โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

เสื้อแดง"แพลงกิ้งหมู่" รำลึก 1 ปี 1 เดือนราชประสงค์ “เหวง”ซัด ปชป.ปราศัยตั้งใจยั่วยุ

Posted: 19 Jun 2011 01:25 PM PDT

20 มิ.ย.54 ที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ในช่วงเย็นกลุ่มคนเสื้อแดง รวมถึงสมาชิกกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง ประมาณ 300 คน   ได้เดินทางมารวมตัวกันจัดกิจกรรม “แพลงกิ้ง” หรือการแกล้งตายซึ่งกำลังเป็นที่แพร่หลายในโซเชียลมีเดีย เพื่อจำลองเหตุการณ์การสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงปีที่แล้ว ซึ่งมีผู้เสียชีวิตถึง 92 รายและมีผู้บาดเจ็บอีกจำนวนมาก

นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย จากกลุ่มประกายไฟ กล่าวว่า  กิจกรรมดังกล่าวเป็นการให้คนมีส่วนร่วมกับทางกลุ่ม มายืนต่อแถวยาวกันเป็นหน้ากระดาน พอได้ยินเสียงปืนก็จะล้มลงกับพื้นเหมือนถูกกระสุนยิง และจะล้มลงไปเรื่อยๆเหมือนโดมิโน่ พอถึงคนสุดท้ายก็จะทำท่าหย่อนบัตรเลือกตั้งลงกล่อง ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากว่าจะมีการเลือกตั้งนั้นประชาชนต้องล้มตายแลกมาด้วยชีวิต

นายเทวฤทธิ์ยังระบุถึงแนวคิดเบื้องหลังกิจกรรมในเฟซบุ๊กว่าPlanking สำหรับเราไม่ใช่ "ล้อเลียน" คนตาย แต่เรา "รำลึก" ว่ามีคนตาย จริง!ท่า Planking ท่าคนตายหรือไม้กระดาน เห็นช่วงนี้ฮิตกันจริงๆแล้วมีการเอามาเป็นสัญญาลักษณ์เพื่อรณรงค์หลังเหตุการณ์ 19 พ.ค.53 เพื่อให้เห็นว่าที่ตรงนี้มีคนตาย” พร้อมระบุด้วยว่ากิจกรรมลักษณะนี้ที่ให้คนไปนอนตายเคยทำกันมาก่อนแล้วตั้งแต่ปี 53 เพื่อแสดงให้เห็นว่า “ที่นี่มีคนตาย”
 


รูปจากเฟซบุ๊ก Weerachai Fendi

ทั้งนี้ ระหว่างการทำแพลงกิ้ง ของกลุ่มเพื่อนประกายไฟ นั้น ได้มีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการตำรวจนครบาล 6 จำนวน 1 กองร้อยมาดูแลรักษาความปลอดภัย ท่ามกลางฝูงชนที่ได้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ดีกิจกรรมครั้งต่อไปของทางกลุ่ม จะมีอีกครั้งในวันที่  23 มิ.ย.ซึ่งครั้งนี้จะแต่งกายเป็นผีหรือวิญญาณเพื่อมาฟังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และทางพรรคประชาธิปัตย์ปราศรัยหาเสียง เปรียบเสมือนเป็นการรำลึกถึงคนตายและต้องการให้นายอภิสิทธิ์เห็นว่าไม่ได้มาปราศรัยให้คนเป็นฟังอย่างเดียว แต่ต้องมาปราศรัยให้คนตายฟังด้วย

จากนั้นบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ มีการจัดเวทีแสดงทัศนคติโจมตีรัฐบาล ระลึกถึงการครบรอบ 13 เดือน ของการสลายการชุมนุม ในเวลา 20.00 น. มีการจุดเทียนรำลึก และร้องเพลงนักสู้ธุลีดิน

ทำบุญให้ผู้เสียชีวิต “ธิดา” โวย ปชป.ปราศรัยราชประสงค์เย้ยหยันคนตาย
ขณะที่ในช่วงเช้า เวลา 08.30 น. กลุ่มคนเสื้อแดงได้รวมตัวกันบริเวณลานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 999 รูป อุทิศส่วนกุศลให้ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายชุมนุม เมื่อวันที่ 10 เม.ย.-19 พ.ค.2553 ที่สี่แยกคอกวัว และแยกราชประสงค์ ครบครบ 1 ปี 1 เดือน โดยมีแกนนำ นปช.เข้าร่วมจำนวนมาก นำโดย นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. นพ.เหวง โตจิราการ นายก่อแก้ว พิกุลทอง นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ นายวรชัย เหมะ นายยศวริศ ชูกล่อม นายสมหวัง อัษราสี นางไพจิตร อักษรณรงค์ นายอารี ไกรนรา รวมถึง นางสิริสกุล ใสยเกื้อ ภรรยานายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ

 


รูปจากเฟซบุ๊ก กึ๋ย รักพี่ต้องหนีพ่อ


ก่อนที่กลุ่มคนเสื้อแดงจะสลายตัวหลังเสร็จสิ้นพิธีในเวลา 09.30 น. แต่ยังมีบางส่วนจับกลุ่มพูดคุย และเปิดเพลงจากเครื่องเสียงในรถยนต์ส่วนตัว เชิญชวนให้ประชาชนที่ผ่านมาไปมา เลือกเบอร์ 1 ในวันลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส. นอกจากนี้ ยังมีการแจกจ่ายจดหมายเปิดผนึกของกลุ่ม นปช. เรียกร้องให้อนุญาตประกันตัว นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำกลุ่ม นปช. ในฐานะผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ออกมาต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรม และได้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง

นางธิดา กล่าวภายหลังว่า การเลือกบริเวณลานรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นสถานที่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้เสียชีวิต เพราะไม่ต้องการให้เกิดกระทบกระเทือนต่อเพื่อน และบรรยากาศการเลือกตั้ง พร้อมกันนี้ถือเป็นโอกาสในการเรียกร้องให้ฝ่ายรัฐเร่งทำความจริงให้ปรากฏ เพื่อคืนความเป็นธรรมแก่ผู้เสียชีวิต และให้มีการปล่อยตัวแกนนำ รวมถึงแนวร่วมที่ถูกคุมขังออกมาต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรม ส่วนกิจกรรมอื่นนอกจากนี้ ทางกลุ่ม นปช.ไม่ได้นัดหมาย แต่อาจมีกลุ่มอิสระอื่น ๆ ไปชุมนุมรำลึกที่แยกราชประสงค์ในช่วงเย็นวันเดียวกันอยู่บ้าง

นางธิดา กล่าวด้วยว่า สำหรับกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์จะจัดปราศรัยที่แยกราชประสงค์นั้น ไม่แน่ใจว่ามีจุดประสงค์ใด หรือเป็นพิธีกรรมที่ต้องการฉลอง เยาะเย้ยคนตาย หรือล้างอาถรรพ์ แล้วที่บอกว่าจะปราศรัยเพื่อพูดความจริงนั้น เป็นความจริงที่พรรคประชาธิปัตย์คิด ไม่ใช่ความจริงที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งสังคมรับรู้และได้พิพากษาแล้ว แต่ก็อดแปลกใจไม่ได้ว่าทำไมกลุ่มผู้ประกอบการราชประสงค์ถึงไม่ออกมาคัดค้าน เหมือนที่เคยปฏิบัติกับกลุ่มคนเสื้อแดง หรือเพราะเป็นพวกเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์

ด้าน นพ.เหวง กล่าวว่า หากมีคนไปตะโกนถาม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ว่า ใครฆ่าประชาชน ในวันปราศรัยที่แยกราชประสงค์ ก็ขออย่าได้มากล่าวหาแกนนำ และพรรคเพื่อไทยอยู่เบื้องหลัง เพราะพวกตนไม่ได้สั่งการ ตรงกันข้ามได้พยายามช่วยพุดคุยไม่ให้คนเสื้อแดงเดินทางไป แต่นายอภิสิทธิ์ ก็ต้องเข้าใจว่ามีคนจำนวนมากคับแค้นที่ญาติ หรือคนในครอบครัวต้องเสียชีวิตจากเหตุสลายชุมนุม ส่วนตัวมองว่าพรรคประชาธิปัตย์ต้องการยั่วยุ 100 เปอร์เซ็นต์ เหมือนการเขี่ยเถ้าตะกอนไฟให้ลุกโพลง ดังนั้น หากเกิดอะไรขึ้น พรรคประชาธิปัตย์ต้องรับผิดชอบ

 

เรียบเรียงบางส่วนจาก เว็บไซต์เดลินิวส์ เว็บไซต์ไอเอ็นเอ็น

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

อบจ.เสนอตั้งโรงถลุงเหล็กที่ปัตตานี

Posted: 19 Jun 2011 10:13 AM PDT

นายประยูรเดช คณานุรักษ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า ตนได้เสนอการตั้งโรงงานถลุงเหล็กที่อำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี ในการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการบริหารกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน คือปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) จาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ที่โรงแรมราชมังคลาพาวิลเลี่ยน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาบรรจุการตั้งโรงงานถลุงเหล็กไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดภาคใต้ชายแดน

นายประยูรเดช เปิดเผยต่อไปว่า แต่ที่ประชุมไม่ได้พิจารณาเรื่องนี้ เนื่องจากนายภานุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ไม่ได้ร่วมประชุมเนื่องจากติดราชการ จึงไม่ใครกล้าตัดสินใจในเรื่องนี้ แต่ได้มีการบันทึกเรื่องนี้ในรายงานการประชุมดังกล่าวแล้ว

นายประยูรเดช กล่าวว่า เหตุที่ตนนำเสนอเรื่องนี้ในที่ประชุม เนื่องจากตนทราบจากรายงานการศึกษาโครงการการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า พื้นที่ที่อำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี เป็นหนึ่งใน 10 แห่ง ที่มีศักยภาพในการรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็ก แต่ที่ผ่านมาทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา และอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เท่านั้น

ทั้ง 10 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ 8 จังหวัด ประกอบด้วย 1.อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 2.อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 3.อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช 4.อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์5.อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 6.อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 7.อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 8.อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร 9.อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 10.อำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กวีศรีประชา: คำปราศรัยหน้าศพ

Posted: 19 Jun 2011 10:09 AM PDT

 

คำปราศรัยหน้าศพ
 
 
 
คำปราศรัยหน้าศพ มิกลบผิด
 
สารภาพบาปชีวิต มิเลือนหาย
 
ยืนเอาหลังพิงฝาสู้ท้าทาย
 
หมากรุกตาสุดท้ายใกล้จะจน
 
ฆาตกรร้อยศพจวนจบแล้ว
 
จะมายืนเข้าแถวกลางถนน
 
พูดโกหกบอกผีวีรชน
 
โทษเสื้อแดงเป็นคนเผาบ้านเมือง
 
โอม..อิทธิฤทธิ์ วิญญาณ อันศักดิ์สิทธิ์
 
อาชญากรอำมหิตไอ้หน้าเหลือง
 
ราชประสงค์เหยียบแดนให้แค้นเคือง
 
มาเยาะเย้ยหาเรื่องคนสิ้นลม
 
สาปให้มันแพ้พ่ายและวายวอด
 
ม้วยมอดลับลาอย่างสาสม
 
จุดธูปอธิษฐานสาบานพนม
 
มือก้มกราบศักดิ์สิทธิ์ทุกสิ่ง วิงวอนเอย.
 
 
 
 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ถึงเวลาแก้ไข ม. 112: ข้อเรียกร้องต่อบรรดาพรรคการเมือง

Posted: 19 Jun 2011 10:02 AM PDT

"...ด้วยความตระหนักถึงประเด็นปัญหาที่รายล้อมการใช้กฎหมายมาตรา 112 พวกเราเชื่อว่าท่ามกลางวิกฤติการเมืองไทยในขณะนี้ หนทางเดียวที่จะสร้างความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ พร้อม ๆ ไปกับสร้างหลักประกันให้กับสิทธิเสรีภาพของประชาชนและระบอบประชาธิปไตยของสังคมไทยก็คือ จะต้องมีการแก้ไขมาตรา 112"

                                                                                                                   เครือข่ายสันติประชาธรรม

                          (ร่วมลงชื่อได้ที่ http://www.ipetitions.com/petition/santiprachadham_june2011/)

0 0 0

 

ข้อเรียกร้องต่อบรรดาพรรคการเมือง
ถึงเวลาแก้ไขมาตรา 112 (กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ)

 

ในวาระที่สังคมไทยกำลังเข้าสู่การเลือกตั้งครั้งสำคัญในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2554 นี้ การเลือกตั้งครั้งนี้ประชาชนจำนวนมากไม่เพียงต้องการรู้ว่าบรรดาพรรคการเมืองใหญ่ๆ มีนโยบายที่จะสร้างความกินดีอยู่ดีให้กับประชาชนอย่างไร แต่ยังจับตามองว่าพวกท่านแนวทางอะไรในการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน และหลักการประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและรุนแรงนับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อปีพ.ศ.2549 เป็นต้นมา

มาตรา 112 กับการละเมิดสิทธิเสรีภาพ
เป็นที่ทราบกันดีว่านับตั้งแต่การรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 วิธีการหนึ่งที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางเพื่อกดปราบผู้ที่มีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างก็คือ การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือมาตรา 112 โดยมักใช้ควบคู่ไปกับ พ.ร.บ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 ดังจะเห็นได้ว่าสถิติผู้ถูกจับกุมและต้องโทษด้วยมาตรา 112 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน กล่าวคือ ในขณะที่ระหว่างปี พ.ศ. 2520-2535 การฟ้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเฉลี่ยเพียงปีละ 10 ราย และลดลงเรื่อยมานับจากปีพ.ศ. 2543 แต่หลังการรัฐประหารจนถึงปี พ.ศ. 2552 มีการยื่นฟ้องคดีหมิ่นฯถึง 396 ราย นอกจากนี้ ภายใต้การทำงานของนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เชื่อได้ว่าตัวเลขผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ จะมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง 

เป็นที่ชัดเจนว่าข้อความหลวม ๆ ของมาตรา 112 ที่ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งสามปีถึงสิบห้าปี" ได้ถูกผู้ที่ยึดกุมอำนาจรัฐและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ใช้เพื่อทำลายความชอบธรรมของกลุ่มการเมืองที่อยู่ตรงข้าม สถาบันกษัตริย์ถูกอ้างครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับการเมืองของคนบางกลุ่ม “ความจงรักภักดี” กลายมาเป็นอาวุธสำหรับข่มขู่คุกคามและสร้างความเกลียดชังในหมู่ประชาชนด้วยกัน ตัวอย่างล่าสุดที่ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมดังกล่าวได้ดีก็คือ คำให้การในศาลของพันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด ถึงกำเนิดของ “แผนผังล้มเจ้า” ของ ศอฉ. ว่าแท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงเรื่องที่ศอฉ. คิดขึ้นเองแบบทันทีทันใดโดยยังไม่มีข้อยืนยันว่า รายชื่อคนจำนวนมากที่ปรากฎในแผนผัง คือคนที่คิด "ล้มเจ้า" หรือ "ล้มล้างสถาบันกษัตริย์" จริงๆ แต่เราก็ได้ประจักษ์กันแล้วว่า แผนการณ์ที่ถูกคิดขึ้นแบบทันทีทันใดนี้ กลายมาเป็นข้ออ้างสำคัญเพื่อใช้ปราบปรามการชุมนุมของคนเสื้อแดงในเดือนเมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ในที่สุด ข้อหาไม่จงรักภักดียังนำไปสู่การตามปิดสถานีวิทยุชุมชุนนับร้อยแห่ง และเว็บไซต์อีกนับหมื่นแห่ง โดยที่เหตุผลที่แท้จริงอาจเป็นเพราะพวกเขากล้าวิพากษ์วิจารณ์ผู้ยึดกุมอำนาจรัฐอย่างรุนแรง และพวกเขาสนับสนุนหรือเห็นใจการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง

ความอ่อนไหวของข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาและครอบครัวของพวกเขาต้องประสบกับการกดดันจากสังคมรอบด้าน ซ้ำร้ายพวกเขามักประสบกับการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่คำนึงถึงหลักการพื้นฐานของสิทธิพลเมืองอีกด้วย เช่น การตีความตามอำเภอใจ, ไม่อนุญาตให้ประกันตน แม้ว่าบางคนจะสูงวัยและมีโรคประจำตัว, ไต่สวนด้วยวิธีปิดลับ, ห้ามสื่อมวลชนรายงานข่าว ฯลฯ ประการสำคัญ สื่อมวลชนเกือบทั้งหมดก็เลือกที่จะปิดหูปิดตาทั้งของตนเองและของประชาชนในเรื่องนี้ จนทำให้การตรวจสอบและคัดคานอำนาจอันล้นฟ้าของกระบวนการยุติธรรมในคดีหมิ่น พระบรมเดชานุภาพเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย

ทั้ง ๆ ที่สิ่งที่พวกเขากระทำนั้นเป็นเพียงแค่แสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง หากพวกเขาผิด ก็ผิดเพราะ “คิดต่าง” เท่านั้น แต่อำนาจรัฐกลับกระทำต่อพวกเขาประหนึ่งอาชญากรร้ายแรง ผู้ต้องหาเหล่านี้จึงมักถูกลงโทษขั้นสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หลายคนถูกกลั่นแกล้งและทำร้ายจากทั้งผู้คุมและผู้ต้องขังในคุก จนเกิดความเครียด ต้องการฆ่าตัวตาย

การปิดกั้น ข่มขู่ คุกคาม และละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยมาตรา 112 ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้สถานการณ์สิทธิเสรีภาพของประเทศไทยตกต่ำอย่างถึงที่สุด กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2553 องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporters Without Borders) เขยิบประเทศไทยจากอันดับที่ 59 (ของปี 2547) ลงไปที่อันดับที่ 153 จากจำนวน 178 ประเทศ ส่วนในปี พ.ศ.2554 องค์กรฟรีดอมเฮ้าส์ เปลี่ยนสถานะของไทยจาก “กึ่งเสรี” เป็น “ไม่เสรี” ส่งผลให้ไทยอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับเกาหลีเหนือ พม่า จีน คิวบา โซมาเลีย อัฟกานิสถาน อิหร่านและอีก 63 ประเทศทั่วโลก 

การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ
ด้วยความตระหนักต่อสภาวการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้ในช่วงที่ผ่านมา ได้มีความพยายามเรียกร้องและรณรงค์ให้รัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากมาตรา 112 และหาทางแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ โดยเป็นการผลักดันทั้งในระดับกลุ่ม เช่น นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์, กลุ่มเครือข่ายสันติประชาธรรม, กลุ่มมาตรา 112:การรณรงค์เพื่อการตื่นรู้, กลุ่มนักเขียนอิสระ, ฯลฯ และทั้งในระดับปัจเจกชน โดยผ่านการเขียนและอภิปรายในที่ต่าง ๆ ของศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์, ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล, ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เป็นต้น นอกจากนี้ มาตรา 112 ยังกลายเป็นประเด็นที่ประชาคมโลกให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552 นักวิชาการชั้นนำทั่วโลกกว่า 50 คนได้ร่วมลงนามในจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฎหมายหมิ่นฯ

นอกเหนือจากปัญหาการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยมาตรา 112 ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว กลุ่มบุคคลและปัจเจกบุคคลข้างต้นยังได้ท้าทายให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ตอบคำถามสำคัญดังต่อไปนี้

- อะไรคือบทบาทและพระราชอำนาจที่แท้จริงและที่ควรจะเป็นของสถาบันพระมหากษัตริย์?

- อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับหลักการเสรีประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน?

- การแก้ปัญหาที่มุ่งไปที่การจับกุมปราบปรามและลงโทษเป็นหลัก จะนำมาซึ่งความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ได้จริงหรือ?

- เจ้าหน้าที่รัฐและระบบตุลาการของไทยปฏิบัติต่อผู้ต้องหาในคดีนี้อย่างโปร่ง ใสและคำนึงถึงหลักการสิทธิและเสรีภาพตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเพียงใด?

- กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีความเหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบันหรือไม่อย่างไร? ควรมีการปรับปรุงการใช้กฎหมายนี้อย่างไร?

- การวิจารณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์จำเป็นต้องเท่ากับการมุ่งทำลายสถาบันจริง หรือ? เราจะมองว่าการวิจารณ์นำไปสู่การปรับตัวของสถาบันกษัตริย์เพื่อให้สอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมือง และนำไปสู่ความมั่นคงของสถาบันท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่?

- หากไม่มีกฎหมายหมิ่นฯแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์ควรได้รับการปกป้องคุ้มครองในลักษณะใด และด้วยกฎหมายใด?

ฉะนั้น จะเห็นได้ว่าปัญหาอันรุนแรงของมาตรา 112 ได้ปลุกเร้าให้ผู้คนกลุ่มต่างๆ ไม่สามารถนิ่งเฉยดูดายได้อีกต่อไป เราเชื่อว่าแนวโน้มว่ากระแสเรียกร้องให้มีการแก้ไขมาตรา 112 จะมาจากกลุ่มที่หลากหลายและเสียงดังมากขึ้นเรื่อย ๆ ฉะนั้น บรรดานักการเมือง อันเป็นตัวแทนของประชาชน ย่อมต้องไม่เพิกเฉยดูดาย หรือหลอกตัวเองต่อไปว่ามาตรา 112ไม่ใช่ปัญหาแต่ประการใด พวกเรา ประชาชนที่ลงนามในท้ายจดหมายฉบับนี้ จึงขอเรียกร้องให้พรรคการเมืองทั้งหลายประกาศนโยบายที่เป็นรูปธรรมต่อมาตรา 112 เพื่อเป็นปัจจัยในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงของประชาชนต่อไป

ท้ายนี้ ด้วยความตระหนักถึงประเด็นปัญหาที่รายล้อมการใช้กฎหมายมาตรา 112 พวกเราเชื่อว่าท่ามกลางวิกฤติการเมืองไทยในขณะนี้ หนทางเดียวที่จะสร้างความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ พร้อม ๆ ไปกับสร้างหลักประกันให้กับสิทธิเสรีภาพของประชาชนและระบอบประชาธิปไตยของสังคมไทยก็คือ จะต้องมีการแก้ไขมาตรา 112

                                                                                                              เครือข่ายสันติประชาธรรม

 

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ธงชัย วินิจจะกูล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ศรีประภา เพชรมีศรี ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
David Streckfuss, The CIEE Research and Development Institute, Khon Kaen University
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการอิสระ

 .....

หมายเหตุ: ท่านที่สนใจสามารถร่วมลงชื่อออนไลน์ได้ในลิงค์ด้านล่างนี้ครับ (โดยกรอกข้อมูลตรงแบบฟอร์มท้ายแถลงการณ์)

http://www.ipetitions.com/petition/santiprachadham_june2011/

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

แถลงการณ์นักอ่าน:“เสรีภาพในการอ่านเป็นพื้นฐานความเป็นมนุษย์ในสังคมอารยะ”

Posted: 19 Jun 2011 09:03 AM PDT

ผู้อ่านกลุ่มเล็กๆบนสังคมออนไลน์ได้ติดตามความเคลื่อนไหวในกรณีปัญหามาตรา112 และหลังจากที่ได้มีกลุ่มนักเขียนได้ร่วมลงชื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฏหมายฉบับนี้กว่า300รายชื่อ จนเป็นเหตุให้นักเขียนกลุ่มนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์โจมตีอย่างหนักจากกลุ่มผู้ที่เห็นต่าง จึงเป็นเหตุให้เกิดแถลงการณ์ของนักอ่านฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้มีการแก้ไขมาตรา112

               

                                                        แถลงการณ์นักอ่าน

“เราต้องการเสรีภาพในการอ่าน เพราะเสรีภาพในการอ่านเป็นพื้นฐานความเป็นมนุษย์ในสังคมอารยะ”

            ร่วมสนับสนุนนักเขียนที่ลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้มีการแก้ไขมาตรา 112

สืบเนื่องจากการจับกุมดำเนินคดีกับคนจำนวนมากในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทั้งโดยปิดลับและเปิดเผย ได้สร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวและเลือกที่จะเงียบของคนในสังคม กระทั่งเมื่อกลุ่มนักเขียนออกมาเคลื่อนไหวลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกเรียกร้อง ให้มีการแก้ไขมาตรา 112 และยุติการใช้ข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพปิดกั้นการแสดงออกและแสดงความ คิดเห็นทางการเมือง กลับเกิดกระแสข่าวเผาหนังสือ การล่าแม่มด การโจมตีใส่ไคล้นักเขียนกว่า 300 คนที่ร่วมลงชื่อดังกล่าว เราในฐานะนักอ่านทั้งเสรีชนทั้งคนในวงการหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างกังวล ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นยิ่ง เรามีความเห็นว่า

ประการแรก นักเขียนที่ร่วมลงชื่อมีเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็นและแสดงความกังวลต่อการ จำกัดเสรีภาพของเพื่อนร่วมวิชาชีพด้วยกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม

ประการที่สอง การออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มนักเขียนเป็นไปตามครรลองระบอบประชาธิปไตย การยัดเยียดข้อกล่าวหาหรือจัดกลุ่มแบ่งพวกโดยอาศัยการเมืองของการแบ่งสีแบ่งขั้ว ไม่อาจช่วยให้สังคมข้ามพ้นไปสู่การถกเถียงอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้

เราจึงขอเรียกร้องให้เพื่อนนักอ่านได้ใช้วิจารณญาณใคร่ครวญ การกระทำของกลุ่มนักเขียนที่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและสังคมไทย เป็นสำคัญ เราหวังว่าเพื่อนนักอ่านจะไม่ตกเป็นเครื่องมือของลัทธิคลั่งชาติคลั่ง สถาบันฯ อย่างไม่ลืมหูลืมตา เพราะเราเชื่อว่านักอ่านมีวุฒิภาวะพอจะพิจารณาปัญหาทั้งปวงด้วยใจเป็นกลาง และเป็นธรรม

ที่สำคัญยิ่งกว่า เราในฐานะนักอ่านมองเห็นปัญหาของการใช้มาตรา 112 มาจำกัดเสรีภาพในการพิมพ์เผยแพร่ มีหนังสือจำนวนมากที่ตีพิมพ์แต่ไม่อาจเผยแพร่เพราะถูกกล่าวหาว่าเข้าข่าย หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มิพักว่าการวินิจฉัยหรือตีความว่าข้อความในหนังสือเล่มใดผิดกฎหมายดังกล่าว กระทำไปโดยไม่มีมาตรฐานใดๆ ชัดเจน

เพื่อนนักอ่านจำนวนมากอาจยังไม่ รู้ว่าที่ผ่านมามีการจับกุมดำเนินคดีกับผู้จัดพิมพ์หนังสือจำนวนไม่น้อย นับตั้งแต่การดำเนินคดีกับ ธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการวารสาร ฟ้าเดียวกัน  การจับกุม สมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการบริหารนิตยสาร วอยซ์ ออฟ ทักษิณ ในฐานะแกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย  การจับกุม บัณฑิต อานียา นักเขียนนักแปลซึ่งนำเอกสารที่เขียนและทำสำเนาขึ้นเองไปจำหน่ายในงานสัมมนา เป็นต้น หรือกรณีล่าสุดที่มีการจับกุมชายชาวอเมริกันที่นำลิงก์หนังสือ “The King Never Smiles” ใส่ไว้ในบล็อกส่วนตัว โดยหนังสือเล่มดังกล่าวถูกสั่งห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักรเนื่องจากมีเนื้อหา เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันของไทย เช่นเดียวกับหนังสือ "The Revolutionary King” ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2544 ก็ไม่ผ่านการตรวจพิจารณานำเข้ามาในประเทศไทยเช่นกัน

ยังไม่ต้องพูดถึงว่ามีการจับกุมดำเนินคดีกับบรรดาคนขายหนังสือเล่มที่ ถูกระบุว่าเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คนขายหนังสือเหล่านั้นล้วนเป็นคนตัวเล็กตัวน้อยทำมาหากินสุจริตแต่กลับถูก ดำเนินคดีในมาตรา 112 ซึ่งระบุว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”

กฎหมาย มาตรา 112 มีปัญหาอย่างไม่ต้องสงสัย แต่สิ่งที่รองรับความชอบธรรมของกฎหมายดังกล่าวก็คือจารีตที่ฝังลึกอยู่ในรัฐ ธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทยโดยไม่เคยได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้มาตรานี้กลายเป็นกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกให้ผู้คนจำนวนมากพร้อมใจ กันมาลงประชาทัณฑ์ผู้ละเมิดจารีตนี้ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง

มีหนังสือจำนวนมากที่ถูก “ต้องห้าม” ถูก “ห้ามอ่าน” นักอ่านต้องลงใต้ดินเพียงเพื่อจะได้อ่านหนังสือเพื่อเพิ่มพูนความรู้ เพื่อเปิดโลกทัศน์ เพื่อวิวาทะทางปัญญา  ไม่เพียงหนังสือ หากแต่บทความ บทวิจารณ์ หรือข้อเขียนอื่นใดก็ตามที่ “จาบจ้วงล่วงเกิน” ต่อจารีตทางความคิดอันศักดิ์สิทธิ์นี้กลับต้องถูกเซ็นเซอร์ ห้ามเผยแพร่

เราอยากบอกผู้มีอำนาจทั้งหลายในบ้านเมืองนี้ว่า นักอ่านทุกคนล้วนมีวิจารณญาณของตนเอง การสั่งห้ามอ่าน ห้ามตีพิมพ์ ห้ามเผยแพร่ การบล็อกเว็บไซต์ การลบความเห็นในกระดานข้อความต่างๆ เท่ากับจำกัดเสรีภาพความเป็นมนุษย์ของนักอ่านอย่างร้ายแรง ยิ่งไปกว่านั้นวัฒนธรรมแบ่งปันกันอ่านในเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นช่องทางการต่อยอดความรู้ที่ไม่พึงถูกจำกัดเสรีภาพใดๆ ทั้งสิ้น

นักอ่านทุกคน มีเสรีภาพที่จะได้อ่าน มีสิทธิที่จะได้รับรู้ว่าเหตุใดจึง “ห้ามอ่าน” และสุดท้ายสิทธิเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งที่ได้อ่านอย่างตรงไปตรง มา เพื่อให้เกิดการวิวาทะอันจะนำไปสู่การประเทืองปัญญาต่อไป

หากนักเขียนและบรรณาธิการถูกจำกัดเสรีภาพแล้วไซร้ นักอ่านเท่ากับถูกจำกัดเสรีภาพไปด้วยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง และยิ่งไม่อาจเรียกร้องแรกแหกกระเชอแก่ผู้ใดได้หากนักเขียนต้องเซ็นเซอร์ตัวเองในงานเขียน ยังไม่นับต้นทุนความรู้ที่เหล่านักอ่านต้องสูญเสียไปจากการไม่ได้อ่าน

เราในฐานะนักอ่านอยากเรียกร้องเพื่อนนักอ่านให้ออกมารวมพลังแสดงความสนับสนุนนักเขียนที่ออกมาเคลื่อนไหวให้มีการแก้ไขมาตรา 112  พร้อมตั้งคำถามว่า ถึงเวลาหรือยังที่เราจะเรียกร้องสิทธิเสรีภาพที่นักอ่านพึงมีในสังคม ประชาธิปไตย

กล่าวถึงที่สุด การพิมพ์หนังสือคือการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงรากถึงโคนทั้งทางความคิดและสังคม ฉันใด การจำกัดเสรีภาพในการพิมพ์ โพสต์ เขียน อ่าน ย่อมเป็นการทำลายความคิดและสังคมอย่างถึงรากถึงโคนฉันนั้น


หมายเหตุ: ผู้ที่ต้องการจะลงชื่อสนับสนุนแถลงการณ์ฉบับนี้สามารถลงชื่อได้ที่ แถลงการณ์นักอ่าน

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

วงอภิปรายย้ำเดินหน้าเลือกตั้ง เปรียบ "รัฐประหาร" ยาสเตียรอยด์แก้ปัญหาได้แค่ช่วงแรก

Posted: 19 Jun 2011 08:55 AM PDT

ในการอภิปราย “โฉมหน้ารัฐบาลและการเมืองไทยหลังเลือกตั้ง” บก.รายการข่าวทีวีไทย เปรียบรัฐประหาร ยาสเตียรอยด์แก้ปัญหาได้แค่ช่วงแรก นักรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ย้ำต้องเลือกตั้ง แนะคนงานแสดงจุดยืนชัดเจนต่อรัฐประหาร ด้านนักวิชาการเศรษฐศาสตร์เผยไม่คาดหวังจากเลือกตั้ง เพราะไม่มีนโยบายปรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ

(19 มิ.ย.54) ที่ห้องประชุม 14 ตุลาฯ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ มีการจัดอภิปรายเรื่อง “โฉมหน้ารัฐบาลและการเมืองไทยหลังเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน "รำลึก 20 ปี ทนง โพธิ์อ่าน" อดีตวุฒิสมาชิกสายแรงงานและผู้นำแรงงานที่หายตัวไปอย่างลึกลับเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 หลังออกมาคัดค้านการยุบเลิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ และต่อต้านการรัฐประหารของ รสช.

เปรียบรัฐประหาร ยาสเตียรอยด์แก้ปัญหาได้แค่ช่วงแรก
ก่อเขตต์ จันทเลิศลักษณ์ บรรณาธิการรายการข่าว ทีวีไทย กล่าวว่า ไม่แน่ใจว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นจุดจบหรือจุดเริ่มของปัญหากันแน่ และไม่รู้ว่ากองทัพจะทำอะไรตามมา อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่า การปฏิวัติที่ผ่านมาเป็นการทำลายประชาธิปไตยที่ชัดเจน พร้อมเปรียบเทียบว่าเป็นเหมือนยาสเตียรอยด์ที่แก้ปัญหาได้ในช่วงแรก แต่ไม่กินมากๆ จะมีผลข้างเคียง และชี้ว่าการรัฐประหารในปี 2549 นั้นทำให้เห็นแล้วว่ารักษาโรคไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงมองว่าวิธีนี้ไม่น่าจะแก้ปัญหาได้ และทำให้ปัญหาใหญ่โตขึ้นอีก

ก่อเขตต์ระบุว่า ในโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้ง ยังมองไม่เห็นแนวโน้มที่ดีที่จะไม่เกิดความขัดแย้ง โดยพรรคที่ถูกคาดว่าน่าจะได้อันดับหนึ่งยังยืนยันว่า ถ้าได้เสียงข้างมากจะมีสิทธิตั้งรัฐบาล และเตือนไม่ให้มือที่มองไม่เห็นหรืออำนาจนอกระบบเข้ามายุ่ง ส่วนพรรคอันดับสองก็ยังระบุว่า ตัวเองมีสิทธิตั้งรัฐบาล หากพรรคอันดับหนึ่งตั้งรัฐบาลไม่ได้ รวมถึงมวลชนที่สนับสนุนพรรคอันดับหนึ่ง ก็บอกว่าต้องเอาคนผิดมาลงโทษ ถามว่าแล้วจะปรองดองกันได้หรือ และหากยิ่งได้เสียงถล่มถลาย ก็เท่ากับแรงกดดันจะมากขึ้น เช่นนี้แล้วจะไปต่ออย่างไร

ก่อเขตต์ เสนอว่า ต้องอาศัยช่วงสองสัปดาห์นี้ ทำให้สิ่งที่คาดทุเลาลง โดยเรียกร้องให้พรรคการเมืองที่มีส่วนขัดแย้ง หากมีเจตจำนงที่แท้จริงที่จะยุติความขัดแย้ง ต้องทำหรือไม่ทำอะไรที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นมาอีก


ย้ำต้องเลือกตั้ง แนะคนงานแสดงจุดยืนชัดเจนต่อรัฐประหาร

ขณะที่ นฤมล ทับจุมพล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ส่วนตัวไม่คิดว่าประชาธิปไตยเท่ากับการเลือกตั้ง โดยมองว่าข้อผิดพลาดของพรรคไทยรักไทยคือ มองว่าเสียงที่เลือกตนมาคืออาณัติสวรรค์ เช่นเดียวกับที่ฝ่ายใช้รถถังมองว่านี่เป็นอาณัติสวรรค์ ซึ่งเธอมองว่าไม่ใช่ทั้งคู่

อย่างไรก็ตาม นฤมลย้ำว่า ประชาธิปไตยไม่มีการเลือกตั้งไม่ได้ เพราะการเลือกตั้งเป็นการแก้ความขัดแย้งแบบไม่ต้องใช้รถถังและไม่ต้องรบกัน ส่วนตัวไม่ว่าจะชอบหรือไม่การเมืองแบบคณิตศาสตร์ ที่มีการคำนวณเสียงจัดตั้งรัฐบาล แต่ในโลกปัจจุบันยังไม่มีวิธีอื่นนอกจากการเมืองแบบนี้ ส่วนตัวจึงยืนยันว่า การเลือกตั้งเป็นทางออกหนึ่งในการแก้ความขัดแย้ง และแม้จะคาดการณ์ได้ว่าพรรคไหนจะได้เป็นรัฐบาล ก็อาจจำเป็นต้องเล่นเกมแบบนี้ เพราะทำให้กระบวนการคลี่คลายความขัดแย้งได้ทำหน้าที่

ทั้งนี้ เธอตั้งข้อสังเกตว่า การเมืองบนถนนปัจจุบัน ไม่ใช่แบบสิบปีที่แล้ว ตอนนี้ไม่มีกฎกติกามารยาทหรือสนใจว่าใครจะรับได้รับไม่ได้ หรือชนชั้นกลางหรือสื่อจะเอาด้วยหรือไม่ เพราะเกิดความรู้สึกว่าการหยุดหรือทำให้ระส่ำระสายมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งเธอตั้งคำถามว่า จะทำอย่างไรให้เรื่องนี้ศิวิไลซ์ กลับมาอยู่ในร่องในรอย และใช้กลไกทางรัฐสภาได้

ผู้ร่วมเสวนาถามว่าหากทักษิณกลับมาจะทำอย่างไร นฤมลตอบว่า ถ้าอยากกลับก็กลับมา แต่กรณีผิดสัญญาประกันก็ต้องยอมรับ หากบอกว่าไม่ยุติธรรมก็ต้องสู้คดี เธอแนะนำว่า ไม่ควรทำเรื่องธรรมดาให้เป็นข้อยกเว้น หรือทำให้เป็นเรื่องใหญ่มาก อย่างที่บางคนบอกว่าถ้ามาก็ต้องตายกันไปข้าง อย่าไปใช้มาตรการพิเศษแก้ปัญหาเรื่องที่ยังไม่ใช่สถานการณ์พิเศษ

สำหรับบทบาทของขบวนการแรงงานไทยต่อสถานการณ์ความขัดแย้งนี้ นฤมลเสนอว่า ต้องกลับไปทำงานสร้างฐานมวลชน รวมถึงแสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าไม่เอารัฐประหารอีกแล้ว นอกจากนี้ ยังเสนอให้ผู้ใช้แรงงานพูดคุยกันและประกาศท่าทีต่อประเด็นต่างๆ อาทิ ชาตินิยม ค่าจ้างขั้นต่ำ การย้ายฐานการผลิต เพื่อเป็นทางเลือกที่สามด้วย
 

เผยไม่คาดหวังจากเลือกตั้ง เพราะไม่มีนโยบายปรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ
ด้าน ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ รองศาสตราจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า คนที่จะมากุมอำนาจรัฐ เท่าที่พอจะรู้มีแค่สองกลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งยังเชื่อในพลังอำนาจของราชการและตามด้วยทุน กลุ่มที่สอง เชื่อในพลังทุนและตามด้วยราชการ ในความคิดของตน นี่จึงไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างชนชั้น ไม่ใช่เรื่องของไพร่กับอำมาตย์ แต่เป็นการต่อสู้ของกลุ่มยุทธศาสตร์ที่ประกอบด้วยกลุ่มชนชั้นหลากหลาย โดยแต่ละกลุ่มมีส่วนผสมตั้งแต่ยอด-รากเหมือนๆ กัน อยู่ที่ว่าจะชูใครขึ้นมา

เขากล่าวด้วยว่า ภายใต้การที่สังคมโลกเคลื่อนตัวไปสู่ระบบทุนนิยมเกือบทั้งหมด ในไทย จากปกติที่จะมีการสะสมทุนในภาคเอกชน แต่ขณะนี้ ทุนได้เข้ามากุมอำนาจรัฐ โดยบ้านเราแหล่งทุนที่ใหญ่ที่สุดคืองบประมาณ เพราะฉะนั้นการที่ทุนด้านหนึ่งสะสมทุนด้วยตัวเองจนยิ่งใหญ่ เมื่อเข้าถึงงบประมาณ เท่ากับทุนสองก้อนอยู่ในมือคนกลุ่มเดียว ส่งผลให้คนกลุ่มนี้มีพลานุภาพสูงตามมา ถ้าต้องการปฏิรูป ก็ต้องปรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ถ้าไม่ปรับเท่ากับว่า นายจ้างผู้กุมทุนก็จะอยู่เหนือคนงานตลอดไป พ่อค้ามีอำนาจเหนือชาวนา มหาอำนาจเหนือประเทศเล็ก รัฐเหนือประชาชน

อย่างไรก็ตาม ณรงค์กล่าวว่า เมื่อไม่มีพรรคใดพูดถึงการปรับความสัมพันธ์เชิงอำนาจ จึงไม่เคยคาดหวังอะไรจากการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะเลือกไป พรรคไหนเข้ามาก็อาศัยพลานุภาพทุนหมด ฉะนั้นมองว่าหลังการเลือกตั้ง ในทิศทางใหญ่ๆ ของการขับเคลื่อนทางสังคมและการเมืองจะไม่มีอะไรเปลี่ยน ยกเว้นนโยบายลูกกวาด ดังนั้น เขาเสนอว่าถ้าวันนี้ยังมีพลังไม่พอ ก็ต้องสะสมพลังไว้แก้ไขปัญหาต่อไป  โดย "นั่งบนภู ดูหมากัดกัน" ไปก่อน

ณรงค์เล่าว่า จากการเคยเป็นที่ปรึกษาพรรคการเมือง 4 พรรค ได้แก่ พรรคไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ ความหวังใหม่ และกิจสังคม ไม่มีพรรคไหนสนใจสร้างความเข้มแข็งให้กระบวนการแรงงานเลย ที่หวังทำงานผ่านพรรคการเมืองไม่เป็นจริง นอกจากนั้นผู้นำแรงงานไปอยู่ในพรรค ก็ลืมฐานและถูกมติพรรคจำกัดไว้ พร้อมเสนอด้วยว่า ถ้าจำเป็นต้องเลือกพรรคใด ก็ให้เลือกพรรคเล็กๆ ที่ไม่มีชื่อเสียง เพื่อเป็นการเลือกพรรคเล็กเขกหัวพรรคใหญ่

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สนทนากับ ออง ซาน ซู จี เนื่องในวันเกิดครบรอบ 66 ปี

Posted: 19 Jun 2011 05:54 AM PDT

สนทนาพิเศษ “โฟนอิน” กับ ออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านของพม่า เนื่องในวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 66 ปี ว่าด้วยมุมมองต่อประชาธิปไตยในพม่า และสถานการณ์หลังรัฐบาลชุดใหม่ รวมทั้งท่าทีของอาเซียนต่อพม่าที่ควรจะเป็น

วันนี้ (18 มิถุนายน 2554) เป็นครบรอบวันคล้ายเกิด 66 ปี ของนางออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านของพม่า ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปีที่เธอได้ฉลองวันเกิดอย่างมีอิสรภาพ เนื่องในวาระดังกล่าว ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ในฐานะรองประธานกลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อประชาธิปไตยในพม่า (ASEAN INTER-PARLIAMENTARY MYANMAR CAUCUS) จึงได้จัดการประชุมสายโทรศัพท์กับนางออง ซาน ซูจี เมื่อวานนี้ (17 มิ.ย. 54) เพื่อแสดงความยินดีในวันคล้ายวันเกิด และสอบถามสถานการณ์ความเป็นไปของพม่าว่าด้วยประชาธิปไตย การคว่ำบาตร และอาเซียน

ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ได้แสดงความยินดีแก่ ออง ซาน ซูจี เนื่องในวันเกิด 66 ปี และแสดงความเป็นห่วงต่อประชาชนชาวพม่า ที่ถูกกดขี่โดยรัฐบาลทหาร พร้อมทั้งเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย ให้หยุดเอารัดเอาเปรียบประชาชนพม่าจากการลงทุนของรัฐบาลไทยในพม่าหลายโครงการ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ชาวพม่า เช่น โครงการสร้างเมืองทวายเป็นท่าเรือขนาดใหญ่ และโครงการสร้างเขื่อนสาละวิน เป็นต้น

ต่อประเด็นดังกล่าว ออง ซาน ซูจี อดีตเลขาธิการพรรค National League of Democracy (NLD) กล่าวว่า ประเทศทุกประเทศ ควรระวังไม่ให้การลงทุนและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ไปกระทบกับสิ่งแวดล้อมและสมดุลทางนิเวศวิทยา เนื่องจากเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องกันหมด ไม่จำกัดแต่ในประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงบทบาทของอาเซียนด้วยว่า อยากให้อาเซียนปฏิบัติต่อพม่าในฐานะส่วนหนึ่งของภูมิภาค และมองว่าปัญหาที่เกิดในพม่า เท่ากับเป็นปัญหาของอาเซียน เช่น กรณีผู้ลี้ภัยจำนวนมากจากพม่าที่ทะลักออกไปยังจีน และไทย ซึ่งส่งผลกระทบในหลายด้าน โดยนางย้ำว่า ปัญหาที่เกิดในพม่า เป็นปัญหาที่อาเซียนต้องร่วมกันแก้ไข เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพม่าอย่างสันติ

นอกจากนี้ ผู้นำฝ่ายค้านพม่ากล่าวว่า แทนที่พม่าจะเสนอตัวเป็นประธานอาเซียนในปี 2014 รัฐบาลพม่าควรจะแก้ไขเรื่องสิทธิมนุษยชนและนักโทษการเมืองในประเทศให้เรียบร้อยก่อน ถึงแม้ว่าตนเองจะได้รับการปล่อยตัวจากการกักขังตัวในบ้านแล้ว แต่ยังคงมีนักโทษการเมืองหลายพันคนที่ยังคงถูกคุมขังอยู่ในพม่าและยังไม่ได้รับการเหลียวแล รวมถึงปัญหาการสู้รบกับชนกลุ่มน้อยที่ยังคงดำเนินอยู่อย่างรุนแรง

ทั้งนี้ ถึงแม้ว่ารัฐบาลพม่าปัจจุบัน จะเป็นรัฐบาลพลเรือนซึ่งมาจากการเลือกตั้งเมื่อปลายปี 2553 แต่เธอมองว่าการเลือกตั้งดังกล่าว รวมถึงการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี 2551 เป็นการกระบวนการที่ไม่โปร่งใสและห่างไกลจากคำว่าประชาธิปไตย ทำให้รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างแท้จริง มิหนำซ้ำ ยังทำให้การปัญหาสู้รบกับชนกลุ่มน้อยรุนแรงมากขึ้นไปอีก ดังจะเห็นจากการสู้รบกับกองกำลังคะฉิ่น (KIA) ในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา

“การเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่จะต้องทำและบรรลุให้ได้ ไม่ใช่ว่าดีแต่พูด ณ ตอนนี้ ประชาชนชาวพม่ายังไม่สามารถรู้สึกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรจริงๆ ในชีวิตประจำวัน ประชาชนต้องรู้สึกและพิสูจน์ได้ เราจึงจะพูดได้ว่ารัฐบาลสร้างความเปลี่ยนแปลงและแก้ปัญหาสำเร็จ ” สตรีวัย 66 ปี กล่าว

ผู้สื่อข่าวได้สอบถามออง ซาน ซูจี ต่อท่าทีของสหภาพยุโรป ที่ลดความเข้มงวดของการคว่ำบาตรต่อพม่าลง เธอชี้แจงว่า สหภาพยุโรปกำลังทำการทบทวนรายชื่อของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลพม่า เนื่องจากมีรายชื่อบริษัทใหม่ๆ เกิดขึ้นมา และบางบริษัทก็ไม่ได้เชื่อมโยงกับรัฐบาล มาตรการดังกล่าวจึงเป็นการทำให้การคว่ำบาตรยุติธรรมมากขึ้น และหวังว่าจะช่วยส่งเสริมกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศต่อไป

เธอยังเปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวด้วยว่า ในต้นเดือนกรกฎาคม เธอวางแผนจะเดินทางเพื่อพบปะประชาชนในจังหวัดต่างๆ นอกย่างกุ้ง และหวังว่าจะได้รับความปลอดภัยในฐานะประชาชนพลเมืองคนหนึ่ง ที่สมควรได้รับความคุ้มครองจากรัฐ การเดินทางครั้งนี้ จะเป็นครั้งแรกที่เธอได้ออกไปพบปะประชาชนในต่างจังหวัดในรอบ 9 ปี

สำหรับในประเทศไทย มีรายงานว่า มีการจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดนางออง ซาน ซูจี ในชุมชนชาวไทยและพม่า ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และจังหวัดเชียงใหม่ นำโดยองค์กรสตรี และชนกลุ่มน้อย ที่ทำงานด้านประชาธิปไตยในพม่า โดยกลุ่มดังกล่าว เสนอข้อเรียกร้องให้รัฐบาลพม่า ปล่อยตัวนักโทษการเมือง หยุดความรุนแรงต่อสตรี และการสู้รบกับชนกลุ่มน้อย และจัดให้มีการเจรจาระหว่างกลุ่มต่างๆ เพื่อนำไปสู่สันติภาพ

กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อประชาธิปไตยในพม่า (ASEAN INTER-PARLIAMENTARY MYANMAR CAUCUS) เป็นการรวมตัวของสมาชิกรัฐสภาในประเทศอาเซียน ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 2547 เพื่อรณรงค์ในประเด็นเรื่องประชาธิปไตยในพม่า โดยไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มสมาชิกรัฐสภาฯ ระหว่างปี 2550-2552

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รำลึก 20 ปี ทนง โพธิ์อ่าน ผู้นำแรงงานที่สาบสูญ "แล" ชี้ กม.ด้านสิทธิเพิ่มปริมาณ ไม่เพิ่มคุณภาพ

Posted: 19 Jun 2011 05:04 AM PDT

(19 มิ.ย.54) มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย พร้อมด้วยเครือข่ายองค์กรแรงงาน และญาติอดีตผู้นำแรงงาน ร่วมกันจัดงาน "รำลึก 20 ปี ทนง โพธิ์อ่าน" อดีตวุฒิสมาชิกสายแรงงานและประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย ซึ่งหายตัวไปอย่างลึกลับเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 หลังออกมาคัดค้านการยุบเลิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ และต่อต้านการรัฐประหารของ รสช. โดยในช่วงเช้า มีการจัดพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับนายทนง พร้อมด้วยอดีตผู้นำแรงงานที่เสียชีวิต บริเวณห้องประชุมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา

รำลึก 20ปี ทนง โพธิ์อ่าน ผู้นำแรงงานที่สาบสูญ "แล" ชี้ กม.ด้านสิทธิเพิ่มปริมาณ ไม่เพิ่มคุณภาพ

ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ปาฐกถาในหัวข้อ “20 ปีการหายสาบสูญของทนง โพธิ์อ่าน กับภาพสะท้อนอำนาจเถื่อนของรัฐต่อผู้ใช้แรงงาน” โดยระบุว่า เวลาที่ผ่านมาทำให้ความทรงจำเกี่ยวกับทนง โพธิ์อ่านเริ่มเลือนหายไป ทั้งนี้ การหายตัวไปของทนงสะท้อนให้เห็นว่า แม้บ้านเมืองจะดูดีขึ้นในทางการเมือง เช่น รัฐธรรมนูญดีขึ้นในด้านสิทธิเสรีภาพ มีสถาบันรับรองสิทธิเสรีภาพผู้คนมากขึ้น อาทิ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ หน่วยงานยุติธรรม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ แต่เป็นการเพิ่มขึ้นเชิงปริมาณ ไม่ได้ชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มเชิงคุณภาพ เพราะไม่มีหลักประกันการได้มาและรักษาไว้ซึ่งสิทธิเสรีภาพเลย การหายตัวของทนงสะท้อนถึงการปฏิเสธสิทธินี้ และการปฏิเสธนั้นยังดำรงอยู่มาตลอด 20 ปี

นอกจากนี้ สะท้อนด้วยว่าขบวนการแรงงานยังไร้อำนาจต่อรองทางการเมืองมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดความเป็นปึกแผ่นของขบวนการ ดังนั้น ผู้ใช้แรงงานจึงไม่อาจทำให้ความเป็นความตายของผู้นำแรงงานมีความสำคัญและได้รับการติดตามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้

ศาสตราภิชานแล กล่าวว่า การหายไปของทนงสะท้อนว่าผู้นำยุคสมัยไหนก็เหมือนกันคือไม่สนใจเรื่องราวของคนตัวเล็กๆ อย่างผู้ใช้แรงงาน คนรับผิดชอบโดยตรงก็ดองเรื่องจนหายไป ไม่เคยแสดงให้เห็นถึงการติดตามอย่างจริงจัง ผู้นำรัฐบาลยุคต่อมาก็รู้สึกว่าควรลืม เพราะตัวเองไม่ได้ก่อ ไม่ต้องสานต่อ เรื่องนี้ได้อุทาหรณ์ว่า ผู้นำประเทศหรือรัฐบาล มีแนวโน้มที่จะเกี้ยเซี้ยกันในมู่ชนชั้นผู้นำมากกว่าลงมาแก้ไขปัญหาของอีกชนชั้น

อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เตือนความจำว่า ก่อนการหายตัวไปของทนงนั้น ทนงได้ลั่นวาจาว่า หาก รสช.ยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำจะนำผู้ใช้แรงงานทั้งหลายมาประท้วงเต็มสนามหลวง แต่ในวันนี้ที่ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นประเด็นหาเสียงสำหรับการเลือกตั้งที่จะมาถึง ดูเหมือนคนจะลืมไปแล้วว่าผู้ที่พยายามปกป้องให้การจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำดำรงอยู่ได้หายไปและไม่มีใครพูดถึงอีก

เขาบอกว่า ขณะที่ฝ่ายบ้านเมืองใช้ "เวลา" ให้ฆ่าคนที่เป็นประจักษ์พยานให้ล้มหายตายสูญไป ฆ่าความทรงจำให้ถูกลืม เราจะต้องย้อนรอยด้วยการตอกย้ำความทรงจำเป็นระยะๆ ทำให้เรื่องของทนงอยู่ในประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต

"อย่าลืมว่าสิ่งที่เกิดกับคุณทนงจะเกิดกับเราเมื่อไหร่ก็ได้ เราอยากให้เกิดขึ้นและจบลงอย่างไร ขึ้นกับเราในที่นี้และผู้ใช้แรงงานในทุกที่" ศาสตราภิชานแลทิ้งท้าย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ 5

Posted: 19 Jun 2011 04:49 AM PDT

หมายเหตุ - เมื่อเวลา 17.36 น. วันนี้ (19 มิ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 พรรคประชาธิปัตย์ ได้เขียนบทความ "จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ 5" โดยเขียนติดต่อกันเป็นตอนที่ 5 และได้เผยแพร่ลงในแฟนเพจ "Abhisit Vejjajiva" ของตน

โดยชี้ว่า "ดีแต่พูด" เป็นวาทกรรมที่ฝ่ายตรงข้ามสร้างขึ้น โดยอภิสิทธิ์กล่าวหาว่าเกิดจากการให้คนเสื้อแดงไปชูป้ายที่งานวันแรงงานที่องค์กรเอกชนจัดขึ้น เพื่อให้ ส.ส.เพื่อไทยเอาไปขยายผล

อย่างไรก็ตามการชูป้ายในงานดังกล่าวไม่ใช่วันแรงงาน แต่เป็นการจัดงานเนื่องในวันสตรีสากล โดยจัดล่วงหน้าวันจริงคือวันที่ 6 มีนาคม และคนที่ชูป้ายคือ น.ส.จิตรา คชเดช แกนนำคนงานผลิตชุดชั้นใน Try Arm ที่ถูกบริษัทบอดี้ แฟชั่น ผู้ผลิตสินค้าไทรอัมพ์เลิกจ้างและฟ้อง น.ส.จิตรา และแกนนำสหภาพหลายคดี

นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ยังยืนยันว่าที่ผ่านมานโยบายหลายด้านที่เขาประกาศสามารถทำได้จริงหลายเรื่อง ขณะที่นายอภิสิทธิ์ยังย้อนถามว่า ถ้าดีแต่พูด แปลว่า พูดแล้วทำไม่ได้ จะถือว่าโครงการ Elite Card ค้าปลีกเข้มแข็ง วัวล้านตัว เข้าข่ายไหม เหมือนกับเรื่องจะขึ้นค่าแรง 300 บาท โดยไม่สนว่าธุรกิจจะอยู่ได้ไหม หรือจะใช้เงินซื้อคอมพิวเตอร์แจกเด็กคนละเครื่องโดยไม่ขึ้นภาษี ไม่กู้เพิ่ม

นายอภิสิทธิ์ทิ้งท้ายในบทความด้วยว่า "และถ้าหากว่า ดีแต่พูด แปลว่า พูดแล้วไม่ทำ ใครล่ะที่หลอกพี่น้องเสื้อแดงว่า ให้มาชุมนุมเยอะ ๆ เสียงปืนดังขึ้นเมื่อไหร่จะมายืนแถวหน้า แต่กลับไปช้อปปิ้งอยู่ปารีส แต่ก็มีหลายคนที่ผมเสียดายว่า ไม่ดีแต่พูด แต่ทำจริง พวกที่ประกาศล่วงหน้าให้มา “เผา” ไงครับ"

สำหรับบทความทั้งหมดมีดังนี้

000

จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ 5

by Abhisit Vejjajiva on Sunday, 19 June 2011 at 17:36

 

นอกจากเรื่อง 91 ศพแล้ว วาทกรรมที่ฝ่ายตรงข้ามผมสร้างขึ้นเพื่อเป็นกระแสก็คือ “ดีแต่พูด”

ผมเข้าใจดีว่านี่คือกลยุทธของฝ่ายตรงข้าม เพราะนอกจากจะพยายามปิดกั้นไม่ให้ผมลงพื้นที่ในหลายพื้นที่แล้ว ก็ไม่ต้องการให้ผมสื่อสารกับประชาชน หาทางลดความเชื่อถือของการให้ความจริงและการใช้เหตุผลของผม อธิบายถึงปัญหา แนวคิด นโยบาย และผลงานของรัฐบาล

กระบวนการนี้เริ่มจากการให้คนเสื้อแดงไปชูป้ายที่งานวันแรงงานที่องค์กรเอกชนจัดขึ้น

เพื่อให้ ส.ส.เพื่อไทยเอาไปขยายผลในสภาและการสร้างกระแส  ผมเองก็หวังว่าผู้เกี่ยวข้องและประชาชนจะมองทะลุกลยุทธ์นี้ และมองเห็นความเป็นจริง  เพราะที่จริงวันที่เขาเชิญผมไปร่วมงานก็เพราะรัฐบาลนี้ “ทำจริง” ในเรื่องแรงงานมาตลอด 2 ปีกว่า ทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์ในระบบประกันสังคม เปิดโอกาสให้แรงงานนอกระบบเข้ามาสู่ประกันสังคม แก้กฎกระทรวงให้รับคนพิการเข้าทำงานมากขึ้น รวมทั้งเตรียมปฏิรูประบบประกันสังคมและค่าจ้างที่มีการเพิ่มขึ้นไปแล้ว และจะขึ้นต่อไป รวมไปถึงการประกาศค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานเป็นครั้งแรก

ผมเขียนเรื่องนี้ระหว่างเดินทางกลับจากอินโดนีเซีย เพราะไทยได้รับความไว้วางใจจาก World Economic Forum ให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม WEF ในเอเชียตะวันออกในปีหน้าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

ถือเป็นรูปธรรมในการฟื้นความเชื่อมั่นของประเทศ หลังจากสภาวะรัฐล้มเหลว เมื่อผมเข้ามา และหลังจากที่มีคนทำลายภาพลักษณ์ของประเทศด้วยการล้มประชุมอาเซียนและเผา บ้านเผาเมือง ระหว่างที่เดินทางมาครั้งนี้ ผู้นำทั้งภาคธุรกิจและการเมืองต่างยอมรับถึงความสำเร็จของการบริหารเศรษฐกิจไทยในเวลา 2 ปี

เปลี่ยนการหดตัวทางเศรษฐกิจมาเป็นการขยายตัวเกือบ 8% สูงเป็นอันดับที่ 2 ของอาเซียน

เปลี่ยนการส่งออก ท่องเที่ยวที่ติดลบ เป็นการส่งออกและท่องเที่ยวที่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์

ผ่านวิกฤติเศรษฐกิจมาได้โดยคนไม่ตกงานเป็นล้าน แต่ตอนนี้อัตราการว่างงานไม่ถึง 1% ต่ำที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง

รักษาเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ในประเทศเพื่อนบ้านบางแห่งขึ้นไปเกือบ 30%

ไม่ได้สร้างภาระหนี้ในประเทศ ตรงกันข้ามกับวาทกรรมว่า “เก่งแต่กู้” เพราะหนี้สาธารณะ / รายได้ประเทศ กำลังลดลงมาอยู่ระดับต่ำกว่า 40% ต่ำกว่าปลายรัฐบาลทักษิณด้วยซ้ำ

ถ้าไม่ต้องทำงาน  ดีแต่พูด  แล้วทำสิ่งเหล่านี้ได้  ชีวิตผมคงสบายกว่านี้มาก

ผมยังแปลกใจว่า ถ้าคำว่าดีแต่พูด แปลว่า พูดแล้วไม่ทำ คนที่มากล่าวหาผมกล้าดีอย่างไร

บริหารประเทศมา 6 ปี ไม่เคยสนใจเรื่องเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แต่ภายใน 99 วัน นับตั้งแต่ผมทำงาน ผมให้เบี้ยยังชีพไปถึงผู้สูงอายุถ้วนหน้า

บริหารประเทศมา 6 ปี ไม่เอาจริงเรื่องเรียนฟรี แต่ภายใน 99 วัน ผมมีเงินส่งถึงมือผู้ปกครองเป็นค่าเครื่องแบบนักเรียน อุปกรณ์การเรียน และตำราเรียน

บริหารประเทศมา 6 ปี ไม่ให้ค่าตอบแทน อสม. แต่ผมมาดำเนินการใน 99 วัน

ทั้ง ๆ ที่นโยบายเหล่านี้นักการเมืองแทบทุกพรรค “พูด” มาช้านาน

แต่ถ้าดีแต่พูด แปลว่า พูดแล้วทำไม่ได้

โครงการ Elite Card (ที่ว่าจะหาเงิน 1 ล้านล้านบาท) ค้าปลีกเข้มแข็ง  SPV  วัวล้านตัว ฯลฯ ที่ล้มเหลว เข้าข่ายไหม

เหมือนกับที่พูดว่าจะขึ้นค่าแรง 300 บาททันทีทั่วประเทศ ไม่สนใจว่าธุรกิจจะอยู่ได้ไหม หรือจะใช้เงินเป็นแสนล้านเพื่อซื้อคอมพิวเตอร์แจกเด็กคนละเครื่องโดยไม่ขึ้น ภาษี  ไม่กู้เพิ่ม

หวังว่าประเทศนี้จะไม่ต้องพิสูจน์ว่า “ดีแต่พูด” แน่นอน

และถ้าหากว่า ดีแต่พูด แปลว่า พูดแล้วไม่ทำ

ใครล่ะที่หลอกพี่น้องเสื้อแดงว่า ให้มาชุมนุมเยอะ ๆ เสียงปืนดังขึ้นเมื่อไหร่จะมายืนแถวหน้า แต่กลับไปช้อปปิ้งอยู่ปารีส

แต่ก็มีหลายคนที่ผมเสียดายว่า ไม่ดีแต่พูด แต่ทำจริง

พวกที่ประกาศล่วงหน้าให้มา “เผา” ไงครับ

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล: โต้ รายงานประจำปี 2553 ของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

Posted: 19 Jun 2011 03:50 AM PDT

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล: โต้ รายงานประจำปี 2553 ของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้ออกรายงานประจำปี 2553 (ดาวน์โหลดได้ที่นี่) โดยที่ในรายงานฉบับดังกล่าวมี “บทส่งท้าย” ซึ่งเป็นการเขียนขึ้นเพื่อตอบโต้รายงานของนิตยสาร “ฟอร์บ” ที่ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่เป็นพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก โดยเฉพาะ (ดู “บทส่งท้าย” นี้ได้จาก มติชนออนไลน์) เป็นที่ทราบกันดีว่า “ฟอร์บ” วางข้อสรุปของตนอยู่บนการคำนวนมูลค่า “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ประเภทต่างๆที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินฯ “บทส่งท้าย” ของรายงานประจำปีของสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้โต้แย้ง ประเด็นสำคัญนี้ ดังนี้

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นทรัพย์สินของรัฐและของแผ่นดิน ซึ่งมีรัฐบาลโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการเป็นผู้รับผิดชอบ โดยสำนักงานฯ เป็นผู้ดูแล

ข้อความนี้ ไม่เป็นความจริง ทั้งในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติ กล่าวคือ “รัฐบาล” หาได้ “เป็นผู้รับผิดชอบ” ต่อทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด รัฐบาลไม่ว่าชุดไหนๆ ก็ไม่มีอำนาจในการควบคุมดูแล จัดการ เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ เป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้วที่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และสำนักงานทรัพย์สินฯ ไม่เคยอยู่ในความ “รับผิดชอบ” ของรัฐบาล หรือรัฐสภาที่ควบคุมรัฐบาล เลย และนี่เป็นเรื่องที่รู้กันดี ทั้งในวงการธุรกิจ ในวงการรัฐบาล และที่แน่ๆ ในสำนักงานทรัพย์สินฯเอง การเขียน “บทส่งท้าย” เช่นนี้ เป็นการบิดเบือนความจริง เพื่อโต้แย้ง “ฟอร์บ” ว่า แท้จริงแล้ว ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (รวมทั้งมูลค่าดอกผลต่างๆ) อยู่ในความควบคุมของรัฐบาล เป็นทรัพย์สินของรัฐที่รัฐบาลดูแล เหมือนทรัพย์สินของรัฐอื่นๆ จึงไม่อาจนำมาใช้เป็นการคำนวน “ความร่ำรวย” ของพระมหากษัตริย์ไทยแบบที่ “ฟอร์บ” ทำได้ พูดแบบภาษาชาวบ้านคือ “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” แท้จริงแล้ว “อยู่ในมือ” ของรัฐบาล ไม่ใช่ของสถาบันกษัตริย์

ตัวบทกฎหมาย
ขอให้เราเริ่มที่ตัวบทกฎหมาย พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2491 กำหนดไว้ดังนี้

มาตรา 4 ทวิ ให้ตั้งสำนักงานขึ้นสำนักงานหนึ่งเรียกว่า “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” มีหน้าที่ปฏิบัติการตามความในมาตรา 5 วรรคสอง

ให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีฐานะเป็นนิติบุคคล

มาตรา 4 ตรี ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์" ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกไม่น้อยกว่า 4 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์จะได้ทรงแต่งตั้ง และในจำนวนนี้จะได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 1 คน

ให้คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีอำนาจหน้าที่ดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีอำนาจหน้าที่ตามที่คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มอบหมาย และมีอำนาจลงชื่อ เป็นสำคัญผูกพันสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

มาตรา 5 . . .ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์บรรดาที่เป็นเครื่องอุปโภคบริโภค ให้อยู่ในความดูแลรักษาของสำนักพระราชวัง

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นอกจากที่กล่าวในวรรคก่อนให้อยู่ในความดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ก่อนอื่น ขอให้สังเกตว่า “อำนาจหน้าที่” ของ “คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” กำหนดไว้ (มาตรา 4 ตรี วรรคสอง) เพียงหลวมๆว่า “ดูแลโดยทั่วไป” ซึ่ง “กิจการของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ไม่ใช่ ดูแลหรือมีอำนาจในการควบคุมตัดสินใจเกี่ยวกับตัว ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หรือดอกผลกำไรจากตัวทรัพย์สินนั้นเอง ในความเป็นจริง คณะกรรมการนี้ อย่างมากก็มีลักษณะเป็นเพียง advisory board หรือ คณะกรรมการที่ปรึกษา ให้กับสำนักงานทรัพย์สินฯ ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทแท้จริงในการดำเนินการเกี่ยวกับตัวทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (โดยเฉพาะคือตัวผู้อำนวยการสำนักงานฯ ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเอง) ยิ่งกว่านั้น คณะกรรมการ ที่ว่านี้ มี “คนของรัฐบาล” คือ รมต.คลัง เป็นประธานโดยตำแหน่งเป็นเพียงคนเดียว กรรมการที่เหลืออีก 4 คน (รวมทั้ง ผู้อำนวยการ สำนักงานทรัพย์สินฯ) ล้วนแต่แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์

ดังที่จะเล่าต่อไปข้างล่าง ในการพิจารณาสถานะสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในระยะหลายสิบปีที่ผ่านมา ซึ่งมีตัวแทนของสำนักงานทรัพย์สินฯเองเข้าร่วมด้วย แทบไม่มีการกล่าวถึง “คณะกรรมการทรัพย์สินฯ” เลย แม้แต่ในแง่บทบาทต่อการดำเนินงานของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่สำคัญ การมีอยู่ของคณะกรรมการฯนี้ ไม่มีความหมายใดๆต่อการที่จะตัดสินว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ หรือตัวทรัพย์สินฯเอง ขึ้นต่อหรืออยู่ในกำกับหรือความรับผิดชอบของรัฐบาลหรือไม่ และข้อสรุปของการพิจารณาทุกครั้งคือ สำนักงานทรัพย์สินฯ และตัวทรัพย์สินฯที่สำนักงานฯดำเนินการดูแล ไม่ได้ขึ้นต่อหรืออยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลเลย แต่ขึ้นต่อองค์พระมหากษัตริย์ พูดง่ายๆคือ การมี “คณะกรรมการ” ที่มี รมต.คลัง เป็นประธานโดยตำแหน่งดังกล่าว ไม่ได้ทำให้สำนักงานทรัพย์สินฯ อยู่ในความรับผิดชอบหรือกำกับดูแลของรัฐบาลแต่อย่างใดเลย

ดังนั้น การที่ “บทส่งท้าย” ในรายงานประจำปี 2553 ของสำนักงานทรัพย์สินฯ กล่าวถึงการมีอยู่ของคณะกรรมการทรัพย์สินฯที่มี รมต.คลังเป็นประธานโดยตำแหน่ง เพื่ออ้างว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มี “รัฐบาล...เป็นผู้รับผิดชอบ” นั้น จึงเป็นการจงใจบิดเบือนความจริง

ในทางตรงข้าม กฎหมายได้ระบุไว้ชัดเจน ถึงความมีอำนาจสิทธิ์ขาดในทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และผลประโยชน์ที่ได้จากทรัพย์สินฯนั้น ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัฐบาลเลย ดังนี้

มาตรา 6 รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่กล่าวในมาตรา 5 วรรคสองนั้น จะจ่ายได้ก็แต่เฉพาะในประเภทรายจ่ายที่ต้องจ่ายตามข้อผูกพัน รายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือน บำเหน็จ บำนาญ เงินรางวัล เงินค่าใช้สอย เงินการจร เงินลงทุน และรายจ่ายในการพระราชกุศล เหล่านี้เฉพาะที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วเท่านั้น

รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายใช้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใดๆ ....

นั่นคือผลประโยชน์ทั้งหมดที่ได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (หลังการหัก “ต้นทุน” ในการดำเนินงาน) พระมหากษัตริย์จะทรงจำหน่ายใช้สอย ในทางใดๆก็ได้ “ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใดๆ” นั่นหมายรวมถึงว่า จะทรงจำหน่ายใช้สอยในกรณีที่จะตีความว่าเป็น “ส่วนพระองค์” ก็ได้ กฎหมายให้อำนาจสิทธิ์ขาด ไม่มีข้อห้ามเลยแม้แต่น้อย (อันที่จริง แม้แต่พวก “ต้นทุน” ในการดำเนินงาน ที่กำหนดในวรรคแรก ก็ต้อง “ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วเท่านั้น”)

นี่คือการ “เบลอ” “เส้นแบ่ง” ระหว่าง “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” กับ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” ที่เกิดขึ้นจากกฎหมายปี 2491 ที่เป็นผลงานของรัฐบาลนิยมเจ้า (royalist) พรรคประชาธิปัตย์ ที่ขึ้นสู่อำนาจจากการรัฐประหารโค่นคณะราษฎรในปี 2490 (กฎหมายทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ฉบับที่ออกโดยคณะราษฎร ในปี 2479 รัฐบาลเป็นผู้ควบคุมทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทั้งหมด แม้แต่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ ก็ยังอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวังที่รัฐบาลเป็นผู้ควบคุมได้จริง)

การตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา
ตัวบทกฎหมายนี้ได้สร้างปัญหามาโดยตลอด เพราะโดยสามัญสำนึก “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” สมควรเป็น ทรัพย์สินของรัฐ ซึ่งตามหลักการปกครองประชาธิปไตยและรัฐสมัยใหม่ ก็ควรอยู่ภายใต้การควบคุมรับผิดชอบของรัฐบาล (และรัฐสภา) ที่ประชาชนเลือกมา ว่าจะนำผลประโยชน์ที่ได้จากทรัพย์สินดังกล่าว ไปใช้จ่ายในทางใดบ้าง แต่ตัวกฎหมายกลับกำหนดให้อำนาจสิทธิ์ขาดในเรื่องนี้อยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์

ดังนั้น ในช่วง 30 กว่าปีที่ผ่านมา จึงมีปัญหาให้ต้องตีความกฎหมายหลายครั้ง จากปี 2518 เป็นต้นมา ประเด็นที่ว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นหน่วยงานของรัฐ ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ที่อยู่ในความควบคุมดูแล รับผิดชอบของรัฐบาลหรือไม่ ได้ถูกนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกา ถึง 5 ครั้ง ซึ่งทุกครั้ง ยกเว้นครั้งสุดท้ายครั้งเดียว ได้ข้อสรุปออกมาว่า ไมใช่ “หน่วยงานของรัฐ หน่วยราชการ หรือรัฐวิสาสหกิจ” และไม่อยู่ในการควบคุมหรือกำกับใดๆของรัฐบาล แม้แต่ครั้งสุดท้ายที่คณะกรรมการกฤษฎีกาเปลี่ยนมาตีความว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็น “หน่วยงานของรัฐ” ก็ยังยืนยันว่า สำนักงานฯ “มิได้ขึ้นอยู่ในกำกับของคณะรัฐมนตรีหรือกระทรวงทบวงกรมใด”

ผมจะไม่เล่ารายละเอียดของการประชุมตีความแต่ละครั้งของคณะกรรมการกฤษฎีกาในที่นี้ เพราะจะยาวมาก ผู้สนใจขอให้อ่านบทความของผมเรื่อง “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คืออะไร?” ใน ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มีนาคม 2549) แต่จะสรุปเพียงเนื้อหาสำคัญ ดังต่อไปนี้

การตีความครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2518) มีปัญหาเกิดขึ้นว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จะถือเป็น “รัฐวิสาหกิจ” ได้หรือไม่ คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ลงความเห็นว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ แต่““จัดตั้งขึ้นโดยมิได้อาศัยเงินจากงบประมาณแผ่นดิน และมีหน้าที่ดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์ในทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” มี “ความเป็นอิสระของการดำเนินกิจการ...ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมหรือการกำกับของรัฐบาล” ซึ่งรายได้จากการดำเนินการเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว “ถวายพระราชอำนาจในอันที่จะจำหน่ายใช้สอยได้ตามพระราชอัธยาศัย”

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์....ไม่อาจถือได้ว่าเป็นกิจการของรัฐ เพราะคำว่า “รัฐ” และคำว่า “พระมหากษัตริย์” มีความหมายแตกต่างกัน และตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2479 [แก้ไขเพิ่มเติม 2491] ก็มิได้มีบทบัญญํติที่แสดงให้เห็นว่า รัฐได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์แต่ประการใด การดำเนินกิจการของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มิได้อาศัยเงินงบประมาณแผ่นดินในรูปรายได้หรือเงินอุดหนุน...

การตีความครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2533) มีปัญหาว่า สำนักงานป้องกันปราบปรามการทุจริต หรือ “ปปป” (ปัจจุบันคือ “ปปช”) สามารถเข้าไปตรวจสอบสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้หรือไม่ เพราะมีผู้ร้องเรียนมาว่ามีการทุจริต จึงต้องการให้ตีความว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็น “หน่วยงานของรัฐ ส่วนราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ” หรือไม่ (ซึ่งถ้าเป็น “ปปป.”ก็จะสามารถเข้าไปตรวจสอบได้) ครั้งนี้เป็นครั้งที่มีรายละเอียดน่าสนใจมาก (ดูบทความของผมใน ฟ้าเดียวกัน) เพราะมีความเห็นแตกแยกเป็นเสียงข้างมากและเสียงข้างน้อย มีการเรียกตัวแทนสำนักงานทรัพย์สินฯมาร่วมชี้แจงด้วย แต่ในที่สุด คณะกรรมการกฤษฎีกาก็ลงความเห็นตามเสียงข้างมากว่า กฎหมายจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ “ประสงค์จะแยกการจัดการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ขึ้น ออกจากส่วนราชการให้เป็นเอกเทศ...ไม่มีบทบัญญัติมาตราใดกำหนดให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นส่วนราชการ” และ “การที่ทรงแต่งตั้งกรรมการ [ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์] ดังกล่าว เป็นพระราชดำริของพระมหากษัตริย์ มิใช่รัฐบาลเป็นผู้เสนอแนะในการแต่งตั้งแต่ประการใด การที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้งดังกล่าว ก็เป็นเพียงการปฏิบัติการให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มิได้มีผลทำให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ” สรุปแล้ว “ปปป” จึงเข้าไปตรวจสอบเรื่องร้องเรียนทุจริต ไม่ได้ (มีหน่วยงานใน “ความรับผิดชอบ” ของรัฐบาล – นี่คือข้ออ้างของ “รายงานประจำปี” สำนักงานทรัพย์สินฯ – ที่ไหน ที่ไม่อนุญาตให้มีการเข้าไปตรวจสอบเรื่องร้องเรียนทุจริต?)

การตีความครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2536) มีปัญหาว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือเป็น “เอกชน” ตาม พรบ.ให้เอกชนเข้าร่วมในกิจการของรัฐ (2535) หรือไม่ ซึ่ง “เอกชน” ตาม พรบ.นั้นหมายถึง “บุคคลซึ่งไม่อยู่ในอำนาจควบคุมหรือกำกับของรัฐบาล” ข้อสรุปของคณะกรรมการกฤษฎีกาคือ สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็น “เอกชน” ตามความหมายนี้ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้กล่าวถึง คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ว่า

กรรมการเกือบทั้งหมด (ยกเว้นประธานซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นโดยตำแหน่ง) พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งด้วยพระองค์เอง.... การดำเนินงานของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จึงมิได้อยู่ในการควบคุมหรือกำกับของรัฐบาล ดังนั้น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ย่อมมิใช่ส่วนราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมิใช่รัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 (มาตรา 4) และก็มิใช่หน่วยงานอื่นใดภายใต้รัฐบาลด้วย เพราะมิได้อยู่ในการควบคุมหรือกำกับของรัฐบาล ที่จะจัดให้ดำเนินงานตามความประสงค์ของรัฐบาลได้ แต่การดำเนินธุรกิจของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นไปเพื่อจัดหาผลประโยชน์แก่กองทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้จ่ายสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นงานที่แยกอยู่เป็นเอกเทศต่างหาก และเท่าที่เป็นมา การที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้าถือหุ้นในบริษัทรัฐวิสาหกิจแห่งใด ก็ถือว่ามีฐานะอย่างเอกชน ไม่มีการนับส่วนที่มีหุ้นนั้นว่าเป็นของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จากเหตุผลดังกล่าว จึงเห็นได้ว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีฐานะเป็น “เอกชน” ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535

การตีความครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2544) ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ทำเรื่องถามคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นกระทรวง ทบวง กรม และทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่า หรือไม่ และรัฐบาลมีความผูกพันต้องรับผิดชอบในหนี้สินและภาระผูกพันของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หรือไม่” คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้วินิจฉัยตอบว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ “มิใช่หน่วยงานภาครัฐที่อยู่ภายใต้การควบคุมหรือกำกับดูแลของรัฐบาล” จึงไม่มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือเทียบเท่า และ “ดังนั้น รัฐบาลจึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชอบในหนี้สินและภาระผูกพันของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์”

การตีความครั้งที่ 5 (พ.ศ. 2544) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ซึ่งเป็นองค์กรใหม่ตามรัฐธรรมนูญ 2540 ได้รับการร้องเรียนจากผู้เช่าที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์รายหนึ่ง เรื่องการปฏิบัติงานของสำนักงานทรัพย์สินฯ จึงเกิดปัญหาว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ซึ่งมีอำนาจในการสอบสวนข้อเท็จจริงการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ หน่วยงานของรัฐ, หน่วยราชการ, รัฐวิสาหกิจ หรือ ราชการส่วนท้องถิ่น จะมีอำนาจในการสอบสวนข้อเท็จจริงในกรณีสำนักงานทรัพย์สินฯหรือไม่ เพราะไม่ชัดเจนว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ มีฐานะเป็น หน่วยงานของรัฐ, หน่วยราชการ, รัฐวิสากิจ หรือไม่ จึงขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความ ปรากฏว่า เป็นครั้งแรกในระยะหลายสิบปี คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ “ไม่ใช่หน่วยราชการ....ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ” แต่ “ถือได้ว่าเป็นหน่วยงานของรัฐ” เพราะอยู่ในกำกับของพระมหากษัตริย์ ซึ่งครั้งนี้ ต่างจากครั้งก่อนๆ ที่คณะกรรมการกฤษฎีกาเปลี่ยนมาตีความว่า พระมหากษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งของรัฐ (ดูเปรียบเทียบคำตีความครั้งที่ 1 ที่ยกมาข้างต้น) ดังนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา จึงทำการสอบสวนข้อเท็จจริงได้

จะเห็นว่า ถ้าเทียบกับการตีความทุกครั้งที่ผ่านมา ที่ปฏิเสธฐานะในลักษณะที่เกี่ยวกับรัฐของสำนักงานทรัพย์สินฯ ในทุกกรณี (รัฐวิสากิจ, หน่วยราชการ, หน่วยงานของรัฐ) ครั้งนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้หันมาตีความว่าสำนักงานทรัพย์สินฯมีฐานะเป็น “หน่วยงานของรัฐ” แต่การตีความนี้ กลับยิ่งเป็นการยืนยันว่า ข้ออ้างของ “บทส่งท้าย” ใน “รายงานประจำปี 2553” ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ไม่ตรงความจริง คือข้ออ้างที่ว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ “เป็นของรัฐ” ที่อยู่ในความ “รับผิดชอบ” ของรัฐบาล ไม่ใช่ขึ้นกับพระมหากษัตริย์ (ดังนั้น “ฟอร์บ” จะเอามูลค่าไปคำนวนเป็น “ความร่ำรวย” ของพระมหากษัตริย์ไม่ได้) เพราะการที่ คณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความในครั้งนี้ว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็น “หน่วยงานของรัฐ” ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า สำนักงานฯ ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์ ในเมื่อพระมหากษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งของรัฐ ดังนั้น สำนักงานฯจึงเป็น “หน่วยงานหนึ่งของรัฐ” (ตามคำของนายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่วินิจฉัยเรื่องนี้คือ “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อยู่ในการกำกับดูแลของพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย จึงถือได้ว่าอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐ”) พูดอีกอย่างคือ นี่เป็นข้อสรุปที่ตรงข้ามกับข้ออ้างของ “บทส่งท้าย” ในรายงานประจำปี ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่พยายามทำให้ไขว้เขวว่าเป็นเรื่องความ “รับผิดชอบ” หรือกำกับดูแลของรัฐบาล

ยิ่งกว่านั้น และที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการประเมินข้ออ้างของ “บทส่งท้าย” คือ ขณะที่ คณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความในครั้งนี้ว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ เป็น “หน่วยงานของรัฐ” คณะกรรมการกฤษฎีกาก็ยืนยันเช่นเดียวกับที่เคยยืนยันในการตีความทุกครั้งก่อนหน้านี้ คือ สำนักงานทรัพย์สินฯ “มิได้ขึ้นอยู่ในกำกับของคณะรัฐมนตรี หรือกระทรวง ทบวง กรมใด”

ควรชี้ให้เห็นต่อไปว่า การวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาในครั้งหลังสุดนี้ว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็น “หน่วยงานของรัฐ” ดังนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา จึงมีอำนาจที่จะสอบสวนข้อเท็จจริงการดำเนินการได้นั้น แท้จริงแล้ว มีความหมายน้อยมากในแง่ที่ต่อไปนี้องค์กรภายนอกหรือสาธารณะจะเข้าไปตรวจสอบสำนักงานทรัพย์สินฯได้อย่างแท้จริง ในทางตรงข้าม กลับเป็นการยืนยันให้เห็นว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และสำนักงานทรัพย์สินฯ หาใช่ทรัพย์สินหรือหน่วยงานที่มี “รัฐบาล โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง...เป็นผู้รับผิดชอบ” แต่อย่างใดเลย (ถ้าใช่ ก็ควรตรวจสอบได้ธรรมดาเหมือนหน่วยงานอื่นๆในความรับผิดชอบของรัฐบาล) เพราะในคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา มีอำนาจในการสอบสวนข้อเท็จจริงการดำเนินการของสำนักงานทรัพย์สินฯนั้น ได้กล่าวย้ำด้วยว่า

การเข้าไปตรวจสอบโดยสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเกี่ยวกับกิจการของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้น จะต้องคำนึงถึงสถานะพิเศษของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆที่เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยหรือที่ต้องได้รับพระบรมราชานุญาตนั้น บุคคลใดไม่พึงดำเนินการสอบสวนให้เป็นที่กระทบกระเทือนต่อพระราชอำนาจดังกล่าว

และสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหลังคำวินิจฉัยนี้คือ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ได้ทำจดหมายฉบับหนึ่งถึงสำนักงานทรัพย์สินฯ ขอให้ “ชี้แจงข้อเท็จจริง” ที่มีผู้ร้องเรียน ซึ่งสำนักงานทรัพย์สินฯ ก็ทำจดหมายตอบฉบับหนึ่ง ยืนยันว่า ได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตามระเบียบแล้วในกรณีผู้ร้องเรียนรายนั้น เมื่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้รับจดหมายตอบจากสำนักงานทรัพย์สินฯแล้ว ก็ “วินิจฉัยให้ยุติการพิจารณาเรื่องร้องเรียน” นั้น สรุปแล้ว การ “เข้าไปตรวจสอบ” การดำเนินการของสำนักงานทรัพย์สินฯของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาครั้งนี้ รวมแล้วประกอบไปด้วยจดหมาย ถาม-ตอบ จากฝ่าย “ผู้ตรวจสอบ” และ “ผู้ถูกตรวจสอบ” ฝ่ายละ 1 ฉบับเท่านั้น (ดูรายละเอียดในบทความ ฟ้าเดียวกัน ของผม)

บทส่งท้าย: ความจริงอันน่ากระอักกระอ่วน?
ความจริงที่ว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และสำนักงานทรัพย์สินฯ อยู่ในการกำกับดูแลของพระมหากษัตริย์โดยเด็ดขาด (และไม่มีใครหรือหน่วยงานใดควบคุมตรวจสอบได้) นั้น เป็นเรื่องที่รู้กันดีมานานแล้วในแทบทุกวงการ ทั้งวงการธุรกิจ วงการรัฐบาล และแม้แต่ประชาชนจำนวนมาก การที่ “รายงานประจำปี 2553” ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์พยายามบิดเบือนว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีรัฐบาลเป็น “ผู้รับผิดชอบ” เป็นอะไรที่เหลือเชื่อมากๆ

แน่นอน ตามหลักการและสามัญสำนึก “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” เป็นทรัพย์สินของรัฐ ซึ่งในประเทศที่ปกครองแบบประชาธิปไตย ไม่ใช่สมบูรณาญาสิทธิราช จะต้องหมายความว่า เป็นทรัพย์สินที่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนและสามารถตรวจสอบควบคุมโดยสาธารณะได้อย่างเต็มที่ทุกประการ เช่นเดียวกับทรัพย์สินของรัฐอื่นๆ

แต่ที่สถานะของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นเช่นในปัจจุบัน ก็เพราะ (ดังที่ผมกล่าวมาก่อนหน้านี้) เมื่อ 60 กว่าปีก่อน รัฐบาลนิยมเจ้า (royalist) ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ขึ้นสู่อำนาจด้วยการรัฐประหารโค่น คณะราษฎร (รัฐบาลของปรีดี) ลงไป ได้ออกพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงอำนาจการควบคุมทรัพย์สินของรัฐส่วนนี้ ให้กลับไปเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชอีก คือ ให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการ “จำหน่ายใช้สอย” ผลประโยชน์ที่ได้จากทรัพย์สินส่วนนี้ “ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่ากรณีใดๆ” ผลก็คือทำให้ “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ที่มีลักษณะเป็นทรัพย์สินของรัฐ กลายมาเป็นทรัพย์สินที่มีลักษณะ “ส่วนพระองค์” โดยปริยายไป

จริงๆแล้ว ถ้าเราเปรียบเทียบบทบัญญัติของ พ.ร.บ.จัดการทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2491 ที่รัฐบาลนิยมเจ้าพรรคประชาธิปัตย์ทำขึ้นและใช้มาจนทุกวันนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” กับ “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” จะเห็นว่า แทบไม่มีความแตกต่างกันเลย ดังนี้

ทรัพย์สินส่วนพระองค์นั้น การดูแลรักษาและการจัดหาผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย

รายได้ [จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์] ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายใช้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใด ๆ

จะเห็นว่า โดยเนื้อหาแล้ว ไม่แตกต่างกันเลย “ความแตกต่าง” ที่เพิ่มขึ้นมาในส่วนที่เกี่ยวกับ “ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกำหนด “รายจ่ายประจำ” (“รายจ่ายที่ต้องจ่ายตามข้อผูกพัน รายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือน บำเหน็จ บำนาญ เงินรางวัล เงินค่าใช้สอย เงินการจร เงินลงทุน...”) หรือการกำหนดให้มี “คณะกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” และ “สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์” ก็ล้วนแต่เป็นเรื่องที่ขึ้นกับการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ หรือต้องได้รับ “พระบรมราชานุญาต” จากพระมหากษัตริย์เท่านั้น พูดตามคำของมีชัย ฤชุพันธ์ คือ เป็นเรื่องที่ “อยุ่ในการกำกับดูแลของพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย” ทั้งสิ้น ซึ่งก็คือ ไม่ต่างจากเรื่องการจัดการ “ทรัพย์สินส่วนพระองค์” ที่ “ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย” นั่นเอง

22 มิถุนายน 2554

ข้าขอเปล่งคำสาบานไปกับสายลม จักพิทักษ์ชีวิตผู้ทุกข์ตรม จักลบล้างการกดขี่ระทม
และต่อสู้ล้มอำนาจอธรรม ชีพนี้จักอุทิศพลีเพื่อกอบกู้ธรรม จักจองล้างทรราชย์ระยำ...

จิตร ภูมิศักดิ์, “หยดน้ำบนพื้นทราย”

 

 

 

 

หมายเหตุ

การลงวันที่ท้ายบทความ เป็นความประสงค์ของผู้เขียน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "ต้องเลือกเพื่อสถาบันเท่านั้น"

Posted: 19 Jun 2011 01:06 AM PDT

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "ต้องเลือกเพื่อสถาบันเท่านั้น"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น