ประชาไท | Prachatai3.info |
- กลุ่มเครือข่ายรณรงค์ประชาธิปไตยไม่ละเมิด ผลักดันพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ
- วอลเดน เบนโล : สมาิชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเทศฟิลิปปินส์
- ศาลยกคำร้อง ไม่ให้ประกัน 'จตุพร-นิสิต' คดีก่อการร้าย
- แม่นไหมไม่ทราบ : ดวงบ้านดวงเมือง ตอน หญิงมุมแดง ชายมุมฟ้า
- 'ไม่ประสงค์จะลงคะแนน' (Vote No) มีผลทางกฎหมายอย่างไร?
- ประชาไทบันเทิง: Planking อินเทรนด์แบบสลิ่ม
- 'ประชานิยม ประเทศวิบัติ' (แค่ภาพลวงตา)
- “อภิสิทธิ์” เจอส.ส.ฟิลิปปินส์ ฉะ “ประเทศที่ศิวิไลซ์จะไม่เอาปืนยิงใส่ประชาชน”
- วีดีโอ : เวทีอภิปรายสาธารณะ “ความท้าทายของ สื่อทีวีดาวเทียม-เคเบิล–วิทยุชุมชน และวิทยุท้องถิ่น กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองช่วงก่อนและหลังเลือกตั้ง”
- รายงาน: 11 นักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในคุกกรุงเทพฯ ปี 2011
- พบร่างมนุษย์ในอ่างเก็บน้ำสำหรับทำประปาที่สิงคโปร์
- นักสิทธิมนุษชนเสนอ10ข้อ แก้ปัญหาผู้ลี้ภัย
- YC สัมภาษณ์ 'คำ ผกา'
- กรรมการสิทธิฯ เผย "ผู้หนีภัยชาวอะห์มาดีย์" ถูก ตม.จับต่อเนื่อง จี้รัฐไทยดูแล
- ประมวล เพ็งจันทร์ : พุทธศาสนามีมิติทางสังคมหรือไม่? (จบ)
กลุ่มเครือข่ายรณรงค์ประชาธิปไตยไม่ละเมิด ผลักดันพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ Posted: 21 Jun 2011 10:14 AM PDT กลุ่มผู้เดือดร้อนจากการชุมนุมในย่านธุรกิจเปิดเวทีขอคำมั่นจากพรรการเมืองแก้วิกฤติการชุมนุมสาธารณะ โดยมีสามพรรคการเมืองเข้าร่วมได้แก่ ประชาธิปัตย์ รักษ์สันติ และชาติพัฒนาฯ ร่วมแถลงเพื่อผลักดันพรบ. การชุมนุมในที่สาธารณะ โดยมีนายกรณ์ จาติกวาณิช เป็นตัวแทนของพรรคประชาธิปัตย์ ได้แถลงว่าขณะนี้พรรคกำลังผ่านร่างพ.ร.บ.พร้อมแนะประชาชนอย่าเลือกพรรคที่สนับสนุนการเผาบ้านเผาเมือง วันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา กลุ่มเครือข่ายรณรงค์ประชาธิปไตยไม่ละเมิด และผู้เดือดร้อนจากการชุมนุมหลายพันคน ร่วมเปิดเวทีอภิปรายโดยมี 3 พรรคการเมืองเข้าร่วมแถลงนโยบายได้แก่ ประชาธิปัตย์ รักษ์สันติ และชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ณ ลาน Urban Space ติดเกษรพลาซ่า สี่แยกราชประสงค์ โดยได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งในส่วนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากการชุมนุมรวมถึงผู้ประกอบการ ผู้อยู่อาศัยและพนักงานบริษัทที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในภาคีฯ แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับนโยบายบริหารจัดการการชุมนุมในที่สาธารณะอย่างสันติ เล็งเสนอให้พื้นที่ย่านธุรกิจเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษปลอดการชุมนุมทางการเมืองเด็ดขาด หลังได้รับบทเรียนจากการชุมนุมทางการเมืองอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ธุรกิจเฉพาะภายในย่านที่เกิดการชุมนุมเสียหายกว่า 2 หมื่นล้านบาทโดยอ้างว่าปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการไม่มีกฎหมายที่เข้มงวดที่จะมาจัดการอย่างเด็ดขาด และมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้นายกรณ์ จาติกวาณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และรัฐมนตีว่าการกระทรวงการคลังแถลงในงานว่า “ในขณะนี้ พรรคประชาธิปัตย์ กำลังผ่านร่างกฎหมายพ.ร.บ. ชุมนุมที่สาธารณะ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการควบคุมการชุมนุม ให้อยู่ภายใต้กฎกติการตามกฎหมาย โดยกำหนดให้มีการแจ้งก่อนล่วงหน้า 7 วัน ก่อนชุมนุม โดยหากประชาชน ยินยอมที่จะให้รัฐบาลใช้กฎหมาย เราก็พร้อมจะใช้กฎหมายบังคับในบ้านเมือง“ นายกรณ์ปราศรัยต่อผู้มาร่วมงานกว่า 300 คน ว่า "เราจะไม่เลือกพรรคการเมืองที่สนับสนุนการใช้วิธีการชุมนุมที่รุนแรง ถ้าเราเลือกพรรคที่สนับสนุนให้มีการเผาบ้านเผาเมือง แสดงว่า สังคมไทยพร้อมยอมรับวิธีการต่อสู้แบบนั้น" พร้อมทั้งกล่าวโจมตีพรรคเพื่อไทยที่ไม่เข้าร่วมในงานนี้ว่า”การที่พรรคการเมืองต่างๆ มากันในวันนี้ เป็นสัญญาณที่ดีว่าเราคำนึงถึงหลักนิติรัฐ ในขณะที่ยิ่งลักษณ์ยังไม่สามารถให้คำมั่นสัญญาว่า หากเพื่อไทยไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล คนเสื้อแดงจะไม่ออกมา ทำให้เราไม่สามารถเชื่อมั่นพรรคเพื่อไทยได้" *กลุ่มเครือข่ายประชาธิปไตยไม่ละเมิด อธิบายตัวเองว่าเป็นการรวมกลุ่มของผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการชุมนุมที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตยและละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น อาทิ กลุ่มผู้ประกอบการและผู้อาศัยในย่าน ราชประสงค์ ประตู น้ำ สีลม ฯลฯ โดยไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองใดๆ และชี้แจงว่าเครือข่ายฯ มีพันธกิจหลัก คือ 1.สนับสนุนการชุมนุมและการประท้วงในระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล 2. ให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบและเดือดร้อนจากการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ 3.ร่วมผลักดันให้พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย และ 4.รณรงค์ให้การประท้วงและชุมนุมของกลุ่มต่างๆ มีการบริหารจัดการชุมนุมที่ดี โดยในปัจจุบันมีประชาชนร่วมลงนามสนับสนุนเครือข่ายฯ ราว 4,000 คน รวมทั้งทั้งผู้สนับสนุนเครือข่ายประชาธิปไตยไม่ละเมิดใน facebook: http://www.facebook.com/mailamert อีกกว่า1,200 คน สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
วอลเดน เบนโล : สมาิชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเทศฟิลิปปินส์ Posted: 21 Jun 2011 09:53 AM PDT |
ศาลยกคำร้อง ไม่ให้ประกัน 'จตุพร-นิสิต' คดีก่อการร้าย Posted: 21 Jun 2011 08:27 AM PDT 21 มิ.ย.54 ที่ศาลอาญา นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวนายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำ นปช. และผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และนายนิสิต สินธุไพร จำเลยคดีก่อการร้าย โดยใช้หลักทรัพย์เป็นเงินสดคนละ 2 ล้านบาท นายวิญญัติ กล่าวว่า เนื่องจากนายจตุพร เป็นอดีต ส.ส.และเป็นผู้สมัคร ส.ส. ย่อมไม่สามารถกระทำการใดเพื่อก่อเหตุอันตรายหรือความปั่นป่วน เพราะจะผิดกฎหมายนับตั่งแต่ศาลเพิกถอนประกันนายจตุพรไม่ได้กระทำการใดที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือสร้างความปั่นป่วน ทั้งไม่เคยมีประวัติอาชญากร และคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล การคุมขังดังกล่าวย่อมเกินความจำเป็น นอกจากนี้ยังเตรียมยื่นขอให้จตุพรออกไปใช้สิทธิในวันเลือกตั้ง 1 วัน แม้รัฐธรรมนูญมาตรา 100 จะบัญญัติห้ามผู้ต้องคุมขังโดยหมายศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายไปใช้สิทธิก็ตาม ต่อมาศาลอาญาพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ศาลอาญาและศาลอุทธรณ์เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้งสอง โดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตปล่อยชั่วคราว ยกคำร้อง สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
แม่นไหมไม่ทราบ : ดวงบ้านดวงเมือง ตอน หญิงมุมแดง ชายมุมฟ้า Posted: 21 Jun 2011 08:18 AM PDT มามี้และลีอองกลับมาประชาไทอีกครั้ง ในคอลัมน์ใหม่ ดวงบ้านดวงเมือง หลังจากห่างหายไปนานตั้งแต่คราวที่โดน ศอฉ. กระชับพื้นที่เว็บไซต์เมื่อปีก่อนโน้นนน คราวนี้มามาดใหม่ ทำนายเรื่องบ้านเรื่องเมืองมั่งดีกว่า เผื่อจะไม่โดนกระชับพื้นที่อีก ^_^ มามี้การะเกต์ รับหน้าที่ทำนาย ส่วนลีอองสาวน้อย ก็ตามมาให้กำลังใจเหมือนเคยจร้า
อองก็คิดนะ ว่าจะเป็นยังไงต่อไป พี่โด้ พี่โด้ว่าใครจะได้นั่งเก้าอี้ตัวนั้น อะไรกันพี่โด้นี่ ถามแค่นี้มีน้ำโหทำไม อ้าว ที่แท้พี่โด้ก็ตอบไม่ได้ใช่มะ โถ่ แล้วทำเป็นเท่
แม่นไหมไม่ทราบ หญิงมุมแดง VS ชายมุมฟ้า ใกล้ถึงวันชี้ชะตาประเทศ-ชาติเข้ามาแล้วทุกที ประสามามี้และลีอองก็ลุ้นๆ ตาม อดระทึกไม่ได้ว่าใครจะมา ใครจะไป ใครจะเข้าวิน และประชาชนพลเมืองอย่างเราๆ จะเป็นอย่างไร ลองมาเปิดไพ่ดูกันบ้างค่ะ จากครั้งก่อนที่่ “ถอดเลข” แต่ละพรรคเด่นๆ ไปแล้ว มาดูกันหน่อยสิว่า ระหว่าง “หญิง” กับ “ชาย” ใครจะ “ได้” มานั่งเก้าอี้ตัวสำคัญค่ะ หรือว่า ไพ่จะบอกอะไรเราเป็นพิเศษบ้างมั้ย?
ไพ่ตัวแทนของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ฝ่ายหญิงที่โดดเด่น (มุมแดง) The Moon ค่ะ เอ๊ะ ยังไง หน้าไพ่ใบนี้ มีความหมายเกี่ยวข้องกับดาวจันทร์ ความเป็นแม่ มารดา และเล่ห์เหลี่ยมอันไม่น่าไว้วางใจจากบุคคลและสถานการณ์รอบข้าง เจ้าชะตาหลายคนที่ได้ไพ่ใบนี้ มักเกี่ยวพันอยู่กับความหวาดระแวง ความกังวล จิตใต้สำนึกที่ไม่มีความมั่นคงทางใจ และอนาคตที่พร่ามัว เมื่อเจ้าชะตาผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งฝ่ายหญิง มุมแดง ได้ไพ่ใบนี้ ที่บอกว่าแปลก เพราะดูเหมือนสิ่งสำคัญในเวลานี้คือภาวะภายใน ความกังวลที่ลึกซึ้งและไม่อาจแสดงออก ตลอดจนแรงกดดันจากสิ่งที่มีอิทธิพลประดุจดวงจันทร์มีอิทธิพลต่อการขึ้น-ลงของกระแสน้ำ (!?!) พูดแบบบ้านๆ ก็คือ ตัวเจ้าชะตาและผู้เกี่ยวข้องเอง มีเรื่องหวั่นไหวอยู่ลึกๆ ถึงสิ่งที่มองด้วยตาเปล่ายากจะเห็น แต่มีแรงกระเพื่อมและการเคลื่อนไหวซึ่งรู้สึกถึง อุปมาว่าเจ้าชะตายืนเท้าเปล่าบนหาดทราย และมีการเคลื่อนไหวอยู่ใต้ดิน กระแสที่สั่นสะเทือนมาเป็นจังหวะ ไม่ได้มาแบบสึนามิ ไม่ได้ก่อตัวแบบพายุทอร์นาโด แต่ก็ชวนสังหรณ์ว่าจะมีแผ่นดินไหวหรืออาฟเตอร์ช็อคตามมา ลองมาดูไพ่ประกบกันอีกใบค่ะ สถานการณ์แปลกแท้ Wheel of Fortune ค่ะ ใครที่เป็นกองเชียร์มุมแดง น่าจะหายใจโล่งขึ้นล่ะค่ะ เพราะหน้าไพ่บอกถึงจังหวะ โอกาส เกมที่พลิกผัน จังหวะการพลิกเข้าสู่การเป็นฝ่ายที่มีแต้มต่อสูงกว่า ไพ่ใบนี้ หมายถึงจังหวะของโชคชะตาที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นจังหวะที่มาถึงในตอนไม่ทันกะพริบตา จุดสำคัญของไพ่ใบนี้ คือการ “คว้า” โอกาสให้ทัน และหมุนกงล้อไปในทิศทางที่ควรจะเป็น พูดแบบบ้านๆ ก็คือ ตีเหล็กตอนกำลังร้อน หรือน้ำขึ้นให้รีบตัก เจ้าชะตาใดที่ได้ไพ่ใบนี้ หากก่อนหน้านี้มีเรื่องย่ำแย่ ผิดหวัง จะมีสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เปอร์เซ็นของการได้นั่งเก้าอี้ 100 % (ไพ่หมายเลข 10) แต่ลบด้วยไพ่ดวงจันทร์ (ไพ่หมายเลข 18) โอกาสที่จะต้องกลับไปสู่เงามืดมีสูงถึง 80 % (!?!)
ลองมาดูฝ่ายชายกันบ้างค่ะ Two of Swords ค่ะ ไพ่ใบเล็กและมีความหมายในทางไม่สู้ดีนักค่ะ ความหมายหลักของไพ่ใบนี้ การสื่อสารที่ผิดพลาด การตัดสินใจที่ไม่ชัดเจน มีเรื่องพะว้าพะวังทางอารมณ์ และผู้คนรอบตัวไม่ว่าจะมิตรหรือศัตรู จะอยู่ในจุดพร่ามัวไปหมด สิ่งสำคัญที่สุดของไพ่ใบนี้คือ การพูดกันไม่รู้เรื่อง ดูจากหน้าไพ่ใบนี้แล้ว ต้องบอกว่า เป็นไพ่ของความผิดหวัง แต่ไม่ยอมรับความจริง และไม่เข้าใจด้วยว่าเกิดอะไรขึ้น สัญลักษณ์หน้าไพ่ใบนี้ เป็นคนที่ถือดาบไขว้กันอยู่ในมือ ปิดตา นั่งเผชิญหน้ากับ...ใครก็ตามที่เข้ามาประจันหน้า ความหมายอีกอย่างของไพ่ใบนี้ แม้จะมีคนที่ปรารถนาดี แต่ก็อาจมองเห็นเป็นมีเจตนาร้าย หรือบางครั้ง ไม่ได้ตั้งใจจะทำร้ายคนอื่น เพียงพยายามปกป้องตัวเอง แต่ก็นั่นล่ะ ฟาดดาบไปเสียสะเปะสะปะกระทั่งไม่ว่าใครก็เข้าใกล้ไม่ถึง เจ้าชะตาหลายคนที่ได้ไพ่ใบนี้ มักอยู่ในจุดที่กำลังติดกับตัวเอง เต็มไปด้วยอคติ หรือแวดล้อมด้วยคนที่มีอคติ เหมือนคนผูกตาตีกัน ยินเสียงเคลื่อนไหวหน้าหลังก็แยกแยะไม่ถูกว่าใครเป็นใคร เพื่อการเอาตัวรอดจึงมักจะ “ฟาด” เอาไว้ก่อน ถึงจุดหนึ่ง จึงตีกันวุ่นวาย ดูไพ่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะได้นั่งเก้าอี้หรือไม่ บอกว่าอารมณ์เสียอย่างแรง และพยายามปกป้องตำแหน่งแห่งหนของตัวเอง แต่ก็ดูเหมือนยิ่งทำ (ที่คิดว่า) ดี กลับยิ่งมีแต่ข้อผิดพลาด มาดูไพ่ประกบกันอีกใบค่ะ อ้าว! เอ๊ะ ยังไง ไพ่ใบนี้ ดีอย่างมากเชียวล่ะ ถ้าถามว่า เจ้าชะตามุมสีฟ้าคนนี้ จะได้นั่งเก้าอี้ไหม ได้ไพ่ใบนี้ ต้องบอกว่ามีโอกาสอย่างมาก และยังเป็นโอกาสที่เด่นกว่าไพ่ Wheel of Fortune อีกค่ะ อย่าลืมว่า Wheel of Fortune หมายถึง “จังหวะ” ซึ่งถ้าคว้าทันก็เป็นโชค แต่ถ้าคว้าไม่ได้ก็ปลิดปลิว จนกว่าจะถึงเวลาดีๆ รอบใหม่ แต่ไพ่ Ace of Pentacles ใบนี้ หมายถึงทุนในการเริ่มต้น, การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในสิ่งที่เป็นรูปธรรมและจับต้องได้, การมีทรัพย์, มีความพร้อมในการเริ่มต้นและก้าวต่อไปอีกมาก แต่กำลังสงสัยว่า เจ้าชะตามุมสีฟ้าที่ได้ไพ่ใบนี้ อาจต้องกลายเป็น “ทุน” หรือผู้สนับสนุนผู้อื่น ให้ต่อยอดออกไปสู่ความสำเร็จภายหน้า ประกบอีกสักใบค่ะ Knight of Cups เอาละสิ ใครกันนะ ใครกันนะ สถานการณ์ ท่าทางจะชวนลุ้นกันอย่างยิ่งต่อไปค่ะ เพราะถ้าดูจากหน้าไพ่ของฝ่ายชายแล้ว ก็มีภาษีดีไม่เบาเชียวล่ะ เอ...ไหนๆ ก็ไหนๆ ลองเสี่ยงทายกันอีกสักรอบ (ขอไพ่เป๊ะๆ หน่อยได้มั้ย!) ใครจะมา และใครจะไป Knight of Pentacles อัศวินหนุ่มที่มีทุนทรัพย์จะมาค่ะ (!?!).
หมายเหตุ 1 : ดูเองก็ยังสงสัยเองค่ะ จะมาทางไหน ตอนไหน อย่างไร และเป็นใคร ? ก็แม่นไหมไม่ทราบนะคะ ลองมาดูกันในอีกไม่กี่วันข้างหน้า หรือว่า...สถานการณ์จะเป็น The Moon เข้าจนได้ !?! หมายเหตุ 2 : ไพ่ Knight เกี่ยวข้องกับบุคคลในเครื่องแบบได้ค่ะ และ Knight of Cups ก็หมายถึงบุคคลที่มาด้วยความสัมพันธ์ส่วนตัว ความรักใคร่ชอบพอเป็นพิเศษ หรือบุคคลที่ว่านอนสอนง่าย สามารถดำเนินกิจการต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยดี (กระตือรือร้นเอาอกเอาใจ) และ Knight of Pentacles แปลได้อีกทางคือ ผู้ที่มาพร้อมการเงิน เกี่ยวข้องกับกลุ่มทุน นักธุรกิจ การเจรจาต่อรองอย่างคนที่มั่นใจของในมือตัวเองค่ะ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
'ไม่ประสงค์จะลงคะแนน' (Vote No) มีผลทางกฎหมายอย่างไร? Posted: 21 Jun 2011 08:02 AM PDT คุณอนุรักษ์ สง่าอารีย์กูล เลขานุการแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา ได้เขียนบทความ “ผลทางนิตินัยของบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนน (VOTE NO)” เผยแพร่โดยกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 19 มิถุนายน 2554 ที่ http://bit.ly/juTJyf และโดยคมชัดลึก วันเดียวกัน ที่ http://bit.ly/lDZ6nc และโดย ASTV ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 ที่ http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9540000074994 ผู้เขียนเห็นว่าชื่อตำแหน่งของคุณอนุรักษ์มีความน่าเชื่อถือ แต่เกรงว่าข้อเขียนของคุณอนุรักษ์อาจไม่สมควรเชื่อถือในบางประเด็น อีกทั้งด้วยหวงแหนในสิทธิตามมาตรา 68 แห่งรัฐธรรมนูญ ผู้เขียนจึงจำต้องตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นสามประการดังนี้ ข้อสังเกตประการแรก: บัตร Vote No ไม่มีผลจำกัดต่อผู้สมัครอื่น เว้นแต่เขตนั้นมีผู้สมัครคนเดียว “มาตรา 89 บัญญัติให้อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 88 ซึ่งเป็นเทคนิคการร่างกฎหมายที่ต้องการให้มาตรา 89 นำหลักการตามมาตรา 88 มาใช้บังคับด้วยโดยไม่ระบุซ้ำลงไปในมาตรา 89 อีก จึงหมายความว่า ในเขตเลือกตั้งที่มีผู้สมัครหลายคน ผู้สมัครที่จะถือว่าเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง จะต้องผ่านองค์ประกอบของกฎหมายทั้งมาตรามาตรา 88 และมาตรา 89 กล่าวคือ 1.ได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น หากการตีความของคุณอนุรักษ์ถูกต้อง ย่อมหมายความว่า สมมติในเขตเลือกตั้งหนึ่งมีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 100 คน และมีผู้มาใช้สิทธิครึ่งหนึ่ง คือ 50 คน แบ่งเป็นลงคะแนนให้พรรคที่หนึ่ง 15 เสียง พรรคที่สอง 5 เสียง และ Vote No อีก 25 เสียง แต่เมื่อผู้สมัครจากพรรคที่หนึ่ง (15 เสียง) ได้รับคะแนนน้อยกว่า Vote No (25 เสียง) ผู้สมัครจากพรรคที่หนึ่งก็ไม่ถือเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง แม้จะได้รับคะแนนสูงสุดก็ตาม การตีความเช่นนี้เป็นความเข้าใจที่ผิด โดยคุณอนุรักษ์อาจสับสนนัยทางกฎหมายของคำว่า “ภายใต้บังคับ” ดังอธิบายตามบริบทได้ดังนี้ “ภายใต้บังคับ” เป็นวลีที่มีนัยพิเศษทางกฎหมายในบริบทนี้หมายความว่า “ยกเว้นในกรณีตาม” เช่น หากพิจารณาจากตัวบทที่คุณอนุรักษ์อ้างถึง คือ: “มาตรา 88 ในเขตเลือกตั้งใด ถ้าในวันเลือกตั้งมีผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนเดียว ผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น และมากกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเลือกตั้ง...” “มาตรา 89 ภายใต้บังคับมาตรา 88 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งให้ผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง...” การอ่านตัวบทย่อมหมายความว่า: ในกรณีทั่วไปตามมาตรา 89 ผู้สมัครซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้นย่อมเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง (ไม่ว่าจะมีคะแนน Vote No มากน้อยเท่าใด) ยกเว้นในกรณีตามมาตรา 88 กล่าวคือกรณีมีผู้สมัครคนเดียวผู้สมัครจะได้รับเลือกตั้งต่อเมื่อได้รับคะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของจำนวนผู้มีสิทธิในเขต และมากกว่าจำนวนบัตรVote No ดังนั้น กรณีมาตรา 88 กับ มาตรา 89 จะนำมาปะปนกันไม่ได้ เพราะในเขตเลือกตั้งเดียวกันย่อมเป็นได้เพียงกรณีใดกรณีหนึ่ง คือมีผู้สมัครหลายคนตามกรณีมาตรา 89 หรือไม่ก็มีผู้สมัครเพียงคนเดียวตามกรณีมาตรา 88 จึงไม่อาจเป็นกรณีทั้งสองปนกันหรือพร้อมกันได้ หากผู้อ่านยังไม่เชื่อผู้เขียน สามารถพิจารณาตัวอย่างที่เทียบได้ชัดเจน คือ บทบัญญัติของกฎหมายเลือกตั้งฉบับเดียวกัน ส่วนเดียวกัน ที่ใช้วลีเดียวกัน คือมาตรา 81 และ 85 ดังนี้: “มาตรา 81 ภายใต้บังคับมาตรา 85 การนับคะแนนเลือกตั้งให้กระทำ ณ ที่เลือกตั้งโดยเปิดเผยจนเสร็จสิ้นในรวดเดียว ห้ามมิให้เลื่อนหรือประวิงการนับคะแนนเลือกตั้ง"ตรา 85 ถ้าการนับคะแนน ณ ที่เลือกตั้งใดไม่สามารถกระทำได้ หรือไม่สามารถนับคะแนนได้จนเสร็จสิ้น อันเนื่องจากเกิดเหตุจลาจล อุทกภัย อัคคีภัย เหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอย่างอื่น หรือด้วยความจำเป็นตามสภาพที่อาจมีผลต่อความปลอดภัย ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งประกาศงดการนับคะแนนสำหรับหน่วยเลือกตั้งนั้น...” จะเห็นได้ว่า “มาตรา 81 ภายใต้บังคับ มาตรา 85” หมายความว่า มาตรา 81 เป็นกรณีทั่วไป (ที่ต้องนับคะแนนให้เสร็จ) ยกเว้นในกรณีตาม มาตรา 85 (ที่ต้องงดนับคะแนนเพราะน้ำท่วมหรือไฟไหม้ ฯลฯ) ซึ่งเป็นได้เพียงกรณีใดกรณีหนึ่ง ไม่อาจเป็นกรณีทั้งสองปนกันหรือเกิดพร้อมกันได้ สรุป คุณอนุรักษ์เข้าใจความหมายของคำว่า “ภายใต้บังคับ” ผิดไปจากบริบท แท้จริงแล้ว คะแนน Vote No จะมี “ผลทางนิตินัย” ดังที่คุณอนุรักษ์ว่าก็ต่อเมื่อเป็นกรณีที่เขตเลือกตั้งนั้นมีผู้สมัครเพียงคนเดียว แต่หากมีผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคน ผู้ที่ได้รับคะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในเขตเลือกตั้งนั้นย่อมเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้ง จะนำสองกรณีมาปะปนกันไม่ได้ อนึ่ง สมควรกล่าวให้ความเป็นธรรมว่า จะหาว่าคุณอนุรักษ์จะเข้าใจผิดไปเองผู้เดียวก็มิถูกนัก เพราะนักกฎหมายไทยบางส่วนก็ได้ใช้วลี “ภายใต้บังคับ” ที่สื่อความหมายอย่างปะปนและไม่รัดกุม เช่น นักกฎหมายผู้ร่วมร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ได้ใช้วลี “ภายใต้บังคับ” ให้หมายถึง “ยกเว้นในกรณีตาม” เช่น ในมาตรา 142 และ มาตรา 146 แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับเดียวกันเองกลับใช้วลี “ภายใต้บังคับ” เพื่อหมายถึง “ทั้งนี้ให้เป็นไปตาม” เช่น มาตรา 128 หรือ เพื่อหมายถึง “ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อ” เช่นมาตรา 209 หรือ มาตรา 281 จึงน่าจะถึงยุคที่นักกฎหมายรุ่นใหม่จะได้ปฏิเสธการใช้ถ้อยคำที่ไม่รัดกุมโดยเฉพาะที่มาจากการร่างกฎหมายอย่างเร่งรีบและผิดครรลองประชาธิปไตยดังกล่าวเสียที ข้อสังเกตประการที่สอง (ที่สำคัญมากกว่าข้อแรก): การ Vote No เป็นทั้งสิทธิและเสรีภาพโดยชอบด้วยกฎหมาย สรุป หากผู้อ่านท่านใดประสงค์จะVote No ก็ขอให้ท่านมั่นใจว่าการ Vote No เป็นการใช้เสรีภาพของมนุษย์ที่ท่านมีโดยชอบธรรม อีกทั้งเป็นสิทธิที่ท่านมีตามกฎหมาย และไม่มีผู้ใดปฏิเสธเสรีภาพหรือสิทธิของท่านได้นอกจากตัวท่านเองที่ยอมอยู่ภายใต้กฎหมาย เพื่อมิให้มีใครอยู่เหนือกฎหมาย ข้อสังเกตประการที่สาม (ที่สำคัญที่สุด): สิทธิเสรีภาพตามกฎหมาย มิได้อยู่เหนือหน้าที่ตามกฎหมาย ถามว่า “ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ” และ “ตามรัฐธรรมนูญนี้” หมายความว่าอย่างไร ตอบว่าต้องเป็นไปตามหลักวิถีที่รัฐธรรมนูญกำหนด เช่น 1. มีพระมหากษัตริย์ (มาตรา 8 - 25) ดังนั้น หากผู้อ่านท่านใดกาบัตร Vote No เพื่อขัดขวางหลักวิถีใดที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพที่ขัดแย้งต่อกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่สำคัญ หากเรายอมให้มีผู้อ้างการ Vote No เพื่อขัดขวางหลักวิถีแห่งรัฐธรรมนูญข้อหนึ่งข้อใดได้ (เช่น ขัดขวางมิให้มีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง) ก็เท่ากับเรากำลังยอมต่อหลักการว่า ต่อไปก็สามารถมีผู้อ้างสิทธิเสรีภาพเพื่อขัดขวางหลักวิถีแห่งรัฐธรรมนูญข้ออื่นได้เช่นกัน (เช่น ขัดขวางการมีพระมหากษัตริย์ หรือขัดขวางการมีสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น)! สรุป ผลทางกฎหมายของบัตร Vote No ที่ขัดขวางหลักวิถีแห่งรัฐธรรมนูญจึงไม่นับเป็นคะแนนเสียงโดยชอบตามกฎหมาย และไร้ความชอบธรรมอย่างสิ้นเชิง อีกทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่กำจัดเสียงดังกล่าวให้เป็นบัตรเสียตามกฎหมายเลือกตั้ง ตามมาตรา 82 วรรคสาม อนุมาตราหก นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 72 วรรคแรก บัญญัติว่า “บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง” ดังนั้น หากผู้ใดประสงค์ Vote No แต่สำนึกในหน้าที่ว่าตนไม่อาจ Vote No ในทางที่ขัดขวางหลักวิถีแห่งรัฐธรรมนูญได้ ผู้นั้นก็ย่อมต้องเปลี่ยนไป Vote No ด้วยเหตุผลอื่น หรือไม่ก็ Vote อื่นที่ไม่ใช่ Vote No เพราะกฎหมายกำหนดให้บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จะมีใจสองมาตรฐาน ใจหนึ่งเรียกร้องสิทธิ แต่อีกใจนอนหลับทับสิทธิหาได้ไม่ บทส่งท้าย
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ประชาไทบันเทิง: Planking อินเทรนด์แบบสลิ่ม Posted: 21 Jun 2011 07:47 AM PDT ไม่กี่วันก่อนหน้านี้ขณะเดินช้อปอยู่ที่ดิเอ็มโพเรียมกับแม่ “ม้า...ถ่ายรูปให้หน่อยสิ” (แม่ไม่ได้ชื่อม้า แต่ย่อมาจาก หม่าม้า น่ะค่ะ) “แกทำอะไรของแกน่ะ มานอนตรงนี้ทำไม ลุกขึ้นมา อายเค้า ไม่มีมารยาท” แม่ไม่พูดเปล่ารีบฉุดให้ลูกสาวลุกขึ้นก่อนที่พนักงานจะวิ่งกรูมาดูว่าเกิดอะไรขึ้น “ก็ Planking ไงม้า...ไม่รู้จักเหรอ ฮิตจะตาย ใครๆ ก็ทำกัน” “แพล้งเพลิ้งอะไรไม่รู้ มานอนเหมือนคนตาย ไม่มีมารยาท ลุกขึ้นมาเดี๋ยวนี้” บทสรุปของวันนั้นคือดิฉันไม่ได้ Plank และไม่มีรูป Planking อวดโฉมเพื่อนๆ ให้มากดไลค์ในเฟซบุ๊กอีกเลย สัปดาห์ที่ผ่านมา คาดว่ายิ่งลักษณ์กับอภิสิทธิ์คงเคือง ที่เนื้อที่ข่าวหน้าหนึ่งและข่าวทุกสำนักเทให้กับข่าวที่ไม่เป็นข่าวอย่างการทำ Planking ที่ระบาดไปทั่วโลก (ซึ่งต่อมาในบ้านเราคือการทำ ‘พับเพียบ’ ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมบอกว่ามาทำอะไรที่เป็นไทยๆ ดีกว่า ดิฉันล่ะกลั้ว...กลัว เพื่อชาวต่างชาติจะเข้าใจผิดว่าเจอกันต้องลงนั่งกับพื้นพับเพียบพนมมือสวัสดี เหมือนที่มันเคยเข้าใจว่าประเทศไทยยังต้องขี่ข้างไปไหนมาไหนอยู่ จากการที่เราโหมประโคมการท่องเที่ยวแบบเอ็กโซติคขี่ช้างท่องเที่ยวที่ผ่านมา) หลังจากตกปากรับคำแลกกับอาหารอิตาเลี่ยนกับทางประชาไทไปเมื่อหลายวันก่อนว่าจะเขียนเรื่อง Planking (คาดว่าวันนั้นทางทีมงานคงเหวอ...ที่เห็นดิฉันปรากฏกายที่สยามสแควร์ในโค้ตกันลมกันฝนผ้าไนล่อน ทั้งๆ ที่แดดร้อนจนตับจะแตก) พอมานั่งคิดดีๆ ก็อับจนปัญญาว่าแล้วจะเขียนถึงว่าอย่างไรดี (วะ) อย่างที่ข่าวทั้งหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ได้นำเสนอไปหมดแล้ว ว่า Planking นั้น เป็นปรากฏการณ์ไร้สาระที่เกิดจากหนุ่มน้อยสองคนจากเกาะอังกฤษเมื่อ 14 ปีที่แล้ว นามว่า Gary Clarkson วัย 15 ปี และ Christian Langdon วัย 12 ปี ที่เบื่อๆ ไม่มีอะไรทำ จริงหาวิธีเล่นแผลงๆ โดยการนอนคว่ำหน้ากับพื้นที่พื้นที่สาธารณะให้คนงุนงงสงสัยเล่นๆ ไม่ได้มีประเด็นอันใด ซึ่งตอนนั้นก็ยังไม่ได้เรียก Planking แต่เรียกว่า The Lying Down Game ช่วง 10 ปีแรก ก็มีคนเล่นตามบ้างคือเพื่อนๆ ที่โรงเรียนและเด็กแถวๆ บ้าน แต่หลังจากที่พวกเขาสร้างเพจบนเฟซบุ๊กขึ้นในปี 2007 ก็เริ่มมีแฟนเพจมากขึ้นเป็นหลักพัน และภาพถ่ายการ The Lying Down Game ก็เริ่มเผยแพร่ไปตามทุกหัวระแหงของโลก เริ่มมีคำนำไปเล่นบ้างไม่ว่าจะทั่วทั้งอังกฤษ ยุโรป และสหรัฐอเมริกา จนมาถึงทุกวันนี้ที่กลายเป็น ‘ของฮิต’ เล่นกันทั่วโลกนั้นก็เนื่องมาจากนักรักบี้ชาวออสเตรเลีย David Wolfman William ทำ Planking ในเกมการแข่งขันหลังจากที่เขาวางทรัยได้ และเด็กหนุ่มชาวออสเตรเลียที่ริอาจเล่นแผลงๆ Planking บนขอบตึกจนตกตึก 7 ชั้นเสียชีวิตเป็นข่าวใหญ่โต แทนที่จะเข็ดกันปรากฏว่ากลับยิ่งทำให้การ Planking เป็นที่รู้จักและผู้คนสรรหาวิธีการ Plank แปลกๆ มากขึ้น ครั้นพอจะต้องเขียนถึงการ Planking ดิฉันก็เริ่มตื้อตันว่าจะเขียนถึงมันในประเด็นอะไร จากจุดกำเนิดของ Planking ก็บอกอยู่แล้วว่ามันเป็นการกระทำที่ Pointless คือไม่มี ‘ประเด็น’ หรือสารัตถะอะไร แล้วเรื่องที่ไม่มีประเด็นหรือสารัตถะอะไร ทำไมมันถึงได้ดังข้ามโลกได้ถึงขนาดนี้ ปรากฏการณ์ Planking เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ช่องทางการสื่อสารที่ทรงพลังในยุคปัจจุบัน ถ้าหากหยิบจับประเด็นเก่าๆ อย่าง Global Village หรือ Globalization ที่ข้อมูลข่าวสารในโลกนี้ล้วนถ่ายเทถึงกันได้เมื่อมีอินเทอร์เน็ต มาพูดถึงประเด็นนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารไร้พรมแดน หรือโลกนี้ไร้พรมแดน คนที่ออสเตรเลียฮิต Planking ได้ คนไทยก็ฮิต Planking ได้เช่นกัน แต่คำว่า Globalization นั้นคงต้องจำกัดอยู่ที่ปรากฏการณ์ที่ไม่ทำลายความเป็นชาติ (ในจินตนาการ) เพราะแม้เราจะ Planking ได้ในช่วงเวลาที่คนออสเตรเลียหรือคนทั่วโลกเขาฮิตกัน หรืออีกไม่กี่ปีกี่วัน ประชาคมอาเซียนก็จะรวมตัวกันเป็นหนึ่ง แต่วันนี้ ตอนนี้ เราก็ยังเถียงกันอยู่เลยว่าใครเป็นเจ้าของเขาพระวิหาร พรมแดนน่ะมีจริง...โลกเป็นหนึ่งเดียวกันไม่ได้หรอก อย่าว่าแต่โลกเลย เอาอาเซียนให้ได้ก่อนเถอะ หรือแม้แต่จะนั่งคิดให้ตายว่าว่า Planking นั้นเป็นปรากฏการณ์ที่อยู่ในหมวดหมู่ของ Pop Culture หรือเปล่า (ดิฉันพยายามจะลากให้ตัวเองดูดี มีความรู้ เดี๋ยวเค้าจะหาว่าดีแต่แต่งตัวสวยไปวันๆ) ก็จะเห็นได้ว่าอย่างน้อยใน Pop Culture มันก็มีสารัตถะของการต่อต้านขัดขืน (บางอย่าง) การส่งอิทธิพลครอบงำซึ่งพฤติกรรมการบริโภค หรืออะไรที่ออกจะ Absurd หน่อยๆ ก็จะเห็นได้ว่า Planking ก็ไม่ใช่ Pop Culture อย่างที่เราพอ (จะเสียเวลา) มานั่งวิเคราะห์เป็นคุ้งเป็นแควได้ แต่มีข้อสังเกตเล็กๆ น้อยๆ ว่า ไอ้เด็ก (วัยรุ่น) สองคนที่คิด Planking ขึ้นมา อย่างน้อยก็ยังพอมีสารัตถะการ Amuse หรือยุแหย่ ให้เกิดความฉงนสนเท่แก่คนทั่วไปที่พบเห็นว่าอยู่ดีๆ มานอนคว่ำหน้าบนทางเท้า บนถนน ทำไม ป่วยไข้ เป็นลม หรือตายไปหรือเปล่า แต่ Planking ที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กลับกลายเป็นการประกวดประขันกันว่าใครจะทำ Planking ได้สนุกสนาน ตลกโปกฮา ช่างคิดหาสถานที่ ที่ที่ทำ Planking ได้มากกว่ากัน (ก็ถึงได้ตกลงมาตายไงล่ะ) มันกลายเป็นการลดรูปของการเล่นสนุกกับสาธารณชน (ซึ่งอาจจะไม่มีประเด็นอะไร แต่ก็สามารถเรียกร้องความสนใจ ตั้งคำถาม หรือความฉงนสงสัยได้) มาเหลือเพียงการเล่นสนุกกับคนในเฟซบุ๊ก! ที่จริงการทำ Planking แล้วโพสต์ลงเฟซบุ๊ก เพื่ออวดความคิดสร้างสรรค์เชิงไม่สร้างสรรค์นี้ (เรียกร้องความสนใจให้คนมากดไลค์และคอมเมนต์) ก็ไม่ต่างอะไรกับบรรดาเด็กแว้นสาวสก๊อยตามสะพานพุทธทั้งหลาย ที่จริงๆ แล้วอาจไม่มีสารัตถะของการรวมกลุ่มที่แน่นอน ไม่มีประเด็น แต่แค่เป็นการเรียกร้องความสนใจ ถูกตั้งคำถาม สงสัย จากสาธารณชน ด้วยการรวมตัวกัน การบิดมอเตอร์ไซต์ให้เสียงดังเข้าไว้ (ทั้งๆ ที่แรงขับเคลื่อนก็มีเท่านั้นแหละ) หรือขับฉวัดเฉวียน เวียนหัว เสี่ยงตายและเสี่ยงตีนเข้าไว้ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้คน และอาจตายได้จากรถชน รถคว่ำ เช่นเดียวกันกับพวกที่ทำ Planking ที่เล่นพิเรนทร์จนอาจตกตึกลงมาตาย เพียงแต่ด้วยทัศนคติของชนชั้น Planking มันจึงดูเก๋ไก๋ไฮโซ เทรนดี้พีเพิ่ลกว่าเป็นไหนๆ ทั้งๆ ที่จริงแล้ว ในเชิงปรากฏการณ์ของการเรียกร้องความสนใจของวัยรุ่นนั้นไม่ต่างกัน แต่อาจต่างกันแค่เพียงพื้นที่และชนชั้น ความอันตรายก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่เลย ในเมื่อเราไม่สามารถจัดประเภทของ Planking ในหมวดหมู่ของ Pop Culture ได้ สิ่งที่เหลือก็คงต้องบอกว่ามันเป็นเพียง ‘เทรนด์’ (หรือกระแสความฮิตของคนกลุ่มหนึ่งในสังคม) เท่านั้นเอง มันเป็นเทรนด์ที่ตามง่าย ด้วยการลดทอนรูปแบบ ข้อจำกัดทั้งหลาย อย่างเช่น เทรนด์ซีซั่นนี้ของแอร์เมส....เก๋กว่าการทำ Planking อีก อยากตามแทบตายแต่ตามไม่ได้ เพราะไม่มีปัญญาซื้อแอร์เมส หรือการ Levitating (การกระโดด) ที่มาพร้อมกับ Planking กับ Pubpeab (พับเพียบ) ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ เวลาไปเที่ยวปารีส ดิฉันก็ไปกระโดดถ่ายรูปกับหอไอเฟล ไปทัชมาฮาล หรือไปเรด สแควร์ที่มอสโก ดิฉันก็กระโดด มันเป็นสิ่งที่ทำกันทั่วไป เพียงแต่หากต้องตามเทรนด์นี้ คุณจะต้องเดินทางไปถึงปารีส หรือมอสโคเท่านั้นเอง (ไม่ได้อยากจะอวดหรอกค่ะ แต่อยากจะบอกว่าสารัตถะของความงี่เง่านี้คือ ‘สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ ของโลก’ ไม่ใช่การกระโดด) ซึ่งการทำ Planking บางอย่างก็พ่วงด้วยประเด็นที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น Planking Nude ของศิลปิน หรือการ Planking ตามสถานที่สำคัญๆ ของโลก ที่ตอนนี้ถูดลดรูปมาเหลือเพียงที่ไหนก็ได้ ที่โพสต์รูปลงเฟซบุ๊กแล้วคนจะฮา เข้ามากดไลค์ หรือนี่จะเป็นการ Absurd ของสลิ่ม ? สารัตถะบางอย่างถูกลดรูปหายไป เหลือเพียงการได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์ (อย่างเช่นพับเพียบ สารัตถะของมันคืออะไร การต่อต้าน Planking ? การแสดงความเป็นไทย ?) และการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์โดยไม่ได้คิดถึงแก่นแท้ หรือการได้เสพที่แท้จริง หากจะโยงเข้ากับสิ่งที่คำ ผกา เคยพูดเรื่องบุฟเฟต์อาหารญี่ปุ่น ซึ่งเธอยกตัวอย่างว่าเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมสลิ่มที่ทำให้คนได้เข้าถึงการกินอาหารญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเทรนด์ ไลฟ์สไตล์ของคนเมือง ที่จริงๆ แล้วได้เสพแค่กลิ่นปลอมๆ ของความเป็นญี่ปุ่น Planking ก็อาจเป็นแค่เทรนด์ของสลิ่มเช่นนั้นเอง (หากเราคิดมากไปกว่านั้น ทั้งอายุ ไลฟ์สไตล์ของคนเล่น คนใช้เฟซบุ๊ก โซเชียลเน็ตเวิร์กรองรับคนกลุ่มไหน ทำไมไม่เห็นมีชาวนาคนไหนไป Planking บนสันเขื่อน หรือบนเถียงนาตกลงมาตาย) หรืออาจจะพูดหยาบๆ ได้ว่าเป็นเรื่องสนุกๆ ของสลิ่มเค้าเล่นกัน (เป็นกิจกรรมที่สามารถเข้ารวมกลุ่มตามกระแสความฮิตได้อย่างง่ายด้วยการลดทอน ลดรูปของความยุ่งยากทั้งทางชนชั้น เศรษฐกิจ สติปัญญา และปัญหาทางการเมือง) แต่ขอบอกไว้ ณ ที่นี่ว่า ดิฉันแค่ยกคำพูด ความคิดของคนนั้น คนนี้มาจับต้นชนปลายกันเฉยๆ นะคะ ไม่ได้มีปัญหากับสลิ่ม หรือใครอะไรทั้งนั้น และไม่อยากให้ใครมาตั้งแฟนเพจแบบว่า มั่นใจว่าสลิ่มเกินล้านคนเกลียด รุ้งรวี ศิริธรรมไพบูลย์ อะไรเทือกนั้นด้วย จนถึงวันนี้หน้าเฟซบุ๊กของดิฉันดูเหมือนจะไม่มีใครเล่น Planking หรือ Pubpeab อีกแล้ว ก็เป็นไปตามกฎของเทรนด์ที่ว่า อะไรที่มันมากเกินไป มีคนทำตามเยอะแยะ ก็กลายเป็นของโหล เป็นสิ่งที่ไม่เก๋ ไม่ใหม่ ไม่คูลที่จะทำอีกต่อไปแล้ว เอาต์มากๆ ดิฉันผู้ซึ่งพลาดเทรนด์นี้ไปอย่างน่าเสียดาย เลยไม่รู้จะทำอย่างไรดี จะ Planking ตอนนี้ก็ไม่ได้แล้ว เค้าเลิกฮิต เลิกทำกันแล้ว ก็เลยคิดว่า เดี๋ยว 3 กรกฎาคมนี้ ตัดสินใจว่าจะ Planking ก็ถ้าโหวต NO เดี๋ยวจะหาว่าเป็นเหลือง เลือกเบอร์ 1 ก็หาว่าเป็นแดง เลือกเบอร์ 10 ก็หาว่าเป็นอำมาตย์ เลยตัดสินใจ Planking อยู่บนเตียงที่บ้าน อ้อ! อย่าหาว่าดิฉันเป็นสลิ่มนะคะ เพราะการ Planking ครั้งนี้ ไม่ Pointless ค่ะ มีประเด็นทางการเมือง ไม่สลิ่มแน่นอน!
หมายเหตุ รุ้งรวีขอให้ บ.ก. แก้ไขตามที่คุณ sayway ทักท้วงมาแล้วนะคะ ขอบคุณมากมายค่ะ ขออภัยในความผิดพลาด อย่าถือคนบ้าอย่าว่าคนสวยเลยนะคะ
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
'ประชานิยม ประเทศวิบัติ' (แค่ภาพลวงตา) Posted: 21 Jun 2011 07:33 AM PDT 1. สถานการณ์ด้านความมั่นคง ด้านการเมืองของประเทศไทยนั้น อาจจะมองได้ในหลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่ค่อนข้างจะชัดเจนและทำให้มองเห็นผลกระทบ เห็นอุปสรรคสำคัญต่อการก้าวเดินของประเทศก็คือ การที่มักจะเห็นภาพการรวมตัวกันของกลุ่มอำนาจ/กลุ่มอิทธิพลทางการเมือง ที่อาจแยกได้เป็น 2 กลุ่มหลัก เผชิญหน้า และขัดแย้งกัน ต่อสู้กันทุกวิถีทาง กลุ่มหนึ่งมีนโยบายแสดงออกหรือใช้เป็นข้ออ้างในลักษณะมุ่งรักษาโครงสร้างอำนาจเดิมของประเทศ อีกกลุ่มหนึ่งต้องการและเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจเดิม เพื่อสร้างโอกาสให้กับกลุ่มตัวเอง แต่ทั้ง 2 กลุ่มกลับไม่เคยมีนโยบาย มีกรอบคิด/ทิศทาง การก้าวเดินของประเทศอย่างจริงจัง ที่จะส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศสามารถก้าวเดินไปพร้อม ๆ กันได้ ทั้ง 2 กลุ่มมัวมุ่งเอาชนะ มีอิทธิพลเหนืออีกกลุ่มตลอดเวลา ประชาชนจึงกลายเป็นเพียงเครื่องมือ เป็นเพียงเหยื่อที่ถูกครอบงำ อยู่ภายใต้การชี้นำ การโฆษณาชวนเชื่อที่หลากหลาย เพื่อให้มาสนับสนุนกลุ่มอำนาจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งของตนเท่านั้น 2. นโยบายการรับสถานการณ์ และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของรัฐบาล ของพรรคการเมือง และกลุ่มอำนาจใด ๆ ก็ตามที่ผ่านมา จึงมักสะท้อนออกมาในรูปประชานิยมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจะให้ผลดีในระยะสั้น หรือแค่ชะลอปัญหาออกไปเท่านั้น ปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวจะย้อนกลับมา และรุนแรงกว่าเดิม สร้างความทุกข์ยากให้กับประชาชนเพิ่มขึ้นอีก แน่นอนบางรัฐบาลก็มีเจตนาดี มุ่งมั่นจะแก้ปัญหาให้ได้เบ็ดเสร็จ แต่เมื่อยังไปยึดติดกับกระบวนการกำหนดนโยบาย/ยุทธศาสตร์ระดับชาติที่ใช้มากว่า 50 ปี ตั้งแต่ช่วงสงครามเย็น โดยที่ไม่ได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมอย่างใด เป็นกระบวนการ ฯ ที่ถูกครอบงำ ถูกชี้นำโดยมหาอำนาจในภูมิภาค รวมทั้งกลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่ม จึงเป็นข้อจำกัดต่อการดำเนินการ ต่อการผลักดันให้เป็นรูปธรรมแท้จริงได้ ในที่สุดเมื่อเดินต่อไม่ได้ นโยบายดังกล่าว ก็จำเป็นต้องถูกแปรเปลี่ยนเป็นประชานิยมอยู่นั่นเอง บางรัฐบาล บางพรรคการเมือง หันไปใช้วิธีการกำหนดนโยบาย/ยุทธศาสตร์ที่อาจจะใช้ได้ผลดีในภาคธุรกิจ หรือได้ผลดีสำหรับการแก้ไขปัญหาในระดับหน่วย ระดับองค์กร ฯ (แต่ไม่ใช่ระดับชาติ ?) คือการเอาปัญหาสำคัญ ปัญหาตามกระแสเป็นตัวตั้ง และพยายามกำหนดเป็นนโยบาย/ยุทธศาสตร์ แยกแต่ละปัญหาโดยไม่มีกรอบคิด/ทิศทางก้าวเดินใด ๆ ของประเทศมาเป็นหลักเป็นกรอบพื้นฐานเลย จากประสบการณ์การพัฒนาประเทศที่มีมายาวนานของไทยเอง วิธีการแก้ไขปัญหาที่เอาปัญหาเป็นตัวตั้ง แยกออกมาดังกล่าวนั้น ไม่สามารถจะแก้ไขหรือแม้แต่ควบคุมปัญหาระดับชาติที่ซับซ้อนเกี่ยวโยงกันหลาย ๆ มิติได้ ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างการพยายามแก้ไขหรือแม้แต่ควบคุมปัญหาระดับชาติที่ผ่าน ๆ มา เช่น การลดช่องว่างในสังคม การคอรัปชั่น ที่ยิ่งแก้ก็มีแต่จะขยายกว้างออกไป ปัญหายาเสพติดหรือความรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ที่มักถูกกล่าวอ้างว่ามาถูกทางแล้ว ก็ยังคงยืดเยื้อต่อไป รวมทั้งการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งกับเพื่อนบ้านก็ไม่สามารถเดินต่อได้ เมื่อยังใช้วิธีคิดกรอบคิดเดิม ๆ อยู่ เป็นต้น 3. เราจะปล่อยให้ประเทศไทยก้าวเดินไปผิดทิศผิดทางอย่างนี้หรือ หวังพึ่งแต่นโยบายประชานิยม ในการรับสถานการณ์แก้ไขปัญหาระดับชาติที่มีผลเพียงชั่วคราว เป็นแค่ภาพลวงตาอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ หรือ หากประเทศไทยจะก้าวต่อไปข้างหน้าได้ในลักษณะที่ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเดินไปได้พร้อม ๆ กัน ประเทศยืนหยัดแม้ในสภาวะแวดล้อมที่มีความซับซ้อน มีปัญหาทับถมมากมาย โดยยังคงรักษาอัตตลักษณ์ของประเทศไว้ได้ไม่ถูกครอบงำ ประเทศไทยคงต้องมีหรือทบทวนกรอบคิด/ทิศทางก้าวเดินของประเทศใหม่ เพื่อใช้เป็นกรอบเป็นพื้นฐานหลักสำหรับการกำหนดนโยบาย/ยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาระดับชาติต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องดำเนินการคู่ขนานไปกับนโยบายประชานิยม เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง นอกจากนี้กรอบคิด/ทิศทางก้าวเดินใหม่ของประเทศดังกล่าวในสภาวะแวดล้อมใหม่ที่มีความซับซ้อนในสภาวะแวดล้อมที่สังคมโดยรวมมีความอ่อนแอมากนั้น ยังจำเป็นต้องมี กระบวนการ/ขั้นตอน ในการกำหนดนโยบาย/ยุทธศาสตร์ เพื่อทำให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่ เกิดความยับยั้งชั่งใจและตระหนักถึงความสำคัญต่อสังคมร่วมกันด้วย 4. ปัจจุบัน ประชาชนในระดับชุมชนหลาย ๆ ชุมชนทีเดียว ที่เมื่อรู้สึกว่าไม่สามารถพึ่งพาใครได้ และเพื่อความอยู่รอดของชุมชนเอง ก็ได้ตื่นตัวพยายามกำหนดกรอบคิด/ทิศทางก้าวเดินของชุมชนกันเอง สะท้อนความต้องการร่วมกันของชุมชน พึ่งพาตนเองภายในชุมชนกันมากขึ้น แม้จะเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ชุมชนไม่ยอมจำนนต่อปัญหาต่อความทุกข์ยากต่าง ๆ ลุกขึ้นกำหนดกรอบคิด/ทิศทางแก้ปัญหากันเอง แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังเป็นตัวอย่างกรอบคิด/ทิศทางก้าวเดินระดับชุมชน ไม่ใช่ระดับชาติ อีกทั้งกรอบคิด/ทิศทางดังกล่าว ยังมีลักษณะเฉพาะชุมชนที่มีมากมายหลากหลายชุมชนด้วย โดยสรุปสิ่งสำคัญที่ประชาชนทุกคน ทุกฝ่ายควรช่วยกันเรียกร้อง รวมทั้งร่วมกันหาคำตอบก็คือ “แล้วอะไรและอย่างไร” ที่ควรเป็นกรอบคิด/ทิศทางก้าวเดินของประเทศ ที่จะสามารถใช้เป็นกรอบพื้นฐานหลักสำหรับการกำหนดนโยบาย/ยุทธศาสตร์ เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญ ๆ ระดับชาติ ที่จำเป็นต้องดำเนินการคู่ขนานไปกับนโยบายประชานิยม เพื่อให้ประเทศก้าวเดินไปข้างหน้าได้ เกิดประโยชน์กับประชาชนส่วนใหญ่อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งยืนหยัดและรักษาอัตตลักษณ์ของประเทศไว้ได้ด้วย (หากทุกฝ่ายจะช่วยกรุณาแสดงความคิดเห็น รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะ ที่อาจช่วยนำไปสู่การกำหนดกรอบคิด/ทิศทางการก้าวเดินของประเทศ รวมทั้งกระบวนการให้ได้มาซึ่งกรอบคิด/ทิศทางดังกล่าว ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ)
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
“อภิสิทธิ์” เจอส.ส.ฟิลิปปินส์ ฉะ “ประเทศที่ศิวิไลซ์จะไม่เอาปืนยิงใส่ประชาชน” Posted: 21 Jun 2011 07:26 AM PDT สืบเนื่องจากที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางไปร่วมอภิปรายในงาน World Economic Forum ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2554 ทางสถานีโทรทัศน์ BBC World Service ได้นำบันทึกเทปดังกล่าวมาฉายในรายการ BBC World Debate ตอน Asia: Sharing the Wealth เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2554 โดยมีสาระสำคัญดังนี้ ภาพประกอบ: http://www.flickr.com/photos/worldeconomicforum/3488883590/ การอภิปรายดังกล่าว มีตัวแทนจากสี่ประเทศในเอเชีย คือ มารี เอลกา ปังเกสตู รัฐมนตรีกระทรวงการคลังประเทศอินโดนีเซีย, ปราชันท์ รัวร์ ซีอีโอเอสซาร์กรุ๊ป ประเทศอินเดีย, วอลเดน เบลโล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเทศฟิลิปปินส์ และนักวิเคราะห์อาวุโส Focus on the Global South และ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีประเทศไทย ผู้สื่อข่าว ได้ถามถึงความสัมพันธ์ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเป็นประชาธิปไตย และธรรมาภิบาล วอลเดน เบลโล ได้ชี้ว่า ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงประสบปัญหาด้านประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งประชาธิปไตยถดถอยมากหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ต่อมา อภิสิทธิ์ ใช้สิทธิถูกพาดพิงชี้แจง โดยยอมรับว่าการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นเรื่องทำให้ประเทศไทยถอยหลังจริง แต่หลังจากนั้นมา รัฐบาลก็จัดให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งวันที่ 3 กรกฎาคมนี้ จะเป็นการเลือกตั้งครั้งที่สองหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นการนำเป็นประเทศก้าวไปข้างหน้า เขาเน้นว่า รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ “ได้นำหลักนิติรัฐกลับมาสู่ประเทศ” ต่อประเด็นดังกล่าว ผู้สื่อข่าวบีบีซีตั้งคำถามว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้รับประโยชน์จากการรัฐประหารเมื่อปี 2549 ใช่หรือไม่ อภิสิทธิ์ชี้แจงว่า พรรคตนไม่ได้ประโยชน์จากการรัฐประหารแต่อย่างใด และชี้แจงว่า บัดนี้ประเทศไทยได้กลับสู่สภาวะปกติแล้ว “ในช่วงที่ผมเข้ามาบริหารประเทศ มีรัฐบาลสองรัฐบาลที่บริหารอยู่ก่อนหน้าแล้ว เราประสบกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ แต่รัฐบาลประชาธิปัตย์ก็สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจดังกล่าวได้ ซึ่งในขณะนี้ นับว่าประเทศได้กลับสู่สภาวะปกติ เราจัดให้มีการเลือกตั้ง เป็นการคืนอำนาจให้แก่ประชาชน ให้ประชาชนได้ตัดสินใจ และทหารก็ไม่เข้ามาแทรกแซงการเมืองอีก” นายกฯ ไทย ชี้แจง อย่างไรก็ตาม วอลเดน เบนโลจากฟิลิปปินส์ ยังกล่าวต่อไปว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ตนได้อยู่ที่กรุงเทพฯ และได้รับรู้ถึงการใช้ความรุนแรงของรัฐในการสลายการชุมนุม ซึ่งตนมองว่า เป็นเรื่องที่เกินกว่าเหตุ และไม่สามารถยอมรับการกระทำดังกล่าวของรัฐบาลไทยที่กระทำต่อประชาชนตนได้ “ผมช็อคมากกับการสังหารหมู่ประชาชนที่เกิดขึ้น ผมไม่คิดว่าประเทศที่มีอารยะ ควรนำอาวุธปืนมายิงใส่ประชาชน ผมตกใจมากจริงๆ กับการกระทำดังกล่าวของรัฐบาลประชาธิปัตย์” วอลเดน กล่าว อภิสิทธิ์ชี้แจงว่า หากวอลเดน เบลโล ได้อยู่เมืองไทยก่อนหน้านั้น จะรู้ว่า ความรุนแรงดังกล่าวเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ แต่การสลายการชุมนุม เป็นเรื่องจำเป็น เพราะพบว่ามีกลุ่มติดอาวุธอยู่ภายในกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง ทั้งนี้ ทางรัฐบาลได้ใช้ความอดทนอดกลั้น ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลที่ยอมรับกันทั่วไป และเป็นการนำหลักนิติรัฐกลับคืนมาสู่ประเทศ “หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ก็มีกระบวนการทางการเมืองที่โปร่งใส เรามีการอภิปรายในสภา มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้เราก็ยังมีคณะกรรมการอิสระที่ตั้งขึ้นมาเพื่อทำการค้นหาความจริง (Fact-finding) ไม่มีใครอยากเห็นความสูญเสียหรอกครับ แต่เราต้องยึดถือหลักนิติรัฐ” อภิสิทธิ์กล่าว หลังจากนั้น ทางรายการ BBC World Debate เข้าสู่ประเด็นการพูดคุยเรื่องการคอร์รัปชั่นและนโยบายทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ตัวแทนจากประเทศอินโดนีเซียมองว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้องเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ เช่นเดียวกับตัวแทนจากอินเดียและฟิลิปปินส์ซึงมองว่าการลดความเหลือมล้ำเป็นเรื่องที่จำเป็น และการบังคับใช้กฎหมายป้องกันการคอร์รัปชั่นก็มีส่วนสำคัญในการบรรลุจุดประสงค์ดังกล่าว อภิสิทธิ์ ในฐานะตัวแทนประเทศไทย ได้อภิปรายเสริมว่า ในส่วนของประเทศไทย มีการริเริ่มนโยบายการลดการคอร์รัปชั่น โดยเฉพาะส่วนของภาคที่ธุรกิจ ที่ได้รวมตัวกันในนามของ ภาคีเครือข่ายการป้องกันและการปราบปรามคอร์รัปชั่น ซึ่งนับว่าเป็นก้าวแรกในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นที่ฝังรากลึกในสังคมไทย “การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นนับเป็นเรื่องที่ต้องทำกันอีกนาน เนื่องจากอาจกล่าวได้ว่าคนไทยได้ชาชินกับการคอร์รัปชั่นไปแล้วเป็นเรื่องปกติ โชคดีที่เราได้นำหลักคำสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ ซึ่งเน้นเรื่องความพอเพียง และให้คนลดเว้นจากความตะกละและความเห็นตัว ซึ่งเป็นรากฐานของการคอร์รัปชั่น” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อธิบาย ในช่วงท้ายของรายการ มีการถามถึงการเลือกตั้งและสถานการณ์การเมืองในประเทศไทย โดยผู้ดำเนินรายการถามว่า การเลือกตั้งในเมืองไทยครั้งนี้ อาจเกิดการแทรกแซงจากทหารหรือไม่ นายกฯ ไทยตอบว่า จะไม่เป็นเช่นนั้น เพราะไม่ว่ากองทัพ หรือพรรคการเมืองใดๆ ต่างมีอิสระในการรณรงค์หาเสียง และต่างเคารพในผลการเลือกตั้งที่ออกมา ในขณะเดียวกัน วอลเดน เบนโลกลับมองว่า หลังการเลือกตั้ง หากฝ่ายค้านชนะ อาจนำมาซึ่งความวุ่นวายในประเทศไทยได้ เนื่องจากจะมีปัญหาในส่วนของทหารและสถาบันกษัตริย์ และยังกล่าวด้วยว่า ในประเทศที่เป็นสมัยใหม่ ไม่ควรจะนำกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือกฎหมายอาญามาตรา 112 มาใช้ โดยทัศนะของเขาเห็นว่าการนำคนเข้าคุก เพียงเพราะวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ เป็นเรื่องที่มีปัญหา อภิสิทธิ์ได้ชี้แจงต่อประเด็นดังกล่าวว่า ตนและทุกส่วนยอมรับผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ และถ้าหากฝ่ายค้านชนะการเลือกตั้ง ก็จะยอมรับเช่นกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลใหม่จะมีจุดมุ่งหมายอย่างไร ถ้าหากรัฐบาลใหม่บริหารประเทศโดยคำนึงผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ก็เป็นเรื่องดี แต่หากคำนึงถึงผลประโยชน์ของคนคนเดียว โดยเฉพาะต่อคนที่ถูกตั้งข้อกังขาเรื่องคอร์รัปชั่นและสิทธิมนุษยชน ก็คงต้องเป็นเรื่องควรกังวล และได้ชี้แจงถึงการใช้กฎหมายมาตรา 112 ในประเทศไทยด้วยว่า มีการใช้เหมือนกับกฎหมายหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นกฎหมายอาญา ซึ่งเกี่ยวข้องกับรากเหง้าและเอกลักษณ์ของประเทศไทย และยังเป็นส่วนหนึ่งของความมั่นคงของชาติ ที่ต้องมีการบังคับใช้ เนื่องจากว่า สถาบันกษัตริย์ไม่มีกลไกป้องกันตนเองอื่นๆ เช่น ถ้าหากคุณถูกหมิ่นประมาท คุณสามารถไปฟ้องศาลได้ แต่หากสถาบันกษัตริย์ถูกดูหมิ่น ท่านไม่สามารถไปฟ้องศาลเองได้” “อาจกล่าวได้ว่า คนที่ถูกดำเนินคดีเนื่องจากการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ก็จะถูกดำเนินคดี เหมือนกับเวลาเขาไปหมิ่นประมาทคนทั่วไป ซึ่งกรณีดังกล่าวก็ย่อมไม่ได้รับการอภัยโทษเช่นกัน” อภิสิทธิ์ ชี้แจง ฟังคลิปรายการดังกล่าวได้จาก The World Debate - Asia - Sharing the Wealth? สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Posted: 21 Jun 2011 06:56 AM PDT การอภิปรายเรื่อง “ความท้าทายของ สื่อทีวีดาวเทียม-เคเบิล–วิทยุชุมชน และวิทยุท้องถิ่น กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองช่วงก่อนและหลังเลือกตั้ง” เป็นส่วนหนึ่งของเวทีอภิปรายสาธารณะ "ความท้าทายของสื่อใหม่ กับการเมืองไทยช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้ง" ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.54 ที่อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “ความท้าทายของ สื่อทีวีดาวเทียม-เคเบิล–วิทยุชุมชน และวิทยุท้องถิ่น กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองช่วงก่อนและหลังเลือกตั้ง” ร่วมอภิปรายโดย:
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
รายงาน: 11 นักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในคุกกรุงเทพฯ ปี 2011 Posted: 21 Jun 2011 06:34 AM PDT
ช่วงไม่กี่เดือนมานี้ “มาตรา 112” ถูกพูดถึงมากขึ้น ทั้งกระแสต่อต้าน สนับสนุน วิพากษ์วิจารณ์ หรือกระทั่งการไล่ล่า ขณะเดียวกันการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาก็ยังคงดำเนินไปอย่างแข็งขัน โดยเฉพาะกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ซึ่ง พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด ออกโรงย้ำเอง “แผนผังล้มเจ้า” มีที่มาที่ไปหาใช่การมั่ว พร้อมย้ำว่าดีเอสไอมีคดีที่กำลังสอบสวนอยู่ จำนวน 20 คดี มีหมายจับ 8 คดี และได้มอบตัวแล้ว 4 คดี ! เรื่องตัวเลขผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดอย่างชัดเจน สื่อมวลชนกระทั่งสาธารณชน ไม่มีทางทราบได้ว่าตำรวจทั้ง 2 หน่วยหลักที่ดูแลเรื่องนี้ กองปราบฯ และดีเอสไอ จับกุมใครไว้บ้าง จำนวนเท่าไร ดำเนินการกับพวกเขาอย่างไร ขั้นตอนไหน และยังมีคดีที่เตรียมดำเนินการในมือมากน้อยแค่ไหน หากสำรวจเท่าที่เป็นข่าว จะพบว่ามีผู้ถูกจับกุมและถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำโดยไม่ได้รับการประกันตัว เฉพาะในกรุงเทพฯ ณ ปัจจุบัน ประมาณ 11 ราย ได้แก่ สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน) ,สมยศ พฤกษาเกษมสุข, ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล, อำพล ตั้งนพกุล, สุริยันต์ กกเปือย, ณัฐ สัตยาภรณ์พิสุทธิ์, เสถียร รัตนวงศ์, Joe Gordon, สุชาติ นาคบางไทร, วันชัย แซ่ตัน และ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล มีรายละเอียดของคดีและเรื่องราวความเป็นมาดังนี้ เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร แดน 1 1. สมยศ พฤกษาเกษมสุข ถูกจับกุม: 30 เมษายน 2554 บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ด่านอรัญประเทศ (ดีเอสไอ) ความผิด: มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา (อยู่ระหว่างต่อสู้คดี) สาเหตุ: เป็นเจ้าของและบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin : เสียงทักษิณ ซึ่งเผยแพร่บทความที่ถูกกล่าวหาว่ามีเนื้อหาบางส่วนผิด มาตรา 112 ซึ่งกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตยที่สมยศสังกัดระบุว่า บทความดังกล่าวคือ “6 ตุลาแห่ง พ.ศ.2553” ในคอลัมน์คมความคิด โดย จิตร พลจันทร์ ตีพิมพ์ในนิตยสารดังกล่าวใน ฉบับที่ 16 ปักษ์แรก มีนาคม 2553 ความคืบหน้า:
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
2. สุชาติ นาคบางไทร หรือ วราวุธ ฐานังกรณ์ ถูกจับกุม: 1 พฤศจิกายน 2553 (กองบังคับการปราบปราม) ความผิด: มาตรา 112 ศาลตัดสินจำคุก 6 ปี สารภาพลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือ 3 ปี สาเหตุ: กล่าวปราศรัยบนเวที นปช. ที่สนามหลวง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2551 โดยพูดใส่ความสมเด็จพระบรมราชนินีนารถ ความคืบหน้า: - ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
แดน 4 3. ณัฐ สัตยาภรณ์พิสุทธิ์ ถูกจับกุม: 15 ตุลาคม 2552 (ดีเอสไอ) ความผิด:
สาเหตุ: คลิปเข้าข่ายหมิ่นทางอีเมล์ให้เพื่อนต่างชาติ นายนายอีมิลิโอ เอสเทแบน (Emilio Esteban) อายุ 46 ปี ชาวอังกฤษ อาศัยอยู่ที่ประเทศสเปน ซึ่งตำรวจเชื่อว่าคือผู้ใช้นามแฝงว่า stoplesemajeste ซึ่งร่วมกับนายสุวิชา ท่าค้อ โพสต์คลิปขึ้น youtube และเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา112 ตำรวจจึงขออนุญาตศาลเข้าถึงข้อมูลอีเมล์ของอีมิลิโอ และเจอการส่งอีเมล์ของณัฐที่ส่งให้อีมิลิโอจำนวน 3 คลิป ความคืบหน้า:
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
4. วันชัย แซ่ตัน ถูกจับกุม: ไม่ทราบแน่ชัด ความผิด: มาตรา 112, มาตรา 33 สาเหตุ: แจกจ่ายเอกสารเข้าข่ายหมิ่นฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2552 ความคืบหน้า:
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: -
แดน 6 5. สุรชัย แซ่ด่าน ถูกจับกุม: 22 กุมภาพันธ์ 2554 (กองบัญชาการตำรวจนครบาล 4) ความผิด: มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา (อยู่ระหว่างต่อสู้คดี) สาเหตุ: การพูดในงานเสวนา ตาสว่างกว่าเดิม ครั้งที่ 2 ที่อิมพีเรียล ลาดพร้าว เมื่อเดือนธันวาคม 2553 โดยขึ้นเวทีเสวนาร่วมกับอีก 3 ส.คือ สุทิน คลังแสง, สุนัย จุลพงศธร, สมยศ พฤกษาเกษมสุข ความคืบหน้า:
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
6. เสถียร รัตนวงศ์ ถูกจับกุม: 19 มีนาคม 2554 ความผิด: มาตรา 112 (อยู่ระหว่างต่อสู้คดี) สาเหตุ: ถูกกล่าวหาว่าขายซีดีที่เนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นฯ ตำรวจล่อซื้อ และยึดของกลางไปประมาณ 20 แผ่น ความคืบหน้า:
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
7. Joe Gordon (เลอพงษ์ วิไชยคำมาตย์) ถูกจับกุม: 24 พฤษภาคม 2554 ที่บ้านพักจังหวัดนครราชสีมา (ดีเอสไอ) ความผิด: มาตรา 112, 116 ประมวลกฎหมายอาญา สาเหตุ: ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้โพสต์ลิงโฆษณาในเว็บบอร์ด samesky เพื่อให้ผู้คนเชื่อมต่อไปอ่านหนังสือ The King Never Smiles (TKNS) ซึ่งทางการไทยระบุว่าเป็นหนังสือต้องห้าม ในบล็อกของผู้ถูกกล่าวหา และปรากฏบทความที่เข้าข่ายผิดกฎหมายดังกล่าว เหตุเกิดเมื่อปี 2550-2552 ความคืบหน้า:
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
แดน 8 8. ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล ถูกจับกุม: 1 เมษายน 2553 (กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง) ความผิด: มาตรา 112 สาเหตุ: มีการนำข้อความในลักษณะหมิ่นประมาท หรือดูหมิ่นอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์อันเป็นเท็จ นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เผยแพร่ในรายการ “ทางออกประเทศไทย” ของเว็บไซต์ www.norporchorusa.com และ www.norporchorusa2.com โดยเชื่อว่าผู้ต้องหาคือผู้ดูแลเว็บไซต์ ใช้นามแฝงว่า “เรดอีเกิ้ล” ความคืบหน้า:
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
9. อำพล ตั้งนพกุล ถูกจับกุม: 3 สิงหาคม 2553 (กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางส่งให้ดีเอสไอ) ข้อหา: มาตรา 112 สาเหตุ: ถูกกล่าวหาว่าส่ง SMS เข้าข่ายหมิ่นไปยังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ควาคืบหน้า:
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
10. สุริยันต์ กกเปือย ถูกจับกุม: 3 สิงหาคม 2553 (กองบัญชาการตำรวจนครบาล 1) ความผิด: มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา สาเหตุ: โทรศัพท์ไปยัง 191 ข่มขู่จะวางระเบิดโรงพยาบาลศิริราช ความคืบหน้า:
ข่าวเกี่ยวข้อง:
ทัณฑสถานหญิงกลาง 11. ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ถูกจับกุม: 22 กรกฎาคม 2551 (กองบัญชาการตำรวจนครบาล) ความผิด: มาตรา 112 สาเหตุ: กล่าวปราศรัยที่เวทีเสียงประชาชน ที่สนามหลวง กลางปี 2551 ความคืบหน้า:
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
พบร่างมนุษย์ในอ่างเก็บน้ำสำหรับทำประปาที่สิงคโปร์ Posted: 21 Jun 2011 05:40 AM PDT หนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์ของสิงคโปร์รายงานการพบร่างมนุษย์ครึ่งท่อนล่างลอยอยู่ในอ่างเก็บน้ำแห่งหนึ่ง ขณะที่ร่างกายท่อนบนยังคงสาบสูญ โดยอยู่ในสภาพเน่าเกินกว่าจะระบุได้ว่าเป็นเพศอะไร ขณะที่หน่วยงานของรัฐยืนยันว่าคุณภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำยังสามารถทำเป็นน้ำประปาได้ ข่าวเรื่องการพบร่างมนุษย์ในอ่างเก็บน้ำ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 สิงคโปร์เมื่อ 20 มิ.ย. (ที่มา: 154media/youtube) เช้าวันจันทร์ (20 มิ.ย.) ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์ของสิงคโปร์รายงานว่า มีการพบร่างมนุษย์ลอยอยู่ในอ่างเก็บน้ำเบอดก (Bedok Reservoir) ทางตะวันออกของสิงคโปร์ ขณะที่ร่างท่อนบนยังคงสาบสูญ โดยร่างเน่าเกินกว่าที่จะระบุได้ว่าเป็นเพศอะไร แต่ร่างนั้นคล้ายกับสวมกางเกงยีนส์ องค์กรน้ำแห่งชาติสิงคโปร์ (PUB) ซึ่งบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำ รับรองว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของน้ำในอ่างเก็บน้ำ โฆษกของ PUB กล่าวว่า "PUB ได้ตรวจสอบคุณภาพของน้ำในอ่างเก็บน้ำเบอดกแล้ว และรับรองต่อสาธารณชนว่าน้ำมีความปลอดภัยสำหรับดื่ม" โฆษกของ PUB กล่าวด้วยว่าน้ำในอ่างเก็บน้ำของสิงคโปร์ทั้งหมด ถูกบำบัดเพื่อใช้เป็นน้ำสำหรับดื่ม โดยได้รับการรับรองคุณภาพจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ก่อนที่จะกระจายไปยังครัวเรือน กระบวนการในการทำน้ำประปาประกอบด้วยการบำบัดทางเคมี การกรอง และการฆ่าเชื้อโรค นายกว็อก เฉิน โฮ (Kwok Chen Ho) อาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่วิทยาลัยสิงคโปร์โปลิเทคนิค กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่มีผลต่อคุณภาพน้ำ แม้จะมีศพเต็มตัวอยู่ในสภาพเน่าสุดๆ อยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ ก็ตาม สำหรับอ่างเก็บน้ำดังกล่าว มีความกว้าง 880,000 ตารางเมตร จุน้ำได้ 12.8 ล้านลูกบาศก์เมตร ความลึกสูงสุดอยู่ที่ 18.2 เมตร ก็สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2529 นอกจากประโยชน์ในการเก็บกักน้ำแล้ว ยังมีพื้นที่สวนสาธารณะรอบอ่างเก็บน้ำขนาด 417,000 ตารางเมตร โดยชาวสิงคโปร์ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนและออกกำลังกายด้วย โดยทั่วไปนั้น คุณภาพน้ำประปาของสิงคโปร์ อยู่ในระดับที่ใช้ดื่มได้ และชาวสิงคโปร์นิยมดื่มน้ำประปาจากก๊อกน้ำ และพกกระติกน้ำดื่มไปที่ทำงาน มากกว่าการซื้อน้ำบริโภค เนื่องจากน้ำดื่มบรรจุขวดมีราคาแพงมาก อนึ่ง ในรอบ 2 เดือนมานี้ ชาวสิงคโปร์ต้องเผชิญกับการพบศพในพื้นที่เก็บกักน้ำสำหรับการบริโภค โดยเมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มติชนออนไลน์ ซึ่งอ้างการรายงานจากหนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์ของสิงคโปร์ รายงานว่ามีการพบศพชาวอินโดนีเซียแช่อยู่ในแทงก์น้ำของแฟลตแห่งหนึ่งในย่านวู้ดแลนด์ของการเคหะสิงคโปร์ โดยเจ้าหน้าที่สิงคโปร์ค้นพบศพดังกล่าว หลังมีประชาชนในแฟลตโทรศะพท์ไปร้องเรียนคณะกรรมการเขตเซมบาวัง ว่าน้ำประปาที่ใช้กลายเป็นน้ำสีเหลืองขุ่นและมีฟองผุด ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก Bedok Reservoir, wikipedia, https://secure.wikimedia.org/wikipedia/en/wiki/Bedok_Reservoir สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
นักสิทธิมนุษชนเสนอ10ข้อ แก้ปัญหาผู้ลี้ภัย Posted: 21 Jun 2011 05:36 AM PDT ในงานอภิปรายเรื่อง “60ปีอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัยกับประเทศไทย: อดีต ปัจจุบัน และอนาคต” โดยความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิไทยเพื่อคนมีปัญหาสิทธิและสถานะบุคคล(ทีซีอาร์)และ เครือข่ายสิทธิผู้ลี้ภัยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (เอพีอาร์อาร์เอ็น) เนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก 20 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยโดยมีผู้ร่วมอภิปรายสี่คนประกอบด้วยศาสตราจารย์ วิทิต มันตาภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี ผู้แทนประเทศไทยในคณะกรรมกาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, สมชาย หอมละออ คณะกรมมาธิการปฏิรูปกฎหมายแห่งชาติ และนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยศาสตราจารย์ วิทิต มันตาภรณ์เสนอสิบข้อในการจัดการปัญหาผู้ลี้ภัยตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยมีความเห็นว่าประเทศไทยไม่ค่อยเคร่งครัดหรือรุนแรงกับผู้ลี้ภัยมากนักซึ่งถือว่าดีมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นท่ามีกฎระเบียบที่เคร่งครัดรุนแรงและหลายประเทศที่แก้ปัญหาโดยการส่งผู้อพยพกลับประเทศต้นทางอย่างเดียว แต่ถึงแม้ว่ากฎหมายของผู้ลี้ภัยจะไม่ค่อยมีมาตรการรุนแรงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นรวมถึงกฎหมายการให้สัญชาติของไทยจะเป็นเรื่องที่ดี แต่เรายังมีปัญหาเรื่องระบบการจัดการผู้อพยพที่ยังค่อนข้างซับซ้อนและยุ่งยาก และเรายังไม่มีกฏหมายที่เป็นสากลในการจัดการกับปัญหาของบุคคลไร้สัญชาติอย่างเป็นรูปธรรมโดยเสนอข้อเสนอสิบข้อในการจัดการปัญหาดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน โดยสรุปดังนี้
ทั้งนี้นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กล่าวเสริมในประเด็นปัญหาว่าในหลายๆประเทศที่เกิดสงครามชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพที่หลั่งใหลเข้ามาในประเทศไม่ได้รับความคุ้มครองจากประเทศของผู้อพยพเนื่องจากเป็นชนกลุ่มน้อยที่รัฐบาลประเทศนั้นๆไม่ให้สัญชาติ คนเหล่านี้เมื่ออพยพเข้ามาในไทยถูกทำให้กลายเป็นบุคคลผิดกฎหมาย และยกตัวอย่างเช่นในพม่า เมื่อรัฐพยายามผลักดันให้ชนกลุ่มน้อยโรฮิงยาผู้ลี้ภัยกลับเข้าไปในเขตแดนของตน คนเหล่านี้ก็ไม่สามารถเข้าไปในประเทศได้เนื่องจากไร้สัญชาติ ทำให้ต้องตั้งถิ่นฐานอยู่ตามป่าเขาเป็นจำนวนถึงสามถึงสี่พันคน โดยการแก้ปัญหาคือต้องทำให้รัฐไทยตระหนักว่าว่าคำว่าเขตแดนนั้นไม่ใช่หลักทางภูมิศาสตร์อย่างเดียว คือไม่ใช่มองปัจจัยทางกายภาพของอธิปไตยอย่างเดียว แต่ต้องนึกถึงเรื่องชุมชน เรื่องคน และเรื่องคุณภาพชีวิตของมนุษย์ เราอยุ่ในโลกที่มีพรมแดน แต่แท้จริงเราอยู่ในโลกไร้พรมแดนในโลกยุคโลกาภิวัฒน์องค์กรระดับโลกควรมี นโยบายที่ไม่ใช่การเปิดเสรีในระบบทุน ประชาคมอาเซียนต้องนึกถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่ ต้องใช้หลักการสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค ไม่งั้นองค์กรอาเซียนจะเป็นเพียงแค่เศษกระดาษและเป็นเพียงองค์กรที่เอื้อประโยชน์ต่อคนเพียงกลุ่มเดียว หรือนักการเมืองบางคน ทั้งนี้สังคมไทยควรเปลี่ยนความคิดใหม่ ที่คิดว่าถ้าเราทำดีแล้วจะมีผู้อพยพเข้ามาอีก หรือมองว่าผู้ลี้ภัยเข้ามาสร้างปัญหาเข้ามาแย่งงาน ทั้งที่มีงานวิจัยหลายชิ้นออกมาว่าความคิดเหล่านี้เป็นแค่มายาคติของรัฐไทยที่สร้างขึ้นเพื่อควบคุมและกดขี่ผู้อพยพลี้ภัยโดยการอ้างความเป็นอธิปไตย นายแพทย์นิรันดร์ กล่าวโดยสรุป สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
Posted: 21 Jun 2011 05:36 AM PDT The Yellow Crimson (YC) หนังสือพิมพ์ (ออนไลน์ในเฟซบุ๊ก) โดยกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สัมภาษณ์ “คำ ผกา” นักเขียนหญิงฝีปากกล้าแห่งยุค กับประเด็นร้อน “พิธีกรรมรับน้องใหม่” เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ที่ผ่านมา หลังจากจบงานเสวนา “พิธีกรรมรับน้องใหม่: Be Young and Shut Up?” ซึ่งจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ) ทีมงาน YC ได้มีโอกาสพูดคุยกับพี่แขก หรือ คำ ผกา นักเขียน และคอลัมนิสต์ วิพากษ์สังคมไทย ที่มีแนวคิดทวนกระแส ซึ่งคมคาย ยอกย้อนต่อวิธีคิดกระแสหลัก YC : ถ้านักศึกษากำลังจะจัดงานรับน้อง พี่แขกมีอะไรที่อยากจะบอก การกระทำนั้นไหม? พี่แขก: ไม่อยากจะด่ารุ่นพี่ แต่อยากให้นักศึกษาปีหนึ่ง ไม่ต้องไป ทำได้ไหม ถ้าไม่ไป? YC : คิดว่านักศึกษาปีหนึ่งมี power ที่จะกล้าปฏิเสธไหม? พี่แขก: มี แต่ว่าคิดกันไปเองว่าตัวไม่มี มันเป็นสิ่งที่ทำได้ อย่างที่พี่ได้บอกไปก่อนหน้าว่า มึงแก่กว่ากูปีเดียว จะไปรู้อะไรมากกว่าเราสักแค่ไหน ถ้าไม่ไปจะเกิดอะไรขึ้น มันไม่ผิดกฎหมายใช่ไม๊ ไม่ผิดกฎมหาวิทยาลัย ไม่โดนยกเลิกปริญญา ไม่มีอะไรแบบนี้ที่จะกระทบกระเทือนต่ออนาคต ในเชิงรูปธรรม และถามว่าการไม่มีรุ่น มันสำคัญแค่ไหนล่ะ ก็กูไม่อยู่รุ่นมึงก็ได้ กูก็จะเรียนให้เก่งกว่านี้ ไปเรียนเมืองนอก กูจบปริญญาเอกจาก Harvard มา กูจะเอาไหมเนี่ยรุ่นของมึง แต่ว่านักศึกษาใหม่ถูกทำให้คิดไม่ได้ เหมือนที่เขานึกไม่ออกว่าสังคมที่มันไม่มีพี่กับน้องมันมีด้วยเหรอ และมันจะอยู่ยังไง มันจะเป็นเมืองไทยรึเปล่าถ้ามันไม่มีพี่กับน้อง YC : แต่เมื่อนักศึกษาปีหนึ่งไม่ยอม กลับถูกรุ่นพี่กดดัน boycott พี่แขก: ถ้ามึง boycott กูได้ กูก็ boycott มึงได้เหมือนกัน เราขอข้าวรุ่นพี่กินรึเปล่า ก็ไม่ใช่ เรากินข้าวโรงอาหาร ไม่มีใครไล่เราออกจากโรงอาหาร คือมันต้องประท้วงให้ถึงที่สุด แต่ไม่ได้ประท้วงด้วยการไปยกป้ายประท้วง เรื่องที่ง่ายๆ คุณไม่ทำอ่ะ อะไรที่ไม่ถูกต้องไม่ชอบทำ แล้วเราไม่แฮปปี้ YC : อย่างที่พี่แขกเสนอว่าให้ยกเลิกชุดนักศึกษา ธรรมศาสตร์ก็ยกเลิกในระดับหนึ่งแล้ว แต่ว่ามันก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง วิธีคิดก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง พี่แขกเห็นว่าไงครับ? พี่แขก: แต่มันจะค่อยๆ เปลี่ยน หมายความว่า หากยกเลิกชุดนักศึกษาในปีนี้ อุดมการณ์อาจจะยังไม่เปลี่ยน แต่ถ้าคุณไม่มีชุดนักศึกษาไปอีกสักสิบปี คุณไม่มีอนุสาวรีย์ให้ระลึกถึง อุดมการณ์มันก็จะเปลี่ยน ค่อยๆ เปลี่ยน มันเหมือนสถาปัตยกรรมหรือว่าการว่างผังเมือง มันมีวิธีทำให้คนสยบยอมต่อรัฐเผด็จการ แต่ขณะเดียวกัน การวางผังเมือง ก็คือการเปิดพื้นที่ ให้คนรู้สึกว่าเมืองที่มีเสรีภาพ เมืองที่มันมีพื้นที่ public เยอะๆ มีเสรีภาพ คนที่อยู่แล้วมีความสุข กับเมืองที่จะบีบๆให้คนรู้สึกมองขึ้นไปข้างบน กับเมืองที่ว่างผังให้แพร่ออกไปด้านข้าง ชุดนักศึกษาก็คล้ายๆ กับสถาปัตยกรรมบนร่างกายของเรา และมันจะเทรนอุดมการณ์ กักขังความคิดบางอย่างให้มันแข็งทื่อตลอดไป YC : แต่ในธรรมศาสตร์เอง ประเพณีการไม่ใส่เครื่องแบบมาเรียน มันก็มีมาค่อนข้างนานมากแล้ว พี่แขก: แต่มันยังไม่ถูกยกเลิกไปเลยอย่างสิ้นเชิง เวลาสอบเรายังต้องใส่ ยังเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยอยู่ แต่ในมหาวิทยาลัยอื่น อย่างในอเมริกา อย่างในญี่ปุ่น มันไม่มีโดยสิ้นเชิง มันไม่มีอะไรเชื่อมโยงกับสถาบัน แล้วตัวสถาบันก็ไม่ได้มีความเป็นธรรมศาสตร์ในเชิงที่ยังผูกกับบุญบารมีความศักดิ์สิทธิ์ YC : พี่แขกคิดอย่างไรกับตรรกะที่บอกว่า เป็นพิธีกรรมที่ทำให้พี่กับน้องมารักกันมากขึ้น พี่แขก: แล้วทำไมต้องรักกัน ประเด็นคือว่า เราต้องตั้งคำถามว่าความรักจำเป็นแค่ไหน เราต้องการความเคารพกัน เราไม่ต้องการความรักกัน YC : สมมติว่า เราต้องรักกันจริงๆ ต้องให้มันสามัคคีกันจริงๆ แล้วเนี่ย ที่ญี่ปุ่น อย่างใน ASAFAS ใน ม.เกียวโต เนี่ย เค้ามีพิธีกรรมอะไรอย่างนี้กันบ้างไหม ? พี่แขก: เค้าไม่ได้รักกัน เค้าไม่ได้สามัคคีกัน คือ ทุกคนเป็นปัจเจกมาก แล้วก็เท่ากัน แต่ว่า ความเป็น Sempai - Kohai (รุ่นพี่ - รุ่นน้อง) มันเป็นในแง่แค่ว่า คุณต้องจ่ายเงินมากกว่าตอนไปกินเลี้ยง เพราะว่าคุณเงินเดือนเยอะกว่า ถ้าคุณเป็นตำแหน่ง ศ. ผศ. ป.เอก ป.โท เวลาไปปาร์ตี้เราต้องหารกัน ก็คือหารกันตามรายได้ ใครเป็นชนชั้นทางเศรษฐกิจสูง รายได้สูง ก็ต้องจ่ายเยอะ เพราะเงินเยอะ ไม่มีการเลี้ยงกัน แค่ใครจ่ายเยอะกับจ่ายน้อย แล้วไม่ได้มาอะไรกันมาก กลัวที่จะต้องอยู่ใกล้กันด้วยซ้ำไป เค้าจะไม่เช่าบ้าน ไม่บอกให้เพื่อนรู้นะ ว่าเค้าอยู่ที่ไหน เพราะมันจะสูญเสียความเป็นส่วนตัว ไม่มีการเชิญไปบ้านและก็ไม่มีการนับญาติ ก็สัมพันธ์กันในเชิงวิชาการ YC : ในธรรมศาสตร์จะมีแนวคิด ในเรื่องความเท่าเทียมกัน การให้เสรีภาพแก่นักศึกษา แต่ทำไมสิ่งที่ธรรมศาสตร์พยายามจะสร้างขึ้น ถึงไม่ประสบความสำเร็จในสังคมไทย พี่แขก: ก็เพราะว่าโครงสร้างสังคมทั้งหมดมันไม่ได้เอื้อต่อปรัชญาที่ว่าด้วยความเสมอภาค ตั้งแต่ภาษาที่เราพูด และก็ความสัมพันธ์ของพ่อแม่ลูกในระดับที่เป็นหน่วยครอบครัวเล็กๆ ทุกวันนี้พ่อแม่คนไทย ยังเลี้ยงลูกไม่ปล่อย ยังใช้อำนาจพ่อแม่ ในเรื่องของความรัก และก็ไม่เคยปล่อยให้ลูกเป็นผู้ใหญ่ เมื่อเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว ยังเห็นลูกเป็นเด็ก คำอธิบายที่ใช้ในระดับรัฐ คนที่เป็นพลเมืองหรือรุ่นน้อง มักจะนึกเสมอว่า เรายังต้องพึ่งพิงอำนาจที่อยู่เหนือตัวเองอยู่เสมอ เพราะไม่เคยไปพ้นจากอำนาจพ่อแม่ตัวเองเลย YC : วิธีที่จะแก้คืออะไรครับ? พี่แขก: คิดว่าต้องแก้ที่ภาษา อย่างจอมพล ป. ก็มาถูกทางแล้ว เริ่มมี ฉัน เธอ ท่าน แต่ว่าการปฏิวัติทางวัฒนธรรมและการปฏิวัติทางภาษาของจอมพล ป. มัน ก็สะดุด เพราะว่า อำนาจของคณะราษฎรก็ถูกทำลาย เพราะฉะนั้นการปฏิวัติวัฒนธรรมมันไม่เกิด ในเมื่อการปฏิวัติวัฒนธรรมมันไม่เกิด ตรงนี้มันก็ยาก เพราะมันไม่มีจินตนาการสำหรับสังคมเสมอภาค และทุกวันนี้ เราก็ยังมีลิฟท์เฉพาะอาจารย์ มีส้วมเฉพาะอาจารย์ ซึ่งจริงๆ แล้วมันขัดกับหลักความเสมอภาคอย่างยิ่ง แล้วทีนี้ จะเป็นสังคมที่มีชนชั้นชัดเจนแบบอังกฤษไปเลยมั้ย ก็ไม่เป็น อย่างอังกฤษชนชั้น ก็มีที่ทาง มีบทบาทของตัวเองชัดเจน บทบาทของชนชั้นแบบอังกฤษ ประชาธิปไตยแบบอังกฤษ มันสัมพันธ์กัน คือสถาบันกษัตริย์แบบอังกฤษชัดเจนแบบนั้นไปเลย คุณได้ตรงนี้มา คุณต้องเสียอะไรบ้าง เหมือนที่อาจารย์พิชญ์ บอกว่า ถ้าคุณใส่ครุยไปกินข้าว ก็โอเค คุณก็จ่ายถูกๆ กลายเป็นว่าการที่คุณใส่ครุยไปกินข้าว แปลว่าคุณไม่ค่อยมีตังค์ แต่ว่าของไทยมันไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างถึงที่สุด มันผสม มันถูก localization ทุกอย่างทุกปรัชญาที่นำมาใช้ มันถูกทำให้เป็นไทยๆ แล้วถามว่าไอ้ความที่เป็นไทยๆ นี้มันคืออะไร มันเป็นสิ่งที่พวกเราทุกคนรู้ แต่พูดไม่ได้ มันไปติดตรงนั้นหมดเลย และถามว่าทำไมความเป็นไทยๆ แบบนี้มันดำรงอยู่ YC : คิดยังกับคลิปของ ม.มหาสารคามครับ พี่แขก: ถ้าคุณไม่แฮปปี้กับระบบนี้ ทางเลือกของคุณคือเอาตัวเองออกจากระบบ ไม่ใช่การท้าทายระบบ มันไม่เปิดพื้นที่ให้เกิดการดีเบต ไม่เห็นว่าความขัดแย้งเป็นเรื่องที่ต้องพูดคุย การที่มีคนมาขัดแย้งความคิดของคุณ คุณต้องรับฟังความขัดแย้งนี้ และเห็นว่ามันดีมากเลย ที่สังคมมีความขัดแย้ง แต่กลายเป็นว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่สังคมมีความขัดแย้ง มีคนลุกขึ้นมาท้าทาย จะต้องมีคนมาตะโกนว่าออกไปๆ !! YC : สุดท้าย ถ้าจะบอกว่า จริงๆ แล้ว ไอ้การที่พี่ๆ มันอยากจะออกมาจัดกิจกรรมรับน้องเนี่ย มันสะท้อนให้เห็นถึง nature ของมนุษย์ ที่อยากจะมีอำนาจ เหมือนอย่างที่ Nietzsche เรียกว่า “Will to Power” พี่แขกคิดว่ายังไงครับ พี่แขก: แต่เรามีวัฒนธรรม (culture) นะ เราไม่ได้อยู่กับธรรมชาติ (nature) อย่างเดียว เพราะฉะนั้นมันเป็นสิ่งที่ขัดเกลา ฝึกฝนได้ ธรรมชาติมันมี แต่เราต้องใช้วัฒนธรรมในการขัดเกลา แม้ว่าตอนนี้ เสียงแบบนี้ (ไม่เห็นด้วยกับการรับน้อง) อาจเป็นเสียงส่วนน้อย แต่ในเมื่อยืนยันว่าอยากมีสังคมแบบนี้ อยากเห็นสังคมแบบนี้ ไม่ได้หมายความว่าจะเอาปืนไปจี้ใครให้เปลี่ยนความคิด แต่เราก็ต้องให้ข้อมูล ให้ความคิดเห็นแก่พื้นที่สาธารณะ หมายเหตุ: YC หรือ The Yellow Crimson หนังสือพิมพ์นักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เริ่มกว้าแรกด้วยการเผยแพร่ออนไลน์อยู่ในเฟซบุ๊ก (http://www.facebook.com/pages/The-Yellow-Crimson/215992768433332?sk=info) ก่อตั้งเมื่อ เดือน 6 วันที่ 9 ปี 2554 สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
กรรมการสิทธิฯ เผย "ผู้หนีภัยชาวอะห์มาดีย์" ถูก ตม.จับต่อเนื่อง จี้รัฐไทยดูแล Posted: 21 Jun 2011 05:34 AM PDT
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์เนื่องในโอกาสวันผู้ลี้ภัยโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 20 มิ.ย.ของทุกปี โดยระบุว่า สิทธิในการหนีภัยจากการประหัตประหารเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ดังที่ปรากฏอยู่ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ แม้ว่าประเทศไทยมิได้เป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสถานะผู้ลี้ภัย ค.ศ.1951 แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและเคารพในหลักการไม่ผลักดันผู้หนีภัยกลับไปสู่ภัยประหัตประหาร ทั้งนี้ จากการที่ กสม.ได้ตรวจสอบข้อร้องเรียนของผู้หนีภัยชาวอะห์มาดีย์ที่ถูกขังไว้ในห้องกักของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งที่พักพิงผู้หนีภัยสงครามจากประเทศเพื่อนบ้าน จนช่วยให้มีการประกันตัวผู้หนีภัยชาวอะห์มาดีย์ จำนวน 96 คน เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.ที่ผ่านมา ปรากฏว่าหลังจากนั้นยังคงมีการจับกุมผู้หนีภัยชาวอะห์มาดีย์อย่างต่อเนื่อง กสม.ระบุว่า เนื่องจากประเทศไทยไม่มีกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยโดยตรง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนเข้าเมืองก็มิได้มีบทบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะเกี่ยวกับการบริหารจัดการผู้หนีภัยในประเทศไทย จึงทำให้บุคคลกลุ่มนี้ถูกจับกุมในข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย หรืออยู่เกินกำหนดที่ได้รับอนุญาต และในกรณีที่ไม่สามารถส่งตัวกลับประเทศได้ จะถูกกักขังไว้ที่ห้องกัก ตม. โดยไม่มีกำหนดเวลาปล่อยตัว ซึ่งมีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีรวมอยู่ด้วย ในขณะที่ประเทศไทยเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ดังนั้นควรมีมาตรการในการดูแลและแสวงหาแนวทางเลือกอื่นที่จะทำให้เด็กไม่ต้องอยู่ในพื้นที่ห้องกักของ ตม. นอกจากนี้ กสม.ยังเสนอให้มีการปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนเข้าเมือง โดยเฉพาะการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 กฎกระทรวง และระเบียบข้อบังคับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ของกระบวนโลกาภิวัตน์ โดยให้หลักเกณฑ์และกระบวนการต่างๆ เป็นไปตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ให้มีการจัดการดูแลผู้หนีภัยในประเทศไทยอย่างเป็นระบบและเป็นธรรม รวมถึงให้หน่วยงานของสหประชาชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหานี้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ในระหว่างที่ยังไม่มีการปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องและไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานะผู้ลี้ภัย กสม.ขอให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือแนวทางในการอนุญาตให้ผู้หนีภัยสามารถอยู่ในประเทศได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โดยประสานงานกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติและองค์กรภาคประชาสังคม ในการนำผู้หนีภัยมารายงานตัวต่อสำนักงานตรวจนเข้าเมืองเพื่อบันทึกประวัติและกำหนดให้มารายงานตัวเป็นประจำ แทนการกักตัวไว้ตาม พ.ร.บ.ตรวจคนเข้าเมือง และให้ความดูแลตามหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานจนกว่าจะสามารถเดินทางออกนอกราชอาณาจักรได้
สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
ประมวล เพ็งจันทร์ : พุทธศาสนามีมิติทางสังคมหรือไม่? (จบ) Posted: 21 Jun 2011 05:18 AM PDT “...ณ ปัจจุบันต่างหากสำคัญกว่าเมื่อตอนมิถุนายน 2475 ด้วยซ้ำไป เพราะว่านี้คือกระบวนการเปลี่ยนผ่านเพื่อการเรียนรู้ในใจของประชาชน และการเรียนรู้นี้ก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะผมเข้าใจว่าหลังจากนี้ต่อไปประชาชนคนไทยก็จะมีข้อสรุปอะไรบางอย่างของตัวเอง ไม่ใช่ข้อสรุปของนักวิชาการ หรือของผู้รู้ หรือของชนชั้นนำ ที่สรุปแล้วมายัดเยียดใส่ใจเรา แต่เราจะมีข้อสรุปของเราเองว่า สุดท้ายแล้ว อะไรคือสิ่งที่มันควรจะเป็นในวิถีชีวิตของเรา” (ประมวล เพ็งจันทร์) **************** สังคมไทยมีบริบทเฉพาะคือ มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่มิถุนายน 2475 แล้วก็มีรัฐประหารมาเรื่อย นี่คือลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากฝรั่งเศส อังกฤษ และเราก็บอกว่าสังคมเราเป็นเมืองพุทธ ชาวพุทธก็มักอ้างในทางการเมืองเสมอว่าเราต้องมี “ธรรมาธิปไตย” คือ ยึดหลักการ ยึดความถูกต้องในการตัดสินใจ แต่เมื่อเกิดรัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำเล่า สังคมไทยก็ยอมรับองค์อธิปัตย์ที่มาจากรัฐประหารได้อย่างง่ายดาย ทั้งที่รัฐประหารสำเร็จก็นิรโทษกรรมให้กับตนเองแม้ว่าจะมีการฆ่านักศึกษาประชาชนไปแล้วอย่าง 6 ตุลา พฤษภา 35 และขณะนี้สังคมดูเหมือนจะปฏิเสธการที่นักการเมืองที่ถูกทำรัฐประหาร แล้วต่อสู้เพื่อกลับเข้ามามีอำนาจอีกตามกติกาประชาธิปไตย ที่คาดกันว่าอาจจะออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ตนเอง ทั้งที่สังคมนี้อ้าง “ธรรมาธิปไตย” อยู่ตลอด อาจารย์มองประเด็นนี้อย่างไร? คืออ้างนี่อ้างได้ครับ แต่ว่าสุดท้ายแล้วเป็นเรื่องที่ในสังคมเปิดเนี่ยนะครับมีการอ้างถึงเรื่องเช่น ขอโทษเถอะอ้างว่าจะเป็นพระพุทธเจ้ายังได้เลย (หัวเราะ) นี่ถ้าเราพูดถึงความเชื่อใช่ไหมครับ มันจึงมีกบฏผีบุญอะไรที่เราเคยพูดถึงกัน หรือยกตัวอย่างเช่นในพม่าเคยมีนายพลที่ปัจจุบันเป็นผู้อาวุโสแล้วนะ สั่งปลดนายพลอีกคนเป็นนายกรัฐมนตรี ตอนนั้นผมไปอยู่ในประเทศพม่าพอดีเลย แล้วผมอ่านหนังสือพิมพ์ภาคภาษาอังกฤษที่เป็นคำอธิบายว่า ทำไมจึงปลด ก็มีคำอธิบายชัดเจนว่า นายกรัฐมนตรีคนนี้ไม่ประกอบด้วยหลักธรรมทางพุทธศาสนา คือมีความละโมบโลภมากปล่อยให้ลูกชายมาใช้อำนาจของพ่อเพื่อหาประโยชน์ เป็นความโลภเป็นเรื่องส่วนตัว ผิดหลักศีลธรรมในพุทธศาสนาก็เลยเป็นความชอบธรรมให้นายพลคนนั้นต้องถูกปลด แต่ในขณะที่อ่านข่าวนี้ ผมยังมีความรู้สึกว่า เออ...ข้ออ้างนี้ (หัวเราะ) ก็ยังเป็นข้ออ้างที่เกือบจะอิงพระไตรปิฎกด้วยซ้ำไป คือเผด็จการมักอ้างธรรมะตลอด? ที่สำคัญข้ออ้างที่แม้จะไม่ได้อยู่ในแถลงการณ์นั้น แต่ผมคุยกับประชาชนชาวพม่า เขามีข้ออ้างอันหนึ่งที่น่าสนใจมาก เขาบอกว่าประเทศพม่า รัฐบาลเปรียบประดุดังนั่งร้านที่ต้องก่อขึ้นมาเพื่อบูรณะพระธาตุเจดีย์คือพุทธศาสนาในความหมายของเขานะครับ ก็คือรัฐบาลมีหน้าที่ต้องรักษาพุทธศาสนาไว้ พระธาตุเจดีย์อาจมีความหมายที่ก่อให้เกิดความไม่งดงาม แต่ตอนนี้เราต้องซ่อม สร้าง ที่สำคัญสิ่งที่ผู้ปกครองทุกคนของพม่าต้องทำก็คือต้องรักษาพุทธศาสนาให้ได้ เพราะฉะนั้น รัฐธรรมนูญจึงบัญญัติไว้ว่าคนจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีต้องไม่มีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ ความหมายก็คือชาวพม่ามีความเจ็บปวดกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่พวกเขาถูกปกครองโดยชาวอังกฤษ และความรู้สึกว่าชาวอังกฤษไม่ใช่ชาวพุทธที่เข้ามาเหยียบย่ำทำลายความรู้สึกที่ดีงามของเขา ไม่ใช่รัฐธรรมนูญนี้เผด็จการทหารบัญญัติขึ้นเพื่อสกัด ออง ซาน ซูจี หรือครับ? ก็ใช่ๆ ผมกำลังบอกไงว่านี้คือสิ่งที่มันเกิดขึ้น ผมไม่กล้าพูดในประเทศไทยเพราะมันจะไปกระทบคนนั้นคนนี้ แต่เราเพียงเขยิบไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจริงๆ ก็คือเขาเพียงต้องการไม่ให้ ออง ซาน ซูจี ขึ้นมามีอำนาจ และไม่ต้องการให้ ออง ซาน ซูจี มีพื้นที่ทางความชอบธรรม เพราะไม่เช่นนั้นแล้วก็ต้องเผชิญกับสิ่งที่นึกถึงภาพเขาเผลอให้เลือกตั้งแล้ว ออง ซาน ซูจี ชนะแบบถล่มทลายใช่ไหมครับ ประเด็นนี้หากเรามองจากสายตาของคนนอกรัฐบาล นอกประเทศพม่า ก็สามารถจะเข้าใจได้ว่านี่เป็นการเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อกีดกันคนบางคน นี่เป็นการกระทำที่อ้างพุทธสาสนา แต่ขอโทษเถอะพูดกันตรงๆ ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธต้องบอกว่าเรารับไม่ได้ เหมือนกับประเทศไทยที่มีรัฐธรรมนูญมาตรา 8 กับกฎหมายหมิ่นฯ มาตรา 112 ใช่ไหมครับ? อ้า...ตรงนี้ผมไม่สามารถจะบอกได้ว่า มันเหมือนกันหรือเปล่า แต่มันก็มีมิติทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้สำนึกของคนรับหรือไม่รับความหมายที่ปรากฏอู่ในบทบัญญัตินั้นๆ เพราะฉะนั้น ผมจึงบอกว่าบางครั้งเมื่อเราอ้างเรื่องธรรมาธิปไตย เมื่อเราอ้างถึงอะไรก็แล้วแต่ คำถามคือข้ออ้างเหล่านี้ไม่ได้ลอยอยู่บนฟ้า แต่ข้ออ้างเหล่านี้สถิตสถาพรอยู่บนดินเนี่ยนะครับ และข้ออ้างเหล่านี้มีความหมายเชื่อมโยงไปสู่สิ่งที่เรียกว่าความสำนึกรู้ของประชาชน สำนึกทางประวัติศาสตร์อะไรบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งผมเข้าใจว่าความรู้สึกแบบนี้มันเหมือนกับเป็นความรู้สึกซึ่ง ขอโทษนะครับเวลาเราพูด เช่น เราจะไม่รู้สึกแปลกอกแปลกใจอะไรเลยที่เวลาเราพาลูกๆ ของเราเข้าวัด แล้วเด็กผู้หญิงถูกกันออกไปจากพระภิกษุที่นั่งอยู่บนที่นั่งของท่าน เด็กผู้ชายสามารถเข้าไปก้มกราบพระภิกษุได้ที่เท้าของท่าน เด็กผู้หญิงต้องอยู่ห่างๆ ผมไปอยู่ที่อเมริกาและผมชวนเพื่อนไปวัด เขาก็ไปกับผมเพราะเขารู้สึกว่าเขาต้องบริการผม แต่เขาไม่สามารถพาลูกของเขาซึ่งเป็นหญิงคน ชายคนไปด้วยได้ คำอธิบายของเขาคือ เขาไม่สามารถพาลูกของเขาไปพบเหตุการณ์ที่เด็กผู้หญิง หรือลูกของเขาอีกคนต้องถูกกันออกไป เขารู้สึกว่ามันไม่เสมอภาค เขาไปส่งผมได้แต่ให้ลูกไปพบกับสถานการณ์ที่เขาเห็นว่ามันไม่เสมอภาคแบบนั้นไม่ได้ เพราะเขารับไม่ได้เด็ดขาดที่พระภิกษุปฏิบัติเช่นนั้นต่อเยาวชน แต่เราคนไทยเราไม่เคยรู้สึกเลยนะ ผมเล่าความรู้สึกนี้เพื่ออธิบายประกอบความหมายที่ผมกำลังต้องการจะบอกว่า ความรู้สึกของเพื่อนฝรั่งคนนี้เราสามารถเข้าใจได้ ถ้าเราสามารถสำนึกถึงความหมายอะไรบางอย่างในมิติของความเสมอภาค ความเท่าเทียมทางเพศอะไรก็แล้วแต่ แต่ขณะเดียวกันเราก็เข้าใจแหมือนกันว่า ทำไมพระภิกษุต้องปฏิบัติเช่นนั้น เพราะพระภิกษุท่านถูกปลูกฝังมาและถูกเสริมสร้างมา ที่สำคัญคือท่านนั่งอยู่ในความหมายของชาวพุทธที่เป็นคนไทยใช่ไหมครับ เพราะฉะนั้น ชาวพุทธที่เป็นคนไทยจะรู้สึกตกใจมากถ้ามีคนบอกว่า ท่านทะไลลามะ คือพระภิกษุเหมือนกับพระบ้านเรา เขาบอกเป็นพระได้ไงจับเด็กผู้หญิงได้ ถ้าผู้หญิงเข้าไปกราบท่าน ท่านก็จะโน้มตัวลงจับมือเด็กผู้หญิงใช่ไหมครับ ซึ่งผมเข้าใจว่าในกรณีที่ว่านี้เป็นกรณีที่เราอาจไม่คิดอะไร แม้กระทั่งเมื่อสมัยที่ทะไลลามะมาที่ประเทศไทยขณะที่ไทยยังเป็นอริกับจีน ยังมีข้อถกเถียงในที่ประชุมของพระมหาเถระเลยว่า จะจัดต้อนรับท่านอย่างไร เพราะถ้าต้อนรับท่านให้เท่ากับสถานะของสมเด็จพระสังฆราช แต่เอ๊...ท่านมีศีลไม่เท่ากับสมเด็จพระสังฆราชอะไรประมาณเนี่ยใช่ไหม (หัวเราะ) โอเคข้อวินิจฉัยนี้เราเข้าใจในฐานะที่เป็นชาวพุทธไทย แต่สมมติถ้าเอาชาวโลกมานั่งประชุมด้วยเขาคงโอ... ไม่ไหว รับไม่ได้ เพราะสมเด็จพระสังฆราชกับทะไลลามะ ดีไม่ดีทะไลลามะจะสูงกว่านะถ้าเป็นอย่างนี้นี่ แต่ความรู้สึกสูงต่ำแบบนี้ผมเข้าใจว่า มันมีความหมายอยู่ในใจเนี่ยครับ และความหมายที่มีอยู่ในใจนี้คือสิ่งที่ผมต้องการจะอธิบายประกอบความหมายที่เราสถาปนาขึ้นผ่าน “คำ” ผมเข้าใจว่าเวลาผ่านคำ เช่นคำว่า “ธรรมาธิปไตย” คำว่าธรรมาธิปไตยของคุณคืออะไร คุณกำลังเอาคำว่าธรรมาธิปไตยนี้มาอธิบายในความหมาย ในบริบทอย่างไร ตรงนี้คงต้องคุยกันอีกยืดยาว แต่คำตอบของผมก็คือ ผมไม่สามารถจะวินิจฉัยได้ในความหมาย ณ ตอนนี้ว่า แล้วเราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย จะยอมรับหรือไม่ยอมรับเพราะมันยังเป็นการกล่าวอ้างแบบลอยๆ มาก สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พุทธศาสนากับอำนาจรัฐนี่มันดูเหมือนสนับสนุนกันอยู่ใช่ไหมครับ พุทธศาสนามั่นคงเพราะกษัตริย์อุปถัมภ์ ในขณะเดียวกันพุทธศาสนาก็มีส่วนในการสร้างให้กษัตริย์เป็นสมมติเทพ แล้วก็พระสงฆ์หรือองค์กรสงฆ์ก็ถูกสถาปนาให้เป็นพระราชาคณะสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน แต่ในบริบทของสังคมประชาธิปไตยสมัยใหม่ ถ้าไล่มาตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์ถึงปัจจุบัน พุทธศาสนาก็จะถูกนำมาใช้ในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นประชาธิปไตย เช่น หลวงวิจิตรวาทการ ก็เคยอ้างหลักพุทธศาสนาไปสนับสนุนการปฏิวัติของจอมพลสฤษดิ์ กิตติวุฑโฒภิกขุ ก็บอก “ฆ่าคอมมิวนิสต์ได้บุญมากกว่าบาป” พอมาถึงยุคเราก็มีวาทกรรมหลุดออกมาว่า “ฆ่าเวลาบาปมากกว่าฆ่าคน” คือมันน่าสนใจว่า ในบริบทของการเรียกร้องประชาธิปไตย ทำไมพุทธศาสนาไม่ได้ไปด้วยกันอย่างสอดคล้องกับประชาธิปไตย หรือว่าหลักการจริงๆ ของพุทธศาสนาก็ไม่ได้สอดคล้องกับประชาธิปไตยอยู่แล้ว? ก็กลับไปสู่ประเด็นแรกเลยว่า เรากำลังพูดถึงความหมายของพุทธศาสนาผ่านบริบท ผ่านปากของคนใช่ไหมครับ ซึ่งคนเหล่านั้นก็มีความหมาย เวลาบอกว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” ท่านก็มีความหมายในนิยามของท่านว่าคอมมิวนิสต์คืออะไร หรือแม้กระทั่งเวลาเราพูดถึงสำนวนว่า “ฆ่าเวลาบาปมากกว่ากว่าฆ่าคน” อะไรอย่างนี้ ซึ่งผมเข้าใจว่าในความหมายที่ว่านี้เรากำลังสร้างความหมายชุดหนึ่งขึ้นมา และคำว่าสร้างความหมายชุดหนึ่งขึ้นมา บางครั้งเราก็เหมือนกับ (นิ่งคิด) ...ผมยังไม่สามารถที่จะหาคำได้ คือ บางทีเราเอาคำว่าพุทธศาสนาไปผูกติดไว้กับคน หรือกับอะไรที่ง่ายๆ นะครับ มันมีเรื่องโจ๊ก ซึ่งเป็น dirty joke มีผู้หญิงสองคนนั่งสนทนากันด้วยเรื่องทางเพศที่ค่อนข้างจะลามก เพื่อนก็เลยแย้งขึ้นว่า เราคุยแต่เรื่องลามกทั้งนั้นเลย เธอคุยเรื่องธรรมะมั่งสิ เธอก็เลยบอกเอ๊ย...ถ้าอย่างนั้นฉันก็อยากรู้เหมือนกันนะว่า อวัยวะเพศของพระชาติที่แล้วกับชาตินี้มันต่างกันยังไง (หัวเราะ) คือเพียงแค่เปลี่ยนมาพาดพิงถึงพระแค่นั้นมันเป็นศาสนาแล้วหรือ นี่มันเป็น dirty joke ใช่ไหมครับ เราก็เลยตลกกับ dirty joke นี้ แต่ dirty joke นี้กำลังบอกว่าจริงๆ ก็คุยเรื่องเดิมนั่นแหละ เป็นแต่เพียงให้มีพระเข้ามาอยู่ในเรื่องเท่านั้นเอง อันนี้มันเรื่องลามก แต่ความหมายของผมที่มันตลกมากก็คือ ที่เรากำลังพูดถึงสิ่งที่เรียกว่าศาสนาโดยไม่เกี่ยวกับหลักการที่ไม่เกี่ยวกับคน คือเราอาจต้องพยายามเอาสิ่งที่มันเป็นปรากฏการณ์ออกไปก่อน มิเช่นนั้นเราจะสับสนกับสิ่งที่มันเป็นปรากฏการณ์ แล้วเราจะสับสนกับสิ่งที่เราเรียกว่าความหมายในเชิงบริบทใช่ไหมครับ แล้วก็ทำให้เราลืมเลือนสิ่งที่เป็นหลักการ เพราะฉะนั้น ในกรณีที่เราพูดถึงว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่าเช่นนี้ๆ นะครับ และเรามีความรู้สึกว่าเอ๊...อันนี้มันไม่ใช่ ผมเข้าใจว่าถ้าเช่นนั้นเราก็สามารถปฏิเสธความหมายนั้นได้เลย ไมว่ากรณีของหลวงวิจิตรวาทการก็ดี หรือกรณีอื่นๆ ก็ดี ผมว่าประเด็นเหล่านี้เราสามารถสรุปได้ว่า มันเป็นสิ่งที่เป็นบทเรียนให้เรารู้ว่า การตีความพุทธศาสนาอย่างฉาบฉวยก็เป็นเรื่องที่เราก็ต้องระมัดระวัง พยายามที่จะไม่ตีความพุทธศาสนาผ่านคำพูด หรือผ่าน “วาทกรรม” อะไรของนักบวชในพุทธศาสนา เพียงแค่ว่ามีใครสักคนใดคนหนึ่งพูดเล่นสำนวนโวหารขึ้นมาว่า “ฆ่าเวลาบาปมากว่าฆ่าคน” อะไรอย่างนี้นะครับ แล้ว“คนดี” ตามหลักการพุทธ มันมีความสัมพันธ์ในเชิงสนับสนุนความเป็น “พลเมืองดี” ในระบอบประชาธิปไตยหรือเปล่าครับ? คือ เวลาที่เราพูดถึงประชาธิปไตย เราต้องเข้าใจอย่างนี้ก่อนครับว่า สิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตย ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า คนจำนวนมากในสังคมนั้นมีฉันทามติ หรือมีมติไปในทำนองอย่างไร แล้วเราก็เคารพเสียงส่วนมากตรงนั้น ประเด็นเรื่องนี้ผมเข้าใจว่า ถ้าเราจะเอาข้อโต้แย้งบอกว่า “เสียงส่วนมากแต่ไม่ชอบด้วยธรรมะ” มันก็ฟังยากอยู่เหมือนกันนะครับ เพราะฉะนั้น ประเด็นนี้เราต้องแยกให้ออก เพราะเวลาเรายอมรับระบบการปกครองที่เคารพเสียงส่วนมากนั้น ผมยกตัวอย่างอย่างนี้ก็แล้วกัน เช่น ผมเข้าใจว่าในปัจจุบันนี้เราคนไทยยังมีความสับสนในความหมายของคำว่ารัฐ เช่น ผมยกตัวอย่างนี้โดยยอมที่จะถูกตำหนิได้ก็คือ ผมไม่เห็นด้วยเลยในการที่จะไปบัญญัติให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ ถามว่าทำไมไม่เห็นด้วย เพราะเรากำลังเรียกร้องให้ไปบัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายรัฐธรรมนูญมันเป็นตัวบทกฎหมายที่ทำให้รัฐมันมีลักษณะอะไรบางอย่าง คือปัจจุบันที่เราบอกว่าเป็น “นิติรัฐ” แต่อย่าลืมนะครับว่า รัฐถูกสถาปนาขึ้นในความหมายที่เป็นพรมแดนของอธิปไตยเชิงผลประโยชน์ เช่น เชิงการค้า ปัจจุบันเราก็ทราบดีว่ารัฐของประเทศต่างๆ ในโลกใบนี้จริงๆ ก็คือ กระบวนการที่สร้างพื้นที่เขตแดนของการค้าพาณิชย์กัน ไม่ได้เป็นพื้นที่ศักดิสิทธิ์เหมือนในอดีตแล้วนะครับ เพราะฉะนั้น เรื่องรัฐจึงเป็นเรื่องของผลประโยชน์ เป็นเรื่องของการแข่งขันในเชิงผลประโยชน์ เป็นเรื่องของอะไรที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องที่ตั้งอยู่บนหลักการของการแบ่งปันทรัพยากรแบบพุทธเลย ถ้าเราจะใช้คำว่า “แบบพุทธ” นะ ยังไม่ถึงกับพุทธศาสนานะครับ เพราะฉะนั้น ใครก็ตามทีที่สถาปนาความรู้สึกของตัวเองว่าเป็นพุทธนั้น ไม่ควรที่จะต้องไปให้กฎหมายมารับรอง “ความเป็นพุทธ” ของตัวเองด้วยซ้ำไป เพราะความเป็นพุทธของเรานี้ เราอย่าไปพัวพันกับกฎหมายให้มากเลย เพราะกฎหมายปัจจุบันมันมีกระบวนการที่กว่าจะมาเป็นบทบัญญัติทางกฎหมาย มันต้องผ่านกระบวนการโต้เถียงในเชิงต่อรองเรื่องผลประโยชน์กันทั้งนั้นเลย ซึ่งตรงนี้ ผมเข้าใจว่าการเป็นพลเมืองดีของรัฐ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นศาสนิกชนที่ดีของพุทธ ไม่จำเป็นคือหมายความว่า อาจจะมีคนสักคนหนึ่งที่อาจจะเป็นพลเมืองดีของรัฐ แต่เขาก็ไม่จำเป็นต้องเป็นพลเมืองดีในความหมายว่าเป็นศาสนิกชนของพุทธ หรือความเป็นพลเมืองดีมันมีความหมายว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นพุทธศาสนิกชน คุณไม่จำเป็นต้องสมาทานไตรสรณคมน์แล้วคุณถึงจะเป็นพลเมืองดี คุณเป็นศาสนิกชนศาสนาไหนก็ได้ เพราะฉะนั้น ตรงนี้คือความหมายว่า ดีของรัฐจึงไม่จำเป็นต้องเป็นพุทธแล้วถ้าเป็นอย่างนี้ ทีนี้การเอาพุทธศาสนามายุ่งกับการเมือง จะมีทั้งสองลักษณะคือ ตีความตัวหลักการด้วย แล้วก็มีตัวบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งที่เป็นฆราวาสผู้เคร่งศีลธรรม เป็นพระสงฆ์ด้วย ทีนี้ปรากฏการณ์ที่มันเป็นมากว่า 4-5 ปีมานี้ คำว่า ธรรมนำหน้า ธรรมาธิปไตยถูกนำมาใช้จนนำมาสู่รัฐประหาร เลยมาถึงความขัดแย้งกับเพื่อนบ้าน แล้วสุดท้ายก็โหวตโน มันเป็นกระบวนการธรรมนำหน้าทั้งนั้นเลย อ้างพุทธศาสนาทั้งนั้นเลย ทั้งอ้างหลักการพุทธ ใช้พิธีกรรมทางศาสนา และมีตัวพระสงฆ์เข้าไปยุ่งด้วย อาจารย์มองปรากฏการณ์ที่ว่านี้อย่างไร? คือ เวลาพูดถึงศาสนาพุทธ มันเป็นสิ่งที่กำหนดหมายยากมาก เพราะทันทีที่เรานับถือพุทธศาสนาเราก็บอกว่าเราเป็นชาวพุทธ ทีนี้เมื่อเราไปทำอะไรมันก็มีผลเป็นการผูกพันว่านี่เป็นการกระทำของชาวพุทธ แต่ทีนี้ผลผูกพันที่กระทำในนามชาวพุทธนี้ ผมเข้าใจว่ามันเป็นเรื่องที่มีปัญหามาก แต่บังเอิญว่าประเทศไทยเรานี้เป็นชาวพุทธเสียส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่มาโต้เถียงกันในเรื่องศาสนา แต่ผมเข้าใจว่าจริงๆ แล้วเวลาที่ถ้าเราจะพูดถึงความหมายทางพุทธศาสนา ไม่ใช่พูดถึงเรื่องตำหนิหรือประณามนะครับ แต่เราสามารถที่จะกล่าวว่าคนที่บอกเอา “ธรรมนำหน้า” ความหมายคืออะไรใช่ไหมครับ ผมเข้าใจว่าธรรมนำหน้า...ไม่พูดถึงเมืองไทยดีกว่า ผมพูดถึงที่ลังกา ผมเข้าใจว่าในกรณีรัฐบาลศรีลังกาที่เป็นพุทธตอนที่มีปัญหากับพยัคฆ์ทมิฬอีแลม หรือชาวลังกาที่เป็นเชื้อสายทมิฬ คือคนลังกาส่วนใหญ่เป็นสิงหล แต่ชาวทมิฬเป็นคนส่วนน้อยที่เป็นฮินดู หรือมุสลิม แล้วก็เกิดกรณีต่อสู้กันทำให้เป็นปัญหาอย่างที่เราทราบกัน ผมเข้าใจว่า นี่ก็เป็นกรณีที่พวกเราซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนก็มีความรู้สึกยุ่งยากใจว่า จริงๆ แล้วรัฐบาลลังกาไม่ควรจะใช้ความรุนแรงที่จะเบียดเบียนชาวทมิฬ ด้วยการเข่นฆ่า มันผิดหลักพุทธศาสนาโดยสิ้นเชิง เราอาจพูดโยงไปกรณีท่านทะไลลามะที่เมื่อถูกจีนคอมมิวนิสต์รุกราน ท่านทะไลลามะเคยพูดกับข้าราชการของธิเบตที่มีการประชุมกันว่า จะทำอย่างไรกับกรณีที่จีนกำลังรุกคืบเข้ามาจะถึงกรุงลาซาแล้ว ก็มีการเสนอว่าให้มีการต่อสู้ด้วยการใช้อาวุธ ผมยังจำคำพูดนี้ของท่านทะไลลามะได้ดีแม้จะนานามาแล้ว แปลเป็นไทยได้ว่า “ถ้าเราทำอย่างนั้นเราก็แพ้สิ สมรภูมิของเราไม่ได้อยู่ที่การยึดครองแผ่นดิน แต่สมรภูมิของเราอยู่ในใจเรา ถ้าเราจับปืนจับอาวุธขึ้นมาเข่นฆ่ากับชาวจีนด้วยความโกรธแค้น เราก็แพ้แล้วถ้าเป็นอย่างนั้น ขอให้เรามารักษาพื้นที่ในใจเราให้เป็นพุทธต่อไปเถิด ดีกว่าจะรักษาแผ่นดิน” เพราะฉะนั้น คำว่า “ธรรมนำหน้า” ก็ดี คำว่าอะไรก็ดี จึงไม่ได้อยู่ที่เพียงคำว่า “ธรรม” คำเดียวแล้วมันจะมีความหมายเป็นพุทธศาสนาได้ เวลาคนเราเข้าถึงหลักการของพุทธศาสนาจริงๆ แล้ว มันทำให้เรามีแนวโน้มที่จะปลีกตัวออกมาจากความวุ่นวายทางสังคมไหม เช่นไม่อยากไปสนใจเรื่องการวิพากษ์วิจารณ์ ไม่สนใจการเมือง ไม่สนใจความขัดแย้งอย่างที่อาจารย์เป็น มันจำต้องเป็นอย่างนี้ใช่ไหมครับ? เออ...ตรงนี้ผมตอบจากประสบการณ์ส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับเรื่องผิดและถูก ผมไม่อ้างอิงหลักของศาสนาเลยนะครับ ผมมีข้อซึ่งเป็นหมุดหมายในความรู้สึกของผมที่เพียงแค่ว่า ถ้ามีการโต้แย้งกันด้วยความโกรธความเกลียด ความรุนแรงในเชิงความรู้สึกอะไรแบบนี้ ผมคิดว่าผมไม่สนใจถึงว่าผิด ถูก ด้วยซ้ำไป แต่ผมสนใจเพียงแค่ว่านี้คือบรรยากาศที่เราไม่ควรไปเพิ่มไปเสริมให้เกิดบรรยากาศแบบนี้ เพราะถ้าเราไปวินิจฉัยตัดสินว่าฝ่ายหนึ่งผิด ฝ่ายหนึ่งถูก เราก็พยายามทำให้สิ่งที่เรียกกันว่า คนที่ถูกหรือกลุ่มที่ถูกมีชัย หรือมีอำนาจเหนือกลุ่มที่ผิด ซึ่งผมเข้าใจว่าในความหมายเช่นนี้ ผมเองไม่เข้าไปยุ่งเลย คำว่าไม่ยุ่งเลยผมไม่ได้บอกว่าฝ่ายนี้ถูก เพราะฉะนั้น ฝ่ายนี้ควรจะชนะ แต่ผมรู้สึกว่าแม้ฝ่ายที่บอกว่าผิด ผมก็มีความรู้สึกที่ดีกับเขา ไม่น้อยกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ตรงนี้ผมไม่ได้พูดในประเด็นเรื่องผิด ถูก ตรงนี้อาจจะเป็นประเด็นที่เอาไปเสนอกับสังคมยากมาก แล้วผมก็คิดว่าสังคมคงไม่สามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่ผมพูดได้ดีนัก เพราะผมมีความรู้สึกว่าคำว่า “ผิด” คำว่า “ถูก” เป็นคำที่ถูกหยิบฉวยมาใช้อย่างค่อนข้างจะหยาบ คำว่า “หยาบ” ในที่นี้คือไม่ละเอียดน่ะนะ คือคุณมีข้อวินิจฉัย แม้กระทั่งข้อวินิจฉัยเรื่องธรรม-อธรรม เรามีความเชื่อซะแล้วว่า “ธรรมะย่อมชนะอธรรม” เพราะฉะนั้น เมื่อเราอยากชนะ เราก็บอกว่าฉันจะเอาธรรมนำหน้า เพราะฉันเป็นฝ่ายธรรมะ โดยทันทีที่บอกว่าคุณมีธรรมอยู่ในใจ แล้วคุณคิดจะประหารเบียดเบียนผู้อื่น ผมคิดว่าก็เท่ากับคุณสูญเสียธรรมะในใจคุณแล้วประมาณนี้นะครับ เพราะฉะนั้น ประเด็นที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันนี้ ผมเข้าใจว่ามันมีประเด็นที่น่าสนใจ แต่ไม่ได้สนใจในความหมายว่าใครผิดใครถูก ใครแพ้ใครชนะ แต่สนใจว่าแต่ละคนก็ มีความรู้สึก มีสถานการณ์ มีประเด็น และในประเทศไทยเรา ผมเข้าใจว่า จริงๆ แล้วปรากฏการณ์นี้เป็นปรากฏการณ์ที่ดี ในความรู้สึกของผมนะ ที่ดีคือหมายความว่า นับตั้งแต่เราสถาปนาประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตย จริงๆ เราก็ไม่เคยมีประชาธิปไตยจริงๆ เราเป็นเพียงแค่ว่ามี “คำ” ที่ใช้คำว่า “ประชาธิปไตย” ปัจจุบันนี้สิ เริ่มที่จะมีความหมายของคำว่า “ประชาธิปไตย” ขึ้นมาแล้ว การปฏิวัติ เมื่อ 2475 ผมเข้าใจว่าจริงๆ เป็นเพียงแค่การเปลี่ยนผ่านในเชิงชนชั้นนำนิดๆ หน่อยๆ เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น ผมจึงรู้สึกว่านี้เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงผ่านการเรียนรู้ของคนไทย ผมจึงมีความรู้สึกเห็นใจนะ และจริงๆ แล้วไม่ควรมีการฆ่าฟันกันหรอก แต่คำพูดเช่นนี้เราพูดจากบุคคลที่ยืนอยู่เป็นบุรุษที่สามต่างหากเล่า ถ้าเราเป็นบุรุษคู่กรณีก็น่าเห็นใจ เพราะคนแต่ละคนไม่อยากฆ่าคนหรอก แต่ถ้าถึงจุดๆ หนึ่งมันก็ฆ่ากันได้ใช่ไหมครับ ผมไม่ได้ส่งเสริมการฆ่านะครับ แต่ผมคิดว่าผมไม่ควรจะไปตำหนิประณามใครคนใดคนหนึ่ง แม้แต่รัฐ? อ่า...รัฐนี่เป็นนามธรรมมาก แต่ว่าการสลายการชุมนุมแบบนี้มันไม่เข้าหลักสากล อาวุธจริง กระสุนจริง? คือๆ (ตอบสวนเร็ว) สถานการณ์ของคนที่อยู่ในบริบทที่ต่างกัน นี่ผมพูดจากหลักการ ไม่ได้หมายความว่าใครเป็นรัฐใครเป็นฝ่ายตรงข้ามนะครับ ไม่เกี่ยว ผมเข้าใจว่ารัฐมันมีนามธรรมสูงมาก และเรามักจะไปสรุปเสียก่อน และเราก็ใช้ข้อสรุปนั้นเป็นการวินิจฉัยความหมาย แต่ความหมายของผมที่ผมวินิจฉัยนี่ ผมไม่ได้วินิจฉัยจากข้อสรุปในความหมายว่าผิด ถูก นี่ผมจึงตัดประเด็นนี้ไปก่อนใช่ไหมครับ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นผมจึงไม่ได้กลับไปตำหนิคณะรัฐประหาร หรือคณะราษฎร์ที่ยึดอำนาจจากพระเจ้าแผ่นดินมาเป็นประชาธิปไตย เพราะถือว่าเหตุการณ์มันผ่านมาแล้ว แต่ความหมายของผมก็คือ ผมกำลังจะบอกว่าจริงๆ แล้วกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ประชาธิปไตย มันขับเคลื่อนมาโดยตลอด มันไม่ได้ทำแล้วเสร็จภายในวันเดียว คือวันที่ 24 มิถุนายน 2475 แล้วผมก็เข้าใจว่า ณ ปัจจุบันต่างหากสำคัญกว่าเมื่อตอนมิถุนายน 2475 ด้วยซ้ำไป เพราะว่านี้คือกระบวนการเปลี่ยนผ่านเพื่อการเรียนรู้ในใจของประชาชน และการเรียนรู้นี้ก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะผมเข้าใจว่าหลังจากนี้ต่อไปประชาชนคนไทยก็จะมีข้อสรุปอะไรบางอย่างของตัวเอง ไม่ใช่ข้อสรุปของนักวิชาการ หรือของผู้รู้ หรือของชนชั้นนำ ที่สรุปแล้วมายัดเยียดใส่ใจเรา แต่เราจะมีข้อสรุปของเราเองว่า สุดท้ายแล้ว อะไรคือสิ่งที่มันควรจะเป็นในวิถีชีวิตของเรา ผมเข้าใจว่า ณ ปัจจุบันนี้ พวกเราคนไทย ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหน กำลังแสวงหาความหมายที่เหมาะสมกับตัวเอง แล้วที่พระไปยุ่งกับการเมืองที่มีทั้งเหลือง ทั้งแดง ทั้งเป็นกลาง อาจารย์มองอย่างไร? คือ พูดไปเหมือนกับผมเข้าข้างพระนะ พระเองก็คือประชาชนคนไทยที่ตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ นึกถึงภาพดูนะว่าทันทีที่เราบวชเป็นพระ เราไปคิดเหมือนกับว่าเราถูกผลักออกไปนอกสังคม ถูกผลักไปอยู่ในโลกอีกใบหนึ่ง แต่ความจริงไม่ใช่ เรายังยืนอยู่ในสังคมนี้ เรายังมีญาติ มีพี่น้อง มีเพื่อนฝูง มีอะไรต่างๆ ผมจึงไม่รู้สึกแปลกใจอะไรเลยที่พระจะต้องมีส่วนขับเคลื่อนอะไรไปอยู่นะครับ เมื่อมีการชุมนุมแล้วก็มีพระ เพราะนี่มันเป็นเรื่องของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ต่างแต่เพียงแค่ว่าเราไปถูกทำให้เกิดภาพๆ หนึ่ง ซึ่งจริงหรือเปล่าไม่รู้ เป็นภาพที่ว่าพระจะต้องไม่ยุ่งแล้ว ไม่เกี่ยวแล้วประมาณนี้ และพอเห็นพระมายุ่งมาเกี่ยว ถ้ามายุ่งมาเกี่ยวในส่วนที่เป็นฝ่ายพวกเราก็บอกว่าท่านมาสนับสนุนธรรมะ ก็เลยดีไป แต่ถ้าไปยุ่งไปเกี่ยวในฝั่งตรงกันข้ามก็บอกเป็นพระไปยุ่งกับพวกอธรรมได้ยังไงประมาณนี้ใช่ไหมครับ ซึ่งผมเข้าใจว่ามันเริ่มต้นผิดจากการที่เราพยายามจะแบ่งว่า ตัวเองเป็นฝ่ายธรรมะ และฝ่ายตรงข้ามเป็นอธรรม และพระที่มาสนับสนุนตัวเองเป็นพระฝ่ายธรรมะแล้วก็เคารพกราบไหว้ท่าน ถ้าพระไปยุ่งกับฝ่ายตรงข้ามก็บอกเป็นพระได้ยังไง จึงมีคำถามว่าเป็นพระอยู่หรือเปล่าอะไรแบบนี้ ประเด็นของผมจึงไม่ได้มีข้อตำหนิท่าน แต่ถ้าจะถามผมว่าผมเป็นพระผมจะไปยุ่งไหมตอนนี้ ผมก็คงไม่ไปยุ่ง เพราะขนาดไม่เป็นพระผมยังไม่ไปยุ่งเลย (หัวเราะ) คือมันมีความซับซ้อนมาก ขอโทษเถอะครับพูดในฐานะของคนที่เคยบวชพระ ผมรู้สึกละอายแก่ใจถ้าจะไปตำหนิพระ ไม่ว่ากลุ่มใดนะครับ เพราะท่านเองก็กำลังอยู่ในวังวน อยู่ในขั้นตอน อยู่ในกระบวนการของการเรียนรู้อะไรบางสิ่งบางอย่าง และผมเข้าใจว่าพระไม่ว่าเป็นพระอยู่ในกลุ่มไหนนะครับ ก็น่าเห็นใจ ที่ว่าน่าเห็นใจในที่นี้คือ เพราะท่านยังมีสังคมของญาติมิตรเพื่อนฝูงของท่านอยู่ใช่ไหมครับ ท่านไม่ได้หลุดออกไปจากโลกใบนี้ แต่เราเพียงแค่ผลักท่านออกไปเท่านั้นเอง แล้วสิ่งนี้ก็จึงเป็นสิ่งที่น่าเห็นใจ ถ้าสมมติว่าถ้าผมจะมีโอกาสพูดกับสังคมไทยนะครับ พูดเพื่อให้เห็นใจพระนะครับผมก็จะบอกว่าเห็นใจท่านเถิด อย่าตำหนิท่านเลย บทบาททางสังคมของพุทธศาสนาต่อไปควรจะเป็นอย่างไร? คือเวลาเราพูดถึงพุทธศาสนานี่มันกว้างมาก และถ้าเราไปผลักพุทธศาสนาให้เป็นองค์กรให้เป็นอะไร เช่นสมมติว่าถ้าเราผลักบอกว่า เออ...มีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติแล้ว และนั่นคือตัวแทนชาวพุทธ ผมเข้าใจว่าเราก็เอาเปรียบข้าราชการเหล่านั้นเกินไปมั้ง เราไม่สามารถจะผลักความหมายของพุทธศาสนาให้ไปสถิตอยู่ที่สำหนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติได้ และผมเข้าใจว่า แม้กระทั่งคณะสงฆ์เราก็ยังไม่ควรที่จะไปผลักความเป็นพุทธสาสนาให้ไปสถิตอยู่ในเนื้อตัวของพระภิกษุเป็นรูปๆ นะครับ หรือในคณะสงฆ์ซึ่งเป็นคณะบุคคล ความหมายของผมก็คือ จริงๆ แล้วถ้าเรามีความสำนึกของความเป็นชาวพุทธ เราต้องพยายามเริ่มต้นที่ตัวเอง เพราะถ้าเราไปเริ่มต้นที่ผู้อื่นมันเป็นความเริ่มต้นที่สับสนมาก ควรเริ่มต้นที่ตัวเองที่จะมีความสำนึกรู้ว่าความเป็นชาวพุทธที่ดีนั้นมันควรจะเป็นอย่างไร และความเป็นชาวพุทธที่ดีที่เราบอกว่าควรจะเป็นนี้จะถูกปลูกสร้างขึ้นมาผ่านตัวเรา แล้วก็พยายามทำในสิ่งที่มันมีความหมายที่ดีนะครับ ผมไม่สามารถตอบได้ว่าความหมายที่ดีเป็นอย่างไร เพราะถ้าตอบเช่นนั้นก็เท่ากับไปตัดสินซะแล้วว่า ความหมายแบบอื่นมันไม่ดีอะไรแบบนี้ และผมเชื่อว่าในอนาคตที่กำลังมาถึงนี้ ความเป็นพุทธศาสนาในสังคมไทยจะมีความเป็นองค์กรน้อยลง องค์กรในที่นี้คือสถาบันนะ ความเป็นพุทธที่เราพูดถึงนี้จะมีความเป็น mass เหมารวม หรือเป็นมวลชนเหมารวมน้อยลง คือเมื่อก่อนเราเหมารวมเลยนะ เรามีความเชื่อว่าสังคมนี้เป็นสังคมพุทธ เพราะมีประชากรที่เป็นชาวพุทธเกินกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ วิธีเหมาแบบนี้ไม่มีความหมายในอนาคต ความเป็นชาวพุทธ หรือถ้าจะพูดกลับไปสู่จุดเริ่มต้นเลย ความหมายของพุทธศาสนาที่แท้จริงจะต้องปรากฏผ่านความหมายเชิงพฤติกรรม และพฤติกรรมที่เราพูดถึงนี้ ต้องเป็นพฤติกรรมที่เป็นไปเพื่อการเกื้อกูลกัน ไม่ใช่เป็นการเบียดเบียนกัน นี่คือสิ่งที่ผมเข้าใจว่าความเป็นพุทธในอนาคตน่าจะเป็นอย่างนี้ สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper |
You are subscribed to email updates from ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น