โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

สรรเสริญ ชี้ขับรถเร็ว ตัดหน้ากระชั้นชิด เมาสุรา สาเหตุหลักอุบัติเหตุ 5 วัน คสช.ยึดรถ 6.5 พันคัน

Posted: 17 Apr 2017 11:53 AM PDT

17 เม.ย. 2560 พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้เป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันถึง 5 วัน ทำให้มีปริมาณรถยนต์บนท้องถนนทั้งสายหลักสายรองทั่วประเทศจำนวนมากที่มุ่งหน้าเดินทางกลับ กทม. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้พี่น้องประชาชนขับขี่รถอย่างมีสติ ไม่ประมาท ทั้งรถยนต์ส่วนตัวและรถโดยสารสาธารณะ พร้อมทั้งกำชับเจ้าหน้าที่ใช้ความพยายามร่วมกันในการกวดขันวินัยจราจรและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขับขี่  เพื่อให้ถึงที่หมายอย่างปลอดภัย

"สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมา อันดับ 1 คือ ขับรถเร็วเกินกำหนด รองลงมาคือ คนหรือรถตัดหน้ากระชั้นชิด และเมาสุรา โดยรถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ตามมาด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล และรถปิคอัพบรรทุก 4 ล้อ อย่างไรก็ดี จำนวนผู้เสียชีวิตเมื่อเทียบกับปี 59 ลดลงเกือบร้อยละ 20 ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของประชาชน รวมทั้งมาตรการและการรณรงค์ของรัฐ เช่น ขับรถมีน้ำใจ รักษาวินัยจราจร และดื่มไม่ขับ จับยึดรถ เป็นต้น" พล.ท.สรรเสริญ กล่าว

ที่มาภาพ เฟซบุ๊กแฟนเพจ Army PR Center

ขณะที่ พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า ภาพรวมการสัญจรในขณะนี้ยังมีความคับคั่ง เนื่องจากประชาชนเดินทางกลับจากเทศกาลสงกรานต์และท่องเที่ยว โดยเจ้าหน้าที่ทุกส่วนยังคงร่วมกันดูแลในทุกเส้นทาง เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนเช่นเดิม ส่วนใหญ่เป็นการอำนวยการจราจร เปิดช่องทางพิเศษในการสัญจรเฉพาะพื้นที่ที่เป็นปมการคมนาคมสำคัญ การซ่อมแซมและตรวจสอบสภาพรถ การปฐมพยาบาล เป็นต้น โดยจะดูแลและส่งประชาชนกลับจนสภาพการสัญจรกลับสู่ภาวะปกติ

รองโฆษก คสช. กล่าวว่า สำหรับสถิติการตรวจพบผู้กระทำผิดในลักษณะที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุโดยประมาทด้วยการดื่มแล้วขับขี่ในวันที่ 16 เมษายน 2560 มีดังนี้ รถจักรยานยนต์ พบการกระทำความผิด 85,009 ครั้ง เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องยึดรถไว้ 1,013 คัน และส่งผู้กระทำผิดดำเนินคดี 46,929 คน สำหรับรถโดยสารสาธารณะและรถยนต์ส่วนบุคคล พบการกระทำความผิด 57,719 ครั้ง เจ้าหน้าที่ได้ยึดใบอนุญาตขับขี่ไว้ 581 ใบ ยึดรถยนต์ 319 คัน ส่งผู้กระทำความผิดดำเนินคดี 29,304 คน

"ตลอด 5 วันที่ผ่านมา คือ ตั้งแต่วันที่ 12-16 เมษายน เจ้าหน้าที่ตรวจพบการกระทำความผิด ในส่วนรถจักรยานยนต์ 325,013 ครั้ง รถโดยสารสาธารณะ รถยนต์ 274,309 ครั้ง เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องยึดรถที่ฝ่าฝืนมาตรการดื่มไม่ขับไว้แล้ว 6,544 คัน แยกเป็นจักรยานยนต์ 4,982 คัน และรถยนต์ 1,562 คัน และดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด รถจักรยานยนต์ 210,513 คน รถโดยสารสาธารณะ รถยนต์ส่วนบุคล 166,145 คน" รองโฆษก คสช. กล่าว

 

ที่มา : สำนักข่าวไทย และเฟซบุ๊กแฟนเพจ Army PR Center

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

100 ปีชาตกาล ‘ครูองุ่น มาลิก’ ผู้หญิงธรรมดาที่ไม่ธรรมดา มองอดีตเพื่อปัจจุบัน

Posted: 17 Apr 2017 10:42 AM PDT

100 ปีชาตกาล ครูองุ่น มาลิก เรียนรู้ชีวิตและคุณูปการที่สร้างสรรค์ให้สังคม ผ่านสายตาของคนรุ่นใหม่ มองครูองุ่นอย่างไร อะไรคือแรงบันดาลใจ

เมื่อวันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา มูลนิธิไชยวนาจัดงานรำลึกและเชิดชูเกียรติ ครูองุ่น มาลิก ในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาล ณ สวนครูองุ่น มาลิก ซอยทองหล่อ โดยมีคณาญาติ ลูกศิษย์ นักแสดง นักดนตรี นักวิชาการ และผู้สนใจเข้าร่วมงานนับร้อยคนเพื่อร่วมกันศึกษาเรียนรู้เรื่องราวชีวิตและสิ่งที่ครูองุ่นได้สร้างสรรค์ให้กับสังคม

ครูองุ่น มาลิก จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ.2480 และปริญญาโทด้านจิตวิทยา ม.อิลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ประกอบอาชีพเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นรองบรรณาธิการนิตยสารรายสัปดาห์ เป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์สยามนิกร เป็นนางแบบถ่ายปกนิตยสารหลายฉบับ เป็นนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และเป็นที่ปรึกษาองค์กรกิจกรรมนักศึกษา

ต่อมาในช่วงเหตุการณ์ 6 ต.ค.2519 ครูองุ่น มาลิก ถูกควบคุมตัวเข้าศูนย์การุณยเทพ จ.เชียงใหม่ ข้อหาเป็นภัยต่อสังคม ซึ่งในระหว่างที่ยู่ในเรือนจำครูองุ่นจะช่วยเก็บกวาดขยะ เคาะระฆังบอกเวลา และสร้างหุ่นเย็บมือจากเศษผ้าที่ไม่ใช้งานแล้ว พ.ศ.2522 ครูองุ่น มาลิก กลับมาใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านซอยทองหล่อ และผลิตหุ่นเชิดมือมากขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้กับเด็กๆ ทุกพื้นที่ทั้งลูกคนจนและลูกคนรวย

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นได้ก่อตั้ง "มูลนิธิไชยวนา" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ ทอง สุวรรณมาลิก (พระรุกขชาติบริรัษ์) ผู้เป็นบิดา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กยากจนในกรุงเทพฯและชนบท ให้บริการคำแนะนำทางการแพทย์ ส่งเสริมพัฒนาเยาวชนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ทางด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

ต่อมาครูองุ่น มาลิก ได้ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนหนึ่งในซอยทองหล่อให้กับมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ เพื่อสร้างสถาบันปรีดี พนมยงค์ สำหรับใช้เป็นสถานที่เผยแพร่แนวความคิดประชาธิปไตยของอาจารย์ปรีดี พนมยงค์

ช่วงหนึ่งในงานรำลึกปีนี้ วิทยากรร่วมสะท้อนถึงบทบาทของครูองุ่นตามทัศนะของคนรุ่นใหม่ โดยมีคำถามจากผู้ดำเนินรายการ จารุนันท์ พันธชาติ กรรมการมูลนิธิไชยวนา ว่า ตามทัศนะของแต่ละคน คิดว่าครูองุ่นมีความคิด อุดมคติ และอุดมการณ์อย่างไร อะไรคือสิ่งน่าสนใจที่สุดเกี่ยวกับบทบาทและวิถีชีวิตของท่านและจะส่งต่อให้กับคนรุ่นหลังได้อย่างไร

แรงบันดาลใจจากการพูดแล้วทำ อยู่เรียบง่าย ให้ความสำคัญประโยชน์ส่วนรวม

กษิดิศ อนันทนาธร ผู้จัดการโครงการ 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และกรรมการมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ เปิดเผยว่า สิ่งที่ตนสนใจเกี่ยวกับครูองุ่น มาลิก คือ ความคิดและเจตนารมณ์ของครูที่มอบที่ดินส่วนตัวให้กับสาธารณะประโยชน์ได้ใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมและเผยแพร่ความรู้

มีอยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนที่จะมีการก่อตั้งสถาบันปรีดี พนมยงค์ เกิดการถกเถียงกันเรื่องเงินสนับสนุนการจัดกิจกรรมว่าจะหาเงินมาได้อย่าไร ปรากฏว่ามีข้อเสนอให้ลงทุนสร้างคอนโด หรือสร้างสำนักงานให้เช่า แต่ครูกลับพูดออกมาว่า "ถ้าเป็นทุนนิยมแบบนั้นก็ไม่ใช่ท่านปรีดี พนมยงค์ เราจะสร้างประโยชน์ แต่ไม่ได้หวังจะหาเงิน ถึงไม่มีเงินเราก็ต้องทำประโยชน์ให้ได้"

อาจดูเป็นคำพูดธรรมดา แต่ถ้าได้อ่านแล้วคิดตามไปด้วยจะเห็นว่าเป็นการสวนกระแสสังคมมาก สังคมที่เป็นทุนนิยมหรือบริโภคนิยมมันอยู่กับเราจนเป็นปกติเสมือนเป็นศาสนาใหม่ของเราไปแล้ว ตนเองจึงมีคำถามขึ้นมาว่า เมื่อ 20 ปีก่อนครูกำลังคิดอะไรอยู่ ทำไมเวลานั้นครูถึงจุดประเด็นเรื่องแบบนี้ได้ นอกจากนี้ครูยังทำให้ทุกคนเห็นจนถึงวันนี้ ไม่เพียงแต่พูดอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่น ครูใช้เศษผ้ามาทำตุ๊กตาหุ่นมอบให้กับเด็กๆ หรือการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายของครู ดูรายละเอียดประวัติต่างๆ ของครูปรากฏว่าครูไม่ได้หวังความร่ำรวยเลย และมอบทุกสิ่งให้สาธารณประโยชน์ ซึ่งการทำเป็นตัวอย่างแบบนี้มันมีผลต่อคนรุ่นใหม่อย่างมาก โดยเฉพาะในแง่ของแรงบันดาลใจที่จะเดินหน้าต่อไป

กอบกู้ " อุดุมคติ" ที่เคยสูญเสียไป

อภิรักษ์ ชัยปัญหา นักวิชาการ ม.บูรพา และกรรมการมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ กล่าวว่า ตนอ่านประวัติของครูองุ่น มาลิก ทำให้รู้สึกว่าบทบาทของครูในละครชีวิตจริงมันมีหลายตัวเลือกมาก หนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจคือ การเป็นผู้ให้เป็นชีวิตจิตใจ ทำไมครูถึงบริจาคพื้นที่ที่พวกเราอยู่ตอนนี้ให้กับคนอื่นที่เป็นใครก็ไม่รู้ จึงเกิดคำถามว่าตอนนั้นครูกำลังคิดอะไรอยู่ ความต้องการสูงสุดของครูคืออะไร ทำไมครูถึงเลือกทำแบบนี้ ตนเองรู้สึกว่า ความต้องการของครูไม่ใช่เพื่อตัวครูอีกต่อไป และครูก็ไม่ได้มองโลกโดยที่มีตนเองเป็นศูนย์กลางอีกต่อไป

อย่างไรก็ตามการอุทิศชีวิตแบบนี้มันยิ่งใหญ่มาก การตัดสินใจทำของครูเป็นการกระทำที่ไม่ได้ทำแค่วันสองวัน แต่เป็นการกระทำชั่วนาตาปี ทำจนคนอื่นเห็นและจดจำในมุมต่างๆ ของครูได้

ปัจจุบันถ้าพูดถึงคำว่า "อุดมคติ" ทุกคนจะนึกถึงเรื่องโรแมนติค ทำให้รู้สึกว่ามันไม่ใช่ความจริง แต่ตอนนี้เชื่อแล้วว่าการทำเพื่ออุดมคติมันมีอยู่จริง ขั้นต่อไปก็เป็นเรื่องท้าทายที่เราต้องกลับไปทบทวนตัวเอง กลับไปรักอุดมคติของตัวเองที่เคยสูญเสียไป

ร่มเงาของคนรุ่นใหม่ เตรียมฟื้นหุ่นมือสร้างสัมพันธ์ผู้ใหญ่เด็ก

สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ผู้ประกอบการทางสังคม กล่าวว่า ตนมีโอกาสพบครูองุ่น มาลิก ในช่วงท้ายๆ ครูเดินช้าๆ เป็นคนเรียบง่าย ตนเองเคยยืมกระเป๋าหุ่นมือของครูไปเล่นตอนที่กลุ่มกระจกเงายังไม่ได้เป็นมูลนิธิ ครูบอกว่าหุ่นมือสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็กได้และหุ่นทุกตัวมีวิญญาณของคนที่สร้างมัน

ตอนที่ตนเป็นกรรมการมูลนิธิไชยวนา สิ่งที่คิดอยู่เสมอคือจะทำอย่างไรให้ละครหุ่นของครูกลับมามีชีวิตอีกครั้ง วันก่อนคุยกับลูกศิษย์คนสำคัญของครูว่า ขออาสาผลักดันเรื่องโรงละครครูให้เกิดขึ้นบนที่ดินที่เคยเป็นบ้านนับจากนี้ไป อย่างไรก็ตามวันนี้ตนมองภาพครูเป็นต้นไทรหรือต้นไม้ใหญ่ที่มีบทบาทให้ทั้งร่มเงาและอาหาร จนทำให้หลายๆ คนมีชีวิตรอดในช่วงเวลาที่ยากลำบากมาถึงวันนี้ได้ ครูทำหน้าที่นั้นอย่างเงียบๆ และกล้าหาญ จึงไม่แปลกที่วันนี้ยังมีลูกศิษย์ของครูมาร่วมรำลึกถึงท่านอยู่ ซึ่งถ้าใครสามารถเป็นร่มเงาให้กับคนรุ่นหลังได้ถึงขนาดนี้ถือได้ว่าเป็นอุดมคติที่น่าจะยึดถือมาก

คำถามทุกยุคสมัย นักวิชาการกับบทบาททางการเมือง

งามศุกร์ รัตนเสถียร นักวิชาการสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล กล่าวว่า แนวทางที่ครูองุ่น มาลิก ทำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักวิชาการที่ไม่ได้อยู่แต่ในหอคอยงาช้างและสอนตามตัวหนังสืออย่างเดียว ครูเน้นย้ำอยู่ตลอดเวลาว่าต้องลงมือปฏิบัติด้วย ครูไม่เคยเชื่อว่าการสอนตามตัวหนังสืออย่างเดียวจะมีผลที่ดีได้

สิ่งที่ครูทำให้เราเห็นวันนี้ คือ ความกล้าหาญในสถานการณ์ที่ยากลำบาก หรือในสถานการณ์ที่ไม่เป็นไปตามประชาธิปไตยให้กลับมามีชีวิตชีวาใหม่ได้ และครูไม่ได้เอาตัวเองออกห่างจากปัญหาตรงนั้นเลย ยกตัวอย่างเช่น ครูองุ่นเคยไปประกันตัวนักศึกษาที่ถูกรัฐจับตัวไปจนตัวเองถูกจับกุมและถูกคุกคามไปด้วย

บทบาทของครูสามารถสะท้อนถึงสถานการณ์ในยุคนี้ว่า นักวิชาการจะมีบทบาทอย่างไรกับสถานการณ์เดียวกันกับครู เรากล้าพอที่จะออกไปประกันตัวผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่ไม่เป็นไปตามประชาธิปไตยอย่างตอนนี้หรือไม่ ฉะนั้น ตนคิดว่าสำหรับคนรุ่นใหม่ในแวดวงวิชาการควรจะตระหนักรู้ถึงบทบาทของตนเองอยู่ตลอดเวลา

เพื่อเด็กในสังคมเหลื่อมล้ำ

สิทธิธรรม โรหิตะสุข นักวิชาการ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ และกรรมการมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ กล่าวว่า ครูบริจาคที่ดินในซอยทองหล่อที่เต็มไปด้วยคนมีสตางค์ให้กับเด็กที่ไร้โอกาสได้มาใช้พื้นที่ในการร่วมกิจกรรม มาชมการแสดงในวันเด็กได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งปัจจุบันไม่ง่ายเลยที่จะหาคนที่คิดแบบนี้ โดยเฉพาะเรื่องเด็ก เพราะของเล่นบางอย่างมีราคาแพงขึ้นจึงเกิดข้อจำกัดสำหรับเด็กที่มีครอบครัวยากจน ฉะนั้นแทนที่จะเป็นการพัฒนาเด็กกลับเป็นการสร้างปัญหา แต่ครูพยายามที่จะทำหน้าที่ตรงนี้ ครูจึงคิดและทำของเล่นสำหรับเด็กที่สามารถเล่นได้กันทุกคนทุกพื้นที่ในสังคมที่เต็มไปด้วยความเลื่อมล้ำ

การสร้างเพื่อการเปลี่ยนแปลง สร้างเพื่อการมีส่วนร่วม

ขุนกลาง ขุขันธิน นักสร้างสรรค์สังคมรุ่นใหม่ กล่าวว่า การสร้างเพื่อการเปลี่ยนแปลง หรือสิ่งที่เราเรียกว่าอุดมการณ์ คือ การสร้างสังคมและประเทศให้ดีขึ้นซึ่งจะมีช่วงเวลาการเบาะเพาะที่ยาวนาน หลายคนทำไปได้สักพักก็อาจจะเลิกไป เพราะเข้าใจว่าจะเห็นผลในระยะเวลาที่สั้น บางครั้งสิ่งที่ทำเราอาจจะไม่ทันเห็นผลก็ได้ เชื่อว่าครูเข้าใจตรงนี้ ครูเชื่อถึงการสร้างเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

ประเด็นต่อมา คือ การสร้างเพื่อการมีส่วนร่วม เวลาเราตีความเปรียบเทียบกับผู้ที่เทศนา บางคนบอกว่าเถรวาทพูดคำไหนต้องตามคำนั้น ไม่สามารถปรับใหม่ได้ บางคนบอกว่าต้องปรับบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัย แต่บางคนบอกว่าถ้าปรับแล้วผลจะแปรเป็นอย่างอื่นที่ไม่สามารถหาแก่นแท้ได้ แต่ตัวเองมองว่าถ้าสารอะไรที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ นั่นคือสารที่ตายไปแล้ว ฉะนั้นการสร้างเพื่อการมีส่วนร่วมต้องมีทั้งแก่นและการบูรณาการ รวมทั้งต้องยอมรับถึงความหลากหลายด้วย 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'นักกฎหมายสิทธิ' ออกแถลงการณ์ 3 ปีที่ 'บิลลี่' หายตัว จี้ DSI พิจารณารับเป็นคดีพิเศษ

Posted: 17 Apr 2017 09:31 AM PDT

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์  3 ปีบิลลี่ หายตัว จี้ DSI พิจารณารับเป็นคดีพิเศษ ขอรัฐเร่งตรา ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย ทบทวนคำสั่งคุมตัวโดยไม่เปิดเผยสถานที่ เช่น คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 13/2559 แก้ปัญหาที่ดินทำกินของประชาชนอย่างจริงจัง อย่างมีส่วนร่วม

ภาพโดย kim chaisukprasert

17 เม.ย. 2560 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 3 ปีที่ พอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน แกนนำชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย และสมาชิก อบต.ห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย หลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2557 ที่ด่านเขามะเร็ว ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าบิลลี่มีรังผึ้งและน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครอง หลังจากนั้นบิลลี่ก็หายตัวไปโดยไม่ทราบชะตากรรมจนกระทั่งขณะนี้ 

โดย พอละจี  ถือเป็นบุคคลสำคัญในพยานคดีที่ชาวบ้านโป่งลึก-บางกลอย ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานซึ่งกำกับดูแลอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ในข้อหาเข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง บริเวณ ต.ห้วยแม่เพรียง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี กว่า 20 ครอบครัว จนได้รับความเสียหายแก่สิทธิเสรีภาพ ทรัพย์สิน

ล่าสุดวันนี้ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้ออกแถลงการณ์  "3 ปีบิลลี่ เร่งคืนความจริงและความยุติธรรม" เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบังคับสูญหายและเร่งค้นหาความจริงต่อการสูญหายอย่างเร่งด่วน ให้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ พิจารณาอย่างเร่งด่วนในการรับคดีบิลลี่และกรณีการบังคับสูญหายอื่นๆ อาทิ เด่น คำแหล้ เป็นคดีพิเศษ และต้องทำการสืบสวนสอบสวนอย่างจริงจัง อิสระ และเป็นมืออาชีพ จนทราบชะตากรรมของผู้ถูกบังคับสูญหายและนำผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม  

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ยังเรียกร้องให้ รัฐเร่งดำเนินการตรา ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ........ อย่างเร่งด่วน และทำให้เนื้อหาของกฎหมายสอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลจากการหายสาบสูญ เพื่อสร้างมาตรฐานทางกฎหมายอาญาในประเทศ รวมถึงทบทวน ระเบียบ กฎ ที่เอื้อให้มีการบังคับบุคคลให้หายสาบสูญ โดยเฉพาะกฎหมายที่ให้อำนาจในการควบคุมตัวบุคคลไว้เป็นเวลานานและโดยไม่เปิดเผยสถานที่ควบคุมตัวหรือโดยไม่มีการนำตัวไปศาล เช่น คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 13/2559 เรื่อง การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดบางประการที่เป็นภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทำลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งการควบคุมตัวตามกฎหมายพิเศษอื่นๆ

นอกจากนี้ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เรียกร้องให้รัฐต้องเร่งแก้ปัญหาที่ดินทำกินของประชาชนอย่างจริงจัง เพราะที่ผ่านมาปรากฏแล้วว่านักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเด็นเรื่องที่ดินตกเป็นเป้าของการบังคับสูญหายและสังหารอยู่เสมอๆ ทั้งนี้ ในการแก้ปัญหา รัฐต้องเปิดโอกาสให้ประชาชน/ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในทุกขั้นตอน ไม่ใช่กีดกันประชาชนออกไปและตัดสินใจโดยรัฐเพียงฝ่ายเดียว และรัฐต้องให้การเคารพสิทธิชุมชนตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน
 
รายละเอียดของแถลงการณ์มีดังนี้
 

แถลงการณ์  "3 ปีบิลลี่ เร่งคืนความจริงและความยุติธรรม"

 3 ปีแล้วที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ ได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย หลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานฯ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 ที่ด่านเขามะเร็ว อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าบิลลี่มีน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครอง หลังจากนั้นบิลลี่ได้หายตัวไปโดยไม่ทราบชะตากรรมจนกระทั่งปัจจุบัน

บิลลี่เป็นนักปกป้องสิทธิชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านบางกลอย และผู้ช่วยทนายความในคดีที่ชาวบ้านบางกลอยยื่นฟ้องศาลปกครองกลาง กรณีที่เจ้าหน้าที่เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านบางกลอยในป่าแก่งกระจานเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554  เพื่อผลักดันให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ แม้จะปรากฏผลการศึกษายืนยันว่าชาวบ้านเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลาร่วมกว่า 100 ปีแล้ว ขณะที่บิลลี่หายตัวไปนั้นอยู่ระหว่างการเตรียมข้อมูลเพื่อต่อสู้คดีดังกล่าว

หลังจากที่บิลลี่หายตัวไป ครอบครัวได้พยายามเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องเพื่อเรียกร้องให้มีการสืบสวนสอบสวนหาตัวบิลลี่และนำตัวผู้กระทำมาลงโทษ ผ่านการใช้กลไกทางกฎหมายหลากหลายช่องทาง แต่ผ่านไป 3 ปี กระบวนการยุติธรรมยังหยุดชะงักอยู่ที่ชั้นสอบสวน ที่ผ่านมาภรรยาของบิลลี่ได้ร้องขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษเข้ามาดำเนินการสืบสวนสอบสวนในกรณีนี้ แต่เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้มีหนังสือ ลงวันที่ 16 มกราคม 2560 ถึงนางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ ภรรยาของบิลลี่ แจ้งว่าคณะกรรมการคดีพิเศษมีมติไม่รับกรณีการหายตัวไปของบิลลี่เป็นคดีพิเศษ โดยมติดังกล่าวเป็นมติที่ประชุมวันที่ 10 มิถุนายน 2559  หรือราว 7 เดือนที่แล้ว เป็นที่น่าสังเกตว่าทำไมการแจ้งเรื่องดังกล่าวถึงล่าช้าตั้ง 7 เดือน แม้ล่าสุดในระหว่างที่ประเทศไทยต้องไปรายงานการปฏิบัติการต่อพันธกรณีภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ ICCPRที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีข่าวว่านายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ดีเอสไอ ดำเนินการสืบสวนคดีทนายสมชายและคดีบิลลี่ต่อไป แต่ก็ยังไม่มีเอกสารที่เป็นทางการออกมายื่นยัน

อีกทั้งเหตุผลของการไม่รับกรณีบิลลี่เป็นคดีพิเศษ โดยการอ้างว่าการสืบสวนดำเนินมาเป็นเวลานานแล้วไม่มีความคืบหน้าก็ดี หรือการอ้างว่านางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ ผู้ยื่นคำร้อง ไม่ใช่ภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายของบิลลี่ จึงไม่เป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิยื่นคำร้องก็ดี ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่สมเหตุสมผลและเป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการเข้าถึงความยุติธรรมของเหยื่อที่ถูกบังคับสูญหาย

อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยต้องไปรายงานการปฏิบัติการต่อพันธกรณีภายใต้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีข่าวว่านายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินการสืบสวนคดีบิลลี่ต่อไป  แต่ขณะนี้ยังไม่ปรากฎเอกสารที่เป็นทางการว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับคดีบิลลี่เป็นคดีพิเศษ ซึ่งจะต้องมีการติดตามต่อไปอย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมามีสิ่งน่ากังวลเกิดขึ้น เมื่อร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. … ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่ออนุวัติการตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (CED)  ร่างกฎหมายดังกล่าวดำเนินการร่างขึ้นโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ด้วยความร่วมมือจากหลายฝ่ายมานานหลายปี ผ่านการรับฟังความคิดเห็นหลายครั้ง ร่างกฎหมายนี้ถือเป็นความหวังในการเข้าถึงความยุติธรรมของเหยื่อที่ถูกบังคับสูญหายและครอบครัว แต่ร่างกฎหมายดังกล่าวกลับถูกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตีกลับไป โดยอ้างว่าไม่มีการรับฟังความเห็นที่รอบด้าน

เป็นที่น่าสังเกตว่า ร่างพระราชบัญญัติที่กระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนหลายฉบับ สามารถออกมาได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายภายใต้สภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ถูกแต่งตั้งขึ้นภายใต้รัฐบาลทหาร แม้จะมีเสียงคัดค้านมากมาย อาทิ พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ก็ไม่ได้ให้ความใส่ใจในการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านดังเช่นร่างพระราชบัญญัตินี้

เป็นข้อเท็จจริงที่ว่า ประเทศไทยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา มีแกนนำชาวบ้าน นักเคลื่อนไหว นักต่อสู่เพื่อสิทธิมนุษยชน ถูกคุกคาม สังหาร บังคับให้หายสาบสูญอยู่เสมอๆ การบังคับให้บุคคลหายสาบสูญถือเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงและผู้ที่ตกเป็นเหยื่อหรือญาติมักจะไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ ดังจะเห็นได้จากที่ผ่านมารัฐยังไม่ประสบความสำเร็จในการค้นหาความจริงเพื่อทราบชะตากรรมของผู้ถูกบังคับสูญหาย รวมทั้งนำตัวผู้กระทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและลงโทษอย่างเหมาะสมได้ กรณีของทนายสมชาย นายบิลลี่ และนายเด่น คำแหล้ประธานโฉนดชุมชนโคกยาวที่หายตัวไปเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2559 เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งในอีกหลายกรณี ซึ่งความล้มเหลวในการค้นหาความจริงดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากข้อจำกัดทางกฎหมายของประเทศไทย ที่ยังไม่ได้กำหนดให้การบังคับสูญหายเป็นความผิดทางอาญา รวมถึงขาดกลไกในการค้นหาความจริงที่เป็นอิสระ และมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น เนื่องในโอกาสครบรอบ 3 ปีการหายตัวไปของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบังคับสูญหายและเร่งค้นหาความจริงต่อการสูญหายอย่างเร่งด่วน ดังต่อไปนี้

1.       กรมสอบสวนคดีพิเศษ ต้องพิจารณาอย่างเร่งด่วนในการรับคดีบิลลี่และกรณีการบังคับสูญหายอื่นๆ อาทิ นายเด่น คำแหล้ เป็นคดีพิเศษ และต้องทำการสืบสวนสอบสวนอย่างจริงจัง อิสระ และเป็นมืออาชีพ จนทราบชะตากรรมของผู้ถูกบังคับสูญหายและนำผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพราะเจตนารมณ์ในการจัดตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ ก็เพื่อให้เป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญและอำนาจพิเศษเพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนอาชญากรรมร้ายแรงหรือมีความยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งกรณีการบังคับสูญหาย เป็นการทำให้หายไปอย่างไร้ร่องรอย เป็นคดีที่ซับซ้อน ยุ่งยากต่อการสืบสวนสอบสวน อีกทั้ง ผู้ต้องสงสัยคนสำคัญในคดีมักเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ  ดังนั้น การดำเนินการสืบสวนสอบสวนโดยหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ เทคนิคเฉพาะเพื่อคลี่คลายคดี เพื่อคืนความจริงและความยุติธรรมต่อผู้เสียหาย และหยุดยั้งวงจรอุบาทของการบังคับสูญหายและการลอยนวลพ้นผิดในสังคมไทย

2.       รัฐต้องเร่งดำเนินการตราร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ........ อย่างเร่งด่วน และทำให้เนื้อหาของกฎหมายสอดคล้องกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลจากการหายสาบสูญ เพื่อสร้างมาตรฐานทางกฎหมายอาญาในประเทศในการป้องกันการกระทำผิดและมีกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ รวมถึงมีมาตรการเยียวยาผู้เสียหายที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

3.       รัฐต้องทบทวน ระเบียบ กฎ ที่เอื้อให้มีการบังคับบุคคลให้หายสาบสูญ โดยเฉพาะกฎหมายที่ให้อำนาจในการควบคุมตัวบุคคลไว้เป็นเวลานานและโดยไม่เปิดเผยสถานที่ควบคุมตัวหรือโดยไม่มีการนำตัวไปศาล เช่น คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 13/2559 เรื่อง การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดบางประการที่เป็นภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทำลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งการควบคุมตัวตามกฎหมายพิเศษอื่นๆ

4.       รัฐต้องเร่งแก้ปัญหาที่ดินทำกินของประชาชนอย่างจริงจัง เพราะที่ผ่านมาปรากฏแล้วว่านักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเด็นเรื่องที่ดินตกเป็นเป้าของการบังคับสูญหายและสังหารอยู่เสมอๆ ทั้งนี้ ในการแก้ปัญหา รัฐต้องเปิดโอกาสให้ประชาชน/ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในทุกขั้นตอน ไม่ใช่กีดกันประชาชนออกไปและตัดสินใจโดยรัฐเพียงฝ่ายเดียว และรัฐต้องให้การเคารพสิทธิชุมชนตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้เกิดความสมดุลและยั่งยื

ด้วยความเคารพในสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หมุดหมายที่หายไป บันทึกก่อนถึงทางตัน

Posted: 17 Apr 2017 07:52 AM PDT


 

Symbolic power  เอามาเชื่อมกับ Popular culture  เมื่อไร  ฮิตระเบิดเถิดเทิงเมื่อนั้น 

แม้จะเป็นห้วงเวลาหลายวันที่ครุ่นคิดอย่างหนัก และไม่อยากให้ประเทศไปถึงจุดที่รอมชอมกันไม่ได้ แต่ความขัดแย้งบนการ undermine สัญญะของฝ่ายที่เราไม่ชอบคือสัญญาณของภาวะใกล้วิกฤต

แต่อีกฟากหนึ่ง ไม่รู้จะขอบคุณใครนอกจากจะทำให้ฝ่ายประชาธิปไตยตื่นตัวอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนแล้ว  ใครปั๊มหมุดคณะราษฎรมาลง mass product ตอนนี้จะหน้าใสจริงจัง จะเห็นว่า คนเริ่มเก็บสะสมทุกอย่าง ซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้าที่เกี่ยวข้องกับคณะราษฎร

ก็ขอแสดงความยินดีกับโครงการตำราสังคมศาสตร์ ที่หนังสือชุดคณะราษฎรขายหมดในพริบตาทั้ง 7 ชุด เพราะปรากฎการณ์นี้ไม่เกิดขึ้นง่ายๆ

รับประกันได้ว่า ใครทำเสื้อยืดปั๊มหมุดออกมาตอนนี้  น่าจะขายได้ ไม่มากก็น้อย

mass product ที่หอบหิ้วเอา symbolic power ไปด้วยแบบข้องเกี่ยวกับชีวิตประจำวันเป็นภาวะที่ฃBourdieu อาจจะเรียกว่า มันคือสนาม (Field) ของการต่อสู้เชิงอำนาจที่ต้องสะสมต้นทุนกันอย่างยาวนาน

เอาจริงๆ ฝ่ายอนุรักษ์นิยมได้สะสม cultural capital มาก่อนอย่างยาวนานและสม่ำเสมอเป็นร้อยปี ฝ่ายประชาธิปไตยต่างหากที่ตื่นตัวเป็นช่วงๆ  

แม้ว่าตอนนี้มันคือ ภาวะการโหยหาสิ่งทดแทน ภาวะการขาดและการเติมเต็มบางอย่าง ที่มนุษย์เราพึงมีแต่ไม่มี  ทั้งความเท่าเทียม เสรีภาพ ความโปร่งใส การตรวจสอบได้ และ สิทธิในการใช้ชีวิตที่กำหนดด้วยอำนาจของตน

แต่สิ่งที่น่ากระทำมากที่สุดโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ก็คือ หวนไปศึกษาประวัติศาสตร์ที่ไม่ใช่ตำราที่เขียนโดยฝ่ายที่ครอบงำสังคม โดยตรวจสอบไม่ได้  หรือพูดง่ายๆ ว่าถ้าจะอ่านประวัติศาสตร์เมื่อใด  ช่วยอ่านหลักฐานที่เขาหามาด้วยว่ามีน้ำหนักมากแค่ไหน มีการค้นคว้าสอบทานทางวิชาการไหม 

หรือเป็นแค่ "นิยาย" (ซึ่งเป็น cultural capital) ที่ทรงพลังสุดๆ

และขอให้คิดให้หนักๆ ว่าใครแต่งประวัติศาสตร์เล่มนั้น ด้วยข้อมูลชุดไหน ใช้แหล่งข้อมูลจากที่ใด เขียนด้วยมุมมองแบบใด

จะดีกว่าการอ่านข้อความผ่านเฟซบุ๊กที่ส่งต่อๆ กันมา โดยตรวจสอบไม่ได้ว่าใครผลิตข้อความและรูปภาพเหล่านั้น เขียนมามั่วๆ บ้าง ยั่วยุด้วย hate speech บ้าง ใช้อคติตนเป็นที่ตั้งบ้าง ใครบูชา ศรัทธาใคร ก็พยายามใส่ "message" มาปั่นหัวแบบตื้นๆ สองสามประโยค แล้วแชร์ต่อกันไป 

ที่มันส์กว่านั้นก็คือ การเชื่อมโยงเรื่องแต่งหลายเรื่องจากหลายคน แล้วสรุปว่า คือ เรื่องจริง ยิ่งมีอภินิหาร ปาฎิหาริย์ แสดงอิทธิฤทธิ์ความยิ่งใหญ่ และเหมารวมแบบง่ายๆ ด้วยแล้ว  ยิ่งเชื่อ และทำให้ยิ่งยอมรับ"ความจริงแบบอื่นๆ" ไม่ได้ 

เด็กรุ่นใหม่ของไทย ก็เรียนรู้ประวัติศาสตร์ด้วยวิธีตื้นเขินแบบนี้ และเริ่มบ้าคลั่ง"ความเป็นชาติไทย....ที่ผดุงอัตตาอันพร้อมจะทำลายคนอื่นทุกวัน"

สังคมที่ "ความเชื่อ"  มีอำนาจมากกว่า  "ความจริง" มักจะธำรงรักษาการศึกษาแบบเชื่องๆ ใช้อำนาจนิยม เชิดชูอุดมการณ์บางอย่างเข้าไว้

แต่ปัจจุบัน เรามีการเรียนรู้นอกระบบผ่านสื่อกันมาก อาจจะมากกว่า ในระบบสถาบันการศึกษาด้วยซ้ำไป

ตำราเรียนประวัติศาสตร์ของไทย ไม่ต้องสงสัยหรอกว่าได้\ผลิตซ้ำอุดมการณ์รักชาติชุดหนึ่งขึ้นมาอย่างแข็งแกร่ง 

แต่มาถึงยุคนี้ เราเลือกได้ที่จะปักหมุดแบบไหนให้อนาคตตัวเอง ผ่านการเรียนรู้ อ่าน ค้นคว้า คิด และ วิพากษ์ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

ก็เลือกเอา….ว่าจะยอมถูกผลิตซ้ำทั้งในระบบ (ผ่านสถาบันการศึกษา) และนอกระบบ (ผ่านสื่อ)  และ ไปถึงจุดวิกฤตในวันหนึ่ง

หรือ…..หาทางออกมาให้ได้….

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

250 ปีปัจฉิมกาลอยุธยา: สมฤทธิ์ ลือชัยเสนอถอดรื้อบทเรียนอยู่กับความรู้มากกว่าความแค้น

Posted: 17 Apr 2017 07:20 AM PDT

สมฤทธิ์ ลือชัย เสวนา 250 ปีเสียกรุงศรีอยุธยา แนะรื้อกรอบคิดแบบประวัติศาสตร์ชาตินิยม ทำความเข้าใจรัฐยุคจารีต เพื่อทำเข้าใจทั้งผู้อื่นและตัวเราเอง เมื่อเข้าใจแล้วจะเข้าถึงความรู้ความรักมากกว่าความแค้น ส่วนพม่าล้อมกรุงศรีไม่มีแล้ว ปัจจุบันคือยืนรอเพื่อกดตู้เอทีเอ็มกรุงศรี แรงงานพม่ามีคุณูปการต่อ SMEs ไทย เป็นการอยู่เพื่อความเจริญมั่งคั่งร่วมกัน

ในงานเสวนา "250 ปี ปัจฉิมกาลกรุงศรีอยุธยา: ปริวรรตบทเรียน เพื่อสร้างสรรค์อนาคต" จัดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยานั้น ในช่วงเช้ามีการเสวนาทางวิชาการหัวข้อ "250 ปี ปัจฉิมกาลกรุงศรีอยุธยา reset to mindset" วิทยากรโดยมิกกี้ ฮาร์ท นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ชาวพม่า สมฤทธิ์ ลือชัย พิธีกรรายการโทรทัศน์และผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมอุษาคเนย์ และ ดุลยภาค ปรีชารัชช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยประชาไทนำเสนอส่วนของอาจารย์มิกกี้ ฮาร์ท [1] และดุลยภาค ปรีชารัชชนั้น [2]

ต่อมาในการนำเสนอของสมฤทธิ์ ลือชัย พิธีกรรายการโทรทัศน์และผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมอุษาคเนย์ นำเสนอว่าสังคมไทยมีชุดความรู้เกี่ยวกับเรื่องกรุงศรีอยุธยาแตกหลายเรื่อง แต่เราไม่ได้ตั้งคำถาม และสิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องถอดรื้อบทเรียน เช่น อาจารย์สอนหนังสือว่า พม่าเจาะเอ็นร้อยหวายเชลย แต่เราไม่ได้คิดว่าคนจะเดินไปถึงพม่าได้อย่างไร เรื่องทองที่ฉาบเจดีย์ชเวดากองมาจากอยุธยา ทั้งที่พม่าก็มีหลักฐานประเภทคำจารึกบูรณะพระเจดีย์ชเวดากอง หรือเชื่อเรื่องแรงงานพม่ามาทำงานเมืองไทยเพราะมาใช้กรรม ทั้งที่คนไทยก็ไปทำงานซาอุดิอาระเบีย หรือเกาหลีใต้

หรือในตำราเรียนก็ทำเหมือนกับไทยไม่เคยไปทำกับคนอื่น ทั้งที่นครวัด-นครธมล่ม จนต้องหนีไปละแวก หนีไปโพธิสัตว์ หรือไปถึงพนมเปญเพราะใคร เวียงจันทน์ถูกเผา หรือทั้งอุดรธานี ปัตตานี ก็ถูกตีเพราะใคร ปืนใหญ่พญาตานีก็อยู่หน้ากระทรวงกลาโหม เรื่องนี้เราก็ไม่ได้เรียน ทั้งที่จำเป็นต้องถอดบทเรียนเป็นอย่างยิ่ง

สำหรับสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 งานศึกษาของอาจารย์สุเนตร ชุตินธรานนท์ เสนอจากเอกสารของฝ่ายพม่าที่ว่าอยุธยาตั้งรับแข็งแกร่ง รับศึกประชิดกรุงได้ถึง 2 ปี ในขณะที่พงศาวดารฝ่ายไทยระบุว่าเพราะมีพระยาพลเทพขายชาติ แต่อีกหลักฐานหนึ่งเสนอว่ากรุงศรีอยุธยาแตก เพราะกำแพงเมืองถูกขุดหลายจุด ถูกเอาท่อนซุงเข้าสุมจุดไฟ พม่าเข้าเมืองได้เพราะกำแพงทรุด ไม่ได้เข้าทางประตูเพราะพระยาพลเทพเปิดประตูเมือง

นอกจากนี้ยังมีคำอธิบายเรื่องการทับซ้อนของมลฑลของกษัตริย์ในอุษาคเนย์ ที่จะต้องแผ่คลุมไป ทำให้มณฑลของพม่ากับสยามทับซ้อนกันจึงต้องปะทะกันตลอด ราชวงศ์ตองอูเมื่อปกครองพม่า ถูกมอญที่ฟื้นฟูอาณาจักรแผ่อำนาจปกครองพม่าขึ้นไป แต่พม่าก็ฟื้นฟูได้เร็วมีผู้นำที่สามารถปราบมอญได้ แล้วตั้งตัวเป็นกษัตริย์ชื่อพระเจ้าอลองพญา และเมื่อรวบรวมบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นแล้ว พระเจ้าอลองพญายกทัพมาล้อมอยุธยาต่อ เพราะเห็นว่าอยุธยาสนับสนุนมอญ

ทั้งนี้พม่าเรียนรู้การรับศึกของอยุธยา เมื่อพระเจ้าอลองพญาบุกครั้งแรกไม่สำเร็จ แม่ทัพในสมัยต่อมาพอรู้ว่าอยุธยาใช้กลศึกอุทกปราการ รอน้ำไหลบ่าในฤดูน้ำหลากพม่าก็แก้เกมไปขึ้นรออยู่ที่สูง ทั้งนี้งานศึกษาของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ยังชี้ให้เห็นความล้มเหลวของประสิทธิภาพระบบราชการของอยุธยา ที่ระบบควบคุมหัวเมืองอ่อนแอ นอกจากนี้ขอเรียนว่ากองทัพพม่าที่มาล้อมอยุธยา ชื่อว่ากองทัพพม่า แต่มีทั้งพม่า มอญ ล้านนา สุโขทัย สวรรคโลก ตาก ราชบุรี เพชรบุรี พิษณุโลก ฯลฯ ผมเชื่อว่าเป็นคนไทยมากกว่าครึ่ง เพราะทุกคนไปถือน้ำพิพัฒน์สัตยากับกองทัพพม่ากันหมด

แต่ทั้งนี้ปัจฉิมกาลเสียกรุงศรีอยุธยา 7 เมษายน 2310 เป็นศึกของอาณาจักรอยุธยาไม่ใช่ศึกของชาติไทยกับชาติพม่า เป็นศึกระหว่างราชวงศ์คอนบองกับราชวงศ์บ้านพลูหลวง เหมือนรัตนโกสินทร์ไปรบกับเจ้าอนุวงศ์ และเอาเข้าจริงๆ เรามีชาติเมื่อ พ.ศ. 2482 ดังนั้น อย่าไปเกลียดคนพม่า คนละรุ่นกัน และคนที่เผากรุงศรีก็ตายไปนานแล้ว

สมฤทธิ์ ชือชัย

ทั้งนี้ทัพพม่าไม่ใช่ทัพโจร เป็นกองทัพมียุทธศาสตร์ ยุทธวิธีอย่างดี น้ำหลากมาก็ไม่หนี ทำให้อยุธยาต้องพ่ายแพ้ และเหตุที่อยุธยาแพ้เพราะประสิทธิภาพควบคุมหัวเมืองพังทลาย ราชอาณาจักรพังก่อนที่กรุงแตก เหลือเพียงเกาะอยุธยาเท่านั้น อำนาจส่วนกลางพังแล้ว จึงเกิดก๊กต่างๆ อย่างชาวบ้านบางระจัน ที่มีพระอาจารย์ธรรมโชติ ปลุกเสกสิ่งต่างๆ เพราะกำลังใจเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ขณะที่ถ้าท่านอ่านเส้นทางเดินทัพของพระเจ้าตาก จะเป็นว่าเมื่อพระเจ้าตากอยู่ที่ระยอง ก็ส่งสาสน์ให้เจ้าเมืองบันทายมาศมาช่วย หรือถ้าพระเจ้าตากไม่ตีจันทบุรีก็จะไม่ได้กองทัพเรือมาเสริม

นอกจากนี้ซากปรักหักพังของกรุงศรีอยุธยาที่เราเห็น ส่วนหนึ่งก็เป็นฝีมือไทยส่วนหนึ่ง พม่าส่วนหนึ่ง แต่ที่แทบไม่เหลือก็เพราะหนึ่ง มีการบุกรุกในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี มีการประมูลให้คนขุดโบราณสถาน สอง รัชกาลที่ 1 ต้องรีบสร้างเมืองหลวงใหม่ ก็เร่งเกณฑ์คนให้มากระเทาะอิฐจากกรุงเก่า และสมัยรัชกาลที่ 3 มีการสร้างภูเขาทองก็มาเอาอิฐจากกรุงเก่าอีกรอบ

สมฤทธิ์นำเสนอด้วยว่า เรื่องในสมัยอยุธยาก็เป็นเรื่องของรัฐในแบบเก่า หรือรัฐจารีต และถ้าเราจะเข้าใจคนอื่น เราต้องเข้าใจตัวเราเอง ต้องเข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของระเบียบโลกยุคเก่า ถ้าไม่ซื่อสัตย์ เราก็ตี ถ้าไม่เข้มแข็งก็จงระวังตัว ถ้าเข้าใจเช่นนี้ ก็จะเข้าใจเราที่ไปตีเขา เข้าใจเขาที่มาตีเรา ไม่เหลือความเคียดแค้น เหลือแต่ความเข้าใจ เข้าถึงความรู้ความรัก มากกว่าความแค้น

ส่วนในปัจจุบัน สมฤทธิ์ยังกล่าวติดตลกว่า ที่พม่าล้อมกรุงศรีมีแต่ยืนล้อมตู้เอทีเอ็มกรุงศรีเพราะจะรอกดเงิน ชาวพม่าในประเทศไทยมีคุณูปการต่อกิจการ SMEs ในไทย เรียกว่าเป็นการล้อมกรุงศรีเพื่อความมั่งคั่ง เป็นความเจริญของสังคมไทย และเป็นความเจริญของการอยู่ร่วมกัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทบ.เผยมีผู้สมัครเป็นทหาร 49% เพิ่มมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว

Posted: 17 Apr 2017 06:59 AM PDT

รองโฆษกกองทัพบก เผยมีผู้ร้องขอสมัคร เป็นทหารถึง 50,580 คน คิดเป็น 49% ซึ่งเพิ่มมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ระบุมีหลายเหตุผล เช่น ค่าตอบแทนสูงขึ้น สวัสดิการที่กองทัพมอบให้ ภาพลักษณ์ที่ดีของทหารที่แก้ไขปัญหาบ้านเมือง

บรรยากาศตรวจคัดเลือกทหารเกณฑ์ปี 2560

เมื่อวันที่ 16 เม.ย.ที่ผ่านมา พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก กล่าวว่า ตามที่กองทัพบกได้ดำเนินการตรวจเลือกทหารกองประจำการปี 2560 ระหว่างวันที่ 1-12 เมษายนที่ผ่านมา  ภาพรวมการตรวจเลือกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย กองทัพบกต้องขอขอบคุณชายไทยทุกคน ที่ให้ความร่วมมือเข้ารับการตรวจเลือกอย่างพร้อมเพรียง รวมทั้งส่วนราชการ หน่วยงานประจำจังหวัด  อำเภอ  เขต  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้านและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ให้การสนับสนุนการตรวจเลือกอย่างดียิ่ง โดยในปีนี้ มีชายไทยเข้ารับการตรวจเลือก 532,277 นาย 

รองโฆษกกองทัพบก กล่าวว่า กองทัพคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติครบ ไว้เป็นทหารกองประจำการ 103,097  นาย แยกเป็น เหล่าทหารบก 78,677 นาย  เหล่าทหารเรือ 16,000 นาย เหล่าทหารอากาศ  8,420 นาย และโดยมีผู้ร้องขอ (สมัคร) เป็นทหารถึง 50,580  คิดเป็น 49% ซึ่งเพิ่มมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา มีหลายเหตุผลที่อยากเป็นทหาร อาทิ ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น การดูแลและสวัสดิการที่กองทัพมอบให้ ภาพลักษณ์ที่ดีของทหารที่ช่วยดูแลแก้ไขปัญหาบ้านเมือง การได้รับโอกาสก้าวหน้าในการเข้ารับราชการต่อ เป็นต้น

พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ กล่าวว่า สำหรับผู้ที่มีเหตุจำเป็นขัดข้อง มิได้เข้ารับการตรวจเลือกทหารตามหมายนัดในปีนี้ ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย ขอให้ติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่สัสดีเขต  อำเภอ  จังหวัด ตามภูมิลำเนาทหาร เพื่อดำเนินตามขั้นตอนที่ถูกต้องต่อไป  ส่วนผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าประจำการในผลัดที่ 1/ 2560 ขอให้ ไปรายงานตัวเข้ารับราชการตามวันเวลา และสถานที่ ในหมายนัดเข้ารับราชการ โดยหน่วยทหารจะรับทหารใหม่เข้าประจำการ ในวันที่ 1 พฤษภาคม นี้  และในระหว่างรอเข้าประจำการ ขอให้ทหารใหม่ได้บริหารจัดการ ธุระส่วนตัว เตรียมเอกสารส่วนบุคคลไว้ให้พร้อม เช่น วุฒิการศึกษา เพื่อใช้สมัครเรียนต่อการศึกษาตามอัธยาศัยในระหว่างประจำการ  การทำธุรกรรมทางการเงิน  การเตรียมยาที่ใช้เป็นประจำ เป็นต้น  

"สำหรับหน่วยฝึกทหารใหม่ของกองทัพบก ขณะนี้ได้เตรียมรับทหารใหม่ตามนโยบายที่ผู้บัญชาการทหารบกกำชับไว้ในทุกด้าน ทั้งความพร้อมของสถานที่ บุคลากร สิ่งอำนวยความสะดวก การดูแลทางด้านสุขภาพ การปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมทหาร การฝึก ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งการปลูกฝังอุดมการณ์รักชาติ ทำประโยชน์เพื่อแผ่นดิน และส่วนรวม โดยจะให้การดูแลสมาชิกใหม่ของกองทัพอย่างดีที่สุด" รองโฆษกกองทัพบก กล่าว

 

ที่มา : สำนักข่าวไทย และผู้จัดการออนไลน์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โสมแดงทดสอบยิงจรวดล่ม ส่วนโสมขาว-มะกันเปิดฉากซ้อมรบทางอากาศ

Posted: 17 Apr 2017 06:31 AM PDT

เกาหลีเหนือทดสอบขีปนาวุธพลาด ระเบิดแทบทันทีตั้งแต่เริ่มยิง ส่วนเกาหลีใต้-สหรัฐอเมริกาเปิดฉากซ้อมรบทางอากาศครั้งใหม่ต้านโสมแดงยั่วยุ โสมขาวย้ำยังไม่เปลี่ยนแผนติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธ THAAD ต้องรอให้ได้ประธานาธิบดีคนใหม่ก่อน

กองทัพสหรัฐเมริกาที่ฐานทัพยองซาน กรุงโซล ระหว่างลำเลียงอุปกรณ์เพื่อติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธระบบ THAAD สำหรับเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2017 หลังจากที่เกาหลีเหนือทดสอบขีปนาวุธพิสัยกลางและพิสัยไกลหลายหน (ที่มา: Flickr/U.S. Pacific Command)

17 เม.ย. 2560 เมื่อวันอาทิตย์ (16 เม.ย) คณะเสนาธิการทหารร่วมเกาหลีใต้รายงานว่า เกาหลีเหนือทำการทดสอบขีปนาวุธครั้งที่ 6 ที่เมืองท่าชินโป ชายฝั่งตะวันออกของประเทศ แต่ประสบความล้มเหลวแทบทันทีหลังเริ่มปฏิบัติการ

คณะเสนาธิการกล่าวว่า เกาหลีเหนือได้ยิงขีปนาวุธไม่ทราบชนิดจากเมืองท่าชินโป ใกล้กับฐานเรือดำน้ำในตอนเช้าวันที่ 16 เม.ย. ทว่าการยิงดังกล่าวประสบความล้มเหลว ขีปนาวุธระเบิดแทบทันทีหลังจากเริ่มยิง

สำหรับความเคลื่อนไหวจากเกาหลีใต้ ในวันนี้ กองทัพอากาศเกาหลีใต้และสหรัฐฯ ร่วมกันซ้อมรบภายใต้ปฏิบัติการ ธันเดอร์ แมกซ์ จะกินระยะเวลาทั้งสิ้น 2 สัปดาห์ ที่ฐานทัพอากาศคุนซานที่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเกาหลี โดยเกาหลีใต้นำกำลังพลราว 500 นายเข้าร่วมซ้อมรบพร้อมเครื่องบินรบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินขับไล่ F-15K F-16 F-5E และ F-4E รวมถึงเครื่องบินอื่นๆของกองทัพอากาศ ร่วมกับเครื่องบินของกองทัพอากาศสหรัฐฯ และกำลังพลกว่า 1000 นาย

ภาพไม่ทราบวันที่ของเครื่องบิน C-130 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ในการซ้อมรบระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ในปฏิบัติการซ้อมรบ "ทีม สปิริต"

กองทัพสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก (USPACOM) กล่าวว่า การซ้อมรบเป็นไปเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการยั่วยุของเกาหลีเหนือ

"การซ้อมรบครั้งนี้จะทดสอบขีดความสามารถการรบบนอากาศ ความมุ่งมั่นที่เกาหลีใต้และสหรัฐฯมีร่วมกันอย่างแน่นแฟ้น และศักยภาพอีกหลายด้านที่พวกเรามี" พลโทธอมัส เบอร์จสัน (Thomas Bergeson) ผู้บัญชาการกองบินที่ 7 กล่าว

สหรัฐฯ และเกาหลีใต้มีแผนที่จะซ้อมรบทางอากาศอีกครั้งในครึ่งปีหลังภายใต้ชื่อปฏิบัติการ "วิจิแลนต์ เอซ"

 

โสมขาวยังไม่เปลี่ยนแผนติดตั้ง THAAD

ในวันเดียวกัน สำนักข่าวยอนฮัปของเกาหลีใต้ รายงานว่า เกาหลีใต้ยังไม่เปลี่ยนแปลงจุดยืนที่จะให้สหรัฐฯ ติดตั้งระบบต่อต้านขีปนาวุธ THAAD (Termintal High Altitude Area Defense) ในเกาหลีใต้ หลังจากมีการคาดคะเนว่าอาจมีการเร่งให้มีการติดตั้งให้เร็วขึ้น

ที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศของทำเนียบขาว ที่กำลังเดินทางเยือนเอเชียพร้อมกับรองประธานาธิบดี ไมค์ เพนซ์ กล่าวว่า การติดตั้ง THAAD ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประธานาธิบดีคนต่อไป โดยเกาหลีใต้จะกำลังจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 9 พ.ค. ที่จะถึงนี้

มุนซังกุน โฆษกกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ กล่าวระหว่างการแถลงข่าวว่า "สหรัฐฯ และเกาหลีไม่มีการเปลี่ยนแปลงจุดยืนขั้นต้นที่จะดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ในการเตรียมพร้อมติดตั้งระบบ THAAD เพื่อรับมือภัยคุกคามทางนิวเคลียร์และขีปนาวุธจากเกาหลีเหนือที่ขยายตัวขึ้น" ทั้งยังระบุว่า สหรัฐฯ และเกาหลีใต้อยู่ในระหว่าง "การหารือขั้นสุดท้าย" เรื่องการจัดสรรปันส่วนที่ดินก่อนงานก่อสร้างจะเริ่มขึ้นอย่างเต็มตัว

ทั้งนี้เกาหลีใต้เลือกใช้สนามกอล์ฟแห่งหนึ่งในเมืองซองจู จังหวัดเกียงซางเหนือเป็นสถานที่ตั้งระบบ THAAD

อย่างไรก็ดี มีการถกเถียงประเด็นการติดตั้ง THAAD บนแผ่นดินเกาหลีใต้ เนื่องจากมีข้อกังวลว่าการติดระบบป้องกันขีปนาวุธดังกล่าวจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้-จีน เห็นได้จากเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รัฐบาลจีนสั่งปิดร้านค้าของล็อตเต้ กรุ๊ป บรรษัทผู้ประกอบการธุรกิจการผลิตและบริการขนาดใหญ่ของเกาหลีใต้ในจีนทั้งสิ้น 79 จาก 99 ร้าน หลังล็อตเต้ กรุ๊ป เซ็นสัญญากับรัฐบาลเกาหลีใต้ให้ใช้ที่ดินของตนเป็นสถานที่ติดตั้งระบบ THAAD พฤติกรรมดังกล่าวของจีนถูกมองว่าเป็นการโต้ตอบล็อตเต้ กรุ๊ป โดยเร็กซ์ ทิลเลอร์สัน รมว. กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ กล่าวระหว่างการเยือนเกาหลีใต้ว่า การกระทำของจีนเป็นการกระทำที่ "ไม่เหมาะสม" และ "เป็นปัญหา" ทั้งยังระบุว่า THAAD มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการโจมตีขีปนาวุธของเกาหลีเหนือเท่านั้น

 

แปลและเรียบเรียงจาก

Yonhap, 80 pct of Lotte outlets on China suspended over THAAD spat, http://english.yonhapnews.co.kr/business/2017/03/19/32/0503000000AEN20170319006400315F.html

Yonhap, Ministry: no change in THAAD deployment schedule, http://english.yonhapnews.co.kr/national/2017/04/17/0301000000AEN20170417005700315.html

Yonhap, S. Korean, U.S. air forces hold joint exercise, http://english.yonhapnews.co.kr/national/2017/04/17/0301000000AEN20170417003200315.html

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เก็บตกเสวนา “ขาลงเสรีภาพสื่อ” หลังสั่งปิด Voice TV 7 วัน

Posted: 17 Apr 2017 06:23 AM PDT

เมื่อวันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมา Media Inside Out มีการจัดเวทีสนทนาเรื่อง"เสรีภาพสื่อ กรณีพักใบอนุญาตVOICE TV" หลังจากเหตุการณ์พักใบอนุญาตออกอากาศของ VOICE TV เป็นเวลา 7 วัน ภายในงานได้มีการพูดถึงประเด็นความผิดของ VOICE TV ที่ถูกอ้างถึง ความจำเป็นการลงโทษสื่อ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของสื่อ รวมถึงการกลับมาออกอากาศของ VOICE TV จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับตัวอย่างไรบ้าง โดยมีผู้ร่วมสนทนา 3 คนคือ รศ. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการด้านสื่อ อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา จากสมาคมเครือข่ายสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีป้า) และนวลน้อย ธรรมเสถียร ผู้สื่อข่าวรอาวุโส

ช่วงแรกของการสนทนาได้กล่าวถึงความผิดของ VOICE TV และสาเหตุที่ทาง กสท.พักใบอนุญาตออกอากาศของ VOICE TV โดยอุบลรัตน์กล่าวว่าถือเป็นครั้งแรกของทีวีดิจิตอลที่มีการลงโทษพักใบอนุญาต ก่อนหน้านี้จะเห็นได้ว่าสื่อซึ่งส่วนใหญ่เป็นของรัฐ หรือสัมปทานจากรัฐ ตามกฎหมายเดิมมักจะได้รับการยกเว้น หรือกำกับดูแลโดยหน่วยงานที่ให้สัมปทานและมักจะได้รับการผ่อนปรนเป็นพิเศษ สำหรับการพักใบอนุญาต 7วันนี้ถือว่าเป็นการลงดาบอย่างเข้มงวดและเป็นสิ่งที่สั่นสะเทือนวงการ เพราะทำให้เกิดความเสียหายในแง่ของธุรกิจ แต่ก็อาจมีสาเหตุตามที่ กสท.ชี้แจงว่าเคยลงโทษมาแล้วหลายแบบ อีกทั้งทำ MOU ไว้แล้วแต่ผิดสัญญา แต่ถ้ามองในอีกแง่มุมจะเห็นว่าสิ่งที่น่าวิตกสำหรับคนดูและคนทำทีวีคือ สิทธิเสรีภาพเสียหายอย่างรุนแรง และไม่รู้ว่าจะมีช่องอื่นโดนอีกหรือไม่

อรพิณ กล่าวเสริมว่าคำว่า "ความผิดซ้ำซาก" ตามที่ทาง กสท.ได้ชี้แจงว่าทำผิดแล้ว ผิดอีกไม่แก้ไข เพราะทำMOU ไว้แล้วเพราะฉะนั้นทางช่องควรต้องระมัดระวังให้ดีพอ ที่ผ่านมาอาจมีการแก้ไขไปแล้วแต่ปรากฏว่าอาจจะยังไม่ดีพอตามที่หน่วยงานควบคุมคาดหวัง นี่คือสิ่งที่พลโทพีรพงษ์ มานะกิจ กสทช.กล่าวเอาไว้ในวันที่เป็นข่าวว่าจะต้องพักใบอนุญาตทั้งสถานี' สำหรับความผิดของ VOICE TV ทางพลโทพีระพงษ์ชี้แจงว่า

"อย่างเช่นเวลายกตัวอย่างก็นำมาจากนิตยสารรายสัปดาห์ซึ่งก็ทราบกันอยู่ว่าวิธีคิดต่างกัน ถ้าเป็นสื่อจริงๆ ก็ควรยกมาให้รอบด้าน หรือถ้าจะยกมาก็ต้องยกทั้งสองทาง ยกมาอย่างเดียวทำให้ไม่สมดุล ลำเอียง เราไม่มีสิทธิไม่ให้สื่อวิจารณ์แต่การวิจารณ์ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริง ต้องกระจาย ต้องกว้าง ซึ่งบางครั้งขึ้นอยู่ที่พิธีกร ถ้าเอาคนแนวเดียวกันมาเล่ามันก็เป็นไปในแนวเดียวกัน มันสุจริตในเวอร์ชั่นของคุณ แต่เนื้อหาที่ออกมาเป็นการด่วนสรุป การคิดเอาเอง บางเรื่องยังอยู่ในกระบวนการยุติธรรม เช่นเรื่องเด็กชนกลุ่มน้อย คุณจะไปการันตีเกินกว่าข้อเท็จจริงไม่ได้ หรือจะไปทำตัวเป็นทนายฝ่ายค้านก็ไม่เหมาะ การเป็นสื่อไม่ควรทำตัวเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ต้องนำเสนออย่างเป็นกลาง หรือถ้าคุณจะวิจารณ์ก็วิจารณ์ทั้งสองทางจะปลอดภัยกว่า"

อรพิณกล่าวต่อว่า จะเห็นได้ว่าทาง คสช.เน้นไปทางรายการรูปแบบวิเคราะห์ข่าวมาก แม้ว่าวันนี้ที่ทางVOICE TV ปรับเปลี่ยนเช่นการโยกย้ายพิธีกรจาก 3 คนให้เหลือ 2 คน แต่ก็ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ทาง คสช.ต้องการ เมื่อได้กลับมาออกอากาศอีกครั้งทาง VOICE TV ก็เหมือนจะถอยกับรายการเชิงวิเคราะห์ข่าวไปแล้ว ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็น่าเสียดาย

เมื่อรูปแบบรายการวิเคราะห์ข่าวถูกเพิ่งเล็ง

นวลน้อย ตั้งข้อสังเกตว่า ความผิดที่ทาง คสช.อ้างเหตุผลในการลงโทษ VOICE TVนั้นมีคีย์เวิร์ดอยู่ว่า 'สมดุล' 'ไม่ลำเอียง' 'ข้อเท็จจริง' 'ความรอบด้าน' 'อย่าทำตัวเป็นทนายของฝ่ายค้าน' 'ต้องกระจายออกไป' 'ไม่สรุปความเกินข้อเท็จจริง' ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นหลักการสำคัญของการสื่อสารมวลชน ที่คนทำงานสื่อจะต้องรู้อยู่แล้วในวันที่มีการหยิบเหตุผลเหล่านี้มาลงโทษ ประเด็นสำคัญคือลักษณะของรายการที่นำเสนอความเห็นรูปแบบวิเคราะห์ สื่อสามารถทำได้มากแค่ไหน ขอบเขตอยู่ที่ไหน พอมาถึงจุดนี้คิดว่า กสท.หรือใครก็ตามที่ดูเรื่องทิศทางการนำเสนอของสื่อสารมวลชนไม่สามารถผูกขาดเรื่องของหลักการสื่อสารมวลชนได้ ทุกๆ คนควรจะมีส่วนรวมเพราะว่าเราก็ต่างเป็นผู้เสพข่าวเหมือนกัน เชื่อว่ามีหลายช่องหลายรายการที่เป็นลักษณะวิเคราะห์ข่าว ไม่ใช่แค่ VOICE TV ดังนั้นจึงมาสู่คำถามว่า มันทำไม่ได้จริงรึเปล่า? และการนำเสนอเรื่องของความคิดเห็นทำได้รึเปล่า มีที่ยืนหรือไม่ในแง่ของนักข่าว?

อุบลรัตน์ กล่าวว่า หลังปรากฏการณ์นี้รายการวิเคราะห์ทางสื่อโทรทัศน์คงจะหมดอนาคตไป เพราะคงผิดไปจากที่ กสทช.และ คสช.อยากเห็น ถ้าดูตามประวัติศาสตร์รายการโทรทัศน์มีการวิเคราะห์น้อยมาก ไม่ค่อยมี นักวิเคราะห์ที่เก่งเหมือนในต่างประเทศ รัฐบาลไทยยังเป็นรัฐบาลอำนาจนิยมอยู่ โดยเฉพาะเมื่อเป็นรัฐบาลทหารก็จะยิ่งไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์

อีกประเด็นหนึ่ง การเล่าข่าวในปัจจุบันก็เล่าเอามาจากหนังสือพิมพ์อยู่แล้ว ทั้งพาดหัวข่าว เนื้อหาสาระโดยย่อ สมัยพลเอกเปรมข่าวในวิทยุก็เป็นแบบนี้เช่นกัน เป็นการเล่าข่าว เพราะฉะนั้นการนิยมรายการเล่าข่าวในปัจจุบันก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร 30-40 ปีก่อนคุณหญิงไทยขายข่าวฮิตมาก เล่าด้วยเสียงเขาเองจากหนังสือพิมพ์ แล้วก็ถูกทางการติงไปว่าเอาของคนอื่นเขามา แล้วยังทำมาเป็นสีสันก็เลยโดยสั่งว่าให้อ้างอิงแหล่งที่มาว่ามาจากฉบับไหน ไม่อย่างนั้นจะปิดรายการ พวกวิทยุจึงมีการประชุมกัน กลุ่มที่นำอยู่เป็นวิทยุทหาร ผลสรุปคือทำสรุปข่าววิเคราะห์ประมาณ 1 หน้ากระดาษแล้วก็เวียนไปตามแต่ละสถานี ซึ่งทำให้เห็นว่าความคิดเรื่องการรวมศูนย์ การพูดความจริงเพียงหนึ่งเดียว หรือรอให้เรื่องคลี่คลายก่อน มักจะวนเวียนอยู่แบบนี้ในสังคมไทย หรืออีกนัยหนึ่งการเล่าข่าวกลายเป็นการสร้างสรรค์อย่างซ้ำซากในสังคมไทย รวมถึงข่าวอาชญากรรมจะเห็นได้ว่ามีการวิเคราะห์เป็นฉากๆ และเป็นซีรี่ย์ แต่กับประเด็นการเมืองหรือเศรษฐกิจกลับไม่มีเลย กลายเป็นเรื่องที่จะแทรกอยู่ประปราย หรือต้องแอบๆ ซ่อนๆ

อรพิณ เสริมว่า ส่วนตัวมองว่าคนทำงาน VOICE TV ตกอยู่ในที่นั่งลำบากกว่าคนอื่นเพราะว่าเจ้าของก็หลังพิงอยู่กับทางครอบครัวชินวัตรอยู่แล้ว พอเกิดกรณีนี้ตัวเองจึงลองตามไปดูรายการที่ถูกพูดถึงอย่างรายการของศิโรฒม์ คล้ามไพบูลย์ ที่พูดถึงกรณีของชัยภูมิ ป่าแส ชาวลาหู่ที่ถูกวิสามัญฆาตกรรม ฟังแล้วรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็พูดกัน เป็นเนื้อหาทั่วไปที่ที่อื่นๆ ก็พูดกัน หรือในโซเชียลมีเดียก็พูดถึง จึงรู้สึกว่าทีวีช่องนี้ถูกจับตามองเป็นพิเศษและต้องพยายามกันตัวเองมาจากข้อครหาของการเป็นของครอบครัวชินวัตรอยู่พอสมควร

อุบลรัตน์ สำหรับประเด็นเรื่องสิทธิเสรีภาพของสื่อ คำถามว่า VOICE TV แหลมคมเกินไปไหม ดังที่เห็นแล้วว่าเนื้อหาคล้ายของคนอื่น มันจึงกลับมาที่ว่ารูปแบบการวิเคราะห์นั้นไม่ถูกจริตกับสังคม คือ ใช้การโต้แย้งที่ตรงไปตรงมา ในช่วงหลัง การเล่าข่าวแล้วหยอดๆ ประเด็นวิพากษ์ก็เริ่มทำไม่ได้แล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่สังคมอำนาจนิยมไม่ชอบ ไม่นิยม เพราะว่าการโต้แย้งเป็นสิ่งที่จะไปทำลายความชอบธรรม ความเชื่อ หรือมายาคติถึงความจงรักภักดีต่อรัฐบาล มันคือการตั้งคำถามว่าทำแบบนี้ถูกต้องไหม แล้วมันก็เลยตีกลับมาทางสื่อว่าคุณทำแบบนี้ก็ไม่ถูกหลักการการทำสื่อไง คุณขาดจรรยาบรรณ ตีปิงปองโต้แย้งกันไปมาว่าต่างฝ่ายต่างทำไม่ถูกหลักการ แต่หลักการนั้นเป็นอุดมคติที่เราวางไว้ 1 2 3 4 5 แต่ในโลกความเป็นจริงมันมีอยู่แค่ไหน?

อรพิณ กล่าวว่า ถ้า คสช.ใช้มาตรฐานแบบเดียวกันนี้กับสื่ออื่นๆ ก็จะหาเรื่องได้เรื่อยๆ ไม่ใช่แต่เฉพาะกับ VOICE TV ทั้งเรื่องเกี่ยวกับการติชมโดยชอบธรรม ความเป็นกลาง แล้วก็ไม่รู้ว่าอะไรทำให้ความคิดเห็นกลายเป็นของแสลงขนาดนี้ หลายๆ ครั้ง คสช.มักอ้างเรื่องข้อเท็จจริงตลอดเวลาว่า สื่อไม่นำเสนอข้อเท็จจริง ทั้งที่มันมีข้อเท็จจริงหลายแบบ ถ้าอยากให้มีข้อเท็จจริงออกมาเยอะๆ คสช.ก็ต้องไปแก้ประกาศคสช.ฉบับที่ 97 ที่ห้ามข้าราชการให้สัมภาษณ์ เวลานักข่าวทำงานมันก็ต้องมีส่วนที่ไปสัมภาษณ์คนที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง เมื่อก่อนมันมีเปิดเผย มีให้เห็นตามเว็บไซต์ แต่เดี๋ยวนี้ไม่มี เท่ากับว่าข้อเท็จจริงมันหายากขึ้น ดังนั้นช่องทางใหม่สำหรับการหาข้อเท็จจริงมันก็คือการโยนหินถามทาง การวิเคราะห์ ซึ่งเหล่านี้เป็นวิธีการทั่วไปของนักข่าว

นวลน้อย กล่าวว่า พูดง่ายๆ ว่ามันคือการตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การหาข้อเท็จจริง นั่นเป็นหน้าที่ของนักข่าวอย่างหนึ่ง เพราะว่านำเสนอเพียงข้อเท็จจริงอย่างเดียวที่ถูกใจคนบางฝ่ายมันก็ยังไม่พอ การโยนวิธีคิด การโยนคำถาม แย้ง ยั่วเพื่อให้เกิดนำเสนอบางอย่างออกมาเป็นเรื่องทำได้ เช่น เมื่อมีการวิสามัญฆาตกรรมสองศพที่ภาคใต้ก็มีผู้สื่อข่าวในพื้นที่ไปสัมภาษณ์ญาติว่าจริงๆ แล้วเขาตายเพราะอะไร หรือในบางกรณีญาติรู้สึกว่าการตายนั้นไม่ยุติธรรมเขาก็เดินมาหานักข่าวเอง เพื่อที่เราจะรอดูว่าทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะออกมาว่าอย่างไร นี่เป็นวิธีการนำเสนอแบบตั้งคำถามถึงข้อเท็จจริง คำถามเหล่านี้จะมีคุณค่าก็ต้องเมื่อตกเป็นผู้ถูกกระทำ ไม่มีสิทธิมีเสียงในสังคม หน้าที่ของสื่ออย่างหนึ่งก็คือการให้พื้นที่กับคนที่ไม่มีสิทธิมีเสียง ซึ่งกรณีของชัยภูมิก็เขากับกรณีนี้เป็นหน้าที่ของสื่อที่ละเลยไม่ได้

หลักการทำข่าว คืออะไร 

อรพิณ กล่าวว่า ในเรื่องการนำเสนอความเป็นกลาง คำว่า ไม่สมดุล ไม่เป็นกลาง เป็นคำที่ถูกเข้าใจผิดมากตามที่เรียนเขียนข่าวมาก็ไม่เคยถูกสอนว่าคำว่า สมดุลคือถ้าเอาของคนนี้มาวัดตามบรรทัดได้เท่านี้ อีกคนต้องเอามาเขียนให้เท่ากัน แต่มันอาจจะเป็นว่าในขณะที่สื่อหลักพูดไปตามกระแสหนึ่ง แล้วเราพูดเสริมในมุมที่แตกต่างกันก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้ข้อมูลข่าวสารที่ไหลเวียนมีความสมดุล

อุบลรัตน์ กล่าวว่า เวลาทำข่าว เราต้องพยายามหาข้อมูลและคนที่เกี่ยวข้องให้ได้มากที่สุด แหล่งข่าวที่เป็นรัฐมักจะได้เปรียบเสมอ แน่นอนว่ากว่า 70% มาจากเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งในไทยและประเทศในอาเซียน ภาครัฐมักจะมีเสียงมีพื้นที่ในสื่ออยู่แล้ว นอกนั้นก็มีสัดส่วนลดลงมาก บางครั้งเอ็นจีโอหรือนักสิทธิมนุษยชนแทบจะไม่มีเสียง บางที่อาจจะไม่มีเลย ในกรณีรื้อป้อมมหากาฬ สื่อก็พยายามสัมภาษณ์ผู้ว่าฯ อีกฝากหนึ่งก็เป็นเสียงจากผู้นำชุมชนซึ่งก็พยายามเล่าให้ครบรวมถึงเล่ากระบวนการที่ผ่านมาให้ฟัง ผู้สื่อข่าวมีหน้าที่ที่ให้ความเป็นธรรมว่าทำไมเขาไม่ยอมย้าย มันผิดกฎหมาย มันเป็นเพราะอะไร สื่อเป็นพื้นที่ของการนำมุมมองที่เสียงดังที่สุดที่รัฐจะได้ยิน

อรพิณ เสริมว่า ตามกฎหมาย กสท.อาจจะพลาดไปเรื่องหนึ่งคือ ทาง กสท.ตั้งขึ้นมาโดยกฎหมายสองฉบับคือกฎหมายก่อตั้งองค์กรกสทช.ซึ่งระบุว่า กสท.มีหน้าที่ในเรื่องการส่งเสริมการกำกับดูแลกันเอง กับอีกอันหนึ่งคือประกาศ คสช.ฉบับที่103 ที่บอกว่า กสท.ควรไปคุยกับองค์กรสื่อในเรื่องของการกำกับดูแลกันเองของสื่อ ถ้าเป็นไปตามกลไกนี้ก็จะช่วยให้ปกป้องเสรีภาพของสื่อได้ ซึ่งผ่านมายังไม่เคยเห็น และไม่เคยเกิดขึ้น

นวลน้อยถามว่า เมื่อพื้นที่ของข่าวการเมือง การวิเคราะห์การเมืองหายไป เหลือแต่ข่าวเล็กน้อยแทน แล้วโฉมหน้าสื่อจะเป็นอย่างไรต่อไป?

อุบลรัตน์ กล่าวว่า สื่อถูกจัดระเบียบโดยไม่รู้ตัว และถ้าแถวยังไม่ตรงก็จะถูกจัดไปเรื่อยๆ ข่าวเศรษฐกิจจะเป็นนวัตกรรม ทีวีพยายามแบ่งช่องข่าวให้เป็นเศรษฐกิจ แหล่งข่าวส่วนใหญ่ก็เป็นของรัฐ มีรูทีนของเขา การเติบโต ความสำเร็จทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ แต่ข่าวแบบแม่ค้าหาบเร่ แผงลอย กลับไม่ค่อยมี เหมือนเราอยู่สองโลก เราเดินไปกับสถานการณ์เศรษฐกิจการเมืองที่ไม่เหมือนกับสิ่งที่เราเห็นจากข่าว หรือถ้าเป็นนักรัฐศาสตร์จะบอกว่า เมื่อพื้นที่เปิดมันค่อยๆ หายไปมันก็จะไปโผล่ในรูปแบบของข่าวลือ หรือเฟคนิวส์แทน เป็นข่าวที่ไม่มีแหล่งข่าวที่มาชัดเจน ปรากฏตัวอยู่ในชื่ออื่นๆ หรือในโซเชียลมีเดีย ในคอมเม้นท์ที่ดุเดือดมากขึ้น เพราะคนพูดไม่ได้มีความอึดอัดกดดัน ซึ่งก็ไม่ค่อยดีเท่าไรกับบรรยากาศในสังคม

นวลน้อย สรุปตอนท้ายว่า เราจะเห็นได้ว่าในภาคใต้พื้นที่ของข่าวจริงกับข่าวลือแทบจะเท่าๆ กัน เผลอๆ ข่าวลืออาจจะมีความสำคัญมากกว่า เมื่อสื่อหลักไม่สามารถเป็นพื้นที่กลางได้ ต้องมีวิธีการนำเสนอที่แนบเนียน ต้องแอบๆ กลายเป็นว่าไปปรากฏในโซเชียลมีเดียแทน แม้ว่าเราบอกกันว่ามันไม่ใช่สื่อหลัก หาเรื่องจริงไม่ค่อยได้ แต่มีคนที่ยอมลงทุนที่จะใช้เวลาสกรีนหาบางอย่างที่เชื่อว่าเป็นความจริงอีกชุดหนึ่งจากโซเชียลมีเดีย ต้องไปกรองข้อมูลเอาเองจากมหาสมุทรข้อมูลอันท่วมท้นแทน โจทย์ของสื่อในยุคปัจจุบันอาจจะไม่ใช่แค่เรื่องของหลักการทำสื่อและการพาณิชย์ที่ต้องสร้างสมดุลให้ดีแล้ว แต่ยังมีเรื่องของการจัดระเบียบสื่อที่เข้ามาใหม่ด้วยที่คงจะต้องติดตามกันต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

น.ศ.ธรรมศาสตร์-เกษตรศาสตร์จัดกิจกรรม “ประชาชนหน้าไม่ใสก็ได้ป่ะ” ทวงคืนหมุดคณะราษฎร

Posted: 17 Apr 2017 05:54 AM PDT

3 นักศึกษาจากธรรมศาสตร์ และเกษตรศาสตร์ จัดกิจกรรม "ประชาชนหน้าไม่ใสก็ได้ป่ะ" ตั้งคำถามต่อหมุดใหม่ ถ้าประชาชนหน้าไม่ใส แล้วจะไม่สุขสันต์หรือไม่ พร้อมร้องเรียกประชาชนทุกคนช่วยลงชื่อทวงคืนหมุดคณะราษฎร

ที่มาภาพจาก Banrasdr Photo

17 เม.ย. 2560 มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อเวลา 16.30 น. ที่ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ท่าพระจันทร์ นักศึกษา 3 คนจาก กลุ่ม PPDD ธรรมศาสตร์ร่วมกับกลุ่ม เสรีเกษตรศาสตร์ จัดกิจกรรม "ประชาชนหน้าไม่ใสก็ได้ป่ะ" เพื่อเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนหมุดคณะราษฎรนำมาคืน

ทั้งนี้ กลุ่มนักศึกษาแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วยการล้างหน้าลบเครื่องสำอาง ตามชื่อกิจกรรม "ประชาชนหน้าไม่ใสก็ได้ป่ะ" บริเวณลานรูปปั้นปรีดี พนมยงค์ จากนั้นจึงเดินทางไปยังหมุดทองเหลืองคณะราษฎรจำลอง บริเวณลานประติมากรรม หน้าหอประชุมใหญ่ มธ. ก่อนจะนำน้ำมาล้างหมุดจำลองพร้อมทั้งอ่านข้อความโดยรอบหมุด ความว่า "ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ"

ทั้งนี้หนึ่งในผู้แทนนักศึกษาฯที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ กล่าวว่า เรามาท้าพิสูจน์ว่า ประชาชนหน้าใสจริงหรือไม่ ถ้าไม่หน้าใส จะใช่ประชาชนหรือไม่ จะเห็นว่าพอล้างหน้าแล้ว หน้าเราไม่ได้ใสทุกคน บางคนก็มีสิว แล้วประชาชนสุขสันต์จริงหรือไม่ ขอเรียกร้องให้ประชาชนทุกคนช่วยกันร่วมลงชื่อเรียกร้องทวงคืนหมุดคณะราษฎร "เอาผิดผู้ทำลายและต้องคืนหมุดคณะราษฎร"  บนเว็บไซต์ change.org ที่เสนอโดย ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ เพื่อให้มีความคืบหน้าในการสืบสวนกรณีดังกล่าว โดยเฉพาะผู้อำนวยการเขตดุสิต ที่ดูแลพื้นที่ ต้องรับผิดชอบ ทั้งนี้ขอเรียกร้องให้มีการเปิดกล้องวงจรปิดบริเวณรอบพื้นที่เกิดเหตุด้วยส่วนทางนักศึกษาก็จะมีการจัดอภิปราย เกี่ยวกับหมุดคณะราษฎรช่วงสิ้นเดือนเมษายน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างที่นักศึกษากลุ่มนี้จัดกิจกรรม ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบและตำรวจสันติบาลได้มาติดตามสถานการณ์ พร้อมบันทึกภาพ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'สปริง เรดิโอ' กลับมาออกอากาศแล้ว หลังถูก กสทช.สั่งปิด 5 วัน

Posted: 17 Apr 2017 05:52 AM PDT

เลขาธิการ กสทช. เผย สถานีสปริง เรดิโอ กลับมาออกอากกาศได้ตามปกติแล้ว หลังถูกคำสั่งระงับการออกชั่วคราว ชี้สองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงและทำความเข้าใจในการออกอากาศและเผยแพร่ข่าวสารต่อสาธารณะ 

17 เม.ย. 2560 จากกรณีที่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กสทช.) สั่งระงับการออกอากาศชั่วคราว สถานีวิทยุ 1 ปณ. FM 98.5 MHz หรือ 'สปริงเรดิโอ' ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 13 เม.ย. 2560 จนถึงวันที่ 17 เม.ย. 2560 เวลา 24.00 น. เนื่องจากได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับเนื้อหารายการที่ออกอากาศ ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจกระทบต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย โดยในขณะที่มีการตรวจสอบ จึงมีคำสั่งให้ระงับการออกอากาศชั่วคราวไปก่อน ทั้งนี้ สำนักงานฯ ได้มีคำสั่งให้ผู้แบ่งเวลาดำเนินรายการเข้ามาพบ เพื่อชี้แจงกรณีดังกล่าวในวันที่ 17 เม.ย. 2560 เวลา 10.00 น.

ล่าสุดวันนี้ (17 เม.ย.60) สำนักสื่อสารองค์กร สำนักงาน กสทช. แจ้งว่า ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า จากการเข้าหารือของ อารักษ์ ราษฎร์บริหาร พัชระ สารพิมพา และโกศล สงเนียม ผู้บริหารสถานีสปริง เรดิโอ กรณีสำนักงาน กสทช. มีคำสั่งระงับการออกชั่วคราวของสถานีวิทยุ FM 98.5 MHz ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงและทำความเข้าใจในการออกอากาศและเผยแพร่ข่าวสารต่อสาธารณะ จึงได้อนุญาตให้สปริง เรดิโอ FM 98.5 MHz กลับมาออกอากกาศได้ตามปกติตั้งแต่วันที่ 17 เม.ย. 2560 เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป ซึ่งจะเป็นการออกอากาศที่เร็วขึ้นจากการสั่งระงับการออกอากาศเดิม 

ขณะที่วานนี้ (16 เม.ย.60) สปริงเรดิโอ (สถานีวิทยุ F.M.98.5 MHz.) ได้แถลงข้างเท็จจริง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ตามที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ให้ระงับการออกอากาศชั่วคราว สถานีวิทยุ 1 ปณ. F.M.98.5 MHz. ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 13 เม.ย. 2560 จนถึงวันที่ 17 เม.ย. 2560 เวลา 24.00 น. นั้น สถานีข่าวจริง สปริงเรดิโอ (สถานีวิทยุ F.M.98.5 MHz.) ขอเรียนข้อเท็จจริงต่อสาธารณะ ดังต่อไปนี้

1. สถานีฯ ได้รับแจ้งจากสำนักงาน กสทช. ด้วยวาจา ทางโทรศัพท์ เมื่อเวลาประมาณ 16.15 น. ของวันพุธ ที่ 12 เม.ย. 2560 ว่า ให้ระงับการออกอากาศเนื้อหา พร้อมโฆษณา เป็นการชั่วคราว แล้วให้เปิดเพลงเท่านั้น ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 13 เม.ย. 2560 จนถึงวันที่ 17 เม.ย. 2560 เวลา 24.00 น. อ้างเป็นคำสั่งเลขาธิการ กสทช. จากการสอบถาม (หลายครั้ง ) ว่า เป็นความผิดใด แต่ผู้แจ้งบอกแต่เพียงว่า "เป็นคำสั่งของเลขาธิการ กสทช. ซึ่งพูดไม่ได้ ไม่สามารถบอกรายละเอียดได้" และจะนำเอกสารการสั่งระงับการออกอากาศ มอบให้เมื่อผู้บริหารสถานีฯ ไปพบเลขาธิการ กสทช. ในวันจันทร์ที่ 17 เม.ย. 2560

2. ในเวลาต่อมา ได้ปรากฎข่าวในสื่อมวลชน ดังนี้ "นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดว่า สำนักงาน กสทช.สั่งระงับการออกอากาศชั่วคราวสถานีวิทยุ 1 ปณ. FM 98.5 MHz ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 13 เม.ย.2560 จนถึงวันที่ 17 เม.ย.2560 เวลา 24.00 น. เนื่องจากได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับเนื้อหารายการที่ออกอากาศไม่เหมาะสม ซึ่งอาจกระทบต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย โดยในขณะที่มีการตรวจสอบ จึงมีคำสั่งให้ระงับการออกอากาศชั่วคราวไปก่อน ทั้งนี้ สำนักงานได้มีคำสั่งให้ผู้แบ่งเวลาดำเนินรายการเข้ามาพบ เพื่อชี้แจงกรณีดังกล่าวในวันที่ 17 เม.ย.2560 เวลา 10.00 น."

3. สถานีฯ จึงพยายามติดต่อไปยังแหล่งข่าวระดับต่าง ๆ เพื่อหาข้อมูล และข้อเท็จจริง ซึ่งไม่มีใครยืนยันข้อมูลชั้นต้น-ปฐมภูมิได้เลย มีเพียงข้อมูลบอกเล่าได้ยินมาเท่านั้น ซึ่งเป็นลักษณะข้อมูลทุติยภูมิอ้างอิงโดยไม่ยืนยัน

4. เมื่อไม่มีการระบุรายละเอียดของความผิด และระบุรายการที่กระทำผิด ในชั้นแรก สถานีฯ ได้สอบถามผู้ดำเนินรายการทุกๆ คน ทุกรายการ ว่า ได้ดำเนินรายการที่มี ลักษณะขัดต่อความมั่นคงหรือไม่ ซึ่งผู้ดำเนินรายการทุกคนยืนยันว่าไม่เคยกระทำเช่นนั้นเลย อย่างไรก็ตาม แม้จะมีคำยืนยันดังกล่าว แต่สถานีฯ ได้ตัดสินใจให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากรายการจริง ด้วยการเรียกเทปย้อนหลังรายการทุกรายการ ตลอด 24 ชั่วโมง ย้อนหลังเป็นเวลา 1 สัปดาห์มานั่งฟังอย่างละเอียดและถอดถ้อยคำสำคัญของผู้จัดรายการทุกคนทุกรายการว่า มีรายการใดที่กระทำผิดต่อความมั่นคง ซึ่งแม้จะยุ่งยากอย่างยิ่งและต้องทุ่มเททุกสรรพกำลังทั้งสถานี เนื่องจากไม่ได้รับการระบุรายการที่กล่าวอ้างว่ากระทำความผิดมา แต่จะต้องรีบหาข้อเท็จจริงให้เสร็จสิ้นโดยเร็วจากการฟังย้อนหลังในเวลาจริงถึง 24 ชั่วโมง ตลอดการออกอากาศใน 7 วัน จึงต้องเร่งฟังและถอดใจความกันทั้งวันทั้งคืนทั้งที่ทำงานและที่บ้านของพนักงาน

5. บัดนี้การฟังรายการย้อนหลังได้ดำเนินการครบเสร็จสิ้นแล้ว ไม่พบว่ามีรายการใดเลย หรือในช่วงใดช่วงหนึ่งเลย ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ย้อนหลังไป 7 วันนี้ ได้ดำเนินรายการออกอากาศในลักษณะผิดต่อกฎหมายความมั่นคง แต่อย่างใด ซึ่งสถานีฯ จะจัดทำรายงานเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นทางการ โดยระบุถึงรายการในแต่ละวัน ถอดเนื้อหาโดยสรุปของแต่ละรายการ พร้อมทั้งทำสำเนาเทปรายการทุกรายการ มอบแก่สำนักงาน กสทช. ในวันจันทร์ที่ 17 เม.ย. 2560 ต่อไป

6. สถานีฯ ได้รับความเสียหายจากคำสั่งระงับการออกอากาศในครั้งนี้อย่างมาก การระงับออกอากาศโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของความเสียหาย แต่ที่เหนือกว่านั้นคือการถูกป้ายสีว่าอาจมีส่วนเกี่ยวพันกับกระบวนการบ่อนทำลายความมั่นคงของประเทศ ซึ่งสถานีฯ ไม่อาจรับได้เนื่องจากสถานีฯ เป็นสื่อมวลชนมืออาชีพ มีจรรยาบรรณ และสนับสนุนความมั่นคงของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มาโดยตลอด สถานีฯ จึงขอเรียนชี้แจงต่อสาธารณะมาเพื่อโปรดทราบ และขอให้ไว้วางใจ/เชื่อมั่นเหมือนเช่นเคยว่า เราจะทำหน้าที่สื่อมวลชนมืออาชีพเหมือนเดิมที่เข้มข้น เพื่อประโยชน์ของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เรามีเจตนารมณ์มุ่งมั่นรายงานข่าวเจาะเชิงลึก ที่ไม่เคยมีใครกล้ารายงานต่อประชาชน เราจะเกาะกัดติดและทำลายล้างขบวนการทุจริต ข้าราชการ/นักการเมืองโกงกินชาติ เราจะกลับมาออกอากาศฯ ในวันที่ 18 เม.ย. 2560 เป็นต้นไป ขอเชิญชวนประชาชนร่วมรับฟังสถานีข่าวจริง สปริงเรดิโอ F.M.98.5 MHz. ร่วมเป็นพลังในการปฏิรูปประเทศของเราต่อไป

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

1 เดือน วิสามัญฯ 'ชัยภูมิ ป่าแส' เผยทีมสอบสวนยังไม่ได้ภาพวงจรปิด จากทหาร

Posted: 17 Apr 2017 05:19 AM PDT

บีบีซีไทย เช็ค พนง.สอบสวนคดี วิสามัญฯ 'ชัยภูมิ ป่าแส' เผยยังไม่ได้ภาพวงจรปิด จากหน่วยทหาร แม้ทำหนังสือขอไปแล้ว ยันคดีคืบหน้า แม้ไม่มีภาพจากกล้องวงจรปิดก็ไม่กระทบ 'ทนายครอบครัวชัยภูมิ' ชี้ภาพจากวงจรปิดช่วยไขข้อสงสัย

รถยนต์คันเกิดเหตุ

17 เม.ย. 2560 สืบเนื่องจากเหตุการณ์ทหารวิสามัญฆาตกรรม ชัยภูมิ ป่าแส นักกิจกรรมชาวลาหู่ เมื่อวันที่ 17 มี.ค. ที่ผ่านมา มีข้อสงสัยเกี่ยวกับพฤติการณ์การเสียชีวิตของชัยภูมิจากทั้งทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร รวมไปถึงพยานในเหตุการณ์หลายปาก (อ่านที่นี่) ต่อมาเจ้าหน้าที่อ้างถึงกล้องวงจรปิดที่บันทึกเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ภายหลังปฏิเสธการเผยแพร่ภาพต่อสาธารณะ แม้จะมีกระแสสังคมเรียกร้องให้เปิดเผยภาพดังกล่าวก็ตาม

ล่าสุดวันนี้ (17 เม.ย.60) ซึ่งครบรอบ 1 เดือน เหตุการณ์ดังกล่าว บีบีซีไทย รายงานว่า  พ.ต.อ.มงคล สัมภวะผล รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในพนักงานสอบสวนคดีดังกล่าว เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า ทีมสอบสวนยังไม่ได้รับหลักฐานภาพกล้องวงจรปิดจากหน่วยทหารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ทำหนังสือขอไปแล้ว แต่ยืนยันว่าคดีมีความคืบหน้า แม้ไม่มีภาพจากกล้องวงจรปิดก็ไม่กระทบ ขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม เพื่อรวบรวมเป็นสำนวนการสอบสวนก่อนส่งเข้าสู่กระบวนการในชั้นศาลต่อไป

นอกจากนี้ บีบีซีไทย ยังรายงานด้วยว่า สุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความของครอบครัว ชัยภูมิ กล่าวกับบีบีซีไทยว่า ภาพจากกล้องวงจรปิดจะช่วยไขข้อสงสัยของคดีว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามที่เจ้าหน้าที่ทหารให้ข้อมูลหรือไม่ หลังจากลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมพบว่าบริเวณที่เกิดเหตุมีการติดตั้งกล้องอยู่ 1-2 ตัว ทั้งนี้ทีมทนายความและญาติ กำลังพิจารณาว่าจะยื่นขอให้ฝ่ายทหารเปิดเผยข้อมูลหรือรอขั้นตอนในชั้นศาล

"ส่วนหลักฐานการชันสูตรศพ อยู่ระหว่างรอสำเนารายงานการผ่าชันสูตรพลิกศพเชิงลึกจากโรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่ ซึ่งจะมีรายละเอียดที่ลึกกว่ารายงานที่ตรวสอบในที่เกิดเหตุ โดยจะนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไต่สวนการตายว่าเจ้าหน้าที่กระทำการเกินกว่าเหตุหรือไม่" สุมิตรชัย กล่าว

ก่อนหน้านี้ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน 3 องค์กร ได้แก่ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เก็บข้อมูลทางคดีเพิ่มเติม และมีแถลงการณ์ขอให้ย้ายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ออกจากพื้นที่เพื่อไม่ให้มีการข่มขู่พยาน และให้ตั้งคณะกรรมการเฉพาะโดยองค์กรอิสระ ตรวจสอบการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหาร

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มค้านโรงงานน้ำตาล-โรงไฟฟ้าชีวมวล จ.ยโสธร จัดพิธีสืบชะตาลำน้ำเซบาย

Posted: 17 Apr 2017 04:09 AM PDT

ชาวบ้านริมน้ำเซบาย จังหวัดยโสธร กว่า 300 คน จัดงานสืบชะตาลำน้ำเซบาย หลังจะมีโครงการก่อสร้างโรงงานน้ำตาล และโรงไฟฟ้าชีวมวล ใกล้ลำน้ำหวั่นผลกระทบสิ่งแวดล้อม ชาวบ้านระบุสิทธิในการรักษาทรัพยากรเป็นเรื่องสำคัญ

เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 2560 เวลา 10.30 น. ที่บริเวณริมลำน้ำเซบาย ต.เชียงเพ็ง อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ประสาน โรจนคุณธรรม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงเพ็ง อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร เป็นประธานในพิธีสืบชะตาลำน้ำเซบาย โดยมีสมัย คดเกี้ยว อายุ 57 ปี กรรมการกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย และชาวบ้านตำบลเชียงเพ็ง กว่า 300 คนเข้าร่วมกิจกรรม

โดยภายในงานมีการถวายภัตตราหารเพลแด่พระสงฆ์ พิธีรำบวงสรวงถวายลำน้ำเซบาย พิธีลอยเครื่องสักการะเซ่นไหว้ลงในลำน้ำเซบายและพิธีสรงน้ำพระ และรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้สูงอายุ

สมัย ได้อ่านคำประกาศลำเซบาย สายเลือดคนเชียงเพ็งว่า วิถีคนเชียงเพ็งได้ยึดโยงกับทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีดิน มีน้ำ มีป่า ที่มีความอุดมสมบรูณ์คอยหล่อเลี้ยงวิถีชีวิตชุมชน ทำให้คนในชุมชนได้พึ่งพา ได้เข้าไปใช้ประโยชน์ ได้เข้าไปจัดการอย่างรู้คุณค่าและเกื้อกูลกันมาตั้งแต่พ่อใหญ่เชียงเพ็งได้ตั้งรกรากจนถึงลูกหลานในปัจจุบัน ความเป็นชุมชนความสามัคคีของชุมชนทำให้ชาวบ้านได้ตระหนักรู้ถึงคุณค่าของความรักใคร่ในชุมชน และได้ร่วมกันปกป้องชุมชนร่วมกันปกป้องทรัพยากรที่ได้พึ่งพาอาศัย นั้นย่อมหมายถึงการที่ชาวบ้านมีสิทธิในการดูแลรักษาชุมชน เพื่อให้ลูกหลานในอนาคตได้พึ่งพาทรัพยากรของชุมชน

สมัย ระบุด้วยว่า สิทธิชุมชนในการรักษาทรัพยากรเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนในชุมชน ใครจะมาทำร้ายไม่ได้คนเชียงเพ็งจะร่วมกันกำหนดอนาคตของตนเองเพื่อลูกหลานต่อไปในอนาคต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายได้จัดพิธีสืบชะตาลำน้ำเซบายขึ้นเนื่องจากทางโรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ จำกัด จะดำเนินการก่อสร้างโรงน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลขึ้น ที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งอยู่ห่างจากลำเซบายเพียง 5 กิโลเมตร ซึ่งทางชาวบ้านที่อยู่ติดกับลำเซบายได้อาศัยแหล่งน้ำแห่งนี้ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งทางการเกษตร ผลิตน้ำประปา ก็ต้องอาศัยน้ำแห่งนี้มาโดยตลอด นอกจากนั้นแล้วเมื่อถึงฤดูแล้งน้ำในลำเซบายยังได้แห้งไม่เพียงพอในการใช้อุปโภคบริโภค หากทางโรงงานก่อสร้างโรงน้ำตาล และโรงไฟฟ้าชีวมวลขึ้นก็จะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้านตามลำน้ำเซบาย

สำหรับพื้นที่ที่จะมีการดำเนินการก่อสร้างโรงงานน้ำตาล โรงไฟฟ้าชีวมวล นั้นอยู่ใกล้กับลำน้ำเซบาย ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาย่อยของแม่น้ำมูนมีต้นกำเนิดที่อำเภอเลิงนกทา ไหลผ่านจังหวัดยโสธร อำนาจเจริญ และไหลลงสู่แม่น้ำมูนที่อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี มีความยาวประมาณ 200 กิโลเมตร ชุมชนในท้องถิ่นต่างใช้ประโยชน์ทั้งด้านประมง เกษตรกรรม อุปโภค

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จ่านิว ถาม 'หมุดหน้าใส' ของใคร จ่อนำหมุดคณะราษฎรจำลองไปติดแทนก่อน

Posted: 17 Apr 2017 03:52 AM PDT

พล.ต.อ.ศรีวราห์ บอก "ทรัพย์สินใครยังไม่รู้เลย" ชี้ ปมหมุดคณะราษฎร ผู้ร้องทุกข์ต้องเป็นผู้เสียหาย เตือนผู้ที่จะทำพิธีหรือชุมนุมไม่สามารถยอมได้เหตุเป็นเขตพระราชฐานและผิดตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ  ด้าน 'จ่านิว' ถาม 'หมุดหน้าใส' ของใคร จ่อเอาหมุดคณะราษฎรจำลองไปติดแทนก่อน

 

หมุดหน้าใส ที่ถูกนำไปติดแทนหมุดคณะราษฏร

17 เม.ย. 2560 จากกรณี วานนี้ (16 เม.ย.60) มีผู้เดินทางมาแจ้งความที่ สน.ดุสิต นำโดย พริษฐ์ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ หลานชายหลวงเสรีเริงฤทธิ์ พร้อมตัวแทนนิสิต-นักศึกษาจำนวนหนึ่ง เพื่อลงบันทึกประจำวันให้ช่วยติดตามหมุดคณะราษฎรที่ลานพระบรมรูปทรงม้าหายไป

ล่าสุดวันนี้ (17 เม.ย.60) พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(รองผบ.ตร.) เปิดเผยถึงกรณีการหายไปของหมุดคณะราษฎรบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า หลังมีผู้มาลงบันทึกประจำวันไว้ดังกล่าวว่า ส่วนตัวมองว่า หมุดคณะราษฎรอยู่ในบัญชีทรัพย์สินมรดก ซึ่งตามกฎหมายผู้ร้องทุกข์จะต้องเป็นผู้เสียหาย เป็นเจ้าของทรัพย์มรดก และหากยืนยันได้ว่าเป็นทรัพย์มรดกตัวเองจริงตำรวจก็พร้อมดำเนินการให้  แต่หากไม่ใช่จะดำเนินการอย่างไร 

"ถ้ารับเป็นเจ้าของทรัพย์ ดูด้วยบริเวณนั้นบริเวณอะไร ต้องห้ามรึเปล่า ไปวางไว้ ผมไม่ทราบ เที่ยวไปรุ่มร่ามในเขตบริเวณนั้นจะมีความผิดหรือไม่ แล้วจะให้ดำเนินคดี ไม่รู้จะไปดำเนินกับใคร ทรัพย์สินของใครยังไม่รู้เลย" พล.ต.อ.ศรีวราห์ กล่าว

นอกจากนี้ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยังฝากไปถึงผู้ที่จะระดมคนมาทำพิธีหรือชุมนุมบริเวณดังกล่าว ว่าส่วนตัวไม่สามารถยินยอมจัดให้มีการชุมนุมได้ เนื่องจากเขตพื้นที่ดังกล่าวคือเขตพระราชฐาน อีกทั้งจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ชุมนุมในที่สาธารณะ

ขณะที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ดุสิต ระบุว่า จากที่มีคนมาแจ้งความหมุดคณะราษฎรบริเวณลานหน้าพระบรมรูปทรงม้าหาย นั้น จะต้องดำเนินการสอบก่อน ว่าใครเป็นคนเอาไป และใครเป็นผู้เสียหาย ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป 

จ่านิว ถาม 'หมุดหน้าใส' ของใคร จ่อเอาหมุดคณะราษฎรจำลองไปติดแทนก่อน

ด้าน สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ "จ่านิว" โพสต์เฟซบุ๊กถึง พล.ต.อ.ศรีวราห์ โดยระบุว่านายบอกว่าหมุดคณะราษฎร เป็นทรัพย์สินของใครไม่รู้ เจ้าทุกข์ที่มาร้องว่าหมุดหายต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สิน แล้วหมุดหน้าใส ที่ไปติดแทนหมุดคณะราษฎร เป็นของใคร มีเจ้าของหรือไม่

"ถ้าไม่มี ผมจะได้ไปขุดออก แล้วเอาหมุดคณะราษฎรอันจำลอง ที่ผมมีขนาดเท่าของจริง ไปติดตั้งแทนให้ก่อน จนกว่าของเดิมจะกลับคืนมา หรือจะให้ผมบริจาคแทนก็ได้ เพราะตอนนี้ก็ไม่รู้ว่าหมุดจริงอยู่ไหน และถ้าใครไปแจ้งความ ผมก็จะตอบแบบ ศรีวราห์ตอบ.." สิรวิชญ์ โพสต์

 
ที่มา : เฟซบุ๊ก Sirawith Seritiwat และ สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: แด่หมุด...ทำลายหมด มิลดลืม

Posted: 17 Apr 2017 01:00 AM PDT

หกศูนย์ สิบสี่เมษา คราอุบาทว์
ขี้เขลาขลาด อำนาจเถื่อน มิผ่องแผ้ว
แอบทำลาย หน้าไม่อาย ไร้วี่แวว
ภินท์พังแล้ว มิเลือนลบ จนจบไป

ฤาคล้าย อยากลบ ประวัติศาสตร์
หมุดประกาศ ปฏิวัติ ระบอบใหม่
ความจริง มิมีวันตาย
แม้เคลื่อนย้าย ทำลายหมด มิลดลืม!!!
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: ใครขุดหมุดคณะราษฎร

Posted: 17 Apr 2017 12:52 AM PDT


 

กาลเวลาวิชาชัดประวัติศาสตร์     ล้วนเป็นเรื่องชิงอำนาจบาตรใหญ่
จากสุขทุกข์ยุคหินถิ่นทั่วไป     อำเภอใจในกฎกติกา
ยุคสมัยไม่หยุดนิ่งทิ้งรอยร่อง     ผู้คนผองพันพัวไปทั่วหล้า
สู่โลกาภิวัฒน์เต็มอัตรา     ยังรบราฆ่าฟันกันเหมือนเดิม


เมื่อสังคมเป็นเช่นนี้ต้องมีกฎหมาย     เกิดตายใต้กติกามาพ่วงเสริม
ป้องกันอำเภอใจใครเหิมเกริม     สร้างกฎเติมกติกามาช้านาน
จนกระทั่งกฎหมายกลายเป็นวิชา     ในมหาวิทยาลัยให้พื้นฐาน
อำนาจบาตรใหญ่ไม่อันตรธาน     ยังอยู่ในวิญญาณการครอบงำ

             
จากยุคหินเป็นดินระเบิดระเหิดหาย     ความตายง่ายเพียงกดปุ่มตูมกระหน่ำ
เข้าสู่ยุคปรมาณูหลบรูถ้ำ     ยุคใจดำอำมหิตทิศทางไป
เมื่อมีสัมมาทิฐิก็มีมิจฉาทิฐิ     ประวัติศาสตร์ของอำนาจบาตรใหญ่
การต่อสู้ผู้ถูกกดขี่ชี้ทางไกล     อำเภอใจในมนุษย์ขุดลึกเลย

              
แล้วใครเล่าขุดหมุดคณะราษฎร์    อำนาจบาตรใหญ่ใช่ไหมเอ่ย
อำนาจอำเภอใจใครเล่าเคย     อนาถเอ๋ยชะตาอนาคต
ขโมยขุดหมุดคณะราษฎรประกาศเสนอ     เอาอำเภอใจมาใช้กำหนด
คืนอำนาจบาตรใหญ่ไม่เลี้ยวลด     ย้อนเกณฑ์กฎหมายมัดประวัติศาสตร์ไว้!?

                                                                      

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น