ประชาไท | Prachatai3.info |
- สมานฉันท์แรงงานไทยหนุนคนงานเดินเท้าเข้ากรุง จี้รัฐตั้ง กก.ร่วมตรวจสอบปัญหา
- หัวไม้: เตือนความจำ: เมื่อคุณสู้อยู่ที่กรุงเทพฯ แต่พวกเขาต้องอยู่หลบกระสุนปืน
- ผอ.ประชาไทได้รับคัดเลือกเป็นอโชก้าเฟลโลว์
- นักข่าวพลเมือง: วันที่ 4 การธรรมยาตราตามหาความเป็นธรรม จากชุมชนบ่อแก้ว–กรุงเทพฯ
- งดนำเข้า "ดิ อิโคโนมิสต์" อีก เหตุเนื้อหา "ไม่เหมาะสม"
- ใต้เท้าขอรับ! หยุดสงครามเดี๋ยวนี้!
- พันธมิตร ดีเดย์ 11 ก.พ. เคลื่อนพล กดดันไล่อภิสิทธิ์
- นิยาม “แรงงาน” อย่างที่ควรจะเป็น เพื่อมองคนให้เป็นคน
- "ชวรงค์" ทวีตให้ใช้ "วิจารณญาณสูง" หากอ่านข่าวไทย-กัมพูชาจาก "AFP"
- ไทย-กัมพูชา ปะทะอีกรอบ!
- หลักประกันทางสังคม ต้องดีกว่านี้
- สันติประชาธรรม-นักวิชาการ-ประชาชนร่วมลงชื่อ เรียกร้องไทย-กัมพูชา หยุดรบทันที
- รายงานเสวนา: กองทัพ การเมือง ประชาธิปไตย
- เปิดตัว “ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน” เสนอแก้ กม.ประกันสังคม ให้รัฐร่วมสมทบเต็มกรณีเจ็บป่วย
- ปี 2010 อัตราคนว่างงานพุ่ง 205 ล้านคน - คนทำงาน เดือนมกราคม 2553
สมานฉันท์แรงงานไทยหนุนคนงานเดินเท้าเข้ากรุง จี้รัฐตั้ง กก.ร่วมตรวจสอบปัญหา Posted: 06 Feb 2011 10:17 AM PST คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยหนุนคนงานเดินเท้าเข้ากรุงเทพฯ จี้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการร่วมหลายฝ่าย ตรวจสอบสถานประกอบการที่มีปัญหา กระทุ้งรัฐกำกับโรงงานที่มี BOI ให้เคารพสิทธิแรงงานและสหภาพแรงงาน (6 ก.พ. 54) คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ออกแถลงการณ์สนับสนุนการต่อสู้ของคนงานภาคตะวันออก ซึ่งอยู่ระหว่างเดินเท้าเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน และปัญหาความปลอดภัยในการทำงานในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยเรียกร้องให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการร่วมจากหลายฝ่าย เพื่อตรวจสอบสถานประกอบการที่มีปัญหา รวมถึงให้มีการแก้ไขกฎระเบียบกติกาการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ให้มีความเข้มงวด มีบทลงโทษ เมื่อมีการละเมิดสิทธิแรงงานและสิทธิสหภาพแรงงานด้วย ----------------
สืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน และปัญหาความปลอดภัยในการทำงานในพื้นที่ภาคตะวันออก ไม่ว่าจะเป็นข้อพิพาทแรงงานของสหภาพแรงงานแม็กซิส ประเทศไทย และสหภาพแรงงานฟูจิซึ ประเทศไทย ที่ทั้งสองสหภาพแรงงานไม่สามารถเจรจาตกลงกับนายจ้างได้ รวมถึงกรณีไฟไหม้โรงงานพีซีบี ประเทศไทย ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๓ คน และบาดเจ็บ ๒๐ คน ซึ่งยังไม่ได้รับค่าชดเชย ซึ่งถือว่าเป็นสถานการณ์ที่รุนแรงในการละเมิดสิทธิแรงงาน นำมาสู่สถานการณ์การเคลื่อนไหวของพี่น้องผู้ใช้แรงงานและสหภาพแรงงานที่ต้องเดินเท้าจากจังหวัดระยองเข้าสู่กรุงเทพฯ เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม และตีแผ่สภาพปัญหาให้สังคมเข้าใจ สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจะเห็นว่ากลุ่มทุนจำนวนมากได้แสดงความไม่สุจริตในการแก้ไขปัญหา ทั้งที่เป็นเรื่องปกติของสหภาพแรงงานในการยื่นข้อเรียกร้อง การที่นายจ้างใช้วิธีการยื่นข้อเรียกร้องสวนให้ยกเลิกสวัสดิการพื้นฐานของคนงาน และยังมีกระบวนการกดดันให้คนงานต้องจำยอมรับเงิน หรือลาออก และยังเห็นได้ว่ากลุ่มทุนมีการรวมหัวกัน “ทำลายสหภาพแรงงาน” อย่างเป็นระบบ ดังที่ปรากฏได้เห็นกันต่อเนื่องมาในหลายสถานประกอบการ และใช้นักกฎหมายหาวิถีทางในการข่มขู่ คุกคาม ฟ้องคดีต่อผู้นำ เพื่อให้สหภาพแรงงานอ่อนแอหรือสลายตัวไป อีกทั้ง รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐทุกระดับ โดยเฉพาะกระทรวงแรงงาน และผู้ว่าราชการจังหวัดก็มีท่าทีที่เพิกเฉย ไม่มีท่าทีในการเร่งรัดเข้ามาแก้ไขปัญหา ทั้งที่มีคนงานเดือดร้อนจำนวนมาก มีทั้งคนท้อง และมีกรณีโรงงานระเบิดที่ไม่ใช่ความผิดของคนงาน นอกจากนี้ภาครัฐยังไม่ได้กำกับควบคุมให้โรงงานที่มี BOI ดำเนินกิจการโดยเคารพสิทธิแรงงาน และสิทธิสหภาพแรงงาน รวมไปถึงการปล่อยให้สถานประกอบการใช้แรงงานข้ามชาติในการทำงาน ในสภาพที่คนงานไทยยังพร้อมจะเข้าทำงาน และแรงงานข้ามชาติเหล่านั้นก็ถูกขูดรีด เอารัดเอาเปรียบอย่างหนักและไร้อำนาจการต่อรอง จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยมีข้อเสนอ (เร่งด่วน) ด้วยกันดังนี้ 1. รัฐต้องตั้งคณะทำงานตรวจสอบสถานประกอบการที่เกิดปัญหา โดยมีองค์ประกอบร่วมของผู้แทนภาครัฐ , กระทรวงแรงงาน , BOI , นิคมอุตสาหกรรม , ตำรวจ และมีผู้แทนของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร่วมอยู่ในคณะทำงานนี้ในอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยคณะทำงานนี้ให้ศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังนี้ 1) กรณีสหภาพแรงงานแม็กซิส ให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน และให้นายจ้างถอนข้อเรียกร้อง 2. การแก้ไขปัญหาเชิงนโยบาย ปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งนี้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย มีจุดยืนในการสนับสนุนการต่อสู้ของพี่น้องที่กำลังเดินเท้าเข้าสู่กรุงเทพฯ อย่างจริงจัง แถลงเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
หัวไม้: เตือนความจำ: เมื่อคุณสู้อยู่ที่กรุงเทพฯ แต่พวกเขาต้องอยู่หลบกระสุนปืน Posted: 06 Feb 2011 10:16 AM PST ขอย้อนรอยความทรงจำจากปากคำของชาวบ้านภูมิซรอลอีกครั้ง ในฐานะที่พวกเขาเป็นมนุษย์ผู้ต้องเผชิญกับชะตากรรมของสงครามที่แท้จริง และบาดเจ็บล้มตายจริง จากการเปิดฉากต่อสู้ สังคมความจำสั้น เป็นคำกล่าวหาเดิมๆ ที่ถูกพิสูจน์ซ้ำซ้ำอีกครั้งสำหรับสังคมไทย ด้วยการปะทะกำลังอาวุธระหว่างทหารไทยและกัมพูชา เป็นเหตุให้มีทหารและพลเรือนบาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งสองฝ่าย "ทีมข่าวการเมือง" ขอย้อนรอยความทรงจำจากปากคำของชาวบ้านภูมิซรอลอีกครั้ง ในฐานะที่พวกเขาเป็นมนุษย์ผู้ต้องเผชิญกับชะตากรรมของสงครามที่แท้จริง และบาดเจ็บล้มตายจริง จากการเปิดฉากต่อสู้ บทสัมภาษณ์ชิ้นแรกที่ประชาไทนำเสนอเกี่ยวกับชาวบ้านภูมิซรอล คือปากคำของคนในพื้นที่ซึ่งปะทะกับผู้ร่วมชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยซึ่งเดินทางเข้าไปประท้วงกัมพูชาถึงชายแดนพร้อมกล่าวหาชาวบ้าน ที่ชายแดนว่า “ไม่รักชาติ” (อ่านย้อนหลัง) บทสัมภาษณ์ชิ้นที่สอง เป็นปากคำจากชาวบ้านภูมิซรอล บอกเล่าถึงวิถีชีวิตที่พลิกผันหลังไทย-กัมพูชาปิดด่านชายแดน (อ่านย้อนหลังที่นี่) นี่คือเสียงของมนุษย์ ที่กำลังเผชิญชะตากรรมอีกครั้ง จากการปะทะกันระลอกล่าสุดระหว่างทหารไทยและกัมพูชา ขณะที่ในกรุงเทพฯ เสียงเพรียกหาศึกสงครามดังเร้าอยู่ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล อ่านเนื้อหาทั้งหมด [คลิกที่นี่] เตือนความจำ: เมื่อคุณสู้อยู่ที่กรุงเทพฯ แต่พวกเขาต้องอยู่หลบกระสุนปืน | "หัวไม้" ใน Blogazine Prachatai, 7 ก.พ. 2554 http://blogazine.in.th/blogs/headline/post/3215 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ผอ.ประชาไทได้รับคัดเลือกเป็นอโชก้าเฟลโลว์ Posted: 06 Feb 2011 09:50 AM PST มูลนิธิอโชก้า ประกาศให้จีรนุช เปรมชัยพร เป็นอโชก้าเฟลโลว์ประจำปี 2011 พร้อมระบุจะติดตามการพิจารณาคดีของจีรนุชอย่างใกล้ชิด มูลนิธิ อโชก้า เป็นองค์กรไม่แสวงกำไรก่อตั้งขึ้นในกรุงวอชิงตัน ดีซี เพื่อสนับสนุนบุคลากรที่ทำงานในภาคประชาสังคมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เริ่มดำเนินงานในประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2532 และจดทะเบียนเป็นมูลนิธิปี พ.ศ. 2547 ปัจจุบันมีอโชก้าเฟลโลว์ จำนวน 84 คน อโชก้าเฟลโลว์คือผู้ประกอบการสังคมที่มูลนิธิอโชก้ายอมรับว่าเป็นผู้ที่มีวิธีการแก้ปัญหาทางสังคมแนวใหม่ และมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแบบแผนทั่วทั้งสังคม โดยผู้ได้รับคัดเลือกต้องผ่านกระบวนการค้นหาและคัดเลือก ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีคุณลักษณะ ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของอโชก้า คือแสดงให้เห็นถึงความแน่วแน่ ที่จะผลักดันแนวคิด และพิสูจน์ให้เห็นว่า ความมุ่งมั่น ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความร่วมมือกัน เป็นพลังสำคัญในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านการเรียนรู้และการศึกษา ปัจจุบันอโชก้าเฟลโลว์ทำงานอยู่ใน 60 กว่าประเทศทั่วโลก จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการและผู้ดูแลเว็บบอร์ดประชาไท เป็นจำเลยในความผิดตามมาตรา 15 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เพราะไม่ได้ลบข้อความในเว็บบอร์ดที่เข้าข่ายขัดต่อกฎหมายดังกล่าว
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
นักข่าวพลเมือง: วันที่ 4 การธรรมยาตราตามหาความเป็นธรรม จากชุมชนบ่อแก้ว–กรุงเทพฯ Posted: 06 Feb 2011 09:49 AM PST ชาวชุมชนบ่อแก้ว อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ เดินรณรงค์มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ ร้องปัญหาข้อพิพาทรัฐกรณีสวนป่าคอนสาร ตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ.53ล่าสุดถึง จ.นครราชสีมาแล้ว พร้อมออกแถลงการณ์ “ยุบ อ.อ.ป.คืนทรัพยากรให้กับสังคม” ติดตามสถานการณ์การเดินทางไกลของชาวชุมชนบ่อแก้ว อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ จำนวนกว่า 100 คน ที่เริ่มต้นเดินรณรงค์จากในชุมชน มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ มาตั้งแต่วันที่ 3 ก.พ.53 เพื่อทวงถามความเป็นธรรม กรณีข้อพิพาทเรื่องการประกาศเขตที่ดินสวนป่าคอนสารซึ่งอยู่ในการดูแลขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ซ้อนทับทำกินของชาวบ้านมากว่า 32 ปี ส่งผลให้เกษตรกรไร้ที่ดินรุกเข้าทำกินในพื้นที่ จนเกิดปัญหากรณี อ.อ.ป.ฟ้องร้องชาวบ้านตามมา วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2554 สืบเนื่องจากราษฎรผู้เดือดร้อนจากกรณีพิพาทสวนป่าคอนสาร จ.ชัยภูมิและสวนป่าพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นกลุ่มเครือข่ายที่ได้รับผลกระทบจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ปลูกต้นยูคาฯ ทับพื้นที่ทำกิน ได้เดินเท้าทางไกล “ประชายาตราตามหาความเป็นธรรม” วันนี้นับเป็นวันที่ 4 ของการเดินทางออกจากชุมชนบ้านบ่อแก้ว ชาวบ้านเดินทางมาถึง จ.นครราชสีมา และปักหลักที่หน้าศาลากลางจังหวัดตั้งแต่เย็น วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 9.00 น. เครือข่ายชาวบ้านผู้เดือดร้อนได้เคลื่อนขบวนรณรงค์เพื่อทำความเข้าใจกับพี่น้องชาว จ.นครราชสีมา โดยใช้เวลาในการเดินรณรงค์ประมาณ 2 ชั่วโมง และหลังจากที่พักรับประทานอาหารกลางวันเสร็จแล้วก็มีการเดินรณรงค์เพื่อทำความเข้าใจต่ออีกในช่วงบ่าย ซึ่งขบวนเดินรณรงค์ได้เคลื่อนผ่านหน้าสำนักงานองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จ.นครราชสีมาด้วย ในช่วงเย็นวันนี้ทางเครือข่ายผู้เดือดร้อนจะมีการเปิดเวทีในการแลกเปลี่ยนพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาที่ได้รับผลกระทบจากองค์การอุตกสาหกรรมป่าไม้ และกรณีขัดแย้งกับหน่วยงานรัฐในแต่ละพื้นที่ที่เดินทางเข้ามาร่วมขบวนเดินรณรงค์ รวมทั้งจะมีการเปิดเวทีวัฒนธรรมเพื่อให้กลุ่มผู้เดือดร้อนได้ผ่อนคลายความเมื่อยล้าหลังจากที่ได้เดินทางแล้วหลายวัน ทั้งนี้ เครือข่ายผู้เดือดร้อนจากกรณีพิพาทสวนป่าพิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ได้เดินทางมาสมทบที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อคืนนี้ประมาณ 100 คน นอกจากนี้เครือข่ายผู้เดือดร้อนจากโนนดินแดง จ.บุรีรัมย์และพี่น้องชุมชนเมืองอำเภอบัวใหญ่ จ.นครราชสีมา จะเดินทางมาสมทบในช่วงเย็นวันนี้ด้วย แถลงการณ์เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน ฉบับที่ 2 “ยุบ อ.อ.ป.คืนทรัพยากรให้กับสังคม” นับเป็นเวลากว่า 64 ปี (พ.ศ.2490 – 2554) ที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ได้กำเนิดขึ้นในสังคมไทย ภายหลังจากที่บริษัททำไม้จากอังกฤษและบริษัทต่างประเทศอื่นๆ สิ้นอายุการสัมปทานในปี 2497 ทั้งนี้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่หลักคือ การทำไม้ในเขตสัมปทาน และการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมป่าไม้และการปลูกสร้างสวนป่า ดังนั้น อ.อ.ป. จึงมีรายได้หลักมาจากการสัมปทานตัดไม้นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2490 – 2531 โดยเป็นผู้สัมปทานไม้รายใหญ่ของประเทศประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่สัมปทาน ดังจะเห็นได้จากตั้งแต่ปี พ.ศ.2490 - 2515 อ.อ.ป.มีกำไรสุทธิรวม 1,739.91 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 66.9 ล้านบาท และปี พ.ศ.2516-2533 อ.อ.ป. มีกำไรสุทธิรวม 5,276.41 ล้านบาท เฉลี่ยปีละ 293 ล้านบาท ก่อนรายได้จะลดลงในปี 2534 และประสบภาวะขาดทุนในปี พ.ศ.2536 เป็นต้นมา กระทั่งประสบปัญหาด้านการเงินอย่างหนัก โดยในปี พ.ศ.2541 อ.อ.ป.ขาดทุนสูงถึง 225.88 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลต้องอุดหนุนองค์กรแห่งนี้ปีละไม่น้อยกว่า 1,200 ล้านบาท ในด้านนิเวศวิทยา อ.อ.ป. คือผู้ทำลายทรัพยากรป่าไม้ที่แท้จริง ตั้งแต่การสัมปทานตัดไม้รายใหญ่ การนำพื้นที่สัมปทานมาปลูกไม้เศรษฐกิจเพื่อตัดขาย โดยพื้นที่สวนป่าในการดูแลของ อ.อ.ป. จำนวน 124 แห่ง เนื้อที่ 1,118,374.935 ไร่ เป็นสวนป่าประเภทที่ปลูกตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้ ทั้งสิ้น 597,646.75 ไร่ ซึ่งการทำไม้จากสวนป่าจะทำให้พื้นที่ป่าของประเทศไทยลดลงจากเดิม และ ในสายตาของประชาชนมองว่า อ.อ.ป. คือผู้ทำลายป่าไม้ เนื่องจากปลูกแล้วตัด หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “โครงการปลูกไม้ ทำลายป่า” นอกจากนี้ พื้นที่ส่วนใหญ่ที่ อ.อ.ป. ปลูกสร้างสวนป่าเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านถือครองทำประโยชน์มาก่อน ทำให้เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งรุนแรงในแต่ละพื้นที่ ซึ่งสภาพเช่นนี้เป็นมาโดยตลอด กระทั่งปัจจุบัน ในสภาพการณ์เช่นปัจจุบันนี้ อาจกล่าวได้ว่า อ.อ.ป.ได้หมดยุคสมัย และหมดความจำเป็นต่อสังคมไทยไปแล้วในทุกด้าน นับตั้งแต่การสิ้นสุดการสัมปทานตัดไม้ในปี พ.ศ.2532 ดังนั้น รัฐบาลต้องยุบองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ แล้วนำพื้นที่มาจำแนกจัดสรรใหม่ทั้งหมด เช่น พื้นที่ที่เหมาะสมในการสงวนไว้เพื่อสิ่งแวดล้อม ส่วนพื้นที่ที่ประชาชนเคยถือครองทำกินมาก่อน ให้นำมาจัดสรรแก่ชาวบ้าน สำหรับบุคลากรของ อ.อ.ป. รัฐบาลควรมีมาตรการดูแลพนักงานเจ้าหน้าที่เหล่านั้น ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติสุข ทั้งนี้ หากสามารถดำเนินการเช่นนี้ได้ รัฐก็จะได้ไม่ต้องสูญเสียงบประมาณไปปีละ 1,000 กว่าล้านบาท ที่ดินสวนป่าเดิมกว่า 1,000,000 ไร่ ก็จะถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อสังคมมากขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่า ผู้บริหารจะมีภาวะผู้นำในการตัดสินใจเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน ด้วยจิตคารวะ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 8.00 น. ก่อนขบวนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากสวนป่าขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จะได้เคลื่อนรณรงค์ในตัวจังหวัดชัยภูมิ ได้มีการอ่านแถลงการณ์สนับสนุนพี่น้องชุมชนบ่อแก้วในการเดินเท้าทางไกล จากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย จากนั้น ได้เคลื่อนขบวนรณรงค์และทำความเข้าใจกับพี่น้องชาวจังหวัดชัยภูมิ เกี่ยวกับปัญหาผลกระทบที่ชาวบ้าน อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ และอ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ได้รับจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้ปลูกยูคาฯ ทับพื้นที่ทำกิน พร้อมทั้งฟ้องขับไล่ชาวบ้าน ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ได้ให้ความสนใจและให้กำลังใจ พร้อมกับบริจาค เงินเพื่อเป็นค่าเดินทางในการต่อสู้ของพี่น้องประชาชน รวมทั้งอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งของต่างๆ ในการเดินเท้าทางไกลใน เวลา 09.30 น. เครือข่ายผู้เดือดร้อนได้ร่วมกันไหว้ ขอพรต่อเจ้าพ่อพระยาแล อันเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของชาวชัยภูมิที่อนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล ซึ่งตั้งอยู่ จากนั้นได้เคลื่อนขบวนรณรงค์ออกจาก จ.ชัยภูมิไปที่ อ.จัตุรัส ซึ่งมีพี่น้องจากอำเภอจัตุรัสที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศที่สาธารณประโยชน์โคกหินลาดข้าวโจ้ อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ มารอต้อนรับอย่างอบอุ่น พร้อมให้กำลังใจและมีการร่วมรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ทั้งนี้ พี่น้องเครือข่าย อ.จัตุรัส ได้มอบข้าวสาร อาหารแห้ง เพื่อเป็นเสบียงในการเดินทางไกลเพื่อเรียกร้องความเป็นต่อสังคมของพี่น้องเครือข่ายผู้เดือดร้อน หลังจากพักผ่อนเป็นที่เรียบร้อยขบวนประชายาตราได้เดินรณรงค์ใน อ.จัตุรัส เพื่อให้พี่น้องชาวอำเภอจัตุรัสได้รับรู้รับทราบเกี่ยวกับปัญหาของ อ.อ.ป. ซึ่งเป็นผลกระทบต่อพี่น้องเครือข่ายเกือบทั่วประเทศไม่ว่าจะเป็นชุมชนบ้านบ่อแก้ว สวนป่าพิบูลมังสาหาร และอื่นๆ อีกหลายพื้นที่ ก่อนเดินทางเข้าสู่ จ.นครราชสีมาต่อไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
งดนำเข้า "ดิ อิโคโนมิสต์" อีก เหตุเนื้อหา "ไม่เหมาะสม" Posted: 06 Feb 2011 09:38 AM PST “ดิ อีโคโนมิสต์” นิตยสารวิเคราะห์การเมือง-เศรษฐกิจชื่อดังถูกห้ามนำเข้าประเทศไทยอีก โดยสายส่งปฏิเสธนำเข้าและจัดส่งหนังสือ เพราะมีเนื้อหาไม่เหมาะสมกับประเทศไทย”
“ดิ อีโคโนมิสต์” นิตยสารวิเคราะห์การเมือง-เศรษฐกิจชื่อดังถูกห้ามนำเข้าประเทศไทยอีก โดยเว็บไซต์ SIU ระบุว่า ตรวจสอบกับร้านขายหนังสือในประเทศ พบว่าไม่มีการวางจำหน่ายนิตยสาร The Economist ฉบับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 เมื่อสอบถามได้รับคำตอบว่า “สายส่งปฏิเสธนำเข้าและจัดส่งหนังสือ เพราะมีเนื้อหาไม่เหมาะสมกับประเทศไทย” ทั้งนี้ จากเนื้อหาออนไลน์พบว่า มีการรายงานข่าวเกี่ยวกับประเทศไทยในกรณีการบังคับใช้กฎหมาย “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ในหัวข้อ “When more is less. The increasing use of lèse-majesté laws serves no one” (เมื่อยิ่งมากก็ยิ่งน้อย การใช้กฎหมายหมิ่นฯ ที่เพิ่มขึ้นไม่ควรมีใครถูกดำเนินคดี) โดยรายงานถึงการขึ้นศาลของ น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท ในคดีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ รวมถึงสถิติการบังคับใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์และกฎหมายอาญา มาตรา 112 บางส่วนจาก สายส่งปฏิเสธนำเข้า The Economist อีก เหตุแตะกฎหมายหมิ่นกรณีคดี “จีรนุช” สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
ใต้เท้าขอรับ! หยุดสงครามเดี๋ยวนี้! Posted: 06 Feb 2011 08:49 AM PST พล.อ.ปฐมพงศ์ เกษรสุข ออกมาเรียกร้องให้สภากลาโหมประชุมเพื่อมีมติเสนอรัฐสภาให้ประกาศสงครามกับประเทศกัมพูชา และให้ประกาศว่า "3 วันจะบุกถึงกรุงพนมเปญ" แน่ละ พล.อ.ปฐมพงศ์ ไม่ใช่ตัวแทนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทั้งหมด แต่นายพลตกสมัยคนนี้ก็พูดเรื่องนี้บนเวทีพันธมิตรฯ ตามด้วยลูกคู่พาเหรดออกมาหนุนมากมาย ในสมัยที่ประเทศในภูมิภาคกำลังจะรวมกันเป็นประชาคมเดียวกัน เรื่องแบบนี้ไม่ต้องไปให้ค่าก็คงจะได้ แต่การปะทะที่เกิดขึ้นตลอดหลายวัน ก็ทำให้สงครามระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ กระนั้นสงครามที่อาจจะมีขึ้น เกิดขึ้นเพื่ออะไร เพื่อพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร เพื่อเกียรติ ศักดิ์ศรีของชาติ เพื่ออธิปไตยของชาติ หรือเพื่ออะไร ทำไมชาติของเรา และความหมายทั้งหมดข้างต้น จึงนิยามได้คับแคบขนาดนี้ ชาติของเรา ไม่ได้รวมถึงความมีน้ำใจ ความเป็นมนุษย์ ความเป็นเหตุเป็นผล ความประนีประนอม ความไม่นิยมความรุนแรง จิตสำนึกในสันติภาพ ใจที่กว้างใหญ่กว่าเขตแดนเส้นสมมติ ฯลฯ หรอกหรือ ทำไมชาติของเรา ไม่สามารถมองนอกกรอบ ไปให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาพื้นที่พิพาทร่วมกัน กระทั่งเป็นสัญลักษณ์ของการหลอมรวมเป็นอาเซียนประชาคมเดียวกัน เฉพาะประสาทพระวิหารที่เป็นมรดกโลกนี้ หากพัฒนาพื้นที่โดยรอบร่วมกัน จะดึงนักท่องเที่ยวได้เท่าไร คนกัมพูชาก็ได้ประโยชน์ คนไทยก็ได้ประโยชน์ คนในพื้นที่ก็ได้ประโยชน์ พิพาทกันเช่นนี้ โดยที่เราพยายามจะยึดมาเป็นของเรา อย่างมากก็เป็นพื้นที่รกร้าง ปลูกได้แต่กับดักระเบิด ซึ่งไม่ได้อะไรขึ้นมาเลย พื้นที่กันดาร 4.6 ตารางกิโลเมตรนี้ พูดจริงๆ รวมแล้วก็ช่างน้อยกว่าพื้นที่อุดมสมบูรณ์ที่นายทุนต่างด้าวถือครอง ทำเงินมหาศาลแล้วขนออกนอกประเทศไม่รู้กี่ร้อยกี่พันหมื่นแสนเท่า การอ้างเกียรติและศักดิ์ศรี อธิปไตย ฯลฯ จึงโบราณ น้ำเน่า และขอโทษนะครับ 'ดัดจริต' แน่ล่ะ เรื่องอธิปไตยเป็นเรื่องที่ต้องตระหนัก แต่เราไม่ได้อยู่ในฐานะผู้ถูกยึดครอง ถูกรุกราน ถูกกดขี่ และพื้นที่ที่มีปัญหานี้เป็นพื้นที่พิพาทที่มีมานาน มีกระบวนการแก้ไขชัดเจนบนโต๊ะเจรจาอยู่แล้ว เราหมดหนทางที่จะเจรจาแล้ว จนกระทั่งมีเหตุผลใดกันจึงต้องมักง่ายหันไปหาวิถีทางของกระบอกปืน ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้เจรจาจริงจังแต่อย่างใดเลย ในสถานการณ์เช่นนี้ เราต่างรู้แก่ใจว่า การปะทะนั้นเกิดขึ้นด้วยเหตุผลทางการเมือง จากแรงกดดันในประเทศ ซึ่งน่าเชื่อด้วยว่าเป็นแค่คนกลุ่มน้อยคลั่งชาติหัวรุนแรงของทั้งสองประเทศ ซึ่งผลของมันเพื่ออะไร ยังเป็นคำตอบที่ไม่มีใครตอบได้ มีแต่ชีวิตที่ต้องสังเวย คือทหารชั้นผู้น้อย ชาวบ้านที่ทำมาหากินในพื้นที่ของสงครามที่ตัวเองไม่ได้เป็นผู้ก่อขึ้น สงครามเพื่อชาติทุกสมัยล้วนแต่มองข้ามความเป็นธรรมเช่นนี้เสมอมาไม่ใช่หรือ รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จงใจให้เกิดการปะทะนี้หรือไม่ หากใช่ก็นับว่าเป็นนักการเมืองที่เหี้ยมเกรียมภายใต้ท่าทีสุภาพชน หลังจากทำให้เกิดการสังหารหมู่ในใจกลางมหานครมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่หากไม่ใช่ นั่นก็คือสภาพที่กุมและควบคุมกลไกภายในไม่ได้ หรือหากจะโทษกองทัพหรือรัฐบาลกัมพูชาเป็นผู้เริ่มต้นเปิดฉากปะทะ นั่นก็ย่อมหมายความว่า การเมืองของเราได้เปิดจุดอ่อนให้ถูกแทรกแซงได้ด้วยระเบิดไม่กี่ลุก ฉากปะทะไม่กี่ฉาก ซึ่งไม่ว่าจะด้วยที่มาแบบไหน ก็สะท้อนสภาพเงาทะมึนของขุนทัพนายพลหรืออำมาตย์ที่อยู่เบื้องหลังรัฐบาล ที่ไม่ว่าจะอย่างไรทั้งรัฐบาลและกอทัพก็ต้องร่วมกันรับผิดชอบอยู่ดี ทั้งหมดนี้ อยากจะชวนให้ถอย และปีนขึ้นไปมองมุมสูง ว่านี่คือสังคมที่เราต้องการหรือไม่ พูดให้ชัดอีกครั้งก็คือ นับตั้งแต่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ที่เชื่อเชิญคณะทหารเข้ามามีบทบาททางการเมือง คือสังคมที่เราต้องการหรือไม่ กรุณาตอบแค่ว่า 'ใช่' หรือ 'ไม่' เพราะอย่างน้อยตัวผมก็ไม่ต้องการถกเถียง คิดเสียว่า ชาติต้องการความสามัคคีในยามที่เรามีศึกรบพุ่ง สำหรับผม นี่ไม่ใช่สังคมที่เราต้องการ เพราะ 'สันติภาพ' ไม่มีทางเกิดขึ้นภายใต้การเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ที่ผู้ใช้อำนาจไม่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนของตัวเอง ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ได้มาจากการเลือกตั้งก็ตาม สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
พันธมิตร ดีเดย์ 11 ก.พ. เคลื่อนพล กดดันไล่อภิสิทธิ์ Posted: 06 Feb 2011 07:47 AM PST 6 ก.พ. 54 - พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) พร้อมนายประพันธ์ คูณมี และนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์โฆษกพธม. แถลงข่าวระบุว่า วันที่ 11 ก.พ. 2554 เวลา 09.00 น. กลุ่มพธม.จะรวมตัวกันบริเวณที่ชุมนุมจากนั้นจะเคลื่อนขบวนไปยังสถานที่สำคัญ แต่ยังไม่ขอเปิดเผยสถานที่ที่จะเดินทางไป การเคลื่อนไหวครั้งนี้เพื่อจะกดดันเรียกร้องนายอภิสิทธิ์ และรัฐบาลได้ให้พิจารณาตนเอง ด้วยการลาออก อย่างไรก็ตามในขณะนี้พธม.ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมพลังปกป้องแผ่น ดิน เพื่อจะเข้ามาดูแลข้อเรียกร้องของกลุ่มพธม.ที่มีต่อรัฐบาลให้เป็นรูปธรรมมาก ยิ่งขึ้น ด้านนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ กล่าวเสริมว่า ในวันที่ 11 ก.พ.เป็นการกำหนดกิจกรรม ที่จะมีการเคลื่อนขบวนไปที่อื่นในเวลา 09.00 น. ส่วนกิจกรรมอื่นๆ จะทราบในวันนั้น รวมทั้งสถานที่ที่จะไปนั้นอาจจะเป็นที่ที่ใกล้ที่สุด หรือที่ที่ไกลที่สุดก็เป็นได้ แล้วจะอยู่นานเท่าไรด้วย ซึ่งสิ่งที่ได้ยื่นต่อนายกฯ อภิสิทธิ์ เป็นการเรียกร้องให้พิจารณาตัวเองลาออกทั้งคณะ โดยให้นายกฯ อภิสิทธิ์ตัดสินใจด้วยตัวเอง "นับตั้งแต่การชุมนุมที่ผ่านมา เมื่อคืนวันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมการชุมนุมมากที่สุด สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนมีจิตใจในการพร้อมร่วมชุมนุมเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากรัฐบาลต้องการสลายการชุมนุมโดยการใช้แก๊สน้ำตาก็จะไม่สามารถแก้ไข ปัญหาได้ เพราะจะมีประชาชนทยอยเข้ามาร่วมในวันรุ่งขึ้นหรือในชั่วโมงถัดไปทันที ดังนั้น รัฐบาลควรไปแก้ไขปัญหาหลักที่สำคัญมากกว่า"นายปานเทพกล่าว ส่วนกรณีเหตุการณ์การปะทะที่ชายแดน จ.ศรีสะเกษนั้น นายปานเทพกล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากเอ็มโอยู 2543 ที่ทำให้กัมพูชาเหิมเกริมมาตั้งฐานทัพในไทย ทำให้ประชาชนไทยต้องเดือดร้อนจนถึงทุกวันนี้ การที่ใช้ 4 มาตรการยุติการปะทะ เหตุใดจึงไม่เพิ่มมาตรการข้อที่ 5 โดยให้กัมพูชาถอยออกจากแผ่นดินไทย ถึงจะมีการหยุดยิง เมื่อไม่ใส่เข้าไปก็เหมือนกับปล่อยให้เขายึดครองต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา พันธมิตรฯยืนยันว่าเราก็ต้องการสันติภาพ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานว่าไม่มีการละเมิดอธิปไตย ลั่นไม่ยุติการชุมนุม จนกว่ารัฐจะปกป้องดินแดน เมื่อเวลา 17.00 น.บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธุ์ โฆษกพันธมิตรฯ และนายประพันธ์ คูณมี โฆษกการชุมนุมรวมพลังปกป้องแผ่นดิน ร่วมกันแถลงข่าวการชุมนุมประจำวันในรอบเย็น โดย พล.ต.จำลอง กล่าวถึงกรณีข้อเรียกร้องให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีลาออก ว่า หากมีการลาออกจริง บุคคล หรือคณะใดจะเข้ามาเป็นรัฐบาลก็ให้เป็นไปตามกระบวนการสรรหา พันธมิตรฯไม่ได้มีใครอยู่ในใจ เพราะเราไม่ได้ทำเพื่อบุคคล หรือหมู่คณะ เป็นการออกมาชุมนุมเพื่อประเทศชาติ ด้าน พล.ต.จำลอง กล่าวในประเด็นเดียวกัน ว่า นายกฯพูดเป็นแผ่นเสียงตกร่อง ซึ่งตนขอย้ำว่า ทำมาหลายครั้งแล้วล้มเหลว ให้นายกฯเอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่า คนเขาให้มาทำหน้าที่รัฐบาล ไม่ใช่นักโต้วาที วันนี้นายกฯต้องคิดอย่างเดียวว่าจะลาออกหรือไม่เท่านั้น หากไม่ก็ต้องมาสลายการชุมนุม แต่ตนยืนยันว่า สลายไม่สำเร็จ เพราะเมื่อเข้ามายึดพื้นที่ เราก็ยึดคืน จึงเหลือเพียงการลาออกเพียงอย่างเดียว ผู้สื่อข่าวถามว่า ท่าทีของนายกฯอภิสิทธิ์ และ พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันว่า จะใช้แนวทางสันติวิธีในการแก้ไขปัญหา พล.ต.จำลอง กล่าวตอบประเด็นนี้ว่า จากมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ ที่มีใจความสำคัญว่ารัฐต้องรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราชอธิปไตย โดยมีหน้าที่จัดเตรียมกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ ให้เพียงพอต่อการทำหน้าที่ ตรงนี้รัฐธรรมนูญไม่ได้บอกไว้ว่าให้เตรียมกำลังทหารไว้สำหรับการเจรจา เพราะทหารมีหน้าที่แสดงแสนยานุภาพในการข่มศัตรู ไม่ใช่ไปขอเจรจาให้หยุดยิง ในขณะที่กัมพูชายังอยู่ในแผ่นดินเรา ถ้าเรามีแสนยานุภาพที่น้อยกว่าก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่นี่มีเหนือกว่าเขามหาศาล ที่มาข่าวเรียบเรียงจาก: โพสต์ทูเดย์, ASTV ผู้จัดการออนไลน์ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
นิยาม “แรงงาน” อย่างที่ควรจะเป็น เพื่อมองคนให้เป็นคน Posted: 06 Feb 2011 07:35 AM PST เมื่อพิจารณาปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างเสื้อเหลืองกับเสื้อแดงในปัจจุบัน แรงกดดันประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดขบวนการแดงทั้งแผ่นดินคือ ปัญหาการดูถูกเหยียดหยามคนชั้นล่างว่าไร้สติปัญญาในการตัดสินใจทางการเมือง ที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งพรรคไทยรักไทย ซึ่งถูกมองว่ามีนักการเมืองไร้ศีลธรรมอันดีงามตามกรอบของคนเสื้อเหลือง อันนำไปสู่การปะทะทางความคิดของอีกฝ่ายคือ เสื้อแดงและเสื้อแดงก็ตอบโต้อีกฝ่ายที่ไม่เคารพความคิดของคนอย่างเท่าเทียมกัน ปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน ในความเป็นจริงเกิดขึ้นอยู่แล้วในชีวิตประจำวันของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย ทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมและในพื้นที่เกษตรกรรม กล่าวคือ ผู้ใช้แรงงานมักถูกมองด้วยทัศนคติเชิงลบว่าเป็น สัตว์ (คำพูดของคนงานเอง) และ/หรือเครื่องมือทำการผลิต ที่ถูกนายจ้างวางตำแหน่งบทบาทให้ทำงานสอดรับกับเครื่องจักรเทคโนโลยี ที่เดินเครื่องเกือบตลอด 24 ชั่วโมง การถูกมองอย่างด้อยค่าสะท้อนมาจากการถูกละเมิด ถูกเลือกปฏิบัติ และถูกกีดกันออกไปจากสิ่งที่ควรได้รับตามมาตรฐานสิทธิของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชน (สิทธิเสรีภาพของความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนเท่าเทียมกัน) ภายใต้โครงสร้างอำนาจบริหารงานในแนวดิ่งในสถานที่ทำงานและสังคมการเมือง โดยไม่มีการใช้ระบบการปรึกษาหารือร่วมทั้งสองฝ่าย ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนนี้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง จนอดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามสำคัญคำถามหนึ่งว่า การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยหรือ? ผลตอบแทนที่ผู้ใช้แรงงานได้มาจากการถูกมองว่าด้อยค่านั้น คือ ค่าจ้างและสวัสดิการที่ไม่สมน้ำสมเนื้อกับการทำงานตามปกติ 8 ชั่วโมงต่อวัน จึงต้องดิ้นรนทำงานเกินชั่วโมงปกติ เพื่อให้รายได้มากพอที่จะเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัว และหากวันใดไม่ไปทำงาน วันนั้นพวกเขาก็จะไม่มีรายได้ เพราะติดอยู่ในสถานะลูกจ้างรายวัน คือ no work no pay 1. คำนิยาม “แรงงาน” ของแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองทุนนิยมกระแสหลัก อะไรอยู่เบื้องหลังของความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจของผู้ใช้แรงงานและปัญหาการละเมิดสิทธิเสรีภาพ จะเห็นว่า ระบบอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้ปัจจัยทุนต่างๆ ทำการผลิตและขยายกำลังการผลิตนั้นมีเป้าหมายคือ ผลกำไรจำนวนมาก (หรือเรียกว่า ระบบทุนนิยม ทำการผลิต สร้างกำไร และนำมากำไรมาลงทุนต่อ เพื่อสะสมทุนให้มากยิ่งขึ้น) โดยมีปรัชญาความคิดที่เป็นรากฐานของการสร้างระบบเศรษฐกิจทุนนิยม คือ มองคุณค่าของผู้ใช้แรงงานกับผู้ประกอบการแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ ทฤษฎีการผลิตในเรื่องของปัจจัยการผลิตอธิบายองค์ประกอบของการผลิตสินค้าและบริการว่า ต้องการปัจจัยอะไรบ้างที่สำคัญๆ รวมถึงผลตอบแทนที่ควรแบ่งสรรกันตามบทบาทของปัจจัยดังกล่าว ได้แก่ 1. ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ (Land and Natural Resources) หมายถึง เจ้าของที่ดินที่นำมาใช้ประกอบกิจการต่างๆ เช่น ที่ตั้งสำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม ทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภทที่อยู่บนดินและใต้ดิน ได้แก่ แหล่งน้ำ แร่ธาตุ น้ำมัน ถ่านหิน โดยมีผลตอบแทนคือ ค่าเช่าเป็นหลัก (วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน 2545. เศรษฐศาสตร์ไม่ยากอย่างที่คิด. พิมพ์ครั้งที่ 3: ม.ธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ. หน้า 4) 2. แรงงาน (Labour) หมายถึง การทำงานทุกชนิดของมนุษย์ทั้งที่ใช้แรงงาน สติปัญญาความสามารถ แรงกายแรงใจที่ทุ่มเทในการผลิตสินค้าและบริการ โดยทั่วไปแบ่งเป็นแรงงานฝีมือ เช่น วิศวกร นักวิชาการ แรงงานกึ่งฝีมือ เช่น ช่างเทคนิค เสมียน และแรงงานไร้ฝีมือ เช่น กรรมกรแบกหาม ยาม นักการภารโรง ผลตอบแทนคือ ค่าจ้าง 3. ทุน (Capital) หมายถึง ครื่องมือเครื่องจักร วัตถุดิบ สิ่งก่อสร้างและสาธารณูปโภคของสังคมที่เอื้อให้เกิดการผลิต 4. ผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) หมายถึง บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่จัดตั้งองค์การผลิตขึ้นเพื่อทำการผลิตสินค้าและบริการ รวมทั้งความสามารถในการดำเนินการวางแผน โดยรวบรวมปัจจัยการผลิต ที่ดิน แรงงาน ทุน มาประกอบกันเพื่อการผลิต โดยเป็นผู้รับความเสี่ยงต่อผลได้หรือผลเสียที่เกิดจากการตัดสินใจนั้น โดยคนกลุ่มนี้เรียกว่า ผู้ผลิต และผลตอบแทนที่ควรได้รับ คือ กำไร จากข้างต้น จะสังเกตได้ว่า 1) มีการแยกผู้ประกอบการออกจากแรงงาน ซึ่งทำให้คิดว่า แรงงานไม่สามารถเป็นผู้ประกอบการได้เลย แม้แต่แรงงานที่มีฝีมือเช่น วิศวกร 2) ผู้ประกอบการอยู่เหนือปัจจัยทุนที่เป็น ที่ดิน เครื่องจักร วัตถุดิบ และแรงงาน จึงทำให้อยู่ในฐานะที่มีอำนาจความเป็นเจ้าของปัจจัยทุกสิ่งทุกอย่าง (หรือเรียกว่ามีกรรมสิทธิ์เอกชน) ผู้ประกอบการดังกล่าวจึงสามารถเรียกได้ว่าเป็น นายทุน ความแตกต่างทางสถานะระหว่าง “ผู้ใช้แรงงาน” กับ “ผู้ประกอบการ” ความแตกต่างของคนสองกลุ่มนี้ มาจาก 1. เมื่อมีการแยกปัจจัยการผลิตที่เป็นแรงงานออกจากผู้ประกอบการ การถูกกีดกันออกไปจากการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตก็บังเกิดขึ้น ในขณะที่ความเป็นจริง มนุษย์สามารถพัฒนาศักยภาพของตัวเอง แม้แรงงานจะมีระดับความสามารถที่แตกต่างกัน หากได้รับการศึกษาที่ดีอย่างทั่วถึง ก็สามารถพัฒนาความรู้ด้านการบริหารและเป็นผู้ประกอบการได้ 2. ผู้ใช้แรงงานกับผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นคนเหมือนกันนั้น กลับมีสถานะทางสังคมการเมืองที่แตกต่างกัน อันเนื่องมาจากการถือครองปัจจัยการผลิตดังข้อ 1 กล่าวคือ คน 2 กลุ่มนี้มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่แตกต่างกันอย่างมาก ความสัมพันธ์เชิงอำนาจเห็นได้จากโครงสร้างการบริหารบังคับบัญชาในสถานที่ทำงานรวมศูนย์ไว้ที่ผู้ประกอบการเพียงฝ่ายเดียว เพราะในหลักทฤษฎีการผลิตให้ความชอบธรรมแก่ผู้ประกอบการว่า เป็นผู้รับความเสี่ยงทั้งหมด โครงสร้างความสัมพันธ์แบบนี้เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งคล้ายคลึงกับโครงสร้างอำนาจการบริหารประเทศแบบรวมศูนย์ รวบอำนาจจากประชาชนมาไว้ที่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ไม่ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน โครงสร้างทางชนชั้นดังกล่าวจึงมาจากปรัชญาความคิดของระบบเศรษฐศาสตร์การเมืองทุนนิยม (สำนึกแบบทุน) ที่ตั้งใจจะขีดเส้นแบ่งคนออกจากกัน และทำการสอนนักศึกษารุ่นแล้วรุ่นเล่า นอกจากนี้ยังมีความลักลั่นภายในปรัชญาความคิดของเศรษฐศาสตร์ทุนนิยม คือ ปัญหาการจัดสรรผลตอบแทนแก่ปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่ไม่ยุติธรรม แต่ให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้ประกอบการ (นายทุน) เหนือกว่าทุกอย่าง คือเหนือกว่าสังคมผู้เป็นเจ้าของสมบัติสาธารณะที่ถูกนำไปใช้เป็นทุนการผลิต เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ (ที่ดิน ป่าไม้) ทรัพยากรที่มาจากการลงทุนของสังคม (สาธารณูปโภค) และทรัพยากรบุคคล คือ แรงงาน ที่คนทั้งสังคมต่างแบกรับความเสี่ยงด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บเสียชีวิตจากการทำงาน ปัญหาความอดหยากจากการถูกปลดออกจากงาน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาครอบครัวแตกสลาย ที่เพียงแค่ค่าเช่า ดอกเบี้ย ค่าจ้างไม่สามารถจะชดเชยปัญหาเหล่านี้ได้เลย เพราะในที่สุดก็ต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่จะช่วยกันแก้ปัญหาที่ตามมาจากการพัฒนาระบบทุนนิยม ปัญหาเศรษฐกิจการเมืองของระบบทุนนิยม แก่นแกนของระบบคิดแบบทุนนิยมดังที่กล่าวมา คือ มองคนไม่ใช่คนคือมองคนอย่างไม่เท่าเทียมกัน เพราะคนสองกลุ่ม นายทุนกับแรงงาน ถูกขีดเส้นแบ่ง และมีอำนาจ/ศักดิ์ศรีไม่เท่ากัน ด้วยเหตุนี้การเข้าถึงความเป็นอยู่ที่ดีจึงไม่กระจายโอกาสให้แก่ทุกคน เราสามารถกล่าวได้ว่า หลักคิดเช่นนี้ไม่สอดคล้องกับหลักมนุษยนิยม ที่ให้ความสำคัญกับความเป็นคนและชีวิตการทำงานที่เหมาะสม การขีดเส้นแบ่งคนมีเป้าหมายสูงสุดที่ระบุในหลักเศรษฐศาสตร์ทุนนิยมคือ การสะสมทุนนั่นเอง โดยคำนวณต้นทุน กำไรอย่างเอาเป็นเอาตาย ทำให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงในปัจจุบันนี้ คือ ปัญหาความมั่นคงในชีวิตการทำงานของผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน คือ 1. แรงงานถูกกันออกไปจากการเข้าถึงสิทธิ เสรีภาพ และสวัสดิการต่างๆ ที่พึงได้รับ และเข้าถึงงานที่เหมาะสม ปลอดภัยต่อสุขภาพ สร้างความสุขในชีวิตการทำงาน 2. แรงงานถูกกีดกันออกไปจากโครงสร้างการบริหารปกครองในสถานที่ทำงานและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบบการเมือง ถูกทำให้ไร้อำนาจการต่อรอง และตกอยู่ในความเสี่ยงที่ไม่สามารถกำหนดทิศทางอนาคตของตนเอง และเมื่อเกิดวิกฤตก็จะถูกเลิกจ้างและถูกทอดทิ้งเป็นส่วนมาก ทว่าความรุนแรงของปัญหาจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการต่อสู้เรียกร้องของขบวนการผู้ใช้แรงงานที่จะช่วยคานอำนาจกับฝ่ายทุน แต่หากประเทศใดมีระบบการปกครองแบบรวมศูนย์ เช่นระบบเผด็จการทหาร ระบบอภิชนาธิปไตย ก็ยิ่งเป็นตัวการสำคัญในการเอื้อให้ปัญหาเหล่านี้รุนแรงยิ่งขึ้น การกีดกันผู้ใช้แรงงาน ซึ่งกลายเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมไทย การรวบอำนาจการปกครอง การควบคุมการทำงานและการออกกฎระเบียบที่กระทำต่อผู้ใช้แรงงานในโครงสร้างแบบชนชั้น และการจัดสรรผลตอบแทนที่ไม่เป็นธรรม ทั้งหมดนี้ คือ การสร้างความขัดแย้งทางชนชั้น ทั้งนี้เนื่องมาจากการถูกลดทอนคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ไม่ให้มีอำนาจ มีหุ้นส่วนในการตัดสินใจในกิจกรรมการผลิตสินค้าและบริการ ดังนั้น สำนึกแบบทุนนี้จำต้องถูกปรับเปลี่ยนแก้ไขเพื่อให้มีการปฏิบัติตัวต่อผู้ใช้แรงงานอย่างเท่าเทียมกับผู้อื่น 2. การแก้ไขคำนิยาม “แรงงาน” เพื่อทำให้คนมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน แนวทางการลดความขัดแย้งทางชนชั้นนี้จำเป็นต้องเปลี่ยนคำนิยาม “แรงงาน” ตามแนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมืองทุนนิยม (กระแสหลัก) นั่นคือ มองผู้ใช้แรงงานอย่างเท่าเทียมกับผู้ประกอบการ ด้วยอุดมการณ์มนุษยนิยมแบบมาร์คซิสต์ แรงงานในแนวคิดมนุษยนิยมแบบมาร์คซิสต์ คือ มนุษย์ในฐานะที่เป็นผู้มีเหตุผลล้วนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน และพึงปกครองตนเองได้ ส่วนการนิยาม “แรงงาน” ในทฤษฎีการผลิต ตามความคิดของคาร์ล มาร์คซ์ แตกต่างจากปรัชญาเศรษฐศาสตร์ทุนนิยม กล่าวคือ แรงงานเป็นกิจกรรมการทำงานกับโลกแห่งวัตถุ โลกแห่งวัตถุ คือ วัตถุดิบ และเครื่องมือเครื่องจักรในการผลิต หรือเรียกว่า ปัจจัยการผลิต (Bottomore, Tom, A Dictionary of Marxist Thought. Oxford: Blackwell Reference,1983) กิจกรรมการทำงานกับปัจจัยการผลิตนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างมูลค่าให้แก่สินค้าและบริการนั้นๆ กิจกรรมการผลิตดังกล่าว ผู้ผลิตตัวจริงจึงเป็นผู้ใช้แรงงาน เนื่องจากว่า แรงงานมนุษย์ต้องเข้าไปทำงานกับเครื่องจักรกับวัตถุดิบ ตั้งแต่กดปุ่มสวิทซ์เปิด-ปิด ควบคุม แปรวัตถุดิบให้เป็นสินค้าตามสายพานการผลิต หากทิ้งเครื่องจักรไว้ก็ไม่สามารถผลิตได้เองโดยอัตโนมัติ ส่วนนายทุน/นายจ้างทำกิจกรรมในกระบวนการจัดซื้อปัจจัยการผลิต และการทำให้ผลผลิตตกเป็นของเขาเอง ซึ่งไม่ได้อยู่ในกระบวนการทำงานกับปัจจัยการผลิตเหมือนผู้ใช้แรงงาน นายจ้างรู้ดีว่า ทำไมต้องจ้างแรงงานเพราะนั่นหมายถึงตนจะได้กำไรจากการทำงานของคนเหล่านี้ ฉะนั้นการจ้างแรงงานคือการมาสร้างผลผลิต แต่ทว่าผลผลิตกลับไม่ได้เป็นของผู้ใช้แรงงาน การมองแรงงานว่าเป็นผู้สร้างนี้ แรงงานจึงควรร่วมกันมีอำนาจและความชอบธรรมในการเข้าถึงและใช้ปัจจัยการผลิตทั้งหลาย และมีอำนาจในการบริหารสถานประกอบการด้วย คือสามารถกำหนดว่าจะผลิตอะไร ที่ไหน อย่างไร ทำงานยาวนานเท่าไร หยุดพักเวลาใด ค่าตอบแทนเท่าไร และมีสวัสดิการอะไรบ้าง หากมองคนอย่างเท่าเทียม ด้วยหลักมนุษยธรรม จะนำไปสู่การจัดสรรอำนาจและผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม เพราะผู้ใช้แรงงานควรได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึงจากการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ตัวเองได้ช่วยสร้างมูลค่าให้สินค้าและบริการ นอกจากนี้จะนำไปสู่การเปิดพื้นที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมทางการเมืองตั้งแต่ในสถานที่ทำงานไปจนถึงระบบการเมืองของประเทศ ไม่ใช่กระจุกตัวไว้ที่ชนชั้นนำทางการเมืองและเศรษฐกิจเพียงไม่กี่คน ให้มีสิทธิพิเศษหลายประการ หากจะสร้างความเป็นธรรมในสังคม ทำได้ด้วยการใช้หลักการกระจายและการมีส่วนร่วม บนฐานคติการมองคนเป็นคน และเป็นหน้าที่ของรัฐ ที่ต้องดูแลประชาชน ดังต่อไปนี้ 1. เก็บภาษีทางตรงในอัตราก้าวหน้าเพิ่มขึ้นจากคนรวย เนื่องจากความรวยเป็นผลมาจากการใช้แรงงานของคนส่วนใหญ่ เพื่อนำเงินมาสร้างสวัสดิการครอบคลุมตั้งแต่เกิดจนตาย อันเป็นการสร้างมาตรฐานชีวิตให้มีความสุขถ้วนหน้า 2. กระจายอำนาจทางการเมือง การบริหาร ตามหลักประชาธิปไตย คือประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการกำหนดอนาคตของตนเองในโครงสร้างการเมืองทุกระดับ และมีเสรีภาพที่จะสร้างอำนาจต่อรองร่วมกับนายจ้าง นักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อประกันความมั่นคงของชีวิต 3. กระจายอำนาจในการเข้าถึงและใช้ปัจจัยการผลิต ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ สาธารณูปโภค เครื่องมือเทคโนโลยี แหล่งทุน เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสที่จะลืมตาอ้าปากและเขยิบสถานะทางเศรษฐกิจได้ 4. ปรับปรุงสภาพการจ้างงาน ไม่ให้ทำงานหนักและอันตราย และเพิ่มค่าจ้างโดยคำนึงถึงหลักการทำงานเพียงคนเดียวสามารถเลี้ยงดูได้ทั้งครอบครัว ทั้งหมดนี้คือผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ในแผ่นดินนี้ ที่จะทำให้ศักดิ์ศรีของพวกเขากลับคืนมา ถ้ารัฐทำไม่ได้ รัฐจะมีความหมายอะไร หากเป็นไปเพื่อคนส่วนน้อยที่เอาเปรียบคนส่วนใหญ่ ในประเทศไทย รัฐที่ผ่านมาเป็นตัวปัญหาของความขัดแย้งเสียเอง เพราะผู้มีอำนาจรัฐทั้งหลายแสวงหาผลประโยชน์ ตำแหน่ง ชื่อเสียง ทรัพย์สินเงินทอง และทะเยอทะยานในอำนาจการเมือง เข้าทำนองปากเพื่อส่วนรวมแต่ทำเพื่อส่วนตัว ดังเห็นได้จากปัจจุบันที่คนเสื้อแดงไม่ไว้ใจรัฐ เพราะรัฐได้ก่ออาชญากรรมกับประชาชนผู้ชุมนุมทางการเมือง ไม่เห็นหัวคนจน และดูถูกประชาชนของตัวเอง จนกลายเป็นความขัดแย้งในเชิงระบบโครงสร้างอย่างชัดเจน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
"ชวรงค์" ทวีตให้ใช้ "วิจารณญาณสูง" หากอ่านข่าวไทย-กัมพูชาจาก "AFP" Posted: 06 Feb 2011 07:10 AM PST อดีตเลขาธิการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ อ้าง "ฝรั่งเศส" ได้สัมปทานใน "กัมพูชา" มากมาย ดังนั้นหากอ่านข่าวไทย-กัมพูชาจากสำนักข่าว AFP "ต้องใช้วิจารณญาณสูง" ที่มา: twitter.com/chavarong เมื่อเวลาประมาณ 19.00 น. วันนี้ (6 ก.พ. 54) นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานชมรมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และอดีตเลขาธิการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้ทวีตข้อความในทวิตเตอร์ เกี่ยวกับการบริโภคข้อมูลข่าวสารจากสำนักข่าว Agence France-Presse (AFP) ว่า "การบริโภคข่าวปัญหาไทย-กัมพูชา จาก AFP ต้องใช้วิจารณญานสูง เพราะขณะนี้ฝรั่งเศสได้รับสัมปทานในกัมพูชามากมาย" นายชวรงค์ยังตอบ @Gaotawan ด้วยว่า "ขณะนี้สัมปทานไทยในเขมรแทบไม่เหลือแล้ว ที่ยังอยู่ก็กล้ำกลืนเต็มทน" สำหรับสำนักข่าว AFP ก่อตั้งในปี 1835 โดยชาล์ล หลุยส์ อาวา ชาวฝรั่งเศส ปัจจุบันถือเป็น 1 ใน 3 สำนักข่าวใหญ่ของโลกเช่นเดียวกับสำนักข่าว Associated Press และสำนักข่าว Reuters สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
Posted: 06 Feb 2011 06:48 AM PST สถานการณ์ยังคงตรึงเครียดบริเวณชายแดน เกิดเหตุปะทะกันที่ที่ภูมะเขือ, ภูผาหมอก จนท.เร่งอพยพชาวบ้านไปที่หลุมหลบภัย 6 ก.พ. 54 - มติชนออนไลน์รายงานว่า 18.30 น. ได้เกิดเหตุปะทะขึ้นอีกบริเวณชายแดนในพื้นที่ ภูมะเขือ และบ้านโดนเอาว์ ต.รุง อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ โดยทหารกัมพูชาได้ใช้จรวดยิงเข้ามาในฝั่งไทย ส่งผลให้บ้านพักของประชาชนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าวได้รับความเสียหาย ขณะที่ทหารไทยได้ใช้ปืนใหญ่ยิงตอบโต้ โดยการปะทะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อเวลา 14.00 น. ได้เกิดเหตุปะทะระหว่างทหารไทยและกัมพูชา ในพื้นที่ชายแดน ต.ภูผาหมอก อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ โดยทหารทั้งสองฝ่ายได้ใช้อาวุธปืนขนาดเล็กซึ่งเป็นปืนประจำกายยิงตอบโต้กัน เป็นเวลากว่า 15 นาที จึงสงบลง โดยไม่พบว่ามีทหารไทยบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทั้งนี้พื้นที่ชายแดนบริเวณ ต.ภูผาหมอก ซึ่งอยู่ด้านทิศใต้ของปราสาทพระวิหารนั้นอยู่ตรงข้ามกับเขตซัม แต ของกัมพูชา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ฝ่ายกัมพูชาได้นำรถถังเข้ามาประจำการ ด้านเจ้าหน้าที่ได้แจ้งเตือนให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวลง หลุมหลบภัยเป็นการด่วนเนื่องจากเกรงว่า จะมีการใช้อาวุธหนักยิงเข้ามา ขณะที่เหตุการณ์ปะทะดังกล่าวได้ทำให้คณะปลัดกระทรวงมหาดไทย (มท.) และผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ที่กำลังตรวจเยี่ยมโรงเรียนภูมิซรอลวิทยา ต้องเร่งออกมาจากพื้นที่อย่างอลหม่าน พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ให้สัมภาษณ์ถึงการปะทะรอบที่ว่า การปะทะกันของทหารทั้ง 2 ฝ่ายเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 18.40 น. เริ่มจากทางทหารกัมพูชายิงพลุส่องสว่างเข้ามาตกที่บริเวณภูมะเขือ อ.กันทรลักษ์ หลังจากนั้นทหารกัมพูชายิงปืนใหญ่ของรถถังเข้ามาอีก ทำให้ทหารไทยต้องใช้มาตรการตอบโต้ตามความเหมาะสม โดยยิงเครื่องยิงลูกระเบิดสวนกลับไป แต่ยังไม่ถึงขนาดต้องตอบโต้ด้วยปืนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ต้องรอความชัดเจนอีกครั้ง รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับอาวุธที่ทางทหารกัมพูชาใช้ในครั้งนี้ เป็นจรวดหลายลำกล้อง หรือที่เรียกว่าบีเอ็ม 21 ซึ่งเป็นอาวุธที่ได้รับการช่วยเหลือทางทหารจากประเทศเวียดนาม สามารถยิงได้ไกล 12 ไมล์ ใช้ในการทำลายรถถัง และเป้าหมายที่เป็นกลุ่มก้อน ที่มาข่าว: มติชนออนไลน์
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
หลักประกันทางสังคม ต้องดีกว่านี้ Posted: 06 Feb 2011 06:33 AM PST ขณะนี้ในรัฐสภากำลังมีการพิจารณากฎหมายสำคัญฉบับหนึ่งคือ ร่าง แก้ไข พรบ.ประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓ ซึ่งเริ่มขึ้นแล้วเมื่อวานนี้(๓ กพ.๕๓) เป็นนัดแรกในชั้นการพิจารณาของกรรมาธิการ นับเป็นการต้อนรับอายุครบ ๒๐ ปีของกฎหมายฉบับนี้อย่างน่าสนใจและน่าตื่นเต้นด้วยเช่นกัน กฎหมายประกันสังคมเป็นกฎหมายที่ขบวนการแรงงานไทย นักวิชาการด้านแรงงาน ได้ร่วมกับผลักดันให้เกิดขึ้นโดยใช้เวลายาวนาน ๓๐ ปีกว่าจะได้กฎหมายนี้ และแน่นอนเมื่อประกาศใช้แล้ว ไม่รู้ว่าลูกจ้างจำนวนเกือบ ๑๐ ล้านคนในปัจจุบันที่ถูกบังคับให้อยู่ภายใต้กฎหมายนี้รู้จักและเข้าใจกฎหมายนี้มากน้อยเพียงใด รู้หรือไม่ว่าถูกหักเงินเดือน ๕ เปอร์เซนต์ทุกเดือนไปนั้นเพื่อได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง สิทธิเหล่านั้นเหมาะสม เพียงพอ และเป็นธรรมเพียงใด มีใครตอบได้บ้าง บางหน่วยงานแม้ถามเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลยังตอบไม่ได้ละเอียดด้วยซ้ำไป หลักการสำคัญของกฎหมายนี้คือสร้าง “หลักประกันทางสังคม” ให้กับลูกจ้าง ให้มีหลักประกันว่าหากตกงาน ยังพอมีรายได้ประทังชีวิตไประยะหนึ่งก่อนจะหางานใหม่ หรือตกงานเนื่องจากปิดโรงงาน เปลี่ยนงาน ก็มีฝึกอาชีพอื่นๆให้ด้วย ยามเจ็บป่วยก็ได้รับการรักษา เมื่อต้องหยุดงานจากการเจ็บป่วย ก็ได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้ เมื่อลาคลอด ลาเลี้ยงลูกก็มีรายได้ชดเชยให้ได้บางส่วน เมื่อเกิดทุพพลภาพก็ได้รับการช่วยเหลือบ้างพอควร เมื่อมีลูกก็ได้รับเงินเพิ่มรายเดือนต่อเนื่อง ๕ ปีเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย เมื่อชราภาพก็ได้รับบำนาญ ที่สุดเมื่อตายก็ได้รับเงินสงเคราะห์ช่วยค่าทำศพ นับเป็นสวัสดิการพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคน แต่กฎหมายนี้บังคับใช้ได้กับคนที่มีรายได้ประจำแน่นอน มีนายจ้างแน่นอนชัดเจน เท่านั้น เนื่องจากตั้งบนหลักการ “ร่วมจ่ายระหว่าง ลูกจ้าง นายจ้าง และรัฐบาล” ทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศนี้ไม่ได้รับอานิสงค์ของกฎหมายนี้ หรืออีกนัยหนึ่ง คนส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่มีหลักประกันทางสังคม การแก้กฎหมายประกันสังคมในครั้งนี้ เป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาล ประกอบกับมีขบวนการแรงงานที่ติดตามเกาะติด กระตุ้น หนุนเสริม เรื่องนี้อย่างใกล้ชิด มีการร่างกฎหมายโดยประชาชน หารายชื่อ ๑ หมื่นชื่อมาประกบกับของรัฐบาล มีการทำงานให้ข้อมูลอย่างใกล้ชิดกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้รับรู้ รับทราบ เกี่ยวกับกฎหมายนี้ ทำให้การแก้ไขกฎหมายนี้ย่อมเสร็จได้ในสมัยประชุมนี้อย่างแน่นอน (จบสมัยประชุมนี้ในสิ้นเดือนพฤษภาคม ๕๔) เดิมความมุ่งมั่นของรัฐบาลคือต้องการขยายสิทธิประโยชน์บางอย่างไปให้ครอบครัวของลูกจ้าง โดยเฉพาะสิทธิเรื่องการรักษาพยาบาล จึงต้องการแก้กฎหมายบังคับให้เอาครอบครัวคือภรรยา สามี ลูก ของลูกจ้างมารับสิทธิการรักษาพยาบาลภายใต้กฎหมายประกันสังคม เท่านั้นเอง แต่ขบวนการแรงงานที่เสนอแก้กฎหมายด้วยเช่นกัน มีข้อเสนอมากกว่านั้น โดยเฉพาะเรื่องความโปร่งใสในการบริหารกองทุนประกันสังคม ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การบริหารของกระทรวงแรงงาน มีปลัดกระทรวงเป็นประธานกองทุน มีคณะกรรมการตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง ที่การได้มาไม่ค่อยมีลักษณะเป็นตัวแทนของลูกจ้างที่อยู่ในประกันสังคมที่กว้างขวางทั่วถึงเพียงพอ ซึ่งในชั้นการพิจารณาของกรรมาธิการคงจะต้องสู้กันอย่างถึงพริกถึงขิงว่าด้วยการทำให้สำนักงานประกันสังคม เป็นสำนักงานอิสระ บริหารจัดการด้วยมืออาชีพด้านกองทุน มีผู้แทนผู้ประกันตนที่หลากหลาย ไม่ใช่ล๊อกกันมาหน้าเดิมๆ ที่ตั้งสหภาพแรงงานลวงๆ มาหลอกกัน ถึงเวลาแล้วที่ ลูกจ้าง คนงาน ผู้ประกันตน ควรจะได้รับหลักประกันทางสังคมที่ดีขึ้น มีค่ามากขึ้น ทั้งเรื่องสิทธิประโยชน์เมื่อว่างงาน เมื่อทุพพลภาพควรได้รับการช่วยเหลือ ชดเชยให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต การเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นๆที่สำคัญเช่น การให้การช่วยเหลือเรื่องที่อยู่อาศัย การมีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่สำคัญควรพึ่งพาได้เมื่อยามชราภาพอย่างแท้จริง นั้นคือเมื่อผู้ประกันตนเกษียณก็สมควรได้รับบำนาญชราภาพที่เพียงพอไปจนสิ้นอายุขัย แต่ทั้งหมดนี้กฎหมายประกันสังคมยังคงสามารถคุ้มครองได้เฉพาะผู้ประกันตนเท่านั้น ที่สามารถหักเงินเดิอนร่วมจ่ายเข้ากองทุนทุกเดือน พร้อมกับนายจ้าง และรัฐสมทบบางส่วน รัฐควรพิจารณาว่าหากไม่สามารถขยายกฎหมายประกันสังคม ให้ครอบคลุมคนทุกคนได้ ก็ต้องเร่งดำเนินการให้เกิด “หลักประกันสังคม” ให้กับประชาชนให้มากขึ้น โดยเฉพาะการยกระดับเบี้ยยังชีพคนชราให้เป็นกฎหมายบำนาญชราภาพแห่งชาติ เพื่อเป็นหลักประกันว่าคนสูงอายุทุกคนในปัจจุบันจะได้รับเงินบำนาญพื้นฐานทันทีจากรัฐให้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และเริ่มต้นให้คนรุ่นใหม่ คนมีงานทำปัจจุบัน เริ่มต้นการออมเพื่อชราภาพของตนเอง สำหรับเป็นหลักประกันในอนาคตอีก ๔๐ ปีข้างหน้าจะมีบำนาญชราภาพจากการออมของตน บวกกับ บำนาญพื้นฐานที่รัฐจัดให้ เพื่อให้ดำรงชีวิตยามชราได้อย่างมีคุณภาพ สิ่งที่น่าคิดต่อของผู้ประกันตนในปัจจุบันคือ ขณะนี้มีกฏหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ เป็นกฎหมายว่าด้วย “หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” เพื่อสร้างหลักประกันว่าประชาชนได้รับการรักษาเมื่อเจ็บป่วยโดยรัฐใช้ภาษีมาดำเนินการทั้งหมด การบริหารระบบหลักประกันสุขภาพ มีความเฉพาะคือตั้งอยู่บนหลักการ “ซื้อประกันสุขภาพ”ให้ประชาชนทุกคน ด้วยการ “เฉลี่ยความเสี่ยง คือทุกคนไม่ป่วยพร้อมกันในแต่ละปี” ทำให้เงินจ่ายไปสำหรับคนที่ป่วยและเงินถูกใช้หมดไปในแต่ละปี เหมือนเราซื้อประกันกับเอกชน ดังนั้น การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ จึงต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และต้องการจำนวนคนทุกเพศ ทุกวัย มาเฉลี่ยความเสี่ยงกันในแต่ละปี ในอดีตเมื่อ ๒๐ ปีที่ผ่านมาไม่มีระบบสวัสดิการประกันสุขภาพ ผู้ประกันตนจึงต้องกันเงินส่วนหนึ่งของการจ่ายสมทบให้ประกันสังคม ไปซื้อประกันสุขภาพจากโรงพยาบาลให้กับผู้ประกันตน เมื่อยามเจ็บป่วยก็ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลที่เราเอาเงินไปจ่ายซื้อประกันสุขภาพไว้ เช่นเดียวกัน วิธีคิดคือ ซื้อประกันสุขภาพ เฉลี่ยความเสี่ยงของการป่วยระหว่างกันในหมู่ผู้ประกันตน แต่ต้องจ่ายเงินเอง ปัจจุบันรัฐจ่ายให้อยู่แล้วกับคนทุกคนในระบบบัตรทอง ทำไมผู้ประกันตนจึงยังต้องจ่ายอีก จ่ายซ้ำซ้อน แถมล่าสุดมีข้อมูลว่าได้รับบริการการรักษาที่ด้อยกว่าระบบบัตรทองอีก ดังนั้น การพิจารณาแก้กฎหมายประกันสังคมครั้งนี้ ขบวนการแรงงานควรรักษาสิทธิในการร่วมจ่ายเงินแต่ละเดือนของตนไว้ให้ได้รับสิทธิเพิ่มมากขึ้นในส่วนทุพพลภาพ ว่างงาน ที่อยู่อาศัย และชราภาพ ส่วนเรื่องรักษาพยาบาลไม่ต้องจ่าย และไปใช้สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพไม่ดีกว่าหรือ ได้ทั้งบริการ และได้ทั้งการไปเฉลี่ยความเสี่ยงกับพ่อแม่ พี่น้องของเราในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพราะผู้ประกันตนยังวัยแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยกันมากนัก ลองคิดดูและติดตามการพิจารณาแก้กฎหมายในรัฐสภากันอย่างใกล้ชิดต่อไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
สันติประชาธรรม-นักวิชาการ-ประชาชนร่วมลงชื่อ เรียกร้องไทย-กัมพูชา หยุดรบทันที Posted: 06 Feb 2011 05:59 AM PST 6 ก.พ.54 กลุ่มสันติประชาธรรม ซึ่งเป็นกลุ่มคณาจารย์ นักวิชาการ รวมถึงบุคคลทั่วไป ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ มีใจความ ดังนี้ จากสถานการณ์การสู้รบตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านจังหวัดศรีสะเกษ บริเวณปราสาทพระวิหารและพื้นที่ใกล้เคียง จนก่อให้เกิดความสูญเสียทางทหารและพลเรือนตามแนวชายแดนของทั้งสองฝ่ายเมื่อวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมานั้น ทางกลุ่มสันติประชาธรรม ซึ่งเป็นกลุ่มคณาจารย์ นักวิชาการ และบุคคลทั่วไป ผู้มีความปรารถนาดีต่อประเทศชาติและสันติสุขของภูมิภาคอุษาคเนย์และอาเซียน ใคร่ขอวิงวอนให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาข้อเสนอดังต่อไปนี้ 1. ขอให้กองกำลังของทั้งสองประเทศใช้ขันติธรรม และความอดกลั้น ยุติการสู้รบโดยทันที ทั้งนี้ เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและกองทัพตามชายแดนของทั้งสองฝ่าย 2. ขอให้ถอนกำลังทหารของทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่พิพาทอย่างเร่งด่วน เพื่อลดการเผชิญหน้าทางทหารตามชายแดนระหว่างกัน 3. ขอให้ยุติเคลื่อนกำลังทหารเข้าไปยังจุดพิพาทอื่นๆ ที่ยังคงเป็นปัญหากันอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะมิให้ขยายตัวออกไปยังจุดอื่นๆ ตามแนวชายแดน 4. ขอให้เร่งรัดการแก้ไขปัญหาพิพาทเรื่องเขตแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่พิพาทบริเวณปราสาทพระวิหาร โดยผ่านกลไกเจรจาทวิภาคีซึ่งมีอยู่แล้ว อันได้แก่ คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมซึ่งได้จัดตั้งตามบันทึกความเข้าใจแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2543 5. ขอให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในหลักการแห่งอหิงสา ยุติการนำประเด็นความขัดแย้งเรื่องเขตแดนมาแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง ไม่ว่าการเมืองภายในประเทศ หรือการเมืองระหว่างประเทศ อันจะทำให้ปัญหาบานปลายกลายป็นชนวนสงครามที่ยากจะหาทางยุติลงได้ รายชื่อ ผู้ลงนามท้ายแถลงการณ์ ประกอบด้วย 1. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2. ชาร์ล เอฟ. คายส์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน 3. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4. สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี หนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น 5. ธงชัย วินิจจะกูล มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน 6. ยศ สันตสมบัติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 7. ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิลักษณ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8. เวียงรัฐ เนติโพธิ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 9. จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10. เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 11. ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 12. บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 13. อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 14. ธนาพล ลิ่มอภิชาต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 15. อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 16. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 17. อัครพงษ์ ค่ำคูณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 18. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 19. สายชล สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 20 ประดิษฐ ศิลาบุตร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 21. ยุพาพรรณ หุ่นจำลอง มหาวิทยาลัยฮาวาย’อิ 22. พฤกษ์ เถาถวิล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 23. กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล 24 ขวัญรวี วังอุดม ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล 25. พนัส ทัศนียานนท์ นักกฎหมายอิสระ 26 . งามวัลย์ ทัศนียานนท์ นักกฎหมายอิสระ 27 . จอน อึ๊งภากรณ์ ผ.อ. iLaw 28 . พัชรา สินลอยมา โรงเรียนนายร้อยตำรวจ 29. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ สถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาสิงคโปร์ 30. อานนท์ นำภา สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์ 31 สมศักดิ์ ภักดิเดช กรรมการชมรมผู้สื่อข่าวเพื่อเสรีภาพไทย 32. ประสงค์ สุวรรณพานิช นายกสมาคมไทยแคลิฟอร์เนียภาคใต้ 1993 33. ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียน/นักแปล 34. ลักขณา ปันวิชัย นักเขียน 35. อติภพ ภัทรเดชไพศาล นักเขียน 36. ศรายุธ ตั้งประเสริฐ ประชาชน 37. นีรนุช เนียมทรัพย์ ประชาชน 38. อนุสรณ์ ธรรมใจ กรรมการสถาบันปรีดีพนมยงค์ 39. เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ สำนักงานกฎหมายสิทธิชน 40. ธนศักดิ์ สายจำปา นักศึกษาปริญญาเอกคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ 41. อดิศักดิ์ ศรีสม ผู้ดำเนิน รายการโทรทัศน์อิสระ 42. กฤช เหลือลมัย กองบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณ 43. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ 44. ทรงยศ แววหงส์ ข้าราชการเกษียณ 45. กานต์ ยืนยง Siam Intelligence Unit (SIU) 46. สมฤดี วินิจจะกูล Division of Information Technology University of Wisconsin-Madison 47. ส.รัตนมณี พลกล้า นักกฎหมาย 48. ธนาพล อิ๋วสกุล สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน 49. ศิริภาส ยมจินดา 50. สิงห์ สุวรรณกิจ 51. ปราณี วงศ์จำรัส 52. อำพล วงศ์จำรัส 53. สิริลักษณ์ ชมิดท์ 54. สรินณา อารีธรรมศิริกุลa 55. อนันต์ ศิริสมบัติวัฒนา 56. อมรา วัฒนกุล 57. พจนีย์ สุวรรณพานิช สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
รายงานเสวนา: กองทัพ การเมือง ประชาธิปไตย Posted: 06 Feb 2011 02:41 AM PST นักวิชาการ-ทหาร วิพากษ์ปฏิรูปการเมืองไทยต้องปฏิรูปกองทัพ ชี้กองทัพไทย อิงแอบสถาบันกษัตริย์ แทรกแซงการเมือง ขาดสำนึกประชาธิปไตยและขาดความเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของความเป็นพลเมือง วันที่ 6 ก.พ. 54 กลุ่มนิติราษฎร์จัดการเสวนาวิพากษ์บทบาทกองทัพต่อการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย พ.อ.ภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ เลขาธิการคณะอนุกรรมาธิการทหาร ในสภาผู้แทนราษฎร สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี บรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์ เดอะเนชั่น และปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติราษฎร์ ดำเนินรายการโดยประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช
ผมนำหนังสือ The Soldier and the State เป็นหนังสือที่เขียนเมื่อปี 1957 ซึ่งเสนอว่าต้องทำทหารให้เป็นอาชีพ และเสนอหลักความเป็นสูงสุดของพลเรือน เพื่อทำให้มีความเป็นประชาธิปไตยและทหารจะไม่ถูกแทรกแซงทางการเมือง ซึ่งก็ไม่แน่ว่าหลักอันนี้จะหยั่งรากลึกในสังคมไทยเพียงใด เพราะหลัง 19 ก.ย. เป็นต้นมา ทหารก็เข้ามามีบทบาทสำคัญ
พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย กองทัพของประเทศไทยได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองไทยได้อย่างไร กองทัพได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองตั้งแต่ปี 2475 โดยทหารระดับกลางและล่างได้ร่วมกับฝ่ายคณะราษฎรฝ่ายพลเรือน เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หลังจากนั้นเราจะเห็นได้ว่ามีการแย่งชิงอำนาจระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์ฝ่ายอนุรักษ์ อำมาตย์ แย่งชิงอำนาจทางการเมืองกับฝ่ายคณะราษฎรหลายครั้ง จนกระทั่งเกิดกบฏพระองค์เจ้าบวรเดช ฝ่ายอนุรักษ์ได้ถูกปราบปรามอย่างราบคาบ นับแต่นั้นมา ฝ่ายอนุรักษ์นิยมหรือฝ่ายอำมาตย์ก็ได้ปรับการแย่งชิงการเมืองโดยการตั้งพรรคการเมืองคือพรรรคประชาธิปัตย์ซึ่งตั้งขึ่นในวันจักรี หลังจากนั้นมีการสวรรคตของรัชกาลที่ 8 และมีความแตกแยกมากขึ้นๆ ด้วยการแตกแยกของคณะราษฎรฝ่ายทหารและพลเรือน และคณะราษฎรฝ่ายทหารเข้ามาคุมการเมืองมากขึ้น ปี 2490 มีการรัฐประหารสมัย พล.ร.ท. หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ มีรัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม มีการถวายคืนพระราชอำนาจให้กับพระเจ้าอยู่หัวหลังจากมีการยึดอำนาจ 2475 เป็นเหตุให้กองทัพเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองอย่างต่อเนื่อง ด้วยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้นำประเทศจากที่เคยอ้างว่าปกครองประบอบประชาธิปไตยกลับไปสู่กึ่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์กึ่งประชาธิปไตย เราจะเห็นว่ามีการถวายคืนพระราชอำนาจให้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีการตั้งคณะอภิรัฐมนตรี ซึ่งต่อมาก็คือองคมนตรี หลังจากนั้นก็มักจะรัฐประหารหลายครั้ง และมากที่สุดในโลก ทั้งที่ทำสำเร็จและที่ไม่สำเร็จ รวมกัน 22 ครั้ง ที่สำเร็จ 10 ครั้ง ถามว่าทำไมประเทศไทยกองทัพจึงมาข้องเกี่ยวกับการเมือง อ.นิธิ (เอียวศรีวงศ์) พูดถึงผลประโยชน์สามประการ คือหนึ่ง อำนาจ สอง งบประมาณ ตราบใดที่กองทัพเข้ามาครอบงำทางการเมืองก็จะได้งบประมาณเพิ่มขึ้นตามที่ผู้นำเหล่าทัพต้องการ สามคือผลประโยชน์ของรัฐ เช่น คลื่นวิทยุ เขตพื้นที่หวงห้าม แต่ที่สำคัญที่ทำให้บ้านเมืองของเรากองทัพเข้ามาครอบงำการเมืองได้ ไม่ต้องโทษใคร ต้องโทษนักการเมือง นักการเมืองเป็นส่วนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการคอร์รัปชั่น หรือไม่ยอมรับกราบกรานอำนาจนอกระบบ ท่านจะเห็นว่าเมื่อเร็วๆ นี้นักการเมือง สามพี สี่พี (ชื่อย่อ) ก็เข้าไปกราบกรานผู้มีอำนาจบาตรใหญ่ ซึ่งนี่เป็นรากฐานมาจากความขัดแย้งในสมัยคณะราษฎร จนกระทั่งสมัยจอมพล ป. จอมพลสฤษดิ์ ทำรัฐประหารเพื่อคืนอำนาจให้อำมาตย์ นักวิชาการต้องกล้าพูดความจริงเหล่านี้ ผมบอกได้เลยว่า การทำรัฐประหารไม่ใช่บังเอิญ ก่อนการทำรัฐประหารต้องมีการสร้างสถานการณ์เพื่อเป็นข้ออ้างให้กับผู้ทำรัฐประหาร ข้ออ้างที่อ้างเสมอคือ รัฐบาลพลเรือนทุจริตคอร์รัปชั่น และไม่จงรักภักดี เราจะเห็นได้จากเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา ในช่วง 14 ตุลา กองทัพเสียอำนาจไปมาก และได้สร้างกองกำลังหนึ่งคือกองกำลังนวพล และเห็นว่านักศึกษามีพลังมากขึ้นๆ ก็เกิดกระบวนการกระทิงแดงขึ้นมา มีการสร้างสถานการณ์ว่านิสิตนักศึกษา มธ. ฝึกคอมมิวนิสต์ ขุดสนามเพลาะ มีคนญวนเข้ามาร่วมเคลื่อนไหว แล้วก็มีการล้อมปราบกันในวันที่ 6 ตุลา ทำให้นิสิตนักศึกษาก็หนีเข้าป่า ไม่หนีก็ตาย ถามว่านิสิตนักศึกษาช่วงนั้นอยากเปลี่ยนแปลงประเทศสู่ระบอบคอมมิวนิสต์หรือเปล่า ก็เปล่า ถามว่าทำไมทหารต้องรู้สึกว่าต้องปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็ไปดูรัฐธรรมนูญ ซึ่งกำหนดให้รัฐต้องจัดให้มีกองทัพเพื่อรักษาเอกราชและประชาธิปไตยและความมั่นคงของรัฐ ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และพัฒนาชาติบ้านเมือง นี่คือรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการซ่อนรูป กำหนดบทบาทของกองทัพไว้ 5 ประการ ไม่ได้บอกว่าต้องมาเกี่ยวข้องทางการเมือง แต่เนื่องจากกองทัพนั้นเป็นสถาบันที่เข้มแข็งมีระเบียบวินัย นักเรียนทหารส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าตัวเองรักชาติ รักสถาบันมากกว่าคนที่อยู่ในวิชาชีพอื่น ผมคิดว่าทหารเกินครึ่งคิดอย่างนั้น
ผมอยากอธิบายเปรียบเทียบสองสามประเทศ ผมเกี่ยวข้องกับทหารเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ ฉะนั้นอย่าถามว่าใครรุ่นไหน หรือใครจะทำรัฐประหาร บทบาทของกองทัพในประเทศโลกที่สาม หรือประเทศกำลังพัฒนา อย่างประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาไม่เสร็จเสียที ผลผลิตของการเมืองในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายแหล่ มันเป็นผลผลิตของกองทัพโดยตรง อย่างกรณีประเทศไทย คณะราษฎรที่ทำการปฏิวัติ 1932 คือคณะทหารส่วนหนึ่งร่วมกับพลเรือนส่วนน้อย ยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์ ดังนั้นในองค์ประกอบที่ได้อำนาจมามีกองทัพอยู่เป็นส่วนหลักเลยทีเดียว แม้จะไม่ได้ยิงปืนสักแปะเดียว ในประเทศอื่น คือพม่า ที่ใช้กองทัพในการปลดปล่อยประเทศ และทหารพม่าก็ยึดครองอำนาจรัฐไว้กับตัวตลอดมา ถ้าจะดูประเทศอื่นอย่างทหารอินเดียทำไมไม่ยึดอำนาจ ก็เพราะการได้เอกราชของอังกฤษเป็นการนำโดยพลเรือน ในระยะหลังจากที่ประเทศอื่นปลดปล่อยตัวเองออกจากการเป็นอาณานิคม ระยะ 60-70 ปีที่ผ่านมา คือ ศตวรรษที่ 20 ก็คือการแข่งขันกันทางอำนาจของคนที่อยู่ในกลุ่มอำนาจต่างๆ โดยที่ทหารเป็นหลัก ยุค 1980 การแย่งอำนาจเปลี่ยนมือ ในประเทศไทยสำคัญมาก เพราะว่าพลเรือนขยายอำนาจทางการเมืองของตัวเองมากขึ้น เพราะความเจริญทางเศรษฐกิจช่วง 1970 มันสร้างให้ชนชั้นกลางเกิดขึ้นมา และผ่านระบบการศึกษาสมัยใหม่ ทำให้นักศึกษาปัญญาชน มีความรู้สึกว่าพื้นที่ทางการเมืองควรถูกแตะ จึงเกิดการลุกฮือขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อแย่งชิงอำนาจทางการเมืองมาจากทหาร ในเกาหลีใต้ เกิดการลุกฮือขึ้นของนักศึกษา มีการลุกฮือที่กวางจู มีการปราบปรามอย่างรุนแรง ตายหลายร้อยคนเจ็บเป็นพัน และการต่อสู้เพื่อให้พลเรือนเป็นใหญ่ การต่อสู้นี้ยาวนานมาก และใช้เวลาถึงแปดปี และผ่านกระกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมากคือ การเลือกตั้ง ในเกาหลีใต้สามารถทำได้ และสถาปนาความสูงสุดของพลเรือนได้ ประเทศที่ทหารมีอำนาจมีนัยยะอย่างสำคัญต่อความถดถอยทางเศรษฐกิจ เช่นพม่า หรือไทย ถดถอยแม้กระทั่งฐานะ ตำแหน่งในเวทีสากลด้วย สนธิ มีความทุกข์ทรมานมากในการพยายามอธิบายความสำเร็จของเขาในการทำการรัฐประหาร ผมเห็นนักวิชาการหลายคนที่ทุกข์ทรมานในการพยายามไปอธิบายกับคนไทยในประเทศต่างๆ เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส เห็นแล้วก็เป็นที่น่าอดสู เวลานั้นยุโรปขอถอยห่างความสัมพันธ์ สหรัฐอเมริกาจำใจต้องตัดความช่วยเหลือทางทหาร ทั้งๆ ที่สหรัฐก็รู้มาก่อน นี่คือสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในยุคสมัยปัจจุบันเราจะพบว่าในหลายๆ ประเทศซึ่งไม่ประสบความสำเร็จในการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ทหารจำเป็นต้องแสดงออกอีกแบบหนึ่ง จะต้องตกแต่งหน้าตาของการปกครองให้ดูเสมือนหนึ่งเป็นพลเรือน พลเอกเตงเส่ง ต้องถอดเครื่องแบบมาใส่สูท ลงเลือกตั้งซึ่งก็เป็นการเลือกตั้งที่สมูธมาก ในประเทศไทยก็เขียนรัฐธรรมนูญแบบนั้นเหมือนกันคือให้ ส.ว. สรรหามานั่งอย่างเต็มภาคภูมิ ผมคิดว่าสิ่งที่ต้องพิจารณาเรื่องความเปลี่ยนแปลงของอำนาจทางพลเรือน ทำได้อย่างไรบ้าง อย่างแรกคือ การปะทะกันครั้งใหญ่ระหว่างกองทัพและพลเรือน แต่ต้องมั่นใจว่าพลเรือนเป็นฝ่ายชนะ ถ้าชนะก็เป็นแบบเกาหลีใต้ ไม่ชนะเป็นแบบพม่า แต่ถ้ายังไม่ชนะก็ดึงกันไปกันมาแบบไทย นายทหารทุกคนจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของประเทศและคนอื่นเป็นผู้อาศัย ในประเทศไทยคนที่เป็นทหารมีหน้าที่ปกป้องหัวใจของชาติไทย และประสบความสำเร็จในการผูกพันตนเองเข้ากับพระมหากษัตริย์ ใครที่ทำลายกองทัพเท่ากับทำลายสถาบันด้วย พลเรือนที่จะประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจต้องจัดวางตำแหน่งกองทัพให้ดี สาม เกาหลีใต้ใช้เวลา 8 ปี ความจริงแล้วรัฐบาลเผด็จการอยู่อีกแปดปี จนกระทั่งแพ้การเลือกตั้ง รัฐบาลพลเรือนรื้อฟื้นคดีขึ้นมาทำใหม่ ทำอะไรบ้าง คือเปลี่ยนความทรงจำ ทำให้คนที่ตายในเหตุการณ์นั้นเป็นวีรบุรุษของชาติ และชดเชยให้ญาติวีรชนเหล่านั้นที่สูญเสีย และเปลี่ยนความทรงจำเกี่ยวกับทหารหมด รื้อค่ายทหารและตั้งพื้นที่ตรงนั้นเป็นอนุสรณ์สถาน ที่เด็ดมากกว่านั้นคือทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการปราบปราม เข้าคุก ถูกพิพากษาประหารชีวิต หลังจากนั้นเกาหลีใต้ จนถึงปัจจุบันรวมเวลาแล้ว 31 ปี ไม่มีกองทัพอยู่ในการเมือง แต่กรีของไทยอาจจะต้องใช้เวลานานกว่านั้นหน่อย เพราะคนที่ไม่มาจากการเลือกตั้ง แล้วยังสามารถทำราวกับกองทัพเป็นสมบัติส่วนตัวได้ เป็นเรื่องประหลาดที่นายพลที่เกษียณอายุไปแล้วยังฝันอยากจะมีกองพันทหารม้าสักกองหนึ่งเป็นบรรณาการของชีวิต
พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ เริ่มจาก 2475 เราเปลี่ยนโดยกรณีพิเศษ และมีคนคิดเปลี่ยนให้ โดยการไปดึงกลไกที่มีอำนาจมาร่วมทำแบบพิเศษ คือกลไกทหาร แล้วทำให้ทหารมีอำนาจเหนือรัฐมาตั้งแต่นั้น องค์กรข้างในก็จะปั่นป่วน สิ่งที่ต่างจากอังกฤษและยุโรปเปลี่ยนด้วยตัวเอง มีความขัดแย้งเรื่องโครงสร้างการผลิต ชนชั้นผลิต เมื่อค้นพบเครื่องจักรไอน้ำ อยากเพิ่มกำลังการผลิตแล้วมันติดขัด เพราะคนๆ หนึ่งคือเจ้าเป็นทั้งเจ้าของที่ดินและแรงงาน มันจึงเกิดความขัดแย้ง เกิดการปฏิวัติทำให้เกิดการล้มล้าง นั่นแสดงว่าหนทางเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามถ้าเปลี่ยนแปลงเองแล้วจะมีเสถียรภาพ แต่ประเทศที่ไม่ได้เป็นอย่างนั้น เช่นไทย ทุนเข้าไปอยู่การเมืองเจ้าไปอยู่ในสภา คุณเป็นอีลิทไปแล้ว ผมแนะว่าเวลาคุยเรื่องนี้ ถ้าเปลี่ยนทฤษฎีการมองจะเห็นชัด กลุ่มทหารมีอำนาจสูงสุด พอ 2516 เปลี่ยนไปกลุ่มทุนเข้ามาแทนที่ จาก 2516 มาทุนมีเสถียรภาพ เพราะสามารถเอาอำนาจเศรษฐกิจมาควบคุมการเมืองได้โดยตรง และทุนที่ว่าตั้งแต่สมัยเดิมถึงชาติชาย เป็นทุนที่มีมิติทางเศรษฐกิจ คือคลื่นลูกที่สอง คือหาส่วนเกินทางเศรษฐกิจเอาอำนาจทางการเมืองมาเขียนโครงการเพื่อประโยชน์แก่ตน เช่นคมนาคม หาส่วนเกินเป็นเปอร์เซ็นต์ พอคุณทักษิณเข้ามา มิติทางเศรษฐกิจหลากหลาย ขั้นต้น เขาใช้ภาระทางการเมืองไปหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั้งอย่างตรงไปตรงมาทั้งในและนอกประเทศ ปัญหาเหล่านั้นทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างทุน สิ่งที่บางคนพูดมันถูกนะครับ ว่าปัญหาประชาธิปไตยไทยไม่ใช่เรื่องของคนข้างล่างอย่างเรา ถ้าเศรษฐกิจการเมืองรวมศูนย์ผูกขาดไม่มีทางเป็นประชาธิปไตย ทุนเล็กทุนน้อยเมื่อมันโตและเท่าเทียม ถ้าทุนเติบโตและกระจายเป็นฐานกว้าง ประชาธิปไตยมาเอง ปะเทศไทยไม่ได้เป็นอย่างนั้น พอทุนเก่าทุนใหม่ทะเลาะกันมันแก้ไม่ได้ คนที่พุดแรกๆ น่ะถูกแล้ว คือกลุ่มเศรษฐกิจมามีอำนาจทางการเมือง กลไกเป็นของพวกเขาเสียทั้งหมด เป็นทุจริตทางเศรษฐกิจ อิลีทจึงบอกว่าไม่มีทางออก จึงต้องใช้การรัฐประหารปี 2549 ถามว่าคิดแบบนี้ถูกไหม ถูก แต่วิธีแก้ปัญหามันไม่ถูก คือโครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจไม่ได้แก้ให้กระจายตัว และไม่ให้เศรษฐกิจกระจุกตัว แล้วปฏิวัติแล้วทำหอกอะไร ก็ไปไล่ฆ่าเขาอีก ถามว่าทุนเก่าหายไป ทุนใหม่เกิดได้ไหม ก็ได้อีก ไปสร้างวาทกรรทว่าเขาโกงมหาโกง แล้วไอ้คนที่มาใหม่มันโกงหรือเปล่า แล้วปัญหาอยู่ตรงไหน บางคนบอกว่า ถ้าไม่ปฏิวัติเดี๋ยวปรับตัวกันไปเอง แต่ผมไม่แน่ใจเพราะถ้ารวมศูนย์ผูกขาดแล้วแก้ยากมาก สรุปคือปัญหาอยู่ที่เดิม คือโครงสร้างอำนาจมีปัญหา คือประชาธิปไตยไทยมีแต่รูปแบบ คุณอย่าไปมองแค่ว่าถ้าไม่ปฏิวัติแล้วจะเป็นประชาธิปไตย ถามว่าตั้งแต่ปี 2535 ทหารกลับเข้ากรมกอง แล้วคุรบอกสลายแล้ว สลายอะไรล่ะ กลุ่มทุนก็เข้ามาเทกโอเวอร์ แล้วก็มาแก้ปัญหาอย่างไม่ซับซ้อน ไปเอาคนแก่มาเป็นนายกฯ จะขึ้นบันไดก็พักเสียสามหน เวลาคุณเลือกที่จะทำการเปลี่ยนแปลง คนก็ไม่ว่าอะไรหรอก แต่หลังจากนั้นจะทำอะไร คุณก็ไม่ได้กระจายโครงสร้างทางอำนาจ ถ้าจะทำจริงคุณต้องปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปภาษี จะทำอย่างไรให้คนไม่รังเกียจทุน และทำให้ทุนใหญ่ทุนน้อยเป็นมิตรกันได้ สำหรับทหาร จริงๆ แล้วต้องแยกกัน การปฏิวัติครั้งก่อนๆ ต้องแยกกัน สมัยก่อนทหารปฏิวัติเขามีอุดมการณ์ต่างๆ กันไป แก้ปัญหาโดยตัวของเขาเอง ปฏิวัติเสร็จก็เอาความคิดไปทำ สำเร็จบ้างไม่สำเร็จบ้าง แต่สำหรับปี 2549 อธิบายได้ไหมว่าเขามีอุดมการณ์การเมืองอะไร หรือเขาทำเองหรือเปล่า หรือเขาทำให้ใคร สองคือ บางทีการปฏิวัติ เมืองนอกที่ง่ายๆ เช่นเยอรมนีพอสงครามโลกสิ้นสุดลง และกองทัพเห็นว่าเป็นองค์กรสำคัญต้องทำให้อุดมการณ์เปลี่ยนแปลงเสียใหม่ คือให้ทหารพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ของไทย ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ แล้วคุณพิทักษ์รัฐธรรมนูญได้หรือเปล่า ผมขอสรุปขั้นต้นว่า วิธีวิเคราะห์ก็สำคัญ คือพลเรือนน่ากลัวกว่าทหารอีก เพราะเขาจะจีบปากจีบคอพูดว่าเขามาจากการเลือกตั้ง ต้องไปดูว่าพลเรือนพวกนี้ใช่ทุนหรือเปล่า ต้องถามว่าตัวแทนราษฎรและผู้แทนราษฎรเป็นคนๆ เดียวกันหรือเปล่า แล้วก็มีปัญหาเรื่องระบบพรรคเอยอะไรเอย และตกลงว่าวันนี้ประชาธิปไตยเป็นแต่รูปแบบหรือเปล่า
2. การลดบทบาทของกองทัพในเรื่องความมั่นคงภายในประเทศ การชุมนุม การสายการชุมนุมเป็นหน้าที่ของตำรวจและฝ่ายปกครอง ส่วนทหารไปทำหน้าที่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ แต่ก็ควรลดลงคือไปทำหน้าที่ป้องกันความขัดแย้งไม่ให้เกิดขึ้น ทำหน้าที่เรื่องมนุษยธรรม เช่น การบูรณะที่ติมอร์ตะวันออก 3. มีสิทธิทางการเมือง แน่นอนว่าคนที่เป็นทหารจะดำรงตำแหน่งอื่นๆ ทางการเมืองไปพร้อมๆ กันไม่ได้ ควบรมต.กลาโหมกับ ผบ.ทบ. ไม่ได้ แต่ไม่ใช่ไม่มีความเห็นทางการเมือง 4. การคัดคนเข้าเป็นทหารต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานเสมอภาค สิทธิ เสรีภาพ 5. หลักสูตรการศึกษา ไปดูว่าหลักสูตรเขาเรียนสิทธิมนุษยชน รัฐธรรมนูญ กฎหมาย หลักการประชาธิปไตย สิทธิหน้าที่ทหารเป็นอย่างไร มีการสอนกฎการใช้กำลังไหม หรือสอนแต่เรื่องชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ 6. การยอมรับความหลากหลาย ต้องมีความหลากหลายทางศาสนา เชื้อชาติ เพศ เป็นต้น หนึ่ง ทหารไม่ใช่เจ้าหน้าที่ที่ออกไปรบ หรือเชื่อฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเท่านั้น แต่ทหารเป็นพลเมืองที่ไปใส่เครื่องแบบทหารเท่านั้นเอง แต่ทหารนั้นอยู่กับหลักการที่เคร่งครัดอย่างยิ่งคือเรื่องคำบังคับบัญชา กับอีกหลักคือเสรีภาพของมนุษย์ สองอย่างนี้จะหาดุลยภาพได้อย่างไร ปัจจุบันหลักนี้ในเยอรมนี ถือว่าหลักนี้มีคุณค่าในระดับรัฐธรรมนูญจะออกกฎหมายใดมาขัดแย้งหลักนี้ไม่ได้ ใช่สอน ใช้อบรมทหารตั้งแต่เข้าโรงเรียนนายร้อยก็ต้องเรียน ทหารเป็นพลเมืองในเครื่องแบบ มีความเป็นอิสระในฐานะบุคคล เป็นพลเมืองที่มีจิตสำนึก สิทธิ เสรีภาพ และความรับผิดชอบ ขณะเดียวกันก็พร้อมสำหรับภารกิจหน้าที่ โดยสรุปแล้ว Moral of Conduct ของเยอรมนีมีอะไรบ้าง หนึ่ง พลเรือนเป็นใหญ่ สอง ควบคุมโดยรัฐสภา สาม ยึดนิติรัฐ สิทธิ สี่ สาธารณชนตรวจสอบได้ตลอดเวลา ห้า ยกเลิกศาลทหาร หก แบ่งแยกเขตอำนาจทหารพลเรือนอย่างชัดเจน หนึ่ง สิทธิเสรีภาพ มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญด้วย แต่อาจถูกจำกัดสิทธิได้โดยเฉพาะในกรณีที่กฎหมายกำหนด โดยคนที่ตรากฎหมายคือรัฐสภา โดยจำกัดไปเพื่อความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ทางทหารเท่านั้น แน่นอนว่าหลักของทหาร ต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา แต่มีข้อยกเว้นสองกรณี คือมีสิทธิปฏิเสธไม่ปฏิบัติตาม ถ้าคำสั่งนั้นละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สองทหารมีหน้าที่ในการปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามหรือเชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาถ้าคำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นความผิดอาญา นั่นหมายความว่า ในการสลายการชุมนุม ให้ใช้สไนเปอร์ซุ่มยิง ถ้าเป็นบ้านเมืองอื่นเขาต้องปฏิเสธ สอง การควบคุมโดยฝ่ายการเมือง โดยผ่านการควบคุมงบประมาณ และตรวจสอบการใช้งบประมาณของทหาร และอีกประการคือการคุ้มครองสิทธิหน้าที่ของทหารทุกคน โดยมีกรรมาธิการสภาควบคุมตรวจสอบดูแล สาม คือคณะกรรมการกลาโหม ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของกองทัพ ล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม รัฐสภาจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นโดยระบุว่าทุกการแทรกแซงของทหารต้องผ่านการพิจารณาแผนโดยรัฐสภาเสียก่อน ในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วนอย่างยิ่ง รัฐบาลอาจส่งไปก่อนแล้วมา ผ่านความเห็นชอบโดยรัฐสภาอีกครั้ง ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกองทัพเยอรมนีคือพลเรือน ในสภาวะสงบ ผู้ควบคุมคือ รมต. กลาโหม ในภาวะสงคราม ผู้ควบคุมคือนายกรัฐมนตรี หลักคุณค่าที่กองทัพเยอรมนีให้ความเคารพนับถือคือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เสรีภาพ เสมอภาค ประชาธิปไตย และกฎหมาย แต่ในบางประเทศที่คุณค่าที่กองทัพนับถือ คือกษัตริย์ พระเจ้า ท่านผู้นำ หรือคอมมิวนิสต์
ภารกิจแรกคือปกป้องกษัตริย์ ภารกิจที่สองคือการดำเนินการตามพระราชดำริ สาม ป้องกันประเทศ บอกได้เลยนะว่านี่เป็นประเทศเดียวในโลก นี่คือการวิเคราะห์ภารกิจผิดพลาด การแก้ไขปัญหาการเข้ามาครอบงำทางการเมือบงของกองทัพจะแก้อย่างไร ผมเรียนไปแต่ต้นว่าจะปฏิรูปการเมืองสำเร็จได้ต้องปฏิรูปกองทัพด้วย กองทัพเองก็ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ของโลกว่าในอนาคตจะมีสงครามขนาดใหญ่ขึ้นได้หรือไม่ เราจะเห็นว่าในอนาคตการรบรากันจะน้อยลง ดังนั้นหน้าที่ของตัวเองคืออะไร ก็คือการพัฒนาประเทศ คุณสมบัติของนายทหารควรจะเป็นอย่างไร ก็ต้องพัฒนาตัวเองไปเป็นนักวิศวกรรม นักวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร ต้องพัฒนาตัวเองไปเป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นวิศวกร จำนวนกำลังพลจะต้องลดลงครึ่งหนึ่ง คุณภาพของทหารจะต้องมีความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยี การจัดซื้ออุปกรณ์ต้องวางแผนล่วงหน้าเป็นสิบปี แต่เป็นที่น่าเสียดายผมเสนอในสภากลาโหมก็ได้รับคำวิจารณ์ว่า นี่เป็นการเสนอแบบวิชาการไม่น่าทำได้ สิ่งหนึ่งที่ต้องทำ พัฒนาหลักสูตร ผมบอกได้เลยน้องๆ หลายคนเป็นคนเรียนเก่งในสมัยมัธยม แต่พอถูกฝึกว่าคำสั่งผู้บังคับบัญชาคือพรแห่งสวรรค์ แล้วคิดดูว่าคนที่ถูกฝึกอย่างนี้ไปเป็นสิบปีโดยไม่สงสัยว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ต้องส่งไปเรียนหลักสูตรพลเรือนมากขึ้นก็จะได้วิธีคิดอีกแบบ สิ่งหนึ่งที่อยากจะเรียนให้ทราบคือ สมัยเป็นนักเรียนนายร้อยเรา ถูก “ซ่อม” แล้วให้เราปฏิญาณว่ารุ่นน้องที่ดีที่สดยังสู้รุ่นพี่ที่เลวที่สุดไม่ได้ ผมคิดว่าวัฒนธรรมแบบนี้จะต้องเลิก จะต้องเปลี่ยน ความจริงโรงเรียนนายร้อยทุกเหล่าสอนวิชารัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ แต่เมื่อเข้าไปอยู่ในค่ายทหารก็ถูกทำให้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่คิดว่าชอบด้วยหลักการหรือไม่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารรู้สึกว่าทหารรักชาติมากกว่าคนอื่น ปฏิรูปกองทัพจะทำให้สำเร็จได้อย่างไร ก็คือการทำให้ทหารเป็นทหารอาชีพ Old Soldier Never Dies จะต้องเลิก สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือว่าทหารจะได้รับการยอมรับและได้รับความรักจากประชาชนก็คือทหารต้องไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง และต้องเรียนว่าทหารส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยและไม่อยากเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ดูเหมือนว่าที่ผ่านมากองทัพเป็นปัญหาในการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ก็อย่างที่อาจารย์ปิยบุตรบอกว่าการรัฐประหารทุกครั้งจะต้องได้รับพระบรมราชโองการทุกครั้ง จึงไม่ทราบว่าปัญหากองทัพอยู่ที่ไหนกันแน่ ประเทศไทยอยู่บนทางสามแพร่ง แพร่งแรก คือทำให้เป็นอย่างญี่ปุ่น อังกฤษ สวีเดน หรือเดนมาร์ก อำนาจนอกระบบไม่เข้ามาครอบงำระบอบการเมือง กษัตริย์ก็อยู่อย่างสมพระเกียรติ ผมเชื่อว่าอย่างอังกฤษจะอยู่ได้เป็นอีกร้อยปี แพร่งที่สาม ผู้ปกครองประเทศใช้ทหารมาเข่นฆ่าพลเรือน ถ้าประเทศไหนผู้ปกครองประเทศใช้กองทัพเข่นฆ่าประชาชน มันก็จะเดินไปแพร่งที่สาม คือฝรั่งเศส รัสเซีย เนปาล อิหร่าน และที่เห็นปัจจุบันคือตูนิเซียและอียิปต์ สถาบันจะล่มสลาย เกิดการนองเลือด ผมเรียนด้วยความรักชาติรักสถาบัน และผมรู้ว่ามีคนมาอัดเทป ผมขอเรียนว่าผมพูดด้วยความรักชาติ อายุขนาดนี้ตายเป็นตาย แต่ผมพูดเพื่อให้น้องๆ ในกองทัพเห็นว่าประเทศไทยมีทางสามแพร่ง คนที่จะเลือกว่าจะนำประเทศไปสู่แพร่งไหนคือผู้ปกครองประเทศและกองทัพ ท่านต้องนึกให้ดีครับว่าพลเมืองของโลกก้าวหน้ามาขนาดนี้จะพาประเทศไปสู่แพร่งไหน วิภา ดาวมณีถาม กองทัพไทยให้ยิงคนมือเปล่า หรือยิงผู้หญิงในวัดหรือเปล่า สุภลักษณ์ ผมมีข้อเสนอสักสี่ห้าข้อในรอบนี้ ว่าทำยังไงให้ทหารแก่ตายเสียที ทัศนคติอีกข้อ คือการร่ำร้องหาทหารแก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลาที่ฝนตก น้ำท่วม ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือเกิดเดดล็อกทางการเมือง ถ้าหากเราไม่อาจจะตัดเรื่องนี้ออกจากการคิดของสังคมตราบนั้นก็ Old Soldier never Dies สาม อย่าพยายามสร้างเงื่อนไขให้กองทัพมีบทบาทมากนัก เช่น เรียกร้องให้มีสงครามชายแดน อย่าเรียกร้องให้บิน F16 บ่อยนัก เพราะมันอาจจะตกได้ สี่ เราควรจะปิดประตูตายสำหรับการดึงทหารมาเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาทางการเมือง ปัญหาการเมืองควรแก้ไขตามกลไกทางการเมืองที่มีอยู่ ห้า สังคมไทยควรคิดอย่างพินิจพิเคราะห์ นายทหารที่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองสมควรถูกลงโทษอย่างหนักไม่ใช่ได้รับการยกย่องอย่างในปัจจุบัน ผมไม่เคยเห็นนายทหารคนใดที่นำกองทัพมาเล่นการเมือง เขาไม่เคยถูกลงโทษ เช่น นายทหารเช่น พล.อ.สนธิ ไม่ควรเล่นการเมือง ควรถูกลงโทษไม่ให้เล่นการเมืองด้วยซ้ำไป พ.อ.อภิวันท์ เสริมว่า นักการเมืองต้องทำหน้าที่ลงโทษนายทหารที่ทำการัฐประหารก่อนหน้านั้น น่าเสียดายที่นักการเมืองไม่ทำอย่างนั้น พล.ท.พีระพงษ์ ผมถอดรหัสเรื่องการเมืองคือเราไม่เป็นประชาธิปไตยในเนื้อหา เรายังไม่มีนักการเมืองเรามีแต่นักเลือกตั้ง มีคนมีโวหาร เป็นตัวแทนกลุ่มทุนบ้างอะไรบ้าง ต้องทำให้เป็นประชาธิปไตยโดยการกระจายโครงสร้างทางอำนาจ หนึ่ง กระบวนการในการจัดซื้อจัดหา คนจะสงสัยว่าทำไมซื้อ ประเทศที่เจริญแล้วจะแบ่งการจัดซื้อจัดหาห้ากลุ่ม หนึ่ง ภัยคุกคามรุนแรงคิดอะไร ขาดแคลนอะไรบ้าง แล้วใช้เครื่องมืออะไร ยี่ห้ออะไร ซื้อ รับมาแจกจ่าย ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยแท้จริงไม่ให้คนๆ เดียวทำ แต่ในไทย ใครบอกว่า อะไรคือภัย ก็คือคนในเครื่องแบบ คนเดียวกันหมด จนกระทั่งการจัดซื้อ จึงไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุล สอง โครงสร้างกองทัพ ในประเทศเจริญแล้ว เขาแยกกันระหว่างงานบริหารทรัพยากรกลุ่มหนึ่ง และอีกกลุ่มคือกองทัพ กองทัพก็เป็นปิรามิด คุมได้ทั้ง บก เรือ อากาศ กองทัพไทยมั่วไปหมด ความสัมพันธ์ก็มีรุ่นเหล่า กระซิบกัน ขอไปก่อนแล้วค่อยมาเปลี่ยนงบ กองทัพเองก็จะเกิดความซ้ำซ้อน เช่น โรงเรียนเสนาธิการ เมืองนอกมีโรงเรียนเดียว แต่ของเรามีสามบวกหนึ่ง โรงเรียนพยาบาลก็มีสามโรงเรียน พยาบาลทหารอากาศต้องไปลอยบนฟ้าฉีดยาเหรอ คนที่จบโรงเรียนทหารต้องไปคุมกำลังรบ ไม่ใช่มาอยู่หน่วยธุรการเยอะแยะขนาดนี้ กำลังคน หรือการจัดซื้อบอลลูน ข้อเท็จจริงคือทหารอากาศก็มีเครื่องบินเก่าลิงก์ภาพจากอากาศสู่พื้นดินได้ ถูกกว่า ทดแทนกันได้ แต่ไม่ทำ เพราะต่างคนต่างทำ มีเอกเทศมากเกินไป ล่าสุดผมไปฟังมาที่จังหวัดตราด ท่านมัวไปคิดเรื่องกัมพูชาด้านพบ แต่ด้านล่าง ก็มีปัญหา คือประเทศใหญ่ให้ความช่วยเหลือด้านกำลังรบ กองทัพไทยอยากจะสร้างหนึ่งกองพลทหารม้า แต่ทราบหรือไม่ว่าหน้ากว้าง 250 กม. ฝั่งชายแดนตราดมีนาวิกโยธินดูแลอยู่แค่ 1 กรมเท่านั้นเอง คำถามคือจะกรมทหารราบให้นาวิก หรือจะไปสร้างกองพลทหารม้า กระบวนการที่ 4 คือการผลิตซ้ำทางความคิด เพิ่มได้ไหม คุณต้องพิทักษ์รัฐธรรมนูญ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกองทัพทางกายภาพยังไม่สำคัญเท่าไหร่ แต่เปลี่ยนจิตสำนึกสำคัญกว่า ผมเองก็เอาประสบการณ์ตัวเอง แต่คนที่มีความรู้มากเกินไป ก็ลำบาก นี่ก็เป็นตัวอย่างว่าต้องปฏิรูปอีกมาก มนุษย์คนหนึ่งต้องมีทั้งประสบการณ์และทฤษฎี คุณไปอยู่หน่วยรบต้องเอาความรู้มาปรับแก้ ยิ่งไทย เขาเลือกจากคุณสมบัติอะไร หนึ่งมึงมาจากไหน พวกกูหรือเปล่า สองคือ มองหัวแม่ตีนแล้วรู้ใจ เมื่อการเมืองเป็นเรื่องพิเศษ เขาก็จะเลือกแต่พวก ส่วนความรู้ความสามารถเอาไว้ลำดับท้ายๆ ย้ำอีกครั้งประชาธิปไตยจะเกิดได้ต้องกลับไปที่โครงสร้างอำนาจ ต้องกระจายตัว คนมีการศึกษามากแล้ว อย่าดูแต่การศึกษาแบบเป็นทางการเมือง ขนาดวันนี้ไปปลุกระดมให้รักชาติ ไปรบกับเขมร เขาก็รู้ทัน แล้วอย่ามาทำแอคชั่นอย่างนี้ แล้วถ้าคุณเอาประเทศไปเสี่ยงแบบนั้น คุณโหดร้ายกับประเทศมาก กลับตัวกลับใจเสียใหม่ก่อนที่จะไม่มีที่อยู่ที่ยืนในรัฐไทย
ตั้งแต่ พ.ศ.2500 เป็นต้นมา ทหารผูกมัดตัวเองเข้ากับอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรืออุดมการณ์ราชาชาตินิยม หลังๆ มีเติมขึ้นมาว่า ประชาชน ด้วย ชาติ ในความหมายของกองทัพคืออะไร ชาติคืออะไร ก็คือพระมหากษัตริย์ แล้วประชาชนคืออะไร ประชาชนคือข้าฝ่าละอองธุลีพระบาท จากคำปฏิญาณตนของกองทัพ เป็นไปไม่ได้เลยที่กองทัพไทยจะปกป้องรักษารัฐธรรมนูญ จะปกป้องรัฐธรรมนูญ ปฏิเสธคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ข้อสังเกตอีกประการคือ พระมหากษัตริย์ดำรงตำแหน่งจอมทัพ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ เช่นกัน แต่ว่าประเทศหลายๆ กษัตริย์เป็นประมุขของประเทศในเชิงสัญลักษณ์ คำกล่าวของพลเอกเปรมที่ว่ารัฐบาลเป็นแค่จ๊อกกี้ แต่ไม่ใช่เจ้าของคอกม้า คำกล่าวแบบนี้ผิดหลักประชาธิปไตย กษัตริย์เป็นจอมทัพส่งผล 2 อย่างคือ หนึ่งเป็นผู้ต่อต้านรัฐประหาร อาศัยความเป็นจอมทัพ สั่งให้ทหารกลับไป หรืออีกด้านที่เป็นประโยชน์ก็คือเวลารบแล้วแพ้สงคราม กษัตริย์ก็อาจจะทำตัวอิงแอบกับฝ่ายชนะ เช่น ฝ่ายเสรีไทย แต่นั่นเป็นประเทศประชาธิปไตยที่อนุญาตให้กษัตริย์เป็นประมุข ปัญหาหลักใหญ่ของเราคือ จะทำอย่างไรให้อุดมการณ์แบบประชาธิปไตยมีอิทธิพลต่อกองทัพ นี่เป็นปัญหาที่ยากและอาจจะต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการปลูกฝัง แต่ผมขอยกตัวอย่างในหลายๆ ประเทศ โดยธรรมชาติกองทัพอยู่ตัวคนเดียวไม่ได้หรอกครับ สังคมประชาธิปไตยที่ไหนก็ไม่ยอมให้เป็นแบบนี้ แต่ทำไมของไทยเป็นแบบนี้ได้ ก็เพราะมีอะไรค้ำยันกองทัพอยู่ ปัญหาคือ เวลาที่การเมืองมีความขัดแย้ง มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น กองทัพก็ต้องปรับตัว เช่น ที่อียิปต์ แม้จะเป็นมือเป็นไม้ให้มูบารัก แต่เมื่อคนออกมาเยอะๆ ท่าทีกองทัพก็อ่อนลงพอกลิ่นอายประชาธิปไตยเริ่มตลบอบอวล ในตุรกี ก็มีทหารรุ่นหนุ่มมาปฏิวัติให้เป็นประชาธิปไตย แต่ปัญหาคือ กองทัพรุ่นใหม่ที่มาแทนรุ่นเก่า ก็คือคนเหล่านี้ต้องอยู่ไปก่อน เพื่อป้องกันการตอบโต้กลับของอุดมการณ์แบบเก่า แต่อยู่ไปนานๆ ก็แซะออกยาก จะทำอย่างไรให้กองทัพเหล่านี้กลับเข้าที่ ทุกวันนี้กองทัพตุรกีรักษาอุดมการณ์แบบเคมาล อาตาเติร์ก แต่ปัจจุบันเริ่มปรับตัวมากขึ้น หรือกรณีญี่ปุ่น เปลี่ยนไปเพราะแพ้สงครามโลก เยอรมนีก็เปลี่ยนเพราะแพ้สงครามโลก อินโดนีเซียเปลี่ยนเพราะวิกฤตเศรษฐกิจ ลองมาดูของไทย ปัญหาที่เกิดขึ้น หากกองทัพเปล่าๆ เปลือยๆ ทำรัฐประหารลำพังสำเร็จได้ไหม กองทัพเปล่าๆ มาฆ่าประชาชน ทำได้ไหม ไม่มีทางทำได้หรอกครับถ้าไม่มีอะไรค้ำยันอยู่ สิ่งที่ต้องคิดคือ อะไรค้ำยันกองทัพอยู่แล้วอะไรจะเป็นจุดเปลี่ยนให้กองทัพสละทิ้งสิ่งที่ค้ำยันนี้ ขอจบด้วยภาษิตเยอรมนี ทหารที่ดีต้องคิดเพียงสามสิ่งเท่านั้น คือหนึ่ง กษัตริย์ พระเจ้า และสามคือไม่คิดอะไรเลย พ.อ.อภิวันท์
พวกนักวิชาการหลายคนบ่นว่าเบื่อจริงๆ เห็นหน้าผมก็รู้แล้วว่าจะพูดอะไร เมืองไทยนี่มันตลกดี เมืองไทยเจอเรื่องสถาบันกษัตริย์เกือบ 24 ชม. จริงๆ พวกเขาต่างหากต้องเป็นฝ่ายออกตัวเวลาที่ไม่พูดเรื่องสถาบันกษัตริย์ ฉะนั้นการที่ผมออกตัวปลอมๆ นี่ก็เป็นการแอบด่าคนอื่นมากกว่า ประเด็นคือ ผมคิดว่าเล่นๆ เรียงจากเห็นด้วยมากมาเห็นด้วยน้อย ท่านอภิวันท์เห็นตรงกันเยอะ ท่าน พล.ท.พีระพงษ์ผมฟังด้วยความทึ่งมาก ผมดีใจมากที่ท่านยังอยู่ ในชีวิตนี้ไม่เคยคิดเลยว่า นายทหารระดับพลโทจะพูดเรื่องการผลิต และพูดเรื่อง Civilians ที่ไม่เป็น Democracy หรือไอเดียเรื่องเสรีชน ในการวิเคราะห์เชิงโครงสร้างพวกนี้มีปัญหาอยู่ว่า มันเป็นไอเดียว่าด้วยความสมพันธ์เชิงเศรษฐกิจ เป็นไอเดียที่คิดว่าเราสามารถวิเคราะห์การเมืองแบบอิสระได้ ผมยังอยากจะคิดว่ามันมีความเป็นไปได้ว่าเราจะผลัดดันทางการเมืองโดยไม่มีฐานด้านทุน แต่พิจารณาโครงสร้างทางการเมือง เป็นอิสระอย่างสัมพันธ์ คงต้องมาดีเบท ที่มีปัญหากับคุณสุภลักษณ์ ผมไม่ได้มีปัญหากับคุณสุภลักษณ์อย่างส่วนตัว คุณสุภลักษณ์เป็นตัวแบบของนักหนังสือพิมพ์ที่มีความวิพากษ์วิจารณ์ ปัญหาปัญญาชน คือเป็นแบบคุณสุภลักษณ์มันโอเค ด่าทหาร แต่ปัญหาคือการดีถึงระดับหนึ่งสำหรับสถานการณ์ทางประวัติศาสตร์ของไทยมันกลายเป็นการบิดเบือน ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดโดยไม่ตั้งใจ ผมอยากหยิบประเด็นที่จบรอบสองที่ว่าเราพูดมายี่สิบกว่าปี ประเด็นคือ เราพูดผิดประเด็น คุณสุภลักษณ์ควรจะหยุดพูดเรื่องทหารได้แล้ว เพราะบริบททางประวัติศาสตร์ไทยมันไม่ใช่อีกต่อไป และตอนท้ายคือ เปรม อำนาจเปรมไม่ใช่อำนาจทหารแต่เป็นอำนาจของสถาบันกษัตริย์ เวลาอธิบายเรื่องทหารเหมือนคุณสุภลักษณ์ แต่มันผิดประเด็นครับ อย่างคุณเปรมที่คุณทิ้งเอาไว้มันผิดแน่ๆ เลย คุณเปรมคนเดียวหมดจากตำแหน่งมาสามสิบปีเต็มๆ จาก ผบ.ทบ. คำตอบง่ายๆ คือเขามีอำนาจขนาดนี้ได้เพราะเขาเป็นองคมนตรี อำนาจของคุณเปรมจึงไม่ใช่อำนาจทางทหารเลย หรืออย่างรัฐประหาร เรื่องการปรับเปลี่ยนเรื่องฐานะวิธีคิดของทหาร การพูดแบบนี้โอเค ถ้ามองประวัติศาสตร์โดยรวม ง่ายๆ คือรัฐประหารครั้งสุดท้ายเป็นการรัฐประหารที่เว้นช่วงยาวนานที่สุดของประวัติศาสตร์ไทย และก่อนหน้านั้นคือ 2534 ก็เป็นการเว้นช่วงยาวนานอันดับที่ 2 เรื่องพวกนี้ไม่บังเอิญ เพราะเราต้องทำความเข้าใจเชิงประวัติศาสตร์ เราต้องเข้าใจรูปธรรมการต่อสู้ทางสังคม เพราะว่าตั้งแต่ 14 ตุลาคมเป็นต้นมา ทหารหมดฐานะที่เป็นอิสระที่มีบทบาทขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศแล้วแต่เรามีรัฐบาลพระราชทานมากี่ชุดแล้ว คุณเปรม อานันท์ สัญญา ธานินทร์ จนอาจจะรวมถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ปัจจุบัน 14 ตุลาคม มันมีคุณูปการอย่างหนึ่งคือทำให้ฐานของทหารในฐานะตัวกระทำทางการเมืองอย่างอิสระหมดไป จะเห็นว่าครั้งสุดท้ายที่ทหารทำรัฐประหารเพื่อตัวเองจริงๆ คือ รสช. แล้วอยู่ได้แค่ปีเดียวก็เจ๊ง มันทำให้เห็นว่าทหารไม่สามารถเป็นตัวกระทำทางการเมือง ถ้าไม่มีข้ออ้างเรื่องรักษาสถานะและอำนาจของกษัตริย์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะมีข้ออ้างอะไรที่จะเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง อย่างที่ผมบอกซ้ำแล้วซ้ำอีกคือ ทหารไม่ได้เป็นกองกำลังอิสระที่จะสามารถมามีอำนาจนำต่อสังคมได้อีกต่อไปแล้ว ทหารที่ทำจริงๆ แล้วคือทำเพื่อรักษาสถานะและอำนาจของสถาบันกษัตริย์ แล้วนี่คือช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ แล้วเรื่องคุณทักษิณและอำนาจที่มาจากการเลือกตั้งสุดท้ายก็จะมาเป็นอำนาจที่เข้ามาแข่งกับอำนาจของสถาบันกษัตริย์อย่างที่สังคมไทยเป็นอยู่ นี่คือประเด็นที่เป็นหัวใจ เป็นแกนกลางของปัญหาของประเทศไทย และผมย้ำคือว่า ถ้าไม่พูดกันอย่างตรงไปตรงมาก็ตีกันอีก ผมก็ไม่ได้อยากจะพูดเรื่องสถาบันกษัตริย์หรอก หลังจากที่พูดเมื่อวันที่ 10 ธ.ค. ผมก็ไม่อยากเล่าว่าผมเจออะไรมาบ้าง แต่นี่คือหัวใจของปัญหาของประเทศครับ อีกประเด็นคือเรื่องความทรมาน ผมไม่อยากให้มองเรื่องพวกนี้เป็นพวกอัตวิสัย แต่ผมคิดว่ามันสะท้อนประเด็นที่บอกว่าปรากฏการณ์ที่บอกว่าทหารทำแล้วไม่สบายใจ มันสะท้อนความเป็นจริงว่ากำลังทหารในฐานะที่เป็นตัวกระทำทางการเมืองที่เป็นอิสระมันหมดไปตั้งแต่ 14 ตุลา อำนาจหลักของรัฐไทยมันไม่ได้อยู่ตรงนี้แล้ว ซึ่งการบอกว่าทหารไม่อยากทำ ผมก็เชื่อในทางอัตวิสัย แต่มันสะท้อนโครงสร้างในฐานะที่เป็นกำลังหลักทางการเมืองมันไม่ใช่เหมือนในอดีตอีกต่อไปแล้ว
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||
เปิดตัว “ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน” เสนอแก้ กม.ประกันสังคม ให้รัฐร่วมสมทบเต็มกรณีเจ็บป่วย Posted: 06 Feb 2011 02:03 AM PST ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน จี้ประเด็นทำไม “ผู้ประกันตน” ต้องจ่ายค่าประกันสุขภาพอยู่กลุ่มเดียว เสนอให้รัฐต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ชี้พร้อมจ่ายเงินสมทบเท่าเดิมแต่ให้เอาไปสบทบสวัสดิการยามชราแทน เผยเตรียมทำข้อเสนอให้คณะกรรมาธิการฯ แก้กฎหมายให้เป็นธรรม วันนี้ (6 ก.พ.54) เมื่อเวลา 10.00 น. ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน จัดงานเปิดตัวและแถลงข่าวในเรื่องการจ่ายซ้ำซ้อนเพื่อ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการแถลงข่าวกล่าวถึงระบบหลักประกันสุขภาพของไทยซึ่งจำแนกเป็นระบบใหญ่ๆ ได้ 3 ส่วน คือ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และระบบสวัสดิการข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ใช้งบประมาณจากภาษีอากร ยกเว้น ระบบประกันสังคมที่ผู้ประกันตนและนายจ้างร่วมจ่าย ซึ่งถือเป็นความซ้ำซ้อนที่ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมต้องสมทบเพื่อให้ได้สิทธิการรักษาพยาบาลเอง รวมทั้งต้องจ่ายภาษีอีกด้วย ในขณะที่ กลุ่มอื่นที่ไม่ใช่ผู้ประกันตนมีสิทธิรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องร่วมจ่ายเงินสมทบ ประเด็นหลักที่ทางชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตนต้องการเรียกร้อง คือการรักษาพยาบาลของผู้ประกันตนนั้นรัฐบาลควรผู้รับผิดชอบเต็ม 100% เช่นเดียวกับประชาชนที่อยู่ในระบบประกันสุขภาพกลุ่มอื่นๆ และให้ทุกคนมีสิทธิเข้ารับการรักษาพยาบาลเช่นเดียวกับประชาชนที่ใช้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนเงินสมทบประกันสังคมเพื่อกรณีเจ็บป่วยซึ่งคิดเป็น 1% ใน ใน 5% ของเงินเดือนที่ผู้ประกันตนสมทบในระบบประกันสังคมนั้น ควรถูกนำไปรวมเพิ่มในกรณีอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น กรณีชราภาพ ซึ่งการเพิ่มเงินออมในส่วนนี้จะทำให้ผู้ประกันตนได้รับเงินบำเหน็จ หรือบำนาญเพิ่มขึ้น เมื่อสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน นางสาวสารี ในฐานะโฆษกชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน กล่าวว่า การให้บริการของประกันสังคมที่มีผู้ประกันตนราว 9.4 ล้านคน ที่จ่ายเงินเข้ากองทุนฯ และขณะนี้มีปัญหา ทั้งในเรื่องความเป็นธรรมในการรักษาพยาบาลของผู้ประกันตน และการบริหารจัดการ โดยมีผู้ประกันตนมาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคหลายประเด็น เช่น คุณภาพการรักษาพยาบาลเกี่ยวกับการเยียวยาค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษา, การจ่ายเงินล่วงหน้าสำหรับลูกจ้างที่ประสบอุบัติเหตุ ที่มีกระบวนการและระยะเวลาเบิก ซึ่งสามารถเข้ารักษาแบบฉุกเฉินปีละ 2 ครั้ง, ขั้นตอนในการตรวจสอบสิทธิใช้เวลานาน, ไม่รับประกันอุบัติเหตุนอกเวลางาน, ระบบรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้ประกันตน และปัญหากับผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรคเรื้อรัง ต่อคำถามเรื่องการขับเคลื่อนทางกฎหมาย นางสาวสารี กล่าวว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมที่มีการเสนอแก้ไขนั้น อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างกฎหมายฯ สภาผู้แทนราษฎร และทางชมรมฯ กำลังจะทำการยื่นข้อเสนอของทางกลุ่มเพิ่มเติมต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เพิ่มเติม ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตนได้เปิดหน้า facebook (คลิกที่นี่เพื่อดู) ประชาสัมพันธ์ความคืบหน้าในการติดตามเรื่องสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม และมีการเชิญชวนผู้ประกั ด้านผู้ประกันตนรายหนึ่ง กล่าวว่า การร่วมฟังข้อมูลในวันนี้ทำให้เห็นปัญหาของประกันสังคมในการรักษาพยาบาลซึ่งมีทั้งสิทธิประโยชน์ที่น้อยกว่าหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหลายกรณีต้องจ่ายเงินเองก่อนจึงจะไปทำเรื่องเพื่อขอรับเงินคืนได้ แถมมาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยในประกันสังคมของโรงพยาบาลต่างๆ ยังไม่มีคุณภาพ ทำให้เกิดคำถามต่อกฎหมายใหม่ที่ว่ามีความก้าวหน้าเรื่องการให้บุตรและคู่สมรสของผู้ประกันตนได้สิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลด้วย อย่างนี้ก็เท่ากับการที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ห่วยๆ เพิ่มขึ้นอีกอย่างนั้นหรือเปล่า ทั้งนี้ จากข้อมูลของชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน ระบบหลักประกันสุขภาพ 3 ระบบใหญ่ที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน แบ่งการดูแลออกเป็น 1.ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดูแลคนที่มีสัญชาติไทย ประมาณ 47 ล้านคน ใช้งบประมาณจากภาษีอากร ในปี พ.ศ.2553 ประมาณ 1 แสนล้านบาท 2.ระบบประกันสังคม ดูแลผู้ประกันตน ประมาณ 9 ล้านคน โดยผู้ประกันตนสมทบ ร่วมกับนายจ้างและรัฐ ใช้งบประมาณในปี พ.ศ.2552 ในส่วนค่ารักษาพยาบาลประมาณ 4 หมื่น 4 พันล้านบาท และ 3.ระบบสวัสดิการข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ครอบคลุมผู้มีสิทธิประมาณ 5 ล้านคน ใช้งบประมาณจากภาษีอากร ปี 53 ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||
ปี 2010 อัตราคนว่างงานพุ่ง 205 ล้านคน - คนทำงาน เดือนมกราคม 2553 Posted: 06 Feb 2011 12:49 AM PST |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น