ประชาไท | Prachatai3.info |
- ข่าวสารประชาชนรอบสัปดาห์ (30 พ.ค.-5 มิ.ย.54)
- คดี ‘สุรชัย แซ่ด่าน’ หมิ่นสถาบัน สืบพยาน ม.ค.ปีหน้า-‘สรรเสริญ’ โต้ผังล้มเจ้ามีจริง
- เปิดคุกไทย 2554 เทียบคุกฝรั่งเศส และบางคำตอบจากราชทัณฑ์
- ‘สุราษฎร์ฯ’ ร้อน ยกพลต้านกรมชลฯ ขวางเวนคืนที่โครงการตาปี–พุมดวง
- ผู้ลี้ภัยจากปากีสถาน 96 คนได้รับการปล่อยตัวจากสถานกักกันตรวจคนเข้าเมืองกรุงเทพฯ
- นักปรัชญาชายขอบ: อภิสิทธิ์ คุณคือ ‘นายกฯ 92 ศพ’
- นานาชาติหวังหลังเลือกตั้งจะนำการเมืองไทยสู่ปกติ
- TCIJ: 39 ส.ว.รวยขึ้นหลังพ้นตำแหน่ง ม.ร.ว.ปรียนันทนาพุ่ง 122 ล้าน
- "สุภิญญา" รับผิดคำพูดจริงกรณีสมัคร กสทช. ยันไร้ประโยชน์ทับซ้อน
- รอบโลกแรงงาน พฤษภาคม 2554
- จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ
- เสียงเพรียกหาความยุติธรรม... กรณีชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (1)
- ทีดีอาร์ไอเสนอใช้โทษปรับตาม "รายได้" แทน "จำคุก"
ข่าวสารประชาชนรอบสัปดาห์ (30 พ.ค.-5 มิ.ย.54) Posted: 06 Jun 2011 10:47 AM PDT หัวข้อข่าว:
“กลุ่มโซเซียลเน็ตเวิร์ก" ร่วมเติมอ๊อกซิเจนให้เจ้าพระยา หลังเรือน้ำตาลล่ม นายปรเมศวร์ มินศิริ อายุ 42 ปี แกนนำกลุ่มจิตอาสา ในสังคมทวิตเตอร์ กล่าวว่า กลุ่มของตนนั้นชื่อกลุ่ม Thai flood ที่ผ่านมา กลุ่มของเราเคยรวมมือกันทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาแล้วหลายครั้ง ทั้งในพื้นที่ภาคใต้ ในขณะถูกน้ำท่วม และในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ก็เคยมาทำกิจกรรม ซึ่งการรวมกุล่มกันมาในครั้งนี้ เนื่องจากทราบข่าวจากสื่อต่างๆว่าเกิดปัญหาในแม่น้ำเจ้าพระยา สาเหตุจากเรือน้ำตาลล่มที่อยุธยา ทำให้เกิดมลภาวะจนสัตว์น้ำตายเป็นจำนวนมาก จึงได้มีการติดต่อสื่อสารกันในทวิตเตอร์เพื่อหาทางเยียวยาช่วยเหลือ โดยการประสานกับกลุ่ม อาสาดุสิต ที่มีคุณปิยะชีพ วัชโรบล เป็นหัวหน้ากลุ่ม ปรึกษาหารือกันว่าจะดำเนินการอย่างไรกันเพื่อช่วยฟื้นฟูรักษาแม่น้ำเจ้าพำระยาให้กลับคืนมาอยู่ในสภาพที่ดีเหมือนเดิม ก่อนจะกระจายข่าวกันไปในกลุ่มของเราเมื่อคืนที่ผ่านมา จนเกิดวันนี้ขึ้น นายปิยะชีพ วัชโรบล เป็นหัวหน้ากลุ่มอาสาดุสิต กล่าวว่า จากข่าวที่เรารับทราบพบว่าน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยานั้นเสียหายมาก อีกทั้งคลองประปาก็ได้รับผลกระทบ ที่ผ่านมาทางราชการบอกว่ามีการตรวจวัดสภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วมีค่าปกติ แต่ตามหลักวิชาการนั้นการวัดค่าน้ำ ต้องวัดใน 3 ระดับ คือวัดจากผิวน้ำ กลางลำน้ำ และใต้พื้นน้ำ ซึ่งเราเชื่อว่าค่าออกซิเจนในแม่น้ำลดลงมาก อีกทั้งยังทราบว่าคุณลุงเฉลียว ปานเนียม ซึ่งเป็นผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้เกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จังหวัดสุพรรณบุรี มีการผลิตลูกบอลจุรินทรีย์ ที่สามารถเพิ่มค่าออกซิเจนในน้ำได้เป็นอย่างดี จึงได้ติดต่อประสานงาน โดยการนำลูกบอลจุรินทรีย์ จำนวน 5000 ลูกมาโยนลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาช่วง อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เพื่อช่วยให้แม่น้ำเจ้าพระยามีออกซิเจน มากขึ้น อันจะเป็นการฟื้นฟูสภาพแม่น้ำและสิ่งแวดล้อมโดยรวมให้กับคืนสู่สภาพที่ดีขึ้นเหมือนเดิม จึงมีวันนี้ขึ้นมา ด้านคุณลุงเฉลียว ปานเนียม ผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้เกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ลูกบอลจุรินทรีย์ ที่ผลิตขึ้นมานั้น ประกอบด้วยสารต่างๆหลายชนิด เช่นจุรินทรีย์สังเคราะห์แสง และยีสต์ ซึ่งยีสต์ตัวนี้จะช่วยย่อยสิ่งที่ไม่ดีมาให้จุรินทรีย์สังเคราะห์แสงกำจัดและมีคุณสมบัติทำให้เกิดออกซิเจนมากขึ้นในน้ำ โดยเรามีประสบการณ์ในการในการช่วยบำบัดน้ำทะเลที่เสียหาย ซึ่งผลออกมาก็สามารถทำให้น้ำทะเลมีสภาพที่ดีขึ้น ทั้งนี้เคยเดินทางไปเป็นวิทยากรในการเพิ่มออกซิเจนให้น้ำทั้งในประเทศและต่างประเทศมาแล้วหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และลาว เป็นต้น ซึ่งถ้าเราเติมบอลจุรินทรีย์ ลงไปในแม่น้ำมากๆ จะทำให้เกิดปฏิกิริยาทำให้ตะกอนและสารตกค้างอื่นๆหมดสภาพลงและช่วยให้เกิดออกซิเจนมากขึ้นในแม่น้ำลำคลองอีกด้วย ถ้าประชาชนท่านใดสนใจจะเรียนรู้ก็สามารถไปดูงานได้ที่ศูนย์การเรียนรู้เกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เลขที่ 322/1 ม.3 ต.ทัพหลวง อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี ตนเองยินดีและเต็มใจที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนทั่วไปเพื่อนำไปช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพแม่น้ำลำคลองที่มีปัญหาให้ดีขึ้นต่อไปในอนาคต ที่มา: http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=513333&lang=T&cat
“ชาวบ้านเก้าบาตร” เตรียมตั้ง “กองทุนต่อสู้คดี” กรณีชิงที่ดินโนนดินแดง ทั้งนี้ ชาวบ้านกลุ่มดังกล่าวถือเป็นผู้ได้รับผลกระทบ จากปัญหาเรื่องที่ทำกินในพื้นที่สัญญาเช่าป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ โดยเดิมพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สีแดงที่รัฐอพยพชาวบ้านออกจากพื้นที่ด้วย ข้ออ้างเพื่อความปลอดภัย แล้วนำที่ดินนั้นมาให้เอกชนเช่าทำสวนป่า จนในปี 2539 รัฐประกาศยกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดงใหญ่ เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติตาพระยา ซึ่งทับซ้อนและสร้างปัญหาทับที่ทำกินของชาวบ้านอย่างมากมาย ต่อมาเมื่อบางบริษัทเริ่มหมดสัญญาเช่าหรือหมดอายุสัมปทานลง เมื่อปี 2546 ชาวบ้านที่เสียที่ดินทำกินในครั้งนั้นจึงเริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อร้องคืนสิทธิที่ดินทำกิน โดยให้รัฐคืนสิทธ์ให้เจ้าของที่ดินเดิมและนำมาจัดสรรให้เกษตรกรยากจนไร้ที่ทำกิน จนมาถึงปี 2552 ชาวบ้านในนามเครือข่ายปฏิรูปที่ดินบ้านเก้าบาตร ต.ลำนางรอง 170 ครอบครัวได้เข้าไปอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่หมดสัญญาเช่าของบริษัทเอกชนซึ่งเคยเช่าปลูกยูคาลิปตัส ในระหว่างการแก้ไขปัญหาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันก็มีชาวบ้านที่ประสบปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน เข้าไปจับจองพื้นที่หมดสัญญาเช่าอีกหลายกลุ่ม ที่ผ่านมากรณีชุมชนเก้าบาตรมีการตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินในฐานะสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยร่วมกับรัฐบาล และได้เสนอเป็นพื้นที่ดำเนินการโฉนดชุมชนแล้ว แต่สถานการณ์ในพื้นที่ชาวบ้านกลับถูกแจ้งความดำเนินคดี และยังคงยังถูกหน่วยงานฝ่ายความมั่งคงใช้ความรุนแรงขับไล่ออกจากพื้นที ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 พ.ค.54 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ได้ร่วมกับสภาประชาชน 4 ภาคประมาณ 5,000 คน ได้เข้าไปยังพื้นที่ โดยอ้างว่าต้องการเข้ามาในพื้นที่เพื่อปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ แต่ชาวบ้านที่อาศัยทำกินอยู่บริเวณนั้นกลับไม่ได้รับทราบข้อมูลเรื่องนี้เลย จึงมีการกันไม่ให้ทหารเข้าไปในพื้นที่ จนเกิดเหตุปะทะกันอย่างรุนแรง และทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 9 คน โดยชาวบ้านบางรายได้รับบาดเจ็บถึงขั้นที่ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลโนนดินแดง ที่มา: http://www.prachatai.com/journal/2011/06/35280
ชุมชนชายฝั่งระนองผวาข่าวลือสึนามิ อพยพหนีขึ้นที่สูง นายพยอม แก้วแดง ชาวบ้านปากคลอง ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ระนอง ที่อพยพมาอาศัยที่วัดบางนอน กล่าวว่า ครอบครัวของตนได้มาอาศัยที่ศาลาของวัดเมื่อคืนที่ผ่านมา เนื่องจากข่าวที่เกิดขึ้นทำให้ชาวบ้านหวาดกลัวมาก อีกทั้งก่อนหน้าที่ได้เกิดน้ำทะเลหนุนท่วมสูงผิดปกติมาแล้วหลายครั้ง เมื่อมีข่าวลือเรื่องสึนามิจึงไม่ประมาท ตัดสินใจนำครอบครัวมาอาศัยวัดซึ่งมีพื้นที่สูง จึงมั่นใจว่าน่าจะปลอดภัย นายชาสันต์ คงเรือง ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า จากการที่ได้เกิดข่าวลือและใบปลิวทั่วทั้งจังหวัดระนองว่าจะเกิดเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิเข้าจังหวัดระนอง ในวันที่ 4-6 มิถุนายน 2554 นี้ ทำให้ประชาชนที่อาศัยในเขตพื้นที่ จ.ระนอง และนักท่องเที่ยวที่ทราบข่าวต่างตื่นตระหนก บางคนหนีเข้ามาเช่าบ้านหรือซื้อบ้านอยู่ในเมืองและย้ายไปอยู่จังหวัดอื่น "ฉะนั้นขอชี้แจงเพื่อให้ประชาชนใน จ.ระนอง และผู้ที่เข้ามาอาศัยใน จ.ระนอง และนักท่องเที่ยวที่ทราบข่าวอย่าได้ตื่นตระหนกกับข่าวลือเรื่องสึนามิ เพราะการเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในทะเล และเกิดคลื่นสึนามิตามมานั้น ไม่มีใครที่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ และไม่มีใครหรือเครื่องมือชนิดใดที่จะสามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้" นายชาสันต์ กล่าว ทั้งนี้การเกิดสึนามิ เกิดได้จาก 4 สาเหตุหลักๆ คือ เกิดจากแผ่นดินไหวในทะเล และมีการแยกตัวอย่างรุนแรง, สึนามิเกิดจากภูเขาไฟระเบิด ภูเขาไฟใต้ทะเล ภูเขาไฟในเกาะกลางทะเล เกิดระเบิดขึ้น, สึนามิเกิดจาก แผ่นดินถล่มสไลด์ลงทะเล, สึนามิ เกิดจากภูเขาไฟใต้ทะเลถล่ม ที่มา: http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=513245&lang=T&cat
ขบวนการปชช.เพื่อสังคมที่เป็นธรรม (Pmove) ประณาม กฟผ.ทำเกินเหตุละเมิดสิทธิชาวกุมภวาปี ทั้งนี้ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (Pmove) จึงออกแถลงการณ์ฉบับที่ 24 ประณามการใช้ความรุนแรง และพฤติกรรมอันป่าเถื่อนของการไฟฟ้าฯ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีการสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูงละเมิดสิทธิ์ชาวบ้านเหล่ากล้วย อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี มีเนื้อหาดังนี้ จากกรณีที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงข่ายระบบไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ น้ำพอง 2-อุดรธานี 3 โดยตามแนวการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ได้พาดผ่านที่ทำกินของชาวบ้าน ซึ่งเป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ โดยเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2554 การไฟฟ้าฯ (กฟผ.) ได้นำเครื่องจักรหนัก พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนหลายสิบนาย เข้าไปขุดรื้อที่ดิน รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง เพื่อลงฐานเสาไฟฟ้า ซึ่งในวันดังกล่าวชาวบ้านเจ้าของที่ดินและนักศึกษาได้เข้าขัดขวางการขุดรื้อดังกล่าว จนทำให้เกิดการเผชิญหน้า และมีการจับกุมนักศึกษาและชาวบ้านจำนวน 15 คน ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) เห็นว่า การดำเนินการของการไฟฟ้าฯ ในการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้า ซึ่งนั่งวางแผนในห้องแอร์ แล้วมายัดเยียดให้ชาวบ้าน อันเป็นรูปแบบการพัฒนาที่ล้าหลัง ตกยุค และยังเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิของชาวบ้าน และฝ่าฟืนรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน และที่สำคัญการไฟฟ้าฯ และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ฉวยโอกาสในช่วงของการเตรียมการเลือกตั้ง โดยเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2554 ก็มีเหตุการณ์กองกำลัง กอ.รมน. เข้าบุกรื้อสิ่งปลูกสร้าง ที่อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ และมีสัญญาณของความพยายามที่จะใช้กำลัง ทั้งกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ทหาร เข้าไปคุกคามชาวบ้านในอีกหลายพื้นที่ ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ขอประณามการกระทำของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ (กฟผ.) และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นทาสรับใช้การไฟฟ้าฯ ที่กระทำอย่างรุนแรง ป่าเถื่อน ไม่เคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชาวบ้านเหล่ากล้วย จังหวัดอุดรธานี และขอเรียกร้องให้รัฐบาล ดำเนินการ ดังนี้ 1.สั่งการให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ยุติการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้า ทันที 2.ให้รัฐบาลสั่งการให้ตำรวจยกเลิก การดำเนินคดีกับนักศึกษาและชาวบ้าน ทันที อย่างไรก็ตามขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ยืนยันว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นที่บ้านเหล่ากล้วย อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี เกิดขึ้นจากการพัฒนาประเทศที่ไม่ผ่านการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในพื้นที่ และพวกเรายืนยันว่า การคัดค้านการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูงของชาวบ้านเหล่ากล้วย เป็นการใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐบาลจะต้องให้การคุ้มครอง และปฏิบัติกับชาวบ้านอย่างเป็นธรรม ที่มา: http://www.prachatham.com/detail.htm?code=00_03062011_01
ผู้ปกครองร้องผ่านสายด่วน 1579 “เรียนฟรีไม่จริง” เด็กชนบทตกหล่นรับแจกหนังสือ แต่ที่มีปัญหาส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ห่างไกล การซื้อขายผ่านตัวแทนร้านค้าที่มีน้อย แต่ทางโรงเรียนยืนยันว่าวันที่ 15 มิ.ย.นี้จะได้หนังสือเรียนครบแน่นอน และสุดท้ายเป็นการสอบถามเรื่องการซื้อเครื่องแบบนักเรียน ที่ผู้ปกครองต้องรับเงินจากโรงเรียนเพื่อไปซื้อ ว่าสามารถนำเงินไปถัวจ่ายเพื่อซื้อเครื่องแบบนักเรียน หรือเครื่องแบบลูกเสือเนตรนารี ได้หรือไม่ รมว.ศธ. กล่าวต่อว่าได้มอบให้คณะทำงานประสานชี้แจงว่าการเรียกเก็บค่าธรรมเนียนมอื่นๆที่โรงเรียนเรียกเก็บนอกเหนือจากรายการที่อยู่ในโครงการเรียนฟรีฯ ไม่สามารถทำได้ เว้นแต่ปฏิบัติตามระเบียบที่ ศธ.กำหนดและผ่านการประชุมเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาภาคี 4 ฝ่าย รวมทั้งประชุมเพื่อแจ้งให้ผู้ปกครองรับทราบและเต็มใจที่จะรับบริการพิเศษเพิ่มเติม ที่มา: ศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน
คนไทยพลัดถิ่นเล็งฟ้อง มท.-ชี้เดินเรื่องทำบัตรช้าทำเดือดร้อน โดยชาวไทยพลัดถิ่นทั้งหมดจะส่งผู้แทนร่วมกับคณะทำงาน ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางที่กรุงเทพ ในวันที่ 27 มิถุนายน 54 นี้ หลังทางกระทรวงมหาดไทยรับเรื่องไปตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2547 จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา นายชาติชาย อมรเลิศวัฒนา อนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ และผู้พลัดถิ่น กล่าวว่า เป็นเพราะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า และชาวบ้านก็ได้สาบานตนตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยแล้ว แต่ปรากฏว่า ส่วนหนึ่งได้รับสัญชาติไทยไปแล้ว แต่ยังมีอีกจำนวนมากยังไม่ได้สัญชาติ ทั้งที่ไปสาบานตนแล้ว นายธนาวัชณ์ แก้วพงษ์พันธุ์ ทนายความในคณะทำงาน กล่าวว่า ในคำขอท้ายฟ้องขอให้รัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หรือ ขอให้ศาลบังคับให้รัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ หรือ สั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คนไทยพลัดถิ่นในประเด็นขอแปลงสัญชาติไทย ที่ยื่นไว้ตั้งแต่ปี 2547 แต่ด้วยผู้ฟ้องมีมากกว่า 2,984 ราย จึงมอบคดีให้เพื่อนทำหน้าที่ฟ้องแทนคนไทยพลัดถิ่นทั้งหมดที่ต้องการได้สิทธิตามที่คนไทยพึงจะได้รับ ที่มา: http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000067770
ชาวบ้านป่าผึ้ง อ.สูงเม่น ร้องเรียน ผวจ.แพร่ คัดค้านการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ รับที่จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการตรวจสอบบัตรเลือกตั้งดังกล่าว เพราะถึงแม้จะประกาศรับรองไปแล้ว แต่ก็ยังสามารถร้องคัดค้านได้ ส่วนจะให้ดำเนินการอย่างไรต่อ ขอให้รอผลการตรวจสอบก่อน ชาวบ้านจึงพอใจและแยกย้ายกันกลับ ที่มา: http://region3.prd.go.th/ct/news/viewnews.php?ID=110603090258
ประท้วงต้านประธาน ก.ล.ต. ด้านนายธีระชัย ภูวนารถนรานุบาล เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต.วันนี้ คาดว่าจะมีการหารือถึงคุณสมบัติของประธาน และกรรมการ ก.ล.ต. โดยเฉพาะประเด็นการเป็นกรรมการในบริษัทจดทะเบียน กรณีของนายวิจิตร สุพินิจ ประธาน ก.ล.ต.ด้วย “เห็นว่าข้อห้ามดังกล่าวไม่ควรเฉพาะแต่ประธานกรรมการ แต่ควรรวมถึงกรรมการรทุกฝ่ายที่ไปดำรงตำแหน่งในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์” ขณะที่นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวในฐานะอดีตเลขาธิการ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า ผมเคยพูดมาตลอด 10-20 ปีที่ผ่านมาว่า คนที่จะดำรงตำแหน่งเป็นบุคคลสาธารณะควรทำให้บุคคลอื่นแสดงความเชื่อมั่นในการเป็นบุคคลสาธารณชนให้ได้ เหมือนกับคำภาษาอังกฤษที่ว่า “Public Office Is Public Trust” และคาดว่าการประชุมก.ล.ต.ในบ่ายนี้น่าจะมีการหารือในประเด็นดังกล่าวในทิศทางที่ดีได้ ที่มา: http://www.posttoday.com
นักข่าวพลเมือง: เดินหน้าร้อง ปจช.แก้ปัญหาตัดถนนเขาบรรทัด-ปมที่ดินโนนดินแดง นายสมนึก พุฒนวล กรรมการ คปท. กล่าวว่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ก่อสร้างถนนกันแนวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด ในพื้นที่บ้านยูงงาม ม.1 และ ม.4 ต.โพรงจระเข้ บ้านลำพิกุล ม.4 และบ้านลำขนุน ม.8 ต.นาชุมเห็ด อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง โดยถนนมีความกว้าง 5 ม.ล่าสุดดำเนินการไปแล้ว 6 กม.การกระทำดังกล่าวสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ และที่ดินทำกินดั้งเดิมของชาวบ้านในพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน และพื้นที่เตรียมความพร้อมในการจัดทำโฉนดชุมชน ทางเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัดได้มีหนังสือถึง ประธานคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) เมื่อวันที่ 10 พ.ค.54 เพื่อขอให้ยุติการสร้างถนนดังกล่าว แต่ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน จึงขอให้มีการประชุม ปจช.เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ อีกทั้ง ขอให้พิจารณาแก้ปัญหากรณีชุมชนเก้าบาตร ต.ลำนางรอง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งที่ผ่านมามีการตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาร่วมกับรัฐบาล และได้เสนอเป็นพื้นที่ดำเนินการโฉนดชุมชนแล้ว แต่ฝ่ายความมั่งคงยังคงใช้ความรุนแรงขับไล่ชาวบ้าน โดยเมื่อวันที่ 13 พ.ค.54 เจ้าหน้าที่กองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายใน (กอ.รมน.) ร่วมกับกลุ่มสมาชิกสภาประชาชน 4 ภาค จำนวนประมาณ 3,000 คน ได้เข้าไปใช้ความรุนแรงกับชาวบ้านในพื้นที่ ส่งผลให้มีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บสาหัสหลายราย นางกันยา ปันกิติ กรรมการ คปท. กล่าวเสริมว่า ชาวบ้านกำลังถูกเจ้าหน้าที่ภาครัฐคุกคามอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยอำนาจกฎหมายและกำลังเจ้าหน้าที่ เป็นการละเมิดสิทธิชุมชนอย่างรุนแรง กรณีการสร้างถนนกันแนวเขตไม่ได้มีการปรึกษาชาวบ้าน และไม่ได้เปิดเผยข้อมูลโครงการ ทำไมเจ้าหน้าที่ป่าไม้ทำลายป่าและสิ่งแวดล้อมได้โดยกฎหมายป่าไม้เปิดช่องทางให้ แต่ชาวบ้านที่ทำกินในที่ดินเดิมมาก่อนการประกาศแนวเขตป่ากลับถูกสั่งห้ามไม่ให้ทำกิน และถูกจับกุมดำเนินคดี “ชาวบ้านไม่อยากได้ถนนนี้ แล้วจะบังคับให้เอาอีกเหรอ ถนนนี้สร้างเพื่อกันแนวเขตสวนยาง ไม่ได้กันแนวเขตป่า ชาวบ้านจะทำกินต่อไปไม่ได้ แต่ขนไม้เถื่อนง่าย เพราะไม่มีบ้านคน เฝ้าระวังลำบาก ดูแลรักษาป่าไม่ได้ เจ้าหน้าที่บินตรวจป่าอยู่บ่อยๆ ยังมองไม่เห็นป่าที่ถูกทำลายเลย ยังแก้ปัญหาไม่ได้เลย ถนนนี้ไม่มีประโยชน์กับชาวบ้าน ในชุมชนมีถนนอยู่แล้ว ถนนนี้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากมาย การใช้รถแบคโฮและรถแทรคเตอร์ขุดไถดันทางน้ำ ทำให้น้ำไม่มีทางไหล เสี่ยงต่อการเกิดดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก เพราะดินเป็นดินร่วนปนทราย ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในพื้นที่ อ.ย่านตาขาว อ.ปะเหลียน อ.นาโยง และ อ.เมือง” นางกันยา กล่าว ด้านนายจาตุรงค์ ปัญญาดิลิก รองประธาน ปจช. รับปากว่าจะผลักดันให้มีการประชุมคณะกรรมการ ปจช.ภายในเดือนมิถุนายนนี้ โดยจะนำกรณีการตัดถนนกันแนวเขตเขาบรรทัด และกรณีโนนดินแดง มาพิจารณาในที่ประชุมซึ่งมีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นกรรมการอยู่ด้วย ที่มา: http://www.prachatai.com/journal/2011/06/35256
ชาวบ้านโวยถนนไม่เสร็จ ทวงนายกอบต.สัญญา 3 ปี ที่ผ่านมาชาวบ้านได้พยายามสอบถามความคืบหน้าการก่อสร้างมาหลายครั้งแล้ว แต่ทางนายกอบต.สาคร บ่ายเบี่ยงมาตลอดจนชาวบ้านทนไม่ได้ต้องชุมนุมปิดถนนเพื่อรอฟังคำตอบจากนายกอบต.สาคร ถ้าหากไม่ได้คำตอบเป็นที่พอใจก็จะรวมตัวขับไล่นายนันทวัฒน์ นายก อบต.สาคร ให้พ้นจากตำแหน่งทันที ต่อมาตัวแทนชาวบ้านได้เข้าประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ ได้แก่ พ.ต.อ.กอบ อัจนากิติ รอง ผบก.ภ.จว.สตูล นายยาลา ใบกาเด็ม ปลัดอาวุโสอำเภอท่าแพ นายนันทวัฒน์ ลิมมิตร นายกอบต.สาคร เพื่อหาข้อยุติ คือ 1.เสนอสภาพิจารณาเรื่องนี้ภายในเดือนกรกฎาคม 2554 ระยะที่ 2 กระบวนจัดหาผู้รับจ้างภายในเดือนสิงหาคม 2554 และ 3.ลงนามในสัญญาจ้างภายในวันที่ 15 กันยายน 2554 โดยจะดำเนินการสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2554 ทั้งนี้ การก่อสร้างถนนต้องขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและอุปสรรคในการดำเนินการของผู้รับจ้างด้วย และหลังจากเซ็นสัญญาข้อตกลงแล้วตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุมพร้อมด้วยนายกอบต.สาคร ได้ออกมาแจ้งให้ผู้ชุมนุมทราบ ซึ่งผู้ชุมนุมทุกคนต่างพอใจกับข้อตกลงและคำตอบดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ชุมนุมยกเลิกการปิดถนนและแยกย้ายกันกลับบ้านในวันเดียวกัน ที่มา: http://www.komchadluek.net
โวยกรมฯ น้ำ ปล่อยผู้รับเหมาขุดลอกคลองชุ่ย ทำกระแสน้ำเปลี่ยนทางเซาะที่ดินหายจำนวนมาก เมื่อเดินทางไปถึงบริเวณดังกล่าวพบ นายบุญมา เสลาหอม อายุ 40 ปี อยู่บ้านเลขที่ 100 หมู่ 8 ต.หลุมรัง อ.บ่อพลอย นายจรัส เสลาหอม อายุ 65 ปี อยู่บ้านเลขที่ 99 หมู่ 8 ต.หลุมรัง และนายเจด็จ ดาบแก้ว อายุ 48 ปี อยู่บ้านเลขที่ 102/1 หมู่ 8 ต.หลุมรัง ซึ่งทั้ง 3 มีบ้านพักอาศัยอยู่ติดกัน และอยู่ติดกับลำห้วยลำตะเพิน โดยทั้ง 3 ครอบครัวได้รับความเดือดร้อนเหมือนกันคือ กระแสน้ำไหลเข้ากัดเซาะที่ดินที่ปลูกบ้านอยู่อาศัยและปลูกพืชไร่หายไปกับกระแสน้ำกว้างกว่า 10 เมตร ยาวกว่า 20 เมตร ซึ่งยังมีชาวบ้านอีกหลายครอบครัวที่ได้รับความเดือดร้อนในกรณีเดียวกัน นายจรัส เสลาหอม เปิดเผยว่า เมื่อประมาณ 1 อาทิตย์ที่ผ่านมา มีคนงานของบริษัทรับเหมาขุดลอกคลองทราบเพียงว่ามาจากจังหวัดสุพรรณบุรี แต่ไม่ทราบชื่อของบริษัท นำรถแบ็กโฮจำนวน 3 คัน มาขุดลอกลำห้วยเนื่องจากตื้นเขิน ขณะนั้นคนงานกำลังขุดลอกอยู่ในลำห้วยซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของตน ขุดลอกอยู่ประมาณ 2-3 วันก็หยุดเนื่องจากฝนตกหนักทำให้ปริมาณน้ำในลำห้วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่สามารถทำต่อได้ และน้ำมีกระแสไหลเชี่ยวอีกทั้งยังเปลี่ยนทิศทางไหลเข้ากัดเซาะที่ดินจนพังทลายหายไปกับสายน้ำเป็นจำนวนมาก จากที่ดินที่ตนมีอยู่ตอนนี้จมอยู่ใต้น้ำกว้างประมาณ 10 เมตร ยาวประมาณ 20 เมตร โดยหลังจากที่น้ำกัดเซาะที่ดินของตนจนเสียหายตนก็ไม่ได้ต่อว่าแต่อย่างใดแต่ขอร้องให้คนงานขุดดินขึ้นมาทำคันกันน้ำเซาะตลอดแนว แต่คนงานก็เพียงแค่เอาดินมาวางแปะไว้ตามตลิ่งที่ถูกน้ำกัดเซาะกว้างประมาณ 50 เซนติเมตรเท่านั้น โดยคนงานบอกกับตนว่าไม่มีอำนาจจะทำให้ ต้องได้รับคำสั่งจากบริษัทเท่านั้น และคนงานเหล่านั้นก็เดินทางกลับพร้อมกับรถแบ็กโฮ ด้าน นายเจด็จ ดาบแก้ว ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนในกรณีเดียวกัน กล่าวว่าที่ดินของตนถูกกระแสน้ำกัดเซาะจนเสียหายซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถวัดได้ว่าเป็นพื้นที่เท่าไหร่ แต่อย่างไรก็ตามพวกตนกังวลใจว่าเมื่อถึงฤดูน้ำหลากทีไร หมู่บ้านของพวกต้นจะถูกน้ำท่วมขังทุกปี เนื่องจากพื้นที่ของหมู่บ้านเป็นแอ่งกระทะ รวมทั้ง หมู่ 13 และหมู่ 5 ซึ่งเป็นเขตติดต่อกัน เชื่อว่า ถ้าหากบริษัทผู้รับเหมาขุดลอกคลองไม่มาดำเนินการแก้ไขเกี่ยวกับคันกันน้ำให้กับพวกเรา รับรองพวกเราทั้งหมู่บ้านคงต้องได้รับความเดือดร้อนยิ่งกว่าทุกปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน ด้าน นายบุญมา เสลาหอม กล่าวว่า ตนไม่เข้าใจว่าก่อนจะมีการขุดลอกคลองนั้น ทำไมบริษัทผู้รับเหมาจึงไม่มาสอบถามความเห็นของชาวบ้านก่อนว่าความต้องการของชาวบ้านคืออะไร พวกตนทราบมาว่าบริษัทรับเหมา ได้รับการว่าจ้างมาจากกรมทรัพยากรน้ำ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ในเมื่อเป็นหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ว่าจ้างโดยตรงทำไมไม่มาสอบถามชาวบ้านเสียเอง ทราบว่างบประมาณสูงมากกว่า 20 ล้านบาท แต่ทำจริงไม่ถึง 10% อย่างไรก็ตาม หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ลงมาช่วยแก้ไขปัญหาให้กับพวกตนก่อนถึงช่วงฤดูน้ำหลากที่ใกล้จะมาถึง พวกตนก็จะร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ถึงที่สุด ที่มา: http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000067498
เด็ก 18 ปี อยากใช้สิทธิ์ขอแก้กม.ให้นับตามอายุจริงไม่ใช่ 1 ม.ค. นายณัฐพล บำรุงกุล ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า ตามที่พระราชบัญญัติส่งสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550 มาตรา 22 กำหนดให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของทนุษย์จังหวัดพิษณุโลก ดำเนินการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนอำเภอและสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดขึ้น เพื่อกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดพิษณุโลก ได้ดำเนินกิจกรรมให้เป็นเยาวชนเครือขายอาสาสมัครการเลือกตั้ง ดำเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเด็กและเยาวชน และจากกระแสการรับรู้ข่าวสารของเด็กที่มีมากขึ้น ทำให้รับรู้ว่า หลายคนที่มีอายุครบ 18 ปี ในปี 2554 จำนวนมาก เสียโอกาสในการใช้สิทธิ์เลือกตั้งส.ส.ครั้งนี้ เนื่องจากเกิดหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 ทั้งๆ ที่เด็กหลายคนอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์แล้วก็ตาม นายณัฐพล กล่าวต่อว่า สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดพิษณุโลกมีความเห็นว่า การกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ของกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ในมาตรา 99 ( 2 ) ซึ่งกำหนดให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ต้องมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง ส่งผลให้เยาวชนที่มีอายุครบ 18 ปี บริบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม จนถึงวันประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เสียโอกาสในการมีส่วนร่วมลงคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งต้องรอไปอีกถึง 4 ปี เหตุนี้ สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดพิษณุโลก จึงขอเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องดังกล่าว โดยกำหนดให้ผู้ที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่มีประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง มีสิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ทั้งนี้ นายปรีชา เรืองจันทร์ ผวจ.พิษณุโลก ที่มารับหนังสือจากสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดพิษณุโลก บอกว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเสนอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขกฎหมายต่อไป เป็นเรื่องที่ดีมาก ที่เด็กและเยาวชนมีความตื่นตัวทางการเมือง โดยเฉพาะการเรียกร้องการใช้สิทธิเลือกตั้ง ที่มา: http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=512868&lang=T&cat
ชาวบ้านคำเตยสุดทนโวย อบต.ยันจังหวัดเมินแก้ปัญหานายทุนรุกที่สาธารณะ กรณีพื้นที่ป่าชุมชนในหมู่บ้าน พื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ ถูกนายทุนบุกรุกเข้าไปทำการปลูกยางพารา หลังเคยเกิดปัญหาเรื่องที่ดินทับซ้อน จนได้มีการชุมนุมเรียกร้องให้ทางจังหวัดมาดำเนินการแก้ไข หลายครั้ง จนกระทั่งชาวบ้านถูกนายทุนแจ้งดำเนินคดีบุกรุก แต่มีการต่อสู้ฟ้องร้องกันมาตลอดตั้งแต่ปี 2540 ในที่สุดชาวบ้านที่ถือจับจองที่ดินรวมประมาณ 100 ราย ได้มีมติยกที่ดินให้เป็นป่าชุมชน เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน จนในที่สุดเมื่อปี 2551 ศาลปกครองได้มีการตัดสินถึงที่สุด ให้พื้นที่ดังกล่าว เป็นที่สาธารณประโยชน์ป่าชุมชน เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน แต่ปัจจุบันยังพบว่ามีนายทุนเข้าไปดำเนินการบุกรุกปลูกยางพารา เคยร้องเรียนผ่านไปยัง องค์การบริหารส่วนตำบลคำเตย ทั้งอำเภอ และจังหวัดมาหลายปีกลับไม่มีใครสนใจ จึงต้องวิงวอนผ่านสื่อไปยังหน่วยงานเกี่ยวข้อง มาดำเนินการแก้ไข เชื่อว่ามีผู้อิทธิพลอยู่เบื้องหลัง นายศรีนคร สมจี อายุ 65 ปี อดีตผู้ใหญ่บ้านทุ่งมน หมู่ 8 ต.คำเตย อ.เมือง จ.นครพนม กล่าวว่า สำหรับที่ดินดังกล่าวเดิมเป็นที่จับจองของชาวบ้านมานานกว่า 20-30 ปี ประมาณกว่า 100 ราย รวมเป็นพื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ จากนั้นได้มีนายทุนเข้ามาติดต่อซื้อเป็นเจ้าของ จนเกิดปัญหาการครอบครองทับซ้อน มาตั้งแต่ปี 2540 ทำให้นายทุนแจ้งความดำเนินคดีกับชาวบ้านหลายราย แต่ได้รวมตัวกันไปเรียกร้องให้จังหวัดมาดำเนินการแก้ไขปัญหา ด้วยการลงมติให้ยกเป็นที่ดินสาธารณะประโยชน์ เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันในชุมชน ต่อมากลุ่มนายทุนได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อเพิกถอนคำสั่ง ในสุดเมื่อประมาณปี 2551 ศาลปกครองมีคำพิพากษาเป็นที่สิ้นสุดให้ ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันในชุมชน แต่ปัจจุบันกลับยังมีนายทุนเข้าไปปลูกยางพารา จนต้นสูงกว่า 2 เมตร เคยเรียกร้องไปยังหน่วยงานภาครัฐทั้ง อบต.อำเภอ จังหวัด แต่ไม่มีใครสนใจ เป็นเวลากว่า 3 ปี แล้ว ทั้งที่ตนและชาวบ้านต่อสู้มากว่า 10 ปี จึงต้องวิงวอนผ่านสื่อให้ผู้มีอำนาจมาแก้ไขด่วน เพราะเชื่อว่ามีนายทุนผู้มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลัง ทำให้ข้าราชการไม่กล้าเข้าไปตรวจสอบ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้าน จึงได้ลงพื้นที่ตรวจสอบพบพื้นที่ดังกล่าว มีการบุกรุกเข้าไปดำเนินการปลูกสวนยางพารา จนมีต้นสูงกว่า 2 เมตร พร้อมประสานขอสัมภาษณ์ข้อเท็จจริงกับ อำเภอ และจังหวัด รวมถึงหน่วยงานเกี่ยวข้องแต่กลับไม่มีใครยอมให้ข้อมูล อ้างไม่มีอำนาจ ที่มา: http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000066895
ปิดถนนประท้วงค้านสร้างฟาร์มไก่กลางหมู่บ้าน ในเวลาต่อมานายณรงค์ คลองชนม์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี นายพงษ์พันธ์ แสงสุวรรณ นายอำเภอจอมบึง นางวิมลรัตน์ สุภาคม ปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี ได้เดินทางไปพบกับผู้ชุมนุมที่ปิดถนน พร้อมกับเชิญตัวแทนประชาชนมาพุดคุย นายณรงค์ คลองชนม์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี กล่าวว่า จะตรวจสอบหนังสือประชาคมหมู่บ้านที่มีการนำมาใช้ว่าข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร เสียงส่วนใหญ่ที่อ้างถึง ในหนังสือประชาคมหมู่บ้าน ได้ให้การสนับสนุนต่อโครงการนี้หรือไม่ ดยจะทำการสอบสวนข้อเท็จจริงและจะหาข้อสรุปให้กับประขาชนโดยเร็ว และจะให้ทางเจ้าหน้าที่ของอำเภอประสานกับทางอบต.จอมบึง ให้ตรวจสอบหากฟาร์มดังกล่าวมีการยื่นขออนุญาตใบประกอบกิจการการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ( กิจการเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ ) ให้ตรวจสอบดูว่ามีการดำเนินการอย่างถูกต้องตามระเบียบหรือไม่หลังจากที่เจ้าของฟาร์มมายื่นขออนุญาตอีกครั้งหนึ่ง แต่ในส่วนการระงับการก่อสร้างนั้นทางส่วนราชการเองยังไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะไปให้ผู้ประกอบการก่อสร้างหยุดการก่อสร้างไว้ได้ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้อยู่ใน พรบ.ควบคุมอาคาร แต่ในเบื้องต้นก็คงต้องเห็นความสำคัญและความเดือดร้อนของประชาชนเป็นสำคัญ ซึ่งทำให้ผู้ชุมนุมพอใจก่อนยุติการชุมนุม ที่มา: http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=512805&lang=T&cat
ชาวบ้านฉางโวย รง.ขยะส่งกลิ่นเหม็น นางพัณณ์ชิตา กล่าวว่า สถานประกอบการแห่งนี้ รับขยะจากเรือบรรทุกสินค้านำมาพัก เพื่อคัดแยกขยะ ทำให้ส่งกลิ่นเหม็นเน่าฟุ้งกระจายไปทั่วบริเวณชุมชนใกล้เคียง ช่วงกลางคืนจะมีคนงานเคาะ ล้างตู้คอนเทนเนอร์ส่งเสียงรบกวน ก่อความรำคาญ เคยร้องเรียนเทศบาลตำบลสำนักท้อน อุตสาหกรรมจังหวัด และอำเภอ ให้มาตรวจสอบ แต่ก็ยังไม่มีการแก้ไข นายบรรเจิด จิตต์เจริญ นายกเทศมนตรี ต.สำนักท้อน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง กล่าวว่า ได้เดินทางเข้ามาตรวจสอบภายในโรงงาน โดยมีนายอภินันท์ เภกราสุต ผจก.โรงงาน พาดูที่เกิดเหตุ พร้อมกำชับให้โรงงานปรับปรุงแก้ไขปัญหากลิ่นเหม็นที่ฟุ้งกระจาย ด้วยการนำผ้ามาปิดเศษขยะที่รอการขนถ่ายหรือใช้สารเคมีมาใช้ระงับกลิ่นเหม็นให้เร็วที่สุด พร้อมกับให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบความคืบหน้าอีกครั้ง หากยังไม่ดำเนินการแก้ไขจะใช้ พรบ.ท้องถิ่นปิดโรงงานทันที ที่มา: http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=512793&lang=T&cat
ผู้หญิงพลิกโฉม เรียกร้อง กกต.-พรรคการเมือง ใส่ใจหลักความเสมอภาค รศ.มาลี กล่าวถึง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ซึ่งมีนัยสำคัญต่อประเด็นสิทธิสตรี ในมาตรา 41 วรรคท้าย ที่ระบุว่า บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องคำนึงถึงโอกาส สัดส่วนที่เหมาะสมและความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชายว่า กกต. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ จะต้องมีหน้าที่เข้าไปพูดคุยกับนักการเมืองให้เข้าใจว่า นี่คือพันธกิจทางกฎหมาย ที่พรรคการเมืองจะต้องดำเนินการ ไม่เช่นนั้น เราจะตกขบวน “ปัจจุบัน ประชากรเพศหญิงมีจำนวนมากกว่าชายถึง 1.2 ล้านคน อีกทั้งเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 หากยังไม่ส่งเสริมเรื่องความเสมอภาคของผู้หญิงอย่างจริงจัง จะส่งให้หญิงไทยขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะ ทั้งด้านการบริหารรัฐกิจ การจัดทำนโยบายสาธารณะ เช่นนั้นแล้ว ประเทศไทยจะตกอยู่ในสภาวะเสียเปรียบ” รศ.มาลี กล่าวต่อว่า สิ่งที่เรากำลังผลักดันขณะนี้ ทั่วโลกได้ทำไปหมดแล้ว ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศ ยังระบุถึงวิธีเพิ่มสัดส่วนผู้หญิงในรัฐสภาไว้อย่างชัดเจน เช่น บางประเทศใช้วิธีกำหนดสัดส่วนหญิงชายที่จะเข้าสู่รัฐสภาไว้ในรัฐธรรมนูญ บางประเทศกำหนดไว้ในกฎหมายเลือกตั้ง หรือไม่ก็ระเบียบของพรรคการเมือง วิธีการเหล่านี้ส่งผลให้สัดส่วนของผู้หญิงเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน ประเทศไทย แม้จะมีข้อกำหนดดังกล่าวอยู่ในรัฐธรรมนูญ แต่กลับไม่สามารถบังคับได้ ไม่รู้ว่าติดขัดอะไร ด้าน ดร.กรวิภา กล่าวถึงสัดส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส แบบบัญชีรายชื่อ ขณะนี้ หากพิจารณาจากผู้สมัครที่มีประกาศชื่อระหว่างวันที่ 19 -23 พฤษภาคม 2554 พบว่า มีเพียง 11 พรรคจากทั้งหมด 40 พรรคที่มีสัดส่วนผู้สมัครเพศหญิงเกินร้อยละ 30 ขณะเดียวกันข้อมูล ส.ส.เขต ซึ่งพิจารณาจาก 2 พรรคใหญ่ ซึ่งส่งผู้สมัครเต็มจำนวน นั่นคือ 125 คน พบว่า พรรคประชาธิปัตย์ส่งผู้สมัครหญิงทั้งสิ้น 13 คน ส่วนพรรคเพื่อไทยส่งผู้สมัครหญิงจำนวน 11 คน สัดส่วนดังกล่าวชัดเจนว่า ยิ่งตายเข้าไปใหญ่ อย่างไรก็ตาม หาก กกต. มีการระบุว่า จะไม่รับรองพรรคการเมืองที่ไม่ส่งผู้สมัคร ซึ่งเป็นผู้หญิงตามข้อกำหนด เชื่อว่า พรรคการเมืองจะหาผู้หญิงมาลงสมัครเลือกตั้งมากขึ้นแน่นอน “แต่ที่ผ่านมา กกต. ซึ่งเป็นองค์กรเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ยังไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญเท่าที่ควร ยกตัวอย่างง่ายๆ แค่จัดทำข้อมูลแยกเพศผู้มีสิทธิและผู้มาใช้สิทธิ ยังต้องให้ทวงถาม ดังนั้น อาจต้องใช้ยาแรง ฟ้องร้อง กกต. เสียบ้าง” ด้านนายอาธิศักดิ์ กล่าวว่า เข้าใจถึงความคาดหวังของทุกคนที่ต้องการให้มีองค์กรปฏิรูปการเมือง เป็นด่านสกัด กลั่นกรองนักการเมือง เพื่อให้เข้าสู่ตำแหน่งโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความชัดเจนอย่างมากในการทำงานของ กกต. ชุดแรก ที่ถึงขั้นประกาศว่า จะไม่ยอมให้คนชั่วเหยียบบันไดสภา อีกทั้งมีการคัดสรรนักการเมืองหลายชั้น กระทั่งในช่วงนั้นบางจังหวัดมีการจัดการเลือกตั้งถึง 5 ครั้งกว่าจะได้ผู้แทนฯ ทั้งนี้ เป็นเพราะประเทศไทยยังใหม่กับระบบดังกล่าว “ต่อมา เมื่อเข้าสู่การทำงานของ กกต. ชุด 2-3 สังเกตว่า ฝ่ายการเมืองเริ่มตั้งตัวติด มีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้องค์กรรัฐใช้อำนาจอย่างจำกัด อีกทั้งเมื่อหลักของกฎหมายกำหนดไว้ว่า หากกฎหมายไม่ได้อำนาจองค์กรของรัฐจะกระทำไม่ได้ ทำให้ในส่วนใดก็ตามที่กฎหมายเขียนไม่ชัด หรือต้องใช้ดุยลพินิจมาก กกต.จึงไม่กล้าดำเนินการ เนื่องจากเกรงจะถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจโดยไม่ชอบ ยิ่งในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน พบว่า ไม่มีพรรคการเมืองไหน ไม่ด่า กกต. เนื่องจากการทำหน้าที่ของ กกต. ไม่อาจทำให้ทุกคนสมประโยชน์ อีกทั้งมีฝ่ายเสียประโยชน์เสมอจากการวินิจฉัยของ กกต.” จากนั้นในช่วงแลกเปลี่ยนเสวนา นางเรวดี ประเสริฐเจริญสุข ประธานคณะกรรมการเครือข่ายพลังพลังสตรีเพื่อการปฏิรูป ในคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป ซึ่งมี ศ.นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธาน กล่าวถึงกระบวนการเลือกตั้งและการขับเคลื่อนของพรรคการเมืองในขณะนี้ สะท้อนปฏิบัติการณ์ในหลายๆ กลไก ทั้งองค์กรอิสระ ภาครัฐ และระบบว่า ไม่ได้มีการยึดบรรทัดฐานตามรัฐธรรมนูญ “ส่วนการตรากฎหมายลูก พบว่า มีขบวนการที่จะไม่ปฏิบัติหรือละเมิดรัฐธรรมนูญ อีกทั้งหลักประกันการเข้าถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะผู้หญิงก็ถูกผูกขาดจากกลไกภาครัฐ หรือหน่วยงานที่ทำงานด้านกฎหมาย ในที่สุดสังคมไทยก็เหมือนกับ ‘แพะ’ ของขบวนการคิด การทำของกลุ่มคนที่กุมอำนาจ ฉะนั้น สถานการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงโครงสร้างเก่า โครงสร้างอำนาจที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งกระจุกอยู่แค่คนบางกลุ่ม ดังนั้น ถึงเวลาที่ต้องปรับเปลี่ยน” ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงสุดท้ายของงานเสวนา นางเรวดี เป็นตัวแทนอ่านคำแถลงข่าวจุดยืน ‘พลังสตรีพลิกโฉมเลือกตั้ง 54’ ตอนหนึ่งว่า จากรายชื่อ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตที่เปิดเผยสู่สาธารณชนในขณะนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ไม่ว่า กกต. หรือพรรคการเมืองก็ดี ไม่ได้ใส่ใจที่จะยึดหลักความเท่าเทียมตามรัฐธรรมนูญ ไม่มีการนำไปปฏิบัติ ซึ่งเห็นได้จากสัดส่วนตัวเลขของผู้สมัครที่ออกมา ภาพรวมพบว่า มีผู้สมัครเพศหญิงไม่เกินร้อยละ 15 ส่วนพรรคเล็กไม่มีเลย “เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทยและองค์กรเครือข่าย เห็นว่า เมื่อมีการละเมิดข้อบัญญัติอย่างชัดเจน ดังนั้น จึงต้องเดินหน้าสร้างบรรทัดฐานให้กับกลไกต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกรอบรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ อาจมีการใช้วิธีฟ้องร้อง เป็นช่องทางในการเคลื่อนไหวอีกทางหนึ่ง” ที่มา: http://www.thaireform.in.th/news-highlight/item/5938-2011-06-01-12-25-40.html
ย้ายด่วนภายใน 24 ชม. ผกก.บ้านกรวดบุรีรัมย์ หลังโดน ปชช.ประท้วงเรียกรับส่วยขนยาง โดยกล่าวหาว่า พ.ต.อ.เอกชัยมีพฤติกรรมเรียกรับเงินส่วยจากผู้ประกอบการโรงงานรับซื้อยาง และตั้งด่านจับกุมเรียกค่าปรับรถขนยางของเกษตรกร ที่ไม่ติดสติ๊กเกอร์จ่ายส่วยรายเดือนอย่างไม่เป็นธรรม พร้อมทั้งได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง โดยมี พ.ต.อ.ประยุทธ โพธิ์แก้วกุล รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด เป็นประธาน และมีคำสั่งให้ พ.ต.อ.ฉัตรวรรษ แสงเพชร รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ไปรักษาราชการแทน จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ ระบุว่า การตั้งกรรมการสอบสวนจะให้ทราบผลภายใน 10 วัน การสอบสวนจะให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย แต่หากพบว่ามีความผิดตามที่ถูกกล่าวหาจริง ก็จะถูกดำเนินการเอาผิดทั้งทางวินัยและกฎหมาย พร้อมกำชับให้ทุกพื้นที่ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตและเที่ยงธรรม ไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน หากมีเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นในท้องที่ใด ก็จะดำเนินการขั้นเด็ดขาดโดยไม่มีการละเว้นทันที ที่มา: มติชนออนไลน์
พันธมิตรฯเตรียมสลายม็อบ 29 มิถุนายน นายปานเทพ พัวพงษ์พันธุ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตอบสื่อ กรณีความชัดเจนในการยุติการชุมนุม นายปานเทพ กล่าวว่า คณะกรรมการฯได้มีมติมาก่อนหน้านี้ว่าจะอยู่ชุมนุมจนกว่าจะทราบผลการพิจารณาแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทรพระวิหาร ของคณะกรรมการมรดกโลก ในวันที่ 26 - 29 มิ.ย.นี้ ซึ่งที่ออกมาจะต้องออกมาทางใดทางหนึ่ง และก็จะถือว่าภาคประชาชนได้ทำหน้าที่จนสุดทางสมบูรณ์แล้ว และเราจะยุติการชุมนุม หากผลออกมาเป็นประโยชน์กับฝ่ายไทย ก็ถือว่าการทำภารกิจของภาคประชาชนครบถ้วนสมบูรณ์เป็นประโยชน์กับประเทศ แต่หากผลที่ออกมาเป็นผลร้ายต่อประเทศ ก็เชื่อว่าในการเลือกตั้งวันที่ 3 ก.ค.นั้น ประชาชนจะออกมาร่วมใช้สิทธิ์ในการลงคะแนนโหวตโนร่วมกับเราเป็นจำนวนมาก เพื่อเรียกร้องการปฏิรูปการเมือง ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com
นักข่าวพลเมือง: กลุ่มอนุรักษ์อุดรฯ เยือนพื้นที่ค้านไฟฟ้าแรงสูง ยันเคียงข้างสู้ไม่ถอย บรรยากาศการพบปะระหว่างชาวบ้านสองกลุ่มมีขึ้นอย่างเป็นกันเอง โดยชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ ได้ไต่ถามถึงเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับพ่อสง่าและลูกๆ ได้เล่าให้ฟัง ต่อมา น.ส.จันทร์จิรา บุญโยรัตน์ ลูกสาวนายสง่า ได้นำเดินลงไปสำรวจดูพื้นที่เกิดเหตุ ก่อนที่จะขึ้นมารับประทานอาหารร่วมกัน จากนั้นลุ่มอนุรักษ์ฯ จึงเดินทางกลับ โดยก่อนกลับพ่อสง่าได้ให้ ขนุน และกระท้อน เพื่อเป็นของฝากตอบแทนน้ำใจการมาเยือน ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบ 3 นาย มาเฝ้าสังเกตการณ์อยู่บริเวณใกล้เคียงตลอดเวลา ขณะที่การก่อสร้างเสาไฟฟ้าแรงสูงในอีกจุดหนึ่งซึ่งอยู่ถัดจากที่นาของนายสง่าออกไป คนงานของ กฟผ.ก็ยังคงทำการก่อสร้างเป็นปกติ โดยมีตำรวจบ้านมาคอยคุ้มกันเหมือนเช่นทุกวัน นายสง่า กล่าวว่า ตนไม่คาดคิดว่าตำรวจกับเจ้าหน้าที่ กฟผ.จะข่มเหง รังแกกันได้ขนาดนี้ ถึงแม้ว่าชาวบ้านไม่ยินยอมก็ไม่รับฟัง และถึงวันนี้ก็ยังเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นอนไม่หลับ วิตกกังวล เพราะห่วงที่นาที่จะถูกทำลาย และก็ยังห่วงลูกๆ ที่ถูก กฟผ.แจ้งจับ ดำเนินคดี “ลูกชาย 2 คน ลูกสะใภ้ 1 คน และลูกเขยอีก 1 คน ที่ถูกจับ ซึ่งในวันนั้นตำรวจเขาเข้ามาจะจับพ่อด้วย แต่ลูกๆ ก็ช่วยกันเอาไว้ ก็ไม่คิดว่าเขาจะทำกับเราขนาดนี้ ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยพบเคยเห็น ทั้งๆ ที่นาก็ของเรามีกรรมสิทธิ์ทุกอย่าง พ่อจึงคิดว่าจะต่อสู้ให้ถึงที่สุด ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ค่าทดแทนตามที่กฟผ.จะให้สักบาทเดียวก็ตาม” นายสง่ากล่าว ด้านนางลำพูน รัตนี แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กล่าวว่า วันนี้มาเพื่อเยี่ยม และให้กำลังใจกัน เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือว่าไม่มีความเป็นธรรมใดๆ เลย ทั้งๆ ที่ชาวบ้านเขาไม่ยอมและลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิของตนตามรัฐธรรมนูญ และมีเหตุมีผลว่าต้องรอฟังคำตัดสินของศาลปกครอง แต่ กฟผ.ก็ยังใช้กำลังตำรวจมาบีบบังคับเอา แล้วบ้านนี้เมืองนี้เราจะหวังพึ่งใครได้ “อยากให้พี่น้องมีกำลังใจในการต่อสู้ กลุ่มอนุรักษ์ฯ พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ เพราะเราก็คือคนทุกข์คนยากด้วยกัน ซึ่งหากเราไม่ช่วยกันก็จะหวังพึ่งใครไม่ได้แล้ว เพราะหน่วยงานของรัฐกับนายทุนเขาจ้องแต่จะมาปล้นเอาทรัพยากรของชาวบ้าน โดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ไม่ว่าเรื่องโปแตชหรือเรื่องไฟฟ้าก็เหมือนกัน” นางลำพูนกล่าว ที่มา: http://www.prachatai.com/journal/2011/06/35211 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คดี ‘สุรชัย แซ่ด่าน’ หมิ่นสถาบัน สืบพยาน ม.ค.ปีหน้า-‘สรรเสริญ’ โต้ผังล้มเจ้ามีจริง Posted: 06 Jun 2011 09:55 AM PDT 6 มิ.ย.54 ที่ห้องพิจารณา 902 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ นัดตรวจพยานหลักฐานคดีที่อัยการฝ่ายคดีอาญา 9 เป็นโจทก์ฟ้องนายสุรชัย แซ่ด่าน หรือด่านวัฒนานุสรณ์ อายุ 60 ปี แกนนำกลุ่มแดงสยาม จำเลยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยอัยการโจทก์ขอนำพยานเข้าสืบรวม 10 ปาก มีประจักษ์พยาน พนักงานถอดเทป ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว คลิปเสียงประชาชนที่ฟังคำปราศรัยและพนักงานสอบสวนสำนวนคดีนี้ โดยโจทก์ใช้เวลา 4 นัด ส่วนฝ่ายจำเลยขอนำพยานเข้าสืบหักล้าง 23 ปากใช้เวลาสืบ 6 นัด ศาลพิจารณานัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรก วันที่ 24 มกราคม 2555 วันเดียวกัน ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ทบ. แถลงกรณีนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นโจทย์ยื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง และ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษก ทบ.ในข้อหาหมิ่นประมาททำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงด้วยการโฆษณาแถลงข่าว และแจกแผนผังโครงการข่ายขบวนการล้มล้างสถาบันเบื้องสูง เมื่อครั้งปฏิบัติหน้าที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และศาลได้นัดไกล่เกลี่ยคดีไป เมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา จนไปสู่การถอนฟ้องในที่สุด พ.อ.สรรเสริญ ขอชี้แจงว่า ศอฉ.และหน่วยงานความมั่นคงได้รวบรวมข้อมูล บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการจาบจ้วงในหลายรูปแบบ เช่น การปราศรัยบนเวทีชุมนุม การโพสท์ข้อความหรือบทความทางอินเตอร์เน็ต การรวมตัวทำสื่อสิ่งพิมพ์ไทยเรดนิวส์ วอยซ์ ออฟ ทักษิณ วิทยุชุมชน ทั้งนี้มีข้อมูลที่เชื่อมั่นได้ว่า มีขบวนการที่จ้องล้มล้างสถาบันเบื้องสูงอยู่จริง ที่ประชุม ศอฉ.จึงมีมติให้ทำผังโครงข่ายฯ ออกแจกจ่ายให้สาธารณชนเพื่อให้ได้รับทราบถึงความสัมพันธ์และความเกี่ยวข้อง "ทราบว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษ นำเรื่องที่ ศอฉ.ร้องทุกข์กล่าวโทษ พร้อมผังโครงข่ายฯไปสืบสวนขยายผลจนพบพฤติการณ์และการกระทำของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยงข้องทำความผิด ม.112 ประมวลกฎหมายอาญาในหลายมิติและคดีมีความคืบหน้าไปมาก 20 คดี มีหมายจับ 8 คดี จับได้และมอบตัว 4 คดี" ส่วนความคืบหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เปิดเผยถึงการสอบสวนคดีเว็บไซต์หมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ว่า จากการเฝ้าติดตามแกะรอยข้อมูลการจัดทำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหมิ่นสถาบันเบื้องสูง พบว่ามีจำนวนมากกว่า 100 เว็บไซต์ เมื่อเปรียบเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าเป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว ตนจึงสั่งการให้พนักงานสอบสวนวิเคราะห์เชิงลึกถึงสาเหตุ ปัจจัย และความเชื่อมโยงต่างๆ ที่ทำให้การกระทำความผิดดังกล่าวขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ นอกจากนี้ยังได้สั่งการให้ระดมเจ้าหน้าที่ดีเอสไอมอนิเตอร์ติดตามเว็บไซต์ต่างๆ โดยขณะนี้มีหลักฐานบางส่วนเชื่อมโยงถึงตัวบุคคลผู้จัดทำเว็บไซต์หมิ่นสถาบัน ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผังล้มเจ้าของหน่วยงานความมั่นคง ที่ดีเอสไอรับไว้เป็นคดีพิเศษก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ ตนยืนยันได้ว่า เครือข่ายในขบวนล้มเจ้ามีอยู่จริง ส่วนตัวบุคคลในผังล้มเจ้าจะมีความผิดด้วยหรือไม่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานในชั้นสอบสวน ส่วนกรณีที่ประชาชนทั่วไปยังสามารถดูข้อมูลในเว็บไซต์หมิ่นสถาบันได้นั้น นายธาริตกล่าวว่า ดีเอสไอไม่มีอำนาจปิดเว็บไซต์ แต่ทุกครั้งที่มอนิเตอร์พบการกระทำความผิดจะประสานผ่านระบบฮ็อตไลน์ไปยังกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ (ไอซีที) เพื่อตรวจสอบและปิดเว็บไซต์ทันที
ที่มา: เว็บไซต์มติชน
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เปิดคุกไทย 2554 เทียบคุกฝรั่งเศส และบางคำตอบจากราชทัณฑ์ Posted: 06 Jun 2011 09:04 AM PDT
“เราจะไม่รู้จักประเทศหนึ่งประเทศใดอย่างแท้จริง หากไม่เคยเข้าไปยังคุกของชาตินั้น ไม่ควรตัดสินประเทศหนึ่งประเทศใดจากการปฏิบัติต่อชนชั้นสูง แต่ต่อชนชั้นต่ำ” เนลสัน มันเดลา
นี่คือคำพูดหลังปกหนังสืองานวิจัยเรื่อง “คุกไทย 2554” ซึ่งมีการจัดเสวนาเรื่องดังกล่าวในวันที่ 31 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่อาคารเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดโดยสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) คำถามคือ แล้วเรารู้จักคุกของเราดีแค่ไหน?
ภายในงานเสวนาจะนำเสนอข้อมูลให้เรารู้จักตัวตนเรามากขึ้นทั้งคุกชาย คุกหญิง และยังมีการบอกเล่าเรื่องราวของคุกฝรั่งเศส โดยแพทย์หญิงเวโรนิค วาสเซอร์ อดีตหัวหน้าเจ้าหน้าที่การแพทย์เรือนจำลาซานเต ผู้มีคุณาปการเปิดโปงสภาพในเรือนจำฝรั่งเศสจนมีการปฏิรูปคุณภาพชีวิตในเรือนจำครั้งใหญ่ แดนทอง บรีน นำเสนอในภาพรวมว่า ประเทศไทยมีปัญหาหลักคือนักโทษล้นคุก โดยไทยมีนักโทษเยอะเป็นอันดับ 25 ของโลก เฉลี่ยแล้ว 331 ต่อแสนประชากร เทียบกับประเทศที่มีนักโทษมากสุดคือสหรัฐอเมริกา มีนักโทษ 2.2 ล้านคนเฉลี่ย 743 ต่อแสนประชากร ส่วนจีนมีนักโทษ 1.6 ล้านคน เฉลี่ย 123 ต่อแสนคนประชากร ปัญหาที่ทำให้นักโทษล้นเกิน คือ 1. คนจำนวนมากที่ยังไม่ถูกพิพากษาว่าผิดก็ถูกคุมตัวในเรือนจำแล้ว อีกทั้งระบบการประกันตัวของไทยไม่มีมาตรฐาน โทษบางอย่างเล็กน้อยแต่ต้องวางหลักประกันเกือบเทียบเท่าคดีฆ่าคนตาย และส่วนใหญ่ผู้ต้องโทษมีปัญหาไม่มีเงินประกัน 2. ความหนักของโทษ มีคนจำนวนไม่น้อยถูกพิพากษา 30-50 ปี เป็นไปได้ว่าอัตราโทษที่สูงขนาดนี้มาจากการที่รัฐไทยมักใช้ระบบลดโทษนภายหลังระหว่างถูกคุมขัง เหมือนเป็นการบังคับทางอ้อมให้นักโทษไม่ทำปัญหาในเรือนจำเพื่อหวังการลดโทษหรืออภัยโทษ และการลงโทษก็มีแต่การนำตัวเข้าเรือนจำเท่านั้น ทั้งที่จริงแล้วมีวิธีอื่นอีกในการลงโทษผู้ประพฤติผิด การเข้าเรือนจำควรเป็นวิธีสุดท้าย งานวิจัยสำรวจความเป็นอยู่จากการสัมภาษณ์อดีตนักโทษชายที่ต้องโทษประหารชีวิตในเรือนจำบางขวางและได้รับการอภัยโทษแล้ว เช่นเดียวกับอดีตนักโทษประหารชีวิตหญิงจากทัณฑสถานหญิงกลางกรุงเทพฯ และเชียงราย รวมถึงนักโทษหญิงที่ยังอยู่ในเรือนจำด้วย ข้อค้นพบเบื้องต้นที่สุดอย่างหนึ่งพบว่า ผู้หญิงอยู่ในสภาพที่กดดัน เข้มงวด มากกว่าผู้ชายมากนัก
ชีวิตในบางขวาง “ การเยี่ยมญาติในแต่ละวันจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนเฝ้ารอ นอกจากได้พบพูดคุยรู้ความเคลื่อนไหวภายนอกแล้ว ที่สำคัญ สิ่งของและเงินที่ญาติฝากจะทำให้การใช้ชีวิตในสุขสบายขึ้น แต่ถ้าไม่มีญาติมาเยี่ยมก็ลำบาก แรกๆ ญาติมักมาเยี่ยมบ่อย แต่พอนานเข้าก็เดือนละครั้งสุดท้ายปีละ 2 ครั้ง คนที่มีเมียแล้วต้องเขามาอยู่ที่คุกก็จะบอกต่อๆ กันว่าให้ทำใจ เพราะเมียไปมีผัวใหม่แน่นอน ผู้ต้องขังที่ถูกติดคุกนานๆ จึงทำใจ” ปากคำจากอดีตนักโทษประหารชีวิตต่อมาได้รับการลดโทษถูกคุมขังในกลางบางขวางเป็นเวลา 32 ปี ความแออัดของนักโทษนั้นเหนือคำบรรยายห้องขังของคุกบางขวางขนาด 6X8 เมตร จุคนได้ 43 คน การนอนในเรือนนอนนั้นแต่ละคนจะมีที่ของตนเองขนาด 0.7-0.8 ตารางเมตร มีหมอน ผ้าห่มให้ เวลานอนจะนอนสองฝั่งหันเท้าเข้าหากัน พื้นที่ตรงกลางที่ว่างจะเป็นที่นอนของผู้ช่วยเจ้าหน้าที่จะมีพื้นที่กว้างหน่อย ไฟฟ้าจะเปิดตลอดเวลา ไม่มีการดับไฟเพื่อความปลอดภัย นักโทษประหารชีวิตจะถูกตีตรวนตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันลำบากและในการตีตรวจนั้น ใช้การเชื่อมติดกัน เวลาที่เชื่อมนั้นประกายไฟจะกระเด็นทำให้เกิดเป็นรอยแผลเป็น ซึ่งนักโทษส่วนใหญ่ที่ถูกตีตรวนมักจะเป็นรอยแผลเป็น อดีตนักโทษและนักโทษในปัจจุบันมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าในเรื่องอาหาร น้ำดื่ม หรือสิ่งอำนวยความสะดวกของคุกบางขวางนั้นค่อนข้างดีและมีพร้อม แต่คณะผู้ศึกษาพบความจริงที่น่าสนใจว่าสภาพการใช้ชีวิตในระหว่างนักโทษที่ไม่มีเงินกับนักโทษที่มีเงินนั้นแตกต่างกันเหมือนกับสังคมภายนอก นักโทษที่มีเงินสามารถหาความสะดวกสบายได้ในเรื่องของกินของใช้ นักโทษที่ไม่ชอบอาหารของเรือนจำจัดให้สามารถที่จะซื้ออาหารจากร้านสวัสดิการประจำแดนได้ และสำหรับอาหารในคุกบางขวางนักโทษสามารถซื้อวัตถุดิบมาประกอบอาหารเองจากร้านได้ ระบบในกำหนดให้นักโทษแต่ละคนมีบัญชีเงินฝากของตนเองโดยไม่จำกัดจำนวนแต่สามารถนำมาใช้ได้วันละไม่เกิน 200 บาทและใช้ในลักษณะบัตรเงินสด นักโทษสามารถซื้อสินค้า เช่น สบู่ ยาสีฟัน และอาหาร สำหรับคนที่ไม่มีเงินนั้นก็จะใช้วิธีการบริการซักผ้า นวดให้กับนักโทษที่มีเงิน ญาติส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าทำไมอยู่ในคุกยังต้องใช้เงินอีก ส่วนการลงโทษที่หนักที่สุดนั้นคือ การขังเดี่ยว ในการขังเดี่ยวนั้นมี 2 แบบ คือ ประเภทแรกเรียกว่า”ขังแดง” ห้องขังอยู่ที่แดน 1 เป็นห้องขังทึบประตูเตี้ยๆ ไว้ขังนักโทษที่กระทำความผิด แต่ปัจจุบันขังแดงไม่มีการปฎิบัติแล้ว แต่ขังเดี่ยวยังคงมีอยู่ ในแดน 10 รูปแบบของขังเดี่ยวนั้นจะเป็นห้องขังประมาณ 1 – 2 เมตร ห้องเรียงเป็นแถว ห้องขังเดี่ยวนี้จะเอาไว้คุมขังนักโทษที่กระทำความผิดในคุก ถึงแม้ว่าความคิดเห็นของนักโทษส่วนใหญ่จะเห็นว่าควรมีการขังเดี่ยวเพราะนักโทษบางคนที่มีพฤติกรรมกระทำความผิดโดยนิสัยชอบทำตัวเกเร เรื่องการรักษาพยาบาล สภาพโรงพยาบาลและการรักษาพยาบาลใน สภาพปัญหา คือ หมอไม่เพียงพอ แม้ว่าที่ผ่านมาจะได้นักโทษที่เป็นหมออยู่ 2-3 คนในการช่วยรักษาและผ่าตัดแต่บุคคลากรที่เป็นหมอนั้นมีเพียงคนเดียวเพราะหมอที่เป็นนักโทษนั้นก็เป็นผู้ช่วยแพทย์ ส่วนหมอทางด้านจิตเวชนั้นขาดแคลนมากทั้งที่คนที่อยู่ภายในมีปัญหาสภาพทางจิตกันมาก เรื่องการเตรียมผู้ต้องขังก่อนพ้นโทษ สำหรับผู้ต้องขังที่โทษยาวนานนั้นสำคัญมาก แต่ก็ยังเป็นเป็นไปอย่างไม่จริงจังนัก ส่วนใหญ่จะรู้สึกว่าต้องเตรียมตัวออกมาเผชิญกับสังคมด้วยตนเอง “วันที่ผมออกมาวันแรกผมนั่งอยู่ประตูทางออกเกือบทั้งวันไม่รู้ว่าจะไปไหน ไปสมัครงานที่ไหนพอรู้ว่าออกมาจากคุกก็ไม่มีใครรับต้องปิดบังกว่าจะได้งาน” อดีตนักโทษคนหนึ่งกล่าว
เปิดคุกหญิง ยิ่งกว่านิยาย ปัญหาสำคัญของผู้ต้องขังหญิงคือ จำนวนผู้ต้องขังที่ล้นเกินความจุของเรือนจำ ซึ่งจะเห็นชัดเจนจากที่นอนในเรือนนอนซึ่งต้องเบียดเสียดกันอย่างมาก ไม่ว่าในห้องขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ หากเป็นห้องขนาด 12x19 เมตร จะนอนกันประมาณ 180-200 คน หากเป็นห้องขนาด 6x8 เมตร จะนอนกันประมาณ 90-100 คน ห้องหนึ่งจะนอนกันหลายแถวหันเท้าชนกันและนอนสลับฟันปลา คนหนึ่งเฉลี่ยแล้วจะมีพื้นที่ในการนอนประมาณ 1-1.5 ฟุต แล้วแต่ความหนาแน่นของผู้ต้องขัง ในแต่ละช่วง การนอนที่เบียดเสียดกันเช่นนี้ยังนำไปสู่การกระทบกระทั่งทะเลาะกันบ่อยครั้ง แต่โดยส่วนใหญ่จะไม่ทะเลาะกันในห้อง แต่จะเก็บไปคิดบัญชีกันในตอนกลางวัน เนื่องจากหากทะเลาะกันในเรือนนอนจะถูกลงโทษทั้งห้อง เช่น การปิดพัดลมให้ร้อน ภายในห้องจะมีหน้าต่าง เหล็กดัด มุ้งลวดกันยุง และมีพัดลมเพดานหลายตัว กระนั้นก็ยังไม่ค่อยเพียงพอกับจำนวนผู้ต้องขังที่แออัด นอกจากนี้หลายครั้งยังปิดพัดลมหลังเที่ยงคืน โดยให้เหตุผลว่าอากาศไม่ร้อนมากและเป็นการประหยัดไฟฟ้า การอาบน้ำ เป็นกิจวัตรที่อดีตผู้ต้องขังบางคนถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหน็ดเหนื่อยและสร้างความเครียดมากที่สุดแห่งวัน เนื่องจากต้องแย่งชิงน้ำซึ่งมีอยู่ค่อนข้างจำกัดกับผู้ต้องขังคนอื่น ที่สำคัญ คือการจำกัดเวลาขณะอาบน้ำ หากอาบเป็นขันจะมีการกำหนดไม่เกิน 10 ขัน หากอาบฝักบัว ซึ่งหมายถึงท่อพีวีซียาวๆ แล้วเจาะรูเป็นช่วงๆ จะมีเวลาอาบเท่ากับการนับ 1-30 โดยทุกครั้งจะมีผู้ต้องขังที่ได้รับเลือกเป็นผู้นับและคอยเปิด-ปิดน้ำ อดีตผู้ต้องขังรายหนึ่งเล่าว่า หากลงมาอาบน้ำช้า น้ำในอ่าง (อ่างซีเมนต์ยาว) จะเหลือน้อย จนต้องหาวิธีตัก โดยการนำแกลลอนน้ำมันมาตัดครึ่ง(เหมือนที่โกยผง) ทำเป็นอุปกรณ์ตักน้ำแทนขันซึ่งไม่สามารถตักได้ สำหรับห้องน้ำมีเพียงพอต่อการใช้งาน โดยเฉพาะห้องน้ำด้านนอกเรือนนอนที่มี 7-8 ห้องกระจายตามจุดต่างๆ มีการจัดเวรทำความสะอาดทุกวัน ขณะที่ห้องน้ำในเรือนนอนมีจำนวนน้อย บางครั้งอาจต้องต่อคิวนานราวครึ่งชั่วโมง ลักษณะของห้องน้ำจะไม่มีประตู เป็นเพียงการก่อซีเมนต์สูงประมาณสองฟุต ขนาดเท่าที่เมื่อผู้ต้องขังนั่งลงบนหอห่านจะโผล่มาแต่หัว อดีตผู้ต้องขังกล่าวว่าในตอนแรกต้องปรับตัวกับส้วนชนิดเปิดเผยนี้อยู่นานพอสมควร ขณะที่เรือนจำเชียงรายนั้นมีการสร้างเรือนนอนใหม่ทำให้ระบายความแออัดไปได้ระดับหนึ่ง มีห้องน้ำใหม่ที่สะอาดและเพียงพอกว่าส่วนกลาง เรื่องอาหารนั้นมีการพัฒนาขึ้นมากในเรื่องความสะอาด อดีตผู้ต้องขังกล่าวว่า เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ข้าวแทบกินไม่ได้ เป็นข้าวแดงที่มีขี้ทรายบน และแข็งมาก บางทีเจอหนอนอยู่ในข้าว เช่นเดียวกับกับข้าว ต้มปลาทูน้ำดำเหมือนน้ำท่อระบายน้ำ เนื่องจากไม่ควักไส้ออก ปัจจุบันปรับปรุงดีขึ้น ใช้ข้าวขาว สะอาด แต่รสชาติอาหารไม่อร่อย ทำให้ไม่ค่อยมีใครรับประทานอาหารที่เรือนจำจัดให้ กรณีของคุกเชียงราย ผู้ต้องขังเล่าว่าอาหารรสชาติแย่มาก ผัดผักก็ใช้ผักที่เกือบเน่า และไม่เคยเจออาหารทะเลเลย ผู้ต้องขังส่วนใหญ่ที่มีเงิน จะซื้ออาหารรับประทานเอง เพราะในคุกก็มีร้านอาหาร ร้านค้าสวัสดิการไว้บริการ แต่ราคาแพงกว่าข้างนอก เช่น มะเขือเปราะ 4 ลูก 10 บาท , ฝรั่ง 2 ลูก 30 บาท, ผักชี 1 ต้น ต้นหอม 1 ต้น ราคา 10 บาท โครงไก่มีแต่กระดูกขาย 30 บาท ของใช้ต่างๆ ส่วนมากผู้ต้องขังต้องซื้อเอง แม้จะมีการแจกของปีละ 1-2 ครั้งจากบริษัท หรือบุคคลที่ต้องการบริจาค ราคาของใช้ต่างๆ ก็แพงกว่าท้องตลาด มีการขายเกินราคา และเวลามีของแถมก็ไม่นำมาให้ลูกค้า หากผู้ต้องขังร้องเรียน ก็จะโดนแกล้งไม่เอาสินค้าที่ต้องการมาขาย หรืออาจถูกย้ายไปที่อื่นเลย สำหรับการซื้อขายในนั้น ผู้ต้องขังจะมีบัญชีของตนเองที่ญาติภายนอกนำเงินมาฝากไว้ให้ ผู้ต้องขังสามารถเบิกได้สูงสุดวันละไม่เกิน 200 บาทในรูปของคูปอง ซึ่งจะมีอายุการใช้งานเพียงครึ่งวัน หลังจากนั้นจะไม่สามารถใช้ได้และไม่สามารถนำคืนได้ ผู้ต้องขังบางรายร้องเรียนว่าน่าจะสามารถคืนได้ เนื่องจากใช้ซื้อของไม่ทัน เพราะคนต่อแถวซื้อสินค้ากันยาวมาก และทำให้ประสบกับภาวะ “เงินบูด” นอกจากนี้ผู้ต้องขังที่ต้องโทษเด็ดขาดยังมีรายได้จากการทำงาน โดยมีโรงงานให้เลือกทำงาน เช่น เย็บผ้า ตัดขี้ด้าย ถักโคเช ฯลฯ มีเงินปันผลรายเดือน แม้ไม่มากนักเมื่อเทียบกับเวลาทำงานหลายชั่วโมงติดต่อกัน แต่ก็พอให้มีเงินใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ การลงโทษ ในอดีตจะมีการลงโทษรุนแรงเรียกว่า “ขังซอย” เป็นการขังเดี่ยวในห้องขนาดเล็กทั้งวัน ทั้งคืน แต่ยกเลิกมานานกว่า 5-6 ปีแล้ว เพราะมีกรณีที่นักโทษโดนขังซอยใช้เสื้อชั้นในผูกคอตาย อดีตผู้ต้องขังเล่าว่าเป็นนักโทษรัสเซียซึ่งทำผิดด้วยการเอากรรไกรตัดเล็บขึ้นเรือนนอน ซึ่งผู้คุมถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงในการนำสิ่งของขึ้นไปบนเรือนนอน แม้แต่ยาอมก็ห้ามนำเข้า อย่างไรก็ตาม รายละเอียดในการขังซอย คือ จะได้กินอาหารวันละมื้อ ขับถ่ายใส่ถังเม 7 วันถึงจะได้อาบน้ำ 1 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอีกว่า ราว 10 กว่าปีก่อน มีการลงโทษถึงขั้นทำร้ายร่างกาย บทลงโทษในยุคก่อนจะเป็นไปตามอำเภอใจของผู้คุม เช่น เอาเตารีดนาบ, เอาหม้อร้อนมาวางบนหลัง, เอาเข็มขัดฟาด, เอาอุจจาระราด, ให้ยืนตากแดดกลางสนามทั้งวัน แต่ปัจจุบันไม่มีการลงโทษเช่นนั้นแล้ว เพราะถูกร้องเรียนและราชทัณฑ์คำนึงถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การลงโทษที่ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่ารุนแรงในปัจจุบันคือ “การตัดชั้น” ความผิดที่น่าจะเป็นความผิดเล็กน้อยเช่น ทะเลาะกัน นักโทษก็มักจะถูกตัดชั้นจาก “ชั้นดี” เป็น “ชั้นเลว” เลย ซึ่งมีผลให้ไม่ได้รับการพิจารณาเรื่องอภัยโทษ การติดต่อโลกภายนอก เป็นสิ่งที่ผู้ต้องขังหญิงรู้สึกอึดอัดคับข้องใจมากตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในอดีตการติดต่อกับโลกภายนอกเป็นเรื่องยากลำบากอย่างยิ่ง ผู้ต้องขังสามารถเขียนจดหมายได้คนละ 15 บรรทัด หากเขียนเกินจะถูกฉีกทิ้ง ส่งได้อาทิตย์ละ 1 ครั้ง แต่ก็พบว่าบางฉบับ 3 เดือนยังไม่ถึงผู้รับ เนื่องจากตกค้างอยู่ที่เจ้าหน้าที่ ซึ่งผู้ต้องขังไม่มีสิทธิทวงถาม บางครั้งเจ้าหน้าที่ไม่พอใจตรวจก็นำจดหมายเอาไปใส่ปี๊บเผาทิ้ง ไม่มีการแจ้งนักโทษว่าส่งแล้วหรือยัง นอกจากนี้ญาติเขียนมาบางทีก็ไม่ได้รับ อย่างไรก็ตาม ที่เชียงรายผ่อนปรนกว่า ผู้ต้องขังสามารถส่งจดหมายได้อาทิตย์ละ 3 ฉบับ (จันทร์, พุธ, ศุกร์) นอกจากนี้หากมีคนส่งธนาณัติไปให้ผู้ต้องขังใน หากเจ้าหน้าที่ถามชื่อคนส่งแล้วนักโทษตอบไม่ถูก หรือ “ขานชื่อ” ไม่ได้ ธนาณัติจะถูกส่งคืนต้นทางทันที เช่นเดียวกับการเยี่ยมญาติ หากผู้ต้องขังทายชื่อคนเยี่ยมไม่ถูกก็จะไม่ให้เยี่ยม เป็นสิ่งที่สร้างอึดอัดและความคับแค้นแก่ผู้ต้องขังเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันระบบขานชื่อยังคงอยู่ ผู้ต้องขังรายหนึ่งระบุว่า เมื่อเธอขานชื่อผู้มาเยี่ยมไม่ถูก เธอก็จะไม่ได้ออกมาพบกับผู้ขอเยี่ยม โดยเจ้าหน้าที่จะให้เธอเซ็นชื่อว่า “ไม่ต้องการเยี่ยม” เพื่อนำไปแจ้งผู้ขอเยี่ยม นอกจากนี้ยังมีการระบุด้วยว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้ต้องขังในข้อหาหนัก รวมถึงคดีหมิ่นสถาบัน จะได้รับอนุญาตให้เยี่ยมญาติเพียง 5 คนตามที่ผู้ต้องขังส่งรายชื่อมา 5 อันดับ นอกเหนือจากนั้นไม่สามารถเข้าเยี่ยมได้ อย่างไรก็ดี ดูเหมือนความสะดวกอย่างเดียวที่ผู้ต้องขังพูดถึงก็คือ การตีของเยี่ยม ซึ่งหมายถึงการที่ผู้เยี่ยมซื้อของในส่งให้ผู้ต้องขัง ห้องสมุดนั้น มีแต่หนังสือเก่าๆ นิตยสารผู้หญิง ไม่มีหนังสือสังคม การเมือง เพราะในคุกห้ามอ่านหนังสือการเมือง รวมถึงห้ามการรับรู้ข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ ผู้ต้องขังสามารถดูทีวีได้ในเวลาจำกัดเท่าทีทางเรือนจำกำหนด และอนุญาตให้ดูเฉพาะหนังเกาหลี หลังไทย ที่จัดไว้ให้เท่านั้น เรียกได้ว่าไม่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
คุกฝรั่งเศสหลังการปฏิรูป
ต้องกล่าวก่อนว่าในฝรั่งเศสจะแยกการคุมขังเป็น 2 ระบบ คือ สถานที่คุมขังบุคคลที่อยู่ระหว่างการต่อสู้คดีซึ่งต้องสันนิษฐานว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ์ หรือหากตัดสินแล้วก็เป็นกลุ่มที่มีโทษเบา กับอีกแบบคือเรือนจำเต็มรูปแบบสำหรับคุมขังผู้ได้รับโทษหนัก ทั้งนี้ เพราะในฝรั่งเศสมีนักโทษถึง 83% ที่มีโทษไม่ถึง 1 ปี โดยสถานคุมขังจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีและกฎระเบียบที่ผ่อนปรนกว่าเรือนจำมาก ในสหภาพยุโรป คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนก็ตกใจมากที่เห็นสภาพเรือนจำ ในฝรั่งเศสแย่กว่าบางประเทศที่เป็นอิสระจากรัสเซียเสียอีก มีการวิจัยพบว่ามีการลงโทษที่ไม่สมควรด้วยแต่ก็ไม่มีใครแตะต้องตรวจสอบได้ ราวกับเรือนจำเป็น “รัฐซ้อนรัฐ” ข้อเสนอหลักๆ ที่หลายภาคส่วนต้องการให้รัฐบาลฝรั่งเศสทำคือ เรือนจำต้องมี 1 ห้องสำหรับนักโทษ 1 คน ถ้านอนกับพื้นรวมๆ กันไม่ใช่สภาพที่ดีสำหรับนักโทษ อีกทั้งต้องมีการปรับปรุงสภาพเรือนจำให้ดีขึ้น เพราะหลายแห่งสร้างในปี 1860 ซึ่งอยู่ในสภาพชำรุด เก่า อันตรายมาก บางทีเพดาน ฝ้า ก็ตกมาใส่หัวนักโทษ ฯลฯ หลังจากหนังสือออกมีการกันงบประมาณเกือบ 1 พันล้านยูโรเพื่อปรับปรุง หรือสร้างเรือนจำสมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสอยู่ในอันดับ 23 ในการใช้งบประมาณในด้านกระบวนการยุติธรรม แม้จะเพิ่มงบทุกปีแต่ก็ถือว่าไม่มากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในสหภาพยุโรป ปี 1990 ผู้ต้องโทษในฝรั่งเศสยังไม่มีทีวี ไม่มีวิทยุ คนในเรือนจำต้องแต่งตัวในชุดนักโทษ แต่ปัจจุบันผู้ต้องขังมีทีวีดูตลอด และสามารถแต่งตัวได้ตามสะดวก สามารถพูดคุยกันได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม เวโรนิคตั้งข้อสังเกตว่าเรือนจำสมัยใหม่ที่มีการปรับปรุงอย่างดีแล้วกลับมีอัตราการฆ่าตัวตายของนักโทษสูงขึ้นกว่าเดิม แสดงให้เห็นว่าว่านักโทษอยู่ในสภาพที่สิ้นหวัง ยังไม่มีกระบวนการเยียวยาบุคคลเหล่านี้อย่างดีพอ นอกจากนี้ยังพบว่ามียาเสพติดเข้าไปในเรือนจำด้วยแต่ส่วนใหญ่เป็นรายย่อย “ไม่ใช่ต้องใช้เงินมหาศาลในการสร้างเรือนจำสมัยใหม่ แต่สิ่งที่นักโทษต้องการคือ เขารู้สึกอับอาย ระบบทั้งหมดทำให้เขารู้สึกอับอายและรู้สึกแย่ เขาต้องการสายตาแบบอื่นที่มองเขาแบบมนุษย์คนหนึ่ง” เวโรนิคกล่าว นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอีกอย่างที่สำคัญ คือ มีศาลยุติธรรมในเรือนจำ เมื่อนักโทษถ้าทำอะไรผิดก็มีทนายความมาช่วยเหลือด้วย เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ และยังมีเรื่องสิทธิของผู้ป่วยซึ่งมีพื้นฐานว่าแม้จะเป็นนักโทษก็ต้องได้รับสิทธิในการรักษาเท่าเทียบกับคนข้างนอก และมีสิทธิออกมารักษาตัวภายนอกได้หากจำเป็น แม้แต่ผู้ต้องโทษหนักในคดีก่อการร้ายก็ได้รับสิทธินี้ แต่การนำนักโทษไปรักษาข้างนอกนั้นต้องมีเจ้าหน้ที่ควบคุมไป และจะตีตรวนเฉพาะนักโทษที่อาจก่ออันตรายกับตัวเองและคนอื่นเท่านั้น สำหรับผู้ป่วยด้านจิตเวช มีการเสนอว่าจะต้องมีการพิจารณาว่าเราไม่นำพวกเขาเข้าไปอยู่ในเรือนจำปะปนกับนักโทษทั่วไป โดยเฉพาะอาการทางจิตที่ชอบข่มขืนเด็กนั้น พบว่าผู้ต้องขังในเรือนจำ 20% เป็นโรคผิดปกติทางจิตประเภทนี้ พวกเขาได้พบจิตแพทย์เพียงเดือนละครั้ง ซึ่งน้อยเกินไป และภายใน 20 ปีที่ผ่านมา พบว่าการนักโทษออกมากับครอบครัวบ้างจะสามารถปรับตัวได้เมื่อออกมา สำหรับสุขภาพของนักโทษจะมีหน่วยอนามัยอยู่ภายใน และขึ้นกับโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ มี ก่อนเข้าเรือนจำจะมีการตรวจร่างกายผู้ต้องขัง ถ้าเป็นวัณโรคจะอยู่แยกต่างหาก มีโรคติดต่ออื่นหรือไม่ โดยพบว่าในเรือนจำมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอและบี มากกว่าโลกภายนอกถึง 7 เท่า ส่วนเอชไอวีนั้น ไม่มีการปิดข้อมูลส่วนบุคคลเป็นความลับ ทำให้นักโทษรู้สึกอับอาย ในฝรั่งเศส มีการยกเลิกโทษประหารตั้งแต่ปี 1981 และในปัจจุบันฝรั่งเศสจำคุกได้สูงสุดเพียง 30 ปี ไม่มีโทษตลอดชีวิต และยังมีการลงโทษอีกอย่างเรียกว่าการลงโทษที่ปลอดภัย ผู้ที่มีปัญหาทางจิตเมื่ออยู่ในเรือนจำออกมาแล้วจะอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย แต่ยังไม่ใช่สังคมวงกว้างนัก แดนทอง บรีน กล่าวสรุปสิทธิของนักโทษที่ควรจะมี -ต้องไม่มีการลงโทษให้เจ็บปวดทางกาย ซึ่งจากการสำรวจ 19 ประเทศ มีอยู่ประเทศเดียวคือ สวีเดน ที่ไม่มีการซ้อมทรมานนักโทษ -ต้องมีอกาสเข้าถึงครอบครัว, สิทธิในการแต่งงาน เรือนจำในประเทศแถบสแกนดิเนเวียอนุญาตให้ครอบครัวเข้าไปอาศัยกับผู้ต้องขังได้เป็นช่วงๆ -สิทธิความเป็นส่วนตัว ควรเยี่ยมกับครอบครัวอย่างเป็นส่วนตัว การเขียนจดหมายเจ้าหน้าที่ต้องไม่อ่าน สิทธิของครอบครัวเป็นสิทธิหลักที่ไม่ควรปฏิเสธ -สิทธิในการศึกษาและการทำงาน -สิทธิในการแสดงออก แม้แต่การวิเคราะห์สภาพในเรือนจำ -เสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ดูทีวี อ่านหนังสือพิมพ์ การใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งหลายประเทศกำหนดให้ผู้ต้องขังสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ด้วยเพื่อติดต่อกับโลก -เสรีภาพในการนับถือศาสนา -สิทธิเลือกตั้ง การห้ามนักโทษออกเสียงเป็นการผิดต่อหลักการสิทธิพลเมือง เรือนจำทั่วโลกยังเป็นส่วนน้อยที่ให้นักโทษมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะให้นักการเมืองสนใจปัญหาของเรือนจำ -สิทธิในการรักษาที่จะเท่าเทียมกับคนข้างนอก
ถาม-ตอบ เสียงจากราชทัณฑ์ ในหลายประเด็นยังเป็นคำถามตัวใหญ่สำหรับเรือนจำในประเทศไทย มีหลายคำถามที่ตัวแทนระดับผู้บริหารจากกรมราชทัณฑ์ได้ตอบคำถามดังกล่าวในเวทีสัมนาเพื่อชี้แจงถึงเหตุผลที่มาที่ไปของกฎระเบียบด้วย อาทิ -ทำไมพื้นที่นอนของผู้ต้องขัง กำหนดเพียง 2.5 ตารางเมตร? เนื่องจากประเทศเราเป็นเรือนนอนรวม เราจัดที่นอนตามสภาพที่นอนกันระดับชาวบ้านข้างนอก เป็นที่นอนที่กำลังสบาย หลักการของไทยกับต่างประเทศต่างกัน ต่างประเทศอยู่แต่ในห้องขัง ในไทยตื่นนอนแล้วผู้ต้องขังลงจากเรือนนอน ดังนั้นมันจึงเป็นแค่ที่นอน แต่ปัจจุบัน จำนวนผู้ต้องขังแออัด ทำให้เราต้องลดพื้นที่นอนไปตามสภาพความเป็นจริง เพราะเราไม่มีกฎหมายห้ามเรือนจำรับผู้ต้องขังกรณีเกินความจุเหมือนต่างประเทศ -กำหนดโทษสูงหลายสิบปี ? ปัจจุบันการกำหนดโทษอย่าง 120 ปีไม่มีแล้ว ตามกฎหมายปัจจุบันต้องเหลือไม่เกิน 40-50 ปีเท่านั้น และยังมีการลดโทษระหว่างคุมขังเป็นระยะ ทำให้กำหนดโทษสูงสุดโทษประหาร ตลอดชีวิต จะอยู่ช่วงระยะ 12-15 ปี สอดคล้องกับกฎหมายต่างประเทศที่โทษสูงสุดมักอยู่ที่ 15 ปี -ผู้ต้องขังไม่สามารถดูข่าว นสพ.ได้? เพราะผู้ต้องขังมีมาก เจ้าหน้าที่น้อย เราแก้ตัวไม่ได้ เราอนุญาตให้ดูข่าวแต่ที่บันทึกเทปเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติอาจเป็นได้ที่ไม่ได้ดำเนินการตามที่สั่งการ เพราะกำลังมีไม่พอ แต่ นสพ.อนุญาตให้นำเข้าแล้ว แต่ส่วนใหญ่ผ่านการตรวจสอบข่าวแล้ว เพราะเคยมีกรณีที่นักโทษดูข่าวการก่อจลาจลในเรือนจำแล้วเอาอย่าง เจอ 2-3 แห่งในเวลาเดียวกัน -เครื่องพันธนาการ? ยอมรับว่าเป็นปัญหาหนักใจของกรมราชทัณฑ์ เนื่องจากเรือนจำความมั่นคงสูง ใน1 แดนคุม 600-700 คน มีผู้คุม 14 คน ถ้าไม่มีเครื่องพันธนาการ เจ้าหน้าที่ไม่กล้าควบคุม มันเสี่ยงมาก แต่ไม่ใช่ว่ากรมราชทัณฑ์จะละเลย เรากำลังปรับปรุงสถานที่คุมขังเพื่อให้ปลดพันธนาการได้ -ทำไมเรือนจำหญิงจังเข้มงวดกว่าเรือนจำชายมาก? ผู้ต้องขังหญิงยอมรับกติกาค่อนข้างสูง ผู้ชายต่อต้านสูง คนเยอะเจ้าหน้าที่น้อย จึงต้องอาศัยความยืดหยุ่นมากกว่า ดังนั้น เรือนจำหญิงนั้นเข้มตามระเบียบ ไม่ใช่ผิดปกติ -การปฏิบัติต่อนักโทษการเมืองเป็นอย่างไร? นักโทษการเมืองไม่มีถูกจับในเรือนจำ แต่ละคนที่ถูกจับผิดคดีอาญาทั้งสิ้น ไม่เคยลอนสิทธิ ก้าวล่วงในแนวความคิดของนักโทษที่เห็นแตกต่าง เราแค่กันไม่ให้เขาตีกันเท่านั้นเอง พยายามดูแลภายใต้สภาวะ ทรัพยากรที่เรามีอยู่
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
‘สุราษฎร์ฯ’ ร้อน ยกพลต้านกรมชลฯ ขวางเวนคืนที่โครงการตาปี–พุมดวง Posted: 06 Jun 2011 08:40 AM PDT
พื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี – พุมดวง นายวิโรจน์ ทองเกษม คณะทำงานเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี - พุมดวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ในวันที่ 7 มิถุนายน 2554 นี้ ชาวบ้านจากเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำ–พุมดวงประมาณ 300 คน จะชุมนุมประท้วงการลงสำรวจรังวัดที่ดิน ผลอาสิน และสิ่งปลูกสร้างของเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณท้องที่ตำบลท่าเคย ตำบลหนองไทร อำเภอท่าฉาง ตำบลลีเล็ด ตำบลศรีวิชัย ตำบลมะลวน ตำบลหัวเตย ตำบลท่าข้าม ตำบลพุนพิน ตำบลน้ำรอบ ตำบลหนองไทร ตำบลบางงอน อำเภอพุนพิน และตำบลท่ากระดาน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2554 เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงวันที่ 27 เมษายน 2554 นายวิโรจน์ กล่าวว่า โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง เป็นการนำโครงการเก่า เมื่อปี 2510 ซึ่งขณะนั้นชาวบ้านต้องการน้ำมาทำนา มาปัดฝุ่นดำเนินการใหม่ ในขณะที่ปัจจุบันชาวบ้านหันมาปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน โดยกรมชลประทานอ้างว่า ถึงแม้จะไม่มีนาให้ใช้น้ำจากโครงการนี้แล้ว แต่ก็สามารถนำน้ำจากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวงไปรดยางพาราและปาล์มน้ำมัน เพื่อเพิ่มผลผลิตได้ ชาวบ้านได้ยินแล้วงง เพราะไม่เคยทราบว่า แนวคิดนี้มีงานศึกษาวิจัยของนักวิชาการจากสถาบันไหนมารองรับ “ฤดูแล้งน้ำในแม่น้ำพุมดวงแห้ง ถ้าสูบออกไปต้องแห้งขอดลงอีก ทำให้น้ำเค็มจากทะเลอ่าวบ้านดอนทะลักเข้ามา ส่งผลต่อระบบนิเวศน์ และพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะผลกระทบต่อเกษตรกรที่เลี้ยงปลาในกระชังนับสองพันรายริมฝั่ง” นายวิโรจน์ กล่าว นายสถาพร โรจนหัสดิน ผู้อำนวยการสำนักการก่อสร้าง 10 โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี-พุมดวง กรมชลประธาน กล่าวว่า ต้องการให้กลุ่มผู้คัดค้านมานั่งคุยกันกับกรมชลประทาน เพื่อร่วมมือในการบริหารน้ำภายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไม่ใช่มาคัดค้านโครงการโดยไม่มีเหตุผล แค่ยอมสูญเสียพื้นที่ 2-3 พันไร่ แต่ได้รับผลประโยชน์ถึง 7 หมื่นไร่ คิดอย่างไรก็คุ้มค่า เพราะที่จังหวัดชุมพรเกษตรกรใช้น้ำรดปาล์มน้ำมัน และยางพาราได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าพอใจ “เท่าที่ผมรู้ว่ากลุ่มผู้คัดค้านส่วนหนึ่งเป็นคนนอกพื้นที่ ที่เดินสายต่อต้านโครงการของรัฐในภาคใต้ หาว่าสร้างขึ้นเพื่อรองรับโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้(Southern Sea Bord)) ทั้งที่ความเป็นจริงไม่มีอะไรเป็นตัวบ่งชี้ว่า เอื้อต่อภาคอุตสาหกรรมแต่อย่างใด”
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ลี้ภัยจากปากีสถาน 96 คนได้รับการปล่อยตัวจากสถานกักกันตรวจคนเข้าเมืองกรุงเทพฯ Posted: 06 Jun 2011 08:29 AM PDT
เวลา 10.00 น. วันที่ 6 มิถุนายน 2554 ผู้ลี้ภัยชาวปากีสถานซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม นิกายอามาดี ได้รับการปล่อยตัวจากสถานกักกันตรวจคนเข้าเมืองกรุงเทพฯ ซอยสวนพลู เป็นผลจากการประสานงานร่วมกันระหว่างกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และมูลนิธิไทยเพื่อคนมีปัญหาสิทธิและสถานะบุคคลผ่านกองทุนเพื่ออิสรภาพของผู้ลี้ภัย (ทีซีอาร์) โดยทั้งหมดนับถือนิกายอามาดี ซึ่งถูกประหัตประหารอย่างรุนแรงและเป็นระบบในปากีสถานซึ่งเป็นประเทศเดียวที่ไม่ยอมรับคนที่นับถือนิกายอามาดีว่าเป็นชาวมุสลิมอย่างเป็นทางการ วีรวิชญ์ เธียรชัยนันท์ ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารมูลนิธิไทยเพื่อคนมีปัญหาสิทธิและสถานะบุคคล (ทีซีอาร์) กล่าวว่า ผู้ลี้ภัยทั้งหมด 98 คน มีเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี รวมอยู่ด้สนถึง 34 คน เป็นทารก 1 คน และถูกกักอยู่ในส่วนต้องกัก สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 ซึ่งทางทีซีอาร์ได้ประสานงานกับเครือข่ายชาวอามาดีเพื่อระดมทุนในการประกันตัวบุคคลเหล่านี้เป็นจำนวนเงินรวมกว่า 4 ล้านบาท และทางทีซีอาร์จะดำเนินการช่วยเหลือจัดหาที่พักให้กับบุคคลที่ได้รับการรับรองสถานภาพผู้ลี้ภัยจากสหประชาชาติ เพื่อส่งพวกเขาไปยังประเทศที่ 3 ต่อไป ผู้ลี้ภัยทั้งหมด 96 คน ได้รับการรับรองสถานภาพผู้ลี้ภัยจากสหประชาชาติแล้ว 94 คน และอีก 2 คนอยู่ระหว่างการพิจารณารับรองสถานภาพ โดยคาดว่าจะต้องใช้เวลาพำนักอยู่ในประเทศไทยอีกประมาณ 1 ปี ก่อนที่จะได้เดินทางต่อไปยังประเทศที่ 3 ทั้งนี้ผู้ลี้ภัยทั้งหมดถูกจับกุมในเดือน ธันวาคม 2553 ในชุมชนผู้ลี้ภัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ แม้กลุ่มคนดังกล่าวจะเป็นผู้ที่หลีกหนีจากการประหัตประหารในประเทศของตนเอง และตามหลักสากล ผู้ลี้ภัยจะได้รับความคุ้มครองจากประเทศที่หนีไปพักพิงแม้ว่าจะใช้ประเทศเหล่านั้นเป็นทางผ่านก็ตาม อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่ได้ยอมรับสถานภาพผู้ลี้ภัยและไม่ได้เป็นภาคีในกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) จึงไม่สามารถให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยที่ถูกเจ้าหน้าที่ไทยจับกุม ผู้ลี้ภัยทั้งหมดจึงตกอยู่ภายใต้กฎหมายคนเข้าเมืองและถูกพิจารณาว่าเป็นผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย รวมทั้งมีมีกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย ดังนั้น ประเทศไทยจึงไม่สามารถแยกแยะระหว่างผู้ลี้ภัย ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย และผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย จึงส่งผลให้ผู้ลี้ภัยจากการประหัตประหารในประเทศของตน ต้องตกเป็นผู้กระทำความผิดตามกฎหมายคนเขาเมือง ซึ่งเป็นปัญหาที่มีมาโดยตลอด ผู้ลี้ภัยที่ถูกกักขังมีสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่เหมาะสมและไม่ถูกสุขลักษณะอนามัย เนื่องจากความแออัดมาก เพราะมีผู้ต้องกักจำนวนมากกว่า 150 คนต่อห้องกัก 1 ห้อง ซึ่งมีขนาดเหมาะสมสำหรับการกักคนจำนวน 30-40 คนเท่านั้น ครอบครัวต้องถูกแยกจากกัน อาหารและสุขอนามัยไม่ถูกสุขลักษณะ การปล่อยตัวผู้ต้องขังครั้งนี้เริ่มต้นจากการแถลงการณ์ร่วมกันระหว่างทีซีอาร์และเครือข่ายสิทธิเพื่อผู้ลี้ภัยเอเชียแปซิฟิก (เอพีอาร์อาร์เอ็น) เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวผู้ต้องหาชาวปากีสถานนิกายอามาดี เมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา โดยทางกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับเรื่องร้องเรียนไว้ และได้จัดคณะทำงานร่วมกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง รวมถึงมีการหารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทั่งในที่สุดทีซีอาร์ ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ประกันตัวผู้ลี้ภัยขึ้น จนผู้ลี้ภัยทั้ง 96 คนได้รับการปล่อยตัวในที่สุด น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนเปิดเผยว่า บทบาทของกรรมการสิทธิในกรณีนี้คือประสานงานกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อเข้าร่วมตรวจสอบสถานภาพของผู้ลี้ภัยทั้งหมด ทั้งนี้ น.พ.นิรันดร์ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวนี้ได้ผลเนื่องจากส่วนหนึ่งมาจากภาคประชาสังคมอามาดีที่มีการรวมตัวกันเป็นอย่างดี “ประการแรก พวกเขามีสิทธิของความเป็นคน ไม่ใช่มองว่าเขาละเมิดกฎหมายเท่านั้น และเขามีเด็กอยู่เยอะมาก ประการที่สองคือต้องมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็น่ายินดีที่ทางตม. พยายามให้ความชวยเหลือ และขณะเดียวกันภาคประชาสังคมและเครือข่ายอามาดีจากต่างประเทศ เช่นในแคนาดา ก็พยายามเจ้ามาช่วยเหลือ มีเอ็นจีโอที่ทำเรื่องผู้ลี้ภัยเป็นกำลังหลักในการประสานงาน และหาทางออกโดยการประกันตัว” อย่างไรก็ตาม น.พ.นิรันดร์ ยอมรับว่า กรณีผู้ลี้ภัยจากประเทศอื่นๆ เช่นโรฮิงยา หรือผู้ลี้ภัยจากศรีลังกา ยังมีปัญหามากกว่า เพราะเกี่ยวข้องกับปัญหาสถานภาพผู้ลี้ภัย ปัญหาเศรษฐกิจสังคม ปัญหาการเมืองของประเทศต้นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีโรฮิงยาซึ่งพม่าไม่ได้รับยอมรับสถานภาพพลเมืองของโรฮิงยา ซึ่งกรณีเหล่านี้เป็นเรื่องที่กรรมการสิทธิต้องตรวจสอบว่าจะใช้วิธีการแก้ปัญหาและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างไร แม้ว่าไทยยังไม่เป็นภาคีในกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย แต่ก็ยังมีกรรมการสิทธิที่ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอยู่ พล.ต.ท. วิบูลย์ บางท่าไม้ ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งได้ร่วมแถลงข่าวการปล่อยตัวผู้ลี้ภัย เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมว่า กรณีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยานั้น มีปัญหาที่ต่างออกไปจากกรณีของมุสลิมนิกายอามาดีจากปากีสถาน เนื่องจากชาวโรฮิงยาไม่ได้รับการยอมรับเป็นพลเมืองของประเทศต้นทาง เช่น พม่า และขณะนี้ ตม. ยังคงกักชาวโรฮิงยาไว้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกรุงเทพฯ จำนวนราว 44 คน และที่ภาคใต้อีกราว 100 คน แต่ไม่สามารถผลักดันคนเหล่านี้กลับไป เนื่องจากการผลักดันกลับไปจะส่งผลต่อความปลอดภัยในชีวิตของชาวโรฮิงยาเหล่านี้ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นักปรัชญาชายขอบ: อภิสิทธิ์ คุณคือ ‘นายกฯ 92 ศพ’ Posted: 06 Jun 2011 07:54 AM PDT
ท้ายบทความชื่อ “จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ” (เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊ก Abhisit Vejjajiva) คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สรุปว่า “ถ้าผมจะมีความผิดก็คงมีแค่ประการเดียวคือ ผมเป็นนายกฯในระบบสภาคนแรกหลังปี 2550 ที่คุณทักษิณสั่งไม่ได้” เจอบทสรุปแบบนี้ผม “โดน” เลย เออใช่ๆ!! นี่แหละคือ “ตัวตนที่แท้จริง” ของอภิสิทธิ์ เขาคือจอมแถ กะล่อน เบี่ยงเบนประเด็นด้านๆ ภายใต้มาดที่ดูใสซื่อ ดูเหมือนสุภาพบุรุษ มีหลักการอะไรทำนองนั้น โปรดดูความใสซื่อของเขานะครับ เช่น คำพูดที่ว่า “...ใครจะคุยกับทหารอย่างไรผมไม่ทราบ เพราะผมไม่เคยติดต่อกับทหารท่านใดเลย แต่ผมเชื่อว่าไม่มีใครบังคับ ส.ส.ได้…” มีใครเชื่อไหมครับว่าอภิสิทธิ์รับเป็นนายกฯ โดยไม่ทราบจริงๆ ว่าสุเทพคุยกับทหารว่าอย่างไร เชื่อไหมครับว่าการประกาศ “ปกป้องสถาบัน” ของเนวินไม่มี “ทหารแก่ไม่เคยตาย” อยู่เบื้องหลัง และอานิสงส์แห่งการประกาศนั้นไม่ได้ส่งผลให้เขารอดจากคดีทุจริตกล้ายาง อาจไม่มีใครบังคับ ส.ส.ได้ใช่ไหมครับ แต่ถ้าจัดแบ่งผลประโยชน์ลงตัวสามฝ่าย “รัฐบาลอำมาตย์อุ้ม” ก็เกิดขึ้นได้ และเกิดขึ้นเห็นๆ เฮือกสุดท้ายแล้วยังดันทุรังโกหกตัวเองอยู่ทำไมไม่ทราบ! หรือบางข้อความของอภิสิทธิ์ที่ว่า “…คำพูดที่คุณเนวินฝากไปถึงคุณทักษิณที่ว่า "มันจบแล้วครับนาย" ด้วยเสียงสั่นเครือน้ำตาคลอเบ้าคงจะยังเป็นบาดแผลในใจคุณเนวินมาจนถึงวันนี้ ไม่ว่าคนจะมองคุณเนวินในภาพอย่างไร แต่ในวันนั้นผมเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจว่า คุณเนวินได้ตัดสินใจทางการเมืองเพื่อให้ประเทศเดินหน้าได้” คือ ขนาดว่าเขาโดนเนวินต่อรองขอกระทรวงเศรษฐกิจไปหมด เขาก็ยัง “เชื่อโดยบริสุทธิ์ใจ” เป็นไปได้อย่างไรครับที่คนจบอ๊อกฟอร์ด เป็นนักการเมืองอาชีพมาอย่างยาวนานจะใสซื่อบริสุทธิ์ขนาดนั้น! ทีนี้ลองดู “หลักการ” ของเขาบ้าง อภิสิทธิ์เขียนว่า “...แต่เหตุการณ์บ้านเมืองก็ไม่ปกติ โดยเริ่มต้นจากความขัดแย้งที่เกิดจากนายกฯสมัคร เปิดประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อล้างความผิดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้เกิดกระแสต่อต้านรุนแรงจากประชาชนที่ไม่ต้องการให้นักการเมืองกลายเป็นอาชีพเดียวที่อยู่เหนือกฎหมายได้ เพราะสามารถใช้เสียงข้างมากในสภาออกกฎหมายล้างความผิดตัวเองได้ ในความผิด เช่น การทุจริต คอรัปชั่น ซึ่งถือเป็นวิธีการที่สั่นคลอนความมั่นคงของกระบวนการยุติธรรม และระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเป็นอย่างยิ่ง” จริงๆ แล้วอภิสิทธิ์ก็รู้ว่าในประเทศนี้ “ใคร” อยู่เหนือกฎหมายได้จริงๆ ทหารทำรัฐประหารซึ่งมีโทษประหารชีวิต พวกเขาเคยรับผิดตามกฎหมายหรือไม่ หากอภิสิทธิ์ยอมรับว่า “รัฐประหารไม่ถูกต้อง” กระบวนการเอาผิดที่สืบเนื่องจากรัฐประหารย่อมไม่ชอบธรรมด้วย ฉะนั้น นักการเมืองที่ถูกทำรัฐประหารย่อมมีความชอบธรรมที่จะต่อสู้เพื่อคืนความยุติธรรมให้กับตนเอง ที่สำคัญคือ การต่อสู้ของนักการเมืองก็ต่อสู้ตามวิถีทางประชาธิปไตย คือผ่าน “การเลือกตั้ง” และ “กระบวนการรัฐสภา” ทำไมกรณีที่ตัวเองเป็นนายกฯ อภิสิทธิ์จึงอ้างกระบวนการรัฐสภาซ้ำแล้วซ้ำเล่า (ทั้งที่เป็นที่รู้กันว่าโดยพฤตินัยไปตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร) การออกกฎหมายนิรโทษกรรมก็ผ่านกระบวนการรัฐสภาเช่นกัน แต่อภิสิทธิ์กลับอ้างว่า “เป็นวิธีการที่สั่นคลอนความมั่นคงของกระบวนการยุติธรรม และระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเป็นอย่างยิ่ง” แล้วกระบวนการ “สองมาตรฐาน” ที่สืบเนื่องจากรัฐประหาร การแต่งนิทานเด็กเลี้ยงแกะ “ผังล้มเจ้า” เพื่อล้อมปราบคนเสื้อแดง เป็นวิธีการรักษาความมั่นคงของกระบวนการยุติธรรม และระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างไรไม่ทราบ! ถามจริงๆ เถอะครับ หากตอนนี้มีการใช้กองทัพยึดอำนาจอภิสิทธิ์ไป แล้วฝ่ายที่ยึดอำนาจนั้นก็เป็นโจทย์กล่าวหาว่า คุณเป็น “ฆาตกร 92 ศพ” ทำให้ประชาชนบาดเจ็บร่วม 2,000 คน แล้วก็ตั้ง “คตส.2” ขึ้นมาสอบสวนเอาผิดเอง ส่งฟ้องศาลได้เอง มีนักวิชาการ และสื่อจำนวนหนึ่งที่เกลียดคุณร่วมเป็นคณะกรรมการ “คตส.2” และเป็นพยานด้วย และศาลก็ตัดสินตามที่พวกเขาชงขึ้นมา อย่างนี้คุณอภิสิทธิ์โอเคไหมครับ เป็นการดำเนินการที่ปกป้องความมั่นคงของกระบวนการยุติธรรม และระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขไหมครับ? คุณอภิสิทธิ์อย่าเถียงผมนะครับว่าเรื่องของคุณเป็นแค่เรื่องสมมติ เพราะ 92 ศพ กับบาดเจ็บร่วม 2,000 คน คือเรื่องจริง และเป็นเรื่องจริงที่ไม่มีวันลบเลือนไปจากประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนไทย (และไม่มีวันลบเลือนไปจาก “ความทรงจำ” ของคุณ เว้นเสียแต่ว่าคุณจะสูญเสีย “ความเป็นมนุษย์” จนหมดสิ้นแล้ว!) อีกข้อความของอภิสิทธิ์ คือ “ถ้าคิดในทางกลับกันผมไม่ยอมร่วมรัฐบาลกับคุณเนวินและพรรคอื่นๆ เพียงเพราะกลัวเปลืองตัว ปล่อยให้บ้านเมืองวุ่นวายเดินหน้าไม่ได้ ผมก็ลอยตัวไม่ต้องมาอยู่ในฐานะเป็นคู่ขัดแย้งกับใคร ชีวิตก็ไม่ต้องเสี่ยงจากความรุนแรงที่เริ่มปรากฏให้เห็นในการแข่งขันทางการเมือง แต่ถ้าผมทำอย่างนั้นก็เท่ากับเป็นการปัดความรับผิดชอบในฐานะนักการเมืองที่ต้องแก้ปัญหาให้ประชาชน” ถ้าคุณคิดว่า “การร่วมรัฐบาลกับเนวิน” เป็น “ความรับผิดชอบ” ที่ปฏิเสธไม่ได้ ของนักการเมือง “ผู้มีอุดมการณ์” ไม่เคยเปลี่ยนอย่างคุณ ถามว่าแล้ว 92 ศพ และบาดเจ็บร่วม 2,000 ที่เกิดจาก “ความผิดพลาด” (ไม่ได้ว่าคุณจงใจทำอย่างบ้าอำนาจนะ) ของการสลายการชุมนุมโดยรัฐบาลคุณ เป็นเรื่องที่นักการเมืองผู้มีอุดมการณ์ไม่ควรรับผิดชอบเลยเช่นนั้นหรือ? ผมไม่เข้าใจจริงๆ ครับว่า “มาตรฐาน” ของ “ความรับผิดชอบ” ของนักการเมืองผู้มีอุดมการณ์อย่างคุณอภิสิทธิ์ มันคืออะไรกันแน่? เท่าที่ผมพอจะเข้าใจได้ มีแต่ “ฆาตกร” เท่านั้น ที่มีพฤติกรรมปฏิเสธความรับผิดชอบต่อการฆ่าเพื่อนมนุษย์อย่างเลือดเย็น!
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นานาชาติหวังหลังเลือกตั้งจะนำการเมืองไทยสู่ปกติ Posted: 06 Jun 2011 07:28 AM PDT เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี (ANFREL) ระบุทุกฝ่ายควรยอมรับผลการเลือกตั้งที่ได้มาด้วยวิถีประชาธิปไตย ชี้การใช้ความรุนแรง และการซื้อสิทธิ์ขายเสียงเป็นเรื่องน่าจับตาและต้องเฝ้าระวัง 6 มิ.ย. 54 - เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี หรืออันเฟรล (Asian Network for Free Elections – ANFREL) แถลงข่าวเวลา 14.00 น. ณ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด เพื่อแถลงถึงการทำงานของผู้สังเกตการณ์นานาชาติที่จะลงพื้นที่จังหวัดต่างๆในประเทศไทย เพื่อสังเกตการณ์การเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 รวมถึงการเลือกตั้งล่วงหน้าที่จะมีขึ้นในวันที่ 26 มิถุนายน 2554 ด้วย นายอิชาล สุเปรยดิ ผู้อำนวยการภารกิจการสังเกตการณ์ในครั้งนี้กล่าวว่า การส่งผู้สังเกตการณ์นานาชาติจำนวน 60 คน ลงมาทำงานในพื้นทีต่างๆของประเทศไทย มีจุดประสงค์เพื่อประเมินว่าการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ เป็นไปตามหลักกฎหมายไทย รวมถึงหลักการสิทธิมนุษยชนสากลมากน้อยเพียงใด โดยอันเฟรลจะทำหน้าที่จับตามองและรวบรวมข้อผิดปรกติต่างๆที่เกิดขึ้น และตีพิมพ์เป็นรายงานพร้อมข้อเสนอแนะให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ในภารกิจครั้งนี้ อันเฟรลจะทำงานร่วมกับอาสาสมัครอีกจำนวน 700 คน จากเครือข่ายประชาชนเพื่อการเลือกตั้ง หรือพีเน็ต เพื่อให้การสังเกตการณ์การเลือกตั้งในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศมีความครอบคลุมมากขึ้น และเรียกร้องให้สื่อมวลชน ตลอดจนหน่วยงานของภาครัฐวางตัวให้เหมาะสม เพื่อให้การเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นไปอย่างสันติ “เราขอเรียกร้องให้กองกำลังรักษาความมั่นคงของไทย หน่วยงานของรัฐ รวมไปถึงสื่อมวลชน ทำหน้าที่ให้เหมาะสมและวางตัวเป็นกลาง เพื่อให้การรณรงค์หาเสียง และการเลือกตั้งที่จะมาถึงเป็นไปอย่างสงบและเรียบร้อย เพื่ออนาคตที่ดีของประเทศไทย ” นายอิชาลกล่าว นอกจากนี้ ในแถลงการณ์ของอันเฟรลได้ระบุว่า “...การยอมรับผลการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยจากพรรคการเมืองและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีส่วนสำคัญที่จะยืนยันถึงความน่าเชื่อถือของกระบวนการเลือกตั้ง...โดยหวังว่าทุกภาคส่วนจะปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวอย่างจริงจัง เพื่อเห็นแก่ความสงบสุข และความน่าเชื่อถือจากผลการเลือกตั้ง” ก่อนหน้านี้อันเฟรลได้เข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งในประเทศไทยแล้วสามครั้ง คือในปี 2544, 2548 และ 2550 และครั้งนี้จะเป็นครั้งที่สี่ โดยมีผู้สังเกตการณ์นานาชาติทั้งหมด 60 คน มาจากกว่า 20 ประเทศในเอเชีย เช่น อัฟกานิสถาน กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นตัวแทนจากองค์กรการสังเกตการณ์การเลือกตั้งในประเทศของตนเอง 000 แถลงการณ์ เวลา 14.00 น. โรงแรม Swissotel le Concorde เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี (อันเฟรล) แถลงถึงการส่งผู้สังเกตการณ์จากภูมิภาคเอเชีย และภูมิภาคอื่นๆ ลงพื้นที่ทำงานในจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย โดยกล่าวถึงขั้นตอนและวิธีการสังเกตการณ์ รวมถึงความห่วงใยที่มีต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะถึงนี้ นับเป็นครั้งที่ 4ที่คณะผู้สังเกตการณ์เดินทางมาไทย หลังจากที่มาสังเกตการณ์ล่าสุดเมื่อปี 2550 และครั้งนั้นได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาการซื้อเสียง ความรุนแรง การข่มขู่ และความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่หน่วย โดยคาดว่าครั้งนี้จะได้เห็นพัฒนาการทางการเมืองในด้านต่างๆที่ดีขึ้น แตยังคงคำนึงถึงปัญหา รูปแบบการใช้ยุทธศาสตร์การรณรงค์หาเสียงของผู้สมัครพรรคต่างๆ การเมืองที่ใช้เงินเป็นหลัก ความรุนแรง รวมถึงการเรียกร้องให้เคารพในเสรีภาพของการรณรงค์ การชุมนุม และการแสดงความคิดเห็น ยิ่งไปกว่านั้น การยอมรับผลการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยจากพรรคการเมืองและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีส่วนสำคัญที่จะยืนยันถึงความน่าเชื่อถือของกระบวนการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ผู้สังเกตการณ์ได้ย้ำเตือนถึงการยึดมั่นหลักจรรยาบรรณการรณรงค์หาเสียงที่พรรคการเมืองต่างๆได้ลงนามไปแล้ว ซึ่งหมายถึงจริยธรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้ง และสื่อมวลชนด้วย โดยหวังว่าทุกภาคส่วนจะปฏิบัติตามหลักดังกล่าวอย่างจริงจัง เพื่อเห็นแก่ความสงบสุข และความน่าเชื่อถือจากผลการเลือกตั้ง สำหรับการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฏาคม ที่จะถึงนี้ อันเฟรลจะมีผู้สังเกตการณ์ประมาณ 60 คน ลงพื้นที่ทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็นสองคณะคือ ผู้สังเกตการณ์ระยะยาว 24 คน ที่เดินทางมาถึงแล้วตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน ซึ่งคณะนี้จะปฏิบัติหน้าที่จนถึง หลังวันเลือกตั้งหนึ่งสัปดาห์ และดูสถานการณ์ก่อนวันเลือกตั้ง วันลงคะแนน การนับคะแนน รวมถึงการส่งผลคะแนนหลังวันเลือกตั้ง ส่วนผู้สังเกตการณ์ระยะสั้น กว่า 30 คนรวมผู้ชำนาญการด้านการเลือกตั้ง จะเดินทางตามมาในวันที่ 22 มิถุนายน และเริ่มสังเกตการณ์สถานการณ์หนึ่งสัปดาห์ก่อนวันเลือกตั้ง ผู้สังเกตการณ์ของอันเฟรลมาจาก 20 ประเทศ ส่วนใหญ่มีประสบการณ์การทำงานภาคสนาม ด้านการเลือกตั้งและสิทธิมนุษยชน ทุกคนประสงค์ที่จะเห็นกระบวนการเลือกตั้งที่ปลอดจากการโกง การทุจริตในการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการบั่นทอนความตั้งใจที่ดีของประชาชน อันเฟรลเชื่อว่าการมีคนจากประเทศอื่นมาสังเกตการณ์ในครั้งนี้จะช่วยให้กระบวนการทั้งหมดมีความโปร่งใส และสาธารณชนสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
TCIJ: 39 ส.ว.รวยขึ้นหลังพ้นตำแหน่ง ม.ร.ว.ปรียนันทนาพุ่ง 122 ล้าน Posted: 06 Jun 2011 06:43 AM PDT ศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) ตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้ของสมาชิกวุฒิสภาสรรหาที่ยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตอนพ้นตำแหน่งพบสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 39 คน มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจากตอนเข้ารับตำแหน่ง ขณะเดียวกันมีสมาชิกวุฒิสภาที่มีทรัพย์สินลดลงจากคราวรับตำแหน่ง จำนวน 26 คน ทั้งนี้ บุคคลที่มีทรัพย์สินเพิ่มมากสุดคือ ม.ร.ว. ปรียนันทนา รังสิต (ภาควิชาชีพ) เพิ่มขึ้น 122,111,499 บาท, นายบุญชัย โชควัฒนา เจ้าของกลุ่มสหพัฒน์ (สรรหาภาคเอกชน) เพิ่มขึ้น 60,141,599.65 บาท, นายพินิจ กุลละวณิชย์ (สรรหาภาควิชาการ) 37,004,744.78 บาท, นายสมัคร เชาวภานันท์ (สรรหาภาควิชาชีพ) 31,309,480.94 บาท นายอนุศักดิ์ คงมาลัย (สรรหาภาคอื่น) 26,361,119.00 บาท, นายถาวร ลีนุตพงษ์ (สรรหาภาคเอกชน) 24,282,757.41 บาท, รศ.ดร.กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล (สรรหาภาควิชาการ) 18,443,603.21 บาท, นายพรชัย สุนทรพันธุ์ (สรรหาภาควิชาการ) 17,967,294.97 บาท, ศาสตราจารย์เกียรติคุณตรึงใจ บรูณสมภพ (สรรหาภาควิชาการ) 13,408,680.07 บาท, ศาสตราภิชานวิระ มาวิจักขณ์ (ภาควิชาชีพ) 8,787,893.03 บาท พลโทสุจินดา สุทธิพงศ์ (สรรหาภาครัฐ) 8,434,903.01 บาท, นายฐิระวัตร กุลละวณิชย์ (สรรหาภาครัฐ) 6,530,862.97 บาท, นายตวง อันทะไชย (สรรหาภาควิชาชีพ) 6,526,747.40 บาท, นางนิลวรรณ เพชระบูณณิน (ภาคเอกชน) 5,692,537.04 บาท, พล.ต.อ.อำนวย เพชรศิริ (สรรหาภาครัฐ) 4,805,944.08 บาท นางกีระณา สุมาวงศ์ 4,633,193.57 บาท, นายสุพจน์ โพธิ์ทองคำ (สรรหาภาครัฐ) 4,514,963.86 บาท, นายวรินทร์ เทียมจรัส (ภาครัฐ) 3,998,910.72 บาท, นายธนู กุลชล (สรรหาภาควิชาการ) 3,777,184.58 บาท, นายพิเซต สุนทรพิพิธ (สรรหาภาครัฐ) 3,650,120.85 บาท ส่วน ส.ว.ที่มีทรัพย์สินลดลงจำนวน 26 คน ในจำนวนนี้คนที่ลดลงมาก คือ นายโชติรัส ชวนิชย์ (ภาควิชาการ) ลดลง 71,977,370.61 บาท, นางยุวดี นิ่มสมบุญ 67,044,140.56 บาท, นางอุไร คุณานันทกุล (ภาคเอกชน) 63,157,212.02 บาท, นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ (สรรหาภาควิชาชีพ) 57,684,664.46 บาท, นายธวัช บวรวนิชยกูร (สรรหาภาคเอกชน) 27,441,925.84 บาท นายวิทวัส บุญญสถิต (สรรหาภาควิชาการ) 27,103,810.69 บาท, พันโท กมล ประจวบเหมาะ 18,694,796.46 บาท, นายอนุรักษ์ นิยมเวช (สรรหาภาควิชาชีพ) 15,151,444.04 บาท, นายวันชัย แสงสุขเอี่ยม (สรรหาภาคเอกชน) 12,525,552.20 บาท, ศาสตราจารย์วิรัติ พาณิชพงษ์ (สรรหาภาควิชาการ) 7,999,163 บาท นายไพบูลย์ นิติตะวัน (สรรหาภาครัฐ) 7,711,828.04 บาท, นายอิทธิพล เรืองวรบูรณ์ (ภาคอื่น) 7,544,529.55 บาท, พลตำรวจเอก สุนทร ซ้ายขวัญ (สรรหาภาคอื่น) 5,330,883.28 บาท, นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล (สรรหารัฐ) 5,258,852.28 บาท, นางรสสุคนธ์ ภูริเดช (สรรหาภาคเอกชน) 3,707,689.07 บาท นายสงคราม ชื่นภิบาล (สรรหาภาครัฐ) 3,163,463.46 บาท, นายมณเฑียร บุญตัน (สรรหาภาคอื่น) 3,007,443.45 บาท, นายธีระจิตต์ สถิโรตมวงศ์ (สรรหาภาคเอกชน) 2,894,405.16 บาท, พลตำรวจตรี เกริก กัลยาณมิตร (สรรหาภาควิชาชีพ) 2,220,657.52 บาท, นายวรวุฒิ โรจนพานิช ลดลง 2,198,621.55 บาท สมาชิกวุฒิสภา (สรรหา) และคู่สมรสที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากที่สุดหลังพ้นตำแหน่ง
ที่มา: สำนักงาน ป.ป.ช., ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวน (TCIJ) รวบรวม สมาชิกวุฒิสภาและคู่สมรสที่มีทรัพย์สินลดลงมากสุดหลังพ้นตำแหน่ง
ที่มา: สำนักงาน ป.ป.ช., ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวน (TCIJ) รวบรวม สำหรับ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ซึ่งมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นถึง 122 ล้านบาทนั้นมาจาก “เงินฝาก”โดย ตอนเข้ารับตำแหน่งวุฒิสภา วันที่ 14 มีนาคม 2551 แจ้งบัญชีทรัพย์สินเงินฝาก 67,386,626.82 บาท ตอนพ้นตำแหน่ง วันที่ 8 มีนาคม 2554 แจ้งบัญชีทรัพย์สิน เงินฝาก 239,910,499.10 บาท เปรียบเทียบรายการทรัพย์สินของ ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต
ที่มา: สำนักงาน ป.ป.ช., ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวน (TCIJ) รวบรวม ขณะที่นายบุญชัย โชควัฒนา ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้น มาจากเงินฝากเดิม 25,609,795.76 บาท เป็น 30,590,077.15 บาท, เงินลงทุนเดิม 197,025,445.01 บาท เป็น 225,168,802.06 บาท, เงินให้กู้ยืม จากเดิม 58,973,171.83 บาท เป็น 68,600,000 บาท เปรียบเทียบรายการทรัพย์สินของนายบุญชัย โชควัฒนา
ที่มา: สำนักงาน ป.ป.ช., ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวน (TCIJ) รวบรวม ที่มา: www.tcijthai.com/investigative-story/493 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
"สุภิญญา" รับผิดคำพูดจริงกรณีสมัคร กสทช. ยันไร้ประโยชน์ทับซ้อน Posted: 06 Jun 2011 06:02 AM PDT สุภิญญาทวีต รับผิดคำพูด-ผิดมารยาทที่สุดท้ายอยากเป็น กสทช. ปัดข้อครหา "ผลประโยชน์ทับซ้อน" แจงร่างกฎหมายแล้วสมัครเป็น กสทช.เองเป็นตรรกะเดียวกับที่ ส.ส.ร่างกฏหมายเลือกตั้ง แล้วไปลงสมัครเลือกตั้ง
วันนี้ (6 มิ.ย.54) เวลา 17.45น. สุภิญญา กลางณรงค์ รองประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ในฐานะ 1 ใน 22 ผู้สมัครชิงตำแหน่ง กสทช.(ผ่านกรรมการสรรหา) ทวีตผ่านทวิตเตอร์แอคเคาน์ @supinya ชี้แจงกรณีมีผู้ตั้งคำถาม "ทำไมถึงลงสมัคร กสทช. ผิดมารยาท ผิดคำพูด ผิดผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่" โดยตอบคำถามที่ว่า คุณเคยพูดไว้ว่าจะไม่สมัครเป็น กสทช. ว่า ใช่ เคยพูดจริง แต่ก็เปลี่ยนใจมาสมัครในที่สุด เสียใจที่ผิดคำพูดที่เคยพูดไว้ ส่วนที่มีคำถามว่าคิดว่ามันผิดมารยาทไหม ตอบว่า ตัวเองก็ยอมรับว่าผิดมารยาท พร้อมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องนี้เต็มๆ ต่อคำถามว่า คิดว่ามีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ เพราะเป็นเอ็นจีโอเคยไปร่วมร่าง พรบ. กสทช. สุภิญญาตอบว่า ไม่ยอมรับเรื่องนี้ เพราะ "3.1 เอ็นจีโอ เหมือนกับกลุ่มอื่นๆ ที่เข้าไปผลักดันกฏหมายแต่ก็เราไม่ได้ทุกประเด็นที่เราต้องการ คนตัดสินสุดท้ายคือสภา ส.ส. และ ส.ว. 3.2 การแข่งขัน กสทช. ครั้งนี้ไม่ได้เปิดให้เฉพาะบุคลลใด ทุกคนมีสิทธิสมัครเป็นได้ตามกระบวนการแข่งขัน ไม่มีใครได้เป็นโดยอัตโนมัติ 3.3 ในการแข่งขันรอบนี้มีอดีตคนเคยร่าง กม. พ.ร.บ. กสทช. เท่าที่รู้ประมาณ 5 คน สมัครรวมอดีต ส.ว. ด้วย ไม่พบข้อวิจารณ์คนอื่นๆ เรื่องนี้ 3.4 ในจำนวน 5 คนที่มีส่วนร่วมร่าง พ.ร.บ.กสทช.ที่มาสมัครรอบนี้ มีทั้งคนเข้ารอบและตกรอบ ท่านหนึ่งที่ตกรอบยังไปฟ้องศาลปกครอง และศาลก็รับฟ้อง 3.5 ถ้าศาลตัดสินเป็นประโยชน์กับท่านนั้น เค้าก็จะได้รับเลือกกลับเข้ารอบตามกระบวนการยุติธรรม แม้ว่าท่านนั้นจะมีส่วนร่าง พ.ร.บ.กสทช.มาก่อน" โดยนอกจากมีส่วนร่วมในการร่าง พ.ร.บ.กสทช.แล้ว ท่านนั้นก็ยังเป็นอดีตเลขา กทช. และเป็น กทช. ปัจจุบันด้วย ศาลจะตัดสินคดีท่านนี้อีก 2 อาทิตย์ สุภิญญา ระบุว่า เรื่องนี้เช่นเดียวกับกรณีของ ส.ส. ที่เพิ่งผ่านกฏหมายว่าด้วยการเลือกตั้งไป จากนั้นก็ยุบสภามีการเลือกตั้ง ส.ส.ส่วนใหญ่ที่ร่าง กม.ก็ลงเลือกตั้ง แม้ว่า ส.ส. เหล่านั้นจะร่าง และผ่านกฏหมายเลือกตั้ง ก็ไม่ได้มีหลักประกันว่า ส.ส.เหล่านั้นจะได้รับเลือกตั้งกลับมาใหม่ทั้งหมด มันจึงไม่ได้เป็นประเด็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนโดยตัวของมันเอง ไม่เช่นนั้นเราต้องให้คนอื่นที่ไม่ใช่นักการเมืองมาร่าง กม.เลือกตั้งหรือ เธอระบุว่า เช่นเดียวกับ พ.ร.บ. กสทช.ที่สุดท้าย คนผ่าน กม.ก็คือ ส.ส. และ ส.ว. แต่ก็ไม่ได้ห้าม ไม่ให้ ส.ว. หรือ ส.ส. เหล่านั้นลงสมัคร "ใช่มันเป็นเรื่องมารยาทซึ่งผู้เขียนก็ยอมรับในเรื่องนี้ แม้ไม่ได้เป็น ส.ส. แต่ก็ผลักดันเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น แต่ไม่ยอมรับเรื่องประโยชน์ทับซ้อน เพราะผู้เขียนไม่ได้มีพ่อ แม่ หรือครอบครัวที่ถือหุ้นในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ที่จะทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนในการทำหน้าที่ กสทช.ได้ "ผู้เขียนไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับบรรษัทด้านสื่อและโทรคมนาคม ที่จะทำให้เกิดความไม่เป็นอิสระหรือผลประโยชน์ขัดกันในการทำหน้าที่ได้ ผู้เขียนไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดๆ ที่จะทำให้เกิดความไม่เป็นอิสระในการทำหน้าที่หรือมีประโยชน์ทับซ้อนในการทำหน้าที่ กสทช.ในอนาคต "จริงอยู่ กม.นี้ออกแบบกีดกันคนที่ถือหุ้นหรือผู้บริหารธุรกิจด้านสื่อโทรคมนาคม แต่มันก็คือเจตนารมณ์ของความเป็นอิสระ ดังนั้นจึงเห็นว่าคนที่ลงสมัครส่วนมากจะเป็นนักวิชาการ เอ็นจีโอ สื่อมวลชน หรือลูกจ้างที่ไม่มีหุ้นอันทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน" สุภิญญาระบุ "อย่างไรก็ตามแม้จะไม่ได้มีประเด็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ตนเองก็ยอมรับว่าการตัดสินใจเปลี่ยนบทบาทจากเอ็นจีโอไปเป็น กสทช. มันมีความเสี่ยงสูง" ทั้งนี้ หลังการทวีตดังกล่าวแล้ว สุภิญญายังได้ทวีตตอบคำถามกรณีมีผู้ถามคำถามเพิ่มเติมด้วย
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
Posted: 06 Jun 2011 05:06 AM PDT ในเดือนพฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา ความเคลื่อนไหวที่สำคัญของขบวนการแรงงานรอบโลก มีทั้งการเฉลิมฉลองและข้อเรียกร้องในวันแรงงานสากล (1 พ.ค.) ทั่วโลก ฝั่งยุโรปการประท้วงนโยบายรัดเข็มขัดของเหล่าสหภาพแรงงานเกิดขึ้นทั้งในกรีซและอังกฤษ เช่นเดียวกับสเปนที่เจอสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน คนหนุ่มสาวออกมาดจมตีการเลือกตั้ง เนื่องด้วยอัตราการว่างงานที่สูงที่สุดในสหภาพยุโรป, เศรษฐกิจถดถอย และการตัดลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาล ข้ามมายังฝั่งบ้านเราย่านเอเชีย ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมานักกิจกรรมนักเคลื่อนไหวออกมารณรงค์ให้สังคมเห็นถึงการละเมิดสิทธิแรงงานอย่างต่อเนื่องของบริษัทไต้หวันที่ไปลงทุนในจีนอย่าง “ฟ็อกซ์คอนน์” ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับจ้างผลิตให้กับแบรนด์สุดเก๋ไก๋อย่าง “แอปเปิล” ในช่วงเดียวกับที่มีการเปิดตัวอุปกรณ์สุดไฮเทค “ไอแพด 2” และในปลายเดือนที่ผ่านมาก็ยังเกิดอุบัติเหตุในโรงงานฟ็อกซ์คอนน์ทำให้คนงานได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
ประเทศเล็กๆ อย่างไต้หวัน กลุ่มสหภาพแรงงานก็ออกมาเคลื่อนไหวเนื่องในวันแรงงานสากล (ภาพโดย: Chang Chia-ming, Taipei Times) 0 0 0 แรงงานฟิลิปปินส์หลายพันคนขอขึ้นค่าจ้าง 1 พ.ค. 54 - แรงงานและนักเคลื่อนไหวหลายพันคนในฟิลิปปินส์เดินขบวนตามท้องถนนในวันแรงงานวันนี้ เพื่อประท้วงนโยบายของรัฐบาลส่งออกแรงงานไปต่างประเทศ และเรียกร้องขอขึ้นค่าจ้างหลังราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้น กลุ่มผู้ชุมนุมในวันแรงงานชูแผ่นป้ายวิจารณ์รัฐบาลและกล่าวหาประธานาธิบดีเบนิโญ อาคิโนที่ไม่ทำตามสัญญาเมื่อปีที่แล้วว่าจะปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพของแรงงานฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ พวกเขายังเรียกร้องให้รัฐบาลยุตินโยบายส่งเสริมแรงงานไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งคาดว่ามีแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างแดน 9 ล้านคน และโอนเงินกลับมาหลายล้านดอลลาร์ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ฟิลิปปินส์มีการชุมนุมเนื่องในวันแรงงานขนาดใหญ่ที่สุดที่กรุงมะนิลา ขณะที่เมืองใหญ่อื่นๆ ก็มีการเดินขบวนทางภาคกลางและทางใต้ของประเทศเช่นกัน ประธานาธิบดีอาคิโนแถลงในวันแรงงานว่า รัฐบาลไม่ได้ละเลยข้อเรียกร้องของแรงงาน แต่สภาวะการเงินของประเทศในขณะนี้ทำให้การทำตามนโยบายที่เคยให้สัญญาไว้เป็นไปได้ยาก แรงงานอินโดนีเซียเดินขบวนเรียกร้องปรับสวัสดิการ 1 พ.ค. 54 - แรงงานชาวอินโดนีเซียหลายพันคนร่วมเดินขบวนเรียกร้องปรับปรุงสวัสดิการแรงงานที่กรุงจาการ์ตาท่ามกลางตำรวจรักษาความปลอดภัยเข้มงวด กลุ่มผู้ใช้แรงงานเริ่มตั้งขบวนกันที่บริเวณวงเวียนใหญ่ในกรุงจาการ์ตา ก่อนจะเคลื่อนขบวนไปที่ทำเนียบประธานาธิบดี โดยผู้ชุมนุมเรียกร้องให้ขยายประกันสุขภาพตลอดชีวิต และจัดตั้งกองทุนเกษียณอายุ เพื่อแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคม อีกด้านหนึ่ง แม้บรรยากาศการเดินขบวนในวาระวันแรงงานโดยรวมเป็นไปด้วยความสงบ แต่ตำรวจเปิดเผยว่าได้วางกำลังเจ้าหน้าที่ราว 10,000 นายคอยดูแลความปลอดภัย แรงงานไต้หวันขอปรับปรุงสภาพการทำงาน 1 พ.ค. 54 - แรงงานไต้หวันราว 2,000 คนชุมนุมที่กรุงไทเปเพื่อเรียกร้องขอขึ้นค่าจ้างและให้รัฐบาลปรับปรุงสภาพการทำงาน การชุมนุมเนื่องในวันแรงงานวันนี้นับเป็นเสียงสะท้อนไปถึงประธานาธิบดีหม่า อิง จิ่วของไต้หวันซึ่งจะลงเลือกตั้งประธานาธิบดีในต้นปีหน้า กลุ่มผู้ประท้วงกล่าวว่าในขณะที่ประธานาธิบดีหม่าพยายามผูกสัมพันธ์กับจีนช่วงที่ดำรงตำแหน่ง และบริษัทรายใหญ่ต่างได้รับประโยชน์จากความสัมพันธ์ทางการค้าที่ใกล้ชิดกับจีน แต่ผู้นำไต้หวันกลับไม่ได้สนใจกลุ่มชนชั้นกลางและกลุ่มผู้ใช้แรงงานอย่างจริงจัง สหภาพแรงงานญี่ปุ่นใช้วันแรงงานเรียกร้องยกเลิกโรงงานนิวเคลียร์ 1 พ.ค. 54 - สมาพันธ์แรงงานหัวเอียงซ้ายหลายกลุ่มในญี่ปุ่น เรียกร้องในการชุมนุมวันแรงงานให้ยกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในขณะที่พนักงานกู้ภัยกำลังหักโหมหาทางควบคุมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะที่มีปัญหา นายซากุจิ ไดโกกุ ประธานสมาพันธ์สหภาพแรงงานแห่งชาติ กล่าวต่อผู้ชุมนุมที่ที่สวนสาธารณะโยโยกิในกรุงโตเกียวว่า ขอให้ผู้ชุมนุมช่วยกันยับยั้งไม่ให้รัฐบาลส่งเสริมการใช้พลังงานนิวเคลียร์และหาทางเปลี่ยนแปลงนโยบายพลังงาน ขณะที่ นายคาซุโอะ ชีอิ ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ กล่าวว่า ขอเรียกร้องอย่างแข็งขันให้รัฐบาลตัดสินใจถอนตัวจากโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ และกำหนดโครงการลดการใช้โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์จนกระทั่งยกเลิกไปในที่สุด สมาพันธ์สหภาพแรงงานแห่งชาติซึ่งอ้างว่ามีสมาชิก 1.2 ล้านคน เผยว่า การชุมนุมวันนี้มีผู้เข้าร่วม 21,000 คน ด้านสมาพันธ์แรงงานขนาดเล็กกลุ่มหนึ่งหยิบยกประเด็นยกเลิกโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เช่นกันในการชุมนุมที่สวนฮิบิยะ นอกพระราชวังอิมพีเรียล ตรุกี-กรีซเดินขบวนวันแรงงานร้องเพิ่มค่าจ้าง 1 พ.ค. 54 - บรรดาผู้ใช้แรงงานทั่วเอเชียร่วมการเดินขบวนเรียกร้องขอเพิ่มค่าแรง และขอให้นายจ้างปรับปรุงสภาพการทำงานให้ดีกว่าเดิม เนื่องในโอกาสวันแรงงาน ชาวตุรกีกว่า 200,000 คน เดินรวมตัวที่จัตุรัสทักซิมในนครอิสตันบูล เพื่อเรียกร้องให้นายจ้างเพิ่มค่าแรงและปรับปรุงสภาพการทำงาน ถือเป็นการรวมตัวชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดที่จัตรุรัสแห่งนี้ นับตั้งแต่เกิดเหตุเหยียบกันตายของประชาชน 34 คน หลังมีเสียงปืนระหว่างการชุมนุมในวันแรงงานเมื่อปี 2520 ขณะที่สมาชิกสหภาพแรงงานของกรีซก็จัดการเดินขบวนในกรุงเอเธนส์เนื่องในวันแรงงาน แต่เพื่อประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล ที่ส่งผลให้มีคนตกงานกว่า 160,000 คน นับตั้งแต่รัฐบาลเริ่มใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อลดค่าใช้จ่ายเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว แรงงานในละตินอเมริกาชุมนุมเนื่องในวันแรงงาน 1 พ.ค. 54 - แรงงานในละตินอเมริกาหลั่งไหลชุมนุมเนื่องวันแรงงาน แรงงานบางประเทศเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ แรงงานชาวคิวบาหลายแสนคนออกมาชุมนุมทั่วประเทศก่อนที่รัฐบาลประธานาธิบดีราอูล คาสโตร จะดำเนินมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจมากกว่า 300 มาตรการที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐเมื่อเดือนก่อน ในจำนวนนี้มีการปลดแรงงานภาครัฐ 1 ล้านตำแหน่งในอีกหลายปีข้างหน้าและลดการใช้จ่ายภาครัฐ ประธานาธิบดีราอูล คาสโตร ไปปรากฏตัวเป็นครั้งแรกต่อที่ชุมนุมกลางจัตุรัสปฏิวัติในเมืองซานติเอโกเดอคิวบา หลังรับตำแหน่งจากอดีตประธานาธิบดีฟิเดล คาสโตรเมื่อ 5 ปีก่อน ส่วนที่กรุงโบโกตาของโคลอมเบีย มีแรงงานเดินขบวนราว 10,000 คน แรงงานบางคนขว้างปาก้อนหินและสิ่งของใส่ตำรวจซึ่งตอบโต้ด้วยแก๊สน้ำตา ท่อฉีดน้ำแรงดันสูง และมีการทำร้ายทุบตีด้วย ขณะที่ประธานาธิบดีฮวน มานูเอล ซานโตส ประกาศจะปรับปรุงสิทธิแรงงานและสิทธิในการประท้วงแบบประชาธิปไตย ที่กรุงกัวเตมาลาซิตีของกัวเตมาลา แรงงาน 50,000 คนเดินขบวนประท้วงค่าครองชีพสูงและเรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก ส่วนที่กรุงเม็กซิโกซิตีของเม็กซิโก แรงงาน 17,000 คนออกมาชุมนุมตามท้องถนนเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงและความปลอดภัยในชีวิตเพราะมีคนล้มตายไม่ต่ำกว่า 34,600 คนตั้งแต่รัฐบาลเริ่มสงครามปราบปรามยาเสพติดในปลายปี 2549 ด้านประธานาธิบดีอีโว โมราเลสของโบโกตา ยกเลิกประกาศปี 2528 ที่กำหนดให้ใช้เศรษฐกิจระบบตลาด และจะยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ขณะที่แรงงานในเอลซัลวาดอร์เรียกร้องให้ปรับปรุงสภาพการทำงานของคนงานภาคเอกชน และแรงงานในชิลี 30,000 คนชุมนุมที่กรุงซันติอาโกขอเพิ่มสิทธิแรงงาน และวิจารณ์นโยบายเอื้อภาคธุรกิจของรัฐบาล ฝรั่งเศส เรียกร้องรัฐแก้ไขปัญหาครองชีพ 1 พ.ค. 54 - สหภาพแรงงานใหญ่ 5 กลุ่ม ในฝรั่งเศสจัดการเดินขบวนทั่วประเทศ 200 ขบวน ในวันแรงงาน เรียกร้องให้ทางการออกมาตรการแก้ไขปัญหาค่าครองชีพสูง และประณามแนวคิดเหยียดผิว แถลงการณ์ร่วมของกลุ่มระบุว่า การเดินขบวนวันนี้เป็นการแสดงความเป็นเอกภาพสากลร่วมกับการประท้วงในโลกอาหรับ และต่อต้านแนวคิดเหยียดผิวกีดกันผู้อพยพเข้าฝรั่งเศส แรงงานอพยพในสหรัฐชุมนุมเรียกร้องโอบามาทำตามคำมั่น 1 พ.ค. 54 - แรงงานอพยพจำนวนมากหลั่งไหลไปชุมนุมตามท้องถนนในนครลอสแองเจลิส (แอลเอ) ของสหรัฐเรียกร้องให้ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ทำตามที่ได้หาเสียงไว้ว่าจะทำให้แรงงานผิดกฎหมายหลายล้านคนเป็นแรงงานถูกกฎหมาย ผู้ชุมนุมร้องตะโกนว่า ทำให้ถูกกฎหมายหรือจะไม่ได้รับเลือกตั้งอีก ส่วนใหญ่เป็นแรงงานอพยพจากอเมริกากลางและเม็กซิโก เรียกร้องการปฏิรูปแรงงานอพยพตามที่โอบามาเคยหาเสียงไว้ว่าจะทำให้แรงงานบางส่วนจากแรงงานผิดกฎหมายทั้งหมด 11 ล้านคนในสหรัฐเป็นแรงงานถูกกฎหมาย นักศึกษาเชื้อสายจีนคนหนึ่งร่วมการชุมนุมด้วยโดยระบุว่า เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาของแรงงานพูดภาษาสเปนเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของแรงงานเอเชียด้วย ผู้จัดการชุมนุมอ้างว่ามีผู้ร่วมเดินขบวน 10,000 คน แต่ตำรวจแอลเอประมาณตัวเลขไว้เพียง 3,500 คน อย่างไรก็ดี แกนนำการเรียกร้องปฏิรูปสิทธิแรงงานอพยพส่วนใหญ่ไม่ได้ขอให้ชุมชนผู้พูดภาษาสเปนออกเสียงต่อต้านโอบามาและพรรคเดโมแครตในการเลือกตั้งปีหน้า หลังจากเป็นฐานเสียงสำคัญที่ทำให้เขาชนะเลือกตั้งครั้งก่อน เพราะคนที่ขัดขวางการปฏิรูปแรงงานอพยพคือพรรครีพับลิกัน แต่อดีต ส.ว.รัฐแอริโซนาจากพรรคเดโมแครตคนหนึ่งกลับเห็นว่า โอบามาไม่มีความจริงใจเพราะไม่ได้ทำตามคำมั่นที่ให้ไว้ มีข้อมูลว่าปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนกันยายนที่ผ่านมา สหรัฐเนรเทศแรงงานผิดกฎหมายออกนอกประเทศมากกว่า 392,000 คน แฉ “บ.ฟ็อกซ์คอนน์ ใช้แรงงานเยี่ยงเครื่องจักร” 3 พ.ค. 54 - กลุ่มสิทธิแรงงานฮ่องกงเผยผลสำรวจจากการสัมภาษณ์แรงงานฟ็อกซ์คอนน์ 120 คนบนแผ่นดินใหญ่ เมื่อวันอังคาร (3 พ.ค.) ว่า “บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของไต้หวันฟ็อกซ์คอนน์ ปฏิบัติต่อพนักงานเยี่ยงเครื่องจักรกลอันไร้ชีวิต” เมื่อปีที่ผ่านมา (2553) เกิดเหตุการณ์พนักงานฟ็อกซ์คอนน์อัตวินิบาติกรรม 13 ราย โดยกลุ่มสิทธิแรงงานฯ ได้ออกมาประณามเงื่อนไขการทำงานของบริษัทที่เข้มงวดเกินไป จนกรณีอื้อฉาวนี้กลายมาเป็นประเด็นสำคัญจุดชนวนกระแสเรียกร้องขึ้นค่าจ้างแรงงานในโรงงานอื่น ๆ ของจีน กลุ่มนักศึกษาและนักวิชาการต่อต้านบรรษัทที่ประพฤติไม่เหมาะสม (SACOM) เผยรายงานว่า “ลูกจ้างของบริษัทฟ็อกซ์คอนน์ถูกบังคับให้ทำงานล่วงเวลามากเกินไป โดยมีรูปแบบการทำงานเข้มงวดคล้าย ๆ กับการฝึกทหารเลยทีเดียว” “กลุ่ม SACOM ถึงกับตกใจ เมื่อได้เห็นเงื่อนไขการทำงานที่เลวร้ายมาก” รายงานของกลุ่มระบุ พร้อมชี้ว่า “ลูกจ้างแรงงานบริษัทฟ็อกซ์คอนน์ต้องทำงานล่วงเวลา 80-100 ชั่วโมงต่อเดือน นอกเหนือไปจากเวลาที่ต้องทำปกติเดือนละ 174 ชม. ซึ่งสูงกว่าที่กฎหมายจีนกำหนดไว้ถึง 3 เท่า” “แรงงานส่วนมากต้องการทำงานล่วงเวลาให้มากที่สุดเพราะว่าเงินเดือนปกติไม่พอประทังชีวิต” SACOM กล่าว โดยชี้ด้วยว่า แรงงานแต่ละคนได้เงินจิบจ้อยเพียงเดือนละ 200 ดอลลาร์เท่านั้น (ประมาณ 6,000 บาท) นอกจากนั้นทางกลุ่มฯ ยังชี้ด้วยว่า บรรดาแรงงานต้องทำงานถึงวันละ 10 ชั่วโมงทำให้ต้องเลื่อนการพักรับประทานอาหารออกไปโดยแต่ละวันไม่ตรงเวลาและไม่แน่นอน ขณะที่ลูกจ้างใหม่จะต้องถูกฝึกความอดทนเยี่ยงทหาร เนื้อหาของการฝึกทางทหารนั้นก็มีการยืน จัดแถว ผู้คุมจะถามคนงานหลายสิบคนให้เข้าแถวตามคำสั่ง และจัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยคนงานถูกสั่งให้ยืนคล้ายทหารนานหลายชั่วโมง นอกจากนั้น หากมีความผิดพลาดในการทำงานก็จะถูกลงโทษอย่างหนัก คนงานบางคนถูกบังคับให้เขียน “จดหมายสารภาพ” และอ่านเสียงดังให้เพื่อนร่วมงานฟัง เมื่อเอเอฟพีติดต่อไปยังบริษัทฯ โฆษกบริษัทฟ็อกซ์คอนน์ไม่สนใจข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยพูดว่า บริษัทจะจัดการกับประเด็นนี้อย่างเต็มที่หลังจากอ่านรายงานนี้จบแล้ว ฟ็อกซ์คอนน์เป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนสินค้าสำหรับแอปเปิล โซนี และโนเกีย ที่ใหญ่สุดในโลก โดยบริษัทได้จ้างคนงานประมาณล้านคนในประเทศจีน โดยครึ่งหนึ่งปักฐานการผลิตอยู่ในเซินเจิ้น หลังจากเกิดกระแสฆ่าตัวตายหลายราย ฟ็อกซ์คอนน์ก็ได้หามาตรการมายับยั้ง ไม่ว่าจะเป็นการติดตาข่ายเหนือตึกสูงป้องกันคนโดดตึก เพิ่มค่าจ้างแรงงาน และฟื้นฟูกำลังใจสำหรับคนงาน อย่างไรก็ตามนักวิจารณ์ก็ยังมองว่าการที่ฟ็อกซ์คอนน์ออกมาตรการใหม่โดยจ้างที่ปรึกษาเพิ่ม เปิดศูนย์ดูแล ฮ็อตไลน์สายด่วนให้คนงานหลังกระแสฆ่าตัวตายแพร่สะพัดนั้นไม่สัมฤทธิ์ผล เพราะว่าเงื่อนไขในการจัดการกับพนักงานยังคงหนักหน่วงเช่นเดิม คนงานไม่ได้รับอนุญาตให้พูดคุยกันในกระบวนการสายพานผลิต พวกเขารู้สึกว่า “เขาเป็นเครื่องจักร” ไปเสียแล้ว โดยขณะนี้ ฟ็อกซ์คอนน์ขยายพื้นที่การผลิตไปในจีนตอนกลาง เพื่อลดปัญหาการฆ่าตัวตายในฐานฯ ที่เซินเจิ้น ชาวเน็ตฯ และแรงงานจีนสรรเสริญ ฉงชิ่งส่งหน่วยจู่โจมทลายนรกแรงงานฯ 3 พ.ค. 54 ที่โครงการก่อสร้างซิตี้การ์เดน ตำรวจหน่วยสวาทพร้อมอาวุธครบมือ S.W.A.T. ( Special Weapons And Tactics) และเจ้าหน้าที่เขตเจียงเป่ย นครฉงชิ่ง ได้สนธิกำลังบุกเข้าไปในเขตก่อสร้างแห่งนี้ เพื่อทวงถามค่าแรง และช่วยเหลือคนงานซึ่งถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว และกดขี่แรงงานเยี่ยงทาส จากรายงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ของเมืองเจียงเป่ย นครฉงชิ่งได้รับการยืนยันการถูกเอารัดเอาเปรียบของคนงาน 61 คน รวมมูลค่าค่าแรงที่ถูกนายจ้างริบไว้ไม่ยอมจ่ายให้กว่า 800,000 หยวน นายปี่ ก่วงหลี่ แรงงานรับจ้างต่างถิ่นคนแรกที่ได้รับค่าจ้างซึ่งค้างอยู่ 5 เดือน เป็นเงิน 14,250 หยวน ครบถ้วน หลังทางการเข้าปราบปรามนายจ้างมาเฟีย ได้กล่าวเขาตื่นเต้น และโค้ง 3 ครั้งเพื่อขอบคุณพรรค ขอบคุณรัฐบาล และขอบคุณทางการฉงชิ่ง เขากล่าวว่า ตนเองมาจากเมืองเตียนเจียง "ผมออกจากบ้านเกิดเข้ามาขายแรงงานหากิน นานกว่า 40 ปี เพื่อส่งเงินไปเลี้ยงดูลูกเมียที่ป่วย ไม่สามารถทำงานได้ การทำงานห่างบ้านเพื่อเลี้ยงครอบครัว ไม่ใช่เรื่องสนุก ต้องยอมให้กับความไม่ยุติธรรมต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบค่าแรงค่าจ้าง การทุบตี ซึ่งเป็นเรื่องที่เรายอมรับมันอย่างไม่มีทางเลือก แต่วันนี้ ได้รับความช่วยเหลือของทางการ เราขอบคุณ" ตำรวจหน่วยสวาทพร้อมอาวุธครบมือ S.W.A.T. ( Special Weapons And Tactics) นครฉงชิ่ง ขณะบุกเข้าไปในเขตก่อสร้างเพื่อจับกุมเหลือบสังคมที่หากินกับแรงงานมนุษย์ หน่วยงานรักษาความมั่นคง นครฉงชิ่ว รายงานว่า เมื่อวันที่ 30 เมษายน หัวหน้าหน่วยปราบปรามอาชญกรรม ได้ขับรถผ่านไปแถวเขตซันหวัน ใกล้กับโครงการก่อสร้างนี้ และพบเห็นกลุ่มชายฉกรรจ์ ถือท่อนเหล็ก และมีดปลายแหลมไล่ทุบแทงบรรดาคนงานชายวัยกลางคน ซึ่งอยู่ในอาการหวาดกลัว เจ้าหน้าที่ฯ จึงได้แจ้งตำรวจ และจอดรถรีบเข้าไปแสดงตัว และขัดขวางการกระทำดังกล่าว หลังจากนั้นไม่นาน เจ้าหน้าที่ตำรวจเขตเจียงเป่ยซึ่งได้รับรายงานก็รุดมาทีเกิดเหตุ จับกุมการ์ดอันธพาลได้ 2 คน ขณะที่คนอื่นๆ หลบหนีไป ในคืนนั้นเอง ทางการฉงชิ่งจึงได้รวบรวมหลักฐาน เพื่อขยายผลการจับกุม ก่อนบุกเข้าไปจับกุมผู้รับเหมาช่วงของโครงการนี้ในความผิดทั้งแพ่งและอาญา โดยความผิดฐานแรงงานนี้ วันรุ่งขึ้น (1 พ.ค.) เจ้าหน้าที่เขตเจียงเป่ย และตำรวจหน่วยสวาทของนครฉงชิ่ง จึงได้บุกเข้าไปทลายนรกแรงงานแห่งนี้ สามารถจับนายหยู่ กัง นายจ้างซึ่งเป็นผู้รับเหมาช่วง พร้อมกับอันธพาล 20 ที่ถูกจ้างมาเพื่อคุมขังคนงานกว่า 200 คนในโครงการนี้ โดยคนงานทุกคนจะถูกลงโทษหากคิดทวงถามค่าแรงฯ ซึ่งถูกริบ และหักหัวคิวตลอดเวลากว่า 5 เดือนที่ผ่านมา รายงานข่าวกล่าวว่า นายหยู่กัง ผู้รับเหมาช่วงได้รับว่าได้รับเงินสำหรับจ่ายค่าแรงงานให้กับคนงานเฉลี่ยคนละ 5,000 หยวน ต่อเดือน แต่กลับหักเหลือ 2,000 หยวนต่อเดือน และไม่ได้จ่ายมานานกว่า 5 เดือนแล้ว จากมาตรการรุนแรงในการปราบปราม มาเฟียอันธพาลของทางการนครฉงชิ่ง ครั้งนี้ ได้รับคำชื่นชมจากชาวเน็ตฯ และแรงงานต่างถิ่นมาก แม้เข้าใจดีว่าปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่สามารถปราบได้หมด แต่ความเอาจริงเอาจังของนครฉงชิ่งครั้งนี้ นับว่าได้ใจประชาชนมาก ผู้ประท้วงนับร้อยชุมนุมค้านเอฟทีเอเกาหลีใต้-อียู 4 พ.ค. 54 - กลุ่มผู้ประท้วงนับร้อยคนชุมนุมประท้วงหน้ารัฐสภาเกาหลีใต้ คัดค้านข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเกาหลีใต้กับสหภาพยุโรป หรืออียู การชุมนุมครั้งนี้มีกลุ่มผู้ประท้วงราว 100 คน ในจำนวนนี้มีสมาชิกพรรคแรงงานประชาธิปไตยของเกาหลีใต้รวมอยู่ด้วย กลุ่มผู้ประท้วงไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเกาหลีใต้ ที่เตรียมจะให้สัตยาบันข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเกาหลีใต้กับอียูในช่วงเย็นวันนี้ เนื่องจากเห็นว่าจะสร้างความเดือดร้อนให้เกษตรกร ขณะเดียวกัน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางส่วนได้เริ่มเข้าไปในสภา เพื่อขัดขวางการให้สัตยาบันแล้ว ทั้งนี้ หากเกาหลีใต้ให้สัตยาบันรับรอง ข้อตกลงการค้าเสรีฉบับนี้ก็จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ สหภาพรถไฟใต้ดินลอนดอนจ่อผละงานประท้วงยาว หลังเพื่อนร่วมงานถูกปลดออกอย่างไม่เป็นธรรม 6 พ.ค. 54 - สหภาพแรงงานขนส่งทางน้ำและรถไฟของอังกฤษแถลงว่า สหภาพตัวแทนคนขับรถไฟใต้ดินกรุงลอน จะนัดหยุดงานประท้วงในช่วงระหว่าง 16-20 พ.ค.นี้ และระหว่าง 13-17 มิ.ย. หลังคนขับรถไฟใต้ดิน 2 คนถูกปลด โทษฐานมีพฤติกรรมคุกคามทำร้ายเพื่อนร่วมงานและไม่ปฏิบัติตามระบบรักษาความ ปลอดภัย ซึ่งทั้งคู่ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานแล้ว ขณะที่สหภาพแรงงานคนขับรถไฟใต้ดินเห็นว่า ทั้งคู่ถูกปลดอย่างไม่เป็นธรรม เพียงเพราะเป็นนักเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อสิทธิ์คนงานเท่านั้น. เขมรสลายม็อบประท้วงเบี้ยวโบนัสเจ็บ15 8 พ.ค. 54 ตำรวจเขมรสลายแรงงานหญิงที่รวมตัวปิดถนนราว 2,000 คนเพื่อเรียกร้องโบนัสที่ถูกเบี้ยว จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 15 คนในวันอาทิตย์ ตำรวจเข้าสลายผู้ประท้วงที่ชุมนุมปิดถนนสู่สนามบินนานาชาติพนมเปญ ด้วยปืน โล่ และกระบองไฟฟ้า จนผู้ประท้วงหญิง 8 ราย และตำรวจอีก 7 นายได้รับบาดเจ็บจากการปะทะ ผู้ประท้วงกล่าวกับรอยเตอร์ว่า ตำรวจปราบจลาจลยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อสลายการชุมนุม ที่รวมตัวเรียกร้องให้บริษัทจูนเท็กซ์ไทล์สจ่ายค่าจ้างโบนัสจำนวน 3 พันบาทที่ค้างไว้ โดยอ้างเหตุผลว่าโรงงานเกิดเพลิงไหม้ โดยทางผู้ประกอบการเสนอจ่ายโบนัสแรงงานคนละ 600 บาทแทน ผบ.ตำรวจพนมเปญ ตุชนารุธ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ไม่มีทางเลือกนอกจากต้องสลายผู้ชุมนุม และกล่าวโทษว่าที่ผู้ชุมนุมบาดเจ็บเพราะมีบางส่วนขว้างปาก้อนหิน ขวดเบียร์ และเก้าอี้ เขากล่าวว่า ตำรวจได้ร้องขอให้เปิดถนนไปสู่สนามบินแล้ว แต่เมื่อตำรวจพยายามขยับผู้ชุมนุมก็เกิดความรุนแรงขึ้นมา อุตสาหกรรมสิ่งทอทำรายได้เป็นอันดับ 3 ให้แก่กัมพูชา เป็นรองเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แต่วิกฤติการเงินโลกในปี 2552 ทำให้มีคนตกงานราว 3 หมื่นคน จนแรงงานสิ่งทอนัดประท้วงใหญ่ถึง 210,000 คนในปีที่แล้ว และยังนัดชุมนุมใหญ่อีกหากรัฐบาลกัมพูชาพยายามควบคุมสหภาพแรงงาน. โอบามาเรียกร้องให้ปฏิรูประบบคนต่างด้าว 11 พ.ค. 54 - ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐฯ ใช้โอกาสเดินทางไปยังเมือง El Paso พื้นที่ชายแดนในรัฐเท็กซัส เมื่อวานนี้ ออกมาเรียกร้องให้สภาคองเกรสปฎิรูประบบคนต่างด้าวจากผิดกฎหมายให้ถูกกฎหมาย ซึ่งจะช่วยส่งเสริมทักษะและแรงจูงใจของคนต่างด้าว ให้มีส่วนร่วมในสังคมอเมริกัน และจะเป็นการยุติระบบเศรษฐกิจใต้ดิน หรือนอกระบบ ซึ่งคนงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย มักจะตกเป็นเหยื่อในการถูกกดค่าแรงให้ต่ำนอกจากนี้ยังพยายามที่จะขจัดนายจ้าง ที่ชอบว่างจ้างคนต่างด้าวผิดกฎหมายอีกด้วย นอกจากนี้ประธานาธิบดีโอบามา ยังจะเพิ่มการมุ่งเน้นในการเพิ่มประสิทธิภาพของมาตรการรักษาความปลอดภัยตามแนวพรมแดนอีกด้วย คาดการณ์น่าจะมีคนต่างด้าวผิดกฎหมายอาศัยอยู่ในสหรัฐราว 11 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคน Hispanic หรือ คนที่พูดภาษาสเปน การลุกขึ้นมาเรียกร้องให้มีการปฎิรูประบบคนต่างด้าน เป็นส่วนสำคัญต่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งโดยเฉพาะกลุ่ม Hispanic ซึ่งพรรคเดโมแครตพึ่งพา และจะเป็นแรงสนับสนุนประธานาธิบดีโอบาม่า ในการเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐสมัยที่สอง ในปี 2012 ที่จะถึงนี้ อย่างไรก็ตามทางการสหรัฐ ไม่สามารถจะปฎิรูประบบคนต่างด้าวได้ครอบคลุมทุกรัฐ เพราะรัฐอริโซนา จอร์เจีย และ ยูท่าห์ ได้ดูแลระบบคนต่างด้าวด้วยตนเอง โดยมอบอำนาจให้ตำรวจสามารถเรียกดูเอกสารจากคนต้องสงสัยว่าเป็นคนต่างด้าวผิดกฎหมาย และสอบปากคำได้ บังกลาเทศจะตั้งโรงงานสิ่งทอในคุก 11 พ.ค. 54 - เจ้าหน้าที่เรือนจำบังกลาเทศประกาศตั้งโรงงานสิ่งทอตามเรือนจำแออัด เพื่อให้ผู้ต้องขังได้ฝึกอาชีพและมีรายได้ นายอิฟเตคารุล อิสลาม รองผู้บัญชาการเรือนจำแห่งชาติ เผยว่า ตั้งเป้าจะตั้งโรงงานสิ่งทอตามเรือนจำใหญ่ๆ ก่อน จากนั้นจึงจะขยายให้ครอบคลุมเรือนจำทั้งหมด 68 แห่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอาชีพให้แก่ผู้ต้องขัง และช่วยให้มีรายได้ใช้จ่ายเมื่อพ้นโทษ กระทรวงมหาดไทยซึ่งดูแลเรือนจำเห็นชอบกับโครงการนี้แต่ต้องรอการอนุมัติจากรัฐบาลก่อน นายอิสลามกล่าวว่า เรือนจำส่วนใหญ่มีโรงฝึกงานขนาดเล็กให้ผู้ต้องขังผลิตงานศิลปะเพื่อจำหน่าย แต่การผลิตเสื้อผ้าเพื่อจำหน่ายในประเทศจะสร้างรายได้ให้มากกว่า บังกลาเทศมีผู้ต้องขังมากกว่า 60,000 คน ในจำนวนนี้เป็นนักโทษประหารเกือบ 1,000 คน กลุ่มสิทธิระบุว่า เรือนจำในบังกลาเทศแออัดมานานแล้ว ปัจจุบันบังกลาเทศเป็นผู้ส่งออกสิ่งทอใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากจีนและตุรกี แต่โรงงานในประเทศกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน เพราะคนงานพากันไปทำงานในตะวันออกกลางซึ่งให้เงินดีกว่า ขณะที่การทำงานในโรงงานสิ่งทอมีรายได้เพียงเดือนละ 45 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1,350 บาท) เท่านั้น ขนส่งมวลชนกรีซผละงานประท้วงมาตรการรัดเข็มขัด 11 พ.ค. 54 - บริการขนส่งมวลชนส่วนใหญ่ในกรีซกลายเป็นอัมพาต หลังสหภาพแรงงานหลายแห่งผละงานเพื่อประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดฉบับใหม่ของรัฐบาล รถไฟและเรือข้ามฟากหยุดให้บริการชั่วคราว ขณะที่เครื่องบินจะหยุดบินระหว่างเวลา 12.00-16.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันนี้ หลังคนงานขนส่งมวลชนในกรุงเอเธนส์เริ่มผละงานประท้วง ซึ่งอาจจะกินเวลาหลายชั่วโมง นอกจากนี้ สหภาพแรงงานยังมีแผนจะประท้วงครั้งใหญ่ในย่านใจกลางกรุงเอเธนส์ หลังการประท้วงหลายครั้งก่อนหน้านี้ทวีความรุนแรงจนกลายเป็นเหตุจลาจล ทั้งนี้ ในเดือนนี้รัฐบาลมีแผนจะผ่านมาตรการรัดเข็มขัดฉบับใหม่ เพื่อประหยัดงบประมาณราว 23,000 ล้านยูโร (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) เพื่อควบคุมปัญหาหนี้สินของประเทศ เนปาลผละงานเพื่อกดดันรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้เสร็จทันเส้นตาย 13 พ.ค. 54 – เหตุผละงานประท้วงในเนปาล เพื่อกดดันสมาชิกสภานิติบัญญัติให้เร่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ส่งผลให้โรงเรียนและตลาดหลายแห่งต้องปิดทำการในวันนี้ คณะกรรมาธิการชนกลุ่มน้อยเรียกร้องให้เกิดการผละงาน โดยตำรวจเปิดเผยว่า ได้ควบคุมตัวผู้สนับสนุนการผละงานกว่า 30 คน ซึ่งพยายามบังคับให้ผู้ขับขี่ยวดยานนำรถออกจากท้องถนนและพยายามจะทำร้ายเจ้าของรถที่ปฏิเสธจะเข้าร่วมการผละงานดังกล่าว ส่วนในวันนี้ มีเพียงรถยนต์ของหน่วยงานสถานการณ์ฉุกเฉินและความมั่นคงเท่านั้นที่อยู่บนท้องถนน เพราะประชาชนส่วนใหญ่เลือกที่จะเดินเท้าแทน ส่วนโรงเรียน ร้านค้า โรงงานและธุรกิจหลายแห่งล้วนปิดทำการ ขณะที่รถเมล์และบริการขนส่งมวลชนอื่นๆก็ระงับการให้บริการเช่นกัน มีเพียงท่าอากาศยานนานาชาติกาฐมาณฑุเท่านั้นที่เปิดให้บริการตามปกติ แต่รถบัสสำหรับรับส่งนักท่องเที่ยวไปยังโรงแรมต้องมีรถตำรวจคอยคุ้มกัน ทั้งนี้ ชนกลุ่มน้อยจำนวนมากคาดว่า พวกเขาจะได้รับสิทธิเสรีภาพที่มากขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยกลุ่มสนับสนุนการผละงานพยายามเรียกร้องให้สภารัฐธรรมนูญร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จภายในเส้นตาวันที่ 28 พ.ค.นี้ ยอดคนงานสไตรค์เวียดนามเพิ่ม 18 พ.ค. 54 - เอเอฟพีอ้างรายงานข่าวของเวียดนาม นิวส์ ว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ มีการสไตรค์ 220 ครั้ง เทียบกับยอด 216 ครั้งของช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยผู้บริหารระดับสูงของสมาพันธ์แรงงานทั่วไปของเวียดนามระบุว่า ค่าจ้างไม่ได้ปรับขึ้นในอัตราที่เร็วเท่ากับราคาสินค้า ดังนั้นแรงงานจึงต้องการค่าแรงและสวัสดิการมากขึ้น เช่น การช่วยเหลือเรื่องอาหารกลางวันและค่าเดินทาง ทั้งนี้ตามหลักการ แรงงานต้องขออนุญาตผละงานก่อนล่วงหน้า 20 วัน ข้อมูลของทางการเวียดนามระบุว่า เมื่อปีที่ผ่านมา แรงงานมีรายได้เฉลี่ย 1,365,000 ด่อง หรือ 65 ดอลลาร์ต่อเดือน พร้อมประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อเดือนเม.ย. ปีนี้เท่ากับ 17.51% โดยเวียดนามติดอันดับท็อป 5 ของประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดในโลก และปัจจุบัน เงินเฟ้อคือภารกิจสำคัญที่รัฐบาลพยายามแก้ปัญหา โจ๋สเปนนับหมื่นฮือประท้วง-เครียดศก.แย่ไม่มีงานทำ 19 พ.ค. 54 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงมาริด ประเทศสเปนว่า วัยรุ่นชาวสเปนนับหมื่นคน ที่ไม่พอใจปัญหาการว่างงานในประเทศ มาชุมนุมกันที่จัตุรัสเปอร์ตา เดล โซล ที่มีชื่อเสียงกลางกรุงมาดริด เมื่อวานนี้ เพื่อเรียกร้องให้คว่ำบาตรพรรคการเมืองในการเลือกตั้งท้องถิ่นที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์นี้ โดยขณะนี้ ชาวสเปนกำลังเผชิญกับอัตราการว่างงานที่สูงที่สุดในสหภาพยุโรป, เศรษฐกิจถดถอย และรัฐบาลตัดลดงบประมาณรายจ่าย เพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤติงบประมาณ รายงานข่าวระบุว่า ผู้ประท้วงส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ตั้งฉายาให้วัยรุ่นชาวสเปนยุคปัจจุบันนี้ว่า เป็นยุคที่สูญเสีย เนื่องจากมีอัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 45 แม้ว่าจะมีคำเตือนจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นว่า การประกาศชุมนุมดังกล่าวผิดกฎหมาย แต่กลุ่มผู้ประท้วงก็เริ่มทยอยมารวมตัวกันเมื่อเวลาประมาณ 19.00 น.วานนี้ตามเวลาท้องถิ่น หรือตรงกับเที่ยงคืนตามเวลาในไทย พร้อมตะโกนเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยผู้ประท้วงยังปักหลักอยู่ที่จัตุรัสดังกล่าว และมีแผนการประท้วงยาวอย่างไม่มีกำหนด นอกจากนี้ ผู้ประท้วง ซึ่งประท้วงในหลายเมืองทั่วประเทศด้วย เรียกร้องให้ประชาชนอย่าไปลงคะแนนเลือกพรรคการเมืองทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล 8,116 แห่ง และสมาชิกเขตอีก 13 เขตในวันที่ 22 พ.ค.นี้ ซาอุดิอาระเบีย ปฏิเสธการขึ้นค่าแรงให้กับแม่บ้านจากฟิลิปปินส์ 20 พ.ค. 54 - หลังโต้เถียงกันมานานตั้งแต่ต้นปี ในที่สุดทางการซาอุดิอาระเบีย ก็ตัดสินใจบอกปัดข้อเรียกร้องของฟิลิปปินส์ที่ต้องการขอเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำของแม่บ้านชาวฟิลิปปินส์ที่ทำงานอยู่ในซาอุดิอาระเบียจากเดือนละ 210 เหรียญสหรัฐ มาเป็น 400 เหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ ปัจจุบันมีแรงงานชาวฟิลิปปินส์กระจายทำงานอยู่ในต่างประเทศกว่า 9 ล้านคน ซึ่งซาอุดิอาระเบีย ถือเป็นหนึ่งในจุดหมายหลักของแรงงานเหล่านี้ เกิดเหตุระเบิดโรงงานผลิตไอแพด 2 ในจีน ตาย 2 รายเจ็บ 16 21 พ.ค. 54 - สำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานวานนี้อ้างเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นระบุว่า เมื่อเวลาประมาณ 19.00 น ตามเวลาท้องถิ่น เกิดเหตุระเบิดและเพลิงลุกไหม้ที่โรงงาน ฟ็อกซ์คอนน์ ที่เมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โรงงานแห่งนี้เป็นแหล่งประกอบและผลิตสินค้าไอทีของบริษัทชื่อดังอย่าง แอปเปิ้ล รายงานเบื้องต้นระบุว่า มีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย และบาดเจ็บอีก 16 ราย โดย 3 คนในจำนวนนี้มีอาการสาหัส ตำรวจของมณฑลแถลงว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนเพื่อหาสาเหตุของอุบัติเหตุครั้งนี้ ในขณะที่มีคนงานของฟ็อกซ์คอนน์คนหนึ่งซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ อีโคโนมิค ออฟเซิฟเวอร์ ว่าสาเหตุของการระเบิดอาจจะมาจากปฏิกิริยาทางเคมีของฝุ่นระเบิด ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อวัสดุหรือสารที่มีลักษณะเป็นผงๆ และมีคุณสมบัติในการติดไฟง่าย มาอยู่รวมกันในพื้นที่ปิด โดยในเวลาเกิดเหตุนั้นมีคนงานทำงานอยู่หลายร้อยคน เหตุการณ์ครั้งนี้นับเป็นเรื่องเลวร้ายครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นกับ ฟ็อกซ์คอนน์ หลังจากเมื่อปีที่แล้ว มีคนงานอย่างน้อย 13 รายฆ่าตัวตาย จากความเครียดและแรงกดดันในการทำงาน ฟ็อกซ์คอนน์ เป็นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยผลิตส่งให้กับแอปเปิ้ล โซนี่ และโนเกีย ในประเทศจีน มีคนงานที่ทำงานให้กับ ฟ็อกซ์คอนน์ มากถึง 1 ล้านคน มีผู้ตกงานกว่า 10,000 คนในจังหวัดอิวาเตะนับตั้งแต่เกิดภัยพิบัติในญี่ปุ่น 21 พ.ค. 54 – บรรษัทกระจายเสียงของญี่ปุ่นหรือเอ็นเอชเครายงานวันนี้ว่า มีผู้ตกงานแล้วกว่า 10,000 คนในจังหวัดอิวาเตะ นับตั้งแต่เกิดเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิถล่มญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานแรงงานจังหวัดอิวาเตะประกาศสถานการณ์การว่างงานใน 4 เมืองสำคัญซึ่งได้รับความเสียหายจากคลื่นยักษ์สึนามิ โดยพบว่า ระหว่างวันที่ 12 มี.ค. – 13 พ.ค.ที่ผ่านมา มีประชาชน 10,382 คนยื่นเอกสารขอรับเงินช่วยเหลือจากการว่างงานที่ศูนย์จัดหางานใน 4 เมืองใหญ่ของจังหวัดอิวาเตะ ในจำนวนดังกล่าว 4,608 รายขอรับความช่วยเหลือจากเมืองโอฟุนาโตะ 2,588 รายจากเมืองมิยาโกะ 2,356 รายเมืองคามะอิชิและ 830 รายเมืองกูจิ และว่า สถิติการว่างงานจะยังคงอยู่ในระดับสูงในบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง กระทรวงแรงงานมะกันสุดไฮเทค ผุดแอปฯกันลูกจ้างถูกเบี้ยวค่าแรง 24 พ.ค. 54 - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดตัวแอปพลิเคชันใหม่เพื่อป้องกันไม่ให้แรงงานสหรัฐฯถูกเบี้ยวค่าแรง ด้วยแอปพลิเคชันนี้ แรงงานอเมริกันจะสามารถคำนวณเวลาทำงานด้วยตัวเองตามจริงเพื่อประเมินอัตราค่าแรงที่ควรได้รับ ซึ่งหากคลาดเคลื่อนจากค่าแรงที่ได้รับจริง แรงงานจะสามารถใช้ข้อมูลจากแอปพลิเคชันนี้มาเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องได้ด้วย ด้านนายจ้างหวั่นใจแอปพลิเคชันนี้จะทำให้ต้นทุนบริษัทเพิ่มขึ้น ทั้งในแง่ของค่าแรงและคดีความอื่นๆที่อาจตามมา ฮิลดา โซลิส (Hilda Solis) ปลัดกระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ เชื่อว่าแอปพลิเคชันนี้จะช่วยให้แรงงานอเมริกันสามารถปกป้องสิทธิของตัวเองไม่ให้ถูกละเมิดได้ โดยมั่นใจว่านับจากนี้แรงงานอเมริกันจะมีความเข้าใจและกล้าลุกขึ้นมาร้องเรียนหากเกิดกรณีนายจ้างเบี้ยวค่าแรง แอปพลิเคชันของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯถูกตั้งชื่อว่า DOL-Timesheet ผู้ใช้จะสามารถคำนวณเวลางานปกติ เวลาพัก และเวลาทำงานล่วงเวลาเพื่อสร้างบันทึกค่าแรงที่ควรได้ด้วยตัวเอง ขณะนี้สามารถทำงานได้ในไอโฟน (iPhone) และไอพ็อดทัช (iPod Touch) และกำลังจะรองรับแบล็กเบอรี (Blackberry) และสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ (Android) ในอนาคต โดยเชื่อว่าแอปพลิเคชันนี้จะสามารถเข้าถึงแรงงานอเมริกันรายได้น้อยที่ไม่สามารถซื้อคอมพิวเตอร์ไว้ในครอบครอง แอปพลิเคชันนี้ถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในหลายความพยายามของรัฐบาลโอบามาในการบังคับใช้กฏหมายค่าแรงต่อชั่วโมงของสหรัฐฯ อย่างจริงจัง โดยถือเป็นมาตรการที่แสดงว่ารัฐบาลโอบามาพยายามปกป้องแรงงานอเมริกันได้ดีกว่าการตัดสินใจว่าจ้างทนายความและเจ้าหน้าที่สอบสวนมากกว่า 300 นายเพื่อตรวจสอบข้อร้องเรียนเรื่องการถูกโกงค่าแรงล่วงเวลา รวมถึงการฝ่าฝืนค่าจ้างขั้นต่ำในช่วงก่อนหน้านี้ การร้องเรียนเรื่องถูกโกงค่าแรงของแรงงานอเมริกันนั้นมีสถิติสูงมากขึ้นต่อเนื่อง ปี 2010 ที่ผ่านมา มีคดีความที่เกี่ยวกับการโกงค่าแรงสูงถึง 6,800 คดี สูงกว่าปี 2009 ซึ่งมีจำนวนเพียง 200 คดีเท่านั้น โดยคาดว่าการเกิดขึ้นของแอปพลิเคชันนี้จะทำให้อัตราการโกงค่าแรงของนายจ้างสหรัฐฯลดน้อยลง แม้ข้อมูลล่าสุดจะพบว่า ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานสหรัฐฯได้รับเรื่องร้องเรียนมากกว่า 35,000 ครั้งต่อปี ปัญหาการโกงค่าแรงในสหรัฐฯเป็นปัญหาที่พบบ่อยในกลุ่มแรงงานอพยพที่ยังสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ไม่ชำนาญ และกลุ่มผู้ที่ไม่นิยมการประท้วง หนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการสั่งจ่ายเงินชดเชยมูลค่า 1.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯแก่แรงงานต่างด้าว 400 คนซึ่งทำงานในตลาดฮ่องกงเมืองฮุสตันเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา หลังจากพบว่าแรงงานกลุ่มนี้ถูกโกงค่าแรงทั้งที่ทำงานหนัก 70 ชั่วโมงต่อสัปดาห์โดยไม่มีค่าล่วงเวลา ซึ่งในคดีความดังกล่าวมีการใช้หลักฐานบันทึกการทำงานเท็จด้วย "ทาทา สตีล"เล็งปลดคนงานในอังกฤษ 1,500 ตำแหน่ง 25 พ.ค. 54 - บริษัทคอรัส ซึ่งเป็นกิจการในยุโรปที่อยู่ในเครือบริษัททาทา สตีล แถลงว่าบริษัทจะปลดพนักงานราว 1,500 ตำแหน่งในอังกฤษ โดยเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างแผนกผลิตภัณฑ์เหล็กรูปทรงยาว ซึ่งเป็นแผนกที่มียอดขาดทุน ขณะที่คอรัส เผชิญกับต้นทุนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่พุ่งขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้ กิจการในยุโรปครองสัดส่วนราว 2 ใน 3 ของกำลังการผลิตทั่วโลกของทาทา สตีล ซึ่งอยู่ที่ราว 30 ล้านตัน ในขณะที่กิจการในอินเดียครองสัดส่วนราว1 ใน 4 นอกจากนี้ ทาทา สตีลยังมีกิจการในไทยและสิงคโปร์ด้วย ทาทา สตีล ประสบปัญหาเหมือนบริษัทอื่นๆในอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งได้แก่ส่วนต่างกำไรที่ลดลงนับตั้งแต่ปีที่แล้ว ในขณะที่ราคาวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น และอุปสงค์จากภาคก่อสร้างอยู่ในระดับอ่อนแอ โดยภาคก่อสร้างถือเป็นลูกค้าสำคัญของผลิตภัณฑ์เหล็กรูปทรงยาว ทาทา สตีลระบุว่า การปรับจุดสนใจไปยังตลาดมูลค่าสูงจะส่งผลให้บริษัทปิดกิจการบางส่วนในโรงงานสกันธอร์ป ทางตอนเหนือของอังกฤษ ซึ่งจะส่งผลให้กำลังการผลิตในอังกฤษลดลงราว 1 ใน 4 นายคาร์ล-อุลริค โคห์เลอร์ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร(ซีอีโอ)กิจการในยุโรปของทาทา สตีล กล่าวว่า ไม่มีบริษัทใดที่สามารถแบกรับความสูญเสียระดับนี้ไว้ได้นาน บริษัทมียอดขาดทุนสูงมากในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยทาทา สตีลจะเปิดเผยผลประกอบการตลอดทั้งปีในสัปดาห์นี้ นายโคห์เลอร์กล่าวว่า ช่วงต้นปี 2553 เป็นช่วงที่น่าพึงพอใจ ซึ่งส่งผลให้บริษัทเริ่มใช้กำลังการผลิตที่เคยหยุดพักไปในโรงงานสกันธอร์ป แต่อุปสงค์ไม่ได้ฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วเท่าที่คาด นายโคห์เลอร์กล่าวว่า "ภาวะอ่อนแอในตลาดคือหนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำให้เราวางแนวทางปฏิบัติที่ยากลำบากนี้ ส่วนอีกเหตุผลหนึ่งคือแนวโน้มด้านกฎระเบียบเนื่องจากกฎหมายคาร์บอนของสหภาพยุโรปอาจส่งผลให้อุตสาหกรรมเหล็กกล้าต้องแบกรับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นมาก" อย่างไรก็ตาม แม้แผนปรับเปลี่ยนระบบการค้าคาร์บอนของสหภาพยุโรป (อียู) จะมีผลบังคับใช้ในปี 2556 แต่แผนนี้ก็เริ่มสร้างความกังวลให้แก่ภาคอุตสาหกรรมแล้ว โดยยูโรเฟอร์ซึ่งเป็นหน่วยงานการค้าวางแผนจะยื่นเรื่องทางกฎหมายเพื่อคัดค้านกฎใหม่นี้ และบริษัทบางแห่งเตือนว่า แผนดังกล่าวอาจส่งผลให้อุตสาหกรรมหนักย้ายฐานการผลิตออกจากยุโรป นายโคห์เลอร์ กล่าวเสริมว่า มีความไม่แน่นอนในเรื่องที่ว่า รัฐบาลอังกฤษจะปรับขึ้นค่าคาร์บอนหรือไม่ โดยในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลอังกฤษได้ประกาศว่าจะเรียกเก็บค่าคาร์บอนคงที่ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2556 โดยจะเรียกเก็บที่ระดับ 16 ปอนด์ต่อตัน ก่อนจะปรับขึ้นสู่ 30 ปอนด์ต่อตันภายในปี2563 การที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้น 20 % นับตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คอรัสปรับลดตำแหน่งงาน Ricoh เตรียมปลดพนักงาน 10,000 คนทั่วโลก แจงลดต้นทุน 26 พ.ค.54 - เว็บไซต์สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า Ricoh บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์สำนักงานสัญชาติญี่ปุ่น มีแผนปลดพนักงาน 10,000 คนทั่วโลก จากพนักงานทั้งหมด 110,000 คน เพื่อลดต้นทุน รายงานข่าวระบุว่า บริษัท Ricoh ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องถ่ายเอกสารและกล้องถ่ายรูปได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ค่าเงินเยนที่แข็งขึ้น รวมถึงภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อวันที่ 11 มี.ค. ทำให้โรงงานบางส่วนของบริษัทได้รับความเสียหาย แต่ Ricoh ก็พยายามจะฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง ชิโร คอนโด ประธานและผู้บริหารระดับสูงของ Ricoh ระบุว่า Ricoh กลายมาเป็นบริษัทใหญ่และต้องการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อที่จะแข็งแกร่งขึ้น โดยก่อนหน้านี้บริษัทได้ยุติการทำธุรกิจซึ่งไม่ก่อให้เกิดกำไรไปบ้าง และยังต้องการตัดธุรกิจประเภทนี้ออกไปอีก สำหรับการปลดพนักงานครั้งนี้ Ricoh คาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายราว 60,000 ล้านเยน (ประมาณ 22,470 ล้านบาท) ในช่วงสองปี อย่างไรก็ตาม คาดกันว่ามาตรการนี้จะเพิ่มผลกำไรจากการดำเนินงานเป็นเงิน 140,000 ล้านเยนภายในสามปี อย่างไรก็ตาม บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นต่างๆ ยังยากที่จะเอาชนะคู่แข่งที่มีสินค้าราคาต่ำกว่าอย่างเกาหลีใต้และจีนได้ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา พานาโซนิค บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นประกาศแผนปลดพนักงาน 17,000 คนทั่วโลกเพื่อลดค่าต้นทุน โดยคาดว่าจะมีพนักงานทั้งสิ้น 350,000 คนหลังสิ้นสุดการปรับโครงสร้างขนานใหญ่เสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม 2013 พร้อมระบุด้วยว่าการดำเนินงานในโรงงานซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวนั้นค่อยๆ กลับสู่สภาวะปกติแล้ว อย่างไรก็ตาม การที่โซ่อุปาทานต้องหยุดชะงักยังคงส่งผลต่อผลผลิต คนงานโรงไฟฟ้าฟูกุชิมะมีกัมมันตรังสีปริมาณสูง 30 พ.ค. 54 - บริษัทไฟฟ้าโตเกียว (เทปโก) เผยว่า คนงาน 2 คน ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ไดอิจิ มีกัมมันตรังสีไอโอดีนปนเปื้อนในปริมาณสูง จุดกระแสวิตกเรื่องผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพ สื่อญี่ปุ่นรายงานว่า คนงานซึ่งอยู่ในวัย 30 ปีเศษ และ 40 ปีเศษ อาจได้รับกัมมันตรังสีสูงกว่าเกณฑ์สูงสุดในแต่ละปีที่เพิ่งมีการปรับเพิ่มตัวเลขจาก 100 มิลลิซีเวิร์ต เป็น 250 มิลลิซีเวิร์ต เทปโกเผยว่า ได้ตรวจวัดระดับกัมมันตรังสีให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่เข้าไปกู้ภัยภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ไดอิจิ เพราะเสี่ยงได้รับผ่านอากาศ อาหารและน้ำดื่ม ผลการตรวจพบว่า ต่อมไทรอยด์ของเจ้าหน้าที่ชาย 2 คน มีกัมมันตรังสีไอโอดีน131 ในปริมาณ 9,760 และ 7,690 เบคเคอเรล สูงกว่าเจ้าหน้าที่คนอื่นถึง 10 เท่า ทั้งคู่ทำงานในหลายจุดของโรงไฟฟ้าช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน รวมทั้งวันที่เกิดเหตุและหลายวันหลังจากนั้น สำนักข่าวจิจิเพรสส์ รายงานว่า ขณะนี้ทั้งคู่ไม่ได้ทำงานที่โรงไฟฟ้าแล้วและยังไม่ป่วยแต่จะเข้ารับการตรวจสุขภาพต่อไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ Posted: 06 Jun 2011 02:41 AM PDT แม้ตลอดระยะเวลา 2 ปีกว่า ที่ผมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผมพยายามสื่อสารกับพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและความเข้าใจในการทำงานของผม แต่ที่ผ่านมาผมหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงเหตุการณ์ทางการเมืองที่มีความละเอียดอ่อน เพราะผมพยายามลดเงื่อนไขความขัดแย้ง แต่ขณะนี้สื่อมวลชนบางส่วนเสนอข้อมูล ข้อคิดที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ผมจึงจำเป็นต้องทำบันทึกชุดนี้เพื่อเป็นหลักฐาน และเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจชี้ชะตาอนาคตของประเทศโดยพี่น้องทุกคนในเร็ว ๆ นี้ ตอนที่ 1. การเมืองสลับขั้ว : สู่เส้นทางนายกรัฐมนตรี ผมไม่เคยเสนอให้นายกสมัคร ลาออกจากตำแหน่ง เพราะนั่นเป็นข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม การลาออกจะกลายเป็นการยอมจำนนต่อการใช้มวลชนกดดัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาระยะยาวต่อการบริหารประเทศ จึงเห็นว่าการยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชนเป็นทางออกที่ดีที่สุด โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าพรรคจะแพ้การเลือกตั้ง เพราะการแก้ปัญหาเพื่อชาติต้องอยู่เหนือประโยชน์ของพรรคตัวเอง. นี่คือจุดยืนของผมและพรรคประชาธิปัตย์ ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่ทวีความตึงเครียดให้กับประเทศไทยมากขึ้น คดีของพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลก็อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ในเรื่องการยุบพรรคเพราะนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรค ทุจริตเลือกตั้ง กกต.ให้ใบแดงนายยงยุทธ จากนั้นศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งมีคำพิพากษายืนให้ใบแดงกับนายยงยุทธซึ่งกติกาที่ทุกพรรคก็รับทราบมาตั้งแต่ต้น คือ หากผู้บริหารพรรคได้ใบแดงพรรคการเมืองนั้นต้องถูกยุบ ดังนั้นคดีนี้จึงชัดเจนอย่างยิ่งชนิดที่เรียกว่าปิดไว้ข้างฝาได้เลยว่า จะมีปัญหาแน่สำหรับรัฐบาลคุณสมัครกับคุณสมชาย แต่ผมไม่เคยคิดและไม่เคยดิ้นรนว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วจะเป็นโอกาสของผม ช่วงเวลานั้น นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญติดต่อผ่าน ส.ส. คนหนึ่งเพื่อขอพบผม เพราะมีธุระอยากพูดคุยด้วย เราก็ได้พบกันที่ร้านอาหารใกล้พรรคประชาธิปัตย์ โดยคุณพสิษฐ์บอกผมว่า พรรคพลังประชาชนจะถูกยุบนะ ผมก็เพียงแต่รับฟัง คุณพสิษฐ์บอกกับผมว่าที่เล่าให้ฟังเพราะคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งผมตอบกลับไปว่า การยุบพรรคพลังประชาชนหรือไม่เป็นเรื่องของเนื้อคดีและดุลพินิจของศาลรัฐธรรมนูญ แม้แต่วันนั้นผมก็ยังบอกเขาเลยว่าหากยุบพรรคพลังประชาชน ผมก็คิดว่าไม่ได้เป็นประโยชน์หรือเกี่ยวข้องกับประชาธิปัตย์ เพราะผมเชื่อว่าพรรคร่วมรัฐบาลเดิมก็คงจับมือกันเป็นรัฐบาลต่อ แต่ถามว่าหากพรรคการเมืองอื่นเขาตัดสินใจย้ายมาร่วมตั้งรัฐบาลกับประชาธิปัตย์แปลกไหม ก็ต้องบอกว่าไม่แปลก เพราะบ้านเมืองเดินไม่ได้จริง ๆ กับปัญหาที่สะสมมาตั้งแต่ความพยายามแก้รัฐธรรมนูญเพื่อตัวเองจนถึงเรื่อง 7 ตุลา ใครจะคุยกับทหารอย่างไรผมไม่ทราบ เพราะผมไม่เคยติดต่อกับทหารท่านใดเลย แต่ผมเชื่อว่าไม่มีใครบังคับ ส.ส.ได้ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคซึ่งประสานงานกับพรรคการเมืองต่าง ๆ มาถามจุดยืนผม ผมก็บอกว่ามันเป็นเรื่องของสภา และผมก็คิดอยู่ในใจว่าหากเราจะปัดว่าไม่ใช่เรื่องของเราก็ได้ แต่คนเป็นผู้นำฝ่ายค้านต้องมีความรับผิดชอบ เราไม่ได้เป็นคนไปแย่งไปปล้นอำนาจใครมา และถ้ามีโอกาสเป็นนายกฯก็ไม่คิดทำอะไรเพื่อตัวเอง ทุกอย่างเป็นกระบวนการตามระบบ ตามกฎหมาย ผมถือว่าถ้าเสียงในสภายอมรับก็ยอมรับ และการลงคะแนนก็เปิดเผย การสลับขั้วในระบบรัฐสภาเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในทุกประเทศที่ใช้ระบบนี้ พรรคเพื่อไทยเองพยายามรักษาอำนาจทุกวิถีทาง ถึงขั้นยกตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้กับคุณประชา พรหมนอก ซึ่งเป็น ส.ส.พรรคเล็กด้วยซ้ำ ทำให้คุณประชาซึ่งพาผมไปเลี้ยงข้าวที่บ้านบอกจะสนับสนุนผม แต่อีกสองวันกลับประกาศว่าจะแข่งกับผม ก็ไม่มีปัญหาแข่งกันไป ถ้าทหารมีอำนาจบีบบังคับให้พรรคการเมืองต้องทำตามที่ตัวเองต้องการได้จริง ทำไมจึงมีการแข่งขันอย่างเข้มข้นในสภา ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลที่วิจารณ์กันมากว่ายอมทุกอย่างให้คุณเนวินขี่คอได้กระทรวงหลักไปดูแล ความจริงก็คือ ในสถานการณ์นั้นง่ายที่สุดคือ ใครเคยดูแลกระทรวงไหนก็ดูแลกระทรวงนั้นเหมือนเดิมทั้งหมด หลักสำคัญคือพูดกันชัดเจนว่าเรามาแก้วิกฤติให้มันจบ ไม่เคยมีสัญญาว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 237 ตามที่คุณบรรหารกล่าวอ้าง และวันที่คุณเนวินคุยกับผมก็พูดเรื่องรัฐธรรมนูญผมพูดชัดสามเรื่อง คือ เรื่องไหนที่เป็นปัญหาเชิงเทคนิคของรัฐธรรมนูญผมยินดีแก้ เพราะผมเป็นคนแรกที่พูดตอนการทำประชามติว่ารัฐธรรมนูญบางมาตราอาจต้องแก้ไข แต่เรื่องประเภทนิรโทษกรรมไม่เอานะ เพราะบ้านเมืองมันวุ่นมามากแล้ว และคุณเนวินก็บอกกับผมว่า เรื่องนิรโทษกรรมไม่ต้องพูดถึงเขาไม่สนใจเขาไม่เอา เขาขอเรื่องเขตเล็ก ผมก็บอกคุณเนวินว่า เรื่องเขตเล็กผมเป็นคนเสนอเขตใหญ่ เพราะฉะนั้นการปรับปรุงตรงนี้พักไว้ก่อนแล้วค่อยมาคุยกันว่าจะทำอย่างไร เมื่อสภาให้โอกาสผมเป็นนายกรัฐมนตรีผมก็มีหน้าที่แก้ไขปัญหา และตั้งใจตั้งแต่ต้นว่าจะไม่อยู่ครบวาระ ถ้าคลี่คลายวิกฤติได้ก็จะยุบสภา เพราะตอนนั้นเกิดวิกฤติเศรษกิจโลกและวิกฤติการเมือง เรียกว่า เป็นวิกฤติซ้อนวิกฤติบนสถานการณ์ที่ประเทศชาติไม่อยู่ในภาวะปกติ มีคนบอกผมด้วยซ้ำว่า อย่าไปเป็นนายกรัฐมนตรีเลยเพราะมีแต่เจ๊ากับเจ๊ง และจะเปลืองตัว ความดีจะถูกทำลายโดยองค์ประกอบรอบข้าง เพราะต้องยอมรับความจริงว่าประชาชนส่วนหนึ่งไม่ไว้วางใจพรรคร่วมรัฐบาลเดิมที่เคยอยู่กับพรรคพลังประชาชน ก็จะทำให้ผมได้รับแรงเสียดทานไปด้วยว่า "อยากเป็นนายกรัฐมนตรีจนสามารถร่วมงานกับพรรคอะไรก็ได้" และเดี๋ยวนี้ข้อหาพัฒนาไปไกลถึงขั้นหาว่า "ผมพายเรือให้โจรนั่ง" ผมเข้าใจดีถึงความรู้สึกของพี่น้องจำนวนไม่น้อยที่แสลงใจกับภาพที่คุณเนวิน ชิดชอบ เข้ามาโอบกอดผม ผมมองอย่างให้ความเป็นธรรมกับคุณเนวินว่า การตัดสินใจย้ายขั้วทิ้งคุณทักษิณ ที่คุณเนวิน เรียกว่า "นาย" ย่อมเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากไม่น้อย คำพูดที่คุณเนวินฝากไปถึงคุณทักษิณที่ว่า "มันจบแล้วครับนาย" ด้วยเสียงสั่นเครือน้ำตาคลอเบ้าคงจะยังเป็นบาดแผลในใจคุณเนวินมาจนถึงวันนี้ ไม่ว่าคนจะมองคุณเนวินในภาพอย่างไร แต่ในวันนั้นผมเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจว่า คุณเนวินได้ตัดสินใจทางการเมืองเพื่อให้ประเทศเดินหน้าได้ ถ้าคิดในทางกลับกันผมไม่ยอมร่วมรัฐบาลกับคุณเนวินและพรรคอื่น ๆ เพียงเพราะกลัวเปลืองตัว ปล่อยให้บ้านเมืองวุ่นวายเดินหน้าไม่ได้ ผมก็ลอยตัวไม่ต้องมาอยู่ในฐานะเป็นคู่ขัดแย้งกับใคร ชีวิตก็ไม่ต้องเสี่ยงจากความรุนแรงที่เริ่มปรากฏให้เห็นในการแข่งขันทางการเมือง แต่ถ้าผมทำอย่างนั้นก็เท่ากับเป็นการปัดความรับผิดชอบในฐานะนักการเมืองท่ีต้องแก้ปัญหาให้ประชาชน วันนั้นผมอาจจะคิดผิดก็ได้เพราะผมคิดว่าถ้าเราซื่อสัตย์ทำงานด้วยความอดทนอดกลั้น ไม่ทำตัวเป็นชนวนหรือเงื่อนไขของความขัดแย้ง พยายามรับฟังทุกฝ่ายทุกสิ่งทุกอย่างจะเดินไปได้ แต่มันก็ไม่เป็นอย่างนั้น ตั้งแต่วันแรกที่ผมชนะในสภาก็มีการใช้มวลชนเสื้อแดงพยายามทำร้าย ส.ส.ที่สนับสนุนผม แม้แต่ผมเองก็ยังต้องอาศัยรถตู้ของคุณเทพไท เสนพงศ์ ออกมา เพื่อหลีกเลี่ยงการผชิญหน้าที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง ผมบอกกับตัวเองตั้งแต่วันนั้นว่า ชีวิตผมกำลังเปลี่ยนแปลงและอาจสุ่มเสี่ยงต่อการที่จะมีชีวิตสั้นกว่าวัยอันควร เพราะมีคนใช้ความรุนแรงข่มขู่ทางการเมือง แต่ผมก็ยังเลือกที่จะทำหน้าที่เดินหน้าประเทศไทยเพื่อรักษาสัญญาที่ให้กับพี่น้องประชาชนที่ให้โอกาสผมเป็น ส.ส.คนเดียวของพรรคประชาธิปัตย์ในกรุงเทพมหานครว่า "ถ้ามีโอกาสผมจะสร้างรากฐานเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต" และผมก็ดำเนินการทันทีท่ามกลางวิกฤติซ้อนวิกฤติ ผมยังเดินหน้าสร้างระบบสวัสดิการให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ประชานิยมแต่เป็นประชายั่งยืน และไม่ได้เสียสมาธิกับปัญหาทางการเมืองจนเป็นอุปสรรคต่อการแก้ปัญหาให้พี่น้องประชาชน ผมยืนยันได้ครับว่าตลอดการทำงานการเมืองเกือบ 20 ปี อุดมการณ์ในการเข้าสู่การเมืองเป็นอย่างไรไม่เคยเปลี่ยนแปลง และทุกการตัดสินใจล้วนแต่ยึดประโยชน์ประชาชนทั้งสิ้น ผมทราบว่าหลายคนได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเพื่อปั่นกระแสให้ไม่เชื่อมั่นในตัวผม แต่ผมหวังว่าความจริงที่ผมเล่าให้ฟังนี้ จะทำให้ประชาชนได้เห็นว่า ยังเชื่อมั่นผมได้เพราะผมไม่เคยเปลี่ยนอุดมการณ์ และพร้อมร่วมทุกข์ร่วมสุขเคียงข้างกับคนไทยเพื่อเดินหน้าประเทศต่อไป ผมมาทบทวนดูว่า การเข้าสู่ตำแหน่งและการดำรงตำแหน่งของผม ขัดกับหลักประชาธิปไตยไหม ผมว่ามันไม่ใช่ ผมได้รับการยืนยัน การสนับสนุนจากสภาตลอด 2 ปี แม้แต่คนเสื้อแดงก็ไม่ได้หยิบยกเรื่องนี้มาเป็นเงื่อนไขการชุมนุม จนเวลาผ่านไปเป็นปี ถ้าผมจะมีความผิดก็คงมีแค่ประการเดียว คือ ผมเป็นนายกฯในระบบสภาคนแรกหลังปี 2550 ที่คุณทักษิณสั่งไม่ได้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เสียงเพรียกหาความยุติธรรม... กรณีชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (1) Posted: 06 Jun 2011 01:26 AM PDT จากเหตุการณ์ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้นำกำลังตำรวจ กว่า 100 นาย จากหลายสถานีในจังหวัดอุดรธานี บุกเข้าสลายและจับกุมกลุ่มชาวบ้าน และนักศึกษา จำนวน 15 คน ที่ร่วมกันคัดค้านการลงก่อสร้างเสาไฟฟ้าแรงสูงขนาด 500 กิโลโวลต์ (kv) น้ำพอง2-อุดรธานี3 ในแปลงนาของนายสง่า บุญโยรัตน์ ชาวบ้านเหล่ากล้วย หมู่ที่ 3 ต.เสอเพลอ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ 27 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยชาวบ้านและนักศึกษา 15 คน ถูกแจ้งข้อกล่าวหาว่าขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน ปีพ.ศ.2550 ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ! โครงการก่อสร้างเสาและวางแนวสายไฟฟ้าแรงสูง ขนาด 500 kv จากสถานีไฟฟ้าย่อยน้ำพอง 2 (จ.ขอนแก่น) ไปยังสถานีไฟฟ้าย่อยอุดรธานี 3 โดยเชื่อมโยงระบบมาจากการรับซื้อไฟฟ้าในประเทศลาว คือ สายส่งไฟฟ้า 500 kv ชายแดน (บริเวณจ.หนองคาย) – อุดรธานี3 และเชื่อมต่อไปยังน้ำพอง2- ชัยภูมิ2- ท่าตะโก (จ.นครสวรรค์) ซึ่งการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้านี้อยู่ในโครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า ระยะที่ 11 มีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ.2550-2554 โดย กฟผ.เป็นผู้ดำเนินโครงการ และมีแผนที่จะให้แล้วเสร็จภายในเดือนก.ย.นี้ โครงการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าของ กฟผ.ในแนวนี้มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 86.8 กิโลเมตร พาดผ่านพื้นที่ 15 ตำบล 8 อำเภอ ของจังหวัดขอนแก่น และอุดรธานี มีจำนวนเสาทั้งหมด 210 ต้น ที่ดินได้รับผลกระทบจำนวน 1,167 แปลง ซึ่งปัจจุบันมีชาวบ้านยังไม่ยินยอมเหลืออยู่ 16 ราย คิดเป็นที่ดิน 26 แปลง และเสา 3 ต้น ในพื้นที่ ต.เสอเพลอ อ.กุมภวาปี และ ต.หนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี เมื่อช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.2552 กลุ่มชาวบ้านรวมกันในนาม "คณะกรรมการชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (คชส.)" จำนวน 55 ราย ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอนแก่น (ปัจจุบันโอนคดีมาศาลปกครองอุดรธานีแล้ว) เพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปีพ.ศ.2511 ขัดกับหลักการมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันหรือไม่ เนื่องจากว่าการประกาศแนวสายส่งไฟฟ้า ชาวบ้านไม่ได้มีส่วนร่วมโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ต่อการตัดสินใจที่จะเอาหรือไม่เอาโครงการฯ แต่การประกาศแนวสายส่งไฟฟ้าตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ พ.ศ.2511 เป็นเพียงแค่การแจ้งให้เจ้าของที่ดินรับทราบว่าจะมีการดำเนินการผ่านพื้นที่บริเวณนี้ ถึงจะมีการคัดค้าน ไม่เห็นด้วย ก็จะทำต่อไป และประเด็นที่ 2) ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนแนวสายส่งไฟฟ้าที่พาดผ่านที่ดินของชาวบ้าน จำนวน 55 ราย เพราะการประกาศแนวสายส่งไฟฟ้าในแนวนี้เป็นประกาศที่มิชอบ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ แต่ถึง ณ เวลานี้ก็ยังไม่มีคำตัดสินของศาลปกครองออกมาว่าอย่างไร ส่วนทางด้าน กฟผ.ก็ยังคงดำเนินโครงการต่อเนื่องเรื่อยมา โดยในวันที่ 10 พ.ค.ที่ผ่านมา กฟผ.ได้ทำหนังสือแจ้งมายังชาวบ้านว่า กฟผ.มีแผนการจะเข้าดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและพืชผลในพื้นที่ที่จะก่อสร้างฐานรากและตั้งเสาไฟฟ้าในโครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า 500 kv น้ำพอง 2 –อุดรธานี 3 ในท้องที่ ต.เสอเพลอ อ.กุมภวาปี และ ต.หนองไผ่ อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี ตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค.2554 เป็นต้นไป และมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 30 วัน กลุ่มชาวบ้านจึงร้องเรียนไปถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพราะมีข้อกังวลว่าการเข้าดำเนินการก่อสร้างของ กฟผ.จะมีความรุนแรง และมีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2554 นายแพทย์นิรันด์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้เชิญแต่ละฝ่ายเกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมหารือ ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อาทิ ตัวแทนชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ, ผู้แทนจาก กฟผ., ผู้แทนจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.), ผู้แทนข้าราชการฝ่ายปกครองในจังหวัดอุดรธานี อำเภอเมือง และอำเภอกุมภวาปี โดยมีความเห็นขอให้ กฟผ.ชะลอการดำเนินการก่อสร้างเสาไฟฟ้าในวันที่ 27 พ.ค.ไว้ก่อน เนื่องจากว่ายังมีประเด็นการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ซึ่งยังไม่มีคำวินิจฉัย อีกทั้งมีการประเมินสถานการณ์ว่า การดำเนินการของ กฟผ.จะทำให้เกิดความขัดแย้ง มีการปะทะรุนแรง และนำมาซึ่งปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน หลังจากนั้น (26 พ.ค.) กสม.จึงได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าการ กฟผ. เพื่อขอให้ชะลอการดำเนินการ และขอให้มีเวทีพูดคุยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อยุติข้อพิพาท ก่อนที่จะดำเนินการ แต่ กฟผ.ก็ไม่ยอมฟังเสียงท้วงติงจากกรรมการสิทธิ์ฯ จนนำมาสู่เหตุการณ์ที่ตำรวจบุกเข้าสลายและจับกุมชาวบ้านและนักศึกษา 15 คน เพื่อเปิดทางให้เจ้าหน้าที่ กฟผ.นำเครื่องจักกลเข้าไปดำเนินการก่อสร้างเสาไฟฟ้าในที่นาของชาวบ้าน ในวันที่ 27 พ.ค.2554 อย่างไรก็ดี มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางตามมาว่า เจ้าหน้าที่ กฟผ.และตำรวจ กระทำการรุนแรงเกินกว่าเหตุหรือไม่? เนื่องจากการคัดค้านของกลุ่มชาวบ้านและนักศึกษาในวันนั้นถือว่าเป็นการชุมนุมโดยสงบ สันติ และปราศจากอาวุธ เพราะทุกคนมีแค่สองมือเปล่า หรืออย่างมากก็แค่ปากที่คอยร้องตะโกน ด่าทอ เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่นำรถแบคโฮ ลงไปก่อสร้างเสาไฟฟ้าในที่นา แต่ตำรวจกว่า 100 นาย กลับใช้กำลังเข้าสลายและจับกุมชาวบ้าน และนักศึกษาที่มีเพียงไม่ถึง 20 คน จนได้รับบาดเจ็บและมีทรัพย์สินสูญหาย เช่น โทรศัพท์มือถือ นาฬิกาข้อมือ นอกจากนี้ยังมีการยึดกล้องบันทึกภาพ และลบไฟล์ทั้งหมดทิ้งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ผลกระทบต่อสภาพจิตใจที่ยากจะลบเลือน ที่เกิดขึ้นกับเจ้าของ ผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่กลับไม่มีสิทธิแม้แต่จะปกป้องที่นาของตน ซ้ำร้ายยังถูกจับ ตกเป็นผู้ต้องหา “ลูกชาย 2 คน ลูกสะใภ้ 1 คน และลูกเขยอีก 1 คน ที่ถูกจับ ในขณะนั้นตำรวจเขาเข้ามาจะจับพ่อด้วย แต่ลูกๆ ก็ช่วยกันขวางเอาไว้ ซึ่งก็ไม่คิดว่าเขาจะทำกับเราขนาดนี้ ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยพบเคยเห็น ทั้งๆ ที่นาก็ของเรา...” นายสง่า พ่อเฒ่าวัย 77 ปี กล่าวด้วยน้ำเสียงที่ปนกับความอัดอั้นภายในใจ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ทีดีอาร์ไอเสนอใช้โทษปรับตาม "รายได้" แทน "จำคุก" Posted: 06 Jun 2011 12:11 AM PDT ทีดีอาร์ไอเสนอใช้โทษปรับตามรายได้แทนจำคุก เพื่อป้องปรามการทำความผิดซ้ำในคดีอาญาไม่ร้ายแรง และสร้างความยุติธรรมระหว่างคนรวย-คนจน
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์และนายสุนทร ตันมันทอง จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยได้ นำเสนอบทความวิจัยเรื่อง การใช้โทษปรับในการลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญา โดยมีสาระสำคัญคือ การปรับเป็นเครื่องมือการลงโทษที่เป็นตัวเงิน ซึ่งมีผลในการถ่ายโอนเงินจากผู้กระทำความผิดมาสู่รัฐ เมื่อเปรียบเทียบกับโทษจำคุกแล้ว โทษปรับมีข้อดีกว่าหลายประการคือ ประการแรก การใช้โทษปรับมีต้นทุนในการบริหารจัดการไม่สูงเท่าโทษจำคุก ซึ่งใช้งบประมาณสูงมาก ประการที่สอง สังคมไม่ต้องสูญเสียทรัพยากรมนุษย์จากการได้รับโทษจำคุก ประการที่สาม โทษปรับไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อผู้กระทำความผิดรุนแรงเหมือนโทษจำคุก ซึ่งมักสร้าง “ตราบาป” ที่ติดตัวไปตลอดชีวิต ด้วยเหตุผลดังกล่าว เราจึงสมควรนำโทษปรับมาใช้แทนโทษจำคุกให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ความผิดที่กระทำขึ้นนั้น ไม่ใช่ความผิดอุกฉกรรจ์ เช่น การฆ่าคนตายหรือทำร้ายร่างกาย ซึ่งทำให้ต้องกันตัวผู้กระทำความผิดออกจากสังคมเพื่อไม่ให้กระทำผิดซ้ำอีก แต่น่าเสียดายที่ ในปัจจุบัน โทษปรับไม่ได้เป็นทางเลือกอย่างแท้จริงแทนโทษจำคุกในประเทศไทย แต่กลับมีลักษณะเสริมโทษจำคุก เช่นมักใช้โทษปรับเมื่อมีการรอลงโทษจำคุก สาเหตุหนึ่งอาจเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า โทษปรับโดยลำพังไม่มีประสิทธิผลในการป้องปรามการทำผิดซ้ำ และความเชื่อที่ว่า โทษปรับจะสร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจน เพราะคนรวยมีความสามารถในการจ่ายค่าปรับมากกว่า คณะวิจัยเสนอว่าควรนำ “ค่าปรับตามรายได้ (day fines)” มาใช้ในประเทศไทย เพื่อทดแทนโทษจำคุกในกรณีที่มีการทำความผิดที่ไม่ใช่ความผิดอุจฉกรรจ์ โดยการลงโทษปรับตามรายได้ เป็นทางเลือกหนึ่งในการลงโทษที่ถูกใช้อย่างเป็นรูปธรรมและเกิดผลดีในหลายประเทศในยุโรป เช่น สวีเดนและเยอรมนี โดยมีการศึกษาสนับสนุนว่า โทษปรับที่สูงพอ สามารถป้องปรามการกระทำความผิดซ้ำได้ โทษปรับตามรายได้แตกต่างจากโทษปรับทั่วไปคือ นอกจากค่าปรับจะสอดคล้องตามความร้ายแรง หรือความหนักเบาของความผิดแล้ว ยังขึ้นอยู่กับรายได้ของผู้กระทำความผิดอีกด้วย ค่าปรับตามรายได้ถูกออกแบบมาเพื่อรักษาความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ และความเป็นธรรมของคนที่มีระดับรายได้ต่างๆ กัน จึงน่าจะเหมาะสำหรับประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูง เช่น ประเทศไทย ซึ่งผู้ที่รายได้สูงสุดร้อยละ 20 มีรายได้มากกว่าผู้ที่รายได้ต่ำสุดร้อยละ 20 ถึงประมาณ 12-15 เท่า โทษปรับตามรายได้จึงสามารถป้องปรามคนทุกระดับรายได้ในการทำความผิดได้อย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ การใช้ค่าปรับตามรายได้ยังมีข้อดีอีกประการหนึ่งคือ ค่าปรับจะถูกปรับเพิ่มตามอัตราเงินเฟ้อเกือบอัตโนมัติ เพราะค่าจ้างแรงงานของคนกลุ่มต่างๆ มักจะถูกกำหนดโดยขึ้นอยู่กับระดับค่าครองชีพอยู่แล้ว ทำให้ค่าปรับอยู่ในระดับที่เหมาะสมอยู่เสมอ กระบวนการบังคับโทษปรับตามรายได้ มีขั้นตอนต่างๆ 4 ขั้นตอน คือการคิดคำนวณค่าปรับตามความร้ายแรงของการกระทำ การประเมินรายได้สุทธิที่แท้จริงของผู้กระทำความผิด การจัดเก็บค่าปรับและการกำหนดวิธีการลงโทษเสริม 1) การคิดคำนวณค่าปรับ มีการดำเนินการใน 2 ขั้นตอน คือหนึ่ง กำหนดหน่วยวันปรับ (day-fine unit) ตามความร้ายแรงของการกระทำความผิด และสอง คำนวณรายได้สุทธิต่อวัน เพื่อคำนวณหาค่าปรับทั้งหมด เช่น สวีเดน กำหนดค่าหน่วยวันปรับในช่วง 1-120 วัน สำหรับฐานความผิดเดียวและไม่เกิน 180 วัน สำหรับหลายฐานความผิด ในขณะที่เยอรมนีกำหนดค่าหน่วยวันปรับในช่วงที่กว้างกว่าคือ 5 - 360 วันและสูงสุดไม่เกิน 720 วัน เป็นต้น ซึ่งเป็นการให้กรอบแก่ศาลในการใช้ดุลพินิจตัดสินตามสภาพการณ์ของแต่ละคดีได้ 2) การประเมินรายได้สุทธิต่อวันของผู้กระทำความผิด มีสองประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ สูตรในการคำนวณรายได้ต่อวันและวิธีการหาข้อมูลทางการเงินของผู้กระทำความผิด รายได้ต่อวันของผู้กระทำความผิดที่ประเทศต่างๆ นำมาประเมินเพื่อกำหนดค่าปรับ มักจะเป็นรายได้สุทธิ ซึ่งหมายถึงรายได้ทั้งหมดหักด้วยรายจ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ถูกปรับสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยไม่เดือดร้อนมากเกินไป ในทางปฏิบัติ แต่ละประเทศที่ใช้โทษปรับตามรายได้มีสูตรในการคำนวณหารายได้สุทธิต่อวันแตกต่างกันออกไป 3) การจัดเก็บค่าปรับ ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาในการจัดเก็บค่าปรับก็คือ การกำหนดระยะเวลาที่สมเหตุผลในการจ่ายค่าปรับ โดยต้องพิจารณาทั้งความร้ายแรงของการกระทำความผิดและความสามารถในการชำระค่าปรับของผู้กระทำผิด เช่น การให้ผ่อนชำระค่าปรับจะทำให้ผู้กระทำความผิดรู้สึกถึงการลงโทษที่น้อยกว่าการให้ชำระค่าปรับทั้งหมดทันที ในขณะเดียวกัน สำหรับผู้ที่มีฐานะยากจน หากศาลกำหนดให้ต้องชำระโทษปรับทั้งหมดในครั้งเดียวทันที ก็อาจทำให้เกิดความเดือดร้อน หรือต้องรับโทษอื่นๆ เช่น การกักขังหรือการบริการสังคมแทน 4) การลงโทษเสริม ในการบังคับโทษปรับ มีความเป็นไปได้ที่ผู้กระทำผิดจะไม่มีความสามารถในการชำระค่าปรับ เช่น มีฐานะยากจนแต่กระทำความผิดที่ต้องเสียค่าปรับในระดับสูง เป็นต้น กรณีเช่นนี้จะเป็นปัญหาหากเราต้องการให้ใช้โทษปรับตามรายได้แทนการจำคุก เนื่องจากอาจทำให้ผู้กระทำผิดที่มีรายได้ต่ำต้องถูกกักขังแทน หากไม่มีการลงโทษเสริมที่เหมาะสม ตัวอย่างสำหรับการลงโทษเสริมที่มีการบังคับใช้กันในต่างประเทศคือ การให้ทำงานบริการชุมชน (community service) ตามเวลาที่กำหนด โดยในกรณีที่มีการนำบทลงโทษดังกล่าวมาใช้เสริมโทษปรับตามรายได้ ก็จะต้องกำหนด “อัตราแลกเปลี่ยน” ระหว่างการลงโทษเสริมดังกล่าวและค่าปรับ สำหรับข้อจำกัดของการใช้โทษปรับตามรายได้ ประสบการณ์ที่ผ่านมาในต่างประเทศชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัดที่สำคัญบางประการ ดังนี้
กล่าวโดยสรุป การศึกษาของคณะผู้วิจัยให้ข้อเสนอแนะว่า ประเทศไทยควรนำเอาโทษปรับตามรายได้มาใช้คดีอาญาที่ไม่ร้ายแรง ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนในการลงโทษผู้กระทำความผิด และสามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในการบังคับใช้โทษปรับกับคนที่มีรายได้แตกต่างกันมากได้ นอกจากนี้ การใช้โทษปรับควรได้รับการหนุนเสริมด้วยโทษบริการสังคมในกรณีที่ผู้กระทำความผิดไม่สามารถชำระค่าปรับได้ ส่วนโทษจำคุกนั้น ควรใช้เฉพาะในกรณีที่มีการทำความผิดร้ายแรงเท่านั้น. สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น