โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

พิธีกรรมรับน้องใหม่: Be Young and Shut Up?

Posted: 16 Jun 2011 02:30 PM PDT

 
จากประเด็นถกเถียงเรื่องการรับน้องใหม่ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในขณะนี้ ที่วนเวียนสู่การตั้งคำถามถึงการมีอยู่ของพิธีกรรมซึ่งดำรงอยู่ในฐานะประเพณีอันดีงาม ผลดี ผลเสีย ที่เกิดขึ้น จากมุมมองของกลุ่มคนที่เห็นด้วย และเห็นแย้ง
 
 
วันที่ 15 มิ.ย.54 ที่หอประชุมใหญ่ ห้อง 305 มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ จัดเสวนา “Be Young and Shut Up ? พิธีกรรมการรับน้องใหม่ในสถาบันอุดมศึกษาของไทย” โดยวิทยากร พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมด้วย คำ ผกา นักเขียน และคอลัมนิสต์ วิพากษ์สังคมไทยและวันรัก สุวรรณวัฒนา อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการโดย ธนาวิ โชติประดิษฐ นักศึกษาปริญญาเอก Birkbeck, University of London
 
ตอบคำถามที่มาโซตัส ในประวัติศาสตร์ไทย
 
วันรัก ให้ข้อมูลถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของระบบโซตัสของไทยว่า มีช่วงเวลาของการรับระบบนี้เข้ามาอยู่ 2 ช่วง คือ ช่วงแรก ในสมัยรัชกาลที่ 5 (ทศวรรษ 2440) มีการรับระบบอาวุโส ซึ่งพัฒนามาจากโรงเรียนกินนอน ในลักษณะ public school ในประเทศอังกฤษเข้ามาใช้ ในยุคสมัยนั้นรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราโชบายในการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน โดยการรวมศูนย์อำนาจมาอยู่ที่ส่วนกลาง เพื่อสร้างมาตรฐานเดียวในการปกครอง จากเดิมที่ยังไม่ให้มีสำนึกของความเป็นชาติ ด้วยการผลิตข้าราชการพลเรือนออกไปปกครองหัวเมือง และเมืองขึ้นต่างๆ
 
ระบบโซตัสในยุคนี้ที่รับมาจะต้องสร้างนักเรียนที่ได้รับการเลือกตั้ง หรือที่เรียกว่าดรุณาณัติ (ตำแหน่งหัวหน้านักเรียน) จากนักเรียนอาวุโสระดับสูงผู้เรียนดีและประพฤติดีเพื่อทำหน้าที่ช่วยครูในการอบรมสั่งสอนและดูแลนักเรียน เริ่มต้นจากในโรงเรียนมหาดเล็ก ซึ่งตอนหลังพัฒนามาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากโรงเรียนมหาดเล็กเป็นกลไกสำคัญในทำให้โครงสร้างการรวมศูนย์อำนาจในการปกครองและควบคุมเมืองขึ้นต่างๆ มากขึ้น แล้วจุฬาฯ ก็รับต่อมาในเรื่องระบบความอาวุโส และได้ผนวกกับแนวคิดเรื่องระเบียบ ประเพณี สามัคคี และน้ำใจ จึงเกิดเป็นคำว่าโซตัส (S: Senior O: Order T: Tradition U: Unity S: Spirit) ขึ้น กลายเป็นคำขวัญทั้ง 5 ของนิสิตจุฬาฯ และเป็นปณิธานในการอบรมสั่งสอนของผู้บริหาร
 
วันรัก กล่าวต่อมาว่า ระบบโซตัสในช่วงนั้นมีลักษณะที่เป็นอุดมคติ คือเป็นจินตนาการร่วมของมาตรฐานทางจริยธรรมของข้าราชการที่ต้องไปปกครองหัวเมือง ไม่มีความรุนแรงใดๆ แต่ระบบโซตัสที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน ที่มีการว้าก การลงโทษรุ่นน้อง เริ่มเมื่อปี 2480 ในยุคชาตินิยม ที่ต้องการผลิตราษฎรมาเป็นกำลังส่วนหนึ่งของประเทศ โดยในช่วยนั้นรัฐราชการไทยมีนโยบายส่งนักศึกษาไปเรียนต่อปริญญาตรีในอเมริกา และกลุ่มคนเหล่านี้น่าจะเป็นผู้นำเอาประเพณีมาใช้
 
วันรัก อ้างถึงข้อสังเกตของ ชาญวิทย์ เกษตรสิริ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์การเมือง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งได้เห็นภาพประเพณีคลุกโคลน ปีนเสา และการลงโทษน้องใหม่ของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) และพบว่าประเพณีเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในมหาวิทยาลัยไทย นอกจากนั้นยังมีการนำเอาประเพณีรับน้องมาจากประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของอเมริกา โดยนักศึกษาเกษตรศาสตร์ 
 
“ถ้าเรามองในแง่ของการเมืองเชิงวัฒนธรรม มองในแง่ของประวัติศาสตร์ เราจะเห็นว่าระบบโซตัสเป็นประดิษฐกรรมทางวัฒนธรรม ซึ่งถือกำเนิดจากการหยิบยืมองค์ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาจากมหาอำนาจจักรวัตินิยม ทั้งอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 5 ทั้งอเมริกา แม้จะต่างกรรม ต่างวาระ แต่ก็อิงอยู่บนกรอบคิดเดียวกัน คือกรอบคิดแบบเจ้าผู้ปกครองอาณานิคม โดยมีรูปแบบที่เข้มข้นเพื่อกำหลาบเมืองขึ้น” วันรักกล่าว พร้อมระบุด้วยว่า ในทางเนื้อหาของระบบโซตัสเป็นการนำเอารูปแบบการปกครองแบบทหารมาใช้กับระบบการศึกษาของพลเรือน
 
 
โซตัสดำรงอยู่คู่การเมืองแบบจารีต
 
วันรัก ให้ข้อมูลต่อมาว่า ปี 2510 เป็นจุดหักเหในประวัติศาสตร์ระบบโซตัสในไทย เมื่อกระแสประชาธิปไตยถูกปลุกให้ตื่นขึ้นอีกครั้งเพื่อต่อต้านอำนาจเผด็จการทหาร โดยเฉพาะในหมูนักเรียนนักศึกษา ประเพณีแบบจารีตนิยมถูกตั้งคำถามอย่างถอนรากถอนโคน เพราะเผด็จการทหารไม่เพียงปกครองทางการเมืองแต่ยังใช้กระบวนการปลูกฝังกล่อมเกลาทางความคิดผ่านระบบประเพณี วิธีคิด ระบบจารีติต่างๆ ดังนั้น ระบบโซตัสซึ่งตอนหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็นการรับน้องบ้าง ประชุมเชียร์บ้าง จึงถึงตั้งคำถามในฐานนะหัวขบวนของการปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่อยู่ในสภาพเกียจคร้านทางปัญญา และชินชาทางการเมือง
 
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากความพ่ายแพ้ของนักศึกษาในปี 2519 ระบบโซตัสได้กลับเข้ามาและดำรงอยู่คู่ขนานกับการเมืองแบบจารีต ที่มีฐานอยู่บนระบบอุปถัมภ์และเครือข่ายของชนชั้นปกครอง โดยการใช้อำนาจถูกทำให้ซับซ้อนขึ้น มีความนุ่มนวลมากขึ้น เพราะกลุ่มผู้นำรับเอาเครื่องมือคือระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์เข้ามาผนวก
 
“เราเคยตั้งคำถามจริงๆ หรือเปล่าว่า ประเพณีที่เราต้องทำ มันนำมาซึ่งการปลูกฝังบุคลิก อัตลักษณ์ของความเป็นนักศึกษาแบบใด มันต้องการปลูกสร้างอะไร” วันรักกล่าว
 
อาจารย์จากคณะศิลปะศาสตร์ยังตั้งคำถามถึงการแสดง “เจตนาดี” ของรุ่นพี่ที่มีต่อรุ่นน้องว่าอาจไม่ตอบสนองความต้องการในการค้นหาตัวตนของชีวิตสำหรับคนที่อยู่ในวัยเปลี่ยนสถานะเข้าสู่การเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และอาจไม่ต่างจากการแสดงเจตนาดีของพ่อแม่ที่มีต่อลูก ส่วนการรับน้องที่บอกว่าสร้างความอดทนนั้นเป็นความอดทนลักษณะใด นอกจากนั้นความรักพวกพ้อง ที่เชื่อมโยงกับผลประโยชน์ในระบบอุปถัมภ์ของรุ่นน้องรุ่นพี่รุ่นน้องในสถาบันเดียวกัน อาจเป็นสิ่งที่ดีสำหรับผู้ทีได้รับ แต่ในฐานะพลเมืองของสังคมซึ่งไม่ใช่นักศึกษาของสถาบันใดสถาบันหนึ่ง ระบบตรงนี้เป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความ แตกแยกให้เกิดขึ้นในสังคมด้วย
 
วันรัก กล่าวด้วยว่า ขณะที่บุคคลที่สร้างความจดจำ ชื่นชม ในประวัติศาสตร์วรรณคดีหรือศิลปะ มักเป็นคนที่ความแตกต่าง ยกตัวอย่างเช่น แวนโก๊ะ (Vincent Van Gogh) ที่ท้าทายจารีตบางอย่างของขนบของงานศิลปะและค้นหาตัวเอง แต่ระบบโซตัสมีกระบวนการที่ต้องการทำให้ทุกคนเหมือนๆ กัน ไม่มีที่ยืนให้กับคนที่แตกต่าง ที่ถูกเรียกว่าเพี้ยน และคนเหล่านี้ก็จะถูกผลักให้ออกจากกลุ่ม        
 
 
การรับน้อง ประเพณี และภาระหน้าที่ต่อสังคม
 
“ความจริงระบบซีเนียริตี้ (Seniority) นี้ดี แต่ความดีมันก็ต้องมีกาลเทศะ หมายความว่าคนที่จะใช้ก็ต้องรู้จักเทคนิคพอสมควร คุณค่าของความดีไม่มีสูญไม่มีหาย แต่ความดีจะสูญหายไปได้เพราะคนที่จะเอาความดีมาใช้ ยังไม่รู้จักเลยว่าความดีนั้น คืออะไร” หนึ่งในประโยคเด็ดของนายทองปน บางระจัน ตัวละครจากหนังสือ 'หนุ่มหน่ายคัมภีร์' เขียนโดย สุจิตต์ วงศ์เทศ ซึ่งพิชญ์นำมากล่าวถึง
 
พิชญ์ เล่าต่อมาถึงประสบการณ์จากรั้วมหาวิทยาลัยว่า มหาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเมืองเบิร์กลีย์ (University of California, Berkeley) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีเสรีภาพมาก มีพื้นที่ลานบริเวณหน้าตึกกิจกรรมนักศึกษามีหมุดเล็กๆ เขียนเอาไว้ว่า “พื้นที่นี้ และอากาศเหนือพื้นที่นี้ขึ้นไป จะไม่ขึ้นอยู่กับอำนาจของรัฐใด” เพราะในปี 1964-1965 มีความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอเมริกา โดยมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นมหาวิทยาลัยที่เคลื่อนไหวจนกระทั่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาและเสรีภาพในทางวิชาการได้เกิดขึ้น
 
แม้ว่าอเมริกามีมหาวิทยาลัยมานานมากแล้ว แต่มีการห้ามไม่ให้แสดงความเห็นทางการเมืองในมหาวิทยาลัย ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็นอื่นนอกจากความรู้ จนกระทั้ง มีการเคลื่อนไหวใหญ่ที่เบิร์กลีย์ซึ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการล้มสงคามเวียดนามในหลังจากนั้น เริ่มต้นจากการตั้งคำถามของนักศึกษาวิทยาศาสตร์ ที่ทำงานวิจัยในฐานะแรงงานราคาถูกให้กับรัฐบาลว่าทำไมพวกเขาต้องทำงานวิจัยเพื่อผลิตอาวุธไปฆ่าคน และมหาวิทยาลัยต่างๆ เริ่มตั้งคำถามว่าจะสามารถนำปัญหาภายนอกมหาวิทยาลัยมาคุยในมหาวิทยาลัยได้ไหม เพราะช่วงนั้นเริ่มมีการเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิของคนจน คนผิวดำต่างๆ   
 
ในส่วนของประเทศไทย จากข้อมูลปีล่าสุดนี้ งบประมาณแผ่นดิน 7.2 หมื่นล้าน ถูกส่งให้มหาวิทยาลัย คิดเป็นอัตราเฉลี่ยงบประมาณการศึกษาสำหรับบัณฑิตในระดับอุดมศึกษากว่า 40,000 บาทต่อปี สำหรับนักศึกษาหนึ่งคน ดังนั้น หากจะพูดถึงระบบประเพณีต่างๆ คงหนีภาระหน้าที่ที่จะต้องมีต่อสังคมไปไม่ได้ เพราะว่าทุกคนกินภาษีของประชาชนอยู่ เรื่องนี้เป็นเรืองที่สำคัญ ไม่ว่าจะบอกว่าระบบอุปถัมภ์ดีหรือไม่ดี แต่สิ่งที่จะต้องพูดเสมอคือมันเกี่ยวพันกับความเป็นอยู่ของคนอื่น เมื่อรัฐจะต้องเอาเงินก้อนนี้มาให้กับนักศึกษาแต่ที่จะนำไปใช้ในส่วนอื่น ดังนั้นจึงเป็นพันธะกิจสำคัญซึ่งไม่ต้องมาพูดถึงอุดมการณ์ แต่มันเป็นความจริงที่ต้องรู้ ทั้งนี้ยังไม่รวมความคิดที่ว่าเรียนจบแล้วต้องไปทำงานรับใช้คนอื่นหรือไม่
 
 
โซตัสในยุคทุนนิยม เมื่อเราต้องรักกันเพื่อความอยู่รอด 
 
พิชญ์ กล่าวถึงระบบโซตัสว่า มีวิธีอธิบายแบ่งเป็น 3 แบบ คำอธิบางแรกที่คนชอบใช้กันคือ โซตัสเป็นหน้าฉากหนึ่งของระบบเผด็จการ ส่วนคำอธิบายของเขาคือ ระบบโซตัสมีเหตุผลทางเศรษฐกิจรองรับ หมายความว่าประเพณีนี้ไม่ได้เป็นประเพณีที่อธิบายโดยตัวเองว่าดีมาตั้งแต่โบราณ แต่เป็นของใหม่ ดังนั้นคนที่รับรู้และสืบสานประเพณีเหล่านี้จึงมีวิธีคิดที่เรียกว่า “คำนวณแล้วว่าคุ้มค่า” (Calculative mind) ระบบอุปถัมภ์จึงดำรงอยู่ ตัวอย่างเช่นยอมให้พี่ 1 ปี แล้วได้รับน้องอีกอย่างน้อย 3 ปี และในความเป็นจริงการรับน้องในปัจจุบันไม่ได้โหดร้าย แต่จะออกมาในแนวขำขัน สนุกสนาน โดยเป็นการเอากิจกรรมเหล่านี้เข้าไปสวมระบบประเพณีเก่า ซึ่งจำเป็นต้องอยู่ในโครงสร้างเช่นนี้เพราะรุ่นพี่ต้องการสร้างความยอมรับจากรุ่นน้อง
 
“ทฤษฎีของผมคือในยุคทุนนิยม ประเพณีนี้จะยิ่งสืบสานเพราะว่าการแข่งขันในตลาดแรงงานมีสูง ยิ่งเป็นอย่างนี้มันยิ่งมีเหตุผลที่รุ่นพี่รุ่นน้องจะต้องรักกันมากขึ้น” พิชญ์กล่าว และย้ำว่าตรงนี้เป็นการคาดคำนวณในตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นเหตุผลทางเศรษฐกิจที่รองรับให้ต้องมีระบบนี้อยู่
 
พิชญ์ แสดงทัศนะด้วยว่า ระบบโซตัสไม่ใช่เรื่องของคนส่วนใหญ่และคนส่วนน้อย แต่เป็นการครอบงำทางความคิดตามภาษาทางสังคมศาสตร์ที่ต้องทำทุกวัน ต้องหาเหตุผลให้มันทุกวัน และการที่เราถูกครอบงำได้ไม่ใช่ว่าเรามีความสุขกับระบบนี้แต่มันทำให้เราคิดว่าไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้ ดังนั้น คนที่อยู่ในระบบนี้ไม่ได้เป็นเสียงส่วนใหญ่ส่วนน้อย เพราะไม่มีใครที่ชอบระบบนี้มากๆ ทุกคนจะเชื่อว่าเราน่าจะไปปรับปรุงให้ดีกว่านี้ได้ แต่ก็ไม่มีคนที่สามารถจะบอกว่าระบบนี้ไม่มีไม่ได้หรือ ทุกคนพยายามหาเหตุผลที่ดี เพื่อที่จะทำให้ส่วนที่ดีของมันอยู่ต่อไป
 
 
ผู้ปกครองไม่สามารถปกครอง เหตุผลที่ทำให้โซตัสดำรงอยู่ได้
 
พิชญ์ กล่าวต่อมาว่า การที่ระบบโซตัสดำรงอยู่ได้เพราะเป็นระบบอาณานิคมที่ผู้ปกครองไม่สามารถปกครองคนได้ทั้งหมด จึงต้องมีการปกครองโดยใช้ระบบซุ้ม ระบบเลี้ยงนักเลงเพื่อควบคุมคน เพราะผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่สามารถในการระดมนักศึกษามาทำกิจกรรมของมหาวิทยาลัยได้ นี่คือโครงสร้างส่วนบนที่มองไม่เห็นของระบบอุปถัมภ์ชุดนี้ทั้งหมดของระบบโซตัส แม้ว่าส่วนหนึ่งจะเรียกได้ว่าเป็นพิธีกรรม แต่อีกส่วนหนึ่งมหาวิทยาลัยไทยอิงกับการสอน การวิจัย และพิธีกรรม ซึ่งพิธีกรรมคือสิ่งที่หล่อเลี้ยงมหาวิทยาลัยเอาไว้ ทำให้มหาวิทยาลัยมีเงินจากศิษย์เก่า ได้รับการยอมรับจากตลาดแรงงานโดยศิษย์เก่าที่จบออกไปให้ความช่วยเหลือ อีกทั้งทำให้มหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับ ทั้งนี้ การจะทำให้ประเพณีเหล่านี้อยู่ได้จะต้องมีมวลชนรองรับ
 
“การที่ผู้บริหารปล่อยให้ระบบนี้อยู่ได้ ส่วนหนึ่งเพราะผู้บริหารไม่สามารถดูแลนิสิต นักศึกษาได้ทั้งหมด และอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญก็คือจำเป็นจะต้องมีเอาไว้จึงหลับตาข้างหนึ่งเหมือนกับตำรวจเลี้ยงนักเลง” อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครองกล่าว  
 
 
แนะหากระบบมีปัญหา ให้ฟ้องกรรมการสิทธิ์ฯ
 
พิชญ์ นำเสนถึงทางออกว่า 1.หากคิดว่าระบบโซตัสมีปัญหา ให้ฟ้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2.ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสา จิตสาธารณะ หรือกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ซึ่งหากคิดในแง่ที่สัมพันธ์กับการเมืองตรงนี้จะช่วยให้ประชาธิปไตยมีคุณภาพสูงขึ้น เพราะการเลือกตั้งในสายปรัชญาการเมืองบางสายไม่ได้ทำให้สังคมดีที่สุด แม้ว่าจะเป็นเสียงข้างมาก แต่หากเป็นเสียงข้างมากที่เห็นแก่ตัวก็อาจรับแต่ผลประโยชน์ในระยะสั้น ซึ่งการทำกิจกรรมจิตอาสาจะพัฒนาการเลือกตั้งให้ดีขึ้นได้ โดยทำให้นักศึกษาหรือคนทั่วไปหันไปช่วยคนอื่นๆ เมื่อจะต้องตัดสินใจในเรื่องสาธารณะก็จะสัมพันธ์กับคนอื่นได้มากขึ้น ทำให้การหาผลประโยชน์เข้าตัวก็จะคำนึงถึงความเดือดร้อนของคนอื่นมากขึ้น
 
3.ผู้บริหารสถานศึกษาต้องหากิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้รุ่นพี่ได้รับการยอมรับจากรุ่นน้อง โดยไม่ใช่การใช้กำลังบังคับ แต่ให้รุ่นน้องเคารพรุ่นพี่ด้วยผลงาน และ 4.การรับน้องแบบเผด็จการควรเป็นการกระทำโดยสมัครใจที่ทำนอกมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ทำในมหาวิทยาลัยแล้วพยายามหาเหตุผลรองรับ
 
 
“คำ ผกา” ตั้งคำถามถึงน้องใหม่ ทำไมต้องยอมจำนน
 
คำ ผกา กล่าวถึงประสบการณ์การเป็นน้องใหม่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า เธอไม่ผ่านการรับน้อง ไม่เคยเข้าห้องว้าก ไม่ร่วมประเพณีวิ่งขึ้นดอยของมหาวิทยาลัย รวมทั้งร้องเพลงเชียร์ของคณะและเพลงมหาวิทยาลัยไม่ได้แม้แต่เพลงเดียว แต่การที่ไม่ร่วมกิจกรรมเหล่านี้ขณะที่เพื่อเข้าร่วมไม่ได้ส่งผลให้ใครมาทำอะไรเธอได้ ทำให้รู้สึกแปลกใจว่าทำไมการรับน้องในมหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งกลายเป็นสิ่งที่รุ่นน้องยอมจำนน ส่วนข้ออ้างเรื่องการไม่ได้รุ่นนั้นเธอไม่สนใจ ไม่แคร์รุ่นพี่ คิดว่าไม่เอารุ่นก็ได้เพราะรู้สึกว่าตัวเองแกร่งพอที่จะไม่พึ่งพาระบบอุปถัมภ์แบบนั้น
 
“คุณไม่มันใจในศักยภาพของตัวคุณเอง ว่าคุณสามารถเติมโตในการทำงาน หรือสมัครงาน หรือไปทำอะไรก็ได้ในชีวิตนี้หลังจากเรียนจบโดยไม่ต้องพึ่งพารุ่นพี่” คำ ผกา กล่าวถึงเหตุผลที่คนไม่กล้าปฏิเสธระบบว้ากหรือการรับน้อง และกล่าวต่อมาถึงประเพณีแบบ Public school ที่มีเรื่องชนชั้นมากำหนด ซึ่งจะเกี่ยวพันธ์กับการโยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ในอนาคต ว่าอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่ง
 
คำ ผกา กล่าวต่อมาว่า นอกเหลือจากผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ผลประโยชน์ทางการเมืองแล้ว คำพูดหรืออุดมการณ์ที่อยู่ในการรับน้อง ซึ่งรับมาจากระบบของต่างประเทศเมื่อเขามาในเมืองไทยได้มาผสมผสานกับวิธีคิดทางการเมือง วิธีคิดทางอำนาจแบบไทยๆ และคำอธิบายเรื่องการรักพวกพ้อง เรื่องรุ่น เรื่องการรักสถาบัน แล้วพยายามสลายพฤติกรรมของคนหมู่มาก โดยทำลายการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นที่สั่งสมมาก่อนหน้านี้ ด้วยพิธีพิธีกรรมการรับน้องในมหาวิทยาลัย ทำให้มหาวิทยาลัยเปลี่ยนจากสถานที่ที่ทำให้คนมีปัญญามากขึ้น กลายเป็นสถานที่ที่จะทำให้คนที่เข้ามาอยู่มีปัญญาน้อยลง นอกเหนือจากการเรียนเพื่อฝึกทักษะทางอาชีพซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
 
มหาวิทยาลัยทำให้คนตั้งคำถามและท้าทายต่ออำนาจได้น้อยลง และรักษาความสัมพันธ์ทางอำนาจแบบผู้น้อยผู้ใหญ่เอาไว้มากที่สุด เพราะฉะนั้นการนับถือรุ่นพี่ก็จะนับถือแค่ว่าอยู่ปีสูงกว่า อายุมากกว่า แต่ไม่ได้ดูว่ารุ่นพี่มีผลงานอะไรให้น่านับถือบ้าง
 
นอกจากยังมีปมด้อยเรื่องศักดิ์ศรีด้วย จากที่จะเห็นว่าจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ฯลฯ พัฒนาการว้ากให้เป็นเรื่องขำมากขึ้น แต่มหาวิทยาลัยเล็กๆ หรือมหาวิทยาลัยใหม่ๆ ซึ่งไม่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานก็ใช้การรับน้องมาสร้างความภาคภูมิใจให้กับสถาบัน ตรงนี้น่าจะเป็นเรื่อง “วิกฤติทางอัตลักษณ์” คือมหาวิทยาลัยยิ่งเล็กการรับน้องก็จะยิ่งโหด
 
“ไม่เห็นหนทางที่จะแก้ปัญหาอะไรได้ นอกจากเด็กปีหนึ่งทุกคนจะต้องปฏิเสธระบบนั้นด้วยตัวเอง” คำ ผกา กล่าว แต่คำถามของเธอก็คือขณะนี้ยังเห็นเด็กปีหนึ่งทุกคนใส่ป้ายและมีซีเรียลนัมเบอร์เหมือนเป็นสัตว์ในฟาร์ม แล้วก็มีความสุข มีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของระบบนี้
 
“ทำไมเด็กปีหนึ่ง ไม่สามารถออกจากระบบนี้ได้ด้วยตนเอง หรือว่ายังเอ็นจอยความสัมพันธ์แบบซาดิสม์ มาโซคิสม์ กันอยู่แบบนี้” คำ ผกา ตั้งคำถาม
 
คำ ผกา กล่าวต่อมาว่า สิ่งที่จะเปลี่ยนคือต้องเปลี่ยนอุดมการณ์ของสังคมทั้งหมดว่าความภาคภูมิใจ ศักดิ์ศรีของมหาวิทยาลัยไม่ได้อยู่ที่ความยิ่งใหญ่ของสถาบันในเชิงพิธีกรรม แต่อยู่ที่ว่ามหาวิทยาลัยมีคนได้รางวัลโนเบลกี่คน มหาวิทยาลัยมีศิษย์เก่าไปแสดงนิทรรศการ และได้รับการยอมรับในระดับโลกอย่างไรบ้าง นอกจากนั้นยังเสนอให้มีการยกเลิกการใส่เครื่องนักศึกษา เพราะการจำนนต่อเครื่องแบบนักศึกษาเป็นสัญลักษณ์ของการจำนนต่ออำนาจตั้งแต่แรกแล้ว
 
“การรับน้อง การว้ากจะไม่เปลี่ยนไปเลย ตราบใดที่มหาวิทยาลัยไทยยังให้นักศึกษาแต่เครื่องแบบ” คำ ผกา กล่าว และเสริมว่า การไปให้ความสำคัญกับเข็ม หรือหัวเข็มขัด คือการไม่ย้ายศักดิ์ศรีความภาคภูมิใจออกมาจากประวัติศาสตร์ จากพิธีกรรมไปสู่ผลงาน หรือเนื้อหา
 
คำ ผกา กล่าวด้วยว่า การรับน้องที่ยังตกค้างอยู่ในมหาวิทยาลัยไทย สอดคล้องกับภาวะความกลัวต่อความเป็นประชาธิปไตยในสังคม เพราะว่าสังคมที่กลัวการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั้นต้องการประชาชนที่เชื่อฟังและรักในประเพณี โดยไม่สนใจว่าประเพณีนั้นจะมีเนื้อหาที่เหมาสมกับยุคสมัยหรือไม่ และต้องการเน้นความรักในสังกัดของตนเอง รักในรุ่นพี่ รักคณะ รักมหาวิทยาลัย ซึ่งสังกัดที่ใหญ่ขึ้นคือการรักชาติอย่างไม่ลืมหูลืมตา เน้นความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
 
“ตราบใดที่เรายังปล่อยให้วัฒนธรรมและอุดมการณ์ที่ยังอยู่ในการว้าก การรับน้องดำเนินต่อไปโดยไม่สิ้นสุด มันก็จะเป็นอาหารที่หล่อเลี้ยงสภาวะของความไม่เป็นประชาธิปไตยไทยต่อไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด”
 
 
คลิปวีดิโอในยูทิวป์ อัพโหลดโดย  
 
 
 
 
 
 
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ 4: 91 ศพสังเวยความต้องการใคร (ภาค 2)

Posted: 16 Jun 2011 01:25 PM PDT

หมายเหตุ - เมื่อเวลา 19.07 น. วานนี้ (16 มิ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 พรรคประชาธิปัตย์ ได้เขียนบทความ "จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ 4" เผยแพร่ลงในแฟนเพจ "Abhisit Vejjajiva" ของตน

โดยยืนยันว่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว เป็นพราะการเจรจาที่ล้มเหลว เพราะอีกฝ่าย "ไม่ได้รับไฟเขียวจากนายใหญ่" ส่วนฝ่ายเจรจาของผู้ชุมนุมก็ผิดหวังว่าตั้งแต่ 10 เม.ย. มีคนตายแล้วแต่รัฐบาลยังอยู่ได้ หากไม่มีการนิรโทษกรรมคุณทักษิณก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร จึงไม่ต้องการให้คลี่คลายเพราะไม่ได้รับชัยชนะ ผ่านไป 10 วันก็ไม่เลิกชุมนุม ดังนั้น "ศอฉ. จึงไม่มีทางเลือกนอกจากต้องรักษากฎหมายโดยการ “กระชับพื้นที่”"

ในบันทึกนายอภิสิทธิ์ยืนยันว่า "ไม่ได้เข้าไปสลายการชุมนุม" แต่ "ตั้งด่านปิดล้อมเพื่อให้คนออกจากพื้นที่ชุมนุม ไม่ให้คนเข้า" ส่วนที่ต้องใช้อาวุธ "เพื่อป้องกันตนเองและป้องกัน M79" โดยยืนยันว่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากการสั่งฆ่าประชาชน แต่มาจากกลุ่มคนติดอาวุธโจมตีด่านทำให้เกิดการปะทะกัน ส่วนกรุงเทพฯ กลายเป็นทะเลเพลิงตามที่นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง เคยปลุกระดมเอาไว้

นายอภิสิทธิ์ยังเปิดเผยในบทความด้วยว่า มีคนจากอีสานที่รับจ้างทำบ้องไฟแล้วไม่ได้รับค่าจ้าง และหลบหนีเข้าไปอยู่ในวัดปทุมฯ ซึ่งต่อมาได้พยายามหนีกับเพื่อนๆ ออกจากประตูวัดด้านใกล้แยกอังรีดูนังต์ แต่เพื่อนที่วิ่งนำหน้าถูกกลุ่มชายชุดดำใส่หมวกไหมพรม 5-6 คน ยิงจนเสียชีวิตและลากศพไปเผาบริเวณที่บังเกอร์หน้าวัด  เขาจึงวิ่งย้อนกลับไปหลบหนีออกด้านหลังวัด โดยนายอภิสิทธิ์ระบุว่าชายคนนี้ได้ให้ปากคำที่ สน.ทุ่งมหาเมฆ ในฐานะพยานผู้เห็นเหตุการณ์การกระทำอันโหดร้ายของกลุ่มชายชุดดำด้วย

ในตอนท้ายบทความ นายอภิสิทธิ์ยืนยันว่า "ผมยังไม่ละความพยายามที่จะสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในประเทศให้จงได้ ไม่ใช่ความปรองดองในหมู่นักการเมืองด้วยกัน แต่ต้องปรองดองบนความถูกต้อง ไม่ให้หลักการของประเทศเสียหาย" นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ยังขอให้เปรียบเทียบเหตุการณ์ที่ตากใบ กรือเซะ และการฆ่าตัดตอน 2,000 กว่าศพ แล้วท่านจะเข้าใจความแตกต่างระหว่างการสั่งฆ่าประชาชนกับการรักษากฎหมาย

โดยบทความ "จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ 4" ของนายอภิสิทธิ์มีรายละเอียดดังนี้

000

จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ 4
by Abhisit Vejjajiva on Thursday, 16 June 2011 at 19:07

91 ศพสังเวยความต้องการใคร (ภาค 2)

            หลังจากสังคมได้รับรู้เรื่องเหตุการณ์ 10 เมษา และปรากฏการณ์ชายชุดดำ ปัญหาการชุมนุมก็ยังไม่ยุติ

            ตรงกันข้ามมีการใช้ความรุนแรงอย่างต่อเนื่องกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นการยิง M79 ที่สถานีรถไฟฟ้า BTS ที่ศาลาแดง  การสูญเสียของเจ้าหน้าที่ที่ถนนพระราม 4  เป็นปรากฏการณ์ที่ตรงกันข้ามกับปี 2551

            วันนั้นมีแต่ M79 ยิงใส่ผู้ชุมนุมฝ่ายพันธมิตร

            แต่ปี ’53  M79 ออกมาจากพื้นที่ชุมนุมยิงใส่ชาวสีลม ข่มขู่ประชาชนทั่วไป

            โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่หลายคนไม่อยากจำ แต่ลืมไม่ลง

            คือ การบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ จนต้องมีการย้ายคนไข้ ไม่เว้นแม้แต่สมเด็จพระสังฆราช

            ทุกท่านคงนึกออกว่า แรงกดดันที่มาที่ ศอฉ. ให้ใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมจะรุนแรงแค่ไหน

            ผมแบกรับอย่างต่อเนื่อง แต่อดทนเพื่อหาแนวทางสันติ

            จนต้นเดือนพฤษภาคม ผมจึงเสนอแผนปรองดองที่พูดถึงการแก้ปัญหาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเรียก ร้องของผู้ชุมนุมในทุกเรื่อง

            โดยเฉพาะหากยกเลิกการชุมนุมก็จะจัดการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤศจิกายน

            ผมถูกก่นด่าว่าอย่างรุนแรงจากคนที่สนับสนุนผม

            แต่ผมต้องการเห็นบ้านเมืองสงบทั้ง ๆ ที่รู้ว่า ข้อเสนอทั้งหมดไม่ได้คะแนนจากชาวเสื้อแดง แต่เสียคะแนนจากฝ่ายสนับสนุนผม

            ข้อเสนอผมเป็นเหตุเป็นผลขนาดที่แกนนำบนเวทีต้องตอบรับแต่ขอเวลาที่จะตัดสินใจในการสลายการชุมนุม

            ระหว่างนั้นผมก็ให้คุณกอร์ปศักดิ์ประสานงานตลอด แต่เจรจาอย่างไรก็ไม่เป็นผล ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มขอคืนพื้นที่บริเวณโรงพยาบาลจุฬาฯ ฯลฯ

            สิ่งที่ผมสังหรณ์ใจไม่ผิดก็คือ แผนปรองดองทั้งหมดมีจุดอ่อนจุดเดียว

            คือ ไม่มีการนิรโทษกรรมให้คุณทักษิณ

            แม้แกนนำหลายคนก็เริ่มอยากจะให้แผนนี้เป็นทางออกที่ดีสำหรับทุกฝ่าย การเจรจาคืบหน้าไปจนถึงจุดที่ว่าจะช่วยกันดูแลให้พี่น้องคนเสื้อแดงที่มาชุมนุมกลับบ้านได้อย่างไร เช่น ประสานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

            แต่สุดท้าย การเจรจาก็ล้มเหลว เพราะไม่ได้รับไฟเขียวจากนายใหญ่ ฝ่ายเจรจาของผู้ชุมนุม ที่แปลกใจหรือผิดหวังตั้งแต่ 10 เม.ย.ว่ามีคนตายแล้วแต่รัฐบาลยังอยู่ได้ มองว่า หากไม่มีการนิรโทษกรรม คุณทักษิณก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร จึงไม่ต้องการให้คลี่คลายเพราะไม่ได้รับชัยชนะ แม้แต่ก่อนสลาย เราพยายามจะเจรจาให้ส่งผู้ชุมนุมกลับบ้านก่อนมอบตัว แต่ถูกปฏิเสธ

            ในที่สุด เวลาผ่านไป 10 วันก็ชัดเจนว่า จะไม่มีการเลิกการชุมนุม

            ศอฉ. จึงไม่มีทางเลือกนอกจากต้องรักษากฎหมายโดยการ “กระชับพื้นที่”

            ไม่ได้เข้าไปสลายการชุมนุม แต่ตั้งด่านปิดล้อมเพื่อให้คนออกจากพื้นที่ชุมนุม ไม่ให้คนเข้า เพียงแต่ต้องใช้อาวุธจริงเพื่อป้องกันตนเองและป้องกัน M79

            ความสูญเสียระหว่างวันที่ 14-18 พ.ค. ไม่ได้เกิดขึ้นจากการที่มีใครสั่งฆ่าประชาชน แต่มีกลุ่มคนติดอาวุธโจมตีด่าน ทำให้เกิดการปะทะกัน โดย ศอฉ.ได้เตือนประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มอาสาสมัครและสื่อมวลชนให้ระวังตัวว่าจะเป็นเป้าของการยั่วยุให้ปะทะ และชายชุดดำซึ่งอยู่ที่ตึกชีวาทัย (ถ.ราชปรารภ) และบริเวณใต้ทางด่วน ถ.พระราม 4

            หลายคนเคยเห็นภาพที่ทำได้กระทั่งเอาเด็กมาเป็นโล่มนุษย์

            จนในที่สุด ศอฉ. จำเป็นต้องตัดสินใจเข้ายึดพื้นที่บริเวณสวนลุมฯ ซึ่งเป็นที่ซ่องสุมของอาวุธและชายชุดดำในเช้าวันที่ 19 พ.ค.  แต่ไม่ได้เข้าไปในพื้นที่ชุมนุม จนแกนนำยอมสลายเอง ซึ่งหากไม่ทำเช่นนั้น ความสูญเสียก็จะมีต่อไปไม่รู้จบ

            แต่แล้วปัญหาก็ไม่ได้จบไปกับการสลายการชุมนุมและการมอบตัวของแกนนำ ซึ่งก็เป็นไปตามคำประกาศครั้งสุดท้ายของนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่พูดบนเวทีก่อนสลายการชุมนุมว่า

            “การชุมนุมยุติลงแล้ว แต่การต่อสู้ของเรายังไม่จบ”

            จากนั้นไม่ถึงชั่วโมง กรุงเทพฯ ก็กลายเป็นทะเลเพลิงเหมือนกับที่นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง เคยปลุกระดมเอาไว้

            เป็นสถานการณ์ที่พี่น้องจำนวนมากที่ติดตามจากการถ่ายทอดสดของทีวีแทบทุกช่อง อาจถึงขั้นหลั่งน้ำตาที่ต้องมาเห็นภาพคนไทยฆ่ากันเอง และยังต้องสลดหดหู่กับภาพคนไทยเผาเมืองหลวงของเรา เพราะถูกปลุกปั่นยุยงด้วยข้อมูลอันเป็นเท็จอีกด้วย
 

            เหตุการณ์ที่สะเทือนใจคนไทยอย่างมากก็คือ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นที่วัดปทุมฯ

            ที่จริงเมื่อมีข้อเสนอให้ประกาศเป็นเขตอภัยทาน ผมให้คุณกอร์ปศักดิ์ประสานไปว่า ไม่อยากให้ทำ เพราะควรอำนวยความสะดวกให้คนกลับบ้านมากกว่า

            ที่สำคัญ ผมบอกว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะให้มีแต่ผู้หญิง เด็ก คนแก่เข้าไปในพื้นที่  ผมรู้ว่าต้องมีคนติดอาวุธเข้าไปด้วย ซึ่งต่อมาก็มีการพบอาวุธที่ถูกนำไปซ่อนในที่นั้น  ผมเคยถามด้วยซ้ำว่า หากมีการยิงกัน ปะทะกันจนเกิดความสูญเสีย ใครจะรับผิดชอบ

            แม้ในวันที่ 19 เอง ก็ยังมีคนจากอีสานที่รับจ้างทำบ้องไฟกับเพื่อน ๆ แต่สุดท้ายไม่ได้รับค่าจ้าง หลบหนีเข้าไปอยู่ในวัดปทุมฯ ซึ่งต่อมาได้พยายามหนีกับเพื่อน ๆ ออกจากประตูวัดด้านใกล้แยกอังรีดูนังต์ แต่เพื่อนที่วิ่งนำหน้าถูกกลุ่มชายชุดดำใส่หมวกไหมพรม 5-6 คน  ยิงจนเสียชีวิตและลากศพไปเผาบริเวณที่บังเกอร์หน้าวัด  เขาจึงวิ่งย้อนกลับไปหลบหนีออกด้านหลังวัด ในที่สุดชายคนนี้ได้ให้ปากคำที่ สน.ทุ่งมหาเมฆ ในฐานะพยานผู้เห็นเหตุการณ์การกระทำอันโหดร้ายของกลุ่มชายชุดดำ

            หลังกระชับพื้นที่วันที่ 19 พ.ค.  ศอฉ. จึงไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปบริเวณนั้น แต่ก็เจอกับปัญหาเผาเซ็นทรัลเวิลด์ สยามสแควร์ ไม่นับการเผาช่อง 3 และศาลากลางในหลายจังหวัด

            ซึ่งทุกแห่งมีการใช้กลุ่มติดอาวุธยิงสกัดกั้นรถดับเพลิง จนเจ้าหน้าที่ต้องเข้าไปคุ้มครอง ผมเองยังได้รับการติดต่อจากนักข่าวต่างประเทศที่ถูกยิงบริเวณวัดให้เข้าไปช่วย ซึ่งรถพยาบาลกว่าจะเข้าไปได้ก็ต้องมีเจ้าหน้าที่คุ้มครองด้วยความยากลำบาก

            ผมไม่สามารถฟันธงได้หรอกครับว่า 6 ศพที่วัดปทุมฯ เป็นฝีมือใคร แต่ผมถามว่า มีเหตุผลอะไรที่เจ้าหน้าที่จะจงใจไล่ยิงประชาชนเมื่อการชุมนุมสิ้นสุดแล้ว  ผมเชื่อว่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลของการปะทะหรือการฉวยโอกาสของ กลุ่มติดอาวุธที่แฝงตัวอยู่ ซึ่งผมหวังว่าคณะกรรมการฯ และหน่วยงานจะให้ความจริงกับเราต่อไป

            เมื่อเหตุการณ์คลี่คลายลง คนใกล้ชิดผมจำนวนไม่น้อยแนะนำให้ผมยุบสภา ลาออก หรือเว้นวรรคทางการเมือง เพื่อจะได้ใช้ชีวิตอย่างสงบ ไม่ต้องมีชีวิตแขวนอยู่บนเส้นด้าย พวกเขาบอกผมว่า นับจากนี้ไปชีวิตผมไม่มีทางปลอดภัย แต่ถ้ายอมแพ้ให้คุณทักษิณได้ในสิ่งที่ต้องการทุกอย่างก็จะจบ

            แต่ผมไม่คิดว่าจบหรอกครับ ผมว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นหายนะครั้งใหม่ของชาติมากกว่า และที่ผมตัดสินใจมุ่งมั่นแก้ปัญหาต่อไป ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าชีวิตถูกคุกคามได้ทุกเมื่อ ไม่ใช่เพราะยึดติดกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่เพราะผมตระหนักถึงหน้าที่ของตัวเองว่าต้องใช้อำนาจที่มีต่อสู้เพื่อรักษา บ้านเมืองของเรา

            ในช่วงเวลานั้น ผมได้รับกำลังใจจากประชาชนจำนวนมากที่ส่งข้อความมายังโทรศัพท์มือถือของผม เป็นแรงใจให้ผมมีความเข้มแข็งยืนหยัดต่อสู้เพื่อนำบ้านเมืองของเรากลับสู่ ความสงบให้ได้

            แม้จะอยู่ในอารมณ์เศร้าสะเทือนใจต่อสถานการณ์ที่เกิดขี้น แต่ผมก็รู้ดีว่ามีหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี เป็นนักการเมืองที่อาสาตัวมารับใช้พี่น้องประชาชน ผมท้อไม่ได้ และผมไม่มีสิทธิ์ถอยเพราะถ้าทำอย่างนั้นก็เท่ากับว่า ผมทรยศต่อความไว้วางใจของประชาชนที่ให้โอกาสผมได้เป็นตัวแทนปวงชนชาวไทยมา ยาวนานเกือบ 20 ปี

            “อย่าใจเสีย อย่ายุบสภา อย่าลาออก ท่านนายกฯทำดีที่สุดแล้ว”

            “หลังควันไฟจบบ้านเมืองก็สงบด้วย สิ่งปลูกสร้างเราซ่อมแซมใหม่ได้ หน้าที่ต่อไปคือนำประเทศผ่านวิกฤติครั้งนี้ให้ได้ ท่านนายกฯ ยังมีหน้าที่สู้ต่อเพื่อบ้านเมืองของเรา เชื่อมั่นว่าท่านทำได้”

            และข้อความอีกมากมายที่ส่งมาให้กำลังใจ เป็นเสมือนน้ำทิพย์ชโลมใจที่อ่อนล้าของผมให้กลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง มันสร้างความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวระหว่างผมซึ่งเป็นผู้บริหารประเทศกับ ประชาชนภายใต้การดูแลของผม

            ช่วงที่เปลวเพลิงยังลุกโชติช่วงที่เซ็นทรัลเวิลด์ ผู้บริหารของเซ็นทรัลเวิลด์ท่านหนึ่งโทรศัพท์มาหาผม แต่ในขณะนั้นผมกำลังอยู่ในที่ประชุมเพื่อร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องคลี่ คลายสถานการณ์ดับไฟกลางเมืองให้ได้ เพราะมีปฏิบัติการของคนชุดดำลอบยิงเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปดับเพลิง จนทำให้การดับเพลิงเป็นไปด้วยความยากลำบาก อีกทั้งเมื่อสามารถดับไฟได้แล้วก็ยังมีความพยายามเผาใหม่หลายรอบ ทำให้เซ็นทรัลเวิลด์เกือบมอดเป็นเถ้าถ่าน แต่ในที่สุดเราคนไทยก็ผ่านสถานการณ์นี้ไปด้วยกันจนได้

            เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ผมโทรศัพท์กลับไปยังผู้บริหารเซ็นทรัลเวิลด์ ยอมรับเลยครับว่า ระหว่างกดหมายเลขโทรศัพท์ผมนึกประหวั่นในใจเหมือนกัน เพราะไม่รู้ว่าจะพบกับปฏิกิริยาเช่นไรจากบุคคลที่ถือเป็นผู้สูญเสีย แต่ผมหนีความรับผิดชอบไม่ได้ ไม่ว่าจะถูกต่อว่าแค่ไหน ผมรู้ดีว่าเป็นสิ่งที่ต้องน้อมรับ เพราะแม้จะพยายามอย่างเต็มที่ให้ความสูญเสียทั้งร่างกายและทรัพย์สินเกิด ขึ้นน้อยที่สุด แต่ก็รู้ดีว่า การจลาจลครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายใหญ่หลวงต่อทั้งภาพลักษณ์ของประเทศและ เศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวอย่างรุนแรง

            ผมต้องขอขอบคุณผู้บริหารเซ็นทรัลเวิลด์ท่านนั้น ปลายสายที่พูดกับผมคำแรกแตกต่างไปจากที่ผมคิดไว้มากนัก

            “ก่อนอื่นต้องบอกว่า นายกรัฐมนตรีตัดสินใจทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ที่โทรมาเพียงแค่ต้องการแจ้งถึงสภาพโครงสร้างอาคาร...”

            เราพูดคุยกันถึงการดูแลอาคารไม่ให้ทรุดตัวลงจากเปลวเพลิงครั้งนี้ ขณะเดียวกันผมก็คิดล่วงหน้าไปถึงการเยียวยาทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากเหตุ เผาบ้านเผาเมืองดังกล่าว ควบคู่ไปกับการจัดการตามกฎหมายกับคนที่ทำชาติย่อยยับ มิใช่เพราะโกรธแค้นแต่ผมยืนยันเสมอว่า บ้านเมืองต้องปกครองโดยหลักนิติรัฐ ใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมตัดสินความถูกผิด ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลยกับสถานการณ์ความขัดแย้งในบ้านเมืองที่ขยายวงกว้าง มากขึ้นทุกที

            หน้าที่สมานบาดแผลแผ่นดินยังเป็นสิ่งที่ผมมุ่งมั่นเดินหน้าต่อ แม้จะรู้ว่าการอยู่ตรงกลางระหว่างคนสองสี คือ ทั้งสีเหลืองและสีแดง จะทำให้ผมไม่ได้รับคะแนนนิยมจากสองฝ่ายนี้เลย แต่ผมเห็นว่าการสลายสีให้ประเทศไทยเป็นของคนไทยทุกคนไม่ใช่ตกเป็นเบี้ยล่าง มวลชนสีใดสีหนึ่ง สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ที่ผมต้องทำให้ลุล่วง

            เมื่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รวมทั้งคณะกรรมการของ อ.คณิต นำเสนอข้อมูลกับผมว่า มีคนเสื้อแดงจำนวนมากที่ไม่ได้รับการดูแลตามสิทธิทางกฎหมาย ผมก็ให้กระทรวงยุติธรรมเข้าไปช่วยเหลือดูแลในเรื่องการประกันตัวตามสิทธิที่ เขาพึงมี เพราะเป็นหน้าที่รัฐบาลในการดูแลประชาชนทุกคนไม่ว่าเขาจะเรียกตัวเองว่าสี อะไรก็ตาม ส่วนการจะให้ประกันตัวหรือไม่นับเป็นดุลพินิจของศาล

            นอกจากนั้น ครม.ยังมีมติเพื่อตอกย้ำว่า รัฐบาลพร้อมให้ความเป็นธรรมในการดูแลสิทธิของพี่น้องเสื้อแดงที่ไม่มีทนาย ความคอยดูแลเหมือนบรรดาแกนนำ

            ผู้รู้ครับว่า ทำอย่างนี้คนเสื้อแดงก็ไม่ได้เกลียดผมน้อยลง บางคนออกจากคุกได้เพราะกระทรวงยุติธรรมเข้าไปช่วยดำเนินการให้ก็ยังด่าผมอยู่ดี

            ขณะที่คนบางกลุ่มก็ประณามการกระทำของผมว่า เป็นการเกี๊ยะเซี๊ยะกับคนเสื้อแดง ปล่อยคนเผาเมืองออกจากคุก ทั้ง ๆ ที่อำนาจในการประกันตัวนั้นเป็นดุลพินิจของศาลโดยแท้ และดีเอสไอซึ่งเป็นผู้ดูแลคดีก็ยังมีการคัดค้านการประกันตัวแกนนำบางคนที่ เห็นว่า หากออกจากกรงขังไปอาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของบ้านเมือง ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมายไม่ได้มีวาระซ่อนเร้นใด ๆ ทั้งสิ้น

            ผมถามง่าย ๆ ครับว่า ถ้าผมต้องการเอาใจฐานเสียงของตัวเองที่ต้องการเห็นความเด็ดขาดในการแก้ปัญหา กับคนเสื้อแดง ผมก็เพียงอยู่เฉย ๆ ไม่ต้องเข้าไปดำเนินการใด ๆ ทั้งสิ้น ปล่อยผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่ถูกแกนนำทอดทิ้งให้ติดคุกโดยไม่มีใครเหลียวแล ต้องรับชะตากรรมกินข้าวแดงต่อไปก็ได้ และผมก็ไม่ต้องโดนประณามว่ากลัวคนเสื้อแดง แต่จะได้ใจคนกลุ่มอื่นแทน

            แต่ผมทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะผมได้ยืนยันมาตั้งแต่ต้นหลังรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีว่า ผมจะเป็นนายกฯ ของคนทั้งประเทศ ไม่ว่าจะสนับสนุนผมหรือไม่สนับสนุนผมก็ตาม

            การอยู่ท่ามกลางระหว่างสี ทำให้ผมเปรอะเปื้อนไปด้วยการสาดสีใส่โคลน แต่ผมก็รับสภาพด้วยความอดทนอดกลั้น เพราะรู้ดีว่าการสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างการเมืองสุดโต่งนั้นไม่ ใช่เรื่องง่าย แต่ผมยังไม่ละความพยายามที่จะสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในประเทศให้จงได้ ไม่ใช่ความปรองดองในหมู่นักการเมืองด้วยกัน แต่ต้องปรองดองบนความถูกต้อง ไม่ให้หลักการของประเทศเสียหาย

            วันนี้หลังเหตุการณ์ผ่านไปหนึ่งปี ยังคงมีกระบวนการที่ตั้งธงว่า ผมเป็นฆาตกร

            ลองเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่ตากใบ กรือเซะ และการฆ่าตัดตอน 2,000 กว่าศพ ดูสิครับ

            แล้วท่านจะเข้าใจความแตกต่างระหว่างการสั่งฆ่าประชาชนกับการรักษากฎหมาย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ศาลยืนปรับ "ดา ตอร์ปิโด" 5 หมื่นฐานหมิ่น "สนธิ" ยกฟ้องมั่วสุม 10 คนขึ้นไป

Posted: 16 Jun 2011 12:46 PM PDT

เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 54 มติชนออนไลน์รายงานว่าที่ห้องพิจารณาคดี 908 ศาลอาญาถนนรัชดา ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ปรับ 5 หมื่นบาท นางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด จำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่น และยกฟ้องในข้อหาร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป, กระทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง,หน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ทำให้เสียทรัพย์ และพยายามบุกรุก โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า โจทก์มีหลักฐานแผ่นซีดีบันทึกภาพเสียงคำพูดของจำเลย มีพยานอื่นเบิกความสอดคล้องกัน พฤติการณ์จำเลยกระทำผิดตามฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยเหมาะสมแล้วจึงพิพากษายืนดังกล่าว

คดีนี้พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 7 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องสรุปว่า เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2550 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง จำเลยนี้กับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องอีกหลายคนและพวกอีกประมาณ 100 คนได้ร่วมกันรวมตัว มั่วสุม ชุมนุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป แล้วพากันเดินไปตามถนนพระอาทิตย์ จำเลยกับพวกบางคนได้ใช้เครื่องกระจายเสียง บางคนใช้เครื่องโทรโข่ง บางคนใช้ไมโครโฟนป่าวประกาศด่าท้าทายด้วยถ้อยคำหยาบคาย หมิ่นประมาทใส่ความนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้เสียหายที่ 1 และปลุกระดมประชาชน การกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวเป็นการทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง จำเลยกับพวกยังได้ยุยงส่งเสริมให้พวกที่เข้าร่วมชุมนุมบุกเข้าไปภายในบริษัท ไทยเดย์ ดอทคอม จำกัด ผู้เสียหายที่ 2

พวกที่เข้าร่วมชุมนุมได้ลงมือขว้างปาขวดน้ำพลาสติก ก้อนหินและไม้ไผ่ เขย่าประตูรั้วเหล็กของบริษัท การกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวเป็นการพยายามบุกรุกและทำให้ประตูรั้วเหล็กของบริษัท อยู่ในสภาพไม่มั่นคงได้รับความเสียหาย จำเลยกับพวกยังได้ร่วมกันปิดล้อมบริษัท ทำให้นายวรรัฐ ภูษาทอง ผู้เสียหายที่ 3 และพนักงานคนอื่นๆ ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท ไว้ภายในไม่กล้าออกมาข้างนอกและไม่สามารถที่จะเดินทางกลับบ้านพักได้ ต้องถูกหน่วงเหนี่ยวกักขังและต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกาย เนื่องจากเกรงว่าเมื่อออกมาข้างนอกบริษัทแล้วจะถูกจำเลยนี้กับพวกทำร้ายตามคำขู่ เหตุเกิดที่บริเวณหน้าบริษัท ไทยเดย์ ด็อทคอม จำกัด ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ขอให้ลงโทษตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215, 310, 326, 328, 358

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มองสถานการณ์ก่อน-หลังเลือกตั้งของสื่อเว็บไซต์-เคเบิล-วิทยุชุมชน (เสื้อแดง)

Posted: 16 Jun 2011 12:34 PM PDT

16 มิ.ย.54 เวทีอภิปรายสาธารณะ “ความท้าทายของสื่อใหม่กับการเมืองไทยช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้ง” จัดโดย มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเสวนาย่อยในหัวข้อเรื่อง "ความท้าทายของสื่อทีวีดาวเทียม-เคเบิล-วิทยุชุมชน และวิทยุท้องถิ่น กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองช่วงก่อนและหลังเลือกตั้ง"

สมชัย สุวรรณบรรณ กรรมการบริหารไทยพีบีเอส ให้สัมภาษณ์ผ่านคลิปวีดิโอเพราะไม่สามารถเข้าร่วมการอภิปรายได้ โดยระบุว่า ก่อนและหลังการยึดอำนาจเกิดสื่อใหม่ๆ ขึ้นมาจำนวนมากจากสภาพแวดล้อมและแรงกดดันทางการเมือง แต่พัฒนาของสื่อใหม่นั้นถึงขั้น “สร้างบรรยากาศแห่งความเกลียดชัง” ให้กระแสข่าวด้านเดียว และกระตุ้นให้ใช้ความรุนแรง จะเห็นได้จากการเกิดเหตุการณ์ที่เชียงใหม่ ถนนวิภาวดี อุดรธานี ปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อต้องมีความรับผิดชอบในการเกิดเหตุการณ์เช่นนี้

“มันไม่รู้จะโทษใคร สื่อที่เกิดแตกออกมาเยอะ เพราะมีการควบคุมกดดันสื่อไม่ให้แสดงความเห็น จากนั้นก็มีกระแสโต้กลับ ความรุนแรงก็มากขึ้น ต่างคนต่างยึดค่ายและถมกันเข้าไปให้รุนแรงขึ้น” สมชัยกล่าว

เมื่อถามถึงที่มาของ “สื่อชนเผ่า” ซึ่งปรากฏในบทความของสมชัยชิ้นหนึ่ง เขาระบุว่า หมายถึงเผ่าพันธุ์ทางความคิด ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากเหตุการณ์ในรวันดาที่ใช้สื่อสร้างความเป็นใหญ่ในเผ่าพันธุ์ของตนเองและกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง เทียบได้กับเวทีปราศรัยที่มีถ่ายทอดสดกันในไทย

ส่วนเรื่องการแทรกแซงสื่อนั้น เขาระบุว่ามีมาทุกยุคสมัยและจึงเป็นเหตุให้ก่อเกิด TPBS ซึ่งอันที่จริงไม่ต้องออกฎหมายตั้งTPBS ก็ได้ แต่ต้องให้สื่อทุกชนิดตั้งมาตรฐานวิชาชีพ

“ถ้าเราตั้งความคิดเพียงอย่างเดียว เป็นเจ้าลัทธิใดลัทธิหนึ่งอย่างเดียว คนอื่นขัดแย้งไม่ได้ มันเป็นสื่อเฉพาะกิจ ไม่ใช่สื่อมืออาชีพ สื่อมืออาชีพต้องมีความเป็นธรรม มีความสมดุล ให้คนเห็นต่างใช้พื้นที่เดียวกันได้”

กรรมการไทยพีบีเอส กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม การเกิดสื่อใหม่ในอีกแง่หนึ่งก็ได้สร้างความหลากหลาย อาจช่วยให้มาตรฐานสื่อกระแสหลักดีขึ้นด้วยซ้ำ เพราะบางสื่อจะตรวจสอบสื่อกระแสหลัก แต่ถึงแม้จะทำสื่อแบบใดก็ควรมีมาตรฐานจริยธรรมสื่อแบบเดียวกันหมด ไม่ผูกขาดความถูกต้อง ส่วนเรื่องวิทยุชุมชนนั้นเห็นว่า ควรจะสื่อสารเรื่องราวในชุมชนมากกว่าจะพูดในเรื่องระดับชาติ

กล่าวสำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน สมชัยเห็นว่านอกเหนือไปจากเรื่องอำนาจรัฐที่เข้ามาควบคุสื่อแล้วยังมีปัญหาวัฒนธรรม “พอจะทำอะไรที่เป็นมาตรฐานของสื่อก็จะประสบวัฒนธรรมแบบไทยๆ เราจะโต้แย้งหรือหาข้อยุติเรื่องนี้ได้อย่างไร ผมก็ยังไม่มีคำตอบ เพราะเราก็คนไทย อยู่ในสังคมไทยและครอบงำโดยวัฒนธรรมแบบไทยๆ”

 

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวอ้างอิงถึงงานวิจัยของคณะที่ศึกษาเกี่ยวกับขบวนการคนเสื้อแดงในเชียงใหม่ ซึ่งหนึ่งในหัวข้อวิจัยคือเรื่องวิทยุชุมชน ที่ผ่านมาวิทยุชุมชนเสื้อแดงโดนวางเป้าให้เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดกความขัดแย้งและชักนำมวลชนไปสู่ความรุนแรง สะท้อนจากความคิดเห็นของสมชัยในคลิปวีดิโอก็จะเห็นชัดเจนว่าเป็นทัศนคติของคนกรุงเทพที่มองเข้าไป

ปิ่นแก้วขยายความถึงวิทยุชุมชนที่ขยายตัวในชนบทว่า ในประเทศไทยวิทยุชุมชนทำหน้าที่หลายอย่าง แต่หลายปีที่ผ่านมามีสถานีจำนวนหนึ่งที่ผันตัวเองมาทำเนื้อหาเกี่ยวกับประชาธิปไตย สิทธิและเสรีภาพ พวกนี้เป็นสิ่อที่ไร้อำนาจ เป็นสื่อที่มักจะตกเป็นเป้าในการควบคุมอย่างหนักจากรัฐ สื่อสารกับสมาชิกในกลุ่มที่ถูกกดขี่จากรัฐ ถ้าจะเทียบเคียงก็ใกล้เคียงกับโบลิเวีย มากกว่าจะใกล้เคียงกับรวันดาดังที่สมชัยเทียบเคียงไว้

ในรวันดาสื่อแบ่งเป็นสื่อยึดโยงสถาบันทางอำนาจของสังคมกับส่วนไม่ได้ยึดโยง สื่อส่วนใหญ่ที่นั่นทั้งสื่อรัฐ สื่อเอกชน เป็นสื่อที่รัฐซึ่งเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ตั้งขึ้น สร้างทัศนคติลบกับชนกลุ่มน้อย ดังนั้นจึงไม่เคยถูกแทรกแซงจากรัฐแต่กลับได้รับการสนับสนุน ช่วงสถานการณ์ตึงเครียดก็ปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชังจนเกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คล้ายวิทยุยานเกราะในยุคหนึ่ง และยังคล้ายกับทีวีบางช่องในบ้านเราที่ทำตอนนี้ แต่การก่อกำเนิดวิทยุชุมชนในชนบทไทยขณะนี้คล้ายโมเดลในโบลิเวีย ซึ่งเริ่มต้นด้วยการเป็นสื่อของกรรมการเหมืองแร่ที่แข็งแรงมากในทศวรรษ 1990 สื่อหลักถูกปิดกั้นโดยรัฐ ภายใน 15 ปีวิทยุชุมชนปีกระจายตัวรวดเร็ว ในยามปกติก็เป็นสื่อทั่วไปในชุมชน แต่ภาวะที่มีความกดขี่ เขาทำหน้าที่รวมคนในการต่อสู้ทางชนชั้น

ปิ่นแก้วกล่าวอีกว่า การจะเข้าใจว่าทำไมเกิดวิทยุชุมชนเช่นนี้ก็ต้องเข้าใจภูมิทัศน์การเมืองไทยของชาวชนบท รัฐประหารปี 2549 ทำให้เกิดการตื่นตัวกับชาวชนบทขนานใหญ่ คนเมืองอาจยินดี แต่ชาวชนบทตั้งคำถามกับกติกา หลักการประชาธิปไตย และมีการโต้ตอบกับสื่อหลักหลายอย่าง 1. ชาวบ้านลุกมาหาสื่อทางเลือก ติดจานดำเต็มไปหมดเพื่อดูเปรียบเทียบ 2.ปฏิเสธการผูกขาดการผลิตสื่อของสื่อกระแสหลัก ผันตัวเองเป็นผู้ผลิตสื่อด้วยตัวเอง มีการใช้สื่ออย่างหลากหลายเชื่อมโยงกัน เปิดศักราชของสื่อทางเลือก เพราะคนชนบทมองว่าเขามีความรู้ทางการเมืองทัดเทียมหรืออาจจะมากกว่าคนกรุงเทพฯ

“จุดสำคัญคือตัววิทยุยึดโยงกับชุมชน มันเกิดจากคนในชุมชน จึงต้องมี accountability กับชุมชน และการสื่อสารก็ไม่ใช่ทางเดียว” ปิ่นแก้วกล่าว

เรื่องความรุนแรงกับวิทยุชุมชน เธอให้ความเห็นว่าที่เชียงใหม่มีกรณีที่ดีเจบางคนระดมคนไปทำนู่นทำนี่ วิทยุชุมชนบางแห่งมีแนวโน้มการใช้ความรุนแรง เรียกว่า “ฮาร์ดคอร์” แต่ถึงที่สุดก็พิสูจน์แล้วว่าคนไม่เอาด้วย อยู่ได้ไม่นาน แต่ที่น่าเป็นห่วงกว่าคือสื่อที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน ไม่สามารถให้ประชาชนตรวจสอบได้ สื่อนั้นมีแนวโน้มก่อความรุนแรงได้มากกว่า

ปิ่นแก้ว ยังวิพากษ์แนวคิดเรื่องมืออาชีพว่าเป็นรูปแบบโบราณ เพราะประชาชนทั้งรับและใช้สื่อเองแล้ว ไม่พึ่งพาสื่ออาชีพ กระทั่งเรียกได้ว่าประชาชนเริ่มทำหน้าที่ civilize [ทำให้มีอารยะ] สื่ออาชีพแล้ว

เธอสรุปในตอนท้ายว่า ปัจจุบันวิทยุชุมชนเปรียบเหมือน “สถาบันชุมชนทางการเมือง” ประเภทใหม่ เหมือนวัด โรงเรียน อีกทั้งหัวข้อทางการเมืองกลายเป็นหัวข้อพูดคุยในชีวิตประจำวันซึ่งนักมานุษยวิทยาไม่เคยเห็นปรากฏการณ์นี้มาก่อน มีสาเหตุมาจากภาวะคับข้องใจของสภาวะชนบทไทย ขณะที่สื่อหลักไม่ทำหน้าที่ พูดในโทนเดียวกันทั้งหมด เขาจึงลุกขึ้นมาทำเองโดยมีบุคลิกของสถานีแตกต่างกันไป

“เรื่อง hate speech อยากมองต่างมุม มันไม่ใช่เป็นแหล่งที่มาหรือก่อให้เกิดความรุนแรงอย่างเดียวเสมอไป ปัจจุบัน hate speech ชอบธรรมน้อยลงเรื่อยๆ คนเดี๋ยวนี้ไม่ได้โง่...สิ่งที่น่ากลัวมากกว่าคือ Loving but manipulative speech เป็น speech ที่เนียน วางอยู่บนความรัก ความสามัคคี สร้างวัฒนธรรมบางอย่างที่ปิดบังความขัดแย้งภายใน บ่อยครั้งใช้สิ่งที่เรียกว่าศีลธรรมมาปิดกั้นการใช้เหตุผล เป็นก็อกขนาดใหญ่ที่ปิดเสรีภาพในการแสดงความเห็นไว้ สังคมไทยช่วงหลายปีที่ผ่านมามันจึงเหมือนระเบิดออก อันนี้น่าจะเป็นหัวข้อที่ต้องนำมาคิดด้วยว่ามันนำไปสู่ความรุนแรงอย่างไร” ปิ่นแก้วทิ้งท้าย

 

สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อภิปรายโดยแบ่งเป็น 4 ประเด็นคือ 1.Media Landscape เป็นอย่างไร เราพบว่ามีการขยยตัวของสื่อใหม่อย่างกว้างขวาง เปลี่ยน “สื่อที่มีอยู่ในสังคมไทย” อย่างสำคัญ การเกิดของสื่อใหม่ทลายเส้นแบ่งนี้ ไม่สามารถแบ่งแยกด้วยความเป็นมืออาชีพ ไม่มืออาชีพเหมือนเส้นแบ่งโบราณได้อีก จากสถานการณ์เช่นนี้คนบางกลุ่มเห็นดวงดาว เห็นทางเลือก ส่วนอีกกลุ่มเห็น “โคลนตรม” ทำให้เกิดความวุ่นวาย 

2.สื่อใหม่มีธรรมชาติและข้อจำกัดในตัวเอง คือปัญหาเรื่อง “พื้นที่สาธารณะที่เป็นส่วนตัว” ขณะเดียวกันก็เป็น “พื้นที่ส่วนตัวที่เป็นสาธารณะซึ่งเป็นความขัดแย้งพื้นฐานของสื่อใหม่

3.สื่อใหม่ในสังคมไทยเป็นอย่างไร เวลาพูดถึงมันเรามักจะคุมถ้อยคำที่ทำให้เกิดความเกลียดชังซึ่งมีในสื่อใหม่ค่อนข้างมาก แต่นี่คือภาพสะท้อนของความขัดแย้งที่อยู่ในสังคม เราไม่สามารถแยกความขัดแย้งในสื่อใหม่ออกจากความขัดแย้งทางการเมืองได้ ทำไมต้อง hate speech ถ้ากติกาใหญ่ทางการเมืองเป็นที่ยอมรับได้ระดับหนึ่งข้อถกเถียงในสื่อใหม่ก็จะไม่รุนแรงแบบนี้ กติกาใหญ่ไม่สู้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมันก็ไม่แปลกที่จะเกิดการโต้อย่างดุเดือด นอกจากนี้เราจะเห็นว่าการแสดงความเห็นตามเว็บบอร์ดต่างๆ จะเป็นขยะราว 80% เน้นอารมณ์ ไม่ใช่เหตุผลข้อมูล 

4.แล้วเราจะทำอย่างไร ต้องคิดถึงสื่อใหม่ว่าไม่ใช่เครื่องมือการประกาศเจตนารมณ์เพียงอย่างเดียว ต้องทำให้เกิดการสื่อสารให้ได้ ต้องคิดถึงข้อมูลหรือความรู้ และเป็นไปได้ไหมที่เราจะร่วมกันสร้างหลักการพื้นฐานบางอย่างที่ไม่ควรถูกละเมิดไม่ว่ามีจุดยืนแบบใด เส้นแบ่งต่ำที่สุดคือ การลดทอนความเป็นมนุษย์ของฝ่ายอื่นๆ ซึ่งหมายความว่า ต้องมีขันติธรรม การอดทนฟังคนอื่นที่คิดไม่เหมือนกัน ควบคู่ไปกับเสรีภาพ ขณะที่ถ้าใช้กฎหมาย กฎหมายที่เข้ามาควบคุมยิ่งจะเป็นตัวบีบที่คนรู้สึกว่าถูกละเมิดจะเพิ่มความรุนแรงที่จะโต้กลับ

“สื่อไหนก้าวข้ามเส้นไปเยอะ ก็ทำให้สื่อนั้นเหมือนหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่วางบนแผงแล้วไม่มีใครบริโภค อยากทำทำไปเลย อ่านกันแค่  7 คนนั่นแหละ ตายไปแบบที่สังคมไม่สนใจ”  สมชายกลาว

 

สุเทพ วิไลเลิศ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) ความท้าทายของสื่อทีวีดาวเทียมและวิทยุชุมชนคือการผูกโยงกับสาถนการณ์การเมืองที่ผ่านมา จะเห็นได้ชัดว่าสื่อเปลี่ยนโฉมหน้าไปแล้ว และสื่ออย่างวิทยุชุมชนควรใช้โอกาสนี้พิสูจน์ตัวเองว่ามีวุฒิภาวะในการทำหน้าที่ แม้ยังไม่มีกฎหมายรองรับชัดเจน และถูกมองว่าไม่ใช่สื่อมืออาชีพก็ตาม

สุเทพยังกล่าวถึงสถานการณ์ของวิทยุชุมชนช่วงปีทีแล้วโดยอ้างอิงงานวิจัยสำรวจระดับพื้นที่ของคปส.ว่า เป็นบรรยากาศการควบคุมสื่อใหม่ การควบคุมถ้อยคำ ซึ่งเกิดขึ้นได้กับสื่อเก่า เช่น การส่งสัญญาณโดยไม่ปรากฏหลักฐานอย่างการให้เปลี่ยนถ้อยคำจากการปิดล้อมผุ้ชุมนุม เป็น การกระชับพื้นที่ ส่วนสื่อใหม่วิทยุชุมชน เคเบิลทีวีแม้มีกฎหมายแต่ไม่สามารถให้สิทธิเสรีภาพให้ และยังไม่สามารถให้ใบอนุญาตได้ วิทยุชุมชนกว่า 6 พันกว่าสถานี ขณะนี้เพิ่งได้ใบอนุญาต 1 สถานี นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน วิทยุชุมชนถูกสั่งปิดไป 49 แห่ง เป็นวิทยุเสื้อแดง 48 แห่ง และเป็นวิทยุเสื้อเหลือง 1 แห่ง ขณะที่ในปีนี้ตั้งแต่มกรา-เมษา ถูกปิดไป 24 แห่งเป็นวิทยุเสื้อแดงทั้งหมด แม้เจ้าหน้าที่จะอ้างว่าเกี่ยวพันกับการล่วงละเมิดสถาบันแต่กฎหมายที่ใช้จับกุมคือ พ.ร.บ.วิทยุโทรคมนาคม 2498  

สุเทพให้ความเห็นว่า ในระบอบประชาธิปไตย เป็นสิทธิที่สื่อใหม่สามารถแสดงความชอบนโยบายหรือพรรคใดก็ได้ แต่ควรเปิดพื้นที่ให้คนอื่นด้วย และเป็นหน้าที่ในการวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอนโยบายของพรรคการเมือง โดยเฉพาะเรื่องการแก้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ด้วย อย่างไรก็ตาม สำหรับความหวังในการการตรวจสอบการเลือกตั้ง การนำสถานการณ์ในพื้นที่มาเปิดเผยนั้นวิทยุขนาดเล็กที่ผ่านมาพูดได้น้อยลงเพราะถูกควบคุม มีการเรียกไปแสดงตัวกับหน่วยงานระดับท้องถิ่น บางสถานีมีเจ้าหน้าที่รัฐมานั่งฟังการจัดรายการ  

 

สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม กรรมการผู้อำนวยการสำนักข่าวทีนิวส์ เล่าว่า ที่ผ่านมาทำงานสื่อมาหลายรูปแบบและประสบความสำเร็จ อาทิ วิทยุร่วมด้วยช่วยกันที่ปัจจุบันได้เงินสนับสนุนทั้งหมดจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หรือบริการเอสเอ็มเอสข่าวที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ส่วนตัวมองว่าสื่อไม่มีคำจำกัดความ เพราะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คำจำกัดความที่นักวิชาการตั้งไว้แต่ต้นถูกละลายหายไปหมดด้วยเทคโนโลยี สื่อคืออะไรก็ได้ที่เป็นการสื่อสารจากคนไปถึงคน

สนธิญาณ แนะว่าคนที่มีอาชีพสื่อควรทำมาหากินให้รอด สื่อที่ชาวบ้านทำ วันนี้ไม่มีใครปิดกั้นได้ แต่เมื่อทำแล้ว ผิดกฎหมายอย่าโวยวาย กล้าทำต้องกล้ารับ พร้อมยืนยันว่าส่วนตัวตั้งแต่ทำงานมา ไม่เคยบิดเบือน ไม่เคยใช้คำหยาบ โกหก เพ้อเจ้อ เมื่อพูดเรื่องล้มเจ้า เผาบ้านเผาเมือง คนชุดดำ ล้วนมีหลักฐานว่าใครทำอะไรที่ไหนทั้งสิ้น โดยสิ่งที่เสนอพร้อมยืดอกรับหากมีการฟ้องร้อง

กรรมการผู้อำนวยการสำนักข่าวทีนิวส์ ระบุด้วยว่า หลังเลือกตั้ง หากพรรคเพื่อไทยชนะแล้วไม่มีการนิรโทษกรรมทักษิณ ชินวัตร ก็ไม่มีปัญหา แต่หากมีการนิรโทษกรรม ทีนิวส์จะออกมาต่อต้าน และให้สังคมตัดสินใจ พร้อมย้ำว่า กฎแห่งกรรมจะตรวจสอบเอง

 

ฉัตรชัย ตะวันธวงค์ จากเคเบิลทีวีช่องสปริงนิวส์ กล่าวถึงพัฒนาการของสื่อทีวี 4 ยุค จากยุคทีวีขาว-ดำ ซึ่งเสนอข่าวปกติ ยุคแปซิฟิกของสมเกียรติ อ่อนวิมล ที่การเสนอข่าวมีลูกเล่นขึ้น ยุคไอทีวีที่โทรทัศน์ทำข่าวสืบสวนสอบสวน และต่อมาเป็นยุคเล่าข่าว หรือยุคสรยุทธ สุทัศนะจินดา ว่า ไม่ว่าอย่างไร อิสรภาพของผู้ทำสื่อยังจำกัดอยู่ภายใต้คลื่น การกำกับดูแล กฎหมายที่กำหนดโดยรัฐอยู่

สำหรับการเกิดของสปริงนิวส์นั้น เพราะคิดว่าควรมีหลักตรงกลาง เพราะเชื่อว่าคนดูจะตัดสินเอง หลังการเลือกตั้ง สปริงนิวส์จะไม่เติมความรุนแรง โดยจะไม่เลือกข้อมูลข่าวที่รุนแรงหรือบิดเบือนใส่จอ จะรายงานตรงไปตรงมา ให้สังคมได้ใส่ข้อมูลข่าวสารเพื่อตัดสินใจ

 

 

 

วริษฐ์ ลิ้มทองกุล ผู้อำนวยการเว็บไซต์เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ กล่าวว่า การจะนิยามว่าอันไหนสื่อแท้สื่อเทียม เส้นแบ่งพวกนี้หายไปหมดแล้วในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา หากจะนิยามถามว่าใช้ตรงไหนวัด มีคนเคยถามว่า เว็บผู้จัดการเป็นสื่อแท้หรือสื่อเทียม ถามว่าใช้อะไรวัด เว็บผู้จัดการนั้นมีผู้เข้าชม 3 ล้านไอพีต่อวัน ยูนีกไอพี 3 แสน คนรับสารจะตัดสินเองว่าควรจะเสพหรือไม่เสพสื่อไหน กรณี พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ออกมาพูดว่าสื่อนั้นมีทั้ง "สื่อมวลชน" และ "สื่อไม่มีมวลชน" เขามองว่า สื่อเดี๋ยวนี้กว้างขวางกว่ามาก คนมีทางเลือกเยอะขึ้น ส่วนตัวไม่ได้ดูข่าวทีวีภาคค่ำแล้ว เพราะมองว่าเก่าเกินไป เนื่องจากทำงานกับเว็บไซต์ และรับข่าวแบบเรียลไทม์จากแหล่งต่างๆ แล้ว นี่จึงเป็นจุดว่าทำไมวิทยุชุมชน เคเบิลทีวี มีบทบาทสำคัญ

เขามองว่า คนเข้ามามีส่วนร่วมกับสื่อพลเมืองมากขึ้น ทั้งจากเหตุการณ์ 19 ก.ย.49 ปัจจัยเรื่องเทคโนโลยี เข้ามาลดความสำคัญของสื่อหลักลงเรื่อยๆ ให้คนมีพื้นที่เผยแพร่ข่าวสารของตัวเอง เช่น กลุ่มรณรงค์ต่างๆ ในเฟซบุ๊ก ต่อไป วิทยุชุมชน เคเบิลทีวี เอสเอ็มเอสข่าว จะต้องยึดโยงกับอินเทอร์เน็ตและเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550 ซึ่งมีความพยายามแก้กฎหมายทั้งจากเอ็นจีโอให้อ่อนลง และจากรัฐให้แข็งขึ้น ซึ่งจะกระทบเสรีภาพในการแสดงความเห็น โดยผู้มีอำนาจใช้เข้ามาควบคุมได้ง่ายขึ้น

ต่อคำถามว่า สื่อจะมีบทบาทลดความรุนแรงหลังการเลือกตั้งที่อาจเกิดขึ้นอย่างไร วริษฐ์ ตอบว่า คงไม่มีใครอยากก่อให้เกิดความรุนแรง เพราะฉะนั้นคนก็ต้องทราบว่า สื่อเองบางทีก็อยู่ในภาวะเลือกไม่ได้ บางทีคนเขียนความเห็นมา เราลบไม่ทัน เหมือนอย่างกรณีประชาไท สื่อเป็นแค่ปัจจัย แต่ทุกอย่าง mobilize ด้วยนายทุน อย่างไรก็ตาม หากมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น ในฐานะสื่อก็ต้องรายงาน

 

กฤษณพงษ์ พรมบึงรำ หรือ "อ.กฤษณะ51" ดีเจสถานีวิทยุชุมชนคลื่นคนรักเชียงใหม่ 51 กล่าวถึงบทบาทในฐานะสื่อว่า ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ได้วิจารณ์การทำงานของ กกต. ซึ่งไม่ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้ประชาชนเลยราวกับไม่ต้องการให้คนใช้สิทธิเลือกตั้ง ทั้งที่มีงบประมาณในการจัดการเลือกตั้งถึง 3,800 ล้านบาท โดยส่วนตัวต้องไปหาข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์ แล้วนำมาเผยแพร่อีกต่อ รวมถึงได้รณรงค์ให้ประชาชนไปเลือกตั้ง เพราะเชื่อว่าหากมีคนไปเลือกตั้งน้อยกว่า 70% อาจเกิดการโกงได้

กฤษณพงษ์ กล่าวเสริมว่า หลังเลือกตั้ง หากพรรคที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยซึ่งเคียงบ่าเคียงไหล่คนเสื้อแดงมาตลอดได้รับเลือกตั้งแล้วเกิดปรากฎการณ์ที่อำนาจพิเศษเข้ามาแทรกแซง มั่นใจว่า บทบาทของสถานีวิทยุชุมชนทั่วประเทศ จะทำเหมือนก่อน 10 มี.ค.53 แน่นอน 

กฤษณพงษ์ กล่าวว่า ก่อนการเลือกตั้ง กกต.ระบุว่าห้ามด่าพรรคการเมือง แต่พบว่า เอ็นบีทีกลับมีการด่ายิ่งลักษณ์ ขณะที่วิทยุชุมชน ถูกปิดมาแล้วหลายรอบ ทั้งอ้าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ความมั่นคง ตราบใดที่ยังไม่มีมาตรฐานเดียวกัน ก็จะเกิดแบบนี้ 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

"สัสดีจังหวัดยศนายพัน" อ้าง "สายการบังคับบัญชา" ขอลิสต์หัวคะแนนจาก กกต. จังหวัด

Posted: 16 Jun 2011 11:42 AM PDT

ชาวเน็ตปล่อยหนังสือราชการของสัสดีจังหวัดแห่งหนึ่ง ลงนามโดยทหารยศพันเอก ส่งไปยัง กกต.จังหวัด ขอรายชื่อหัวคะแนนและผู้สนับสนุนของพรรคการเมืองในเขตเลือกตั้งจังหวัด อ้างสายการบังคับบัญชาจะใช้ข้อมูลไว้พิจารณาหากมีปัญหาในพื้นที่ พร้อมย้ำ “จะปกปิดข้อมูลดังกล่าวเป็นความลับ มิให้กระทบกระเทือนต่อหน่วยงานของท่านเป็นอันขาด” 

17 มิ.ย. 54 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในกระดานสนทนาอินเทอร์เน็ตฟรีดอม ซึ่งยังคงถูกปิดกั้นการเข้าถึงโดยกระทรวงไอซีทีนั้น เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. ที่ผ่านมา ได้มีผู้นำหนังสือราชการของสำนักงานสัสดีจังหวัดหนึ่ง ถึงผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัด โดยหนังสือราชการดังกล่าวลงเลขที่ “กห 0481.62/628 ด่วนมาก” และลงชั้นความลับว่า "ลับ" ลงวันที่ 3 มิ.ย. 2554 เรื่อง “ขอรับการสนับสนุนรายชื่อผู้สนับสนุน/หัวคะแนน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต ปี 2554

โดยเนื้อความในหนังสือ อ้างว่าทางสำนักงานสัสดีจังหวัด “ได้รับการประสานจากสายการบังคับบัญชา” เพื่อขอทราบรายละเอียดของ “ผู้สนับสนุน/หัวคะแนน” แต่ละพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง “ซึ่งสายการบังคับบัญชาใช้เป็นข้อมูลพิจารณาหากมีปัญหาเกิดขึ้นในพื้นที่” ในหนังสือยังยืนยันว่า “จะปกปิดข้อมูลดังกล่าวเป็นความลับ มิให้กระทบกระเทือนต่อหน่วยงานของท่านเป็นอันขาด” โดยท้ายจดหมายลงนามโดยนายทหารยศพันเอก มีตำแหน่งเป็นสัสดีจังหวัด สำหรับหนังสือราชการดังกล่าวมีรายละเอียดต่อไปนี้

000

หนังสือ "กห 0481.62/628" จากสำนักงานสัสดีจังหวัดหนึ่ง ไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งระดับจังหวัด ขอรายชื่อหัวคะแนน ซึ่งมีถูกนำมาเผยแพร่ในกระดานข่าวสนทนาอินเทอร์เน็ตฟรีดอม

 

กห 0481.62/628 ด่วนมาก

3 มิถุนายน 2554

เรื่อง ขอรับการสนับสนุนรายชื่อผู้สนับสนุน/หัวคะแนน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต ปี 2554

เรียน ผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัด (...)

ด้วยสำนักงานสัสดีจังหวัด(...) ได้รับการประสานจากสายการบังคับบัญชาเพื่อขอทราบรายละเอียดผู้สนับสนุน/หัวคะแนนแต่ละพรรคการเมือง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตปี 2554 ซึ่งสายการบังคับบัญชาใช้เป็นข้อมูลพิจารณาหากมีปัญหาเกิดขึ้นในพื้นที่ อนึ่ง สำนักงานสัสดีจังหวัด (...) หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงได้รับความร่วมมือจากท่านเป็นอย่างดี ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ และจะปกปิดข้อมูลดังกล่าวเป็นความลับ มิให้กระทบกระเทือนต่อหน่วยงานของท่านเป็นอันขาด


จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ

(ลงลายมือชื่อ) พ.อ. (...)

สัสดีจังหวัด (...)

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“มติชนออนไลน์” แฉ “พ.อ.สรรเสริญ” แอบอ้างบทกวี "นเรศ นโรปกรณ์" เป็นงานของ ร.6 แถมอ่านผิดอ่านถูก

Posted: 16 Jun 2011 09:45 AM PDT

มติชนออนไลน์แฉโฆษกกองทัพบกมั่วบทกวี “เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้งฯ” เป็นพระราชนิพนธ์ ร.6 เผยที่จริงเป็นบทกวีของ “นเรศ นโรปกรณ์” นักหนังสือพิมพ์คนสำคัญและอดีตกบฏสันติภาพ แถมเวอร์ชั่นที่ พ.อ.สรรเสริญ อ่าน มีหลายท่อนที่เพี้ยนจากต้นฉบับเดิม

ตามที่เมื่อวานนี้ (15 มิ.ย.) พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบกแถลงข่าวยืนยันว่า "สุเทพ เทือกสุบรรณ" รองนายกรัฐมนตรีไม่ได้เข้าพบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ก่อนที่พล.อ.ประยุทธ์จะออกรายการพิเศษทางช่อง 5 และช่อง 7 นั้น

ล่าสุด มติชนออนไลน์ รายงานวันนี้ (16 มิ.ย.) พาดหัวว่า “พ.อ.สรรเสริญ ปล่อย "ไก่อู" อ้างพระราชนิพนธ์ ร.6 "เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้ง" แท้จริงเป็นกลอน "นเรศ นโรปกรณ์" เนื้อหาระบุว่า ในวันที่ พ.อ.สรรเสริญ แถลงข่าวดังกล่าวได้อ่านบทกลอนบทหนึ่งด้วยโดย พ.อ.สรรเสริญ อ้างว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6

โดย พ.อ.สรรเสริญ อ่านกลอนบทดังกล่าวว่า

เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้ง ฤๅจะมุ่งมาศึกษา

เพียงเพื่อปริญญา เอาตัวรอดกระนั้นฤๅ

แท้จริงเจ้าควรคิด จงตั้งจิตและยึดถือ

รับใช้ชาติไทยคือ ปลายทางเราที่เล่าเรียน”

 

และยังกล่าวย้ำว่า “ทุกคนที่เป็นทหารยึดมั่นใจเจตนารมณ์อันนี้มาโดยตลอด”

อย่างไรก็ตาม มติชนออนไลน์ รายงานเพิ่มเติมว่า กลอนดังกล่าวไม่ใช่พระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 แต่เป็นบทกลอนของ “นเรศ นโรปกรณ์” นักศึกษามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งแต่งไว้ช่วงปี พ.ศ. 2495 ต่อมารัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม กวาดล้างทางการเมืองครั้งใหญ่ นเรศก็ถูกจับในข้อหากบฏและกระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์

โดยนเรศ แต่งกลอนบทนี้ในช่วง “สายลมแสงแดด” ใช้นามปากกาว่า “มนู นโนรมย์” ซึ่งนักศึกษาสมัยนั้นไม่สนใจเรื่องราวทางสังคม ทั้งที่ประเทศชาติเป็นเผด็จการ เขาจึงแต่งกวีบทนี้ขึ้นมาเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของนักศึกษา มติชนออนไลน์ ได้ตีพิมพ์เนื้อหาที่ถูกต้องของกลอนดังกล่าวด้วยคือ

"เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้ง หรือจะมุ่งมาศึกษา

เพียงเพื่อปริญญา เอาตัวรอดเท่านั้นฤๅ

แท้ควรสหายคิด และตั้งจิตร่วมยึดถือ

รับใช้ประชาคือ ปลายทางเราที่เล่าเรียน”

 

โดยมติชนรายงานว่า ท่อนที่ พ.อ.สรรเสริญ อ่านว่าแท้จริงเจ้าควรคิด” และ “รับใช้ชาติไทย” ที่จริงคือคำว่า “แท้ควรสหายคิด” และ “รับใช้ประชา” โดยที่ใช้สองคำดังกล่าวเป็นเป็นบทกวีของ “ฝ่ายซ้าย”

ผู้สื่อข่าวประชาไท รายงานเพิ่มเติมว่า นเรศ นโรปกรณ์ หรือชื่อเดิม สิงห์ชัย มังคนรา เกิดเมื่อ 1 กรกฎาคม 2473 ที่ จ.สุรินทร์ ก่อนเข้ากรุงเทพฯ มาเรียนวิชานิติศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เคยถูกจับในกรณีกบฏสันติภาพเมื่อปี พ.ศ. 2495 พร้อมกับนักเขียน และนักหนังสือพิมพ์หลายคน

นเรศ นโรปกรณ์ ถือเป็นนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ และกวีชื่อดังในช่วงทศวรรษ 2500 เคยทำงานที่สยามรัฐรายวัน และเขียนบทความ “กงล้อการเมือง” ผลงานที่สร้างชื่อคือเขียนคอลัมน์ “สาวเอยจะบอกให้”

หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ตามมาด้วยการทำรัฐประหารของ พล.ร.อ.สงัด ชะลออยู่ มีการประกาศปิดหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ จากนั้นมีการตั้งคณะกรรมการตรวจข่าวหนังสือพิมพ์ ตั้งคณะกรรมการพิจารณาเงื่อนไขการอนุญาตให้ออกหนังสือพิมพ์

จากนั้นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับต้องไปรายงานตัวเพื่อรับเงื่อนไขการออกหนังสือพิมพ์ โดยคณะกรรมการได้ตั้งเงื่อนไขสำหรับหนังสือพิมพ์ที่จะออกต่อไปว่า จะต้องห้ามนักหนังสือพิมพ์บางคนในหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับทำงานในหนังสือพิมพ์ต่อไปอีก โดยมีนักเขียน นักหนังสือพิมพ์หลายคนที่ถูกห้าม  เช่น มานิจ สุขสมจิตร สมบูรณ์ วรพงษ์ สุวัฒน์ วรดิลก เป็นต้น รวมทั้ง “นเรศ นโรปกรณ์” ที่ถูกห้ามเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์เดลิไทม์

สำหรับนเรศ นโรปกรณ์เสียชีวิตในวัย 79 ปี ด้วยโรคปอดติดเชื้อ เมื่อ 8 มี.ค. ปี 2552 ที่ จ.จันทบุรี

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสวนา: ‘สื่อใหม่’ ปีศาจหรือนักบุญ กลางกระแสเลือกตั้ง จุดหรือดับความรุนแรง

Posted: 16 Jun 2011 09:44 AM PDT

16 มิ.ย.54 ในการเสวนาหัวข้อ "สื่อออนไลน์ กับขอบเขตการแสดงความเห็นและการหาเสียงทางการเมือง"* 

จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท กล่าวว่าสังคมไทยเริ่มตื่นเต้นกับสื่อใหม่จริงจังน่าจะหลังจากปรากฏการณ์ที่มันมีบทบาทให้โอบามาชนะ ขณะที่ในเอเชีย พรรคอัมโนเคยครองที่นั่งเกือบทั้งหมดก็เริ่มถูกสั่นสะเทือน มีการวิเคราะห์ว่าฝ่ายค้านมีที่นั่งเพิ่มขึ้นได้จากการทำงานของสื่อออนไลน์ที่มีสิทธิเสรีภาพมากกว่าสื่อหลัก

เวลาพูดถึงสื่อใหม่ เรามักพูดเรื่องการไร้ขอบเขต แต่พอนำเรื่องสื่อใหม่มาประกบกับการเลือกตั้ง เรากลับมุ่งพูดถึง “ขอบเขต” เหมือนการบอนไซตั้งแต่ยังไม่โต บอนไซการสร้างสรรค์สื่อใหม่ให้เป็นประโยชน์ ในต่างประเทศการใช้สื่อใหม่หาเสียง เขาไม่ได้มองสื่อในฐานะเป็นเครื่องมือ แต่เข้าใจธรรมชาติสื่อใหม่ กำหนดกลุ่มเป้าหมายชัดเจนขนาดคนอายุ 18-22 ปี เพราะเคยเป็นกลุ่มเสียงเงียบในอเมริกา แต่ในบ้านเรายังไม่เห็นพรรคไหนใช้สื่อใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ อาจเพราะตัวเลขของประชากรที่ใช้สื่อใหม่อาจยังไม่มีนัยยะสำคัญที่จะตื่นเต้น

เธอยืนยันว่า สื่อใหม่มีประโยชน์ เพียงแต่พอตื่นตระหนกกับมันก็มักจะเน้นไปในทางควบคุม ทั้งที่มันเปิดโอกาสให้คนมีส่วนร่วม สร้างการถกเถียงแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะในช่วงเวลาของการเลือกตั้ง คนจะใช้เครื่องมือนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พลเมืองในพื้นที่ต่างๆ สามารถทำได้ในการติดตามและตรวจสอบการเลือกตั้งอย่างรวดเร็ว

“แต่เรามัวพะวงอยู่กับเรื่องถ้อยคำที่หลั่งไหลอยู่ในช่วงนี้ โดยไม่คิดจะใช้ประโยชน์จากมัน” จีรนุชกล่าวและว่า การที่ กกต.ไม่ควบคุมนั้นเป็นเรื่องดีและน่าจะทำงานร่วมกับภาคพลเมืองในการติดตามตรวจสอบในช่วงหาเสียงด้วยซ้ำ

ผอ.ประชาไทกล่าวต่อว่า ประเด็นสุดท้ายคือเมื่อ 2 วันที่แล้ว ผบ.ทบ.ออกรายการทีวี ช่อง 5 และช่อง 7 แม้ไม่ได้ดูแต่ติดตามจากที่ข่าวรายงานพบว่า ท่านพูดเนื้อหาที่ดี แต่เป็นเนื้อหาดีที่ไม่ได้บอกอะไรชัดเจน ว่ากำลังหมายถึงใคร และการกระทำแบบไหน สิ่งนี้เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน คนมีบทบาทในสังคมลุกขึ้นมาพูดดีๆ ลอยๆ ต้องยอมรับว่าผู้เล่นทางการเมืองไทยมีกองทัพเป็นผู้เล่นสำคัญ การออกมาพูดแปลว่าอะไร

“คิดว่าเราไม่ควรยอมรับ ทั้งในฐานะพลเมือง สื่อใหม่ สื่อมวลชน อาจต้องตั้งคำถามด้วยแทนที่จะเป็นลำโพงเฉยๆ เราควรจะมีบทบาทจะเรียกร้อง accountability ต่อคนพูดลอยๆ แบบนี้ ซึ่งควรเป็นบทบาทของทุกฝ่าย” จีรนุชกล่าว พร้อมทั้งเสริมประเด็น กอ.รมน. โดยระบุว่าเลือกตั้งคราวที่แล้วเป็นไปภายใต้กฎอัยการศึก คราวนี้ก็เป็นไปภายใต้ กอ.รมน. ที่ลงสำรวจในหมู่บ้านไม่ว่าจะอ้างเหตุผลใดก็ตาม ในฐานะวิญญูชนคนหนึ่ง มันเป็นการใช้รูปแบบและแบบแผนเก่าๆ ของหน่วยสื่อแบบเก่าๆ ซึ่งหวังว่าสื่อใหม่ สื่อออนไลน์ หรือกระทั่งสื่อกระแสหลักจะช่วยกันตรวจสอบและติดตามหาความจริง
 

 

ปราปต์ บุนปาน จากเว็บไซต์มติชนออนไลน์ กล่าวว่าพูดในฐานะคนทำเว็บไซต์ข่าวซึ่งเชื่อมโยงมาจากการเป็นสื่อหลัก แต่ต่อยอดจากประเด็นของหนังสือพิมพ์ ภายใต้ความขัดแย้งปัจจุบันเรานำเสนอความแตกต่างทางความคิดที่แตกต่าง พยายามถ่วงดุลกันให้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงสื่อใหม่ในบริบทของสังคมไทยก็มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น คนส่วนใหญ่ยังเข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต เราจึงไม่สามารถอนุมานได้ว่าเสียงในเน็ตจะเป็นกระแสเสียงใหญ่สุด

ปราปต์ ยังกล่าวถึงความล้มเหลวอย่างหนึ่งของสื่อใหม่ในสังคมไทยว่า ช่วงหนึ่งเห็นว่าสื่อใหม่อย่างเว็บไซต์ เว็บบอร์ดจะเป็นพื้นที่การแสดงความเห็นกว้างขวางหลากหลายได้ แต่พื้นที่ดังกล่าวหดหายไปอย่างมีนัยยะน่าสนใจ อย่างเว็บบอร์ดประชาไทก็ต้องปิดตัว เว็บไซต์มติชนเองก็ปิดการแสดงความเห็นท้ายข่าว มีการกลั่นกรองความเห็นอย่างเข้มงวด ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าดีใจนัก เว็บบอร์ดราชดำเนินของพันทิป เมื่อก่อนก็เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนใหญ่ หลากหลาย สุดท้ายกระทู้ในราชดำเนินก็ถูกลดทอนไป ให้เหลือตั้งกระทู้ได้อย่างเดียวโดยไม่สามารถสนทนาต่อได้ ขณะเดียวกันเฟซบุ๊ก ตอนฮิตใหม่ๆ หรือมีการใช้งานทางการเมืองอย่างมากในช่วงเมษา-พฤษภา53 แต่สุดท้ายในช่วงเวลาไม่นานต่อมา พวกเขาเริ่มตระหนักแล้วว่าความฝันไม่ได้สวยงามขนาดนั้น เฟซบุ๊กในแง่ที่ประชาชนธรรมดาจะแสดงความเห็นทางการเมืองก็ยังถูกจำกัด ทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ และทั้งบรรทัดฐานทางสังคมหรือล่าแม่มด นี่อาจเป็นข้อล้มเหลวใหญ่ๆ ของสื่อใหม่ในเมืองไทย ในช่วง 3-4 ปี แม้ว่าตัวเลขต่างๆ จะสูงขึ้นก็ตาม

สื่อใหม่จะเป็นจุดก่อกำเนิดขยายความเกลียดชังทางการเมืองมากขึ้นหรือเปล่า มองในฐานะปัญหาหมดเลย ไม่แน่ใจว่ามันเป็นปัญหาในตัวมันเอง หรือเป็นตัวสะท้อนว่าสังคมไทยมีปัญหาความขัดแย้งในเชิงคุณค่าหลายอย่าง เช่น เสรีภาพในการแสดงความเห็น ประชาธิปไตย มันอาจแค่แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้ง มันอาจไม่ใช่ปัญหาโดยตัวมันเอง

 

อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล จากเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวว่า เคยมีผู้กล่าวไว้ว่าการที่เรากำลังเผชิญปัญหาและแก้ไขไม่ได้ อาจเป็นเพราะกำลังใช้สำนึก (mindset) ของศตวรรษที่ 20 มาแก้ปัญหาของศตวรรษที่ 21 ถามว่ามันคืออะไร ถ้ามายเซ็ทของศตวรรษที่ 20 คือ การเซ็นเซอร์ การปกปิดข้อมูล ความเชื่อหนึ่งเดียว ท้าทายไม่ได้ มายเซ็ทของศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องการเปิดเผยข้อมูล การแชร์กัน พหุภาษา พหุวัฒนธรรม

โลกออนไลน์นั้นไม่แยกขาดจากโลกจริง แต่มันคือ โลกในอนาคตที่เราต้องเผชิญหน้ามันโดยที่ยังไม่รู้จะจัดการยังไง เวลาพูดว่าจะจัดการมันอย่างไร เรื่องหลักการต่างๆ เช่นเรื่องประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ เป็นหลักการที่ควรยึดไว้และควรมีหนึ่งเดียว แต่ขณะเดียวกัน กาละ และเทศะของโลกเน็ตก็เป็นอีกแบบ จึงขอตั้งคำถามว่าการควบคุมมัน จำเป็นไหมที่ต้องคิดให้ต่างจากสื่อหลักหรือสื่อสารมวลชนในศตวรรษที่แล้ว

เมื่อโยงสู่การเลือกตั้ง ก็มีปัญหาของการใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งไม่ได้เชื่อมเฉพาะช่วงเลือกตั้ง เมื่อก่อนอาจมองว่า พ.ร.บ.คอมฯ จำกัดโลกออนไลน์ในเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก แต่ล่าสุด มันกระทบไปถึงการรณรงค์เสนอร่างกฎหมายคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการรักษา เมื่อกลุ่มแพทย์ฟ้องร้องนักรณรงค์ที่นำข้อมูลตัวเลขบางอย่างมารณรงค์ว่าเป็นข้อมูลเท็จ ทำให้ผู้รณรงค์ต้องไปรายงานตัวที่จังหวัดสุรินทร์ตลอด หรือการที่นายจ้างฟ้องแรงงานว่าหมิ่นประมาท และยังฟ้องด้วยพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เรื่องข้อมูลเท็จริง ซึ่งท้ายที่สุดแม้นายจ้างกับลูกจ้างจะไกล่เกลี่ยกันได้แล้วปรากฏว่าความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ยอมความกันไม่ได้เพราะเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน

“มันมากไปกว่าเสรีภาพในการแสดงความเห็น แต่ยังเลยเถิดไปถึงเสรีภาพทางการชุมนุม การรณรงค์ด้วย” อาทิตย์กล่าว

เขาเสนอด้วยว่า หน้าที่ของ กกต.ไม่ควรทำเฉพาะออกใบเหลืองใบแดง ควรส่งเสริมเสรีภาพประชาชนและทำหน้าที่ปกป้อง “ตลาดความคิด” ในสื่อใหม่เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งอย่างมีเหตุมีผล พร้อมทั้งจับตาการทำลายพื้นที่เหล่านี้ เช่น กรณีเว็บมาเลเซียกินีเว็บล่มก่อนเลือกตั้งสัปดาห์เดียว เพราะจับตาเหตุไม่ชอบมาพากล
 

 

ชลรัช จิตไนธรรม ผู้ตรวจการจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า ในสังคมประชาธิปไตยต้องมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น สื่อต้องเสรี มีกระบวนการยุติธรรมที่เที่ยงตรง มีการเลือกตั้ง และมีประชากรที่แอคทีฟ โดยเฉพาะในสังคมที่มีสื่อออนไลน์

โจทย์เรื่องการเลือกตั้ง ทำอย่างไรให้ข้อมูลข่าวสารกับประชาชนอย่างเพียงพอโดย กกต.ก็พยายามใช้เครื่องมือเหล่านี้ให้มากขึ้น ส่วนการสื่อสารในสื่อใหม่นั้น กกต.ไม่ควรควบคุม เพราะเป็นเสรีภาพทางความคิด และในความเป็นจริงก็คุมไม่ได้ด้วย เพราะเป็นสังคมไร้พรมแดน เรื่องนี้ยังไม่มีกติกาชัดเจน แต่ก็มีกฎหมายบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เช่น พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 กกต.สามารถไปขอล็อกไฟล์มาตรวจสอบได้แต่ต้องได้รับการร้องเรียน
 

บุญยอด สุขถิ่นไทย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า นักการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์หลายคนก็ใช้เฟซบุ๊ก แฟนเพจมีคนตามเยอะ นอกจากนี้ยังใช้ยูทูป ฟลิกเกอร์ ไลฟ์สตรีม ซื้อแบนเนอร์ ทำแอพพิเคชั่นสำหรับคนใช้ไอโฟน ซึ่งเชื่อว่ามีผลต่อการสื่อสารในการเลือกตั้ง พร้อมยกกรณีของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เขียนในเฟซบุ๊กก็ได้กระจายไปยังสื่อต่างๆ อย่างที่ต้องการสื่อ

ส่วนเรื่อง hate speech (การพูดที่ก่อให้เกิดการเกลียดชัง) เป็นเรื่องใหม่ อาจารย์บางท่านบอกว่าหากไม่อาฆาตมาดร้าย ไม่ได้ขู่ฆ่ากันก็ไม่นับเป็น hate speech ซึ่งตนคิดว่าไม่ใช่ การดูหมิ่น เหยียดหยาม พูดเท็จให้คนเกลียดชังโดยเจตนาบริสุทธิ์ก็เข้าข่ายเช่นกัน

บุญยอดกล่าวถึงที่พรสันต์หยิบยกเรื่องรัฐธรรมนูญสนับสนุนเสรีภาพการแสดงออก ก็ขอเติมว่าแต่ต้องไม่ลิดรอนสิทธิคนอื่น การยกป้ายขัดขวางการหาเสียง ตะโกนด่าทอ เป็นการจัดตั้ง ต้องมีการควบคุมและดูแลกันและให้ความเป็นธรรมในการหาเสียงที่จะเข้าได้ทุกที่ ไม่รบกวนซึ่งกันและกัน

“เรื่องเฮดสปีช ท่านยังคิดว่านิวมีเดียมีเสรีภาพมากกว่าสื่อปกติไหม หรือเราเห็นว่าทุกสื่อมีเสรีภาพเท่าเทียมกัน..สื่อนิวมีเดีย มีเสรีภาพมากกว่า ด่าใครก็ได้ใช่หรือไม่ มีคนบอกเป็นนักการเมืองต้องรับการวิพากษ์วิจารณ์ แต่จำเป็นต้องรับการด่าด้วยหรือ” บุญยอดกล่าวและว่า สุดท้ายสำหรับประชาชนไม่มีใครควบคุมได้ ถ้าเราไม่พยายามควบคุมตัวเอง การพูดคำหยาบคายก็เป็นเรื่องน่าละอาย ต้องมี responsibility upon the law ด้วย หวังว่าสังคมไทยจะเป็นสังคมที่เรียกร้องความรับผิดชอบที่อยู่เหนือกฎหมายด้วย

จิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า นโยบายพรรคเพื่อไทย มักถูกกล่าวหาว่าทำเพื่อไพร่ เกาะกลุ่มไปที่ประชาชนที่มีรายได้น้อย ซึ่งมีเกินครึ่งประเทศ นโยบายจึงเป็นแบบเพื่อคนจน 80% คนมีฐานะ 20% ส่วนการใช้สื่อใหม่เราวิเคราะห์ว่าในโลกไซเบอร์ผู้ที่มีคอมพิวเตอร์เองมีประมาณ 0.8% เราจึงสื่อสารด้วยสื่อใหม่ประมาณ 10-15% ที่เหลือเราสื่อสารผ่านสื่อหลักเพื่อที่มวลชนจำนวนมากจะเข้าถึงได้ และเน้นการให้ข้อมูลเชิงประจักษ์ และการบอกต่อมากกว่า

 

*หัวข้อย่อยในเวทีอภิปรายสาธารณะ “ความท้าทายของสื่อใหม่กับการเมืองไทยช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้ง” จัดโดย มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2554 ณ อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

‘วรพจน์ พันธุ์พงศ์’ สื่ออิสระในสถานการณ์ฉุกเฉิน

Posted: 16 Jun 2011 08:36 AM PDT

- 1 -

ในบรรดา ‘นักเขียนอาชีพ’ ที่เดินบนเส้นทางนี้อย่างมั่นคงมากที่สุดคนหนึ่ง ‘วรพจน์ พันธุ์พงศ์’ คือคนที่นักเขียนรุ่นหลังใคร่โค้งคารวะได้อย่างสนิทใจ ก้าวย่างชีวิตของเขามีรายละเอียดที่น่าพูดถึง ทั้งความพิเศษในตัวตนที่กล้าลงมือทำอย่างที่นักเขียนจำนวนมากไม่กล้าทำ กล้าเขียนในเรื่องที่นักเขียนบางคนไม่มีความกล้า และความพิเศษในแง่มุมความคิดอันละเมียด ที่ส่งผ่านความลุ่มลึกแต่ตรงไปตรงมาผ่านตัวอักษร อย่างน้อยแฟนประจำตัวหนังสือแปลกๆ ที่นักวรรณกรรมหลายคนส่ายหน้าก็จับกลุ่มก้อนติดตามผลงานของเขาอย่างต่อเนื่อง

มีคนติดตามอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับตัวเขาที่ผลิตงานออกมาอย่างสม่ำเสมอ ทว่าละเอียดแบบมืออาชีพ

สิ่งหนึ่งที่แฟนหนังสือตั้งแต่เล่มแรก ‘เราต่างมีแสงสว่างในตัวเอง’ และกระทั่ง ‘มีตำหนิ’ ยอมคาระเป็นแฟนนานุแฟนให้ผู้ชายหัวล้านร่างเล็กแต่พูดน้อย (กับคนแปลกหน้าและบทสนทนาไม่น่าสนใจ) คือความมีวินัยผ่านความละเอียดแบบมืออาชีพอย่างที่ว่า เพราะ 9 ปีหลังจากหนังสือเล่มแรกเปิดตัวออกมา เขามีงานเขียนบนแผงหนังสือมาแล้ว 15 เล่ม และเล่มที่ 16 กำลังจะถูกเปิดตัวในเร็ววันนี้ (ซึ่งกำลังจะกล่าวถึง) เป็นจำนวนหนังสือที่มากพอจะตอบคำถามได้ว่า วรพจน์ พันธุ์พงศ์ ยืนหยัดความเป็นนักเขียนอาชีพของตนเองอย่างมั่นคงเพียงใด

เพียงแต่วรพจน์อาจจะโชคไม่ดีที่ประเทศนี้ไม่มีรางวัลใดๆ มาการันตีสถานะของนักเขียนอาชีพที่ผลิตงานประเภท ‘ความเรียง’ งานของเขาไม่ได้ถูกให้คุณค่าในเชิงการประพันธ์ หรือด้านวรรณศิลป์ ไม่ถูกจัดเข้าจำพวกงาน ‘วรรณกรรม’ ที่ขีดเส้นใต้ไว้สำหรับ ‘นวนิยาย-เรื่องสั้น-บทกวี’ แม้การใช้ตัวหนังสือในการบอกเล่าความคิดของเขาจะสวยงาม ลุ่มลึก และ ‘มีชีวิต’ แต่ดูเหมือนงานความเรียงหรือสารคดี และแม้แต่บทสัมภาษณ์ดีๆ จะถูกปิดกั้นเสียเรียบร้อยแล้วในโลกของวรรณกรรม แม้นคนเขียนหนังสือประเภทนี้จะได้รับการยอมรับจากนักอ่านรุ่นใหม่ในวงกว้าง แต่ไม่ใช่สำหรับนักวิจารณ์วรรณกรรมเยอเนอเรชั่นเก่า นักเขียนความเรียง-สารคดีจะไม่มีวันได้รับคุณค่าเฉกเช่นนักเขียนนวนิยาย-เรื่องสั้น และกวี จากพวกเขาเหล่านั้น

หรือเพราะคนเขียนหนังสือแบบวรพจน์ไม่ใช่คนวรรณกรรม...

เปล่าเลย ผมไม่ได้กำลังจะบอกว่า วรพจน์ ต้องการสิ่งนั้น!!

- 2 -

“วรพจน์ เปลี่ยนไป” เพื่อนนักเขียนหนุ่มบ่นกับผมแล้วถอนหายใจเฮือกใหญ่

บทสนทนาถึงความเปลี่ยนแปลงในตัวของนักสัมภาษณ์มือดี ถึงท่าทีการแสดงออกทางการเมืองของเขาผ่านงานเขียน ความเรียง/บทความ/บทกวีนับจำนวนเกินครึ่งร้อยชิ้นในรอบสอง-สามปีมันบ่งว่าอย่างนั้น

แล้วไง –ผมนึกในใจ , วรพจน์จะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน คนแบบเขาควรคารวะสิ่งใด? ...งาน หรือ จุดยืนทางการเมือง

ปฏิเสธไม่ได้ว่า กระแสของนักเขียนเสื้อแดงมาแรง และยิ่งแรงหนักขึ้นในสื่อเว็บไซต์ในเครือ ASTVผู้จัดการ ครั้งหนึ่งที่มีการลงชื่อเพื่อแสดงออกถึงจุดยืนบางอย่าง วรพจน์ พันธุ์พงศ์ถูกกางชื่อหราพร้อมกับวัฒน์ วรรลยางกูร คำสิงห์ ศรีนอก เดือนวาด พิมวนา ไม้หนึ่ง ก.กุณที ฯลฯ คอลัมนิสต์ระดับมือขวาของเจ้าสำนักบ้านพระอาทิตย์ถึงกับจั่วหัวคอลัมน์ว่า “ความเป็นคนของนักเขียนเสื้อแดง” คนเข้ามาแสดงความเห็นนอกจากด่าทอเหล่านักเขียนตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นพ่อสนุกปากแล้ว หลายคนที่เคยเป็นแฟนหนังสือวรพจน์ก็สาดโคลนเข้าใส่ว่าเขารับเงินทักษิณเข้าให้แล้ว

หลังอ่านเจอคอลัมน์ดังกล่าว ผมโทรหาวรพจน์ทันทีเพื่อถามความเห็น นักเขียนหนุ่มที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นคนข่าวในค่ายผู้จัดการมาก่อน เคยเป็นลูกศิษย์สนธิ ลิ้มทองกุลมาแล้วหัวเราะร่วน “คนที่เขียนว่าเรา มันเคยลงไปปัตตานีหรือเปล่า?”

ประโยคนี้มีความสำคัญ ไม่ได้ความหมายว่าวรพจน์หลงตัวเองว่าเจ๋ง เพราะไปใช้ชีวิต 1 ปีเต็มอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อผลิต ‘ที่เกิดเหตุ’ ออกมา 1 เล่ม แต่เขากำลังตั้งคำถามถึงความ ‘แฟร์’ ในการใช้ชีวิตในฐานะ ‘สื่อ’ ด้วยกัน เป็นจุดยืนแบบ ‘ใกล้ตา ใกล้ตีน’ คนหนึ่งมีสื่ออันทรงพลัง มีปากกา (แป้นคีย์บอร์ด) เป็นอาวุธ ชี้นำคนอ่านได้เป็นจำนวนนับแสนเพียงวินาทีที่เขาคลิกปุ่ม Enter ส่วนอีกคนใช้เวลาเพื่อเดินทางไปคุย เก็บข้อมูล และนอนครุ่นคิดใคร่ครวญว่าจะสื่อสารแบบใดให้มันถูกต้องแต่มีพลังมากที่สุดเพื่อให้คุ้มค่ากับข้อมูลและต้นทุนที่เสียไป ไม่นับการหาเงินเพื่อตีพิมพ์และช่องทางไปสู่คนอ่าน

ไม่ต้องพูดถึงข้อเท็จจริง เพียงแค่นี้ก็พอรู้ว่าใครมีโอกาส ‘มักง่าย’ ในการสื่อสารมากกว่า

ผมรู้จักวรพจน์เมื่อครั้งเขาลงไปใช้ชีวิตและทำงานใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กิน ดื่ม นอน และออกไปทำงานด้วยกันก็บ่อยครั้งจนพอทำความรู้จักวิธีคิดและมุมมองต่อโลกรอบข้างพอสมควร ถัดจากนั้นเราแยกจากกัน ทราบว่าเขาไปโผล่ที่เวทีพันธมิตรฯ กลางสนามหลวง เข้าป่าอุ้มผางนานหลายเดือน ก่อนมารู้อีกครั้งว่าเขาเดินเลียบๆ เคียงๆ อยู่ข้างผู้ชุมนุมเสื้อแดงตั้งแต่ผ่านฟ้าถึงราชประสงค์ ติดตามอ่านงานคอลัมน์ใน GM ก็พอรู้ที่มาที่ไป (และมันก็หายไปจาก GM ปัจจุบันซึ่งผมไม่ทราบสาเหตุ ใครสนใจต้องถาม บก.โตมร เอาเอง) แต่มันไม่สำคัญเท่ากับสิ่งที่เขาเรียกว่า ‘หน้าที่’

“เราเป็นสื่อ เลือกมาเป็นสื่อมวลชน ถ้าไม่ออกไปฟังเสียงประชาชนก็ไม่รู้จะเป็นไปทำไม” ครั้งหนึ่งเขาเคยพูดกับผมอย่างนั้น และพอทราบคร่าวๆ ถึงเหตุผลว่า เขาเขียนเรื่องเสื้อแดงค่อนข้างมาก เพราะมองเห็นพื้นที่ส่วนนี้หดแคบ และถูกกดพลิกให้เห็นความจริงอีกด้าน –ด้านเดียว

ผมชอบคำอธิบายของเขา

“ก่อนหน้านั้นผมเคยเข้าไปติดตามเฝ้าดูการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอยู่นาน เขียนบทความเสนอความเห็นทั้งเห็นด้วยและเห็นแย้งก็หลายหน จนกระทั่งวันหนึ่งพบว่าที่ที่ยืนอยู่นั้นเริ่มแออัด หายใจไม่สะดวก ผมก็เดินออกมา

ถูกต้อง, เครือข่ายด้านข่าวสารของพันธมิตรฯ แข็งแรงอยู่แล้ว ไม่มีประโยชน์ที่ผมจะไปทำซ้ำซ้อน

ตรงกันข้ามกันคนเสื้อแดง”

คำอธิบายเช่นนี้ ยากที่สื่อมวลชนคนข่าวทั่วไปเข้าใจ โดยเฉพาะนักข่าวที่รับเงินเดือน และมีคนจ่ายเงินเดือนซึ่งรับเงินค่าโฆษณามาจากกลุ่มทุนชนชั้นนำของประเทศ

- 3 -

ในระยะเวลาอย่างน้อยก็สองปีที่ผ่านมา หลายคนคุ้นกับชื่อวรพจน์ พันธุ์พงศ์ ในหน้าหนังสือมติชน สุดสัปดาห์ กลางช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ “กวีกระวาด”

เป็นชื่อที่ครั้งหนึ่งเคยลงบทกวีคู่กับขาประจำอย่าง ‘ไม้หนึ่ง ก.กุณที’ แต่หลังจากไม้หนึ่งติดปีกบนเวทีเสื้อแดงในฐานะกวีราษฎร ก็หายไปจากหน้ามติชนสุดสัปดาห์ (มาโผล่ที่หน้าหน้าประชาไทแทน) ชื่อของเพื่อนรักร่วมรุ่นจากรั้วทับแก้วอย่าง วรพจน์ก็ก้าวเข้ามาเป็นขาประจำ ก่อนหน้านี้หลายคนไม่เคยรู้ว่า วรพจน์เขียนบทกวีเป็น แต่สุดท้ายเขาก็ทำให้เห็นว่าบทกวีของเขาคมคาย มีมิติ และมีเสน่ห์เฉพาะตัวคือไม่ต้องตีความหรือต้องปีนบันไดอ่าน (อาจเพราะเรื่องที่เขาต้องการสื่อสารไม่ใช่กับนักเขียนหรือกวีด้วยกัน)

วรพจน์ทำให้เห็นว่า โลกของคนเขียนหนังสือมันเป็นโลกเดียวกัน ไม่ได้แบ่งแยกโลกของกวี นวนิยาย หรือความเรียง สารคดี เส้นแบ่งบางๆ อยู่ที่ความชอบ ความเคยชินมากกว่า

งานประเภทที่นักวรรณกรรมรุ่นเก่าส่ายหัว อย่าลืมว่ามันได้รับความนิยมกับคนอีกรุ่น เมื่อเทียบกับงานวรรณกรรมที่เป็นเรื่องแต่งก็พบว่า ต่างกันที่วิธีการหยิบใช้เทคนิคมาสื่อสาร แต่มีเป้าหมายเดียวกัน

วิถีของวรพจน์ พันธุ์พงศ์ จึงเป็นวิถีที่นักเขียนรุ่นใหม่ควรเรียนรู้ทำความเข้าใจ อย่างน้อยก็การดำรงตนในฐานะคนเขียนหนังสือที่เคารพตนเองเท่าๆ กับเคารพประชาชน

วิถีของเขาจึงเป็นวิถีที่สื่อมวลชนอาชีพควรทำความเข้าใจถึงสถานะของ ‘สื่ออิสระ’ ที่ไม่มีบัตรนักข่าว นอกจากเครื่องบันทึกเสียงพกพา 1 เครื่อง สมุด 1 เล่ม ปากกา กล้องถ่ายรูปราคาถูก เอ่อ...และ น้ำดื่ม 1 ขวด

- 4 -

หนังสือ ‘ สถานการณ์ฉุกเฉิน’ มาอยู่ในมือผมนานนับเดือนแล้ว เป็นผลงานถัดมาจาก ‘มีตำหนิ’ รวมความเรียงเล่มล่าที่ได้รับคำชมอย่างกว้างขวางจากแวดวงนักอ่านส่วนใหญ่ที่ติดตามวรพจน์ต่อเนื่อง

คมเข้ม (แข็ง) จริงจัง และซีเรียสกว่าทุกเล่มที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีเรื่องเกี่ยวกับมุมมองทางการเมืองอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ทั้งหมด แต่ก็เทียบกันไม่ได้กับ ‘สถานการณ์ฉุกเฉิน’ หนังสือที่มีรูป ‘ไพร่ ตาก’ ยืนชูสองมือบนหน้าปก

หนังสือเล่มนี้นอกจากวรพจน์แสดงจุดยืน มุมมอง และวุฒิภาวะทางการเมืองของตนอย่างเข้มข้นและตรงไปตรงมา การแสดงความเห็น ความคิด และการใคร่ครวญถึงบทบาทจุดยืนทั้งกับตนเองและบทบาทของสื่อมวลชนนับว่ารอบด้านและลึกซึ้ง อยากให้คนที่เรียกตนเองว่า ‘สื่อ’ ได้อ่านกัน

ไม่ได้เรียกร้องในพันธกิจร่วมในจุดยืนทางการเมือง แต่วรพจน์พูดถึงหน้าที่ของความเป็นสื่อ –สื่อที่เชิดชูความอิสระยิ่งกว่ามงกุฎทองคำ แต่เมื่อมองเทียบกับวรพจน์ สื่ออิสระของจริงที่ไม่มีต้นสังกัดและบัตรนักข่าวนอกจากหัวใจของตนเอง ก็น่าจะเข้าใจว่าสื่อมวลชนกระแสหลักนั้น ความอิสระได้ตายจากไปนานแล้ว

นอกจากความเรียง หนังสือเล่มนี้ยังรวมเอาบทกวีจำนวนมากที่เขาเขียนขึ้นอย่างต่อเนื่องในรอบสองปีที่ผ่านมาและส่วนใหญ่ตีพิมพ์ไปแล้วในมติชนสุดสัปดาห์แต่ก็นำมารวมให้อ่านกันอีกครั้ง

และท่ามกลางบรรยากาศการหาเสียงของพรรคการเมืองที่ทวีความเข้มข้นคึกคัก วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน เวลา 17.00 น.เป็นต้นไป นอกจากเป็นงานเปิดตัว ‘สถานการณ์ฉุกเฉิน’ อย่างเป็นทางการ วรพจน์ พันธุ์พงศ์ จะนำคุย “สื่ออิสระในสถานการณ์ฉุกเฉิน” ที่ร้านหนังสือก็องดิด ถนนตะนาว เขตพระนคร ร่วมด้วย ยุทธนา อัจฉริยวิญญู ช่างภาพอิสระที่ใช้ชีวิตในป่ามากกว่าเมือง แต่ในห้วงสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อปีก่อน เขาใช้กล้องถ่ายภาพบวกกับมุมมองอันเจนจัดบันทึกภาพหลากหลายและนำมาให้ดูกันในงาน

ผมพลิกหนังสือเล่มนี้ไปมา พบว่ามันไม่ได้ตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์โอเพ่น ของภิญโญ ไตรสุริยาธรรมา ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ประจำที่วรพจน์ใช้คลอดหนังสือส่วนใหญ่ของตนเองเหมือนเคย แต่กลับเป็นสำนักพิมพ์น้องใหม่ ‘ banglumpooh’ ซึ่งมาจากชื่ออีเมล์ของเขา หลังสะกิดถาม นักเขียนหนุ่มบอกตรงไปตรงมาว่า “ไม่อยากให้เพื่อนต้องมาได้รับผลอะไรกับเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ของเรา”

ผมเขียนถึงวรพจน์มาอย่างยืดยาว ก็เพราะผมเข้าใจจุดยืนทางการเมืองของเขา แม้ว่าหลายเรื่องผมกับเขายังมีความแตกต่างทางความคิด จุดยืนบางด้านยังเป็นจุดที่เราสองคนไม่อาจยืนร่วมกัน แต่ในสถานะของนักเขียน ในคมคิดของ ‘สื่ออิสระ’ แบบวรพจน์ และ ‘สถานการณ์ฉุกเฉิน’ ของบรรยากาศทางสังคมขณะนี้รวมไปถึงแวดวงสื่อสารมวลชน ผมยกมือสนับสนุนเขาอย่างจริงจัง

เพราะยังจำมันได้ ขณะห่ากระสุนถูกกราดใส่คนบริสุทธิ์กลางเมือง หนุ่มสาวบางคนสำลักเสรีภาพอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ สื่อบางสำนักกำลังกระตุ้นยอดโฆษณาเดือนใหม่ นักธุรกิจกลุ่มหนึ่งร่วมสบถใส่การชุมนุมไร้สาระ แต่สื่ออิสระบางคนกลับต้องกระเสือกกระสนรายงาน...สถานการณ์ฉุกเฉิน

นั่นแหละ ‘วรพจน์ พันธุ์พงศ์’ ที่เสธ.ไก่อูไม่รู้จัก.

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

กสม. รับติดตามนโยบายยุบ-ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก

Posted: 16 Jun 2011 08:29 AM PDT

ตามที่นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ เลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือก และคณะเข้าพบ กสม. เพื่อขอให้ตรวจสอบและคุ้มครองสิทธิชุมชนต่อนโยบาย ยุบ ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2554 โดยมีกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ และนางวิสา เบ็ญจะมโน พร้อมด้วยนางเอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้ชำนาญการประจำสำนักงาน กสม. เป็นผู้รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวแล้วนั้น

16 มิถุนายน 2554 ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตัวแทนจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือก นำโดย นายชาตรี เนาว์ธีรนนท์ กรรมการสภาการศึกษาทางเลือก และคณะ เดินทางเข้าพบนายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อแจ้งความคืบหน้าและให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จากผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ปัญหาและทางออกการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก 7,000 โรง” โดยมีกลุ่มครู อาจารย์ นักเรียน และตัวแทนชุมชนจากภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมประชุมกว่า 300 คน ที่จัดขึ้น ณ ห้องประชุมเธียร์เตอร์ อาคารรัชมังคลา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในวันนี้นั้น มีข้อสรุปว่า ที่ประชุมไม่เห็นด้วยกับการยุบ ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กและต้องให้การจัดการศึกษาเป็นของชุมชน โดยขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเร่งดำเนินการ ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิต่อกรณีดังกล่าว

นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวสะท้อนเรื่องการรวมศูนย์อำนาจทางการศึกษา ซึ่งการศึกษาจะต้องกระจายอำนาจการศึกษาออกไปให้ชุมชน นโยบายดังกล่าวกระทบต่อชุมชนในท้องถิ่น และเป็นการตัดสินปัญหาโดยการรวมศูนย์อำนาจซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดไว้ชัดเจนในมาตรา 87 คือ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และมอบหมายให้นายคมสัน เมธีกุล ผู้อำนวยการกลุ่มงานคดีปกครองเป็นผู้รับผิดชอบศึกษาข้อมูลเพื่อดำเนินการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อไป

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประชาธรรม: เสียงนักโทษ (การเมือง) ต่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม-เรือนจำหลังเลือกตั้ง

Posted: 16 Jun 2011 08:26 AM PDT

"หลังการเลือกตั้งถ้าเปลี่ยนรัฐบาล ผมไม่ได้ต้องการการนิรโทษกรรม แต่ผมต้องการการตัดสินที่เป็นธรรมจริง ตัดสินตามหลักฐาน ถ้าเห็นว่ากระทำผิดก็ตัดสินไปตามนั้น แต่กรณีนี้มันไม่มีหลักฐานแล้วมาตัดสินเรา คือผมไม่ต้องการให้มาตัดสินเข้าข้างเสื้อแดงแต่ขอกระบวนการยุติธรรมที่มัน เป็นธรรมจริง ตัดสินตามความเป็นจริงเท่านั้น"

หลังจากศาลอ่านคำพิพากษาคดีฆ่าพ่อดีเจพันธมิตรที่เชียงใหม่ นายนพรัตน์ แสงเพชร หนึ่งในจำเลยผู้ถูกกล่าวหาถึงกลับเข่าทรุด เพราะเขาเป็นจำเลยคนหนึ่งที่เชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของตน แต่ต้องกลับถูกตัดสินจำคุกถึง 20 ปีเพียงเพราะไปมุงดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการอุทธรณ์

"ผมคิดว่าไม่ได้รับความยุติธรรมในการดำเนินคดี หลักฐานที่ใช้อ้าง คือ อาวุธมีด ซึ่งหมอ รพ.สวนดอก ยืนยันว่าเข้ากับบาดแผลคนตาย แต่ไม่มีรอยนิ้วมือของจำเลยที่ถูกจับของจำเลยทั้ง 5 แล้ววีซีดีที่เปิดให้ศาลดู ที่มีการรุมกันก็ไม่มีภาพจำเลยสักคนเดียว ส่วนของผมมันเป็นภาพนิ่งที่เข้าดูหลังเหตุการณ์จบไปแล้ว"

"กรณีพันธมิตรที่มีรูปภาพขี่รถไล่ทับตำรวจ พยายามฆ่าเจ้าพนักงานชัดๆ ตัดสินรอลงอาญา 2 ปี แต่คดีผมที่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดอย่างชัดเจน กลับถูกจำคุก 20 ปี "

ช่วงนี้เขาได้รับอนุญาตให้ออกจากเรือนจำชั่วคราวเพื่อไปผ่าตัดข้อเข่าที่โรงพยาบาลสวนดอก ถึงแม้เขาจะบอกว่าอาหารและการนอนโรงพยายาบาลดีกว่าในเรือนจำ แต่ขาของเขาก็ยังถูกโซ่ล่ามไว้กับเตียงผู้ป่วย ทำให้เขาไม่รู้สึกต่างจากนักโทษเท่าไหร่

อ้ายนพรัตน์ ถูกจำคุกมา 2 ปีกว่าแล้ว ในระหว่างสู้คดีทั้งในขั้นศาลชั้นต้น และในระหว่างอุทธรณ์เขาไม่ได้ประกันตัวสักครั้งดียว เขาจึงรู้สึกว่าเขาไม่เคยได้รับความยุติธรรม การเข้าไปอยู่และใช้ชีวิตในเรือนจำครั้งแรกในชีวิตทำให้เขาตระหนักได้ว่า การเป็นผู้ต้องหาหรือเป็นเพียงผู้ที่ถูกกล่าวหากลายเป็นมนุษย์ที่มีความเป็นอยู่เหมือนไม่ใช่มนุษย์

"ตอนอยู่ในเรือนจำรู้สึกอึดอัดมาก เพราะนักโทษในเรือนจำเชียงใหม่มันมากกว่ามาตรฐานเรือนจำจะรับได้ เรือนจำเชียงใหม่ทำมาสำหรับรองรับนักโทษ 2,500 คน แต่ตอนนี้มีนักโทษอยู่ 4 พันกว่าคน ห้องนอนแค่เนี่ย (เท่าห้องพยายาบาล) อยู่กัน 70 คน เวลานอนต้องนอนตะแครงนอนหงายไม่ได้ ทุกอย่างมันแย่งกันหมด แย่งกันกิน แย่งกันนอน แย่งกันใช้ แย่งกันถ่ายห้องน้ำมีน้อยแต่คนมันมีเยอะ มันทำให้คนเห็นแก่ตัวนะ การเข้าเรือนจำ"

"และศาลบ้านเรามักจะไม่ให้ประกันตัวนักโทษ มันก็จะอัดอยู่ในนั้น ตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ คดีไม่ถึงที่สิ้นสุดให้ถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ความเป็นจริงเมื่อเราถูกตำรวจจับเราได้กลายเป็นคนผิดไปแล้ว"

อ้ายนพรัตน์ยังโชคดีกว่านักโทษคนอื่นที่ติดคุกในคดีเดียวกัน เพราะเขาไม่มีลูกมีเมีย มีแต่แม่ซึ่งมีน้องสาวคอยดูแลอยู่ ทำให้เขาไม่กังวลเท่าใดนัก แต่เขาก็อดรู้สึกหดหู่ต่อโชคชะตาตัวเองไม่ได้เช่นกัน

"ก่อนที่จะลุกขึ้นมาเรียกร้องประชาธิปไตยก็ไม่คิดว่าจะต้องมาเผชิญอะไรแบบนี้ บางครั้งก็คิดเหมือนกันว่า เหมือนทำดีไม่ได้ดี ประเทศชาติก็ไม่ใช่ของเราคนเดียว แต่ผมก็ยอมรับในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง คุกอาจจะขังผมได้ แต่ขังความคิดผมไม่ได้หรอก"

หลังการเลือกตั้ง นักโทษ(การเมือง) คนนี้ไม่ได้หวังให้พรรคที่จะมาเป็นรัฐบาลนิรโทษกรรม แต่เขาต้องการสู้คดีในกระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรมจริงๆ โดยเริ่มจากการให้เขาได้ประกันตัว

"สิ่งที่ต้องการอันดับแรก คืออยากได้ประกันตัว ทุกคนอยากได้ประกันตัวหมด ซึ่งที่ผ่านมาศาลมักให้เหตุผลว่า กลัวจำเลยจะไปกระทำความผิดเหมือนเดิม เมื่อตัดสินไปแล้วอยู่ระหว่างอุทธรณ์แล้วขอประกันตัว ศาลให้เหตุผลว่า อัตราโทษสูง กลัวหลบหนี"

"หลังการเลือกตั้งถ้าเปลี่ยนรัฐบาล ผมไม่ได้ต้องการการนิรโทษกรรม แต่ผมต้องการการตัดสินที่เป็นธรรมจริง ตัดสินตามหลักฐาน ถ้าเห็นว่ากระทำผิดก็ตัดสินไปตามนั้น แต่กรณีนี้มันไม่มีหลักฐานแล้วมาตัดสินเรา ผมไม่ต้องการให้มาตัดสินเข้าข้างเสื้อแดงแต่ขอกระบวนการยุติธรรมที่มันเป็นธรรมจริง ตัดสินตามความเป็นจริงเท่านั้น"

"ขอให้มีความยุติธรรมเถอะ ถ้ามีความยุติธรรม ผมคิดว่าเสื้อเหลือง เสื้อแดงไม่เกิด ความแตกแยกไม่มีแน่นอน ฟังเสียงประชาชน ไม่ใช่ว่าประชาชนเลือกพรรคนี้มา แล้วมีมือที่มองไม่เห็นมาจัดการ เพราะมองว่าประชาชนยังโง่อยู่ "

เขายังฝากด้วยว่า "นักโทษในเรือนจำก็คือ คน จากการที่ได้อยู่ในเรือนจำ มาเห็นว่า เมื่อรัฐบาลจะตัดงบประมาณ กรมราชทัณฑ์จะโดนก่อน ตอนที่เขาเป็นนักโทษในสมัยรัฐบาลสมชาย อาหารนักโทษตกวันละ 57 บาท แต่พอมาในยุคที่อภิสิทธิ์เป็นนายกก็เหลือ 48 บาท เห็นว่าถ้าใครมาเป็นรัฐบาล เวลาจะตัดงบประมาณ ควรตัดส่วนอื่นที่ไม่จำเป็นก่อน"

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พรมแดนของ free speech และ hate speech อยู่ตรงไหน?

Posted: 16 Jun 2011 08:26 AM PDT

อาจารย์ภาควิชาปรัชญา อักษร จุฬาฯระบุว่า มาตรวัดสำคัญว่าเป็น hate speech หรือไม่คือดูว่ามีการขู่อาฆาตมาดร้ายหรือไม่ ด้านนักวิชาการสื่อตั้งประเด็นชวนคิดจะนับ hate speech เป็น free speech หรือไม่ ส่วนนักกฎหมาย จากเอแบค ยันสิทธิแสดงความเห็นพัฒนาประชาธิปไตย รัฐต้องคุ้มครอง

(16 มิ.ย.54) เวทีอภิปรายสาธารณะ “ความท้าทายของสื่อใหม่กับการเมืองไทยช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้ง” จัดโดย มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ห้อง 201 อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ช่วงเช้า เป็นการอภิปรายใน หัวข้อ "พรมแดนของ free speech และ hate speech ในการแสดงความเห็นทางการเมือง" โดยโสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ อาจารย์ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า free speech หรือเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เป็นสิ่งจำเป็นในระบอบประชาธิปไตย ถ้าไม่มีเสรีภาพนี้ จะเหมือนเราบังคับทุกคนให้คิด-เชื่อแบบเดียวกัน ทั้งนี้ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไม่จำกัดเฉพาะการพูดแต่รวมถึงการแสดงออกด้านอื่นๆ ด้วย เพื่อเปิดโอกาสให้แนวคิดต่างๆ เกิดขึ้นและไหลเวียนได้อย่างเสรี ขณะที่ Hate speech เป็นคำพูดมุ่งอาฆาตมาดร้าย ดูหมิ่น เหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามลักษณะของบุคคล เช่น ชาติพันธุ์ สีผิว ศาสนา ความชอบทางเพศ จัดคนเป็นพวกๆ เพียงเพราะเป็นสมาชิกของกลุ่มนั้นๆ อาทิ การเหยียดผู้หญิงเอเชียในตะวันตก หรือการบอกว่าทุกคนที่เลือกพรรค ก. เป็นคนโง่ ไม่จงรักภักดี ในไทย

อาจารย์ภาควิชาปรัชญาระบุว่า ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อมีคนใช้ free speech สร้าง hate speech ขึ้น โดยมาตรวัดสำคัญว่าเป็น hate speech หรือไม่ คือ ดูว่ามีการขู่อาฆาตมาดร้ายหรือไม่ โดยหากเป็น hate speech สามารถจัดการได้ตามกฎหมาย

โสรัจจ์ยกตัวอย่างภาพจากกลุ่มต่างๆ เช่น ป้ายรณรงค์โหวตโนของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยมองว่า ยังไม่เข้าข่าย hate speech เพราะไม่มีเนื้อหาอาฆาตมาดร้ายขู่ฆ่า แม้จะมีภาพเสือ ควายบนจอแต่เราไม่รู้ว่าใครเป็นใคร รู้แต่ว่าเป็นนักการเมือง หรือภาพจากกลุ่มรณรงค์โหวตโน ที่ตัดต่อหน้าของทักษิณ ชินวัตรมาซ้อนกับใบหน้าของยิ่งลักษณ์ พร้อมคำบรรยายว่า การกลับมาของระบอบทักษิณ หรือภาพอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พร้อมข้อความ อยากบอกโลกว่าจ้าพเจ้าคือทรราช ซึ่งทั้งหมดนี้ โสรัจจ์มองว่า ยังไม่เข้าข่าย hate speech เช่นกัน เพราะเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความเห็นทางการเมืองเกี่ยวกับบุคคลสาธารณะ ซึ่งยังไม่มีการแสดงความอาฆาตมาดร้าย

โสรัจจ์ กล่าวว่า หากถามว่าควรออกกฎบังคับเรื่อง hate speech หรือไม่ อาจต้องตอบให้ได้ก่อนว่า hate speech คืออะไร เพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ทั้งนี้ ทิ้งท้ายด้วยว่า ความเห็นอะไรที่ต่างจากกระแสของคนส่วนใหญ่มากๆ จะตายไปเองโดยธรรมชาติ การไปควบคุมโดยเฉพาะการมีกฎหมายลงโทษคนทำแบบนี้มากเกินไป อาจทำให้เกิดกระแสโต้กลับ มีคนท้าทาย ทำให้วัตถุประสงค์ของการเกิดกฎหมายนั้นๆ เป็นไปในทางตรงข้าม

ชวนคิด hate speech ถือเป็น free speech หรือไม่
พิรงรอง รามสูต รณะนันท์ อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ปัจจุบัน มีกฎหมายสากลหลายฉบับให้ความคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก อาทิ มาตรา 19 ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ มาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญอเมริกัน ทั้งนี้ ในอเมริกา มีข้อยกเว้น 3 เรื่องคือ เรื่องภาพโป๊เปลือยเด็ก การหมิ่นประมาทหรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง และคำพูดยั่วยุที่ทำให้เกิดการต่อสู้และการใช้ความรุนแรง (fighting words)

พิรงรอง ระบุด้วยว่า มีนักวิจัยอ้างว่า hate speech กับ hate crime มีความสัมพันธ์กันโดยตรง โดยยกตัวอย่างการโฆษณาชวนเชื่อของนาซีในเยอรมนีซึ่งนำมาซึ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว หรือกลุ่ม KKK ที่พุ่งเป้าไปที่คนผิวสี

พิรงรอง กล่าวว่า ด้วยลักษณะของอินเทอร์เน็ตที่มีลักษณะข้ามชาติข้ามพรมแดนและความนิรนาม ทำให้กลุ่มที่ต้องการเสนอ hate speech ใช้เป็นพื้นที่ได้ง่าย โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อการเสนอ โดยทำผ่านเว็บไซต์ อีเมล เว็บบอร์ด คลิปวิดีโอ

สำหรับการกำกับดูแล hate speech ในแต่ละประเทศแตกต่างกันไปตามปรัชญาความคิดและวัฒนธรรม ในอเมริกา hate speech ได้รับการปกป้องภายใต้ free speech นอกจากพิสูจน์ได้ว่าเป็น fighting speech จึงจะผิด ขณะที่ในแคนาดา hate speech เป็นความผิด

พิรงรองตั้งคำถามทิ้งท้ายสำหรับสังคมไทยว่า hate speech ถือเป็น free speech หรือไม่ หรือต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้างจึงจะเป็น hate speech สิทธิของเหยื่อ hate speech จะต่ำกว่าเสรีภาพในการแสดงออกไหม และหากจะมีนโยบาย anti-hate speech ในไทยจะมีลักษณะอย่างไรที่จะไม่เลือกข้าง

เตือนรัฐ ระวังละเมิดสิทธิประชาชน
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
กล่าวว่า เสรีภาพในการพูด รับรองไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศคือ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยพลเมืองและสิทธิพลเมือง ดังนั้น จะเห็นว่า ทั้งในระดับประเทศ-ระหว่างประเทศ รับรองสิทธิในฐานะสิทธิขั้นพื้นฐาน นั่นหมายถึงสิ่งเดียวจะพรากสิทธินี้ได้คือ ความตาย

พรสันต์ แสดงความเห็นต่อกรณี กกต. สั่งปลดป้ายโหวตโนของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยตั้งคำถามว่า เป็นการที่ผู้ใช้อำนาจรัฐพยายามปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกหรือไม่ พร้อมชี้ให้เห็นว่า การพยายามปิดกั้นเสรีภาพในการพูด เท่ากับการปิดกั้นเสรีภาพทั้งกระบวน ไล่ตั้งแต่การแสดงความเห็น การแสดงออก และต่อต้านการคิดของบุคคลด้วย

ตามหลักนิติรัฐและกลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐต้องรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน จะจำกัดมิได้ ยกเว้นว่า จำกัดได้โดยสิทธิเสรีภาพแบบสัมพัทธ์ คือ มีเงื่อนไขโดยรัฐต้องอธิบายให้ได้ว่าทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม นอกจากนี้ต้องบังคับใช้เป็นการทั่วไป ไม่เลือกปฏิบัติ และที่สำคัญ ต้องกระทำเท่าที่จำเป็น และทำได้โดยกฎหมายที่ผ่านสภาเท่านั้น

พรสันต์ มองว่า เสรีภาพในการพูด การแสดงความคิดเห็น เป็นเรื่องใหม่มากสำหรับเมืองไทย แม้จะมีระบุในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ฉบับที่ 2 แต่ไม่เคยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเลยว่าคืออะไรกันแน่ พรสันต์ยกตัวอย่างโดยแบ่งคำพูดออกเป็น คำพูดที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญ และคำพูดที่ไม่ได้รับรองตามรัฐธรรมนูญ อาทิ คำพูดที่กระทบกับความมั่นคงของรัฐ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล ปั่นป่วน กระด้างกระเดื่อง ก่อให้เกิดการล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ก่อให้เกิดการต่อสู้ทำร้าย เสียชื่อเสียง โดยผลของการแสดงความเห็นที่อยู่นอกรัฐธรรมนูญ ทำให้สิ่งที่พูดถูกจำกัด หากมีคนฟ้องร้องต้องรับโทษตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ตั้งข้อสังเกตว่า แม้โดยสภาพคำพูดมีลักษณะ hate speech แต่การรับผิดเป็นคนละเรื่อง โดยต้องดูเจตนา-พฤติกรรม-ความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงออกกับผลที่เกิดขึ้น ซึ่งมาตรฐานตรงนี้ไทยยังไม่มี หรือต่ำกว่านี้

สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ในช่วงเวลาปกติ คือ กฎหมายอาญา และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. การได้มาซึ่ง ส.ว. ซึ่งพรสันต์ตั้งข้อสังเกตว่า สังคมไทยไม่มีการบาลานซ์กันระหว่างการหมิ่นประมาทกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยไม่เคยเห็นศาลพูดถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกตามรัฐธรรมนูญเลย ซึ่งเขามองว่า ถ้าศาลกล่าวถึงเรื่องเสรีภาพในการพูด-แสดงความเห็นจะกลายเป็นบรรทัดฐานและทำให้ประชาชนเชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่นเดียวกับผู้ที่สู้คดีที่ควรกล่าวถึงประเด็นนี้ด้วย ทั้งนี้ เพราะหากประชาชนไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น จะเป็นการบั่นทอนประชาธิปไตยในระยะยาว

พรสันต์ ตั้งข้อสังเกตถึงกรณี เลขา กกต.กล่าวกับสื่อเร็วๆ นี้ที่ว่า ห้ามแสดงการคัดค้านการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคต่างๆ ว่า อาจเข้าข่ายละเมิดมาตรา 27, 29 และ 45 ของรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกินกว่าเหตุ ตราบใดที่สิทธิเสรีภาพนั้นยังไม่สร้างความรุนแรง จะห้ามไม่ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ประชาชนก็ห้ามทำลายป้ายสมัครด้วย เพราะแสดงว่าไม่ยอมให้พรรคการเมืองใช้เสรีภาพในการแสดงออกเช่นกัน

พรสันต์ กล่าวต่อว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ในช่วงเวลาไม่ปกติอย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งประกาศได้โดยฝ่ายบริหาร เสี่ยงต่อการเกิดภาวะฉุกเฉินปลอม ขณะที่ในต่างประเทศมีการถ่วงดุลการประกาศสภาวะฉุกเฉิน โดยเขาเสนอว่าควรมีองค์กรตรวจสอบ เช่น ในฝรั่งเศส ศาลปกครองจะตรวจสอบว่าฉุกเฉินจริงหรือไม่ และมีคำสั่งยกเลิกการประกาศได้ ทั้งนี้ หากเกรงว่าจะเกิดตุลาการภิวัฒน์ ก็เสนอให้มีการควบคุมการต่อระยะเวลาการประกาศใช้กฎหมายนี้ โดยนำเรื่องเข้าสภา เพื่อให้ ส.ส.โหวต

โดยสรุป พรสันต์ ระบุว่า ตามหลักแล้ว หากเป็นการแสดงความเห็นที่เป็นไปโดยสุจริต สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้หมด ขณะที่รัฐก็ให้คำนึงถึงมาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญ ว่ารัฐจะต้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ทั้งนี้ หากมีการละเมิดสิทธิในการแสดงความเห็นนั้น เขามองว่าเป็นการไม่มีความอดทนอดกลั้น ไม่รับฟังเสียงข้างน้อย และบั่นทอนการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลด้วย

ช่วงท้าย พรสันต์ ยกคำวินิจฉัยของศาลสูงสุดของสหรัฐฯ ในปี 2004 ซึ่งเป็นการวินิจฉัยในคดีเกี่ยวกับเสรีภาพทางการเมืองที่เขียนไว้ว่า "It is the duty of citizens to criticize the government" (เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล) พร้อมระบุว่า นี่คือระบบของประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐอย่างแท้จริง
 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จดหมายถึงว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิง: ช่วยทำความฝันของประชาชนให้เป็นจริงเถิด

Posted: 16 Jun 2011 08:22 AM PDT

จดหมายฉบับนี้เขียนเพื่อบอกกล่าวถึงความฝันของตนเอง ในฐานะประชาชนคนหนึ่งต่อผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย โดยที่ฉันต้องคำนึงถึงจุดยืนอยู่ข้างประชาชนคนส่วนใหญ่ด้วย ฉันอยากจะเชียร์ให้ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ ไม่อยากให้พรรคประชาธิปัตย์กลับมามีอำนาจบริหารอีก และฉวยโอกาสฟอกตัวเอง

ความฝันของฉันนั้นมีมากมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความเป็นธรรมในสังคม เพราะฉันเห็นว่า ในบ้านเรา คนส่วนน้อยมักลิดรอนเอาทรัพยากรและสิ่งที่มีคุณค่าไปจากคนส่วนใหญ่ ทั้งๆ คนต่างก็ทำงานกันอย่างเหน็ดเหนื่อย หลายคนในชนบท “ดิ้นจนเกล็ดแห้ง” (ปากคำของชาวบ้านจังหวัดสุพรรณบุรี) ต้องตื่นแต่เช้าเพื่อออกไปทำนาและรับจ้างเสริม แต่ไม่ได้รับค่าตอบแทนที่คุ้มค่า ไฉนคนกรุง คนมีตังค์พอเห็นชาวบ้านนิยมชมชอบนโยบายประชานิยม ก็พากันกล่าวหาพวกเขาว่า ชอบพึ่งพิง แบมือขอจากรัฐ ทั้งๆ ที่พวกเขาทำงาน เสียภาษี แม้จะน้อยนิด แต่ถือว่าได้ทำหน้าที่ของพลเมืองเต็มขั้น และเป็นพลเมืองที่กำลังเห็นความสำคัญของการเลือกตั้งมากกว่าที่จะเบื่อหน่ายมัน อย่างที่สื่อมวลชนรับใช้เผด็จการทึกทักเอาเองเสมอมา การเลือกตั้งแห่งยุคสมัยนี้ไม่ใช่ “สายเข็มขัด” รัดกางเกงที่จะมีหรือไม่มีก็ได้

ความฝันเล็กๆ ของฉันที่อยากให้ว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงช่วยทำให้เป็นจริง คือ ยกระดับคุณภาพมาตรฐานของนโยบายประชานิยม เช่น นโยบายเพิ่มค่าจ้างแก่คนรายได้น้อยมากๆ วันละ 400 บาทไปเลย เพราะพวกเขาลำบากกับรายได้และสวัสดิการต่ำมานานแล้ว แทบไม่คุ้มกับการทำงานที่เสี่ยงภัย สัมผัสกับสารเคมีและอันตรายจากเครื่องจักรขนาดใหญ่ จึงต้องเลือกทำโอทีให้ได้เงินเยอะๆ ฉะนั้นการเพิ่มค่าจ้างเป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้มีการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง ลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน นายกฯ พอจะเป็นตาชั่งที่เป็นธรรมในเรื่องนี้ได้หรือไม่

รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนก็ต้องทำตามความต้องการของประชาชน ใครที่แบะท่า ขัดขวางประชานิยมก็ปล่อยให้เป็นเสียงนกเสียงอีกาไปก่อนเถอะค่ะ เพราะคนเต็มแผ่นดิน เขาต้องการค่าจ้างเพิ่ม พวกที่มีทั้งเงิน ทั้งเส้น ทั้งมือยาวกว่า หัดยอมเสียประโยชน์บ้าง และก็น่าจะคุ้ม เพื่อให้คนส่วนมากอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ซึ่งจะส่งผลให้สังคมโดยรวมเข้มแข็งขึ้น ฉันอยากเห็นรัฐที่โฆษณาตัวเองว่าจะบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้ประชาชน ทำตามที่ตัวเองโฆษณา ไม่ใช่ทำแบบขอไปที

และฝากบอกไปยังผู้แทนราษฎรในพรรคของท่านด้วยให้ทำหน้าที่ตรากฎหมายให้เป็นธรรม ที่แล้วมา ส.ส.สักแต่รีบออกกฎหมายโดยไม่ฟังประชาชน ออกกฎหมายละเมิดคนตัวเล็กๆ อย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ และยังมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กฎอัยการศึกบังคับใช้กับประชาชนที่ไม่เคยคิดจะเป็นศัตรูผู้ที่มีอำนาจรัฐ เพียงแค่ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรม จะไปเอาเงินที่ไหนมาซื้ออาวุธสงครามมาสู้กับกองทัพได้ มีแต่คนจนๆ ตีนหนาหน้าบางกันทั้งนั้น

เรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำหลังเลือกตั้งคือ คืนความเป็นธรรมแก่ผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยจำนวนเกือบร้อยศพ บาดเจ็บสองพัน ติดตะรางกว่าสี่ร้อยคน และครอบครัวของพวกเขาเหล่านี้ ด้วยการชดเชย และนำอาชญากรทางการเมืองมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมมาตรฐานเดียว สร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพ หยุดการเซ็นเซอร์สื่อ

ไม่รู้ว่าจดหมายน้อยฉบับนี้จะถึงมือว่าที่นายกฯ หญิงหรือเปล่า ยังไงก็ช่วยเตรียมกล่องรับจดหมายเฉพาะกิจในช่วงนี้เอาไว้ก็ดี เผื่อว่าจะมีใครอื่นอยากเขียนจดหมายน้อยแบบนี้ สื่อสารไปถึงผู้นำข้างบนบ้าง

ขอให้ท่านรอดพ้นจากอำนาจป่าเถื่อนของเสือ หิงส์ เสี้ย กระทิง แรด และขอให้ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น สมกับการออกมาต่อต้านเผด็จการรัฐประหาร เผด็จการอำมาตย์มาตลอด 5 ปี

พจนา วลัย
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพฯ
16 มิถุนายน 2554

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ปีกซ้ายพฤษภา: ทำไมต้องเบอร์ 1 ทั้งพรรคทั้งคน?

Posted: 16 Jun 2011 08:07 AM PDT

ช่วงนี้มีความลังเลและสับสนในหมู่ประชาชนผู้รักประชาธิปไตย และผู้รักความถูกต้องเป็นธรรมทั้งหลายว่า ระหว่าง 1) ควรจะลงคะแนนให้พรรคเพื่อไทยทั้งระบบบัญชีรายชื่อและทั้งผู้สมัคร ส.ส.ระบบเขตของพรรค? หรือว่า 2) ควรจะกาให้พรรคเพื่อไทยเฉพาะอันใดอันหนึ่ง? (เช่น กาให้พรรค แต่ไม่กาให้ผู้สมัครในระบบเขต) เหตุเพราะชอบพรรค แต่ไม่ชอบผู้สมัครระบบเขตที่พรรคส่งมาให้เลือก

เพื่อให้มีหลักคิดในการตัดสินใจที่ดี จึงใคร่ขอแนะนำและชี้แจงว่า

พวกเราต้อง X กาให้พรรคเพื่อไทยทั้งระบบบัญชีรายชื่อ
และต้อง X กาให้ผู้สมัคร ส.ส.ระบบเขตของพรรคเพื่อไทยด้วยพร้อมกัน

ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  1. เราต้องการอะไร จากการเลือกตั้งครั้งนี้ ?
    • เราต้องการให้ตัวแทนของเราไปทำหน้าที่บริหารบ้านเมือง เพื่อนำระบบประชาธิปไตยและสิ่งดีๆ กลับคืนมาให้ประชาชน อันได้แก่ เศรษฐกิจดี, ทำมาหากินคล่อง, รัฐบาลแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านได้อย่างตรงเป้า รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ, ประชาชนมีความเสมอภาค มีสิทธิ์มีเสียง มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันทุกคน ไม่มีใครใหญ่เหนือกว่ากัน บ้านเมืองมีความยุติธรรม ไม่มีระบบอภิสิทธิ์ชน ไม่มีระบบ 2 มาตรฐาน ไม่มีอำนาจพิเศษหรือ “มือที่มองไม่เห็น” มาแทรกแซงการปกครองบ้านเมือง ผลักดันให้ทหาร – ข้าราชการกลับเข้ากรมกอง ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการคิด พูด เขียนและแสดงความเห็นโดยไม่ต้องหวาดกลัว บ้านเมืองปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยและมีความเจริญทัดเทียมประเทศที่เขาพัฒนาและเจริญแล้ว
    • เราไม่ใช่เลือกตั้งแค่ให้ได้ ส.ส.มาให้บริการตั้งเต้นท์แจกน้ำแข็ง – แต่เรากำลังต่อสู้กับอำนาจเผด็จการอำมาตย์ ระบอบประชาธิปไตยที่ก้าวหน้า กติกาที่ยุติธรรมและสิ่งดีๆ ที่เราต้องการข้างต้น ได้ถูกทำลายไปอย่างยับเยินโดยน้ำมือของพวกเผด็จการอำมาตย์ซากเดนศักดินา ดังนั้น การเลือกตั้งครั้งนี้จึงเป็นโอกาสอันดีของเราที่จะแสดงออกว่า ไม่เอารัฐประหาร 19 กันยา 49 ไม่เอาคณะรัฐประหาร ไม่เอารัฐธรรมนูญ 50 ไม่เอาขบวนการ “ตุลาการภิวัตน์” ไม่เอาอำนาจนอกระบบ ไม่เอาการสังหารหมู่กลางกรุงเทพฯ เมื่อ 10 เมษาและ 19 พฤษภา 53 เราต้องการตบหน้าพวกอำมาตย์ซากเดนศักดินา และตะโกนเสียงดังว่า “กูไม่เอามึง(โว้ย)” .......ใช่หรือไม่? ....ถ้าใช่.....
  2. สิ่งที่เราต้องการ จะเป็นความจริงได้อย่างไร ?
    • “พรรคเพื่อไทย” จะเป็น “กุญแจสำคัญ” เพื่อเปิดประตูที่จะนำไปสู่สิ่งที่เราต้องการข้างต้นนั้นได้ ทั้งนี้เพราะเราเห็นว่า พรรคเพื่อไทยเป็นเพียงพรรคเดียวที่มีฝีมือในการบริหารประเทศ และยืนอยู่ข้างประชาชนฝ่ายประชาธิปไตยอย่างชัดเจน แต่ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทยจำเป็นจะต้อง 1) ได้เป็นรัฐบาลพรรคเดียวในการบริหารประเทศ 2) การที่จะเป็นรัฐบาลพรรคเดียวได้ ต้องมี ส.ส. ของพรรคในสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 270 คนขึ้นไป เพื่อทำหน้าที่ยกมือสนับสนุนให้คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีและทำการจัดตั้งรัฐบาล นอกจากนั้น ส.ส.ทั้ง 270 คนของพรรคจะได้ทำหน้าที่ออกหรือแก้กฎหมายที่จะนำไปสู่สิ่งที่เราต้องการได้
    • ดังนั้น ต้องเลือกทั้งคนทั้งพรรค เพราะหากจะให้พรรคเพื่อไทยมี ส.ส. ในสภาฯ 270 เสียงขึ้นไป พวกเราจึงจำเป็นต้องกาเบอร์ 1 ให้ทั้งพรรคในระบบบัญชีรายชื่อ และกาเบอร์ 1 ให้ผู้สมัคร ส.ส.ระบบเขตของพรรค ไปด้วยพร้อมกัน
  3. ทำไม จึงต้องเป็นตัวเลข 270 เสียงขึ้นไป ?
    • เพราะระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ยึดหลักมติเสียงข้างมากเป็นหลัก โดยกติกา หรือกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดว่า
      1. สภาผู้แทนราษฎรจะประกอบไปด้วย ส.ส.จำนวนทั้งหมด 500 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในระบบบัญชีรายชื่อจำนวน 125 คน และมาจากระบบเขตจำนวน 375 คน
      2. ใครจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำการปริหารปกครองประเทศ พรรคใดจะได้เป็นรัฐบาลจะต้องมี ส.ส. ในสภาฯ ยกมือสนับสนุนเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ก็คือ 251 เสียงขึ้นไป
      3. การกำหนดกติกาหรือกฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับนั้น กฎหมายนั้นๆจะต้องได้รับการรับรองเห็นชอบจาก ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร เกินกว่ากึ่งหนึ่ง ก็คือ 251 เสียงขึ้นไป เช่นกัน
    • น้อยกว่า 251 ความหวังก็ริบหรี่ หากพรรคเพื่อไทยได้ ส.ส. ที่มาจากระบบบัญชีรายชื่อและระบบเขต รวมแล้วไม่ถึง 251 เสียง โอกาสที่จะได้เป็นรัฐบาลก็จะริบหรี่ เพราะไม่มีเสียง เพียงพอที่จะยกมือให้คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี และทำการจัดตั้งรัฐบาล การออกหรือแก้กฎหมายที่จะนำไปสู่สิ่งที่เราต้องการก็แทบจะหมดหวังตามไปด้วย พรรคคู่แข่งก็จะอ้างได้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้มอบความไว้วางใจให้พรรคเพื่อไทยมาบริหารประเทศ และพวกเขาจะชิงรวมกับพรรคเล็กพรรคน้อยตั้งรัฐบาล โดยมีพวกเผด็จการอำมาตย์และอำนาจพิเศษนอกระบบ คอยชักใยกำกับการปกครองประเทศอยู่เบื้องหลังเช่นเดิม นายกทักษิณหมดสิทธิ์กลับบ้าน คนเสื้อแดงติดคุกขังลืมและอาจถูกกวาดล้างจับเพิ่มอีกจำนวนมากข้าวยากหมากแพงและระบบ2มาตรฐานจะยังคงอยู่ต่อไป
    • ดังนั้น ต้องได้ขั้นต่ำ 251 และจะให้ดีต้องเกิน 270 ขึ้นไป : หากพรรคเพื่อไทยได้ เกิน 251 เสียง แต่น้อยกว่า 270 เสียง ก็มีสิทธิ์จัดตั้งรัฐบาลได้ แต่จะต้องง้อพรรคอื่นๆให้มาร่วมรัฐบาล ทำให้อำนาจตัดสินใจในการบริหารประเทศและการออกกฎหมายเป็นไปอย่างยากลำบาก ดังนั้น เราจึงต้องช่วยกันสนับสนุนให้พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส. เกิน 270 คน ขึ้นไป โดยการกาเบอร์ 1 ให้ทั้งพรรคในระบบบัญชีรายชื่อ และให้ผู้สมัคร ส.ส.ระบบเขต ไปพร้อมกัน
  4. ชอบพรรค แต่ไม่ชอบผู้สมัครระบบเขตที่พรรคส่งมาให้เลือก จะตัดสินใจอย่างไร ?
    • อย่าลืมว่า เราไม่ใช่เลือกตั้งแค่ให้ได้ ส.ส.มาบริการเต้นท์ – แต่เรากำลังต่อสู้กับฝ่ายเผด็จการอำมาตย์ซากเดนศักดินาที่พวกมันคอยกดทับ กดขี่ ขูดรีด และดูถูกเหยียดหยามประชาชน อย่างพวกเรามาตลอดว่า โง่ที่เลือกพรรคไทยรักไทย เพียงเพราะถูกทักษิณใช้เงินฟาดหัว
    • เราต้องยึดเอาหลักชัยเฉพาะหน้าที่สำคัญก่อน และคิดให้ยาวๆ นั่นคือ ด่านแรก เราต้องให้ พรรคเพื่อไทยได้มี ส.ส.เสียงข้างมากในสภา คือ 270 เสียงขึ้นไป เพื่อทำการจัดตั้งรัฐบาลให้ได้ โดยการเลือกทั้งคนทั้งพรรคก่อน ต่อจากนั้น เรากับพรรคเพื่อไทยยังต้องมีภารกิจร่วมกันฟื้นระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศอย่างแท้จริง รวมถึงระบบความยุติธรรมต่างๆ ที่ได้ถูกทำลายไปด้วยน้ำมือของพวกเผด็จการซากเดนศักดินาจนยับเยิน กลับคืนมาให้จงได้ ขณะเดียวกันก็ค่อยๆ ช่วยกันตรวจสอบ/พัฒนาคุณภาพของ ส.ส. ไปพร้อมๆ กันต่อไป
    • เลือกพรรค แต่ไม่เลือกคน - ด่านแรกมีสิทธิ์แพ้ : หากลงคะแนนให้เฉพาะพรรคตามระบบบัญชีรายชื่อ แต่ไม่ลงคะแนนให้ผู้สมัครระบบเขตของพรรคเพื่อไทย และยังไปกาให้ผู้สมัครพรรคอื่นอีก จะทำให้พรรคเพื่อไทยไม่ได้เป็นรัฐบาล สิ่งที่เราต้องการก็จะยิ่งยากลำบากมากขึ้น
    • ควรให้โอกาส ส.ส.เขต ได้ทำงานพิสูจน์ตัวเอง และเราสามารถตรวจสอบให้เขาทำหน้าที่ที่ดีโดยเรียกร้องให้พรรคควบคุมกำกับดูแลหรือทำการถอดถอนเป็นรายบุคคลได้ตลอดเวลา
    • ส.ส.เขตส่อแววเป็นงูเห่า คือมีท่าทีจะย้ายพรรคหลังได้รับเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยป้องกันปัญหานี้ไว้แล้ว โดยให้ผู้สมัครเซ็นใบลาออกไว้ หากมีการย้ายพรรค ใบลาออกก็จะถูกงัดออกมาใช้ ทำให้หมดสมาชิกภาพความเป็น ส.ส.ในทันที
  5. เราจะช่วยทำให้พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส. จำนวน 270 เสียงขึ้นไป ได้อย่างไร ?
    • ใช้เวลาที่เหลือก่อนวันเลือกตั้ง ช่วยกันชี้แจงอธิบายให้พี่น้องที่ยังลังเลสับสนให้เข้าใจ ให้ได้จำนวนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง อย่าให้ชื่อเราตกหล่น หรือมีคนอื่นมาแทรกอยู่ในบ้านเรา
    • วันที่ 3 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ พากันไปลงคะแนนเพื่อชาติเพื่อประชาชน ด้วยการ กาเบอร์ 1 ให้พรรคเพื่อไทยทั้งในระบบบัญชีรายชื่อ และผู้สมัคร ส.ส.ระบบเขต
    • ช่วยกันจับตาดูว่าพรรคใดโกง ข้าราชการคนใดไม่เป็นกลาง โดยการถ่ายรูป ถ่ายวิดีโอ หรือเก็บหลักฐานเอาไว้เปิดโปงและแจ้งความดำเนินคดีต่อไป ทั้งก่อนวันเลือกตั้งและช่วงการนับคะแนน
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มุกหอม วงษ์เทศ: ยกเลิกมาตรา 112 (และมาตรา 8) : กฎหมายหมิ่นฯ ที่หมิ่นมนุษยชาติและความจริง

Posted: 16 Jun 2011 07:55 AM PDT

เมื่อย้อนกลับไปอ่าน “ประกาศคณะราษฎร” ที่ประกาศเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ก่อนจะมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอีกครั้ง ไม่ว่าใคร-แต่ไม่ใช่ใครก็ได้-ก็อาจรู้สึกได้ถึง “ความจริง” ที่ฉายโชนออกมาจากแทบทุกประโยคของประกาศดังกล่าว และหากใช้มาตรฐานอเนกนิกรสโมสรศิโรราบในยุคปัจจุบันเข้าไปทดสอบ เราก็จะพบว่า “ความจริง” เป็นสิ่งที่ไปด้วยกันไม่ได้โดยสิ้นเชิงกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112, รัฐธรรมนูญมาตรา 8 และวัฒนธรรม/อุดมการณ์กษัตริย์นิยม

หากเป็นความจริงเสียแล้ว จะถือเป็นการดูหมิ่นหรือไม่ดูหมิ่นก็ไม่สามารถล้มล้างความจริงนั้นได้ แต่ในความเป็นจริง เมื่อมีมาตรา 112 (และรัฐธรรมนูญมาตรา 8) ความจริงย่อมไม่อาจปรากฏ หากต้องการให้ความจริงปรากฏ ก็ต้องไม่มีมาตรา 112 (และรัฐธรรมนูญมาตรา 8)

ต่อให้ปฏิรูปแก้ไขมาตรานี้แล้ว การดำรงอยู่ของมาตรา 112 (และมาตรา 8) ซึ่งหมายถึงตัวบทกฎหมายและวัฒนธรรมการตีความ-บังคับใช้ ก็ยังคงเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพและการปิดกั้นความจริงที่ไม่ยอมให้เปิดเผยได้อยู่นั่นเอง หรือหากจะกล่าวให้ถึงที่สุด ตราบใดที่ความจริงบางอย่างและอีกหลายต่อหลายอย่างต้องไม่ถูกขุดคุ้ยและอภิปรายต่อสาธารณะ มาตรา 112 คือเพชรฆาตด่านแรกในการปกปิดความจริง (หรือในด้านกลับ คือการรักษาความลับและความลวง) ต่างๆ ไว้ตลอดไป

ความจริง (รวมทั้งข้อเท็จจริงและการวิพากษณ์วิจารณ์) หลายต่อหลายเรื่องมิใช่ความลับส่วนตัวของใคร แต่โดยจริยธรรมพื้นฐานของสังคมอารยะ มันคือความจริงที่สาธารณะชนต้องมีสิทธิรับรู้ เป็นความจริงที่เกี่ยวพันกับความเป็นไปของบ้านเมือง เป็นความจริงที่ให้คุณให้โทษกับสังคม และเป็นความจริงที่จำเป็นต้องปรากฏเพื่อขับไล่ความหลอกลวงและไถ่โทษผลอันเกิดจากการปกปิดความจริง

กฎหมายเป็นเครื่องมือที่ทรงอานุภาพ แต่ลำพังกฎหมายย่อมมีอิทธิฤทธิ์จำกัด ต่อให้ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษร ก็มีจารีตประเพณีที่สามารถถูกอ้างใช้ได้ตลอดเวลา หากกฎหมายต้องเปลี่ยน สิ่งที่ถูกฝังอยู่ในหัวคนไทยก็ต้องเปลี่ยนไปพร้อมๆ กัน การจะเปลี่ยนหรือไม่-ไม่ใช่ประเด็น เพราะประเด็นคือมันต้องเปลี่ยน สิ่งที่ชวนขบคิดกลับเป็นคำถามไก่กับไข่ อะไรต้องเปลี่ยนก่อน จึงจะเปลี่ยนอีกอย่างได้

ในสภาวการณ์เช่นที่เป็นอยู่นี้ แม้นว่าการสร้างความตื่นรู้และตื่นตัวในระดับกว้างจะมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด ความคาดหวังที่เป็นไปได้จริง-หรือจริงๆ คือความไม่เป็นดังหวัง-ในการรณรงค์เรื่องมาตรา 112 คือการบรรเทาความบ้าคลั่งหรือลดจำนวนคดีเท่านั้น หรืออย่างมากที่สุดก็ขยับเพดานขึ้นอีกเล็กน้อย แต่มิใช่การได้มาซึ่งสิทธิเสรีภาพในความเป็นมนุษย์ ในการแสดงความคิดเห็น และในการนำเสนอ/โต้แย้งความจริงอย่างแท้จริง นั่นยังเป็นสิ่งเกินหวัง

ทว่าการเป็นสิ่งที่แทบจะสิ้นหวังกลับทำให้ชวนนึกหวังว่า บางทีโอกาสเดียวที่ความจริงอย่างถึงที่สุด (หรือมุมมองที่ถูกกดทับต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง) จะถูกประกาศออกมาได้ คือโอกาสแบบประกาศของคณะราษฎร

“ราษฎรทั้งหลาย

เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชย์สมบัติสืบจากพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรบางคนได้หวังกันว่า กษัตริย์องค์ใหม่นี้คงจะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจเหนือกฎหมายอยู่ตามเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้าง ซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน ผลาญเงินของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร กดขี่ข่มเหงราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชชา...

...รัฐบาลของกษัตริย์ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่า ไพร่ บ้าง ข้า บ้าง) เป็นสัตว์เดรฉานไม่นึกว่าเป็นมนุษย์...ถึงคราวเสียภาษีราชการหรือภาษีส่วนตัว ถ้าไม่มีเงินรัฐบาลก็ใช้ยึดทรัพย์หรือใช้งานโยธา แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันเป็นสุข ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นได้โค่นราชบัลลังก์เสียแล้ว

รัฐบาลของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่า หลอกว่าจะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอยๆ ก็เหลวไปหาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำกล่าวคำหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้กินว่า ราษฎรยังมีเสียงการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรยังโง่ คำพูดของพวกรัฐบาลเช่นนี้ใช้ไม่ได้ ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่ เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้เท่าไม่ถึงเจ้านั้นไม่ใช่เพราะโง่ เป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษาก็จะรู้ความชั่วร้ายที่ทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้ทำนาบนหลังคน

ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง...”

น่าสนใจอย่างยิ่งว่า คณะราษฎรตระหนักอย่างแม่นมั่นในหลักการว่า การให้ “ดำรงค์ตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร” นั้นอันที่จริงแล้วยังไม่ใช่ประชาธิปไตย ดังปรากฏในเนื้อความว่า “ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมา ก็จะได้ชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปตัย”

เพราะการปกครองอย่างประชาธิปไตย โดยแท้จริง นั้น “ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้นอยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา”

“ความผิดพลาดบกพร่องของคณะราษฎร” จะเป็นอย่างไรก็ตามแต่ แต่มรดกของคณะราษฎรได้อยู่ในกระบวนการลบเลือน กลบเกลื่อน และกำจัดเรื่อยมา ในขณะที่มรดกสมบูรณาญาสิทธิราชย์กลับอยู่ยงคงกะพันในจิตวิญญาณและวัฒนธรรมการเมืองไทย ในความรู้สึกนึกคิดและภูมิปัญญาไทยร่วมสมัย คณะราษฎรไม่ใช่ผู้หาญกล้านำความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่และประกาศความจริงอันยิ่งใหญ่กลุ่มแรกของสยาม แต่เป็นกลุ่มบุคคลที่เอาเยี่ยงอย่างวัฒนธรรมตะวันตกจนเลยเถิด ชิงสุกก่อนห่าม และหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยไม่สามารถเอาผิดย้อนหลังได้

มาบัดนี้คณะข้ารองพระบาทในประเทศสุกๆ ดิบๆ ที่เต็มไปด้วยพยาธิหลากชนิด เป็นพสกนิกรกลุ่มมหึมากลุ่มเดียวที่สามารถประกาศซ้ำแล้วซ้ำอีกได้อยู่ทุกเวลานาทีว่า ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของกษัตริย์ ไม่ใช่ของราษฎรตามที่เขาหลอกลวง

***

บนดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่โคจรตามแรงโน้มถ่วงในระบบสุริยะซึ่งอยู่ภายในดาราจักรทางช้างเผือก ท่ามกลางความเวิ้งว้างของจักรวาลที่ประกอบไปด้วยดวงดาวนับล้านกับมวลสารระหว่างดาวที่นับไม่ได้ ทว่าไม่ปรากฏมีเขาพระสุเมรุสถิตย์อยู่ ณ แห่งหนตำบลใด ไม่มีมนุษย์คนใดในโลกนี้ที่พึงรอดพ้นจากการวิจารณ์ โดยเฉพาะหากการวิจารณ์นั้นมีข้อเท็จจริงหรือหลักการรองรับอย่างหนักแน่น

ในสังคมที่คนคนหนึ่งถูกลงทัณฑ์สถานหนักเพียงเพราะคำพูดหรือการกระทำในเชิงวิพากษ์วิจารณ์ หรือกระทั่งไม่ได้ทำอะไรผิด ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์กำลังถูกหมิ่น และความป่าเถื่อนกำลังถูกอาเศียรวาทสดุดี

ตราบใดที่สังคมไทยยังไม่สามารถพัฒนาจิตสำนึกทางวัฒนธรรมไปสู่ความเป็น “มนุษยนิยม” ที่เคารพคุณค่าพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ซากวัฒนธรรม “อำนาจ (ศักดิ์สิทธิ์) นิยม” แบบด้อยพัฒนาที่ถูกปลุกเสกจนแผ่อิทธิฤทธิ์แห่งมนต์ดำร่วมสมัยได้วิปลาสยิ่งกว่าในอดีตกาล จะนำไปสู่ความอุบาทว์และเสื่อมทรามอย่างไม่รู้จบ

แม้ในภาวะร่มเย็นสงบสุขสามัคคีสมานฉันท์ ความจริงและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ก็ไม่เคยได้รับการเคารพ ความสำเร็จสูงสุดของระบอบโฆษณาชวนเชื่อ คือการทำให้ทุกคนอิ่มเอิบใจว่า บนผืนแผ่นดินไทย ความจริงไม่สำคัญ และอย่าว่าแต่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่น แม้แต่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตัวเองก็หามีความสำคัญไม่

สิ่งที่สำคัญกว่าความจริงคือความเชื่อ และสิ่งที่สำคัญกว่าศักด์ศรีความเป็นมนุษย์คือความเป็นข้ารองพระบาท

สังคมไทยไม่มีวันจะถกเถียง ไต่สวน และเปิดเผยข้อเท็จจริง/ความจริงจนถึงที่สุดทั้งเพื่อจรรโลงเสรีภาพ เพื่อธำรงความยุติธรรม และเพื่อยกระดับสติปัญญาของสังคมเองได้ เพราะความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาในสังคมไทยทั้งมวลล้วนตั้งอยู่บนความเท็จ การโกหกหลอกลวง และการปิดบังอำพราง โดยมีจารีตและกฎหมายเป็นเครื่องมือแห่งการทารุณกรรม

กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่เพียงเป็นกฎหมายของรัฐเจ้าขุนมูลนายเผด็จการภายใต้หน้ากากประชาธิปไตยที่วางอยู่บนอุดมการณ์ที่ย่ำยีบีฑาหลักการสมัยใหม่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างร้ายแรง แต่ยังมีความคล้ายคลึงกับอุดมการณ์ทางศาสนาแบบ ‘Fundamentalism’ (‘มูลฐานนิยม’ หรือ ‘หวนคืนสู่จารีตดั้งเดิม’ ซึ่งในที่นี้จะใช้ในเชิงเปรียบเปรยเป็นหลัก) ที่เป็นปฏิกิริยาต่อต้านความเป็นสมัยใหม่และการวิพากษ์วิจารณ์ที่คุกคามวิถีความเชื่อ การดำรงอยู่และการปฏิบัติของเหล่าสาวก

Fundamentalism อ้างความเคร่งครัดสูงสุดต่อ “จารีตดั้งเดิม” ทว่าในความจริงแล้วอาจเป็น “ประเพณีประดิษฐ์” และในขณะเดียวกันก็สร้าง “จารีตใหม่” ขึ้นเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของขบวนการ หากจารีตดั้งเดิมในสมัยโบราณเป็นจารีตที่กดขี่ การกดขี่นั้นก็ต้องดำเนินต่อไปในยุคปัจจุบันโดยมิอาจเปลี่ยนแปลงได้ ท่าทีแบบ Fundamentalism มักไม่มีความอดทนอดกลั้นใดๆ ทั้งสิ้นให้กับการวิพากษ์วิจารณ์ ตั้งคำถาม โต้แย้งด้วยเหตุผล เสียดสีหรือยั่วล้อ “ศาสนา” และ “ศาสดา” ของพวกตน

วิถีแบบ (Thai-Ultra-royalist) Fundamentalism เห็นคุณค่าและหลักการเสรีภาพ-ความเสมอภาค-ประชาธิปไตย-สิทธิมนุษยชนแบบตะวันตกเป็นภัยคุกคามที่ต้องต้านทานมิให้รุกล้ำเข้ามาในอาณาเขตของตน ความเป็นตะวันตกที่มีนัยยะโดยตรงต่อการ ‘ถอดถอนหรือลดทอนความศักดิ์สิทธิ์และสภาวะเทพ’ เป็นสิ่งที่สั่นคลอนอัตลักษณ์ของ (Thai-Ultra-royalist) Fundamentalists ที่เทิดทูนและทระนงในความพิเศษไม่เหมือนใครในโลก (unique) อย่างถึงราก

ด้วยอุดมการณ์เยี่ยงนี้ ท่าทีแบบเดียวที่อนุญาตให้มีได้ คือการเคารพสักการะเทิดทูนบูชาโดยศิโรราบ ตัวบทคัมภีร์และองค์พระศาสดาคืออภิมหาสัจธรรมที่ทรงพลานุภาพสูงสุดอันล่วงละเมิดมิได้ เมื่อรู้สึกว่าศาสนาหรือศาสดาของพวกตนถูกแตะต้องโดยพวกใจบาปหยาบช้า ความคลั่งแค้นของพวก (Thai-Ultra-royalist) Fundamentalists หัวรุนแรงมักมีแนวโน้มใช้ความรุนแรงและการก่อการร้ายทั้งทางรูปธรรมและทางสัญลักษณ์ อาทิ การฟ้องข้อหาหมิ่นฯ, การขับไล่ออกนอกประเทศ, การล่าแม่มด-เสียบประจานทางอินเตอร์เน็ท, การแสดงความอาฆาตมาดร้ายทางเฟซบุ๊ค หรือทวิตเตอร์ ฯลฯ หากเปรียบเทียบกับการออกประกาศที่อนุญาตให้ฆ่าคนที่เปลี่ยนศาสนาหรือวิพากษ์วิจารณ์ศาสนานั้นได้อย่างชอบธรรมและถือเป็นวีรกรรม กฎหมายหมิ่นฯ และผู้สนับสนุนกฎหมายหมิ่นฯ ก็มีสปิริตเบื้องหลังคล้ายคลึงกัน

ลัทธิศาสนาย่อมต้องมีสาวก (“เรารักในหลวง”) นักรบศักดิ์สิทธิ์ (“ศีรษะนี้มอบแด่พระเจ้าแผ่นดิน!”), บทบัญญัติศักดิ์สิทธิ์ (รัฐธรรมนูญมาตรา 8, กฎหมายอาญามาตรา 112), พงศาวดาร (พระราชกรณียกิจ พระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพ) และหน่วยงานเผยแพร่คำสอน-เฝ้าระวังความจงรักภักดี-ลงทัณฑ์พวกนอกรีต (กระทรวงทบวงกรม กองทัพ ศาล สื่อฯลฯ)

อะไรคือสิ่งที่ถือเป็น “มูลฐาน” ของ Thai Ultra-royalist Fundamentalists?

ตอบ: ความเชื่อในองค์ความรู้ว่าด้วยเทพกรฌัมและกฤษฎาภินิหารฉบับราชการว่า จริงแท้แน่นอนทุกถ้อยกระทงความอย่างมิอาจปฏิเสธและหักล้างด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริงใดๆ ได้ “ความจริง” ในความเชื่อตามตำนานศักดิ์สิทธิ์จึงเป็นความจริงที่อยู่เหนือการพิสูจน์และตรวจสอบ หากสำหรับชาวคริสต์แบบ Fundamentalist Christian ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolution) ไม่สามารถล้มล้างทฤษฎีพระเจ้าสร้างโลก (Creation) ได้ฉันใด สำหรับชาวไทยแบบ Fundamentalist Ultra-royalist ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์การเมืองและทฤษฎีทางสังคมวัฒนธรรมใดๆ ก็ไม่อาจล้มล้างความเชื่อในตำนานศักดิ์สิทธิ์ว่าด้วยสถาบันกษัตริย์ได้ฉันนั้น

จุดอ้างอิงของ religious fundamentalism อาจมีชื่อตามคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของแต่ละศาสนา ส่วนจุดอ้างอิงของไทยคือ Propaganda ซึ่งเปี่ยมล้นด้วยความศักดิ์สิทธิ์ดุจกัน

ลักษณะสำคัญของ Thai-Ultra-royalist Fundamentalists คือ การไม่ยอมรับฟังหรือปรับเปลี่ยนความคิดต่อให้มีหลักฐานข้อเท็จจริงมาหักล้างความเชื่อนั้นก็ตาม การปิดรับความจริงกับการรับความจริงไม่ได้เป็นสองด้านของเหรียญเดียวกัน ในกรณีสุดโต่ง พวกเขาจะเชื่อในสิ่งที่ขัดแย้งกับเหตุผล ข้อเท็จจริง และแม้แต่สามัญสำนึก

แม้ว่าในเวลาปกติเหล่า Thai-Ultra-royalist Fundamentalists หัวรุนแรงมีความโน้มเอียงจะถือตนเป็นชาวพุทธที่คิดดี-ทำดี แต่ยามใดที่รู้สึกถูกท้าทายหรือยั่วแหย่แม้เพียงแผ่วเบาในเรื่องเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ พวกเขาจะละทิ้งหลักธรรมของพระพุทธองค์จนหมดสิ้น และหันไปใช้ความรุนแรงเป็นคบไฟนำทางแทน

บทลงโทษที่โหดเหี้ยมเป็นตัวบ่งชี้การมุ่งขจัดผู้ไม่สวามิภักดิ์ในทางมโนธรรมสำนึกด้วยวิธีคิดเบื้องหลังชนิดเดียวกับอัตราโทษผู้ล่วงละเมิดอำนาจสูงสุดในยุคโบราณ อาทิเช่น เอาหินปาให้ตาย จับถ่วงน้ำ เฆี่ยน โบย ตอกเล็บ เอามะพร้าวห้าวยัดปาก

การที่อัตราโทษและจำนวนคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในสมัย “ประชาธิปไตย” ในปัจจุบัน สูงกว่า ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น อาจเทียบเคียงได้กับกระบวนการถูกทำให้มีลักษณะของความเป็น Fundamentalism ซึ่งเป็น “ปฏิกิริยาโต้ตอบ” ความเป็นสมัยใหม่และการวิพากษ์วิจารณ์ที่คุกคามอุดมการณ์ความเชื่อของตน

การไม่สามารถเพิ่มอัตราโทษในตัวบทกฎหมายให้สาหัสกว่านี้ (จำคุก 3 ปี ถึง 15 ปี) ตามความปรารถนาเร้นลึกของฝ่ายจารีตนิยมอำนาจนิยมและมวลชนผู้สนับสนุนนั้น มาจากการติดขัดในมาตรฐานทางอารยธรรมและจริยธรรมของโลกสากลในปัจจุบันที่ทำให้เกิดความหวั่นเกรงและกระดากอายกันอยู่บ้าง ทว่าความมุ่งมาดอันไม่สมหวังนี้ก็ถูกชดเชยด้วยกระบวนการดำเนินคดีแบบไร้ขื่อแป ไร้มนุษยธรรมและไร้ยางอาย เช่น ตั้งข้อหากับการกระทำที่ไม่เข้าข่ายผิดมาตรา 112 , ตีความและบังคับใช้มาตรา 112 ตามอำเภอใจไร้ขอบเขต, เอื้อประโยชน์และให้ท้ายการใส่ร้ายป้ายสี, ออกหมายจับทันทีโดยไม่ออกหมายเรียก, จู่โจมจับกุมแบบไม่ให้รู้ตัว, จับขังโดยยังไม่มีการตั้งข้อหา, จับผิดตัวแต่ไม่ปล่อย, ขังลืม-ขังเลว, ไม่ให้สิทธิประกันตัว, ไม่ให้การรักษาพยาบาล, สืบพยานพิสูจน์หลักฐานแบบมาเฟีย, พิจารณาคดีแบบปิดลับ เป็นต้น

จริงๆ แล้วสิ่งที่ควรจะต้องถูกลงทัณฑ์สถานหนักก็คือกระบวนการยุติธรรมอันเหลวแหลกของไทยเอง แต่การอ้างการปกป้องสถาบันฯ และกุคำอธิบายใส่ร้ายผู้ตกเป็นจำเลยเสียเองก็ย่อมเป็นโครงค้ำจุนสิทธิธรรมในการใช้อำนาจโดยมิชอบเหล่านั้นให้ลอยนวลต่อไป

อุดมการณ์แห่งรัฐที่ต่างกันทำให้การกระทำเดียวกันได้รับการพิจารณาและจัดการต่างกัน ด้วยการยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพ การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์หรือแม้แต่กษัตริย์-ราชินี “ไม่ถือเป็นความผิด” ในประเทศที่เจริญแล้ว แต่ในประเทศด้อยพัฒนาที่อุดมการณ์ศักดินาอยู่เหนือทุกสิ่ง ศาลจะตัดสินจำคุกหลายปี การล้อเลียน-เสียดสีบุคคลลำดับสูงในสถาบันกษัตริย์ที่สร้างความเสื่อมเสียเกินขอบเขต ศาลในประเทศพัฒนาแล้วอาจลงโทษสถานเบาให้ปรับเงินจำนวนเล็กๆ น้อยๆ แต่ในประเทศที่ไม่ยอมพัฒนา ศาลยังคงตัดสินให้จำคุกหลายปี โดยเปิดช่องให้กับการแสดงพระราชอำนาจและพระราชบารมีในการพระราชทานอภัยโทษ

***

คงไม่ถึงขั้นสัจธรรมที่แย้งไม่ได้ อีกทั้งไม่ใช่การปฏิเสธเรื่องทางจิตวิญญาณ แต่ความจริงเบื้องหลังศาสนาคือสังคมวิทยามานุษยวิทยา และใครจะปฏิเสธอย่างมีเหตุผลได้ว่า วิทยาศาสตร์อธิบายจักรวาลได้ดีกว่าศาสนา หากพระเจ้าไม่ได้สร้างโลก พระราชาย่อมไม่ได้ถูกพระเจ้าส่งมาปกครองหมู่มวลมนุษย์ ต้นกำเนิดความศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวงคือสิ่งที่มนุษยชาติสร้างขึ้นเพื่อครอบงำและควบคุมตัวเอง คติเกี่ยวกับกษัตริย์ในทุกวัฒนธรรมเป็นนิทานปรัมปราของชนชั้นปกครอง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าชนชั้นปกครองย่อมเป็นผู้สร้างและอ้างความศักดิ์สิทธิ์ทั้งเพื่อกำราบและล่อลวงชนชั้นใต้ปกครอง ในสังคมโบราณ แทบทุกเรื่องราวล้วนมีมิติทางศาสนาและไม่ได้แบ่งแยกปริมณฑลเป็นเอกเทศแบบสังคมสมัยใหม่ ถึงกระนั้นในประเทศที่ตกอยู่ใต้มนต์ดำคำสาป ศาสตร์สมัยใหม่ทั้งหลายต่างพ่ายแพ้ไสยศาสตร์และการโฆษณาชวนเชื่อ

นี่คือราคาที่ต้องจ่ายด้วยความสูญเสียอันไม่อาจประเมินค่าได้ของสังคมที่ยังไม่มีการแตกหักอย่างเด็ดขาดจากอุดมการณ์ของระบอบเก่า มิหนำซ้ำอุดมการณ์ของระบอบใหม่ยังถูกป้ายสีใส่ไคร้และบิดเบือนแก่นสารที่แท้จริง ในสภาวะหัวเลี้ยวหัวต่อที่เกิดการปะทะทางอุดมการณ์ระดับทั้งแผ่นดินเป็นครั้งแรก อำนาจเก่าที่ไม่ยอมเสียอะไรเลยในที่สุดแล้วจะเสียมากกว่าที่คิด

ไม่ใช่เรื่องน่ายินดีปรีดาและน่าอิจฉาหรอกหรือที่จักรพรรดิ์ฮิโรฮิโตจำเป็นต้องออกมาบอกความจริงกับประชาชนชาวญี่ปุ่นว่า เขาไม่ได้สืบสายมาจากเทพแห่งดวงอาทิตย์ จักรพรรดิ์ไม่ใช่เทพเจ้า ในศตวรรษนี้ไม่มีกษัตริย์ ราชินี และพระราชวงศ์คนใดในราชสำนักยุโรปกล้าคิดหรือหลงเชื่อว่าตัวเองรับโองการสวรรค์มาจากพระผู้เป็นเจ้า เหล่าคิง ควีน ปริ๊นซ์ ปริ๊นเซส ดยุค และดัชเชสล้วนตระหนักดีว่า ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรมชนิดหนึ่ง พวกเขาเป็นเพียงชนชั้นอภิสิทธิ์ชนจากอดีตที่ประชาชนในปัจจุบันอนุญาตให้ดำรงอยู่ได้ในกฎเกณฑ์และขอบเขตอันเหมาะสม

จะมีหรือไม่มีสถาบันกษัตริย์ แต่ละประเทศในยุโรปตะวันตก รวมทั้งสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น ต่างออกแบบระบอบการปกครองที่เอาประชาธิปไตยและหลักสิทธิเสรีภาพเป็นตัวตั้ง เอาอย่างอื่นที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยและหลักสิทธิเสรีภาพเป็นตัวรอง เพราะประชาธิปไตยแม้จะไม่สมบูรณ์แบบ มีข้อบกพร่องมาก มีความไม่น่าไว้วางใจไม่น้อย แต่ก็เป็นอุดมการณ์ที่เปิดกว้างมากกว่ากดขี่ ส่งเสริมความเป็นมนุษย์มากกว่าเหยียบย่ำความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมาย ประชาธิปไตย หลักแห่งเสรีภาพ และความเสมอภาคย่อมเป็นที่ชิงชังรังเกียจและถูกสร้างให้เป็นสิ่งชั่วร้ายในสังคมที่มรดกทางวัฒนธรรมศักดินาและเผด็จการหยั่งรากลึก

หากสถาบันกษัตริย์ “ไม่เป็นประเด็น” ในประเทศที่ศิวิไลซ์แล้ว ก็เพราะประเทศเหล่านั้นมีสถาบันกษัตริย์ภายใต้วัฒนธรรมประชาธิปไตย ส่วนที่ “เป็นประเด็น” ในประเทศที่ยังไม่ศิวิไลซ์ ก็เพราะประเทศไทยมีสถาบันกษัตริย์ภายใต้วัฒนธรรมศักดินา-สมบูรณาญาสิทธิราชย์

***

เป็นที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า กฎหมายหมิ่นฯ รวมทั้งอุดมการณ์ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และกฎหมายอื่นๆ ที่แวดล้อมนั้น ไม่ได้อิงกับหลักเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนมาตั้งแต่ต้น ความคิดเบื้องหลังบทลงโทษและวัฒนธรรมการบังคับใช้มาตรา 112 จึงไม่ได้อยู่ในครรลองของหลักการตรากฎหมายสมัยใหม่ที่วางอยู่บนดุลยพินิจอัน “มีอารยะ” แต่อบอวลไปด้วยกลิ่นไอของกฎหมายโบราณภายใต้อุดมการณ์วัฒนธรรมโบราณที่ “ไม่อารยะ”

โดยยังไม่ต้องอภิปรายในแง่หลักการอุดมการณ์อะไรเลยด้วยซ้ำ ในนามของการปกป้องสถาบันฯ กฎหมายหมิ่นฯ กำลังถูกใช้อย่างสะเปะสะปะ โฉดเขลา และวิปริตขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการสนับสนุนจากพวกล้าหลังคลั่งเจ้าที่ต่อให้เห็นความหน้ามืดตามัวและความไม่เป็นธรรมของการใช้มาตรา 112 ในกรณีนับไม่ถ้วน ก็ยินดีเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ หรือมิฉะนั้นก็ยินยอมสนับสนุนความฉ้อฉลของเครือข่ายอำนาจดังกล่าวอย่างออกหน้าออกตา แต่เอาเข้าจริงแล้ว แม้แต่ฝ่ายอนุรักษนิยมที่พอมีสติเองก็รู้ซึ้งอยู่แก่ใจดีว่าไม่อาจควานหาข้ออ้างใดมาปกป้องหรือแก้ต่างความอัปยศของภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “112: ปรากฏการณ์ผีบ้าอาละวาดเขย่าโลกันต์” ได้

กฎหมายอย่าง 112 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อผดุงความอยุติธรรมให้คงสถานะเป็น “ธรรมชาติ” ปัญหาขั้นมูลฐานของตัวมาตรา 112 คือลักษณะการกระทำที่ถือเป็นความผิด (ซึ่งไม่ควรผิด หรือควรมีเหตุยกเว้นความผิด) ขอบเขตการครอบคลุม (ซึ่งไม่ควรครอบคลุม) อัตราโทษ (ซึ่งไม่ควรมีโทษขั้นต่ำ และโทษขั้นสูงก็ต้องต่ำ) และที่สำคัญที่สุดคือ อุดมการณ์ที่ให้กำเนิดและจรรโลงตัวบทกฎหมายนี้ (ซึ่งไม่ควรมี)

ความดักดานบ้าคลั่งของเมืองไทยนั้นตกอยู่ในอาการโคม่าในระดับที่ฝ่ายรอยัลลิสต์อนุรักษนิยมยังต้องกระเถิบห่างแม้จะเคยแอบให้ท้ายเพื่อใช้ประโยชน์มาก่อน แม้ว่าการจะฝ่าด่านพลังกษัตริย์นิยมสุดขั้วก็นับว่ายากเข็ญปางตายแล้ว แต่ความซับซ้อนยอกย้อนสถิตย์อยู่ในทุกเรื่องราว การปฏิรูปหรือแก้ไขเพียงผิวเผิน เช่น การลดอัตราโทษลงเล็กๆ น้อยๆ (ดังที่ฝ่ายรอยัลลิสต์บางคนเสนอเอง) อาจกลายเป็นการให้ความชอบธรรมกับกฎหมายละเมิดสิทธิมนุษยชน-หมิ่นมนุษยชาติฉบับนี้ให้ดำรงอยู่ต่อไป ด้วยข้ออ้างจากฝ่ายรอยัลลิสต์ (ที่ฉลาดพอที่จะไม่ไปเกลือกกลั้วกับพวก Ultra-royalist ในขณะนี้) ว่าได้ทำการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นแล้ว

หากไม่ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องยกเลิกมาตรา 112, ปล่อยตัวจำเลยคดีหมิ่นฯ ทั้งหมด, ถอนหมายจับคดีหมิ่นฯ ทั้งหมด (ทั้งในประเทศและต่างประเทศ), เอาผิดกับ “ผังล้มเจ้า”, ประณามและเรียกร้องความรับผิดชอบจากสื่อมวลชนที่สื่ออะไรอื่นไม่เป็นนอกจากใส่ร้ายป้ายสีและบิดเบือนข้อเท็จจริงอย่างหน้าด้าน ฯลฯ--เป็นอย่างน้อยที่สุดแล้ว ถ้อยคำอันสละสลวย อุดมคติอันสูงส่ง และโครงการอันสวยหรูทั้งหลายทั้งมวล ทั้งที่สำเหนียกและแสร้งเป็นไม่เดียงสากับเพดานอันต่ำเตี้ยและโทษทัณฑ์อันป่าเถื่อนของการพูด-เขียน-ถกเถียง-เปิดโปงความจริงในเมืองไทย ตั้งแต่ “วัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์” “สังคมอุดมปัญญา” “ไทยเข้มแข็ง” “ปฏิรูปประเทศไทย” “เปลี่ยนประเทศไทย” ฯลฯ ก็มิใช่อะไรอื่น หากแต่ล้วนเป็นเรื่องโกหกพกลมและดัดจริตจอมปลอม

สำหรับผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส และผู้มีอำนาจบารมีในบ้านเมืองนี้ซึ่งอาจเป็นประเภทของบุคคลที่จำเป็นในสังคมชนเผ่า แต่ไม่จำเป็นและอาจถึงกระทั่งเป็นอุปสรรคขัดขวางความเจริญก้าวหน้าในสังคมที่พยายามมุ่งไปสู่ความเป็นสมัยใหม่ (ไม่ใช่เพราะ “สมัยใหม่” เป็นโลกพระศรีอาริย์ แต่เพราะ “สมัยเก่า” เลวเกินไป โง่เกินไป และน่าสะอิดสะเอียนเกินไป) สิ่งที่เราต้องการจากพวกเขาไม่ใช่คำเทศนาสั่งสอนโฆษณาชวนเชื่อ แต่คือความรู้จักละอายแก่ใจ

มิใช่แค่เพียง “ปัญหาการบังคับใช้” ดังเช่นที่มักถูกกล่าวอ้างเพื่อทำให้กฎหมายนี้ถูกปรับเปลี่ยนน้อยที่สุด แต่มาตรา 112 โดยตัวมันเองคือ “หัวใจของปัญหา” ทั้งปัญหาในแง่เนื้อหาและปัญหาที่ตัวบทมาตรานี้ถูกทำให้แตะต้องไม่ได้และกลายเป็น “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” เสียเอง การยกเลิกทั้งมาตรา-อันเป็นเพียงก้าวแรกของการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์และวัฒนธรรมอุดมการณ์กษัตริย์นิยม-จึงเป็นเรื่องสมควรแก่เหตุ เนื่องจากเหตุอันเร่งด่วนคือการหยุดมิให้มีการใช้มาตรา 112 เป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติอีกต่อไป

ทั้งนี้แน่นอนที่สุดว่า การยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 จะดำเนินไปได้อย่างถูกต้องเหมาะสมอย่างแท้จริง ก็ต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ไปด้วยพร้อมกัน

และนั่นเป็นแค่เพียงรุ่งอรุณแห่งอารยธรรมเท่านั้น

 

อ้างอิง

  • ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112: ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
  • รัฐธรรมนูญมาตรา 8: องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้
  • ข้อความใน “ประกาศคณะราษฎร” สะกดตามต้นฉบับ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“ภูมิใจไทย” ประกาศนโยบายล้างหนี้กองทุนหมู่บ้าน

Posted: 16 Jun 2011 06:33 AM PDT

ชวรัตน์ ชาญวีรกูล” อัดนโยบายกองทุนหมู่บ้านสร้างภาระหนี้ให้ประชาชน จนบางหมู่บ้านไม่มีจะให้กู้แล้ว ดังนั้นภูมิใจไทยเสนอล้างหนี้ให้หมดแล้วมานับ 1 ใหม่ แล้วจะนำงบประมาณมาเติมลงไปใหม่หมู่บ้านละล้าน แต่มีเงื่อนไขและกรอบในการกู้ให้โปร่งใส พร้อมแนะให้ประชาชนนำเงินไปใช้อย่างเป็นระบบ นำไปประกอบอาชีพ ไม่ใช่นำไปซื้อมอเตอร์ไซค์-มือถืออย่างที่ผ่านๆ มา 

ภูมิใจไทยประกาศล้างหนี้กองทุนหมู่บ้านทันทีหากได้เป็นรัฐบาล

วันนี้ (16 มิ.ย.) เว็บไซต์พรรคภูมิใจไทย รายงานว่า นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และนายโสภณ ซารัมย์ แกนนำการปราศรัยของพรรคภูมิใจไทย แถลงเปิดตัวนโยบายใหม่ของพรรคเพื่อใช้ในการหาเสียงโค้งสุดท้ายได้แก่ นโยบายล้างหนี้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

นายชวรัตน์ กล่าวว่า ขณะนี้พรรคการเมืองอื่นได้เสนอนโยบายเพิ่มหนี้ขึ้น แต่พรรคภูมิใจไทยได้นำเสนอนโยบายสร้างรายได้ ลดรายจ่าย ไม่สร้างหนี้ เพราะรู้ว่าประชาชนต้องการรายได้เพิ่มขึ้น ทางพรรคจึงได้หยิบยื่นแนวทางปลดหนี้ ให้ประชาชนได้พิจารณาเปรียบเทียบ โดยพรรคได้เสนอนโยบาย ล้างหนี้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทันทีหากได้เป็นรัฐบาล ทั้งนี้มั่นใจว่าทำได้จริงเพราะที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งล้ม มีหนี้เสียเป็นแสนล้านบาท รัฐบาลยังสามารถรับภาระได้ แต่ชาวบ้านเป็นหนี้แค่ไม่กี่หมื่นบาท ทำไมรัฐบาลถึงจะล้างหนี้ให้ไม่ได้

 

แนะประชาชนให้นำเงินไปใช้อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่ซื้อมอเตอร์ไซค์-มือถือ

ด้านนายโสภณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหากองทุนหมู่บ้านในปัจจุบัน สร้างภาระหนี้ให้กับประชาชนบางหมู่บ้านไม่มีเงินที่จะให้กู้แล้ว ทำให้กลายเป็นหนี้สูญ บางหมู่บ้านแม้จะมีเงินเหลืออยู่ แต่คนที่เป็นหนี้ก็ยังเป็นคนหน้าเดิมๆ นี่คือสภาพความเป็นจริงของกองทุนหมู่บ้านในปัจจุบัน ซึ่งราชการไม่ได้ลงไปตรวจสอบว่ามีกี่หมู่บ้านที่ยังสามารถดำเนินการได้ พรรคภูมิใจไทยจึงเสนอนโยบายดังกล่าว แต่หากล้างหนี้ให้เฉพาะคนที่เป็นหนี้ล้มละลายก็จะไม่เป็นธรรมกับคนที่ชำระหนี้ตามปกติ

ดังนั้นเพื่อความเป็นธรรมจะมีการยกหนี้ ล้างหนี้ให้หมดแล้วมาเริ่มนับ 1 กันใหม่ ซึ่งปัจจุบันกองทุนดังกล่าวมีอยู่ 80,000 หมู่บ้าน ก็จะจัดงบประมาณเป็นเงิน 80,000 ล้านบาทลงไป ทั้งนี้พรรคภูมิใจไทยจะนำเงินงบประมาณมาใช้ในนโยบายนี้และจะเติมเงินลงไป ใหม่หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท แต่ต้องมีเงื่อนไขและมีกรอบในการมากู้โดยให้ความรู้กับคณะกรรมการประจำหมู่ บ้าน ซึ่งควรจะมาจากหลากหลายอาชีพ อาทิ ครู เกษตรกร เพื่อทำให้โปร่งใส ขณะเดียวกันต้องส่งเสริมให้ประชาชนนำเงินไปใช้อย่างเป็นระบบ ไม่ใช่นำเงินไปซื้อมอเตอร์ไซค์โทรศัพท์มือถืออย่างที่ผ่านๆ มา

พรรคภูมิใจไทยมั่นใจว่าถ้าหากหนี้เก่าหมดไปแล้วได้เงินก้อนใหม่เข้ามา ประกอบอาชีพ ไม่ใช่เป็นการไปกู้เงินนอกระบบมาใช้หนี้กองทุน ตรงนี้ปลายเป็นปัญหางูกินหาง ซึ่งถ้ามีเงินก้อนใหม่มาหมุนเวียนในชีวิตประจำวัน วันนี้เราคิดอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นระบบ ไม่ได้มุ่งหาเสียงแบบแจกแหลก เพราะถ้าประชาชนอิ่มท้อง ก็จะไม่มีปัญหาความขัดแย้งแน่นอน” นายโสภณ กล่าว

 

ชวรัตน์’ ปัดกระแสงูเห่าในพรรค ยันเป็นเอกภาพ

นายชวรัตน์ ยังกล่าวถึงกระแสข่าวที่กลุ่มมัชฌิมาของ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่ม จะไปร่วมงานกับพรรคชาติไทยพัฒนาว่า ขอยืนยันว่าภายในพรรคไม่มีงูเห่า และตนได้คุยกับนายสมศักดิ์ ก็ออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าวแล้วว่าไม่ได้รับการติดต่อจากพรรคชาติไทยพัฒนา ซึ่งนายสมศักดิ์ก็ยืนยันว่ายังปักหลักอยู่กับ ภท.ส่วนกระแสข่าวที่เกิดขึ้น ตนคิดว่าเป็นเพียงจิตวิทยา เป็นเพียงอุบายที่สกปรกเท่านั้น พรรคภูมิใจไทยมีความเป็นเอกภาพอยู่แล้วและจะจับมือไปในทางเดียวกัน ส่วนการจับมือทางการเมืองระหว่าง ภท.กับพรรคชาติไทยพัฒนานั้น แม้ว่าจะยังไม่ได้คุยกับนายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา หรือนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาพรรค แต่ทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม เพราะตนเชื่อมั่นในสัจจะวาจาของนายบรรหาร

เมื่อถามว่ากระแสข่าวที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพราะพรรคภูมิใจไทยอาจจะได้ ส.ส.ไม่ถึงเป้า นายชวรัตน์กล่าวว่า ยืนยันว่าจากการลงพื้นที่ที่ผ่านมา ตนยังมั่นใจถึงกระแสของพรรคว่าจะได้คะแนนเสียงเป็นอันดับสาม และเกินความมั่นใจด้วย

เมื่อถามว่าเป็นเพราะพรรคภูมิใจไทยมาแรง จึงมีการปล่อยข่าวเรื่องงูเห่าภายในพรรค นายชวรัตน์กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ตนไม่ทราบ แต่พรรคภูมิใจไทยเปรียบเหมือนผู้หญิงสวย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีความพยายามหาผู้หญิงที่สวยกว่ามาประชัน แต่สุดท้ายก็ไม่มีใครสวยเกินเราไปได้

 

หัวคะแนนสำคัญเสียชีวิตแล้ว ศุภชัย ใจสมุทร” เรียกร้องตำรวจนำคนผิดมาลงโทษ

ด้านนายศุภชัย ใจสมุทร ผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคภูมิใจไทย แถลงข่าวถึงเหตุลอบยิงนายสุบรรณ จิระพันธุ์วาณิช นายก อบจ.ลพบุรี หัวคะแนนคนสำคัญพรรคภูมิใจไทย และเป็นพี่ชายของ นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ผู้สมัคร ส.ส.เขต 2 จ.ลพบุรี เสียชีวิตหลังสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ว่าทางพรรคภูมิใจไทยขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ลอบทำร้ายนายสุบรรณ ซึ่งถือได้เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ เพราะพรรคภูมิใจไทยกับนายสุบรรณนั้นมีความผูกพัน เป็นกำลังสำคัญ และสนับสนุนกันมาโดยตลอด ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งอย่างแน่นอน

ทั้งนี้อยากตั้งข้อสังเกตว่าชนวนเหตุที่ทำให้ เกิดการลอบยิงนายสุบรรณ นั้นเกิดจากปมความขัดแย้งทางการเมืองอย่างแน่นอน เนื่องจากว่านายสุบรรณ ไม่เคยมีความขัดแย้งกับใครจนเป็นให้ถึงกับต้องเอาชีวิต ซึ่งนายสุบรรณ ถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยรณรงค์หาเสียงให้กับ น.ส.มัลลิกา นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในการหาเสียงในพื้นที่ สระบุรี และปทุมธานี จริงทำให้เชื่อได้ว่า สาเหตุน่าจะมาจากปมทางการเมือง

นอกจากนี้ นายศุภชัย ยังกล่าวอีกว่า อยากจะเรียกร้องให้ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ออกมาดำเนินการหาตัวคนผิดมาลงโทษโดยเร็วและอยากให้หามาตรการที่เข้มงวดในการ ในการดูแลความปลอดภัยในตัวผู้สมัครส.ส.มากกว่านี้ โดยไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องรอให้มีการร้องขอก่อน ที่ผ่านมานั้นยังไม่เพียงพอ โดยดูได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับทางพรรคภูมิใจไทย ที่มีเหตุลอบยิงหัวคะแนนพรรคที่ จ.สุโขทัย อีกทั้ง การเร่งปราบปรามซุ้มมือปืนต่าง ๆ เพื่อไม่เกิดเหตุอันน่าสลดใจ

ส่วนเรื่องการจัดการพิธีการทางศาสนาและเรื่องดูแลศพของนายสุบรรณ ทางพรรคภูมิใจไทยจะรับเจ้าภาพจัดการให้ทั้งหมด

 

ที่มา: เรียบเรียงจากเว็บไซต์พรรคภูมิใจไทย [1], [2], [3]

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น