ประชาไท | Prachatai3.info |
- ชาวคลองโยงคึกคัก "นายกฯ" ลงพื้นที่มอบ "โฉนดชุมชน" ใบแรกของประเทศ
- ศอ.รส.ให้พันธมิตรฯ คืนพื้นที่รอบทำเนียบฯ เกรงเหลืองปะทะแดง
- สมัชชาสังคมก้าวหน้าวอน นปช.มีข้อเสนอยกเลิก กม.หมิ่นฯ เลิกสู้ตามกรอบของอำมาตย์
- ชาวบ้านค้านรัฐจ่ายค่าโง่คลองด่าน
- กรมโรงงานอ้างกฎหมายช่วย “บัวสมหมาย” โบ้ยศาลปกครอง
- ศาลไม่รับคำร้องขอปล่อยตัวชาลี ดีอยู่
- นักข่าวพลเมือง: บวชป่าสักทอง สืบชะตาแม่น้ำยม
- วิกิลีคส์เผยอเมริกาค้านซีแอล ต้องการผูกขาด
- อียิปต์ ชัยชนะของประชาชน ประชาชนจงเจริญ!!!
- จาตุรนต์ ฉายแสง : ยุบสภา – หลีกเลี่ยงสงคราม หยุดวงจรรัฐประหาร
- พม่าดูแลเข้มบ้านพัก "จายหมอกคำ" รองประธานาธิบดีคนที่ 2 - เสริมกำลังประชิดเขตไทใหญ่
- ทีดีอาร์ไอเผยประกันแรงงานนอกระบบ การจัดการยังน่าห่วง
- จากวาทกรรม “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” ถึงการเชียร์ให้ปราบคนเสื้อแดงและการรบระหว่างไทย-กัมพูชา
- นักสิทธิเเนะใช้กองทุนเงินทดเเทนจ่ายให้ "ชาลี ดีอยู่" ก่อน
- เรื่องของอ้อม : เธอผิดหรือ? ที่คิดอยากเป็นแม่คน
ชาวคลองโยงคึกคัก "นายกฯ" ลงพื้นที่มอบ "โฉนดชุมชน" ใบแรกของประเทศ Posted: 12 Feb 2011 08:44 AM PST “อภิสิทธิ์” ลงพื้นที่มอบโฉนดชุมชนใบแรกให้สหกรณ์บ้านคลองโยง ย้ำเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่ดินทั่วประเทศ ชาวบ้านเฮรับเองกับมือนายกฯ ด้านชาวชุมชนบ่อแก้ว-ผู้ประสบปัญหาเรื่องที่ดินจากอีสานร่วมงานร้องแก้ปัญหาในพื้นที่ วันนี้ (12 ก.พ. 54) เวลาประมาณ 09.30 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย เป็นประธานพิธีมอบโฉนดชุมชนแก่สหกรณ์บ้านคลองโยง ซึ่งถือเป็นโฉนดชุมชนฉบับแรกของประเทศไทยตามนโยบายของรัฐบาล ณ ที่ทำการสหกรณ์บ้านคลองโยง อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม โดยมีนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายจตุรงค์ ปัญญาดิลก ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ นายมั่น พัธโนทัย รมช.คลัง ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโฉนดชุมชน ชาวบ้านสมาชิกสหกรณ์การเช่าที่ดินคลองโยง และเครือข่ายภาคประชาชนเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง นายอภิสิทธิ์ กล่าวในตอนหนึ่งของการร่วมเสวนาเรื่องโฉนดชุมชนเพื่อการทำกิน รักษาที่ดินอย่างยั่งยืน ว่า การมอบโฉนดชุมชนให้กับสหกรณ์บ้านคลองโยงถือเป็นการเริ่มต้นก้าวสำคัญในการดูแลความมั่นคงของประชาชนในเรื่องที่ดินทำกิน และพิสูจน์ได้ว่าประชาชนในชุมชนมีความสามัคคีและรวมตัวกัน เพื่อที่จะสามารถบริหารจัดการกันเองได้ ซึ่งถือว่าเป็นหลักประกันที่ดีที่สุดที่จะทำให้ประชาชนกับรัฐอยู่ร่วมกันโดยที่ไม่ต้องมีความขัดแย้ง และต่างฝ่ายต่างมีความมั่นใจในเรื่องของที่ทำกิน อีกทั้งทำให้รัฐบาลมั่นใจการดูแลรักษาทรัพยากรและการใช้ที่ดินให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุด นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมารัฐบาลยังกังวลว่าถ้าให้สิทธิแก่ประชาชนแล้วจะนำไปซื้อขาย และทำให้ทรัพยากรเสื่อมโทรม การใช้ที่ดินไม่เป็นประโยชน์ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งการมอบโฉนดชุมชนในวันนี้เป็นแนวทางที่รัฐบาลต้องการแก้ปัญหาที่ทำกิน โดยให้สมาชิกในชุมชนบริหารจัดการที่ดินด้วยตัวเอง ด้วยวิถีเกษตรกรรมและการเป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีหลายพื้นที่ที่ประสบปัญหาซึ่งแต่ละพื้นที่นั้นไม่เหมือนกัน รัฐบาลรู้ว่าประชาชนต้องการหลักประกันในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และรัฐบาลพร้อมจะขยายโครงการนี้ แต่ก็อยู่ที่ความพร้อมของชุมชน ด้านนายสาทิตย์ กล่าวให้ข้อมูลว่า ขณะนี้มีชุมชนให้ความสนใจ และขอโฉนดชุมชนมาแล้วทั่วประเทศ จำนวน 187 ชุมชน คิดเป็นพื้นที่รวม 794,586 ไร่ 44 ตารางวา มีประชากรได้รับประโยชน์ รวม 31,027 ครัวเรือน จำนวน 128,445 คน ซึ่งขณะนี้รัฐบาลอนุมัติไปแล้วประมาณ 35 ที่ และมีประมาณ 50 ที่ที่อยู่ในระยะเวลาที่ได้มีการตรวจสอบแล้ว และกำลังตรวจสอบคุณสมบัติขั้นสุดท้ายก่อนที่จะอนุมัติ ส่วนที่ยื่นมาทีหลังนั้น คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชนได้มีการประชุมกันไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยเงื่อนไขที่สำคัญชุมชนต้องแสดงและพิสูจน์ให้เห็นในการบริหารจัดการพื้นที่ของตนเอง ต่อจากนั้น นายอภิสิทธิ์ พร้อมด้วยนายสาทิตย์ ได้ร่วมกันเสวนากับผู้แทนชุมชนในเรื่อง "โฉนดชุมชน เพื่อการทำกินรักษาที่ดินอย่างยั่งยืน" โดยได้เสวนาร่วมกับตัวแทนชาวบ้านผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์จากสหกรณ์บ้านคลองโยงไปยังบ้านชุมชนซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายในการรับมอบโฉนดชุมชนเป็นลำดับต่อไป ประกอบด้วย ชุมชนแม่อาว อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ผู้ชุมชนเกตุแก้วบ้านมั่นคง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี และชุมชนคลองเกาะผี อ.เมือง จ.ภูเก็ต จากนั้นนายอภิสิทธิ์ ได้ร่วมทำกิจกรรมอาทิ การปลูกต้นไม้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการทำกินและรักษาที่ดินอย่างยั่งยืน และการทำนาโยน ก่อนไปร่วมพูดคุยและเสวนากับชาวบ้านชุมชนคลองโยง นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 11.00 น. กลุ่มเกษตรผู้ประสบปัญหาที่ดินทำกินจากภาคอีสาน อาทิ เครือข่ายผู้เดือดร้อนจากกรณีพิพาทสวนป่าคอนสาร จ.ชัยภูมิ และสวนป่าพิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เครือข่ายผู้เดือดร้อนจากกรณีป่าดงใหญ่ จ.บุรีรัมย์ และเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งขณะนี้ได้ปักหลักชุมนุมที่บริเวณหน้าองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) และเครือข่ายสลัม 4 ภาค รวมกว่า 200 คน ได้ร่วมยื่นจดหมายเพื่อเรียกร้องการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทเรื่องที่ดิน และคดีความฟ้องขับไล่ออกจากพื้นที่ รวมทั้งมีข้อเสนอการออกมาตรการในการจัดการที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชน ทั้งนี้ สหกรณ์บ้านคลองโยง จำกัด ตั้งอยู่ในท้องที่หมู่ที่ 1, 5 และ 8 ต.คลองโยง อ.พุทธมณฑล และหมู่ที่ 2 ต.ลานตากฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม มีเนื้อที่ 1,803 ไร่-งาน 31 ตารางวา มีครัวเรืออาศัยอยู่ 80 ครัวเรือน จัดสรรเนื้อให้ที่ครัวเรือนละ 20 ไร่ ตามโครงการโฉนดชุมนุม สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ศอ.รส.ให้พันธมิตรฯ คืนพื้นที่รอบทำเนียบฯ เกรงเหลืองปะทะแดง Posted: 12 Feb 2011 05:42 AM PST ศอ.รส.ให้พันธมิตรฯ คืนพื้นที่รอบทำเนียบฯ เกรงม็อบ พธม.นปช. เผชิญหน้า - ทั่ว กทม.ระดมกำลัง 27 กองร้อย - จำลองยันชุมนุมปกป้องแผ่นดินไทยต่อ เมื่อเวลา 16.30 น.วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร.ในฐานะผอ.ศอ.รส. เดินทางตรวจความพร้อมของ ศปก.สน.บก.น.2 ในการเตรียมรับมือการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ในวันที่13 ก.พ.นี้ว่า ตำรวจได้วางกำลังจากนครบาล และจากบช.ภ.4 รวม 5 กองร้อยในการดูแลความสงบ ทั้งนี้คาดว่าจะมีผู้มาชุมนุมที่หน้าศาลฯ 5,000 คนโดยไม่อนุญาตให้เข้ามาภายในเด็ดขาด แม้พื้นที่นี้ไม่ได้ประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคงฯแต่การเข้าพื้นที่ศาลโดยไม่ได้ รับอนุญาตถือว่าละเมิดอำนาจศาล อย่างไรก็ตามในการเคลื่อนขบวนไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนั้นขอร้องให้ไป เป็นขบวน อย่าดาวกระจายเพราะจะไปสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน โดยตำรวจจะวางกำลังดูแลความปลอดภัยตลอดเส้นทาง โดยวางแผนเผื่อไว้ทั้งเส้นทางถนนพหลโยธินและถ.วิภาวดีรังสิต จนกระทั่งเข้าถนนหลานหลวง สู่ราชดำเนิน และวางกำลังป้องกันในจุดที่ม็อบ 2 สีต้องเคลื่อนผ่านกัน เพื่อป้องกันการเผชิญหน้า ทั้งนี้ทั่ว กทม.ระดมกำลังรับมือ 27 กองร้อย สำหรับการชุมนุมของพธม.นั้น ผอ.ศอ.รส.กล่าวว่า แม้พธม.จะไม่ปฏิบัติตามประกาศศอ.รส.ตำรวจก็ยังยืนยันจะใช้การเจรจา เพื่อเปิดเส้นทางการจราจรต่อไป ยังไม่ถึงขั้นต้องแสดงกำลัง โดยเป้าหมายเพื่อให้การคลี่คลายสถานการณ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย นายกฯ ดักทางพธม.อย่าสร้างเงื่อนไข ตร.นำประกาศ ศอ.รส.ให้"จำลอง"ขอคืนพื้นที่รอบทำเนียบรัฐบาล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.50 น. พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 ได้นำประกาศของศูนย์อำนวยการความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) 2 ฉบับ ไปมอบให้กับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เพื่อแจ้งให้ทราบว่า ห้ามบุคคลภายนอกเข้าออกอาคาร ทำเนียบรัฐบาล บริเวณถนนพิษณุโลก จากแยกพาณิชยการมุ่งหน้าแยกสวนมิสกวัน ถนนพระราม 5 จากสะพานมัฆวานฯ ถึงทำเนียบรัฐบาล ถนนนครปฐม ถนนลูกหลวง และถนนราชดำเนินนอก จากสวนมิสกวัน มุ่งหน้าสะพานมัฆวานรังสรรค์ หรือถนนโดยรอบทำเนียบรัฐบาลและห้ามใช้ยานพาหนะโดยรอบอาคารรัฐสภา โดย พล.ต.จำลองได้เซ็นรับทราบในหมายของ ศอ.รส.ดังกล่าว พล.ต.ต.วิชัยกล่าวว่า สำหรับหมายดังกล่าว มีผลตั้งแต่วันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา แต่ตามขั้นตอน ต้องมีการเข้ามาเจรจา เพื่อให้รับทราบในหลักการก่อน ขณะที่บรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร เช้าวันนี้ยังเป็นการเล่าข่าวและมีการขึ้นปราศรัยตามปกติ ล่าสุด พล.ต.จำลองอ้างว่า มีผู้ใหญ่ในเขมรโทร.หาคนในรัฐบาล ให้สลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร อย่างไรก็ตาม เวลา 16.00 น. แกนนำจะหารือกันเพื่อหาทางตอบโต้รัฐบาล "มาร์ค"เผยยังสรุปไม่ได้ ยื่นอุทธรณ์เพื่อขออภัยโทษ"วีระ-ราตรี" นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการช่วยเหลือ นายวีระ สมความคิด และนางสาวราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ที่ถูกศาลกัมพูชาตัดสินจำคุก โดยไม่รอลงอาญาว่า เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ได้คุยกับแม่นายวีระ ก็มีแนวทางที่พูดคุยกันอยู่ ก็คิดว่าจะทำให้เกิดความเป็นเอกภาพมากขึ้น เพราะว่านายณฐพร โตประยูร ทนายความของนายวีระและของนางสาวราตรีได้มาคุยด้วย ส่วนที่จะขอให้ทั้งสองคนยื่นอุทธรณ์ เพื่อขออภัยโทษนั้นยังไม่ได้สรุป แต่ว่าที่ผ่านมายังมีปัญหาเรื่องการประสานงานการเข้าไปของทนายนายวีระเอง ฉะนั้น กระทรวงการต่างประเทศต้องผลักดันให้เขาได้พูดคุยกันมากขึ้น เพื่อแนวทางการต่อสู้จะได้เป็นที่รับรู้รับทราบและการตัดสินใจต่างๆจะได้สอด คล้องกัน "คุณแม่ของคุณวีระ ท่านก็เป็นห่วงต้องการช่วยลูกให้ออกมาให้ได้ ซึ่งก็ได้คุยและมีความเข้าใจที่ดี ส่วนที่แม่ของนายวีระบอกว่า จะทำวิธีไหนก็ได้เพื่อให้ช่วย ก็ตรงกับแนวคิดของเรา และผมก็คิดว่าตรงกับแนวคิดของคนจำนวนมาก" นายอภิสิทธิ์กล่าว นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ต้องเข้าใจนายวีระ เพราะยังกังวลว่าถ้าตัวเองได้กลับมา อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิของประเทศในเรื่องดินแดน เรื่องอธิปไตย นายวีระจะไม่ยอม ซึ่งแนวคิดนี้ตนก็ว่าน่าชื่นชม ตนก็เพียงแต่ยืนยันไปแล้วว่า รัฐบาลดำเนินการทุกวิถีทางบนกรอบความคิดเดียวกัน เหมือนก่อนหน้านี้ ที่เราทำหนังสือไปเรื่องการไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลอย่างนี้ เป็นต้น แต่ว่าขณะเดียวกัน การดำเนินการที่จะอำนวยความสะดวกเพื่อให้เกิดการพูดคุยเจรจาที่จะมีผลให้นาย วีระกลับมาเราก็ต้องดำเนินไป เพื่อไม่ให้กระทบตรงนี้ อยากให้ความมั่นใจกับคุณวีระตรงนี้ คุณวีระจะได้ตัดสินใจด้วยความสบายใจว่า ถ้าได้กลับมาไม่กระทบประโยชน์ของประเทศแน่นอน เมื่อถามว่า อยากให้ยุติการยื่นอุทธรณ์หรือไม่ นายกฯกล่าวว่า ไม่ครับ ทางนายวีระกับทางทีมทนายจะพูดคุยกัน และเราจะเป็นผู้ให้ข้อมูลในเชิงของการประเมินสถานการณ์ความเป็นไปได้ของทาง เลือกต่างๆ แต่สุดท้ายทางครอบครัวจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจและสมัครใจว่าจะทำอย่างไร ส่วนเรื่องการพาครอบครัวของนายวีระเดินทางไปกัมพูชานั้นกำลังประสานอยู่ เพราะแม่ของนายวีระก็ต้องการไปเยี่ยม พธม.ยังปักหลักชุมนุม ล่าสุดยอมเปิดจราจรถนนราชดำเนินแล้ว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ช่วงเช้านี้ ยังมีกลุ่มผู้ชุมนุมนั่งฟังการสรุปข่าวของพิธีกรบนเวที ซึ่งเนื้อหาสรุปข่าว เป็นเรื่องข้อพิพาทของประเทศไทยกับกัมพูชา ขณะที่ประชาชนบางส่วนยังคงปฏิบัติภารกิจส่วนตัวภายในเต๊นท์ที่พัก 2 ข้างทาง ส่วนระบบการดูแลความปลอดภัยของกลุ่มผู้ชุมนุมนั้น ยังคงมีการ์ดพันธมิตรคอยตรวจตราบุคคลที่จะเข้ามาร่วมชุมนุมอย่างเข้มข้น อย่างไรก็ตาม หลังจากเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ มีกลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนพยายามปิดถนนราชดำเนิน ช่วงลานพระบรมรูปทรงม้า แต่ขณะนี้ ได้มีการเปิดการจราจรแล้ว "จำลอง" ยันชุมนุมปกป้องแผ่นดินไทยต่อ-เมิน ศอ.รส.ขู่ผลักดัน ที่เวทีสะพานมัฆวาน พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวบนเวทีการชุมนุมเมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา ถึงผลการประชุมของคณะกรรมการรวมพลังปกป้องแผ่นดิน ที่เห็นตรงกันว่า พันธมิตรฯ จะไม่ออกจากพื้นที่ไปไหน แม้จะมีคำสั่งของศอ.รส.ออกมาก็ตาม แต่ยังยืนยันว่าจะอยู่ที่นี่และชุมนุมต่อไป หากแม้มีการผลักดันออกนอกพื้นที่ในหลายวิธีเราก็จะกลับเข้ามาชุมนุมใหม่ หรือผลักดันตรงไหนก็ชุมนุมตรงนั้น เพื่อปกป้องดินแดนของเรา ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: มติชนออนไลน์, ASTV ผู้จัดการออนไลน์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
สมัชชาสังคมก้าวหน้าวอน นปช.มีข้อเสนอยกเลิก กม.หมิ่นฯ เลิกสู้ตามกรอบของอำมาตย์ Posted: 12 Feb 2011 03:04 AM PST 12 ก.พ. 54 – กลุ่มสมัชชาสังคมก้าวหน้าทำจดหมายเปิดผนึกถึงแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ขอให้ นปช.มีข้อเสนอให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเลิกใช้วิธีการต่อสู้ตามกรอบของอำมาตย์
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ชาวบ้านค้านรัฐจ่ายค่าโง่คลองด่าน Posted: 12 Feb 2011 02:52 AM PST จากการกรณีที่คณะอนุญาโตตุลาการตัดสินให้กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) แพ้คดีและจะต้องจ่ายค่าโง่ ซึ่งหมายถึงค่าจ้างค้างจ่าย ค่าเสียหายในกรณีต่างๆ รวมถึงค่าปรับและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น แก่บริษัทเอกชน และล่าสุดเมื่อวานนี้ (11 กุมภาพันธ์ 54) นายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อธิบดี คพ. ได้แถลงข่าวค้านผลการจ่ายค่าโง่คลองด่าน 9,000 ล้านบาท และยังแสดงเจตนาที่จะต้องการเดินหน้าโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียที่คลองด่านอีกนั้น นางดาวัลย์ จันทรหัสดี แกนนำชาวบ้านคลองด่านที่ต่อสู้กับโครงการนี้จนกระทั่งรัฐบาลได้สั่งยุติโครงการอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 กล่าวแสดงความเห็นต่อคำแถลงของอธิบดีกรมควบคุมมลพิษว่า “เห็นด้วยอย่างยิ่งกับ คพ. ที่ออกมาคัดค้านและไม่ยอมรับคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการ ขณะเดียวกันก็เห็นว่า เมื่อ คพ. ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการแล้ว สิ่งที่ คพ. ต้องเร่งดำเนินการโดยด่วนมี 3 ข้อด้วยก้นเพื่อไม่ให้ประเทศไทยต้องเสียค่าโง่แก่บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้โกงกินบ้านเมืองไปแล้วครั้งหนึ่งนั่นคือ 1. คพ. ต้องรีบร้องขอต่อศาลแพ่ง เพื่อให้ศาลแพ่งเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการภายใน 90 วันตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยนับจากวันที่คณะอนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดเรื่องนี้เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2554 นั่นหมายถึง คพ. ต้องร้องขอต่อศาลแพ่งไม่เกินวันที่ 12 เมษายน 2554 ข้อสำคัญคือ คพ. จะต้องเอาผลคำตัดสินที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ 2 คดีไปประกอบการร้องขอต่อศาลแพ่งคือ 1) คำตัดสินของศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมือง ซึ่งตัดสินจำคุกนายวัฒนา อัศวเหมเป็นเวลา 10 ปีเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 และ 2) คดีอาญาฐานฉ้อโกงสัญญาและฉ้อโกงที่ดิน ที่ศาลแขวงดุสิตได้ตัดสินไปแล้วโดยสั่งจำคุกจำเลยที่เป็นบุคคลคนละ 3 ปี และสั่งปรับนิติบุคคลรายละ 6000 บาท เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 2. คพ. ควรนำผลจากคำตัดสินของคดีอาญาฐานฉ้อโกงสัญญาและฉ้อโกงที่ดินมาขยายผลเพื่อประโยชน์ของประเทศต่อไป ด้วยการนำมาฟ้องเป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกเงินคืนจากบริษัทรับเหมาก่อสร้างหรือกิจการร่วมค้าเอ็นวีพีเอสเคจี เรื่องที่ คพ. ต้องเร่งทำโดยทันทีด้วย ไม่ควรปล่อยเวลาให้เนิ่นนานออกไป เนื่องจากศาลแขวงได้ตัดสินคดีอาญาฐานฉ้อโกงสัญญาและฉ้อโกงที่ดินไปแล้วปีกว่า 3. ถ้าหาก คพ. ปล่อยเรื่องนี้ให้นานออกไป จะมีผลเสียต่อประเทศมากไปกว่านี้และจะส่งผลให้ คพ. แพ้อุทธรณ์ในคดีอาญาฐานฉ้อโกงสัญญาและฉ้อโกงที่ดินที่กลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ได้ยื่นอุทธรณ์อยู่ในขณะนี้ นอกจากนี้ นางดาวัลย์ จันทรหัสดียังมีความเห็นส่วนตัวเพิ่มเติมต่อคำแถลงของนายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อธิบดี คพ. ที่กล่าวเมื่อวานนี้ (11 กพ. 54) ด้วยว่า คำแถลงของอธิบดี คพ. ที่ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการ และพฤติกรรมของ คพ. ที่ผ่านๆ มาที่ต้องการฟื้นคืนบ่อบำบัดน้ำเสียมีความขัดแย้งกันเอง โดยตนรู้สึกว่า คพ. มีเจตนาต้องการเบี่ยงเบนความสนใจของสาธารณะในเรื่องนี้และเตะถ่วงเวลาออกไปเพื่อให้คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการมีผลบังคับเกิดขึ้น นั่นคือให้รัฐบาลจ่ายค่าโง่แก่เอกชน เพราะจากการที่ตัวเองได้ติดตามเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง และได้ติดตามในส่วนของการต่อสู้คดีความของ คพ. มาอย่างใกล้ชิด มีความเห็นว่า “ที่ผ่านมา มีหลายเหตุการณ์ที่สะท้อนถึงความพยายามที่จะให้ฝ่าย คพ. แพ้คดีความทั้งหมด เช่น หลังจากที่ คพ. ประกาศให้สัญญาโครงการคลองด่านเป็นโมฆะและมีการฟ้องร้องคดีตามมา โดย คพ. ได้ว่าจ้างทนายเอกชนมืออาชีพเข้ามาดำเนินการฟ้องร้องบริษัทเป็นคดีอาญาที่ศาลแขวงฐานฉ้อโกงสัญญาและฉ้อโกงที่ดินเพื่อทำให้คดีความสามารถดำเนินการไปได้ แต่ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงภายในกระทรวงทร้พย์ฯ เกิดขึ้น คพ. ก็เปลี่ยนท่าทีและมีความพยายามจากฝ่ายต่างๆ ที่ต้องการให้มีการถอนคดีฟ้องร้องเพื่อเอาผิดกับบุคคลและบริษัทเอกชนที่ฉ้อโกง เมื่อไม่สามารถถอนคดีได้ก็ใช้วิธีเปลี่ยนตัวทนายความระหว่างไต่สวนคดีแทน ซึ่งการเปลี่ยนตัวทนายระหว่างทางที่คดียังไม่ถึงที่สุดเป็นเรื่องที่ไม่มีใครทำกัน” ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ การที่อธิบดี คพ. บอกว่าจะต้องส่งสำเนาคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการไปให้กระทรวงการคลังพิจารณา ว่าถ้าหากกระทรวงการคลังเห็นด้วยและชี้ขาดให้จ่ายเงินแก่เอกชน คพ. ก็จะยินดีจ่ายเงินตามคำสั่ง ซึ่งคาดว่าจะรู้ผลการพิจารณาของกระทรวงการคลังในต้นเดือนมีนาคมปีนี้ “ดิฉันเห็นว่า หาก คพ. จะรอผลการพิจารณาของกระทรวงการคลังแล้วค่อยดำเนินการในเรื่องนี้ ดิฉันเห็นว่า มันนานเกินไป” นางดาวัลย์กล่าว และยังเปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ในช่วงที่มีการต่อสู้คดีกันอยู่ คพ. มีความพยายามต่างต่างนานาที่จะเอาโครงการกลับคืนมา โดยตัวอธิบดี คพ. คือ คุณสุพัฒน์ ได้เสนอเรื่องไปยังคุณอนงค์วรรณ รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยฯ ในสมัยนั้นให้นำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติในหลักการให้สามารถเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาทกับเอกชนได้ และเพื่อให้ผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการสามารถดำเนินการก่อสร้างโครงการทับลงบนลำคลองสาธารณะและที่สาธารณะต่อไปได้จนแล้วเสร็จ ทั้งนี้นางดาวัลย์ได้กล่าวว่า ความพยายามดังกล่าวของ คพ. ในช่วงที่ผ่านมาจะมีผลทำให้รัฐต้องยอมรับงานก่อสร้างทั้งหมดที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่สามารถใช้การได้ นอกจากนี้ยังทำให้บริษัทเอกชนเป็นฝ่ายได้เปรียบในการต่อสู้คดีความในอนาคตอีกด้วย นางดาวัลย์จึงเรียกร้องให้ คพ ต้องหยุดพฤติกรรมการเอื้อประโยชน์แก่ผู้รับเหมาก่อสร้างเกี่ยวกับโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านได้แล้ว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
กรมโรงงานอ้างกฎหมายช่วย “บัวสมหมาย” โบ้ยศาลปกครอง Posted: 12 Feb 2011 02:27 AM PST กรมโรงงานอ้างกฎหมาย “บัวสมหมาย” ไม่ได้ตั้งในหมู่บ้านจัดสรร คอนโด หรือตึกแถว แต่ตั้งอยู่กลางหมู่บ้านไม่เป็นไร ใครไม่พอใจเชิญไปฟ้องศาลปกครอง อุบลราชธานี - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นำโดยนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ นายบัณฑร อ่อนดำ อนุกรรมการด้านสิทธิชุมชน และคณะปฏิรูปประเทศไทยได้ลงพื้นที่ที่ จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๘ ก.พ. ๒๕๕๔ เพื่อรับฟังปัญหาการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล (แกลบ) ของบริษัท บัวสมหมายไบโอแมส จำกัด ซึ่งจะตั้งอยู่ใจกลางหมู่บ้านของหมู่ที่ ๑๗ บ้านคำสร้างไชย ต.ท่าช้าง อ.สว่างวีระวงศ์ โดยจัดการประชุมเพื่อรับฟังข้อมูลขึ้นที่ห้องพิมานทิพย์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจงข้อมูล อาทิ สำนักงานอุตสาหกรรมอุบลราชธานี กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการกำกิจการพลังงาน สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค ๑๒ ทั้งนี้ นายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง ผู้อำนวยการสำนักงานโรงงานอุตสาหกรรมรายสาขา ๕ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ตัวแทนของกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ชี้แจงกรณีที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมออกใบอนุญาตให้แก่บริษัท บัวสมหมายฯ ว่า นายวีรชาติ พิมพ์พัฒน์ เจ้าหน้าที่ตรวจโรงงานชำนาญงาน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี ชี้แจงว่า การขอใบอนุญาตสร้างโรงไฟฟ้าของบริษัท บัวสมหมายฯ เกิดขึ้นในช่วงที่มีการเผาศาลากลางอุบลราชธานี และทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฯ เห็นว่าเพื่อเป็นการกระตุ้นการลงทุนในอุบลราชธานี จึงนำเรื่องเสนอผู้ว่าฯ และส่งให้ทางกรมโรงงานดำเนินการออกใบอนุญาต ซึ่งตนเองเห็นว่าเทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้าของบริษัทฯ จะไม่ก่อผลกระทบใดๆ ต่อชุมชน ขณะที่นายโอภาส พรหมศร ที่ปรึกษาด้านการออกใบอนุญาต ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) อดีตเจ้าหน้าที่กรมโรงงานที่ดำเนินการออกใบอนุญาตให้แก่บริษัท บัวสมหมายฯ แต่ภายหลังได้ลาออกและได้เป็นที่ปรึกษาด้านการออกใบอนุญาตของ กกพ. ชี้แจงว่า กกพ. ได้ออกใบอนุญาตให้แก่บริษัทฯ แล้ว จะขาดก็แต่ใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า โดยจะมีการพิจารณาหลังสร้างโรงไฟฟ้าแล้วเสร็จ หากชุมชนต้องการให้ถอนใบอนุญาตก็ต้องใช้อำนาจของศาลปกครอง เท่านั้น ส่วนข้อมูลผลกระทบที่ชาวบ้านวิตกกังวล กกพ. จะนำไปเป็นเงื่อนไขในการสร้างโรงงานต่อไป ด้านนายเฉลียว สีสง่า ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาค ๑๒ ชี้แจงว่า เห็นด้วยกับการใช้พลังงาน ทดแทนมาผลิตไฟฟ้า ซึ่งโรงไฟฟ้ามีเทคโนโลยี ๒ แบบ คือ แบบการเผาแกลบในที่อับอากาศ และนำมีเทนจากการเผามาต้มน้ำ และแบบใช้แกลบบดพ่นกับอากาศเพื่อต้มน้ำ ซึ่งทั้งสองแบบมีความแตกต่างกัน เนื่องจากแบบที่ ๑ ไม่มีฝุ่น การเผาแกลบต้องระวังเพราะในแกลบมีซิลิกาบริสุทธิ์อยู่ ดังนั้น หากนำแกลบไปเผา จะมีเถ้าอยู่ร้อยละ ๑๐ จะมีซิลิกาตกค้างอยู่ร้อยละ ๒๘- ๓๐ และก่อให้เกิดโรคทางปอด และต้องใช้เวลา ๑๐ ปีจึงจะแสดงอาการ จึงมีข้อกำหนดว่าหากสารซิลิกาเกินร้อยละ ๒๐ ถือว่าเป็นสารที่เป็นอันตราย ในกรรมวิธีทั้งหมด มีเงื่อนไขทางเทคนิคที่ได้กำหนดเอาไว้แล้ว แต่มักมีข้อผิดพลาดในทางปฏิบัติ ซึ่งโรงไฟฟ้าของบริษัท บัวสมหมายฯ ที่ จ.ร้อยเอ็ดยังไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ ดังนั้น จึงเชื่อได้ว่าโรงไฟฟ้าที่จังหวัดอุบลก็ไม่น่าจะดำเนินการได้เช่นกัน ขณะที่กลุ่มนักวิจัยชุมชนที่ศึกษาผลกระทบทางสุขภาพ กรณีบัวสมหมายฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้แก่ นายทองคับ มาดาสิทธิ นายบุญโฮม วงศ์สีกุลนายรุ่งทวี คำแข็ง และนางสาวสดใส สร่างโศณก ซึ่งคนทั้งสี่คนนำเสนอว่า ชุมชนมีประกอบอาชีพด้านการเกษตรและอยู่มาเป็น ๑๐๐กว่าปี การสร้างโรงไฟฟ้าเมื่อเปรียบเทียบด้านเศรษฐกิจแล้ว ชุมชนจะเสียผลประโยชน์มากกว่าได้รับประโยชน์ และไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน ขนาดเพียงแต่บริษัทฯ ขุดบ่อก็เกิดผลกระทบต่อประปาหมู่บ้านทำให้ขาดน้ำแล้ว นายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง ตัวแทนกรมโรงงาน กล่าวว่า ผลการศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพของชาวบ้าน หากมีอันตรายอย่างร้ายแรง ก็ต้องร้องต่อคณะกรรมการที่จะ ประเมินว่าเข้ามาตรา ๖๗ วรรค ๒ หรือไม่ เหมือนกรณีมาบตาพุด สุดท้ายต้องขอศาลเป็นที่พึ่ง เพราะการออกใบอนุญาตเห็นเท่าใด ก็ต้องออกเท่านั้น นายทองคับ มาดาสิทธิ์ กล่าวว่า เหตุใดข้อมูลการศึกษาวิจัยของชาวบ้านที่แสดงเหตุและผลอย่างชัดแจ้ง จึงไม่สามารถใช้ประกอบการยกเลิกใบอนุญาตได้ ต้องให้ไปฟ้องศาล “ตอนที่ออกใบอนุญาตฯ ศาลไม่ต้องสั่ง แต่เมื่อยกเลิก ทำไมต้องใช้คำสั่งศาล” นายทองคับกล่าว นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กล่าวสรุปว่า หน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่มักจะอ้างว่าตนเองทำตามกฎหมายและตัดสินใจจากข้อมูล และเมื่อได้รับข้อมูลการศึกษาของชาวบ้านที่ใช้สิทธิ์จาก พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ต้องนำเอาข้อมูลนี้มาพิจารณาประกอบ มิใช่ว่าต้องให้ไปฟ้องศาลปกครองเพื่อเพิกถอน อย่างไรก็ตามเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชน ต้องพิจารณาเรื่องแบบนี้ด้วย ในฐานะข้าราชการ ประชาชนได้ลุกขึ้นมารักษาสิทธิชุมชน ประชาชนต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เพราะหากโรงงานสร้างมาแล้วเกิดผลกระทบก็จะเกิดความเสียหาย หน่วยงานธุรกิจก็อยากให้หน่วยงานเข้ามาดูแล ราชการมีหน้าที่ในการรักษาสมดุลของเอกชนและชาวบ้าน “หน่วยงานราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาเพื่อระงับความเสียหาย เนื่องจากว่า เมื่อคดีเข้าสู่ศาลจะต้องใช้เวลากว่าคดีจะสิ้นเสร็จ กว่าที่ศาลจะมีคำพิพากษาทุกฝ่ายล้วนได้รับความสูญเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้าน นักลงทุน และประเทศชาติ ถ้าตัดสินใจได้ก็ควรตัดสินใจ” นายแพทย์นิรันดร์กล่าว ด้านนางสาวสดใส สร่างโศรก แกนนำชาวบ้านกล่าวว่า เพื่อประหยัดค่าการลงทุน โรงไฟฟ้าชีวมวล โดยเฉพาะที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงจะไม่สร้างโรงไฟฟ้าในเมืองใหญ่อันเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม และตึกแถว ดังนั้น เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดจึงใช้ไม่ได้กับท้องถิ่นของประเทศ สมควรมีการแก้ไขกฎหมายให้ทันกับสถานการณ์ เนื่องจากกระแสพลังงานทดแทนกำลังมาแรง และชนบทและท้องถิ่นทั่วประเทศคือเป้าหมายของนายทุนพลังงาน “หมู่บ้านในชนบทเขาอยู่อาศัยกันมานับศตวรรษ มีโครงสร้างและความสัมพันธ์ของ ชุมชนที่เหนียวแน่น มีจารีต วัฒนธรรม ประเพณี มีประวัติศาสตร์ ซึ่งต่างจากหมู่บ้านจัดสรร หรือคอนโด ที่อยู่กันอย่างหลวมๆ และไม่อาจเรียกได้ว่าชุมชนเสียด้วยซ้ำ แต่กฎหมายกลับให้ความคุ้มครอง จริงๆ แล้วถ้าเป็นแบบนี้ ไม่ต้องมีกฎหมายเลยก็ได้” แกนนำชาวบ้านกล่าว อนึ่ง บริษัท บัวสมหมายฯ ผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้แกลบเป็นพลังงานความร้อน ได้ขอตั้งโรงไฟฟ้าขนาด ๙ เมกะวัตต์ในหมู่บ้านคำสร้างไชย อ.สว่างวีระวงศ์ แต่ถูกชาวบ้าน ๒ ตำบล ๖ หมู่บ้านร่วมกันคัดค้านมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ เนื่องจากเกรงจะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับชาวบ้านใน จ.ร้อยเอ็ด ที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าของบริษัท บัวสมหมายฯ แต่กรมโรงงานอุตสาหกรรมก็ออกใบอนุญาตให้แก่บริษัทฯ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ศาลไม่รับคำร้องขอปล่อยตัวชาลี ดีอยู่ Posted: 12 Feb 2011 02:12 AM PST 12 ก.พ. 54 - เมื่อเวลา 9.30 น. วันนี้ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ สภาทนายความได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งปล่อยตัวนายชาลี ดีอยู่ เเรงงานพม่า บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุระหว่างการทำงาน แต่กลับถูกจับกุมในข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมาย เน่ืองจากเป็นกรณีที่นายชาลีถูกควบคุมตัวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยมีหลักฐานเเน่ชัดว่านายชาลีได้ขึ้นทะเบียนเเรงงานแล้ว โดยบัตรอนุญาตทำงานมีอายุถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 อย่างไรก็ตามหลังจากที่ได้หารือกับรองอธิบดีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ ผลคือ ศาลไม่สามารถรับคำร้องได้ โดยศาลชี้เเจงว่า เนื่องจากการเปิดทำการในวันเสาร์นั้น อธิบดีผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้กำหนดระเบียบไว้ให้สามารถพิจารณาได้เฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยื่นคำร้องขอฝากขังเท่านั้น ประกอบกับศาลไม่มีเจ้าหน้าที่รองรับการดำเนินการพิจารณาคดีของศาล ดังนั้นศาลจึงขอให้มายื่นคำร้องอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 โดยศาลจะรีบดำเนินการให้โดยเร่งด่วน ด้านนายวสันต์ พานิช ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ กล่าวว่า "การยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวเนื่องจากการควบคุมตัวไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นกรณีที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีิวิตเเละร่างกายอย่างร้ายเเรง ซึ่งคุณค่าของชีวิตเเละร่างกายนั้นเป็นสิ่งที่มีค่า ดังนั้นการถูกกักขังโดยไม่ชอบเเม้กระทั้ง 1 ชั่วโมงก็เป็นเรื่องร้ายเเรง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างเร่งด่วนตาม มาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้นสภาทนายความจะได้หารือกับศาลเพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบต่อไป และในกรณีนี้หากนายชาลียังไม่ได้รับการปล่อยตัว สภาทนายความจะยื่นคำร้องต่อศาลอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 9.00 น." สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
นักข่าวพลเมือง: บวชป่าสักทอง สืบชะตาแม่น้ำยม Posted: 12 Feb 2011 02:05 AM PST 12 ก.พ. 54 - ชาวบ้านตำบลสะเอียบกว่า 300 คน ได้ร่วมใจกันจัดงานประจำปี บวชป่าสืบชะตาแม่น้ำยม ซึ่งสืบทอดกันมานานนับสิบปี ปีนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการ มากเป็นพิเศษ ทั้งทางหน่วยงานราชการจังหวัด หน่วยงานตำรวจ ป่าไม้เขต ป่าไม้จังหวัด อุทยานแห่งชาติ ครู นักเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล องค์กรภาคประชาชน กลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำยม อ.ปง จ.พะเยา กลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำสรอย อ.วังชิ้น จ.แพร่ พี่น้องชนเผ่าอาข่า บ้านแม่พร้าว และพี่น้องชมรมนักกิจกรรมภาคเหนือ อีกทั้งหน่วยงานต่างๆ ยังได้ร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานกันอย่างคับคั่ง โดยมี พลตำรวจโทธีรเดช รอดโพธิ์ทอง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี พลตำรวจโทธีรเดช รอดโพธิ์ทอง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ประธานในพิธี ซึ่งได้ร่วมกิจกรรมกับชุมชนสะเอียบ มาอย่างยาวนาน ได้ชี้ให้เห็นว่าชาวบ้านตำบลสะเอียบได้ร่วมกันอนุรักษ์ป่าสักทองสืบทอดกันมายาวนาน เป็นกลุ่มราษฎรที่เข้มแข็งมีความสามัคคีกันเป็นอย่างดี และพี่น้องประชาชนควรนำไปเป็นแบบอย่าง ชุมชนเข้มแข็ง การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการสานต่อเจตนารมณ์การรักษาป่าเพื่อคนไทยทั้งชาติ และขอให้พี่น้องชาวชุมชนสะเอียบเข้มแข็งสืบต่อไป นายสุรชัย อจลบุญ ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์ป่าเขต 13 จังหวัดแพร่ ได้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดพิธีบวชป่าสืบชะตาแม่น้ำยมในปีนี้ คือ ความสำคัญของป่าที่เป็นแหล่งดูดซับน้ำเปรียบเสมือนอ่างเก็บน้ำ ทำให้ต้นน้ำยมมีน้ำไหลตลอดทั้งปี ทำให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติและเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกด้วย ดงสักงาม ป่าสักทอง ป่าชุมชนคนสะเอียบ ดงสักงาม เป็นเขตป่าสักทองที่หนาแน่น ซึ่งชุมชนคนสะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ร่วมกันปกป้องรักษาไว้ให้ลูกหลาน ยังเป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยทั้งชาติ ต้นสักทอง เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณ ไม้สักชอบขึ้นตามพื้นที่ที่เป็นภูเขา แต่ในพื้นที่ราบ พื้นที่ดินปนทรายที่น้ำไม่ขัง ไม้สักก็ขึ้นได้ดีเช่นกัน ไม้สักมักเป็นหมู่ไม้สักล้วนๆ และมีขนาดใหญ่และชอบขึ้นที่ที่มี ชั้นดินลึก การระบายน้ำดี ไม่ชอบดินแข็งและน้ำท่วมขัง ไม้สักเป็นไม้ผลัดใบ ขนาดใหญ่ ยอดกลมสูงเกินกว่า 20 เมตร เปลือกหนา สีเทาหรือน้ำตาลอ่อนแกมเทาแตกเป็นร่องตื้นๆ ไปตามทางยาวและหลุดออกเป็นแผ่นบางๆ เล็กๆ ใบใหญ่ ความกว้าง 25 - 30 เซนติเมตร ยาว 30 – 40 เซนติเมตร รูปใบรีมนหรือรูปไข่ แตกจากกิ่งเป็นคู่ๆ ท้องใบสากหลัง ใบสีเขียวแกมเทาเป็นขน ดอกเป็น สีขาวนวลออกเป็นช่อใหญ่ๆ ตามปลายกิ่ง เริ่มออกดอกเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ผลค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร ผลหนึ่งๆ มีเมล็ดใน 1 – 4 เม็ด เปลือกแข็งมีขนสั้นๆ นุ่มๆ สีน้ำตาลหุ้มอยู่ ผลจะแก่ในราว เดือนพฤศจิกายน – มกราคม ลักษณะเนื้อไม้สีเหลืองทองถึงน้ำตาลแก่ มีลายเป็นเส้นสีน้ำตาลแก่แทรกเสี้ยนตรงเนื้อหยาบแข็งปานกลาง เลื่อนใสกบ ตบแต่งง่าย คุณสมบัติที่ดีบางประการ คือ ไม้สักปลวกมอดไม่ทำอันตราย เพราะในเนื้อไม้สักมีสารเคมีพิเศษ มีคุณสมบัติคงทนต่อ ปลวก แมลง เห็ดรา ได้อย่างดียิ่ง มีความแข็งแรงสูง นอกจากนี้ไม้สักทองยังพบว่ามีทองคำปนอยู่ 0.5 ppm (ไม้สักทอง 26 ตัน มีทองคำหนัก 1 บาท) หลายปีที่ผ่านมานี้มีพิธีกรรมที่เรียกกันว่า "บวชป่า" และ "สืบชะตาแม่น้ำ" หลายคนคงไม่ทราบว่าพิธีกรรมนี้ไม่ได้มีมาแต่โบราณ แต่เป็นการประยุกต์การบวชคนมาเป็นการบวชป่า เอาการสืบชะตาคน ชะตาชุมชน มาสืบชะตาแม่น้ำ โดยความคิดริเริ่มของพระรูปหนึ่งเมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้ว พระครูมนัสนทีพิทักษ์ อดีตเจ้าคณะอำเภอแม่ใจ วันนี้คือรองเจ้าคณะจังหวัดพะเยา ชื่อของท่านพระครูก็บอกอยู่แล้วว่า ท่านเป็นผู้พิทักษ์แม่ใจ แม่น้ำสายเล็กๆ ที่เกิดจากดอยจากป่า เมื่อแหล่งกำเนิดถูกทำลาย น้ำสายนี้ก็เหือดแห้ง ผู้คนก็ไม่มีน้ำกินน้ำใช้เพื่อการทำมาหากิน ท่านรณรงค์ให้ชาวบ้านร่วมกันอนุรักษ์ป่า แต่เทศน์สอนอย่างเดียวไม่ได้ผล ท่านจึงหากุศโลบายซึ่งเข้ากับวิถีชุมชน คือการประยุกต์ความเชื่อและประเพณีวัฒนธรรมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม พิธีกรรมบวชป่าเป็นพิธีกรรมเรียบง่าย มีพระสงฆ์ร่วมพิธีสวดมนต์ เลือกเอาไม้ที่ใหญ่ที่สุดหรือพญาไม้จำนวนหนึ่ง แล้วเอาผ้าเหลืองพันรอบต้นไม้นั้น ก็เท่ากับได้บวชทั้งป่า เป็นป่าอันศักดิ์สิทธิ์ที่คนร่วมกันรักษาไว้ พิธีสืบชะตาแม่น้ำประยุกต์มาจากพิธีสืบชะตาคนและสืบชะตาหมู่บ้าน มีความสำคัญดังนี้ 1.ก่อให้เกิดความร่วมมือ ความสามัคคีและช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในชุมชน 2. ทำให้เกิดความเลื่อมใส เคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องรักษาแม่น้ำ 3. เกิดความรักหวงแหนและสำนึกในการดูแลรักษาแม่น้ำ ตลอดจนต้นน้ำลำธาร บวชป่าสักทอง สืบชะตาแม่น้ำยม ประเพณีชุมชนสะเอียบ กับภาระกิจตำบลจัดการตนเอง ชาวบ้านตำบลสะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ได้ร่วมใจกันจัดพิธีบวชป่า สืบชะตาแม่น้ำ ขึ้นทุกๆ ปี บริเวณริมแม่น้ำยม ที่ชาวบ้านเรียกว่าผาอิง ชาวบ้านกว่า 300 คน ได้เดินทางมารวมกันแต่เช้าของวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2554 โดยพร้อมใจกันเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา การสืบชะตาแม่น้ำ ซึ่งชาวบ้านได้ปรับมาใช้จากการสืบชะตาของคน โดยเชื่อว่าการสืบชะตาแม่น้ำนอกจากจะเป็นการแสดงความเคารพต่อแม่น้ำ ซึ่งมีบุญคุณต่อชาวบ้านและชุมชนตลอดเสมอมา ยังเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับชาวบ้านในการปกป้อง พิทักษ์ รักษาแม่น้ำ ให้มีความอุดมสมบูรณ์ หล่อเลี้ยงลูกหลานและชุมชนตลอดไปชั่วกาลนาน นายอุดม ศรีคำภา ชาวบ้านบ้านดอนชัย ต.สะเอียบ เล่าให้ฟังว่า นับตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา ชาวบ้านทั้ง 4 หมู่บ้าน คือ บ้านดอนชัย บ้านดอนแก้ว บ้านแม่เต้น และบ้านดอนชัยสักทอง ได้ร่วมกันตั้งกลุ่มราษฎรรักป่าขึ้นมา เนื่องจากตระหนักในคุณค่าของป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ “ชาวบ้านได้ร่วมกันจัดพิธีกรรมบวชป่าสืบชะตาแม่น้ำมากันอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการปกป้องป่า แม่น้ำ และทรัพยากรธรรมชาติ ที่ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์มาโดยตลอด ทั้งผัก เห็ด หน่อไม้ สมุนไพร จนชาวบ้านถือว่าเป็นซุปเปอร์มาเก็ดของชุมชน ต้องช่วยกันรักษา เราร่วมใจกันปฏิบัติสืบมาจนกลายเป็นประเพณีของชุมชนไปแล้ว” นายเส็ง ขวัญยืน กำนันตำบลสะเอียบ กล่าวถึงการสืบเนื่องในพิธีกรรมบวชป่าสืบชะตาแม่น้ำของชาวบ้านสะเอียบว่า “เราต้องการที่จะแสดงให้สังคมได้รับรู้ว่าที่ป่าสักทองแห่งนี้ เป็นป่าสักทองผืนสุดท้ายของ ประเทศไทย คนไทยทั้งชาติควรเห็นคุณค่า ความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้ แม่น้ำ และให้การสนับสนุนการรักษาป่า รักษาแม่น้ำร่วมกับชุมชนสะเอียบ ช่วยกันปกป้องรักษาให้ถึงที่สุดอย่าให้เขื่อนร้ายแก่งเสือเต้นเข้ามาทำลายป่าสักทองแห่งนี้” พิธีกรรมเสร็จสิ้น แต่การต่อสู้ยังดำเนินต่อไป เมื่อพิธีกรรมทางศาสนาเสร็จสิ้น ชาวบ้านแต่ละคนก็ได้นำผ้าเหลืองที่เตรียมมา ไปมัดยังต้นไม้ ที่ชาวบ้านเรียกว่าดงสักงาม ซึ่งมีต้นสักขนาดใหญ่ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่า ต้นไม้ต้นนี้ ป่าแห่งนี้ ได้บวชแล้ว เปรียบเสมือนผู้ชายเมื่ออายุครบ 20 ปี ก็จะบวชเป็นพระสงฆ์เพื่อสนองพระคุณพ่อแม่ และสานต่อพระพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นกุศโลบายที่บอกถึงการปกป้องรักษาต้นไม้ รักษาป่าสักทองแห่งสุดท้ายของ ประเทศนี้ไว้ ใครจะมาตัดทำลายมิได้ เพราะเปรียบเสมือนทำลายพระสงฆ์ และทำลายพุทธศาสนา การบวชป่า สืบชะตาแม่น้ำ ในปีนี้ได้เสร็จสิ้นลง แต่ภารกิจในการปกป้องป่า ปกป้องแม่น้ำ ของชาวตำบลสะเอียบ ยังคงสืบต่อเนื่องไป เพราะนี่คือประเพณีของชุมชน นี่คือภารกิจของชาวบ้านและชุมชนที่ต้องสานต่อ ตลอดรุ่นลูกรุ่นหลานสืบต่อไป และเราคงไม่ให้ภาระอันหนักอึ้งนี้ตกอยู่บนบ่าของชาวบ้านสะเอียบ เพียงเท่านั้น เราทุกคนต้องร่วมกันปกป้องรักษา เพื่ออนาคตของลูกหลานเราและมวลมนุษยชาติ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
วิกิลีคส์เผยอเมริกาค้านซีแอล ต้องการผูกขาด Posted: 12 Feb 2011 01:40 AM PST เมื่อวันที่ 8 ก.พ.54 ที่ผ่านมามีรายงานว่า วิกิลีคส์ได้เผยแพร่เคเบิลที่ฑูตราล์ฟ บอยซ์ รายงานเกี่ยวกับการทำซีแอลของไทย ซึ่งมีหลายประเด็นน่าสนใจ อาทิเช่นเอกอัครราชฑูตอเมริกันได้แจ้งต่อทางการสหรัฐยอมรับว่าการทำซีแอลของ ไทยนั้นถูกกฎหมายทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังทราบเหตุผลความจำเป็นที่ไทยต้องทำซีแอล ทั้งเรื่องราคา และความขาดแคลนยาในบางช่วงด้วย รวมทั้งข้อแนะของธนาคารโลก แต่จำเป็นต้องหาหนทางที่จะรักษาสิทธิผูกขาดเอาไว้ อเมริกา ยังตระหนักดีว่า การต่อต้านการทำซีแอล ทำให้ภาพพจน์ของสหรัฐและอุตสาหกรรมยาข้ามชาติถูกมองว่าเป็นพวกนายทุนต่าง ชาติหิวเงินหากินบนชีวิตคนจนและผู้ป่วยในไทย รวมถึงยอมรับคุณภาพยาต้านไวรัสที่ผลิตโดยขององค์การเภสัช แม้จะยังไม่ได้ Pre-qualification จาก WHO วิกิลีกค์กล่าวต่อไปว่า จากการเปิดเผยข้อมูลจากบ.เมิร์ค ในกระทรวงสาธารณสุข มีข้าราชการที่คัดค้านส่งข้อมูล โดยส่งซิกให้บ.เมิร์คทราบว่าจะมีการประกาศซีแอล ให้ขัดขวางก่อนการออกประกาศ เอกอัคราชฑูตสหรัฐฯ กังวลต่อภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมยาข้ามชาติในไทย เสนอให้สมาคมอุตสาหกรรมยาอเมริกัน (PhRMA) เพิ่มงบประชาสัมพันธ์ในไทยให้่มากขึ้น ต้นฉบับ.... http://213.251.145.96/cable/2006/12/06BANGKOK7335.html ที่มาข่าว: ประชาธรรม
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
อียิปต์ ชัยชนะของประชาชน ประชาชนจงเจริญ!!! Posted: 12 Feb 2011 01:31 AM PST ประชาชนอียิปต์ได้รับชัยชนะในการล้มอำมาตย์มูบารักหลังจากที่เคลื่อนไหวมา 18 วัน การปฏิวัติอียิปต์ถูกนิยามโดยผู้เข้าร่วมต่อสู้ว่าเป็น “การปฏิวัติเพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และบทเรียนแหลมคมสองบทที่คนเสื้อแดงจะได้จากชัยชนะของประชาชนอียิปต์คือ 1. การต่อสู้ของมวลชนเป็นเรื่องชี้ขาด 2. การนัดหยุดงานทั่วไปสามารถกดดันอำมาตย์ในด้านเศรษฐกิจและนำไปสู่ชัยชนะได้ ความสำคัญของมวลชนเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอย่างมากในไทย หลายคนหันหลังให้มวลชน เพื่อไปพูด “เอามัน”เรื่องการจับอาวุธ หรือเพื่อด่าแกนนำว่า “พาคนไปตาย” หรือเพื่อเสนอว่าเราสู้เองไม่ได้ถ้าไม่พึ่งพิงผู้ใหญ่ ไมว่าจะเป็นนายทุน หรือทหารแตงโม การปฏิวัติอียิปต์พิสูจน์ว่าการหันหลังให้มวลชนเป็นทางตันที่จะพาเราไปสู่ความพ่ายแพ้และการยอมจำนน การลุกฮือของประชาชนอียิปต์ไม่เคยง่าย อำมาตย์อียิปต์ครองอำนาจมา 30 ปี ในเวลานั้น มีการปราบ ขัง ฆ่า ทรมาณ นักเคลื่อนไหวที่ต้องการประชาธิปไตย มีการปราบปรามและกดขี่สหภาพแรงงานอย่างต่อเนื่อง มีการเซ็นเซอร์สื่ออย่างเบ็ดเสร็จ และล้างสมองประชาชนด้วยนิยายชาตินิยม และเมื่อประชาชนแสดงความกล้าหาญในการลุกสู้เมื่อเดือนมกราคม อำมาตย์อียิปต์ก็ลงมือฆ่ากว่า 300 ศพ บาดเจ็บเป็นพัน สาเหตุสำคัญที่ทหารอียิปต์ยังไม่ปราบฆ่าประชาชนก็เพราะมวลชนไปมุงล้อมคุยและกดดันทหารชั้นล่าง พวกนายพลอำมาตย์เลยไม่แน่ใจว่าจะสั่งทหารเกณฑ์ได้หรือไม่ ดังนั้นคนที่แก้ตัวว่า “อียปต์ไม่เหมือนไทย” เป็นคนที่พยายามหาข้อแก้ตัวว่าทำไมเราสู้ไม่ได้และต้องยอมจำนนเป็นทาสตลอดกาล แน่นอนการต่อสู้ในโลกจริงไม่เคยมีหลักประกันว่าจะชนะเสมอ คนเสื้อแดงทราบดีด้วยความเจ็บปวด แต่วิธีการต่อสู้มีความสำคัญในการช่วยให้มวลชนชนะ การปฏิวัติอียิปต์ระเบิดขึ้นเพราะมีการเคลื่อนไหวแบบ “แกนนอน” ทุกคนนำตนเอง ไม่มีใครสั่งให้เลิกหรือปรองดองได้ง่ายๆ พวกฝ่ายค้านเก่าที่อนุรักษ์นิยมและหวาดระแวง เช่นพรรค “พี่น้องมุสลิม” ไม่ได้มีส่วนในการริเริ่มการต่อสู้ และกล้าๆ กลัวๆ ในการสนับสนุนในระยะเริ่มแรก ถ้าไม่มีแกนนอน การปฏิวัติจะไม่สำเร็จหรืออาจไม่เกิดเลย แต่การนำแบบ “แกนนอน” เริ่มมีจุดอ่อนเมื่อถึงทางแยกสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อประชาชนอียิปต์ประสบความสำเร็จในการล้มมูบารัก เพราะคำถามต่อไปมีมากมาย เช่น · จะไว้ใจกองทัพได้หรือไม่ ในเมื่อนายพลเป็นส่วนหนึ่งของระบอบเก่า? · จะกีดกันไม่ให้นักการเมืองฉวยโอกาสมากินกำไรฟรีๆ จากการปฏิวัติ? เช่นคนอย่าง โมฮัมมัด เอลบอรอได หรือแม้แต่พรรคพี่น้องมุสลิม · จะผลักดันการต่อสู้ให้ไปไกลกว่านี้เพื่อล้มระบอบอำมาตย์เก่าทั้งระบอบ และเพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมอย่างไร? · จะรวมพลังขบวนการแรงงานให้เรียกร้องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจอย่างไร ขบวนการแรงงานที่ออกมาสู้จะต้องกลับไปทำงานภายใต้เงื่อนไขและเจ้านายเดิมจริงหรือ? · จะปฏิรูปตำรวจ ศาล และกองทัพอย่างถอนรากถอนโคนอย่างไร? เรื่องแบบนี้ตัดสินใจแบบแกนนอนไม่ได้ ต้องอาศัยการเสนอแนวทางที่ชัดเจนบนพื้นฐานการวิเคราะห์สังคม และการเสนอแนวที่ชัดเจนแบบนั้นแปลว่าต้องมีองค์กรทางการเมืองหรือพรรคที่รวมตัวกันภายใต้ความคิดร่วม และแน่นอนมันจะมีหลายพรรคหลายองค์กรที่แข่งแนวกันเพื่อครองใจมวลชน แต่ถ้าผู้ที่ทำการปฏิวัติไม่รวมตัวกันทางการเมืองแบบนั้น คนอื่นจะมาช่วงชิงการนำแทน และอาจพาสังคมไปสู่การปกป้องระบอบเดิม เราเห็นชัดในกรณี ๑๔ ตุลาคมที่ไทย หลังจากที่ป่าแตกและการล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลก กระแสการปฏิเสธ “ชนชั้น” และการหันหลังให้กับการทำงานในขบวนการแรงก็เกิดขึ้น การปฏิวัติที่อียิปต์พิสูจน์ว่าคนเสื้อแดงต้องขยันในการจัดตั้งทางการเมืองในขบวนการแรงงานไทย เพื่อใช้อำนาจทางเศรษฐกิจกดดันอำมาตย์ผ่านการนัดหยุดงาน สิ่งที่ทำให้ประชาชนอียิปต์โกรธแค้นคือเรื่องการตกงาน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความเป็นเผด็จการของรัฐบาล และการที่อำมาตย์เหยี่ยบย่ำศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เมื่อคืนก่อนที่มูบารักจะลาออก มูบารักออกโทรทัศน์และเรียกประชาชนอียิปต์อย่างดูถูกดูหมิ่นว่าเป็น “ลูก” ดังนั้นถ้าเราจะล้มอำมาตย์ไทย เราต้องมีข้อเรียกร้องทางเศรษฐกกิจและการเมืองพร้อมกันที่ครองใจประชาชนได้ และชี้ทางไปสู่การสร้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนที่ถูกสอนมาตลอดว่าเป็นแค่ฝุ่นใต้ตีน การปฏิวัติอียิปต์จะแพร่หลายไปสู่ประเทศต่างๆ ที่ปกครองโดยทรราชในตะวันออกกลาง เช่น จอร์แดน เยเมน บาหเรน ซาอุ อัลจีเรีย โมรอโค และจะทำให้ทรราชในไทย และทรราชในจีนหนาว การปฏิวัติอียิปต์ ถ้าไปในทิศทางที่เสริมชัยชนะของประชาชน จะลดอิทธิพลของจักรวรรดินิยมสหรัฐ มหาอำนาจตะวันตก และอิสราเอล ในตะวันออกกลาง และจะสร้างความหวังให้ชาวปาเลสไตน์ จงร่วมกันฉลองชัยชนะของประชาชนอียิปต์ แต่ฉลองเสร็จจงลงมือทำงานการเมืองต่อไป ประชาชนจงเจริญ!! ประชาชนจะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน!! สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
จาตุรนต์ ฉายแสง : ยุบสภา – หลีกเลี่ยงสงคราม หยุดวงจรรัฐประหาร Posted: 12 Feb 2011 01:07 AM PST อ่านแถลงการณ์ของรัฐบาลต่อกรณีปัญหาความขัดแย้งกับประเทศกัมพูชาแล้วแสดงว่า ข้าราชการที่เป็นคนเขียนยังมีสติอยู่ ไม่ก้าวร้าวเหมือนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่กำลังสร้างปัญหาให้หนักเข้าทุกที การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแสดงความก้าวร้าว ข่มขู่กัมพูชาแถมยังด่ากราดอีกหลายประเทศ แสดงถึงความไร้วุฒิภาวะ ไม่เหมาะสมที่จะเป็นรัฐมนตรีอีกต่อไป รัฐบาลนี้ยืนยันตลอดว่าปัญหาแก้ได้โดยการเจรจาของ 2 ประเทศ ไม่จำเป็นต้องอาศัยประเทศที่ 3 แต่สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่คือ การสร้า้งเงื่อนไขให้ต้องมีคนอื่นเข้ามา รัฐบาลนี้กำลังพาประเทศไปในทางที่มีแต่เสียกับเสีย และความเสียหายนับวันมีแต่จะมากขึ้นๆ รัฐบาลกำลังทำให้ชาวโลกเขาไม่เชื่อว่าลำพัง 2 ประเทศจะสามารถแก้ปัญหาได้ ขณะที่คนไทยก็กำลังเรียนรู้ว่ารัฐบาลนี้ไม่มีทางแก้ปัญหาได้ เพราะกลายเป็นตัวปัญหาเสียเอง สถานการณ์ขณะนี้เหมือนมีเงื่อนไขที่ชัดเจนแล้วที่นายกรัฐมนตรีจะยุบสภาในเร็วๆนี้ได้แล้ว ดึงเวลายืดเยื้อต่อไป รังแต่จะสร้างความเสียหายให้กับประเทศ ที่ว่ามีเงื่อนไขนั้น ไม่ใช่ 3 ข้อที่นายกฯอ้างมาตลอด เพราะนั่นเป็นเงื่อนไขที่อ้างเพื่อจะอยู่นานๆ แต่ที่ผมเสนอเป็นคนละเรื่องกัน เงื่อนไขที่ทำให้นายกฯควรยุบสภาโดยเร็วคือ ความแตกต่างทางความคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งกับกัมพูชาที่มีทั้งที่ให้ทำสงครามและที่ต่อต้าน ทางที่ดีคือ ให้ประชาชนตัดสินในการเลือกตั้ง ให้พรรคการเมืองเสนอนโยบายต่อสังคมว่าใครจะพาประเทศไปทางไหน อีกเงื่อนไขหนึ่งก็คือ ความพยายามที่จะทำรัฐประหารได้เกิดขึ้นจริง การยุบสภาจะช่วยหยุดการพัฒนาของเหตุการณ์ที่อาจถูกใช้เป็นข้ออ้างในการรัฐประหาร ในระหว่างที่รัฐบาลนี้ยังทำหน้าที่อยู่ ผมเสนอว่ารัฐบาลจะต้องลดท่าทีที่ก้าวร้าวลง แสดงความจริงใจที่จะยุติความขัดแย้งโดยสันติวิธี อาศัยการเจรจา รัฐบาลต้องดูแลคนของตัวให้ได้ ตั้งแต่นายกฯเอง รัฐมนตรี ผู้นำกองทัพและบรรดาโฆษกของนายกฯและนักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาลให้ตัดเงื่อนไขสงคราม ในภาวะที่ล่อแหลมต่อการเกิดสงครามเช่นนี้ คงต้องย้ำหลักการสำคัญข้อหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยคือ รัฐบาลต้องมีอำนาจและความรับผิดชอบเหนือกองทัพ รัฐบาลจึงควรแสดงภาวะผู้นำ มีความชัดเจนทางนโยบายและกำชับให้หน่วยงานต่างๆรวมทั้งกองทัพปฏิบัติตาม เมื่อมีปัญหารัฐบาลย่อมต้องรับผิดชอบเต็มๆ การเคลื่อนไหวของพันธมิตรนั้นเป็นสิ่งที่ล้าหลัง เป็นอันตรายใหญ่หลวงต่อประเทศ ถ้าจะมีข้อดีอยู่บ้างคือการเอาข้อมูลความเลวร้ายของรัฐบาลมาเปิดเผย รัฐบาลกับพันธมิตรขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ขณะเดียวกันก็กำลังแข่งกันสร้างผลงานด้วยการสร้างเงื่อนไขให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงยิ่งขึ้นกับกัมพูชา ชนชั้นนำจะเข้าใจบ้างหรือไม่ว่า ระบบกลไกที่ใช้ทำลายฝ่ายตรงข้ามและทำลายระบอบประชาธิปไตยกำลังขัดแย้งทำลายกันเองและกำลังเสื่อมทรามลงทุกขณะ ยากจะเยียวยา ถ้าชนชั้นนำยังคงเดินหน้าใช้กลไกทั้งหลายสร้างความปั่นป่วนเพื่อหวังเข้าคุมอำนาจเบ็ดเสร็จ ผลเสียร้ายแรงจะเกิดกับประเทศและรวมทั้งกับชนชั้นนำเอง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
พม่าดูแลเข้มบ้านพัก "จายหมอกคำ" รองประธานาธิบดีคนที่ 2 - เสริมกำลังประชิดเขตไทใหญ่ Posted: 12 Feb 2011 12:48 AM PST ทางการพม่ารักษาความปลอดภัยบ้านพักจายหมอกคำ รองประธานาธิบดีคนที่ 2 ส่งคนสร้างรั้วล้อมบ้านพักแน่นหนา จายหมอกคำ เป็นชาวไทใหญ่ถูกทางการพม่าทาบทามเป็นลูกพรรค USDP โดยหวังช่วยกล่อมกลุ่มต่อต้านในรัฐฉาน... มีรายงานจากแหล่งข่าวรัฐฉานว่า หลังทางการพม่ามีการประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 ก.พ. ว่า จายหมอกคำ ชาวไทใหญ่ สมาชิกพรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนา USDP ถูกเลือกเป็นรองประธานาธิบดีคนที่ 2 ของสหภาพพม่า ที่บ้านพักส่วนตัวของเขา ในเขต 7 เมืองล่าเสี้ยว รัฐฉานภาคเหนือ ได้มีคนงานเข้าไปทำการก่อสร้างเสริมรั้วเหล็กล้อมบ้านทั้งด้านข้างและด้านหลังอย่างแน่นหนา ขณะที่ด้านหน้าของบ้านมีการเตรียมก่ออิฐเสริมกำแพงเพิ่ม ทั้งนี้เชื่อกันว่า ทางการพม่าเป็นผู้ออกทุนสร้างให้ เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับเขา จายหมอกคำ ถือเป็นชาวไทใหญ่คนที่สองที่มีโอกาสได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการ เมืองสหภาพพม่า โดยคนแรกคือ เจ้าส่วยแต้ก เจ้าฟ้าเมืองหยองห้วย ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรกสหภาพพม่า ในปี ค.ศ.1948 หลังสหภาพพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษได้ไม่นาน มีกระแสข่าวว่า ก่อนหน้าการเลือกตั้ง เจ้าหน้าหน่วยข่าวกรองพม่าในรัฐฉานได้มีการประชุมลับหารือกันถึงการทาบทาม จายหมอกคำ เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรค USDP เพื่อเป็นตัวแทนลงแข่งเป็นสมาชิกสภา เนื่องจากเห็นว่า จายหมอกคำ เป็นผู้กว้างขวางในสังคมไทใหญ่ มีความสนิทสนมทั้งผู้นำการเมืองและกลุ่มติดอาวุธ โดยที่หวังให้เขาช่วยไกล่เกลี่ยกลุ่มต่างๆ เข้าร่วมรัฐบาล ด้าน จายหมอกคำ เคยกล่าวก่อนหน้าการเลือกตั้งที่มีขึ้นเมื่อ 7 พ.ย. ที่ผ่านมา ว่า ที่ตนยอมรับข้อเสนอพม่าเข้าเป็นสมาชิกพรรคข้างรัฐบาลทหารพม่า อาจมีชาวไทใหญ่บางส่วนรวมถึงเพื่อนๆ ไม่เห็นดีด้วย แต่ในความเป็นจริง ตนทำไปเพื่อความอยู่รอดของครอบครัว แต่เมื่อมีโอกาสดีได้รับตำแหน่งที่มีบทบาทก็อาจสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนารัฐฉานได้บ้าง จายหมอกคำ อายุ 61 ปี เกิดที่เมืองหมู่แจ้ รัฐฉานภาคเหนือ จบการศึกษาด้านแพทย์ศาสตร์ จากเมืองมัณฑะเลย์ ระหว่างปีค.ศ.1978–1996 รับราชการและเป็นประธานชมรมการศึกษาและวัฒนธรรมไทใหญ่ เมืองล่าเสี้ยว จายหมอกคำ เป็นเจ้าของโรงพยาบาลอยู่หลีข้า เมืองล่าเสี้ยว รัฐฉานภาคเหนือ ทัพพม่าเสริมทหาร–รถถังประชิดพื้นที่กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" กองทัพพม่าเสริมกำลังทหารพร้อมรถถังเข้าประชิดพื้นที่กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSA 'North' ทั้งสั่งปิดเส้นทางเข้าสู่ที่ตั้งกองบัญชาการใหญ่ ด้านเจ้าหน้าที่ระดับสูง SSA 'North' ระบุ เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเตรียมโจมตี…. แหล่งข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 9 ก.พ. ที่ผ่านมา กองทัพรัฐบาลทหารพม่าได้เสริมกำลังทหารราว 200 นาย เดินทางด้วยรถบรรทุก 6 คัน พร้อมด้วยรถถังอีก 6 ลำ จากเมืองตองจีเข้าไปในพื้นที่เมืองหนอง รัฐฉานตอนกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อพื้นที่เคลื่อนไหวของกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" Shan State Army (SSA) 'North' โดยขณะนี้มีรถถังอีกอย่างน้อย 20 ลำ เตรียมถูกส่งไปเสริมเพิ่มซึ่งคาดว่าจะถึงที่หมายในเร็วๆ นี้ ขณะเดียวกัน กองทัพรัฐบาลทหารพม่าได้มีคำสั่งปิดเส้นทางสายระหว่างเมืองเกซี – เมืองสู้ อันเป็นเส้นทางรถยนต์เข้าสู่บ้านไฮ ที่ตั้งกองบัญชาการใหญ่ของกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" SSA 'North' อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองเกซีด้วย โดยคำสั่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 8 ก.พ. ที่ผ่านมา ส่งผลให้รถยนต์ที่วิ่งบนเส้นทางสายดังกล่าวเป็นประจำต้องหันไปใช้เส้นทางอื่นแทน การเคลื่อนไหวทางทหารของกองทัพพม่าในรัฐฉานครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกหลังการประชุมรัฐสภาของรัฐบาลใหม่พม่า โดยก่อนหน้านี้ กองทัพรัฐบาลทหารพม่าถูกสั่งหยุดเคลื่อนไหว เนื่องจากมีการเรียกประชุมสภาครั้งแรกหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 7 พ.ย. ปีที่ผ่านมา ด้านเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกองกำลังไทใหญ่ 'เหนือ' คนหนึ่งเปิดเผยว่า การเคลื่อนไหวทางทหารของกองทัพพม่านี้ ถือเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเตรียมโจมตีกองกำลังไทใหญ่ 'เหนือ' SSA 'North' ชัดเจน อย่างไรก็ตาม แม้ขณะนี้ยังไม่มีความตึงเครียดของกำลังทั้งสองฝ่าย แต่ทางบก.กองกำลังไทใหญ่ 'เหนือ' SSA 'North' ได้มีคำสั่งให้กำลังพลอยู่ในความพร้อมเตรียมรับมือแล้ว เจ้าหน้าที่คนเดิมของกองกำลังไทใหญ่ 'เหนือ' เผยด้วยว่า นับเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี ที่กองทัพพม่ามีคำสั่งปิดเส้นทางสายเมืองเกซี – เมืองสู้ ซึ่งเส้นทางสายดังกล่าวเป็นเส้นทางสัญจรของกองกำลังไทใหญ่ 'เหนือ' มาตั้งแต่มีการเจรจาหยุดยิงกันเมื่อปี 2532 โดยการเคลื่อนไหวของกองทัพพม่านี้เชื่อว่าเป็นไปตามนโยบายกำจัดกองกำลังกลุ่มต่อต้านของรัฐบาลชุดใหม่ ทั้งนี้กองกำลังไทใหญ่ 'เหนือ' SSA 'North' ได้รับการก่อตั้งขึ้นใหม่จากกองพลน้อยที่ 1 อดีตสังกัดกองทัพรัฐฉาน 'เหนือ' หรือ กลุ่มหยุดยิงไทใหญ่ ที่เปลี่ยนสถานะภาพเป็นหน่วยพิทักษ์ชายแดน BGF ใต้กำกับรัฐบาลทหารพม่า ปัจจุบันกองกำลังไทใหญ่ 'เหนือ' SSA 'North' มีพล.ต.ป่างฟ้า เป็นผู้นำสูงสุด มีกำลังพล 5 กองพลน้อย ซึ่งนับตั้งแต่ปฏิเสธรับข้อเสนอของรัฐบาลทหารพม่าในการจัดตั้งเป็นหน่วยพิทักษ์ ชายแดน BGF กองกำลังไทใหญ่ 'เหนือ' SSA 'North' ได้เกิดการปะทะกับทหารพม่าแล้วอย่างน้อย 7 ครั้ง ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
ทีดีอาร์ไอเผยประกันแรงงานนอกระบบ การจัดการยังน่าห่วง Posted: 12 Feb 2011 12:39 AM PST ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมามีการพูดกันมากถึงนโยบายประชาวิวัฒน์ หรือบางคนเรียกว่า “ประชานิยม”ที่รัฐบาลประกาศออกมา พร้อมมาตรการ 9 ข้อ ที่เน้นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนกลุ่มต่าง ๆ รวมไปถึงการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน หลายมาตรการฝ่อตั้งแต่เริ่มต้น เช่นกรณีไข่ชั่งกิโลที่มีกระแสตอบรับน้อย แต่มาตรการขยายสวัสดิการประกันสังคมไปสู่แรงงานนอกระบบ หากทำได้จริงน่าจะเกิดคุณูปการแก่ประชาชนกลุ่มใหญ่ที่เป็นกำลังแรงงานของประเทศมากกว่า 23 ล้านคน และนับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี อีกทั้งยังช่วยสร้างสมดุลของสวัสดิการแรงงาน เพราะประเทศไทยมีแรงงานภาคทางการน้อยกว่าแรงงานภาคไม่เป็นทางการมาก(ราว 3 เท่า)และไม่สามารถลดขนาดเล็กลงได้ก็ต้องทำให้แรงงานเหล่านี้เกิดความมั่นคงในชีวิตมากขึ้น แต่การบริหารจัดการให้เกิดความยั่งยืนระยะยาวยังน่าห่วง หากไม่มีการเตรียมการที่ดีพอ ทั้งตัวระบบรองรับและการเข้าถึงตัวแรงงาน ทำความเข้าใจและมาขึ้นทะเบียนเข้าสู่ระบบ ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า เรื่องการขยายสวัสดิการให้กับแรงงานนอกระบบ และการให้สินเชื่อพิเศษแก่ แท็กซี่ มอเตอร์ไซด์รับจ้าง และผู้ค้าหาบเร่แผงลอย เรื่องเหล่านี้หากรัฐบาลทำได้จริงจะเป็นผลงานที่สร้างชื่อและเรียกคะแนนนิยมได้มาก เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ไม่เคยได้รับสิทธิประโยชน์ได้เข้ามาอยู่ในระบบและได้รับการดูแลด้านสิทธิประโยชน์ที่จำเป็น และคาดว่าจะมีจำนวนผู้เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์หลายล้านคนจากแรงงานนอกระบบมากกว่า 24 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 62 ของกำลังแรงงานของประเทศ ครอบคลุมแรงงานนอกระบบซึ่งแยกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ กลุ่มแรกเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระทั่วไป อาทิ แท็กซี่ สามล้อมอเตอร์ไซค์รับจ้าง หาบเร่ แผงลอย ช่างเสริมสวย แรงงานภาคเกษตรรวมไปถึงอาชีพที่มีรายได้สูงอย่างเช่น ทนายความ แพทย์ ที่มีกิจการเป็นของตนเอง และกลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มอาชีพรับจ้างต่างๆ อาทิ ผู้รับงานไปทำที่บ้าน รับจ้างทำของ รับจ้างตามฤดูกาล รับจ้างในกิจการประมงรวมไปถึงรับจ้างทำงานบ้าน และคนขับรถส่วนตัว สำหรับสวัสดิการประกันสังคมสำหรับแรงงานนอกระบบนั้น ทำในรูปแบบรัฐร่วมจ่ายสมทบกับผู้ประกันตน โดยในขั้นต้นนี้รัฐทำเป็น 2 แพคเกจให้เลือกตามความสมัครใจ คือ แพ็คเกจแรก 100 บาท ผู้ประกันตนจ่าย 70 บาท รัฐสมทบ 30 บาท จะได้สิทธิประโยชน์เงินทดแทนเมื่อขาดรายได้ จำนวนหนึ่งเมื่อเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลอย่างน้อย 2 วัน เงินค่าชดเชยเมื่อทุพพลภาพหรือเสียชีวิต ส่วน แพ็คเกจที่สอง 150 บาท ผู้ประกันตนจ่าย 100 บาท รัฐสมทบ 50 บาท จะได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนแพ็คเกจแรก และบวกเพิ่มเงินบำเหน็จชราภาพซึ่งตรงบำเหน็จชราภาพนี้แรงงานนอกระบบยังสามารถเลือกสมทบเพิ่มเติมมากกว่าที่กำหนดไว้ก็ได้ แม้ในระยะแรกคาดว่าจะมีคนเริ่มเข้ามาสู่ระบบไม่มากราว 2.5 ล้านคน แต่ในทางปฏิบัติการเข้าถึงคนกลุ่มนี้ต้องใช้กำลังคนจำนวนมากและการจัดระบบบริหารจัดการทั้งจำนวนแรงงานที่จะเข้าสู่ระบบและระบบการส่งเงินสมทบ เพราะคนกลุ่มนี้มีจำนวนมากกว่าแรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคมเดิมถึงเกือบ 3 เท่า (ในระบบประกันสังคมมีแรงงานราว 9 ล้านคนเศษ) “แรงงานนอกระบบเป็นแรงงานกลุ่มใหญ่ อยู่กระจัดกระจาย ในทางปฏิบัติต้องใช้กำลังเจ้าหน้าที่จำนวนมาก เพื่อให้ลงไปถึงระดับหมู่บ้าน ให้เข้าถึงคนกลุ่มนี้ เพราะหากเขาไม่มาขึ้นทะเบียนก็ยากที่จะรู้ได้ ในทางปฏิบัติจึงต้องมีการเชื่อมโยงการทำงานหลายฝ่าย ทั้งกลไกของกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อลงไปให้ถึงคนเหล่านี้ และควรต้องเร่งประชาสัมพันธ์ เพราะทุกวันนี้บางคนยังไม่เข้าใจ ” ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า สิ่งที่น่าห่วง คือ แม้ในที่สุดจะมีการแก้กฎหมายให้เปิดช่องดำเนินการได้ แต่ในทางปฏิบัติสำนักงานประกันสังคมจะต้องปรับปรุงตัวองค์การ ในการจัดระบบรองรับเป็นการเฉพาะเนื่องจากเป็นการดูแลแรงงานกลุ่มใหญ่กว่าที่ประกันสังคมดูแลอยู่เดิมเพียง 9 ล้านคนเศษเท่านั้น ขณะที่นโยบายนี้ถ้าประสบผลสำเร็จจะทำให้มีแรงงานนอกระบบเข้ามาสู่ประกันสังคมสูงถึง 24 ล้านคน จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งจำนวนบุคลากรและระบบบริหารจัดการต่าง ๆ ซึ่งมีต้นทุนดำเนินการค่อนข้างสูง อีกทั้งการส่งเงินสมทบผ่านช่องทางต่าง ๆ ล้วนมีค่าใช้จ่าย สำนักงานประกันสังคมต้องแบกรับต้นทุนทั้งเรื่องคนและการพัฒนาระบบรองรับ ต้องมีการประเมินว่าระบบไอซีทีที่มีอยู่เดิมรองรับได้หรือไม่ เช่น หากคนที่จะเข้าสู่ระบบมากเกินที่คาดไว้เช่น จาก 2.5 ล้านคนเป็น 6-7 ล้านคน นอกจากนี้ควรแยกการบริหารจัดการกองทุนของแรงงานกลุ่มใหม่นี้เป็นคนละส่วนกับกองทุนประกันสังคมเดิมและมีเจ้าหน้าที่ดูแลเฉพาะ กล่าวคือ เหมือนมีการตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาอีกหน่วยงานหนึ่งเพื่อดูแลกองทุนของคนกลุ่มนี้ เช่นเดียวกับเรื่องของแรงงานต่างด้าวที่มีหน่วยงานดูแลเป็นการเฉพาะเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เรื่องสวัสดิการแรงงานนอกระบบนับเป็นนโยบายที่ดี แต่ต้องทำอย่างระมัดระวังเพราะต่อไปกองทุนนี้จะเป็นภาระด้านงบประมาณ เนื่องจากเป็นลักษณะเงินสมทบ ซึ่งเบื้องต้นสำนักงานประกันสังคมจะดูแลอยู่เพราะมีความเชี่ยวชาญ แต่ก็ต้องแยกคนกลุ่มนี้ไม่ให้ไปปนกับคนในระบบประกันสังคมเดิม สิ่งที่ต้องระวังคือ เมื่อมีฐานมาจากการอุดหนุนของรัฐบาล และการบริหารจัดการก็อาจเกิดปัญหาจากความเสี่ยงของตัวแรงงานที่อาจ มีการเข้าออกสูง การส่งเงินสมทบขาดความต่อเนื่อง กระแสเงินที่เข้ามาไม่ต่อเนื่อง อาจมีแรงกดดัน ทำให้ยากในการบริหารจัดการ ต้นทุนและค่าตอบแทนต่าง ๆ ก็อาจจะมีการเรียกร้องสิทธิทดแทนต่าง ๆ ให้เพิ่มมากขึ้น หากจะให้กองทุนนี้ดำเนินการต่อไปได้และมั่นคง จะต้องมีการติดตามและประเมินผลต่อเนื่องและปรับเปลี่ยนได้เมื่อพบว่าจะเป็นปัญหาในระยะยาว เพราะระบบนี้จะอยู่ได้ต้องมีคนเข้าระบบจำนวนมาก ถ้ามีคนเข้าระบบน้อยก็จะไม่คุ้มกับค่าบริหารจัดการ ซึ่งต้องมีการจ้างบุคลากรเพิ่มเติมและทำระบบรองรับ ดร.ยงยุทธ กล่าวว่า เมื่อรัฐบาลจะใช้นโยบายอย่างนี้ได้ก็หมายความว่ารัฐบาลต้องหาเงินเก่งด้วย แม้จะบอกว่าเก็บภาษีได้เกินกว่าเป้าเยอะ แต่นโยบายยังขาดดุล 3-4 แสนล้านบาท ก็เป็นแนวโน้มที่ไม่ดี เพื่อไม่ให้เกิดภาระงบประมาณในอนาคตรัฐบาลต้องมีวิธีหาเงินด้วย ต้องทำให้จีดีพีโตอย่างน้อย 4-5% จึงจะมีเงินรายได้เข้าคลังเพียงพอมาทำให้รัฐสวัสดิการเหล่านี้ดำเนินต่อไปได้โดยไม่ติดขัด อย่างไรก็ตาม หากมองว่ามาตรการนี้จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและสร้างสมดุลแรงงานได้นั้น ต้องมีการบูรณาการกันหลายอย่าง เพราะโดยหลักการสมดุลแรงงานจะเกิดได้ ต้องลดขนาดของแรงงานภาคไม่เป็นทางการให้เล็กลง ทำให้มาอยู่ในระบบมากขึ้น หรือทำให้เขามีรายได้มีความมั่นคง ได้รับการดูแลมากขึ้น ซึ่งในแง่นี้ประกันรายได้แรงงานนอกระบบก็น่าจะช่วยได้ส่วนหนึ่ง ปัจจุบันแรงงานภาคเกษตรคือแรงงานนอกระบบที่จนที่สุดมีรายได้เฉลี่ยเพียงเดือนละไม่ถึง 4,000 บาท และคนเหล่านี้ก็จะเข้ามาเป็นแรงงานแฝงในกรุงเทพฯ มีจำนวนราว 2 ล้านกว่าคนซึ่งมากพอ ๆ กับจำนวนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนกลุ่มนี้เป็นนโยบายใหญ่ที่ต้องทำต่อไปเพื่อลดความเลื่อมล้ำในสังคม. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
จากวาทกรรม “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” ถึงการเชียร์ให้ปราบคนเสื้อแดงและการรบระหว่างไทย-กัมพูชา Posted: 12 Feb 2011 12:30 AM PST บังเอิญเพื่อนส่งลิงค์เฟซบุ๊คข้อเขียนของ อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มาให้อ่าน ชื่อ “จตุรัส ฉบับสัมภาษณ์ประวัติศาสตร์ กิตติวุฑฺโฒ ภิกขุ: ฆ่าคอมมิวนิสต์ได้บุญมากกว่าบาป (บางทีจะช่วย “เตือนสติ” ในด้านกลับได้ในตอนนี้)” [1] อ.สมศักดิ์ ได้ลิงค์หน้าปก “จตุสรัส” (ปีที่ 2 ฉบับที่ 51 วันอังคารที่ 29 มิถุนายน 2519) และส่วนของคำสัมภาษณ์ที่มีเนื้อหาเรื่องการฆ่าคอมมิวนิสต์ “ได้บุญมากกว่า” บาป (ตอนหนึ่ง) ดังนี้ “จตุรัส: แล้วที่มีข่าวว่าเจ้าหน้าที่ฆ่าประชาชน ๓,๐๐๐ กว่าคนในกรณีถังแดงที่พัทลุง ท่านคิดว่าจริงไหม กิตฺติวุฑฺโฒ: อันนั้นเรื่องโกหกทั้งเพ ไม่จริง คือฝ่ายหนึ่งต้องการปลุกระดมประชาชนทำให้ประชาชนเคียดแค้น จตุรัส: การฆ่าฝ่ายซ้าย หรือ คอมมิวนิสต์ บาปไหม กิตฺติวุฑฺโฒ: อันนั้นอาตมาก็เห็นว่าควรจะทำ คนไทยแม้จะนับถือพุทธก็ควรจะทำ แต่ก็ไม่ชื่อว่าถือเป็นการฆ่าคน เพราะว่าใครก็ตามที่ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ นั้นไม่ใช่คนสมบูรณ์ คือต้องตั้งใจ (ว่า) เราไม่ได้ฆ่าคนแต่ฆ่ามารซึ่งเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน” จากเนื้อหาการให้สัมภาษณ์ดังกล่าวทำให้มีการขึ้นปกจัตุรัส “กิตติวุฑฺโฒ ภิกขุ: ฆ่าคอมมิวนิสต์ได้บุญมากกว่าบาป” และต่อมาเรามักได้ยินการอ้างอิงวาทกรรมดังกล่าวนี้ว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” อันที่จริงการอ้างอิงพุทธศาสนาเพื่อสนับสนุนความรุนแรงโดยรัฐ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลายครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เช่น ใน “เทศนาเสือป่า” ของ ร. 6 ตอนหนึ่งว่า “การรบเพื่อป้องกันชาติบ้านเมืองไม่เป็นข้อที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามปรามเลย ถ้าทรงห้ามปรามหรือแม้ไม่ทรงไม่ทรงเห็นชอบด้วยแล้ว ที่ไหนเลยจะทรงบังคับให้ทหารที่หนีจากกองทัพพระเจ้าพิมพิสารเข้าไปอุปสมบทนั้น สึกออกไปเข้ารับราชการในกองทัพตามเดิม” [2] หรือที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า) ทรงเทศนาสนับสนุนรัฐบาลที่ประกาศสงครามกับเยอรมนีในคราวสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยตรัสว่า เป็นการ “อุปถัมภ์ธรรมในระวางมิตร” สอดคล้องกับพุทธภาษิตที่ว่า “เมื่อระลึกถึงธรรม ถึงคราวเข้า ทรัพย์ อวัยวะ แม้ชีวิต ก็ควรสละเสียทั้งนั้น” [3] แต่แม้จะมีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ยืนยันเช่นนี้ สังคมไทยยังพยายามหลอกตัวเองว่า พระสงฆ์ไทยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง อยู่เหนือการเมือง หรือ “ต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง” (ซึ่งไม่รู้ว่าหมายความว่าอะไร) ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้ว โครงสร้างองค์กรสงฆ์ตั้งแต่มีระบบสมศักดิ์เป็นต้นมาพระสงฆ์ไทยก็มีรูปแบบการปกครองภายใต้อำนาจรัฐอยู่แล้ว และต้องตอบสนองต่อการเมืองของรัฐหรือผู้มีอำนาจรัฐอยู่แล้ว ภายในวงการคณะสงฆ์เองก็มีการเมืองเรื่องวิ่งเต้นสมณศักดิ์อยู่จริงตั้งแต่อดีตจวบปัจจุบัน มิหนำซ้ำในสมัยศักดินายังมีพระสงฆ์บางรูปวิ่งเต้นเรื่องสึกออกไปรับราชการกับขุนนางต่างๆ ด้วย เชื่อไหมครับ แม้แต่ปัจจุบัน “อาชีพรับราชการ” สำหรับเปรียญลาพรตนั้นมีน้อยมาก คือตรงๆ เลยมีเพียงตำแหน่ง “อนุศาสนาจารย์” ทหารบก เรือ อากาศ เท่านั้น แต่พระสงฆ์สมัยนี้ก็ยังมีการวิ่งเต้นเพื่อสึกไปรับราชการในตำแหน่งดังกล่าวอยู่จริง! ที่ขำไม่ออกคือ เวลาที่โฆษณาชวนเชื่อกันว่า พระสงฆ์ไทยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง หรือเป็นกลางทางการเมืองนั้น โฆษณากันราวกับว่า “พระสงฆ์ไทยบริสุทธิ์สะอาด” ไม่แปดเปื้อนกับ “สิ่งสกปรก” คือ “การเมือง” เลยฉะนั้น แต่ถามว่า พระสงฆ์ไทยที่ (อวดอ้างกันว่า) บริสุทธิ์สะอาดจากการเมืองสามารถสร้างพลังทางปัญญาในเรื่องจิตวิญญาณและสันติภาพของมนุษยชาติได้ดีเทียบเท่ากับพระสงฆ์ธิเบตที่อยู่กับการเมืองหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับการเมืองหรือไม่? องค์ทะไลลามะนั้น เป็นทั้งประมุขสงฆ์และผู้นำรัฐบาลพลัดถิ่น แต่งานเขียน บทสนทนา คำปราศรัย การกล่าวสุนทรพจน์ ฯลฯ ของพระองค์สะท้อนจิตวิญญาณแห่งความหลุดพ้น และจิตวิญญาณที่รักสันติภาพอย่างลึกซึ้ง จนทำให้พระองค์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แม้แต่ท่านติช นัท ฮันห์ พระภิกษุในพุทธศาสนานิกายเซ็น ชาวเวียดนาม ก็เคยต่อสู้ด้วยแนวทางสันติวิธีเมื่อครั้งสงครามอินโดจีน ถึงวันนี้ท่านก็ยังยืนยันจุดยืนเรื่องอิสรภาพทางจิตวิญญาณ ความเข้าใจ ความรักระหว่างเพื่อนมนุษย์ สันติภาพภายในและสันติภาพของโลก มีแต่พระสงฆ์ไทยที่อ้างว่าบริสุทธิ์จากการเมืองเท่านั้น ที่อ้างหลักการพุทธศาสนา “อย่างทุจริต” เพื่อสนับสนุนสงคราม สนับสนุนการมองเพื่อมนุษย์ที่มีอุดมการณ์ต่างกันว่าพวกเขาไม่ใช่คนแต่เป็น “มาร” การฆ่ามารของชาติ ศาสน์ กษัตริย์เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน ฆ่าแล้วได้บุญมากกว่าบาป เหมือนฆ่าปลามาทำอาหารถวายพระ การฆ่าปลาเป็นบาป แต่ฆ่าเพื่อทำบุญกับพระได้บุญมากกว่า (นี่คือเหตุผลที่เห็นแก่ตัวสุดๆ!!!) แล้วในยุคเราเป็นอย่างไร ผู้เคร่งศาสนา “ไม่กินเนื้อสัตว์” อย่างสมณะสันติอโศกกลับมาร่วมชุมนุมทางการเมืองสนับสนุนรัฐประหาร สนับสนุนการใช้กฎอัยการศึกปราบคนเสื้อแดง สนับสนุนการรบระหว่างไทย-กัมพูชา โดยมี “พระอริยะ” ทั้งพระสงฆ์และฆราวาสอย่างสมณะโพธิรักษ์ และ พล.ต.จำลอง ศรีเมืองเป็นแกนนำหลัก พวกเขากล่าวอ้าง “อหิงสา-สันติ” แต่รัฐประหาร กฎอัยการศึก การแสดงแสนยานุภาพทางทหารตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และการรบคือความรุนแรงอย่างยิ่ง และเป็นความรุนแรงที่ไม่สมเหตุสมผลอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน! พวกเขาอ้างว่าเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ปฏิเสธการเลือกตั้ง ปฏิเสธเสรีภาพในการปกครองตนเองของประชาชน และเล่นกลเกมทุกอย่างเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐโดยไม่ต้องมีการเลือกตั้ง แต่เป็นเรื่องเหลือเชื่อไหมครับ สนธิกับสันติอโศกผสมพันธุ์กับเป็น “พันธมิตร...” กลายเป็น “ม็อบมีเส้น” ที่ใครๆ ก็เกรงใจ พระสงฆ์ไทยก็เกรงใจ ไม่เคยวิพากษ์เลยว่าการออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองของชาวอโศกในนามของพุทธศาสนานั้นเป็นไปเพื่อ “อหิงสา-สันติ” หรือเป็นไปเพื่อสร้างความเกลียดชัง และการใช้ความรุนแรงแก่เพื่อนมนุษย์ที่มีความเห็นต่าง สื่อและนักวิชาการก็ยังเกรงใจ “ม็อบมีเส้น” ไม่ตั้งคำถามว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพวกเขาเหล่านั้นทำลายประชาธิปไตยอย่างไร สร้างความบาดหมางกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร อหิงสา-สันติที่พวกเขาพยายามสร้างภาพได้นำไปสู่ความรุนแรงอย่างไร นักวิชาการ สื่อ ชนชั้นกลางในเมือง ชาวพุทธทนดูคนพวกนี้เอาชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มาเล่มเกมอำนาจจนเกิดความรุนแรงภายในประเทศ และเกิดความรุนแรงกับประเทศเพื่อนบ้านอยู่ได้อย่างไร?!!! เชิงอรรถ [1] http://www.facebook.com/note.php?note_id=178264312216806&id=100001298657012 [2] พระไพศาล วิสาโล.พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต.(กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์,2546),หน้า 36. [3] เรื่องเดียวกัน,หน้า 36. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
นักสิทธิเเนะใช้กองทุนเงินทดเเทนจ่ายให้ "ชาลี ดีอยู่" ก่อน Posted: 12 Feb 2011 12:20 AM PST สปส. รวบรวมข้อมูลกรณี ชาลี ดีอยู่ เเรงงานข้ามชาติที่บาดเจ็บจากการทำงาน เตรียมเรียกค่าทดเเทนจากนายจ้าง นักสิทธิเเย้งกองทุนเงินทดเเทนจ่ายให้เเรงงานก่อนได้ เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 54 ที่ผ่านมา นางสมบุญ สีคำดอกเเค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย เเละมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนเเละการพัฒนา (มสพ.) ได้เข้าพบเพื่อยื่นหนังสือต่อนายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เรื่อง ขอให้ดำเนินการสอบสวนเเละเยียวยาความเสียหายเเก่นายชาลี ดีอยู่ เเรงงานข้ามชาติที่ประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน ตามพระราชบัญญัติเงินทดเเทน พ.ศ. 2537 นั้น นายปั้น วรรณพินิจได้รับหนังสือร้องเรียนด้วยตนเอง เเละชี้เเจ้งว่า ได้ตรวจสอบเเล้วว่านายชาลี ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน สปส. จะวินิจฉัยตามมาตรา 50 พรบ. เงินทดเเทน เพื่อเรียกเก็บเงินทดแทนนายจ้างขั้นสูงสุด เเละได้สั่งสำนักงานประกันสังคมจังหวัดปทุมธานี ส่งเจ้าหน้าที่ไปที่โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อหาข้อมูล เเละได้ให้เข้าไปสอบสภาพอาการของนายชาลี เรื่องการติดตามนายจ้างนั้นจะดำเนินการต่อไป อย่างน้อยนายจ้างบนสุดจะได้ระวังในการจ้างเหมาช่วงจากนายจ้างถัดมาจ้างเเรงงานข้ามชาติโดยไม่รับผิดชอบ นายปั้น กล่าวว่า เเรงงานไทยเเละเเรงงานข้ามชาติจะมีสิทธิเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเท่าเทียมกัน การวินิจฉัยเรื่องเงินทดเเทนใช้มาตรฐานเดียวกัน เเต่จำนวนเงินทดเเทนที่ได้รับที่ไม่เท่ากันในทางปฏิบัติ เพราะเเรงงานข้ามชาติต้องมีคำสั่งจากสำนักงานประกันสังคมให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทนให้ เมื่อถึงเวลานายจ้างไม่มีเงินจ่าย ก็หาทางไล่เเรงงานข้ามชาติกลับ เเจ้งตำรวจจับ เพื่อไม่ต้องจ่ายเงินทดเเทน บางรายจ่ายน้อยกว่าที่สำนักงานประกันสังคมมีคำสั่ง เนื่องจากไม่มีกองทุนใดรองรับแรงงานข้ามชาติ จึงเสนอให้เเก้ปัญหาด้วยการให้เเรงงานที่พิสูจน์สัญชาติได้เข้ากองทุนประกันสังคม ส่วนเเรงงานที่อยู่ระหว่างรอพิสูจน์สัญชาติ เช่นคุณชาลี น่าจะให้มีกองทุนรองรับในระยะเปลี่ยนผ่าน ก่อนที่จะได้รับการพิสูจน์สัญชาติ เเละเข้าสู่ระบบประกันสังคมต่อไป เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว นางสมบุญ สีคำดอกเเค เสนอว่า สวัสดิการเเรงงานข้ามชาติน่าจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน มีช่องว่างระหว่างไทยกับต่างชาติ นายจ้างเลี่ยงจ้างเเรงงานข้ามชาติ เพราะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ดังนั้นควรได้สวัสดิการคุ้มครองเเบบเดียวกัน ไม่มีการเลือกปฏิบัติ หรือเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่ม นางสาวญาดา หัตถธรรมนูญ ผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนเเละการพัฒนากล่าวว่า "แม้ยังไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ นายชาลีมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนเงินทดแทนโดยตรง โดยเมื่อกองทุนจ่ายแล้ว ก็ไปไล่เบี้ยเอากับนายจ้างได้ แต่คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนได้กีดกันแรงงานเหล่านี้ออกไปจากความรับผิดชอบของกองทุน เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อแรงงานข้ามชาตินับล้านคน ที่อยู่ระหว่างรอพิสูจน์สัญชาติ"
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |
เรื่องของอ้อม : เธอผิดหรือ? ที่คิดอยากเป็นแม่คน Posted: 12 Feb 2011 12:01 AM PST เรื่องนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง) เป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ นี่เป็นเพียงแค่หนึ่งตัวอย่างที่กล้าออกมาเปิดเผยความจริงบอกเล่าเรื่องราวให้กับสังคมได้รับรู้ ว่าการกดขี่แรงงานให้เป็นเยี่ยงทาสนั้นมีอยู่จริงในอุตสาหกรรมไทย เรื่องราวที่จะเล่าต่อไปนี้เราไม่ได้ใส่ชื่อและนามสกุลจริง ของใคร ถ้าการเขียนเรื่องจริงในครั้งนี้แล้วทำให้ใครต้องรู้สึกเดือดร้อนและลำบากใจต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย เหตุการณ์เช่นนี้มันเกิดขึ้นได้ในทุกซอกทุกมุมของโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นโรงงานขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานระดับล่างสุดหรือพนักงานระดับบริหาร และวลีที่ยังใช้ได้เสมอตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน คือ “ ที่ใดมีการกดขี่ที่นั่นย่อมมีการลุกขึ้นสู้” เรื่องที่เกิดขึ้นจริงในครั้งนี้มันไม่ใช่ครั้งแรกและคงไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องแรงงานไทย แต่อยากจะฝากถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน “ท่านต้องมองคนให้เป็นคนอย่ามองคนเป็นเพียงแค่ปัจจัยการผลิตอย่างหนึ่ง” นี่คือเรื่องราวของเธอ…
0 0 0
ในเช้าวันที่ 27 มกราคม 2554 เวลา 8.30-10.00 น. ผู้จัดการฝ่ายบุคคลฝ่ายบุคคล ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาได้เรียกพนักงานสาวเข้าพบและสอบถามเรื่องข่าวที่เกิดขึ้นเพราะทราบข่าวว่าผู้ใต้บังคับบัญชาของตนกำลังจะเป็นแม่คน ผู้จัดการ : มันเกิดอะไรขึ้น? ผมได้ข่าวมาว่าคุณตั้งครรภ์หรือ? ทำไมคุณตั้งครรภ์แล้วไม่แจ้งผม ผมรับคุณเข้าทำงานคุณมีอะไรต้องแจ้งผมก่อนไม่ใช่ไปป่าวประกาศให้คนอื่นรู้ก่อน ซึ่งตอนนี้มันเป็นปัญหาขึ้นมาแล้วคำพูดมันเป็นนายคนจริงๆ คุณไปเที่ยวประจานตัวเองให้ใครต่อใครรู้หมด ตอนนี้ข่าวรู้ไปทั้งโรงงานแล้ว ผมไม่รู้เรื่องอะไรเลยและรู้เป็นคนสุดท้าย ผมควรจะเอายังไงกับคุณดี อ้อม : เรื่องตั้งครรภ์ที่ทางเราคุยกันเล่นๆ ทุกคนเห็นว่าอ้อมอ้วนขึ้นเลยล้อเล่น อ้อมเลยตอบว่าอ้อมท้อง แต่ตอนนั้นไม่ได้ท้องจริง วันที่ได้ไปท่องเที่ยวประจำปีก็ยังดื่มสังสรรค์กับทุกคนอยู่ แต่มารู้ทีหลังในช่วงก่อนงานเลี้ยงปีใหม่ประมาณวันที่ 15 ธันวาคม 53 เพราะรู้สึกคลื่นไส้ วันกินเลี้ยงบริษัทฯ วันที่ 18 ธันวาคม 2553 เลยได้ขอตัวกลับก่อน ปกติมีงานเลี้ยงอ้อมต้องเคลียร์สถานที่ให้เรียบร้อย แต่วันนั้นไม่ได้อยู่ช่วยงานเพราะว่ารู้ตัวเองดีว่าสภาพร่างกายมันไม่ไหว ผู้จัดการ : อันนั้นมันไม่ใช่ปัญหา ปัญหามันเกิดขึ้นแล้วเพราะปากของคุณเอง ตอนนี้ทุกคนในโรงงานรู้กันหมดแล้วว่าคุณท้องเพราะว่าคุณไปป่าวประกาศให้คนอื่นรับทราบหมดว่าคุณท้อง แทนที่คุณจะมาแจ้งผมก่อนผมเป็นหัวหน้าคุณ แต่คุณให้ผมรู้จากปากของคนอื่น ตอนนี้ทุกคนรู้กันทั้งโรงงานแล้วคุณจะเอายังไง อ้อม : …………………………….. ผู้จัดการ : คุณเขียนใบลาออกแล้วกัน อย่าหาว่าผมใจดำไร้มนุษยธรรมเลยนะ ผมเองก็ลำบากใจและนอนคิดมาทั้งคืน นอนไม่หลับเลย ปัญหาของคุณ คุณเป็นคนสร้างมันขึ้นมาเองเพราะฉะนั้นจัดการปัญหาของคุณเองซะ อย่าให้ผมหรือใครต้องลำบากใจเลย อ้อม : อ้อมรู้ว่าพี่ลำบากใจ แต่อ้อมไม่กล้าบอกพี่เพราะว่าอ้อมเองก็กลัว เห็นเพื่อนไม่ผ่าน Promote กัน 2 คน พี่คิดว่าอ้อมจะไม่กังวลหรือคะ มีวิธีการที่ดีกว่านี้ให้อ้อมไหมคะพี่ ในเมื่อเรื่องมันเกิดขึ้นมาแล้วและแก้ไขไม่ได้เรามาหามาตรการหรือวิธีการที่ดีกว่านี้ได้ไหม อ้อมเองก็ไม่ได้อยากให้มันท้องตอนนี้หรอก แต่ยอมรับว่าปล่อยมานานแล้วเป็นปีไม่คิดว่าจะมาติดในช่วงเวลานี้อีกอย่าง หรือว่าอ้อมทำงานไม่ดี ทำงานไม่ถูกใจพี่บอกอ้อมได้นะอ้อมจะปรับปรุงมันให้ดีขึ้น ผู้จัดการ : คุณเป็นคนที่ทำงานดี ดีมากด้วย และงานทุกอย่างมันกำลังจะเป็นไปด้วยดี แต่เพราะปากของคุณนั่นแหละคุณไปประกาศให้คนอื่นรู้ทำไมว่าคุณท้อง ทำไมคุณมีปัญหาไม่มาปรึกษาผม เราจะได้มาหาทางแก้ปัญหา อ้อม : อ้อมขอโทษ อ้อมผิดที่อ้อมไม่ได้แจ้งพี่ แต่อ้อมก็คิดว่าจะแจ้งพี่ด้วยปากของอ้อมเอง เมื่อพี่ประเมิน Promote ครั้งที่ 2 ให้อ้อม อ้อมไม่อยากให้พี่เสียความรู้สึก ถ้าประเมินผ่านไปแล้วรู้ว่าลูกน้องพี่ท้อง โดยไม่ได้แจ้งพี่ พี่ให้โอกาสกับอ้อมอีกสักครั้งได้ไหม อ้อมเชื่อว่าในหน้าที่การงานและตำแหน่งพี่ พี่สามารถที่จะช่วยหาทางออกที่ดีกว่านี้ให้อ้อมได้ ผู้จัดการ : ผมบอกแล้วไงเรื่องนี้ไม่มีใครผิดหรอก นายท่าน (หมายถึงผู้บริหารชาวญี่ปุ่น) ก็บอกแล้วว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติ คุณก็ไม่ผิดผมก็ไม่ผิด แต่ว่าคุณท้องก่อนผ่าน Promote มันจะเป็นตัวอย่างไม่ดีให้กับพนักงานคนอื่น แล้วคุณก็ขึ้นตรงกับผมแต่กลับทำเสียเอง ผมให้โอกาสคุณแล้ว โทรศัพท์ก็มีทำไมคุณไม่โทรมาแจ้งผม ปกติคุณก็โทรหาผมทำไมคุณไม่โทรมาแจ้งให้ผมรู้ ผมรู้เป็นคนสุดท้ายเลย คุณเห็นผมเป็นอะไร อ้อม : เพราะว่าเห็นพี่เป็นลูกพี่ไง เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน อ้อมต้องแจ้งพี่ด้วยตัวของอ้อมเอง และแจ้งจากปากตัวเองเท่านั้น ขอทางเลือกที่ดีกว่านี้ได้ไหมคะ ในเมื่อมันท้องแล้ว ค่าใช้จ่ายที่จะตามมาอีก ถ้าอ้อมออกแล้วพี่จะให้อ้อมอยู่ยังไง ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ตามมาอย่างเช่นค่าฝากท้อง ค่าเลี้ยงดูอ้อมจะเอาที่ไหนมา อ้อมขอทางเลือกที่ไม่ใช่การให้ออกจากงานได้ไหม ผู้จัดการ : ผมให้โอกาสคุณแล้ว ให้เขียนใบลาออกเป็นวิธีที่ดีที่สุด ตั้งแต่ผมรู้ข่าว ผมก็กินไม่ได้นอนไม่หลับ ผมมันคนทำงาน พอกลับมาจากประชุมที่อมตะนครก็มาเจอเรื่องเรื่องบ้าๆ ไร้สาระที่ทำให้ปวดหัวได้อีก ถ้าผมให้โอกาสคุณเดี๋ยวมันก็มีรายต่อไปอีก แล้วทีนี้มันจะทำให้เสียระบบกันหมด ไม่ใช้ว่าผมไม่อยากจะช่วย ผมก็อยากจะช่วย แต่บางครั้ง เรื่องบางเรื่องจะตะบี้ตะบันช่วย แล้วช่วยแล้วมันจะได้อะไรขึ้นมา ผมเองไม่ได้อยากให้คนอื่นมองว่าไร้มนุษยธรรมหรอกนะอ้อม แต่ว่าผมก็คิดมาทั้งคืนแล้วว่า มันเป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้ว แล้วอีกกี่เดือนคุณจะคลอด ประมาณสิงหาคม กันยายนใช่ไหม? อ้อม : คะ ประมาณนั้น พี่....อ้อมไม่อยากออก พี่ช่วยอ้อมไม่ได้หรือคะ อีกอย่างอีกแค่ไม่กี่วันก็ผ่าน Promote ผู้จัดการ : คุณเข้างานมาเมื่อไหร่นะ อ้อม : วันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 คะ ระยะเวลาทดลองงานหมด 28 กุมภาพันธ์ 2554 คะ อีกไม่กี่วันเอง พี่ช่วยอ้อมหน่อยไม่ได้หรือค่ะ แล้วเรื่องอ้อมท้องพี่ได้แจ้งนายไปหรือยัง ผู้จัดการ : ผมแจ้งทางนายไปแล้ว นายท่านบอกว่าเรื่องท้องเป็นเรื่องของธรรมชาติ ให้ผมจัดการได้เลย ผมก็เลยต้องมานอนคิดทั้งคืนว่าผมจะเอายังไงกับกรณีของคุณดี และผมก็นอนไม่เหลับเลย คุณเลือกทางของคุณเองนะบางครั้งคำพูดของเรามันก็เป็นนายของเรา คุณจะพูดอะไรคุณก็ควรคิดก่อนว่ามันควรพูดหรือเปล่า บางครั้งเรื่องบางเรื่องไม่จำเป็นต้องพูดให้ใครรู้หมดก็ได้ มันเป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้วเขียนใบลาออกซะให้มีผลบังคับวันที่ 20 กุมพาพันธ์ 2554 นี้ ออกไปแล้วก็อย่าไปคิดอะไรมากดูแลสุขภาพดีๆ แล้วตั้งแต่วันนี้จนกว่าจะออกจากงานก็ตั้งใจทำงานให้เต็มที่นะ อ้อม : อ้อมพูดเรื่องอะไรบ้างคะที่มันไม่เป็นผลดีกับงาน อ้อมเอาความลับอะไรบริษัทไปเปิดเผยก็ไม่มีนี่คะ ข้อมูลบางอย่างของบริษัท อ้อมยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำ แต่เรื่องท้อง OK อ้อมผิดที่ไม่ได้แจ้งพี่เอง ทั้งที่พี่เป็นผู้บังคับบัญชา แต่อ้อมไม่คิดว่ามันจะเป็นเรื่องใหญ่โตขนาดที่พี่ต้องให้อ้อมออกจากงานเลยนี่คะ คนท้องไม่ได้ทำความผิดอะไรสักหน่อย และอ้อมคิดว่าตัวเองมีศักยภาพที่จะทำงานให้พี่ได้อีกตั้ง 6-7 เดือน พี่หาทางออกที่ดีกว่านี้ให้อ้อมได้ไหม การออกเป็นทางเลือกที่อ้อมไม่อยากทำมากที่สุด ผู้จัดการ : คุณคิดว่าผมอยากทำหรือไง ผมเองก็ไม่ได้อยากทำแบบนี้ แค่นี้คนอื่นก็มองว่าผมไร้มนุษยธรรมแล้ว ต่อไปมีอะไรก็เก็บซะบ้างอย่าเอาไปพูดให้คนอื่นรู้หมด อ้อม : มีทางที่ดีกว่านี้ให้กับอ้อมไหม? ในเมื่อนายให้อำนาจพี่เต็มที่แล้วพี่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงวิธีการให้อ้อมลาออกได้นี่คะ ผู้จัดการ : นี่แหละ ทางเลือกที่ดีที่สุด คือคุณเขียนใบลาออกจากงานซะ ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 20 กุมพาพันธ์นี้ อ้อม : อีกครั้งพี่ค่ะ พี่ไม่คิดหน่อยหรือคะว่าค่าใช้จ่ายของอ้อมมันเพิ่มขึ้นเพราะว่าอ้อมท้อง มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ตามมาและอ้อมเองรับผิดชอบคนเดียวไม่หมดหรอก พี่ให้โอกาสอ้อมอีกสักครั้งได้ไหมคะ ถ้ามีอะไรที่อ้อมทำแล้วไม่ถูกใจพี่ ต้องแก้ไขหรือปรับปรุงอะไร พี่ก็บอกอ้อมมาอ้อมยินดีทำทุกอย่าง เพื่อให้มันดีขึ้น ผู้จัดการ : ผมตัดสินใจแล้ว ไม่ใช่ผมไม่อยากช่วย บางครั้งช่วยแล้วจะได้อะไรขึ้นมา ไม่ใช่อยากช่วยก็ตะบี้ตะบันช่วยไปหมดทุกอย่างเป็นไปไม่ได้หรอก เขียนใบลาออกซะ กลับไปคิดทบทวนซะ อ้อม : อ้อมจะคิดทบทวนอะไรคะ ในเมื่อพี่เองตัดสินใจให้อ้อมออกแล้ว อ้อมคิดทบทวนไปก็ทำให้ตัวเองเครียดเปล่าๆยังไงพี่ก็ไม่มีทางเลือกที่ดีกว่านี้ให้อ้อม ไม่ว่าอ้อมจะพูดอะไร คิดอะไร มันก็แค่คิดเท่านั้น ไม่มีวันไปเปลี่ยนความคิดของพี่ได้หรอก พี่ไม่ให้โอกาส ไม่ให้ทางเลือกอ้อมเลย พี่ต้องการให้อ้อมลาออกอย่างเดียว โดยที่อ้อมแค่ตั้งท้อง ผู้จัดการ : เพราะคุณตั้งท้องนั่นแหละ คุณก็รู้ว่าโรงงานเรายังไม่มีใครตั้งท้องก่อนผ่าน Promote แล้ว Case คุณก็เป็น Case แรกด้วย ไม่อยากให้มีใครคิดแบบนี้และทำแบบนี้อีก มันเสียระบบ เพราะฉะนั้น ปัญหาของคุณ คุณก็ไปจัดการเองแล้วกัน ไอ้ที่ผมอยากพูดผมก็พูดไปแล้วทั้งหมด ต่อไปออกจากงานแล้วก็ให้ดูแลตัวเองดีๆ อย่าคิดมาก ต่อมาในวันเดียวกันเย็นวันที่ 27 มกราคม 2554 อ้อมตัดสินใจโทรไปหาผู้จัดการฝ่ายบุคคลอีกครั้งแล้วขอโอกาสให้ผู้จัดการฝ่ายบุคคลทบทวนเรื่องทั้งหมดอีกครั้ง อ้อม : พี่คะ อ้อมขอโอกาสอีกครั้งได้ไหม อ้อมทำใจไม่ได้เลยที่อยู่ๆ พี่มาบอกให้อ้อมลาออก อ้อมมาคิดทบทวนแล้วหากอ้อมทำงานไม่ดี พี่บอกอ้อม อ้อมจะได้แก้ไขได้ถูกจุด ถ้าให้อ้อมออกตอนนี้กว่าอ้อมจะคลอดก็อีกตั้งหลายเดือนให้อ้อมอยู่ว่างๆ ไม่ได้ทำอะไรอ้อมยิ่งเครียด ผู้จัดการ : คุณก็อย่าคิดมาก เรื่องค่าใช้จ่ายอะไรนี่มันเรื่องของคุณ ไม่เกี่ยวกับผม ปัญหาของคุณ คุณแก้ไขเองสิ ผมตัดสินใจไปแล้วจะมาให้ผมช่วยอะไรคุณอีกละ เรื่องบางเรื่องผมก็อยากจะช่วยนะแต่จะให้ตะบี้ตะบันช่วยนะ มันก็เสียระบบหมด เราต่างทำหน้าที่ของตัวเอง ผมต้องเล่นตามบทบาทของผม อย่าให้ผมต้องลำบากใจเลย อ้อม : อ้อมก็ลำบากนะคะพี่ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็มาก อ้อมไม่อยากออกจากงานตอนนี้ ทำไมคะ ทั้งๆ ที่พี่ช่วยอ้อมได้ ทำไมพี่ไม่ช่วยคะ อ้อมขอร้องพี่ช่วยหาทางออกที่ดีกว่านี้ให้อ้อมได้ไหม อย่างน้อยๆ พี่ก็บอกว่าอ้อมไม่ได้ทำงานแย่พี่ช่วยอ้อมสักครั้งได้ไหมถือว่าเป็นการซื้อใจคนๆ หนึ่ง การที่จะมีลูกน้องที่ซื่อสัตย์สักคนไม่ได้หาได้ง่ายๆ นะคะ ถ้าพี่ช่วยอ้อม พี่จะให้อ้อมทำอะไรอ้อมก็ทำทุกอย่าง ยกเว้นเรื่องลาออก ผู้จัดการ : ผมเหนื่อยอย่าเอาเรื่องจุกจิกมาใส่สมองผมอีกได้ไหม ผมบอกแล้วไงว่าผมตัดสินใจไปแล้ว ขอผมพักผ่อนก่อนนะไว้ค่อยคุยกันวันหลัง อ้อม : อ้อมขอโอกาสคะ พี่ให้โอกาสอ้อมอีกครั้งนะคะ ผู้จัดการ : จะให้ผมให้โอกาสคุณอีกกี่ครั้งละ แค่เรื่องนี้เรื่องเดียวมันก็ทำผมปวดหัวแล้ว คุณรู้ไหมผมคัดเลือกคุณมาจากคนจำนวนมาก ที่ผมใช้เวลานานเพราะว่าคนไม่น้อยที่อยากจะทำงาน ไม่เชื่อคุณไปดูใบสมัครที่ผมคัดมาได้เลยเป็นปึกๆ ผมยังเก็บเอาไว้อยู่เลย ผมคิดว่าคุณเป็นคนที่ดีที่สุดในบรรดาคนที่ผมสัมภาษณ์แต่พอเข้ามาคุณก็เป็นอย่างนี้ แล้วจะให้ผมทำอย่างไร จะให้ผมให้โอกาสอะไรอีกละ แน่นอนคุณอยากกลับเข้ามาทำงานในนิคมอีสเทิร์นซีบอร์ด ผมก็ให้โอกาสคุณแล้ว แต่นี่คุณท้องแล้วคุณไปเที่ยวประจานตัวเอง ไปบอกใครต่อใครทั้งโรงงานว่าคุณท้อง แล้ว จะให้ผมช่วยอะไรได้ มันเป็นเพราะคำพูดของคุณนั่นแหละ อ้อม : พี่ไม่ให้โอกาสอ้อมจริงๆ เหรอคะ อ้อมขอร้องนะ ขอให้พี่คิดอีกสักครั้งคิดว่าเห็นแก่คนๆ หนึ่งที่จะเกิดมาด้วยคะอ้อมเองก็รู้ว่ามันเป็นเรื่องลำบากใจ แต่นายก็ให้อำนาจในการตัดสินใจกับพี่แล้ว พี่มีสิทธิ์จะทำอะไรกับอ้อมก็ได้จะให้อยู่หรือไปมันก็ขึ้นกับพี่ ถือว่าอ้อมขอนะคะ ขอทางเลือกและโอกาสให้อ้อมอีกครั้งนะคะ ผู้จัดการ : ผมเหนื่อย แค่นี้นะ ผมอยากพักผ่อนไว้ค่อยคุยกันอีกที อ้อม : พี่คะ คิดใหม่อีกครั้งได้ไหม ช่วยอ้อมเถอะนะ อ้อมคิดไม่ออกแล้วจริงๆ ภาระอ้อมก็เยอะแยะ ผู้จัดการ : เรื่องของคุณ ปัญหาของคุณ แค่นี้นะ ต่อมาวันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2554 อ้อมขอลาหยุดและก็มาทำงานในวันจันทร์ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลก็ได้ให้คุณเอ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในสำนักงานได้เอาใบลาออกมาให้เขียนบอกว่าลูกพี่สั่งให้เขียนใบลาออก อ้อมก็ไม่ได้เขียนและยังเก็บเอาไว้อีก 2 - 3 วัน ระหว่างนั้นอ้อมได้ไปปรึกษากับประธานสหภาพแรงงานฯ ว่ามีวิธีใดช่วยเหลืออ้อมได้บ้างเขาก็บอกว่าจะหาทางออกที่ดีที่สุดให้และประธานสหภาพแรงงานฯถามว่ายังไม่ได้ส่งใบลาใช่ไหม? เนืองจากว่าประธานสหภาพแรงงานฯ เข้ากะกลางคืน พอคุณเอ ถามขอใบลาออกคืนอ้อมเลยส่งใบลาออกให้คุณเอในวันที่ 3 เนื่องจากไม่อยากให้เพื่อนร่วมงานต้องลำบากใจ และวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ประธานสหภาพแรงงานฯ ก็มาแจ้งอ้อมว่าเขาได้สอบถามที่ปรึกษาของสหภาพแรงงานฯ ให้แล้ว ปัญหายังมีทางออก อ้อมเลยบอกเขาไปว่า อ้อมส่งใบลาออกไปแล้ว เขาบอกว่าส่งไปทำไม พอดีมี Case ของน้องพนักงานอีกคนที่ใน Line เมื่อวันศุกร์ที่ 4 มกราคมอีก Case เห็นว่าลูกพี่เขาช่วยเหลือดีจัง แต่กับอ้อมลูกพี่เป็นคนบอกให้เขียน ใบลาออกเอง ทำไมเราต้องยอมในเมื่อเราอยากทำงานต่อและเราก็สามารถที่จะทำงานได้อยู่ เลยให้ประธานสหภาพแรงงานฯ ถามโดยตรงกับนายญี่ปุ่นในวันกินเลี้ยงของบริษัทฯ ประธานสหภาพแรงงานฯ เลยขอให้อ้อม Copy ใบประเมินกับใบลาออกมาให้เขา เพื่อเอาไปเป็นข้อมูลว่าอ้อมเขียนว่าอย่างไรบ้าง แต่อ้อมไม่ได้ Copy เพราะไม่มีเวลา จนวันอังคารเช้าวันที่ 8 มกราคม 2554 อ้อมได้ขอเอกสารแฟ้มประวัติอ้อมจากคุณเอ แล้วก็ได้ Copy เอกสารที่เกี่ยวข้องออกมาบางส่วน นั่นคงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้จัดการฝ่ายบุคคลมาถามอ้อมเรื่องที่จะฟ้องร้องหรือเปล่า แต่คุณเอคงแจ้งให้กับทางผู้จัดการฝ่ายบุคคลทราบว่าอ้อมขอดูแฟ้มประวัติแน่ๆ เขารู้กฎหมายดี เขาเลยกลัวว่าอ้อมจะเอากฎหมายมาเล่นงานเขา อ้อมพอรู้กฎหมาย เรื่องนี้มาบ้าง แต่ว่า..คิดว่ามันไม่มีผลเพราะว่าเราเขียนใบลาออกแล้ว แต่อ้อมก็อยากจะสู้เพราะว่าอ้อมไม่ได้เต็มใจเขียนใบลาออก ต่อมาในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 ขณะที่นั่งทำงานโครงการโรงงานสีขาว เรื่องการจัดห้องประชุมสัมมนาผู้จัดการฝ่ายบุคคลได้มาเรียกขึ้นไปคุยบนห้องประชุม ผู้จัดการ : คุณทำแบบนี้ คุณจะฟ้องหรือ? อ้อม : ทำไมพี่คิดแบบนั้นคะ อ้อมไม่มีความคิดแบบนั้นเลย ผู้จัดการ : คุณรู้ไหมวันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ไปกินเลี้ยงกัน สหภาพแรงงานฯ ได้ไปคุยเรื่องคุณกับนาย คุณไปพูดให้เขาฟังหมด เรื่องไม่ใช่เรื่องก็เอามาเป็นเรื่อง คุณมีส่วนรู้เห็นกับเรื่องนี้ไหม คุณใช่ไหมที่ไปพูดป่าวประกาศให้พวกสหภาพแรงงานฯ รู้ถามจริงเถอะคุณทำแบบนั้นแล้วคุณจะได้อะไรขึ้นมา คุณอยากอยู่ในองค์กร ถามว่าคุณจะอยู่ได้หรือ คุณจะดื้อด้านไปทำไมให้มันได้อะไรขึ้นมา มันไม่ดีเลยสำหรับตัวคุณเอง ผมเองก็เสีย เพราะว่าทุกคนมองผมว่าผมเป็นคนไร้มนุษยธรรม นายท่านเองก็ไม่สบายใจ คุณจะให้ผมทำยังไงกับคุณดี อ้อม : ทางสหภาพแรงงานไปถามพี่ แล้วมันเกี่ยวอะไรกับอ้อม เรื่องนี้พี่บอกว่าทุกคนในบริษัทฯ รู้ทำไมทางสหภาพแรงงานฯ ต้องไปถามพี่ด้วย แล้วเขาถามว่าอะไร ทำไมพี่ต้องมาใส่อารมณ์กับอ้อมด้วย พี่คิดว่าอ้อมปลุกระดมความคิดคนได้ด้วยหรือคะ อ้อมยอมรับว่าได้คุยกับเขาจริง หมายถึงประธานสหภาพแรงงานฯ แต่มันหลังจากที่อ้อมเขียนใบลาออกแล้ว ตามกฎหมายมันไม่มีผล อะไรแล้ว พูดไปก็เท่านั้น เพราะอะไรอ้อมไม่พูดก่อนเขียนใบลาออก พี่รู้ไหม...เพราะว่าพี่บอกว่าอ้อมไม่เก็บอะไร ตั้งแต่วันที่อ้อมลงจากห้องพี่วันพฤหัสบดี อ้อมคุยกับพี่แค่สองคน วันศุกร์อ้อมไม่ได้ไปทำงาน เรื่องที่รู้กันสองคน ทำไมมันรู้ไปทั้ง Line คะ พี่ไปบอกเขาหรือเปล่า หรือคนที่เขามาคุยกับพี่เขาไปป่าวประกาศคะ อ้อมมาทำงาน วันจันทร์ทุกคนทักอ้อมเป็นเสียงเดียวกันทั้งที่อาทิตย์ก่อนเขายังอยู่อีกกะแต่เขารู้ได้ไงว่าพี่ให้อ้อมเขียนใบลาออก แต่อ้อมก็บอกเขาไปว่าเรื่องจริงแต่อ้อมยังไม่ได้เขียนใบลาออกไปเอาจากไหนมาพูด เขาบอกเรื่องนี้พูดกันไปทั่วทั้งโรงงานแล้วว่าอ้อมไม่มาทำงานตั้งแต่วันศุกร์แล้วไม่มีทำงานแล้วด้วย ผู้จัดการ : นั่นมันเรื่องของคุณ ไม่เกี่ยวกับผม แต่สหภาพแรงงานฯ เขาไปคุยกับนายและไปต่อว่าผมว่าผมไร้มนุษยธรรม คุณไปพูดอะไรให้เขาฟังอีก ทำไมต้องมาสร้างความร้าวฉานภายในบริษัทฯ ด้วย เราเคยอยู่กันมาตั้งนานไม่เคยมีเรื่องราวกันแบบนี้ พอคุณเข้ามามีแต่เรื่องให้น่าปวดหัว อ้อม : อ้อมพูดกับประธานสหภาพแรงงานจริงๆ เรื่องนี้ว่าการที่ทางสหภาพแรงงาน มีความตั้งใจจะช่วยอ้อม อ้อมขอบใจ แต่อ้อมไม่อยากจะให้เรื่องนี้มันวุ่นวายอีกแล้ว แล้วเขาถามว่าอ้อมเขียนใบลาออกทำไม เหตุผล..ขอเหตุผล อ้อมเลยตอบไปว่าอ้อมคิดดูดีแล้ว เพราะว่าพี่เป็นเป็นลูกพี่ของอ้อม และถ้าหาอ้อมดึงดันอยู่ต่อมันก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไร ในเมื่อลูกพี่ไม่ต้องการ ต้องมีสักวันที่เราจะต้องปะทะกันอีก อ้อมไม่อยากให้เป็นแบบนั้น มันไม่ใช่มี Case เดียวแล้วตอนนี้มันมีอีก Case คือเด็กใหม่ในแผนก QC แต่ว่าหัวหน้าของเขารับไว้ และหัวหน้าของเขาไปพูดกับผู้จัดการและช่วยเหลือเด็กเขาเต็มที่ แต่ทางผู้จัดการฝ่ายบุคคลกลับผลักใสและให้ทางเลือกกับอ้อมซึ่งเป็นลูกน้องของตัวเองโดยการบอกให้ลาออก เขาถามอ้อมว่าอยากทำงานต่อไหม..อ้อมก็ตอบว่าอยากทำอ้อมไม่อยากออก แต่ไม่มีทางเลือก เขามีทางเลือกให้อ้อมแค่ทางเดียว ผู้จัดการ : ถามจริง ถ้าคุณฟ้องแล้วคุณจะได้อะไรขึ้นมา ในเมื่อทำงานต่อคุณก็ต้องเป็นลูกน้องผม แล้วคุณจะอยู่ได้หรือ ตอนนี้ไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็มีแต่เสียกับเสียเท่านั้นแหละ อย่าดึงดันต่อไปเลย ถ้าคนในองค์กรเป็นแบบคุณ เรียกร้องจะเอานั่นจะเอานี่ และมีปัญหาไม่หยุดหย่อน องค์กรก็ต้องมาคอยแก้ปัญหาให้ตลอดแบบนี้ก็ไม่ต้องทำมาหากินอะไรแล้วองค์กรล่มจมแน่ๆ ไปทำงานที่ไหนก็ทำไม่ได้หรอกถ้าทำตัวแบบนี้ มี่อะไรก็ป่าวประกาศไปซะหมด เรื่องบางอย่างมันก็ไม่ควรจะเอาไปพูดคุณก็เอาไปพูด ผมถึงได้บอกไงคำพูดมันเป็นนายคน อ้อม : อ้อมพูดเรื่องอะไรที่มันไม่ควรจะพูดพี่บอกมาสิคะ มีด้วยเหรอที่เอาความลับบริษัทไปเปิดเผย พี่ยกตัวอย่างมาสักเรื่อง ถ้าเป็นเรื่องที่อ้อมพูดจริงอ้อมจะยอมรับ อ้อมเองก็เก็บอารมณ์นะคะ ทุกคนใน Line มองว่าอ้อมเข้มแข็ง จริงๆ อ้อมแค่ผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น มีความรู้สึกไม่ต่างจากคนอื่น คิดมาก กังวล เศร้าเสียใจไม่ได้ต่างกัน แต่เพราะว่าตำแหน่งของอ้อมที่อยู่ มันค้ำคออยู่ไง เลยแสดงอารมณ์ออกมาอย่างนั้นไม่ได้ อ้อมอยากร้องไห้เหมือนกัน เมื่อมีคนถาม แต่อ้อมต้องยิ้มเข้าไว้เพราะว่าคิดว่าเราเป็นผู้ใหญ่ไม่ควรร้องไห้ให้น้องได้เห็น แล้วแบบนี้พี่ว่าอ้อมไม่เก็บอารมณ์ยังไง หรือเพราะว่าอ้อมไปคุยกับสหภาพแรงงาน พี่เลยบอกว่าอ้อมไม่เก็บอารมณ์ ถ้าเรื่องลาออก เขารู้ไปทั้ง Line แล้วเพียงแต่ทุกคนไม่รู้ว่าอ้อมเขียนใบลาออกแล้ว เพราะอ้อมหยุดที่จะพูดเพียงประโยคเดียวที่อ้อมพูดคือ"ไปเอามาจากไหน อ้อมยังไม่ได้เขียนใบลาออกเลย แหม!...ข่าวไวจริงๆ นะ ^^" ใครจะรู้ได้ว่าใบหน้าเปื้อนยิ้มนั่นมันซ่อนน้ำตาเอาไว้ข้างใน ไม่มีใครรู้นอกจากตัวของอ้อมเองเท่านั้นแหละ ผู้จัดการ : เออ...ผมจะเรียกมาถามว่าคุณเกี่ยวข้องกับกล่องแดงหรือเปล่า ไม่ต้องมาร้องไห้หรอก อ้อม : เขาเขียนว่าไงคะ ก็แค่คำถามเอง...เขาอาจจะอยากรู้อยากเห็นก็ได้นี่คะ มันเป็นเรื่องธรรมดา ในเมื่อทำกล่องแดงขึ้นมาก็ต้องคำนึงถึง Feedback ที่มันจะตามมาด้วย ในเมื่อเลือกที่จะให้พนักงานแสดงความคิดเห็นเขาก็แสดงความคิดเห็น แล้วถ้าอ้อมจะเขียน อ้อมก็ไม่ผิด แต่อ้อมว่าพี่ดูน่าจะรู้นะว่าไม่ใช่ตัวหนังสืออ้อม ชัดเจนว่ามันเป็นตัวหนังสือของผู้ชาย คนเราเมื่อมันมีเรื่องมันก็ต้องเกิดคำถาม การที่มีคำถามมันก็ไม่ได้เสียหายอะไรไม่ใช่หรือคะก็แค่ตอบ มันไม่ได้เป็น Comment อะไรสักหน่อย แล้วมันก็ไม่ได้มี Case อ้อม Case เดียวไม่ใช่หรือคะ ความอยากรู้อยากเห็นของคนเรามันปิดกั้นไม่ได้หรอกคะ ผู้จัดการ : อันนั้นผมไม่รู้หรอก รู้แต่ว่าสหภาพแรงงานฯ เขามาถามเรื่องคุณ ตอนเช้าวันจันทร์มาก็มีกล่องแดง จะให้ผมคิดว่ายังไงล่ะแล้วเรื่องที่เขียนมามันก็เกี่ยวกับเรื่องท้องทำให้ทุกคนไม่สบายใจกันไปหมด ผมก็ไม่สบายใจ นายก็ไม่สบายใจ Office ก็ไม่สบายใจไม่มีใครสบายใจหรอก อ้อมคุณทำแบบนี้แล้วมันได้อะไร มันมีประโยชน์อะไรกับตัวคุณบ้างคุณทำแบบนี้เท่ากับว่าคุณไม่ยอมรับการตัดสินใจของผมนะสิ อ้อม : อ้อมยอมรับการตัดสินใจของพี่คะ แต่อ้อมไม่ได้อยากเขียนใบลาออก อ้อมยอมรับว่าอ้อมไม่อยากออก แล้วเรื่องกล่องแดงอ้อมไม่ได้ทำ พี่จะถามอ้อมเรื่องกล่องแดงเท่านั้นแต่พี่อ้างตั้งแต่เรื่องวันเสาร์แล้วเรื่องที่สหภาพเขาไปคุยกับพวกพี่ทั้งที่อ้อมเองไม่ได้อยู่ด้วย แล้วจะโยงเรื่องเข้าไปเกี่ยวข้องกันทำไม พูดเหมือนพี่ปรักปรำอ้อมอยู่เลยนะเรื่องที่พี่บอกว่าอ้อมไม่เก็บอารมณ์นะ อ้อมขอถามหน่อยวันนั้นที่อ้อมคุยกับพี่แล้วพี่ให้เขียนใบลาออกพี่ได้คุยกับใครบ้าง เพราะนอกจากอ้อมกับพี่ไม่มีใครรู้เรื่องนี้ ในเมื่ออ้อมไม่มาใครเป็นคนปล่อยข่าว ผู้จัดการ : สรุปว่าคุณไม่ยอมรับใช่ไหมว่าคุณเกี่ยวข้องกับกล่องแดง อ้อม : อ้อมไม่ยอมรับว่าเกี่ยวข้องกับกล่องแดง และไม่ยอมรับที่พี่คิดจะให้อ้อมลาออกเนื่องจากสาเหตุว่าอ้อมท้อง คนท้องยังทำงานได้อีกตั้ง 7-8 เดือน บางคนทำงานยันคลอดเขาก็ทำกัน แต่พี่จะให้อ้อมลาออกเพราะสาเหตุที่อ้อมท้องอ้อมรับไม่ได้ แต่ที่ยอมเขียนใบลาออกเพราะว่าพี่เป็นลูกพี่อ้อม อ้อมขึ้นตรงกับพี่ อยู่ไปพี่ก็ต้องหาวิธีการให้อ้อมออกอยู่ดี แล้วความคิดเรื่องฟ้องๆ อะไรของพี่ มันไม่เคยอยู่ในหัวอ้อมเลย แต่ในเมื่อพี่พูดกับอ้อมแบบนี้ อ้อมก็ขอคิดดูก่อนไม่ว่าอ้อมจะอ้อนวอนข้อร้องอะไรพี่ อ้อมคิดว่ามันไม่มีประโยชน์เลย ทางเลือกที่พี่มอบให้อ้อมคิดลาออก ผู้จัดการ : OK ผมถามแค่นี้แหละ ไปทำงานเถอะ
0 0 0
… จากข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ในภาคตะวันออกแรงงานหญิงที่อยู่ในระบบกว่า 300,000 คน ต้องตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิสตรีและเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง “ใครรับผิดชอบ”
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น