โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ม้งช่วยรบ (1) สงครามลับชายแดนกับการต่อสู้เพื่อทวงสิทธิ ตัวตน ความเป็นคนไทย

Posted: 02 Apr 2017 01:03 PM PDT

พูดคุยกับอดีตสมาชิกชุมชนม้งถ้ำกระบอก นอกจากเคยผ่านชีวิตไร้สัญชาติแล้ว ยังเคยประสบภาวะไร้ตัวตนอีกด้วย ครั้งหนึ่งในสมรภูมิบ้านร่มเกล้าปี 2531 ราชการระดมพวกเขาเข้ารับการฝึกเป็น "กลุ่มม้งช่วยรบ" มีหน้าที่ตัดเส้นทางลำเลียงของฝ่ายตรงข้ามตามแนวชายแดน จ.น่าน รวมทั้งหาข่าวอย่างไรก็ตามผ่านไปหลายปีเมื่อสถานการณ์สงบ ราชการไม่ส่งเสบียง ความอดอยากทำให้พวกเขาอพยพกลับมาที่ถ้ำกระบอก เป็นเหตุให้รัฐบาลกดดันให้พวกเขาสลายชุมชนในเวลาต่อมา

 

"ตอนนั้น ทางการไทยบอกเราว่า ถ้าไปช่วยรบ เมื่อสถานการณ์สงบและยุติแล้วจะให้สัญชาติไทยพร้อมกับที่อยู่อาศัย และที่ทำกินเป็นการตอบแทน แต่สุดท้าย เรารู้สึกเสียใจ เจ็บปวดมาก เมื่อกลับมา ไม่ได้สัญชาติไทยแล้วยังไม่พอ เรายังถูกทางรัฐบาลไทยได้สั่งการให้ทหารหน่วยอื่นมาผลักดันกองกำลังชาวม้งให้ออกจากฐานที่มั่น โดยไม่คำนึงถึงสัญญาที่ให้ไว้"

"นี่เรายังถือว่าโชคดีนะ ที่ไปรบกลับมาแล้วไม่สูญเสียอวัยวะ ยังมีร่างกายอยู่ครบ แต่ยังมีพี่น้องเราหลายคน ต้องสูญเสีย ขาขาด เป็นคนพิการอยู่ในหมู่บ้านธารทอง ซึ่งพวกเขาเสียใจมาก ที่รัฐบาลไทยไม่ได้มาเหลียวแลเลย"

"ที่สุดแล้ว เราต้องกลับมาต่อสู้เรียกร้องเรื่องสัญชาติด้วยตัวเราเอง""อย่างที่บอกนั่นแหละว่า เราได้สัญชาติไทยในครั้งนี้ ไม่ใช่เพราะว่าเราไปช่วยรบ หรือเพราะคุณงามความดีที่เราเคยทำเพื่อประเทศชาติ แต่เราได้ต่อสู้ด้วยสิทธิของเราเอง"

000

เยี่ยปาว แซ่ซ่ง ลี แซ่ซ่ง และ ไซ แซ่ซง อดีตสมาชิกชุมชนชาวม้งถ้ำกระบอก ปัจจุบันพวกเขามาอยู่ที่หมู่บ้านธานทอง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

เยี่ยปาว แซ่ซ่ง

ไซ แซ่ซ่ง หลานชาวของเยี่ยป่าว โชว์รูปถ่ายสมัยทำหน้าที่ "ม้งช่วยรบ"

พวกเขาได้รับการฝึกระยะสั้น ก่อนปฏิบัติงาน "ม้งช่วยรบ" ขึ้นตรงกับ บ.ก.3091 ทำงานภายใต้สังกัดหน่วยข่าวกรองของกองทัพภาคที่ 3 ในช่วงสมรภูมิบ้านร่มเกล้า และต้องทำงานตามแนวชายแดนอีกหลายปี

 

นั่นคือคำบอกเล่าของ เยี่ยปาว แซ่ซ่ง กับ ลี น้องชาย และ ไซ หลานชายของเขา ที่ครั้งหนึ่งพวกเขาเคยอาสาไปเป็นทหารช่วยรบ ไปเป็นกองกำลังช่วยรบให้กับรัฐบาลไทย

บ่ายวันนั้น พวกเขายืนล้อมวงกันบนโต๊ะในกระท่อมไม้ไผ่ ในหมู่บ้านธารทอง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เยี่ยปาว แซ่ซ่ง เข้าไปค้นบัตรประจำตัววัดถ้ำกระบอกในกระท่อมนำออกมาวางให้ทุกคนดู ในขณะลี กับไซ แซ่ซ่ง น้องชายและหลานชาย รื้อค้นรูปภาพเก่าๆ สมัยที่พวกเขาอยู่ในสำนักสงฆ์วัดถ้ำกระบอก และอาสาไปเป็นทหารช่วยรบกับคอมมิวนิสต์ลาว มาวางบนโต๊ะให้ทุกคนดู ด้วยสีหน้าเคร่งขรึม ฮึกเหิมและจริงจังในห้วงชีวิตหนึ่งที่ต้องเผชิญกับความเป็นความตายในราวป่า

แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขากลับมีสีหน้าที่ดูเหมือนเจ็บปวดและเศร้า เมื่อนึกถึง ผลตอบแทนที่ได้รับ เมื่อกลับมา...

เยี่ยปาว แซ่ซ่ง บอกเล่าเรื่องราวในวัยเด็กให้ฟังว่า ตนเองเกิดในปี พ.ศ. 2509 ที่บ้านขุนน้ำหมาวตำบลหนองแดงอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ซึ่งตั้งอยู่บนบริเวณชายแดนจังหวัดน่านกับประเทศลาว หลังจากตนเองเกิดแล้ว พ่อแม่ก็อยู่อาศัยอยู่ที่ดังกล่าวเรื่อยมา โดยการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเลี้ยงครอบครัว เป็นหลัก

"จนกระทั่งต้นปี พ.ศ.2531 พี่น้องชาวม้งทราบข่าวว่าสำนักสงฆ์วัดถ้ำกระบอกเปิดรับคนติดยาเสพติดเข้าบำบัด พ่อแม่ของตนเองซึ่งติดยาเสพติดอยู่แล้ว และมีความต้องการบำบัด ก็เลยพากันอพยพครอบครัวเข้าไปอาศัยอยู่ที่สำนักสงฆ์วัดถ้ำกระบอก นับตั้งแต่นั้นมา"

ในขณะที่ สถานการณ์ของประเทศไทยในช่วงเวลานั้น รัฐไทยกำลังมีปัญหาความขัดแย้งเรื่องพรมแดนกับประเทศลาว จนกระทั่งเกิดการสู้รบกันอย่างหน่วงหนัก ที่เรียกกันว่า 'สงครามบ้านร่มเกล้า'บนเนิน 1428 ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ.2530-2531

สงครามบ้านร่มเกล้า ครั้งนั้น ทหารไทยล้มตายกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลไทย พยายามหาทางออกและยุติสงครามโดยเร็ว

เนื่องจากหลายฝ่ายวิเคราะห์กันว่า นี่ไม่ใช่สงครามความขัดแย้งระหว่างไทยกับลาวเท่านั้น เพราะนับจากปี พ.ศ. 2518 จนถึงต้นทศวรรษ 2530 ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ยังคงอยู่ในยุคสงครามเย็น และภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ยังร้อนระอุไปด้วยสงครามการต่อสู้ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่หนุนหลังโดยสหภาพโซเวียตกับจีน กับฝ่ายเสรีนิยมที่มีสหรัฐและประเทศยุโรปอื่นๆ เป็นแกนนำ เมื่อฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้ายึดประเทศลาว เวียดนามใต้และกัมพูชาได้ในปี พ.ศ. 2518 โลกเสรีนิยมจึงกังวลว่าประเทศไทยและประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์จะกลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ต่อไป ตามทฤษฎีโดมิโน รัฐบาลไทยจึงต้องเฝ้าระวังและป้องกันแนวชายแดนฝั่งลาวกับกัมพูชาเป็นพิเศษ ด้วยการใช้ทั้งกองทัพไทยและกองกำลังกู้ชาติที่เป็นผู้อพยพจากประเทศเพื่อนบ้านเหล่านั้น

ที่มากไปกว่านั้นคือ รัฐบาลได้ใช้กลุ่มนักรบที่เป็นผู้อพยพดังกล่าวมาช่วยฝ่ายเสรีนิยมรบกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่เคลื่อนไหวต่อสู้อยู่ในป่าในประเทศไทยด้วย เช่น ที่เขาค้อ และภูเมี่ยง-ภูสอยดาว

และนี่จึงทำให้รัฐบาลไทย ได้หันมายังกลุ่มชาวม้งที่อาศัยอยู่ในวัดถ้ำกระบอกกลุ่มนี้ ด้วยเหตุผลที่ซับซ้อนและแยบยลมาก โดยทางการไทยพยายามให้เหตุผลว่า หากเอาบุคคลที่มีสัญชาติไทยไปช่วยรบในรูปแบบกองโจรเร่งด่วนถ้าทางการลาวจับกุมตัวได้ระหว่างการสู้รบ และรู้ว่าบุคคลนั้นถือสัญชาติไทย ก็จะผิดสัญญาว่าด้วยการสู้รบ และจะเกิดปัญหาบานปลายตามมาแต่ถ้านำบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยไปช่วยในการสู้รบกับทหารไทยในรูปแบบกองโจรเร่งด่วน แล้วทหารลาวจับได้ก็จะไม่มีผลกับความมั่นคงของประเทศไทย

"วันหนึ่ง มีนายทหารไทยระดับพันเอกนายหนึ่ง เดินทางเข้ามาที่วัดถ้ำกระบอก แล้วได้บอกกับประชา โกษา หรือชื่อม้งเรียกว่า เยี่ยล่ง หมั่ว ว่ายังไงก็ขอให้ม้งไปช่วยปราบปรามให้ด้วย ซึ่งในตอนแรก ประชา ก็ได้ตอบปฏิเสธไป แต่พันเอกนายนี้ก็ยังกลับเข้ามาชักชวนอีก จนกระทั่งครั้งที่สาม หลวงพ่อจรูญ ได้บอกย้ำและรับปากกับพวกเขาว่า...ถ้ารบกลับมา ถ้ารัฐบาลไทยไม่ให้สัญชาติ ไม่ให้ที่อยู่อาศัย หลวงพ่อก็จะให้ทุกคนอาศัยอยู่ในวัดถ้ำกระบอกนี้แหละ"

"บวกกับความตั้งใจของพวกเรา ที่ตกลงจะอาสาไปช่วยรบในครั้งนี้ นอกจากเพื่อจะได้สัญชาติไทยแล้ว ก็จะได้ช่วยตอบแทนคุณแผ่นดินไทย ที่ทุกคนได้อาศัยอยู่กันมานานแล้วด้วย" เยี่ยปาว บอกย้ำให้ฟัง เยี่ยปาวและพี่น้องม้งกลุ่มนี้ จึงตกลงรับคำ และตัดสินใจไปเป็นทหารช่วยรบ

กลุ่มม้งช่วยรบ กลุ่มดังกล่าว นำโดยนายประชา โกษาหรือชื่อม้งว่า 'เยี่ยล่ง หมั่ว' ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นหน่วย บ.ก.3091 ทำงานภายใต้สังกัดหน่วยข่าวกรองของกองทัพภาคที่ 3 ของไทย

รัฐบาลไทยได้นำกลุ่มชาวม้งที่ไม่มีสัญชาติไทยกลุ่มนี้ เข้าฝึกที่กองพันทหารม้าที่ 15 อำเภอเมือง จังหวัดน่านเป็นหลักสูตร การฝึกอบรม ในห้วงระยะเวลาสั้นๆ

"เป็นการฝึกที่สั้นจริงๆ ฝึกให้ใช้อาวุธ จับปืน ยิงปืน แล้วชุดทหารที่สวมใส่ ก็เป็นชุดทหารที่ทางการไทยจัดซื้อให้ เป็นชุดทหารทั้งลายพรางและสีเขียวเหมือนชุดทหารคอมมิวนิสต์นั่นแหละ สวมรองเท้าหนังยางสีดำ ส่วนอาวุธที่ทางการไทยมอบให้นั้น ส่วนใหญ่ก็เป็นอาวุธปืนอาก้า ที่ยึดได้จากกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่ยอมมอบตัวกลับใจก่อนหน้า เมื่อปี 2528 นั่นเอง" เยี่ยปาว เล่าให้ฟัง

จากนั้น กองกำลังช่วยรบชาวม้ง จำนวน 400 กว่าชีวิต จึงถูกส่งตัว เดินเท้าเข้าป่าผ่านเส้นทางบ้านน้ำปูน อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน เข้าสู่ชายแดนลาว ถือเป็นหน่วยกองโจรเร่งด่วน เป้าหมายเพื่อตัดเส้นทางลำเลียงอาวุธและกองกำลังของฝ่ายข้าศึก

"การเดินทางเข้าป่า ไปตามแนวชายแดนจังหวัดน่าน ในขณะนั้น พวกเราไม่มีเอกสารแสดงตัวตนใดๆ เลย จะมีก็คือเอกสารฉบับหนึ่งที่ทหารไทยออกให้ เพื่อแสดงว่าเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ให้ราชการทหาร พร้อมกับระบุว่ามีผู้ติดตามมาด้วยจำนวนหนึ่งเท่านั้นเอง" เยี่ยปาว บอกเล่า

เป้าหมายและภารกิจอยู่ที่บริเวณบ้านน้ำปูน ชายแดนจังหวัดน่าน

"บ้านน้ำปูนแห่งนี้ เป็นที่อยู่ของครอบครัวที่พวกเรามาร่วมทำภารกิจ โดยพี่น้องม้งเดินทางมาจากหลายที่ พื้นที่ที่พวกตนไปตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นที่ตั้งของหมู่บ้าน ผู้หญิงและเด็กจะอาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ ส่วนชายที่ออกไปเป็นอาสาสมัครช่วยรบ จะออกจากหมู่บ้านไปอยู่ที่ค่ายทหาร โดยจะออกทำภารกิจครั้งละ 20 วัน พัก 20 วัน หรือตามแต่จะถูกสั่งมา การมาเป็นอาสาสมัครช่วยรบไม่มีค่าตอบแทนใดๆ แต่จะได้รับเสบียงอาหาร และอาวุธปืนเท่านั้น" เยี่ยปาว บอกเล่าให้เห็นภาพการใช้ชีวิตและการต่อสู้

ผู้ชายออกไปช่วยรบ ส่วนผู้หญิง ก็ดูแลครอบครัวอยู่ในหมู่บ้าน ทำการเกษตรในบริเวณใกล้เคียง เพื่อเอามายังชีพในครอบครัว

สงครามการต่อสู้ยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง กองกำลังช่วยรบชาวม้ง ชุดดังกล่าวสามารถทำลายฝ่ายตรงข้ามจนสำเร็จ จนถอยร่นกลับไปยังชายแดนของตน

ว่ากันว่า ภารกิจหลักของม้งช่วยรบกลุ่มนี้ นอกจากสู้รบ ผลักดันไม่ให้ทหารลาวรุกล้ำเข้ามาแล้ว บางครั้งก็ออกไปหาข่าวในประเทศลาวอีกภารกิจหนึ่ง นั่นคือ ยังเป็นตัวกลางเจรจาชักจูงผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ให้กลับตัวกลับใจและยอมเข้ามอบตัวกับทางการไทยด้วย

"เขาให้เราไปเป็นตัวกลาง ระหว่างทหารไทยกับทหารลาวที่กำลังสู้รบกันอยู่ อีกอย่างก็คือ ให้เราเป็นตัวกลาง เวลาเข้าไปเจอพี่น้องม้งคนไหนที่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ ที่หนีเข้าป่า เราก็พยายามชักชวนโน้มน้าวให้เขากลับมาร่วมมือกันได้ไหม ถ้ามอบตัว แล้วทางรัฐบาลไทยเขาจะให้ความช่วยเหลือ เราก็ไปเรียกพวกผู้ใหญ่มาคุยกัน ตกลงกัน สุดท้าย พวกเขายอมมอบตัว ตอนนี้หลายครอบครัวก็ได้ใช้ชีวิตปกติอยู่ที่ชายแดน จังหวัดน่าน"

ดังที่หลายคนรู้ข่าวกันดีว่า มีพี่น้องม้งกลุ่มล่าสุด นำโดย สัมพันธ์ และ เยี่ยจ้า ซ่ง ได้นำประชาชนจำนวน 50 ครอบครัว กว่า 400คนที่ยังฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ เข้ามอบตัวต่อพันเอกพจนา สายสะอาด รักษาการ บ.ก. 3091โดยปัจจุบัน กลุ่มที่มอบตัวดังกล่าวได้สัญชาติไทยแล้ว และอาศัยอยู่บ้านสว่างและบ้านน้ำตวง ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน

000

หลังจากทำภารกิจได้เป็นระยะเวลา 5 ปี เหตุการณ์สงครามความขัดแย้งตามแนวชายแดนเริ่มสงบลง

เยี่ยปาว และพี่น้องม้งกลุ่มนี้ เริ่มเห็นความผิดปกติเกิดขึ้น...

ในปี พ.ศ. 2535 เมื่อสถานการณ์เริ่มสงบลง จู่ๆ ทางกองทัพไม่ยอมส่งเสบียงอาหารมาให้อีกเหมือนแต่ก่อน จนทำให้เยี่ยปาวและพี่น้องม้ง ที่ยังคงอาศัยอยู่ในหมู่บ้านริมแนวชายแดน เกิดความอดอยากมากขึ้น

"พวกเราจึงวางแผนออกจากหมู่บ้าน กลับไปอาศัยอยู่ที่สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก เหมือนเดิม หลังจากเตรียมเสบียงพร้อมแล้ว เราจึงได้เดินเท้าออกจากหมู่บ้าน เพื่อเดินทางกลับไปยังสำนักสงฆ์วัดถ้ำกระบอก โดยเดินทางมาพักที่บ้านน้ำตวง และขึ้นรถมามาพักชั่วคราวที่ตำบลป่ากลาง อำเภอปัวและขึ้นรถโดยสารไปที่สำนักสงฆ์ฯ การอพยพครั้งนั้นมีจำนวนประมาณ 600 คน แทบทั้งหมดไม่มีเอกสารใด ๆ แต่แปลกใจที่ไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดมาจับกุม ส่วนการเดินทางต่อไปยังสำนักสงฆ์ฯ จะเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ไปครั้งละ 5– 6 ครอบครัว เพื่อไม่ให้เป็นการผิดสังเกต" เยี่ยปาว บอกเล่าให้ฟัง

เมื่อเดินทางไปถึงที่สำนักสงฆ์ฯ เยี่ยปาวและพี่น้องม้งได้ไปรายงานตัวต่อหลวงพ่อจรูณ ปานจันทร์ ทันที

"ตอนนั้น คนที่ติดฝิ่นก็รายงานตัว เพื่อแจ้งความจำนงว่าต้องการบำบัด ทางสำนักสงฆ์จะจัดที่สำหรับสร้างบ้านพักอาศัย ส่วนวัสดุสำหรับสร้างบ้านก็หาจากป่าบริเวณใกล้เคียง ส่วนหญ้าคา และไม้ไผ่นั้นต้องซื้อเนื่องจากในพื้นที่ไม่มี ที่เรามาอยู่อาศัยที่สำนักสงฆ์ฯ ก็เพราะเกิดจากการชักชวนของนายประชา โกษา แกนนำม้ง ที่เคยบอกกับทุกคนว่า...หากเป็นคนม้งที่ไม่มีสัญชาติไทยให้มาอาศัยอยู่ที่นี่ เราจึงต้องมาที่นี่"

ในขณะเดียวกัน ได้มีคนม้งอพยพเข้ามาอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ด้วยความหวังลึกๆ ว่าสหรัฐอเมริกา จะรับพวกเขาไปอยู่ประเทศที่สาม

จนทำให้สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก กลายเป็นชุมชนแออัดขนาดใหญ่ไปโดยปริยาย

เยี่ยปาวเล่าถึงการเรียนหนังสือของตนเองว่า "ผมไม่ได้เรียนหนังสือตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการแต่อย่างใด แต่ผมรู้หนังสือเมื่อครั้งไปเป็นอาสาสมัครช่วยรบที่จังหวัดน่านแล้ว มีครูฝึกมาสอนให้ หลังจากย้ายมายังสำนักสงฆ์วัดถ้ำกระบอกแล้ว ผมก็ได้มาเรียนต่ออีก แต่ไม่ได้เรียนตามหลักสูตรเหมือนเดิม ทำให้ผมพออ่านออกเขียนได้ แต่ไม่มีวุฒิการศึกษาใด ๆ ระหว่างที่อยู่ที่นั่น ผมได้เรียนรู้การทำเครื่องเงิน และสามารถทำเครื่องเงินขายเลี้ยงครอบครัวได้"

ครอบครัวของเยี่ยปาว อาศัยอยู่ที่สำนักสงฆ์ อย่างมีความสุขตามอัตภาพ โดยไม่ได้เดือดร้อนอะไร

แต่แล้ว ชีวิตครอบครัวของเขาก็เจออุปสรรคปัญหาระลอกใหม่

การที่ชาวม้งไปรวมตัวกันอยู่ที่สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอกเป็นจำนวนมาก จึงทำให้รัฐบาลมีความพยายามกระทำการกดดันให้มีการสลายชุมชนม้งดังกล่าว

 

ข้อมูลประกอบ

1. มูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง. (2559) สรุปบทเรียนการดำเนินงานกลุ่มม้งถ้ำกระบอก บ้านธารทอง หมู่ที่ 11 ตำบลแม่เงิน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

2. ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (2559) บุคคลไร้รัฐพลัดถิ่น ม้งถ้ำกระบอก โครงการคุ้มครองสิทธิเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ ระยะที่ 2, 2559

3. เยี่ยปาว แซ่ซ่ง,ลี แซ่ซ่ง,ไซ แซ่ซ่ง,บทสัมภาษณ์ กลุ่มม้งช่วยรบ บ้านธารทอง หมู่ที่ 11 ตำบลแม่เงิน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย สัมภาษณ์ปี 2559

4. พัชยานี ศรีนวล,รายงานพิเศษ: ม้งถ้ำกระบอก แสงดาวกลางป่า กับความหวังที่ยังรอคอย, ประชาไท, 4 ตุลาคม 2556

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หมายเหตุประเพทไทย #151 วิทยาลัยตลาดทุน ซูเปอร์คอนเนคชั่น 4.0

Posted: 02 Apr 2017 07:47 AM PDT

หมายเหตุประเพทไทย สัปดาห์นี้ เจนวิทย์ เชื้อสาวะถี และปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ แนะนำบทความ "Very Distinguished Alumni: Thai Political Networking" ของผาสุก พงษ์ไพจิตร นวลน้อย ตรีรัตน์ และคริส เบเกอร์ ซึ่งศึกษาการสานเครือข่ายของชนชั้นนำกลุ่มใหม่ผ่านหลักสูตรของสถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) หรือที่เรียกกันว่า "วิทยาลัยตลาดทุน"

อนึ่งหลักสูตรพิเศษใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากระบบสานสัมพันธ์ผ่านมหาวิทยาลัยไม่ตอบโจทย์เครือข่ายอีกต่อไป ขณะที่ก่อนหน้านี้ในช่วงทศวรรษ 2520-2530 กองทัพซึ่งยังคงมีอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจมีหลักสูตรพิเศษผ่าน "วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร" เชิญชวนให้เอกชนและฝ่ายการเมืองเข้ามาเรียน

แต่ในยุคหลังพฤษภาคม 2535 หลักสูตรพิเศษของกองทัพเริ่มไม่ได้รับความนิยม หลักสูตร วตท. ของ "สถาบันวิทยาการตลาดทุน" ที่ได้รับการสนับสนุนจาก "ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย" เริ่มต้นในปี 2548 กลับได้รับความนิยมแทนที่ งานศึกษาของผาสุกและคณะเสนอว่า วตท. เป็นหลักสูตรพิเศษที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในการสร้างเครือข่ายระหว่างรัฐและทุนในการเมืองร่วมสมัย โดยเป็นส่วนผสมของการพานักลงทุน นักธุรกิจ กลุ่มทุนใหญ่ๆ มาพบกับนักการเมือง อดีตรัฐมนตรี นายทหาร ผู้มีส่วนในการกำหนดนโยบาย ข้าราชการระดับสูง ผู้พิพากษา องค์กรอิสระ

รูปแบบหลักสูตรที่นอกจากการศึกษาองค์ความรู้การจัดการเศรษฐกิจสมัยใหม่แล้ว ก็ยังมีส่วนผสมของระบบรุ่นพี่แบบที่พบเห็นในมหาวิทยาลัยหรือกองทัพในไทย สำคัญที่สุดก็คือการสานเครือข่ายผ่านการสันทนาการ ทัศนศึกษา และสัมมนานอกสถานที่ รวมไปถึงการสานเครือข่ายกับศิษย์เก่า วตท. ที่จบหลักสูตรไปแล้ว

ในงานศึกษาของผาสุกและคณะ ยังพบว่าในบรรดา 40 ตระกูลมหาเศรษฐีไทย พบว่ามีอย่างน้อย 19 ตระกูลแล้วที่มีสมาชิกของตระกูลที่เข้าเรียนหลักสูตร วตท. เปรียบเทียบกับหลักสูตรของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรที่มีมหาเศรษฐีไทยเข้าเรียนแล้ว 13 ตระกูล

งานศึกษายังเสนอด้วยว่าการสร้างเครือข่ายของชนชั้นนำเหล่านี้เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะนำไปสู่การผูกขาดของชนชั้นนำ หลักสูตร วตท. เป็นภาพสะท้อนหนึ่งของ "Oligarchy" หรือคณาธิปัตย์เมืองไทย ภาพความรุ่งเรืองของหลักสูตร วตท. กำลังบอกเราว่าขณะนี้ทุนนำรัฐ ทุนนำไทย และกลุ่มทุนในสังคมไทยมีบทบาทหลักอยู่ในกลุ่มคณาธิปไตย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช' ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว

Posted: 02 Apr 2017 05:58 AM PDT

พลเรือเอกหม่อมหลวงอัศนี ปราโมช อดีตองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคมะเร็งปอดด้วยวัย 82 ปี

 
 
ที่มาภาพ: wikimedia.org
 
2 เม.ย. 2560 มีรายงานข่าวแจ้งว่าพลเรือเอกหม่อมหลวงอัศนี ปราโมช อดีตองคมนตรี ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช อดีตผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม., ภ.ป.ร.2 ได้ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคมะเร็งปอด ด้วยวัย 82 ปี เมื่อเวลา 14.09 น.ที่ผ่านมา
 
ทั้งนี้ในวันที่  3 เม.ย. 2560 เวลา 17.00 น.ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และเครื่องเกียรติยศประกอบศพ (สวดพระอภิธรรม 1 จบ) ต่อเนื่องด้วยพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
 
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับศพอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์รวม 7 วัน ซึ่งจะมีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม เวลา 19.00 น.ระหว่างวันที่ 4 - 9 เม.ย. 2560 งดวันจักรี ที่ 6 เม.ย. 2560
 
วันที่ 10 - 12 เม.ย. 2560 พิธีธรรมสวดพระอภิธรรม เวลา 19.00 น. (งดพวงหรีด) 
 
ข้อมูลจากวิกิพีเดียระบุว่า พลเรือเอก หม่อมหลวงอัศนี มีชื่อเล่นว่า "ตุ้ย" เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี และท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช ณ อยุธยา สมรสกับท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยา (สกุลเดิม ชลวิจารณ์) มีบุตรทั้งหมด 5 คน ม.ล.อัศนี ปราโมช มีผลงานทางดนตรีมากมาย เป็นนักไวโอลิน นักวิโอล่า ผู้ประพันธ์เพลง และผู้อำนวยเพลง เป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ ทำให้ได้รับการยกย่องเป็น ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) เมื่อปี พ.ศ. 2537
 
ในด้านการศึกษานั้น ในวัยเด็ก ท่านได้รับการศึกษาที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ก่อนที่จะเดินทางไปศึกษาต่อทางด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ จนสำเร็จปริญญาตรี จากนั้นก็ได้เข้าศึกษาในหลักสูตรเนติบัณฑิตที่สำนักอบรมศึกษากฎหมายเกรส์ อินน์ จนสำเร็จเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ
 
ในด้านการทำงานหม่อมหลวงอัศนีเข้ารับราชการทหารที่กรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม จนได้รับยศเป็นเรือเอก จากนั้นก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เข้าทำงานที่สำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ และได้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512  ในปี พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หม่อมหลวงอัศนีดำรงตำแหน่งองคมนตรี ด้านการทหาร ท่านได้รับพระราชทานยศเป็นพลเรือตรีในตำแหน่งนายทหารพิเศษ ประจำกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 พลเรือเอกในตำแหน่งนายทหารพิเศษ ประจำกองบังคับการ กรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์ กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550
 
ในด้านผลงานทางดนตรี หม่อมหลวงอัศนีได้รับอิทธิพลในด้านดนตรีและศิลปะมาจากหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ตั้งแต่วัยเด็ก ท่านเริ่มเล่นดนตรีด้วยการฝึกไวโอลิน และได้รวมตัวกันเล่นดนตรีวงควอเตทภายในครอบครัวบ่อยครั้ง เมื่อเดินทางไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ท่านได้ใช้เวลาว่างศึกษาเรียนรู้ดนตรีด้วยตนเอง ทั้งยังได้เข้าร่วมกิจกรรมทางดนตรีกับทางมหาวิทยาลัยเป็นประจำ
 
เมื่อเดินทางกลับจากศึกษาต่อในปี พ.ศ. 2501 ท่านได้ร่วมกับ ศาตราจารย์กำธร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และชาวต่างชาติอีก 2 คน ตั้งวงสตริงควอเตทขึ้น ต่อมาวงสตริงควอเตทได้พัฒนาไปเป็นวงโปรมิวสิกา ซึ่งเป็นวงดนตรีที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และก็ได้รับความสนับสนุนจากสถาบันเกอเธ่ (สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน) ให้ใช้สถานที่ฝึกซ้อม ทั้งยังได้ส่งนายฮันส์ กุนเธอร์ มอมเมอร์ มาช่วยควบคุมวง
 
วงดนตรีโปรมิวสิกานี้ นับเป็นวงดนตรีที่บุกเบิกวงการดนตรีคลาสสิกของประเทศไทย ซึ่งท่านเป็นผู้ริเริ่มและรับหน้าที่เป็นทั้งหัวหน้าวง ผู้จัดการวง ผู้แสดงเดี่ยว และผู้อำนวยเพลง จนกระทั่งเกิดการรวมตัวครั้งใหม่เป็นวงดนตรีที่ใหญ่ขึ้น มีชื่อว่า วงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ หรือ บางกอก ซิมโฟนี ออเคสตร้า (B.S.O.) นอกจากการเป็นนักดนตรี และผู้อำนวยเพลงแล้ว หม่อมหลวงอัศนียังมีผลงานประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสาน อาทิ
 
- เรียบเรียงเสียงประสานเพลงพระราชนิพนธ์หลายเพลง อาทิ ความฝันอันสูงสุด แผ่นดินของเรา เราสู้ เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย ยามเย็น ลมหนาว อาทิตย์อับแสง ฯลฯ
- ปี 2521 ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงบัลเล่ต์ ปางปฐม
- ปี 2527 ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงทัศนะ (View) ซึ่งวงดุริยางค์เยาวชนอาเซียนได้นำไปแสดงที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อปี 2528
- ปี 2529 ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงศรีปราชญ์ (Tone Poem) เพื่อให้วงดุริยางค์เยาวชนอาเซียนแสดงที่กรุงเทพมหานคร ในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
- ปี 2531 ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลง สำหรับวันฉัตรมงคล เพื่อให้วงดุริยางค์ ราชนาวีแสดงในงานดนตรีกาชาดคอนเสิร์ต
- ปี 2533 ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงประกอบบัลเล่ต์ชื่อ จันทกิรีเพื่อการแสดงที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- ปี 2535 ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงประกอบบัลเล่ต์ชื่อ ศรีปราชญ์ ขึ้นใหม่เพื่อการแสดงที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงพนาไพร เพื่อให้วงดุริยางค์ราชนาวีแสดงในงานดนตรีกาชาดคอนเสิร์ต ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- เรียบเสียงประสานเพลงปลุกใจและเพลงรักชาติในช่วงที่ประเทศชาติประสบกับภัยคุกคามของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์หลายเพลง อาทิ แด่ทหารหาญในสมรภูมิ จากยอดดอย วีรกรรมรำลึก ตื่นเถิดไทย อยุธยารำลึก ฯลฯ
 
พลเรือเอก หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) เมื่อ พ.ศ. 2537
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"วิสามัญฯ 2 ศพที่รือเสาะ" นักวิชาการ-เอ็นจีโอเรียกร้องตั้งกรรมการสอบ-คุ้มครองพยานเด็ก

Posted: 02 Apr 2017 05:39 AM PDT

คนทำสื่อห่วงหากพบทหารทำผิดอาจส่งผลต่อการพูดคุยสันติภาพ, แกนนำพูโล ประณามเจ้าหน้าที่ จี้คณะพูดคุยสันติภาพสอบสวนผู้กระทำผิด ด้านนักสิทธิเสนอญาติฟ้องกระบวนการยุติธรรม พยานต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย นักวิชาการย้ำรัฐต้องยกเลิกวัฒนธรรมลอยนวล

จากเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ทหารพรานสังกัดกรมทหารพรานที่ 46 วิสามัญฆาตกรรมชาวบ้านในพื้นที่เขตรอยต่อระหว่างบ้านไอร์จือนะห์ หมู่ 5 กับบ้านธรรมเจริญ หมู่ 6 ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 29 มี.ค.2560 เวลา 13.30 น. ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุทันที 2 ราย

จากการรายงานข่าวก่อนหน้านี้พ.ต.อ.เรืองศักดิ์ บัวแดง ผู้กำกับการ สภ.รือเสาะ เปิดเผยว่า ก่อนเกิดเหตุชุดปฏิบัติการข่าวทหารและเจ้าหน้าที่ทหารพราน สังกัดกรมทหารพรานที่ 46 ได้สืบสวนและติดตามสะกดรอยนายอิสมาแอ หามะ และนายอาเซ็ง อูเซ็ง ซึ่งตกเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีกราดยิงนายสมชาย ทองจันทร์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านธรรมเจริญ ม.6 ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส และครอบครัว เมื่อวันที่ 2 มี.ค.2560 (อ่านต่อ) ทั้งสองเดินทางมาจากจังหวัดยะลา เมื่อถึงจุดเกิดเหตุได้จอดรถแสดงตัวเพื่อขอตรวจค้น แต่นายอาเซ็งคนขับได้พยายามเร่งเครื่องหลบหนี ส่วนนายอิสมาแอได้ใช้อาวุธปืนยิงใส่กลุ่มเจ้าหน้าที่ จนต้องใช้อาวุธปืนยิงตอบโต้ทำให้ทั้งสองถูกกระสุนปืนเสียชีวิตทันที

หลังเกิดเหตุการณ์นี้ มีการร้องเรียนจากชาวบ้านในพื้นที่โดยให้ข้อมูลไม่ตรงกับที่เจ้าหน้าที่รัฐชี้แจง สำนักสื่อวาร์ตานี สื่อทางเลือกในพื้นที่ได้ลงไปพบปะญาติพร้อมสัมภาษณ์น้องสาวผู้เสียชีวิตที่อ้างว่าเธออยู่ในเหตุการณ์ด้วย และเผยแพร่คำให้สัมภาษณ์ในวันรุ่งขึ้น (30 มี.ค.2560) (อ่านต่อ) ว่า เธออายุ 15 ปี อยู่ในรถคันดังกล่าวด้วยและยืนยันว่าทั้งสองไม่มีอาวุธ  คำให้สัมภาษณ์นี้ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในพื้นที่อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย มีการตั้งคำถามว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร? ทำไมข้อมูลทหารกับข้อมูลของชาวบ้านถึงต่างกันโดยสิ้นเชิง? เป็นการจัดฉากเหมือนที่ผ่านมาหรือเปล่า? ถ้ามีการยิงปะทะกัน ทำไมรถของผู้เสียชีวิตถึงไม่มีรูกระสุนแต่อย่างใด? แล้วทำไมน้องสาวของผู้เสียชีวิตที่อยู่ในเหตุการณ์ในครั้งนี้ไม่ได้รับอันตรายใดๆ?

รัฐต้องยกเลิวัฒนธรรมลอยนวล เพื่อเอาชนะสงครามความชอบธรรม

อาทิตย์ ทองอินทร์ หัวหน้าภาควิชาสังคมศาสตร์ ม.ลัยรังสิต กล่าวว่า ตามทฤษฎี ผู้ที่สามารถช่วยหนุนเสริมความเข้มแข็งให้กับงานช่วยเหลือผู้สูญเสียได้ คือ องค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศ หรือ International Non-Governmental Organizations (iNGO) นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน และสื่อสารมวลชน ที่เป็นเสมือนด่านที่สองที่จะช่วยตรวจสอบและสอบทานการกระทำของรัฐให้โปร่งใส ชอบธรรม เสมือนอำนาจที่ถ่วงดุล แต่หนุนเสริมเป้าหมายเดียวกันคือ สันติภาพ

แต่ความเป็นจริงเป็นอย่างที่เราเห็น ใครพูดต่าง นำเสนอต่าง รัฐก็ผลักและเบียดพวกเขาไปเป็นฝ่ายตรงข้ามหมด เพราะหลังพิงกับแนวคิดชาตินิยมที่ไร้สติของสังคมใหญ่ซึ่งมักจะมักจะเข้าข้าง "พวกเดียวกัน" ก่อน และมีอคติกับ "พวกที่เป็นอื่น" ไปจากอัตลักษณ์ชาติที่ศูนย์กลางอำนาจเสมอ การทำงานของรัฐในพื้นที่ความรุนแรงจึงน่าสงสาร เพราะเมื่อพวกเขาปฏิเสธที่จะจับมือ ก็คงต้องสู้อย่างเดียวดาย

อาทิตย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทหารต้องเลิกวัฒนธรรมปกป้องพวกเดียวกันก่อน เช่น หลังเกิดเหตุแล้วข้อเท็จจริงยังไม่ชัดเจนก็อย่าพึ่งออกมาปกป้องพวกเดียวกันก่อน แต่ควรเปิดพื้นที่ของข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ออกมาก่อน และสามารถถกเถียงกันตามความเป็นจริงได้ ปัญหาใหญ่ของรัฐต่องานปาตานี (จังหวัดชายแดนใต้) ไม่ใช่การกุมสภาพพื้นที่ แต่เป็นปัญหาและปัญหาความชอบธรรมนี้มันพันอยู่กับความหวาดระแวงของผู้คนต่อสิ่งที่กังขาว่าเป็น "วัฒนธรรมลอยนวล" (impunity) ของฝ่ายเจ้าหน้าที่ ถ้าไม่แก้ข้อนี้ โดยทำงานร่วมกันกับผู้มีข้อมูลและเหตุผลแตกต่างกันแล้ว ก็ยากจะชนะในสงครามความชอบธรรม

เสนอญาติฟ้องตามกระบวนการยุติธรรม 

อัญชนา หีมมิหน๊ะ หัวหน้ากลุ่มด้วยใจ กล่าวว่า ทุกคนต้องสามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริง ต้องตั้งกรรมการตรวจสอบที่มีความเป็นอิสระและมีการเยียวยาที่เหมาะสม อย่างน้อยต้องทำให้คนเสียชีวิตได้มีการตรวจสอบอย่างเป็นธรรมว่าเป็นผู้บริสุทธิ์หรือไม่

เหตุการณ์ในรูปแบบนี้เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง โดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรมการไต่สวนการตายหลายๆ กรณีไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่ ไม่เป็นไปตามกฎการปะทะและไม่สามารถนำไปสู่การดำเนินคดีอาญาต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติการได้

ประสบการณ์จากเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรมชาวบ้านและนักศึกษา ม.ฟาฏอนี ที่บ้านโต๊ะชูด ต.พิเทน อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2558 คือ การที่สังคมในพื้นที่ช่วยกันทำให้สังคมใหญ่กดดัน จนเจ้าหน้าที่ออกมายอมรับในสิ่งที่เขากระทำ และต้องชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่เจ้าหน้าที่กระทำ คือ สิ่งที่ผิดทั้งกฎหมายอาญาและกฎหมายพิเศษ

อัญชนา กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ญาติผู้เสียชีวิตต้องทำคือ การดำเนินการฟ้องร้องตามกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้สังคมเห็นว่าคนที่ตายเป็นผู้บริสุทธิ์ และเจ้าหน้าที่ทำไม่ถูกต้อง อีกทั้งเรื่องนี้ควรมีผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบข้อเท็จจริง เช่น สหประชาชาติ เป็นต้น

ย้ำเร่งพิสูจน์ความจริง หากพบทหารทำผิดเชื่อส่งผลการพูดคุยสันติภาพ

ต่วนอามีน ดาโอ๊ะมารียอ ผู้ประกาศข่าวจากสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมแห่งหนึ่งกล่าวว่า ส่วนตัวยังไม่ปักใจเชื่อข้อมูลของของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะเชื่อในกระบวนการยุติธรรมเป็นหลัก แต่เหตุการณ์นี้ทางครอบครัวไม่เชื่อว่าผู้เสียชีวิตมีอาวุธในครอบครองจริงและเชื่อว่าเป็นการกล่าวหาใส่ร้ายของเจ้าหน้าที่ เหมือนกรณีเหตุการณ์ทุ่งยางแดง ฉะนั้นฝ่ายรัฐเองต้องรีบดำเนินการพิสูจน์ความจริงและความจริงใจต่อสังคมโดยรัฐต้องตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง และเชิญทุกฝ่ายมามีส่วนร่วมด้วย

หากพิสูจน์ว่าคนของหน่วยงานความมั่นคงกระทำผิดเสียเอง ก็ต้องนำผู้กระทำผิดมารับโทษตามกระบวนการยุติธรรมด้วย มิเช่นนั้นจะมีศาลทหารไว้เพื่ออะไร อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ และเมื่อกระทำผิดแล้วก็ต้องให้เป็นตามกระบวนการยุติธรรมเฉกเช่นประชาชนทั่วไป เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ที่ยืดเยื้อมาเนิ่นนาน

หากรัฐไม่สามารถพิสูจน์ความจริงได้ มันก็จะกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่กระทบต่อการพูดคุยสันติสุขอย่างแน่นอน เพราะการพูดคุยคือความหวังเดียวของการยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้สื่อมวลชนและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนควรติดตามความคืบหน้าต่อไปอย่างใกล้ชิด จนกว่าความยุติธรรมจะปรากฏกับทั้งสองฝ่าย

แกนนำพูโลประณามเจ้าหน้าที่ ร้องคณะพูดคุยสันติภาพ สอบสวนผู้กระทำผิด

กัสตูรี มะโกตา แกนนำองค์กรปลดปล่อยสหปาตานี หรือ กลุ่ม PULO ออกมาประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐในเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่าจากการรายงานพวกเขาทั้งสองเป็นสามัญชนทั่วไป ต้องตกเป็นเหยื่อของความโหดเหี้ยมของเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลผู้กดขี่ เราขอประณามอย่างรุนแรงที่สุดจากการกระทำที่โหดเหี้ยมนี้ และขอเรียกร้องเพื่อให้เจ้าหน้าที่คณะพูดคุยสันติภาพเข้ามาสอบสวนอย่างโปร่งใสและยุติธรรม เพื่อนำผู้กระทำผิดเข้าสู้กระบวนการยุติธรรมโดยเร็วที่สุดตามสมควร (อ่านต่อ)

องค์กรสิทธิแถลงพยานต้องได้รับการคุ้มครอง ต้องมีกรรมการสอบข้อเท็จจริงที่อิสระ

นอกจากนี้กลุ่มด้วยใจได้ออกแถลงการณ์กรณีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส โดยระบุว่า ทั้งเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มี.ค.2560 และเหตุการณ์ที่เกิดเมื่อวันที่ 29 มี.ค.2560 ได้ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจต่อสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก

ในแถลงการณ์ระบุว่า ตามหลักการด้านสิทธิมนุษยชน เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่ต้องจับกุมและนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายโดยกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ไม่อาจใช้อำนาจตามอำเภอใจลงโทษหรือประหารผู้ต้องสงสัยว่ากระทำผิดโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมของศาลได้ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่

แถลงการณ์กลุ่มด้วยใจเรียกร้องให้ 1.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปกป้องคุ้มครองและและเยียวยาพยานผู้เห็นเหตุการณ์การเสียชีวิตของทั้งสองกรณี ซึ่งต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 การถามปากคำเด็กไว้ในฐานะเป็นผู้เสียหายหรือพยาน ให้แยกกระทำเป็นสัดส่วนในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำนั้นด้วย

2.เนื่องจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ที่มีหมายจับยังเป็นที่คลางแคลงใจในหมู่ประชาชนส่วนหนึ่ง จึงขอให้มีการคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยองค์กรอิสระ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือการตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจที่มีความเป็นอิสระและมีความรู้ความเชี่ยวชาญที่เหมาะสม

สุดท้าย ขอให้การสืบสวนสอบสวนของพนักงานเจ้าหน้าที่ทำอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถดำเนินการไปได้โดยอิสระเพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายและไม่มีการชี้นำจากฝ่ายใด

 

หมายเหตุ  มีการแก้ไขเนื้อหา เวลา 01.30 น. (3 เม.ย.)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หนังสือ “นบีไม่กินหมาก” หลากมุมมองจากผู้อ่านมุสลิม-คนทำงานในชายแดนใต้

Posted: 02 Apr 2017 04:37 AM PDT

หนังสือเล่มใหม่ของอนุสรณ์ อุณโณ เก็บประสบการณ์ คำบอกเล่าด้านวัฒนธรรมพิธีกรรมที่ซึมซับจากพื้นที่ชายแดนใต้ นักวิชาการตั้งคำถามบันทึกเพียงการเล่าต่อกันมา ขาดข้อมูลวิชาการ, ฝ่ายความมั่นคงระบุมีประเด็นละเอียดอ่อนเยอะ, ซะการีย์ยา กวีซีไรต์เห็นหลายคำสะท้อนคอนเซ็ปต์ "พุทธ" ของผู้เขียน, ฟารีดา เห็นความหลากหลาย แม้ปะทะกรอบศาสนา

 

เมื่อวันที่ 10 มี.ค.ที่ผ่านมา มีการจัดเวทีเสวนา ชวนถกเถียงเกี่ยวกับหนังสือเล่มใหม่ของ อนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ที่ห้องสมุดวิลเลี่ยม วอร์เรน บ้านจิม ธอมป์สัน หนังสือเล่มนี้เป็นการเขียนจากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้ลงพื้นที่ไปบันทึกการเล่าเรื่องวิถีชีวิต วัฒนธรรม พิธีกรรม ความเชื่อ ศาสนา และการเมืองของสามัญชนมลายูมุสลิม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธมาก่อนที่จะมาเป็นอิสลาม ฉะนั้น จึงไม่แปลกที่หนังสือเล่มนี้จึงมีบางอย่างที่ขัดกับสังคมมลายูมุสลิมปัจจุบัน

ใครคือคนมลายู คำตอบไม่ตายตัว - เสน่ห์งานมนุษย์วิทยาสรุปแนวคิดจากปรากฏการณ์

ผศ.สุชาติ เศรษฐมาลินี กรรมการอิสลามประจำ จ.เชียงใหม่ และนักวิชาการ ม.พายัพ ได้เขียนในคำนำหนังสือเล่มนี้ว่า หนังสือเล่มนี้สะท้อนให้เห็นถึงเสน่ห์ของงานเขียนทางมานุษยวิทยาในการพยายามทำความเข้าใจวิถีชาวบ้านที่ตนศึกษา แล้วสรุปแนวคิดรวบยอดจากปรากฏการณ์ในชีวิตประจำวันของชาวมลายูมุสลิมโดยโยงให้เห็นถึงพลวัตของชุมชนมุสลิมที่ไม่เคยหยุดนิ่งและแข็งกระด้างตามความรับรู้ของคนทั่วไป

ผู้เขียนเริ่มจากการชี้ชวนให้เห็นถึงข้อถกเถียงสำคัญของมลายูศึกษาที่ว่า "ใครคือคนมลายู" โดยใช้พลังของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในชุมชนเพื่อถกเถียงว่าแท้ที่จริงแล้วอัตลักษณ์ของความเป็นมลายูนั้นไม่ได้มีคำตอบตายตัวหรือมีปาตานีเป็นศูนย์กลางแบบเดียว หากมีความลื่นไหลและหลากหลายความหมายอยู่ไม่น้อย

การยืนอยู่บนขนบของนักมานุษยวิทยานั้นยังคงมีเสน่ห์ เพราะจะไม่ตัดสินความถูกผิดในหมู่ชนที่ตนศึกษาเพียงแต่พยายามมุ่งแสวงหาคำอธิบายเพื่อทำความเข้าใจกับความซับซ้อนต่อสิ่งที่อยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ทางสังคมรวมทั้งประเพณีและพิธีกรรมบางอย่างของชาวบ้าน

นบีไม่กินหมากเพราะเป็นคนอาหรับ ติงผู้ให้ข้อมูลรู้จากเรื่องบอกเล่าต่อๆ กันมา

รศ.อับดุลเลาะ อับรู กรรมการอิสลามประจำ จ.ปัตตานี อดีตนักวิชาการ มอ.ปัตตานี เปิดเผยว่า หนังสือเล่มนี้น่าสนใจมาก ชื่อหนังสือ "นบีไม่กินหมาก" ทำให้คนมุสลิมเกิดคำถามว่า เหตุที่นบีไม่กินหมากเพราะมันต้องห้าม หรือกินได้แต่ไม่สนับสนุนให้กิน แต่อ่านเนื้อหาแล้วมันไม่ใช่ มันเป็นเพียงการบอกเล่าของชาวบ้านกับผู้เขียน เรื่องราวอื่นๆ ในเล่มนี้ล้วนเป็นสิ่งที่ชาวบ้านบอกเล่ากับผู้เขียน

ยกตัวอย่างประเด็นที่ผู้เขียนใช้คำว่า "การบวงสรวง" ชาวบ้านให้ข้อมูลว่า ถาดบวงสรวงของนบีจะไม่มีหมากและไม่มีพลู เพราะนบีเป็นคนอาหรับจึงไม่กินหมาก แต่จะมีดอกไม้อยู่ในถาดแทนและบอกว่าในโลกอาหรับเขานิยมดอกไม้

"จึงเกิดประเด็นคำถามว่า หลายเรื่องในหนังสือนี้ผู้ให้ข้อมูลไม่มีความรู้ต่อข้อมูลที่เขาให้ ทุกคนอาจจะแย้งอีกว่าผมเอามาตรฐานอะไรกล่าวหาว่าผู้ให้ข้อมูลไม่มีความรู้ คำตอบคือ ค่านิยมการใช้ดอกไม้ในการบูชา-บวงสรวง เป็นค่านิยมของฮินดูและพราหมณ์ แต่ไม่ใช่ค่านิยมของคนอาหรับ"

สังคมมลายูมุสลิมเป็นสังคมที่ได้รับการส่งผ่านจากอดีตที่เป็นพราหมณ์ ฮินดู และพุทธมาก่อนที่จะเป็นอิสลาม ซึ่งวัฒนธรรมเหล่านี้ยังฝังประปรายอยู่ แต่บุคคลที่หยิบเอาวัฒนธรรมเหล่านี้มาบอกเล่า เขาอาจไม่รู้ความเป็นมาจึงกลายเป็นประเด็นขึ้นมา

หนังสือเล่มนี้ถือเป็นหนังสือแนวมานุษยวิทยาที่ดีและท้าทายผู้อ่าน เป็นหนังสือที่เกี่ยวเนื่องโยงกับหลักการ บทบัญญัติ  ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในเชิงมานุษยวิทยา ผู้เขียนจะเขียนตามคำบอกเล่าโดยไม่ปรุงแต่ง แล้วนำเสนอให้คนอ่านได้เห็นสภาพที่แท้จริงของสังคมมลายูอีกชุดหนึ่ง

ศาสนา-อัตลักษณ์ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ผู้สนใจพัฒนาต้องเข้าใจ

ทวี สอดส่อง อดีตเลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เปิดเผยว่า ตอนผมอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ (จชต.) ทุกเรื่องที่จะพัฒนาต้องสอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ ผมจะพยายามคิดนอกกรอบ  

ยกตัวอย่างเช่น ผมให้ท่านจุฬาราชมนตรีช่วยคัดคนมุสลิมระดับ C10 มาเป็นรองเลขาธิการสมัยผม 1 คน ผ่านไปไม่นานท่านก็ส่งชื่อมา คือ ดร.มะรอนิง สาแลมิง นักวิชาการด้านศาสนา มอ.ปัตตานี

ที่นี้ผมคิดต่อว่าจะทำอย่างไรให้กลุ่มผู้นำศาสนาทุกกลุ่มยอมรับในตัวท่าน จึงหารือกับอาจารย์อับดุลการีม นาคนาวา ประธานสภาอูลามาอฺฟาฏอนีย์ดารุสสลามมูลนิธิ (กลุ่มคณะเก่า) ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดี ม.ฟาฏอนี (กลุ่มคณะใหม่) และท่านมามุ (ไม่ทราบนามสกุล) (กลุ่มคณะดะวะห์ตับลีฆ) สรุปทุกกลุ่มชี้รับได้กับ ดร.มะรอนิง

"ผมทำอย่างนี้ก็เพราะในพื้นที่นี้มีเรื่องละเอียดอ่อนซ่อนอยู่ เฉกเช่นกับหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนกล้าเขียนมาก ตอนผมได้รับหนังสือจากผู้เขียนผมตกใจมาก เพราะมันมีหลายประเด็นที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อน อย่างเช่น มีอยู่ตอนหนึ่งที่ผู้เขียนได้เขียนว่า "ศาสดาหลั่งข้างนอก" ผมถามผู้นำศาสนา ท่านบอกว่า "ท่านนบีไม่เคยพูด แต่มีสาวกมาพูดในสมัยท่าน" ซึ่งประเด็นแบบนี้มันละเอียดอ่อนมาก ถ้าคนในพื้นที่เขียนคงอยู่ลำบาก เพราะอย่างที่ผมยกตัวอย่างมาว่าในพื้นที่แม้แต่เรื่องเดียวกันก็ยังต้องถกเถียงกัน ดังนั้นผมคิดว่าหากจะวิเคราะห์สังคมเราต้องอย่าลืมมองตรงบริบทของพื้นที่ด้วย "ให้เราจับแค่สองจุด คือ หลักศาสนา และหลักอัตลักษณ์"

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยกตัวอย่างก็เพื่อให้เห็นถึงจุดที่ต้องปรับปรุงในเรื่องละเอียดอ่อน จะทำอย่างไรให้สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่

หลายคำ มุสลิมรับไม่ได้ - แต่ละพิธีกรรม เชื่อมีฟังค์ชั่นซ่อนอยู่

ซะการีย์ยา อมตยา นักเขียนซีไรต์ กล่าวว่าแค่ชื่อหนังสือก็ไม่ผ่านแล้ว เขามีโอกาสสอบถามน้องคนหนึ่งว่าคิดอย่างไรเกี่ยวกับชื่อหนังสือ คำตอบคือคนรามันไม่ปลื้มแน่นอน เข้าใจว่าคนรามันตรงนี้หมายถึงคนรามันที่เป็นอิสลามิสซึม (Islamism) หรือคนที่ไม่ต้องการพิธีกรรมแบบดั้งเดิม

"มีอยู่ครั้งหนึ่งทีมงานปาตานีฟอรั่มท่านหนึ่งถามผมเกี่ยวกับคำต่างๆ อย่างกังวล แต่ผมยืนยันให้ใช้คำเดิมของผู้เขียน เพราะคิดว่ามันเป็นเซ้นส์ของผู้เขียนที่ไปฟัง ไปเห็นการกระทำ (Action) ของคนมลายูมุสลิมในพื้นที่ แล้วตีความออกมาเป็นคำที่อยู่ในหัวของผู้เขียน ซึ่งผมคิดว่าคำของผู้เขียนในความรู้สึกมันเป็นโลกทัศน์ของพุทธสายแข็ง"

ตัวอย่างเช่น คำว่า สวดอัลกุรอาน, น้ำมนต์, ถวาย, เสก, ปลุกเสก, บวงสรวง, ข้าวเหนียวขวัญ, บายศรี และ บริกรรมคาถา คำเหล่านี้มุสลิมรับไม่ได้ เป็นเซ้นส์ทางภาษา คำเหล่านี้เป็นคำของพุทธไปหมดแล้ว แต่ก็มีอยู่คำหนึ่งที่มุสลิมยังใช้อยู่คือคำว่า นมัสกา, นมัสเต, นมาซ

"อีกประเด็น คือ ผมเองพยายามหาฟังก์ชันในพิธีกรรมต่างๆ ที่เขียนในหนังสือเล่มนี้ว่า มันมีฟังก์ชันอะไรซ่อนอยู่บ้าง ยกตัวอย่างเช่น ทวดของผมเป็นคนนิยมมะโยง หรือ มโนราห์ ช่วงที่ท่านไม่สบายก็จะมีการอันเชิญมาทำพิธี มีชาวบ้านมาร่วมงานกัน สุดท้ายท่านก็หายป่วยโดยที่ไม่ต้องอาศัยโรงพยาบาล มันอาจจะเป็นดนตรีบำบัด อันนี้ผมไม่ทราบ อีกตัวอย่างหนึ่งคือปู่ของผมเป็นคนเชิดหนังตะลุง แต่ท่านอ่านหนังสือไม่ได้ ผมเลยสันนิฐานว่า ตอนที่ท่านเชิดหนังตะลุง ท่านก็คงนำมาจากการฟังและการจำ สรุปทั้งสองตัวอย่างนี้ฟังชั่นที่ซ่อนอยู่ของมันคือ การสร้างความบันเทิงให้คนในหมู่บ้าน"

"ส่วนหนังสือเล่มนี้ เข้าใจว่าหลังจากที่ผู้เขียนลงสนามไปฝังตัวอยู่ในชุมชนก็คงรู้สึกประหลาดใจกับสิ่งที่เห็น จึงอยากจะเล่ามันออกมาว่า ความคิด ความเชื่อ ความซับซ้อน และสภาพที่แท้จริงของคนในพื้นที่เป็นอย่างไร ซึ่งผมคิดว่าผู้เขียนตั้งใจเขียนเพื่อให้คนพุทธและคนนอกพื้นที่อ่าน แต่ไม่ได้เขียนเพียงแค่ให้คนในพื้นที่อ่าน"

วิถีชีวิต วัฒนธรรม ศาสนา คือคุณค่าในหนังสือเล่มนี้

ฟาริดา สุไลมาน องค์กรสันติภาพและสิทธิมนุษยชน และอดีตรองโฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กล่าวว่า หลังได้อ่านหนังสือเล่มนี้ทำให้นึกถึงคุณค่าของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ เรื่องเล่าต่างๆ ทำให้เห็นมุมมองวิถีชีวิต เห็นวัฒนธรรมเก่าๆ เช่น เรื่องสุนทรียะ ความงดงาม หรือแม้แต่เสียงเพลง แต่ถ้ามองในมุมของคนที่มีความรู้ด้านศาสนาก็จะขัดกับหลักการทันที ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างมิติทางวัฒนธรรมและมิติทางศาสนา

พอกระแสของอิสลามเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นกระแสการปฏิวัติอิหร่าน หรือแม้แต่ผู้รู้ที่ได้รับการศึกษาจากโลกตะวันออกกลาง ทำให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การแต่งกายที่ถูกต้อง หรือแม้กระทั่งการเมืองก็มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ดังนั้นคุณค่าของหนังสือเล่มนี้สามารถสะท้อนให้เห็นถึงตัวตนของคนในจังหวัดชายแดนใต้ที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่ต่างจากภาคอื่นในประเทศ หากภาครัฐได้อ่านหนังสือเล่มนี้จะเข้าใจว่าทำไมคนในจังหวัดชายแดนใต้ พวกเขาถึงรักและหวงวัฒนธรรมของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษา การแต่งกาย หรือประเพณีวัฒนธรรม ในด้านมิติการเมืองจะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐอย่างมาก

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ราชกิจจาฯ ประกาศใช้ พ.ร.บ.แก้ประมวลรัษฎากร เลี่ยงภาษีถือเป็นคดีร้ายแรง

Posted: 02 Apr 2017 02:45 AM PDT

ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 45) พ.ศ. 2560 รายได้สิบล้านขึ้นไปต่อปี เลี่ยงภาษีถือเป็นคดีร้ายแรง

 
เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2560 ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 45) พ.ศ. 2560 มีรายละเอียด ระบุว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 45) พ.ศ. 2560"
 
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
 
มาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 37 ตรี ในส่วน 3 บทกําหนดโทษ ของหมวด 2 วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน ของลักษณะ 2 ภาษีอากรฝ่ายสรรพากร แห่งประมวลรัษฎากร
 
"มาตรา 37 ตรี ความผิดตามมาตรา 37 มาตรา 37 ทวิ หรือมาตรา 90/4 ที่ผู้กระทําความผิดเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือนําส่งภาษีอากร และเป็นความผิดที่เกี่ยวกับจํานวน ภาษีอากรที่หลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงตั้งแต่สิบล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป หรือจํานวนภาษีอากรที่ขอคืนโดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทํานองเดียวกัน ตั้งแต่สองล้านบาทต่อปีภาษีขึ้นไป และผู้มีหน้าที่ เสียภาษีอากรหรือนําส่งภาษีอากรดังกล่าวได้กระทําในลักษณะที่เป็นกระบวนการหรือเป็นเครือข่าย โดยสร้างธุรกรรมอันเป็นเท็จหรือปกปิดเงินได้พึงประเมินหรือรายได้ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงภาษีอากร และมีพฤติกรรมปกปิดหรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดเพื่อมิให้ติดตามทรัพย์สินนั้นได้ ให้ถือว่าความผิดดังกล่าวเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เมื่ออธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองความผิดทางภาษีอากรที่เข้าข่าย ความผิดมูลฐานส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินแล้ว ให้ดําเนินการ ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต่อไป คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งประกอบด้วยอธิบดี รองอธิบดีและที่ปรึกษากรมสรรพากรทุกคน" ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
 
ทั้งนี้เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากประเทศไทยในฐานะสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง Asia Pacific Group on Money Laundering (APG) มีเหตุผลความจําเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ (Terms of References) ที่กําหนดให้ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามข้อแนะนําของ Financial Action Task Force (FATF) ในการกําหนดให้อาชญากรรมเกี่ยวกับภาษีอากรที่มีลักษณะร้ายแรงเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และเพื่อให้เป็นไปตามเหตุผลดังกล่าว อีกทั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการปราบปรามการหลีกเลี่ยงและการฉ้อโกงภาษีอากร สมควรกําหนดให้การกระทําความผิดเกี่ยวกับ การหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงภาษีอากรและการฉ้อโกงภาษีอากรที่มีลักษณะเป็นอาชญากรรมร้ายแรง เป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โลกยุค 5G และไอโอที อยู่อย่างไรให้ปลอดภัย

Posted: 02 Apr 2017 12:57 AM PDT


 

เทคโนโลยีนำมาซึ่งความสะดวกสบายในชีวิต เทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลจากทุกมุมโลก ทำให้คนที่แม้จะอยู่คนละทวีป พบปะและสื่อสารกันได้บนโลกออนไลน์ โดยไม่ต้องไปมาหาสู่กันจริงๆ ทำให้เราสามารถค้นหาสินค้าจากต่างประเทศและสั่งซื้อพร้อมชำระเงินออนไลน์ แล้วรอรับสินค้าที่จะถูกส่งมาถึงบ้าน ระบบอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อข้อมูลอย่างกว้างขวางนี้ จึงถูกขนานนามว่า อินเทอร์เน็ตของข้อมูลข่าวสาร และผู้ที่ใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตก็คือคนเรานั่นเอง

หลายปีที่ผ่านมา นอกจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างคนกับคน เริ่มมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างคนกับสิ่งของ หรือสิ่งของกับสิ่งของ จนเรียกกันว่า อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งหรือไอโอที (Internet of Things) ตัวอย่างเช่น กล้องวงจรปิดหรือเครื่องใช้ต่างๆ ในบ้านที่เราสามารถควบคุมทางไกลด้วยอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ หรือแม้แต่การขับเคลื่อนของรถยนต์ไร้คนขับ เป็นต้น

แต่ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่ยังมีข้อจำกัด ทำให้การเชื่อมต่อสิ่งของต่างๆ มักทำได้ดีเฉพาะการเชื่อมต่อเครื่องใช้ประจำที่ผ่านอินเทอร์เน็ตประจำที่ซึ่งวางสายเข้าสู่บ้านหรือสำนักงาน หากจะมีการเชื่อมต่อสิ่งของต่างๆ มากมายจริง เราต้องออกแบบโครงข่ายไร้สายให้รองรับปริมาณการสื่อสารขนาดมหาศาลและหนาแน่นในทุกพื้นที่ และต้องรองรับการตอบสนองได้ฉับไว เพราะการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนเราต้องการความเร็วสูงขึ้นเรื่อยๆ

เทคโนโลยี 4G ไม่สามารถรองรับความต้องการลักษณะนี้ได้ แต่ 5G ที่กำลังจะมาถึง ได้รับการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว หากเราควบคุมรถยนต์ผ่านระบบ 4G ซึ่งมีความหน่วงในการตอบสนอง (Latency) จะเกิดอุบัติเหตุมากมายบนท้องถนน แต่ผลการทดลอง 5G ในปัจจุบันสามารถลดความหน่วงของสัญญาณไปกลับหนึ่งรอบเหลือเพียงสองในพันส่วนของวินาที ทำให้สามารถควบคุมอุปกรณ์ทางไกลได้ฉับไวเกือบเหมือนควบคุมด้วยมือของเราเอง การผ่าตัดทางไกล การกู้ภัยในพื้นที่อันตราย จะปลอดภัยยิ่งไปกว่าในปัจจุบัน

ดูเหมือนไอโอทีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเรามีคุณภาพดียิ่งขึ้น เราจะมีระบบบ้านอัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ จนหลายคนเฝ้ารอการมาถึง แต่ทุกเรื่องราวก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย ที่ผ่านมาอินเทอร์เน็ตของข้อมูลทำให้เยาวชนเข้าถึงการพนันออนไลน์ แหล่งยาเสพติด และสื่อลามก ผู้ก่อการร้ายเข้าถึงความรู้ในการสร้างอาวุธทำลายล้างชีวิต คนบางกลุ่มใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อสร้างข่าวลวงหรือใส่ร้ายคนอื่น มิจฉาชีพสวมรอยเพื่อแฮ็กบัญชีธนาคารหรือบัญชีเครือข่ายสังคมออนไลน์ การหลอกลวงและการฉ้อโกงผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นข่าวที่พบได้ทุกวัน

แล้วในยุค 5G ไอโอที จะแย่ไปกว่าปัจจุบันได้ขนาดไหน จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าคนร้ายจะหลอกลวงอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย ไม่เพียงแต่หลอกลวงคนอย่างในปัจจุบัน

ในการประชุม Mobile World Congress 2017 เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีการพูดถึงระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั่วโลก ผู้บริหาร SoftBank เล่าว่า พนักงานของบริษัทคนหนึ่งนัดทานอาหารเที่ยงกับภรรยา ขณะนั่งรอภรรยาในร้านก็ใช้เวลาว่างทดสอบระบบรักษาความปลอดภัยของกล้องวงจรปิดสาธารณะ เพียงแค่ช่วงเวลาก่อนภรรยาเดินทางมาถึง เขาแฮ็กกล้องวงจรปิดได้หนึ่งล้านสองแสนตัว

และในการประชุมดังกล่าวได้มีการสาธิตการแฮ็ก BabyCam (กล้องวงจรปิดเฝ้าดูทารก) กาต้มน้ำ และเครื่องทำกาแฟ โดยใช้เวลาไม่กี่วินาที โดยผู้เชี่ยวชาญระบุว่า เราท์เตอร์อินเทอร์เน็ตตามบ้านหลายร้อยล้านเครื่องทั่วโลกถูกแฮ็กได้ง่ายมาก โดยเฉพาะเราท์เตอร์ที่ติดตั้งมานานและไม่มีการอัพเดทเฟิร์มแวร์เพื่ออุดช่องโหว่เรื่องความปลอดภัย ทำให้คนร้ายแฮ็กอุปกรณ์ทุกชิ้นที่เชื่อมต่อได้ไม่ยาก

การแฮ็กโดยทั่วไปมีเป้าหมายสองกลุ่ม หนึ่งคือกลุ่มบุคคลสำคัญ มีชื่อเสียง หรือฐานะดี เพื่อล้วงความลับหรือเจาะข้อมูลลับต่างๆ หรือขโมยทรัพย์สินทางออนไลน์ อย่างเช่น กรณีวิกิลีกส์เผยแพร่ข้อมูลว่าหน่วยสืบราชการลับบางประเทศบันทึกเสียงสนทนาภายในบ้านของเหยื่อผ่านสมาร์ททีวีที่ปิดอยู่ และจริงๆ แล้วในกรณี BabyCam คนร้ายสามารถบันทึกวิดีโอได้ด้วย

เนื่องจากการแฮ็กแต่ละครั้งต้องใช้ทรัพยากรและเวลา คนร้ายจึงจะไม่เสียเวลาทำแบบนี้กับประชาชนทั่วไป เพราะประโยชน์ตอบแทนไม่คุ้มค่า แต่คนทั่วไปก็เป็นเป้าหมายกลุ่มที่สอง เพราะระบบรักษาความปลอดภัยมีช่องโหว่ โดยหลักแล้วคนร้ายจะแฮ็กอุปกรณ์อะไรก็ได้ชิ้นแรก แล้วใช้เป็นเกตเวย์ในการแฮ็กอุปกรณ์ที่เหลือทั้งหมดในบ้าน แล้วสร้างทราฟฟิคไปโจมตีเซิร์ฟเวอร์หรือเว็บไซต์เป้าหมายอีกชั้นหนึ่ง เรียกว่าการโจมตีแบบดีดอส (Distributed Denial of Service) ทำให้สามารถโจมตีเป้าหมายพร้อมๆ กันจากอุปกรณ์ทั่วโลกหลายล้านชิ้น ยากต่อการหาต้นตอการโจมตี

แล้วใครต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น ในอดีตเวลาเครื่องคอมพิวเตอร์ติดไวรัส เราจะโทษผู้ใช้งาน ไม่มีใครกล่าวโทษผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ หรือกล่าวโทษเจ้าของระบบปฏิบัติการ เพราะความเสี่ยงในการติดไวรัสมักจะมาจากพฤติกรรมการใช้งาน ผู้บริโภคต้องติดตั้งโปรแกรมตรวจฆ่าไวรัสเอง แต่ในกรณีเครื่องทำกาแฟอัจฉริยะหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ผู้บริโภคก็เพียงแต่ใช้งานตามคู่มือการใช้งานตามปกติ หรือรถยนต์ไร้คนขับ ผู้โดยสารก็นั่งเฉยๆ ไม่ได้ควบคุมรถ หรือมีพฤติกรรมแผลงๆ แต่อย่างใด จะให้เป็นผู้รับผิดแบบเดิมๆ ได้อย่างไร ดังนั้น ในโลกยุคไอโอที อุปกรณ์ทุกชิ้นต้องถูกฝังระบบรักษาความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Security by Design) และกรณีที่พบช่องโหว่ต้องมีการออก patch หรืออัพเดทเฟิร์มแวร์อัตโนมัติ เพราะในอนาคตแต่ละบ้านอาจมีอุปกรณ์ไอโอทีนับร้อยชิ้น การจะให้ผู้บริโภคคอยอัพเดทเฟิร์มแวร์เองทุกชิ้นในแต่ละเดือน ก็คงไม่เหลือเวลาไปทำอะไรอื่นอีก นอกจากนี้ อาจต้องมีการทำประกันภัยที่เกิดจากการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ อีกด้วย และต้องวางแนวทางในการกำหนดผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น เพราะอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งเกี่ยวข้องกับหลายบริษัท เช่น ผู้ผลิตชิพ ผู้ผลิตตัวอุปกรณ์ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์หรือแอพ ผู้รับผิดชอบระบบสื่อสาร และผู้เป็นเจ้าของแบรนด์ เป็นต้น

ประเด็นที่ต้องคุ้มครองผู้บริโภคในยุคไอโอที ยังมีเรื่องการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล เพราะธุรกิจจะใช้การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analysis) เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทำให้สามารถวิเคราะห์โปรไฟล์ของผู้บริโภคแต่ละคน จนบางครั้งรู้ดีกว่าตัวผู้บริโภคคนนั้นเสียอีก และหากมีการรั่วไหลหรือลักลอบขายข้อมูล ก็จะเกิดผลเสียรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ จึงต้องมีการออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการดูแลและใช้ประโยชน์ข้อมูลส่วนบุคคล และต้องยึดหลักการพื้นฐานว่า การใช้ประโยชน์อื่นใดจากข้อมูล ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสมอ

ในส่วนประเด็นความเป็นส่วนตัว ต่อไปเราอาจพบเห็นโดรนบินเต็มท้องฟ้า หากไม่มีการกำกับดูแล โดรนจะสามารถรุกล้ำความเป็นส่วนตัวของแต่ละบ้านได้ไม่ยาก และอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ ในบ้านที่เราติดตั้งเพื่อดูแลความปลอดภัย ก็ใช้เป็นเครื่องมือระบุว่ามีใครอยู่ในห้องไหนหรือบ้านไหนหรือไม่ กำลังนั่ง ยืน หรือนอนอยู่ หรือแม้แต่สมาร์ทมิเตอร์ก็อาจบอกได้ว่าในบ้านมีคนอยู่หรือไม่ ส่วนอุปกรณ์พกพาติดตัว (Wearable Device) ก็ใช้ระบุตำแหน่งผู้ใช้งานได้ คนร้ายจึงสามารถใช้ติดตามเรา หรือใช้ตัดสินใจบุกเข้าบ้านเราเวลาปลอดคนก็ได้

ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่า ผู้บริโภคไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย เพราะต่อให้ระบบรักษาความปลอดภัยดีเพียงใด แต่หากเราเป็นผู้มอบกุญแจ หรือเป็นผู้ไขประตูให้คนร้ายเข้ามาในระบบ ย่อมต้องรับผิดชอบตัวเอง สิ่งที่ผู้บริโภคต้องตระหนักคือการสร้างนิสัยในการใช้งานอย่างปลอดภัย และการไม่เปิดเผยข้อมูลสำคัญแก่ใครๆ ซึ่งในปัจจุบันคนร้ายนิยมใช้เทคนิค Social Engineering มากกว่าการแฮ็กข้อมูล เพราะการหลอกให้เราเปิดเผยข้อมูลนั้น ใช้หลักจิตวิทยาในการหลอกลวงโดยไม่ต้องเชี่ยวชาญด้านเทคนิคเหมือนการแฮ็ก การส่งอีเมลหลอกลวง การสร้างหน้าเว็บปลอม การสวมรอยเป็นคนที่เรารู้จัก การสร้างข้อมูลข่าวสารเท็จ หรือแม้แต่การโทรมาหลอกแบบแก๊งค์คอลล์เซ็นเตอร์ คือรูปแบบต่างๆ ที่จะหลอกลวงให้เราเปิดเผยข้อมูลออกไปด้วยตัวเราเอง กรณีการเจาะภาพลับของดาราฮอลลีวู้ดที่เก็บบนระบบคลาวด์นั้น ส่วนใหญ่เกิดจาก Social Engineering ไม่ใช่การแฮ็กขั้นเทพแต่อย่างใด

ในยุค 5G และไอโอที ทุกฝ่ายจึงต้องร่วมรับผิดชอบและร่วมมือกัน เพื่อให้การใช้งานเกิดความปลอดภัยมากที่สุด

 

เกี่ยวกับผู้เขียน: นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา เป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สวนดุสิตโพลล์ระบุคนสนใจข่าว 'เก็บภาษีหุ้นชินคอร์ป-ปิดวอยซ์ทีวี' มากที่สุด

Posted: 02 Apr 2017 12:08 AM PDT

สวนดุสิตโพลล์เผยผลสำรวจข่าวที่ประชาชนสนใจมากที่สุดในรอบสัปดาห์ อันดับ 1 เก็บภาษีหุ้นชินคอร์ป อันดับ 2 กสท.สั่งปิดวอยซ์ทีวี 7 วัน อันดับ 3 หม่อมอุ๋ยแฉ 6 อดีตบิ๊กทหารดันตั้งบรรษัทน้ำมัน และอันดับ 4 บิ๊กป้อม แย้มอยากคืนเลือกตั้งท้องถิ่นก่อน

 
 
2 เม.ย. 2560 "สวนดุสิตโพลล์" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่องเหตุการณ์บ้านเมืองที่มีผลกระทบต่อรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ โดยสถานการณ์ทางการเมือง ณ วันนี้ มีข่าวหลายประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชน โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นข่าวเรียกเก็บภาษีหุ้นชินคอร์ป กสท.สั่งปิดวอยซ์ทีวี 7 วัน คืนเลือกตั้งท้องถิ่น และข่าวหม่อมอุ๋ยแฉเรื่องตั้งบรรษัทน้ำมัน เรียกได้ว่าเป็นประเด็นร้อนที่ล้วนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น และการทำงานของรัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ทั้งสิ้น เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อเหตุการณ์บ้านเมืองที่มีผลกระทบต่อรัฐบาล และจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,134 คน ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 1 เมษายน2560 สรุปผลได้ ดังนี้
       
เมื่อถามว่าข่าวหรือเหตุการณ์ที่ประชาชนสนใจติดตามมากที่สุด คือ อันดับ 1 เก็บภาษีหุ้นชินคอร์ป 17,629 ล้านบาท 71.43% เพราะเป็นเงินจำนวนมาก อยากรู้ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมว่าจะจัดการเงินภาษีอย่างไร รัฐบาลจะเรียกเก็บได้จริงหรือไม่ ทางทักษิณจะแก้ปัญหาอย่างไร เหมือนเป็นการทำงานสองมาตรฐาน ฯลฯ อันดับ 2 กสท.สั่งปิดวอยซ์ทีวี 7 วัน 69.84% เพราะเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเมือง สะท้อนให้เห็นว่าสื่อยังขาดเสรีภาพในการทำงาน อยากฟังเหตุผลทั้งสองฝ่าย อยากรู้สาเหตุในการสั่งปิด ฯลฯ อันดับ 3 หม่อมอุ๋ย" แฉ 6 อดีตบิ๊กทหารดันตั้งบรรษัทน้ำมัน 68.25% เพราะเป็นข่าวใหญ่ที่มีนายทหารระดับสูงเข้ามาพัวพัน อยากรู้ข้อเท็จจริง กลัวว่าจะเกิดการทุจริตคอร์รัปชัน เอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง ฯลฯ อันดับ 4 "บิ๊กป้อม" แย้มอยากคืนเลือกตั้งท้องถิ่นก่อน 54.40% เพราะการเลือกตั้งท้องถิ่นเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคการเมืองต่างๆ เป็นความคืบหน้าของการจัดการเลือกตั้ง อยากรู้ว่าจะมีรูปแบบการจัดการเลือกตั้งอย่างไร ฯลฯ
       
เมื่อถามว่าข่าวหรือเหตุการณ์ที่ประชาชนคิดว่ามีผลกระทบต่อการบริหารประเทศของรัฐบาลมากที่สุด คือ อันดับ 1 เก็บภาษีหุ้นชินคอร์ป 17,629 ล้านบาท 81.75% เพราะกลายเป็นประเด็นทางการเมือง อาจทำให้เกิดความขัดแย้ง ทำให้ถูกมองว่ารัฐบาลใช้อำนาจในการจัดการกับฝ่ายตรงข้าม ฯลฯ อันดับ 2 หม่อมอุ๋ย" แฉ 6 อดีตบิ๊กทหารดันตั้งบรรษัทน้ำมัน 76.98% เพราะเป็นข่าวที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ อาจมีการทุจริตคอร์รัปชัน มีเรื่องผลประโยชน์ของประเทศชาติมาเกี่ยวข้อง กระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ฯลฯ อันดับ 3 กสท.สั่งปิดวอยซ์ทีวี 7 วัน 61.38% เพราะถูกมองว่าเป็นการใช้อำนาจเกินกว่าเหตุ เผด็จการ ปิดกั้นเสรีภาพและการทำงานของสื่อ มีสมาพันธ์สื่อฯ ออกมาประณาม ฯลฯ อันดับ 4 "บิ๊กป้อม" แย้มอยากคืนเลือกตั้งท้องถิ่นก่อน 58.47% เพราะรัฐบาลอาจต้องการแก้ปัญหาฐานเสียงระดับท้องถิ่น เป็นฐานอำนาจทางการเมือง เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจและมีอิทธิพล ฯลฯ
       
เมื่อถามว่า ประชาชนคิดว่ารัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จะแก้ปัญหาเหตุการณ์ต่างๆ ต่อไปนี้ได้หรือไม่ได้ เรื่องเก็บภาษีหุ้นชินคอร์ป 17,629 ล้านบาท อันดับ 1 ไม่แน่ใจ 44.18% เพราะไม่ทราบรายละเอียดข้อเท็จจริง ยังสามารถอุทธรณ์ได้ มีหลายกระแสเห็นว่าเป็นการกลั่นแกล้ง ไม่ยุติธรรม ฯลฯ อันดับ 2 แก้ได้ 28.04% เพราะสามารถออกหมายเรียกเก็บภาษีได้ทันระยะเวลาสิ้นสุดคดีความ เป็นไปตามกระบวนการขั้นตอนทางกฎหมาย ให้สรรพากรเป็นผู้ดำเนินการ ฯลฯ อันดับ 3 แก้ไม่ได้  27.78% เพราะเป็นเงินจำนวนมาก ไม่น่าจะจัดเก็บภาษีได้ กรณีที่ผ่านมาก็ไม่สามารถเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ อาจทำให้เกิดความขัดแย้ง ฯลฯ
       
เรื่อง "หม่อมอุ๋ย" แฉ 6 อดีตบิ๊กทหารดันตั้งบรรษัทน้ำมัน อันดับ 1 ไม่แน่ใจ 39.95% เพราะยังไม่รู้รายละเอียดเชิงลึก ยังไม่มีร่าง พ.ร.บ.ที่ออกมาชัดเจน ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของที่ประชุม ฯลฯ อันดับ 2 แก้ได้ 34.39% เพราะรัฐบาลสามารถใช้อำนาจสั่งการจัดการกับผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง ให้มีการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ชะลอเรื่องนี้ออกไปก่อน ฯลฯ อันดับ 3 แก้ไม่ได้ 25.66% เพราะเป็นข่าวที่กระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล แสดงให้เห็นว่ามีเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ทับซ้อน อาจมีการวางแผนการดำเนินงานไว้แล้ว ฯลฯ
       
เรื่อง กสท.สั่งปิดวอยซ์ทีวี 7 วัน อันดับ 1 แก้ได้ 48.94% เพราะรัฐบาลมีการรับฟังความคิดเห็นของสื่อ เปิดโอกาสให้แก้ไข ทางวอยซ์ทีวีได้กระทำผิดจริง เป็นการลงโทษตามกฎระเบียบ ไม่น่าจะก่อให้เกิดปัญหาบานปลาย ฯลฯ อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 28.57% เพราะที่ผ่านมาเคยถูกสั่งปิด ร้องเรียน และก็ยังออกอากาศอยู่ ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะดำเนินการแก้ไขอย่างไร ฯลฯ อันดับ 3 แก้ไม่ได้ 22.49% เพราะเป็นการละเมิดสิทธิและการทำงานของสื่อ กระทบต่อภาพลักษณ์ด้านเสรีภาพ สื่อมักจะนำเสนอเนื้อหาด้านการเมืองอย่างเข้มข้น กระทบต่อการทำงานของรัฐบาล ฯลฯ
       
และเรื่อง "บิ๊กป้อม" แย้มอยากคืนเลือกตั้งท้องถิ่นก่อน อันดับ 1 ไม่แน่ใจ 43.65% เพราะยังไม่มีความชัดเจนในการดำเนินงาน ยังไม่มีความคืบหน้า เป็นเพียงกระแสข่าว ฯลฯ อันดับ 2 แก้ได้ 34.66% เพราะรัฐบาลมีอำนาจ สามารถจัดการได้ มีความตั้งใจแก้ปัญหา เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างประชาธิปไตย ฯลฯ อันดับ 3 แก้ไม่ได้ 21.69% เพราะการเมืองระดับท้องถิ่นเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพล อาจกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ เป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคการเมือง ฯลฯ 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุรพศ ทวีศักดิ์: ความ(ไม่)เป็น ‘พุทธศาสนาแบบเหตุผลนิยม’

Posted: 01 Apr 2017 11:21 PM PDT


 


เห็นวิจารณ์กันว่า การปฏิรูปธรรมยุติกนิกายในสมัย ร.4 ทำให้เกิดการตีความพุทธศาสนาเน้นความมีเหตุผล สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้เกิดการลดความสำคัญของ "โลกุตตรธรรม" อันเป็นมิติด้านจิตวิญญาณที่ลึกสุดของพุทธศาสนา หันมาเน้น "โลกียธรรม" หรือ "ศีลธรรมทางโลก" มากขึ้น

นอกจากนี้ การเน้นความเป็นเหตุเป็นผลของพุทธศาสนา ยังทำให้เกิดการ "ลดทอน" ความหลากหลายของการศึกษาตีความคำสอน ความเชื่อเรื่องสวรรค์ นรก บุญบาปตามคติไตรภูมิพระร่วงถูกลดความสำคัญลง พื้นที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์แคบลง อารมณ์ความรู้สึกทางศาสนาหายไป ทำให้พุทธศาสนาแข็งกระด้าง ขาดมิติละเอียดอ่อนด้านจิตวิญญาณ และอารมณ์ความรู้สึก เป็น "พุทธศาสนาแบบเหตุผลนิยม" ที่มีปัญหามาจวบปัจจุบัน

ผมพยายามทำความเข้าใจว่า "พุทธศาสนาแบบเหตุผลนิยม" หมายถึงอะไร บอกตามตรงว่าผมอ่านจากคำวิจารณ์ต่างๆ แล้วก็ไม่เข้าใจ เพราะไม่ได้เห็น "นิยาม" ที่ชัดเจน จนกระทั่งได้อ่านคำนิยามของพระไพศาล วิสาโล ในเชิงอรรถของหนังสือ "พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต" (หน้า 18) ว่า


...แต่ละคนแต่ละกลุ่มอาจมีนิยามเกี่ยวกับพุทธศาสนาไม่เหมือนกัน...ดังนั้น การพ่วงคุณศัพท์ "เหตุผลนิยม" ให้แก่พุทธศาสนาย่อมช่วยให้เราเข้าใจตรงกันว่า กำลังพูดถึงพุทธศาสนาแบบไหน

อนึ่ง "เหตุผลนิยม" ในที่นี้ใช้ในความหมายหลวมๆ โดยเน้นถึงการใช้เหตุผลและวิธีการที่ประจักษ์หรือพิสูจน์ได้ในการเข้าถึงความจริง กล่าวอีกนัยหนึ่ง มีความหมายครอบคลุมไปถึงการคิดในเชิงวิทยาศาสตร์ด้วย ถึงแม้ว่าวิทยาศาสตร์นั้น ถ้ากล่าวอย่างเคร่งครัดแล้วเป็นเรื่องของประจักษ์นิยม คือเชื่อว่าประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นที่มาแห่งความรู้ของมนุษย์ ขณะที่เหตุผลนิยมนั้นเชื่อว่าที่มาแห่งความรู้ของมนุษย์อยู่ที่การใช้เหตุผล


จะเห็นว่า "เหตุผลนิยมในความหมายหลวมๆ" ดังกล่าว คือ "ลูกผสม" (hybrid) ระหว่าง "เหตุผลนิยม" (rationalism) ที่หมายถึงแนวคิดทางญาณวิทยา (epistemology) ที่เชื่อในการใช้เหตุผลในการแสวงหาความจริง และให้สิทธิอำนาจสูงสุดแก่เหตุผลในการตัดสินความจริง กับ "ประสบการณ์นิยม" (empiricism) ที่เชื่อในการใช้ประสาทสัมผัสในการแสวงหาความจริง  และให้สิทธิอำนาจสูงสุดในการตัดสินความจริงแก่ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส

ปัญหาคือ แม้ในทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์จะถือว่าเป็นเรื่องปกติที่เราจะสร้าง "มโนทัศน์" (concept) ขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้อธิบายความคิดและปรากฏการณ์บางอย่างที่เรานำเสนอ แต่การนำเอาคำ "เหตุผลนิยม" ที่ใช้กันในปรัชญาตะวันตก ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายชัดเจนของตัวมันเองอยู่แล้ว และเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่า "เหตุผลนิยม" คือแนวคิดที่โต้แย้งกับ "ประสบการณ์นิยม" มาให้ความหมายใหม่ในแบบ "ลูกผสม" ระหว่างเหตุผลนิยมกับประสบการณ์นิยมดังนิยามของพระไพศาล ย่อมทำให้เกิดความสับสนได้ง่ายๆ

กล่าวคือ คำว่า "เหตุผลนิยมในความหมายหลวมๆ" ดังกล่าว ย่อมไม่ใช่ rationalism ในปรัชญาตะวันตก เมื่อนำคำนี้มาต่อท้ายพุทธศาสนาเป็น "พุทธศาสนาแบบเหตุผลนิยม" พร้อมกับวิจารณ์ว่าที่เป็นแบบนี้เพราะรับอิทธิพลความคิดจากตะวันตก ย่อมทำให้เข้าใจผิดไปว่า เพราะพุทธศาสนาถูกทำให้มีความเป็น "เหตุผลนิยมแบบตะวันตก" จึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ดังที่วิจารณ์กัน

เป็นความจริงว่า การเน้น "ความเป็นเหตุเป็นผล" หรือ "rationality" (ซึ่งมีความหมายกว้างกว่า reasoning, logic, rationalism) ในประเพณีทางปัญญาของตะวันตก ก็มักจะถูกวิจารณ์ว่าก่อให้เกิดปัญหาการลดทอนความหลากหลาย ละเลยมิติด้านอารมณ์ความรู้สึก เป็นต้น

แต่ข้อวิจารณ์ดังกล่าวก็อาจมีส่วนทั้งถูกและผิด เนื่องจากแนวคิดเรื่องความเป็นเหตุเป็นผลมีความซับซ้อนในตัวมันเองค่อนข้างมาก เพราะนักคิดบางคนก็อธิบายว่า "ทุกความเชื่อต่างมีความเป็นเหตุเป็นผลจากมุมมองของตัวมันเอง" เช่น คนไม่นับถือศาสนาอาจมองว่าคนนับถือศาสนางมงาย แต่คนนับถือศาสนาเขาก็คิดว่าตนเองมีเหตุผลในการนับถือศาสนา ขณะที่คนนับถือศาสนาก็อาจมองว่าคนไม่นับถือศาสนาไม่มีเหตุผล แต่คนไม่นับถือศาสนาก็ย่อมมีเหตุผลของตนเองที่จะไม่นับถือ เป็นต้น

ถ้าทุกความเชื่อต่างก็มีความเป็นเหตุเป็นผลจากมุมมองของตนเอง ความเป็นเหตุเป็นผลก็มีได้หลายแบบ เช่น ความเป็นเหตุเป็นผลแบบภูมิปัญญากรีก แบบศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นๆ แม้แต่ไสยศาสตร์ก็อาจมีความเป็นเหตุเป็นผลจากมุมมองของตัวมันเอง ส่วนความเป็นเหตุเป็นผลอันเป็นลักษณะของสภาวะสมัยใหม่ (modernity) คือ ความเป็นเหตุเป็นผลแบบวิทยาศาสตร์ ความเป็นเหตุเป็นผลแบบเสรีนิยม (liberalism) เป็นต้น

แต่ความเป็นเหตุเป็นผลแบบเสรีนิยม ย่อมไม่ใช่เหตุ "ลดทอน" มิติของอารมณ์ความรู้สึกและความหลากหลาย เนื่องจากแนวคิดปรัชญาเสรีนิยมก็มีทั้งที่เน้นความสำคัญของเหตุผลและอารมณ์ความรู้สึก แต่หัวใจของเสรีนิยมคือ "เสรีภาพ" เพราะยึดเสรีภาพเป็น "กติกากลาง" ของระบบสังคมการเมืองและอื่นๆ ความหลากหลายจึงเป็นไปได้จริง

เมื่อพูดถึง "พุทธศาสนาแบบเหตุผลนิยม" ย่อมมีนัยสำคัญทางศีลธรรมมากกว่าทางญาณวิทยา จึงน่าจะเปรียบเทียบกับ "เหตุผลนิยมทางศีลธรรม" (moral rationalism) อันเป็นแนวคิดที่ให้สิทธิอำนาจสูงสุดแก่เหตุผลในการตัดสินความดีหรือความถูกต้อง เช่น จริยศาสตร์สายค้านท์ (Kantian Ethics) ที่ถือว่า "เหตุผลต้องเป็นอิสระ" จากการครอบงำของอารมณ์และอิทธิพลภายนอกต่างๆ เช่น ศาสนา ประเพณี อำนาจรัฐ และอื่นๆ จึงจะทำให้เราตัดสินความถูกต้องได้เที่ยงตรงและสร้าง "กฎศีลธรรม" (moral law) ขึ้นมาได้ และมีเจตจำนงแน่วแน่ที่จะทำตามกฎศีลธรรมนั้นได้ (เจตจำนงทำตาม moral law ค้านท์เรียกว่า "Good Will")

แต่ "กฎศีลธรรม" ที่มาจาก "เหตุผล" ในความหมายของค้านท์กลับให้ความสำคัญสูงสุดกับ "ความละเอียดอ่อน" ของ "ความเป็นมนุษย์" เพราะค้านท์ถือว่ากฎศีลธรรมใดๆ ที่เราแต่ละคนสร้างขึ้นจากการใช้เหตุผล จะต้องวางอยู่บนพื้นฐานของการ "เคารพ" (respect) ใน "ความเป็นมนุษย์" ของตัวเองและคนอื่นเท่าเทียมกัน นั่นคือ ความเป็นมนุษย์ในฐานะที่เราต่างเป็นปัจเจกบุคคลที่มีเหตุผล อิสรภาพ และศักดิ์ศรีในตัวเอง การกระทำใดๆ ที่ใช้ความเป็นมนุษย์เป็น "เครื่องมือ" ย่อมผิดศีลธรรม

การมีศีลธรรมในความหมายของค้านท์ จึงไปกันไม่ได้กับระบบเผด็จการ เพราะระบบเผด็จการย่อมเป็นระบบที่ใช้ความเป็นมนุษย์เป็นเครื่องมือ เพราะเป็นระบบที่ไม่ยอมรับ "เสรีภาพ" ของปัจเจกบุคคล แต่เสรีนิยมสายค้านท์ถือว่าระบบสังคมการเมืองที่ปกป้องความเป็นมนุษย์ ย่อมเป็นระบบที่รัฐรักษา "สิทธิ" เป็น "กติกาลาง" คือรัฐต้องรับรอง "สิทธิในเสรีภาพที่จะเลือกคุณค่าและการมีชีวิตที่ดีของปัจเจกบุคคล" ฉะนั้น เหตุผลนิยมทางศีลธรรมและเสรีนิยมสายค้านท์ที่ให้ความสำคัญกับ "เหตุผล" ก็ไม่ได้ "ลดทอน" มิติด้านอารมณ์ เพราะให้ความสำคัญกับการเคารพความเป็นมนุษย์ที่มีเหตุผล อิสรภาพ และศักดิ์ศรีในตัวเอง และไม่ได้ "ลดทอน" ความหลากหลาย เนื่องจากถือว่า รัฐต้องรักษา "สิทธิ" ในฐานะเป็น "กติกากลาง" อันเป็นรากฐานของการมีเสรีภาพในการเลือกคุณค่าที่หลากหลายของปัจเจกบุคคล

แล้วทำไม "พุทธศาสนาแบบเหตุผลนิยม" จึงลดทอนมิติด้านอารมณ์และความหลากหลาย ผมคิดว่าเป็นเพราะพุทธศาสนาไม่ได้มีความเป็น "เหตุผลนิยม" (แบบที่เข้าใจกันในปรัชญาตะวันตก) จริง และไม่สามารถเป็นเช่นนั้นได้ เพราะพุทธศาสนาที่ถูกปฏิรูปโดยชนชั้นปกครอง ย่อมถูกปฏิรูปจากอำนาจที่ไม่มีความเป็นเหตุเป็นผลในความหมายสมัยใหม่ เพราะอะไรที่มีความเป็นเหตุเป็นผลในความหมายสมัยใหม่ ย่อมถูกท้าทายได้ด้วยเหตุผล และสิ่งที่ถูกท้าทายได้ด้วยเหตุผล ย่อมต้องอยู่ในกรอบ "เสรีภาพ" ที่จะตั้งคำถาม โต้แย้ง วิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบได้

ที่ว่าการปฏิรูปพุทธศาสนาสมัย ร.4 (ซึ่งเป็นช่วงที่สยามเปลี่ยนแปลงสู่ความทันสมัย) เป็นจุดเริ่มต้นให้มีการตีความพุทธศาสนาเน้นความเป็นเหตุเป็นผล เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นนั้น เป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่เถียงกันได้ แต่สมมติว่าเป็นจริงตามนั้น พุทธศาสนาที่มีเหตุผล หรือ "พุทธศาสนาแบบเหตุผลนิยม" จะถูกใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายอนุรักษ์นิยม (ซึ่งอิงฐานความชอบธรรมของอำนาจบนความเป็นเหตุเป็นผลคนละอย่างกับความเป็นเหตุเป็นผลแบบวิทยาศาสตร์ และแบบเสรีนิยม) ได้หรือไม่ คำตอบคือ "ได้" อยู่แล้วครับ

อันที่จริงแม้แต่คำว่า เสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชน, ความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย, นิติรัฐ ฯลฯ ก็ถูกฝ่ายอนุรักษ์นิยมใช้เป็น "เครื่องมือ" อย่างปกติอยู่แล้ว (เขาไม่เคยประกาศเลยนะครับว่าจะทำรัฐประหารเพื่อสถาปนา "ระบบเผด็จการ" มีแต่ประกาศว่าจะ "ปฏิรูปประชาธิปไตย") แต่สิ่งเหล่านั้นเมื่อถูกใช้ภายใต้ "อำนาจนิยาม" ของฝ่ายอนุรักษ์นิยม มันย่อม ไม่มี "ความหมายแบบเดิม" อีกต่อไป

เช่นเดียวกัน "พุทธศาสนาแบบเหตุผลนิยม" ภายใต้อำนาจผูกขาดการสถาปนาความจริงของรัฐ อันเป็นอำนาจที่ปฏิรูปให้เกิดพุทธศาสนาเช่นนั้นขึ้นมา ก็ไม่เคยมี "ความเป็นเหตุผลนิยม" อย่างที่ใช้กันในประเพณีทางปัญญาของตะวันตก เหมือนคำว่าเสรีภาพ, ประชาธิปไตย, สิทธิมนุษยชน, ความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย, นิติรัฐ ฯลฯ ที่อยู่ภายใต้อำนาจนิยามของฝ่ายอนุรักษ์นิยม ก็ไม่สามารถจะมีความหมายอย่างที่เข้าใจกันในโลกตะวันตก

ฉะนั้น จึงไม่ใช่ว่าเป็นเพราะอิทธิพลของความคิดเหตุผลนิยม และความคิดเรื่องความเป็นเหตุเป็นผลแบบวิทยาศาสตร์ของตะวันตกเข้ามาทำให้พุทธศาสนามี "ความเป็นเหตุผลนิยมแบบตะวันตก" แล้วส่งผลให้เกิดการ "ลดทอน" มิติด้านอารมณ์ความรู้สึก ความหลากหลายในการศึกษาตีความและอื่นๆ

ต้นเหตุของการ "ลดทอน" คือการสถาปนา "พุทธศาสนาของรัฐ" ซึ่งรวมศูนย์อำนาจปกครอง การจัดการศึกษา การตีความคำสอนและอื่นๆ ภายใต้ "คณะสงฆ์ของรัฐ" ซึ่งทำให้พุทธศาสนาของรัฐมีวัฒนธรรมอำนาจนิยม และเป็นเครื่องมือสร้าง "อำนาจชอบธรรม" (legitimacy) และ "อำนาจครอบงำ" (domination) ของรัฐมายาวนาน นี่ต่างหากคือ "ปัญหาระดับรากฐาน" จริงๆ ที่จำเป็นต้องช่วยกันคิดหาทางแก้ไขกันต่อไป

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'เรืองไกร' เตรียมร้องเรียนให้ 'วิษณุ' เปิดเผยประวัติเสียภาษี

Posted: 01 Apr 2017 10:45 PM PDT

2 เม.ย. 2560 มติชนออนไลน์ รายงานว่านายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ คณะทำงานกฎหมายพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า หลังจากติดตามข่าวการเรียกเก็บภาษีของกรมสรรพากรในกรณีต่างๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยเฉพาะนายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ที่เคยกล่าวเมื่อปลายพฤศจิกายน 2558 ระบุทุกคนมีหน้าที่เสียภาษี ว่า ตนเห็นด้วยกับนายวิษณุ ด้วยเหตุนี้จึงสนใจว่านายวิษณุ ได้เสียภาษีให้รัฐไว้ครบถ้วนหรือไม่ ประกอบกับนายวิษณุเคยเป็นรองนายกฯ สมัยนายทักษิณก่อนมาเป็นรองนายกฯสมัย พล.อ.ประยุทธ์จึงพอมีประวัติการยื่นบัญชีทรัพย์สินให้ตรวจสอบได้ จากประวัติการยื่นบัญชีทรัพย์สินทั้ง 4 ครั้ง คือวันที่ 14/3/2548 , 24/6/2549 , 24/6/2550 และ 4/9/2557 เมื่อนำมาใส่ตารางเปรียบเทียบแล้วจะพบว่านายวิษณุตลอดเวลา 9 ปี มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นกว่า 87.5 ล้านบาท โดยครั้งล่าสุดเมื่อ 4/9/2557 นายวิษณุและคู่สมรสยื่นแสดงว่ามีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายรวม 1.2 ล้านบาทและ 1.8 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อคำนวณตัวเลขทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อปี 9.7 ล้านบาท กับรายได้ที่ยื่นไว้ครั้งล่าสุด กลับไม่สัมพันธ์กัน เมื่อย้อนไปดูยอดรวมทรัพย์สินช่วงที่พ้นจากตำแหน่งรองนายกฯสมัยนายทักษิณ กับพ้นครบหนึ่งปี คือจากวันที่ 24/6/2549 ถึง 24/6/2550 ปรากฏว่าทรัพย์สินของนายวิษณุและคู่สมรสเพิ่มขึ้นกว่า 11 ล้านบาท และช่วงดังกล่าวอาจเป็นช่วงที่นายวิษณุมีค่าใช้จ่ายในการส่งลูกเรียนต่อปริญญาโทและเอกที่อเมริการวมอยู่ด้วย ซึ่งจากข้อมูลข่าวที่พบลูกชายนายวิษณุบอกว่า "แต่สมัยผมไปเรียนต่อกฎหมาย ก็ไม่ได้สอบชิงทุนอะไร แต่ใช้ทุนของคุณพ่อ"
 
นายเรืองไกรกล่าวต่อว่า ตนจะไปยื่นหนังสือถึงนายวิษณุที่ศูนย์รับเรื่องตรงข้ามทำเนียบ ในวันจันทร์ที่ 3 เมษายน เวลา 10.00 น. ขอให้นายวิษณุเป็นผู้เปิดเผยประวัติการเสียภาษีที่ผ่านมาตลอดเวลา 9 ปี และตัวเลขค่าใช้จ่ายในการส่งลูกเรียนที่อเมริกาว่ามีจำนวนเท่าใด ทั้งนี้ หวังว่านายวิษณุจะเป็นผู้นำข้อมูลต่าง ๆ มาเปิดเผยต่อสื่อมวลชนด้วยตัวเอง และตนจะนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์เรื่องภาษีต่อไป หากพบว่ามีเหตุอันควรสงสัยที่ควรตรวจสอบ ก็คงจะทำเรื่องไปยังสรรพากรเพื่อประเมินภาษีอีกครั้ง แต่หากนายวิษณุได้ยื่นภาษีไว้ถูกต้องแล้ว ก็จะใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบนักการเมืองที่อาจยื่นไม่ถูกต้องต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผบ.มทบ. 45 สั่งเด้ง 2 นายทหารมีเอี่ยวซ้อมทรมาน หลัง ผบ.ทบ. จี้สอบด่วน

Posted: 01 Apr 2017 10:24 PM PDT

"พล.อ.เฉลิมชัย" จี้ "มทบ.45" เร่งสอบสวนปมพลทหารเสียชีวิต ระบุถ้าผลสรุปพบว่ามีกำลังพลคนใดได้กระทำความผิดจะถูกดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ด้าน ผบ.มทบ. สั่งเด้ง 2 นายทหารทันที

 

2 เม.ย. 2560 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก ชี้แจงถึงกรณี พลทหารยุทธอินันท์ บุญเนียม ทหารเกณฑ์ค่ายวิภาวดีรังสิต จ.สุราษฎธานี เสียชีวิตระหว่างเนื่องถูกสั่งขังคุกทหารเพื่อเป็นการทำโทษ เนื่องจากทำผิดวินัยว่า กรณี พลทหารยุทธอินันท์ บุญเนียม สังกัด มณฑลทหารบก 45 (มทบ.45) ค่ายวิภาวดีรังสิต ได้เสียชีวิตหลังจากมารักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยก่อนนั้น พลทหารยุทธอินันท์ ได้ถูกลงโทษให้จำขังในเรือนจำ มทบ.45 ซึ่งทางญาติติดใจสาเหตุการเสียชีวิต 
 
พ.อ.วินธัย กล่าวว่า จากกรณีดังกล่าวหน่วยต้นสังกัดต้องดำเนินการการตามนโยบายของ พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ต่อการดำเนินการเกี่ยวกับงานด้านกำลังพลโดยเคร่งครัด ต่อกรณีการเกิดเหตุในลักษณะดังกล่าว ซึ่งเริ่มจากการสอบสวนในข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นซึ่งขอให้มั่นใจถ้าผลสรุปพบว่ามีกำลังพลคนใดได้กระทำความผิด จะถูกดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ทั้งกฎหมายบ้านเมือง และกฎหมายของวินัยทหารขั้นรุนแรงสูงสุดอย่างแน่นอน 
  
"ยืนยันทุกขั้นตอนต้องดำเนินการอย่างเป็นธรรมและตรงไปตรงมาซึ่ง ผบ.ทบ.จะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดอย่างเช่นทุกกรณีที่ผ่านมา ซึ่งล่าสุดทางหน่วยอยู่ระหว่างดำเนินการ ในเบื้องต้นหน่วยได้เข้าไปดูแลทางญาติแล้วอย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างความมั่นใจว่าทุกฝ่ายจะต้องได้รับความเป็นธรรมภายใต้สภาพข้อเท็จจริงที่ควรเป็น" พ.อ.วินธัย กล่าว
 
ด้านเดลินิวส์ออนไลน์ รายงานด้วยว่า พล.ต.วิชัย ทัศนมณเฑียร ผบ.มทบ.45 ได้มีคำสั่งให้นายทหาร 2 นาย ที่คาดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์รุมทำร้ายพลทหารยุทธอินันท์ มาช่วยราชการที่ มทบ.45 เพื่อให้การสอบสวนของฝ่ายตำรวจและฝ่ายทหารเป็นไปอย่างเรียบร้อย ไม่ให้ทหารทั้ง 2 นาย เข้าไปยุ่งเหยิงข่มขู่กับพยานหลักฐาน พร้อมทั้งมีคำสั่งให้ พ.อ.สมศักดิ์ บุญชรัตน์ หัวหน้าฝ่ายสรรพกำลัง มทบ.45 เป็นหัวหน้ากรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และให้รายงานผลปฎิบัติทันที
 
พล.ต.วิชัย กล่าวว่า ได้กำชับไปยังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในการสอบสวนทางคดีของตำรวจ หากมีการร้องขอเพื่อสอบปากคำบุคคล รวมถึงพยานทาง มทบ.ที่ 45 พร้อมให้ความร่วมมือ และเปิดโอกาสให้สอบสวนอย่างเต็มที่ ยืนยันว่าจะไม่ช่วยเหลือกันเด็ดขาด คนทำผิดจะต้องได้รับโทษ ปัญหาคือ คู่กรณีไม่สามารถพูดได้แล้ว ดังนั้นต้องเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องให้ความเป็นธรรมกับเขา ใครก็ตามที่อ้างว่าผู้ตายทำผิดกฎระเบียบแล้วต้องได้รับผลกระทำแบบนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะเราไม่มีหน้าที่พิพากษาชีวิตเขา

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 26 มี.ค.-1 เม.ย. 2560

Posted: 01 Apr 2017 09:59 PM PDT

แรงงาน แจงสถานการณ์การเลิกจ้างและแนวโน้มการเลิกจ้างมีทิศทางที่ดีขึ้น
 
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน แจงข้อมูลเรียกสิทธิประโยชน์กรณีเลิกจ้างให้ลูกจ้างกว่า 123 ล้านบาท จากจำนวนลูกจ้าง 4,230 คน ที่ถูกเลิกจ้าง 5 เดือนที่ผ่านมา วิเคราะห์สถานการณ์ การเลิกจ้างและแนวโน้มการเลิกจ้างมีทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผ่านมาของรัฐบาล
 
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ( กสร. ) กล่าวว่า สถานการณ์การเลิกจ้าง ในภาพรวมของประเทศ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2560 พบว่า สถานการณ์การเลิกจ้างและแนวโน้มการเลิกจ้างมีทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผ่านมาของรัฐบาล ที่เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการลงทุนภาครัฐและให้สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารออมสิน ช่วยเหลือสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ และธุรกิจ SMEs กู้ยืมเงินโดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ รวมทั้งนโยบายด้านอื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อเศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวดีขึ้น ทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น ทั้งในกรุงเทพมหานครและภูมิภาคต่างๆ ในส่วนของการเลิกจ้างมีแนวโน้มลดลงโดยจะเห็นได้จากข้อมูลจำนวนลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างและมายื่นคำร้องลดลง โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีสถานประกอบกิจการที่เลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมด 172 แห่ง ลูกจ้างยื่นคำร้องรวม 4,290 คน เงินสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างได้รับรวม 123,149,121 บาท สำหรับประเภทกิจการที่มีการเลิกจ้างมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) กิจการประเภทการผลิตและจำหน่าย คิดเป็นร้อยละ 41 2) กิจการประเภทอื่นๆ (เช่น จัดทำเอกสาร ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ) คิดเป็นร้อยละ 15 3) กิจการโรงแรม/สถานบันเทิง/งานบริการ คิดเป็นร้อยละ 11 4) กิจการสื่อสารคมนาคม คิดเป็นร้อยละ 9 และ 5) กิจการก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 7 ทั้งนี้ มีสถานประกอบกิจการที่มีแนวโน้มเลิกจ้าง 4 แห่ง ลูกจ้างจำนวน 882 คน
 
อธิบดี กสร. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้อัตราการเลิกจ้างในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 มีจำนวนลดลง โดยในเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2559 มีจำนวนอัตราการเลิกจ้าง 31,570 คน / 30,570 คน / 29,748 คน ลดลงตามลำดับ เดือนมกราคม 2560 มีจำนวน 29,076 คน ซึ่งเมื่อวิเคราะห์จากภาพรวมแล้วสถานการณ์การเลิกจ้างและแนวโน้มการเลิกจ้างมีทิศทางที่ดีขึ้น
 
 
กอช.ผุดไอเดีย ดึงเอกชน สมาคม จัด กอช. เป็นสวัสดิการให้ลูกจ้าง
 
กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. ผุดแนวคิดใหม่ดึงบริษัทเอกชน สมาคม ฯลฯ จัด กอช. เป็นสวัสดิการให้แก่ลูกจ้างให้มีชีวิตในบั้นปลายที่ดีมีคุณภาพ โดยนายจ้างส่งเงินสะสม เพื่อรับเงินสมทบจากรัฐบาล เพิ่มโอกาสเข้าถึงระบบบำนาญ
 
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ร่วมกับสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ออกบูธประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจด้านการออมเพื่อการชราภาพกับ กอช. แก่ผู้พิการทางสายตา โดยประสานกับธนาคารกรุงไทย สาขาวิคตอรี่มอลล์ มาเป็นหน่วยรับสมัครสมาชิกเคลื่อนที่ ณ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้
 
นายสมพร จิตเป็นธม เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. กล่าวว่า นับเป็นเรื่องดีที่ทางสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเก็บออมเพื่อยามชราภาพ รวมถึงการสนับสนุนให้สมาชิกของสมาคมฯ ได้มีการเก็บออมกับ กอช. โดยทางสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้จ่ายเงินสะสมให้กับสมาชิกที่เป็นผู้จำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลรายย่อย เพื่อให้เป็นเสมือนสวัสดิการรูปแบบหนึ่ง
 
ซึ่งนอกจากผู้พิการทางสายตาจะได้รับเงินสะสมที่ทางสมาคมจ่ายให้แล้ว ยังจะได้รับเงินสมทบจากทางรัฐบาลตามเงื่อนไขของ กอช. (ตามพระราชบัญญัติ กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔) เป็นการเปิดโอกาสให้คนกลุ่มนี้ได้เข้าถึงระบบบำนาญ อันเป็นการสร้างหลักประกันความมั่นคงพื้นฐานในการดำรงชีวิตยามชราภาพ ซึ่งการจัดสวัสดิการดังกล่าวถือได้ว่าสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยได้ดูแลสมาชิกในสังกัดของตนให้มีชีวิตในบั้นปลายที่ดีมีคุณภาพ โดยไม่เป็นภาระในการบริหารเงินแก่สมาคม อีกด้วย
 
"สำหรับโครงการนำร่องแห่งแรกได้จัดขึ้นก่อนหน้านี้ โดย กอช. ร่วมกับบริษัท วอเนอร์ บราเดอร์ส ฟาร์อีส อินคอโปเรชั่น ประเทศไทย จำกัด โดยทางบริษัทฯ เป็นผู้ส่งเงินสะสมให้แก่ลูกจ้างที่เป็นแรงงานนอกระบบ ไม่มีประกันสังคม เพื่อให้ลูกจ้างกลุ่มนี้ได้รับเงินสมทบ จากรัฐบาลอีกส่วนหนึ่ง กอช. จึงเป็นเครื่องมือให้บริษัท ห้างร้าน หรือหน่วยงาน จัดสวัสดิการเพื่อสร้างหลักประกันบำนาญชราภาพให้กับลูกจ้างในสังกัดได้อย่างดี" นายสมพรกล่าว
 
 
มท.ออกกฎกระทรวง ให้แรงงานต่างด้าวกลับบ้านช่วงสงกรานต์
 
พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงหมาดไทย เสนอร่างกฎกระทรวงอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา เดินทางกลับประเทศในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย. - 30 เม.ย. นี้ โดยแรงงานสามารถยื่นขอหนังสือรับรองจากสำนักงานจัดหางานจังหวัดได้โดยไม่ต้องเดินทางมาที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ทั้งนี้นอกจากแรงงานแล้ว บุตรที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี ยังสามารถร่วมเดินทางกลับได้ด้วย อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี กำชับให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม ตำรวจ ทหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง ดูแลอำนวยความสะดวกต่อการเดินทางของแรงงานต่างด้าว โดยไม่มีค่าธรรมเนียมเข้าออกประเทศ พร้อมย้ำห้ามมีการเรียกรับสินบน หากพบการเรียกรับสินบนจะต้องมีการตรวจสอบและเอาผิดต่อเจ้าหน้าที่อย่างเด็ดขาด
 
 
เครือข่ายแรงงาน ตั้งคำถาม สธ. แก้ พ.ร.บ. สสส. เพื่อใคร
 
น.ส.อรุณี ศรีโต ประธานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ พร้อมด้วย นายภาคภูมิ สุกใส ผู้ประสานงานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย และภาคีเครือข่ายกว่า 30 คน เดินทางมายังสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อยื่นหนังสือถึง นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ภายหลังทราบข่าวว่า สธ. เร่งเดินหน้าแก้ไข พ.ร.บ. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ พ.ร.บ.สสส. โดยมี นพ.กิตติศักดิ์ กลับดี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับหนังสือแทน
 
น.ส.อรุณี กล่าวว่า ขณะนี้ สธ. เตรียมแก้ไข พ.ร.บ.สสส. โดยในวันที่ 31 มี.ค. และ 3 เม.ย. นี้ จะมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเพียงไม่กี่คน เฉพาะใน กทม. ซึ่งอยู่ในวงจำกัดมาก ขาดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ดังนั้น เครือข่ายฯ จึงขอแสดงจุดยืนและเรียกร้องต่อ สธ. นำไปพิจารณาดังนี้ 1. ขอให้เปิดกว้างในการจัดรับฟังความคิดเห็นการแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ. สสส. โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้กว้างขวางและหลากหลาย เพราะกองทุน สสส. มีผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งประชาชนกลุ่มต่างๆ ตลอดจนองค์กร หน่วยงานภาครัฐ จำนวนมาก จึงควรจัดเวทีรับฟังให้ทั่วถึง อย่างน้อยครอบคลุมในระดับภาค ไม่ใช่จัดเพียงแค่ 2 ครั้ง ใน กทม. โดยตัดโอกาสภูมิภาค และการที่แรงงานนอกระบบมาเสนอข้อคิดเห็นเรื่องนี้ ก็เพราะประเด็นสสส. กระทบทุกภาคส่วน
 
2. ขอตั้งคำถามกับ สธ. ถึงเจตนารมณ์ที่แท้จริงในการแก้ไข พ.ร.บ. สสส. ว่า มีเจตนารมณ์ที่แท้จริงอย่างไรกันแน่ เพราะการตรวจสอบอย่างเข้มข้นจากหน่วยงานต่างๆ ที่ผ่านมา ก็ไม่พบการทุจริต และมีการแก้ไขระเบียบต่างๆ ให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้นแล้ว ตลอดจนผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส สสส. ปี 2559 ระบุชัดเจนว่าอยู่ในระดับดีมาก แต่เหตุใดความพยายามตัดตอน สสส. จึงไม่จบสิ้น ทำให้ประชาชนเข้าใจได้ว่ามีวาระซ่อนเร้นบางอย่าง กับภารกิจจัดการ สสส. อย่างเป็นขั้นเป็นตอน 3. ขอเรียกร้องให้ประชาชนช่วยกันจับตา ว่าการแก้ไข พ.ร.บ. สสส. จะเป็นประโยชน์กับประชาชน หรือเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับหน่วยงานใด หรือเข้าทางกลุ่มทุนที่ได้รับผลกระทบจากการทำงานของภาคีที่ทำงานอย่างเข้มข้นตลอดเวลาที่ผ่านมา จึงอยากขอให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไข พ.ร.บ. นี้ด้วย
 
 
สั่งกระทรวงแรงงานเช็คการจ้างงานผู้พิการให้เป็นจริง หลังพบบางที่บรรจุจ้างเท็จเพื่อลดหย่อนภาษี
 
พ.อ.หญิงทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำกระทรวงแรงงานว่ามีบริษัทต่างๆที่จ้างงานของผู้พิการให้เข้าไปทำงาน แต่บางบริษัทได้มีการจ้างงานผู้พิการให้เข้าไปทำงานจริง แต่บางบริษัทมีการบรรจุชื่อของผู้พิการเฉยๆแต่ไม่ได้ให้ผู้พิการเหล่านั้นเข้าไปทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการบรรจุชื่อผู้พิการเพื่อไปลดหย่อนภาษีเท่านั้น
 
โดยมีการเรียกร้องจากผู้พิการว่าพวกเขาอยากจะเข้าไปทำงานในบริษัทต่างๆเหล่านั้น ให้ได้เห็นว่าผู้พิการสามารถที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และอยู่ร่วมกับสังคมกับผู้อื่นได้ นายกฯจึงได้ขอให้กระทรวงแรงงานไปตรวจสอบเรื่องนี้ และขอให้มีการจ้างงานผู้พิการจริง
 
 
ค้านแบงก์ขายประกัน "ถึงบ้าน" แนะแยกพนักงานขายประกันออกจากเจ้าหน้าที่สาขากันข้อมูลลูกค้ารั่วไหล
 
ตัวแทนประกันรุมค้าน แบงก์ขอขายประกันถึงบ้านลูกค้าวอนแยกพนักงานขายประกันชีวิตออกจากเจ้าหน้าที่ประจำสาขาให้หมด ไม่ให้มีส่วนรู้ข้อมูลลูกค้า และไม่ให้ใช้ข้อมูลของสาขาในการต่อรองให้ลูกค้าซื้อประกันชีวิต ฝ่าฝืนปรับครั้งละไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาท
 
จากกรณีที่มีข่าวว่าธนาคารพาณิชย์ จะขอธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขายประกันชีวิตถึงบ้านหรือสำนักงานของลูกค้า แทนที่จะขายอยู่ที่สำนักงานสาขานั้น
 
นายทวีเดช งามขจรกุล นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน กล่าวว่า ตามกฎหมายกำหนดว่า นายหน้าประกันชีวิตคือผู้ชี้ช่อง คือทำหน้าที่ให้คำแนะนำที่เหมาะสมแก่ลูกค้าที่เดินเข้ามาเพื่อขอคำปรึกษาหารือ โดยผู้ซื้อมีความประสงค์จะซื้อ แต่ต้องการให้นายหน้านำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตของหลายๆ บริษัทให้ลูกค้าเลือก เพื่อตัดสินใจซื้อสินค้าที่ดีที่สุดด้วยตนเอง
 
ดังนั้น ธนาคารจึงไม่ควรเป็นองค์กรที่จะขายประกันด้วยการทำงานเชิงรุก บุกไปชักชวนลูกค้าถึงบ้าน หากนายหน้าบุกไปขายประกันชีวิตถึงบ้านลูกค้าด้วยการเสนอแบบประกันของบริษัทเดียว น่าจะเข้าข่ายผิดพระราชบัญญัติประกันชีวิต เพราะไปทำหน้าที่ทับซ้อนการเป็นตัวแทนประกันชีวิต
 
"เจ้าหน้าที่ธนาคารถือเป็นบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสีย มีอิทธิพลต่อการทำธุรกรรมของลูกค้า หากเจ้าหน้าที่ธนาคารจู่โจมถึงที่ทำงานหรือบ้านของลูกค้าได้ ลูกค้าย่อมไม่สามารถหลบหลีกหรือบ่ายเบี่ยงได้ ทุกวันนี้ เราก็ได้ข่าวอยู่แล้วว่า เจ้าของธุรกิจหลายคนเลี่ยงที่จะไม่ไปทำธุรกรรมที่ธนาคารหากไม่จำเป็น แต่จะมอบหมายให้คนรับใช้ หรือคนขับรถไปทำเรื่องแทน เพราะเกรงว่าจะถูกขอให้ทำประกันชีวิต"
 
นายทวีเดช กล่าวว่า การที่ธนาคารกำหนดให้การขายประกันชีวิตเป็นหนึ่งใน KPI ผลงานพนักงาน ทำให้พนักงานหลายคนได้รับความกดดันต้องขายประกันชีวิตเพื่อความอยู่รอดหรือเพื่อประโยชน์อื่น เช่น เพื่อโบนัส หรือการเลื่อนตำแหน่ง โดยที่พนักงานธนาคารไม่ได้รู้ผลประโยชน์ประกันชีวิตได้ลึกซึ้งแบบตัวแทนประกันชีวิต เพราะต้องขายผลิตภัณฑ์หลายตัว ทำให้ไม่มีความเชี่ยวชาญในการอธิบาย บางครั้งอาจใช้วิธีขอร้องแกมบังคับ
 
 
กระทรวงแรงงาน มีแนวคิดการจัดระเบียบเขตที่พักอาศัยแรงงานต่างด้าว เพื่อเป็นไปตามมาตรฐานสากลและหลักสิทธิมนุษยชน
 
นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงานและโฆษกกระทรวงแรงงาน บอกว่า ขณะนี้ทางกระทรวงมีแนวคิดการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในจังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวมากกว่า 50,000 คน ที่มีอยู่ประมาณ 13 จังหวัด โดยได้ขอความร่วมมือจังหวัดในการพิจารณาจัดเขตพื้นที่ส่งเสริมที่พักอาศัยแรงงานต่างด้าว เพื่อให้สถานประกอบการ นายจ้าง นำแรงงานต่างด้าวเข้าพักอาศัย ที่จะให้นายจ้างดูแลด้านสวัสดิการ และป้องกันปัญหาด้านสาธารณสุข การจัดการปัญหาขยะในพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งชุมชนและสังคมโดยส่วนรวม จัดเป็นมาตรการที่เกิดประโยชน์ในภาพรวมของประเทศ และยังเป็นไปตามมาตรฐานสากลและหลักสิทธิมนุษยชน
 
 
พนักงาน-สหภาพแรงงาน อสมท. จี้ตรวจสอบ ผอ.ฝ่ายดิจิทัล
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พนักงาน บมจ.อสมท.ได้ยื่นจดหมายถึงคณะกรรมการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.อสมท. เพื่อให้ตรวจสอบคุณสมบัติของนายธาม เชื้อสถาปนศิริ ผู้อำนวยการฝ่ายดิจิทัล โดยอ้างว่า หลังจากเข้าปฏิบัติงานตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 จนถึงปัจจุบัน ได้ปรากฏให้เห็นถึงปัญหาการทำงานในหลายๆ ด้าน จึงขอให้คณะกรรมการสหภาพฯ พิจารณาใน 3 ประเด็น ดังนี้
 
1. การไม่มีวินัยต่อการปฏิบัติงาน ไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่และทุ่มเทเวลาในการปฏิบัติงานให้สมกับความคาดหวังและไม่เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา โดยใช้เวลาการปฏิบัติงานไปเป็นวิทยากร, บรรยาย, สอนหนังสือ จากช่องว่างที่ระดับฝ่ายไม่ต้องมีการลงเวลาระบบการเข้า – ออก
 
2.ไม่มีความโปร่งใสในการปฏิบัติงานทำเพื่อพวกพ้องของตนเองในการนำเพื่อนที่ไม่ผ่านการสมัครในตำแหน่งผู้จัดการส่วนฝ่ายขาย ฝ่ายดิจิทัล แต่ให้มีการขึ้นสำรองรายชื่อไว้ จากนั้นตนก็มาขอขยายโครงสร้างเพิ่มส่วนงาน คือ ส่วนพัฒนาผลิตภัณฑ์ แล้วเอาเพื่อนมาดำรงตำแหน่งผู้จัดการส่วนฯ ทันที โดยไม่เปิดให้มีการแข่งขันทั้งภายในและภายนอก
 
3.ขอให้ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้อำนวยการฝ่ายคนนี้มีความถูกต้องตามคุณสมบัติการรับสมัครของ บมจ.อสมท หรือไม่ เนื่องจากตามเอกสารคุณสมบัติทั่วไปข้อที่ 1.3 ระบุชัดเจน ผู้สมัครต้อง "มีประสบการณ์การทำงานในระดับผู้บริหาร (Manager) มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี" เนื่องจากตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นไปยัง TPBS ต้นสังกัดเดิมแล้ว ในปี 2558 ตำแหน่งสุดท้ายคือ "นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน" ข้อเท็จจริงข้อนี้ก็จะไปตกที่คณะกรรมการคัดสรร ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ของ บมจ.อสมท ให้ผ่านคุณสมบัติข้อนี้ได้อย่างไร
 
นอกจากนี้เอกสารดังกล่าวยังมีการแนบประกาศ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ที่ 122/2559, หมายงานในแต่ละวัน และหลักฐานการทำงานในตำแหน่งพร้อม Link ข้อมูลมาด้วย
 
 
แรงงานยันเร่งดำเนินการกรณีลูกจ้างบริติช-ไทยซินเทติคเท็กส์ไทล์ถูกเลิกจ้าง
 
กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ชี้แจงการดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกจ้าง บริษัท บริติช-ไทยซินเทติคเท็กส์ไทล์ จำกัด ถูกเลิกจ้าง ไม่ได้รับค่าชดเชยขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ พร้อมประสานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือทั้งในเรื่องที่พักและการหางานใหม่ ส่วนกรณีคนงานหญิง จ. ระยอง ที่ถูกเลิกจ้างเพราะเหตุตั้งครรภ์หากนายจ้างปฎิบัติไม่ถูกต้องจะดำเนินการตามกฎหมาย
 
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยภายหลังคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) เข้าพบเพื่อขอปรึกษากรณีบริษัท บริติช-ไทยซินเทติคเท็กส์ไทล์ จำกัด เลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายชดเชย และกรณีลูกจ้างหญิงจังหวัดระยองถูกเลิกจ้างในขณะตั้งครรภ์
 
วันที่ 27 มีนาคม 2560 ณ ห้องประชุมคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ กสร.ว่า กรณีลูกจ้างบริษัท บริติช-ไทยซินเทติคเท็กส์ไทล์ จำกัด ประกอบกิจการตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งตั้งอยู่ที่ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม 2559 นายจ้างได้หยุดกิจการและประกาศเลิกจ้างลูกจ้างเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2560 และขอให้ลูกจ้างย้ายออกจากที่พัก ซึ่งลูกจ้างจำนวน 104 คน ได้ยื่นคำร้องกับพนักงานตรวจแรงงานเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2560 ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อออกคำสั่ง อย่างไรก็ตาม กสร.ได้ประสานกับทางกรมบังคับคดีในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการดำเนินการให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายโดยเร็ว ส่วนการให้ความช่วยเหลือเรื่องที่พักอาศัยได้ประสานกับทางธนาคารซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิในหอพักลูกจ้างอาศัยอยู่ให้ผ่อนพันให้ลูกจ้างพักอาศัยต่อไป และประสานให้ลูกจ้างได้ใช้น้ำและมีเครื่องปั่นไฟมาให้ความช่วยเหลือ ปัจจุบันมีลูกจ้างอาศัยอยู่ที่หอพัก จำนวน 32 คน และในวันที่ 3 เมษายนนี้ จะได้นัดหารือกับทางธนาคารอีกครั้งโดยฝ่ายลูกจ้างจะร่วมหารือด้วย นอกจากนี้ได้ประสานกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดสมุทรสาครในการจัดหางานให้กับลูกจ้างที่ประสงค์จะทำงานใหม่
 
อธิบดีกสร. กล่าวต่อว่า สำหรับกรณีลูกจ้างหญิงจังหวัดระยองที่แจ้งว่าถูกเลิกจ้างเพราะเหตุตั้งครรภ์นั้น พนักงานตรวจแรงงานกำลังดำเนินการสอบข้อเท็จจริงหากพบว่านายจ้างปฏิบัติไม่ถูกต้องก็จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป อย่างไรก็ตามขณะนี้ทราบว่าลูกจ้างได้กลับเข้าไปทำงานกับนายจ้างแล้ว
 
"การดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกจ้าง เป็นหน้าที่ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ซึ่งจะต้องดำเนินการให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายโดยเร็ว อย่างไรก็ตามการดำเนินการต้องเป็นไปตามกรอบและขั้นตอนของกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง" อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกล่าว
 
 
รัฐชี้หาที่พักให้ต่างด้าวแค่แนวคิด เหตุกระจายกันอยู่เสี่ยงปัญหาเพียบ ต้องจัดโซนนิ่งแก้
 
(31 มี.ค.) พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่มีสื่อมวลชนนำเสนอข่าวระบุ รัฐจะจัดหาที่ดินติดทะเลเพื่อเป็นที่พักอาศัยของแรงงานต่างด้าวว่า เรื่องดังกล่าวยังเป็นเพียงแนวคิด ไม่ใช่ข้อยุติ เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมที่ดิน จะต้องหารือร่วมกันถึงความเป็นไปได้ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน นายจ้าง ลูกจ้าง เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่สมเหตุสมผล
 
"ขณะนี้มีแรงงานต่างด้าวจำนวนมากในประเทศไทย รัฐบาลจึงต้องจัดระเบียบให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงผลประโยชน์หรือผลที่จะกระทบต่อคนไทยก่อนเป็นลำดับแรก ไม่อยากให้มองว่าเป็นการดูแลคนอื่นมากกว่าคนไทย แต่ควรมองอย่างเป็นระบบและเปิดใจกว้าง เพราะอาชีพบางอย่างไม่มีคนไทยอยากทำแล้วจึงต้องอาศัยแรงงานต่างด้าว โดยรัฐต้องทำงานหลายมิติและจัดสวัสดิการดูแลแรงงานกลุ่มนี้ตามหลักสิทธิมนุษยชนด้วย" โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
 
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ทั้งนี้ ที่ผ่านมาแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ คือ ลาว พม่า กัมพูชา อยู่อาศัยเป็นชุมชนกระจัดกระจายไปในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะ จ.ระนอง และ จ.สมุทรสาคร อันเป็นความสุ่มเสี่ยงต่อปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติด โรคติดต่อ ขยะ ที่พักอาศัยไม่ได้มาตรฐาน ฯลฯ จึงเป็นที่มาของแนวคิดสร้างความเป็นระเบียบและป้องกันปัญหาทุกเรื่องในกลุ่มแรงงานต่างด้าวซึ่งมีจำนวนกว่า 50,000 คน ใน 13 จังหวัด โดยให้แต่ละจังหวัดไปพิจารณาจัดเขตพื้นที่ส่งเสริมที่พักอาศัยแรงงานต่างด้าว (Zoning) เพื่อให้สถานประกอบการและนายจ้าง นำแรงงานต่างด้าวเข้าพักอาศัย ควบคุมดูแล และบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
"ท่านนายกฯ เน้นย้ำว่า การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวเป็นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เพราะเกี่ยวข้องกับปัญหาอื่นๆ เช่น การค้ามนุษย์ การทำประมงผิดกฎหมาย และปัญหาสังคม ซึ่งจำเป็นต้องทำอย่างครบวงจร ทั้งการปราบปรามผู้กระทำผิด และการสงเคราะห์ตามหลักสากลหรือพันธสัญญาระหว่างประเทศ โดยอยากให้พี่น้องประชาชนหรือผู้ที่เห็นต่างเข้าใจเจตนารมณ์ที่แท้จริงของรัฐบาล วิพากษ์วิจารณ์บนพื้นฐานของเหตุผล เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่ใช้ความรู้สึกตัดสินเพียงอย่างเดียว" โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว
 
 
นายกสมาคมประมง จ.ปัตตานี วอนรัฐเร่งแก้ปัญหาแรงงานประมงขาดแคลนหนัก
 
(31 มี.ค.) นายภูเบศ จันทนิมิ นายกสมาคมการประมง จ.ปัตตานี เปิดเผยถึงกรณีปัญหาแรงงานต่างด้าวที่ขาดแคลน จนส่งผลให้การประมง และผู้ประกอบการ และโรงงานอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างหนักว่า หลังจากที่ไทยได้รับผลกระทบกรณีอียูให้ใบเหลืองเกี่ยวกับการทำประมงนั้น ส่วนหนึ่งมาจากท่าเทียบเรือไม่ได้มาตรฐาน ทั้งสถานที่ ความสะอาด สุขอนามัย และการที่คณะจะลงมาตรวจสอบเพื่อเร่งปรับปรุงให้ได้มาตรฐานที่เชื่อถือได้ในระดับโลก ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี
 
เช่นเดียวกับการขุดลอกร่องน้ำก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะปัตตานีมีเรือจำนวนมาก และขณะนี้ก็มีเรือสินค้าเข้ามาขนถ่ายพอสมควร และหากขุดลอกร่องน้ำแล้วก็อยากให้ขุดลอกครั้งใหญ่ เพราะตั้งแต่หลังปี 2546 ได้แค่งบ 80 ล้านบาท เพื่อบำรุงรักษาร่องน้ำเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น หากขุดลอกครั้งใหญ่ก็จะอยู่ได้ถึง 7 ปี ไม่ต้องเสียงบประมาณต่อเนื่องทุกปี และปัญหาน้ำท่วมก็จะหายไปด้วย
 
ส่วนปัญหาแรงงานประมงที่ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดอยู่ในขณะนี้ ตนขอฝากเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน เพราะที่ผ่านมา รัฐบาลได้เปิดให้แรงงานต่างดาวจดทะเบียนเฉพาะคนที่บัตรหมดอายุเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง รัฐบาลควรมาศึกษา และให้เห็นภาพความเป็นจริงว่า การประกอบอาชีพประมงว่าปัญหาคืออะไร นักวิชาการเองก็ไม่ได้รู้เรื่องจริง จึงทำให้เกิดปัญหาแรงงานขาดแคลน เพราะแรงงานที่จดทะเบียนมีอยู่ในจำนวนจำกัด
 
แต่เมื่อจดแล้วบางคนก็ย้ายไปทำงานภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้าง ทำให้แรงงานประมงขาด เพราะอาชีพประมงถือเป็นอาชีพท้ายๆ ที่แรงงานต่างด้าวเลือก เมื่อจดทะเบียนถูกต้องก็หนีย้ายไปจำนวนมาก ส่วนแรงงานต่างดาวที่ลักลอบเข้ามาเพื่อที่จะทำงานประมงก็ไม่สามารถทำงานได้เพราะผิดกฎหมาย ฉะนั้น สมาคมประมงปัตตานี ก็ได้เสนอว่าขอให้แรงงานที่มีพาสปอร์ตเข้ามาในประเทศ ให้เขาสามารถขอวีซ่า หรือขอใบอนุญาตเพื่อให้ได้ทำงานได้เลย ดีกว่าลักลอบเอาแรงงานเข้ามาทำงานผิดกฎหมาย คนผิดเรายังทำให้ถูกได้ และทำไมไม่เอาคนถูกเข้ามาทำงาน
 
นายกสมาคมประมง จ.ปัตตานี กล่าวอีกว่า ปัจจุบันนี้ต้องยอบรับว่า เรือประมงจำนวนมากไม่ได้ออกประมง ต้องจอดทิ้งไว้เพราะขาดแรงงาน แต่เมื่อออกหาปลาก็ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะคนงานน้อย เรือบางลำต้องมีแรงงาน 20-30 คน แต่หากมีคนงาน 10 กว่าคน การทำงานก็ไม่มีประสิทธิภาพ ขณะนี้ผู้ประกอบการเดือดร้อนหนัก และยังส่งผลกระทบไปยังโรงงานอุตสาหกรรม โรงน้ำแข็งหลายแห่งก็ต้องหยุด และปิดกิจการลง พ่อค้าแม่ค้าก็ไม่มีวัตถุดิบในการขาย กระทบกันเป็นลูกโซ่
 
ฉะนั้น จึงอยากให้รัฐบาลลงมาแก้ปัญหาแรงงานก่อนเพราะเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ส่วนรัฐบาล หรืออียูจะออกกฎระเบียบอะไรตามมาเราก็ทำ แต่ถ้าทำแล้วไม่มีแรงงานมันก็เปล่าประโยชน์ ที่สำคัญทำให้เศรษฐกิจของประเทศเสียหาย อุตสาหกรรมต่อเนื่องก็กระทบไปหมด และตลอดเวลาที่ผ่านมา เฉพาะปัตตานี มีความเสียหายด้านการประมงหลายพันล้านบาท แต่ยังไม่รวมภาคอุตสาหกรรม และกิจกรรมต่อเนื่องอีกจำนวนมาก เพราะปัตตานีมีรายได้จากประมงประมาณ 50 กว่าเปอร์เซ็นต์ ถือว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ ทำให้ปัตตานีขณะนี้มีรายได้อันดับท้ายๆ ของประเทศอยู่แล้ว เมื่อมาเจอปัญหานี้อีกยิ่งส่งผลหนักเข้าไปอีก
 
 
ก.แรงงานผนึกกำลังเอกชน ปั้นดินเป็นดาวสู่รั้วโรงแรม
 
นายธีรพล ขุนเมือง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่มีนโยบายของพลเอกศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนให้มีศักยภาพทันต่อเทคโนโลยี ปัจจุบันได้จัดทำหลักสูตรรองรับด้านเทคโนโลยีชั้นสูง S-Curve และ New S-Curve รวมกว่า 1,000 หลักสูตร เพื่อใช้ฝึกอบรมแรงงานในพื้นที่สถาบันเทคโนโลยีชั้นสูง 12 แห่ง ซึ่งมีจุดเน้นแต่ละด้านแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ รวมถึงสถาบันและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศด้วย ทั้งนี้ มุ่งพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และสอดรับกับสภาพความเป็นจริง พร้อมก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ในอนาคต อีกทั้งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
 
หลักสูตรรองรับสถาบันเทคโนโลยีชั้นสูง 12 แห่ง มีทั้งสิ้น 1,371 หลักสูตร เน้นหลักสูตร เทคนิคการผลิตและบริการที่ใช้เทคโนโลยีจากดิจิทัลและระบบเครือข่ายไร้สาย (Internet, Cloud) เทคโนโลยี Automation หรือ Mechatronics จำนวน 8 สาขาอาชีพ ได้แก่ สาขาอาชีพช่างเชื่อม เทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์ เกษตรแปรรูปอาหารและแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง ท่องเที่ยวและบริการ สียานยนต์ ดิจิทัล โลจิสติกส์ และไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม แมคคาทรอนิกส์และระบบออโตเมชัน
 
นายธีรพลกล่าวว่า สำหรับหลักสูตรการฝึกอบรมที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายรองรับการก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 กลุ่มอุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) มีจำนวน 292 หลักสูตร เช่น หลักสูตรด้านยานยนต์สมัยใหม่มี 56 หลักสูตร อาทิ สาขาการเชื่อมจุดด้วยความต้านทานสำหรับผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ สาขาการใช้เครื่อง CMM เพื่อการตรวจสอบชิ้นส่วนยานยนต์ การใช้เครื่องมือวัด 3 มิติ สาขางานกลึงโลหะ ด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อาทิ การประยุกต์ใช้งาน Smart Relay การควบคุมการผลิตอัตโนมัติด้วยอุปกรณ์ Touch Screen สาขาการควบคุมระบบอุณหภูมิแบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมด้านท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวสุขภาพ อาทิ สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสปาตะวันตก พนักงานขับเรือโดยสาร การสร้างร้านออนไลน์ และพนักงานบริการห้องอาหาร
 
นายธีรพลกล่าวอีกว่า หลักสูตรสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) มี 240 หลักสูตร ด้านหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม หลักสูตรที่จัดฝึกอบรม อาทิ สาขาช่างควบคุมเครื่องกลึง CNC ระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 สาขาการเชื่อมด้วยหุ่นยนต์ ระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 หากเป็นด้านโลจิสติกส์และการบินจะมีหลักสูตรถึง 110 หลักสูตร ตัวอย่างเช่น สาขาอาชีพผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง ระดับ 1 ระดับ 2 หรือสาขาการบริหารโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เป็นต้น
 
หลักสูตรต่างๆ ที่ได้กล่าวมานั้นเป็นหลักสูตรที่ กพร.ดำเนินการและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยร่วมกับเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงาน อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสถาบันไทย-เยอรมัน สมาคมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIFFA) และส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการ จัดฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้กับพนักงานในด้านที่รองรับเทคโนโลยีชั้นสูงด้วย โดยมีสถานประกอบการให้ความร่วมมือกว่า 2,000 แห่ง มีพนักงานที่ได้รับการพัฒนาในด้านดังกล่าวแล้วจำนวน 494,385 คน
 
"กพร.ให้ความสำคัญต่อแรงงานทุกกลุ่ม ทั้งแรงงานที่อยู่ในสถานประกอบกิจการ แรงงานนอกระบบ และแรงงานกลุ่มพิเศษ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ทหาร ผู้ต้องขังและผู้ผ่านการบำบัดด้านยาเสพติด เพื่อมุ่งหวังให้แรงงานในทุกกลุ่มมีโอกาสได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือ สามารถนำความรู้ที่ได้รับนำไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้ต่อไป" นายธีรพลกล่าว
 
ขณะเดียวกัน นายธีรพล ขุนเมือง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และนางสุพัตา จิราธิ วัตน์ รองประธานอาวุโส ฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และภาพลักษณ์ โรงแรมและรีสอร์ตในเครือเซ็นทารา ได้ร่วมกันลงนามความร่วมมือในการดำเนิน "โครงการ 4 สร้าง : สร้างโอกาส สร้างฝัน สร้างอนาคต สร้างอาชีพกับเซ็นทารา"
 
นายธีรพลเปิดเผยว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงานผนึกกำลังกลุ่มโรงแรมและรีสอร์ตในเครือเซ็นทาราตามแนวทางประชารัฐ ดำเนินโครงการดังกล่าวเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้พัฒนาความรู้ ทักษะฝีมือและเพิ่มพูนศักยภาพในการทำงานด้านบริการ และเป็นการขยายฐานกำลังแรงงานให้กว้างขวางและครอบคลุมกลุ่มเยาวชนในทุกภูมิภาคที่มีโรงแรมและรีสอร์ตของกลุ่มเซ็นทาราตั้งอยู่ จะสอดคล้องนโยบาย 8 วาระปฏิรูปมิติใหม่ของการส่งเสริมการมีงานทำ แรงงานทั่วไป คนพิการ ผู้สูงอายุ และยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ
 
อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานกล่าวว่า การฝึกอบรมเป็นหลักสูตรเตรียมเข้าทำงานสาขาพนักงานโรงแรม ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานโรงแรม การบริการอาหารและเครื่องดื่ม การปฏิบัติงานครัวและงานผู้ช่วยประกอบอาหาร การปฏิบัติงานด้านแม่บ้าน และภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานโรงแรม จะเน้นการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ รวมถึงการปฏิบัติงานจริงในโรงแรมและรีสอร์ตในเครือเซ็นทารา ในจังหวัดแหล่งท่องเที่ยวทั้งในกรุงเทพมหานคร ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ตราด กระบี่ อุดรธานี สงขลา เชียงใหม่ พังงา ระยะเวลาการฝึกอบรม 6 เดือน (840 ชั่วโมง) เริ่มตั้งแต่เมษายน-สิงหาคม 2560 และต้องได้รับการประเมินผล 2 ครั้ง คือช่วงกลางระหว่างการฝึกและสิ้นสุดการฝึก เยาวชนที่ผ่านการฝึกอบรมจะได้รับโอกาสทำงานในโรงแรมและรีสอร์ตในเครือเซ็นทารา
 
"ในช่วงปี 2555-2559 มีเยาวชนที่ผ่านการฝึกอบรมทั้งสิ้น 493 คน ได้เข้าทำงานในโรงแรมและรีสอร์ตในเครือเซ็นทารา มีรายได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 18,000 บาทต่อคนต่อเดือน สามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ ส่วนในปี 2560 มีเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 156 คน สำหรับเยาวชนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการต้องมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้น ม.6 ส่วนใหญ่จบจากโรงเรียนประชานุเคราะห์ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ และโรงเรียนโสตศึกษา" อธิบดี กพร.กล่าวในที่สุด
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TCIJ: ‘อำนาจล้นเหลือ’ เมื่อเจ้าหน้าที่รัฐตรวจค้น ‘รถ’ ของเรา

Posted: 01 Apr 2017 09:34 PM PDT

รายงานพิเศษจาก TCIJ เมื่อยานพาหนะถูกตรวจค้นสิ่งผิดกฎหมาย-ยาเสพติด ในทางกฎหมายถือว่าเป็นการค้นในที่สาธารณะที่ไม่ต้องขอหมายค้นจากศาล งานวิจัยชี้การให้อำนาจและดุลยพินิจแก่เจ้าหน้าที่อย่างไม่มีขีดจำกัด ขัดกับหลักสิทธิเสรีภาพ บางครั้งส่งผลให้ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ ขัดแย้งกันจนถึงขั้นฟ้องร้องมาแล้ว


ประชาชนควรรู้สิทธิของตนเอง เมื่อรถถูกตรวจค้นยาเสพติด ที่มาภาพประกอบ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

การตรวจค้นยานพาหนะ โดยเฉพาะการตรวจค้นยาเสพติด เป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกมาพูดในสังคมอย่างกว้างขวางอีกครั้ง หลังมีเหตุการณ์วิสามัญฆาตกรรมนักกิจกรรมชาวลาหู่ที่ด่านตรวจค้นยาเสพติดแห่งหนึ่งใน จ.เชียงใหม่ ทั้งนี้จากการสืบค้นของ TCIJ พบว่าในทางกฎหมายถือว่าการค้นรถเป็นการค้นในที่สาธารณะที่ไม่ต้องขอหมายค้นจากศาล แค่อาศัย 'เหตุอันควรสงสัย' หรือ 'มีเหตุอันควรสงสัยตามสมควร' ตามดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งมีการให้อำนาจอย่างไม่มีขีดจำกัด ซึ่งขัดกับหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทำให้บางครั้งส่งผลให้ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ ขัดแย้งกันจนถึงขั้นฟ้องร้องมาแล้ว

หลักการครอบจักรวาล 'เหตุอันควรสงสัย-เหตุอันควรเชื่อ'

จากงานศึกษาเรื่อง 'อำนาจของเจ้าพนักงานตำรวจในการตรวจค้นยานพาหนะส่วนบุคคล' โดย เสรี เตียมวงค์, นิติศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระบุว่าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตรวจค้นยานพาหนะ ที่มิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายใด ๆ ให้อำนาจตรวจค้นได้โดยตรง เพียงแต่อาศัยเหตุอันควรสงสัย เหตุอันควรเชื่อนั้น เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92 ซึ่งบัญญัติว่า "ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้น หรือคำสั่งของศาลเว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น" และ มาตรา 93 ซึ่งบัญญัติว่า "ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยการกระทำความผิด หรือมีไว้เป็นความผิด"

สถานการณ์การตรวจค้นยานพาหนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในทางกฎหมายถือว่าเป็นการค้นในที่สาธารณะ เพราะมีลักษณะเป็นการจำกัดเสรีภาพของบุคคลในการเคลื่อนไหวร่างกายมากกว่าเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์โดยปกติสุข ดังนั้นการค้นในลักษณะนี้จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องขอหมายค้นจากศาล อย่างไรก็ดี แม้ว่าการเรียกหรือสั่งให้รถหยุดเพื่อตรวจค้น จะทำได้โดยมิต้องมีหมายจากศาล ซึ่งพนักงานตำรวจก็อาจกระทำการด้วยการตั้งด่านตรวจค้นได้ แต่เจ้าพนักงานตำรวจผู้ค้นต้องควรให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของกฎหมายที่บัญญัติว่า การค้นนั้นต้องมี 'ความจำเป็น'กล่าวคือมี 'เหตุอันควรสงสัย' หรือ 'มีเหตุอันควรสงสัยตามสมควร' และการตรวจค้นยานพาหนะต้องไม่เป็นการกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้การรับรองเอาไว้ ต่อมาได้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้การป้องกันปราบปรามยาเสพติดให้โทษมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ในมาตรา 49 ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตรวจค้นบุคคล ยานพาหนะได้ และในพระราชบัญญัติป้องกันปราบปรามยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2519 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2545 ในมาตรา 14 ก็ให้อำนาจกรรมการ เลขาธิการ รองเลขาธิการและเจ้าพนักงาน มีอำนาจตรวจค้นบุคคล ยานพาหนะใด ๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่ามียาเสพติดซุกซ่อนอยู่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ได้ เช่นกัน

กฎหมายเปิดช่องค้นได้- กับใครและอย่างไร?

สำหรับกฎหมายเฉพาะที่เปิดช่องให้มีการค้นยานพาหนะเท่าที่สืบค้นได้ ก็มีเช่น พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469, พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510, พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519, พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522, พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535, พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522, พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 (ปัจจุบันมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560 แล้ว), พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534, พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535, พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545, พระราชบัญญัติในการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 เป็นต้น

เจ้าพนักงานที่สามารถตรวจค้นยานพาหนะได้ ก็คือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (16) ที่ระบุไว้ว่า "พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบ เรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้งพัศดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมืองและเจ้าพนักงาน อื่น ๆ ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม"

นอกจากนี้ยังมีกฎหมายเฉพาะที่ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานของรัฐไว้ในเรื่องนั้น ๆ เป็นการเฉพาะโดยที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้กำหนดตัวเจ้าพนักงานของรัฐผู้ที่มีอำนาจตรวจค้นไว้ด้วย เช่น พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ให้อำนาจตรวจค้นแก้ ทรัพยากรธรณีประจำท้องที่, พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ให้อำนาจตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร, พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ให้อำนาจแก่ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามกฎหมายนี้ และพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 ให้อำนาจแก่ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานทางหลวงเพื่อปฏิบัติการตามกฎหมายนี้ เป็นต้น

ลักษณะการค้นจะทำได้ 3 ลักษณะ คือ 1. เป็นการให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานของรัฐให้สามารถทำการตรวจค้นยานพาหนะได้ เพื่อจะให้เจ้าพนักงานของรัฐใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาพยานหลักฐานประกอบการสอบสวนดำเนินคดีไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาคดี  2. ให้อำนาจเจ้าพนักงานของรัฐให้สามารถค้นยานพาหนะได้เพื่อให้เจ้าพนักงานของรัฐใช้เป็นเครื่องมือในการจับกุมตัวบุคคลซึ่งได้กระทำความผิด หรือจะกระทำความผิด และช่วยเหลือบุคคลซึ่งถูกหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และ 3. ให้อำนาจเจ้าพนักงานของรัฐ สามารถค้นยานพาหนะเพื่อเป็นการป้องกันการก่อคดีอาชญากรรม เพื่อจะให้เจ้าพนักงานของรัฐใช้เป็นเครื่องมือในการรักษาความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน

ข้ออ้างในการขอตรวจค้น: อาศัยเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คือ 'เหตุอันควรสงสัย' 'พฤติการณ์อันควรสงสัย' 'เหตุอันควรเชื่อ' แต่ก็ไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดว่าพฤติการณ์หรือการกระทำใดบ้างที่จะถือว่าเป็นเหตุอันควรสงสัย พฤติการณ์อันควรสงสัย เหตุอันควรเชื่อ การใช้อำนาจหยุดยานพาหนะ หรือทำการตรวจค้นยานพาหนะของเจ้าพนักงานตำรวจประจำด่านตรวจเป็นการกระทำที่อยู่ในดุลยพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจผู้ค้นเป็นสำคัญ  เมื่อเทียบกับต่างประเทศ ในสหรัฐอเมริกาต้องมี 'เหตุอันควร' มิใช่ 'เหตุอันควรสงสัย' เท่านั้นที่จะใช้เป็นเหตุผลในการขอตรวจค้น ส่วนในอังกฤษมีการระบุวิธีการและขั้นตอนในการตรวจค้นยานพาหนะไว้ชัดเจน อ่านเพิ่มเติมใน จับตา: ตัวอย่างการตรวจค้นรถในต่างประเทศ

การค้นบุคคลที่อยู่ในยานพาหนะ บุคคลไม่ว่าจะเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม อาจจะมีสิ่งของผิดกฎหมาย หรืออาจมีสิ่งของที่ใช้ในการกระทำความผิด ใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีอาญา การแสวงหาและรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิด จะต้องแสวงหาสิ่งของหรือพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่จะทำได้เพื่อที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานประกอบการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาสิ่งของซึ่งอาจใช้เป็นพยาน หลักฐานนั้น นอกจากจะถูกเก็บรักษา หรือซุกซ่อนไว้ในสถานที่ต่าง ๆ แล้วก็ยังอาจถูกเก็บรักษาหรือซุกซ่อนอยู่ในตัวบุคคลทั้งที่เป็นผู้กระทำผิดเองหรือบุคคลอื่นก็ได้ หากรัฐไม่สร้างหลักเกณฑ์ให้อำนาจเจ้าพนักงานของรัฐให้สามารถเสาะแสวงหาและยึดสิ่งของหรือหาพยานหลักฐานจากตัวบุคคลทั่วไป และรวมทั้งจากตัวบุคคลที่อยู่ในยานพาหนะได้แล้ว ก็จะทำให้สิ่งของดังกล่าวหลุดไปจากกระบวนการพิจารณาดำเนินคดี ทำให้รัฐไม่สามารถดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีได้อย่างถูกต้องครบถ้วน การรักษาความสงบสุขของประชาชนหรือความสงบเรียบร้อยของสังคมจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ แต่บุคคลที่ยังไม่ตกเป็นผู้ต้องหา หรือผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดย่อมมีฐานะแตกต่างไปจากผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดและจะต้องถูกจับ ดังนั้น อำนาจรัฐที่จะเข้าไปล่วงล้ำสิทธิของบุคคลดังกล่าวจึงต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตที่จำกัด

ตามที่ได้กล่าวถึงหลักกฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับการค้นมาแล้วนั้น เป็นการกล่าวถึงหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการค้นเพื่อแสวงหาพยานหลักฐาน หรือสิ่งของที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานแห่งคดีจากบุคคลผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้กระทำความผิดอาญาโดยค้นจากทั้งที่รโหฐาน และที่สาธารณสถาน โดยที่ยังไม่ได้กล่าวถึงการค้นหาพยานหลักฐานจากตัวบุคคลผู้ต้องสงสัยซึ่งอยู่ในยานพาหนะ ดังนั้นหลักกฎหมายตามที่ได้กล่าวข้างต้นจึงสามารถใช้กับการค้นตัวบุคคลผู้ต้องสงสัย ว่าจะเป็นผู้กระทำความผิดอาญาซึ่งอยู่ในยานพาหนะได้ด้วย เช่น ค้นตัวบุคคลที่นั่งโดยสารมาในยานพาหนะและมีการซุกซ่อนสิ่งของผิดกฎหมายมาด้วย

อำนาจของเจ้าพนักงานผู้ทำการตรวจค้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 94 ได้กำหนดอำนาจของเจ้าพนักงานที่ทำการค้นในที่รโหฐานไว้ดังนี้ คือ ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่ทำการค้นในที่รโหฐานสั่งเจ้าของ หรือคนอยู่ในนั้น หรือผู้รักษาสถานที่ซึ่งจะค้นให้ยอมให้เข้าไปโดยมิหวงห้าม อีกทั้งให้ความสะดวกตามสมควรทุกประการในอันที่จะจัดการตามหมาย ทั้งนี้ให้พนักงานผู้นั้นแสดงหมาย หรือถ้าค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายก็ให้แสดงนามและตำแหน่ง ถ้าบุคคลดังกล่าวในวรรคต้นมิยอมให้เข้าไป เจ้าพนักงานมีอำนาจใช้กำลังเพื่อเข้าไป ในกรณีจำเป็นจะเปิดหรือทำลายประตูบ้าน ประตูเรือน หน้าต่าง รั้ว หรือสิ่งกีดขวางอย่างอื่นทำนองเดียวกันนั้นก็ได้ นอกจากนี้ มาตรา 100 ก็ยังได้กำหนดให้อำนาจเจ้าพนักงานผู้ค้นไว้อีกว่า ถ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลซึ่งอยู่ในที่ซึ่งค้นหรือจะถูกค้น จะขัดขวางถึงกับทาให้การค้นไร้ผล เจ้าพนักงานผู้ค้นมีอำนาจเอาตัวผู้นั้นควบคุมไว้ หรือให้อยู่ในความดูแลของเจ้าพนักงานในขณะที่ทำการค้นเท่าที่จำเป็น เพื่อมิให้ขัดขวางถึงกับทำให้การค้นนั้นไร้ผล ถ้ามีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลนั้นได้เอาสิ่งของที่ต้องการพบซุกซ่อนในร่างกาย เจ้าพนักงานผู้ค้นมีอำนาจค้นตัวผู้นั้นได้ตาม มาตรา 85

เวลาในการค้น ไม่มีบทบัญญัติมาตราใดของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่กำหนดเวลาในการค้นยานพาหนะไว้ เพียงแต่ได้วางหลักกำหนดเวลาในการค้นที่รโหฐานไว้ในมาตรา 96 โดยวางหลักว่า "การค้นในที่รโหฐานต้องกระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก" และได้วางหลักกำหนดข้อยกเว้นเพื่อให้สามารถทำการตรวจค้นในเวลากลางคืนได้ หากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นหรือเป็นกรณีฉุกเฉิน โดยกำหนดข้อยกเว้นไว้ ดังนี้ "เมื่อลงมือค้นแต่ในเวลากลางวัน ถ้ายังไม่เสร็จจะต้องค้นต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้ ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งหรือซึ่งมีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ จะทำการค้นในเวลากลางคืนก็ได้ และสำหรับการค้นเพื่อจับผู้ดุร้าย หรือผู้ร้ายสำคัญ จะทำในเวลากลางคืนก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตพิเศษจากศาลตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา"

อำนาจและดุลยพินิจไม่มีขีดจำกัด ขัดหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ในงานศึกษาของเสรี เตียมวงค์ ระบุถึงปัญหาเกี่ยวกับการค้นรถยนต์ไว้ว่า การใช้อำนาจและการใช้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานของรัฐ ในการตรวจค้นยานพาหนะชนิดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลโดยไม่มีขีดจำกัด ส่งผลให้ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการ ตลอดจนความคิดเห็นที่ขัดแย้งและยังไม่สามารถที่จะสรุปได้ว่า รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นที่รโหฐานหรือไม่ ทำให้บ่อยครั้งที่การตรวจค้นรถยนต์โดยเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เป็นไปด้วยความยากลำบากจนมีการฟ้องร้องดำเนินคดีกันถึงขั้นนำสู่การพิจารณาของศาลฎีกา เช่น คดีที่อดีตผู้พิพากษาท่านหนึ่งไม่ยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจทำการตรวจค้นรถยนต์ที่ตนขับไป และได้ขัดขวางไว้ไม่ยอมให้เจ้าพนักงานตำรวจเปิดประตูรถเพื่อตรวจค้นภายในรถ จึงทำให้เจ้าพนักงานตำรวจใช้กำลังเข้าตรวจค้นและดำเนินคดีกับอดีตผู้พิพากษาท่านนั้นฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติตามหน้าที่ (คำพิพากษาฎีกา ที่ 2281/2534)

แน่นอนว่า ปัญหาเรื่องการค้นรถยนต์ส่วนบุคคลนั้นมีอยู่และยังคงมีต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ซึ่งได้คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากกว่าการให้อำนาจเจ้าพนักงานของรัฐในการควบคุม หรือการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ทำให้ผู้ที่มีความเชื่อหรือมีแนวคิดว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นที่รโหฐาน ไม่ยินยอมให้ทำการตรวจค้นรถยนต์คันที่ตนขับไป ยิ่งทำให้เจ้าพนักงานของรัฐเกิดความสงสัยขึ้นเป็นอย่างยิ่ง และทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติเป็นอย่างมาก

และปัญหาในการตรวจค้นยานพาหนะชนิดรถยนต์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ 1. ปัญหาเกี่ยวกับการค้นยานพาหนะที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดอาญา หรือยานพาหนะที่คนร้ายใช้ในการกระทำความผิดนั้นส่วนมากจะเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล การตรวจค้นต้องกระทำด้วยความรวดเร็วและฉับพลันทันทีเพื่อมุ่งหวังที่จะให้ได้พบสิ่งของหรือบุคคลที่ต้องการพบ เพื่อยึดหรือช่วยเหลือบุคคลอย่างทันท่วงที แต่ก็จะมีปัญหาในทางปฏิบัติคือ ผู้ถูกค้นหรือจะถูกค้นขัดขืนโดยอ้างข้อกฎหมายที่ยังไม่ชัดเจน และเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติ โดยเฉพาะเจ้าพนักงานตำรวจได้กระทำไปโดยอาศัยความเห็นจากการตีความของกรมตำรวจ อันเป็นความเห็นแต่เพียงฝ่ายเดียวของผู้มีหน้าที่ในการปฏิบัติ ซึ่งก็เคยมีตัวอย่างให้เห็นว่าอาจจะไม่ถูกต้องได้ และ 2. ปัญหาเกี่ยวกับการค้นยานพาหนะทั่วไป ที่เป็นปัญหามากนั้นคือการตั้งด่านตรวจค้นรถยนต์เพื่อจับกุมขบวนการลักลอบลำเลียงยาเสพติด จากภาคเหนือสู่ภาคกลางของประเทศ เนื่องจากเป็นกรณีที่ยังไม่ทราบว่า ได้มีหรือจะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นกับยานพาหนะคันใดหรือไม่ เป็นแต่เพียงการตรวจค้นเพื่อเป็นการป้องกันการกระทำความผิดเท่านั้น จึงเป็นการกระทำที่มีผลกระทบต่อสิทธิส่วนตัวของบุคคลได้มากที่สุด

 

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง:
จับตา: ตัวอย่างการตรวจค้นรถในต่างประเทศ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ก.พลังงานยืนยันไม่ร่วมเป็นกรรมการตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ

Posted: 01 Apr 2017 09:22 PM PDT

 
2 เม.ย. 2560 สำนักข่าวไทย รายงานว่าหลังจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติวันที่ 30 มีนาคม 2560 ผ่านร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม ฉบับที่… (พศ....) และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ฉบับที่... (พ.ศ....) ว่า โดยมีข้อสังเกตที่ให้มีการศึกษาการตั้ง NOC ก็คงต้องรอผลการศึกษาของคณะกรรมการศึกษา ซึ่งกำหนดให้ดำเนินการภายใน 60 วัน และสรุปผลภายใน 1 ปี 
 
นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ  กล่าวว่า กระทรวงพลังงานคงไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการศึกษาจัดตั้ง NOC  เพราะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยก่อนหน้านี้ตั้งแต่กระทรวงพลังงานได้ทำหนังสือถึงกระทรวงการคลังแล้วว่าให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ศึกษาเรื่องนี้ตั้งแต่ภายหลังที่ ครม.มีมติเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560  ที่เห็นชอบให้มีการจัดตั้ง NOC เมื่อมีความพร้อมโดยให้บัญญัติไว้ในร่างพระราชบัญญัติ  ปิโตรเลียมและให้กระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษา 
 
อย่างไรก็ตาม จากที่ติดตามข้อสังเกต สนช.จะเห็นได้ว่ายังไม่มีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของการจัดตั้ง NOC  และหากจัดตั้งแล้วจะดำเนินการอย่างไร จะใช้เม็ดเงินงบประมาณส่วนใดมาลงทุน  โดย NOC ทั่วโลกจะมี 4 ส่วนที่เกี่ยวข้อง คือ หน่วยงานลงทุน (Investor) หน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) ผู้ดำเนินการ (operator ) และหน่วยงานนำปิโตรเลียมไปจำหน่าย (Downstream) หลักการจะนำทั้ง 4 ส่วน หรือจะใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งมารวมกัน  หากนำหน่วยงานกำกับดูแลและการจำหน่ายมารวม ก็ต้องยุบกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติและกรมธุรกิจพลังงานไปอยู่ภายใต้ NOC และหากจะนำโอเปอเรเตอร์ไปด้วยก็ต้องหมายถึงยุบ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือจะใช้รูปแบบเช่นเดียวกับ บมจ.ปตท.ที่รัฐบาลในอดีตตั้งขึ้นให้เป็นลักษณะเสมือน NOC ที่มี 3 ส่วนรวมกัน มีเพียงกำกับดูแลแยกออกมาดำเนินการโดยกรมเชื้อเพลิงฯ
 
"ที่ผ่านมากรมเชื้อเพลิงฯ แสดงความเห็นไปแล้วว่าไม่เห็นด้วยกับ NOC เพราะประสิทธิภาพไม่สามารถดำเนินการได้ตามกลไกในปัจจุบัน  งบประมาณลงทุนสำรวจและผลิตมหาศาลจะมาจากไหน รัฐบาลใดจะกล้าเสี่ยง หากลงทุนแล้วขาดทุน โดยเฉพาะช่วงราคาน้ำมันตกต่ำหากตั้งขึ้นมาก็ต้องกำหนดแบ่งส่วนราชการใหม่  อย่างไรก็ตาม กรมฯ ก็พร้อมปฏิบัติตามไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร" อธิบดีกรมเชื้อเพลิง กล่าว
 
นายวีระศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้กรมฯ ร่างกฎกระทรวงที่จำเป็นอีก 5 ฉบับและประกาศคณะกรรมการปิโตรเลียมอีก 1 ฉบับ มารองรับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียมทั้ง 2 ฉบับ ซึ่งเป็นการรองรับการคัดเลือกผู้ลงทุนแหล่งปิโตรเลียมทั้งรูปแบบสัมปทาน, ระบบแบ่งปันผลผล (พีเอสซี) และจ้างผลิต (เอสซี ) ซึ่งจะโฟกัสกรุ๊ปรับฟังความคิดเห็นจากนักวิชาการ ผู้ลงทุนด้านปิโตรเลียม ว่า แหล่งปิโตรเลียมของไทยทั้งหมด รวมทั้งแหล่งที่จะหมดอายุสัมปทานปี 2565-2566 คือ เอราวัณ-บงกช จะใช้หลักเกณฑ์ใด สำหรับแหล่งใด เพราะแต่ละแหล่ง มีศักยภาพแตกต่างกันไป มีความยากง่ายซับซ้อนในการขุดสำรวจ เมื่อกำหนดหลักเกณฑ์เสร็จสิ้นจะนำเสนอคณะกรรมการปิโตรเลียม และ ครม.ต่อไป 
 
"การจัดทำกฎหมายลูกและการกำหนดเงื่อนไขหลักเกณฑ์การประมูล (ทีโออาร์) ซึ่งคาดว่าจะเสร็จเดือนเมษายน 2560 และเสนอ ครม.หากเห็นชอบก็จะเปิดทีโออาร์ประมูลแหล่งเอราวัณ –บงกชภายในเดือนกรกฎาคม 2560 หลังจากนั้นจะใช้เวลา 6 เดือนในการพิจารณาคัดเลือก ซึ่งจะเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2560 ภายใต้กรอบที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กำหนด
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ขอให้จากไปอย่างมีพลัง' กิลเบิร์ต เบเกอร์ ผู้ออกแบบธง LGBT เสียชีวิตด้วยวัย 65 ปี

Posted: 01 Apr 2017 07:50 PM PDT

2 เม.ย. 2560 กิลเบิร์ต เบเกอร์ ศิลปินชาวสหรัฐฯ ผู้ออกแบบให้ธงสีรุ้งเป็นสัญลักษณ์ของผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 65 ปี โดยซานฟรานซิสโกโครนนิเคิลรายงานว่าเบเกอร์เสียชีวิตอย่างสงบในบ้านของตัวเองที่นิวยอร์กซิตี้เมื่อคืนวันที่ 31 มี.ค. ที่ผ่านมา 

บีบีซีระบุว่า เบเกอร์เคยเป็นผู้ออกแบบธง 8 สีเพื่อใช้ในงานเสรีภาพชาวเกย์เมื่อปี 2521 โดยงานเดินขบวนดังกล่าวกลายเป็นจุดเริ่มต้นของงานเกย์ไพร์ดในเวลาต่อมา ในแง่วิถีชีวิตของเบเกอร์เองเคยแต่งหญิงเพื่อการแสดงโดยใช้นามสมมุติว่า "บัสตี รอสส์"

เบเกอร์เคยทำงานเป็นช่างตัดเย็บในช่วงที่อยู่ในเมืองซานฟรานซิสโก ช่วงที่เริ่มมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน เขาใช้ฝีมือตัวเองในการสร้างป้ายสำหรับสิทธิคนรักเพศเดียวกันและป้ายเดินขบวนต่อต้านสงคราม ในช่วงนั้นเองเขายังกลายเป็นเพื่อนกับฮาร์วี มิลค์ นักการเมืองสหรัฐฯ คนแรกที่เปิดเผยตัวเองว่าเป็นเกย์ และถึงแม้ว่าเบเกอร์จะเป็นคนแรกที่ออกแบบธงสีรุ้งที่กลายเป็นต้นแบบของธงที่เป็นสัญลักษณ์สำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศแต่เขาก็ไม่จดทะเบียนการค้ามัน

มีการชักธงขึ้นที่ลานใจกลางซานฟรานซิสโกเพื่อเป็นเกียรติ์แก่เขา โดยธงดังกล่าวพัดโบกอยู่ใกล้กับลานฮาร์วี มิลค์ พลาซา เพื่อนของเบเกอร์ผู้ถูกลอบสังหารในปี 2521 

ดัสติน แลนซ์ แบล็ก ผู้เขียนบทภาพยนตร์เรื่อง "มิลค์" ซึ่งเป็นชีวประวัติขอฮาร์วี มิลค์ ระบุถึงการเสียชีวิตของเบเกอร์ว่า "สายรุ้งร่ำไห้ โลกของพวกเรามีสีสันลดลงไปอีกเมื่อปราศจากคุณผู้เป็นที่รักของเรา กิลเบิร์ต เบเกอร์ ให้ธงสีรุ้งแก่พวกเราเพื่อให้พวกเรารวมตัวกันร่วมมือกันได้อีกครั้ง"

สก็อต เวียนเนอร์ วุฒิสมาชิกรัฐแคลิฟอร์เนียกล่าวว่าผลงานของเบเกอร์เป็นสิ่งที่ช่วยนิยามการเคลื่อนไหวของผู้มีความหลากหลายทางเพศในยุคสมัยใหม่ และแสดงความไว้อาลัยว่า "ขอให้จากไปอย่างมีพลัง กิลเบิร์ต" (Rest in power, Gilbert,)

นอกจากธงสีรุ้งแล้ว เบเกอร์ยังเป็นผู้จัดทำธงให้กับผู้นำโลกหลายคนอย่างในฝรั่งเศส, เวเนซุเอลลา และฟิลิปปินส์ โดยสี 8 สีในธงสีรุ้งนั้นมีความหมายในแต่ละสีต่างกัน สีชมพูหมายถึงเพศวิถี สีแดงหมายถึงชีวิต สีส้มหมายถึงการรักษาเยียวยา สีเหลืองหมายถึงแสงอาทิตย์ สีเขียวหมายถึงธรรมชาติ สีเทอร์ควอยส์หมายถึงศิลปะหรือเวทย์มนตร์ สีครามหมายถึงความกลมเกลียวหรือสันติสุข สีม่วงหมายถึงจิตวิญญาณมนุษย์

อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมามีการเปลี่ยนแปลงการออกแบบธงสีรุ้งนี้หลายครั้งเพื่อปรับให้เข้ากับทรัพยากรสีผ้าที่มีอยู่กว้างขวางในท้องตลาด ซึ่งจะสะดวกในการผลิตซ้ำจำนวนมากได้ ทำให้เหลือสีรุ้งในการออกแบบธงล่าสุดเมื่อปี 2551 เหลืออยู่ 6 สี คือสีแดง ส้ม เหลือง เขียว น้ำเงิน และม่วง

เบเกอร์เคยบอกเกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบธงของเขาไว้ว่าเขาต้องการสื่อให้เห็นถึงความหลากหลายและการทำให้คนมีส่วนร่วมโดยนำสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติมาเป็นตัวแทนสื่อว่าเพศวิถีของพวกเขาเป็นสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังเป็นการยืนยันพลังในความเป็นประชาชนที่เป็นคนกลุ่มเดียวกัน

ในปี 2558 พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ของนิวยอร์กนำธงสีรุ้งของเบเกอร์จัดรวมเป็นส่วนหนึ่งของคอลเลกชันการออกแบบโดยระบุว่าการออกแบบธงนี้ "เป็นหลักไมล์ของการออกแบบที่ทรงพลัง"

 

 

เรียบเรียงจาก

Gilbert Baker, LGBT rainbow flag creator, dies aged 65, BBC, 01-04-2017
http://www.bbc.com/news/world-us-canada-39462530

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น