โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

นิธิ เอียวศรีวงศ์: อพยพในประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ

Posted: 15 Nov 2017 10:13 AM PST



ประวัติหรือเรื่องราวของคนส่วนใหญ่ในเผ่าใดเผ่าหนึ่ง ที่พูดภาษาเดียวกันหรือใกล้กัน อพยพเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่ง ไปตั้งภูมิลำเนาอีกที่หนึ่ง มีอยู่มากในหมู่ชาวยุโรปหรืออินโดยุโรป บางครั้งก็เป็นการย้ายภูมิลำเนาไปไกลจากแหล่งเดิมจนทำให้กลายเป็นคนละภูมิอากาศและภูมิประเทศไปโดยสิ้นเชิงทีเดียว

เรื่องอพยพโยกย้ายในความจำของชาวตะวันตก เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มาถึงสมัยประวัติศาสตร์ จนดูเป็นปรกติธรรมดา

ว่ากันว่าพวกกรีกเดิมมีภูมิลำเนาอยู่ฝั่งเอเชียไมเนอร์ ขยับย้ายไปตั้งบ้านเมืองอยู่ในแหลมบอลข่าน จากนั้นก็กระจายไปตามเกาะแก่งและชายฝั่งอีกหลายแห่งบนคาบสมุทรอิตาลี ไล่มาถึงการตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์, อเมริกาเหนือและใต้ รวมถึงแอฟริกาใต้และออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ทั้งหมดนี้ต้องรวมเอาการอพยพคืนถิ่นของพวกยิวภายใต้การนำของโมเสสด้วย แม้ไม่ใช่ชาวยุโรป แต่เรื่องดังกล่าวเป็นที่นับถือในหมู่ฝรั่งมานาน

อาจเป็นเพราะการอพยพโยกย้ายฝังลึกอยู่ในจินตนาการเกี่ยวกับอดีตของคนตะวันตก บวกกับความก้าวหน้าทางวิชาการด้านภาษาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้นักวิชาการของระบบอาณานิคมสามารถเห็นความเชื่อมโยงระหว่างชนชาติต่างๆ ในเอเชีย ซึ่งอาจตั้งภูมิลำเนาอยู่ห่างไกลกันสุดกู่ คำอธิบายว่าทำไมคนกลุ่มต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นญาติกันทางภาษาได้ จึงมักเป็นเรื่องการอพยพเคลื่อนย้ายอย่างใหญ่อยู่บ่อยๆ

ผมไม่ได้หมายความว่าการอพยพเคลื่อนย้ายเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นจริงนะครับ อาจเกิดขึ้นจริงก็ได้ โดยเฉพาะในหมู่พวกอินโดยุโรปและเซมิติก เพราะอาชีพดั้งเดิมของคนเหล่านี้คือการล่าสัตว์ขนาดใหญ่ (ไม่ใช่จิ้งกุ่ง, แมงอีนูน, กะปอมและกระรอก หรือหอย กุ้ง ปลา) และการเลี้ยงสัตว์ โดยอาชีพก็ต้องอพยพเคลื่อนย้ายเป็นประจำอยู่แล้ว

แต่ที่น่าประหลาดก็คือ ในตำนานต้นกำเนิดของคนเอเชียโดยส่วนใหญ่มักไม่มีการอพยพโยกย้ายมากนัก ชาติพันธุ์เอเชียโดยส่วนใหญ่คิดว่าตัวก็อยู่ของตัวมาในดินแดนที่กลายเป็นประเทศชาติในปัจจุบัน ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะเราไม่มีความรู้ด้านภาษาศาสตร์, โบราณคดี และชาติพันธุ์วรรณนาเท่าฝรั่งก็ได้ แต่ผมคิดว่าเหตุผลที่สำคัญกว่าอยู่ตรงที่ว่า รัฐในเอเชียไม่ได้นิยามความเป็นพลเมืองหรือข้าราษฎรของตนจากชาติพันธุ์ ฮ่องเต้จีนนั้นรู้อยู่เต็มอกว่า ราษฎรทางตอนใต้ของแม่น้ำแยงซีคือชาวพื้นเมืองที่ถูกกลืนเป็นจีนในภายหลัง แต่เขายอมรับอารยธรรมจีนไม่ต่างจากชาวฮั่นในลุ่มน้ำเหลือง ดังนั้น เขาก็เป็นราษฎรของฮ่องเต้เท่ากัน

รัฐชาติสมัยใหม่ที่เริ่มในตะวันตกก่อนต่างหาก ที่เอาเชื้อชาติไปผูกกับความเป็นพลเมือง กลายเป็นธุระของข้าราชการอาณานิคมที่ต้องรายงานว่าใครเป็น "เชื้อชาติ" อะไร และเป็นญาติกับ "เชื้อชาติ" อะไรอีกบ้าง รวมทั้งคาดเดาว่าใครอพยพมาจากบ้านเดิมที่ไหน และด้วยเหตุดังนั้น บ้านเดิมของคนเอเชียจึงต้องอยู่ที่อื่น ไม่ใช่บ้านที่ตัวอยู่ทั้งนั้น มอญ-เขมรน่าจะมาจากอินเดีย เพราะยังมีคนที่เรียกว่ามุณฑ์ พูดภาษาที่เนื่องกับภาษามอญที่นั่น (ทำไมไม่คิดกลับกันว่าพวกมุณฑ์ต่างหาก ที่อพยพจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังอินเดีย ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน) ว่ากันว่า บ้านเดิมของมลายู-อินโดนีเซีย, พม่า และไทย ต่างมีบ้านเดิมอยู่ทางตอนเหนือ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศจีน แล้วก็อพยพเคลื่อนย้ายลงมาแย่งบ้านคนอื่นเขาอยู่ในเวลาต่อมา

แต่ก็ดังที่กล่าวแล้วว่า ส่วนใหญ่ของตำนานกำเนิดคน, กำเนิดรัฐ, หรือกำเนิดสังคมของคนเอเชีย ไม่ได้กล่าวถึงการอพยพ ก็อยู่ต่อๆ กันมาในที่ซึ่งอยู่ในปัจจุบัน

ผมเข้าใจว่า ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีคนอยู่สองพวกเท่านั้นที่มีตำนานเกี่ยวกับการอพยพจากที่อื่น เข้ามาอยู่ในบ้านที่ตัวอยู่ปัจจุบัน

พวกแรกที่ผมไม่แน่ใจนักว่าใช่ก็คือชาวชวา-บาหลี เล่าถึงบรรพบุรุษที่เป็นเทพจากทะเล ซึ่งแปลว่ามาจากนอกเกาะ แต่ตำนานอย่างนี้จะบอกว่าเกี่ยวกับการอพยพก็ไม่ค่อยชัดนัก เพราะในหมู่ประชาชนออสโตรนีเชียน-โพลีนีเชียน อีกฝั่งโพ้นของทะเลคือที่อยู่ของบรรพบุรุษ ตำนานอาจจะบอกเพียงว่า คนที่นำความเจริญมาให้ก็คือผีบรรพบุรุษเท่านั้นเองก็ได้

พวกที่สองซึ่งผมมั่นใจมากกว่าก็คือพวกไท-ไต-ไทย-ลาวนี่แหละ ตำนานของคนกลุ่มนี้ล้วนเป็นเรื่องของการอพยพทั้งนั้น บางกลุ่มบอกปีได้เลยว่า กษัตริย์องค์นั้นองค์นี้ยกทัพข้ามภูเขาปาดไก่ในปีอะไร ตำนานขุนบรมของล้านช้าง ก็อ้างกำเนิดที่นาน้อยอ้อยหนูในเวียดนามปัจจุบัน ซ้ำยังพูดถึงเรื่องส่งลูกส่งหลานไปเที่ยวครองเมืองโน้นเมืองนี้กว้างใหญ่ไพศาลออกไป เช่นเดียวกับตำนานเมืองของพวกไทในสิบสองจุไท ก็เต็มไปด้วยเรื่องการยกทัพไปเที่ยวชิงเมืองของคนอื่น หรือตั้งเมืองใหม่ขยายออกไป

พงศาวดารเหนือหรือตำนานอีกเรื่องหนึ่ง พูดถึงการอพยพโยกย้ายของเจ้านายเมืองเชียงแสนลงมาแถบกำแพงเพชร แล้วลูกหลานก็เลยมาตั้งเมืองอยุธยา กลายเป็นคนไทยภาคกลาง คนอีสานมีตำนานท้องถิ่นเล่าถึงการอพยพโยกย้ายมาจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงไม่นานมานี้เอง มีแต่คนภาคใต้เท่านั้นที่ไม่มีตำนานเรื่องอพยพโยกย้าย

ทั้งหมดนี้ ผมอยากให้เอาไปเปรียบกับพม่าและเวียดนาม ซึ่งตำนานและสำนึกทางประวัติศาสตร์ของเขาคืออยู่ที่นั่นตลอดมา ไม่ได้อพยพมาจากไหนทั้งสิ้น

ตํานานและพงศาวดารพม่าเล่าถึงประชาชนหลากหลายจำพวกที่อยู่ในลุ่มอิระวดีตอนกลางร่วมกับชาวพม่า แต่ไม่ได้บอกว่าชาวพม่ามาจากไหน มีแต่ราชวงศ์ของพม่าเท่านั้นที่ไม่ใช่คนพื้นถิ่น แต่เป็นศากยวงศ์จากอินเดีย หลบหนีความยุ่งยากทางการเมืองเข้ามาตั้งบ้านเมืองเหนือประชาชนพื้นเมืองในพม่า ไม่ใช่เฉพาะแต่ราชวงศ์แรกเท่านั้นนะครับ ทุกราชวงศ์สืบมาจนถึงราชวงศ์กอนบอง ซึ่งเขียนพระราชพงศาวดารใหม่เพื่อชี้ว่า พระเจ้าอลองพญาก็เป็นเชื้อวงศ์กษัตริย์พุกาม ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากศากยวงศ์เหมือนกัน

พระเจ้าแผ่นดินพม่าจึงประกาศชัดเจนว่า ไม่ได้เป็นคนในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกับข้าราษฎรของพระองค์ และเป็นกลุ่มเดียวในสังคมพม่าที่มีตำนานการอพยพโยกย้าย ส่วนประชาชนชาวพม่าล้วนอยู่ในพื้นที่ตลอดมา แม้มีหลากหลายกลุ่มในสมัยพุกาม แต่ก็ผสมปนเปกันจนกลายเป็นพม่าไปหมดแล้ว

การจัดองค์กรทางสังคมของพม่าวางอยู่บนการจัดกลุ่มคนไว้ในกลุ่มตระกูล ชีวิตจะได้ดีหรือตกยากก็ขึ้นอยู่กับชะตากรรมของสมาชิกในกลุ่มตระกูลของตัว บางกลุ่มตระกูลอาจมีสมาชิกไม่มาก เป็นหนึ่งในกลุ่มตระกูลของหมู่บ้าน บางกลุ่มตระกูลอาจใหญ่ครอบคลุมคนทั้งหมู่บ้าน หรือทั้งตำบล หรือหลายๆ ตำบลไปทั่วอาณาเขตของเมืองใหญ่ไปเลย แม้ไม่บังคับเด็ดขาด แต่ถือเป็นธรรมเนียมว่า คนควรเลือกหาคู่จากคนในกลุ่มตระกูลเดียวกัน (แน่นอนไม่ใช่พี่น้องร่วมท้องหรือร่วมพ่อเดียวกัน ยกเว้นกษัตริย์) (ดู Thant Myint U, The Making of Modern Burma)

นี่เป็นเหตุผลให้คนพม่ายิ่งรู้สึกถึงความต่างระหว่างตนเองกับเจ้านายอย่างมาก เพราะนอกจากร่วมวงศ์พระพุทธเจ้าแล้ว ยังสืบสาโลหิตในกลุ่มตระกูลที่นับเป็นราชตระกูลเสียอีก (อย่างน้อยโดยทฤษฎี) เป็นทั้งคนละชนชั้น และคนละชาติพันธุ์

ตํานานของเวียดนามก็เช่นเดียวกัน จะว่าประชาชนเวียดนามคือชาวเยว่ ซึ่งเคยอยู่ใต้แม่น้ำแยงซีมาทางตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้ แต่คำนี้ไม่มีความหมายอะไร เพราะจีนใช้เรียกคนที่ไม่ใช่ฮั่นในตอนใต้ทั่วไปหมด เยว่จึงรวมคนไม่รู้จะกี่ชาติกี่ภาษา ที่อยู่คนละกลุ่มตระกูลภาษาก็ถูกเรียกเยว่เหมือนกัน เช่น บรรพบุรุษของคนเวียดนามพูดภาษาในกลุ่มออสโตเอเชียติคเหมือนมอญ-เขมร บรรพบุรุษไทยพูดภาษาในกลุ่มตระกูลไท-กะได แต่ต่างถูกจีนเรียกรวมๆ ว่าเยว่หมด

พวกเยว่ที่อยู่ในกวางสี-กวางตุ้ง-ฮกเกี้ยน เคยขับไล่อำนาจจีนออกไปแล้วสถาปนาอาณาจักรของตนเองขึ้น บางครั้งเจ้าประจำถิ่นในเวียดนามก็ยอมขึ้นต่ออาณาจักรของเยว่ในจีน บางครั้งก็ไม่ยอม สมัครใจจะสวามิภักดิ์จีนต่อไป แต่ในที่สุดแล้วจีนก็ผนวกเอาทั้งกวางสี-กวางตุ้ง-ฮกเกี้ยนและตังเกี๋ยหรือลุ่มน้ำแดง-ดำเข้าไว้ในจีนหมด

ตำนานกำเนิดเวียดนามพูดถึงการร่วมวงศ์ของเทพจากภูเขาและเทพจากทะเล แต่ก็ไม่ได้ส่อเรื่องราวของการอพยพมากไปกว่าการรวมกันของพลังอำนาจในเขตภูเขาด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และลุ่มแม่น้ำแดงตอนล่างซึ่งติดทะเล อันเป็นแก่นของเรื่องต้นกำเนิดประชาชาติเวียดนาม

เมื่อเปรียบเทียบตำนานของพวกไทในสิบสองจุไทกับของเวียดนามแล้ว ตำนานของพวกไทเต็มไปด้วยเรื่องของการอพยพเคลื่อนย้ายของชนชั้นปกครอง ในขณะที่ตำนานของเวียดนามไม่ปรากฏ ยกเว้นการขยายตัวของจีน เข้าไปตั้งเมืองใหม่เพิ่มมากขึ้นในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง เพราะความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการเกษตรที่จีนนำเข้ามา เมื่อเวียดนามขับไล่อำนาจจีนออกไปได้ หว่างเด๊ของเวียดนามก็ย้ายเมืองหลวงมาสร้างที่ธังลงหรือฮานอยปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่าศูนย์อำนาจของเวียดนามขยับจากเขตลาดเขาลงมาอยู่บนพื้นราบใกล้ทะเล และศูนย์อำนาจของรัฐในเวียดนามก็จะตั้งอยู่ในทำเลเช่นนี้สืบมาจนปัจจุบัน เป็นเรื่องของการขยับศูนย์อำนาจมากกว่าอพยพโยกย้าย (Keith W. Taylor, The Birth of Vietnam)

โดยสรุปก็คือคนไทยเป็นพวกเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป ที่มีการอพยพเคลื่อนย้ายเป็นเรื่องใหญ่ในความทรงจำ ในขณะที่คนเวียด, คนเขมร, คนพม่า, คนกะเหรี่ยง, คนมอญ (ที่ยังอยู่ในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี) ไม่มีความทรงจำอะไรเกี่ยวกับการอพยพโยกย้ายมาจากที่อื่นเลย

ผมขอย้ำอีกครั้งว่า ทั้งนี้ว่ากันตามตำนานและความเชื่อนะครับ ไม่ใช่ความเห็นของนักวิชาการที่มองจากภาษาศาสตร์และชาติพันธุ์วรรณนา

อย่างไรก็ตาม แม้แต่การอพยพโยกย้ายของพวกไท-ไต-ไทย-ลาวที่ปรากฏในตำนาน ก็ไม่ใช่การอพยพโยกย้ายประชากรจำนวนมากๆ จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง แต่เป็นการเคลื่อนย้ายของชนชั้นนำ ซึ่งมักมีอำนาจทางการเมืองที่ตั้งมั่นอยู่ในเมืองใดเมืองหนึ่งแล้วหนุนหลัง (เช่น เมืองของพระราชบิดา) ซ้ำที่ใหม่ซึ่งเคลื่อนย้ายไปก็หาได้เป็นป่าดงพงพีซึ่งไม่มีใครอยู่ไม่ แต่เป็นถิ่นที่อยู่หรือเป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศน์เพื่อการดำรงชีพของคนกลุ่มอื่นอยู่แล้ว และน่าจะมีจำนวนประชากรมากกว่าพวกที่อพยพไป แต่เนื่องจากความเหนือกว่าสองด้านของพวกไทย คือเทคโนโลยีการเกษตรอย่างหนึ่ง และการจัดกำลังทัพอีกอย่างหนึ่ง ทำให้ในที่สุดคนพื้นเมืองก็เลือกจะเข้ามาอยู่ใน "ระบบ" สังคมและการเมืองของพวกไทย กลายเป็นข้าไพร่ของเจ้าไทย ยึดถืออัตลักษณ์อย่างเดียวกับพวกที่อพยพลงมา

ภาพการอพยพของตำนานเหล่านี้ ตรงกับทฤษฎีเกี่ยวกับการอพยพของนักวิชาการรุ่นใหม่ มากกว่าภาพของการหลั่งไหลเป็นสายน้ำที่ต่อเนื่องกันอย่างไม่หยุดหย่อนอย่างภาพการอพยพของนักวิชาการรุ่นก่อน

ถึงรัฐหรือสังคมที่ไม่ได้อพยพมาจากไหน ก็ไม่ต่างกันในแง่นี้ เพราะดินแดนที่เป็นเอเชียอาคเนย์นั้นมีคนเดินผ่านไปมา และตั้งรกรากหากินอยู่หลายพวกหลายเผ่ามาแต่ดึกดำบรรพ์ก่อนประวัติศาสตร์ แล้วแต่ใครจะมองเห็น "ช่องว่าง" (niche) ทางนิเวศที่เหมาะกับการดำรงชีวิตของตัว เมื่อชนชั้นนำกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นคนในพื้นที่หรืออพยพโยกย้ายมาจากไหน สามารถสถาปนาอำนาจทางการเมืองขึ้นได้ โดยเฉพาะรับเอาอารยธรรมจากภายนอกที่เหนือกว่าไว้ได้มาก ก็จะทำให้คนพื้นถิ่นเดิมอีกหลายเผ่าหลายพันธุ์ ค่อยๆ รับวัฒนธรรมของชนชั้นนำ จนกลายเป็นพวกเดียวกันไปในที่สุด

จึงไม่เฉพาะแต่คนไทยเท่านั้นที่ถูกนักวิชาการเรียกว่า "ร้อยพ่อพันแม่" พม่าและเวียดนาม (เป็นอย่างน้อย) ก็เหมือนกัน ทั้งนี้ ยังไม่นับการอพยพเข้าของคนจากเกือบทั่วโลกในสมัยประวัติศาสตร์ ที่ยังทิ้งเชื้อสายของตนไว้ในสังคมทั้งสามของอุษาคเนย์

สำนึกหรือความทรงจำที่ต่างกันระหว่างคนไทย, คนเวียดนาม และคนพม่าในเรื่องนี้ ทำให้เกิดความต่างอะไรหรือไม่ในทัศนคติทางการเมือง (หรือเศรษฐกิจ, สังคม, วัฒนธรรม) ของคนสามพวกนี้ ผมตอบไม่ได้

แต่มีความแตกต่างระหว่างรัฐทั้งสามในเรื่องท่าทีต่อเพื่อนบ้าน ผมคิดว่ามีแต่ไทยเท่านั้นที่ระแวงเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกันอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นพม่าทางตะวันตกหรือเวียดนามทางตะวันออก ในขณะที่ทั้งพม่าและเวียดนามไม่ระแวงไทยเหมือนอย่างที่ไทยระแวงสองชาตินั้น จะว่าเพราะประวัติศาสตร์ที่เคยทำสงครามกันมา ก็ถ้าอย่างนั้นสงครามในประวัติศาสตร์ก็น่าจะสร้างความระแวงให้พม่าและเวียดนามเหมือนกัน

สองชาตินั้นระแวงเพื่อนบ้านเหมือนกันคือระแวงจีน เพราะทั้งสองชาติเคยถูกรุกรานและยึดครองจากจีนมาหลายครั้งหลายหนในอดีต และถึงอย่างไรใครที่มีพรมแดนติดกับยักษ์ใหญ่อย่างจีน ก็คงไม่สบายใจนักอยู่ดี อย่างเดียวกับที่กัมพูชาและลาวย่อมระแวงทั้งไทยและเวียดนามเหมือนกัน

แต่ความแตกต่างดังกล่าวนี้เป็นผลมาจากความทรงจำที่ต่างกันว่า ไทยรู้สึกเป็นคนแปลกหน้าในบ้านตนเอง ในขณะที่สองชาตินั้นรู้สึกเป็นเจ้าบ้านเต็มตัว ใช่หรือไม่ ผมไม่ทราบ

 

ที่มา: www.matichonweekly.com

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

SLAPPs การฟ้องปิดปากหลังรัฐประหาร 2557(1)

Posted: 15 Nov 2017 09:53 AM PST

 

ความหมายและขอบเขตการฟ้องร้องดำเนินคดีในลักษณะ SLAPPs

1. ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประเทศไทยมีอัตราการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะวิธีการดำเนินคดีโดยรัฐเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการต่อต้านและการวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของรัฐบาล คสช.ที่ยึดอำนาจการปกครองด้วยวิธีการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยอ้างว่ามีความจำเป็นต้องขจัดปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง และปราบปรามผู้ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ

2.ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ผู้ที่แสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกด้วยวิธีการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นทางการเมืองหรือไม่ก็ตาม มักจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีโดยรัฐ ทั้งอาศัยฐานความผิดที่มีโทษทางอาญาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่แล้ว หรือโดยอาศัยคำสั่งและประกาศของที่คณะรัฐประหารออกมาเอง ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมิให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหรือผลการกระทำของรัฐบาล

3.มาตรการข้างต้นนอกจากรัฐบาลแล้ว ในภาคธุรกิจที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับโครงการพัฒนาต่างๆ ก็ยังใช้มาตรการเดียวกันเข้ามาจัดการยับยั้งขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเช่นกัน ซึ่งถูกนำมาใช้มากกับกลุ่มนักเคลื่อนไหวประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสานและภาคใต้

4.ดังนั้น การทำความเข้าใจมาตรการของรัฐในการควบคุมเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรือการแสดงออกของประชาชน และมาตรการของภาคธุรกิจที่ใช้ในการตอบโต้ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจควบคู่ไปกับสถานการณ์ในยุคปัจจุบันที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองของคณะรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร เพื่อให้ทราบว่ากลไกอันเป็นกฎหมายใดที่รัฐใช้เพื่อควบคุมการใช้สิทธิในเสรีภาพดังกล่าวของประชาชนและการยับยั้งนั้นมีผลต่อผู้ถูกกล่าวหาตลอดทั้งครอบครัวและสังคมในประเด็นใดบ้าง

5.ผู้เขียนพบว่า ยุทธศาสตร์หนึ่งของการฟ้องร้องดำเนินคดีในรูปแบบที่เป็นการปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะหรือปิดปากไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์ หรืออีกนัยหนึ่งคือการใช้กระบวนการทางกฎหมายควบคุมการใช้เสรีภาพในการแสดงความเห็นหรือแสดงออก ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกว่า Strategic Lawsuits Against Public Participation หรือ SLAPPs เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ผู้กระทำมีทั้งรัฐและภาคเอกชน วิธีการนี้มักถูกนำมาใช้กับผู้ที่เรียกร้องสิทธิ ไม่ว่าเป็นองค์กรภาคประชาสังคม (NGOs) ปัจเจกบุคคล หรือกลุ่มคนที่ต้องการสื่อสารประเด็นที่เป็นประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) เช่น การทำกิจกรรมของผู้ที่แสดงความคิดเห็นหรือการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาล การแสดงความคิดเห็นต่อโครงการพัฒนาของรัฐและการต่อต้านโครงการอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

 


ภาพกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดฯ ชูป้ายไม่ยอมรับ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ

6.ตัวอย่างการศึกษา SLAPPs ในต่างประเทศ เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา นักวิชาการอย่าง Pring และ Canan พบว่า SLAPPs เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงหลังทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา[1] โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโจมตีการทำกิจกรรมทางการเมืองที่ก่อให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง เช่น การเดินขบวนประท้วง (Demonstrations) การบอยคอตหรือการคว่ำบาตร (Boycotts) และการรณรงค์ประชามติเรื่องสิทธิการเลือกตั้ง (Referendum Elections)[2] เป็นต้น

7.เมื่อขอบเขตของการฟ้องร้องดำเนินคดีในลักษณะ SLAAPs มีความหลากหลายจึงทำให้การนิยามความหมายของ SLAPPs เป็นเรื่องยาก เพราะไม่มีเกณฑ์ตายตัวในการชี้วัดว่าคดีความที่เกิดขึ้นเป็น SLAPPs หรือไม่ ดังนั้นการพิจารณาอาจดูได้จากแรงจูงใจของคำฟ้อง ซึ่งบ่งบอกเป็นนัยยะว่าลักษณะของการฟ้องคดีมีเป้าหมายเกี่ยวกับการทำให้หยุดแสดงออกทางการเมืองหรือยับยั้งการต่อสู้ทางการเมืองหรือการพูดประเด็นสาธารณะ[3]ใช่หรือไม่และอย่างไร

8.สถานการณ์การฟ้องร้องดำเนินคดีในประเทศไทยที่อาจนำมาเทียบเคียงว่าอยู่ในความหมายและขอบเขตของการฟ้องร้องดำเนินคดีในลักษณะ SLAAPs ได้ มักเกิดกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ที่แม้กลุ่มดังกล่าวจะให้ความหมายของการต่อสู้เรียกร้องในกลุ่มตนที่แตกต่างกัน เช่น การต่อสู้ด้านสิทธิพลเมืองและด้านการเมือง ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านป่าไม้ที่ดิน ชุมชนดั้งเดิมและวัฒนธรรม หรือประเด็นอื่น แต่ส่วนใหญ่แล้วบุคคลหรือกลุ่มคนดังกล่าวก็มักต่อสู้ด้วยวิธีการพูดหรือการเปล่งเสียง (Speaking Out) ให้ดัง ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้คนในสังคมทั่วไปได้รับรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นและมุ่งต่อสู้ประเด็นปัญหาของตัวเองให้ได้รับการแก้ไขจากรัฐ แม้กระบวนการเหล่านั้นจะชี้ให้เห็นว่า รัฐเป็นตัวกำหนดหรือควบคุมอำนาจที่ครอบคลุมทุกปัญหาในระดับโครงสร้างทางการเมือง แต่การที่คนหรือกลุ่มคนที่ออกมาเรียกร้องถูกปิดปากโดยผู้ถูกกล่าวหาใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือ แต่นอกจากรัฐที่เป็นผู้กระทำแล้วยังรวมถึงบริษัทเอกชนที่อาจสูญเสียประโยชน์และขาดความน่าเชื่อถือในทางธุรกิจจากการร้องเรียนหรือการพูดถึงข้อเท็จจริงของผู้ได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการในชุมชน[4] จึงสามารถสรุปได้ว่า การฟ้องร้องดำเนินคดีในลักษณะ SLAPPs ก็เกิดขึ้นกับบุคคลหรือกลุ่มกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมประเทศไทยเช่นกัน


ตัวอย่างการใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการฟ้องร้องดำเนินคดีลักษณะ SLAPPs

9.เมื่อความหมายและขอบเขตของการฟ้องร้องดำเนินคดีในลักษณะ SLAPPs แสดงให้เห็นวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของผู้กล่าวหาว่ากระทำเพื่อการแก้แค้นหรือข่มขู่ด้วยการลงโทษผู้ที่มีความคิดเห็นต่อต้านหรือไม่เห็นด้วยทางการเมืองซึ่งเป็นขั้วตรงข้าม หรือเพื่อยับยั้งการอภิปรายข้อบกพร่องของการดำเนินการที่กระทบต่อประโยชน์สาธารณะหรือต่อสังคม โดยเฉพาะในประเด็นสิ่งแวดล้อมและการต่อต้านโครงการพัฒนา อันนำมาสู่การถูกฟ้องคดีโดยการใช้ศาลเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งไม่ให้พูด โดยผู้ฟ้องอาจเพียงแค่ต้องการให้เกิดภาระทางคดีแก่ผู้ถูกฟ้องแต่ไม่ได้หวังผลชนะในทางคดี[5]

 


ภาพกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดหน้าศาลจังหวัดเลย

10.ตัวอย่างการฟ้องร้องหรือการดำเนินคดีในลักษณะ SLAPPs เช่น ผู้กล่าวหาแจ้งความในความผิดฐานหมิ่นประมาท (Defamation) ต่อผู้ถูกกล่าวหาว่ามีการกล่าวใส่ร้ายป้ายสีและยโดยอ้างถึงข้อความหรือรูปภาพที่ผู้ถูกกล่าวหาเผยแพร่ทำให้ผู้กล่าวหาเสียหาย การดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับการละเมิดทางธุรกิจหรือทางการค้า (Business Torts) ซึ่งผู้กล่าวหาอ้างว่าผู้ถูกกล่าวหาเข้ามาแทรกแซงการดำเนินกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น วิพากษ์วิจารณ์สินค้า (Product Disparagement) หรือวิจารณ์กระบวนการผลิตสินค้าในทางลบ นอกจากนี้ยังมีการดำเนินคดีในความผิดเกี่ยวกับการละเมิดในทางบริหารงานยุติธรรม (Judicial-Administrative Torts) เช่น ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และความผิดในฐานที่เกี่ยวพันกับความมั่นคงของชาติอย่างความผิดเกี่ยวกับการสมรู้ร่วมคิด ยุยงปลุกปั่น หรือก่อกบฏ (Conspiracy) หรือฐานความผิดอื่นที่มีโทษทางอาญา เช่น (Miscellaneous Wrongs) เช่น ก่อกวนให้เกิดความรำคาญ (Nuisance) หรือบุกรุก (Invasion of Privacy) เป็นต้น[6]

11.ในประเทศไทย ปราฏการณ์การฟ้องร้องดำเนินคดีในลักษณะ SLAPPs เริ่มเกิดขึ้นหลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีผลใช้บังคับ แต่เพิ่มมากขึ้นภายหลังปี 2556 ส่วนใหญ่พบในคดีที่เกี่ยวพันกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิแรงงานและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทหรือกลุ่มทุนมักเป็นโจทก์ในการฟ้องคดีนักวิจัย นักเคลื่อนไหวหรือแม้แต่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการดำเนินงานของบริษัทให้ตกเป็นจำเลยในความผิดฐานบุกรุกหรือฐานหมิ่นประมาทจากการเผยแพร่รูปภาพหรือข้อความอันอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายหรือเสียชื่อเสียง เช่น กรณี นายอานดี้ ฮอลล์ (Mr.Andy Hall) นักวิจัยด้านสิทธิแรงงาน ได้เขียนงานวิจัยที่มีเนื้อหาว่าบริษัทเนเชอรัล ฟรุต จำกัด (Natural Fruit Co., Ltd.) จ้างแรงงานเด็กด้วยค่าจ้างที่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดในโรงงานผลไม้กระป๋อง ต่อมานายอานดี้ถูกทางบริษัทดังกล่าว ฟ้องด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาทและพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 รวมถึงเรียกค่าเสียหายในคดีแพ่งกว่า 32.1 ล้านบาท[7] หรือกรณีกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด กลุ่มชาวบ้านที่คัดค้านการทำเหมืองแร่ทองคำในจังหวัดเลย ถูกบริษัท ทุ่งคำ จำกัดที่ประกอบกิจการเหมืองแร่ฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งหมดกว่า 20 คดี ประกอบด้วยความผิดฐานบุกรุกจากการก่อสร้างสิ่งกีดขวางบนถนน ความผิดฐานหมิ่นประมาทจากการให้สัมภาษณ์ทางสถานีโทรทัศน์ ความผิดเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลเท็จเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการรวมทั้งยังฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีแพ่งรวมกว่า 320 ล้านบาท[8] เป็นต้น


ชาวบ้านเดินทางมาให้กำลังใจระหว่างการพิจารณาคดีที่ศาลพระโขนงของ Mr.
Andy Hall)

12.หลังจากการรัฐประหารในช่วงกลางปี 2557 เป็นต้นมา คสช. ออกประกาศและคำสั่งหลายฉบับและใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินคดีกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งจัดกิจกรรมทางการเมืองหรือผู้ที่แสดงความคิดเห็นต่อต้าน คสช. เช่น ประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 เรื่อง ห้ามชุมนุมทางการเมือง คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ หรือการใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้วมาใช้เช่น ใช้ความผิดฐานยุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 กับผู้ที่ออกมาวิจารณ์รัฐบาล หรือการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะถูกดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ (Lèse Majesté) ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งต้องขึ้นสู่การพิจารณาคดีของศาลทหารทั้งสิ้น[9]

13.ท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการใช้คำสั่งและประกาศบางฉบับในลักษณะจำกัดการใช้สิทธิอย่างสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออกและแสดงความคิดเห็น หรือสิทธิในการเข้าไปมีส่วนร่วมในรัฐกิจ การออกเสียง หรือการรับการเลือกตั้ง ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการนำพาและวางรากฐานประเทศเข้าสู่การปกครองในระบอบประชาธิไตย เหตุผลส่วนหนึ่งที่กฎหมายเหล่านั้นสามารถทำหน้าที่เป็นกลไกอย่างดีในกระบวนพิจารณาคดีซึ่งมีผลยับยั้งผู้ที่ใช้สิทธิดังกล่าว ก็เพราะว่าการกระทำในนามของกฎหมายโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามคำสั่งหรือประกาศนั้น ได้รับการยกเว้นจากการถูกตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายโดยศาล ผู้ถูกกล่าวหาจึงต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่หลายครั้งก็ล่าช้าและยังมีปัญหาถึงมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในหลายประการ

14.ปัจจุบัน ด้วยผลของการบังคับใช้คำสั่ง ประกาศและกฎหมายดังกล่าว ทำให้มีผู้ถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนคำสั่งหรือประกาศหรือถูกดำเนินคดีด้วยฐานความผิดตามที่กำหนดไว้ในคำสั่งหรือประกาศ หรือแม้แต่ถูกดำเนินคดีด้วยฐานความผิดเกี่ยวกับการความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลซึ่งเก็บรวบรวมโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) พบว่ามีผู้ถูกจับกุมช่วงระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2560 อย่างน้อย 597 คน มีผู้ถูกดำเนินคดีในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อย่างน้อย 82 คน และมาตรา 116 อย่างน้อย 64 คน ส่วนพลเรือนซึ่งต้องขึ้นศาลทหารประมาณ 300 คน และยังมีกิจกรรมที่ถูกปิดกั้น-แทรกแซงอย่างน้อย 152 ครั้ง

15.นอกจากนี้ ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหาและจำเลยในกลุ่มคดีดังกล่าว อย่าง นางสาวศิริกาญจน์ เจริญศิริ ที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวหาว่าไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจากการปฏิเสธไม่ยินยอมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจค้นรถยนต์เพื่อหาสิ่งของของลูกความไปใช้เป็นพยานหลักฐาน[10]และถูกกล่าวหาว่าทำการยุยงปลุกปั่นให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน[11] จากการปฏิบัติหน้าที่ทนายความอีกด้วย ซึ่งผู้เขียนมองว่าการดำเนินคดีดังกล่าวเป็นการขัดต่อหลักการพื้นฐานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยบทบาทของทนายความ (UN Basic Principles on the Role of Lawyers) อย่างร้ายแรง

 


ภาพ น.ส.ศิริกาญจน์ เจริญศิริหลังจากเข้ารับทราบข้อกล่าวหา

16.ผลจากการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในลักษณะ SLAPPs ดังกล่าว ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ถูกกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยผู้ถูกกล่าวหาไม่ใช่เพียงแค่ต้องจ่ายค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมศาล หรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ในคดี[12] เท่านั้น แต่ยังต้องสูญเสียเวลากับกระบวนการยุติธรรมที่ยืดเยื้อยาวนาน อาจไม่ได้รับความไว้วางใจจากคนรอบข้างในสังคม เกิดผลกระทบต่อจิตใจที่คล้ายถูกข่มขู่ให้เกิดความกังวลใจ ทำให้สูญเสียรายได้ นอกจากนี้ การต้องเดินทางไปศาลหลายครั้งยังทำให้เกิดผลกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและครอบครัว[13] เป็นต้น ส่วนการถูกฟ้องคดีโดยรัฐอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศและคำสั่ง คสช. ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาบางรายต้องขึ้นสู่การพิจารณาคดีในศาลทหาร ซึ่งรูปแบบการพิจารณาคดีแตกต่างจากศาลยุติธรรม อีกทั้งตุลาการศาลทหาร "โดยหลักการ" ขาดความเป็นกลางและไม่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายอย่างเพียงพอ[14]

17.นอกจากนี้ ในบางกรณี การเลือกดำเนินคดีกับบุคคลใดและอัตราการดำเนินคดีที่เพิ่มสูงขึ้นในความผิดฐานใดฐานหนึ่ง มักถูกมองว่าถูกนำมาใช้อย่างจงใจเพื่อจะจัดการกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ และอาจตีความได้ว่าเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีในลักษณะ SLAPPs เช่นเดียวกัน ล่าสุดกรณี นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา (หรือไผ่ ดาวดิน) ซึ่งถูกแจ้งข้อกล่าวหาโดยทหารในพื้นที่ว่ากระทำความผิดฐานดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา จากการที่นายจตุภัทร์แชร์บทความพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 จากเว็ปไซต์ข่าวบีบีซี ภาคภาษาไทย ซึ่งเป็นสำนักข่าวต่างประเทศที่มีผู้แชร์ข่าวมากกว่า 2,400 คน[15] ซึ่งที่ผ่านมานายจตุภัทร์เป็นนักศึกษาและแกนนำนักกิจกรรมที่มีบทบาทในการต่อสู้เพื่อสิทธิด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภาคอีสานมาโดยตลอด รวมทั้งยังมีบทบาทในการคัดค้านรัฐประหาร 2557 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้น แนวโน้มการดำเนินคดีดังกล่าว จึงถูกสาธารณชนมองว่าฝ่ายรัฐต้องการทำให้นายจตุภัทร์หยุดเคลื่อนไหวหรือแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะ ผลของคำพิพากษาจึงกระทบต่อทัศนคติของสาธารณชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมโดยตรง

 


ภาพนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หลังถูกอายัดตัวจากศาลจังหวัดภูเขียว จ.ชัยภูมิ

18.กล่าวคือ ในการดำเนินคดีอาญาปกติ ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะได้รับการรับรองจากรัฐ โดยศาล พนักงานอัยการและพนักงานสอบสวนว่า สิทธิในการปล่อยชั่วคราวของตนจะได้รับการพิจารณาเป็นหลัก การไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวต้องเป็นข้อยกเว้น โดยใช้หลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้กระทำความผิดนั้นยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่จนกว่าจะมีคำพากษาถึงที่สุด ซึ่งนายจตุภัทร์เองเคยได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดีนี้โดยใช้เงินสด 400,000 บาท แต่ถูกถอนประกันในเวลาต่อมาหลังจากที่นายจตุภัทร์โพสต์ถึงการถูกศาลเรียกหลักทรัพย์ประกันตัวเป็นเงินจำนวนมาก จากนั้นแม้นายจตุภัทร์ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลถึง 10 ครั้ง ศาลก็ไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวอีกเลยจนกระทั่งศาลมีคำพิพากษาในคดีนี้[16]


ภาพการจัดกิจกรรมให้กำลังใจ ไผ่ จตุภัทร์ ของกลุ่มนักศึกษา และถูกดำเนินคดีในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

19.นอกจากนี้ บุคคลที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราวของนายจตุภัทร์ก็ยังถูกดำเนินคดีในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล (Contempt of Court)[17] ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ทำให้การทำกิจกรรมเพื่อเรียกร้องหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะแม้ความผิดฐานดังกล่าวจะมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท แต่ด้วยเหตุที่เป็นฐานความผิดพิเศษที่ขั้นตอนในการพิจารณาคดีถูกลดความสำคัญลงจนไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้ถูกกล่าวได้รับสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ บุคคลซึ่งถูกดำเนินคดีจึงกลายเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ถูกกระบวนการยุติธรรมจัดการและมีผลให้ผู้ที่สนับสนุนการกระทำนั้นกลัวและเงียบไปเอง


ผลของการฟ้องร้องดำเนินคดีในลักษณะ SLAPPs ที่ก่อความเสียหายมากกว่าตัวเงิน

20.เมื่อการฟ้องร้องดำเนินคดีในลักษณะ SLAPPs คือการกระทำที่ผู้กล่าวหาประสงค์ให้ผู้ถูกกล่าวหาได้รับความเสียหายทั้งในทางคดีและโดยประการอื่น การฟ้องร้องดำเนินคดีดังกล่าวจึงเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งในการกล่าวร้าย (Abuse of Process) หรือเรียกได้ว่าก่อความเสียหาย ด้วยการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถูกกล่าวหาโดยตรง ซึ่งผู้กล่าวหาที่อาจจะเป็นรัฐหรือเอกชนมักฟ้องคดีโดยมีเจตนาให้ผู้ถูกกล่าวหาเกิดความวิตกกังวล (Emotional Distress) ในการพูดหรือใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและทำให้เกิดความกลัวต่อการตกเป็นจำเลยในคดีและจำเลยของสังคมจากการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต โดยผู้ถูกกล่าวหายังไม่ได้รับการพิสูจน์ความบริสุทธิ์จนเสร็จสิ้นกระบวนการยุติธรรม และเมื่อการถูกฟ้องคดีทำให้ภาระการพิสูจน์ว่าตนมิได้กระทำความผิดตกแก่ผู้ถูกกล่าวหา ก็ยิ่งสร้างยุ่งยากให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดี และยังสร้างความเสียหายมากขึ้นอีกหากบุคคลดังกล่าวไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือทางคดีจากทนายความหรือนักกฎหมายได้ นอกจากนี้ ในสภาพการณ์ปัจจุบันยังมีผู้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายที่ตราขึ้นโดยขัดต่อหลักนิติรัฐ ต้องตกอยู่ในกระบวนการออกกฎหมายที่ไม่ปกติและอาจถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดีในศาลทหาร จึงเป็นการยากยิ่งที่จะประกันว่ากลุ่มคนดังกล่าวจะได้รับการคุ้มครองสิทธิในกระบวนการยุติธรรมอย่างเต็มที่

21.ผลของการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกหรือแสดงความเห็นและสิทธิด้านอื่นของผู้ถูกกล่าวด้วยการนำคดีขึ้นสู่ศาล จึงสร้างความเสียหายให้ทั้งกับตัวผู้ถูกกล่าวหาหลายประการตามที่กล่าวไปข้างต้น และยังสร้างภาระให้กับกระบวนการยุติธรรมในภาพรวม จนนำไปสู่การลดทอนความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีต่อกระบวนการยุติธรรม และยังทำให้บุคคลในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเสียเวลาต่อการจัดการข้อพิพาทอันไม่จำเป็น ซึ่งเป็นความเสียหายที่มิอาจคำนวณเป็นเงินได้และไม่ควรเกิดขึ้น

22.ผู้เขียนเห็นว่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยยังต้องวางรากฐานให้หลักนิติรัฐได้เข้ามาจัดการให้ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยมีที่มาจากประชาชนและมาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งหนึ่งในวิธีการสร้างกระบวนมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพคือ รัฐต้องสามารถประกันได้ว่าทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงออกหรือแสดงความคิดเห็น ในระหว่างบุคคลด้วยกันต่างต้องเคารพและยอมรับการใช้สิทธินั้นของบุคคลอื่น ส่วนบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมอาจต้องสร้างเครื่องมือใหม่ขึ้นมาป้องกันการฟ้องร้องดำเนินคดีในลักษณะ SLAPPS หรือใช้กฎหมายในวิธีพิจารณาคดีเพื่อยับยั้งความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำดังกล่าว เช่น การพิจารณาข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นอัยการ การสั่งไม่ฟ้องคดีโดยพนักงานสอบสวนหรือพนักอัยการ เป็นต้น

 

อ้างอิง 

[1] George W. Pring and Penelope Canan. (1992). Strategic Lawsuits Against Public Participation (SLAPPs): An Introduction for Bench, Bar and Bystanders. Bridgeport Law Review Quinnipiac College, 12(4). 939-940.

[2] George W. Pring. (1989). SLAPPs: Strategic Lawsuit against Public Participation. Peace Environmental Law Review, 7(1). 5.

[3] Dwight H. Merriam and Jeffrey A. Benson. (1993). Identifying and Beating a Strategic Lawsuit Against Public Participation. Duke Environmental Law & Policy Forum, 17(3). 19.

[4] D. Mark Jackson. (2001). The Corporate Defamation Plaintiff in the  Era of SLAPPs: Revising New York Times v. Sullivan. William & Marry Bill of Rights Journal, 9(2). 493.

[5] Dwight H. Merriam and Jeffrey A. Benson. (1993). Identifying and Beating a Strategic Lawsuit Against Public Participation. Duke Environmental Law & Policy Forum, 17(3). 17.

[6] George W. Pring and Penelope Canan. (1992). Strategic Lawsuits Against Public Participation (SLAPPs): An Introduction for Bench, Bar and Bystanders. Bridgeport Law Review Quinnipiac College, 12(4). 946-947.

[7] Jirawat Suriyashotichyangkul. (2015). Asymmetrical Legal Protections for Human Rights Abuses Associated with Corporations: The use of legal threats against human rights defenders and victims. TDRI Quarterly Review, 30(2). 19-20.

[8] The Forum on Justice System Community Rights and Human Rights Defenders Documentation. May 9, 2016, Boonchu Rojanasatian room, Thammasat University (Tha-Phrajan).

[9] Thai Lawyers for Human Rights. (2016). Nai Nam Khong Kuam A Yud Ti Tham Pai Tai Kor Sor Chor [In Thai]. On behalf of Injustice under NCPO [In English]. Bangkok: Thai Lawyers for Human Rights. 30-32.

[10] Prachatai. Police press charges against human rights lawyer for defying their orders. May 13, 2016. http://www.prachatai.com/english/node/6160

[11] Prachatai. Embattled human rights lawyer accused of sedition. September 28, 2016. http://www.prachatai.com/english/node/6601

[12] George W. Pring and Penelope Canan. (1992). Strategic Lawsuits Against Public Participation (SLAPPs): An Introduction for Bench, Bar and Bystanders. Bridgeport Law Review Quinnipiac College, 12(4). 942.

[13] D. Mark Jackson. (2001). The Corporate Defamation Plaintiff in the  Era of SLAPPs: Revising New York Times v. Sullivan. William & Marry Bill of Rights Journal, 9(2). 494.

[14] Thai Lawyers for Human Rights. (2016). Nai Nam Khong Kuam A Yud Ti Tham Pai Tai Kor Sor Chor [In Thai]. On behalf of Injustice under NCPO [In English]. Bangkok: Thai Lawyers for Human Rights. 95.

[15] BBC. Thailand to try activist who shared king's profile on Facebook. February 10, 2017. http://www.bbc.com/news/world-asia-38928904

[16] ilaw. Jatupat-Sharing BBC Article. September 22, 2017. https://freedom.ilaw.or.th/th/case/756#progress_of_case

[17] Prachatai. Activists demanding Pai Dao Din's release accused of contempt of court. March 17, 2017. https://prachatai.com/english/node/7010 and 3 more activists accused of contempt of court for demanding Pai's release. March 21, 2017. https://prachatai.com/english/node/7016

 

เกี่ยวกับผู้เขียน สุทธิเกียรติ คชโส จบการศึกษาระดับปริญญาโท จากสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันเป็นนักกฎหมายประจำมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (Enlaw)

ที่มา: ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ผู้บัญชาการทหารสูงสุด มั่นใจ ผบ.ทบ.จะนำกองทัพบกขึ้นสู่กองทัพชั้นนำของภูมิภาค

Posted: 15 Nov 2017 08:56 AM PST

พล.อ.ธารไชยยันต์ มอบนโยบายให้กับกองทัพบก เน้นเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ หนุนกิจกรรมหน่วยพระราชทานและประชาชนจิตอาสา เชื่อมั่น พล.อ.เฉลิมชัย นำกองทัพบกไปสู่ความเป็นกองทัพบกชั้นนำของภูมิภาค และเป็นที่ศรัทธาของประชาชน

ที่มาภาพ เพจ Army PR Center 

15 พ.ย.2560 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ (15 พ.ย.60) เมื่อเวลา 8.30 น. ที่ กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการปฏิบัติงานให้กับกองทัพบก  มี พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และผู้บังคับบัญชาระดับสูงของ กองทัพบกให้การต้อนรับ นับเป็นการตรวจเยี่ยมอย่างเป็นทางการครั้งแรก หลังเข้าดำรงตำแหน่ง ผบ.ทสส.

ผบ.ทสส. มอบนโยบายให้กองทัพบก เน้นการพิทักษ์เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สนับสนุนการจัดกิจกรรมโครงการหน่วยพระราชทานและประชาชนจิตอาสา "เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ" รวมทั้ง การปฏิบัติตามศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างเต็มขีดความสามารถ และสมพระเกียรติ นอกจากนี้ ให้ยึดถือนโยบายของรัฐบาล นโยบายของกระทรวงกลาโหม และนโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นแนวทาง

พล.อ.ธารไชยยันต์ ยังชื่นชมผลการปฏิบัติงานของกองทัพบก ทั้งด้านการป้องกันประเทศ การรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน การแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ และการพัฒนาขีดความสามารถของกำลังรบ การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำของผู้บังคับหน่วยทหารในทุกระดับ และการพัฒนาระบบการฝึกต่างๆ  ซึ่งจะส่งผลให้กองทัพไทยมีความพร้อม และสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

"เชื่อมั่นว่า กองทัพบกภายใต้การบังคับบัญชาของผู้บัญชาการทหารบก จะสามารถปฏิบัติภารกิจและแก้ไขปัญหาของชาติ ให้ลุล่วงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำกองทัพบกไปสู่ความเป็นกองทัพบกชั้นนำของภูมิภาค และเป็นที่เชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนตลอดไป" พล.อ.ธารไชยยันต์ กล่าว

รายงานข่าวระบุด้วยว่า หลังเสร็จสิ้นการตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการปฏิบัติงานให้กับกองทัพบก ผบ.ทสส. จะเดินทางไปตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการปฏิบัติงาน ให้กับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จากนั้น  สัปดาห์หน้า จะตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการปฏิบัติงานให้กับกองทัพอากาศและกองทัพเรือต่อไป  

 

ที่มา : สำนักข่าวไทย และเพจ Army PR Center 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดี 'อภิชาต' ชูป้ายค้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์ฯ พรุ่งนี้

Posted: 15 Nov 2017 05:22 AM PST

ศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดี 'อภิชาต' ชูป้ายคัดค้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ 16 พ.ย.นี้ หลังปีที่แล้วศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาใหม่ ให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี

ภาพเหตุการณ์วันที่ 23 พ.ค.57 หน้าหอศิลปฯ

15 พ.ย.2560 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ว่า ในวันพรุ่งนี้ (16 พ.ย.60) เวลา 10.00 น. ณ ศาลแขวงปทุมวัน ศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีความผิดต่อ พ.ร.บ.กฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง (คดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 คดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559)  ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด กับ อภิชาต พงษ์สวัสดิ์

สนส. รายงานเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดคดีนี้ว่า คดีนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2557 หลังการรัฐประหารของ คสช. เพียงวันเดียว มีกลุ่มประชาชนจำนวนหนึ่งได้ออกมาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ เพื่อคัดค้านการรัฐประหาร ซึ่ง อภิชาต ก็เป็นหนึ่งในคนที่เข้าร่วมทำกิจกรรมดังกล่าว โดยชูป้ายคัดค้านการรัฐประหารมีข้อความว่า "ไม่ยอมรับอำนาจเถื่อน" เขาเป็นคนแรกที่ถูกทหารจับกุมและควบคุมตัวด้วยกฎอัยการศึก 7 วัน  ต่อมาถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนประกาศ คสช. 7/2557, ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215, 216 และมาตรา 368 พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องในวันที่ 28 เม.ย. 2558

ต่อมา ศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2559  พิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่ากระบวนการสอบสวนไม่ถูกต้อง เนื่องจากคดีนี้เหตุเกิดและจำเลยถูกจับกุมในท้องที่ สน.ปทุมวัน แต่ตำรวจจากกองปราบเป็นผู้สอบสวน ซึ่งโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ศาลเห็นถึงเขตอำนาจสอบสวน จึงถือว่าไม่มีการสอบสวนอย่างถูกต้อง

วันที่ 17 มี.ค. 2559  พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดได้อุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลแขวงปทุมวัน  ต่อมาวันที่ 11 ต.ค. 2559 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาว่า การสอบสวนของพนักงานสอบสวนเป็นการปฏิบัติงานตาม ป.วิ.อาญา  พนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปราม มีอำนาจสอบสวนเกี่ยวกับความผิดที่มีโทษทางอาญาทั่วราชอาณาจักร และตามคำสั่งที่ 145/2557 กองบังคับการปราบปราม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เรื่องแต่งตั้งพนักงานสอบสวนกรณีผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ.2457 ซึ่งกำหนดให้ ร.ต.ท.ชลิต มณีพราว เป็นพนักงานสอบสวน  ฉะนั้นการสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องนั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง  ส่วนปัญหาที่ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่นั้น ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่

จนกระทั่ง วันที่ 19 ธ.ค. 2559 ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาใหม่ว่า จำเลยมีความผิดตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 7/2557 ให้พิจารณาโทษตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรคแรก แต่เนื่องจากเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงให้ลงโทษตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ให้จำคุก 2 เดือน ปรับ 6,000 บาท โดยโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี ต่อมาทนายความของจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลแขวงปทุมวัน ต่อมาเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2560 แต่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เลื่อนการพิพากษาคดีไปเป็นวันที่ 16 พ.ย. 2560 เวลา 09.00 น. ณ ศาลแขวงปทุมวัน เนื่องจากศาลอุทธรณ์พิจารณาคดียังไม่แล้วเสร็จ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กองทัพซิมบับเวยึดทีวี แถลงปราบอาชญากรรม ปัดยึดอำนาจประธานาธิบดี

Posted: 15 Nov 2017 04:22 AM PST

กองทัพซิมบับเวยึดสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ปิดล้อมรัฐสภา แต่ยังปฏิเสธว่าไม่ได้ทำรัฐประหาร ทูตสหรัฐ-อังกฤษแนะพลเมืองตนเองที่อาศัยอยู่ในประเทศนี้อยู่แต่ในบ้านพัก จนกว่าสถานการณ์จะมีความชัดเจน 

15 พ.ย. 2560 รายงานข่าวจากสื่อต่างประเทศระบุว่า วันนี้ (15 พ.ย.60) ที่ สาธารณรัฐซิมบับเว (Republic of Zimbabwe) ประเทศทางตอนใต้ทวีปแอฟริกา เกิดเหตุกองทัพซิมบับเวเข้ายึดสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ (ZBC) พร้อม ออกแถลงการณ์ว่าเป็นการเข้าปราบปรามกลุ่มอาชญากรรม ไม่ใช่การใช้กำลังทหารยึดอำนาจมาจากรัฐบาล และประธานาธิบดี โรเบิร์ต มูกาเบ และ เกรซ มูกาเบ ผู้เป็นภรรยาปลอดภัยอยู่ภายใต้การดูแลของทหาร

นอกจากนี้รายงานข่าวยังระบุว่า มีเสียงปืนดังกึกก้องในพื้นที่ทางเหนือของกรุงฮาราร์ ช่วงเช้าวันพุธ ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีเห็นทหารปิดกั้นเส้นทางโดยรอบอาคารรัฐสภา และมีรถทหารจอดหน้าสำนักงานพรรค ZANU-PF ฝ่ายรัฐบาล พร้อมเจ้าหน้าที่ตรึงกำลังอยู่

ขณะที่ ทูตซิมบับเว ประจำแอฟริกาใต้ ยืนยันว่าไม่ใช่การรัฐประหาร กองทัพยังคงทำหน้าที่และติดต่อรัฐบาล

ด้านสถานทูตสหรัฐแถลงผ่านทางเว็บไซต์ว่า เอกอัครราชทูตสหรัฐสั่งให้เจ้าหน้าที่สถานทูตทุกคนอยู่แต่ในบ้านพักวันนี้ เนื่องจากสถานการณ์การเมืองยังไม่มีความมั่นคง และขอให้ชาวอเมริกันที่อยู่ในซิมบับเวอยู่แต่ในที่พักอาศัยจนกว่าจะได้รับแจ้งต่อไป และสถานทูตจะปิดให้บริการในวันนี้

ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเรียกร้องให้ซิมบับเวแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี และให้ดำเนินการตามระบอบประชาธิปไตย รวมทั้งให้มีความโปร่งใสและแก้ไขความแย้งตามกระบวนการทางรัฐธรรมนูญด้วย

ด้านกระทรวงการต่างประเทศอังกฤษแนะนำให้ชาวอังกฤษที่อยู่ในกรุงฮาราเร่อยู่ในที่พักอาศัยจนกว่าสถานการณ์จะมีความชัดเจนมากกว่านี้

สำหรับสถานการณ์ความวุ่นวายในประเทศซิมบับเวนี้ เกิดขึ้นหลังพรรคซานู-พีเอฟ ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของ มูกาเบ กล่าวหา พล.อ.คอนสแตนติโน่ ชิเวงก้า ผู้บัญชาการกองทัพ ว่า "กระทำการอันเป็นกบฏ" หลังเขาเตือนถึงความเป็นไปได้ที่จะใช้กำลังทหารแซงแทรกการเมืองที่กำลังเกิดความขัดแย้งรุนแรง กรณีการแย่งชิงอำนาจว่าใครจะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจาก มูกาเบวัย 93 ปี ซึ่งอยู่ในอำนาจมาตั้งแต่ประเทศได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี 2513 โดยพลเอกชีเวงกาท้าทายมูกาเบหลังเขาปลด เอ็มเมอร์สัน เอ็มนังกักว่าออกจากตำแหน่งรองประธานาธิบดีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ท่ามกลางปัญหาความขัดแย้งกรณีผู้สืบทอดอำนาจ

ที่มา : TNN24 บีบีซีไทย และข่าวสดออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พยานโจทก์ไม่มา ศาลทหารเลื่อนสืบคดี ม.112 ‘รุ่งศิลา’ ทนายเผยไม่ได้ประกันมา 3 ปี 4 เดือนแล้ว

Posted: 15 Nov 2017 02:53 AM PST

ศาลทหารเลื่อนสืบพยาน คดี ม.112 'รุ่งศิลาหรือสิรภพ' ไป 28 พ.ย.นี้ เหตุพยานโจทก์ซึ่งเป็นประชาชนที่ไปให้ความเห็นไม่มาศาล ทนายเผยจำเลยไม่ได้รับสิทธิประกันตัว-คุมขังมา 3 ปี 4 เดือนแล้ว ชี้เมื่อบีบให้รับสารภาพ แถมหาพยานหลักฐานสู้คดีลำบาก

15 พ.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (15 พ.ย.60) ศาลทหารกรุงเทพ นัดสืบพยานโจทก์ ในคดีที่ สิรภพ (สงวนนามสกุล) หรือ รุ่ง ศิลา ตกเป็นจำเลย จากการถูกฟ้องตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือหมิ่นประมาทกษัตริย์ เหตุเขียนบทกวีและเผยแพร่บทความในเว็บไซต์ ซึ่ง สิรภพ ถูกจับกุมหลังรัฐประหารไม่กี่วันและถูกคุมขังในเรือนจำมาประมาณ 3 ปี 4 เดือนจนปัจจุบัน นั้น

ผู้สื่อข่าวสอบถาม อานนท์ นำภา ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งรับผิดชอบในดคีนี้ เปิดเผยว่า คดีนี้สืบพยานโจทก์เสร็จไปเพียงปากเดียว คือ ตำรวจผู้กล่าวหา ส่วนปากที่ 2 ซึ่งเป็นประชาชนที่ไปให้ความเห็นนั้นยังค้างคาอยู่ และเลือนมา ซึ่งวันนี้ เขาก็ไม่มา ศาลจึงเลือนสืบพยานใหม่เป็นวันที่ 28 พ.ย.นี้ ซึ่ง สิรภพ โดนฟ้องคดี ม.112 จำนวน 3 กระทง โดยที่กระทงหนึ่งมาจากการโพสต์ถึงทายาทและรากเหง้าของกบฎบวรเดช

อานนท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สิรภพ ไม่ได้รับสิทธิประกันตัวและอยู่ในเรือนจำกว่า 3 ปี 4 เดือนแล้ว ตั้งแต่รัฐประหารใหม่ๆ และเพิ่งสืบพยานไปได้แค่เพียงปากครึ่งเท่านั้นเอง จากพยานของโจทก์ 6, 7 ปากซึ่งอีกนานกว่าจะเสร็จ ขณะที่พยายานจำเลย คือ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ (นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์) ที่ยังไม่ได้เบิกความเลยก็เพิ่งเสียชีวิตไปแล้ว

สำหรับการไม่ได้รับสิทธิประกันตัว อานนท์ ในฐานะทนายจำเลย กล่าวว่า สภาพในเรือนจำตอนนี้ก็เหมือนการบีบบังคับ เมื่อจำเลยไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวก็เหมือนบีบให้รับสารภาพ แต่สำหรับคดีนี้จำเลยใจแข็ง พยายามสู่คดีว่าไม่ได้ทำผิด นอกจากนี้ยังทำให้โอกาสที่จำเลยจะหาพยานหลักฐานในการสู้คดีก็ลำบาก เพราะบางเรื่องบอกผ่านทนาย ทนายเองก็อาจไม่ทราบเรื่อง การสอบข้อเท็จจริงของทนายกับจำเลยที่อยู่ในเรือนจำก็ลำบาก
 
อานนท์ กล่าวด้วยว่า คดีนี้เคยยื่นประกันตัวหลายครั้งแล้ว โดยวางหลักทรัพย์ถึง 5 แสนบาท แต่ก็ไม่ได้รับสิทธิประกันตัว 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า นอกจาก สิรภพ ถูกดำเนินคดีนี้แล้ว เขายังถูกดำเนินคดีฝ่าฝืนประกาศ คสช.ที่ 44/2557 ไม่ไปรายงานตัวด้วย โดยในคดีนั้น เมื่อ พ.ย. 2559 ศาลทหารพิพากษาลงโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 18,000 บาท แต่มีเหตุให้ลดโทษเนื่องจากให้การเป็นประโยชน์ จึงลดโทษให้หนึ่งในสามเหลือโทษจำคุก 8 เดือน ปรับ 12,000 บาท เนื่องจากจำเลยไม่เคยจำคุกมาก่อนจึงให้รอการลงโทษ 2 ปี

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศยุบงานแถลงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเวียดนาม

Posted: 15 Nov 2017 01:36 AM PST

หลังประชุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.ลุมพินีและเจ้าหน้าที่ทหาร ในงานภาคประชาชนอาเซียนปีนี้เวียดนามเสียงแตกประเด็นใส่ชื่อนักกิจกรรมเวียดนามที่ถูกจับกุมไปในแถลงการณ์ภาคประชาชน รัฐบาลเวียดนามเคยระบุกรณีการจับกุมนักกิจกรรมว่า ไม่มีนักโทษการเมืองในเวียดนาม ผู้ถูกขังคุกมีแค่คนที่ทำผิดกฎหมาย

15 พ.ย. 2560 ในเฟซบุ๊กของหทัยรัตน์ พหลทัพ ผู้สื่อข่าวของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เผยแพร่จดหมายจากสโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (Foreign Correspondents Club - FCCT) ยกเลิกงานแถลงข่าว: "เวียดนาม - นักโทษแห่งมโนธรรม 165 คน 999 ปีหลังลูกกรง" ที่จะมีขึ้นในวันนี้ (15 พ.ย. 2560) เวลา 10.30 น. โดยในการแถลงข่าวจะมีงานเสวนาที่วิทยากรอภิปรายเรื่องสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเวียดนาม ประเด็นการคุมขังนักโทษทั้ง 165 คนด้วยโทษหนัก และเหตุการณ์ล่าสุดที่มีการรณรงค์ภายใต้หัวข้อ NOW! โดยองค์กรสิทธิมนุษยชน 15 องค์กรทั่วโลกที่เดินหน้าเรียกร้องการปล่อยตัวชายและหญิงที่ถูกคุมขังตัวอยู่

ข้อความจากจดหมายของ FCCT ระบุว่าทางสโมสรฯ ตัดสินใจยกเลิกงานหลังเข้าประชุมสองครั้งกับเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจจาก สน.ลุมพินีเมื่อวานนี้

เวียดนามเป็นอีกหนึ่งประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการคุกคามกับนักเคลื่อนไหวทางสังคม การเมืองจากทางการเป็นระยะ เมื่อ 30 ก.ค. ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ นิวยอร์กไทม์ รายงานว่า รัฐบาลเวียดนามได้จับกุมเหงียนตรุงตรอง บาทหลวง นักเขียนและนักกิจกรรมร่วมกับสมาชิกกลุ่ม 4 คนด้วยข้อหาพยายามโค่นล้มรัฐบาลคอมมิวนิสต์แห่งเวียดนาม เป็นหนึ่งในภาพสะท้อนท่าทีของอำนาจรัฐที่ไม่มีน้ำอดน้ำทนกับผู้แสดงความไม่พอใจในสังคม สวนทางกับการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจให้กับการลงทุนและค้าขายกับต่างชาติ

นักกิจกรรมเวียดนามถูกจับข้อหาโค่นล้มรัฐบาล หันมองไทย เสรีภาพชนความมั่นคง ใครจะชนะ

ผู้สื่อข่าวประชาไทรายงานว่า ในงานประชุมภาคประชาชนอาเซียนในวันที่ 9-13 พ.ย. ที่ผ่านมา มีกลุ่มนักกิจกรรมจากเวียดนาม รวมทั้งชาวเวียดนามที่ลี้ภัยออกมาจากต่างประเทศ รณรงค์เรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวนักกิจกรรมและบาทหลวงชาวเวียดนาม เหงียนบั๊กตรวน ที่ถูกทางการจับตัวไปและยังไม่มีเบาะแสว่าปัจจุบันมีชะตากรรมอย่างไร ทว่า ในเวทีการร่างแถลงการณ์ภาคประชาชนที่มีการใส่ชื่อนักกิจกรรมคนดังกล่าวไปด้วยในฐานะหนึ่งในนักกิจกรรมที่ถูกภาครัฐคุกคาม กลับมีภาคประชาสังคมเวียดนามอีกกลุ่มแสดงความไม่เห็นด้วย และแสดงความประสงค์ให้คณะกรรมการร่างแก้ไข ไม่ให้ใส่ชื่อนักกิจกรรมดังกล่าวลงไปในแถลงการณ์

กลุ่มนักกิจกรรมเวียดนามรณรงค์เรียกร้องการปล่อยตัวเหงียนบั๊กตรวน (ที่มา:แฟ้มภาพ)

(ยืน)ภาพบรรยากาศของโต๊ะเวียดนามระหว่างการอภิปรายแยกประเทศ (ที่มา:แฟ้มภาพ)

ในช่วงสิ้นเดือน ก.ค. ก็มีการจับกุมนักกิจกรรมชื่อทรานธิงา (Tran Thi Nga) ด้วยข้อหาเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อต่อต้านรัฐบาล ศาลตัดสินจำคุก 9 ปี และเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามได้ทำการจับกุมเหงียนง็อกหงูเควน (Nguyen Ngoc Nhu Quynh) บล็อกเกอร์ชื่อดังที่รู้จักกันในนาม Mother Mushroom ถูกจับกุมในข้อหาเดียวกัน ศาลตัดสินจำคุกเป็นเวลา 10 ปี โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและประเทศตะวันตกบางประเทศ รวมถึงกลุ่มสิทธิมนุษยชนนานาชาติหลายกลุ่มได้วิพากษ์วิจารณ์การจับกุมและเรียกร้องให้รัฐบาลเวียดนามปล่อยตัวนักกิจกรรมและบล็อกเกอร์คนดังกล่าว ทั้งนี้ รัฐบาลเวียดนามระบุว่า ไม่มีนักโทษการเมืองในเวียดนาม ผู้ถูกขังคุกมีแค่คนที่ทำผิดกฎหมาย

หนึ่งในผู้ถูกจับกุมเป็นบาทหลวงในศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ชื่อว่า เหงียนตรุงตอน (Nguyen Trung Ton) บาทหลวงคนดังกล่าวมีลูกชายคนหนึ่งชื่อว่า เหงียนตรุงตรอมเหงีย (Nguyen Trung trom Nghia) หรือเรียกด้วยชื่อเล่นว่า เอฟฟี่ (Effy) ที่คงจะเปรียบเทียบได้ว่าเป็นลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น โดยเป็นนักกิจกรรมต้องออกมาจากประเทศฐานเป็นพวกปฏิกิริยา (Reactionary) ปัจจุบันเป็นยูทูบเบอร์และนักกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนที่ติดบัญชีดำของรัฐบาลเวียดนามและไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้ภายหลังออกมาศึกษาต่อที่ประเทศฟิลิปปินส์เป็นเวลา 5 ปี โดยเจ้าตัวอาศัยที่กรุงมะนิลามาเป็นเวลา 5 ปีแล้ว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ nguyen trung ton

เหงียนตรุงตอน กับข้อความรณรงค์ยกเลิกมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญเวียดนาม มีใจความเกี่ยวกับการให้อำนาจพรรคคอมมิวนิสต์เป็นเพียงพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว (ที่มาภาพ: baocalitoday)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เลื่อนสืบพยานปีหน้า คดีฟ้อง ทบ. เรียกค่าเสียหาย เหตุทหารมหาดเล็กเสียชีวิตในระหว่างฝึก

Posted: 15 Nov 2017 01:03 AM PST

ศาลแพ่งสืบพยาน 2 นัดไปปีหน้า คดีญาติ ร.ต.สนาน ฟ้องกองทัพบกเรียกค่าเสียหาย เหตุ ร.ต.สนาน จมน้ำเสียชีวิตในระหว่างฝึกหลักสูตรทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เหตุพยานไม่มาตามนัด

ร.ต.สนาน ทองดีนอก

15 พ.ย.2560 ความคืบหน้าคดีมารดาและภรรยา ร.ต.สนาน ทองดีนอก ฟ้องกองทัพบก เรียกค่าเสียหายจากเหตุการณ์ ร.ต.สนาน  เสียชีวิต ในระหว่างฝึกหลักสูตรทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ (UKBT) รุ่นที่ 11 เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2558 นั้น ล่าสุด

วันนี้ (15 พ.ย.60) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม รายงานว่า เมื่อวันที่ 14 พ.ย.ที่ผ่านมา  ผู้พิพากษาศาลแพ่งออกนั่งพิจารณานัดสืบพยานโจทก์ โดยมีมารดาและภรรยา ของ ร.ต.สนานฯ พร้อมทนายมาศาล ส่วนทางด้านจำเลยมีพนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายจำเลยมาศาล ทางด้านพยานที่โจทก์ได้แถลงว่ายังคงติดใจอยู่อีก 3 ปาก และโจทก์ได้ดำเนินการออกหมายเรียกแล้วนั้น ปรากฏไม่มีพยานคนใดมาเบิกความต่อศาลตามนัด มีเพียงบิดาของพยานคนหนึ่งมาชี้แจงต่อศาลว่าบุตรชายของตนนั้นติดราชการไม่สามารถมาเบิกความเป็นพยานตามวันนัดได้พร้อมทั้งแสดงหนังสือจากหน่วยงานของบุตรชายต่อศาล เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจและมีเหตุขัดข้องที่ไม่สามารถมาศาลได้

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ผู้พิพากษาจึงได้สอบถามคู่ความทั้งสองว่าประสงค์จะเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์ในครั้งนี้หรือไม่ ด้านโจทก์แถลงต่อศาลประสงค์ขอเลื่อนนัดเพื่อติดตามพยานทั้งสามปากนี้มาเบิกความต่อศาลให้ได้เนื่องด้วยยังคงติดใจพยานทั้งสามปากซึ่งเป็นประจักษ์พยานในวันเกิดเหตุ ส่วนทางด้านทนายจำเลยได้แถลงคัดค้าน

ผู้พิพากษาได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่า พยานทั้งสามปากเป็นประจักษ์พยานคนสำคัญในคดี จึงอนุญาตให้เลื่อนนัดสืบพยานโจทก์ไปอีกเป็น 2 นัด เป็นวันที่ 19 ก.พ. และ 12 มิ.ย. 2561 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร

คดีดังกล่าว สืบเนื่องจากเมื่อระหว่างวันที่ 13 ถึง15 มิ.ย. 2560 ผู้พิพากษาศาลแพ่งออกนั่งพิจารณานัดสืบพยานโจทก์ กรณีมารดา และภรรยา ร.ต.สนาน ทองดีนอก เรียกค่าเสียหายจากเหตุการณ์เสียชีวิตในระหว่างฝึก โดยในระหว่างวันดังกล่าวโจทก์ และทนายโจทก์ยังคงติดใจสืบพยานอีก 3 ปากซึ่งเป็นประจักษ์พยานผู้เห็นเหตุการณ์วันเกิดเหตุ ด้วยเหตุนี้ผู้พิพากษาศาลแพ่งจึงนัดสืบพยานที่โจทก์ยังคงติดใจอยู่นั้น ในวันที่ 14 และ 15 พ.ย. และนัดสืบพยานจำเลยในวันที่ 16 พ.ย. 2560 ก่อนศาลจะอนุญาตให้เลื่อนนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าว

สำหรับ ร.ต.สนาน เข้ารับการฝึกในหลักสูตรมหาดเล็กรักษาพระองค์(UKBT) รุ่นที่ 11 ในหน่วยฝึกกรมทหารราบที่ 1 กองพันทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ หลักสูตรดังกล่าวกำหนดเวลาการฝึกระหว่างวันที่ 17 พ.ค. - 27 ก.ค. 2558 และจัดให้มีช่วงที่ผู้เข้ารับการฝึกต้องผ่านการทดสอบความสามารถในการว่ายน้ำ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ในสังกัดของกองทัพบกเป็นครูฝึกและมีหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลการฝึก โดยวันเกิดเหตุ 6 มิ.ย. 2558 ในระหว่างการฝึกว่ายน้ำตามหลักสูตร ร.ต.สนาน ได้ถูกบังคับให้ว่ายน้ำเกินกำลังความสามารถที่ร่างกายจะทนได้ โดยว่ายน้ำไป-กลับภายในสระว่ายน้ำโดยไม่มีการหยุดพักหลายสิบรอบและเป็นเวลานาน  จนเป็นเหตุให้ ร.ต.สนานจมลงไปในก้นสระเป็นเวลานานจนขาดอากาศหายใจ โดยที่ครูฝึกไม่ดำเนินการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ในคำฟ้องคดีแพ่งดังกล่าวระบุว่า การเสียชีวิตของร้อยตรีสนานเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของครูฝึก ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

1 ทศวรรษคดี 112 ตอนที่ 2: ‘ความแปลกใหม่’ หลังรัฐประหารและรัชสมัยใหม่

Posted: 15 Nov 2017 12:52 AM PST

 

ก้าวสู่รัชสมัยของรัชกาลที่ 10 คดีมาตรา 112 ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแตกต่างไปจากเดิม ทิศทางการดำเนินคดี 112 ยังไม่เห็นสัญญาณในทางบวกหรือทางลบอย่างชัดเจนนัก ประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ยังคงเป็นไป 'ตามปกติ' เช่นเดียวกับช่วงที่ผ่านมา เช่น ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องหา การดำเนินคดีที่ยาวนานในศาลทหารทำให้จำเลยยอมรับสารภาพ เป็นต้น ถึงกระนั้นก็ยังมีรายละเอียดบางอย่างที่น่าสนใจในกระบวนการยุติธรรม ดังจะนำเสนอต่อไป

อาจต้องกล่าวสักเล็กน้อยก่อนว่า ช่วงก่อนที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณฯ จะขึ้นทรงราชย์ไม่นานนักราวปลายปี 2557 ต่อต้นปี 2558 มีผู้รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทถูกจับกุมคุมขังในความผิดตามมาตรา 112 จำนวนมาก เช่น บิดามารดาและเครือญาติของท่านผู้หญิงศรีรัศมิ์ฯ และเครือข่ายของ พล.ต.ท.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง รวมถึงมีการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน เป็นปริศนาของ พ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา และนายสุริยัน สุจริตพลวงศ์ หรือ 'หมอหยอง' ในเรือนจำ มทบ.11 (เรือนจำชั่วคราวแขวงนครไชยศรี) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความไม่ชอบมาพากลดังกล่าว เนื่องจากไม่มีญาติผู้ตายร่วมในกระบวนการชันสูตรพลิกศพตามกฎหมาย และไม่มีการทำพิธีศพตามปกติ แม้กระบวนการพิเศษนี้จะจำกัดอยู่เพียงผู้ใกล้ชิด แต่นั่นทำให้บรรยากาศโดยรวมในสังคมเต็มไปด้วยความหวาดกลัวมากกว่าเดิม

ในส่วนของภาพรวมคดี 112 ที่เกี่ยวพันกับการแอบอ้างเบื้องสูงเพื่อเรียกรับผลประโยชน์ ไอลอว์รวบรวมตัวเลขในช่วงเวลาหลังรัฐประหารพบว่า มีอยู่ 37 ราย
 

การกวาดล้างครั้งใหญ่ หลังรัฐประหาร 2557

สภาพการณ์ของคดี 112 นั้นมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมากและเกิดรูปแบบใหม่ๆ ในช่วงหลังการรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา อีกทั้งตัวเลขการดำเนินคดีในช่วงนี้ยังสูงที่สุดในรอบ 10 ปีด้วย

หลังการยึดอำนาจของ คสช. ผู้คนจำนวนมากถูกเรียกให้ไปรายงานตัวในค่ายทหาร นักเคลื่อนไหว นักกิจกรรมทางสังคม นักวิชาการ นักการเมือง ตลอดจนประชาชนที่ไม่มีชื่อเสียงจำนวนไม่น้อยต้องลี้ภัยไปยังต่างประเทศ ด้วยความหวาดกลัวต่อการดำเนินคดี 112 เนื่องจากที่ผ่านมาเคยมีบทบาทในการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง คนจำนวนหนึ่งที่ไม่รายงานตัวและไม่ได้ลี้ภัยก็ถูกจับกุมและถูกดำเนินคดีนี้ใน 'ศาลทหาร' ผู้ต้องหาบางคนให้ข้อมูลว่า ในการสอบสวนของทหาร 'แฟ้มประวัติ' ของพวกเขานั้นหนามากและบรรจุความเคลื่อนไหวย้อนหลังไปหลายปีก่อนการรัฐประหาร

ตัวอย่างผู้ถูกจับและดำเนินคดีหลังรัฐประหารไม่กี่วัน เช่น เจ้าของเว็บไซต์ไทยอีนิวส์ ถูกดำเนินคดี 112 และพิพากษาให้จำคุก 9  ปี, คฑาวุธ นักจัดรายการทางยูทูปชื่อดังถูกพิพากษาจำคุก 10 ปี, ทอม ดันดี นักร้องชื่อดังที่เข้ามาเคลื่อนไหวทางการเมืองถูกพิพากษาจำคุก 10 ปี 10 เดือน เป็นต้น ทั้งหมดรับสารภาพจึงได้รับการลดโทษลงกึ่งหนึ่ง มีเพียงสิรภพ หรือ รุ่งศิลา กวีและบล็อกเกอร์ที่ตัดสินใจสู้คดี ซึ่งปัจจุบันนี้ยังสืบพยานได้เพียง 2 ปากหลังติดคุกมากกว่า 3 ปีแล้ว

แม้มีนักเคลื่อนไหว สื่อ ปัญญาชน นักการเมือง แกนนำระดับพื้นที่จำนวนมากถูกเรียกเข้าค่ายทหารหายไป 7 วันแล้วถูกปล่อยตัวโดยไม่ได้ถูกดำเนินคดี แต่สภาพความหวาดกลัวเพิ่มขึ้นในสังคมอย่างเห็นได้ชัด บรรณาธิการวารสารวิชาการแห่งหนึ่งที่มักเผยแพร่งานวิชาการวิพากษ์วิจารณ์การเมืองและสถาบันอย่างตรงไปตรงมาที่สุดฉบับหนึ่งในประเทศไทยตัดสินใจไม่วางจำหน่ายวารสารเล่มที่กำลังจะออก เนื่องจากมีเอกสารบางอย่างที่อาจเป็นเหตุให้โดนดำเนินคดี เว็บไซต์ข่าวแห่งหนึ่งที่มุ่งเน้นประเด็นสิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน ตัดสินใจยังไม่ลงรายงานเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของวิทยุใต้ดิน เพราะแม้เขียนโดยระมัดระวังที่สุดก็มีข้อเท็จจริงของผู้ให้สัมภาษณ์ที่ปรากฏแนวคิดสาธารณรัฐอย่างชัดเจน และอาจเป็นเหตุให้ถูกดำเนินคดีในยุครัฐบาลทหาร ความไม่แน่ใจเหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ ที่สะท้อน 'การเซ็นเซอร์ตัวเอง' ที่ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าเกิดขึ้นมากเพียงไหนในสังคมไทย

นอกจากนี้ยังพบว่า คดี 112 เก่าๆ ที่อยู่ในชั้นตำรวจและไม่มีความเคลื่อนไหวมานาน หรือตำรวจสั่งไม่ฟ้องไปแล้วถูกนำมาพิจารณาใหม่ ผู้ต้องหาหลายคนที่ถูกสอบสวนในค่ายทหารระบุว่า เจ้าหน้าที่แจ้งว่าคดีพวกเขาถูกรื้อขึ้นมาในช่วงนี้โดยเฉพาะ โดยเฉพาะคดีของผู้มีประวัติป่วยเป็นจิตเภท ไอลอว์ระบุว่า หลังรัฐประหารมีผู้ต้องหาที่ป่วยเป็นจิตเภทถูกดำเนินคดี 112 อย่างน้อย 6 คน เช่น ธเนศ-เสียงแว่วให้ส่งอีเมล,  ประจักษ์ชัย-เขียนหนังสือร้องทุกข์ถึงนายกฯ, เสาร์-ร้องศาลคดีนักการเมืองให้ทวงเงินคืนจากอดีตนายกฯ, ฤาชา-ร่างทรงพระแม่ธรณีสั่งให้โพสต์เฟสบุ๊ค ฯลฯ (อ่านที่นี่) เป็นต้น

เจ้าหน้าที่ของกองบังคับการกองปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ยืนยันว่า หลังทหารเข้ามามีอำนาจและประกาศกฎอัยการศึก ปอท.ได้รับความร่วมมือจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ในการเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็วกว่าเดิม เพราะไม่ต้องขออนุมัติจากศาลเหมือนยามปกติ
 

ประชาชนกับประชาชน ความรุนแรงแบบใหม่ช่วงสิ้นรัชกาลที่ 9

ปรากฏการณ์ 'พิเศษ' ที่ไม่เคยเกิดขึ้นและควรบันทึกไว้คือ วันที่ 13 ตุลาคม 2559 ข่าวการเสด็จสวรรคตของรัชกาลที่ 9 ถูกเผยแพร่ ประชาชนอยู่ในอารมณ์เศร้าโศก เมืองทั้งเมืองเต็มไปด้วยสีดำเพื่อไว้อาลัยต่อการสูญเสียพระองค์ และเมื่อมีใครทำบางอย่างแตกต่างออกไป เช่น ใส่เสื้อสีสดใสหรือโพสต์ข้อความที่ไม่แสดงความเคารพ ฯลฯ ก็เกิดเป็นความรุนแรงทางกายภาพในระดับปัจเจกชนต่อปัจเจกชน เช่น การตบปากหญิงสูงวัยคนหนึ่งที่น่าจะมีอาการทางจิต มีคนบอกว่า เธอ "ด่าพ่อหลวงมาตลอดทาง" ระหว่างนั่งบนรถเมล์ และท้ายที่สุดจึงถูกหญิงที่โดยสารรถเมล์มาด้วยกันเข้ามาตบปากอย่างแรงหลายครั้ง คลิปต้นฉบับถูกอัพขึ้นเฟสบุ๊ค ในเวลา 7 ชั่วโมงมียอดผู้ชม 2.3 ล้านวิว มีคนไลก์ 55,000 ครั้ง แชร์ 82,000 ครั้ง คอมเมนต์ส่วนใหญ่รู้สึกเห็นด้วย สะใจ และจำนวนไม่น้อยเห็นว่าการตบปากนั้นเป็นโทษที่น้อยเกินไป

นอกจากนี้ยังมีการ 'ล้อมบ้าน' โดยประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เมื่อผู้คนพบเจอข้อความในเฟสบุ๊คที่สร้างความไม่สบายใจให้พวกเขา ไม่ว่าจะเป็นกรณีภูเก็ต กรณีพังงา กรณีเกาะสมุย กรณีชลบุรี กรณีจันทบุรี

ปัจจุบันเป็นที่แน่ชัดว่ากรณีภูเก็ตนั้นถูกดำเนินคดีตามมาตรา 112 หลังการแจ้งข้อหาผู้ต้องหาสามารถประกันตัวได้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการสืบพยาน ส่วนกรณีชลบุรี ปรากฏการทำร้ายร่างกายหนุ่มโรงงานที่โพสต์เฟสบุ๊คในระหว่างที่ 'ผู้หวังดี' ตามจับตัวเขาส่งตำรวจ เขาถูกคุมขังนานกว่า 1 เดือนกว่าครอบครัวจะหาเงินมายื่นประกันตัวได้ มีรายงานยืนยันด้วยว่าในช่วงแรกที่เข้าไปในเรือนจำ เขาถูกทำร้ายร่างกายโดยนักโทษที่มีทัศนคติไม่ตรงกับเขา

ไม่มีข้อมูลว่าเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นทั้งหมดกี่ครั้ง ในพื้นที่ใดอีกบ้าง และมีกี่คนที่ต้องถูกดำเนินคดีจากสถานการณ์ดังกล่าว แต่เบื้องต้นตำรวจแถลงข่าวในเดือนพฤศจิกายน 2559 ว่า ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม เป็นต้นมา พบว่ามีการกระทำผิดตามมาตรา 112 ทั้งสิ้น 27 คดี จับกุมได้แล้ว 10 คดี และอยู่ระหว่างติดตามตัวอีก 17 คดี

 

คุยกับอนุสรณ์ อุณโณ ปรากฏการณ์ 'ล่าแม่มด' ที่ทางของความเศร้า-ความโกรธ

ข้อควรพิจารณาก่อนโกรธและลงมือ: ผู้ป่วยจิตเภทกับคดี 112
 


จุดกระแสความไม่มั่นคง จับจากเรื่องหนึ่ง ฟ้องอีกเรื่องหนึ่ง

โดยปกติการดำเนินคดีนี้อย่างน้อยผู้ต้องหาต้องมีพฤติการณ์ที่ชัดเจน แต่ในช่วงการรัฐประหาร เราพบว่ามีคดี 112 ที่เกี่ยวพันกับความรุนแรงและถูกประโคมข่าวใหญ่โต แต่ท้ายที่สุดเมื่อเรื่องเงียบ การฟ้องคดีกลับเป็นพฤติการณ์ที่ต่างไปจากการแถลงข่าวโดยสิ้นเชิง นั่นคือ ข่าวการเตรียมป่วนกิจกรรมปั่นเพื่อพ่อ หรือ Bike for Dad ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงเป็นประธานนำการปั่น เมื่อปี 2558 โดยภาครัฐให้ข่าวว่าอาจมีการลอบสังหารบุคคลสำคัญในงานครั้งนี้

จำเลยในคดีนี้มี 6 คน โดย 3 คนในจำนวนนี้เป็นจำเลยในคดี 'ขอนแก่นโมเดล' ที่อยู่ระหว่างการประกันตัว พวกเขาถูกจับกุมอีกครั้ง รวมกับผู้ที่ถูกจับกุมเพิ่มอีก 3 คน ทั้งหมดถูกนำตัวไปสอบสวนในค่ายทหาร 7 วันก่อนส่งตัวให้ตำรวจดำเนินคดี มีรายงานว่าจำเลยคนหนึ่งยืนยันกับทนายความว่า โดนทำร้ายร่างกายระหว่างสอบสวนโดยทหาร อย่างไรก็ตาม เมื่อถูกฟ้องคดีปรากฏว่าจำเลยทั้งหมดถูกฟ้องในความผิดตามมาตรา 112  ซึ่งล้วนไม่มีเหตุเกี่ยวเนื่องกับงาน Bike for Dad ตามที่มีการแถลงข่าวแต่อย่างใด แต่เป็นการพูดคุยกันในเรือนจำก่อนหน้านี้ การส่งไลน์ส่วนตัว และการเขียนในสมุดบันทึกส่วนตัว

"คดีนี้แบ่งเป็น คดีที่หนึ่งมีจำเลย 5 คน เหตุมาจากการคุยกันเองในเรือนจำ คดีที่สองมีจำเลย 2 คน เหตุมาจากการส่งไลน์คุยกันก่อนหน้านี้และการเขียนบันทึกในสมุดบันทึกส่วนตัว โดยทั้งสองคดีนี้มี 1 คนที่ตกเป็นจำเลยทั้งสองคดี (ประทิน จันเกตุ) และเขายังเป็นจำเลยในคดีขอนแก่นโมเดลด้วย สรุปก็คือ เมื่อฟ้องคดีมันกลายเป็น 112 ที่ไม่มีอะไรเกี่ยวพันกับงาน Bike for Dad ตามที่แถลงข่าวเลย" เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ข้อมูล

"ที่น่าสนใจคือ ตอนแถลงข่าวจับกุมและรายชื่อขบวนการนี้ มีคนหนึ่งในนั้นยังอยู่ในคุกอยู่เลยจากคดีส่วนตัวที่ขัดแย้งกับภรรยา ตอนนั้นมีเสียงทักท้วงว่าคนอยู่ในคุกจะวางแผนป่วนงานได้ยังไง...ตอนนี้จำเลยทั้งหมดยังอยู่ในคุก มีคนหนึ่งที่พอมีหลักทรัพย์พยายามยื่นประกัน 3 ครั้งแล้ว แต่ไม่ได้" เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ข้อมูล

เจ้าหน้าที่ศูนย์ทนายฯ ยังอธิบายเพิ่มเติมถึงการประกันตัวด้วยว่า เมื่อมีการสืบพยานปากสำคัญแล้วทนายความจึงยื่นประกันแต่ศาลก็ยังไม่อนุญาต พยานที่ว่าคือผู้ยืนยันการพูดคุยหมิ่นฯ ในเรือนจำ ในชั้นศาล พยานคนดังกล่าวให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รู้จักกับจำเลยอื่นๆ และปฏิเสธเอกสารคำให้การในชั้นสอบสวนที่ได้ยืนยันถึงเหตุการณ์พูดคุยหมิ่นฯ เขาบอกว่าลงชื่อในเอกสารของเจ้าหน้าที่โดยที่ไม่ได้อ่าน เนื่องจากระหว่างถูกคุมตัวในค่ายทหารถูกตบ เตะ เอาถุงคลุมหัว และขู่ว่าจะเอาตัวแม่และน้องมาเพื่อให้เขารับสารภาพและเชื่อมโยงถึงคนอื่น

คดีนี้ยังคงมีการสืบพยานที่ศาลทหารขอนแก่น


ความพยายามแบบใหม่ ประกาศห้ามติดตาม 'สมศักดิ์ เจียม' ฯลฯ

ประกาศของกระทรวงดิจิทัลฯ ที่ห้ามประชาชนติดตามเฟสบุ๊คของบุคคล 3 คนนับเป็นเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นเช่นกัน และหลังจากนั้นจึงมีปรากฏการณ์ "เชือดไก่ให้ลิงดู"

12 เมษายน 2560 กระทรวงดิจิทัลฯ ออกประกาศให้ประชาชนทั่วไปงดติดตาม ติดต่อ เผยแพร่เนื้อหาข้อมูลทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งเจตนาและไม่เจตนาของ 1. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล 2. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ 3. Andrew Macgregor Marshall โดยอ้างว่า เพื่อมิให้เป็นการกระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งศาลอาญาได้มีคำสั่งระงับการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมแล้วตามกฎหมายนี้

ประกาศเช่นนี้ไม่เคยมีมาก่อน อีกทั้งสถานะทางกฎหมายก็ไม่ชัดเจน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนและไอลอว์ออกแถลงการณ์ตอบโต้กรณีนี้ว่า การพูดเช่นนี้อาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ไม่มีกฎหมายใดกำหนดห้ามประชาชนติดตามใคร และการที่ศาล 'ออกคำสั่งระงับเนื้อหาไม่เหมาะสม' นั้นคือคำสั่งบล็อคเว็บตามที่หน่วยงานต่างๆ ยื่นเรื่องซึ่งเกิดขึ้นเป็นปกติปีละหลายพันยูอาร์แอลอยู่แล้ว จึงนับเป็นคนละเรื่องกัน ขณะเดียวกันอธิบดีศาลอาญาก็ปฏิเสธตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ว่า หากประชาชนละเมิดประกาศของกระทรวงดิจิทัลฯ จะผิดกฎหมายหรือไม่

หากดูบริบทช่วงก่อนการออกประกาศ จะพบว่า คดีของจตุภัทร บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน ซึ่งแชร์พระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเพจสำนักข่าวบีบีซีไทยยังเป็นประเด็นใหญ่ที่มีกระแสต่อเนื่องมาตั้งแต่ธันวาคมปีที่แล้ว จากนั้นเดือนมิถุนายนก็มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์กรณีหมุดคณะราษฎรหายไปแล้วแทนที่ด้วยหมุดใหม่อย่างกว้างขวาง สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เป็นโต้โผใหญ่ในการพูดเรื่องเหล่านี้ผ่านทางเฟสบุ๊คของเขา แน่นอนว่าเขาพูดอีกหลายเรื่องที่ไม่มีการพูดถึงเลยในสื่อมวลชนทั่วไป ปัญหาก็คือ ทั้งสามคนล้วนอยู่ต่างประเทศและเผยแพร่ข้อมูลความความคิดเห็นผ่านช่องทางที่รัฐไม่สามารถปิดกั้นได้โดยง่าย (อ่านที่นี่) ความพยายามจัดการกับคนภายในประเทศจึงเกิดขึ้น เช่น

1. การจู่โจมตักเตือนบุคคลที่ติดตามสมศักดิ์หลายกรณีก่อนที่จะมีประกาศ 'ห้ามติดตาม' ออกมาอย่างเป็นทางการ (อ่านที่นี่) และนั่นทำให้ยอดผู้ติดตาม (follower) สมศักดิ์ลดลงอย่างรวดเร็ว (1 ชม. ราว 3,000 คน) จนเขาต้องปิดตัวเลขผู้ติดตามไม่ให้ปรากฏต่อสาธารณะ

2. หลังสมศักดิ์วิเคราะห์เรื่องหมุดคณะราษฎรหาย มีการจับกุมบุคคล 6 คนที่กดแชร์สเตตัสของสมศักดิ์ หนึ่งในนั้นเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย สมศักดิ์สะท้อนว่า รู้สึกเสียใจและโกรธในกรณีนี้ ทั้งที่กระทู้ดังกล่าวเขาเขียนอย่างเป็นวิชาการ

"ตั้งแต่แรกที่ได้ยินว่า ผู้ถูกจับหลายคนถูกข้อหา 112 เพราะแชร์กระทู้ผม ผมก็รู้สึกแย่มาก ในบางด้านคล้ายกับความรู้สึกสมัยแรกๆ หลังรัฐประหารที่ได้ข่าวเรื่องทหารไปคุกคามญาติและคนรู้จัก ประมาณว่า เมื่อเล่นงานผมไม่ได้ ก็ไปเล่นงานคนที่เมืองไทยแทน....ถ้าใครเห็นกระทู้นั้นก็คงพอจะเห็นว่า เป็นกระทู้ที่ผมเขียนในลักษณะที่ถือกันว่า เป็นแนววิชาการมากกว่าหลายกระทู้ (ค่อนข้างเป็นกระทู้ที่ยาว) คือเล่า-วิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ถึงปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างรัชกาลก่อนกับปรีดี พนมยงค์และคณะราษฎร..." สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล บันทึกความรู้สึกไว้ในเฟสบุ๊คเมื่อ 4 พฤษภาคม 2560

ทั้ง 6 คนถูกจับและควบคุมตัวในค่ายทหารก่อนจะมีการแจ้งข้อหาความผิดตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีการฝากขังในเรือนจำจนครบ 7 ผัด (84 วัน) โดยศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว แต่ในท้ายที่สุดก็ได้รับการปล่อยตัวทั้งหมด ยกเว้นคนเดียวคือ ประเวศ ประภานุกูล ทนายความอาวุโสที่โดนแจ้งข้อกล่าวหาแบบเดียวกับคนอื่น แต่มีความผิดถึง 10 กรรม พ่วงด้วยความผิดตามมาตรา 116 อีก 3 กรรม ทั้งหมดมาจากการโพสต์เฟสบุ๊ควิพากษ์วิจารณ์การเมืองของเขา


การสู้คดีรูปแบบใหม่ ไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรม

ประเวศ ประภานุกูล เป็นทนายอาวุโสที่เชี่ยวชาญคดีแพ่ง จนกระทั่งปี 2551 เขารับว่าความให้ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ผู้ต้องหาคดีหมิ่นรายแรกๆ โดยตัวเขาและลูกความมีความคิดเห็นทางการเมืองไม่ตรงกันนัก (อ่านที่นี่) คดีนั้นถูกพิจารณาโดยปิดลับ มีการยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อตีความว่า มาตรา112 ขัดรัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนหรือไม่ ทุกประเด็นที่ต่อสู้ประสบกับความพ่ายแพ้ ดารณีถูกพิพากษาจำคุก 15 ปีในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ เธอตัดสินใจไม่ฎีกาเพื่อให้คดีสิ้นสุดโดยเร็วและจะได้รับการลดโทษจากการพระราชทานอภัยโทษทั่วไปในวาระต่างๆ ความขัดแย้งทางการเมืองดำเนินเรื่อยมา ขณะที่ความคิดทางการเมืองของประเวศก็เริ่มเปลี่ยนแปลงซึ่งสามารถเห็นได้จากการแสดงความคิดเห็นในเฟสบุ๊ค ท้ายที่สุดเขาถูกจับกุมพร้อมกับกลุ่มคนที่แชร์สเตตัสของสมศักดิ์ แต่มีเขาเพียงคนเดียวที่ถูก 'เช็คบิลย้อนหลัง' และได้ความผิดมาตรา 112 มา 10 กรรม

อย่างไรก็ตาม เขาเป็นจำเลยคนแรกที่ประกาศไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นในคดีนี้ ข้ออ้างหลักคือ ความไม่เชื่อมั่นในบทบาทของตุลาการที่จะพิจารณาคดีได้อย่างเป็นธรรม เนื่องจากตุลาการตัดสินคดีภายใต้พระปรมาภิไธย เขาออกแถลงการณ์ส่วนตัวและไม่ยินยอมเซ็นเอกสารใดๆ ของศาล คดีของเขาสืบพยานในเดือนพฤษภาคมปีหน้า (2561) หรือทิ้งห่างไปอีก 9 เดือนนับตั้งแต่นัดตรวจพยานหลักฐาน  (อ่านที่นี่)

"มันเป็นเรื่องการเมือง ไม่ใช่เรื่องกฎหมาย ที่คิดแบบนี้มันมาจากประสบการณ์ที่ทำคดีให้ดา (ดารณี) และดูแนวทางของคดีอื่นๆ ที่ผ่านมา ผมไม่มีความหวังเลยว่า จะสามารถต่อสู้คดีลักษณะนี้ได้เต็มที่และบนหลักการโดยแท้จริง" ประเวศเคยให้สัมภาษณ์

นักกฎหมายรายหนึ่งให้ความเห็นต่อกรณีนี้ว่า ในทางกฎหมายนั้น กระบวนการต่างๆ ย่อมเดินต่อไปได้ เพราะถือว่าจำเลยไม่ต้องการใช้สิทธิต่อสู้คดีเอง แต่การทำเช่นนี้ของจำเลยเป็น 'การปลุกมโนธรรมสำนึก' ของทั้งสังคม โดยเอาอิสรภาพและชีวิตของตนเองเข้าแลก ซึ่งดูแนวโน้มแล้วไม่แน่ใจว่าการตัดสินใจดังกล่าวจะประสบผล


สถิติใหม่ ผู้ต้องหาอายุน้อยที่สุด 14 ปี

"ผู้ต้องหาอายุน้อยที่สุด 14 ปีต้องกำจัดเชื้อชั่ว!!!, ทหารรวบ 9 มือเผา 'ซุ้มเฉลิมพระเกียรติ' พบเป็น 'เด็ก14' รับจ้างแค่ 200 บาท ถูกปั่นหัวจัดตั้งเป็นแก๊ง, สุดเหิม!!!วางแผนเผา 3 จุด???" นั่นคือพาดหัวข่าวของสำนักข่าวทีนิวส์

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า คดีนี้มีผู้ต้องหา 9 คน ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น ในจำนวนนั้นมี 2 คนที่เป็นผู้ใหญ่วัย 25 ปีและ 60 ปี นอกจากนี้ยังมีเด็กชายอายุ 14 ปีอีก 1 คน ทั้งหมดถูกจ้างวานให้ทำการเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติที่จังหวัดขอนแก่น ผู้ใหญ่ทั้ง 8 คนถูกคุมขังจนปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีรายงานการควบคุมตัวโดยมิชอบ เช่น การบุกคุมตัวเด็กถึงโรงเรียนนำไปค่ายทหาร การจับภรรยาผู้ต้องหาเข้าค่ายทหารเมื่อตามหาตัวผู้ต้องหาไม่เจอ (อ่านที่นี่) คดีกำลังจะเริ่มพิจารณาในช่วงปลายปี 2560 ส่วนกรณีของเด็กชายวัย 14 ปี ครอบครัวไม่ประสงค์ให้เปิดเผยข้อมูล


รัชทายาทคือใคร เรื่องเก่าที่ยังใหม่จนบัดนี้ !?

มาตรา 112 นอกเหนือจากปัญหาการตีความทางกฎหมายว่าอะไรคือ 'การดูหมิ่น' ซึ่งมาตรฐานปัจจุบันของศาลได้ตีความไว้กว้างขวางมากแล้ว ในส่วนที่ว่าการคุ้มครองครอบคุมพระองค์ใดบ้างก็ยังเป็นปัญหาการตีความเช่นกัน แม้ตัวบทจะเขียนไว้ชัดเจน 4 ตำแหน่ง คือ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ตำแหน่งที่ดูจะเป็นปัญหามากที่สุดคือ องค์รัชทายาท ประเด็นนี้เป็นประเด็นละเอียดอ่อนมาหลายปีเอกสารต่างๆ ที่จะยืนยันเรื่องนี้ในการต่อสู้คดีเข้าถึงได้ยากยิ่ง ที่น่าแปลกก็คือมันยังคงเป็นเช่นนั้นแม้จะล่วงเข้าสู่รัชสมัยของรัชกาลที่ 10 แล้วก็ตาม  

เราอาจเห็นเบื้องหลังเหตุผลที่สร้างความลำบากใจให้ผู้พิพากษาได้จากหลายคดีที่พาดพิงถึง "สมเด็จพระเทพฯ" เช่น คดีของนายประจวบ อินทปัตย์ ซึ่งเกิดเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว คดีของชาญวิทย์ จริยานุกูล ที่เพิ่งพิพากษาไปในช่วงหลังรัฐประหารไม่นาน คดีของจำเลย 2 คนที่กำแพงเพชรที่ยังต้องสู้ในประเด็นนี้อีกจนปัจจุบัน ท้ายที่สุดคือคดีของอานันท์ ซึ่งศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษาแล้ว โดยศาลแต่ละแห่งแต่ละชั้นมีความ 'ละเอียดอ่อน' ต่อประเด็นนี้และให้เหตุผลแตกต่างกันไป


ประจวบ อินทปัตย์

โดนฟ้องปี 2547 ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุก 10 ปี ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุก 5 ปี ศาลฎีกาลงโทษจำคุก 4 ปี การตีความเรื่อง "รัชทายาท" ของศาลมีความเปลี่ยนแปลงอย่างน่าสนใจ ศาลชั้นต้นเห็นว่า 'รัชทายาท' หมายถึงทั้งพระราชโอรสและพระราชธิดา ขณะที่ในตอนแรกอัยการได้แยกฟ้องประจวบอีกคดีหนึ่งว่า หมิ่นสมเด็จพระเทพฯ โดยใช้กฎหมายหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 แต่ศาลเห็นว่าเป็นสิ่งไม่บังควร ขณะที่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาอ้างอิงตามกฎมณเฑียรบาลและเห็นว่า การหมิ่นประมาทสมเด็จพระเทพฯ ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดมาตรา 112 จึงให้ยกฟ้องในส่วนดังกล่าว และลงโทษเพียงส่วนของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ

ถ้อยคำของศาลชั้นต่างๆ จะทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น

ศาลชั้นต้น: "คำว่า 'รัชทายาท' ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายถึง ผู้จะสืบราชสมบัติ มิได้กล่าวถึงคำว่า 'สิทธิ' (RIGHT) แต่อย่างใด ฉะนั้นเมื่อประมวลประกอบกับบทบัญญัติมาตรา 112 เพื่อตีความแล้วย่อมต้องมีความสอดคล้องเชื่อมโยงต่อเนื่องกับคำว่า 'พระมหากษัตริย์' และ 'พระราชินี' ที่บัญญัติไว้ก่อนหน้าคำว่า 'รัชทายาท' ดังนี้ คำว่า 'รัชทายาท' แห่งบทบัญญัติมาตรา 112 จึงหมายความถึง 'พระราชโอรส' หรือ 'พระราชธิดา' ทุกพระองค์ของพระมหากษัตริย์ หาใช่เพียงลำพังแต่พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง...จึงต้องแปลว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีทรงอยู่ในความหมายของคำว่า 'รัชทายาท' แห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แต่ทั้งนี้มิได้มีประเด็นก้าวล่วงไปวินิจฉัยถึงคำว่า พระรัชทายาทตามกฎมณเฑียรบาลแต่ประการใด...การแปลกฎหมายที่มีการกระทำความผิดต่อสมเด็จพระเทพฯ โดยนำมาตรา 326 มาปรับใช้ร่วมกับประชาชนบุคคลธรรมดา ย่อมมิอาจกระทำได้ไม่ว่ากรณีใดๆ และเป็นสิ่งที่มิบังควรอย่างยิ่ง การตีความดังกล่าวเป็นอำนาจทั่วไปที่ศาลจะพึงใช้เพื่อให้มีสภาพบังคับตามกฎหมายโดยคำนึงถึงนิติธรรมประเพณี เจตนารมณ์หรือหลักการทางกฎหมายดังได้วินิจฉัยมาแล้วทั้งหมดเพื่อผดุงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์และความยุติธรรมทั้งปวง" 

ศาลอุทธรณ์ (และศาลฎีกา): "เนื่องจากโจทก์เป็นพนักงานอัยการของรัฐ ได้ทำการตรวจสอบสถานะของสมเด็จพระเทพฯ แล้ว เพราะเกี่ยวเนื่องด้วยอำนาจฟ้อง การถอนหรือแต่งตั้งองค์รัชทายาทเป็นไปตามกฎมณเฑียรบาล อันเป็นกฎหมายว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ อันเป็นกฎหมายเฉพาะ เมื่อสมเด็จพระเทพฯ มิใช่องค์รัชทายาท จึงไม่ครบองค์ประกอบแห่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112"


ชาญวิทย์ จริยานุกูล

คดีนี้ศาลจังหวัดนนทบุรีพิพากษาไปเมื่อปี 2558 การกระทำความผิดเกิดในปี 2550 เขาถูกกล่าวหาว่าแจกใบปลิวชุดหนึ่งที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ในเอกสารเอ่ยถึง 1.ในหลวงรัชกาลที่ 9 2.สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 3.สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ 4.สมเด็จพระเทพฯ คำฟ้องของอัยการระบุว่าเขาทำผิด 4 กรรม โดยนับตามการกล่าวถึง 4 พระองค์

จำเลยต่อสู้ว่า แจกใบปลิวจริงแต่วิพากษ์วิจารณ์ด้วยเจตนาดี นอกจากนี้ การแจกเอกสาร 1 ชุดควรนับเป็น 1 กรรม แต่หากศาลจะลงโทษตามแนวทางของอัยการก็เข้าองค์ประกอบเพียง 3 พระองค์เท่านั้น ทนายความจำเลยให้ข้อมูลว่า อัยการได้ทำจดหมายหารือไปยังสำนักพระราชวังเพื่อสอบถามว่า รัชทายาทมีกี่พระองค์ และได้รับหนังสือตอบกลับว่า องค์รัชทายาทคือสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ พระองค์เดียว แต่เอกสารนี้ศาลเรียกทนายและอัยการไปดูในห้องพิจารณา โดยไม่อนุญาตให้ทนายคัดถ่าย 

"การกระทำของจำเลยนั้นถือเป็นการละเมิดดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และทรงทำคุณอเนกอนันต์ให้แก่ประเทศชาติและพสกนิกรชาวไทย ข้อความที่จำเลยเขียนเผยแพร่ในใบปลิวถือเป็นการทำให้สถาบันเสื่อมเสีย มีความผิดตามมาตรา 112 ให้ลงโทษจำคุก 6 ปี ส่วนประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ถือเป็นรัชทายาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือไม่นั้น ศาลไม่วินิจฉัยเรื่องนี้เนื่องจากไม่จำเป็น เพราะการกระทำของจำเลยนับเป็นกรรมเดียวอยู่แล้ว" ศูนย์ทนายฯ รายงานถึงส่วนหนึ่งของคำพิพากษา


อัษฎาภรณ์และนพฤทธิ์

คดีนี้เกิดขึ้นที่ศาลจังหวัดกำแพงเพชรเมื่อปี 2558 เป็นคดีแอบอ้างว่าสามารถกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพฯ เสด็จมาเป็นองค์ประธานเปิดงานปิดทองฝังลูกนิมิตรของวัดได้ และมีผู้ไปเรียกรับเงินจากวัด จำเลยมี 4 คน รับสารภาพ 2 คน ถูกลงโทษฐานสวมเครื่องแบบของเจ้าพนักงานโดยไม่มีสิทธิ ปลอมแปลงเอกสารราชการ รวมถึงมาตรา 112 ให้จำคุก 7 ปี 4 เดือน แต่เนื่องจากรับสารภาพจึงลดโทษลงกึ่งหนึ่งเหลือ 3 ปี 8 เดือน ปัจจุบันจำเลยทั้งคู่ได้ออกจากเรือนจำแล้วเนื่องจากได้รับการลดโทษจากการพระราชอภัยโทษเป็นการทั่วไป ขณะที่จำเลยอีก 2 คนที่สู้คดียังถูกจำคุกจนปัจจุบัน และทนายความพยายามต่อสู้ครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อเอกสารแผ่นเดียว

รอบแรก ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องให้ศาลออกหมายเรียกเอกสารฉบับหนึ่งจากศาลจังหวัดธัญบุรี จำเลยคดีนั้นถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทสมเด็จพระเทพฯ เช่นกัน พนักงานสอบสวนคดีนั้นทำหนังสือไปถึงสำนักพระราชวังเพื่อสอบถามสถานะของสมเด็จพระเทพฯ และได้รับหนังสือตอบกลับว่า ผู้ได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาทมีเพียงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ (ขณะนั้นอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 9) เอกสารฉบับนี้ถูกอ้างอิงในศาลธัญบุรีและพนักงานสอบสวนก็มาเบิกความด้วย อีกทั้งจำเลยยังชนะคดี

"ศาลไม่อนุญาตให้ออกหมายเรียกหนังสือดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า ไม่ปรากฏความมีอยู่แน่ชัดของเอกสารชิ้นนี้ ทั้งที่เรามีการระบุถึงเลขหนังสือของสำนักพระราชวัง" ธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายความจำเลยกล่าว

รอบสอง ทนายความยื่นคำร้องใหม่อ้างคำเบิกความของพนักงานสอบสวน อ้างคำฟ้องในคดีของศาลจังหวัดธัญบุรีและบรรยายถึงความสำคัญของเอกสารชิ้นนี้ว่ามีการตอบข้อหารือของพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดีที่สำคัญที่จำเลยต่อสู้ ศาลไม่อนุญาตให้ออกหมายเรียก

"ศาลเรียกทนายไปคุย บอกเพียงคร่าวๆ ว่า ศาลไม่อาจไปก้าวล่วงได้" ธีรพันธุ์กล่าว

รอมสาม ทีมทนายความค้นเจอเอกสารในเว็บไซต์ของคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งตอบข้อหารือของกรมตำรวจเมื่อปี 2532 ว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเป็นรัชทายาทพระองค์เดียว คราวนี้ศาลอนุญาตให้ออกหมายเรียกเพื่อขอเอกสารจากกฤษฎีกา แต่เมื่อนำหมายไปส่งเพียงวันเดียว เอกสารที่เคยปรากฏในเว็บไซต์ก็ถูกถอดออก พร้อมกับที่คณะกรรมการกฤษฎีกาส่งแฟกซ์มายังศาลว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารลับของทางราชการ อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ โดยอ้างตามระเบียบการรักษาความลับของทางราชการและ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ.2540 ขณะนี้ทางทนายความได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเรียกเลขาธิการกฤษฎีกามาสอบถามถึงเหตุที่ไม่ส่งเอกสารฉบับนี้ว่า มีเหตุตามสมควรหรือไม่

"โดยปกติแล้ว การต่อสู้คดีต้องเปิดโอกาสให้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลยได้เต็มที่ พอเป็นคดีนี้รู้สึกว่า ทุกกระบวนการที่กฎหมายให้อำนาจ ให้สิทธิเราไว้ พอเราจะใช้สิทธิ มันตีบตัน มันพบอุปสรรคไปเสียหมด ในคดีอื่นๆ เราไม่เคยพบอุปสรรคขนาดนี้มาก่อน" ธีรพันธุ์กล่าว


อานันท์

คดีนี้ไม่เป็นข่าว เขาถูกกล่าวหาว่า พูดคุยกับเพื่อนโดยพาดพิงสมเด็จพระเทพฯ เหตุเกิดตั้งแต่ปี 2555 และตำรวจสั่งไม่ฟ้องไปแล้ว แต่เมื่อเกิดการรัฐประหารปี 2557 คดีประเภทนี้ถูกนำกลับมาทบทวนใหม่ เขาถูกฟ้องที่ศาลธัญบุรี ศาลชั้นต้นและศาลอุทรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่า ข้อเท็จจริงไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 อย่างไรก็ตาม อัยการได้ดำเนินการฎีกาต่อ คดีจึงยังไม่สิ้นสุด


บุคคล/สิ่งใหม่ ที่ได้รับการคุ้มครองตาม ม.112

หากดูตามตัวอักษร มาตรานี้ระบุ 'ตำแหน่ง' ปัจจุบันที่ได้รับการคุ้มครอง 4 ประเภท แต่การตีความกฎหมายในทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมทั้งตำรวจ อัยการ ศาลนั้นกว้างขวางไปกว่านั้นมาก เท่าที่ปรากฏพบว่ามันครอบคลุมถึง อดีตกษัตริย์ สุนัขทรงเลี้ยง พระราชวงศ์พระองค์อื่นๆ และบางกรณีอาจวิเคราะห์เชื่อมโยงได้ถึงองคมนตรี มีตัวอย่างคดีที่ไล่เรียงตามช่วงเวลาดังนี้

ณัชกฤช จัดรายงานวิทยุชุมชนในปี 2548 เขาตอบคำถามผู้ฟังที่โทรเข้ามาถามเรื่องที่เขาสอบตกในการเลือกตั้งท้องถิ่น เขาอธิบายโดยเปรียบเทียบว่า ถ้าได้เข้าไปแล้วเหมือนสมัยรัชกาลที่ 4 เขาจะไม่ทำ อัยการฟ้องว่า เขากล่าวว่าการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้นเป็นระบบทาสซึ่งเป็นการปกครองที่ไม่ดี การกล่าวเช่นนี้ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาในพระองค์ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า เขามีความผิดจริงตามฟ้อง ให้จำคุก 4 ปี รับสารภาพเหลือ 2 ปี แต่ให้รอการลงโทษไว้ ต่อมาศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาเพราะเห็นว่า คำว่า 'พระมหากษัตริย์' ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หมายถึงพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ขณะมีการกระทำความผิด

"โจทก์ฟ้องว่า จำเลยหมิ่นประมาทกษัตริย์ รัชกาลที่ 4 ซึ่งไม่ได้ครองราชย์ขณะที่จำเลยกระทำความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิด ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบ แม้จำเลยจะรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้" ศาลอุทธรณ์ระบุ

ท้ายที่สุดศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลชั้นต้น โดยเห็นว่า การหมิ่นประมาทอดีตกษัตริย์ย่อมกระทบต่อกษัตริย์องค์ปัจจุบันซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐด้วย

ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ 'ดา ตอร์ปิโด' ปี 2551 เธอถูกจับกุมคุมขังและถูกฟ้องในความผิด 3 กรรมจากการปราศรัยบนเวทีเล็กๆ ที่สนามหลวง เนื้อหาส่วนหนึ่งมีการพาดพิงถึงบุคคลที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ ซึ่ง เดวิด สเตร็คฟัส นักวิชาการที่ศึกษากฎหมาย 112 มายาวนานได้ตั้งข้อสังเกตส่วนหนึ่งในคำตัดสินของศาลไว้ว่า คำพิพากษาอ้างรัฐธรรมนูญ มาตรา 12  (รัฐธรรมนูญ 2540) ที่ระบุว่า พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งประธานองคมนตรี ทำให้ดูราวกับว่า มาตรา 112 นี้พลอยทำให้ประธานองคมนตรีได้รับการคุ้มครองไปด้วย 

"แม้คำตัดสินจะไม่ระบุออกมาตรงๆ ก็ดูเหมือนว่า การวิพากษ์วิจารณ์เปรมของดารณีนั้นไปละเมิดดุลยพินิจในการแต่งตั้งประธานองคมนตรีของกษัตริย์" บทความของสเตร็คฟัส ในวารสารฟ้าเดียวกัน ฉบับกรกฎาคม-กันยายน 2552 ระบุ

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ในปี 2554 อดีตอาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ ถูกแจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 มาแล้วเนื่องจากเขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์การประทานสัมภาษณ์ของเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ คดีนี้กองทัพบกเป็นผู้แจ้งความกล่าวโทษ ปัจจุบันสมศักดิ์ลี้ภัยไปยังต่างประเทศตั้งแต่เกิดรัฐประหาร 2557

ฐนกร ปลายปี 2558 หนุ่มโรงงานถูกฟ้องคดี 112 จำนวน 2 กรรม เนื่องจากไปกดไลก์ภาพและข้อความในเฟสบุ๊คแฟนเพจแห่งหนึ่งที่เข้าข่ายความผิด กับโพสต์ประชดประชันเกี่ยวกับสุนัขทรงเลี้ยง (คุณทองแดง) ในเฟสบุ๊คส่วนตัว แต่ต้องหมายเหตุไว้ด้วยว่า เขาถูกดำเนินคดีนี้ในช่วงที่ 'คดีทุจริตราชภักดิ์' กำลังโด่งดัง และกรรมที่ 3 ของเขาเป็นความผิดฐานปลุกปั่นยุยงเพราะโพสต์ภาพคนที่เกี่ยวข้องกับโครงการราชภักดิ์ ซึ่งต้นทางของภาพมาจากกลุ่มนักกิจกรรมนักศึกษาที่รณรงค์การตรวจสอบประเด็นความโปร่งใสของโครงการ เรื่องนี้เป็นที่ฮือฮาในข่าวต่างประเทศหลายสำนัก เขาถูกคุมขังอยู่ถึง 3 เดือนกว่าจะได้ประกันตัว คดีถูกพิจารณาที่ศาลทหาร นัดตรวจพยานหลักฐานวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560

สุลักษณ์ ศิวรักษ์  9 ตุลาคม 2560 ตำรวจสั่งฟ้องในคดีที่เขาร่วมอภิปรายเรื่อง 'ประวัติศาสตร์ว่าด้วยการชำระและการสร้าง' ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อเดือนตุลาคม 2557 ตำรวจแจ้งข้อกล่าวหาด้วยเหตุผลว่าเขาหมิ่นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพราะกล่าวว่า การทรงยุทธหัตถีไม่มีจริง ฯลฯ อัยการทหารนัดฟังคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีนี้ต่อศาลทหารในวันที่ 7 ธันวาคม นี้
 

เงื่อนไขใหม่ สืบพยานนานจนลงเอยที่ 'รับสารภาพ'

ระหว่างที่ผู้ต้องหาคดี 112 ต่อสู้คดี ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาจะไม่ได้รับการประกันตัว เหตุผลหลักของศาลไม่ว่าศาลทหารหรือศาลพลเรือน คือ "คดีมีความร้ายแรง" "เกรงผู้ต้องหาจะหลบหนี" แต่ความยาวนานในการสืบพยานนั้นต้องยกให้ศาลทหาร สาเหตุเพราะมีการ 'เลื่อน' ไปเรื่อยๆ และการนัดสืบพยานไม่ใช่การนัดต่อเนื่องเช่นศาลอาญา

สำหรับศาลอาญา หากเริ่มสืบพยานเมื่อใด ฝ่ายโจทก์และจำเลยจะได้วันนัดเป็นชุด 2 วัน 3 วัน 5 วันแล้วแต่จำนวนพยานในบัญชีพยาน สืบให้เสร็จทั้งหมดแล้วนัดพิพากษาคดี ส่วนศาลทหารนั้นจะนัดทีละ 1 นัด และมักมีการเลื่อนเป็นประจำ เมื่อเลื่อนแล้วก็จะนัดครั้งใหม่ในเดือนหน้าหรือกระทั่งห่างกัน 3-4 เดือน

"อันที่จริงแล้วมีจำเลยหลายคนที่อยากจะสู้คดี เช่น สมัคร ธารา วิชัย คฑาวุธ อารีย์ คนเหล่านี้อยากสู้คดีทั้งนั้น บางคนสู้ว่าไม่เจตนา บางคนอยากสู้ในทางเนื้อหาด้วยว่าไม่ได้หมิ่น ถ้าขึ้นศาลพลเรือนคงสู้สุดทางแน่นอน แต่นี่เป็นศาลทหาร และหลายคนเปลี่ยนใจเพราะถูกขังนานมาก" ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการไอลอว์ที่ติดตามคดี 112 มายาวนานกล่าว

ยิ่งชีพเปรียบเทียบระบบการจัดการของศาลอาญาเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นว่า ในศาลอาญา หากพยานไม่มา ศาลอาจให้โอกาสอีกในนัดหน้า แต่หากไม่มาอีกจะต้องตัดพยานนั้นทิ้ง ไม่ใช่เลื่อนแบบไม่มีที่สิ้นสุดเหมือนศาลทหาร

"ในศาลทหาร เวลาพยานติดราชการจะรู้ก่อนอยู่แล้วแต่ไม่มีการแจ้งทนาย พอถึงวันสืบพยาน สิบโมงครึ่ง ทุกคนมาเต็มห้อง ศาลเดินเข้ามา คำถามแรกที่ศาลถามคือ เอายังไงดีคดีนี้ ทั้งที่เป็นนัดที่สองนัดที่สามแล้วก็ยังถาม พอทางจำเลยยืนยันว่าจะสู้ ศาลก็บอกว่า พยานไม่มานะวันนี้ ติดราชการ นัดอีกทีนู่น 3 เดือน" ยิ่งชีพกล่าว

การเลื่อนสืบพยานไปเรื่อยๆ ของศาลทหาร นอกจากส่งผลเสียต่อจำเลยแล้ว ยังส่งผลต่อการทำงานของทนายความด้วย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เป็นองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนที่รับทำคดี 112 เป็นจำนวนมาก เนื่องจากทนายทั่วไปมักหลีกเลี่ยงการทำคดีนี้และจำเลยส่วนใหญ่มีฐานะยากจน

ภาวิณี ชุมศรี อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า การสืบพยานต่อเนื่องแบบศาลอาญาทำให้ทนายความมีสมาธิจดจ่อทีละคดีอย่างเต็มที่ ขณะที่ศาลทหารนั้นพยานแต่ละปากอาจใช้เวลาถึง 2-3 นัด แต่ละนัดห่างกันหลายเดือน

"ยกตัวอย่างเช่น เดือนกันยายนที่ผ่านมามี 3 คดีที่ต้องสืบที่ศาลทหาร คือ ถามค้านพยานทหารที่จับแม่จ่านิว เขาเคยให้การไว้หลายเดือนแล้ว เราก็เตรียมอ่านสำนวนย้อนหลัง เตรียมคำถามค้าน ถึงวันนัดปรากฏพยานไม่มา วันรุ่งขึ้นต้องถามค้านพยานคดีพี่หนูหริ่ง (สมบัติ บุญงามอนงค์) ซึ่งถามไว้คราวที่แล้วเมื่อหลายเดือนก่อน แต่ยังถามไม่จบ ก็ต้องไปนั่งอ่านว่าถามอะไรไปแล้วบ้าง พอไปถึงศาล พยานไม่มาอีก อาทิตย์ต่อมามีคดีคุณอัญชัญ ประชุมคดีกับทนายคนอื่นเรียบร้อย เพื่อถามพยานปากนี้ ปรากฏพยานไม่มาอีก นัดอีกทีเดือนมกราปีหน้า นี่แค่ส่วนหนึ่ง ทุกอย่างมันกระจัดกระจายและยาวนานมาก" ภาวิณีกล่าว

ทั้งนี้ นอกเหนือจากสภาพบังคับ (รับสารภาพ) ในแง่ความยาวนานในการพิจารณาคดีแล้ว ยังมีรายงานเพิ่มเติมด้วยว่าในบางกรณีจำเลยก็เปลี่ยนใจเพราะได้รับการติดต่อพูดคุยจากฝ่ายความมั่นคง มีจำเลยคนหนึ่งให้ข้อมูลว่าเจ้าหน้าที่ทหารเข้าไปพูดคุยระหว่างถูกคุมขังในเรือนจำ โดยบอกว่าหากรับสารภาพจะทำให้โทษน้อยลงและจะช่วยผลักดันกระบวนการให้ได้รับการพระราชทานอภัยโทษโดยเร็ว เขาจึงตัดสินใจรับสารภาพทั้งสองคดี แต่กลับถูกลงโทษหนักและจนถึงปัจจุบันการขอพระราชทานอภัยโทษไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด
 

แนวทางใหม่ของโทษจำคุก

'ยี่ต๊อก' เป็นภาษาปากที่หมายความถึง แนวทางการกำหนดโทษจำคุกของศาลแบบกว้างๆ และไม่เป็นทางการ เพื่อให้คดีลักษณะเดียวกันมีแนวการลงโทษใกล้เคียงกัน

ตั้งแต่ราวปี 2550 มาจนถึงก่อนการรัฐประหาร เราพอจะเห็นกรอบการลงโทษของศาลอาญาได้ว่า ส่วนมากจะกำหนดโทษจำคุก 5 ปีต่อกรรม เช่น คดีดารณี ชาญเชิงศิลปกุล คดีอำพล ตั้งนพกุล คดีสมยศ พฤกษาเกษมสุข ฯลฯ นอกเหนือไปจากนี้ ไม่ว่าจะโทษสูงกว่านี้หรือน้อยกว่านี้ปรากฏให้เห็นน้อยมาก ส่วนมากเป็นคดีที่เงียบและไม่ได้รับความสนใจ เช่น คดีที่ศาลจังหวัดร้อยเอ็ด เคยกำหนดโทษจำคุก 3 ปีและให้รอการลงโทษ จากการมีใบปลิวเข้าข่ายหมิ่นฯ อยู่ที่เถียงนา

หลังการรัฐประหาร เมื่อคดี 112 ถูกกำหนดให้ต้องขึ้นศาลทหาร โทษของคดีนี้มีความยืดหยุ่นสูงขึ้นมาก เกือบทั้งหมดเป็นการลงโทษหนัก คือ จำคุก 9-10 ปีต่อกรรม ไม่ว่าจะเป็น เธียรสุธรรม พงษ์ศักดิ์ เครือข่ายบรรพต ฯลฯ หรือลงโทษ 7 ปีต่อกรรม ในกรณีของบุรินทร์ที่แชทกับ 'แม่จ่านิว' ในกล่องข้อความเฟสบุ๊ค

ขณะที่โทษจำคุกต่ำสุดที่ศาลทหารนั้นลงไปถึง 3 ปี แต่ก็พบเพียงกรณีเดียวคือ โอภาส ชายสูงวัยที่เขียนผนังห้องน้ำในห้างสรรพสินค้า นอกจากนี้ยังพบการลงโทษจำคุก 5 ปี แต่ให้รอลงอาญาไว้อีก 1 กรณีคือ คดีเผยแพร่แถลงการณ์ปลอมของผู้ดูแลเว็บ ASTV และประชาชนอีกคนหนึ่ง

ส่วนศาลพลเรือนในช่วงเวลา 3 ปีเศษที่ผ่านมาของรัฐบาล คสช. เราพบว่า การกำหนดบทลงโทษมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เช่น คดีปิยะ ซึ่งถูกแยกเป็น 4 กรรม (จากพฤติการณ์การส่งอีเมลจากสองอีเมล) แม้ศาลลงโทษเพียงกรรมเดียว แต่ลงโทษจำคุกถึง 8 ปี (เขาถูกฟ้อง 112 อีกคดีหนึ่งในเวลาใกล้เคียงกันถูกลงโทษจำคุก 9 ปี) คดีชาญวิทย์ อัยการฟ้องแยกเป็น 4 กรรม จากใบปลิวฉบับเดียวแยกตามการกล่าวถึงพระองค์ต่างๆ แม้ศาลลงโทษเพียงกรรมเดียว แต่ก็ลงโทษจำคุกถึง 6 ปี

"ช่วงหลังรัฐประหาร พอศาลทหารลงโทษเป็นสิบปี ดูเหมือนยี่ต๊อกของศาลอาญาจะเพิ่มขึ้นจากของเดิม (5 ปี) ด้วยเช่นกัน" ทนายความคนหนึ่งตั้งข้อสังเกต

อย่างไรก็ตาม ต้องกล่าวไว้ด้วยว่า โทษโดยรวมหลังยุครัฐประหาร โดยเฉพาะคดีที่พิจารณาในศาลทหารนั้นสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ เนื่องจากความผิดส่วนมากเกิดในอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย การนับ 'กรรม' หรือจำนวนการกระทำความผิดที่ตำรวจและอัยการฟ้องจึงเป็นการนับจำนวนครั้งที่โพสต์หรือแชร์ จำเลยจึงถูกลงโทษเรียงกรรม เช่น ธารา ถูกลงโทษจำคุก 18 ปี  24 เดือน จาก 12 ลิงก์ที่เผยแพร่,  พงษ์ศักดิ์ถูกลงโทษจำคุก 60 ปี จากการโพสต์เฟสบุ๊ค 6 ครั้ง,  วิชัยถูกลงโทษจำคุก 70 ปีจากการโพสต์เฟสบุ๊ค 10 ครั้ง และอัญชัญ ผู้ต้องหาหญิงคนหนึ่งในเครือข่ายบรรพตถูกฟ้องมากถึง 29 กรรมจากการแชร์คลิปบรรพต 29 ครั้ง ขณะนี้คดีนี้อยู่ระหว่างการสืบพยานโจทก์ปากที่ 4 หลังถูกคุมขังมานานกว่า 3 ปี

นอกจากนี้ 'ค่าพื้นฐาน' อีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงหลังก็คือ การพิจารณาคดีแบบปิดลับ ศาลทหารนั้นในทางปฏิบัติ การเปิดให้สาธารณะเข้าฟังนับเป็นข้อยกเว้น ขณะที่ศาลอาญาซึ่งก่อนหน้านี้การปิดลับเป็นข้อยกเว้น ก็มีสภาพที่ปิดลับมากขึ้นเรื่อยๆ 
 

มิอาจต่อสู้เนื้อหา สิ่งเก่าที่ไม่เปลี่ยนแปลง

แนวคิดที่แตกต่างนั้นปรากฏอยู่ในทุกสังคม และเป็นสิ่งที่สังคมเสรีประชาธิปไตยพึงยอมรับในการแสดงออกถึงความแตกต่าง แต่สำหรับประเทศไทยการวิพากษ์วิจารณ์การเมืองมักมีเพดานอยู่ที่การไม่อาจก้าวล่วงสถาบันกษัตริย์ไม่ว่ากรณีใดๆ แม้จะด้วยความเชื่อโดยสุจริตและเจตนาดีก็เป็นการยากเนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกดำเนินคดีและยากต่อการพิสูจน์ในกระบวนการยุติธรรม

ท่ามกลางคดี 112 ที่เพิ่มจำนวนขึ้น เราพบว่า หลายกรณีไม่ใช่ถ้อยคำหยาบคาย และพวกเขาต้องการสู้คดีแม้จะถูกคุมขังระหว่างสู้คดีอย่างยาวนาน ปัญหาสำคัญคือ สาธารณชนไม่อาจล่วงรู้ว่าพวกเขาพูดอะไร ผิดหรือถูกเพียงไหน มีเหตุผลหรือไม่ เพราะข้อความต่างๆ ไม่อาจนำเสนอซ้ำได้ เนื่องจากผู้นำเสนออาจถูกดำเนินคดีได้ด้วยเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่าง

คดีของดารณีตั้งใจสู้ในประเด็นเนื้อหา ศาลสั่งพิจารณาคดีลับ จึงไม่มีใครได้เห็นข้อต่อสู้และข้อถกเถียงในศาล แม้มีคำพิพากษาแล้ว สื่อมวลชนก็เผยแพร่เพียงข้อสรุปสั้นๆ (ขณะที่สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้เผยแพร่ข้อความของดารณีในเวทีปราศรัยผ่านดาวเทียม ศาลพิพากษาว่า กระทำไปด้วยเจตนาดี จึงพิพากษายกฟ้อง)

คดีของสมยศ มีการต่อสู้ในทางเนื้อหาและศาลไม่สั่งพิจารณาลับ กระนั้นผู้คนก็ไม่มีโอกาสได้อ่านบทความต้นเรื่องทั้งหมด และเห็นเพียงการต่อสู้ว่า ถ้อยคำที่ 1,2,3,.... หมายถึงใคร ระหว่างฝ่ายโจทก์และจำเลย โดย 'ตัวแทนของวิญญูชนทั่วไป' ได้แก่ พยานผู้เชี่ยวชาญไม่กี่คนที่เบิกความถึงการตีความของตน และพยานทั่วไปซึ่งเป็นนักศึกษาฝึกงานของดีเอสไอเอง

คดีของสิรภพ การสืบพยานในศาลทหารเป็นไปโดยปิดลับและยังอยู่ที่พยานโจทก์ปากที่ 2 เราจึงไม่อาจล่วงรู้ข้อมูลใดได้ นอกจากคำบอกเล่าของทนายที่ว่า คดีนี้ขึ้นอยู่กับการตีความอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นงานศิลปะอย่างบทกวีและภาพการ์ตูนเสียดสี

"วิธีสู้ที่เห็นว่าจะได้ยกฟ้องอยู่บ้างคือ 'ไม่ได้ทำ' เท่านั้น ถ้าสู้ว่า สิ่งที่พูด 'ไม่หมิ่น' หรือไม่ได้เจตนาหมายถึงสถาบันนั้นสู้ยาก ยังไม่เห็นมีใครรอด ยกเว้นคดีเก่านานมากแล้วของ ส.ศิวรักษ์" ยิ่งชีพจากไอลอว์กล่าว

 

ในตอนสุดท้าย จะเป็นการนำเสนอมุมมองวิพากษ์ต่อตุลาการ และมุมมองจากตุลาการเอง ว่าด้วยคดี 112  

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จัดงบดูแลผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพิงปี 61 ‘1.2 พันล้าน’ ดึงท้องถิ่นร่วมจัดแล้วกว่า 4 พันแห่ง

Posted: 15 Nov 2017 12:31 AM PST

สปสช.ชู 'กองทุน LTC เทศบาลอุโมงค์' บูรณาการทุกภาคส่วนในพื้นที่ ร่วมดูแล "ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง" อย่างเป็นระบบ ยกระดับคุณภาพชีวิต พร้อมเผย ปี 61 รัฐบาลจัดสรรงบส่วนนี้ 1.2 พันล้าน ดึงท้องถิ่นร่วมจัดแล้วกว่า 4 พันแห่ง คาด 5 ปี ครอบคลุมทั้งประเทศ   

 

14 พ.ย.2560 รายงานข่างแจ้งว่า เมื่อวันที่ 14 พ.ย.ที่ผ่านมา นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร สปสช. ลงพื้นที่เทศบาลตำบลอุโมงค์ จ.ลำพูน เพื่อเยี่ยมชมการดำเนินงาน "กองทุนการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care: LTC) และ "กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจังหวัดลำพูน" โดยมี ขยัน วิพรหมชัย นายกเทศบาลตำบลอุโมงค์ จ.ลำพูน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ

ขยัน กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ราว 10 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาดการณ์ในอีก 10 ปีข้างหน้า ผู้สูงอายุในประเทศจะเพิ่มเป็นร้อยละ 21 และในอีก 14 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 24 ของประชากร ส่งผลให้ไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูณ์แบบ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงระบาดวิทยา การเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อแบบเฉียบพลันและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่นำมาซึ่งภาวะทุพพลภาพต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ศักยภาพครัวเรือนในการดูแลผู้สูงอายุถดถอยลงด้วยความเปลี่ยนแปลงของสังคมชนบทสู่สังคมเมือง ปี 2559 รัฐบาลได้มีนโยบายสำคัญเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียง จัดสรรงบประมาณผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

นายกเทศบาลตำบลอุโมงค์กล่าว ต่อว่า เทศบาลอุโมงค์มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 3,216 คน คิดเป็นร้อยละ 23.8 พื้นที่ เป็นจำนวนผู้สูงอายุสูงเป็นอันดับ 1 ของจังหวัดลำพูนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการเข้าร่วมจัดระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทำให้ได้รับงบประมาณสนับสนุน ปี 2559 จำนวน 920,000 บาท ส่งผลให้เกิดการจัดตั้ง "ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการตำบลอุโมงค์" บริหารโดยคณะกรรมการ มีผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (Care Manager : CM) จำนวน 3 คน  และผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care giver : CG) จำนวน 23 คน ที่ผ่านการฝึกอบรม ในการดูแลผู้สูงอายุแต่ละรายมีการวางแผนดูแลร่วมกับคณะอนุกรรมการ LTC จังหวัด ประกอบด้วย สสจ.ลำพูน, สสอ.เมืองลำพูน ผู้แทน รพ.ลำพูน และ รพ.สต.ในพื้นที่ ปัจจุบันมีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลจำนวน 122 คน    

นอกจากนี้เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุครบวงจร ชุมชนยังมีระบบสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวให้อยู่อย่างมีความสุข เช่น การจัดตั้ง "ชมรมอาสาปันสุขตำบลอุโมงค์" มีจิตอาสาร่วมกิจกรรมดูแลผู้สูงอายุด้านอนามัยส่วนบุคคลและอนามัยสิ่งแวดล้อม ในวันเสาร์ที่ 2 และ 4 ของเดือน  

"การจัดตั้งกองทุน LTC เป็นงานใหม่ของ อปท.ระยะแรกการทำงานจึงค่อนข้างยากทั้งเรื่องการจัดระบบสนับสนุนและการตรวจสอบ แต่เมื่อบูรณาการจัดบริการสาธารณสุขกับบริการสังคมเข้าด้วยกัน จากการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น" นายกเทศบาลตำบลอุโมงค์ กล่าว  

นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า การดำเนินงานกองทุน LTC เทศบาลตำบลอุโมงค์นับเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดระบบเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เรื่องนี้รัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยจัดงบประมาณสนับสนุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 600 ล้านบาทในปี 2559 เป็น 900 ล้านบาทในปี 2560 และเพิ่มเป็น 1,200 ล้านบาทในปี 2561 นี้ เพราะมองเห็นประโยชน์เพื่อดูแลผู้สูงอายุในอนาคต ขณะนี้มี อปท.ราว 4,000 แห่งที่เข้าร่วมจัดตั้งระบบนี้แล้ว และคาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าครอบคลุม อปท.ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สกว.เปิดเวทีสัญจรระดมสมองทำแผนยุทธศาสตร์ สานพลังวิจัย-นวัตกรรมเปลี่ยนประเทศ

Posted: 14 Nov 2017 11:16 PM PST

สกว.เปิดเวทีสัญจรพบประชาคมวิจัย ประเดิมภาคกลางที่กรุงเทพฯ ก่อนเดินสายภูมิภาคต่าง ๆ หวังระดมสมองประชาคมวิจัยสานพลังการวิจัยและนวัตกรรมสู่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภายใน 20 ปี

15 พ.ย. 2560 รายงานข่าวจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) แจ้งว่า สกว. จัดการประชุม สัญจรพบประชาคมวิจัย: ภาคกลาง โดยมี ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. เป็นประธานเปิด ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อนำเสนอแผนยุทธศาสตร์ สกว. ประจำปี 2560-2564 ให้ประชาคมเครือข่ายวิจัยของ สกว. รับทราบ รวมถึงเป็นเวทีรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านก่อนนำไปปรับปรุงแผนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับความต้องการในภาพรวมของประชาคมวิจัยและของประเทศ ภายใต้วิสัยทัศน์สานพลังการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยสู่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภายใน 20 ปี

รายงานข่าวจาก สกว. ระบุด้วยว่า สกว.ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ขึ้นเพื่อเป็นกรอบแนวทางในการบริหารจัดการทุนวิจัย และการบริหารองค์กรเพื่อตอบสนองต่อทิศทางการพัฒนาประเทศ โดยมีเป้าหมายที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์การิวจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ 20 ปี และนโยบายประเทศไทย 4.0 เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนให้เกิดขึ้นภายใต้กรอบแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยขับเคลื่อนผ่าน 5 ยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่ (1) สนับสนุนและบริหารจัดการงานวิจัยและพัฒนาในประเทศสำคัญ มุ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมที่ก้าวนำการเปลี่ยนแปลงของโลก สร้างนโยบายและต้นแบบการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและประเทศเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (2) สร้างนักวิจัยใหม่และพัฒนาศักยภาพนักวิจัย บุคลากร เครือข่ายและองค์กรวิจัยในทุกระดับให้เข้มแข็ง เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ (3) สนับสนุนการพัฒนาระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ร่วมในการปฏิรูประบบวิจัย บูรณาการกับหน่วยงานบริหารงานวิจัยและหน่วยงานสนับสนุนทุนวิจัยในทุกภาคส่วน ตลอดจนพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยบริหารงานวิจัยนานาชาติ (4) บริหารจัดการผลงานวิจัยให้นำไปใช้ประโยชน์และสื่อสารสังคมจนเกิดผลกระทบในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม รวมถึงพัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลลัพธ์ ผลกระทบของงานวิจัย (5) พัฒนาและออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

ผู้อำนวยการ สกว. ระบุว่าการดำเนินงานเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในครั้งนี้ได้เปิดให้ผู้ส่วนได้ส่วนเสียจากหลายภาคส่วนได้มีส่วนร่วม และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายฯ และคณะกรรมการประเมินผลฯ ผู้บริหาร และพนักงาน สกว. เพื่อให้แผนมีความสมบูรณ์และตอบสนองต่อการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายอย่างกว้างขวาง ซึ่ง สกว.จะจัดเวทีในทั้ง 4 ภูมิภาค คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ซึ่งจะทำให้แผนยุทธศาสตร์ฉบับนี้บรรลุวัตถุประสงค์และได้รับความร่วมมือจากประชาคมวิจัยทุกภาคส่วน พร้อมกันนี้จะถือเป็นโอกาสดีในการแนะนำโครงการใหม่ ๆ ของ สกว. ในการแนะนำโครงการใหม่ ๆ โครงการสำคัญ และภาพรวมของนโยบายการดำเนินงานในระยะ 5 ปีของ สกว. ตลอดจนช่องทางการดำเนินงาน รวมถึงพบปะพูดคุยรับกับประชาคมวิจัยเพื่อสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร เพื่อประโยชน์ในการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยและนักวิจัย อันจะนำไปสู่ประโยชน์ในการพัฒนาระบบวิจัยของประเทศต่อไป

ทั้งนี้นวัตกรรมการบริหารจัดการทุนวิจัยใหม่ของ สกว. คือ แผนงานวิจัยสำคัญ (TRF Flagship Research Program: TRP) ที่มุ่งหวังผลกระทบระดับชาติ อาทิ การสร้างขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน, จังหวัด 4.0 ออกแบบและพัฒนาเมืองเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด, ท่องเที่ยว 4.0 พัฒนาการท่องเที่ยวของไทยสู่ความยั่งยืน โดยมีผู้ใช้ประโยชน์ที่เป็นผู้ประกอบการและผู้มีอำนาจในการตัดสินใจทั้งภาครัฐ สังคม เอกชน อุตสาหกรรม เป็นต้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักสตรีนิยม 'จูดิธ บัตเลอร์' ถูกขวาจัดบราซิลประท้วงขับไล่

Posted: 14 Nov 2017 08:57 PM PST

จูดิธ บัตเลอร์ เป็นนักสตรีนิยม ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีเพศสภาพ ถูกกลุ่มขวาจัดจำนวนหนึ่งออกมาขับไล่ระหว่างร่วมจัดเสวนาในบราซิล พวกเขาทำภาพสาปแช่ง-เผาราวกับ 'ล่าแม่มด' เพราะไม่พอใจแนวคิดสนับสนุนความหลากหลายทางเพศของเธอ

14 พ.ย. 2560 เมื่อราวสัปดาห์ที่แล้วมีการจัดประชุมวิชาการในบราซิลซึ่ง จูดิธ บัตเลอร์ นักสตรีนิยมชาวอเมริกันผู้เคยเสนอแนวคิดด้านเพศสภาพ เป็นผู้ร่วมจัดงาน งานประชุมวิชาการดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องเพศสภาพโดยตรงแต่เป็นงานที่พูดเกี่ยวกับเรื่องประชาธิปไตยและบัตเลอร์ก็ไม่ได้ขึ้นเวทีร่วมพูดด้วย แต่ก็มีกลุ่มคนในบราซิลที่ไม่พอใจด่าว่าเธอเป็น "แม่มด" กล่าวหาว่าเธอเป็นผู้ที่จะ "ทำลายอัตลักษณ์ทางเพศ" และอ้างว่าการทำเช่นนี้จะ "ลดทอนคุณค่าของประเทศ"

คนเหล่านี้คิดว่าบัตเลอร์จะมาพูดในประเทศบราซิลด้วยประเด็นจากหนังสือชื่อ Gender Trouble ซึ่งพูดถึงเพศสภาพของคนเราว่าเป็นสิ่งที่ถูกทำให้ยอมรับกันไปเองจากบรรทัดฐานสังคม และข้อจำกัดทางสังคมเหล่านี้ก็เป็นสิ่งกำหนดแปะป้ายให้คนเป็นเพศอะไร อีกทั้งบัตเลอร์ยังสนับสนุนให้มีการยอมรับและสร้างภาษาสำหรับคนที่มีนิยามเพศสภาพตนเองแบบไม่สามารถกำหนดเป็นชายหรือเป็นหญิงได้ตายตัว แต่กลุ่มอนุรักษ์นิยมที่ต่อต้านก็ไม่พอใจกล่าวหาว่าแนวคิดของบัตเลอร์ "เลวทรามดั่งปีศาจร้าย"

 
 

กลุ่มคนที่ไม่พอใจบัตเลอร์พากันสร้างรูปจำลองของเธอสวมบราสีชมพูและเผาทิ้งในที่ชุมนุม มีการเขียนข้อความใต้ภาพของเธอว่า "ลงนรกไปซะ" รวมถึงถ้อยคำที่เลวร้ายกว่านั้น บางคนชูไม้กางเขนและธงบราซิล สื่อท้องถิ่นของบราซิลรายงานว่ากลุ่มชาวคริสต์ขวาจัดออกมาชุมนุมและล่ารายชื่อขับไล่ให้เธอออกห่างจากบราซิลซึ่งแน่นอนว่าบัตเลอร์ไม่ยอม

เมื่อข่าวเรื่องการประท้วงแพร่ออกไปก็มีกลุ่มคนในวงการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์พากันส่งเสียงสนับสนุนเธอ ฟรองชัวส์ ซอยเยอร์ นักประวัติศาสตร์เกี่ยวกับยุคกลางจากมหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันในอังกฤษระบุผ่านทวิตเตอร์ว่า "คุณจะรู้ได้อย่างไรว่างานวิจัยของคุณส่งผลสะเทือน นั่นก็คือเมื่อมีกลุ่มม็อบถือไบเบิลและกางเขนเผารูปจำลองของคุณอยู่นอกงานสัมมนาของคุณน่ะสิ"

ทั้งนี้ ก็มีกลุ่มคนอีกส่วนหนึ่งที่ออกมาชุมนุมแสดงการสนับสนุนบัตเลอร์และต่อต้านแนวคิดของพวกขวาจัด ภาพการชุมนุมจากทวิตเตอร์ของผู้ใช้งานที่ชื่อ @AngelaMilanese ระบุว่า คนกลุ่มที่สนับสนุนบัตเลอร์ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และความยอมรับความต่าง ขณะที่ @BrasilWire ระบุว่าฝ่ายต่อต้านฟาสซิสต์ที่สนับสนุนบัตเลอร์พากันบอกกับผู้ชุมนุมฝ่ายเดียวกันว่าอย่าให้พวกฟาสซิสต์ยุยงให้เกิดการปะทะกันได้ไม่ว่าอย่างไรกลุ่มต่อต้านฟาสซิสต์ก็มีจำนวนมากกว่า

บัตเลอร์กล่าวว่า กรณีที่มีการล่ารายชื่อเรียกร้องให้ปลดเธอออกจากการเป็นวิทยากรนั้น เป็นการทึกทักไปเองว่าเธอจะมาพูดเรื่องเกี่ยวกับประเด็นเพศสภาพจากหนังสือ Gender Trouble ที่พวกเขาอ้างว่าเป็นประเด็นที่ "ทำลายครอบครัว" นอกจากนี้กลุ่มต่อต้านเธอยังดูเหมือนว่าจะไม่ได้อ่านหนังสือของเธอ หรือไม่เช่นนั้นก็เข้าใจแนวคิดของเธอผิดๆ หาว่าแนวคิดเธอพยายามทำลายรากฐานความแตกต่างทางเพศที่กำหนดโดยวิทยาศาสตร์หรือศาสนา

บัตเลอร์กล่าวว่าเรื่องการศึกษาทางเพศสภาพและทฤษฎีเพศสภาพมีความสลับซับซ้อนและทฤษฎีของเธอเองก็ไม่ได้ว่าต้องมีความถูกต้องหนึ่งเดียว เป้าหมายของทฤษฎีเธอคือการเพิ่มเติมภาษาและการยอมรับในตัวคนที่รู้สึกถูกโดดเดี่ยวเพราะพวกเขาไม่ยอมรับแนวคิดที่จำกัดผู้คนว่าหญิงควรเป็นอย่างไร ชายควรเป็นอย่างไร แต่ในตัวทฤษฎีของเธอก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าข้อจำกัดมีอยู่จริง

"ในช่วงปีหลังๆ ที่ฉันพัฒนาทฤษฎีนี้มากขึ้น ฉันก็พบว่าทำไมการทำให้คนจากทุกสเปกตรัมของเพศสภาพสามารถมีชีวิตที่ดีได้ถึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำในเชิงศีลธรรม"

ขณะที่บัตเลอร์พอใจกับการเสวนาซึ่งมีการหารือและมีส่วนร่วมจากกลุ่มผู้ชมนานาชาติ แต่การประท้วงที่เกิดขึ้นก็ทำให้เธอรู้สึกหงุดหงิด เธอมองว่ามันมีแรงจูงใจมาจากความเขลาและแสดงออกด้วยพิธีกรรมแย่ๆ อย่างการแสดงออกคล้าย "เผาแม่มด" บราสีชมพูเจิดจ้าที่พวกเขาใช้ก็น่าจะเป็นการพยายามสื่อถึงความเป็นคนรักเพศเดียวกันหรือความเป็นคนข้ามเพศ บัตเลอร์มองว่าผู้ประท้วงเหล่านี้พยายามแสดงออกกีดกันไม่ให้ LGBTQ เข้าไปในบราซิลด้วยวิธีการแบบแสดงความคลั่ง คอยสะกดรอยตาม และคุกคาม เพื่อทำให้บราซิลยังคงลักษณะความรักที่มีการแต่งงานคนละเพศแบบเดิมและประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเจริญพันธุ์และวางแผนครอบครัวเพราะการทำแท้งยังคงผิดกฎหมาย

บัตเลอร์กล่าวอีกว่า ฝ่ายขวาเหล่านี้ต้องการให้เด็กผู้ชายก็ยังคงอยู่ในกรอบที่สร้างไว้ครอบเด็กผู้ชาย เด็กผู้หญิงยังคงอยู่ในกรอบที่สร้างไว้ครอบเด็กผู้หญิง และไม่ยอมให้มีการตั้งคำถามซับซ้อนใดๆ ต่อสิ่งเหล่านี้ "ความพยายามของพวกเขาเป็นสิ่งที่ต่อต้านเฟมินิสต์ ต่อต้านคนข้ามเพศ เกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน และชาตินิยม" บัตเลอร์กล่าว

"สิ่งเหล่านี้ทำให้พวกเขาดูเหมือนกับพวกลัทธินีโอฟาสซิสต์ที่ผุดขึ้นในส่วนอื่นๆ ของโลก พวกเขาย้ำเตือนพวกเราเกี่ยวกับการประชุมนี้ว่าพวกเราคิดถูกแล้วที่เป็นห่วงเกี่ยวกับสภาพการณ์ของประชาธิปไตย" บัตเลอร์กล่าว

ผู้ประท้วงยังตามบัตเลอร์ไปถึงสนามบินก่อนที่เธอจะกลับประเทศหลังเสร็จสิ้นงานเสวนา มีผู้ต่อต้านเธอราว 20 รายถือป้ายรูปภาพบัตเลอร์ที่ถูกตัดต่อและป้ายผ้าไล่ให้เธอ "กลับบ้านหรือลงนรกไปเสีย" ผู้ประท้วงเหล่านี้ยังกรีดร้องตะโกนไล่เธอ พูดถึงเรื่องคนที่รักเด็กในเชิงชู้สาว (pedophilia) (ซึ่งเป็นสิ่งที่เธอและนักคิด-นักกิจกรรมสตรีนิยมต่อต้านเช่นกัน) มีผู้เห็นเหตุการณ์บางคนพยายามเข้าไปหยุดไม่ให้ผู้ประท้วงคุกคามเธอ หลังจากที่เธอผ่านพื้นที่รักษาความปลอดภัยไปก็มีคนตะโกนตามหลังเธอว่า "ทรัมป์ (โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ) จะจัดการคุณเอง!"

 

 

เรียบเรียงจาก

Judith Butler on Being Attacked in Brazil, Insde Higher Ed, 13-11-2017
https://www.insidehighered.com/news/2017/11/13/judith-butler-discusses-being-burned-effigy-and-protested-brazil

Hashtag #JudithButlerbrasil จากเว็บ Twitter
https://twitter.com/hashtag/JudithButlerBrasil?src=hash

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น