ประชาไท | Prachatai3.info |
- จดหมายถึงคุณหญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว: ว่าด้วยสงครามไทย-กัมพูชา
- รัฐศาสตร์วิชาการ: สังคมออนไลน์กับปัญหาความมั่นคง
- ประชาชาติธุรกิจสัมภาษณ์ "ชาญวิทย์" ฟันธง รอบนี้ พันธมิตรฯปลุกไม่ขึ้น
- ชาวบ้านต้านด่านใหม่สะเดายันคิดค่ายาง 8 พัน ไม่ใช่ต่อรองชดเชย
- ชาวบ้านท่าเรือปากบาราเฮ เวนคืนที่ดินสร้างถนนหมดอายุ
- คาร์บอมบ์ย่านการค้าใจกลางเมืองยะลาทหาร-ชาวบ้าน เจ็บ 17 ราย
- ครูนอกพื้นที่ย้ายเกือบหมดชายแดนใต้
- เสวนาที่ ม.เชียงใหม่: เสนอไปให้พ้นจากประเด็นชาตินิยม
- “สันติวิธี” จากบทเรียนการชุมนุมบนความขัดแย้งกรณี “เสื้อเหลือง-เสื้อแดง”
- กสทช.ออกคำสั่งเยียวยาลูกค้า 3BB แล้ว
- แอลจีเรียเอาบ้างชุมนุมไล่ผู้นำ
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 6-12 ก.พ. 2554
- สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี: ยุทธศาสตร์วัวพันหลัก
- วิสา คัญทัพ: วันแห่งความรัก
- เสื้อแดงอ่านจดหมายปรับทุกข์จากคุกหน้าศาลอาญา ก่อนไปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
จดหมายถึงคุณหญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว: ว่าด้วยสงครามไทย-กัมพูชา Posted: 13 Feb 2011 08:22 AM PST A Letter to a Khunying from Nai Cherng Kaenkeo จดหมายถึงคุณหญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว (14 February 2011) ถึง คุณหญิง และกัลยาณมิตร (1) Happy Valentine’s Day และขอส่งความปรารถนาดีเนื่องในวันแห่ง “ความรัก” ขอ “สันติภาพ” จงบังเกิดต่อพี่น้องร่วมชาติของเราใน “สยามประเทศไทย” กับมนุษยชาติ “ข้ามพรมแดน” ใน “เขมรกัมพูชา” ในลาว ในอุษาคเนย์ และใน “ประชาคมอาเซียน” (2) ต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ทำให้ผมนึกถึงข้อคิดข้อเขียนของ อ. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อันเป็นที่รักเคารพของเรา “จากครรภ์มารดา ถึงเชิงตะกอน” (From Womb to Tomb) ที่กล่าวไว้ว่า “เมื่อจะตาย ก็ขออย่าให้ตายอย่างโง่ ๆ อย่างบ้า ๆ คือตายในสงครามที่คนอื่นก่อให้เกิดขึ้น ตายในสงครามกลางเมือง ตายเพราะอุบัติเหตุรถยนต์ ตายเพราะน้ำหรืออากาศเป็นพิษ หรือตายเพราะการเมืองเป็นพิษ” (3) ผมเชื่อว่า “การเมือง (ที่) เป็นพิษ” ในการเมืองภายในของบ้านเมืองเรา ที่ลามปามไปยังประเทศเพื่อนบ้าน จาก “สันติภาพ” (Peace) กำลังกลายเป็น “สงคราม” (War) จาก “สนามการค้า” (Market Place) กลับเปลี่ยนเป็น “สนามรบ” (Battlefield) นั้น ด้านหนึ่ง มาจากกิเลศและตัณหา จาก “โลภ-โกรธ-หลง” และอีกด้านหนึ่งมาจาก “อวิชชา” จาก “อประวัติศาสตร์” ขาดความเคารพนับถือในสิ่งที่ “บรรพชน-บรรพกษัตริย์” ของเราได้ทำเอาไว้ และขาดการเคารพกติการะเบียบของสังคมโลกที่เป็น “สากล” และเป็น “อารยะ” (4) ปัญหาที่มาจากกิเลศและตัณหา ว่าด้วย “โลภ-โกรธ-หลง” นั้น ก็คือ โลภ เพราะอยากได้ “ปราสาท” กับ “พื้นที่” โกรธ เพราะไม่ได้ “ปราสาท” กับ “พื้นที่” หลง เพราะคิดว่าอาจจะได้ “ปราสาท” กับ “พื้นที่” (5) ส่วนปัญหาที่เกิดจาก “อวิชชา” จาก “อประวัติศาสตร์” และจากการขาดความเคารพนับถือในสิ่งที่ “บรรพชน-บรรพกษัตริย์” ของเราได้ทำไว้ ก็คือเรื่อง “หนังสือสัญญา” ฉบับต่างๆ และแผนที่ 11 ระวาง (แผ่น) ที่ “สยาม” Siam ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับ เสนาบดีพระหัตถ์ซ้าย-ขวาของท่าน คือ คือ สมเด็จกรมเทววงศ์ (การต่างประเทศ) และสมเด็จกรมดำรงฯ (มหาดไทย) จำต้องทำและให้สัตยาบันไว้กับฝรั่งเศสไม่ว่าจะเป็นฉบับ ค.ศ. 1893-1904-1907 (ตรงกับ ร.ศ. 112, 122, 125 และตรงกับ พ.ศ. 2436, 2447, 2450 ตามลำดับ) (6) รวมทั้งแผนที่ 11 ระวาง (แผ่น ที่มักจะรู้จักกันในนามของ 1: 200,000) ที่ขีดเส้นพรมแดนครอบคลุมดินแดนจากแม่น้ำโขงตอนบน (แม่กบ-เชียงล้อม)-น่าน-เทือกพนมดงรัก-ตลอดลงมาจนถึงเมืองตราด อันเป็นผลงานของ “คณะกรรมการเขตแดนผสมอินโดจีนและสยาม” (Commission de Delimitation entre l’Indochine et Le Siam) และอัครราชทูตสยามประจำกรุงปารีส (หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร) ที่ทรงรับมาเป็นจำนวน 50 ชุด และส่งกลับมากรุงเทพฯ ถวายให้กับเสนาบดีการต่างประเทศ คือ สมเด็จกรมฯ เทววงศ์ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2451 (1908) (7) การที่ต้องทำหนังสือสัญญาต่างๆข้างต้น การที่ต้องให้สัตยาบัน และการที่ต้อง “รับ” แผนที่ 11 ระวาง (แผ่น) นั้นมา ก็เป็นไปตามปรัชญาความเชื่อว่าด้วย “ชาติ” ของ “ราชาชาตินิยม” หรือ Royal Nationalism ที่จะต้องรักษา “เอกราช-อธิปไตย” ของสยาม/Siam เอาไว้ ต้องยอมรับว่าสยามมีพื้นที่หรือดินแดน “จำกัด” (limited land) เป็นเพียง “รูปขวานทอง” และต้องยอมสละ “ส่วนเกิน” หรือส่วนที่เป็น “ประเทศราช-เมืองขึ้น” ที่ไป “ได้ดินแดน” (ของ “คนอื่น” ของ “เขมร-ลาว-มลายู”) มา ไม่ว่าจะเป็น “เสียมราฐ-พระตะบอง-ศรีโสภณ-จำปาศักดิ์-หลวงพระบาง-เชียงตุง-เมืองพาน” ตลอดจน “เคดะห์-ปลิส-กลันตัน-ตรังกานู” (ที่ต้องยอมยกและแลกเปลี่ยนไปกับอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2452 หรือ ค.ศ. 1909 ปลายรัชสมัย “เสด็จพ่อ ร. 5”) (8) แต่เมื่อเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 (1932) พวก “ผู้นำใหม่” โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวก “เสนาอำมาตย์” หรือ “ปีกขวา” นักการเมืองสายทหารของ “คณะราษฎร” ก็เปลี่ยนปรัชญาความเชื่อของตน เปลี่ยนและ “สร้างชาติ” ตามแนวลัทธิ “อำมาตยาเสนาชาตินิยม” หรือ Military-Bureaucratic Nationalism (แทน “ราชาชาตินิยม” Royal Nationalsim) ลัทธิใหม่นี้ เปลี่ยนนามประเทศจาก “ราชอาณาจักรสยาม” จาก Siam เป็น “ประเทศไทย” เป็น Thailand พ.ศ. 2482 (1939) รวมทั้งเปลี่ยนเนื้อร้อง “เพลงชาติ” (แต่ไม่ได้เปลี่ยนทำนอง) จากประโยคขึ้นต้นว่า “อันสยาม นามประเทืองว่าเมืองทอง.....” เป็น “ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย.....” แล้วก็ปลุกระดมความ “รักชาติ” การ “กู้ชาติ” ดำเนินการขยายดินแดนด้วยการ “เรียกร้องดินแดน” เพื่อให้ “ประเทศไทย” เป็น “มหาอานาจักรไทย” (สะกดด้วย น. หนู ตามตัวสะกดที่ถูกรัฐบาลให้เปลี่ยนในสมัยนั้น) ดังนั้น “ประเทศไทย” หรือ Thailand ก็มีสภาพเป็น expanded land หาใช่ limited land อย่างของ “ราชอาณาจักรสยาม” หรือ Siam ไม่ (9) ในปี พ.ศ. 2484-85 หลังการเปลี่ยนชื่อประเทศเพียง 2 ปี ก็เกิด “สงครามอินโดจีน” รัฐบาลของหลวงพิบูลสงคราม ก็ส่งกำลังของกองทัพบก-เรือ-อากาศ บุกเข้าไปยึดดินแดนต่างๆมาได้ อาทิ เมืองเสียมราฐ (เอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า “จังหวัดพิบูลสงคราม”)-ยึดพระตะบอง-ยึดศรีโสภณ-(และปราสาทพระวิหาร)-ยึดจำปาศักดิ์ (และปราสาทวัดพู)-ยึดไซยะบุรี (เอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า “จังหวัดลานช้าง” สะกดโดยไม่มีไม้โท) รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม “ประกาศสงคราม” กับอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเมื่อ 25 มกราคม พ.ศ 2485 (1942) และด้วยความช่วยเหลือของ “พันธมิตรญี่ปุ่น “ ก็ทำการยึดเมืองพาน-เมืองเชียงตุง (ในพม่า เอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า “สหรัฐไทยเดิม”) แถมญี่ปุ่นยังมอบรัฐมลายู เช่น “เคดะห์-ปะลิส-กลันตัน-ตรังกานู” ให้มาอีก รัฐบาลพิบูลสงครามเอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า “สี่รัฐมาลัย” (10) นี่คือสภาพ “อีรุงตุงนัง” และ “มรดกทางประวัติศาสตร์” ของสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศชาติของเราเกือบถูกยึดเป็น “เมืองขึ้น” และผู้นำของ “อำมาตยาเสนาธิปไตย” หลายคนเกือบกลายเป็น “อาชญากรสงคราม” ถูกจับประหารชีวิต เมื่อมหามิตรญี่ปุ่นถูกถล่มด้วยระเบิดปรมาณูแพ้สงครามไป โชคดีที่มี ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ “ปีกซ้าย” ของ “คณะราษฎร” ตั้ง “ขบวนการเสรีไทย” ทำการใต้ดินขึ้นมา “กู้ชาติ” ไว้ได้ ทำการ “ประกาศสันติภาพ” เมื่อ 16 สิงหาคม 2488 (1945) นี่คือผลงานของ “บรรพชน-มหาบุรุษ” แต่ท่านปรีดี ก็ถูกกำจัดออกไปด้วย “การเมืองทราม-การเมืองเป็นพิษ” (ถูกกล่าวหาใส่ร้ายป้ายสีในกรณีสวรรคตอันมืดมนของในหลวงรัชกาลที่ 8 เมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) มีการ “รัฐประหาร พ.ศ. 2490” โดยจอมพลผิน ชุณหะวัณ ที่นำ “อำมาตยาเสนาธิปไตย” ของจอมพล ป. พิบูลสงครามกลับมา และสืบทอดกันต่อๆมาโดยจอมพลสฤษดิ์-ถนอม-ประภาส ฯลฯ และยังทรงอิทธิพลอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้ (11) จะเห็นได้ว่า “อำมาตยาเสนาชาตินิยม” ของสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่มีหลวงวิจิตรวาทการเป็น “มันสมอง” มีทีมงานจากกรมศิลปากร (นายธนิต หรือ นายกี อยู่โพธิ์-นายมานิต วัลลิโภดม หรือทีมงานของกรมโฆษณาการ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นกรมประชาสัมพันธ์) อย่างนายมั่น-นายคง (นายสังข์ พัธโนทัย) ก็ส่งมรดกตกทอดกันมายัง “สฤษดิ์-ถนอม-ประภาส” ตลอดจนทางสายของนักการเมืองพลเรือนอย่าง “เสนีย์-คึกฤทธิ์ ปราโมช-ควง อภัยวงศ์” เรื่อยมาจนบัดนี้เป็นเวลากว่า 70 ปี จนถึงรุ่นของจำลอง-สนธิ-โพธิรักษ์-สมปอง-อดุล-ศรีศักร และรัฐบาลในปัจจุบัน (12) นี่เป็น “หลุมดำทางการเมือง” (Political Black Hole) หรือ “หีบพยนต์-ผะอบนางโมรา” (Pandora’s Box) ที่หากตกลงไปก็ยากที่จะปีนป่ายขึ้นมาได้ หรือถ้าเปิดออกมา (จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม) ก็อาจถึงตายได้ คำถามของเรา ณ บัดนี้ ก็คือเรา (หมายถึงคนส่วนใหญ่ของประเทศ นอก กทม.) จะรอดจาก “บ่วงกรรม” นี้ไปได้อย่างไร เราจะทำอย่างไรให้ “การเมืองเป็นพิษ” หรือ “การเมืองทราม” กลายเป็น “การเมืองดี” ทำให้ประเทศชาติของเรารุ่งเรือง มีศักดิ์มีศรี มีเกียรติภูมิในวงการระหว่างประเทศ เคารพกติการะเบียบและกฎหมายระหว่างประเทศ ดำเนินการที่เป็น “สากล” และเป็น “อารยะ” กัลยาณมิตร และเพื่อนๆของผมในกลุ่ม “สันติประชาธรรม” ขอเสนอมายังคุณหญิงอีกครั้งหนึ่ง และขอให้ช่วยนำความไปเรียนต่อ “บุคคลที่อยู่ใกล้ตัวคุณหญิง ไม่ว่าจะเป็นพลเรือน หรือเป็นทหาร ไม่ว่าจะอยู่ที่ทำงาน หรืออยู่ที่บ้าน” ก็ตาม ขอให้เรามาช่วยกัน “ปฏิบัติธรรม” ละเสียซึ่งโลภ-โกรธ-หลง ขจัด “อวิชชา” และ “อประวัติศาสตร์” ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยกันหลีกเลี่ยง “สงคราม” ช่วยกันแสวงหา “สันติภาพ “ ช่วยกันทำให้ “สนามรบ” กลับเป็น “สนามการค้า” อีกครั้ง ขอให้เรามาช่วยกัน ทำดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลของอุษาคเนย์-อาเซียน ที่หลากหลายไปด้วยชาติพันธุ์ ระบบนิเวศ ธรรมชาติและวัฒนธรรม จาก “ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ถึงพนมดงรัก จากปราสาทพนมรุ้ง ถึงปราสาทพระวิหาร และปราสาทวัดพู จรดแม่น้ำโขงตอนกลาง ณ คอนพะเพ็ง-แก่งหลี่ผี” กลายเป็น “มรดกโลกข้ามเขตแดน” เพื่อ “ความรัก-สันติภาพ-สันติสุข-และอหิงสา” ของ “ประชาคมอาเซียน” ที่ “ไร้พรมแดน” ให้จงได้ (Asean Trans-Boundary World Heritage Sites from Dong Phyayen-Khaoyai to Phnom Dangrek-Prasat Phnom Rung/Preah Vihear/Vat Phou to Khone Papeng/Li Phi Falls and the Middle Mekong Basin) ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพื่อ “ชาติ และราษฎรไทย” ของเรา เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อพ่อแม่พี่น้องลูกหลาน หลายพันหลายหมื่นชีวิต ที่อยู่ตามแนวชายแดนกว่า 800 กิโลเมตร จากอุบลฯ ศรีสะเกษ จากสุรินทร์ บุรีรัมย์ จากสระแก้ว-จันทบุรี-ถึงตราด ผู้คนที่เป็นเพียงชาวบ้าน แค่ชาวชนบท ด้อยการศึกษา (ไม่มีแม้แต่ประกาศนียบัตรมัธยม โดยไม่ต้องพูดถึงระดับปริญญาตรี อย่างเราๆท่านๆ ในเมืองหลวง) และก็ด้อยซึ่งโอกาส ที่ต้องเผชิญต่อ “สงคราม” และสภาพของบ้านแตกสาแหรกขาด สูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อ ทำมาหากินไม่ได้ ที่อยู่ทางฝั่งตะเข็บชายแดนของ “สยามประเทศไทย” ที่ร่วมชะตาและร่วมกรรมกับผู้คนที่ก็เหมือนๆกัน เป็นญาติพี่น้องกัน ร่วมสายเลือดเดียว ทั้งยังร่วมวัฒนธรรม ร่วมภาษากันในฝั่งตะเข็บชายแดนของ “เขมรกัมพูชา” จากสตุงแตรง ถึงพระวิหาร จากอุดรมีชัย ถึงบันทายมีชัย โพธิสัตว์ และเกาะกง ดังข้อเสนอต่อไปนี้ 1. ขอให้กองกำลังของทั้งสองประเทศใช้ขันติธรรม และความอดกลั้น ยุติการสู้รบโดยทันที ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและกองทัพตามชายแดนของ ทั้งสองฝ่าย 2. ขอให้ถอนกำลังทหารของทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่พิพาทอย่างเร่งด่วน เพื่อลดการเผชิญหน้าทางทหารตามชายแดนระหว่างกัน 3. ขอให้ยุติเคลื่อนกำลังทหารเข้าไปยังจุดพิพาทอื่นๆ ที่ยังคงเป็นปัญหากันอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะมิให้ขยายตัวออกไปยังจุดอื่นๆตามแนวชายแดน 4. ขอให้เร่งรัดการแก้ไขปัญหาพิพาทเรื่องเขตแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่พิพาทบริเวณปราสาทพระวิหาร โดยผ่านกลไกการเจรจาทวิภาคีซึ่งมีอยู่แล้ว อันได้แก่คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมซึ่งได้จัดตั้งตามบันทึกความเข้าใจแห่งราช อาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2543 5. ขอให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในหลักการแห่งอหิงสา ยุติการนำประเด็นความขัดแย้งเรื่องเขตแดนมาแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง ไม่ว่าการเมืองภายในประเทศ หรือการเมืองระหว่างประเทศ อันจะทำให้ปัญหาบานปลายกลายเป็นชนวนสงครามที่ยากจะหาทางยุติลงได้ ด้วยความระลึกถึง เชิง แก่นแก้ว สิงหะปุระ PS: Make Love not War with ASEAN Neighbors, especially Cambodia and Laos สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
รัฐศาสตร์วิชาการ: สังคมออนไลน์กับปัญหาความมั่นคง Posted: 13 Feb 2011 07:58 AM PST 12 ก.พ. 54 ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดเสวนา หัวข้อ "สังคมออนไลน์กับปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่" ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในงานรัฐศาสตร์วิชาการครั้งที่ 18 ประจำปี 2554 "E-Politics การเมืองออนไลน์: เสียงจากปลายนิ้ว" ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการเว็บไซต์ประชาไท (prachatai.com) กล่าวถึงปัญหาในสังคมออนไลน์ โดยเชื่อว่า นี่เป็นระยะเปลี่ยนผ่าน โดยยกตัวอย่างเมื่อ 3-4 ปีก่อน มี ส.ว. นักวิชาการ เอ็นจีโอบางรายโกรธมากที่มีการแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ตนเองในเว็บบอร์ด ขณะที่ปัจจุบันการวิจารณ์ก็ยังมีอยู่ แต่ความเดือดเนื้อร้อนใจลดลง เขาจึงเชื่อว่า สักวันหนึ่งรัฐและคนทั่วไปจะรับมือได้กับการวิจารณ์หรือแม้แต่แฉแหลกแบบวิกีลีกส์ เขายังกล่าวด้วยว่า แม้การวิจารณ์และการแฉจะลดความน่าเชื่อถือของรัฐ แต่ก็เป็นหลักประกันเสรีภาพของประชาชน และนั่นก็คือความมั่นคงของประชาชน หากความมั่นคงของรัฐ หมายรวมถึงความมั่นคงของประชาชนด้วย และในภาวะที่จะประชาชนหรือที่เรียกว่า นักข่าวพลเมืองออกมาวิจารณ์รัฐมากขึ้น ก็มีแนวโน้มว่า จะมีการแฮกข้อมูลของรัฐมาเปิดเผยมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ในที่สุดจะทำให้รัฐบาล ผู้ปกครองและองค์กรเหนือรัฐ ต้องปรับตัว หากประเมินว่า ไม่สามารถหยุดยั้งสื่อใหม่ได้ ก็ต้องโปร่งใสมากขึ้น เพราะรู้ว่ามีคนเฝ้าดู คอยจับผิดอยู่ บก.ประชาไท ยังกล่าวถึงเรื่องท้าทายอีกเรื่องคือ เสรีภาพนั้นเป็นเหมือนเหรียญสองด้าน โดยยกตัวอย่างกรณีรถเก๋งชนรถตู้ ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมากในอินเทอร์เน็ต ว่านั่นคือเสรีภาพที่เราใช้ และมีผลต่อการคุกคามเด็กคนหนึ่ง ซึ่งเขาคิดว่า สื่อออนไลน์ไม่มีทางหยุดการคุกคามแบบนี้ และนี่เป็นราคาที่ต้องจ่ายของการมีเสรีภาพ และเป็นเหมือนกฎระบียบแบบใหม่ที่มาจัดการสังคม เพียงแต่เป็นการจัดการกันเองของประชาชน เหมือนการนินทาในหมู่บ้านในอดีต อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องพัฒนาคือ คุณภาพของการแสดงความเห็นและความรับผิดชอบ ผู้ที่ใช้เน็ตก็ต้องเพิ่มสิ่งเหล่านี้ในการใช้สื่อใหม่ ทั้งหมดนี้จะเป็นบรรทัดฐานใหม่ และอยากให้เป็นเพียงแค่มาตรการทางสังคมในโลกออนไลน์ โดยที่องค์กรธุรกิจและรัฐไม่เข้ามารับลูกหรือดำเนินการทางกฎหมาย จนกลายเป็นการคุกคามระดับกายภาพ เตือนรัฐอย่าทำลายพื้นที่ถกเถียง ทั้งนี้ เธอมองว่า ยิ่งรัฐพยายามควบคุมศัตรูในจินตนาการเท่าไหร่ ศัตรูก็จะยิ่งถูกจินตนาการว่าใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ส่วนที่กลัวว่าหากปล่อยให้มีการวิพากษ์วิจารณ์แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น เธอมองว่า เงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงมีหลายอย่าง ไม่ใช่เพียงการวิจารณ์เพียงอย่างเดียว โดยสำหรับประเทศไทย แม้ว่าความมั่นคงจะถูกสั่นคลอน แต่ยังมีต้นทุนที่ประชาชนจะไม่ลุกฮือ เว้นแต่ถ้ารัฐปิดกั้นมากขึ้น จะเกิดการต่อต้านที่ขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ และยากจะควบคุม สุภิญญากล่าวว่า รัฐไทยควรต้องตระหนักว่า สังคมไทยมีการต่อสู้ทางความคิดมาตลอด ไม่เคยเป็นสังคมที่ความเห็นเดียวครอบงำได้เบ็ดเสร็จหรือถ้ามีก็เป็นแค่บางช่วง ดังนั้น รัฐต้องใช้หลักสร้างสมดุล ธำรงสิทธิขั้นฐานของประชาชนให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ไม่ใช้กฎหมายที่เกินเหตุ โดยยกตัวอย่างคดีจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท ที่ถูกฟ้องในฐานะผู้ดูแลเว็บไซต์ ซึ่งไม่ได้เป็นผู้โพสต์ความเห็นเอง ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการสืบพยานในชั้นศาล และเป็นคดีที่ต่างประเทศจับตา เพราะคำตัดสินจะเป็นบรรทัดฐานในการกำกับดูแลสื่อใหม่ อย่างไรก็ตาม สุภิญญา ย้ำว่าไม่ได้จะบอกว่ารัฐไม่สามารถกำกับอินเทอร์เน็ตได้ แต่หากอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่แทนเสรีภาพของประชาชน รัฐต้องคุ้มครองพื้นที่และผู้นำสารด้วย ถ้าผู้ให้บริการถูกจัดการ ก็จะทำให้พื้นที่เสรีภาพนั้นค่อยๆ ลดลง ดังนั้น จะต้องมีหลักการที่ชัดเจน หรือไม่ก็ต้องปรับแก้กฎหมายให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนมากขึ้น มีนักศึกษาถามว่า กรณีที่เรามักโยนความผิดให้องค์กรเหนือรัฐ แต่ปัจจุบัน ผู้บังคับใช้กฎหมายเองก็พึ่งพิงองค์กรเหนือรัฐ จึงต้องปกป้ององค์กรเหนือรัฐด้วย เช่นนี้แล้วจะโทษใคร สุภิญญาตอบว่า หากจะโทษใครก็คงได้ทั้งนั้น แต่สำคัญคือ ถ้ายังตอบไม่ได้ ก็ควรสร้างพื้นที่และบรรยากาศถกเถียงอย่างเปิดเผย โดยรัฐไม่ควรทำลายพื้นที่ที่จะทำให้สังคมไทยได้ถกเถียง ปะทะสังสรรค์ทางความคิดกัน และเมื่อนั้นสังคมจะเติบโต และทำให้ความรุนแรงทางกายภาพน้อยลง เพราะได้โต้เถียงกันเต็มที่แล้ว แต่หากไม่มีการเปิดพื้นที่ถกเถียง หากเกิดการแสดงออกแบบอื่นขึ้น จะมาถามว่าใครผิดก็คงไม่ได้แล้ว เพราะสังคมจะอยู่ในภาวะที่อลเวง ความมั่นคงว่าด้วยสถาบันกษัตริย์และการเปิดเผยความลับ สาวตรีกล่าวว่า สังคมออนไลน์นั้นมีพลังอำนาจบางอย่างซึ่งแตกต่างจากวิทยุชุมชนหรือเว็บทั่วไป หรือเว็บข่าวตรงที่สามารถจุดประเด็นกระแสรองให้เป็นกระแสหลักได้ นอกจากนี้ การมีสังคมออนไลน์หรือเพื่อนจำนวนมาก ทำให้สถาบันทางอำนาจ อาทิ สถาบันศาล สถาบันทหาร สถาบันกษัตริย์ นักข่าว นักเขียน พระ บุคคลสาธารณะ ถูกวิจารณ์กันในวงกว้าง ในแง่บวก ทำให้เกิดการตรวจสอบ จับตามองให้การทำงานดีขึ้น แต่แง่ลบ ก็อาจถูกมองว่าขัดต่อความมั่นคง แต่ในอีกด้านหนึ่ง สาวตรีมองว่า พลังอำนาจของสังคมออนไลน์ ก็อาจกลายเป็นพื้นที่โฆษณาวิธีคิดอุดมการณ์ทางการเมืองแบบสุดโต่งของภาครัฐก็ได้ สาวตรี เห็นว่า ด้วยพลังอำนาจข้างต้น อาจทำให้รัฐมองสังคมออนไลน์เป็นศัตรู เพราะมีลักษณะไม่เชื่องและฆ่าไม่ตาย ปิดได้ไม่หมด ปิดหนึ่งเปิดสอง ปิดสองเปิดห้า นั่นเพราะประกอบขึ้นจากผู้คนที่หลากหลาย อาจทำให้รัฐกลัวว่าถ้าคุมไม่ได้อาจกระทบความมั่นคง ขณะเดียวกัน รัฐอาจกระโจนเข้ามาใช้เครื่องมือในสังคมออนไลน์ประชาสัมพันธ์เรื่องของรัฐ เช่น ตั้งลูกเสือไซเบอร์ขึ้นมาสอดส่องดูแล หรือรัฐอาจไม่ต้องเล่นเอง แต่ทำหน้าที่สนับสนุนกลุ่มที่สนับสนุนรัฐอีกที เช่น กลุ่มล่าแม่มด โดยจะสังเกตว่าอะไรก็ตามที่กลุ่มนี้พูด ดีเอสไอจะรับลูกทันที สาวตรีกล่าวว่า สำหรับปัญหาความมั่นคงที่ผ่านมา ตั้งแต่หลังรัฐประหาร 2549 จะพบว่า ความมั่นคงที่รัฐใช้อ้างหลังรัฐประหารคือ ความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยที่สุดแล้ว ทุกสถาบันย่อยไปอิงแอบหรือทำตัวเป็นส่วนย่อยของสถาบันนี้หรือใช้สถาบันนี้เป็นเครื่องมือปกป้องประโยชน์ของตัวเองทั้งสิ้น อาทิ กรณีคลิปศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทุจริต การตัดสินคดียุบพรรค โดยต่อมามีการบอกว่าจะฟ้องในข้อหาหมิ่นสถาบันฯ ทั้งที่ดูแล้วไม่มีจุดใดเชื่อมโยงถึงตัวสถาบันฯ เลย นอกจากนี้ มีงานวิจัยที่ตนเองทำร่วมกับ i-LAW พบว่า สถิติของการไล่ปิดช่องทางเข้าถึงเว็บไซต์ตั้งแต่ พ.ศ.2550 ซึ่ง พ.ร.บ.คอมฯ มีผลใช้บังคับ จนถึง พ.ศ. 2553 พบว่าศาลออกคำสั่งบล็อคเว็บไซต์ตามการร้องขอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศและใช้อำนาจตามมาตรา 20 ของ พ.ร.บ.คอมฯ ปิดกั้นกว่าเจ็ดแสนยูอาร์แอล โดยมีเนื้อหาเข้าข่ายผิดมาตรา 112 ของกฎหมายอาญา 54,330 ยูอาร์แอล มีคดีที่ขึ้นสู่ศาลที่เกี่ยวพันกับหมวดความมั่นคงของรัฐ 20% เป็นคดีหมิ่นสถาบันฯ 16.76% ดังนั้นที่สุดแล้ว เมื่อพูดถึงปัญหาความมั่นคงในโลกสังคมออนไลน์ จึงอยู่ที่ความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมาตรา 112 ก็มีมานานแล้ว แต่ช่วงหลังๆ ถูกอ้างเยอะ อาจเพราะมีเหตุผลเรื่องความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นและสังคมออนไลน์คุมไม่ได้ เพราะฉะนั้น การที่จะใช้กฎหมายที่รัฐมีในการควบคุมจึงเปิดเผยตัวมากขึ้น ทั้งนี้ ถ้าพูดถึงความมั่นคง ในกรณีของไทยเป็นกรณีเฉพาะมาก รัฐใช้เครื่องมือกฎหมายอ้างความมั่นคงกับคนที่กระด้างกระเดื่อง ขณะที่ในต่างประเทศ ปัญหาความมั่นคงจากโลกออนไลน์นั้นเกิดจากภัยคุกคามจากต่างประเทศ เช่น จารกรรมข้อมูลทางการทหาร ไม่ใช่การจับกลุ่มพูดคุยหรือเห็นต่าง สาวตรีกล่าวว่า สิ่งที่สังคมออนไลน์ท้าทายจึงคือ การท้าทายอำนาจรัฐ สถาบันต่างๆ ไม่ใช่เพียงสถาบันเบื้องสูง แต่ยังรวมถึงสถาบันย่อยๆ เช่น ท้าทายอำนาจสื่ออาชีพ ในแง่ความหลากหลายของข่าวสาร เพราะประชาชนผู้ให้ข้อมูลไม่ได้ตกอยู่ใต้อำนาจครอบงำ ไม่ถูกแทรกแซง และยังท้าทายแนวคิดทั้งมวลที่ไม่สอดคล้องกับอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตย ซึ่งสุดท้ายแล้ว จะเกิดการปรับตัวของกลุ่มต่างๆ ทั้งนี้ สาวตรีทิ้งท้ายว่า เมื่อพูดถึงการใช้เสรีภาพที่ต้องไม่ล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นนั้น ควรเป็นวิธีคิดทั้งของประชาชนและของรัฐด้วย หากไม่ล่วงละเมิดซึ่งกันและกัน ก็จะไปต่อได้ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ประชาชาติธุรกิจสัมภาษณ์ "ชาญวิทย์" ฟันธง รอบนี้ พันธมิตรฯปลุกไม่ขึ้น Posted: 13 Feb 2011 07:58 AM PST ประชาชาติธุรกิจสัมภาษณ์ "ชาญวิทย์ เกษตรศิริ" ฟันธง รอบนี้ พันธมิตรฯปลุกไม่ขึ้น “ผู้สนับสนุนรายใหญ่ ยังพอใจอภิสิทธิ์และประชาธิปัตย์” อาจารย์ คิดว่าการปะทะกันบริเวณชายแดนที่เริ่มเมื่อเย็นวันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์และต่อเนื่องหลังจากนั้น เป็นความบังเอิญหรือจงใจ ไปพ้องกับข้อเรียกร้องของพันธมิตรฯ ในเรื่อง “การแสดงแสนยานุภาพ” ฝ่ายกัมพูชาได้เปรียบโดยอัตโนมัติ เพราะไทยทะเลาะกันเอง เล่นเกมประหัตประหารกันเอง เป็นเกมอันธพาล ชาวบ้านที่ภูมิซลอลตาย แต่คนในกทม. ไม่เป็นอะไร แบบนี้อารยชนเขาไม่ทำกัน ในทางการระหว่างประเทศ ไทยเราก็เสียหาย เครดิตเราต่ำมาก ดูจากเนื้อหาของจดหมายที่ นายฮอร์ นัมฮง ส่งเรื่องไปยังสหประชาชาติ เทียบกับแถลงการณ์จากกระทรวงการต่างประเทศของไทยแล้ว หนังสือของฝ่ายกัมพูชาเหมือนเขียนโดยคนจบปริญญาเอก มีความชัดเจน มีข้อมูลหนักแน่น ในขณะที่แถลงการณ์ฝ่ายไทยเหมือนเขียนโดยนักศึกษาปี 1 เทียบกันแล้ว คลุมเครือ ไม่ชัดเจน ไทยเสียเปรียบมาก การทูตการต่างประเทศของกัมพูชาไปได้ไกลมาก มีการทำงานที่รัดกุม ส่วนของไทยบอกว่ามีจดหมายถึงสหประชาชาติแต่ยังเปิดเผยไม่ได้ อะไรทำนองนั้น เป็นการเล่นเกมกำกวมอึกๆ อักๆ ยิ่งสร้างความไม่รู้ ไม่เข้าใจให้กับประชาชนชาวไทย ถ้าดูจากแถลงการณ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาแล้ว ก็จะเห็นความตกต่ำของผู้ดำเนินนโยบายต่างประเทศไทย เสียเกียรติยศชื่อเสียงมหาศาล ราชการการต่างประทศของสยามและของไทยเคยนำมาตลอด เป็นหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ตอนนี้เพราะเราไม่ได้เล่นการเมืองระหว่างประเทศ แต่เล่นการเมืองภายในประเทศ ทะเลาะกันเอง ก็เลยตกต่ำ ย่ำแย่ ปัญหาคือคำว่า “บริเวณใกล้เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา” มันกินพื้นที่แค่ไหน เพราะต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ (ตรงบริเวณ 4.6 ตร.กม.) กันอยู่ (หนึ่ง. จะต้องใช้การ “เจรจา” สองฝ่าย หรือสอง. จะกลับไปให้ศาลโลกตีความใหม่ หรือสาม. จะใช้ สงคราม แก้ปัญหา) ไทยต้องการให้เจรจาทวิภาคี เพราะรู้ว่าหากขยายเวทีออกไปจะเสียเปรียบใช่หรือไม่ มองการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ อย่างไร พันธมิตรฯ อาจจะถูกคนที่เคยเป็นพรรคพวกเดียวกันตลบหลัง เพราะสาเหตุชุมนุม ก็มาจากเรื่องทะเลาะกันเอง เป็นความแค้นส่วนตัวเยอะเลย ฝ่ายคุณสนธิ ลิ้มทองกุล กับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ก็คิดว่าเขามีบุญคุณกับ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำให้ได้เป็นนายกฯ ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ไม่ต้องเป็นฝ่ายค้านต่อไป แต่คุณอภิสิทธิ์ ไม่กตัญญู ซึ่งที่จริง “ความกตัญญูกตเวที” มันไม่มีในการเมืองอยู่แล้ว... แน่นอนว่า แม้เป็นแค้นส่วนตัว แต่แกนนำพันธมิตรฯ ก็ต้องพูดในนามของความรักชาติ ของประชาชน และของประชาธิปไตย ในรอบนี้จำนวนมวลชนพันธมิตรฯ น้อยลง อาจารย์ให้ความสำคัญกับจำนวนมวลชนเป็นตัวชี้วัดหรือไม่ จำนวนมวลชนสำคัญ แต่จำนวนต้องมากมหาศาล ถึงจะมีผลต่อความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ในกรณีนี้ คนเสื้อเหลืองไม่ใช่สีเฉดเดียวอีกแล้ว มีคนจำนวนไม่น้อย หันไปใส่เสื้อสีชมพู เสื้อสีต่างๆ หลากสี ความเข้มข้น ความขลังก็ลดลง ถ้าเราดูแล้ว ไพ่ที่ผู้นำพันธมิตรเสื้อเหลืองเคยใช้เรียกความสนับสนุนทางการเมือง ทั้ง 3 ข้อหา คือ (หนึ่ง) ไม่จงรักภักดี , (สอง) ทุจริตครัปชั่นผลประโยชน์ทับซ้อนและ (สาม) ชาตินิยม-วาทกรรมเสียดินแดน แต่งานนี้ผู้นำพันธมิตรฯ ใช้ประเด็นเดียว คือชาตินิยม ไม่ได้ใช้เรื่อง “สถาบัน” กับเรื่อง “ทุจริตคอรัปชั่น” น้ำหนักจึงไปอยู่ที่ไพ่ใบสุดท้ายคือชาตินิยม การเสียดินแดน ผมคิดว่าอาจจะปลุกยาก แม้จะมีมวลชนมาในระดับหนึ่งก็ตาม แต่คนจำนวนเยอะ ที่เคยสนับสนุนมาก่อนก็ไม่เล่นด้วย ผมคิดว่า ชาตินิยมเวอร์ชั่นที่สองนี้ ที่เรียกว่า “อำมาตยาเสนาชาตินิยม” (military-bureaucratic nationalism) ที่เคยใช้ได้ผลโดยผู้นำประเทศรุ่นที่เปลี่ยนชื่อจาก “สยาม”เป็น “ไทย” (Siam to Thailand) คือ รุ่นจอมพล ป. พิบูลสงคราม และหลวงวิจิตรวาทการ ยุค 40s สมัยสงครามโลก(ที่มีทีมงานกรมศิลปากร เช่น นายธนิต (กี) อยู่โพธิ์ นายมานิต วัลลิโภดม หรือนักพูดนักเขียนอย่าง นายมั่น/นายคง นายหนหวย สืบทอดกันเรื่อยมาจนถึงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในยุค 60s ฯลฯ) นั้น มีความแตกต่างจากเวอร์ชั่นของกลุ่มผู้นำดั้งเดิมของสยาม ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นแรก คือ “ราชาชาตินิยม” (หรือ Royal Nationalism ของรัชกาลที่ 5 หรือรัชกาลที่ 6 กับสมเด็จกรมฯ เทววงศ์ และสมเด็จกรมฯ ดำรง) เวอร์ชั่นนี้ของ “ราชอาณาจักรสยาม” หรือ Siam ของ “พระราชา” ต้องการและยอมรับเขตแดนหรือพรมแดนของ “สยาม” ที่ “จำกัด” limited boundary-border เพื่อรักษาเอกราช แต่เวอร์ชั่นหลังของ “ประเทศไทย” หรือ Thailand ของ “อำมาตยาเสนา” ต้องการขยายดินแดน เรียกร้องดินแดน คือ expanded boundary-border ตอนนี้พันธมิตรฯ เล่น ในเกมไหน เกมชาตินิยมนี้ จะเล่นได้ดีต้องอ้างทั้ง “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” แต่ตอนนี้ถ้าพันธมิตรฯ จะอ้างศาสนาและพระมหากษัตริย์ ก็ลำบาก จึงต้องอ้างชาติ ก็คือ ต้องเล่นเกมว่าจะ “เสียดินแดนไม่ได้แม้กระแต่ 1 ตารางนิ้ว” ส่วนไพ่ใบอื่นที่เขาเล่นได้มีประสิทธิภาพมาก่อน คือเรื่องของสถาบัน เรื่องทุจริตคอรัปชั่นผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่ได้ถูกนำมาใช้ตอนนี้ ก็เลยทำให้ขบวนการอ่อนไป เขาคงอยากให้สำเร็จ...แต่ความจริงแล้วสำเร็จยาก เพราะกำลังไม่พอ จุดแล้วไม่ติด เช่นล่าสุด แม้มีการปะทะ มีสงครามชายแดนแล้ว แต่กองทัพก็ดูจะไม่เล่นด้วยอย่างเต็มที่ เช่นไม่มีการส่งกองกำลังเข้าไปยึดพื้นที่ให้ได้มากที่สุด ให้รู้แล้วรู้รอดไป สำหรับเกม “อำมาตยาเสนาชาตินิยม” เช่นนี้ จะเล่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเล่นโดยผู้กุมอำนาจรัฐ(หรือผู้หวังกุมอำนาจรัฐ) และต้องกุมกองทัพเอาไว้ให้ได้ เช่นในอดีต สมัยจอมพล.ป พิบูลสงคราม-หลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งมีทีมงานจากกรมศิลปากร กรมโฆษณาการ (ชื่อเดิมของกรมประชาสัมพันธ์) คือการเล่นเกมโดยคนที่กุมอำนาจรัฐ พูดง่ายๆ เล่นโดยเสนาอำมาตย์เอง แต่ผมคิดว่าพลังอาจจะไม่มีพอ และถ้าเผื่อไม่ได้ความสนับสนุนจากฐานเสียงคนชั้นกลางใน กทม. จากพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้กำลังช่วยจากผู้กุมอำนาจรัฐ จากกองทัพ จากข้าราชการส่วนกลางหรือท้องที่ ผมว่ายาก เพราะฉะนั้น ไพ่ใบนี้ ไพ่รักชาติ ไพ่เสียดินแดน ปลุกให้ติดยากมาก เป็นการ “เข็นครกขึ้นภูเขา” และที่สำคัญ คือ “เป้า” ก่อนหน้านี้ก็ชัดเจนมาก คือเป้าอยู่ที่คุณทักษิณและรัฐบาลคุณสมัคร และคุณสมชาย ที่พันธมิตรฯ ล้มได้สำเร็จ ก็เพราะมี “ผู้สนับสนุนรายใหญ่ๆ” ช่วยหนุนให้โค่นรัฐบาล 3 ชุดนั้น แต่ตอนนี้รัฐบาลเป็นฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ และคุณอภิสิทธิ์ ที่แม้เคยร่วมมือกันมาก่อน และก็กลายเป็น “เป้า” ไปแล้วนั้น ยังอาจทำได้ไม่ถนัดนัก ถ้าผู้สนับสนุนรายใหญ่ “พลังต่างๆเดิมๆ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพ ยังไม่เอาด้วย ทำไมรัฐบาลชุดนี้ ไม่อยู่ในชะตากรรมเดียวกับกลุ่มคุณทักษิณ เพราะข้อกล่าวหาต่อคุณอภิสิทธิ์ว่า “ขายชาติ” หรือมี “ผลประโยชน์ทับซ้อน” ต่อคนกรุง-คนชั้นสูง-ชั้นกลาง ฟังดูไม่น่าเชื่อ หรือไม่อยากจะเชื่อถือ เหมือนการกล่าวหาต่อคุณทักษิณและพรรคพวก ถ้าเป้าในการถูกโจมตี เป็นคุณทักษิณ คุณสมัคร คุณสมชาย หรือคนเสื้อแดง อาจจะเป็นเป้าที่ชัดเจนในสายตาของคนกรุงหรือคนเมืองที่ส่วนใหญ่เป็นคนเสื้อ เหลือง เสื้อชมพู เสื้อซาหริ่ม เหมือนๆคราวที่แล้ว พันธมิตรฯ โจมตีรัฐบาลฝ่ายคุณทักษิณ โดยใช้เรื่องกัมพูชาและปราสาทพระวิหารเป็นข้ออ้าง เป็นวาระซ่อน ซึ่งว่าไปแล้วไม่ใช่การโจมตีกัมพูชาโดยตรง แต่มาถึงตอนนี้พันธมิตรฯ จะทำให้รัฐบาลชุดนี้กลายเป็นเป้านิ่งแบบนั้น ไม่ง่าย... ใครเขาจะยอมให้ตีพวกของเขาเองคนของเขาเอง คุณอภิสิทธิ์ เขาก็มีคนรัก คนหลงอยู่เยอะแยะ และผมคิดว่า “ผู้สนับสนุนรายใหญ่” ของคุณอภิสิทธิ์กับประชาธิปัตย์ ยังพอใจคุณอภิสิทธิ์ พอใจกับประชาธิปัตย์อยู่ เพราะอาจจะดีที่สุด หรืออีกนัยหนึ่ง เลวน้อยที่สุดเท่าที่มีอยู่ในมือตอนนี้ เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าเขาไม่น่าจะเล่นกับการเปลี่ยนแปลงแบบใช้วิถีทางที่ไม่ใช่ “ประชาธิปไตย” เขาไม่น่าจะเล่น ในทางตรงข้ามเขาคงเล่นเกมที่นำไปสู่การเลือกตั้ง ซึ่งมันก็อีกไม่นานแล้ว วาระของรัฐบาลก็จะหมดแล้วในปี 2554 เพราะฉะนั้น รออีกไม่กี่เดือน มันคุ้มกว่าที่จะไปเล่นเกมนอกระบบ โอกาสรัฐประหารยังเป็นไปได้หรือไม่ โดยเหตุผลโดยผล โดยตรรกะ ไม่น่าจะมีรัฐประหาร แต่การเมืองไทยคาดการณ์ยาก อะไรก็เกิดขึ้นได้ เพราะการเมืองบ้านเรา ขึ้นกับอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการของคนเพียงไม่เกินห้าคนสิบคน ดังนั้น อะไรๆ ที่เราไม่คาดคิด ก็เกิดขึ้นได้เสมอๆ อย่างที่เห็นกันมาแล้วในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ แต่ผมว่าเกมน่าจะมุ่งไปสู่การเลือกตั้งมากกว่า เพราะอายุรัฐบาลจะหมดแล้ว ในวาระในปีนี้ ฉะนั้น เกมน่าจะไปจุดนั้น แต่อำมาตย์ไม่เล่นเกมนั้น เพราะตอนหลังคงพบว่ามันไม่ง่าย และสิ่งที่พันธมิตรฯ ทำตอนแรกมีคนสนับสนุนเขาเยอะ แต่ตอนหลังมันล้ำเส้น อาจจะไม่ไตร่ตรองให้ดี ทำให้มวลชนหายไปเยอะ แต่การออกมาเคลื่อนไหวของ คุณจำลอง ศรีเมือง ถูกมองว่าต้องบรรลุเป้าหมายที่ชัดเจนอย่างใดอย่างหนึ่ง มิเช่นนั้นแกนนำผู้นี้จะไม่ออกมานำ อาจารย์ประเมินอย่างไร ก็น่าจะเป็นอย่างนั้นนะ ถ้าดูจากประวัติการทำงานทางการเมืองของคุณจำลองที่ “ไม่กลับบ้านมือเปล่า” ทั้งเหตุการณ์เดือนพฤษภา 2535 ก็ไปถึงจุดเกิดการนองเลือด เกิดความเปลี่ยนแปลง รัฐบาลสุจินดาล้ม และล่าสุดการประท้วง รัฐบาลสมัคร สุนทรเวชและสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ผลักดันจนกระทั่ง ชนชั้นนำหรือพลังเดิมๆต้องใช้กระบวนการตุลาการภิวัตน์ เข้ามาจัดการ คือใช้อำนาจศาลมายุติสถานการณ์ความปั่นป่วนทางการเมืองชั่วคราว ฉะนั้น ความพยายามผลักดัน ของ 3 องค์กรของ คุณจำลอง ศรีเมือง คุณสนธิ ลิ้มทองกุล และโพธิรักษ์ ก็น่าจะต้องการผลักดันไปสู่การที่มีการเปลี่ยนแปลง “นอก” ระบอบประชาธิปไตย คือผลักดันให้มี “รัฐบาลแห่งชาติ” หรือการยกเว้นให้ไม่ใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา เช่นว่า นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง คล้ายๆ กับเรื่อง “มาตรา 7. หรือที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเคยทำในปี 2476 ทั้งหลายทั้งปวงนี้ก็อาจเป็นไปได้ แม้จะยากและบรรยากาศ “สากล” ไม่อำนวยก็ตาม ผลจากการที่คุณอภิสิทธิ์ ถูกโจมตีจากฝ่ายเสื้อเหลืองจะเป็นอย่างไร จะทำให้คุณอภิสิทธิ์ แข็งแรงขึ้นและจะลอยตัวได้ ไม่งั้นจะถูกมองว่าเป็นฝ่ายเดียวกับ “คนเสื้อเหลืองกลายชมพู” ก็กลายเป็นเป้านิ่งให้ “คนเสื้อแดง” โจมตีได้ถนัด การเคลื่อนของพันธมิตรฯ กลับกลายเป็นช่วยคุณอภิสิทธิ์ ให้ไม่ถูกโจมตีจากเสื้อแดง งั้นหรือ ไม่ใช่จะทำให้ไม่เป็นเป้าเสียเลย แต่ดีกรีในการโจมตีมันจะอ่อนลง ถ้าคุณอภิสิทธิประคองสถานการณ์ได้ ดึงเกมไปให้ยาว แล้วค่อยยุบสภา ให้มีการเลือกตั้งเร็วขึ้นนิดๆหน่อยๆ ก็อาจจะอยู่รอดก็ได้ คือ สามารถ survive นั่นแหละ ก่อนการสู้รบปะทะกันชาย แดน พันธมิตรฯ เคยเสนอให้กองทัพ แสดงแสนยานุภาพ ซ้อมรบให้ประเทศเพื่อนบ้านเห็น เอาเครื่องบินไปบินขู่ วิธีคิดแบบนี้ เก่าไปหรือเปล่า ก็เป็นการขู่เท่านั้นเอง แสดงแสนยานุภาพขู่ฮุนเซน ขู่คนกัมพูชา ใช่ไหม? ถามว่าแล้วเขาจะกลัวไหม ฮุนเซน อยู่ในตำแหน่งนายกฯ มากี่ปี ? ฮุนเซนรู้จักนายกรัฐมนตรีของไทยมากี่คน? นับตั้งแต่คุณชาติชาย ชุณหวัณ มาถึงคุณอานันท์ (หนึ่งและสอง)-คุณชวน (หนึ่งและสอง)-คุณบรรหาร-คุณชวลิต-คุณทักษิณ-คุณสมัคร-คุณสมชาย จนกระทั่งถึงคุณอภิสิทธิ์ในปัจจุบัน ผมว่า “เขารู้เรา” มากกว่า “เรารู้เขา” ผมเชื่อว่า “เราไม่รู้เขา” หรอก เราหลง “เพ้อเจ้อ” กับอะไรๆที่เป็นเรื่องโบราณโบราณไปหมดแล้ว กลายเป็น “ฟอสซิลทางการเมือง” เป็น “ฟอสซิลทางประวัติศาสตร์” เป็น “ฟอสซิลทางโบราณคดี” สร้างความ “ล้าหลัง” สร้าง “ความเสียหาย” ให้ประเทศชาติและประชาชน (ชายแดน) ฮุนเซนเขาก็รักษาผลประโยชน์ของเขา เขาจะเป็นมิตรกับทักษิณ หรือยังไงก็แล้วแต่ ยังไงเขาก็ต้องเล่นกับผู้นำรัฐบาลไทย เขาก็ต้องเล่นกับคุณอภิสิทธิ์ ถ้าเปลี่ยนจากคุณอภิสิทธิ์ เขาก็ต้องเล่นกับผู้นำไทยคนต่อไป เพราะฉะนั้น ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ พาคุณอภิสิทธิ์ ไปหา ฮุนเซน แป๊บเดียวก็จัดคอนเสิร์ต ไทย-กัมพูชาที่กรุงเทพฯ อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา ก็จัดคอนเสิร์ตกัมพูชา-ไทย ที่พนมเปญ หมายความว่า เขาก็ต้องเล่นด้วย แต่ไม่รู้ว่าอุบัติเหตุ หรือความตั้งใจ ที่ทำให้สถานการณ์พลิกผันไป ไปอีกอย่าง ตอน 7 คนถูกจับ ความจริงความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา กำลังฟื้นตัว กำลังเดินมาอย่างดีขึ้นแล้ว หมายความว่าเขาได้หาทาง “เกี้ยเซี๊ย” กันในเรื่องการเมืองการ ต่อรองแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กัน ก่อนมีเหตุการณ์ 7 คนถูกจับ ที่ปล่อยให้ 5 คนไทยได้รับการประกันตัวออกมาก่อน เพราะอะไร เขาเล่นไพ่เหนือ เขาฉลาดมาก โดยการปล่อยทีละเล็กทีละน้อย เก็บตัวประกันสำคัญๆ เอาไว้ และผมว่าฮุนเซน หรือกัมพูชา ยังมีไพ่อีกเยอะเลย เราไม่รู้ใช่ไหม คนเสื้อแดง ที่หายไปจากราชดำเนินและราชประสงค์ ใครบ้างที่หนีไปอยู่กัมพูชา หมายถึงแกนนำคนเสื้อแดงหรือเปล่า ใช่ ผมเชื่อว่าอย่างนั้น ยิ่งเล่นไป กัมพูชาก็ยิ่งได้เปรียบ ยิ่งเล่นไปไทยก็ยิ่งเสียเปรียบ เพราะเราเล่นเกม “โบราณ” ล้าสมัย ตกรุ่น และไม่ได้ใช้ “สติสัมปชัญญะ” สักเท่าไหร่ แต่ใช้แต่ “อารมณ์” ความรู้สึก และความ “สุดโต่ง”เสียมากกว่า แกนนำม็อบเสื้อแดงที่ อยู่ในกัมพูชาตอนนี้ จะกลายเป็นไพ่หรือข้อต่อรองที่ถูกเล่น เมื่อฝ่ายคุณทักษิณหรือฝ่ายประชาธิปัตย์กลับมามีอำนาจรัฐ ยุคไหนก็ได้ เขาเก็บ “หนีร้อนไปพึ่งเย็น” เอาเป็นไพ่ต่อรองไว้ เหมือนๆในอดีตเราก็เคยเล่นไพ่ใบนี้มาแล้ว ในประวัติศาสตร์แต่ก่อนเมื่อเขมรแตกแยกขัดแย้งกันเอง ไทยเราก็เคยเอาเจ้านโรดม เอาเจ้าศรีสวัสดิ์ที่ “หนีร้อนมาพึ่งเย็น” เอามาเก็บไว้ในกรุงเทพฯ แล้วตอนหลังก็ส่งกลับไปเป็นพระเจ้าแผ่นดินเขมรก็ยังเคยมี... ผมว่าตอนนี้เขาก็เล่นเกมนั้นนั่นแหละ แต่กลับตาลปัตกัน เพราะแทนที่จะเป็นเขมรแตกสามัคคีกัน ไทยเองกลับแตกแยกยิ่งกว่า “สามก๊ก” กลายเป็น “โป๊ยก๊ก” ดังนั้นบางส่วนก็เลย “หนีร้อนไปพึ่งเย็น” ตกไปเป็น “ตัวประกัน” ของเขมรไปโดยอัตโนมัติ หรืออาจจะเป็นที่ลาวด้วยก็เป็นได้ ความเคลื่อนไหวของเสื้อแดงในปีนี้ จะรุนแรงขึ้นอีกหรือไม่ ถ้าใช้ลำดับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์เป็นตัวไล่เรียงมา คำตอบน่าจะเป็น “ความรุนแรงไม่ลด” มีแต่ “เพิ่มขึ้น” เพราะคนระดับ “ล่าง” เปลี่ยนไปเยอะ ตอนนี้เกือบทุกคนมีโทรศัพท์มือถือ และคนหนึ่งอาจจะมีสองสามเครื่อง แปลว่าข้อมูลข่าวสารมันไหลถ่ายเทมากๆ คนระดับล่างหาใช่มวลชนที่ไร้จิตสำนึก หรือยอมสยบอีกต่อไปไม่ ข่าวสารข้อมูลที่เราๆท่านๆมี ที่เราๆท่านๆ ที่เป็นคนชั้นกลาง อยู่ในกรุง อยู่ในเมือง หรือแม้แต่เรื่อง “ซุบซิบๆๆนินทาว่าร้าย” ก็ดูเหมือนว่าในระดับ “คนชั้นกลางระดับล่าง” หรือแม้แต่“คนชั้นล่าง” คนนอกเมือง คนในชนบท ดูจะมีเหมือนๆกัน ดูจะเป็นความ “เสมอภาคเท่าเทียม”อย่างประหลาดๆๆ แกนนำเสื้อแดง ประกาศต่อมวลชนไม่ต้องการให้ไปปะทะ และต้องก้าวข้ามกลุ่มเสื้อเหลือง การเมืองขณะนี้ รู้หรือไม่ว่าใครเป็นศัตรูกับใคร รู้ ผมคิดว่าวาระของคนเสื้อแดงเขาชัดเจน และส่วนหนึ่งเสื้อแดงก็มีอะไรแปลกใหม่น่าสนใจ คือมีผู้หญิง มาเป็นคนนำ โดยอาจารย์ธิดา ถาวรเศรษฐ์ มาเป็นแกนนำ ซึ่งในเวลาที่สังคมมีวิกฤต ผู้หญิงจะมีประสิทธิภาพมากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงถูกเลี้ยงมาให้มีความอดทน และมีสติปัญญาที่มั่นคงมากกว่าผู้ชายนะ ดูในจุฬา ในธรรมศาสตร์สิ ผู้หญิงสอบเข้าได้มากกว่าผู้ชายหลายช่วงตัว นี่ยังไม่นับรวมเพศสามหรือเพศสี่ ผมคิดว่างั้น การที่อาจารย์ธิดามาเป็นแกนนำ เป็นความแปลกใหม่น่าสนใจติดตามดู อย่างน้อยมีน้ำใหม่มาในการเมืองที่มันเป็น “น้ำเน่า” ดักดานมาหลายทศวรรษ แกนนำเสื้อแดงที่ยังอยู่ในคุก จะส่งผลดีหรือผลเสียต่อรัฐบาลประชาธิปัตย์ ยิ่งเก็บไว้นาน ก็จะยิ่งเป็นผลเสียต่อรัฐบาล ต่อระบบยุติธรรม ถ้าพูดแฟร์ๆ ก็ควรจะให้เขาได้รับการประกันตัวออกไป เพราะอยู่ในคุกนานแบบนี้ มันทำให้ข้อกล่าวหาเรื่อง “สองมาตรฐาน” ยิ่งชัดขึ้น วันดีคืนดี ถ้าแม่ยก 50-100 คนบุกไปที่คุก คงจะเป็นภาพที่น่าวิตกและน่าสนใจอย่างยิ่ง ยิ่งถ้า เก็บ 7 ผู้นำแดง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เอาไว้ ยิ่งทำให้คนเสื้อแดงมีประเด็นในการเคลื่อนไหวได้เยอะเลย ขอให้ติดตามดูบทบาทของ “แม่ยก” ที่จะเรียกร้องให้ถอดโซ่ตรวนนักโทษไทย ขณะที่แม้ในกัมพูชา กรณีของคุณวีระ สมความคิด และคณะก็ยังไม่ถูกตีตรวน นี่เป็นภาพอัปลักษณ์อย่างยิ่งในกระบวนการยุติธรรมไทย จำได้ไหม หลัง 6 ตุลา 2519 เด็กๆนักศึกษาอย่างวิโรจน์ อย่างอภินันท์ อย่างสุธรรม ฯลฯ ก็ถูกล่ามโซ่ออกมาขึ้นคดีในศาล สร้างความตกตะลึงงันไปทั่วโลก เกือบ 40 ปีผ่านไป ไทยเราก็ยัง “ย่ำ” และ “อนารยะ” อยู่ “เหมือนเดิม” อย่างน่าพิศวง หากเสื้อแดงยังชุมนุมหลังเลือกตั้ง จะกลายเป็นไม่ยอมรับระบบรัฐสภาหรือเปล่า ถ้าไม่ปล่อยตัวณัฐวุฒิกับผู้ต้องหาแดงๆ คนเสื้อแดงก็จะประท้วงต่อไป โดยจะยอมรับหรือไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งก็ตาม การชุมนุมต่อไป ทำได้ ไม่ขัดกันในวิธีคิดของเขา ถ้าพรรคเพื่อไทย ถูกยุบพรรคอีก พรรคการเมืองของเสื้อแดงจะสูญพันธ์ไปหรือไม่ ถ้ามองโดยภาพใหญ่ ภาพรวมแล้ว เกมหลายเกมเล่นซ้ำไม่ได้ มันจืด มนุษย์ไม่เอา ทำซ้ำไม่ได้ ยุบพรรคอีกก็ไม่น่าได้ แต่ก็นั่นแหละอย่างที่ผมพูดไว้ อะไรก็เกิดขึ้นได้ เพราะการเมืองบ้านเรา ขึ้นกับอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการของคนเพียงไม่เกินห้าคนสิบคน ดังนั้น อะไรๆ ที่เราไม่คาดคิด ก็เกิดขึ้นได้เสมอๆ อย่างที่เห็นกันมาแล้วในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ แนวโน้มสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น เราไปมองว่าสถานการณ์การเมืองไทยและสังคมไทยสถิต นิ่งอยู่กับที่ ไม่มีความเปลี่ยนแปลง แต่ผมคิดว่าคนจำนวนมาก รอความเปลี่ยนแปลง ความไม่พอใจของคนจำนวนมาก จะจุดประเด็นได้ ตอนนี้น่าจะเรียกได้เป็น waiting game และเป็น “การเมืองตัวแทน” politics of nominees เสียมากกว่า “ตัวเอก ฉากเอก เวลาจริง” ยังไม่ถึง ยังไม่ออก จะถึงขั้นก่อจลาจล เหมือนภาพที่เกิดในต่างประเทศหรือไม่ เป็นไปได้ เพราะสิ่งที่คนพูดถึง “กาลียุค” ก็เกิดขึ้นได้ แม้กระทั่งโพธิรักษ์ เมื่อเริ่มการเคลื่อนไหวหลัง 7 คนถูกจับไม่นานนี้ ท่านก็ใช้คำว่ากาลียุค ดังนั้น เผลอๆ คนจำนวนมาก กำลัง “รอ” ว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และอะไรจะเกิดขึ้น จริงๆแล้ว “กาลียุค” ไม่ได้แปลว่า “สิ้นสุด” แปลว่า “จบ” แปลว่า the end แต่มีความหมายมากกว่านั้น คือ “ยุคใหม่ สมัยใหม่กำลังจะเกิดขึ้น” ฉะนั้น จะต้องมีความปั่นป่วน มีจลาจล มีการเสียเลือดเนื้อ แล้วถึงจะมีสิ่งใหม่เกิด อันนี้ก็เป็นสิ่งที่มนุษย์คิดมาตั้งแต่สมัย “พระเวท” เป็นความเชื่อทางศาสนาฮินดู พราหมณ์ ที่เป็นศาสนาเก่าแก่และใหญ่ที่สุดศาสนาหนึ่ง ในความเชื่อแบบนี้ ที่ก็แทรกเข้ามาในพุทธศาสนาด้วยนั้น จะปรากฏอยู่ในตำนานของ “ศิวนาฏราช” ที่ทรงเริงระบำเต้นอยู่เหนือหน้าบันของปราสาทพนมรุ้ง เหนือปราสาทพระวิหาร ที่พระอิศวรจะทรงทำลายล้าง บังเกิดมีเจ้าแม่กาลี (ปางหนึ่งของพระอุมา) ขึ้นมาเผด็จยุคเก่าสมัยเก่าให้สิ้นซากไป แล้วเบื้องล่างตรงทับหลัง พระนารายณ์อนันตศายิน ก็จะบันดาลให้ดอกบัวผลุดออกมาจากพระนาภี จากสะดือ บานออกเผยให้เห็น “พระพรหม” ที่จะสร้างโลกใหม่สมัยใหม่ในบั้นปลาย. ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ชาวบ้านต้านด่านใหม่สะเดายันคิดค่ายาง 8 พัน ไม่ใช่ต่อรองชดเชย Posted: 13 Feb 2011 07:23 AM PST ชาวบ้านต้านด่านใหม่สะเดา ชี้ถูกบิดเบือนเจตนา ยันคิดค่าต้นยาง 8 พันบาทไม่ใช่ใช้ต่อรองค่าชดเชย แต่ให้เห็นคุณค่าตั้งแต่เปิดกรีดยันตัดต้นขาย ร่วมเคลื่อนไหวพร้อมเครือข่าย คปสม.พบรัฐมนตรีสาทิตย์ 16 ก.พ. นายสมนึก แสงช่วง นายสมนึก แสงช่วง อายุ 66 ปี ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ ตำบลสำนักขาม อำเภอ สะเดา จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554 นี้ ตนพร้อมชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการนี้อีก 39 ราย จากทั้งหมด 41 ราย จะนำเสนอประเด็นปัญหาของพวกตนเสนอต่อนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกับเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) ทั่วประเทศ นายสมนึก กล่าวว่า พวกตนขอชี้แจงข้อมูลและให้ข้อเท็จจริงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการว่า พวกตนไม่ต้องการย้ายออกจากพื้นที่ ไม่ใช่ต้องการเรียกร้องค่าชดเชยต้นยางพาราต้นละ 8,100 บาท จนมีการเจรจาเหลือค่าชดเชยต้นละ 4,000 บาท ตามที่นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทวงมหาดไทยและสังคมในพื้นที่เข้าใจ “เรื่องนี้ถูกทำให้เข้าใจว่า พวกเราไม่พอใจค่าชดเชยต้นยางพารา เนื่องจากคณะกรรมการเจรจาจ่ายค่าผลอาสิน และสิ่งปลูกสร้าง ที่มีนายอำเภอสะเดาเป็นประธาน จะให้ค่าชดเชยต้นยางพาราต้นละ 1,500 บาท คณะกรรมการให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบประเมินมูลค่าของต้นยางพารา ซึ่งชาวบ้านคำนวณได้ว่าตลอดอายุตั้งแต่เปิดกรีดจนถึงโค่นต้นขาย มีมูลค่ารวมเท่าไหร่ ชาวบ้านมีรายได้จากยางพาราวันละเท่าไหร่ ปีละกี่วัน ผลลัพธ์ออกมาเป็น 8,100 บาท ซึ่งไม่ใช่มูลค่าในการต่อรองค่าชดเชย เพียงแต่ต้องการคำนวณให้เห็นเป็นตัวเลข” นายสมนึก กล่าว นายสมนึก เปิดเผยต่อไปว่า ตัวเลข 8,100 บาท คิดจากฐานราคายางพาราเมื่อปี 2552 คือ กิโลกรัมละ 50 บาท แต่ปัจจุบันราคายางพาราขึ้นถึงกิโลกรัมละ 160 บาทแล้ว ส่วนผลการเจรจาเหลือค่าชดเชยต้นละ 4,000 บาท นั้น ตนและชาวบ้านทั้ง 39 ราย ไม่มีใครรู้เรื่องว่า มาได้อย่างไร ใครเป็นผู้กำหนด นายสมนึก เปิดเผยว่า สำหรับโครงการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ มีเนื้อที่ 720 ไร่ มีผู้ครอบครองทำประโยชน์ 41 ราย แบ่งเป็น 60 แปลง ตนเข้ามาจับจองและทำกินเมื่อปี 2500 ต่อมามีการประกาศเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อปี 2507 ต่อมาราวปี 2533 รัฐได้มอบหนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราว ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ(ครั้งที่ 1) หรือ สทก.1แก่ชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่ไม่เหลือสภาพความเป็นป่า ต่อมาในช่วงปี 2536 รัฐได้ยกเลิกเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้วประกาศเป็นที่ดินปฏิรูปเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) แต่หลังจากนั้นสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้อนุญาตให้กรมศุลกากรใช้พื้นที่เพื่อก่อสร้างด่านศุลกากรแห่งใหม่ โดยมีเงื่อนไขสำคัญ คือ ต้องให้เกษตรกรผู้ถือครองที่ดินต้องยินยอมสละสิทธิ์ที่ดินให้กรมศุลกากร นางเรณู ผิวทอง อายุ 45 ปี ชาวบ้านอีกรายหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากโครงการนี้ เปิดเผยว่า ผู้ที่เสนอให้ค่าชดเชยต้นยางพาราต้นละ 4,000 บาท คือ นายเกชา เบ็ญจคาร นายกเทศมนตรีตำบลสำนักขาม ที่มาพบกับชาวบ้านบางราย ซึ่งต่อมากลายเป็นข้อต่อรองของคณะกรรมการ แต่สิ่งที่ชาวบ้านต้องการคือ ต้องการทำกินอยู่ในที่ดินต่อไป เพราะหากมีการสร้างด่านแห่งใหม่ขึ้น พวกตนก็ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน พวกตนไม่ได้คัดค้านการสร้างด่านแห่งใหม่ แต่อยากให้ไปสร้างที่อื่น นางเรณู เปิดเผยว่า ชาวบ้านที่มีสวนยางพาราและสวนผลไม้อยู่ในเขตโครงการก่อสร้างด่านศุลกากรแห่งใหม่ทั้งหมดไม่ต้องการย้ายออกไปไหน จึงไม่ต้องการเจรจาค่าชดเชยใดๆ ยกเว้นนายวรเพชร อิ่มประพันธ์ตรี ซึ่งเป็นนักธุรกิจขนส่งสินค้าและมีสวนยางพาราอยู่ในพื้นที่โครงการจำนวน 22 ไร่เศษ นายชัชวัฒน์ ดิษโสภา ชาวบ้านอีกรายหนึ่งที่มีสวนยางพาราในพื้นที่โครงการก่อสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ กล่าวว่า ที่ตั้งด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ไม่มีความเหมาะสม เนื่องจากที่ดินตรงข้ามฝั่งประเทศมาเลเซียเป็นค่ายทหาร ทางการมาเลเซียไม่อนุญาตให้ก่อสร้างถนนเชื่อมกับด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ นายชัชวัฒน์ เปิดเผยด้วยว่า นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2552 นายกิตติพงษ์ ณ ระนอง อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงต่างประเทศ ได้ส่งหนังสือถึงอธิบดีกรมศุลกากร โดยอ้างหนังสือกระทรวงต่างประเทศมาเลเซียที่ CM 160/2009 ลงวันที่ 25 กันยายน ค.ศ.2009 แจ้งว่า ด่านบูกิตกายูฮิตัม รัฐเคดาห์ ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับด่านพรมแดนสะเดาปัจจุบัน มีพื้นที่เพียงพอในการรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าและการเดินทางของผู้โดยสารระหว่างไทยกับมาเลเซีย จึงไม่มีแผนที่จะพัฒนาด่านแห่งใหม่ นายชัชวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ด้วยเหตุนี้ จึงน่าจะเป็นที่มาของการสร้างเส้นทางนี้เชื่อมระหว่างด่านสะเดาเดิมกับด่านสะเดาแห่งใหม่ กว้าง 100 เมตร ยาว 230 เมตร เพื่อให้การขนส่งสินค้าและการเดินทางผ่านผ่านแดนทางช่องทางเดิม ปัญหา อยู่ระหว่างเจรจาจ่ายค่าผลอาสิน และสิ่งปลูกสร้าง โดยมีนายอำเภอสะเดา เป็นประธาน คกก. และนายด่านศุลกากรเป็นเลขานุการ ตามระเบียบทางราชการสามารถจ่ายค่าผลอาสิน ต้นยางในอัตราต้นละ ๑๕๐๐ บาท แต่ชาวบ้านขอ ๘๑๐๐ บาท คกก.ชุดดังกล่าวได้เจรจากับประชาชน ในอัตราต้นละ ๔๐๐๐ บาท ความเห็น มท.๓ ถามว่า ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการให้ค่าชดเชยผลอาสินต้นยางในอัตราต้นละ ๔๐๐๐ บาท นอ.สะเดาตอบ ใช้ตามหลักการเจรจา ความเห็น มท.๓ เพื่อความเป็นธรรมแก่ประชาชน และรัฐขอให้ คกก. การเจรจาชุดนี้ พิจารณาหลักเกณฑ์ในการ จ่ายค่าชดเชยดั้งนี้ สำรวจจำนวนผู้ถือครองจำนวนเท่าไร กี่ไร่ ปลูกกี่ต้น อายุของต้นยางมีอายุกี่ปีใช้ประโยชน์กรีดยางมาแล้วกี่ปี การปลูกยางได้ขอเงินกองทุน สกย. หรือไม่ มาเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าชดเชย เพราะหากไม่ใช้เกณฑ์ พิจารณาดังกล่าว กรมศุลกากร มีงบประมาณจ่ายค่าชดเชย เพียง ๙๒ ล้าน ซึ่งคำนวณเบื้องต้น คาดว่ามีต้นยาง ๔๘๐๐๐ ต้น หากจ่ายต้นละ ๔๐๐๐ บาท จะต้องหาเงินจ่ายค่าชดเชยผลอาสินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเงินประมาณ ๒๐๓ ล้านบาทเศษ มท.3. จึงสั่งการให้คณะกรรมการเจรจาต่อรองโดยใช้หลักเกณฑ์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมให้แล้วเสร็จภายใน มกราคม 2554โดยให้คำนึงถึงความเป็นธรรม และสถานะทางเศรษฐกิจของผู้ปลูกยาง โดยให้ใช้มาตรการตาม กม. ควบคู่กับการเจรจาต่อรอง ๕. กรณีการแก้ไขปัญหาการจราจรคับคั่งบริเวณด่านสะเดา มท.๓ แจ้งผู้แทนกรมทางหลวงให้ไปศึกษาจัดทำเส้นทางมอเตอเวย์ สายด่วนสะเดา – บ้านพรุเตียว และประสาน คกก. สิ่งแวดล้อม เพื่อจัดทำเส้นทางเลี่ยงเมืองในการจราจร และขนส่ง สินค้าจากด่านสะเดาไปหาดใหญ่ ๗. เรื่องด่านปาดังเบซาร์ มท.๓ สั่งการให้ผู้แทนกรมศุลกากรโดยส่วนการบริหารการพัสดุ ประสานกับประเทศจีน ในการจัดซื้อเครื่อง เอ็กซเรย์ตู้คอนเทนเนอร์ คร่อมทางรถไฟ และให้ขอใช้งบประมาณปี 2555 ให้ทัน กรอบระยะเวลา ชาวบ้านด่านสะเดา ข้อสั่งการ รมช.มท. ในที่ประชุม ติดตามการพัฒนาด่านชายแดนไทย มาเลเซีย ในวันอังคารที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องประชุม กระทรวงมหาดไทย มท.๓ แจ้งที่ประชุมทราบ ๑. เรื่อง ครม. มีมติเมื่อวันที่ 14 ธ.ค.53 อนุมัติงบประมาณให้จัดซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างด่านศุลกากรบ้านประกอบระยะที่ ๒ จำนวนเงิน ๔๖ ล้านและ มท.๓ ได้เสนอกระทรวงการคลังเพื่อขับเคลื่อนการก่อสร้างด่านสะเดา แห่งใหม่ ๒. ในการเรียกประชุมวันนี้เนื่องจากการทำงานพัฒนาด่านชายแดนไทย-มาเลเซียทั้ง ๙ ด่าน มีความล่าช้า ต้องการเร่งรัดการทำงานให้ขับเคลื่อน ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ ต่างคนต่างทำ ต้องการให้เกิดการบูรณาการในการทำงานเข้าด้วยกัน การติดตามความคืบหน้า ๓. นายด่านสะเดา รายงานความก้าวหน้าการปรับปรุงด่านสะเดา พื้นที่ ๑๙ ไร่ เพื่อใช้เส้นทางนี้เชื่อมระหว่างด่านสะเดา และด่านสะเดาแห่งใหม่ มีความกว้าง ๑๐๐ เมตรความยาว ๒๓๐ เมตร ที่ดินดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวน มีผู้เข้าไปลักลอบปลูกต้นกระถิน และ ทำรีสอร์ท ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการ ๔.ด่านสะเดา (แห่งใหม่) นอ.สะเดารายงานที่ประชุมการก่อสร้างด่านสะเดาแห่งใหม่ เนื้อที่ ๗๒๐ ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับประชาชน ที่เข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่ ซึ่งเป็นที่ สปก. โดยมีผู้ครอบครองทำประโยชน์ ๔๑ ราย แบ่งเป็น ๖๐ แปลง ปัญหา อยู่ระหว่างเจรจาจ่ายค่าผลอาสิน และสิ่งปลูกสร้าง โดยมีนายอำเภอสะเดา เป็นประธาน คกก. และนายด่านศุลกากรเป็นเลขานุการ ตามระเบียบทางราชการสามารถจ่ายค่าผลอาสิน ต้นยางในอัตราต้นละ ๑๕๐๐ บาท แต่ชาวบ้านขอ ๘๑๐๐ บาท คกก.ชุดดังกล่าวได้เจรจากับประชาชน ในอัตราต้นละ ๔๐๐๐ บาท ความเห็น มท.๓ ถามว่า ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการให้ค่าชดเชยผลอาสินต้นยางในอัตราต้นละ ๔๐๐๐ บาท นอ.สะเดาตอบ ใช้ตามหลักการเจรจา ความเห็น มท.๓ เพื่อความเป็นธรรมแก่ประชาชน และรัฐขอให้ คกก. การเจรจาชุดนี้ พิจารณาหลักเกณฑ์ในการ จ่ายค่าชดเชยดั้งนี้ สำรวจจำนวนผู้ถือครองจำนวนเท่าไร กี่ไร่ ปลูกกี่ต้น อายุของต้นยางมีอายุกี่ปีใช้ประโยชน์กรีดยางมาแล้วกี่ปี การปลูกยางได้ขอเงินกองทุน สกย. หรือไม่ มาเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าชดเชย เพราะหากไม่ใช้เกณฑ์ พิจารณาดังกล่าว กรมศุลกากร มีงบประมาณจ่ายค่าชดเชย เพียง ๙๒ ล้าน ซึ่งคำนวณเบื้องต้น คาดว่ามีต้นยาง ๔๘๐๐๐ ต้น หากจ่ายต้นละ ๔๐๐๐ บาท จะต้องหาเงินจ่ายค่าชดเชยผลอาสินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเงินประมาณ ๒๐๓ ล้านบาทเศษ มท.3. จึงสั่งการให้คณะกรรมการเจรจาต่อรองโดยใช้หลักเกณฑ์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมให้แล้วเสร็จภายใน มกราคม 2554โดยให้คำนึงถึงความเป็นธรรม และสถานะทางเศรษฐกิจของผู้ปลูกยาง โดยให้ใช้มาตรการตาม กม. ควบคู่กับการเจรจาต่อรอง ๕. กรณีการแก้ไขปัญหาการจราจรคับคั่งบริเวณด่านสะเดา มท.๓ แจ้งผู้แทนกรมทางหลวงให้ไปศึกษาจัดทำเส้นทางมอเตอเวย์ สายด่วนสะเดา – บ้านพรุเตียว และประสาน คกก. สิ่งแวดล้อม เพื่อจัดทำเส้นทางเลี่ยงเมืองในการจราจร และขนส่ง สินค้าจากด่านสะเดาไปหาดใหญ่ ๗. เรื่องด่านปาดังเบซาร์ มท.๓ สั่งการให้ผู้แทนกรมศุลกากรโดยส่วนการบริหารการพัสดุ ประสานกับประเทศจีน ในการจัดซื้อเครื่อง เอ็กซเรย์ตู้คอนเทนเนอร์ คร่อมทางรถไฟ และให้ขอใช้งบประมาณปี 2555 ให้ทัน กรอบระยะเวลา สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ชาวบ้านท่าเรือปากบาราเฮ เวนคืนที่ดินสร้างถนนหมดอายุ Posted: 13 Feb 2011 07:11 AM PST ชาวบ้านละงูเฮ พระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินสร้างถนนเข้าท่าเรือปากบาราหมดอายุ เผยมีคนยอมแค่ 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ ทนายชี้ถนนเส้นนี้ยังอยู่ในผังเมืองรวม หวั่นกรมทางหลวงชนบทดันเวนคืนอีกรอบ
ผังเมืองรวมชุมชนกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล กำหนดสร้างถนนเข้าท่าเรือน้ำลึกปากบารา นายโกสินท์ พิทยเวสด์สุนทร ผู้อำนวยการสำนักก่อสร้างทาง กรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลละงู และตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล พ.ศ. 2549 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2549 บัดนี้ครบกำหนด 4 ปี จึงสิ้นสุดการบังคับใช้แล้ว ไม่สามารถนำมาใช้เวนคืนที่ดินในโครงการก่อสร้างถนนทางเข้าท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา (ตอนที่2) อีกต่อไป นายโกสินท์ กล่าวว่า ก่อนหน้าที่พระราชกฤษฎีกาเวนคืนฉบับนี้สิ้นสุดการบังคับใช้ ตนและคณะลงพื้นที่ประชุมรับฟังชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินโครงการก่อสร้างถนนทางเข้าท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา (ตอนที่2) เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2553 ที่ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล ได้ตกลงกับชาวบ้านว่า ถ้าชาวบ้านมาทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนกับกรมทางหลวงชนบท ไม่เกิน 40% จะชะลอและยกเลิกโครงการ ตนให้นายวิมุติ จันทมาลาพฤกษ์ นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดสตูล รับผิดชอบดำเนินการเวนคืนโครงการนี้ “เรายืนยันกับชาวบ้านในที่ประชุมวันนั้นว่า ถ้าชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบไม่เห็นด้วย เราจะไม่ทำถนนทางเข้าท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา (ตอนที่2) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่ยืนยันว่าจะไม่ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา หากชาวบ้านในพื้นที่ไม่ต้องการโครงการนี้” นายโกสินท์ กล่าว นายวิมุติ เปิดเผยว่า ผลการดำเนินการปรากฏว่า มีชาวบ้านมาทำสัญญาฯกับกรมทางหลวงชนบท 24 ราย รวม 26 สัญญา หรือ 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ของจำนวนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ตอนนั้นผอ.โกสินท์บอกด้วยวาจากับผมว่า จะชะลอโครงการ ซึ่งผมได้แจ้งกับตัวแทนชาวบ้าน ก่อนที่พระราชกฤษฎีการเวนคืนฉบับนี้จะสิ้นสุดการบังคับใช้ นายอาบาส เกษา ตัวแทนชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินโครงการก่อสร้างถนนทางเข้าท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา (ตอนที่2) เปิดเผยว่า ชาวบ้านถามตนว่า การเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างถนนไปยังปากบารา กรมทางหลวงชนบทจะดำเนินการต่อไปหรือไม่ เพราะตนทราบว่ามีการระบุถนนเส้นนี้ไว้ในผังเมืองรวมชุมชนกำแพง จังหวัดสตูล นางสาว ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความ จากสภาทนายความ เปิดเผยว่า จากการที่ผังเมืองรวมชุมชนกำแพง จังหวัดสตูล ระบุถนนเส้นนี้ไว้ จึงมีโอกาสที่จะมีการเวนคืนที่ดิน เพื่อสร้างถนนไปยังปากบาราอีกรอบ เนื่องจากมีผังเมืองรองรับอยู่ “ถ้ามีผังเมืองมารองรับ กรมทางหลวงชนบทสามารถดำเนินการให้มีการออกพระราชกฤษฎีการเวนคืนที่ดินบริเวณนี้เพื่อสร้างถนนได้อีก กรณีนี้ชาวบ้านจะต้องดำเนินการให้มีการแก้ผังเมือง ไม่ให้ระบุถนนเส้นดังกล่าวไว้ในผังเมืองรวมชุมชนกำแพง” นางสาว ส.รัตนมณี กล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
คาร์บอมบ์ย่านการค้าใจกลางเมืองยะลาทหาร-ชาวบ้าน เจ็บ 17 ราย Posted: 13 Feb 2011 06:49 AM PST เมื่อเวลา 09.45 น.วันนี้ (13 ก.พ.) ได้เกิดระเบิดขึ้นเสียงดังสนั่นหวั่นไหว ที่บริเวณสี่แยกธนาคารนครหลวงไทย สาขายะลา เขตเทศบาลนครยะลา จุดเกิดเหตุอยู่หน้าร้านเฮนเบเกอรี่ เลขที่ 33 ถนน ณ นคร ต.สะเตง ปรากฏว่า มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุระเบิดทันทีจำนวนหลายราย ที่มาข่าว: ASTV ผู้จัดการออนไลน์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ครูนอกพื้นที่ย้ายเกือบหมดชายแดนใต้ Posted: 13 Feb 2011 06:42 AM PST เผยครูนอกพื้นที่ย้ายออกเกือบหมดชายแดนใต้แล้ว เหตุครูชายแดนใต้ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง ที่เหลือเป็นครูใหม่ๆ ไร้ประสบการณ์ ส่งผลคุณภาพการสอน จนต้องดูแลเป็นพิเศษ นายนพพร มากคงแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2 เปิดเผยว่า เหตุการณ์ร้ายที่ยังเกิดกับครูในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่เกิดจากการรักษาความปลอดภัยที่ไม่สมบูรณ์ตามแผนที่ได้วางไว้ รวมทั้งครูและเจ้าหน้าที่ชุดคุ้มครองความปลอดภัยครู ไม่ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ ในขณะที่ฝ่ายตรงข้ามได้เฝ้าติดตามหาช่องว่าง เพื่อฉวยโอกาสก่อเหตุอยู่ตลอดเวลา “ข้อบกพร่องที่ต้องรีบแก้ไข เช่น ช่วงพื้นที่รอยต่อระหว่างเขตรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยครู ซึ่งบางครั้ง ไม่มีเจ้าหน้าที่มารับช่วงต่อในการรักษาความปลอดภัย ครูหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยครูเดินทางมาไม่ตรงต่อเวลาที่นัดหมาย เช่น ในขณะที่ครูยังเดินทางมาไม่ถึง เจ้าหน้าที่ก็เดินทางล่วงหน้าไปก่อนโดยไม่ยอมรอเดินทางพร้อมกัน” “ที่สำคัญที่สุดคือการดูแลช่วยและเหลือตัวเองของครู โดยต้องมีหน่วยงานรัฐที่มาช่วยฝึก เรื่องการระมัดระวังตัวเอง การป้องกันตัวเอง ทั้งการใช้อาวุธปืน เพื่อป้องกันตัว การสังเกตลักษณะของคนที่มีเจตนาไม่ดี เพราะจะให้เจ้าหน้าที่จะมาคุ้มครองชีวิตครูตลอด 24 ชั่วโมง คงเป็นไปไม่ได้” นายนพพร กล่าว นายสมพร กล่าวต่อไปว่า ส่วนการแจ้งข่าวจากฝ่ายความมั่นคงไปยังฝ่ายการศึกษา ตอนนี้ยังขาดความต่อเนื่อง และส่วนมากมักเป็นการแจ้งข่าวหลังเกิดเหตุแล้ว “การแจ้งเตือนก่อนเกิดเหตุ เพื่อให้ครูระมัดระวังตัว ยังมีน้อยมาก เช่น ก่อนจะมีการปิดล้อมตรวจค้น เจ้าหน้าที่ควรแจ้งมายังครูก่อน เพื่อให้ฝ่ายครูสามารถประเมินสถานการณ์ได้ เพราะครูมักตกเป็นเป้าหมายของการล้างแค้นของฝ่ายตรงข้ามบ่อยๆ” นายนพพร เปิดเผยต่อไปว่า เรื่องครูขอย้ายออกนอกพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ เพราะไม่มั่นใจในความปลอดภัย ไม่ใช่ปัญหาหลักแล้ว เนื่องจากปัจจุบันครูที่มีอยู่เป็นคนในพื้นที่กว่าร้อยละ 90 การขอย้ายที่ยังมีอยู่ เป็นการย้ายภายใน คือย้ายระหว่างอำเภอในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มากกว่า “ปัญหาตอนนี้ คือครูส่วนใหญ่เป็นครูใหม่ มีประสบการณ์น้อยมาก ทำให้มีปัญหาเรื่องคุณภาพของครู จึงต้องมีการดูแลเรื่องการสอนของครูใหม่ๆ เป็นพิเศษ” นายนพพร กล่าว นายนพพร กล่าวทิ้งท้ายว่า อยากฝากไปยังหน่วยงานส่วนกลางว่า ต้องให้ความสำคัญกับคนที่ทำงานในสามจังหวัดชายแดนใต้ในด้านสวัสดิการสวัสดิภาพครูอย่างจริงจัง อยากให้เข้าใจถึงความยากลำบากในการทำงานพื้นที่เสี่ยง จึงจำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษ ต้องทำให้คนที่ทำงานในพื้นที่ ทำงานได้อย่างมีกำลังใจ งานที่ออกมาจึงจะมีประสิทธิภาพ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เสวนาที่ ม.เชียงใหม่: เสนอไปให้พ้นจากประเด็นชาตินิยม Posted: 13 Feb 2011 03:22 AM PST งานเสวนาที่ ม.เชียงใหม่ “สมชาย” เสนอ 3 มายาคติ “ไทยจะเสียดินแดน ไทยรักสงบ-เขมรเกเร และรัฐบาล-พันธมิตรฯ พูดภาษาเดียวกัน” แต่ชาตินิยมจิ๊กโก๋จุดไม่ติด มีแค่สื่อกระบอกเสียงประโคมข่าว “ไชยันต์ รัชชกูล” ชี้ยังมี “ไพ่ตัวสุดท้าย” ที่ยังไม่ได้เปิด “สายชล” เสนอ ไปให้พ้นชาตินิยม ต้องเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ เมื่อวันที่ 11 ก.พ. ที่ผ่านมา มีการจัดงานเสวนา “ชาตินิยมในยุคข้ามชาติ ใคร? ทำไม? ประกาศสงคราม” ณ ห้องประชุมชั้น 4 ตึกปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโดยภาควิชาสังคมวิทยาและมาุนุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีผู้อภิปรายคือ สายชล สัตยานุรักษ์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ และ นรุตม์ เจริญศรี สำนักวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีอัจฉรา รักยุติธรรม คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้ดำเนินรายการ
ไปให้พ้นชาตินิยมต้องเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ สายชล สัตยานุรักษ์ กล่าวว่า ชาตินิยม มีประเด็นข้ามพรมแดนเฉพาะเรื่องการตลาด ยกตัวอย่างปราสาทเขาพระวิหาร ในปัจจุบันมีความสำคัญ นอกจากเป็นสัญลักษณ์ความเก่าแก่ ปราสาทเขาพระวิหารก็เป็นสินค้า ในยุคไร้พรมแดนของตลาด ทำให้เป็นสินค้าครอบครองทั้งฝ่ายเขมร และฝ่ายไทย ให้ความสำคัญกับสินค้าวัฒนธรรมในยุคไร้พรมแดน โดยพลังความรู้สึกของชาตินิยมของเขมรถูกเชื่อมโยงกับอาณาจักรโบราณ ก็ยังถูกใช้โดยฮุนเซน และลูกชายฮุนเซน ในที่สุดแล้วความรู้สึกชาตินิยม รุนแรงมาก แล้วมาถึงฝั่งไทย โดยชาตินิยมของไทย ก็ถูกผลิตซ้ำตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ไม่ได้หมายความว่า ผลิตซ้ำจุดเดิม แต่ปรับเปลี่ยนประเด็นต่างๆ สอดคล้องกับบริบท อย่างเช่นหลัง ปี 2475 ก็ถูกผลิตซ้ำ เพราะรัฐไทยไม่ใช่รัฐประชาธิปไตยที่แท้จริง โดยหลัง 2490 จอมพล ป. ไม่ใช่ตัวแทนของคณะราษฎรอีกแล้ว ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ก็กำเนิดขึ้นช่วงนี้ และมีพรรคการเมืองเกี่ยวกับอุดมการณ์ราชาชาตินิยม คนที่มีบทบาทสูงสุดต่อมา คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เพียงแค่เน้นความสำคัญของพระมหากษัตริย์อย่างกว้างๆ ที่บอกว่าพระมหากษัตริย์มีความสำคัญ ในการปกครองแบบไทย ไม่เหมือนประชาธิปไตยแบบตะวันตก รศ.สายชล สัตยานุรักษ์ กล่าวช่วงท้ายว่า มีบางกลุ่มยังใช้แนวคิดชาตินิยม จากบทความของอาจารย์อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ซึ่งยกตัวอย่างกลุ่มสันติอโศก ซึ่งเป็นแกนนำสำคัญมาก เพราะว่า สันติอโศก เริ่มต้นอกหักจากทุนนิยม มาใช้ชีวิตที่พอเพียง แบบพุทธ เข้ากับความเป็นไทย ใน ทำให้มีอัตลักษณ์ใหม่ ปกป้องชาติไทย และความเป็นไทยไว้ ทั้งนี้การปลุกกระแสชาตินิยมเป็นเรื่องอันตราย จะไปให้พ้นประเด็นชาตินิยม ต้องเขียนประวัติศาสตร์ใหม่
สมชายชี้สามมายาคติ จวกรัฐบาล-พันธมิตรฯ พูดภาษาเดียวกัน ด้านสมชาย ปรีชาศิลปะกุล กล่าวประเมินกระแสชาตินิยม โดยเรื่องแรก จากความขัดแย้งที่เป็นอยู่ เรื่องเสียดินแดน ทั้งรัฐบาลและผู้ชุมนุม พูดเรื่องประเทศไทยเสียดินแดน ทั้งรัฐบาลและผู้ชุมนุมพูดไม่แตกต่างกัน และเรื่องที่สอง มีข้ออ้างว่า “ไทยนี้รักสงบ แต่มาพบเขมรเกเร และเขมรยิงก่อน” มีการบอกว่าเขมรเข้าไปแอบในเขาพระวิหาร และมีการรุกรานยึดพื้นที่โดยเขมร ไทยพบเพื่อนบ้านนิสัยไม่ดี พบกับคนเกเร จะเห็นว่าทั้งพันธมิตรฯ กับรัฐบาล พูดภาษาเดียวกัน และเรื่องที่สาม ก็พูดภาษาเดียวกัน ในเรื่องการเจรจาต้องเจรจาแบบทวิภาคี ปัญหานี้คนอื่นไม่เกี่ยว ไทยกับเขมรเท่านั้น ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมออกแนวทางจิ๊กโก๋ และปัญหานี้เป็นปัญหาระหว่างรัฐบาลไทยกับเขมร เรื่องที่สามก็เป็นอีกปมหนึ่งของสังคม สมชายกล่าวถึงการ ประเมินผลกระทบชาตินิยม ว่า เมื่อประเมินเบื้องต้น โดยมองโลกแง่ดีมากขึ้น คิดว่า กระแสชาตินิยมในครั้งนี้ จุดติดหรอมแหรม โดยครั้งนี้ จุดติดไม่เท่ากับสองปีก่อน เห็นได้จากสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ยกเว้นสื่อที่เป็นกระบอกเสียง ทำให้เป็นแรงดึงชาตินิยมครั้งนี้ไม่ได้จุดติดเป็นอย่างนั้น และครั้งนี้กระแสชาตินิยม ยังไม่ได้ไปอย่างหน้ามืดตามัว สมชายกล่าวด้วยว่า มีข้อพิจารณาบางประการในแง่หนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ คือ ปัญหาเขาพระวิหาร เป็นการปะทะกันของชาตินิยม เขมร และก็ไทย ซ้ำเติมให้เกิดการเมืองภายในประเทศไทย รวมทั้งการเมืองของเขมรด้วย
ไชยันต์ชี้ยังมี “ไพ่ตัวสุดท้าย” พัวพันชุมนุมพันธมิตรฯ ที่ยังไม่เปิด ส่วนไชยันต์ รัชชกูล กล่าวว่า กลัวมากเลยกับคำทำนายว่าการมองไปข้างหน้าของผมผิด เหมือนกับที่ผมทำนายผิดมาแล้ว กรณีที่สนธิ ลิ้มทองกุล ชุมนุมที่สวนลุมพินี (ปี 2548) เคยประเมินว่าไม่มีน้ำยา และรัฐประหารเป็นไปไม่ได้ ผมก็คาดผิด ดังนั้น ในสิ่งที่ผมคิด ก็ขอให้ผิดแล้วกัน โดยการวิเคราะห์ทางการเมืองจริงๆ แล้ว เรามีข้อมูลน้อย โดยไชยันต์เสนอว่ายังมี “ไพ่ตัวสุดท้าย” ยังไม่เปิด เพื่อดูว่าเป็นใครที่อยู่เบื้องหลังการชุมนุม ไล่ดูตั้งแต่คนเจ็ดคนถูกจับที่เขมร ปล่อยแล้วจนเหลือสองคน ก็ยังโวยวายอีก ซึ่งถามว่า พันธมิตรฯ จะเลิกชุมนุมไหม ถ้าเลิกเอ็มโอยู เขาจะเลิกชุมนุมไหม? เมื่อสมมติว่าพันธมิตรเจรจากับรัฐบาลในเรื่องเขาพระวิหารแล้ว พันธมิตรจะเลิกไหม แสดงว่ายังมีอะไรมากกว่านี้ ขอให้ลองอ่านหนังสือพิมพ์กันดีๆ
จับตาการเดินหมากสร้างศัตรู “เรากับเขา” จากข้อหา “คอมมิวนิสต์” ถึง “คนไทยหัวใจเขมร” ไชยันต์ กล่าวต่อว่า ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแค่จำลอง เขายังมีตัวเปิด ตัวปิด แยบยลของหมากรุกก็ยังอยู่ และประเด็นเครื่องมือทางการเมือง และกรณีที่มีวาระซ่อนเร้น ก็ยังไม่หมดเลย ก็เคยเห็นว่า ไพ่ตัวสุดท้ายยังไม่หมด ซึ่งประเด็นนี้คืออะไร คือประเด็นที่ทำไห้เกิดความขัดแย้ง คือมี “เรากับเขา” สมัย 6 ตุลา ก็มีการกล่าวหาว่าเป็น “พวกคอมมิวนิสต์” แต่สมัยนี้มี “พวกรักชาติ กับ ไม่รักชาติ” โจมตีพวกสีแดงเป็นพวก “คนไทยหัวใจเขมร” คือเขามีวิธีการสร้างศัตรูขึ้นมา ไชยันต์ยังเชื่อว่าสถานการณ์ในช่วงนี้ “รายการนี้เล่นกันภายใน และมี hidden agenda” ซึ่งขอย้ำว่า อันตรายอย่างใหญ่หลวง และจะทำให้เหตุการณ์ 19 พฤษภา (2553) เป็นของเด็กเล่น และประเด็นที่ซ่อนอยู่ยังไม่หมดลง แต่ผมอยากให้สิ่งที่ผมคิดนี้เป็นการคิดผิดด้วย เพราะว่าครั้งนี้เป็นครั้งอันตราย และศึกนี้ใหญ่หลวงหนัก ในสงครามโลกครั้งที่ 1 มันจะจบอย่างนี้หรือ ซึ่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดมาต่อเนื่องกัน อย่างอื่นๆ ก็เหมือนกัน สิ่งที่เกิดขึ้น มันเป็นตรรกะที่เดินไปทางนั้น ซึ่งมีข้อมูล และส่วนที่เราต้องเดาเยอะ เพราะเราไม่มีข้อมูล เป็นตัวจิ๊กซอว์ และอันตรายมากในอนาคตในระยะเวลาอันสั้นนี้ จะเกิดเสียหายใหญ่หลวง ซึ่งผมไม่อยากพูดแบบฉลาดหลังเหตุการณ์ ขอให้พยายามที่จะกระจายข้อมูล จัดการอภิปรายเพื่อให้ตระหนักถึงอันตรายที่จะมา อาจจะเป็นแรงเล็กๆ ให้ข้ามได้ในช่วงเฉพาะที่เกิดขึ้น
ความขัดแย้งรอบนี้ กระทบต่อความร่วมมือระหว่างประเทศ นรุตม์ เจริญศรี กล่าวถึงการเขียนบทความของเขาเรื่องปัญหาระหว่างไทยกับกัมพูชา (อ่านบทความย้อนหลัง) ว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นการสร้างผลกระทบต่อความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งโครงการจีเอ็มเอส ในเรื่องการพัฒนาแม่น้ำโขงจากเรื่องคมนาคมขนส่ง ปัญหาไทย-กัมพูชา เป็นตัวกระทำให้เกิดผลกระทบด้านการขยายความร่วมมือที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ แล้วปัญหาระหว่างไทยกับกัมพูชา ยังส่งผลกระทบต่อการค้าด้วย เขายังกล่าวด้วยว่า ประเด็นต่อไปในอนาคต เรื่องความร่วมมือทวิภาคี กับพหุภาคี ที่มีคำอธิบายเช่นนี้ใช้ในประเทศอื่นๆ แต่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำเหล่านี้ใช้ไม่ได้ผล ส่วนในภูมิภาคอื่น ใช้ได้ผลมาก แล้วรูปแบบการเผชิญความขัดแย้ง ทั้งนี้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา นอกจากส่งผลกระทบกับไทยถึงกัมพูชา และกับอาเซียน ในอนาคตจึงต้องละทิ้งเรื่องการเมือง ไม่อยากให้มองว่าเป็นการเมืองภายในทั้งสองประเทศ และไม่อยากให้กลายเป็นเรื่องชาตินิยม สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
“สันติวิธี” จากบทเรียนการชุมนุมบนความขัดแย้งกรณี “เสื้อเหลือง-เสื้อแดง” Posted: 13 Feb 2011 02:28 AM PST รายงาน “บทเรียนจากการชุมนุมและความรุนแรงทางการเมือง ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553” ย้ำไม่ได้หาคนถูก-ผิด ไม่มุ่งเสนอทางออกของความขัดแย้ง แต่เน้นคำถามการชุมนุมที่เริ่มต้นโดยสันติเปลี่ยนไปสู่ความรุนแรงได้อย่างไร โศกนาฏกรรมกลางเมือง จากการขอคืน-กระชับพื้นที่การชุมนุมของรัฐบาล จนเป็นเหตุแห่งการสูญเสียชีวิตกว่า 92 ชีวิต และผู้คนอีกกว่า 1,800 คนต้องบาดเจ็บ หลายคนทุพพลภาพ สะท้อนภาพปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่มีรากฐานและสาเหตุที่สลับซับซ้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้น นี่จึงถือเป็นความท้าทายสำหรับทุกภาคส่วนในสังคมไทย ในการทำความเข้าใจถึงสภาวการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ปัญหาและสร้างแนวทางป้องกันความความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ศจ.ดร.มารค ตามไท (ซ้าย) และ ศจ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (ขวา) นำเสนอรายงาน “บทเรียนจากการชุมนุมและความรุนแรงทางการเมือง ในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม 2553” เมื่อวันที่ 9 ก.พ.54 คณะทำงานโครงการ “ยุทธศาสตร์สันติวิธีสำหรับสังคมไทยในศตวรรษที่ 21” ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้นำเสนอรายงานเชิงนโยบายเรื่อง “บทเรียนจากการชุมนุมและความรุนแรงทางการเมือง ในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม 2553” เพื่อผลักดันให้เกิดความเข้าใจปัญหาการจัดการกับความรุนแรงทางการเมือง และเป็นแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดสภาพความรุนแรงทางการเมืองเช่นกรณีเสื้อเหลือง-เสื้อแดงอีกในอนาคต ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์สันติวิธี และอาจารย์คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำเสนอรายงานการวิจัยฯ ว่า รายงานเล่มนี้แตกต่างจากรายงานเล่มอื่นๆ ที่มีการจัดทำมาก่อนหน้านี้ เพราะไม่ได้พยายามตอบคำถามว่าใครคือคนผิด และไม่ได้ตั้งคำถามถึงสาเหตุและประวัติศาสตร์ของความขัดแย้ง รวมทั้งไม่ได้มุ่งเสนอแนะทางออกเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองโดยตรง แต่มุ่งเน้นเรื่องบทเรียนจากความรุนแรง และคำถามที่สำคัญคือการชุมนุมประท้วงที่เริ่มต้นโดยสันติได้เปลี่ยนไปสู่ความรุนแรงได้อย่างไร และอะไรคือสาเหตุ โดยการศึกษาใช้การเก็บข้อมูลจากหนังสือพิมพ์หลายๆ ฉบับ และพยายามแก้ปัญหาอคติและเงื่อนไขเชิงโครงสร้างในการเสนอข่าว ด้วยการทบทวนและเปรียบเทียบหนังสื่อหลายๆ ฉบับ ชัยวัตน์ กล่าวถึงข้อค้นพบในการศึกษาว่า ช่วงระหว่างวันที่ 13 มีนาคม – 6 กรกฎาคม 2553 มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวของกับการชุมนุมเกิดขึ้นรวม 408 เหตุการณ์ โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ 165 เหตุการณ์ (ร้อยละ 40) รองลงมาคือเชียงใหม่ 24 เหตุการณ์ ขอนแก่น 14 เหตุการณ์ นครราชสีมา 13 เหตุการณ์และปทุมธานี 13 เหตุการณ์ เมื่อเทียบเป็นเหตุการณ์ไม่ใช้ความรุนแรง อาทิ การชุมนุมประท้วง การประท้วงโดยใช้สัญลักษณ์ การคว่ำบาตร การปิดล้อม การยึดครองพื้นที่ และวิธีที่ไม่ใช้ความรุนแรงอื่นๆ มี 247 เหตุการณ์คิดเป็นร้อยละ 60.54 ส่วนเหตุการณ์ความรุนแรงเช่น การปะทะหรือเผชิญหน้าโดยใช้กำลัง การยิง การระเบิด และวิธีอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่คือการเผา มี 153 เหตุการณ์ คิดเป็นร้อยละ 37.50 นอกจากนั้นเป็นกรณีอื่นๆ รายงานนี้ถือว่าการชุมนุมประท้วงโดยทั่วไปเป็นปฏิบัติการไร้ความรุนแรง การศึกษายังบอกด้วยว่าผู้ที่ก่อเหตุการณ์ความรุนแรงมากที่สุดคือผู้กระทำการที่ไม่อาจระบุได้ว่าเป็นใคร โดยก่อเหตุการณ์รุนแรง 86 เหตุการณ์ ส่วนทหาร-ตำรวจก่อเหตุการณ์รุนแรง 18 เหตุการณ์ ทั้งนี้ทั้งสองกลุ่มถือเป็นผู้ใช้ความรุนแรง ในขณะที่กลุ่มเสื้อเหลือง และกลุ่มเสื้อหลากสีไม่มีการใช้ความรุนแรงเลย สำหรับกลุ่มเสื้อแดงจากการก่อเหตุ 227 เหตุการณ์ ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 79.2) เป็นเหตุการณ์ไม่ใช่ความรุนแรง และยังพบว่าเหตุการณ์ที่เกิดโดยคนเสื้อแดงในต่างจังหวัดแม้จะมากจุดกว่าแต่ใช้ความรุนแรงน้อยกว่า โดยเหตุการณ์ในต่างจังหวัด 146 เหตุการณ์ มีความรุนแรงเพียง 11 เหตุการณ์ ขณะที่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 80 เหตุการณ์ มีความรุนแรง 36 เหตุการณ์ นอกจากนั้นรายงานยังระบุถึง สถิติผู้เสียชีวิต 92 รายว่า แทบทั้งหมดเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ (มี 2 ราย เสียชีวิตจากเหตุการณ์ประท้วงที่เกิดขึ้นที่ จ.อุดรธานีและ จ.ขอนแก่น ในวันที่ 19 พ.ค.53) ผู้สนับสนุนเสื้อแดงส่วนใหญ่เสียชีวิตระหว่างสองเหตุการณ์ที่ริเริ่มปฏิบัติการโดยรัฐบาล คือการขอคืนพื้นที่ที่ผ่านฟ้า ถ.ราชดำเนิน เมื่อวันที่ 10 เม.ย.และการปิดล้อมกระชับพื้นที่ที่แยกราชประสงค์ระหว่างวันที่ 14-19 พ.ค.53 ส่วนทหารที่เสียชีวิตระหว่างเหตุการณ์ทั้งสองมีจำนวน 8 คน ขณะที่เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต 2 ราย บริเวณใกล้แยกศาลาแดงและหน้าสวนลุมพินี ชัยวัฒน์กล่าวต่อมาว่า การประท้วงที่ใช้ความรุนแรงมีสิ่งที่น่าสนใจคือเหตุระเบิดเมื่อถูกนำมาวางลงบนแผนที่เทียบกับเหตุการณ์เผาและการยิง พบว่าเหตุระเบิดในช่วงแรกเกิดขึ้นไกลจากที่ที่มีการชุมนุม แสดงให้เห็นชัดว่าเหตุระเบิดซึ่งเกิดขึ้นตอนกลางคืน ในที่ไม่มีคนอยู่ เป้าหมายจึงไม่ใช่การมุ่งเอาชีวิต แต่มุ่งสร้างความสับสนและหวาดกลัว อย่างไรก็ตามเมื่อไม่ได้ผล ในตอนหลังการระเบิดก็เริ่มมุ่งเอาชีวิต และขยับใกล้พื้นที่ที่มีการชุมนุมมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเมื่อมองจากช่วงเวลาการเกิดเหตุการณ์จะเห็นได้ชัดว่าตอนแรกกลุ่มคนที่ไม่อาจระบุได้ว่าเป็นใครเป็นผู้ก่อเหตุความรุนแรง แต่ในตอนท้ายหลังจากที่มีการกระชับพื้นที่แล้วจะเห็นได้ชัดว่าตัวการที่ใช้ความรุนแรงได้กลายเป็นฝ่ายเสื้อแดง ตรงนี้ถือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากแรงกระตุ้น ประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์สันติวิธี กล่าวถึงข้อคิดเห็นของคณะทำงานฯ จากรายงานฉบับนี้ว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้การชุมนุมประท้วงที่เริ่มจากสันติวิธีของนปช. และความพยายามของรัฐที่จะตอบสนองต่อการชุมนุม ท้ายที่สุดต้องจบลงด้วยความรุนแรง มาจากกระบวนการตัดสินใจของทั้ง 2 ฝ่ายที่มีปัญหา ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ด้าน มารค ตามไท รองประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์สันติวิธีฯ และเป็นผู้อำนวยการสถาบันศาสนาวัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ กล่าวว่า จากการเก็บสถิติที่ผ่านมาพบปัญหาที่แทรกอยู่ในกระบวนการตัดสินใจ นั่นคือความหมายของการไม่ใช้ความรุนแรง และอะไรคือการชุมนุมอย่างสันติ ซึ่งคนในสังคมไทยมีความเข้าใจเรื่องนี้ต่างกันมาก ตรงนี้เป็นปัญหาที่สังคมต้องแก้ไขให้เป็นความเข้าใจรวม หากไม่ทำความเข้าใจให้ตรงกันก็จะทำให้เกิดปัญหาแบบนี้อีก ถ้าสันติวิธีจะเดินหน้าในสังคมไทยต้องหาความหมายนี้ให้ลงตัวเหมือนกัน และไม่ต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะมันเป็นไปไม่ได้ “ความพยายามที่จะหาความหมายรวมของสันติด้วยกฎหมายทำไม่ได้ เพราะเมื่อไม่เห็นด้วยคนก็จะไปทำอย่างอื่น แต่จะทำให้เกิดขึ้นได้โดยกระบวนการทางสังคมเป็น” รศ.ดร.มารคกล่าว ส่วนกระบวนการตัดสินใจที่มีปัญหา มารคกล่าวเน้นในประเด็นที่เป็นบทเรียนว่า 1.ลักษณะเฉพาะของความขัดแย้งทางการเมืองไทยในปัจจุบันแตกต่างจากความขัดแย้งในอดีตที่เคยเผชิญ เช่น การชุมนุมของสมัชชาคนจน ที่โดยปกติเมื่อมีการชุมนุมก็จะมีการแก้ปัญหาโดยการใช้สันติวิธี หาทางออกแบบ win-win แต่จากข้อสังเกตของคณะทำงานพบว่า ขณะนี้สังคมไทยกำลังเข้ามาสู่ความขัดแย้งที่อาจจะไม่มี win-win เพราะจุดยืนของคู่ขัดแย้งคือต้องการให้อีกฝ่ายหนึ่งแพ้ เช่น การที่ฝ่ายหนึ่งบอกว่าอยากเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจของสังคมก็มาชุมนุมเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่คู่ขัดแย้งคือกลุ่มอำนาจที่อีกเขาต้องการให้ลง ซึ่งโครงสร้างอำนาจนี้ไม่ใช่แค่หน่วยงานแต่เกี่ยวกับสถาบันสำคัญของประเทศทำให้การหา win-win เป็นเรื่องยาก เพราะการชนะของฝ่ายหนึ่งคืออีกอีกฝ่ายต้องแพ้ นำมาสู่การตั้งป้อมที่หาจุดร่วมกันไม่ได้ “เราไม่มีคำตอบเสนอ แต่ที่เคยคุยกันคือ มันต้องใส่สิ่งเหล่านี้ไว้ในกรอบที่ใหญ่กว่า ถ้าเรามองทุกอย่างในแง่ดี เชื่อว่าทุกคนบริสุทธิ์ใจก็ถือว่าจุดยืนทั้งหมดไม่ใช่เพื่อตัวเองหรือบุคคล เพราะว่ามีทัศนะที่ต่างกันว่าประเทศไทยควรจะเป็นอย่างไร มันจะสร้างบทสนทนาใหม่ให้แก่สังคมไทยถ้าจะทำงานสันติวิธีในกรอบความขัดแย้งทางการเมืองว่า ประเทศไทยควรจะอยู่อย่างไรถึงจะดีที่สุดสำหรับประเทศไทย ในที่สุดมันคือเรื่องนั้น” รองประธานคณะทำงานยุทธศาสตร์สันติวิธีฯ กล่าวและเสริมว่าถ้าไม่ไว้ในกรอบนี้ ส่วนตัวคิดไม่ออกว่าจะมีกรอบอะไรที่ใหญ่กว่าการที่ฝ่ายหนึ่งชนะอีกฝ่ายหนึ่งแพ้ ประเด็นที่ 2 การปฏิเสธโอกาสแนวทางสันติวิธีปรองดอง จากรูปแบบความขัดแย้งที่ยากในการปรองดองจึงต้องศึกษาเป็นพิเศษ ซึ่งข้อสังเกตหนึ่งจากการชุมนุมครั้งนี้คือความล้มเหลวของการเจรจา ไม่ควรเข้าใจว่าการเจรจาเรื่องนี้จะเหมือนการเจรจาเรื่องลด-เพิ่มเงินเดือน ไม่ใช่การเจรจาที่ทุกคนจะสามารถได้ผลประโยชน์ เพราะมันเป็นการเจรจาข้ามโลกทัศน์ ซึ่งง่ายมากที่จะพูดและฟังโดยที่ไม่ได้ยินกัน แต่ตรงนี้ก็ยังเป็นวิธีที่ควรพัฒนาในลักษณะความขัดแย้งที่สังคมกำลังเจออยู่ซึ่งมันไม่สามารถจะใช้วิธีการเก่าๆ ได้ มารค กล่าวต่อมาว่า คณะทำงานตระหนักดีว่าเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นในสุญญากาศ แต่การตัดสินใจว่าจะเดินต่ออย่างไรทั้งในฝ่ายผู้ประท้วงและรัฐที่จะเข้าไปควบคุม รวมทั้งการตัดสินใจในการใช้สันติวิธีนั้น อยู่ในกรอบของความเข้าในที่ว่าทำอย่างไรจึงจะนำความมั่นคงมาให้ประเทศชาติ ทุกกลุ่มบอกว่าควรตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อความมั่นคง แต่กลุ่มต่างๆ เข้าใจความหมายของความมั่นคงที่ต่างกัน ทำให้หาวิธีตกลงร่วมกันยาก ดังนั้น เรื่องความมั่นคงคืออะไรเป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเมื่อพูดถึงเรื่องสันติวิธี นอกจากนั้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามีผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการแก้ปัญหาระยะยาวอย่างแยกกันไม่ออก ปัจจุบันคนบางกลุ่มต้องการแก้ปัญหาระยะยาว เช่นการปฏิรูป โดยไม่สนใจเรื่องเฉพาะหน้า ก็เกิดคำถามว่าจะเชื่อใจได้หรือเปล่าว่าจะแก้จริง ในส่วนการใช้ข่าวสารข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ การศึกษาพบว่าการตัดสินใจหลายครั้งอยู่บนฐานการข่าวที่ไม่ชัดเจน ตรงนี้ไม่ใช่เพียงข่าวเท็จหรือข่าวจริง แต่เป็นการข่าวเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างโดยวิธีเลือกให้ข่าว ให้ความจริงเพียงบางส่วน ดังนั้นการให้ความสำคัญกับทางเลือกอื่นๆ เพื่อนำมาพิจารณาจึงเป็นสิ่งสำคัญ มารค กล่าวถึงประเด็นปัญหาเรื่องการปรองดองด้วยว่า โจทย์ของการปรองดองอาจไม่ใช่เพียงระหว่างคู่กลุ่มบุคคล แต่เป็นคู่ความคิด ซึ่งมีอยู่หลากหลาย แต่ไม่ว่ากลุ่มไหน การปรองดองที่สำคัญเพื่อจะให้บ้านเมืองเดินต่อได้ คือทุกคนต้องปรองดองกับตัวเอง ต้องพร้อมที่จะไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ แต่ไม่ได้หมายถึงการลดมาตรฐานในความเชื่อของตัวเอง หรือมีอุดมการณ์น้อยลง แต่ต้องพร้อมที่จะไม่ได้ตามอุดมการณ์ “ไม่ใช่แค่พร้อมตาย อันนั้นไม่เท่าไหร่ คล้ายเป็นการเสียสละชีวิต แต่พร้อมฆ่าเพื่อสิ่งนี้ ตรงนี้จะนำมาซึ่งความสูญเสียต่อสังคม ตอนนี้บางคนอาจจะเป็นหรือเปล่าที่บอกว่าพร้อมที่จะฆ่าคนอื่นเพื่ออุดมการณ์ อันนี้คิดว่าจะเป็นปัญหา” มารค กล่าว มารค กล่าวถึงความหมายของสันติวิธีด้วยว่า สันติวิธีคือการพร้อมเจ็บ คนใช้ต้องพร้อมที่จะสูญเสีย ซึ่งนั้นจะทำให้ความเจ็บในภาพรวมน้อยลง โดยเชื่อว่าจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ อย่างไรก็ตามในประเทศไทยมีแต่ในระดับตัวบุคคลที่พร้อมจะทำตามแนวทางสันติวิธี แต่ในระดับกระบวนการซึ่งประกอบด้วยกลุ่มคนที่แตกต่างกันส่วนใหญ่ไม่พร้อมจะรับ นอกจากนั้นการมองสันติวิธีว่าเป็นวิธีการ ก็มีความเป็นไปได้ที่จะถูกประเมินว่าจะทำให้เกิดผลได้หรือไม่ซึ่งจะนำไปสู่การละทิ้งการใช้สันติวิธี แต่การมองสันติวิธีระหว่างว่าเป็นอุดมการณ์กับวิธีการนั้นต่างกัน ดังนั้นจึงต้องขยับบทสนทนาให้เรื่องสันติวิธีเป็นอะไรที่ลึกกว่าเพียงแค่วิธีการ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กสทช.ออกคำสั่งเยียวยาลูกค้า 3BB แล้ว Posted: 13 Feb 2011 01:49 AM PST กสทช. มีคำสั่งเยียวยาผู้บริโภค 3BB แล้ว พร้อมกำชับผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องทุกรายห้ามระงับหรือยุติการให้บริการ หลังส่งหนังสือเวียนด่วนขอมติเร่งช่วยผู้บริโภค 3BB ก่อนรายงานที่ประชุมใน 14 วัน 13 ก.พ. 54 - จากกรณีที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม หรือ สบท. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค กรณีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของบริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด หรือ 3BB ถูกตัดสัญญาณในกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบบมีเลขหมายบนโครงข่ายของบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) และพบว่าปัญหาอาจลุกลามกระทบผู้บริโภคที่ใช้บริการในลักษณะดังกล่าวซึ่งมีไม่น้อยกว่า 12,000 ราย นั้น ล่าสุด นายสุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้ส่งหนังสือเวียนเป็นการเร่งด่วน เพื่อขออนุมัติเป็นมติที่ประชุม กสทช. เร่งหาทางแก้ไขเนื่องจากส่งผลกระทบกับผู้บริโภคจำนวนมาก ซึ่ง กสทช. ได้เห็นชอบให้มีการดำเนินการเยียวยาแก้ไขให้กับผู้บริโภคแล้ว นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา สบท. กล่าวว่า คณะกรรมการ กสทช. ได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการเพื่อแก้ปัญหากรณีบริษัท ทริปเปิลที อินเทอร์เน็ต จำกัด ถูกร้องเรียนว่าระงับสัญญาณอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค โดยมีคำสั่งให้ผู้ประกอบการยุติการระงับบริการ ในกรณีที่ผู้บริโภคร้องขอ ตามมาตรา 45 วรรค สาม แห่งพ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 เพื่อเยียวยาความเสียหายเป็นการชั่วคราวให้แก่ผู้บริโภค และมีคำสั่งแจ้งผู้ประกอบการเป็นการทั่วไปให้ดำเนินการตามมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ประกาศ กทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม และ ประกาศ กทช. ว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมอย่างเคร่งครัด โดยห้ามมิให้ระงับบริการแก่ผู้บริโภคในกรณีดังกล่าว อีกทั้งได้มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. พิจารณาความเป็นไปได้ของบริการทดแทนในกรณีที่ยกเลิกสัญญาให้บริการวงจรเช่า รวมถึงความเป็นไปได้ในการพิจารณาอนุญาตบริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่งให้กับทีทีแอนด์ที ซึ่งมีสิทธิในโครงข่ายที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ และรายงานต่อที่ประชุมภายใน 14 วัน ที่มาข่าว: ไทยรัฐ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
แอลจีเรียเอาบ้างชุมนุมไล่ผู้นำ Posted: 13 Feb 2011 01:30 AM PST เอาบ้าง ชาวแอลจีเรียประมาณ 2,000 คนชุมนุมเรียกร้องให้ประธานาธิบดีลาออก เลียนแบบการประท้วงในอียิปต์และตูนิเซีย 13 ก.พ. 54 - สำนักข่าว DP-News รายงานว่าผู้ประท้วงชาวแอลจีเรียกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 2,000 คนออกไปชุมนุมกันที่บริเวณจัตุรัสใจ 1 พฤษภา กลางกรุงแอลเจียร์เมืองหลวง เพื่อกดดันให้ประธานาธิบดีอับเดลาซิซ บูเตฟลิกา (Abdelaziz Bouteflika) ลาออก โดยนายซาอิด ซาดี (Saïd Sadi) ผู้นำฝ่ายค้าน ได้เข้าร่วมชุมนุมครั้งนี้ด้วย ขณะที่ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตำรวจได้เข้าปิดล้อมนายซาดีไว้ เพื่อไม่ให้เขาใช้โทรโข่งกล่าวปราศรัยต่อฝูงชน เจ้าหน้าที่กล่าวว่าได้จับกุมผู้ประท้วง 14 คน และต่อมาก็ได้ปล่อยตัวไป แต่หัวหน้ากลุ่มสันติบาตเพื่อการปกป้องสิทธิมนุษยชนแอลจีเรีย กล่าวว่า มีผู้ประท้วงถูกจับกุมถึง 300 คน ซึ่งบางคนได้รับการปล่อยตัวแล้วแต่บางคนยังถูกคุมขังอยู่ ความสำเร็จจากการประท้วงขับไล่ผู้นำในอียิปต์และตูนีเซีย เป็นแบบอย่างให้ชาวแอลจีเรียออกมาประท้วงดังกล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 6-12 ก.พ. 2554 Posted: 13 Feb 2011 01:11 AM PST วอนอย่ากดดันแรงงานกัมพูชา 7 ก.พ. 54 - นายสุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงเหตุปะทะตามแนวชายแดนระหว่างทหารไทยและกัมพูชา โดยยอมรับว่าเรื่องดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการจ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติ กัมพูชา โดยเฉพาะแรงงานที่ทำงานแบบเช้าไป-เย็นกลับตามแนวชายแดน เช่น ที่จังหวัดสระแก้ว สุรินทร์และศรีสะเกษ ที่ขณะนี้ด่านชายแดนทั้ง 3 แห่ง ได้ปิดชั่วคราว นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบไปถึงการพิสูจน์สัญชาติที่เริ่มหยุดชะงักลง เนื่องจากแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชามีความกังวลในสถานการณ์ที่ยังรุนแรง อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ฝากเตือนไปยังนายจ้างรวมถึงคนงานชาวไทยให้ช่วยกันดูแลแรงงานกัมพูชาอย่าง ใกล้ชิดในช่วงนี้ และอย่าพูดจากดดันหรือทำอะไรที่เป็นการสร้างสถานการณ์ เนื่องจากแรงงานอาจเกิดความเครียด และอาจทำอะไรอย่างไม่ยั้งคิดได้ เช่นกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ ที่คนงานชาวกัมพูชาขโมยรถเพื่อพยายามหลบหนีกลับประเทศ เพราะความเมาสุรา และถูกกดดันจากคนงานชาวไทย โดยขอให้คิดว่าแรงงานกัมพูชาที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยในขณะนี้ มาด้วยความสุจริตใจ และไม่มีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (สำนักข่าวไทย, 7-2-2554) นายกฯ คาดประกาศใช้ กม.ขยายประกันสังคมครอบคลุมคนไทยทุกคน 15 พ.ค.นี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการตามแผนปฎิรูปประเทศไทยครั้ง ที่ 2/2554 พร้อมด้วยนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน และผู้บริหารจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรายงานความคืบหน้าการ ดำเนินการ ทั้งนี้ ที่ประชุมในวันนี้ รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนปฎิรูปประเทศไทยของกระทรวงแรงงาน เรื่องการขยายประกันสังคมให้ครอบคลุมชาวไทยทุกคน ซึ่งขณะนี้การดำเนินงานอยู่ระหว่างให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาร่าง มาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2553 และคาดว่าจะประกาศใช้ได้ในวันที่ 15 พ.ค.54 ทั้งนี้จะมีการจัดแถลงข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงราย ละเอียดและสิทธิประโยชน์ของการขยายประกันสังคมภายในวันที่ 19-21 ก.พ.54 โดยจะเริ่มดำเนินโครงการอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 พ.ค.54 นอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการสินเชื่อไทยเข้มแข็งเพื่อเปิดโอกาส ให้แรงงานนอกระบบเข้าถึงสินเชื่อสถาบันการเงิน โดยในช่วงเย็นของวันนี้ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบจะมีการหารือร่วมกับธนาคาร ต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการเพื่อหาข้อสรุปโครงสร้างสินเชื่อของธนาคารแต่ละแห่ง ก่อนจะเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 ก.พ.54 สำหรับการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการตามแผนปฎิรูปประเทศไทยครั้งต่อไปจะจัดให้มีการประชุมในวันที่ 14 ก.พ. 54 (อินโฟเควส, 7-2-2554) พนักงาน พีซีบี ร้องต่อทีวีไทยกลับโดนนายจ้างข่มขู่ นายกิตติพงษ์ ตาเขียว พนักงานบริษัทแผนกช่างซ่อมบำรุง เล่าว่าหลังจากเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็น เวลา 6 เดือนผ่านมาต้องทนทุกข์จากบาดแผลที่โดนไฟไหม้ตามรางกายในการรักษายัง ต้องมีการผ่าตัดอยู่บ่อยครั้ง ส่วนชีวิตครอบครัวลูก 2 คนต้องไปฝากญาติอยู่ต่างจังหวัดดูแลแทนภรรยาที่แยกทางกัน ตอนนี้ลำบากมาก และการเดินทางไปที่ศูนย์ฟื้นฟูที่จังหวัดระยองนั้นมิได้รับการช่วยเหลือแต่ อย่างใด จากการให้ข้อมูลของปัญหาที่เกิดกับทีวีไทยยังโดนโทรศัพท์ลึกลับมาขมขู่โดย ห้ามไม่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นมิฉะนั้นจะไม่ได้รับความปลอดภัย ในชีวิต หลังรอความหวังมาหลายเดือนยังไม่มี ความชัดเจนการช่วยเหลือจากหน่วยงานใด พนักงานพีซีบีจึงมีมติเข้าร่วมกับพี่น้องแรงงานแม็กซีสเดินเท้าเข้ากรุงเทพ เพื่อบอกคนทั้งประเทศว่าพวกเราถูกทอดทิ้งแม้ร้องเรียนขอความเป็นธรรมยังถูก ข่มขู่ (นักสื่อสารแรงงาน, 8-2-2554) สภาอุตฯ ตาก ร้องยุติพิสูจน์สัญชาติแรงงานพม่าหลังพบไม่โปร่งใส นายชัยยุทธ เสณีตันติกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก ได้ยื่นหนังสือต่อ นายสุชาติ ลายน้ำเงิน ประธานอนุกรรมาธิการติดตามประเมินสถานการณ์และแก้ไขปัญหาแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ที่ได้เดินทางมาตรวจสภาพข้อเท็จจริง ในการใช้แรงงานต่างด้าว ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ทั้งนี้ เพื่อขอให้คณะอนุกรรมาธิการฯ ประสานกับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยขอให้ยุติการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าว สัญชาติพม่า ที่จังหวัดระนอง และจังหวัดเชียงราย โดยทันที เพราะกระบวนการพิสูจน์สัญชาติดังกล่าว ยังไม่โปร่งใส และพบพิรุธหลายอย่าง รวมทั้ง หากปล่อยให้ดำเนินการต่อไป ผู้ประกอบการ ในพื้นที่ 5 อำเภอชายแดนจังหวัดตาก (อ.แม่สอด อ.พบพระ อ.แม่ระมาด อ.ท่าสองยาง และ อ.อุ้มผาง ได้รับความเดือนร้อนอย่างแน่นอน จากการถูกแย่งแรงงาน รายงานข่าวแจ้งว่าประธานอนุ กรรมาธิการติดตามประเมินสถานการณ์และแก้ไขปัญหาแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ได้รับเรื่องจาก สภาอุตสาหกรรมจังหวัดตาก และจะเร่งนำไปเสนอกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เพื่อพิจารณาทบทวน และดำเนินการ ให้เกิดความถูกต้องและเป็นธรรมต่อไป (สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น, 8-2-2554) สหภาพฯ ขสมก.ปูดซ่อมรถเมล์ 500 คันเปลี่ยนช่างหวั่นเกิดปัญหา เมื่อวันที่ 8 ก.พ. นายวีระพงศ์ วงแหวน เลขาธิการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า บริษัท มิตซู ซึ่งรับจ้างเหมาซ่อมรถเมล์ของ ขสมก.ยี่ห้อมิตซู จำนวน 500 กว่าคัน ได้หมดสัญญาไปตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค.ที่ผ่านมา และผู้บริหารไม่ได้ต่อสัญญาจ้างอีก เนื่องจากบริษัทฯ ขอขึ้นค่าจ้างเหมาซ่อมรถอีก 15% จากค่าเหมาซ่อมเดิม คือ 1,053 บาท/คัน/วัน และได้หารายใหม่ได้แล้ว คือ บริษัท อินทิรา วิจิตรลาภ คิดค่าเหมาซ่อม 1,015 บาท/คัน/วัน ทั้งนี้บอร์ด ขสมก. มีมติเมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา อนุมัติการจ้างบริษัท อินทิรา ซ่อมรถ ที่อยู่ในเขตการเดินรถที่ 2, 4 และ 8 ให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา แต่จนถึงขณะนี้ บริษัทเพียงมาดูสภาพรถ แต่ยังไม่นำอุปกรณ์เข้าทำงานใด ๆ ซึ่งน่าเป็นห่วงมาก เพราะรถเมล์ของ ขสมก. เก่ามากมีอายุการใช้งาน 17 ปีขึ้นไป จะต้องมีการบำรุงรักษาดูแลระบบเบรก คลัตช์ ทุกวัน เพื่อความปลอดภัยในการออกให้บริการ หากไม่มีช่างมาซ่อมแซม รถเสียก็ต้องจอดทิ้งไว้ ออกให้บริการไม่ได้ ส่งผลเสียต่อ ขสมก.เอง อย่างไรก็ตามได้สอบถามเรื่องนี้ไปยังผู้บริหาร ขสมก.แล้ว ได้คำตอบว่า ขสมก.จะเซ็นสัญญากับบริษัท วันที่ 10 พ.ค.นี้ ระหว่างนี้จะส่งนายช่างวิศวะของ ขสมก.ไปดูแลซ่อมบำรุงรถดังกล่าวเบื้องต้นก่อน ซึ่งตนเห็นว่าไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะไม่มีเครื่องมือและอะไหล่ในการซ่อมแซม ทั้งนี้สหภาพฯ จะติดตามการทำงานของฝ่ายบริหารต่อไป โดยจะนัดประชุมกรรมการสหภาพฯ ขสมก.ในวันที่ 11 พ.ค.นี้ ด้านนางปราณี ศุกระศร รองผู้อำนวยการ ขสมก. ฝ่ายบริหาร กล่าวว่า ฝ่ายบริหารได้ส่งช่าง 26 คน ไปช่วยดูตามเขตการเดินรถ เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายงาน บริษัทฯ อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมและจัดทำเอกสาร ยืนยันว่าบริษัท อินทิราฯ มีประสบการณ์ทำงานซ่อมรถโดยสาร และผ่านขั้นตอนการคัดเลือกมาถูกต้อง พร้อมให้ข้อเสนอที่ดีจึงเลือกมาทำงาน เนื่องจาก ขสมก.ได้แจ้งบริษัทเหมาซ่อมรถโดยสาร มาเสนอราคาแต่ไม่มีรายใดเสนอมา มีเพียงบริษัทอินทิราฯ เพียงรายเดียว และเสนอราคาต่ำกว่าบริษัทเดิมที่เคยทำงานให้ ขสมก. (เดลินิวส์, 9-2-2554) สถานการณ์ไทย-กัมพูชายังไม่กระทบการจ้างแรงงานกัมพูชา 70,000 คนในไทย 9 ก.พ. 54 -นายสุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวถึง เหตุการณ์ตึงเครียดตามแนวชายแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ว่า ล่าสุดยังไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของการจ้างแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ที่ขณะนี้มีอยู่ในประเทศไทยประมาณ 70,000 คน เช่นเดียวกับกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรงงานชาวกัมพูชา ที่ดำเนินการเรียบร้อยแล้วกว่า 50,000 คน เหลือประมาณ 20,000 ที่ยังคงเดินหน้าต่อ โดยทางการกัมพูชาส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาดำเนินการในประเทศไทย จึงไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ยกเว้นการจ้างแรงงานแบบเช้าไป-เย็นกลับ ตามแนวชายแดน ที่ยังหยุดชะงักเพราะด่านชายแดนปิด อย่างไรก็ตาม ขอฝากย้ำเตือนไปยังนายจ้างรวมถึงชาวไทยทุกคน ให้ช่วยกันดูแลแรงงานกัมพูชาอย่างใกล้ชิดในช่วงนี้ เพราะเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างทั้ง 2 ประเทศ กระทบกับความรู้สึกของคนจำนวนมาก ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน อย่าพูดจากดดัน หรือทำอะไรที่เป็นการสร้างสถานการณ์ เนื่องจากแรงงานอาจเกิดความเครียด และอาจทำอะไรอย่างไม่ยั้งคิดได้ โดยขอให้คิดว่าแรงงานกัมพูชาที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยในขณะนี้ ไม่มีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (สำนักข่าวไทย, 9-2-2554) ไต้หวันเล็งใช้บริการแรงงานไทย หลังยืดเวลาคัดเลือกแรงงานฟิลิปปินส์ 9 ก.พ. 54 -ทางการไต้หวันขยายระยะเวลาในการคัดเลือกแรงงานชาวฟิลิปปินส์และขู่จะ ห้ามเข้าไต้หวันจากความขัดแย้งที่ฟิลิปปินส์ส่งกลับชาวไต้หวันไปดำเนินคดีใน จีนรุนแรงขึ้น เหตุความขัดแย้งทางการทูตเริ่มขึ้น เมื่อเดือนธันวาคมภายหลังจากที่ทางการ ฟิลิปปินส์จับกุมตัวชาวไต้หวัน 14 คนในข้อหาเป็นแก๊งต้มตุ๋นฉ้อโกงทรัพย์สินซึ่งเหยื่อส่วนใหญ่เป็นชาวจีนและ ได้ส่งกลับไปดำเนินคดีในจีน แม้ไต้หวันคัดค้านหลายครั้งและต้องการให้ส่งตัวกลับมาดำเนินคดีในไต้หวัน ข้อกำหนดใหม่ของไต้หวันมีผลบังคับ ใช้ทันที โดยขยายเวลาเป็น 4 เดือนสำหรับการคัดกรองแรงงานฟิลิปปินส์ที่จะทำงานในไต้หวัน จากปัจจุบันที่ใช้เวลาสูงสุด 12 วัน นอกจากนี้ไต้หวันยังเรียกตัวแทนทางการทูตกลับจากกรุงมะนิลา รวมถึงขู่จะระงับแรงงานฟิลิปปินส์เข้าไต้หวัน ทั้งยังเรียกร้องให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นหันไปใช้แรงงานจากไทย เวียดนาม และอินโดนีเซีย (สำนักข่าวไทย, 9-2-2554) จี้รื้อประกันสุขภาพ ยิ่งจ่าย-ไร้สิทธิ์ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข และนักวิจัยเรื่องความแตกต่างสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพระหว่างระบบประกัน สังคมและระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เปิดเผยว่า หลักประกันสุขภาพทั้งสองระบบของไทยเกิดความเหลื่อมล้ำ โดยระบบประกันสุขภาพ ถ้วนหน้าหรือบัตรทองที่บริหารโดยสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีสิทธิประโยชน์ดีกว่าระบบประกันสังคมของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ทั้งเงื่อนไขการคุ้มครองที่สะดวกต่อผู้รับบริการมากกว่า มีสิทธิประโยชน์มากกว่า และมีการบริหารจัดการเฉพาะเพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพดี กว่า จึงเกิดคำถามว่าทำไมผู้ประกันตนที่มี 9.4 ล้านคนในปัจจุบันต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล แต่กลับได้สิทธิประโยชน์ด้อยกว่ากลุ่มคนที่ไม่ต้องจ่ายเงิน นพ.พงศธรกล่าวว่า งานวิจัยนี้เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553 ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 18 เดือน มีเนื้อหา 4 ด้าน คือ 1.สิทธิประโยชน์ 2.การบริหารจัดการ 3.กรณีศึกษา และ 4.ผลการรักษาทั้งสองระบบแตกต่างกันอย่างไร ขณะนี้มีข้อมูลเปรียบเทียบสิทธิ ประโยชน์ทั้งสองระบบ พบว่าแตกต่างกันหลายรายการ เช่น กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ประกันสังคมให้สิทธิไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี บัตรทองไม่จำกัดจำนวนครั้ง กรณีโรคไตวายเฉียบพลัน ประกันสังคมคุ้มครองไม่เกิน 60 วัน บัตรทองคุ้มครองไม่จำกัดเวลา กรณีรักษาตัวแบบพักฟื้นและบริการหลังผู้ป่วย กลับบ้าน ประกันสังคมไม่คุ้มครอง บัตรทองคุ้มครอง กรณีทันตกรรม ประกันสังคมไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี บัตรทองไม่จำกัดจำนวนครั้ง และยังมีอุปกรณ์และอวัยวะเทียมในการบำบัดโรคที่ แตกต่างกัน ประกันสังคมมี 81 รายการ บัตรทองมี 207 รายการ กรณีการบริการแพทย์แผนไทยและการ แพทย์ทางเลือก โรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย โรคที่เกี่ยวกับการอุดตันของหลอดเลือดในสมอง โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ โรคหืด วัณโรค เบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นต้น สิทธิประโยชน์ดังกล่าว ระบบประกันสังคมไม่มีการจัดการเฉพาะ ในขณะที่บัตรทองมีการจัดการเฉพาะ สำหรับกรณีผ่าตัดสมองเป็นรายการเดียวที่ ประกันสังคมมี แต่บัตรทองไม่มี นอกจากนี้ กรณีเจ็บป่วย ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน จึงจะได้รับสิทธิคุ้มครองรักษา แต่บัตรทองได้รับสิทธิทันทีที่ลงทะเบียน นพ.พงศธรกล่าวว่า กฎหมายประกันสังคมเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2533 ช่วงนั้นประเทศไทยยังไม่มีระบบหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุม จึงถือว่าประกัน สังคมเป็นนวัตกรรมสวัสดิการรักษาพยาบาลที่ก้าวหน้าของสังคม แต่เมื่อประเทศไทยมีพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ 2545 ที่ดูแลคนไทยทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เวลานี้กฎหมายประกันสังคมจึงล้า หลังและถึงเวลาแล้วต้องยกเครื่อง โดยขอเรียกร้องให้ผู้ประกันตนทั้ง 9.4 ล้านคนช่วยกันแสดงความคิดเห็นว่าต้องปรับปรุงระบบประกันสังคมอย่างไรให้ มีสิทธิประโยชน์ดีขึ้น เช่น การรักษาพยาบาลโรคต่างๆ และสิทธิประโยชน์ที่จะช่วยสร้างความมั่นคงในชีวิต ระยะยาว การเพิ่มเงินบำนาญชราภาพและการให้กู้ยืม เป็นต้น "สังคมไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูง อายุ สปส.ควรจะเพิ่มเงินบำนาญชราภาพให้ มากขึ้น ปัจจุบันกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอแน่นอน จากการตรวจสอบตัวเลขค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลและคลอดบุตรเมื่อปี 2552 จ่ายให้โรงพยาบาล 28,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 64% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งควรที่จะนำเงินก้อนนี้มาบริหารจัดการให้ดีกว่านี้" นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขเผย น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมเอาเปรียบผู้บริโภค เนื่องจากผู้ประกันตนได้รับสิทธิ ประโยชน์จากการรักษาพยาบาลด้อยกว่าบัตรทองที่ไม่ต้องเสียเงิน ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องหาทางปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น วันนี้ผู้ประกัน ตนถามตัวเองว่าเราจะจ่ายเงินไปเพื่ออะไร ทั้งๆ ที่บัตรทองก็ให้สิทธิประโยชน์มากกว่า ขณะนี้จึงได้ตั้งชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตนเพื่อตรวจสอบการบริหารงานอย่าง ต่อเนื่อง และจะจัดเวทีสมัชชาผู้ประกันตนให้มาร่วมแสดงความคิดเห็น พร้อมกับเตรียมยื่นหนังสือให้ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ในเร็วๆ นี้ นางวิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ประกันตนยังยินดีจ่ายเงินสมทบประกันสังคม แม้ว่าอาจจะมีสิทธิประโยชน์บางอย่างที่ด้อยกว่าบัตรทอง แต่ก็ยังคิดว่า ประกันสังคมดีกว่า การนำเสนอข้อมูลวิจัยครั้งนี้เป็นเรื่องดีที่กระตุ้นให้คณะกรรมการประกัน สังคมเร่งจัดหาสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่การโอนย้ายผู้ประกันตน 9.4 ล้านคนให้เข้าไปรวมกับบัตรทองเป็นเรื่องยุ่งยากและที่ต้องใช้ระยะเวลา รวม ทั้งต้องให้ผู้ประกันตนมีส่วนร่วมตัดสินใจ จากการสอบถามแรงงานที่ถือบัตร ประกันสังคมก็รู้สึกเฉยๆ กับเรื่องนี้ เพราะข้อมูลในทางวิชาการกับข้อเท็จจริงอาจแตกต่างกัน "ตอนนี้กฎหมายประกันสังคมฉบับร่าง ใหม่กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ รัฐสภา เพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานให้เป็นองค์กรอิสระ เปิดโอกาส ให้ตรวจสอบได้อย่างโปร่งใสและเพิ่มสิทธิประโยชน์ได้มากขึ้น" นางวิไลวรรณกล่าว ด้านนายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคม บอกว่า ได้แจ้งให้กรรมการที่เป็นแพทย์ไปพิจารณาว่าสิทธิประโยชน์ข้อใดที่ยังด้อย กว่าบัตรทอง ก็ควรปรับเปลี่ยนให้ใกล้เคียงกัน ยังมีสิทธิประโยชน์อีกหลายเรื่องที่ไม่มีอยู่ในบัตรทอง ส่วนสาเหตุที่สิทธิประโยชน์ทั้งสองระบบมีความแตกต่างกัน เพราะโครงสร้างการบริหารงานไม่เหมือนกัน ระบบประกันสังคมจ่ายเงินให้โรงพยาบาลแบบเหมาจ่าย ซึ่งแตกต่างจากบัตรทองที่รับผิดชอบโดยรัฐบาล ดังนั้น หากเห็นว่าสิ่งใดที่ปรับปรุงแล้วดีขึ้นก็จะทำ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน (ไทยโพสต์, 9-2-2554) สหภาพแรงงานแม็กซิสร้องสื่อโดยลอยแพ-ชดเชยไม่เป็นธรรม เมื่อเวลา 12.30 น.วันที่ 9 กุมภาพันธ์ นายชัยรัตน์ บุษรา ประธานสหภาพแรงงานแม็กซิส ประเทศไทย นำลูกจ้างบริษัท แม็กซิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผลิตยางรถยนต์ที่ จ.ระยอง และลูกจ้างบริษัท พีซีบี เซ็นเตอร์ จำกัด ผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ จ.ชลบุรี เดินเท้ามาร้องเรียนที่เครือเนชั่น โดยระบุว่าบริษัทแม็กซิสได้ปิดกิจการตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2553 จนถึงปัจจุบัน อ้างว่าเพื่อปิดซ่อมแซมจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นขอให้ยุติข้อพิพาทกับแรงงานเพื่อให้ได้กลับเข้าทำงาน ส่วนบริษัทพีซีบี เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2553 เวลา 21.30 น.เกิดเพลิงไหม้อย่างรุนแรงทำให้พนักงานบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายคน หลังจากนั้นบริษัทประกาศจ่ายค่าจ้างให้พนักงาน 75% จนกว่าบริษัทจะปรับปรุงโรงงานเสร็จ และเปิดกิจการใหม่ภายในเดือนธันวาคม 2553 แต่การจ่ายค่าจ้างผิดนัดมาตลอด กระทั่งวันที่ 21 มกราคม ที่ผ่านมา บริษัทประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทุกคน แต่ไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานให้แก่ลูกจ้างกว่า 500 คน ดังนั้น ขอเรียกร้องให้บริษัทจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 2541 รวมทั้งให้รัฐบาลทบทวนนโยบายส่งเสริมการลงทุนกรณีนายทุนต่างชาติที่ไม่เป็น ธรรมกับลูกจ้าง นางบุญสาน แคมติ อายุ 35 ปี พนักงานบริษัทพีซีบี ซึ่งสามีเสียชีวิตจากเครื่องจักรในโรงงานระเบิด กล่าวว่า ตั้งแต่สามีตายไป บริษัทปิดกิจการชั่วคราวจึงไม่ได้ทำงานมา 7 เดือนแล้ว มีเพียงเงินชดเชยกว่า 2,000 บาทต่อเดือน จึงมาร้องเรียนเรียกร้องบริษัทจ่ายเงินค่าชดเชย 6 เดือนที่ค้างไว้ เพื่อจะนำไปเป็นต้นทุนประกอบอาชีพอื่น (คมชัดลึก, 10-2-2554) “ประกันสังคม” ดีเดย์ใช้ “ม.40” รับวันแรงงาน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้หารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายประชาวิวัฒน์ 9 ข้อ ที่จะต้องจูงใจให้แรงงานนอกระบบเข้ามาสู่ระบบประกันสังคม มาตรา 40 โดยหารือในเรื่องของแผนงานและเป้าหมายที่วางไว้ รวมถึงวันที่จะเริ่มเก็บเงินสมทบ โดยจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในระหว่างวันที่ 19-21 ก.พ.นี้ ซึ่งขณะนี้ยังรอการตัดสินใจของนายอภิสิทธิ์ว่าควรจะเป็นวันใด ขณะเดี่ยวกันนั้นในส่วนของเจ้า หน้าที่ ก็จะมีการแยกกองออกไปต่างหาก โดยขณะนี้ได้ขออนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จำนวนทั้งสิ้น 470 อัตรา ซึ่งอยู่ในการรออนุมัติ ในส่วนผู้ประกันตนตามมาตรา 40 กระทรวงแรงงานก็จะคืนสิทธิให้กับผู้ประกันตนด้วย ทั้งนี้ นายเฉลิมชัย กล่าวว่า โจทย์สำคัญที่กระทรวงแรงงานจะต้องทำจากนี้ คือ การทำการประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มแรงงานนอกระบบทั่วประเทศ รับรู้และเข้าถึงแหล่งข้อมูลให้ได้มากที่สุด ซึ่งมองนโยบายให้สำนักงานประกันสังคมดำเนินการต่อไป และจะต้องทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ เพราะหากการประชาสัมพันธ์ไม่เข้าถึงกลุ่มผู้สามารถใช้สิทธิ์ก็คงจะไม่เข้ามา สมัครกัน (สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 10-2-2554) เตือนคนนานระวงถูกตุ๋นไปทำงานสร้างโรงไฟฟ้า สปป.ลาว นายเมธา จันทร์ยวง จัดหางานจังหวัดน่าน แจ้งว่า ขณะนี้ได้มีบุคคลฉวยโอกาสไปชักชวนคนหางานในจังหวัดน่านไปทำงานที่ สปป.ลาว โดยอ้างว่าเป็นงานก่อสร้างโรงไฟฟ้า จำนวน 44 ตำแหน่ง ซึ่งตำแหน่งซูเปอร์ไวเซอร์ จะได้ค่าจ้างวันละ 1,800 บาท โฟร์แมน วันละ 1,500 บาท และคนงานทั่วไปแผนกต่าง ๆ จะได้ค่าจ้าง วันละ 480-1,450 บาท สัญญาจ้าง 1 ปี โดยผู้สมัครจะต้องเสียค่าบริการเบื้องต้น 15,000 บาท ซึ่งเป็นการชักชวนให้หลงเชื่อและถูกหลอกได้ เนื่องจากค่าจ้างถือว่าสูงเกินความเป็นจริง และสูงกว่าในประเทศไทยมาก โดยทางสำนักงานจัดหางานจังหวัดน่าน ได้สอบถามไปยังผู้ประสานงานของบริษัทบ้านปู เพาเวอร์ จำกัดประจำจังหวัดน่าน และได้รับการชี้แจงว่าโครงการโรงไฟฟ้าหงสานั้น เป็นการร่วมทุนของบริษัทบ้านปูเพาเวอร์ จำกัด บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH ของประเทศไทย และบริษัท Lao Holding State En-terprise (LHSE) ซึ่งเป็นวิสาหกิจของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เพื่อร่วมจัดตั้งบริษัท Hongsa Power Company Limited (HPC) และบริษัท Phu Fai Mining Company Limited (PFMC) สำหรับดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าหงสาที่เมืองหงสา โดยมีข้อตกลงด้านแรงงานว่าต้องใช้แรงงานลาวร้อยละ 80 ที่เหลืออีกร้อยละ 20 เป็นแรงงานจากชาติอื่น รวมทั้งไทยด้วย ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ดำเนินการเปิดประมูลให้มีการก่อสร้างแต่อย่างใด นอกจากการทำถนน และหากมีการจ้างแรงงานไทยไปทำงานดังกล่าวจริง จะต้องดำเนินการรับสมัครงานผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดน่าน เท่านั้น โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสมัครแต่อย่างใด และจะประกาศให้ทราบในโอกาสต่อไป ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้คนหางานถูกหลอกลวงไปทำงานโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในลาว หากพบเห็นบุคคลที่มีพฤติกรรมดังกล่าวขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ หรือสำนักงานจัดหางานจังหวัดน่าน เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดน่าน ภายในบริเวณศูนย์ราชการจังหวัดน่าน โทรศัพท์ 0-5471-6075 ในวันและเวลาราชการ (เดลินิวส์, 10-2-2554) เผยแรงงานไทยจ่ายค่าเหล้ามากกว่าเดือนละพัน 10 ก.พ. 54 - นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนหญิง กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนงาน 4 บริษัท ในปี 2533 ได้แก่ 1.บริษัท วาไทยอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) จ.นนทบุรี 2.บริษัท สเต็ปสโตนส์ จำกัด จ.ลำพูน 3.บริษัท ยางโอตานิ จำกัด จ.นครปฐม และ 4.หจก.อุตสาหกรรมผลิตยางไทยสิน จ.สมุทรสาคร จำนวน 604 ราย อายุระหว่าง 16-45 ปี พบว่าคนงานกว่าร้อยละ 80 มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 5,001-10,000 บาทต่อเดือน โดยร้อยละ 39.2 มีค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาบริโภคเป็นอันดับ 4 รองจากค่าใช้จ่ายค่าอาหาร ค่าเดินทาง และค่าเบ็ดเตล็ด ตามลำดับ ผลสำรวจพบว่า คนงานเกือบ 1ใน 4 หรือร้อยละ 24.4 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดื่มเหล้ามากกว่า 1,000 บาทต่อเดือน ขณะที่คนงานร้อยละ 17.5 โดย 3 อันดับยอดนิยม คือ เบียร์ สุรา และสุราพื้นบ้าน โดยเทศกาล เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ เป็นช่วงที่มีการดื่มมากที่สุด ร้อยละ 84.2 รองลงมาการเป็นการเลี้ยงฉลองกับเพื่อน และดื่มกับคนในครอบครัว ในด้านพฤติกรรมการดื่ม คนงานเกือบ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 30.4 ดื่มเป็นประจำทุกวันหลังเลิกงาน โดยคนที่ดื่มสุราแล้วทำร้ายคนในครอบครัว เป็นบางครั้งร้อยละ 8.6 ดื่มเป็นประจำ ร้อยละ 2.1 และที่ดื่มสุราจนมีผลกระทบต่อการทำงาน ไปทำงานไม่ไหวในวันถัดไป เคยเป็นบางครั้งร้อยละ 36.3 และ เป็นประจำร้อยละ 4.1 ทั้งนี้ คนงานมากกว่าร้อยละ 60 ระบุว่าสามารถหาซื้อดื่มได้ไม่จำกัดเวลา และมีร้อยละ 57.7 ที่รู้ว่ามี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อใช้ในการจำกัดการดื่มและการจำหน่าย ลดปัญหาสังคม (สำนักข่าวไทย, 10-2-2554) พนักงานโรงกลั่น Esso ศรีราชา ชี้แจงกรณีพิพาทแรงงาน
พนักงานโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ ชี้แจงกรณีข้อพิพาทแรงงานหลัง คนงาน 259 คน ทั้งระดับปฏิบัติการและระดับบังคับบัญชายื่นข้อเรียกร้องต่อผู้บริหาร 10 ม.ค. 54 – สืบเนื่องจากพนักงานโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ศรีราชา จำนวน 259 คน ทั้งระดับปฏิบัติการและระดับบังคับบัญชา ได้ร่วมกันลงลายมือชื่อ ยื่นข้อเรียกร้อง ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ที่ได้ให้สิทธิลูกจ้างในการยื่นข้อเรียกร้องเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพ การจ้าง ต่อฝ่ายบริหาร ของบริษัท เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2553 จำนวน 16 ข้อ ซึ่งได้มีการประชุมเจรจา เป็นทางการจำนวน 6 ครั้ง และนอกรอบอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งได้มีการเจรจาครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2554 โดยตัวแทนฝ่ายบริษัทตอบปฏิเสธข้อเรียกร้องของพนักงาน ทั้งจำนวน 16 ข้อ ซึ่งข้อเรียกร้อง ทั้ง 16 ข้อของพนักงานประกอบด้วย 1.ให้บริษัทจัดหาเครื่องแบบการ ทำงาน รองเท้าเซฟตี้ อย่างน้อยปีละ 1 คู่ ชุดทำงานปีละ 3 ชุด และสำหรับพนักงานสำนักงานให้จ่ายเป็นค่าตัดชุด เท่ากับ ราคา ที่พนักงานฝ่ายผลิตได้รับ 2.ให้บริษัทจัดเงินสนับสนุนการ ศึกษาบุตรพนักงาน ตั้งแต่ระดับอนุบาล – ปริญญาตรี ทั้งนี้บุตรต้องมีอายุไม่เกิน 25 ปีและไม่เกิน จำนวน บุตรที่ได้รับสิทธิ ไม่เกิน 2 คน 3.ให้บริษัทจัดเงินสวัสดิการ สำหรับค่ารักษาพยาบาล บุตร / สามี / ภรรยา พนักงาน ในกรณีค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกโดยให้จ่ายตามจริง แต่ทั้งนี้ ไม่เกิน ครอบครัวละ 25000 บาท / ปี 4.ให้บริษัทปรับเงินช่วยเหลือ ค่าครองชีพ ทั้งระดับปฏิบัติการ และระดับบังคับบัญชา ร้อยละ 4.5 ต่อปี ของเงินเดือนมูลฐาน 5.ให้บริษัทจ่ายเบี้ยขยัน ให้กับพนักงาน ที่มาปฏิบัติงาน สม่ำเสมอไม่ขาดงาน มาสาย หรือลาป่วย เว้นแต่เกิดจากการเจ็บป่วยจากการทำงาน ในอัตราเดือนละ 3,500 บาท 6.ให้บริษัทจ่ายเงินค่าตอบแทน การทำงาน ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และ ค่าอาหารพร้อมค่าเดินทาง ให้กับพนักงาน อัตรา 3 เท่า กรณีเหตุฉุกเฉิน ไฟไหม้ แก็สรั่ว หรือ หน่วยกลั่นมีปัญหา สำหรับพนักงานระดับบังคับบัญชา ที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานล่วงเวลา มาทำงานในกรณีเหตุฉุกเฉินในอัตรา 8000 บาท 7.ให้บริษัทกำหนดหลักการจ่ายเงิน ตามแผน ESP 8.ให้บริษัทจ่ายเงินได้พิเศษ อัตราจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 1 เท่าของเงินเดือนมูลฐาน พร้อมเงินบวกเพิ่มพิเศษ 1.5 แสนบาท 9.ให้บริษัท จัดของที่ระลึกสำหรับ รางวัลอายุงาน 10. ให้บริษัท ยกเลิกการจ้างงาน คนงานเหมาค่าแรง คนงานรับเหมาช่วง โดยให้รับเข้าเป็นพนักงานประจำ ของบริษัท ในหน่วยงานดังนี้ หน่วยงานแผนก ซ่อมบำรุง ที่เป็นลูกจ้างสัญญาจ้าง ชั่วคราว พนักงานห้องแล็ปพนักงานแผนก คอมพิวเตอร์ ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ดับเพลิง และเจ้าหน้าที่ประจำห้อง อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล 11.ให้บริษัท จ่ายเงินค่าเดินทาง ค่าที่พัก และเบี้ยเลี้ยง ในกรณี ที่ถูกสั่งให้ไปทำงาน ของบริษัท นอกสถานที่ ค่าเดินทางอัตรา 12 บาท / กิโลเมตร ค่าที่พัก จ่ายตามจริง แต่ไม่เกิน 2500 บาท / คืน เบี้ยเลี้ยงวันละ 250 บาท 12.ให้บริษัทยกเลิก ระบบการสอบ Web Cat โดยให้นำการ สอบความรู้ ระบบ KU มาใช้แบบเดิม ในการปรับเลื่อนตำแหน่ง 13.ให้บริษัทปรับอัตราการขึ้นเดือนประจำปี ตามระดับผลงาน ผลงานพอใจ 7 % ผลงานดี 8 % ผลงานดีมาก 9 % 14.ให้บริษัทปรับอัตราตัวคูณ สำหรับเงินตามแผนรางวัลอายุงานในอัตรา 0.5 ทุกระดับของรางวัลอายุงานที่มีสิทธิเบิกได้ 15.ให้บริษัท ปรับเพิ่มวันลาหยุดพักผ่อนประจำปี เมื่อ ทำงานครบ 20 ปีบวกเพิ่มหลังปีที่ 20 ได้ปีละ 1 วันแต่ไม่เกิน 25 วันต่อปี 16.ข้อเรียกร้องให้มีผลบังคับเฉพาะพนักงานที่ลงลายมือชื่อยื่นข้อเรียกร้องเท่านั้น อนึ่งโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ ศรีราชา ตั้งอยู่เลขที่ 118 ม.2 ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20230 ส่วนสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ 3195 / 17-19 อาคารเอสโซ่ ทาวเวอร์ ถ.พระราม 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กทม.10110 โดยดำเนินธุรกิจ การกลั่นน้ำมัน และจัดจำหน่าย สินค้า ปิโตรเลี่ยม ครบวงจร ภายใต้สัญลักษณ์ ESSO และ Mobil -1 ทุนจดทะเบียน 17,110,007,246.71 บาท ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอเมริกา ยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่งของพลังงานระดับโลก ภายใต้ บริษัท เอ็กซอนโมบิล ที่มีผลกำไร ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลกมาตลอด มีจำนวน พนักงานทั้งหมด จำนวน 700 คน ประจำโรงกลั่นน้ำมันศรีราชา จำนวน 370 คน ที่เหลือ ประจำสำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ แยกเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการประมาณ 230 คน ที่เหลือเป็นพนักงานระดับบังคับบัญชา บริษัทได้ดำเนินการธุรกิจด้านน้ำมัน ในประเทศไทย มายาวนาน มีกำลังการผลิตการกลั่นน้ำมันดิบ 177,000 บาร์เรล ต่อวัน ซึ่งขณะนี้ได้มีการขยายการลงทุน มูลค่าเพิ่มอีก ประมาณ 15,000 ล้านบาท บริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ เมื่อปี 2551 โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นสูงสุดคือ บ.เอ็กซอน โมบิล อินเตอร์เนชั่นแนล 65.43% กระทรวงการคลัง 7.33 % และบริษัท ต่างชาติ 7.20 % ที่เหลือเป็นนักลงทุนรายย่อย ในตลาดหลักทรัพย์ ประมาณ 20.04 % ผลประกอบการในปี 2552 มีกำไรสุทธิ 4,450,564 ล้านบาท ซึ่งได้รับการรับรอง จากผู้สอบบัญชี เมื่อ 26 ก.พ.2553 หรือ สามารถดูได้ที่ www.esso.co.th เซ็นทรัลปิดปรับปรุงกระทบลูกจ้างร้านค้าย่อย 3 พันคน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เผยตัวเลขพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดปรับปรุงห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาลาดพร้าว ยืนยันยังไม่มีการร้องเรียน แนะ ขอรับคำปรึกษาที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นางอัมพร นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาลาดพร้าว ประกาศปิดปรับปรุงตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 มีกำหนดระยะเวลา 6 เดือน โดยจะเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 10 สิงหาคม 2554 ว่า ปัจจุบัน บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด สาขาลาดพร้าว มีลูกจ้าง 368 คน แบ่งเป็นชาย 95 คน หญิง 273 คน ในส่วนของพนักงานขาย (PC) มีทั้งหมด 1,127 คน เป็นชาย 338 คน หญิง 789 คน และบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) มีลูกจ้างทั้งหมด 178 คน เป็นชาย 42 คน หญิง 136 คน ส่วนของร้านค้าย่อยมี 147 แห่ง จำนวนลูกจ้างของร้านค้าทั้งหมด 3,033 คน เป็นชาย 1,318 คน หญิง 1,715 คน ซึ่งในระหว่างที่ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลปิดปรับปรุงนั้น ในส่วนของพนักงานสำนักงานของบริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด สาขาลาดพร้าว จะย้ายไปปฏิบัติงานตามสาขาต่างๆ เป็นการชั่วคราว จนกว่าห้างจะเปิดทำการ ส่วนพนักงานของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) จะปฏิบัติงานตามปกติในสำนักงานชั่วคราว ของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาลาดพร้าว สำหรับพนักงานขาย (PC) แต่ละบริษัทจะจัดให้พนักงานไปปฏิบัติตามหน่วยงานอื่นๆ เป็นการชั่วคราว จนกว่าห้างจะเปิดทำการ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรง งาน กล่าวอีกว่า ในส่วนร้านค้าย่อย ทางห้างฯ ดำเนินการหาพื้นที่ชั่วคราวตามสาขาต่างๆ และบางส่วนย้ายไปขายอยู่ห้างอื่นๆ เช่น ห้างสรรพสินค้ายูเนี่ยนมอลล์ และเมเจอร์รัชโยธิน อย่างไรก็ตามจนขณะนี้ยังไม่มีการร้องเรียนเกิดขึ้น แต่หากลูกจ้างเกิดความไม่แน่ใจกับสัญญาจ้างต่างๆ สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือโทรสายด่วน 1546 อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสอบถามพนักงานในร้านค้าย่อยภายในห้างพบว่าหลายคน มีความกังวลเรื่องของรายได้ ซึ่งกลัวว่าลูกค้าจะลดลงเมื่อต้องย้ายไปที่อื่น และไม่มั่นใจว่าเมื่อห้างปรับปรุงเสร็จแล้วจะได้กลับมาขายเหมือนเดิมหรือไม่ (กรุงเทพธุรกิจ, 11-2-2554) ทีดีอาร์ไอจี้เพิ่มสัดส่วนแรงงาน ปวช.ปวส.แก้วิกฤติขาดแคลน ทีดีอาร์ไอ เสนอปฎิรูปการศึกษารอบสอง เร่งยกระดับคุณภาพพื้นฐาน ปรับโครงสร้างแรงงานที่ “แหว่งกลาง” ผลิตสายวิชาชีพให้มาก เพิ่มสัดส่วนปวช.ปวส.ในตลาดแรงงาน เชื่อมผู้ประกอบการจัดหลักสูตรระยะสั้นเติมความรู้เฉพาะดึงคนรอยต่อจะเรียน หรือทำงาน รวมทั้งพวกว่างงาน/ทำงานต่ำชั่วโมงก็ต้องดึงกลับสู่ระบบการทำงาน แก้วิกฤติแรงงานขาดแคลน ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวในการประชุมประชาพิจารณ์ โครงการศึกษาความต้องการกำลังคนเพื่อการวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนของ ประเทศ แผนปฏิบัติการในระดับกลุ่มจังหวัด ซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการมอบหมายให้ทีดีอาร์ไอทำการศึกษา เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างผู้จบการศึกษากับผู้ที่ตลาด แรงงานต้องการในแต่ละระดับการศึกษา โดยทำการศึกษา 8 กลุ่มจังหวัด คือ ภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนกลาง ภาคกลางตอนบน ภาคกลางตอนล่าง จังหวัดฝั่งอ่าวไทย ภาคตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง โดยงานดังกล่าวมีขึ้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 ที่โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ จากการศึกษาพบว่า มีความไม่สอดคล้องกันอย่างมากของการผลิตผู้จบการศึกษาในพื้นที่โดยเฉพาะใน ระดับ ปวช.,ปวส.,อุดมศึกษา(ป.ตรี/โท) จำนวนมากเกินกว่าความต้องการในพื้นที่จะดูดซับเอาไว้ได้ คนในส่วนที่เกินนี้จึงต้องไปหางานนอกพื้นที่ มีเพียงบางจังหวัดเท่านั้นที่มีสาขาที่มีอุปทานมากกว่าอุปสงค์ แต่โดยทั่วไปแล้วมักพบว่า มีความต้องการมากกว่าคนที่ผลิตได้ จะเกิดขึ้นในกลุ่มแรงงานระดับมัธยมลงมา แต่ที่ผลิตเกินคือแรงงานสายช่าง ปวช. ปวส. ขึ้นไป ซึ่งมีการใช้น้อยในระดับกลุ่มจังหวัดโดยเฉพาะกลุ่มจังหวัดที่มีระดับการ พัฒนาต่ำ สิ่งที่ขัดแย้งกันคือ หลายจังหวัดยังพบเห็นการขาดแคลนแรงงานระดับบนที่จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี แต่ในระดับปริญญาตรีนั้นมีมากเกินความต้องการ ในแต่ละปีจึงมีผู้ว่างงานในระดับนี้ 8-9 หมื่นคน สิ่งที่รัฐดำเนินนโยบายผลิตคนที่ผ่านมาจึงเป็นความไม่สอดคล้องกันทั้งในเชิง ปริมาณและเมื่อออกสู่ตลาดแรงงานก็ยังไม่สอดคล้องกับที่ตลาดแรงงานมีความต้อง การทั้งสาขาและจำนวน อีกทั้งยังมีปัญหาเชิงคุณภาพด้านสมรรถนะพื้นฐาน (Core Competencies)และระดับวิชาชีพ (Functional Competencies) ที่จำเป็นในการทำงาน ทั้งนี้จากการประเมินคุณลักษณะพื้น ฐานของแรงงานเป็นรายอาชีพ เช่น ช่างซ่อมแอร์ ช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรทั่วไป ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ พบว่า คุณลักษณะพื้นฐานที่พึ่งปรารถนาของแรงงานในเชิงคุณภาพที่นายจ้างทุกแห่งต้อง การ คือ การตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม ไม่ก้าวร้าว มีมารยาท มีความคิดสร้างสรรค์ มีจิตสำนึกที่ดี มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม และความสามารถในการปรับตัว แต่สิ่งที่เป็นจุดอ่อนแรงงานช่างซ่อมบำรุงยังขาดอยู่มากคือ การมีจิตสำนึกในการบริการ การตรงต่อเวลา อดทน ความคิดสร้างสรรค์ ส่วนข้อดีคือเรื่องความสุภาพอ่อนโยน การมีมารยาท แต่เรื่องอื่น ๆ ยังต้องปรับปรุงอีกมาก รวมทั้งทักษะการสื่อสาร ความรู้คอมพิวเตอร์และความรู้ภาษาอังกฤษ ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า คุณลักษณะพื้นฐานในสาขาช่างที่ปรากฏเป็นผลสืบเนื่องมาจากคุณภาพการจัดการ เรียนการสอนที่ได้รับมาตลอดช่วงการศึกษาไม่ดีขาดการเอาใจใส่อย่างจริงจัง ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบแรงงาน ความไม่สอดคล้องนี้เป็นความผิดพลาดจากอดีตที่ไม่มีการส่งเสริมให้มีการใช้ แรงงานสายช่างในสถานประกอบการ โดยผู้ประกอบการนิยมจ้างแรงงานสายสามัญมากกว่า เนื่องจากหาง่ายและคิดว่าเอามาฝึกทักษะเพียงเล็กน้อยก็ทำงานได้แล้วและใน ระยะยาวจะไม่มีแรงกดดันด้านค่าจ้างเหมือนจ้างแรงงาน สายช่างซึ่งมีเรื่องค่าวิชาชีพ และในระยะยาวแรงงานสายช่างจะปรับเงินเดือนได้มากกว่าสายสามัญ 3-4 เท่า “ต้องยอมรับว่าในอดีตที่ผ่านมา เราปล่อยให้การเรียนการสอนระดับปวช.ตกต่ำมามากกว่า 15 ปี ขาดความใส่ใจอย่างจริงจังจากฝ่ายบริหาร การปฏิรูปการศึกษารอบแรกที่ผ่านมาเกือบจะไม่ได้ประโยชน์ในการที่จะเน้นไปที่ คนเรียนในสายช่างเลย ตรงนี้นับเป็นความผิดพลาดอย่างมากในการดูแลเรื่องระบบการศึกษาของชาติ” ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า หากหวังให้ภาคการผลิตเติบโต และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศได้มากกว่าที่เป็นอยู่ก็ควรจะใช้คน ที่มาจากสายวิชาชีพ แต่ปัจจุบันมูลค่าที่เพิ่มขึ้นมาจาการทำงานของคนที่ไม่ใช่สายวิชาชีพ ซึ่งคนเหล่านี้เมื่ออยู่ในภาคการผลิต(หรือโรงงาน)นานๆและในที่สุดต้องออกไป ก็จะกลายไปเป็นคนธรรมดาแต่อาจจะมีประสบการณ์ติดตัวจากสายงานผลิตที่เคยทำมา ในอดีตเท่านั้นซึ่งแทบจะไม่สามารถนำไปต่อยอดในการดำเนินชีวิตต่อไปได้ ต่างจากคนในสายวิชาชีพที่สามารถพัฒนาทักษะวิชาชีพจากการทำงานและสามารถนำ ประสบการณ์ไปต่อยอดการดำเนินชีวิตในอนาคตได้ดีกว่า “ตอนนี้เส้นกราฟโครงสร้างตลาดแรงงาน ที่เป็นอยู่มีลักษณะแหว่งกลาง คือ มีการใช้แรงงานที่มีการศึกษาในระดับมัธยมต้นหรือต่ำกว่าสูงมาก รองลงมาคือมัธยมปลาย ส่วนตรงกลางซึ่งเว้าไปอยู่ฐานรากมีการใช้น้อยที่สุดคือ ปวช.,ปวส. จากนั้นก็ขยับขึ้นไปที่ปริญญาตรีปริญญาโทเลย ” ตลาดแรงงานในปัจจุบันมีสัดส่วนการ ใช้แรงงาน ปวช.เพียง 3% หรือ ราว 1.25 ล้านคนจากจำนวนแรงงานระดับปวช.ปวส.ทั้งระบบ 7%หรือประมาณ 2.5 ล้านคน ซึ่งถือว่าน้อยมากและเป็นจุดอ่อนที่ต้องแก้ไข เป็นความผิดพลาดของประเทศ ที่ไม่ได้วางระบบให้มีการใช้คนสายช่างเป็นตัวนำในการพัฒนาประเทศ อีกทั้งไม่มีการวางแผนระยะยาวว่าจะพัฒนาประเทศเติบโตไปทิศทางที่ต้องใช้คน สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไร และควรวางแผนด้านการศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรขึ้นมารองรับอย่างไร ฉะนั้นการปฏิรูปการศึกษารอบสองที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้จึงควรให้ความสนใจคน ในสายวิชาชีพ(สายเทคโนโลยี) เพื่อปรับสัดส่วนโครงสร้างแรงงานและการศึกษาที่จะมีความสอดคล้องกันมีพลังใน การพัฒนาประเทศได้มากขึ้น “แต่ละปีมีผู้จบปวช.ราว 4-5 หมื่นคน และบางจังหวัดมีถึง 5 พันคน คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เมื่อจบปวช. อายุยังไม่ถึง 18 ปี เมื่อไม่ได้เรียนต่อปวส.ก็มักจะหลุดออกจากระบบไป ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย ตอนนี้เราขาดแคลนแรงงาน และมีกำลังแรงงานถดถอยลง ยิ่งต่อไปจะมีคนสูงอายุมากกว่าวัยทำงาน เราต้องทำให้คนทุกคนที่เมื่อเรียนจบแล้วทำงานได้ สร้างประโยชน์ต่อไปได้” (ฐานเศรษฐกิจ, 11-2-2554) ศาลไม่รับคำร้องขอปล่อยตัวชาลี ดีอยู่ 12 ก.พ. 54 - เมื่อเวลา 9.30 น. วันนี้ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ สภาทนายความได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งปล่อยตัวนายชาลี ดีอยู่ เเรงงานพม่า บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน แต่กลับถูกจับกุมในข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมาย เน่ืองจากเป็นกรณีที่นายชาลีถูกควบคุมตัวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยมีหลักฐานเเน่ชัดว่านายชาลีได้ขึ้นทะเบียนเเรงงานแล้ว โดยบัตรอนุญาตทำงานมีอายุถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 อย่างไรก็ตามหลังจากที่ได้หารือกับรองอธิบดีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลอาญา กรุงเทพใต้ ผลคือ ศาลไม่สามารถรับคำร้องได้ โดยศาลชี้เเจงว่า เนื่องจากการเปิดทำการในวันเสาร์นั้น อธิบดีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้กำหนดระเบียบไว้ให้สามารถพิจารณาได้เฉพาะกรณี ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยื่นคำร้องขอฝากขังเท่านั้น ประกอบกับศาลไม่มีเจ้าหน้าที่รองรับการดำเนินการพิจารณาคดีของศาล ดังนั้นศาลจึงขอให้มายื่นคำร้องอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 โดยศาลจะรีบดำเนินการให้โดยเร่งด่วน ด้านนายวสันต์ พานิช ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ กล่าวว่า "การยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวเนื่องจากการควบคุมตัวไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นกรณีที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีิวิตเเละร่างกายอย่างร้ายเเรง ซึ่งคุณค่าของชีวิตเเละร่างกายนั้นเป็นสิ่งที่มีค่า ดังนั้นการถูกกักขังโดยไม่ชอบเเม้กระทั้ง 1 ชั่วโมงก็เป็นเรื่องร้ายเเรง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างเร่งด่วนตาม มาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้นสภาทนายความจะได้หารือกับศาลเพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบต่อไป และในกรณีนี้หากนายชาลียังไม่ได้รับการปล่อยตัว สภาทนายความจะยื่นคำร้องต่อศาลอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 9.00 น." (ประชาไท, 12-2-2554) คนงาน 2 บริษัทพักรอเจรจาคนงานฟูจิตสึมติสมทบร่วมอีก 1,000 กว่าคนวันนี้ 10 วันแล้วที่ขบวนของคนงานเดินเท้าเข้ากรุงเทพฯเพื่อเรียกร้องสิทธิของคนงาน ขบวนของคนงานเดินเท้าประมาณ 1,300 คนเข้ามาพักที่ บริษัทไม้อัดไทย จำกัด โดยการต้อนรับของสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นอย่างดี ผู้แทนลูกจ้างเข้าเจรจาตัวแทนนายจ้างที่กระทรวงแรงงาน ไม่คืบ นายจ้างตัวจริงยังไม่เข้าเจรจา ส่งช็อดโน้ตคนนั่งอ่านในเวทีเจรจาแทนไร้อำนาจตัดสินใจ นัดเจรจาอีกครั่ง 16 ก.พ. ที่ปรึกษารมว.แรงงานฉุ่นเจรจาครั้งหน้าขอตัวจริงเสียงจริง นายชัยรัตน์ บุษรา ประธานสหภาพแรงงานแม็กซิส ประเทศไทย กล่าวว่า เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมาได้เข้าร่วมการเจราจาร่วมกับ นายธานินทร์ ใจสมุทร นายพงศักดิ์ เปล่งแสง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายสุวิทย์ สุมาลา ผู้อำนายการสำนักแรงงานสัมพันธ์ นายวีรศิลป์ คุณูปถัมภ์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยอง พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานสำนักงานแรงงานสัมพันธ์ ได้มีไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างผู้แทนสหภาพแรงงานฯกับตัวแทนนาย จ้างบริษัท แม็กซิส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด มานั่งอ่านข้อเสนอที่บริษัทฯได้ยื่นต่อตัวแทนคนงาน เพื่อขอลดสวัสดิการ ดังนี้ 1. ตามข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานฯ จำนวน 20 ข้อ บริษัทฯเสนอขอใช้สภาพการจ้างเดิม ( ปี 2009/ปี 2552) ข้อเสนอของบริษัทฯ (ประธาน) ในวันนี้ ถ้าไม่มีการตกลงในวันนี้ถือว่า ข้อเสนอนี้เป็นอันยกเลิก ซึ่งการเจรจาใดๆไม่เป็นผลเพราะตัวแทนบริษัทไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ นายพงศักดิ์ เปล่งแสง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากการที่ได้เข้าร่วมการเจรจาของทั้งส่วนคนงานแม็กซิส และพีซีบี ในการเจรจาก็มีการพูดคุยกันไปมากพอควร แต่ติดปัญหาที่นายจ้างตัวจริงไม่มาเจรจาด้วยตนเองทำให้ยังไม่สามารถตกลงได้ ในส่วนของท่าทีตัวแทนเจรจาทั้งส่วนของนายจ้าง ลูกจ้าง ในส่วนแม็กซิส เมื่อปี 2552 ก็มีการผู้คุยกันด้วยดีทั้งทีม แต่ตอนนี้อาจเป็นประเด็นปัญหาความไม่เข้าใจกัน ซึ่งคลาดว่าแก้ไขได้บนโต๊ะเจรจา ซึ่งอยากให้ในส่วนที่มีอำนาจตัดสินใจมาคุยกัน เช่นหากต้องการปรับสภาพการทำงาน ให้คนงานไปทำงาน 3 กะ ค่าจ้างจะจ่ายให้เขาอย่างไร เพราะเดิมคนงานมีรายได้กันร่วม 20,000 บาทต่อเดือน การปรับสภาพการทำงานใหม่ไม่ควรทำให้คนงานได้รับค่าจ้างที่ต่ำกว่าเดิมนาย จ้างเองก็ต้องตอบประเด็นนี้ด้วย เรื่องขอลดสวัสดิการคนงานการเจรจาส่วนนี้ต้องคุยกันในส่วนของผู้มีอำนาจ ตัดสินใจCEO ตัวจริงเสียงจริงมาคุยกัน วันนี้คนงานได้หยุดพัก ร่วมกับองค์กรจัดกิจกรรมที่ทำร่วมกันตลอดทั้งวัน ทุกวัน “ทบทวน เรียนรู้ ปรับขบวนร่วมกัน” ผู้นำแรงงานหลายท่านได้เข้าไปตามกลุ่มเพื่อชี้แจง ตอบข้อซักถามของคนงาน หลังจากนั้นก็เป็นกิจกรรมสันทนาการ โดยมีการจัดแข่งขันฟุตบอล 7 คน ซึ่งให้คนงานส่งทีมเข้าแข่งขัน เป็นการผ่อนคลาย แบ่งกลุ่มจัดกิจกรรมกลุ่มทำงานร่วมกัน ทำอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนเพิ่มเติมจากเดิมเพื่อใช้ในวันต่อไป โดยคุณวิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคุณกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้ประสานงานกับเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมให้นำหน่วยรถพยาบาลจากโรง พยาบาลกล้วยน้ำไทยและโรงพยาบาลบางนามาบริการและอำนวยความสะดวกตรวจรักษา อาการเจ็บป่วยเบื้องต้นให้กับคนงานทั้ง 2 บริษัท ทุกวันช่วงหัวค่ำถึงดึกคนงานไดรับ กำลังใจจากผู้นำแรงงานจากหลากหลาย พื้นที่ทั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ สหภาพแรงงานเอกชน ระดับแกนนำองค์กรแรงงาน นักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชน ทั้งการระดมทุนมาสนับสนุนในการเคลื่อนไหว และมีการพูดคุยให้กำลังใจ ในการเดินเท้าอีกครั้งในประวัติศาสตร์ของขบวนคนงาน รวมทั้งมีบทเพลงไพเราะจากกลุ่มนักดนตรีอิสระ ดนตรีแรงงาน ที่นำบทเพลงมาขับกล่อมให้คนงานได้ผ่อนคลายสลับกับการยืนยันเจตนารมณ์ จุดยืน ประสบการณ์ แนวทางต่อคนงานเพื่อปรับเปลี่ยนมาใช้กับสถานการณ์ของตนเองที่เป็นอยู่ เมื่อวันก่อนคุณกิมอัง พงษ์นารายณ์ กลุ่มเกษตรกรและชาวนา ได้มาบอกเล่าสภาพปัญหาเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันว่า “คนแก่อายุมากขนาดนี้แล้ว ทำนาไม่ไหว ในตอนนี้กำลังจะถูกยึดทรัพย์ ยึดที่ดิน ที่ทำกิน หลังจากที่เดินขบวนเสร็จสิ้นแล้วนั้น กลับบ้านไปคนแก่เข้าโรงพยาบาลหลายคน บางคนปวดขา บางคนเป็นโรคหัวใจ ชาวนามีอายุ 45-80 ปี วันนี้ปัญหาของชาวนากับปัญหาของแรงงานเป็นเรื่องเดียวกัน คือระบบทุน ชาวนาทำนาแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินกลับต้องเช่าที่ดินเพื่อทำนา เช่า 1 ไร่ต้องจ่ายค่าเช่าเป็นข้าว 20 ถัง ก็ไม่ต่างจากปัญหาของแรงงาน นักสื่อสารแรงงานสอบถามต่อว่า ลูกหลานถูกละเมิดสิทธิและตกงานมีผลกระทบกับกลุ่มเกษตรกรและชาวนาอย่างไร? “กระทบแน่นอน ลูกหลานส่วนใหญ่เป็นลูกของเกษตรกรและชาวนา เมื่อพ่อแม่ทำนาแล้วไม่มีเงินพอที่ใช้หนี้สิน ไม่พอสำหรับที่จะใช้จ่ายในครอบครัว ลูกก็ต้องออกมาหางานทำเพาะถ้าทำนาเหมือนพ่อแม่ก็จนเหมือนพ่อแม่ ลูกก็เข้ารับจ้างตามโรงงานในอุตสาหกรรมเป็นคนใช้แรงงาน เพาะต้องหาเงินมาช่วยเหลือพ่อแม่ ยามเจ็บป่วย หนี้สิน ล้วนต้องพึ่งเงินจากลูกทั้งสิ้น “แม่ชาวนา ลูกแรงงาน”” คุณกิมอังกล่าว คุณกิมอังกล่าวต่ออีกว่า ประเด็นคนงานเดินเท้าเข้ากรุงเทพฯครั้งนี้? “นานแล้วนะ การเดินเท้าเราจะได้คุยกับคนตลอดเส้นทาง มันเป็นการประชาสัมพันธ์ ทำให้สังคมรับรู้ความจริงที่เราถูกกระทำและละเมิดสิทธิ การถูกเอารัดเอาเปรียบ รศ.ดร. ณรงค์ เพชรประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย กล่าวว่า ภาพที่คนงานแม็กซิส และคนงานพีซีบีเดินทางวันนี้ทำให้นึกถึงเมื่อปี 2517 อดีตมีคนงานทอผ้าสมุทรสาครที่เดินเท้ามาชุมนุมที่สนามหลวง เพื่อเรียกร้องปรับค่าจ้าง ซึ่งใช้เวลาเดินเท้า 7 วัน จากนั้นมาก็ไม่เคยเห็นคนงานเดินประท้วงอีกเลย แม้หลายอย่างจะเปลี่ยนแปลง นั้นคือ การถูกเอาลัดเอาเปรียบ คนงานสมัยใหม่ ไม่ค่อยอ่านหนังสือ การที่เราไม่อ่านหนังสือจึงตามนายจ้างไม่ทัน นายจ้างมีการฝึกอบรม มีการแนะนำจากที่ปรึกษานายจ้าง ว่าจะเลิกจ้างอย่างไรไม่ผิดกฎหมาย “ไม่มีนักรบคนไหนที่จะชนะสงคราม ถ้าไม่ศึกษาสงคราม” พร้อมทั้งยังมีคุณชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย คุณวิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย คุณสุจิน รุ่งสว่าง ผู้ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ นายยงยุทธ เม่นตะเภา และพี่น้องสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ที่เข้ามาพูดคุยเยี่ยมเยือน พลัดเปลี่ยนกันมาทุกวัน ไม่นับพี่น้องผู้นำแรงงานกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออกที่อยู่โยงร่วมต่อสู้ ด้วยกัน ทำให้กำลังใจของคนงานแม็กซิสและพีซีบี ยังคงแข็งแรง พร้อมเดินเท้าต่อ เพื่อหาความยุติธรรม ซึ่งในวันนี้ คนงานฟูจิตสึ หลังจากที่ผู้นำแรงงานถูกศาลสั่งจำคุก 7 วัน และประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร่วมกับกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก รวบรวมเงินได้ 50,000 บาท เข้าประกันตัวผู้หญิงออกมาได้เพียง 2 คน ได้ขอมตินำคนงานมาสมทบเพิ่ม 1,000 กว่าคนในการเดินเท้าในวันใหม่จันทร์นี้แน่นอน ทั้งนี้วันอาทิตย์นี้ ทางคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ได้มีการจัดเวทีเสวนา ทวงถามสิทธิคนงานกับการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ที่บริเวณพื้นที่ชุมนุมโรงงานไม้อัดไทยบางนา กรุงเทพ ตั้งแต่เวลา 09.30-12.00 น. โดยมีนักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชน นักกฎหมาย และผู้นำแรงงานร่วมหาทางออกวิพากษ์แนวทางการส่งเสริมการลงทุนที่ละเมิดสิทธิ แรงงานครั้งนี้ (นักสื่อสารแรงงาน, 12-2-2554)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี: ยุทธศาสตร์วัวพันหลัก Posted: 13 Feb 2011 12:12 AM PST
รัฐบาลไทยภายใต้การนำของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กำลังป่าวประกาศให้ชาวโลกรู้ว่าเขาได้เสนอสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเรื่องเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชาบริเวณปราสาทพระวิหาร ด้วยการท่องคาถา เรื่องการเจรจาทวิภาคี ทั้งๆที่รู้อยู่เต็มอกว่า กลไกนี้อยู่ในสภาพที่ง่อยเปลี้ยเสียขามาเป็นเวลาเกือบ 2 ปีแล้ว นับแต่การประชุมครั้งล่าสุดที่กรุงพนมเปญเมื่อวันที่ 6-7 เมษายน 2552 ตรงกันข้ามแนวทางของกัมพูชาในการเสนอปัญหาเข้าสู่การพิจารณาของเวทีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ นั้นกลับได้รับการสนองตอบอย่างทันท่วงที พลันที่จดหมายจากนายกรัฐมนตรีฮุน เซน แห่งกัมพูชาไปถึงนิวยอร์ค คณะมนตรีความมั่นคงก็เริ่มหยั่งเสียงความเป็นไปได้ในการจัดประชุมเร่งด่วนตามคำขอของฝ่ายกัมพูชา ในขณะที่คำยืนกรานเรื่องการเจรจาแบบทวิภาคีเป็นแค่เสียงนกเสียงกา คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะเปิดประชุมเรื่องข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชาขึ้นจริงๆในวันวาเลนไทน์ที่กรุงนิวยอร์ค โดยมีรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยและกัมพูชา พร้อมด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง เท่านั้นยังไม่พอ ข้อเสนอเรื่อง การเจรจาแบบทวิภาคีของไทยถูกปิดประตูตาย เมื่อ วา กิมฮอง ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมฝ่ายกัมพูชาตอบมาว่า เขาไม่รับข้อเสนอของฝ่ายไทยที่จะให้มีการประชุมคณะกรรมาธิการฯ หรือ ที่รู้จักกันดีในนาม เจบีซี ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนนี้ ยิ่งการประชุมทวิภาคีระดับรัฐมนตรีต่างประเทศยิ่งเหลวไหลเข้าไปใหญ่ เพราะการประชุมที่เสียมเรียบยังไม่ทันจบดีเสียงปืนก็แตกที่ชายแดนในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ในขณะเดียวกัน เวทีระหว่างประเทศแห่งอื่นๆก็กลับแสดงให้เห็นว่า พร้อมที่จะเปิดรับปัญหาความขัดแย้งเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาตลอดเวลา อย่างน้อยที่สุด ประธานอาเซียนจะเริยกประชุมเรื่องนี้อีกในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 ที่กรุงจาการ์ตา โดยที่รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่พิพาททั้งสองฝ่ายก็ตอบตกลงแล้วว่าจะไปประชุมด้วย เหตุที่ทำให้ข้อเสนอเรื่องเจรจาทวิภาคีของไทยเป็นหมันนั้นคงจะโทษใครไม่ได้ ปัญหาอยู่ที่ประเทศไทยเองได้แสดงให้ประชาคมโลกเห็นมาโดยตลอดว่า การเมืองภายในของตัวเองนั่นแหละที่เป็นอุปสรรคสำคัญที่ขวางกั้นกลไกระหว่างทวิภาคีทางด้านเขตแดนพิกลพิการ คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมประชุมกัน 3 ครั้งแล้วนับแต่เกิดข้อพิพาทเรื่องเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหารตั้งแต่ปี 2551 หลังจากที่กัมพูชาประสบความสำคัญในการขึ้นทะเบียนปราสาทขอมแห่งนี้เป็นมรดกโลก แม้ว่าจะมีข้อจำกัดด้วย กฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ซึ่งกำหนดว่าจะต้องเอากรอบการเจรจามาผ่านการพิจารณาของรัฐสภา แต่ในความเป็นจริงรัฐสภาก็ผ่านกรอบการเจรจาซึ่งเป็นกรอบใหญ่ไปแล้ว ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีเดียวกัน ทว่าจะเป็นด้วยเหตุผลกลใดยังไม่ทราบแน่ ที่กระทรวงการต่างประเทศจะต้องนำบันทึกการประชุมทั้ง 3 ครั้งนั้นมาเข้าสู่การพิจารณาของสภาอีกครั้ง โดยที่บทบัญญัติของกฎหมายในข้อนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่า มีความจำเป็นจะเอากลับมาพิจารณาอีกหรือไม่ มีความเป็นไปได้ 2 ทางว่าทำไมจะต้องเอากลับมาพิจารณากันให้เสียเวลา ประการแรก เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศไม่มีหลักปฏิบัติที่ชัดเจนนักว่า การใดบ้างที่ต้องการความเห็นของรัฐสภา แต่เหตุผลประการทีสองน่าจะสำคัญกว่า กล่าวคือ รัฐบาลเกรงใจพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นสปอนเซอร์หลักในการนำพาให้รัฐบาลนี้เข้าสู่อำนาจทางการเมือง และได้ทำการคัดค้านการเจรจาเรื่องเขตแดนกับกัมพูชาอย่างแข็งขันมาโดยตลอด รัฐบาลจึงได้เลือกเวทีรัฐสภาเพื่อผ่อนคลายแรงกดดันจากพันธมิตรฯ เมื่อเลือกเส้นทางนี้ผลของมันคือทำให้งานของเจบีซีล่าช้าออกไป ในระยะแรกๆนั้น รัฐบาลรีๆรอๆที่จะนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจาณาของสภาหลายต่อหลายครั้ง กรอบการเจรจาในลักษณะเดียวกันกับประเทศอื่นๆล้วนผ่านสภาไปได้โดยง่ายดาย แต่บันทึกการประชุม เจบีซี ไทย-กัมพูชา กลายเป็นยาขมหม้อใหญ่ของรัฐบาล และสุดท้ายเมื่อยอมเอาเข้าแล้วก็ไม่ยอมผ่านออกมาได้ในคราวเดียว หลังจากถูกแรงต้านทานจากการชุมนุมของคณะพันธมิตรฯ รัฐบาลก็ต้องซื้อเวลาต่อไปด้วยการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อศึกษาเอกสารดังกล่าว จากเดิมจะใช้เวลา 30 วันก็เลื่อนเป็น 90 วัน นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2553 เป็นต้นมา เรื่องที่ทำให้เจบีซี เสียเวลานั้นเกิดจากอวิชชาโดยแท้ เพราะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เอาเรื่องหลายเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกันมาผูกกันไว้ ทำให้ยุ่งยากในการแก้ปัญหา เรื่องที่ไม่เกี่ยวกับแต่ถูกผูกกันเอาไว้อย่างเหนียวแน่นคือ ปัญหาเส้นเขตแดนและการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ตามหลักของอนุสัญญายูเนสโก การขึ้นทะเบียนมรดกโลกในทรัพย์สินใดๆที่ตั้งอยู่คร่อมเส้นเขตแดนของสองประเทศหรือหลายประเทศ ไม่เป็นเหตุให้เสียสิทธิในเรื่องอำนาจอธิปไตยเหนือเขตแดน แต่อวิชชาของลัทธิชาตินิยมกลับทำให้ นายกรัฐมนตรีผู้น่าจะมีความคิดอ่านโปร่งใส ไม่สามารถทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้ จึงได้ดำเนินการคัดค้านแผนการบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของกัมพูชาตลอดมา แถมยังพูดให้ประชาชนไขว้เขวไปมากว่า การคัดค้านแผนการดังกล่าวจะทำให้ กัมพูชาไม่ประสบความสำเร็จในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ทั้งๆที่การขึ้นทะเบียนนั้นมีการประกาศก้องโลกมาสามปีแล้ว รัฐบาลอภิสิทธิ อ้างว่า แผนการบริหารจัดการของกัมพูชารุกล้ำพื้นที่ซึ่งไทยอ้างสิทธิอยู่ในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร แต่ข้อเท็จจริงคือ พื้นที่ส่วนพิพาทนั้นได้ถูกตัดออกตั้งแต่การประกาศขึ้นทะเบียนในปี 2551 แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคนก็พยายามพูดเรื่องนี้ให้คลุมเครือ เพื่อให้ประเทศไทยมีสิทธิในการคัดค้านแผนการดังกล่าว การนำข้อพิพาทเรื่องเขตแดนไปรบกวนมรดกโลกเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล อย่างไรเสีย คณะกรรมการมรดกโลกก็จะต้องพิจารณาแผนบริหารจัดการที่กัมพูชาเสนอไปในการประชุมเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ที่บาเรนห์ รัฐบาลอภิสิทธิ์จึงต้องเดินเกมที่แรงขึ้น ด้วยการขนกำลังทหารไปประชิดแนวชายแดนด้านนั้นเอาไว้ โดยเล็งเห็นผลอยู่แล้วว่า กัมพูชาจะตอบสนองด้วยการใช้กำลังทหารขึ้นมายันไว้เช่นกัน และ จะนำไปสู่การปะทะกันในที่สุด ผลแห่งการปะทะทำให้ทหารไทยเสียชีวิต 2 นาย พลเรือนบ้านภูมิซรอลเสียชีวิต 1 คน ทหารกัมพูชาเสียชีวิต 5 นาย พลเรือนของกัมพูชาเสียชีวิต 2 คน และนั่นเป็นโศกนาฎกรรมของสงคราม แต่ในทางการเมืองระหว่างประเทศ รัฐบาลอภิสิทธิจะอาศัยเหตุแห่งการปะทะนี้เพื่อชี้ให้ยูเนสโกและคณะกรรมการมรดกโลกเห็นว่า พื้นที่นี้ไม่สงบสุขพอที่จะมีมรดกโลกอยู่ได้ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ให้ถอดปราสาทพระวิหารออกไปจากบัญชีมรดกโลกเสียจะเป็นการสงบสุขกว่า รัฐบาลไทยป้องกันทุกวิถีทางไม่ให้ยูเนสโก ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจความเสียหายปราสาทพระวิหารจากการปะทะ โดยอ้างว่าพื้นที่โดยรอบซึ่งเป็นทางขึ้นนั้นอยู่ในอำนาจอธิปไตยของไทย และไทยจะไม่อนุญาตให้ผ่านเข้าไป ทั้งๆที่ในความเป็นจริง ทางขึ้นปราสาทพระวิหารมีหลายทางและบางเส้นทางนั้นไม่จำเป็นต้องผ่านพื้นที่พิพาทเลยแม้แต่น้อย เมื่อเป็นเช่นนี้ อภิสิทธิ์ จำต้องยืนกรานกระตายขาเดียวว่า จะถอนทหารออกจากพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารตามข้อเสนอของกัมพูชานั้นไม่ได้เด็ดขาด เพราะจะทำให้พื้นที่ตรงนั้น “สงบสุข และ มีสันติภาพ” ตามที่กัมพูชาต้องการ นี่นับเป็นจุดยืนทางการเมืองที่ไม่น่าเชื่อว่าเกิดขึ้นได้ในศตวรรษที่ 21 แต่จุดยืนแบบนี้แหละที่จะเข้าเนื้อและพันคอตัวเองในการเจรจาแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะที่อยู่ในเวทีระหว่างประเทศ หลักการสากลในการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งชายแดนคือ ต้องทำให้พื้นที่นั้นปลอดจากเหตุแห่งการปะทะ ซึ่งในที่นี้ก็คือกำลังทหารนั่นเอง ถ้าหากยังยืนยันว่าจะคงกำลังทหารเอาไว้ การแก้ไขปัญหาย่อมทำไม่ได้ เพราะกำลังทหารที่เผชิญหน้ากันอยู่นั้นย่อมเสี่ยงต่อ การปะทะกันอีก ประการสำคัญ การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนย่อมไม่อาจจะกระทำได้อีกเช่นกัน หากปรากฎว่าพื้นที่ดังกล่าวยังมีกองกำลังทหารอยู่ สิ่งที่รัฐบาลอภิสิทธิ์จะต้องเตรียมการป้องกันอีกประการหนึ่งในการคงกำลังทหารเอาไว้คือ ข้อกล่าวหาว่าเป็นประเทศผู้กระหายสงคราม นิยมความรุนแรง และขัดขวางกระบวนการสันติภาพ ในขณะที่กัมพูชากำลังจะเล่นบทผู้แสวงหาสันติภาพ ข้อเสนอถอนทหารเพื่อสร้างสันติภาพถาวรนั้นเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมจากชาวโลกมากกว่าในยุคสมัยปัจจุบัน แนวคิดที่ใช้กำลังทหารยันกันเพื่อรักษาสันติภาพนั้นเป็นแนวคิด ยุคสงครามเย็น ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ได้ผลและเสี่ยงมากเกินไป ที่สำคัญมันไม่ได้พาโลกพัฒนาไปทางไหนเลย หากแต่วนเวียนอยู่กับสงครามอย่างไม่มีวันจบสิ้น สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Posted: 12 Feb 2011 11:21 PM PST รักศรัทธาประชาชนผู้ทนทุกข์ รักสิทธิเสรียิ่งชีวิต รักความสงบงามตามระบอบ รักเคารพมนุษย์ประเสริฐผู้เลิศล้ำ รักคนมีหัวใจ สู้ไม่ถอย
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เสื้อแดงอ่านจดหมายปรับทุกข์จากคุกหน้าศาลอาญา ก่อนไปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย Posted: 12 Feb 2011 11:10 PM PST เวลาประมาณ 13.30 น. ที่หน้าศาลอาญา ถนนรัชดา แนวร่วมประชาชนต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือคนเสื้อแดงได้รวมตัวกันตามนัดหมาย โดยจำนวนคนได้ล้นออกมาจนปิดถนน ส่วนภายในศาลได้ปิดทางเข้าออกทุกประตูและมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอยู่โดยรอบ รายงานข่าวแจ้งว่ามีการอ่านจดหมายปรับทุกข์จากแกนนนำนปช.เรือนจำ โดยนายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ รักษาการโฆษก นปช. เนื้อหาระบุถึงข้อกังขาเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่ไม่เพียงพอต่อการตั้งข้อหาก่อการร้าย การสั่งฟ้องคดีอย่างรีบเร่งทั้งที่มีการยื่นจดหมายร้องขอความเป็นธรรมและต้องการยื่นบัญชีพยานเพิ่ม กระบวนการพิจารณาคดีมีการเลื่อนถึง 4 ครั้ง กินเวลา 5 เดือน นัดครั้งล่าสุดคือ 28 ก.พ.54 คดีจึงยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ได้รับสิทธิการประกันตัว แม้บางคนจะถูกแจ้งข้อกล่าวหาเบาและพยายามขอยื่นประกันตัวหลายครั้งแต่ก็ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นข้อเปรียบเทียบกับกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งมีคดีปิดสนามบิน ยึดสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีมากว่า 2 ปีแต่คดียังอยู่ชั้นตำรวจ และได้รับการประกันตัวทุกคน เมื่ออ่านจดหมายจบ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และนางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ได้เป็นตัวแทนวางดอกกุหลาบสีแดงบริเวณหน้าศาลอาญา จากนั้นเวลาประมาณ 14.00 น. จึงเริ่มเคลื่อนขบวนไปรวมกับผู้ชุมนุมอีกส่วนหนึ่งที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น