ประชาไท | Prachatai3.info |
- รายงานเสวนา: ดัชนีชี้วัดสถานภาพสื่อไทย ยังติดกับมาตรา 112
- ‘ปากบารา’ล้อมกรอบ‘คณะสำรวจฯ’ ผวาโฆษณาโหมสร้าง‘ท่าเรือน้ำลึกฯ’
- ทัพพม่าเตรียมปราบกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" สั่งปิดเส้นทางทุกด้าน
- ทหารพม่าถูกฆ่าตาย 3 นายทางภาคใต้รัฐฉาน
- ภูมิซรอลเสนอระบบโทรคมฯ แจ้งเหตุฉุกเฉินพื้นที่ชายแดน
- พระวิหาร: เก้าคำถามคาใจไทยทั้งชาติ
- เผยดัชนีสถานภาพสื่อไทย 2.7 จาก 5 ระบุภาวะแบ่งขั้วการเมือง ทำสื่อเซ็นเซอร์ตัวเอง
- นักข่าวพลเมือง: จำเลยในขบวน “พีมูฟ” หันหน้าร้อง “ศาลหลักเมือง” ขอความเป็นธรรม
รายงานเสวนา: ดัชนีชี้วัดสถานภาพสื่อไทย ยังติดกับมาตรา 112 Posted: 25 Feb 2011 11:45 AM PST วงอภิปรายเรื่องสถานภาพสื่อไทย พุ่งเป้า 112 ปัญหาหลัก สื่อไทยเซ็นเซอร์ตัวเอง คนเล่นเน็ตติดคุก นักข่าวสนามไทยรัฐชี้มีการใช้เนื้อหาหมิ่นเหม่ 112 ทำการตลาดเรียกคนอ่าน นักข่าว อสมท.กังขา สหภาพ อสมท.พบนายกฯ ตกลงต้องการให้การเมืองแทรกแซงหรือไม่ (25 ก.พ. 54) ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ ปาร์ค มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท จัดการแถลงข่าว "ดัชนีชี้วัดสถานภาพสื่อเอเชีย: ประเทศไทย 2553" ซึ่งรวบรวมจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญในประเทศ ประกอบด้วยสื่อมวลชนและผู้แทนจากภาคประชาสังคม ทั้งหมด 11 คน อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฎิรูปสื่อ นำเสนอผลจากรายงานว่า จากการรวบรวมคะแนนตัวชี้วัดต่างๆ 4 หัวข้อ แต่ละหัวข้อเต็ม 5 คะแนน ได้ดังนี้ เสรีภาพในการแสดงความเห็น รวมทั้งเสรีภาพของสื่อได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมอย่างแข็งขัน 2.6 คะแนน ความหลากหลายของสื่อในประเทศ 2.4 คะแนน การกำกับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์มีความโปร่งใสและเป็นอิสระ มีการเปลี่ยนแปลงสื่อของรัฐให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง 3.6 คะแนน มาตรฐานความเป็นมืออาชีพ 2.3 คะแนน รวมดัชนีชี้วัดประเทศไทยได้ 2.72 คะแนน จากนั้น มีการอภิปรายโดยผู้ร่วมประเมินดัชนีชี้วัดบางส่วน โดยจอน อึ๊งภากรณ์ ประธานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม กล่าวว่า จากรายงาน คะแนนของไทยเรื่องสื่ออยู่กลางๆ โดยมีหลายด้าน ด้านหนึ่ง รัฐธรรมนูญให้หลักประกันด้านเสรีภาพ ไม่มีเซ็นเซอร์หรือควบคุม นสพ. แต่อีกด้านหนึ่ง โลกที่ควรจะมีเสรีภาพมากที่สุดอย่างโลกอออนไลน์กลับถูกควบคุมอย่างแรงตั้งแต่รัฐประหาร ปี 49 โดยใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยการมีข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ที่เป็นข้อมูลเท็จที่อาจสร้างความตระหนก หรือเป็นภัยต่อความมั่นคง มีโทษจำคุก 5 ปี หรือปรับ 1 แสนบาท ขณะที่ผู้ให้บริการเว็บที่ยอมให้ข้อมูลนั้นๆ ปรากฎ ก็มีโทษติดคุกเช่นกัน ไม่มีอิสระจริง เว็บถูกบล็อค และมีการใช้มาตรา 112 จอนกล่าวต่อว่า ขณะที่ปัญหาตอนนี้คือหากต้องการอะไรที่มีชีวิตชีวา เราต้องไปที่โลกออนไลน์ เพราะสื่อหลัก โดยเฉพาะ นสพ.เซ็นเซอร์ตัวเอง ไม่กล้าตรวจสอบสิ่งต่างๆ ในสังคม เช่น งบประมาณทหาร คอร์รัปชั่น การซื้อตำแหน่งของข้าราชการ รวมถึงไม่เสนอข่าวรากหญ้าเสื้อแดงจำนวนมากที่ยังถูกจับกุมดำเนินคดี ขณะที่มีการให้ประกันตัวแกนนำแล้ว จอน กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ น่าสนใจว่าเพราะเหตุใดสื่อหลักของไทยจึงไม่นำเสนอข่าวกรณีคดีของจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท ที่กำลังขึ้นศาล เนื่องจากไม่ลบข้อความที่มีผู้มาโพสต์ออกด้วย โดยชี้ว่า สื่อต่างประเทศอย่าง บีบีซี นิวยอร์กไทม์ เดอะการ์เดี้ยน ต่างก็ให้ความสนใจข่าวนี้ ทำไมสื่อหลักไทยจึงเชื่องเหลือเกิน
ในฐานะผู้ปฏิบัติงานข่าว หากมีโครงการที่มีความขัดแย้งสูง เช่น เขื่อนปากมูล ท่อก๊าซไทย-มาเลย์ ไทย-พม่า จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การไฟฟ้า ปตท.หรือ บริษัทข้ามชาติเข้ามาซื้อพื้นที่โฆษณา แล้วไม่ลงว่าเป็นพื้นที่โฆษณา เป็น advertorial หรือโฆษณาที่แอบแฝง ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์เองเขียนว่า "พื้นที่โฆษณา" แต่ตัวอักษรเล็กกว่ามาก อย่างไรก็ตาม มี นสพ.ไทยหลายฉบับที่ไม่บอกว่าเป็นพื้นที่โฆษณา เช่น มติชน
โดยยกตัวอย่างกรณีองค์กรอย่าง กสทช. ซึ่งยังไม่เกิดเสียที เพราะกฎหมายล่าช้า เนื่องจากการล้มรัฐธรรมนูญ ทำให้การพัฒนาหลายอย่างหยุดชะงัก เช่น หยุดการมี 3G การกระจายให้ประชาชนเข้าอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ขณะที่เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ไม่มีกระบวนการกระจายอำนาจ การตัดสินใจอยู่ที่รัฐบาล เมื่อรัฐบาลบอกว่าจะลงทุนก็ทำได้เลย อย่างไรก็ตาม สุภิญญามองว่า แม้สภาพเช่นนี้ของไทยจะดูถดถอย แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนผ่าน หากสามารถทำให้มีโมเดลที่คานดุลกันได้ ในระยะยาว ภาพรวมสื่อก็จะดีขึ้นในเชิงโครงสร้าง ด้านเสรีภาพ สื่อไทยมีเสรีภาพโดยรวม แต่ก็มีเรื่องที่พูดไม่ได้ และการที่ประชาชนกล้าลุกขึ้นมาพูดเรื่องนี้ก็เท่ากับประชาชนมีความเสี่ยงสูงมากตามไปด้วย เทียบกับมาเลเซีย มีเสรีภาพทางการเมืองน้อยกว่าไทย แต่ไม่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ถูกจับเข้าคุก ขณะที่เมืองไทยมีกว่า 20 คดี ซึ่งอาจสะท้อนว่าเพื่อนบ้านไม่กล้าลุกมาพูดในประเด็นละเอียดอ่อน แต่ประเทศไทยคนกล้าลุกมาพูดมาขึ้น ทำให้เขาถูกจำกัดและขังคุกมากขึ้น เลยกลายเป็นจุดที่ทำให้ไทยมีขัดแย้งในตัวของเราเอง โดยมีจำนวนคนที่ใช้สื่อถูกจับเข้าคุกมากกว่าหลายประเทศซึ่งมีสภาพความเป็นประชาธิปไตยน้อยกว่าเรา ซึ่งประเทศไทยต้องหาทางออกและก้าวข้ามจุดนี้ไปให้ได้ ไม่เช่นนั้น เราจะถดถอยและเสียโอกาสในการพัฒนาประเทศไปอย่างมีดุลยภาพและเป็นประชาธิปไตย
"สื่อไทยมีบทบาทอย่างไร ทำให้สังคมไทยเลือกจำบางอย่างหรือลืมบางอย่าง" ประวิตรกล่าวและว่า ถ้าสื่อหลักไม่ยอมเสนอข่าวอย่างเท่าทัน หรือ critical เกี่ยวกับสถาบันฯ สื่อก็ไม่สามารถเรียกตัวเองว่า "กระจก" "ตะเกียง" หรือ "หมาเฝ้าบ้าน" ได้อย่างแท้จริง ขณะที่ประชาชนห่วงเรื่องสถาบันฯ การรายงานเชิงบวกอย่างเดียวและประจบไม่สิ้นสุดจะทำให้เกิดปัญหา เหมือนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ซึ่งเป็นอันตราย ไม่ทำให้สังคมเข้มแข็ง และไม่เป็นผลดีกับประชาธิปไตย ถาม ทำอย่างไรกับสื่อ-การแสดงความเห็นไม่รับผิดชอบ ประสงค์ กล่าวเสริมว่า สื่อต่างประเทศอย่างนิวยอร์กไทม์นั้นไม่ได้ติดคุกที่นี่ แต่หากบรรณาธิการของเขาอยู่ในเมืองไทยก็อาจจะต้องคิดหนักหากจะเสนอข่าว ความเสี่ยงมันมี โดยปัญหาอยู่ที่กระบวนการยุติธรรม ประสงค์กล่าวว่า โดยธรรมชาติ นสพ.กลัวศาล เพราะเราไม่รู้กฎหมาย โดยยกตัวอย่างในอดีตที่มีการห้ามเผยแพร่กฎหมายตราสามดวง หากเผยแพร่จะติดคุก เราจึงมีความกลัว ไม่รู้ว่าอย่างไรคือการวิพากษ์ทางวิชาการ อย่างไรก็ตาม ระยะหลังสังคมไทยก็วิจารณ์ศาลมากขึ้น ช่วงหลังตนเองก็ได้วิจารณ์คำพิพากษาหลายครั้ง ทั้งด้านบวกและลบ ประสงค์กล่าวต่อว่า ในรายงานเรื่องนี้เขียนว่ามีการปราบปราม หรือปิดสื่อนั้น ตั้งคำถามว่า สื่อในที่นี้หมายถึงช่องทางหรือสื่อสารมวลชนวิชาชีพระดับสูงกันแน่ กรณีที่มีสื่อออกอากาศ 24 ชม. ไม่มีผังรายการ ขึ้นเวทีด่ากัน บอกว่าต้องฆ่ากัน นี่เป็นวิชาชีพระดับสูงหรือไม่ แล้วเราจะจัดการกับพวกนี้อย่างไร ปล่อยให้ด่าพ่อล่อแม่ ไม่มีผังรายการหรือ ทั้งนี้ อาจรวมถึงสื่อใหม่ด้วย หลายคนพอนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ก็แสดงความคิดเห็นเต็มที่ แต่ไม่กล้าออกชื่อ เขาเองเขียนบทความมา 20 กว่าปี ไม่เคยปัดความรับผิดชอบ และไม่เคยถูกฟ้องเลย ปัญหาคือเราต้องการแสดงความเห็น แต่ไม่กล้ารับผิดชอบหรือไม่ ถ้ารับก็โอเค สำหรับระบบกฎหมายนั้น รัฐธรรมนูญคุ้มครองได้ดี โดยมีข้อจำกัดที่น่าจะมีปัญหาจริงๆ เรื่องเดียวคือ มาตรา 112 ซึ่งเป็นปัญหาในบทบัญญัติที่โทษสูงมากถึง 15 ปี แต่ปัญหาที่ยิ่งกว่า คือกระบวนการของเจ้าหน้าที่รัฐ และกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีปัญหาจากทัศนคติที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่ในอดีต ส่วนกฎหมายอื่นที่เป็นข้อจำกัด แม้แต่ พ.ร.บ.คอมฯ มีปัญหา 2-3 อันคือ เรื่องความผิดความมั่นคงที่เอาไปใส่ในคอมพิวเตอร์ น่าจะแยกจากกัน นอกจากนี้จริงๆ แล้ว กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจศาลในการสั่งปิด แต่กระบวนการมั่ว ดังนั้น ถ้าแยกประเด็นของกฎหมายและการบังคับใช้ออกจากกัน จะเห็นภาพชัดขึ้น สำหรับการแก้ปัญหาการกระจุกตัวของการผูกขาดสื่อ ตามที่รัฐธรรมนูญระบุว่าห้ามควบรวบหรือผูกขาดสื่อที่จะกระทบต่อการแสดงความเห็นของสังคม การออกกฎเกณฑ์ของ กสทช.จะเป็นนามธรรมมาก เป็นโจทย์ใหญ่ของ กสทช. ซึ่งองค์กรต่างๆ ต้องช่วยให้เกิดการวางเกณฑ์ตรงนี้ ชี้ยังตรวจสอบเนื้อหาสื่อต่ำ ด้านการตรวจสอบของภาคประชาสังคม มีการพูดถึงเรื่องสิทธิเสรีภาพและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง แต่การตรวจสอบเนื้อหามีน้อย ไม่ชี้ตัวปัญหา ทั้งนี้ เขาได้ยกตัวอย่าง เว็บไซต์ http://churnalism.com/ ของ Media Standard Trust ในอังกฤษ ซึ่งเห็นปัญหาว่าธุรกิจประชาสัมพันธ์ ครอบงำสื่อเยอะ และลอกข่าวจากข่าวแจก (press release) จึงเปิดเว็บให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วม โดยหากคัดลอกข่าวแจกมา จะมีการดูดข้อมูล และบอกได้ว่า แต่ละเว็บข่าวคัดลอกมากี่เปอร์เซ็นต์ หรือ นสพ.ไหน มีข่าวหนักไปทางไหน ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจว่าควรเชื่อสื่อนั้นๆ หรือไม่
นอกจากนี้ แม้ว่าในรายงานจะพูดถึงการแทรกแซงทางการเมืองของภาครัฐ หรือกลุ่มทุน แต่ก็ไม่ได้ศึกษาการแข่งขันด้านการตลาดของแต่ละสื่อ ที่มีผลต่อสภาวการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองหรือความขัดแย้ง ทางชุมชน โดยยกตัวอย่างสื่อที่เรียกว่าสื่อฝ่ายแดง ก็ยังมีการแข่งขันกันเอง สื่อไหนไม่หยิบเรื่องที่หมิ่นเหม่ต่อมาตรา 112 มาเล่น ก็ขายไม่ออก ไม่มีคนตาม ไม่เห็นด้วยกลุ่ม-พรรคการเมืองมีสื่อของตัวเอง ถามใครต้องรับผิดชอบ สื่อ? ผู้บริหาร? กรณีที่การหมิ่นประมาทจนถึงหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หากมีคนถูกหมิ่นประมาท เช้า กลางวัน เย็น แล้วจะให้เขาอยู่ได้อย่างไร นิพนธ์ตั้งคำถามว่า จะหยุดสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร ซึ่งหากศาลสามารถตัดสินได้ 24 ชม. ก็อาจไม่ต้องมีกฎหมายอื่นเลยก็ได้ เพราะการพูดหนึ่งคำพูด มันกระจายไปทั่วโลก นิพนธ์กล่าวถึงความกังวลใจจากฝั่งผู้บริหารว่า ทุกวันนี้ นักวิชาชีพมีกลุ่มแก๊งของตัวเอง เช่น แก๊งสภา แก๊งไทยคู่ฟ้า ซึ่งข่าวที่เสนอออกมาเหมือนกันหมด ตั้งคำถามว่า นี่คือการควบคุมโดยระดับล่าง ซึ่งระดับบนทำอะไรไม่ได้หรือไม่ นี่คือความทุกข์ใจของผู้บริหาร ทำไมไม่เคยมีการหยิบประเด็นนี้มาพูดกัน ในช่วงท้าย จอน ชี้แจงเพิ่มเติมว่า คดีของจีรนุชที่บอกว่าสื่อควรสนใจนั้น เป็นเรื่อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งพูดกันเรื่องเสรีภาพสื่อ เนื่องจากโจทก์บอกว่า ถ้ามีความเห็นปรากฎบนเว็บ แม้เพียง 1 วินาที ก็ผิดกฎหมาย สื่อต่างประเทศรายงานประเด็นในระหว่างการขึ้นศาล ขณะที่สื่อไทยเงียบ หรือในกรณีคนถูกจับขังลืม สื่อไทยก็เงียบ จอนยกตัวอย่างว่า กรณีวิกิลีกส์ สื่อสามารถนำเสนอได้โดยไม่ผิดกฎหมาย เช่น รายงานว่า วิกิลีกส์เสนอประเด็นที่มีคนสามคน คือใครบ้าง คุยกับทูตอเมริกัน และบอกว่าไม่สามารถเสนอเนื้อหาได้ เนื่องจากเสี่ยงต่อความผิดตามมาตรา 112 ซึ่งประชาชนก็จะไปหาอ่านเอง แต่สื่อหลักตอนนี้กำลังกลายเป็นสื่อบันเทิง ขณะที่สื่อที่มีความหมาย เป็นสื่อออนไลน์ ที่มีความเสี่ยงสูง ไม่เป็นมืออาชีพ แต่พูดในเรื่องที่สำคัญ เรื่องอนาคตสถาบันกษัตริย์ถ้าปิดเงียบ เขามองว่าจะไม่มั่นคง จะให้มั่นคง ต้องสามารถพูดถึงได้ ประวิตร โรจนพฤกษ์ แสดงความเห็นเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ สื่อกับสังคมแยกไม่ออกแล้วว่า การแสดงความเห็นอย่างเท่าทันและเป็นประโยชน์เกี่ยวกับสถาบันฯ ต่อที่สาธารณะ กับความเห็นเชิงดูหมิ่นหรือใส่ร้ายต่อสถาบันนั้น ต่างกันอย่างไร ถ้าได้อ่านในวิกิลีกส์ จะพบว่าเป็นความเห็นเท่าทันที่หวังดีต่อสถาบัน แต่สิ่งเหล่านั้นสื่อก็ปฏิเสธซึ่งที่ว่าอาจเกิดจากการปลูกฝังนั้น มองว่าก่อนสมัยสฤษดิ์ สื่อไทยก็เคยรายงานข่าวอย่างเท่าทัน อย่างไรก็ตาม หากการปลูกฝังผิด หรือไม่เอื้อต่อสังคม ตั้งคำถามว่าสื่อจะนิ่งดูดายอยู่เฉยๆ หรือ และถ้าไม่เปลี่ยน ถามว่าคุณเป็นพลังเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีหรือไม่ หรือเป็นพลังอนุรักษ์สิ่งที่อาจไม่เอื้อต่อประชาธิปไตย กรณีสื่อเหลืองสื่อแดงนั้นมองว่า ไม่ใช่ว่าเมื่อมีการใส่ร้ายกัน และมีการปิดสื่อแล้ว ก็จะปล่อยไปได้โดยไม่เดือดร้อน แต่ควรต้องวิจารณ์การรายงานแบบนั้นๆ ท่าทีของสมาคมสื่อไม่ควรดูดาย ควรดีเบตว่าอะไรเป็นสื่อ เป็นคำถามให้สังคมหาคำตอบและตัดสินเอง เพราะหากมีการกล่าวหากัน ก็มีกฎหมายหมิ่นประมาทอยู่แล้ว ด้านประสงค์ กล่าวย้ำว่า ส่วนที่พูดถึงปรากฎการณ์นั้นไม่ได้บอกว่าเห็นด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ มองว่าที่จอนแนะนำคือกลวิธี แต่คนที่รับผิดชอบอาจไม่ได้คิดอย่างนั้น และกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นจนถึงสูงสุดยังไม่แน่นอน จึงตัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นโดยเลือกที่จะไม่เสนอ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
‘ปากบารา’ล้อมกรอบ‘คณะสำรวจฯ’ ผวาโฆษณาโหมสร้าง‘ท่าเรือน้ำลึกฯ’ Posted: 25 Feb 2011 08:36 AM PST ชาวบ้านปากบาราและหมู่บ้านใกล้เคียง ตื่นล้อมกรอบคณะสำรวจ ATT 2 ครั้ง ผวาหน่วยงานรัฐโฆษณาโหมสร้างท่าเรือน้ำลึกฯ รองผู้จัดการโครงการฯเผยหาวิธีสำรวจพื้นที่ต่อไป วันที่ 21 ก.พ. 54 ชาวบ้านได้เจรจากับคณะทำงานโครงการงานติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ ซึ่งรศ.ดร.ธนิยา เกาศล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เป็นผู้จัดการโครงการฯ ที่มอ.หาดใหญ่ เวลาประมาณ 08.00 น. ของวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 บริเวณจุดชมวิวลาน18 ล้านปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ชาวบ้านประมาณ 30 คนล้อมกรอบคณะสำรวจชายฝั่งของบริษัท เอทีที คอนซัลแตนท์ จำกัด จำนวน 4 คน ประมาณ 15 นาที ที่กำลังตอกหลักหมุด ตรงสนามเด็กเล่น บริเวณจุดชมวิวลาน18 ล้านปากบารา กลุ่มชาวบ้านได้ให้คณะสำรวจฯถอนหลักหมุดออก คณะสำรวจฯจึงถอนหลักหมุดดังกล่าว ก่อนขึ้นรถยนต์ออกไป ต่อมาเวลาประมาณ 15.00 น. บริเวณเดียวกัน ชาวบ้านประมาณ 40 คนล้อมกรอบคณะสำรวจคุณภาพอากาศของบริษัท เอทีที คอนซัลแตนท์ จำกัด จำนวน 6 คน ประมาณ 15 นาที ที่กำลังตั้งเครื่องมือวัดลม ชาวบ้านขอให้คณะสำรวจฯถอนเครื่องมือสำรวจออก คณะสำรวจฯจึงถอนเครื่องมือ แล้วออกไปจากพื้นที่ นายนันทพล เด็นเบ็ญ ชาวบ้านปากบารา เปิดเผยว่า ตนเห็นกลุ่มชาย 3-4 คน กำลังตอกหลักหมุด ตรงสนามเด็กเล่น บริเวณลาน 18 ล้าน ขณะตนขับรถจักรยานยนต์ส่งลูกไปโรงเรียนตอนเช้า ต่อมาระหว่างที่ตนกลับบ้านตนเห็น กลุ่มชาวบ้านกำลังห้อมล้อมกลุ่มชายดังกล่าว ตนจึงเข้าไปถามจึงทราบว่าเป็นคณะสำรวจมาปักหลักหมุดสำรวจชายฝั่งก่อนการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา มาจากบริษัท เอทีที คอนซัลแตนท์ จำกัด ตนและกลุ่มชาวบ้านจึงขอให้ถอนหลักหมุดออก คณะสำรวจจึงถอดหลักหมุดออกแล้วเขวี้ยงทิ้งลงทะเล แล้วขึ้นรถยนต์ออกไป ต่อมาชาวบ้านได้งมหาหลักหมุดดังกล่าวจนพบ นายนันทพล เปิดเผยอีกว่า เวลา 13.00 น. ตนเห็นกลุ่มชาย 6-7 คน กำลังติดตั้งเครื่องมือวัดลม บริเวณเดียวกับคณะสำรวจชายฝั่งมาตอกหลักหมุดเมื่อตอนเช้า ขณะตนขับรถจักรยานยนต์รับลูกกลับจากโรงเรียน ตนจึงเข้าไปถามกลุ่มคนดังกล่าวได้รับคำตอบว่ามาจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ เพื่อสำรวจความเร็วและทิศทางลมก่อนการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา “ต่อมาชาวบ้านทยอยล้อมกลี่มสำรวจ ขอให้ถอนเครื่องมือดังกล่าวออก เนื่องจากชาวบ้านหวาดระแวงและไม่ไว้ใจหน่วยงานไหนทั้งนั้นที่เดินหน้าจะสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราที่มีปัญหาคุกรุ่นอยู่ในขณะนี้” นายนันทพล กล่าว นายวิรัช องค์ประเสริฐ กรรมการบริหารบริษัท เอทีที คอนซัลแตนท์ จำกัด ซึ่งเป็นรองผู้จัดการโครงการงานติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม งานประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนระยะก่อนการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา ระยะที่ 1 จังหวัดสตูล เปิดเผยว่า ตนส่งคณะสำรวจด้านคุณภาพอากาศ สัณฐานวิทยาชายฝั่งทะเลและสมุทรศาสตร์ ซึ่งเป็นคณะสำรวจจากบริษัท เอทีที คอนซัลแตนท์ จำกัด ลงพื้นที่บิเวณจุดชมวิวปากบารา เพื่อเก็บข้อมูลดังกล่าวตามงานติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯที่รับจ้างมาจากกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม “เมื่อลงพื้นที่สำรวจแล้วเจอปัญหาอย่างนี้ ตอนนี้ผมบอกไม่ได้ว่าทำอะไรต่อไป ถึงอย่างไรก็ตามแต่ผมต้องหาวิธีแก้ปัญหาในการสำรวจด้านคุณภาพอากาศ สัณฐานวิทยาชายฝั่งทะเลและสมุทรศาสตร์ให้ได้ต่อไป” นายวิรัช กล่าว อนึ่งเวลาประมาณ 11.00 น. เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2554 ที่บ้านตะโล๊ะใส ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ชาวบ้านประมาณ 30 คน ล้อมกรอบนางสาววาสนา ประสมศรี และนางสาวอัจราพร ทรปุ่น 2 นักศึกษาปริญญาโท คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ประมาณ 20 นาที ต่อมานักศึกษาดังกล่าว พยายามติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ซึ่งเป็นญาติเพื่อเจรจากับชาวบ้านขอออกจากพื้นที่ เหตุเกิดขึ้นหลังจากนักศึกษาทั้ง 2 คน ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามทดลองสำรวจเบื้องต้นจำนวน 30 ชุด ทัศนคติต่อการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยนักศึกษาดังกล่าวเป็นคณะทำงานของ รศ.ดร.วันชัย ธรรมสัจการ อาจารย์คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมและพัฒนาสังคม และเป็นที่ปรึกษาโครงการงานติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ คณะทำงานโครงการงานติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม งานประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนระยะก่อนการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา ระยะที่ 1 จังหวัดสตูล ประกอบด้วย 1.ผศ.ดร.ธนิยา เกาศล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เป็นผู้จัดการโครงการฯ สำหรับกรอบข้อตกลง(TOR)ระหว่างกรมเจ้าท่ากับคณะทำงานโครงการงานติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ ระบุขอบเขตของการดำเนินงาน ข้อที่3.1 ว่า จะต้องดำเนินการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในระยะก่อนการก่อสร้าง ได้แก่ การติดตามตรวจสอบด้านคุณภาพอากาศ ด้านสัณฐานวิทยาชายฝั่งทะเลและสมุทรศาสตร์ ด้านเศรษฐกจ-สังคม ทำการวิเคราะห์ ประเมินผลการติดตามตรวจสอบ พร้อมทั้งวิจารย์ผลและให้ข้อเสนอแนะดังนี้ -คุณภาพอากาศ -สมุทรศาสตร์ -เศรษฐกิจ/สังคม
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ทัพพม่าเตรียมปราบกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" สั่งปิดเส้นทางทุกด้าน Posted: 25 Feb 2011 07:06 AM PST กองทัพพม่าเสริมกำลังทหารเข้าชิดพื้นที่กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" ต่อเนื่อง ล่าสุดสั่งปิดเส้นทางเข้าออกทุกด้าน เชื่อเตรียมกวาดล้าง มีรายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 20 ก.พ. 2554 กองทัพรัฐบาลทหารพม่าได้มีคำสั่งปิดเส้นทางรถยนต์ทุกเส้นทางที่เข้าสู่เขตพื้นที่บ้านไฮ ของเมืองเกซี (รัฐฉานภาคเหนือ) ซึ่งเป็นที่ตั้งกองบัญชาการใหญ่กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" (Shan State Army 'North') อดีตกองกำลังหยุดยิงที่ปฏิเสธจัดตั้งหน่วยพิทักษ์ชายแดนใต้กำกับของรัฐบาลทหารพม่า แหล่งข่าวเผยว่า ทหารพม่าได้ห้ามรถยนต์ทุกชนิดผ่านเส้นทางสายเมืองหนอง - เมืองต้างยาน และเส้นทางสายเมืองเกซี – เมืองสู้ ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมเมืองทั้งสี่ด้านที่ต้องผ่านพื้นที่บ้านไฮ เขตครอบครองของกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" โดยการสั่งปิดเส้นทางนี้ เชื่อกันว่าเป็นการกดดันกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" ด้านเจ้าหน้าที่จากกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" รายหนึ่งเปิดเผยว่า เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี ที่กองทัพพม่า ปิดเส้นทางเข้าสู่พื้นที่กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" นับตั้งแต่มีการเจรจาหยุดยิงกันมาตั้งแต่ปี 2532 ซึ่งการปิดเส้นทางนี้น่าจะเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ เป็นการตัดรายได้หรือไม่ก็เป็นการเตรียมเข้าปราบปรามกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" การเคลื่อนไหวกองทัพพม่าครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" ในนามพรรคก้าวหน้ารัฐฉาน (Shan State Progress Party - SSPP) เข้าร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า 12 กลุ่ม จัดตั้งสภาสหพันธรัฐแห่งชาติสหภาพ หรือ UNFC (United Nationalities Federal Council) โดยมีการประกาศเมื่อวันที่ 16 ก.พ. ที่ผ่านมา โดยสภาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์เจรจาหรือดำเนินการทางการเมืองกับรัฐบาลทหารพม่าและประชาคมโลก และเพื่อสิทธิความเสมอภาคและเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐในพม่าอย่างแท้จริง ขณะที่มีรายงานด้วยว่า ตลอดช่วงเดือนที่ผ่านมากองทัพพม่าได้เสริมกำลังทหารเข้าประชิดพื้นที่กอง กำลังไทใหญ่ "เหนือ" อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีการเรียกกำลังพลจากกองพลที่ 99 ที่เคยร่วมปราบกองกำลังโกก้าง MNDAA เมื่อปลายปี 2552 จากพื้นที่ภาคเหนือรัฐฉานลงมาเสริมในพื้นที่ติดกับพื้นที่เคลื่อนไหวกอง กำลังไทใหญ่ "เหนือ" นอกจากนี้ทางกองทัพพม่ายังส่งรถถังกว่า 10 คัน เข้าไปในพื้นที่เมืองหนอง ซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับพื้นที่เคลื่อนไหวกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" ด้วย ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ http://www.khonkhurtai.org/ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ทหารพม่าถูกฆ่าตาย 3 นายทางภาคใต้รัฐฉาน Posted: 25 Feb 2011 03:00 AM PST เกิดการปะทะกันระหว่างทหารพม่าและทหาร SSA – ใต้ ของเจ้ายอดศึกที่เมืองโต๋น ทางภาคใต้ของรัฐฉาน เป็นเหตุให้ทหารพม่าเสียชีวิต 3 นาย ขณะที่สถานการณ์สู้รบทางภาคใต้ของรัฐฉานยังคงตึงเครียด ส่วนในรัฐคะฉิ่น มีรายงานด้วยว่า ทหารพม่าได้เคลื่อนรถถังและกำลังพลเข้าใกล้สำนักงานใหญ่ขององค์กรอิสระคะฉิ่น (Kachin Independence Organization - KIO) มีรายงานว่า ทหารพม่าได้กดดันทหาร SSA – ใต้ ภายใต้การนำของเจ้ายอดศึก และทหาร SSA - เหนือที่ไม่ยอมเป็นกองกำลังรักษาชายแดน (Border Guard Force - BGF) อย่างหนัก โดยในช่วงที่ผ่านมา มีการปะทะกันประปราย แต่มีรายงานความเสียหายเฉพาะในเมืองโต๋นเท่านั้น ขณะที่นายแสงจื้น สาละวิน บรรณาธิการสำนักข่าวฉานเปิดเผยว่า ทหารพม่าไม่เพียงเคลื่อนไหวในพื้นที่เท่านั้น แต่กำลังเตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับการสู้รบครั้งใหญ่ เช่นเดียวกับกองทัพสหรัฐว้า (The United Wa State Army) เองที่กำลังขยายกองทัพ โดยว้ามีการรณรงค์เกณฑ์ทหารใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเมืองเชียงตุง ภาคตะวันออกของรัฐฉาน ทั้งนี้ กองทัพว้าจะมอบเงิน คิดเป็นเงินไทยจำนวน 50, 000 บาท ให้กับผู้ที่สมัครเข้าเป็นทหารในกองพลสำรอง แต่หากสมัครเข้าเป็นทหารทันที จะได้รับเงินจำนวน 75,000 บาท ขณะที่ในรัฐคะฉิ่นเอง ทหารพม่าในพื้นที่ได้เรียกเก็บทหารใหม่เช่นเดียวกัน จนทำให้วัยรุ่นชาวคะฉิ่นกว่าร้อยคน ต้องหลบหนีเข้าไปอยู่ในฐานที่มั่นของ KIO นอกจากนี้ ทหารพม่ายังเคลื่อนกำลังพลและรถถังเข้าไปใกล้กับสำนักงานของ KIO ในเมืองไลซา ซึ่งสถานการณ์ระหว่างทหารคะฉิ่นและทหารพม่าเองก็ยังตึงเครียดจนถึงขณะนี้ ที่มา: KNG /Mizzima /Irrawaddy 24 ก.พ.54 ------------------------------------------------------------------------- แปลและเรียบเรียงโดย สาละวินโพสต์ "สื่อทางเลือกเพื่อแบ่งปันความเข้าใจสู่เพื่อนบ้าน"อ่านข่าวและบทความอื่นๆ อีกมากมายได้ที่เว็บไซต์ www.salweennews.org เฟซบุ๊คhttp://www.facebook.com/Salweenpost ทวิตเตอร์http://twitter.com/salweenpost สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ภูมิซรอลเสนอระบบโทรคมฯ แจ้งเหตุฉุกเฉินพื้นที่ชายแดน Posted: 25 Feb 2011 02:48 AM PST กสทช.ลงพื้นที่ภูมิซรอล พบปัญหาซ้ำเดิมยามเกิดเหตุฉุกเฉิน มือถือบอดใช้งานไม่ได้ ขณะที่ ผู้ว่าฯศรีสะเกษเสนอ กสทช. หนุนระบบโทรคมนาคมพื้นที่ชายแดน สร้างช่องทางสื่อสารหลากหลายให้ถึงประชาชนเมื่อภัยมาถึง นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (ผอ.สบท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะตัวแทนจากสำนักงาน กสทช. ประกอบด้วย ผอ. สบท. นายศรีสะเกษ สมาน นางสาวสุภัทรา นาคะผิว อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม นายศรศิลป์ คล่องแคล่ว ตัวแทนจากสำนักงานการบริการอย่างทั่วถึง นายวรุตม์ ว่องโรจนานนท์ ตัวแทนจากสำนักวิศวกรรมและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ได้เดินทางไปสำรวจข้อมูลในพื้นที่ บ้านภูมิซรอล และโรงเรียนภูมิซรอลวิทยา และเข้าหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด กรณีผลกระทบจากการสู้รบระหว่างทหารไทย กับทหารกัมพูชา รวมถึงสำรวจความเสียหายและความต้องการใช้ระบบโทรคมนาคมในพื้นที่ชายแดนจังหวัดศรีสะเกษ จากการสำรวจความเสียหายพบว่า ชุมสายโทรศัพท์พื้นฐานของ บมจ.ทีโอที ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษณ์นั้น มีผู้ใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน 40 เลขหมาย และลูกค้า ADSL จำนวน 15 Ports ไม่สามารถใช้งานได้และอยู่ในระหว่างการซ่อมบำรุง ส่วนที่โรงเรียนภูมิซรอลวิทยา บ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษณ์ ได้รับความเสียหายอย่างมาก โดยอาคารเรียนถูกระเบิดพังเสียหาย ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบโทรคมนาคม พบว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับความเสียหาย และไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากสาย fiber optic ถูกสะเก็ดระเบิดหรือกระสุนปืนใหญ่ “จากคำบอกเล่าของประชาชนในพื้นที่พบว่า วันเกิดเหตุประชาชนต่างแตกตื่นวิ่งหนีหลบภัยแบบไม่มีทิศทาง รถติดยาวกว่า 30 กิโลเมตร ขณะที่ โทรศัพท์มือถือไม่สามารถติดต่อกันได้ในบางช่วงเวลา สถานการณ์ปัญหาการใช้บริการโทรคมนาคมเหมือนกับช่วงที่เกิดเหตุการณ์สึนามิ หรือเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ เนื่องจากช่องสัญญาณเต็ม เพราะมีผู้ใช้บริการในคราวเดียวจำนวนมาก และประชาชนในพื้นที่ชุมสายตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษณ์ รวมถึงบ้านภูมิซรอลไม่สามารถใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน และไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้” ผอ.สบท.กล่าว นายประวิทย์กล่าวอีกว่า การจัดตั้งศูนย์ประสานงานและแจ้งเหตุป้องกันภัยชายแดน จำเป็นต้องวางระบบให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาของการใช้งานอาจแตกต่างจากการตั้งศูนย์เตือนภัยสึนามิ ซึ่งจะต้องมีการศึกษาวิจัยต่อไป นอกจากนี้ประชาชนในพื้นที่ยังต้องการให้ผู้ประกอบการขยายสัญญาณโทรศัพท์มือถือให้ครอบคลุมพื้นที่ชายแดน และต้องการให้มีการฝึกทักษะการติดต่อสื่อสารด้วยระบบโทรคมนาคมเมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติจากการสู้รบในพื้นที่ชายแดนด้วย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
พระวิหาร: เก้าคำถามคาใจไทยทั้งชาติ Posted: 25 Feb 2011 02:39 AM PST 1 ปราสาทพระวิหารอยู่ที่ใด? (คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก วันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1962, สำนวนแปล สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี 30 มิถุนายน 2505 หน้า51) 2 พื้นที่โดยรอบตัวปราสาทอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของใคร? (คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก วันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1962 สำนวนแปล สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี 30 มิถุนายน 2505 หน้า 51) 3 เส้นเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหารเป็นไปตามสันปันน้ำหรือไม่? เมื่อได้ให้เหตุผลที่ศาลได้ใช้เป็นมูลฐานในการให้คำวินิจฉัยของตน แล้วก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาว่า ณ พระวิหาร เส้นเขตแดนตามแผนที่จะตรงกับเส้นสันปันน้ำที่แท้จริงในบริเวณใกล้เคียงนี้หรือไม่ หรือ ว่าได้เคยตรงกันในระหว่าง ค.ศ. 1904-1908 แล้วหรือไม่ หรือว่า ถ้าไม่ตรงกันแล้วเส้นสันปันน้ำจะเป็นอย่างไรในความเป็นจริง (คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก วันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1962 สำนวนแปล สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี 30 มิถุนายน 2505 หน้า 49-50) 4 ไทยไม่เคยยอมรับแผนที่ 1: 200000 จริงหรือ? แผนที่สำหรับชายแดนด้านเหนือประกอบได้ และสำหรับด้านใต้ แผนที่ดังกล่าวนี้ “หม่อมฉันขอเก็บไว้อย่างละ 2 ชุดและส่งอีกอย่างละชุดไป ลอนดอน เบอร์ลิน รัสเซียและอเมริกา ที่เหลืออีก 44 ชุดได้บรรจุลงหีบห่อและส่งให้พระองค์” ในเวลาต่อมาสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงขอบพระทัยอัครราชทูตฝรั่งเศส ณ กรุงเทพฯ สำหรับแผนที่เหล่านั้นและได้ทรงขอแผนที่ต่ออัครราชทูตเพิ่มเติมอีกอย่างละ 15 ชุดเพื่อทรงจัดส่งไปให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆของสยาม ข้อโต้แย้งของทนายความฝ่ายไทยว่า มีแต่เจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยเท่านั้นที่ได้เห็นแผนที่จึงฟังไม่ขึ้น ด้วยว่า สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย สมาชิกคณะกรรมการผสม และ ผู้ว่าราชการจังหวัดขุขันธ์ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะได้รับแผนที่นั้นด้วยเช่นกัน ล้วนแล้วแต่ไม่ใช่ข้าราชการชั้นผู้น้อย โดยเฉพาะสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ นั้น ทรงเชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และ ทรงสนพระทัยเรื่องเขตแดนเป็นอย่างมาก ศาลจึงเห็นว่า ข้ออ้างของทนายฝ่ายไทยฟังไม่ขึ้น 5 ไทยยังมีสิทธิทวงคืนปราสาทพระวิหารอยู่หรือไม่? การยื่นคำขอให้กลับคำพิพากษาจะทำได้ต่อเมื่อปรากฏว่ามีหลักฐานใหม่ ซึ่งโดยสภาพจะเป็นปัจจัยสำคัญให้เปลี่ยนแปลงคำพิพากษาได้และโดยที่เวลาที่ทำคำพิพากษานั้นศาลและคู่กรณีไม่ได้รู้มาก่อน 2. The proceedings for revision shall be opened by a judgment of the Court expressly recording the existence of the new fact, recognizing that it has such a character as to lay the case open to revision, and declaring the application admissible on this ground. กระบวนการในการกลับคำพิพากษานั้น กระทำโดยดุลยพินิจของศาล โดยการบันทึกการมีอยู่ของหลักฐานใหม่ คำนึงถึงลักษณะที่จะเป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาและการประกาศรับคำขอตามหลักการเช่นว่านั้น 3. The Court may require previous compliance with the terms of the judgment before it admits proceedings in revision. ศาลอาจจะขอให้มีการปฏิบัติตามคำพิพากษาก่อนที่จะดำเนินการพิจารณาเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา 4. The application for revision must be made at latest within six months of the discovery of the new fact. การขอให้เปลี่ยนแปลงเพื่อกลับคำพิพากษาใหม่จะทำภายในระยะเวลา 6 เดือนนับแต่พบหลักฐานใหม่ 5. No application for revision may be made after the lapse of ten years from the date of the judgment. การขอให้ศาลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาไม่อาจจะทำได้เมื่อเกินกำหนดระยะเวลา 10 ปีนับแต่มีคำพิพากษา 6 ไทยและกัมพูชายังจะทำอะไรได้อีกในคดีปราสาทพระวิหาร? ธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 60 ระบุว่า คำพิพากษาของศาลถือเป็นที่สุด ไม่มีการอุทธรณ์ใดๆ ในการกรณีที่ข้อขัดแย้งเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของคำพิพากษา ศาลอาจะทำการวินิจฉัยตามคำขอของคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ปัญหาในข้อขัดแย้งบางประการที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คู่กรณีชอบที่จะขอให้ศาลวินิจฉัยว่า อาณาเขตของกัมพูชา ซึ่งปราสาทพระวิหารตั้งอยู่นั้น มีขนาดกว้างและยาวเพียงใด คำขอเช่นว่านั้นย่อมไม่ถือว่าเป็นการขอให้เปลี่ยนแปลงคำพิพากษาใหม่ และชอบด้วยมาตรา 60 นี้ 7 การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารทำให้ไทยเสียอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนจริงหรือ? อนุสัญญายูเนสโก มาตรา 11 (3) การจัดเอาทรัพย์สินใดเข้าอยู่ในบัญชีของมรดกโลก จะต้องได้รับความยินยอมจากรัฐที่เกี่ยวข้อง การขึ้นทะเบียนทรัพย์สินใดที่ตั้งอยู่ในอาณาเขต ภายใต้อำนาจอธิปไตย หรือ ขอบเขตอำนาจ ที่มีการอ้างสิทธิมากกว่าหนึ่งรัฐ การขึ้นทะเบียนย่อมไม่ทำให้สิทธิเช่นว่านั้นเสียไปแต่อย่างใด 8 กัมพูชารวมพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรอยู่ในพื้นที่กันชนปราสาทพระวิหารจริงหรือ? แผนผังที่ได้รับการปรับปรุงแล้วปรากฏตามภาพ
ตามที่ปรากฏ ตัวทรัพย์สินคือ หมายเลข 1 ส่วนพื้นที่กันชนคือ หมายเลข 2 ส่วนพื้นที่สีเหลืองคือ พื้นทีซึ่งอ้างสิทธิทับซ้อนจะไม่รวมอยู่ในแผนบริหารจัดการ 9 การคัดค้านของรัฐบาลไทยทำให้กัมพูชาไม่สามารถบริหารจัดการปราสาทพระวิหารได้จริงหรือ? ทางการกัมพูชาได้ดำเนินการปรับปรุงปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบตามแนวเขตกันชนนับแต่ปราสาทได้รับการประกาศเป็นมรดกโลก โดยงานส่วนใหญ่มุ่งไปที่การปกป้องคุ้มครอง ตัวสถาปัตยกรรม โบราณสถาน ภูมิทัศน์ ทรัพย์สินอันเป็นธรรมชาติและที่ศักดิ์สิทธิ์ คณะผู้เชี่ยวชาญจากยูเนสโกได้เดินทางเข้าไปสำรวจปราสาทพระวิหารนับแต่ได้ขึ้นทะเบียนและทำได้มีการประชุมเพื่อเสนอความเห็นประกอบแนวทางในการบริหารจัดการปราสาทตั้งแต่เดือนเมษายน 2009 และในระหว่างวันที่ 22-28 พฤศจิกายน 2009 ได้มีคณะผู้เชี่ยวชาญไปสำรวจพระวิหารอีกเพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงาน ในระหว่างนั้น ทางการกัมพูชาได้ปรับปรุง ซ่อมแซม หัวนาค ที่โคปุระ 5, 4, 3 ทำการปรับปรุงช่องทางบันใดหักทางทิศตะวันออก โดยสร้างเป็นบันใดไม้ขึ้นมา พร้อมทั้งปรับปรุงถนนเข้ามาทางด้านล่าง (เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับถนนที่ขึ้นมายังหน้าปราสาทด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) ขณะเดียวกันก็มีการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ และ หมู่บ้านสำหรับส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในพื้นทีใกล้เคียงเขาพระวิหารอีกด้วย ทั้งหมดปรากฏอยู่ในรายงานที่ได้ส่งมอบให้คณะกรรมการไปแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2010 แผนการนี้ถูกทางการไทยขอให้ระงับการพิจารณาเอาไว้ก่อน คาดว่าจะมีการพิจารณาอีกครั้งในการประชุมประจำปีนี้ที่บาเรนห์ในเดือนมิถุนายน 2011 บันไดทางทิศตะวันออกที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่ ถนนที่สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อกับถนนที่ขึ้นมายังหน้าปราสาทด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แม้กระนั้นก็ตาม ในเอกสารซึงการกัมพูชาเผยแพร่นั้นแสดงให้เห็นว่า การดำเนินการตามแผนไม่ได้สดุดหยุดลง มีภาพถ่ายซึ่งได้ถ่ายเมื่อกลางปี 2010 (หลังจากส่งแผนไปแล้ว 5 เดือนซึ่งบ่งชี้ว่าการดำเนินงานหลายอย่างเสร็จสิ้นลงแล้วด้วยซ้ำไป แต่อาจจะมีแผนงานอีกหลายรายการที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับเต็มที่ยังไม่ผ่านการพิจารณา ซึ่งทางกัมพูชาไม่ได้แสดงเอาไว้ว่าได้มีการดำเนินการหรือไม่อย่างไร สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
เผยดัชนีสถานภาพสื่อไทย 2.7 จาก 5 ระบุภาวะแบ่งขั้วการเมือง ทำสื่อเซ็นเซอร์ตัวเอง Posted: 25 Feb 2011 12:59 AM PST มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท ระบุไทยได้ดัชนีชี้วัดสถานภาพสื่อ 2.7 จาก 5 พบภาวะแบ่งขั้ว ทำสื่อเซ็นเซอร์ตัวเอง คนไม่กล้าแสดงความเห็น หวั่น กม.เล่นงาน คลื่นความถี่ในมือรัฐ-ทหาร-ทุน ทำจัดสรรยาก เนื้อหาสื่อยังตอกย้ำอคติทางเพศ ฉายค่านิยมชายเป็นใหญ่ คนทำสื่อรายได้ต่ำ ถูกห้ามรวมตัว (25 ก.พ. 54) ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ ปาร์ค มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท แถลงข่าว "ดัชนีชี้วัดสถานภาพสื่อเอเชีย: ประเทศไทย 2553" ซึ่งรวบรวมจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญในประเทศ ประกอบด้วยสื่อมวลชนและผู้แทนจากภาคประชาสังคม ทั้งหมด 11 คน อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฎิรูปสื่อ นำเสนอผลจากรายงานว่า จากการรวบรวมคะแนนตัวชี้วัดต่างๆ 4 หัวข้อ แต่ละหัวข้อเต็ม 5 คะแนน ได้ดังนี้ เสรีภาพในการแสดงความเห็น รวมทั้งเสรีภาพของสื่อได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมอย่างแข็งขัน 2.6 คะแนน ความหลากหลายของสื่อในประเทศ 2.4 คะแนน การกำกับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์มีความโปร่งใสและเป็นอิสระ มีการเปลี่ยนแปลงสื่อของรัฐให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง 3.6 คะแนน มาตรฐานความเป็นมืออาชีพ 2.3 คะแนน รวมดัชนีชี้วัดประเทศไทยได้ 2.72 คะแนน ด้านเสรีภาพในการแสดงความเห็น รัฐธรรมนูญ 2550 ให้การคุ้มครองและให้หลักประกันด้านสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไว้หลายมาตรา แต่ในทางปฏิบัติ ถูกจำกัดโดยกฎหมายอื่น เช่น พ.ร.บ.ความมั่นคง กฎหมายอาญาเรื่องการหมิ่นประมาท เช่น มาตรา 112 เรื่องการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทั้งนี้ แม้ว่า นสพ.และพลเมืองต่างก็ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นของตนเท่าที่จะทำได้ แต่ก็หวาดกลัวต่อสถาบันที่มีอำนาจต่างๆ เช่น สถาบันศาล สถาบันกษัตริย์ เพราะกลัวถูกกล่าวหาจับกุม ด้วยข้อหาร้ายแรง เช่น เป็นกบฎ หรือหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ นอกจากนี้ พบว่า มีการสยบยอมต่ออำนาจที่อยู่เหนือกว่า เช่น พลเมืองกลัวอำนาจของสถาบันสื่อ หรือผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ข้าราชการกลัวนักการเมือง นักวิชาชีพสื่อสารมวลชนยอมเจ้าของกิจการ พลเมืองกลัวการล่าแม่มดในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ภาวะแบ่งขั้ว ทำสื่อเซ็นเซอร์ตัวเอง ทั้งนี้ หลังการรัฐประหารในปี 2549 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เร่งออกกฎหมายหลายฉบับ ซึ่งโดยทั่วไป เป็นกฎหมายส่งเสริมเสรีภาพแสดงความเห็น รวมถึงมีกฎหมายตั้งองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แต่หนึ่งในกฎหมายที่ออกโดย สนช. คือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ถูกเอามาใช้ลิดรอนสิทธิในการแสดงความเห็น มีเว็บจำนวนมากถูกบล็อค มีผู้ถูกจับกุมด้วยข้อหาหมิ่นสถาบันฯ แม้ว่า จะมี พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการให้หลักประกันในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ แต่กระบวนการเข้าถึงยังยุ่งยากและล่าช้า นอกจากนี้ ยังไม่มีกฎหมายใดให้ความคุ้มครองสิทธิของแหล่งข่าว เจ้าหน้าที่รัฐและศาลจึงมักกดดันให้สื่อมวลชนเปิดเผยที่มา หรือแหล่งข่าว ขณะที่องค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น มีจำนวนน้อยและไม่ทำงานร่วมกัน ในช่วงที่มีการแบ่งขั้วทางการเมือง บางองค์กรก็ไม่สนับสนุนเสรีภาพสื่อ แต่กลับสนับสนุนให้รัฐปราบสื่อฝ่ายที่เห็นต่างทางการเมือง ด้านความหลากหลายของสื่อ ภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนไทย ประกอบด้วยสื่อหลายแขนง ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ และโทรทัศน์ และสื่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันมีสถานีวิทยุกระแสหลัก 524 สถานี และมีสถานีวิทยุชุมชนเกือบ 8,000 สถานี สื่อโทรทัศน์ ฟรีทีวี 6 แห่ง และมีผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม 30 ราย เคเบิลทีวีอีก 800 ราย สำหรับสื่อสิ่งพิมพ์มี 80 ฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์ระดับชาติ 25 ฉบับ หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ 2 ฉบับ ภาษาจีน 1 ฉบับ และภาษามลายู 1 ฉบับ ในส่วนของสื่ออินเทอร์เน็ต มีไอเอสพี หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตทางสายโทรศัพท์ 28 ราย และผู้ให้บริการไร้สาย 8 ราย
ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ในปัจจุบัน มุ่งขยายตลาดไปสู่สื่อใหม่ เช่น โทรทัศน์ดาวเทียม บริการข่าวสั้นทางเอสเอ็มเอส และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ แทนที่จะสนใจเรื่องการลดช่องว่างการเข้าถึงสื่อในชนบท ขณะที่การขยายตลาดในชนบทมักมองหาตลาดที่สามารถทำกำไรได้ และเน้นเนื้อหาด้านบันเทิง กีฬา และข่าวท้องถิ่น ในส่วนของภาครัฐ แผนบรอดแบนด์แห่งชาติที่จัดทำโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ วางเป้าหมายให้ประชากรร้อยละ 50 สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ได้ภายใน 5 ปี แต่รัฐบาลก็ไม่ประสบความสำเร็จในการลดความเหลื่อมล้ำของช่องว่างดิจิตอลระหว่างเมืองและชนบทลงได้ ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลไม่มีนโยบายส่งเสริมความหลากหลายของสื่อมวลชน โดยเฉพาะสื่อภาคเอกชน ในช่วงที่ผ่านมา มีการปิดสื่อที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นที่แตกต่างจากความคิดกระแสหลัก เช่น การปิดวิทยุชุมชนที่สนับสนุน นปช. การปิดพีทีวี
ในส่วนขององค์กรสื่อก็ไม่มีนโยบายในการส่งเสริมให้นักวิชาชีพ ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรมีความเข้าใจและตระหนักถึงเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ไม่มีนโยบายการจ้างที่ให้โอกาสหญิงชายเท่าเทียมกัน อีกทั้งองค์กรสื่อก็ไม่ได้พยายามที่จะเสนอภาพสะท้อนของชนเผ่าต่างๆ หรือชนกลุ่มน้อย หรือคนพิการอย่างเทียงตรงและเท่าเทียมกัน ดังนั้น การเลือกปฏิบัติจึงดำรงอยู่ทั้งในสภาพที่เปิดเผยและซ่อนเร้น
สื่อรายได้ต่ำ ถูกห้ามรวมตัว นอกจากนี้ องค์กรสื่อส่วนใหญ่ห้ามการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน โดยในกฎหมายพนักงานและลูกจ้างขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะก็ถูกห้ามมิให้รวมตัวกันเป็นสหภาพ ทั้งนี้ องค์กรสื่อที่มีสหภาพแรงงาน พบว่าส่วนใหญ่ทำงานต่อรองเงินเดือนและสวัสดิการมากกว่าที่จะสนใจปัญหาสภาพการทำงานด้านอื่นๆ หรือตรวจสอบความโปร่งใสของการบริหารกิจการ โดยรวมแล้ว ภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมสื่อไทยในปัจจุบันมีแหล่งที่มาของข่าวสารที่หลากหลายและมีจำนวนมาก มีองค์การสื่อสารสาธารณะที่เป็นอิสระอย่างน่าประหลาดใจ มีกลุ่มวิทยุชุมชนที่เปี่ยมไปด้วยชีวิตชีวา และมีสาธารณชนที่หิวกระหายข้อมูลข่าวสารที่มีที่มาอย่างอิสระ แต่การแบ่งขั้วทางการเมืองของกลุ่ม "เสื้อเหลือง" และ"เสื้อแดง" ในช่วงก่อนและหลังการใช้ความรุนแรงโดยรัฐ ในปี 2553 ทำให้การปฏิรูปสื่อที่ยังไม่เกิดขึ้น ต้องชะงักไป ยิ่งไปกว่านั้น สิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นยังถูกแทนที่ด้วยการเซ็นเซอร์ตนเองและการทำงานอย่างอิสระของสื่อก็ถูกคุกคามโดยกลุ่มการเมืองทั้งสองขั้ว
(หมายเหตุ: การอภิปรายโดยผู้ร่วมให้ความเห็นในรายงาน ประชาไทจะนำเสนอต่อไป)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
นักข่าวพลเมือง: จำเลยในขบวน “พีมูฟ” หันหน้าร้อง “ศาลหลักเมือง” ขอความเป็นธรรม Posted: 25 Feb 2011 12:26 AM PST คนจนผู้ถูกคดี 200 คนจากในขบวนพี
วันนี้ (25 ก.พ.54) เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น.ผู้ถูกดำเนินคดีจากทั่วประเทศใน ในขณะนี้ สมาชิกของขบวนประชาชนเพื่อสังคมที่ธรรม ถูกฟ้องรองดำเนินคดีทั้งหมด 88 คดี รวมทั้งสิน 309 ราย เช่น คดีบุกรุกที่ดินเอกชนที่เอกสารสิทธิโดยมิชอบ คดีแพ่งคิดค่าเสียหายตามมาตรา 97 ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม คดีของชุมชนแออัดที่ปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และคดีบุกรุกของชาวเลที่ทำประมงพื้นพื้นบ้านในเขตอุทยานฯ นายรังสรรค์ แสนสองแคว คนจนไร้ที่ดินจาก จ.ลำพูน กล่าวในฐานะตัวแทนผู้ถูกดำเนินคดีในขบวนพีมูฟ ว่า พวกเราต้องดำรงชีวิตด้วยความหวา ด้านนายเพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ กรรมการปฏิรูป ซึ่งมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ กล่าวว่า กรรมการปฏิรูป ได้จัดทำข้อเสนอให้ลดโทษให้กับช ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา ขบวนประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธร
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น