ประชาไท | Prachatai3.info |
- สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ก้าวเข้าสู่พิธีกรรมเลือกตั้ง
- สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ก้าวเข้าสู่พิธีกรรมเลือกตั้ง
- ฉลุย สนช.รับ ร่าง พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ วาระแรก 'วิษณุ' ชูเหนือกว่า กม.ทุกฉบับ
- ร้านหนังสืออิสระ-พื้นที่แสวงหาประชาธิปไตยของพลเมืองไต้หวัน
- คปพ.มอบตัว ถูกดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ หลังยื่นหนังสื่อค้าน พ.ร.บ.ปิโตรเลียม หน้าสภา
- วิษณุ เผยชะลอใช้กฎเข้มห้ามนั่งท้ายกะบะของรถปิคอัพเพื่อการโดยสารออกไปก่อน
- สนช. มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วย กกต. และ ว่าด้วยพรรคการเมือง
- คนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ยื่นค้านอีไอเอโรงไฟฟ้าถ่านหิน ด้าน คชก.มีมติไม่เห็นชอบ
- ตร.นำตัว ชายชาวประจวบฯ ท้าดวลปืน 'ประยุทธ์-ผบ.ตร.-ผบ.ทบ.' ไปพบแพทย์
- ฎีกายืนคุก 12 เดือนอริสมันต์หมิ่นฯอภิสิทธิ์ ปมปราศรัยกล่าวหาสั่งทหารฆ่า-ปล้นอำนาจจาก ปชช.
- 'พาณิชย์' สั่งจับตาไฟขึ้น-สินค้าขยับ เอกชนโวยกระทบธุรกิจ กกพ. แจงขึ้นตามราคาก๊าซ
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ก้าวเข้าสู่พิธีกรรมเลือกตั้ง Posted: 21 Apr 2017 01:59 PM PDT
หลังจากคณะทหารใช้อำนาจเผด็จการมาแล้วเกือบ 3 ปี ในที่สุด ก็มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 6 เมษายน ที่ผ่านมานี้ ซึ่งรัฐธรรมนูญนี้ถือเป็นฉบับที่ 20 ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย สื่อมวลชนหลายสำนักอธิบายกันว่า ตั้งแต่นี้ สังคมไทยก็จะเริ่มต้นนับหนึ่งไปสู่ประชาธิปไตย ซึ่งจะเป็นการนับหนึ่งใหม่ครั้งที่ 9 นับตั้งแต่รัฐประหาร พ.ศ.2490 เป็นต้นมา และถ้าคิดว่าประเทศไทยปฏิวัติเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยมาตั้งแต่มิถุนายน พ.ศ.2475 การเริ่มต้นใหม่ในปีนี้ ก็เป็นปีที่ 85 ของระบอบรัฐธรรมนูญไทย แต่กลับไม่อาจแน่ใจได้ว่า การนับหนึ่งที่เริ่มขึ้นนี้จะนำสังคมไทยฟื้นคืนสู่ประชาธิปไตยจริงหรือไม่ หรือจะยิ่งนำไปสู่สภาพการเมืองที่เหลวไหลยิ่งกว่าเดิม ปัญหาประการแรกสุด การประกาศใช้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย เพราะตามบทเฉพาะกาล กำหนดให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ยังคงอยู่ต่อไป คณะรัฐบาลเผด็จการชุดนี้และสภานิติบัญญัติชุดแต่งตั้งโดยทหารก็ยังคงทำงานอยู่ จนกว่าจะมีการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่และสภาชุดใหม่ และแม้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 จะสิ้นสภาพลง แต่ฝ่าย คสช.ย้ำว่า กฎหมายเผด็จการมาตรา 44 ไม่ได้ถูกยกเลิก และจะใช้ภายใต้หลักเกณฑ์เดิม ยิ่งกว่านั้น กระบวนการสู่การเลือกตั้งก็ยังคงยาวนานและไม่มีความแน่นอน ขั้นตอนสู่การเลือกตั้งตามคำแถลงของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหาร คือ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจะจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 8 เดือน แต่ละฉบับส่งให้สภานิติบัญญัติพิจารณาภายใน 2 เดือน หากมีการแก้ไขเพิ่มเติมจะใช้เวลาเพิ่มอีก 1 เดือน และนำขึ้นทูลเกล้าประกาศใช้เป็นกฎหมายภายใน 3 เดือน จากนั้น จะเข้าสู่ช่วงการเลือกตั้งซึ่งจะดำเนินการภายใน 5 เดือน ตามกระบวนการทั้งหมดนี้ อ้างกันว่าประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ.2561 หรือต้นปี พ.ศ.2462 แต่ พล.อ.ประยุทธ์ก็ไม่ได้ให้การรับประกันชัดเจนโดยแถลงว่า "รัฐบาลยังไม่สามารถระบุวันเลือกตั้งได้อย่างชัดเจน เพราะไม่อาจกำหนดวันเริ่มต้นของแต่ละเหตุการณ์ได้" หมายความว่า การเลือกตั้งอาจเกิดช้ากว่านั้นก็ยังได้อีก ปัญหาต่อมา ยังมาจากตัวรัฐธรรมนูญเอง เพราะเป็นที่ชัดเจนว่า ระบบการเมืองที่ออกแบบโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยตามหลักสากล แต่เป็นสิ่งที่เรียกกันว่า "ระบอบไฮบริด(ลูกผสม)" หรือเป็นเผด็จการแฝงรูปนั่นเอง ซึ่งสรุปได้ว่า เนื้อหาอันไม่เป็นประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญนี้มีประเด็นหลัก 5 ประการ ประเด็นแรกคือ การกำหนดให้วุฒิสภามาจากการแต่งตั้งทั้งหมด 250 คน ในจำนวนนี้กำหนดให้ผู้บัญชาการเหล่าทัพทั้งหมด เป็นสมาชิกวุฒิสภาโดยตำแหน่ง และในสมัยแรก 5 ปี วุฒิสภาจะมาจากการแต่งตั้งของ คสช.ทั้งหมด หลังจากนั้น จึงให้มีกระบวนการคัดเลือกจากกลุ่มอาชีพ แต่ก็จะเป็นเหตุการณ์อีกไม่ต่ำว่า 7 ปีข้างหน้า ซึ่งไม่มีใครคาดได้ว่า รัฐธรรมนูญฯฉบับนี้จะยังบังคับใช้อยู่หรือไม่ ประเด็นที่สอง คือ การเปิดทางให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอกที่ไม่ผ่านการเลือกตั้ง คือให้พรรคการเมืองทุกพรรคที่ลงสมัครแข่งขันต้องเสนอชื่อบุคคลที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีไม่เกิน 3 รายชื่อ และสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเห็นชอบนายกรัฐมนตรีคนใหม่จากรายชื่อเหล่านี้ แต่ถ้ายังแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีไม่ได้ ให้สมาชิกสภาไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเสนอมติยกเว้น ไม่ต้องเสนอตามบัญชีรายชื่อได้ โดยมาตราทั้งหมดไม่ได้ระบุเลยว่า นายกรัฐมนตรีคนใหม่จะต้องผ่านกระบวนการมาจากการเลือกตั้ง ประเด็นที่สาม คือ การกำหนดวิธีการเลือกตั้งอันแปลกประหลาดและสลับซับซ้อน ที่เรียกว่า "ระบบสัดส่วนผสม" คือ ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 350 คน และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 150 แต่ให้ประชาชนกาบัตรใบเดียว คือเลือกตัวผู้สมัคร แล้วจะส่งผลให้เป็นการเลือกพรรคการเมืองที่ผู้สมัครนั้นสังกัดอยู่ไปด้วย และคะแนนทั้งหมดที่ประชาชนเลือกจะนำไปใช้คิดจำนวนที่นั่ง ส.ส.ในสภาที่พรรคการเมืองนั้นควรจะได้ ระบบสภาที่ซับซ้อนเช่นนี้ จะมีผลในการควบคุมจำนวนที่นั่งของพรรคการเมืองที่ชนะเลือกตั้ง ให้สิทธิแก่พรรคขนาดรองที่แพ้เลือกตั้ง และพรรคขนาดกลาง แต่จะทำลายพรรคการเมืองขนาดเล็ก เพื่อทำให้สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยพรรคการเมืองขนาดกลางหลายพรรค เหมาะแก่การตั้งรัฐบาลผสม และสอดคล้องกับการเชิญบุคคลที่ไม่ผ่านการเลือกตั้งมาเป็นนายกรัฐมนตรี หรือถ้าได้นายกรัฐมนตรีที่มาจากพรรคการเมือง ก็จะได้รัฐบาลก็จะไม่มีเสถียรภาพ ประเด็นที่สี่ คือ การกำหนดยุทธศาสตร์แห่งชาติล่วงหน้า และกำหนดว่ารัฐบาลใหม่ต้องปฏิบัติตาม และจะต้องดำเนินการปฏิรูปประเทศตามที่กำหนดควบคู่กันไปด้วย หมายความว่ารัฐบาลใหม่จะฐานะราวกับข้าราชการประจำไม่มีโอกาสกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ของตนเอง ต้องทำตามยุทธศาสตร์ที่ถูกกำหนดไว้แล้วและใส่ไว้ในแนวนโยบายแห่งชาติในรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่ห้า คือ การให้อำนาจมากล้นฟ้ายิ่งกว่าเดิม แก่ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ โดยอำนาจลักษณะเดิมในการควบคุมการบริหารบ้านเมืองแบบที่มีในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ก็ยังคงอยู่ และยังกำหนดสิ่งที่เรียกว่า "มาตรฐานทางจริยธรรม" ซึ่งไม่มีความหมายชัดเจน แต่ให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระเป็นผู้กำหนดและตีความ ปัญหาก็คือ ที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระทั้งหมด ไม่ยึดโยงกับอำนาจของประชาชน แต่กลับเอื้ออำนวยให้กับฝ่ายตุลาการ และข้าราชการเข้ามาเป็นผู้ทำหน้าที่กำหนดกฎเกณฑ์ กล่าวโดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่า ถึงจะมีกระบวนเลือกตั้งและการตั้งรัฐบาลใหม่ตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญนี้ทั้งหมด ก็ไม่ได้หมายความว่า ประเทศไทยจะได้ระบบการเมืองแบบใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย คงต้องกล่าวด้วยว่า ประเด็นเหล่านี้ ได้เคยถูกรณรงค์แล้วตั้งแต่เมื่อมีการเคลื่อนไหวลงประชามติต่อต้านรัฐธรรมนูญเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2559 แต่กลุ่มชนชั้นกลางและสื่อมวลชนกระแสหลักไม่ได้สนใจประเด็นนี้เลย กลับร่วมใจกันไปลงประขามติสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญลูกผสม และเมื่อพิจารณาจากกระบวนการสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระยะเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา อธิบายได้เลยว่า ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางไทย ไม่ได้สนใจการเมืองแบบประชาธิปไตย เพียงแต่รู้สึกว่า จะต้องมีการเลือกตั้งเพราะต่างประเทศจะได้เลิกต่อต้าน และจะได้เปิดเงื่อนไขในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่ก็วิตกว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนจะมีอำนาจมากเกินไป จึงพอใจที่จะให้การเลือกตั้งเป็นเพียง"พิธีกรรม"ให้ต่างชาติยอมรับ แล้วยินยอมให้ฝ่ายทหาร คณะตุลาการ และ ข้าราชการ ควบคุมอำนาจต่อไป ถ้าเช่นนั้น ขบวนการประชาธิปไตยและพรรคเพื่อไทย ควรจะเข้าร่วมกระบวนการทางพิธีกรรมเลือกตั้งแบบนี้หรือไม่ มีข้อเสนอไม่น้อยที่ว่า พรรคเพื่อไทยและขบวนการประชาธิปไตยควรจะปฏิเสธและคว่ำบาตรการเลือกตั้งแบบนี้ แต่ผมอยากจะทดลองเสนอว่า เราควรที่จะเข้าร่วมในจุดยืนเดียวกันกับครั้งรณรงค์ต่อต้านรัฐธรรมนูญ คือ เข้าร่วมเพื่อจะแสดงความเห็นในการคัดค้านให้มากที่สุด ควรมีนโยบายอย่างชัดเจนในการคัดค้านรัฐธรรมนูญ และมีข้อเสนอในการแก้ไขระบอบการเมืองอย่างสันติวิธี โดยใช้การเลือกตั้งเป็นการรณรงค์ทางความคิดในหมู่ประชาชนให้เห็นความอัปลักษณ์ทางการเมืองไทย ส่วนอนาคตทางการเมืองข้างหน้าของระบอบการเมืองใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 คงไม่ต้องวิตกมากนัก เพราะเป็นที่วิเคราะห์ว่า รัฐธรรมนูญนี้จะนำซึ่งวิกฤตทางการเมืองครั้งใหม่อย่างรวดเร็ว และการกำหนดเงื่อนไขให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้แก้ไขได้ยากมาก จะเป็นการชักชวนให้กองทัพก่อรัฐประหารครั้งใหม่เพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญแล้วร่างใหม่ และเมื่อถึงเวลานั้น เราก็ค่อยมาเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่อีกครั้งสำหรับสังคมไทย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ก้าวเข้าสู่พิธีกรรมเลือกตั้ง Posted: 21 Apr 2017 01:57 PM PDT
หลังจากคณะทหารใช้อำนาจเผด็จการมาแล้วเกือบ 3 ปี ในที่สุด ก็มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 6 เมษายน ที่ผ่านมานี้ ซึ่งรัฐธรรมนูญนี้ถือเป็นฉบับที่ 20 ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย สื่อมวลชนหลายสำนักอธิบายกันว่า ตั้งแต่นี้ สังคมไทยก็จะเริ่มต้นนับหนึ่งไปสู่ประชาธิปไตย ซึ่งจะเป็นการนับหนึ่งใหม่ครั้งที่ 9 นับตั้งแต่รัฐประหาร พ.ศ.2490 เป็นต้นมา และถ้าคิดว่าประเทศไทยปฏิวัติเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยมาตั้งแต่มิถุนายน พ.ศ.2475 การเริ่มต้นใหม่ในปีนี้ ก็เป็นปีที่ 85 ของระบอบรัฐธรรมนูญไทย แต่กลับไม่อาจแน่ใจได้ว่า การนับหนึ่งที่เริ่มขึ้นนี้จะนำสังคมไทยฟื้นคืนสู่ประชาธิปไตยจริงหรือไม่ หรือจะยิ่งนำไปสู่สภาพการเมืองที่เหลวไหลยิ่งกว่าเดิม ปัญหาประการแรกสุด การประกาศใช้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย เพราะตามบทเฉพาะกาล กำหนดให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ยังคงอยู่ต่อไป คณะรัฐบาลเผด็จการชุดนี้และสภานิติบัญญัติชุดแต่งตั้งโดยทหารก็ยังคงทำงานอยู่ จนกว่าจะมีการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่และสภาชุดใหม่ และแม้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 จะสิ้นสภาพลง แต่ฝ่าย คสช.ย้ำว่า กฎหมายเผด็จการมาตรา 44 ไม่ได้ถูกยกเลิก และจะใช้ภายใต้หลักเกณฑ์เดิม ยิ่งกว่านั้น กระบวนการสู่การเลือกตั้งก็ยังคงยาวนานและไม่มีความแน่นอน ขั้นตอนสู่การเลือกตั้งตามคำแถลงของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรัฐประหาร คือ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจะจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน 8 เดือน แต่ละฉบับส่งให้สภานิติบัญญัติพิจารณาภายใน 2 เดือน หากมีการแก้ไขเพิ่มเติมจะใช้เวลาเพิ่มอีก 1 เดือน และนำขึ้นทูลเกล้าประกาศใช้เป็นกฎหมายภายใน 3 เดือน จากนั้น จะเข้าสู่ช่วงการเลือกตั้งซึ่งจะดำเนินการภายใน 5 เดือน ตามกระบวนการทั้งหมดนี้ อ้างกันว่าประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ.2561 หรือต้นปี พ.ศ.2462 แต่ พล.อ.ประยุทธ์ก็ไม่ได้ให้การรับประกันชัดเจนโดยแถลงว่า "รัฐบาลยังไม่สามารถระบุวันเลือกตั้งได้อย่างชัดเจน เพราะไม่อาจกำหนดวันเริ่มต้นของแต่ละเหตุการณ์ได้" หมายความว่า การเลือกตั้งอาจเกิดช้ากว่านั้นก็ยังได้อีก ปัญหาต่อมา ยังมาจากตัวรัฐธรรมนูญเอง เพราะเป็นที่ชัดเจนว่า ระบบการเมืองที่ออกแบบโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยตามหลักสากล แต่เป็นสิ่งที่เรียกกันว่า "ระบอบไฮบริด(ลูกผสม)" หรือเป็นเผด็จการแฝงรูปนั่นเอง ซึ่งสรุปได้ว่า เนื้อหาอันไม่เป็นประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญนี้มีประเด็นหลัก 5 ประการ ประเด็นแรกคือ การกำหนดให้วุฒิสภามาจากการแต่งตั้งทั้งหมด 250 คน ในจำนวนนี้กำหนดให้ผู้บัญชาการเหล่าทัพทั้งหมด เป็นสมาชิกวุฒิสภาโดยตำแหน่ง และในสมัยแรก 5 ปี วุฒิสภาจะมาจากการแต่งตั้งของ คสช.ทั้งหมด หลังจากนั้น จึงให้มีกระบวนการคัดเลือกจากกลุ่มอาชีพ แต่ก็จะเป็นเหตุการณ์อีกไม่ต่ำว่า 7 ปีข้างหน้า ซึ่งไม่มีใครคาดได้ว่า รัฐธรรมนูญฯฉบับนี้จะยังบังคับใช้อยู่หรือไม่ ประเด็นที่สอง คือ การเปิดทางให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอกที่ไม่ผ่านการเลือกตั้ง คือให้พรรคการเมืองทุกพรรคที่ลงสมัครแข่งขันต้องเสนอชื่อบุคคลที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีไม่เกิน 3 รายชื่อ และสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาเห็นชอบนายกรัฐมนตรีคนใหม่จากรายชื่อเหล่านี้ แต่ถ้ายังแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีไม่ได้ ให้สมาชิกสภาไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเสนอมติยกเว้น ไม่ต้องเสนอตามบัญชีรายชื่อได้ โดยมาตราทั้งหมดไม่ได้ระบุเลยว่า นายกรัฐมนตรีคนใหม่จะต้องผ่านกระบวนการมาจากการเลือกตั้ง ประเด็นที่สาม คือ การกำหนดวิธีการเลือกตั้งอันแปลกประหลาดและสลับซับซ้อน ที่เรียกว่า "ระบบสัดส่วนผสม" คือ ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 350 คน และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 150 แต่ให้ประชาชนกาบัตรใบเดียว คือเลือกตัวผู้สมัคร แล้วจะส่งผลให้เป็นการเลือกพรรคการเมืองที่ผู้สมัครนั้นสังกัดอยู่ไปด้วย และคะแนนทั้งหมดที่ประชาชนเลือกจะนำไปใช้คิดจำนวนที่นั่ง ส.ส.ในสภาที่พรรคการเมืองนั้นควรจะได้ ระบบสภาที่ซับซ้อนเช่นนี้ จะมีผลในการควบคุมจำนวนที่นั่งของพรรคการเมืองที่ชนะเลือกตั้ง ให้สิทธิแก่พรรคขนาดรองที่แพ้เลือกตั้ง และพรรคขนาดกลาง แต่จะทำลายพรรคการเมืองขนาดเล็ก เพื่อทำให้สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยพรรคการเมืองขนาดกลางหลายพรรค เหมาะแก่การตั้งรัฐบาลผสม และสอดคล้องกับการเชิญบุคคลที่ไม่ผ่านการเลือกตั้งมาเป็นนายกรัฐมนตรี หรือถ้าได้นายกรัฐมนตรีที่มาจากพรรคการเมือง ก็จะได้รัฐบาลก็จะไม่มีเสถียรภาพ ประเด็นที่สี่ คือ การกำหนดยุทธศาสตร์แห่งชาติล่วงหน้า และกำหนดว่ารัฐบาลใหม่ต้องปฏิบัติตาม และจะต้องดำเนินการปฏิรูปประเทศตามที่กำหนดควบคู่กันไปด้วย หมายความว่ารัฐบาลใหม่จะฐานะราวกับข้าราชการประจำไม่มีโอกาสกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ของตนเอง ต้องทำตามยุทธศาสตร์ที่ถูกกำหนดไว้แล้วและใส่ไว้ในแนวนโยบายแห่งชาติในรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่ห้า คือ การให้อำนาจมากล้นฟ้ายิ่งกว่าเดิม แก่ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ โดยอำนาจลักษณะเดิมในการควบคุมการบริหารบ้านเมืองแบบที่มีในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ก็ยังคงอยู่ และยังกำหนดสิ่งที่เรียกว่า "มาตรฐานทางจริยธรรม" ซึ่งไม่มีความหมายชัดเจน แต่ให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระเป็นผู้กำหนดและตีความ ปัญหาก็คือ ที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระทั้งหมด ไม่ยึดโยงกับอำนาจของประชาชน แต่กลับเอื้ออำนวยให้กับฝ่ายตุลาการ และข้าราชการเข้ามาเป็นผู้ทำหน้าที่กำหนดกฎเกณฑ์ กล่าวโดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่า ถึงจะมีกระบวนเลือกตั้งและการตั้งรัฐบาลใหม่ตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญนี้ทั้งหมด ก็ไม่ได้หมายความว่า ประเทศไทยจะได้ระบบการเมืองแบบใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย คงต้องกล่าวด้วยว่า ประเด็นเหล่านี้ ได้เคยถูกรณรงค์แล้วตั้งแต่เมื่อมีการเคลื่อนไหวลงประชามติต่อต้านรัฐธรรมนูญเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2559 แต่กลุ่มชนชั้นกลางและสื่อมวลชนกระแสหลักไม่ได้สนใจประเด็นนี้เลย กลับร่วมใจกันไปลงประขามติสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญลูกผสม และเมื่อพิจารณาจากกระบวนการสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระยะเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา อธิบายได้เลยว่า ชนชั้นสูงและชนชั้นกลางไทย ไม่ได้สนใจการเมืองแบบประชาธิปไตย เพียงแต่รู้สึกว่า จะต้องมีการเลือกตั้งเพราะต่างประเทศจะได้เลิกต่อต้าน และจะได้เปิดเงื่อนไขในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่ก็วิตกว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนจะมีอำนาจมากเกินไป จึงพอใจที่จะให้การเลือกตั้งเป็นเพียง"พิธีกรรม"ให้ต่างชาติยอมรับ แล้วยินยอมให้ฝ่ายทหาร คณะตุลาการ และ ข้าราชการ ควบคุมอำนาจต่อไป ถ้าเช่นนั้น ขบวนการประชาธิปไตยและพรรคเพื่อไทย ควรจะเข้าร่วมกระบวนการทางพิธีกรรมเลือกตั้งแบบนี้หรือไม่ มีข้อเสนอไม่น้อยที่ว่า พรรคเพื่อไทยและขบวนการประชาธิปไตยควรจะปฏิเสธและคว่ำบาตรการเลือกตั้งแบบนี้ แต่ผมอยากจะทดลองเสนอว่า เราควรที่จะเข้าร่วมในจุดยืนเดียวกันกับครั้งรณรงค์ต่อต้านรัฐธรรมนูญ คือ เข้าร่วมเพื่อจะแสดงความเห็นในการคัดค้านให้มากที่สุด ควรมีนโยบายอย่างชัดเจนในการคัดค้านรัฐธรรมนูญ และมีข้อเสนอในการแก้ไขระบอบการเมืองอย่างสันติวิธี โดยใช้การเลือกตั้งเป็นการรณรงค์ทางความคิดในหมู่ประชาชนให้เห็นความอัปลักษณ์ทางการเมืองไทย ส่วนอนาคตทางการเมืองข้างหน้าของระบอบการเมืองใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 คงไม่ต้องวิตกมากนัก เพราะเป็นที่วิเคราะห์ว่า รัฐธรรมนูญนี้จะนำซึ่งวิกฤตทางการเมืองครั้งใหม่อย่างรวดเร็ว และการกำหนดเงื่อนไขให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้แก้ไขได้ยากมาก จะเป็นการชักชวนให้กองทัพก่อรัฐประหารครั้งใหม่เพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญแล้วร่างใหม่ และเมื่อถึงเวลานั้น เราก็ค่อยมาเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่อีกครั้งสำหรับสังคมไทย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ฉลุย สนช.รับ ร่าง พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ วาระแรก 'วิษณุ' ชูเหนือกว่า กม.ทุกฉบับ Posted: 21 Apr 2017 12:09 PM PDT รองหัวหน้า ปชป. อัด ไม่พ้นทหารคุม 'ซุปเปอร์บอร์ด' แถมรัฐบาลเลือกตั้งทำงานยากเหตุถูกตีกรอบ หลัง สนช.รับ ร่าง พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ วาระแรก โดย 'วิษณุ' แจงเป็นกฎหมายอยู่เหนือกว่าทุกฉบับ องค์กรไหนเมินเจอชง ป.ป.ช.ฟันแน่ ยันแก้ได้ไม่ยาก แฟ้มภาพ 21 เม.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติเอกฉันท์ 196 เสียง เห็นชอบในหลักการของร่าง พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ โดยมีผู้งดออกเสียง 3 เสียง พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 33 คน แปรญัตติ 15 วัน และมีกรอบการดำเนินการ 60 วัน โดยก่อนลงมติ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงว่า กฎหมายฉบับนี้พ่วงกับร่าง พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ แต่สำคัญกว่า เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดว่ารัฐ หมายถึง ครม.ต้องจัดทำกฎหมายยุทธศาสตร์เพื่อวางเป้าหมาย เป็นแผนที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ เศรษฐกิจ การใช้งบประมาณกำลังคนให้เสร็จภายใน 120 วัน หลังร่างรัฐธรรมนูญประกาศใช้ โดยมีการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ หรือซูเปอร์บอร์ด ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติที่กำหนดขึ้นมา ให้เสร็จใน 1 ปี จึงเป็นกฎหมายที่เหนือกว่าทุกฉบับ มีผลผูกพันกับทุกองค์กร หากพบว่าหน่วยงานใดไม่ปฏิบัติตามแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติจะมีมาตรการในเชิงบังคับ ในสถานเบาจะตักเตือนหน่วยงานที่ฝ่าฝืนให้ปรับปรุงแก้ไข แต่ถ้ายังไม่นำพา ให้ส่งเรื่องไปที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หาก ป.ป.ช.ชี้ว่ากระทำผิดจริง จงใจฝ่าฝืน ให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อหัวหน้าส่วนราชการที่ฝ่าฝืนได้ ทั้งนี้ สมาชิก สนช. ต่างอภิปรายสนับสนุนจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติ ที่จะทำให้การพัฒนาประเทศเกิดความต่อเนื่อง และมองเห็นอนาคตของประเทศในระยะยาว แต่มีการตั้งข้อสังเกตถึงสัดส่วนในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ หรือ ซุปเปอร์บอร์ด ที่มีบุคลากรจากกองทัพมากเกินไป จนเหมือนกันการทำแผนยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง รองหัวหน้า ปชป. อัด ไม่พ้นทหารคุมซุปเปอร์บอร์ดด้าน นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี สนช. มีมติรับร่าง พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติที่ ครม.เสนอ โดยให้ฝ่ายความมั่นคงเข้ามาเป็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ หรือ ซุปเปอร์บอร์ด เข้ามาทำงานตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ให้เสร็จใน 1 ปี ซึ่งเป็นกฎหมายเหนือกว่าทุกฉบับ มีผลผูกพันกับทุกองค์กรว่า เป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่เขาเขียนขึ้นมา และเป็นวิธีคิดของรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจ เพราะเมื่อเขามีที่มาแบบนี้ เขาก็คิดถึงความมั่นคงเป็นหลัก ที่จะใช้ความมั่นคง ทางทหารมาคุมความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางการเมือง คือเขามองแค่มิตินี้ และคนที่พิจารณาร่างกฎหมายนี้ก็เป็นคนที่เขาตั้งมาเอง ผลจึงออกมาเช่นนี้ ทั้งที่มิตินี้มันล้าหลังที่สุด แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะมิตินี้เขาคิดมาให้แล้วว่า คนในสังคมไม่ต้องคิดอะไรมากแค่ทำตามที่เขาสั่งก็พอ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า ตนมองที่ผลกระทบคือ ต่อไปรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะทำงานยากมากขึ้นเพราะถูกตีกรอบ และการที่ประเทศอยู่ในระบบการปกครองแบบทหารนาน และอยู่ในขาลงทุกด้าน คนในสังคมจะคิดถึงการเลือกตั้ง โดยตั้งความคาดหวังไว้สูง แต่เมื่อได้รัฐบาลเลือกตั้งมาบริหาร ก็จะติดขัดจากกรอบที่ถูกวางไว้ รัฐบาลเลือกตั้งแก้ไขปัญหาได้ช้ากว่า เพราะทุกเรื่องต้องผ่านฉันทามติ สุดท้ายคนก็จะเบื่อและนำไปเปรียบเทียบกับระบบเผด็จการทหารอีกที่แก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว เบ็ดเสร็จกว่า เพราะมีอำนาจพิเศษ เช่น ม.44 เป็นเครื่องมือ คนก็จะเรียกร้องหา โดยไม่คิดถึงที่มาของการเข้าสู่อำนาจว่าด้วยวิธีการใด จึงอยากให้ สนช.ล้มร่างกฎหมายเลือกตั้ง เพื่อที่จะให้รัฐบาลนี้อยู่ต่อได้อีก 5-10 ปี เพื่อที่สังคมไทยจะได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองว่า คนในสังคมต้องการจะเลือกระบอบการปกครองแบบใด ซึ่งมีแค่ 3 แบบคือ คอมมิวคอมมิวนิสต์ ประชาธิปไตย และเผด็จการทหาร จึงขึ้นอยู่กับคนในสังคมไทยว่าจะเอาอย่างไร กับประเทศชาติต่อไป ที่มา : สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น ผู้จัดการออนไลน์ และไทยรัฐออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ร้านหนังสืออิสระ-พื้นที่แสวงหาประชาธิปไตยของพลเมืองไต้หวัน Posted: 21 Apr 2017 11:22 AM PDT นอกจากไต้หวันจะเป็นปลายทางของนักท่องเที่ยวชาวไทยเพราะไม่ต้องขอวีซ่าแล้ว ไต้หวันยังเป็นพื้นที่เรียนรู้ประสบการณ์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและภาคประชาสังคม โดยหลังจากการก่อตัวของ "ขบวนการดอกทานตะวัน" ทำให้เกิดขบวนการเสวนา " Friday Philo" กระจายไปในหลายพื้นที่ของไต้หวัน โดยพวกเขาเชื่อมั่นว่าการเพิ่มพูนศักยภาพในการคิดและการอภิปรายโต้วาทีเท่านั้นที่จะรักษาคุณภาพและความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยของไต้หวันเอาไว้ได้ หลังจากไต้หวันมีมาตรการยกเว้นวีซ่าให้กับผู้ถือหนังสือเดินทางไทยซึ่งประกาศเมื่อ 1 สิงหาคม 2559 และจะหมดอายุ 31 กรกฎาคม 2560 นั้น ล่าสุดไต้หวันมีมติต่ออายุมาตรการยกเว้นวีซ่าไปอีก 1 ปี จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 โดยมาตรการยกเว้นวีซ่าที่ผ่านมาทำให้มีนักท่องเที่ยวจากไทยเดินทางมาไต้หวันเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 57.26 ทั้งนี้ไต้หวันกำลังดำเนินนโยบายระหว่างประเทศใหม่คือ นโยบายมุ่งลงใต้ ซึ่งต้องการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ โดยนอกจากมาตรการยกเว้นวีซ่ากับไทยแล้ว ยังมีการยกเว้นวีซ่าให้กับฟิลิปปินส์ และยังยกเว้นวีซ่าให้กับผู้ที่เคยได้วีซ่าท่องเที่ยวในรอบ 10 ปี จากอินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า กัมพูชาและลาวอีกด้วย ผมในฐานะที่เป็นชาวต่างชาติที่มาเรียนอยู่ในกรุงเทพฯ บางครั้งระหว่างรอเที่ยวบินกลับมายังไต้หวันที่สนามบิน ผมมีโอกาสสนทนากับนักท่องเที่ยวชาวไทยบางคน พวกเขาบอกผมว่า อยากตระเวนชิมอาหารริมทาง ไปซื้อรองเท้ากีฬา หรือไปชมพิพิธภัณฑ์ โดยที่การเดินทางที่ไม่ต้องทำวีซ่าและใช้งบประมาณไม่มากจึงทำให้ไต้หวันกลายเป็นจุดหมายเดินทางที่สำคัญสำหรับคนไทย นอกจากเรื่องการท่องเที่ยวแล้ว ไต้หวันยังเป็นปลายทางที่ควรค่าสำหรับการแสวงหาและศึกษาประสบการณ์ประชาธิปไตยและภาคประชาสังคมอีกด้วย เสรีภาพและประชาสังคมในไต้หวันในปี 2560 รายงานด้านสิทธิทางการเมืองและเสรีภาพของ "Freedom House" จัดประเทศไต้หวันให้อยู่ในกลุ่มประเทศ "เสรี" และคะแนนในปีนี้ก็ได้อยู่ในระดับที่สูงกว่าสหรัฐอเมริกา โดย "Freedom House" ระบุว่าเป็นผลมาจากเสรีภาพของสื่อ และการขยายตัวของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม รวมถึง "ขบวนการดอกทานตะวัน" (Sunflower Movement) ที่ก่อตัวมาตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งทำให้เห็นว่าไต้หวันไม่เพียงแค่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นหนึ่งในประเทศเสรีนิยมอีกแห่งในย่านเอเชียตะวันออกอีกด้วย เมื่อกล่าวถึง "ขบวนการดอกทานตะวัน" เมื่อ 3 ปีที่แล้ว พวกเขาซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษา ได้เข้ายึดที่ทำการสภานิติบัญญัติกินเวลาหลายสัปดาห์ โดยมีเป้าหมายเพื่อยุติข้อตกลงการค้าเสรีด้านอุตสาหกรรมบริการระหว่างไต้หวันและจีนที่พวกเขามองว่าไต้หวันเสียเปรียบ เรื่องนี้ได้กระตุ้นความสนใจของเยาวชนรุ่นใหม่เกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง หลายคนพบว่าในสังคมไต้หวันแม้จะชื่อว่ามีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ขาดพื้นฐานเรื่องความคิดและเหตุผลที่เข้มแข็งในการสนับสนุนแนวคิดประชาธิปไตย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการ "ประชาธิปไตยถดถอย" ได้ง่ายๆ หากความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยในหมู่เยาวชนยังไม่มั่นคง การจุดประกายให้ประชาชนตระหนักในคุณค่าประชาธิปไตย เป็นประเด็นที่มีการรณรงค์มาอย่างยาวนานในไต้หวัน แนวคิดนี้ทำให้ประชาชนไต้หวันจำนวนมากเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในการจัดตั้งกลุ่มอภิปรายที่เรียกกันว่า "ซาลอน" (Salon) ในช่วงที่เกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ในสมัยรัฐบาลของประธานาธิบดีหม่าอิงจิ่ว (Ma Ing-jeou) ก่อนหน้านี้ ที่มีนโยบายสนับสนุนแนวทางจีนแผ่นดินใหญ่ ทั้งนี้ผู้คนที่ตั้งกลุ่มสนทนาเชื่อว่า การเพิ่มพูนศักยภาพในการคิด และการโต้วาทีเท่านั้นที่จะรักษาคุณภาพและความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยเอาไว้ได้
"Friday Philo" และ "ซาลอน" สนทนาเชิงทดลองเพื่อเปิดพื้นที่สาธารณะตัวอย่างของกลุ่มอภิปราย "ซาลอน" เช่น การเสวนาที่เรียกว่า "Friday Philo" ซึ่งจัดทุกคืนวันศุกร์ ในรูปแบบเสวนาประเด็นทางการเมืองและสังคมในปัจจุบันของไต้หวัน ซึ่งเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี 2553 ในไทเป และปัจจุบันมีการขยายไปกว่า 20 เมืองทั่วโลก มุ่งเป้าไปที่การเสริมสร้างความตระหนักรู้ทางการเมือง และเชื่อมต่อเครือข่ายสำหรับผู้ที่สนใจประเด็นทางสังคม แนวคิดนี้มาจากฝรั่งเศสที่มี "ซาลอน" เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับผู้คนสำหรับการอภิปรายและสนทนา ผู้จัดกลุ่มอภิปราย "Friday Philo" เชื่อว่าไต้หวันควรปลูกฝังจิตสำนึกทางการเมืองของพลเมืองต่อประเด็นทางสังคม โดยหลังการเกิดขึ้นของ "Friday Philo" เฉพาะในไทเปมีสถานที่อย่างน้อย 3 แห่งที่เราสามารถเข้าร่วมการเสวนาได้ และผู้จัดงานทั้งหมดก็เป็นไปในลักษณะอาสาสมัคร ประเด็นที่มีการพูดคุยกัน ครอบคลุมทั้งประเด็นระดับท้องถิ่นและระดับโลก เช่น สิทธิมนุษยชน ประชานิยมในประเด็นประชาธิปไตย พลังงานสีเขียว และปัจจัยจากประเทศจีน โดยผู้จัดงานมีเงื่อนไขว่า ห้ามมิให้เชิญนักการเมืองคนใดก็ตามมาเป็นวิทยากร โดย "Friday Philo" ต้องการรักษาบทบาทของพลเมืองธรรมดาให้ได้มากที่สุด
Tò-uat Books x Cafe Philo: พื้นที่สนทนาของพลเมืองโดยที่ "Tò-uat Books x Cafe Philo" ถือเป็นพื้นที่สนทนาสำคัญในกรุงไทเป ที่มีการจัดกิจกรรมเสวนา "Friday Philo" อย่างสม่ำเสมอ และนอกจากนี้ยังสามารถเข้าชมเว็บไซต์ 5philo.com ซึ่งจะมีการอัพเดทข้อมูลการจัดกิจกรรมในแต่ละสัปดาห์ของ "Friday Philo" อย่างน้อย 30 แห่งทั้งในไต้หวันและทั่วโลกอีกด้วย Tò-uat Books x Cafe Philo [review] นอกจากพื้นที่เสวนาแล้วในไทเป ยังมีร้านหนังสือที่รณรงค์ประเด็นทางสังคม โดยเฉพาะสิทธิทางเพศและ LGBT เช่น Gin Gin Bookstore และ Fembooks Gin Gin Store: ร้านหนังสือ LGBT แห่งแรกในไต้หวันที่ร้านหนังสือ "Gin Gin Store" ถือเป็นร้านที่เปิดการด้านการขายสิ่งตีพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับ LGBT มาตั้งแต่ 20 ปีที่แล้วในขณะที่ไต้หวันยังเป็นสังคมอนุรักษ์ โดยช่วงสองสามเดือนแรกที่ร้าน "Gin Gin Store" เปิดในย่านที่อยู่อาศัยใกล้กับมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (National Taiwan University) ก็ถูกคุกคามจากเพื่อนบ้านที่ไม่เข้าใจประเด็น LGBT แต่ในปัจจุบันร้านหนังสือ "Gin Gin Store" ถือเป็นแหล่งรวมหนังสือที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเด็น LGBT ในไต้หวันและยังเป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมด้านสิทธิ LGBT ในไต้หวันด้วย GinGin Store [facebook]
Fembooks (女書店): สตรีศึกษาผ่านหนังสือร้านหนังสือแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2537 โดยกลุ่มนักเคลื่อนไหวและผู้สนับสนุนองค์กร "Awakening Foundation" องค์กรการเคลื่อนไหวสตรีแห่งแรกในไต้หวัน โดยคุณสามารถหาหนังสือหรือข้อมูลที่เกี่ยวกับประเด็นสตรีนิยมทั้งในโลกตะวันตกหรือในไต้หวันได้ที่นี่ Fembooks
เกี่ยวกับผู้เขียน: YenLin Chen เป็นนักศึกษาฝึกงานจากไต้หวัน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการของไต้หวัน ภายใต้โครงการ New Southbound Policy ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คปพ.มอบตัว ถูกดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ หลังยื่นหนังสื่อค้าน พ.ร.บ.ปิโตรเลียม หน้าสภา Posted: 21 Apr 2017 07:19 AM PDT แกนนำเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานฯ เข้ามอบตัว สน.ดุสิต หลังถูกดำเนินคดี ตาม พ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะ จากการมายื่นหนังสือคัดค้าน พ.ร.บ.ปิโตรเลียม เมื่อวันที่ 30 มี.ค. ที่ผ่านมา
ขณะที่ บุญยืน ศิริธรรม อดีต ส.ว.สมุทรสงคราม นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิผู้บริโภคและปฏิรูปพลังงาน โพสต์ภาพที่เข้ารายงานตัวพร้อม ปานเทพ และข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว 'Boonyuen Siritum' ในลักษณะสาธารณะ เฉยๆ บอกแล้วให้อยู่เฉยใครจะโกงใครจะเขียนกฎหมายเอื้อนายทุน ก็ให้เฉยไว้นี่ไงรางวัลของคนทำเพื่อส่วนร่วม จับพิมพ์ลายน้ิ้วมือแจ้งข้อกล่าวหาชุมนุมทางการเมืองที่หน้ารัฐสภา ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
วิษณุ เผยชะลอใช้กฎเข้มห้ามนั่งท้ายกะบะของรถปิคอัพเพื่อการโดยสารออกไปก่อน Posted: 21 Apr 2017 06:51 AM PDT ประชุมร่วม 'วิษณุ เครืองาม' กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังไม่ออกมาตรการอะไรเพิ่มเติมที่จะกระทบต่อการใช้โดยสารท้ายกระบะรถปิคอัพของประชาชนในช่วงนี้ ระบุการบังคับใช้กฎหมายตามคำสั่งมาตรา 44 ลดอุบัติเหตุได้ ยังคงบังคับใช้ต่อไป 21 เม.ย. 2560 สำนักข่าวไทย รายงานว่า วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติและกรมการขนส่งทางบก เพื่อพิจารณาในประเด็นการใช้งานท้ายกระบะของรถปิคอัพเพื่อการโดยสาร ว่า ขณะนี้หน่วยงานราชการทุกหน่วยจะยังไม่มีการออกมาตรฐานหรือมาตรการอะไรเพิ่มเติมที่จะส่งผลกระทบต่อการใช้งานพาหนะของประชาชนในการโดยสารท้ายกระบะรถปิคอัพ รวมทั้งให้ทุกหน่วยงานเก็บข้อมูลการใช้ประโยชน์โครงสร้างของรถประเภทดังกล่าวของประชาชนเพื่อเอามาศึกษาเพิ่มเติมอีกครั้ง ขณะที่ก่อนหน้านี้ กรมการขนส่งทางบกระบุแนวทางการบังคับใช้กฎหมายห้ามนั่งโดยสารบริเวณกระบะท้ายและแคปรถกระบะ ว่า กระทรวงคมนาคมได้หารือกับฝ่ายกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วได้ข้อสรุปตรงกันว่ามีความจำเป็นจะต้องผ่อนผันและผ่อนคลายกฎหมายดังกล่าวออกไปก่อนเพื่อให้สอดคล้องกับการประกอบอาชีพรวมถึงวิถีชีวิตของคนไทยในขณะนี้ ซึ่งหลังจากนี้กระทรวงคมนาคมจะเสนอให้ผู้บังคับใช้กฎหมายอย่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ออกข้อบังคับผ่อนผันเรื่องการบรรทุก ซึ่งตามกฎหมายให้อำนาจพนักงานจราจรสามารถออกข้อบังคับและประกาศบังคับใช้ได้ทันที Voice TV รายงานด้วยว่า วิษณุ ยื่นยันว่า ขณะนี้ ยังคงบังคับใช้กฏหมาย ตามคำสั่งมาตรา 44 อยู่แต่ผ่อนปรนให้นั่งแคปและท้ายรถกระบะได้จนกว่าจะมีการออกมาตราการ ยืนยันมาตราการใหม่จะไม่กระทบกับการใช้รถใช้ถนนของประชาชนโดยจะเน้นเรื่องของความปลอดภัยและความสะดวกของประชาชนเป็นหลัก และในช่วงที่ยังไม่มีการแก้ระเบียบใหม่ขอให้ประชาชนช่วยกัน ปฏิบัติในการเดินทางเหมือนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่สามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตลงได้ สำหรับการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปและประเมินสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ตั้งแต่ 11-17 เม.ย.ที่ผ่านมา วิษณุ ระบุว่า มีการสรุปตัวเลขสถิติสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุและพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุโดยปีนี้มีข้อสังเกตว่าไม่มีอุบัติเหตุกับรถโดยสารสาธารณะ ขณะที่อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดกับรถส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ซึ่งสาเหตุการเสียชีวิตไม่เกิดผู้ที่คาดเข็มขัดนิรภัย ส่วนรถจักรยานยนต์สาเหตุมาจากการเมาสุรา ไม่สวมหมวกนิรภัย และร้อยละ 50 เป็นรถที่ไม่ถูกต้องตามกฏหมาย ทำให้มีปัญหาในเรื่องของประกันภัย และสุ่มเสี่ยงทำให้เกิดอาชญากรรม จากสถิติการเสียชีวิตแสดงให้เห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรา 44 ให้คาดเข็มขัดนิรภัยสามารถช่วยลดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการขนส่งทางบก และกรมสรรพสามิตที่เกี่ยวข้องกับเรื่องภาษีรถยนต์ ไปหามาตรการเพื่อจะกำหนดในเรื่องข้อปฏิบัติเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน รวมถึงรณรงค์ลดอุบัติเหตุ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สนช. มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วย กกต. และ ว่าด้วยพรรคการเมือง Posted: 21 Apr 2017 06:36 AM PDT ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญกำหนดระยะเวลาแปรญัตติภายใน 7 วัน ระยะเวลาการดำเนินงานภายใน 45 วัน ที่ประชุมยังตั้งข้อสังเกตในหลายประเด็น เช่น สาขาพรรค สัดส่วนผู้สมัคร เก็บค่าสมาชิกพรรค 100 บ/ปี การกำหนดจำนวนสมาชิกขั้นต่ำ กำหนดทุนประเดิมกว่า 1 ล้านบาท รวมทั้ง การยุบ กกต. จังหวัด แฟ้มภาพ 21 เม.ย. 2560 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. .... ที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้เสนอ ด้วยคะแนนเห็นด้วย 175 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียง 3 เสียง พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 31 คน มาจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จำนวน 6 คน สนช.จำนวน 25 คน กำหนดระยะเวลาแปรญัตติภายใน 7 วัน ระยะเวลาการดำเนินงานภายใน 45 วัน วันเดียวกัน ที่ประชุม สนช. มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. .... ด้วยเสียง 201 เสียง งดออกเสียง 2 เสียง โดยไม่มีผู้ไม่เห็นด้วย จากจำนวนผู้ร่วมประชุม 203 คน สำหรับ การพิจารณา ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. .... นั้น รายงานข่าวระบุว่า สมาชิก สนช. ได้อภิปรายเห็นด้วยกับหลักการและเนื้อหาส่วนใหญ่ของร่าง ขณะเดียวกันได้ตั้งข้อสังเกตในหลายประเด็น อาทิ การตั้งสาขาพรรคการเมือง การส่งสัดส่วนผู้สมัคร การให้สมาชิกพรรคต้องเสียค่าสมาชิกพรรค 100 บาทต่อปี การกำหนดจำนวนสมาชิกขั้นต่ำ การกำหนดทุนประเดิมพรรคการเมืองต้องมีไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท กลไกที่สนับสนุนให้พรรคการเมืองพัฒนาไปสู่การเป็นสถาบันทางการเมือง พร้อมเสนอแนะว่า การจัดตั้งพรรคควรจะทำได้ง่ายแต่การยุบพรรคควรจะเกิดได้ยาก บุคคลที่จะเข้ามาเป็นนักการเมืองควรศึกษารัฐธรรมนูญอย่างรอบด้าน บทบาทและกิจกรรมของพรรคการเมือง ควรให้ความรู้แก่นักการเมือง สมาชิกพรรคและประชาชน รวมถึงพร้อมฝากข้อห่วงใยในภาคปฏิบัติในการส่งเสริมให้เป็นพรรคการเมืองที่ดีและก่อให้เกิดเสถียรภาพ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ประธานกรรมการพิจารณาศึกษาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง สนช. เปิดเผยถึงข้อสังเกตที่ได้รับฟังความเห็นจากพรรคการเมือง และ นักวิชาการ ใน 4 ประเด็น คือ 1.การจัดตั้งพรรคการเมืองมีความยาก แต่ง่ายต่อการสิ้นสภาพและถูกยุบ 2.การกำหนดทุนประเดิมและการเก็บค่าบำรุงสมาชิกพรรค เป็นกำแพงกีดกันการมีส่วนร่วมของประชาชน ขัดแย้งกับระบบประชาธิปไตย 3.องค์ประกอบของคณะกรรมการกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง เหตุใดจึงตัดสัดส่วนของผู้แทนพรรคการเมืองออก และ 4.บทลงโทษที่รุนแรงต่อผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง อาจส่งผลให้ไม่มีคนรุ่นใหม่หรือคนดีเข้าสู่การเมือง จึงควรพิจารณาบทลงโทษให้สอดคล้องกับการกระทำและสมควรกับเหตุ มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้กล่าวย้ำว่า กรธ.พยายามที่จะวางกฎเกณฑ์ กติกาไว้แล้ว แน่นอนว่าคนที่จะหลีกเลี่ยงก็จะพยายามหลีกเลี่ยง แต่สิ่งที่สามารถช่วยได้อย่างมากคือ กระตุ้นให้ประชาชนสนใจ เข้ามามีส่วนร่วมจับตาดูการดำเนินงานของทุกพรรคการเมือง พร้อมระบุว่า ถือเป็นภารกิจร่วมกันระหว่าง กรธ. และ สนช. ที่จะทำกฎหมายนี้ออกไปใช้ได้ดีที่สุด ให้ตรงตามเจตนารมณ์ที่จะปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะทางด้านการเมือง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับบ้านเมืองและประชาชนเป็นส่วนรวม ขณะที่ การพิจารณา ร่าง พ.ร.ป.ว่า กกต. มีชัย ประธาน กรธ. กล่าวถึงความจำเป็นในการยกร่างกฎหมายดังกล่าวเสนอมายัง สนช. ว่า เพื่อให้มี กกต. เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ด้านการเลือกตั้ง กรธ.จึงดำเนินการตามขั้นตอนโดยให้ กกต. ยกร่างกฎหมายส่งมายัง กรธ. โดยยึดความเหมาะสมและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และเมื่อ กรธ. นำมาพิจารณาได้ยึดหลักสำคัญที่ว่า สิ่งใดที่ยกร่างมาดีแล้ว คงไว้ สิ่งใดที่ยังไม่สมบูรณ์ได้เติมให้มีความสมบูรณ์ และมีอีกส่วนที่เพิ่มเติมเข้าไปใหม่ให้ร่างกฎหมายมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมทั้งได้เปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนโดยตรงทั้งในส่วนกลางและครอบคลุมทุกภูมิภาค โดยมี สปท. และ สนช. ร่วมแสดงความเห็นด้วย รวมไปถึงการเผยแพร่เนื้อหาของร่างกฎหมายในทุกขั้นตอนผ่านทางเว็บไซต์ เปิดให้ประชาชนเข้ามาแสดงความเห็น ประกอบกับการรับฟังความเห็นจากคณะกรรมการของ สนช. ที่ตั้งขึ้นมาพิจารณาควบคู่ ทั้งนี้ กรธ. ได้พยายามยกร่างและทำการปรับแก้ไขร่างกฎหมาย กกต. โดยมุ่งให้มีกลไกสำหรับจัดการเลือกตั้งที่มีความสมบูรณ์ สุจริต เที่ยงธรรม ได้คนดีเข้ามาปกครองบ้านเมือง ส่วนความเห็นต่างที่มีขึ้น กรธ. พร้อมยอมรับ สมาชิก สนช. อภิปรายแสดงความเห็นด้วยกับหลักการและเนื้อหาส่วนใหญ่ แต่หลายคนยังตั้งข้อสังเกตเรื่องการยุบ กกต. จังหวัด อาทิ รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน และ นิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ยังเห็นว่าการตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้งขึ้นมาทำหน้าที่ดูแลการเลือกตั้งระดับพื้นที่ แทน กกต. จังหวัด ไม่เป็นหลักประกันในการป้องกันการทุจริตจากการสร้างความคุ้นเคยกับผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ด้าน สมชาย แสวงการ เสนอแนะทางออกโดยอาจให้มีทั้ง กกต.จังหวัดและผู้ตรวจการเลือกตั้งทำงานควบคู่กัน รวมทั้งค้านเรื่องการเซตซีโร่ กกต. ที่ทำหน้าที่อยู่เดิม ทั้งนี้ หลังลงมติแล้ว สนช. กำหนดตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมา 1 คณะ เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว จำนวน 31 คน มาจากสัดส่วนของ สนช. จำนวน 25 คน กรธ. จำนวน 2 คือ นายภัทระ คำพิทักษ์ และ นายปกรณ์ นิลประพันธ์ กกต. จำนวน 1 คน คือ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา สปท. จำนวน 1 คน คือ นายเสรี สุวรรณภานนท์ และตัวแทนในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรี และกฤษฎีกา อย่างละ 1 คน กำหนดกรอบเวลาแปรญัตติได้ภายใน 7 วัน และเวลาพิจารณาร่างกฎหมายภายใน 45 วัน เพื่อให้ทันตามกรอบเวลา 60 วัน หลังรัฐธรรมนูญบังคับใช้ ที่มา : เว็บไซต์สถานีวิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ยื่นค้านอีไอเอโรงไฟฟ้าถ่านหิน ด้าน คชก.มีมติไม่เห็นชอบ Posted: 21 Apr 2017 03:04 AM PDT ชาวบ้านทราบโดยบังเอิญ บริษัทยื่นอีไอเอของโครงการโรงไฟฟ้าที่จะป้อนไฟฟ้าให้เหมืองโปรแตช รอบ2 หลังสผ.สั่งแก้ ชาวบ้านจึงยื่นเรื่องคัดค้าน ระบุไม่เห็นการทำอีไอเอ-รับฟังความเห็นใหม่ในพื้นที่ พร้อมเสนอ สผ.ปรับระบบแจ้งให้ชาวบ้านทราบด้วยจะได้เสนอข้อมูลโต้แย้ง ผู้ชำนาญการพิจารณาสรุปมีมติไม่เห็นชอบ เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2560 เวลา 10.00 น. ที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ชาวบ้านจาก อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ จำนวน 30 คน เข้ายื่นหนังสือคัดค้านการรับรายงานอีไอเอโรงไฟฟ้าถ่านหินบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ ต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) เนื่องจากการจัดส่งรายงานฉบับดังกล่าวไม่เป็นไปตามมติของ คชก. ที่ให้กลับไปเริ่มกระบวนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ใหม่ทั้งหมดก่อนนำกลับเข้าสู่กระบวนการพิจารณารายงานของ คชก. อีกครั้ง แต่ในพื้นที่กลับไม่มีการจัดทำอีไอเอที่ชัดเจน อีกทั้งไม่เกิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและทำความเข้าใจภายในพื้นที่อีกด้วย ทั้งนี้โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมของโครงการเหมืองแร่โพแทชและเกลือหิน อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เป็นของบริษัทอาเซียนโปแตช ชัยภูมิ จำกัด(มหาชน) และจัดทำรายงานอีไอเอโดยบริษัททีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่งแอนด์แมเนจเมนท์ จำกัด โดยทางบริษัทได้เสนอรายงานอีไอเอต่อ สผ. เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2559 และ คชก.มีมติไม่เห็นชอบรายงานเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2559 โดยต้องทำการแก้ไขเพิ่มเติมตามที่ คชก. กำหนด โรงไฟฟ้าดังกล่าวตั้งขึ้นเพื่อผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในเหมืองแร่โพแทชซึ่งผ่านการประทานบัตรเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันอยู่ในระหว่างการขุดเจาะ สำรวจ และปรับหน้าดิน การยื่นหนังสือคัดค้านในครั้งนี้มี สุโข อุบลทิพย์ ผู้อำนวยการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ รุ่งอรุณ ญาติบรรทุง ผู้อำนวยการกลุ่มงานพลังงาน สผ. เป็นผู้รับหนังสือคัดค้าน พร้อมตอบข้อสงสัยและชี้แจงประเด็นที่ชาวบ้านกังวลว่า ทำไม สผ.ถึงรับรายงานฉบับใหม่จากบริษัทดังกล่าวและส่งให้ คชก.พิจารณาในวันนี้ ผอ.กลุ่มงานพลังงาน ชี้แจงว่า ทาง สผ. ทำหน้าที่เป็นเลขาฯ ของ คชก. มีหน้าที่ต้องนำส่งรายงานต่อคณะกรรมการเท่านั้น และเป็นหน้าที่ต้องทำตามกฎหมาย ไม่มีสิทธิที่จะไปตัดสิทธิหรือไม่ส่งรายงานต่อคณะกรรมการได้ ในส่วนของมติไม่เห็นชอบของกรรมการในรอบที่ผ่านมานั้น ทางกรรมการมองว่าสามารถนำข้อมูลในการจัดทำรายงานครั้งแรกมาใช้ได้ และต้องพิจารณาในประเด็นที่กรรมการไม่เห็นชอบในครั้งแรกมาปรับปรุงและแก้ไข ซึ่งในส่วนนี้กรรมการจะพิจารณาและใช้ดุลยพินิจเองว่าข้อมูลในอีไอเอรอบใหม่ใช้ได้หรือไม่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงบ่ายมีการประชุมของคชก. โดยตัวแทนชาวบ้านได้มีโอกาสเข้าไปแสดงความคิดเห็นและมีข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ต่อ คชก. คือ 1.ให้กลับไปแก้ไขรายงานอีไอเอใหม่ทั้งหมด 2 ในพื้นที่ไม่มีการทำเวทีรับฟังความคิดเห็น ค1 และ ค2 ใหม่ ถ้ามีการนำข้อมูลจากครั้งก่อนมาใช้เกรงว่าจะเก่าเกินไป รวมถึงกังวลว่าจะมีการแอบอ้างนำข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมาใช้ 3.ในเมื่อไม่มีการจัดทำอีไอเอใหม่ทั้งหมด ทำไม คชก. จึงรับพิจารณารายงานฉบับนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากการประชุม คชก. มีมติไม่เห็นชอบต่อรายงานอีไอเอฉบับดังกล่าว สุภาภรณ์ มาลัยลอย นักกฎหมายมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) ให้ความคิดเห็นต่อกรณีนี้ว่า กระบวนการพิจารณาอีไอเอนั้นมีปัญหาความไม่ชัดเจน เมื่อ คชก. มีมติไม่เห็นชอบต่อรายงานอีไอเอ แต่มีข้อคิดเห็นให้ปรับปรุงและสามารถส่งกลับมาให้พิจารณาใหม่ได้วนซ้ำไปไม่สิ้นสุด ถ้าหากโครงการนั้นไม่เหมาะสมกับพื้นที่จะเป็นอย่างไร ตัวอย่างจากวันนี้ที่ชาวบ้านมายื่นหนังสือเพราะบังเอิญได้เข้ามาเอาเอกสารจึงรู้ว่ามีการส่งอีไอเอเข้ามาพิจารณารอบที่ 2 อีกครั้งและจะมีการพิจารณาลงมติในวันนี้ (20 เม.ย.) โดยที่ทางชาวบ้านไม่รับรู้มาก่อนว่ามีการยื่นอีกรอบ อีกทั้งในชุมชนก็ไม่เห็นว่ามีการจัดกระบวนการเกี่ยวกับอีไอเอเลย หากชาวบ้านไม่มาในวันนี้ คชก.ก็จะพิจารณาเอกสารที่ส่งเข้ามาเพียงอย่างเดียว จึงอยากรู้ว่าในเชิงระบบแล้ว คชก. และ สผ. จะมีการปรับกระบวนการอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก "กลไกระบบการพิจารณาอีไอเอไม่ใช่แค่เรื่องของ สผ. คชก. บริษัทเจ้าของโครงการ และบริษัทที่ปรึกษา แต่เป็นเรื่องของชาวบ้านและชุมชนด้วย ในส่วนนี้ สผ.ในฐานะเลขาจะทำอย่างไรในการรับเรื่อง ทำอย่างไรที่จะเพิ่มกลไกว่ามีการยื่นเอกสารอีไอเอเข้ามาแล้ว เพื่อให้ชาวบ้านและชุมชนได้ร่วมตรวจสอบ เพราะที่ผ่านมาหลายพื้นที่ใช้การโทรตามทุกอาทิตย์ว่ามีเอกสารเข้ามาไหม หรือสังเกตจากกิจกรรมในพื้นที่ที่เกิดขึ้น แต่ในทางปฏิบัติเมื่อ คชก. อ่านและพิจารณาเอกสาร จะมีข้อคำถามเกิดขึ้น บริษัทที่ปรึกษามีสิทธิเข้าชี้แจง ขณะที่ชาวบ้านที่มีส่วนได้ส่วนเสียกลับไม่รู้กระบวนการ คชก.ควรเน้นย้ำไม่ใช่แค่แก้ไขในเล่มรายงานและตามข้อคิดเห็นเท่านั้น แต่ต้องสร้างกลไกการรับรู้และเข้าใจในระดับพื้นที่ด้วย เพราะมันเกี่ยวข้องกับชีวิต สุขภาพและสิ่งแวดล้อมของคนในชุมชน" สุภาภรณ์กล่าว สุวรรณี ศรีสูงเนิน ชาวบ้าน อ.บำเหน็จณรงค์ กล่าวว่า การคัดค้านในครั้งนี้สืบเนื่องจากในครั้งแรก คชก.มีมติไม่เห็นชอบ และทางชาวบ้านได้ยินข่าวว่าทางบริษัทยื่นเรื่องเข้ามาใหม่ ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการจัดทำอีไอเอในพื้นที่ตามมติที่ คชก. แจ้งไว้ในครั้งแรก จึงเป็นกังวลต่อกรณีดังกล่าว "อยากให้ คชก.เห็นใจและเข้าใจชาวบ้านเพราะสถานที่ที่ อ.บำเหน็จณรงค์ ไม่เหมาะกับการก่อสร้างใดๆ ทั้งสิ้น ตอนนี้มีผลกระทบจากเหมืองแร่โปแตชที่ได้ประทานบัตรแล้ว มีการเริ่มขุดเจาะ สำรวจ ทำให้ตอนนี้มีปัญหาดินเค็ม ปลูกของกินไม่ได้เลย ส่วนเรื่องแหล่งน้ำจากที่เคยแย่งกันใช้อยู่แล้ว ถ้ามีโรงไฟฟ้าถ่านหินอีกจะเป็นอย่างไร ต้องเกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำกันอย่างแน่นอน ถ้ามติ คชก.ผ่าน ชาวบ้านคงต้องทำเรื่องส่งถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป เพราะเป็นชุมชนเกษตรกร ทั้ง 95 หมู่บ้านต้องได้รับผลกระทบ จึงอยากขอความเห็นใจจากทุกฝ่ายด้วย ชาวบ้านทุกคนไม่เอาถ่านหิน ไม่อยากได้รับผลกระทบเหมือนที่แม่เมาะ อยากใช้ชีวิตอย่างมีความสุข" สุวรรณี กล่าว สุโข อุบลทิพย์ ผอ.สำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สผ.อธิบายเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการพิจารณาอีไอเอ ตามพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ซึ่งมีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ มาตรา 46-51 โดยมี สผ. เป็นเลขาฯ มีหน้าที่ต้องส่งรายงานต่อ คชก. เพราะเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย หากไม่ส่งจะผิดทั้งวินัยและทางกฎหมาย โดยจะเริ่มต้นจากการประกาศประเภทและขนาดของโครงการ ซึ่งโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบำเหน็จณรงค์ มีขนาด 56 เมะวัตต์ ขนาดถึงกำหนดที่ต้องจัดทำอีไอเอ และต้องจัดทำโดยบริษัทที่ได้รับอนุญาต เมื่อบริษัทว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาให้ทำรายงานเรียบร้อยแล้ว จะส่งเป็นรูปเล่มรายงานมาที่ สผ. โดยเริ่มนับหนึ่งจากวันที่รับและพิจารณาใน 30 วัน เพื่อตรวจสอบรายละเอียดเบื้องต้น และส่งต่อให้ คชก.พิจารณา ใน 45 วัน ถ้าพิจารณาไม่เสร็จภายใน 45 วัน ถือว่าให้ความเห็นชอบรายงานนี้ ซึ่งใน 45 วันนี้ หาก คชก. มีมติเห็นชอบจะแจ้งให้หน่วยงานที่มีหน้าที่อนุญาตทราบและแจ้งเจ้าของโครงการเพื่อดำเนินการต่อไป กรณีมีมติไม่เห็นชอบจะแจ้งเหตุผลที่ไม่เห็นชอบเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข และผู้จัดทำโครงการสามารถแก้ไขและส่งกลับมาที่ สผ. ได้อีกครั้ง แต่ครั้งที่สองนี้ต้องดำเนินการส่งให้ สผ. ภายใน 30 วัน และส่งต่อให้ คชก. พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ถ้าเห็นชอบจะแจ้งหน่วยงานที่มีหน้าที่อนุญาตทราบและแจ้งเจ้าของโครงการเพื่อดำเนินการต่อไป กรณีไม่เห็นชอบถือว่าจบกระบวนการและต้องเริ่มต้นใหม่เช่นเดียวกับกรณีวันนี้ "เจ้าของโครงการควรมีเล่มรายงานอีไอเอฉบับสมบูรณ์ที่ส่งให้ คชก. พิจารณาไว้ให้ชาวบ้านอ่านด้วย เพราะทุกคนจะได้อ่านและสามารถส่งความเห็นมาให้ สผ.และคชก. เป็นหน้าที่โครงการที่ต้องให้ และถือเป็นประโยชน์ต่อโครงการอีกทางหนึ่งเพราะจะได้มีคนช่วยกันตรวจสอบโครงการ" สุโขกล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ตร.นำตัว ชายชาวประจวบฯ ท้าดวลปืน 'ประยุทธ์-ผบ.ตร.-ผบ.ทบ.' ไปพบแพทย์ Posted: 21 Apr 2017 02:34 AM PDT ตร.นำตัว ชายชาวประจวบฯ ในคลิปท้าดวลปืน 'ประยุทธ์-ผบ.ตร.-ผบ.ทบ.' ไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจรักษาอาการป่วย โดยยังไม่ได้ฟันธงว่าจะดำเนินคดีต่อหรือไม่ ญาติเผยประสบอุบัติเหตุปี 47 ต้องผ่าตัดสมองซีกขวา ทำให้มีอาการไม่ปกติตั้งแต่นั้นมา 21 เม.ย. 2560 จากกรณีวานนี้ (20 เม.ย.60) มีการเผยแพร่วิดีโอคลิป ชายคนหนึ่งซึ่งอ้างว่าชื่อ ปืน หรือว่า "ทรงวิทย์ สุขประเสริฐ" ท้าทายทั้ง พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. และพล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมตรี พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ. ให้มายิงกัน โดยคลิปดังกล่าวถ่ายโดยตำรวจสายตรวจคนหนึ่งซึ่งขี่รถจักรยานยนต์มาตามถนน ล่าสุด ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า เช้าวันนี้ (21 เม.ย.) พ.ต.อ.สิทธิชัย ศรีโสภาเจริญรัตน์ ผกก.สภ.หัวหิน พร้อมด้วย พ.ต.ท.เสมอ อยู่สำราญ รอง ผกก.ป.สภ.หัวหิน พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.หัวหิน และเจ้าหน้าที่กู้ภัยมูลนิธิสว่างหัวหินธรรมสถาน ได้เดินทางไปยังบ้านพักของชายคนดังกล่าว ซึ่งตรวจสอบพบว่า ปืน หรือ ทรงวิทย์ สุขประเสริฐ อายุ 52 ปี อาศัยอยู่กับญาติ โดยปลูกเพิงพักเล็กๆ อยู่ในรั้วบ้านเดียวกัน เขตเทศบาลเมืองหัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ล่าสุด เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่กู้ภัยได้นำตัว ปืน ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหัวหิน และเตรียมนำตัวส่งรักษาที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ จ.นครปฐม ตามลำดับ เพื่อให้แพทย์เฉพาะทางทำการตรวจรักษาอาการป่วยของ ทรงวิทย์ โดยยังไม่ได้ฟันธงว่าจะดำเนินคดีต่อ ทรงวิทย์ หลังจากนี้หรือไม่ ขณะที่ทางตำรวจก็ขอให้ประชาชนใช้วิจารณญาณในการเสพข้อมูล อย่าหลงเชื่อข้อมูลที่บิดเบือน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ฎีกายืนคุก 12 เดือนอริสมันต์หมิ่นฯอภิสิทธิ์ ปมปราศรัยกล่าวหาสั่งทหารฆ่า-ปล้นอำนาจจาก ปชช. Posted: 21 Apr 2017 02:08 AM PDT ศาลฎีกาพิพากษา ยืนคุก 12 เดือน 'อริสมันต์' หมิ่นประมาท 'อภิสิทธิ์' กรณีปราศรัยปี 52 กล่าวหา สั่งทหารฆ่าประชาชน ปล้นอำนาจจากประชาชน และไม่ดำเนินการตรวจสอบการทุจริตในโครงการต่างๆ 21 เม.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ (21 เม.ย.60) เมื่อเวลา 9.30 น. ที่ห้องพิจารณา 814 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา คดีหมายเลขดำ อ.4177/2552 ที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง อริสมันต์ พงศ์เรืองรอง หรือกี้ร์ อดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 ซึ่งคดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษายืนให้จำคุกนายอริสมันต์ รวม 2 กระทงๆ ละ 6 เดือน เป็นจำคุก 12 เดือนแต่การกระทำนั้นมีเหตุการณ์ที่กล่าวพาดพิงสถาบันเบื้องสูงด้วย จึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ และให้จำเลยลงโฆษณาคำพิพากษาใน นสพ.มติชน กับเดลินิวส์ ติดต่อกัน 7 วันโดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณา อริสมันต์ ยื่นฎีกา สู้คดี ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือแล้ว เห็นว่า จำลยกระทำผิดจริง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษมานั้นชอบแล้ว ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน คดีนี้สืบเนื่องจาก 11 และ 17 ต.ค.52 จำเลยได้ปราศรัยที่ บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และหน้าทำเนียบรัฐบาล ซึ่งมีการถ่ายทอดสด ผ่านช่องพีเพิลแชนแนล กล่าวหาใส่ร้าย อภิสิทธิ์ โจทก์ ทำนองว่า การบริหารงานของรัฐบาล อภิสิทธิ์ กู้ยืมเงินมาเพื่อทุจริตคดโกง มีการหยิบยกเรื่องสถาบันมากล่าวอ้าง และกล่าวหาว่าเป็นผู้หน่วงเหนี่ยวคำร้องฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ กับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทำให้ล่าช้า รวมถึงมีจิตใจ ต่ำช้า สั่งทหารฆ่าประชาชน ปล้นอำนาจจากประชาชน และไม่ดำเนินการตรวจสอบการทุจริตในโครงการต่างๆ อริสมันต์ จำเลย ปฏิเสธสู้คดี จนมีคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว รายงานข่าวระบุด้วยว่า วันนี้เป็นการอ่านคำพิพากษาให้ฝ่ายโจทก์ฟัง ซึ่งมีแค่ตัวแทนโจทก์ มาศาลเท่านั้น หลังจากที่ศาลอาญาส่งคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้ ให้ศาลจังหวัดพัทยาอ่านให้ อริสมันต์ จำเลยฟังไปก่อนแล้ว เนื่องจากขณะนี้ อริสมันต์ ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพัทยา จ.ชลบุรี คดีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาจำคุก 4 ปี กรณีที่ อริสมันต์ พากลุ่มผู้ชุมนุม นปช.บุกเข้าไปในโรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท เมืองพัทยา จ.ชลบุรี เพื่อขัดขวางการประชุมผู้นำอาเซียน ปี 2552
ที่มา : สำนักข่าวไทย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'พาณิชย์' สั่งจับตาไฟขึ้น-สินค้าขยับ เอกชนโวยกระทบธุรกิจ กกพ. แจงขึ้นตามราคาก๊าซ Posted: 21 Apr 2017 01:05 AM PDT กกพ. ปรับขึ้นค่าไฟฟ้า 12.52 สตางค์ต่อหน่วย ชี้มาจากราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าปรับราคาสูงขึ้น คาด ก.ย.-ธ.ค.60 ยังคงมีทิศทางปรับขึ้นอีก เพราะเหตุเดียวกัน 21 เม.ย. 2560 จากกรณีเมื่อวันที่ 19 เม.ย. ที่ผ่านมา วีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยว่า คณะกรรมการ กกพ.ได้พิจารณาปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ที่จะเรียกเก็บในบิลค่าไฟฟ้างวดเดือน พ.ค.-ส.ค.2560 เพิ่มขึ้น 12.52 สตางค์ต่อหน่วย เฉลี่ยผู้ใช้ไฟฟ้าต้องจ่ายที่ 3.5079 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากเดิม 3.3827 บาทต่อหน่วย โดยนับเป็นการปรับขึ้นค่าไฟครั้งแรกในรอบ 2 ปี 7 เดือน นับตั้งแต่เดือน ก.ย.2557 'พาณิชย์' สั่งจับตาไฟขึ้น-สินค้าขยับล่าสุดวันนี้ (21 เม.ย.60) มติชนออนไลน์ รายงานว่า สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงกรณีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 3.50 บาทต่อหน่วยเดือน พ.ค.นี้ ว่า สั่งให้กรมการค้าภายในติดตามผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคจากการปรับขึ้นของราคาพลังงานและค่าไฟฟ้า ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เมื่อราคาพลังงานอย่างก๊าซธรรมชาติปรับขึ้นจะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าขึ้น "จะรู้รายละเอียดภายใน 2-3 วัน เบื้องต้นคาดว่าจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตสินค้าระดับหนึ่ง แต่คงรอดูผลการศึกษาก่อนว่าต้นทุนสินค้าจากค่าไฟฟ้าปรับขึ้นให้ชัดเจนว่าจะออกมาเป็นอย่างไร" สนธิรัตน์ กล่าว เอกชนโวยกระทบธุรกิจ วอนรัฐทบทวนพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า ค่าไฟฟ้าเป็นปัจจัยหลักหนึ่งในต้นทุนการผลิตสินค้าทุกอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออก เมื่อค่าไฟฟ้าปรับขึ้นย่อมส่งผลให้ต้นทุนการผลิตปรับขึ้นตาม ประกอบกับต้นปีมีการปรับขึ้นค่าแรงงานด้วย และค่าเงินบาทขณะนี้ถือว่าแข็งค่ากว่าค่าเงินเทียบกับหลายประเทศคู่แข่ง ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกและทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง ในส่วนอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอาหารแปรรูป ตอนนี้ยังฟื้นตัวไม่ดีนัก ผลจากเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ หากเจอต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกได้ "อยากให้รัฐบาลทบทวนการปรับเพิ่มขึ้นของราคาปัจจัยต่างๆ ที่จะกระทบต่อภาคการผลิตและส่งออก อย่างค่าไฟฟ้าที่ปรับขึ้นครั้งนี้ หากจะประกาศใช้ ไม่มีการทบทวนอีกแล้ว ก็ต้องเป็นไปตามนั้น แต่ครั้งต่อๆ ไปควรชะลอหรือทบทวนให้ดีๆ เพราะภาคผลิตอาหารแช่เยือกแข็งใช้ไฟฟ้าค่อนข้างมาก และค่าไฟฟ้าเป็นสัดส่วน 20% ของต้นทุนผลิตทั้งหมด ขณะที่ค่าแรงงานคิดเป็นสัดส่วน 50-60% ของต้นทุนผลิต" พจน์ กล่าว กกพ. แจงเหตุขึ้นค่าไฟ ราคาก๊าซธรรมชาติปรับสูงขึ้นสำหรับเหตุผลในการประขึ้นค่าไฟฟ้านั้น โพสต์ทูเดย์ รายงานคำแถลงของ โฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ด้วยว่า จากการคำนวณค่าเอฟทีงวดนี้จริงๆ จะต้องขึ้น 17.83 สตางค์ต่อหน่วย แต่ กกพ.ได้บริหารจัดการเพื่อไม่ให้มีความผันผวน ด้วยการปรับลดค่าเชื้อเพลิงในช่วงที่แหล่งก๊าซยาดานา เมียนมา หยุดซ่อมเมื่อ 25 มี.ค. - 2 เม.ย.ที่ผ่านมา รวมทั้งนำเงินค่าปรับและค่าชดเชยต่างๆ ที่ได้รับจากการบริหารสัญญาจัดหาเชื้อเพลิงและสัญญาซื้อไฟฟ้าต่างๆ ไม่เป็นไปตามแผนราว 3,000 กว่าล้านบาทมาลด ได้อีก 4.26 สตางค์ต่อหน่วย สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ค่าไฟงวดนี้ปรับขึ้น มาจากราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าปรับราคาสูงขึ้นมาอยู่ที่ 244.58 บาทต่อล้านบีทียู นอกจากนี้ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าช่วงเดือน พ.ค.-ส.ค.60 เท่ากับ 68,198 ล้านหน่วย ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา ที่อยู่ที่ 5,853 ล้านหน่วย คิดเป็น 9.39% รวมทั้งราคาน้ำมันดีเซลปรับขึ้น 0.09 บาทต่อลิตร คาดค่าเอฟทีงวด ก.ย.-ธ.ค.60 ยังคงมีทิศทางปรับขึ้นอีกโฆษก กกพ. ระบุอีกว่า แนวโน้มค่าเอฟทีงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค.60 ถัดไป ยังคงมีทิศทางปรับขึ้นอีก เนื่องจากปัจจัยสำคัญคือราคาก๊าซธรรมชาติยังคงเป็นขาขึ้น เพราะราคาก๊าซจะสะท้อนราคาน้ำมันเตาย้อนหลัง 8-12 เดือน ซึ่งในช่วงนี้น้ำมันเป็นช่วงราคาที่ปรับขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีนี้ "ขณะที่ค่าเอฟทีดังกล่าวหากคำนวณผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟประเภทบ้านที่อยู่อาศัยที่มีอยู่ราว 26.17 ล้านครัวเรือนนั้นพบว่า จะมีค่าใช้จ่ายขึ้นไม่มากนัก โดยครัวเรือนที่ใช้ไฟต่ำกว่า 150 หน่วยต่อเดือน จะต้องจ่ายค่าไฟเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 4 บาทต่อหน่วย ขณะที่บ้านที่ใช้ไฟเกิน 150 หน่วยต่อเดือนขึ้นไป จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้น เดือนละ 16.50 บาทต่อหน่วย" วีระพล กล่าว วีระพล กล่าวว่า กกพ.อยู่ระหว่างการหารือกับกระทรวงพลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อพิจารณาว่าควรให้ บมจ.เนชั่นแนล เพาเวอร์ ซัพพลาย ขยายเวลาการขายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (ซีโอดี) ของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ขนาดกำลังการผลิต 540 เมกะวัตต์ อีกรอบหรือไม่ หลังจาก กกพ.ได้สั่งให้เลื่อนซีโอดีออกไป 2 ครั้งแล้ว เนื่องจากตัวโครงการยังไม่ผ่านการทำรายงานผลกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (อีเอชไอเอ) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น