ประชาไท | Prachatai3.info |
- สุรพศ ทวีศักดิ์: สถาบันสงฆ์อยู่ส่วนไหนของ 'Monarchy Power Bloc'
- สุรพศ ทวีศักดิ์: สถาบันสงฆ์อยู่ส่วนไหนของ 'Monarchy Power Bloc'
- ชาวชิลีประท้วงต้านภาพยนตร์เชิดชู 'ปิโนเชต์'
- เกิดเหตุระเบิด 6 ครั้ง ในเมืองหมู่แจ้ ตอนเหนือของรัฐฉาน
- รวมพลใหญ่คนสตูลต้านท่าเรือน้ำลึกปากบารา ร่วมทำสัญญาประชาคม-ละหมาดฮายัต
- ชาวท่าทรายเฮ! "ศาลปกครองสูงสุด" มีคำสั่งยืน ระงับ "กิจการถ่านหิน" ทุกกรณี
- กลุ่มเข้าถึงยาเฮ! จีนพร้อมทำซีแอล หวั่นสภาไทยตีเช็คเปล่าเจรจา WTO
- ยื่นจม.ถึงยิ่งลักษณ์ค้านเก็บ 30 บ. เจรจา รพ.เอกชนหยุดเก็บเพิ่มจากผู้ป่วยฉุกเฉิน
- จาตุรนต์ ฉายแสง
- จาตุรนต์ ฉายแสง: จดหมายเปิดผนึกถึง ส.ส.พรรคเพื่อไทยและประชาชนผู้รักประชาธิปไตย
- กสทช.สั่งปรับทรูวันละ 20,000 บาท ด้านแกรมมี่จี้ทรูจอดำจนกว่าได้คำตอบยูฟ่าสัปดาห์นี้
- คนสตูลร่วมลงนาม “สัญญาประชาคม” ไม่เอาท่าเรือปากบารา ค้านเมกะโปรเจ็กต์
- ชาวโรฮิงยาในไทยร้องยูเอ็นช่วยสถานการณ์ในรัฐอาระกัน
- สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล: เสวนาปฏิญญาหน้าศาล แนะเพื่อไทย-นปช.ต้องคิดใหม่ทำใหม่
- ประธานาธิบดีเต็ง เส่งห่วงความรุนแรงในรัฐยะไข่อาจส่งผลกระทบกับประชาธิปไตย
สุรพศ ทวีศักดิ์: สถาบันสงฆ์อยู่ส่วนไหนของ 'Monarchy Power Bloc' Posted: 11 Jun 2012 02:40 PM PDT ตอนท้ายของการเสวนาปฏิญญาหน้าศาลเรื่อง "นักโทษการเมือง ศาล และทุกเรื่องที่กล้าถาม กับ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" เมื่อ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีผู้ถามว่า สถาบันสงฆ์หรือระบบพระราชาคณะอยู่ส่วนไหนของ “กลุ่มอำนาจสถาบันกษัตริย์” หรือ Monarchy Power Bloc ดูเหมือนอาจารย์สมศักดิ์จะตอบว่า ไม่ได้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนา แล้วก็เอ่ยชื่อผม ฉะนั้น ผมจึงขอใช้ “สิทธิพาดพิง” ช่วยอาจารย์สมศักดิ์ตอบคำถามต่อไปนี้ อยากให้ท่านผู้อ่านดู แผนภูมิประกอบการอธิบายที่เผยแพร่ใน facebook สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ข้างล่างนี้ก่อนครับ
จากแผนภูมินี้ เราตอบได้อย่างไม่ลังเลเลยว่า สถาบันสงฆ์อยู่ในส่วนของ “การเมืองระดับชนชั้นสูง” เพราะสถาบันสงฆ์มีบทบาทอย่างสำคัญในการปลูกฝังบ่มเพาะอุดมการณ์ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” บทบาทที่ว่านี้เป็นไปตามโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับพุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายคณะสงฆ์ เช่น รัฐธรรมนูญมาตรา 9 ระบุว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก” และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 5 ตรี (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ [ฉบับที่ 2] พ.ศ.2535) ระบุว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งสถาปนาและถอดถอนสมณศักดิ์ของพระภิกษุในคณะสงฆ์” และมาตรา 7 “พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง” สมณศักดิ์มีความสำคัญ เพราะองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ที่เรียกว่า “มหาเถรสมาคม” นั้น (ไม่ได้มีความหมายแบบสมาคมต่างๆ เช่นสมาคมศิษย์เก่า เป็นต้น แต่หมายถึง “รัฐบาลของคณะสงฆ์”) ประกอบด้วยสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน และสมเด็จพระราชาคณะเป็นกรรมการโดยตำแหน่งกับที่สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งรวมแล้วไม่เกิน 12 รูป ซึ่งหมายความว่า พระภิกษุที่จะก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งในองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ต้องขึ้นอยู่กับอาวุโสทางสมณศักดิ์ เช่น สมเด็จพระสังฆราชมีอาวุโสสูงสุดทางสมณศักดิ์ สมเด็จพระราชาคณะอื่นๆ มีอาวุโสลดหลั่นลงไป ฉะนั้น โครงสร้างการปกครองสงฆ์จึงขึ้นต่อระบบสมณศักดิ์ และระบบสมณศักดิ์ก็ขึ้นต่อพระราชอำนาจ ซึ่งพระราชอำนาจนี้ก็มี “สิทธิธรรม” มาจากรัฐธรรมนูญมาตรา 9 และมาตรานี้ก็บัญญัติขึ้นตามจารีตทางประวัติศาสตร์สืบมาที่กษัตริย์ไทยทุกพระองค์ล้วนแต่นับถือพุทธศาสนา จารีตความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับพุทธศาสนา หรือสถาบันสงฆ์นั้นเป็นอย่างไร ผมเคยเขียนวิจารณ์ไว้ในบทความชื่อ “พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) กับวัฒนธรรมการวิจารณ์ในพุทธศาสนาเถรวาท” ว่า พระพรหมคุณาภรณ์ มองแบบ romantic ว่า “สถาบันกษัตริย์กับสถาบันสงฆ์รักษาระยะห่างระหว่างกันได้อย่างพอเหมาะพอดี” แต่จิตร ภูมิศักดิ์ มองอย่าง realistic ว่า “สถาบันกษัตริย์กับสถาบันสงฆ์สมประโยชน์กัน” ต่อมาพระพรหมคุณาภรณ์เขียนหนังสือตอบโต้บทความผมชื่อ “ขว้างก้อนอิฐมาพัฒนาเป็นแก้วมณี” และใช้เนื้อที่เกือบ 10 หน้า ในการอธิบายประเด็นดังกล่าว กระนั้นก็ตาม ผมยังยืนยันว่า จิตรมองตรงตามความเป็นจริงมากกว่า ดังที่เขาเขียนไว้ในหนังสือ โฉมหน้าศักดินาไทย” หน้า 66 ว่า ความพ่ายแพ้ของศาสนาทำให้ศาสนากลายเป็นเครื่องมือเสริมสร้างบารมีของกษัตริย์ ในที่สุดทางศาสนาต้องยอมรับว่ากษัตริย์คือ “สมมติเทพ” คือ “เทวดาบนพื้นดิน” คือ “พระผู้เป็นเจ้าที่อวตารลงมา” คือ “พระพุทธเจ้ากลับชาติ” และท้ายที่สุดก็คือ “ผู้อุปถัมภ์ค้ำจุนศาสนา” โดยทางกลับกันศักดินาก็แบ่งปันที่ดินให้แก่ทางศาสนา แบ่งปันข้าทาสให้แก่วัดวาอาราม ยกย่องพวกนักบวชขึ้นเป็นขุนนาง จริงอยู่ ในไทยพระอาจไม่ใช่ “ขุนนาง” เหมือนนักบวชคริสต์ศาสนายุคกลาง แต่การการที่พระยอมให้กษัตริย์แต่งตั้งเป็น “พระราชาคณะ” (บริวารของพระราชา) และรับการแบ่งปันที่ดิน ข้าทาสจากวัง และพระเองยอมมีบทบาทสถาปนาหรือ “อวย” สถานะของกษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้า ธรรมราชา สมมติเทพ ก็ย่อมเท่ากับว่าสถาบันสงฆ์ “ยอมเสียหลักการ” ของพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมใน “ระดับรากฐาน” (radical) ไป คือหลักการที่ว่า “สังฆะหรือสังคมสงฆ์เป็นสังคมที่สลายระบบชนชั้น หรือไม่มีวรรณะ” เมื่อเป็นเช่นนี้ พุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์จึงเป็นเครื่องมือค้ำจุนสถานะศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันกษัตริย์ ทศพิธราชธรรมที่พุทธะแสดงไว้เพื่อเป็นเครื่องมือตรวจสอบการทำหน้าที่ของกษัตริย์ ถูกแปรเป็น “ธรรมศักดิ์สิทธิ์” ที่ใช้โปรสถานะกษัตริย์ให้สูงส่งเหนือการตั้งข้อสงสัย และการวิจารณ์ตรวจสอบ แม้สมเด็จพระสังฆราชบางองค์ก็เคยเทศนาสนับสนุนการที่ ร.6 ส่งกองทัพเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ขณะที่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์อ้างหลักการพุทธคัดค้านการกระทำดังกล่าวก็ถูก ร.6 ลงโทษถอดสมณศักดิ์และกักบริเวณ อุดมการณ์ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ที่สถาปนาขึ้นตั้งแต่สมัย ร.6 ก็ยังถือเป็นอุดมการณ์หลักของชาติสืบมาจวบปัจจุบัน แม้ว่าจะเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยมาร่วม 80 ปีแล้วก็ตาม แน่นอนว่า สถาบันสงฆ์ย่อมมีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังอุดมการณ์ดังกล่าว การแตะมาตรา 112 และ/หรือแตะเรื่องใดๆ เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์เป็นเรื่องยากมาก ไม่ใช่ยากใน “ทางการเมือง” เท่านั้น แต่ยากอย่างยิ่งที่จะอธิบายเหตุผลให้คนส่วนใหญ่ในสังคมเข้าใจ เพราะอุดมการณ์กษัตริย์นิยมที่ถือว่ากษัตริย์เป็น “บุคคลทางศีลธรรม” (สูงส่งดีงามสมบูรณ์พร้อม) ที่เป็น “ผู้นำทางจิตวิญญาณ” ซึ่งถูกปลูกฝังผ่านคำสอนของพุทธศาสนาโดยสถาบันสงฆ์นั้น ฝังลึกอยู่ภายใต้จิตสำนึกของคนไทยมานานแสนนาน แต่อย่างไรก็ตาม แม้ในเชิงสถาบัน บทบาทของสงฆ์จะต้องสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ หรืออยู่ในกลุ่มการเมืองระดับชนชั้นสูง แต่สังคมสงฆ์โดยรวมก็ขาดเอกภาพ องค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ก็ขาดประสิทธิภาพในการควบคุมพระสงฆ์โดยรวม เห็นได้จากระยะกว่า 5 ปีมานี้เกิดปรากฏการณ์ “พระเสื้อแดง” ที่พระสงฆ์มหานิกายในภาคเหนือ อีสานแทบทั้งหมด ในภาคกลางบางส่วนแสดงความเห็นใจ และออกมาสนับสนุนคนเสื้อแดงอย่างออกหน้าออกตา ยิ่งกว่านั้น พระสงฆ์ระดับบนก็ “เหยียบเรือสองแคม” คือ ด้านหนึ่งต้องแสดงความจงรักภักดีตามประเพณี อีกด้านหนึ่งก็มีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับคุณทักษิณ และแกนนำเสื้อแดง ส่วนพระสงฆ์ที่เป็นปัจเจกก็ยากจะควบคุม ดังที่มีพระจำนวนมากออกมาชุมนุมทางการเมือง มีพระ (ระดับพระราชาคณะ/ผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์) ไปสวดชะยันโตอวยชัยให้คุณทักษิณที่ลาว สนทนาธรรมกับคุณทักษิณที่เขมร (แน่นอนว่า ย่อมมีสัญญาณ “ไฟเขียว” จากพระผู้ใหญ่ในองค์กรปกครองสงฆ์) พระออกมาอดอาหารประท้วงให้ปล่อย “อากง” เป็นต้น หรือเราย่อมสังเกตเห็นว่า พระสงฆ์ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดงาน “ฉลองพุทธชยันตี” ที่เพิ่งผ่านมา คือพระสงฆ์สายมหานิกาย ซึ่งในพระสายนี้มีการพูดถึงตัวเองว่าเป็น “พระของไพร่” มาตั้งแต่ยุคยุวสงฆ์กลุ่มปฏิสังขรณ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 แน่นอนว่า เครือข่ายอำมาตย์ย่อมมองปรากฏการณ์ดังกล่าวอย่างไม่ค่อยสบายใจนัก ดังสะท้อนออกมาจากการให้ “ตรวจสอบรายชื่อ” ของพระสงฆ์ที่ออกมาเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรในคราวเสด็จทุ่งมะขามหย่องที่เพิ่งผ่านมา นอกจากนี้ฝ่ายโปรเจ้ายังต้องอาศัยบริการจาก “พระเซเลบ” ไม่ต่างอะไรกับที่ต้องอาศัยบริการจากศิลปินลูกทุ่ง สตริง หรือศิลปินเพลงเพื่อชีวิตในการอวยเจ้า บทบาทของพระเซเลบอย่าง ว.วชิเมธี ใน พ.ศ.นี้ก็ไม่ต่างอะไรกับบทบาทของกิติวุฑโฒภิกขุ เมื่อ 6 ตุลา 19 เพียงแต่ว่า ว.วชิรเมธี อาจ “เนียน” กว่า หรือ “เจ้าเล่ห์” กว่า ไม่โผงผางโฉ่งฉ่างเท่ารูปหลัง แต่โดยสาระแล้วบทบาทของพระสองรูปนี้ต่างก็อ้างอิงอุดมการณ์กษัตริย์นิยมข่ม หรือดิสเครดิตฝ่ายที่เรียกร้องเสรีภาพ ความเสมอภาคและประชาธิปไตยเช่นกัน สรุปคือ โดยโครงสร้างองค์กรสงฆ์ และจารีตความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับพุทธศาสนา ทำให้สถาบันสงฆ์จัดอยู่ในการเมืองระบบชนชั้นสูง แต่ก็ปรากฏ “ความเป็นอนิจจัง” ให้เห็นอยู่ดังที่ว่ามา (เท่าที่พอจะพูดได้) และผมขอเดาว่า หากเกิด “รัฐประหาร” ขึ้นอีก จะมีพระสงฆ์จำนวนมากจากหลายจังหวัดในภาคเหนือ อีสาน กลาง ออกมาต่อต้านร่วมกับมวลชนเสื้อแดงอย่างแน่นอน!
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สุรพศ ทวีศักดิ์: สถาบันสงฆ์อยู่ส่วนไหนของ 'Monarchy Power Bloc' Posted: 11 Jun 2012 02:40 PM PDT ตอนท้ายของการเสวนาปฏิญญาหน้าศาลเรื่อง "นักโทษการเมือง ศาล และทุกเรื่องที่กล้าถาม กับ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" เมื่อ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีผู้ถามว่า สถาบันสงฆ์หรือระบบพระราชาคณะอยู่ส่วนไหนของ “กลุ่มอำนาจสถาบันกษัตริย์” หรือ Monarchy Power Bloc ดูเหมือนอาจารย์สมศักดิ์จะตอบว่า ไม่ได้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนา แล้วก็เอ่ยชื่อผม ฉะนั้น ผมจึงขอใช้ “สิทธิพาดพิง” ช่วยอาจารย์สมศักดิ์ตอบคำถามต่อไปนี้ อยากให้ท่านผู้อ่านดู แผนภูมิประกอบการอธิบายที่เผยแพร่ใน facebook สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ข้างล่างนี้ก่อนครับ
จากแผนภูมินี้ เราตอบได้อย่างไม่ลังเลเลยว่า สถาบันสงฆ์อยู่ในส่วนของ “การเมืองระดับชนชั้นสูง” เพราะสถาบันสงฆ์มีบทบาทอย่างสำคัญในการปลูกฝังบ่มเพาะอุดมการณ์ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” บทบาทที่ว่านี้เป็นไปตามโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับพุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายคณะสงฆ์ เช่น รัฐธรรมนูญมาตรา 9 ระบุว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก” และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 5 ตรี (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ [ฉบับที่ 2] พ.ศ.2535) ระบุว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการแต่งตั้งสถาปนาและถอดถอนสมณศักดิ์ของพระภิกษุในคณะสงฆ์” และมาตรา 7 “พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง” สมณศักดิ์มีความสำคัญ เพราะองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ที่เรียกว่า “มหาเถรสมาคม” นั้น (ไม่ได้มีความหมายแบบสมาคมต่างๆ เช่นสมาคมศิษย์เก่า เป็นต้น แต่หมายถึง “รัฐบาลของคณะสงฆ์”) ประกอบด้วยสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน และสมเด็จพระราชาคณะเป็นกรรมการโดยตำแหน่งกับที่สมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งรวมแล้วไม่เกิน 12 รูป ซึ่งหมายความว่า พระภิกษุที่จะก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งในองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ต้องขึ้นอยู่กับอาวุโสทางสมณศักดิ์ เช่น สมเด็จพระสังฆราชมีอาวุโสสูงสุดทางสมณศักดิ์ สมเด็จพระราชาคณะอื่นๆ มีอาวุโสลดหลั่นลงไป ฉะนั้น โครงสร้างการปกครองสงฆ์จึงขึ้นต่อระบบสมณศักดิ์ และระบบสมณศักดิ์ก็ขึ้นต่อพระราชอำนาจ ซึ่งพระราชอำนาจนี้ก็มี “สิทธิธรรม” มาจากรัฐธรรมนูญมาตรา 9 และมาตรานี้ก็บัญญัติขึ้นตามจารีตทางประวัติศาสตร์สืบมาที่กษัตริย์ไทยทุกพระองค์ล้วนแต่นับถือพุทธศาสนา จารีตความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับพุทธศาสนา หรือสถาบันสงฆ์นั้นเป็นอย่างไร ผมเคยเขียนวิจารณ์ไว้ในบทความชื่อ “พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) กับวัฒนธรรมการวิจารณ์ในพุทธศาสนาเถรวาท” ว่า พระพรหมคุณาภรณ์ มองแบบ romantic ว่า “สถาบันกษัตริย์กับสถาบันสงฆ์รักษาระยะห่างระหว่างกันได้อย่างพอเหมาะพอดี” แต่จิตร ภูมิศักดิ์ มองอย่าง realistic ว่า “สถาบันกษัตริย์กับสถาบันสงฆ์สมประโยชน์กัน” ต่อมาพระพรหมคุณาภรณ์เขียนหนังสือตอบโต้บทความผมชื่อ “ขว้างก้อนอิฐมาพัฒนาเป็นแก้วมณี” และใช้เนื้อที่เกือบ 10 หน้า ในการอธิบายประเด็นดังกล่าว กระนั้นก็ตาม ผมยังยืนยันว่า จิตรมองตรงตามความเป็นจริงมากกว่า ดังที่เขาเขียนไว้ในหนังสือ โฉมหน้าศักดินาไทย” หน้า 66 ว่า ความพ่ายแพ้ของศาสนาทำให้ศาสนากลายเป็นเครื่องมือเสริมสร้างบารมีของกษัตริย์ ในที่สุดทางศาสนาต้องยอมรับว่ากษัตริย์คือ “สมมติเทพ” คือ “เทวดาบนพื้นดิน” คือ “พระผู้เป็นเจ้าที่อวตารลงมา” คือ “พระพุทธเจ้ากลับชาติ” และท้ายที่สุดก็คือ “ผู้อุปถัมภ์ค้ำจุนศาสนา” โดยทางกลับกันศักดินาก็แบ่งปันที่ดินให้แก่ทางศาสนา แบ่งปันข้าทาสให้แก่วัดวาอาราม ยกย่องพวกนักบวชขึ้นเป็นขุนนาง จริงอยู่ ในไทยพระอาจไม่ใช่ “ขุนนาง” เหมือนนักบวชคริสต์ศาสนายุคกลาง แต่การการที่พระยอมให้กษัตริย์แต่งตั้งเป็น “พระราชาคณะ” (บริวารของพระราชา) และรับการแบ่งปันที่ดิน ข้าทาสจากวัง และพระเองยอมมีบทบาทสถาปนาหรือ “อวย” สถานะของกษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้า ธรรมราชา สมมติเทพ ก็ย่อมเท่ากับว่าสถาบันสงฆ์ “ยอมเสียหลักการ” ของพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมใน “ระดับรากฐาน” (radical) ไป คือหลักการที่ว่า “สังฆะหรือสังคมสงฆ์เป็นสังคมที่สลายระบบชนชั้น หรือไม่มีวรรณะ” เมื่อเป็นเช่นนี้ พุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์จึงเป็นเครื่องมือค้ำจุนสถานะศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันกษัตริย์ ทศพิธราชธรรมที่พุทธะแสดงไว้เพื่อเป็นเครื่องมือตรวจสอบการทำหน้าที่ของกษัตริย์ ถูกแปรเป็น “ธรรมศักดิ์สิทธิ์” ที่ใช้โปรสถานะกษัตริย์ให้สูงส่งเหนือการตั้งข้อสงสัย และการวิจารณ์ตรวจสอบ แม้สมเด็จพระสังฆราชบางองค์ก็เคยเทศนาสนับสนุนการที่ ร.6 ส่งกองทัพเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ขณะที่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์อ้างหลักการพุทธคัดค้านการกระทำดังกล่าวก็ถูก ร.6 ลงโทษถอดสมณศักดิ์และกักบริเวณ อุดมการณ์ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” ที่สถาปนาขึ้นตั้งแต่สมัย ร.6 ก็ยังถือเป็นอุดมการณ์หลักของชาติสืบมาจวบปัจจุบัน แม้ว่าจะเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยมาร่วม 80 ปีแล้วก็ตาม แน่นอนว่า สถาบันสงฆ์ย่อมมีบทบาทสำคัญในการปลูกฝังอุดมการณ์ดังกล่าว การแตะมาตรา 112 และ/หรือแตะเรื่องใดๆ เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์เป็นเรื่องยากมาก ไม่ใช่ยากใน “ทางการเมือง” เท่านั้น แต่ยากอย่างยิ่งที่จะอธิบายเหตุผลให้คนส่วนใหญ่ในสังคมเข้าใจ เพราะอุดมการณ์กษัตริย์นิยมที่ถือว่ากษัตริย์เป็น “บุคคลทางศีลธรรม” (สูงส่งดีงามสมบูรณ์พร้อม) ที่เป็น “ผู้นำทางจิตวิญญาณ” ซึ่งถูกปลูกฝังผ่านคำสอนของพุทธศาสนาโดยสถาบันสงฆ์นั้น ฝังลึกอยู่ภายใต้จิตสำนึกของคนไทยมานานแสนนาน แต่อย่างไรก็ตาม แม้ในเชิงสถาบัน บทบาทของสงฆ์จะต้องสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ หรืออยู่ในกลุ่มการเมืองระดับชนชั้นสูง แต่สังคมสงฆ์โดยรวมก็ขาดเอกภาพ องค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ก็ขาดประสิทธิภาพในการควบคุมพระสงฆ์โดยรวม เห็นได้จากระยะกว่า 5 ปีมานี้เกิดปรากฏการณ์ “พระเสื้อแดง” ที่พระสงฆ์มหานิกายในภาคเหนือ อีสานแทบทั้งหมด ในภาคกลางบางส่วนแสดงความเห็นใจ และออกมาสนับสนุนคนเสื้อแดงอย่างออกหน้าออกตา ยิ่งกว่านั้น พระสงฆ์ระดับบนก็ “เหยียบเรือสองแคม” คือ ด้านหนึ่งต้องแสดงความจงรักภักดีตามประเพณี อีกด้านหนึ่งก็มีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับคุณทักษิณ และแกนนำเสื้อแดง ส่วนพระสงฆ์ที่เป็นปัจเจกก็ยากจะควบคุม ดังที่มีพระจำนวนมากออกมาชุมนุมทางการเมือง มีพระ (ระดับพระราชาคณะ/ผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์) ไปสวดชะยันโตอวยชัยให้คุณทักษิณที่ลาว สนทนาธรรมกับคุณทักษิณที่เขมร (แน่นอนว่า ย่อมมีสัญญาณ “ไฟเขียว” จากพระผู้ใหญ่ในองค์กรปกครองสงฆ์) พระออกมาอดอาหารประท้วงให้ปล่อย “อากง” เป็นต้น หรือเราย่อมสังเกตเห็นว่า พระสงฆ์ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดงาน “ฉลองพุทธชยันตี” ที่เพิ่งผ่านมา คือพระสงฆ์สายมหานิกาย ซึ่งในพระสายนี้มีการพูดถึงตัวเองว่าเป็น “พระของไพร่” มาตั้งแต่ยุคยุวสงฆ์กลุ่มปฏิสังขรณ์ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 แน่นอนว่า เครือข่ายอำมาตย์ย่อมมองปรากฏการณ์ดังกล่าวอย่างไม่ค่อยสบายใจนัก ดังสะท้อนออกมาจากการให้ “ตรวจสอบรายชื่อ” ของพระสงฆ์ที่ออกมาเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรในคราวเสด็จทุ่งมะขามหย่องที่เพิ่งผ่านมา นอกจากนี้ฝ่ายโปรเจ้ายังต้องอาศัยบริการจาก “พระเซเลบ” ไม่ต่างอะไรกับที่ต้องอาศัยบริการจากศิลปินลูกทุ่ง สตริง หรือศิลปินเพลงเพื่อชีวิตในการอวยเจ้า บทบาทของพระเซเลบอย่าง ว.วชิเมธี ใน พ.ศ.นี้ก็ไม่ต่างอะไรกับบทบาทของกิติวุฑโฒภิกขุ เมื่อ 6 ตุลา 19 เพียงแต่ว่า ว.วชิรเมธี อาจ “เนียน” กว่า หรือ “เจ้าเล่ห์” กว่า ไม่โผงผางโฉ่งฉ่างเท่ารูปหลัง แต่โดยสาระแล้วบทบาทของพระสองรูปนี้ต่างก็อ้างอิงอุดมการณ์กษัตริย์นิยมข่ม หรือดิสเครดิตฝ่ายที่เรียกร้องเสรีภาพ ความเสมอภาคและประชาธิปไตยเช่นกัน สรุปคือ โดยโครงสร้างองค์กรสงฆ์ และจารีตความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันกษัตริย์กับพุทธศาสนา ทำให้สถาบันสงฆ์จัดอยู่ในการเมืองระบบชนชั้นสูง แต่ก็ปรากฏ “ความเป็นอนิจจัง” ให้เห็นอยู่ดังที่ว่ามา (เท่าที่พอจะพูดได้) และผมขอเดาว่า หากเกิด “รัฐประหาร” ขึ้นอีก จะมีพระสงฆ์จำนวนมากจากหลายจังหวัดในภาคเหนือ อีสาน กลาง ออกมาต่อต้านร่วมกับมวลชนเสื้อแดงอย่างแน่นอน!
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ชาวชิลีประท้วงต้านภาพยนตร์เชิดชู 'ปิโนเชต์' Posted: 11 Jun 2012 02:30 PM PDT ผู้ประท้วงหลายร้อยคนชุมนุ 11 มิ.ย. 2012 - สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า มีกลุ่มผู้ประท้วงหลายร้ ผู้ประท้วงที่ชุมนุมอยู่ที่เที "ตำรวจสกัดกั้นกิ ภาพยนตร์ 'ปิโนเชต์' แสดงให้เห็นถึงสภาพทางการเมื เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดข้อถกเถี "ในระบอบประชาธิปไตย พวกเรามีสิทธิ ทางรัฐบาลของเซบาสเตียน ปิเนรา ปธน.ฝ่ายขวาคนแรกของชิลีนับตั้ พิธีการในครั้งนี้ถือเป็นเรื่ ในช่วงที่ปิโนเชต์ปกครองประเทศ มีประชาชนกว่า 3,200 คนถูกสังหารหรือหายสาบสูญ มีนักวิจัยบันทึกคดี ปิโนเซต์เสียชีวิตเมื่อปี 2006 ขณะอายุ 91 ปี เขาไม่เคยได้รับการตัดสิ ที่มา Chile protesters rally against Pinochet film, Aljazeera, 11-06-2012 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เกิดเหตุระเบิด 6 ครั้ง ในเมืองหมู่แจ้ ตอนเหนือของรัฐฉาน Posted: 11 Jun 2012 01:54 PM PDT เกิดเหตุระเบิดต่อเนื่องถึง 6 ครั้งในคืนเดียวในเมืองหมู่แจ้ รัฐฉานภาคเหนือ เชื่อเป็นการสร้างสถานการณ์ ขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่สงสัยฝี มีรายงานว่า เมื่อช่วงเวลาระหว่างเที่ยงคื อย่างไรก็ตาม เหตุระเบิดทั้ง 6 ครั้งไม่ได้สร้างความสูญเสียแก่ ด้านชาวเมืองหมู่แจ้คนหนึ่งเปิ ทั้งนี้ ในพื้นที่เมืองหมู่แจ้ และเมืองน้ำคำ ของรัฐฉานซึ่งอยู่ติดกั สำนักข่าวฉาน ให้ความเห็นว่า อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านในพื้นที่หลายคนตั้งข้ ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ http://www.khonkhurtai.org/
"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
รวมพลใหญ่คนสตูลต้านท่าเรือน้ำลึกปากบารา ร่วมทำสัญญาประชาคม-ละหมาดฮายัต Posted: 11 Jun 2012 12:06 PM PDT เครือข่ายคนใต้-ประจวบ-ภาคตะวันออกแห่ร่วม นายก อบต.ปากน้ำชี้พลังบริสุทธิ์ ชาวบ้านค้านท่าเรือฯ แนวทางถูกต้อง ผู้ว่าฯ รับพัฒนาสตูลท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ สัญญาประชาคมย้ำขอกำหนดแผนพัฒนาสตูลเอง
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 10 มิ.ย.55 ที่จุดชมวิวลานสาธารณะ 18 ล้าน ชายหาดปากบารา ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล เครือข่ายประชาชนตำบลปากน้ำ เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาภาคใต้ และเครือข่ายรักจังสตูล จัดเวที “สัญญาประชาคมคนสตูลไม่เอาท่าเรืออุตสาหกรรมปากบารา” โดยมีนายพิศาล ทองเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล นายฮอซาลี ม่าเหร็ม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล พรรคประชาธิปัตย์ นายรัฐการ ลัดเลีย นายกองค์การบริหารตำบลปากน้ำ กิจกรรมครั้งนี้มีผู้นำศาสนา นักเรียน นักศึกษา ชาวบ้านตำบลอำเภอละงูและอำเภอต่างๆ ในจังหวัดสตูล เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล กลุ่มรักท้องถิ่นบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น จังหวัดสงขลา เครือข่ายท่าศาลารักษ์บ้านเกิด เครือข่ายรักษ์บ้านเกิดลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เครือข่ายรักษ์ละแม จังหวัดชุมพร เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง เครือข่ายนักศึกษาเพื่อสังคมภาคใต้ เข้าร่วมราว 1,000 คน นายรัฐการ ลัดเลีย นายกองค์การบริหารตำบล (อบต.) ปากน้ำ กล่าวว่า การมาแสดงพลังคัดค้านท่าเรือน้ำลึกปากบาราวันนี้เป็นพลังบริสุทธิ์ของชาวบ้านตำบลปากน้ำจริงๆ ตนเองมั่นใจว่าเป็นจุดยืนที่ถูกต้อง ตอนนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีมติให้ อบต.ปากน้ำร่วมกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวจัดการท่าเรือเอนกประสงค์ปากบาราที่เพิ่งเสร็จยังไม่เปิดใช้งาน ถ้ามีการบริหารจัดการดีคาดว่าจะมีกำไร 40 ล้านบาทต่อปี ส่วนนายพิศาล ทองเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล กล่าวว่า ชาวละงูและชาวสตูลเห็นพ้องต้องกันว่าสตูลควรพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการเกษตรแบบมาตรฐาน โดยทางจังหวัดจะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 365 ล้านบาทจัดทำโครงการต่างๆ ให้สอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งนี้ตนเองจะพยายามรักษาทรัพยากรของสตูล ไว้ให้สมกับคำขวัญที่ว่า “สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์” ต่อไป นายดินัน พัทลุง ชาวบ้านปากบาราผู้ประกอบการท่องเที่ยวถามนายฮอซาลี ม่าเหร็ม ส.ส.จังหวัดสตูล พรรคประชาธิปัตย์จังหวัดสตูล ว่า ทำไมในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลนั้นไม่สั่งยกเลิกโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา แลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล ด้านนายฮอซาลี ชี้แจงว่า ในสมัยของรัฐบาลประชาธิปัตย์นั้นได้อนุมัติงบประมาณในการศึกษาผลกระทบต่อโครงการท่าเรือปากบารา และผลการศึกษาพบว่าโครงการนี้ไม่คุ้มค่าแก่การลงทุน จึงสั่งทบทวนให้ลดขนาดเป็นท่าเรือขนาดเล็กลง การจะอนุมัติหรือยกเลิกโครงการใดๆ หรือไม่นั้นต้องมีการศึกษาผลกระทบต่างๆ ขณะที่ชาวบ้านส่งเสียงคัดค้านท่าเรือน้ำลึกปากบารา และท่าเรือทุกขนาดที่จะสร้างที่ปากบาราอีก เนื่องจากปัจจุบันมีท่าเรือเอนกประสงค์ปากบารา ซึ่งมีขนาดใหญ่ เป็นทั้งท่าเรือท่องเที่ยว และท่าเรือขนส่ง เพิ่งก่อสร้างเสร็จยังไม่เปิดใช้งาน จากนั้น เมื่อเวลา 15.00 น.มีพิธีการละหมาดฮายัตและขอดุฮ์อา ให้ปลอดภัยจากภัยบาลา คืนความสันติสุขและความสมบูรณ์สู่สตูล ตามด้วยละหมาดอัศรี ในขณะที่ฟ้าฝนอึมครึม เวลา 17.00 น. มีการลงนามสัญญาประชาคม “คนสตูลไม่เอาท่าเรืออุตสาหกรรมปากบารา” กลางฝนตกหนัก โดยนายดลอาซีส องศารา ครูสอนศาสนาโรงเรียนตาดีกามัสยิดบ้านท่ามาลัย ตำบลปากน้ำ ท่ามกลางสายฝนที่ตกหนัก สัญญาประชาคมฉบับดังกล่าว ระบุว่า 1.ยืนยันใน “อุดมการณ์และคุณค่าที่ยึดถือร่วมกัน” ของจังหวัด คือ สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์ ซึ่งหมายถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สงบ สะอาด บริสุทธิ์, สังคม สงบ สะอาด บริสุทธิ์, และผู้คนรักความสงบ จิตใจสะอาดบริสุทธิ์ 2.ขอกำหนด “ทิศทางการพัฒนา” ของจังหวัดสตูล ให้มุ่งเน้นความยั่งยืน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การศึกษาและวัฒนธรรม ขอเป็นสังคมสีเขียว ไม่เป็นสังคมอุตสาหกรรม ไม่เอาโครงการพัฒนาที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม 3.โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในจังหวัดสตูลต้องใช้ “กระบวนการมีส่วนร่วมที่แท้จริง” ทุกขั้นตอน โดยประชาชนต้องมีฐานะในการเข้ามีส่วนร่วม เท่าเทียมกับภาครัฐ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ มิใช่เป็นเพียงเป็นผู้ได้รับแจ้งให้ทราบ ผู้ร่วมประชุมลงชื่อ แต่ต้องเป็นผู้ร่วม กำหนด ออกแบบ และตัดสินใจการพัฒนา 4.“ไม่เอาโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่” ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ริมฝั่งทะเลและหมู่เกาะ รวมทั้งไม่เอาโครงการพัฒนาใดๆที่จะส่งผลทำลายดิน ทำลายน้ำ ทำลายป่า ทำลายทะเล ทำลายแหล่งอาหารของสตูล และสังคมวิถีวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา โครงการท่าเรืออุตสาหกรรม หรือโครงการอื่นๆ 5.รัฐบาล “ควรยุติความคิดฝันหรือแผนการใดๆที่จะกำหนดให้ภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของสะพานเศรษฐกิจโลก” เลิกมุ่งหวังที่จะแสวงหารายได้หรือความมั่งคั่งจากการเป็นตัวกลางของระบบขนส่งสินค้าโลก ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาที่ถูกครอบงำโดยกลุ่มทุนโลก ได้ไม่คุ้มเสีย ไม่ยั่งยืน และเป็นที่มาของสารพัดโครงการ การพัฒนาขนาดใหญ่ในภาคใต้ อันก่อให้เกิดความทุกข์แก่ประชาชนไม่สิ้นสุด 6.ชาวสตูลและพี่น้องทั่วภาคใต้ “จะร่วมกันปกป้องแผ่นดินถิ่นเกิด” วิถีวัฒนธรรมและสุขภาวะไว้ให้ลูกหลานในอนาคตสืบไป “ทั้งหมดนี้นับเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญอีกครั้งของชาวสตูล ในการยืนยันทิศทางการพัฒนาของสตูล ว่าจะต้องให้ชาวสตูลกำหนดอนาคตของตนเอง” แถลงการณ์ ระบุ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ชาวท่าทรายเฮ! "ศาลปกครองสูงสุด" มีคำสั่งยืน ระงับ "กิจการถ่านหิน" ทุกกรณี Posted: 11 Jun 2012 11:24 AM PDT ศาลปกครองสูงสุดชี้ขาดคำร้องอุทธรณ์ของผู้ประกอบกิจการถ่านหิน ยืนตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว เหตุผู้ประกอบการละเมิดเงื่อนไขใบอนุญาต-ฝ่าฝืนคำสั่งผู้ว่าฯ ลอบลำเลียงขนส่งถ่านหิน ก่อความเดือดร้อนและเสียหาย วันที่ 11 มิ.ย.55 เมื่อเวลา 10.00 น.ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งที่ 130/2555 ชี้ขาดคำร้องอุทธรณ์ คำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา หลังจากที่บริษัท เทคนิทีม (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของโกดังกักเก็บถ่านหินท่าทราย ที่ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ที่มีคำสั่งเมื่อวันที่ 10 ส.ค.54 ให้ผู้ประกอบการระงับการประกอบกิจการถ่านหินทุกกรณีไว้ ไม่ว่าจะเป็นการลำเลียง การเก็บกอง การขนถ่าย การขนส่งหรือการดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร โดยศาลสั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าทราบ อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร และสำนักงานขนส่งทางน้ำที่ 3 จังหวัดสมุทรสาคร ควบคุม ตรวจสอบ หรือกำกับให้มีการปฏิบัติตามคำสั่งศาลและคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครอย่างเคร่งครัด จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ คำสั่งของศาลปกครองสูงสุด ระบุไว้ชัดเจนว่า การประกอบกิจการถ่านหินมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามเงื่อนไขท้ายใบอนุญาต ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อีกทั้งมีคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครที่ออกมาเมื่อวันที่ 13 ก.ค.54 ให้ผู้ประกอบการถ่านหินทั้งหมดในจังหวัดสมุทรสาครระงับการประกอบกิจการถ่านหินทุกกรณีไว้แล้ว แต่ผู้ประกอบการยังฝ่าฝืนอีก การกระทำของผู้ประกอบการจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการตั้งใจกระทำซ้ำหรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีและประชาชนได้รับความเดือดร้อนและเสียหาย ซึ่งถือว่าเป็นเหตุที่เพียงพอที่ศาลจะมีคำสั่งให้การคุ้มครองชั่วคราวแก่ชาวบ้านผู้ฟ้องคดีดังกล่าว นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวว่า หากประชาชนคนใดพบเห็นการฝ่าฝืนของผู้ประกอบการถ่านหินในพื้นที่ต่างๆ ของ ต.ท่าทราย และใน จ.สมุทรสาคร ให้รีบแจ้งให้ นายก อบต.ในพื้นที่รับทราบ เพื่อจับกุมส่งเจ้าพนักงานตำรวจลงโทษต่อไป และหาก นายก อบต.ดังกล่าวไม่ดำเนินการใดๆ ประชาชนผู้พบเห็นสามารถเข้าแจ้งความกล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้ต่อไป นายศรีสุวรรณ กล่าวด้วยว่า คำสั่งของศาลปกครองสูงสุดครั้งนี้ถือได้ว่า น่าที่จะเป็นคำสั่งที่ช่วยส่งดวงวิญญาณของนายทองนาค เสวกจินดา แกนนำในการต่อต้านโรงงานถ่านหินในพื้นที่ท่าทราย ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ในคดีนี้ ให้ไปสู่สวรรค์ตามที่ได้มีการจัดพิธีฌาปนกิจไปแล้วเมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ นายทองนาค ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ 28 ก.ค.54 หลังจากเมื่อวันที่ 26 ก.ค.54 ได้ไปขึ้นศาลปกครอง เพื่อเป็นพยานในคดีกับบริษัทถ่านหิน ซึ่งมีคดีความกันมาตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายน 2553 หลังกลับจากศาลก็เรียกประชุมแกนนำ โดยนายทองนาคระบุว่ามีคนข่มขู่ให้ระวังตัวให้ดี จึงแจ้งแกนนำทุกคนให้เพิ่มความระมัดระวัง ต่อมาทีมสังหารนายทองนาคถูกจับกุมตัวได้ในวันที่ 1 ส.ค.54 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
กลุ่มเข้าถึงยาเฮ! จีนพร้อมทำซีแอล หวั่นสภาไทยตีเช็คเปล่าเจรจา WTO Posted: 11 Jun 2012 08:20 AM PDT นักวิชาการด้านการเข้าถึงยาทั่ 11 มิ.ย. กรุงเทพฯ จากสถานการณ์ที่หลายประเทศเข้ ผศ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้ “อันที่จริง พรบ.สิทธิบัตรของจีนที่ได้แก้ นอกจากนี้ ผู้จัดการแผนงาน กพย. ยังเปิดเผยว่า ในการประชุมดังกล่าว ผู้เข้าร่วมประชุมให้ ทางด้าน รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ กรรมการกำกับทิศของแผนงาน กพย. กล่าวว่า ขณะนี้หลายประเทศที่กำลังอยู่ “หากไทยต้องยอมให้มีการผูกขาดข้ รศ.ดร.จิราพร ค่อนข้างเป็นห่วงกับการประชุมร่ "การทำร่างกรอบการเจรจาฯใดๆ ควรมีสาระสำคัญ ประเด็นจุดยืนที่ประเทศชาติ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ยื่นจม.ถึงยิ่งลักษณ์ค้านเก็บ 30 บ. เจรจา รพ.เอกชนหยุดเก็บเพิ่มจากผู้ป่วยฉุกเฉิน Posted: 11 Jun 2012 08:12 AM PDT
กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพยื่ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2555 นางสาวสุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลั นางสาวสุรีรัตน์ กล่าวต่อว่า ทางกลุ่มฯเห็นว่า การเร่งรัดนำนโยบายเก็บเงินค่ นางสาวสุรีรัตน์ กล่าวว่า ส่วนการดำเนินนโยบาย”ฉุกเฉิน” ยังมีปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือ 1.การบูรณาการ 3 กองทุนยังไม่รวมกองทุนผู้ 1.ทบทวนการเก็บเงิน 30 บาท อย่างรอบคอบ เปิดโอกาสให้ประชาชนให้ความเห็ 2.ให้รัฐบาลดำเนินการให้สำนั 3.ให้รัฐบาลเร่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
Posted: 11 Jun 2012 06:08 AM PDT | |
จาตุรนต์ ฉายแสง: จดหมายเปิดผนึกถึง ส.ส.พรรคเพื่อไทยและประชาชนผู้รักประชาธิปไตย Posted: 11 Jun 2012 05:12 AM PDT จดหมายเปิดผนึก ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งถึงเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรให้แจ้งประธานรัฐสภาให้ชะลอการลงมติร่างรัฐธรรมนูญในวาระที่ 3 จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย ต่อมาประธานรัฐสภาได้แจ้งให้ที่ประชุมรัฐสภาทราบถึงคำสั่งดังกล่าว ทำให้มีการอภิปรายกันในที่ประชุมรัฐสภาอย่างกว้างขวางแต่ยังไม่เป็นที่ยุติ และประธานรัฐสภาได้นัดประชุมรัฐสภาเพื่อหารือเรื่องนี้ต่อไปในวันอังคารที่ 12 มิถุนายน 2555 นี้ รัฐสภาจะพิจารณาตัดสินใจดำเนินการอย่างไรต่อไปต่อคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญและการลงมติในวาระที่ 3 เป็นกรณีที่มีความหมายสำคัญอย่างยิ่งต่อหลักการประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ทั้งยังอาจส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อวิกฤตของประเทศทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ผมขอเสนอความเห็นดังนี้ 1. ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องในกรณีนี้ไว้พิจารณาได้โดยตรง และศาลรัฐธรรมนูญในอดีตก็ได้วินิจฉัยตีความรัฐธรรมนูญในเรื่องเดียวกันไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วว่า ผู้ร้องไม่มีอำนาจหรือสิทธิที่จะร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ แต่จะต้องร้องผ่านอัยการสูงสุดเพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไปเท่านั้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงกำลังกระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญเสียเอง 2. คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่สั่งให้เลขาธิการรัฐสภาแจ้งให้ประธานรัฐสภาชะลอการพิจารณาลงมติในวาระ 3 ออกไป ไม่มีผลผูกพันรัฐสภา รัฐสภาจึงไม่ต้องปฏิบัติตาม แม้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเองก็ออกมายอมรับแล้วว่าไม่ได้สั่งประธานรัฐสภา และไม่มีอำนาจจะสั่งได้ 3. ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ปัจจุบันไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ตรวจสอบหรือวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าในขั้นตอนที่ยังร่างไม่เสร็จหรือร่างเสร็จสมบูรณ์แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาวินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญนี้ และมาตรา 68 ก็มิได้มีไว้ตรวจสอบการร่างรัฐธรรมนูญของรัฐสภา 4. ขณะนี้การพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่ 2 ได้ผ่านพ้นมาเกินกว่า 15 วัน รัฐธรรมนูญมาตรา 291 กำหนดให้รัฐสภาต้องจัดให้มีการลงมติในวาระที่ 3 ต่อไป แม้ไม่กำหนดว่าจะต้องลงมติในวันใด โดยประเพณีปฏิบัติของรัฐสภาก็มักกระทำกันในโอกาสแรก ขณะนี้รัฐสภามีทางเลือกปฏิบัติ 2 ทาง คือ 1.ยืนยันว่าคำสั่งศาลไม่ผูกพันรัฐสภาและกำหนดวันที่เหมาะสมเพื่อลงมติวาระที่ 3 ต่อไป หรือ 2.ยังไม่ลงมติวาระที่ 3 รอจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคำร้องเสียก่อน หากมีการลงมติในวาระที่ 3 ต่อไป และได้เสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภา ก็เท่ากับว่ารัฐสภาเห็นชอบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยตรวจสอบ หรือระงับยับยั้งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อีก แต่ถ้ารัฐสภาไม่มีการลงมติในวาระที่ 3 ปล่อยให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยกรณีที่มีผู้ร้องต่อไป ก็เท่ากับรัฐสภาจงใจไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ยินยอมให้ศาลรัฐธรรมนูญมาก้าวก่ายแทรกแซงการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ กระทั่งมีอำนาจเหนือกว่ารัฐสภาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อันจะเป็นบรรทัดฐานที่ผิดอย่างร้ายแรงต่อไป ผลที่ตามมาอาจจะได้แก่การยุติการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ และยิ่งกว่านั้นจะมีผลเท่ากับปิดโอกาสในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องสำคัญต่อไปในอนาคตด้วย ปัญหาพื้นฐานและต้นเหตุที่สำคัญที่สุดของวิกฤตประเทศคือ ความไม่เป็นประชาธิปไตยและความอยุติธรรม หนทางที่จะแก้ปัญหานี้ได้ที่สำคัญคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคเพื่อไทยได้ร่วมกับประชาชนต่อสู้กับอำนาจเผด็จการตลอดมาก็เพื่อให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย ที่ประชาชนสนับสนุนพรรคเพื่อไทยก็เพื่อให้พรรคมาแก้ปัญหา พัฒนาประเทศ และเพื่อให้มาร่วมกันทำให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย ถึงแม้ว่าประชาชนได้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยมาเป็นรัฐบาลแล้วนั้น ตราบใดที่รัฐธรรมนูญนี้ยังไม่เป็นประชาธิปไตย ก็ยังไม่มีหลักประกันใดๆ เลยว่ารัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจะตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากน้อยเพียงใด นอกจากนั้นรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตยนี้ยังจะทำให้วิกฤตของประเทศร้ายแรงยิ่งขึ้นต่อไปด้วย ประชาชนที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย และโดยเฉพาะประชาชนที่ได้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยด้วยความเสียสละจำนวนมากมายมหาศาล รวมทั้งผู้ที่เสียสละชีวิตและเลือดเนื้อไปเป็นจำนวนมากนั้น มิได้ต้องการเพียงให้พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลเท่านั้น ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ ต้องการให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยและสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญตลอดมา มาถึงโอกาสนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยจะร่วมกับสมาชิกรัฐสภาผู้ยึดถือหลักการประชาธิปไตยทั้งหลายยืนยันหลักการและความถูกต้อง ปฏิเสธคำสั่งที่ไม่มีผลผูกพันรัฐสภา ยืนยันว่าอำนาจในการบัญญัติรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา และดำเนินการต่อไปเพื่อให้มีการลงมติในวาระที่ 3 เพื่อให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยประชาชน และให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยตามที่ประชาชนทั้งประเทศได้ฝากความหวังไว้ จาตุรนต์ ฉายแสง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
กสทช.สั่งปรับทรูวันละ 20,000 บาท ด้านแกรมมี่จี้ทรูจอดำจนกว่าได้คำตอบยูฟ่าสัปดาห์นี้ Posted: 11 Jun 2012 02:29 AM PDT 11 มิ.ย. 55 - สำนักข่าวไทยรายงานว่า พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กสท. ว่า ที่ประชุมมีมติให้เลขาธิการ กสทช.ใช้มาตรการทางปกครองด้วยการสั่งปรับบริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด วันละ 20,000 บาท โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2555 เป็นต้นไป จนกว่าทรูวิชั่นส์ จะทำให้สมาชิกสามารถรับชมรายการผ่านระบบโทรทัศน์ภาคปกติ (ฟรีทีวี) โดยเฉพาะการรับชมรายการถ่ายทอดฟุตบอลยูโร 2012 กสท.มุ่งหวังว่าผู้บริโภคคนไทยจะได้รับชมรายการเช่นเดียวกัน พ.อ.นที กล่าวว่า ได้มอบหมายให้สำนักงาน กสทช.ไปกำหนดแนวทางการออกใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ในอนาคตว่า ต้องนำเอาพฤติกรรมที่ผ่านมาของผู้ขอรับใบอนุญาตมาพิจารณาประกอบการให้ใบอนุญาตด้วย โดยเฉพาะกรณีของทรู วิชั่นส์ และบริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เพราะทำให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์ และไม่สามารถรับชมรายการถ่ายทอดสดบอลยูโร 2012 ได้ “กรณีปัญหาระหว่างทรูวิชั่นส์ กับแกรมมี่ ถือเป็นพฤติกรรมที่ใช้ช่องทางของกฎหมายในการใช้ผู้บริโภคเป็นตัวประกัน เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจ แม้เรื่องนี้จะเป็นการเจรจาระหว่างเอกชนกับเอกชน แต่ไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบต่อผู้บริโภค กสท.จึงขอเรียกร้องให้ผู้ประกอบการที่กระทำการใด ๆ ยุติการเอาเปรียบผู้บริโภคโดยทันที ขณะเดียวกัน กสท.จะนำปัญหาที่เกิดขึ้นจากกรณีดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาการออกใบอนุญาตในอนาคตด้วย” พ.อ.นที กล่าว พ.อ.นที กล่าวอีกว่า สำหรับการร้องเรียนของผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากกรณีไม่ได้รับชมรายการถ่ายทอดฟุตบอลยูโรนั้น ทางคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จะพิจารณาข้อเท็จจริงและความเสียหายที่เกิดขึ้น ล่าสุดมีผู้ร้องเรียนเข้ามาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ราย ส่วนกรณีผู้บริโภคอื่น ๆ ที่ไม่สามารถรับรายการถ่ายทอดฟุตบอลยูโร 2012 ได้นั้น ทาง กสทช. จะไม่สามารถเข้าไปดูแลได้ เพราะไม่มีอำนาจ เนื่องจากผู้ให้บริการโทรทัศน์ดาวเทียมอื่น ๆ เช่น จานดาวเทียมพีเอสไอ จานดำ ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการจาก กสทช.แต่อย่างใด ซึ่งกสทช.ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ และสุดความสามารถในการดูแลทั้งข้อกฎหมายและเยียวยาผู้บริโภค ซึ่งกสทช.ได้แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบเพื่อดำเนินการต่อไป โดยเฉพาะคู่กรณีทั้งทรูวิชั่นส์และ แกรมมี่ต้องเจรจาหาทางออกร่วมกัน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับชมรายการฟรีทีวีอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ หลังจากที่ กสท. มีคำสั่งทางปกครองให้ทรูวิชั่นส์ ไปดำเนินการให้สมาชิกได้รับชมรายการถ่ายทอดฟุตบอลยูโร 2012 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา แต่ทางทรู วิชั่นส์ได้ทำหนังสือแจ้งกลับมายังกสท.ทันที ว่า ขอให้ กสท. ทบทวนคำสั่งทางปกครองอีกครั้ง ซึ่ง กสท. ได้ยืนยันการพิจารณาออกคำสั่งดังกล่าว ได้พิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว ขอยืนยันมติเดิมคือสั่งปรับทรู วิชันส์วันละ 20,000 บาท แกรมมี่ออกแถลงการณ์จี้"ทรูวิชั่นส์"ยอมรับคำตอบยูฟ่าสัปดาห์นี้ ด้านสยามธุรกิจรายงานว่าแกรมมี่ออกแถลงการณ์จี้ "ทรูวิชั่นส์" ยอมรับคำตอบยูฟ่าสัปดาห์นี้ โดยบมจ. จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ (GRAMMY) ระบุในแถลงการณ์ว่า ทางทรูวิชั่นส์ ต้องยอมรับสถานการณ์"จอดำ"ไม่มีกำหนด จนกว่าจะได้คำตอบจากยูฟ่าในสัปดาห์นี้ และไม่ว่าผลสรุปจะออกมาเป็นเช่นใด จีเอ็มเอ็มแกรมมี่หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทรูจะทำความเข้าใจกับสมาชิกอย่างตรงไปตรงมา และให้ความเคารพในเรื่องการบริหารลิขสิทธิ์ด้วยข้อเท็จจริง สืบเนื่องจากกรณีเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ในเรื่องลิขสิทธิ์การถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป(ยูโร 2012)ที่ยังเป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้ และมีสัญญาณว่ากำลังจะถูกบิดเบือนจากประเด็นทางธุรกิจให้กลายป็นประเด็นทางสังคม จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ในฐานะผู้ได้สิทธิ์เผยแพร่การถ่ายทอดฟุตบอลยูโรแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ตระหนักถึงการทำธุรกิจบนพื้นฐานของคุณธรรมและความถูกต้อง ซึ่งเป็นแนวทางที่จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ยึดถือและปฏิบัติมาตลอด 30 ปี จึงขอชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจในการบริหารสิทธิ์และการรับชมฟุตบอลยูโรอีกครั้ง การได้ลิขสิทธิ์ฟุตบอลยูโร 2012 นั้น จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ได้ลิขสิทธิ์เผยแพร่ในทุกช่องทางการรับชม (All rights) ซึ่งต้องใช้เม็ดเงินในการประมูลค่าลิขสิทธิ์จำนวนมหาศาล มีการประมูลแข่งขันกับผู้ประกอบการในประเทศหลายราย เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายในการผลิตแล้ว เป็นตัวเลขสูงกว่า 400 ล้านบาท การบริหารลิขสิทธิ์ที่ได้มาครั้งนี้จึงอยู่บนความชอบธรรมที่จะดำเนินภายใต้วิธีการบริหารจัดการที่เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้บริโภคที่พึงได้รับสิทธิในแต่ละช่อง ทางการรับชม เงื่อนไขสำคัญในก่อนการประมูลนั้น ผู้เข้าประมูลจะต้องระบุถึงช่องทางการรับชมเสนอต่อ ยูฟ่า ผู้เป็นเจ้าของสิทธิ์ อย่างชัดเจน เพื่อแสดงถึงศักยภาพในการเผยแพร่การแข่งขันระดับโลกครั้งนี้สู่ผู้ชมอย่างกว้างขวางและเพียงพอต่อมาตรฐานที่ยูฟ่ากำหนด และต้องเผยแพร่การถ่ายทอดการแข่งขันครั้งนี้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆจะต้องขออนุญาตและได้รับความเห็นชอบจากยูฟ่าก่อนทุกกรณี หลักการนี้เป็นหลักการสากลที่ผู้เคยเจรจาซื้อลิขสิทธิ์กับยูฟ่าย่อมรู้ดี ทรูวิชั่น คือพันธมิตรอันดับต้นๆ ที่ จีเอ็มเอ็มหารือความเป็นไปได้ทางธุรกิจในการร่วมบริหารสิทธิ์ช่องทางของทีวีดาวเทียม ตั้งแต่ปลายปี 2554 เพราะเล็งเห็นว่ากลุ่มเป้าหมายของทรูวิชั่น กับจีเอ็มเอ็ม แซท นั้นเป็นคนละกลุ่ม จึงมีความเป็นไปได้ในแบ่งปันคอนเทนท์อย่างลงตัว จีเอ็มเอ็มแซท ได้เสนอแลกเปลี่ยนสิทธิ์ฟุตบอลยูโร โดยเฉพาะในระบ HD กับ คอนเทนท์อื่นๆที่ทรูวิชั่นถือสิทธิ์อยู่ โดยไม่มีตัวเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง และทุกครั้งในการเจรจา จีเอ็มเอ็มได้แสดงนโยบายชัดเจนในการเข้ารหัสสัญญานผ่านดาวเทียมการถ่ายทอดฟุตบอลยูโรช่องฟรีทีวีที่มีการทวนสัญญาณ ทั้งซีแบนด์ และ เคยูแบนด์ กล่องหรือแพลทฟอร์มใดที่ไม่ได้รับสิทธิ์จะพบสถานการณ์ “จอดำ"ไม่สามารถรับชมได้แน่นอน จึงไม่มีเหตุผลใดที่ทรูวิชั่นจะปฏิเสธการรับรู้ หรือเข้าใจเองว่าสามารถรับชมได้ และด้วยนโยบาย exclusive (การทำธุรกิจแบบผูดขาดทางด้านรายการ)ของทรูวิชั่นส์ การเจรจาแต่ละครั้งจึงไม่บรรลุข้อตกลง แม้ว่าจะมีความพยายามจาก จีเอ็มเอ็มแซท ในการเสนอรูปแบบธุรกิจอื่นๆ อีกหลายครั้งก็ตาม จึงเป็นความชัดเจนและสรุปได้ในที่สุดจากระยะเวลาที่ผ่านมาว่า ทรูวิชั่นส์ไม่สามารถดำเนินธุรกิจตามแนวทางใดที่จีเอ็มเอ็มแซทนำเสนออย่างแน่นอน ในเวลาต่อมา จีเอ็มเอ็มแซท จึงเปิดเจรจากับพันธมิตรรายอื่น ซึ่งได้บรรลุข้อตกลงตามเงื่อนไขธุรกิจที่พึงพอใจทั้งสองฝ่าย ในการรับชมฟุตบอลยูโรทั้งช่องทางเคเบิลทีวีกับซีทีเอช และผู้ประกอบการเคเบิ้ลท้องถิ่นทั่วประเทศ รวมทั้งแพลทฟอร์ม ดีทีวี ที่ยินดีร่วมมือทางธุรกิจในการถ่ายทอดฟุตบอลยูโรในระบบเอชดี(HD) รวมทั้งคอนเทนท์กีฬาเอชดีอีก 3 ช่อง ในมูลค่าหลายสิบล้าน โดยร่วมมือผลิตกล่องรับสัญญาณระบบ เอชดี ภายใต้ชื่อ จีเอ็มเอ็มแซท บาย ดีทีวี (GMMZ by DTV) แต่มีเงื่อนไขการร่วมธุรกิจด้วยการขอความเชื่อมั่น สำหรับการรับชมของฟุตบอลยูโร ในรุ่นมาตรฐานจะดูได้เฉพาะ จีเอ็มเอ็มแซท และรุ่นเอชดี เฉพาะ จีเอ็มเอ็มแซท บายดีทีวีเท่านั้น การร่วมธุรกิจของ ดีทีวี ซึ่งมีแพลทฟอร์มระบบเคยูแบนด์ เหมือนทรูวิชั่น และมีฐานสมาชิกกว่า 1.3 ล้านครัวเรือน ก็เข้าใจในหลักการ“จอดำ"การถ่ายทอด ฟุตบอลยูโร จากฟรีทีวี เพราะตระหนักดีในหลักการ rebroadcast ว่าเป็นคนละสิทธิ์กับฟรีทีวีภาคพื้นดิน ค่าสิทธิ์ที่ตกลงไว้สำหรับผู้ชมระบบเอชดีเท่านั้น ผู้ชมผ่านจานและกล่องดีทีวีรุ่นทั่วไป 1.3 ล้านครัวเรือน ก็ไม่สามารถรับชมการถ่ายทอดได้เช่นกัน และแม้ว่าได้สิทธิ์ไปแล้ว ปรากฏการณ์“จอดำ"จากช่องฟรีทีวี ช่วงการถ่ายทอดสดบนแพลทฟอร์มพันธมิตรก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น ทั้ง จีเอ็มเอ็ม แซท และจีเอ็มเอ็ม แซท บาย ดีทีวี รวมถึงเคเบิลทีวี แพลทฟอร์มเหล่านี้ต้องหาช่องพิเศษรองรับการถ่ายทอดสัญญาณที่แยกออกมาจากสัญญาณช่องฟรีทีวี แม้ต้องมีค่าใช้จ่ายการเช่าช่องสัญญาณใหม่เพิ่มเติม แต่เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับ เพราะเป็นความถูกต้องของกติกาการใช้ลิขสิทธิ์ที่ไม่สามารถทวนสัญญาณ หรือ rebroadcast ได้ซึ่งจะเห็นว่า ใครจะดูถ่ายทอดฟุตบอลยูโร ในกล่องจีเอ็มเอ็ม แซท ต้องกดไปที่ช่อง 0 , DTV HD ดูที่ช่อง 1 เคเบิลทีวี ก็ต้องหาช่องพิเศษรองรับสัญญาณ เพราะภาพของช่องฟรีทีวี ช่อง 3 , 5 , 9 ที่มีการถ่ายทอดสดในทุกกล่อง จะพบ"จอดำ"โดยไม่มีข้อยกเว้น หรือเลือกปฏิบัติแต่อย่างใด จากการปฏิเสธของทรูวิชั่นส์ด้วยการมิได้ตอบรับข้อเสนอของจีเอ็มเอ็มแซท แผนการตลาดของจีเอ็มเอ็มแซทจึงประกาศสู่สาธารณะอย่างชัดเจน ถึงช่องทางการรับชมฟุตบอลยูโร 2012 และระบุการรับชมผ่านทีวีดาวเทียมต้องผ่านกล่องรับสัญญาณของ จีเอ็มเอ็ม แซท และจีเอ็มเอ็ม แซท บาย ดีทีวีเท่านั้น สองสัปดาห์ก่อนการการแข่งขัน ทรูวิชั่นส์ได้ติดต่อเข้ามาเพื่อเจรจาขอสิทธิ์เผยแพร่สำหรับสมาชิก แลกกับคอนเทนท์ตามเงื่อนไขที่เคยเจรจากันไว้ แต่เมื่อเวลาเปลี่ยน จีเอ็มเอ็มไม่อยู่ในสถานะที่สามารถตอบตกลงกับทรูได้ เพราะจีเอ็มเอ็ม ได้มีข้อตกลงกับ DTV ที่จะร่วมเป็นพันธมิตรและได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ อีกทั้งการเจรจากับยูฟ่าที่ต้องใช้เวลา สิ่งสำคัญที่สุดคือคำมั่นสัญญาที่ประกาศไปในตลาด ทั้งลูกค้า ดีลเลอร์ และสังคม ที่ได้ประกาศไปแล้วว่าสามารถดูได้ผ่านกล่องจีเอ็มเอ็มแซทแล้วเท่านั้น นี่ต่างหากที่จะทำให้จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ถูกตั้งคำถามว่าทำธุรกิจด้วยการหลอกลวงผู้บริโภคและพาร์ทเนอร์หรือไม่ จีเอ็มเอ็ม แซท เสนอทางออกให้ทรู ด้วยรูปแบบการให้เช่ากล่อง แม้จะรู้ว่าทรูทำใจรับยาก แต่ในสถานการณ์ที่ไม่มีทางเลือก จึงเป็นข้อเสนอเดียวที่จะทำให้จีเอ็มเอ็มแซทไม่ทำผิดสัญญากับพาร์ทเนอร์ และสามารถเดินธุรกิจกับทรูได้โดยไม่ต้องขอคำตอบจากยูฟ่า และสถานการณ์ก็บานปลายเมื่อทรูต้องตอบคำถามกับสมาชิก ที่ไม่สามารถรับชมฟุตบอลยูโรผ่านแพลทฟอร์มของ ทรูได้จริงๆ ตามข่าวความขัดแย้งที่เกิดขึ้นตลอดสัปดาห์สุดท้ายก่อนการแข่งขัน จนถึงขั้นมีแถลงการณ์ขออภัยผู้ชมและแสดงความผิดหวังต่อการจำกัดสิทธิ์ของจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ผ่านทุกช่องทางของทุกสื่อที่ทรูมี เป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงต่อสังคมที่ทำให้จีเอ็มเอ็ม จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในปัญหา ทั้งที่ก่อนหน้านั้นในวันศุกร์ ที่ 8 มิถุนายน มีการเจรจาของผู้บริหารระดับสูงสุดของทั้งสองฝ่าย เพื่อพยายามหาทางออกให้กับความขัดแย้งครั้งนี้ ซึ่งผู้บริหารของจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ก็ตอบรับในการที่จะพยายามเจรจากับยูฟ่าอีกครั้ง แม้ว่าจะสามารถปฏิเสธด้วยความชอบธรรมก็ตามที โดยไม่มีเรื่องเงินหรือการแลกเปลี่ยนใดๆเป็นเงื่อนไขในการเจรจา แต่พื่อเป็นการยืนยันในไมตรีที่มีให้ทรูในฐานะคู่ค้า ทั้งๆที่รู้ว่าจะมีกระแสสังคมกดดันกลับมาที่จีเอ็มเอ็มแกรมมี่อย่างแน่นอน จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ยืนยันจะใช้ความพยายามอย่างถึงที่สุด บนพื้นฐานที่ไม่กระทบต่อสิทธิประโยชน์ที่เหนือกว่าของพันธมิตร คู่ค้า และผู้บริโภคกล่องจีเอ็มเอ็มแซท เพื่อลดความขัดแย้งครั้งนี้ โดยได้ส่งเรื่องให้ยูฟ่าแล้วตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน อย่างไรก็ตาม ในเวลานี้ทรูต้องยอมรับสถานการณ์"จอดำ"ไม่มีกำหนด ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ทรูได้เลือกเองตั้งแต่ต้น จนกว่าจะได้คำตอบจากยูฟ่าในสัปดาห์นี้ และไม่ว่าผลสรุปจะออกมาเป็นเช่นใด จีเอ็มเอ็มแกรมมี่หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทรูจะทำความเข้าใจกับสมาชิกอย่างตรงไปตรงมา และให้ความเคารพในเรื่องการบริหารลิขสิทธิ์ด้วยข้อเท็จจริง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
คนสตูลร่วมลงนาม “สัญญาประชาคม” ไม่เอาท่าเรือปากบารา ค้านเมกะโปรเจ็กต์ Posted: 11 Jun 2012 02:06 AM PDT ประชาชนชาวสตูลจากทุกภาคส่วนร่วมกันลงชื่อในสัญญาประชมคม แสดงออกถึงเจตนารมณ์ไม่เอาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และมุ่งเน้นการพัฒนาสตูลไปสู่การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ภาพละหมาดฮายัตขอพรต่อพระเจ้า กิจกรรมหนึ่งในพิธีลงนามสัญญาประชาคม คนจังหวัดสตูลไม่เอาท่าเรืออุตสาหกรรมปากบารา โดย: Sanan Klabdee 10 มิ.ย.55 เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล และองค์กรภาคประชาชนหลายองค์กร ร่วมจัดกิจกรรมลงนามสัญญาประชาคม “คนสตูลไม่เอาท่าเรืออุตสาหกรรมปากบารา หนึ่งหมื่นคนร่วมเป็นสักขีพยาน” เพื่อให้ประชาชนชาวสตูลจากทุกภาคส่วนมาร่วมกันลงชื่อในสัญญาประชมคมเพื่อแสดงออกถึงเจตนารมณ์ไม่เอาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และมุ่งเน้นการพัฒนาสตูลไปสู่การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน กิจกรรมลงนามสัญญาประชาคม จัดขึ้นบริเวณลานสาธารณะ หรือที่คนสตูลเรียกว่า ลาน 18 ล้าน ชายหาดปากบารา อ.ละงู จ.สตูล เริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 9.00 น.ถึงเวลาประมาณ 19.00 น.โดยมีประชาชนชาวสตูลและจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ทยอยเดินทางมาลงนามในสัญญาประชาคม และเข้าร่วมกิจกรรมตลอดทั้งวัน พร้อมกันนี้บนเวทีที่ลานสาธารณะ ยังมีการอภิปรายเวทีสาธารณะ เพื่อคัดค้านโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา โดยแกนนำชาวบ้านในพื้นที่ เอ็นจีโอ นักวิชาการจากนอกพื้นที่ ร่วมกับเครือข่ายประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ในจังหวัดอื่นๆ เช่น จินตนา แก้วขาว กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบ่อนอก-หินกรูด จ.ประจวบคีรีขันธ์ สุทธิ อัชฌาศัย เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก สุไรด๊ะ โต๊ะหลี เครือข่ายรักษ์จะนะ เป็นต้น เวลาประมาณ 16.30 น.มีการทำละหมาดฮายัต โดยผู้นำทางศาสนาในพื้นที่ ซึ่งการทำละหมาดฮายัตตามความเชื่อของชาวมุสลิม จะทำเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น เช่น น้ำท่วม แต่ครั้งนี้ชาวสตูลมองว่าการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกจะนำความหายนะมาสู่เมืองสตูล จึงทำละหมาดฮายัตเพื่อขอพรจากพระอัลเลาะห์ให้ช่วยขจัดภัยดังกล่าว จากนั้นเวลาประมาณ 18.30 น. ผู้แทนชาวบ้าน ผู้นำศาสนา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอ็นจีโอ และผู้ที่เกี่ยวข้องจากหลายภาคส่วนทำพิธีร่วมกันลงนามในสัญญาประชาคมของชาวสตูลเพื่อการกำหนดอนาคตตนเอง เป็นสัญลักษณ์แสดงออกถึงเจตนารมณ์ ร่วมกันของคนในพื้นที่ สัญญาประชาคมฉบับดังกล่าว ระบุว่า 1.ยืนยันใน “อุดมการณ์และคุณค่าที่ยึดถือร่วมกัน” ของจังหวัด คือ สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์ ซึ่งหมายถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สงบ สะอาด บริสุทธิ์, สังคม สงบ สะอาด บริสุทธิ์, และผู้คนรักความสงบ จิตใจสะอาดบริสุทธิ์ 2.ขอกำหนด “ทิศทางการพัฒนา” ของจังหวัดสตูล ให้มุ่งเน้นความยั่งยืน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การศึกษาและวัฒนธรรม ขอเป็นสังคมสีเขียว ไม่เป็นสังคมอุตสาหกรรม ไม่เอาโครงการพัฒนาที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม 3.โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ในจังหวัดสตูลต้องใช้ “กระบวนการมีส่วนร่วมที่แท้จริง” ทุกขั้นตอน โดยประชาชนต้องมีฐานะในการเข้ามีส่วนร่วม เท่าเทียมกับภาครัฐ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ มิใช่เป็นเพียงเป็นผู้ได้รับแจ้งให้ทราบ ผู้ร่วมประชุมลงชื่อ แต่ต้องเป็นผู้ร่วม กำหนด ออกแบบ และตัดสินใจการพัฒนา 4.“ไม่เอาโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่” ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ริมฝั่งทะเลและหมู่เกาะ รวมทั้งไม่เอาโครงการพัฒนาใดๆที่จะส่งผลทำลายดิน ทำลายน้ำ ทำลายป่า ทำลายทะเล ทำลายแหล่งอาหารของสตูล และสังคมวิถีวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา โครงการท่าเรืออุตสาหกรรม หรือโครงการอื่นๆ 5.รัฐบาล “ควรยุติความคิดฝันหรือแผนการใดๆที่จะกำหนดให้ภาคใต้เป็นส่วนหนึ่งของสะพานเศรษฐกิจโลก” เลิกมุ่งหวังที่จะแสวงหารายได้หรือความมั่งคั่งจากการเป็นตัวกลางของระบบขนส่งสินค้าโลก ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาที่ถูกครอบงำโดยกลุ่มทุนโลก ได้ไม่คุ้มเสีย ไม่ยั่งยืน และเป็นที่มาของสารพัดโครงการ การพัฒนาขนาดใหญ่ในภาคใต้ อันก่อให้เกิดความทุกข์แก่ประชาชนไม่สิ้นสุด 6.ชาวสตูลและพี่น้องทั่วภาคใต้ “จะร่วมกันปกป้องแผ่นดินถิ่นเกิด” วิถีวัฒนธรรมและสุขภาวะไว้ให้ลูกหลานในอนาคตสืบไป “ทั้งหมดนี้นับเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญอีกครั้งของชาวสตูล ในการยืนยันทิศทางการพัฒนาของสตูล ว่าจะต้องให้ชาวสตูลกำหนดอนาคตของตนเอง” แถลงการณ์ ระบุ ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ในวันที่ 9 มิ.ย.55 เครือข่ายประชาชนจำนวนเกือบ 1,000 คน จัดขบวนขับรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ รถซาเล้ง รณรงค์ไปตามท้องที่ต่างๆ ใน อ.ละงู จ.สตูล โดยใช้ธงสีเขียวเป็นสัญลักษณ์ เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนออกมาร่วมกิจกรรมลงนามสัญญาประชาคม ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ชาวโรฮิงยาในไทยร้องยูเอ็นช่วยสถานการณ์ในรัฐอาระกัน Posted: 11 Jun 2012 01:27 AM PDT ประชาคมโรฮิงยาในไทยและต่างประเทศยื่นหนังสือเปิดผนึกต่อยูเอ็น ร้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนอิสระเพื่อค้นหาความจริงและดำเนินกระบวนการทางกฎหมาย ในขณะที่สถานการณ์ในรัฐอารกันยังคงทวีความรุนแรงขึ้น 11 มิ.ย. 55 - ราว 10 นาฬิกา บริเวณหน้าองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ถ.ราชดำเนินนอก ชาวโรฮิงยากว่าร้อยคน นำโดยสมาคมโรฮิงยาแห่งประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือเปิดผนึกต่อสหประชาชาติ เพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิบัติการหยุดยิงในสถานการณ์ความขัดแย้งทางเชื้อชาติในรัฐอาระกัน ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยหลังจากนั้นตัวแทนจากมูลนิศักยภาพชุมชนและสมาคมโรฮิงยา เดินทางไปยื่นหนังสือที่สถานทูตในชาติอาเซียนอีก 8 ประเทศ ยกเว้นพม่าและไทย รวมถึงสถานทูตสหรัฐฯ และคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยด้วย
จดหมายเปิดผนึกที่ร้องถึงบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ และร่วมลงนามโดยมูลนิธิศักยภาพชุมชน และประชาคมชาวโรฮิงยาในประเทศต่างๆ อาทิ สมาคมพม่าโรฮิงยา องค์กรอาระกันโรฮิงยาแห่งชาติ องค์กรพม่าโรฮิงยาประเทศอังกฤษ ระบุว่า หากไม่มีการแทรกแซงจากภายนอกในเร็ววัน ประชากรมุสลิมอาระกันอาจสูญหายไปจากโลก เนื่องจากสถานการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุเป็นไปอย่างรุนแรงอย่างต่อเนื่อง และมีข้อเรียกร้องอีก 7 ข้อ ได้แก่ ๑ ขอให้มีปฏิบัติการหยุดยั้งสถานการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุโดยทันทีด้วยการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพสหประชาชาติ เข้าไปในรัฐอารกัน เพื่อคุ้มครองผู้บริสุทธิ์ ๒ ขอให้สหประชาชาติ ส่งหน่วยปฏิบัติการสหประชาชาติ เข้าควบคุมสถานการณ์ที่เลวร้ายในรัฐอารกันอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะป็นได้ ๓ ประชาชาคมโลก ต้องเข้าแทรกแซงสถานการณ์โดยทันทีเพื่อรักษาชีวิตของประชาชนอารกันมุสลิม ๔ ขอให้นักข่าวนานาชาติ เฝ้าติดตามสถานการณ์ที่เลวร้ายในรัฐอารกันอย่างใก้ลชิด ๕ ขอให้องค์กรด้านมนุษยธรรมเข้าไปช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมในรัฐอารกันอย่างเร่งด่วน ๖ ต้องการได้ยินคำอธิบายจากรัฐบาลทหารพม่าต่อสถานการณ์ในรัฐอารกัน ๗ เรียกร้องให้สหประชาชาติ จัดตั้งคณะกรรมการสอบสวนอิสระเพื่อพิจารณาการกระทำที่เป็นอันตรายต่อมนุษยชาติ และนำคนผิดเข้าสู่กระบวนการศาล นายอับดุล การัม หนึ่งในแกนนำสมาคมพม่าโรฮิงยา ประเทศไทย กล่าวว่า ที่มายื่นหนังสือในวันนี้ เพราะอยากให้ยูเอ็นเข้าดูแลตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและดำเนินคดีแก่ผู้ที่ทำผิดตามกฎหมาย และมองว่า ชาวโรฮิงยาเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยที่ปราศจากเครื่องมือและอาวุธ หากเทียบกับประชากรส่วนใหญ่ในรัฐยะไข่ที่เป็นประชาชนส่วนมาก "ที่นางออง ซาน ซูจี เพิ่งเดินทางมาไทย ก็ได้บอกว่า หากชาวพม่ามีปัญหาอะไรก็ขอให้บอก หากว่ามีคนกลุ่มใหญ่ดูแลคนกลุ่มน้อยก็ขอให้บอก แต่นี่ซูจีกลับไม่เท่าไรก็เกิดปัญหาแล้ว" การัมกล่าว "ตอนนี้รัฐบาลพม่าไม่เห็นประชาธิปไตย และกำลังทำลายประเทศของตนเอง" ทั้งนี้ ความไม่สงบในรัฐอาระกันเริ่มมาจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. ซึ่งมีกลุ่มมุสลิมแสวงบุญ 10 คนถูกชาวอาระกันตีจนเสียชีวิต ระหว่างเดินทางไปย่างกุ้ง โดยการโจมตีดังกล่าวเพื่อตอบโต้กับข้อกล่าวหาว่ามีสตรีอายุ 26 ปีรายหนึ่งถูกข่มขืนและฆ่าโดยชาวมุสลิมสามคนเมื่อช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 3 ถูกควบคุมตัวแล้วและอยู่ในระหว่างการดำเนินคดี ขณะที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ที่่ผ่านมา มีรายงานโดยสื่อพม่าว่า หนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาได้ฆ่าตัวตายในเรือนจำ ขณะที่สถานการณ์รุนแรงในรัฐอาระกันเริ่มขยายตัวมากขึ้น หลังจากเกิดเหตุประท้วงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาโดยชาวมุสลิม โดยซึ่งได้เข้าโจมตีชุมชนชาวอาระกัน ซึ่งเป็นชาวพุทธในเมืองมงดอว์ รัฐอาระกัน โดยทางการพม่ารายงานเบื้องต้นว่า มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ 7 คน ได้รับบาดเจ็บสาหัส 17 คน สื่อของรัฐบาลพม่ายังรายงานว่า มีบ้านเรือนถูกทำลายได้รับความเสียหาย 494 หลัง ร้านค้าอีก 19 แห่ง รวมถึงโรงแรมอีก 1 แห่ง ในจำนวนนี้พบมีบ้านเรือน 4 – 5 หลัง ถูกเผา ส่วนชาวอาระกันกว่า 300 คน ที่หนีไปอยู่ที่วัดได้รับความช่วยเหลือแล้ว โดยหลังเกิดเหตุ ทางการพม่าได้ประกาศเคอร์ฟิวในพื้นที่ทันทีและห้ามประชาชนในพื้นที่ชุมนุมกันเกิน 5 คน มีรายงานว่า มีการประกาศเคอร์ฟิวในเมืองบูทีดองด้วย (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง ประธานาธิบดีเต็ง เส่งห่วงความรุนแรงในรัฐยะไข่อาจส่งผลกระทบกับประชาธิปไตย) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล: เสวนาปฏิญญาหน้าศาล แนะเพื่อไทย-นปช.ต้องคิดใหม่ทำใหม่ Posted: 11 Jun 2012 12:36 AM PDT สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เสวนาปฏิญญาหน้าศาล เสนอ รบ.ช่วยคนคุกเร่งด่วนอันดับ 1 ยินดีกราบเปรม เลิกพูดปรองดอง หันมามองประชาธิปไตยและความเป็นธรรม ปัจจุบันมันเป็นการเมืองระดับมวลชน เพื่อไทย-นปช.ต้องคิดใหม่ทำใหม่
13.20 น. วานนี้(10 มิ.ย.) บริเวณหน้าศาลอาญารัชดา กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล จัดกิจกรรมเสวนา "นักโทษการเมือง ศาล และทุกเรื่องที่กล้าถาม กับ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" และรำลึกครบรอบ 1 เดือนการเสียชีวิตในเรือนจำของ “อากง SMS” หรือนายอำพล (ขอสงวนนามสกุล) ผู้ต้องขังคดี 112 ได้เสียชีวิตลงแล้วในเช้าของวันที่ 8 พ.ค.53 ที่สถานพยาบาลภายในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ โดยกิจกรรมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมเสวนาประมาณ 400 คน โดยหลังจากจบเสวนาได้มีกิจกรรมแสดงดนตรีและการปราศรัย รวมทั้งจุดเทียนรำลึกการครบรอบ 1 เดือนการเสียชีวิตของอากง SMS ในช่วงค่ำบริเวณดังกล่าว 000
นักโทษการเมือง อันหนึ่งที่ผมเสียใจมากเลย พรบ.ปรองดองที่ล้มเหลว มันทำให้คนที่อยู่ในคุกไม่ได้ออก ตอนนี้สถานการณ์ประเทศไทยมันผิดปกติมาก การออกนิรโทษกรรมหรือการปล่อยนักโทษการเมืองมันทำมาโดยตลอดในประเทศไทย 2495, 2500 ก็มีการปล่อยออกมา ปี 19 พวกผม 6 ตุลา ติดคุกไป 2 ปีนี่ก็มี พรบ.นิรโทษกรรมออกมา ปกติเวลาเขาออก พรบ.นิรโทษกรรรม เขาจะเข็น 3 วาระรวดภายในวันเดียวเลย ถ้าเกิดคิดจะปล่อยจริงๆนี่ มันไม่มีความจำเป็นที่จะต้องยืดเยื้อ คิดจะปล่อยก็คือผลักออกมาเลย ทีนี้ครั้งนี้ที่มันหนักหนาสาหัส แล้วที่ผมเสียใจคิดว่า คนที่อยู่ในคุกป่านนี้เขาคงรู้ว่า พรบ.ปรองดอง มันล้มเหลว แล้วอยากให้เรารองจินตนาการว่าเราอยู่ในคุกนี่ พรบ.ปรองดองมันเข้าสภาแล้ว 4 ฉบับ อย่างน้อยมันน่าจะคลอดมาสัก ฉบับนี่ เราอาจจะได้ออกจากคุกวันนี้ พรุ่งนี้ พอมันล้มไปแล้วมันตั้งความหวังไว้มันวูบ ซึ่งอันนี้เป็นอะไรบางอย่างที่คิดวั่นโหดร้ายในแง่อารมณ์ความรู้สึกของคนที่อยู่ในคุก พูดจากประสบการณ์คนที่อยู่ในคุก 2 ปีนี่ คุกนี่เอาเข้าจริงๆพอถึงจุดหนึ่งนี่คุณปรับตัวได้ ความลำบาก มันลำบากแน่ มันไม่สบายเรื่องอาหารการกิน เรื่องชีวิตความเป็นอยู่ แต่พอถึงจุดหนึ่ง มันปรับตัวได้ แต่พอระยะมันผ่านไปเป็นปี เป็น 2 ปีนี่ สิ่งที่มันจะลำบากมากที่สุดสำหรับคนติดคุก คนติดคุกที่ติดเข้าไปในเรื่องการเมืองนี่อย่างเพื่อนๆของเรา คือติดเข้าไปเรื่องความคิด มีความคิดทางการเมืองอยากต่อสู้ทางการเมือง ความลำบากที่สุดของคนเหล่านี้คือคุณจะถูกเอาเข้าไปเหมือนคนเป็นผัก อยากรู้ว่าลำบากยังไงคุณลองขังตัวเองไว้ในบ้าน บังคับตัวเองว่าจะไม่ออกจากตัวบ้านเลย ลองทำอย่างนี้สักวันหนึ่งเต็มๆหรือ 2 วันเต็มๆแล้วคุณจะรู้สึกเลยว่ามันอึดอัดมาก นานๆเข้าสิ่งที่มันแย่สำหรับคนคุก โดยเฉพาะที่เป็นนักโทษการเมืองมันทำให้ความเป็นมนุษย์ของคุณมันเหมือนผักปลาเข้าไปทุกวันๆ จากที่คุณอยู่ข้างนอก คุณคิดคุณแสดงออกทางการเมืองตลอดเวลา แล้วไม่ได้ทำอะไรผิดในแง่นี้ ประเทศทั่วโลกก็ยอมรับความคิดทางการเมืองก็แสดงออกมา คุณกลับถูกจับให้ไปอยู่ห้องแคบๆแบบนี้ วันแล้ววันเล่าวันแล้ววันเล่า ไปนานๆเข้า ความเสื่อมถอยทางด้านจิตใจกำลังใจ ผมอยากให้คนทุกฝ่าย แม้ฝ่ายประชาธิปัตย์เองก็ตาม และโดยเฉพาะฝ่ายเสื้อแดงฝ่าย นปช. ฝ่ายพรรคเพื่อไทยเองก็ตาม ซึ่งมีหลายคนเคยติดคุก แกนนำเคยติดคุกเมื่อ 2 ปีก่อนประมาณ 7-8 เดือนนี่ ผมอยากให้ลองคิดถึงความรู้สึกแบบนี้ขึ้นมาเยอะๆ ลองนึกดูเราถูกขังขนาดนั้น 2 ปี ผมว่ามันไม่ยุติธรรมมาก มันทำร้ายจิตใจทำร้ายจิตวิญญาณของคนมาก คนที่ติดคุกอยู่ทุกคดีมันเป็นคนระดับคนเล็กคนน้อย เอากรณีทำอย่างไรกับรัฐบาลที่แล้วที่มีการฆ่าคนตาย กับเรื่องยกเลิกคำสั่ง คมช. คตส. นี่ ไปผูกด้วยกันไม่ได้ เพราะมันไม่แฟร์ ผมเสนอมาหลายเดือนแล้วว่า พรรคเพื่อไทยกับ นปช.จะต้องแยกเรื่องนี้ออกมาจากเรื่องอื่นๆ ตอนนี้มีประเด็นใหญ่อยู่ 3 ประเด็นในเรื่อง พรบ.ปรองดอง
ที่นี้สิ่งที่พรรคเพื่อไทยทำ ผมวิจารณ์มาโดยตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา คือเอา 3 ประเด็นนี้บวกเข้าไปด้วยกัน ทีนี้เอา 3 ประเด็นมาบวกเข้าด้วยกัน ซึ่งประเด็นที่ 1 ผมเห็นว่ามันไม่แฟร์กับคนติดคุก คือตอนนี้คนติดคุกมันเป็นคนธรรมดาทั้งนั้น เราก็รู้แกนนำทั้งหลายแหล่ไม่มีใครติดคุก แม้กระทั้งคดี 112 แกนนำที่โดนก็ไม่ติดคุก แม้กระทั้งคนที่ใกล้ชิดแกนนำ คนที่ได้ประกันผมไม่ได้ได้บอกว่าควรจะกลับมาติดคุกนะ ประเด็นคือว่าตอนนี้คนที่ติดคุกอยู่ทุกคดีมันเป็นคนระดับคนเล็กคนน้อย ถ้าคุณเอากรณีแบบนี้ไปรวมกับ 2 เรื่องหลังเรื่องทำอย่างไรกับรัฐบาลที่แล้วที่มีการฆ่าคนตาย กับเรื่องยกเลิกคำสั่ง คมช. คตส. นี่ ซึ่งทำให้คุณทักษิณโดนคดีรัชดาและคดีอื่นๆ 3 เรื่องนี้คุณไปผูกด้วยกันไม่ได้ เพราะมันไม่แฟร์สำหรับเรื่องนักโทษการเมืองซึ่งเป็นคนธรรมดา พอคุณไปผูกกับเขา นั่นหมายความว่าถ้ามันช่วยได้ก็ช่วยได้ ถ้าช่วยไม่ได้ก็พังพร้อมกัน คุณทักษิณ น่าจะบอกให้พรรคเพื่อไทย บอกให้รัฐบาลช่วยคนในคุกออกมาก่อน เป็นเรื่องเร่งด่วนอันดับ 1 คุณทักษิณเอ่ยชื่อผมที่ธันเดอร์โดม ก็ดีครับที่อ่านงานผม ผมก็เสียดายความจริงแกน่าจะทำก่อนหน้านี้ น่าจะบอกให้พรรคเพื่อไทย บอกให้รัฐบาลช่วยคนในคุกออกมาก่อน เป็นเรื่องเร่งด่วนอันดับ 1 เลย ส่วนเรื่องช่วยคุณทักษิณได้ไม่ได้กับเรื่องอภิสิทธิ์เรื่องอะไรมันเป็นเรื่องระยะยาว คือมันไม่ใช่เรื่องที่คุณทำได้ง่ายๆภายในเวลาสั้นๆ ผมคิดว่าต้องมีทางเลือกทางอื่นก็คือว่า ก่อนอื่นคือต้องตัด 3 เรื่องนี้ออกจากกัน เพื่อไทย นปช. ต้องตัด 3 เรื่องนี้ออกจากกัน รัฐบาลประชาธิปไตยนี่อันแรกสุดคุณต้องไม่มีนักโทษการเมือง ผมขอเลย เรียกว่ายินดีไปกราบนายกยิ่งลักษณ์ คุณณัฐวุฒิ หรือใคร ตั้งเรื่องนี้เป็นความจำเป็นเร่งด่วน เอาคนคุกออกมา มันไม่มีประเทศไหนเราบอกว่ามีขบวนการประชาธิปไตย นปช.หรือขบวนการประชาธิปไตย และรัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลที่บอกว่าเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยนี่ มันไม่มีประเทศไหนในโลกที่มีนักโทษการเมืองสี่ห้าสิบคน แล้วรัฐบาลหรือขบวนการประชาธิปไตยที่ว่ายังเอ้อระเหยลอยชายอยู่ ถ้าคุณเป็นขบวนการประชาธิปไตย รัฐบาลประชาธิปไตยนี่อันแรกสุดคุณต้องไม่มีนักโทษการเมือง ต่อให้มีนักโทษการเมืองเสื้อเหลืองตอนนี้ สมตินะ ความจริงก็รู้ประเทศไทยไม่มีนักโทษการเมืองเสื้อเหลือง ต่อให้มีแล้วถ้าคุณเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยก็ต้องปล่อยพวกนี้เหมือนกัน คดีทางการเมืองมันเกิดมาจากความขัดแย้งทางความคิด คุณก็เถียงกันทางความคิดไป อย่างน้อยที่สุดต้องมีประกันตัว นี่มันพื้นที่สุด แต่เรื่องประกันผมว่ามันเกินเลยเรื่องนั้นไปแล้ว ยืนไป 10 ครั้งก็ไม่ได้แล้ว ข้อเสนอผมต่อรัฐบาล ต่อ นปช. ต่อผู้รักประชาธิปไตยทุกคนว่า ต่อไปนี้เอาเรื่องนักโทษการเมืองเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน ยินดีไปกราบรัฐมนตรีทุกคน กราบแกนนำทุกคน เอาเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องสำคัญ ทำอย่างไรให้ออกมาให้ได้ วิธีที่ง่ายที่สุดคือออกเป็น พรบ. วิธีที่ง่ายที่สุดคือออกเป็น พรบ. มีกลุ่มคุณเบญจมินเสนอให้รัฐบาลออกเป็น พรก. เข้าใจว่าตามรัฐธรรมนูญอาจจะลำบากออกเป็น พรก. ตามกฎหมาย พรก.เป็นกฎหมายที่ออกโดยเหตุฉุกเฉิน คือถ้าถามผมมันก็ฉุกเฉิน คนมันติดคุก 2 ปีกว่า แต่ในทางปฏิบัติถึงเวลาเขาเอาเรื่องนี้ไปท้าทายศาลรัฐธรรมนูญอะไรอีกอาจจะลำบาก เพราะฉะนั้นข้อเสนอคุณเบญจมินที่ออกเป็น พรก.เลยก็ดี แต่ว่าผมคิดในทางปฏิบัติไม่ได้ ผมคิดว่าออกเป็นพระราชบัญญัติ คนที่ออกได้คือ ส.ส. แล้ววิธีง่ายๆ ส.ส.เซนต์ชื่อ 20 คนก็เสนอพระราชบัญญัติเข้าไปได้แล้ว มันง่ายมาก การร่างกฎหมายออกเป็นนิรโทษกรรม ถ้าเอานักโทษการเมือง ตัดคดี คตส. ตัดคดี เรื่องรัฐบาลที่แล้วออกไป ผมว่ามันไม่ยากเท่าไหร่ แต่ว่าทุกวันนี้สถานการณ์มันไม่ใช่เรื่องกฎหมายล้วนๆ มันเป็นเรื่องการเมือง อยู่ที่ฝ่ายนั้นเขาจะตัดแข้งตัดขาคุณหรือปล่าว เขาจะหาเรื่องหรือปล่าว อย่างศาลรัฐธรรมนูญมันเหลือเชื่อมาก เหตุผลทางกฎหมายไม่มีเลย ประเด็นเรื่องพรบ.นิรโทษกรรมนักโทษการเมืองซึ่งเป็นคนทั่วไปนี่ ผมยังมีความหวังว่ามันมีความเป็นไปได้อยู่ที่อย่างน้อยไปต่อรองหรือไปกดดันให้พวกพรรคฝ่ายค้านเขาไม่ขัดขวางเรื่องนี้ อภิสิทธิ์เคยท้าในสภาว่า เอาไหม 2 ต่อ 1 เอาเขากับสุเทพไว้แล้วเอาทักษิณไว้คนหนึ่ง เราไม่ต้องถึงขนาดนั้น แต่อย่างน้อยท้าคุณอภิสิทธิ์ว่าในเมื่อคุณเคยพูดอย่างนี้ คุณก็ไม่น่าไปแคร์อะไรกับการที่คนเล็กคนน้อย ชาวบ้านธรรมดาที่โดนคดีทั้งหลาย รวมทั้งกรณี 112 ที่ติดคุกมาแล้ว 2 ปีกว่านี่ ยอมให้ผ่าน พรบ.นิรโทษกรรม ทีนี้ประเด็นนี้ต้องเริ่มต้นที่ฝ่ายเพื่อไทยและ นปช.เอง ตรงนี้สำคัญ ผมผิดหวังที่เพื่อไทย นปช. ไม่เอาเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่อีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าคณะนิติราษฎร์จะเสนอวิธีการช่วยนักโทษการเมือง เขาจะเสนอให้เป็นการแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญเลย จริงๆหลักการมันก็ดีนะ ผมคิดว่ามันยากเกินไป ผมคิดว่าเรื่องแก้รัฐธรรมนูญมันเป็นอะไรบางอย่างซึ่งเข็นครกขึ้นภูเขาแล้วตอนนี้ เอาแค่ พรบ.นิรโทษกรรมธรรมดา เขียนมันตรงๆเลย พรบ.นิรโทษกรรมผู้ต้องหาทางการเมือง แล้วก็รวมเอาไว้ด้วยกรณี 112 ถ้าคุณยินดีที่จะยกโทษให้โทษประหารชีวิต(จากการรัฐประหาร)คุณต้องยกโทษให้ 112 ด้วย รัฐบาลปอดแหกเกินกว่าเหตุ อย่างกรณีอากง เราเห็นได้ชัด โดยตัดสิน 20 ปี คนทั้งโลกนี่ช๊อคมาก รัฐบาลนี้ไม่กล้าพูด แม้กระทั้ง นปช.ก็ไม่กล้าพูด รอกระทั้งอากงตายก็พูดแบบกระมิดกระเมี้ยน แล้วผลเป็นอย่างไร อย่างกรณีอากง เห็นได้ชัดว่า พ่อแม่พี่น้องระดับมวลชนธรรมดาโกรธมาก เรียกว่ามีปฏิกิริยาต่อเรื่องอากงอย่างรุนแรง จนกระทั้งแกนนำกระมิดกระเมี้ยนมาโผล่หน้าที่งานศพ ถ้าการที่คุณเอาตัวเองไปเกี่ยวข้องกับ 112 แล้วมันจะมีปัญหา แค่คุณมาโชว์ตัวในงานศพมันก็มีปัญหาทั้งนั้น มันต้องเลิกปอดแหก ถึงเวลา เกินเวลาแล้วที่ ส.ส.เพื่อไทย นปช. จะบอกว่า 1 นิรโทษกรรมนักโทษการเมืองทันที แล้วนั้นโทษการเมืองนี่ต้องรวม 112 เข้าไปด้วย อย่าลืมว่าแม้กระทั้งร่างของคุณณัฐวุฒิ ไม่รวม 112 นะครับ ที่เสนอเข้าไปป้องกันไม่ให้อภิสิทธิ์หลดคดีนี่ในที่สุดแล้วถ้าคุณจะยอมยกโทษให้การทำรัฐประหาร รัฐประหารมันโทษประหารชีวิต 112 อย่างมากสุดคือมันแย้โทษ 20 ปี แต่มันโทษ 10-20 ปีมันเทียบอะไรกับโทษประหารชีวิต ถ้าทุกฝ่ายในสังคมไทยยินดียกโทษให้กับโทษประหารชีวิต มันไม่มีเหตุผลทางกฎหมายเลยที่จะไม่ยกโทษ 112 เพราะฉะนั้นมันมีเหตุผลทางกฎหมายล้วนๆเลย ถ้าคุณยินดีที่จะยกโทษให้โทษประหารชีวิตคุณต้องยกโทษให้ 112 ด้วย อย่างแย้ที่สุดขอให้การเปิดสมัยประชุมสภาครั้งต่อไปประมาณต้นเดือนสิงหามี พรบ.นี้เป็นเรื่องเร่งด่วน เราควรต้องช่วยกันเรียกร้องรัฐบาล รวมถึงฝ่ายค้านด้วย คือพูดกันอย่างง่ายๆเลย อย่าเอาคนแบบนี้ไว้ มันไม่มีประโยชน์ เอาไว้ทำไม ผมเองยังไม่รู้จักชื่อเลย คุณอภิสิทธิ์รู้จักชื่อไหม ไม่รู้จัก ถามนายกยิ่งลักษณ์ แม้กระทั้งแกนนำผมก็ว่าก็จำชื่อไม่ได้ เป็นคนระดับรากหญ้า เป็นคนระดับทำมาหากินทั้งนั้น บางคนก็มาจากต่างจังหวัด ยินดีไปกราบทุกคนเลย ถ้าการกราบผมให้พวกท่านใจถึงหรือเห็นแก่มนุษยธรรมผลัก พรบ.นี้ไป ให้ไปกราบคุณเปรมยังยินดี ยินดีไปกราบทุกคนเลย ถ้าการกราบผมให้พวกท่านใจถึงหรือเห็นแก่มนุษยธรรมผลัก พรบ.นี้ไป ผมไปกราบเป็นรายคนเลย คุณอภิสิทธิ์ ใครต่อใครผมกราบหมด ให้ไปกราบคุณเปรมยังยินดีกราบเลยนี่พูดจริงๆ มันเป็นอะไรบางอย่างที่ไม่แฟร์และไม่มีเหตุผลด้วย คือคุณทะเลาะกันอย่างในสงครามถ้าต้องการเล่นงานกันเขาก็เล่นงานพวกนายพล มีใครบ้างไปเล่นระดับพลเดินเท้าแบบนี้บ้าง แม้พวกที่ติด 112 ตอนนี้ก็ระดับตัวเล็ก ไม่มีที่ไหนในโลก ถ้าเป็นประเทศป่าเถื่อนผมไม่นับ แต่ไม่มีประเทศอารยะที่ไหนในโลกปล่อยให้สถานการณ์แบบนี้ดำรงอยู่มาตั้ง 2 ปีกว่า สถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน ผมเข้าใจว่าคุณทักษิณอยากจะกลับบ้าน แต่ว่าพอคุณทักษิณตั้งเป้าจะกลับปีนี้ให้ได้ ปัญหาคือว่าพอตั้งเป้าว่าจะกลับปีนี้ให้ได้ มันเลยกลายเป็นว่าเรื่องอื่นๆคลายๆปล่อยไปได้ ยุทธศาสตร์ของคุณทักษิณหรือคนที่พยายามเอาคุณทักษิณกลับบ้านเขาจะมองอย่างนี้ มันเกิดอะไรผิดพลาดขึ้น การพูดของคุณทักษิณที่ธันเดอร์โดม บอกว่าเป็นเพราะแกโดนหลอก แกบอกว่าอ่านบทความผมแล้วแกเห็นด้วย ความจริงผมว่าบทความผมที่คุณทักษิณอ่านนี่ ไม่ใช่บทความที่ผมเสนอให้เลิกม.8 หรือเสนอให้เลิก 112 หรืออะไร ผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องพวกนี้แน่ ทักษิณไม่ได้เห็นด้วยกับเรื่องพวกนี้แน่ บางคนบอกว่าคุณทักษิณกลายเป็นแดงก้าวหน้าแล้ว ไม่ถึงขนาดนั้นนะครับ แต่บทความที่ผมเขียนที่คิดว่าคุณทักษิณได้อ่านนั้น ข้อเสนอผมคืออย่างนี้ แล้วเป็นเรื่องของความเข้าใจการเมืองปัจจุบันด้วย สิ่งที่คุณทักษิณพยายามจะทำในยุทธศาสตร์ปรองดอง พูดอย่างตรงไปตรงมาคือพยายามที่จะส่งสัญญาแบบทอดไมตรี พูดถึงคุณเปรม ว่าพลเอกเปรมเป็นผู้ใหญ่ที่ดีไม่ยุ่งการเมือง คุณยงยุทธก็ออกมาพูดว่าคุณเปรมไม่ยุ่งการเมือง นี่คือการทอดไมตรี คุณยิงลักษณ์ก็ไปบ้านสี่เสา นี่คือความพยายามที่จะทอดไมตรี พยายามที่จะเอาใจ เรื่องอื่นไม่สนใจ แล้วก็พูดอะไรไม่ค่อยจะดีนัก เรื่อง 112 ก็เช่นกัน ทำไมรัฐบาลหรือ นปช.ไม่กล้าที่จะแตะ 112 อย่างเรื่องอากงนี่ เพราะแม้ถ้าพูดเรื่อง 112 ขึ้นมาเดียวฝ่ายนั้นเกิดไม่พอใจ เรื่องปรอดงดองเรื่องกลับบ้านก็จะไม่ได้ ปัจจุบันมันมี Power Bloc กลุ่มก้อนหรือเครือข่ายที่รวมศูนย์อยู่ที่สถาบันกษัตริย์ ทีนี้ความผิดพลาดในเรื่องวิธีคิดของคุณทักษิณผมไม่คิดว่าเป็นเรื่องของการถูกหลอก มันมีนักวิชาการคนหนึ่งเมื่อหลายปีที่ผ่านมา เขาคิดคำๆหนึ่งขึ้นมา เขาใช้ว่า “Network Monarchy” จะเรียกเป็นเครือข่าวสถาบันกษัตริย์ มีนักทฤษฎีฝรั่งคนหนึ่งเขาเรียก Power Bloc คำว่า Power คืออำนาจ Bloc ก็คือกลุ่มก้อนของคน ปัจจุบันมันมี Power Bloc กลุ่มก้อนหรือเครือข่ายที่รวมศูนย์อยู่ที่สถาบันกษัตริย์ ถ้าพูดกันจริงๆแล้วมันมีทั้งหมด 5 ลำดับชั้น(ดูภาพแผนภูมิด้านล่างประกอบ) แผนภูมิประกอบการอธิบาย แผยแพร่ใน facebook สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ความผิดพลาดคือว่า การเมืองปัจจุบันเครือข่ายใดเครือข่ายหนึ่งมันไม่ได้มีชั้นเดียว .. Power Bloc แบบนี้ มันไม่จำเป็นว่าข้างบนเขาต้องสั่ง ข้างล่างสามารถทำได้ คือทำเอาใจ เขามีถึง 5 ระดับแบบนี้ ผมคิดว่าเป็นความผิดพลาดคุณทักษิณคืออะไร คุณทักษิณเป็นคนที่โตมาในแวดวงการเมืองแบบเดิม เป็นการเมืองแบบชนชั้นนำ ชนชั้นสูง ก็นึกว่าถ้าคุณเพียงแต่เอาใจระดับบนๆเข้าไว้เรื่องมันก็โอเคจบ ก็ผลักเข้าไปเลยมี พรบ.ปรองดอง ความผิดพลาดคือว่า การเมืองปัจจุบันเครือข่ายใดเครือข่ายหนึ่งมันไม่ได้มีชั้นเดียว อย่างที่เราเสนอที่ผมเรียก Power Bloc หรือเป็น Network ที่ล้อมรอบอยู่ที่สถาบันกษัตริย์มีถึง 5 ชั้น แล้ว 5 ชั้นอันหนึ่งที่หลายฝ่ายบางทีไม่เข้าใจ พ่อแม่พี่น้องก็ไม่รู้ว่าใครสั่งๆแบบนี้ประจำ ลักษณะของ Power Bloc แบบนี้ มันไม่จำเป็นว่าข้างบนเขาต้องสั่ง ข้างล่างสามารถทำได้ คือทำเอาใจ ที่คุณทักษิณว่าโดนหลอกๆมันไม่เชิงการโดนหลอก เป็นเรื่องของว่าคุณทักษิณอ่านการเมืองทั้งหมดแคบเกินไป ในทางปฏิบัติการเมือปัจจุบันมันเป็น มันมีเป็น Bloc ทั้ง Bloc ที่เป็น Bloc ขัดขวางประชาธิปไตย หรือ Bloc ที่รวมศูนย์อยู่ที่สถาบันกษัตริย์นี่มันมีถึง 5 ชั้นแบบนี้ พอผลักเข้าไป พันธมิตรจัดชุมนุมทันที ประชาธิปัตย์ตัดสินใจระดมคนมาช่วยพันธมิตร ปัญหาที่ว่าทำไมประชาธิปัตย์หรือพันธมิตรทำแบบนี้ แม้กระทั้งทำไมศาลรัฐธรรมนูญจึงมีการตัดสินเรื่องของรัฐธรรมนูญ ถามว่าเป็นเพราะคุณทักษิณโดนหักหลังโดนหลอกหรือปล่าว ข้อเสนอของผมคือจริงๆแล้วความสัมพันธ์ในกลุ่มของเขาเองมันไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่ต้องสั่งเสมอไป มันเป็นอิสระระดับหนึ่ง ถ้าคุณไปอ่านวิกิลีคส์ ประเด็นที่ 1 คือในหมู่ชนชั้นสูงก็ไม่ได้เป็นเอกภาพ 100% อันนี้เป็นเรื่องสำคัญเหมือนกัน ไม่ได้แปลว่าเขาขัดแย้งชนิดที่แปลว่าทะเลาะกัน อาจจะทะเลาะกันบ้างบางส่วน แต่ว่าในทางการเมืองไม่ได้แปลว่าขัดแย้งขนาดนั้น แต่มันมีปัญหาเรื่องเขาไม่ได้เป็นเอกภาพล้วนๆ กับ 2 พันธมิตรมีลักษณะที่เรียกว่าทำของมันเองก็มี เพราะฉะนั้นถ้าอธิบายว่าทำไมครั้งนี้ พรบ.ปรองดองเสนอเข้าไปแล้วจึงเจอลูกไม้พันธมิตรกับพรรคประชาธิปัตย์ แปลว่าคุณทักษิณโดนหักหลังไหม ผมคิดว่าไม่เชิงเสียทีเดียว มันเพียงแค่ว่าต่อไปนี้การเมืองมันไม่ใช่คุณทักษิณไปเจรจากับคนระดับบนๆแล้วเรื่องมันจบ เรื่องมันไม่จบง่ายๆ ถ้าเรื่องมันจบง่ายๆมันคงยืดเยื้อมา 6-7 ปี การเมืองปัจจุบันมันเป็นการเมืองระดับมวลชนแล้ว การเมืองปัจจุบันมันเป็นแบบนี้ เหมือนเราทำเราไปปรึกษาคุณทักษิณไหมไม่ได้ปรึกษา ปรึกษา นปช.ไหม ไม่ได้ปรึกษา เราต้องยอมรับความจริงว่าการเมืองปัจจุบันมันเป็นแบบนี้จริงๆ ภาษาฝรั่งเรียกว่าเป็น Mass Politics เป็นการเมืองระดับมวลชนแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายไหนทุกฝ่ายสามารถมีบทบาทได้เอง พอประชาธิปัตย์และพันธมิตรมาร่วมคัดค้านมันมีปัญหาอันหนึ่งต้องคิดระยะยาว คือพวกนี้เลือกตั้ง ไล่ดู 5 ลำดับชั้นทั้ง 5 ลำดับชั้นเลือกตั้งแพ้ค่ายคุณทักษิณเด็ดขาด เลือก 2 ครั้ง 3 ครั้งก็แพ้หมด แต่ว่าในทางการเมืองนี่ ถ้าหากระดับชั้นล่างๆของพวกเขาเอามวลชนกลุ่มพันธมิตรและกลุ่มอื่นๆ บวกกับมวลชนจัดตั้งของพรรคประชาธิปัตย์ เขาสามารถแบคเมย์ได้ อย่างเหตุการณ์ที่พันธมิตรไปล้อมสภานี่ ถามจริงๆล้อมจริงๆทำอะไรได้ไหม ไม่ได้ใช่ไหม แต่คนพวกนี้เหมือนกับปี 51 เขาไม่แคร์จะเกิดความรุนแรง ไปดันๆตำรวจนี่แล้วตำรวจเผลอหน่อยไปตีขึ้นมาทีหนึ่งคราวนี้เอาเรื่องแล้ว และพอเกิดสถานการณ์ขึ้นมาเดี๋ยวก็เรียกทหารเรียกอะไรเข้ามา ถ้าคุณไปรื้อถอนโครงสร้างที่เกิดจาก 19 ก.ย.เขาเสียประโยชน์ เพราะฉะนั้นต่อให้เขาไม่มีคำสั่งมาจากข้างไหนต่อไหนเขาก็ลงมือทำของเขาเองได้ ในกรณีรัฐธรรมนูญผมคิดว่าก็อธิบายเหมือนกัน สถานการณ์ปัจจุบัน การเมืองปัจจุบันมันเป็นแบบนี้ ประเด็นใหญ่คือว่าฝ่ายหนึ่งต้องการถอดถอนสิ่งที่เกิดจากการรัฐประหาร 19 ก.ย. คตส. ศาลรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ 50 ฝ่ายพรรคเพื่อไทย ฝ่ายนปช.หรือว่าพวกเรามวลชนทั้งหลายที่อาจจะไม่ได้เป็นพรรคเพื่อไทยต้องการถอดถอนพวกนี้ Dismantle รื้อถอนออกมา ขณะที่อีกฝ่ายที่บอกว่าเป็น Bloc เหมือนกันนี้เขาก็ต้องการรักษาอันนี้ให้ได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นประเด็นที่เราเถียงกัน ประเด็นเรื่อง พรบ.ปรองดอง กับเรื่องรัฐธรรมนูญ 50 ก็ดีฝ่ายนั้นก็ทำทุกวิธีการ มันไม่จำเป็นว่าฝ่ายนั้นจะสั่งมาจากข้างบน ต่อให้คุณทำการตกลงกับข้างบนได้ ระดับล่างเขาก็อาจไม่เอาก็ได้ ประชาธิปัตย์ไม่เอา พันธมิตรไม่เอา บางคนบอกว่าประชาธิปัตย์สั่งได้ มันไม่เชิงอย่างนั้นเสียการเมืองมันไม่ใช่อย่างนั้นเสียทีเดียว พวกนี้เขามีผลประโยชน์ของเขาส่วนตัวเหมือนกัน ศาลเองก็เหมือนกัน ถ้าคุณไปรื้อถอนโครงสร้างที่เกิดจาก 19 ก.ย.เขาเสียประโยชน์ เพราะฉะนั้นต่อให้เขาไม่มีคำสั่งมาจากข้างไหนต่อไหนเขาก็ลงมือทำของเขาเองได้ เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น การเมือง 10-20 ปีหลังมันยุ่งยากมากขึ้นเพราะอย่างนี้ กล่าวในแง่สถานการณ์ปัจจุบันเราจะทำอย่างไร ผมเชื่อว่าวันอังคารนี้ เพื่อไทยก็ไม่กล้าชน ผมดูกระแสแล้ว ซึ่งอันนี้ผมเสียดาย ในทางกฎหมายเรื่องกรณีเรื่องรัฐธรรมนูญ ฝ่ายรัฐบาลได้เปรียบล้านเปอร์เซ็นต์ ขณะที่ฝ่ายเขาต้องมาอ้างดิกชันนารีอ้างโน้นอ้างนี่ แสดงว่าไม่มีเหตุผลทางกฎหมายอ้างแล้ว แม้กระทั้งนักกฎหมายที่ไม่ได้เชียร์เสื้อแดงมาก่อน เขาก็รู้ว่าคำตัดสินครั้งนี้มันผิดจนไม่รู้จะผิดอย่างไร ผมเองคิดว่าน่าจะชน แต่ผมประเมินว่าเขาคงไม่ชนแน่ คือตอนนี้มี 2 วาระที่ค้างอยู่ คือวาระรับทราบกับอีกวาระคือวาระ 291 โดยตรง ผมว่าวาระ 291 ซึ่งประชาธิปัตย์ชอบมาพูดทุกวันๆว่าเดี๋ยวเพื่อไทยจะลักไก่ ผมกล้าพนันเลยว่าอย่าว่าแต่ลักไก่เลย ผมว่าเพื่อไทยไม่กล้าเสนอเรื่องนี้แน่ ตอนนี้เหลือแค่ประเด็นแรกประเด็นเดียว ไอ้วาระที่ค้างมาเรื่องรับทราบเขาจะกล้าเสนอให้มีการลงมติไม่เห็นด้วยกับคำสั่งหรือไปล่าว ไม่ได้แปลว่าผลักดันวาระ 3 รัฐธรรมนูญเข้าไป ผลักดันวาระ 3 รัฐธรรมนูญผมว่าคงจบแล้ว เหมือนกับ พรบ.ปรองดอง พูดง่ายๆภายในหนึ่งอาทิตย์ผ่านมาฝ่ายเพื่อไทยแพ้ติดกัน 2 เรื่องใหญ่ๆ เพื่อไทยหรือ นปช. ต้อง คิดใหม่ ทำใหม่ การแพ้แต่ละครั้งที่ระดับนำทำคนที่เดือดร้อนจริงๆ คนที่ลำบากจริงๆคือคนระดับพวกเรา เพื่อไทยหรือ นปช. ต้อง Re-Think หรือว่าคิดใหม่ ทำใหม่ ว่าคุณทำแบบนี้มันไม่ได้ มันไม่มีปัญหาเรื่องคุณทักษิณแพ้หรือเพื่อไทยแพ้ แต่เวลาที่พวกคุณแพ้แต่ละทีมันทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนด้วย มันทำให้คนที่อยู่ในคุกมันได้ออกช้าลง มันทำให้คนที่เขาทุมเทลงแรงมาชุมนุมแต่ละครั้งมันเฮิร์ทด้วย ปัญหาการแพ้แต่ละครั้งที่ระดับนำทำคนที่เดือดร้อนจริงๆ คนที่ลำบากจริงๆคือคนระดับพวกเรา เพราะฉะนั้นพวกคุณแพ้บ่อยๆมันเดือดร้อนพวกผมนะ เฉพาะหน้าผมว่าโดยสถานการณ์ฝ่ายนี้ที่มีผลระดับมวลชนด้วย 2 เรื่องใหญ่ๆผมว่าฝ่ายนั้นเขาบล็อก เขาแบล็คเมลล์ได้สำเร็จ ซึ่งที่เขาทำได้สำเร็จ ผมพยายามบอกว่า เพราะว่าการเมืองมันซับซ้อนมากกว่านั้น มันไม่ใช่เรื่องที่คุณทักษิณไปเจรจาต๊ะอวย หรือไปทำดีๆ ไม่แตะเลยเรื่อง 112 ไม่ปฏิรูปประเทศไทย วันดีคืนดีนิติราษฎร์เสนอก็มาด่านิติราษฎร์อีก มันไม่เวิร์ค ต่อให้คุณไปประจบแทบตาย พวกนี้ไม่เอา มันไม่มีประโยชน์ ผมคิดว่าต้องคิดใหม่ เป็นไปได้สุดต้องยุให้รัฐบาลรับข้อเสนอของ คอป.เรื่อง แก้ไข ม.112 ผมเสียดายมากๆข้อเสนอของ คอป.(คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ)เรื่อง 112 เสนอไม่มีอะไรเลย ข้อเสนออันหนึ่งให้กลับไปใช้ก่อน 6 ตุลา 112 ปัจจุบันจริงๆแล้วเหตุผลทางกฎหมายมันแย่เพราะมันเกิดจากรัฐประหาร 6 ตุลา รัฐประหารนองเลือกที่ไม่มีใครยอมเห็นด้วยแล้วปัจจุบัน 112 ปัจจุบันมันเกิดจากรัฐประหาร 6 ตุลา ก่อนหน้านั้นความผิดสูงสุดแค่ 7 ปีเองและไม่มีโทษขั้นต่ำ คอป.ก็เสนอให้กลับไปก่อน 6 ตุลา และให้เปลี่ยนเป็นสำนักราชวังเป็นคนพิจารณา ข้อเสนอนี้จริงๆมันต่ำมาก เสนอโดย คอป.ซึ่งตั้งโดยคุณอภิสิทธิ์ เสนอไปถึงรัฐบาล เสนอไปรัฐบาลกลับไม่ยอม ผมไม่เคยคาดหวังข้อเสนอของผมข้อเสนอของนิติราษฎร์เลย ผมว่าเป็นไปได้สุดต้องยุให้รัฐบาลรับข้อเสนอของ คอป. ปรองดองทิ้งไปเลยลงขยะไปเลย มาพูดทำยังไรจะปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยและจะให้แฟร์สำหรับทุกฝ่าย ผมเสนอรูปธรรมเฉพาะหน้าคือ ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป เพื่อไทย นปช.ทิ้งคำว่าปรองดองไปเลย เลิกพูดได้เลย มันไม่มีความหมายแล้วเรื่องปรองดอง หันมาพูดว่าจะปฏิรูปประเทศไทยให้มีประชาธิปไตยอย่างไร ให้แฟร์ให้มีความยุติธรรมยังไง ปรองดองทิ้งไปเลยลงขยะไปเลย วันนี้เลิกพูดครับ เรามาพูดความจริงว่าประเทศไทยมันมีปัญหาความขัดแย้งก็ยอมรับล่ะปรองดองไปไม่มีประโยชน์ มาพูดทำยังไรจะปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยและจะให้แฟร์สำหรับทุกฝ่าย แล้วแต่ละประเด็นค่อยๆว่ากันไป ยุทธศาสตร์และประเด็นเฉพาะหน้าจะทำอย่างไรเฉพาะหน้าสุดให้ย้ายนักโทษ 112 จากเรือนจำคลองเปรมมาที่บางเขน เฉพาะหน้าเลยไปอีกหน่อยนักโทษการเมือง ร่างพรบ. นิรโทษกรรมได้เลย อยากย้ำอีกครั้งว่าคนระดับธรรมดาเขาลงทุนลงแรงลงใจไปเยอะ VDO Clip เสวนา(บางส่วน) :
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ประธานาธิบดีเต็ง เส่งห่วงความรุนแรงในรัฐยะไข่อาจส่งผลกระทบกับประชาธิปไตย Posted: 10 Jun 2012 10:04 PM PDT รัฐบาลพม่าได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในพื้นที่ 4 ตำบลของรัฐอาระกันหรือรัฐยะไข่ นับตั้งแต่เกิดเหตุตึงเครียดทางเชื้อชาติ-ศาสนาระหว่างชาวอาระกัน กับชาวโรฮิงยาขึ้นในพื้นที่ จนนำไปสู่การจลาจล ภาพจาก Eleven Media Group ซึ่งเป็นสื่อในพม่า เผยแพร่ภาพเจ้าหน้าที่ตำรวจพม่าซึ่งพกอาวุธปืน ระหว่างเข้าควบคุมสถานการณ์ที่เมืองมงด่อว์ (Muang Daw) เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ที่ผ่านมา ขณะที่ล่าสุดประธานาธิบดีพม่าได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในหลายพื้นที่ของรัฐยะไข่ หรือรัฐอาระกัน พร้อมแถลงว่ากระบวนการประชาธิปไตยอาจได้รับผลกระทบจากเหตุไม่สงบดังกล่าว
ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ประกาศภาวะฉุกเฉินหลายพื้นที่ในรัฐอาระกัน ทั้งนี้เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้ประกาศเคอร์ฟิวส์ในยามวิกาลใน 4 ตำบลของรัฐอาระกัน หรือรัฐยะไข่ ซึ่งมีความตึงเครียดเกิดขึ้นนับตั้งแต่มีเหตุสังหารชาวมุสลิม 10 คนที่โดยสารรถประจำทางเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยการปราศรัยทางโทรทัศน์ ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง กล่าวว่า ความรุนแรงถูกโหมกระพือโดยความเกลียดชังและการแก้แค้น "ถ้าเรามุ่งไปที่เรื่องเชื้อชาติและศาสนาเป็นประเด็นแรกสุด ถ้าเรามุ่งไปที่เรื่องความเกลียดชังที่ไม่มีวันสิ้นสุด ความต้องการมุ่งแก้แค้นและการกระทำที่ไม่มีขื่อไม่มีแป และถ้าพวกเราเริ่มต้นตอบโต้และก่อเหตุร้ายและฆ่าซึ่งกันและกัน ก็จะเกิดภัยอันตรายที่อาจเพิ่มทวีและกระจายไปนอกรัฐอาระกัน" "ถ้าเกินสิ่งนั้นขึ้น สาธารณชนโปรดตระหนักว่าเสถียรภาพของประเทศ สันติภาพ กระบวนการประชาธิปไตย และการพัฒนา ซึ่งขณะนี้อยู่ในภาวะเปลี่ยนผ่าน อาจจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและอาจสูญหาย" โดยเต็ง เส่งกล่าวว่าคำสั่งสถานการณ์ฉุกเฉินจะบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะมีประกาศเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวการ์เดียน ของอังกฤษ ให้ข้อสังเกตุว่านับเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่เต็ง เส่งเข้ามารับตำแหน่งประธานาธิบดี ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจะมีผลทันทีตามรัฐธรรมนูญพม่า ที่บัญญัติให้กองทัพสามารถเข้ามาใช้อำนาจบริหาร เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มีเด็กหญิงอายุ 12 ปี ชื่อราเซ็น บีบี กล่าวเป็นรายที่ 8 ที่เสียชีวิตในเหตุไม่สงบดังกล่าว หลังมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยิงปืนภายนอกบ้านของเธอในเมืองมงด่อว์ ทั้งนี้ชาวต่างชาติไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเมืองดังกล่าว แต่เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนท้องถิ่นและองค์กรระหว่างประเทศซึ่งสังเกตการณ์สถานการณ์ในพม่าด้านตะวันตกอ้างว่าเขาเห็นตำรวจเคลื่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิต ขณะที่ผู้นำฝ่ายค้านอย่างออง ซาน ซูจี ซึ่งมีกำหนดเยือนอังกฤษในเดือนนี้ยังคงไม่มีท่าทีต่อเหตุจลาจลที่เกิดขึ้น และยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการประกาศภาวะฉุกเฉินดังกล่าวจะกระทบต่อการตัดสินใจเดินทางของเธอหรือไม่ และความรุนแรงที่เกิดขึ้นก็จะดึงความสนใจไปจากการเดินทางของนางออง ซาน ซูจี ซึ่งเหมือนเป็นใบเสร็จแสดงความก้าวหน้าในประเทศของเธอ ทั้งนี้ความไม่สงบในรัฐอาระกันเริ่มมาจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. ซึ่งมีกลุ่มมุสลิมแสวงบุญ 10 คนถูกชาวอาระกันตีจนเสียชีวิต ระหว่างเดินทางไปย่างกุ้ง โดยการโจมตีดังกล่าวเพื่อตอบโต้กับข้อกล่าวหาว่ามีสตรีอายุ 26 ปีรายหนึ่งถูกข่มขืนและฆ่าโดยชาวมุสลิมสามคนเมื่อช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 3 ถูกควบคุมตัวแล้วและอยู่ในระหว่างการดำเนินคดี ขณะที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ที่่ผ่านมา มีรายงานโดยสื่อพม่าว่า หนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาได้ฆ่าตัวตายในเรือนจำ ขณะที่สถานการณ์รุนแรงในรัฐอาระกันเริ่มขยายตัวมากขึ้น หลังจากเกิดเหตุประท้วงเมื่อวันศุกร์ที่่่ผ่านมาโดยชาวมุสลิม โดยซึ่งได้เข้าโจมตีชุมชนชาวอาระกัน ซึ่งเป็นชาวพุทธในเมืองมงดอว์ รัฐอาระกัน โดยทางการพม่ารายงานเบื้องต้นว่า มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ 7 คน ได้รับบาดเจ็บสาหัส 17 คน สื่อของรัฐบาลพม่ายังรายงานว่า มีบ้านเรือนถูกทำลายได้รับความเสียหาย 494 หลัง ร้านค้าอีก 19 แห่ง รวมถึงโรงแรมอีก 1 แห่ง ในจำนวนนี้พบมีบ้านเรือน 4 – 5 หลัง ถูกเผา ส่วนชาวอาระกันกว่า 300 คน ที่หนีไปอยู่ที่วัดได้รับความช่วยเหลือแล้ว โดยหลังเกิดเหตุ ทางการพม่าได้ประกาศเคอร์ฟิวในพื้นที่ทันทีและห้ามประชาชนในพื้นที่ชุมนุมกันเกิน 5 คน มีรายงานว่า มีการประกาศเคอร์ฟิวในเมืองบูทีดองด้วย ทั้งนี้ความตึงเครียดด้านเชื้อชาติและศาสนาไม่ใช่เรื่องใหม่ในรัฐอาระกัน ซึ่งมีพรมแดนติดกับบังกลาเทศซึ่งเป็นประเทศที่มีสัดส่วนของชาวมุสลิมสูงที่สุด อย่างไรก็ตามเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นนับเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในรอบสิบปีมานี้ ทั้งนี้สื่อของรัฐบาลพม่าได้เตือนไม่ให้มีการกระทำที่เป็นอนาธิปไตย ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ขณะที่หม่อง ซาร์นี (Maung Zarni) นักวิจัยรับเชิญที่วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน (LSE) กล่าวว่า สถานการณ์ดังกล่าวยิ่งเป็นเหตุอันน่าสลดใจมาก หากพิจารณาว่าคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายต่างก็เคยถูกข่มเหงมาก่อนจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่า เขากล่าวด้วยว่ารัฐบาลพลเรือนได้ประโยชน์จากเหตุไม่สงบอันนี้ เนื่องจากได้เบี่ยงเบนประเด็นความสนใจไปจากกรณีที่กองทัพพม่ายังคงดำเนินการโจมตีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อย่างต่อเนื่อง
ชาวมุสลิมในย่างกุ้งเข้าพบออง ซาน ซูจี ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่จะเกิดความรุนแรงระลอกใหม่ เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. ที่่ผ่านมา สำนักข่าวอิระวดีรายงานว่าได้มีชาวมุสลิมในย่างกุ้งขอเข้าพบนางออง ซาน ซูจี ณ ที่ทำการพรรคเอ็นแอลดี "แม่ ได้โปรดทำอะไรบางอย่างเพื่อพวกเรา พวกเรากังวลมากว่าจะเกิดความรุนแรงซ้ำขึ้นมาอีก" ชายคนหนึ่งกล่าวกับนางออง ซาน ซูจี และมีผู้กล่าวกับซูจีอีกว่า "เพื่อนของเราถูกฆ่า พวกเขาไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย พวกเขาเป็นผู้แสวงบุญ" "เราสามารถลงโทษ ผู้ก่อเหตุข่มขืนได้ ไม่ว่าเขาจะเป็นชาวพุทธหรือชาวมุสลิมก็ตาม" ทั้งนี้ซูจีพยายามปลอบใจชาวมุสลิมเหล่านี้ และกล่าวว่า เธอจะทำอย่างดีที่สุดเพื่อความปลอดภัยของทุกคน แม้ว่าเธอจะไม่มีหน้าที่ก็ตาม "ฉันต้องการให้พม่าเป็นประเทศที่ประชาชนจากทุกเชื้อชาติ ศาสนา ได้รับหลักประกันความมั่นคง" โมฮัมหมัด ฮาซาน กล่าวว่า ความกังวลใจของเขาถูกขจัดไปครึ่งหนึ่ง หลังจากพบกับนางออง ซาน ซูจี โดยเขามีความหวังว่าออง ซาน ซูจีจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น "เธอเป็นคนหนึ่งที่พวกเราทุกคนรัก และยังเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ เธอน่าจะมีหนทางในการช่วยพวกเรา"
ภาวะสุดขั้วสังคมออนไลน์พม่า หลังเหตุไม่สงบในรัฐอาระกัน เนชั่นแนลโพสต์ของแคนาดา เผยแพร่ภาพจากสำนักข่าวต่างประเทศ เป็นภาพพระสงฆ์ชาวพม่าออกมาชุมนุมที่เจดีย์ชเวดากอง ในย่างกุ้ง เมื่อ 10 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยถือป้ายเขียนว่า "ผู้ก่อการร้ายชาวเบงกาลี ศัตรูของรัฐ" ทั้งนี้เกิดภาวะสุดขั้วขึ้นในสังคมพม่าและลามไปถึงสังคมออนไลน์ด้วย นับตั้งแต่เกิดเหตุตึงเครียดทางเชื้่อชาติ-ศาสนาขึ้นในรัฐอาระกัน ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สถานการณ์ในโลกออนไลน์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในพม่า ก็อยู่ในภาวะสุดขั้วเช่นกัน โดยในเว็บไซต์ของสำนักข่าวพม่าพลัดถิ่น อย่างเช่น ท้ายข่าวของสำนักข่าวอิระวดี หรือเฟซบุคของสำนักข่าวพม่าในประเทศเองอย่าง Eleven Media Group ได้มีผู้แสดงความเห็นในเชิงเหยียดชาวโรฮิงยา โดยกล่าวหาว่าไม่ใช่ชนกลุ่มน้อยในพม่า แต่เป็นผู้อพยพมาจากบังกลาเทศ โดยเรียกชาวโรฮิงยาว่าเป็น "ชาวเบงกาลี" ซึ่งหมายถึงชาวบังกลาเทศ และมีผู้โพสต์สนับสนุนให้ทหารใช้ "มาตรการที่มีประสิทธิภาพ" ต่อ "ผู้ก่อการร้าย" หรือ "ผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย" แม้แต่โก โก ยี ซึ่งเป็นผู้นำนักศึกษา ในปี 1988 และเป็นอดีตนักโทษการเมือง ก็ออกมาแถลงข่าวว่า "ชาวเบงกาลี โรฮิงยา" ไม่ใช่เชื้่อชาติใดๆ ในพม่า และเตือนชาติตะวันตกไม่ให้เข้ามาข้องเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวทั้งที่มีความเข้าใจต่อเรื่องนี้เพียงน้อยนิด โดยการแถลงของเขาได้รับการเผยแพร่ในเว็บไซต์เสียงประชาธิปไตยพม่า หรือ ดีวีบี ด้วย (ชมคลิป) ขณะที่เว็บไซต์ของสื่อพลัดถิ่นพม่าที่เป็นของชาวโรฮิงยาอย่าง กะลาดั่น (Kaladanpress) ก็นำเสนอข่าวอีกด้าน โดยให้ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากเหตุไม่สงบที่เมืองมงดอว์ถึง 100 คน และบาดเจ็บกว่า 500 คน เป็นต้น ทั้งนี้ในการโพสต์แสดงความเห็นในเว็บเครือข่ายทางสังคมอย่างเฟซบุคขณะนี้ ชาวพม่าที่สนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐและสนับสนุนชาวอาระกัน ก็จะโพสต์สนับสนุนปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่รัฐบาล และกล่าวโทษว่าชาวโรฮิงยา หรือที่พวกเขาเรียกว่า "เบงกาลี" ว่าเป็นต้นเหตุของความไม่สงบ เป็นผู้วางเพลิงสถานที่ต่างๆ และไม่ยอมรับว่าชาวโรฮิงยาเป็นพลเมืองของพม่า ขณะที่ฝ่ายผู้สนับสนุนชาวโรฮิงยา ก็จะกล่าวโทษว่าเจ้าหน้าที่รัฐ ร่วมมือกับชาวอาระกัน เป็นต้นเหตุของความไม่สงบ และการวางเพลิงสถานที่ต่างๆ รวมทั้งทำให้ชาวโรฮิงยาต้องเสียชีวิตและอพยพออกจากถิ่นฐาน
ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Suu Kyi Calls for Rule of Law, Compassion to End Religious Tensions, By HPYO WAI THA / THE IRRAWADDY| June 7, 2012 | http://www.irrawaddy.org/archives/6000 Burma clashes could put transition to democracy at risk, president says, Francis Wade in Myitkyina, Burma, guardian.co.uk, Sunday 10 June 2012 17.42 BST Dozens killed, hundreds of buildings burnt down by Bengali Rohingya mobs in border town of Maungdaw, Reported by Eleven Media Group, 9 June 2012 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น