โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

[คลิป] สัมภาษณ์ดุลยภาค ปรีชารัชช: จับตารัฐยะไข่ จุดวาบไฟการเมืองโลก

Posted: 15 Jun 2012 11:51 AM PDT

เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. ที่ผ่านมา ประชาไท สัมภาษณ์ อ.ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์ประจำโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และพิธีกรรายการ ASEAN Weekly ทางเว็บไซต์ประชาไท ต่อกรณีสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างชาวโรฮิงยาและชาวอาระกัน ในรัฐอาระกัน ทางตะวันตกของพม่า 

นอกจากการกล่าวถึงปัจจัยที่สำคัญของรัฐอาระกันที่ทำให้ความขัดแย้งดำรงทั้งเรื่องความแตกต่างทางเชื่อชาติ สภาพพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ที่เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติส่งไปยังจีนและอินเดีย รวมทั้งเป็นพื้นที่ล่อแหลมต่อความมั่นคงในสายตาของกองทัพพม่า โดยก่อนหน้านี้มีการย้ายที่ตั้งกองบัญชาการทางทหารภาคตะวันตก ที่อยู่ในรัฐอาระกัน จากเมืองชายทะเลซิตตเหว่ เข้าไปยังเมืองอานที่อยู่ตอนในแผ่นดิน

ส่วนกรณีที่รัฐบาลประธานาธิบดีเต็ง เส่ง เรียกร้องให้คนในชาติปรองดอง และว่าเหตุขัดแย้งระหว่างคนต่างศาสนาจะกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตยนั้น ดุลยภาคแสดงความเห็นว่าท่าทีรอมชอม โอนอ่อนผ่อนปรน และใช้วาทกรรมสร้างสันติและความสมานฉันท์นี้ อยู่ในกระบวนการประชาธิปไตยที่เต็ง เส่งวางไว้และสอดรับกับ "ผู้ใหญ่" ในพม่า ที่ต้องการเปิดประเทศเสริมภาพลักษณ์ประเทศ ขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่งก็เหมือนเป็นการส่งสัญญาณว่าหากไม่หยุดสร้างความรุนแรง ไม่หยุดสร้างความเสียหายให้ประเทศชาติ แล้วรัฐบาลเหลือแรงที่จะควบคุม คงปฏิเสธไม่ได้ ที่จะให้กองทัพมาเคลียร์สถานการณ์ 

ในตอนท้ายการสัมภาษณ์ดุลยภาคประเมินว่า หลังจากนี้เป็นต้นไป เมื่อจัดการสถานการณ์เรียบร้อยแล้ว ความเป็นไปได้แรกคือ พม่าจะทบทวนเรื่องสิทธิพลเมือง ความเป็นอยู่ของชาวโรฮิงยาให้ดีขึ้น เพื่อกันการแทรกแซงจากโลกภายนอก แต่ในทางปฏิบัติจะดูแลเช่นนั้นหรือเปล่าเป็นอีกเรื่อง ความเป็นไปได้อีกประการคือ รัฐบาลพม่าสามารถจัดระเบียบสถานการณ์ได้ แต่หลังจากนี้เป็นต้นไปสถานการณ์ของรัฐอาระกันจะถูกทำให้เป็นจุดวาบไฟทางการเมืองระหว่างประเทศ หรือจุดวาบไฟทางชาติพันธุ์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งความรุนแรงจะเกิดและหยุด เกิดและหยุดไปเรื่อยๆ แต่อัตราจังหวะเดี๋ยวรุนแรง เดี๋ยวหยุดนี้จะเป็นตัวที่คอยกระตุ้นให้องค์กรระหว่างประเทศ เอ็นจีโอ หรือมหาอำนาจการเมืองโลกเห็นความสำคัญของรัฐอาระกันในหลายมิติ และเริ่มเข้ามาเป็นตัวแสดงในรัฐอาระกัน ซึ่งจะทำให้ปัญหาบานปลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศ โดยรายละเอียดของการสัมภาษณ์มีดังนี้

000

 

ประชาไท - กรณีความขัดแย้งระหว่างชาวโรฮิงยากับชาวอาระกันที่กำลังดำรงอยู่ในขณะนี้ มีมูลเหตุความขัดแย้งพื้นฐานมาก่อนหรือเปล่าจึงทำให้สถานการณ์ดูจะปะทุอย่างที่จะหาความสงบระยะสั้นได้ยาก

อันดับแรก ต้องเข้าใจสภาวะแวดล้อมพื้นฐานของรัฐอาระกันในหลายๆ มิติก่อน ในเรื่องของทำเลที่ตั้งนั้นเราจะเห็นงว่ารัฐอาระกัน ตั้งอยู่ฟากตะวันตกเฉียงใต้ของพม่า ลักษณะสัณฐานค่อนข้างยาวเรียว มีแนวแม่น้ำนาฟ เป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างพม่ากับบังคลาเทศ แต่จุดสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์ของรัฐอาระกันก็คือว่ามีท่อก๊าซจากคุนหมิง มณฑลยูนนานของจีน พาดผ่านตอนกลางของพม่า แล้วมาลงที่รัฐอาระกันเพื่อสูบน้ำมัน สองก็คือมีท่อก๊าซจากอินเดียมาลงที่อาระกันเพื่อสูบน้ำมันแล้วขึ้นไปที่มณีปุระ ตรีปุระ แล้วเข้ากัลกัตตา ประการที่สามก็คือทางหลวงสายเอเชียใต้ ที่เชื่อมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทะลุผ่านเอเชียใต้ เซาท์อีสเอเชีย หรือ ASEAN+BIMSTEC นั้นผ่านที่รัฐอาระกัน ประการที่สี่คือ บ่อน้ำมัน หลุ่มก๊าซธรรมชาติประมาณ 18 แห่งทั้งในทะเลลึก ทะเลชายฝั่ง และบนบกบางส่วนกระจัดกระจายอยู่ในรัฐอาระกัน ประการสุดท้าย คือ เขตแดนพิพาททางทะเลที่เป็นเกมแย่งชิงน้ำมันรอบอ่าวเบงกอลระหว่างพม่ากับบังคลาเทศ รวมถึงความขัดแย้งในแนวแม่น้ำนาฟ ก็อยู่ที่รัฐอาระกัน เพราะฉะนั้นหากเราดูตำแหน่งแห่งที่ทางภูมิยุทธศาสตร์ ก็จะเห็นความสำคัญของมันว่าอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการขัดแย้งลุกลามบานปลายได้ แม้กระทั่งในอนาคตเพราะว่าภูมิรัฐศาสตร์ของมันนั้นจะผูกโยงกับการเมืองระหว่างประเทศ นี่คือมิติแรก

มิติที่สอง คือประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ เวลาพูดถึงอาระกัน นักวิชาการฝรั่งจะนึกถึง The Kingdom of Arakan เป็นอาณาจักรยุคโบราณที่มีความรุ่งเรือง เป็นอาณาจักรแบบพุทธผสมกับอิสลาม คณะผู้ปกครองก็เป็นกษัตริย์พุทธผสมกับสุลต่านที่มีสายสัมพันธ์กับสุลต่านใน East เบงกอลของบังคลาเทศ ขึ้นหมุนสลับกันเป็นช่วงๆ อาระกันถือเป็นอาณาจักรที่ร่วมสมัยกับพระนครศรีอยุธยาและพะโค เป็นศูนย์การค้า พ่อค้าอาหรับวาณิชเข้ามาที่อาระกัน เรือสินค้าขนาดใหญ่เข้ามาที่อาระกัน

อิสลามภิวัฒน์จากตะวันตออกกลางเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ซึมผ่านอาระกันในบางมิติ  นี่คือาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และพุทธกับบมุสลิมอยู่ร่วมกันมาเนิ่นนาน แต่ดูประวัติศาสตร์ในยุคอดีตเราจะไม่เห็นความขัดแย้งกันมากนักระหว่างชาวมุสลิมกับชาวพุทธ จนกระทั่ง พ.ศ. 1785 พระเจ้าปดุง กษัตริย์ราชวงศ์คอนบอง สำเร็จในการพิชิตนรัฐอาระกัน จากนั้นมีการเทครัวมุสลิมไปอยู่อังวะ อมราปุระในพม่า แล้วมีประชากรพุทธบางส่วนเข้ามาตั้งถิ่นฐาน

แต่จุดแตกหักอยู่ที่สมัยนายพลเนวิน ที่ใช้ยุทธการณ์ทางการทหารขับไล่ที่ทำให้ชาวโรฮิงยาต้องถอยร่น ตกทะเล บ้างเข้าไปอยู่ในบังกลาเทศนี่เป็นปฐมบทของความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และเชื้อชาติในรัฐอาระกัน จากประวัติศาสตร์ในช่วงโบราณถึงปัจจุบัน สืบย้อนไปเชื่อมกับโลกทัศน์ของรัฐบาลพม่าก็จะได้ความว่ารัฐบาลพม่าทั้งในสมัยนายพลเนวิน สมัย รัฐบาล SLORC (สภาเพื่อฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ) รัฐบาล SPDC (สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ) และรัฐบาลปัจจุบันก็มีกรอบคิดที่มองโรฮิงยาในแง่ลบ หนึ่ง คือมองว่าเป็นชุมชนต่างประเทศ นอกวงต่างจากคนพม่าโดยทั่วไป ประการที่สอง คิดว่าลุ่มนี้อาจเชื่อมต่อกับกลุ่มก่อการร้ายระหว่างประเทศ ประการที่สาม แม้ว่ารัฐบาลบังคลาเทศจะไม่ยอมรับโรฮิงยา แต่พม่ามองว่ามีสายสัมพันธ์

สุดท้ายแล้วจากฐานที่พูดไปสักครู่นี้ก็ผูกโยงมาได้ว่าความขัดแย้งมันเริ่มปะทุคุโชนสมัยนายพลเนวิน เรื่อยมามาจนปัจจุบัน เพราะพม่ามีการอพยพและสร้างแนวร่วมกับชาวยะไข่ที่เป็นพุทธ เข้าตั้งหมู่บ้านเข้าไปลอมกรอบโรฮิงยา มองโรฮิงยาว่าผิดแผกร้ายแรงกว่าชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม มีปฏิบัติการทางทหารรุกไล่ และคนพม่าหลายส่วนก็รู้สึกไม่พอใจ ไม่ค่อยเข้า ไม่สมานฉันท์กับโรฮิงยาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ต้องตรวจสอบว่าในพื้นที่ว่าจริงๆ บางพื้นที่มีการอยู่กันอย่างสมานฉันท์ แต่บางพื้นที่มีความขัดแย้ง เป็นไปได้ว่าอาจมีปัจจัยทางการเมืองหรือแรงกดจากรัฐบาลพม่าเข้าช่วย

 

การประกาศภาวะฉุกเฉินในพื้นที่รัฐอาระกันโดยประธานาธิบดีเต็งเส่ง ข้อสังเกตอย่างหนึ่ง คือทำไมท่าทีรัฐบาลเต็งเส่ง จึงต่างจากการปราบผู้ชุมนุมในปี 2550 ซึ่งตอนนั้นรัฐบาลหรือสื่อของรัฐบาลก็กล่าวหาผู้ชุมนุม ประณามสื่อต่างชาติและสื่อพลัดถิ่นพม่าว่าทำให้เกิดความไม่สงบ แต่ในความขัดแย้งรอบนี้ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง กลับแถลงเรียกร้องให้เกิดความสมัคคีในชาติ ว่าถ้าขัดแย้งกันจะกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย

และขณะเดียวกันสื่อของรัฐเองก็ระมัดระวังในการนำเสนอ ทำไมความขัดแย้งรอบนี้ผู้สนับสนุให้ใช้ปฏิบัติการทางทหารปราบชาวโรฮิงยากลับเป็นสื่อภาคเอกชน หรือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของพม่า และเป็นไปได้ไหมว่ากองทัพพม่าจะกลับมาเพราะสถานการณ์ไม่สงบในรัฐอาระกัน

อันดับแรกต้องทำความเข้าใจ ประเภทของระบอบ และเงื่อนเวลาแห่งการดำรงอยู่ของแต่ละรัฐบาลในแต่ละห้วงสมัย การปฏิวัติของผู้ครองจีวรในปี 2007 ยังเป็นการดำรงอยู่ของทหาร พล.อ.อาวุโส ตานฉ่วย ยังอยู่ในอำนาจ เพียงแต่ช่วงนั้นมีการพยายามเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยสู่การเลือกตั้ง ช่วงนั้นเป็นรัฐบาลทหาร เวลามีเหตุจลาจล มีผู้ประท้วง มีการลุกฮือเกิดขึ้น เป็นธรรมดาที่ตอนนั้นมีความเกรี้ยวกราด มีการตอบโต้ที่ดุดัน โจ่งแจ้ง และอย่าลืมว่าเหตุการณ์ขณะนั้นเกิดที่เมืองสำคัญอย่างย่างกุ้งและแพร่ไปตามเมืองยุทธศาสตร์ต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่ล่อแหลมต่อภัยคุกคามประเทศ และกระทบต่อกระบวนการประชาธิปไตยที่กองทัพค่อยๆ จัดระเบียบ หากปล่อยให้แพร่ระบาดเกินไปจะทำให้การวางเกมของรัฐบาลทหารชะงักหยุดลง เพราะฉะนั้นเขาถึงมีการประณามสำนักข่าวต่างประเทศ สื่อพลัดถิ่นต่างๆ ที่รุนแรงพอสมคร และมีการปฏิบัติการทางทหารที่เด็ดขาด ฉับไว รวดเร็ว เพื่อคุมสถานการณ์ไม่ให้ยุ่งเหยิง ท่าทีขณะนั้นเป็นรัฐบาลทหาร เพียงแต่เหตุการณ์ปฏิวัติชายจีวรอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง เขาจึงปิดเกมให้เรา

ส่วนในปี 2012 รัฐบาลคือรัฐบาลพลเรือน ประธานาธิบดีเต็ง เส่งมีท่าทีรอมชอม โอนอ่อนผ่อนปรน ใช้วาทกรรมสร้างสันติและความสมานฉันท์ของชาติ ท่าทีนี้อยู่ในกระบวนการประชาธิปไตยที่เต็ง เส่งวางไว้และสอดรับกับ "ผู้ใหญ่" ในพม่าหลายๆ พม่าที่เปิดพม่าเป็นประชาธิปไตย เพื่อเสริมภาพลักษณ์ประเทศ รัฐบาลเต็ง เส่ง จะแสดงความเกรี้ยวกราดคงไม่เหมาะ สิ่งที่แสดงออกคือสันติ สมานฉันท์ ชุมชนพหุสังคม พหุพรรคเพื่อประชาธิปไตย นี่คือท่าทีที่เต็ง เส่ง แสดงออกไป

แต่เต็ง เส่ง ก็พูดมาว่า หากพี่น้องทั้งพุทธและมุสลิมขัดแย้งบานปลายจนแพร่ระบาดแล้วยากที่จะควบคุม จะส่งผลต่อการปฏิรูปประเทศ นี่เป็นการเตือนอย่างมีนัยสำคัญ นั่นก็คือหนึ่ง หากคุณอยากได้ประชาธิปไตยจริงๆ คุณต้องยุติความรุนแรง คุณต้องยอมรับความต่างของชาติพันธุ์วรรณาและวัฒนธรรม เพราะฉะนั้นจงหยุดเถิด นี่คือนัยยะแรก ส่วนนัยยะประการที่สอง หากไม่หยุดสร้างความรุนแรง ไม่หยุดสร้างความเสียหายให้ประเทศชาติ แล้วรัฐบาลเหลือแรงที่จะควบคุม คงปฏิเสธไม่ได้ ที่จะให้กองทัพมาเคลียร์สถานการณ์ และคงจะว่ารัฐบาลพม่าไม่ได้ที่ต้องทำให้ประชาธิปไตยถอยหลังกลับเล็กน้อย เพราะเป็นการกระทำของพวกคุณ นี่คือวาทกรรมของรัฐที่ลุ่มลึกมาก คือส่วนหนึ่งบอกให้สันติสมานฉันท์ แต่อีกส่วนหนึ่งก็แอบเตือนว่าถ้ากองทัพต้องเข้ามาจริงๆ ไม่ใช่ความผิดของรัฐบาล แต่เป็นความผิดของพวกคุณที่ทะเลาะกัน พวกที่ทะเลาะกันก็จะกลายเป็นเหยื่อการเมือง

ส่วนพื้นที่ยุทธศาสตร์ พื้นที่เกิดเหตุคือรัฐอาระกัน มันไกลจากศูนย์กลางอำนาจ และไม่ได้แพร่ระบาดเหมือนการลุกฮือที่ย่างกุ้งในปี 2550 รัฐบาลก็พยายามจำกัดวงไม่ให้แพร่กระจาย แต่สิ่งที่สุ่มเสี่ยงต่ออนาคตคือจะจำกัดวงได้แค่ไหน เพราะหากไม่สามารถทัดทานวงสวิงที่เหวี่ยงมาจากความรุนแรงนั้น พม่าจะโกลาหลอย่างยิ่ง นักการเมืองสายอนุรักษ์นิยม อย่างแกนกลางของทิน อ่อง มิ้นท์ อู ซึ่งไม่ได้เป็นรองประธานาธิบดีแล้ว อาจจะกลับมาสยายปีกอีกรอบหนึ่ง กองทัพจะเข้ามาควบคุมมากขึ้น

อีกประการหนึ่งรัฐอาระกันไม่ใช่พื้นที่ชายแดนปกติ เป็นพื้นที่ล่อแหลมต่อความมั่นคงต่อพม่าหลายประเทศ ทรัพยากรและภูมิรัฐศาสตร์ที่ผมวาดไว้ก่อนหน้านั้น ทำให้มหาอำนาจสนใจ พฤติกรรมแบบนี้สังเกตได้เมื่อก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงจากย่างกุ้งไปเนปิดอว์  รัฐบาลพม่าได้สั่งย้าย บก.กองทัพภาคตะวันตก  จากเมืองซิตตเหว่เข้าไปที่เมืองอาน ที่อยู่ลึกเข้าไปในชายฝั่ง และมีการวางโครงสร้างเครือข่ายที่สลับซับซ้อนทางทหารไว้ที่นั่น เพราะรัฐนี้อุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยาการ และเสี่ยงต่อการแทรกแซงจากโลกภายนอก โดยเฉพาะการยกพลขึ้นบกจากองทัพต่างชาติ แต่สิ่งที่จะเป็นเหตุชักนำให้มหาอำนาจเข้าพม่าได้ อย่างถูกต้องชอบธรรม ถูกกาละเทศะ นั่นก็คือความขัดแย้งชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมที่ปะทุคุโชนนี้เองมันจะทำให้ไฟแดงกระพริบที่พม่า และจะมีตัวแสดงอื่นเข้ามาเล่นเช่น สหประชาชาติ

นี่คือโลกทัศน์ของรัฐบาลพม่าที่มองรัฐอาระกัน ถือเป็นพื้นที่ที่ละเอียดอ่อน ซับซ้อน ธรรมชาติของ power politic ระดับโลกก็คือที่ไหนที่มีทรัพยากรอันล้ำค่า และมีเปราะบางทางการเมือง และชาติพันธุ์ ที่นั้นแหละจะเสี่ยงต่อการถูกแทรกแซงจากมหาอำนาจ มาวันนี้เราอาจจะเห็นไม่ชัด แต่อนาคตอาจเห็นเป็นห้วงๆ รัฐอาระกันอาจจะเป็นด่านหน้าของการแพร่ระบาดของการปฏิวัติ หรือความขัดแย้งทางวัฒนธรรมที่แพร่มาในภูมิภาคอาเซียน "ยะไข่โมเดล" อาจเป็นต้นตำรับให้เกิดโมเดลคล้ายๆ กันเช่นที่อาเจะห์หรือในจังหวัดต่างๆ ของฟิลิปปินส์หรือไทยบางส่วนก็เป็นได้

 

มองบทบาทของพรรคเอ็นแอลดี และออง ซาน ซูจี อย่างไรบ้าง ที่อดีตนักศึกษารุ่น 88 ที่เคยมีบทบาทในการเรียกร้องประชาธิปไตย บางส่วนก็แสดงจุดยืนสนับสนุนปฏิบัติการทางทหาร

อันดับแรกคือดูชีวประวัติ พื้นภูมิ หรือยุทธศาสตร์ทางการเมืองของออง ซาน ซูจี จะเห็นว่าบิดาของเธอคือนายพลออง ซาน มีปฏิสัมพันธ์ที่ค่อนข้างต่ำกับโรฮิงยา  พ่อขอองออง ซาน ซูจี อาจจะสัมพันธ์กับฉานหรือคะฉิ่นในนามข้อตกลงปางโหลง ส่วนตัวเธอเองอาจสัมพันธ์กับนักศึกษารุ่น 88 ที่ถูกเบียดขับจากศูนย์กลางไปตั้งฐานที่มั่นที่ชายแดนด้านตะวันออกและไปร่วมกับกระเหรี่ยงคริสต์ของนายพลโบเมี๊ยะ หรือเคเอ็นยู เป็นปฏิสัมพันธ์ที่ค่อนข้างแนบแน่นกว่าที่เธอมีกับกลุ่มการเมือง หรือกลุ่มผู้คน ชายแดนด้านตะวันออกจะเหนียวกว่าทางตะวันตก อย่างรัฐอาระกัน เพราะตัวเธอเองกิจกรรมที่มาพบปะชาวมุสลิมแทบไม่เห็นเลย เป็นการมองผ่านดีกรีความสัมพันธ์ที่ไม่แนบแน่น ซึ่งส่งผลต่อท่าทีของเธอที่ไม่ชัดด้วยเพราะไม่ใช่กลุ่มที่เธอสนิทสนมมากนัก

ประการที่สองคือ ที่สำคัญคือมันเป็นความอยู่รอดทางการเมืองบางอย่าง คืออองซานซูจีประสบความสำเร็จในการมาเวิลด์อีโคโนมิกฟอรั่ม (WEF) แล้วขึ้นไปเยี่ยมแรงงาน ก็เก็บคะแนนเสียงได้ แต่เธอรู้ดีว่ารัฐบาลพม่าปล่อยเธอไปทำเรื่องแบบนี้ แต่เธอก็ต้องระวังตัวในแสดงความเห็นบางอย่างที่จะกระทบต่ออนาคตของเธอโดยเฉพาะกับเสรีภาพในการเคลื่อนไหว ดังนั้นประเด็นละเอียดอ่อนขณะนี้คุโชนอยู่ที่รัฐอาระกัน ทุกอย่างยังอยู่ในภาวะที่ยุ่งยาก อาจจะเสี่ยงเกินไปที่จะแสดงท่าทีที่ชัดเจนในช่วงนี้ ถ้าไปประณามรัฐบาลพม่ามาก การออกนอกประเทศก็อาจไม่สะดวก ถ้าประณามโรฮิงยามากๆ ก็จะถูกหลายๆ กลุ่มโดยเฉพาะแวดวงต่างประเทศ และเครือข่ายมุสลิมโจมตีก็เป็นได้ นี่จึงอาจเป็นยุทธศาสตร์ของนางออง ซาน ซูจีด้วยเช่นกัน

อันที่สามที่อยากจะกล่าวคือ ความรู้สึกของผู้คนและเชื่อชาติจริง คือความรู้สึกของคนชาติพันธุ์พม่า ไม่ว่าคุณจะเป็นอดีตผู้นำนักศึกษายุค 1988 แกนนำในพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD แกนนำพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา หรือ USDP ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล ล้วนมองชุมชนมุสลิมในประเทศพม่าที่แตกต่างกัน โดยใช้ศัพท์ว่า "กะหล่า" ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่อพยพมาจากอนุชมพูทวีป โดยไม่เกี่ยงว่าเป็นมุสลิม ฮินดู หรือซิกข์ หรือเรียกว่า Indian Burmese Mestizo ลูกผสมพม่า-อินเดีย โดยกลุ่มชาวโรฮิงยาจะถูกเหมาเรียกในบริบทนี้เช่นกัน เพียงแต่การใช้คำนี้ไปเรียกโรฮิงยา หรือคนที่มาจากอินเดียอื่นๆ แล้ว ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกว่าโรฮิงยาเป็นชุมชนต่างประเทศ ไม่ใช่ชุมชนพื้นเมืองดั้งเดิม มองว่าสวนทางเป็นปฏิปักษ์ หรือผิดพวกกับคนพม่า วัฒนธรรมพม่า ทั้งภาษาพูด ทั้งอัตลักษณ์ หรือแม้กระทั่งผิวพันธุืในบางประเด็นว่าเป็นคนละพวกกัน และความรู้สึกของคนพม่าโดยรวมค่อนข้างหวาดระแวง ประกอบกับมีการไหลบ่าของประชากรอันแน่นขนัดจากบังกลาเทศ ซึ่งมีประชากรมากกว่า 140 ล้านคน ที่เข้ามาเป็นแรงงานผิดกฎหมายในพม่า และเข้ามาแย่งงานคนพม่าในรัฐอาระกันด้วย ทำให้ปัญหานี้เกิดบานปลาย

ปฏิบัตินี้เห็นได้ชัดคือรัฐบาลพม่าสร้างรั้วเดี่ยวขึ้นมา คร่อมพรมแดนระหว่างพม่ากับบังกลาเทศ เพื่อปิดไม่ให้แรงงานพวกนี้เข้ามาในพม่า ขณะเดียวกันแนวร่วมที่เป็นพุทธในรัฐยะไข่ ก็เอาด้วยกับรัฐบาลพม่า และมีปฏิบัติการร่วมบางอย่างในการรุกรวบทางวัฒนธรรม ทำให้พี่น้องโรฮิงยาเป็นคนไร้รัฐ ถูกกระบวนการทำให้เป็นชายขอบ เบียดขับผลักไสออกนอกประเทศ ข้ามแม่น้ำนาฟไปก็เจอทหารบังกลาเทศถือปืนยืนจังก้าไม่ให้เข้ามาบังคลาเทศ เพราะบังกลาเทศแม้จะเป็นมุสลิมเหมือนกันแต่อัตลักษณ์ก็แตกต่างกัน และที่สำคัญคือบังคลาเทศจน เขาก็กลัวว่าจะมาแย่งงาน ดังนั้นกลุ่มโรฮิงยาก็คือกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกประกับระหว่างรัฐพม่าและรัฐบังกลาเทศ และระหว่างประชากรบะหม่า (Burman) กับเบงกาลี และตัวโรฮิงยาที่เป็นประชากรตัวเล็กๆ และไร้รัฐ

 

มองว่าปัญหาความขัดแย้งจะจบแบบไหน พอจะคาดการณ์หรือประเมินว่าทิศทางที่เรื่องนี้จะคลี่คลายจะไปทางไหนบ้าง 

ซีนารีโอหรือฉากทัศน์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะทำนายยากอยู่ เช่น สถานการณ์แรก รัฐบาลพม่าสักพักนับจากนี้ไปสามารถปิดเกมได้ อาจเพิ่มตำรวจ ทหาร ปฏิบัติการเข้ากดดันพื้นที่ และใช้เคอร์ฟิวส์จัดระเบียบ และเมื่อสถานการณ์สงบ รัฐบาลพม่าอาจใช้นโยบายหรือใช้โฆษณาบางอย่าง เช่น เสนอหรือบอกประชาคมโลกว่าจะทบทวนเรื่องสิทธิพลเมือง ความเป็นอยู่ของชาวโรฮิงยาให้ดีขึ้น เพื่อเป็นการลดแรงกดดัน และกันการแทรกแซงจากโลกภายนอก แต่ในทางปฏิบัติจะดูแลเช่นนั้นหรือเปล่าเป็นอีกเรื่อง

สถานการณ์ที่สองคือ รัฐบาลพม่าสามารถจัดระเบียบ ควบคุมสถานการณ์ได้ต่อเนื่องจากสถานการณ์ที่ 1 แต่หลังจากนี้เป็นต้นไปสถานการณ์ของรัฐอาระกันจะถูกทำให้เป็นจุดวาบไฟทางการเมืองระหว่างประเทศ หรือจุดวาบไฟทางชาติพันธุ์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสถานการณ์ความรุนแรงจะเกิดและหยุด เกิดและหยุดไปเรื่อยๆ แต่อัตราจังหวะที่เดี๋ยวรุนแรง เดี๋ยวหยุดนี้จะเป็นตัวที่คอยกระตุ้นให้องค์กรระหว่างประเทศ เอ็นจีโอ หรือมหาอำนาจการเมืองโลกเริ่มเห็นความสำคัญของรัฐอาระกันในหลายมิติ และจังหวะที่เดี๋ยววูบเดี๋ยวสว่างจะทำให้มหาอำนาจเริ่มเข้ามาฝังตัว เป็นตัวแสดงในรัฐอาระกัน ซึ่งจะทำให้ปัญหาบานปลายเป็นเรื่องระหว่างประเทศ

เพราะฉะนั้น สมมติรัฐบาลคุมได้ในอนาคต เรื่องนี้ก็จะบานปลายอีก แต่ถ้ารัฐบาลพม่าคุมไม่ได้ตอนนี้ เรื่องนี้ก็จะยิ่งบานปลายยิ่งกว่า และบีบให้กองทัพพม่าจะเข้ามาจัดระเบียบ แต่ทั้งหมดนี้สะท้อนความสำคัญของรัฐอาระกันในศตวรรษที่ 21 ว่าการจำลองการทูตเชิงน้ำมันและท่อก๊าซแบบภูมิภาคเอเชียกลางเข้ามาอยู่ในด่านหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะท่อก๊าซจีน อินเดีย บริษัทข้ามจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปเข้ามาลงทุนในรัฐอาระกันแล้ว เพราะฉะนั้นพื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นกระดานหมากรุกทางการเมืองโลก 

ประเด็นที่สองคือ หากแนวคิด "The Clash of Civilizations" ความขัดแย้งทางอารยธรรมที่เสนอไว้โดยแซมมวล ฮันติงตัน (Samuel P.Huntington) นักวิชาการรัฐศาสตร์ ชาวอเมริกัน ซึ่งมองว่าการเมืองโลกยุคหลังสงครามเย็นจะเป็นการปะทะระหว่างอู่อารยธรรมสำคัญ หนึ่งในนั้นคืออารยธรรมของอเมริกันกับอิสลามแบบเคร่งจารีต ส่วนอิสลามกับพุทธไม่รู้จะชนกันบ้างหรือเปล่าในบางมิติ กรอบของฮันติงตันไม่ได้มองเรื่องศาสนาอย่างเดียว เพราะศาสนาบางทีก็ไม่ได้ขัดแย้งกัน อยู่แบบสันติก็ได้ แต่เขาเอาเรื่องศาสนาไปจับกับกำลังวังชาของมหาอำนาจเจ้าของอารยธรรม และนำการเมืองระหว่างประเทศไปเกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์ด้วย สุดท้ายศาสนาจะถูกใช้เป็นเครื่องมือทั้งการเมืองภายในและระหว่างประเทศจนปะทุบานปลาย

เรื่องยะไข่โมเดลหรืออาระกัน อาจเป็นจุดที่มองว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างอารยธรรมพุทธกับอิสลาม และมันจะเชื่อมกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งกลุ่มที่เคลื่อนไหวเรียกร้องก็ยกประเด็นนี้อยู่ ก็เชื่อมเรื่องสงครามเชื้อชาติได้อีก ความขัดแย้งในรวันดากระตุ้นให้สหประชาชาติเข้ามาแทรกแซง นี่ก็เป็นได้ แต่ยังไม่รุนแรงในปัจจุบัน แต่ในอนาคตไม่แน่ และจะมีลักษณะบางอย่างที่ทำให้เหมือนคาบสมุทรบอลข่านอย่างอดีตยูโกสลายเวีย บางทีสหรัฐอเมริกาและสประชาชาติก็เข้ามาแทรกแซง และการทำให้เป็นแบบตะวันออกกลางกรณีปาเลสไตน์ก็น่าสนใจ อย่างปาเลสไตน์บอกว่าเป็นเจ้าของพื้นที่ วันดีคืนดียิวเข้ามาบอกว่านี่เป็นดินแดนแห่งพันธะสัญญาที่โมเสสประกาศไว้แล้วมีมหาอำนาจเข้ามาหนุนหลัง มีการสถาปนารัฐอิสราเอลขึ้นมาเป็นสะพานให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาด้วย แล้วทำให้ภูมิภาคตะวันออกกลางปั่นป่วน โดยใช้เรื่องอารยธรรมแบบยิวกับอารยธรรมแบบยิวกับอิสลามตีกัน

ในอนาคตรัฐอาระกันก็ไม่แน่เหมือนกัน ผมคิดว่าในอนาคตมหาอำนาจต้องเข้ารัฐอาระกันแน่นอน และจะเป็นสะพานโดมิโนให้มีการแพร่ระบาดของความขัดแย้งชาติพันธุ์ และอิทธิพลการเมืองจากภายในและภายนอก สลับตีกันเป็นห้วงๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีอาระกันเป็นด่านหน้า โจทย์ที่ต้องมองให้ออกคืออาเซียนจะเข้ามามีบทบาทแค่ไหน รัฐบาลพม่าจะคุมได้หรือเปล่า ทิศทางในอนาคตคือจะมีตัวแสดงหรือชาติอื่นๆ เข้ามาแสดงท่าทีในเรื่องนี้ อเมริกาเริ่มแล้ว อังกฤษเริ่มแล้ว เดี๋ยวจะมีจีน เดี๋ยวมีอาเซียน แต่ชาติที่น่าจับตามองคืออินเดีย ปากีสถาน และอิหร่าน เพราะโรฮิงยาผูกโยงกับสามประเทศนี้พอสมควร เช่น โรฮิงยาที่เข้าไปศึกษาแลกเปลี่ยนที่อินเดีย แม้อินเดียจะเป็นรัฐฮินดูก็ตาม แต่มีพื้นที่แลกเปลี่ยนการศึกษา การศาสนาให้คนเหล่านี้ สื่อสิ่งพิมพ์ของพี่น้องโรฮิงยาแปลมาจากภาษาอูรดู จากปากีสถาน และพี่น้องบางส่วนก็เข้าไปขอความช่วยเหลือที่อิหร่าน อิหร่านแม้ไม่มีสถานทูตที่ย่างกุ้ง แต่สถานทูตอิหร่านที่กรุงเทพฯ จะดูเรื่องรัฐอาระกัน และดูแลเรื่องโรฮิงยา แม้มุสลิมโรฮิงยาจะเป็นสุหนี่ แต่อิหร่านเป็นชีอะห์ แต่อิหร่านให้ความช่วยเหลือโรฮิงยามานาน มาวันนี้เราจะเห็นแกนนำแนวร่วมเข้าไปขอความช่วยเหลือจากสถานทูตอิหร่าน อิทธิพลเปอร์เซียจะเข้ามาด้วย ในอนาคตจะมีตัวแสดงอื่นๆ เข้ามาโลดแล่นในรัฐอาระกัน บวกกับคุณค่าภูมิยุทธศาสตร์ และภูมิรัฐศาสตร์ จะทำให้อาระกันกลายเป็น "Flash Point" คือจุดวาบไฟ สิ่งท้าทายคือรัฐบาลพม่าจะเอาอยู่ไหม

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักปรัชญาชายขอบ: นักวิชาการในสังคมดราม่าซับซ้อน

Posted: 15 Jun 2012 10:23 AM PDT

ในประเทศของเรานั้น มีกรอบความประพฤติทางศีลธรรมจรรยาและกฎหมายอย่างหนึ่งที่เรียกกันว่า กรอบความเหมาะสม เกี่ยวกับสถาบันสูงสุด ถ้าใครแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ด้วยการพูด เขียน หรือแสดงออกโดยวิธีอื่นใดที่ถูกตีความว่าละเมิด กรอบความเหมาะสม นี้ เขาอาจถูกพิพากษาว่ามี เจตนาอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ โทษทัณฑ์สำหรับผู้ที่มีเจตนาดังกล่าวในทางกฎหมายอาจติดคุก 3-15 ปี ในทางศีลธรรมอาจถูกประณามว่าเป็นคนบาป เนรคุณต่อแผ่นดิน ถูกพระสยามเทวาธิราชสาปแช่ง ฯลฯ ในทางการเมืองเขาอาจถูกไล่ออกนอกประเทศ ถูกปราบปราม เข้าป่าเป็นคอมมิวนิสต์ ถูกฆ่า

 
ดูเหมือนจะไม่ชัดเจนว่า กรอบความเหมาะสม มีขอบเขตกว้าง-แคบแค่ไหน มันขึ้นอยู่กับการตีความของคนแต่ละคน และ “เครือข่ายอำนาจนำ” ที่มักมีความเห็นแตกต่าง ขัดแย้งกันอยู่เสมอ
 
ประวัติศาสตร์ของการละเมิด กรอบความเหมาะสม ของประเทศนี้โดยผู้ละเมิดที่อ้างอิงจุดยืน เสรีภาพ และ ประชาธิปไตย นั้นมีมายาวนานกว่าร้อยปี หรืออย่างน้อยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ในสมัยนั้นปัญญาชนหัวก้าวหน้าอย่าง เทียนวรรณ เขียนบทความแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นปกครอง เสนอให้ เลิกทาส และเสนอให้มี Parliament แต่เขาถูกพิพากษาว่าละเมิด กรอบความเหมาะสม และมี เจตนาอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ เขาจึงถูกจับขังคุกครั้งแล้วครั้งเล่า
 
แต่ความคิดของเขาก็มีอิทธิพลต่อปัญญาชนหัวก้าวหน้ารุ่นหลังๆ จนนำมาสู่การปฏิวัติ 2475 กระนั้นก็ยังมีฝ่ายที่พยายามปกป้องฟื้นฟู กรอบความเหมาะสม ตามอุดมการณ์ของ “ระบบเก่า” ให้คงอยู่และเข้มข้นมากขึ้น
 
ความคงอยู่และความเข้มข้นมากขึ้นนี้ หากมองเพียง “ระดับพื้นผิว” เฉพาะ ม.112 จะเห็นว่าสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชโทษจำคุกเพียง 3 ปี ต่อมาสมัยเผด็จการสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เพิ่มเป็น 7 ปี และสมัยเผด็จการหลังรัฐประหาร 6 ตุลา เพิ่มเป็น 3-15 ปี และยังมีการเพิ่มความเข้มข้นในด้านอื่นๆ อีกมาก โดยเฉพาะระยะหลังมักมีการขับเน้นให้เห็นความดีงามสูงส่งของสถาบันสูงสุดเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความเลวร้ายของนักการเมือง
 
ในขณะเดียวกันนักวิชาการ ปัญญาชน สื่อมวลชน นักการเมือง นักต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยที่ถูกตีความ/ตัดสินว่า ละเมิด กรอบความเหมาะสม ล้วนแต่ได้รับโทษทัณฑ์ต่างๆ มีทั้งต้องระหกระเหินไปตายในต่างประเทศ เช่นปรีดี พนมยงค์ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ เป็นต้น หรือกลายเป็นนักปฏิวัติถูกฆ่าหรือตายในป่า เช่น จิตร ภูมิศักดิ์ อัศนีย์ พลจันทร์ หรือนายผี หรือนักการเมืองอุดมการณ์บางคนที่ถูกฆ่า เช่นนายเตียง ศิริขันธ์ เป็นต้น
 
นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาประชาชนอีกมากที่ถูกล้อมปราบและถูกฆ่าภายใต้วาทกรรมของพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงบางรูป ว่า ฆ่าคอมมิวนิสต์เพื่อปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ได้บุญมากกว่าบาป เหมือนฆ่าปลามาทำอาหารใส่บาตรพระ
 
ในขณะที่ประเทศต่างๆ ในโลกเปลี่ยนระบบการปกครองจากระบอบกษัตริย์เป็นประชาธิปไตยแล้ว ต่างก็มีการปรับตัวทั้งในทางอุดมการณ์ โครงสร้างอำนาจ กฎหมาย วัฒนธรรม และอื่นๆ ทำให้ประชาธิปไตยก้าวหน้าไปเรื่อยๆ เมื่อมีปัญหาขัดแย้งต่างๆ ก็พยายามหาทางแก้ภายใต้กรอบประชาธิปไตย แต่ในประเทศของเรากลับมีการต่อสู้เพื่อปกป้องฟื้นฟูอุดมการณ์เก่าให้เข้มแข็งขึ้นอย่างสวนทางกับพัฒนาการประชาธิปไตย และมักแก้ปัญหาขัดแย้งทางการเมืองด้วย รัฐประหาร ครั้งแล้วครั้งเล่า เรื่องราวเช่นนี้ถูกมองอย่างดราม่า? หรือเป็นข้อเท็จจริงที่ดราม่า?
 
แต่ดราม่าก็ซับซ้อนขึ้นไปอีก เมื่อมีทั้งนักวิชาการ สื่อมวลชน เอ็นจีโอที่อดีตเคยเป็นนักศึกษาที่ถูกเผด็จการทหารใช้ข้ออ้างเรื่องสถาบันกษัตริย์ล้อมปราบ ถูกจับติดคุกบ้าง หนีไปจับอาวุธต่อสู้ในป่าบ้างในประวัติศาสตร์ 14 ตุลา 6 ตุลา คนเหล่านี้บางส่วนกลับมาเชียร์รัฐประหาร 19 กันยา และเชียร์การใช้ ผังขบวนการล้มเจ้าปลอม ล้อมปราบมวลชนเสื้อแดงในปี 53 ยิ่งกว่านั้นขบวนการเรียกร้อง สนับสนุน ทำรัฐประหาร และ/หรือได้ประโยชน์จากรัฐประหาร ล้วนแต่เป็น เครือข่ายคนดี ที่มีคุณธรรมความกตัญญู จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อ้างธรรมะ อ้างศาสนา อ้างประชาธิปไตย นิติรัฐ นิติธรรมเป็นธงนำทั้งนั้น นี่คือข้อเท็จจริงของสังคมนี้ที่ดราม่าซับซ้อนยิ่งขึ้นๆ
 
และภายใต้ดราม่าที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นๆ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์นองเลือดปี 53 มาถึงโศกนาฏกรรมของชายชราที่ตายในคุกฐานทำผิด ม.112 เรื่อยมาถึงคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกตั้งคำถามว่า แทรกแซงอำนาจรัฐสภาหรืออำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติหรือไม่?
 
ท่ามกลางวิกฤตดังกล่าว นักวิชาการพยายามทำวิจัย เขียนบทความวิชาการ หรือมีงานวิชาการอื่นๆ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง เหตุผล หลักการ ความรู้ใหม่มาตอบปัญหาสังคมไหม? แน่นอน ภายใต้ กรอบความเหมาะสม ที่ไม่สามารถพูดความจริงของสาเหตุ หรือเบื้องหน้าเบื้องหลังรัฐประหารได้ทุกด้าน นักวิชาการบางส่วนพยายามทำวิจัย เขียนบทความวิชาการ เปิดเวทีเสวนาทางวิชาการ และอื่นๆ
 
แต่ ข้อจำกัด ก็มีมาก เพราะนักวิชาการก็มีทั้งเลือกข้าง มีทั้งยืนยันหลักการ พยายามเป็นกลาง แต่เส้นแบ่งระหว่างการเลือกข้าง ยืนยันหลักการ เป็นกลางก็ไม่ชัดเจนหรือเหลื่อมซ้อนกันอยู่ อีกทั้งปีปัญหาในเรื่องเสรีภาพการแสดงออก เสรีภาพทางวิชาการ การจัดเวทีเสวนาทางวิชาการเกี่ยวกับ ม.112 ในมหาวิทยาลัย สถาบันวิชาการ ในบางสถานที่ บางครั้งก็ไม่อาจกระทำได้ สื่อกระแสหลักก็ไม่ได้ใส่ใจนำเสนอความคิดเห็นนักวิชาการฝ่ายประชาธิปไตยมากนัก ฉะนั้น พื้นที่ของนักวิชาการจึงแคบลงๆ
 
นั่นจึงเป็นเหตุให้พวกเขาใช้พื้นที่สื่อออนไลน์ต่างๆ เท่าที่จะหาใช้ได้ เช่น เว็บบอร์ด เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ วารสารออนไลน์และอื่นๆ แน่นอนว่าความคิด ข้อเสนอผ่านสื่อออนไลน์เหล่านี้อาจไม่มีคุณภาพเข้มข้นในทางวิชาการ แต่ก็มีประโยชน์ในการถกประเด็น ทำความเข้าใจปัญหาต่างๆ ทำให้เกิด ตาสว่าง ในบรรดาเครือข่ายผู้สนใจได้กว้างขวางระดับหนึ่ง อย่างน้อยก็ดีกว่าในยุคที่ยังไม่มีสื่อออนไลน์
 
แต่ข้อจำกัดอื่นๆ ก็ยังมีอีกมาก และหนักหนาสาหัส เช่น บางคนอาจเห็นว่าข้อเสนอแก้ ม.112 ของ นิติราษฎร์ ไม่ make sense เพราะไม่มีเหตุผลที่สังคมประชาธิปไตยจะต้องมี “นักโทษทางความคิด” หรือ “นักโทษมโนธรรมสำนัก” ที่ต้องติดคุกตั้ง 3 ปี ความไม่ make sense นี้ก็คือดราม่าอีกแบบหนึ่งของนักวิชาการที่ใจอาจจะอยากเสนออย่างหนึ่ง แต่ภายใต้ บริบท บางอย่างทำให้พวกเขาต้องเสนออีกอย่างหนึ่ง
 
ในประเทศที่ผู้คนชินชากับ มายาคติ หรือ ความกึ่งจริงกึ่งเท็จ ที่ผ่านการปลูกฝังกล่อมเกลาโดยสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันทางด้านศิลปวัฒนธรรม และสื่อต่างๆ เมื่อ เสียงความจริง ดังขึ้น ผู้คนที่ชินชา คุ้นเคยกับมายาคติภายใต้ กรอบความเหมาะสม ต่างตกใจ หวาดระแวง และช่วยกันค้นหา ต้นเสียง ว่า มาจากใคร ฝ่ายไหน มีเจตนาเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐอย่างไร
 
พวกเขาตัดสินแค่ว่า เสียง นั้น เหมาะสมหรือไม่? ถ้าไม่เหมาะสมก็สรุปว่า มีเจตนาที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ โดยไม่สนใจพิจารณาว่า เสียงความจริง นั้น มีประโยชน์แก่สาธารณะหรือไม่ อย่างไร
 
นี่คือ บางส่วน ของดราม่าอันซับซ้อนภายใต้ กรอบความเหมาะสม ของประเทศนี้ แม้นักวิชาการจะได้รับการปกป้องภายใต้หลัก เสรีภาพทางวิชาการ มากกว่าชาวบ้าน แต่พวกเขาก็เผชิญกับความเสี่ยงทั้งจากการข่มขู่คุกคามด้วยอำนาจเถื่อน และการเอาผิดทางกฎหมาย
 
ปรากฏการณ์ดราม่าในโลกออนไลน์จึงเกิดขึ้น กลายเป็นวัฒนธรรมการกล่าวถึง แสดงความเห็น วิพากษ์วิจารณ์แบบเฉียด “ความจริง” ไปมา ซึ่งต้องใช้ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ หรือ “ความเก๋า” เฉพาะตัวมากพอสมควรจึงจะไม่ถูกเล่นงานหรือไล่ล่าด้วยกฎหมาย นอกจากนี้ยังต้องอาศัยชื่อเสียงบารมีของตนเอง เครือข่ายนักวิชาการ สื่อทั้งไทย และต่างประเทศช่วยปกป้องตัวเอง
 
ปัญญาชนบางคน เช่น ส.ศิวรักษ์ ท้าทาย “กรอบความเหมาะสม” นี้มาจนอายุเกือบ 80 ปี จนโดน ม.112 มาแล้ว แต่ยังไม่มีผลต่อการปรับปรุงกรอบดังกล่าวให้สอดคล้องกับความเป็นประชาธิปไตย ถามว่ามีงานวิชาการและงานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหา “กรอบความเหมาะสม” นี้หรือไม่? มีแน่นอน นักวิชาการบางคนเกาะติดปัญหานี้มาหลายสิบปี (เช่น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล) แต่เขาไม่สามารถนำข้อเท็จจริงที่เขาค้นพบมาเผยแพร่ต่อสังคมได้ตรงๆ เพียงแค่เฉียดฉิวเขาก็โดน ม.112 แล้ว
 
ในขณะเดียวกันเราก็ได้เห็นนักวิชาการในกลุ่มนิติราษฎร์ทั้งถูกข่มขู่คุกคาม ทำร้ายร่างกาย ภายใต้ “กรอบอันเหมาะสม” ของสังคมนี้ บรรดานักวิชาการ นักเขียน นักกิจกรรมที่ต่างมองเห็น “ช้างเป็นช้าง” ทว่าพวกเขาถูกตีกรอบให้พูดถึง “ช้าง” ว่าเป็น “หมู” สิ่งที่ทำได้คือพวกเขาต่างใช้ทักษะทางภาษา สัญลักษณ์ อุปลักษณ์ต่างๆ เพื่อสะท้อน “ภาพอะไรบางอย่าง” ให้ใกล้เคียงรูปลักษณ์ของช้างมากที่สุด นี่คือ “ตลกร้าย” ในสังคมดราม่าที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นๆ!
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายผู้หญิงร้องเรียน กสม. ให้ตรวจสอบกรณี การขับเคลื่อนนโยบายเรื่อง “การจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี”

Posted: 15 Jun 2012 10:18 AM PDT

เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๕ นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รับเรื่องร้องเรียนจากนางสาวธนวดี ท่าจีน และ ดร. สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล พร้อมด้วยคณะ  ตัวแทนเครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย ที่มีองค์กรภาคีสมาชิกที่เป็นองค์กรสตรีและองค์กรพัฒนาภาคประชาสังคมมากกว่า ๘๐ องค์กร และเครือข่ายผู้หญิง ๔ ภาค ขอให้ กสม. พิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี การขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล เรื่อง “การจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี”  ซึ่งทางเครือข่ายฯ เห็นว่ามีลักษณะของการเลือกปฏิบัติอันเป็นการรอนสิทธิของประชากรหญิงกว่า ๒๓ ล้านคน เนื่องจากมิได้เป็นสมาชิกกองทุน หรือนับเป็นอัตราร้อยละ ๘๐ ของประชากรหญิงทั้งหมดของประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หญิงที่มิได้เป็นสมาชิกกองทุนที่มีสิทธิจะได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และช่วยเหลือจากรัฐตามบทบัญญัติ มาตรา ๒๘ วรรคท้าย มาตรา ๓๐ วรรค ๓ มาตรา ๕๒ และการดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดินที่มิได้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนตามมาตรา ๘๗ (๑) (๒) และ (๓) แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราชการ ๒๕๕๐
 
ในการนี้ นายแพทย์แท้จริงฯ แจ้งแก่คณะผู้ยื่นเรื่องร้องเรียนว่าขอรับเรื่องร้องเรียนกรณีดังกล่าวนี้ไว้ เพื่อให้ผู้รับผิดชอบเกี่ยวข้องได้พิจารณาดำเนินการต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รัฐบาลพม่าเชิญกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" เจรจาสันติภาพอีกรอบ

Posted: 15 Jun 2012 10:08 AM PDT

รัฐบาลพม่ามีหนังสือเชิญกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSA (Shan State Army) ร่วมเจรจาหารือความคืบหน้าแผนสันติภาพร่วมกันอีกรอบที่กรุงเนปิดอว์ ขณะที่กองกำลังว้า UWSA และกองกำลังเมืองลา NDAA ได้รับเชิญด้วยเช่นกัน 
 
มีรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ อูเต็งส่อ รองประธานที่ 3 ของคณะกรรมการสร้างสันติภาพของรัฐบาลพม่า ได้มีหนังสือถึงพรรครัฐฉานก้าวหน้า SSPP (Shan State Progress Party) องค์กรการเมืองกองทัพรัฐฉาน SSA (Shan State Army) หรือ กองกำลังไทใหญ่ 'เหนือ' โดยเชิญให้ SSPP/SSA ส่งตัวแทนไปร่วมเจรจาสันติภาพระดับชั้นสหภาพที่เมืองเนปิดอว์ 
 
ผู้ใกล้ชิดผู้นำระดับสูงของกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" เปิดเผยว่า รัฐบาลพม่าได้เชิญให้ SSPP/SSA ส่งตัวแทนไปร่วมเจรจาหารือกับคณะเจรจาสันติภาพรัฐบาล หลังวันที่ 20 มิ.ย. นี้ โดยรัฐบาลระบุว่า จะหารือกันในเรื่องแผนสันติภาพของทั้งสองฝ่ายเพื่อให้มีความคืบหน้า แต่รัฐบาลไม่ได้ระบุว่าจะเจรจาหารือกันในหัวข้อใดและเรื่องใดบ้าง
 
ทั้งนี้ พรรรครัฐฉานก้าวหน้า SSPP กองทัพรัฐฉาน "เหนือ" SSA ได้เจรจาลงนามหยุดยิงกับรัฐบาลพม่าครั้งใหม่เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 55 ที่เมืองตองจี เมืองหลวงของรัฐฉาน โดยทั้งสองฝ่ายได้มีการเจรจาและลงนามสันติภาพร่วมกันทั้งในระดับรัฐและระดับ สหภาพ
 
อย่างไรก็ตาม จากลงนามหยุดยิงทหารทั้งสองฝ่ายยังคงมีการปะทะกันอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยการปะทะของทหารสองฝ่ายครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อ 6 มิ.ย. ที่ผ่านมา ในพื้นที่ตำบลเมืองเย็น อำเภอน้ำตู้ นอกจากนี้ยังมีการปะทะกันอีกหลายครั้งในพื้นที่เมืองมีด รัฐฉานภาคเหนือ
 
ขณะเดียวกันมีรายงานว่า กองทัพสหรัฐว้า UWSA และกองกำลังเมืองลา NDAA ซึ่งเป็นหยุดยิงกับรัฐบาลพม่า ได้รับหนังสือเชิญให้ส่งตัวแทนไปร่วมเจรจาสร้างสันติภาพกับรัฐบาลที่เมืองเนปิดอว์เช่นเดียวกัน โดยคณะตัวแทนกองกำลังว้า UWSA มีกำหนดจะเดินทางไปเนปิดอว์ในวันพรุ่งนี้ (16 มิ.ย.) แต่อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีรายงานว่า ทางการพม่าได้แจ้งเลื่อนการเจรจาออกไปอย่างกะทันหัน โดยให้เหตุผลว่าตัวแทนรัฐบาลติดภาระกิจคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งกลุ่มคนต่างศาสนาในรัฐยะไข่ (อาระกัน) ซึ่งรัฐบาลจะแจ้งกำหนดนัดพบเจรจาอีกครั้ง
 
(Khonkhurtai : 15 มิถุนายนน 2555)
 
ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/
"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักวิชาการเชื่อกลไกผู้บริโภค-กฎหมายเข้มแข็ง ช่วยเกษตรพันธสัญญารอดได้

Posted: 15 Jun 2012 09:55 AM PDT


 

(15 มิ.ย.55) ในวงเสวนา “เกษตรพันธสัญญา ความจริงที่ยังไม่ได้พูด” ที่ห้องประชุมสถาบันวิจัยสังคม อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อุบล อยู่หว้า ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน กล่าวว่า ปัจจุบัน การผลิตในระบบเกษตรพันธสัญญาเพิ่มมากขึ้น จนเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมครอบครัว มาสู่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยถือเป็นขบวนการผลิตที่เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศและส่งออก สำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่ามีเกษตรพันธสัญญา 150,000 ราย ขณะที่ส่วนตัวคาดว่ามีมากกว่า 500,000 ครัวเรือน เนื่องจากระบบการผลิตได้ขยายไปถึงพันธุ์พืชชนิดอื่นๆ อาทิ หน่อไม้ฝรั่ง ทานตะวัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีคำตอบว่า ระบบนี้เป็นธรรมหรือไม่ ปลอดภัยหรือมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแค่ไหน เครือข่ายเกษตรกรพันธสัญญาและสถาบันวิจัยสังคมจึงจะร่วมกันจัดเวทีวิชาการขึ้น เพื่อนำเสนอข้อเท็จจริงจากพื้นที่ ในวันที่ 26-27 มิ.ย. ณ ห้องประชุมจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ชั้น 4 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

อุบล กล่าวต่อว่า ระบบเกษตรพันธสัญญายังอยู่ได้ เพราะหนึ่ง เกษตรกรสามารถเข้าถึงสินเชื่อของธนาคาร เพื่อนำเงินก้อนมาลงทุนได้ โดยผ่านการออกจดหมายรับรองของบริษัท สอง เกษตรกรมีความคาดหวังต่อรายได้ที่จะได้รับ และสาม เกษตรกรมั่นใจว่าเมื่อเข้าระบบแล้วจะมีตลาดรองรับและมีรายได้แน่นอน อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าไปแล้ว ปรากฏว่า ไม่มีกลไกรัฐหรือระบบกฎหมายดูแล ด้านผู้บริโภคก็ไม่มีกลไกตรวจสอบและกลับกลายเป็นส่วนหนึ่งในการคุกคามเกษตรพันธสัญญาโดยไม่รู้ตัวเสียเองในทุกครั้งที่บริโภคอาหาร

ไพสิฐ พาณิชย์กุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชี้ว่ากฎระเบียบเรื่องการสร้างโรงเลี้ยงซึ่งกลายมาเป็นภาระของเกษตรกรนั้นเป็นการทุจริตเชิงนโยบายที่ภาคธุรกิจเข้ามาแทรกแซงภาครัฐ และเมื่อดูโครงสร้างกฎหมายหนี้ ก็พบว่ากลไกทางกฎหมายและการบังคับคดีให้ประโยชน์เจ้าหนี้อย่างเต็มที่

นอกจากนี้ ไพสิฐยังตั้งคำถามกับภาครัฐด้วยว่าให้ความเป็นธรรมตามกฎหมายอย่างตรงไปตรงมาหรือไม่ เพราะศาลมักนำสู่การไกล่เกลี่ย และแม้จะมี พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ที่ให้ศาลตรวจสอบสัญญาได้แต่กลับไม่มีคดีฟ้องต่อศาล เพราะเกษตรกรไม่กล้าฟ้อง แต่เป็นบริษัทเองที่จะนำสัญญามาเป็นข้อขู่จะฟ้อง โดยเขาเองในฐานะนักกฎหมายอยากเห็นตัวสัญญาว่าเป็นธรรมหรือไม่ ปรากฏว่าเกษตรกรก็ไม่มีสัญญาในมือ ทำให้ยากต่อการให้ความช่วยเหลือ เพราะมีแค่คำบอกเล่าเท่านั้น

เขาเสนอว่า ในระบบทุนนิยมเสรี กลไกของผู้บริโภคและภาครัฐต้องเข้มแข็งมากกว่านี้ รวมถึงสื่อจะต้องตื่นตัว รายงานสถานการณ์เพื่อสรุปบทเรียนไม่ให้เกิดการผูกขาด พร้อมเสนอว่าความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและเกษตรกรควรเป็นแบบหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน หากเป็นเช่นนี้ได้เชื่อว่าอันดับในการส่งออกของประเทศไทยจะขึ้นจากอันดับที่ 12 ของโลกแน่นอน

อย่างไรก็ตาม ไพสิฐกล่าวว่า ขณะนี้เริ่มมีหลายบริษัทที่ไม่ได้มุ่งกำไรเพียงอย่างเดียว แต่มีความพยายามพัฒนาระบบแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งยังมีหอการค้าจังหวัดเข้ามาร่วมตรวจสอบข้อสัญญาด้วย รวมถึงได้เริ่มมีการพูดคุยกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามาดูแลเรื่องสัญญาบ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน

ตอนหนึ่ง โชคสกุล มหาค้ารุ่ง ผู้ได้รับผลกระทบจากการเลี้ยงสุกรในระบบพันธสัญญา เล่าว่า ต้องกู้เงินจำนวนมากจากธนาคาร เพื่อซื้ออุปกรณ์การผลิตและอาหารจากบริษัทคู่สัญญารวมถึงสร้างคอก ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จ บริษัทก็มาบอกทีหลังว่าให้สร้างคอกเพิ่มเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานฟาร์มของกรมปศุสัตว์ แต่เมื่อเขาไปกู้ธนาคารอีกครั้ง ปรากฏว่าธนาคารไม่ให้กู้แล้ว และเมื่อเขาไปต่อรองขอใช้วัสดุคนละชนิดกับที่บริษัทระบุ บริษัทก็กลับแจ้งว่าหากทำไม่ได้ ก็จะปิดฟาร์มเสีย และนำไปสู่การที่บริษัทนำหมูกลับไปในที่สุด ส่งผลให้เขาเป็นหนี้ธนาคารถึง 4 ล้านบาท

 


เพจเฟซบุ๊ก "FAIR Contract FREE Farming ปลดแอกเกษตรกรจากพันธนาการ"
รวบรวมข้อมูล-บทความในประเด็นเกษตรพันธสัญญาในสื่อต่างๆ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รู้จัก 100 เอกสารสำคัญ ร้อยประวัติศาสตร์ “ปาตานี”

Posted: 15 Jun 2012 09:37 AM PDT

เสวนาวิชาการ “ปาตานี ในมิติประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม” ที่ม.อ.ปัตตานี นำเสนอโครงการวิจัย 100 เอกสารสำคัญเกี่ยวกับชายแดนใต้ อ่านสาระโดยสังเขปหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งภาษาไทย มลายูและต่างประเทศ
 
หนังสือ Hikayat Patani (ภาพจาก http://ms.wikipedia.org/wiki/Hikayat_Patani)
 
ในโอกาสที่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับองค์กรต่างๆ จัดเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ปาตานี ในมิติประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม”ที่หอประชุมสำนักงานอธิการบดี ระหว่างวันที่ 15 – 16 มิถุนายน 2555 ปรากฏหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การแนะนำโครงการ “ร้อยเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ปาตานี”
 
เป็นโครงการที่มีชื่อเต็มว่า โครงการศึกษาเอกสารประวัติศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ร้อยเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ปาตานี ที่นายพุทธพล มงคลวรรณ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี และคณะทีมงานจะมานำเสนอความก้าวหน้าของโครงการ
 
ต่อไปนี้ เป็นรายชื่อ 100 เอกสารสำคัญที่ทีมงานได้คัดเลือก เป็นร่างรายชื่อเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ปาตานี ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นในการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ปัตตานี/ปาตานี จากข้อมูลหลักฐานที่เอาปัตตานี/ปาตานีเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นร่างรายชื่อเอกสารที่ถูกนำเสนอผ่านเวทีสาธารณะได้วิพากษ์วิจารณ์ในช่วงก่อนหน้านี้ เพื่อจัดทำรายชื่อพร้อมบทปริทัศน์เอกสารสำคัญต่อไป
 
รายชื่อ 100 เอกสารสำคัญของประวัติศาสตร์ปาตานี
 
เอกสารภาษามลายู
1. Hikayat Patani
2. ข้อเรียกร้อง 7 ข้อของหะยีสุหลงและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3. Gugusan Cahaya Kesalamatan ของหะยีสุหลง
4. Sejarah Kerajaan Melayu Patani (ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรมลายูปาตานี) ของ อิบรอฮิม ชุกรี
5. บันทึกสายตระกูลมลายูบางกอก
6. ข่าวและบทความในอุตูซันมลายู (Utusan Melayu) และหนังสือพิมพ์ภาษามลายู
7. นิตยสารอาซาน
8. ตำนาน Raja-Kota
9. Kanun Pahang –โครงสร้างการปกครองเมืองปัตตานี
10. Kekati Besar – Undang Undang Patani
11. Tarikh Patani
12. Shair Negori Patani
13. Hikayat Patani: Keturunan raja-raja Patani dan Sejarahuya
14. Sejarah Patani – Tg. Putra
15. ตราตั้งมุฟตีของเจ้าเมืองสายบุรี
 
เอกสารภาษาไทย
1. ปาตานีในพระราชพงศาวดารสยามสมัยจารีต (คริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19)
2. พงศาวดารเมืองปัตตานี
3. พงศาวดารหัวเมืองปักษ์ใต้ต่างๆ
4. จดหมายเหตุหลวงอุดมสมบัติ
5. จดหมายเหตุรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสแหลมมลายู
6. เอกสารประเภทหนังสือบุด
7. เอกสารการแต่งตั้งเจ้าเมือง 7 หัวเมือง
8. รายงานตรวจหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. 115 ของสมเด็จฯ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เสนาบดีว่าการมหาดไทย รายงานตรวจราชการเมืองตานี ร.ศ. 118 ของ พระยาสุขุมนัยวินิต
9. กฎข้อบังคับสำหรับปกครองบริเวณเจ็ดหัวเมือง ร.ศ. 120
10. สมุดคู่มือสำหรับข้าราชการกระทรวงมหาดไทยที่รับราชการในมณฑลซึ่งมีพลเมืองที่นับถือศาสนาอิสลาม
11. รายงานตรวจราชการมณฑลปัตตานี พ.ศ. 2473
12. เอกสารชุดปัตตานีกับสงครามโลกครั้งที่สอง
13. รายงานการประชุมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 4 จังหวัดภาคใต้ ปี2489
14. เอกสารราชการเกี่ยวกับการจัดตั้งและดำเนินการทัณฑนิคมธารโต จังหวัดยะลา
15. ปัตตานี อดีต – ปัจจุบัน ของ อ. บางนรา
16. ประวัติเมืองปัตตานี(2509) ของ พระยารัตนภักดี
17. ตัวละบาท (Sekob Seekor) หรือ ซือโก๊ะแซกอ (2522) ของ สุชีพ ณ สงขลา
18. งานเขียนของเจ๊ะอับดุลเลาะห์ หลังปูเต๊ะ
19. เอกสารการช่วยเหลือคนไทยในมักกะฮ์ พ.ศ. 2483 – 2486
20. เอกสารเกี่ยวกับการควบคุมนักศึกษาไทยในซาอุดีอารเบีย พ.ศ. 2502 – 2505
21. เอกสารการจัดการไทยอิสลามเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ พ.ศ. 2504
22. เรื่องสั้นของมนัส จรรยงค์
23. วารสารรูสมิแล
24. หนังสือพิมพ์ทางนำ
25. งานเขียนและการเก็บข้อมูลท้องถิ่นของอนันต์ วัฒนนิกร
26. งานเขียนและการเก็บข้อมูลของประพนธ์ เรืองณรงค์
 
เอกสารชาวต่างชาติและภาษาต่างประเทศ
1. ปาตานีในเอกสารจีน ศตวรรษที่ 6 – 19
2. ปาตานีในเอกสารญี่ปุ่น
3. ปาตานีในเอกสารโปรตุเกส The Suma Oriental of Tome Pires
4. จดหมายเหตุและพงศาวดารของฟานฟลีต Van Vliet
5. บันทึกของ Peter Floris และ เอกสารอังกฤษอื่นๆ อาทิAlexander Hamilton
6. เอกสารเฮนรี่ เบอร์นี่ Burney Paper
7. เอกสารของจอห์น ครอว์ฟอร์ด John Crawfurd
8. Siam in the Malay Peninsula : a short account of the position of Siam in the states of Kelantan, Patani, Legeh and Siam (1902) by R.D. Davis
9. บันทึกความทรงจำของคณะสำรวจมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ที่บริเวณรัฐมลายูตอนเหนือระหว่างปี พ.ศ.2442 – 2443 ของ สกีต ใน W.W. Skeat and F.F. Laidlaw, “Reminisacences of the Expedition” Journal of the Malayan Branch of the Royal Asiatic Society 26:4 (December 1953)
10. Kelantan; a state of the Malay Peninsula; a handbook of information (1908) by W.A.Graham
11. Report of the Financial Adviser on the monetary position in Patani (1907) by W.J.F.Williamson
12. เอกสารของ Barbara Whittingham-Jones (Jones Papers)
13. ข่าวและบทความในเดอะสเตรทไทม์(The Straits Times) และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษในมลายา
14. บทความและหลักฐานที่อยู่ในวารสารราชสมาคมเอเชีย สาขามลายา (Journal of Malayan Branch of Royal Asiatic Society)
15. หนังสือพิมพ์The voice of Patani
16. สนธิสัญญาสยาม-อังกฤษ ปี1909 (Anglo-Siamese Treaty 1909)
 
เอกสารทางด้านศาสนา
1. Fattawa al-fataniyyah
2. Faridatul Fara-id
3. Furu’ al Masa’il wa Usul al-Wasa’l
4. Tayyibul-Ihsan Fi Tibbil Insan
 
เอกสารประเภทอื่นๆ
1. ตราพระราชลัญจกรประจำรายาตนกูอับดุลการเดร์ กามารุดดีน
2. เงินตรา 7 หัวเมืองปักษ์ใต้
3. แผนที่การแบ่งเขตแดนเปรัก-รามันห์
4. แผนที่การแบ่งเขตแดนกลันตัน-ระแงะ
5. แผนที่ฮอลันดาแสดงเขตแดนเมืองนครศรีธรรมราช-ปัตตานี
6. แผนที่บริเวณ 7 หัวเมืองสมัย ร.5
 

ที่มา : ข้อมูลจากเอกสารประกอบเวทีสาธารณะ โครงการศึกษาเอกสารประวัติศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ร้อยเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ปาตานี 18 สิงหาคม 2554 ใต้ถุนห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลรูสะมิแล ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

องค์กรนิรโทษกรรมสากล เผยรายงานเรียกร้องต่างชาติเคลื่อนไหวกรณีซีเรีย

Posted: 15 Jun 2012 08:01 AM PDT

จากเหตุสังหารโหดติดต่อกันและความล้มเหลวของแผนการสันติภาพ องค์กรนิรโทษกรรมสากลได้เผยแพร่รายงานเรียกร้องให้ต่างชาติเคลื่อนไหวกรณีซีเรีย ชี้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงเช่นการลากเหยื่อออกจากบ้านมายิงแล้วจุดไฟเผา
 

 

14 มิ.ย. 55 - องค์กรนิรโทษกรรมสากลเปิดเผยในรายงานว่ารัฐบาลซีเรียได้กระทำความผิดฐานอาชญากรรมต่อมนุษยชาติกรณีที่มีนโยบายในการแก้แค้นชุมชนที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มกบฏ
 
มีรายงานของกลุ่มสิทธิมนุษยชนอังกฤษออกมาเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. หลังจากที่มีหลักฐานยืนยันว่ามีเหยื่อซึ่งรวมถึงเด็กถูกทหารลากตัวออกมาจากบ้านและยิงสังหาร ในบางกรณีมีการจุดไฟเผาศพของเหยื่อด้วย
 
"หลักฐานใหม่นี้เผยให้เห็นการใช้กำลังเกินกว่าเหตุโดยมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องมีการเคลื่อนไหวจากต่างชาติ" โดนาเทลลา โรเวรา จากองค์กรนิรโทษกรรมสากลกล่าว
 
กลุ่มสิทธิมนุษยชนได้เข้าไปสัมภาษณ์ประชาชนจาก 23 เมืองและหมู่บ้านทั่วประเทศซีเรีย และสรุปว่ากองกำลังของรัฐบาลและกลุ่มติดอาวุธมีความผิดฐาน "ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรง และละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และอาชญากรสงคราม"
 
รายงานระบุอีกว่า รัฐบาลซีเรียได้ทำการทรมานผู้ที่ถูกจับกุม รวมถึงคนป่วยและคนชรา
 
ในรายงาน องค์กรนิรโทษกรรมสากลได้เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติส่งทอดคดีนี้ต่อไปยังอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) และให้มีการคว่ำบาตรการค้าอาวุธกับซีเรีย
 
 
ข้อเสนอของฝรั่งเศส
 
ขณะเดียวกันรัฐมนตรีต่างประเทศของฝรั่งเศส ลอว์เรนท์ ฟาเบียส กล่าวว่าเขาจะทำให้แผนการสันติภาพ 6 ข้อของโคฟี อันนัน กลายเป็นข้อบังคับได้
 
เฟเบียสกล่าวอีกว่า ฝรั่งเศสจะเสนอให้แผนการสันติภาพ 6 ข้อ ของอันนัน ถูกกำหนดเป็นข้อบังคับตามบทบัญญัติที่ 7 ของสหประชาชาติ โดยอธิบายสภาพการในตอนนี้ของซีเรียว่ามีลักษณะเป็น "สงครามกลางเมือง"
 
เฟเบียสหวังว่ารัสเซียจะเห็นด้วยกับการใช้บทบัญญติที่ 7 ซึ่งมีการอนุญาตให้ใช้กำลังทหารและบอกอีกว่ากำลังถกเถียงในเรื่องการกำหนดเขตห้ามบินอยู่
 
"เราเสนอให้มีการบังคับใช้แผนของอันนัน" เฟเบียสกล่าวในที่ประชุมแถลงข่าว "เราต้องเร่งนำเสนอต่อไปยัยสภาความมันคงฯ และกำหนดแผนการของอันนันอยู่ภายใต้บทบัญญัติที่ 7 นั่นคือการบังคับใช้แผนภายใต้การคว่ำบาตรอย่างหนัก"
 
ด้านฮิลลารี่ คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้เรียกร้องให้รัสเซียหยุดส่งอาวุธไปให้ซีเรีย โดยบอกว่าประเทศที่เต็มไปด้วยความรุนแรงอย่างซีเรียกำลังดิ่งลงสู่ภาวะสงครามกลางเมือง ซึ่งฮิลลารี่บอกอีกว่าเธอยอมให้ความร่วมมือกับรัสเซียเพียงแต่รัสเซียต้องหยุดส่งอาวุธ และกล่าวหาว่ารัสเซียได้ส่ง 'เฮลิคอปเตอร์จู่โจม' ให้กับซีเรียซึ่งจะยิ่งเป็นการเพิ่มระดับความรุนแรง
 
ก่อนหน้านี้ในวันที่ 13 มิ.ย. รมต.ต่างประเทศของรัสเซีย เซอกี ลาฟรอฟ กล่าวในที่ประชุมแถลงข่าวว่าทางรัสเซียได้ขายอุปกรณ์ต่อต้านอากาศยานให้กับซีเรีย โดยถือว่าไม่เป็นการละเมิดกฏหมายสากลข้อใด และเมื่อถามถึงกรณีของเฮลิคอปเตอร์ ลาฟรอฟก็กล่าวปฏิเสธโดยบอกว่ารัสเซียเพียงแค่ขายยุทโธปกรณ์ทั่วไปเกี่ยวกับการต้านอากาศยาน
 
 
ระวังซีเรียกลายเป็นสงครามตัวแทน
 
ด้านอาลี อัคบาร์ ซาเลฮี รมต.ต่างประเทศของอิหร่านกล่าวในที่ประชุมแถลงข่าวเดียวกันกับลาฟรอฟว่า รัสเซียและอิหร่านต่างใกล้ชิดกับประเด็นของซีเรียมาก
 
ซาเลฮีบอกว่า ประเทศตะวันตกกับชาติอาหรับกำลังส่งอาวุธและกำลังทหารไปที่ซีเรียและไม่ยอมให้ประธานาธิบดีซีเรียดำเนินการปฏิรูปตามที่สัญญาไว้
 
รายงานในอิหร่านระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่ กาตาร์, ซาอุดิอารเบีย และสหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือด้านอาวุธแก่กลุ่มกบฏในซีเรีย ผู้ที่ถูกรัฐบาลซีเรียเรียกว่า 'ผู้ก่อการร้าย' ทางด้านสหรัฐฯ ก็กล่าวหาว่าอิหร่านให้ความช่วยเหลือด้านอาวุธและให้คำแนะนำทางการทหารแก่รัฐบาลซีเรีย
 
เฮอร์ฟ แลดซูส หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการรักษาสันติภาพของยูเอ็นกล่าวว่าซีเรียในตอนนี้มีสภาพเป็นสงครามกลางเมืองและอาจจะกลายเป็นการต่อสู้ด้วยกำลังระหว่างที่มีต่างชาติคอยให้การช่วยเหลือ
 
ทางด้านรมต. ต่างประเทศของซีเรียกล่าวโต้ตอบแลดซูสว่า การกล่าวว่าซีเรียอยู่ในสภาพสงครามกลางเมืองนั้นไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริง สิ่งที่เกิดขึ้นในซีเรียเป็นสงครามต่อต้านกลุ่มติดอาวุธที่ใช้วิธีการก่อการร้าย
 
ทูตประเทศตะวันตกที่ไม่ขอระบุนามรายหนึ่งให้ความเห็นว่า สถานการณ์ในซีเรียกำลังสุ่มเสี่ยงจะกลายเป็นสงครามตัวแทน (Proxy war) ที่มีการสนับสนุนทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายต่อต้าน
 
"ความขัดแย้งในซีเรียจะโหดร้ายกว่าเดิมอย่างแน่นอน ไม่เพียงแค่กับฝ่ายเดียวด้วย" ทูตผู้ไม่ประสงค์ออกนามกล่าวเตือน
 
 
ที่มา:
 
Syria accused of organised attacks, Aljazeera, 14-06-2012
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ค้าน “รัฐบาลญี่ปุ่น” เปิดเดินเครื่อง “โรงไฟฟ้านิวเคลียร์” ร้องฟังเสียงประชาชน

Posted: 15 Jun 2012 07:44 AM PDT

กลุ่มนักกิจกรรม-เครือข่ายประชาชนรวมตัวหน้าสถานทูตญี่ปุ่นร้องนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นทบทวนการเปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โออิ พร้อมให้กำลังใจรัฐบาล-ประชาชนญี่ปุ่นในการเปลี่ยนนโยบายไปสู่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้พลังงานหมุนเวียน

 
 
15 มิ.ย.55 ที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กลุ่มนักกิจกรรมและเครือข่ายประชาชน นำโดยนายสันติ โชคชัยชำนาญกิจ โครงการจับตานิวเคลียร์ รวมตัวกับเรียกร้องให้ นายโยชิฮิโกะโนดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ทบทวนการเปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โออิ ในจังหวัดทางภาคตะวันตกของญี่ปุ่น พร้อมยื่นจดหมายเปิดผนึกซึ่งร่วมลงชื่อโดยองค์กรพัฒนาสังคม รวม 25 องค์กร และประชาชนกว่า 70 คน ต่อนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ผ่านสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย โดยมีนาย Tomohiro Kondo ตำแหน่ง Third Secretary เป็นผู้รับหนังสือ
 
สืบเนื่องจากนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นประกาศที่จะเปิดดำเนินการเตาปฏิกรณ์ 2 เครื่องของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โออิ ในเขตฟูคกุย ทางตะวันตกของญี่ปุ่นอีกครั้งจากที่ก่อนหน้านี้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นปิดดำเนินการอยู่ทั้งหมดแม้จะมีเสียงของประชาชน และเสียงจากสมาชิกสภาจากพรรคการเมืองเดียวกันไม่เห็นด้วยก็ตาม
 
อีกทั้งมาตรการความปลอดภัยที่จำเป็นยังไม่มีการดำเนินการ กรอบมาตฐานความปลอดภัยใหม่ที่ควรได้รับการกำหนดขึ้นโดยองค์กรความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ แต่ในปัจจุบันองค์กรดังกล่าวยังไม่ได้รับการก่อตั้ง และขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ยังเพิ่งเริ่มต้นดำเนินการในสภาของญี่ปุ่นเท่านั้นนอกจากนี้ยังมีความจริงที่ว่ามีแนวรอยเลื่อนอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับเตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โออิ
 
นายสันติ กล่าวเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคำนึงถึงหลักการประชาธิปไตย และฟังเสียงประชาชนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่ไม่ต้องการให้ประเทศกลับไปใช้พลังงานนิวเคลียร์อีก  
 
“เราขอให้กำลังใจทั้งรัฐบาลและประชาชนญี่ปุ่นในการเปลี่ยนนโยบายไปสู่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งมีตัวอย่างที่ทำให้เห็นได้จริงจากการรณรงค์การประหยัดพลังงานเมื่อปีทีแล้วในหน้าร้อน อยากให้ญี่ปุ่นแสดงความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงนโยบาย เพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่ประเทศอื่นๆ ต่อไป” เจ้าหน้าที่โครงการจับตานิวเคลียร์แสดงความเห็น
 
นายสันติ กล่าวด้วยว่า แม้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาประเทศญี่ปุ่นอาจมีความเสี่ยงที่จะขาดพลังงานไฟฟ้าในช่วงที่มีค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด แต่น่าสนใจที่การรับฟังความเห็นเกี่ยวกับการเปิดดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลายๆ ครั้งที่ผ่านมา ประชาชนเกินครึ่งหนึ่งมีความเห็นว่าควรมีการพัฒนาระบบการป้องกันความปลอดภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้เข้มแข็ง ก่อนที่จะเริ่มเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ อีกทั้งยังมีกรณีการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจทั่วไป โดยรอยเตอร์ ยังพบว่าส่วนใหญ่คำนึงเรื่องความปลอดภัยในการเปิดดำเนินการโรงไฟฟ้า ทั้งที่คนกลุ่มนี้จะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงหากมีปัญหาเกิดขึ้นในระบบพลังงาน
 
“ในฐานะคนไทย เรามองว่าพลังงานนิวเคลียร์และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นไม่ใช่ประเด็นของประเทศใดประเทศหนึ่ง เพราะมีผลกระทบข้ามพรมแดน ดังนั้น การตัดสินใจจึงไม่ได้อยู่ที่รัฐบาลเท่านั้น แต่เป็นการตัดสินใจร่วมกัน เช่นเดียวกับเรื่องพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทยที่ต้องการให้ส่วนประชาชนมีส่วนในการตัดสินอย่างแท้จริง” นายสันติกล่าว
 
ทั้งนี้จดหมายเปิดผนึกของกลุ่มที่ออกมารณรงค์คัดค้านการตัดสินใจเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โออิ มีรายละเอียดดังนี้
 
 
 
 
จดหมายเปิดผนึก
กรณีการตัดสินใจเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โออิ
15 มิถุนายน 2555
 
 
เรียน นายโยชิฮิโกะ โนดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
 
พวกเราประชาชนไทยซึ่งมีรายชื่อท้ายจดหมายนี้ มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจของท่านที่จะเริ่มเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์2 เครื่องที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โออิในจังหวัดฟูกุยในเร็วๆ นี้ เราขอให้ท่านทบทวนการตัดสินใจดังกล่าวด้วยเหตุผลดังนี้
 
1.      เราไม่ได้มีเจตนาที่จะแทรกแซงกิจการภายในของญี่ปุ่น แต่ผลกระทบจากพลังงานนิวเคลียร์เป็นผลกระทบที่ข้ามพรมแดน อันตรายจากพลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถรับประกันได้ว่าประเทศอื่นๆ จะไม่ได้รับผลกระทบไปด้วย ดังนั้นเราจึงขอใช้สิทธินี้ในการแสดงความคิดเห็นต่อการตัดสินใจของท่าน
 
2.      หลังจากอุบัติเหตุฟูกูชิมะ ประชาชนญี่ปุ่นรวมทั้งในประเทศอื่นๆ ต้องการเห็นระบบมาตรฐานการกำกับความปลอดภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ซึ่งสามารถเชื่อถือได้ และภายใต้หน่วยงานกำกับความปลอดภัยนิวเคลียร์ที่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง แต่ ณ ขณะนี้ การปรับปรุงดังกล่าวก็ยังคงอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น
 
3.      สถานการณ์ของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ยังคงน่าเป็นห่วงจากปัญหาความไม่มั่นคงของโครงสร้างอาคารปฏิกรณ์ ขณะนี้ประชาชนชาวญี่ปุ่น และชาวไทยที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นซึ่งเป็นญาติพี่น้องที่รักของเราเป็นจำนวนมากกำลังใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความไม่แน่นอนด้านความปลอดภัยจากกัมมันตภาพรังสี และการฟื้นฟูความเสียหายที่ยากลำบากในฟูกูชิมะ ทั้งนี้ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โออิซึ่งตั้งอยู่บนแนวการเคลื่อนไหวของแผ่นเปลือกโลก ก็มีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากแผ่นดินไหวมากขึ้น เนื่องจากรอยเลื่อนในบริเวณดังกล่าวได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวเมื่อเดือนมีนาคม 2554 ดังนั้น การเดินเครื่องใหม่ของเตาปฏิกรณ์โออิในขณะนี้จึงเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำเป็นอย่างยิ่ง
 
4.      จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นไม่ได้เห็นด้วยกับการตัดสินใจเริ่มเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์ใหม่ในครั้งนี้ รวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกในพรรคของท่านบางส่วนก็ไม่เห็นด้วยเช่นกัน เราจึงขอให้ท่านคำนึงถึงหลักการการมีส่วนร่วมของประชาชน หลักการธรรมาภิบาล และหลักของประชาธิปไตย พิจารณายุติการผลักดันให้เดินเครื่องเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์โออิใหม่
 
เราทราบดีว่า การขาดไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นเป็นภาวะที่ยากลำบากสำหรับประเทศของท่าน อย่างไรก็ตาม ท่านนายกรัฐมนตรีเองได้กล่าวถึงการให้ความสำคัญแก่การรักษาวิถีชีวิตที่เคยเป็นมาของชาวญี่ปุ่น เราเชื่อว่าการหวนกลับมาสู่การพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์ไม่ใช่แนวทางที่พึงปรารถนาแม้แต่ในทัศนะของชาวญี่ปุ่นเอง เพราะพลังงานนิวเคลียร์คือพลังงานที่เป็นอันตรายต่อมนุษยชาติ เราหวังจะเห็นนโยบายพลังงานของญี่ปุ่นที่มุ่งไปสู่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และพลังงานหมุนเวียน โดยปราศจากการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นในระยะยาวและจะเป็นแบบอย่างที่ดีของการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชีย
 
การรณรงค์ประหยัดไฟฟ้า (setsuden) เมื่อฤดูร้อนปีที่แล้ว ปรากฏผลสำเร็จเป็นอย่างสูง และสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลและชาวญี่ปุ่นมีพลังที่เข้มแข็งและสร้างสรรค์ในการร่วมมือกันฟันฝ่าภาวะที่ยากลำบาก ทั้งยังช่วยจุดประกายแห่งความหวังให้กับนานาชาติรวมถึงประเทศไทยถึงสังคมที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพานิวเคลียร์ แต่ใช้ความความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในชาติในการแก้ไขวิกฤติพลังงานที่เป็นไปได้จริง
 
เมื่อปลายปี 2554 สมาคมสมาร์ตเซ็ดซูเด็น (Smart Setsuden Association) ได้ก่อตั้งขึ้นในญี่ปุ่น และเราหวังว่าองค์กรนี้จะเป็นกลไกที่มีประโยชน์อย่างแท้จริงในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นไปสู่สังคมที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นแบบอย่างที่สร้างสรรค์สำหรับประเทศอื่นๆ
 
เราเห็นว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่อประชาคมโลก การลดและเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ในญี่ปุ่นจะเป็นแบบอย่างอันหนักแน่นที่จะเป็นแรงจูงใจให้ประเทศอื่นๆ หันมาปฏิบัติตาม ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อโลกที่จะสามารถลดความเสี่ยงจากอันตรายของพลังงานนิวเคลียร์ และเราเชื่อว่าสิ่งที่กล่าวมานี้ เป็นความเห็นของชาวญี่ปุ่นจำนวนมากด้วยเช่นกัน
 
ขอแสดงความนับถือ
 
(ลงชื่อ)
 
.................................
 
 
 
 
 
AttachmentSize
ผู้ร่วมลงชื่อจดหมายเปิดผนึก .pdf184.35 KB
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now

๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ วันประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อนร่าง พ.ร.บ.เชียงใหม่มหานคร

Posted: 15 Jun 2012 07:39 AM PDT

วันที่ ๒๔ มิถุนายนในปีนี้นอกจากจะเป็นวันระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยที่เปลี่ยนจากการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้ว วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ นี้ในเวลาบ่ายแก่ๆ(๑๕.๐๐ น.)จนถึงค่ำ สำหรับชาวเชียงใหม่แล้วถือได้ว่าเป็นเวลาที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะจะเป็นวันที่คนเชียงใหม่จะประกาศเจตนารมณ์ว่าเชียงใหม่พร้อมแล้วที่จะจัดการตนเองโดยประกาศการขับเคลื่อนเพื่อรณรงค์ลงชื่อเสนอร่าง “พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเชียงใหม่มหานคร พ.ศ. ...” ณ บริเวณหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ หลังจากที่ได้     ยกร่างและระดมความเห็นจากเวที ๒๕ อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีอีก ๔๕ จังหวัดเป็นแนวร่วมที่พร้อมจะขับเคลื่อนตามมาหากเชียงใหม่ทำสำเร็จ
 
ในหลักการเหตุผลประกอบร่าง พรบ.ได้ชี้ว่าประเทศไทย มีระบบการบริหารราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคเป็นกลไกสำคัญในการบริหารประเทศ ทำหน้าที่ตัดสินใจ กำหนดนโยบาย บริหารจัดการบริหารบุคลากร และจัดสรรงบประมาณ มีรัฐบาลเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยมีกระทรวง ทบวง กรม เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ครอบคลุมทั้งประเทศกว่า ๑๒๐ ปีที่ผ่านมา
 
ระบบการบริหารงานดังกล่าวได้สร้างคุณูปการแก่ประเทศไทยอย่างใหญ่หลวงจนสามารถทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการล่าอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจมาได้ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งสังคมมีความซับซ้อน และการรวมศูนย์การตัดสินใจ และการดำเนินการปฏิบัติการ กลายเป็นความซับซ้อน ระบบใหญ่โต ไร้ประสิทธิภาพ ไม่สอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชน ประชาชนขาดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง
 
จากปัญหาเชิงโครงสร้างนี้ จึงจำเป็นต้องคืนอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นตัดสินใจ และมีอิสระในการกำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต สวัสดิการ การศึกษา สาธารณสุข การจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่สอดคล้องกับชุมชนท้องถิ่นให้มีอำนาจบริหารจัดการบุคลากร มีงบประมาณที่เพียงพอ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนท้องถิ่นได้ใช้อำนาจทางตรงในการกำหนดทิศทางการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและเข้าถึงการตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานได้
 
ร่าง พรบ.จึงมีสาระสำคัญที่จะมุ่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยดำเนินการใน ๓ แนวทางด้วยกัน คือ
 
๑.) ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เหลือเพียงราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่น  เต็มพื้นที่และมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจในการกำหนดแนวนโยบาย ระเบียบ ข้อบัญญัติ การจัดงบประมาณ การคลัง การจัดการบริหารบุคลากรและกลไกโครงสร้างการบริหารงานภายในท้องถิ่นเพื่อการบริหารราชการท้องถิ่นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นได้ครอบคลุมทุกเรื่อง ยกเว้น ๔ เรื่องหลัก คือ การทหาร ระบบเงินตรา การต่างประเทศ และการศาล โดยจัดการปกครองเป็น ๒ ระดับ คือ ระดับบน(เชียงใหม่มหานคร) และระดับล่าง (เทศบาล) ทำให้สามารถดูแลครอบคลุมเต็มพื้นที่ โดยทั้ง ๒ ระดับมีการบริหารงานในลักษณะของการแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจน 
 
โดยการจัดให้มีการปกครองท้องถิ่น 2 ระดับ(two tiers)นี้ เป็นการประยุกต์มาจากญี่ปุ่นและเกาหลี ซึ่งแตกต่างจากกรุงเทพมหานครซึ่งมีระดับเดียวที่รวมศูนย์อยู่ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร และแตกต่างจากรูปแบบเมืองพัทยาที่กำหนดพื้นที่เฉพาะตรงไข่แดงเท่านั้น แต่เชียงใหม่มหานครนี้จะครอบคลุมเต็มพื้นที่แทน อบจ.ซึ่งจะถูกยุบเลิกไป เพราะทุกพื้นที่ของเชียงใหม่ประกอบด้วยคนเชียงใหม่เหมือนกัน การกำหนดเฉพาะพื้นที่ที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียวจึงเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
 
ในระดับล่างมีการยกระดับองค์กรปกครองท้องถิ่นทั้งหมดให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน คือ เทศบาล เพราะในปัจจุบันมีการลักลั่นกันมาก ดังจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันในพื้นที่ตำบลเดียวกันมีทั้งเทศบาลและ อบต.มีนายกฯถึง 2 คน มีที่ทำการถึง 2 แห่ง 
 
ในส่วนของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งสังกัดราชการส่วนภูมิภาคก็ต้องเลือกเอาว่าจะกลับไปสังกัดกระทรวง ทบวง กรม เดิมของตนที่ส่วนกลาง หรือเลือกที่จะอยู่ในพื้นที่ โดยสังกัดกับท้องถิ่นที่มีผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นผู้บังคับบัญชา
 
สำหรับกำนันผู้ใหญ่บ้านก็ยังคงอยู่ต่อไป แต่จะกำหนดบทบาทและหน้าที่ให้ชัดเจนแยกออกจากผู้บริหารท้องถิ่น โดยเพิ่มบทบาทไปในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย ในฐานะหัวหน้าฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ของตนเช่นเดียวกับตำรวจซึ่งต้องขึ้นกับท้องถิ่นที่มีผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานครเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารเช่นในนานาอารยประเทศทั้งหลาย โดยจะยังคงมีกองปราบหรือFBI/DSI ฯลฯ เพื่อปฏิบัติการในกรณีคาบเกี่ยวในเขตพื้นที่หรือเป็นคดีสำคัญ ซึ่งการให้ตำรวจมาสังกัดท้องถิ่นนี้จะทำให้เกิดการคล่องตัวทั้งสายการบังคับบัญชาและงบประมาณที่จะทำให้ตำรวจท้องที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
๒.) ทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมจริยธรรม โดยมีระบบการตรวจสอบที่มีความเข้มแข็ง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการสร้างดุลยภาพ ๓ ส่วนเพื่อป้องกันการ “ฮั้ว”กัน ซึ่งต่างจากโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นทั่วๆไปที่มีเพียง ๒ ส่วนคือฝ่ายบริหารกับฝ่ายออกข้อบัญญัติ โดยจัดโครงสร้างใหม่เป็น ผู้ว่าราชการเชียงใหม่มหานคร สภาเชียงใหม่มหานครและสภาพลเมือง (civil juries)รวมถึงการสนับสนุนให้ประชาชนสามารถใช้อำนาจประชาชนโดยตรงในการกำหนดทิศทาง     การพัฒนาตรวจสอบการทำงานหน่วยงาน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกระดับ และเข้าถึงการใช้งบประมาณ ผ่านกระบวนการกลไกต่างๆ อาทิ สภาพลเมือง การไต่สวนสาธารณะ การจัดตั้งกรรมาธิการด้านต่างๆ เช่น การศึกษา เกษตร การจัดการปัญหาหมอกควัน ฯลฯ
 
๓.) การปรับโครงสร้างด้านภาษี โดยภาษีทุกชนิดที่เก็บได้ในพื้นที่จะส่งคืนรัฐบาลส่วนกลางร้อยละ ๓๐ และคงไว้ที่เชียงใหม่มหานคร ร้อยละ ๗๐ ซึ่งจะเป็นการตอบคำถามที่ว่าแล้วเชียงใหม่มหานครมีรายได้เพียงพอหรือ  เพราะในปัจจุบันกฎหมายกำหนดให้ท้องถิ่นเก็บภาษีได้เพียงจิ๊บจ๊อย เช่น ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย ภาษีล้อเลื่อน ฯลฯ แต่เมื่อเปลี่ยนโครงสร้างภาษีไปเช่นนี้แล้วปัญหาในเรื่องรายได้ก็จะหมดไป แล้วต่อคำถามที่ว่าแล้วใครจะเป็นคนเก็บล่ะ คำตอบก็คือผู้มีหน้าที่นั่นแหล่ะเป็นผู้เก็บ ซึ่งก็คือ สรรพากร สรรพสามิต ศุลกากร ฯลฯ ที่เป็นข้าราชการหรือหน่วยงานสังกัดเชียงใหม่มหานครนั่นเอง ซึ่งอัตราส่วนแบ่งภาษีนี้อย่าว่าแต่ญี่ปุ่นมีส่วนแบ่ง ๓๐/๗๐ เลย จีนที่ถึงแม้ว่าจะมีการควบคุมสิทธิทางการเมืองอย่างเคร่งครัดยังมีส่วนแบ่งภาษี ๔๐/๖๐ เลย
 
ในส่วนของมายาคติหรือข้อสงสัยว่าหากเป็นเช่นนั้นแล้วจะได้นักเลงมาครองเมือง เปลี่ยนจากอำมาตย์ใหญ่ไปสู่อำมาตย์เล็ก หรือ เป็นการแบ่งแยกรัฐหรือไม่ ฯลฯ สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1663 ครับ
 
ในวันนั้นนอกจากจะมีประชาชนชาวเชียงใหม่ที่คาดว่าจะมาร่วมงานกันอย่างมืดฟ้ามัวดินเพื่อประกาศเจตนารมณ์โดยใช้สัญลักษณ์ริบบินหรือธงผ้าสีส้ม(เหลือง+แดง=ส้ม)ดังกล่าวแล้ว ยังจะมีการจัดเวทีสาธารณะ “ปฏิรูปประเทศไทย ให้เชียงใหม่จัดการตนเอง” โดยมีผู้ร่วมรายการ คือ คุณพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตคณะกรรมการปฏิรูปประเทศและอดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย,ดร.วณี ปิ่นประทีป รองผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูป,คุณไพโรจน์ พลเพชร คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย,คุณไพรัช ใหม่ชมพู ผู้อำนวยการกองการศาสนาและวัฒนธรรม อบจ.เชียงใหม่, ศ.ดร.ธเนศว์ เจริญเมือง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ,คุณสงวน พงศ์มณี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฯ,คุณสวิง ตันอุด ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการทางสังคม,คุณชำนาญ  จันทร์เรือง ประธานเครือข่ายบ้านชุ่ม    เมืองเย็น,คุณพรหมศักดิ์ แสนโพธิ์ คณะทำงานเชียงใหม่จัดการตนเอง,คุณพัชรินทร์ สุกัณศีล นักธุรกิจและชมรมเพื่อเชียงใหม่,คุณประทีป บุญหมั้น สภาองค์กรชุมชนจังหวัดเชียงใหม่,คุณอารักษ์ หาญฤทธิ์ สมาพันธ์ครูจังหวัดเชียงใหม่ ฯลฯ โดยมีการรายงานข่าวและบันทึกเทปพร้อมทั้งดำเนินรายการโดยคุณนาตยา แวววีรคุปต์ จากไทยพีบีเอส
 
โลกหมุนไปข้างหน้า ผู้ที่ขวางกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงเพราะเหตุที่ต้องการปกป้องผลประโยชน์และอาณาจักรของตนเอง ย่อมที่จะถูกกระแสแห่งโลกาภิวัตน์กวาดตกเวทีไปอย่างช่วยไม่ได้ครับ
 
 
 
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงานเสวนา: รัฐไทย-ชายแดนใต้ ภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน ในมุมมองฝ่ายประชาธิปไตย

Posted: 15 Jun 2012 07:20 AM PDT

เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.55 ที่ผ่านมา ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ถนนราชดำเนิน  สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาชายแดนใต้(สนนตชต.) ได้จัดเสวนาหัวข้อ "รัฐไทย-ชายแดนใต้ ภายใต้พรก.ฉุกเฉิน ในมุมมองฝ่าย ประชาธิปไตย" โดยมีวิทยากรประกอบด้วย รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะอักษร ศาสตร์ จุฬาฯ นายศราวุฒิ ประทุมราช นักสิทธิมนุษยชน จามาล กีไร ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนนิสิตนักศึกษา พิทักษ์ประชาชน (คพช.) นางสาวจิตรา คชเดช นักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อความ เป็นธรรมและประชาธิปไตย และนายพรชัย ยวนยี เลขาธิการ สนนท. ดำเนินรายการโดย นายศุภชัย เมืองรัก นศ.กลุ่มกล้าคิด ม.รามคำแหง

โดย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ได้อธิบายเหตุผลในการจัดกิจกรรมเสวนาในครั้งนี้ว่า สนนท.มีบทบาทในนามนักศึกษาเพื่อเรียกร้องในสิ่งที่เป็นธรรม และยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความไม่เป็นธรรมในสังคมที่เกิดขึ้นกับพี่น้องสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่ถูกมองจากรัฐโดยรวมว่าเป็นผู้ก่อความไม่สงบ อันเป็นผลให้รัฐต้องประกาศ พรก.ฉุกเฉิน เป็นเวลาหลายปี ตั้งแต่เหตุการณ์ตากใบ เหตุการณ์กรือแซะ แน่นอนเมื่อมี พรก.ฉุกเฉินได้นำไปสู่การจัดการปัญหาโดยทหาร อันนำมาสู่การริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนในพื้นที่ ดูถูกความเป็นมนุษย์ และเมื่อไม่นานมานี้มีนักศึกษาที่ทำกิจกรรมทางการเมืองถูกทหารจับตัวไปสอบสวน ดังนั้น สนนท.จึงต้องการให้ความรู้กับประชาชนในสิ่งที่ถูกต้อง โดยการจัดเสวนาดังกล่าวขึ้นมา

 

000

“..มันสะท้อนความไม่เข้าในระดับกรอบความคิด มันสะท้อในการไม่รู้จักวิธีการจัดการความแตกต่าง คุณคิดไม่เหมือนผลบังคับให้คุณคิด คุณต้องคิดเหมือนผม ถ้าคุณไม่นับถือเหมือนผมไปอยู่ประเทศอื่น หรือถ้าคุณไม่นับถือเหมือนผมติดคุก กรอบความคิดของชนชั้นนำที่มีความคิดแบบนี้จะไปจัดการปัญหาอะไร 3 จว.ชายแดนภาคใต้ รัฐไทยจัดการไม่เป็น จัดการเป็นคือปราบ อันนี้คือที่มาของการประกาศภาวะฉุกเฉินใน 3 จว.ชายแดนภาคใต้ อันนี้คือที่มาของการเอากองกำลังทหารไปตั้งเต็มไปหมด..”

รศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะอักษร ศาสตร์ จุฬาฯ

รากฐานทางประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ลึกซึ้งและยาวนาน เกิดจากการเปลี่ยนรูปของรัฐ

เนื่องจากศึกษาประวัติศาสตร์มา ผมอยากจะย้อนกลับไปพูดถึงประวัติศาสตร์สักหน่อย ผมคิดว่าปัญหา 3 จว.ชายแดนภาคใต้มันมีรากฐานทางประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ลึกซึ้งและยาวนาน เกิดจากการเปลี่ยนรูปของรัฐ ย้อนหลังกลับไปสมัยศักดินา เจ้าแต่ละแห่งก็เป็นอิสระในตัวมันเอง การยอมรับอำนาจระหว่างเจ้า มันเป็นการยอมรับแบบลำดับชั้น หมายถึงเจ้าปัตตานี เจ้าพิษณุโลก เจ้าเชียงใหม่ ทั้งหมดก็มีลำดับชั้นของตัวเองที่แน่นอน เจ้าที่ใหญ่ที่สุดที่บริเวณนี้ก็คือเจ้าที่กรุงเทพ การเมืองในระบบเก่า ระบบก่อนยุคใหม่ มันมีระบบมาเฟีย ที่มีมาเฟียจำนวนมากซึ่งมีอำนาจไม่เท่ากัน มาเฟียที่มีอำนาจากที่สุดก็จะเป็นทียอมรับมากที่สุด  แต่มาเฟียใหญ่ก็ไม่สามารถไปทำอะไรมาเฟียเล็กได้ เลยประสานประโยชน์เข้าด้วยกัน เพราะฉะนั้นลักษณะการแบ่งประโยชน์ก็จะคลายๆอย่างนี้ทั้งนั้น กษัตริย์ส่วนกลางที่กรุงเทพก็มีอำนาจที่กรุงเทพและรอบๆ อำนาจที่ปัตตานีไม่มี อำนาจปัตตานีก็มีกษัตริย์ปัตตานี เพียงแต่ว่ากษัตริย์ปัตตานีลำดับชั้นเล็ก เพราะฉะนั้นโดยลำดับชั้นก็ถือว่าขึ้นต่อกรุงเทพ ทีนี้การขึ้นต่อมันก็มีสัญญาลักษณ์ เช่น ถวายดอกไม้เงินดอกไม้ทอง เก็บสวยเก็บภาษี ส่วนการบริหารภายในอะไรเขาก็ทำกันเอง

ทีนี้สมัยรัชการที่ 5 เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแห่งรัฐ รัชการที่ 5 ไม่เอาวิธีการแบบเดิมมันไม่ทันสมัย สิ่งที่พระองค์ทำคือจัดการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง เป็นวิธีการปกครองแบบ บรีติส อินเดีย (British India)ปกครองอาณานิคม เอามาใช้กับไทย คือใช้การทำลายอำนาจท้องถิ่น และรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ทำให้กรุงเทพเป็นแห่งเดียวที่เป็นที่มาแห่งอำนาจทั้งหมด แล้วจัดการรวมปัตตานีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม ซึ่งต่อมา 2476 ก็จัดเป็นจังหวัดปัตตานี โดยการยกเลิกเจ้าครองนครทั้งหมด

การรวมประเทศโดยรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลางทั้งหมดนี่ มันไม่เกิดประชาธิปไตย มันเกิดสิ่งที่เรียกว่าสมบูรณาญาสิทธิราช คืออำนาจสูงสุดอยู่ที่คนๆเดียว อยู่ที่สถาบันกษัตริย์ ซึ่งที่มามาจากการที่อังกฤษปกครองอาณานิคม ว่า ร.5 ไปเอารูปแบบตะวันตกมาปกครองนั้น ร.5 ไม่ได้เอาที่ลอนดอนหรือปารีส แต่เอาจากอินเดียมา ผลกระทบต่อแว่นแคว้นต่างๆก็คือความเป็นอิสระของแว่นแคว้นทั้งหลายมันถูกทำลาย มันไม่ใช่เกิดแค่ปัตตานี มันเกิดขึ้นที่ล้านนา มันเกิดขึ้นที่อีสาน ทั้งหมดเป็นแบบเดียวกันหมด คือประชาชนไม่ได้รับสิทธิเสรีภาประชาชนต้องอยู่ภายใต้อำนาจสมบูรณาญาสิทธิที่มีอำนาจสูงสุดเด็ดขาด ใครคิดกบฏก็จะถูกปราบปรามอย่างรุนแรงโดยรัชกาลที่ 5 สร้างกองทัพประจำการสมัยใหม่ขึ้นมา กองทัพนี่ไม่ได้สร้างมารบกับข้าศึกภายนอก เพราะว่าข้าศึกภายนอกขณะนั้นเป็นอังกฤษ ฝรั่งเศส ไม่มีทางรบชนะ กองทัพที่สร้างขึ้นมาเป็นกองทัพที่ใช้จัดการประชาชนของตัวเองภายใน ในกรณีที่ประชาชนนั้นกระด้างกระเดื่องไม่ยอมรับอำนาจของศูนย์กลาง ไม่ใช่แค่ประชาชน รวมทั้งเจ้าเมืองต่างๆด้วยที่จะไม่ยอมรับอำนาจศูนย์กลาง และโดนปราบ  ดังนั้นการเกิดของรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ รวมทั้งการเกิดกองทัพประจำการสมัยใหม่ทั้งหมด มันอุดมการณ์คิดเดียวกันหมด อุดมการณ์ของศูนย์กลางที่จะรวบรวมผู้ขาดอำนาจ    

เกิด 2475 ขึ้นมาทำให้เกิดรูปแบบความสัมพันธ์บางอย่าง เกิดความเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน คือรูปแบบเดิมที่ประชาชนไม่มีสิทธิ์ไม่มีเสียง มาถึง 2475 คณะราษฎรบอกไม่ได้แล้วประชาชนต้องมีสิทธิ เพราะฉะนั้นแล้วมันก็เลยเกิดอย่างน้อยในทางทฤษฎีมันเกิดการคลี่คลายที่ทำให้ประชาชนมีสิทธิในลักษณะหนึ่ง ซึ่งอันนี้มันสามารถตอบสนองต่อประชาชนส่วนอื่นได้ ผมไม่ได้บอกว่ามันไม่มีปัญหา มันมีปัญหาเช่นกัน คือประชาชนทั่วทั้งประเทศมีสิทธิเลือกตั้งและกระบวนการเปลี่ยนแปลงอันใหม่นี่เองที่ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้ง มันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการรวมรัฐไทย เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้ภาพชาตินิยม หรือชาติไทยสมัยจอมพล ป. เกิดการตื่นตัวของประชาชนในภาคอีสาน เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการประชาธิปไตย และกระบวนการอันนี้ทำให้การหลอมรวมเป็นเอกภาพเข้าสู่ศูนย์กลางมันค่อยๆสมบูรณ์มากขึ้น อีสานกลายเป็นไทย ล้านนาถูกทำลายอัตตาลักษณ์หายไป กลายเป็นไทย

นโยบายแบบจอพล.ป นี่ล่ะทำให้ความขัดแย้งระหว่างเจ้าปัตตานีกับเจ้าสยามไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประชาชน

การเกิดขององคาพยพชาติไทยสมบูรณ์มันเกิดสมัยจอมพล ป. แต่การเปิดความเป็นเอกภาพชาติไทยอันนี้ใช้ไม่ได้กับ 3 จว.ชายแดนภาคใต้ เป็นที่เดียวที่มีปัญหาพิเศษเพราะว่ามีปัญหาความแตกต่างในเชิงอัตตาลักษณ์กับส่วนอื่นๆ ความแตกต่างนั้นคือเรื่อศาสนาอิสลาม รวมทั้งความเป็นมาลายูหรืออะไรก็ตามมันไม่ค่อยไป ไม่ค่อยกลืนกับความเป็นไทย ตามที่รัฐบาลจอมพล ป. รณรงค์

มันนำไปสู่ส่วนที่ 2 คือ สิ่งที่รัฐบาลจอมพล ป. รับมรดกจาก 2475 คือ “รัฐเดี่ยว” ความเป็นรัฐเดี่ยวที่ ร.5 ต้องการสร้างและรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ส่วนกลางนี้ไม่มีการเปลี่ยน สิ่งที่จอมพล ป. เติมเข้าไป ซึ่งเรื่องนี้กลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมาคือเรื่อง “เชื้อชาติ” คือความยิ่งใหญ่ของชาติไทย เชื้อชาติไทย คนไทย ความเป็นไทยทั้งหลายทั้งปวงนี้ แล้วเอาสิ่งที่เรียกว่าความเป็นไทยเข้าไปครอบ ความเป็นไทยนั้นเป็นความเป็นไทยที่ถูกตีความโดยรัฐ โดยจอมพล ป. ความเป็นไทยจะต้องไม่ได้หมายถึงการนุ่งจูงกระเบนกินหมาก แต่ความเป็นไทยหมายถึงต้องทำแบบตะวันตกต้องใส่เสื้อใส่กางเกงอย่างที่เราใส่กันนี้ จะต้องมีวิถีใหม่แบบตะวันตก จะต้องมีความรักชาติ จะต้องนับถือพุทธ จะต้องเรียนหนังสือแบบตะวันตก ทีนี้ 2 อย่างที่ต่อท้ายพอเอาไปใช้ใน 3 จว.ชายแดนใต้ มันเกิดปัญหา เพราะว่าเวลาที่คุณเอาโรงเรียนสมัยใหม่เข้าไปสอนในภาคใต้ เอาครูสมัยใหม่เข้าไปสอน สอนความรู้ตะวันตก เอาความเป็นพุทธเข้าไป เมื่อเข้าโรงเรียนแล้วคุณต้องสวดมนต์แบบพุทธ ความเป็นพุทธคือความเป็นไทย มันก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางวัฒนธรรมขึ้นมาอย่างรุนแรง แต่เดิมคนที่ต่อต้านการรวมปัตตานีเข้าสู่ส่วนกลางเป็นเจ้าปัตตานี แต่ผมคิดว่านโยบายแบบจอพล.ป นี่ล่ะทำให้ความขัดแย้งระหว่างเจ้าปัตตานีกับเจ้าสยามไปสู่ความขัดแย้งระหว่างประชาชน เพราะว่าชาตินิยมแบบจอมพล ป. มันไปกระทบชีวิตของผู้คน

ตอนหลังสงครามที่ อ.ปรีดี พยายามสร้างประชาธิปไตย ถึงได้พยายามแก้ปัญหา พยายามเจรจา ฮาหยีซูหลง เป็นผู้นำท้องถิ่น เสนอข้อเสนอ 10 ประการในการที่จะแก้ปัญหาภาคใต้ รัฐบาลปรีดีมีแนวโน้มที่จะรับฟังและพยายามที่จตะแก้ไขตามนั้น แต่บังเอิญเกิดรัฐประหารจอมพล ป.กลับมาใหม่ปี 2490 ขวาจัด ชาตินิยมรัฐเดี่ยว แล้วก็ไม่เป็นประชาธิปไตยเหมือนเดิม ปัญหาเริ่มบานปลายขึ้นมา ฮาหยีซูหลง ถูกจับเข้าคุก แล้วต่อมาถูกเอาไปฆ่า ความรุนแรงใน 3 จว.ภาคใต้มันพัฒนาขึ้นมา มันเกิดขบวนการพลูโล ขบวนการแยกดินแดนปัตตานีอะไรมากมาย ขวบวนการนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือกลายเป็นอันเดียวกันในสมัยเดียวกันกับที่พรรคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยลุกขึ้นสู้ แล้วช่วงพีคของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยคือราวปี 08 จนถึงปี 22 ที่พรรคคอมมิวนิสต์นำประชาชนลุกขึ้นสู้ในชนบททั่วประเทศ มีการตั้งกอกำลัง 3 จว.ชายแดนภาคใต้ก็มีการตั้งกองกำลังในลักษณะเดียวกันแบบนั้นด้วย พอหลัง 2522 แล้วพรรคคอมมิวนิสต์เริ่มพัง กองกำลังเริ่มล้ม กองกำลังใน 3 จว.ภาคใต้ เริ่มสลายมีการมอบตัว คือ รัฐบาลได้ใช้นโยบาย 66/23 ไปใช้ใน 3 จว.ภาคใต้ ที่จะทำให้สงครามกลางเมืองยุติ ก็ได้ผลพอสมควร เหมือนปัญหา 3 จว.ภาคใต้หมดไปสักระยะหนึ่ง จนกระทั้งมาปะทุใหม่ปี 47 ก่อนหน้านั้นมันมีไหม ผมคิดว่าก่อนหน้านั้นตั้งแต่ปี 25-47 ผมว่ามันเบาลงไปเยอะ แต่มันเบาไปเยอะไม่ได้แปลว่าได้มีปัญหา

เปลี่ยนจากจอมพล ป.ที่รณรงค์เรื่องความเป็นไทย เชื้อชาติไทย ตอนนี้สิ่งใหม่ที่เอามารณรงค์คือ “ราชาชาตินิยม”

ปัญหาหลังอันหนึ่งคือการรณรงค์ความเป็นไทยไปทั่วประเทศโดยที่ไม่มีการแยกแยะ เชื้อชาติไทยเข้าไปครอบงำนี่ มันหมายถึงรัฐบาลกลางไม่รู้จักหรือไม่มีแนวคิดเรื่องการเคารพ ในเรื่องความต่างทางวัฒนธรรม การไม่รู้จักเคารพความต่างทางวัฒนธรรม หรือการมองไม่เห็นประเด็นอันนี้มันไม่ได้หายไปไหนรัฐไทยหลังปี 2525 ก็เป็นเช่นนั้นอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนจากจอมพล ป.ที่รณรงค์เรื่องความเป็นไทย เชื้อชาติไทย ตอนนี้สิ่งใหม่ที่เอามารณรงค์คือ “ราชาชาตินิยม” หมายถึงความเป็นไทยที่มีกษัตริย์เป็นแกนกลาง จะต้องให้คนไทยทั่วประเทศนับถือกษัตริย์แบบเดียวกัน ภัคดีต่อกษัตริย์แบบเดียวกัน มีความยึดมั่น เอกภาพที่เกิดขึ้นหลัง 2525 เป็นเอกภาพของชาติภายใต้บารมีอันล้นพ้นของพระมหากษัตริย์ไทย

มันสะท้อนความไม่เข้าในระดับกรอบความคิด มันสะท้อในการไม่รู้จักวิธีการจัดการความแตกต่าง

และด้วยความหวังของรัฐส่วนกลาง คือหวังว่าความเป็นไทยอันนี้มันสมบูรณ์ มันจะแก้ปัญหาความแตกต่างความขัดแย้งภายในชาติได้ แก้ได้โดยเมื่อทุกคนภักดีในสิ่งเดียวกัน ทุกคนรักในสิ่งเดียวกัน เราก็เป็นไทยด้วยกัน เป็นไทยภายใต้กรอบอันเดียวกัน ลักษณะอย่างนี้มันก็ข้ามความต่างทางวัฒนธรรม ถ้าใครไม่ทำหรือเห็นด้วยกับอันนี้ อันนี้เป็นปัญหาร่วมที่ยังแก้ไม่ตก คือรัฐไทยไม่มีวิธีการจัดการ ในทางความคิดก็จัดการไม่ได้ สมติว่ามีใครไม่รักไม่ภัคดีเหมือนเธอ สิ่งที่จะตอบโต้ก็คือ เมื่อเธอไม่รักเหมือนฉันก็ไปอยู่ประเทศอื่นสิ มีคำอธิบายแบบนี้ด้วย เมื่อเกิดปัญหาภาคใต้หลังปี 47 มีคนอธิบายว่าให้เอาพวก 3 จว.ภาคใต้ไปอยู่ประเทศอื่นให้หมด อันนี้สะท้อนความคิดหรือความไร้เดียวสาของคนจำนวนมากที่ไม่เข้าใจปัญหา 3 จว.ภาคใต้ ไม่รู้เลยว่าเขาอยู่ของเขาแต่เดิมแล้วเราขยายไปผนวกเขาเข้ามา พวกเราไปคิดว่านี่เป็นแผ่นดินไทยแล้วพวกนี้อพยพเข้ามาแล้วยังไม่ภักดีต่อเจ้าของประเทศ มันสะท้อนความไม่เข้าในระดับกรอบความคิด มันสะท้อในการไม่รู้จักวิธีการจัดการความแตกต่าง คุณคิดไม่เหมือนผลบังคับให้คุณคิด คุณต้องคิดเหมือนผม ถ้าคุณไม่นับถือเหมือนผมไปอยู่ประเทศอื่น หรือถ้าคุณไม่นับถือเหมือนผมติดคุก กรอบความคิดของชนชั้นนำที่มีความคิดแบบนี้จะไปจัดการปัญหาอะไร 3 จว.ชายแดนภาคใต้ รัฐไทยจัดการไม่เป็น จัดการเป็นคือปราบ อันนี้คือที่มาของการประกาศภาวะฉุกเฉินใน 3 จว.ชายแดนภาคใต้ อันนี้คือที่มาของการเอากองกำลังทหารไปตั้งเต็มไปหมด

มองว่าคนเหล่านั้นที่แยกดินแดนเป็นโจนกบฏ เป็นคนชั่ว แล้วสร้างกรอบเหล่านี้ เราไม่เคยย้อนนึกเลยว่าคนที่เขารักแผ่นดินเกิดปัตตานีเขาอยากให้ปัตตานีเป็นเอกราชนี่เป็นคนดี รักชาติบ้านเมือง เป็นคนชั่วเพราะอะไร เพราะคิดต่างจากรัฐ ดังนั้นคิดว่าวิธีการแก้ปัญหามันจึงเป็นแบบเดียวกัน ชนชั้นนำไทยเป็นชนชั้นนำที่คับแคบ แก้ปัญหาด้วยแพทเทินเดียว

ประเทศไทยพิเศษมากในทางไม่เคารพสิทธิมนุษยชน

การละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องเล็กมากสำหรับรัฐไทย เพราะรัฐไทยไม่เคยเคารพสิทธิมนุษยชน อย่าว่า 3 จว.ชายแดนใต้เลย แม้กระทั้งประชาชนไทยด้วยกันแท้ๆก็ไม่เคารพ ถ้ามีการเคารพในสิทธิมนุษยชนนี่ การฆ่ากันกลางเมือง การฆ่าประชาชน 90 กว่าศพกลางเมืองนี่มันเกิดขึ้นไม่ได้หรอก ผมไม่คิดว่ารัฐบาลอังกฤษฆ่าประชาชนอังกฤษ 90 คนแล้วประชาชนจะยอม ถ้ารัฐบาลฝรั่งเศสฆ่าประชาชนกลางปารีสยิงทิ้งกลางถนน แล้วบอกว่ามีโจรชุดดำมาไล่ยิงประชาชนไปตาย 90 คน ผมว่าประชาชนฝรั่งเศสไม่ฟังนะ รัฐบาลชุดนั้นจะอยู่ไม่ได้ ผมว่าประเทศไทยพิเศษมากในทางไม่เคารพสิทธิมนุษยชนเลย ดังนั้นการละเมิดสิทธิใน 3 จังหวัดภาคใต้จึงเกิดขึ้นจนเป็นภาวะปรกติ

ผมคิดว่ารัฐไทยต้องประบกระบวนทัศน์

จะแก้อย่างไร ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องใหญ่มาก ผมคิดว่ารัฐไทยต้องประบกระบวนทัศน์ ขนานใหญ่ในเรื่องสิทธิมนุษยชน รัฐไทยต้องปรับกระบวนทัศน์ในแง่ของวิธีการจัดการประชาชน  โดยการที่จะจัดการกับประชาชนอย่างไรโดยที่ไม่ต้องฆ่า  โดยที่ไม่ต้องใช้ภาวะฉุกเฉินไปเล่นงาน รัฐไทยจะทำอย่างไรถึงจะต้องเคารพในความต่างทางวัฒนธรรม จะต้องแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 1 ไหม ประเทศไทยเป็นรัฐอันหนึ่งอันเดียวกัน รัฐไทยจะต้องประกอบด้วยกลุ่มชนชาติพันธ์ต่างๆหลากหลายมารวมกัน ถ้าเราสามารถปรับมาตรา 1 ให้หน้าตาคลายๆอันนี้นะ เราน่าจะแก้ปัญหาได้เยอะทีเดียว ก็คือเริ่มตั้งแต่ยอมรับถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม ทางศาสนา และเราหาทางอยู่ร่วมกันโดยสันติวิธีได้อย่างไร เรายอมรับความขัดแย้งมีได้ แต่เราแก้ความขัดแย้งโดยสันติ ไม่ใช่บังคับหรือกลบเกลื่อนว่าสังคมไทยเรารู้รักสามัคคี เป็นเอกภาพไม่มีความขัดแย้ง ทุกคนรักในสิ่งเดียวกัน ภักดีในสิ่งเดียวกัน คิดเหมือนกัน เพราะฉะนั้นใครคิดต่างไอ้นั้นคือพวกญวนพวกแกว

มันไม่ใช่แค่ปัญหาเฉพาะ 3 จว.ชายแดนใต้ มันเป็นการแก้ปัญหาที่กรอบความคิด แก้วิธีการปฏิบัติโดยรัฐ ผมคิดว่ารัฐไทยอาจจะเป็นอย่างรัฐสวิตเซอร์แลนด์ รัฐไทยคิดแบบรัฐสวีเดน อย่าทำให้รัฐไทยคิดแบบรัฐพม่า เราคงจะแก้ปัญหาได้ ถ้าวันใดก็ตามเรามีชนชั้นนำที่คิดแบบซีวิลไลน์แก้ปัญหาโดยสันติวิธีละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ดูถูกประชาชน เคารพในความแตกต่างมันน่าจะแก้ปัญหาได้ ถ้าชนชั้นนำไม่เป็นอย่างนั้น ประชาชนจะบีบบังคับอย่างไร เราต้องหาประชาชนบีบให้ชนชั้นนำเปลี่ยน

”ไทย”เป็นมรดกของคณะราษฎร์ “สยาม” เป็นมรกดของพวกเจ้า

ผมเองจริงๆนี่ผมไม่ต่อต้านจอมพล ป. นะ ผมรักจอมพล ป. เป็นจอมพล ป.อิสซึ่ม ที่ผมพูดเรื่องจอพล ป.ผมมองในเชิงเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ เราจะต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า เราจะรักจะเกลียดใครนี่ คือจอมพล ป. ผิดได้ ถูกได้ ใครก็ตามที่ไม่มีถูกไม่มีผิดอันนั้นเรารับไม่ได้  เรื่องไทยสยาม ผมว่า”ไทย”เป็นมรดกของคณะราษฎร์ “สยาม” เป็นมรกดของพวกเจ้า เพราะว่า คำว่าสยาม ร.4 เป็นคนใช้ เมื่อก่อนนี้ประเทศไทย ฝรั่งเรียก “บางกอก” แต่ว่า ร.4 เรียกประเทศไทยว่ากรุงสยาม แต่เดิมประเทศเราเรียกกรุงศรีอยุธยาในสมัย ร.3 ร.4 เอาสยามมาใช้ ร.5, ร.6 ใช่คำว่า “สยามรัฐ” ผมชอบมรดกของคณะราษฎร์เพราะใกล้ชิดพวกเรามากกว่าพวกนั้นเขาอยู่สูงๆเอื้อมไม่ค่อยถึง คณะราษฎร์ถูกได้ผิดได้ดีได้ชั่วได้ผมชอบอย่างนี้

พรก.ฉุกเฉินมีปัญหาเยอะ ถ้าจะใช้ต่อไป ต้องจัดการแก้เรื่องนิยามและไม่ให้มันละเมิดสิทธิมนุษยชน

ปัญหาเรื่อง พรก.ฉุกเฉินมีปัญหาเยอะ ถ้าจะใช้ต่อไป ต้องจัดการแก้เรื่องนิยามและไม่ให้มันละเมิดสิทธิมนุษยชน จริงๆผมว่ายกทิ้งไปดีกว่า ประเทศไทยมีกฎหมายแบบนี้เยอะแยะมากมาย ประเทศไทยเราชนชั้นนำมักคิดว่ามีปัญหาแล้วแก้ปัญหาโดยการออกกฎหมายใหม่ กฎหมายมีมากมายจนกระทั้งนักเรียนนิติศาสตร์ไทยไม่สามารถจำได้หมด แต่ว่ามีกฎหมายเยอะแยะมากมายก็แก้ปัญหาไม่ได้

 

“ถ้าไม่ยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน อยากให้มีการแก้ไขตัว พรก.ฉุกเฉินให้ มีความเป็นธรรมมากขึ้น อย่างน้อยในเรื่องของการห้ามอะไรต่างๆนั้น หรือว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินให้เขียนนิยามให้ชัดเจน นิยามความหมายของสถานการณ์ฉุกเฉินให้แคบลง แล้วให้เขียนให้ชัดเลยว่าห้าม ม.17 ที่บอกว่าไม่มีโทษตามกฎหมายนี่ เขียนยกเว้นโทษไว้ล่วงหน้านี่ ไม่ต้องรับผิดของเจ้าพนักงานที่ตามกฎหมายจะต้องยกเลิกมาตรานี้”

ศราวุฒิ ประทุมราช นักสิทธิมนุษยชน

เหตุผลของการมี พรก.ฉุกเฉิน เพราะว่ารัฐไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะใช้มาตราการปกติในการควบคุมสถานการณ์

พรก.ฉุกเฉิน มันมีที่มาประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน ฉบับเก่ามันล้าสมัย และเหตุผลที่ต้องแก้ไขเมื่อปี 48 สมัยที่คุณทักษิณเข้ามาบริหารประเทศ เขาเขียนไว้ในคำปรารภในตัว พรก. หมายเหตุท้าย พรก. ซึ่งหมายความว่าเวลากฎหมายหลายๆฉบับเขาจะพูดถึงเจตนารมณ์ว่าทำไมถึงต้องประกาศใช้กฎหมายนี้ เขาบอกว่า  “เพราะว่ากฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ฉบับเดิม คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2495 ) ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติต่าง ๆ ไม่สามารถนำมาใช้แก้ไขสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐที่มีหลากหลายรูปแบบให้ยุติลงได้โดยเร็ว” ข้อที่ 2 “ไม่อาจนำมาใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติสาธารณะและการฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนที่ได้รับความเสียหายได้” เหตุผลข้อที่ 3 “ความร้ายแรงของสถานการณ์ความมั่นคงของรัฐมากยิ่งขึ้นกระทบต่อเอกราชและบูรณภาพแห่งดินแดน  เกิดความไม่สงบเรียบร้อย รบกวนความเป็นอยู่ของประชาชนโดยปกติ” เราจะเห็นว่าตอนประกาศฉุกเฉินในกรุงเทพนี่เขาหาว่าเสื้อแดงรบกวนความสงบสุขของประชาชนโดยรวม ข่มขู่คุกคาม เราจะเห็นข่าวว่าเวลาเข้าไปในบ้านถูกตรวจถูกค้น มาปิดถนนมาปิดแยกทำลายเศรษฐกิจสารพัด เลยบอกว่ากลุ่มเสื้อแดงเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรงต้องปราบ เลยเอาทหารมา อันนี้เป็นเหตุผลของการมี พรก.ฉุกเฉิน เพราะว่ารัฐไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะใช้มาตรการปกติในการควบคุมสถานการณ์บ้านเมืองได้

ปัญหาความหมายของสถานการณ์ฉุกเฉินกว้างขวางมาก

กฎหมายฉุกเฉินมันเป็นกฎหมายที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชน ทำไมกฎหมายนี้จึงไม่เคารพสิทธิมนุษยชน เพราะว่ามีการใช้กฎหมาย โดยที่ตั้งแต่ความหมายแล้ว เราไปดูความหมายของคำว่า “สถานการณ์ฉุกเฉิน” เขียนนิยามไว้เลยในกฎหมายนี้ “สถานการณ์ฉุกเฉิน หมายความว่า สถานการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของประเทศอยู่ในภาวะคับขัน หรือเป็นการกระทำเกี่ยวเนื่องกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา” ในกรุงเทพต้องให้เสื้อแดงเป็นผู้ก่อการร้ายถึงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้ และถามว่าเหตุการณ์ตรงไหนเป็นเหตุการณ์ก่อการร้าย ถ้าภาคใต้ยังพอจะมองเห็นว่ามีระเบิดเป็นภัยคุกคาม แต่ในกรุงเทพเมื่อช่วง 2 ปีที่แล้วมันมีอะไร แค่ไปปิดสภา บุกเข้าไปในสภา คุณอริสมันต์บุกสภาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน วันที่ 7 เมษา อันนี้ก็เป็นปัญหาความหมายของสถานการณ์ฉุกเฉินกว้างขวางมาก ถ้าเกิดว่าในกฎหมายระหว่างประเทศการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้จะต้องมีเหตุผลเพียงพอที่กระทบต่อความอยู่รอดของชาติ

กฎหมายที่เป็นลักษณะการลงโทษหรือมีความผิดทางอาญานี่ มันจะต้องเขียนไว้อย่างชัดเจน เขียนให้ตีความโดยเคร่งครัด

พอมาเขียนกว้างขวางให้เลือกใช้อันใดอันหนึ่งก็ได้ การประกาศการเขียนกฎหมายกว้างๆแบบนี้ โดยหลักการกฎหมายที่เป็นลักษณะการลงโทษหรือมีความผิดทางอาญานี่ มันจะต้องเขียนไว้อย่างชัดเจน เขียนให้ตีความโดยเคร่งครัด ไม่ใช่ให้มาเลือกใช้อันใดอันหนึ่ง และในการมอบอำนาจให้นายกรัฐมนตรีประกาศเขตสถานการณ์ฉุกเฉินได้แล้วมาขออนุญาตสภาทีหลัง ผมคิดว่านี่เป็นอันตรายมาก เพราะเห็นว่านายกรัฐมนตรีมีอำนาจสูงสุดเพราะว่าผู้ประกาศสถานการณ์ตามกฎหมายนี่คือนายกรัฐมนตรี

กฎหมายนี้ให้อำนาจอะไรบ้าง มันมีปัญหาเยอะในเรื่องของการจะควบคุมใครก็ได้ที่สงสัยว่าจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน คือนอกจากมีสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว ใน พรก.ฉุกเฉิน เขียนว่าสถานการณ์นั้นเป็นภัยอย่างร้ายแรงเป็นสถานการณ์ที่ก่อการร้าย ให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เพิ่มดีกรีของความฉุกเฉินมาก เดิมทีถ้าฉุกเฉินปรกติ ทำอะไรได้บ้าง ในมาตรา 9 ห้ามออกนอกเคหะสถาน ห้ามชุมนุม 5 คนขึ้นไป ในกฎหมายอาญาเขียนว่า 10 แต่ในนี้เขียนว่า 5 ห้ามเสนอข่าว ปิดเวปก็ได้ใช้ไหม ห้ามจำหน่ายห้ามเผยแพร่สิ่งพิมพ์หนังสือ หรือข้อความทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเข้าใจผิด มันเป็นข้อความที่เขียนไว้กว้างๆเพราะฉะนั้นการใส่ข้อมูลว่า ข่าวไหน วิทยุชุมชนเรียกร้องอย่างไรให้มาต่อต้านรัฐ ในรัฐบาลชุดที่แล้วพยายามจะเขียนแล้วก็ลงโทษฟ้องร้องประชาชนที่ออกมาชุมนุมโดยสงบ คือกวาดไปหมดเลยว่าคนที่มาชุมนุม ถือเป็นพวกที่ก่อความไม่สงบไปหมดเลย ไม่มีการแยกแยะอันนี้เป็นปัญหา ฯลฯ อันนี้เป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั้งนั้น เพราะโดยปกติประชาชนมีสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะวิธีการใด จะโดยรับข่าวสาร เข้าข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือพิมพ์ ดูทีวี ทำได้หมด แต่พอมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐสามารถเข้ามาแทรกแซงความเป็นอยู่ ผมก็ไม่รู้ว่าระหว่างผู้ที่ก่อความไม่สงบประชาชนถูกกระทบกระเทือนกว่าหรือการที่รัฐไปปิดกันเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนนี่ใครก่อความไม่สงบกว่ากัน

รัฐเข้ามาแทรกแซงความเป็นอยู่ของประชาชนมากทำให้มีปัญหาว่าแล้วจะทำให้ประชาชนรู้ข้อมูลได้อย่างไร รัฐอาจจะปิดกั้นข้อมูล โดยกล่าวหาอีกฝ่ายให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง บิดเบือน แต่รัฐก็ให้ข้อมูลซึ่งในช่วงสถานการณ์ภาคใต้ เรามักไม่เห็นว่าเวลามีการปะทะกันนี่ เราจะไม่เห็นว่ามีการซ่องสุมอะไรอย่างไร แต่การปะทะกันแล้วมีคนนอนเสียชีวิตอยู่ มีแต่รูประเบิดอะไรวางๆอยู่ แล้วถามว่าคานี้เขาต่อสู้กันจริงหรือปล่าว มันเหมือนการวิสามัญฆาตรกรรมเวลาผู้ร้ายต่อสู้เจ้าหน้าที่ หลายกรณีได้มีอาวุธอยู่ในมือ หรือแม้แต่ตอนช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพ คนที่ถูกยิงส่วนใหญ่ ผมว่าทั้งหมดไม่มีอาวุธอยู่ในมือ หรือตัวเองก็ไม่มี แล้วก็ไปหาว่าคนมาชุมนุมเป็นพวกใช้อาวุธยิงต่อสู้กับทหาร เราจะจับกุมหรือจะฆ่าใครมันต้องมีเหตุผลพอที่จะเชื่อได้ว่าคนนั้นทำอะไรที่เป็นการละเมิดต่อกฎหมาย

พอสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ทำอะไรได้อีก นายกให้เจ้าพนักงานทำการจับกุมควบคุมตัวได้อีก ทีนี้โดยหลักกฎหมายการจะควบคุมใครก็ตามต้องมีหมาย พรก.ฉุกเฉิน ต้องขอหมายจากศาล ทีนี้ปกติการขอหมายจากศาล ถ้าเป็นคดีอาญาทั่วไป ศาลต้องทำการไต่สวนว่ามีเหตุผลอะไร มีหลักฐานที่ควรจะเชื่อได้อย่างสิ้นข้อสงสัยว่าผู้ที่ศาลจะออกหมายให้ควบคุมตัวหรือไปจับกุมตัว หรือไปค้นอะไร มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามกฎหมาย ทีนี้เราไม่ทราบเวลาที่คนในภาคใต้ถูกหมายฉุกเฉินมีการไต่สวนข้อมูลกันหรือปล่าว

ออกหมายฉุกเฉินเจ้าหน้าที่ของรัฐนี่ ไม่มีหลักฐานเพียงพอ ถ้าเกิดว่าในทางคดีอาญาทั่วไปเขาจะต้องพิสูจน์จนไม่มีข้อสงสัย

ในทางปฏิบัติจากข้อมูลของคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล เจ้าหน้าที่ทหารเขาแบ่งกลุ่มคนที่ต้องสงสัยที่เกี่ยวกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 4 กลุ่ม

กลุ่มแรก กลุ่มที่มีความรุนแรงมากที่สุด คือ ผู้ที่เคยก่อการร้ายมาก่อนแล้ว บุคคลเหล่านี้จะถูกจับกุมและตั้งข้อหาทางอาญา หมายถึงว่ามีบัญชีดำอยู่ ฝ่ายทหารก็จะมีชุดหนึ่ง ตำรวจมีชุดหนึ่ง ฝ่ายความมั่นคงมีอีกชุดหนึ่งหมายถึงพวกข่างกรอง คือคนละชุด มีชุดก็ไม่เหมือนกัน อยู่ที่วิธีการได้มา

กลุ่มที่ 2 คือผู้ให้ความร่วมมือกับผู้ก่อการร้าย บุคคลเหล่านี้จะถูกควบคุมตัว สักถามเบื้องต้น ตาม พรก.ฉุกเฉิน ถ้าถึงที่สุดแล้วนั้นเขาอาจจะตั้งข้อหาได้

กลุ่มที่ 3 คือผู้ที่รู้เห็น อันนี้กว้างมาก รู้ว่ามีการระเบิด รู้ว่ามีการยิง ก็จะถูกควบคุมตัว รู้เห็นถึงความไม่สงบ

กลุ่มที่ 4 คือผู้ที่ถูกชักจูง หรือเป็นกลุ่มเสี่ยง มันแปลกคนกลุ่มเสี่ยงควรจะได้รับการคุมครอง แต่กลุ่มเสี่ยงถูกควบคุมตัว ถูกเชิญตัวมาให้ข้อเท็จจริง

ข้อมูลแบบนี้ทำให้การที่จะออกหมายฉุกเฉินเจ้าหน้าที่ของรัฐนี่ ไม่มีหลักฐานเพียงพอ ถ้าเกิดว่าในทางคดีอาญาทั่วไปเขาจะต้องพิสูจน์จนไม่มีข้อสงสัย โดยหลักการทั่วไปว่า คนเหล่านี้ไปเกี่ยวข้องอะไร มันเกิดการลักลั่นว่าการจับกุมมันเหมือนกับเพียงแต่สงสัยเท่านั้นเองว่าบุคคลนั้นจะเกี่ยวข้องก็เชิญตัวมาได้แล้ว อันนี้เป็นอันตรายเพราะมันขัดแย้งต่อหลักการทั่วไป

การเชิญมาแล้วยังไม่ต้องข้อกล่าวหาแต่สามารถควบคุมได้ถึง 30 วันเลย อันนี้เป็นปัญหามาก บางรายก็ควบคุมเกิน หากควบคุมเกินรัฐต้องจ่ายค่าเสียหาย การควบคุมตัวเป็นวิธีการเดียวที่รัฐสามารถหาข้อมูล จริงๆแล้วมันมีวิธีอื่นในการหาหลักฐาน เพื่อที่จะพิสูจน์ว่าใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดไม่ต้องจับไว้ก่อนหรือควบคุมตัวไว้ก่อน เพราะเหตุแห่งหารควบคุมตัวไว้ในกฎหมายนี้เขียนเอาไว้ด้วยซ้ำว่า ควบคุมไว้ในสถานที่ใดก็ได้ที่ไม่ใช่โรงพัก มันจึงมีค่ายอิงคยุทธ มีหน่วย ฉก. หน่วยทหารพิเศษที่อยู่ในวัด มีหน่วยนั้นหน่วยนี้เต็มไปหมด เพราะเขาถือว่าห้ามคุมขังในเรือนจำหรือที่โรงพัก

ปกติแล้วคนที่ถูกควบคุมตัวนี่ถ้าถูกจับโดยตำรวจ เอาไว้ที่โรงพักภายใน 48 ชม.ต้องพาตัวไปที่ศาลเพื่อขอฝากขังต่อ แล้วก็ดูความหนักเบาของข้อหาว่าจะขังได้กี่วัน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเขียนไว้ชัดเจน และสูงสุดควบคุมได้ไม่เกิน 84 วัน ทีนี้ พรก.ฉุกเฉินนี่ นอกจากควบคุมไว้ 30 วันแล้ว ถ้าสงสัยว่าจะสอบสวนไม่เสร็จ หาหลักฐานไม่เพียงพอก็ไปใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาควบคุมตัวต่ออีกได้ เพราะฉะนั้นโดยปกติแล้วคนที่ถูกควยคุมตัวโดยกฎหมายฉุกเฉินนี่ ส่วนมากในภาคใต้จะถูกควบคุมมาแล้ว 7 วันโดยกฎอัยการศึก เพราะฉะนั้นควบคุมตัวยาวเลย

กฎหมายทั่วไปนี่การควบคุมคนจะต้องแจ้งข้อหาให้ทราบ นี่คุมตัวไว้เฉยๆโดยไม่แจ้งข้อกล่าวหา

การควบคุมโดยไม่แจ้งข้อหา ถามว่ามีสิทธิอะไรในการควบคุมคน เพราะในกฎหมายทั่วไปนี่การควบคุมคนจะต้องแจ้งข้อหาให้ทราบ นี่คุมตัวไว้เฉยๆโดยไม่แจ้งข้อกล่าวหา ในความหมายที่พวกเราทราบกันดีว่าทหารเอาไปเพื่อจะหาข่าว อยากรู้ว่าใครเกี่ยวข้อง เพื่อซักถามและวิธีการซักถามอาจจะได้รับการฝึกฝนมาจากมหามิตร แถวกวนตานาโมก็ใช้วิธีการแบบนี้ ใช้น้ำหยดบ้าง เอาขังห้องเย็นบ้าง ห้องร้อนบ้าง ซักถามทั้งกลางวันกลางคืนไม่ต้องให้นอน  คนที่ไหนมันจะทนทานได้ เพื่อหาข่าวว่าคุณเกี่ยวข้องอะไรกับเหตุการณ์ความไม่สงบ อันนี้เป็นปัญหาที่ทำให้กฎหมายนี้มันไม่สมควรที่จะใช้

ที่สำคัญเจ้าหน้าที่ทำตามอำนาจหน้าที่แล้วอ้างว่าสุจริตไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกินสมควรแก่เหตุ หรือไม่เกินกว่าความจำเป็น ไม่มีโทษนะ ฟ้องร้องทางแพ่ง ทางอาญาไม่ได้นะ ห้ามสั่งห้ามร้องศาลปกครอง อันนี้อันตรายมาก ถ้าเกิดว่าโดยหลักแล้วเจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำอะไรได้ ต้องมีกฎหมายให้อำนาจถึงจะทำได้ ถ้ากฎหมายไม่ให้อำนาจถือว่าทำเกินอำนาจก็สั่งฟ้องต่อศาลปกครองขอให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายได้ ซึ่งกฎหมายอันนี้เขียนยกเว้นโทษไว้เลยล่วงหน้า แต่ไม่ตัดสิทธิ์ทางแพ่งว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเขียนแบบนี้ไม้ได้ เพราะว่าเจ้าหน้าที่ก็อ้างว่าปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาสั่งมาให้ดำเนินการ

วิธีการจะจับกุมมันต้องเป็นไปตามหลักมนุษยธรรม การควบคุมตัวโดยหลักการต้องควบคุมไว้เพื่อไม่ให้หลบหนี ถ้าต่อสู้ก็สามารถดำเนินการพอสมควรเพื่อไม่ให้ต่อสู้ได้ อย่างที่เราเห็นการจับนอนคว่ำแล้วมัดมือ ถามว่าคนเหล่านี้จะหนีหรอ แล้วเขาเป็นผู้กระทำความผิดหรือปล่าว หรือเป็นเพียงเดินผ่านตลาดมาไปดูว่าเขาชุมนุมอะไรกันก็ถูกจับไปแล้ว อันนี้เป็นข้อเท็จจริงที่หลายคนที่ถูกจับกรณีตากใบรับไม่ได้

ผมมีความเห็นว่าอันที่ 1 ถ้าตัวกฎหมายยังไม่ยกเลิก ถ้าตัวรัฐมีสติปัญญาไม่มากพอคงไม่กล้ายกเลิก เพราะว่ารัฐไทยค่อนข้างเป็นรัฐที่อำนาจนิยม ชอบเผด็จการ คนไทยชอบเผด็จการชอบจอมพลสฤษดิ์ ถ้าไม่ยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน อยากให้มีการแก้ไขตัว พรก.ฉุกเฉินให้ มีความเป็นธรรมมากขึ้น อย่างน้อยในเรื่องของการห้ามอะไรต่างๆนั้น หรือว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินให้เขียนนิยามให้ชัดเจน นิยามความหมายของสถานการณ์ฉุกเฉินให้แคบลง แล้วให้เขียนให้ชัดเลยว่าห้าม ม.17 ที่บอกว่าไม่มีโทษตามกฎหมายนี่ เขียนยกเว้นโทษไว้ล่วงหน้านี่ ไม่ต้องรับผิดของเจ้าพนักงานที่ตามกฎหมายจะต้องยกเลิกมาตรานี้

เวลาเราพูดถึงกฎหมายพิเศษนี่ มันควรจะใช้ชั่วคราว

เวลาเราพูดถึงกฎหมายพิเศษนี่ มันควรจะใช้ชั่วคราว ในเวลาที่เกิดเหตุฉุกเฉินแล้วเลิกไป นี่ 7 ปีแล้ว คิดว่ามันไม่ใช่กฎหมายที่ฉุกเฉินแล้วล่ะ เพราะว่าเจตนารมณ์เขาต้องการใช้ชั่วคราวเมื่อสถานการณ์บรรเทาก็ประกาศยกเลิก เพราะฉะนั้นในช่วงที่ไม่ต่ออายุหรือว่าถ้าต่ออายุยังมีความจำเป็นต้องใช้อยู่ เสนออย่างนี้ว่า

1. คุมพื้นที่ให้มันแคบลงได้ไหม หาข้อมูลดูว่าพื้นที่ไหน ตำบลไหนมีสถานการณ์รุนแรง ที่เป็นประจำ ถี่ๆบ่อยๆ ประกาศฉุกเฉินแค่ตำบลนั้น อำเภอนั้น ไม่ต้องประกาศคลุมทั้ง 3 จว. ไม่เปลืองงบประมาณด้วย ถ้าเราสโคปพื้นที่ลงข้อเรียกร้องให้ถอนทหารมันเป็นไปโดยปริยาย ส่วนระยะยาวตัวกฎหมายเองที่มีปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนนี่ หลายคนจะบอกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วก็มีกฎหมายฉุกเฉิน แต่ของเขาใช้โดยมีขีดจำกัด ไม่ได้เปิดกว้างอย่างที่บ้านเราทำอยู่

2. แก้ไขกฎหมายฉุกเฉินถ้ายังไม่ยกเลิก

3. ต้องยกเลิก พรก.ฉุกเฉินไปเลย ถ้าเขตไหน อำเภอไหนไม่มีความรุนแรงก็ไม่ต้องต่ออายุ

ภายในระยะยาวตัว พรก.ฉุกเฉินควรต้องทบทวนดูว่าเนื้อหาใน พรก.ฉุกเฉินต้องเป็นอย่างไร คนในพื้นที่ภาคได้รู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับความเป็นธรรม จากการถูกจับกุมตัว อะไรแบบนี้ มันทำให้เกิดความระแวงต่อรัฐ เพราะฉะนั้นความต้องการให้ถอนทหารออกไปจากพื้นที่นั้นเป็นความต้องการส่วนใหญ่ในพื้นที่ และหลายๆโพลหลายการวิจัยก็พูดแบบเดียวกันหมด เพราะฉะนั้นรัฐบาลนี้ต้องกล้าหาคุมทหารลงเฉพาะพื้นที่ที่รุนแรง แล้วไม่ต่ออายุ พรก.ฉุกเฉินในพื้นที่ที่ไม่รุนแรง

 

“..ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน อำนาจอยู่ที่นายก ถ้านายกไม่สามารถควบคุมกองทัพได้ก็จบ ดูอย่างสมัยรัฐบาลสมัคร  แต่ก็แปลกการประกาศ พรก.ฉุกเฉินที่สมัยรัฐบาลสมัคร สั่งให้เคลื่อนในกรุงเทพไม่ได้ แต่ทำไมกลไก พรก.ฉุกเฉิน ใน 3 จว.จึงเคลื่อนตัวไปได้ ไม่ว่าจะรัฐบาลไหนขึ้นมา มันสามารถเคลื่อนไปได้โดยกลไกอะไร ก็เชื่อว่าน่าจะเป็นกลไกทหารและก็อ้าง พรก.ฉุกเฉิน..”

จิตรา คชเดช นักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อความเป็นธรรมและประชาธิปไตย

เวลาเราพูดถึง พรก.ฉุกเฉิน นี่ คนที่ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์จะรู้สึกว่าไม่เห็นมีปัญหาอะไรเลย เพราะว่าเราก็มีชีวิตอยู่ปกติ เราไม่รู้จักด้วยซ้ำไปว่า พรก.ฉุกเฉิน มันจะกระทบอะไรกับเรา ตอนที่กฎหมาย พรก.ฉุกเฉินออกมา พวกเราก็ออกไปคัดค้านตอนนั้น เพราะเป็นการใช้อำนาจโดนเหมือนกับนายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจและไม่ต้องผ่านรัฐสภา ซึ่งเราเห็นว่าอำนาจนี่เป็นอำนาจเบ็ดเสร็จ และการใช้อำนาจแบบนี้มันแทบไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ ซึ่งเราเห็นว่าการให้อำนาจกับใครคนใดคนหนึ่งโดยไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบ มันจะนำมาสู่การทำอะไรโดยที่ไม่สามารถที่จะยับยั้งได้ ตัว พรก.ฉุกเฉินตอนออกมาใหม่ คนก็อาจจะยังไม่เห็นผลร้าย ถ้าไม่ได้ไปใช้กับใครก็จะไม่รู้สึกอะไร แต่เมื่อมันถูกประกาศใช้ใน 3 จว.ชายแดนใต้ คนที่ 3 จว.ก็จะรู้ว่ามันมีผลกระทบอะไร

การประกาศ พรก.ฉุกเฉินที่สมัยรัฐบาลสมัคร สั่งให้เคลื่อนในกรุงเทพไม่ได้ แต่ทำไมกลไก พรก.ฉุกเฉิน ใน 3 จว.จึงเคลื่อนตัวไปได้ ไม่ว่าจะรัฐบาลไหนขึ้นมา

คนกรุงเทพ มีการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน จำได้ว่าในสมัยรัฐบาลสมัครก็มีการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน แต่ตอนนั้นไม่มีผลกระทบอะไร เพราะว่าคำสั่งภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน เมื่อสั่งทหารแล้วสั่งไม่ได้ ก็ไม่มีผล แต่ พรก.ฉุกเฉนมันปรากฏผลเอาตอนรัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งก็จะเห็นว่าจะมีผลกระทบถึงขั้นเสียชีวิต บาดเจ็บ มีการสลายการชุมนุม และมีการเรียกคนที่รัฐสงสัยเข้าไปรายงานตัวกับ ศอฉ.

ในฐานที่ทำงานเคลื่อนไหวด้านแรงงานและเห็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง เราคิดว่ากฎหมายพวกนี้มันควบคุมสิมธิความเป็นคน แล้วก็สิทธิที่เราจะเรียกร้องสิทธิมนุษยชน ในตัวของแรงงานตอนนั้นปี 51 ในสมัยรัฐบาลสมัคร ประกาศ พรก.ฉุกเฉิน พวกเราคนงานตอนนั้นชุมนุมอยู่ที่หน้าโรงงาน พวกเราตื่นเต้นกันมาก เพราะคิดว่า พรก.ฉุกเฉินที่ประกาศถึงสมุทรปราการ จะสั่งให้ยุติการชุมนุมไหม จะควบคุมตัวเราไหม ก็เอาโทรทัศน์มาตั้งที่ชุมนุมเลย ปรากฏว่าคำสั่ง พรก.ฉุกเฉินตอนนั้น ไม่ได้ใช้งานได้เลย เพราะฉะนั้น พรก.ฉุกเฉิน จะใช้งานได้ก็ต้องมีเครื่องมือด้วย คำสั่งของนายกรัฐมนตรีสั่งโดยที่ไม่มีเครื่องมือก็ไม่ได้ เครื่องมือนั้นคือทหารนั้นเอง ซึ่งีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง เพราะฉะนั้นถ้าประกาศ พรก.ฉุกเฉิน อำนาจอยู่ที่นายก ถ้านายกไม่สามารถควบคุมกองทัพได้ก็จบ ดูอย่างสมัยรัฐบาลสมัคร  แต่ก็แปลกการประกาศ พรก.ฉุกเฉินที่สมัยรัฐบาลสมัคร สั่งให้เคลื่อนในกรุงเทพไม่ได้ แต่ทำไมกลไก พรก.ฉุกเฉิน ใน 3 จว.จึงเคลื่อนตัวไปได้ ไม่ว่าจะรัฐบาลไหนขึ้นมา มันสามารถเคลื่อนไปได้โดยกลไกอะไร ก็เชื่อว่าน่าจะเป็นกลไกทหารและก็อ้าง พรก.ฉุกเฉิน อำนาจของนายกคงไม่ได้ลงไปดูอีกแล้วหลังจากได้มอบหมายคำสั่งลงไปแล้ว ก็คงจะแยกส่วน

พรก.ฉุกเฉิน ถ้าประเทศเป็นประชาธิปไตยก็ไม่ควรมี

พรก.ฉุกเฉิน ถ้าประเทศเป็นประชาธิปไตยก็ไม่ควรมี มันจะต้องไม่มีกฎหมายแบบนี้กฎหมายที่ให้อำนาจเบ็ดเสร็จ กฎหมายที่สั่งไปแล้วเอาคืนยากมันควรจะไม่มี

การที่เราไม่มีส่วนร่วมในการเข้าไปตรวจสอบกองทัพ กำหนดกรอบนโยบายกองทัพ สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนใต้ ที่มีปัญหาที่เขาบอกกองทัพเป็นตัวปัญหาอันหนึ่ง ซึ่งไม่มีใครสามารถเข้าไปได้ เพราะเมื่อไหร่ที่คุณตรวจสอบกองทัพคุณก็จะเจอนานทหารที่นิสัยดีๆออกมาต้อนรับแล้วก็พาไปดูพื้นที่ดีๆ ก็จะมีแต่นายทหารพัฒนา ไม่เคยพูดถึงนายทหารที่มีปัญหานี่เป็นอย่างไร ประกอบกับพวกเราจะไม่พูดเรื่องปัญหาความขัดแย้งในกรณีที่ทนายสมชาย นีละไพจิตรที่สูญหายไปจากกรณีที่เข้ามาช่วยเหลือกรณีซ้อมทรมาน คิดว่าจะนำไปสู่การจับหรือการชี้ให้เห็นว่ามีการซ้อมทรมานจริงเจ้าหน้าที่ได้ แล้วก็ทำให้ทนายสมชาย หายตัวไป และก็คิดว่าอันนี้ ก็เป็นปัญหาค้างคาใจอันหนึ่ง

สิ่งที่สำคัญเราไม่ต้องการรู้ว่าสถานการณ์ 3 จว.มีข้อมูลจริงเป็นอย่างไร

สำคัญที่สุดคือปัญหาชายแดนภาคใต้พวกเราไม่รู้ว่าสถานการณ์จริงเป็นอย่างไรไม่มีการตรวจสอบหาข้อมูลข้อเท็จจริง แล้วก็สิ่งที่สำคัญเราไม่ต้องการรู้ว่าสถานการณ์ 3 จว.มีข้อมูลจริงเป็นอย่างไร เราอยากรู้ว่ากองทัพมีปฏิบัติงานใน 3 จว.อย่างไร แล้วก็เอางบประมาณเราลงไปทำอะไรบ้าง ตรงนี้ต่างหากที่เราไม่สามารถตรวจสอบกองทัพได้ เพราะฉะนั้นภายใต้ พรก.ฉุกเฉินมันจะมีอำนาจก็ต่อเมื่อมีกองทัพเข้ามีมีส่วนร่วมให้ พรก.ฉุกเฉินมีอำนาจมากขึ้น มันก็เหมือนกับคนที่อยู่ในกรุงเทพ คนเสื้อแดงก็ได้รับผลกระทบจาก พรก.ฉุกเฉิน ก็ได้เห็นแล้วว่า พรก.ฉุกเฉิน นี่มันควรจะต้องถูกยกเลิก มันจะมีอยู่ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยไม่ได้

ทางออกใน 3 จว.ชายแดนภาคใต้ ก็คือต้องถอนกำลังทหารทันที ยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน พรบ.ความมั่นคง กฎอัยการศึก แล้วให้อำนาจประชาชน เขาควรจะเลือกเขาควรจะปกครองตัวเองในรูปแบบไหน สามารถเลือกตั้งผู้ว่าได้ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารโรงพยาบาล โรงพัก โรงเรียน มีบอร์ดโรงพยาบาล บอร์ดโรงพัก บอร์ดโรงเรียน โดยที่ประชาชนเข้าไปเป็นคณะกรรมการ และการใช้ภาษาถิ่น เข้าใจวัฒนธรรม เพราะวัฒนธรรมในแต่ละท้องทีก็มีความแตกต่างกันออกไป  การเคารพบางอย่างมันอาจจะไม่เหมือนกัน  ผู้นำนำกองทัพต้องมาจากคณะกรรมการที่มาจากการเลือกตั้ง จะเลือกตั้งผ่านสภาหรือโดยตรงจากประชาชนมันก็ควรจะมี เพราะไม่เช่นนั้นก็ทัพก็จะบอกว่าไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง จริงๆมันต้องเกี่ยวกับการเมือง การเมืองต้องเข้าไปควบคุมกองทัพได้

สังคมเรากำลังจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในเร็วๆนี้ มันควรจะยกเลิกกองกำลังทหารใน 3 จว.ชายแดนเสีย เพราะว่าเราจะพัฒนาประเทศได้อย่างไรในเมื่อรอบๆข้างบ้านเราเราจะเป็นประเทศเดียวกันแล้ว เราจะข้ามไปมาหาสู้กันได้ตามปกติแล้ว แล้ว 3 จว.นี้จะควบคุมสถานการณ์โดยรัฐไทยที่จะควบคุมไว้ให้มันมีกองกำลังอยู่ตรงนั้นหรือ เพราะฉะนั้นถ้าคิดว่าเราจะก้าวสู้สังคมอาเซียน ก็ควรจะต้องยกเลิกทหาร ยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน  และถอนกำลังทหาร

ควรเอางบลงไปพัฒนาดีกว่าไปลงที่ทหาร

งบประมาณที่ลงไปดับไฟใต้นี่ถ้าถัวเฉลี่ยแล้วมันสามารถแบ่งให้คนใน 3 จว.ชายแดนใต้ ซึ่งงบประมาณตั้งแต่ปี 47 – 54 นี่ 1 แสน 4 หมื่น 5 พันล้านบาท ถ้าให้ 3 จว.แบ่งกันแล้วใช้การพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงพยาบาล สร้างโรงเรียนหรือว่าสร้างระบบสาธารณูประโภคทั้งหมดนี่ 3 จว.น่าจะมีรถไฟฟ้าที่ดีกว่าในกรุงเทพแล้ว เพราะฉะนั้นก็ควรจัดการตรงนั้น เปิดพื้นที่ให้มีการพัฒนาดีๆ ดีกว่าที่จะเอางบประมาณตรงนี้ลงไปให้กับทหารแล้วเกิดการฆ่ากันตาย

 

“เหตุการณ์ความรุนแรงเป็นที่ประจักษ์แล้วในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนใต้ ณ ปัจจุบันภาคใต้เองมันไม่ได้มีเพียงแค่กลุ่มอุดมาการณ์ขบวนการแบ่งแยกดินแดนแล้ว มันเริ่มมีกลุ่มอิทธิพล ยาเสพติดด้วย หลังปี 47 เป็นที่สงสัยสำหรับประชาชนชาวมาลายูปัตตานีในพื้นที่ว่าเหตุใดยาเสพติดมันระบาดมากเหลือเกินในพื้นที่ 3 จว. ทั้งๆที่เรามี พรก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก เรามีทหารเต็มบ้านเต็มเมืองมากที่สุดในประเทศไทย”

จามาล กีไร ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนนิสิตนักศึกษา พิทักษ์ประชาชน

พวกเราภูมิใจในความเป็นมาลายูปัตตานีมาตั้งนานแล้ว รัฐเองต้องหาวิธีการหรือช่องทางให้เปิดโอกาสให้กับคนมาลายูปัตตานีภูมิใจโดยที่ไม่ต้องสงสัยว่าคนที่ภูมิใจความเป็นมาลายูปัตตานีจะต้องเป็นผู้ก่อการร้ายทุกคน หรือว่าคนที่ภูมิใจในฐานะมาลายูปัตตานีจะต้องเป็นผู้ต้องสงสัยในมิติของรัฐในกรณีเหตุการณ์ต่างๆ ตรงนี้รัฐจะต้องแยกแยะให้ได้

พูดถึงปัตตานี พูดถึงเหตุการณ์ใน 3 จว.ชายแดนใต้ มาถึงวันนี้เหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น ปัตตานีเสียเอกราชให้กับสยามแล้วมีการแบ่งแยกและปกครองช่วงขณะนั้นจะมีการเคลื่อนไหวก็เพียงแค่เจ้านครของปัตตานีเท่านั้นเอง ยังไม่มีการเคลื่อนไหวในมิติของภาคประชาชน จนกระทั้งมาในช่วงของฮายีสุหลง หลังจากที่มีการปฏิวัติประเทศไทยของคณะราษฎร ฮายีสุหลงเองกลับมาประเทศไทย จากไปศึกษาที่ซาอุดิอาระเบียไปศึกษาด้านศาสนาที่เมกกะกลับมาบ้านเกิดของตนเอง  แกมีอุดมคติที่จะให้พี่น้องจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความรู้ด้านศาสนายิ่งขึ้น

จอมพล ป.พยายามที่จะใช้ one nation one race พยายามให้พวกเราในฐานะที่เป็นมาลายูปัตตานีเป็นคนๆเดียวกันของไทยหรือว่าสยามในช่วงขณะนั้น ก็เริ่มที่จะมีข้อขัดแย้งกับทางการรัฐไทย

แต่ในช่วงขณะนั้นเองการเคลื่อนไหวของกลุ่มขบวนการเกิดขึ้นแล้วหรือยัง ยังไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการมากนักจะเป็นรายบุคคลเท่านั้นเอง ยังไม่เป็นขบวนการที่มีมวลชนมากมาย ในช่วงขณะนั้นช่วงคณะราษฎร์ที่อาจารย์ปรีดีเป็นผู้มีอำนาจ ภาคใต้เองก็ไม่ได้มีลักษณะเรื่องของความวุ่นวายเลย อาจารย์ปรีดีก็เข้าใจในมิติที่เกิดขึ้นได้มีจุฬาราชมนตรีขึ้นมาอาจารย์แช่ม พรมยงค์ ซึ่งมาดูแลเรื่องของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงขณะนั้นอาจารย์ปรีดีก็ลงมาทุกครั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังจากที่ได้เชิญมาเปิดโรงเรียนบ้าง แต่หลังจากที่อาจารย์ปรีดีถูกปฏิวัติโดยจอมพล ป. ในยุคขณะนั้นเป็นยุคที่เริ่มมีขบวนการขึ้นมาเพราะว่าหลังจากที่จอมพล ป.พยายามที่จะใช้ one nation one race พยายามให้พวกเราในฐานะที่เป็นมาลายูปัตตานีเป็นคนๆเดียวกันของไทยหรือว่าสยามในช่วงขณะนั้น ก็เริ่มที่จะมีข้อขัดแย้งกับทางการรัฐไทย ประกาศ 12 ฉบับของจอมพล ป. ไม่ใช่ทุกฉบับที่ชาวมาลายูปัตตานีเราไม่เห็นด้วย จะมี 2-3 ฉบับเท่านั้นเองที่มีผลกระทบต่อเรา ด้านวัฒนธรรมอัตตาลักษณ์ของตนเอง ด้านศาสนาในช่วงขณะนั้น เราก็มีการรวมตัวขึ้นโดยมีแกนนำคือฮายีสุหลง จนกระทั้งมีการเสนอให้กับจอมพล ป. 7 ข้อด้วยกัน จะมีผู้นำจะต้องเป็นคนมาจากพื้นที่ 80% ต้องใช้ภาษามาลายูควบคู่กับภาษาไทย ซึ่ง 7 ข้อเหล่านั้นรัฐบาลน่าจะรับในช่วงขณะนั้น

ฮายีสุหลงหายตัวไปความรุนแรงเริ่มเกิดขึ้น…อาจจะเป็นปฐมเหตุของเหตุการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้

แล้วหลังจากที่ถูกปฏิเสธแล้ว ฮายีสุหลงรวมทั้งลูกชายก็ถูกจับแล้วก็มีกลุ่มลูกศิษย์ของฮายีสุหลง เริ่มออกมาเรียกร้อง แล้วก็ประชาชนรู้จักฮายีสุหลงกันหมด แม้แต่รัฐใกล้เคียงก็รู้จัก จนกระทั้งฮายีสุหลงหายตัวไปความรุนแรงเริ่มเกิดขึ้นแล้ว การก่อตัวก่อม๊อปชุมนุมเกิดขึ้น เรียกร้องความเป็นธรรมตรงนี้ ถือได้ว่าอาจจะเป็นปฐมเหตุของเหตุการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วงนั้นก็ว่าได้ จนกระทั้งมีการใช้ขบวนการติดอาวุธ

หลังจากที่ปัตตานียอมรับว่าตนเองมีเอกราชของตนเอง ทราบว่ามีอัตลักษณ์ มีรูปแบบการปกครองของตนเองขึ้นมา พอรู้สึกว่าตนเองเสียอำนาจให้แก่ไทย ตกเป็นอาณานิคมให้แก่สยามแล้ว หลังจากนั้นมันมีเมล็ดพันธุ์ของอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนขึ้นมา มีการเผาโรงเรียนเขาบอกว่าสาเหตุการเผาเนื่องจากกลุ่มขบวนการไม่พอใจนโยบายการศึกษาของรัฐ รัฐเองพยายามยังยอกเด็กมาลายูให้ยอมรับความเป็นไทยมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ซึ่งผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีอุดมการณ์มาลายูปัตตานีก็ยอมรับไม่ได้

ไม่ได้มีเพียงแค่กลุ่มอุดมาการณ์ขบวนการแบ่งแยกดินแดนแล้ว มันเริ่มมีกลุ่มอิทธิพล ยาเสพติดด้วย

พอเหตุการณ์ความรุนแรงเป็นที่ประจักษ์แล้วในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนใต้ ณ ปัจจุบันภาคใต้เองมันไม่ได้มีเพียงแค่กลุ่มอุดมาการณ์ขบวนการแบ่งแยกดินแดนแล้ว มันเริ่มมีกลุ่มอิทธิพล ยาเสพติดด้วย หลังปี 47 เป็นที่สงสัยสำหรับประชาชนชาวมาลายูปัตตานีในพื้นที่ว่าเหตุใดยาเสพติดมันระบาดมากเหลือเกินในพื้นที่ 3 จว. ทั้งๆที่เรามี พรก.ฉุกเฉิน กฎอัยการศึก เรามีทหารเต็มบ้านเต็มเมืองมากที่สุดในประเทศไทย ผมประทับใจวีดีโอคลิปอันหนึ่งที่ทำจากช่องทีวีช่องหนึ่งที่ดูผ่านทางทีวิเคเบิล ตอนนี้แพร่หลายทาง Facebook มาก เป็นหน่วยเก็บกู้ระเบิด หน่วยเก็บกู้ระเบิดเขาได้เขียนว่า เดี๋ยวนี้ไม่ได้เจาะจงเฉพาะกลุ่มก่อการร้ายที่สร้างเหตุการณ์ระเบิดขึ้นมาสร้างความวุ้นวายขึ้นมา บางครั้งคนบางกลุ่ม เจ้าหน้าที่บางกลุ่มที่แสวงหาผลประโยชน์ และก็การสร้างความวุ่นวายเพื่อให้ได้ผลประโยชน์นั้นมา เป็นช่วงที่ผู้สื่อข่าวสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่กำลังไปดูเหตุการณ์ยิงปืน M79 ซึ่งนายทหารคนนั้นก็บอกว่า ดูแล้วก็น่าจะรู้ว่ามันเป็นฝีมือของใคร เพราะ M79 มันไม่ได้มีให้เฉพาะประชาชนชาวบ้านทั่วไป แต่มันมีเฉพาะสถานที่ของมันที่จะต้องอยู่ของปืน เจ้าหน้าที่เองก็สงสัยว่ามันไม่ใช่กลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน มันจะต้องมีกลุ่มหลายๆกลุ่มขึ้นมา

จะแก้ปัญหาต้องเอาตัวจริงทั้ง 2 ฝ่ายมาเจรจา

รัฐเองก็จะต้องให้ความจริงใจจริงจังต่อการแก้ปัญหา ปัญหา 3 จว.ชายแดนใต้มันสิ้นสุด ปัญหาของขบวนการแบ่งแยกดินแดน มันสิ้นสุด มันต้องมีพื้นที่ของการเจรจา ผมยังยืนยันเรื่องของการเจรจา มันจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อความจริงใจและความจริงจัง ของทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นขบวนการแบ่งแยกดินแดนเอง ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่มีอำนาจของรัฐไทย เพื่อไทยที่เป็นรัฐบาลปัจจุบันจะเปิดพื้นที่เจรจามีการพูดคุยแล้ว ทำไมเหตุการณ์ยังไม่จบ เพราะว่าการเจรจายังไม่ใช่ตัวจริงของกลุ่ขบวนการ รัฐเอกก็ต้องเอาตัวจริงของรัฐออกมาด้วย พวกเราหวังปราถนาความสันติสุขในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนใต้

วันนี้เราอยู่ภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน ภายใต้กฎอัยการศึก แล้วอยู่มานานด้วยอยู่มากว่า 7 ปี พรก.ฉุกเฉินถูกประกาศมาโดยตลอด ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งที่ 26-27 แล้ว ที่ถูกแประกาศ พรก.ฉุกเฉิน แต่เหตุการณ์มันก็ยังเหมือนเดิม สิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนภาคใต้ มันก็ยังเหมือนเดิม แถมความรุนแรงมันยิ่งเพิ่มขึ้น ดังนั้นหากว่าวิธีการแก้ไขจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังเป็นเป็นลักษณะนี้อยู่ ผมเกรงนะผมกลัวนะกลัวว่ามันจะถูกแยกออกมาจริงๆ เพราะหากว่ายังคงไว้ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาแบบนี้ ประชาชนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจาก พรก. ที่ได้รับผลกระทบจากกฎอัยการศึก ครอบครัวที่เสียชีวิตจากการ พรก. จากกฎอัยการศึก วันนี้ไม่ได้รับความเป็นธรรม  หากว่าเขายังเห็นความเป็นธรรมไม่เจอในประเทศไทย มีกลุ่มขบวนการที่อ้าแขนยอมรับ พร้อมที่จะรับ พร้อมที่จะอ้าแขนรับ ดังนั้นเมือไหร่ที่ประชาชนกลับเห็นว่าเสรีภาพแล้ความยุติธรรมไม่เกิดขึ้นกับตัวเองแล้วนี่ แน่นอนว่าประชาชนเหล่านั้นต้องไปสู่แนวทางของขบวนการแบ่งแยกดินแดนอย่างแน่นอน ดังนั้นวันนี้รัฐจะต้องไตร่ตรองและจริงจังมากขึ้น

 

“การพยายามแช่แข็งของเก่าในของใหม่” คือว่า ณ ปัจจุบันถ้าไม่มีการสู้รบเกิดขึ้น ทหารก็จะไม่มีหน้าที่อะไรเลย เพราะว่ารัฐบาลก็จะไม่เรียกใช้ แต่สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นคือว่า มันมีชุดความคิดหนึ่งที่ว่าทำอย่างไรให้รัฐบาลเรียกใช้ การที่ทำให้เกิดความไม่สงบเกิดขึ้น..”

พรชัย ยวนยี เลขาธิการ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.)

ถ้าเราจะมองหน้าที่ของรัฐมองว่ารัฐมันทำหน้าที่อะไร ก็คือการตั้งรัฐขึ้นมาของแต่ละประเทศหน้าที่ของมันมีแค่ 2 อย่าง อย่างแรกคือ มีหน้าที่รักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับพลเมืองของรัฐ หน้าที่อย่างที่ 2 ของมันคือจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้พลเมืองทุกคนที่มีความต้องการที่ไม่จำกัด นี่คือหน้าที่ของรัฐ

เครื่องมือของรัฐ มันใหญ่กว่ารัฐหรือเปล่า

แล้วตัวแสดงของรัฐคืออะไร ก็คือรัฐบาล แล้วเครื่องมือที่รัฐใช้ในการให้คนเชื่อ ก็คือคุก ศาล ทหาร ตำรวจ แต่สิ่งที่ผมชวนให้ท่านคิดคือว่า สรุปแล้วรัฐมันทำหน้าที่ตรงนี้จริงๆไหม แล้วตัวที่เป็นเครื่องมือของรัฐ มันใหญ่กว่ารัฐหรือเปล่า คือตอนนี้เราเข้ามาเจาะที่รัฐไทย รัฐสามารถควบคุมตัว Actor (ตัวแสดง)เราจะสังเกตเห็นตลอดช่วงปีที่ผ่านมาเราก็จะเห็นรัฐบาลไม่สามารถไปแก้ปัญหา พรบ.กลาโหม ได้ อย่างนี้สรุปแล้วเครื่องมือที่รัฐใช้ รัฐควบคุมได้หรือเปล่า หรือว่ามีอำนาจมากกว่ารัฐ

สังคมไทยคิดว่าความมั่นคงทางหารทหารเป็นความมั่นคงสุดยอด

ที่บอกไปรัฐมีหน้าที่รักษาความมั่นคงปลอดภัย รัฐชอบอ้างความมั่นคง ซึ่งแน่นอนความมั่นคงมีหลายความมั่นคง แต่สังคมไทยมักสโคปความมั่นคงเป็นความมั่นคงเกี่ยวกับทหาร การอยู่ดีกินดีของพลเมืองถือเป็นความมั่นคงหรือปล่าว คือถ้ารัฐไม่มีคนก็ไม่สามารถเรียกรัฐได้ การที่รัฐมีโรงพยาบาลที่รักษาเราอยู่รอดเป็นความมั่นคงทั้งนั้น เรามีโรงเรียนที่สอนพลเมืองให้มีการศึกษาเป็นความมั่งคง ทุกอย่างเป็นความมั่นคง แต่สังคมไทยคิดว่าความมั่นคงทางหารทหารเป็นความมั่นคงสุดยอด และเราก็เลยเชื่ออย่างนั้นจริงๆเพราะว่ารัฐก็จะสอนเราอยู่อย่างนี้ จนกลายเป็นว่าการทหารคือสิ่งสำคัญที่สุด

แต่ถ้าเราพยายามทำความเข้าใจสังคมองค์รวมทั้งหมด เราจะพบว่า ณ ปัจจุบันมันหมดไปแล้ว หมดยุคทหารไปแล้ว มันไม่ใช่การต่อสู้เรื่องอาวุธ มันไม่ใช่การต่อสู้เรื่องการทหารอีกต่อไป แต่มันคือการต่อสู้ความอยู่ดีกินดี การต่อสู้กับต่างประเทศในเรื่องเศรษฐกิจ การต่อสู้กับไม่ว่าจะเป็น neo liberalism ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้ของพลเมืองเพื่อให้ได้ประชาธิปไตยมา สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่การทหารอีกต่อไป แต่เรากลับเห็นปรากฏการณ์ที่ว่าทหารพยายามเข้ามามีอำนาจเช่นในอดีต

ปัจจุบันถ้าไม่มีการสู้รบเกิดขึ้น ทหารก็จะไม่มีหน้าที่อะไรเลย

คำที่ผมพยายามใช้ว่า “การพยายามแช่แข็งของเก่าในของใหม่” คือว่า ณ ปัจจุบันถ้าไม่มีการสู้รบเกิดขึ้น ทหารก็จะไม่มีหน้าที่อะไรเลย เพราะว่ารัฐบาลก็จะไม่เรียกใช้ แต่สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นคือว่า มันมีชุดความคิดหนึ่งที่ว่าทำอย่างไรให้รัฐบาลเรียกใช้ การที่ทำให้เกิดความไม่สงบเกิดขึ้น ยกตัวอย่างกรณีหนึ่ง ในสมัยที่สงคมไทยมีภัยคอมมิวนิสต์เชื่อไหมครับว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเกือบทุกจังหวัดอยากให้จังหวัดตัวเองมีคอมมิวนิสต์ อยากให้จังหวัดตนเองเป็นพื้นที่สีแดง เพราะว่างบประมาณจะได้ลง มันเริ่มเข้าไปสู้สิ่งที่เรียกว่าผลประโยชน์ เปรียบเทียบกับ ใน 3 จว.ชายแดนใต้ ความพยายามที่จะทำให้มีความไม่สงบเกิดขึ้นเพื่อที่จะผันงบลงกองทัพ เพื่อให้ผันงบลงมากๆโดยที่มีตัวอ้างว่า พื้นที่ตรงนี้มีความไม่สงบเกิดขึ้น ถ้าไม่สร้างทหารก็ไม่มีประโยชน์ รัฐก็ไม่เรียกใช้

ใน 3 จว.ชายแดนใต้ ทหารใช้เครื่องมือคือกฎหมาย ซึ่งกฎหมายสำคัญซึ่งออกง่ายที่สุด และคิดว่าก็ใช้ได้ตลอดก็คือ พรก.ฉุกเฉิน เพราะออกโดยฝ่ายบริหาร ผมไม่เคยเห็นฝ่ายบริหารชุดไหนต้องการที่จะเลิกจริงๆจังๆ สรุปแล้วรัฐมีอำนาจจริงๆหรือเปล่า วันนี้ผมคิดว่าทุกอย่างโดนกดดันโดยทหาร วันนี่เรายังเกรงกลัวว่าจะมีรัฐประหารหรือเปล่า วันนี่เรายังไม่มีหลักประกันว่าจะไม่มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น ใช่ว่าพื้นที่ 3 จว.จะโดน ในฐานะที่ สนนท.ร่วมเคลื่อนไหวก็โดนเหมือนกัน พี่น้องเสื้อแดงก็โดนเหมือนกัน ทุกๆกลุ่มก็โดนเหมือนกันเพราะไม่มีหลักประกัน และรัฐก็ไม่มีความพยายามที่จะสร้างหลักประกันเพราะมันมีคนได้คนเสีย ซึ่งคนที่เสียมาโดยตลอดก็คือประชาชนทั้งนั้น ดังนั้นเราจะทำอย่างไรให้เราอยู่ได้บนความขัดแย้งที่ไม่ใช้ความรุนแรง ต้องสร้างกติกาที่ยอมรับร่วมกัน คนในสังคมยอมรับกติการ่วมกัน ซึ่งกติกาใหญ่ในสังคมไทยตอนนี้ก็คือรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญปัจจุบันเป็นกติกาที่สังคมไทยยอมรับหรือปล่าว ถ้ามันไม่เป็นที่ยอมรับมาตั้งกติกากันใหม่ ให้ทุกคนมีส่วนร่วม

นอกจากนี้ ฮากิม พงตีกอ กรรมการบริหาร สนนท. ภาคใต้ ยังได้ร่วมอภิปรายในประเด็นที่มีนักศึกษาถูกควบคุมตัวเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา (ดูเพิ่มเติม: น.ศ.เดินขบวนร้องทหารปล่อยตัวอดีตนักกิจกรรม) ว่า “เรารวมตัวนักศึกษาประมาณ 100 คน เพื่อไปสอบถามถึง ฉก. 11ที่ไปคุมตัวนักศึกษาว่าเหตุผลอะไร ที่เอานักศึกษาไป แต่เขาก็ปัดไม่ได้ชี้แจงอะไร และเรื่องนี้จะไม่จบจนกว่าจะกระจ่างชัดขึ้นเพราะว่าคิดว่าถ้าเรื่องนี้ไม่กระจ่างหลังจากนี้ก็จะมีคนที่รับเคราะห์อย่าง เช่น เพื่อนักศึกษาที่ยังอยู่ในกระบวนการสอบสวน ซึ่งอาจจะมีเหตุซ้อมทรมาน”

การซ้อมทรมานในชั้นสอบสวนก็มีหลากหาย ล่าสุดก็เปิดเผยว่ามากกว่า 33 รูปแบบ มองที่ตัวละครระหว่างรัฐกับคนที่ในพื้นที่เรียกกลุ่มขบวนการอุดมการณ์กอบกู้และปลอดปล่อยเอกราชปัตตานี ไม่ใช่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนอย่างที่รัฐใช้ อันนี้เป็นสงครามวาทกรรมด้วย รัฐไทยต้องยอมรับว่าคู่สงครามของตัวเองคือใคร ระหว่างคู่สงครามตรงนี่เป็นการต่อสู้แย่งชิงความชอบธรรม รัฐไทยเป็นรัฐที่ขาดความชอบธรรมที่จะไปดูแลปกครองในดินแดนแห่งนี้แล้ว ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องประสานความชอบธรรมนี้ขึ้นมาใหม่ แต่ พรก.ฉุกเฉินไม่ได้ตอบสิ่งนี้ แต่พยายามตอกย้ำให้มันขัดต่อไป

 

 

 

ประชาไท

เม้าท์มอย: ส.ส.ซู่ส์...ไม่สู้

Posted: 15 Jun 2012 05:12 AM PDT

เม้าท์มอยสัปดาห์นี้ ช่วงแรกมาเม้าท์ๆ มอยๆ เรื่องแก้รัฐธรรมนูญ 50 ที่เป็นเรื่องราวฮือฮาและทำท่าว่าจะเป็นเรื่องยาวหลังจากคณะตลก.รัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้รัฐสภาระงับการลงมติวาระ 3 และพรรคเพื่อไทยทำท่าจะไม่สู้ ขณะที่ผู้เข้าสอบนายสิบตำรวจที่ถูกจับทุจริตน่าจะซู่ส์กว่า เพราะต้องรับสัญญาณสั่นจากเพจเจอร์ที่ติดไว้ในกางเกงเพื่อบอกคำตอบนับร้อยข้อ หลิ่มหลีแนะนำให้ผู้ที่ตั้งใจจะสู้และ ส.ส.ที่ไม่สู้ลองใช้วิธีนี้ดูเผื่อจะจะซู่ส์ๆ มั่ง

ช่วงที่สอง คุยกันถึงเหตุรุนแรงในรัฐอาระกันหรือยะไข่ของพม่า ระหว่างชาวโรฮิงยาซึ่งเป็นมุสลิมกับชาวพุทธที่มีการเผาบ้านเรือนและทำร้ายกันจนมีผู้เสียชีวิตหลายสิบรายน่าสังเกตว่าในประเทศพุทธศาสนาที่สอนให้คนมีเมตตาต่อสรรพสัตว์ ทำไมจึงมีคนที่สนับสนุนให้มีการฆ่ากัน อย่างเช่นที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์สังหารหมู่ชาวทมิฬในศรีลังกา การปราบคนเสื้อแดงในปี 53 หรือล่าสุดสนับสนุนการฆ่าโรฮิงยาในรัฐยะไข่ของพม่า

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้ว่าฯ สุราษฎร์ฯ จี้ป่าไม้เดินหน้าคดีเอกชนรุกปลูกปาล์มน้ำมัน นำที่ดินปฏิรูปให้เกษตรกร

Posted: 15 Jun 2012 04:46 AM PDT

ประชุมหารือแก้ปัญหาปมขัดแย้งที่ดินทำกินกรณีชุมชนในพื้นที่ “โฉนดชุมชนนำร่อง” ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรียกประชุมตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จี้ป่าไม้เร่งดำเนินคดีกับผู้ประกอบการปาล์มน้ำมัน ให้นายอำเภอปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นธรรม

 
 
14 มิ.ย.55 เวลาประมาณ 09.30 น. ที่ห้องประชุมศรีสุราษฎร์ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายเชิดศักดิ์ ชูศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรียกประชุมตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินใน อ.พระแสง และ อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีภาคประชาชนตัวแทนจากสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้เข้าร่วมหารือ เพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ดินทำกิน
 
สืบเนื่องจาก กรณีที่ตัวแทนชุมชนสันติพัฒนาและชุมชนไทรงามพัฒนาได้ร่วมกับเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) ได้เข้าพบ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 28 พ.ค.55 เพื่อขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน
 
หน่วยงานที่เข้าร่วมการประชุมหารือการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ดินทำกินกรณีชุมชนสันติพัฒนา ชุมชนคลองไทร ชุมชนไทรงามพัฒนาที่อยู่ในโครงการ “โฉนดชุมชนนำร่อง” ครั้งนี้ ประกอบด้วยหัวหน้าสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี ฝ่ายนิติกร เจ้าหน้าที่ป่าไม้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี รองผู้กำกับการอำเภอชัยบุรี ผู้กำกับการอำเภอพระแสง นายอำเภอชัยบุรี และนายอำเภอพระแสง ร่วมกับนายสุรพล สงฆ์รักษ์ นายบุญฤทธิ์ ภิรมย์ และนายมนัส กลับชัย สมาชิกสหพันธ์เกษตรภาคใต้
 
ในกรณีชุมชนสันติพัฒนา ที่มีการส่งมอบพื้นที่แล้วในส่วนที่อยู่ในการดูแลของ ส.ป.ก.จำนวน 276 ไร่ส่วนที่เหลืออีก 1,134 ไร่ที่บริษัท สหอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน มหาชนจำกัด เข้าครอบครองปลูกปาล์มน้ำมันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และอยู่ในการดูแลของหน่วยงานป่าไม้จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มีการสั่งการให้ป่าไม้จังหวัดสุราษฎร์ธานีเร่งดำเนินคดีกับผู้ประกอบการโดยเร่งด่วน เพื่อนำที่ดินดังกล่าวคืนสู่ภาครัฐนำสู่การปฏิรูปให้เกษตรกรต่อไป
 
สำหรับกรณีชุมชนไทรงามพัฒนา ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้ ส.ป.ก.จังหวัดสุราษฎร์ธานีเร่งจัดตั้งคณะกรรมการเข้าตรวจสอบคุณสมบัติเกษตรกร และเนื่องจากชาวบ้านได้ร้องเรียนเรื่องผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ใช้อิทธิพลกลั่นแกล้ง จับกุม ข่มขู่ จึงได้สั่งการให้นายทศพร จันทรประวัติ นายอำเภอชัยบุรี เข้าไปกำกับดูแลให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นธรรม จากนั้นจึงปิดประชุมเวลา 12.30 น.
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"สุรินทร์" แจงอาเซียนกำลังศึกษาปัญหาโรฮิงยา ก่อนฟันธงมาตรการในยะไข่

Posted: 15 Jun 2012 04:19 AM PDT

เลขาธิการอาเซียนแจง ขณะนี้กำลังรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อหามาตรการแก้ไขความรุนแรงในยะไข่ ในขณะที่องค์กรสิทธิ์เรียกร้องยูเอ็นและอาเซียนเข้าไปสังเกตการณ์และให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมโดยเร็ว 

 15 มิ.ย. 55 - สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (ASEAN) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีความรุนแรงในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของพม่าที่ดำเนินมาราวสองอาทิตย์ที่แล้วว่า อาเซียนได้รับมอบหมายจากกระทรวงการต่างประเทศให้ศึกษาปัญหาของชนกลุ่มน้อยโรฮิงยาตั้งแต่สามปีมาแล้ว และในขณะนี้ กำลังรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นและอาจเข้าไปสังเกตการณ์ในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อหาวิธีแก้ไขให้เหตุการณ์ดังกล่าวสงบลงโดยเร็ว

ทั้งนี้ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (13 มิ.ย.) แถลงการณ์ร่วมขององค์สิทธิมนุษยชนในภูมิภาค อาทิ ฟอรั่ม เอเชีย (FORUM-ASIA),  อัลต์เซียน เบอร์มา (ALTSEAN-Burma), คณะกรรมการเพื่อคนสูญหายและเหยื่อความรุนแรงของอินโดนีเซีย (KontraS) และสมาพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) ได้เรียกร้องให้ประชาคมนานาชาติ ทั้งหน่วยงานทางการทูตและสหประชาชาติ ส่งตัวแทนเข้าไปสังเกตการณ์เพื่อประเมินวิกฤตทางมนุษยธรรมที่อาจเกิดขึ้นและให้ความช่วยเหลือ 

นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้บังกลาเทศเปิดชายแดนเพื่อรับผู้อพยพจากเหตุการณ์การปะทะในชายแดนตะวันตกของพม่า ตามหลักการสิทธิมนุษยชนสากล โดยล่าสุด มีรายงานว่า บังกลาเทศได้ส่งกลับชาวโรฮิงยาราว 1,500 คนที่พยายามหนีความรุนแรงจากพื้นที่ดังกล่าว และได้เพิ่มกำลังทหารและตำรวจบริเวณชายแดนให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้น 

ดิภู โมนิ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของบังกลาเทศได้กล่าวในสภาเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมาว่า ตนขอเรียกร้องต่อองค์กรต่างประเทศและองค์กรภาคประชาชนว่า อย่าเรียกร้องให้บังกลาเทศต้องรับคนโรฮิงยาเข้าประเทศตนเอง เพราะไม่เคยลงนามในสนธิสัญญาระหว่างประเทศใดๆ ที่ให้ความช่วยเหลือและที่พักแก่ผู้ลี้ภัย และกล่าวว่าเป็นเรื่องของพม่าที่ต้องแก้ปัญหาของตนเอง

เด็บบี้ สต็อทฮาร์ท ตัวแทนจากองค์กรรณรงค์ประชาธิปไตยในพม่า อัลต์เซียน เบอร์ม่า ให้ความเห็นว่า ความรุนแรงในรัฐยะไข่ หรืออาระกัน อาจนับเป็นความรุนแรงในระดับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เนื่องจากรัฐบาลพม่าได้บังคับใช้กฎหมายที่จำกัดชาวโรฮิงยาในการแต่งงาน มีลูก และเคลื่อนย้ายข้ามถิ่นมาเป็นเวลานาน นอกเหนือจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ 

ล่าสุด ข้อมูลจากรัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงและชายแดนรัฐยะไข่ ระบุว่า มีชาวมุสลิมเสียชีวิตแล้ว 16 คน และชาวพุทธ 13 คน บาดเจ็บหลายสิบคน และบ้านราว 2,600 หลังเสียหายจากไฟเผา

อนึ่ง ความไม่สงบในรัฐอาระกันเริ่มมาจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. ซึ่งมีกลุ่มมุสลิมแสวงบุญ 10 คนถูกชาวอาระกันตีจนเสียชีวิต ระหว่างเดินทางไปย่างกุ้ง โดยการโจมตีดังกล่าวเพื่อตอบโต้กับข้อกล่าวหาว่ามีสตรีอายุ 26 ปีรายหนึ่งถูกข่มขืนและฆ่าโดยชาวมุสลิมสามคนเมื่อช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 3 ถูกควบคุมตัวแล้วและอยู่ในระหว่างการดำเนินคดี ขณะที่เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ที่่ผ่านมา มีรายงานโดยสื่อพม่าว่า หนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาได้ฆ่าตัวตายในเรือนจำ

และสถานการณ์รุนแรงในรัฐอาระกันเริ่มขยายตัวมากขึ้น หลังจากเกิดเหตุประท้วงเมื่อวันศุกร์ที่่่ผ่านมาโดยชาวโรฮิงยา โดยซึ่งได้เข้าโจมตีชุมชนชาวอาระกัน ในเมืองมงดอว์ รัฐอาระกัน โดยหลังเกิดเหตุ ทางการพม่าได้ประกาศเคอร์ฟิวในพื้นที่ทันทีและห้ามประชาชนในพื้นที่ชุมนุมกันเกิน 5 คน 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "อย่าให้มันลอยนวล"

Posted: 15 Jun 2012 04:17 AM PDT

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "อย่าให้มันลอยนวล"

เสวนาโต๊ะกลม "ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค: กรณีจอดำ ฟุตบอลยูโร 2012"

Posted: 14 Jun 2012 05:28 PM PDT

“จอดำยูโร” กสทช.หนุน จีเอ็มเอ็มถกยูฟ่า ให้ “จานดำ” ออกอากาศได้ พร้อมเผยแผน 5 ข้อ แก้ปัญหาระยะยาว  “จีเอ็มเอ็ม” ขอรัฐบาลส่งจดหมายถึงยูฟ่า เปิดทางเจรจาชี้เป็นวาระชาติ “วรวัจน์” เรียกทุกฝ่ายหาข้อสรุปวันนี้ จ่อชงเป็นคดีพิเศษทางเศรษฐกิจ 

 
 
14 มิ.ย.55 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมกับคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จัดเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง “ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค: กรณีจอดำ ฟุตบอลยูโร 2012” ณ โรงแรมเอเชีย โดยเชิญผู้บริหารจาก บริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด เจ้าของลิขสิทธิ์ และบริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) รวมถึงผู้บริหารช่อง 3, 5, 9 ทีวีผ่านดาวเทียม เคเบิลทีวี และเครือข่ายผู้บริโภค ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
 
 
“จอดำยูโร” ประเด็นระดับชาติ ขอรัฐบาลส่งจดหมายถึงยูฟ่า
 
นายเดียว วรตั้งตระกูล กรรมการผู้จัดการสายงาน แพลทฟอร์ม สเตรทิจี้ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด
ชี้แจงกรณีลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 ว่า สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ได้กำหนดช่องทางการถ่ายทอดไว้อย่างชัดเจน ซึ่งตนเองเชื่อว่าเป็นนิยามมุมสากล โดยนิยามช่องฟรีทีวีที่ยูฟ่ากำหนดไว้สรุปได้ว่า สิทธิ์การรับชมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย รับชมอย่างอิสระ ส่วนการรับชมผ่านดาวเทียมเป็นอีกลิขสิทธิ์
 
นายเดียว กล่าวด้วยว่า จีเอ็มเอ็มใช้งบกว่า 400 ล้านบาท เพื่อให้ได้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด และเมื่อได้สิทธิ์แล้วก็นำมาบริหารจัดการ หาหุ้นส่วนแต่ละช่องทางตามสิทธิที่ยูฟ่าให้ไว้ ซึ่งการเจรจากับฟรีทีวี เช่น ช่อง 3 , 5 และ 9 ในช่องทางการส่งสัญญาณภาคพื้นดิน และมีการแบ่งรายได้โฆษณา
 
ส่วนการนำเสนอผ่านช่องทางอื่น เช่น ระบบดาวเทียม ที่อาจจะมีการแพร่สัญญาณภาพครอบคลุมไปถึงประเทศอื่นก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับสัญญาที่ทำกับยูฟ่าไว้ เพราะได้สิทธิการถ่ายทอดให้รับชมเฉพาะในประเทศไทย ดังนั้น ถ้าหากเกิดปัญหาว่าการรับชมช่องฟรีทีวีผ่านระบบระบบดาวเทียมก็จะต้องมีการให้เข้ารหัสสัญญาณ
 
ต่อกรณีเหตุการณ์จอดำ นายเดียวกล่าวยอมรับว่า ไม่ได้เกิดขึ้นในกรณีนี้เป็นครั้งแรก โดยการถ่ายทอดสดรับชมบอลโลกเมื่อ 2 ปีที่แล้วก็เลยปรากฏจอดำ ซึ่งขณะนั้นระบบการรับชมสัญญาณก็เริ่มใช้ระบบดาวเทียมเช่นกัน หรืออย่างกรณีการถ่ายทอดสดชกมวยของปาเกียวที่ผ่านมาที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 สีได้ลิขสิทธิ์ การรับชมระบบฟรีทีวีก็รับชมได้ปกติ ส่วนการรับชมทีวีผ่านระบบระบบดาวเทียมก็จะดูได้เฉพาะจานดาวเทียมของ PSI ที่มีข้อตกลงกับช่อง 7 เท่านั้น ส่วนจานดาวเทียมอื่นก็จะจอดำ เช่นเดียวกับการถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกก็มีลิขสิทธิ์เช่นกัน ดังนั้น เรื่องจอดำจึงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ และครั้งนี้ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับการนิยามช่องทางที่จะได้รับชมสัญญาณตามลิขสิทธิ์
 
กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด กล่าวด้วยว่า ในวันนี้ หลังจากที่ได้เข้าชี้แจงกับทางรัฐสภา ก็ได้แจ้งให้ทางรัฐสภาทำหนังสือที่จะขอดูสัญญาที่จีเอ็มเอ็มทำกับยูฟ่า เพราะปกติสัญญาที่ทำจะต้องเป็นความลับระหว่างธุรกิจไม่สามารถเปิดเผยได้ เพื่อที่ทางจีเอ็มเอ็มจะได้แจ้งให้ยูฟ่าได้รับทราบถึงความจำเป็น และใช้จดหมายจากรัฐสภาในการเจรจาว่าขณะนี้ปัญหานี้ได้กลายเป็นปัญหาระดับชาติ ไม่ได้เป็นปัญหาระดับธุรกิจแล้ว
 
สำหรับจีเอ็มเอ็มเองยินดีที่จะเปิดสัญญา เพราะเชื่อว่าได้ทำทุกอย่างโปร่งใสบนพื้นฐานของข้อตกลงที่เป็นสากล และระหว่างนี้จะหาทางพูดคุยและทำความเข้าใจกับยูฟ่า โดยจะพยายามดำเนินการให้เร็วที่สุด น่าจะมีคำตอบในวันที่ 15 มิ.ย.นี้
 
 
“วรวัจน์” เรียกทุกฝ่ายหาข้อสรุป จ่อชงเป็นคดีพิเศษทางเศรษฐกิจ
 
ทั้งนี้ไทยรัฐออนไลน์ระบุ ในวันที่ 15 มิ.ย.55 นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีที่กำกับดูแล ได้เรียกดูสัญญาระหว่างจีเอ็มเอ็มแซทและยูฟ่า พร้อมเชิญผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ ช่อง 3 5 9 และทีวีดาวเทียมทุกช่องที่ได้ลิขสิทธิ์ เพื่อหาข้อสรุป ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยระบุว่าหากไม่สามารถดำเนินการได้ ต้องใช้ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมีทั้งความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา อีกทั้งมีการเชิญดีเอสไอเข้าร่วมประชุมด้วย เพราะหากมีการฟ้องร้องก็จะส่งเรื่องนี้ให้เป็นคดีพิเศษทางเศรษฐกิจ
 
 
“ผู้บริหารช่อง 3” แนะ “กสทช.” กำหนดเกณฑ์ให้ชัด
 
สำหรับ กรณีสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งถือเป็นสถานีฟรีทีวีหลักในการถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร 2012 โดยถ่ายทอดสดทางจำนวน 27 แม็ตช์ จากทั้งหมด 31 แม็ตช์
 
นายประวิทย์ มาลีนนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ผู้ได้รับสัมปทานดำเนินกิจการ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 กล่าวว่า ในเรื่องเกี่ยวกับการถ่ายทอดสัญญาณฟุตบอลยูโร 2012 ได้ปฏิบัติตามที่จีเอ็มเอ็มระบุ โดยช่อง 3 เสมือนเป็นตัวกลางที่รับจ้างส่งสัญญาณสู่ช่องฟรีทีวีที่ประชาชนจะเข้าถึงได้ ขณะที่กรณีจอดำจากกรณีลิขสิทธิ์ครั้งนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นครั้งแรก และเคยเกิดขึ้นมาแล้วในกรณีฟุตบอลยูโรเช่นกัน
 
นายประวิทย์ ระบุว่า ต้นเหตุหรือคนผิดในกรณีที่เกิดขึ้นนี้คือเทคโนโลยีที่พัฒนาไปจนทำให้เกิดสื่อใหม่ๆ ขึ้นมาเป็นทางเลือก เป็นช่องทางใหม่ที่จะรับสัญญาได้ และกลายเป็นธุรกิจขึ้นมา ส่วนเจ้าของลิขสิทธิ์ก็มีการจัดหมวดหมู่ฟรีทีวีและทีวีดาวเทียมเพื่อขายลิขสิทธิ์ตามช่องทางนำเสนอ นอกจากนั้น ในกรณีฟรีทีวีที่บริการไม่ดี ไม่ทั่วถึง ภาครัฐแทนที่จะแก้ไขให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสัญญาณที่ดีอย่างทั่วถึง กลับสนใจดูแต่ใบอนุญาตและการเก็บสัมปทาน เมื่อช่องทางการบริการใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ลูกค้าฟรีทีวีก็หายไปเรื่อยๆ ตรงนี้เป็นปัญหาของฟรีทีวีมาตลอด
 
ทั้งนี้ในด้านธุรกิจ การดูฟรีทีวีผ่านจานดาวเทียม สร้างความเสียหายให้ฟรีทีวีเพราะคนดูเป็นกลุ่มเดียวกัน อีกทั้งการบริโภคเนื้อหาฟรีทีวีผ่านช่องทางเลือกใหม่นี้เกิดขึ้นโดยที่คนไม่รู้เลยว่ามีเรื่องลิขสิทธิ์อยู่ด้วย
 
นายประวิทย์ กล่าวด้วยว่า อยากให้ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคเข้าใจกรอบการให้บริการของฟรีทีวี เพราะสัมปทานของฟรีทีวีเป็นในส่วนภาคพื้นดิน และสัญญาสัมปทานก็มีเงื่อนไขชัดเจน โดยมีหน่วยงานของรัฐและ อสมท.ควบคุมอยู่ ว่าอะไรทำได้หรือไม่ได้
 
อย่างไรก็ตามในส่วนการเข้าถึงข่าวสารของผู้บริโภค นายประวิทย์ เสนอว่า หากจะให้มีการแก้ไขในอนาคต กสทช.ก็ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าในการส่งสัญญาณของระบบทีวีดาวเทียมหรือเคเบิ้ลแบบบอกรับสมาชิกจะต้องจัดให้มีช่องสัญญาณของฟรีทีวีเข้าไปอยู่ในอันดับต้นๆ เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคทุกส่วนเข้าถึงทุกรายการ เพราะต้องยอมรับว่าช่องฟรีทีวีในบางพื้นที่ก็มีปัญหาเรื่องการส่งสัญญาณรับชมที่จะไม่ชัดทำให้ผู้บริโภคหันไปพึ่งพาทีวีระบบดาวเทียมหรือเคเบิ้ล
 
ส่วนเรื่องลิขสิทธิ์ของรายการก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องรับในทางธุรกิจว่าจะต้องมีผู้จ่ายเงินเพื่อซื้อลิขสิทธิ์ ซึ่งจุดนี้ต้องพูดคุยกันให้ชัดเจนว่าใครจะต้องเป็นผู้จ่าย หรือภาครัฐจะมีการช่วยสนับสนุนได้บางส่วนหรือไม่ เรื่องลิขสิทธิ์แก้ไขได้ด้วยเงิน
 
 
 
“ฟรีทีวี” ร่วมแจงปัญหา “ลิขสิทธิ์”
 
ด้านตัวแทนของสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 กล่าวว่า การถ่ายทอดฟุตบอลยูโรครั้งนี้ ทางช่อง 5 และ 9 ได้ตัดรายการปกติออกไปเพื่อถ่ายทอดเพียงในส่วนเล็กน้อยที่ช่อง 3 อาจรับผิดชอบได้ไม่ทั่วถึง และในเรื่องลิขสิทธิ์นั้นเป็นสิ่งที่ฟรีทีวีเป็นกังวลและขณะนี้ก็มีคดีฟ้องร้องกันอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น กรณีของเพลงที่ใช้ประกอบในรายการต่างๆ
 
สำหรับกรณีที่ทรูวิชั่นและช่องทีวีดาวเทียม นำสัญญาณของช่อง 5 ไปเผยแพร่ จนทำให้ผู้บริโภคเกิดความเคยชินว่าจานรับสัญญาณดาวเทียมสามารถรับชมรายการฟรีทีวีได้จึงเปลี่ยนจากเสาอากาศแบบก้างปลาและหนวดกุ้ง หันไปใช้จานดาวเทียมนั้น ไม่เคยมีการทำสัญญา มีเพียงการขออนุญาต และที่ให้เพราะต้องการให้ผู้บริโภครับชมอย่างทั่วถึง
 
ตัวแทนของสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 แสดงความเห็นเพิ่ม จากนายประวิทย์ มาลีนนท์ถึงต้นเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยว่า นอกจากเทคโนโลยีแล้วยังมีเรื่องของกฎหมายที่ยังตามไม่ทัน อีกทั้งการที่มีผู้เล่นเยอะ ทั้งผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และกรรมาธิการฯ ทำให้ประเด็นถูกขยาย จนบางครั้งหาความจริงกันไม่เจอ
 
ขณะที่นายธนะชัย วงศ์ทองศรี รองกรรมการ ผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท ตัวแทนจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ แสดงความเห็นว่า ปัญหาหลักของกรณีนี้คือเรื่องลิขสิทธิ์ ซึ่งการละเมิดลิขสิทธิ์ก่อให้เกิดผลเสียหายสูง ทั้งนี้รายการหนึ่งๆ ที่ออกอากาศก็มีลิขสิทธิ์ซ้อนกันอยู่และไม่มีกฎหมายใดไปยกเลิกอำนาจลิขสิทธิ์ได้ ทางสถานีจึงระมัดระวังในเรื่องนี้มาก
 
ส่วนฟุตบอลยูโรปีนี้ โมเดิร์นไนท์ทีวีรับถ่ายทอดมา 3 แมช ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์คือจีเอ็มเอ็มส่งจดหมายมาถึง ระบุให้เปลี่ยนรหัสเข้าสัญญาณไม่ให้มีการถ่ายทอดรายการผ่านทางทรูวิชั่นส์ เว็บไซต์ และรายการดูทีวีย้อนหลัง ตรงนี้ไม่มีผู้ให้บริการช่องไหนอยากละเมิด
 
นายธนะชัย ให้ข้อมูลด้วยว่า โมเดิร์นไนท์ทีวีได้รับใบอนุญาตให้แพร่ภาพทางภาคฟื้นดินเท่านั้น การยิ่งสัญญาณขึ้นดาวเทียมเพื่อส่งต่อให้ลูกข่ายนำไปออกอากาศ ไม่ได้เป็นการออกอากาศทีวีดาวเทียม และสามารถออกอากาศครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 96 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศไทย ทั้งนี้ในส่วนความคมชัดอาจเป็นปัญหามากกว่าในการทำให้ประชาชนบางหันไปใช้บริโภคข่าวสารผ่านช่องทางอื่น
 
 
เสนอทางออก เร่ง “กสทช.” ออกใบอนุญาตทีวีดาวเทียม
 
นายวิชิต เอื้ออารีวรกุล ตัวแทนผู้ประกอบการเคเบิลทีวี กล่าวว่า จานดาวเทียม (KU BAND) ทุกสี ผิดกฎหมาย ไม่มีผู้ประกอบการรายใดได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ แต่ กสทช.เกิดมาช้า และปัจจุบันต้องมารับผิดชอบผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำผิด ทั้งนี้ สิ่งที่ กสทช.ต้องรีบทำเพื่อแก้ปัญหาคือ 1.การออกใบอนุญาตทีวีดาวเทียม 2.การให้ใบอนุญาตจะต้องนำรายการในฟรีทีวีทั้ง 6 ช่องไปด้วย 3.รายการใดออกฟรีทีวีได้ ต้องออกทางเคเบิลทีวีแบบบอกรับสมาชิกด้วย
 
นายวิชิต กล่าวด้วยว่าปัญหาที่เกิดขึ้น ฟุตบอลเอฟเอคัพ เคยเกิดขึ้นมาแล้ว แต่ไม่มีการพูดถึงเพราะเป็นกรณีคนจน แต่วันนี้เป็นเพราะคนรวยดูไม่ได้ จานสีต่างๆ ที่ไม่ได้มีใบอนุญาตพยายามออกมาโวยวายเรื่องนี้ ทั้งที่ควรกลับไปทำตัวให้ถูกกฎหมายก่อน ส่วนลิขสิทธิ์มีการไปประมูลซื้อเสียเงินมาก กสทช.ควรต้องออกกฎแยกประเภทลิขสิทธิ์ที่ยอมให้ซื้อเอ็กซ์คูลซีฟหรือกรณีที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะออกมาให้ชัดเจน
 
นายสมพันธ์ จารุมิลิน รองประธานกรรมการบริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ร่วมแสดงความเห็นว่า หากจะให้มีการส่งสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมโดยต้องเข้ารหัสเพื่อป้องกันไม่ให้มีการถ่ายทอดสัญญาณออกไปนอกประเทศ ทางทรูวิชั่นส์ยืนยันว่าสามารถทำได้ ขณะที่ในการให้บริการผู้บริโภคของทรูวิชั่นส์เองมาจากรายการที่ซื้อลิขสิทธิ์มาก็มีจำนวนมาก และทรูวิชั่นส์ก็เคยปล่อยสัญญาณให้กับฟรีทีวี เช่น ช่อง 3 นำไปออกอากาศได้โดยไม่มีการคิดค่าใช้จ่าย ซึ่งค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคก็เป็นในลักษณะบอกรับสมาชิกตามแพ็คเก็จต่างๆ อยู่แล้ว ส่วนค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าลิขสิทธิ์ทางทรูวิชั่นส์เป็นผู้รับผิดชอบเอง
 
 
หนุน “จีเอ็มเอ็ม” เจรจา “ยูฟ่า” ให้จานดำดูฟุตบอลยูโร
 
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.ซึ่งดูแลด้านคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ระบุว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารพื้นฐานโดยเฉพาะในส่วนของฟรีทีวี อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับเรื่องลิขสิทธิ์และเทคโนโลยี ซึ่งผลจากการร่วมแสดงความคิดเห็นครั้งนี้ถูกนำไปเสนอต่อที่ประชุมบอร์ด กสทช. ในวันจันทร์ที่ 18 มิ.ย.นี้ เพื่อหาทางออกของทั้งสำหรับเอกชนกับเอกชน เอกชนกับผู้บริโภค รวมทั้งองค์กรกำกับอย่าง กสทช.เอง
 
นางสาวสุภิญญา กล่าวด้วยว่า กสทช.สนับสนุนแนวคิดของคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ในการหาช่องทางแก้ปัญหาในภาพรวม แม้ยังแก้ไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ คือทำอย่างไรให้ดาวเทียมจานดำดูฟุตบอลยูโร 2012 ได้ โดยขอให้จีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด ไปเจรจากับทางยูฟ่าเจ้าของลิขสิทธิ์ให้ทราบว่าไทยพัฒนาเทคโนโลยีล่าช้า และขณะนี้ประชาชนชมรายการฟรีทีวีผ่านจานดำและระบบดาวเทียมเหมือนเป็นฟรีทีวีไปแล้ว จึงต้องการให้ประชาชนที่ใช้จานดำสามารถชมฟุตบอลยูโรได้ แต่จำกัดโดยการเข้ารหัสให้สามารถรับชมได้เพียงในประเทศไทยเท่านั้น ส่วนกรณีทรูวิชั่นส์ หากแก้ไขปัญหาจอดำไม่ได้ จะนำรายละเอียดไปหารือในที่ประชุมบอร์ด กสทช.ต่อไป
 
นางสาวสุภิญญา กล่าวยอมรับด้วยว่า ในวันนี้ กสทช.ยังไม่สามารถกำกับ หรือออกคำสั่งทางปกครองใดๆ กับทางจีเอ็มเอ็มได้ เพราะบริษัทจีเอ็มเอ็มยังไม่ได้อยู่ในสถานะผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. แต่ต่อไปจะต้องมาขอใบอนุญาต ดังนั้น ตรงนี้จึงเป็นการขอความร่วมมือ เพื่อที่ในอนาคตจะได้นำประเด็นการดูแลคุ้มครองผู้บริโภคมาพิจารณาให้เป็นพิเศษ
 
ทั้งนี้ ในการเสวนาได้เปิดให้มีการเจรจาระหว่างผู้รับสัมปทานการถ่ายทอด คือ ดีทีวี ที่เป็นหนึ่งในผู้รับสัมปทานร่วมกับจีเอ็มเอ็ม กับคู่แข่งทางการค้าอย่างจานดำ พีเอสไอที่แม้เป็นระบบดาวเทียม แต่ไม่บอกรับสมาชิกดั่งเช่นทรูวิชั่นส์ ซึ่งเรื่องนี้ดีทีวียินยอมให้พีเอสไอสามารถถ่ายทอดได้ภายใต้เงื่อนไขตามที่ กสทช.กำหนด เพื่อให้ได้ข้อยุติและเกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค
 
“ถึงเราทำธุรกิจร่วมกับแกรมมี่ แต่ด้วยตัวดีทีวี เป็นบริษัทลูกของไทยคม เราจึงสนับสนุนทุกจานดาวเทียมให้ดูได้ จึงอยากให้แกรมมี่ ช่วยเหลือตรงนี้ด้วยเพื่อผู้บริโภค” นายธีระยุทธ บุญโชติ ตัวแทนบริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด กล่าว
 
 
“กสทช.” เผยแผน 5 ข้อ ดำเนินการแก้ปัญหาระยะยาว
 
น.ส.สุภิญญา กล่าวด้วยว่า สำหรับในระยะยาว กสทช. มีแผนดำเนินการ 5 ข้อ คือ 1.เรื่องการออกใบอนุญาตผู้ประกอบการทีวีให้เร็วที่สุด โดยทุกค่ายต้องมาอยู่ภายใต้การกำกับของ กสทช. ซึ่งคาดว่าจะสามารถนำเข้าที่ประชุม กสท. ได้ภายใน 1-2 เดือนนี้ 2.การออกกฎระเบียบที่ผู้ประกอบการทีวีต้องปฏิบัติในใบอนุญาตประกอบกิจการฯ 3.ข้อกำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาตในการกำหนดข้อห้ามของลิขสิทธิ์รายการถ่ายทอดสดที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะ (เอ็กซ์คลูซีฟ) 4.ในอนาคตจะต้องมีการหารือกันก่อนการถ่ายทอดสดรายการระดับประเทศหรือระดับโลก เพื่อให้ร่วมกันทำการประมูลในลักษณะความร่วมมือกัน 5.การปรับระบบจากทีวีระบบอะนาล็อคเป็นทีวีระบบดิจิตอล
 


“ประธานสหพันธ์เพื่อผู้บริโภค” หวังปัญหาจบด้วยดี ขู่ใช้ “กฎหมาย” หากยังไม่แก้
 
นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์เพื่อผู้บริโภค กล่าวว่าการออกมาเคลื่อนไหวในครั้งนี้เป็นเรื่องสิทธิเป็นเรื่องสิทธิของผู้บริโภค ไม่ใช่มาขอความกรุณา เราต้องการให้มีการแก้ปัญหาการทำตัวเป็นเหมือนนักเลงคุมซอยของกลุ่มธุรกิจ ทั้งนี้ จากเดิมที่ประชาชนสามารถรับชมรายการจากช่องฟรีทีวี 3, 5, 7 และ 9 ซึ่งล้วนได้สัมปทานจากหน่วยงานรัฐ แต่ที่ผ่านมาประชาชนถูกละเลยสิทธิการเข้าถึงข่าวสาร ทำให้ผู้บริโภคต้องไปซื้อจานก็เนื่องจากว่าต้องการดูช่องฟรีทีวีให้ชัดขึ้น ต่อมาธุรกิจได้มีข้อตกลงร่วมกันปิดกั้นช่องทางเหมือนนักเลงคุมซอย ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถรับชมรายการช่องฟรีทีวีได้
 
วันนี้กลายเป็นว่าหากต้องการชมฟุตบอลก็ต้องไปซื้อกล่องเพิ่ม หรือไปหาเสาอากาศก้างปลา หรือหนวดกุ้งมา ซึ่งหากคิดว่าผู้บริโภคจะต้องซื้อกล่องรับสัญญาณราคา 1,500 บาท หรือเสาอากาศแบบก้างปลาราคา 200 บาท 1 ล้านครัวเรือน ใครจะได้รับประโยชน์จากรณีดังกล่าว
 
นางสาวบุญยืน กล่าวตั้งความหวังว่าเรื่องนี้จะจบลงด้วยดี โดยที่ประชาชนสามารถดูในสิ่งที่ควรได้ดูคือฟุตบอลยูโร โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่ม ทั้งผู้บริหารช่องฟรีทีวีที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ รัฐซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทาน และกสทช.ที่ดูแลคลื่นสัญญาณควรต้องร่วมกันแก้ปัญหา หากไม่มีการดำเนินการทางสหพันธ์เพื่อผู้บริโภคก็เตรียมศึกษาช่องทางกฎหมาย ตรงนี้ไม่ต้องการจะข่มขู่แต่ทำจริง นอกจากนั้น ในกรณีการดำเนินธุรกิจโดยไม่ต้องเสียภาษี ไม่ต้องขอใบอนุญาต เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคจะดำเนินการเคลื่อนไหวต่อไป
 
 
“เครือข่ายผู้บริโภค” ระบุ 4 ร้อง ย้ำการรับชมฟรีทีวีเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ สหพันธ์คุ้มครองผู้บริโภค ได้ส่งหนังสือฉบับที่ 2 ไปยัง กสทช. เพื่อให้ กสทช. มีมติเร่งด่วนในการออกคำสั่งบังคับปกครองให้สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีที่ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012 ทั้งช่อง 3, 5 และ 9 ให้มีการแพร่ภาพโดยไม่เลือกปฏิบัติกับทุกครัวเรือน เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเรียกร้อง 4 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1.ต้องการให้ กสทช.ออกมาตรการปกครองบังคับสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีทั้ง 3 ช่องดังกล่าว และให้ กสทช.มีการออกคำสั่งอย่างเร่งด่วน ออกอากาศตามปกติ
 
2.บริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ไม่ควรผูกขาดหรือกีดกั้นความเป็นสาธารณะของฟรีทีวีในประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยมีประชาชนกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ ที่ไม่ได้ใช้หนวดกุ้งหรือเสาก้างปลา แต่รับชมสถานีโทรทัศน์ผ่านจานดาวเทียม จึงเห็นควรให้ดำเนินการกับบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เช่นกัน แม้จะไม่ใช่ผู้ได้รับใบอนุญาต ไม่ใช่ปรับแต่ ทรูวิชั่นส์ ฝั่งเดียว
 
3.ขอให้ กสทช. พิจารณาการทำหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น บมจ.กสท.โทรคมนาคม ในฐานะให้การช่วยเหลือบริษัท จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ที่กีดกันหรือบล็อกสัญญาณ เข้าข่ายสมคบการกระทำความผิด และ 4.ให้ กสทช. ดำเนินการกับ ทรูวิชั่นส์ ที่ไม่สามารถทำได้ตามคำโฆษณากล่าวอ้างต่อสมาชิกซึ่งเป็นผู้บริโภค ในการรับชมสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี
 
ทั้งนี้ ตัวแทนองค์กรผู้บริโภคจะมีการไปติดตามว่าการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. ในวันที่ 18 มิ.ย.นี้ จะมีการพิจารณาอย่างไร รวมทั้งเตรียมออกมาตรการการบอตคอตหรือไม่สนับสนุนสินค้าของบริษัทจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ต่อไปด้วย
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น