โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

ข่าวสารประชาชนรอบสัปดาห์ 13-19 มิถุนายน 2554

Posted: 20 Jun 2011 02:13 PM PDT

 
หัวข้อข่าว
 
ชุมชนเก่าโพธิ์พระยา ร้องสอบข้าราชการ-นักการเมือง-ทุน ไล่ที่
19 มิ.ย.54 - ชาวชุมชนตลาดโพธิ์พระยา อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ทำจดหมายเปิดผนึกร้องเรียน “การใช้อำนาจรัฐเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้อง” กรณีไล่ที่ชุมชนเดิมอายุร่วม 100 ปีทำอาคารพาณิชย์
 
จดหมายเปิดผนึกดังกล่าวระบุว่า ชาวชุมชนตลาดโพธิ์พระยา เป็นชาวโพธิ์พระยามาแต่กำเนิด จึงมีความรักพูกพันธ์หวงแหนแผ่นดินที่บรรพบุรุษได้ลงหลักปักฐานมาตั้งแต่บรรพบุรุษเป็นเวลาร่วม 100 ปี แต่ปัจจุบันได้มี กลุ่มนายทุน ข้าราชการของรัฐ และนักการเมืองท้องถิ่นบางคนได้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ดังเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
 
ปลายปี 47 เกิดเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ บ้านเรือนส่วนใหญ่ได้ถูกเพลิงไหม้ หน่วยงานรัฐยื่นมือให้ความช่วยเหลือ และขณะเดียวกันกลุ่มนายทุน ข้าราชการของรัฐ ธนารักษ์พื้นที่ และนักเมืองท้องถิ่น ได้ถือโอกาสจัดแผนผังที่อยู่อาศัยใหม่ โดยให้ก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ แม้จะมีชาวบ้านจำนวนมากไม่เห็นด้วยและคัดค้าน เพราะไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอที่จะไปก่อสร้างบ้านเรือนที่มีมูลค่ามากเกินตัว แต่ข้าราชการกล่าวกับชาวบ้านว่า ถ้าใครไม่เห็นด้วยจะตัดสิทธิ์การเช่าพื้นที่และไล่ไปอยู่ที่อื่น ทำให้ชาวบ้านบางส่วนบางส่วนจึงต้องทำใจยอมรับ
 
ปัจจุบันบ้านเรือนส่วนหนึ่ง ถูกรื้อถอนออกไปเพื่อการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ ชาวบ้านที่เคยได้รับสิทธิ์ในการเช่าเดิมที่ไม่สามารถชำระหนี้ให้กับธนาคารได้ บางคนจำเป็นต้องขายสิทธิ์การเช่าให้กลุ่มนายทุน กลุ่มคนเดิมที่อาศัยอยู่ต้องพลัดพรากจากถิ่นที่อยู่เดิม ข้าราชการบางคนก็ต้องอาศัยเงินเกษียรที่จะเก็บไว้ยังชีพมาชำระหนี้เพื่อให้ได้อยู่ที่เดิม
 
จดหมายร้องเรียนดังกล่าว ยังเรียกร้องให้มีการตรวจสอบ ข้ารา ชการ นักการเมืองท้องถิ่น ว่าใช้อำนาจรัฐแสวงหาผลประโยชน์ต่อตัวเองและพวกพ้องหรือไม่
 
 
 
คนบ้านน้ำแพร่สืบชะตาแม่น้ำอิง สานประเพณีอนุรักษ์น้ำ-พันธุ์ปลา
19 มิ.ย.54 คณะกรรมการบ้านน้ำแพร่ ม.4 ม.14 และม.19 ร่วมกับ คณะทำงานเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง ได้จัดกิจกรรมบวชเขตอนุรักษ์และสืบชะตาแม่น้ำอิง ขึ้น ณ บ้านน้ำแพร่ หมู่ 4 ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบทอดประเพณีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเชิงนิเวศน์วัฒนธรรมของคนในท้องถิ่นลุ่มน้ำอิงตอนปลาย รณรงค์เผยแพร่องค์ความรู้แม่น้ำอิงและสถานการณ์ทรัพยากรแม่น้ำอิง และเพื่อการรวมตัวพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวทางความร่วมมือแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงตอนปลาย
 
ชุมชนบ้านน้ำแพร่ ประกอบด้วย 3 หมู่บ้านได้แก่ บ้านน้ำแพร่ ม.4 บ้านน้ำแพร่เหนือ ม.14 และบ้านน้ำแพร่ใต้ ม.19 ต.ยางฮอม อ.ขุนตาล จ.เชียงราย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2417 จากการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนเดิมทีได้อพยพมาจากจังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน มาตั้งถิ่นฐานทำกินโดยพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติดินน้ำป่าที่อุดมสมบูรณ์ในการตั้งหมู่บ้าน รวมอายุหมู่บ้านในปัจจุบันก่อตั้งมาได้ 137 ปี นับได้ว่าเป็นชุมชนเก่าแก่ในแถบลุ่มน้ำอิงตอนปลาย
 
จากเหตุการณ์การสัมปทานป่าไม้แถบเทือกเขาดอยยาวทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านในปีพ.ศ.2521-2527 ทำให้เกิดภาวะน้ำแห้ง จึงเป็นที่มาของการที่ชุมชนได้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นและเป็นจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์ทรัพยากรชุมชน ส่งผลให้ในปีพ.ศ.2529 ได้จัดทำพื้นที่อนุรักษ์ป่าชุมชนขึ้น และได้เข้าร่วมทำกิจกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำอิง ร่วมกับทางชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรลุ่มน้ำอิงตอนปลาย ได้จัดทำเขตอนุรักษ์ในแม่น้ำอิงขึ้น ในปีพ.ศ.2544 เพื่อสร้างเป็นพื้นที่อนุรักษ์ขยายพันธุ์ปลา ที่อยู่อาศัยของปลา
 
หลังจากทำเขตอนุรักษ์ได้ประมาณสามปี เริ่มเห็นผล มีจำนวนปลาเพิ่มขึ้น ทางชุมชนได้เข้าร่วมทำกิจกรรมโครงการฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นลุ่มน้ำอิงตอนปลายและชายฝั่งโขงร่วมกับ 14 ชุมชนในเขตอำเภอเชียงของ เวียงแก่นและขุนตาล เพื่อฟื้นฟูชุมชนให้กลับมามีความสุขอีกครั้งโดยเริ่มทำกิจกรรมการรวบรวมศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน รวบรวมองค์ความรู้การหาอยู่หากินกับแม่น้ำอิง โดยให้เยาวชนเข้ามีส่วนร่วมในการศึกษาเรียนรู้ชุมชน จากการทำงานฟื้นฟูชุมชนและสร้างพื้นที่รูปธรรมการอนุรักษ์จึงทำให้หมู่บ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงตอนปลายได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้การจัดการทรัพยากรชุมชน และเพื่อยกระดับชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการทรัพยากรผ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์นิเวศวัฒนธรรมชุมชน
 
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่: http://prachatham.com/detail.htm?code=n2_20062011_01
 
 
ชาวบางคล้าโวย "อีสวอเตอร์" แย่งสูบน้ำจนคลองสาขาแห้ง
17 มิ.ย.54 - นายบุญเสริม เจริญรัตนโอภาส อายุ 48 ปี ชาวอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมเกษตรกรชาวสวนผู้ปลูกมะม่วง มะพร้าวน้ำหอม และหมาก พลู รวมถึงชาวนาและผู้เลี้ยงกุ้ง กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ปัจจุบันชาวอำเภอบางคล้าในหลายตำบล เช่น ตำบลสาวชะโงก บางสวน บางคล้า ปากน้ำและหัวไทร ซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำบางปะกง กำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก จากปัญหาน้ำในแม่น้ำไม่ไหลเข้าสู่ลำคลองสาขา ซึ่งถือเป็นเส้นเลือดฝอยของลุ่มน้ำที่แตกแขนง หล่อเลี้ยงชาวอำเภอบางคล้าในทุกสาย
 
ทั้งนี้ ปัญหาที่ชาวบ้านพบ เกิดขึ้นหลังจากบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน ) หรือ อีสวอเตอร์ ได้เข้ามาสูบน้ำในแม่น้ำบางปะกงเพื่อขายให้แก่ภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
 
“บริษัทสูบน้ำยักษ์ใหญ่แห่งนี้ ได้เข้ามาตั้งสถานีสูบน้ำไว้หลายสิบแห่ง เพื่อรอสูบน้ำเก็บไว้ทุกฤดูกาลตลอดลำน้ำบางปะกงเพื่อส่งขายให้แก่ภาคอุตสาหกรรม จนทำให้น้ำต้นทุนในลำน้ำบางปะกงหมดไปด้วย และไม่มีน้ำไหลเข้าสู่ลำคลองสาขา ทำให้ลำคลองทุกสายที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำบางปะกงอยู่ในสภาพแห้งขอด จนแทบไม่มีน้ำเหลือไว้ให้แก่ภาคเกษตรกรรมได้ใช้ทำการเกษตร ทั้งที่ขณะนี้เป็นช่วงของฤดูฝนก็ตาม”
 
นายบุญเสริม ยังกล่าวอีกว่า ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น ชาวบ้านยังไม่เคยได้รับการแก้ไขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือและบริษัทเอกชนที่เข้ามาสูบน้ำไปจากชาวบ้าน ซึ่งขณะนี้พื้นที่อำเภอบางคล้า ยังไม่มีระบบชลประทานเข้ามาถึง และยังไม่มีการช่วยเหลือหลังจากเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในภาคเกษตรแต่อย่างใด จึงวอนให้ผู้มีส่วนรับผิดชอบเข้ามาแก้ไขปัญหาของชาวบ้านโดยด่วน
 
 
 
อีสวอเตอร์ฯ แจ้งกรณีสูบน้ำจากแม่น้ำบางปะกง หลังชาวบ้านบางคล้าไม่พอใจ
17 มิ.ย.54 - นายพจนา บุญศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนโครงการ บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสวอเตอร์ ได้กล่าวถึงกรณีที่มีชาวบ้านในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ออกมาเคลื่อนไหวและแสดงความไม่พอใจ โดยกล่าวหาว่าบริษัทได้สูบน้ำจืดต้นทุนในลำน้ำบางปะกงจนทำให้ลำคลองสาขาหลายสายแห้งขอด ซึ่งบริษัทขอชี้แจงว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นการทำเพื่อคนส่วนใหญ่ในสังคมที่ต้องใช้น้ำประปา เนื่องจากบริษัท ได้ผลิตน้ำดิบส่งไปสนับสนุนด้านการอุปโภคบริโภค และนำมาผลิตเป็นน้ำประปาให้แก่คนในสังคมเมือง และเขตตัวเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งส่งให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมเพียงเฉลี่ยวันละ 2 หมื่นลูกบาศก์เมตร (ลบม.) เท่านั้น
 
โดยกล่าวว่า การจัดสรรน้ำให้แก่โรงงานอุตสาหกรรม ถือว่าน้อยกว่าการใช้น้ำในแปลงนา 20 ไร่ซึ่งจากการคำนวณโดยทฤษฎีนั้นพื้นที่นาหนึ่งไร่จะใช้น้ำมากถึง 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ส่วนการสูบน้ำจากแม่น้ำบางปะกง จะกระทำเฉพาะในช่วงฤดูน้ำหลากเท่านั้น ซึ่งที่สถานีสูบน้ำคลองเขื่อน จะสูบน้ำเพียงเดือนละ 6 แสน (ลบม.) หรือ ปีละ 7.2 ล้านลบม.โดยมีสระสำรองน้ำดิบที่อำเภอคลองเขื่อน และตำบลสำนักบก ในเขต อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
 
ส่วนในช่วงฤดูแล้ง อีสวอเตอร์ จะหันมาสูบน้ำจากสถานีสูบน้ำคลองท่าไข่ และคลองนครเนื่องเขต ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา (ที่รับน้ำมาจากทางภาคเหนือผ่านระบบชลประทานพระองค์ไชยานุชิต) แทน เนื่องจากน้ำในแม่น้ำบางปะกงมีสภาพเป็นน้ำเค็ม
 
สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านนั้น อีสวอเตอร์ฯ เห็นว่า ควรหันหน้าเข้ามาพูดคุยเพื่อหาประเด็นปัญหาจากผู้ใช้ในแต่ละภาคส่วน ซึ่งเชื่อว่าการหาทางออกร่วมกัน จะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการใช้น้ำและจะได้มีการบริหารการใช้น้ำในแต่ละภาคส่วนอย่างเต็มประสิทธิภาพต่อไป
 
 
 
ชาว "นาแห้ว" โกนหัวประท้วง ขอโฉนดที่ดินทำกิน
16 มิ.ย.54 - ที่หน้าที่ว่าการอำเภอนาแห้ว จ.เลย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราษฎรจากหมู่บ้านโคก หมู่ 6 ต.นามาลา อ.นาแห้ว จ.เลย กว่า 250 คน เดินทางมาชุมนุมเรียกร้องขอให้ทางราชการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินทำกิน นำโดยนายอัศจรรย์ บัวฮองแสง โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้ส่งตัวแทน 14 คน ออกมาโกนศีรษะประท้วงด้วย
 
ตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุม กล่าวว่า ชาวบ้านโคก จำนวนกว่า 200 หลังคาเรือน อาศัยที่ดินทำกิน ปลูกข้าวโพด และปลูกข้าวไร่อยู่บริเวณป่าภูอีแดง เขตรอยต่อจังหวัดเลยกับจังหวัดพิษณุโลก มานานตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่ต่อมาทางราชการประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเลยและพิษณุโลกเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ตลอดเวลาหลังจากการประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ชาวบ้านต้องถูกเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมขณะเข้าไปทำไร่ สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านต้องถูกดำเนินคดี ขึ้นศาล ไม่มีเงินค่าทนาย และต้องเสียเวลาทำมาหากิน และเกิดความแตกแยก กระทบกระทั่งกับเจ้าหน้าที่มาโดยตลอด ซึ่งทางชาวบ้านได้ทำหนังสือเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแก้ปัญหาแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรคืบหน้า ชาวบ้านต้องเข้าไปทำไร่บนที่ดินของตนเอง แบบหลบๆ ซ่อนๆ
 
ดังนั้น การเดินทางมาชุมนุมวันนี้จึงอยากเรียกร้อง ให้รัฐบาลยกเลิกประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ทับที่ดินทำกินของชาวบ้านตั้งแต่รุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย และให้ออกเอกสารสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็น สปก. หรือโฉนดชุมชนให้กับชาวบ้านโคกจำนวน 204 หลังคาเรือนต่อไป และขอให้จัดหาแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค แหล่งน้ำเพื่อการเกษตรให้กับราษฎรบ้านโคกด้วย
 
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ขณะที่มีการชุมนุม ยังไม่มีตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เดินทางมารับหนังสือหรือเจรจากับกลุ่มชาวบ้านแต่อย่างใด มีเพียงเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ อส.มาคอยอำนวยความสะดวก และรักษาความสงบบริเวณที่ชุมนุมเท่านั้น
 
 
 
บุก ปชป.ยื่นค้านยุบ ร.ร.ขนาดเล็กก่อผลเสียหาย
16 มิ.ย.54 - ที่พรรคประชาธิปัตย์ ถนนเศรษฐศิริ นายชัชวาลย์ ทองดีเลิศ เลขาธิการสภาการศึกษาทางเลือก ได้นำเด็กนักเรียนจากชุมชนต่างๆ จากทุกภาคจำนวน 30 คน มายื่นหนังสือถึงนายชินวรณ์ บุญเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อคัดค้านแนวทางยุบโรงเรียนขนาดเล็กในชุมชนต่างๆ จำนวน 7,000 โรง จากทั้งหมด 14,397 โรง ภายในปี 2561 ซึ่งก่อความเดือดร้อนให้กับนักเรียนประถมศึกษา และผู้ปกครอง
 
นายชัชวาลย์ กล่าวว่า อยากให้กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ผลักดันนโยบายการศึกษา จากที่สภาการศึกษาทางเลือก ได้จัดสัมมนาใน 4 ภาคได้ข้อเสนอออกมาว่า การศึกษาในปัจจุบันรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่กระทรวงศึกษาธิการ มากเกินไป หลักสูตรแกนกลาง มาตรฐานกลาง การวัดผลแบบกลางไม่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ การสอบแข่งขันในปัจจุบันจะทำให้เด็กต้องเข้าเมืองกันหมด ทำให้กระทรวงศึกษาธิการ ต้องการจะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งทางกลุ่มไม่เห็นด้วย อยากให้ยุติหรือทบทวนใหม่ โดยรอให้เกิดกระบวนการจัดการใหม่ที่ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และควรจัดการศึกษาหลากหลาย และช่วยผลักดัน พ.ร.บ.การศึกษาทางเลือก บัญญัติในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 49 ระบุว่า รัฐบาลจะต้องให้การสนับสนุนการศึกษาทางเลือก
 
ด้าน นายประกอบ จิรกิติ ผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ เป็นตัวแทนออกรับหนังสือ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ สนใจเรื่องการศึกษามาตลอด ซึ่งนายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ สมัยดำรงตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี สมัยเป็น รมต.ประจำสำนักนายกฯ ก็รับผิดชอบดูแลเรื่องการศึกษา โดยเฉพาะนายอภิสิทธิ์ให้ความสำคัญกับเรื่องปฏิรูปการศึกษา แนวทางการยุบโรงเรียนขนาดเล็กก็อยู่ระหว่างการศึกษา หากจะยุบก็ยุบโรงเรียนที่ไม่ได้คุณภาพ เรื่องการศึกษาไม่ต้องห่วง พรรคให้ความสำคัญอยู่แล้ว
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะสภาการศึกษาทางเลือก ได้นำป้ายผ้าและกระดาษแข็ง เขียนข้อความต่างๆ เช่น “จะยุบโรงเรียนถามผู้ปกครองยัง” “โรงเรียนเล็กห้องเรียนใหญ่อะไร ๆ ก็ดี” “ชนเผ่าพื้นเมืองขอคัดค้านการยุบโรงเรียน” “ปฏิรูปการศึกษาหมายถึงการยุบโรงเรียนขาดเล็ก” ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ได้ไปยื่นที่กระทรวงศึกษา และคุรุสภาด้วย
 
 
 
ประมงสงขลาฟ้องศาล เพิกถอนสัมปทาน นิวคอสตอลเฟส 2
16 มิ.ย.54 - กลุ่มชาวประมงชายฝั่ง ทั้งประมงอวนลาก ประมงปั่นไฟ ประมงอวนลอย และประมงพื้นบ้านในพื้นที่ 6 อำเภอของ จ.สงขลา ประกอบด้วย อ.เมือง ระโนด สทิงพระ สิงหนคร จะนะ และ อ.เทพากว่า 500 คน รวมตัวชุมนุมบริเวณหน้าสวนป๋าเปรมเชิงสะพานติณสูลานนท์ ต.พะวง อ.เมืองสงขลา ก่อนเคลื่อนขบวนไปรวมตัวหน้าศาลปกครองสงขลา และส่งตัวแทนพร้อมทนายเข้ายื่นเรื่องฟ้องศาลปกครอง เพื่อให้คุ้มครองชั่วคราวและพิจารณาหาข้อเท็จจริง พร้อมทั้งเพิกถอนสัญญาสัมปทานขุดเจาะน้ำมันเฟส 2 ของบริษัทนิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด และให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่กลุ่มชาวประมงทั้ง 6 อำเภอ
 
ทั้งนี้ กลุ่มชาวประมงอ้างเหตุผลว่า ได้รับผลกระทบจากการขุดเจาะน้ำมันของบริษัท นิวคอสตอลฯที่ขยายฐานขุดเจาะน้ำมันเฟส 2 เพื่อผลิตปิโตรเลียม ซึ่งอยู่ห่างฝั่ง อ.สทิงพระ ออกไปเพียง 7-10 ไมล์ทะเล ทำให้ชาวประมงเสียสิทธิ์ในพื้นที่ทำการประมงชายฝั่งกินเนื้อที่ประมาณ 150 ตารางกิโลเมตร รวมทั้งก่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม กระทบต่อระบบนิเวศวิทยา ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำน้อยลงและไม่สามารถขยายพันธุ์ได้
 
นายบุญช่วย ฟองเจริญ แกนนำชาวประมงทั้ง 6 อำเภอ ระบุว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นชาวประมงที่ได้รับผลกระทบได้ร้องเรียนไปยังส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและบริษัทผู้ได้รับสัมปทานขุดเจาะน้ำมัน แต่ยังไม่มีความคืบหน้าในเรื่องการช่วยเหลือทั้งเงินชดเชยและแนวทางแก้ปัญหา จึงจำเป็นต้องเข้ายื่นเรื่องฟ้องศาลปกครองและชาวประมงทั้ง 6 อำเภอจะยังคงเคลื่อนไหวต่อไปเพื่อปกป้องสิทธิ์และพื้นที่ทำกินจนกว่าจะได้รับความเป็นธรรม
 
ด้านนางภาวิณี ทับเป็นไทย ผู้จัดการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์บริษัท ซีอีซี.อินเตอร์เนชั่นแนล (สาขาประเทศไทย) จำกัด หรือบริษัทนิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัดเปิดเผยว่า บริษัทฯได้เยียวยาชาวประมง โดยได้โอนเงินเข้าบัญชีกองทุนพัฒนาประมง จ.สงขลา เดือนละ2,240,000 บาท และช่วยสมทบกาชาดเดือนละ 320,000 บาท รวมปีหนึ่งประมาณ 30.2 ล้านบาท ตามข้อตกลง 3 ฝ่าย คือ จังหวัดสงขลา ตัวแทนชาวประมง และบริษัทฯ
 
นอกจากนี้ยังได้จัดสรรค่าภาคหลวง จากการผลิตน้ำมันดิบนอกชายฝั่ง จ.สงขลาของบริษัทฯตั้งแต่เดือนก.พ. 2552-ปัจจุบัน ให้แก่ประเทศไทย 1,003,608,265 บาท ร้อยละ 40 เป็นรายได้แผ่นดิน 401,443,306 บาทจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตที่ผลิตปิโตรเลียม 28 แห่ง จำนวน 200,721,653 บาท อบจ.สงขลา จำนวน 200,721,653 บาท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน จ.สงขลา 112 แห่ง จำนวน 100,360,826 บาท
 
 
 
เผยทุนจีนบุกขุดเหมืองโปแตชในอีสาน เอ็นจีโอ-ชาวบ้านรุกโต้
15 มิ.ย.54 - ที่ห้องประชุมสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กว่า 60 คน ได้เดินทางไปยื่นหนังสือกับอุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อคัดค้านการทำแบบสำรวจความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียต่อกรณีโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี โดยมี นายวรากร บำรุงชีพโชต หัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ มารับหนังสือและตอบข้อซักถามของกลุ่มชาวบ้าน
 
สืบเนื่องจาก กรณีที่บริษัท เอเชีย แปซิกฟิก โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (เอพีพีซี) ดำเนินการจัดทำแบบแสดงความคิดเห็นขนาดครึ่งหน้ากระดาษ A4พร้อมเอกสารเผยแพร่โครงการฯ และกล่องรับเอกสาร นำไปวางตามหน่วยงานราชการ จำนวน 20 แห่ง ในพื้นที่อำเภอเมือง และอำเภอประจักษ์ศิลปาคม อาทิ ที่ว่าการอำเภอ, องค์การบริหารส่วนตำบล, สำนักงานเทศบาล และสถานีอนามัย ฯลฯ เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชน โดยอ้างว่าจะนำไปประกอบการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA)
 
นางมณี บุญรอด รองประธานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี กล่าวว่า การทำแบบสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อโครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี ของบริษัทเอพีพีซีทำให้เกิดความสับสนขึ้นในพื้นที่ เพราะการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้มีในขั้นตอนของกฎหมายแร่ แต่บริษัทจะเอาผลไปแอบอ้างกับการทำรายงาน อีเอชไอเอ ที่กำลังทำอยู่ และการเอาเอกสารไปวางตามหน่วยงานราชการเพื่อให้ประชาชนไปแสดงความคิดเห็นก็เป็นการให้ข้อมูลด้านเดียวของบริษัทฯ ดังนั้น จึงไม่มีความเหมาะสมใดๆ ที่จะนำผลไปประกอบ อ้างอิงในเชิงวิชาการได้
 
ด้านนายวรากร บำรุงชีพโชต หัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ทางสำนักงานฯ ไม่ได้รับเอกสารดังกล่าว และก็ไม่ทราบเรื่อง ซึ่งตอนนี้โดยหน้าที่ของตนก็รอเพียงเอกสารจากกรม (กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่) ส่งมาให้ปิดประกาศเขตเหมืองก็จบ หมดหน้าที่ ขั้นตอนต่อไปก็เป็นเรื่องของบริษัทที่จะดำเนินการเอง ส่วนหนังสือของกลุ่มฯ ที่ยื่นมาวันนี้จะนำเรียนอธิบดีให้
 
เมื่อชาวบ้านสอบถามถึงข่าวมีนักลงทุนจากประเทศจีนเข้ามาดูพื้นที่เพื่อจะทำเหมืองแร่โปแตชในภาคอีสาน นายวรากร ตอบว่า ประเทศจีนให้ความสนใจจะเข้ามาลงทุนเหมืองแร่โปแตชในภาคอีสานจริง ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทผู้ผลิตปุ๋ยเคมี และมีธุรกิจในประเทศลาว แต่เขาไม่ได้บอกชื่อบริษัท ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ทางกรมฯ ก็ได้พาลงไปดูพื้นที่จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด โดยมีวิศวกรที่ทำเหมืองแร่อยู่ในลาวร่วมเดินทางมาด้วย ก่อนที่จะมาคุยกับตนที่อุดร
 
“เท่าที่คุยกันพบว่าจีนได้ให้ความสนใจที่จะขุดแร่โปแตชแทบทุกพื้นที่ในภาคอีสาน และในส่วนของอุดรฯ ผมก็บอกไปว่าถ้าไม่สร้างความกระจ่างชัดให้กับชาวบ้านในพื้นที่ก่อน คุณก็จะไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะไม่เช่นนั้นก็จะเกิดปัญหาความขัดแย้งเหมือนที่เป็นอยู่ในขณะนี้”
 
ชาวบ้านถามต่อว่าจีนได้ให้ความสนใจที่จะซื้อกิจการหรือร่วมลงทุนกับบริษัทเอพีพีซี ที่เหมืองโปแตชอุดร หรือไม่ นายวรากร ตอบว่า คงไม่ ถ้าหากเขาจะทำเหมืองจริงก็คงยื่นขอสัมปทานแปลงใหม่ ที่ไม่ทับซ้อนกับเจ้าของเดิมที่กำลังยื่นขออยู่ ไม่ว่าจะเป็นที่ขอนแก่น มหาสารคาม หรือที่จังหวัดใดก็ตามที่มีผู้ขอเดิมอยู่แล้ว
 
จากนั้น นายวรากร ได้เปิดเพิ่มเติมกับผู้สื่อข่าวว่า บริษัทจากประเทศจีนที่เข้ามาดูพื้นที่จะขุดเหมืองโปแตชในภาคอีสานนั้น เป็นบริษัทที่มีสายสัมพันธ์กับสถานทูตจีน ซึ่งตนก็ได้พาลงไปดูจุดที่จะทำการสำรวจในพื้นที่อำเภอเพ็ญ (จ.อุดรฯ) และคาดว่าจะมีการขออาชญาบัตรพิเศษเพื่อสำรวจหาแหล่งแร่โปแตช ภายในปีนี้ โดยจะครอบคลุมพื้นที่ไปถึง จ.หนองคาย และสกลนคร นายวรากรกล่าว
 
ด้านนายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ผู้ประสานงานศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.) อีสาน ให้ความเห็นว่า การที่ทุนจีนจะบุกเข้ามาลงทุนในภาคอีสานนั้น คงไม่ใช่แค่เรื่องเหมืองโปแตชเท่านั้น แต่จีนกำลังจะขยายพื้นที่ทางเศรษฐกิจมายังทางตอนใต้ บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่จะนำเอาเกลือไปใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งภาคอีสานถือว่าเป็นศูนย์กลางสำคัญที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ เพราะมีพื้นที่ราบเป็นบริเวณกว้างและสามารถต่อติดค้าขายออกสู่ทะเลไปทางประเทศเวียดนามได้
 
“ถ้ามีเหมืองแร่โปแตชผุดขึ้นมาอีกจะทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และสังคมตามมามากมาย เช่น ความเค็มของเกลือจะแพร่แผ่กระจายไปทั่วภาคอีสาน ปัญหาแรงงาน อาชญากรรม ยาเสพติด และอื่นๆ อีก ซึ่งรัฐควรศึกษาให้รอบด้าน ที่ผ่านมาเครือข่ายนักวิชาการและชาวบ้านในพื้นที่เรียกร้องให้มีการประเมินสิ่งแวดล้อมแร่โปแตช ระดับยุทธศาสตร์ทั่วภาคอีสาน หรือที่เรียกกันว่า เอสอีเอ แต่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ หรือกพร.ก็ทำในส่วนของตัวเองจึงเกิดปัญหาเรื่องของความเป็นกลาง”
 
นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า นักวิชาการ เอ็นจีโอ และนักศึกษาจะต้องร่วมกันติดตาม เพราะช่วงนี้เป็นช่วงเลือกตั้งพรรคการเมืองต่างๆ ก็มักพูดถึงแต่เรื่องอุตสาหกรรม การสร้างงาน สร้างรายได้ เพื่อหาเสียง แต่กระบวนการต่อหลังเลือกตั้งแล้วนั้นจะเป็นอย่างไรต้องติดตาม เพราะพรรคการเมืองจะต้องตอบแทนกลุ่มทุนที่ให้การสนับสนุนพรรคของตนอย่างแน่นอน
 
 
 
ม็อบขอนแก่นบุกศาลากลาง ร้องแก้ปัญหาเงินกองทุนไฟฟ้าน้ำพอง
15 มิ.ย.54 - กลุ่มชาวบ้านจาก ต.โคกสูง ต.กุดน้ำใส ต.ม่วงหวานอ.น้ำพอง และ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ประมาณ300 คน ชุมนุมที่หน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่นเรียกร้องแก้ปัญหาเงินกองทุนไฟฟ้าน้ำพอง โดยมีนายเกียรติศักดิ์ บัวจาน อายุ 31 ปี ราษฎร อ.อุบลรัตน์ ในฐานะรองประธานกลุ่มชมรมชาวบ้านฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ 3 ตำบล เป็นแกนนำชาวบ้าน ซึ่งนั่งชุมนุมปิดบันไดทางขึ้นศาลากลางจังหวัดขอนแก่น เนื่องจากโรงไฟฟ้าน้ำพอง จ.ขอนแก่น ได้จัดกองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้าน้ำพองมาตั้งแต่ปี 2550-2553 รวมเป็นเงิน135 ล้านบาท เพื่อช่วยส่งเสริมการทำมาหากินให้กับชาวบ้านในพื้นที่ แต่เมื่อปี 2553 รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานนำไปใช้จ่ายในโครงการต่างๆ โดยที่ชาวบ้านไม่ได้รับประโยชน์ และสงสัยว่ามีความไม่โปร่งใสเกิดขึ้นจึงได้มารวมตัวเรียกร้องในครั้งนี้ หากทางจังหวัดไม่มีคำตอบให้ชาวบ้าน 3 ตำบลจะรวมตัวกันไปร้องเรียนกับกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้ดำเนินการในเรื่องนี้แทน
 
ที่มา: มติชน ฉบับวันที่ 17 มิ.ย.2554 (กรอบบ่าย)
 
 
น้ำเหนือหลากฝนถล่มซ้ำทะลักท่วมแปลงนาข้าวนับพันไร่ใน “บางบาล” ชาวนาเร่งระดมสูบออก
15 มิ.ย.54 - ชาวนาจำนวนมากจาก ต.บ้านกุ่ม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา ได้ระดมเครื่องสูบน้ำขาด 8-10 นิ้วจำนวน 15 เครื่อง ตั้งสูบน้ำออกจากแปลงข้าวนาปรังและนาปีจำนวนกว่า 1,000 ไร่ ลงลำรางบางหวาย ที่เป็นลำคลองชลประทานขนาดเล็ก หลังจากพบว่ามีประมาณน้ำท่วมสูงในแปลงนาข้าวกว่า 1 เมตร
 
ทั้งนี้ เนื่องจากประตูน้ำที่ปากคลองบางกุ้ง และคลองบางแพ่ง ที่อยู่ใกล้พื้นที่แปลงนาข้าว ของกรมชลประทาน มีสภาพชำรุด ทำให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลทะลักเข้ามาตามลำคลองหลายลำคลองในทุ่งนาที่มีเส้นทางน้ำเชื่อมต่อกัน และน้ำได้ไหลเข้าท่วมแปลงนาข้าวดังกล่าว ประกอบกับช่วงนี้มีฝนตกหนัก เมื่อน้ำจำนวนมากทั้งที่มาจากผลของน้ำเหนือหลากและน้ำฝนหนักในพื้นที่ ทำให้น้ำท่วมสูงในแปลงนา และชาวนาต้องเร่งช่วยเหลือตนเองในการทำทุกวิถีทางเพื่อให้ระดับน้ำลดลง ช่วยให้ต้นข้าวรอดพ้นจากการจมน้ำเสียหาย
 
นางสมใจ สมใจ อายุ 57 ปีชาวนาในพื้นที่ดังกล่าวกล่าวว่า บ้านของตนเองพร้อมญาติ ทำงานกว่า 50 ไร่ที่อยู่ในพื้นที่นาจมน้ำ โดยในพื้นที่นาจมน้ำนี้มีนา 2 ประเภท คือ ต้นข้าวนาปรังที่อายุ 2 เดือนกำลังแตกกอและบางแปลงก็อายุ 3 เดือน กำลังตั้งท้องเตรียมออกรวง ซึ่งเมื่อน้ำในแปลงนาสูงต้นข้าวนาปรังก็จะจมน้ำตายได้ และต้นข้าวบางแปลงก็เป็นแปลงข้าวนาปี ซึ่งเพิ่งจะหว่านพันธุ์ข้าวลงไปอายุเพียงกว่า 1 เดือน และกำลังงอกแทงยอดข้าว ก็มาถูกน้ำท่วมอีก สรุปได้ว่าในพื้นที่ดังกล่าวทั้งข้าวนาปรังและข้าวนาปี กำลังได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมสูงในทุ่ง
 
นายฤทัย นัยยุติ อายุ 47 ปี ชาวนาอีกคน กล่าวว่า น้ำเหนือหลากและน้ำฝนในปีนี้มาเร็วกว่าทุกปี และมาเป็นจำนวนมากจนชาวนาตั้งตัวรับไม่ทัน เพราะในทุกๆ ปีที่ผ่านมาช่วงเดือนมิถุนายนน้ำในทุ่งจะไม่มาก โดยหากน้ำมากแบบนี้จะเป็นในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี หรือเรียกว่าช่วงก่อนเข้าพรรษาน้ำจะไม่ท่วมทุ่ง โดยน้ำจะท่วมทุ่งก็ช่วงออกพรรษาเท่านั้น แต่ปีนี้สภาพอากาศแปรปรวนฝนตกหนักแต่ต้นฤดู ทำให้น้ำเหนือหลากเร็วและมีฝนตกหนักในพื้นที่ ทำให้เกิดความเสียหายแล้วเช่นกัน
 
อย่างไรก็ตาม ชาวนาต้องเร่งแก้ไขปัญหากันเอง ด้วยการช่วยกันทำคันล้อมเสริมคันแปลงนาให้สูงและเร่งสูงน้ำออกจากแปลงนาข้าว แบบลงแขกช่วยกัน ด้วยการระดมรถเครื่องสูบน้ำมาช่วยกันสูงน้ำออกแปลงนา ขณะนี้มีเครื่อง 15 เครื่อง สูบน้ำตลอด 24 ชม.และสูบมา 2 วันแล้วยังไม่ชนะ แต่ละเครื่องมีค่าใช่จ่ายเป็นค่าน้ำมันเครื่องละ 200 บาท รวมแล้วพวกตนเองเสียค่าน้ำมันไปวันละ 3,000 บาท/วัน ในการสูงน้ำ และคงต้องสูบต่อไปอีกหลายวันกว่าจะหมด
 
 
 
จี้ชี้แจงสะพานเจ้าพระยาแห่งใหม่
15 มิ.ย.54 - ที่ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร กลุ่มชาวบ้านซึ่งมีที่พักอาศัยอยู่ในย่านถนนราชวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กว่า 20 คน ชุมนุมและยื่นหนังสือถึง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.เรียกร้องให้ กทม.ชี้แจงรายละเอียดโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าน้ำราชวงศ์ไปยังถนนท่าดินแดง เขตคลองสาน หลังจากปลายปี พ.ศ.2553 กทม.อนุมัติว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาสำรวจความเป็นไปได้ตลอดจนศึกษา และออกแบบการก่อสร้างสะพาน แต่ที่ผ่านมาประชาชนในพื้นที่กลับไม่ได้รับทราบข้อมูลรายละเอียดจาก กทม.หรือทางบริษัทที่ปรึกษาฯ เท่าที่ควร สร้างความสับสนและวิตกกังวลในหมู่ชาวบ้าน 2 ฝั่งแม่น้ำมากโดยเฉพาะผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อวิถีชีวิตชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นย่านการค้าเก่าแก่ของชาวไทยเชื้อสายจีน
 
ต่อมานายสัญญา จันทรัตน์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าฯ กทม. เป็นตัวแทนรับหนังสือ พร้อมเชิญตัวแทนกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าร่วมประชุมหารือที่ห้องทำงาน จากนั้นนางชุมศิลป์ โสตถิปรีดาวงศ์ผู้ประสานงานคณะทำงานเพื่อศึกษาผลกระทบในการก่อสร้างสะพาน (ภาคประชาชน) เปิดเผยภายหลังการหารือกับตัวแทนผู้บริหารกทม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า เบื้องต้น กทม.ตอบรับข้อเรียกร้องของทางกลุ่ม โดยรับปากว่าจะส่งตัวแทนทั้งในส่วนกทม.และบริษัทที่ปรึกษาโครงการร่วมให้ข้อมูลและทำความเข้าใจกับประชาชนในที่ประชุมชาวบ้าน ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะทำงานที่ท่าน้ำราชวงศ์ในวันที่ 22 มิ.ย.นี้ เพื่อยุติความสับสน และเป็นการรับทราบข้อมูลจากทางราชการโดยตรง ว่าโครงการดังกล่าวมีจริงหรือไม่ และจะดำเนินการใดอย่างไรโดยละเอียดรวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอแนะและพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ประกอบแผนก่อสร้างด้วย
 
 
 
ผู้ว่าฯ ระยองสั่งปิดโรงงานแยกขยะจากเรือบรรทุก เหตุส่งกลิ่นรบกวนชาวบ้าน
15 มิ.ย.54 - นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง พร้อมด้วย อัยการจังหวัดระยองเจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมจังหวัด ฝ่ายปกครอง องค์กรส่วนท้องถิ่น และตัวแทนชาวบ้านหมู่ 3 ต.สำนักท้อน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ประชุมหารือกรณีบริษัท พรีเมียร์ ออลย์ฟิวล์ เซอร์วิส จำกัด ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ 3 ต.สำนักท้อน ซึ่งเป็นโรงงานคัดแยกขยะจากเรือบรรทุกสินค้า ส่งกลิ่นเหม็น และส่งเสียงดังสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับชาวบ้านใกล้เคียงมานาน หลังจากชาวบ้านหมู่ 3 ต.สำนักท้อน ได้ชุมนุมประท้วงบริเวณหน้าโรงงานเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ที่ผ่าน
 
ทั้งนี้ นางพัณณ์ชิตา ตาคง อายุ 37 ปี แกนนำชาวบ้าน ระบุว่า ได้รับผลกระทบเรื่องกลิ่นเหม็นและเสียงดังรบกวน คนในบ้านสูดดมมีอาการแสบคอแสบจมูก โดยเฉพาะเด็กๆ มีอาการคลื่นไส้อาเจียนบ่อยครั้งเมื่อได้รับกลิ่นเหม็น ช่วงกลางคืนคนงานจะเคาะ ล้างตู้คอนเทนเนอร์ส่งเสียงดังรบกวน ก่อความรำคาญ นอกจากนี้มีชาวบ้านบางคนทนไม่ไหวต้องย้ายหนีไปก่อนหน้านี้แล้ว ที่ผ่านมา ร้องเรียนเทศบาลตำบลสำนักท้อน อุตสาหกรรมจังหวัด และอำเภอ ให้มาตรวจสอบ แต่ทางโรงงานก็ยังไม่มีการแก้ไขกลับเพิกเฉยและยังคงเดินหน้าทำงานต่อไปโดย ไม่สนใจความเดือดร้อนของชาวบ้าน
 
นายธวัชชัย กล่าวว่า จากการตรวจสอบโรงงานดังกล่าวพบว่าได้ขออนุญาตประกอบกิจการคัดแยกขยะประเภท เบากับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง เมื่อปี 51 แต่ทางโรงงานกลับนำขยะผิดประเภทมาคัดแยก โดยเฉพาะวัตถุสารเคมีที่เป็นอันตราย ซึ่งในเบื้องต้นได้แจ้งให้หยุดปรับปรุงและขนย้ายสารเคมีอันตรายออกจากโรงงาน ไปแล้วเมื่อเร็วๆนี้ แต่โรงงานกลับไม่รีบดำเนินการแก้ไข และยังส่งกลิ่นเหม็นรบกวนชาวบ้านอยู่ตลอดเวลาถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย และท้าทายไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ ดังนั้นได้มีคำสั่งปิดโรงงานดังกล่าวแล้วและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยว ข้องเข้าไปตรวจสอบภายในโรงงานพร้อมเก็บตัวอย่างสารเคมีนำมาตรวจพิสูจน์เพื่อ เป็นหลักฐาน และให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บ้านฉาง สืบสวนหาที่มาของขยะดังกล่าวว่ามีต้นต่อจากที่ใด และให้เทศบาลต.สำนักท้อน รวบรวมข้อมูลเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับโรงงานทันที
 
 
 
ชาวเมืองช้างแห่พิสูจน์ “แม่น้ำชี” ร้อนระอุเดือด - ล่าสุดปลาเริ่มลอยตาย
14 มิ.ย.54 - ผู้สื่อข่าวว่า ที่แม่น้ำชี บริเวณบ้านพลวง คุ้มโคกช้าง ต.คอโค อ.เมือง จ.สุรินทร์ ซึ่งเกิดปรากฏการณ์ น้ำในลำน้ำความลึกประมาณ 80-90 เซนติเมตรและดินใต้น้ำ ร้อนระอุเดือดผุดขึ้นเป็นจุดๆ เป็นบริเวณกว้าง นั้น ได้มีชาวบ้านทั้งเด็ก ผู้ใหญ่และคนชรา พากันเดินทางมาพิสูจน์ด้วยตัวเองกันเป็นจำนวนมาก ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า น้ำในแม่ชีบริเวณดังกล่าวมีความร้อนสูงจริง บางคนได้นำไข่ไก่ไปฝังไว้ในโคลนใต้น้ำและทรายที่ร้อนระอุเพื่อพิสูจน์ว่าจะร้อนถึงขั้นทำให้ไข่ไก่ สุกได้ระดับไหน
 
นอกจากนี้ หลายคนที่มีอาการเจ็บป่วย ปวดข้อเข่า ปวดขา ปวดหลัง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ได้พากัน เดินทางมาลงแช่น้ำร้อนในลำน้ำชี เพราะเชื่อว่าจะรักษาอาการเจ็บป่วยได้ และวันนี้พบว่ามีปลาธรรมชาติในแม่น้ำชีที่ทนกับสภาพน้ำร้อนไม่ไหวได้ลอยขึ้นมาตายเหนือผิวน้ำจำนวนหนึ่งแล้ว เช่น กระดี่ ปลาดุก เป็นต้น
 
ด้านยายทองใส ผลบุญ อายุ 69 ปี ชาวบ้านจารย์ ต.หนองเต็ง อ.กระสัง จ.สุรินทร์ บอกว่า อาศัยหาปลาจับปลา หาหอย ในลำน้ำชี เลี้ยงตัวเองและครอบครัวตั้งแต่เด็กมาจนแก่อายุเกือบ 70 ปีแล้ว ยังไม่เคยเห็นปรากฏการณ์น้ำชีร้อนเช่นนี้มาก่อน ถือว่าเป็นเรื่องแปลกมาก
 
นายชวนินทร์ วงศ์สถิตจิรกาล นายอำเภอกระสัง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งมีพื้นที่ติดกับลำน้ำชี บริเวณบ้านพลวง ต.คอโค อ.เมือง จ.สุรินทร์ ที่เกิดปรากฎการณ์น้ำร้อน ได้เดินทางมาพร้อมด้วย นายชุติเดช บวรรัตนกุล กำนันตำบลหนองเต็ง และ นายประสบ บวรรัตนกุล นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหนองเต็ง อ.กระสัง เข้าไปยังบริเวณจุดที่น้ำชีร้อนเพื่อพิสูจน์ด้วยตนเอง
 
นายชวนินทร์ วงศ์สถิตจิรกาล นายอำเภอกระสัง กล่าวว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทราบข่าวจากสื่อมวลชน และเห็นว่าเป็นพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์ จึงให้มาติดตามข้อเท็จจริง และประสานเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณีวิทยา เดินทางมาตรวจสอบหาข้อเท็จจริง ว่าเกิดอะไรขึ้น มีสาเหตุมาจากอะไรที่ทำให้น้ำในแม่น้ำชี้ได้เกิดความร้อนผุดขึ้น และขณะนี้กำลังรอเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์เดินทางมาสำรวจในพื้นที่
 
 
 
ชาวบ้านโวยท่าเรือฯ แอบทำประชาพิจารณ์สร้างท่าเทียบเรือชายฝั่ง
14 มิ.ย.54 - ท่าเรือแหลมฉบัง จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 การวิเคาระห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างท่าเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือเอ) ท่าเทียบเรือแหลฉบัง โดยมีประชาชนเข้ารับฟังน้อยมาก
 
เรือเอก สุทธินันท์ หัตถวงษ์ รองผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง กล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบันการกระจายสินค้าระหว่างท่าเรือแหลมฉบังกับพื้นที่หลังท่าส่วนใหญ่เกือบร้อยละ 90 ยังใช้รูปแบบการขนส่งทางถนนเป็นหลัง ซึ่งเป็นรูปแบบที่สิ้นเปลืองพลังงานและมีผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมสูง
 
ทัั้้งนี้ มีการขนส่งทางรางเพียงร้อยละ 9 และทางชายฝั่งและลำน้ำประมาณร้อยละ 2 เท่านั้น ทำให้ประเทศไทยมีต้นทุนทางด้านการขนส่งและกากระจายสินค้าสูงมาก เพื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
 
เพื่อเป็นการแกไข้ปัญหาดังกล่าว และสอดรับกับนโยบายของประเทศ จึงได้มีการก่อสร้างท่าเทียบเรือชายฝั่งขึ้น เพื่อเปิดให้บริการแก่เรือชายฝั่งเป็นการเฉพาะ เป็นการเชื่อมโยงกับระบบการขนส่งที่ต่อเนื่องภายในประเทศ โดยที่ผ่านมาเรือชายฝั่งใช้ท่าเรือร่วมกับท่าเรือระหว่างประเทศ แต่จะต้องรอให้เรือระหว่างประเทศเข้าเทียบท่าก่อน เรือชายฝั่งจึงเข้าเทียบท่าได้ ทำให้มีต้นทุนเรือคอยเทียบท่าที่สูง อีกทั้งเป็นการลดการจราจรทางบกได้อีกด้วย เนื่องจากมาใช้ทางเรือแทน
 
การท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้ มีมติเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม2552 เห็นชอบให้ดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือชายฝั่ง โดยมีขนาดของแอ่งจอดเรือ กว้าง 115 เมตร ยาง120 เมตร ลึก 10 เมตร สามารถรับเรือชายฝั่งขนาดระวางบรรทุก 300 DWTขนส่งตู้สินค้าได้คราวละ 200 TEU และขนาด 1,000 DWT ขนส่งตู้สินค้าได้คราวละ 100 TEU ได้อย่างละ1 ลำ พร้อมกันในเวลาเดี่ยวกัน ทำให้มีความสะดวกปลอดภัยในการเข้าออกท่า โดยสามารถรองรับตู้สินค้าได้ปีละ 300,000 TEU/ปี ด้วยเงินงบประมาณ 1,000 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ในระหว่างการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในการทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม
 
ด้าน นายรังสรรค์ สมบูรณ์ ชาวบ้านบางละมุง เผยว่า การประชุมรับฟังความคิดเห็นในการก่อสร้าง ท่าเทียบเรือชายฝั่งของการท่าเรือแหลมฉบังนั้น ตนเองเป็นหนึ่งในชาวบ้านที่จะต้องได้รับผลกระทบต่อโครงการดังกล่าว เนื่องจากมีอาชีพประมงชายฝั่งซึ่งการก่อสร้างในทะเลย่อมเกิดผลกระทบทบสิ่งแวดล้อมแน่นอน แต่พวกเราชาวประมง ไม่ได้รับทราบเรื่องดังกล่าวเลย ตลอดเวลาที่ผ่านมาท่าเรือแหลมฉบัง ดำเนินการใดๆ ไม่เคยแจ้งให้ชาวบ้านรับทราบ และเมื่อมีผลกระทบ ก็ไม่เคยรับผิดชอบ การประชุมรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ ถือว่าเป็นการแอบๆดำเนินการเพราะทางท่าเรือฯหวั่นว่าจะเกิดกระแสต่อต้าน และจะทำให้โครงการมีปัญหาไม่สามารถดำเนินการต่อได้
 
การกระทำดังกล่าวของท่าเรือแหลมฉบังใช้ไม่ได้ และไม่โปร่งใส โครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังในเฟส1- 2 ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ และยังมีการแอบดำเนินการกับแบบเงียบ ๆ แต่มาจะมาขยายโครงการอีก พวกเราคงจะยอมไม่ได้แน่นอน
 
 
 
“ชาวบ้านเขาคันทรง” บุกพบผู้ว่าฯชลบุรี วอนให้ช่วยเหลือหลังถูกนายทุนไล่ที่
14 มิ.ย.54 - นางพลอย หรั่งสาตร์ อายุ 96 ปี ชาวบ้านเขาคันทรง กลุ่มชายห้วย อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี พร้อมลูกๆ หลานๆ ได้เดินทางเข้าพบ นายวิชิต ชาตไพสิฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี กลางศูนย์การค้า แปซิฟิค พาร์ค ศรีราชา หลังทราบว่า ผู้ว่าฯ จะเดินทางมาเป็นประธานพิธีเปิดงานบนห้างดังกล่าว
 
นางพลอย กล่าวว่า พวกตนอยู่อาศัยบริเวณดังกล่าวมากว่า 50 ปี โดยได้มาบุกร้างถางพง และสร้างที่พักอาศัยอยู่ แต่ในช่วง ปี 2548 นี้ ทางโรงงานน้ำตาลตะวันออก ได้ฟ้องร้องว่า พวกตนบุกรุกที่ และขับไล่ให้ออกจากพื้นที่ดังกล่าวโดยด่วน เพราะที่ดินนี้มีโฉนด แต่ก็ไม่มีหลักฐานอะไรชัดเจนมาแสดงให้เห็นเลย
 
ขณะนี้ลูกหลานตนเอง ต้องรื้อถอนบ้านไปแล้ว 3 หลัง เนื่องจากศาลมีคำสั่งให้รื้อถอนเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา และหากไม่ทำการรื้อถอนจะถูกจับกุมในทันที จึงจำเป็นต้องรื้อถอนบ้านทั้ง 3 หลังออกไป และในเร็วๆนี้อาจจะต้องถูกรื้ออีก เพราะนายทุนประกาศไว้ว่าจะดำเนินการฟ้องร้องชาวบ้านที่ยังเหลืออยู่ทั้งหมด
 
นางพลอย กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมา ได้ขอความช่วยเหลือจากผ็ว่าราชการจังหวัด และหน่วยงานที่รับผิดชอบ แต่ถูกเจ้าหน้าที่กีดกัน และวันนี้ทราบข่าวทางผู้ว่าฯ เดินทางมาที่ ศูนย์การค้าแห่งนี้ จึงมาพบเพื่อขอให้ท่านช่วยเหลือเป็นการด่วน เพราะยังมีบ้านเรือนและญาติพี่น้องอีกกว่า 30 หลังคาเรือน และมีผู้อยู่อาศัยกว่า 100 คน กำลังจะถูกนายทุนดังกล่าวไล่ที่และสั่งให้รื้อถอนในเร็วๆ นี้
 
ด้าน นายวิชิต กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จะต้องตรวจสอบอย่างละเอียดของทั้ง 2 ฝ่ายอีกครั้ง เพราะขณะนี้เพียงได้รับข้อมูลจากชาวบ้านเพียงฝ่ายเดียว โดยจะขอรับฟังข้อมูลจากกลุ่มนายทุนด้วย เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย ว่าใครผิดใครถูก ซึ่งไม่ใช่จะตัดสินเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อน จนไปสร้างปัญหาและส่งผลกระทบต่อนายทุน ดังนั้นจะต้องใช้เวลาในการศึกษาหาข้อมูลดังกล่าวก่อน
 
โดยในเบื้องต้น จะต้องตรวจสอบว่าที่ดินบริเวณดังกล่าว มีความเป็นมาอย่างไร ใครเป็นผู้ครอบครอง และครอบครองแบบไหน ซึ่งในบ้างครั้งการครอบครองอาจจะไม่ใช่เจ้าของที่ดินแปลงนั้นโดยตรงก็ได้ โดยจะต้องตรวจสอบก่อน และเรื่องนี้ตนได้มอบหมายให้นายวิชัย สัมพันธรัตน์ นายอำเภอศรีราชา ลงไปพื้นที่เพื่อตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลทั้งหมด เพื่อสรุปปัญหา รายงานในตนทราบในโอกาสต่อไป
 
ด้าน นางพลอย กล่าวว่า ตนรู้สึกดีใจ เมื่อได้พบกับผู้ว่าราชการจังหวัด และได้อธิบายข้อมูลต่างๆ ให้ท่านฟัง เพราะที่ผ่านมาไม่มีใครรับฟังปัญหาและช่วยเหลือกลุ่มชาวบ้านที่เดือดร้อนดังกล่าวเลย โดยถูกกีดกันจากเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทั้งๆ ที่ชาวบ้านได้รับความเดือนร้อน และก็มีข้อมูลหลักฐานต่างๆ เช่นกัน
 
 
 
ผู้นำแรงงาน จี้ทำประชาพิจารณ์ก่อนรวมกองทุน สปส.-สปสช.
14 มิ.ย.54 - นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยว่าขบวนการแรงงานมีความกังวลว่าหากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ควบรวมสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จริงจะไม่ได้รับบริการที่สะดวกสบาย ทั้งเรื่องมาตรฐานการรักษา หน่วยบริการ ความแออัด
 
ดังนั้นควรมีการทำประชาพิจารณ์กับผู้ใช้แรงงานเพื่อถามความสมัครใจก่อนดำเนินการตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
 
นายชาลี กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม คสรท.เห็นชอบโดยหลักการว่าผู้ประกันตนไม่ควรต้องเป็นคนกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล 0.88% ดังนั้นรัฐบาลจึงควรเข้ามาอุ้มผู้ประกันตนโดยช่วยจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้ กับ สปส.ส่วนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายทุกๆ เดือนนั้นก็ยังคงให้จ่ายต่อไป โดยนำส่วน 0.88% เดิมไปสมทบไว้ที่กองทุนชราภาพ
 
“ขณะนี้ขบวนการแรงงานมีความตื่นตัวด้านข้อมูล แต่ยังสับสนอยู่ว่าต้องย้ายไปสังกัดบัตรทองจริงหรือไม่ ตรงนี้ยังมีความเป็นห่วงกันมาก จึงอยากให้มีการทำประชาพิจารณ์เพื่อถามความต้องการที่แท้จริง” นายชาลีกล่าว
 
นายชาลี กล่าวว่า การที่สปส.เห็นว่าตัวเองให้สิทธิประโยชน์ด้อยกว่าบัตรทอง และคณะกรรมการการแพทย์ได้เสนอให้เพิ่มสิทธิประโยชน์เหล่านั้นตั้งแต่ปี 2552 แต่จนถึงขณะนี้กลับยังไม่มีการปรับเพิ่มสิทธิใดๆ สะท้อนให้เห็นถึงข้อบกพร่องของ สปส.และการละเลยของเจ้าหน้าที่ นั่นอาจเป็นเพราะสปส.มองว่าขบวนการแรงงานไม่รู้ข้อมูลหรือกฎหมายใดๆ
 
อย่างไรก็ตาม 9 ปี ที่ผ่านมา สปสช.ไม่เคยดำเนินการตามมาตรา 10 ดังนั้นจึงไม่ควรเร่งรีบจนเกินไป เชื่อว่าหากช้าไปอีกสักระยะก็คงไม่เป็นปัญหา สิ่งที่สำคัญที่สุดคือจำเป็นต้องให้ข้อมูลข้อเท็จจริงเรื่องความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานเข้าใจด้วย
 
 
 
ชาวแพร่ปิดถนนทวงเงินเวนคืนที่สร้างอ่างเก็บน้ำแม่สาย
14 มิ.ย.54 - ชาวบ้านเจ้าของที่ดินที่มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่สาย หมู่ 9 ต.ป่าแดง อ.เมือง จ.แพร่ 100 คน ได้นำเต็นท์ - เครื่องเสียงมาปิดถนนเข้าไปอ่างเก็บน้ำแม่สาย เนื่องจากไม่พอใจที่กรมชลประทานยังไม่จ่ายค่าเวนคืนที่ดินทำให้บริษัทแพร่วิศวกรรม ผู้รับเหมาก่อสร้างอ่างฯของกรมชลประทาน ไม่สามารถนำเครื่องจักรและอุปกรณ์ก่อสร้างเข้าไปยังพื้นที่อ่างเก็บน้ำได้ 
 
นายสมพงษ์ ทะนันชัย อายุ 61 ปี เปิดเผยว่า ชาวบ้านที่มาชุมนุมวันนี้เป็นเจ้าของที่ดิน สิทธิที่ทำกิน (ทสก.) 44 ราย พื้นที่รวม 70 ไร่ 3 งาน 13 ตารางวา ที่ได้รับความเดือดร้อนจากโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่สายที่กรมชลประทาน ได้ดำเนินการเวนคืนที่ดินมาตั้งแต่ปี 2552 -2554 ยังไม่ได้รับเงินคืนค่าเวนคนที่ดิน 9,274,539 บาท แม้ว่าบริษัทแพร่วิศวกรรมได้ออกเงินให้ชาวบ้านก่อน 25 เปอร์เซ็นต์ แต่ชาวบ้านต้องการได้รับเงินทั้งหมดในปีนี้ และชาวบ้านจะชุมนุมปิดถนนอยู่อย่างนี้จนกว่าจะได้รับคำตอบเป็นที่พอใจ จากกรมชลประทาน 
 
นายวิชิต บุญกังวาน นายอำเภอเมืองแพร่ ได้เดินทางไปเจรจากับชาวบ้าน และแจ้งให้ชาวบ้านว่า จังหวัดแพร่เคยได้รับการร้องเรียนจากราษฎร์ตำบลป่าแดง อ.เมืองแพร่ กรณีไม่ได้รับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินโครงการอ่างเก็บน้ำแม่สาย แต่เนื่องจากบริเวณที่ก่อสร้างอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและจะต้องได้รับการอนุมัติให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จากรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อ ก่อน จึงจะสามารถดำเนินการได้ ทางจังหวัดแพร่ ได้ทำหนังสือถึง รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ แล้ว เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 และอยู่ในระหว่างรอคำตอบ
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในส่วนของกรมชลประทานและผู้รับเหมาก่อสร้าง เห็นว่าช่วงนี้เป็นช่วงหาเสียงการเลือกตั้ง ส.ส.ก็อาจจะทำให้รมว.ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอาจจะไม่มีเวลามาเซ็นอนุญาตให้ใช้พื้นที่ได้ และจะทำให้งานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่สาย ล่าช้า แล้วจะกระทบต่อเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำในการเพาะปลูกต่อไปในอนาคตได้ 
 
 
 
ล้อมโรงพักบี้ ตร.ปล่อยตัวผู้ใหญ่บ้าน
14 มิ.ย.54 - ผู้สื่อข่าวรายงานจากจ.กระบี่ ว่า ชาวบ้านประมาณ 100 คน จากหมู่ 1 ต.กระบี่น้อย อ.เมือง จ.กระบี่ มารวมตัวกันที่หน้าห้องสืบสวนสภ.เมืองกระบี่ เรียกร้องให้ตำรวจปล่อยตัวนายอุดม เจริญพร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ต.กระบี่น้อย นายวิสิทธิ์ หิรัญ อบต.หมู่ 1 ต.กระบี่น้อย และ ด.ต.เฉลียว ช่วยแทน อดีตผบ.หมู่งาน ป.สภ.เมืองกระบี่ หลังทราบข่าวว่าทั้ง 3 คน ถูกจับกุมตัวมาโดยไม่ทราบสาเหตุ พร้อมขอให้เจ้าหน้าที่ชี้แจง สาเหตุที่จับกุมทั้ง 3 คนมาด้วยข้อหาอะไร หากไม่ได้รับคำตอบจะนำเต็นท์มากางหน้า สภ.เมือง จนกว่าจะปล่อยทั้ง 3 คน
นายอาลี นะบุตร ชาวบ้านหมู่ 1 ต.กระบี่น้อย กล่าวว่า ก่อนหน้าทั้ง 3 คนถูกจับ มีชายฉกรรจ์แต่งชุดธรรมดา ใส่แว่นตาดำ ยืนอยู่บนถนน ประมาณ 10 คน โดยมี 3 คน ในกลุ่มดังกล่าว ถือปืนเอ็ม16 ยืนจังก้าอยู่บนถนน เมื่อผู้ใหญ่บ้านและเพื่อนบ้าน 3 คน ขับรถมาถึง กลุ่มชายฉกรรจ์ได้โบกมือให้จอดรถ พร้อมหันปากกระบอกปืนมาทางรถของผู้ใหญ่บ้าน และควบคุมตัวทั้ง 3 คนไปทันที ตนเห็นก็ตกใจกลัวว่ากลุ่มชายฉกรรจ์ดังกล่าวจะเป็นคนร้าย ที่มาอุ้มผู้ใหญ่บ้านไปทำร้าย จึงวิ่งไปบอกเพื่อนบ้านช่วยกันตามหา จนมาทราบว่าผู้ใหญ่บ้านและพวกถูกจับอยู่ที่ สภ.เมืองกระบี่
รายงานข่าวแจ้งว่ากรณีจับผู้ใหญ่บ้านทราบว่านายอุดมไม่มีใบอนุญาตพกพาอาวุธปืน และชุดจับกุมนำทั้ง 3 คน เข้าห้องสืบสวน สภ.เมืองกระบี่ พร้อมทำบันทึกจับกุม โดยมีกลุ่มชาวบ้านส่งเสียงโห่ร้องเป็นระยะ หลังจากตำรวจสอบปากคำเสร็จ จึงปล่อยตัวกลับ กลุ่มผู้ชุมนุมจึงสลายตัวในเวลาต่อมา
 
 
เครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นฯ เข้าแจงตำรวจถึงที่มาขององค์กร! 
13 มิ.ย.54 - ที่สน.บางซื่อ พล.อ.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ ประธานกรรมการภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ (ภตช. ) พร้อมด้วยนายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ เลขาธิการ ภตช. และคณะกรรมการ ภตช.ได้เดินทางเข้าพบพ.ต.ท.สายันต์ เพ็ชรยืนยง พนักงานสอบสวน(สบ 3) สน.บางซื่อ เพื่อให้ปากคำและนำเอกสารเข้าชี้แจงกรณีที่ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร.มีหนังสือให้สน.บางซื่อตรวจสอบที่มาที่ไปของภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ
 
นายมงคลกิตติ์ เปิดเผยว่า ในวันนี้ได้เดินทางมาให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนสน.บางซื่อ หลังได้รับหนังสือเลขที่ ตช.0015.(บกน.2) 9 (3-1)/7789 ลงวันที่ 2 มิ.ย.2554 จากพ.ต.ท.สายันต์ เพ็ชรยืนยง พนักงานสอบสวน (สบ3) สน.บางซื่อ ว่าทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้รับเรื่องร้องเรียนให้ตรวจสอบความถูกต้องในการจัดตั้งองค์กรภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ ว่ามีที่มาซึ่งความถูกต้องหรือไม่ โดยตนทราบว่า รองศาสตราจารย์รังสรรค์ แสงสุข อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ถูกป.ป.ช.ตรวจสอบ กรณีต่ออายุการเป็นข้าราชการ หลังจากอายุครบ 60 ปี ออกไปอีก 5 ปี โดยมิชอบด้วยกฎหมาย และมีคำสั่งให้ออกจากราชการ เป็นผู้ทำหนังสือร้องเรียนผ่าน พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธ์ศรี ผบ.ตร. ซึ่งอยากเรียนถาม ผบ.ตร.ว่า ที่ต้องตรวจสอบองค์กรนั้นทำไปเพราะต้องการใช้หนี้บุญคุณของรองศาสตราจารย์รังสรรค์ ที่ให้ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หรือไม่
 
นายมงคลกิตติ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันรองศาสตราจารย์รังสรรค์ยังคงสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งไม่รู้ว่าคำสั่งของป.ป.ช.ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์หรืออย่างไร และยังมีการขึ้นป้ายอีกว่า "คนดีถูกรังแก" ซึ่งตนอยากถามว่าบุคคลที่ประพฤติไม่ชอบเรียกว่าคนดีหรืออย่างไร อย่างไรก็ตาม ตนยินดีที่จะให้มีการตรวจสอบความถูกต้องขององค์กร เพราะองค์กรตั้งขึ้นมาด้วยความถูกต้อง และสามารถตรวจสอบได้ว่าไม่มีนอกไม่มีใน โดยคนที่จะเข้ามาเป็นภาคีเครือข่ายฯต้องตั้งใจทำงานเพื่อประชาชน ไม่หวังผลประโยชน์เข้าตัวเอง ส่วนสาเหตุที่ผบ.ตร.มีหนังสือคำสั่งมาที่สน.บางซื่อก็เพราะสำนักงานขององค์กรตั้งอยู่ในท้องที่สน.บางซื่อ ซึ่งองค์กรได้จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตราที่ 64 หมวดที่ 3 ว่าด้วยเสรีภาพในการชุมนุมและการสมาคม
 
"อยากจะวิงวอนให้ทำหน้าที่ของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ให้ดีเสียก่อน อย่าเอาเวลามาตรวจสอบ ภตช.ที่เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ ไม่มีเงินเดือน ควรเอาเวลาไปดูแลลูกน้องที่ปล่อยปละละเลยให้มีบ่อนกลางกรุง บกพร่องละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่กำกับดูแลอย่างเต็มที่ ในปีๆ หนึ่งมีการทุจริตเป็นล้านล้านบาท ผมขอสาปแช่งผู้ที่ทุจริตมีอันเป็นไป เจ็บไข้ได้ป่วย ครอบครัวแตกสาแหรกขาด ประสบภัยอันตรายทุกด้าน ซึ่งหลังจากที่ให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนเรียบร้อยแล้วผมจะเดินทางไปพบ ผบ.ตร.ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วย" นายมงคลกิตติ์ กล่าว
 
ด้านพ.ต.ท.สายันต์ กล่าวว่า ในวันนี้ทางกลุ่มภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ ได้เดินทางมาให้ปากคำตามที่มีหนังสือส่งไปเท่านั้น ซึ่งหลังจากที่ทำการสอบปากคำเสร็จสิ้นแล้วจะรวบรวมพยานหลักฐานส่งไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าองค์กรดังกล่าวได้มีการจัดตั้งขึ้นมาอย่างถูกต้องหรือไม่อย่างไร เพื่อให้องค์กรได้นำหลักฐานไปแถลงข่าวเผยแพร่แก่ประชาชนต่อไป
 
 
 
ผู้ปกครอง ร.ร.บ้านไผ่รอบ ร้องจังหวัดช่วยหลังครูไม่เพียงพอ
14 มิ.ย.54 - ที่ศาลากลางจังหวัดพิจิตร ผู้ปกครองนักเรียน พร้อมด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านไผ่รอบ ตำบลไผ่รอบ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร จำนวน 45 คน ได้รวมตัวเรียกร้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร และเขตพื้นที่การศึกษาพิจิตร เขต 1 ช่วยเหลือ หลังจากที่จำนวนครูของโรงเรียนบ้านไผ่รอบที่ได้เปิดการเรียนการสอน มีจำนวนแค่ 1 คน ไม่เพียงพอต่อเด็กนักเรียน จำนวน 43 คน
 
นายสมชาย กิตต์ญาณ กำนันตำบลไผ่รอบ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร กล่าวว่า โรงเรียนบ้านไผ่รอบ เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งก่อนหน้านี้มีครูที่สอนจำนวน 4 คน แล้วทยอยย้ายไปอยู่โรงเรียนอื่น จนเหลือครูเพียง 1 คน ซึ่งทางเขตพื้นที่การศึกษาอยากจะนำเด็กนักเรียนจำนวน 43 คน ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนบ้านหนองหลวง เพื่อจะได้เพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนแก่เด็กนักเรียน ที่ห่างจากโรงเรียนเดิม 1.5 กิโลเมตร จะทำให้เป็นภาระของผู้ปกครองที่จะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการรับส่งนักเรียนสูงขึ้นและจะทำให้โรงเรียนบ้านไผ่รอบ ที่เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก จะต้องถูกยุบโรงเรียน จึงเรียกร้องความเป็นธรรมจากนายสุวิทย์ วัชโรทยางกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เร่งช่วยเหลือและหาแนวทางแก้ไข
 
ต่อมาทางนายมานพ วีระอาชากูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร และนายนายสุรเสน ทั่งทอง ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาพิจิตร เขต 1 จึงได้รับเรื่องร้องเรียน ต่อตัวแทนผู้ปกครองและคณะกรรมการบริหารโรงเรียนบ้านไผ่รอบ และเข้าชี้แจ้งแก้ไขช่วยเหลือผู้ปกครอง เพื่อหาข้อยุติ
 
นายนายสุรเสน ทั่งทอง ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาพิจิตร เขต 1กล่าวว่า ในที่ประชุมมีมติว่า ให้นักเรียนโรงเรียนบ้านไผ่รอบเข้าศึกษาตามเดิม และทางโรงเรียนบ้านหนองหลวง ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง แบ่งเวลาครูให้มาสอนนักเรียนที่โรงเรียนไผ่รอบในเบื้องต้น พร้อมทั้งเร่งเปิดใช้บัญชีครู เพื่อมาทำการสอนให้กับโรงเรียนบ้านไผ่รอบเพิ่ม ผู้ปกครองจึงยินยอมต่อมติ จึงเดินทางแยกย้ายกันกลับ
 
 
 
ชาวจันท์รวมตัวค้านขอประทานบัตรทำแร่เหล็ก หวั่นธรรมชาติเสียหาย
13 มิ.ย.54 - ที่หน้าสำนักงานเทศบาลตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี นายยัง พละกูล กำนันตำบลคลองใหญ่ ร่วมกับผู้นำชาวบ้านและชาวบ้านในตำบลคลองใหญ่ กว่า 500 คน จัดตั้งโต๊ะเพื่อร่วมลงนามคัดค้านการออกประทานบัตร ทำแร่เหล็กบนเขาคุณสง เขาแหลม และเขาผักกาด ในพื้นที่ หมู่ 5 บ้านป่าวิไลกับหมู่ 6 บ้านมะรุม ตำบลคลองใหญ่
 
นายยัง พละกูล กำนันตำบลคลองใหญ่ กล่าวว่า ตนพร้อมชาวบ้านทราบข่าวจากเทศบาลตำบลคลองใหญ่ ปิดประกาศแจ้งชาวบ้านว่าได้มีบริษัทแห่งหนึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับแร่เหล็กได้เข้ามาขอประทานบัตร เพื่อทำแร่เหล็กในพื้นที่เขาคุณสง เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 54 ที่ผ่านมาให้กับบริษัท เข้ามาทำแร่เหล็กอาจจะทำให้ธรรมชาติเสียหาย ภูเขาป่าไม้ต้องถูกทำลาย จึงร่วมกันลงนามเพื่อคัดค้านเทศบาลตำบลคลองใหญ่ในการทำประชาพิจารณ์ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน ที่จะถึงนี้
 
กำนันตำบลคลองใหญ่ กล่าวว่า หากคัดค้านในระดับตำบลไม่สำเร็จ ตนพร้อมชาวบ้านที่ลงนามก็จะต่อสู้จนถึงที่สุดเพื่อหวงแหนธรรมชาติไว้ให้ลูกหลานในอนาคตต่อไป แม้ชาวบ้านจะมารวมกันที่หน้าสำนักงานเทศบาลคลองใหญ่ ไม่ปรากฏมีเจ้าหน้าที่หรือคณะผู้บริหารในสำนักงานออกมาชี้แจงแต่อย่างใด
 
ส่วนด้าน นายศิริโรจน์ กุลนวะณิชย์ นายกเทศมนตรีตำบลคลองใหญ่ ติดราชการไม่อยู่ในพื้นที่ ชาวบ้านจึงนำรายชื่อเข้าร้องเรียนในระดับจังหวัดต่อไป
 
 
 
แกนนำเครือข่ายปฏิรูปที่ดิน ถูกกักตัวห้ามออกนอกประเทศ เหตุประท้วงนายทุนที่ดิน
13 มิ.ย.54 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.54 ได้มีเครือข่ายภาคประชาชน จำนวน 19 คน เตรียมเดินทางไปยังประเทศอินเดีย เพื่อเดินทางไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมในประเทศอินเดีย ซึ่งนายดิเรก กองเงิน คณะทำงานตรวจสอบพื้นที่ภาคเหนือ กรณีที่ดิน และเป็นคณะกรรมการเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคเหนือ หนึ่งในผู้เข้าร่วมเดินทางไปยังประเทศอินเดียด้วย แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง สนามบินสุวรรณภูมิกักตัวเอาไว้
 
นายดิเรก กองเงิน คณะกรรมการเครือข่ายปฏิรูปที่ดิน เล่าว่า เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.54 ผมและเพื่อนร่วมเดินทาง 19 คน จะเดินทางไปยังประเทศอินเดีย เพื่อไปแลกเปลี่ยน ศึกษาวัฒนธรรมที่ประเทศอินเดีย ผมเตรียมจะขึ้นเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิ และถูกเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง หรือ ตม. กักตัวผมไว้ ในข้อหา มีหมายจับ ปี2553 ที่สถานีตำรวจบ้านแม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ข้อกล่าวหาบุกรุกที่ดินบ้านโป่ง ต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ทำให้เสียทรัพย์ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ซึ่งเป็นที่ดินของบริษัทบริพัตรบ้านและที่ดิน
 
กรณีดังกล่าว สืบเนื่องจาก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2553 ผมและชาวบ้านแม่แฝก ไม่ยินยอมให้บริษัทบริพัตรบ้านและที่ดิน เข้าพื้นที่รังวัดในที่ดินบ้านโป่งเพื่อนำพื้นที่ไปใช้ประโยชน์ หลังจากปล่อยให้พื้นที่รกร้างว่างเปล่ามาเป็นเวลานาน อีกทั้งชาวบ้านได้ใช้พื้นที่เป็นที่ดินทำกินของชาวบ้านมาเป็นเวลานานแล้ว จึงทำให้เจ้าหน้าที่ของบรัษัทบริพัตร แจ้งความและขอให้ตำรวจในพื้นที่เข้ามาดูแลและมีตำรวจเข้ามาสมทบกว่า 100 นาย จนเกิดเป็นคดีความในที่สุด"นายดิเรกกล่าว
 
“เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองกันตัวผมไว้ที่สนามบินสุวรรณภูมิ และให้ผมพักในห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ตม. และมีทางเจ้าหน้าตำรวจแม่แฝกมารับตัวในเช้าวันที่ 8 มิ.ย. แต่ไม่ได้มีการใส่กุญแจมือแต่อย่างใด ผมเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ผมจะขอสู้คดีในชั้นศาลต่อไป” นายดิเรกกล่าวทิ้งท้าย
 
ทั้งนี้ นายดิเรก ได้ปฏิเสธการให้การกับตำรวจและขอให้การในชั้นศาล และรอการนัดหมายจากศาลต่อไป
 
 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เกษตรพันธสัญญา กับวังวนของความยากจน

Posted: 20 Jun 2011 12:28 PM PDT

ระบบเกษตรพันธสัญญา ได้แทรกซึมเข้าสู่ระบบเกษตรกรรมไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เห็นได้ชัดนับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฯ ที่ได้ส่งเสริมให้มีการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว และการเลี้ยงปศุสัตว์เชิงพาณิชย์ แต่คำถามที่เกิดขึ้นในหมู่เกษตรกรและความรับรู้ของคนทั่วไป คือ  ทำไมลูกหลานเกษตรกรไม่อยากเป็นชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ หรือคนเลี้ยงสัตว์ สภาพความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของเกษตรกรเลวร้ายมากเพียงไรถึงทำให้เกิดภาวะถดถอยของแรงงานในภาคเกษตร สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ เกษตรกรไทยกับปัญหาหนี้สิน และความยากจน

ผู้ที่สนับสนุนระบบเกษตรพันธสัญญา มักหยิบยกประเด็น การสร้างรายได้ที่แน่นอนของระบบพันธสัญญาที่เกิดจากการตกลงกันระหว่างบรรษัทธุรกิจเกษตร กับเกษตรกรรายย่อย มาเป็นหลักฐานยืนยันว่า การมีสัญญารับซื้อผลผลิตอย่างชัดเจนในแต่ละรอบการผลิตเป็นการประกันรายได้ที่ชัดเจนให้กับเกษตรกร และหยิบตัวเลข ราคารับซื้อ กับต้นทุนที่ลงไปในแต่ละรอบมาคิดผลกำไร ว่าแต่ละรอบเกษตรกรขายได้ราคามากกว่าต้นทุนที่ลงไปในแต่ละรอบ  

ซึ่งวิธีการมองระบบเกษตรพันธสัญญาแบบผิวเผินก็จะเห็นเพียงว่าเกษตรกรได้รับเงินทุกรอบการผลิต จนเมื่อเครือข่ายนักวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรในระบบพันธสัญญาได้ลงพื้นที่ทำวิจัยทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ (โครงการวิจัยครอบคลุมทั้งพืชเศรษฐกิจ เช่น อ้อย ข้าวโพด ผัก   และสัตว์เศรษฐกิจ เช่น หมู ไก่ ปลา ลงพื้นที่ภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง มีเกษตรที่เข้าร่วมทำวิจัยไทบ้านกว่า 15 กลุ่ม รวมแล้วเกินกว่า 200 คน) กลับได้ค้นพบว่า ในความเป็นจริงมีสิ่งที่อำพรางซ่อนเร้น ซึ่งถูกกระบวนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของบรรษัทและแนวร่วมปกปิดไว้นานนับสิบๆปี อยู่หลายประการ

ประการแรก เกษตรกรในระบบเกษตรพันธสัญญามิได้นำต้นทุนแอบแฝง เข้ามาคำนวณเป็น “ต้นทุนการผลิตที่แท้จริง”   เกษตรกรมักจะคำนวณต้นทุนการผลิตจากสิ่งที่ตนออกเงิน หรือกู้หนี้ยืมสินมาทำการผลิตและเห็นอย่างชัดเจน เช่น ค่าเมล็ดพันธุ์ ตัวอ่อน ปุ๋ย ยา วิตามิน ฯลฯ แต่มิได้คิดค่าแรงของตัวเอง เช่น ทำการเลี้ยงสัตว์ 4 เดือน จนขายได้เงินหลังจากหักต้นทุนแล้ว 100,000 บาท โดยใช้แรงงานตนและคนในครอบครัวรวม 4 คน เท่ากับค่าจ้างของคน 4 คน ตกเดือนละ 5,140 บาท/คน ซึ่งน้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำหากออกไปรับจ้างทั่วไป นี่ยังไม่รวมการไม่คิดค่าน้ำ ค่าไฟ ที่ต้องเสียไปในแต่ละวันอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นจากการเข้าสู่วงจรเกษตรพันธสัญญา เช่น   หากเอาที่ดินของตนไปทำอย่างอื่น หรือเอาที่ดินไปให้คนอื่นเช่าทำแทน จะเป็นเงินเท่าไหร่ที่ตนเสียโอกาสไป และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ค่าเสื่อมโทรมของสุขภาพกายที่ต้องอยู่กับสภาพโรงเรือนและไร่นาที่เต็มไปด้วยสารเคมี และสุขภาพจิตที่อยู่ในภาวะเครียดสะสมจากความเสี่ยงที่ตนต้องแบกรับเป็นเวลานาน

ประการต่อมา สังคมต้องมาร่วมแบกรับผลกระทบต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย ที่เกิดจากการทำเกษตรพันธสัญญาอย่างมากมายมหาศาล เทือกเขาและยอดดอยทางภาคเหนือได้เปลี่ยนเป็นทุ่งข้าวโพดพันธสัญญาสุดลูกหูลูกตา ไร่อ้อย คือ สิ่งที่ลุกคืบเข้าครอบคลุมที่ราบสูงแถบอีสาน กระชังปลาวางเรียงรายเต็มสองฝั่งลำน้ำมูลและชี กลิ่นขี้หมูขี้ไก่ที่รบกวนและเป็นชนวนความขัดแย้งของหลายชุมชน สิ่งเหล่านี้มิได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดขึ้นจากการผลักดันของบรรษัทโดยมีรัฐหลับตาข้างหนึ่งปล่อยให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ โดยมิได้คำนึงถึงการจัดการทรัพยากรอย่างยืน   เกษตรกรบนที่สูงมักย้ำว่าถ้าปลูกข้าวโพดกับบรรษัท เจ้าหน้าที่รัฐไม่มายุ่ง แต่ถ้าทำไร่หมุนเวียนตามวิถีของชนเผ่า มักถูกจับถูกห้ามเสมอ

ประการถัดมา ระบบเกษตรพันธสัญญาเป็นกระบวนการทำธุรกิจที่คิดค้นขึ้นมาโดยบรรษัท เพื่อผลกำไรสูงสุดของบรรษัท ซึ่งมิใช่สิ่งที่เลวร้าย เพียงแต่มิได้ตั้งเป้าหมายอยู่ที่คุณภาพชีวิตของเกษตรกร สิ่งที่ปรากฏในทุกขั้นตอนของเกษตรพันธสัญญาตั้งแต่เริ่มปลูก/เลี้ยง จนถึงขาย จะเห็นการ “ผลักภาระความเสี่ยง” ไปให้เกษตรกรแบกรับฝ่ายเดียว ไม่ว่าจะเป็น ภัยธรรมชาติ หรือราคาที่ผันผวนของราคาสินค้าเกษตรที่แปรผันตามกลไกตลาด และเมื่อมีผลประโยชน์บรรษัทก็จะ “ขูดรีด” ทุกสิ่งที่ตนสามารถกระทำได้ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจในการกำหนดราคารับซื้อ วันที่จะไปจับหรือเก็บเกี่ยว หรือมาตรฐานสินค้า ซึ่งในหลายกรณีปรากฏ “การฉ้อฉล” เช่น การโกงน้ำหนัก โกงมาตรฐาน หรือบังคับให้เกษตรใส่ยา ให้อาหาร สารเคมี หรือปรับปรุงโรงเรือน เกินความจำเป็น แต่บรรษัทได้กำไรจากการขายของเหล่านี้

สิ่งที่สำคัญอีกประการ คือ คุณภาพชีวิตของผู้บริโภค กระแสความตื่นตัวเรื่อง “กินอะไรเป็นอย่างนั้น” หรือ “การกินอาหารเป็นยา”   ได้ชี้ให้เห็นวิถีแห่งจิตวิญญาณที่เชื่อมโยงกับอาหารการกิน   แต่อาหารที่เราซื้อหาได้ในปัจจุบัน โดยเฉพาะตามร้านสะดวกซื้อ หรือร้านอาหารต่างๆ   มักถูกกำหนดมาตรฐานโดยบรรษัทธุรกิจเกษตร ที่เน้น การเก็บได้นาน รูปร่างหน้าตาสวยงามน่ากิน ขนาด ฯลฯ ที่ไม่เกี่ยวพันอะไรกับการทำให้อาหารสะอาด   กลับกันการทำให้อาหารมีลักษณะเช่นว่านำมาซึ่งมฤตยูในรูปของสารเคมีรูปแบบต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงและเรื้อรัง นอกจากนี้ราคาอาหารที่พุ่งกระฉูดโดยที่รัฐบาลทำอะไรไม่ได้ ก็เนื่องจากบรรษัทธุรกิจเกษตรมีอำนาจเหนือสายพานการผลิต ช่องทางการตลาด เรื่อยมาจนถึงปากผู้กินผ่านระบบเกษตรพันธสัญญานั่นเอง   หากรัฐไม่เข้ามาแทรกแซงก็ควบคุมราคาไม่ได้

ประการสุดท้าย เหตุผลที่ไม่มีเกษตรกรจากระบบเกษตรพันธสัญญาคนใดมาปรากฏตัวในสื่อสาธารณะก็เนื่องจากเครือข่ายของบรรษัทได้ลงลึกถึงท้องถิ่น มีหลายกรณีที่เกษตรกรให้ข้อมูลด้านลบของเกษตรพันธสัญญา แล้วโดนมาตรการลงโทษจากบรรษัท เช่น ไม่เอาตัวอ่อนมาให้เลี้ยง ไม่มาจับสัตว์ตามที่สัญญาไว้ หรือเลวร้ายกว่านั้น ก็ยกเลิกสัญญาทั้งที่เกษตรกรได้ลงทุนสร้างโรงเรือนไปแล้วเป็นสิบล้านก็มี 

การรวมกลุ่มของเกษตรกรในระบบพันธสัญญาถูกสลายด้วยตัวระบบและวิธีการผลิตที่เกษตรกรต้องทุ่มเทเวลาแทบทั้งหมดของตนไปในโรงเรือนและไร่นาของตนเอง และต้องทำตัวเป็นลูกไร่ที่ดีของบรรษัท จนไม่สามารถทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกับผู้อื่นได้ จนเกิดปรากฏการณ์ “เกษตรกรรมไร้ญาติ” ทำให้การรวมกลุ่มต่อรองเป็นไปได้ยากมาก บางกลุ่มรวมตัวได้บรรษัทก็ใช้สายสัมพันธ์ที่มีกับรัฐเข้าไล่บี้ ดังกรณีผู้ปลูกข้าวโพดเมล็ดพันธุ์ที่ถูกสารวัตรเกษตรอายัดเมล็ดพันธุ์จำนวนมากเกินจำเป็น จนทำให้เกิดความเสียหาย เพราะกลุ่มสหกรณ์ส่งไปขายดีจนแย่งตลาดเมล็ดข้าวโพดของบรรษัท

บทความชิ้นนี้มิได้ต่อต้านเกษตรพันธสัญญาอย่างเด็ดขาด แต่มุ่งเสนอให้เห็นว่า หากจะมีการส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบพันธสัญญาจะต้องทำในเงื่อนไขที่รัฐและสังคมสามารถควบคุมให้อยู่บนพื้นฐานของ “ความเป็นธรรม” ดังต่อไปนี้

1.    รัฐให้การคุ้มครองสิทธิของเกษตรกรในการเข้าถึงปัจจัยการผลิตอย่างมั่นคง เช่น การคุ้มครองพื้นที่เกษตร   การเข้าถึงเมล็ดพันธุ์พืช ตัวอ่อนสัตว์ โดยปราศจากการหวงกันสิทธิของบรรษัท เพื่อให้เกษตรกรมีสิทธิในการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์ที่เหมาะกับท้องถิ่นตนเอง และพัฒนาธุรกิจตน

2.    รัฐต้องควบคุมการจัดสรรทรัพยากรร่วมให้อยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืน เช่น การรุกพื้นที่ป่าสงวนเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวจนเป็นสาเหตุของภัยธรรมชาติ รวมทั้งการยึดลำน้ำและชายฝั่ง

3.    รัฐเข้ามามีบทบาทในการควบคุมการทำสัญญาให้มีความเป็นธรรม มีกลไกในการบริหารจัดการสัญญาให้เกิดความเป็นธรรมต่อคู่สัญญา   และส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อย

4.    การประกันสิทธิของเกษตรกรให้รักษาวิถีการผลิตของชุมชนโดยการจัดหาช่องทางตลาดทางเลือก

5.    การเปิดพื้นที่สื่อสาธารณะให้มีข้อมูลของเกษตรพันธสัญญาอย่างรอบด้านมิใช่เพียงข้อมูลชวนเชื่อ

หากรัฐสร้างเงื่อนไขข้างต้นได้ เกษตรพันธสัญญาก็อาจเป็นวิธีหลุดพ้นจากความยากจน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

จับตาคดีนักศึกษายะลาถูกซ้อม หลังยื่นรายงานแพทย์ผลจากการทรมาน

Posted: 20 Jun 2011 12:18 PM PDT

คดีนักศึกษายะลาถูกซ้อมทรมาน ศาลปกครองกำหนดวันสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริง ทนายความจัดส่งรายงานนิติจิตเวชศาสตร์ประกอบคำฟ้อง ยืนยันเหยื่อได้รับผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจ

ในวันที่ 20 มิถุนายน 2554 ศาลปกครองสงขลากำหนดเป็นวันสิ้นสุดการแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีหมายเลขดำที่ 187 , 188 / 2552 ที่นายอิสมาแอ เตะ ผู้ฟ้องคดีที่ 1 และนายอามีซี มานาก ผู้ฟ้องคดีที่ 2 ยื่นฟ้องกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม เป็นผู้ถูกฟ้องคดี ทนายความได้นำส่งรายงานการแพทย์ ซึ่งเป็นรายงานผลการตรวจสภาพร่างกายและจิตใจของนายอิสมาแอ เต๊ะ ผู้ร้องที่ 1 เพื่อยืนยันความเสียหายต่อร่างกายและจิตใจของเหยื่อที่ถูกซ้อมทำร้ายร่างกายและทรมานเพื่อให้รับสารภาพในเหตุการณ์ก่อความไม่สงบ ผู้ฟ้องคดีที่ 1 และผู้ฟ้องคดีที่ 2 เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดยะลา ทำกิจกรรมนักศึกษาในช่วงปี 2550-2551 แต่ตกเป็นผู้ต้องสงสัยแลถูกตรวจค้นบ้านพัก ถูกควบคุมตัวตามกฎอัยการศึก  ต่อมาได้รับการปล่อยตัวและไม่เคยถูกตั้งข้อหาในคดีอาญาแต่อย่างใด

คดีนี้เป็นคดีแรกที่เหยื่อผู้ถูกควบคุมตัวและซ้อมทรมานตามอำนาจของกฎอัยการศึกในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ใช้สิทธิทางศาลในการฟ้องคดีเพื่อให้หน่วยงานรัฐ (กองทัพบกและกระทรวงกลาโหม) รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ซึ่งอยู่ในสังกัดของตนที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 โดยยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552 และต่อมาศาลแพ่งได้โอนคดีไปศาลปกครองสงขลา เนื่องจากการใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกอยู่ในอำนาจศาลปกครอง ศาลได้แสวงหาข้อเท็จจริงทั้งจากผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีเป็นเวลากว่า 2 ปี

การทรมานถือเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงในทางสากล เนื่องจากเป็นการกระทำโดยผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รูปแบบการทรมานในปัจจุบันมักไม่ปรากฏร่องรอยทางร่างกาย ทำให้เป็นปัญหาในทางคดีที่ไม่สามารถพิสูจน์ความเสียหายจนไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิดได้ อย่างไรก็ตาม เหยื่อการทรมานที่ผ่านสภาพเลวร้ายจากการทรมาน แม้จะไม่ปรากฏร่องรอบทางร่างกาย แต่มีปรากฏร่องรอยผลกระทบทางจิตใจคงอยู่ยาวนาน 

ดังนั้น ปัญหาผลกระทบจากการทรมานในลักษณะดังกล่าวจึงถูกคลี่คลายลงด้วยการตรวจสอบผลกระทบทางจิตใจจากการผ่านเหตุการณ์เลวร้ายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในคดีนี้ นายอิสมาแอได้รับการตรวจร่างกายและผลกระทบทางจิตใจหลังผ่านเหตุการณ์เลวร้าย (Post-traumatic stress disorder) หรือPTSD และจัดทำเป็นรายงานทางการแพทย์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีความเป็นอิสระ 2 ท่านที่เป็นสมาชิกของสภาเพื่อฟื้นฟูผู้ถูกทรมานระหว่างประเทศ (International Rehabilitation Council for torture victims) หรือ IRCT ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งอยู่ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก และมีวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและพัฒนาการทำงานด้านนิติวิทยาศาสตร์และนิติจิตเวชศาสตร์ต่อเหยื่อที่ถูกซ้อมทรมานทั่วโลกภายใต้พิธีสารอิสตันบูล ซึ่งเป็นคู่มือสืบสวนสอบสวนและบันทึกข้อมูลหลักฐานอย่างมีประสิทธิภาพกรณีการทรมานหรือการลงโทษอื่นๆ ที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Istanbul Protocol: Manual on the Effective Investigation and Documentation of Torture and other cruel, Inhuman or Degrading Treatment of Punishment) หรือที่เรียกว่าพิธีสารอิสตันบูล เป็นหลักการมาตรฐานสากลในการบันทึกรวบรวมพยานหลักฐานกรณีการทรมานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางให้ความช่วยเหลือคุ้มครองและเยียวยาเหยื่อผู้เสียหายจากการถูกซ้อมทรมานอย่างมีประสิทธิภาพ  

กลไกการคุ้มครองและป้องกันการซ้อมทรมานในระดับสากลจะช่วยลดช่องว่างและข้อบกพร่องในการสืบสวนสอบสวนกรณีการซ้อมทรมานในประเทศไทย และในขณะที่ PTSD ยังไม่ได้ถูกนำมาพัฒนาใช้ในการพิจารณาให้การช่วยเหลือเยียวยาเหยื่อการทรมาน แต่เป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดีที่จะสามารถยืนยันความร้ายแรงของการทรมานที่ส่งผลกระทบทางจิตใจของเหยื่ออย่างยาวนานมากกว่าอาการบาดเจ็บทางร่างกาย ส่งผลให้เหยื่อการทรมานไม่สามารถได้รับการเยียวยาหรือชดใช้ค่าเสียหายอย่างเป็นธรรม และยังส่งผลให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ตามอำเภอใจเนื่องจากไม่ถูกลงโทษจากความผิดที่ตนกระทำ และหน่วยงานผู้บังคับบัญชาอาจละเลยไม่กำกับดูแลจนหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบยิ่งลดน้อยและถูกทำลายลง

คดีนี้จึงเป็นคดีแรกที่มีการยื่นรายงานทางการแพทย์จากการทรมานเพื่อประกอบการพิจารณาของศาล และเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการเยียวยาความเสียหายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 32 ซึ่งบัญญัติถึงสิทธิของบุคคลที่จะไม่ถูกทรมานและสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาอย่างเหมาะสม [1] ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไป

 

 


[1] มาตรา 32 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย

การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้แต่การลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้

การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ

ในกรณีที่มีการกระทำซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหาย พนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย มีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทำเช่นว่านั้น รวมทั้งจะกำหนดวิธีการตามสมควรหรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้

 

 

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

“สลัม 4 ภาค” บุก กทม.ทวงถามความคืบหน้า “โฉนดชุมชน”

Posted: 20 Jun 2011 11:27 AM PDT

สลัม 4 ภาค รวมตัวประท้วง กทม.ทวงถามกรณี 4 พื้นที่นำร่อง “โฉนดชุมชน” ไม่มีความคืบหน้า ด้าน รองผู้ว่าฯ ‘พรเทพ’ ขอเวลา 2 สัปดาห์ ทำรายงานแจ้งกรอบเวลาทำงาน แจงให้ผ่านช่วงเลือกตั้ง ส.ส.ไปก่อน จะชัดเจนมากขึ้น

 
วานนี้ (20 มิ.ย.54) ชาวบ้านจากเครือข่ายสลัม 4 ภาค กว่า 100 คน รวมตัวกันบริเวณลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อสอบถามความคืบหน้าในการออกโฉนดชุมชนให้กับ 4 ชุมชนนำร่องในพื้นที่กรุงเทพ ประกอบด้วย 1.ชุมชนเพชรคลองจั่น เขตบึงกุ่ม 2.ชุมชนหลัง สน.ทองหล่อ เขตวัฒนา 3.ชุมชนโรงหวาย เขตสวนหลวง และ 4.ชุมชนหลวงวิจิตร เขตคันนายาว ตามที่ กทม.เคยรับปากจะแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการให้ชาวบ้านทราบเป็นระยะๆ แต่หลายเดือนที่ผ่านมากลับไม่มีการแจ้งความคืบหน้าใดๆ
 
นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯ กทม.ซึ่งมารับเรื่องและเจรจากับชาวบ้าน กล่าวว่า ที่ผ่านมา กทม.ได้ตั้งคณะทำงานที่มีความรู้เพื่อดำเนินการทำโฉนดชุมชน ซึ่งเมื่อเข้าไปทำงานจะให้ข้อมูลที่ชัดเจนแก่ชาวบ้านด้วย พร้อมยืนยันว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความจริงใจในทำเรื่องนี้ให้สำเร็จโดยเร็วที่สุด
 
นายพรเทพ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาอาจยังไม่ได้กรอบเวลาการทำงาน แต่หลังจากนี้อีก 2 สัปดาห์ จะทำรายการให้ทราบถึงกรอบระยะเวลาในการทำงาน แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถบอกอะไรได้ เพราะมีหลายหน่วยงานรับผิดชอบในเรื่องนี้ด้วย โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทย ดังนั้น ขอให้ผ่านช่วงเลือกตั้ง ส.ส.ไปก่อน หลังจากนั้นจะมีความชัดเจนมากขึ้น
 
 
 
ภาพ: บรรยากาศการชุมนุม
 
ภาพ: รองผู้ว่าฯ กทม.ลงมายืนยันกับชาวบ้านเครือข่ายสลัม 4 ภาค จะดำเนินการโฉนดชุมชนต่อเพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย
 
เรียบเรียงจาก: กรุงเทพธุรกิจ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทหารหวังปกครองพิเศษช่วยดับไฟใต้

Posted: 20 Jun 2011 10:34 AM PDT

ผบ.ฉก.ปัตตานี 23 ชี้ใช้ทหารตำรวจดับไฟใต้ไม่เหมาะ หวังปกครองพิเศษปัตตานีมหานครแก้ปัญหาได้ พรรคประชาธรรมคิดดึงพรรคเล็กรวมกลุ่มหลังเลือกตั้ง

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2554 ที่ห้องน้ำพราว 2 โรงแรม ซีเอส ปัตตานี สำนักคณะกรรมการเลือกตั้ง จัดเสวนาทางวิชาการ “พลเมืองกับการเลือกตั้งที่เที่ยงธรรม : สู่การดับไฟใต้” มีนักการเมือง ข้าราชการ และภาคประชาสังคมเข้าร่วมประมาณ 50 คน

ในเวทีเปิดโอกาสให้ตัวแทนพรรคการเมืองนำเสนอนโยบายแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีเพียง 2 ตัวแทนพรรคการเมืองเท่านั้นที่เข้าร่วม คือ พรรคประชาธรรม และพรรความหวังใหม่ จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมแสดงความเห็น

พ.ท.ชาคริต สนิทพ่วง ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจ(ฉก.)ปัตตานี 23 กล่าวในการแสดงความเห็นว่า ตนอยากเห็นกติกาใหม่ที่ดีขึ้นมาใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผ่านมา ทั้งฝ่ายทหาร และฝ่ายขบวนการต่างทำผิดกติตา จนนำไปสู่การใช้ความรุนแรง

“การใช้ทหาร ตำรวจ ในการแก้ไขปัญหา ไม่ใช่เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม ผมหวังว่า การเสนอเขตปกครองพิเศษปัตตานีมหานคร จะเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาพื้นที่ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้” พันโทชาคริต กล่าว

นายอับดุลกอริม เจะแซ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เขต 1 จังหวัดยะลาพรรคประชาธรรม เปิดเผยในวงเสวนาว่า หลังเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พรรคประชาธรรมอาสาเป็นตัวกลางในการพูดคุยกับพรรคขนาดเล็กที่ส่งผู้สมัครเลือกตั้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาทิ พรรคความหวังใหม่ มาตุภูมิ แทนคุณแผ่นดิน และอื่นๆ รวมเป็นพรรคเดียว เพื่อให้เกิดพลังในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่

นายอับดุลกอริม เปิดเผยอีกว่า ไม่ว่าพรรคประชาธรรมจะได้รับการเลือกตั้งหรือไม่ พรรคประชาธรรมก็จะอาสาเป็นตัวแทนคนในพื้นที่ไปเจรจากับฝ่ายขบวนการก่อความไม่สงบ เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรง

นายแวอุเซ็ง แวอาลี ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 ปัตตานี พรรคความหวังใหม่ กล่าวว่า นโยบายการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของพรรค คือ การปกครองพิเศษปัตตานีมหานคร ตามที่พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เคยเสนอ

สำหรับองค์กรร่วมจัดงานนี้ ประกอบด้วย สภาพัฒนาการเมือง,มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย,สถาบันสิทธิมนุษยชน และสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล,สถาบันวิจัยความขัดแย้ง และหลากหลายทางวัฒนธรรมทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย สำนักข่าวอามาน และศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชายแดนใต้ เลือกใคร? ผลสำรวจปัจจัยที่มีผลต่อการลงคะแนน

Posted: 20 Jun 2011 10:27 AM PDT

เผยผลสำรวจมูลนิธิเอเชีย อิทธิพลต่อการลงคะแนนเลือกตั้งของคนชายแดนภาคใต้ ข้อค้นพบ 7 หัวข้อ ชี้ผู้นำศาสนามีอิทธิผลมากสุด ขัดแย้งกับคนส่วนใหญ่ของประเทศ

 
 
ในเมื่อคนในชายแดนภาคใต้แตกต่างกับคนส่วนใหญ่ของประเทศไทยในหลายเรื่อง ทั้งอัตลักษณ์ ภาษา ศาสนาและวัฒนธรรม แล้วในเรื่องการเมืองต่างกันไหม คำถามที่น่าสนใจในบรรยากาศก่อนเลือกตั้งอย่างนี้ คือ อะไรที่มีอิทธิพลต่อการเลือกลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
 
ในหนังสือเรื่อง “ประชาธิปไตยและความขัดแย้งในภาคใต้” การสำรวจผู้มีสิทธิเลือกตั้งในยะลา นราธิวาสและปัตตานี ของมูลนิธิเอเชีย ได้นำเสนอข้อค้นพบจากการสำรวจผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา นราธิวาส และ ปัตตานี เป็นครั้งแรก หัวข้อหนึ่งในนั้น คือ อิทธิพลที่มีต่อการเลือกลงคะแนน
 
คิม แมคเควย์ ผู้แทนประเทศไทย มูลนิธิเอเชีย กล่าวในคำนำว่า การสำรวจใช้วิธีสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว โดยสุ่มตัวอย่างจากตัวแทนประชากรผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 750 คน ระหว่างวันที่ 2 กรกฎาคม ถึง วันที่ 30 สิงหาคม 2553 โดยการสนับสนุนขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา หรือ ยูเสด (United State Agency for International Development) ดำเนินการโดย MIAdvisory
 
คิม บอกว่า การสำรวจครั้งนี้เป็นงานสืบเนื่องจากการสำรวจระดับประเทศในปี 2552 เป้าหมายสำคัญ คือ เพื่อให้ข้อมูลและมุ่งวัดความรู้และทัศนคติต่อประชาธิปไตยและสถาบันประชาธิปไตยของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อประเมินกระบวนการสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทย
 
คำถามสำหรับหัวข้อ “อิทธิพลที่มีต่อการเลือกลงคะแนน” นี้ มี 7 คำถาม ผลการสำรวจของแต่ละคำถามมีดังนี้
 
การเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง
คำถาม คือ คนที่แตกต่างกันต้องคำนึงถึงปัจจัยที่แตกต่างกัน เมื่อตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับการเลือกตั้งกรุณาบอกเราว่า ปัจจัยอะไรที่มีความสำคัญมากที่สุดต่อคุณ?
 
ผลสำรวจ พบว่า ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คือ ความพร้อมในการทำงานและการเข้าถึงตัวได้ง่ายของผู้สมัครรับการเลือกตั้ง 44% (ผลการสำรวจระดับประเทศ 50%)
ปัจจัยสำคัญอื่นๆ ประกอบด้วย การศึกษา 20% (ระดับประเทศ17%) และความสำเร็จของบุคคล10% (ระดับประเทศ10%) ความเคร่งครัดในศาสนาและค่านิยม 9% (เฉพาะในชุมชนมุสลิม10% ส่วนชุมชนชาวพุทธมีเพียง 1%)
 
การเลือกพรรคการเมือง
คำถาม คือ สำหรับพรรคการเมือง อะไรคือคุณสมบัติที่คุณคำนึงถึงมากที่สุด?
 
ผลสำรวจ พบว่า ในการเลือกพรรคการเมือง มีความแตกต่างเล็กน้อยระหว่างคนไทยระดับประเทศและในภาคใต้ตอนล่าง ไม่นับการให้ความสำคัญต่อผู้นำของพรรคการเมืองในระดับประเทศ และความสำคัญของพรรคการเมือง ที่เชื่อมโยงกับศาสนาในภาคใต้ตอนล่าง
 
คนไทยที่มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ ใช้เหตุผลในการเลือกพรรคการเมือง ตัวอย่างเช่น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่มองย้อนกลับไปในอดีต เพื่อหาตัวบ่งชี้ผลงานที่พรรคจะทำในอนาคต 55% (ระดับประเทศ 57%)
 
ส่วนใหญ่กล่าวว่า ประวัติศาสตร์ในอดีตหรือความสำเร็จของพรรค เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของพวกเขา โดยประวัติศาสตร์ของพรรคและความสำเร็จในอดีต มีความสำคัญต่อชุมชนชาวพุทธ 60% ชุมชนมุสลิม 53%
 
โดยมี 22% (เท่ากับระดับประเทศ) คิดว่าแผนงานในปัจจุบัน ของพรรคมีความสำคัญมากที่สุด ขณะที่ 19% เลือกบนพื้นฐานของบุคลิกและความสำเร็จของผู้นำพรรค
 
สำหรับผู้ที่อยู่ในภาคใต้ตอนล่าง 10% เห็นว่า ผู้นำพรรคสำคัญน้อยกว่าความมีสัมพันธ์กับศาสนา
      
อิทธิพลของผู้นำท้องถิ่น
คำถาม คือ “เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะรู้จักผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีหลายคน หรือผู้สมัครคนใดจะดีที่สุดสำหรับพื้นที่ของเรา ดังนั้นควรจะเชื่อคำแนะนำของผู้นำท้องถิ่น เมื่อต้องตัดสินใจที่จะเลือกใคร”
 
คำตอบ คือ ให้ระบุว่า เห็นด้วยมาก เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยมาก
 
ผลสำรวจ พบว่า16% ของคนไทยทั้งประเทศคิดว่า มีเหตุผลที่รับได้ในการทำตามคำแนะนำของผู้นำท้องถิ่น แต่ภาคใต้ตอนล่าง 37% ยึดถือความคิดเห็นนั้นอยู่ ดังนั้น จึงยิ่งทำให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดการศึกษาสำหรับพลเมืองในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยิ่งกว่าส่วนอื่นของประเทศไทย
 
ข้อค้นพบนี้สนับสนุนความรับรู้ที่ว่า สังคมในภาคใต้ตอนล่างเป็นสังคมที่ยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมาอย่างมาก เช่นเดียวกับที่ได้เห็นในข้อค้นพบอื่นๆ
 
แม้จะมีการกล่าวอ้างเสมอว่า ผู้นำท้องถิ่นมีอิทธิพลเหนือกว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาก แต่ข้อค้นพบจากการสำรวจเป็นไปในทางตรงกันข้าม โดยมีเพียง 16% ในระดับประเทศเห็นด้วยว่า การทำตามคำแนะนำของผู้นำท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้
 
อย่างไรก็ตาม มากกว่าหนึ่งในสาม หรือ 37% ของผู้ตอบแบบสอบถามในภาคใต้ตอนล่าง กลับยอมรับอิทธิพลของผู้นำท้องถิ่น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสูงอายุจะคล้อยตามความเห็นของผู้นำท้องถิ่นมากกว่า โดย 22% ของผู้ที่มีอายุ 50 ปี ในระดับประเทศ และ 40% ในภาคใต้ตอนล่าง
 
ในระดับประเทศ ผู้หญิง (18%) รับอิทธิพลของผู้นำท้องถิ่นมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย (13%) แต่ในภาคใต้ตอนล่าง ทั้งหญิงและชายได้รับอิทธิพลไม่แตกต่างกัน รวมทั้งกลุ่มชาวพุทธและมุสลิม (38%) ด้วย
 
คำตอบต่อคำถามนี้ในภาคอื่นของประเทศก็ค่อนข้างคล้ายกัน ยกเว้นภาคอีสาน ที่มีหนึ่งในสี่ (25%) กล่าวว่า เป็นเรื่องที่มีเหตุผลที่ต้องฟังผู้นำท้องถิ่น ส่วนภาคอื่นๆ มีเพียง 11%
 
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ผู้ที่อยู่ในภาคใต้ตอนล่าง มีโอกาสรับอิทธิพลของผู้นำท้องถิ่นในการตัดสินใจทางการเมืองมากที่สุด
โดยผู้ที่จบการศึกษาระดับอนุปริญญา/อาชีวะศึกษา และผู้จบประถมศึกษาในภาคใต้ตอนล่างได้รับอิทธิพลสูง มากกว่าเป็นสองเท่า (44% และ 40% ตามลำดับ) ของผู้จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย (20%)
 
อิทธิพลของครอบครัว
คำถาม คือ คุณคิดว่าสมาชิกของครอบครัวควรทำตามคำแนะนำของหัวหน้าครอบครัวเมื่อต้องตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับการลงคะแนนเสียงหรือเขาควรตัดสินใจเลือกด้วยตัวเขาเอง ?
 
ผลสำรวจ พบว่า ในระดับประเทศ ประชาชน 90% เชื่อว่า สมาชิกในครอบครัวควรตัดสินใจด้วยตัวเองในการเลือกตั้ง
ข้อค้นพบนี้ ค่อนข้างตรงกันในภูมิภาคต่างๆ ยกเว้นในภาคเหนือและภาคใต้ตอนล่างที่ 18% คิดว่า สมาชิกในครอบครัวควรทำตามคำแนะนำของหัวหน้าครัวเรือน และ 21% ในกลุ่มที่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาก็มีความคิดเช่นนี้
 
ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นมุสลิม 19% ให้การยอมรับมากต่อคำแนะนำของครอบครัว เปรียบเทียบกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวพุทธที่มีเพียง 6% เท่านั้น
 
ผู้หญิงที่มีสิทธิเลือกตั้งในปัตตานี 27% เป็นผู้ที่เชื่อฟังมากที่สุดในภาคใต้ตอนล่าง ขณะที่ผู้ชายที่มีสิทธิเลือกตั้งในยะลา 6% เป็นผู้ที่ยอมรับอิทธิพลของครอบครัวน้อยที่สุด
 
บทบาทของศาสนาในการเมือง
คำถาม คือ พระหรือผู้นำทางศาสนามักถูกมองว่า เป็นผู้นำทางศีลธรรมในชุมชน บางคนจึงกล่าวว่า ผู้นำศาสนาควรเกี่ยวข้องกับการเมืองให้มากขึ้น ขณะที่บางคนเห็นว่าควรหลีกเลี่ยงในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางโลก และควรสนใจเฉพาะเรื่องศีลธรรมและศาสนาของชุมชน ข้อไหนใกล้เคียงกับความคิดเห็นของคุณ ?
 
ผลสำรวจ พบว่า มีเพียง 8% ของคนไทยระดับประเทศคิดว่า ผู้นำศาสนาควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองให้มากขึ้น ชาวมุสลิมในภาคใต้ตอนล่างถึง 31% และชาวพุทธ 7% สนับสนุนความคิดนี้
 
36% ของครัวเรือนที่มีรายได้ระดับกลาง ต้องการให้ผู้นำศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองมากขึ้น ส่วนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำมีเพียง 25% เท่านั้น
 
ข้อค้นพบเหล่านี้ชี้ว่า ขณะที่สังคมแบบจารีตนิยมของภาคใต้ตอนล่างมีศาสนาเป็นรากฐาน ก็มีการใช้เหตุผลของวิถีประชาธิปไตย เพื่อข้ามเส้นแบ่งทางศาสนาอยู่ด้วยเช่นกัน
 
อิทธิพลของผู้นำศาสนา
คำถาม คือ ถ้าผู้นำศาสนาของคุณชักชวนให้คุณสนับสนุนพรรคหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ คุณคิดว่าการชักชวนนั้นจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคุณในการเลือกตั้งอย่างไร ? มาก น้อย ไม่มาก หรือไม่มีเลย ?
 
ผลสำรวจ พบว่า นอกจากจะมีฉันทามติที่เป็นเอกฉันท์ร่วมกันว่า ไม่ต้องการให้ผู้นำทางศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง
 
คนส่วนใหญ่ในระดับชาติ คือ 91% มีความเห็นคล้ายกันว่า ความคิดเห็นทางการเมืองของผู้นำทางศาสนา มีผลเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีผลเลยต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของพวกเขา
 
ข้อนี้ แตกต่างจากภาคใต้ตอนล่างอย่างชัดเจน เพราะ 34% ของทั้งหญิงและชาย ระบุว่า ผู้นำศาสนาสามารถมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของพวกเขา
 
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และมากกว่า 60 ปี (40% และ 41% ตามลำดับ) เป็นผู้ที่เปิดรับอิทธิพลเหล่านั้นมากที่สุด
 
ขณะที่ผู้ที่มีอายุ 30 ปี และผู้ที่มีระดับรายได้สูง เป็นผู้ที่ได้รับอิทธิพลจากผู้นำทางศาสนาน้อยที่สุด (26% และ 25% ตามลำดับ) แต่ยังคงห่างไกลจากค่าเฉลี่ยระดับประเทศ
 
การรับรู้เรื่องการซื้อเสียง
คำถาม คือ ถ้ามีพรรคการเมืองเสนอที่จะให้เงิน อาหาร หรือของขวัญแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนี้ จะมีสักกี่คนที่ลงคะแนนเสียงให้เพราะเหตุนั้น มาก บางส่วน น้อย เกือบไม่มีเลย ?
 
ผลสำรวจ พบว่า เสียงส่วนใหญ่ คือ 58% ของระดับประเทศและ 64% ในภาคใต้ตอนล่าง เชื่อว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งของเขา อาจจะได้รับอิทธิพลจากการซื้อเสียง
 
ไม่ว่าความเชื่อนี้จะถูกหรือผิด ก็ได้ทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการเลือกตั้ง และความชอบธรรมของผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้ง
 
ข้อค้นพบนี้เห็นพ้องกันอย่างมากทุกภูมิภาค โดยความแตกต่างมากที่สุด คือคำตอบที่ว่า “เกือบไม่มีเลย” ซึ่งเรียงลำดับจากมากคือ 16% ในชนบทภาคเหนือ ถึงน้อยเพียง 7% ในชนบทภาคใต้ และ 5% ในภาคใต้ตอนล่าง
 
เมื่อผลสำรวจชี้อย่างนี้แล้ว จากนี้คงต้องดูต่อไปว่า การเลือกตั้งในพื้นที่ชายแดนใต้ครั้งนี้จะออกมาอย่างไร 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

โกอินเตอร์ สื่อฝรั่งแปลวลีเด็ด “ดีแต่พูด”

Posted: 20 Jun 2011 10:13 AM PDT

แอนดรูว์ สปูนเนอร์ ผู้สื่อข่าวอิสระ เขียนบทความลงในเว็บไซต์ http://asiancorrespondent.com แปลความหมาย “ดีแต่พูด” เป็นภาษาอังกฤษ “He’s only good at talking.” ระบุเป็นวลีทรงพลังที่จะเป็นเสมือนคำจารึกเหนือหลุมฝังศพทางการเมืองของอภิสิทธิ์

แอนดรูว์ สปูนเนอร์ เขียนบทความ Thailand’s PM Abhisit Vejjajiva: “He’s only good at talking.” เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. กล่าวถึงกรณีที่จิตรา คชเดช ชูป้ายหาเสียง “ดีแต่พูด” โดยกล่าวว่า สิ่งที่ทำให้อภิสิทธิ์ ซึ่งเป็นชนชั้นนำที่จบการศึกษาจากอีตันและอ็อกซ์ฟอร์ดระคายเคือง ก็คือการที่ผู้นำสหภาพแรงงานหญิงคนหนึ่งซึ่งมีรกรากจากจังหวัดสุพรรณบุรีชูแขนที่ปราศจากอภิสิทธิ์ใดๆ ขึ้นมาสร้างความเสื่อมเสียให้กับนายอภิสิทธิ์

สปูนเนอร์อธิบายด้วยว่า จิตรานักกิจกรรมหัวก้าวหน้าชนชั้นรากหญ้า ซึ่งไม่ใช่คนของเพื่อไทย หรือเครือข่ายเสื้อแดงที่สนับสนุนทักษิณ เธอเป็นแกนนำสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ และเข้าร่วมกิจกรรมในการประท้วงของคนเสื้อแดง จิตราชูป้ายประท้วงนายอภิสิทธิ์เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ระหว่างที่นายอภิสิทธิ์กำลังแสดงปาฐกถา เธอลงมือเขียนข้อความลงบนแผ่นกระดาษด้วยลายมือตัวเองว่า “ดีแต่พูด”

สปูนเนอร์สำทับว่า วลี “ดีแต่พูด” ซึ่งสื่อต่างประเทศจำนวนมากอาจจะยังไม่รู้นั้น กำลังจะกลายมาเป็นสโลแกนสำคัญสำหรับฝ่ายตรงข้ามอภิสิทธิ์ และวลีสั้นๆ ที่ทรงประสิทธิภาพนี้ จะเป็นเสมือนคำจารึกเหนือหลุมฝังศพให้กับอาชีพนักการเมืองของอภิสิทธิ์ที่กำลังตกต่ำลง

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

นักข่าวพลเมือง: อัพเดท 765 รายชื่อ หนุนเลิก “โซตัส”

Posted: 20 Jun 2011 09:50 AM PDT

 
หลังจากที่มีการเปิดเผยรายชื่อ 146 กลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัย นักกิจกรรมเพื่อสังคมและบุคคลทั่วไป ที่ร่วมกันลงชื่อใน “จดหมายเปิดผนึกถึงประชาคมมหาวิทยาลัยมหาสารคามและสังคมไทย เรียกร้องให้ปฏิรูประบบการรับน้อง/ห้องเชียร์” รวมถึงให้กำลังใจกับนักศึกษาผู้ประท้วงการรับน้องของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) ในคืนวันที่ 5 มิ.ย.54 นั้น
 
นิสิตชูป้ายต่อต้านระบบโซตัส ส่วนหนึ่งจาก "คลิปรับน้อง มมส." จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.54 ที่กลายเป็นประเด็นถกเถียงทางสังคมเกี่ยวกับการรับน้อง
 
ล่าสุดวันนี้ (20 มิ.ย.54) ผู้สื่อข่าวได้เข้าไปตรวจสอบรายชื่อผู้ร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกถึงประชาคมมหาวิทยาลัยมหาสารคามและสังคมไทย เรียกร้องให้ปฏิรูประบบการรับน้อง/ห้องเชียร์ ล่าสุดมียอด 765 รายชื่อแล้ว (คลิกดูรายชื่อทั้งหมดได้ที่ https://www.facebook.com/event.php?eid=125579787523543) หลังจากมีการเผยแพร่จดหมายฉบับดังกล่าวพร้อมรายชื่อ 146 รายชื่อที่ประกอบด้วยกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัย นักกิจกรรมเพื่อสังคมและบุคคลทั่วไปแล้ว เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา
 
จากการสังเกตรายชื่อทั้ง 765 รายชื่อที่ร่วมลงชื่อนั้นในส่วนที่ระบุที่มาของตนเอง ส่วนมากเป็นนักศึกษาโดยเฉพาะในสายสังคมศาสตร์ เช่น รัฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ อักษรศาสตร์ เป็นต้น โดยมหาวิทยาลัยที่ลงชื่อมากที่สุดคือ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รองลงมาเป็นจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบุรพา มหาวิทยาลัยรามคำแหง และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตามลำดับ
 
อนึ่ง ในวันเดียวกับที่มีการเปิดเผยจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ (วันที่ 9 ม.ย.54) ทางอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ ผศ.ดร.ศุภชัย สมัปปิโต ได้ออกมาชี้แจงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า “กิจกรรมเป็นการส่งต่อวัฒนธรรมรุ่นพี่รุ่นน้อง แจงกิจกรรมในคลิปเป็น ‘การประชุมเชียร์’ สอนให้รักสถาบัน ร้องเพลงสถาบันได้ รู้สึกผูกผันสถาบัน เด็กเป็นลมเรื่องธรรมดาเพราะมีคนเยอะ” อีกทั้งยังกล่าวหาฝ่ายต่อต้านรับน้องว่าเป็น “พวกร้อนวิชาสิทธิมนุษยชน” หวังสร้างสถานการณ์เปิดวงเสวนา"
 
เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1 ในผู้ร่วมลงรายชื่อ 765 รายชื่อ กล่าวให้สัมภาษณ์ต่อประเด็นดังกล่าวว่า จากคำสัมภาษณ์ของอธิการบดีในข่าว ท่านพูดเหมือนกับว่ากิจกรรมทุกอย่างอยู่ในความสอดส่องดูแลของผู้บริหาร ตรงนี้ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าเป็นการพูดเพื่อป้องกันข้อกล่าวหาเรื่องความหย่อนยานที่จะตามมารึไม่ แต่การพูดเช่นนี้หมายความว่าทุกอย่างอยู่ในความรับรู้และเห็นดีเห็นชอบของผู้บริหาร ซึ่งผมมองว่าอันตรายมาก เพราะจากคลิปที่เราได้ดู ก็เห็นว่ามันมีความพยายามที่จะปกปิด ไม่ให้มีการเผยแพร่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยผู้จัดเอง
 
“ถ้าเรามองว่ามีปัญหาเกิดขึ้นกับกิจกรรมนี้ แล้วจะตีความคำพูดของอธิการว่าเข้าข่าย "สมรู้ร่วมคิด" ได้รึไม่? อธิการบดีพร้อมจะรับผิดชอบถ้ามี "เหตุสุดวิสัย" เกิดขึ้นแต่เพียงผู้เดียวหรือ?” เกรียงศักดิ์ ตั้งคำถาม
 
เกรียงศักดิ์ ยังได้ตั้งข้อสังเกตอีกว่า ข่าวที่ว่าสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ต้องการให้ผู้บริหาร มมส.ชี้แจงกรณีนี้เป็นลายลักษณ์อักษร แสดงให้เห็นว่า สกอ.มองว่ามันมีปัญหาอยู่ และเท่าที่ได้อ่านรองอธิการฝ่ายพัฒนานิสิตของ มมส. ก็แสดงความเห็นในทำนองยอมรับว่ามีสิ่งผิดปกติอยู่ ถ้าอย่างนั้นแปลว่าคำพูดของผู้บริหารไม่สอดคล้องกัน ตรงนี้จะตีความว่าอธิการออกมาปกป้องนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่กำลังถูกตั้งคำถามจากสังคมได้รึไม่ ถ้าอย่างนั้นแสดงว่าท่านไม่เป็นกลาง ไม่เป็นประชาธิปไตยใช่หรือไม่
 
“ผมคิดว่าการที่ท่านพยายามเบี่ยงเบนประเด็นว่าเป็นการวางแผนเอาไว้ล่วงหน้าหรือสร้างสถานการณ์โดยนักศึกษาบางกลุ่มอาจทำให้เกิดความแตกแยกภายในประชาคมมากขึ้น และน่าจะทำให้การจัดการปัญหาเป็นไปยากขึ้น” เกรียงศักดิ์ ระบุ
 
“สุดท้าย ผมมองว่าประเด็นเรื่องโซตัสเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับระบบการศึกษาไทย ไม่ใช่แค่ มมส.แห่งเดียว การวินิจฉัยถูก-ผิดโดยคนๆ เดียวคงจะทำไม่ได้แน่นอน และเราก็รู้ดีว่ามีคนจำนวนมากอึดอัดและไม่เห็นด้วยกับระบบนี้ ฉะนั้น ผมคิดว่าต้องมีการระดมความเห็น ทั้งในระดับสังคมและในระดับประชาคมแต่ละแห่ง เพื่อทบทวนประสบการณ์ที่ผ่านมาว่าเราได้และเสียอะไรไปบ้างจากระบบนี้ มันคุ้มรึเปล่าที่จะมีต่อไป แล้วถ้าคนส่วนใหญ่ต้องการจะเปลี่ยน จะเปลี่ยนกันอย่างไร” เกรียงศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย
 
 
 
จดหมายเปิดผนึกถึงประชาคมมหาวิทยาลัยมหาสารคามและสังคมไทยเรียกร้องให้ปฏิรูประบบการรับน้อง/ห้องเชียร์
 
สืบเนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างกิจกรรม “รับน้อง” ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งถูกเผยแพร่ทางยูทูปตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2554 ระบุว่าเป็นภาพเหตุการณ์ในคืนวันที่ 5 มิถุนายน 2554 นั้น พวกเรา กลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัย นักกิจกรรมเพื่อสังคมและบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในประเด็นนี้ ต้องการแสดงความวิตกกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นในกิจกรรม “รับน้อง” ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมถึงในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ และต้องการให้กำลังใจกับกลุ่มนักศึกษาเสียงข้างน้อยกลุ่มหนึ่งที่ลุกขึ้นแสดงจุดยืนเพื่อปกป้องสิทธิและเสรีภาพของทุกคนในการแสดงความเห็นตามวิถีทางที่เป็นประชาธิปไตยและสันติวิธี
 
พวกเราทุกคนตามรายชื่อท้ายจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ รู้สึกหดหู่และสะท้อนใจกับสิ่งที่นักศึกษาส่วนใหญ่กระทำกับนักศึกษาผู้ประท้วงกลุ่มนี้ โดยเฉพาะกับทัศนคติและท่าทีของผู้จัดกิจกรรมที่ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง และไม่เปิดโอกาสให้นักศึกษาผู้ประท้วงได้ทำการชี้แจงและ/หรือเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในวงกว้างกับนักศึกษาผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด
 
พวกเราทุกคนมีความเชื่ออย่างมั่นคงและจริงใจว่ามหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถานศึกษาขั้นสูงต้องเป็นพื้นที่ที่สมาชิกทุกคนได้รับการประกันสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นขั้นพื้นฐาน และควรเป็นสถานที่บ่มเพาะและขัดเกลาให้เชื่อมั่นและยึดถือในคุณค่าประชาธิปไตยและคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมของทุกคน ไม่ใช่สถานที่บ่มเพาะและปลูกฝังให้ยอมจำนนต่อการใช้อำนาจที่ไร้ความชอบธรรมหรือการบังคับกล่อมเกลาให้ฝักใฝ่ในระบบเผด็จการอำนาจนิยม รวมทั้งระบบอุปถัมภ์แบบจารีต ซึ่งสวนทางกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง
 
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์นี้เป็นเพียงกรณีตัวอย่าง หรือหนึ่งในกิจกรรมที่เกิดขึ้นทั่วไปในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาจนอาจเรียกได้ว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติอัน “ศักดิ์สิทธิ์” ที่ไม่อาจถูกตั้งคำถามหรือ “ลบหลู่” ในมหาวิทยาลัยหลายแห่งก็ว่าได้ ดังจะเห็นได้จากข้อโต้แย้งหรือคำอธิบายของผู้จัดกิจกรรมตามที่ได้ประจักษ์จากวิดีโอนี้ พวกเราจึงเชื่อมั่นว่าวัฒนธรรมการรับน้องแบบนี้จะยังเกิดขึ้นต่อไปในสถานศึกษาทุกแห่งตามที่เคยได้ปฏิบัติกันมา หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและค่านิยมของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะตัวนิสิตนักศึกษาเอง
 
ถึงแม้พวกเราจะเชื่อว่ากิจกรรม “รับน้อง” ที่ถูกออกแบบจากวิธีคิดดังกล่าว ในนามของระบบ “โซตัส” จะเป็นกิจกรรมที่ ไม่สร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้เกิดการใช้ความรุนแรงอย่างเสรี ปลอดจากความรับผิดชอบและไม่ควรจะได้รับอนุญาตให้เกิดขึ้นต่อไปอีกนั้น แต่พวกเราก็ไม่เชื่อมั่นเช่นกันว่าการบังคับออกคำสั่งจากผู้บริหารสถานศึกษาหรือการกำหนดบทลงโทษกับนักศึกษาผู้จัดกิจกรรมจะเป็นวิถีทางที่ถูกต้องและเหมาะสม ที่จะทำให้ระบบการศึกษาไทยหลุดพ้นจากวัฒนธรรมเผด็จการอำนาจนิยมไปได้
 
พวกเรากลับเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงจะต้องเกิดจากความต้องการที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อของนักศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจการนักศึกษาทั้งระบบ รวมถึงการตระหนักรู้ต่อความอันตรายและผลกระทบเชิงอุดมการณ์ของระบบ “โซตัส” นี้จากสังคมไทยเองด้วย สุดท้าย พวกเราขอให้กำลังใจกับนักศึกษาผู้ประท้วงในเหตุการณ์ดังกล่าว รวมทั้งนิสิตนักศึกษาและ/หรือผู้ใดก็ตามที่เชื่อมั่นในแนวทางเดียวกันและกำลังสร้างสรรค์กิจกรรมรูปแบบใหม่เพื่อช่วยให้ระบบการศึกษาของไทยหลุดพ้นจากค่านิยมและทัศนคติที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตยเช่นนี้
 
 
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เครือข่ายองค์กรอีสานแถลงต้านย้ายคณบดี นิติฯ มข. ชี้โยงเหตุช่วยเหลือสิทธิมนุษยชน

Posted: 20 Jun 2011 09:46 AM PDT

20 มิถุนายน 2554 เครือข่ายองค์กรประชาชนอีสาน ร่อนแถลงการณ์ประณามอธิการบดี มข. ระบุใช้อำนาจเผด็จการสั่งเด้งคณบดีคณะนิติศาสตร์ให้ไปเป็นอาจารย์ประจำคณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ เปิดทางให้คนของตนนั่งแทน

ในแถลงการณ์ระบุด้วยว่า เครือข่ายฯ มีข้อกังขาอยู่หลายประเด็น และตั้งข้อสังเกตว่าแนวทางการทำงานของคณบดีคนเดิมที่มุ่งปกป้องสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมให้ชุมชนรักษาสิทธิของตนเอง และคอยยืนเคียงข้างชาวบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อนเมื่อเกิดปัญหาการละเมิดสิทธิฯ ขึ้นนั้น เป็นมูลเหตุสำคัญสำหรับการถูกปลดในครั้งนี้ พร้อมเรียกร้องให้ประชาชนผู้รักความเป็นธรรมได้ลุกขึ้นมาช่วยกันตรวจสอบพฤติกรรมของอธิการบดี มข.ด้วย...
 
 0 0 0

แถลงการณ์ ฉบับที่ 1

ประณามนายกิตติชัย  ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดี มข.
ลุแก่อำนาจปลดคณบดีนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยของประชาชนซึ่งได้มีคุณูปการต่อสังคมไทยหลายด้านในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  การเปิดคณะนิติศาสตร์ ซึ่งเป็นสาขาเรียนใหม่ขึ้นในมหาวิทยาลัยขอนแก่นย่อมเป็นสิ่งที่ตอกย้ำความดีความงามและความก้าวหน้ามหาวิทยาลัยขอนแก่น  เนื่องจากคณะนิติศาสตร์  มข. ได้เปิดโอกาสให้เอกชนและภาคประชาชน คือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบโครงการพัฒนาของรัฐเข้ามาเรียนรู้วิชากฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิของตนเอง  และนั่นเพราะคณะนิติศาสตร์ มข. มีนโยบายที่ทำงานใกล้ชิดกับชุมชนเพื่อเข้าใจสภาพปัญหาของชุมชน  สิ่งที่เป็นรูปธรรมชัดเจนคือการเปิดศูนย์นิติธรรมและสิทธิมนุษยชน ขึ้น เพื่อเป็นหน่วยงานช่วยเหลือคดี  เป็นที่ปรึกษากฎหมายและรับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนผู้เดือดร้อนและส่งต่อการช่วยเหลือคดีไปยังหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

สำหรับนายกิตติบดี  ใยพลู ผู้มีส่วนกำหนดนโยบายของคณะนิติศาสตร์ ย่อมเป็นบุคคลที่ปกป้องการละเมิดสิทธิมนุษยชน และส่งเสริมให้ชุมชนรักษาสิทธิของตนเอง เมื่อชาวบ้านถูกจับกุมดำเนินคดีเนื่องจากการเรียกร้องสิทธิฯ นายกิตติบดี จะเป็นผู้ที่ออกหน้าประกันตัวชาวบ้านทันที  ซึ่งเป็นเรื่องที่หาได้ยากมากในยุคที่ผลประโยชน์มาก่อนความถูกต้องเป็นธรรม

เมื่อเผด็จการทางการศึกษา นายกิตติชัย  ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น  สั่งปลดด่วนนายกิตติบดี ใยพลู ไปเป็นอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อปูทางให้ลูกน้องของตนเองเข้ามากุมอำนาจและแสวงหาผลประโยชน์ในคณะนิติศาสตร์  สิ่งที่สังคมตั้งคำถามและข้อสงสัย คือ ทำไมต้องปลด ? ,มีเหตุผลอะไร ?,นายกิตติบดีมีความผิดอะไร?, การปลดครั้งนี้เป็นมติสภามหาลัยหรือไม่ ?,และที่มาของสภามหาลัยเป็นอย่างไร?, มีสัดส่วนภาคประชาชนหรือไม่? แล้วในอนาคตคณะนิติศาสตร์จะยังคงยืนเคียงข้างประชาชนหรือไม่?

จากพฤติกรรมของซากเดนอำนาจนิยมเผด็จการที่แฝงตัวในคราบนักการศึกษาที่กระทำการในครั้งนี้ ย่อมส่งผลสะท้อนต่อสังคมในวงกว้างที่เรียกร้องประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลในขณะนี้ เราจึงขอเรียกร้องให้องค์กรประชาชนผู้รักความเป็นธรรม ช่วยกันตรวจสอบ “ซากเดน” ตัวนี้เพื่อให้สังคมไทยมีความถูกต้องเป็นธรรมต่อไป
 

                                                                  ด้วยจิตคารวะ
                                           เครือข่ายองค์กรประชาชนอีสาน
20 มิถุนายน 2554

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

คดีคนงานถูกฟ้อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ นัดสืบพยาน เม.ย.ปีหน้า

Posted: 20 Jun 2011 09:07 AM PDT

กรณีนางปาริชาติ พลพละ ผู้จัดการสาขาของบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน)(ทีไอจี) ฟ้องนายสงคราม ฉิมเฉิด พนักงานจัดส่งแก๊ส สาขาสมุทรสาคร บริษัท ไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นอนุกรรมการสหภาพฯ ในข้อหาหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดยระบุว่า มีการส่งอีเมลหมิ่นประมาทไปยังองค์กรต่างๆ

ล่าสุด (20 มิ.ย.54) ศาลจังหวัดสมุทรปราการ นัดพร้อมเพื่อตรวจพยานหลักฐานและแถลงการณ์เปิดคดี โดยอัยการโจทก์ จำเลย และนางปาริชาต พลพละ ผู้เสียหายมาศาล ทั้งนี้ เนื่องจากผู้เสียหายแถลงไม่ติดใจเอาความกับจำเลยในความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 จึงให้จำหน่ายคดีสำหรับข้อหาดังกล่าวออกจากสารบบความคงเหลือความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งจำเลยยังยืนยันให้การปฏิเสธ โดยมีการนัดสืบพยานโจทก์จำนวน 7 ปาก ในวันที่ 24 และ 25 เมษายน 2555 และนัดสืบพยานจำเลยจำนวน 6 ปาก ในวันที่ 26 และครึ่งวันของวันที่ 27 เมษายน 2555

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

พระเจ้าอยู่หัวฯ ให้ประธานศาลฎีกาเฝ้าฯ ทรงย้ำผู้พิพากษาต้องเป็นกลางทั้งในและนอกศาล

Posted: 20 Jun 2011 09:02 AM PDT

ทรงมีพระบรมราโชวาทให้ผู้พิพากษาทำหน้าที่เพื่อความยุติธรรม เพื่อความสงบสุขของประเทศชาติ ถ้าปฏิบัติดี ประเทศชาติมีความสงบได้เพราะว่าคนต้องมีการขัดแย้งกัน ท่านต้องเป็นกลางทุกกรณีทั้งในและนอกโรงศาล ด้านอดีตรองประธาน คมช. ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนรับตำแหน่งองคมนตรี

วันนี้ (20 มิ.ย.) เวลา 17.24 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออก ณ ห้องประชุม สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายสบโชค สุขารมณ์ ประธานศาลฎีกา นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่

โอกาสนี้ นายวิรัช ชินวินิจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม นายไพโรจน์ นวานุช ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ประจำสำนักงานประธานศาลฎีกา นายวรวุฒิ ทวาทศิน เลขาธิการประจำประธานศาลฎีกา และ นายสราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ร่วมเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย

โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระบรมราโชวาทให้คณะผู้พิพากษาดังนี้

“คำปฏิญาณของผู้พิพากษาเป็นคำปฏิญาณที่สำคัญมาก เพราะว่าอย่างที่ท่านได้เปล่งวาจา ท่านก็จะต้องทำหน้าที่เพื่อความยุติธรรม เพื่อความสงบสุขของประเทศชาติ ฉะนั้น ถ้าท่านปฏิบัติดี ก็ทำให้ประเทศชาติ มีความสงบได้ เพราะว่าคนก็ต้องมีการขัดแย้งกัน ท่านต้องเป็นกลางในทุกกรณี ทั้งเวลาท่านอยู่ในโรงศาล และนอกโรงศาล ฉะนั้น ก็ขอให้ท่านได้รักษาคำปฏิญาณที่ท่านได้เปล่งด้วยความเข้มแข็งนี้ รักษาเอาไว้ทุกเมื่อ และถือว่าเป็นหน้าที่ในชีวิต ก็ขอให้ท่านได้ปฏิบัติงานด้วยความสามารถ มีความเข้มแข็ง และจะเป็นความดีของท่าน จะเป็นความสงบของประเทศชาติ ก็ขอให้ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเข้มแข็งตามที่ท่านได้กล่าว และสามารถจะปฏิบัติตาม ขอให้ท่านมีความสำเร็จ มีความสุขในงานการ เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติ”

ต่อจากนั้น พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี นำ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ทหารหวังปกครองพิเศษช่วยดับไฟใต้

Posted: 20 Jun 2011 08:41 AM PDT

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2554 ที่ห้องน้ำพราว 2 โรงแรม ซีเอส ปัตตานี สำนักคณะกรรมการเลือกตั้ง จัดเสวนาทางวิชาการ “พลเมืองกับการเลือกตั้งที่เที่ยงธรรม : สู่การดับไฟใต้” มีผู้นักการเมือง ข้าราชการ และภาคประชาสังคม เข้าร่วมประมาณ 50 คน

ในเวทีเปิดโอกาสให้ตัวแทนพรรคการเมืองนำเสนอนโยบายแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีเพียง 2 ตัวแทนพรรคการเมืองเท่านั้นที่เข้าร่วม คือ พรรคประชาธรรม และพรรความหวังใหม่ จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมแสดงความเห็น

พ.ท.ชาคริต สนิทพ่วง ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจ(ฉก.)ปัตตานี 23 กล่าวในการแสดงความเห็นว่า ตนอยากเห็นกติกาใหม่ที่ดีขึ้นมาใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผ่านมา ทั้งฝ่ายทหาร และฝ่ายขบวนการต่างทำผิดกติตา จนนำไปสู่การใช้ความรุนแรง

“การใช้ทหาร ตำรวจ ในการแก้ไขปัญหา ไม่ใช่เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม ผมหวังว่า การเสนอเขตปกครองพิเศษปัตตานีมหานคร จะเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาพื้นที่ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้” พันโทชาคริต กล่าว

นายอับดุลกอริม เจะแซ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เขต 1 จังหวัดยะลาพรรคประชาธรรม เปิดเผยในวงเสวนาว่า หลังเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พรรคประชาธรรมอาสาเป็นตัวกลางในการพูดคุยกับพรรคขนาดเล็กที่ส่งผู้สมัครเลือกตั้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาทิ พรรคความหวังใหม่ มาตุภูมิ แทนคุณแผ่นดิน และอื่นๆ รวมเป็นพรรคเดียว เพื่อให้เกิดพลังในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่

นายอับดุลกอริม เปิดเผยอีกว่า ไม่ว่าพรรคประชาธรรมจะได้รับการเลือกตั้งหรือไม่ พรรคประชาธรรมก็จะอาสาเป็นตัวแทนคนในพื้นที่ไปเจรจากับฝ่ายขบวนการก่อความไม่สงบ เพื่อหาทางออกเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรง

นายแวอุเซ็ง แวอาลี ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 ปัตตานี พรรคความหวังใหม่ กล่าวว่า นโยบายการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของพรรค คือ การปกครองพิเศษปัตตานีมหานคร ตามที่พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เคยเสนอ

สำหรับองค์กรร่วมจัดงานนี้ ประกอบด้วย สภาพัฒนาการเมือง,มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย,สถาบันสิทธิมนุษยชน และสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล,สถาบันวิจัยความขัดแย้ง และหลากหลายทางวัฒนธรรมทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย สำนักข่าวอามาน และศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ชายแดนใต้ เลือกใคร? ผลสำรวจอิทธิพลสั่งลงคะแนน

Posted: 20 Jun 2011 08:25 AM PDT

ในเมื่อคนในชายแดนภาคใต้แตกต่างกับคนส่วนใหญ่ของประเทศไทยในหลายเรื่อง ทั้งอัตลักษณ์ ภาษา ศาสนาและวัฒนธรรม แล้วในเรื่องการเมืองต่างกันไหม คำถามที่น่าสนใจในบรรยากาศก่อนเลือกตั้งอย่างนี้ คือ อะไรคืออิทธิพลที่มีต่อการเลือกลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

ในหนังสือเรื่อง “ประชาธิปไตยและความขัดแย้งในภาคใต้” การสำรวจผู้มีสิทธิเลือกตั้งในยะลา นราธิวาสและปัตตานี ของมูลนิธิเอเชีย ได้นำเสนอข้อค้นพบจารกการสำรวจผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา นราธิวาส และ ปัตตานี เป็นครั้งแรก หัวข้อหนึ่งในนั้น คือ อิทธิที่มีต่อการเลือกลงคะแนน

คิม แมคเควย์ ผู้แทนประเทศไทย มูลนิธิเอเชีย กล่าวในคำนำว่า การสำรวจใช้วิธีสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว โดยสุ่มตัวอย่างจากตัวแทนประชากรผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 750 คน ระหว่างวันที่ 2 กรกฎาคม ถึง วันที่ 30 สิงหาคม 2553 โดยการสนับสนุนขององค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา หรือ ยูเสด (United State Agency for International Development) ดำเนินการโดย MIAdvisory

คิม บอกว่า การสำรวจครั้งนี้เป็นงานสืบเนื่องจากการสำรวจระดับประเทศในปี 2552 เป้าหมายสำคัญ คือ เพื่อให้ข้อมูลและมุ่งวัดความรู้และทัศนคติต่อประชาธิปไตยและสถาบันประชาธิปไตยของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เพื่อประเมินกระบวนการสร้างประชาธิปไตยในประเทศไทย

คำถามสำหรับหัวข้อ “อิทธิพลที่มีต่อการเลือกลงคะแนน” นี้ มี 7 คำถาม ผลการสำรวจของแต่ละคำถามมีดังนี้

การเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง

คำถาม คือ คนที่แตกต่างกันต้องคำนึงถึงปัจจัยที่แตกต่างกัน เมื่อตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับการเลือกตั้งกรุณาบอกเราว่า ปัจจัยอะไรที่มีความสำคัญมากที่สุดต่อคุณ?

ผลสำรวจ พบว่า ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คือ ความพร้อมในการทำงานและการเข้าถึงตัวได้ง่ายของผู้สมัครรับการเลือกตั้ง 44% (ผลการสำรวจระดับประเทศ 50%)

ปัจจัยสำคัญอื่นๆ ประกอบด้วย การศึกษา 20% (ระดับประเทศ17%) และความสำเร็จของบุคคล10% (ระดับประเทศ10%) ความเคร่งครัดในศาสนาและค่านิยม 9% (เฉพาะในชุมชนมุสลิม10% ส่วนชุมชนชาวพุทธมีเพียง 1%)

การเลือกพรรคการเมือง

คำถาม คือ สำหรับพรรคการเมือง อะไรคือคุณสมบัติที่คุณคำนึงถึงมากที่สุด?

ผลสำรวจ พบว่า ในการเลือกพรรคการเมือง มีความแตกต่างเล็กน้อยระหว่างคนไทยระดับประเทศและในภาคใต้ตอนล่าง ไม่นับการให้ความสำคัญต่อผู้นำของพรรคการเมืองในระดับประเทศ และความสำคัญของพรรคการเมือง ที่เชื่อมโยงกับศาสนาในภาคใต้ตอนล่าง

คนไทยที่มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่ ใช้เหตุผลในการเลือกพรรคการเมือง ตัวอย่างเช่น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่มองย้อยกลับไปในอดีต เพื่อหาตัวบ่งชี้ผลงานที่พรรคจะทำในอนาคต 55% (ระดับประเทศ57%)

ส่วนใหญ่กล่าวว่า ประวัติศาสตร์ในอดีตหรือความสำเร็จของพรรค เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจของพวกเขา โดยประวัติศาสตร์ของพรรคและความสำเร็จในอดีต มีความสำคัญต่อชุมชนชาวพุทธ 60% ชุมชนมุสลิม 53%

โดยมี 22% (เท่ากับระดับประเทศ) คิดว่าแผนงานในปัจจุบัน ของพรรคมีความสำคัญมากที่สุด ขณะที่ 19% เลือกบนพื้นฐานของบุคลิกและความสำเร็จของผู้นำพรรค

สำหรับผู้ที่อยู่ในภาคใต้ตอนล่าง 10% เห็นว่า ผู้นำพรรคสำคัญน้อยกว่าความมีสัมพันธ์กับศาสนา

อิทธิพลของผู้นำท้องถิ่น

คำถาม คือ “เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะรู้จักผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มีหลายคน หรือผู้สมัครคนใดจะดีที่สุดสำหรับพื้นที่ของเรา ดังนั้นควรจะเชื่อคำแนะนำของผู้นำท้องถิ่น เมื่อต้องตัดสินใจที่จะเลือกใคร”

คำตอบ คือ ให้ระบุว่า เห็นด้วยมาก เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยมาก

ผลสำรวจ พบว่า 16% ของคนไทยทั้งประเทศคิดว่า มีเหตุผลที่รับได้ในการทำตามคำแนะนำของผู้นำท้องถิ่น แต่ภาคใต้ตอนล่าง 37% ยึดถือความคิดเห็นนั้นอยู่ ดังนั้น จึงยิ่งทำให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดการศึกษาสำหรับพลเมืองในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยิ่งกว่าส่วนอื่นของประเทศไทย

ข้อค้นพบนี้สนับสนุนความรับรู้ที่ว่า สังคมในภาคใต้ตอนล่างเป็นสังคมที่ยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบต่อกันมาอย่างมาก เช่นเดียวกับที่ได้เห็นในข้อค้นพบอื่นๆ

แม้จะมีการกล่าวอ้างเสมอว่า ผู้นำท้องถิ่นมีอิทธิพลเหนือกว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาก แต่ข้อค้นพบจากการสำรวจเป็นไปในทางตรงกันข้าม โดยมีเพียง 16% ในระดับประเทศเห็นด้วยว่า การทำตามคำแนะนำของผู้นำท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้

อย่างไรก็ตาม มากกว่าหนึ่งในสาม หรือ 37% ของผู้ตอบแบบสอบถามในภาคใต้ตอนล่าง กลับยอมรับอิทธิพลของผู้นำท้องถิ่น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสูงอายุจะคล้อยตามความเห็นของผู้นำท้องถิ่นมากกว่า โดย 22% ของผู้ที่มีอายุ 50 ปี ในระดับประเทศ และ 40% ในภาคใต้ตอนล่าง

ในระดับประเทศ ผู้หญิง (18%) รับอิทธิพลของผู้นำท้องถิ่นมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย (13%) แต่ในภาคใต้ตอนล่าง ทั้งหญิงและชายได้รับอิทธิพลไม่แตกต่างกัน รวมทั้งกลุ่มชาวพุทธและมุสลิม (38%) ด้วย

คำตอบต่อคำถามนี้ในภาคอื่นของประเทศก็ค่อนข้างคล้ายกัน ยกเว้นภาคอีสาน ที่มีหนึ่งในสี่ (25%) กล่าวว่า เป็นเรื่องที่มีเหตุผลที่ต้องฟังผู้นำท้องถิ่น ส่วนภาคอื่นๆ มีเพียง 11%

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ผู้ที่อยู่ในภาคใต้ตอนล่าง มีโอกาสรับอิทธิพลของผู้นำท้องถิ่นในการตัดสินใจทางการเมืองมากที่สุด

โดยผู้ที่จบการศึกษาระดับอนุปริญญา/อาชีวะศึกษา และผู้จบประถมศึกษาในภาคใต้ตอนล่างได้รับอิทธิพลสูง มากกว่าเป็นสองเท่า (44% และ 40% ตามลำดับ) ของผู้จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย (20%)

อิทธิพลของครอบครัว

คำถาม คือ คุณคิดว่าสมาชิกของครอบครัวควรทำตามคำแนะนำของหัวหน้าครอบครัวเมื่อต้องตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับการลงคะแนนเสียงหรือเขาควรตัดสินใจเลือกด้วยตัวเขาเอง ?

ผลสำรวจ พบว่า ในระดับประเทศ ประชาชน 90% เชื่อว่า สมาชิกในครอบครัวควรตัดสินใจด้วยตัวเองในการเลือกตั้ง

ข้อค้นพบนี้ ค่อนข้างตรงกันในภูมิภาคต่างๆ ยกเว้นในภาคเหนือและภาคใต้ตอนล่างที่ 18% คิดว่า สมาชิกในครอบครัวควรทำตามคำแนะนำของหัวหน้าครัวเรือน และ 21% ในกลุ่มที่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาก็มีความคิดเช่นนี้

ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นมุสลิม 19% ให้การยอมรับมากต่อคำแนะนำของครอบครัว เปรียบเทียบกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวพุทธที่มีเพียง 6% เท่านั้น

ผู้หญิงที่มีสิทธิเลือกตั้งในปัตตานี 27% เป็นผู้ที่เชื่อฟังมากที่สุดในภาคใต้ตอนล่าง ขณะที่ผู้ชายที่มีสิทธิเลือกตั้งในยะลา 6% เป็นผู้ที่ยอมรับอิทธิพลของครอบครัวน้อยที่สุด

บทบาทของศาสนาในการเมือง

คำถาม คือ พระหรือผู้นำทางศาสนามักถูกมองว่า เป็นผู้นำทางศีลธรรมในชุมชน บางคนจึงกล่าวว่า ผู้นำศาสนาควรเกี่ยวข้องกับการเมืองให้มากขึ้น ขณะที่บางคนเห็นว่าควรหลีกเลี่ยงในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางโลก และควรสนใจเฉพาะเรื่องศีลธรรมและศาสนาของชุมชน ข้อไหนใกล้เคียงกับความคิดเห็นของคุณ ?

ผลสำรวจ พบว่า มีเพียง 8% ของคนไทยระดับประเทศคิดว่า ผู้นำศาสนาควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองให้มากขึ้น ชาวมุสลิมในภาคใต้ตอนล่างถึง 31% และชาวพุทธ 7% สนับสนุนความคิดนี้

36% ของครัวเรือนที่มีรายได้ระดับกลาง ต้องการให้ผู้นำศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองมากขึ้น ส่วนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำมีเพียง 25% เท่านั้น

ข้อค้นพบเหล่านี้ชี้ว่า ขณะที่สังคมแบบจารีตนิยมของภาคใต้ตอนล่างมีศาสนาเป็นรากฐาน ก็มีการใช่เหตุผลของวิถีประชาธิปไตย เพื่อข้ามเส้นแบ่งทางศาสนาอยู่ด้วยเช่นกัน

อิทธิพลของผู้นำศาสนา

คำถาม คือ ถ้าผู้นำศาสนาของคุณชักชวนให้คุณสนับสนุนพรรคหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ คุณคิดว่าการชักชวนนั้นจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของคุณในการเลือกตั้งอย่างไร ? มาก น้อย ไม่มาก หรือไม่มีเลย ?

ผลสำรวจ พบว่า นอกจากจะมีฉันทามติที่เป็นเอกฉันท์ร่วมกันว่า ไม่ต้องการให้ผู้นำทางศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมือง

คนส่วนใหญ่ในระดับชาติ คือ 91% มีความเห็นคล้ายกันว่า ความคิดเห็นทางการเมืองของผู้นำทางศาสนา มีผลเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีผลเลยต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของพวกเขา

ข้อนี้ แตกต่างจากภาคใต้ตอนล่างอย่างชัดเจน เพราะ 34% ของทั้งหญิงและชาย ระบุว่า ผู้นำศาสนาสามารถมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของพวกเขา

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และมากกว่า 60 ปี (40% และ 41% ตามลำดับ) เป็นผู้ที่เปิดรับอิทธิพลเหล่านั้นมากที่สุด

ขณะที่ผู้ที่มีอายุ 30 ปี และผู้ที่มีระดับรายได้สูง เป็นผู้ที่ได้รับอิทธิพลจากผู้นำทางศาสนาน้อยที่สุด (26% และ 25% ตามลำดับ) แต่ยังคงห่างไกลจากค่าเฉลี่ยระดับประเทศ

การรับรู้เรื่องการซื้อเสียง

คำถาม คือ ถ้ามีพรรคการเมืองเสนอที่จะให้เงิน อาหาร หรือของขวัญแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนี้ จะมีสักกี่คนที่ลงคะแนนเสียงให้เพราะเหตุนั้น มาก บางส่วน น้อย เกือบไม่มีเลย ?

ผลสำรวจ พบว่า เสียงส่วนใหญ่ คือ 58% ของระดับประเทศและ 64% ในภาคใต้ตอนล่าง เชื่อว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งของเขา อาจจะได้รับอิทธิพลจากการซื้อเสียง

ไม่ว่าความเชื่อนี้จะถูกหรือผิด ก็ได้ทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการเลือกตั้ง และความชอบธรรมของผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกตั้ง

ข้อค้นพบนี้เห็นพ้องกันอย่างมากทุกภูมิภาค โดยความแตกต่างมากที่สุด คือคำตอบที่ว่า “เกือบไม่มีเลย” ซึ่งเรียงลำดับจากมากคือ 16% ในชนบทภาคเหนือ ถึงน้อยเพียง 7% ในชนบทภาคใต้ และ 5% ในภาคใต้ตอนล่าง

เมื่อผลสำรวจชี้ว่าอย่างนี้แล้ว ก็คงพอจะเดาออกได้บ้างว่า ใครจะได้รับเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งนี้ ในพื้นที่ชายแดนใต้ !

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ประชาไทบันเทิง: ทงบังชิงกิ เดอะซีรีย์ 2 ตอน Debut with Hug

Posted: 20 Jun 2011 07:55 AM PDT

ในที่สุด การรอคอยเพื่อเป็นศิลปินก็มาถึงหนุ่มนักฝันทั้งห้าคน ในนาม ทงบังชิงกิ และได้เริ่มเปิดตัวในวันที่ 26 ธันวาคม 2003 แม้ ณ เวทีนั้น ดาราที่แท้จริงคือ บริทนีย์ สเปียร์ และ BoA ไม่ใช่พวกเขา

แต่ความดีใจที่ได้แสดงมันเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังที่อัดแน่นกับเพลงซิงเกิ้ลแรกในชีวิตของพวกเขา “Hug”

ประชาไทบันเทิง: ทงบังชิงกิ เดอะซีรีย์ 2ตอน Debut with Hug

เพลง Hug เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องน่ารัก ที่บอกความหมายถึงการเป็นผู้ชายที่พร้อมจะปกป้องเธอเสมอ ท่าเต้นที่น่ารัก ใบหน้าที่น่ารักสดใสในเยาว์วัย ทำให้พวกเขาเป็นที่ต้องตาต้องใจวัยรุ่นสาวทั้งเกาหลี

เพลง Hug ที่มียอดจำหน่ายสองแสนกว่า และทำให้พวกเขาได้รางวัลนักร้องใหม่ยอดเยี่ยมประจำปี เพลงยอดเยี่ยม และมิวสิกวีดีโอยอดเยี่ยมแห่งปี

การเริ่มต้นเข้าสู่การเป็นวงนักร้องชายที่โด่งดังได้เริ่มขึ้นแล้ว พวกเขาได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเพราะตอนนั้นเป็นช่วงที่วงการเพลงเกาหลีอยู่ในช่วงซบ เซา ไม่มีอะไรใหม่ๆ เข้ามาให้ชื่นใจ นับตั้งแต่วงชินฮวา (แบบว่า ร้องเพลงเพราะด้วย หล่อด้วย มันไม่มี)

พวกเขาเริ่มออกรายการทีวี ออกรายการเพลง พร้อมๆ ไปกับการทำเพลง single ใหม่ The way you are ซึ่งมีท่าเต้นที่น่ารักและมีพลังที่สวยงามอีกเพลงหนึ่ง

การเป็นนักร้องใหม่ ที่ไม่เคยร้องเพลง ไม่เคยได้เล่นมิวสิกวีดีโอ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งใหม่ๆ ในชีวิต ทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก พวกเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า ในช่วงต้นของการเป็นนักร้อง การทำมิวสิกวีดีโอ เป็นอะไรที่ยากเย็นมาก และเป็นอะไรที่ล้วนแล้วแต่มีอุปสรรคที่เกิดจากการขาดประสบการณ์ของตนเอง พวกเขาถึงกับสลบเมื่อกลับไปยังที่พัก แต่พวกเขาพร้อมที่จะพยายามต่อไป

ใช่ค่ะ พวกเขาพักด้วยกันทั้งห้าคน อยู่กันอย่างเบียดเสียด (น่าสงสารเนอะ) เนื่องจากค่ายเพลงยังไม่รู้ว่า พวกเขาจะทำเงิน สร้างชื่อเสียงให้ได้มากแค่ไหน แต่ค่ายเพลงก็ลงทุนไปกับพวกเขามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการทำศัลยกรรมใบหน้าให้เหมาะสม การทำผม การฝึกสอนเต้น ร้อง การแสดง หัดเดินแบบ โพสภาพนิ่ง การพูดเมื่อต้องให้สัมภาษณ์

ในช่วงต้นของพวกเขา การให้สัมภาษณ์เป็นเรื่องยากที่สุด แจจุงถึงกับโดนขอให้เป็นคนที่เงียบ (ซึ่งเจ้าตัวมาให้สัมภาษณ์ทีหลังว่า เก็บกดมาก ฮ่าๆๆ) เนื่องด้วยแจจุงเป็นคนพูดจาตรงไปตรงมา ไม่มีอ้อมค้อม ยังไม่มีศิลปะในการพูด ในขณะที่คนอื่นก็เด็กเกินไปและขาดประสบกาม เอ้ย ประสบการณ์ ดังนั้น บทหนักจึงตกอยู่ที่หัวหน้าวง ยุนโฮ

อย่างไรก็ตาม พวกเขาจำเป็นต้องสร้างอิมเมจประจำตัวแต่ละคน ด้วยฝีมือผู้สร้างที่ชาญฉลาด ที่รู้ว่า สาวๆ แต่ละคน มีรสนิยมด้านเพศชายที่แตกต่างกัน ดังนั้น หนุ่มๆ ทั้งห้าคน ก็จะมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันด้วย

และชายหนุ่มที่มีบุคลิกที่แตกต่างทั้งห้าคนก็ก็จะสามารถแยกย้ายกันไปครอบครองหัวใจของสาวๆ ทั่วเกาหลีได้ให้ได้ครบทุกคน

ยุนโฮ จะเป็นคนที่มีบุคลิกที่มีความเป็นผู้นำ พลังแห่งการปกป้องดูแลทุกคน และมีวาทศิลป์ที่ยอดเยี่ยม เป็นผู้ชายที่สาวๆ อยากได้เป็นพ่อของลูก คิกๆๆๆๆ

แจจุง ที่ยังโดนขอให้พูดให้น้อย ก็จะมีบุคลิกที่มีเสน่ห์ลึกลับซับซ้อนน่าหลงใหลน่าค้นหา (ซึ่งตรงข้ามกับตัวจริงลิบลับ ฮ่าๆๆๆ ขำ) หลิ่มหลีว่า แจจุงเหมาะที่จะเป็นเพื่อนที่แสนดี

ในขณะที่ มิกกี้ ยูชอน เป็นตัวของตัวเองเต็มที่ ดูกรุ่มกริ่ม อินเตอร์ สบายๆ เจ้าชู้นิดๆ ขี้เล่นหน่อยๆ ผู้ชายคนนี้แหละที่ครอบครองหัวใจสาวๆ ไว้ได้มากมายที่สุด หลิ่มหลีเองก็เริ่มต้นจากการกรี๊ดมิกกี้นี่แหละ แต่ตอนหลังก็มาคิดได้ว่า ฉันไม่มีวันได้กินเขา ถ้าเอามิกกี้มาไว้ในหัวใจของหลิ่มหลี หลิ่มหลีก็จะมีแต่ช้ำใจ เพราะสาวๆ กรี๊ดมิกกี้เยอะเกินไป หลิ่มหลีขี้หึง หลิ่มหลีคงทำไม่ได้ หลิ่มหลีต้องตัดใจแต่ต้น

อร๊ายยยยยย อุตส่าห์เล่าเรื่องแบบคุมอารมณ์กรี๊ด ของตัวเองมาได้นาน ในที่สุด ก็หลุดจนได้สิ

เก็บอาการ เก็บอาการ อ่ะ ต่อค่ะ ต่อนะคะ

จุนซู ในเบื้องต้นจะมีบุคลิกที่ดูเป็นคุณชายที่ร่ำรวย เซ็กซี่ หยิ่งๆ ไม่สนใจสิ่งรอบกาย ในขณะที่มินนี่ หรือชางมิน จะมีบุคลิกที่สดใส ร่าเริง ขี้เล่น สบายๆ ไร้เดียงสา เนื่องด้วยอายุน้อยที่สุด แต่คู่นี้ต้องมาคุยคู่กันเพราะ นานวันไป สองคนนี้ มีบุคลิกที่สลับกันอย่างเห็นได้ชัด

ความมาแตกตรงนี้ จุนซูทำท่าน่ารักๆๆๆ ให้ดูเป็น น้องชายเกาหลีของชาวเกาหลีทั้งประเทศเมื่อเอามือสองข้างประสานกันใต้คางและยิ้มหวานเอียงคอไปมา ดูน่ารักอะไรเช่นนี้ ชางมินเลยต้องไปหาบุคลิกใหม่ เพราะโดนพี่จุนซูแย่งบุคลิกไปซะนี่ ...

ชางมินที่โดนจุนซูแย่งบุคลิกสดใสวัยเยาว์ไปนั้น หลายปีผ่านมา จะเห็นได้ว่า ชางมินกลายร่างเป็นเจ้าชายผู้ดูเย่อหยิ่งและหล่อเหลา งดงาม ชางมินช่างเหมาะที่จะเป็นนายแบบถ่ายรูปเท่ๆ จริงๆ เลย

หลังจากที่ได้แพทเทริน Image เพื่อเร้าใจสาวๆ ทั้งห้าคนก็มีบุคลิกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเพื่อดึงดูดใจสาวๆ และเวลาไปสัมภาษณ์ที่ไหน ก็ต้องแสดงออก หรือ ให้สัมภาษณ์ไปในทางที่ได้เซตอิมเมจเอาไว้

ทุกอย่างมีการดำเนินอย่างเป็นระบบ แบบแผน วางขั้นตอนทุกอย่างเป็นอย่างดี การออกไปรายการอะไรทั่วๆ ไป ก็จะให้หัวหน้าวงไปก่อน เนื่องจากมีทักษะในการพูดจาที่ดี อัธยาศัยดี เป็นที่รักของคนที่พบ ในขณะที่สมาชิกวงคนอื่นๆ ยังต้องฝึกฝนการเข้าหาผู้คนทั้งคนในวงการ และแฟนคลับ

แต่พวกเขา...ได้ฝันนั้นมาในมือแล้ว หน้าที่ต่อไปคือ ก้าวขึ้นไปเรื่อยๆ และรักษาโอกาสนั้นไว้ในมือให้นานที่สุด

โอกาสการเป็นศิลปินขึ้นเวทีร้องเพลง เพลงของพวกเขาเอง

Hug

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ตำรวจจับนักศึกษาขณะแจกเอกสาร-ซีดีโจมตีทักษิณ

Posted: 20 Jun 2011 07:14 AM PDT

ตำรวจจับนักศึกษา 6 คนขณะแจกเอกสาร-ซีดีโจมตีทักษิณ พร้อมอาวุธปืนและเครื่องกระสุน รับเพื่อนชวนมาทำงานแจกเอกสาร แต่ไม่ทราบว่าข้างในเป็นอะไร เมื่อทราบว่าเป็นอะไรแต่รับเงินมาแล้วต้องเลยตามเลย

มติชนออนไลน์ รายงานว่า วันนี้ (20 มิ.ย.) เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บุปผาราม กรุงเทพมหานคร เข้าควบคุมตัวชายวัยรุ่นไว้ได้ 6 คน ขณะกำลังแจกเอกสารและซีดีที่ย่านถนนลาดหญ้า แขวงและเขตคลองสาน ประกอบด้วย นายวุฒิชัย สอนทอง อายุ 27 ปี นายอภินันท์ เยือนเทพ อายุ 22 ปี นายภูมิพิพัฒน์ แก้วทอง อายุ 22 ปี นายอาวุธ อินทร์ชุนจิต อายุ 25 ปี นายเนตินันท์ คุนัญญานนท์ อายุ 22 ปี และ น.ส.สุกัญญา จันดอก อายุ 20 ปี พร้อมรถตู้ 3 คัน ทะเบียน ฮด 3464 กรุงเทพมหานคร 8778 กรุงเทพมหานคร และ 9314 นนทบุรี และยึดเอกสารจำนวน 8,000 ชุด และแผ่นซีดี "ทักษิณคิด ประเทศไทยหายนะ" กว่า 12,000 แผ่น ปืนลูกซอง 1 กระบอก และกระสุน 1 นัด จึงควบคุมตัวมาสอบสวนต่อที่ สน.บุปผาราม

สอบสวนเบื้องต้นทั้งหมดสารภาพว่า เป็นนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีเพื่อนชวนให้มาทำงาน ได้ค่าจ้างวันละ 500 บาท ตอนแรกไม่ทราบว่าเป็นอะไร เมื่อมาทำงานจึงทราบว่าเป็นเอกสารดังกล่าว แต่รับเงินมาแล้วจึงต้องเลยตามเลย เบื้องต้นทราบว่ามีการจ้างกันมาเป็นทอด นอกจากนี้ ยังมีผู้กระทำผิดอีกส่วนหนึ่งขับรถตู้ยี่ห้อโตโยต้า ทะเบียน ฮก 7578 กรุงเทพมหานคร พร้อมของกลางจำนวนหนึ่งหลบหนีไป จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงควบคุมตัวมาสอบสวนต่อที่ สน.บุปผาราม โดยมี พ.ต.อ.จีรศักดิ์ ขำคง รอง ผบก.น.8 และ พ.ต.อ.สมโภชน์ ทัศนา ผกก.สน.บุปผาราม ร่วมสอบปากคำ

พ.ต.อ.สมโภชน์ ทัศนา ผกก.สน.บุปผาราม กล่าวว่า จากการตรวจสอบเนื้อหาหนังสือพิมพ์เป็นการโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณเรื่องล้มเจ้า และเรื่องเผาบ้านเผาเมือง ส่วนในซีดีมีลักษณะคล้ายกัน ใช้วิธีตัดต่อจากข่าวโทรทัศน์ สำหรับคดีนี้เป็นความผิดทางการเมือง จึงตั้งคณะกรรมการ 2 ชุดตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ซึ่งจะทำการสอบสวนผู้ต้องหาอย่างละเอียด ก่อนเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น