ประชาไท | Prachatai3.info |
- เอกสารลับ ยุทธการกระชับวงล้อม 14-19 พ.ค.53 (ตอน 1) "มาร์ค" สั่งกระชับวงล้อมเพื่อ "ยุติ" ไม่ใช่ "เจรจา"
- "อภิสิทธิ์" ชวนเลือก ปชป. ให้เกิน 250 ที่นั่ง เพื่อล้างปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบอบทักษิณ
- ญาติผู้เสียชีวิต 53 จี้ทุกพรรค “ไม่เอานิรโทษกรรม” - ศปช.ชี้ต้องเปิด “ความจริง” ก่อนปรองดอง
- "สุวิทย์ คุณกิตติ" ประกาศถอนประเทศไทยจากสมาชิกมรดกโลก
- ประกายไฟเสวนา: SOTUS เพิ่มหรือลดปัญญากับสังคมประชาธิปไตย
- ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "น้ำตาพินอคคิโอ"
- ประธานสภา "ฉ่วย มานน์" เตือนประชาชนร่วมกันป้องกันไม่ให้เกิดเหตุลุกฮือแบบอาหรับ - อ้างจะทำลายผลประโยชน์ชาติ
- "ฐิตินันท์" มองแอฟริกาเหนือ-ไทย ชี้การเปลี่ยนแปลงเกิดเมื่อปชช. "มีเอี่ยว"
- กลุ่มคนเสื้อแดง เปิดเวทีฉลองงาน24 มิถุนา “วันชาติ ราษฎร”
- หัวหน้าควง
- แอนดรูว์ เอ็ม มาร์แชล: ทักษิณกับผม
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 19 - 25 มิ.ย. 2554
- [วิดีโอ]การเมืองใน lese majesty, lese majesty ในการเมือง ตอนที่ 1: สมชาย ปรีชาศิลปกุล
- จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ 7: นิรโทษกรรมไม่ใช่นโยบายเพื่อไทย?
- "กรณ์" มั่นใจกระแสแรง เปรียบประชาธิปัตย์เป็น "แมลงสาบ" ฆ่าไม่ตาย
Posted: 25 Jun 2011 12:47 PM PDT มติชนออนไลน์เผยแพร่เอกสารวารสารเสนาธิปัตย์ กรมยุทธศึกษาทหารบก ปีที่ 59 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2553 เป็นบทความที่เขียนขึ้นเพื่อประกอบการจัดทำ”เอกสารแนวทางในการปฏิบัติทางทหาร: กรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในเมือง” มีสามตอนโดยตอนแรกมีเนื้อหาดังนี้ ที่มา: มติชนออนไลน์, 24 มิ.ย. 54 000 บทความชิ้นนี้ตีพิมพ์ในวารสารเสนาธิปัตย์ กรมยุทธศึกษาทหารบก ปีที่ 59 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2553 เป็นบทความที่เขียนขึ้นเพื่อประกอบการจัดทำ”เอกสารแนวทางในการปฏิบัติทางทหาร: กรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในเมือง” จากความริเริ่มของพล.ท.สิงห์ศึก สิงห์ไพร เพื่อกำหนดบทบาทของกองทัพบกในการแก้ปัญหาการก่อความไม่สงบในเมืองรูปแบบใหม่ มีเนื้อหาหลายช่วงตอนที่น่าสนใจ เช่น ยุทธการกระชับวงล้อมแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ 1. ช่วง 14 พฤษภาคม 2.ช่วง 15-18 พฤษภาคม และ 3 ช่วงวันที่ 19 พฤษภาคม ตั้งแต่เวลา 03.00 จนกระทั่งแกนนำประกาศยุติการชุมนุม 13.20 น.
2.”หัวหน้าควง”สรุปว่าเหตุผลหนึ่งที่ประสบชัยชนะในการกระชับวงล้อมมาจากการถอนตัวของนายวีระมุสิกพงศ์ ประธานกลุ่มนปช. และการเสียชีวิตของพล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง เพราะทำให้นปช.ไม่มีหัวในระดับยุทธศาสตร์ทางการเมืองและไม่มีหัวเสธ.ระดับยุทธศาสตร์ทางทหารในการวางแผนตั้งรับ
3.เอกสารชุดนี้บอกชัดเจนถึงแผนยุทธการทั้งหมด และหน่วยทหารที่ใช้ในครั้งนี้ มีการยอมรับในเอกสารถึงการใช้”หน่วยสไนเปอร์” เป็นหน่วยแรกในการเข้าสลาย โดยยึดพื้นที่สูงคืออาคารเคี่ยนหงวน และอาคารบางกอกเคเบิ้ล
4.มีการพูดถึงการสั่งการให้ใช้”กระสุนจริง”และระบุว่า”แผนยุทธการครั้งนี้เป็นการวางแผนการปฏิบัติรบเต็มรูปแบบ เหมือนการทำสงครามรบในเมือง ใช้กำลังขนาดใหญ่ถึง 3 กองพล”และ”ยิ่งมีการสั่งการให้ใช้กระสุนจริงกับกลุ่มผู้ก่อการร้ายผู้ถืออาวุธและเพื่อป้องกันตัวเองได้ ทำให้ทหารที่สูญเสียความเชื่อมั่นจากเหตุการณ์ 10 เมษายน มีจิตใจรุกรบมากขึ้น”
5.จากหน่วยข่าวศอฉ.เชื่อว่ามีผู้ก่อการร้ายที่แอบแฝงในกลุ่มนปช.เป็นกองกำลังติดอาวุธประมาณ 500 คน มีอาวุธซุ่มยิง อาวุธสงคราม เช่น M 79 M16 AK 47 และ Travo-21
6.ในส่วนของ”ข้อเสนอแนะทางยุทธวิธี” มีข้อหนึ่งที่ระบุว่า “ผู้บังคับบัญชาหน่วยระดับยุทธวิธีควรปฏิบัติภายใต้การรักษาชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธ์เป็นที่สำคัญที่สุด และต้องควบคุมการลั่นไกกระสุนจริงโดยมีสติ และมีเจตนารมณ์ อย่าให้กำลังพลปฏิบัติด้วยความโมโห หรือการแก้แค้นเป็นอันขาด” และ ”ควรมีการศึกษาค้นหาตัวแบบที่เหมาะสมในการกำหนดพื้นที่ที่ใช้กระสุนจริง เพราะปัจจุบันยังไม่ทราบว่ามีประเทศใดในระดับนานาชาติที่ได้นำมาปฏิบัติในการสลายการชุมนุมที่ได้รับการยอมรับ” และนี่คือรายละเอียดของบทความชิ้นนี้โดย "มติชนออนไลนื" แบ่งเนื้อหาดังกล่าวเป็น2 ตอน ....................................................................... ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์การกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์ครั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ทางการเมือง ตั้งแต่ระดับนโยบาย คือคณะรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความมีเอกภาพของรัฐบาลกับกองทัพ
กล่าวนำ สืบเนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติแดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) กับรัฐบาล โดยกลุ่ม นปช.ได้มีการชุมนุมเกินขอบเขตของกฎหมายอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ 12 มีนาคม จนถึง 18 พฤษภาคม 2553 และกลุ่ม นปช.ได้เคลื่อนย้ายมวลชนมาปักหลักตั้งเวทีปราศรัยถาวรที่บริเวณพื้นที่สี่แยกราชประสงค์สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนในกรุงเทพฯส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาล และได้สร้างผลเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างร้ายแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เมื่อรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการกระชับวงล้อมพื้นที่ชุมนุมราชประสงค์ ศอฉ. ผ่านการสั่งการมายังกองทัพบกก็ได้จัดกำลังเปิดยุทธการกระชับวงล้อม โดยแบ่งการปฏิบัติออกเป็น 3 ห้วงเวลา กล่าวคือ ห้วงแรก เป็นการกระชับวงล้อมขั้นต้น ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ห้วงที่ 2 เป็นการถอยร่นเพื่อสถาปนาแนวตั้งรับเร่งด่วนในวันที่ 15-18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และห้วงสุดท้ายการกระทบวงล้อมขั้นสุดท้ายในวันที่ 19 พฤษภาคม ตั้งแต่เวลา 03.00 น. จนกระทั่งแกนนำประกาศยุติการชุมนุมบนเวทีราชประสงค์ เมื่อเวลา 13.20 น. ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ : การกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์ การแถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เมื่อเวลา 22.00 น. วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ภายหลังทหารประสบความสำเร็จในการปฏิบัติการ "ยุทธการกระชับวงล้อม" ในเวลา 10 ชั่วโมงก่อนหน้านั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงความพอใจผลงานยุติม็อบว่า "...เป้าหมายของ ศอฉ.เพื่อกระทบวงล้อม เพื่อให้เกิดการยุติการชุมนุมโดยเร็วที่สุด เรายึดหลักสากล ทำให้เกิดความพอใจ..." คำพูดไม่กี่คำของนายกรัฐมนตรีภายใต้สถานการณ์วิกฤตครั้งนี้ ทำให้ทหารและกองทัพที่เป็นหมัดสุดท้าย ซึ่งเป็นกลไกบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลที่มีอยู่รู้สึกมั่นใจและเชื่อมั่นถึงยุทธศาสตร์ทางการเมืองของยุทธการครั้งนี้ ความสำเร็จในยุทธศาสตร์ทางทหารยุทธการกระชับวงล้อม เมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เป็นผลจากความชัดเจนทางการเมืองสำคัญ ได้แก่ 1.นโยบายรัฐบาลชัดเจนมาตลอดที่จะใช้มาตรการทางทหารกดดันม็อบกลุ่ม นปช. ความชัดเจนก็คือนโยบายกระชับวงล้อม เพื่อการยุติ การชุมนุมไม่ใช้การกระชับวงล้อมเพื่อเปิดการเจรจา ดังนั้นถ้าการเดินทางยุทธศาสตร์ทหารนั้น ถ้าเป้าหมายทางการเมือง (Political will) ชัดเจน การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทางการทหารก็ไม่ยากและเมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการในที่ประชุม ศอฉ.ในวันที่ 12 พฤษภาคม ให้ฝ่ายทหารเริ่มต้นปฏิบัติการตามแผนยุทธการที่ได้วางไว้ 2.สำหรับสัญญาณทางการเมืองที่ส่งไปยังสังคมได้ส่งผลของจิตวิทยาระดับยุทธศาสตร์คือการใช้ภาษาคำว่า "การกระชับวงล้อม" ไม่ใช่ "การสลายม็อบ" คือ "การปราบม็อบ" หรือ "การปิดล้อม" จากภาษาที่สื่อดังกล่าวสังคมรับได้ และรู้สึกผ่อนคลาย ทั้งคาดหวังว่าเหตุการณ์จะสงบโดยเร็ว และอาจมีการสูญเสียชีวิตประชาชนบ้าง แต่ไม่มากมายเหมือนเช่นในอดีต 3.มาตรการตัดน้ำ ตัดไฟ ตัดโทรศัพท์ ตัดระบบการส่งกำลังบำรุง และการตัดการเติมคนเสื้อแดงเข้าไปในราชประสงค์เป็นมาตรการระดับยุทธศาสตร์ ที่รัฐบาลภายใต้การอำนวยการของ ศอฉ.ได้สร้างแรงกดดันให้ม็อบราชประสงค์ ถูกบีบกระชับวงล้อมทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ อย่างไรก็ตามมาตรการนี้ได้ส่งผลข้างเคียงต่อชุมนุมผู้อาศัยโดยรอบพื้นที่การชุมนุม ถ้าปล่อยไว้นาน อาจส่งผลทำให้เกิดกระแสตีกลับ มาขับไล่รัฐบาลได้ 4.ความมีเอกภาพของรัฐบาลกับกองทัพ แม้ว่าจะมีกระแสข่าวความไม่ลงรอยกันบ้างในการแก้ปัญหาเนื่องจากการใช้กำลังทหารขอคืนพื้นที่ เพราะบทเรียนวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553 บริเวณสี่แยกคอกวัวจะตามมาหลอกหลอนผู้นำกองทัพอยู่เสมอ ๆ แต่เมื่อได้ประเมินทางยุทธศาสตร์เพื่อมีความคุ้มค่าและมองเห็นความสำเร็จรับบาลกับกองทัพก็หันมาร่วมมือกันเปิดยุทธการครั้งนี้อย่างมั่นใจรวมไปถึงความร่วมมือของทุกกองกำลังของทุกเหล่าทัพ ก็เป็นการแสดงถึงความมีเอกภาพ 5.ปัจจัยเวลาในกรอบการปฏิบัติงานก็เป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากความล้มเหลวในการรุกเข้าขอคืนพื้นที่ใน14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ทำให้หน่วยทหารทั้งในส่วนพื้นที่ถนนพระราม 4 บ่อนไก่ และถนนราชปรารภ (สามแยกดินแดง) ต้องตรึงกำลังให้อยู่กับที่ หรือแทบจะเรียกได้ว่าถอยร่นออกมาจากระยะยิงของสไนเปอร์จากการ์ด นปช. แต่เมื่อรัฐบาลเข้าใจว่าต้องให้เสรีในการปฏิบัติเรื่องเวลา รัฐบาลจึงมีมติผ่าน ครม. ประกาศให้พื้นที่ กรุงเทพมหานคร หยุดราชการเป็น 2 ช่วง คือ ช่วง 17-18 พฤษภาคม และ 19-21 พฤาภาคม ทำให้ทหารไม่มีแรงกดดันเรื่องเวลาเหมือนเช่นเหตุการณ์ 10 เมษายนที่ผ่านมา 6.ประสิทธิภาพของการทำงานปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operations) ได้ผลทางยุทธศาสตร์ ทั้งในส่วนของกรมประชาสัมพันธ์ ผ่านโทรทัศน์ NBT และการแถลงข่าวของ ศอฉ.โดยโฆษกของ ศอฉ. สามารถตอบโต้กลุ่ม นปช.และตอบข้อสงสัยของสังคม ผู้ชุมนุม ผู้ได้รับการ เดือดร้อนรอบพื้นที่ชุมนุม ประชาชนในส่วนที่เหลือของประเทศ ยกเว้นพื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือที่มีมวลชนเป็นสีแดงเข้มก็ไม่ได้ผล รวมทั้งการสื่อสารกับนานาชาติในระดับโลก ก็ถือว่าได้ผลระดับหนึ่ง ผ่านทางรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกรัฐบาล และกระทรวงการต่างประเทศ 7.การปรากฏตัวทางยุทธศาสตร์ ศอฉ. ได้ใช้ประโยชน์จากการที่สามารถควบคุมสื่อสารโทรทัศน์ในเวลาแถลงข่าวของผู้นำทหารในการ แก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นรองเสนาธิการทหารบก ผช.เสธ.ฝยก. แม่ทัพภาคที่ 1 และ ผบ.พลหน่วยปฏิบัติ ทำให้กำลังพลมีความเชื่อมั่น การปฏิบัติการยุทธการกระชับวงล้อม มีการวางกำลังทางทหารและมีผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นรับผิดชอบอย่างชัดเจน สังคมและประชาชนก็มั่นใจว่า น่าจะมีความสำเร็จสูง 8.การชี้แจงทำความเข้าใจของการใช้อาวุธ ตามหลักสากล มีกฎการใช้กำลัง การยิงกระสุนจริง การใช้หน่วยสไนเปอร์ ก็ถือว่ากระทำได้อย่างทันท่วงที เพื่อตอบโต้กับภาพข่าวทั้งในและต่างประเทศ เพราะถ้าไม่มีการแก้ข่าวทุกวัน ข่าวความห่วงใยเหล่านี้ได้ไต่ระดับเลขาธิการสหประชาชาติ เลขาธิการอาเซียน ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากของปัญหามากยิ่งขึ้น จนกระทั่งรัฐบาลไม่สามารถรับมือกับต่างประเทศได้ 9.การควบคุมการติดต่อสื่อสารทุกระบบ ก็ถือว่าเป็นงานระดับยุทธศาสตร์ที่สำคัย เมื่อกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสั่งปิดเว็บไซต์ เฟซบุ๊ค และทวิสเตอร์ของเครือข่ายอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้ช่องทางสื่อสารถูกตัดขาดลง 10.การทำงานที่สอดคล้องกันระหว่างมาตรการตัดน้ำตัดไฟ กับมาตรการของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในเรื่องการประกาศงดทำธุรกรรมทางการเงินของผู้ต้องสงสัยที่ต่อท่อน้ำเลี้ยงให้กับกลุ่ม นปช. คือการตัดแหล่งทุนสำคัญของการเคลื่อนไหวลงได้ระดับหนึ่ง 11.การนำคดีการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงกับคดีการก่อการร้ายมาเป็นคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นผลให้การทำคดีมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดความเข้มข้นในการสืบสวนสอบสวน ตามกระบวนยุติธรรมและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากถึง 11 หน่วยงาน มาช่วยกันทำคดีการก่อการร้าย ก็ถือว่าเป็นการสร้างความเข้มข้นของการบังคับใช้กฎหมายอย่างมาก 12.จุดอ่อนทางยุทธศาสตร์ของกลุ่ม นปช.ที่กลายเป็นจุดแข็งของรัฐบาล คือ การถอนตัวของนายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานกลุ่ม นปช. และการเสียชีวิตของ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ผู้มีความเชี่ยวชาญทางทหารที่มีส่วนดูแลและวางแผนการรักษาความปลอดภัยของการ์ด นปช. ถือว่าเป็นสัญญาณแห่งความพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ เพราะกลุ่ม นปช.ไม่มีหัวในระดับยุทธศาสตร์ทางการเมือง คือ นายวีระ มุสิกพงศ์ และไม่มีหัวเสธ.ระดับยุทธศาสตร์ทางทหารในการวางแผนตั้งรัฐ ในกรณีที่ทหารจะเข้าสลายม็อบ นปช. สรุปได้ว่า ความสำเร็จทางยุทธการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์ครั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ทางการเมือง ตั้งแต่ระดับนโยบาย คือ คณะรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความมีเอกภาพของรัฐบาลกับกองทัพ การที่ทหารสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ทางทหารที่ชัดเจนได้ก็เนื่องจากการเมืองของรัฐบาลที่ชัดเจน และที่สำคัญดังที่ซุนวูกล่าวไว้ว่า "ชัยชนะย่อมเกิดจากฝ่ายตรงข้ามหรือข้าศึกตกอยู่ในสถานการณ์พ่ายแพ้เอง"นั่นคือสภาพการแตกแยกทางความคิดของกลุ่มแกนนำหลัก และการสูญเสียมือวางแผนระดับเสนาธิการ ทำให้สถานการณ์ของกลุ่ม นปช.เริ่มเพลี่ยงพล้ำทางยุทธศาสตร์มาตามลำดับ
แผนยุทธการและหน่วยรับผิดชอบการกระชับวงล้อมพื้นที่ราชประสงค์ แผนยุทธการสลายม็อบราชประสงค์ถูกกำหนดดีเดย์ไว้ตั้งแต่ตี 3 ครึ่งวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 หน่วยแรกที่เข้าปฏิบัติการคือ หน่วยสไนเปอร์ เพื่อยึดพื้นที่สูงข่มของตึกบนถนนวิทยุ (อาคารเคี่ยนหงวน) และสะพานแยกสารสิน(อาคารบางกอกเคเบิล)โดยที่อาคารสูงบนถนนวิทยุถูกยึดได้ก่อนตี 5 ครึ่ง ส่วนตึกสูงด้านถนนสารสินยังเข้าไม่ได้ หลังจากนั้นทหารจาก พล.ม.2 รอ.ได้แยกกำลังรุกเข้าไป 3 ทิศทาง ตามเส้นทางถนนวิทยุ ถนนสีล้ม และถนนสุรวงศ์ มีการเคลื่อนรถหุ้มเกราะปฏิบัติพร้อมทหารเดินเท้าอาวุธเต็มอัตราศึกเป็นรูปขบวนการรบที่คุ้นตาสำหรับการปฏิบัติการของยานยนต์รบกับหน่วยของการยุทธรบในเมือง แต่กว่าที่ภาพรถหุ้มเกาะจะค่อยๆ บดทับและพังทลายป้อมค่ายป้องกันของ นปช. ที่ศาลาแดงได้นั้น ได้มีการวางแผนปรับแผนส่วนหน้ามาแล้วเป็นเดือนโดยใช้บทเรียน 10 เมษายน เป็นสมมติฐาน ดังนั้นแผนยุทธการครั้งนี้จึงมีการวางแผนอย่างรัดกุมและตั้งอยู่บนสถานการณ์ที่เป็นไปได้มากที่สุด และจะเห็นได้ว่ายุทธการครั้งนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทางการทหารและยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ขั้นการปฏิบัติยุทธการกระชับวงล้อม จากการประมวลภาพการแถลงข่าวของ ศอฉ. และภาพข่าวของสื่อมวลชน แผนยุทธการน่าจะประกอบด้วยขั้นการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ขั้นการกระชับวงล้อมขั้นต้น เพื่อทดสอบกำลังเข้าควบคุมพื้นที่ขั้นต้น ใช้เวลา 1 วัน (14 พฤษภาคม) 2.ขั้นการวางกำลังตรึงพื้นที่รอบนอก เพื่อป้องกันการเติมคนของกลุ่ม นปช. อาจเรียกได้ว่าเป็นการกลับหลังหันรบ 180 องศา มาตั้งรับใย 3 พื้นที่หลัก ได้แก่ บ่อนไก่ ถนนราชปรารภ และสามย่าน ขั้นนี้ต้องใช้ความอดทนอย่างสูวสุด ควบคุมสถานการณ์ให้นิ่งให้ได้ รอฟังคำสั่งต่อไปใช้เวลา 4 วัน (15-18 พฤษภาคม) 3. ขั้นการสลายม้อบภายหลังจากปฏิบัติการในขั้นที่ 2 ที่ต้องใช้เวลา 4 วัน เพื่อเช็คข่าวการวางกำลังและอาวุธสงครามในพื้นที่สวนลุมพินี การวางกำลังหลังแนวด่านตรวจ นปช.โดยรอบพื้นที่ราชประสงค์ การเช็คที่ดั้งจุดใช้อาวุธ M 79 การตรวจสอบกองกำลังกลุ่มอ่กการร้ายจำนวน 500 คนว่าวางกำลังพื้นที่ใด เมื่อทุกหน่วยเข้าที่พร้อม การปฏิบัติการก็เริ่มต้นในเช้าตรู่วันที่ 19 พฤษภาคม โดยให้เสร็จสิ้นภารกิจภายใน 1,800 ของวันเดียวกัน 4. ขั้นการกระชับวงล้อมขั้นสุดท้าย เพื่อตรวจสอบค้นหาหลักฐาน อาวุธสงครามและสิ่งผิดกฎหมาย เริ่มปฏิบัติการในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2553 สาเหตุที่ไม่สามารถทำได้ในวันบุกสลายการชุมนุมในขั้นที่ตอนที่ 3 เพราะกลุ่ม นปช.ได้วางเต้นท์และที่พักเป็นจำนวนมาก และตั้งแต่บ่ายของวันที่ 19 พฤษภาคม มวลชนเสื้อแดงได้ก่อการจลาจลในพื้นที่ราชประสงคืและทั่วกรุงเทพฯ หน่วยรับผิดชอบวางกำลังยุทธการกระชัยวงล้อม เป็นการปฏิบัติการร่วม 3 เหล่าท้พคือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ โดยกำลังหลักที่ใช้ปฏิบัติการเป็นกำลังของกองทัพบก จำนวน 3 กองพล ได้แก่ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.ร.1รอ.) ใช้กำลัง 3 กรม หลักคือ ร.1 รอ. ร.11 รอ.และ ร.31 รอ.ให้ ร.1 รอ กับ ร.11 รอ. วางกำลังพื้นที่ดินแปลง พญาไทราชปรารภ ร.31 รอ.เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว พร้อมปฏิบัติการพิเศษ กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ม.2 รอ.) มีหน้าที่ดูแลพื้นที่ถนนวิทยุ บ่อนไก่ ศาลาแดง ลุมพินี สามย่านกองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) มีหน้าที่ดูแลพื้นที่อโศก เพลินจิต ชิดลม นอกจากนี้ยังมีกองกำลังพร้อมสนับสนุน คือ พล.ร.2 รอ.กำลังของหน่วยอากาศโยธิน (อย.) ของกองทัพอากาศสแตนด์บายพร้อมออกปฏิบัติหน้าที่ 24 ชั่วโมง และมีหน่วยปฏิบัติการทางอากาศพร้อมขึ้นบินเหนือพื้นที่ราชประสงค์ ขณะที่กองทัพเรือรับภารกิตจพิเศาอารักขาสถานที่สำคัญ โดยเฉพาะบริเวณโรงพยาบาลศิริราช ทั้งนี้ การปฏิบัติภารกิจของกองทัพจะมีสัญญาณบอกฝ่าย เป็นสัญลักษณ์แถบสี ติดหัวไหล่ แขนขวา โดยจะมีการเปลี่ยนสีทุกวัน แต่เมื่อการปฏิบัติภารกิจเต็มขั้นในวันที่ 19 พฤษภาคม กำลังทุกหน่วยจะใช้แถบสีชมพูเป็นสัญลักษณ์บอกฝ่าย ติดไว้บริเวณหลังหมวกเหล็กทุกนาย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
"อภิสิทธิ์" ชวนเลือก ปชป. ให้เกิน 250 ที่นั่ง เพื่อล้างปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบอบทักษิณ Posted: 25 Jun 2011 12:03 PM PDT เชื่อประชาชนไม่ต้องการ "เพื่อไทย" มาทำงาน เพราะมุ่งให้ความสำคัญกับปัญหาทักษิณ กอร์ปศักดิ์อัด "เพื่อไทย" บอกไม่นิรโทษกรรมเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะพูดในสิ่งที่ไม่ตรงกับที่หาเสียงไว้ ลั่นเลือกประชาธิปัตย์จะไม่มีการล้างผิด และไม่คืนเงิน 46,000 ล้านบาท ขณะที่เว็บ ปชป. ปล่อยเอกสารหาเสียงชุดใหม่เน้นอัดทักษิณ-เสื้อแดง โยงเหตุเผา-สลายชุมนุมปี 53 เอกสารหาเสียงชุดใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ ปชป.พิมพ์เอกสารหาเสียงชุดใหม่ 50,000 ชุด เน้นอัดทักษิณ-เสื้อแดง เมื่อวานนี้ (25 มิ.ย.) พรรคประชาธิปัตย์ได้เริ่มเผยแพร่เอกสารหาเสียงชุดใหม่ พิมพ์ทั้งหมด 50,000 ฉบับ ใช้หัวข้อว่า "ผมจะทำงานให้กับพี่น้องประชาชนทุกคน แต่จะไม่ล้างผิดให้กับคนใเคนหนึ่ง" มีเนื้อหาชี้แจงเหตุการณ์เมื่อเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมปี 2553 ที่ผ่านมา มีการลงบทความ "จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ" ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และมีการอธิบายว่าคนเสื้อแดงมีความเชื่อมโยงอย่างไรกับพรรคเพื่อไทย และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยเอกสารดังกล่าวยังสามารถอ่านได้ในเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ด้วย
กอร์ปศักดิ์อัดเพื่อไทยบอกไม่นิรโทษกรรมเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะพูดในสิ่งที่ไม่ตรงกับที่หาเสียงไว้ ในเว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ ยังรายงานเมื่อวานนี้ (25 มิ.ย.) ว่า ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ประธานคณะยุทธศาสตร์พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จากคำแถลงการณ์ของพรรคเพื่อไทยในวันที่ 24 มิถุนายน 54 โดยกล่าวหาว่าพรรคประชาธิปัตย์ ใส่ร้ายพรรคเพื่อไทย และพรรคเพื่อไทยย้ำว่าพรรคเพื่อไทยไม่มีนโยบายในเรื่องการนิรโทษกรรม “เราหาเสียงมาจนถึงโค้งสุดท้าย ประเด็น สำคัญคือเป็นหน้าที่ของพรรคการเมือง เป็นหน้าที่ของผู้เสนอตัวเป็นนายกฯ ที่จะต้องให้ความจริงกับพี่น้องประชาชน เพราะประชาชนจะได้นำข้อเท็จจริงไปเปรียบเทียบกัน เพื่อตัดสินใจว่าจะเลือกใคร” นายกอปรศักดิ์ กล่าวและว่าซึ่งวันพรุ่งนี้ (26 มิ.ย.) การเลือกตั้งล่วงหน้าก็จะมีขึ้นแล้ว นายกอปรศักดิ์กล่าวว่า วันที่เริ่มหาเสียงสิ่งแรกที่พรรคเพื่อไทยทำคือการติดป้ายทั่วประเทศว่า “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ” ซึ่งก่อนหน้านั้นพรรคเพื่อไทยได้เสนอ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นแคดิเดตนายกฯ “พ.ต.ท.ทักษิณ และนางสาวยิ่งลักษ์ นามสกุล “ชินวัตร” มีความเกี่ยวข้องเป็นพี่ชาย น้องสาว ซึ่งการรณรงค์หาเสียงนางสาวยิ่งลักษ์ได้ให้สัมภาษณ์ ว่าได้มอบหมายให้ผู้ใหญ่ของพรรค คือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นคนรับผิดชอบเป็นเรื่องเฉพาะ คือ นโยบายการนิรโทษกรรม แต่เมื่อผ่านโค้งสุดท้าย เข้าสู่เส้นทางตรงวันนี้ พรรคเพื่อไทยจะกลับมาบอกในสิ่งที่ไม่ตรงกับที่เคยหาเสียงมาตลอด 40 วัน ตนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ตนเห็นว่ามีความชัดเจนจากคำให้สัมภาษณ์ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่บอกว่า “การนิรโทษกรรม ไม่ใช่สำหรับผมเพียงคนเดียว แต่ทำให้ทุกคนทั้งหมด”
ชวนเลือกเบอร์ 10 เพื่อไม่ให้มีการล้างผิด-ไม่มีคืนเงิน 46,000 ล้านบาท นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวต่อว่า ประเด็นคือทั้งหมดหมายความรวมถึงคนชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ด้วยอย่างชัดเจน ทั้งหมดจึงหมายความว่าคำตัดสินของศาลสูงสุดของประเทศ (ศาลฎีกา) ที่บอกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิด ร่ำรวยผิดปกติ ในคดีทุจริตคอรัปชั่น ศาลจึงตัดสินยึดทรัพย์ เป็นเงิน 46,000 ล้านบาท ให้ตกเป็นของแผ่นดิน นโยบายของพรรคเพื่อไทยบอกชัดเจนว่า นิรโทษกรรมทุกคน รวมถึงพ.ตงท.ทักษิณ นั่นมีความหมายว่า ถ้าวันที่ 3 ก.ค. ประชาชนเห็นด้วยกับนโยบายคืนเงิน 46,000 ล้านบาทให้ พ.ต.ท.ทักษิณ แล้วเลือกเบอร์ 1 ก็ จะมีนายกฯ ชื่อ นางสาวยิ่งลักษ์ ชินวัตร ซึ่งจะต้องมาเสนอพระราชบัญญัติงบประมาณเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้สภาให้ความเห็นชอบคืนเงินภาษีประชาชน จำนวน 46,000 ล้านบาท “ผมขอเรียนว่า มาเรียนเรื่องนี้ผ่านสื่อมวลชนไปยังพี่น้องประชาชนว่า เรื่องนี้จะเกิดขึ้นจริง” นายกอร์ปศักดิ์ กล่าว นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวต่อว่า ตนออกมาให้ข้อเท็จจริงกับประชาชน เพื่อจะได้ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคใด หากเลือกเบอร์ 1 ก็เป็นเรื่องนิรโทษกรรม “ ถ้าเลือกเบอร์ 10 ไม่มีเรื่องการล้างผิดให้กับบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ไม่มีการล้างผิดเพื่อคืนเงิน 46,000 ล้านบาท แต่จะเดินหน้าต่อไปด้วยนโยบายเพื่อประชาชน”นายกอร์ปศักดิ์ กล่าว
อภิสิทธิ์เชื่อประชาชนไม่ต้องการ "เพื่อไทย" มาทำงาน เพราะมุ่งให้ความสำคัญกับปัญหาทักษิณ วันเดียวกัน มติชนออนไลน์ รายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ว่า สิ่งที่เราจะทำเพื่อให้ประชาชนเห็นทางเลือกที่แท้จริง พรรคประชาธิปัตย์ยืนยันเดินหน้าตามนโยบายที่ประกาศไว้ตั้งแต่ต้น และนำพาบ้านเมืองไปสู่ความสงบ ความถูกต้องในระยะยาว ขณะนี้จะเห็นว่าพรรคเพื่อไทยสร้างความสับสน เพราะนโยบายมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ที่สำคัญประเด็นเรื่องนิรโทษกรรม เป็นเรื่องที่พรรคเพื่อไทยพูดไว้เอง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ยังพูดอยู่ ตนเชื่อว่าประชาชนไม่ต้องการมาทำงาน แต่ให้ความสำคัญกับปัญหาของ พ.ต.ท.ทักษิณมากกว่าปัญหาของคนส่วนใหญ่ของประชาชน และเชื่อว่าประชาชนไม่อยากให้คนที่ความคิดใช้ความรุนแรงเข้ามามีอำนาจ จึงเป็นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์บอกประชาชนให้รับทราบ ทางเลือกที่ชัดเจนตามความเป็นจริง นายอภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่พรรคเพื่อไทยออกแถลงการณ์เรื่องนิรโทษกรรม และคืนเงิน 4.6 หมื่นล้าน ให้ พ.ต.ท.ทักษิณนั้น ก็ขัดแย้งกับคำสัมภาษณ์ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 นายเฉลิม อยู่บำรุง แกนนำพรรคเพื่อไทย หรือนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย คำถามก็มีว่า จะให้ประชาชนเชื่อใคร ถ้าบุคคลเหล่านี้พูดแล้วว่าไม่เกี่ยวข้องกับพรรค แล้วนโยบายทั้งหมดจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทยหรือไม่ ตนอยากให้พรรคเพื่อไทยเปิดเผยตามความเป็นจริง เมื่อช่วงแรกพรรคเพื่อไทยฮึกเหิมว่ามั่นใจชนะการเลือกตั้งและมีการพูดมาเอง เรื่องการนิรโทษกรรม ต้องยืนยันว่าจะเดินต่อให้ประชาชนตัดสิน
ลั่นถ้าเลือกประชาธิปัตย์เข้ามามากๆ เกิน 250 เสียง จะล้างปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบอบทักษิณ เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์มีป้ายหาเสียงไม่ล้างความผิด นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เราต้องย้ำตรงนั้นว่าทำงานให้ทุกคน ไม่ได้ทำให้คนใดคนหนึ่ง โดยเฉพาะแนวคิดล้างความผิด ซึ่งในที่สุดจะล้างได้กี่คน แต่สุดท้ายกลับไปที่คนๆ เดียว เราไม่เห็นด้วย ส่วนการนิรโทษกรรมคดีทางการเมืองไม่เกี่ยว แต่จะเป็นเรื่องคดีทุจริตคอร์รัปชั่นและคดีอาญาต่างๆ ทั้งนี้ ถ้าเลือกพรรคประชาธิปัตย์เข้ามามากๆ เป็นอันดับหนึ่ง หรือถ้าเลือกเกิน 250 ได้ ตนยืนยันได้การทำหน้าที่จะมีประสิทธิภาพกว่าตอนมีข้อจำกัดเป็นรัฐบาลผสม และจะเป็นการล้างปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบอบทักษิณ "เชื่อว่าประชาชนที่ยังไม่ตัดสินใจหรือตัดสินใจแล้วแต่ยังไม่บอกใคร หรือแม้แต่ที่จะเปลี่ยนใจ สัปดาห์สุดท้ายคงจะประมวลข้อมูลต่างๆ ออกมา เช่นนโยบายของบางพรรคเริ่มชัดเจนว่าปฏิบัติไม่ได้ แต่ยินดีให้ตรวจสอบนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ทุกเรื่องทำได้จริงและไม่เป็น ภาระกับงบประมาณ" นายอภิสิทธิ์ กล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ญาติผู้เสียชีวิต 53 จี้ทุกพรรค “ไม่เอานิรโทษกรรม” - ศปช.ชี้ต้องเปิด “ความจริง” ก่อนปรองดอง Posted: 25 Jun 2011 10:50 AM PDT
24 มิ.ย.54 ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) จัดเวทีอภิปราย ในช่วงหนึ่งได้มีคณะกรรมการญาติวีรชน เม.ย.-พ.ค.53 ที่เพิ่งก่อตั้งกลุ่มอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้อ่านแถลงการณ์ ฉบับที่ 1 เรื่อง ข้อเรียกร้องต่อพรรคการเมืองในภาระหน้าที่แสวงหาความยุติธรรมกลับคืนสู่สังคมไทย โดยระบุข้อเรียกร้องทุกพรรคการเมืองให้สัญญาประชาคม ดังนี้ 1.ตั้งองค์กร คณะกรรมการที่เป็นกลางและสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริง นำผู้กระทำผิดในระดับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประชาชนหรือเจ้าหน้าที่รัฐมารับผิดอาญา 2.จะต้องรับประกันว่าไม่มีการนิรโทษใดๆ 3. เร่งเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และผู้ถูกจับกุมคุมขังอย่างไม่เป็นธรรม นอกจากนี้ยังมีการแถลงจุดยืนของ ศปช. ต่อประเด็น"ความจริง" และ "ความยุติธรรม" vs "ปรองดอง" และ "นิรโทษกรรม" โดยอ.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า สังคมไทยในอดีต ความปรองดองมีด้านมืด คือ ความเงียบต่อความยุติธรรมและการลืม โดยสังคมไทยโอบอุ้มและชาชินกับวัฒนธรรมแห่งการปล่อยให้ผู้กระทำผิดที่มีอำนาจลอยนวล ในขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มักกล่าวว่ารัฐบาลของตนยึดหลักนิติรัฐ แต่จนบัดนี้ กระบวนการสืบสวนสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำผิดดูจะถูกเตะถ่วงและบิดเบือน แม้มีมูลว่าเจ้าหน้าที่รัฐเป็นฝ่ายกระทำให้ประชาชนเสียชีวิต แต่รัฐบาลยังโยนความผิดทั้งหมดไปให้กับคนชุดดำและผู้ชุมนุม องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องก็ไม่สามารถเรียกศรัทธาแก่ประชาชนได้เลย “ฉะนั้น ศปช. จึงขอประกาศว่า เราไม่ได้ปฏิเสธการปรองดอง แต่การแสวงหาความปรองดองใด ๆ หลังการเลือกตั้งจะต้องควบคู่ไปกับการสถาปนาความจริง และคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปราบปรามปี 2553 ด้วย หากไม่มี “ความจริง” และ “การยอมรับผิด” จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามประชาชน การนิรโทษกรรมก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ การปรองดองที่ปราศจากความยุติธรรมย่อมไม่ต่างอะไรกับการช่วยกันเหยียบย่ำศพและกระหน่ำตีบาดแผลของผู้สูญเสีย” คำประกาศจุดยืนของ ศปช.
คำประกาศจุดยืนของ ศปช. ต่อประเด็น ไม่มีความจริงก็ไม่มีความยุติธรรม ยิ่งเข้าใกล้เลือกตั้ง เสียงเรียกร้องหาความปรองดองโดยกลุ่มต่าง ๆ ก็ดังเซ็งแซ่ควบคู่ไปกับเรื่องนิรโทษกรรม แม้จะไม่มีความชัดเจนนักว่าหมายถึงอะไรแน่ ใครปรองดองกับใคร ใครบ้างจะได้นิรโทษกรรม ในความผิดเรื่องอะไร ฯลฯ ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) ก็เห็นความสำคัญที่สังคมไทยจะต้องมีความปรองดองเช่นกัน ศปช. จึงขอเข้าร่วมมหกรรมปรองดองด้วยข้อเสนอดังต่อไปนี้ บทเรียนจากวิธีสร้างความปรองดองในอดีตที่ผ่านมาในสังคมไทยชี้ว่า ความปรองดองหมายถึง “การลืม” หรือ “ความเงียบงัน” ต่อความอยุติธรรม ความเจ็บปวด และความสูญเสียที่ผู้มีอำนาจรัฐกระทำต่อประชาชน เพื่อแลกกับ “ความมั่นคง” ของระบอบที่อุปถัมภ์ค้ำชูและสนับสนุนความรุนแรงต่อประชาชน ความรุนแรงทางการเมืองหลายครั้งหลายหน จึงจบลงด้วยการนิรโทษกรรมให้กับผู้อยู่เบื้องหลังการปราบปรามประชาชน เปลี่ยนอาชญากรรมของรัฐต่อประชาชน ให้กลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย ใครที่พยายามขุดคุ้ยเรียกร้องหาความจริงและความยุติธรรม จะถูกตราหน้าว่าเป็นพวกชอบสร้างความแตกแยกปั่นป่วนให้กับสังคม ความเงียบ การยอมจำนน และความพ่ายแพ้ของเหยื่อจึงเป็นด้านมืดของการปรองดอง รัฐบาลตอบแทนพวกเขาด้วยเศษเงิน พร้อมประกาศว่านี่คือ “การเยียวยา” ผู้มีอำนาจทำราวกับว่าบาดแผลและความตายสามารถลบล้างได้ด้วยเงินเพียงเล็กน้อย สังคมไทยช่างโอบอุ้มและชาชินกับวัฒนธรรมแห่งการปล่อยให้ผู้กระทำผิดที่มีอำนาจลอยนวล (culture of impunity) ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ในสังคมอื่นที่เคยประสบกับความรุนแรงทางการเมืองโดยรัฐ เช่น แอฟริกาใต้ อาร์เจนตินา ฯลฯ การสร้างความปรองดองล้วนต้องเดินควบคู่ไปกับการคืนความยุติธรรมให้กับเหยื่อ อย่างน้อยที่สุด ความยุติธรรมขั้นพื้นฐานที่จะต้องมีให้ได้ คือ การเปิดเผยความจริงว่าใครคือผู้กระทำและอยู่เบื้องหลังอาชญากรรมต่อประชาชน แต่ในกรณีของไทย ความปรองดองไม่เคยเกิดขึ้นบนฐานของความยุติธรรมและความจริงเลยแม้แต่ครั้งเดียว ในขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มักกล่าวว่ารัฐบาลของตนยึดหลักนิติรัฐ “พร้อมพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนพร้อม ๆ ไปกับการค้นหาความจริงผ่านกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายบนความเสมอภาคที่ทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน” แต่สิ่งที่ผิดปกติอย่างยิ่งก็คือ จนกระทั่งบัดนี้ กระบวนการสืบสวนสอบสวนเพื่อหาตัวผู้กระทำผิดดูจะถูกเตะถ่วงและบิดเบือน โดยเฉพาะในกรณีที่มีมูลว่าเจ้าหน้าที่รัฐเป็นฝ่ายกระทำให้ประชาชนเสียชีวิต ซ้ำร้ายรัฐบาลยังโยนความผิดทั้งหมดไปให้กับคนชุดดำและผู้ชุมนุม ทั้ง ๆ ที่ความจริงที่รับรู้กันคือ กองทัพใช้กำลังพลและอาวุธสงครามจำนวนมากมายมหาศาลเพื่อสลายการชุมนุมครั้งนี้ ทั้ง ๆ ที่จนบัดนี้รัฐบาลก็ไม่สามารถให้ข้อมูลได้มากไปกว่าภาพของชายชุดดำไม่กี่คนที่ปรากฏกายในคืนวันที่ 10 เมษายน 2553 ทั้งๆ ที่รัฐบาลไม่สามารถแสดงหลักฐานว่า พลเรือนที่เสียชีวิตและบาดเจ็บรวมแล้ว 1,400 รายเป็นอย่างน้อยนั้น ครอบครองอาวุธไว้ทำร้ายเจ้าหน้าที่ ฯลฯ แต่รัฐบาลก็ยังยืนกรานเสียงแข็งว่าตนไม่ได้ปราบปรามประชาชน ในทางตรงกันข้าม มีแต่ฝ่ายผู้ชุมนุมที่ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาร้ายแรงและจำนวนมากถูกปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะได้รับการประกันตน “ความยุติธรรมแบบด้านเดียว” นี้ จึงเป็นเสมือนการใช้อำนาจรัฐกดปราบประชาชนซ้ำสองภายใต้ข้ออ้าง “นิติรัฐ” อันฉาบฉวยและสองมาตรฐานอย่างชัดเจน นอกจากนี้ สิ่งที่น่าเศร้าใจไม่น้อยก็คือ หนึ่งปีนับแต่การปราบปรามประชาชน กระบวนการค้นหาความจริงของทั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ (คอป.) และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก็ไม่สามารถเรียกศรัทธาจากประชาชนได้เลย กลายเป็นองค์กรปิดที่ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อประชาชน และยังไม่สามารถรายงานความคืบหน้าของการแสวงหาความจริงที่น่าเชื่อถือแก่ประชาชน หรือไม่ก็เฉื่อยชาต่อกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอย่างร้ายแรง ในขณะที่พวกเขาไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า สังคมต้องรับรู้ “ความจริง” และมี “ความยุติธรรม” แต่ดูเหมือนพวกเขาก็ไม่สามารถสลัดหลุดออกจากความปรองดองแบบไทย ๆ ที่มุ่งปกป้องสถาบันอำนาจในสังคมเป็นสำคัญ ฉะนั้น ศปช. จึงขอประกาศว่า เราไม่ได้ปฏิเสธการปรองดอง แต่การแสวงหาความปรองดองใด ๆ หลังการเลือกตั้งจะต้องควบคู่ไปกับการสถาปนาความจริง และคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปราบปรามปี 2553 ด้วย หากไม่มี “ความจริง” และ “การยอมรับผิด” (accountability) จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามประชาชน การนิรโทษกรรมก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ การปรองดองที่ปราศจากความยุติธรรมย่อมไม่ต่างอะไรกับการช่วยกันเหยียบย่ำศพและกระหน่ำตีบาดแผลของผู้สูญเสีย ศปช. ขอย้ำว่าวัฒนธรรมแห่งการปล่อยให้ผู้กระทำผิดที่มีอำนาจลอยนวล และการเหยียบย่ำสิทธิในชีวิตและความเป็นคนจะต้องยุติลงในสังคมไทย 0 0 0 0 0 แถลงการณ์คณะกรรมการกลุ่มญาติวีรชน เม.ย.- พ.ค. 53 นับตั้งตการชุมนุมครั้งใหญ่ของพี่น้องประชาชนชาวไทยในกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2553 เพื่อเรียกร้องให้มีการยุบสภาฯ และเลือกตั้งใหม่ เพราะต่างเห็นว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรัฐบาลที่มาจากการหนุนหลังของอำนาจกองทัพจากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในวันที่ 7 เมษายน 2553 และนำไปสู่การใช้อำนาจพิเศษนี้สลายการชุมนุมของประชาชนอย่างรุนแรง เมื่อวันที่ 10 เมษายน ทั้งนี้มีหลักฐานเพียงพอว่าเป็นการใช้กองกำลังทหารเกินความจำเป็น จนทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งพลเรือนและทหารรวม 27 ราย และระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม ปีเดียวกัน บริเวณแยกราชประสงค์และใกล้เคียง จนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 55 ราย รวมผู้ที่ถูกไล่ล่าประหัตประหารตามสถานที่ต่างๆ รวมแล้วเสียชีวิตอย่างน้อย 93 ราย ผู้บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน สถานที่ราชการและอาคารพาณิชย์หลายแห่งถูกวางเพลิง ผู้ชุมนุมหลายร้อยคนถูกควบคุมตัวโดยพลการต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีการทำให้สูญหาย และมีการไล่ล่าประหัตประหารทางการเมือง การปิดกั้นการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ภายใต้ข้อหาฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในพระราชอาณาจักร ณ วันนี้ เป็นเวลามากกว่า 1 ปีแล้วที่เหตุการณ์สังหารหมู่ประชาชน, การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงในลักษณะต่างๆ ตลอดจนเหตุการณ์ก่อความรุนแรงเผาทำลายสถานที่ราชการและอาคารพาณิชย์ ปราศจากขั้นตอนสืบสวนสอบสวนตามกระบวนการยุติธรรมอย่างเพียงพอ การแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. โดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ฯ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรงของประชาชนผู้ชุมนุมทางการเมือง ก็เป็นเพียงการซื้อเวลาและสร้างความชอบธรรมทางการเมืองเท่านั้น ปราศจากกลไกการสอบวสวนที่มีที่มาจากองค์กรที่เป็นอิสระหรือมีที่มาจากประชาชนอย่างแท้จริง ในวาระที่ประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งใหญ่ในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ พวกเราในนามของ “คณะกรรมการกลุ่มญาติวีรชน เม.ย.-พ.ค.53” ซึ่งเป็นคณะกรรมการกลุ่มญาติวีรชน เม.ย.-พ.ค. 53” ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นจากญาติผู้สูญเสียในเหตุการณ์สังหารหมู่ประชาชน มีวัตถุประสงค์ในการรวมกลุ่มสร้างความเข้มแข็ง และเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตัดสินใจร่วมกัน และเรียกร้องความยุติธรรมและเรียกร้องสิทธิในการช่วยเหลือเยียวยาของสมาชิกกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้ถูกจับกุมคุมขังอย่างไม่เป็นธรรม ขอเรียกร้องให้ทุกพรรคการเมืองให้สัญญาประชาคมว่า
การดำเนินการทั้งสามประการข้างต้น ต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน สามารถตรวจสอบการดำเนินงานผ่านอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ตามหลักการตรวจสอบและถ่วงดุลของระบอบประชาธิปไตย คณะกรรมการกลุ่มญาติวีรชน เม.ย.-พ.ค.53 หวังว่าพรรคการเมืองทั้งหลายจะสดับฟังเสียงประชาชน และรับเป็นสัญญาประชาคมที่จะต้องปฏิบัติตามต่อไป คณะกรรมกากรลุ่มญาติวีรชน เม.ย.- พ.ค.53 หมายเหตุ ท่านที่ประสงค์จะสนับสนุนการดำเนินงานของ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
"สุวิทย์ คุณกิตติ" ประกาศถอนประเทศไทยจากสมาชิกมรดกโลก Posted: 25 Jun 2011 10:43 AM PDT สุวิทย์ คุณกิตติ ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจามรดกโลกฝ่ายรัฐบาลไทย ได้แถลงว่าประเทศไทยได้ถอนตัวออกจากภาคีสมาชิกมรดกโลกแล้ว โดยอ้างว่าที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่กรุงปารีส จะมีการนำวาระเรื่องเขาพระวิหารเข้าที่ประชุม ที่มาของภาพ: http://yfrog.com/kkt16hkj เมื่อเวลาประมาณ 23.20 น. นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจามรดกโลกฝ่ายไทย ได้ทวิตข้อความผ่าน @SuwitKhunkitti ระหว่างการเดินทางร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการประชุมเพื่อหาข้อสรุปกรณีปราสาทเขาพระวิหารว่า "ที่ประชุมบรรจุวาระ ผมไม่มีทางเลือกครับ คงต้องถอนตัว" [1] "ผมได้เคยพูดกับสื่อไทยไปว่า หากสังคมใดดำเนินการตามใจตนเอง ไม่คิดถึงกฏระเบียบที่ลงมติโดยสมาชิกแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆที่เราจะอยู่ในสังคมแบบนี้" [2] "กำลังแถลงต่อที่ประชุมครับ คณะผู้แทนพยายามเข้าใจ อธิบาย และอดทนรออย่างเต็มที่แล้ว" [3] และเมื่อเวลา 23.40 น. ตามเวลาในประเทศไทย นายสุวิทย์ระบุว่า "ผมและคณะนำประเทศไทยถอนตัวจากการเป็นสมาชิกมรดกโลกแล้วครับ" [4] โดยล่าสุดเมื่อเวลา 00.25 น. นายสุวิทย์ให้เหตุผลจากการถอนตัวจากสมาชิกมรดกโลกว่า "วาระเขาพระวิหารเข้าที่ประชุม ที่มาของการถอนตัว" [5] โดยคาดว่าในคืนนี้นายสุวิทย์จะทวีตข้อความชี้แจงมาเรื่อยๆ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ประกายไฟเสวนา: SOTUS เพิ่มหรือลดปัญญากับสังคมประชาธิปไตย Posted: 25 Jun 2011 10:38 AM PDT วันที่ 25 มิ.ย. กลุ่มประกายไฟ จัดงานเสวนา SOTUS เพิ่มหรือลดปัญญากับสังคมประชาธิปไตย ที่อนุสรณ์สถาน 14ตุลา(ตึกหลัง) โดยมีตัวแทนอาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยและกลุ่มนักเคลื่อนไหวต่างๆ ร่วมกันถกประเด็น นำเสนอปัญหา และร่วมกันหาทางปฎิรูประบบรับน้อง ห้องเชียร์ นายยุทธนา ลุนสำโรง นักศึกษา วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม (ผู้อยู่ใน Clip คัดค้านการประชุมเชียร์ที่ ม.มหาสารคาม)กล่าวว่า การประชุมเชียร์เป็นการจำกัดในเรื่องความคิด เพราะมีการจัดกรอบความคิดที่ชัดเจน เช่น ต้องแสดงความรักโดยการร้องเพลงมหาวิทยาลัยให้ได้ ต้องแสดงความรักโดยการบูมให้ได้ ต้องมีรุ่นให้ได้ โดยที่นักศึกษาไม่เคยตั้งคำถามเลย ซึ่งไม่ต่างจากการปลูกฝังในเรื่องชาตินิยม ปฎิเสธไม่ได้ว่าเป็นระบบเผด็จการอำนาจนิยม ข้อเสนอคือให้มีการปรับปรุง แต่ถ้าถามกลุ่มของตนจริงๆ อยากให้ยกเลิกไปเลย ถ้าจะสรุปกันจริงๆ ว่ามันส่งเสริมหรือทำลาย มันก็เห็นได้ชัดอยู่แล้วว่ามันเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพ เป็นการผลิตคนให้อยู่ในระบบราชการอุปถัมภ์ ซึ่งเราไม่เคยตั้งคำถามว่าที่จริงแล้วเรามีความเท่าเทียมกันไม่ใช่หรือ สิ่งที่อยากจะฝากไว้คือ อยากให้รุ่นน้องที่เข้ามาใหม่พยายามตั้งคำถาม และไม่กลัว ลุกขึ้นมาต่อสู้กับสิ่งที่เห็นว่าผิด ดิน บัวแดง นักศึกษาจากกลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน มีความเห็นว่า เรื่องการรับน้องมันแยกไม่ออกจากการตั้งคำถามว่าเราเข้ามาทำอะไร มหาวิทยาลัยควรจะต้องเป็นที่ผลิตคนที่มีความสามารถในการวิพากษ์วิจารณ์ มีความเป็นเสรีชน ถ้าเราเชื่อว่ามหาวิทยาลัยควรจะเป็นแบบนี้ มันคงไม่มีกิจกรรมอะไรที่สอดคล้องกับเจตจำนงค์นี้แล้วนอกจากการรับน้อง แต่ในความเป็นจริงการรับน้องในปัจจุบันไม่ได้ทำหน้าที่เช่นนี้ และระบบอาวุโสได้มอบอำนาจแก่รุ่นพี่โดยชอบธรรม เพียงแค่การที่เข้ามาก่อน ก็จะถือว่าเป็นรุ่นพี่โดยที่ไม่ได้สนใจเรื่องอายุ ดินกล่าวว่าสิ่งที่จะทำได้คือการตั้งคำถามต่อการใช้อำนาจเหล่านี้ รุ่นพี่บางคนอ้างว่าไม่เข้าก็ได้(ห้องเชียร์) แต่ตั้งแต่เด็กเราไม่เคยถูกส่งเสริมให้คิดแบบปัจเจก ทำให้ไม่สามารถตัดสินใจเองได้ รุ่นน้องที่เข้าใหม่ไม่มีเจตจำนงค์อิสระของตนเองจึงต้องยอมโอนอ่อนต่อรุ่นพี่ เมื่อรุ่นพี่จัดหาอะไรมาให้ทำ ก็ต้องทำตาม ทั้งนี้การจัดกิจกรรมรับน้องก็ซ้ำซาก แก่นสารของการรับน้องกลายเป็นเรื่องของการสันทนาการและร้องเพลง ทั้งที่การรับน้องควรจะเป็นเรื่องการส่งเสริมการวิพากษ์วิจารณ์ส่งเสริมเสรีภาพและสำนึกทางสังคม ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข จากกลุ่ม TU TRUE SPIRIT เล่าถึงประสบการณ์ของตนในปีหนึ่ง ในรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า ในธรรมศาสตร์ก็มีการรับน้อง และตนก็ผ่านการรับน้องมาและเคยพยายามคัดค้านการรับน้องที่ใช้ระบบโซตัส แต่รุ่นพี่ได้อ้างกลับว่าเป็นธรรมเนียม เป็นประเพณี ปณิธานกล่าวว่า ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่น คือมีอาจารย์หลายท่านที่ไม่ได้เห็นด้วยกับระบบนี้ จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างง่ายในการขับเคลื่อนการต่อต้านระบบโซตัส และเป็นเรื่องที่น่าแปลกที่มีอาจารย์บางท่านในธรรมศาสตร์ชอบพูดอยู่เสมอว่า ธรรมศาสตร์ไม่มีการรับน้อง มีแต่การรับเพื่อน แต่ในความเป็นจริงก็มีการรับน้องอยู่ตลอด เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร อาจารย์จากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ตั้งคำถามว่า ทำไมระบบนี้ยังคงอยู่ ทั้งที่มีคนไม่พอใจเยอะ ความอัปลักษณ์ของระบบนี้คือมันถูกสร้างขึ้นมาในระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และคนจำนวนมากยอมให้กิจกรรมแบบนี้เกิด เหมือนระบอบประชาธิปไตยในบ้านเรา ที่เราก็นิ่งดูดายและได้แค่บ่นอย่างเดียว เราจะทำยังไงให้คนรู้สึกว่าเรื่องพวกนี้เป็นปัญหา และเราจำเป็นต้องหลุดจากการครอบงำทางวัฒนธรรม ต้องร่วมกันผลักดันอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้เราในหมู่ activistไม่มีความรู้หรือ know-how ในการeducate คนหรือขับเคลื่อนคนเลย หลังจากการอภิปรายของทั้งสี่คน ได้มีการเปิดเวทีเสวนาเพื่ออภิปรายถกเถียงปัญหา และเสนอทางแก้ปัญหาระบบSOTUS ร่วมกันกับผู้ฟัง โดยภายในงานกลุ่ม ธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD) และกลุ่มเยาวชนปฎิรูปการรับน้องประชุมเชียร์แห่งประเทศไทย ได้นำแถลงการณ์เพื่อการปฎิรูปห้องเชียร์ รับน้อง มาแจกให้แก่ผู้ร่วมฟังด้วย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "น้ำตาพินอคคิโอ" Posted: 25 Jun 2011 10:26 AM PDT |
Posted: 25 Jun 2011 09:22 AM PDT "ฉ่วย มานน์" ประธานสภาผู้แทนราษฎรพม่าเรียกร้องให้ประชาชนพม่าร่วมมือกันป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการแบบในอาหรับ เพราะจะเป็นการบ่อนทำลายประเทศ ขณะที่สถานการณ์สู้รบระหว่างทหารพม่ากับกองกำลัง KIA ในรัฐคะฉิ่นแม้จะไม่มีรายงานการปะทะกันเพิ่มเติม แต่ยังคงมีผู้อพยพนับหมื่นลี้ภัยเข้าไปในจีน เว็บไซต์อิระวดี รายงานว่า ฉ่วย มานน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรของพม่ากล่าวเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมาว่า ประชาชนชาวพม่าควรจะร่วมมือกันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปรากฏการณ์ แบบเดียวกับการปฏิวัติประชาชนของอาหรับลุกลาม หรือที่เรียกกันว่า "ดอกไม้อาหรับเบ่งบาน" (Arab Spring) ซึ่งจะเป็นการทำลายผลประโยชน์ของประเทศ "เมื่อจอห์น แมคเคน วุฒิสมาชิกของสหรัฐฯ เคยบอกกับเราเมื่อตอนมาเยือนพม่าว่า พวกเราควรจะระวังไม่ให้เกิดความวุ่นวายแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง" ฉ่วย มานน์ กล่าวกับ ส.ส. ในเขตย่างกุ้ง ในที่ประชุม ฉ่วย มานน์ ยังได้กล่าวอีกว่า ส.ส. มีส่วนช่วยทำให้เหตุการณ์ในรัฐคะฉิ่นเย็นลง จากการที่กองทัพของรัฐบาลกับกองทัพอิสระภาพคะฉิ่น (KIA) ต่อสู้กันตั้งแต่ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมิถุนายน เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. นายเต็ง ซอว์ (Thein Zaw) หนึ่งใน ส.ส. ของเมืองมิตจีนา เมืองหลวงของรัฐคะฉิ่น ได้ส่งจดหมายไปยังกองกำลัง KIA ระบุว่าผู้บัญชาการของพม่าได้สั่งการให้หยุดการสู้รบและหวังว่าฝ่ายผู้นำ KIA จะปฏิบัติอย่างเดียวกัน อย่างไรก็ตาม KIA ได้ปฏิเสธจะทำตามเนื้อความในจดหมายและบอกว่ามัน "ไม่จริงใจ" จากนั้นจึงกล่าวว่าพวกเขาต้องการให้กองทัพพม่าพิสูจน์ให้เห็นจริงว่าพวกเขาได้หยุดปฏิบัติการทางทหารไปแล้วจริง ในวันนี้ (24 มิ.ย.) ไม่มีรายงานการปะทะกัน ขณะที่ผู้อพยพราว 10,000 รายยังคงลี้ภัยอยู่ในเขตประเทศจีน เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดการปะทะกันอีกครั้ง
House Speaker Warns Against 'Arab Spring' , 24-06-2011, Irrawaddy สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
"ฐิตินันท์" มองแอฟริกาเหนือ-ไทย ชี้การเปลี่ยนแปลงเกิดเมื่อปชช. "มีเอี่ยว" Posted: 25 Jun 2011 08:07 AM PDT มองแอฟริกาเหนือเทียบเมืองไทย ชี้ยิ่งอำนาจนิยมฝังราก ยิ่งถูกกดดันมาก ระบุการเปลี่ยนแปลงในหลายที่ เกิดจากประชาชนรู้สึก "มีเอี่ยว" กับระบบ มองเลือกตั้งไทย แนะเอาผลลัพธ์เลือกตั้งเป็นตัวตั้ง ยอมรับวิถีปรองดอง (24 มิ.ย.54) ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปาฐกถาเรื่อง "อยู่ยง ยืดหยุ่น ยับเยิน: มองแอฟริกาเหนือ มองไทย" ในการแสดงปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ ประจำปี 2554 ในวาระครบรอบ 79 ปี การอภิวัฒน์ไทย 24 มิถุนายน 2475 ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ นั้น ถ้าเข้าใจในระดับลึกจะเห็นว่ามีอะไรที่ประยุกต์ใช้ สะท้อนเหตุการณ์บ้านเราไม่น้อย ฐิตินันท์ กล่าวว่า สาเหตุที่การประท้วงในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางเพิ่งเกิดขึ้นในช่วงนี้ ทั้งที่ประเทศเหล่านี้ปกครองด้วยระบอบอำนาจนิยม ระบอบเผด็จการมานานตั้งแต่สมัยล่าอาณานิคม เป็นเพราะระบอบไหนที่เป็นอำนาจนิยมฝังรากลึก ก็ยิ่งจะได้รับความกดดันให้มีการปรับเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ทั้งนี้ ฐิตินันท์ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ประเทศอื่นๆ ที่ยังไม่มีปัญหาในช่วงนี้ เป็นเพราะมีการปรับตัวเพื่อซื้อใจประชาชน เช่น โมร็อกโก ที่เร็วๆ นี้ สถาบันกษัตริย์ยอมปฏิรูป ทำให้ลำดับความแรงของความขัดแย้งลดลง สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดการเรียกร้องในประเทศเหล่านี้ ฐิตินันท์ ระบุว่าประกอบด้วยความก้าวหน้า โลกาภิวัตน์ กฎระเบียบมาตรฐานใหม่ๆ ระหว่างประเทศที่เน้นให้น้ำหนักกับการกำหนดประเทศด้วยประชาชน ปัญหาปากท้อง ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวยสูง นอกจากนี้ยังมีความคาดหวังของคนโดยรวมที่ต้องการมีชีวิตที่ดีกว่าเดิมสูงขึ้น ทั้งนี้ ฐิตินันท์ระบุว่าเมื่อความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การโฆษณาชวนเชื่อก็จะยากขึ้น พร้อมเล่าว่า เมื่อยังเด็ก ความรับรู้การรับสื่อยังมีจำกัด คลื่นวิทยุทีวีก็เป็นของทหาร เมื่อเข้าเรียนก็รับการศึกษาจากทางการ หล่อหลอมความคิดได้ง่าย สมัยนี้ มีความเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศข้อมูลข่าวสาร มีโซเชียลมีเดีย โทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ทำให้ความต้องการการเปลี่ยนแปลงมีการกระตุ้นแรงขึ้น ยกตัวอย่างสถานีโทรทัศน์อัลจาซีราห์ซึ่งมีบทบาทสำคัญมากกับการเปลี่ยนแปลง เพราะรายงานสถานการณ์ทันทีและเผยแพร่ได้หลายทาง ไม่ว่า จานดาวเทียม อินเทอร์เน็ต การหล่อหลอมความคิดจึงทำได้ยาก เพราะประชาชนตื่นตัวมากขึ้น เชื่ออะไรแบบเดิมๆ ยากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอย่าง "รุ่นของประชากร" (demographics) ที่คนหนุ่มสาวเพิ่มจำนวนขึ้น มีความต้องการที่มากขึ้น และสิ่งที่สำคัญคือการที่เราไม่มีสงครามเย็นแล้ว เมื่อก่อนใครประท้วงเราบอกว่าเป็นคอมมิวนิสต์ จับได้ทันที ซ้ำอภิมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ ยังร่วมต่อต้านด้วย แต่เมื่อเราไม่มีสงครามเย็น จะไปจับคนที่ประท้วง วิจารณ์ หรือไม่เห็นด้วย ก็ต้องหาเหตุผล อีกลักษณะที่เป็นตัวกระตุ้นคือ ความรู้สึกของการ "มีเอี่ยว" ในระบบ กรณีของไทย ในอดีต มีวงจรการเลือกตั้ง-ซื้อเสียง-รัฐประหาร แต่คนไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองมีผลประโยชน์ร่วมกับระบอบเลย ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือก็เช่นกัน เมื่อคนที่มีเอี่ยวกับระบบแล้วก็ไม่ต้องการเสียสิทธินั้น คนที่ยังไม่มีก็ต้องการ ให้แบ่งปันจัดสรร รวมถึงยังมีสาเหตุจากการเป็นสังคมพวกพ้องด้วย ซึ่งหากไม่มีการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากรให้เป็นธรรมขึ้นก็จะมีปัญหาเพราะผู้ที่มีการศึกษาก็ต้องการความก้าวหน้า หากความก้าวหน้าในหน้าที่การงานนั้นใช้ความสัมพันธ์มาก ใช้ความสามารถน้อย ไม่สามารถระบายคนที่จะขึ้นมาได้ ก็จะเกิดแรงกดดัน การเผชิญหน้า และความขัดแย้ง ต่อมา ฐิตินันท์กล่าวถึงประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างอินโดนีเซียว่า เมื่อสิบกว่าปีก่อน ดูเหมือนอินโดนีเซียจะลงเหว เพราะประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจ ส่วนไทยกำลังจะพุ่งขึ้นโดยมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ปรากฏว่าขณะนี้ อินโดนีเซียกลายเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตย มีประชากรอันดับสามของโลก และยังเป็นสมาชิก G20 ขณะที่ไทยถูกหลายฝ่ายห่วงว่าจะลงเหว ซึ่งฐิตินันท์มองว่า ที่ผ่านมา ในช่วงปี 2542-2544 กลุ่มประชาสังคมอินโดนีเซีย ทั้งเอ็นจีโอ นักวิชาการ และนักธุรกิจ มีความเป็นปึกแผ่น และมีความเป็นเสรีนิยมสูง โดยมีจุดยืนชัดเจนในการต่อต้านทหาร มีประชามติว่าอินโดนีเซียต้องเป็นประชาธิปไตย ขณะที่ประชาสังคมของไทยไม่เป็นปึกแผ่นและไม่เป็นเสรีประชาธิปไตย เรามีกลุ่มประชาสังคม อาจารย์ นักวิชาการ ทั้งที่เป็นประชาธิปไตยและที่เรียกร้องรัฐประหาร นอกจากนี้ เขายังยกตัวอย่างกรณีของพม่า ที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามปรับตัวของผู้นำ เพื่อให้ประชาชนได้มีทางระบายความต้องการของตัวเอง แม้ว่าผลสุดท้ายจะเป็นไปตามที่พม่าวางไว้ก็ตาม โดยชี้ว่า พม่าพยายามสร้างภาพลักษณ์ของประชาธิปไตย โดยร่างรัฐธรรมนูญ ส่งทหารลงเลือกตั้ง มีชนกลุ่มน้อยเข้าร่วม ทั้งที่พม่าเองพร้อมจะปราบปรามอย่างหนักกับผู้ต่อต้าน ไม่ว่าพระ นักศึกษา แต่พม่ารู้ว่าระยะยาว ต้องตอบสนองกระแสความเปลี่ยนแปลงให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะมีแรงกดดันอย่างหนักในอนาคต โดยสรุป ฐิตินันท์ มองว่า ในละแวกเพื่อนบ้านของไทยนั้น การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นเรื่องการ "มีเอี่ยว" โดยประชาชนอาจไม่รู้ว่าประชาธิปไตยคืออะไรก็ได้ แต่พวกเขาต้องการมีส่วนร่วมกำหนดอนาคตรวมของประเทศ และในกรณีของไทยก็เป็นเช่นนี้ ฐิตินันท์ ระบุว่า กรณีประเทศไทย ตลอด 79 ปีหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เรามีเผด็จการทหารหลายรอบ ซึ่งมีข้อดี 2 ข้อ คือ หนึ่ง ทำให้ไทยไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ เพราะต่อสู้ได้เข้มแข็ง สอง มีเสถียรภาพพอที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะเขามองว่า รัฐประหารจะเป็นเรื่องยากขึ้น ต้นทุนสูงเกินกว่าที่คนส่วนใหญ่จะยอมรับ แม้ว่าจะทำรัฐประหารได้ แต่หลังจากนั้นจะมีแรงโต้กลับ โดยจะมีปฏิกิริยาจากนักลงทุนต่างชาติ ที่จะวิจารณ์และตัดความช่วยเหลือ สำหรับสถาบันกษัตริย์ไทยนั้น ในช่วง 79 ปี ฟื้นขึ้นสูงสุดตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ และจุดสูงสุดที่เป็นสัญลักษณ์คือช่วงพฤษภาทมิฬ ที่สยบความแตกแยก ฆ่าฟัน แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีประสบการณ์ต่างๆ ที่ทำให้เห็นว่ามีความกดดันเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนไม่น้อย ระบอบปกครองไทยมาจากสงครามเย็น เรามีเครื่องจักรจากสงครามเย็น กองทัพ สถาบัน ระบบราชการ ซึ่งลักลั่นกับปัจจุบันที่ลักษณะประชากรเปลี่ยน กระแสเสรีประชาธิปไตย โลกาภิวัตน์กำลังมา ฐิตินันท์ ชี้ให้เห็นว่า ในทศวรรษ 1970 มีความพยายามท้าทายกับระบอบการปกครอง แต่ไปได้ไม่ไกล ต่อมาในทศวรรษ 1980 ปรองดองกันได้ แต่ก็มีทหารกุมอำนาจบางส่วน ขณะที่ช่วง 1990 หลังพฤษภาทมิฬมีการปรองดองอย่างลึกซึ้ง และเมื่อไทยรักไทยขึ้นมา ก็เกิดความแตกแยก ร้าวลึก ฐิตินันท์ ระบุว่า เมื่อพูดถึงทักษิณก็มีทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบเอามากๆ โดยมีทั้งประเด็นเรื่องซุกหุ้นตั้งแต่ปี 44 ฆ่าตัดตอนยาเสพติด 2,275 ศพ แก้กฎหมาย ใช้ไอทีวีเป็นกระบอกเสียง ขายหุ้นไม่เสียภาษี แต่มองว่าสิ่งที่เป็นอาชญากรรมที่เลวร้ายที่สุดที่คนไม่ชอบ คือทำให้ประเทศไทยไม่เหมือนเดิม คนที่ชอบอาจบอกว่าควรเป็นเช่นนี้ คนไม่ชอบก็อาจจะบอกว่าฉวยโอกาส ลุอำนาจ ฐิตินันท์ กล่าวถึงการเลือกตั้งที่จะถึงนี้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ดูจะเป็นรองพรรคเพื่อไทย ทั้งที่อยู่ในอำนาจสองปีครึ่ง ใช้งบประมาณติดลบ แจกจ่ายเหมือนไทยรักไทย และชี้ว่า ที่ผ่านมา มีการใช้ตุลาการภิวัตน์ การประท้วงยาวนานจนมีการยึดสนามบิน การตั้งรัฐบาลในกองพันที่ 1 รอ. แต่มาวันนี้ประเทศไทยเปลี่ยนไปแล้ว เมื่อดูป้ายหาเสียงจะพบว่าแข่งกันประชานิยม ไม่มีป้ายใครที่โฆษณาเศรษฐกิจพอเพียงอีกแล้ว ดังนั้น อยู่ที่ว่าเมื่อทุกอย่างเปลี่ยนไปแล้ว จะปรองดองยอมรับกันได้ไหม อย่างไรก็ตาม ฐิตินันท์มองว่ายังไม่เห็นสัญญาณของการปรองดอง เขาแนะนำว่า ควรมีการทำโรดแมปที่จะยอมรับผลเลือกตั้งเป็นตัวตั้ง โดยช่วง 3-6 เดือนหลังเลือกตั้ง ควรทำให้สถานการณ์นิ่ง อย่าปลด ผบ.ทบ. อย่าเล่นงานเรื่อง 91 ศพ อย่าแก้กฎหมายอาญา มาตรา 112 อย่านิรโทษกรรม ทักษิณอย่าเพิ่งกลับมา อย่าเอา นปช.มาเป็นรัฐมนตรี ขณะที่อีกฝ่ายต้องยอมรับรัฐบาลจากการเลือกตั้ง อย่าย้ายข้าราชการ ถ้าเป็นได้แบบนี้ เราอาจพอหาทางเดินร่วมกันเพื่อออกนอกดงความขัดแย้งได้ ไม่เช่นนั้นจะเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเดิม โดยมองว่าหากเกิดเหตุการณ์เหมือนตอนที่พรรคพลังประชาชนชนะเลือกตั้ง แล้วรัฐบาลจากพลังประชาชนถูกล้มไปถึงสองครั้งอีก คราวนี้กระแสโต้กลับจะแรงและเร็วกว่าเดิม ทั้งนี้ เขากล่าวด้วยว่าในยุคนี้เป็นปลายรัชสมัยที่เหมือนกับน้ำท่วมอก เป็นระบอบที่อยู่มานานมีคุณประโยชน์ ตั้งคำถามว่าเราจะทำอย่างไรที่จะปรับเปลี่ยนให้มีความต่อเนื่องได้ ฐิตินันท์ ทิ้งท้ายปาฐกถาด้วยฉากใน "ละครฉากสุดท้าย" นวนิยายเรื่องหนึ่งในนิตยสารสกุลไทย โดยระบุว่า นวนิยายเรื่องนี้ อ่านแล้วเข้ากับยุคสมัย เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง 24 มิ.ย.2475 โดยส่วนที่ยกมาเป็นบทสนทนาของขุนนางผู้เสียอำนาจที่มองว่าของเดิมดีอยู่แล้ว โต้กับพระเอกว่าทำไมต้องมีการเปลี่ยนแปลง
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กลุ่มคนเสื้อแดง เปิดเวทีฉลองงาน24 มิถุนา “วันชาติ ราษฎร” Posted: 25 Jun 2011 07:50 AM PDT เครือข่ายประชาธิปไตย (คปต.) และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ได้จัดงานเฉลิมฉลอง ยี่สิบสี่มิถุนา 'วันชาติ ราษฎร' ขึ้น เพื่อรำลึกถึงคุณูปการของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบเก่าสู่ระบอบใหม่ อันทำให้ราษฎรไทย 'ได้สิทธิเสรี' ตามหลัก ๖ ประการของคณะราษฎร ค่ำวานนี้ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลุ่ม24 มิถุนา ประชาธิปไตย, สนนท., เครือข่ายประชาธิปไตย และกลุ่มแดงสยาม ได้ร่วมกันตั้งเวทีเนื่องในวันครบรอบ 79 ปี 24 มิถุนายน หรือวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้รับความสนใจจากประชาชน และมวลชนคนเสื้อแดงเป็นจำนวนมาก โดยในช่วงประมาณ 4โมง มีการจัดนิทรรศการ 'วันชาติ ราษฎร' เพื่อบอกเล่าที่มาของวันชาติ ความทรงจำของคณะราษฎร ระบอบรัฐธรรมนูญ และการเปลี่ยนแปลงการปกครองสยาม และในเวลาประมาณ 6โมงเย็น ได้มีการตั้งเวทีเพื่อปราศรัยและเปิดวงเสวนาขึ้น โดยมี อ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมด้วย ภายในงานนอกจากจะมีการปราศรัยและเปิดเวทีเสวนาแล้ว ยังมีการอ่านบทกวี และเปิดวิดีโอ 'ความทรงจำ คณะราษฎร : ดอกผลการอภิวัฒน์สยามในสังคมปัจจุบัน' ที่มาจากการสัมภาษณ์บุตรหลานของคณะราษฎร มีการแสดงละครเสียดสีโดยกลุ่มประกายไฟเรื่อง “หนึ่งแผ่นดิน” และมีการอ่านประกาศคณะราษฎร ร่วมกันร้องเพลง 24 มิถุนามหาศรีสวัสดิ์ และจุดพลุเฉลิมฉลองในงานด้วย สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Posted: 25 Jun 2011 06:52 AM PDT นโยบายรัฐบาลชัดเจนมาตลอดที่จะใช้มาตรการทางทหารกดดันม็อบกลุ่ม นปช. ความชัดเจนก็คือนโยบายกระชับวงล้อม เพื่อการยุติการชุมนุมไม่ใช้การกระชับวงล้อมเพื่อเปิดการเจรจา ...และนายกรัฐมนตรีได้สั่งการในที่ประชุม ศอฉ.ในวันที่ 12 พฤษภาคม ให้ฝ่ายทหารเริ่มต้นปฏิบัติการตามแผนยุทธการที่ได้วางไว้ วารสารเสนาธิปัตย์ ปีที่ 59 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2553 |
แอนดรูว์ เอ็ม มาร์แชล: ทักษิณกับผม Posted: 25 Jun 2011 06:46 AM PDT (Thanks to Liberal Thai blog for translation. Original English language version is here: http://bit.ly/96kT67) เช่นเดียวกับนักข่าวต่างชาติอีกหลายคน ผลจากการรายงานข่าวเกี่ยวกับวิกฤติการเมืองในประเทศไทย ผมถูกกล่าวหาเป็นประจำว่า ซื่อ งมโข่ง และขาดความสามารถที่จะทำความเข้าใจถึงสถานการณ์อันซับซ้อนได้ แต่ก็ไม่เป็นอะไร แม้กระทั่งเพื่อนสนิทของผมยังเรียกผมว่าปัญญานิ่มอยู่บ่อยๆ แล้วปกติก็เป็นจริงอย่างนั้นนะ แต่สื่อต่างชาติกำลังเผชิญกับการถูกกล่าวหาในเรื่องอื่น: ถูกกล่าวหาว่าเราตกเป็นเหยื่อ และถูกล้างสมองจากแผนปฏิบัติการรณรงค์โฆษณาชวนเชื่อบางอย่างที่สร้างความงมงายอย่างได้ผลของอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร หรือหนักไปกว่านั้น กล่าวหาว่าเรารับเงินจากทักษิณเพื่อเร่ขายเรื่องโกหกใส่ร้ายกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย เรื่องนี้ถือว่าเหลวไหลไร้สาระสิ้นดี ใครที่คิดว่าทักษิณจะมีสิทธิติดสินบนต่อการบริหารบริษัทสื่อต่างชาติในประเทศไทยเพื่อทำการบิดเบือนสถานการณ์ เป็นแน่ชัดว่า ผู้นั้นมีความเข้าใจอันจำกัดว่าอุตสาหกรรมสื่อของโลกทำงานกันอย่างไร และใครที่คิดว่านักข่าวที่เสี่ยงชีวิตเพื่อดำรงหลักการแห่งความยุติธรรม และความซื่อสัตย์จะถูกอดีตมหาเศรษฐีที่กำลังลี้ภัยซื้อตัวได้นั้น เป็นที่แน่ชัดว่า ผู้นั้นมีเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์อยู่อย่างจำกัด แต่แทนที่จะชี้ให้เห็นถึงจุดบกพร่อง และข้อผิดพลาดที่มีมากมายเมื่อผู้ตั้งตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นโต้เถียงกัน ผมจึงต้องเล่าเรื่องระหว่าง ทักษิณและตัวผม ผมมากรุงเทพครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ ในฐานะผู้ช่วยสำนักงานข่าวรอยเตอร์ ในขณะที่ประเทศไทยกำลังค่อยๆฟื้นตัวจากบาดแผลของวิกฤติฟองสบู่ของเอเชียในปี ๒๕๔๐/๒๕๔๓ และอำนาจทางการเมืองใหม่เพิ่งปรากฏโฉมขึ้นมา – ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทยของเขา (ชื่อพรรคการเมืองที่ทักษิณเลือกขึ้นมา โดยเฉพาะในเวลานี้ดูเหมือนเป็นการตั้งเพื่อประชด ในแง่ความแตกแยกที่เต็มไปด้วยความขมขื่น และความเกลียดชัง ซึ่งได้อุบัติขึ้นมาในสังคมไทย) ผมเป็นผู้ทำข่าวการผงาดในทางการเมืองของทักษิณ คำมั่นในยามหาเสียง และการเลือกตั้งในเดือนมกราคม ๒๕๔๔ ซึ่งไทยรักไทยเป็นพรรคแรกและพรรคเดียวในประเทศไทยที่กวาดที่นั่งมากที่สุด ในวันนี้ ทักษิณถูกวาดภาพในประเทศไทยว่าเป็นปีศาจอัจฉริยะ ผู้บงการร่างเงาด้วยทุนทรัพย์อันมหาศาล เป็นเพียงคนเดียวที่เกือบจะลากประเทศเข้าสู่ความหายนะ และความล่มจม แต่เพียงแค่ไม่กี่เดือนแรกที่ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกฯ เขาได้แตกต่างไปจากตัวแทนที่น่าขบขันเหล่านี้ ห่างไกลเกินกว่าที่จะดูเป็นปีศาจอัจฉริยะ ทักษิณสร้างความประทับใจ แทนที่จะเป็นผู้ที่ไม่มีความฉลาดเอาเสียเลย มารยาท และความเปิ่นได้สร้างรอยด่างพร้อยให้กับภาพพจน์ของทักษิณ และจากที่แย่ กลายเป็นย่ำแย่อย่างหนักเมื่อสมาชิกวุฒิสภาที่น่าจะประสาทอ้างว่าได้พบขุมทอง และพันธบัตรสหรัฐฯที่ถูกทหารญี่ปุ่นที่หลบหนีนำมาทิ้งไว้ปลายสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยซ่อนไว้ในโบกี้รถไฟแวดล้อมไปด้วยกระดูกของทหารญี่ปุ่น ซึ่งทำฮาราคีรี และหนีลึกลงไปในถ้ำใกล้จังหวัดกาญจนบุรี ส่วนใหญ่ของประเทศมองการอ้างเหล่านี้ว่าเป็นการแต่งเติมรสชาติ แต่ไม่ใช่สำหรับทักษิณ ทักษิณตื่นเต้นขนาดถึงกับรีบรุดไปยังถ้ำด้วยเฮลิคอปเตอร์ และต่อมาประกาศว่าเขาจะใช้ดาวเทียมหาตำแหน่งสถานที่ซ่อนขุมทรัพย์นั้น คุณอ่านรายงานข่าวตำนานเรื่องนี้ได้จาก ที่นี่ และ ที่นี่ อะไรที่เป็นประเด็นสำคัญซึ่งแขวนอยู่ในช่วงเดือนต้นๆของรัฐบาลทักษิณ นั่นคือการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ใกล้จะมาถึงว่านายกฯจะถูกห้ามเล่นการเมืองห้าปีหรือไม่ ในข้อหาปิดบังทรัพย์สินบางส่วน นี่เป็นบททดสอบที่ยากลำบากสำหรับประชาธิปไตยของไทย – เป็นเรื่องค่อนข้างแน่ชัดกับใครก็ตามซึ่งว่ากันตามหลักฐานแล้วว่า ทักษิณพยายามปิดบังทรัพย์สินบางส่วนของเขา และทักษิณยังโอนหุ้นจำนวนมหาศาลให้กับคนใช้ และคนขับรถ แต่เขาเพิ่งได้รับชัยชนะจากเลือกตั้งด้วยคะแนนท่วมท้นเป็นประวัติศาสตร์ชาติไทย ศาลต้องการจะห้ามนายกฯซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนจากมวลชนจำนวนมหาศาลจริงๆหรือ แม้ว่าจะพบว่าเขาได้กระทำผิดในข้อหาที่มีอยู่ นั่นหมายถึงว่า นอกจากคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งที่ทักษิณได้รับมาอย่างถล่มทลายแล้ว เป็นเรื่องสำคัญสำหรับทักษิณที่จะเลี่ยงความผิดพลาดซึ่งจะทำลายคะแนนนิยม เพราะนั่นจะทำให้ศาลกล้าที่จะตัดสินเอาความผิดกับเขาได้ ผมชี้ให้เห็นจุดนี้จากการวิเคราะห์เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๔:
นักวิเคราะห์ยังได้ถกเถียงถึงความผิดพลาดของทักษิณเมื่อไม่นานมานี้ รวมถึงเรื่องแหกตาขุมทรัพย์ของชาวญี่ปุ่น:
รุ่งเช้าของวันต่อมา อย่างเคย ผมจับแท๊กซี่ใกล้ที่พักของผมในซอยสมคิดไปยังสำนักงานรอยเตอร์ที่ตึกอื้อจื่อเหลียง ถนนพระราม ๔ คนขับฟังรายการวิทยุคุยกับคนฟังที่โทรเข้ามา ในขณะที่ภาษาไทยของผมในเวลานั้นแค่งูๆปลาๆ เป็นที่แน่ชัดว่าคนฟังที่โทรเข้ารายการกำลังแสดงความโกรธเกี่ยวกับเรื่องอะไรบางอย่าง ฟังน้ำเสียงดูแล้วน่าจะไม่มีความสุข ไม่มีความสุขแน่ๆ ผมเริ่มตั้งใจฟังมากขึ้น เมื่อผมได้ยินบางคนพูดถึงรอยเตอร์ ผมยิ่งต้องตั้งใจฟังหนักขึ้นไปอีก เมื่อผมได้ยินบางคนพาดพิงถึง แอนดรูว์ มาร์แชล และในขณะที่ผมยังไม่เข้าใจว่าพวกเขากำลังพูดอะไร แต่ผมสามารถบอกได้ว่า พวกเขาโทรเข้ารายการวิทยุนี้ต้องไม่พูดอะไรที่ว่าผมเป็นคนที่วิเศษแน่ๆ ผมรู้จักอยู่สองคำคือ “ไม่ดี” – และดูเหมือนคนจะใช้คำนี้กันมาก ผมถึงสำนักงานรอยเตอร์ แล้วพบว่า พนักงานกำลังหน้าซีดมองพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์มติชน: ตัวหนังสือกลางหน้าแรก เป็นพาดหัวข่าวว่า “สื่อเทศประโคม “แม้ว” ตลกอินเตอร์” แม้วเป็นชื่อเล่นของทักษิณ ในกรณีนี้ สื่อเทศหมายถึงผม และในขณะเดียวกันผมไม่เรียกทักษิณว่าตลกอินเตอร์แน่ๆ ดูเหมือนมติชนจะแปลบทความของผมอย่างค่อนข้างหละหลวม และได้ฉวยเอาคำพูดมาจากเนชั่นว่าทักษิณได้กลายเป็นตัวตลกในสายตานานาชาติ ในเนื้อข่าวยังคงกล่าวถึงต่อ ซึ่งข่าวเป็นภาษาไทยอ่านได้จากที่นี่ หากข่าวนี้ลงตีพิมพ์ในปี ๒๕๕๓ สื่อไทยส่วนใหญ่คงยกให้ผมเป็นวีรบุรุษ และคงมีคนที่เล่นเฟสบุ๊คจำนวนนับหมื่นร้องเรียกว่า “เราเกลียด แดน รีเวอส์ แต่เรารัก แอนดรูว์ มาร์แชล” แต่นี่เป็นปี ๒๕๔๔ คนไทยส่วนใหญ่จะสนับสนุนทักษิณ แม้แต่ผู้ซึ่งไม่สนับสนุนเขายังไม่ขำไปด้วย เมื่อรู้ว่านักข่าวต่างชาติจองหองบางคนที่ถูกกล่าวหานั้นมาเรียกนายกฯของเขาว่า เป็นตัวตลก หัวหน้าของผมกำลังตื่นตระหนก เสียงโทรศัพท์ในห้องข่าวดังขี้นอย่างไม่ขาดสาย รัฐบาลมีหนังสือประณามข่าวของผม ประชาชนเกือบทั้งหมดในราชอาณาจักรไทย ดูเหมือนว่ากำลังโกรธแค้นในตัวผม ยิ่งเวลาล่วงเลยไป เรื่องยิ่งเลวร้ายหนักขึ้น ทักษิณถูกตั้งคำถามจากนักข่าวไทยซึ่งต้องการจะรู้ว่า เขาคิดอย่างไรเกี่ยวกับการที่รอยเตอร์ตั้งฉายานามว่าเป็นตัวตลก เป็นที่รู้กันจนถึงเวลานี้ว่า ทักษิณไม่ใช่เป็นแฟนตัวยงของนักข่าว นอกเสียจากว่านักข่าวจะเห็นด้วยกับเขาเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ตลอดเวลา ทักษิณไม่เชี่ยวชาญในการรับมือกับการวิจารณ์ และเขาเป็นคนขี้หงุดหงิด บุคลิกอุปนิสัยทั้งหมดนี้เป็นการอธิบายอย่างเพียงพอที่ทักษิณแสดงความเห็นอย่างมีสีสรรของทักษิณกับตัวผม ในเวลานั้นทีวีได้นำออกมาฉายซ้ำแล้วซ้ำเล่า และในสำนักงานของรอยเตอร์ในกรุงเทพได้นั่งจับจ้องอย่างตาไม่กระพริบ ผู้ร่วมงานคนไทยของผมช่วยคอยตามเก็บความเห็นของทักษิณ และแปลให้ผม: “ทักษิณเพิ่งพูดว่า แอนดรูว์ มาร์แชลเป็นนักข่าวที่ขาดจรรยาบรรณ…เขาพูดอีกว่า หากเขามีเวลา เขาจะบุกไปรอยเตอร์แล้วอัดผม…เขาพูดต่อว่า สื่อต่างชาติสมรู้ร่วมคิดต่อต้านทักษิณ และคุณ แอนดรูว์ มาร์แชล ร่วมอยู่ในนั้นด้วย….” วันรุ่งขึ้น เรื่องนี้ยังคงประโคมเป็นข่าวใหญ่ทั้งในทีวี และพาดหัวหน้าแรกหนังสือพิมพ์ นี่เป็นข่าวพาดหัวจากแนวหน้าเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน หัวข้อข่าวกล่าวว่า “ทักษิณฉุนถูกสะกิดแผล ขู่ทุบสำนักข่าวรอยเตอร์” ผมอาจเป็นนักข่าวคนแรกที่ได้รับเกียรติอย่างชวนให้น่าแคลงใจ ไม่ว่าจะเป็นนักข่าวไทย หรือนักข่าวต่างชาติต่างถูกทักษิณเลือกมาวิจารณ์เป็นคนๆไปต่อหน้าสาธารณะ และจนถึงเวลานี้เราทราบกันแล้วว่า ผมไม่ใช่เป็นคนสุดท้าย ทักษิณไม่เคยมาจัดการผม แต่ในหลายปีต่อมา รายงานข่าวของผมยิ่งสร้างความรำคาญให้ทักษิณหลายต่อหลายครั้ง ผมเสนอข่าวทักษิณถูกศาลรัฐธรรมนูญยกฟ้องอย่างเหลือเชื่อ หลังจากผู้พิพากษาสองคนเปลี่ยนคำตัดสินในนาทีสุดท้าย โดยอ้างว่าได้รับความกดดันจากผู้มีอำนาจ ผมเสนอข่าวการคุกคามสื่ออย่างต่อเนื่อง ทั้งสื่อไทย และสื่อสากล เมื่อพวกเขาถูกโจมตีอย่างหนัก ผมรายงานข่าวความเสื่อมอย่างยิ่งในระบบการตรวจสอบ และการถ่วงดุลอำนาจที่ประเทศไทยนำมาใช้เพื่อป้องกันการใช้อำนาจในทางผิด หากต่างคนต่างทำ ย่อมจะถูกทำลาย และพ่ายแพ้อย่างหมดรูป ผมเห็นกบฏมุสลิมภาคใต้ของไทยขยายตัวอย่างมั่นคง จนยากที่จะควบคุมหลังจากนโยบายที่ผิดพลาดครั้งแล้วครั้งเล่า ผมรายงานการที่ผู้ต้องหาค้ายาเสพติดรายย่อยถูกกระทำวิสามัญฆาตกรรม ในขณะที่ผู้ค้ารายใหญ่ที่มีอำนาจยังคงสาวไปไม่ถึงตัว ผมนั่งมองการทุจริตที่เฟื่องฟู ในปลายปี ๒๕๔๕ สงครามในตะวันออกกลางดูจะเป็นเรื่องเลี่ยงไม่ได้ ผมถูกส่งตัวไปทำข่าวที่คูเวตในขณะที่สหรัฐฯกำลังเตรียมพร้อมที่จะบุกอิรัก หลังจากซัดดัม ฮุสเซนถูกกองทัพสหรัฐฯโค่นอำนาจลง ผมได้รับตำแหน่งหัวหน้าสำนักข่าวรอยเตอร์ในแบกแดด ผมอยู่ที่นั่นสองปีในขณะที่ประเทศเคลื่อนเข้าสู่ภาวะนองเลือด และการจลาจล ชีวิตนักข่าวตกอยู่ในสภาพที่ต้องเสี่ยงตายมากขึ้น ข่าวของเราโดนทั้งถูกประณาม และถูกโจมตีเสมอ ส่วนใหญ่จากเจ้าหน้าที่ทางการสหรัฐฯซึ่งยืนยันว่าการฟื้นฟูอิรักกำลังดำเนินไปด้วยดี และเป็นผู้ที่ไม่พอใจกับความจริงที่เราเสนอให้เห็นความรุนแรงอย่างน่าสะเทือนใจในการทำลายล้างประเทศ และในช่วงปีแรกๆของการยึดอิรัก ลักษณะการทำงานอย่างมือไม่ถึงที่น่าใจหาย และมีการทุจริต บางครั้งจะเกิดความเครียดจากการเป็นหัวหน้าสำนักงานของรอยเตอร์ที่ต้องเข้าไปทำข่าวอยู่ใน “พื้นที่สีแดง” กลางเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยความหฤโหด ต้องเผชิญกับความกดดันขนาดหนัก และยังถูกระแวงจากผู้เชี่ยวชาญในห้องแอร์ห่างออกไปนับพันๆไมล์ซึ่งคอยกล่าวหาเราเป็นประจำว่าบิดเบือน และขาดสำนึก แต่ผมเรียนรู้ว่า การทำข่าวที่ถูกต้องย่อมขัดกับผู้มีอิทธิพลอันทรงอำนาจในทุกที่ และเป็นปกติที่จะสร้างความโกรธ และการถูกวิจารณ์ การตอบโต้เพียงสิ่งเดียวที่ทำได้ คือการทำงานของคุณให้ดีที่สุด รักษาเกียรติ และหลักการของคุณ และยืนหยัดในเรื่องที่คุณเสนอ ทุกสองเดือนหรือประมาณนั้นที่ผมได้พักจากแบกแดด และผมจะกลับมาใช้เวลาในประเทศไทยเสมอ เพื่อนสนิทที่สุดของผมบางคนในโลกนี้อยู่ที่นี่ และในเวลานั้น ประเทศไทยเป็นสถานที่ที่ผมจะพัก และผ่อนคลายความเครียด และความน่ากลัวจากอิรัก ยังคงเป็นความรู้สึกเหมือนสวรรค์บนดินในสมัยนั้น ผมต้องเป็นพยานกับการก่อตัวแห่งพายุของความแตกแยกทางสังคม และทางการเมืองในประเทศไทย และการอุบัติของการเคลื่อนไหวของ “เสื้อเหลือง” และการทำรัฐประหารอย่างไม่เสียเลือดเนื้อขับไล่ทักษิณ และล้มเหลวที่จะสมานแผลของประเทศ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ ผมกลับมาประจำที่เอเชีย ตำแหน่งหัวหน้านักข่าวรอยเตอร์ด้านความเสี่ยงทางการเมือง ซึ่งกำลังสั่นสะเทือนไปทั้งทวีป จากอัฟกานิสถานด้านตะวันตก ไปถึงญี่ปุ่น ยันออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ซึกตะวันออก สำหรับทุกประเทศในเอเชีย ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ประเทศหนึ่งซึ่งเข้าขั้นเสื่อมจนตกเหวมากที่สุดในหลายปีที่ผ่านมาคือ ประเทศไทย ครั้งหนึ่งเคยบูมถึงขนาดเป็นหนึ่งในกลุ่ม “เสือแห่งเอเชีย” ของภูมิภาค เศรษฐกิจกำลังไปได้ด้วยดี แม้จะมีความวุ่นวายทางการเมือง – ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจส่งออกมากที่สุดในเอเชียรองจากฮ่องกง และสิงคโปร์ ถูกกระตุ้นจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ภูมิภาคกำลังฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจโลก สำหรับในระยะยาวแล้ว ความเสียหายยังคงเต็มไปด้วยความรุนแรง นักท่องเที่ยวจำนวนมากมีความหวาดกลัว และที่หนักมากไปกว่านั้น บริษัทระหว่างประเทศของต่างชาติได้ขีดฆ่าประเทศไทยออกจากประเทศที่จะลงทุนในโครงการใหม่ การเมืองในไทยค่อนข้างวุ่นวายเป็นประจำ แต่จนไม่นานมานี้ นักลงทุนซึ่งต่างเคยคิดว่าเป็นการปลอดภัยหากทำเพิกเฉยกับประเทศซึ่งมีการก่อรัฐประหารเป็นระยะ และมีความวุ่นวาย ซึ่งพวกเขารู้ซึ้งดีว่าไม่สามารถมองข้ามขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยไปได้ แต่ไม่เป็นอย่างนั้นอีกแล้ว วิกฤติครั้งนี้ต่างไปกว่าทุกครั้ง การปิดสนามบินจนกลายเป็นอัมพาตของ “เสื้อเหลือง” ในปี ๒๕๕๑ และการที่ผู้ประท้วง “เสื้อแดง” ยึดใจกลางกรุงเทพในปีนี้ ซึ่งจบลงด้วยโศกนาฏกรรมอันใหญ่หลวงแห่งเดือนเมษายน และพฤษภาคม เมื่อคนไทยต่างฆ่าคนไทยด้วยกันเองบนท้องถนนกลางเมืองหลวงอันสวยงามของพวกเขาเอง มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย ๘๘ ศพ รวมถึง ฮิโระ มูราโมโตะ นักข่าวชาวญี่ปุ่นของรอยเตอร์ซึ่งเป็นผู้ร่วมงานของผม ถูกสังหารในขณะที่กำลังบันทึกเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างผู้ประท้วง และทหารในวันที่ ๑๐ เมษายน เกือบจะเป็นที่แน่ใจว่า จะต้องเกิดการสูญเสียชีวิตมากไปกว่านี้ในประเทศไทยอีกแน่ หากวิกฤติครั้งนี้ไม่ได้รับการแก้ไข ทุกอย่างที่ตกค้างนี้เป็นประเด็นที่ทุกคนทราบดี แต่ไม่มีใครกล้าพูดในที่สาธารณะได้ กษัตริย์ภูมิพล อดุลยเดชซึ่งเป็นที่เคารพอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ทรงชราภาพ และทรงอ่อนแอ และว่าที่องค์รัชทายาทมิได้ทรงเป็นศูนย์รวมใจเทียบเท่ากับพระบิดา และการที่พระบรมวงศานุวงศ์ของกษัตริย์บางพระองค์ และองคมนตรีบางคนแสดงการเข้าข้างอย่างเห็นได้ชัดในวิกฤติการเมืองในเวลานี้ ทำให้อนาคตแห่งระบบกษัตริย์ของประเทศไทยต้องตกอยู่ในสภาพอันตราย เป็นเรื่องสะท้อนใจที่ต้องนั่งมองประเทศไทยถอยหลังลงคลอง แต่เป็นเรื่องเศร้ายิ่งกว่าสำหรับคนไทยผู้ซึ่งภูมิใจประเทศของตัวเองต้องตกอยู่ในภาวะเช่นนี้ แต่ดูเหมือนว่าคนไทยหลายคนมีท่าทีไม่ยอมรับในเรื่องนี้ โดยเฉพาะชนชั้นกลาง และชนชั้นสูงในกรุงเทพ พวกเขามีทัศนคติที่ว่า ประเทศไทยยังคงเป็นดินแดนแห่งรอยยิ้มที่เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งทุกคนรู้ถึงฐานะของตัวเองในสังคม และทุกคนต่างยอมรับด้วยความหน้าชื่นตาบาน และพวกเขาดูเหมือนจะเชื่อว่าเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งนี้ไม่มีทางสิ้นสุด หากไม่ใช่เพราะอิทธิพลอันชั่วร้ายของทักษิณ ผู้พยายามก่อปัญหาให้กับดินแดนแห่งสวรรค์ของพวกเขาเองซึ่งมีแต่ความเห็นแก่ตัว พวกเขาอ้างว่า ทักษิณหลอกลวง และติดสินบนชาวไร่ชาวนาไทยทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เพื่อให้พวกเขาลืมกำพืดของตัวเอง หลงผิดกับความจริงของเป้าหมายในชีวิตของพวกเขาที่ว่ามีหน้าที่รับใช้คนร่ำรวยด้วยความยินดี และด้วยความอดกลั้นเท่านั้น พวกเขาคิดว่าหากหยุดทักษิณได้ ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม แม้ไร้ซึ่งคุณธรรม ประเทศไทยจะกลับไปสู่ประเทศตามอุดมคติ และทุกอย่างจะกลับไปเหมือนเดิม นี่เป็นมุมมองที่เพ้อเจ้อ ความพยายามทำการท้าทายเรื่องนี้ในประเทศถูกเซ็นเซอร์อย่างไม่ยั้ง และนักข่าวต่างชาติอย่างผมซึ่งแนะนำว่าสถานการณ์อาจจะซับซ้อนไปมากกว่านั้น กลายเป็นถูกบอกว่า ชาวต่างชาติอย่างเรานั้นไม่สามารถเข้าใจถึงความซับซ้อนของประเทศไทย และเราอาจจะรับเงินจากทักษิณ หรือถูกทักษิณล้างสมอง ให้ผมแจงรายละเอียดอีกครั้ง ถึงเวลานี้ควรเห็นได้ชัดแล้วว่า ทักษิณ และผมไม่ได้เป็นเพื่อนรักกัน ผมไม่มีความหลงว่าทักษิณเป็นใคร หรือทักษิณยึดมั่นในเรื่องอะไร ผมรู้อยู่เต็มอกว่าทักษิณไม่ใช่เป็นนักประชาธิปไตย และมีหลักฐานที่จะให้พิจารณาได้ว่า บทบาทของทักษิณทำให้ในเหตุการณ์ในเดือนเมษายน และพฤษภาคมเลวร้ายลง และเป็นผู้ไม่รับข้อเสนอแผนปรองดองนั้น แต่การที่จะเชื่อว่าวิกฤติครั้งนี้เป็นเรื่องระหว่างทักษิณ และประเทศไทยเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับความยุติธรรมทางสังคม ในทางประชาธิปไตย และสิทธิเท่าเทียมกัน เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดอย่างมหันต์ต่อเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ คนไทยจำพวกที่มองข้ามการเคลื่อนไหวของเสื้อแดงว่า ไม่มีอะไรมากไปกว่าชาวไร่ชาวนาโง่เขลาต่ำช้า ซึ่งไม่เข้าใจถึงความหมายของคำว่าประชาธิปไตย และความยุติธรรม พวกเขาไม่มีสิทธิที่จะโกรธแค้น และพวกเขารับเงินจากทักษิณ หรือถูกหลอกให้สนับสนุนแผนการอันชั่วชาติของทักษิณ ชินวัตร คนไทยพวกนี้ที่แน่ๆกำลังแสดงความจองหอง ความเป็นสองมาตรฐาน และการดูถูกเหยียดหยามคนยากไร้ ซึ่งคนไทยเหล่านี้อ้างว่าไม่มีตัวตนในประเทศไทย ประเทศไทยเป็นประเทศที่สวยงาม แต่ต้องถูกทำลายเป็นชิ้นๆเพราะความไม่ยุติธรรมในทางสังคม การทุจริตที่ถูกปกป้อง ความเป็นสองมาตรฐาน การเซ็นเซอร์ ลัทธิใช้กำลังทางทหาร การปฏิเสธของพวกศักดินาไม่ยอมรับผลพวงแห่งความเป็นประชาธิปไตย และคลานกลับเข้าไปสู่ลัทธิเผด็จการเต็มรูปแบบ แน่นอน ความซับซ้อน และความยุ่งยากเหล่านี้ ไม่ได้ลดลงอย่างง่ายๆเพียงแค่สีดำและสีขาว (หรือสีแดงและสีเหลือง) ที่เต็มไปด้วยความแตกต่าง และเต็มไปด้วยความอึมครึม แต่การปฏิเสธที่จะไม่ยอมรับปัญหาที่แสนสาหัส และความคับข้องใจของตัวการของวิกฤติในครั้งนี้ ย่อมยากที่จะหาทางออก หากมีสิ่งใดที่ผมเรียนรู้ได้จากเรื่องราวของทักษิณและผม สิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราจะทำได้ในฐานะนักข่าวคือ การรายงานอย่างตรงไปตรงมา ให้รับรู้ว่าปัญหาหลักนั้นถูกละเลย เพื่อชี้ให้เห็นว่าพระราชาไม่ได้ทรงสวมเสื้อผ้า หากเราเห็นกองขี้ควายที่กำลังส่งกลิ่น เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องบอกให้ชัดว่านั่นกองขี้ควาย แต่คนร่ำรวย และผู้มีอำนาจ ยิ่งพยายามชักชวนให้เราเชื่อว่า นั่นน่ะ คือไหทองคำนะ หมายเหตุ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 19 - 25 มิ.ย. 2554 Posted: 25 Jun 2011 05:06 AM PDT รำลึก 20 ปี “ทนง โพธิ์อ่าน” นักวิชาการชี้เรื่องราวเริ่มเลือนหายจากสังคม 19 มิ.ย. 54 - มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย พร้อมด้วยเครือข่ายองค์กรแรงงาน และญาติอดีตผู้นำแรงงานที่วายชนม์ ได้ร่วมกันจัดงาน “รำลึก 20 ปี ทนง โพธิ์อ่าน” อดีตวุฒิสมาชิกสายแรงงานและผู้นำแรงงาน ที่หายตัวไปอย่างลึกลับ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2534 หลังจากออกมาคัดค้านการยุบเลิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ และต่อต้านการรัฐประหารของ รสช. โดยมีการจัดพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับ นายทนง พร้อมด้วยอดีตผู้นำแรงงานที่เสียชีวิต อาทิ นายอารมณ์ พงศ์พงัน นายศุภชัย ศรีสติ และ ศ.นิคม จันทรวิทูร บริเวณห้องประชุมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า การหายตัวไปของ นายทนง คือภาพสะท้อนอำนาจเถื่อนของรัฐต่อผู้ใช้แรงงาน ซึ่งระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ทำให้เรื่องราวการหายไปของ นายทนง เริ่มจะเลือนหายไปจากสังคม นอกจากนี้ ยังสะท้อนให้เห็นว่า แม้บ้านเมืองจะดูดีขึ้น ทั้งในเรื่องการเมือง หรือการมีหน่วยงานของกระบวนการยุติธรรมเพิ่มขึ้น เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในเชิงปริมาณ แต่หลักประกันในสิทธิและเสรีภาพยังไม่ได้ดีขึ้น ขณะเดียวกันก็สะท้อนว่าขบวนการแรงงานยังไร้ซึ่งอำนาจต่อรองทางการเมือง สาเหตุสำคัญคือการขาดความเป็นปึกแผ่นและอันหนึ่งอันเดียวกัน (สำนักข่าวไทย, 19-6-2554) ปลัดแรงงานเล็งชงร่าง สปส.เป็นองค์การมหาชนให้รัฐบาลหน้าอนุมัติ นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) ในฐานะประธานคณะกรรมการประกันสังคมกล่าวถึงการปรับโครงสร้างสำนักงานประกัน สังคม (สปส.) ว่า ขณะนี้กระทรวงแรงงานได้จัดทำร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งสำนักงานประกันสังคม (องค์การมหาชน) เสร็จแล้ว และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ สปส.แล้ว โดยจะเสนอต่อรัฐบาลชุดหน้าเพื่อพิจารณานำเข้าสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวได้ปรับเปลี่ยนสถานะของ สปส.จากที่ปัจจุบันเป็นหน่วยงานรัฐไปเป็นองค์การมหาชน อยู่ในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและบริหารงานในรูปแบบคณะ กรรมการฝ่ายต่างๆ เช่นเดิม (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 21-6-2554) แรงงานไทยในลิเบีย ร้องขอความช่วยจากเอ็นจีโอแรงงาน แรงงานไทยที่เคยเดินทางไปทำงานที่ ประเทศลิเบีย เข้าร้องเรียนเอ็นจีโอแรงงาน ขอความช่วยเหลือให้ช่วยติดตามความคืบหน้า จากกระทรวงแรงงาน จากกรณีที่ตัวแทนแรงงานได้ไปยืนคำร้องทุกข์ ต่อกองตรวจและคุ้มครองคนหางาน กระทรวงแรงงาน เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาแต่ยังไม่มีความคืบหน้า เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 54 ที่ผ่านมานายมานะ พึ่งกล่อม อายุ 44 ชาวจังหวัดขอนแก่น และนายบุญเริ่ม คงเนียม อายุ 41 ปีชาวจังหวัดพิษณุโลก ได้เดินทางมาที่สำนักงานของโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย เพื่อขอความช่วยเหลือ ให้ทางโครงการฯ ช่วยติดตามความคืบหน้า จากกรณีที่พวกเขาได้ไปยื่นหนังสือร้องทุกข์ ไว้กับกองตรวจและคุ้มครองคนหางาน กระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2554 ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ เลย ซึ่งพวกตนได้รับความเดือนร้อนอย่างมาก นายมานะ กล่าวว่า ตนและเพื่อนๆ ตกลงเดินทางไปทำงานที่ประเทศลิเบีย ผ่านบริษัทจัดหางานเงินและทอง พัฒนา จำกัด ส่งไปทำงานกับบริษัทแรนฮิลล์ (RANHOILL) โดยเสียเงินค่านายหน้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งตนและเพื่อนบางคนต้องนำที่ดินไปจำนองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าว แต่พอไปถึงกลับไม่ได้รับค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามที่ได้ตกลงกันไว้ และต้องเดินทางกลับประเทศไทย พร้อมๆ กับหนี้สิน ซึ่งที่ดินของตนก็ได้หลุดจำนองไปแล้ว ลูกเมีย ก็มาหนีไปอีก นอกจากนี้ นายมานะ ยังได้กล่าวอีกว่า จากการที่ตนออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมดังกล่าว ตนต้องมาถูกฟ้องร้อง จากบริษัทจัดหางานเงินและทองฯ ในข้อหาหมิ่นประมาท เป็นจำนวนเงินถึง 1 ล้านบาท สุธาสินี แก้วเหล็กไหล ผอ.โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยกล่าวในเรื่องนี้ว่า เมื่อได้รับเรื่อง ก็ได้โทรติดต่อประสานงานไปยัง กองตรวจและคุ้มครองคนหางาน และได้รับคำตอบว่า “เนื่องจากมีคนงานที่มีปัญหาจากหลายบริษัท ที่มายืนคำร้อง ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนเรียกแต่ละบริษัทมาไกล่เกลี่ย” สุธาสินี กล่าวว่า จริงๆ แล้ว จะมาอ้างเหตุผลเช่นนี้ไม่ได้ เพราะตามระเบียบ เมื่อมีคนงานมาร้องทุกข์ กองตรวจฯ จะต้องสืบข้อเท็จจริงและออกคำสั่ง ว่าบริษัทจะต้องจ่ายตามข้อร้องเรียนของคนงานหรือไม่ ภายใน 30 วัน แล้วยังสามารถขยายได้อีกก 30 วัน รวมเป็น 60 วัน แต่นี่ก็เกินระยะเวลานั้นไปมากแล้ว กระทรวงแรงงานปล่อยไว้แบบนี้ไม่ได้ แต่จะต้องกระตือรือร้นมากกว่านี้ เพราะที่ผ่าน ปัญหาของคนงานก็คือขั้นตอนและระยะเวลาในกระบวนการยุติธรรมที่ยาวนาน มันเป็นสิ่งที่ฆ่าคนจน อุตสาหกรรมยานยนต์ดึงแรงงานอุตสาหกรรมอื่น กรุงเทพฯ 22 มิ.ย.- สถาบันยานยนต์คาดว่ายอดผลิตรถยนต์ของไทยปีนี้ จะกลับมาเท่ากับเป้าหมายเดิม 1.8 ล้านคัน ขณะที่โรงงานรถยนต์กำลังต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นอีกเกือบ 1 หมื่นคน นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า ขณะนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศฟื้นตัวกลับมาผลิตได้ตามปกติแล้ว แต่ยังไม่สามารถป้อนชิ้นส่วนได้เต็มที่ จึงยังไม่เปิดทำงานล่วงเวลาต้องรออีก 1-2 เดือน ล่าสุด ยอดผลิตในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา ลดลงเพียง 50,000 คัน น้อยกว่าที่คาดไว้เดิม 150,000 คัน จึงมั่นใจว่ายอดผลิตรวมทั้งปีจะเป็นไปตามเป้าหมายเดิมที่ 1.8 ล้านคันได้ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า จะมีโรงงานผลิตรถยนต์ใหม่อีก 3 โรงงาน ได้แก่ โรงงานอีโคคาร์ของซูซูกิ และมิตซูบิชิ และโรงงานรถเก๋งซีดานของฟอร์ด กำลังการผลิตโรงงานละประมาณ 150,000 คัน และยังมีโรงงานชิ้นส่วนอีกค่ายละ 20 โรงงาน ที่จะเดินหน้าผลิตในช่วงปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้า และต้องการแรงงานไม่น้อยกว่าแห่งละ 3,000 คน หรือรวมเกือบ 10,000 คน โดยร้อยละ 70 เป็นระดับปฏิบัติการ อีกร้อยละ 20 เป็นช่างและวิศวกร ที่เหลือเป็นแรงงานอื่น ๆ ซึ่งได้เริ่มทยอยรับสมัครพนักงานแล้ว และอาจมีแรงงานจากอุตสาหกรรมอื่นไหลเข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมรถยนต์ ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ตามมา (สำนักข่าวไทย, 22-6-2554) แคนาดาอนุญาตให้คนไทย 19 คนที่เป็นเหยื่อค้ามนุษย์อยู่ต่ออีก 2 ปี ออตตาวา 22 มิ.ย.- คนงานเกษตรชาวไทย 19 คนที่ตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ในแคนาดาได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่เป็นการชั่ว คราวอีก 2 ปีเพื่อให้มีเวลายื่นขอพำนักอยู่ถาวร เว็บไซต์ซีบีซีของแคนาดาอ้าง เคธี โคลาร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านคนเข้าเมืองซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มชาวไทยในการไต่สวนของคณะ กรรมการคนเข้าเมืองแคนาดาว่า คณะกรรมการมีคำตัดสินที่ให้ความเป็นธรรมแก่พวกเขา รวมไปถึงเหยื่อค้ามนุษย์ในอนาคตเพราะเป็นคำตัดสินที่จะใช้เป็นบรรทัดฐานต่อ ไป คนงานไทยกลุ่มนี้จ่ายเงินให้นายหน้าในไทยรายละ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 300,000 บาท) เพื่อนำมาทำงานในแคนาดา แต่กลับถูกนายจ้างยึดหนังสือเดินทางและทำงานหนักโดยไม่ได้ค่าแรง เธอเห็นว่า โครงการของรัฐบาลกลางที่รับชาวต่างชาติทำงานชั่วคราวมีข้อบกพร่องเพราะไม่มี หลักประกันคุ้มครองอย่างเพียงพอ เพราะทันทีที่คนงานไม่ทำงานให้นายจ้างแม้ว่ามีเหตุผลว่าถูกละเมิดก็จะถือว่า ละเมิดเงื่อนไขการพำนักอยู่ในแคนาดา จะถูกจำคุกหรือเนรเทศกลับประเทศ สตรีไทยคนหนึ่งเผยด้วยความยินดีว่า พวกเธอมีเวลาอีก 2 ปี เธอเดินทางมาแคนาดาเมื่อ 5 ปีก่อนหวังมีชีวิตที่ดีขึ้นแม้ต้องทิ้งบุตรสาวและมารดาไว้ที่เมืองไทยเพราะ นายหน้าบอกว่าจะได้เงินเดือน ๆ ละ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 60,000 บาท) ขณะนี้เธอและเพื่อนคนไทยได้ทำงานในฟาร์มย่านวินเซอร์ เธอหวังว่าจะสามารถพาบุตรสาวและมารดามาใช้ชีวิตร่วมกันที่แคนาดาต่อไป (สำนักข่าวไทย, 22-6-2554) พนักงานของ บ.ไวรัส สทิวดิโอ เรียกร้องให้จ่ายค่าเสียหายชดเชยเลิกจ้าง วันนี้ (22 มิ.ย.) กลุ่มอดีตพนักงานของบริษัท ไวรัส สทิวดิโอ จำกัด ได้ร่วมกันแถลงชี้แจงข้อกล่าวหาที่ทางบริษัท ไวรัส สทิวดิโอ จำกัด ได้ระบุในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 10 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีนายโกวิท เจริญรัชดาพันธุ์ , นายณัฐวุฒิ ทองใหม่ , นายนิมมาณ ทองลิ่ม เป็นตัวแทนกลุ่มอดีตพนักงาน ร่วมกันแถลงในครั้งนี้ "ขอเริ่มจากข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น เมื่อเวลาเช้าของวันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554 กลุ่มอดีตพนักงานได้เดินทางเพื่อมาทำงานตามปกติ แต่พบว่าสำนักงานหรือสถานที่ทำงานซึ่งตั้งอยู่ในอาคารกรุงเทพธุรกิจ (BB อโศก) อยู่ในสภาพว่างเปล่า เหลือเพียงเศษขยะและของใช้ส่วนตัวบางส่วน เฟอร์นิเจอร์และคอมพิวเตอร์ทั้งหมดได้ถูกขนย้ายออกไป สำนักงานหรือสถานที่ทำงานจึงไม่อยู่ในสภาพที่จะทำงานได้ต่อไป" "อดีตพนักงานที่อยู่ในเหตุการณ์จึง ได้ร่วมประชุมเพื่อแบ่งหน้าที่เพื่อจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยพนักงานบางส่วนได้พยายามใช้โทรศัพท์ติดต่อผู้เกี่ยวข้อง ส่งเอสเอ็มเอส เอ็มเอ็มเอส เอ็มเอสเอ็นเข้าไปหา คุณรสรินทร์ บุญวัฒนพิสุทธิ์ ประธานกรรมการบริษัท กับอดีตกรรมการบริษัท นายอารียา มิลินธนาภา รวมถึงหัวหน้างานอื่นๆ แต่กลุ่มพนักงานก็ไม่สามารถติดต่อได้เลยตลอดทั้งวันไม่ว่าจะเป็นช่องทางใดๆ กลุ่มอดีตพนักงานจึงได้รอคำชี้แจงตอบกลับจากบริษัท" "ในระหว่างที่รอนั้นกลุ่มอดีตพนักงาน ได้ทำการถ่ายรูปและบันทึกวีดีโอไว้ รวมถึงเก็บของใช้ส่วนตัวที่อยู่ในสภาพดีหรืออยู่ในสภาพที่ซ่อมแซมได้ กลุ่มอดีตพนักงานบางคนยังพบว่าของใช้ส่วนตัวบางส่วนหายไป ในวันเดียวกันนั้นเวลาประมาณ 11.00 น. อดีตพนักงานบางส่วนได้ติดต่อสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ของอาคารกรุงเทพธุรกิจ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นมีเจ้าหน้าที่ของอาคารกรุงเทพธุรกิจขึ้นมาตรวจสอบพื้นที่ภายใน สำนักงาน" "เจ้าหน้าที่อาคารได้แจ้งให้กลุ่ม อดีตพนักงานได้ทราบว่า นายอารียา มิลินธนาภา ได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่อาคารกรุงเทพธุรกิจว่า ทางบริษัทฯ ขอคืนพื้นที่ครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งจะปรับปรุงพื้นที่ใหม่ เนื่องจากบริษัทฯ ต้องการปรับลดกำลังคน จึงขอขนย้ายเฟอร์นิเจอร์เก่าออก เพื่อที่จะได้นำเฟอร์นิเจอร์ใหม่เข้ามาเปลี่ยน" "เมื่อได้ฟังคำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ อาคารดังกล่าว ทำให้กลุ่มอดีตพนักงานรู้สึกสับสนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสภาพภายในสำนักงานขัดแย้งกับสิ่งที่ทางบริษัทฯ แจ้งกับทางอาคาร ซึ่งจากสภาพที่กลุ่มอดีตพนักงานพบเห็นนั้นปรากฏว่ามีการรื้อถอนประตู วงกบ ผ้าม่าน สายไฟและอื่นๆ ออกไปจากสำนักงาน" "ต่อมากลุ่มอดีตพนักงานจึงได้ปรึกษา หารือกับฝ่ายอาคาร ได้ข้อสรุปในเบื้องต้นว่า ทางฝ่ายอาคารก็ไม่สามารถติดต่อผู้รับผิดชอบได้เช่นเดียวกัน ทางอาคารจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นจะต้องระงับการจ่ายไฟฟ้า ปิดพื้นที่สำนักงานหรือสถานที่ทำงาน เพื่อให้ฝ่ายกฏหมายของอาคารกรุงเทพธุรกิจดำเนินการตามกฏหมายต่อไป" "ภายหลังฝ่ายอาคารปิดพื้นที่ของสำนัก งานหรือสถานที่ทำงาน กลุ่มอดีตพนักงานจึงตัดสินใจเดินทางไปที่กรมแรงงาน เพื่อแจ้งให้กรมแรงงานทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเจ้าหน้าที่กรมแรงงานได้แนะนำให้กลุ่มอดีตพนักงานทั้งหมดทราบถึงสิทธิ์ ทางกฏหมายของลูกจ้างและแนะนำแนวทางการดำเนินคดี หลังจากได้รับคำชี้แนะจากเจ้าหน้าที่ กลุ่มอดีตพนักงานได้นัดหมายเพื่อรวมตัวกันอีกครั้ง เพื่อไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขตพื้นที่ 8 ในวันถัดมา" "ในวันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554 กลุ่มอดีตพนักงานจำนวน 28 คน ได้เดินทางไปร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขต พื้นที่ 8 เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้เรียกบริษัทฯ ให้เข้ามาชี้แจงต่อเจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานต่อไป อย่างไรก็ตามกลุ่มอดีตพนักงานได้เดินทางไปยังสำนักงานเพื่อรอการติดต่อ จากบริษัทฯ ติดต่อกันทุกวัน จนกระทั่งได้รับทราบจากสื่อฯ ภายหลังจากบริษัทฯ เปิดแถลงการณ์ต่อสื่อมวลชนที่ได้รับเชิญเป็นการส่วนตัวเมื่อวันศุกร์ที่ 10 มิถุนายนที่ผ่านมา" "บัดนี้กลุ่มอดีตพนักงานบางส่วนได้ ถอนเรื่องจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขตพื้นที่ 8 แล้ว เพื่อนำเรื่องดังกล่าวดำเนินการทางกฏหมายด้วยตนเองต่อไป ทั้งนี้กลุ่มอดีตพนักงานบางส่วนที่ถอนเรื่องจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรง งานเขตพื้นที่ 8 ขอสงวนสิทธิ์ในการยื่นเรื่องดังกล่าวกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขต พื้นที่ 8 ในโอกาสต่อไป" "จากข้อเท็จจริงที่กล่าวมาเบื้องต้น ประกอบกับหลักฐานพยานที่กลุ่มอดีตพนักงานได้เสนอในวันนี้ กลุ่มอดีตพนักงานของบริษัท ไวรัส สทิวดิโอ จำกัด จึงขอแสดงความเห็นว่าการกระทำดังกล่าวของบริษัทฯ ไมว่าจะเป็นการที่บริษัทออกมาแถลงการณ์เพียงฝ่ายเดียว บิดเบือนข้อเท็จจริง อันต่างออกไปจากหลักฐานที่กลุ่มอดีตพนักงานนำมาประกอบ ไม่เปิดโอกาสให้กลุ่มอดีตพนักงานได้ชี้แจงความบริสุทธิ์ของตนเอง ดำเนินการขนย้ายอุปกรณ์สำนักงานออกไปจากสถานที่ทำงานโดยไม่แจ้งให้กลุ่มอดีต พนักงานทราบล่วงหน้า อันเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของกลุ่มพนักงานบางคนเสียหาย สูญหาย ถูกทำลายจนไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ จึงไม่เป็นธรรมต่อกลุ่มอดีตพนักงานอย่างยิ่ง รวมทั้งการกระทำที่ไม่คำนึงถึงมนุษยธรรม ศีลธรรม ตลอดจนมิได้เคารพยำเกรงต่อกฏหมายบ้านเมืองแต่อย่างใด" "ในสุดท้ายนี้ กลุ่มอดีตพนักงานจำเป็นต้องดำเนินคดีตามกฏหมายต่อผู้ที่เกี่ยวข้องให้ถึงที่ สุด เพื่อแสดงออกถึงความบริสุทธิ์ของกลุ่มอดีตพนักงานทุกคน ตลอดจนเป็นคุ้มครองสิทธิ์ตามกฏหมายคุ้มครองแรงงานและกฏหมายอื่นๆที่เกี่ยว ข้อง เพื่อความถูกต้องเป็นธรรมต่อไป โอกาสนี้กลุ่มอดีตพนักงานขอกราบขอบพระคุณสื่อมวลชนทุกท่าน ที่เปิดโอกาสให้เราได้แสดงข้อเท็จจริงตามเหตุการณ์ ขอกราบขอบคุณพี่น้องประชาชนผู้ใช้บริการ นักวิชาการ นักศึกษา ที่ให้การสนับสนุนให้กำลังใจ อันเป็นแรงผลักดันอย่างดีตลอดมา ขอบพระคุณครับ" ทั้งนี้ ภายหลังการอ่านแถลงการณ์ ตัวแทนกลุ่มอดีตพนักงานได้ระบุว่า แถลงการณ์ของบริษัท ไวรัส สทิวดิโอ จำกัด ส่งผลกระทบเชิงลบต่อกลุ่มอดีตพนักงานในหลายด้าน จึงจำเป็นจะต้องชี้แจงตอบโต้ข้อกล่าวหาของ น.ส.รสรินทร์ บุญวัฒนพิสุทธิ์ ในแต่ละประเด็นที่ถูกกล่าวหา ประเด็นที่ น.ส.รสรินทร์ กล่าวว่า จะมาประกาศให้พนักงานทุกคนทราบถึงเรื่องที่บริษัทได้มีการย้าย พร้อมกับเปิดบริษัทฯให้พนักงานทุกคนเข้ามาเก็บของ ทางกลุ่มอดีตพนักงานได้ชี้แจงว่า ความจริงแล้วสำนักงานไม่ได้ถูกเปิดไว้โดยเจ้าของบริษัทฯ เนื่องจากประตูได้ถูกรื้อถอนไปแล้ว เหลือเพียงประตูด้านนอกของอาคารเท่านั้น ซึ่งตรงนี้ก็เท่ากับว่าไม่ได้มีการล็อคอะไรอยู่แล้ว ประเด็นที่ น.ส.รสรินทร์ กล่าวว่า มีคนในสำนักงาน ณ เวลานั้นโทรแจ้งไปว่า กลุ่มอดีตพนักงานอยู่ในอารมณ์รุนแรง ไม่ควรเข้ามาพบ เพราะอาจจะเกิดอะไรขึ้นก็ได้นั้น ทางกลุ่มอดีตพนักงานได้ชี้แจงว่า ได้มีการติดต่อไปหา น.ส.รสรินทร์ ทุกวิถีทางเท่าที่จะทำได้ ก็ไม่สามารถติดต่อได้ ตรงนี้ก็ไม่รู้ว่าใครติดต่อเข้าไป เพราะไม่มีใครสามารถติดต่อผู้บริหารได้เลย "ถ้าดูจากคลิปวีดีโอก็จะเห็นได้ว่า กลุ่มอดีตพนักงานจะตลกโปกฮาไปเรื่อย ไม่ได้อยู่ในภาวะอารมณ์เสียอะไร ก็พยายามจะโทรศัพท์ไปหาทั้งตัวเจ้าของ ทั้งตัวเลขาฯ หัวหน้างานแผนกอื่นๆ ที่พอจะมีเบอร์โทรศัพท์กันอยู่ จากวีดีโอคลิปจะเห็นว่าแม้กระทั่งวงกบก็เอาไปด้วย ที่บอกว่าเปิดไว้ก็เปิดไว้จริงๆละครับ ไม่มีประตูเหลือกั้นไว้" ตัวแทนกลุ่มอดีตพนักงาน กล่าว ประเด็นที่ น.ส.รสรินทร์ กล่าวว่า ได้รับทราบถึงการปล่อยคลิปวีดีโอเหตุการณ์ดังกล่าวในวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา ทางกลุ่มอดีตพนักงานได้ชี้แจงว่า คลิปวีดีโอดังกล่าวได้ถูกปล่อยไปในเช้าวันอังคารที่ 7 มิถุนายน ซึ่งขัดแย้งกับแถลงการณ์ของบริษัทฯ ที่บอกว่าเห็นคลิปวีดีโอในวันจันทร์ จึงระงับการส่งเอกสารแจ้งแก่พนักงาน ประเด็นเรื่องการสูญหายของทรัพย์สิน พนักงาน ทางกลุ่มอดีตพนักงานชี้แจงว่า ได้มีการแจ้งความไว้แล้วที่ สน.ทองหล่อ ตรงนี้ก็จะมอบให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการต่อไป มีหลักฐานเป็นบันทึกจากกล้องวีดีโอวงจรปิดของทางอาคาร ประเด็นที่ น.ส.รสรินทร์ กล่าวว่า ต้องย้ายโดยไม่แจ้งเพราะหวั่นเกรงการทำลาย ขนย้าย ขโมยข้อมูลบริษัทฯ ทางกลุ่มอดีตพนักงานชี้แจงว่า ปกติบริษัทฯจะทำการแบ็คอัพสำรองข้อมูลไว้อยู่แล้ว ด้วยพื้นฐานของธุรกิจไอทีจะต้องมีการแบ็คอัพอยู่แล้ว ต่อให้เป็นกรณีที่พนักงานบ้าคลั่งถึงขนาดทำลายข้อมูล บริษัทฯก็ยังจะมีข้อมูลที่สำรองไว้อยู่ดี จึงไม่สมเหตุสมผลเท่าไหร่ที่อ้างเหตุนี้ ส่วนกรณีที่พนักงานจะก็อปปี้ข้อมูล ต้องบอกว่างานตรงนี้เกิดจากมันสมอง ส่วนที่จะก็อปปี้มันไม่สำคัญ มันสำคัญที่สติปัญญาของพนักงาน เพราะมีฝีมือติดตัวอยู่แล้ว ไม่จำเป็นจะต้องก็อปปี้อะไรไป พนักงานสามารถสร้างสรรค์งานดีๆออกมาได้เสมอ นอกจากนี้บริษัทฯก็ทำการป้องกันข้อมูลไว้อยู่แล้ว พนักงานไม่สามารถเอาข้อมูลไปได้ แถมในกลุ่มพนักงานที่ถูกเลิกจ้างยังมีแม่บ้านรวมอยู่ด้วย ก็ไม่เข้าใจว่าแม่บ้านจะเกี่ยวข้องกับเรื่องขโมยข้อมูลได้อย่างไร ประเด็นที่ น.ส.รสรินทร์ กล่าวว่า ได้แจ้งการย้ายต่อฝ่ายอาคารล่วงหน้า 1 เดือนและไม่ได้ค้างชำระ ทางกลุ่มอดีตพนักงานชี้แจงว่า ได้ไปสอบถามกับทางอาคารกรุงเทพธุรกิจ พบว่ามีการแจ้งล่วงหน้าเพียง 1 สัปดาห์ว่าจะเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ แต่กลับขนย้ายทรัพย์สินออกไป ทำให้ทางอาคารเสียประโยชน์ ล่าสุดก่อนหน้าการแถลงครั้งนี้ไม่กี่นาที กลุ่มอดีตพนักงานได้เช็คกับทางอาคารกรุงเทพธุรกิจ ก็ได้รับแจ้งว่าทางบริษัทฯ ยังไม่ได้ชำระเงินกับทางอาคาร พร้อมกับได้ขอสำเนาใบแจ้งหนี้ที่ทางอาคารได้ออกให้กับบริษัทฯ ตัวแทนกลุ่มอดีตพนักงานระบุว่า ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาก่อนเกิดเหตุ มีการออกใบเตือนให้กับพนักงานหลายคน โดยที่เป็นการเตือนย้อนหลังชนิดที่ว่า "คุณมาสายเมื่อปีที่แล้ว" ใบเตือนลักษณะนี้กลุ่มอดีตพนักงานได้รับกันเกือบทุกคน มีการสร้างเงื่อนไขให้พนักงานได้รับใบเตือนแบบนี้คนละ 2 ใบเกือบทุกคน ตัวแทนกลุ่มอดีตพนักงานระบุว่า ต้องการให้ทางบริษัท ไวรัส สทิวดิโอ จำกัด จ่ายค่าเสียหายชดเชยให้แก่กลุ่มอดีตพนักงานที่ถูกเลิกจ้างทั้งหมดให้ถูกต้อง ตามกฏหมาย ตามสิทธิ์ที่กฏหมายกำหนดไว้ (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 22-6-2554) สรท.เล็งขอบีโอไอผ่อนผันข้อห้ามใช้แรงงานต่างด้าว นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ประกาศของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนต้องยกเลิกการใช้แรงงาน ต่างด้าวไร้ฝีมือภายใน 6 เดือน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 24 พฤศจิกายน 2554 กำลังสร้างปัญหาให้แก่ผู้ประกอบการ ทำให้ไม่สามารถจัดหาแรงงานในระดับต้นทุนที่เหมาะสมและเกิดปัญหาขาดแคลนแรง งานอย่างมาก ดังนั้น สรท.จึงเตรียมหารือกับบีโอไอเพื่อยื่นข้อเสนอ สำหรับข้อเสนอดังกล่าว ได้แก่ 1.เพื่อป้องกันการปิดตัวของโครงการต่างๆ ที่เข้ามาลงทุน ควรให้มีการผ่อนผันการห้ามใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือออกไป โดยให้ออกเป็นประกาศอย่างชัดเจนอีกครั้ง 2.ควรปรับปรุงหลักเกณฑ์อนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวตามประกาศ ป./2553 เพื่อให้โครงการที่ได้รับการส่งเสริมทั้งหมด สามารถว่าจ้างแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือได้อย่างเท่าเทียมกัน 3.ควรอนุญาตให้โครงการที่ได้รับการส่งเสริมสามารถว่าจ้างแรงงานต่างด้าวไร้ ฝีมือ ซึ่ง “ถูกต้องตามกฎหมาย” และมีจำนวนไม่เกิน 15% ของแรงงานทั้งหมดในโครงการ "จากสภาพการณ์ในปัจจุบันแรงงานไทย ส่วนใหญ่ย้ายไปสู่ภาคการเกษตร ธุรกิจบริการ ประกอบอาชีพอิสระ และเลือกงานมากขึ้น ดังนั้น การใช้แรงงานต่างด้าวจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นหากต้องการให้ภาคการส่งออกของไทย ยังเป็นกำลังหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ" นายไพบูลย์กล่าว (คมชัดลึก, 23-6-2554) ก.แรงงานแก้กฎหมาย 3 ฉบับ ชี้ควรปรับขึ้นเงินเดือนให้สูงขึ้นสกัดสมองไหล ที่กระทรวงแรงงาน นายสิงหเดช ชูอำนาจ ผอ.สำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวหลังประชุมคณะทำงานจัดทำแผนการทบทวนและแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและกฎ ระเบียบของกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี 7 สาขาวิชาชีพ ว่า ที่ประชุมมีมติให้ปรับปรุงกฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ 1.พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2551 2.ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ฉบับที่ .... และ 3.พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 เนื่องจากกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ มีบทบัญญัติบางประการที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งเกรงว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีอาเซียนปี 2558 ใน 7 สาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล สถาปนิก วิศวกร ช่างสำรวจ และนักบัญชี เพื่อให้แรงงานกลุ่มเหล่านี้สามารถเข้ามาทำงานในประเทศไทยและจัดตั้งสหภาพ แรงงานได้ ซึ่งขณะนี้ร่างแก้ไขกฎหมายทั้ง 3 ฉบับอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา หากพิจารณาแล้วเสร็จทางกระทรวงแรงงานจะเสนอต่อรัฐบาลใหม่เพื่อผลักดันเข้า สู่สภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ต่อไป นายสิงหเดช กล่าวอีกว่า ในที่ประชุมตัวแทนสมาคมวิชาชีพทั้ง 7 สาขา ได้แสดงความเป็นห่วงในเรื่องเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ เนื่องจากมาตรฐานแต่ละประเทศไม่เท่ากัน จึงเห็นว่าควรจัดทำเกณฑ์มาตรฐานกลางของแต่ละวิชาชีพในระดับอาเซียน เพื่อนำมาใช้ประเมินแรงงานอาเซียนซึ่งจะทำให้แรงงานไทยและต่างชาติเข้าสู่ มาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งในเรื่องค่าตอบแทนในแต่ละประเทศจะมีอัตราที่ไม่เทากัน หากประเทศไหนให้ค่าตอบแทนสูง เกรงว่าแรงงานจะทะลักเข้าไปประเทศนั้นมากขึ้น ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบให้แต่ละสมาคมวิชาชีพไปศึกษาข้อมูลจำนวนประชากร รวมถึงสัดส่วนของประชากรต่อจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพทั้ง 7 สาขา ของแต่ละประเทศในอาเซียน เพื่อวางแผนกำหนดสัดส่วนการเปิดรับและไหลออกของแรงงานแต่ละสาขาให้สอดคล้อง กับอุปสงค์และอุปทานของแต่ละประเทศ จะได้ไม่เกิดปัญหาขาดแคลนบุคลากร “ปัจจุบันแรงงานไทยในหลายสาขาวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล มีการไหลออกไปทำงานต่างประเทศกันอยู่แล้ว ซึ่งเป็นไปตามแหล่งทุนและความขาดแคลนของประเทศนั้นๆ ดังนั้น เมื่อเปิดประชาคมอาเซียน ประเทศไทยก็ต้องเตรียมความพร้อมรับมือแรงงานไทยที่จะไหลออกไปนอกประเทศเพิ่ม ขึ้น เช่น รัฐบาลควรเพิ่มค่าตอบแทนสูงขึ้นและเปิดช่องให้มีการหารายได้เสริม อาทิ ปรับเงินเดือนแพทย์ พยาบาลให้สูงขึ้นและให้แพทย์สามารถเปิดคลินิกได้ ทั้งนี้ ปัญหาเหล่านี้จะมีการนำไปหารือในเวทีอาเซียนอีกครั้ง”นายสิงหเดช กล่าว นายสิงหเดช กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมไปพอสมควรซึ่งค่อนข้างล้ำหน้าไปกว่า ประเทศอื่นๆ ดังนั้น ในที่ประชุมจึงได้ตั้งข้อสังเกตว่าประเทศไทยควรจะสงวนท่าทีในเรื่องนี้ และคอยจับตาดูว่าประเทศอื่นๆ มีการเตรียมความพร้อมอย่างไร (แนวหน้า, 23-6-2554) ก.แรงงานขอความร่วมมือนายจ้างให้ลูกจ้างเลือกตั้ง นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2554 กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ในวันอาทิตย์ ที่ 3 กรกฎาคม 2554 และกรรมการการเลือกตั้ง กำหนดให้ วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2554 เป็นวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ณ ที่เลือกตั้งกลาง (ทั้งในเขตเลือกตั้ง และนอกเขตจังหวัด) กระทรวงแรงงานจึงขอความร่วมมือ นายจ้าง สถานประกอบการอนุญาตให้ลูกจ้าง ที่ทำงานอยู่ในสถานประกอบกิจการ เดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวัน หยุด และตามกฎหมายการเลือกตั้งได้บัญญัติไว้ว่า ผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างผู้ใดขัดขวางหน่วงเหนี่ยว หรือไม่ให้ความสะดวก ต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของลูกจ้าง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับจังหวัดพะเยาหน่วยลงคะแนนเลือก ตั้งล่วงหน้า ณ ที่เลือกตั้งกลางนอกเขตจังหวัด คือที่ศาลาประชาคมจังหวัดพะเยา ส่วนหน่วยลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง มีอยู่ 3 แห่ง คือ เขต 1 ที่ หอประชุมโรงเรียนพะเยาพิทยาคม , เขต 2 ที่หอประชุมวิทยาลัยการอาชีอำเภอเชียงคำ , และเขต 3 ที่หอประชุมอำเภอดอกคำใต้ (สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 25-6-2554) โพลล์ลูกจ้างชอบนโยบายแรงงาน แต่เชื่อทำได้ยาก-วอนรัฐบาลใหม่เพิ่มสิทธิประกันสังคม จ็อบสตรีดอทคอม หนึ่งในเว็บไซต์จัดหางานและมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการส่งเสริมความก้าว หน้าด้านอาชีพ โดนใจที่สุด" โดยสำรวจจากพนักงานกลุ่มบริษัทเอกชนจำนวน 1,700 คน อายุ 18-50 ปี จากการสำรวจพบว่าคนทำงานกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งครั้งนี้ โดย 98% ระบุว่าจะออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ทั้งนี้ 73% ทราบว่าแต่ละพรรคมีนโยบายด้านแรงงาน แต่ในจำนวนนั้นมีเพียง 60% เท่านั้นที่ทราบรายละเอียดของนโยบาย นโยบายด้านแรงงานที่นำมาสำรวจความคิด เห็นในครั้งนี้ ได้แก่ นโยบายการปรับค่าแรงขั้นต่ำภายใน 2 ปี, นโยบายเพิ่มค่าแรงเป็น 300 บาททันที, การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำสูงสุดถึง 350 บาทต่อวันภายใน 3 ปี, รับประกันเงินเดือนวุฒิปริญญาตรี ไม่ต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาท, การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน, การขยายประกันสังคมสำหรับเกษตรกรและแรงงานนอกระบบ, การแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว, การสร้างงานในภูมิลำเนาให้ภาคเกษตรกรรม, การจัดตั้งกองทุนจ้างงาน 1 ล้านตำแหน่ง, การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับแรงงานที่เพิ่งเริ่มทำงาน, การสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับแรงงานที่ต้องการมีบ้าน และคูปองสุขภาพ 5,000 บาท สำหรับผู้ใช้แรงงานปีละ 1 ใบ นอกจากนี้ ผลการสำรวจพบว่า นโยบายที่มีผู้ชื่นชอบที่สุดคือเรื่องการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน โดยเฉพาะแรงงานกลุ่มอายุ 50 ปีขึ้นไป ชอบนโยบายนี้ถึง 100% แม้จะชอบนโยบายแต่ส่วนใหญ่เชื่อว่านโยบายเหล่านั้นเป็นไปได้ยากโดยนโยบายที่ คิดว่าเป็นไปไม่ได้มากที่สุดคือ การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาททันที มีผู้โหวตว่าเป็นไปไม่ได้ถึง 44.9% รองลงมาคือนโยบายการรับประกันเงินเดือนขั้นต่ำผู้จบปริญญาตรีที่ 1.5 หมื่นบาท 38.7% และนโยบายการเพิ่งค่าแรงขั้นต่ำสูงสุดถึง 350 บาทต่อวันภายใน 3 ปี 36.8% ตามลำดับ ส่วนนโยบายปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 25% ภายในสองปีมีความเป็นไปได้ 51.4% สำหรับนโยบายมีความเป็นไปได้สูงสุด คือนโยบายการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน, นโยบายการขยายประกันสังคมสำหรับเกษตรและแรงงานนอกระบบ และนโยบายการสร้างงานในภูมิให้เกษตรกรรม ส่วนสิ่งที่คนทำงานอยากได้อะไรจากรัฐบาลชุดใหม่มากที่สุด พบว่า 81.4% อยากให้รัฐบาลดูแลเรื่องการเพิ่มสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคม รองลงมา 78.6% อยากได้ค่าแรงหรือฐานเงินเดือนเพิ่ม และอันดับสาม 73.4% อยากได้สวัสดิการด้านการศึกษาเพื่อจะได้ประกอบอาชีพที่ดีขึ้น (คมชัดลึก, 25-6-2554) บอร์ดค่าจ้าง 50 จว.ชงขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้างกลาง (บอร์ดค่าจ้าง) กล่าวว่า ความคืบหน้าในการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำนั้น ขณะนี้คณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด เสนออัตราการปรับค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละพื้นที่เข้ามาแล้วกว่า 50 จังหวัด โดยมากกว่าครึ่งเห็นควรว่าจะต้องมีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ส่วนความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นค่า จ้างเป็น 2 ลักษณะ คือ อาจปรับพร้อมกันทั่วประเทศ หรือ ปรับในบางจังหวัด แต่เมื่อคณะอนุกรรมการค่าจังหวัดเสนอตัวเลขการปรับเข้ามาครบทุกจังหวัดแล้ว จะส่งต่อให้คณะอนุวิชาการและกลั่นกรองค่าจ้างกลางพิจารณาในวันที่ 1 ก.ค.นี้ ก่อนเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดค่าจ้างพิจารณาใน วันที่ 6 ก.ค. ในส่วนของข้อมูลการเพิ่มค่าจ้างขั้น ต่ำ เบื้องต้นเห็นพ้องกันว่า น่าจะปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 5-9 บาทต่อวัน และจะมีการประชุมอีกครั้งในวันที่ 28 มิ.ย.นี้ ส่วนปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำใน กทม. อยู่ที่ 215 บาทต่อวัน ส่วนอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3.3% ขณะที่ค่าใช้จ่ายตามอัตภาพของแรงงานอยู่ที่ 222.06 บาทต่อวัน หากเปรียบเทียบกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำติดลบอยู่ที่ 7.06 บาทต่อวัน ค่าใช้จ่ายตามคุณภาพอยู่ที่ 235.84 บาทต่อวัน หากเปรียบเทียบกับอัตราค่าจ้างขั้น ต่ำติดลบอยู่ที่ 20.84 บาทต่อวัน ดังนั้น ที่ประชุมจึงเห็นว่าแนวโน้มที่จะปรับค่าจ้างขั้นต่ำควรอยู่ที่ 5-9 บาทต่อวัน หรือคิดเป็น 2.32-4.19% อย่างไรก็ตาม หากปรับให้สอดรับกับอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 7 บาท หรือคิดเป็น 3.3% นอกจากนี้ นายสมเกียรติ ยังกล่าวด้วยว่า กรณีที่ภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการออกมาแสดงความวิตกว่า หากปรับค่าจ้างขั้นต่ำแล้วจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต และสัดส่วนการแข่งขันในตลาดโลกนั้น ตนเห็นว่า ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ต้องการจ้างผู้ใช้แรง งานราคาถูก ซึ่งมองว่าเป็นกลุ่มที่ผลิตชิ้นงานไม่ค่อยได้มาตรฐาน จึงทำให้การประกอบธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่หากต้องการให้ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง ผู้ประกอบการต้องมองในเรื่องการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ "เราต้องหันไปรณรงค์ให้นักลงทุนที่มี ความรับผิดชอบเข้ามาลงทุนในประเทศไทย มากกว่ากลุ่มที่สนใจเฉพาะเรื่องค่าจ้างราคาถูก เนื่องจากสถานประกอบการที่มีมาตรฐานจะไม่กังวลในเรื่องการจ้างแรงงานราคา สูง" นายสมเกียรติ กล่าวต่อด้วยว่า ส่วนที่กังวลว่าจะกระทบกับการแข่งขันและส่งผลให้มีการย้ายฐานการผลิตของนัก ลงทุนนั้น เป็นเพียงการอุปทานของผู้ประกอบการ จึงอยากให้มองว่าการปรับค่าจ้าง เป็นการทำเพื่อให้คนงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการเอง ในการได้ชิ้นงานที่ดีมีคุณภาพ สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ พร้อมย้ำด้วยว่า การปรับค่าค่าจ้างขั้นต่ำจะไม่กระทบกับต้นทุนการผลิตมากหนัก เพราะหากปรับค่าจ้างขึ้นอีก 10% จะกระทบกับต้นทุนเพียง 1% เท่านั้น ส่วนนโยบายเรื่องค่าจ้างของแต่ละพรรค การเมือง ที่มีการแข่งขันสูงนั้น มองว่าเป็นเรื่องดี ที่พรรคการเมืองต่างให้ความสนใจเรื่องของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งตนไม่อยากวิพากษ์วิจารณ์ เนื่องจากขณะนี้ ยังไม่เห็นข้อมูลของแต่ละพรรคการเมือง จึงไม่สามารถตอบได้ว่าเป็นอัตราที่เหมาะสมหรือไม่ "หากฝ่ายการเมืองเสนอตัวเลขและข้อมูล ที่มีมาก็จะนำไปพิจารณา แต่ถ้าไม่เสนอมาบอร์ดค่าจ้างจะพิจารณาจากข้อมูลค่าใช้จ่าย ค่าครองชีพ ณ ปัจจุบันของแต่ละพื้นที่ ที่อนุฯ ค่าจ้างจังหวัดเสนอมา" นายสมเกียรติ กล่าว (กรุงเทพธุรกิจ, 25-6-2554)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
[วิดีโอ]การเมืองใน lese majesty, lese majesty ในการเมือง ตอนที่ 1: สมชาย ปรีชาศิลปกุล Posted: 25 Jun 2011 04:21 AM PDT ส่วนหนึ่งจากการอภิปรายหัวข้อ "การเมืองใน lese majesty, lese majesty ในการเมือง" (ตอนที่ 1) (ตอนที่ 2)
เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการอภิปรายหัวข้อ "การเมืองใน lese majesty, lese majesty ในการเมือง" โดยวิทยากรประกอบด้วย รศ.สมชาย ปรีชาศิลปะกุล หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และนักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และ ดร.เดวิด สเตร็คฟัส ผู้อำนวยการ ศูนย์แลกเปลี่ยนการศึกษาระหว่างประเทศ ม.ขอนแก่น ผู้เขียน “Truth on Trial in Thailand: Defamation, treason, and lese-majeste” (การดำเนินคดีกับความจริงในเมืองไทย: กฎหมายหมิ่นประมาท, ข้อหากบฏ, และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) "ประชาไท" ขอทยอยนำเสนอไฮไลท์ของการอภิปรายดังกล่าว โดยตอนแรกส่วนหนึ่งของการอภิปรายโดย รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล และจะนำเสนอการอภิปรายโดย ดร.เดวิด สเตร็คฟัส ต่อไป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ 7: นิรโทษกรรมไม่ใช่นโยบายเพื่อไทย? Posted: 25 Jun 2011 03:56 AM PDT ผมยอมรับว่าค่อนข้างตกใจที่ในวงดีเบตซึ่งองค์กรกลางจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม คุณยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย จะพูดหน้าตาเฉยโดยไม่สะทกสะท้านว่า "นิรโทษกรรมไม่ใช่นโยบายพรรคเพื่อไทย เป็นเพียงคำพูดของคนคนหนึ่งที่ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรคเท่านั้น" ที่น่าตกใจไปกว่านั้น คือ ถัดมาอีกหนึ่งวันพรรคเพื่อไทยถึงกับออกแถลงการณ์ว่า "นิรโทษกรรม" ไม่ใช่นโยบายพรรค และกล่าวหาว่าผมจงใจใส่ร้ายพรรคเพื่อไทย ผมคิดไม่ถึงว่าจะมีพรรคการเมืองหลอกลวงประชาชนซึ่ง ๆ หน้า เช่นนี้ เพราะไม่ใช่วิสัยของพรรคการเมืองที่ต้องเคารพและซื่อสัตย์ต่อคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับพี่น้องประชาชน แต่พรรคเพื่อไทยกลับซ่อนรูปกลบเรื่องนิรโทษกรรมทันทีที่กระแสตีกลับ ทั้งที่ตีปี๊บโหมโรงตั้งแต่วันแรก ๆ ที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง เนื่องจากมั่นใจนักหนาว่าจะชนะการเลือกตั้งได้จัดรัฐบาล สามารถดำเนินการทุกอย่างได้ตามใจชอบเมื่อมีอำนาจรัฐมาครอบครองไว้ในมือ ผมทบทวนความจริงกับพี่น้องประชาชนอย่างนี้ "คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ อันดับ 1 ของพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนในวันที่ 21 พ.ค. 54 อย่างเป็นเรื่องเป็นราวมีการมอบหมายหน้าที่ชัดเจนในการดูแลเรื่องนี้ว่า "จะมอบหมายให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่ออันดับ 3ไปดูแล เพราะ เคยเสนอให้มีการออก พระราชบัญญัติอภัยโทษ และนิรโทษกรรม ส่วนวิธีการจะมีคณะกรรมการที่มาจากคนกลาง พิจารณาอีกครั้ง โดย ยึดหลักนิติธรรมคือความเสมอภาค ทุกคนต้องได้รับความเสมอภาคที่เท่าเทียมกัน ส่วนจะทำประชามติหรือไม่ ต้องไปว่ากันในรายละเอียด และต้องให้โอกาส พ.ต.ท.ทักษิณได้รับความเป็นธรรมเหมือนคนอื่น ส่วนการเยียวยาให้กับคนเสื้อแดง นั้นก็จะทำให้สมบูรณ์ที่สุด แต่ไม่อยากให้เป็นลักษณะของการเร่งรัด ทุกอย่างต้องอยู่ที่จังหวะและเวลา และความถูกต้องในรายละเอียด" วันถัดมาคุณยิ่งลักษณ์เปิดปราศรัยใหญ่ครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่พูดบนเวทีเป็นภาษาเหนือว่า. "ไม่เคยกลับบ้านครั้งไหนซึ้งใจเท่าครั้งนี้มาก่อนเลย น้องสาวกลับยังขนาดนี้ ถ้าพี่ชาย (พ.ต.ท.ทักษิณ) กลับจะขนาดไหน" คุณยิ่งลักษณ์ยังระบุต่อไปว่า "พรรคเพื่อไทยจะคิดใหม่ทำใหม่ โดยมีทักษิณช่วยคิด แต่ยิ่งลักษณ์เป็นคนขอทำ" วันเดียวกัน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง หัวหน้าทีมปรองดองของคุณยิ่งลักษณ์ย้ำบนเวทีปราศรัยว่า "แนวคิดการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ผมเป็นคนเปิดออกมาเอง เพราะถ้าไม่พูดแล้วประชาชนไม่เอา ดังนั้น ต้องเปิดหน้าชนเลย พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกศาลสั่งจำคุกกรณีลงนามให้ คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ ภริยา ไปซื้อที่ดินจากกองทุนฟื้นฟูฯ ย่านรัชดาฯ แต่คนในพรรคประชาธิปัตย์ คำหนึ่ง สองคำ ก็บอกว่า "ทักษิณทุจริต"ถ้าจะนิรโทษให้ ผมจะนิรโทษให้ในเรื่องนี้" ร.ต.อ.เฉลิม ยังให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมด้วยว่า "จะเน้นผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิวัติ-รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา ประชาชนและคนทั่วโลก ไม่พอใจปฏิวัติ ดังนั้น ไม่อยากให้มองว่าพรรคเพื่อไทย คิดแก้ปัญหารายบุคคล โดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่อยากให้มองว่า พ.ต.ท.ทักษิน เป็นคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ ที่สำคัญ ประเทศต้องได้ประโยชน์ คนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ อาจได้เป็นรายบุคคล ซึ่งรวม พ.ต.ท.ทักษิณด้วย อยากให้ประชาชนเข้าใจ เรื่องที่นำมาเป็นนโยบายหาเสียง เราต้องดูข้อกฎหมาย หากออกพ.ร.ก.นั้นทำได้เร็ว แต่ต้องเข้าสภา หากเป็นพ.ร.บ. ก็ต้องได้เสียงข้างมาก แต่ที่สำคัญที่สุด ได้คิดเรื่องนี้มาหลายปี และไม่ปกปิด บอกประชาชนมาตลอด ถ้าประชาชนยังเลือกพรรคเพื่อไทยได้เสียงข้างมาก และตั้งรัฐบาลได้ เชื่อว่าจะไม่มีใครขัดขวาง ที่พรรคประชาธิปัตย์บอกว่าถ้าเลือกพรรคเพื่อไทย จะแก้ปัญหาให้ พ.ต.ท.ทักษิณนั้นไม่ใช่ แต่เป็นการแก้ไขปัญหาให้กับประเทศและคนส่วนใหญ่ใครทำผิดก็ต้องผิด ใครไม่ผิดเพราะถูกกลั่นแกล้งก็ได้รับความเป็นธรรมเรื่องนี้ถูกต้องที่สุด" ชัดเจนไหมครับ ทำไมวันนั้นทั้งคุณยงยุทธและพรรคเพื่อไทยไม่ออกมาคัดค้านล่ะครับ ที่สำคัญคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีการติดป้ายหาเสียงชัดเจนว่า "ทักษิณคิดเพื่อไทยทำ" ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อต่างประเทศหลายแห่งว่า "จะกลับประเทศไทยในเดือนธันวาคมเพื่อร่วมงานแต่งงานของบุตรสาวคนโต และพูดถึงการนิรโทษกรรมโดยอ้างว่าไม่ใช่ทำเพื่อคุณทักษิณเพียงคนเดียว แต่เพราะคุณทักษิณคือบุคคลหนึ่งที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจึงต้องได้ประโยชน์จากการนิรโทษกรรมด้วย" นอกจากนั้นยังปรารภเสมอว่าเงิน 4.6 หมื่นล้าน ถูกรัฐปล้นไป เหลือเงินเพียงแค่ 3 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ทำไมไม่มีใครโต้แย้งว่า พรรคเพื่อไทยไม่มีนโยบายที่จะทำเรื่องนี้ แต่กลับเดินหน้าพูดต่อสาธารณะในหลายเวทีเกี่ยวกับแนวทางนิรโทษกรรมในลักษณะรับลูกกันเป็นทอด ๆ ตลอดเวลา แม้แต่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ก็ออกมาแถลงในวันทึ่ 13 มิ.ย.ว่า "ถ้าพรรคเพื่อไทย ได้เสียงสูงสุด ก็จะจัดตั้งรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการปรองดอง และตั้งใจจะนำสันติสุข ความสามัคคี โดยจะไม่มีการแก้แค้นหรือเอาคืน แต่จะพยายามดูเรื่อง ผู้เสียหายและผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา การปรองดองของพรรค จะอยู่บนหลัก 5 ข้อ เมตตาธรรม ประชาธรรม นิติธรรม การให้อภัย ความสามัคคีและกลมเกลียวในอนาคต ดังนั้น ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ถามจุดยืนของการปรองดองของพรรค พรรคก็อยากให้ประชาชนได้เลือกตั้งระหว่างแนวทางปรองดองของพรรคเพือ่ไทยกับของพรรคประชาธิปัตย์ที่ใช้ ทหาร กองกำลัง จบด้วยการปะทะกับประชาชนจนเสียชีวิต ที่อ้างว่า ยึดตามหลักกฎหมาย แต่สุดท้ายก็คือ การเอาคุกเป็นสรณะ เมื่อเข้าคุกจึงให้อภัยก่อน ประชาชนจะได้เลือกว่า สิ่งไหนถูก และนำสู่การปรองดองของประเทศอย่างแท้จริง จะมีการตั้งคณะกรรมการเชิญคนทุกสีมาหารือกัน โดยคณะกรรมการชุดนี้จะยึดเนื้อหาตั้งแต่การยึด 19 กันยา 2549 เป็นต้นมาที่เป็นต้นเหตุความขัดแย้ง..." แม้นายปลอดประสพจะออกตัวว่า เรื่องนิรโทษกรรมจะทำเป็นเรื่องสุดท้ายหลังจากดูแลเรื่องการเยียวยาแล้วก็ตาม แต่เนื้อหาทั้งหมดก็คือการล้างความผิดหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งแน่นอนว่า พ.ต.ท.ทักษิณ คือบุคคลหนึ่งที่พยายามบอกว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรมหลังการยึดอำนาจ นายปลอดประสพ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ยังพูดถึงเรื่องการนิรโทษกรรมในวันที่ 29 พ.ค. ว่า “ขอตอบแบบมนุษย์ เวลามีใครทะเลาะถึงขั้นต่อยกัน จะเอาคนกลางมาห้ามคงไม่ได้ ต้องให้ 2 ฝ่ายหยุดกันเอง มาจับมือสัญญาว่าเลิกทะเลาะกัน ดังนั้น การปรองดองเป็นการยินยอมพร้อมใจของผู้ที่แตกแยก ไม่ใช่ให้คนอื่นมาชี้ อย่ามาโม้ ให้คนกลางมาช่วยมันเป็นเพียงนิยาย” คำพูดของนายปลอดประสพขัดแย้งกันเองเพราะเคยระบุว่าจะให้คณะกรรรมการกลางเข้ามาแก้ปัญหานี้ ผมถามคุณยงยุทธและพรรคเพื่อไทยว่า คุณปลอดประสพใช่รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยไหมครับ เคยแถลงในนามพรรคเพื่อไทยใช่ไหมครับ แล้วพรรคเพื่อไทยจะไม่มีแนวคิดที่จะทำเรื่องนิรโทษกรรมตามที่มีการออกแถลงการณ์ได้อย่างไร ล่าสุดบุตรสาวคนโตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ออกมาพูดเองว่า ยังมั่นใจว่าพ่อจะได้กลับมางานแต่งงานของตัวเองในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งก็สอดรับกับที่คุณยิ่งลักษณ์เคยให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ว่า "พี่ชายจะกลับประเทศมาร่วมงานแต่งลูกสาว" ผมก็ยังยืนยันในสิ่งที่เคยเขียนในเฟซบุ๊คนี้ว่า ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาโดยที่ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ไม่มีการล้างความผิดให้ สถานที่ที่ พ.ต.ท.ทักษิณต้องไปไม่ใช่งานแต่งงานบุตรสาว แต่ประตูคุกเปิดรออยู่ เพราะเป็นผู้ต้องหาหนีคดีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินให้จำคุก 2 ปีโดยไม่รอลงอาญา ดังนั้นทันทีที่ถึงแผ่นดินไทยก็ต้องถูกควบคุมตัวไปรับโทษตามกฎหมาย ที่สำคัญถ้า นิรโทษกรรมไม่ใช่นโยบายพรรคเพื่อไทยทำไมในพื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือ ยังมีการแจกใช้สื่อหาเสียง "พาทักษิณกลับบ้าน" กันอย่างครึกโครม ผมคิดว่าประชาชนรู้เท่าทัน ไม่ว่าจะพยายามซ่อนเร้นแย่างไรก็ปกปิดเป้าหมายแท้จริงที่ต้องการล้างความผิดให้ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นวาระแรกของรัฐบาลเพื่อไทยไม่ได้ แถลงการณ์พรรคเพื่อไทยเป็นการตอกย้ำการทำงานการเมืองที่ไร้ซึ่งความรับผิดชอบต่อประชาชน เพราะคำพูดต่อสาธารณะไม่ใช่สัญญาที่ต้องปฏิบัติ เป็นเพียงลมปากที่จะเปลี่ยนไปได้ตามสถานการณ์โดยคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ทางการเมืองของพรรคเป็นสำคัญ พื้นที่ไหนขาย พ.ต.ท.ทักษิณได้ ก็ชูนโยบายพาทักษิณกลับบ้าน พื้นที่ไหนที่คนตื่นตัวมีความรู้เท่าทันเล่ห์กลการเมืองในการล้างผิดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็พยายามเบี่ยงเบนประเด็นซ่อนเรื่องนิรโทษกรรมเอาไว้ เพราะเกรงว่าจะได้รับผลกระทบต่อคะแนนนิยมของพรรคตัวเอง อย่างนี้ไม่ใช่การทำงานของพรรคการเมืองหรอกครับ แต่เป็นการทำงานของบริษัทที่ดีดลูกคิดคำนวณตลอดเวลาถึงกำไรที่จะได้มา โดยไม่คำนึงถึงวิธีการในการหากำไรเข้าบริษัท และเจ้าของบริษัทคือผู้ที่ต้องได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากการลงทุนเพื่อค้ากำไร ซึ่งในที่นี้ก็รู้กันดีอยู่ว่าใครเป็นเจ้าของพรรคเพื่อไทย ผมถามคนไทยว่าเราจะปล่อยให้พรรคการเมืองที่ไม่ใช่เพียงแค่ดีแต่พูด แต่โกหกประชาชนอย่างไม่ละอายใจมาเป็นผู้บริหารบ้านเมืองหรือครับ วันนี้พรรคประชาธิปัตย์เคยพูดอะไรไว้ในวันแรกของการหาเสียงไม่มีคำไหนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและจะยึดมั่นคำสัญญาปฏิบัติในสิ่งที่ให้คำมั่นไว้กับประชาชนทันทีที่ได้เป็นรัฐบาล คนไทยต้องเลือกระหว่างแนวทางพรรคประชาธิปัตย์กับเพื่อไทยแตกต่างกันชัดเจน เอาให้เด็ดขาดไปเลยว่า หลังเลือกตั้งคราวนี้อยากให้ประเทศเดินหน้าอย่างไร ถ้าอยากให้เดินหน้าโดยมีประโยชน์ทางการเมืองซ่อนเร้นอยู่ตลอดเวลา และรับใช้ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งจะคอยบงการทุกอย่างให้ได้รับการล้างความผิด ก็เลือกพรรคเพื่อไทย แต่ถ้าคนไทยต้องการนายกรัฐมนตรีที่ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รักษาคำมั่นสัญญาที่ให้กับประชาชนโดยไม่มีประโยชน์ส่วนตนเข้ามาเกี่ยวข้อง เดินหน้าปรองดองบนความถูกต้อง รักษาหลักนิติรัฐ นิติธรรม ไม่มีการล้างความผิดให้ใครคนใดคนหนึ่งก็เลือกพรรคประชาธิปัตย์ให้ท่วมท้นเกิน 250 เสียง วันนั้นล่ะครับที่คนไทยจะเป็นผู้ถอนพิษทักษิณออกจากประเทศนี้ และนำบ้านเมืองของเราก้าวข้ามปัญหาทักษิณกลับสู่การแก้ปัญหาชาติบ้านเมืองและประชาชน ซึ่งจะทำให้เราพ้นกับดักความรุนแรงและความขัดแย้งได้อย่างแท้จริงจากมติของประชาชนที่ร่วมกันปฏิเสธไม่เอา "ระบอบทักษิณกลับมาทำร้ายประเทศอีก"
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
"กรณ์" มั่นใจกระแสแรง เปรียบประชาธิปัตย์เป็น "แมลงสาบ" ฆ่าไม่ตาย Posted: 25 Jun 2011 03:43 AM PDT กรณ์ จาติกวณิชเผยเตรียมขยายผลการปราศรัย 23 มิ.ย. ที่แยกราชประสงค์โดยจะทำเป็นคลิปปล่อยลงยูทิวป์ ยันกระแสแรงชัดเจนไปที่ไหนคนรู้หมดว่าประชาธิปัตย์พูดเรื่องอะไร ยันถึงวันที่พรรคไม่มีอภิสิทธิ์ก็ยังมีคนมาสานต่อ "ฆ่าไม่ตาย เขาเรียกว่าแมลงสาบ" เว็บไซต์ไทยอินไซเดอร์ รายงานว่า เมื่อวานนี้ (24 มิ.ย.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลการเลือกตั้งกทม.พรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์กรณีเรียกผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพฯ ของพรรคหารือเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมาหลังโพล กทม.ของพรรคตามหลังพรรคเพื่อไทยอย่างมากว่า ได้พูดถึงยุทธศาสตร์ของพรรคในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายว่ามีอะไรบ้าง และประเด็นที่ประชาชนตั้งคำถามคืออะไร เพื่อให้ผู้สมัครชี้แจงกับประชาชนในแนวเดียวกัน โดยมีการพูดถึงคะแนนในเขตต่างๆ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง และได้เล่าให้ผู้สมัครฟังถึงคะแนนเสียงในแต่ละภูมิภาคว่าเป็นอย่างไร ส่วนที่มีการนำโพลของพรรคที่ระบุว่าพรรคประชาธิปัตย์จะได้ส.ส.กรุงเทพฯแค่ เขตเดียว มาขู่ผู้สมัครนั้นก็ไม่มีอะไร ทุกคนดูแล้วก็หัวเราะ เราให้ดูว่ามันเหลวแหลกแค่ไหน ยืนยันว่าทีม กทม.และผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพฯ ทุกคนทำงานหนักลงพื้นที่อย่างเข้มข้นโดยเฉพาะช่วงเวลาที่เหลือนี้ โดยไม่สนใจโพลต่างๆ แต่จะเน้นโพลวันที่ 3 ก.ค.เท่านั้น นายกรณ์ กล่าวถึงการปราศรัยที่ราชประสงค์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ว่า จะมีการนำมาขยายผลคำปราศรัยและชุดความคิดของนายอภิสิทธิ์ ซึ่งทีม กทม.ได้ดำเนินการแล้วเมื่อเช้าวันเดียวกันนี้โดยผู้สมัครแต่ละเขตได้ แยกย้ายกันลงไปขยายผลทางความคิด โดยมีการย่อการปราศรัยให้สั้นลง เพื่อโพสลงในยูทูปให้คนใช้อินเตอร์เน็ตได้รับชม โดยเมื่อคืนวันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีคนชมสดผ่านไลฟ์สตรีมถึง 3 หมื่นคนไม่รวมทีวีดาวเทียม สำหรับกระแสก็ชัดเจน ตนไปที่ไหนประชาชนรู้หมดว่าที่ราชประสงค์ปราศรัยเรื่องอะไร แม้ในกลุ่มแรงงาน ดังนั้นเวลาที่เหลืออีกไม่กี่วันก็ต้องเดินหน้าขยายผลเพื่อนำสู่เวทีปราศรัยใหญ่ ในวันที่ 1 ก.ค.นี้ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า คาดว่าจะมีผู้ฟังหลายแสนคน และพรรคจะใช้เวทีนี้เป็นศูนย์กลางถ่ายทอดไปยังเวทีย่อยในภูมิภาคต่างๆ โดยนายอภิสิทธิ์จะลุกขึ้นปราศรัยอีกครั้ง ส่วนที่ต้องชนกับเวทีปราศรัยใหญ่ของพรรคเพื่อไทยที่ราชมังคลากีฬาสถาน ตนคิดว่าเป็นพรรคเพื่อไทยที่ต้องชนกับพรรคประชาธิปัตย์มากกว่า ส่วนกรณีที่นายอภิสิทธิ์ ประกาศกลางเวทีราชประสงค์หากแพ้การเลือกตั้งจะส่งไม้ต่อให้คนอื่นในพรรคมาทำ งานแทนนั้น นายกรณ์กล่าวว่า "นายอภิสิทธิ์ พูดว่า ถ้าแพ้จะมีคนขึ้นมาทำต่อ พูดถึงอุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ว่าพรรคเราไม่มีวันตายในการต่อสู้ตามระบอบประชาธิปไตย สิ่งที่นายอภิสิทธิ์สื่อสารที่ราชประสงค์ คือการเป็นนายกฯตามกฎหมายของตัวเองเป็นได้อีก 4 ปี อย่างไรก็ตามเมื่อถึงเวลานั้นนายอภิสิทธิ์คงไม่ไปไหน อยู่ช่วยงานพรรคเหมือนเดิม เหมือนกับอดีตหัวหน้าพรรค 2 คนของพรรค คือนายชวน หลีกภัย และนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ที่ยังช่วยอยู่ทุกวันนี้ สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อถึงวันที่ไม่มีนายอภิสิทธิ์ ก็ยังมีคนอื่นมาสานต่อ ฆ่าไม่ตาย เขาเรียกว่าแมลงสาบ” นายกรณ์กล่าว สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น