โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

นักข่าวพลเมือง: วันที่ 5 การธรรมยาตราตามหาความเป็นธรรม จากชุมชนบ่อแก้ว–กรุงเทพฯ

Posted: 07 Feb 2011 12:18 PM PST

วันที่ 7 ก.พ.2554

เครือข่ายผู้เดือดร้อนจากกรณีปัญหาพิพาทสวนป่าคอนสาร ชุมชนบ้านบ่อแก้ว จ.ชัยภูมิ ที่ได้ออกเดินทางไกลตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 พร้อมด้วยเครือข่ายผู้เดือดร้อนจากสวนป่าพิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี และกรณีพิพาทป่าดงใหญ่ บ้านโนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ที่ได้เดินทางมาสมทบที่ จ.นครราชสีมา เมื่อเย็นวานนี้
 
เวลา 8.00 น. ได้เคลื่อนขบวนเดินรณรงค์ออกจากหน้าศาลากลางจังหวัด ไปที่สำนักงานองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (นครราชสีมา) ตลอดเส้นทางได้เดินรณรงค์และมีการปราศรัยบอกกล่าวปัญหาที่เกิดขึ้นให้ชาวจังหวัดนครราชสีมาได้รับทราบ เมื่อเดินรณรงค์มาจนถึงหน้าสำนักงานองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้มีการตั้งเวทีปราศรัยให้ตัวแทนแต่ละพื้นที่มากล่าวถึงปัญหาและความรู้สึกที่มีต่อองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ปฺ.)
 
หลังจากนั้นก็เริ่มพิธีฌาปนกิจศพขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้โดยการจุดไฟเผาหุ่นฟาง และโลงศพเพื่อเป็นการสาปแช่งให้กับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ รวมทั้งมีการโห่ร้องแสดงความดีใจเพื่อเป็นการไว้อาลัยให้กับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ หลังจากเสร็จพิธีแล้วได้มีการแจ้งข้อเรียกร้อง 3 ข้อโดยนายไสว มาลัย ตัวแทนเครือข่ายผู้เดือดร้อน
 
หลังจากนั้นได้พักรับประทานอาหารกลางวัน และจะออกเดินทางมุ่งหน้าสู่จังหวัดสระบุรีในเวลา 13.30 น.ซึ่งมีพี่น้องเครือข่ายรอให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นและมีการพักค้างคืนที่ วัดทองพุ่มพวง จ.สระบุรี ในช่วงกลางคืนมีการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนกับพี่น้องเครือข่าย จ.สระบุรี ซึ่งในการนี้พี่น้องเครือข่าย จ.สระบุรีขอเป็นเจ้าภาพในการเลี้ยงอาหารเย็นต่อเครือข่ายผู้เดือดร้อนด้วย
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประเทศที่ปกครองโดย “ม็อบพันธมิตร”

Posted: 07 Feb 2011 11:59 AM PST

เราอยู่ในประเทศที่ปกครองโดยม็อบหรืออย่างไร ม็อบกดดันให้ทำรัฐประหาร ผู้มีอำนาจตัวจริงก็ทำ ม็อบขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อไรก็ได้ ม็อบกดดันให้รบกับประเทศเพื่อนบ้านรัฐบาลก็รบ

เมื่อวันก่อนผมเห็น พลตรีจำลอง ศรีเมือง ประกาศเกียรติภูมิของ “ม็อบมืออาชีพ” บนเวทีพันธมิตร ว่าออกมาสู้เมื่อไรก็ชนะทุกที มีสถิติชนะมาแล้ว 8 ครั้ง อาทิเช่น ล้มกฎหมายทำแท้งได้ แต่พลตรีจำลองคงไม่ตระหนักว่า ผลแห่งชัยชนะนั้น ทำให้ผู้หญิงอีกจำนวนเท่าใดที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ต้องทนทุกข์ทรมาน เสี่ยงชีวิตกับการทำแท้งเถื่อนอย่างไร้มาตรฐานความปลอดภัย ไร้ที่ปรึกษา ไม่มีระบบการดูแลที่ถูกต้อง ฯลฯ
 
หรือในชัยชนะที่ล้มรัฐบาลทักษิณ สมัคร และสมชายได้ แต่พลตรีจำลองและพันธมติรคงไม่เคยตระหนักว่า ผลแห่งชัยชนะนั้นเป็นการฉีกติกาประชาธิปไตย ทำลายหลักนิติรัฐ สร้างระบบสองมาตรฐานให้แข็งแกร่งเข้มข้นที่สุดในประวัติศาสตร์ ดึงสถาบันกษัตริย์มาเล่นการเมืองสร้างความแตกแยกไปทุกหย่อมหญ้า ทำลายความเป็นมนุษย์ของคนชนบทคนชั้นล่างอย่างยับเยิน!
 
เมื่อเช้านี้ผมเห็นพลตรีจำลอง และเหล่าพันธมิตรแถลงข่าวด้วยใบหน้ายิ้มระรื่น ดวงตาฉายแววของผู้ชนะ ประกาศจะเดินหน้ากดดันให้รัฐบาลพิจารณาตัวเอง ราวกับสะใจที่เกิดการปะทะตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาขึ้นสมเจตนารมณ์แล้ว พวกเขาไม่มีแววตาของความโศกเศร้าเจ็บปวดต่อการสูญเสียชีวิตทหารและชาวบ้านตามแนวชายแดนเลย
 
ไม่น่าเชื่อว่าสีหน้าแววตาของชายชราที่กินมังสวิรัติ แต่งชุดม่อฮ่อม อาบน้ำวันละ 5 ขัน ไม่นอนกับเมีย ถือศีล 8 อย่างเคร่งครัดมาอย่างยาวนาน จะไร้ซึ่งความวิตกกังวลต่อการสูญเสียของเพื่อนมนุษย์ทั้งที่เป็นเพื่อนร่วมชาติและประเทศเพื่อนบ้าน
 
มาตรฐานทางศีลธรรมที่เคร่งครัดกับตนเองจนตึงเครียดแบบสันติอโศกได้ถูกนำมาบีบเค้นคนอื่นๆ และสังคมให้เคร่งเครียดขัดแย้งอย่างเลือดเย็น พลตรีจำลองและพันธมิตรกำลังประกาศชัยชนะอีกครั้ง บนซากปรักหักพังของมิตรภาพระหว่างประเทศ บนการปะทะตามแนวชายแดนที่อาจนำไปสู่สงครามระหว่างประเทศ
 
นิ้วมือที่ชี้หน้าคนอื่นๆ ฝ่ายอื่นๆ ให้รับผิดชอบ พลตรีจำลองและพันธมิตรเคยหันกลับไปมองตนเองบ้างไหมว่า พวกเขาควรรับผิดชอบอะไรบ้าง พวกเขาประกาศชัยชนะแต่ละครั้งราวกับว่าได้สร้างคุณูปการอย่างใหญ่หลวงแก่ประเทศนี้
 
แล้วระบบประชาธิปไตยที่ล้มละลาย ระบบความยุติธรรมที่ล้มเหลว และความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชากำลังพังพินาศ เศรษฐกิจ การท่องเที่ยวย่อยยับ ชีวิตของทหารและประชาชนทั้งไทยและกัมพูชาต้องสูญเสียและต้องอยู่อย่างยากลำบากอีกยาวนาน ใครรับผิดชอบ!
 
ในสถานการณ์อันตรายเช่นนี้สื่อมวลชนยังเอาแต่เสนอข่าวตามสถานการณ์ นักวิชาการยังรักษา “ความเป็นกลาง” (???) ปล่อยให้พันธมิตร สันติอโศกทำอะไรได้สบายใจ ไม่ตั้งคำถาม ไม่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักแน่นพอ
 
เหมือนกับเหตุการณ์ปี 53 ที่สื่อต่างเสนอข่าวตามกระแส นักวิชาการต่างเคร่งครัดในความเป็นกลาง ไม่ตั้งคำถามอย่างจริงจังกับวาทกรรม “ขบวนการล้มเจ้า” “ผู้ก่อการร้าย” ฯลฯ ปล่อยให้รัฐบาลใช้วาทกรรมอำมหิตดังกล่าวสร้างความชอบธรรมในการล้อมปราบประชาชนอย่างหน้าตาเฉย
 
คราวนี้พันธมิตรกำลังใช้วาทกรรม “รักชาติ” จุดชนวนสงครามระหว่างประเทศ และพวกเราต่างนั่งดูกันตาปริบๆ พวกเขากำลังเล่นอะไรกันอยู่หรือ?
 
พันมิตร ประชาธิปัตย์ กองทัพ อำมาตย์ ต่างมี “ความกลัวร่วม” อย่างเดียวกัน คือกลัว “การเลือกตั้ง” กลัวการกลับมาของพรรคเพื่อไทยและทักษิณ พวกเขากลัวการถูกเช็คบิลจนขี้ขึ้นสมอง ทั้งที่จริงแล้วพรรคการเมืองของคนเสื้อแดงอ่อนแอมาก ยากที่จะได้เสียงข้างมากอย่างการเลือกตั้งคราวที่แล้ว
 
แต่พวกเขาก็ต้องการความมั่นใจ และไม่มีอะไรจะปลอดภัยสำหรับพวกเขาเท่ากับทำอย่างไรก็ได้ให้อำนาจรัฐยังคงอยู่ในมือของฝ่ายอำมาตย์ แต่คิดไม่ถึงว่าพวกเขาจะทำเช่นนี้ได้แม้ด้วยการนำพาประเทศเข้าสู่ภาวะสงคราม!
 
แน่นอนว่า 7 คนไทยที่ถูกเขมรจับ ย่อมไม่ใช่เรื่องบังเอิญ นายชัยวัฒน์ สินธุ์สุวงศ์ ถูกจับ (พอเป็นพิธี) และออกมาแถลงข่าวว่าไปเจรจากับแกนนำเสื้อแดงในคุกเพื่อขอกำลังคนเสื้อแดงล้อมทำเนียบฯ ก็ไม่น่าจะใช่เรื่องบังเอิญ และแม้แต่การเกิดปะทะระหว่างไทย-กัมพูชา ก็ยากที่จะเข้าใจได้ว่าเป็นเพียง “อุบัติเหตุ”
 
ถามว่า พันธมิตร-กองทัพ-อำมาตย์-ประชาธิปัตย์ กำลังเล่นอะไรกันอยู่ พวกเขาจะประกาศชัยชนะบนซากปรักหักพังของประเทศกันอีกกี่ครั้ง จะให้พวกเขาสอนบทเรียนอีกกี่บทเรียน สังคมไทย (โดยเฉพาะชนชั้นกลางในเมือง) จึงจะเกิดการเรียนรู้?!
 
พลังถ่วงดุลอำนาจม็อบพันธมิตร-กองทัพ-อำมาตย์ –ประชาธิปัตย์ หายไปไหน สื่อ นักวิชาการ ปัญญาชนที่เอาแต่ตรวจสอบและตัดสินคนต่างจังหวัดคนชนบท ยังหลับใหลไม่ยอมตื่น
 
ฤาพวกเขายินยอมให้ประเทศนี้ปกครองโดย “ม็อบพันธมิตร” อย่างสมบูรณ์แล้ว!  
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประเทศไทยโชคดีที่มี...

Posted: 07 Feb 2011 11:54 AM PST

 
ท่ามกลางควันปืนและลูกระเบิดที่คละคลุ้งบริเวณชายแดนไทยกัมพูชา ภาพของการอพยพหนีตายของพี่น้องไทยและกัมพูชาได้เผยแพร่ไปทั่วประเทศทั้งสอง ทั้งในรูปแบบของการรายงานตามข้อเท็จจริง และรูปแบบของการปลุกกระแสแห่งความรักชาติให้พลุ่งพล่านว่า หนอยแน่ะเอ็งเป็นประเทศเล็กกระจ้อยร่อยบังอาจหาญกล้ามาราวีกับประเทศใหญ่กว่าอย่างข้า ในทำนองกลับกันทหารไทยที่ไม่เคยรบชนะใครเลยตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นต้นมา นอกจากชนะประชาชนของตัวเอง บังอาจมารบกับประเทศของข้าที่รบชนะมาหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอเมริกาหรือคอมมิวนิสต์ใหญ่ทั้งหลาย อย่ากระนั้นเลยต้องสั่งสอนเสียให้เข็ด
 
ในทำนองกลับกันฝ่ายกัมพูชาก็ปลุกระดมให้เห็นถึงการเอารัดเอาเปรียบของพี่ไทยตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันว่าบรรดาปราสาททั้งหลายมันก็ชัดๆ อยู่แล้วว่าเป็นปราสาทขอม ยังจะมีหน้ามาฮุบเอาของเราอีก ขนาดศาลโลกตัดสินแล้วยังตะแบงว่าตัดสินให้เฉพาะตัวปราสาทพระวิหารแต่ไม่ให้พื้นดินที่อยู่ข้างใต้ มิหนำซ้ำจอมพลสฤษดิ์ยังดันมาทำรั้วกั้นที่เอาตามอำเภอใจเสียอีก อย่ากระนั้นเลยต้องรบกับพี่ไทยเสียให้รู้เรื่องเสียที จะได้มีเรื่องมีราวไปถึงศาลโลกและสหประชาชาติ ซึ่งเขมรมั่นใจว่าชนะแหงๆ และยังเป็นโอกาสอันดีที่จะได้เปิดตัวทายาททางการเมืองของสมเด็จอัครมหาเสนาบดี ฮุน เซ็น คือ บุตรชายสุดรักที่ชื่อว่า พลจัตวาฮุน มาเน็ต ให้พี่น้องชาวกัมพูชาคุ้นชินเป็นเบื้องต้น
 
ในบรรดาความโง่ของมนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีความโง่ใดใดที่จะเทียบเท่ากับการที่เข้าห้ำหั่นเอาชีวิตมนุษย์ด้วยกันเพียงเพื่อกองหินเก่าๆ กับพื้นดินที่ไร้ค่าโดยอ้างว่าเพื่อปกป้องอธิปไตย โดยการเอาเลือดทาแผ่นดินเพื่อสนองตัณหาของผู้บริหารประเทศที่โง่เง่าและไม่รู้จักพอของทั้งสองฝ่าย ที่ดีแต่ปากให้สัมภาษณ์ว่ากันไปว่ากันมา ออกแถลงการณ์โต้กันไปโต้กันมาจากในห้องแอร์ โดยมีพี่น้องร่วมชาติทั้งสองชาติต้องเป็นผู้รับเคราะห์กรรม
 
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ผมมานึกทบทวนว่าการศึกสงครามนั้นมันเกิดขึ้นได้เสมอเมื่อ มีความขัดแย้งเกิดขึ้น แต่แน่นอนว่ามันก็ย่อมป้องกันที่จะไม่ให้มีการเกิดขึ้นได้เสมอเช่นกัน ในส่วนของกัมพูชานั้นผมคงงดเว้นที่จะไปวิพากษ์วิจารณ์เพราะดีไม่ดีจะเข้าข่ายติชมอริราชศัตรูผิดอาญาแผ่นดินเข้าจะเดือดร้อนกันไปเปล่าๆ แต่ที่แน่ๆ ก็คือคนที่สามารถสั่งให้คนไปตายด้วยการรบกัน เพื่อสนองตัณหาทางการเมืองของตนได้นั้น ย่อมไม่ใช่คนดีอย่างแน่นอน
 
หันมาพิจารณาในฝ่ายพี่ไทยเรา (ก็ไม่รู้ว่าได้รับการยกให้เป็นพี่ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ที่แน่ๆ ประเทศเพื่อนบ้านเราไม่มีประเทศไหนชอบเราสักประเทศ) แล้วพบว่า จากเหตุการณ์ในช่วงที่ผ่านมาจนเกิดเหตุลุกลามใหญ่โตเป็นสงคราม ผู้คนอพยพหนีตายกันจ้าละหวั่นยิ่งกว่าครั้งใดใดตั้งแต่สงครามโลกเกิดขึ้นมาแล้วจะพบว่า ประเทศเรานั้นโชคดีจริงๆ ที่มีสิ่งต่างๆ เหล่านี้
 
๑) ประเทศไทยโชคดีที่มีอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะเป็นนายกที่มีความรู้ การศึกษา ชาติตระกูลดี มีอำนาจพิเศษหนุนหลัง ไม่ว่าจะเป็นจากกองทัพ (ตอนนี้ชักไม่แน่ใจ) ไม่ว่าจะเป็นผู้มากบารมีทั้งหลายเพราะกระชับพื้นที่จนคนตายไป ๙๑ ศพ ยังอยู่รอดปลอดภัย ไม่มีใครสามารถเอาความได้
 
แต่ประเทศไทยก็โชคไม่ดีเช่นกันที่มีอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะไม่มีการตัดสินใจที่เด็ดขาด มีแต่ความโลเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนโยบายการต่างประเทศกับกัมพูชา แข็งก็ไม่แข็งจริง อ่อนก็ไม่อ่อนจริง จนผู้นำกัมพูชาจับไต๋ได้ถูกว่าอย่างไรเสียหากมีการสู้รบเกิดขึ้นนายกอภิสิทธิ์คงจะออกอาการแหยเสียเป็นแน่ ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ ถ้อยคำที่ดุดันดันแข็งกร้าวให้เอาธงลง ตอนก่อนปะทะกัน ฯลฯ ไม่มีให้เห็น ไม่ได้แม้สักเสี้ยวหนึ่งของวินสตัน เชอร์ชิลอดีตผู้นำของประเทศที่ตนเองกำเนิดและไปร่ำเรียนมา กลายเป็นใบ้ไปเสียเฉยๆ ซะอย่างนั้น
 
๒) ประเทศไทยโชคดีที่มีรัฐมนตรีการต่างประเทศที่มีประสบการณ์ในทางการทูตมาอย่างยาวนานชื่อ กษิต ภิรมย์ รู้ทางหนีทีไล่ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ มิหนำซ้ำยังเป็นสหายของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เข้มแข็งจนถึงกับเคยขึ้นเวทีของพันธมิตรฯ มาแล้วถึงกับออกปากชมการชุมนุมว่า “อาหารดี ดนตรีเพราะ” จนได้รับการส่งเข้าประกวดจากพันธมิตรฯ ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่ามีกองหนุนที่แน่นปึ๊ก (แต่ตอนนี้ด่ากันแล้ว)
 
แต่ประเทศไทยก็โชคไม่ดีเช่นกันที่มีรัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศที่ชื่อกษิต ภิรมย์ เพราะเคยปราศรัยด่าฮุน เซ็น ว่าเป็นกุ๊ย แต่ก็ต้องไปเจรจาความเมืองกับประเทศที่มีผู้นำที่ถูกตนเองด่าว่าเป็นกุ๊ย แล้วจะไปเหลืออะไร เพราะแม้แต่กำลังเจรจาอยู่กับเขาในประเทศเขาเองแท้ๆ เขายังสั่งยิงทหารไทยที่ชายแดนเลย ออกจากประเทศเขากลับมาได้ก็บุญแล้ว
 
๓) ประเทศไทยโชคดีที่มีสมณะและฆราวาสผู้ทรงศีลสนับสนุนการชุมนุมของประชาชน ทั้ง (เคย) สนับสนุนและต่อต้านรัฐบาล การชุมนุมจึงเป็นไปด้วยน่าเลื่อมใสเพราะเป็นการชุมนุมของผู้ทรงศีล ความคิดเห็นและการแสดงออกต่างๆ จึงน่าจะเป็นไปอย่างสร้างสรรค์
 
แต่ประเทศไทยก็โชคไม่ดีที่ผู้ทรงศีลเหล่านั้นกลับสนับสนุนให้ยึดติดกับเศษหินเก่าๆ พื้นที่ดินเล็กๆ ที่ไร้ประโยชน์ โดยสนับสนุนให้มีการใช้กำลังทหารเข้าต่อสู้ฟาดฟันกัน เปิดดูตำราพุทธศาสนาเล่มไหนก็ไม่เห็นมีว่าให้พุทธศาสนิกรบกันเพื่อแย่งชิงสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า การดำเนินของกลุ่มนี้มีผลผลักดันให้รัฐบาลอภิสิทธิดำเนินการในหลายมาตรการ เช่น การจะให้เอาธงกัมพูชาลงและจนถึงที่สุดจนถึงกับจะรื้อวัดแก้วเสียด้วยซ้ำไป (ไม่รู้คิดได้อย่างไร)
 
๔) ประเทศไทยโชคดีที่มีผู้บัญชาการทหารบกคือพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ที่ได้ชื่อว่าเป็นทหารอาชีพ ไม่เคยได้ยินถึงการแสดงความเห็นทางการเมือง (ซึ่งก็ถูกต้องแล้ว) มีบุคลิกที่เข้มแข็งดุดันจนได้ฉายาว่าสฤษดิ์น้อย ซึ่งยังเป็นที่ถวิลหาของพวกอำนาจนิยมทั้งหลายที่ยังกล่าวถึงจอมพลสฤษดิ์อยู่เสมอ เมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบหรือเกิดเพลิงไหม้
 
แต่ประเทศไทยก็โชคไม่ดีที่ผู้บัญชาการทหารบกคนนี้เข้มแข็งและดุดันเฉพาะกับนักข่าว ถึงกับชี้หน้าอยู่เป็นประจำเมื่อถูกถามถึงการรัฐประหาร ไม่ได้เข้มแข็งดุดันให้ทหารเขมรได้กลัวเกรงถึงแสนยานุภาพของทหารไทยที่เขมรจะต้องคิดหนักเมื่อจะต้องรบกับไทยเลย มิหนำซ้ำยังแสดงอาการหลุดให้เห็นบ่อยๆ เมื่อมีการให้สัมภาษณ์ ไม่ให้สัมภาษณ์บ้างก็ได้นะครับ เสียบุคลิกโหม้ด
 
อย่างไรก็ตามไม่ว่าไทยกับกัมพูชาจะรบหรือไม่รบกันจนผู้คนตายกันเป็นเบือก็ตาม สุดท้ายก็ต้องจบลงที่การเจรจา แต่ผลของการเจรจานั้นย่อมขึ้นอยู่ที่ฝ่ายใดเป็นผู้มีอำนาจในการต่อรองที่เหนือกว่า หากเรายังมีผู้ที่เกี่ยวข้องดังสี่ประการข้างต้นที่กล่าวมาแล้ว ก็อย่าหวังว่าเราจะเป็นฝ่ายที่มีอำนาจต่อรองที่เหนือกว่าเลย แค่ศึกภายในยังเอาไม่อยู่แล้ว ศึกนอกที่ใหญ่โตกว่าเช่นนี้ ก็เป็นอันสิ้นหวังครับ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ก่อตั้งเครือข่ายอุดมศึกษาเพื่อสันติศึกษาและบทบาทในการเสริมสร้างสันติภาพ

Posted: 07 Feb 2011 09:59 AM PST

วันที่ 7 ก.พ.2554 เวลา 9.00-16.00 น. ณ.ห้องประชุมสารนิเทศ ชั้น 2 หอประชุมใหญ่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการประชุมเขิงปฎิบัติการ “การส่งเสริมวิชาสันติศึกษาอุดมศึกษา” โดย ศูนย์ศึกษาความขัดแย้งและสันติภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันอัสลาม มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และเครือข่ายผู้สนใจทางด้านสันติวิธี

ผศ.ดร. ม.ร.ว. กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวเปิดงานสัมมนาว่า สภาพการณ์หลายประการในสังคมไทยในระดับต่างๆ ที่ทำให้เกิดความสนใจตรงกัน และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องหันมาสนใจเรื่องปัญหาความรุนแรงและการสร้างสันติภาพในสังคม
 
ดังนั้น การประชุมในวันนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่แสดงถึงความเห็นพ้องต้องกัน อย่างลึกซึ้งและจริงจังยิ่งของทุกฝ่ายที่ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องสร้างภาคีร่วมกันเกี่ยวกับการส่งเสริมวิชาสันติศึกษาระดับอุดมศึกษาต่อไป
 
ส่วนทางด้าน รศ.ดร.มารค ตามไท ได้กล่าวถึงความจำเป็นโดยเน้นมิติที่มหาวิทยาลัยต้องช่วยกันปรับบทบาทให้สามารถรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ด้วยการเปิดวิชาสอนที่ตอบปัญหาความเดือดร้อนที่สังคมเผชิญและด้วยการเข้าร่วมปฏิบัติการแก้ไขปัญหากับชุมชนและสังคม
 
โดยการประชุมสรุป ที่จะมีการจัดงานใหญ่ในช่วงวันที่ 18-19 เดือนเมษายน ศกนี้ อย่างไรก็ตามนักวิชาการอย่าง ศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.มารค ตามไท มหาวิทยาลัยพายัพ รองศาสตราจารย์ ดร.สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนม พลเอก.เอกชัย ศรีวิลาส ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาลสถาบันพระปกเกล้า ศิริชัย สาครรัตนกุล กรรมการอำนวยการนโยบาย ทีวีไทย รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยยันต์ รัชกูล มหาวิทยาลัยพายัพ ดร.ชาญชัย ชัยโกศล มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ซากีย์ พิทักษ์คุมพล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอาจารย์กริยา หลังปูเต๊ะ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ฯลฯ
 
โดยจะร่วมมือในการประสานงานข้างต้นเพื่อที่เตรียมงานข้างต้น ซึ่งหลักการประชุมในการจัดงานข้างต้น ได้มุ่งเน้นให้เห็นสันติศึกษาในสถาบันการศึกษาของไทยและนานาชาติ และบทบาทของมหาวิทยาลัยที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง จุดเด่นที่สำคัญอย่างยิ่งของงานที่กำลังจะจัดขึ้นก็คือ บทสะท้อนของการใช้สันติวิธีในการแก้ไขปัญหาทางด้านสังคมไทยที่เกิดความขัดแย้ง ความรุนแรง จากประสบการณ์คนธรรมดา ชุมชน พื้นที่ความรุนแรง หน่วยงาน สถาบันต่างๆ ที่ได้นำหลักการสันติวิธีในการแก้ไขปัญหาว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวอย่างไร

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ร้องปลัดแรงงานช่วยแรงงานพม่าถูกล่ามโซ่ ชี้ระบบจัดการแรงงานข้ามชาติเหลว

Posted: 07 Feb 2011 09:59 AM PST

 

เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 54 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย และมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ยื่นหนังสือต่อ นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้ นายชาลี หรือ ชาลี ดิยู แรงงานพม่าที่ถูกล่ามโซ่ติดกับเตียงโรงพยาบาลโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หลังเข้ารับการรักษาเพราะบาดเจ็บจากการทำงาน

โดยหนังสือดังกล่าว ระบุด้วยว่า การที่แรงงานข้ามชาติซึ่งประสบอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บจากการทำงาน ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทน ถูกนายจ้างทิ้งอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้รับความเป็นธรรมจากระบบการจัดการแรงงานข้ามชาติ สะท้อนถึงความล้มเหลวของระบบกองทุนเงินทดเเทน เเละระบบจัดการเเรงงานข้ามชาติในประเทศไทย

โดย นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังรับหนังสือร้องเรียนว่า ในส่วนของปัญหาการรักษาพยาบาลของแรงงานข้ามชาติที่ประสบอันตรายขณะทำงานนั้น สิทธิที่แรงงานที่ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง น่าจะต้องครอบคลุมถึงการเจ็บป่วยระหว่างการทำงานด้วย

อย่างไรก็ตาม แรงงานข้ามชาติที่อยู่ในประเทศไทย แม้จะถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ก็ควรได้รับการปฏิบัติโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน ทั้งการดูแล เยียวยา และการจ่ายค่าชดเชยหากเกิดการเจ็บป่วย ซึ่งตนจะนำเรื่องไปหารือกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อหาทางออกอีกครั้ง

สำหรับการต่อใบอนุญาตทำงานให้นายชาลี เนื่องจากประสบอุบัติเหตุก่อนใบอนุญาตการทำงานหมดอายุ จนไม่สามารถมาต่อใบอนุญาตได้นั้น คาดว่าใน 2 วันนี้จะสามารถดำเนินการได้ เนื่องจากนายชาลีได้มีการยื่นขอต่อใบอนุญาตก่อนประสบอุบัติเหตุ โดยได้มอบหมายให้กรมการจัดหางานเป็นผู้ดำเนินการ


แถลงการณ์

นายชาลี แรงงานพม่าที่ถูกล่ามโซ่ติดกับเตียงโรงพยาบาลโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หลังเข้ารับการรักษาเพราะบาดเจ็บจากการทำงาน เตรียมร้องขอความเป็นธรรมจากกองทุนเงินทดแทน หลังองค์กรสิทธิมนุษยชนเรียกร้องจนสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองยอมปลดโซ่ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) สมาพันธ์รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย (WEPT) และมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ชี้ระบบรับมือเเรงงานข้ามชาติประสบอุบัติเหตุล้มเหลว ทำให้เกือบถูกผลักดันออกนอกประเทศทั้งที่ป่วยหนัก เพราะไม่มีการประสานงานจ่ายค่ารักษากับโรงพยาบาล พร้อมผลักดันเป็นกรณีศึกษา หลังเกิดแรงงานข้ามชาติที่เกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บจากการทำงาน ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทน ถูกนายจ้างทิ้งอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้รับความเป็นธรรมจากระบบการจัดการแรงงานข้ามชาติ มสพ. เตรียมร้องให้กองทุนเงินทดแทนจ่ายค่ารักษาเเละค่าทดเเทนกรณีอุบัติเหตุให้นายชาลี

​สืบเนื่องจากกรณีนายชาลี หรือชาลี ดิยู แรงงานข้ามชาติ อายุ 28 ปี ประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2554 ระหว่างนายจ้างพาไปรับจ้างก่อปูน กับบริษัท เอ็นเอสยู ซัปพลาย จำกัด ที่รับเหมาต่อเติมอาคารที่ ต. คูคต อ. ลำลูกกา จ. ปทุมธานี ระหว่างทำงานผนังคอนกรีตพังลงมาทับตัว จนสะโพกด้านซ้ายหัก อวัยวะในช่องท้องได้รับบาดเจ็บรุนแรง ลำไส้ใหญ่แตก กระเพาะปัสสาวะช้ำ ปัสสาวะเป็นเลือด ต้องผ่าตัดระบายอุจจาระทางหน้าท้องชั่วคราว ภายหลังนายชาลีถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวส่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554 เนื่องจากโรงพยาบาลเเจ้งตำรวจ เพราะใบอนุญาตทำงานหมดอายุลง วันที่ 20 มกราคม 2554 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวนายชาลีส่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเตรียมผลักดันออกนอกประเทศ เจ้าหน้าที่ของ มสพ. จึงร้องเรียนจนมีการส่งตัวนายชาลี เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 โดยในช่วง 4 วันแรก นายชาลีถูกล่ามโซ่ติดกับเตียง มสพ. จึงร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เนื่องจากการล่ามผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เป็นการผิดระเบียบของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จนสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง มีคำสั่งปลดโซ่ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 ทั้งนี้ นายชาลีกล่าวว่า ยังรู้สึกกังวลเรื่องการต่อใบอนุญาตทำงาน และเรื่องการเรียกร้องเงินทดแทนกรณีอุบัติเหตุจากการทำงาน โดยจะมอบหมายให้ มสพ. ดำเนินการเรียกร้องได้รับการเยียวยาความเสียหายจากการบาดเจ็บจากการทำงานภายใต้พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ต่อไป

อนึ่งกระทรวงเเรงงานเเจ้งว่าจะต่อใบอนุญาตทำงาน เพราะมีการขยายกำหนดเวลาต่อใบอนุญาตทำงานอีกครั้งจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 จากการลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง สามารถยืนยันได้ว่า นายชาลีมีใบอนุญาตทำงาน ที่หมดอายุเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2554 และไม่ได้ต่ออายุใบอนุญาตทำงานด้วยเหตุสุดวิสัย

​แม้นายชาลี จะได้รับการปลดโซ่แล้ว แต่ปัญหาในการจัดการแรงงานข้ามชาติที่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงานทั้งระบบ ยังไม่ได้รับการแก้ไข องค์กรสิทธิมนุษยชนเเละสิทธิเเรงงานดังรายนามข้างต้นมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว เนื่องจากเกิดขึ้นเป็นประจำ เเละเเรงงานข้ามชาติที่ประสบอุบัติมักถูกผลักดันออกนอกประเทศ เมื่อนายจ้างทอดทิ้ง การเรียกร้องความเสียหายตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 มักประสบปัญหานายจ้างหลบหนี นายจ้างไม่ยอมนำส่งเงินสมทบ เนื่องจากรัฐบาลไทยยังมิได้แก้ไขปัญหาที่ทำให้แรงงานข้ามชาติไม่สามารถรับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดเเทนเเละโรงพยาบาลจะไม่ได้รับค่ารักษาจากกองทุนเงินทดเเทนเมื่อเเรงงานข้ามชาติไปรักษากรณีอุบัติเหตุจากการทำงาน แม้ว่าจะได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน องค์การแรงงานระหว่างประเทศ และผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนสำหรับแรงงานข้ามชาติ องค์การสหประชาชาติหลายครั้ง ตั้งแต่พ.ศ. 2550 การติดตามเอกสารของแรงงานที่ขึ้นทะเบียน โดยกระทรวงแรงงานยังล่าช้า และไม่มีประสิทธิภาพ

ในกรณีนายชาลี ยังพบว่า เมื่อแรงงานข้ามชาติไม่ได้รับสิทธิการรักษาในระบบกองทุนเงินทดเเทน และหลักประกันสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ ไม่คุ้มครองกรณีอุบัติเหตุจากการทำงาน ทำให้โรงพยาบาลมีความลังเลเรื่องค่ารักษาพยาบาล การที่นายชาลีถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัว และล่ามโซ่ ทั้งที่ป่วยหนัก ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ แสดงให้เห็นว่า ระบบการจัดการแรงงานข้ามชาติ ทั้งระบบสาธารณสุข การตรวจคนเข้าเมือง ระบบกองทุนเงินทดแทน และเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วน ยังไม่คำนึงถึงหลักกฎหมาย สิทธิมนุษยชน และ คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของแรงงานข้ามชาติอีกด้วย

บางส่วนจากสำนักข่าวไทย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“สนธิ” ยุกองทัพบุกยึด “นครวัด” แลก “ปราสาทพระวิหาร”

Posted: 07 Feb 2011 09:41 AM PST

“สนธิ ลิ้มทองกุล” แนะปฏิบัติการทางทหารต้องทำให้ได้เปรียบก่อนเจรจา พร้อมยุกองทัพผลักดันทหารกัมพูชา ยึดเสียมราฐ-พระตระบอง-นครวัด ล้อมเกาะกง เพื่อนำมาแลกกับปราสาทพระวิหาร ลั่น พธม.ผิดตรงไหนสู้ไม่ให้เสียดินแดน ไม่ได้ชุมนุมให้ทักษิณกลับบ้าน - หมอเหวงได้ประกันตัว

 
สนธิปัดไม่ได้ร่วมวงรัฐประหาร แต่ถ้าได้นั่ง “วอร์รูม” จะแนะวิธีจัดการคางคก
เมื่อเวลา 20.50 น. คืนวานนี้ (7 ก.พ.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ขึ้นเวทีปราศรัยที่สะพานมัฆวานฯ กล่าวถึงกรณีที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำคนเสื้อแดง และ ส.ส.สัดส่วนพรรคเพื่อไทย อ้างว่า นายสนธิเป็นหนึ่งในผู้ที่ร่วมวางแผนการทำรัฐประหาร โดยนายสนธิ ตอบโต้ว่าไม่รู้จะพูดยังไง เพราะไม่เคยฟังคนที่ไม่ใช่มนุษย์พูด เรื่องนี้ไม่มีพื้นฐานอะไรที่เป็นความจริงแม้แต่นิดเดียว เพราะทุกวันตนเดินทางจากบ้านมาที่เวที และจากเวทีไปที่บ้าน แล้วก็มีตำรวจสันติบาลที่ติดตามอยู่ก็น่าจะรู้ เพราะดักฟังติดตามอยู่ตลอด เพราะฉะนั้นอย่าไปฟัง เสียใจแต่ว่า เขาไม่จัดการเสียที ถ้าให้ตนเข้าไป จะกวาดล้างให้ดูว่าวิธีจัดการกับคางคกเขาทำกันอย่างไร
 
 
สาเหตุที่ทหารไทยไม่เด็ดขาด เพราะบางคนมีโควตาส่งน้ำมันเขมร
นายสนธิกล่าวต่อว่า สาเหตุที่ไทยกับกัมพูชาต้องรบกันทำให้ทหารไทยต้องตายในวันนี้ เป็นเพราะเจ้านายมีผลประโยชน์ ทำให้การตัดสินใจไม่เด็ดขาด ทหารบางคนมีโควตาส่งออกน้ำมันไปเขมรเดือนละ 5-6 หมื่นลิตร บางคนก็มีเมียส่งมาม่า น้ำตาล ข้าวของ ไปขายที่ชานแดน บางคนก็มีลูกน้องค้าขาย ทหารพวกนี้เห็นแก่ประโยชน์เล็กน้อยโดยเอาชาติไปแลก โดยที่ผู้บริหารบ้านเมืองก็มองไม่เห็น
 
นายสนธิกล่าวอีกว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีนั้นไม่ได้ขี้ขลาด เป็นคนกล้า แต่กล้าที่จะหลอกประชาชน และโกหกได้ทุกวัน กล้าทำร้าย 7 คนไทยที่อยู่บนแผ่นดินไทย และกล้าทำร้ายอีก 2 คนที่เหลือ คนไทยที่บุกรุกดินแดนเขมรมีแต่ไอกี้ร์ (นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง) เท่านั้น ทำไมไม่จับไปขึ้นศาล
 
 
ยุให้กองทัพยึดนครวัด ล้อมเกาะกงเพื่อนำมาแลกกับปราสาทพระวิหาร
นายสนธิ กล่าวว่า ถ้าเรามีนายกฯ ที่เข้มแข็ง เมื่อมีการทำสงคราม ก่อนจะเจรจาเราต้องทำให้เราได้เปรียบก่อน แค่นี้นายกฯ ก็คิดไม่เป็น เราทำนายล่วงหน้าแล้วว่าจะเกิดสงครามยืดเยื้อ และมีแนวโน้มรุนแรงต่อไป เพราะนายฮุนเซนให้ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนอายุ 33 ปี มาบัญชาการรบ
 
นายกฯ คนนี้พูดมาตลอดว่าจะว่ายึดหลักสันปันน้ำ แต่ปล่อยให้เขมรใช้แผนที่ 1 ต่อ 2 แสนตลอด นี่คืนายกฯ ที่อ่อนแอ ถ้าเข้มแข็ง ต้องสั่งกอทัพผลักดันทหารเขมรที่อยู่ในเขตไทยออกไป ถ้ายังประจันหน้ากันอยู่ก็ให้อยู่อย่างนั้นก่อน แต่ถ้ายิงกันแบบนี้ต้องถือโอกาสยึดความได้เปรียบก่อนการนั่งโต๊ะเจรจา และให้โอกาสกองทัพอากาศได้แสดงแสนยานุภาพ ถ้าอย่างนี้ นายฮุนเซนต้องเรียกลูกชายกลับ และถ้าเรารุก เขมรคงจะฟ้องไปทั่วโลก แต่มันยิ่งฟ้องเรายิ่งรุก ยึดไปถึงพระตะบอง เสียมราฐ ยึดนครวัดไปเลย ส่วนกองทัพเรือก็เอาไปล้มเกาะกงเลย แนวคิดแบบนี้นักวิชาการกลุ่มหนึ่งจะหาว่าเราคลั่งชาติ แต่ถ้าบรรพบุรุษของเราไม่ใช่วิธีคิดแบบนี้ ก็คงไม่มีนักวิชาการพวกนี้มานั่งสุมหัวกัน
 
เมื่อเรายึดได้แล้ว พอมานั่งโต๊ะเจรจา จีนในฐานะพี่เบิ้มและอาเซียนก็มาเป็นตัวกลางเจรจา เราก็ถือโอกาส เอาเสียมราฐ ศรีโสภณ พระตะบอง ไปต่อรองให้เขมรคืนปราสาทพระวิหารและยกเลิกแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ให้ใช้สันปันน้ำแทน ไม่งั้นเราจะไม่คืนเสียมราฐ หรือนครวัตให้
 
 
ลั่นต้องทำให้ได้เปรียบก่อนเจรจา ชี้กัมพูชาไม่มีเรือรบ
นายสนธิ กล่าวว่า ในปฏิบัติการทางทหารนั้น อย่าเอาวิธีการแบบการทูตไปใช้ เราต้องทำให้เราได้เปรียบที่สุดก่อนการเจรจา เราไม่ได้รบกับจีนหรือเวียดนาม แต่รบกับเขมร ที่ไม่มีเรือรบสักลำ ในเมื่อเรามีแสนยานุภาพเหนือกว่า ถึงเวลาจำเป็นต้องใช้ เราก็ต้องใช้
 
ใครที่ว่าเราคลั่งสงคราม พี่น้องที่นั่งอยู่ในนี้ ไม่มีใครอยากให้ลูกหลานของตัวเองต้องไปตาย แต่คนเราถ้าตายหนักอย่างขุนเขา ตายเพื่อปกป้องแผ่นดินก็คุ้มที่จะตาย ปัญหาของเรา เรามีทหาร 3 แสนนาย อาวุธยุทโธปกรณ์มากกว่าเขมร แต่ขาดที่ใจเราไม่มี เพราะว่าผู้ใหญ่ในกองทัพ ไปรับใช้นักการเมืองชั่วๆ วันนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ไม่ใช่ทหาร แต่เป็นนักการเมือง พุดอะไรก็มีผลประโยชน์ทางการเมืองมาแทรก
 
 
ลั่น พธม. ผิดตรงไหน เพราะสู้ไม่ให้เสียดินแดน ไม่ได้ชุมนุมให้หมอเหวงได้ประกันตัว
นายสนธิ กล่าวต่อว่า ทหารต้องเอาชาติ-ราชบัลลังก์เป็นหลัก ไม่ใช่เอา พล.อ.ประวิตรเป็นหลัก เพราะไม่มีอะไรสำคัญกว่าชาติและในหลวงกับพระราชินีอีกแล้ว ถ้าทหารอ่อนแอ เพราะมีทหารนักการเมืองมาคุม แล้วแอบคุยกับนายฮุนเซน ทหารพวกนี้เป็นอันตรายต่อชาติและราชบัลลังก์ ไม่ต่างจากพวกซ้ายจัดที่คิดล้มราชบัลลังก์ เพราะถ้าคนพวกนี้สมคบกับเขมร ทำลายเกียรติยศของทหาร ยกดินแดนให้เขมร ก็อันตรายต่อราชบัลลังเหมือนกัน
 
“เรามาชุมนุมที่นี่ไม่ได้เรียกร้องให้ทักษิณ ชินวัตร กลับประเทศ ไม่ใช่ให้หมอเหวงได้ประกันตัว แต่เรามาเพื่อปกป้องไม่ให้ประเทศเสียดินแดน แล้วพี่น้องที่รักชาติรักแผ่นดินมาสู้ไม่ให้เสียดินแดนมันผิดตรงไหน แล้วนักการเมืองชั่วๆ สัตว์นรกทั้งหลาย มันมีใครไหมที่มาแสดงจุดยืนเรื่องดินแดนว่ายังไงบ้าง นอกจากทำลายชาติบ้านเมือง และทำมาหารับประทานกับแผ่นดินไทย วันนี้มันถึงบทพิสูจน์แล้วว่า นักการเมืองไม่ว่าพรรคไหน เหลี่ยมหรือหล่อ ก็ชั่วทั้งสิ้น” นายสนธิกล่าว
 

ที่มา: เรียบเรียงจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"ฮุนเซน" ขอ "ยูเอ็น" ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา

Posted: 07 Feb 2011 09:16 AM PST

ฮุนเซน นายกฯ กัมพูชาร้องคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ผลักดันให้มีการเจรจากรณีข้อพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา บอกกัมพูชาไม่ใช่ "ลูกกวาด" ที่อภิสิทธิ์จะใช้อ้อนกลุ่มพันธมิตรฯ

7 ก.พ. 2554 สื่อกัมพูชารายงานว่า สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าแทรกแซง พร้อมทั้งเรียกร้องให้ผู้นำระดับโลกผลักดันให้มีการเจรจาในกรณีความขัดแย้งทางพรมแดนระหว่าง ไทย-กัมพูชา

"พวกเราต้องการให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเข้าแทรกแซงกรณีชายแดน" ฮุนเซนกล่าวในพิธีมอบปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย "พวกเราต้องการให้มีบุคคลที่สามรวมถึงอาเซียนมาช่วยเหลือเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงการใช้กำลังอาวุธ เพราะทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชาคงหาทางพูดคุยกันเองไม่ได้ การปะทะกันด้วยอาวุธเกิดขึ้นขณะที่อภิสิทธิ์ นายกฯ ไทยบอกว่ากัมพูชาควรนำธงออกจากเขตใกล้ปราสาทเขาพระวิหารของเขมร" ฮุนเซนกล่าว

ฮุนเซนกล่าวอีกว่า กัมพูชาไม่ใช่ "ลูกกวาด" ที่นายกฯ ไทยจะใช้อ้อนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ฮุนเซนเชื่อว่ามีความจงใจทำลายความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ

ฮุนเซน ตั้งคำถามถึงกรณีที่นายกฯ อภิสิทธิ์ตั้งงบประมาณสำหรับการขอคืนปราสาทฯ จากกัมพูชา ว่าเหตุใดประเทศไทยถึงอนุญาตให้มีการเคลื่อนไหวทวงปราสาทเขาพระวิหารคืนจากกัมพูชา ทั้งๆ ที่ประเทศไทยยอมรับว่ากัมพูชาเป็นเจ้าของปราสาทแล้วตั้งแต่ที่ศาลโลกประกาศเมื่อปี ค.ศ.1962

นายกฯ กัมพูชาแสดงความเห็นว่า ประเทศไทยเต็มไปด้วยคนมีความรู้และนักวิชาการ แต่ทำไมประเทศนี้ถึงไม่ใช้เครื่องมืออย่างกฏหมายระหว่างประเทศในการจัดการกับปัญหาเรื่องพรมแดน แต่กลับมาใช้วิธีการ "รุกราน" และ "ก้าวร้าว" กับประเทศเล็กๆ อย่างกัมพูชา ประเทศไทยไม่ควรกลัวการฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศกรณีพรมแดน พื้นที่ 4.6 ตารางกม. ใกล้ปราสาทควรอยู่ในดุลพินิจของศาลหากไทยเห็นชอบ

"พวกเราต้องการให้หนุ่มสาวสมัยใหม่มีภาพลักษณ์ที่ดีต่อทั้ง 2 ประเทศ พวกเรายังคงสู้รบกันเพราะยังตกลงกันไม่ได้ พวกเรายังต้องการให้ศาลระหว่างประเทศช่วยเหลือด้วย และทางข้าพเจ้าเองก็ขอให้ทางฝ่ายไทยดูคำตัดสินปี 1962 อีกครั้ง รวมถึงภาคผนวกคำตัดสินจากศาลโลกด้วย ว่าพื้นที่ 4.6 ตร.กม.เป็นพรมแดนของกัมพูชา"

"พวกเราเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้กันราวปากกับฟัน" ฮุนเซนกล่าว เขาบอกอีกว่าจากเหตุปะทะตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ.จนถึงวันนี้มีทหารชาวกัมพูชาเสียชีวิต 2 ราย และช่างภาพนักท่องเที่ยวเสียชีวิต 1 ราย มีอีกหลายคนได้รับบาดเจ็บ

"เรารู้สึกเสียใจกับการปะทะกันอย่างรุนแรงจนทำให้มีทหารเสียชีวิตทั้ง 2 ฝ่าย พวกเรากำลังจะร่วมมือกันด้านเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการศึกษา แต่พวกเรากลับมีความขัดแย้งกันด้านการเมืองและการทูต"

นายกฯ กัมพูชา บอกอีกว่าเขาได้ทำเรื่องร้องเรียนไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติแล้วโดยเรียกร้องให้มีการเจรจาอย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ยังได้ร้องขอให้กองกำลังของสหประชาชาตินำคณะกรรมการเขตแดนในการประเมินการปักปันเขตแดน

ฮุนเซน เล่าว่าฝ่ายไทยใช้ปืนใหญ่และปืนครกทำลายบางส่วนของปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งเป็นมรดกโลกมีคุณค่ามหาศาล แต่อย่างไรก็ตามฝ่ายกัมพูชาก็จะไม่ยอมนำธงออกจากวัดใกล้ปราสาทเพราะมันเหมือนการนำวิญญาณราออกจากร่างไป

นอกจากนี้ฮุนเซน ยังบอกอีกว่าประเทศไทยได้ทำลายภาพลักษณ์ของอาเซียนจากการที่บุกเข้าไปในพื้นที่ของกัมพูชา และทางรัฐมนตรีต่างประเทศของอินโดนีเซียจะเยือนกัมพูชาเรื่องข้อพิพาทพรมแดน ในฐานะที่อินโดนีเซียเป็นผู้นำอาเซียนในปี 2011

ที่มา:

 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชาวสตูลบุก ม.อ.จี้อธิการยกเลิกเป็น PR ท่าเรือปากบารา

Posted: 07 Feb 2011 09:06 AM PST

ชาวสตูลบุกมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จี้อธิการยกเลิกเป็น PR ท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา อธิการบดีฯ เผยเตรียมเรียกคุยนักวิชาการหัวหน้าทีมรับงานประชาสัมพันธ์ 11 ก.พ.นี้ แนะปรับวิธีการให้ชาวบ้านรับได้

 
วันนี้ (7 ก.พ.2554) บริเวณหน้าตึกอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ จ.สงขลา เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ได้เดินทางเข้ายื่นจดหมายเปิดผนึก ถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่อง “ขอให้ทบทวนโครงการประชาสัมพันธ์ โครงการท่าเรือนำลึกปากบารา” จากกรณีที่คณะอาจารย์ และนักศึกษาปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวนหนึ่งได้รับจ้างโครงการประชาสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีการสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ที่จัดจ้างโดยกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม
 
โครงการท่าเรือนำลึกปากบารา เป็นโครงการพัฒนาที่จะเปลี่ยนสภาพของ จ.สตูล ให้เป็นเมืองแห่งการขนส่ง และเมืองอุตสาหกรรมในอนาคต แต่ยังเป็นที่ถกเถียงถึงข้อดีข้อเสียที่ประชาชนในพื้นที่ยังไม่ได้ผลสรุป โดยนักวิชาการกลุ่มหนึ่งจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ วิศวการจัดการ ได้ร่วมกับบริษัทสำรวจออกแบบท่าเรือฯ รับเหมางานจากกรมเจ้าท่า เพื่อประชาสัมพันธ์ (PR) โครงการท่าเทียบเรืออุตสาหกรรมปากบารา ด้วยงบประมาณ 15 ล้านบาท และทางนักวิชาการจากคณะดังกล่าวได้ว่าจ้างนักศึกษาเป็นจำนวนเงิน 500 บาท ให้ไปประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลกับชาวบ้านในเชิงรุก และมีเจตนาปกปิดบิดเบือนข้อเท็จจริงของโครงการ โดยอ้างว่าจะไม่มีโครงการอื่นใดนอกเหนือจากนี้
 
นายสมยศ โต๊ะหลัง เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล กล่าวว่า หากนักวิชาการเข้าไปศึกษาหาข้อมูล ชาวบ้านก็มีความยินยอมที่จะให้ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการศึกษา แต่หากนักวิชาการบางกลุ่มเข้าไปในพื้นที่โดยที่ชาวบ้านในพื้นที่ไม่รู้เรื่อง และได้ไปประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลที่มีความบิดเบือน ซึ่งทำให้ชาวบ้านเข้าใจผิด และที่มาในวันนี้ เพื่อต้องการยื่นเรื่องให้อธิการบดีมหาวิทยาสงขลานครินทร์ได้ทบทวนโครงการประชาสัมพันธ์ โครงการท่าเรือนำลึกปากบารา และเรื่องการให้ระวังนักศึกษาตกเป็นเครื่องมือของนักวิชาการบางกลุ่มที่เข้าไปเพื่อหวังผลประโยชน์ในพื้นที่
 
นายสมยศ กล่าวด้วยว่า ประชาชนชาวสตูล มีความเห็นว่า พฤติกรรมดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่งจึงขอเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ตรวจสอบกลุ่มอาจารย์ และนักศึกษาที่ลงพื้นที่ดังกล่าว ได้ขอให้ยกเลิกการรับจ้างโครงการดังกล่าว ด้วยเหตุผลสำคัญว่า 1.มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งต่อการสร้างเสริมเยาวชนของชาติให้ได้รับการศึกษาเรียนรู้ที่ดี 2.บทบาทของคณะอาจารย์ควรเป็นบทของผู้นำทางปัญญา และควนนำความรู้ทางวิชากามารับใช้สังคมอย่างสร้างสรรค์ และไม่ควรลดบทบาทของตนเองเป็นเพียงนักประชาสัมพันธ์รับจ้าง ที่ไม่ได้สนใจกับข้อเท็จจริง
 
3.โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา เป็นโครงการขนาดใหญ่ และส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สังคม วิถีชีวิต วัฒนธรรมของ จ.สตูลในระยะยาว ที่ผ่านมาก็ยังมีข้อถกเถียง และข้อเท็จจริงที่ยังไม่ได้รับการเปิดเผยอย่างรงไปตรงมา จึงเห็นว่าควรสร้างความกระจ่างเหล่านี้เสียก่อน ตามข้อเสนอที่ทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เสนอไว้แล้ว ก่อนที่จะดำเนินการใดๆ นอกจากนี้
 
“ชาวบ้านสตูล ต้องการให้ทางมหาวิทยาลัย ได้รับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านที่ไม่ต้องให้ลูกหลานของตนเองต้องตกเป็นเครื่องมือของผู้ไม่หวังดี ซึ่งหวังเพียงเพื่อผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น โดยควรให้ข้อมูลต่างๆ ที่โปร่งใส และไม่อยู่ใต้ผลประโยชน์ ท่ามกลางความเดือดร้อนของประชาชน” นายสมยศ กล่าว
 
รศ.ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดี ม.อ. กล่าวว่า ตนได้รับฟังเรื่องที่ทางเครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา หลังจากนี้ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ก็จะทำการตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบหาข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ โดยขอเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ในการหาข้อเท็จจริง หากได้ข้อเท็จจริงอย่างไรแล้วก็จะแจ้งให้กลุ่มเครือข่ายประชาชนได้ทราบอีกครั้งหนึ่ง
 
รศ.ดร.บุญสม เปิดเผยว่า ตนจะเรียกผศ.ดร.ธนิยา เกาศล ผู้จัดการโครงการประชาสัมพันธ์ท่าเรือน้ำลึกปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ.มาพูดคุยในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ โดยจะขอให้ปรับวิธีการประชาสัมพันธ์ใหม่ เพื่อให้ชาวบ้านสามารถยอมรับได้มากกว่านี้
 
  
 
จดหมายเปิดผนึก
 
ถึง อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เรื่อง ขอให้ทบทวนโครงการประชาสัมพันธ์โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา
 
ตามที่คณะอาจารย์คณะอาจารย์ และนักศึกษาปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวนหนึ่ง ได้รับจ้างโครงการประชาสัมพันธ์ และการมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล (ระยะก่อนก่อสร้าง) ที่จัดจ้างโดยกรมเจ้าท่า ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ
 
ด้วยโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้ทุนก่อสร้างจำนวนมหาศาล และเป็นโครงการที่จะต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่จำนวนมาก เช่นเบื้องต้นจะต้องสูญเสียพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตราบริเวณอ่าวปากบารา ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสตูลกว่า 4,734 ไร่ และจะต้องใช้ทราย และหินภูเขาอีกจำนวนมากเพื่อมาถมพื้นที่กลางทะเลเกือบ 300 ไร่ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวยังเป็นที่ถกเถียงถึงผลได้ผลเสียที่คนในพื้นที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ด้วยมีหลักฐานเอกสารที่พอให้เชื่อได้ว่า โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จะเป็นโครงการเริ่มต้นที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาที่จะเปลี่ยนสภาพของจังหวัดสตูลให้เป็นเมืองแห่งการขนส่ง และการอุตสาหกรรมในอนาคตอีกด้วย
 
ข้อกังวนดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนชาวจังหวัดสตูลจำนวนมากยื่นเรื่องร้องเรียน ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้เข้ามาตรวจสอบความคลุมเครือของโครงการไปแล้ว เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 ซึ่งได้จัดเวทีที่ศาลากลางจังหวัดสตูล มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ผลจากเวทีดังกล่าวมีการตั้งข้อสังเกตต่อขั้นตอนการศึกษาออกแบบโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา โดยเฉพาะการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA.ที่ต่างยอมรับร่วมกันว่ายังมีข้อบกพร่องอีกหลายด้าน และยังเสนอให้กรมเจ้าท่า ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการโดยตรงได้ทบทวนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ทำไปแล้วเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 ต่อไป
 
เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล รวมถึงกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ ต่างยอมรับร่วมกันว่า ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ จากเวทีการประชุมดังกล่าว จะต้องให้การเคารพรับฟัง แม้ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานสรุปการตรวจสอบทั้งหมดก็ตามและเห็นว่าระหว่างนี้หน่วยงานต่างๆไม่ควรมีการดำเนินการใดๆ เพื่อสร้างความขัดแย้งเพิ่มขึ้น
 
แต่กลับเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะกรมเจ้าท่าได้จัดทำโครงการประชาสัมพันธ์เชิงรุก และมีเจตนาปกปิด บิดเบือนข้อเท็จจริงของโครงการและอ้างว่าจะไม่มีโครงการอื่นใดนอกจากนี้ ซึ่งขัดกับเอกสารโครงการสำรวจ และออกแบบโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ฉบับ ปี พ.ศ. 2552 กรมเจ้าท่า ที่แสดงไว้ชัดเจนว่าจะมีโครงการอะไรตามมา หลังการสร้างท่าเรือน้ำลึกเสร็จ ขณะนี้กรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างให้คณะอาจารย์ และนักศึกษาระดับปริญญาโทของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นผู้ดำเนินการโครงการประชาสัมพันธ์ดังกล่าว ด้วยงบประมาณกว่า 15 ล้านบาท
 
ประชาชนชาวจังหวัดสตูลมีความเห็นเห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นสิ่งไม่สมควรอย่างยิ่งจึงขอเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ตรวจสอบกลุ่มอาจารย์ และนักศึกษาชุดดังกล่าว พร้อมกันนี้ขอให้ยกเลิกการรับจ้างโครงการดังกล่าวด้วยเหตุผลสำคัญ ว่า
 
1.มหาวิทยาลัยฯเป็นสถาบันการศึกษาที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่งต่อการสร้างเสริมเยาวชนของชาติให้ได้รับการศึกษาเรียนรู้ที่ดี ด้วยการผลิตบุคลากรที่มีเกียรติ์ มีศักดิ์ศรีเพื่อพัฒนาประเทศชาติตลอดมา
 
2.บทบาทของคณะอาจารย์ควรเป็นบทของผู้นำทางปัญญา และควรนำความรู้ทางวิชาการมารับใช้สังคมอย่างสร้างสรรค์ และไม่ควรลดบทบาทตนเองเป็นเพียงนักประชาสัมพันธ์รับจ้าง ที่ไม่ได้สนใจกับข้อเท็จจริง
 
3.โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา เป็นโครงการขนาดใหญ่ และส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม สังคม วิถีชีวิต วัฒนาธรรมของจังหวัดสตูลในระยะยาว ที่ผ่านมายังมีข้อถกเถียง และข้อเท็จจริงที่ยังไม่ได้รับการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา จึงเห็นว่าควรสร้างความกระจ่างเหล่านี้เสียก่อน ตามข้อเสนอที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เสนอไว้แล้ว ก่อนที่จะดำเนินการใดๆนอกจากนี้ได้
 
จึงขอเสนอให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับฟังถึงความเดือดร้อนของประชาชนชาวจังหวัดสตูล ด้วยการนำข้อเสนอดังกล่าวไปดำเนินการอย่างโปร่งใส ภายใต้บทบาทที่เหมาะสมของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นแบบอย่างของสังคมไทย โดยไม่ควรอยู่ใต้ผลประโยชน์ ที่อยู่ท่ามกลางความเดือดร้อนของประชาชน ทั้งนี้หากไม่มีการดำเนินการใดๆ ต่อข้อเสนอดังกล่าวนี้ ชาวจังหวัดสตูล และกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อนจำเป็นจะต้องร้องเรียนตามลำดับชั้นและจะยกระดับมาตรการเรียกร้องให้ถึงที่สุด ต่อไป
 
ด้วยความเคารพ
 
เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล
และกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโครงการตำบลปากน้ำ จังหวัดสตูล
 
 
 
 
 
แถลงการณ์
เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล
และประชาชนที่ได้รับผลกระทบโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา
 
เรื่อง ระวังนักศึกษาจะตกเป็นเครื่องมือของอาจารย์บางกลุ่มที่กำลังทำร้ายชุมชน
 
จังหวัดสตูลได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์ สอดคล้องกับคำขวัญประจำจังหวัดที่แสดงถึงจุดเด่นเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะอยู่ในปัจจุบันยังมีทรัพยากรทั้งทะเลและป่าไม้ที่คงความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนมีอาชีพเกษตรอย่างยั่งยืน เป็นสังคมที่สงบด้วยครรลองแห่งวัฒนธรรมศาสนาทุกคนสามารถไปเยือนได้อย่างสุขใจ
 
ผ่านมารัฐบาลได้วางแผนและผลักดันโครงการเชื่อมสะพานเศรษฐกิจอ่าวไทย-อันดามัน มีการสำรวจออกแบบท่าเทียบเรืออุตสาหกรรมปากบารา ที่ ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล ท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ ๒ ที่บ้านสวนกง ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา สร้างทางรถไฟ วางท่อขนส่งน้ำมันเชื่อมเป็นแลนด์บริดส์ระหว่างสองฝั่ง
 
เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล นักวิชาการ ชุมชนผู้ได้รับผลกระทบและองค์กรอิสระต่างๆ ได้เรียกร้องผู้ผลักดันโครงการให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายเพื่อไม่ให้โครงการเหล่านี้ส่งผลกระทบกับชุมชนซ้ำรอยอย่างนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุตและโครงการท่อก๊าซไทยมาเลย์ (โรงกลั่นโรงแยกแก็สและโรงไฟฟ้าจะนะ) ที่ส่งผลกระทบกับชุมชนอย่างร้ายแรง ตลอดถึงทรัพยากรธรรมชาติที่ต้องสูญเสียไปอย่างประเมินค่าไม่ได้ และปัจจุบันนี้ยังไม่มีหน่วยงานไหนสามารถแก้ไขปัญหาได้
 
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และนักวิชาการกลุ่มหนึ่งจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ วิทยาการจัดการร่วมกับบริษัทสำรวจออกแบบท่าเรือฯ รับเหมางานจากกรมเจ้าท่าเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการท่าเทียบเรืออุตสาหกรรมปากบาราด้วยงบประมาณ ๑๕ ล้านบาท ทั้งที่โครงการดังกล่าวมีข้อถกเถียงถึงผลได้ผลเสีย และความเสียหายต่างๆที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ หากแต่คนกลุ่มนี้ได้บทบาทของความเป็นนักวิชาการ รับงานประชาสัมพันธ์อย่างไร้จรรยาบรรณ ทั้งปกปิด และบิดเบือนข้อเท็จจริง และยังล่อลวงให้นักศึกษาช่วยงานของตนลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการจนเกิดปัญหากับชาวบ้านในพื้นที่หลายครั้ง จนทำให้เกียรติภูมิ และศักดิ์ศรีของมหาวิทยาลัยเสื่อมเสียเป็นอย่างมาก
 
จึงเห็นว่า บทบาทการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ควรเป็นหน้าที่ของบริษัทเอกชนทั่วไปและไม่ควรเป็นบทบาทของอาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีหน้าที่ผลิตบัณฑิตมาเพื่อรับใช้สังคม และประเทศชาติเป็นหลักอยู่แล้ว ที่สำคัญยังมีรายได้ประจำจากภาษีของประชาชนอยู่แล้ว ไม่ควรใช้เวลาของราชการไปใช้เพื่อการแสวงผลประโยชน์ส่วนตน และพวก
 
เราจึงขอเรียกร้องให้คณะอาจารย์กลุ่มนี้หยุดใช้บทบาทของนักวิชาการ เข้าไปทำร้ายชุมชน ด้วยการรับงานประชาสัมพันธ์ที่ไม่สนใจกับข้อเท็จจริง และขอเตือนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอันทรงคุณค่าแห่งนี้ด้วยว่า
 
“ระวังจะตกเป็นเครื่องมือของอาจารย์กลุ่มนี้ เพื่อหวังเพียงงบประมาณโครงการเพียงเล็กน้อย แลกด้วยความเจ็บปวดของประชาชนชาวจังหวัดสตูล”
 
เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนาจังหวัดสตูล และประชาชนได้รับผลกระทบโครงการ
๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ธเนศ เครือรัตน์: คนที่ได้รับผลกระทบบาดเจ็บล้มตายจากการปะทะก็คือคนในพื้นที่

Posted: 07 Feb 2011 08:43 AM PST

ส.ส.ศรีสะเกษ ตำหนิกลุ่มที่เรียกร้องเรื่องดินแดนและด่าทอกัมพูชา ส่งผลต่อสถานการณ์ชายแดน ทำให้คนที่อยู่ชายแดนเดือดร้อน เตือนอย่าลืมว่าคนกัมพูชาก็ดูทีวีไทย การเคลื่อนไหวไม่ควรพาดพิงประเทศเพื่อนบ้าน

 
วันนี้ (7 ก.พ.54) เมื่อเวลา 17.00 น. มติชนออนไลน์  รายงานคำสัมภาษณ์ของนายธเนศ เครือรัตน์ ส.ส.จังหวัดศรีสะเกษ พรรคเพื่อไทย และกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
 
ซึ่งนายธเนศ ให้สัมภาษณ์ว่า ได้ลงพื้นที่อำเภอกันทรลักษ์ โดยได้ไปเยี่ยมดูสถานการณ์ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ณ ที่ว่าการอำเภอกันทรลักษ์ เนื่องจากไม่สามารถเดินทางเข้าไปบริเวณชายแดนได้ ทั้งนี้พบว่าตั้งแต่เมื่อคืนจนถึงช่วงเช้า บริเวณชายแดนมีการปะทะตอบโต้กันอย่างรุนแรง แม้อยู่ในตัวอำเภอก็ยังสามารถมองเห็นพลุส่องสว่างจากบริเวณชายแดนและบางครั้งเห็นแสงลูกปืนใหญ่ ซึ่งสถานการณ์ทำให้ชาวบ้านแตกตื่นอพยพกันไปอยู่ตามอำเภอต่างๆ อย่างอลหม่าน ส่งผลให้อำเภอกันทรลักษณ์ มีบรรยากาศเหมือนเป็นเมืองร้าง โดยตัวเลขผู้อพยพของจังหวัดศรีสะเกษขณะนี้ไม่ต่ำกว่า 15,000 คน
 
นายธเนศ เปิดเผยว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้โทรศัพท์พูดคุยกับตนในช่วงเช้านี้ เพื่อสอบถามความเห็นในฐานะ ส.ส.จังหวัดศรีสะเกษและกรรมาธิการต่างประเทศ ซึ่งตนได้เรียนนายกรัฐมนตรีว่า ท่านควรจะต้องพูดคุยกับผู้นำกัมพูชาเพื่อหาทางยุติปัญหา เพราะการปะทะส่งผลให้เกิดความสูญเสียทั้ง 2 ฝ่าย ดังนั้นผู้นำของทั้ง 2 ประเทศต้องคุยกันเพื่อยุติไม่ให้เกิดผลกระทบมากไปกว่านี้
 
เมื่อถามว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองภายในประเทศส่งผลต่อสถานการณ์ชายแดนหรือไม่ นายธเนศ กล่าวว่า การเมืองภายในประเทศโดยกลุ่มที่เรียกร้องเรื่องดินแดนและด่ากัมพูชาอยู่ทุกวันก็เป็นการกดดันอย่างหนึ่ง ส่งผลต่อสถานการณ์ชายแดนแน่นอน โดยก่อนหน้านี้ ชาวบ้านก็มีความเดือดร้อนเรื่องการประกอบอาชีพทำมาค้าขายอยู่แล้ว อันเป็นผลมาจากการปิดไม่ให้เข้าบริเวณปราสาทพระวิหาร จนมาถึงขณะนี้ ชาวบ้านตามแนวชายแดนน่าสงสารมากเพราะต้องทิ้งบ้านทิ้งช่อง ได้รับบาดเจ็บไปจนถึงล้มตาย ความเสียหายหนักยิ่งกว่าเดิม
 
"อย่าลืมว่าชาวกัมพูชาเขาดูทีวีช่องของประเทศไทย ดังนั้น การเคลื่อนไหวภายในประเทศจะทะเลาะกับรัฐบาล หรือจะทะเลาะกับเสื้อสีไหน ก็ไม่ควรจะไปพาดพิงประเทศเพื่อนบ้าน บางคนไม่เข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแล้วไปขึ้นเวทีโจมตีหรือพูดอะไรจนล้ำเส้น แต่คนที่ได้รับผลกระทบบาดเจ็บล้มตายจากการปะทะก็คือคนในพื้นที่" ส.ส.ศรีสะเกษกล่าว
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วิกิลีกส์: บันทึกทูตสหรัฐถวายบังคมลาฯ ในโอกาสพ้นจากตำแหน่ง

Posted: 07 Feb 2011 08:35 AM PST

หนังสือพิมพ์เทเลกราฟ เผยแพร่บันทึกทางการทูตของนายราล์ฟ แอล บอยซ์ เมื่อครั้งเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เพื่อกราบบังคมทูลลาในโอกาสที่จะพ้นจากเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย เมื่อเดือน พ.ย.2550

 
เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 54 เวลา 21.03 น. หนังสือพิมพ์เทเลกราฟ ได้เผยแพร่เอกสาร ที่วิกิลีกส์นำมาเผยแพร่ เป็นเลขเอกสารหมายเลข "C O N F I D E N T I A L SECTION 01 OF 03 BANGKOK 005839" ซึ่งเป็นโทรเลขที่ทูตสหรัฐอเมริกาประจำไทยส่งรายงานยังวอชิงตัน โดยโทรเลขดังกล่าวบันทึกโดยนายราล์ฟ แอล บอยซ์ (Ralph L. Boyce) ซึ่งดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ในขณะนั้น โดนบันทึกลงวันที่ 16 พ.ย. 50
 
รายละเอียดเป็นบันทึกของนายราล์ฟ แอล บอยซ์ ซึ่งเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อกราบบังคมทูลลาในโอกาสที่จะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 13 พ.ย.50 นอกจากนี้ นายราล์ฟ แอล บอยซ์ ยังบันทึกด้วยว่า เมื่อวันที่ 10 พ.ย.50 ระหว่างงานแสดงดนตรีแจ๊ส ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ฯ เสด็จพระราชดำเนิน โดยทูตได้มีโอกาสสนทนากับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ฯ ซึ่งทรงประทับติดกับทูตด้วย
 
โดยรายละเอียดบันทึกของนายราล์ฟ แอล บอยซ์ ดังกล่าวมีทั้งหมด 13 ย่อหน้า
 
อนึ่ง ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.53 วิกิลีกส์ ได้เผยแพร่ เอกสารหมายเลข “C O N F I D E N T I A L BANGKOK 005811” ซึ่งเป็นโทรเลขที่นายราล์ฟ แอล บอยซ์ คนเดียวกันนี้ ส่งรายงานไปยังวอชิงตันเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 49 โดยเป็นบันทึกที่นายราล์ฟ แอล บอยซ์ ในฐานะทูตสหรัฐรายงานการพบปะพูดคุยเป็นการส่วนตัวกับพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะรัฐประหาร 19 ก.ย. เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 20 ก.ย. 49 ตามเวลาประเทศไทย
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กลุ่มไม่เอาสงคราม จี้รัฐบาลสงบศึก อย่าใช้สงครามกลบปัญหาภายใน

Posted: 07 Feb 2011 08:24 AM PST

วันนี้ (7 ก.พ.54) เวลา 17.00 น. ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กลุ่ม “ไม่เอาสงคราม ต้องการสันติภาพ” จัดกิจกรรมคัดค้านการทำสงครามระหว่างทหารไทยและกัมพูชาที่ดำเนินอยู่บริเวณชายแดนจังหวัดศรีษะเกษ โดยมีการชูป้ายข้อความเรียกร้องสันติภาพ ต่อต้านสงครามและลัทธิชาตินิยม และแจกใบปลิวต่อต้านสงคราม

นายเก่งกิจ กิติเรียงลาภ หนึ่งในผู้ร่วมกิจกรรมกล่าวว่า วันนี้นักกิจกรรมทางสังคม นักศึกษา และผู้รักความเป็นธรรมมารวมตัวกันเพื่อแสดงให้เห็นว่าคนจำนวนไม่น้อยไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลไทยทำสงครามกับกัมพูชา ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ และกล่าวว่าสงครามไม่ใช่ทางออกของปัญหาความขัดแย้ง แต่ยังมีวิธีทางการทูตอื่นๆ อีกมากที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ส่วนผู้เรียกร้องให้ทำสงครามไม่มีความชอบธรรมที่จะเรียกร้อง เนื่องจากไม่ได้อาศัยอยู่บริเวณชายแดน แต่ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน

ส่วน น.ส.จิตรา คชเดช ซึ่งมาร่วมกิจกรรมกล่าวว่า การเรียกร้องครั้งนี้ต้องการสื่อไปถึงรัฐบาลให้ยุติสงคราม รัฐบาลต้องไม่เอาสงครามชายแดนมากลบเกลื่อนปัญหาการเมืองภายในและปัญหาข้าวของราคาแพง รวมถึงเรื่องการสังหารโหดคนเสื้อแดง และกล่าวว่าสงครามจะเป็นช่องทางให้ทหารเข้ามาทำการรัฐประหารได้

ในระหว่างกิจกรรม มีการรณรงค์ผูกริบบิ้นสีขาวที่ข้อมือเพื่อแสดงออกถึงการต่อต้านสงคราม และมีการจุดเทียนเพื่อสันติภาพ ขับร้องเพลง โดยกิจกรรมในวันนี้มีผู้สื่อข่าวชาวไทยและต่างประเทศให้ความสนใจมารายงานข่าวจำนวนมาก

ประมวลภาพ:

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: กลุ่มประมงพื้นบ้านอ่าวบางสะพาน จี้เปลี่ยนเจ้าหน้าที่ประมง ชี้ไม่รับผิดชอบหน้าที่

Posted: 07 Feb 2011 07:49 AM PST

กลุ่มประมงพื้นบ้านอ่าวบางสะพานรุกยื่นหนังสือนายอำเภอบางสะพาน จี้พิจารณาโยกย้ายเจ้าหน้าที่ประมงอำเภอ เหตุละเลยเรืออวนลากทำผิดกฎหมาย ด้านนายอำเภอแนะให้โอกาสเจ้าหน้าที่ ชี้หากมีฝ่าฝืนกฎหมายอีกจะนำเรื่องมาพิจารณาใหม่

 
 
 
วันนี้ (7 ก.พ.2554) เมื่อเวลาประมาณ 9.30 น. ที่ว่าการอำเภอบางสะพาน กลุ่มประมงพื้นบ้านอ่าวบางสะพานราว 100 คน นำโดยนายนิพนธ์ พุ่มพวง หัวหน้าประมงบ้านปากคลอง เข้ายื่นหนังสือต่อ นายสมพร ปัจฉิมเพ็ชร นายอำเภอบางสะพาน ให้พิจารณาโยกย้าย สับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ประมงอำเภอ
 
นายนิพนธ์ กล่าวถึงเหตุผลของการมายื่นหนังสือครั้งนี้ว่า เนื่องจากที่ผ่านมามีการทำการประมงผิดกฎหมาย โดยเฉพาะเรืออวนลาก ซึ่งในปัจจุบันมีกฎหมายสำหรับประมงอวนลากอย่างชัดเจนว่า หากเป็นเรืออวนกลางกลางวัน จะกระทำการได้ตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ขึ้น จนพระอาทิตย์ตก และอวนลากกลางคืนก็ทำตั้งแต่อาทิตย์ตกจนอาทิตย์ขึ้น และต้องทำการประมงนอกระยะปิดอ่าว 3,000 เมตร จากชายฝั่ง โดยมีกฎหมายประกาศปิดตลอดปี แต่ที่ผ่านมาเรืออวนลากจะออกทำการประมงกันตลอดทั้งกลางวันและกลางคืนโดยไม่สนกฎหมาย และบางครั้งก็ลากเข้ามาในระยะที่มีการปิดอ่าว 3,000 เมตร ซึ่งการกระทำเช่นนี้นอกจากจะเป็นการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ยังทำให้อวนปูของประมงพื้นบ้านเสียหาย หรือหลุดหายไป
 
“ในพื้นที่อ่าวบางสะพานก็มีเรือที่ฝ่าฝืนกฎบ่อย เจ้าหน้าที่ประมงไม่ดูแลและจับกุม พวกเราจึงมาเพื่อยื่นหนังสือนายอำเภอพิจารณาโยกย้ายหรือสับเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ประมงอำเภอ พวกเราต้องการเจ้าหน้าที่ที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่มากกว่านี้” นายนิพนธ์ กล่าว
 
ด้านนายสมพร ปัจฉิมเพ็ชร นายอำเภอบางสะพาน ได้รับหนังสือจากกลุ่มประมงพื้นบ้านอ่าวบางสะพานราว และรับปากจะสั่งการให้ทางประมงอำเภอเรียกผู้ประกอบการประมงอวนลาก อวนครอบ เข้ามาประชุมในวันที่ 9 ก.พ.นี้เพื่อรับทราบปัญหาและช่วยกันทำประมงอย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อไป
 
“ขอให้เจ้าหน้าที่ประมงได้ทำงานสักระยะ และหากจากนี้ไปยังมีการละเมิด หรือฝ่าฝืนกฎหมายอีก คงต้องมีการพิจารณาเรื่องที่ทางกลุ่มประมงยื่นข้อเสนออีกครั้ง และฝากให้กลุ่มประมงช่วยเป็นหูเป็นตา หากใครพบว่ามีเรือประมงอวนลากทำผิดให้ประสานแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าจับภุมทันที หรือโทรแจ้งโดยตรงต่อปลัดอำเภอ และที่นายอำเภอ อีกทั้งในวันที่ 15 ก.พ. – 15 พ.ค. ของทุกปีจะเป็นช่วงเวลาปิดอ่าว จึงขอให้ประมงทุกคนเคร่งครัดต่อกฎหมายด้วย” นายอำเภอบางสะพานกล่าว
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า” ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐบาลไทยช่วยเหลือผู้หนีภัยจากการสู้รบ

Posted: 07 Feb 2011 07:20 AM PST

 
เมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า ออกแถลงการณ์ “ผู้หญิงและเด็กได้รับบาดเจ็บจากปลอกกระสุนปืนใหญ่ตามชายแดนไทย – พม่า องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า เรียกร้องให้รัฐบาลไทยช่วยเหลือชาวบ้านที่หลบหนีจากการสู้รบ” โดยระบุว่า ขณะนี้ชาวบ้านกว่า 10,000 คน ได้หลบหนีอยู่ในประเทศไทย หลังมีการต่อสู้เกิดขึ้นในทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ กระเหรี่ยง ระหว่างการต่อสู้ของรัฐบาลทหารพม่า (SPCD) และ กองพันที่ 5 ของกองทัพทหารกะเหรี่ยงพุทธ (DKBA) เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 หนึ่งวันหลังจากที่รัฐบาลทหารพม่าได้จัดการเลือกตั้ง
 
แถลงการณ์ระบุด้วยว่า องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่าได้แสดงความขอบคุณรัฐบาลไทยอย่างยิ่ง ที่อนุญาตให้ผู้ลี้ภัยพักพิงอาศัยในสถานที่ที่ปลอดภัยอาศัยในช่วงที่มีการสู้รบ แต่อย่างไรก็ตามยังมีความกังวลเรื่องนโยบายของรัฐบาลไทยในการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศ ในขณะที่สถานการณ์ของฝั่งตรงข้ามยังไม่สงบและปลอดภัย เพราะชาวบ้านที่ผู้ลี้ภัยเคยถูกเจ้าหน้าที่ไทยให้ออกจากพื้นที่ชั่วคราวในขณะที่พื้นที่รัฐกะเหรี่ยงยังมีการสู้รบมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาสามเดือน อีกทั้งยังไม่มีท่าทีว่าการปะทะกันระหว่างทั้งสองฝ่ายจะยุติลง
 
แถลงการณ์ให้ข้อมูลต่อมาว่า ชาวบ้านที่เคยถูกส่งกลับไปรัฐกะเหรี่ยง ต้องกลับเข้ามาเพียงในระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงให้หลังเมื่อการเริ่มต่อสู้ใหม่ ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่กลัวที่จะกลับไปประเทศพม่า พวกเขาจึงหลบหนีการสู้รบโดยพักอาศัยอยู่ในฝั่งไทยตามหมู่บ้าน ตามไร่สวน และในป่าใกล้แม่น้ำ
 
สำหรับข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย ขององค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า คือ 1) อนุญาตให้ชาวบ้านหลบหนีจากการสู้รบพักพิงชั่วคราวในประเทศไทย จนกว่าการสู้รบในรัฐกะเหรี่ยงจะยุติและรู้สึกปลอดภัยในการกลับประเทศ
2) อนุญาตให้องค์กรมนุษยธรรมต่างประเทศและองค์กรชุมชนเข้าถึงชาวบ้านที่ลี้ภัยจากการสู้รบ เพื่อให้พวกเขาได้รับการช่วยเหลือในด้านมนุษยธรรมที่จำเป็น
 
“เราขอให้องค์กรได้รับอนุญาตเพื่อให้การบริการขั้นพื้นฐานและการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม แม้พวกเขาจะอยู่บริเวณพื้นที่การหลบภัยพักพิงชั่วคราว” แถลงการณ์ระบุข้อเรียกร้อง
 
ทั้งนี้ แถลงการณ์มีรายละเอียดดังนี้
 
 
 
แถลงการณ์โดยองค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า
 
1 กุมภาพันธ์ 2554
 
ผู้หญิงและเด็กได้รับบาดเจ็บจากปลอกกระสุนปืนใหญ่ตามชายแดนไทย – พม่า
องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า เรียกร้องให้รัฐบาลไทยช่วยเหลือชาวบ้านที่หลบหนีจากการสู้รบ
 
 
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม ที่ผ่านมา ผู้ลี้ภัยจากรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ต้องหนีภัยเข้ามาในประเทศไทย และหลบหนีอยู่ในป่าใกล้กับชายแดนประเทศไทย เนื่องจากได้รับบาดเจ็บสาหัสจากเศษกระสุนปืนที่ข้ามมาจากฝั่งพม่า จนถึงตอนนี้พวกเขายังไม่ได้รับการรักษาใดๆ องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า จึงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยดังกล่าวสามารถพักพิงในประเทศไทยจนกว่าการต่อสู้ในพื้นที่รัฐกระเหรี่ยงจะยุติลง และอนุญาตให้มีการจัดตั้งการบริการช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัย
 
แม่อายุ 33 ปี ได้รับบาดเจ็บจากการใช้ตัวเองบังกระสุนปืนแทนลูกชาย 2 คน ทำให้ได้รับบาดเจ็บตรงขาซ้าย และลูกชายวัย 8 ขวบ ได้รับบาดเจ็บตรงข้อพับเข่าขวา ส่วนลูกชายอีกคนวัย 7 ขวบ ได้รับบาดเจ็บจากเศษระเบิด ทำให้บริเวณสะโพก และขา เป็นแผลขนาดใหญ่ ขณะนี้มีอาการสาหัสและกำลังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก
 
สามแม่ลูกที่ได้รับบาดเจ็บนี้เป็นหนึ่งในจำนวนชาวบ้านประมาณ 1,500 คน ที่หลบหนีอยู่ตามชายแดนไทย-พม่า บริเวณฝั่งแม่น้ำเมย ในช่วงที่มีการสู้รบเมื่อเวลา 10.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งการต่อสู้ใช้เวลายาวนานกว่า 7 ชั่วโมง โดยระเบิดและกระสุนปืนได้ตกริมฝั่งแม่น้ำในไทย บริเวณที่ชาวบ้านหลบภัยอยู่
 
ขณะนี้ชาวบ้านกว่า 10,000 คน ได้หลบหนีอยู่ในประเทศไทย หลังมีการต่อสู้เกิดขึ้นในทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ กระเหรี่ยง ระหว่างการต่อสู้ของรัฐบาลทหารพม่า (SPCD) และ กองพันที่ 5 ของกองทัพทหารกะเหรี่ยงพุทธ (DKBA) เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2553 หนึ่งวันหลังจากที่รัฐบาลทหารพม่าได้จัดการเลือกตั้ง จึงได้มีการจัดพื้นที่พักพิงชั่วคราวแก่ผู้ลี้ภัยที่หลั่งไหลหลบหนีจากการสู้รบขึ้นในพื้นที่ฝั่งไทยตั้งแต่นั้นมา องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า ขอแสดงความขอบคุณรัฐบาลไทยอย่างยิ่ง ที่อนุญาตให้ผู้ลี้ภัยพักพิงอาศัยในสถานที่ที่ปลอดภัยอาศัยในช่วงที่มีการสู้รบ
 
อย่างไรก็ตาม องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า มีความกังวลเรื่องนโยบายของรัฐบาลไทยในการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศในขณะที่สถานการณ์ของฝั่งตรงข้ามยังไม่สงบและปลอดภัย เพราะชาวบ้านที่ผู้ลี้ภัยเคยถูกเจ้าหน้าที่ไทยให้ออกจากพื้นที่ชั่วคราวในขณะที่พื้นที่รัฐกะเหรี่ยงยังมีการสู้รบมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาสามเดือน อีกทั้งยังไม่มีท่าทีว่าการปะทะกันระหว่างทั้งสองฝ่ายจะยุติลง
 
ชาวบ้านที่เคยถูกส่งกลับไปรัฐกะเหรี่ยง ต้องกลับเข้ามาเพียงในระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงให้หลังเมื่อการเริ่มต่อสู้ใหม่ ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่กลัวที่จะกลับไปประเทศพม่า พวกเขาจึงหลบหนีการสู้รบในฝั่งไทยตามหมู่บ้าน ตามไร่สวน และในป่าใกล้แม่น้ำ
 
“ชาวบ้านขอร้องให้ผู้ใหญ่บ้านไม่ให้ส่งหรือผลักดันให้พวกเขากลับ เพราะชุมชนของพวกเขาไม่ปลอดภัย แต่ชาวบ้านที่ไปหลบหนีในพื้นที่ของฝั่งไทย พื้นที่เหล่านี้ก็ไม่ปลอดภัยสำหรับพวกเขา หากไม่มีมาตรการคุ้มครองผู้ที่หลบหนีจากการสู้รบ พวกเขาจึงยังตกอยู่ในความเสี่ยงจากการสู้รบโดยตรง” นอ ดาเอเกลอ เลขาขององค์กรผู้หญิงกะเหรี่ยง กล่าว
 
นอกจากนั้น องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า ยังมีความกังวลในเรื่อง การให้บริการชั่วคราวกับผู้หลบหนีจากการสู้รบ ซึ่งไม่สามารถรองรับและให้บริการจากสถานการณ์การสู้รบเหตุการณ์ที่มีมาอย่างต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้มีองค์กรพัฒนาเอกชน NGOs และองค์กรชุมชนที่ทำงานงานเกี่ยวกับเหตุการณ์ฉุกเฉินชั่วคราว ที่ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นเช่นด้านสุขภาพ อาหาร และที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามการบริการดังกล่าวไม่สามารถรองรับอย่างมีประสิทธิภาพกับผู้ลี้ภัยที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส ทำให้องค์กรที่ให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ฉุกเฉินมา ดำเนินให้ความช่วยเหลือเป็นระยะเวลากว่า 3 เดือน
 
ตราบใดที่ยังมีสงครามและการสู้รบ ผู้ลี้ภัยก็จะต้องเผชิญกับอนาคตก็ไม่แน่นอน พวกเขาไม่สามารถกลับบ้านตัวเองได้ และคงต้องพักพิงอยู่ในพื้นที่ระหว่างรัฐกะเหรี่ยงและประเทศไทยเป็นเวลาที่ยืดเยื้อ ทำให้ได้รับผลกระทบการดำรงชีวิตและไม่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานได้ เช่น ทำให้กลายเป็นเด็กพลัดถิ่นและไม่มีที่อยู่อาศัย และไม่สามารถไปโรงเรียนกว่าสามเดือนตั้งแต่มีการสู้รบ จะต้องมีการเตรียมการเพื่อให้แน่ใจว่าคนเหล่านี้ไม่ได้รับผลกระทบอีกต่อไป
 
องค์กรสันนิบาตผู้หญิงแห่งพม่า เรียกร้องต่อรัฐบาลไทย ดังนี้
 
1) อนุญาตให้ชาวบ้านหลบหนีจากการสู้รบพักพิงชั่วคราวในประเทศไทย จนกว่าการสู้รบในรัฐกะเหรี่ยงจะยุติและรู้สึกปลอดภัยในการกลับประเทศ
 
2) อนุญาตให้องค์กรมนุษยธรรมต่างประเทศและองค์กรชุมชนเข้าถึงชาวบ้านที่ลี้ภัยจากการสู้รบ เพื่อให้พวกเขาได้รับการช่วยเหลือในด้านมนุษยธรรมที่จำเป็น เราขอให้องค์กรได้รับอนุญาตเพื่อให้การบริการขั้นพื้นฐานและการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม แม้พวกเขาจะอยู่บริเวณพื้นที่การหลบภัยพักพิงชั่วคราว
 
 

  

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลปกครองรับฟ้อง คดีเพิกถอน กก.ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัตถุอันตราย

Posted: 07 Feb 2011 06:56 AM PST

วันนี้ (7 ก.พ. 54) ที่ศาลปกครอง ภาคประชาสังคมยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ให้มีการเพิกถอนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัตถุอันตราย ชี้เป็นการแต่งตั้งที่ไม่ชอบตามกฎหมาย และการแต่งตั้งดังกล่าวอาจกระทบต่อการขึ้นทะเบียนใหม่วัตถุอันตราย ซึ่งรวมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสุดอันตรายเกือบ 30,000 รายการที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคมนี้ ระบุวิกฤตสารเคมีการเกษตรกระทบสุขภาพเกษตรกรและตลาดส่งออก พร้อมร้องขอศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะ

นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผอ.มูลนิธิชีววิถี (BioThai) แถลงภายหลังการฟ้องต่อศาลปกครองกรณีให้เพิกถอนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัตถุอันตราย ว่า การแต่งตั้งกรรมการดังกล่าวซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวัน 9 พ.ย.2553 ขัดกับเจตนารมณ์ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ปรับปรุงแก้ไข พ.ศ.2551 อย่างชัดแจ้ง เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการแต่งตั้งจำนวน 4 ใน 10 คนไม่ได้มีคุณสมบัติและที่มาตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีจำนวน 2 คนถูกแต่งตั้งจากสมาคมวิชาชีพที่ไม่ได้เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ด้านการคุ้มครองสุขภาพอนามัย และองค์การสาธารณประโยชน์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และยิ่งไปกว่านั้นยังมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก 2 คนซึ่งมาจากบริษัทธุรกิจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชรายใหญ่ และตัวแทนจากกลุ่มธุรกิจเคมี จากสภาหอการค้า ทั้งๆ ที่กฎหมายกำหนดให้มีการแต่งตั้งจากองค์การสาธารณประโยชน์ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน และองค์การสาธารณประโยชน์ด้านการจัดการปัญหาวัตถุอันตรายในท้องถิ่น

"การดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่เป็นตัวแทนของบริษัทซินเจนทาซึ่งเป็นบริษัทที่นำเข้าสารเคมีการเกษตรรายใหญ่ของไทยจะทำลายกลไกการควบคุมและจัดการเรื่องสารเคมีและวัตถุอันตราย ทั้งในส่วนของการรับขึ้นทะเบียน การเพิกถอนวัตถุอันตราย และการพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากวัตถุอันตราย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 ของ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย เนื่องจากระหว่างดำรงตำแหน่งอาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนในการปฏิบัติหน้าที่ได้ ไม่เท่านั้นยังขัดกับเจตนารมณ์ พ.ร.บ.วัตถุอันตรายที่สร้างเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการกำกับนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะของประชาชนด้วย"

นายวิฑูรย์กล่าวต่อว่า ปัจจุบันสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในขั้นวิกฤตแล้วทั้งแง่มุมตัวเลขเกษตรกรผู้เจ็บป่วยและพืชผักผลไม้ที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (EU) เนื่องจากมีการตรวจพบสารเคมีเกษตรตกค้างเกินค่ามาตรฐาน (MRLs) ในพืชผักผลไม้มากครั้งที่สุดในโลกถูกตรวจพบสารเคมีเกษตรตกค้างเกินค่ามาตรฐาน และมีจำนวนครั้งที่ตรวจพบมากที่สุดในโลก

ด้านนางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผอ.มูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า การยื่นฟ้องต่อศาลปกครองครั้งนี้ได้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พ.ย.2553 เฉพาะส่วนที่มีมติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในลำดับที่ 6 ถึง 9 คือ นางศุภวรรณ ตันตยานนท์, นางสาวสุมล ปวิตรานนท์, นายปกรณ์ สุจเร และนายสุมิดา บุรณศิริ และให้กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอชื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัตถุอันตรายทดแทนกรรมการที่ถูกเพิกถอน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องคดี และตัวแทนองค์การสาธารณประโยชน์อื่นๆ ที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายบัญญัติส่งตัวแทนเพื่อคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการคุ้มครองสุขภาพอนามัย ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านการเกษตรกรรมยั่งยืน และด้านการจัดการปัญหาวัตถุอันตรายในท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ปรับปรุงแก้ไข พ.ศ.2551 ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา

"ผู้ฟ้องคดียังได้ร้องขอต่อศาลได้มีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ห้ามมิให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ จำนวน 4 คน ทำหน้าที่ในคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ จนกว่าศาลจะมีคำตัดสินชี้ขาดด้วย" นางสาวเพ็ญโฉมกล่าว

ทั้งนี้ความคืบหน้าล่าสุด สำนักงานศาลปกครองกลางได้รับเอกสารฟ้องไว้พิจารณาแล้ว ตามคดีหมายเลขดำที่ 390/2554 โดยหากถ้าศาลเห็นว่ากรณีนี้เป็นวาระเร่งด่วนที่ต้องคุ้มครองฉุกเฉินจะดำเนินการไต่สวนภายในหนึ่งสัปดาห์หลังรับฟ้อง แต่หากไม่ใช่กรณีเร่งด่วนจะดำเนินการพิจารณาโดยใช้ระยะเวลาประมาณหนึ่งเดือน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "ยุคนี้ไดโนเสาร์อยู่ลำบาก"

Posted: 07 Feb 2011 03:44 AM PST

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "ยุคนี้ไดโนเสาร์อยู่ลำบาก"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น