ประชาไท | Prachatai3.info |
- "สุรชัย" แกนนำแดงสยามถูกรวบตัวกลางดึก คดี 112
- โพลล์ ระบุ ปชช.เชื่อมั่นต่อศักยภาพประเทศเพียงแค่ 3.47 เต็ม 10 การเมืองอยู่ที่ 2.94
- ชาวเมืองคอนเตรียมรวมพล 10,000 คน ทำกิจกรรม เพื่อประกาศไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน
- หากถอด ‘สี’ จะมี ‘คน’ อยู่ในนั้น: สัมภาษณ์กานต์ ทัศนภักดิ์ เจ้าของผลงาน Gray “RED SHIRT”
- SIU: เกาะติดสถานการณ์การประท้วงในบาห์เรน เยเมน โมร็อคโค คูเวต
- รมว.ยุติธรรมลิเบีย ลาออกจากตำแหน่งเป็นรายที่ 4 รับไม่ได้มีการใช้กำลังผู้ชุมนุมเกินเหตุ
- ศาลนัดฟังคำสั่งประกันตัว 7 แกนนำ นปช. 22 ก.พ.นี้
- “แอมเนสตี้ฯ” ระบุชุมนุมต้านรัฐบาลลิเบีย ยอดผู้เสียชีวิตพุ่ง เหตุเจ้าหน้าที่มุ่งเป้าที่ผู้ประท้วง
- เครือข่ายผู้ย้ายถิ่นในลุ่มน้ำโขง ห่วงความขัดแย้งไทย-กัมพูชา กระทบผู้ผลัดถิ่น-แรงงานข้ามชาติ
- ทหารพม่ารุมข่มขืนหญิงสาวชาวปะหล่องในรัฐฉาน
- ‘ชวน’ แนะงดอาหารทอดแก้วิกฤตน้ำมันปาล์ม - ‘กรณ์’ รับคุมราคาสินค้ายาก! ให้คนไทยทำใจ
- ขปส.จวก “รมว.พม.” ขวางเปิดเขื่อนปากมูลถาวร - “อานันท์” ฟังปัญหา แจงพร้อมช่วยแต่ไร้อำนาจ
- เอ็นบีทีแจง "ปริย" แสดงความเห็นส่วนตัว-ไม่เกี่ยวงานข่าว
- นักข่าวพลเมือง: ขบวนประชาชนฯ รุกทวง “สุวิทย์” ปลดล็อคโฉนดชุมชนในเขตป่าถึงหน้ากระทรวง
- ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "มนุษย์ยุคหิน"
"สุรชัย" แกนนำแดงสยามถูกรวบตัวกลางดึก คดี 112 Posted: 21 Feb 2011 12:56 PM PST นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ แกนนำกลุ่มแดงสยาม ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกเข้าจับกุมตัวที่บ้านแดงสยาม และถูกนำตัวไปที่ สน.โชคชัย ในข้อกล่าวหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยกลุ่มคนเสื้อแดงได้นัดรวมตัวกันไปที่ สน.โชคชัยแล้ว วันนี้ (22ก.พ.54) เวลาประมาณ 01.30 น.มีการเผยแพร่ข้อมูลบนหน้าเฟสบุ๊คของคนเสื้อแดงโดยระบุว่า นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อเดิมว่า สุรชัย แซ่ด่าน แกนนำกลุ่มแดงสยาม ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกเข้าจับกุมตัวที่บ้านแดงสยาม ซ.กรุงเทพนนท์ 14 และถูกนำตัวไปที่ สน.โชคชัย ในข้อกล่าวหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยกลุ่มคนเสื้อแดงได้นัดรวมตัวกันไปที่ สน.โชคชัยแล้ว การพูดคุยในเฟสบุ๊คกลุ่มแดงสยาม ระบุว่าการจับกุมเนื่องมาจาก กรณีการอ่านบทกลอนของนายกสมัคร สุนทรเวช ซึ่งเป็นคดีเก่าที่เกิดจากการปราศรัยที่อิมพีเรียลลาดพร้าวเมื่อนานแล้ว ไม่เกี่ยวกับที่เพิ่งขึ้นเวทีที่สนามหลวงเมื่อวันที่ 19 ก.พ.ที่ผ่านมา ทั้งนี้การจับกุมดังกล่าวเป็นการจับกุมโดยไม่มีหมายเรียก นอกจากนั้น ยังมีการรายงานความคืบหน้าเป็นระยะ อาทิ มีการโทรศัพท์สอบถามนายสุรชัย ได้รับคำตอบว่ามีลูกศิษย์อยู่ด้วย 2 คน และคาดว่าคืนนี้ไม่ได้ประกันตัวคงนอนที่ห้องขัง สน.โชคชัย ล่าสุดจะมีการตั้งเวทีปราศรัยที่หน้า สน.โชคชัย และประกาศให้มวลชนไปรวมตัวกันที่นั่น ทั้งนี้ นายสุรชัย เดิมทีเป็นที่รู้จักดีในวงการเมืองช่วงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา จากการเป็นสมาชิกคนสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ทื่เคลื่อนไหวแบบยุทธวิธีกองโจรในป่า ซึ่งต่อมาได้รับโทษถึงประหารชีวิตอันเนื่องจากคดีฆาตกรรมจากการปล้นรถไฟ แต่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. 2531 ต่อมา นายสุรชัยได้เข้าร่วมการเมืองในระบบรัฐสภาด้วยการเป็นสมาชิกพรรคความหวังใหม่ จากการชักชวนของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และลงสมัครสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดนครศรีธรรมราช และผู้สมัคร ส.ส.พรรคไทยรักไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง นายสุรชัย ได้เข้าร่วมการชุมนุมขับไล่ คมช.ที่ท้องสนามหลวง และต่อมาได้แยกตัวออกมาจัดตั้งกลุ่มแดงสยามร่วมกับนายจักรภพ เพ็ญแข โดยประกาศไม่ได้ข้องเกี่ยวกับกลุ่ม นปช. ข้อมูลบางส่วนจาก: วิกิพีเดีย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โพลล์ ระบุ ปชช.เชื่อมั่นต่อศักยภาพประเทศเพียงแค่ 3.47 เต็ม 10 การเมืองอยู่ที่ 2.94 Posted: 21 Feb 2011 12:04 PM PST กรุงเทพโพลล์ เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของปชช.ต่อศักยภาพประเทศไทยในปัจจุบัน และอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้าพบ ปชช.มีความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจมากที่สุด แต่คะแนนไม่ถึงครึ่ง แถมความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันมีคะแนนต่ำที่สุด แค่ 1.91 คะแนน ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิสา ประวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันที่มีปัญหารุมเร้าในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาปากท้องของประชาชน ปัญหาการชุมนุมประท้วง ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และปัญหาความขัดแย้งกับประเทศกัมพูชา ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ความเชื่อมั่นต่อศักยภาพประเทศไทยในปัจจุบัน และอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วทุกภาคของประเทศจำนวน 1,427 คน เมื่อวันที่ 12– 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้ ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยเฉลี่ยรวมทุกด้านเพียงแค่ 3.47 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)โดยปรับลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งก่อนหน้า (มิ.ย.53) ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยเพิ่งผ่านพ้นเหตุการณ์สลายการชุมนุมในวันที่ 19 พฤษภาคม 53 ที่มีคะแนนเท่ากับ 3.57 คะแนน (ลดลงร้อยละ 2.8) และเมื่อพิจารณาความเชื่อมั่นในแต่ละด้านพบว่า ประชาชนมีความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจมากที่สุด แต่ยังคงมีคะแนนไม่ถึงครึ่ง (4.01 คะแนน) รองลงมาคือด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (3.47 คะแนน) ส่วนด้านการเมืองประชาชนมีความเชื่อมั่นน้อยที่สุด (2.94 คะแนน) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาคะแนนความเชื่อมั่นในแต่ละตัวชี้วัดจากจำนวนทั้งสิ้น 12 ตัวชี้วัด พบว่า ความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันมีคะแนนต่ำที่สุด (1.91 คะแนน) เช่นเดียวกับผลการสำรวจในครั้งที่ผ่านมา ขณะที่ความเชื่อมั่นด้านความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียนเป็นความเชื่อมั่นที่มีคะแนนสูงที่สุด แต่ก็ยังไม่ถึงครึ่ง (4.69 คะแนน) ส่วนด้านความเชื่อมั่นที่ปรับลดลงมากที่สุดคือด้านความรักและสามัคคีของคนในชาติ (ลดลง 0.38 คะแนน) ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ประชาชนยังคงมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของประเทศว่าสามารถแข่งขันได้ในอาเซียน แต่ไม่เชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันที่ฝังรากลึกในระบบการเมืองไทย และเมื่อรวมกับความเชื่อมั่นในความรักความสามัคคีของคนในชาติที่ลดลง สองสิ่งนี้จะเป็นปัจจัยกัดกร่อนศักยภาพของประเทศไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ร้อยละ 44.7 ระบุว่า เหมือนเดิม ร้อยละ 33.9 เชื่อว่าจะแย่ลง มีเพียงร้อยละ 21.3 ที่เชื่อว่าจะดีขึ้น ตารางที่ 1 ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพโดยรวมของประเทศไทยในปัจจุบัน
ตารางที่ 2 ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพประเทศไทย ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชาวเมืองคอนเตรียมรวมพล 10,000 คน ทำกิจกรรม เพื่อประกาศไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน Posted: 21 Feb 2011 11:34 AM PST งาน “มหกรรมรวมพลคนท่าศาลาไม่เอาถ่านหิน” หน้าอำเภอท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ชวนผู้สนใจร่วมสร้างประวัติศาสตร์ 100 ปี ท่าศาลา รวมพลคนไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน 10,000 คน วานนี้ (21 ก.พ.54) นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา ส่งจดหมายระบุ ถึงการจัดงาน “มหกรรมรวมพลคนท่าศาลาไม่เอาถ่านหิน” บริเวณหน้าอำเภอท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ช่วงวันที่ 22 และ24 ก.พ.นี้ โดยเชิญชวนผู้สนใจร่วมสร้างประวัติศาสตร์ 100 ปี ท่าศาลา รวมพลคนไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน 10,000 คน สำหรับกิจกรรมหลักๆ ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ในวันที่ 22 ก.พ.ตั้งแต่เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป เป็นการรณรงค์ที่จะมีขบวนทั้งรถจักรยานยนต์ รถมอเตอร์ไซค์พ่วงข้าง รถยนต์สาธารณะ และรถยนต์ส่วนบุคคล เคลื่อนไปตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วบริเวณ อ.ท่าศาลา ส่วนวันที่ 24 ก.พ.ตั้งแต่เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป จะมีกิจกรรมประสานมือต่อกันไปบนถนนสายหลักรอบๆ เขตเมืองท่าศาลา คาดจำนวนผู้เข้าร่วม 10,000 คน จากนั้นจะมีการเปิดโต๊ะลงนามในสัญญาประชาคม ของนักการเมืองท้องถิ่นที่ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินกับตัวแทนภาคประชาชนในพื้นที่ อ.ท่าศาลา ต่อด้วยการแสดงคอนเสิร์ตของบรรดา อาทิ หงา คาราวาน, ตุด นาคร และ ภิญโญ ด้ามขวาน ด้านนายบุญโชค แก้วแกม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา กล่าวว่า พื้นที่ ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา ถือว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวในเชิงธรรมชาติ ไม่ใช่พื้นที่การพัฒนาอุตสาหกรรม และที่สำคัญตามที่รัฐบาลกล่าวว่าในอนาคตปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นและจะมีกำลังผลิตที่ไม่เพียงพอนั้น ความจำเป็นภาคใต้ใช้ไฟฟ้าเพียง 8 เปอร์เซ็นเท่านั้น ดังนั้นคาดการได้เลยว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้านั้น เพื่อเตรียมรองรับการเกิดขึ้นของโครงการและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ในจดหมายยังระบุถึงเหตุผล 9 ข้อในการคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเอาได้ด้วย ดังนี้ 1. พลังงานจากถ่านหิน ถือ เป็นเชื้อเพลิงที่สกปรกที่สุดในโลก ส่งผลกระทบมหาศาลต่อการเกิดสภาวะโลกร้อน และผลกระทบด้านอื่นๆ ไม่มีถ่านหินสะอาดในโลกนี้ จนทั่วโลกเขาออกมาคัดค้าน การเผาไหม้ถ่านหินก่อเกิดก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกมากกว่าเผาไหม้น้ำมัน 29 % มากกว่าก๊าซธรรมชาติถึง 80 % 2. ถ่านหินบิทูบินัสจำนวน 1 ตัน เผาไหม้แล้วจะเหลือเป็นขี้เถ้า 100 กิโลกรัม โรงฟ้าถ่านหินขนาด 800 เมกะวัตต์ ใช้ถ่านหินประมาณวันละ 7,000 ตัน หรือ 7 ล้านกิโลกรัม ดังนั้นจะเหลือขี้เถ้าวันละ 700 ตัน หรือวันละ 700,000 กิโลกรัม จะเอาไปไหน ที่แม่เมาะถูกนำมากองเป็นภูเขา ปลูกหญ้า บัวตอง และดอกทานตะวันไว้ด้านบน ที่มาบตาพุดขี้เถ้าจำนวนมากถูกทิ้งในบริเวณพื้นที่ว่างๆ ในจังหวัด ฝุ่นขี้เถ้าลอย มีสารปรอท สารหนู ตะกั่ว และแคดเมียม หากได้รับเข้าไปจะเกิดผลกระทบมหาศาล 3. ภาคใต้ใช้ไฟฟ้าแค่ 8 % จากการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดของประเทศ นอกจากนี้สัดส่วนการใช้ไฟฟ้า ประชาชนและที่อยู่อาศัยใช้ไฟฟ้า 21% ภาคเกษตร 9 % ภาคธุรกิจ 25% และภาคอุตสาหกรรมใช้ถึง 45 % ดังนั้นภาคใต้ และภาคประชาชนทั้งประเทศใช้ไฟฟ้าน้อยมากๆ ไฟฟ้าครึ่งหนึ่งจึงผลิตเพื่อภาคอุตสาหกรรมทีเกิดขึ้นแล้ว และสำรองสำหรับอุตสาหกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต 4. ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชใช้ไฟฟ้าประมาณ 320 เมกะวัตต์ ตอนนี้มีโรงไฟฟ้าที่อำเภอ ขนอมอยู่แล้วประมาณ 700 เมกะวัตต์ แต่กำลังจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่ม ทั้งพื้นที่ อำเภอหัวไทรและ อำเภอท่าศาลา ถึง 1,600 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกหนึ่งโรง ที่อำเภอขนอม ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ ถามว่าพลังงานเหล่านี้จะสร้างไปเพื่อใครกัน 5. พื้นที่ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใช้พื้นที่ ประมาณ 700 - 1,400 ไร่และต้องเป็นพื้นที่ราบติดชายทะเล พื้นที่อำเภอท่าศาลา ชายฝั่งทะเลผู้คนอยู่อย่างหนาแน่น หากต้องอพยพผู้คนเหมือนแม่เมาะ จะเอาคนเหล่านี้ไปอยู่ที่ไหน 6. การขนส่งถ่านหินต้องขนส่งทางเรือ น้ำลึกประมาณ 14 เมตร ขนาดเรือ 2,000 – 200,000 ตันกรอส ต้องสร้างท่าเรือขนาดไหน ขุดลอกร่องน้ำอย่างไร ในเมื่อชายฝั่งทะเลท่าศาลา น้ำลึก 14 เมตร ต้องออกไปไกลนับสิบกิโลเมตร 7. น้ำที่ใช้ในระบบหล่อเย็นต้องใช้น้ำมหาศาล หากใช้น้ำจืดจะเกิดการแย่งชิงน้ำ หากใช้น้ำเค็มจากชายฝั่งลูก กุ้ง หอย ปู ปลา จะติไปด้วย สัตว์น้ำวัยอ่อนจะไม่มี อีกทั้งน้ำร้อนที่ปล่อยออกจากโรงงาน จะส่งผลต่อสัตว์น้ำ ชาวประมงหลายหมื่นครอบครัวจะทำอย่างไร 8. ก๊าซต่างๆ ที่ปล่อยออกจากปล่องโรงงาน ซึ่งสามารถพัดไปไกล บริเวณหน้าเขาหลวงทั้งหมดจะได้รับผลกระทบ ผลไม้ เงาะ มังคุด ทุเรียน ที่ส่งออกจะได้รับผลกระทบไปด้วย ต้นยางพารายิ่งในช่วงแตกยอดอ่อน หากเกิดสภาวะฝนกรดจะมีผลกระทบทันที บ่อเลี้ยงกุ้งหากได้รับมลพิษ จะมีผลต่อการส่งออก และอีกหลายๆ ข้อ ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ไม่เคยมีคำตอบ นอกจาก คำว่า ถ่านหินสะอาด เทคโนโลยีใหม่ การป้องกันปัญหาที่ดีที่สุด คือ ต้องไม่สร้าง ปัญหาจึงจะไม่เกิด สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หากถอด ‘สี’ จะมี ‘คน’ อยู่ในนั้น: สัมภาษณ์กานต์ ทัศนภักดิ์ เจ้าของผลงาน Gray “RED SHIRT” Posted: 21 Feb 2011 10:53 AM PST
"ไม่ว่าเราจะคิดยังไงกับการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง จะชอบหรือไม่ชอบ ข้อเท็จจริงก็คือ มี “คน” อยู่ในนั้น คนที่ความเป็นมนุษย์ควรจะเท่าเทียมกับเรา" กานต์ ทัศนภักดิ์ กับผลงานภาพถ่ายขาว-ดำ เพื่อทดสอบว่าความคิดของผู้คน ต่อกลุ่มคนในนาม "เสื้อแดง"
‘สี’ อาจไม่ได้มีความสำคัญในฐานะตัวแทนหรือสัญลักษณ์ทางการเมืองอย่างเข้มข้นกว้างขวางมาก่อน กระทั่งมีการอุบัติขึ้นของกลุ่มคนภายใต้เสื้อ ‘สีเหลือง’ ซึ่งออกมาเคลื่อนไหวขับไล่รัฐบาลอย่างต่อเนื่อง จนเหตุการณ์นำไปสู่การรัฐประหาร 2549 จึงมีคนอีกกลุ่มหนึ่งสวมเสื้อ ‘สีแดง’ ออกมาต่อต้านการยึดอำนาจและการแทรกแซงการเมืองจากอำนาจนอกระบบ สังคมมีการแบ่งเป็น 2 สีอย่างชัดเจน และ ‘สี’ ก็มีนัยสำคัญที่ลึกซึ้งต่อการเมืองไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เหตุรุนแรงในเดือน เม.ย.และ พ.ค.2553 เมื่อรัฐบาลใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามคนเสื้อแดงจนเกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ มีคนเสื้อแดงเสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นจำนวนมาก แต่คำถามคือ เหตุใดคนในสังคมไทยจำนวนไม่น้อยไม่รู้สึกแยแสต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น นั่นเพราะชีวิตของคนที่สวมอุดมการณ์ทางการเมืองในชุดเสื้อสีแดงด้อยค่ากว่าชีวิตมนุษย์ปรกติทั่วไปกระนั้นหรือ สิ่งนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ กานต์ ทัศนภักดิ์ ซึ่งติดตามถ่ายภาพการชุมนุมของคนเสื้อแดงอย่างต่อเนื่อง ตัดสินใจถอดสีสันในภาพถ่ายออกทั้งหมด และนำมาจัดแสดงเป็นนิทรรศการภาพถ่ายขาว-ดำชุด Gray “RED SHIRT” เพื่อทดสอบว่าเมื่อถอดสีแล้ว คนอื่นๆ ที่สังกัดตนอยู่ในสีหนึ่งสีใดหรือไม่มีสีก็ตาม จะมองเห็นความเป็นมนุษย์ของมนุษย์ที่สวมความคิดทางการเมืองในเสื้อแดงหรือไม่ และต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์ที่ประชาไทได้มีโอกาสพูดคุยกับเขา ........................................................ อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้จัดนิทรรศการภาพถ่ายของคนเสื้อแดงครั้งนี้ ที่ผมรู้สึกมานานมากคือ จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ไม่ค่อยมีภาพคนเสื้อแดงในมิติที่เป็น “มนุษย์” ในสื่อสาธารณะเท่าไหร่ คือหลายปีมานี้มีข่าวออกมามาก แต่ก็เป็นอีกเนื้อหาหนึ่ง คือในข่าวก็เป็นไปตามเนื้อหาของข่าว ขณะที่ด้านนี้ ที่เราได้เข้าไปเห็น แล้วก็รู้สึกว่าไม่ค่อยถูกเผยแพร่ ทราบว่าภาพถ่ายเหล่านี้เคยถูกนำไปจัดนิทรรศการที่ประเทศฟิลิปปินส์ ช่วยเล่าให้ฟังหน่อย เป็นงานครบรอบ 10 ปี ทุน API (Asian Public Intellectuals Fellowships: ทุนปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย) จัดเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ปีที่แล้ว ที่มะนิลา นอกจากปาฐกถา เสวนาอะไรต่างๆ แล้ว ส่วนหนึ่งของงานก็จัดให้มีนิทรรศการศิลปะ โดยให้สมาชิก API ทั้ง 5 ประเทศ ที่ทำงานอยู่ในสายศิลปะสาขาต่างๆ ส่งงานเข้าไปคัดเลือกเพื่อจัดแสดง ตอนแรกที่ส่ง proposal ให้ curator คัดเลือก ผมเสนองานดนตรี 1 ชุด เป็นเพลงพูดถึงเสียงที่ไม่มีใครได้ยิน แล้วก็ภาพถ่าย 2 ชุด เป็นภาพสี แต่ตอนใกล้หมดกำหนดก็ขอเปลี่ยนเป็นชุดนี้แทนครับ แล้วทำไมไม่ใช้ภาพสีเหมือนนิทรรศการภาพถ่ายทั่วๆ ไป ตรงนี้ต้องการจะสื่อถึงอะไร คือพอใกล้วันที่ต้องส่งชิ้นงานไปให้พิจารณา ช่วงปลายเดือนเมษา สถานการณ์ทางนี้ (ประเทศไทย) มันลุกลามไปมากแล้ว ผมก็รู้สึกว่าไม่ไหวแล้ว ทั้งใจทั้งอะไร ก็เลยเขียนไปแจ้งถอนงานภาพถ่ายเหลือชุดเดียว แล้วก็ขอแก้ proposal ใหม่ เปลี่ยนจากภาพสีเป็นขาวดำ ส่วนดนตรีนี่ถอนเลย เพราะตอนนั้นนึกสภาพตัวเองคงเล่นสดไม่ไหวแล้ว ที่เปลี่ยนจากสีเป็นขาวดำ มันเริ่มตรงพอหลังวันที่ 10 เมษา มีคนตายแล้ว ทำให้เรารู้แล้วว่ามีการยิงจริง กระสุนจริง พอปลายเดือนเมษา ก็มีกระแสจะสลายที่ราชประสงค์ ทุกคนที่ตามอยู่ก็รู้ว่าเป็นไปได้ตลอดเวลา เพื่อนที่ประชาไทก็ชวนให้ช่วยกันคัดรูป อยากจะเอารูปในที่ชุมนุมที่เห็นคนชัดๆ เผยแพร่ออกไป ให้คนข้างนอกเห็น ว่ามีคนอยู่ในนั้น มีทั้งผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก คนแก่ คนเหมือนกับเรานี่แหละ อยากให้คนข้างนอกเห็นแล้วช่วยเบรกกระแสการใช้กำลังเข้าสลาย จากนั้นประชาไทก็เอาภาพขึ้น อีกด้านหนึ่งผมก็เอาขึ้น pantip (ราชดำเนิน) ด้วย พยายามเอาขึ้นทุกวันที่มีเวลาพอ ตอนนั้นเป็นภาพสี ? ใช่ครับ เป็นภาพสี ที่จริงทุกภาพที่ถ่ายช่วงนั้น ต้นฉบับเป็นภาพสีทั้งหมด ผลคือ ? ฟีดแบ็กที่ประชาไทผมไม่ทราบนะครับ เพราะช่วงนั้นได้เข้าเน็ตน้อยมาก แต่ที่กระทู้ผม pantip นี่ชัดเจน คือไม่ช่วยอะไรเลย เพราะคนส่วนหนึ่งรู้สึกว่าถ้าเป็นเสื้อแดงคือเป็นคนเลว และสมควรโดน ก็เสียใจมาก โกรธด้วย ทำไมคนเรารู้สึกต่อกันได้ขนาดนี้ ไม่แคร์เลยเหรอที่จะมีคนตาย ต่อให้เป็นคนที่คุณไม่ชอบ ผมคิดเรื่องนี้กลับไปกลับมากลับมาอยู่นาน เริ่มสงสัยว่า นอกจาก “สี” ที่เป็นนามธรรมจะทำให้คนเป็นอย่างนั้นแล้ว สีที่เป็นรูปธรรม ที่สัมผัสกับตาเรา ก็ยังทำให้คนนึกถึงแต่ “สี” ที่เป็นนามธรรม นึกถึงอยู่แค่นั้น เห็นอยู่แค่นั้น ไม่เห็นอะไรเลยเหรอ ก็เลยเอาสีออกไป ? ครับ ที่จริงตอนนั้นมีอารมณ์ประชดอยู่ คือ โอเค ถ้ามีสีแล้วมันจะทำให้อคติ และเห็นแค่ “สี” ผมก็จะเอาสีออกให้ ก็แจ้งไปทางมะนิลา เขียน proposal ส่งไปใหม่ เป็น Gray “RED SHIRT” แปลว่าสีมีความหมายมากสำหรับการเมืองไทยในช่วงหลายปีมานี้ มันอาจเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านอย่างที่หลายคนบอกก็ได้ ทำให้เรายังไม่สามารถจะคิดต่างกันได้อย่างเท่าเทียม หรือแย่กว่านั้นคือ บางทีการที่เราเลือก “สี” หนึ่งแล้วมันทำให้เราไม่เห็นคนที่คิดต่างเป็นมนุษย์อีกต่อไป จะถูกกระทำอย่างไรก็ไม่แคร์อีกต่อไป บางคนบอกว่าเทคโนโลยีที่ทำให้ข้อมูลข่าวสารเคลื่อนที่เร็ว ปริมาณมาก ก็มีส่วนทำให้เราเห็นทุกอย่างเป็นแค่ “ข่าว” ด้านชาลงทุกที ซึ่งผมก็เห็นด้วย แต่กับความขัดแย้งทางการเมืองในระดับนี้อาจจะยังใหม่สำหรับคนไทยด้วย เวลาพูดถึง “สีแดง” “สีเหลือง” เราเลยมักนึกถึง “สี” ก่อน นึกถึงจุดยืนตัวเองก่อน ซึ่งก็อาจเป็นเรื่องปกติ แต่ปัญหาคือบางทีเราลืมนึกถึงคนที่อยู่ใน “สี” นั้น เรื่องนี้ชัดเจนขึ้นหลัง 10 เมษายน 2553 ซึ่งมีคนตายหลายสิบภายในไม่กี่ชั่วโมง เจ็บอีกไม่รู้เท่าไหร่ แต่สังคมไทยเฉยมาก ไม่นับที่สะใจ ในด้านหนึ่งอาจเป็นเพราะข่าวที่ออกมาจากสื่อไทยส่วนหนึ่งเป็นลบกับฝ่ายเสื้อแดงมาก รัฐเองก็เน้นย้ำเรื่องชุดดำอะไรต่ออะไร แต่ถึงจะเชื่ออย่างนั้นก็ตาม การที่คนไม่มีอาวุธถูกยิงตายกลางถนนจำนวนมากขนาดนี้มันน่าอนาถมาก แต่คนไทยกลับเงียบ บางคนเชียร์รัฐซะอีก นอกจากคนเสื้อแดงเองกับคนที่เห็นใจฝ่ายแดงอยู่ก่อนแล้ว (ย้ำว่า เห็นใจอยู่ก่อนแล้ว) แทบจะไม่มีใครเห็นใจคนตาย ไม่ต้องพูดถึงการเรียกร้องความเป็นธรรมให้ ไม่ต้องพูดถึงองค์กรหรือนักสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย ซึ่งถ้าเป็นสถานการณ์อื่นผมว่าไม่มีทางนะ หรือเหตุการณ์ในประเทศอื่นเราก็ยัง “อิน” กว่านี้ อยากเล่าเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน ในมุมของกานต์บ้างไหม สั้นๆ คือ ผมอยู่ในนั้นหลายชั่วโมง และไม่เห็นอย่างที่รัฐบอก ซึ่งอาจจะไม่สำคัญอะไร เพราะยังเถียงกันได้ว่าผมอาจจะไม่เห็นเอง เพราะส่วนหนึ่งมันมืด มันชุลมุน เหตุการณ์มีหลายจุด หรืออะไรก็ตาม แต่ประเด็นของผมคือ ต่อให้เราเชื่ออย่างที่รัฐบอก คนที่ตายก็คือคนไม่มีอาวุธ เขาไม่มีค่าหรือ แล้วเสียงตอบรับตอนจัดที่มะนิลา เป็นยังไง ผมได้ดูวันเดียว คือวันเปิดนิทรรศการ เพราะต้องกลับเมืองไทยวันรุ่งขึ้นเลย คนที่เข้าชมในวันนั้นส่วนใหญ่คือคนไปร่วมงาน 10 ปี API หลักๆ คือ API จาก 5 ประเทศ ทีนี้เงื่อนไขในการจัดงานวันนั้นอย่างหนึ่งก็คือ ติดตั้งแต่ละนิทรรศการของงานนี้กระจายไปทั่วเมือง นัยว่าอยากให้คนที่ไปชมงานได้เที่ยวชมเมืองไปด้วย แต่ปัญหาคือ คุณเลือกขึ้นรถได้คันเดียว และรถคันนั้นจะผ่านเฉพาะบางนิทรรศการเท่านั้น กลุ่มเพื่อนต่างชาติส่วนใหญ่จะเข้ามาบอกว่าชอบ บางคนก็บอกว่าดูแล้วเศร้ามาก บางคนถามถึงคุณป้า-คุณยายในภาพว่าตอนนี้เป็นยังไงบ้าง ซึ่งผมพูดไม่ออก มันเป็นคำถามที่เราถามตัวเองอยู่ตลอดเวลาเหมือนกัน แต่ที่ลุ้นมากคือเพื่อน API ที่เป็นคนไทยและไม่เห็นด้วยกับเสื้อแดง ปรากฏว่ามีพี่ 2 คนที่ไม่ได้แดงมาบอกว่า ตัดสินใจเลือกขึ้นรถคันนี้เพราะผ่านนิทรรศการเรา แล้วก็บอกว่าชอบงาน โดยที่เค้าก็ไม่ได้เปลี่ยนจุดยืนทางการเมือง ซึ่งทำให้ผมดีใจมาก เราควรจะแตกต่างกันได้ โดยที่ยังเห็นฝ่ายอื่นๆ เป็นคนเท่าๆ กับเราอยู่ แล้วก็มีอีกคนหนึ่งไม่สนิทเลย มาบอกว่า งานสวย แต่ขอสารภาพว่า ถ้าเป็นภาพสีนี่พี่คงดูไม่ได้จริงๆ (หัวเราะ) แสดงว่ามีเพื่อนที่คิดต่างกันอยู่มากพอสมควร ใช่ครับ ที่จริงคือตั้งแต่ปี 49 เป็นต้นมา ผมเสียเพื่อน-คนรู้จักไปเพราะการเมืองเยอะมาก ระลอกแรกคือปี 49 ถัดมาคือช่วงที่เขียนคอลัมน์ประจำให้ประชาไท (หัวเราะ) แล้วก็ระลอกล่าสุดคือปี 53 แต่ขณะเดียวกัน ผมก็ยังมีเพื่อน มีพี่ หลายคน ที่บอกว่าไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวของเสื้อแดง หรือแม้แต่เปิดเผยเลยว่าเป็นพันธมิตร แต่เรายังคบกันได้เป็นปกติ หลายคนยังสนิทกันดี เพราะเรายังมีด้านที่รักและนับถือกันได้สนิทใจอยู่มากพอ ที่สำคัญคือ เราต่างกันแค่จุดยืน โดยไม่ได้มีใครเหยียดหยามเหยียบย่ำความเป็นมนุษย์ของฝ่ายที่เห็นต่าง ซึ่งสำหรับผมมันสำคัญมาก เพราะถ้าเป็นแบบนั้น ต่อให้จุดยืนทางการเมืองตรงกันแค่ไหนก็คงเป็นเพื่อนกันไม่ได้ ในที่สุดก็ได้มาจัดที่เมืองไทย หลังจากนั้นก็คิดๆ อยู่ว่าน่าจะจัดในเมืองไทยบ้าง เพราะเรื่องทั้งหมดเกิดขึ้นที่นี่ และกลุ่มเป้าหมายหลักที่ต้องการสื่อไปถึงก็คือคนในสังคมไทย ซึ่งต้องขอบคุณทางกลุ่ม SIAM INCEPTION ART & CULTURE CLUB (SIACC) ที่จัดงาน “ฝังความทรงจำ” และติดต่อไปร่วมครับ แง่มุมของภาพที่นำเสนอในนิทรรศการนี้ มีเรื่องราวอะไรบ้าง ทั้งหมดคือ ไม่ว่าเราจะคิดยังไงกับการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง จะชอบหรือไม่ชอบ ข้อเท็จจริงก็คือ มี “คน” อยู่ในนั้น คนที่ความเป็นมนุษย์ควรจะเท่าเทียมกับเรา ภาพถ่ายที่มีอยู่ มีเยอะไหม แล้วมีวิธีการคัดเลือกภาพยังไง ทั้งหมดมีอยู่ราวๆ 5,000 กว่า เป็นภาพตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม – 2 พฤษภาคม 2553 คือวันสุดท้ายที่ผมได้เข้าไปที่ราชประสงค์ แต่ตอนที่ต้องคัดภาพส่งไปเป็นช่วงปลายเดือนเมษายน เนื่องจากจำนวนค่อนข้างจำกัด จำได้ว่าพยายามเลือกมุมที่ไม่ค่อยเห็น เน้นคนสูงอายุมากหน่อย ที่ขาดไปคือภาพคนในวัยหนุ่มสาว แต่ด้วยเวลาคัดก็จำกัดอีก พอส่งไปแล้วก็เสียดายอีกหลายภาพที่น่าจะได้เห็นกัน ทำไมถ่ายไว้เยอะขนาดนั้น ตั้งใจจะเอาไปทำอะไร หลังวันที่ 10 เมษา เรารู้แล้วว่ามีเหตุการณ์อย่างนั้นได้ และภาพที่จะช่วยยืนยันมันสำคัญมาก จากที่เคยเข้าไปวันละ 5-6 ชั่วโมง ก็พยายามอยู่ให้ยาวขึ้น ช่วงที่มีข่าวว่าจะสลายก็อยู่จนสว่าง เพราะเราไม่รู้ว่าสถานการณ์เลวร้ายมันจะเกิดขึ้นอีกตอนไหน ระหว่างนั้นก็ถ่ายไปเรื่อยๆ มันก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ได้เผยแพร่ในช่องทางอื่นบ้างรึเปล่า มีใน slide.com บ้าง เอาขึ้นช่วงเดียวกับที่โพสต์ใน pantip แล้วก็มีนักข่าวเกาหลีมาขอไปส่วนหนึ่ง ปัญหาของผมคือหลังจากเหตุการณ์นั้น (พ.ค.53) ช่วงหนึ่งผมแทบไม่กล้าเปิดดูไฟล์ภาพที่เก็บไว้ เพราะเราเคยอยู่ตรงนั้น เข้าไปเกือบทุกวัน คนในภาพจำนวนหนึ่งเห็นกันจนคุ้นหน้า ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ที่เรารู้สึกว่าโหดเหี้ยมมาก แล้วเราแทบไม่รู้เลยว่าตอนนี้แต่ละคนอยู่ที่ไหน เป็นยังไง วิดีโอคลิป หรือภาพที่คนอื่นถ่ายก็เหมือนกัน บางทีดูได้แป๊บๆ ก็ต้องรีบปิด และเท่าที่ถามๆ ดู ไม่เฉพาะผม หลายคนก็มีอาการคล้ายๆ กัน พี่ก็คงเป็นเหมือนกัน คิดว่าสาเหตุคืออะไร ถ้าส่วนตัวผม ความรู้สึกหนึ่งคือรู้สึกผิด เราเคยอยู่ในนั้น ตรงที่ที่มีคนตายคนเจ็บ แต่เราปลอดภัย ตอน 10 เมษาผมไม่มีแผลอะไรเลย นอกจากโดนแก๊สน้ำตา แล้วก็มาโดนลูกหลงที่สีลมนิดหน่อย ไม่ได้เจ็บมากอะไร และที่ราชประสงค์ก็มาเกิดเรื่องตอนที่ผมกลับต่างจังหวัดไปแล้ว สรุปคือ มีคนตายคนเจ็บมหาศาล เจ็บและตายเพื่อเรียกร้องสิ่งที่เราเห็นด้วย ขณะที่เราปลอดภัยทุกอย่าง และช่วยอะไรคนเหล่านั้นไม่ได้เลย ส่วนเรื่องภาพ ช่วงหลังก็เริ่มคุยกับหลายคน ก็เห็นตรงกันว่าถ้าเผยแพร่ภาพออกไปมันมีประโยชน์กว่าเก็บเอาไว้แน่ๆ ก็เข้าใจ เพียงแต่ช่วงก่อนนั้นยังทำใจยาก ตอนนี้ก็เริ่มมองเริ่มคิดหาทางเอาออกมาทำให้เป็นประโยชน์มากขึ้น เห็นในโปสเตอร์งานที่สถาบันปรีดีบอกว่ารายได้จากการขายภาพจะนำไปช่วยช่างภาพที่ถูกยิงในเหตุการณ์ ตั้งราคาภาพไว้เท่าไหร่ แล้วจะติดต่อซื้อได้ยังไง ตั้งไว้ภาพละ 1,500 ครับ พร้อมกรอบ จำนวนเงินที่ได้คงไม่มากเท่าไหร่ แต่หวังว่าจะเป็นกำลังใจให้กันได้บ้าง ติดต่อซื้อได้กับทางผู้จัดงาน 081-611-4260 ครับ ทราบมาว่าจะจัดที่เชียงใหม่เดือนหน้าด้วย เป็นภาพเดิมรึเปล่า หลังจากนั้นจะจัดที่ไหนอีกบ้าง เชียงใหม่จัดที่ “ร้านเล่า” ถนนนิมมานเหมินทร์ มีพี่ๆ กลุ่มอิสระทางนั้นเป็นคนจัดให้ เปิดงานวันที่ 5 (มีนาคม) มีเสวนา วิทยากรที่ทราบตอนนี้คืออาจารย์ไชยันต์ รัชชกูล กับอาจารย์วันรัก สุวรรณวัฒนา หลังจากนั้นจะไปจัดที่ร้านหนังสือ “เอกาลิเต้” ที่ลำปาง แล้วก็มีพี่ทางอุบลฯ ชวนไปจัด แต่ยังไม่ได้คุยรายละเอียดครับ ภาพชุดนี้ก็คงต้องคงไว้เหมือนเดิม ส่วนภาพอื่นๆ ที่มีอยู่ก็อาจจะหาทางเผยแพร่ด้วยวิธีอื่นต่อไป มีความคาดหวังกับผู้ที่มาชมนิทรรศการครั้งนี้บ้างไหม ยังไง นอกจากความคาดหวังเดิมใช่มั้ยครับ คือนอกจากคราวนี้คือสนามในประเทศ ในที่เกิดเหตุแล้ว จากวันนั้นมันยังเกิดอะไรขึ้นเยอะมาก โดยที่แผลของคนจำนวนมากยังไม่ถูกรักษา ถูกฉีกให้กว้างออกไป ขณะที่คนจำนวนหนึ่งก็ต้องการให้สังคมลืม ผมก็อยากจะบอกว่า เรื่องพวกนี้เคยเกิดขึ้นจริง เคยมี “คน” อยู่ในนั้น และขอโทษที่เรายังไม่ลืม สุดท้าย อยากเห็นการเมืองไทยเป็นยังไง ตอนจัดที่มะนิลา พี่คนหนึ่งก็สัมภาษณ์ผมด้วยคำถามที่คล้ายๆ กันนี้เป็นคำถามสุดท้าย ซึ่งตอบยากมาก คือผมคิดว่าโดยพื้นฐานที่สุด จำเป็นต้องทำให้พื้นที่ทางการเมืองของทุกคนเท่ากันก่อน ให้คนที่คิดต่างกันสามารถพูดออกมาได้เท่าๆ กันก่อน ดังนั้น ตอนนี้ผมขอยังไม่ตอบดีกว่าครับ (หัวเราะ) ……………………………………………………………. กานต์ ทัศนภักดิ์ เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม 2535 หลังเหตุการณ์ “พฤษภาเลือด” ได้ลาออกจากโรงเรียนมาสอบเทียบ และทดลองศึกษาในมหาวิทยาลัยหลายครั้ง ก่อนตัดสินใจออกมาทำงานด้านศิลปะ วรรณกรรม และดนตรี ควบคู่ไปกับการสนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมเคลื่อนไหวทางสังคมของหลายกลุ่ม/องค์กรจนถึงปัจจุบัน กานต์ได้รับเลือกให้รับทุนปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย (API) ประจำปี 2008-2009 และไปศึกษาวิจัยในหัวข้อ “ศิลปะใน ‘สื่อรณรงค์’: ศิลปะการนำเสนอของ ‘สื่อกระแสรอง’ ในโลกแห่ง ‘สื่อกระแสหลัก’” ที่ประเทศฟิลิปปินส์และมาเลเซีย ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของศิลปินและนักกิจกรรม ในการใช้ศิลปะเพื่องานรณรงค์ของขบวนการทางสังคม ปัจจุบันกานต์พักอาศัยอยู่ที่จังหวัดขอนแก่นและเชียงใหม่ โดยทำงานอิสระ อาทิ งานกวีและงานเขียนอื่นๆ งานบรรณาธิการต้นฉบับ และงานศิลปะในหลายสาขา เช่น ภาพถ่าย ภาพเขียน ดนตรี ทั้งในชื่อจริง และภายใต้นามปากกา ‘กานต์ ณ กานท์’ ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : นิทรรศการภาพถ่าย Gray “RED SHIRT” http://prachatai3.info/activity/2011/01/32846
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
SIU: เกาะติดสถานการณ์การประท้วงในบาห์เรน เยเมน โมร็อคโค คูเวต Posted: 21 Feb 2011 09:23 AM PST สถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ประจำวันที่ 21 ก.พ.2554 ในเยเมนยังตึงเครียด โมร็อคโคและคูเวตเริ่มมีการประท้วง ส่วนบาห์เรนฝ่ายต่อต้านยังประชุมไม่เสร็จว่าจะรับการเจรจาสันติภาพหรือไม่ ลิเบีย สถานการณ์ล่าสุดในลิเบียยังเลวร้าย โดยยอดผู้เสียชีวิตจากการรวบรวมของ Human Rights Watch ในวันอาทิตย์อยู่ที่ 233 ศพ ส่วนผู้ชุมนุมยึดเมือง Benghazi ได้แล้ว และกำลังเดินหน้าประท้วงต่อไปในเมืองหลวง Tripoli และเมืองอื่นๆ Saif Gaddafi บุตรชายของประธานาธิบดี Muammar Gaddafi ได้ออกแถลงการณ์ทางโทรทัศน์ช่วงเช้าวันนี้ (21 ก.พ.) ขอให้ผู้ชุมนุมทุกฝ่ายอยู่ในความสงบ และเสนอว่าจะ “ปฏิรูป” การปกครองและรัฐธรรมนูญ เขายังบอกว่าถ้าชาวลิเบียไม่ร่วมมือกันแล้ว ก็เตรียมพบกับ “การยึดครอง” จากชาติตะวันตกได้ Saif Gaddafi ยังบอกว่าลิเบียต่างจากอียิปต์และตูนิเซีย แต่ถ้าประชาชนยังแตกแยกกันก็อาจเห็นสงครามกลางเมือง และผู้เสียชีวิต ‘หลักพัน’ แทนหลักร้อยอย่างที่เป็นอยู่ ส่วนบิดาของเขายังได้รับเสียงสนับสนุนจากฝ่ายทหาร (แม้จะมีรายงานว่าทหารในหลายเมืองกลับใจมาเข้ากับฝ่ายผู้ชุมนุมก็ตาม) เขาปิดท้ายว่าฝ่ายรัฐบาลจะต่อสู้ “จนกระสุนนัดสุดท้าย” ผู้สื่อข่าวของ Al Jazeera วิจารณ์แถลงการณ์ของ Saif ว่าเป็นอาการสิ้นหวังของลูกชายประธานาธิบดีที่พยายามจะแบล็คเมล์ชาวลิเบีย เขายังบอกว่า Gaddafi พยายามใช้วิกฤตในลิเบียข่มขู่โลกตะวันตก และใช้ชื่อโลกตะวันตกข่มขู่ชาวลิเบียไปพร้อมๆ กัน หลังการออกโทรทัศน์ของ Saif Gaddafi ผู้สนับสนุนฝ่ายรัฐบาลได้ออกไปชุมนุมที่จัตุรัสกลางเมืองหลวง Tripoli และเผชิญหน้ากับผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้าน และมีรายงานว่าทหารยิงปืนเข้าใส่ฝูงชนแล้ว กลุ่มผู้ชุมนุมในกรุง Tripoli มีจำนวน ‘หลักพัน’ และเมืองฝั่งตะวันตกอื่นๆ ก็มีความเคลื่อนไหวแล้ว โดยผู้ชุมนุมในเมืองเหล่านี้วางแผนจะเดินทางไปที่ Tripoli ด้วย ส่วนเมืองภาคตะวันออกที่ต่อต้านรัฐบาล Gaddafi โดยเฉพาะเมือง Benghazi เมืองใหญ่อันดับสอง มีรายงานประชาชนสามารถควบคุมพื้นที่ได้แล้ว และฝ่ายทหารในเมืองเหล่านี้ก็หันมาร่วมมือกับประชาชนเพื่อต่อสู้กับกองกำลังพิเศษของ Gaddafi แพทย์ในเมือง Benghazi ได้รายงานจำนวนผู้ตายว่า “หลายร้อย” ส่วน Human Rights Watch ให้ตัวเลขนับถึงวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า 233 ราย – Al Jazeera อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่: ลิเบียยังเดือด 233 ศพ, ลูกกัดดาฟีออกทีวีเตือน “สงครามกลางเมือง” แผนที่แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง แสดงประเทศที่เกิดความไม่สงบ บาห์เรน ต่อต้านรัฐบาลของบาห์เรน ซึ่งประกอบด้วยพรรคฝ่ายค้านและกลุ่มทางการเมืองอีกหลายกลุ่ม จะประชุมกันอีกครั้งในวันนี้ เพื่อหาข้อสรุปว่าจะยอมรับการเจรจาสันติภาพกับฝ่ายรัฐบาลหรือไม่ เมื่อวานนี้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมาร่วมประชุมกันเป็นวันแรก แต่ก็ไม่สามารถหาข้อสรุปที่ลงตัวได้สำหรับการเจรจาสันติภาพ Ebrahim Sharif จากสมาคม National Democratic Action ให้สัมภาษณ์ว่า “เราต้องการเจรจากับรัฐบาลมา 10 ปีแล้ว และเราคงเป็นคนสุดท้ายที่ไม่รับข้อเสนอนี้ แต่ก่อนอื่นเราต้องเตรียมข้อเสนอของฝ่ายเราให้พร้อม คิดเห็นตรงกันเสียก่อน” หลังจากตำรวจและทหารยอมถอนตัวออกจากกรุง Manama ผู้ชุมนุมก็กลับมาตั้งเต๊นท์อีกครั้ง และเริ่มมีการสไตรค์ของคนงานรวมถึงครูและนักเรียน – Wall Street Journal เยเมน ประธานาธิบดี Ali Abdullah Saleh ของเยเมนปฏิเสธข้อเสนอที่จะให้เขาลงจากอำนาจ และยื่นข้อเสนอต่อผู้ประท้วงให้เกิดการเจรจาแทน เขาบอกว่าข้อเรียกร้องของฝ่ายต่อต้าน “เป็นไปไม่ได้” และยังบอกให้ผู้ต่อต้านลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งครั้งหน้าปี 2013 Saleh ให้สัมภาษณ์ในการแถลงข่าวว่าเขาสั่งกองทหารไม่ให้ทำร้ายผู้ประท้วง เว้นเสียแต่ว่าเป็นการป้องกันตัวเองเท่านั้น นับถึงปัจจุบันมีผู้เสียชีวิต 11 รายจากการประท้วงในเยเมน ขณะนี้ผู้ชุมนุมในหลายเมืองออกมาเรียกร้องให้ Saleh ออกจากตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นเมืองท่า Aden, Taiz และเมืองหลวง Sanaa เยเมนถือเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในตะวันออกกลาง และประสบปัญหาการแบ่งแยกดินแดนจากผู้ก่อการร้ายเยเมนใต้ อย่างไรก็ตามประธานาธิบดี Saleh ที่ครองอำนาจมายาวนาน 30 ปีได้รับการหนุนหลังจากสหรัฐ – AP โมร็อคโค โดมิโนแห่งการประท้วงแพร่ไปยังโมร็อคโค ประเทศทางตะวันตกสุดของแอฟริกาเหนือที่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ผู้ชุมนุมเริ่มออกมาเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมืองและต้องการให้กษัตริย์ Mohammed VI ยอมปล่อยอำนาจบางส่วน การชุมนุมเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ และในวันจันทร์นี้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 5 รายในเมือง Al Hoceima ทางตอนเหนือของประเทศ ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดว่าเสียชีวิตได้อย่างไร ผู้ชุมนุมประกอบด้วยสหภาพแรงงาน องค์กรเยาวชน และกลุ่มสิทธิมนุษยชน ออกมาชุมนุมใน 6 เมืองทั่วประเทศ การชุมนุมส่วนมากยังอยู่ในความสงบและไม่มีอาวุธ มีการประเมินว่าผู้ชุนนุมในเมืองหลวง Rabat มีประมาณ 2,000 คน โฆษกรัฐบาลให้สัมภาษณ์กับสถานีทีวีของรัสเซียว่าการประท้วงเป็นเรื่องปกติในโมร็อคโค และการประท้วงครั้งนี้อยู่ในกรอบของกฎหมาย รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย – CNN, BBC คูเวต ประชาชนชาวคูเวตออกมาเดินขบวนตามท้องถนนตั้งแต่วันที่ 18 ก.พ. และล่าสุดมีรายงานว่ามีผู้บาดเจ็บจำนวนหนึ่ง และถูกจับกุมโดยรัฐบาลอีกจำนวนหนึ่ง องค์กรสิทธิมนุษยชน Human Rights Watch ได้เรียกร้องให้รัฐบาลคูเวตปล่อยตัวผู้ชุมนุมเหล่านี้ทันที ส่วนรัฐบาลคูเวตได้ออกคำเตือนให้ประชาชนอยู่ในเคหสถาน ไม่ต้องออกมาร่วมชุมนุม ผู้ชุมนุมชาว Bidun มีประมาณ 300-500 คน ยังอยู่ในความสงบแต่มีบางส่วนที่ขว้างก้อนหินใส่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมคือขอสัญชาติและสถานะของประชากร ส่วนเจ้าหน้าที่ได้ใช้ปืนน้ำ ระเบิดควัน และแก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุม – Human Rights Watch จอร์แดน แม้การประท้วงในจอร์แดนจะเริ่มสงบลงชั่วคราว แต่กษัติรย์อับดุลลาห์ที่สองก็บอกแก่รัฐบาลใหม่ที่เพิ่งแต่งตั้งให้เริ่มการปฏิรูปประเทศอย่างจริงจังและรวดเร็ว พระองค์ขอให้รัฐบาลใหม่ทำงานหนักและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น กษัตริย์อับดุลลาห์ยังบอกว่าการปฏิรูปดำเนินไปบ้างแล้วในรัฐบาลก่อนหน้านี้ แต่บุคคลระดับสูงบางคนต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ซึ่งพระองค์บอกว่าจะไม่ยอมให้เกิดขึ้นอีก – CNN ที่มา: http://www.siamintelligence.com/n-africa-middle-east-update-21-feb/ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รมว.ยุติธรรมลิเบีย ลาออกจากตำแหน่งเป็นรายที่ 4 รับไม่ได้มีการใช้กำลังผู้ชุมนุมเกินเหตุ Posted: 21 Feb 2011 08:59 AM PST รอยเตอร์สอ้างหนังสือพิ (21 ก.พ. 54) รอยเตอร์สรายงานอ้างหนังสือพิ เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ Quryna ระบุว่าได้พูดคุยกับรัฐมนตรีผ่ สำหรับ อัล เจลีล เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐของลิเบีย คนที่ 4 ที่ลาออกจากตำแหน่ง ถัดจากทูตของลิเบียในสันนิ องค์การฮิวแมนไรท์ วอทช์ (Human Rights Watch) ระบุวานนี้ (20 ก.พ.) ว่า นับแต่วันที่ 17 ก.พ.ที่ผ่านมา จากข้อมูลจากโรงพยาบาลต่างๆ ในลิเบีย คาดการณ์ว่ามีผู้เสียชีวิตอย่ ผู้ใช้ทวิตเตอร์ ชื่อ @Arasmus สร้างแผนที่ ซึ่งรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ประท้ ดูภาพขนาดใหญ่ที่: http://maps.google.com/maps/ ที่มา: http://globalvoicesonline.org/ http://www.hrw.org/en/news/
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศาลนัดฟังคำสั่งประกันตัว 7 แกนนำ นปช. 22 ก.พ.นี้ Posted: 21 Feb 2011 08:06 AM PST "อดีตประธาน นปช.-พล.ต.สนั่น" ให้ปากคำพยานต่อศาลเสียงพ้อง เชื่อให้ประกันตัว7แกนนำ จะเกิดปรองดอง ศาลนัดพรุ่งนี้บ่ายสองฟังคำสั่ง วันนี้ (21 ก.พ.54) ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก นายวีระ มุสิกพงศ์ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ขึ้นเบิกความปากที่สาม เล่าจุดเริ่มต้น เป้าหมายการชุมนุมเรียกร้องรัฐบาลยุบสภา ไม่ชอบธรรมบริหารบ้านเมือง โดยตอนหนึ่งเขากล่าวต่อศาลเชื่อว่า หากให้ประกันแกนนำนปช.จะสร้างความปรองดองได้ บ้านเมืองสงบสุข และเชื่อ 7 แกนนำ นปช.จะทำตามสิ่งที่ให้คำมั่นต่อศาล ก่อนนี้ พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 พยานปากแรกในการยื่นขอประกันตัว 7 แกนนำ ระบุว่าช่วงชุมนุมคนเสื้อแดงที่ผ่านมาได้รับความร่วมมืออย่างดี ตรวจสอบในที่ชุมนุมก็ไม่พบอาวุธแต่อย่างใด ด้าน นายโสภณ ธิติธรรมพฤกษ์ ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพ เบิกความปากที่สอง ระบุว่า แกนนำ นปช.ประพฤติดีให้ความร่วมมือ ขณะที่บางคนป่วยหนักต้องส่งสถานพยาบาล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีคนเสื้อแดงมาให้กำลังใจอย่างคับคั่งระหว่างฟังการไต่สวนขอประกันตัว ต้องนั่งเก้าอี้เสริมบางส่วนนั่งพื้นในห้องพิจารณาคดี 704 ที่รองรับคนได้ 300 ที่นั่ง สำหรับการดูแลรักษาความปลอดภัยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จัดกำลังรักษาการณ์ดูแลเรียบร้อยอย่างแน่นหนา พร้อมตรวจสอบคนที่ผ่านเข้าออกห้องพิจารณาคดี 'สนั่น' ให้ปากคำเป็นพยานขอประกันตัว 7 แกนนำ ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก เมื่อเวลา 13.00 น. นายคณิต ณ นคร ประธาน คอป.และ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางเพื่อเป็นพยานตามหมายเรียกที่ 7 แกนนำ นปช.ยื่นคำร้องขอประกันตัว โดยนาย คณิต ประธาน คอป. กล่าวก่อนขึ้นเบิกความว่า การปล่อยตัวชั่วคราว แกนนำ นปช.ทั้งเจ็ดเป็นดุลพินิจของศาล ซึ่งหากแกนนำยังไม่ได้รับอนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวในวันนี้ ก็ไม่ถือเป็นอุปสรรคต่อแผนปรองดอง แม้ว่าที่ผ่านมาตนเองได้เสนอแนวทางให้มีการปล่อยตัวแกนนำ นปช. มาโดยตลอดก็ตาม ด้าน พลตรีสนั่น กล่าวว่า เดินทางไปพบแกนนำ นปช.ทั้งเจ็ดคนในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และแกนนำทั้งหมดก็ให้ความร่วมมือต่อแผนการปรองดองเป็นอย่างดี อย่างไรก็ดี หากแกนนำได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวก็จะทำให้แนวโน้มการปรองดองเป็นไปในทางที่ดีขึ้น และถือเป็นทางเดียวที่จะยุติความขัดแย้งทางการเมืองได้ แต่ถ้าแกนนำยังไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ก็จะพยายามเดินหน้าแผนปรองดองต่อไป ศาลนัดฟังคำสั่งประกันตัว 7แกนนำ นปช. 22ก.พ. ล่าสุด ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก กำหนดนัดฟังคำสั่งให้ปล่อยตัวชั่วคราว 7 แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มเสื้อแดงหรือไม่ พรุ่งนี้ (22 ก.พ.) เวลา 14.00 น.สำหรับแกนนำ นปช.ทั้ง 7 คน ประกอบด้วย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, นพ.เหวง โตจิราการ, นายก่อแก้ว พิกุลทอง, นายนิสิต สินธุไพร, นายขวัญชัย ไพรพนา, นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย และนายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก ซึ่งทั้งหมดตกเป็นจำเลยในคดีร่วมกันก่อการร้าย โดยวันนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์คุมตัวแกนนำ นปช.ทั้ง 7 คน ที่ตกเป็นจำเลยในคดีร่วมกันก่อการร้าย เดินทางมาศาลอาญา เพื่อเข้าไต่สวนกรณียื่นคำร้องขอประกันตัว โดยมีนางธิดา ถาวรเศรษฐ ภรรยา นพ.เหวง และประธาน นปช.นำกลุ่มภริยา และบุตรธิดาของเหล่าแกนนำคนอื่นๆ พร้อมพี่น้องเสื้อแดงจำนวนหนึ่งเข้าให้กำลังใจ ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
“แอมเนสตี้ฯ” ระบุชุมนุมต้านรัฐบาลลิเบีย ยอดผู้เสียชีวิตพุ่ง เหตุเจ้าหน้าที่มุ่งเป้าที่ผู้ประท้วง Posted: 21 Feb 2011 07:40 AM PST แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์ ระบุเจ้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล แถลงการณ์ 18 กุมภาพันธ์ 2554 ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของลิเบียมุ่งเป้าไปที่ผู้ประท้วง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ทางการของลิเบียยิงปืนโดยไม่ระมัดระวังเข้าใส่ฝูงชนที่มาร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาล หลังจากที่องค์กรได้รับข่าวว่ามีประชาชนอย่างน้อย 46 คนถูกยิงเสียชีวิตโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในระยะเวลา 72 ชั่วโมงที่ผ่านมา แหล่งข่าวจากโรงพยาบาลอัลจาลาในเมืองเบงกาซีรายงานให้แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลทราบว่าผู้ป่วยส่วนมากได้รับบาดเจ็บจากการถูกกระสุนปืนบริเวณศีรษะ หน้าอก และลำคอ “ยอดผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจรวมถึงรายงานลักษณะการบาดเจ็บของเหยื่อช่วยบ่งชี้ว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้รับอนุญาตให้ใช้อาวุธที่เป็นอันตรายถึงชีวิตต่อผู้ประท้วงที่ไม่มีอาวุธซึ่งออกมาเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง” กล่าวโดย มัลคอม สมาร์ท ผู้อำนวยการแผนกตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล “เจ้าหน้าที่ทางการของลิเบียต้องยับยั้งกองกำลังฝ่ายความมั่นคงของตนเองโดยทันที ผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อการสังหารอันไม่ชอบด้วยกฎหมายและการใช้กำลังเกินขอบเขต ทั้งตัวผู้กระทำโดยตรงและผู้ออกคำสั่ง ต้องถูกชี้ตัวและนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม” แหล่งข่าวจากโรงพยาบาลอัลจาลารายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 28 คนจากการประท้วงเมื่อวานนี้ในเมืองเบงกาซี และมีผู้บาดเจ็บมากกว่า 110 คน จากการประท้วงในวันนี้มีรายงานเพิ่มเติมว่ามีผู้เสียชีวิตอีกอย่างน้อย 3 คน ประชาชนอย่างน้อย 15 คนถูกสังหารในระหว่างการประท้วงที่เรียกว่า “วันแห่งความโกรธแค้น” เมื่อวานนี้ในเมืองอัล-เบดาซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมืองเบงกาซีห่างออกไป 100 กิโลเมตร
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เครือข่ายผู้ย้ายถิ่นในลุ่มน้ำโขง ห่วงความขัดแย้งไทย-กัมพูชา กระทบผู้ผลัดถิ่น-แรงงานข้ามชาติ Posted: 21 Feb 2011 07:16 AM PST แนะอภิสิทธิ์ - ฮุน เซน ยุติการปะทะกันพร้อมใช้มาตรการสันติทุกรูปแบบแก้ปัญหาความขัดแย้ง ร่วมสร้างความมั่นใจต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของผู้พลัดถิ่นบริเวณพรมแดน พร้อมให้ดูแลแรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชาในไทย เมื่อวันที่ 17 ก.พ.ที่ผ่านมา เครือข่ายผู้ย้ายถิ่นในลุ่มน้ำโขง (Mekong Migration Network: MMN) ซึ่งเป็นเครือข่ายขององค์กรภาคประชาสังคมจากประเทศพม่า, กัมพูชา, ลาว, ไทย, เวียดนาม และ ยูนนาน ประเทศจีน ได้ออกแถลงการณ์แสดงความห่วงกังวลต่อความขัดแย้งบริเวณพรมแดนไทย – กัมพูชา โดยแถลงการณ์ดังกล่าวระบุเนื้อหาดังนี้ แถลงการณ์ของเครือข่ายผู้ย้ายถิ่นในลุ่มน้ำโขง Mekong Migration Network แสดงความห่วงกังวลต่อความขัดแย้งบริเวณพรมแดนไทย – กัมพูชา เครือข่ายผู้ย้ายถิ่นในลุ่มน้ำโขง (Mekong Migration Network: MMN) เป็นเครือข่ายขององค์กรภาคประชาสังคมจากประเทศพม่า, กัมพูชา, ลาว, ไทย, เวียดนาม และ ยูนนาน ประเทศจีน ซึ่งได้ทำงานร่วมกันมากว่า 10 ปีในการเสริมสร้างสิทธิของแรงงานข้ามชาติในกลุ่มภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยการทำงานวิจัย, รณรงค์และเสริมสร้างความศักยภาพร่วมกัน เครือข่ายผู้ย้ายถิ่นในลุ่มน้ำโขง (Mekong Migration Network: MMN) มีองค์กรต่างๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิก 37 องค์กร ซึ่งมี 8 องค์กรจากประเทศกัมพูชา และ 18 องค์กรจากประเทศไทย ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของภาคประชาสังคมในลุ่มน้ำโขง พวกเราได้ทุ่มเทในการเสริมสร้างความหลากหลายทางวัฒนธรรมและประโยชน์จากการแบ่งปันความรู้และปัญญา พวกเราตระหนักว่าหลายปีที่ผ่านมาการสื่อสารระหว่างภาคประชาสังคมในลุ่มน้ำโขงมีความยากลำบากมากด้วยเพราะความขัดแย้งที่กระจายอยู่ทั่วภูมิภาค พวกเราได้แบ่งปันความรู้สึกเสียใจที่ภูมิภาคของเราต้องประสบความทุกข์ พวกเราเชื่อและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าภูมิภาคของพวกเราจะสามารถก้าวไปข้างหน้า ก้าวไปไกลจากความขัดแย้งและความเสียใจ แต่สถานการณ์ในวันนี้ระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชานั้นกลับเป็นการถอยหลังมากกว่าที่จะก้าวไปข้างหน้า การใช้กำลังบนความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชาได้ทำให้มีชาวบ้านเสียชีวิต 9 คนและชาวบ้านที่ต้องกลายเป็นผู้พลัดถิ่นอีกกว่า 25,000 คน เครือข่ายผู้ย้ายถิ่นในลุ่มน้ำโขง (Mekong Migration Network: MMN) มีความห่วงกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อผู้พลัดถิ่นกว่าพันคนทั้งชาวไทยและชาวกัมพูชา ผู้ที่ต้องเผชิญความยุ่งยากในชีวิตอย่างรุนแรงจากการปะทะกันระหว่างกองกำลังทหารของทั้งสองฝ่าย และผู้ที่ความปลอดภัยและความมั่นคงในชีวิตยังคงเป็นความเสี่ยงที่สำคัญอย่างยิ่ง • พวกเรายังปรารถนาที่จะแสดงถึงความห่วงกังวลของพวกเรา ต่อการกระทำและคำพูดของรัฐบาลของพวกเราที่เปิดโอกาสให้แก่ผู้ที่ต้องการยุยงให้เกิดความเกลียดชังระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่อันตรายและน่าเศร้าเสียใจอย่างยิ่ง และพวกเราเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าแรงงานข้ามชาติจากประเทศกัมพูชาที่ทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทยอาจจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากการลุกลามของความรู้สึกเกลียดชังชาวต่างชาติซึ่งได้รับการกระตุ้นจากการกระทำของผู้นำรัฐบาล ดังนั้น พวกเราจึงต้องการร้องขอต่อนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ว่า • ควรยุติการปะทะกันของกองกำลังทหารอย่างทันทีและการใช้มาตรการแบบสันติทุกรูปแบบเป็นสิ่งจำเป็นในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง • ควรสร้างความมั่นใจต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของผู้พลัดถิ่นทุกคนที่อยู่บริเวณพรมแดน • ควรแสดงความรับผิดชอบต่อแรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชาในประเทศไทย: สำหรับรัฐบาลไทยเพื่อที่จะให้มั่นใจว่าพวกเขาจะไม่เป็นเหยื่อของอาชญากรรมด้วยเกลียดชัง, พวกเขาจะไม่ถูกส่งกลับประเทศเพียงแค่พวกเขาเป็นชาวกัมพูชา และพวกเขาสามารถใช้ชีวิตและทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีความมั่นคง สำหรับรัฐบาลกัมพูชา เพื่อให้มั่นใจว่าแรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงการบริการของสถานทูตได้ตามความต้องการ พวกเราในฐานะภาคประชาสังคมในลุ่มน้ำโขงปรารถนาที่จะแบ่งปันวันพรุ่งนี้ของพวกเราอย่างสันติและอย่างน่าปิติยินดี และเพื่อให้เป็นเช่นนั้น พวกเราเชื่อว่าพวกเราจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะแบ่งปันจากเมื่อวานของพวกเรา Email: info@mekongmigration.org
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทหารพม่ารุมข่มขืนหญิงสาวชาวปะหล่องในรัฐฉาน Posted: 21 Feb 2011 06:34 AM PST เว็บไซต์คนเครือไท รายงานข่าว ทหารพม่าในรัฐฉานยังก่อเหตุข่มขืนหญิงต่อเนื่อง ล่าสุดรุมข่มขืนหญิงสาวชาวปะหล่อง วัย 16 ปี ขณะเดินทางออกบ้านเพียงลำพัง มีรายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุทหารพม่า 6 นาย จากฐานส่วนแยกซึ่งตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างบ้านน้ำหม่อเงิน-ท่าก้อ เป็นทหารสังกัดกองพันทหารราบเบาที่ 574 มีฐานบัญชาการอยู่ที่เมืองเชียงตอง รัฐฉานภาคใต้ ได้รุมข่มขืนหญิงสาวชาวปะหล่องคนหนึ่ง อายุ 16 ปี ชาวบ้านหลอยฮาง ตำบลผางลาง อยู่ฝั่งตะวันออกแม่น้ำสาละวิน ทั้งนี้ เหตุเกิดขณะที่หญิงสาวคนดังกล่าว กำลังเดินทางจากหมู่บ้านของเธอคือบ้านหลอยฮาง เพื่อไปยังหมู่บ้านน้ำหม่อเงิน ซึ่งอยู่ห่างกันเพียงประมาณ 1 กิโลเมตร ระหว่างทางได้พบกับทหารพม่าจำนวน 6 นาย กำลังทำหน้าที่เฝ้าเวรยามบนเส้นทางสายดังกล่าวอยู่ ซึ่งเมื่อทหารพม่าเห็นเธอได้เรียกเธอเข้าไปหา จากนั้นทหารพม่าได้ร่วมกันจับตัวเธอพร้อมกับใช้ผ้าปิดตาไว้และร่วมกันรุมข่มขืนจนครบก่อนปล่อยตัวเธอไป แหล่งข่าวเผยว่า หลังหญิงสาวผู้เคราะห์ร้ายกลับถึงบ้านได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้กับผู้เป็นพ่อและแม่ฟัง ซึ่งผู้เป็นพ่อและแม่ไม่กล้าที่จะไปแจ้งความเอาผิดทหารที่ก่อเหตุแต่อย่างใด เนื่องจากเกรงจะถูกทำร้าย จึงได้แต่เก็บเรื่องเงียบไว้เท่านั้น ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ http://www.khonkhurtai.org/ "คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
‘ชวน’ แนะงดอาหารทอดแก้วิกฤตน้ำมันปาล์ม - ‘กรณ์’ รับคุมราคาสินค้ายาก! ให้คนไทยทำใจ Posted: 21 Feb 2011 06:20 AM PST ปธ.สภาที่ปรึกษา ปชป.เสนอไอเดียแก้ปัญหาน้ำมันปาล์มขาดแคลน แนะ ปชช.ถือโอกาสรักษาสุขภาพปรับพฤติกรรมหันบริโภคอาหารประเภทต้ม-นึ่ง แทน ด้าน รมว.คลังยอมรับคุมราคาสินค้าทุกประเภทได้ยาก! ประชาชนต้องทำใจ เหตุเป็นเรื่องของดีมานด์-ซัพพลาย ‘ชวน’ ไอเดียบรรเจิด แนะ ปชช.บริโภคอาหารต้ม-นึ่ง แก้วิกฤตน้ำมันปาล์ม ASTVผู้จัดการออนไลน์: วันนี้ (21 ก.พ.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ถึงวิกฤตน้ำมันปาล์ม ว่า ตนเห็นใจรัฐบาลที่ขณะนี้ทราบว่าได้พยายามแก้ไขปัญหาอยู่ อย่างไรก็ตาม อยากแนะนำให้หน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ให้คำแนะนำกับประชาชนต่อกรณีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค อาทิ จากเดิมที่รับประทานอาหารทอด เปลี่ยนมาเป็นอาหารทอด หรือ นึ่ง ซึ่งตนมองว่าเป็นผลดีต่อสุขภาพด้วย เพราะอาหารทอด หรืออาหารนึ่งไม่มีคอเรสเตอรอลสูง “ผมได้พูดคุยกับชาวบ้าน และพรรคพวกในพื้นที่ภาคใต้ ถึงเรื่องปัญหาราคาน้ำมัน เขาก็บอกว่าจะหันมากินอาหารนึ่ง หรือ ต้มแทน แต่กลุ่มผู้ค้าของทอด เช่น กล้วยทอด คงทำได้ยาก แต่หากผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปกินอาหารต้ม หรือ นึ่ง จะทำให้มีน้ำมันสำหรับผู้ค้ากล้วยทอดได้ ผมเห็นใจคนที่เข้าคิวซื้อน้ำมัน เชื่อว่าปัญหานี้ไม่นานจะคลี่คลายได้ เพราะผลผลิตของต้นปาล์มของเกษตรกรเตรียมออกสู่ตลาดแล้ว” นายชวน กล่าว เมื่อถามถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยอ้างว่าปัญหาวิกฤตน้ำมันปาล์มมีนักการเมืองอักษร “ส.” มีส่วนทุจริตเรื่องสต๊อกน้ำมัน นายชวน กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ต้องประณาม และต้องเอาผิดทางกฎหมายนักการเมืองที่เข้าไปแสวงหาผลประโยชน์บนความเดือดร้อนของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง อักษรย่อใดๆ ก็ตาม ส่วนกรณีที่มีชื่อของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ เข้าไปเกี่ยวข้องกับการหาผลประโยชน์ด้วย นายชวน กล่าวสั้นๆ ว่า “ให้ท่านไปจัดการเอง” ‘กรณ์’ รับคุมราคาสินค้ายาก! คนไทยต้องทำใจ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์: นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะคณะกรรมการติดตามโครงการประชาวิวัฒน์ กล่าวถึงราคาน้ำมันปาล์มราคาแพงว่า รัฐบาลไม่สามารถควบคุมราคาสินค้าไม่ให้แพงได้ทั้งหมด ดังนั้นราคาสินค้าบางอย่างแพงขึ้นก็เป็นเรื่องที่ต้องทำใจ ที่ผ่านมาพยายามชดเชยรายได้ หรือไม่เพิ่มรายจ่ายให้กับประชาชนในทางอื่น เช่น การตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกินลิตรละ 30 บาท ทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้นไปอีก ซึ่งรัฐบาลมีเงินกองทุนน้ำมันอีก 2 หมื่นล้านบาท ในการชดเชยราคาน้ำมันดีเซล “รัฐบาลไม่สามารถไปดูแลราคาสินค้าทุกประเภทได้ เพราะมันขึ้นอยู่กับปริมาณ ความต้องการสินค้า และปริมาณสินค้าในท้องตลาดที่มีจริง แต่บางประเภทสินค้าที่เราดูแลได้ และส่งผลต่อค่าครองชีพของประชาชนก็ถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องดูแลประชาชน” นายกรณ์กล่าว รมว.คลัง กล่าวอีกว่า ได้รายงานความคืบหน้าโครงการประชาวิวัฒน์ 9 มาตรการ ให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รับทราบที่ดำเนินการมา 5 สัปดาห์ ซึ่งแต่ละมาตรการอยู่ระหว่างดำเนินการ พรทิวาชง 2 แนวทางแก้ปาล์ม เว็บไซต์โพสต์ทูเดย์: นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ (พณ.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ในวันที่ 22 ก.พ.นี้ พณ.จะเสนอ 2 แนวทางในการแก้ไขปัญหาวิกฤตน้ำมันปาล์มขาดแคลนและราคาแพง โดยแนวทางแรก จะเสนอให้มีการอนุญาตนำเข้าน้ำมันปาล์มเสรี แต่ห้ามการส่งออกชั่วคราว 3 เดือน เพื่อปรับปริมาณให้สอดคล้องกับสถานการณ์การขาดแคลนในประเทศ โดยราคาขายขึ้นอยู่กับภาคเอกชนบริหารจัดการ จะขึ้นลงตามกลไกตลาด ขณะที่แนวทางที่ 2 ให้ปรับเงื่อนไขการนำเข้าน้ำมันปาล์ม 1.2 แสนตัน จากมติเดิมของคณะกรรมการฯให้นำเข้าน้ำมันปาล์มแยกไขเพียงอย่างเดียว เปลี่ยนเป็นนำเข้าน้ำมันปาล์มสำเร็จรูปเข้ามาด้วยบางส่วน และกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันปาล์มขวดละ 47 บาท “รัฐบาลจะต้องจัดหางบประมาณชดเชยส่วนต่าง ซึ่งจะเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการนำเข้าระดับชาติขึ้นมาอีก 1 ชุด มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเข้ามาเป็นประธาน ขึ้นมาดูแลชั่วคราวในการบริหารเงินชดเชยส่วนต่างจากการนำเข้าน้ำมันปาล์ม 1.2 แสนตัน เพื่อป้องกันข้อครหาในการทุจริต” นางพรทิวากล่าว อย่างไรก็ตาม แนวทางที่ 2 หากจะอุดหนุนให้น้ำมันปาล์มจำหน่ายได้ขวดละ 47 บาท เบื้องต้นจะใช้งบประมาณ 1,006 ล้านบาท คำนวณจากต้นทุนการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบแยกไข ณ วันที่ 11 ก.พ. ราคา 42.58 บาท/กก. ทำให้ต้องชดเชยในอัตา 8.39 บาท/กก. เพราะราคาขายน้ำมันปาล์มบรรจุขวดที่ 47 บาท ต้นทุนอยู่ที่ 34.19 บาท/กก. เท่านั้น เกษตรฯ ยันให้ทบทวนการนำเข้าหวั่นล้นตลาด นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ(กปน.)ในวันที่ 22 ก.พ.ว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังยืนยันว่า ควรมีการทบทวนการนำเข้านำมันปาล์ม 1.2 แสนตัน เนื่องจากเกรงว่า จากความไม่ชัดเจนในเรื่องระยะเวลาและขบวนการนำเข้าทำให้ไม่สามารถเชื่อได้ว่า กระทรวงพาณิชย์จะกำกับดูแลให้การนำเข้าเป็นไปตามแผนได้ และที่สุดจะทำให้เกิดปัญหาน้ำมันปาล์มล้นตลาดในเดือน มี.ค.โรงงานไม่ซื้อน้ำมันใหม่จะกระทบกับเกษตรกรผู้ผลิตทั้งประเทศซึ่งในเดือน มี.ค.คาดว่าผลผลิตปาล์มสดในประเทศจะมากถึง 1 ล้านตัน เพื่อไทยอ้างเด็กประชาธิปัตย์เอี่ยวปัญหาปาล์ม นายวิม รุ่งวัฒนจินดา รองโฆษกพรรคเพื่อไทย (พท.) และทีมงานด้านเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย แถลงว่ากรณีปัญหาราคาน้ำมันปาล์มแพง ทำให้รัฐบาลตื่นตัวแต่แก้ปัญหาล่าช้า พรรคมองว่ารัฐบาลแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ทั้งนี้การให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มาตรวจสอบถือเป็นเรื่องที่ดี แต่การไปตรวจผู้ผลิตน้ำมันขวดเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุไม่ตรงจุด เนื่องจากมีสต็อกจำกัด ก่อนหน้านี้มีการขายน้ำมันให้รัฐวิสาหกิจและเอกชนไปแล้ว ทำให้ขาดตลาด “รัฐบาลแก้ปัญหานี้แบบไม่เด็ดขาด ทั้งๆที่มีคนในพรรคประชาธิปัตย์ เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง "พ" "ส" "อ" และ "อ" และ "อ" สุดท้ายคือ นางอัญชลี วานิช เทพบุตร เลขาธิการนายกฯ ที่มีธุรกิจปาล์มเยอะ มีสวนปาล์มเป็นหมื่นๆไร่” นายวิม กล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขปส.จวก “รมว.พม.” ขวางเปิดเขื่อนปากมูลถาวร - “อานันท์” ฟังปัญหา แจงพร้อมช่วยแต่ไร้อำนาจ Posted: 21 Feb 2011 05:09 AM PST กลุ่มสมัชชาคนจนพาชาวบ้านยื่นหนังสือคณะกรรมการปฎิรูป "อานันท์" ระบุพร้อมช่วยแต่ไม่มีอำนาจทางบริหาร ด้านขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ออกแถลงการณ์ “หยุดพฤติกรรมหลักกู ของนายอิสสระ สมชัย ใช้หลักการตามกระบวนการทางวิชาการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล” อานันท์ฟังปัญหาสมัชชาคนจนพร้อมช่วยแต่ไร้อำนาจ เว็บไซต์คมชัดลึก รายงานว่าวันนี้ (21ก.พ.54) เมื่อเวลา 16.00 น.วันที่ 21ก.พ.ที่บ้านพิษณุโลก กลุ่มสมัชชาคน (สคจ.) ประมาณ 100 คน นำโดย นายปริวัฒน์ ปิ่นทอง ในฐานะรองประธานคณะกรรมการชาวบ้านฟื้นฟูวิถีชุมชนลุ่มแม่น้ำมูล (ชชช.) เข้ายื่นหนังสือถึงนายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย กรณีการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล โดยระบุว่าการแก้ไขปัญหาโดยการเปิดเขื่อน 4 เดือน และปิดเขื่อน 8 เดือน เป็นวิธีการดำเนินการที่ไม่วางอยู่บนฐานของความรู้ หรือหลักเหตุผล รวมถึงอัตราของความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุด ทาง สคจ.เห็นว่าการแก้ปัญหาต้องเริ่มจากการรับฟังข้อเท็จจริงจากภาควิชาการ และผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งการเปิดเขื่อนตลอดปีจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้ระบบนิเวศน์ วิถีชีวิต และสัตว์น้ำในแม่น้ำฟื้นคืนกลับมาอย่างยั่งยืน ทาง ชชช.จึงขอให้คณะกรรมการปฏิรูปฯ ใช้โอกาสในการปฏิรูปโครงสร้างสังคม นำกระบวนการแก้ไขปัญหาทั้งในอดีต และปัจจุบันเป็นกรณีศึกษาการจัดการน้ำ และสิทธิชุมชน พร้อมทั้งช่วยผลักดันการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ตามช่องทางที่คณะกรรมการเห็นสมควร นายอานันท์ กล่าวว่า ตนมีโอกาสไปเขื่อนปากมูลหลายครั้ง แต่ตนไม่มีอำนาจในทางบริหาร เนื่องจากการแก้ไขปัญหาเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตนสามารถช่วยเหลือได้เพียงกว้างๆ โดยคณะคณะปฏิรูปของตนมีหน้าที่สร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เป็นปัญหาหลักของประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ปัญหาดังกล่าวเกิดจากอำนาจของรัฐ และตนจะพยายามเดินหน้าปฏิรูปประเทศด้วยการลดอำนาจ เพิ่มอำนาจให้กับประชาชน ขปส.อัด “รมว.พม.” เกณฑ์ชาวบ้านสร้างภาพค้านปิดเขื่อน ด้านขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม อันประกอบด้วยชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการของรัฐ อาทิ สมัชชาคนจน เครือข่ายปฎิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) สลัม 4 ภาค และเครือข่ายปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) ซึ่งปักหลักชุมนุมอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ออกแถลงการณ์ “หยุดพฤติกรรมหลักกู ของนายอิสสระ สมชัย ใช้หลักการตามกระบวนการทางวิชาการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล” เรียกร้องให้รัฐบาลสั่งการให้เปิดเขื่อนปากมูลตลอดปี ตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการ 2 ชุดที่รัฐบาลตั้งขึ้นซึ่งต่างยอมรับว่า การสร้างเขื่อนปากมูลส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศน์ วิถีชีวิตของชุมชนที่ส่วนใหญ่เป็น รวมทั้งไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้เขื่อนในการสร้างเสถียรภาพให้กับระบบไฟฟ้า แถลงการณ์ระบุเนื้อหาดังนี้ แถลงการณ์ ฉบับที่ 7 (ฉบับพิเศษ 2) หยุดพฤติกรรมหลักกู ของนายอิสสระ สมชัย ใช้หลักการตามกระบวนการทางวิชาการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ตามที่รัฐบาลได้ดำเนินแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล โดยแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล โดยมีกระบวนการมีส่วนร่วมจากทั้งฝ่ายบริหาร หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ และผู้แทนของสมัชชาคนจน ต่อมา คณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบรายงานของคณะอนุกรรมการศึกษาข้อมูลงานวิจัยและข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล และรายงานของคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปากมูล ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 3553 สาระสำคัญของรายงานทั้งสองฉบับ ยอมรับว่า การสร้างเขื่อนปากมูล และการใช้ประโยชน์จากเขื่อน ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศน์ วิถีชีวิตของชุมชนที่ส่วนใหญ่เป็นชาวประมง ซึ่งตั้งถิ่นฐานก่อร่างสร้างชุมชนและสร้างสรรค์วัฒนธรรมของท้องถิ่นมาเป็นเวลายาวนานหลายร้อยปี นอกจากนั้น ปัจจุบันเขื่อนปากมูลไม่มีความจำเป็นต่อการผลิตไฟฟ้าเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบ รวมทั้งไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้เขื่อนในการสร้างเสถียรภาพให้กับระบบไฟฟ้า เนื่องจากเขื่อนห้วยเฮาะสามารถป้อนปริมาณไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ อีกทั้งยังสามารถเชื่อมสายไฟจากเขื่อนน้ำเทิน 2 ซึ่งกำลังจะเปิดใช้ในเร็วๆนี้ เพื่อป้อนไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ ส่วนการใช้เขื่อนเพื่อวัตถุประสงค์ด้านชลประทาน ก็ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง การศึกษาพบว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำนาในหน้าฝน ไม่นิยมทำนาในหน้าแล้ง เนื่องจากปัญหาของคุณภาพดิน การทุ่มงบประมาณจำนวนมากเพื่อสร้างคลองส่งน้ำ อีกทั้งลักษณะพื้นที่ริมแม่น้ำเป็นตลิ่งสูง ต้องใช้ไฟฟ้าเพื่อสูบน้ำ ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ส่วนปัญหาเรื่องท่อสูบน้ำ กรมชลประทานยอมรับว่า สามารถแก้ปัญหาได้ไม่ยากด้วยการเปลี่ยนเป็นสถานีสูบน้ำแบบแพลอย ในอดีต การแก้ปัญหาของเขื่อนปากมูลโดยใช้การเปิดๆปิดๆ (เปิด 4 ปิด 8) เป็นวิธีการดำเนินการที่ไม่ได้วางอยู่บนฐานของความรู้หรือหลักเหตุผลใดๆ แม้แต่การเปิดปิดก็ไม่วางอยู่บนฐานของความต้องการเรื่องอัตราความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุด ดังนั้น ข้อเสนอของรายงานทั้งสองฉบับจึงเห็นสอดคล้องว่า การแก้ปัญหาเขื่อนปากมูล จะต้องเริ่มต้นจากการยอมรับข้อเท็จจริงจากการศึกษาทางวิชาการ และการรับฟังความเห็นของผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างตรงไปตรงมา การเปิดเขื่อนปากมูลตลอดปี และการฟื้นฟูเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบมาตลอด 20 ปี เป็นแนวทางที่จะช่วยให้ระบบนิเวศน์ วิถีชีวิต และพันธุ์ปลาในแม่น้ำมูล ฟื้นคืนกลับมาได้อย่างยั่งยืน ต่อมาเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554 ได้มีการเจรจากันระหว่างตัวแทนขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) กับทางรัฐบาลโดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เป็นประธานการเจรจา ในการเจรจาดังกล่าว ที่ประชุมเห็นชอบที่จะนำข้อสรุปการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล เข้าสู่การพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งจะทำให้ปัญหาที่หมักหมมมากว่า 20 ปีได้รับการแก้ไข ขณะที่การแก้ไขปัญหากำลังเดินหน้า วันนี้ (21 กุมภาพันธ์ 2554) นายอิสสระ สมชัย รมต.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้มีการเคลื่อนไหวเพื่อขัดขวางการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ด้วยการรวบรวมรายชื่อชาวบ้านโดยผ่านกลไกของจังหวัดอุบลฯ เพื่อที่จะสร้างภาพว่ามีชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ยืนยันว่ากระบวนการหาข้อสรุปเพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา ดำเนินการมาตามหลักการมาตรฐานทางวิชาการที่สังคมยอมรับ และขอประณามการกระทำของนายอิสสระ สมชัย ที่พยายามใช้หลักกู มาขัดขวางการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล พร้อมกันนี้พวกเราขอให้นายกรัฐมนตรี ใช้ความเป็นผู้นำในการยืนยันหลักการที่ถูกต้อง อย่าค้อมหัวให้กับนายอิสสระ สมชัย ที่จะใช้หลักกูเหนือหลักการ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ยับยั้งพฤติกรรมของนายอิสสระ สมชัย ในทันที พร้อมกับผลักดันการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูลให้เป็นไปตามข้อตกลง ที่ให้ไว้กับพวกเรา คนจนทั้งผองพี่น้องกัน ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม 21 กุมภาพันธ์ 2554
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เอ็นบีทีแจง "ปริย" แสดงความเห็นส่วนตัว-ไม่เกี่ยวงานข่าว Posted: 21 Feb 2011 04:32 AM PST กรณี "ปริย" ตัวแทนเอ็นบีทีวิพากษ์การทำงานองค์กร แฉรัฐบาลใช้เป็นเครื่องมือ ล่าสุด เอ็นบีที ออกหนังสือแจง คอป. "ปริย" แสดงความเห็นส่วนตัว เพิ่งบรรจุงานหลังเหตุการณ์เม.ย.-พ.ค. ซ้ำไม่เกี่ยวงานข่าว กรณีคณะอนุกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง จัดโครงการรับฟังข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบ “กรณีการปะทะบริเวณสี่แยกคอกวัว 10 เมษายน 2553” เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 54 ที่สำนักงาน คอป. โดยนายปริย นวมาลา ตัวแทนสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที) ได้วิจารณ์การทำงานของสถานีฯ ว่า รัฐบาลพยายามที่จะใช้สื่อ คือ เอ็นบีที ไม่ว่าจะเป็นข้อความตัววิ่งหน้าจอหรือการจัดเวทีสนทนาจะต้องเชิญวิทยากรที่คิดเหมือนกับรัฐบาลมาแสดงความเห็นผ่านโทรทัศน์ โดยที่ผู้จัดไม่สามารถหาคนที่เป็นกลางหรือฝ่ายที่คิดเห็นแบบเดียวกับเสื้อแดงมาออกรายการได้ เพื่อที่จะโจมตีกลุ่มผู้ชุมนุมเหมือนเป็นการราดน้ำมันลงในกองไฟ ซึ่งเอ็นบีทีกลายเป็นสื่อที่จุดชนวนความรุนแรงให้เกิดขึ้นนั้น ล่าสุด เมื่อวันที่ 16 ก.พ. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ได้ส่งหนังสือถึงคณะอนุกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง เรื่อง คำชี้แจงที่คลาดเคลื่อนและไม่เป็นจริง โดยเนื้อหาหนังสือระบุว่า กรณีดังกล่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย โดยหัวหน้างานประชาสัมพันธ์ ได้มอบหมายให้นายปริย นวมาลา พนักงานราชการ ตำแหน่งนักประชาสัมพันธ์ไปร่วมรับฟัง แต่นายปริยได้แสดงความเห็นส่วนตัว โดยขณะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2553 นั้น นายปริยยังไม่ได้มาทำงานที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และเพิ่งบรรจุเป็นพนักงานราชการเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2553 นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่า ที่สำคัญ นายปริยไม่ได้ทำงานเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานออกอากาศตลอดจนเป็นผู้สื่อข่าว ช่างภาพ หรือผลิตรายการใดๆ ทั้งสิ้น โดยมีหน้าที่ในการถ่ายภาพนิ่งกิจกรรมของสถานีฯ ดังนั้น การแสดงความคิดเห็นของนายปริยจึงเป็นความเห็นส่วนตัวมากกว่า เพราะไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ และที่สำคัญยังไม่ผ่านการทดลองงาน แต่ได้รับมอบหมายให้ไปรับฟังเพราะเจ้าหน้าที่ที่เป็นผู้รวบรวมเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่ระหว่างลาพักร้อน สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ชี้แจงด้วยว่า ระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองนั้น สถานีฯ ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเสนอข่าว การรายงานข่าว หรือข้อความอักษรวิ่ง เพื่อเป็นการให้ข้อมูลกับประชาชนอย่างรอบด้าน และผู้ร่วมรายการทุกคนที่ได้รับเชิญมาร่วมรายการล้วนแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิตลอดจนมีความรู้กับประเด็นที่ต้องการ หากจะมีคำสั่งใดๆ ให้เป็นการสั่งการในการบังคับบัญชาตามปกติ แต่ในส่วนที่มีความยากลำบากในการปฏิบัติงานคือต้องมีการระมัดระวังและเสียขวัญ คือการถูกคุกคามจากกลุ่มบุคคลที่ลอบยิงระเบิดเอ็ม 79 เข้ามาในสถานีฯ ถึง 3 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการมาชุมนุมหน้าสถานีฯ บ่อยครั้งด้วยกลุ่มคนจำนวนมาก ทำให้บุคลากรไม่ได้รับความสะดวกในการปฏิบัติงานเท่าที่ควร ------------------------------------ ที่ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) มีการประชุมแสดงความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุปและตรวจสอบหาความจริงจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม 2553 โดยยกกรณีเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน 2553 ในวันที่เจ้าหน้าที่ขอคืนพื้นที่ถนนราชดำเนิน จนเหตุการณ์รุนแรงลุกลามทำให้ทั้งสองฝ่าย คือ พลเรือนและทหารเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก ในการประชุมแสดงความคิดเห็นในครั้งนี้ ทาง คอป. ได้เชิญตัวแทนจากสถานีโทรทัศน์ "เอ็นบีที" มาแสดงความคิดเห็นในฐานะสื่อที่ทำหน้าที่รายงานสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น มีรายการวิพากษ์วิจารณ์ มีการออกแถลงการณ์ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานกาณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) และภาพเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น นับว่าเป็นสื่อหลักที่ประชาชนคอยติดตามข่าวในช่วงเวลานั้น นายปริย นวมาลา เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์สถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที ได้กล่าวในประชุมสะท้อนภาพการทำงานของสื่อเอ็นบีทีว่า รัฐบาลพยายามที่จะใช้สื่อ คือ เอ็นบีที ไม่ว่าจะเป็นข้อความตัววิ่งหน้าจอหรือการจัดเวทีสนทนาจะต้องเชิญวิทยากรที่คิดเหมือนกับรัฐบาลมาแสดงความเห็นผ่านโทรทัศน์ โดยที่ผู้จัดไม่สามารถหาคนที่เป็นกลางหรือฝ่ายที่คิดเห็นแบบเดียวกับเสื้อแดงมาออกรายการได้ เพื่อที่จะโจมตีกลุ่มผู้ชุมนุมเหมือนเป็นการราดน้ำมันลงในกองไฟ ซึ่งเอ็นบีทีกลายเป็นสื่อที่จุดชนวนความรุนแรงให้เกิดขึ้น "รัฐบาลพยายามใช้องค์กรของผม ถ้าสังเกตจากตัววิ่งที่ขึ้นหน้าจอ จะเห็นว่ามีข้อความด่าคนไทยอีกกลุ่มหนึ่งที่คิดไม่เหมือนกับรัฐบาลในรายการสนทนาทางผู้จัดทำรายการที่จะเชิญวิทยากรมาพูดถึงความรุนแรงในช่วงนั้น ไม่สามารถที่จะเชิญนักวิชาการที่มีความเป็นกลางหรือความคิดเห็นทางฝ่ายเสื้อแดงได้ คือ พูดง่ายๆ ระบุมาแล้วว่า จะต้องเอาคนที่คิดเหมือนรัฐบาลเท่านั้น เพื่อมาแสดงความคิดเห็นโจมตีกลุ่มผู้ชุมนุมกลุ่มประชาชนที่เห็นแตกต่างจากรัฐบาล ตรงนั้นเป็นส่วนที่เหมือนกับการราดน้ำมันลงไปในกองไฟ รัฐบาลเองก็ไม่ได้ใช้สมอง ในการเลือกหนทางที่จะแก้ปัญหาให้ถูกต้อง" นายปริย กล่าว "ทำไมผมถึงพูดแบบนี้เพราะว่าองค์กรของผมได้รับความเดือดร้อนไม่ว่าจะเป็นระเบิดเอ็ม 79 ก็ยอมรับว่า บางรายการนำเสนอเนื้อหาที่ไม่สร้างสรรค์ เจ้าหน้าที่จากหลายฝ่ายยอมรับว่า บุคลากรและเจ้าหน้าที่ก็เป็นบุคคลที่น่าเห็นใจ ไม่ว่ารัฐบาลใดจะมาก็ต้องทำไปตามเนื้อหาที่รัฐบาลต้องการ เพราะว่าสื่อที่ผมทำงานอยู่ก็เป็นตัวจุดชนวนให้เกิดความรุนแรง มีมุมตรงนี้ในเบื้องต้น " นายปริย กล่าว นายปริย กล่าวว่า ความรุนแรงมาจากตรงนี้ส่วนหนึ่งรัฐบาลหลีกเลี่ยงได้ แต่เลือกที่จะมองประชาชนกลุ่มหนึ่งเป็นศัตรูของตัวเอง ทำให้นำพาเหตุการณ์ไปสู่ความรุนแรง ถ้า คอป.จะไปเจาะข้อมูลจากบุคลากรในสถานี เชื่อว่า 90 เปอร์เซนต์ไม่มีใครกล้าพูด เหตุผลก็น่าจะทราบว่าพวกตนรับเงินเดือนจากรัฐบาล แต่ส่วนตัวเห็นใจประชาชนจึงกล้าออกมาพูดเช่นนี้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นักข่าวพลเมือง: ขบวนประชาชนฯ รุกทวง “สุวิทย์” ปลดล็อคโฉนดชุมชนในเขตป่าถึงหน้ากระทรวง Posted: 21 Feb 2011 01:03 AM PST รมว.กระทรวงทรัพย์ฯ หายหน้า ไม่อยู่รับ “ขบวนประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม” ร่วม 1,000 คน ที่เดินเท้าพร้อมโปสการ์ด 1,500 ใบ จากที่ชุมนุมลานพระบรมรูปทรงม้ามาถึงหน้ากระทรวง ส่งรองปลัดเจรจาแทน ด้านผู้ชุมนุมชี้จะกลับอีกครั้งเพื่อตามเรื่อง ชาวบ้านในเครือข่าย คปสม. ภูเก็ต ย้ำจุดยืนให้ส่งมอบพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน 6 พื้นที่ ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพย์ฯ ร้องกระทรวงทรัพย์ฯ ส่งมอบพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน 17 พื้นที่ ซึ่งคณะกรรมการจัดโฉนดชุมชน (ปจช.) พิจารณาอนุมัติแล้ว และให้ยุติการจับกุมดำเนินคดีชาวบ้าน จำเลยโลกร้อนโชว์โปสการ์ดที่ร่วมกันเขียนถึง รมว.สุวิทย์ คุณกิตติ วันนี้ (21 ก.พ.54) เมื่อเวลา 7.00 น.ขบวนเดินรณรงค์ 1,000 คน จากขบวนประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ พีมูฟ (Pmove) ซึ่งประกอบด้วยภาคประชาชนที่รวมตัวกันขึ้น 4 เครือข่าย คือ เครือข่ายสมัชชาคนจน (กรณีปัญหาเขื่อนปากมูล) เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) เครือข่ายสลัม 4 ภาค และ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย (คปท.) จากบริเวณหน้ สืบเนื่องมาจาก ความพยายามในการผลักดันนโยบายจัดการที่ดินในรูปแบบ “โฉนดชุมชน” จนส่งผลให้มีการมอบโฉนดชุมชนโดยการรับรองของรัฐบาลแห่งแรกของประเทศแก่สหกรณ์บ้านคลองโยง จ.นครปฐม มีพื้นที่ที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขบวนของกลุ่มพีมูฟเดินทางถึงบริเวณหน้ากระทรวงทรัพย์เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น.จากนั้นได้มีการเปิดเวทีปราศรัยเกี่ยวกับกรณีปัญหาของชุมชนพร้อมเสนอทางออกของปัญหา และมีการนำโปสการ์ดจำนวนกว่า 1,500 ใบ ที่เขียนโดยผู้ชุมนุมเพื่อนำไปมอบให้ นายสุวิทย์ แต่มีการแจ้งจากภายในกระทรวงทรัพย์ฯ ว่านายสุวิทย์ ได้เดินทางออกไปก่อนหน้านี้แล้ว อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลา 12.00-14.00 น.ตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุมได้เข้าเจรจากับ นายสุรพล ปัตตานี รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนายสุรพลได้รับเรื่อง และทำการบันทึกปัญหารวมทั้งข้อเสนอของกลุ่มผู้ชุมนุม โดยรับปากว่าจะนำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อ รมว.กระทรวงทรัพย์ฯ ปลัดกระทรวง รวมทั้งรองปลัดกระทรวงอีกท่านหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ประธานในคณะกรรมการพิจารณาเรื่องโฉดชุมชนของกระทรวงทรัพย์ฯ ภายในวันนี้ จากนั้นผู้ชุมชุนได้เดินทางกลับไปยังที่ชุมนุมบริเวณลานพระรูปโดยมีข้อสรุปว่าจะมาติดตามเรื่องต่ออีกครั้งหนึ่ง นส.พงษ์ทิพย์ สำราญจิตต์ ที่ปรึกษาเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศ “ประเด็นสำคัญที่ท่าน รมต.สาทิตย์ รับปากว่าจะเข้า ครม.จะมีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบฯโฉนดชุมชน ที่เป็นอุปสรรคและข้อจำกัดในการดำเนินงานโ ด้าน อ.เดชรัต สุขกำเนิด เลขานุการคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย กล่าวว่า เห็นด้วยกับนโยบายโฉนดชุมชน เพราะไม่ได้เป็นเพียงการแก้ปัญหาความเดือด “การพูดถึงโฉนดชุมชนต้องพูดในเชิงผลลัพธ์ ว่าอยากเห็นอะไรในชุมชน ยกตัวอย่างการจัดการโฉนดชุมชนในพื้นที่ป่า ทั้งนี้ พื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน ซึ่งกำลังผลักดันให้ทางกระทรวงทรัพย์ส่งมอ แถลงการณ์ ฉบับที่ 7 “องคุลีมาลยังคิดกลับใจ แล้วเหตุใดสุวิทย์ ไม่คิดกลับลำ” 7 มิถุนายน 2553 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ. 2553 ประกาศให้ระเบียบสำนักนายกฯ เริ่มใช้และดำเนินการได้อย่างเป็นทางการ หลังจากนั้นรัฐบาลก็ได้พยายามผลักดันให้ชุมชนที่มีความพร้อม ตรงตาม “ประกาศคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการดำเนินงานโฉนดชุมชน พ.ศ. 2553” ดำเนินเนินการจัดเป็นพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน จนในท้ายที่สุด ได้มีพื้นที่ที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) จำนวนทั้งสิ้น 35 ชุมชน จากจำนวนชุมชนที่เสนอเพื่อการพิจารณาทั้งสิ้น 88 ชุมชนทั่วประเทศ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ หลังจากที่ ปจช.ได้ยื่นเรื่องไปยังกระทรวงที่เป็นเจ้าของพื้นที่ เพื่อขอใช้ประโยชน์ในพื้นที่นั้นๆ ดำเนินการเป็นพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน ตามระเบียบสำนักนายกฯ ผลปรากฏว่า ณ ขณะนี้แทบทุกกระทรวงไม่มีการตอบรับให้ดำเนินการตามคำขอของคณะกรรมการ ปจช. มีเพียงพื้นที่เดียวเท่านั้นจาก 35 พื้นที่ที่ได้มีการจัดทำเป็นพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชนแล้ว คือ ชุมชนคลองโยง อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม จากทั้งหมด 35 พื้นที่ดังกล่าว มี 17 พื้นที่ ที่อยู่ภายใต้การดูแลและรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีนายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ แต่นับจากที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการฯ และคณะอนุกรรมการฯ มีการจัดประชุมเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหามามากกว่า 20 ครั้ง และใน 20 กว่าครั้งนี้ มีการประชุม “คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติและที่ป่าไม้อื่นๆ” ซึ่งมีนายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นประธานเพียงครั้งเดียวเท่านั้น อีกทั้งไม่มีการดำเนินการใดๆ เลยตลอดระยะเวลา 23 เดือนที่ผ่านมา นี่แสดงให้เห็นว่า นายสุวิทย์ คุณกิตติ ไม่เคยใส่ใจปัญหาของคนจนเลยแม้แต่น้อย แต่ ณ วินาทีนี้ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ขอประกาศว่า ที่ผ่านมา คนจนทุกชีวิต ณ ที่นี้ พร้อมที่จะให้อภัยในสิ่งที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ ได้ตัดสินใจผิดพลาดลงไป แต่เราขอเรียกร้องให้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ ได้ไตร่ตรองแล้วตัดสินใจใหม่อีกครั้ง เนื่องจากการตัดสินใจครั้งนี้จะถือว่าเป็นการเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต จะเป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูลของนายสุวิทย์ คุณกิตติ สืบไป ที่สำคัญจะทำให้คนจนได้มีผืนดินเพื่อทำการผลิตเพื่อหล่อเลี้ยงคนทั้งประเทศ เราขอเรียกร้องให้ท่านกลับใจทำความดีลบล้างความผิดพลาดที่ผ่านมา อย่าให้คนจนต้องลุกขึ้นมาร้องถามว่า “ขนาดองคุลีมาลยังคิดกลับใจ แล้วเหตุใด นายสุวิทย์ ไม่คิดกลับลำ” คนจนทั้งผองพี่น้องกัน ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม 21 กุมภาพันธ์ 2554 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "มนุษย์ยุคหิน" Posted: 21 Feb 2011 12:16 AM PST |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น