ประชาไท | Prachatai3.info |
- ประยุทธ์หวังยกระดับ 'ผู้ใช้แรงงาน' เป็น 'ผู้ใช้พลังสมอง' ยันเศรษฐกิจดีขึ้นต่อเนื่อง
- วอน รบ.ไทย ให้ประกันตัว 'ไผ่ ดาวดิน' ไปเกาหลีใต้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน
- สมาคมนักข่าวฯ รณรงค์เปลี่ยนรูปโปรไฟล์ในสื่อออนไลน์ ค้านกฎหมายคุมสื่อ
- ศาสนากับรัฐและคุณค่าในโลกร่วมสมัย พุทธแบบไทยๆ กับรัฐแบบเก่าๆ
- ค้านขึ้นค่าไฟ อัดคาดการณ์ราคาก๊าซสวนชาวโลก ปชช.เดือนร้อน แต่ผู้ค้าก๊าซรอฟันกำไร 48%
- รายงานสัมมนา Thailand Update 2017 ถกปมสถาบันกษัตริย์ ชายแดนใต้ บทบาทเศรษฐกิจของทหาร
- กะเทาะเปลือกร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง ฉบับอยู่ยากแต่ยุบง่าย
- 'สมาน' นำทีมจี้อเมริกาหยุดสงครามกับเกาหลีเหนือ หนุ่มอ้างตัวถอนหมุดคณะราษฎรโผล่ร่วมด้วย
- เผยต้นปี 60 จ้างงานขยายตัว เตรียมตั้งกรมใหม่ 'สำนักงานเศรษฐกิจการแรงงาน'
- ประวิตรสวนยิ่งลักษณ์ ชี้เอาเงินที่เสียหายจาก 'จำนำข้าว' ซื้อ 'เรือดำน้ำ' ได้ 50 ลำ
- พิธีการเข้าเบิก: กรณีสมโภช 1188 ปี เมืองแพร่ว่าด้วยการกลับมาของประเพณีเก่าในหน้าที่แบบใหม่
- กวีประชาไท: ใครเอาไป?
ประยุทธ์หวังยกระดับ 'ผู้ใช้แรงงาน' เป็น 'ผู้ใช้พลังสมอง' ยันเศรษฐกิจดีขึ้นต่อเนื่อง Posted: 28 Apr 2017 10:59 AM PDT พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวในรายการ ศาสตร์พระราชาฯ ย้ำ 'ไทยแลนด์ 4.0' ต้องยกระดับจาก 'ผู้ใช้แรงงาน' เป็น 'ผู้ใช้พลังสมอง' พร้อมยืนยันเศรษฐกิจไทยดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง แต่มีหลายพวกพยายามจะโจมตีรัฐบาล ที่บอกว่าระดับฐานรากยังไม่ได้รับผลโดยตรง 28 เม.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ "ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ตอนหนึ่งถึงวันกรรมกรสากล และสภาวะเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้ โดยระบุว่ารัฐบาลมีนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวกับแรงงาน ทั้ง ด้านสุขภาพ ด้านสวัสดิการสังคม ด้านพัฒนาฝีมือแรงงานและความมั่นคงในอาชีพ พร้อมทั้งยืนยันว่าขณะนี้เศรษฐกิจไทยดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดดังนี้ พี่น้องประชาชนและผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็น "ผู้ร่วมสร้างชาติ" ทุกท่าน ครับ วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี เป็น "วันแรงงานแห่งชาติ" ตรงกับ "วันกรรมกรสากล" หรือ "เมย์-เดย์ (May Day)" ของโลก แรงงานถือเป็นปัจจัยสำคัญ ในกระบวนการผลิต ห่วงโซ่คุณค่าในระบบเศรษฐกิจ โดยพลังของผู้ใช้แรงงานจะแฝงอยู่ในผลผลิตทุกชิ้น ดังนั้น ความมั่นคงก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศ จะมีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับพี่น้องแรงงาน ทุกประเภท ทั้งแรงงานในระบบ ที่เรียกว่า มนุษย์เงินเดือน และแรงงานนอกระบบ แรงงานอิสระ ที่มีอยู่ราว 2 ใน 3 ของแรงงานทั้งหมด เช่น คนงานที่รับงานไปทำที่บ้าน แรงงานรับจ้างทำการเกษตร เกษตรกร ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ที่เป็น "แรงงานตามฤดูกาล" และแรงงานประมง คนทำงานบ้าน รับจ้างทั่วไป แม่ค้าหาบแร่ แผงลอย ช่างเสริมสวย ช่างทำผม เหล่านี้เป็นต้น แรงงานนอกระบบนี้ ส่วนมากเป็นผู้มีรายได้น้อย รายได้ไม่แน่นอน ไม่มีความมั่นคง หากไม่ได้รับการช่วยเหลือ และคุ้มครองจากรัฐบาล ทั้งด้านกฎหมายแรงงาน ประกันสังคม และสวัสดิการอื่น ๆ แล้ว ก็ย่อมจะส่งผลกระทบ ทั้งในมิติสังคมและความมั่นคง ตามมาอีกด้วย ดังนั้น ผมเห็นว่าการจัดให้มี "ฐานข้อมูลกลาง" (Data Center) ข้อมูลแรงงาน ข้อมูลประชากรของประเทศ จึงมีความจำเป็นอย่างมาก จะช่วยให้รัฐบาลและทุกหน่วยงาน สามารถนำไปใช้กำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ ได้อย่างเหมาะ สมกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งแรงงานกลุ่มต่าง ๆ และแรงงานคนพิการของไทย รวมถึงแรงงานต่างด้าว จากประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีการลงทะเบียนจัดทำฐานข้อมูลตามขั้นตอนไปแล้ว นอกจากนี้ ฐานข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยในการจัดระบบ ให้เป็นระเบียบ สำหรับการบริหารจัดการ เพื่อให้ประเทศสามารถใช้ศักยภาพจากทรัพยากรมนุษย์ หรือ "แรงงานของประเทศ" ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย ที่ผ่านมา ปัญหาแรงงานไทย นอกจากการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง ด้านผลประโยชน์ ค่าตอบแทน และสวัสดิการแล้ว ยังคงมีปัญหาเรื่องปากท้อง การบริการสุขภาพ ที่อยู่อาศัย การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการศึกษา อีกด้วย ซึ่งรัฐบาลนี้ ได้ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาเหล่านั้น เพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน แก่พี่น้องแรงงาน "ทุกประเภท" โดยเฉพาะแรงงาน นอกระบบ ที่มักจะเป็นประชากร ระดับฐานราก และผู้มีรายได้น้อย ดังนั้นจึงมีนโยบายสาธารณะต่างๆ ออกมาจำนวนมาก ในช่วงเวลา 2 ปีกว่านี้ ที่ผมอยากทบทวนอีกครั้งนะครับ เช่น ด้านสุขภาพ ก็ได้แก่ (1) การแพทย์ฉุกเฉิน 72 ชั่วโมงแรก ให้พ้นวิกฤต ที่ผู้ป่วยอยู่ในช่วงอันตรายถึงชีวิต ได้ทุกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ไม่ว่าจะโรงพยาบาลของรัฐหรือเอกชน ซึ่งเป็นการก้าวข้ามกำแพงสิทธิประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าประกันสังคม หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนอื่น ๆ หรือแม้จะไม่มีสิทธิใด ๆ โดยรัฐบาลได้รักษาไว้ซึ่ง "สิทธิขั้นพื้นฐาน" ของพี่น้องคนไทยทุกคน ทุกสาขาอาชีพ ข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ สายด่วน 1669 (2) คลินิกหมอครอบครัว เป็นการปฏิรูประบบสาธารณสุขไทย เน้นมาตรการเชิงป้องกัน มากกว่ารักษา ที่มักมีราคาแพงกว่า ด้วยการสร้างระบบเครือข่ายแพทย์ปฐมภูมิ ไปทั่วประเทศ จนเข้าถึงทุกครัวเรือน จำนวน 6,500 ทีม ในปี 2570 เหล่านี้เป็นต้น ด้านสวัสดิการสังคม ได้แก่ (1) กองทุนการออมแห่งชาติ สำหรับประชาชนและพี่น้องแรงงาน ที่ไม่อยู่ในกองทุนบำเหน็จบำนาญช้าราชการ ที่เรียกว่า กบข. หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กสล. หรือกองทุนประกันสังคม (2) กองทุนยุติธรรม จะช่วยเหลือในเรื่องคดีความ การให้ความรู้ทางกฎหมาย หรือการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และ (3) การลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการภาครัฐ ที่จะปิดลงทะเบียนในวันที่ 15 พฤษภาคม นี้ โดยจะมีมาตรการ "ลดค่าครองชีพ" สำหรับแรงงานที่เป็นผู้ที่มีรายได้น้อย เช่น การให้ส่วนลดค่าน้ำ ค่าไฟ หรือค่ารถ ขสมก. สำหรับแรงงานในกรุงเทพฯ หรือค่ารถ บขส. สำหรับพี่น้องต่างจังหวัด เหล่านี้เป็นต้น ใครที่อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว ขอให้รีบมาลงทะเบียนกัน ด้านพัฒนาฝีมือแรงงานและความมั่นคงในอาชีพ เช่น (1) ศูนย์บริการจัดหางานเพื่อคนไทย (Smart Job Center) (2) การสร้างระบบมาตรฐานแรงงาน ช่วยกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล และ (3) การส่งเสริมอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ภายใต้กลไกประชารัฐ เป็นต้น ที่กล่าวมาเป็นการบูรณาการหน่วยงาน และการสร้างระบบตลาดแรงงานที่สอดคล้องกันของฝั่ง Demand คือ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และฝั่ง Supply คือ กระทรวงศึกษา และกระทรวงแรงงาน ให้รองรับการก้าวไปสู่ "ไทยแลนด์ 4.0" นั่นเอง ทั้งนี้ ในอนาคต เราจะต้องยกระดับจาก "ผู้ใช้แรงงาน" เป็น "ผู้ใช้พลังสมอง" หรือที่เรียกว่า จาก Manpower สู่ Brainpower ผมอยากให้ทุกภาคส่วน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาตนเอง โดยเริ่มจากการเห็นว่าตนเองนั้น มีความสำคัญกับการพัฒนาประเทศเท่าเทียมกัน ซึ่งคงต้องค่อย ๆ ยกระดับตนเองเป็น แรงงานมีฝีมือ แรงงานคุณภาพ แรงงานที่มีนวัตกรรม และแรงงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ให้ได้ โดยต้องรู้จักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย อย่างเหมาะสมด้วย เศรษฐกิจไทยดีขึ้น อย่างต่อเนื่องวันนี้ เราพูดได้ว่าเศรษฐกิจไทยดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง ถ้าพี่น้องประชาชนลองมองย้อนกลับไป ปี 2557 เศรษฐกิจไทยเติบโตได้เพียงร้อยละ 0.8 และปรับดีขึ้นต่อเนื่องเป็นร้อยละ 2.8 ในปี 2558 และ 3.2 ในปี 2559 ที่ผ่านมา ในปีนี้ หากโครงการต่าง ๆ คืบหน้าไปตามแผนที่วางไว้ เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้เพิ่มขึ้นอีก ที่ประมาณร้อยละ3.5 ซึ่งก็ถือเป็นการค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น จากปัญหาความไม่แน่นอนต่าง ๆ ของประเทศและภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมาอย่างชัดเจน แม้จะยังไม่ได้กลับมาขยายตัวสูงเท่ากับในอดีต แต่ก็สะท้อนว่าเรายังมีโอกาส ที่จะฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพ และยังน่าจะเติบโตได้ต่อเนื่องในวันข้างหน้า หากเราค่อย ๆ ช่วยกัน ฟิตร่างกาย และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สำหรับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เศรษฐกิจยังขยายตัวได้ดี เราได้เห็นการส่งออกที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง และเริ่มขยายตัวมากขึ้นในหลายหมวดสินค้า โดยมีมูลค่าสูงกว่า 7 แสนล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตกว่าร้อยละ 10 สูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ รายได้เกษตรกร ในเดือนมีนาคมปีนี้เมื่อเทียบกับปีก่อน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 จากทั้งผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้รายได้ครัวเรือนและความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ ส่งผลดีต่อการบริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะการตัดสินใจซื้อสินค้าคงทน มีราคาสูง เช่น รถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ซบเซามาเป็นเวลานาน สำหรับการค้าขายของภาคธุรกิจ มีการขอจดทะเบียนธุรกิจเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 10 ซึ่งก็สะท้อนว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เอกชนก็มีความเชื่อมั่นมากขึ้น ทั้งนี้ หากเราต้องการที่จะกลับไปโตได้ในอัตราสูง ๆ แบบเดิม เราจะต้องเร่งให้เกิดการปฏิรูปเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลนี้ได้เริ่มขับเคลื่อนไปบ้างแล้วนะครับ แต่ต้องเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างหนึ่งก็คือการเร่งให้เกิด EEC ที่จะช่วยวางรากฐานอนาคตของการผลิต การค้า และยกระดับพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ เรื่องเหล่านี้ ต้องใช้เวลานานพอสมควรจึงจะเห็นผล ซึ่งความร่วมมือร่วมใจจากทั้งภาคเอกชนและภาคประชาชน จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการปฏิรูปขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมด้วย อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความพยายามเหล่านี้ ที่ผ่านมา ก็อาจจะมีหลายพวกหลายฝ่าย พยายามจะโจมตีรัฐบาล ที่บอกว่าเศรษฐกิจดีขึ้นต่อเนื่องนั้น คนในระดับฐานรากยังไม่ได้รับผลโดยตรง ไม่ถึงพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริงบ้าง เอื้อประโยชน์กลุ่มทุนรายใหญ่บ้าง ซึ่งล้วนเป็นการสร้างความขัดแย้ง ทำลายบรรยากาศการค้าการลงทุนในประเทศที่กำลังค่อย ๆ ไปได้ดี ที่รัฐบาลและเอกชนหลายฝ่ายกำลังพยายามสร้างอยู่ ก็ขอเรียนพี่น้องประชาชนว่า รัฐบาลได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ดี รับทราบ กำลังดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง และจะเร่งรัดดำเนินการภายในปีนี้ให้ได้ต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
วอน รบ.ไทย ให้ประกันตัว 'ไผ่ ดาวดิน' ไปเกาหลีใต้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน Posted: 28 Apr 2017 10:35 AM PDT ผู้อำนวยการมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก เกาหลีใต้ ออก จม.ถึง พล.อ.ประยุทธ์ อนุญาตให้ 'ไผ่ ดาวดิน' ได้รับประกันตัวและให้เดินทางไปยังเกาหลีใต้เพื่อรับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน 28 เม.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คิม ยัง แร ผู้อำนวยการมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ออกจดหมายถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย พร้อมทั้ง รมว. กระทรวงการต่างประเทศ รมว. กระทรวงยุติธรรม และเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโซล ขอให้รัฐบาลไทยอนุญาตให้ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ได้รับประกันตัวและให้เดินทางไปยังเกาหลีใต้เพื่อรับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน (Gwang Ju Prize for Human Rights) ประจำปี 2560 จากมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) สำหรับ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน นักกิจกรรมนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ได้รับรางวัลดังกล่าว โดยขณะนี้เขาไม่ได้รับสิทธิการปล่อยตัวชั่วคราวและถูกควบคุมตัวอยู่ที่ทัณฑสถานบำบัด จังหวัดขอนแก่น มาตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค.2559 เนื่องจากถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 จากการแชร์เฟซบุ๊กข่าวเกี่ยวกับพระราชประวัติ ร.10 ที่เผยแพร่ในบีบีซีไทย รายละเอียดจดหมาย ถึงนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สำเนาถึง รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว. กระทรวงการต่างประเทศ ดอน ปรมัตถ์วินัย รมว. กระทรวงยุติธรรม พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโซล คำร้องขอให้ปล่อยตัวโดยทันที ของ จตุภัทร บุญภัทรรักษา ผู้ได้รับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชน ปี 2560 มูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) ขอวิงวอนจากใจจริง ให้รัฐบาลไทยอนุญาตให้ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ได้รับประกันตัวจากการฝากขังก่อนพิจารณาคดี และให้เดินทางไปยังเกาหลีใต้เพื่อรับรางวัลกวางจูเพื่อสิทธิมนุษยชนประจำปี 2560 จตุภัทร์ ถูกฝากขังเพื่อรอการพิจารณาคดีตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเพียงเพราะแชร์บทความของ BBC ผ่านหน้าเฟซบุ๊กของตนเอง ด้วยเหตุนั้น ก็ควรที่จะลดโทษทางอาญาลงเนื่องจากการกระทำของเขาถูกปกป้องด้วยเสรีภาพการแสดงออก ซึ่งเป็นหลักใหญ่ใจความสำคัญของ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Convention on Civil and Political Rights) ที่ไทยได้ให้สัตยาบัณไว้ ทางมูลนิธิได้ให้เสนอชื่อให้ จตุภัทร์ ได้รับรางวัล เพราะเขาเป็นตัวอย่างที่หาได้ยากยิ่งในการต่อสู้เพื่อพิทักษ์ประชาธิปไตยของไทย และเชิดชูไว้ซึ่งหลักแห่งความเสรีภาพ ความเสมอภาคและสิทธิมนุษยชน แม้ในขณะที่การกระทำดังกล่าวจะต้องเสียสละซึ่งความปลอดภัย ผลประโยชน์ แม้กระทั่งอนาคตของตนเอง มูลนิธิ May 18 Memorial เข้าใจว่าการกระทำของจตุภัทรอาจไม่ไปในทางเดียวกับนโยบายของรัฐบาลไทย ซึ่งเป็นความขัดแย้งที่ทางเราก็เสียใจ อย่างไรก็ดี เรายังคงกังวลต่อการคุมขังจตุภัทร์ภายหลังจากการรับรางวัล ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยตกเป็นเป้าของคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างชัดเจนจากทั้งในและนอกประเทศ เพราะว่าการคุมขังเขาเป็นตัวชี้วัดว่าไทยกำลังกลายเป็นรัฐเผด็จการมากขึ้นเรื่อยๆ ทางมูลนิธิเชื่อว่าทางการไทยควรปรับภาพพจน์ใหม่เป็นรัฐที่เคารพในสิทธิและเดินหน้าสู่การคืนการปกครองแบบประชาธิปไตยด้วยการปล่อยตัวจตุภัทร์ตั้งแต่บัดนี้ เพื่อให้เขาเข้าร่วมพิธีรับรางวัลกวางจูในวันที่ 18 พฤษภาคม 2560 ที่กวางจู ประเทศเกาหลีใต้ ข้าพเจ้าขอวิงวอนอีกครั้ง ให้ท่านปล่อยตัว จตุภัทร์ ด้วยความเคารพ คิม ยัง แร ผู้อำนวยการมูลนิธิ 18 พฤษภารำลึก (May 18 Memorial Foundation) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สมาคมนักข่าวฯ รณรงค์เปลี่ยนรูปโปรไฟล์ในสื่อออนไลน์ ค้านกฎหมายคุมสื่อ Posted: 28 Apr 2017 09:33 AM PDT 28 เม.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เชิญชวนผู้สนใจร่วมเปลี่ยนรูปโปรไฟล์ในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 3 พ.ค. ของทุกปี ผ่าน http://tja.or.th/WPFDprofile เพื่อรณรงค์คัดค้านการที่เครือข่ายรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผลักดันร่างกฏหมายที่ใช้ควบคุมการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ซึ่งถูกตั้งฉายาว่า "กฏหมายคุมสื่อ" โดย ร่างกฎหมายดังกล่าว คือ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ….ที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุมสปท.ในวันที่ 1 พ.ค.นี้ มติชนออนไลน์ ได้สาระสำคัญไว้ว่า คือการจัดตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ ทำหน้าที่กำหนดมาตร การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม มาตรฐานแห่งวิชาชีพ ตลอดจนการกำกับดูแลกันเองทางจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้แทนสมาชิกสภาวิชาชีพ 7 คน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และกรรมการอื่นอีก 4 คน มีวาระดำรงตำแหน่ง 3 ปี แต่ดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ ทำหน้าที่ขึ้นทะเบียน ออกและเพิกถอนใบอนุญาตแก่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน โดยผู้ประกอบการวิชาชีพสื่อมวลชนต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนภายใน 2ปี และมีบทกำหนดโทษสื่อมวลชนที่ไม่ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขณะเดียวกันองค์กรสื่อใดที่รับบุคคลที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนสื่อ เป็นผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน จะมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นกัน สำหรับ วันที่ 3 พ.ค. ของทุกปี นั้น สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้เป็น วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ศาสนากับรัฐและคุณค่าในโลกร่วมสมัย พุทธแบบไทยๆ กับรัฐแบบเก่าๆ Posted: 28 Apr 2017 08:55 AM PDT เสวนา 'ศาสนากับรัฐและคุณค่าในโลกร่วมสมัย' นิธิระบุปัญหาของพุทธไทยคือไม่ยอมเข้าแข่งกับชุดคุณค่าอื่นๆ ในสังคม เพราะที่ผ่านมาถูกปกป้องมากเกินไป ด้านวิจักขณ์มองการยกพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติเหมาะกับรัฐแบบเก่าที่ไม่มองไม่เห็นศักยภาพของมนุษย์ ขณะที่สุวรรณาเสนอให้สร้างบทสนทนาใหม่ๆ เพื่อหาที่ทางและระยะห่างระหว่างรัฐกับศาสนา คลิปอภิปราย "ศาสนากับรัฐและคุณค่าในโลกร่วมสมัย นับจากเนื้อหาในรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่มีการระบุให้รัฐต้องดูแลพุทธเถรวาทเป็นพิเศษ การแก้ไข พ.ร.บ.สงฆ์ เกี่ยวกับการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช จนกระทั่งมาถึงกรณีธรรมกาย ทำให้คำถามว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาถูกหยิบขึ้นมาทบทวนอีกครั้ง วันที่ 27 เมษายน 2560 ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดงานประชุมวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา ในหัวข้อ 'ศาสนากับรัฐ: Fundamentalism, Secularism และ Post-Secularism' ขึ้น โดยมีการสัมมนาในหัวข้อย่อยเรื่อง 'ศาสนากับรัฐและคุณค่าในโลกร่วมสมัย' มีวิทยากรคือนิธิ เอียวศรีวงศ์ สุวรรณา สถาอานันท์ และวิจักขณ์ พานิช นิธิมองความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาในมิติของอำนาจว่า "โลกสมัยใหม่ เวลาพูดถึงศาสนากับรัฐ เราชอบพูดเนื้อหาของศาสนาและรัฐเข้ามาใช้ประโยชน์ของเนื้อหาศาสนา นี่เป็นวิธีคิดของโลกสมัยใหม่ ที่รัฐต้องมาเกี่ยวกับศาสนา เหตุผลมีนิดเดียวคือศาสนามีนักบวช ในศาสนาอิสลามที่บอกว่าไม่มีนักบวชเป็นทางการ แต่ก็มีโต๊ะครู มีอุลามะ มีการจัดองค์กร มีเครือข่ายของโรงเรียน โต๊ครูมีการสืบทอดตำแหน่งผ่านลูกชายหรือลูกเขย นักบวชจึงเป็นกลุ่มคนที่มีการจัดองค์กรที่เข้มแข็ง หลายครั้งเข้มแข็งกว่ารัฐ รัฐจึงสัมพันธ์กับศาสนาด้วยเหตุผลนี้ คือจะแบ่งอำนาจกันยังไง ในรัฐโบราณ หมอผีมีการแบ่งอำนาจที่ชัดเจน หมอผีมีอำนาจเหนือเรื่องบางเรื่องที่กษัตริย์หรือเจ้าครองรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องไม่ได้ และบางเรื่องของกษัตริย์ หมอผีก็เข้าไปเกี่ยวข้องไม่ได้ ผมมองเห็นแต่มิติด้านอำนาจของความสัมพันธ์นี้สืบมาจนถึงปัจจุบัน" ด้วยเหตุนี้วิธีเดียวที่รัฐจะจัดการกับองค์กรศาสนาคือเข้ามาสัมพันธ์โดยการเป็นผู้สนับสนุนองค์กรศาสนาและอ้างว่านับถือศาสนาเหมือนกัน สำหรับรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิธิเห็นว่ารัฐกลายเป็นรัฐที่มีศาสนาชัดเจนต่อเมื่อเถรวาทเข้ามามีอำนาจมากขึ้นและสามารถสร้างองค์กรสงฆ์ของตนขึ้นมาได้ ขณะที่องค์กรนักบวชของฮินดูหรือมหายานไม่สามารถขยายตัวเข้มแข็งเท่าองค์กรเถรวาท ทันทีที่อาณาจักรโบราณเปลี่ยนมาเป็นเถรวาทลังกาวงศ์แล้วก็ไม่กล้าเปลี่ยนอีกเลย เพราะองค์กนักบวชเข้มแข็งเกินไปที่จะท้าทาย อย่างไรก็ตาม นิธิมองว่าองค์กรสงฆ์ในโลกปัจจุบันกลับอ่อนแอลง และสำหรับในโลกตะวันตก องค์กรนักบวชอ่อนแอมาก่อนที่ไทยจะมีการปฏิรูปศาสนาด้วยซ้ำ คำว่าศาสนาที่แปลจากภาษาอังกฤษว่า Religious ไม่มีในไทยและในโลกตะวันออก แล้ววันหนึ่งตะวันตกก็นำคำนี้เข้ามา และเราก็พยายามปรับตัวว่าเราก็มีศาสนาเหมือนกันคือพุทธศาสนา และพยายามแปลงให้เป็นแบบเดียวกับฝรั่ง ทั้งที่ศาสนาฝรั่งตอนที่เข้ามานั้นอ่อนแอมากแล้ว "ทำไมอ่อนแอ หนึ่ง-เพราะลัทธิล่าอาณานิคมทำให้อ่อนแอ สมัยหนึ่งพวกผู้ดีมีลูกชายคนโตก็จะให้สืบทอดสิทธิอำนาจจากพ่อ แล้วลูกคนเล็กก็เอาไปบวช อยู่ในคณะสงฆ์ เพื่อจะได้มีอำนาจบางอย่างผ่านองค์กรคณะสงฆ์ แต่พอเริ่มมีอาณานิคมในต่างประเทศ อนาคตของลูกชายคนเล็กไม่ต้องพึ่งศาสนาแล้ว ส่งไปเป็นข้าราชการอาณานิคม อาณานิคมจึงทำให้องค์กรสงฆ์อ่อนลงและการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งเปิดโอกาสในชีวิตคนก็ยิ่งทำให้ศาสนาอ่อนแอลงอีก "ถามว่าศาสนาในโลกตะวันตกที่เข้ามาตอนรัชกาลที่ 4 คืออะไร มันคือกล่องบริจาค ศาสนาคือกล่องบริจาค คนไม่รู้จะเกี่ยวข้องกับศาสนายังไงนอกจากผ่านการบริจาค ไม่เคยมีครั้งไหนหลังจากปฏิวัติอุตสาหกรรมแล้วที่คนให้เงินเพื่อให้ศาสนาไปเผยแพร่ไกลๆ ในขณะเดียวกัน รัฐก็สามารถลงทะเบียนผู้คนเก่งกว่าศาสนา สมัยก่อนอยากรู้ว่าใครเป็นใครต้องไปดูที่วัด ที่โบสถ์ ในอินเดีย พราหมณ์เป็นคนจดโคตรเหง้าของแต่ละคน เพราะต้องอ่านรายชื่อในพิธีกรรม แต่ทุกวันนี้รัฐเก็บชื่อคนได้ดีกว่า การศึกษาที่รัฐจัดให้ก็แทนที่ศาสนาได้ดีกว่า มันแทนที่ศาสนาได้หมด เพราะฉะนั้นการพึ่งองค์กรนักบวชจึงไม่มีความจำเป็นแล้ว" ดังนั้น นิธิจึงเข้าใจว่าการลอกเลียนศาสนาของโลกตะวันออก กระทำขึ้นในช่วงที่ศาสนาในโลกตะวันตกกำลังเสื่อม ไม่มีความจำเป็นต่อรัฐ และสังคมไทยลอกเลียนความอ่อนแอนั้นเอาไว้ "หลังจากอำนาจขององค์กรคณะสงฆ์ไร้ความหมายแล้วเมื่อเทียบกับอำนาจรัฐ รัฐไม่สนใจคณะสงฆ์ แต่ที่กลัวมากกว่าคือมันมีอำนาจใหม่ทางศาสนาเกิดขึ้นอย่างคนอย่างอาจารย์วิจักขณ์ที่มีอำนาจในการสื่อสาร ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงต้องขีดเส้นศาสนาให้ชัดว่า นี่คือดินแดนของกู พวกนี้ไม่เกี่ยว "ประเด็นที่สองคือคุณค่าของศาสนาในโลกปัจจุบัน ผมว่าหลายคนในห้องคงเคยถูกถาม หนังสือพุทธทาสสิ่งแรกที่ถามคือคนเราเกิดมาทำไม ผมไม่เคยถามเลย กระทั่งเข้าเรียนศาสนา หลังจากครูถาม ผมก็ไม่ถามต่อ ไม่รู้จะตอบยังไงเหมือนกัน แต่นี่คือคำถามพื้นฐานเวลาสอนศาสนา ซึ่งจริงๆ ก็คือเป้าหมายชีวิต เราถามตัวเองถึงเป้าหมายชีวิตมั้ย เยอะแยะเลย เป็นหมอ ทหาร ไม่จำเป็นว่าโตขึ้นต้องนิพพานเป็นคำตอบเดียว
"อีกข้อหนึ่งคือศีลธรรม แต่ต้องเข้าใจความหมายดีๆ ไม่ใช่หมายถึงศีลและธรรม สรุปให้เหลือคำเดียว ศีลธรรมคือการคิดถึงคนอื่น สิ่งอื่น ที่ไม่ใช่ตัวคุณ แปลว่าคุณกำลังทำอะไรบางอย่างในเชิงศีลธรรม ฉะนั้น ศาสนาก็จะอ้างคุณค่าตัวเองในสองอย่าง หนึ่ง-ปัจจุบันเราไม่ได้ละเมิดคนอื่นเพราะมีกฎหมาย มีเฟสบุ๊คที่ด่าเราได้ แล้วจำเป็นมั้ยต้องมีศาสนา ผมว่ายังจำเป็นอยู่ ที่เราไม่ขโมย ไม่ใช่แค่กฎหมาย แต่มีคุณค่าบางอย่างของศาสนาในใจที่บังคับเราเอาไว้ สอง-เป้าหมายของชีวิต การมีเป้าหมายชีวิตที่ดี ช่วยส่งเสริมศีลธรรมและทำให้ชีวิตมีความหมายขึ้น สองอย่างนี้ถูกอ้างเป็นคุณค่าของศาสนาตลอดชั่วกัลปาวสาน "ผมเห็นด้วย แต่ว่าทั้งสองอย่างมันมีคู่แข่งเยอะมาก เช่น การที่คุณเห็นแก่ผู้อื่น คุณเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นประชาธิปไตยก็ได้ เรื่องเป้าหมายชีวิตคู่แข่งก็เยอะ อันหนึ่งที่เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวมากและพุทธทาสเกลียดมากคือวัตถุนิยม" นิธิสรุปว่าปัญหาของพุทธไทยคือไม่ยอมเข้าไปแข่งกับระบบคุณค่าอื่นๆ พุทธศาสนาจึงยิ่งหมดความสำคัญลงไป ไม่มีพลังพอที่จะสู้กับคู่แข่งต่างๆ เหล่านี้ ทำไมไม่อยากแข่ง นั่นเพราะศาสนาพุทธได้รับการปกป้องคุ้มครองมากเกินไป ด้านวิจักขณ์กล่าวถึงประสบการณ์ของตนที่ไปศึกษาศาสนาในโลกตะวันตกซึ่งเป็นยุคหลังที่ศาสนาพุทธแบบทิเบตกระจายตัวไปในโลกตะวันตก สิ่งที่ตะวันตกรับไปจากทิเบตในยุคนั้นกลายเป็นพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรือง กล่าวได้ว่าโลกตะวันตกรับการปฏิบัติทางศาสนาธรรมเข้าไปในช่วงที่ศาสนาในโลกตะวันตกอ่อนแอแล้ว ซึ่งพุทธศาสนาเข้าไปอย่างประจวบเหมาะพอดีในยุคที่คนคิดว่าศาสนาไม่ตอบโจทย์ทางสังคมและชีวิตอีกต่อไป "พอมีการปฏิบัติทางจิตวิญญาณบางอย่างที่เขารู้สึกขาด มันก็พอดีเป๊ะ ผมเข้าไปในจังหวะที่ศาสนาพุทธในโลกตะวันตกเริ่มทำงานมาแล้วยี่สิบปี ผมรู้สึกว่าคนตะวันตกที่สนใจเรื่องพวกนี้ เขาไม่ได้สนใจศาสนา ไม่ได้ศึกษาพุทธในมิติศาสนาเลย แต่สนใจว่าศาสนาพุทธสอนอะไร การปฏิบัติช่วยอะไรเขาได้บ้าง เช่น ภาวะซึมเศร้า ความเครียด ความกังวล แล้วเขาจะหาเครื่องมืออะไรเพื่อเยียวยาปัญหานี้" หลังจากนั้นวิจักขณ์เคลื่อนไปสู่คำถามใหญ่ที่ว่า ทำไมต้องแยกรัฐกับศาสนา โดยอธิบายว่า ก่อนหน้าที่ตนจะเดินทางไปเรียนที่โลกตะวันตก เวลาศึกษาศาสนาพุทธในไทยเหมือนมีความประนีประนอมบางอย่างที่คนรู้สึกว่าไม่เป็นศาสนามากเกินไป อย่างงานพุทธทาสพยายามอธิบายว่ามีความเป็นเหตุเป็นผล ศาสนาพุทธมีความเป็นสากล เป้าหมายของทุกศาสนาเหมือนกัน ความเคลื่อนไหวตรงนี้อาจมาจากความรู้สึกอย่างหนึ่งว่ารัฐมีบทบาทหรือควบคุมศาสนามากจึงพยายามหาช่องออกมาและพูดบางสิ่งที่หลุดออกมาจากกรอบนั้น ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย "พอผมไปศึกษาศาสนาในโลกตะวันตก กลับรู้สึกอีกแบบ อยากคัลท์มากกว่าเดิม อยากเป็นพุทธสักแบบหนึ่ง ผมก็ศึกษาอย่างจริงจัง มองเป็นเหมือนเทคโนโลยีทางจิต อยากเอาตัวเองเข้าไปลอง พอกลับมาก็กลายเป็นเนื้อเป็นตัวเรา เวลาพูดกับใครก็ไม่เขินอายอีกต่อไป จะเป็นฮินดู วัชรยาน หมอผี มันก็เป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์เราได้ เป็นอิสระที่จะพูดถึงมัน ในบริบทของโลกตะวันตกไม่มีอะไรบังคับหรือกฎเกณฑ์ว่าเราควรจะปฏิบัติศาสนาอย่างไร ควรเป็นศาสนาพุทธแบบไหน จึงรู้สึกเปิด มีสิทธิที่จะเลือก เป็นทางเลือกของเราจริงๆ ทำได้อย่างเต็มที่ ไม่มีองค์กรใดมาตรวจสอบเราว่าปฏิบัติผิดหรือถูก เป็นเรื่องของทางเลือก เรื่องของรสนิยม "ผมไม่แน่ใจว่า ศาสนาที่ไม่มีรัฐจะตอบสนองได้ดีกว่า แต่มันมีพื้นที่ให้เราได้เลือกและทดลอง เราไม่ได้เริ่มจากความจำเป็นว่าต้องมีศาสนา ศาสนาไม่ใช่สิ่งจำเป็น แต่ถ้าคุณเริ่มสนใจ มันก็เหมือนกับคุณได้เลือกว่าสิ่งนั้นตอบสนองบางอย่างของคุณ คุณต้องการใช้เวลาและพลังไปกับมัน ทำให้ผมรู้สึกว่าคนที่ศึกษาศาสนาในบริบทนั้น ดูจะมีความทุ่มเท ความศรัทธาได้อย่างเต็มที่ "แต่ไอเดียของศาสนาที่เข้ามาในบริบทไทย เข้ามาในช่วงที่ไอเดียในตะวันตกกำลังอ่อนแอ ศาสนากำลังหมดความสำคัญ แล้วเรารับเข้ามาทำไม เรารับมาเพื่อสร้างอัตลักษณ์ในช่วงที่เราสร้างรัฐชาติ เราต้องการศาสนามาเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ ความเป็นไทยเท่ากับความเป็นพุทธ ความเป็นพุทธเท่ากับความเป็นพุทธเถรวาท ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่าเราก็มีความอ่อนแอบางอย่าง เราไม่รู้สึกว่าศาสนาพุทธอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง เราไม่รู้สึกว่าเราสามารถเรียนรู้ แลกเปลี่ยน ทดลองปฏิบัติศาสนธรรมได้ โดยไม่ต้องมีรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง สะท้อนความอ่อนแอของคนที่รับไอเดียนี้เข้ามา"
วิจักขณ์กล่าวต่อว่า เวลาที่อยากให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติซึ่งเป็นความคิดที่อ่อนแอไปแล้ว มันจำเป็นต่อรัฐแบบไหน ถ้าเป็นรัฐสมัยใหม่ รัฐประชาธิปไตยที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียม ศาสนาแบบเดิมนี้ล้าหลังและไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป แต่ที่เรารู้สึกว่าศาสนาพุทธจำเป็นสำหรับรัฐ มันคือรัฐแบบเก่า ไม่ใช่รัฐของการใช้สติปัญญา ไม่ใช่รัฐที่เชื่อว่าทุกคนมีพุทธะในตัวเอง ทุกคนสามารถรับผิดชอบชีวิตตนเองได้ รัฐจึงต้องการศาสนาแบบนี้เป็นอาวุธ รัฐที่ไม่ส่งเสริมให้คนมีอำนาจในตัวเอง "ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาทุกวันนี้สร้างบรรยากาศบางอย่างขึ้น ที่ไม่ส่งเสริมให้เกิดการเดินทางของพุทธธรรม มันตัดส่วนที่เป็นการเดินทางหรือความเคลื่อนไหว ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาพุทธแบบนี้ทำให้เกิดความนิ่งหรือตาย เราจะมีความรู้สึกว่าแบบนี้ดีแล้ว พุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เราสอนพุทธในโรงเรียน ผมว่ามันสร้างความรู้สึกของความนิ่ง ไม่สนับสนุนให้เกิดการเคลื่อนไหว "แต่จากประสบการณ์ในโลกตะวันตก มันมีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา เช่น การตีความคำสอน การเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นต้น ไม่มีคำสอนแบบใดเป็นมาตรฐาน พุทธแท้-เทียม ไม่มี มันยังทำให้เกิดบทสนทนากับศาสนาอื่นๆ เกิดความท้าทายที่จะเข้าไปสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ มิติของการเดินทางแบบนี้มันหายไปจากพุทธในบริบทไทย ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อจิตวิญญาณคำสอนของพระพุทธเจ้า" การที่ไม่ส่งเสริมพุทธศาสนาให้มีความเคลื่อนไหว เพราะเกรงว่าจะย้อนกลับมาเป็นปฏิปักษ์ จึงไม่สามารถมีพุทธธรรมที่พูดถึงสิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียม ความหลากหลาย พระบางรูปบอกว่าพุทธศาสนาไม่ได้สอนเรื่องเสรีภาพ พุทธบ้านเราจึงไม่กล้าเข้าสู่โลกสมัยใหม่ ไม่กล้าเข้าไปเรียนรู้ความทุกข์ในแบบใหม่ แต่ตัดสินความทุกข์ของผู้คนด้วยความคิดแบบเก่า ไม่ได้ต้องการเข้าใจเรา แต่ต้องการให้เราเข้าใจศาสนา วิจักขณ์สรุป ทางด้านสุวรรณา กล่าวถึงอำนาจรัฐกับบรมธรรมหรืออำนาจรัฐกับการอ้างความจริงที่พ้นไปจากโลกประจักษ์ บรมธรรมในที่นี้ส่วนใหญ่อยู่ในศาสนา โดยอ้างว่ามีความจริงบางอย่างที่อยู่เหนือโลกประจักษ์ แต่โลกความจริงนั้นเป็นที่มาและอธิบายโลกประจักษ์นี้ด้วย ส่วนตัวบรมธรรมนั้นจะเป็นพระเจ้าองค์เดียว หลายองค์ หรือไม่มีพระเจ้า หรือจะเป็นเหตุผลแบบกรีกที่เชื่อว่าเหตุผลของมนุษย์พาไปสู่ความจริงสูงสุดบางอย่างได้ หรือแบบขงจื่อที่ไม่เชื่อว่ามีบรมธรรมที่อยู่เหนือโลกประจักษ์ แต่ความรู้สูงสุดต้องหาจากประวัติศาสตร์ของมนุษย์เอง "ความสัมพันธ์ระหว่างบรมธรรมกับรัฐมีสามแบบหลัก แบบที่หนึ่งคือในโลกโบราณมองว่าอำนาจรัฐกับบรมธรรมเป็นเนื้อเดียวกัน เชื่อว่ารัฐพาไปสู่บรมธรรม เช่น ยุโรปยุคกลาง สอง-มองว่ารัฐเป็นฆราวาส ไม่เกี่ยวกับบรมธรรม รัฐเป็นสถาบันที่มนุษย์มีเหตุผลมาหาวิธีอยู่ร่วมกัน ไม่เกี่ยวกับความจริงสูงสุดที่อยู่เหนือโลกประจักษ์ และสาม-เป็นแบบผสมผสาน ดิฉันเข้าใจว่ารัฐไทยก็ไม่ได้อ้างตนเองเป็นรัฐศาสนา แต่องค์ประมุขต้องเป็นพุทธ เพียงแต่เป็นองค์ศาสนูปถัมภกดูแลทุกศาสนา แต่รัฐเป็นพุทธหรือเปล่าไม่ค่อยแน่ใจ" สุวรรณากล่าวว่า ปัญหาหลายอย่างที่คุยกัน ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นในยุโรปศตวรรษที่ 17 เมื่อรัฐสมัยใหม่วางคุณค่าไว้อีกที่หนึ่งโดยไม่เกี่ยวกับบรมธรรมหรือศาสนาเลย แต่วางอยู่บนเสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ เป็นสามคำที่เกี่ยวกับมนุษย์ แต่ไม่เกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าหรือโลกที่อยู่เลยไปจากประสบการณ์ของมนุษย์
สุวรรณาอธิบายต่อผ่านมุมมองปรัชญาจีนโบราณว่า ถ้า Secular คือรัฐไม่สนใจความจริงที่เหนือไปกว่าความจริงของมนุษย์ในโลกประจักษ์ปกติ คำถามหลักคืออำนาจรัฐเป็นเครื่องมือสำหรับการอยู่ร่วมกันของมนุษย์เท่านั้นหรืออำนาจเป็นเครื่องมือไปสู่บรมธรรม ซึ่งจะทำให้อำนาจรัฐศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย "มองจากปรัชญาจีนโบราณ หมายถึงห้าร้อยถึงสามร้อยก่อนคริสตกาล ซึ่งถือเป็นยุคคลาสสิกของปรัชญาจีน ถ้าเรามองปรัชญาสมัยนั้นด้วยคำถามว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจรัฐกับศาสนามีกี่แบบ ดิฉันขอเสนอว่ามีสามแบบคือเต๋า ขงจื่อ และนิตินิยม "ขงจื่อมองว่าอำนาจรัฐเข้มข้น จำเป็น แต่อ่อนละมุนและมีเมตตา แบบเต๋าต้องการให้อำนาจรัฐอ่อนจางที่สุด อย่ามายุ่ง การก้าวก่ายจากอำนาจรัฐคือปัญหา แบบที่สามคือนิตินิยมซึ่งเห็นว่าอำนาจรัฐต้องเข้มข้น โหดเหี้ยม กำกับทุกอณูของชีวิต ไม่เกี่ยวกับจริยธรรม อย่าว่าแต่บรมธรรมเลย นี่คือวิธีคิดสามแบบใหญ่ในสมัยจีนโบราณ" สุวรรณากล่าวต่อว่า บทเรียนสำหรับสังคมไทยคืออะไร คำตอบประเด็นรัฐ-ศาสนาในบริบทสังคมไทยเป็นคำตอบที่คิดไว้ในสมัยราชวงศ์โจวรุ่งเรือง คือเราต้องหาวิธีใหม่ที่จะสนทนาในการหาความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนา เธออ้างอิงงานชิ้นหนึ่งของธงชัย วินิจจะกูล ที่กล่าวถึงว่าการศึกษาศาสนาและปรัชญาศาสนาในประเทศไทยถูกชี้นำควบคุมด้วยชาตินิยมมาตลอด ถ้าเป็นอย่างนั้น คำถามคือสิ่งที่เราเรียนเกี่ยวกับอดีตจะมีประโยชน์อะไรกับปัจจุบัน อดีตดำรงอยู่อย่างไร "ทำยังไงเราจะสร้างบทสนทนาใหม่ๆ กับจารีตธรรมของเราเองและความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับรัฐหรือบรมธรรมกับอำนาจรัฐ ทั้งในตัวคัมภีร์ เช่น พระไตรปิฎก ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ทั้งความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับศาสนาในประเทศอื่นๆ ที่เป็นพุทธด้วยกัน การหาระยะห่างระหว่างรัฐกับศาสนา การหาบรรทัดฐานอีกแบบหนึ่ง เราต้องเข้าใจความเป็นมาเดิม ต้องศึกษาตัวอย่างประสบการณ์แบบอื่น และหาความสัมพันธ์แบบไหนที่เหมาะกับศตวรรษที่ 21 นี้ "เราต้องการรัฐที่ร่วมรู้สึกและใกล้ชิดกับเรา แต่ก็มีอำนาจเข้มข้น หรือต้องการรัฐที่เป็นกลางไม่ยุ่งเกี่ยวกับความรู้สึก เป็นเครื่องมือที่บริสุทธิ์ เป็นคนรักษากติกาเท่านั้น หรือต้องการรัฐที่อ่อนจางที่สุดแบบเต๋า หรือจะเอารัฐที่เกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับบรมธรรม อะไรเป็นเป้าหมาย อะไรเป็นเครื่องมือ และน้ำหนักที่ให้กับเครื่องมือนั้น แค่ไหน อย่างไร" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ค้านขึ้นค่าไฟ อัดคาดการณ์ราคาก๊าซสวนชาวโลก ปชช.เดือนร้อน แต่ผู้ค้าก๊าซรอฟันกำไร 48% Posted: 28 Apr 2017 06:13 AM PDT เครือข่ายองค์กรผู้บริ 28 เม.ย.2560 รายงานข่าวจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ระบุว่า วันนี้ (28 เม.ย.60) เวลา 10.30 น. ณ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่ ผศ.ประสาท มีแต้ม กรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านบริ โดยถึงแม้ว่าหากราคาก๊าซฯ เพิ่มขึ้นจริงตามที่ กกพ. คาดการณ์ โดยมีค่าปัจจัยค่าเชื้อเพลิ นอกจากแนวโน้มราคาก๊าซธรรมชาติ "โดยสรุปท่ามกลางราคาก๊ สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวเสริมว่า เห็นชัดเจนว่าถ้ายึดตัวเลขตาม กกพ.คาดไว้ก็ขึ้นไม่ถึง 12 สตางค์/หน่วย ถือว่าการคาดการณ์นั้นผิดพลาด จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องขึ้ จำนงค์ หนูพันธ์ ที่ปรึกษาเครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวว่า จากการที่จะประกาศขึ้นค่าเอฟที ทำให้คนจนทั่วประเทศรู้สึกวิตก ขณะนี้บางชุมชนจ่ายค่าไฟหน่วยละ 8 บาท บางชุมชนหน่วยละ 10 บาท ในขณะที่รายได้เท่าเดิมหรือน้ ขณะที่ นุชนารถ แท่นทอง ประธานเครือข่ายสลัมสี่ภาค กล่าวว่า ที่ผ่านมาคนในชุมชนแออัดจะใช้ สารี กล่าวเสริมว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับเรื่ รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า แหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยทั้ บุญยืน ศิริธรรม นายกสมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริ สารี กล่าวปิดท้ายว่า อยากเห็น กกพ. ใช้ข้อมูลที่นำเสนอในวันนี้ ไปเป็นเหตุผลในการทบทวน การขึ้นค่าเอฟที 12 สตางค์ เพราะเป็นการคาดการณ์ที่ไม่มี
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
รายงานสัมมนา Thailand Update 2017 ถกปมสถาบันกษัตริย์ ชายแดนใต้ บทบาทเศรษฐกิจของทหาร Posted: 28 Apr 2017 05:41 AM PDT รายงานสัมมนาทางวิชาการในหัวข้อ Thailand Update 2017 มหาลัยโคลัมเบีย กับประเด็น ม.112 ระบอบทุนนิยมกับสถาบันกษัตริย์ ประชามติ ชายแดนใต้ บทบาททางเศรษฐกิจของทหารไทย ศาลปกครอง และการปราบปรามโซเชียลมีเดีย เมื่อวันพุธที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา ณ มหาลัยโคลัมเบีย มลรัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดการสัมมนาทางวิชาการในหัวข้อ Thailand Update 2017 ขึ้น โดยการนำของ ดันแคน แมคคาโก ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และศาสตราจารย์รัฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยลีดส์ งานสัมมนา Thailand Update นี้เป็นงานสัมมนาวิชาการเกี่ยวกับประเทศไทยซึ่งมุ่งครอบคลุมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยการประชุมนี้ได้จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่สามแล้ว เนื่องจากปี 2559 ที่ผ่านมาเป็นปีที่มีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างเกิดขึ้นในประเทศไทย ทั้งการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และการเปลี่ยนผ่านรัชกาล อันก่อให้เกิดความกังวลและคำถามอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับแนวทางในการวางระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศไทยในอนาคต การสัมมนาวิชาการ Thailand Update 2017 นี้ได้รวบรวมเอานักวิชาการหลายท่านที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมานำเสนองานวิจัยและบทวิเคราะห์ที่อาจมีส่วนเชี่อมโยงและเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจสถานการณ์ในประเทศไทยในในมิติต่างๆได้ดียิ่งขึ้น โดยการบรรยายจะแบ่งเป็นสามหัวข้อหลักๆ คือ การเมือง เศรษฐกิจ และสื่อกับความยุติธรรม นักศึกษากฎหมายและกษัตริย์องค์ใหม่ของไทยในหัวข้อการเมืองนี้มีการแบ่งการบรรยายออกเป็นสองส่วน โดยส่วนแรกเป็นเรื่องการเมืองอันเกี่ยวเนื่องกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และสถาบันพระมหากษัตริย์ นำบรรยายโดย ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น ( Tyrell Haberkorn ) นักวิจัยประจำภาควิชาการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย โดยไทเรลนำเสนอการบรรยายในหัวข้อ "นักศึกษากฎหมายและกษัตริย์องค์ใหม่ของไทย" ซึ่งพูดถึงกรณีการจับกุมและดำเนินคดีกับนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ 'ไผ่ ดาวดิน' นักศึกษาสาขาวิชากฎหมายและแกนนำนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย ภายใต้ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการแชร์รายงานข่าว BBC Thai อันมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชประวัติของรัชกาลที่ 10 โดยคดีของไผ่เป็นคดีแรกในมาตรา 112 ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พระองค์ใหม่ การที่ไผ่เป็นเพียงคนเดียวที่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแม้จะมีผู้แชร์รายงานข่าวชิ้นเดียวกันนี้กว่าอีก 2600 คน เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเลือกใช้อำนาจทางกฎหมายอย่างปราศจากเหตุผลของรัฐไทยอันก่อให้เกิดการตั้งคำถามและความกังวลอย่างมากในหมู่นักวิชาการถึงระบอบการเมืองและการปกครองในอนาคตว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไรหลังจากขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์พระองค์ใหม่ ไทเรล นำเสนอว่า กฎหมายพระราชบัญญัติมาตรา 112 หรือกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้นแท้จริงแล้วเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การแสดงความคิดเห็นหรือตั้งคำถามเกี่ยวสถาบันกษัตริย์อันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันทางการเมืองยากที่จะเกิดขึ้นได้ในสังคมและแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยเสียด้วยซ้ำในทางกฎหมาย ไทเรล สรุปว่า หนทางการกลับเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยหรือการกลับเข้าสู่การเป็นสังคมเปิดกว้างของไทยในอนาคตนั้นยังคงจะเป็นไปได้ยาก หากรัฐบาลไทยภายใต้แกนนำของคณะความสงบและมั่งคงแห่งชาติยังคงใช้กฎหมายมาตรา 112 เป็นเครื่องมือในการควบคุมการแสดงความคิดเห็นและการตั้งคำถามของประชาชนเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์อันสืบเนื่องและเกี่ยวข้องกับการเมือง ระบอบทุนนิยมกับสถาบันกษัตริย์ผู้บรรยายในหัวข้อการเมืองในช่วงแรกนี้อีกท่านหนึ่งคือ ปวงชน อุนจะนำ นักศึกษาปริญญาเอกสาขารัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคูนี่ และอาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดย ปวงชน นำเสนอส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์อันมีเนื้อหาและข้อมูลที่น่าสนใจในหัวข้อ "ระบอบทุนนิยมกับสถาบันกษัตริย์" ( Capital and the Crown ) ปวงชน ได้เริ่มการบรรยายโดยตั้งคำถามถึงความหมายที่แท้จริงของ "การสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของประเทศไทยในช่วงเปลื่ยนรัชกาล" โดยพูดถึงแนวโน้มการลงทุนจากภาคธุรกิจ ไปจนถึงระบอบทุนนิยมทั้งจากในและนอกประเทศที่ลดลง ปวงชน ได้นำเสนอและเปรียบเทียบถึงพัฒนาการของภาพลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ไทยในปัจจุบันที่ดีขึ้นและแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิงจากภาพลักษณ์กษัตริย์ไทยโบราณในช่วงสมบูรณายาสิทธิราชย์ในช่วงก่อนการเปลื่ยนแปลงการปกครอง โดยปวงชน ได้กล่าวว่า ภาพลักษณ์ดังกล่าวมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับนักธุรกิจและนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปวงชน เรียกแนวคิดของความสัมพันธ์ระหว่างระบอบทุนนิยมจากนักธุรกิจและสถาบันกษัตริย์นี้ว่า "แฝดสยาม" ( Siamese Twins) เนื่องจากเป็นความสัมพันธ์ซึ่งพัฒนาและเติบโตมาพร้อมกันอย่างแน่นแฟ้นและไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยระบบความสัมพันธ์นี้เข็มแข็งและรุ่งเรืองมากในช่วงรัชกาลที่ 9 เนื่องจากการครองราชย์ยาวนานกว่า 70 ปีของพระองค์ ซึ่งในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ประเทศไทยกำลังค่อยๆ เปลื่ยนผ่านจากประเทศเกษตรกรรมเข้าสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมและเกิดการขยายตัวของชนชั้นกลางอย่างรวดเร็ว โดยผลของแบบความสัมพันธ์ "แฝดสยาม" กับกลุ่มธุรกิจของสถาบันกษัตริย์ดังกล่าวนี้ส่งผลให้เงินในกองทุนทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่ทรงต้องการเงินสนับสนุนจากรัฐบาลดังเช่นในอดีตอีกต่อไป โดยท้ายสุด ปวงชน ได้ให้ข้อสังเกตสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบ "แฝดสยาม" นี้ว่า ระบบดังกล่าวทำให้เกิดความสัมพันธ์ในแง่ผลประโยชน์ต่างตอบแทนระหว่างสถาบันกษัตริย์และภาคธุรกิจ ซึ่งอาจทำให้ระบอบทุนนิยมที่แท้จริงในประเทศนั้นเสียหายได้เป็นอย่างมาก ปวงชน คาดการว่า ในอนาคตระบบความสัมพันธ์นี้จะยังถูกสงวนและรักษาไว้อย่างเหนียวแน่นโดยเครือข่ายพระมหากษัตริย์ และจะยังส่งผลกระทบแก่ระบอบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมของไทยในระยะยาวอย่างแน่นอน ควบคุม ประณีประนอม และถอยหลังเข้าคลองการบรรยายในหัวข้อการเมืองในช่วงที่สอง นำโดย อัลเลน ฮิคกินส์ และ ดันแคน แมคคาโก โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำประชามติรัฐธรรมนูญและข้อสังเกตจากประชามติดังกล่าวที่เชื่อมโยงกับปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ อัลเลน ฮิคกินส์ ( Allen Hicken ) ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์และประชาธิปไตยใหม่ มหาวิทยาลัยมิชิแกน เริ่มการสัมมนาในช่วงนี้ในหัวข้อ "ควบคุม ประณีประนอม และถอยหลังเข้าคลอง : สถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน" โดยฮิคกินส์ได้นำเสนอผลการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา ซึ่งผลประชามติลงคะแนนเห็นชอบทั้งสองประเด็นทั้งในประเด็นร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วง โดยประชาชนลงมติเห็นชอบในประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ 61.35% และเห็นชอบ 58.70% ในประเด็นคำถามพ่วง ฮิคกินส์ ได้ลำดับเหตุการณ์การร่างรัฐธรรมนูญมาจนถึงการลงนามประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา และนำเสนอบทวิเคราะห์และผลลัพธ์ทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นจากเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ 2559 โดยคร่าวสามประการคือ 1. อำนาจส่วนใหญ่ของรัฐบาลเผด็จการยังคงอยู่ โดยรัฐธรรมนูญฉบับ 2559 ได้กำหนดวิธีการเลือกตั้งและวิธีการจัดสรรอำนาจให้ผู้ที่ชนะเลือกตั้งไม่สามารถควบคุมการดำเนินงานของรัฐได้ทั้งหมด และออกแบบวิธีการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมให้มีการใช้บัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียว ซึ่งอาจส่งผลให้คะแนนเสียงของพรรคการเมืองใหญ่ลดลง พรรคขนาดกลางมีอำนาจต่อรองสูงขึ้นและส่งผลให้โอกาสที่จะเกิดรัฐบาลผสมที่ขาดเสถียรภาพทางการเมืองมีสูงขึ้น อันสามารถเปิดโอกาสให้เกิดนายกคนนอกซึ่งมาจากการแต่งตั้งได้ 2. เผด็จการพรรคการเมือง นอกเหนือจากการออกแบบการเลือกตั้งและข้อกำหนดในการจัดตั้งรัฐบาลแบบใหม่ของรัฐธรรมนูญ 2559 ที่ทำให้อำนาจของพรรคการเมืองและหัวหน้าพรรคการเมืองผู้ชนะการเลือกตั้งมีอำนาจลดน้อยลงแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับ 2559 ยังกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาสองร้อยห้าสิบนายในวาระแรกมาจากการแต่งตั้งอีกด้วย 3. ลดความสำคัญและควบคุมผลคะแนนเสียงเลือกตั้งจากประชาชน โดยในกรณีนี้ฮิคกินส์ชี้ให้เห็นตั้งแต่กระบวนการการทำประชามติที่ไม่เป็นกลางของรัฐบาลคสช. รวมไปจนถึงกลไลการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการลงประชามติที่ไม่เปิดกว้างต่อการวิพากษ์วิจารณ์ต่อสาธารณะของรัฐบาลอีกด้วย ฮิคกินส์ กล่าวโดยสรุปจากเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ 2559 ว่ารัฐบาลและนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งในอนาคตจะยังคงถูกควบคุมโดยตรงจากคณะคสช. โดยรัฐสภาและรัฐบาลไทยน่าจะยังคงต้องใช้เวลาอีกยาวนานกว่าจะเข้าสู่สภาวะเสถียรภาพและเสรีภาพทางการเมืองอย่างแท้จริง ภาคใต้ : การจลาจลที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขผู้ดำเนินการบรรยายท่านสุดท้ายในหัวข้อการเมือง ได้แก่ ดันแคน แมคคาโก ( Duncan McCargo ) ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยลีดส์และผู้ผลักดันให้เกิดการสัมมนาวิชาการ Thailand Update 2017 ขึ้นในครั้งนี้ โดยดันแคนได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ "ภาคใต้ : การจลาจลที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข" เช่นเดียวกับฮิคกินส์ ดันแคนเริ่มการบรรยายโดยการเสนอผลการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 2559 เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา โดยดันแคนให้ความสนใจเป็นพิเศษไปที่ผลคะแนนเสียงประชามติที่เปลื่ยนแปลงไปอย่างมากจากเห็นชอบเป็นไม่เห็นชอบของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อันได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เนื่องด้วยพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อันประกอบไปด้วยประชากรประมาณ 1.8 ล้านคนนั้น ส่วนมากกว่า 80% เป็นชาวมุสลิม ดันแคนได้เห็นความเห็นว่าการที่คะแนนเสียงประชามติได้เปลื่ยนแปลงไปจากเห็นชอบเป็นไม่เห็นชอบนั้นน่าจะเกิดมาจากรัฐธรรมนูญมาตรา 67 อันระบุไว้ว่า
ดันแคน มองว่าการที่รัฐธธรรมนูญกล่าวให้รัฐต้องสนับสนุนพระพุทธศาสนานั้น ย่อมทำให้ชาวมุสลิมซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในเขตสามจังหวัตภาคใต้ไม่เห็นด้วยอย่างแน่นอน โดยดันแคนยังได้ยกตัวอย่างความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศอันน่าจะเกี่ยวข้องกับการลงคะแนนเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เช่น การเกิดระเบิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่อำเภอไทรบุรี และการเกิดระเบิดขนาดย่อมขึ้นในหลายพื้นที่ในช่วงเวลาหลังการลงประชามติ เมื่อ 11-12 สิงหาคม ทั้งที่ตรัง หัวหิน ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และพังงา อันทำให้เกิดผู้เสียชีวิตสี่คนและผู้บาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก ดันแคน กล่าวทิ้งท้ายว่าแม้สถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะซับซ้อนวุ่นวาย และดูจะยังไม่มีทางออกที่ดีเนื่องจากรัฐธรรมนูญใหม่ได้ทำให้เกิดความสับสนและต่อต้านอย่างมากจากชาวมุสลิมในพื้นที่ แต่ในขณะเดียวกันเมื่อพยายามมองในแง่ดีก็คือรัฐบาลคสช.ยังพอมีความพยายามที่จะสานต่อการเจรจาสันติภาพต่อจากที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ดำเนินการไว้ และในขณะเดียวกันกลุ่มขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี ( BRN ) เองก็มีแนวโน้มที่ต้องการเจรจาสันติภาพด้วยเช่นเดียวกัน เศรษฐกิจไทยภายหลังรัฐประหารการบรรยายในหัวข้อเศรษฐกิจนี้นำโดย อาวิภาวี ศรีทองรุ่ง รองศาสตราจารย์ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มหาวิทยาลัยวิชิทตา และกานดา นาคน้อย รองศาสตราจารย์ด้านเศรษศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอนเนคติกัท อาวิภาวีได้เปิดการบรรยายในด้านเศรษฐกิจภายใต้หัวข้อ "เศรษฐกิจไทยภายหลังรัฐประหาร 2557 : งบประมาณและการประเมินงานด้านการเงิน" โดยพูดถึงภาพรวมและความเป็นมาของเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ก่อนรัฐประหารทั้งในแง่อัตราดอกเบี้ยและปริมาณเงินทุนที่ไหลสู่เข้าประเทศ โดยอาวิภาวีได้ให้ข้อสังเกตในส่วนปริมาณหนี้สาธารณะของไทยว่ามีการเปลื่ยนแปลงอย่างผันผวนตั้งแต่ปี 1995 ซึ่งมีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาไทยเป็นอย่างมาก รวมถึงนโยบายทางการคลังเกินดุลในขณะนั้นจึงทำให้หนี้สาธารณะลดลงจนแตะระดับ 5 เปอร์เซนต์ และกลับมาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปีช่วงปี 2538 – 2545 จนลดลงอีกครั้งในช่วงปี 2545 – 2553 ตามนโยบายทางเศรษฐกิจของนายกฯทักษิณ และกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้งตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา เช่นเดียวกับ GDP ที่เพิ่มขึ้นอย่างเชื่องช้าเมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นด้วยอัตราค่อนข้างคงที่ในช่วงปี 2541 – 2551 อาวิภาวี ได้ให้ข้อมูลอีกว่านโยบายปัจจุบันของรัฐบาลทางด้านเศรษฐกิจในการอัดฉีดเงินเข้าระบบจะได้ผลเพียงแค่ระยะสั้นในช่วงสองถึงสามปีถัดจากนี้ โดยหลังจากนั้นผลของการอัดฉีดจะลดลงและทรงตัวในระยะยาว ซึ่งเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันกำลังอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เนื่องจากรัฐบาลและแบงค์ชาติต้องการเพิ่มเงินสำรองระหว่างประเทศเพื่อลดค่าเงินเฟ้อซึ่งยิ่งเป็นการทำให้เงินไหลออกจากระบบมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน การใช้จ่ายของภาครัฐกลับน้อยลงเนื่องจากรัฐบาลไม่มีเงินทุนมากพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม อันจะยิ่งเป็นผลให้การใช้จ่ายในประเทศยิ่งลดลงมากขึ้นไปอีก ท้ายสุด อาวิภาวี ได้สรุปว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยยังน่าจะไม่กระเตื้องขึ้นต่อไปอีกเป็นเวลาอย่างน้อย 4-5 ปี โดยอาวิภาวีได้ให้คำแนะนำแก่รัฐบาลว่าควรควบคุมการใช้จ่ายของภาครัฐอย่างเข้มงวด และการใช้จ่ายของภาครัฐดังกล่าวควรมุ่งเน้นและส่งเสริมและผลักดันเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างแท้จริง เช่น การลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานของชาติ การศึกษา และกระจายความเจริญออกสู่ชุมชน บทบาททางเศรษฐกิจของทหารไทยกานดา นาคน้อย รองศาสตราจารย์ด้านเศรษศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอนเนคติกัท ได้ร่วมเข้าบรรยายเพิ่มเติมในด้านเศรษฐกิจของไทยในหัวข้อ "เศรษฐกิจไทยและบทบาททางเศรษฐกิจของทหารไทย" โดยอาจารย์กานดาเริ่มอธิบายถึงสภาพเศรษฐกิจไทยจากการมองย้อนกลับไปถึงตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สำคัญอันได้แก่ GDP ของประเทศ โดย GDP ของไทยตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 จนถึงปี 2559 มีแนวโน้มที่คนข้างทรงตัวอยู่ในระดับที่ไม่เกินกว่า 4% ต่อปีมากนัก โดยมีจุดที่น่าสนใจคือในช่วงปี 2555 ตัวเลข GDP ของไทยพุ่งสูงขึ้นถึง 6% ในช่วงไตรมาสที่สอง และ 15% ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีเดียวกัน โดยกานดาได้ให้ข้อคิดเห็นว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวน่าจะเกิดจากนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน และการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในระยะสั้นของรัฐ แต่ GDP หลังจากนั้นของประเทศไทยก็ไม่เคยเพิ่มสูงขึ้นจนแตะระดับ 4% ต่อปีได้อีกเลย แม้ตัวเลขดังกล่าวจะเป็นเป้าหมายที่รัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ได้ตั้งไว้ก็ตาม จากปี 2555 จนถึงปี 2559 แม้ว่าการส่งออกสุทธิมีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากใน GDP ของแต่ละปี แต่ทว่าสิ่งที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นผลมาจากการลดการนำเข้าของสินค้าต่างๆเพื่อการผลิต ที่ทำให้การส่งออกมีมูลค่ามากกว่าการนำเข้าเป็นอย่างมาก ปรากฏการณ์นี้สอดคล้องกับการลดตัวลงของการลงทุนของธุรกิจในสินค้าทุน แสดงให้เห็นถึงการขาดความมั่นใจในการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมในการลงทุนภายใต้รัฐบาลทหาร นอกจากนี้ตัวเลขการใช้จ่ายของภาคเอกชนและกระแสเงินไหลเข้าจากต่างประเทศยังลดต่ำลงอย่างมากภายหลังรัฐประหารซึ่งสามารถสะท้อนได้ถึงการคาดการณ์ต่ออนาคตเศรษฐกิจของไทยในเชิงลบของภาคเอกชนและภาคการลงทุนจากชาวต่างชาติอีกด้วย นอกจากนี้ กานดา ยังได้แสดงความกังวลทางด้านเศรษฐกิจอีกหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาเงินทุนไหลออกนอกประเทศ ปัญหาการเติบโตของการส่งออกที่ค่อนข้างต่ำแต่การนำเข้าของไทยกลับยิ่งมีการเติบโตที่ต่ำกว่าการส่งออกเสียอีก และปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบัน กานดา ได้เสนอนโยบายที่เป็นไปได้ในการสร้างผลบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศอันได้แก่ การเพิ่มภาษีมรดกและลดการละเว้นภาษีในด้านต่างๆ การเพิ่มภาษีที่ดิน การเพื่มความสามารถในการจัดเก็บภาษีของรัฐบาล การแปรสภาพบริษัทจากรัฐวิสาหกิจสู่เอกชนในบริษัทต่างๆ เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย และการบินไทย เพื่อให้ง่ายต่อการหาเงินสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ และ การลดขนาดของกองทัพและภาคราชการลง กานดา กล่าวสรุปทิ้งท้ายถึงสภาพเศรษฐกิจไทยว่า แม้กองทัพจะมีแนวโน้มในการขยายการลงทุนทางเศรษฐกิจในไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่เศรษฐกิจไทยจะยังต้องใช้เวลาอีกนานในการฟิ้นตัว และอาจจะเป็นไปได้ยากมากในการทำให้เศรษฐกิจไทยกลับมารุ่งเรืองอีกครั้งหากรัฐบาลยังไม่สามารถแก้ปัญหาการไหลออกของเงินทุนไปยังต่างประเทศและปัญหาหนี้สาธารณะที่จะเพิ่มขึ้นจนแตะระดับ 50% ของ GDP ตามการคาดการณ์ในปี 2563 ศาลปกครอง : การพิจารณาคดีความขัดแย้งทางสังคมในการบรรยายหัวข้อสุดท้ายของการสัมมนา Thailand Update เกี่ยวกับสื่อและความยุติธรรมนี้เริ่มโดย แฟรงค์ มังเกอร์ ( Frank Munger ) ศาสตราจารย์ด้านกฎหมาย จากโรงเรียนกฎหมายแห่งนิวยอร์ค โดยนำเสนอการบรรยายภายใต้หัวข้อ "ศาลปกครอง : การพิจารณาคดีความขัดแย้งทางสังคม" มังเกอร์ ได้เริ่มการบรรยายโดยแนะนำที่มาและหน้าที่ของศาลปกครองว่าเป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญปี 2540 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองปี 2542 โดยมีหน้าที่เทียบเท่าศาลยุติธรรม ศาลปกครองมีที่พิจารณาพิพากษา "คดีปกครอง" ซึ่งเป็นคดีพิพาทของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ถูกต้องในการปฏิบัติราชการ โดยศาลปกครองได้ถูกมองเป็นความหวังในด้านสิทธิแก่ประชาชนเนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐได้เป็นครั้งแรก คดีการฟ้องร้องแก่ศาลปกครองมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่เริ่มที่ 5,382 คดี ในปี 2544 และเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดมาถึงกว่า 9,718 คดีในช่วงปี 2556 ซึ่งเป็นช่วงหนึ่งปีก่อนเกิดรัฐประหารรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ และในขณะเดียวกันอัตราการดำเนินคดีของศาลปกครองก็เพิ่มขึ้นอย่างมากก้าวกระโดดในเขตภาคใต้ในช่วงปี 2555 - 2556 และภาคกลางในช่วงปี 2556 จนถึงปัจจุบัน โดยคดีส่วนมากเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งแวดล้อม ศาลปกครองถูกตั้งขึ้นมาพร้อมกับศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญปีพ.ศ. 2540 โดยถึงแม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะค่อนข้างไม่มีความเป็นกลางอันเนื่องมาจากอำนาจของศาลได้ถูกครอบงำโดยอิทธิพลทางการเมือง แต่ศาลปกครองดูจะพอมีความคาดหวังได้มากกว่าบ้างเนื่องจากยังไม่น่าจะมีอิทธิพลทางการเมืองมาครอบงำมากนัก อย่างไรก็ตาม มังเกอร์ได้ตั้งข้อสังเกตว่าศาลปกครองยังคงมีช่องว่างในการเข้าถึงของประชาชน ตัวอย่างเช่น ประชาชนที่ทำงานในหน่วยงานรัฐก็อาจจะไม่กล้าฟ้องหน่วยงานตนเอง หรือประชาชนทั่วไปก็ยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิในการฟ้องร้องแก่ศาลปกครองได้โดยง่าย และทนายที่ทำงานทางด้านคดีดังกล่าวก็มีจำนวนน้อย และไม่มีความสามารถและความชำนาญที่เพียงพอ มังเกอร์ กล่าวโดยสรุปว่าระบบศาลปกครองของไทยยังคงต้องการการพัฒนาอีกมากทั้งในแง่การพัฒนาบุคลากรโดยยังทนายที่มีความสามารถอีกเป็นจำนวนมาก และในแง่การต่อสู้เพื่อความเป็นกลางและไม่มีอคติทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีคดีที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความมั่งคงของรัฐบาลเอง ซึ่งมังเกอร์คาดว่าการพัฒนาดังกล่าวน่าจะยังเกิดขึ้นได้ยากภายใต้ระบอบการปกครองแบบเผด็จการดั่งเช่นในปัจจุบัน โซเชียลมีเดีย ปราบปรามรอบใหม่ของรัฐบาลทหารเพ็ญจันทร์ โพธิ์บริสุทธิ์ อาจารย์ด้านนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัฐแคลิฟอเนียร์ - ฟูลเลอร์ตัน ( California State University-Fullerton ) เป็นผู้ปิดงานสัมมนาวิชาการ Thailand Update 2017 ด้วยการนำเสนอบทวิเคราะห์ "ขอบเขตที่ไม่มีขอบเขตของการต่อต้าน : การปราบปรามรอบใหม่ของรัฐบาลทหาร" ( Deterri-torrializing Dissident Terrains : The Junta's New Round of Suppression ) โดย เพ็ญจันทร์ ได้มุ่งการนำเสนอไปที่สื่อที่สำคัญในการรับข่าวสารของคนไทยซึ่งก็คือโซเชียลมีเดีย เพ็ญจันทร์ กล่าวว่าตั้งแต่รัฐประหารในปี 2557 สื่อโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และ Line ก็ได้กลายมาเป็นพื้นที่สำคัญในการต่อสู้และโต้แย้งกันทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาพล้อเลียนและการ์ตูนที่สร้างให้พื้นที่โต้แย้งทางการเมืองบน Facebook เต็มไปด้วยมีม ( meme ) ที่เข้าถึงได้ง่ายแต่เต็มไปด้วยพลังและความสดใส โดยหลังจากที่รัฐได้ล้มเหลวจากการพยายามควมคุมข้อมูลในเครือข่ายอินเตอร์เนตทั้งหมดด้วยนโยบายซิงเกิ้ลเกตเวย์ รัฐบาลทหารจึงได้พยายามมุ่งเข้าควบคุมพื้นที่โซเชียลมีเดียอันเป็นช่องทางสำคัญในการต่อสู้และโต้แย้งกันทางการเมืองแทน โดยการปราบปรามมุ่งเน้นหลักไปที่ 1. การสื่อสารและเครือข่ายส่วนบุคคล อันได้แก่ Facebook, Messenger และ Line โดยรัฐพยายามออกประกาศแนะนำการใช้โซเชียลมีเดียและจำกัดการเข้าถึงผู้ใช้ Facebook บางคนที่มีแนวความคิดต่อต้านรัฐบาลทหารอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ และ นายแอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์ โดยมีรายงานว่ารัฐบาลได้มีการเข้าพบกับผู้ก่อตั้ง Facebook เพื่อให้ช่วยจำกัดและกำจัด "เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม" ออกจาก Facebook ซึ่งโดยทาง Facebook เองก็มีนโยบายที่จะปฎิบัติตามกฎหมายของประเทศผู้ใช้งานอยู่แล้วด้วย 2. รายการวิทยุใต้ดิน เช่น Youtube โดยรัฐได้จับกุมผู้ทำรายการวิทยุและช่องรายการที่ผิดกฎหมายต่างๆ และพยายามจำกัดการเข้าถึงของรายการใต้ดินที่มีเนื้อหาต่อต้านรัฐบาล 3. สื่อและสำนักงานข่าว โดยการออกกฎหมายและพระราชบัญญัติควบคุมสื่อ เพ็ญจันทร์ กล่าวโดยสรุปปิดท้ายการสัมมนาครั้งนี้ว่าทิศทางเสรีภาพบนอินเตอร์เนตและสื่อของไทยน่าจะยังเป็นในทางที่ไม่ดีเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะอย่างยื่งหลังจากการที่รัฐบาลใช้มาตรา 112 ในการสร้างความหวาดกลัวและควบคุมการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองบนโซเชียลมีเดีย จากรณีการจับกุมและดำเนินคดีนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ "ไผ่ ดาวดิน" จากเพียงการแชร์รายงานข่าว BBC บน Facebook ส่วนตัว หมายเหตุ : ขอบคุณ พลากร บูรณสัมปทานนท์ ผู้ช่วยแปลข้อมูลในหัวข้อเศรษฐกิจ สามารถฟังเนื้อหาสรุปเพิ่มเติมจากผู้บรรยายได้ที่ New York Southeast Asia Network Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCYX9m4gL1ODhryW1tqo37kg Facebook : https://www.facebook.com/nysea.network Website : nysean.org
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
กะเทาะเปลือกร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง ฉบับอยู่ยากแต่ยุบง่าย Posted: 28 Apr 2017 04:09 AM PDT คงได้เห็นหน้าคร่าตากันไปบ้างแล้ว สำหรับพระราชบัญญัติประกอบร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า พ.ร.ป. พรรคการเมือง ซึ่งถือเป็น 1 ใน 4 กฎหมายสำคัญอันจะนำไปสู่การเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 โดยทางคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ที่มีหัวเรือใหญ่คือมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้นำร่างกฎหมายดังกล่าว ฉบับที่ผ่านการพิจารณาจาก กรธ. เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2560 ส่งให้กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(ส.น.ช) ไปเมื่อวันที่ 18 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยกระบวนการระหว่างนี้ สนช. จะเป็นผู้พิจารณากฎหมายดังกล่าวภายในระยะเวลา 60 วันนับตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. เป็นต้นไป สำหรับร่างกฎหมายพรรคการเมืองที่ กรธ.ได้ส่งไปมีทั้งหมด 145 มาตรา ซึ่งอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก กรธ. ได้ให้สัมภาษณ์ว่า กฎหมายดังกล่าวจัดทำโดยยึดกับรัฐธรรมนูญเป็นหลัก ไม่ใช่รับฟังพรรคการเมืองขนาดใหญ่มากกว่าพรรคการเมืองขนาดเล็ก หรือทำเพื่ออุ้มพรรคการเมืองใด พร้อมทั้งได้วางหลักการ ให้พรรคการเมืองสามารถทำประโยชน์ให้ประเทศและประชาชนได้เป็นหลักสำคัญ ขณะที่มีชัยระบุว่า การปรับแก้กฎหมายหลังจากนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ สนช. เป็นหลักหากยังมีความคิดเห็นที่แตกต่าง แต่ทาง กรธ. เชื่อมั่นว่าได้เขียนกฎหมายอย่างดีที่สุดแล้ว และหาก สนช. จะปรับเปลี่ยนก็ต้องมีคำอธิบายด้วยว่าจะปรับเปลี่ยนแก้ไขเพราะอะไร และหากมีแนวทางที่ดีกว่าที่ กรธ. เขียนก็พร้อมที่จะเห็นด้วย ถ้าจะก่อตั้งพรรคการเมืองได้ คุณต้องมีอะไรบ้างในส่วนของเนื้อหาของกฎหมายพรรคการเมืองที่เป็นประเด็นถกเถียงสำคัญๆ ในช่วงที่ผ่านมามีด้วยกันหลายเรื่อง เช่น เรื่องการก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ที่มีข้อกำหนด ข้อบังคับมากมาย จนทำให้ผู้ที่มีความคิดจะก่อตั้งพรรคการเมืองรู้สึกว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวอาจจะเป็นการปิดกั้นพื้นที่การเข้าไปมีส่วนร่วมในการเมืองระดับชาติ มากกว่าที่จะเปิดโอกาสให้เกิดพรรคทางเลือกใหม่ๆ ขึ้นมา โดยในหมวดที่ 1 ซึ่งว่าด้วยการจัดตั้งพรรคการเมือง ได้กำหนดให้ผู้ที่จะก่อตั้งพรรคการเมืองต้องร่วมกันไม่น้อยกว่า 500 คน เพื่อเข้าชื่อจัดตั้งพรรคการเมือง พร้อมทั้งกำหนดให้พรรคการเมืองต้องมีเงินทุนประเดิมพรรคไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท โดยให้เรียกเก็บจากผู้ร่วมจัดตั้งพรรคการเมืองอย่างน้อยคนละ 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ตามมาตรา 9 ขณะที่กฎหมายเดิมกำหนดเพียงให้มีผู้ร่วมก่อตั้ง ไม่น้อยกว่า 15 คน และไม่ได้กำหนดเรื่องทุนเงินประเดิมพรรคการเมืองไว้ อีกทั้งยังกำหนดให้มีการทำระบบสมาชิกพรรคการเมือง โดยมีความมุ่งหวังที่ไม่ต้องการให้พรรคการเมืองเป็นของกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ต้องการให้พรรคการเมืองเป็นพรรคของทุกคน โดยในกฎหมายดังกล่าวมีรายละเอียดในทางปฏิบัติที่เอื้อเกิดระบบไพรมารี่โหวต (Primary Vote) ซึ่งสมาชิกพรรคการเมืองสามารถจะมีส่วนร่วมในการกำหนดว่าจะให้ผู้ใดลงสมัครรับการลงเลือกตั้งได้ ตามมาตรา 49 ววรค 3 แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องการทำระบบสมาชิกนั้นได้มีการกำหนดให้พรรคการเมืองที่เพิ่งจดทะเบียนใหม่ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 5,000 คนภายใน 1 ปี และมีไม่น้อยกว่า 10,000 คนภายในเวลา 4 ปี โดยนับจากวันที่จดทะเบียนพรรคการเมือง และภายใน 1 ปี พรรคการเมืองต้องดำเนินการให้มีสาขาพรรคในแต่ละภาค อย่างน้อยภาคละ 1 สาขา โดยสาขาพรรคการเมืองจะต้องมีสมาชิกที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบของสาขานั้นๆ มากกว่า 500 คนขึ้นไป ตามมาตรา 33 อีกทั้งสมาชิกพรรคการเมืองทุกคนจะต้องชำระค่าบำรุงพรรคการเมืองอย่างน้อยคนละ 100 บาทต่อปี ตามมาตรา 15 วงเล็บ 15 และหากสมาชิกคนใดไม่ทำการชำระเงินติดต่อกัน 2 ปี ให้ถือว่าสิ้นความเป็นสมาชิกพรรคทันที ตามมาตรา 27 วงเล็บ 3 และเมื่อมีการจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองแล้ว หากพบว่าพรรคการเมืองไม่ได้ส่งผู้สมัครลงรับการเลือกตั้งทั่วไปเป็นเวลา 8 ปีติดต่อกัน จะทำให้สถานะภาพของการเป็นพรรคการเมืองสิ้นสุดลง ตามมาตรา 84 วงเล็บ 5 นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดยิบย่อยอีกมากมาย เช่นการจัดประชุมผู้ก่อตั้งพรรคอย่างน้อย 250 คนเพื่อนำรายชื่อและบันทึกการประชุมไปประกอบการจดทะเบียน ไปจนถึงการจัดเตรียมเอกสารต่างๆอีกมากมาย ซึ่งหากเกิดข้อผิดพลาด หรือพรรคการเมืองไม่ได้ทำตามที่กฎหมายระบุก็จะมีโทษถึงขั้นจำคุก วิทูวัจน์ ทองบุ คณะกรรมการเฉพาะกาลพรรคสามัญชน การก่อตั้งพรรคมีเงื่อนไขมาก อาจเป็นการผลักไสชาวบ้านสู่ท้องถนนต่อประเด็นดังกล่าว วิทูวัจน์ ทองบุ คณะกรรมการเฉพาะกาลพรรคสามัญชน (พรรคสามัญชนคือ กลุ่มบุคคลซึ่งรวมตัวกันและมีแนวคิดจะจัดตั้งพรรคการเมือง) เห็นว่าพรรคการเมืองต้องเป็นเครื่องมือที่ชาวบ้านใช้ได้ง่าย แต่กฎหมายดังกล่าวอาจจะไม่เอื้อให้กับกลุ่มชาวบ้านที่เคยออกมาต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในประเด็นสิทธิมนุษยชนในมิติต่างๆ ซึ่งมีการรวมตัวเป็นเครือข่ายกัน และมีความประสงค์จะก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนนโยบายที่มาจากความต้องการประชาชน เพราะการกำหนดให้มีเงินทุนประเดิมพรรคการเมือง โดยที่ผู้ก่อตั้งจะต้องจ่ายทุกคนอย่างน้อยคนละ 1,000 บาท จะเป็นอุปสรรคสำคัญที่กีดกันชาวบ้าน และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการหรือนโยบายของรัฐ ไม่ให้เข้าสู่การต่อสู้ในเวทีการเมือง และยิ่งไปกว่านั้นอาจจะเป็นการผลักให้ชาวบ้านเดินออกมาบนท้องถนนแทน "ตามหลักแล้วมันควรจะง่าย ไม่ใช่มีขั้นตอนที่มากขนาดนี้ และหากเป็นแบบนี้มันยิ่งผลักคนออกไปที่ท้องถนน จากเดิม(ร่างแรกของ กรธ.) เขากำหนด 500 คน จ่ายคนละ 2,000 บาท แต่เปลี่ยนมาเป็น 500 คน อย่างน้อยคน 1,000 บาท แต่เมื่อเฉลี่ยรวมกันแล้วก็ต้องหาให้ได้ 1 ล้านอยู่ดี ซึ่งมันก็ยังเป็นเรื่องยากสำหรับชาวบ้านเหมือนเดิม เราก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมเขากำหนดแบบนี้ หากจะอ้างการมีส่วนร่วม มันสามารถทำได้โดยวิธีอื่นอยู่แล้ว" วิทูวัจน์ ระบุ วิทูวัจน์ เห็นว่าการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวเป็นความหวาดกลัวความคิดเก่าๆ ภาพการเมืองเก่าๆ ของผู้ร่างกฎหมาย แต่กลับไม่มีเข้าใจความเติบโตทางการเมืองของกลุ่มชาวบ้าน หรือกลุ่มคนรุ่นใหม่ๆ ที่ต้องการก่อตั้งพรรคการเมืองรูปแบบใหม่ หรือพรรคทางเลือกขึ้นมา เขาเห็นว่าความเป็นเจ้าของพรรคการเมืองไม่สามารถชี้วัดได้ด้วยการดูว่าใครเป็นคนออกเงินเพียงอย่างเดียว แต่ต้องดูที่รูปแบบการบริหารพรรค การกำหนดนโยบายของพรรค ซึ่งสำหรับพรรคสามัญชนได้มีแนวคิดว่าทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องการกับทำงานของพรรคจะให้สมาชิกพรรคเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดได้ ความเป็นเจ้าของพรรคเกิดขึ้นจากตรงนี้ วิทูวัจน์ย้ำในตอนท้าย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เช่นเดียวกันกับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเห็นว่าร่างกฎหมายดังกล่าว กำหนดบทบาทที่ชัดเจนของสมาชิกเพียงแค่การจ่ายค่าบำรุงพรรค แต่ยังไม่มีการระบุว่าให้สิทธิอะไรบ้างกับผู้ที่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง เขาเห็นว่าการเป็นเจ้าของ และมีส่วนร่วมในพรรค จะคิดแต่เรื่องของการจ่ายค่าบำรุงพรรคอย่างเดียวไม่ได้ แม้ในอุดมคติการจ่ายเงินบำรุงพรรคจะเป็นเรื่องที่สมควรมี แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันไปสู่การที่ประชาชนสามารถมามีส่วนร่วมทางการเมืองในฐานะสมาชิกพรรคการเมืองได้นั้น การเอาเรื่องเงินมาเป็นตัวตั้งไม่ใช่โจทย์ที่ถูกต้อง นอกจากนี้ อภิสิทธิ์ ระบุด้วยว่า การครอบงำพรรคการเมืองโดยคนกลุ่มน้อย โดยบุคคล หรือโดยครอบครัวนั้น คงไม่สามารถแก้ได้ด้วยการเก็บค่าบำรุงพรรคการเมือง หากต้องการแก้ปัญหาดังกล่าวต้องเข้าใจว่าที่มาของเงินนั้นไม่ใช่เป็นเงินที่วางอยู่บนโต๊ะอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่เป็นเงินที่จ่ายโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งเขายังมีข้อข้องใจว่า ทำไม กรธ. ไม่หาทางจัดการเรื่องนี้ให้ได้ นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เจตนารมณ์ในการก่อตั้งพรรคการเมืองถูกทำให้เปลี่ยนไปขณะที่ นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าเงื่อนไขต่างๆที่เพิ่มเข้ามาในก่อตั้งพรรคการเมือง จะทำให้พรรคการเมืองใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น หรือพรรคการเมืองขนาดเล็กที่มีอยู่มีความลำบากมากขึ้น โดยเขาชี้ให้เห็นว่าความเป็นพรรคการเมืองนั้นไม่ได้หมายความว่า จะต้องมีผู้สมัครลงรับการเลือกตั้งเท่านั้น แต่พรรคการเมืองเป็นพื้นที่สำหรับขยายอุดมการณ์ทางการเมือง และเป็นพื้นที่สาธารณะที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ การลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นเพียงหนึ่งองค์ประกอบหนึ่งของพรรคการเมืองเท่านั้น แต่ในร่างกฎหมายพรรคการเมือง ระบุว่าหากพรรคการเมืองไม่ส่งผู้สมัครลงรับการเลือกตั้ง 8 ปีติดต่อกันจะถูกยุบพรรคทันที "เราจะเห็นว่าพรรคการเมืองบางพรรค เขาอยู่มานานแต่ไม่เคยมีผู้แทนเลย ไม่ได้ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งเลย แต่สิ่งที่เขามีคือพื้นที่ในการทำนโยบายสาธารณะบางเรื่องเท่านั้นเอง แต่การกำหนดว่าหากพรรคไหนไม่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง 8 ปี พรรคนั้นจะถูกยุบไปเลย อย่างนี้แสดงว่าเจตนารมณ์ของพรรคการตามรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นใหม่จะต้องเป็นพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งเท่านั้น ฉะนั้นพื้นที่สาธารณะของกลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์แบบเดียวกัน มารวมตัวกันเพื่อประกาศเจตนารมณ์ พื้นที่ตรงนี้มันก็จะหายไป" นิพิฏฐ์ ย้ำด้วยว่า ผู้ร่างกฎหมายมองเห็นเพียงแค่ว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองกับพรรคการเมืองนั้นจะทำได้ด้วยการจ่ายเงิน แต่จริงๆ แล้วการกำหนดรายละเอียดยิบย่อยลักษณะนี้อาจจะทำให้พรรคการเมืองมีลักษณะคล้ายกับระบบราชการที่ต้องคอยดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับเอกสาร และทำงานในลักษณะงานประจำมากขึ้น "เรื่องการจ่ายเงิน พรรคประชาธิปัตย์เคยทดลองให้สมาชิกพรรคร่วมจ่ายเงินบำรุงพรรคมาก่อนหน้าที่จะเกิดรัฐประหารอีก เรามีสมาชิกหลายล้าน แต่กำหนดให้ชำระเพียงปีละ 20 บาทต่อคน แต่เงินที่ได้มาเข้าใจว่าได้ไม่ถึงแสน ทั้งที่ตอนนั้นเรายังไม่เจอสถานการณ์ที่พรรคการเมืองถูกใส่ร้าย ถูกทำให้เป็นที่รังเกียจเหมือนทุกวันนี้ ในขณะที่ตอนนี้สถานการณ์ต่างๆ ก็ไม่เอื้อเพราะคนรังเกียจนักการเมือง มันก็ไม่เอื้อให้คนเดินเข้ามาจ่ายเงินบำรุงพรรค ฉะนั้นหากมาตรการนี้ออกมาพรรคใหญ่ก็ลำบาก พรรคเล็กก็เกิดยาก ผมเชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์จากเดิมที่มีสมาชิกหลายล้าน อาจจะเหลือแค่ไม่กี่แสน" นิพิฏฐ์ กล่าว บทลงโทษรวม 36 มาตรา พบโทษสูงสุดจำคุก 20 ปีสำหรับกรณีบทลงโทษที่เขียนเอาไว้ในร่างกฎหมายฉบับนี้มีด้วยกันทั้งสิ้น 36 มาตรา โดยมีโทษที่เบาสุดคือ มาตรา 127 ระบุว่า หากกรรมการบริหารพรรคการเมืองไม่ปฏิบัติตามมาตรา 83 (ซึ่งกำหนดว่า คณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง ที่จะต้องตรวจสอบและควบคุมมิให้มีการนำเงินหรือทรัพย์สินของพรรคการเมืองไปใช้จ่ายเพื่อการอื่นใดนอกจากที่กำหนดไว้ในมาตรา 78 มาตรา81 และมาตรา 82) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขณะที่โทษสูงสุดตามร่างกฎหมายนี้อยู่ที่มาตรา 110 ที่กำหนดว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 46 (กรณีการซื้อขายตำแหน่งทางการเมือง และตำแหน่งในการบริหารราชการแผ่นดินในหน่วยงานรัฐ) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 10-20 ปีและให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิการรับสมัครเลือกตั้งของผู้นั้น (มาตรานี้มีการปรับแก้ไขบทกำหนดโทษจากเดิมที่ กรธ. วางไว้คือโทษประหารชีวิต) ขณะที่มาตราที่ดูจะเพิ่มเติมเข้ามาเป็นพิเศษคือ มาตรา 130 โดยกำหนดเอาไว้ว่า บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ถ้าจำเลยอยู่ในอำนาจศาลแล้วแต่ได้หลบหนีไป และศาลได้ออกหมายจับแล้ว แต่ยังจับตัวมาไม่ได้ ให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดี สืบพยาน และอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยได้ ในขณะที่ ชวลิต วิชยสุทธิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย ได้ตั้งข้อสังเกตถึงการกำหนดบทลงโทษในร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า มีการคิดบนพื้นฐานอะไร เพราะเหตุใดจึงมีความพยายามทำให้กฎหมายดังกล่าวมีอัตราโทษที่สูงเกินไปเมื่อเทียบกับโทษทางอาญาอื่นๆ ชวลิต วิชยสุทธิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทย ซ่อนไม้ตาย กกต.ลงดาบ ล้างไพ่คณะกรรมการบริหารพรรคทั้งคณะนอกจากนี้ ชวลิต เห็นว่า มาตรา 22 เป็นบทบัญญัติที่ผิดหลักกฎหมายอย่างร้ายแรง โดยมาตรา 22 กำหนดให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแล มิให้สมาชิกกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ข้อบังคับ รวมตลอดทั้งระเบียบประกาศและคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทั้งยังระบุให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแล มิให้สมาชิก หรือผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองกระทำการในลักษณะที่อาจทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริต หรือเที่ยงธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรืออาจเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใดซึ่งสมัครเข้ารับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งนี้ เมื่อคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองได้รับแจ้งจากนายทะเบียนว่าสมาชิกกระทำการอันอาจมีลักษณะเป็นการฝ่าฝืน ให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีมติหรือสั่งการให้สมาชิกยุติการกระทำนั้นโดยพลัน และกำหนดมาตรการหรือวิธีการที่จำเป็นเพื่อมิให้สมาชิกผู้ใดกระทำการอันอาจมีลักษณะดังกล่าวอีก แล้วแจ้งให้นายทะเบียนทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่มีมติ ในกรณีที่ความปรากฏต่อนายทะเบียนว่าคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองไม่ปฏิบัติตาม ให้นายทะเบียนเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อพิจารณามีคำสั่งให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะคำสั่งดังกล่าวให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ชวลิตให้ความเห็นว่า การร่างบัญญัติข้อนี้ยังมีลักษณะกว้างไปและสร้างการตีความครอบคลุมได้ในหลายๆ ประเด็น โดยเขาเห็นว่า การที่จะให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองเพียงไม่กี่คนมีหน้าที่ต้องดูแลกับสมาชิกพรรคการเมือง ซึ่งสำหรับพรรคใหญ่อาจมีจำนวนถึงหลักแสน หลักล้าน เป็นกฎหมายที่ไม่สมเหตุสมผล และยิ่งต้องมีการรับโทษด้วยการถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งด้วยนั้นถือเป็นเรื่องที่ไม่ชอบอย่างยิ่ง โดยเขาเห็นว่ากฎหมายควรกำหนดโทษที่ผู้ที่กระทำผิดโดยตรง และหากมีการตรวจสอบพบว่า กรรมการบริหารพรรคการเมืองคนใดมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด เช่นมีส่วนรู้เห็นกับการฝ่าฝืนกฎหมาย ก็ควรที่จะมีการลงโทษเป็นกรณีไป ไม่ใช่การเหมารวมคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด พรรคการเมืองยุบง่ายๆ พรรคเล็กอาจจะหายไปภายในไม่กี่ปี พรรคใหญ่ถึงไม่พลาดก็อาจโดนสำหรับกรณีที่เกี่ยวข้องกับการยุบพรรคการเมืองนั้นมีหลากหลายเหตุปัจจัย เช่น 1. มีข้อบังคับไม่ถูกต้องและไม่ครบถ้วน (มาตรา 85 วงเล็บ 1) เมื่อพรรคการเมืองไม่แก้ไขข้อบังคับให้ถูกต้องหรือครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนดตามมาตรา 17 วรรคสาม (ว่าด้วยกรณีที่พบในภายหลังว่าข้อบังคับของพรรคการเมืองหนึ่งๆ ที่ได้ยื่นประกอบเพื่อจดทะเบียนพรรคการเมือง ไม่เป็นไปตาม มาตรา 14 ซึ่งระบุว่า ข้อบังคับต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้ 1.เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและต้องไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ 2.ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 3.อาจก่อให้เกิดความแตกแยกระหว่างชนในชาติ และ4.ครอบงำหรือเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่โดยอิสระของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ) และมาตรา 15 (ว่าด้วยข้อบังคับต่างๆที่ต้องมีสำหรับพรรคการเมือง ยกตัวอย่างเช่น สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก ความรับผิดชอบของสมาชิกต่อพรรคการเมืองและความรับผิดชอบของพรรคการเมืองต่อสมาชิก มาตรฐานทางจริยธรรมของกรรมการบริหารพรรคการเมืองและสมาชิก หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกสมาชิกเพื่อส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ และการคัดเลือกบุคคลซึ่งพรรคการเมืองเห็นสมควรจะเสนอให้ได้รับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งต้องกำหนดให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการคัดเลือกด้วยอย่างกว้างขวาง วิธีการบริหารการเงินและทรัพย์สิน) โดยให้นายทะเบียนพรรคการเมืองรายงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อพิจารณาและมีมติให้เพิกถอนข้อบังคับของพรรคการเมืองนั้น และแจ้งให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองทราบภายใน 7 วัน โดยคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองต้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง และครบถ้วนภายในเวลา 30 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือ หากพ้นไปจากนี้ยังไม่ได้ทีการแก้ไข หรือแก้ไขแล้วแต่ยังไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้พรรคการเมืองนั้นสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง 2.มีจำนวนสมาชิกไม่ครบตามที่กำหนด (มาตรา 85 วงเล็บ 2) มีจำนวนสาขาพรรคการเมืองไม่ครบตามที่กำหนด (มาตรา 58 วงเล็บ 3) เมื่อพรรคการเมืองได้รับการจดทะเบียนแล้ว หากหลังจากวันที่จดทะเบียน 1 ปี ไม่สามารถมีสมาชิกมากกว่า 5,000 คนหรือหลังผ่านไป 4 ปี ไม่สามารถมีสมาชิกมากกว่า 10,000 คน เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 90 วัน ให้พรรคการเมืองนั้นสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง หรือหากมีสาขาพรรคการเมืองเหลืออยู่ไม่ครบตามจำนวนที่กำหนด (ต้องมีอย่างน้อยภาคละ 1 สาขา) ติดต่อกันเป็นเวลา 1 ปี ให้พรรคการเมืองนั้นสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง 3.กรณีสั่งยุบพรรคโดยศาลรัฐธรรมนูญ ให้สั่งตัดสิทธิทางการเมืองคณะกรรมการบริหารพรรคด้วย ในมาตรา 86 ได้ระบุว่า หากคณะกรรมการการเลือกตั้งมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคการเมืองได้กระทำการดังต่อไปนี้ ให้ยื่นเรื่องกับศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิรับสมัครเลือกตั้งของคณะกรรมบริหารพรรคด้วย การกระทำดังกล่าวประกอบด้วย การกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การกระทำอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 20 วรรค 2 มาตรา 28 มาตรา 30 มาตรา 36 มาตรา 44 มาตรา 46 มาตรา 66 หรือมาตรา 68 และมีเหตุอันจำเป็นตามกฎหมายกำหนด
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
'สมาน' นำทีมจี้อเมริกาหยุดสงครามกับเกาหลีเหนือ หนุ่มอ้างตัวถอนหมุดคณะราษฎรโผล่ร่วมด้วย Posted: 28 Apr 2017 03:23 AM PDT สมาน ศรีงาม นำทีมประท้วงหน้าสถานทูตอเมริกา จี้หยุดก่อสงครามกับเกาหลีเหนือ หันมาสร้างสันติภาพโลกถาวร ขณะที่ 'วิชาญ ภูวิหาร' ผู้เคยอ้างตัวถอนหมุดคณะราษฎรโผล่ร่วมด้วย ภาพจาก เฟซบุ๊ก 'ฦๅ เฑวฦทธิ์' 28 เม.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 16.43 น. เฟซบุ๊ก 'ฦๅ เฑวฦทธิ์' โพสต์ภาพการชุมนุมนั่งสมาธิ ประท้วงสงครามนิวเคลียร์ ที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่ากลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่นำโดย สมาน ศรีงาม ซึ่งก่อนหน้านั้น สมานได้ประกาศผ่านเฟซบุ๊กว่า สภาประชาชนปฏิวัติสันติแห่งชาติ พรรคการนำใหม่ประชาชนปฏิวัติสันติ (พรรคตามธรรมชาติ) จะไปยื่นหนังสือประท้วงอเมริกาให้หยุดก่อสงครามนิวเคลียร์ล้างโลก กับเกาหลีเหนือ และหันมาสร้างสันติภาพโลกถาวร ในเวลาดังกล่าวด้วย นอกจาก สมาน แล้ว ยังมี วิชาญ ภูวิหาร ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันเดินทางมาร่วมประท้วงด้วย โดย วิชาญ เมื่อวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา เขาเดินทางไปที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมอ้างตัวว่าเป็นผู้ถอนหมุดคณะราษฎร พร้อมทั้งอ่านแถลงการณ์แสดงความรับผิดชอบ ความหนา 27 หน้า ใช้เวลาประมาณ 30 นาที เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่านำหมุดดังกล่าวไว้ที่ใด วิชาญ อ้างว่าเมื่อถอนหมุดแล้วก็วางไว้ที่บริเวณดังกล่าว ขณะนี้อยู่ที่ใดตนไม่ทราบ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเชิญตัวไปพูดคุย นายวิชาญพยายามขัดขืนด้วยการนั่งสมาธิ จนเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องหิ้วปีก พอเจ้าหน้าที่จะนำตัวไปยัง สน.ดุสิต นายวิชาญจึงขอยื่นเอกสารแถลงการณ์ดังกล่าวถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงนำตัวนายวิชาญไปยัง สน.ดุสิต โดย พ.ต.อ.อรรถวิทย์ สายสืบ รอง ผบก.น.1 ระบุว่า เมื่อมีผู้มาอ้างว่ากระทำความผิดก็ต้องนำตัวไปสอบปากคำว่ากระทำจริงหรือไม่ รวมทั้งจะพาไปตรวจสอบร่างกายว่าสภาพจิตปกติหรือไม่ โดยยังไม่การแจ้งข้อกล่าวหาแต่อย่างใด ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
เผยต้นปี 60 จ้างงานขยายตัว เตรียมตั้งกรมใหม่ 'สำนักงานเศรษฐกิจการแรงงาน' Posted: 28 Apr 2017 02:08 AM PDT รองโฆษกกระทรวงแรงงาน เผยกระทรวงเตรียมตั้ง 'สำนั เมื่อวันที่ 27 เม.ย.ที่ผ่านมา รายงานข่าวจากกระทรวงแรงงานแจ้งว่า เพชรรัตน์ สินอวย ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะรองโฆษกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังการประชุ รองโฆษกระทรวงแรงงาน ระบุอีกว่า จะลงนามความร่วมมือทางวิชาการกั เพชรรัตน์ ยังกล่าวถึงสถานการณ์การจ้ นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังได้มีการเฝ้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ประวิตรสวนยิ่งลักษณ์ ชี้เอาเงินที่เสียหายจาก 'จำนำข้าว' ซื้อ 'เรือดำน้ำ' ได้ 50 ลำ Posted: 28 Apr 2017 01:22 AM PDT พล.อ.ประวิตร ระบุให้กองทัพเรือออกมาชี้แจงปมซื้อเรือดำน้ำจากจีน สวนยิ่งลักษณ์ ชี้เอาเงินที่เสียหายจากรับจำนำข้าวมาซื้อเรือดำน้ำจะซื้อได้ประมาณ 50 ลำ เผยกองทัพเรือเสนอแผนงานจัดซื้อมาแล้ว 10 - 20 ปี กิตติรัตน์ ชี้จำนำข้าวสร้างความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจเกิดจากกลไกของตัวทวีคูณ 28 เม.ย.2560 กลายเป็นประเด็นโต้กันไปมาระหว่างการจัดซื้อเรือดำน้ำจากจีนกับโครงการรับจำนำข้าว เริ่มจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีก็ได้ออกมากล่าวหาถึงโครงการรับจำนำข้าวว่าทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณจำนวนมาก ต้องมาผ่อนชำระ ชดใช้หนี้ต่างๆ ในระบบการเงินการคลังของประเทศ ต่อมาวานนี้ (27 เม.ย.60) ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจของตนตอบโต้ พล.อ.ประยุทธ์ ว่า การใช่วาระลับในการอนุมัติจัดซื้อเรือดน้ำดังกล่าว ทำให้ไม่มีการเปิดโอกาสให้หน่วยงานหรือสาธารณชนร่วมตรวจผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินที่ต้องมีภาระคำนึงถึงความจำเป็น ความเหมาะสมความคุ้มค่าและการเปรียบเทียบราคาอย่างรอบคอบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทางราชการและประเทศชาติ และยังเป็นการใช้ภาระงบประมาณสูง ผูกพันหลายปีงบประมาณจนเป็นภาระหนี้ให้กับรัฐบาลถัดๆ ไปในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก ล่าสดวันนี้ (28 เม.ย.60) มติชนออนไลน์และเนชั่นที่กระทรวงกลาโหม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกระแสการโจมตีการจัดซื้อเรือดำน้ำของกองทัพเรือว่า คงไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์เพิ่มไปมากกว่านี้อีกแล้ว ต้องให้กองทัพเรือได้ออกมาชี้แจง ต่อกรณีที่ยิ่งลักษณ์ โพสต์เฟซบุ๊กโดยนำประเด็นดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับโครงการจำนำข้าวนั้นเป็น พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ในส่วนของเรื่องจำนำข้าว ถามว่าเสียหายไปกี่แสนล้าน แต่ในส่วนของเรือดำน้ำซื้อหมื่นกว่าล้าน ถ้าเอาเงินที่เสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวมาซื้อเรือดำน้ำจะซื้อได้ประมาณ 50 ลำ "คุณยิ่งลักษณ์ก็พูดไป แต่เรื่องเรือดำน้ำที่ซื้อมาก็เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งให้กับกองทัพ เป็นเรื่องการพัฒนาของกองทัพ ผมไม่เห็นว่าเสียหายตรงไหน เสียเงินไปแต่ก็ได้ของมา แต่โครงการจำนำข้าวเงินหายไปหมด ไปไม่ถึงตัวประชาชน แล้วเงินหายไปไหน ขาดทุน 5 แสนกว่าล้าน อยากให้คุณยิ่งลักษณ์ไปตอบพนักงานสอบสวน ไม่ต้องออกมาแบบนี้ ผมก็ชัดเจนในทุกเรื่องที่ทำไป ทำเพื่อความเข้มแข็งและศักยภาพของประเทศ ไม่ใช่ทำเพื่อใครเลย" พล.อ.ประวิตรกล่าว พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า กองทัพเรือได้เสนอแผนงานมานานแล้ว ประมาณ 10 ถึง 20 ปี เพื่อพยายามที่จะซื้อ ซึ่งตนมองว่าไม่เห็นมีปัญหาและไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย เรือดำน้ำเราซื้อมาเพื่อนำไปใช้ดูแลทรัพยากร 5-6 ล้านที่อยู่ในฝั่งอันดามัน 200 ไมล์ทะเล เหตุผลตรงนี้แต่ไม่พูดกัน ไปพูดอะไรบ้าๆ บอๆ อย่างไรก็ตาม กองทัพเรือจะออกมาชี้แจงเรื่องโครงการเรือดำน้ำในเร็ววันนี้ อย่างช้าที่สุดก็ไม่เกินวันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคมนี้ กองทัพเรือออกมาแถลง ซึ่งเขามีคณะกรรมการกว่า 30 คน ให้ไปถามในวันนั้น ส่วนกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีการล็อกสเปกจากผู้มีอำนาจให้ซื้อของจีนนั้น พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ใครจะพูดอะไรก็พูดได้ มีหลักฐานหรือไม่ ข้อมูลมาจากใครก็ไม่รู้ ยืนยันตัวตนไม่ได้ ซึ่งตนก็อยากจะพูดว่า เหมือนอย่างสุนัขเห่า ถามว่ารู้หรือไม่ว่าสุนัขมันเห่าใคร สื่อก็ไม่รู้ สำหรับกรณีที่ ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นหนังสือให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำนั้น รองนายกฯประวิตรกล่าวว่า อยากยื่นก็ยื่นไป ก็ไม่เป็นไร ก็ได้หมด ซึ่งทาง สตง.ก็ต้องเรียกกองทัพเรือไปชี้แจง ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ทุกอย่างโปร่งใส การซื้อขายก็เป็นแบบจีทูจี ทุกอย่างไปพูดกันเองหมด พร้อมทั้งยืนยันว่าคนเหล่านี้ไม่มีใครไปสั่งอะไรได้ เขาต้องนำเรือดำน้ำของประเทศต่างๆ มาเปรียบเทียบทั้งหมด และทำไปตามสเปก ตนมองว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ขอให้เลิกพูดกันได้แล้วเรื่องเรือดำน้ำ กิตติรัตน์ ยัน 'จำนำข้าว' คุ้มค่าทั้งทางเศรษฐกิจ-สังคม ผ่านตัวทวีคูณทั้งนี้โครงกาจำนำข้าวนั้น กิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เคยโพสต์ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจไว้ตั้งแต่ 10 ก.ย.58 ว่า เป็นโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล ที่มุ่งดูแลชาวนาที่เป็นกระดูกสันหลังที่กำลังผุกร่อนของชาติ โดยมีจำนวนชาวนาที่ได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมของโครงการฯ จำนวนถึงกว่า 3.7 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็นประชากรกว่าร้อยละ 23 ของประชากรทั้งประเทศ การรับจำนำข้าวในราคาที่ถูกกล่าวหาว่าสูงเกินสมควรนั้น ถือว่าไม่สูงเลยเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิต และรายได้สุทธิ ที่พวกเขาชาวนาผู้มีพระคุณของเราควรได้รับ แม้ว่า นโยบายสาธารณะที่สำคัญนี้จะต้องจัดสรรงบประมาณรายปี เข้าชดเชยโครงการฯ ที่ดูเหมือนจะมากสักหน่อย ก็ยังอยู่ในกรอบเพียงประมาณร้อยละ 5 ของงบประมาณประจำปีเท่านั้น จึงเป็นโครงการที่คุ้มค่าเพราะสามารถช่วยกลุ่มคนรายได้น้อยที่สุดในภาคเกษตรกรรม ได้ถึงร้อยละ 23 ให้พอลืมตาอ้าปากได้ ตัวเลขห้าแสนล้านที่ถูกหยิบขึ้นมากล่าวอ้างราวกับว่าเป็นภาระความเสียหายนั้น แท้ที่จริงเป็นเพดานเงินหมุนเวียน ที่ใช้ดูแลโครงการฯ มาแล้วถึง 5 ฤดูการผลิต โดยยังมีข้าวในคลังที่มีมูลค่าหลายแสนล้านบาทที่ยังไม่ได้จำหน่ายออกไป การระบายข้าวที่มีความล่าช้าเกินสมควรจนเกิดเป็นต้นทุนที่เพิ่มเติมขึ้นมานั้น รัฐบาลนี้ควรตรวจสอบการดำเนินงานว่าเกิดอะไรขึ้นที่ทำให้การระบายข้าวของโครงการฯ มีความล่าช้าเป็นอย่างมากในช่วงระยะเวลาปีเศษที่ผ่านมา และเดาว่าทีมเศรษฐกิจชุดเดิมคงไม่เคยใส่ใจที่จะอธิบายถึงประโยชน์ และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากกลไกของตัวทวีคูณ (Multiplier Effect) ผ่านหลักการการบริโภคเมื่อรายได้ดีขึ้น (Marginal Propensity to Consume) ทำให้เศรษฐกิจรวมของประเทศ ขยายตัวได้ปีละกว่า 3 แสนล้านบาทในปี 2555 ถึงปี 2556 หรือคิดเป็น ร้อยละ 2.7 ถึง 2.8 ของ GDP ของประเทศ ซึ่งแปลว่าผู้คนทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจล้วนได้รับประโยชน์โดยถ้วนทั่ว โครงการรับจำนำข้าวเปลือก เป็นโครงการที่ดี และมีความคุ้มค่าทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคม ภายใต้การบริหารการเงินและการคลังที่มีวินัยอย่างดี ทั้งในประเด็นระดับหนี้สาธารณะ และการบริหารงบประมาณของรัฐบาล
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
พิธีการเข้าเบิก: กรณีสมโภช 1188 ปี เมืองแพร่ว่าด้วยการกลับมาของประเพณีเก่าในหน้าที่แบบใหม่ Posted: 28 Apr 2017 12:53 AM PDT
"สวดเบิกล้านนา" นับเป็นมนต์เมืองเหนืออย่างหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าการเทศธรรมคำเมืองนี้ ใช้บทสวดธรรมพิธีปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ตามความเชื่อของชาวล้านนาที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ[1] ประเพณี[2]การเข้าเบิกเป็นประเพณีที่เก่าแก่ ปัจจุบันทำกันน้อยมากและมักไม่ได้ทำทุกปี โดยประเพณีนี้ทำเพื่อป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นในหมู่บ้าน เช่น โรคระบาด แต่ถ้าเกิดเหตุร้ายไปแล้วจะไม่ทำพิธีนี้ การทำพิธีคนในหมู่บ้านจะร่วมกันกำหนดวันและสถานที่ ต้องนิมนต์พระสงฆ์ไว้ล่วงหน้าหลายวัน เพื่อพระสงฆ์จะได้ฝึกซ้อมการสวดเบิก[3] ซึ่งคำสวดแต่เก่าเดิมนั้นสืบทอดกันมาแบบมุขปาฐะ[4] จึงจำเป็นต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝน ทั้งนี้การสวดเบิกได้แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ในปัจจุบันการสวดเบิกไม่ได้เกิดขึ้นบนการต่อรองระหว่าง สงฆ์กับชาวบ้าน แต่ขยับขึ้นไปเป็นการต่อรองระหว่างส่วนกลางกับคณะสงฆ์ จะเห็นได้จากการปรากฏการสวดเบิกในพิธีสมโภชใหญ่ต่างๆ และถือได้ว่าเป็นการรับอิทธิพลจากพุทธศาสนาสายมหายาน[5] โดยบทสวดจะกล่าวถึงพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในบทสวด คือเรื่อง "พระพุทธเจ้าชนะมาร" การเข้าเบิกในอดีตนั้น จะกระทำกันบริเวณทางแยกเข้าหมู่บ้าน โดยพิธีจะเริ่มในตอนหัวค่ำ ชาวบ้านจะนำน้ำส้มป่อย ขมิ้น ดอกไม้ธูปเทียน ทราย มาร่วมพิธี เมื่อถึงเวลาที่สงฆ์มายังบริเวณพิธีโดยไม่จำกัดว่ากี่รูป ชาวบ้านนำดอกไม้ธูปเทียนมารวมกันในที่จัดไว้บูชาพระรัตนตรัย รับศีล สวดเบิก เมื่อเสร็จพิธีชาวบ้านจะนำทรายและน้ำส้มป่อย ขมิ้นที่นำมาร่วมในพิธีซัดสาดให้ทั่วหมู่บ้าน เพื่อเป็นการขับไล่สิ่งชั่วร้ายและให้เกิด ศิริมงคลแก่บ้านตน[6] สิ่งที่น่าสังเกตคือการสวดเบิกในแต่ละจังหวัดของล้านนานั้น จะกระทำในวาระโอกาสที่ต่างกัน อาทิ แพร่ทำในช่วงหลังปีใหม่เมือง แต่ไม่ใช่ว่าจะกระทำเป็นกิจทุกปี ลำปางทำในช่วงยี่เป็ง แพร่จัดพิธีสวดเบิก 4 มุมเมือง เพื่อสืบชะตาเมือง เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา[7] และในปีถัดมาเมืองแพร่ก็สมโภชใหญ่ 1188 ปี[8] ซึ่งก็เสมือนหนึ่งว่าได้ทำการต่อชะตา สะเดาะเคราะห์เมืองเตรียมย่างเข้าสู่ศักราชใหม่ ในลำปางที่บ้านไหล่หิน อ.เกาะคา ก็มีการ "สวดเบิก" ซึ่งเป็นการสวดทำนองของพระสงฆ์ที่ใช้สวดในการสมโภชพระพุทธรูปและเป็นการสวดเบิกในประเพณียี่เป็ง[9] ซึ่งมักจะสวดจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ เพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับตนเองและครอบครัว และเมื่อพิธีการสวดเบิกจบในวารสุดท้ายชาวบ้านที่มานั่งฟัง จะแย่งกันดึงด้ายสายสิญจน์ที่ผูกโยงกับอาสนะสวดเบิกกลับบ้าน เพื่อนำไปผูกข้อมือให้แก่ลูกหลานที่อยู่ทางบ้าน หรือนำไปผูกรถหรือนำติดตัวไปในที่ต่าง ๆ[10] อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเวลาในช่วงจัดกระทำพิธีนั้นอาจจะต่างกัน แต่ขนบและจุดประสงค์ก็มีส่วนที่คล้ายคลึงกัน นั่นคือการสวด เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลและปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย เสมือนหนึ่งว่าเป็นการเบิกเนตรพระเจ้า[11] ซึมซับพระธรรม และได้แจ้งแก่โลกด้วยสายตาเช่นเดียวกับ "ผะเจ้า" ที่เห็นความเป็นไปของโลก ซึ่งข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ การผูกโยงตัวตนของชาวบ้านเข้ากับพระพุทธศาสนา บนการต่อรองทางความเชื่อ การต่อรองระหว่างชาวบ้านกับสงฆ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งพิธีอันเป็นสิริมงคลนั้นนับเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะนั่นคือพลังของชุมชนชาวบ้าน ที่กระทำสืบเนื่องกันมาอย่างยาวนาน ถึงแม้ว่าระยะเวลาช่วงของการจัดกระทำพิธี จะไม่ได้เหมือนกันเสียทุกที่ในล้านนา นั่นก็ด้วยจุดประสงค์เพื่อการได้มาซึ่งความเป็นสิริมงคล จึงอาจไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับเวลาที่ตายตัว แต่สิ่งที่ผู้เขียนได้กระทำการศึกษา หรือตั้งข้อสังเกตคือข้อต่อรองทางชุมชนนี้ได้แปรเปลี่ยนไปอย่างมาก วิถีทางของการต่อรองนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับชุมชนอีกต่อไป จึงเป็นที่มาของคำถามวิจัยที่ว่า "การต่อรองระหว่างสงฆ์และชาวบ้าน ภายใต้พิธีการสวดเบิกได้แปรเปลี่ยนไปอย่างไร และอะไรเป็นตัวกระทำที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น" โดยผู้เขียนจะแบ่งประเด็นศึกษาออกเป็น 3 แนวทางคือศึกษาประวัติของการสวดเบิกในบริบททางประวัติศาสตร์ ที่ได้มีการบันทึกไว้ในตำราและคำบอกเล่า วิเคราะห์ให้เห็นถึงข้อต่อรองทางสังคมระหว่างชุมชนและสงฆ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน วิเคราะห์ให้เห็นถึงจุดเปลี่ยนของพลังการต่อรอง ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นของชาวบ้านกับสงฆ์ และแปรไปเป็นส่วนหนึ่งของพลังการต่อรองแทน ภาคที่ 1 "ความเชื่อ"ล้านนาและพุทธศาสนานั้น ต่างมีสายใยที่ผูกพันกันมาอย่างยาวนาน ความเชื่อและความศรัทธานั้นต่างหยั่งรากลงไปถึงในระดับตัวบุคคล หากกล่าวอีกนัยหนึ่งคือสามารถเข้าไปจัดกระทำต่อการรับรู้ หรือสำนึกของตัวบุคคล อาทิ ความเชื่อเรื่องชุธาตุ[12] พระธาตุประจำปีเกิด ที่ทุกปีหรือในชั่วชีวิตหนึ่งควรต้องไปไหว้สักครั้งในชีวิต หรือแม้กระทั่งการกำหนดกฎข้อห้ามต่างๆขึ้น ภายใต้การกระทำที่เป็นปกติทั่วไป เช่น ห้ามดมดอกไม้ที่จะนำไปบูชาพระ เพราะเชื่อว่าจะทำให้จมูกเน่า[13] การห้ามนี้คงเกิดจากเหตุผลที่กลัวดอกไม้จะช้ำ หรือกลัวเกิดอันตรายจากแมลงที่อาจอยู่ในดอกไม้ ถ้ามองอย่างผิวเผินอาจเข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องปกติโดยทั่วไป หากแต่เรื่องปกติที่มีอยู่ให้เห็นกันอย่างหลากหลายนี้ กลับตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่น่าสนใจ โดยจะกล่าวถึงในลำดับถัดไป ซึ่งแน่นอนว่าความสัมพันธ์ที่ปรากฏให้เห็น ณ ขณะนี้คือ การที่บุคคลหนึ่งๆเลือกที่จะเข้าถึงความเชื่อบางอย่าง และความเชื่อดังกล่าวสามารถส่งผลต่อการกระทำของตัวบุคคลนั้นๆได้ แม้นว่าพุทธศาสนาจะหยั่งรากในสังคมล้านนา นับตั้งแต่สมัยที่วัฒนธรรมทวารวดี ได้ขยายตัวจากเมืองละโว้มาสู่ดินแดนใหม่ แอ่งที่ราบเชียงใหม่ตั้ง"หริภุญไชย"ขึ้น[14] เมื่อนั้นพุทธศาสนาก็ได้ถือกำเนิดและหยั่งรากลงบนแผ่นดิน ที่ภายหลังได้กลายมาเป็นแผ่นดินล้านนาแล้วก็ตาม แต่ทว่าพุทธศาสนาที่ได้ถือกำเนิดบนแผ่นดินล้านนานั้น หาได้เป็นดั่งพุทธศาสนาที่องค์สมเด็จพระศาสดาได้วางรูปแบบไว้ไม่ หากแต่เป็นการผสมปนเอาระหว่างของเก่า(ความเชื่อเดิม) และของใหม่(พุทธศาสนา) เข้าไว้ด้วยกัน และปรับเปลี่ยนให้คล้อยตามแต่ละยุคสมัย หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการเลือกและปฏิเสธนั้นเอง[15] ซึ่งความเชื่อเดิมที่ว่านั้นผู้เขียนได้สรุปรวบ และแยกย่อยไว้อย่างกระชับ เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ อันประกอบไปด้วย 1 ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์ แต่มีอิทธิพลน้อยกว่าศาสนาพุทธ เช่นเรื่องพระอินทร์และเทวดาต่างๆ เชื่อเรื่องเจ้าที่ เป็นต้น 2 ความเชื่อในเรื่องภูตผีปีศาจ เชื่อในผีของบรรพบุรุษซึ่งเรียกว่า "ผีปู่ย่า" เชื่อในผีประจำหมู่บ้าน ผีประจำเมือง ผีประจำสถานที่ต่างๆ และผีที่แฝงในร่างคน เช่น ผีโพง ผีสือ ผีกะ เป็นต้น 3 ความเชื่อในเรื่องโชคลาง ฤกษ์ ลาง คือสิ่งบอกเหตุล่วงหน้า เช่น ข้าวที่นึ่งมีสีคล้ายสีเลือดเป็นลางบอกเหตุร้าย ต้องเอาข้าวนั้นไปตักบาตรและต้องทำพิธีสะเดาะเคราะห์ เป็นต้น[16] หากมองในมุมของความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา มักเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม และการเวียนว่ายตายเกิด แนวความเชื่อในเรื่องศาสนานี้มักมีความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ปะปนเข้ามาด้วย[17] เช่น เชื่อว่ามีสวรรค์เป็นที่อยู่ของเทวดา นรกเป็นที่อยู่ของเปรต เป็นต้น ดังนั้นพิธีกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบูชาเท้าทั้งสี่ สวดเบิก ตั้งกัณฑ์สลาก สืบชะตาคน ฯลฯ ล้วนแต่จัดกระทำขึ้นบนการผสมสานระหว่างพุทธและผี บ้างกระทำเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว บ้างก็กระทำเพื่อให้ผู้ที่ยังอยู่ได้มีชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งล้วนแต่สัมพันธ์กับชีวิตของผู้ที่เชื่อและศรัทธาทั้งสิ้น แม้นว่าการกระทำนั้น จะไม่ได้มีผลโดยตรงต่อชีวิตของผู้กระทำเลยก็ตาม แต่ผลของการกระทำนั้น กลับตอบสนองต่อจิตใจของผู้ที่กระทำเอง[18] เมื่อกล่าวถึง "พิธีการเข้าเบิก" หรือ "สวดเบิก" นั้น จะพบได้ว่าเป็นการผสานเอาความเชื่อระหว่างผี ที่จัดกระทำโดยพุทธ คือใช้พระสงฆ์มาจัดกระทำพิธี การเข้าเบิกของล้านนานั้น ถือได้ว่าเป็นประเพณีอย่างหนึ่ง และแน่นอนว่า การที่จะเป็นประเพณีได้นั้น ย่อมต้องเป็นกิจกรรมหรือพิธีกรรมที่จัดกระทำกันทุกปี[19] และในล้านนาเองต่างกระทำพิธีคล้ายคลึง แต่ไม่เหมือนกัน เช่น การสวดทำนองของพระสงฆ์ในลำปางจะใช้สวดในการสมโภชพระพุทธรูป และเป็นการสวดเบิกในประเพณียี่เป็ง[20] ในแพร่นั้นแทบไม่พบเห็นประเพณีการเข้าเบิกเลย แม้จะถือเป็นประเพณีเก่าแก่ของแพร่ก็ตาม แต่ก็ได้มีการจัดสวดเบิกในปี 2558 ที่ผ่านมา ทว่าก่อนหน้านี้กระทำกันน้อยมาก และมักไม่ได้ทำกันทุกปี โดยจุดประสงค์ของการจัดประเพณีนี้ คือการป้องกันเหตุร้าย ที่จะเกิดกับหมู่บ้าน[21] สิ่งหนึ่งที่สะท้อนออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน ผ่านพิธีสวดเบิกคือ การกระทำเพื่อปกป้องคนในหมู่บ้าน ให้พานพบแต่เรื่องดี ขับไล่สิ่งชั่วร้าย เสมือนหนึ่งว่าเป็นการสืบชะตาให้หมู่บ้าน และเป็นการกระทำพิธี ที่ตั้งอยู่บนความเชื่อเก่าเดิมของชุมชน คือเรื่องเจ้าที่ ผีของบรรพบุรุษ ผีประจำหมู่บ้าน โชคลาง ฤกษ์ยามต่างๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นความเชื่อที่ฝังราก ทั้งยังดำรงอยู่มาก่อนการผสานเข้ากับพุทธศาสนาเสียอีก ดังนั้นเบื้องต้นจะเห็นได้ว่าความเชื่อและพุทธศาสนานั้นต่างมีพลังในการธำรงไว้ซึ่งพิธีกรรมหนึ่งๆ และพิธีกรรมนั้นได้ตอบสนองต่อความต้องการของคน ทั้งในชีวิตประจำวัน และในวาระโอกาสสำคัญ แน่นอนว่าทั้งความเชื่อ และพุทธศาสนาต่างก่อร่างและหลอมรวมกันมาอย่างยาวนาน ในอดีตผู้คนนั้นโหยหาเครื่องยึดเหนี่ยว ไม่ว่าจะทั้งความเชื่อเดิม อันเป็นรากฐานของสังคมในอดีต ก็ล้วนแต่เป็นต้นร่างให้เกิดความต้องการ แนวการดำเนินไปของชีวิต หรือสิ่งช่วยเหลือทางจิตวิญญาณเพื่อให้ชีวิตดำรงต่อไปได้ สุขทั้งทางใจและร่างกาย เมื่อการตอบสนองถูกผสานรวมเข้ากันกับความเชื่อใหม่ คือพุทธศาสนา การเลือกรับเอามาปฏิบัติจึงได้ถือกำเนิดตาม ทั้งศาสนาและความเชื่อ จึงดำรงอยู่ได้ภายใต้การเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และส่งผลให้เกิดการก่อรูปของพิธีกรรมหนึ่งๆ ที่สร้างขึ้นบนความศรัทธาที่มีต่อศาสนาและความเชื่อเดิม สวดเบิก จึงเป็นหนึ่งในพิธีกรรมที่ผสมผสานซึ่งความเชื่อเก่า และพุทธศาสนา เข้าไว้ด้วยกัน รูปแบบของการสวดเบิกเป็นไปเพื่อลดทอน หรือสร้างความสุขทางใจต่อผู้คนในชุมชน ลดทอนความกังวลที่มีต่ออนาคตข้างหน้าที่ไม่อาจหยั่งรู้ได้ การสวดเบิกก็เพื่อขจัด หรือสกัดภัยอันตรายที่จะเกิดต่อหมู่บ้าน จึงเป็นสิ่งที่ผสานเอาทั้งความเชื่อในเรื่องโชคลาง หมายรวมถึงฤกษ์ยามที่ต้องกระทำในเวลาค่ำมืดอีกด้วย ซึ่งทุกอย่างต้องดำเนินไปควบคู่กัน อาจเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ในการกระทำพิธี หรือเพื่อเป็นการกำหนดหมุดหมายเป้าประสงค์ของพิธีให้ชัดแจ้ง เผื่อว่าชนรุ่นต่อไปจักได้กระทำพิธีให้ต้องตามแบบที่เคยดำรงอยู่ แต่กระนั้น "ความเชื่อ" ดังกล่าว ก็ได้หยั่งรากฝังลึกอยู่ในวิถีของชุมชน ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีรูปแบบที่แปรเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม แต่ในยุคสมัยหนึ่งๆ รูปแบบแม่บทดังกล่าวก็เคยเป็นต้นร่าง ให้กับชุมชนคนล้านนาได้กระทำพิธีดั่งว่าสืบต่อมานับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน | |
Posted: 27 Apr 2017 04:29 PM PDT อยากสุขสันต์กันไหมจ๊ะพี่น้อง ตรงกลางลานพระบรมรูปทรงม้า ยืนยันเถิดท่านพยานวันเกิดเหตุ พลเมืองแจ้งความโดนหามกลับ เสด็จพ่อเมตตาบอกข้าเถิด
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น