โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

ประมวลภาพ: รณรงค์ 20 มิถุนายน วันผู้ลี้ภัยสากล

Posted: 22 Jun 2011 01:03 PM PDT

กลุ่มอาสาสมัครร่วมเดินขบวนรณรงค์ ชูป้ายให้ความรู้ “ผู้ลี้ภัยคือใคร” กลางสยามฯ เนื่องในโอกาสวันผู้ลี้ภัยสากล 54 และวาระครบรอบ 60 ปี อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยปี 2494 ขณะสภาความมั่นคงแห่งชาติเผยแผนปิดพื้นที่พักพิงทั้ง 9 แห่ง ส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศ

20 มิ.ย.54 – เนื่องในโอกาส “20 มิถุนายน วันผู้ลี้ภัยสากล” ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า ประเทศไทย (AIPMC) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และกลุ่มเพื่อนพม่า จัดงานเดินขบวนรณรงค์เพื่อคุ้มครองผู้ลี้ภัย เพื่อกระตุ้นการรับรู้ของสังคมไทยถึงการมีอยู่ของผู้ลี้ภัยในประเทศไทย พร้อมกับนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานการณ์ผู้ลี้ภัยโดยทั่วไป และในประเทศไทย เช่น จำนวน สาเหตุหรือที่มาของผู้ลี้ภัย และนโยบายรัฐไทยที่มีต่อผู้ลี้ภัย กฎหมายระหว่างประเทศ และหลักการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้ลี้ภัย ให้แก่ประชาชนไทย 
 
ถ่ายรูปร่วมกันที่ทางเชื่อมรถไฟฟ้า หน้าอาคารหอศิลป์ กทม.
 
"ผู้ลี้ภัย" คือคนเหมือนเรา ต้องการบ้านเหมือนเรา และพวกเขามีศักดิ์ศรีเท่าเรา
 
ขบวนอาสาสมัครไทย-ต่างชาติร่วมเดินรณรงค์
 
ชูป้ายให้ความรู้ “ผู้ลี้ภัยคือใคร” 
 
ละครเพื่อผู้ลี้ภัย โดย กลุ่มละครใบไม้ไหว 
 
กลุ่มนักเรียน-นักศึกษา ให้ความสนใจกับแบบสอบถามและเอกสารความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย
 
กิจกรรมเริ่มตั้งแต่ช่วงบ่ายของวัน โดยกลุ่มอาสาสมัครประมาณ 20 คน ร่วมเดินขบวนรณรงค์ ด้วยการชูป้าย แจกแบบสอบถามและเอกสารความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยแก่ประชาชนทั่วไปที่สัญจรไปมาบริเวณสยามสแควร์ นอกจากนั้นยังมีกิจกรรม ประกอบด้วย นิทรรศการภาพถ่ายข้อมูลผู้ลี้ภัยในประเทศไทย และละครเพื่อผู้ลี้ภัย โดย กลุ่มละครใบไม้ไหว ซึ่งเปิดการแสดง 3 รอบ คือ ที่ลานอเนกประสงค์ระหว่างคณะเศรษฐศาสตร์และโรงอาหาร ลานอเนกประสงค์หน้าอาคารซีพี สีสม และลานด้านหน้าอาคารหอศิลป์ กทม.
 
นอกจากนั้นยังมีการประชาสัมพันธ์ต่อเนื่องไปถึงงานเสวนาวิชาการเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย เรื่อง “ผู้คนในความขัดแย้ง การแสวงหาที่ปลอดภัย และการบังคับโยกย้ายถิ่น : บทบาทของรัฐไทยและกลไกของอาเซียน” เนื่องในโอกาสวันผู้ลี้ภัยสากลประจำปี 2554 และ วาระครบรอบ 60 ปี อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยปี 2494 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 29 มิถุนายน 2554 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ห้องประชุมสารนิเทศน์ ชั้น 2 โดยในวันดังกล่าวจะมีการนำเสนอ ผลการศึกษา เรื่อง “การนำเสนอภาพผู้ลี้ภัยโดยสื่อมวลชนไทย ระหว่าง 1 เมษายน 2553-31 มีนาคม 2554” และเสวนาเรื่อง “จากโรฮิงยาถึงอาเซียน: อาเซียนจะแก้ปัญหาผู้หนีภัยความตายและการบังคับโยกย้ายถิ่นในเงื่อนไขการย้ายถิ่นใหม่อย่างไร?” ด้วย
 
ทั้งนี้ ข้อมูลจาก มูลนิธิไทยเพื่อคนมีปัญหาสิทธิและสถานบุคคล ระบุว่าในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ลี้ภัยที่ลงทะเบียนแล้วเกือบ 102,000 คน และผู้ขอลี้ภัยอีก 12,500 คน ส่วนมากเป็นชนกลุ่มน้อยจากประเทศพม่า ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยงและกะเหรี่ยงแดง (กะยาห์) ผู้ลี้ภัยเหล่านี้อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัย 9 แห่งใน 4 จังหวัดของประเทศไทยบริเวณชายแดนไทย-พม่า คือ แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี ราชบุรี และตาก โดยค่ายเหล่านี้ได้รับการดูแลจาก รัฐบาลไทยและได้รับความช่วยเหลือส่วนใหญ่จากองค์กรพัฒนาเอกชน (เอ็นจีโอ) ในขณะที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) ก็ทำงาน ในค่ายเหล่านี้โดยเน้นหนักไปที่กิจกรรมการคุ้มครองเพื่อทำให้ผู้ลี้ภัยได้อยู่อาศัยอย่างปลอดภัยในค่าย
 
ขณะที่เว็บไซต์ยูเอ็นเอชซีอาร์ ประเทศไทย ระบุว่า ประเทศไทยมิได้เป็นภาคีสมาชิกกับอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยปี พ.ศ.2494 และพิธีสารปี พ.ศ.2510 อีกทั้งยังไม่มีกฎหมายที่ยอมรับการเข้ามาของผู้ขอลี้ภัย ดังนั้นผู้ลี้ภัยต้องปฏิบัติตามกฎหมายการตรวจคนเข้าเมืองดั่งเช่นชาวต่างชาติอื่นๆ และภายใต้บริบทดังกล่าว ผู้ลี้ภัยสามารถถูกจับกุม กักกัน และเนรเทศออกนอกประเทศได้
 
อนึ่ง สถานการณ์ผู้ลี้ภัยในประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนภายหลังการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติภายหลังจากที่รัฐบาลพม่ามีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ขึ้นมาบริหารประเทศ ถึงแนวคิดที่จะมีการปิดพื้นที่พักพิงทั้ง 9 แห่ง และส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศ โดยระบุว่าได้มีการหารือกับทาง ยูเอ็นเอชซีอาร์ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน อย่างไรก็ตาม ล่าสุด เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา ในงานวันผู้ลี้ภัยโลกที่ อ.แม่สอด จ.ตาก นางสาวโยโกะ อากาซากะ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองอาวุโส ยูเอ็นเอชซีอาร์ อ.แม่สอด ได้กล่าวปฏิเสธถึงการค่ายผู้ลี้ภัยของรัฐบาลไทยว่า ไม่เกี่ยวกับยูเอ็นเอชซีอาร์  
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

Posted: 22 Jun 2011 11:42 AM PDT

หากบรรดาญาติของผู้เสียชีวิตได้ฟังข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่ง คิดว่าอาจจะเข้าใจเหตุการณ์อะไรต่างๆ มากขึ้น

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, 21 มิถุนายน 2554

ประชาไทบันเทิง: ค่ำคืนหนึ่งกับชายสองคน

Posted: 22 Jun 2011 11:34 AM PDT

หลิ่มหลีเองก็เป็นแต่แฟนเกิลส์ที่ไปวิ่งตามดารานักร้อง สมัยอายุ14ก็ไปรับ เหลียงเฉาเหว่ยที่สนามบินดอนเมือง เอ่อ..ก็ 25 ปีที่แล้ว .. ยังจำภาพตัวเองได้เลย วิ่งตาม ลูบไล้ดาราฮ่องกง อีกครั้งก็ตอบอายุ 35 ย่าง 36 ก็วิ่งตามทงบังชิงกิ ไอดอลเกาหลีไปทั่วสยามพารากอน สยามดิสฯ สยามเซนเตอร์ เข่าก็ไม่ค่อยดีตามสังขาร ยังเสือกวิ่งอีก

หลิ่มหลีไม่เคยมีประสบการณ์ที่แฟนคลับนักเขียนมาพบปะนักเขียนที่ตนเองชื่นชอบ เพราะอ่านหนังสือน้อย จะให้ไปวิ่งตามหา จามรี พรรณชมพู นภาลัย ไผ่สีทอง ณารา กิ่งฉัตร หลิ่มหลีก็ไม่ได้กรี๊ดนักเขียนขนาดนั้น ทั้งๆที่ชอบหนังสือของทุกท่านที่กล่าวมามากๆ จิ้นตัวเองเป็นนางเอกทุกเรื่อง ส่วนพระเอก ก็แล้วแต่ จิ้นเป็น พี่ติ๊ก เจษฎาภรณ์บ้าง โดมบ้าง โน๊ต อุดม ก็เคย (เอ่อ อันนี้ มุข เด๋วมาถามว่าเรื่องไหน หลิ่มหลีเอาขำนะคะ แต่ถ้าให้ตอบเอาขำ ก็เรื่อง ดั่งดวงหฤทัย ฮ่าๆๆๆๆ)

เมื่อวันที่18 มิถุนายน เวลาเดียวกับที่มีข่าวการชุมนุมใหญ่ของชาวเสื้อแดง ฯ ที่วงเวียนใหญ่ผ่านทางทวิตเตอร์ หลังเหตุการณ์ฆ่ากันตายเพราะแค่มาขอยุบสภา (จริงๆแล้ว เป็นประชาชนที่มารอฟังการปราศรัยครั้งใหญ่ของพรรคเพื่อไทย) หลิ่มหลีมีนัดเป็นพิธีกรให้กับงานเสวนา “สื่ออิสระในสถานการณ์ฉุกเฉิน” ซึ่งมีพี่หนึ่ง วรพจน์ พันธุ์พงศ์ เจ้าของหนังสือ มีตำหนิ, ที่เกิดเหตุ, เรามีแสงสว่างในตัวเอง ฯลฯ และ พี่โจ้ ยุทธนา อัจฉริยวิญญู ช่างภาพชื่อดัง อดีต บอกอ ภาพของ National Geographic หนังสือสารคดีระดับโลก พี่แป๊ดเจ้าของร้านก็องดิดเป็นเจ้าภาพ เปิดให้โอกาสหลิ่มหลีเป็นพิธีกรครั้งแรกในโลก โอ้ย ตื่นเต้ล ไม่เค้ย ไม่เคย

หลิ่มหลีก็ดีใจ จากที่ปีที่แล้วที่เราได้พบกัน หลิ่มหลีก็เป็นแค่ ลูกค้าจร แวะมาซื้อหนังสือของบุญชิต ฟักมี ตามมาด้วยเป็นลูกค้าประจำ เพราะชอบโกโก้ปั่นของที่นี่ หลิ่มหลีไม่ดื่มกาแฟ เพราะกาแฟทำให้หน้าแก่เร็ว ไม่เหมือนโกโก้ที่เร้าอารมณ์ทางเพศ ต่อมาหลิ่มหลีก็มางานเสวนาของที่นี่เป็นประจำ จนได้เป็นเด็ก (อีแก่) เชียร์เบียร์ ใครจะคิดว่า การไต่เต้ามันมีจริง ได้มาเป็นพิธีกร

 

เป็นให้ใครไม่เป็น ดันมาเป็นให้นักเขียนและช่างภาพชื่อดัง …

 

พี่พี่เขาดังมากนะคะ …ที่แย่คือว่า หลิ่มหลีไม่รู้จักทั้งสองคนนี้

 

โอเค หลิ่มหลีอาจจะรู้จักคนข้างเคียงของพี่หนึ่งวรพจน์ (ฮา) แต่ไม่ใช่แฟนหนังสือ ไม่เคยอ่านผลงานของพี่เขา อ่ะสารภาพ ได้อ่านแค่สองเล่ม มีตำหนิ กับ สถานการณ์ฉุกเฉินคือสองเล่มที่เตรียมมาเปิดตัวในวันนี้แหละ อร๊ายยยยยยยยยยย น่าเกลียดเนอะ

 

แล้วหลิ่มหลีก็ได้พบแฟนคลับหนังสือพี่วรพจน์เต็มร้าน บวกด้วยแฟนคลับงานภาพงานเพลงของพี่โจ้ล้นร้านจนไปถึงข้ามถนนไปยังฝั่งกระโน้น

 

แฟนคลับไอดอล กับแฟนคลับนักเขียน นี่ต่างกันยังกะฟ้ากะเหว

 

แฟนคลับไอดอลเกาหลีอย่างหลิ่มหลี กรี๊ดดดดดดดดดด สุดเสียว เอ้ย สุดเสียง เมื่อไอดอลโผล่มา

 

แฟนคลับนักเขียน กัดฟัน จิกเข่า กัดเล็บ เขิลอาย หลบหน้า ไม่กล้าคุย

 

อันนี้เห็นได้จาก บุญชิต ฟักมี ได้พบกับปราบดา หยุ่นในงานนี้ (บุญชิตเป็นแฟนหนังสือปราบดาขั้นโคม่า) หลิ่มหลีบอกว่า ทำไมไม่เข้าไปคุย บุญชิตเอาฟันกัดเล็บแล้วทำหน้าเอียงอายไม่กล้าไปคุย ปราบดา หยุ่น ส่วนสาวอีกนางที่นั่งติดปราบดา เอามือจิกเข่าได้ ไม่กล้าไปคุย แล้วมาแอบคุยทีหลังว่า ปราบดาจับแขน เขิลอายเป็นที่สุด

น่ารัก … ไม่หื่นกาม เหมือนหลิ่มหลีตอนวิ่งตามทงบังชิงกิเลย

ถ้าปราบดาเป็นทงบังชิงกิ หลิ่มหลีเป็นสาวนางนั้นกระโดดหอมแก้มไปแล้นนนนน

ประชาไทบันเทิง: ค่ำคืนหนึ่งกับชายสองคน (ภาพ 1)

อ้าว ไหนจะแฟนคลับพี่วรพจน์ ไหนจะเพื่อนพี่เขา อ่อ… โน่น นักเขียนชื่อดังผู้ไม่มีสีแต่มีแสงสว่าง นิ้วกลมหน้าอ่อน หลิ่มหลีก็นึกว่า ตัวจริงนิ้วกลมจะอายุประมาณ สี่สิบถึงห้าสิบ ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆ หันซ้ายหันขวา แฟนคลับนับหมื่นของนิ้วกลมอาจจะตั้งเพชในเฟสบุ๊ค “มั่นใจว่าคนไทยนับล้านมองว่าหลิ่มหลีแม่งโง่ไม่รู้จักนิ้วกลม” ฮ่าๆๆๆๆๆ

ประชาไทบันเทิง: ค่ำคืนหนึ่งกับชายสองคน (ภาพ 2)

หลิ่มหลีสารภาพว่าที่อ่านชื่อพี่เขาผิดตอนเริ่มรายการ เนื่องมาจากตื่นเต้ลมากๆๆๆ เพราะคนเต็มร้านจริงๆค่ะ แล้วถามคำถามเร็วในช่วงแรก เพราะตื่นเต้นสุดๆ คนมันไม่เคย ขออภัยจริงๆค่ะ แต่จำได้ ตอนอ่านนามสกุลพี่หนึ่งผิด คนแก้ให้ทั้งร้านเลย แฮ่ ……. ขอโต๊ดพี่หนึ่งค่ะ ขอโต๊ดพี่โจ้ดวยค่ะ

เราคุยกันเรื่องซีเรียส ไม่ว่าจะเป็นการไปทำงานในฐานะสื่ออิสระของพี่หนึ่งที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หลิ่มหลีถามว่า กลัวไหม “กลัว” อ้าว ..แต่ก็ต้องไป เพราะไม่เชื่อในสิ่งที่ฟังสิ่งที่อ่าน อยากเห็นทั้งๆที่ “กลัว” แล้วก็ไปอยู่เป็น “ปี”

พี่หนึ่งเล่าให้ฟังว่า การอาศัยอยู่ที่สามจังหวัดนั้น พี่หนึ่งอยู่ปัตตานีเป็นหลัก แต่ก็เดินทางไปเรื่อยๆในสามจังหวัด มันไม่ได้เป็นอย่างที่ข่าวที่เราๆได้อ่านได้รับรู้ มันไม่ได้มีแค่เสียงระเบิด จริงอยู่ร้านบางร้านพี่หนึ่งแวะไป แล้ววันรุ่งขึ้นก็เกิดระเบิด แต่ที่นั่นมันมีเรื่องของวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ชีวิต จิตใจของคนพื้นที่ ที่สื่อควรจะนำเสนอต่อประชาชนที่อยู่ห่างไกลได้เข้าใจพวกเขาให้มากกว่าที่เป็นอยู่ พี่หนึ่งใช้ชีวิตอย่างปกติของตนเอง ไม่ได้ปกติเยี่ยงคนพื้นที่ อย่างที่พี่หนึ่งคิดไว้ไม่ผิด สิ่งที่รับรู้ก่อนเดินทางมา มันเชื่อถือไม่ได้ ข้อมูลมันด้านเดียวเกินไป และพี่เขาคือสื่ออิสระที่ได้มีโอกาสนำเสนออีกด้านหนึ่ง ถ่ายทอดออกมาเป็นหนังสือ “ที่เกิดเหตุ” พี่เขาบอกว่า เขาอาจจะบอกไม่หมด เพราะการใช้ชีวิตเพียงแค่หนึ่งปี มันไม่ได้รับรู้ไปทุกส่วนของเรื่องราวที่นั่น

การไต่ถามเป็นไปอย่างเคร่งเครียดจนพี่หนึ่งเองต้องเอ่ยปากว่า “หลิ่มหลีเป็นคนซีเรียสขนาดนี้เลยหรือ”

“ค่ะ หลิ่มหลีเป็นคนซีเรียสค่ะ ถ้าหลิ่มหลีไม่ซีเรียส หลิ่มหลีไม่ด่าคนหรอกค่ะ ด่าทำไมให้ตัวเองดูไม่ดี เหมือนอีตลาดปากจัด ด่าคนไปทั่ว ด่าเมื่อเห็นความไม่ถูกต้อง ด่าเมื่อรับรู้ถึงความไม่ยุติธรรม สลิ่มที่ไหนอยากเป็นคนปากตลาด ใครๆก็สร้างภาพสวยหรูทั้งนั้นแหละค่ะ คิกๆๆๆๆ”

ประชาไทบันเทิง: ค่ำคืนหนึ่งกับชายสองคน (ภาพ 3)

ประชาไทบันเทิง: ค่ำคืนหนึ่งกับชายสองคน (ภาพ 4)

การเล่าถึงเรื่องราวที่พูดคุยกันระหว่างหลิ่มหลีกับสองหนุ่ม เอ่อ สองชั่วโมงเชียวนะคะ จะให้มาอธิบายโดยละเอียด หลิ่มหลีก็หยักสมองน้อย จำได้ไม่หมด เอาที่เน้นๆแสบๆดีกว่า

หลิ่มหลี (แอบเสี้ยม) ถามเรื่องที่เคยทำงานในฐานะสื่อที่ผู้จัดการ กับสิ่งที่พี่หนึ่งพูดในหนังสือ “มีตำหนิ” ซึ่งกล่าวถึงคำสอนของ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล “อย่าด่วนตัดสินคน หาข้อมูลให้รอบด้านก่อน”

พี่หนึ่งตอบเสียงเรียบๆสีหน้าไร้อารมณ์ว่า ณ ตอนนั้น คุณสนธิ สอนโดยรวม ไม่ได้สอนเฉพาะเจาะจง แต่สื่อก็ควรทำเช่นนั้นอยู่แล้ว ไม่ใช่หรอ ? คำถามนี้ พี่หนึ่งย้อนกลับมาถามใคร?

หลิ่มหลีเสียบต่อ “ในทำเนียบตอนที่ พธม เข้าไปปลูกข้าวเลี้ยงควาย พี่หนึ่งเดินออกมาจากชายคาสื่อแห่งนั้นทำไม ทั้งๆที่ วิวก็สวย อาหารก็อร่อย ดนตรีไพเราะ”

พี่หนึ่งก็ขำๆว่า “อาหารอร่อยจริง ดนตรีเพราะจริงๆ แต่ ณ ตอนนั้น สื่อทุกสายทำข่าวให้แต่ พธม ทำให้พี่หนึ่งมีความรู้สึกว่า ข่าวออกมาด้านเดียว แล้วการชุมนุมอีกที่หนึ่งที่สนามหลวง ทำไมไม่มีใครทำข่าวบ้าง ณ ตอนนั้น นปก ยังไม่มีด้วยซ้ำ สีแดงยังไม่มีด้วยซ้ำ แต่ก็มีการชุมนุมนะ”

 

นั่นเป็นที่มาของการที่พี่หนึ่งตัดสินใจทำข่าวให้กับคนที่ไม่มีโอกาสได้เป็นข่าว

ในเมื่อฝ่ายหนึ่งเต็มไปด้วยคนและเครื่องมือที่พร้อมจะให้ข่าวสารซะเต็มเปี่ยมจนแทบอ้วก พวกเขาก็พร้อมจะเป็นคนและเครื่องมือที่จะหาข่าวจากอีกฝ่ายที่ขาดแคลนสุดฤทธิ์ มาให้ “คนที่พร้อมจะศึกษาหาข้อเท็จจริงและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย”

ความยากลำบาก ความเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย การโดนครหานินทา การโดนตำหนิติเตียน การโดนกีดกันในอาชีพและที่ยืนในสังคม เป็นสิ่งที่เราอาจจะพูดกันน้อยนิด แต่มันก็แทรกอยู่ในสีหน้าและคำพูดที่ปลอบโยนให้กับตัวเองที่อยู่ระหว่างบรรทัดนั้นๆ ของทั้งสองคนระหว่างที่เราคุยกัน

ความผิดหวังของคนในสังคม ผิดหวังในการหาเหตุผลของคนในสังคม ผิดหวังในคนรอบข้างของเขาทั้งสอง มันแอบซ่อนอยู่ในคำพูดที่ขอร้องว่าให้ศึกษากันก่อน

รวมทั้งการเจอคำถามของการที่สื่อต้องเป็นกลางที่แทนที่จะโหมโจมตีสื่อกระแสหลักที่ควรจะสำนึกได้แล้ว คำถามของความเป็นกลางกลับย้อนมาหาพวกเขาแทน!!!!

พี่หนึ่งได้อธิบายว่า “สื่อโดยรวมก็เหมือนกับกระดานหก ที่สื่อหลักๆกว่า80% อยู่ด้านหนึ่ง อีก 20%เช่นพวกเขาจะอยู่อีกข้าง มันหนักมากไปข้างหนึ่งแล้ว และอยากจะให้ 80% นั้น แบ่งมาอยู่อีกข้าง เพื่อให้มันบาลานซ์กันบ้าง จะดีกว่าการถามหาความเป็นกลางของสื่อไหม”

คำถามสุดท้าย “วรพจน์เปลี่ยนไปไหม” หลิ่มหลีได้รับคำตอบว่า “นี่คือคำชมยกย่อง ดีใจที่ผมเปลี่ยนไป” (กระซิกๆๆๆๆ หลิ่มหลีซึ้ง T_T)

พี่โจ้ช่างภาพอิสระอารมณ์ดีตลกหน้าตายกับการเล่าถึงความเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายของช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีทั้งความหวาดกลัว มีทั้งคำถาม มีทั้งการหนีเมียแอบไปถ่ายรูป การฝ่ากฏเคอร์ฟิว ที่เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะจากพวกเราผู้ฟัง พี่โจ้คงไม่ขำ แต่ก็ทำให้หลิ่มหลีซึ่งหัวเราะในตอนนั้น กลับนำสิ่งที่พี่เขาพูดมานั่งนึกวิเคราะห์ในเช้าวันนี้ ณ ขณะที่เขียนโน๊ตฉบับนี้ ได้สะอึก และสะเทือนใจ หลิ่มหลีบอกกับตัวเองว่า “เรายิ้มและหัวเราะง่ายเกินไป”

ประชาไทบันเทิง: ค่ำคืนหนึ่งกับชายสองคน (ภาพ 5)

พี่โจ้บอกกับพวกเราว่า จริงอยู่การตายไม่ได้เพียงแค่คนเสื้อแดง แต่มีทั้งฝ่ายทหารและผู้สื่อข่าว ถ้าถามว่ากลัวไหม พี่โจ้ตอบว่าความต้องการรู้ในความจริงมันสูงกว่าความกลัว พี่เขาอยากบอกว่า การเป็นตัวตนของคนเสื้อแดงมันแท้จริง ใจของคนเหล่านั้นยิ่งใหญ่มากที่กล้าแสดงออกซึ่งความมีตัวตนของพวกเขา

พี่โจ้ยังเล่าถึงหญิงสาวร่างไร้วิญญาณคนหนึ่งที่พี่โจ้ได้บังเอิญพบเจอและทราบชื่อ ร่างของเธอหายไปกับรถคันหนึ่ง หลังจากนั้นพี่โจ้ตามหาชื่อที่จำไว้ในสมอง ณ ขณะนั้น ว่า ชื่อของเธอมีอยู่ในรายชื่อผู้เสียชีวิตหรือไม่หรือในรายชื่อผู้สูญหายไปหรือไม่ และ จนถึงทุกวันนี้พี่โจ้ยังไม่พบ เรานิ่งอึ้งกับสิ่งที่พี่โจ้เล่า

วันนั้น จบด้วยเพลง นกสีแดงของพี่โจ้ และ และบทกวีอันร้อนแรงของพี่หนึ่ง

เต็มไปด้วยอารมณ์ของสื่อและศิลปินที่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณ จิตแห่งความเป็นธรรม จิตแห่งประชาชนผู้เป็นเจ้าของแผ่นดิน จิตของสื่ออิสระที่หาที่ยืนแทบไม่ได้บนแผ่นดินที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยแบบไทยไทย” ...............................

หลิ่มหลีสิ้นสุดคืนที่ดื่มด่ำในจิตแห่งสื่ออิสระนั้นด้วยการนึกขึ้นได้ …

ชิบหอย .. หลิ่มหลียังไม่ได้จ่ายค่าน้ำให้ร้านก็องดิด แฮ่

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

การสู้รบพม่า-ไทใหญ่ "เหนือ" ส่อเค้ารุนแรง หลังทัพพม่าเสริมกำลังเข้าพื้นที่

Posted: 22 Jun 2011 11:30 AM PDT

การสู้รบทหารพม่ากับกองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" (SSA 'North') ส่อเค้าทวีความรุนแรงหลังกองทัพพม่าเสริมกำลังเข้าพื้นที่ต่อเนื่อง ล่าสุดสองฝ่ายปะทะกันหนัก เผย ทัพพม่าเตรียมบุกยึดบก.กองกำลังไทใหญ่ "เหนือ" เร็วๆ นี้ และมีคำสั่งลับใช้อาวุธเคมีโจมตีด้วย 

มีรายงานจากแหล่งข่าวว่า การสู้รบระหว่างทหารกองทัพพม่ากับกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" (Shan State Army - SSA 'North') ส่อเค้าทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น หลังจากกองทัพพม่าส่งกำลังเข้าไปเสริมในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ล่าสุดเมื่อวานนี้ (21 มิ.ย.) เกิดการสู้รบของทั้งสองฝ่าย่อย่างหนักบริเวณท่าผาส่อง ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญอีกแห่งของ SSA 'North' อยู่ระหว่างเมืองสี่ป้อกับเมืองเกซี ในรัฐฉานภาคเหนือ การสู้รบดำเนินไปตลอดทั้งวันเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 8.00 น. โดยทั้งสองฝ่ายใช้อาวุธนานาชนิดเข้าใส่กัน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบความสูญเสียของทั้งสองฝ่าย

ก่อนหน้านี้ กองทัพพม่าได้เสริมกำลังอย่างน้อย 3 กองพัน จากหลายพื้นที่เข้าสู่พื้นที่บ้านไฮ ที่ตั้งกองบัญชาการใหญ่ของกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" SSA 'Norht' ทั้งทางด้านเหนือและด้านใต้ โดยกำลังทหารส่วนหนึ่งถูกส่งมาจากพื้นที่เมืองเกซี เมืองสี่ป้อ เมืองไหย๋ และส่วนหนึ่งถูกส่งมาจากกองทัพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีบก.อยู่ที่เมืองล่าเสี้ยว ทางภาคเหนือของรัฐฉาน

แหล่งข่าวผู้ใกล้ชิดเจ้าหน้าที่ทหารพม่าเปิดเผยว่า กองทัพรัฐบาลทหารพม่ามีแผนบุกยึดบ้านไฮ ที่ตั้งบก.ใหญ่ของ SSA 'North' ให้ได้ในเร็วๆ นี้ โดยกองทัพพม่ามีคำสั่งลับให้ใช้อาวุธเคมีโจมตีด้วยหากการโจมตีถูกต่อต้านอย่างหนักจากทางฝ่ายกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" ซึ่งขณะนี้แม้จะยังไม่มีการสู้รบอย่างหนักบริเวณโดยรอบพื้นที่บ้านไฮ แต่มีการปะทะกันอย่างประปรายของทหารทั้งสองแทบทุกวัน

ขณะที่มีรายงานด้วยว่า กองทัพพม่ายังคงมีการเสริมกำลังเข้าประชิดพื้นที่กองทัพรัฐฉาน "เหนือ" SSA 'North' อย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. ที่ผ่นมา กองทัพพม่าได้ส่งกำลังทหารด้วยรถบรรทุกจำนวนกว่า 50 คัน ซึ่งบรรทุกทหารเต็มทุกคันจากเมืองตองจี เมืองหลวงของรัฐฉาน ไปยังเมืองลายค่า อยู่ทางตอนใต้ของเมืองเกซี พื้นที่เคลื่อนไหวของ SSA 'North' ขณะเดียวกันทหารพม่ายังมีการเกณฑ์รถยนต์ชาวบ้านในพื้นที่เพื่อใช้ในการลำเลียงทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์เข้าสู่พื้นที่สู้รบด้วย

ทั้งนี้ การสู้รบระหว่างกองทัพรัฐบาลพม่ากับกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" SSA 'North' ซึ่งเป็นกองกำลังไทใหญ่อีกกลุ่มและเป็นอดีตกองกำลังหยุดยิงกับรัฐบาลทหารพม่า ได้เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค. 2554 จากการบุกโจมตีของกองทัพพม่าภายหลังจากกองทัพรัฐฉาน "เหนือ" SSA 'North' ปฏิเสธจัดตั้งหน่วยพิทักษ์ชายแดน BGF ภายใต้กำกับของรัฐบาลทหารพม่า โดยจนถึงขณะนี้การสู้รบของทั้งสองฝ่ายยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ฝ่ายทหารกองพม่าได้ใช้ปืนใหญ่และใช้ทหารกองกำลังอาสาสมัครสนับสนุนการโจมตี พร้อมกับมีการใช้ลูกระเบิดแก๊ซพิษและอาวุธเคมีด้วย

โดยเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. ที่ผ่านมา ทหารกองทัพพม่าได้ระดมกำลังจากหลายกองพันเข้าโจมตีและสามารถยึดฐานที่มั่น สำคัญของ SSA 'North' ที่เรียกว่าฐาน 7 หลัก ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เมืองต้างยาน ฝ่ายทหารพม่าใช้ทั้งปืนใหญ่และลูกระเบิดแก๊ซพิษเป็นอาวุธหลักในการโจมตี ส่งผลให้ฝ่าย SSA 'North' จำต้องยอมทิ้งฐานดังกล่าว โดยเจ้าหน้าที่ของ SSA 'North' ระบุ ลูกระเบิดแก๊ซพิษที่ทหารพม่าใช้ถล่ม SSA 'North' ครั้งนี้ ทำให้ทหารที่อยู่ในพื้นที่สู้รบต่างมีอาการเวียนศีรษะ อาเจียน แสบตา อ่อนเพลีย และจากการโจมตีจากฝ่ายพม่าได้มีทหาร SSA 'North' เสียชีวิต 2 นาย

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวอิสระไทใหญ่ หรือ สำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า ตลอดจนตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่ www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศิลปินวิพากษ์สังคมจีน “อ้าย เหว่ย เหว่ย” ได้รับการปล่อยตัวแล้ว

Posted: 22 Jun 2011 11:00 AM PDT

“อ้าย เหว่ย เหว่ย” ศิลปินชาวจีนที่มีบทบาทวิพากษ์รัฐบาลจีนอย่างตรงไปตรงมาผ่านงานศิลปะ ได้รับการปล่อยตัวจากคุกแล้วช่วงเย็นของวานนี้ (22 มิ.ย. 54) หลังจากถูกคุมขังเป็นเวลาสามเดือน เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าเป็น “อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ”

อ้าย เหว่ย เหว่ย ศิลปินจีนที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนอย่างตรงไปมา และมีส่วนในการออกแบบสนามกีฬาโอลิมปิกในปักกิ่ง หรือ Bird’s Nest นั้น ได้รับการปล่อยตัวแล้ว หลังจากรับสารภาพว่าบริษัท “The Beijing Fake Cultural Development Ltd.,” ของตนเองเลี่ยงภาษีจริง โดยสำนักข่าวซินหัวของจีนรายงานว่า ตำรวจกล่าวว่าอ้ายได้รับการปล่อยตัว เนื่องจากได้เขาได้สารภาพ และตกลงจะจ่ายภาษีที่ยักยอกไปคืนให้รัฐบาลจีน

อ้าย เหว่ย เหว่ย เป็นหนึ่งในกลุ่มนักกิจกรรม นักเคลื่อนไหว และทนายด้านสิทธิหลายคน ที่ถูกจับกุมโดยรัฐบาลจีน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา หลังจากเว็บไซต์ชาวจีนในต่างประเทศเรียกร้องให้มีการชุมนุมในจีนเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ให้เป็นเช่นเดียวกับการลุกฮือของประชาชนในโลกอาหรับ

บทบาทของ อ้าย ในการวิจารณ์พรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ตรงไปตรงมา เช่น การสืบสวนกรณีตึกโรงเรียนถล่มในเสฉวนในปี 2550 ทำให้เขาถูกจับตามองจากเจ้าหน้าที่รัฐ โดยในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัฐบาลจีนยกเลิกงานแสดงศิลปะของเขาที่จะจัดแสดงในประเทศ โดยอ้างว่าอ่อนไหวทางการเมืองมากเกินไป นอกจากนี้ ในเดือนมกราคม สตูโอศิลปะของอ้ายที่เพิ่งสร้างเสร็จในเซี่ยงไฮ้ ถูกทำลายลงเนื่องจากเขาได้ไปวิจารณ์นโยบายเมืองของรัฐบาล

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จำนวนผู้ลี้ภัยโลกเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 15 ปี

Posted: 22 Jun 2011 10:55 AM PDT

จำนวนผู้ลี้ภัยโลกเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 15 ปี

ภาพประกอบ: ค่ายผู้ลี้ภัยอุ้มเปี่ยม อ.อุ้มผาง จังหวัดตาก (credit: กัปตัน จึงธีรพาณิช)

เว็บไซต์ Democracy Now รายงานว่า ในปี 2553 จำนวนของผู้ลี้ภัย ที่ต้องหนีภัยจากประเทศตนเองจากความขัดแย้งและการเข่นฆ่า เพิ่มสูงที่สุดในรอบ 15 ปี รายงานของสหประชาชาติรายงานว่า จำนวนผู้ลี้ภัยในโลกพุ่งขึ้นสูงสุดถึง 44 ล้านคน โดยร้อยละ 83 ของผู้ลี้ภัยดังกล่าวอาศัยอยู่ในประเทศที่ยากจนที่สุดของโลก คือ ปากีสถาน อิหร่าน ซีเรีย โดยมีจำนวน 1.9 ล้านคน, 1.1 ล้านคน และ 1 ล้านคน ตามลำดับ ในขณะที่เยอรมนี เป็นประเทศอุตสาหกรรมที่มีผู้ลี้ภัยอาศัยอยู่มากที่สุด โดยเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ลี้ภัยราว 600,000 คน

อันโทนิโอ กูเทเรส (António Guterres) ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า “หากเราดูความขัดแย้งในโลกปัจจุบัน เราจะพบว่ามีความขัดแย้งใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน เช่นในต้นปีนี้ เกิดความขัดแย้งใน โกดติวัวร์ (ไอวอรี่โคสต์) ลิเบีย ซีเรีย เยเมน ในขณะเดียวกัน ความขัดแย้งเก่าก็คงยังไม่จบสิ้น ดูอย่างในอัฟกานิสถาน การสู้รบดำเนินมากว่า 20 ปีแล้ว เช่นเดียวกับในโซมาเลีย ก็ 20 ปี รวมถึงในสาธารณรัฐคองโก จะเห็นว่า ความขัดแย้งใหม่ต่างทวีคูณขึ้น ส่วนความขัดแย้งเก่าก็ยังคงไม่สิ้นสุด”

“ความกลัวเกี่ยวกับการทะลักของจำนวนผู้ลี้ภัย เข้าสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นเรื่องที่ทำให้คนตื่นตระหนกกันกว้างขวาง และเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการย้ายถิ่น ทำให้ประเทศที่ยากจนกว่าต้องกลายเป็นผู้รับภาระไป” กูเทเรสกล่าว

ในประเทศไทย มีสถิติว่ามีผู้ลี้ภัยชาวพม่ากว่า 1 แสนคน ในค่ายผู้ลี้ภัย (พื้นที่พักพิงชั่วคราว) จำนวน 9 แห่ง บริเวณชายแดนพม่า เช่น ในจังหวัดตาก กาญจนบุรี ราชบุรี อนึ่ง ประเทศไทยยังไม่ได้ลงนามเป็นภาคีสมาชิกกับอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัยปี พ.ศ. 2494 และพิธีสารปี พ.ศ. 2510 อีกทั้งยังไม่มีกฎหมายที่ยอมรับการเข้ามาของผู้ขอลี้ภัย ดังนั้นผู้ลี้ภัยต้องปฏิบัติตามกฎหมายการตรวจคนเข้าเมืองดั่งเช่นชาวต่างชาติอื่น ๆ ทำให้ผู้ลี้ภัยสามารถถูกจับกุม กักกัน และถูกส่งกลับประเทศได้

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ผลโพลชายแดนใต้ เลือกประชาธิปัตย์มากสุด

Posted: 22 Jun 2011 08:16 AM PDT

สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง ม.อ.เผยผลโพลเลือกตั้งในชายแดนใต้ ชี้ส่วนใหญ่เลือกประชาธิปัตย์ ตามด้วยเพื่อไทยและมาตุภูมิ 

ผศ.ดร.เสถียร แป้นเหลือ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.) เปิดเผยผลการสำรวจเรื่อง ความคิดเห็นของประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 หรือ OEC Poll จำนวน 3,000 ตัวอย่างโดยการสัมภาษณ์ ระหว่าง วันที่ 13 – 19 มิถุนายน 2554 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้นำถือศาสนาอิสลาม

ผลการสำรวจ พบว่า ร้อยละ 98.9 ตั้งใจจะไปเลือกตั้ง ร้อยละ 1.1 ไม่ไปเลือก ร้อยละ 69.4 ตัดสินใจเลือกผู้สมัครและพรรคการเมืองแล้ว ร้อยละ30.6 ยังไม่ตัดสินใจเลือก

พรรคการเมืองที่ประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องการให้เป็นรัฐบาลมากที่สุด 5 อันดับได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 35.4 พรรคเพื่อไทยร้อยละ 21.6 พรรคมาตุภูมิร้อยละ 8.3 พรรคภูมิใจไทยร้อยละ 4.8 และพรรครักประเทศไทย ร้อยละ 2.1

ประชาชนส่วนใหญ่สนใจติดตามข่าวสารทางการเมืองระดับปานกลางมากที่สุดร้อยละ 46.1 มากร้อยละ 25.7 น้อยร้อยละ 15.5 น้อยที่สุดร้อยละ 8.9 และไม่ติดตามเลยร้อยละ 3.7

ส่วนช่องทางในการติดตามข่าวสารทางการเมือง ร้อยละ 78.8 ติดตามจากสื่อโทรทัศน์ ร้อยละ 7.7 ติดตามจากสื่อวิทยุ ร้อยละ 4.8 ติดตามจากเพื่อน/ญาติสนิท ร้อยละ 3.2 ติดตามจากสื่อหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 3.0 ติดตามจากการพูดคุยในร้านน้ำชา ร้อยละ 2.1 ติดตามข่าวสารจากมัสยิด และร้อยละ 0.3 ติดตามจากหอกระจายข่าวหมู่บ้าน

สำหรับเกณฑ์ที่ประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ใช้ในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครส.ส.ในครั้งนี้มากที่สุดตามลำดับดังนี้ 1.ผู้สมัครมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คดโกง 2.ผู้สมัครมีความรู้ความสามารถ 3.นโยบายของพรรคการเมืองที่ผู้สมัครสังกัด 4.ผู้สมัครมีความเป็นผู้นำ 5.ผู้สมัครเสียสละ ทำงานเพื่อส่วนรวมมาตลอด และ6.ชื่นชอบผู้สมัครเป็นการส่วนตัว

ส่วนเกณฑ์ที่ส่วนใหญ่ใช้ตัดสินใจเลือกพรรคการเมืองในครั้งนี้มากที่สุดตามลำดับ คือ 1.นโยบายมีรูปธรรม สามารถนำไปใช้ได้จริง 2.มีความตั้งใจ จริงใจ ในการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม 3.เข้าใจและรับฟังปัญหาของประชาชน ช่วยเหลืออย่างจริงจัง 4.มีอุดมการณ์ที่แน่นอนมั่นคง และ5.ซื่อสัตย์ ไม่คดโกง มีความโปร่งใสในการทำงาน

สำหรับปัญหาที่ประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องการให้รัฐบาลใหม่เข้ามาแก้ไขหลังเลือกตั้งมากที่สุด ตามลำดับ คือ 1.ปัญหาเรื่องรายได้ และค่าครองชีพ 2.ปัญหาการว่างงาน 3.ปัญหาความไม่สงบ     4.ปัญหาด้านการศึกษา และ 5.ปัญหายาเสพติด

สำหรับลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย เพศหญิงร้อยละ 62.2 เพศชายร้อยละ 37.8 อายุระหว่าง 20-30 ปี ร้อยละ 51.1 อายุระหว่าง 31-45 ปี ร้อยละ 19.6 อายุต่ำกว่า 20 ปีร้อยละ 16.1 อายุระหว่าง 46-60 ร้อยละ 9.6 และอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 3.5

กลุ่มตัวอย่างนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 89.4 พุทธร้อยละ 10.5 คริสต์ร้อยละ 0.1 ระดับการศึกษาร้อยละ 34.6 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 32.6 ร้อยละ 17.2 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 15.1 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 4.1 จบการศึกษาระดับปวช.และปวส. และอื่นๆร้อยละ 4.3 

กลุ่มตัวอย่างอาชีพนักศึกษาร้อยละ 25.7 ข้าราชการร้อยละ 22.7 อาชีพชาวสวนร้อยละ 15.1 อาชีพรับจ้างร้อยละ 14.0 อาชีพชาวนาร้อยละ 6.5 อาชีพค้าขาย ร้อยละ 4.3 อาชีพแม่บ้าน 3.7 อาชีพอื่นๆ ร้อยละ 8.0 กลุ่มตัวอย่างอาศัยอยู่นอกเขตเทศบาลร้อยละ 77.8 และในเขตเทศบาลร้อยละ 22.2

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประชาธรรมคิดดึงพรรคเล็กรวมกลุ่มหลังเลือกตั้ง

Posted: 22 Jun 2011 08:12 AM PDT

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2554 ที่ห้องน้ำพราว 2 โรงแรม ซีเอส ปัตตานี สำนักคณะกรรมการเลือกตั้ง จัดเสวนาทางวิชาการ “พลเมืองกับการเลือกตั้งที่เที่ยงธรรม : สู่การดับไฟใต้” มีผู้นักการเมือง ข้าราชการ และภาคประชาสังคม เข้าร่วมประมาณ 50 คน มีตัวแทนพรรคการเมืองนำเสนอนโยบายแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2 ตัวแทนพรรค คือ พรรคประชาธรรม และพรรความหวังใหม่

นายอับดุลกอริม เจะแซ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เขต 1 จังหวัดยะลาพรรคประชาธรรม เปิดเผยในวงเสวนาว่า หลังเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พรรคประชาธรรมอาสาเป็นตัวกลางในการพูดคุยกับพรรคขนาดเล็กที่ส่งผู้สมัครเลือกตั้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาทิ พรรคความหวังใหม่ มาตุภูมิ แทนคุณแผ่นดิน และอื่นๆ รวมเป็นพรรคเดียว เพื่อให้เกิดพลังในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่

นายอับดุลกอริม เปิดเผยอีกว่า ไม่ว่าพรรคประชาธรรมจะได้รับการเลือกตั้งหรือไม่ พรรคประชาธรรมก็จะอาสาเป็นตัวแทนคนในพื้นที่ไปเจรจากับฝ่ายขบวนการก่อความไม่สงบ เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรง

นายแวอุเซ็ง แวอาลี ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 ปัตตานี พรรคความหวังใหม่ กล่าวว่า นโยบายการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของพรรค คือ การปกครองพิเศษปัตตานีมหานคร ตามที่พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เคยเสนอ

สำหรับองค์กรร่วมจัดงานนี้ ประกอบด้วย สภาพัฒนาการเมือง,มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย,สถาบันสิทธิมนุษยชน และสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล,สถาบันวิจัยความขัดแย้ง และหลากหลายทางวัฒนธรรมทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย สำนักข่าวอามาน และศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ 6 ตอน "นิรโทษกรรมกับ 91 ศพ"

Posted: 22 Jun 2011 07:56 AM PDT

 
ผมไม่แปลกใจที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร  ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศอย่างมั่นอกมั่นใจหลายครั้งว่า จะกลับประเทศไทยในเดือนธันวาคม เพื่อร่วมงานแต่งงานของบุตรสาวคนโต ถ้าคุณทักษิณกลับประเทศไทยในฐานะคนไทยที่อยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ไม่ว่าอย่างไรคุณทักษิณ ก็คงใม่สามารถไปงานแต่งงานบุตรสาวได้อย่างแน่นอน เพราะคุณทักษิณเป็นนักโทษหนีคดีที่ศาลฎีกาตัดสินความผิดให้ลงโทษจำคุก 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา
 
แต่ที่คุณทักษิณมั่นใจว่าจะกลับมาในเดือนธันวาคมก็เพราะ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประกาศชัดเจนว่างานสำคัญของรัฐบาลเพื่อไทยอันดับแรก คือ การนิรโทษกรรม ซึ่งในทางการเมืองหากพรรคเพื่อไทยได้คะแนนมาเป็นอันดับ 1  การจัดตั้งรัฐบาลก็คงใช้เวลาไม่น่าจะเกินเดือนสิงหาคม
 
นับจากนั้นไปถึงเดือนธันวาคม ก็ 5 เดือน ยาวนานเพียงพอที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญล้างความผิดให้ตัวเอง เพื่อกลับประเทศโดยไม่ติดคุก และอาจได้เงิน 46,000 ล้านที่ถูกยึดไป พรรคเพื่อไทยมีการระบุถึงแผนปรองดองผ่านการนิรโทษกรรมว่า จะคุยกับคนทุกสีและลบล้างเหตุการณ์ทั้งหมดหลังรัฐประหารที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง โดยไม่มีการพูดถึงปัญหาก่อนรัฐประหารที่เกิดการทุจริตเชิงนโยบาย ลุแก่อำนาจ ไม่เคารพรัฐสภา ไม่ยอมรับตรวจสอบ ฯลฯ
 
นั่นยังไม่สำคัญเท่ากับพี่น้องเสื้อแดงที่ชอบมาทวงถามความยุติธรรมเรื่องความตาย 91 ศพ ผมคิดว่า พวกท่านยกป้ายถามผิดคนครับ
 
พี่น้องเสื้อแดงต้องไปยกป้ายถามคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยว่า
“นิรโทษกรรมจะทำอย่างไรกับ 91 ศพ”
“นิรโทษกรรมข้าม 91 ศพ แลกเงิน 46,000 ล้านหรือ”
 
เพราะเป็นไปไม่ได้หรอกที่เขาจะนิรโทษกรรมทุกอย่างหลังเหตุการณ์รัฐประหาร โดยไม่นิรโทษกรรมเหตุการณ์ล้มการประชุมอาเซียน และก่อการจลาจลเผาบ้านเผาเมืองใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย หวังให้รัฐบาลกลายเป็นรัฐล้มเหลว มีกองกำลังติดอาวุธแฝงตัวอยู่ในผู้ชุมนุมที่มาด้วยใจอันบริสุทธิ์ จนกระทั่งเกิดเหตุสูญเสียที่สร้างความทุกข์ใจให้กับคนทั้งประเทศ
 
คำถามของผมที่อยากให้พี่น้องเสื้อแดงได้คิดก็คือ เมื่อเขานิรโทษกรรมแล้วก็เท่ากับว่า 91 ศพจบไม่ต้องทวงถามหาความยุติธรรมอีกต่อไป ซึ่งผมสังหรณ์ใจว่าที่คุณทักษิณ อาจจะให้เงินครอบครัวผู้เสียชีวิตเป็นการเยียวยาในจำนวนที่สูง แทนที่จะค้นหาความจริงคืนความยุติธรรมให้กับร่างที่ไร้ลมหายใจเหล่านั้น
 
ที่สำคัญคือ เงินที่จะเยียวยาคือภาษีประชาชน ไม่ใช่เงินของคุณทักษิณที่บอกว่าจะดูแลพี่น้องเสื้อแดงอย่างดี  เพราะที่ผ่านมา มีใครได้รับการดูแลบ้างนอกจากแกนนำ ในขณะที่เขาคงเอาภาษีประชาชนไปเยียวยาครอบครัวผูเสียชีวิตด้วยวงเงินสูง ๆ พร้อมกับสิ่งที่เขาจะได้รับกลับไปคือ เงินภาษีประชาชน 4.6 หมื่นล้านบาทที่ถูกยึดทรัพย์กลับไปเป็นของตัวเอง
 
พี่น้องเสื้อแดงรับได้ไหม ถ้าผลจากการนิรโทษกรรมจะออกมาอย่างนั้น
 
ที่ผมมั่นใจว่าเขาจะนิรโทษกรรมเหตุการณ์จลาจลในเดือนเมษายนและพฤษภาคมช่วงปี 52-53 เพราะผมเห็นว่า การที่แกนนำแดงอยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย ก็เพื่อจะได้มีเอกสิทธิ์คุ้มครองไม่ต้องติดคุก ในขณะที่คนเสื้อแดงหลายรายไม่มีแม้แต่ทนายความไปดูแล กระทั่งกระทรวงยุติธรรมต้องเข้าไปช่วยดำเนินการให้เขาได้รับสิทธิการต่อสู้ทางกฎหมายเท่าเทียมกับประชาชนคนอื่น ๆ
 
คดีที่เกิดในปี 52-53 ไม่ใช่คดีการเมือง แต่เป็นการทำลายชาติบ้านเมืองอย่างย่อยยับด้วยความโหดร้ายอย่างยิ่งของคนบางคน ซึ่งขณะนี้ล้วนมีข้อหาผู้ก่อการร้ายติดตัวรวมถึงคุณทักษิณด้วย ผมถามว่าถ้าไม่มีการนิรโทษกรรม แกนนำเสื้อแดงและคุณทักษิณจะพ้นคดีก่อการร้ายได้อย่างไร จะเป็นไปได้หรือที่เขาจะนิรโทษกรรมเฉพาะมวลชนแต่เล่นงานเจ้าหน้าที่รัฐด้วยการกล่าวหาว่าเข่นฆ่าประชาชน เหมือนที่เขาพยายามปลุกระดมให้คนเสื้อแดงเกิดความคั่งแค้นอยู่ในขณะนี้ เพราะถ้าเขาทำเช่นนั้นกรณี 7 ตุลา ที่เรื่องกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งคุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ตกเป็นผู้ต้องหาก็ต้องดำเนินการด้วยเช่นเดียวกัน
 
จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการนิรโทษกรรมควบคู่ไปกับการล้างแค้นให้ 91 ศพ ตามที่แกนนำเสื้อแดงชอบพูดว่า ความตาย 91 ศพ จะต้องไม่สูญเปล่า คนสั่งฆ่าต้องได้รับโทษ เพราะในคดี 7 ตุลา คุณสมชาย น้องเขยของคุณทักษิณ ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามระบบด้วย พี่น้องเสื้อแดงคิดว่า คุณทักษิณ จะยอมให้น้องเขยเสี่ยงติดคุกหรือ
 
ผมและผู้นำกองทัพยืนยันมาตั้งแต่แรกครับว่า เราไม่นิรโทษกรรมให้ตัวเอง เพราะมั่นใจว่าทุกอย่างที่ดำเนินการนั้นล้วนแต่ทำตามหน้าที่ในการรักษาบ้านเมือง คืนความสงบสุขสู่สังคมไทยตามกระบวนการของกฎหมายเท่านั้น เพราะการชุมนุมที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นไปตามขอบเขตของรัฐธรรมนูญ หากรัฐบาลปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินการใด ๆ ก็เท่ากับปล่อยให้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย
 
เราพร้อมพิสูจน์ความบริสุทธิ์พร้อม ๆ ไปกับการค้นหาความจริงผ่านกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายบนความเสมอภาคที่ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน
 
คนไทยล้วนเสียใจกับความแตกแยกและความสูญสียที่เกิดขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ ผมได้ลำดับเหตุการณ์ให้เห็นว่า ผมพยายามหลีกเลี่ยงความรุนแรงอย่างไร ขณะที่บางคนใช้ทุกวิถีทางเพื่อเอาชนะ เพื่อแก้ปัญหาตัวเอง
 
เมื่อชิงอำนาจผ่านวิธีนอกรัฐธรรมนูญไม่สำเร็จ วันนี้ ก็จะเอาเสื้อคลุมประชาธิปไตยมาสวมแทนการชิงอำนาจนอกระบบ แต่จะทำลายระบบนิติรัฐเพื่อตัวเองด้วยการนิรโทษกรรม
 
ผมจึงย้ำเสมอว่า การยุบสภาครั้งนี้ผมต้องการคืนอำนาจให้ประชาชนกำหนดอนาคตประเทศ ไม่ใช่ยุบสภาเพื่อให้นักการเมืองเข้ามาแก้ปัญหาให้นักการเมืองด้วยกัน ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งครั้งใหม่ที่รุนแรงกว่าเดิม และอาจกลายเป็นสงครามประชาชนที่ยากจะควบคุม
 
คนไทยต้องช่วยกันหยุดความวุ่นวายพาประเทศก้าวพ้นความรุนแรงเหล่านี้ ผ่านการเลือกตั้งครั้งนี้
 
หากประชาธิปัตย์ได้รับโอกาสให้บริหารประเทศ เราจะเดินตามแนวทางปรองดองบนความถูกต้องรักษาหลักนิติรัฐ ไม่ใช้อำนาจนิติบัญญัติหรือมวลชนมาล้มล้างอำนาจตุลาการ และแน่นอนว่าไม่มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ตัวเอง แต่จะใช้กระบวนการตุลาการให้ความยุติธรรมกับทุกคน
 
91 ศพจะมีใครต้องรับผิดชอบอย่างไร เป็นคดีที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดี หรือคนเสื้อแดงจะปล่อยให้มีการล้มคดีเหล่านี้ยอมรับเงินเยียวยาผ่านแผนนิรโทษกรรมของพรรคเพื่อไทย โดยไม่ต้องทวงถามคนรับผิดชอบอีกต่อไป
 
ถ้าพี่น้องเสื้อแดงไม่เห็นด้วยก็ต้องไปถามคุณยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทยให้ชัดว่า นิรโทษกรรมเอาเงินให้ทักษิณ 46,000 ล้าน แล้วให้ลืมเรื่อง 91 ศพใช่ไหม 
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"สมชัย ศรีสุทธิยากร" อัดเสื้อแดงอีสานปลดธงแล้ว เพราะกลัวพรรคอื่นไม่กล้ามาซื้อเสียง

Posted: 22 Jun 2011 07:43 AM PDT

เลขาพีเน็ตกล่าวหาว่าทุกพรรคการเมืองซื้อเสียงที่ภาคอีสาน มีการเกทับบลั๊ฟแหลกแจกไม่อั้นเพื่อแข่งกับคู่ต่อสู้ เย้ยหมู่บ้านแดงเอาธงลงแล้วเพื่อเปิดหมู่บ้านให้มีการซื้อเสียง ส่วนคนต่างจังหวัดจะนั่งรถตู้ออกจาก กทม. เพื่อไปเลือกตั้งแล้วจะมีการจ่ายค่าตอบแทนด้วย

วันนี้ (22 มิ.ย. 54) กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงานว่า ศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร คณะกรรมการองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (พีเน็ต) ร่วมเป็นวิทยากรในการอภิปรายหัวข้อ "กลโกงการเลือกตั้ง" ซึ่งจัดโดย ศูนย์ศึกษาเอเชียอาคเนย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยตอนหนึ่ง รศ.สมชัย กล่าวว่า ในช่วงการเลือกตั้ง ก็จะมีการซื้อเสียงโดยใช้หัวคะแนน สังเกตได้ว่าหมู่บ้านเสื้อแดงในภาคอีสานเคยที่ปักธงไว้หน้าบ้านเริ่มเอาธงลง แล้ว เนื่องจากเดี๋ยวพรรคอี่นไม่กล้ามาซื้อเสียง ต้องเปิดหมู่บ้านรับการซื้อเสียง

รศ.สมชัยกล่าว่า การซื้อเสียงในภาคอีสานมีการซื้อเสียงแบบเกทับบลั๊ฟแหลกจ่ายเงินไม่อั้น เพื่อแข่งขันกับคู่ต่อสู้ ถามว่าผู้สมัครกับพรรคการเมืองใครมีส่วนในการซื้อเสียงมากกว่ากัน ซึ่งต้องตอบว่าตัวพรรคเองไม่ประสงค์จะซื้อเสียง แต่ตัวผู้สมัครโดนหัวคะแนนมาปลุกปั่นว่าถูกพรรคนั้นพรรคนี้ทำคะแนนแซงแล้ว ผู้สมัครจึงต้องยอมซื้อ และสุดท้ายตนเชื่อว่าทุกพรรคซื้อเสียงหมด

รศ.สมชัย ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ในพื้นที่ กทม. ในช่วงก่อนวันเลือกตั้งจะมีรถตู้ขนคนที่เข้ามาทำงานใน กทม.ไปเลือกตั้งที่บ้านต่างจังหวัด และก็จะได้ค่าตอบแทนอีกด้วย (อ่านข่าวทั้งหมดที่นี่)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปราศรัยราชประสงค์ 'ฆาตกรรมมโนธรรมของสังคม'

Posted: 22 Jun 2011 06:57 AM PDT

ผมเห็นด้วยกับข้ออ้างของประชาธิปัตย์ที่ว่า ราชประสงค์เป็นพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนไม่ว่าจะสีไหน หรือพรรคการเมืองอะไรก็มีสิทธิ์เข้าไปใช้อย่างเท่าเทียม 

แต่ก็มีความเห็นต่างออกไปว่า การที่ประชาธิปัตย์จะเปิดปราศรัยที่ราชประสงค์ซึ่งได้กลายเป็น “พื้นที่ทางประวัติศาสตร์” แห่งความขมขื่นของไพร่ในพายุเกี้ยวกราดแห่ง “ราชประสงค์” นั้น มันเป็น “การฆาตกรรมซ้ำ” ที่เลือดเย็นอำมหิตจนเกินไป!

ฆาตกรรมซ้ำที่ว่านี้ ผมหมายถึง “ฆาตกรรมมโนธรรมของสังคม”

เพราะหากการปราศรัยนั้นเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง เป็นการอ้างการรักษากฎหมาย แต่เบี่ยงเบน “เจตนารมณ์” ในการใช้กฎหมายปกครองบ้านเมือง ก็เท่ากับคุณกำลังพยายามทำให้ “มโนธรรมของสังคม” หรือสำนึกถูก ผิด ดี ชั่วทางการเมืองของสังคม “บิดเบี้ยว” ไป

การพยายามทำให้มโนธรรมของสังคมบิดเบี้ยว ไม่เที่ยงตรง ด้วยการโกหก แถ หรือใช้ข้ออ้างต่างๆ นานา เพื่อที่จะสรุปว่า “ประชาธิปัตย์ไม่มีความผิดใดๆ เลย ในการสลายการชุมนุมช่วง เมษา-พฤษภา 53” เท่ากับเป็นการ “ฆาตกรรมมโนธรรมของสังคม”

และมันเป็นการฆาตกรรมที่เลือดเย็นอำมหิตในความหมายว่า คุณรู้อยู่แล้วว่าคุณขึ้นมาเป็นรัฐบาลโดยการสนับสุนนของทหาร อำมาตย์ หรือ “อำนาจนอกระบบ”

แม้ว่าโดย “พิธีกรรม” แล้ว คุณจะผ่านกระบวนการรัฐสภา แต่โดยที่มีการสนับสนุนที่ว่านั้นอยู่เบื้องหลัง คุณจึงไม่มีความชอบธรรมตั้งแต่แรก และโดยความไม่ชอบธรรมดังกล่าว จึงทำให้คนเสื้อแดงมีความชอบธรรมที่จะมาเรียกร้องอำนาจของประชาชนกลับคืน

ทว่าสถานการณ์มันเลยมาถึงคนตาย 91 ศพ บาดเจ็บร่วม 2,000 คน ความสูญเสียดังกล่าวนี้ เกิดจากการสลายการชุมนุมของคุณ แล้วคุณยังมาบอกว่า คุณไม่มีส่วนผิดใดๆ เลย นี่มันจึงสะท้อน “ธาตุแท้” ที่เลือดเย็นและอำมหิตเหลือที่จะเข้าใจได้

ความเลือดเย็นอำมหิตในอีกความหมายหนึ่งคือ พ่อแม่ญาติมิตรของคนตาย คนบาดเจ็บ พิการอีกจำนวนมากที่เขาเจ็บปวดเพราะไม่ได้รับความเป็นธรรม และประชาชนอีกจำนวนมากที่ต่างก็รู้กันว่า คนที่ตายและบาดเจ็บจำนวนมากไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย ไม่ใช่ขบวนการล้มเจ้า

คนเหล่านี้เขารอมากว่าหนึ่งปี เพื่อให้รัฐบาลประชาธิปัตย์ตรวจสอบข้อเท็จจริงและดำเนินการให้เกิดความเป็นธรรม แต่ก็ไม่มีความชัดเจนใดๆ เลย

แล้ววันที่ 23 มิถุนายนนี้ ประชาธิปัตย์บอกว่าจะไปเปิดเผย “ความจริง” ที่ราชประสงค์ ในช่วงโค้งสุดท้ายของการหาเสียงเลือกตั้ง การเปิดเผย “ความจริง” ในบริบทของสถานการณ์เช่นนี้มันจึงอำมหิตเลือดเย็นมาก

คือ มันอำมหิตต่อประชาชนที่ถูกฆ่าตาย คนบาดเจ็บ คนพิการ และพ่อแม่ญาติมิตรของพวกเขา และมันดูถูกสติปัญญาของประชาชนที่ติดตามข่าวสารการเมืองมาตลอดเป็นอย่างยิ่ง!

ถ้าประชาธิปัตย์มี “ความจริง” ที่เห็นว่า เปิดเผยออกมาแล้วมันจะทำให้ประชาชนได้เข้าใจถูกต้อง เป็นความจริงที่ผ่านการตรวจสอบมาถูกต้องชัดเจนแล้วอย่างแฟร์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และการนำมาเปิดเผยจะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองจริง แล้วทำไมจึงเจาะจงมาเปิดเผยตอนนี้ที่ราชประสงค์

ทำไมกว่า 1 ปี ที่ผ่ามาจึงไม่นำ “ความจริง” ที่ว่านี้มาเปิดเผยเลย!

ฉะนั้น การอ้างว่าจะเปิดเผย “ความจริง” และเจาะจงจะเปิดเผยความจริงดังกล่าวที่ราชประสงค์ในช่วงโค้งสุดท้ายของการหาเสียง จึงเป็นการกระทำที่ไม่ตรงไปตรงมา

ความไม่ตรงไปตรงมานี้ มันหมายถึงการไม่เคารพ “ความจริง” ไม่เคารพ “ความหมายทางประวัติศาสตร์” ของราชประสงค์

และในที่สุดก็คือ ในฐานะพรรคการเมืองช่างไม่เคารพประชาชน ไม่เคารพ “มโนธรรมที่เที่ยงตรง” ของสังคมเอาเสียเลย!

สำหรับคนเสื้อแดง โดยเฉพาะพ่อแม่ญาติมิตรของผู้บาดเจ็บล้มตาย อาจต้อง “อดทน” กับความอำมหิตเลือดเย็นดังกล่าวมา แต่หากเรามองอีกแง่หนึ่ง การที่พรรคประชาธิปัตย์ตัดสินใจเลือกปราศรัยที่ราชประสงค์ย่อมมีความหมายสำคัญมาก

ความหมายสำคัญมากที่ว่านี้คือ พรรคประชาธิปัตย์จะได้ช่วยเขียน “ประวัติศาสตร์ราชประสงค์” ให้สมบูรณ์ขึ้น

หมายความว่า ประวัติศาสตร์ราชประสงค์จะได้จารึกเอาไว้ว่า “ที่นี่มีคนตาย และมีพรรคการเมืองที่ทำให้คนตายมาทำฆาตกรรมซ้ำอีก”

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พัฒนาการทางการเมืองอินโดนีเซียกับความเข้มแข็งในปัจจุบัน

Posted: 22 Jun 2011 06:49 AM PDT

สถานการณ์การเมืองไทยในขณะนี้กำลังตกอยู่ในสภาวะความตึงเครียด นับได้ว่าเป็นสภาวะขาลงทางการเมืองของไทย หากเปรียบเทียบกับหลายประเทศในภูภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศที่ถูกสังคมโลกเคยมองว่าเป็นประเทศที่ล้าหลังและยากที่การเมืองภายในประเทศจะมีความเข้มแข็งอย่างประเทศอินโดนีเซีย

หากย้อนกลับไปดูเมื่อ 10 ปีก่อนของการเมืองประเทศอินโดนีเซีย ในช่วงปลายยุคระเบียบใหม่  (Orde Baru) โดยการนำของนายพลซูฮาร์โต ( พ.ศ. 2510-2541 ) จะเห็นได้ว่าลักษณะของสังคมอินโดนีเซียในช่วงสมัยนั้นจะเต็มไปด้วยปัญหาและความขัดแย้ง ประชาชนไม่มีสิทธิเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็นใดๆ เพราะอำนาจส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มคนกลุ่มเดียว หากผู้ใดออกมาแสดงความคิดที่มีความขัดแย้งกับรัฐผู้นั้นก็จะมีความผิด แต่เมื่อเวลาผ่านไปอำนาจของรัฐที่มีอยู่ก็สู้อำนาจและแรงการต่อสู้ของประชาชนไม่ไหว กรณีเหตุการณ์การประท้วงของนักศึกษามหาวิทยาลัยตรีศักติ (พฤษภาคม 1998 ) อำนาจเหล่านี้ก็เลยต้องถึงจุดจบในที่สุดเป็นการล่มสลายลงของการปกครองที่เรียกว่ายุคระเบียบใหม่ (Orde Baru)และเป็นการหมดอำนาจลงของซูฮาร์โตที่มีมาทั้งหมด 32 ปี

หลังลงจากอำนาจของซูฮาร์โต คนที่เข้ามารับอำนาจแทนคือ นายยูซุฟ ฮาบิบี (พ.ศ. 2541-2542 ) ถือได้ว่าเป็นเหมือนผู้สืบทอดอำนาจของซูฮาร์โต ฮาบิบีดำรงตำแหน่งนั้นก็ได้ประสบกับปัญหาหลายประการ เช่น ประชาชนการเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย การโดนโจมตีว่าไม่สามารถก้าวพ้นจากอำนาจของประธานาธิบดีซูฮาร์โตได้ และสิ่งสำคัญคือฮาบิบีเองไม่มีฐานทางการเมืองมาสนับสนุนอย่างจริงจัง กล่าวคือพรรคโกลคาร์ (GOLKAR) ของอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตก็ไม่ได้ให้การสนับสนุน กองทัพก็ไม่ให้การสนับสนุนด้วยเช่นกัน ทำให้ดูเหมือนว่าสถานะของฮาบิบีในตำแหน่งประธานาธิบดีอยู่ในสภาพไม่มีความมั่นคงมากนัก จนกระทั่งเขาต้องลงจากตำแหน่ง

แต่สิ่งหนึ่งที่นานาชาติให้การยอมรับและชื่นชมในตัวฮาบิบีเกี่ยวกับการจัดการกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งในติมอร์ตะวันออก โดยให้เสรีภาพกับชาวติมอร์ตะวันออกว่าจะเป็นเอกราชหรือเลือกที่จะอยู่กับอินโดนีเซียต่อไป ซึ่งท้ายที่สุดชาวติมอร์ตะวันออกก็ต้องการเป็นอิสระ ฮาบิบีจึงให้เอกราชแก่ติมอร์ตะวันออก ( 20 พ.ค. 2545 )

หลังจากนั้นอับดูร์ราห์มาน วาฮิด  (พ.ศ.2542-2544) ก็ก้าวเข้ามาเป็นประธานาธิบดี แม้ว่าจะพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้แก่ นางเมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี ซึ่งเป็นลูกสาวของนายพลซูการ์โน ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนีเซีย แต่เหตุผลที่ทำให้วาฮิด ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีเป็นผลมาจากการรวมคะแนนการเลือกตั้งของเขาเข้ากับพรรคการเมืองอื่นทำให้คะแนนที่ออกมามีมากกว่าพรรคของนางเมกาวาตี จนทำให้เขาได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของอินโดนีเซียในที่สุด

ในช่วงที่วาฮิดบริหารประเทศ วาฮิดได้รับการยอมรับจากสื่อมวลชนและกลุ่มการเมืองแนวศาสนาว่ามีความเป็นประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก กล่าวคือ วาฮิดจะให้ความเท่าเทียมกันของศาสนาทุกศาสนา ไม่ได้ให้อภิสิทธิ์กับศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ถึงแม้ว่าคนในสังคมอินโดนีเซียส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลามก็ตาม แต่ก็มีปัญหาความขัดแย้งกับกองทัพ เนื่องจากต้องการลดจำนวนผู้แทนในสภาที่มาจากโควตากองทัพ และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกองทัพให้มีส่วนร่วมกับการเมืองน้อยลงตามแนวทางปฏิรูปการเมือง จึงทำให้ในช่วงหลังกองทัพหันไปให้การสนับสนุนรองประธานาธิบดีเมกาวาตีแทน เนื่องจากมีการดำเนินการโดยสภาที่ปรึกษาประชาชนเพื่อถอดถอนเขาออกจากตำแหน่ง ในเรื่องทุจริตยักยอกเงินที่พัวพันกับคนใกล้ชิดของเขาและเรื่องส่วนตัวอันอื้อฉาว จึงทำให้เขาถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งในที่สุด

คนที่เข้ามาดำรงตำแหน่งแทนที่วาฮิดหลังจากถูกถอดถอนออกจาตำแหน่งคือ นางเมกาวาตรี ( พ.ศ. 2544-2547) ในช่วงที่นางเมกาวาตรีดำรงตำแหน่งก็ได้เกิดเหตุการณ์และปัญหารุมเร้ามากมาย ทั้งการเมือง สังคม และเศรษฐกิจที่ไม่ฟื้นตัว หลังยุคฟอกสบู่ที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปัญหาคอรัปชั่น ส่วนปัญหาใหญ่คือปัญหาการก่อการร้ายอันเนื่องมาจากเหตุการณ์โจมตีสหรัฐอเมริกาและการลอบวางระเบิดในบาหลีทีทำให้มีผู้เสียชีวิต 200 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ จนทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียต้องดำเนินการในการต่อต้านปราบปรามก่อการร้ายอย่างเข้มงวด

หลังจากหมดวาระสมัยของนางเมกาวาตี อินโดนีเซียก็เข้าถึงยุคสมัยของการเลือกตั้งอีกครั้ง การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ถือได้ว่าเป็นช่วงที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดในสังคมอินโดนีเซีย เพราะพรรคการเมืองต่างๆ ต่างส่งผู้สมัครเข้าลงการแข่งขันเลือกตั้งอย่างเข้มข้น แต่พรรคที่ถูกรับเลือกให้บริหารประเทศได้แก่พรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซียของพลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน (พ.ศ.2547-ปัจจุบัน) นับเป็นประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจาก ภายหลังการปฏิรูปการเมืองและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การเข้ามาดำรงตำแหน่งของบัมบังครั้งนี้เป็นที่คาดหวังของประชาชนเป็นอย่างมากในการบริหารประเทศและพัฒนาเศรษฐกิจ

ในช่วงแรกของการดำรงตำแหน่งของบัมบังนั้นไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากประชนมากนัก แต่ด้วยความอดทนและเข้มแข็งของรัฐบาลก็สามารถบริหารประเทศได้ดีขึ้นเป็นลำดับ และสามารถจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดี เช่น การเจรจาสันติภาพกับอาเจะห์จนเกิดสันติภาพ และแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างเผ่าพันธุ์ต่างๆ จนสามารถยุติความรุนแรงได้ รวมทั้งฟื้นฟูเศรษฐกิจของอินโดนีเซียให้มีความเข้มแข็งเติบโตอย่างรวดเร็ว จนเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าลงทุนในปัจจุบัน ส่งผลให้ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด (พ.ศ. 2552) ประธานาธิบดียูโดโยโน ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้

จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าอินโดนีเซียนั้นเป็นประเทศที่ค่อยๆ สร้างเสถียรภาพให้กับตัวเองทีละก้าว ซึ่งมาจากทำงานของรัฐบาลแต่ละสมัยที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง ที่มีความโดดเด่นต่างๆ กัน ในช่วงแรกของยุคระเบียบใหม่ของซูฮาร์โต เป็นช่วงที่เศรษฐกิจของอินโดนีเซียมีความเจริญเติบโตเป็นอย่างมาก แต่ในทางตรงข้ามประชาชนก็ไม่มีสิทธิเสรีภาพในการกระทำการสิ่งใดที่นอกเหนือจากคำสั่งรัฐ หลังจากที่ประชาชนต้องตกอยู่สภาวะที่ไร้ซึ่งสิทธิมาเป็นเวลานาน สิทธิและเสรีภาพครั้งใหม่ก็เริ่มเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยการปลดปล่อยของนายฮาบิบี ซึ่งเป็นช่วงที่สื่อมีเสรี ให้เอกราชแก่ติมอร์ตะวันออกที่นายฮาบิบียอมปล่อยให้เป็นเอกราช เพราะนายฮาบิบีเชื่อและเคารพในการตัดใจของผู้อื่น จนทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในติมอร์ตะวันออกยุติลง

ในขณะที่ยุคของวาฮิดได้ออกกฏหมายให้ศาสนาแต่ละศาสนามีความเท่าเทียมกัน แม้ว่าวาฮิดจะบริหารประเทศได้ไม่นานแต่เขาก็เป็นยอมรับของนานาชาติเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว สำหรับรัฐบาลของนางเมกาวาตรีจะเน้นเกี่ยวกับการปราบปรามการก่อการร้ายทั้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศและนอกประเทศเอง ถึงแม้ว่ารัฐบาลของนางเมกาวาตรีจะปราบปรามเรื่องนี้ได้ไม่มากนัก แต่ถือได้ว่ารัฐบาลชุดนี้ก็ได้ช่วยลดความเลวร้ายของสถานการณ์ได้ในระดับหนึ่ง กระทั่งท้ายที่สุดรัฐบาลของพลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด โดยเฉพาะในการบริหารประเทศจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นให้เท่าเทียมกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน และการแก้ปัญหาเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในอาเจะห์จนเกิดสันติภาพ ทำให้ปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเผ่าพันธุ์ลดลง ซึ่งปัญหาเรื่องเผ่าพันธุ์นี้ถือว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่มากสำหรับอินโดนีเซีย เพราะเป็นประเทศที่ประชากรหลากหลายเผ่าพันธุ์มากที่สุดประเทศหนึ่ง แต่รัฐบาลก็สามารถที่จะแก้ปัญหาและสร้างความสันติสุขให้เกิดขึ้นได้

 จากความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศอินโดนีเซียดังที่กล่าวมา ทำให้เห็นการพัฒนาการทางการเมืองที่นำไปสู่ความเข้มแข็งตามลำดับ แม้ในแต่ละยุคจะเต็มไปด้วยปัญหานานัปการ ส่งผลให้ในขณะนี้อินโดนีเซียสามารถผ่านพ้นวิกฤตทางการเมือง มีความมั่นคงและมีแนวโน้มว่าเสถียรภาพทางการเมืองจะมีความมั่นคงเข้มแข็งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  

10 ปีเศษ ของอินโดนีเซียจากความอ่อนแอไปสู่ความเข้มแข็ง ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อย  ย้อนมามองประเทศไทย ความมั่นคงทางการเมืองและความเป็นประชาธิปไตยนั้นต้องยอมรับว่าเรายังไม่มีจุดยืนที่แน่นอน ทั้งที่ผ่านความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมืองกันมาหลายครั้งหลายคราว แต่สังคมการเมืองไทยก็ไม่ได้ใช้บทเรียนเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ การเมืองในสังคมไทยในปัจจุบันจึงไม่ต่างอะไรกับ “ยุคระเบียบใหม่” (Orde Baru) โดยการนำของสุฮาร์โต อันเป็นช่วงเวลาที่อินโดนีเซียประสบกับปัญหาความขัดแย้งมากมาย

มองการเมืองอินโดนีเซียแค่ช่วง 10 ปีเศษที่ผ่านมา ทำให้เห็นการเดินออกจากปัญหาไปสู่ความเข้มแข็งทีละก้าว แต่การเมืองไทยในช่วงเวลาเดียวกันกลับสวนทางกันโดยสิ้นเชิง

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"บุญยอด" อัด "จิตรา คชเดช" ไม่ใช่แรงงานธรรมดา แต่สนิทกับสมยศ พฤกษาเกษมสุข

Posted: 22 Jun 2011 05:42 AM PDT

รองโฆษกประชาธิปัตย์อัดผู้ตั้งฉายา "ดีแต่พูด" ให้อภิสิทธิ์ว่าสนิทกับ "สมยศ พฤกษาเกษมสุข" และเคลื่อนไหวสอดคล้องกับพรรคการเมืองหนึ่งตลอดเวลา อยากให้ประชาชนรู้ว่า "จิตรา" ไม่ใช่ตัวแทนแรงงานธรรมดา ด้าน "สุเทพ" ยันปราศรัยพรุ่งนี้เพื่อแก้ข้อกล่าวหาว่า "กองทัพ-ประชาธิปัตย์" ฆ่าประชาชน

"บุญยอด" อัด "จิตรา" สนิท "สมยศ พฤกษาเกษมสุข"
และเคลื่อนไหวสอดคล้องพรรคการเมืองหนึ่งตลอดเวลา
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ รายงานวันนี้ (22 มิ.ย.) ว่านายบุญยอด สุขถิ่นไทย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ นางสาวจิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงาน บริษัท ไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ออกมากำหนดวาทกรรม ดีแต่พูด โดยระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ เคารพการกระทำที่อยู่ในกรอบของประชาธิปไตย แต่เท่าที่ทราบ นางสาวจิตรา ไม่ใช่ตัวแทนแรงงานธรรมดาแต่มีความสนิมสนมกับ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แกนนำเครือข่าย 24 มิถุนา เป็นอย่างดี และการเคลื่อนไหวต่างๆ ของนางสาวจิตรา ก็สอดคล้องกับพรรคการเมืองพรรคหนึ่งตลอดเวลา ตนเองจึงอยากให้ประชาชนรับทราบว่านางสาวจิตราไม่ใช่ตัวแทนแรงงานธรรมดา แต่มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยเช่นกัน

สุเทพยันปราศรัยที่เซ็นทรัลเวิร์ลด์เพื่อแก้ข้อกล่าวหาว่ากองทัพ-ประชาธิปัตย์ฆ่าประชาชน
มติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ระบุพรรคเพื่อไทยจะหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าจะสามารถฟ้องร้องให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์หากการปราศรัยที่เซ็นทรัลเวิร์ลด์มีการพาดพิง โดยนายสุเทพกล่าวว่า ได้เลยไม่มีปัญหา ตนพูดความจริง ไม่รู้สึกกังวลใจอะไร และยืนยันจะไปพูดความจริงที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ข้อกล่าวหา ที่พรรคเพื่อไทยและบริวารพวกพ้องของเพื่อไทยออกมาโจมตีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นฆาตกร สั่งฆ่าประชาชน และแก้ข้อกล่าวหาที่ว่าทหารหรือกองทัพฆ่าประชาชน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องชี้แจง เพราะเป็นรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ทำงานนี้มากับมือ ตนเห็นข้อเท็จจริงทั้งหมด เอาความจริงมาตีแผ่ให้เห็นว่าที่เขาพูดนั้นพูดโกหก พูดใส่ร้าย นายสุเทพกล่าวต่อว่า ขอยืนยันว่า วันที่ 3 กรกฎาคม จะมีการเลือกตั้งแน่นอนไม่มีเป็นอย่างอื่น

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประชาสังคมอาเซียนเตือนรัฐบาล หยุด "คิด" ก่อนเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ต

Posted: 22 Jun 2011 01:47 AM PDT

เว็บไซต์เครือข่ายพลเมืองเน็ตรายงานว่า ในการประชุมอินเทอร์เน็ตภิบาลระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ประจำปี 2011 (APrIGF: Asia-Pacific Regional Internet Governance Forum 2011) ที่สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 16-18 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา ภาคประชาสังคมในอาเซียน แสดงความเป็นห่วงต่อการควบคุมอินเทอร์เน็ตและการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลออนไลน์ พร้อมกับย้ำว่าการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตนั้น จะต้องเป็นไปตามข้อแนะนำของผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติ ที่ได้เสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (เอกสาร A/HRC/17/27 หน้า 19-22)

ข้อแนะนำในการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตดังกล่าว โดยสรุปได้แก่ 1) กฎหมายต้องชัดเจน-โปร่งใส-คาดเดาได้ 2) มีเหตุผลชอบธรรมเพียงพอ และ 3) ต้องเป็นทางเลือกสุดท้าย-ทำเฉพาะที่จำเป็น-ไม่เกินเหตุ/ตามสัดส่วน ทั้งนี้จะต้องไม่ดำเนินคดีกับผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่นตัวกลางที่เป็นเพียงทางผ่านของข้อมูล และจะต้องไม่ทำให้การแสดงออกที่ชอบธรรมต้องกลายเป็นความผิดอาญา

ประเด็นสำคัญที่น่าเป็นห่วงในอาเซียนขณะนี้ก็คือ แม้บางประเทศจะมีกฎหมายอินเทอร์เน็ตที่ชัดเจนแล้วก็ตาม แต่การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นไปตามอำเภอใจ (arbitrary) และเกินเหตุ ซึ่งรวมถึงการจับกุมคุมขังเฉพาะผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล และการไม่ให้ประกันตัว

อ่านแถลงการณ์ร่วมของประชาสังคมอาเซียน ได้ที่ 2011 Southeast Asia Civil Society Statement on Internet Governance

องค์กรที่สนับสนุนแถลงการณ์ดังกล่าว มีองค์กรจากประเทศไทย, อินโดนีเซีย, ติมอร์ตะวันออก, เวียดนาม, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, พม่า และองค์กรระดับภูมิภาคได้แก่ FORUM-ASIA และ SEACeM

 


ที่มา: เว็บไซต์เครือข่ายพลเมืองเน็ต

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สืบพยานจำเลยเสื้อแดงมุกดาหารนัดแรก:DSIสอบสวนผู้ต้องขังโดยไม่มีทนาย

Posted: 21 Jun 2011 10:37 PM PDT

สืบพยานจำเลยคดีเผาศาลากลางมุกดาหารวันแรก จำเลยขึ้นเบิกความ 6 ปาก พร้อมพยานอีก 2  จำเลยทั้ง 6 อ้างไม่ได้ร่วมก่อเหตุ แต่ถูกจับและทำร้ายร่างกายนอกรั้วศาลากลาง ถูกขังบนรถ 3 วัน 2 คืน อีกทั้งให้การตรงกันว่า การสอบสวนไม่มีทนายและอัยการเข้าร่วมตามที่ดีเอสไอกำหนด

21 มิถุนายน 2554 ศาลจังหวัดมุกดาหารนัดสืบพยานจำเลยเป็นวันแรก มีจำเลยที่ 2,3,5,7,8 และ 9 ขึ้นเบิกความ รวม 6 ปาก โดยให้การว่าในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 จำเลยส่วนใหญ่มาธุระในเมืองเห็นการชุมนุมและควันไฟจากการเผายางที่ข้างศาลากลางจึงเข้ามาดูเหตุการณ์ อีกส่วนหนึ่งตั้งใจมาศาลากลางเพราะได้ยินข่าวการสลายการชุมนุมที่กรุงเทพฯ จึงมาเพื่อร่วมกดดันรัฐบาลให้หยุดฆ่าประชาชน จากนั้น จำเลยที่ขึ้นเบิกความ 5 คน ให้การว่า พวกเขาซึ่งต่างคนต่างมา เข้าไปในบริเวณศาลากลางขณะที่ประตูรั้วเปิดอยู่ และเพียงแต่ดูเหตุการณ์อยู่ห่างๆ จำเลยเห็นมีการกลิ้งยางเข้าไปใกล้อาคารศาลากลางหลังเก่า โดยได้ยินว่าเพื่อกดดันให้รัฐบาลหยุดฆ่าประชาชน บางคนเข้าไปช่วยกลิ้งยางออกเมื่อมีการร้องขอจากเจ้าหน้าที่ด้วย

 
ช่วงหลังเที่ยง เมื่อเหตุการณ์เริ่มรุนแรง มีการจุดไฟเผากองยางที่อยู่ใกล้ตัวอาคารหลังเก่า จำเลยแต่ละคนจึงเดินออกมาด้านนอกรั้ว แต่ยังเฝ้าดูเหตุการณ์อยู่ข้างนอก บ่ายโมงกว่าไฟก็ลุกไหม้ตัวอาคาร ไม่มีใครเห็นว่า ใครเป็นผู้จุดไฟ จากนั้น  ไฟลุกไหม้อาคารศาลากลางอยู่ 2 ชั่วโมงกว่า ทั้งหมดยังอยู่นอกรั้วเพื่อดูเหตุการณ์ ประมาณใกล้ 4 โมงเย็น จำเลยที่ 9 และ 11 จึงมาถึงศาลากลาง จอดมอเตอร์ไซค์อยู่ด้านนอกรั้ว และเดินมาชิดรั้วเพื่อดูเหตุการณ์ ตอนนั้น กำลังชุดควบคุมฝูงชนทำการสลายการชุมนุม โดยวิ่งไล่คนที่อยู่บริเวณศาลากลางด้านในออกมาด้านนอก จำเลยทั้ง 6 ซึ่งอยู่นอกรั้วเบิกความว่า ไม่ได้วิ่งหนีเหมือนคนอื่น เนื่องจากคิดว่าตนเองไม่ได้ทำผิดอะไร


 

แต่เมื่อเจ้าหน้าที่มาถึงตัว จำเลยทั้งหมดก็ถูกควบคุมตัว บางคนถูกสั่งให้หมอบ บางคนถูกถีบหรือตีขาให้ล้มลง จากนั้น 3 คนให้การว่าถูกตีด้วยไม้กระบองนับครั้งไม่ถ้วน จนไม้กระบองหักก็มี ที่เหลือถูกเหยียบหรือเตะด้วยรองเท้าคอมแบท จากนั้น ทั้งหมดถูกควบคุมตัวไปสมทบกับจำเลยคนอื่นๆ ที่ถูกจับในวันนั้นรวม 16 คน ตำรวจพาจำเลยทั้งหมดขึ้นรถกระบะไป สภ.เมืองมุกดาหาร ทำการสอบปากคำและแจ้งข้อกล่าวหาร่วมกันเผาทรัพย์โดยไม่มีทนายอยู่ด้วย ซึ่งทุกคนให้การปฏิเสธ หลังจากนั้น จำเลยทั้งหมดถูกนำตัวขึ้นรถผู้ต้องขังกลับมาที่ศาลากลาง โดยจอดอยู่บริเวณลานหน้าอนุสาวรีย์ ร.5 ด้านหน้าอาคารที่ถูกไฟไหม้ และถูกควบคุมตัวอยู่ในรถอย่างนั้นเป็นเวลา 3 วัน 2 คืน ตำรวจจึงนำตัวไปฝากขังที่เรือนจำมุกดาหาร ขณะถูกขังอยู่ในรถ จำเลยต้องปัสสาวะใส่ขวด หากจะถ่ายหนักตำรวจจะควบคุมตัวไปห้องน้ำทีละคน


 

หลังจาก จำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำในฐานะผู้ต้องหา มีการไปสอบปากคำเพิ่มเติมในวันที่ 23 กรกฎาคม จำเลยที่ขึ้นเบิกความทั้ง 6 ให้การตรงกันว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปสอบปากคำเพียงคนเดียว ไม่มีทนายหรืออัยการเข้าร่วม(หมายเหตุ: คดีนี้เป็นคดีพิเศษที่กำหนดให้การสอบสวนผู้ต้องหาทุกครั้ง ต้องมีพนักงานอัยการที่กรมสอบสวนคดีพิเศษแต่งตั้งเข้าร่วมด้วย-ประชาไท)) นอกจากนี้ พนักงานสอบสวนยังไม่ได้บันทึกคำให้การต่อหน้าผู้ต้องหา แต่มีเป็นเอกสารที่พิมพ์มาเรียบร้อยแล้วมาให้ลงลายมือชื่อโดยไม่ได้ให้จำเลยอ่าน หรืออ่านให้ฟัง
 
นอกจากจำเลยทั้ง 6 แล้ว มีอาสาสมัครรักษาดินแดน(อส.) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในบริเวณศาลากลางในวันที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ขึ้นให้การเป็นพยาน 1 คน พยานให้การว่าปกติปฏิบัติหน้าที่อยู่ อ.ดอนตาล แต่ในวันเกิดเหตุได้รับคำสั่งให้มาดูแลความสงบที่ศาลากลาง เวลาประมาณ 11.00 น. พยานเห็น อส.ที่ดูแลป้อมหน้าประตู ซึ่งพยานไม่รู้จัก ได้ทำการเปิดประตูให้ผู้ชุมนุมเข้ามาในบริเวณศาลากลาง พยานเห็นว่ามีรองผู้ว่าฯ ลงมาเจรจากับผู้ชุมนุม และการกลิ้งยางเข้าไปกองที่บริเวณใกล้อาคารเกิดจากการตกลงกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุมแล้วว่าให้ทำเพียงเท่านี้ พยานเป็นผู้เตือนผู้ชุมนุม รวมถึงจำเลย 4 คน ซึ่งเป็นคนบ้านเดียวกัน และพบกันขณะพยานเดินดูแลเหตุการณ์อยู่ภายในบริเวณศาลากลาง ให้กลับออกไปนอกศาลากลาง เนื่องจากเหตุการณ์เริ่มรุนแรง โดยจำเลยก็เชื่อฟังพยาน ออกไปอยู่นอกรั้ว ก่อนที่จะเกิดเหตุไฟไหม้อาคารศาลากลาง   
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น