข้างมากของสภาต้องการให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ แต่ศาลรัฐธรรมนูญกับพวกกลับขัดขวาง ดังนั้นมีทางเลือก 2 ทางคือ หนึ่ง ยุบศาลรัฐธรรมนูญทิ้งไป แล้วส.ส. เข้าชื่อกันใหม่ ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญแก้ไขรัฐธรรมนูญเองเลยโดยไม่ต้องมีสสร. และในอันดับแรกที่จะแก้ไขคือ ยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญเสีย แต่แนวทางนี้ต้องอาศัยความกล้า ส่วนประธานรัฐสภาที่ไม่มีความกล้าต้องเอาออกไป

ทางเลือกที่สอง ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้ เป็นการขัดขวางความต้องการของประชาชน เมื่อขัดขวางประชาชนก็ต้องเอาอาวุธของประชาชนมาใช้คือลงประชามติ โดยวิธีการประชามตินั้นทำได้โดยนายกรัฐมนตรี ปรึกษาประธานสภาผู้แนและประธานวุฒิสภาโดยมีเหตุผลว่าขณะนี้เกิดวิกฤตรัฐธรรมนูญ ก็ขอให้ประชาชนลงประชามติเพียงอย่างเดียวว่าต้องการให้แก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ และในการลงประชามตินั้นก็สามารถให้ประชาชนลงประชามติไปพร้อมกันเลยว่าต้องการให้ยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย

“นายกยิ่งลักษณ์ต้องเลิกไปดูน้ำเสียที มาปรึกษาหารือกันว่าจะแก้ลำเขาอย่างไร ดูสิว่าจะสู้กับอำนาจประชาชนได้หรือไม่” อดีตคณบดี นิติศาสตร์ มธ. กล่าวในที่สุด

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สภาที่ปรึกษาฯ หนุนรัฐลดเหลื่อมล้ำ 3 กองทุน แนะเดินหน้ามะเร็งเร่งด่วน คู่กับไตและเอดส์

Posted: 14 Jun 2012 03:30 AM PDT

 

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หนุนนโยบายรัฐบาลลดเหลื่อมล้ำ 3 กองทุนสุขภาพ เสนอเดินหน้าลดเหลื่อมล้ำการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเป็นเรื่องเร่งด่วน คู่ไปกับโรคไตและเอดส์ที่จะดำเนินการระยะต่อไป หลังจากทำเรื่องฉุกเฉินมาตรฐานเดียวมาแล้ว ชี้โรคมะเร็งเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย สาเหตุการตายอันดับหนึ่ง แต่การรักษา 3 กองทุนมีความแตกต่างมาก ส่งผลผู้ป่วยเข้าถึงยาก ทั้งเรื่องการจ่ายเงิน และการได้รับยา แนะปรับสิทธิประโยชน์เป็นมาตรฐานเดียว วิธีจ่ายเงินเหมือนกัน จะช่วยประชาชนเข้าถึงรักษาได้อย่างเท่าเทียม

รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะทำงานเกี่ยวเนื่องด้านสาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการ กล่าวว่า สภาที่ปรึกษาฯ สนับสนุนการที่รัฐบาลประกาศนโยบายการลดความเหลื่อมล้ำที่แตกต่างกันของระบบหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 ระบบประกอบด้วย กองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  เพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นอย่างเท่าเทียมกัน และต้องไม่เกิดปัญหาภาวะล้มละลายจากการเจ็บป่วย ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้ระบบประกันสุขภาพระบบใดก็ตาม โดยเริ่มต้นที่ นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินมาตรฐานเดียวที่ทำให้ประชาชนทุกคน สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในหน่วยบริการทุกแห่งทั้งรัฐบาลและเอกชน โดยไม่ต้องคำนึงถึงสิทธิด้านการรักษาพยาบาล ประชาชนภายใต้สิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันก็ล้วนได้รับประโยชน์ดีขึ้น

“การที่ท่านนายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานการประชุมเชิงนโยบายเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำระหว่าง 3 กองทุนประกันสุขภาพภาครัฐ ในวันที่ 23 มิ.ย.ที่จะถึงนี้ จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะเข้ามาแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของระบบหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 ระบบในโรคเรื้อรังต่างๆ ซึ่งทางคณะทำงานฯของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำลังจัดทำข้อเสนอให้รัฐบาลดำเนินการลดความ เหลื่อมล้ำด้านการรักษาพยาบาลโรคมะเร็งเป็นนโยบายเร่งด่วนคู่ไปกับโรคไตและโรคเอดส์ด้วย” รศ.ดร.จิราพร กล่าว

สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  กล่าวต่อว่า โรคมะเร็งเป็นปัญหาที่สำคัญของสังคมไทย เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย แต่ระบบบริหารจัดการ การดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งทั้ง 3 กองทุนมีความเหลื่อมล้ำ มีสิทธิประโยชน์ต่างกันโดยเฉพาะเรื่องยา รวมถึงวิธีจ่ายเงินและอัตราการจ่ายเงินให้หน่วยบริการ มีวิธีบริหารจัดการที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้ผู้ป่วยมะเร็งในแต่ละระบบได้รับการดูแลที่ต่างกัน มีอัตราการเสียชีวิตโดยเหตุไม่สมควร ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับวิธีการบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง ให้มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยมะเร็งทุกระบบให้เหมือนกัน คณะทำงานเกี่ยวเนื่องด้านสาธารณสุข และคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการ กำลังดำเนินการทำข้อเสนอบนพื้นฐานทางวิชาการ ใน 3 ประเด็นสำคัญ ดังนี้            

1. ปรับสิทธิประโยชน์ และแบบแผนการรักษามะเร็งทุกโรคให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะยาราคาแพง ที่ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้ง 3 ระบบ

2. ปรับวิธีจ่ายเงินให้หน่วยบริการ โดยเฉพาะวิธีจ่ายเงินสำหรับการรับยามะเร็ง แบบผู้ป่วยนอกให้เป็นลักษณะเฉพาะ อัตราเดียวกัน แยกจากงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว เนื่องจากเป็นการรักษาที่มีราคาแพง เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งเข้าถึงการรักษาได้ดีขึ้น ไม่มีปัญหาเช่นผู้ป่วยประกันสังคมที่ถูกรวมในงบเหมาจ่ายรายหัว สำหรับผู้ป่วยในขอให้จ่ายตามระบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมหรือ DRG ที่เท่ากัน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ

3. ให้ทั้ง 3 กองทุนสุขภาพ จัดงบประมาณให้ความสำคัญกับการรณรงค์สร้างความรู้ การส่งเสริมป้องกันโรค และคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเพื่อการรักษาตั้งแต่เป็นระยะแรกซึ่งจะลดการสูญเสียได้มากกว่าการเป็นระยะลุกลาม

ทั้งนี้ นอกจากการเสนอให้มีการลดความเหลื่อมล้ำในการรักษาโรคต่างๆ ของทั้ง 3 กองทุนแล้ว คณะทำงานฯ จะดำเนินการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการรักษาโรคเรื้อรังอื่นๆ อีกด้วย เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นได้อย่างเท่าเทียมกัน

 

ม.ทักษิณจัดถกบทบาทมหาวิทยาลัยกับสิทธิมนุษยชน

Posted: 14 Jun 2012 03:25 AM PDT

ยกกรณีรับศึกษาเมกะโปรเจ็กต์-พิพาทที่ดิน-ชายแดนใต้ สร้างเครือข่ายทางวิชาการหนุนเสริมชาวบ้านสู้โครงการไม่สอดคล้องชุมชน  สถาบันการศึกษา-มหา’ลัยทั่วใต้แห่ร่วม

ผศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ โครงการศูนย์ศึกษาเชิงบูรณาการทางสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา เปิดเผยว่า วันที่ 29 มิถุนายน 2555 นี้ โครงการศูนย์ศึกษาเชิงบูรณาการทางสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ร่วมกับเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม จัดสัมมนาหัวข้อบทบาทของมหาวิทยาลัยกับการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนพื้นที่ภาคใต้ ที่สำนักหอสมุด ชั้น 2 มหาวิทยาลัยทักษิณ  วิทยาเขตสงขลา

ผศ.ดร.ณฐพงศ์ เปิดเผยต่อไปว่า สำหรับการสัมมนามีเป้าหมายเพื่อให้มหาวิทยาลัยในภาคใต้ร่วมกันสร้างเครือข่ายทางวิชาการหนุนเสริมการทำงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เพื่อเกิดการทบทวนและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วิธีการเรียนการสอนระหว่างอาจารย์ผู้สอนวิชาสิทธิมนุษยชน เกิดการปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนระหว่างสถาบันการศึกษากับองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับการส่งเสริมให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ จากสภาพปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทางภาคใต้ กรณีศึกษาการที่มหาวิทยาลัยรับงานศึกษาเมกะโปรเจ็กต์ที่มีความขัดแย้งส่งผลกระทบต่อชุมชน มหาวิทยาลัยพิพาทเรื่องที่ดินกับชาวบ้าน ปัญหาสิทธิมุนษยชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การความสนับสนุนวิชาการให้กับชาวบ้านกับโครงการของรัฐ รัฐวิสหกิจ เอกชน ที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนและไม่สร้างการมีส่วนร่วมฯลฯ

ผศ.ดร.ณฐพงศ์ เปิดเผยอีกว่า การสัมมนามีอาจารย์ประจำวิชาสิทธิมนุษยชนในมหาวิทยาลัย อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ อาจารย์ผู้สอนที่สนใจในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในภาคใต้ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลาและวิทยาเขตพัทลุง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่และวิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์จังหวัดตรัง มหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยตาปี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ วิทยาลัยศรีโสภณ วิทยาลัยชุมชนสงขลา วิทยาลัยชุมชนสตูล วิทยาลัยชุมชนพังงา วิทยาลัยชุมชนภูเก็ต และวิทยาลัยชุมชนนครศรีธรรมราช รวมถึงนักวิชาการและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปประมาณ 40 –50 คน

“มีการปาฐกถาพิเศษหัวข้อบทบาทของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนพื้นที่ภาคใต้ จากนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ นักคิดนักเขียนชื่อดัง มีการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนสิทธิมนุษยชนในมหาวิทยาลัยจากสภาพปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทางภาคใต้  ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนสิทธิมนุษยชนในมหาวิทยาลัย ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนพื้นที่ภาคใต้ และการสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการในอนาคต” ผศ.ดร.ณฐพงศ์ ระบุ

 

โครงการสัมมนาหัวข้อ
“บทบาทของมหาวิทยาลัยกับการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนพื้นที่ภาคใต้”

วันที่ 29 มิถุนายน 2555 เวลา 08.30 –16.30  น.
ณ สำนักหอสมุด (ชั้น 2) มหาวิทยาลัยทักษิณ  วิยาเขตสงขลา

______________________________________________________

 

กำหนดการ

08.30–09.30 น.                     - ลงทะเบียน

09.00–09.10 น.                     - กล่าวเปิดงาน

                                                โดย อธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ

09.10 –09.30 น.                   - ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดสัมมนา 

                                                 โดยนายไพโรจน์  พลเพชร  ประธานกรรมการบริหารเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน 

09.30 –10.30 น.                    - ปาฐกถาพิเศษ “บทบาทของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนพื้นที่ภาคใต้”                                                         โดย  ส. ศิวรักษ์

10.30 – 12.30 น.                   - รับประทานอาหารว่าง

                                                - ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนสิทธิมนุษยชนในมหาวิทยาลัย

                                                โดย ผู้เข้าร่วมสัมมนา ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                                                ดำเนินรายการโดย อาจารย์จรูญ หยูทอง สถาบันทักษิณคดีศึกษา และ
                                                 ผู้ช่วยศาสตราจารย์    ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์  มหาวิทยาลัยทักษิณ

12.30 – 13.30 น.                   - รับประทานอาหารกลางวัน

13.30 – 16.00 น.                   - ระดมความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนพื้นที่ภาคใต้  ข้อเสนอแนะ/การสร้างเครือข่ายเพื่อสร้างความร่วมมือในอนาคต/ประมวลสรุปแนวทางการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของมหาวิทยาลัย 

                                                 - รับประทานอาหารว่าง

โดย  ผู้เข้าร่วมสัมมนา ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้                            

                                               ดำเนินรายการโดย คุณอัญชลี เอมะ จันทร์ชุม โครงการประสานชาติพันธุ์  อันดามัน

                                               มูลนิธิเสถียรโกเศศ - นาคะประทีป

- ประมวลสรุปเอกสาร

                                               โดยนายศราวุฒิ ประทุมราช กรรมการบริหารเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและคณะ

16.00 – 16.20 น.                   - สัญญาใจ  เราจะก้าวไปด้วยกัน / ปิดการสัมมนา

16.20 – 16.30 น.                   - กล่าวปิดสัมมนาโดยรองศาสตราจารย์ไพบูลย์ 
                                                ดวงจันทร์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
                                                มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา

                          

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การปรองดอง ‘ต้องเลือกข้าง’

Posted: 14 Jun 2012 03:17 AM PDT

 

เกริ่นนำ
บทความนี้เขียนถูกขึ้นพร้อมกับการเริ่มมีกระแสการปรองดองนับตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา เป็นการแสดงออกอย่างสุจริตทางความคิดตามวิถีทางประชาธิปไตยซึ่งผู้เขียนมีเจตนาเพียงเพื่อเสนอมุมมองที่สังคมควร ‘ไตร่ตรอง’ ควบคู่กับการพิจารณากระแสหลักเรื่องความปรองดองตามแผนแม่บทในการสร้างความปรองดองของคนในชาติที่รัฐบาล องค์กรต่าง ๆ ภาคพลเมืองและประชาชนกำลังร่วมกันพยายามสร้างและเสนอขึ้นตามวิถีและด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การถกเถียงโต้แย้งตามวิถีการแสดงออกทางความคิดอย่างเสรีเพื่อหาข้อสรุปที่จะเสนอเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาให้แก่สังคมต่อไป

จุดเริ่มต้นความขัดแย้ง?
สิ่งที่สังคมเข้าใจและรับรู้ร่วมกันในขณะนี้คือ มีความขัดแย้งเกิดขึ้นในสังคม เริ่มต้นเกิดขึ้นบนพื้นฐานของการขัดแย้งทางการเมืองโดยกลุ่มการเมืองต้องการครอบครองและมีอำนาจเด็ดขาดในการดำเนินการทางการเมืองเพื่อครอบครองผลประโยชน์มหาศาลที่ซ่อนอยู่ในการเมืองซึ่งก็อาจจะผูกโยงไปถึงกลุ่มทุนที่ยังไม่เปิดหน้าสู่สังคม ทั้งนี้ก็เพื่อผูกขาดอำนาจต่อรองในการดำเนินการบริหารงานในเชิงโครงสร้างซึ่งมีบทบาทอย่างยิ่งโดยตรงต่อการกำหนดบทบาทและการปฏิบัติซึ่งแน่นอนว่า หากยอมรับความเป็นเหตุเป็นผลร่วมกัน คืออะไรที่เกิดแต่เหตุย่อมดับเพราะเหตุก็น่าจะเชื่อได้ว่า ความขัดแย้งที่เกิดบนวิถีการเมืองก็ต้องแก้ด้วยกฎ ด้วยกติกาทางการเมืองอย่างที่ชอบกล่าวอ้างกันเท่านั้นไม่ แต่ต้องแก้ที่ความขัดแย้งที่เกิดจากการต้องการครอบงำการเมืองของกลุ่มทุนทางการเมืองต่างหาก

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นแรกเริ่มนั้นอาจเรียกว่า ไม่เป็นความขัดแย้งก็ได้ เพราะเจตนาตั้งต้นเป็นเพียงแค่การตรวจสอบการทุจริต คอรัปชั่นในการทำงานของฝ่ายบริหารเท่านั้นซึ่งก็เป็นสิ่งที่ต้องทำและน่าชื่นชม  การตรวจสอบดังกล่าวเกิดขึ้นโดยคนไม่กี่คน ขยายออกไปยังกลุ่มคนจนขยายไปเป็นกลุ่มมวลชน การตรวจสอบเช่นนี้เป็นจะเป็นสิ่งดีก็ต่อเมื่อได้ดำเนินไปบนพื้นฐานของความเป็นสุจริตชนอย่างตรงไปตรงมาและเสมอต้นเสมอปลายแท้จริง ไม่หักเห เบี่ยงเบนและทุรยศความเป็นสุจริตชนแห่งตนแล้วกลายร่างกลายเป็นกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองเสียเอง

แต่ภายหลังจากข้อเท็จจริงปรากฏออกมาว่า หลังจากการดำเนินการเลือกตั้งตามกฎกติกาประชาธิปไตยแล้ว ข้ออ้างที่ว่า การดำเนินการตรวจสอบการทุจริตดูเหมือนจะไม่ทรงพลังเพราะการกลายร่างเป็นกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองปรากฏชัดเจนขึ้นกว่าการเป็นกลุ่มอิสระ หมายความว่า การเป็นสุจริตชนได้หมดความชอบธรรมลงไป ดังนั้นข้ออ้างที่ใช้อ้างจึงเป็นเพียงข้ออ้างบังหน้าสำหรับการต่อสู้ต่อรองผลประโยชน์ทางการเมืองมากกว่าการเรียกร้องเพื่อประโยชน์ส่วนรวม แต่เมื่อการกระทำดังเดิมยังดำเนินต่อไป คำถามต่อกระบวนการที่ยังดำเนินต่อไปนั้นก็จึงเกิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งกลุ่มทางการเมืองเพื่อต่อรองด้วยเหตุผลเดียวกันคือเพื่อต่อสู้ทางการเมืองและความขัดแย้งที่เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ทางการเมืองจึงเกิดขึ้นและขยายตัวออกไป

การขยายตัวของความขัดแย้งนั้นเกิดลุกลามไปเมื่อสุจริตกรรมได้จบลงบนเงื่อนไขและถูกต้องตามกฎกติกาแล้ว แต่ข้ออ้างเดิมกลับถูกนำมาเป็นข้ออ้างใช้ใหม่กับเงื่อนไขและเหตุการณ์ใหม่ที่ไม่ได้เกิดบนพื้นฐานอันว่าด้วยการคอรัปชั่นตามที่ได้อ้าง แต่ข้ออ้างดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ว่า ยังถูกนำไปเป็นข้ออ้างในการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองและชัดเจนว่าไม่ได้เกิดขึ้นบนฐานของการตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่น แต่เป็นการตรวจสอบคุณสมบัติอื่นที่ไม่ใช่พื้นที่สาธารณะซึ่งอาจจะเอาข้ออ้างเรื่องการทุจริตมาใช้ในการสนับสนุนและเพิ่มน้ำหนักในพื้นที่ส่วนบุคคล ข้อเท็จจริงคือบรรดาข้ออ้างที่ถูกใช้ไม่ได้บริสุทธิ์เช่นแต่ก่อนอีกต่อไปแล้ว ดังนั้นการพิจารณาจึงต้องทำนอกบริบท ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจว่า พื้นที่ที่ถูกขยายไปสู่ความขัดแย้งทางสังคม กลุ่มที่ต้องการนำเสนอประเด็นนี้ได้ประโยชน์จากข้ออ้างดังกล่าวนี้ นั่นก็คือ ผลต่อการขยายฐานกลุ่มมวลชนของตนเองทั้งในส่วนที่เป็นมวลชนฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่เชื่อได้ว่า ความขัดแย้งรุนแรงอย่างที่เป็นนี้เป็นผลโดยตรงจากการขยายพื้นที่ส่วนบุคคลออกไปสู่พื้นที่สาธารณะ  ดังนั้นเราจึงเห็นความพยายามที่จะสร้างความปรองดองให้เกิดบนพื้นฐานของพื้นที่ส่วนบุคคลก่อนที่จะนำเข้าสู่การพูดถึงพื้นที่สาธารณะ

การเมืองและบริบทของการปรองดอง
ปกติความปรองดองเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน หากความขัดแย้งไม่ได้เกิดขึ้นบนพื้นฐานความขัดแย้งทางการเมืองเพราะจุดตั้งต้นและเป้าหมายของการเมืองคือการแสวงหาอำนาจและผลประโยชน์ซึ่งก็ต้องมีกระบวนการแย่งชิงต่อรองกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ที่แน่นอนว่ากลุ่มผลประโยชน์ต้องการเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ในระบบการเมืองและการคอรัปชั่นก็เกิดเพราะสิ่งเหล่านี้  ดังนั้นเพื่อให้เป้าหมายทางการเมืองบรรลุผล เงื่อนไขที่ตั้งไว้จึงต้องโอนเอียงเข้าหาเป้าหมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากความขัดแย้งไม่ได้เกิดบนความขัดแย้งทางการเมือง แต่เป็นด้วยข้องอ้างที่ว่า เป็นการตรวจสอบการทุจริตคอรัปชั่นเท่านั้น ข้ออ้างนี้ก็จะทรงพลังและไม่นำไปสู่ความขัดแย้งอย่างที่เป็น การปรองดองก็สามารถทำได้เพราะเงื่อนไขไม่ได้ผูกติดกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและเป็นความถูกต้องที่กลุ่มต่าง ๆ ไม่อาจปฏิเสธได้ หากเรามีสมมติฐานของความแตกแยกว่าตั้งบนพื้นฐานของการเมือง การปรองดองก็คงมีวิธีการคือตกลงผลประโยชน์ที่มีในทางการเมืองให้ได้ก็คงเป็นการเพียงพอ

หากเรายังคงมีความจำดีกันอยู่ เราจะคุ้นชินกับข้ออ้างที่ว่า ความขัดแย้งเกิดจากการเมืองต้องแก้ด้วยวิถีทางการเมือง นั่นก็หมายความว่า การปรองดองที่โหมกระแสจากภาคประชาชนเป็นความพยายามที่ไร้ประโยชน์เพราะประชาชนไม่ได้ร่วมก่อให้เกิดความขัดแย้ง (ในการแย้งชิงผลประโยชน์) การประนีประนอมเป็นเรื่องที่ต้องประนีประนอมผลประโยชน์ของผู้ที่ขัดผลประโยชน์กัน แต่ประชาชนอยู่นอกเหนือการแย่งชิงผลประโยชน์ เป็นแต่เครื่องมือในการแย่งชิงผลประโยชน์ ดังนั้นประชาชนไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งนั้น แต่ภาคประชาชนควรต้องมีความเข้มแข็งต่อสถานการณ์ตรวจสอบที่กระทำต่อนักการเมืองอย่างแท้จริง เมื่อนักการเมืองไม่มีเครื่องมือ (คือประชาชนที่หลงวาทะนักการเมือง) คือการใช้ประชาชนบังหน้า การต่อรองผลประโยชน์เป็นสิ่งที่นักการเมืองต้องการอยู่แล้ว การต่อรองนี้ต้องเกิดขึ้นอยู่แล้วแม้จะไม่มีประชาชนเป็นกำบัง และจะทำง่ายขึ้นเพราะอำนาจต่อรองจะมีน้อยและข้ออ้างที่จะยกขึ้นอ้างจะใช้ไม่ได้ทุกข้อเพราะต้องผ่านการตรวจสอบจากประชาชน เมื่อเป็นเช่นนั้น นักการเมืองจะตระหนักในการสูญเสียผลประโยชน์ก็จะระมัดระวังที่จะก่อความขัดแย้งระหว่างกันและต้องระวังการตรวจสอบ นักการเมืองก็จะไม่ก่อความขัดแย้งระหว่างกันและกัน

สิ่งที่ภาคประชาชนต้องตระหนักร่วมกันอีกประการคือ คำว่า “การปรองดอง” เป็นคำพูดที่นักการเมืองพูด มันมีความหมายถึงว่า เป็นการประนีประนอมผลประโยชน์ของนักการเมืองเอง ไม่ใช่ประโยชน์ของประชาชนโดยรวม หมายความว่า แม้จะปรองดองกันได้จริง ประโยชน์สูงสุดก็ตกแก่นักการเมืองไม่ใช่แก่ประชาชน ดังนั้นประชาชนโดยรวมต้องไม่เคลิบเคลิ้มต่อการเอาผลประโยชน์ประชาชนมาบังหน้าเพื่อให้ได้ประโยชน์ของนักการเมืองเพราะสุดท้ายแล้วประชาชนก็สูญเสียประโยชน์จากบรรดาข้ออ้างเหล่านั้นเหมือนเดิม

บทวิพากษ์อันว่าด้วยความปรองดอง
ความปรองดองเป็นคำใหม่ที่กำลังเป็นกระแสในสังคมไทย เกิดขึ้นบนความคาดหวังว่าจะสามารถลดความขัดแย้งที่เกิดในสังคมไทยในขณะนี้ แต่คำนี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจของสังคม และเมื่อไม่เข้าใจเชื่อได้ว่า การตีความซึ่งเกิดจากความเข้าใจก็ย่อมผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปด้วย มีข้อสังเกตหลายประการสำหรับคำว่า ปรองดองนี้

คำว่า ปรองดอง ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน(2542) เป็นคำกริยา หมายถึง ออมชอม, ประนีประนอม, ยอมหัน, ไม่แก่งแย่งกัน, ตกลงกันด้วยความไกล่เกลี่ย, ตกลงกันด้วยไมตรีจิต หากเราจะใช้คำว่า ปรองดอง โดยนิยามนี้ในแผนการปรองดองถือว่า เป็นสิ่งผิดอย่างใหญ่หลวงของสังคมไทยเพราะการออมชอมผลประโยชน์ของชาติให้กลายเป็นผลประโยชน์ของนักการเมืองเป็นสิ่งผิดทั้งในความเป็นจริงและความถูกต้อง จะกล่าวได้ว่า ไม่มีสังคมใดที่ยอมรับเรื่องเช่นนี้ได้อย่างน่าชื่นตาบาน และหากยอมรับได้ การพูดถึงคุณธรรมในสังคมก็ไม่จำเป็นและไม่มีประโยชน์อีกต่อไป

ที่สำคัญกว่านี้คือ การปรองดองที่เป็นกระแสอยู่ในสังคมขณะนี้ผิดต่อหลักการสำคัญอย่างยิ่งใหญ่ ๆ  3 ข้อ คือ
1. กฎธรรมชาติ หรือกฎสากล (Natural Laws)
2. กฎสากลทางจริยธรรม (Moral Laws)
3. กฎหมายบ้านเมือง (Laws)

อันที่จริงกฎทั้ง  3  นี้ มีพื้นฐานมาจากหลักการอันเดียวกันนั่นคือ “ธรรมดาว่าสิ่งที่ถูกต้องอยู่ที่ไหนย่อมถูกต้องเสมอ” หมายความว่า ถ้าการกระทำ X ใด ๆ เป็นความผิดแล้ว จะเป็นการกระทำของกลุ่ม x หรือ y ก็เป็นความผิดทั้งนั้น ไม่มีทางที่จะเป็นสิ่งถูกต้องเป็นได้ ดังนั้น การนิยามคำว่า ปรองดองซึ่งหมายถึง ออมชอม, ประนีประนอม, ยอมกัน, ไม่แก่งแย่งกัน, ตกลงกันด้วยความไกล่เกลี่ย, ตกลงกันด้วยไมตรีจิต ตามนัยยะที่ราชบัณฑิตสร้างขึ้นจึงใช้ในข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้อย่างแน่นอน

กรณีตัวอย่างที่ชัดเจนคือความขัดแย้งของสังคมไทยเกิดจากคู่ขัดแย้งที่เป็นกลุ่มผลประโยชน์และกลายร่างเป็นกลุ่มการเมืองทั้งคู่ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และกลุ่มแนวร่วมบางกลุ่ม ข้อเท็จจริงที่ปรากฎคือ กลุ่ม  X  ยึดทำเนียบ ฯลฯ สนามบิน เป็นสิ่งผิดกฎหมายบ้านเมืองชัดเจน ในขณะที่กลุ่ม Y  ก็เผาศูนย์การค้ากลางกรุง ฯลฯ เผ่าศูนย์ราชการ (ซึ่งอาจจะอ้างเป็นอย่างอื่น แต่ปฏิเสธความรับผิดไม่ได้ในระดับหนึ่ง) การกระทำทั้ง  X และ Y เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายบ้านเมืองทั้งคู่  การพยายามปลุกกระแส ‘ปรองดอง’ ระหว่างกลุ่มที่ทำผิดคือ  X และ Y  เพื่อให้ทั้งสองที่ปรากฏชัดว่าผิด เป็นถูกนั้นจึงทำไม่ได้เพราะคำถามที่จะมีตามมาก็คือว่า ทั้งสองจะปรองดองบนพื้นฐานของสิ่งใด กระบวนการจะเป็นอย่างไร การจะบอกว่า ให้กลุ่ม  Y  เลิกแล้วต่อ  X  เสียเถิดทั้งที่ปรากฏชัดว่า  Y  ตายไปแล้ว 91 ศพ  สูญหายไม่ทราบแน่ชัดและบาดเจ็บและพิการกว่า  2,xxx  คนให้ทั้งสองลืมไปเสียและเลิกแล้วต่อกัน สังคมตั้งใจที่จะใจร้ายเกินไปหรือไม่ที่จะละเลยต่อสิ่งเหล่านี้ การจะอธิบายปรากฏการณ์นี้ให้เป็นที่ยอมรับแก่คนในประเทศคงมีไม่ได้ (ถ้าไม่หน้าด้านจริง ๆ คงไม่กล้าหาญพอที่จะตอบและทำเรื่องนี้.ผู้เขียน)

ก่อนหน้าที่จะเกิดมีความขัดแย้ง 2549 นั้น จำได้ว่าเราได้เคยใช้วิธีการปรองดองมาแล้ว 1 ครั้ง เป็นการปรองดองเชิงโครงสร้างระบบอำนาจครั้งสำคัญที่ใช้ขับเคลื่อนประเทศไทย นั่นคือการที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้คุณทักษิณพ้นผิดคดี “ซุกหุ้นภาค 1” ด้วยมติ 8:7 ตัดสินว่าคุณทักษิณไม่ผิดทั้งที่หากจะพิจารณาให้ดีจะพบว่ามีความผิดจริงเพราะไม่ได้แตกต่างจากพลตรีสนั่น ขจรประสาสน์ ในขณะที่พลตรีสนั่นผิดและมีโทษ แต่ด้วยเงื่อนไขใดก็ตามที่ไม่สามารถทราบได้ แต่ผู้เขียน ‘เชื่อว่า’ นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดบนหลักการประโยชน์นิยมแบบ Act Utilitarianism อย่างแน่นอน การทำสิ่งผิดให้เป็นสิ่งที่ถูกต้องในครั้งนั้นน่าจะเป็นบทเรียนให้กับสังคมได้ว่า การปรองดองบนพื้นฐานของหลักการทำความผิดให้เป็นความถูกไม่ใช่สิ่งที่จะยั่งยืนเพราะผิดหลักการดังที่กล่าวมาแล้วและเท่าที่มีเหตุการณ์ความขัดแย้งกันเกิดขึ้นในระดับบุคคล ระดับประเทศหลายครั้งหลายครั้งแม้เราไม่สร้างกระแสความปรองดองแต่เราก็ผ่านความขัดแย้งอันนี้มาได้ด้วยดีทั้งนี้เพราะในทุกกรณีที่ผ่านมานั้นการปรองดองที่เกิดขึ้นตั้งอยู่บนกระแสของการยึดหลักการความถูกต้องเป็นสำคัญเหนือสิ่งใด ไม่ใช่การทำให้คนทำผิดกลายเป็นคนถูกเหมือนความพยายามทำในกระแสการปรองดองในครั้งนี้

หากแม้ว่าข้อเท็จจริงปรากฏว่า ทั้ง  X และ Y เลิกแล้วต่อกันจริงตามที่หวังไว้ การปรองดองที่แท้จริงก็ยังเกิดขึ้นไม่ได้เพราะอย่างไรเสียคู่ขัดแย้งทั้งสองก็มีคำตอบในใจที่ถูกทำให้ฝังรากลึกอยู่  บรรดาการกระทำใดที่ X และ Y ได้ทำมันเป็นความเจ็บปวด เป็นการกดขี่ สิ่งเหล่านี้ไม่มีทางจะถูกลบออกไปจากความทรงจำได้อย่างแน่นอน แต่จะกลายเป็นความปองร้ายที่ถูกทำให้ต้องเก็บกดไว้ การปรองดองเป็นเพียงแค่ ‘ฉาก’ กั่นทั้งสองฝ่ายไม่ให้มองเห็นกันชัดเจนและสร้างความสงสัยให้อีกฝ่ายเกิดความอยากรู้(ในความเป็นจริง) ท้ายที่สุดแล้วคำตอบที่ทั้งสองต้องการก็ต้องถูกทำให้กระจ่างด้วยวิธีการทำลายม่านมัวนั้นเพื่อให้เกิดความกระจ่างซึ่งจะเป็นความขัดแย้งรอบใหม่ที่เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด

องค์กรต่าง ๆ ที่รัฐบาลตั้งขึ้น (หลังการกระชับพื้นที่) หากรัฐบาลยังมีสถานะเป็นเสมือนเป็นคู่ขัดแย้ง องค์กรเหล่านั้นทั้งหมดก็ไร้ความหมายเพราะสถานะองค์กรเหล่านั้นถูกมองจากคู่ขัดแย้งต่างกันและปราศจากการยอมรับด้วยดีจากคู่ขัดแย้งทั้งสอง  กลุ่ม  Y  จะมองว่า องค์กรเหล่านี้มีสถานะเป็นตัวแทน (representative) ของคู่ขัดแย้ง ไม่ใช่ของรัฐบาลเพราะสถานะของรัฐบาลแยกไม่ออกจากกลุ่มผลประโยชน์ในคู่ขัดแย้งของตน  ส่วน X  ก็จะมองว่า องค์กรที่ตั้งขึ้นมีความโน้มเอียงเมื่อองค์กรจะตัดสินอย่างตรงไปตรงมาและไม่เข้าข้างตัวเอง (ขณะเดียวกันก็ไม่เข้าข้างอีกฝ่าย) ดังนั้นในเมื่อการยอมรับองค์กรเหล่านี้ไม่มีมันก็เท่ากับว่า องค์กรเหล่านี้ไม่มีประโยชน์จริงในแง่การปฏิบัติ

ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอย่างเสรีทำได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การนำเสนอข้อมูลทางเดียวและพยายามปกปิดข้อมูลอีกด้านที่ถูกนำเสนอโดยรัฐบาลใด ๆ ย่อมเป็นอันตรายตัวรัฐบาลเองเพราะยิ่ง ‘ชาวบ้าน ชาวช่อง’อยากรู้มากเท่าใด เขาย่อมต้องพยายามเข้าถึงแหล่งข้อมูลให้ได้มากเท่านั้นด้วย อำนาจรัฐอาจจะเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้คนยอมรับสื่อโดยการปิดหูปิดตาประชาชนโดยสื่อ แต่เมื่อสื่อและข้อเท็จจริงไปคนละทิศละทางก็ย่อมมีคำถามตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สุดท้ายแล้วรัฐก็ต้องตอบคำถามต่อเหตุการณ์และข้อเท็จจริงเหล่านั้น และหากรัฐให้คำตอบเป็นที่พอใจไม่ได้อันตรายก็จะเกิดกับรัฐบาลเองอย่างที่รัฐบาลหลาย ๆ รัฐบาลประสบมา

การปรองดองที่เกิดโดยวิธีการทำคนผิดให้เป็นคนไม่มีความผิดและไม่ต้องรับโทษเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของไทย เราทำอย่างนี้มาอย่างเสมอต้นเสมอปลาย เรียกได้ว่า กฎหมายที่ไม่เคยพัฒนาเลย(และไม่เคยล้าหลัง)ก็คือกฎหมายนิรโทษกรรม ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งฉุด-ถ่วงพัฒนาการทางการเมืองและประชาธิปไตยของไทย การปรองดองที่ทำโดยมีกฎหมายนิรโทษกรรมเป็นเครื่องมือหลักถือเป็นจุดตั้งต้นที่สำคัญที่สุดของกำเนิดวงจรอุบาทว์อย่างแท้จริง ความจัดเจนคือ การกระทำเช่นนี้ไม่สามารถช่วยอะไรได้จริง กลับทำให้สังคมไทยถอยกลับด้อยพัฒนาและล้าหลังกว่าที่เป็น

‘พวกเขา’ หรือ ‘พวกเรา’ ตรรกต้นเหตุของความขัดแย้ง
คำที่ได้ยินเสมอในการพูด ในเวทีปราศรัยของนักเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยเฉพาะที่เป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง มีคำที่ใช้เรียกกลุ่มของตนและกลุ่มอื่น เรียกกลุ่มตนเองว่า “พวกเรา” และเรียกกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มตนเองว่า “พวกเขา” นั่นคือไม่ใช่พวกเรา ในคำทั้งสองนี้หากไม่พิจารณาให้ดีจะไม่เห็นความหมายแฝงหรือนัยยะพิเศษอะไรที่เป็นข้อบกพร่องใด ๆ แต่หากพิจารณาให้ดีก็จะพบนัยยะบางประการที่นำไปสู่ตรรกที่ประนีประนอมไม่ได้อย่างสิ้นเชิง

ในคำว่า พวกเรา นั้นโดยคำพูดเป็นการยืนยันถึงความมีอยู่และตำแหน่งแห่งที่ที่ชัดเจนของตัวตนเขา(ผู้พูด) ในขณะที่ผู้พูดได้พูดมันหมายความว่า ผู้พูดเป็นศูนย์กลางของสิ่งอื่นที่ทุกสิ่งต้องวิ่งเข้าหาในฐานะเป็นผู้มีอำนาจ(ในการพูด)การกระทำ คือ คนพูดได้ครอบครองความเป็นศูนย์กลางของการพูดในฐานะเป็นประธาน  หรือเป็น Subject ไว้หมด  

คำว่า  Subject  มาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า Subjectum  และภาษาละตินในสมัยกลางใช้เป็น  Subjectivus  ซึ่งมีความหมายว่า “ทำให้อยู่ภายใต้(อำนาจหรืออะไรก็ตาม)”หรือ Under throw under  หมายความว่า การพูดมันสัมพัทธ์(relate)หรือถูกกำหนดโดยตัวเขาเองหรือ EGO ของผู้พูดและกลุ่มของเขาให้คนอื่นอยู่ภายใต้อำนาจหรือบางสิ่งอย่างที่ผู้พูดต้องการในการพูดทุกครั้ง

การพูดเชิงยืนยัน(affiamative)ความเป็นบางสิ่งบาง เช่น ยืนยันว่าเป็น A เท่ากับมีนัยยะยืนยันและปฏิเสธความเป็น B โดยประการทั้งปวง เช่นตัวอย่างการพูดว่า พวกเราคนไทย มีความหมายกินความถึงว่า เราไม่ใช่คนลาว ไม่ใช่พม่า หรือไม่ใช่คนอเมริกา เป็นการปฏิเสธโดยนัยยะว่า นี่ไม่ใช่เรา แต่เป็นพวก หรือสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับเราหรือพวกเรา

คำว่า พวกเขา โดยคำพูดที่พูดออกไปมันมีนัยยะปฏิเสธความสัมพันธ์ทั้งในแนวระนาบและแนวดิ่งอย่างสิ้นเชิง คือไม่ใช่เพื่อนหรือไม่มีสถานะใกล้เคียงในความเป็น ‘พวกเรา’ ไม่ใช่พวกเราและไม่ใช่ทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งของความเป็นพวกเรา โดยนัยยะมันหมายถึงกลุ่มที่คัดค้านหรือมีความแตกต่างจากพวกเราเพราะสถานะของพวกเขามีความเป็นปรปักษ์กับความเป็นพวกเราที่มีตัวตนเป็นศูนย์กลาง พวกเขาจึงดำรงสถานะเพียงวัตถุ (Object)บางสิ่งที่จะถูกกระทำอย่างไรก็ได้ในฐานะวัตถุที่อยู่ตรงข้ามกับพวกเราเสมอ

คำว่า Object มาจากรากศัพท์ในภาษาละตินว่า Objectus ซึ่งมีความหมายว่า โยนไว้ตรงข้าม(to throw in the way)กับ Subject คืออยู่ตรงกันข้ามกับผู้พูดหรือกล่าวโดยนัยยะก็คือเป็นเพียง ‘บางสิ่ง’ ที่ผู้พูดจะพูดถึงในฐานะอะไรก็ได้ที่ผู้พูดจะให้คุณค่า

การพูดคำว่า “พวก.....(เขา หรือเรา)” เป็นการจัดประเภทหรือแบ่งแยกอย่างชัดเจน การจัดประเภทดังกล่าวทำให้เกิดละดับชั้น (Hierarchy)ที่ลดลั่นกันและทำให้ไม่เกิดความเท่าเทียมเพราะความแตกต่างที่มีชัดเจนในแต่ละประเภทได้บ่งชี้ในการจัดประเภท  มโนภาพอันว่าด้วยสถานะความเป็นประเภทได้เกิดจากการใช้คำเหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สมการของคำพูดนี้คือเมื่อเราพูดว่า พวกเรา มันก็เท่ากับว่า เราไม่ใช่เขา และไม่มีทางที่พวกเขาจะเป็นเรา (A=A•A=~B)เพราะทั้งพวกเราและพวกเขาเป็นคนละประเภทกัน

การพูดทุกครั้ง การเปลี่ยนแปลงสถานะระหว่างพวกเรากับพวกเขาจะเกิดขึ้นตลอดและไม่มีความสมดุล หมายความว่าในขณะที่ผู้พูดว่า “พวกเรา” คนพูดได้กลายเป็นศูนย์กลางของการพูดและดำรงสถานะเป็นผู้กระทำ คือคนอื่นจะอยู่ภายใต้อำนาจการพูดของเขา ขณะเดียวกันผู้ที่ถูกกล่าวอ้างถึงว่าเป็น “พวกเขา” ก็จะพูดได้ในสถานะความเป็นศูนย์กลางของการพูดตอบโต้ได้เช่นกันด้วยคำเดียวกันว่า ‘พวกเรา’ นัยยะของการยืนยันตัวเอง ปฏิเสธผู้อื่น(และละเลยต่อเหตุผล)จะเกิดขึ้นอย่างนี้เรื่อยไปในทุกครั้งที่มีการพูด

ต้อง ‘เลือกข้าง’ มากกว่าต้องปรองดอง
อันที่จริงแล้วเราไม่ต้องสร้างกระแสความปรองดองในสังคมก็ได้เพราะประชาชนในสังคมไม่ได้แตกแยกกัน แต่เป็นเพราะคนไม่กี่คนตกลงผลประโยชน์กันไม่ได้แล้วดึงประชาชนเข้าไปสู่หลุมพรางแห่งความขัดแย้งของตนเองเพื่อให้ประชานเป็นเกราะป้องกันตัวเอง การสร้างกระแสความปรองดองนี้ประชาชนไม่ได้เดือดร้อนอะไรเพราะประชาชนไม่ได้ทำผิดอะไร การปรองดองที่ว่าคนที่จะเดือดร้อนคือคนที่ทำผิดเท่านั้น ประชาชนก็ยังทำมาหากินกันตามปกติ คนจนก็จนเหมือนเดิมหรือจะจนกว่าเดิมไม่รู้ คนที่จะได้รับผลจากกระแสปรองดองอย่างแท้จริงคือกลุ่มนักการเมืองและพวกธนกิจการเมืองเท่านั้น ความเป็นสาเหตุและผมของความขัดแย้งไม่ได้เกิดจากประชาชน แต่ประชาชนคือเงื่อนไขที่ถูกนำมาใช้ในหลุมแห่งความขัดแย้ง

หากคนส่วนใหญ่รู้ในความเป็นสาเหตุและผลคืออะไร สิทธิคืออะไร หน้าที่คืออะไร อะไรคือสิ่งที่ต้องทำ ควรทำ ความขัดแย้งก็คงไม่ขยายวงจนยากจะกำหนดขอบเขต แต่เมื่อสถานการณ์เลยมาจนถึงจุดนี้(เพราะเราไม่ได้อยู่ในบริบทความขัดแย้งตั้งแต่ต้นแล้ว) สิ่งที่สังคมต้องพิจารณาและขับเคลื่อนไปร่วมกันก็คือ สำหรับรัฐบาลใด ๆ ที่เรียกตัวเองว่าเป็นรัฐบาล ‘ต้องสำเนียก’ ว่า การเข้ามาเป็นรัฐบาลของตนไม่ใช่เป็นรัฐบาลของกลุ่มใด ไม่ใช่รัฐบาลกลุ่ม  X และไม่ใช่ของกลุ่ม Y  แต่เป็นรัฐบาลของประชาชนและต้องยืนบนจุดยืนที่ชัดเจนในการกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ใช่เฉพาะแค่ใช้วาทศิลป์หรืออำนาจของฝูงชนในการบีบบังคับ ดังนี้แล้วรัฐบาลจึงจะดำรงสถานะอยู่ได้ด้วยความเชื่อถืออย่างมั่นคง หากรัฐบาลโอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งย่อมหมายความว่ารัฐบาลไม่ได้ดำรงสถานะความเป็นรัฐบาลของประชาชนอีกต่อไปและท้ายที่สุดประชาชนก็จะเพิกถอนการสนับสนุนเพราะรัฐบาลเลือกข้างกลุ่มผลประโยชน์ไม่ใช่ประโยชน์ที่แท้ของประชาชนตามเจตจำนงที่ประชาชนได้มอบหมาย

ประเด็นที่น่าพิจารณาให้ถ้วนถี่กว่านั้นก็คือว่า ทำอย่างไรรัฐบาลจะไม่โอนเอียงหันเหออกจากประชาชนเพราะการโอนเอียงจากประชาชนเท่ากับว่า รัฐบาลไม่ได้อยู่ข้างประชาชนที่เลือกเข้ามา ขณะเดียวกันการโอนเอียงก็มีผลชัดเจนต่อการเลือกข้างด้วย หมายความว่า กลุ่มคนที่ดำรงความเป็นกลางอยู่ซึ่งเราเรียกว่ากลุ่มพลังเงียบ(the silent)ที่ไม่ได้เข้าข้างกลุ่มใดๆ ทั้งกลุ่ม  X  และ Y  คนกลุ่มนี้จะถูกรัฐบาลกระทำให้ต้องเลือกข้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้กล่าวคือคนกลุ่มนี้จะถูกบีบโดยทางอ้อมให้ไปอยู่ตรงข้ามกับรัฐเพราะข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบันนี้ชัดเจนว่า รัฐบาลเลือกข้างทั้งนี้ไม่ได้เกิดจากข้ออ้างของกลุ่มใด แต่เกิดจากข้อเท็จจริงที่รัฐบาลได้กระทำ หากรัฐบาลจะเลือกข้างจริง ๆ รัฐบาลต้องกล้าที่จะเลือกข้าง “ความถูกต้อง ความยุติธรรม” ที่จะเกิดกับประชาชนทุกคนมากกว่าการพิจารณากลุ่มพวกตนเอง

สิ่งที่รัฐบาลควรทำคือ ต้องตั้งคำถามว่า การปรองดองที่จะเกิดขึ้นบนเงื่อนไขที่กำลังเสนอกันเป็นกระแสนั้นถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ เพราะหากเป็นการปรองดองระหว่างคนผิดและคนผิดย่อมไม่สมควรเพราะการปรองดองในลักษณะเช่นนี้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อประชาชนโดยรวม (อันที่จริงเราต้องยอมรับว่า ประชาธิปไตยของไทยไม่ได้ยืนบนหลักการสากลอย่างที่Abraham Lincoln เสนอไว้ การยืนบนหลักการที่ผิดตั้งแต่ต้นจึงไม่ควรที่จะหวังอะไรต่อไป.ผู้เขียน) แต่เป็นประโยชน์ต่อบรรดานักการเมืองและกลุ่มคนที่ทำผิดเท่านั้น การที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนและเข้มแข็งคือการตรวจสอบรัฐบาลใด ๆ นักการเมืองและผู้ถืออำนาจรัฐในมืออย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพกว่านี้ทั้งนี้เป็นการป้องกันมูลเหตุแห่งการทุจริต คอรัปชั่นที่เป็นรากเหง้าความขัดแย้ง  เหนืออื่นใดตามหลักการแห่งประชาธิปไตย นักการเมืองเป็นตัวแทนของประชาชนไม่ใช่ตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ การยึดหลักประโยชน์ประชาชนเป็นหลักการที่ต้องตระหนัก ไม่ใช่ยึดประโยชน์ของนักการเมือง ดังนั้นการปรองดองจึงต้องเป็นไปเพื่อประประโยชน์ประชาชนไม่ใช่ประโยชน์นักการเมือง

การปรองดองตามแนวพุทธและข้อเท็จจริงปัจจุบัน
ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีหลักการทางสังคมที่แน่นอนใด ๆ ที่จะนำมาเป็นกระบวนการในการสร้างความปรองดองในสังคมได้ แต่หากมองเข้าไปที่หลักทางศาสนาจะพอพบหลักการเหล่านี้ได้เพราะส่วนใหญ่แล้วศาสนาจะตอบเรื่องเหล่านี้ได้ค่อนข้างชัดเจน และในฐานะที่สังคมไทยมักอ้างเสมอว่า ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ(ตามทะเบียนบ้าน)เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วผู้เขียนจึงขอยกเอาหลักการทางพุทธศาสนาบางข้อมาเสนอเพื่อประกอบการอธิบาย

หลักการที่จะนำเสนอนี้จะเรียกว่า หลักการลดและประสานความขัดแย้ง เรียกตามชื่อทางพุทธศาสนาคือ หลักสารณียธรรม ได้แก่ หลักการอยู่ร่วมกันมี  6 ประการ (พระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตฺโต)2543, 233-234) ซึ่งสามารถอธิบายในรายละเอียดได้ว่า

1. เมตตากายกรรม คือ มีการกระทำทางกายต่อเพื่อนร่วมสังคมด้วยความเมตตาทั้งต่อ

หน้าและหลับหลัง แสดงกิริยาอาการต่อกันอย่างสุภาพ เคารพกันและกัน รวมไปถึงคอยช่วยเหลือกิจธุระของหมู่คณะด้วยความเต็มใจ ในข้อนี้รวมความหมายถึง กรรมเคารพกรรมสิทธิ์ สิทธิของผู้อื่นและการไม่ล่วงละเมิดประเพณีทางเพศด้วย

เมื่อย้อนมองเหตุการณ์ปัจจุบันพบว่า สังคมเต็มไปด้วยสิ่งที่ตรงกันข้ามกับหัวข้อนี้ เริ่มที่เด็กและเยาวชนทะเลาะวิวาทกันมากขึ้นถึงขึ้นเอาชีวิต การอาฆาตมาดร้ายแก่กันและกันปรากฏชัดขึ้น อาชญากรรมเพิ่มขึ้น  การจี้ปล้น ลักขโมย วิ่งราวมากขึ้น คอรัปชั่นมากขึ้น มีการอ้างสิทธิกันมากขึ้นแต่เคารพสิทธิของกันและกันน้อยลง ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางของการกระทำเป็นหลัก ครอบครัวแตกแยกมากขึ้น หย่าร้างมากขึ้น นี่คือภาวะความเป็นจริงที่ต้องรับรู้และคิดที่จะปรับปรุงร่วมกัน เราไม่ได้มองเพื่อนมนุษย์ด้วยเมตตา แต่กลายเป็นต่างฝ่ายต่างจ้องจับผิดกันตลอดเวลา

2. เมตตาวจีกรรม คือ พูดกับเพื่อนร่วมสังคมด้วยเมตตาทั้งต่อหน้าและหลับหลัง ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี เมตตา มีวาจาสุภาพแสดงความเคารพกันด้วยวาจาทั้งต่อหน้าและลับหลัง รวมทั้ง ไม่กล่าวเท็จเพราะเหตุแห่งตนเอง ผู้อื่น หรือเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใด ๆ  ไม่พูดเพื่อสร้างความแตกร้าวในสังคม พูดจริง มีเหตุผล มีสาระถูกกาลเทศะ

ในข้อจริงที่กำลังดำเนินไปนั้น แม้จะมีข้ออ้างเรื่องการปรองดองเกิดขึ้น แต่การด่าทอ ใส่ความผู้อื่น ประชดประชัน พูดเท็จ ไร้สาระ เอาดีเข้าตัว ชั่วใส่คนอื่น  พูดดีทำชั่ว ไม่มีมูลเหตุ รวมถึงพูดเพื่อให้เสียประโยชน์โดยรวมมีมากขึ้น คำพูดตนเองถูก คนอื่นพูดผิด เป็นสิ่งที่สังคมต้องตั้งคำถาม ตัวอย่างที่ชัดเจนเช่น  ก  ในขณะที่มีตำแหน่งเป็น X  พูดว่า “จะหนึ่งคนพูด สองคนพูด หรือแสนคนพูดก็ต้องฟัง” แต่เมื่อ ก  เข้ามาสู่สถานะความเป็น Y เขาไม่ใส่ใจคำพูดนี้และบอกว่า คำพูดเหล่านี้ไร้สาระทั้งที่คำพูดแบบนี้เริ่มต้นที่เขาเป็นคนพูด คนที่ ‘พูดแบบนี้’ ประชาชนต้องร่วมกันลงโทษเพราะเขาไม่ได้พูดหรืออ้างบนผลประโยชน์ประชาชน (และที่หนักกว่านั้นคือ ผู้ปกครองลดตัวลงไปต่อล้อต่อถียงกับแม่ค้าปากตลาดซึ่งมันบ่งชี้ไปถึงภาวะผู้นำในตัวเขาด้วย. ผู้เขียน) เราไม่ได้ดำเนินชีวิตภายใต้สังคมแห่งความเอื้ออาทรอีกต่อไป การพูดการตักเตือนทำด้วยอคติและมุ่งทำลาย

3. เมตตามโนกรรม คือ มีใจปรารถนาดีต่อเพื่อนร่วมสังคม  คิดทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน แก่สังคม มองโลกในแง่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใสทั้งต่อหน้าและลับหลัง ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของผู้อื่น ไม่คิดร้าย อิจฉาผู้อื่น มีความชื่อถูกต้องคือเชื่อว่าทำดีแล้วได้ดี ทำชั่วแล้วได้ชั่ว

ในข้อนี้อาจเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจได้เพราะความคิดเป็นสิ่งที่ผู้อื่นไม่สามารถรับรู้ได้ แต่ความคิดเป็นเหตุตั้งต้นของการพูดและการกระทำ ซึ่งก็พอจะอนุมานได้ว่า ปัจจุบันนี้คนคิดกันอย่างไร ที่ชัดเจนก็อาจจะเป็นคำพูดนักการเมืองที่พูดว่า “ถ้าฉันได้ถืออำนาจรัฐคุณต้องถูกย้ายแน่นอน” นั่นหมายถึงว่า ผู้พูดคิดไม่ดีต่อผู้อื่น ทำให้พูดเช่นนี้ออกไป และที่หนักกว่านี้ก็คือภาวะการทุจริตในภาครัฐ  การซื้อขายตำแหน่ง  เด็กฝากซึ่งส่วนหนึ่งก็สะท้อนได้ว่า ผู้ทำเช่นนี้มีความเชื่อไม่ถูกต้อง คือไม่เชื่อว่าการทำดีแล้วได้ดี การทุจริตเป็นความเชื่อ บุคคลเหล่านี้จัดได้ว่า “เป็นผู้มีทัศนคติเป็น ‘อันตราย’ ต่อความมั่นคงของรัฐ” อย่างแท้จริง

4. สาธารณโภคี คือ การรู้จักแบ่งปัน จัดสรรสาธารณประโยชน์ แบ่งปันเจือจานสิ่งที่เป็นสิ่งสาธารณะให้อย่างเท่าเทียม การมีส่วนร่วมในการใช้สอยสิ่งสาธารณะที่สังคมมีอยู่ ไม่หวงไว้คนเดียว กลุ่มเดียว รวมถึงสิ่งที่เป็นสิ่งของส่วนตัวหากมีเหลือใช้หรือไม่เกิดประโยชน์แก่ตนก็นำออกเจือจานผู้อื่น

ปัญหาที่เกิดขึ้นและลุกลามอยู่นี้ก็เริ่มจากการที่ผู้นำไม่นำหลักสาธารณโภคีมาใช้ หรือนำมาใช้ไม่เป็นธรรม นั่นคือหวงประโยชน์สาธารณะหรือ/ และแปรรูปสาธารณประโยชน์ให้เป็นประโยชน์ตนและกลุ่มของตน ไม่จัดสรร  ไม่เจือจาน เงินของรัฐ  ทรัพย์สินของรัฐให้ประชาชนอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง  ในยุคหนึ่งมีคำพูดว่า จังหวัดไหนเลือกพรรคของเราจะจัดงบประมาณ การช่วยเหลือต่าง ๆ ให้ก่อนและให้มากเป็นพิเศษ  เมื่อแปรทรัพย์สินสาธารณะให้กลายเป็นของตนเองก็ถูกตรวจสอบ และเมื่อจัดสรรทรัพย์สาธารณะไม่เป็นธรรม ไม่เท่าเทียมก็เกิดการเรียกร้องประท้วง กลายเป็นความขัดแย้งไปในที่สุด

5. สีลสามัญญตา คือ มีศีลเสมอกัน หมายความว่า มีความประพฤติเรียบร้อยปกติตามแต่สังคมของตนเอง เช่น เป็นชาวพุทธรักษาศีล  5 เป็นปกติ เป็นต้น  ทำถูกกฎ ระเบียบสังคม เคารพกฎหมายบ้านเมืองทั้งต่อหน้าและลับหลัง

ปัจจุบันนี้น่าเศร้ามากเพราะส่วนใหญ่ไม่รู้ว่า ศีลคืออะไร ความปกติของชีวิตคืออะไร ความเป็นปกติของสังคมคืออะไร กฎคืออะไร ระเบียบคืออะไร หน้าที่คืออะไร การเคารพกฎหมายต้องทำอย่างไรและที่แย่ที่สุดคือ ชาวพุทธที่อ้างว่า ตนเองเป็นพุทธแต่ไม่เคยรู้ว่าอะไรคือข้อปฏิบัติ อะไรเป็นข้อห้าม  ทำอย่างไรเรียกว่าผิดศีล  อย่างไรเรียกว่าผิดธรรม เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ไม่รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด และใครทำถูก ใครทำผิด และดังนั้นจึงไม่รู้ว่าจะทำตัวเองให้เสมอกับผู้มีศีลด้วยศีลได้อย่างไร การละเมิดศีล ข้อห้าม กฎ ระเบียบ กฎหมายต่างๆ จึงเกิดขึ้นตามมาอย่างมากมายไม่สิ้นสุด และน่าเป็นกังวลอย่างยิ่งหากคนทั่วไปเรียนรู้ว่าความดีคืออะไร คุณธรรมคืออะไรแต่เป็นคนมี่คุณธรรมอย่างที่เป็นอยู่เช่นทุกวันนี้

6. ทิฏฐิสามัญญตา  คือมีทิฏฐิดีงามเสมอกัน มีความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)ร่วมกัน ในหลักการที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาร่วมกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง

คำว่า ทิฏฐิ เป็นคำที่มีความหมายกลาง ๆ  หมายถึง ความเห็น  ถ้าเป็นความเห็นที่ถูกต้อง คือเห็นว่า ทำดีได้ผลดี ทำชั่วได้ผลชั่ว เห็นตามความเป็นจริง เป็นความเป็นถูก หรือสัมมาทิฏฐิ ส่วนความเห็นผิด คือความเห็นที่ไม่ถูกต้อง หรือคลาดเคลื่อนจากความเห็นข้างต้น  เช่นมีความเห็นว่า ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป เป็นต้น

บทสรุป
การปรองดองที่เกิดบนพื้นฐานของการปรองดองระหว่างคนทำผิดนั้นเป็นสิ่งผิดทั้งโดยหลักการและหลักปฏิบัติทั้งมวล เพราะการทำให้คนผิดไม่มีความผิดและไม่ต้องรับโทษเป็นสิ่งที่นานาอารยประเทศไม่ทำ การปรองดองต้องเกิดบนพื้นฐานความยุติธรรม ความถูกต้อง ความปรองดองเช่นนี้จึงจะเป็นที่ยอมรับได้  ดังนั้นทั้งรัฐบาลและประชาชนต้องกล้าเลือกที่จะปรองดองกับความถูกต้องและยุติธรรมให้กับสังคมโดยรวม และไม่ควรเชื่อวาทกรรมเรื่องการปรองดองในการหาผลประโยชน์ของนักการเมือง เพราะการเมืองไม่สามารถปรองดองได้ แต่เน้นการมีผลประโยชน์ร่วมกัน รัฐบาลต้องหนักแน่นในหลักการที่ถูกต้องเสมอและประชาชนก็ต้องมีส่วนร่วมในการตรวจสอบรัฐบาลอย่างยุติธรรม ความปรองดองอย่างแท้จริงจึงจะเกิดขึ้นได้

 

อ้างอิง

พระธรรมปิฎก. (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 9.กรุงเทพ ฯ;             

          โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542. กรุงเทพฯ; นานมีบุ๊ค  

          พับลิเคชั่น

อภิญญา   เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์. กรุงเทพ ฯ; สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บังกลาเทศปฏิเสธรับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยา-บอกรับไว้เยอะแล้ว

Posted: 14 Jun 2012 01:00 AM PDT

โดยนานาชาติห่วงการปิดพรมแดนจะทำให้ประชาชนที่หนีภัยความตายยิ่งเผชิญความเสี่ยง ขณะที่สถานการณ์จลาจลระหว่างชุมชนชาวโรฮิงยาและชาวอาระกันลามไปในหลายพื้นที่ทางตะวันตกของพม่า ยังคงมีการวางเพลิงบ้านเรือน และมีผู้เสียชีวิตรวมอย่างน้อย 21 คน 

สำนักข่าวเสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า หรือ ดีวีบี รายงานว่า เมื่อวานนี้ (13 มิ.ย.) ทางการบังกลาเทศได้ปฏิเสธการรับเรือของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาอย่างน้อย 3 ลำ ที่หนีเหตุขัดแย้งระหว่างชาวโรฮิงยาและชาวยะไข่ หรือชาวอาระกันในพม่า ขณะที่มีข้อเรียกร้องให้เปิดด่านบังกลาเทศด้วย

ทำให้นับตั้งแต่วันจันทร์เป็นต้นมา ยามฝั่งของบังกลาเทศได้ส่งกลับเรือจำนวน 16 ลำที่บรรทุกชาวโรฮิงยาจำนวน 660 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก ซึ่งพยายามเข้ามาจากพม่าโดยข้ามแม่น้ำนาฟ

ทั้งนี้รัฐบาลบังกลาเทศแถลงว่าจะไม่อนุญาตให้ผู้ลี้ภัยจากพม่าเข้ามา โดยบังกลาเทศในขณะนี้ก็รับภาระรับรองผู้ลี้ภัยแล้วกว่า 300,000 ราย ซึ่งเข้ามาพักพิงอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศมาหลายทศวรรษแล้ว

ขณะที่มีการเรียกร้องจากนานาชาติให้บังกลาเทศผ่อนคลายมาตรการควบคุมตามแนวชายแดน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตกาลด้านมนุษยธรรม โดยนายบิล เฟรลิค ผู้อำนวยการโครงการผู้ลี้ภัย ของฮิวแมนไรท์วอทซ์ กล่าวว่า "การที่บังกลาเทศปิดพรมแดน เมื่อความรุนแรงอยู่ในขีดที่ไม่สามารถควบคุมได้ เท่ากับบังกลาเทศทำให้ชีวิตต้องเผชิญความเสี่ยงอันใหญ่หลวง"

"บังกลาเทศอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ที่จะต้องเปิดพรมแดนให้ประชาชนได้หนีภัยคุกคามต่อชีวิตและปกป้องพวกเขา"

ขณะเดียวกันสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ก็เตือนบังกลาเทศให้ส่งผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาข้ามมาเช่นกัน

ขณะที่สำนักข่าวอิระวดี รายงานว่า นายข่ายน์ ปยี ซอ โฆษกพรรคชาติยะไข่เพื่อการพัฒนา (RNDP) กล่าวว่า ที่เมืองซิตตเหว่ เมืองหลวงของรัฐอาระกัน บ้านเรือนหลายหลังทั้งของชาวอาระกัน และชาวโรฮิงยาถูกเผา มีทหารและตำรวจราว 700 นาย ลาดตระเวนผ่านม่านควันอันมาจากจุดที่เกิดไฟไหม้ โดยชาวบ้านเรียกร้องให้เพิ่มกำลังความมั่นคงเพื่อปกป้องความปลอดภัยของผู้อาศัย

ทั้งนี้ที่โรงพยาบาลกลางในเมืองซิตตเหว่ มีข้อมูลว่ามีชาวอาระกัน 21 คน และชาวโรฮิงยา 6 คน เสียชีวิต ขณะที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งนี้นับตั้งแต่ประธานาธิบดีประกาศภาวะฉุกเฉินเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันมีรายงานผู้เสียชีวิต 7 รายที่เมืองมงด่อว์ ขณะที่สถิติของทางการเมื่อวันอังคาร (12 มิ.ย.) จำนวนผู้เสียชีวิตยังคงอยู่ที่ 21 ราย

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวของอิระวดีที่เข้าไปรายงานสถานการณ์ที่ซิตตเหว่อ้างว่ากองกำลังรักษาความมั่นคงของรัฐบาลได้มุ่งไปที่เมืองจองจี นาร์ซิ และธันยาวดี และอีกหลายพื้นที่เมื่อวันอังคารนี้ เนื่องจากชาวโรฮิงยาทำการจุดไฟเผาบ้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานกับอิระวดีว่า "ผมเห็นชาวโรฮิงยาซึ่งมีเด็กๆ อายุประมาณ 10 ปีอยู่ด้วยวางเพลิงใส่บ้าน พวกเขาเผาบ้านชาวอาระกันและเผาบ้านของพวกเขา" "มีฝูงชนราว 2,000 คน โดยชาวอาระกันได้หนีเข้าไปอยู่ในวัด โดยผมได้บันทึกภาพเหตุการณ์เป็นวิดีโอไว้ด้วย"

ขณะที่พรรคประชาธิปไตยแห่งชาติเพื่อการพัฒนา (NDPD) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฐานเสียงชาวมุสลิมในพม่า อยู่ระหว่างการเฝ้าจับตาสถานการณ์ในพื้นที่ภูเขาของรัฐอาระกันและทำการเก็บข้อมูล กล่าวว่า โรฮิงยาเป็นเหยื่อความรุนแรง และมีผู้ถูกฆ่า นอกจากนี้ยังสูญเสียบ้านเรือน และจำนวนมากถูกบีบให้หลบซ่อน โดยนายจ่อ ขิ่น สมาชิกของคณะกรรมการกลางพรรค NDPD กล่าวกับอิระวดีว่าพรรคของเขาพบความยากลำบากในการเก็บสถิติชาวโรฮิงยาที่ไม่มีที่พักอาศัย และยังไม่สามารถทำบัญชีรายชื่อผู้ได้รับผลกระทบได้ โดยพรรคจะพยายามครวบรวมข้อมูลต่อไป

มีผู้อาศัยในเมืองซิตตเหว่ รายงานอิระวดีว่า มีชาวมุสลิมกลุ่มหนึ่งยิงปืนใส่กองกำลังของรัฐบาล โดยมีทหารรายหนึ่งถูกยิงที่ต้นขา จากนั้นก็ได้เข้าไปอยู่ในมัสยิดอ่องมิงกลาของเมือง พวกเขารายงานด้วยว่า ทหารที่ได้รับบาดเจ็บถูกส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลกลางซิตตเหว่ ขณะที่ทหารพม่าไม่ได้ยิงปืนโต้

ความไม่สงบในรัฐอาระกันเริ่มมาจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. ซึ่งมีกลุ่มมุสลิมแสวงบุญ 10 คนถูกชาวอาระกันตีจนเสียชีวิต ระหว่างเดินทางไปย่างกุ้ง โดยการโจมตีดังกล่าวเพื่อตอบโต้กับข้อกล่าวหาว่ามีสตรีอายุ 26 ปีรายหนึ่งถูกข่มขืนและฆ่าโดยชาวมุสลิมสามคนเมื่อช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 3 ถูกควบคุมตัวแล้วและอยู่ในระหว่างการดำเนินคดี ขณะที่เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ที่่ผ่านมา มีรายงานโดยสื่อพม่าว่า หนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาได้ฆ่าตัวตายในเรือนจำ

และสถานการณ์รุนแรงในรัฐอาระกันเริ่มขยายตัวมากขึ้น หลังจากเกิดเหตุประท้วงเมื่อวันศุกร์ที่่่ผ่านมาโดยชาวโรฮิงยา โดยซึ่งได้เข้าโจมตีชุมชนชาวอาระกัน ในเมืองมงดอว์ รัฐอาระกัน โดยหลังเกิดเหตุ ทางการพม่าได้ประกาศเคอร์ฟิวในพื้นที่ทันทีและห้ามประชาชนในพื้นที่ชุมนุมกันเกิน 5 คน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น