โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

ชวนจับตาการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.กองทุนทดแทน

Posted: 24 Feb 2011 11:24 AM PST

 

นับจากที่ พ.ร.บ.เงินทดแทนประกาศใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 การทำงานของกระทรวงแรงงานก็ทำงานตั้งรับมาโดยตลอด ถึงวันนี้เข้าสู่ 17 ปีแล้วที่กฎหมาย พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 เพิ่งจะมีการแก้ไขเข้าสู่สภาด้วยมติคะแนนเสียง 334 เสียง เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2553 และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา พ.ร.บ.เงินทดแทนดังกล่าว โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ที่มี นายสุกิจ อัถโถปกรณ์ เป็นประธานและมีกรรมาธิการฝ่ายผู้ใช้แรงงานได้รับแต่งตั้งจากสภาผู้แทนราษฎรเข้าไปเป็นกรรมาธิการ ร่วมนั่งแปรญัติเพื่อปรับปรุงกฎหมาย คือ รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ คุณสมบุญ สีคำดอกแค ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ถูกผลกระทบโดยตรงและคุณมนัส โกศล สถิติข้อมูลจากผลการทำวิจัยระยะสั้นของสภาเครือข่ายฯร่วมกับมูลนิธิอารมณ์พงษ์พงัน โดยได้รับงบสนับสนุนจาก สำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง เดือนตุลาคม 2552 ตัวอย่างข้อมูลตัวเลขสถิติสะสมของการสูญเสียสุขภาพความปลอดภัยของแรงงานไทย ตั้งแต่ ปี 2531 - 2552 (21 ปี) จะยิ่งตกใจมากเพราะ
-สถิติการประสบอันตรายจากการทำงานที่เกิดขึ้นกับลูกจ้าง 3,598,180 ราย
-สถิติการสูญเสียอวัยวะบางส่วนจากการทำงานที่เกิดขึ้นกับลูกจ้าง 71,225 ราย
-สถิติการเป็นโรคจากการทำงานที่เกิดขึ้นกับลูกจ้าง 54,396 ราย
-สถิติการตายหรือเสียชีวิตจากการทำงานที่เกิดขึ้นกับลูกจ้าง 15,931 ราย

...และนี่คือตัวเลขของคนงานที่เข้าถึงสิทธิ กองทุนเงินทดแทนเท่านั้น เพราะอุบัติเหตุและเป็นโรคที่เห็นชัดไม่นับรวมโรคที่เกิดจากสารเคมีหลายชนิดเข้าสู่ร่างกายป่วยเรื้อรังและตายฟรีหรือโรคที่เกิดสืบเนื่องจากการ ทำงาน ไม่รู้อีกจำนวนเท่าไหร่ “เพราะชีวิตคนงานกำลังเสี่ยงกับเครื่องจักรอันตรายและภัยจากสารเคมีร้ายแรงอยู่ทุกวินาทีทุกลมหายใจ"

อุตสาหกรรมไทยเรา
-เน้นแรงงานราคาถูก การทำโอที (12 ชม.ต่อ 6 วันต่อสัปดาห์) หรือ 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ซึ่งในต่างประเทศเขาทำงานกันแค่ 35 ชม. ต่อสัปดาห์เท่านั้น

-เทคโนโลยีต่ำ แต่การแข่งขันสูง โดยเฉพาะแข่งกันกับประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนาด้วยกัน เช่น ลาว เขมร เวียดนาม

-ขาดความมั่นคง เพราะลักษณะการจ้างงานมีการยืดหยุ่นสูง เน้นการจ้างเหมา เอางานกลับไปทำข้างนอก ใช้คนงานข้ามชาติ ขาดสวัสดิการและกฎหมายคุ้มครอง

-ขาดความปลอดภัย การเจ็บป่วยด้วยโรคจากพิษภัยที่มองไม่เห็นและอุบัติเหตุต่างๆ และโรคที่เกิดสืบเนื่องจากการทำงานด้วยการเร่งการผลิตจนทำให้คนงานต้องเป็นโรคโครงสร้างกระดูกจำนวนมากเกือบทุกอุตสาหกรรม หรือสถิติสูงสุด แต่ก็มีปัญหาในการเข้าถึงสิทธิเงินทดแทนยากเย็น ในขณะที่เกือบทุกประเทศมีปัญหาเรื่องการวินิจฉัยโรค

แม้พวกเราขบวนการแรงงาน และร่วมกับหลายๆ องค์กร ร่วมกันผลักดันจนกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2550 ใน มาตรา 44 ระบุว่า“คนงานย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสภาพในการทำงานรวมทั้งหลักประกันในการดำรงชีพทั้งในระหว่างการทำงานและเมื่อพ้นสภาวะการทำงาน หรือ ครม.มีมติเมื่อ 11 ธันวาคม ปี พ.ศ.2550 ยกเรื่อง สุขภาพความปลอดภัยของผู้ใช้แรงงาน เป็นวาระแห่งชาติ “คนงานปลอดภัย สุขภาพอนามัยดี แต่หาได้มีงบประมาณในการทำงานไม่ มีกฎหมายและมีมติ ครม.แล้วก็ตามทีปัญหาสุขภาพความปลอดภัยก็ไม่ได้ลดลงเลย รวมถึงคนงานยังไม่ได้รับการคุ้มครองที่ดีพอตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและสิทธิมนุษยชน

ทางออกก็คือขบวนการแรงงาน ภายใต้เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานที่มี 17 องค์กร และสภาเครือข่ายกลุ่มผู้จากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ในสมัชชาคนจน พยายามผลักดัน พ.ร.บ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่ได้บรรจุการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯไว้ในหมวด 7 มาตรา 52 ซึ่งประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 17 มกราคม2554 และต้องบังคับใช้ภายในเดือนกรกฎาคม 2554 นี้ และกระทรวงแรงงานกำลังเรียกประชุมคณะกรรมการยกร่าง พรฎ.ครั้งแรก ในวันที่ 3 มีนาคม 2554 นี้ที่กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน โดยมีตัวแทนฝ่ายผู้ใช้แรงงานร่วมยกร่างดังกล่าว

แต่ทั้งนี้หาก พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ...มาตรา 10 ไม่ขยายดอกผลมาไว้ในกองทุนความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในหมวด 6 ตามมาตรา 45(2) ร้อยละ 20 ต่อปีเพื่อบริหารจัดการส่งเสริมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯที่กำลังจะเกิดขึ้นมาก็จะเป็นสถาบันที่ด้อยเปลี้ยเสียแขนขา ทำอะไรไม่ได้ตามเจตนารมณ์ของผู้ผลักดันกฎหมายเพื่อให้มีการส่งเสริมป้องกันเสียก่อน ที่จะเกิดเจ็บป่วย เรื้อรัง พิการ สูญเสียสุขภาพ และตายฟรี ต่อไป

และผลจะเป็นอย่างไรต่อไปนั้นก็ต้องเชิญติดตามผลการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณากฎหมาย พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ...ในวันที่ 2 มีนาคม 2554 เวลา 13.30 น.ที่ห้องประชุมกรรมาธิการ ห้อง 3701 รัฐสภา 3 ซึ่งเราต่างหวังว่าคณะกรรมาธิการ ส.ส.ทุกท่านคงจะได้เล็งเห็นเจตนารมณ์นี้

(วันที่24ก.พ.54)
สุขภาพดีคือชีวิตที่มั่นคง ความปลอดภัยคือหัวใจของการทำงาน

 

หมายเหตุ: เราจะมีการจัดเวทีสาธารณะเปิดสภาผู้ป่วยฯในวันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ห้องราชาโรงแรมรัตนโกสินทร์ ติดต่อได้ที่ ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ และให้คำแนะนำ คำปรึกษาด้านสุขภาพ และสิทธิแรงงาน กรณีลูกจ้างที่เจ็บป่วยด้วยโรคและประสบอันตรายจากการทำงาน สำหรับแรงงานในระบบภาคอุตสาหกรรม (Wellness Worker Center )

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย) เบอร์โทรศัพท์/โทรสาร. 02-9512710, 02-9513037 ทุกวัน. จันทร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-21.00 น. http://www.wept.org, E-mail :wept_somboon@hotmail.com
 

 

ชื่อบทความเดิม: จะส่งเสริมป้องกันหรือ จะให้คนงาน เจ็บป่วย พิการ ตาย ก่อนหรือไง? กับการปันงบดอกผลจากกองทุนเงินทดแทน 20%ให้กับกองทุนความปลอดภัยอาชีวอนามัยฯ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ฐาปนันท์ นิพิฎฐกุล: สารในวาระการเสวนาเพื่อรำลึกถึง "ศุขปรีดา พนมยงค์"

Posted: 24 Feb 2011 11:01 AM PST

 

สารจาก อาจารย์ ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
ในวาระการเสวนาเพื่อรำลึกถึง คุณศุขปรีดา พนมยงค์
วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554

ผมนั่งลงและจรดน้ำหนักปลายนิ้วบนแป้นพิมพ์หลังจากรับประทานอาหารกลางวันเป็นที่เรียบร้อย ก่อนอาหารมื้อนี้ ผมได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับอาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล และอาจารย์ได้แนะนำกับผมว่า ให้ผมเขียนสารส่งมาร่วมในงานเสวนาครบรอบหนึ่งร้อยวันมรณกาลของคุณศุขปรีดา พนมยงค์ (หรือที่ผมเรียกติดปากว่า พี่ศุขปรีดาฯ) ก็ได้ หากไม่สามารถลงมาร่วมงานที่กรุงเทพฯ ได้

ผมรู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่ในครั้งนี้เช่นเดียวกับวันที่พี่ศุขปรีดาฯ จากไป (วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2553) ที่ผมไม่สามารถมาร่วมงานด้วยได้ เหตุผลก็ทั้งในด้านงานประจำที่นัดไว้เป็นการล่วงหน้าแล้วและภาระครอบครัวในช่วงที่มีการจัดงานเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ผมขอขอนุญาตฝากสารชิ้นเล็กๆ นี้มาเพื่อร่วมการเสวนาในวันนี้ และขอขอบคุณอาจารย์ปิยบุตรฯ เป็นอย่างยิ่งสำหรับการแนะนำให้เขียนสารชิ้นนี้ พร้อมทั้งช่วยกรุณานำมาอ่านให้ที่ประชุมฟังด้วย

โดยส่วนตัวแล้ว ผมเริ่มคุ้นเคยกับพี่ศุขปรีดาฯ ก็ในฐานะที่เข้ามาเป็นกรรมที่ปรึกษาสถาบันปรีดี พนมยงค์ นับแต่ช่วงปี 2548 เป็นต้นมา ก่อนหน้านั้น ผมเองก็ทราบและรับรู้เช่นเดียวกับคนไทยทั่วไปว่า พี่ศุขปรีดาฯ เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 6 คน และเป็นบุตรชายคนที่สองของท่านรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดีและท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ การได้เข้ามาเป็นผู้ร่วมงานในสถาบันปรีดีฯ คงเป็นจุดเริ่มต้นที่ได้นำผมเข้ามาสัมผัสและรับรู้ถึงจิตวิญญาณและตัวตนที่แท้จริงของท่านรัฐบุรุษอาวุโสปรีดีและท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ พี่ศุขปรีดาฯ และทายาทท่านอื่นๆ ในครอบครัวท่านรัฐบุรุษอาวุโสมากยิ่งขึ้นจากที่เคยรับรู้มาอย่างผิวเผิน

ในช่วงเวลาไม่นานนัก กล่าวคือ นับแต่ปี 2548-2551 (ก่อนมาประจำ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง) ที่ได้ร่วมงานและสังเสวนากับพี่ศุขปรีดาฯ และทายาทท่านอื่นๆ ของรัฐบุรุษอาวุโส ผมคงไม่สามารถอ้างได้ว่า ตนเองคุ้นเคยและรู้จักทายาทรัฐบุรุษอาวุโสทุกท่านเป็นอย่างดี แต่เท่าที่ได้รู้จัก ก็พอที่จะสัมผัสได้ถึงประสบการณ์ชีวิตที่ต่างได้ผ่านความผันผวนของชีวิตมา พร้อมๆ กับท่านรัฐบุรุษอาวุโส และเท่าที่ได้สัมผัส ผมเชื่อเป็นการส่วนตัวว่าลึกๆ ลงไปแล้ว แต่ละท่านคงมิอาจสรรหาถ้อยคำใดๆ มาบรรยายได้ว่าจะนิยามประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาแล้วนั้นอย่างไร

ในฐานะคนนอก แม้ผมจะมิได้มีโอกาสได้พบกับท่านรัฐบุรุษอาวุโสด้วยตนเองในช่วงชีวิตของผม ผมก็รับรู้ว่า ต้นโพธิ์ใหญ่ที่เป็นร่มเงาและยืนตระหง่านสู้พายุที่โหมกระหน่ำทุกทิศทางและค้ำยันครอบครัวนี้ไว้ขณะที่ท่านรัฐบุรุษอาวุโสเผชิญชะตากรรมทางการเมืองและหลังจากที่ท่านได้ถึงแก่อนิจกรรมไปแล้วคือ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์

สำหรับท่านผู้หญิงฯ ผมจำได้ว่า พี่ศุขปรีดาฯ เคยบอกกับผมว่า ให้เรียกท่านว่า “คุณยาย” ก็ได้ ไม่ต้องเรียกเต็มยศอย่างที่ผมมักจะเรียกอยู่เป็นประจำ หรือแม้แต่ในระยะหลังๆ ที่คุยกัน พี่ศุขปรีดาฯ ก็มักจะแทนท่านผู้หญิงฯ ว่าคุณยายกับผมอยู่เสมอ ผมขอสารภาพตรงๆ ณ ที่นี้เลยว่า ไม่กล้าจะเรียกเช่นนั้น เพราะความเคารพนับถือที่ผมมีต่อสุภาพสตรีท่านนี้มีมากกว่าที่จะขอนับญาติตามธรรมเนียมไทยกับท่านได้ สำหรับผมนั้น ท่านรัฐบุรุษอาวุโสปรีดีและท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เป็นทรัพยากรบุคคลอันล้ำค่าของแผ่นดิน เป็นคนของชาติและที่สำคัญที่สุดเป็น “คนของราษฎร” ผมเคยนึกเล่นๆ กับตัวเองว่า ถ้าหากท่านรัฐบุรุษอาวุโสปรีดีและท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เกิดเป็นคนฝรั่งเศสและต้องเผชิญชะตากรรมในลักษณะนี้ ผมเชื่อมั่นเกิน 100 เปอร์เซ็นต์ว่า ในวาระสุดท้าย ร่างของท่านทั้ง 2 จะถูกแห่แหนในรัฐพิธีใหญ่เพื่อไว้อาลัยการจากไป ท่ามกลางสายตามวลราษฎรทั้งแผ่นดินและต่อหน้าผู้เป็นประมุขแห่งรัฐและผู้บริหารระดับสูงทุกหน่วยงาน ขบวนแห่จะมีปลายทางอยู่ ณ มหาวิหาร Panthéon ซึ่งเป็นเสมือนที่พำนักสุดท้ายของบุคคลผู้มีคุณูปการแก่บ้านเมืองเฉกเช่นนี้ และถ้าใครแหงนหน้าขึ้นมองจารึกด้านหน้ามหาวิหารแห่งนี้ให้ดี ก็จะเห็นวลีอันงดงามโดดเด่นซึ่งสลักไว้ด้านบนว่า

“Aux grands hommes la patrie reconnaissante”

ซึ่งผมขอแปลเป็นภาษาไทยเอาเองว่า แด่บรรดามหาบุรุษ ด้วยคารวะจากมาตุภูมิ

สำหรับพี่ศุขปรีดาฯ หากพิจารณาจากงานเขียนที่เผยแพร่ออกสู่สาธารณะ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ แล้ว พี่ศุขปรีดาฯ ต้องนับว่าเป็นปัญญาชนคนหนึ่งและเป็นคนสำคัญเสียด้วย เพราะเหตุไร ก็เพราะเป็นทายาทที่รับมรดกด้านจิตวิญญาณของผู้เป็นบุพการีทั้ง 2 นี่เป็นเหตุผลหนึ่ง อีกทั้งพี่ศุขปรีดาฯ ยังเป็นประจักษ์พยานใกล้ชิดในเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับท่านรัฐบุรุษ อาวุโสและท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์มาโดยตลอด ผมคิดว่า ตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมา พี่ศุขปรีดาฯ ได้ซึมซับเอาประสบการณ์ไว้ในหลากหลายรูปแบบ แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ ประสบการณ์และจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ กล่าวคือ ต่อสู้เพื่อให้ได้มาหรืออย่างน้อยก็พยายามบอกเล่าและแนะนำตัวอย่างของการต่อสู้เพื่อเป้าหมายสุดท้ายตามอุดมการณ์ที่ตั้งไว้

สำหรับผม งานเขียนแต่ละชิ้นของพี่ศุขปรีดาฯ ที่ได้รับการรวบรวมพิมพ์เป็นเล่ม ไม่ว่าจะเป็น “โฮจิมินท์: เทพเจ้าผู้ยังมีลมหายใจ” (2549) “หวอเหงียนย้าป: จอมทัพคู่บารมีโฮจิมินท์” (2552) และ “เรียนรู้ประวัติศาสตร์ลาวผ่านชีวิตเจ้าสุพานุวง” (2553) ภาพลักษณ์โดยทั่วไปของงานเขียนทั้ง 3 ชิ้นก็เป็นสารคดีกึ่งวิชาการประวัติศาสตร์ ซึ่งล้วนแต่ให้ข้อมูลและฉายภาพสถานการณ์บ้านเมืองที่ในช่วงที่ผ่านมาของประเทศเพื่อนบ้านเราในอินโดจีน แต่ที่ลึกไปกว่านั้น นี่คือภาพและวิญญาณแห่งการต่อสู้ของผู้นำซึ่งเป็นที่ยอมรับของประชาชนเพื่อนำการเปลี่ยนแปลงไปสู่อุดมการณ์ที่ประชาชาตินั้นได้เลือกแล้วว่าเหมาะสมกับตนเอง เป็นการประกาศศักยภาพและความมุ่งมั่นแห่งประชาชาติให้โลกได้รับรู้ นี่เป็นผลงานจากปลายปากกาของผู้ที่ชูการต่อสู้ของประชาชาติให้สูงเด่นขึ้น เพื่อเป็นตัวอย่างแห่งการกำหนดอนาคตและชะตากรรมของชาติด้วยน้ำมือของพลเมืองเอง

ยิ่งเมื่อผมได้เริ่มมาสัมผัสกิจกรรมต่างๆ ของพี่ศุขปรีดาฯ ผมเห็นความพยายามที่จะแนะนำและสนับสนุนแนวทางการต่อสู้เพื่อสร้างสังคม ประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงในบ้านเมืองนี้ แม้จะประสบปัญหาในด้านสุขภาพเป็นระยะๆ แต่พี่ศุขปรีดาฯ ก็เพียรให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้ตระหนักและนำไปเป็นตัวอย่างหรือแม้แต่เป็นบทเรียน สำหรับแนวทางการต่อสู้ในอนาคต ผมคิดว่านี่คือการส่งผ่านและถ่ายทอดประสบการณ์ส่วนตัวอันมีค่ายิ่งของพี่ศุขปรีดาฯ เพื่อยืนยันว่า การต่อสู้จะไม่มีวันหยุดนิ่งและสิ้นสุดลงได้ ตราบเท่าที่ยังมีสังคมมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อสู้นั้นจะยิ่งเข้มข้นและแหลมคมยิ่งขึ้น หากยังปรากฏมีสังคมที่พลเมืองยังถูกปฏิเสธความเสมอภาคเท่าเทียมกัน มีการเลือกปฏิบัติ ถูกปฏิเสธเจตจำนงในการตัดสินใจอันเป็นอิสระของประชาชาติทั้งมวล ดังเช่นตัวอย่างที่พี่ศุขปรีดาฯ ได้บอกเล่าผ่านประสบการณ์ทางการเมืองของประเทศเพื่อนบ้านเหล่านั้น

แท้จริงแล้ว การต่อสู้ใดเล่าจะมีพลังอำนาจเท่ากับการต่อสู้ของบรรดาพลเมืองที่ประกอบขึ้นเป็นประชาชาตินั้นๆ แม้หากจะกล่าวถึงระบบกฎหมาย ระบบกฎหมายของบ้านเมืองในแง่หนึ่งก็เป็นเพียงการจัดโครงสร้างการใช้อำนาจของสังคมนั้น หรือเป็นระบบการกำหนดแบบแผนของการกระทำอันสอดคล้องต้องกันกับเหตุผลที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กฎหมายและระบบกฎหมายจึงรับภาระในอันกำหนดสัมพันธภาพในทุกๆ มิติเพื่อให้สอดรับกับเจตจำนงพื้นฐานของพลเมืองและสังคมโดยทั่วไป แต่ในทางตรงกันข้าม หากมีการปฏิเสธเจตจำนงของพลเมืองครั้งแล้วครั้งเล่าด้วยมาตรการใดๆ ทั้งที่เปิดเผยและซ่อนเร้น ด้วยการคุกคามข่มขู่ บิดเบือนความจริงและข่าวสาร จนกระทั่งลงเอยด้วยความรุนแรงโหดร้ายด้วยแล้ว ประสบการณ์ของมนุษยชาติแทบจะทุกแห่งบนผืนพิภพนี้ก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า พลังอำนาจสุดท้ายที่เป็นกฎธรรมชาติทางสังคมและเป็นอำนาจจริงยิ่งกว่าอำนาจ ที่มีลักษณะโครงสร้างแบบกฎหมายในยามปกติก็คือ พลังอำนาจของประชาชนที่พร้อมใจกันลุกขึ้นต่อสู้นั่นเอง

เพราะเหตุไรจึงกล่าวเช่นนี้ เพราะนี่คือ อำนาจที่แท้จริงทางสังคมที่มีความชอบธรรมสูงสุดอยู่ในตัว โดยไม่ต้องมีระบบกฎหมายใดๆ มาสถาปนาความชอบธรรมนั้นให้อีก ระบบกฎหมายเองเสียอีกที่จะต้องสถาปนาความชอบธรรมขึ้นจากเจตจำนงและอำนาจที่แท้จริงในสังคมเช่นว่านี้

ในช่วงที่ท่านผู้หญิงฯ ยังเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้กับลูกหลานครอบครัวพนมยงค์นั้น บางครั้งผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานหรือกิจกรรมเล็กๆ ที่จัดขึ้นในบ้านซอยสวนพลู ยามที่ผมได้กลับออกมาและเห็นผู้คนขวักไขว่ไปมารอบตัวนั้น ผมมีความรู้สึกบางอย่างที่แม้แต่ตัวเองก็อธิบายไม่ถูกว่ามันคืออะไร ถ้าจะให้ลองอธิบาย มันคงเป็นความรู้สึกทำนองว่า นี่ผมเพิ่งออกมาจากบ้านของบุคคลที่เคยนำการต่อสู้และนำประชาธิปไตยมาสู่ทุกๆ คนที่ผมเห็นอยู่ตรงหน้า แต่ในที่สุดกลับประสบชะตากรรมที่มิอาจบรรยายได้ว่า แล้วเหตุใดในบั้นปลายชีวิตจึงไม่สามารถกลับสู่มาตุภูมิของตนเองได้ หรือถึงแม้บางคนจะได้กลับ ก็เป็นการกลับในสภาพที่ไม่คู่ควรกับธรรมเนียมของชาติอารยะที่พึงปฏิบัติต่อคนของแผ่นดินเช่นนี้

ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่า จิตวิญญาณเป็นพลังที่ไม่มีวันสูญสลายได้เหมือนสรีระ แม้เราจะมอบสรีระให้ผู้ใดไว้ในครอบครอง สักวันหนึ่งสรีระนั้นก็จะเป็นไปตามกฎธรรมชาติแห่งอนิจจัง แต่จิตวิญญาณนั้นเล่า หากเราเข้าใจและเห็นคุณค่า เราสามารถส่งต่อ ถ่ายทอดและมอบเป็นมรดกแก่กันได้ตลอดไป ด้วยเหตุนี้สำหรับผม พี่ศุขปรีดาฯ เป็นปัญญาชนคนสำคัญที่เป็นเสมือน “ข้อต่อ” แห่งจิตวิญญาณประชาธิปไตยจากรุ่นบุพการี และยังเป็นข้อต่อที่พยายามทำหน้าที่ส่งทอดข้อต่อนี้ไปยังคนรุ่นใหม่ เพื่อสานจิตวิญญาณการต่อสู้เพื่อให้อุดมคติบรรลุและเป็นจริงขึ้นในอนาคตอันใกล้

ในที่สุดนี้ ผมขออนุญาตอ้างถึงคำกล่าวไว้อาลัยแด่คุณสุพจน์ ด่านตระกูลของพี่ศุขปรีดาฯ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งมีความตอนหนึ่งว่า

“ ... ผมเชื่อว่าเรามากันวันนี้ เราตั้งใจพร้อมกันอยู่อย่างหนึ่ง คือมีความตั้งใจ ตั้งปณิธานที่จะสืบเนื่องความคิด การกระทำอันดีงาม และถ้าสามารถที่จะพัฒนาต่อไปยิ่งๆ ขึ้น อันนี้ก็จะเป็นผลดีแก่ส่วนรวม ประเทศชาติและประชาชนต่อไป ..."

ครับ ผมเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า ความคิดและการกระทำอันดีงามของพี่ศุขปรีดาฯ ก็จะมีคนสืบสานและสืบทอดเป็นมรดกต่อไปอย่างแน่นอนเช่นเดียวกัน.

 

ที่มา: http://www.enlightened-jurists.com/page/190

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: นักกิจกรรมประณามผู้นำลิเบีย-อาหรับ หน้ายูเอ็น เหตุปราบปรามประชาชน

Posted: 24 Feb 2011 10:39 AM PST

นักกิจกรรมในไทยประท้วงผู้นำลิเบีย-ชาติอาหรับ หน้ายูเอ็น เรียกร้องยูเอ็น เข้าแทรกแซง เพื่อยุติการสังหารประชาชน


ภาพโดย : อานนท์ ชวาลาวัณย์
 

วานนี้ (24 ก.พ.54) เวลา 17.00 ที่หน้าองค์การสหประชาชาติ (UN) ถนนราชดำเนินนอก กลุ่มนักกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มไม่เอาสงครามและกลุ่มประกายไฟ ประมาณ 10 คน รวมตัวกันเพื่อประณามการปราบปรามผู้ประท้วงรัฐบาลของประเทศลิเบียและประเทศในกลุ่มอาหรับอื่นๆ โดยมีข้อเรียกร้องให้ประชาชนชาวไทยร่วมกันประณามเหล่าทรราช ที่ใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนผู้เรียกร้องความเป็นธรรม และสร้างความเกลียดชังในหมู่ประชาชนด้วยกันเอง เรียกร้องให้ประชาคมโลกร่วมกันประณามการกระทำของรัฐบาลทรราชเหล่านี้ และให้องค์การสหประชาชาติต้องเข้าแทรกแซงและยุติการสังหารหมู่ประชาชนผู้รักความยุติธรรมในทันที

โดยมีกิจกรรมแสดงออกถึงการประณาม เช่น การปราศรัยประณาม การอ่านแถลงการณ์ ชูป้ายประท้วง การร่วมร้องเพลง Blowin' in the wind และการเผารูปเหมือนผู้นำลิเบีย (นายมูฮัมหมัด กัดดาฟี่) เป็นต้น โดยทางกลุ่มดังกล่าวแจ้งว่าครั้งต่อไปอาจจะมีการไปแสดงออกในลักษณะดังกล่าวตามสถานทูตประเทศที่กำลังปราบปรามประชาชนซึ่งจะมีการจ้างกิจกรรมผ่านทางเฟซบุ๊ก ในเพจ “กลุ่มไม่เอาสงคราม ต้องการสันติภาพ" ต่อไป หลังจากนั้นเวลา 18.00 น. กลุ่มดังกล่าวจึงได้แยกย้ายกันกลับออกไป


แถลงการณ์ 
เราขอประณามการเข่นฆ่าประชาชนของบรรดาทรราช
เราไม่ต้องการให้เพื่อนมนุษย์ต้องเจ็บปวดจากจากพวกบ้าอำนาจเหมือนที่พวกเราประสบอยู่

เนื่องจากประชาชนผู้ถูกกดขี่ในระบอบการปกครองที่มีลักษณะเผด็จการ ในภูมิภาคตะวันออกกลางหรืออาหรับที่เริ่มจากตูนีเซีย และอียิปต์ และได้แผ่ขยายไปหลายประเทศรอบข้าง จนกลายเป็นการลุกฮือประท้วงเพื่อขับไล่รัฐบาลทรราช

แต่ในบางประเทศสถานการณ์เริ่มเลวร้ายลง เมื่อฝ่ายผู้กุมอำนาจหรือรัฐบาลเลือกที่จะใช้ความรุนแรงในการปราบปรามและจัดการกับผู้ประท้วง เช่น ในลิเบียมีการปราบปรามผู้ประท้วงอย่างหนักจนกระทั่งมีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน ซึ่งบางแหล่งข่าวเสียชีวิตเป็นพันคนแล้วและบาดเจ็บอีกจำนวนมาก นอกจากนั้นประเทศในแถบตะวันออกกลางอื่นๆ เช่น บาห์เรน เยเมน อิหร่าน โมร็อกโค คูเวตและแอลจีเลีย เป็นต้น ก็มีทีท่าว่าจะใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนของตนขั้นเด็ดขาดตามแบบลิเบียด้วยเช่นกัน

ที่น่าเป็นห่วงว่าเหตุการณ์อาจจะขยายไปสู่การสังหารหมู่ประชาชน เมื่อนายมูฮัมหมัด กัดดาฟี ผู้นำลิเบียยังออกมาปลุกระดมให้เกิดการเข่นฆ่าผู้ประท้วงด้วยการสร้างความเกลียดชังในหมู่ประชาชนด้วยกันว่าให้ "จับตายหนู(ผู้ประท้วง)พวกนั้นให้หมด" และยังเรียกร้องฝ่ายสนับสนุนให้ "ออกมาจากบ้านและถล่มพวกมันไม่ว่ามันจะอยู่ที่ไหนก็ตาม" ด้วยข้อหาว่าผู้ประท้วงเขาเป็น "คนทรยศ" พยายามทำให้ลิเบียกลายเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยความโกลาหล และสร้างความอับอายขายหน้าให้แก่ชาวลิเบียทั่วไป

สถานการณ์เช่นนี้ไม่ต่างจากที่พวกเราประชาชนผู้บริสุทธิ์ในประเทศไทยได้ประสบจากการปราบปรามอย่างรุนแรงและนำไปสู่การสังหารหมู่ของรัฐบาลทรราชไทยเมื่อปีที่ผ่านมา จนมีผู้เสียชีวิต 91 ศพและบาดเจ็บเกือบสองพันคน รวมถึงการไล่ล่าและจับกุมโดยละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างรุนแรง

ดังนั้นเราจึงไม่ต้องการให้เพื่อนมนุษย์ต้องแบกรับชะตากรรมและความเจ็บปวดเหมือนที่ประชาชนชาวไทยได้ประสบมาอีก การใช้ความรุนแรงจัดการกับผู้เห็นต่างถือเป็นการกระทำที่ต้องประณามอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้เราจึงขอเรียกร้องให้

1. ประชาชนชาวไทยต้องร่วมกันประณามเหล่าทรราช ที่ใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนผู้เรียกร้องความเป็นธรรม และสร้างความเกลียดชังในหมู่ประชาชนด้วยกันเอง
2. ประชาคมโลกต้องร่วมกันประณามการกระทำของรัฐบาลทรราชเหล่านี้
3. องค์การสหประชาชาติต้องเข้าแทรกแซงและยุติการสังหารหมู่ประชาชนผู้รักความยุติธรรมในทันที

ประชาชนจงเจริญ! ทรราชทั่วโลกจงพินาศ!
เราประชาชนผู้รักประชาธิปไตยและความเป็นธรรม เกลียดชังทรราช

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อธิบดีกรมราชทัณฑ์เผย "เสื้อแดง" ถูกคุมขังอีก 151 คน-ศาลให้ประกันตัว "สมชาย ไพบูลย์" เพิ่ม

Posted: 24 Feb 2011 08:22 AM PST

อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เผยผู้ต้องขังคดีเกี่ยวกับชุมนุมทางการเมืองที่ได้รับการปล่อยตัวแล้ว มีจำนวน 109 คน ยังเหลือผู้ต้องขังในเรือนจำ 151 ราย ด้านศาลอาญาให้ประกันตัว "สมชาย ไพบูลย์" แนวร่วม นปช.สั่งห้ามยั่วยุ-ออกนอก ปท.

 

(24 ก.พ.54) นายชายชาติ สุทธิกลม อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวถึงกรณีจำนวนผู้ต้องขังคดีเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองว่า เรือนจำได้ควบคุมตัวผู้ต้องขังกลุ่มดังกล่าวทั้งหมด 260 คน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมและช่วงก่อนหน้ากรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ บางรายได้รับการปล่อยตัวตามกำหนดเวลา ดังนั้น จำนวนของกรมราชทัณฑ์กับกรมคุ้มครองสิทธิฯ จะแตกต่างกัน

สำหรับจำนวนผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัวในแต่ละเรือนจำมีจำนวน 109 คน ซึ่งมีทั้งคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน และการขอประกันตัว ดังนั้น จะเหลือยอดผู้ต้องขัง 151 ราย อยู่ในการควบคุมของเรือนจำ

นายชาติชาย กล่าวต่อว่า เรือนจำไม่ทราบว่าเป็นแนวร่วมกลุ่มคนเสื้อแดงทั้งหมดหรือไม่ แต่ใช้ฐานข้อมูลการจับกุมช่วงวัน เวลา เกิดเหตุ เพราะข้อหาแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางรายโดยคดีลักทรัพย์ คดีวางเพลิงเผาทรัพย์ คดีฝ่าฝืน พ.ร.ก. บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน


ศาลให้ประกันตัว "สมชาย ไพบูลย์" หลักทรัพย์ 1 แสน
วันเดียวกัน ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เวลา 14.30 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวนายสมชาย ไพบูลย์ อดีต สข. พรรคไทยรักไทยแนวร่วมนปช.จำเลยคดีฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ ภายหลังไต่สวนคำร้องที่ยื่นพร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสด 200,000 บาท

โดยศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่าพฤติกรรมความผิดของคดีนี้ เกี่ยวข้องกับคดีหมายเลขดำที่ อ.2542/2553 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ฟ้อง นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธาน นปช. กับพวก ซึ่งเป็นแกนนำ และแนวร่วม นปช. รวม 19 คน เป็นจำเลย ในความผิดฐานร่วมกันก่อการร้าย ซึ่งในคดีดังกล่าว ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวแกนนำหลายคน เนื่องจากการไต่สวนมีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่ง จึงอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในคดีนี้เช่นกัน โดยตีหลักทรัพย์ 100 , 000 บาท พร้อมทั้งวางข้อกำหนดห้ามไม่ให้จำเลยกระทำการอันเป็นการยั่วยุ ปลุกปั่น ปลุกระดม เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือ กระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน อันที่จะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาญาจักรหรือให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน และห้ามจำเลยดังกล่าวเดินทางออกนอกราชอาญาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล

ภายหลังศาลมีคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว จะได้ออกหมายปล่อยแจ้งให้เรือนจำทราบเพื่อดำเนินการต่อไปตามขั้นตอน

 

ที่มา: มติชนออนไลน์ และเนชั่นทันข่าว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ขบวนการประชาชนฯ จี้ ก.เกษตร โชว์แก้ปัญหาเรื้อรังชาวบ้านจังหวัดต่างๆ

Posted: 24 Feb 2011 08:02 AM PST

ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือพีมูฟ ซึ่งปักหลักชุมนุมอยู่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ. ที่ผ่านมา ล่าสุด (24 ก.พ.) ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 10 เรียกร้องให้ รมว.กระทรวงเกษตรฯ แสดงศักยภาพที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหากรณีพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน ในเขตที่ดิน ส.ป.ก. 3 พื้นที่ใน จ.สุราษฎร์ธานี อุบลราชธานีและภูเก็ต ผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูล และอ่างเก็บน้ำทับที่ดินทำกินห้วยฝั่งแดง การหยุดดำเนินคดีกับชาวบ้านชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ต และกรณีการจดทะเบียนสหกรณ์ชุมชน เพื่อดำเนินการพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน


แถลงการณ์ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ฉบับที่ 10
“กระทรวงเกษตรฯ ต้องแสดงศักยภาพ อย่าแก้ปัญหาแบบพ่นน้ำลายไปวันๆ”

หลังจากที่ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ได้นำขบวนรณรงค์ไปชุมนุมหน้าหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อรอฟังมติ ครม. 4 ประเด็นหลัก คือ 1. กรณีการเปิดเขื่อนปากมูล 2.กรณีการอนุมัติงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของคนไร้บ้าน 3.กรณีโครงการนำร่องธนาคารที่ดิน 4 ชุมชนในภาคเหนือ จำนวน 167 ล้านบาท และ 4.กรณีการเร่งดำเนินการพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน ซึ่งผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการ ปจช.แล้ว 35 พื้นที่

ณ วันนี้ ความคืบหน้าของการดำเนินการแก้ไขปัญหาตามข้อเสนอพีมูฟ ของรัฐบาลยังคงเหมือนย่ำอยู่กับที่ จนเกินเลยความล่าช้า เนื่องจากว่า มติ ครม.เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม การติดตามขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมยังต้องติดตามความคืบหน้าของประเด็นเหล่านี้อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการติดตามผลความคืบหน้ากับกระทรวงที่เกี่ยวข้องโดยตรง

ในวันนี้ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมได้เคลื่อนขบวนมาหน้ากระทรวงเกษตรฯ เพื่อเรียกร้องให้ รมว.กระทรวงเกษตรฯ แสดงศักยภาพที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาใน 4 กรณีที่เกี่ยวข้องโดยตรง ในประเด็นปัญหาต่อไปนี้

1. กรณีพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน ในเขตที่ดิน ส.ป.ก. 3 พื้นที่ใน จ.สุราษฎร์ธานี และอีก 2 พื้นที่ใน จ.อุบลราชธานีและ จ.ภูเก็ต ให้เร่งดำเนินการนำ 5 พื้นที่ดังกล่าวมาดำเนินการจัดทำเป็นพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน

2. ปัญหาผลกระทบจากการสร้างเขื่อน กรณีเขื่อนปากมูล ซึ่งกรมชลประทานคัดค้านการเปิดเขื่อนถาวรด้วยเหตุที่ว่า กลัวมีน้ำไม่เพียงพอสำหรับการทำการเกษตร พีมูฟขอยืนยันและเรียกร้องให้มีการเปิดเขื่อนถาวร โดยใช้ข้อมูลสรุปผลการดำเนินงานของอนุกรรมการรวบรวมงานวิจัยเป็นข้อมูลอ้างอิง ส่วนกรณีปัญหาอ่างเก็บน้ำทับที่ดินทำกินห้วยฝั่งแดง ให้เร่งดำเนินการตามข้อเสนอที่ได้ยื่นต่อรัฐบาลเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาอย่างเร่งด่วน

3. กรณีปัญหาชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ต ให้หยุดมาตรการรื้อถอนเครื่องสาธารณูปโภคในชุมชน และหยุดดำเนินการทางคดีความกับชาวบ้าน

4. กรณีการจดทะเบียนสหกรณ์ชุมชน ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ เร่งดำเนินการจดทะเบียนให้กับองค์กรชุมชนที่ยื่นขอจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถนำไปดำเนินการเรื่องพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนต่อไป

การดำเนินการแก้ไขปัญหากว่า 1 อาทิตย์ที่ผ่านมา ทั้งคณะรัฐบาลชุดใหญ่และกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเพียงการแก้ปัญหาแบบพ่นน้ำลายซึ่งไม่สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติได้ ปล่อยให้ปัญหายังคงดำเนินต่อไปอย่างเรื้อรัง สุดที่จะเยียวยา ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ ต้องแสดงถึงศักยภาพที่เหนือกว่า เพื่อแก้ไขปัญหาให้สำเร็จเสร็จสิ้น เพราะหากไม่เช่นนั้นแล้ว กระทรวงเกษตรฯ ก็จะเป็นอีกหนึ่งกระทรวงที่ต้องถูกตราหน้าว่า “แก้ปัญหาแบบพ่นน้ำลายไปวันๆ” เช่นกัน

คนจนทั้งผองพี่น้องกัน
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม
24 กุมภาพันธ์ 2554
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กกต.ชวนองค์กรเสนอชื่อ "ส.ว.สรรหา" เปิดรับสมัคร 25 ก.พ.-11 มี.ค.

Posted: 24 Feb 2011 07:28 AM PST

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ นายประพันธ์ นัยโกวิท กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมความพร้อมสถานที่เปิดรับสมัคร ส.ว.สรรหา ว่า ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์-11 มีนาคม ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. กกต.ได้เตรียมความพร้อม ทั้งเรื่องสถานที่และการตั้งคณะทำงานชุดต่างๆ เพื่อให้การรับสมัครเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งนี้ ผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว.สรรหา จะต้องได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรภาคใดภาคหนึ่งใน 5 ภาค ได้แก่ ภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ ส.ว. ซึ่งองค์กรเหล่านั้นต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายหรือได้รับการ รับรองโดยกฎหมาย และจัดตั้งขึ้นในราชอาณาจักรไม่น้อยกว่า 3 ปี รวมทั้งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และไม่ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง แต่ละองค์กรสามารถเสนอชื่อผู้สมัครได้เพียงองค์กรละ 1 คนเท่านั้น

นายประพันธ์ กล่าวว่า องค์กรที่จะเสนอชื่อผู้เข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว. ต้องศึกษาระเบียบ ขั้นตอนและกระบวนการการรับสมัคร ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยขอเชิญชวนให้องค์กรต่างๆ เสนอชื่อบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้ารับการคัดเลือกเป็น ส.ว.สรรหา ซึ่งจะมีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี และมีหน้าที่เช่นเดียวกับ ส.ว.เลือกตั้ง

เมื่อถามว่า ส.ว.บางส่วนที่ลาออกจากการจะสามารถเข้าชื่อเพื่อรับการสรรหาใหม่ได้หรือไม่ นายประพันธ์ กล่าวว่า อยู่ที่คณะกรรมการสรรหา ส.ว.ว่าจะใช้ดุลพินิจอย่างไร เมื่อดำเนินการสรรหาเสร็จแล้ว หากมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยก็สามารถร้องคัดค้านมายัง กกต.ได้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการประกาศผลการสรรหา ถ้ามีความเห็นตามที่ผู้คัดค้านร้องเข้ามาก็จะยื่นให้ศาลฎีกาเป็นผู้ชี้ขาดต่อไป

อนึ่ง รัฐธรรมนูญ 2550 กำหนดให้มี ส.ว. 150 คน มาจากการเลือกตั้ง 76 คน (จังหวัดละ 1 คน) และ มาจากการสรรหา 74 คน คณะกรรมการสรรหา มี 7 คน ประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมาย และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดมอบหมาย ขณะที่เดิมรัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดให้มี ส.ว. 200 คนมาจากการเลือกตั้ง
 

 

ที่มา: มติชนออนไลน์
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

iLaw: ผลวิจัย TDRI เสนอเลิกโทษจำคุกในความผิดที่ไม่จำเป็น

Posted: 24 Feb 2011 06:35 AM PST

กระบวนการยุติธรรมทางอาญา หมายถึง กระบวนการนับตั้งแต่มีการกระทำความผิดอาญา เพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ โดยผ่านขั้นตอนการหาตัวผู้ต้องหา ตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะเป็นการสอบสวนในชั้นตำรวจ ชั้นอัยการ การฟ้องร้อง การพิจารณาชั้นศาล ตลอดจนการลงโทษตามคำพิพากษา เช่น ปรับ จำคุก เป็นต้น

แต่ในปัจจุบันกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยประสบปัญหาอยู่ หลายประการด้วยกัน อาทิ การดำเนินคดีล่าช้า เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติไม่ชอบธรรม มีคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมากเกินควร อีกทั้งระบบกลั่นกรองเพื่อนำคดีมาฟ้องมีปัญหา

จากการศึกษาเรื่อง “ทางเลือกในการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา” จัดทำโดย นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ อิสร์กุล อุณหเกตุ และทรงพล สงวนจิตร คณะวิจัยจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พบว่า ประเทศไทยใช้ทรัพยากรในระบบยุติธรรมสูง โดยใช้งบประมาณตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ สูงกว่าประเทศส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 1.26 ของ GDP (ราคาผลผลิตทั้งหมดของประเทศ)

ประเทศไทยใช้บุคลากรในระบบยุติธรรมค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับประชากรหนึ่งแสนคน จะมีบุคลากรในระบบยุติธรรมถึง 400 คน ซึ่งมากกว่าประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ เช่น อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ สวีเดน

ในงานศึกษายังพบว่า มีคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลกว่าหนึ่งแสนคดี มีนักโทษมากกว่าจำนวนที่เรือนจำรองรับได้ถึงร้อยละ 70 โดยประเทศไทยมีอัตราส่วนนักโทษ 339 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคน ซึ่งสูงเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว

จากการสุ่มเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคดีต่างๆ 8 ฐานความผิดที่สำคัญ 400 คดี รวมถึงคำตัดสินของศาลฎีกา พบว่า ต้นทุนโดยเฉลี่ยที่ต้องใช้ต่อคดี ในชั้นตำรวจจะมีต้นทุนสูงถึง 15,798 บาท ชั้นอัยการมีต้นทุน 8,325 บาท แต่เมื่อถึงขั้นตอนการลงโทษจำคุกจะมีต้นทุนสูงถึง 55,704 บาท ส่วนการคุมประพฤติใช้ต้นทุนอยู่ที่ 9,573 บาท

และแนวทางการตัดสินคดีของศาลชั้นต้น มีแนวโน้มลงโทษจำคุกมากกว่าการปรับ โดยคดีที่ลงโทษจำคุกทุกคดีคือ เรื่องความผิดเกี่ยวกับเช็ค รองลงมาคือ ลักทรัพย์ ร้อยละ 73.3 ทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 51.9

ค่าใช้จ่ายที่สูง เมื่อเทียบกับผลที่ได้เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงปัญหาประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาไทย ที่อาจกระทบต่อการอำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นได้

 
โทษจำคุกรัฐมีต้นทุนสูง โทษปรับต้นทุนถูกกว่า

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวถึงต้นทุนของการดำเนินคดีทางอาญาในแต่ละประเภทว่า การลงโทษจำคุก ต้นทุนคือ รัฐต้องจัดการคุก ต้องมีราชทัณฑ์ พัศดี ค่าอาหารนักโทษ และนักโทษผู้นั้นจะถูกกันจากตลาดแรงงาน รวมถึงในอนาคตก็จะถูกกีดกันเพราะถูกตีหน้าว่าเป็นคนขี้คุก เมื่อตลาดแรงงานไม่รับเข้าทำงาน อาจทำให้หันมากระทำความผิดอีก

ในส่วนโทษการปรับนั้น นายสมเกียรติ กล่าวว่า เป็นเพียงการโยกเงินจากจำเลย โอนเข้าสู่รัฐบาล การปรับมีต้นทุนการบริหารจัดการ การจัดเก็บค่าปรับต่ำกว่า ซึ่งมีข้อดีคือ ไม่เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพผู้ถูกปรับ และถ้ามีการปรับที่เหมาะสมก็สามารถป้องปรามการกระทำความผิดได้

นอกจากนี้ นายสมเกียรติ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันการกำหนดโทษปรับของเราต่ำกว่าความเหมาะสมมาก ซึ่งไม่ได้ปรับขึ้นตามเวลาผ่านไปที่ค่าครองชีพสูงขึ้น กฎหมายออกมาเมื่อห้าสิบปีที่แล้ว ถึงปัจจุบันก็ไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้คู่กรณีเห็นว่าโทษปรับไม่สามารถทำอะไรได้ สิ่งที่ตามมาคือ ต้องนำโทษจำคุกเข้ามาดำเนินการกับผู้กระทำความผิดทั้งที่การกระทำบางอย่างสามารถลงโทษปรับเพื่อให้หลาบจำได้

ส่วนการลงโทษให้บริการสังคมนั้น นายสมเกียรติ กล่าวว่า ประเทศไทยได้ใช้แต่ไม่มากเท่าที่ควร ซึ่งการบริการสังคมมีต้นทุนสูงแต่ไม่เท่าจำคุก เพราะต้องมีหน่วยงานรัฐดูแล แต่มีงานเกิดขึ้นเป็นมูลค่าแก่สังคม

 

 

เสนอทางเลือกการปฏิรูปกฎหมาย
ทั้งนี้ นายสมเกียรติ ได้เสนอทางเลือกในการปฏิรูปกฎหมาย ไว้ 5 ทาง คือ หนึ่ง ทบทวนกฎหมายที่มีโทษทางอาญา ซึ่งบังคับใช้อยู่ทั้งสิ้น 350 ฉบับ ว่าฉบับใดไม่จำเป็นต้องมีโทษทางอาญาก็ให้ยกเลิก รวมถึงทบทวนว่าความผิดที่เป็นส่วนตัว เช่น การหมิ่นประมาท การใช้เช็ค หรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบางอย่าง ควรมีโทษอาญาหรือไม่

สอง เพิ่มโทษปรับให้สูงขึ้นให้สอดคล้องกับสภาพสังคม ให้สอดคล้องกับความเสียหายที่เกิดขึ้น และวางกลไกในการเพิ่มโทษปรับโดยอัตโนมัติตามภาวะเงินเฟ้อ

สาม ควรเพิ่มทางเลือกในการลงโทษ เช่น การใช้มาตรการปกครอง โดยหน่วยงานที่ดูแลเฉพาะเรื่องนั้นๆ ให้ทำกิจกรรมบริการสังคม พิจารณาการใช้โทษ “ประจาน” ทั้งนี้เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่หมดไปกับการใช้โทษจำคุก

สี่ ควรลดปริมาณคดีที่เข้าสู่ศาล เช่น ใช้การไกล่เกลี่ย ให้อัยการมีบทบาทกลั่นกรองคดีก่อนขึ้นสู่ศาล

และ ห้า ต้องเพิ่มแรงจูงใจในการฟ้องคดีแพ่ง โดยปรับปรุงการคิดค่าเสียหายให้ครอบคลุมกับความเสียหายที่แท้จริง เช่น ค่าเสียหายทางจิตใจ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นทางเลือกให้ผู้เสียหายไม่ต้องมาฟ้องคดีอาญาได้

หากทำสำเร็จ สามารถลดต้นทุนของรัฐได้ถึง 1,867 ล้านบาท จำนวนนักโทษจะลดลง 8,586 คน และสามารถทำงานมีรายได้ถึง 465 ล้านบาทต่อปี
 

 

ตัวแทนวิชาชีพเห็นพ้อง ส่งเสริมกระบวนการทางแพ่ง ยกเลิกโทษอาญา
หลังการนำเสนอผลการวิจัย มีเวทีอภิปรายในหัวข้อ “ทางเลือกในการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา” โดยตัวแทนจากสาขาวิชาชีพต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรม

 

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า อาชญากรรมเป็นภาวะปกติของสังคม สังคมใดปราศจากอาชญากรรม ย่อมเป็นสังคมในฝัน แต่หากมากเกินไปก็ไม่ดี ฉะนั้น อาชญากรรมจะต้องมีไม่มากและไม่น้อยเกินไป ทางเลือกคือ ควรใช้วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดอาชญากรรมมากกว่า ซึ่งปัจจุบันรัฐยังเอางบประมาณมาใช้ในการป้องกันเช่นนี้น้อยอยู่

พ.ต.อ.ทวี เสนอด้วยว่า ควรมีทางเลือกที่เอางานทั้งหลายให้เอกชนทำ เช่น องค์การทหารผ่านศึกมียามทั่วประเทศดูแลหมู่บ้านซึ่งอาจดีกว่าตำรวจ พนักงานสอบสวนต้องไม่ควรหวงอำนาจไว้ที่เดียว

ด้านนายสัก กอแสงเรือง นายกสภาทนายความ กล่าวว่า เห็นด้วยกับการยกเลิกกฎหมายที่มีโทษอาญา เพราะปัจจุบันกฎหมายไทยมีโทษอาญาเต็มไปหมด เกิดจากการสร้างกฎหมาย ตรากฎหมาย แก้ไขกฎหมาย โดยเจ้าหน้าที่และหน่วยงานของรัฐที่ต้องการอำนาจ โดยผลักภาระให้กับประชาชนทั้งหมด ประชาชนต้องทำตาม มิฉะนั้นติดคุก จะประกอบอาชีพก็ถูกจำกัดเรื่องใบอนุญาต มีการเก็บค่าธรรมเนียมราคาแพง

นายสักยังกล่าวด้วยว่า มีบางเรื่อง เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ความลับทางการค้า ทางองค์การการค้าโลก (WTO) บอกว่าเป็นความรับผิดทางแพ่ง แต่ไทยเรากลับเป็นโทษทางอาญาเสียหมด ทำให้เกิดเรื่องที่มีคนขายซีดีเก่า ถูกพิพากษาจำคุก และปรับ

นายสัก เสนอด้วยว่า กรณีหมิ่นประมาทบุคคลไม่ควรมีความผิดทางอาญา ควรใช้ทางแพ่งมาเยียวยา แต่ต้องมีการกำหนดมาตรการให้เหมาะสม เช่น หากเป็นบุคคลสาธารณะก็ต้องมีโทษปรับที่สูงขึ้น รวมถึงใช้การไกล่เกลี่ยที่มีประสิทธิภาพ

ด้านนายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวว่า จากสถิติข้อมูลปี พ.ศ. 2553 มีคดีเข้าสู่ระบบศาลชั้นต้น 1,500,000 คดี ซึ่งเป็นปริมาณที่มากเกินไป เนื่องจากระบบการกลั่นกรองนำคดีเข้าสู่ศาลไม่มีคุณภาพ แต่ปัจจุบันปัญหาการดำเนินคดีล่าช้ามีน้อยลง โดยมากจะพิจารณาเสร็จภายในประมาณ 1 ปี

ในส่วนการยกเลิกกฎหมายนั้น นายสราวุธ กล่าวว่า เคยมีแนวความคิดที่เสนอให้ยกเลิกกฎหมายที่ไม่จำเป็นให้มีโทษอาญา เพราะกฎหมายที่กำหนดโทษทางอาญาประกาศใช้แล้วแต่ไม่มีสภาพบังคับประชาชนคิดว่าทำแล้วไม่ผิดกฎหมาย ทำให้กฎหมายขาดความศักดิ์สิทธิ์

นายสราวุธ กล่าวว่า สาเหตุส่วนหนึ่งที่ประชาชนใช้กระบวนการทางอาญามากกว่าทางแพ่ง เพราะทางแพ่งใช้เวลามาก และประสิทธิภาพไม่ดีพอ ดังนั้นมาตรการในทางแพ่งจะต้องมีประสิทธิภาพ และสามารถเยียวยาผู้เสียหายได้โดยที่ไม่ต้องให้ผู้เสียหายไปฟ้องเป็นความผิดทางอาญาอีก

ทางด้านนางจุฑารัตน์ เอื้ออำนวย อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่พบว่า มีคดีที่ไม่มีเหยื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ถึงร้อยละ 65.3 เช่น คดียาเสพติด คดีหลบหนีเข้าเมือง และคดีการพนัน ทำให้ศาลพิจารณาคดีอาญาที่แท้จริง แค่ร้อยละ 34.7 ดังนั้น หากเราตัดคดีที่ไม่ควรเป็นอาญาออกไป พื้นที่ในกระบวนการยุติธรรมจะมากขึ้น สิ่งที่จะเป็นคดีอาญาที่แท้จริงก็จะเข้ามา

 


หมายเหตุ:
เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://ilaw.or.th/node/772

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไข 7 ข้อข้องใจ ทำไมต้องเปิดเขื่อนปากมูล

Posted: 24 Feb 2011 05:01 AM PST

 
1. ทำไมชาวบ้านต้องการให้เปิดเขื่อนปากมูลถาวร

ก่อนการสร้างเขื่อนฯ ชุมชนที่นี่มีความเป็นอยู่สุขสบาย เนื่องจากบริเวณปากแม่น้ำมูล เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ระบบนิเวศปากแม่น้ำมูล มีลักษณะเฉพาะที่ดึงดูดให้ปลาจากแม่น้ำโขง อพยพขึ้นมาวางไข่ในแม่น้ำมูลตลอดทั้งปี ชาวบ้านที่นี่จึงเป็นชาวประมงมานับตั้งแต่ก่อร่างสร้างชุมชนเมื่อหลายร้อยปี ก่อน หรืออาจสืบย้อนไปได้นับหลายพันปี ตามหลักฐานทางโบราณคดีที่ผาแต้ม การเป็นชุมชนที่ต่อเนื่องมายาวนาน ทำให้ผู้คนที่นี่มีความรู้ในการดำรงชีวิต และสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่หลากหลายที่เกี่ยวโยงกับการหาปลา เป็นชุมชนคนหาปลา ที่มีชีวิตขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง

การสร้างเขื่อนปิดปากแม่น้ำมูล ขวางกั้นการอพยพขึ้นลงของปลา และทำลายวัฏจักรของธรรมชาติ ทำให้ชาวบ้านที่นี่กลายเป็นคนจนโดยทันที ปลาที่เคยจับได้ทั้งชนิดและปริมาณลดน้อยลงจนไม่เพียงพอต่อการยังชีพ การศึกษาฯ พบว่า ก่อนการสร้างเขื่อนฯ มีปลา 265 ชนิด ภายหลังการสร้าง มีปลา 169 ชนิดที่ไม่มีรายงานการจับได้เลย

การสร้างเขื่อนฯ ทำให้น้ำในแม่น้ำอยู่ในสภาพ “เต็มตลิ่งตลอดปี” แก่งหินที่เป็นแหล่งวางไข่ อนุบาลลูกปลาจมหายไป ระบบนิเวศของสองฟากฝั่งแม่น้ำที่เป็นแหล่งพืชพันธุ์ สมุนไพร อาหารของท้องถิ่น ถูกทำลายอย่างถาวร แต่กลับปรากฏวัชพืชที่เป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมาแทน คือการแพร่ระบาดของต้นไมยราพยักษ์

ผลกระทบที่เกิดขึ้นข้างต้น ทำให้ชาวบ้านต้องออกไปแสวงหางานทำนอกชุมชนเป็นจำนวนมาก คงเหลืออยู่แต่คนแก่และเด็ก กลายเป็นภาระของสังคมที่ต้องแบกรับ

การสร้างเขื่อนฯ และการดำรงอยู่ของเขื่อน ยังได้สร้างความแตกแยกอย่างรุนแรงให้กับชุมชนที่นี่อันเนื่องมาจากความเห็น และผลประโยชน์ที่ได้รับจากเขื่อนแตกต่างกันไปในแต่ละชุมชน แต่ละครอบครัว การสำรวจความคิดเห็นล่าสุด เฉพาะชุมชนที่อยู่สองฝั่งแม่น้ำมูล (ไม่นับชุมชนที่อยู่ห่างไกลออกไป และไม่ได้มีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำมูล) พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการให้เลิกใช้ประโยชน์จากเขื่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เนื่องจากพวกเขามีอาชีพจับปลา และมีชีวิตที่ต้องพึ่งพิงปลาจากแม่น้ำมูล หมายความว่า ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ที่มีการใช้เขื่อนฯ ผลประโยชน์ที่ได้จากเขื่อนส่วนใหญ่ถูกส่งออกจากพื้นที่บริเวณนี้ โดยที่ผู้คนที่นี่ต้องเป็นผู้ที่เสียสละและอดทน เพื่อประโยชน์ของการพัฒนาประเทศโดยรวม

งานวิจัยฯที่เกี่ยวข้องกับเขื่อนปากมูลจำนวนมาก ตลอดเวลากว่า 20 ปี ล้วนมีข้อสรุปที่ตรงกันว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เขื่อนปากมูล การสร้างเขื่อนโดยไม่ศึกษาผลกระทบต่างๆ และไม่เห็นหัวชาวบ้านในอดีต ส่งผลเสียอย่างรุนแรงในทุกด้าน กระบวนการแก้ไขปัญหาที่ทำกันอย่างขอไปทีในทุกรัฐบาล ก็ยิ่งสร้างความแตกแยกอย่างลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นในชุมชน ชาวบ้านปากมูลได้สรุปบทเรียนแล้วว่า ความยากจน คุณภาพชีวิต และธรรมชาติที่พังพินาศย่อยยับ จะถูกแก้ไขและถูกฟื้นฟูกลับมาได้ เมื่อประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูลถูกยกขึ้นอย่างถาวร
 

2. ถ้าเปิดประตูน้ำถาวร แล้วจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชลประทานหรือไม่
การศึกษาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พบว่า ชาวบ้านบริเวณลุ่มน้ำมูล ส่วนใหญ่มีอาชีพหลักเป็นชาวประมง อาชีพรองเป็นชาวนา และนิยมทำนาในฤดูฝน การ ทำนาปรังในฤดูแล้ง ไม่ค่อยได้รับความนิยม เนื่องจากปัญหาของคุณภาพดิน และสภาพภูมิประเทศริมแม่น้ำ ที่มีลักษณะเป็นตลิ่งสูง มีผลาญหิน โขดหิน ส่วนผืนดินบริเวณที่ดอน เป็นดินตื้น ชั้นล่างมีหินปน ไม่เหมาะสมกับการทำนา มีพื้นที่ส่วนน้อยที่ใช้ทำนาได้

ประเด็นเรื่องการชลประทานเพื่อการ เกษตร ที่อ้างว่ามีการทุ่มงบประมาณกว่า 1.162 ล้านบาทในการสร้างสถานีสูบน้ำและคลองชลประทาน การสำรวจในปี 2553 พบว่า ส่วนใหญ่เป็นการสร้างคลองส่งน้ำ เฉพาะคลองสายหลัก แต่ไม่มีคลองซอย(คลองไส้ไก่)ที่จะกระจายน้ำไปตามพื้นที่เป้าหมาย การสำรวจ พบว่า มีพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์จากคลองส่งน้ำเพืยง 4.600 ไร่ จากเป้าหมาย 63.800 ไร่ หรือคิดเป็น 7% การศึกษาดังกล่าวยังพบว่า การปิดเปิดประตูน้ำเขื่อนปากมูล ไม่มีผลต่อการสูบน้ำเพื่อใช้ในการชลประทาน เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสถานีสูบน้ำแบบแพลอย นอกจากนั้น ค่าไฟฟ้าจากการสูบน้ำเป็นภาระที่ อบต. และชาวบ้านที่ใช้น้ำต้องแบ่งจ่ายในอัตรา 60:40 ซึ่งเป็นภาระทางงบประมาณของ อบต. ในขณะที่ชาวบ้านที่สามารถลงทุนจ่ายค่าสูบน้ำได้ ก็มีจำนวนน้อย

สรุปแล้ว สภาพพื้นที่ คุณภาพของดิน ในบริเวณนี้ ไม่เหมาะที่รัฐจะใช้นโยบายเพิ่มพื้นที่ทางการเกษตร เมื่อประกอบกับการที่มีแต่คลองสายหลัก และ อบต. และชาวบ้าน ต้องรับภาระค่าไฟจากการสูบน้ำ จึงมีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่ชลประทานน้อยมาก

แม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้าใจประเด็นดังกล่าว แต่วัตถุประสงค์ในการคงไว้ของเขื่อนปากมูลที่เหลืออยู่เพียงประการเดียวคือ เพื่อการชลประทาน จำต้องถูกผลักดันเดินหน้า เพื่อเป็นเหตุผลของการคงอยู่ของเขื่อนตลอดไป

3. เมื่อเปิดประตูน้ำแล้ว น้ำในแม่น้ำมูลจะไหลลงแม่น้ำโขงจนเหือดแห้ง น่าเสียดายน้ำที่ต้องสูญไปเปล่าๆ
นี่เป็นคำอธิบายแบบทฤษฎีเทน้ำออกจากแก้ว เหมือนความพยายามที่จะบอกว่า ถ้าไม่มีเขื่อนปากมูล ไฟฟ้าจะดับทั่วอีสาน (ซึ่ง กฟผ.ยอมรับแล้วว่าไม่เป็นความจริง)

ระบบนิเวศของแม่น้ำมูลเต็มไปด้วย แก่ง วัง ขุม ดอน คัน ซึ่งเป็นเขื่อนและเป็นอ่างเก็บน้ำตามธรรมชาติ ที่มีนับร้อยๆ แห่ง นับตั้งแต่ อ.พิบูลมังสาหารลงไปจนถึงปากแม่น้ำมูล ดังนั้น แม่น้ำมูลจึงไม่เคยแห้ง และไม่เคยมีบันทึกใดที่ระบุว่าแม่น้ำมูลแห้ง เมื่อน้ำในแม่น้ำมูลเริ่มลดระดับลง ตั้งแต่เดือนธันวาคม จะมีวัฒนธรรมที่สำคัญของชาวบ้านในท้องถิ่นนี้ที่สำคัญคือ “การลวงปลา” หรือการรวมกลุ่มเพื่อจับปลาครั้งใหญ่ การศึกษาของ ม.อุบล พบว่า ปัจจัยด้านระบบนิเวศประมง “ลวงปลา” เป็นตัวกำหนดอัตลักษณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้คนแถบนี้ให้เป็นชาวประมงมาก กว่าเป็นชาวนา การ “ลวงปลา” เป็นพื้นที่ทางสังคมที่สะท้อนโลกทัศน์ ระบบความคิด ความรู้และความเข้าใจอันซับซ้อนของชาวบ้านที่มีต่อธรรมชาติแวดล้อมอันเนื่อง จากความสัมพันธ์ของชาวบ้านกับระบบนิเวศของแม่น้ำมูล

ประเด็นก็คือว่า เราไม่สามารถพัฒนาพื้นที่ทุกๆ แห่งในชนบทให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมแบบเดียวกันได้ทั้งประเทศ แต่ละพื้นที่ เหมาะที่จะพัฒนาไปตามความเหมาะสมของสภาพนิเวศของท้องถิ่นนั้นๆ และรัฐ ก็ต้องไม่ยัดเยียดการพัฒนาใดๆ ที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน พวกเขาต้องมีสิทธิที่จะกำหนดชะตากรรมของตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรีแห่งความ เป็นมนุษย์

4. ถ้าเลิกใช้เขื่อนปากมูลแล้ว จะมีปัญหาต่อการผลิตไฟฟ้าของประเทศหรือไม่
วัตถุประสงค์ของการสร้างเขื่อนฯ ที่สำคัญ คือ การรักษาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าในภาคอีสานตอนล่าง ผลการวิเคราะห์ของ ม.อุบลฯ(2545) และ คณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูลชุดปัจจุบัน ได้ผลสอดคล้องว่า “ในกรณีที่โรงไฟฟ้าเขื่อนปากมูลถูกตัดออกจากระบบ เพียงโรงเดียว ระบบการส่งจ่ายไฟฟ้าในปัจจุบันจะยังมีความสามารถในการรักษาเสถียรภาพของระบบ ได้ดี  แต่หากกรณีที่โรงไฟฟ้าเขื่อนปากมูล และโรงไฟฟ้าเขื่อนห้วยเฮาะ ถูกตัดออกจากระบบพร้อมกัน มีความเป็นไปได้ว่าระบบจะมีปัญหาด้านการรักษาเสถียรภาพของปริมาณไฟฟ้าในช่วง เวลาหกโมงเย็นถึงสองทุ่มของวันระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนของปี ซึ่งอาจเกิดสภาพกระแสไฟตกในแถบพื้นที่ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีส่งจ่ายไฟฟ้าใน บางพื้นที่เพียงชั่วคราว” (รายงานคณะอนุกรรมการรวบรวมงานวิจัยฯ 2553)

งานวิจัยทั้งสองชิ้นได้ชี้ชัดว่า ศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าของเขื่อนปากมูลนับว่ายังน้อยมากเมื่อเทียบกับศักยภาพ ของปริมาณไฟฟ้าจากเขื่องห้วยเฮาะ ปัญหาเขื่อนปากมูลจึงไม่ใช่ปัญหาปริมาณไฟฟ้า แต่เป็นปัญหาเรื่องเสถียรภาพ(ในบางวันและบางเวลา) โดย กฟผ.สามารถดำเนินการเร่งก่อสร้างสายส่งไฟฟ้า เพื่อให้สามารถรองรับการส่งกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนน้ำเทิน 2 (ประเทศลาว) ได้ และยังสามารถปรับแก้สัญญาการซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนห้วยเฮาะ(ประเทศลาว) ให้สอดคล้องกับความต้องการการใช้ไฟฟ้าได้

นอกจากนั้น การศึกษาฯยังพบว่า การผลิตไฟฟ้าตลอดทั้งปีของเขื่อนฯ เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว กฟผ.มีกำไร 99 ล้านบาท ขณะที่รายได้รวมของครัวเรือนประมงลดลง 140 ล้านบาทต่อปี ยังไม่นับต้นทุนอื่นๆ ที่รัฐต้องใช้ในการจัดทำโครงการพัฒนาต่างๆ จำนวนมาก ตลอดจนความเสียหายที่เกิดกับระบบนิเวศ และชุมชนที่ไม่อาจประเมินเป็นตัวเลขได้


5. แต่ชาวบ้านได้รับค่าชดเชยและความช่วยเหลือต่างๆ จากรัฐไปมากแล้ว ควรหยุดเรียกร้องสักที

ในระหว่างการก่อสร้างเขื่อนปากมูล ในปี 2537 ชาวบ้านได้รับค่าชดเชยการสูญเสียที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และอาชีพประมง สิ่งที่พวกเขาได้รับไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นค่าชดเชย เพราะเป็นจำนวนเงินที่น้อยมากเมื่อเทียบกับที่พวกเขาต้องสูญเสีย ตัวอย่างเช่น รัฐให้ค่าสูญเสียอาชีพประมงครัวเรือนละเก้าหมื่นบาท ถ้าคิดกลับกันว่า รัฐจ้างให้ใครก็ตามเป็น วิศวกร นักบัญชี แพทย์ ฯลฯ เลิกทำอาชีพดังกล่าวตลอดชีวิต แล้วให้ไปหาอาชีพใหม่ ห้ามทำอาชีพเดิม โดยให้เงินทุนในการเริ่มต้นเก้าหมื่นบาท ซึ่งเป็นไปไม่ได้และไร้เหตุผลโดยสิ้นเชิง ยังไม่นับว่าพวกเขาเป็นชาวบ้าน ทำอาชีพประมงมาตลอดชีวิต ไม่มีความรู้อื่นที่จะปรับตัวได้ นอกจากการขายแรงงาน การคิดว่าการจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวคุ้มค่ากับการสูญเสียของพวกเขา จึงเป็นความคิดที่อำมหิต ที่ขาดเมตตาธรรมและความยุติธรรมอย่างยิ่ง

ถ้าเลือกได้ พวกเขาต้องการแม่น้ำของพวกเขากลับคืนมา มากกว่าเศษเงินเหล่านั้น สังคมชอบสอนให้ “หัดตกปลา” มากกว่า “ให้ปลา” ไม่ใช่หรือ


6. ก็ไหนๆ เขื่อนก็ถูกสร้างไปแล้ว เพื่อความสมานฉันท์ และประโยชน์ของทุกฝ่าย เปิดบ้างปิดบ้างได้ไหม

สังคมควรแก้ปัญหาด้วยความรู้ ไม่ใช่แก้ปัญหาด้วยการประนีประนอมโดยไม่มีเหตุผล การศึกษาทั้งในอดีตและปัจจุบัน ตอกย้ำให้เห็นถึงการได้ไม่คุ้มเสียในทุกด้านของการสร้างเขื่อน แล้วเราจะดันทุรังให้ใช้ประโยชน์ต่อไป เพื่ออะไร ถ้าปล่อยให้ความไม่เป็นธรรมเหล่านี้ดำรงอยู่ต่อไป โดยยอมแลกกับการสูญเสียวิถีชีวิตทั้งชีวิต ทั้งครัวเรือน ทั้งชุมชน ของชาวบ้านจำนวนมาก สังคมที่อารยะแล้ว จะทนให้พฤติกรรมเหล่านี้เกิดกับเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตายในสังคมเดียวกันได้ หรือ


7. ถ้ายอมทำตามข้อเรียกร้องของชาวบ้าน ก็จะทำให้รัฐต้องทำแบบเดียวกันกับเขื่อนทั่วประเทศ แล้วนี่จะไม่ยุ่งไปกันใหญ่หรือ

นี่ ไม่ใช่ความผิดของใครคนใดคนหนึ่ง และไม่ใช่เรื่องที่จะโทษว่าเป็นความผิดของรัฐบาลปัจจุบันหรือแม้แต่รัฐบาลใน อดีต ทั้งหมดนี้เป็นผลจากกระแสการพัฒนาที่เน้นเชิงปริมาณ และละเลยผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา ประวัติศาสตร์ของประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็เผชิญกับความขัดแย้งของการแย่งชิงทรัพยากร จนในท้ายที่สุดเมื่อสังคมเรียนรู้จักความขัดแย้งที่รุนแรงเหล่านั้น จึงมีข้อตกลงที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย สังคมจึงควรเรียนรู้และพัฒนาความรู้ในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างพอดี และเป็นธรรม ยอมรับที่จะเปลี่ยนแปลงในเรื่องที่ผิดพลาดในอดีต คนเยอรมันและคนญี่ปุ่นปัจจุบัน สำนึกเสียใจกับการกระทำของบรรพบุรุษของตน ที่ก่อสงครามเมื่อกว่าหกสิบปีที่แล้ว กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ทั้งสองชาติประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศ สังคมไทยจึงควรเรียนรู้จักความผิดพลาด และใช้ประโยชน์จากความผิดพลาด เพื่อความสุขของคนในสังคมทั้งปัจจุบันและอนาคต

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อภิสิทธิ์รับถือสองสัญชาติไทย-อังกฤษ ยันไม่ได้จ้างทหาร-ตำรวจมาทำร้ายคนไทย

Posted: 24 Feb 2011 02:56 AM PST

ประชุมสภาแสดงผลการดำเนินงาน ครม. “อภิสิทธิ์” แจงใช้งบเป็นเบี้ยเลี้ยงให้ทหาร-ตำรวจดูแลความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่มาชุมนุม ไม่ได้จ้างมาทำร้ายคนไทย ส่วนเรื่องที่ “จตุพร” ปูดเรื่องสัญชาติ เพราะต้องการนำคดีขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ ไม่ได้เป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์บ้านเมือง รับถือสัญชาติอังกฤษด้วย ลั่นพร้อมสละสัญชาติอังกฤษ แต่เกรงจะถูกกล่าวหาว่าหนีคดี

วันนี้ (24 ก.พ. 54) ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณารายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ปีที่ 1 (วันที่ 30 ธ.ค. 2551 ถึงวันที่ 30 ธ.ค. 2552)
 

จตุพรอัดรัฐบาลส่งรายงานล่าช้า ต้องส่งปี 52 แต่แสดงปี 54
นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า รัฐบาลได้นำเสนอรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรี ล่าช้าไม่ทันกับสถานการณ์เนื่องจากรายงานดังกล่าวสิ้นสุดเพียงปี 2552 ทั้งที่ตอนนี้เป็นปี 2554 แล้วทำให้ไม่เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

นายจตุพรกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาของรัฐบาลที่ผ่านมาในทุกๆ ด้านถือว่าล้มเหลวโดยเฉพาะเรื่องการเมืองเพราะรัฐบาลได้เข้าสลายการชุมนุมของประชาชนทั้งในปี 2552 และปี 2553 ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก จึงอยากสอบถามว่ารัฐบาลได้ใช้งบประมาณในการดำเนินการดังกล่าวไปจำนวนเท่าไหร่


อัดรัฐบาลไม่จัดการ “วิกิลีกส์ - เปรม - สิทธิ – อานันท์” และไม่แสดงจุดยืนต่อสหรัฐ

นายจตุพร กล่าวว่า ได้มีเว็บไซต์การ์เดี้ยนไปเอาข้อความจากเว็บไซต์วิกิลีกส์ ซึ่งมีเนื้อหาการสนทนาระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และ พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี ไปพูดกับนายอีริค จี จอห์น อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย มีถ้อยคำเข้าข่ายประทุษร้ายต่อองค์รัชทายาท ชนิดรับฟังไม่ได้ พวกตนก็ไปยื่นหนังสือกับนายกรัฐมนตรี แต่ก็ไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ ทั้งๆ ที่อ้างว่าตัวเองเทิดทูนสถาบัน

นายจตุพร กล่าวต่อว่า นอกจากไม่ดำเนินคดีแล้วก็ไม่ทำเรื่องประท้วงไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เรื่องแนวนโยบายความมั่นคงแห่งรัฐที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ หากมีแต่ตัวหนังสือพูดเอาสวยหรูไม่มีประโยชน์อะไร เพราะหากตัวท่านไม่เป็นแบบอย่างจัดการคนที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ พวกท่านหมิ่นได้ เปรียบเทียบกรณีดา ตอร์ปิโด กับนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ แต่ทำไม 3 คนนี้มากล่าวประทุษร้ายต่อองค์รัชทายาทได้ แล้วทำไมทำไม่รู้ไม่เห็น วอลเปเปอร์ไม่บอกท่านเลยหรืออย่างไร หรือว่าเห็นแล้วทำอะไรไม่ถูก กลายเป็นพวกตัวเองโอละพ่อ เรื่องนี้เราเอามาใช้เป็นเกมทางการเมืองไม่ได้ พวกตนเจ็บปวดมาก่อน ถูกใส่ร้ายเกือบทุกวัน แต่พอคนของตัวเองทำความผิดบ้างกลับทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทำไมนายกฯ ไม่จัดการกับเว็บไซต์ดังกล่าว ไม่แสดงจุดยืนต่อประเทศสหรัฐฯ และทำไมไม่จัดการกับ 3 คนดังกล่าว


ท้าอภิสิทธิ์ถ้าไม่ได้ถือสัญชาติอังกฤษ ให้นำใบสละสัญชาติมาแสดง

เขากล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกันเรื่องสัญชาติของนายอภิสิทธิ์ก็เป็นปัญหาเพราะคนเสื้อแดงต้องการให้นายกฯ ขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่ไม่มีช่องทางดำเนินการได้เพราะรัฐบาลไทยไม่ได้เป็นภาคีดังกล่าว ซึ่งตอนนี้หลักฐานว่านายกฯ มีสองสัญชาติระหว่างไทยกับอังกฤษที่จะทำให้นายอภิสิทธิ์ขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศได้ โดยในสูติบัตรระบุว่า นายอภิสิทธิ์เกิดเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 1964 หรือ พ.ศ. 2507 ซึ่งอังกฤษถือว่าคนที่เกิดในอังกฤษก่อน พ.ศ. 2526 มีสัญชาติอังกฤษ และต้องมีสัญชาติอังกฤษไปตลอดชีวิต หากนายอภิสิทธิ์ยืนยันว่าสละสัญชาติอังกฤษ มาถือสัญชาติไทยแล้ว ต้องเอาใบสละสัญชาติมาแสดง

"ถ้านายอภิสิทธิ์ไม่ได้ถือสัญชาติอังกฤษ ก็ต้องนำใบสละสัญชาติมาแสดง นายอภิสิทธิ์มีสัญชาติไทยได้ เพราะมีพ่อแม่เป็นคนไทย นายอภิสิทธิ์มีสัญชาติอังกฤษได้เพราะเกิดที่นิวคาสเซิล ดังนั้นนายอภิสิทธิ์เป็นคน 2 สัญชาติ" นายจตุพรกล่าว


ส.ส.เพื่อไทยแจกควายให้ ส.ส.ปชป.

ทั้งนี้ระหว่างการอภิปรายของนายจตุพรอภิปรายเรื่องสัญชาตินายกฯปรากฏว่า ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์นำโดยนายประมวล เอมเปีย ส.ส.ชลบุรี ได้ลุกขึ้นประท้วงให้นายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภาฯ ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุมให้นายจตุพรยุติการอภิปรายเรื่องดังกล่าวเนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับการรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล

โดยระหว่างนี้นายสุชาติ ลายน้ำเงิน สส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ได้ตะโกนสวนกลับมาต่อว่านายประมวลว่า "ควาย" จากนั้นให้รัฐบาลชี้แจงการอภิปรายของนายจตุพร


อภิสิทธิ์แจงใช้งบเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย ไม่ได้จ้างเจ้าหน้าที่มาทำร้ายคนไทย

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า งบประมาณในการใช้ควบคุมการชุมนุมที่ผ่านมาทั้งหมดใช้ไปกับเบี้ยเลี้ยงของกำลังพลทั้งทหารและตำรวจเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่มาชุมนุมแต่ละครั้ง และไม่เคยใช้งบประมาณจ้างเจ้าหน้าที่ทำร้ายประชาชนคนไทยด้วยกัน


ยันถือสัญชาติไทยเพราะขอวีซ่าทุกครั้ง ลั่นพร้อมสละสัญชาติอังกฤษ

นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนตัวยึดถือสัญชาติไทยมาโดยตลอด เห็นได้จากการเดินทางไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งทางครอบครัวก็ออกค่าใช้จ่ายเอง รวมถึงการขอวีซ่าทุกครั้งที่เดินทางไปอังกฤษ นอกจากนี้ ได้สอบถามนักกฎหมายและมีการส่งเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตรวจสอบว่าขัดกับกฎหมายหรือไม่ซึ่งได้รับการชี้แจงว่าเรื่องดังกล่าวไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม พร้อมสละสัญชาติอังกฤษแต่เกรงว่าจะถูกกล่าวหาว่าหนีคดีดังกล่าว

“การที่ท่านพยายามเดินหน้าในเรื่องนี้ เป็นเพราะต้องการนำคดีการสลายการชุมนุมทางการเมืองขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศ ไม่ได้เป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของบ้านเมืองอย่างแท้จริง” นายอภิสิทธิ์ กล่าว


กรณีวิกิลีกส์ แจ้งสหรัฐฯ ไปแล้วว่ามีความห่วงใย เพราะกระทบไทย

ส่วนกรณีเว็บไซต์วิกิลีกส์ที่มีการสนทนาพาดพิงถึงสถาบันฯ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ได้ส่งเรื่องให้ สตช.ไปดำเนินการตามกฎหมาย แต่ไม่มีหน้าที่ไปบอกว่าคนนั้นผิด ต้องสั่งฟ้องคนนี้ไม่ใช่หน้าที่ตน แต่เมื่อมีการร้องขึ้นมาตนก็ส่งข้อมูลให้หน่วยงานไปดำเนินการ เรื่องเว็บไซต์ต่างๆ ตนก็ได้ระมัดระวัง ถ้าเป็นลักษณะการละเมิดกฎหมายก็ให้ดำเนินการ ส่วนกระทรวงการต่างประเทศกับสหรัฐฯ ก็มีการพูดกัน เพราะการแจ้งสหรัฐฯ กับการดำเนินการต่อนั้น เอกสารที่เว็บไซต์วิกิลีกส์เอาออกไปไม่ใช่เอกสารของไทย สหรัฐฯ ก็ไม่ยืนยัน แต่เราแจ้งไปว่าห่วงใยเพราะกระทบถึงประเทศไทย

ที่มา: เรียบเรียงจาก สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที, มติชนออนไลน์, ผู้จัดการออนไลน์ และโพสต์ทูเดย์
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สมัชชาคนจน หนุนข้อเรียกร้องชาวบ้านที่ลานพระรูปฯ จี้ รบ.เร่งแก้ปัญหา

Posted: 24 Feb 2011 01:51 AM PST

เมื่อวันที่ 22 ก.พ. ที่ผ่านมา สมัชชาคนจน ออกแถลงการณ์สนับสนุนการเคลื่อนไหวของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ พีมูฟ ซึ่งชุมนุมอยู่ที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า กรุงเทพฯ ในขณะนี้

 

แถลงการณ์สมัชชาคนจน
“รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม”

 

ตามที่พี่น้องเครือข่ายคนจนจากทั่วประเทศซึ่งรวมกลุ่มกันในนาม “ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม” ได้เดินทางมาปักหลักชุมนุมเพื่อเรียกร้องการแก้ไขปัญหาอยู่ในขณะนี้ที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า

สมัชชาคนจนมีจุดยืนเห็นด้วยกับการต่อสู้ของพี่น้องคนจนที่ถูกละเมิดสิทธิ ถูกเอารัดเอาเปรียบเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมตามประเด็นข้อเรียกร้องของ “ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม” และสนับสนุนแนวทางการต่อสู้และข้อเรียกร้อง

สมัชชาคนจนเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งรัดดำเนินการตามกรอบหลักการและแนวทางการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ที่ได้เสนอต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไปแล้ว

สำหรับพี่น้อง “ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม” สมัชชาคนจนขอยืนยันความสมานฉันท์ในหมู่พี่น้องคนจนและจะสนับสนุนการต่อสู้ของท่านต่อไป

 

ด้วยความสมานฉันท์

สมัชชาคนจน
22 กุมภาพันธ์ 2554
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กวีตีนแดง: พร่ำเพ้อถึงเสรีภาพในดินแดนแห่งความตอแหล

Posted: 24 Feb 2011 12:10 AM PST

 

1
เสรีภาพหนีหายไป
เมื่อความตอแหลแห่งชาติทำงาน
มันควบคุมทุกสรรพสิ่ง
ทั้งผู้คน สัตว์ และดิน ฟ้า อากาศ
พวกมันต่างพากันตอแหลกันถ้วนหน้า
นับจากวันที่ความตอแหลไม่ได้อยู่เพียงแต่ในจอแก้ว
มันหาที่สิงสถิตใหม่
ในคราบของปัญญาชน สื่อมวลชน ศิลปิน กวี ราษฎรอาวุโส ปราชญ์ชาวบ้าน
ดารา คนกรุงเทพ ราชนิกูล ผู้ดีไฮโซเหล่านั้น
ทุกผู้คนต่างแข่งขันกันตอแหลระดับอภิมหาเมพขิงๆ
ตอแหลเพื่อ…?

2
เสรีภาพก้มหน้าร้องไห้
ไม่มีพื้นที่เหลือสำหรับความจริงบนดินแดนนี้
มันจึงหลั่งน้ำตาแด่เธอและเขา...
หนุ่มสาวผู้หยัดทะนงต่อสัจจะ
พวกเขาต่างทยอยสูญเสียเสรีภาพแก่คุก
แต่เสรีภาพหาได้สูญเสียพวกเขาไปไม่
คนทั้งประเทศอาจตอแหลเพราะความกลัว
แน่นอน...ด้วยความตอแหลของกระบวนการยุติธรรม
เสรีภาพจึงถูกถวายเป็นสักการะ18 ปี
หนุ่มสาวมากมายทยอยเดินทางสู่ที่คุมขัง
ปิดปาก ปิดความคิดเห็น เพื่อธำรงความดีงามและเกียรติยศของเขา
หุบปากเพื่อ...?
 

3
ลอร์ดแห่งความตอแหล
ช่ำชองยิ่งในการสร้างภาพ
ทุกหลุมที่ขุดดักเสรีชนไว้ทำงานได้อย่างดี
เปลี่ยนสมองประชาชนให้โง่เหมือนลา
และจิตใจด้านชาเหมือนเขาผู้ไม่เคยยิ้มออก!
ประเทศนี้ไม่ต้องการรอยหยักของสมองเท่าฟองน้ำลายที่มุมปาก
น้ำลายแห่งความตอแหลและสอพลอเพื่อ...?

4
112 เครื่องมือกดขี่อย่างสมบูรณ์แห่งราชอาณาจักร
ความรักที่มิอาจถูกตรวจสอบ
ประชาไพร่จึงน้อมนอบเสียยิ่งกว่ายุคสมัยแห่งการหมอบคลานอย่างเป็นทางการ
ยุคสมัยที่ความหมายของถ้อยคำถูกบิดเบือน
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข!
บลา บลา บลา
มันจะต่างอะไรกับถ้อยคำที่แตกต่างระหว่างการมีชู้กับการมีกิ๊ก
เมื่อความหมายนั้นมันพร่าเลือนไป
เสรีภาพและการกดขี่จึงสมสู่เป็นเนื้อเดียวกัน
และออกลูกแพร่พันธุ์ไปทั่วดินแดน
โอ้...คารวะแด่ความตอแหล
ณ ดินแดนก้องนาม “ตอแหลแลนด์”.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มหาเศรษฐีพม่าติดอยู่บนเขาหิมะในรัฐคะฉิ่น ล่าสุดเจ้าหน้าที่กู้ภัยช่วยเหลือได้แล้ว

Posted: 23 Feb 2011 11:11 PM PST

ทีมกู้ภัยพม่าระดมช่วยชีวิต "เตซา" นักธุรกิจใกล้ชิดกับผู้นำรัฐบาลทหาร ซึ่งติดอยู่บนภูเขาหิมะ ที่รัฐคะฉิ่น หลังจากเตซานั่ง ฮ. สำรวจความเป็นไปได้ในการพัฒนาเรื่องการท่องเที่ยว ล่าสุด สามารถช่วยชีวิตเตซาและคณะรวมทั้งนักบินได้แล้ว

ทีมกู้ภัยพม่าใช้เวลากว่า 4 วัน เพื่อค้นหานายเตซา (Tay Za) นักธุรกิจชื่อดังผู้ซึ่งมีความใกล้ชิดกับผู้นำรัฐบาลพม่า พร้อมด้วยคณะเดินทางอีก 6 - 8 คน ที่ติดค้างอยู่บนภูเขาหิมะฟูกันราซี ใกล้เมืองพุเตา รัฐคะฉิ่น

ทั้งนี้ เฮลิคอปเตอร์ของนายเตซาต้องลงจอดฉุกเฉินบนภูเขาดังกล่าว ตั้งแต่วันจันทร์ (21 ก.พ.) ที่ผ่านมา หลังจากที่เผชิญกับสภาพอากาศที่เลวร้าย โดยมีรายงานว่าเขาเดินทางไปที่บริเวณดังกล่าวเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ในการพัฒนาเรื่องการท่องเที่ยว

ขณะที่ทางการพม่าเริ่มแสดงความเป็นห่วงนายเตซาและคณะ เนื่องจากสภาพอากาศบนภูเขาโพน คาน ราชี มีอุณหภูมิติดลบถึง 15 องศาเซลเซียส และคณะของนายเตซาก็ติดอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวมาหลายวันแล้ว โดยทีมกู้ภัยและทีมค้นหาของพม่าจะเร่งค้นหานายเตซาและคณะต่อไป

มีรายงานว่า นายเตซาเดินทางเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ในการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยนายเตซา ถือเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดอีกคนหนึ่งในพม่า เป็นทั้งเจ้าของสายการบินแอร์บะกาน บริษัท ตู เทรดดิ้ง (Htoo Trading) และยังเป็นเจ้าของบริษัทที่ให้บริการด้านการติดต่อสื่อสารในพม่า

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจของนายเตซาได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก ทั้งจากสหรัฐและประเทศในยุโรป ในฐานะที่เขาเป็นนักธุรกิจที่มีความใกล้ชิดและช่วยเหลือรัฐบาลพม่า และนับตั้งแต่มีการปราบปรามกลุ่มประท้วงรัฐบาลพม่าเมื่อปี 2550 รัฐบาลสหรัฐได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรกับสมาชิกครอบครัวของนายเตซาด้วย

ล่าสุด อิระวดี รายงานว่า เมื่อเช้าวันนี้ (24 ก.พ.) ทีมกู้ภัยได้เข้าช่วยเหลือเตซาและคณะอีก 6 คนได้แล้ว ซึ่งในจำนวนนี้มีพลขับเฮลิคอปเตอร์ด้วย

ที่มา: Mizzima/Irrawaddy 23 ก.พ.54 และ 24 ก.พ. 54
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พธม. เตรียมหารือแนวทางการชุมนุม เชื่ออาเซียนแทรกแซงกิจการภายใน ไทยเสียดินแดนแล้ว

Posted: 23 Feb 2011 10:04 PM PST

โฆษกพันธมิตรเชื่อสถานการณ์การชุมนุมขณะนี้เข้าสู่การเสียอธิปไตยเหนือดินแดนแล้ว เหลือเพียงการทวงคืนทั้งเขาพระวิหาร ภูมะเขือ และอื่นๆ ชี้มีต่างชาติเข้ามาแทกรแซงกิจการภายในแล้ว โดยเตรียมหารือในวันพรุ่งนี้เรื่องแนวทางการต่อสู้

เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ รายงานเมื่อวันที่ 23 ก.พ. ว่า นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวในการแถลงข่าวประจำวันต่อสื่อมวลชนว่า สถานการณ์ขณะนี้กำลังเข้าสู่การสูญเสียอธิปไตยเหนือดินแดนในทางปฏิบัติตามที่พันธมิตรฯพยายามกล่าวเตือนจริงๆ แล้ว โดยท่าทีของนายฮอร์ นัม ฮง รมว.ต่างประเทศกัมพูชา ให้รัฐสภาไทยผ่านร่างบันทึกผลการประชุมคณะกรรมาธิการ เขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ทั้ง 3 ฉบับ ซึ่งเป็นผลร้ายต่อประเทศไทย ทั้งคำปราศัยของ นายวาร์ คิม ฮง ประธาน JBC ฝ่ายกัมพูชา ใส่ร้ายว่า ไทยรุกรานดินแดนกัมพูชาตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน และการที่ระบุว่า ทหารไทยและกัมพูชาต้องออกจากพื้นที่วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ซึ่งเป็นพื้นที่ของไทย รวมทั้งยังเป็นการเดินหน้ารับรองแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ผ่าน MOU 2543 และแผนแม่บทข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ในการสำรวจเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (TOR 2546)

“ทำให้บัดนี้การชุมนุมได้เข้าสู่สถานการณ์การสูญเสียอธิปไตยเหนือดินแดน ในทางปฏิบัติอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงการทวงคืนกลับไม่ว่าจะเป็นที่เขาพระวิหาร หรือที่ภูมะเขือ และพื้นที่อื่นๆ ด้วย” นายปานเทพ กล่าว

นายปานเทพยังกล่าวว่า การที่ทหารอินโดนีเซียจะเข้ามาสังเกตการณ์การปะทะทั้งใน ฝั่งไทยและกัมพูชา ฝั่งละ 12 นาย เป็นหลักประกันให้กัมพูชา เชื่อมั่นว่า จะไม่มีการผลักดันกองกำลังกัมพูชาออกจากแผ่นดินอีกแล้ว ปัญหาที่ตามมา คือ ทหาร 12 คนที่จะไปสังเกตการณ์ในฝั่งกัม พูชานั้น จะอยู่ในพื้นที่ใด ระหว่างตีนเขาในฝั่งกัมพูชา หรือยอดเขาพระวิหาร และภูมะเขือ ที่เป็นดินแดนประเทศไทย หากอยู่ในพื้นที่ยอดเขาที่ว่าแล้วบอกว่าเป็นพื้นที่ของกัมพูชา จะเป็นการตอกย้ำให้ประเทศที่ 3 รับรองว่า พื้นที่เหล่านั้นเป็นของกัมพูชาทั้งสิ้น เป็นการตอกย้ำก้าวไปอีกขั้นว่า เขตทั้งหมดเป็นของกัมพูชาแล้ว หรือหากทหารอินโดนีเซียไปอยู่ในฝั่งกัมพูชา ซึ่งก็คือตีนเขา จะไม่สามารถเห็นได้เลยว่าใครเป็นฝ่ายยิงก่อน ดังนั้น จึงต้องมาอยู่ในดินแดนไทย ทำให้เราเสียเปรียบในเวทีระหว่างประเทศ สถานการณ์จะยากขึ้นไปอีก

นายปานเทพ เปิดเผยว่า เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปเช่นนี้ คณะกรรมการรวมพลังปกป้องแผ่นดินจะมีการประชุมเพื่อพิจารณาเพิ่มเติมว่า สถานการณ์ตอนนี้ไม่ใช่การเรียกร้องปกติต่อไป เพราะมีการเสียดินแดนอย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา รวมทั้งแนวทางการต่อสู้ทางคดีความ ซึ่งยังไม่ได้กำหนดนัดหมาย แต่จะเร่งให้มีการประชุมอย่างเร่งด่วน เพราะสถานการณ์เปลี่ยนไปจากเดิมมาก คือ การที่มีต่างประเทศเข้ามายุ่งเกี่ยว โดยไม่ใช่ในฐานะผู้รับฟังเท่านั้น แต่เป็นผู้รายงานสถานการณ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อไม่ให้มีการปะทะ โดยไม่กล่าวถึงการที่กัมพูชายึดครองแผ่นดินไทยอยู่ รวมไปถึงขณะนี้มีการหยุดยิงในทางปฏิบัติ โดยที่กัมพูชาก็ยังยึดครองดินแดนไทยอยู่ นอกจากการสูญเสียดินแดนทางพฤตินัยแล้ว ยังมีต่างชาติเข้ามาแทรกแซงกิจการภายใน ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ MOU 2543

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการเคลื่อนไหวเพื่อกดดัน หรือประท้วงทางอินโดนีเซียหรือไม่ นายปานเทพ กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจากฝ่ายไทยเอง เพราะอินโดนีเซียเข้ามาโดยมติของอาเซียน โดยที่ไทยไม่เคยยืนหยัดเส้นเขตแดนของตัวเอง มีแต่ฝ่ายกัมพูชาที่อ้างสิทธิว่าพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในฝั่งกัมพูชา ทำให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) และอาเซียน มองว่าไทยรุกรานกัมพูชาอยู่ ทำให้ไทยไม่สามารถใช้สิทธิตามกฎบัตรสหประชาชาติ และกฎบัตรอาเซียนว่า ไม่สามารถเข้ามาแทรกแซงกิจการของประเทศไทย โดยเราสละสิทธิ์ เนื่องจากรัฐบาลเกรงว่าหากประกาศว่าเป็นพื้นที่ไทยจะต้องใช้กำลังผลักดัน หรือไม่สามารถเถียงได้ว่า MOU 2543 หมายถึงแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนเมื่อผนวกกับคำบรรยายคำพิพากษาศาลโลก หรือรัฐบาลไทยไปสมรู้ร่วมคิด ไม่ต่อสู้ในสาระสำคัญ ไปหยุดยิงโดยที่กัมทพูชาอยู่ในแผ่นดินโดยไม่กำหนดระยะเวลา เรื่องนี้จึงไม่ได้อยู่ที่ภาคประชาชนแต่อยู่ที่รัฐบาลที่ต้องกำหนดท่าทีที่ชัดเจน

โฆษกพันธมิตรฯ กล่าวว่า วันนี้ต้องไปถามนายกฯอภิสิทธิ์ ว่า หากใช้เงื่อนไขการปักปันเขตแดนให้แล้วเสร็จตาม JBC แล้วกัมพูชาไม่ยอมตกลง โดยยึดครองดินแดนไทยอยู่เป็นร้อยๆ ปี นายกฯอภิสิทธิ์ จะแก้ไขอย่างไร เพราะในทางปฏิบัติเราได้สูญเสียไปแล้ว ปัญหาอยู่นายกฯอภิสิทธิ์จะทวงคืนอย่างไร ที่ผ่านมา นายกฯ อภิสิทธิ์ ยืนยันว่า ขอบหน้าผา คือ สันปันน้ำ แต่เหตุใดปล่อยให้กัมพูชารุกเข้ามายึดครองอยู่อย่างนี้ ซึ่งก็ไม่มีคำตอบจากนายกฯอภิสิทธิ์

ส่วนการที่คณะรัฐมนตรีประกาศใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ความมั่นคง นายปานเทพกล่าวว่า ในวันที่ 24 ก.พ. เวลา 09.00 น.ตนจะไปยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง เอาผิด นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร.ในฐานะ ผอ.ศูนย์อำนายการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ที่ได้ประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีความผิดในหลายขั้นตอน ตลอดจนการออกหมายเรียก โดยก่อนหน้านี้ นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แกนนำเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ได้ยื่นคำร้องเพื่อให้คณะรัฐมนตรีเพิกถอน พ.ร.บ.ความมั่นคง ไว้แล้ว โดยศาลจะมีการพิจารณาในวันที่ 24 ก.พ.นี้ ซึ่งตนเห็นว่าเป็นเรื่องเดียวกัน และเป็นกรณีเร่งด่วน จึงยื่นฟ้องเพื่อให้ศาลพิจารณารวมเป็นคดีเดียวกัน หรือพิจารณาในคราวเดียวกัน เนื่องจากกรณีของตนเป็นผู้เสียหายโดยตรงที่ได้ถูกออกหมายเรียกแล้ว ต่างจากรณีของ นายไชยวัฒน์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องนี้

นายปานเทพ เปิดเผยด้วยว่า และในเวลา 15.00 น.พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ จะไปยื่นหนังสือถึง พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร.ต่อกรณีที่มีการกล่าวร้ายยัดเยียดข้อหาหัวหน้าคณะผู้ก่อการร้ายแก่ พล.ต.จำลอง ซึ่งสร้างความเสียหายต่อตัว พล.ต.จำลอง โดยการยื่นหนังสือครั้งนี้เพื่อดูปฏิกิริยาอย่างไร หากยังเพิกเฉยก็ต้องรับผิดชอบในขั้นตอนทางกฎหมายเช่นเดียวกัน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลเรียกตัวบริษัทจัดส่งคนไทยไปทำงานสเปนไกล่เกลี่ยคนงาน 21 เม.ย. นี้

Posted: 23 Feb 2011 09:46 PM PST

24 ก.พ. 54 - ความคืบหน้ากรณีบริษัทจัดส่งคนไทยไปทำงานสเปนเมื่อปี 2552 แล้วถูกส่งตัวกลับมายังประเทศไทยเนื่องจากไม่มีงาน โดยเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 54 ที่ผ่านมา ศาลแรงงานมีคำสั่งผู้บริหารของบริษัทจัดหางานมาไกล่เกลี่ยชดใช้ค่าเสียหายให้กับคนงานทั้ง 2 คนที่ดำเนินการฟ้องในวันที่ 21 เม.ย. ที่จะถึงนี้

อนึ่งในเดือนพฤศจิกายน 2552 เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการทำงานในต่างประเทศ (ภายใต้โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย) ได้รับแจ้งข้อมูลทางโทรศัพท์เกี่ยวกับสถานการณ์ของ คนงานไทย 19 คน ซึ่งทำงานในไร่มะเขือเทศที่สเปน หลังจากทำงานครบสัญญาจ้าง 1 ปี (สัญญาจ้างเริ่มเดือนมิถุนายน 2551 โดยสัญญาจ้างระบุว่าจะมีงานให้ทำ 5 ปี) คนงานไทยทั้ง 19 คนก็ได้อยู่ต่อในสเปนเป็นเวลา 4 เดือนแล้ว โดยไม่มีงานทำ และไม่มีเงิน โดยในจดหมายที่ร้องเรียน หนึ่งในคนงานกลุ่มนี้ได้ระบุถึงวิธีการการสมัครงานมาทำงานที่สเปนดังนี้
 
“สมัครงานที่บริษัท อุดร เอ็นที ยูเนี่ยน จำกัด โดยบริษัทบอกว่าที่ประเทศสเปนงานดี เงินเดือนดี เงินเดือนขั้นต้น 60,000 – 70,000 บาท” ไม่รวมโอที และสัญญาจ้างมีระยะเวลา 5 ปี บริษัทฯ อธิบายว่า จะได้รับค่าแรงเป็นรายชั่วโมง โดยคนงานระบุว่าได้จ่ายค่าใช้จ่ายที่บริษัทฯ เรียกรับไป 580,000 บาท โดยมีการกู้ยืมจากแหล่งต่างๆ เพื่อมาเป็นค่าใช้จ่าย”
 
ทางคนงานจึงได้ทำการดำเนินคดีกับบริษัทเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 โดยคนงาน 2 คน ได้ยื่นฟ้องคนงาน บริษัท จัดหางาน อุดรเอ็นทียูเนี่ยน จำกัด กับนางนิภาพร ธนภัทรโรดม กรรมการบริษัท ให้คืนใช้ค่าใช้จ่ายและค่าบริการ 2 คน รวม 2,360,000 บาท (หมายเลขคดี 2071-2072/2553 ศาลแรงงานกลาง)
 
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“สนธิ” ท้านักวิชาการที่เชื่อเรื่องโลกไร้พรมแดน ให้ลองไปฮ่องกงโดยไม่มีวีซ่า

Posted: 23 Feb 2011 09:39 PM PST

“สนธิ ลิ้มทองกุล” เล็งทำศิลาจารึกดิจิตอลเพื่อติดชื่อ-รูป ประจานผู้ทำให้เสียดินแดน ชี้วัฒนธรรมไทยไร้พรมแดนสมัย ร.5 มีการปรับตัวเริ่มนุ่งเสื้อและใช้ช้อนกินข้าว แต่อธิปไตยของชาติไม่มีวันไร้พรมแดน และใครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพต้องถูกจัดการ


แฟ้มภาพ: ประชาไท

สนธิเล็งทำหลักศิลาจารึกดิจิตอลเพื่อติดรูป+ชื่อ ประจาน
เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 21.15 น. คืนวานนี้ (23 ก.พ.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขึ้นปราศรัยที่เวทีสะพานมัฆวานฯ กล่าวว่า จะสู้ให้ถึงที่สุด ถึงแม้ว่าเราต้องเสียดินแดนไปจริงๆ แต่ก็ถือว่าได้พิสูจน์สิ่งที่เราพูดแล้วว่าเป็นความจริง ที่เราเสียดินแดนก็เพราะเราไม่มีอำนาจที่จะไปจัดการ อย่างไรก็ตาม พันธมิตรฯ จะทำ “ศิลาจารึก 2554” เป็นศิลาจารึกรูปแบบใหม่ โดยจะทำเป็นโปสเตอร์ใส่ชื่อและรูปคนที่ทำให้ประเทศไทยเสียดินแดน ไล่ลงมาตั้งแต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รวมถึงนายพลกุนเชียง เพื่อนำไปติดตามหมู่บ้านต่างๆ ทั่วประเทศ ให้ลูกหลานจำชื่อคนขายชาติเหล่านี้เอาไว้

นอกจากนี้จะทำหนังสือเล่มเล็กๆ ใส่ข้อมูลว่าใครทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนบ้าง เริ่มตั้งแต่การทำเอ็มโอยู 2543 ซึ่งก็มีนายชวน หลีกภัย อดีตนายกฯ ที่เป็นคนลงนาม นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีต รมว.ต่างประเทศ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีต รมช.ต่างประเทศ รวมไปถึง ครม.ทุกชุดที่ลงมติ ส.ส.-ส.ว.ทุกคนที่ยกมือให้ผ่านเจบีซี เป็นต้น โดยจะมีชื่อ ภาพถ่าย ที่อยู่ของคนเหล่านั้น พิมพ์แจกทั่วประเทศ ถ้าต้องพิมพ์เป็นล้านเล่มก็จะทำ รวมทั้งนำไปขึ้นไว้บนเว็บไซต์เอเอสทีวีผู้จัดการ เป็นศิลาจารึกยุคดิจิตอล ให้อยู่ไปตลอดชั่วลูกชั่วหลาน เพื่อให้คนรุ่นหลังมาเห็นว่า บรรพบุรุษของเขามีใครบ้างที่ขายชาติ ได้รู้ว่าใครบ้างที่เป็นคนหนักแผ่นดิน และเป็นการพิสูจน์คำโกหกของนายอภิสิทธิ์และอีกหลายๆ คน ว่าพูดออกมาอย่างไร แต่ความจริงเป็นอย่างไร ให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ตลอดไป


ท้านักวิชาการที่เสนอเรื่องไร้พรมแดน ให้ลองไปฮ่องกงโดยไม่มีวีซ่า

นายสนธิได้กล่าวหา คณะนักวิชาการมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ ที่ร่วมกันทำวิจัยให้กับกระทรวงการต่างประเทศภายใต้โครงการ “การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สาธารณชน เรื่องเขตแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ผ่านสื่อสารคดี และการฝึกอบรม” ซึ่งเผยแพร่ผลงานไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยนายสนธิได้เรียกว่า “นักวิชาการ 7.1 ล้านบาท”

นายสนธิกล่าวว่า นักวิชาการพวกนี้บอกว่าทุกวันนี้เป็นโลกไร้พรมแดน ไม่มีใครสนใจเรื่องเขตแดนแล้ว แต่คำพูดของนักวิชาการเหล่านี้ไม่มีค่าใดๆ เลย เพราะคำว่าโลกไร้พรมแดนจริงๆ แล้ว เป็นการไร้พรมแดนทางวัฒนธรรม การติดต่อสื่อสาร และธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งสืบทอดมาจากยุคที่ฝรั่งออกค้นหาโลกใหม่เพื่อหาทรัพยากรและของมีค่ากลับ ไปประเทศของตนในยุโรป ดังนั้น การที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ออกเดินเรือไปขนเอาทรัพยากรจากประเทศต่างๆ กลับไปสเปน ก็ไม่ต่างจากการที่นักวาณิชธนกิจของฝรั่งนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์คอยปั่นหุ้น ในประเทศต่างๆ เพื่อเอากำไรกลับประเทศตัวเอง จะต่างกันแค่เวลาเท่านั้นโดยโคลัมบัสอาจใช้เวลา 1 ปี แต่วาณิชธนกิจสมัยใหม่ใช้เวลาไม่กี่วินาที

นายสนธิกล่าวต่อว่า การที่ฝรั่งสามารถทำเช่นนี้ได้ก็เพราะได้สร้างกติกาไว้เพื่อให้พวกเขาเข้ามา เอาทรัพยากรจากประเทศต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ให้ทุกประเทศทำระบบธนาคารให้เหมือนกัน มีการกันทุนสำรองเหมือนกัน ให้ตลาดหลักทรัพย์ทุกประเทศทำตามกติกาที่พวกเขากำหนด ซึ่งฝรั่งที่เชี่ยวชาญกว่าก็ได้เปรียบเราตั้งแต่ยกแรก ทางด้านวัฒนธรรมการกินอยู่ก็ให้มีแมคโดนัลด์เหมือนกันทุกประเทศ ดูหนังฮอลลีวูดเหมือนกันทั้งโลก ตรงนี้คือโลกที่ไร้พรมแดน โดยมีองค์ประกอบคือการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ผ่านดาวเทียม โลกไร้พรมแดนในความหมายที่แท้จริงอยู่ตรงนี้ ไม่ได้หมายถึงไร้พรมแดนทางอธิปไตยแม้แต่นิดเดียว

นายสนธิระบุว่า ถ้าไร้พรมแดนจริง ให้นักวิชาการ 7.1 ล้านบาท ลองเดินทางไปฮ่องกงโดยไม่มีวีซ่าดู เพราะฉะนั้น ตราบใดที่การเดินทางข้ามประเทศยังต้องใช้พาสปอร์ต-วีซ่า นั่นคือโลกที่ยังมีพรมแดน


สนธิชี้ไทยมีการปรับตัวสมัย ร.5 เริ่มใส่เสื้อ-ใช้ช้อนกินข้าว แต่ถ้าใครหมิ่นต้องถูกจัดการ

นายสนธิกล่าวต่อว่า ในแง่วัฒนธรรมนั้นเป็นโลกไร้พรมแดน เพราะมีการดัดแปลงวัฒนธรรมอยู่ตลอด เหมือนเมื่อก่อนที่คนไทยไม่ใส่เสื้อ แต่ในสมัยรัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 เมื่อมีฝรั่งเข้ามา เราก็เริ่มใส่เสื้อ หรือเมื่อก่อนเราใช้มือกินข้าว แต่รัชกาลที่ 5 ทรงดัดแปลงการใช้มีดกับส้อมของฝรั่ง มาให้คนไทยใช้ช้อนส้อมกินข้าว เพราะฉะนั้นโลกไร้พรมแดนคือ ไร้พรมแดนทางวัฒนธรรม การเงินการค้า ไม่ใช่ไร้พรมแดนทางอธิปไตย และอธิปไตยของชาตินั้นไม่มีวันไร้พรมแดน ของใครของมัน ใครล้ำเข้ามา ใครหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ต้องถูกจัดการ

นายสนธิกล่าวถึงการต่อสู้เพื่อปกป้องดินแดนของพันธมิตรฯ ว่า ถ้าจะเปรียบเทียบกับกรณีสมมติว่า มีป้าแก่ๆ คนหนึ่งหาบของมาขายแล้วถูกเทศกิจมากระชากเอากระจาดไป ก็จะมีคนอยู่ 2 ประเภท ประเภทแรกยืนดูอยู่เฉยๆ แล้วแค่พูดว่าไปทำอย่างนั้นทำไม กับประเภทที่ 2 ที่ทนไม่ได้แล้วออกไปช่วยป้ายื้อกระจาดเอาไว้ คนที่ออกไปช่วยป้ายื้อกระจาด ก็คือคนที่นั่งอยู่ตรงนี้


ยกอภิสิทธิ์และประชาธิปัตย์ขายชาติหนักแผ่นดินที่สุดในประวัติศาสตร์

นายสนธิกล่าวต่อว่า คนบางคนไปพูดข้างนอกว่า พวกเราสู้ไปทำไม สู้ไปก็แพ้ ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าสู้แล้วแพ้ แต่ประเด็นคือ เราทนไม่ได้ที่เห็นคนแก่โดนยึดกระจาดเราต้องออกมาช่วย ซึ่งก็คือเราทนไม่ได้ที่เราเห็นชาติกำลังจะเสียดินแดนไปต่อหน้าต่อตา นี่คือประเด็นที่ทำให้เรายึดมั่นในหลักการตรงนี้ สิ่งหนึ่งที่เราจะไม่ยอมให้เรื่องนี้จบไปง่ายๆ คือต้องทำศิลาจารึกคนหนักแผ่นดินให้ได้ โดยช่วยกันทำช่วยกันกระจายออกไป นี่คือบทเรียนทางจริยธรรมและทางประวัติศาสตร์ที่จะจารึกว่า ไม่มีชาติไหนที่จะมีคนขายชาติและหนักแผ่นดินเหมือนชาติไทยยุคที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล และมีนายอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ

“วันนี้บอกได้เลยว่า ประเทศไทยเสียดินแดนในยุคที่ประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ ที่จงใจทำให้ไทยเสียดินแดน ตรงนี้อย่าลืม เจอใครต้องเล่าให้ฟัง เจอลูกเจอหลานต้องบอก ตรงนี้คือพลานุภาพที่มหาศาล คือพลานุภาพที่รุนแรงที่สุด สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะลงมาบอกพวกเราว่าคนที่ออกมาสู้เพื่อแผ่นดินนั้นจะได้บุญ ได้กุศล ไม่ว่าจะนับถือศาสนาไหน ส่วนพวกที่ขายแผ่นดินต้องลงนรกชั่วลูกหลานและโคตรเหง้าของมัน” นายสนธิกล่าว

ที่มา: เรียบเรียงจาก เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น