ประชาไท | Prachatai3.info |
- ชี้ขาดประชาธิปไตย-โยกย้ายไม่เป็นธรรม-ใต้โต๊ะ ทำไทยดัชนีชี้วัดคอร์รัปชันต่ำลง
- รพ.ระยอง คว้า 2 แชมป์รางวัลคุ้มครองสิทธิ แก้ปัญหาร้องเรียนทางการแพทย์
- 'พรรคทหาร' จาก 'ประชาชนปฏิรูป' มา 'พลังชาติไทย' - ประวิตรเผยถ้าจำเป็นก็ต้องตั้ง แต่ยังไม่มีแผน
- กทม.จับมือ สปสช.ตั้ง 'กองทุนหลักประกันสุขภาพ กทม.' หนุนป้องกันโรคระดับพื้นที่
- ปธ. เครือข่ายสลัม 4 ภาคระบุ 1 ปีที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยอย่างเป็นรูปธรรม
- กสทช. เดินหน้าลงทะเบียนซิมด้วยวิธีอัตลักษณ์ เทียบใบหน้า - ลายนิ้วมือ ทั่วประเทศ
- เอนก เหล่าธรรมทัศน์
- นักประวัติศาสตร์สับแหลก เอกสาร FBI เกี่ยวกับ 'มาร์ติน ลูเทอร์ คิง' เต็มไปด้วยเรื่องเท็จ
- เตรียมขอมติมหาเถรสมาคม เริ่มใช้ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์
- ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: ปรัชญาการเมืองจะตายในวันที่ความรักไม่เหลืออยู่แล้ว
ชี้ขาดประชาธิปไตย-โยกย้ายไม่เป็นธรรม-ใต้โต๊ะ ทำไทยดัชนีชี้วัดคอร์รัปชันต่ำลง Posted: 06 Nov 2017 10:50 AM PST กรรมการ ป.ป.ช.ชี้ ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันปีที่ผ่านมาตกลงจากปีก่อน หากยังมีปัญหาเรื่องความเป็นประชาธิปไตยต่อไปอีก อาจยังไม่สามารถปรับขึ้นได้ และยังคงต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านเหมือนเดิม พร้อมทั้งปัญหาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการที่ไม่เป็นธรรม องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) ได้เปิดเผย ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันโลกปี 2016 จัดอันดับ 176 ประเทศทั่วโลก เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา 6 พ.ย.2560 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ (6 พ.ย.60) ที่โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาควิชาการ องค์การมหาชน และองค์การระหว่างประเทศ จัดประชุมวิชาการแลกเปลี่ยนความรู้ระดับชาติ ภายใต้ชื่อ "การบูรณาการเพื่อการพัฒนาภาควิชาการและประชาชน สู่ยุทธศาสตร์การสร้างสังคมสุจริตอย่างยั่งยืน" โดยมี ณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธานในการเปิดการประชุม มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งนักวิชาการ ผู้แทน UNDP หรือโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ผู้แทนศูนย์คุณธรรมและเครือข่ายหมู่บ้าน ชุมชนช่อสะอาด เกือบ 300 คน ณรงค์ กล่าวตอนหนึ่งว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อประเมินความก้าวหน้าของการนำแผนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตระยะที่ 3 (2560-2564) สู่การปฏิบัติจริงในการจัดตั้งหมู่บ้านและชุมชนช่อสะอาด โดยข้อมูลที่ได้จากการประชุมในครั้งนี้จะนำไปใช้ในการพัฒนา วิธีการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่เป้าหมายของการสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตต่อไป จากนั้น ณรงค์ กล่าวปาฐกฐาในหัวข้อ "การสร้างสังคมสุจริตสู่การยกระดับดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย" โดยได้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่มีผลต่อค่า CPI ซึ่งเป็นผลมาจากการสำรวจภาพลักษณ์ของการทุจริตซึ่งสะท้อนออกมาจากภาคเอกชน ความน่าเป็นห่วงของไทยคือการใช้นโยบายการแก้ปัญหาเศรษฐกิจด้วยการนำเงินไปสู่ประชาชนในรูปแบบนโยบายประชานิยม ซึ่งที่ถูกต้องควรจะส่งเสริมให้ประชาชนสามารถช่วยเหลือตนเอง ตามโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งพระองค์ทรงสอนคนไทยให้รู้จักพึ่งพาตัวเองอันจะเห็นได้ชัดจากโครงการพระราชดำริกว่า 4,000 แห่ง อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือจะทำอย่างไรให้เกิดมาตรการทางสังคมอย่างเข้มแข็งในการต่อต้านคนทุจริต และจะทำอย่างไรให้เครือข่ายจำนวนมากที่ ป.ป.ช. มีอยู่ในตอนนี้เป็นเครือข่ายที่แท้จริงและบทบาทจริงในการเปิดโปงและต่อต้านการทุจริต ณรงค์ กล่าวว่า ปัญหาทุจริตเกิดขึ้นในประเทศไทยมายาวนาน ส่วนตัวรับราชการมา 20 ปี ซึมซับรับทราบปัญหา และเห็นว่าทุกรัฐบาลพยายามที่หาทางแก้ปัญหาทั้งออกกฎหมาย ตั้งองค์กรที่มีประสิทธิภาพ มีพัฒนาการทางกฎหมายมาต่อเนื่องซึ่ง ป.ป.ช.ได้ทำงานอย่างเต็มที่ขณะที่รัฐบาลปัจจุบัน มุ่งมั่นและจริงจังในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชันโดยได้ให้การสนับสนุนโดยเฉพาะเรื่องงบประมาณต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน หรือ ค่า CPI ในปีที่ผ่านมาปรับลดลงจากปีก่อน หากไทยยังมีปัญหาเรื่องความเป็นประชาธิปไตยต่อเนื่องไปอีก ก็อาจทำให้ค่า CPI ยังไม่สามารถปรับขึ้นได้ และยังคงต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านเหมือนเดิม กรรมการ ป.ป.ช. กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ปัญหาการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาผู้มีอิทธิพล และการรับเงินใต้โต๊ะ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อการจัดอันดับของค่า CPI เช่นกัน รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องกับจะต้องเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้หมดไป และออกกฎหมายมาควบคุมแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อให้การจัดอันดับที่จะเกิดขึ้นในช่วงต้นปีหน้า ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา เพราะการประเมินไม่ได้มองเพียงจุดเดียว แต่มองภาพรวม จึงฝากให้ช่วยกันคิดว่าจะสร้างมาตรการทางสังคมต่อต้านการคอร์รัปชันได้อย่างไร และควรที่จะบังคับใช้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร โดยเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดเพราะเป็นช่องทางให้ประชาชนร่วมตรวจสอบอำนาจรัฐ "ถ้ายังไม่สามารถกวาดบ้านตัวเองได้ คงแก้ปัญหาเรื่องนี้ลำบาก ปัญหาใหญ่ที่สุดที่เราต้องทำคือจะทำอย่างไรให้หน่วยงานภาครัฐบางหน่วยต้องเปลี่ยนตัวเอง ปรับวัฒนธรรมองค์กร ทำอย่างไรให้ไม่มีภาพของเงินใต้โต๊ะที่เป็นน้ำมันหล่อลื่น เราต้องกระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของปัญหาคอร์รัปชัน ที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ถ้าโครงการของรัฐไม่มีการประเมินความคุ้มค่าของงบ ค่าความโปร่งใสเกิดไม่ได้ต้องเปิดให้ดู เราไม่สามารถคุมนิสัยนักการเมืองได้" ณรงค์ กล่าว ที่มา : สำนักข่าวไทย และ คมชัดลึกออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รพ.ระยอง คว้า 2 แชมป์รางวัลคุ้มครองสิทธิ แก้ปัญหาร้องเรียนทางการแพทย์ Posted: 06 Nov 2017 10:19 AM PST รมว.สาธารณสุข ชู 'ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ' ช่วยคุ้มครองสิทธิ แก้ปัญหาขัดแย้งผู้ให้บริการและรับบริการ ลดการฟ้องร้องในระบบสาธารณสุข แนะทบทวนบทเรียนเพื่อปรับทำงานเชิงรุกเน้นป้องกัน 6 พ.ย. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (6 พ.ย.60) ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะ ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมเครือข่ายคุณภาพและความปลอดภัยในระบบบริการ ประจำปี 2561 และมอบรางวัลศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการดีเด่น ประจำปี 2559 จำนวน 17 รางวัล และหน่วยงานต้นแบบในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนการให้บริการทางการแพทย์ประจำปี 2560 (2P Safety Best Practice Award) จำนวน 12 รางวัล จัดโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยมีผู้แทนจากหน่วยบริการทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในส่วนงานด้านคุ้มครองสิทธิและแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียน รวมทั้งผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมจากทั่วประเทศกว่า 500 คน หน่วยบริการที่ได้รับรางวัลศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการดีเด่น ประจำปี 2559 ประเภท รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป อันดับ 1 รพ.ระยอง, อันดับ 2 รพ.ชัยนาทนเรนทร และอันดับ 3 รพ.ตรัง ส่วนประเภท รพ.ชุมชน อันดับ 1 รพ.ภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จ.ชัยภูมิ, อันดับ 2 รพ.ยะรัง จ.ปัตตานี และอันดับ 3 รพ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด รางวัลหน่วยงานต้นแบบในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนการให้บริการทางการแพทย์ ประจำปี 2560 อันดับ 1 รพ.ระยอง, อันดับ 2 รพ.พุทธชินราช จ.พิษณุโลก และอันดับ 3 มี 3 แห่ง รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์, รพ.ภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จ.ชัยภูมิ และ รพ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ปิยะสกล กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินับเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเข้าใจและฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ แม้ว่าโรงพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามพัฒนาระบบบริการเพื่อป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น แต่ในระบบสาธารณสุขยังมีหลายสิ่งที่ยากต่อการแก้ปัญหา ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการจึงเป็นช่องทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหา และช่วยปกป้องสิทธิให้กับประชาชนในการรับบริการภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นำไปสู่การลดความขัดแย้งและสร้างความสมานฉันท์ เน้นการทำงานโดยเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างระบบเพื่อคุ้มครองความปลอดภัย ทั้งนี้นโยบายด้านคุณภาพและความปลอดภัยในระบบบริการสุขภาพ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้ทุกประเทศให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนระบบบริการสาธารณสุข โดยประเทศไทยได้ให้ความสำคัญโดยกำหนดเป็นนโยบายขับเคลื่อนระดับประเทศ โดยดำเนินงานร่วมกันในทุกภาคส่วนทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ โดยมีสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาลเป็นหน่วยงานหลัก ทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและ สปสช. มีเป้าหมายเพื่อทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข และระบบสุขภาพยั่งยืน และขอแสดงความยินดีกีบโรงพยาบาลที่ได้รับรางวัลในวันนี้ โดยเฉพาะ รพ.ระยองที่คว้า 2 รางวัล นับเป็นโรงพยาบาลที่มีการจัดระบบการจัดการเพื่อดูแลประชาชนและลดความขัดแย้งได้ดีเยี่ยม นอกจากนี้ยังมี รพ.อื่นๆ ที่ทำเรื่องนี้ได้ดี "ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา เรามีบทเรียนเกี่ยวกับกรณีข้อร้องเรียนต่างๆ ในการเข้ารับบริการ ซึ่งต้องทบทวนว่าข้อร้องเรียนต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมามีความต่างกันหรือไม่ จำนวนเรื่องร้องเรียนเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อปรับการทำงานเชิงรุกในการป้องกัน และในการประชุมวันนี้ขอให้ร่วมกันวางยุทธศาสตร์โดยนำบทเรียนที่ผ่านมาเพื่อจัดการแก้ไขปัญหาขัดแย้งที่รวดเร็ว" รมว.สาธารณสุข กล่าว ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า สปสช.มีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการ จึงได้ร่วมกับศูนย์สันติวิธีสาธารณสุขและสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) เพื่อลดปัญหาเรื่องร้องเรียนอย่างต่อเนื่อง มีการจัดอบรมหลักสูตรนักเจรจาไกล่เกลี่ยให้กับบุคลากรทางการแพทย์ นำไปสู่การรับเรื่องร้องเรียน การจัดการปัญหา และการลดการฟ้องร้อง รวมถึงการจัดสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เช่นในการประชุมครั้งนี้ สำหรับการมอบรางวัลศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการดีเด่น ประจำปี 2559 และหน่วยงานต้นแบบในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนการให้บริการทางการแพทย์ประจำปี 2560 (2P Safety Best Practice Award) เพื่อยกย่องเกียรติและเพื่อให้เป็นแบบอย่างในการดำเนินการให้กับหน่วยบริการอื่นๆ ซึ่งขณะนี้มีหน่วยบริการที่ได้จัดตั้งศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการแล้วจำนวน 885 แห่ง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'พรรคทหาร' จาก 'ประชาชนปฏิรูป' มา 'พลังชาติไทย' - ประวิตรเผยถ้าจำเป็นก็ต้องตั้ง แต่ยังไม่มีแผน Posted: 06 Nov 2017 07:00 AM PST กระแสตั้งพรรคทหาร รองรับคน คสช. จากปีที่แล้ว ไพบูลย์ เผยตั้ง 'พรรคประชาชนปฏิรูป' หนุน 'ประยุทธ์' เป็นนายกฯ ล่าสุด พล.ต.ทรงกลด ตั้ง 'พรรคพลังชาติไทย' ลุยจัดตั้งทั่วไทย ขณะที่ พล.อ.ประวิตร เผยถ้าจำเป็นก็ต้องตั้งพรรค แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่จำเป็น ยังไม่มีแผนอยู่ในใจ แฟ้มภาพ 6 พ.ย. 2560 จากกระแสจับตาการตั้งพรรคทหารหรือพรรคการเมืองเพื่อรองรับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อเข้าสู่การเมืองนระบบเลือกตั้งนั้น ล่าสุดวันนี้ ไทยรัฐออนไลน์และ Voice TV รายงานว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม กล่าวถึงกระเเสข่าว คสช.ให้การสนับสนุนตั้งพรรคพลังชาติไทย โดยมี พล.ต.ทรงกลด ทิพย์รัตน์ เป็นหัวหน้าพรรคว่า ไม่รู้ ไม่รู้จัก และไม่เคยใกล้ชิดด้วย พร้อมถามกลับว่า พล.ต.ทรงกลด ใกล้ชิดกับ คสช. คนไหน สื่อชอบพูดไปเรื่อยและคิดไปเอง ทั้งนี้จะเอาชื่อตนไปอ้างได้อย่างไร ขออย่าไปเชื่อ เพราะถ้าเชื่อก็ยุ่งวุ่นวายมีการจับไปเป็นประเด็น ต่อกรณีคำถามว่า คสช.สามารถยืนยันได้หรือไม่ว่า จะไม่มีการตั้งพรรคหรือเป็นนอมินี ให้กับพรรคการเมืองใด พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ตนไม่ยุ่งอยู่แล้ว แต่ถ้าจำเป็นก็ต้องตั้ง ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องตั้ง แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่จำเป็น ยังไม่มีแผนอยู่ในใจ พร้อมยืนยันไม่เคยรับประสานงานตั้งพรรคให้ใคร มีแต่คิดและเขียนข่าวกันไปเอง เมื่อถามว่า หากพรรคเพื่อไทย มีแนวโน้มที่จะกลับมาชนะการเลือกตั้งอีก คสช.จำเป็นต้องตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาสู้หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ยืนยันว่าไม่มี ไม่เป็นความจริง ส่วนการปลดล็อกพรรคการเมืองให้สามารถทำกิจกรรมได้นั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ในเมื่อยังวุ่นวายและนักข่าวถามแต่เรื่องแบบนี้ จะปลดล็อกได้อย่างไร ไม่ต้องห่วง ทั้งนี้ถ้าไม่ทันกรอบเวลาของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ จะยืดเวลาออกไปหรือไม่ ขอย้ำว่าไม่ต้องเป็นห่วง ทันเวลาในกรอบ 180 วัน ส่วนกรณีผลสำรวจความนิยมของนายกรัฐมนตรีลดลงนั้น ยืนยันว่า นายกรัฐมนตรีทำงานอย่างหนัก เหนื่อย ทำทุกอย่าง โพลไหนคิดกันไปเอง ซึ่งส่วนตัวมองว่าการทำงานดีขึ้นทุกวัน 'พลังชาติไทย' พรรคทหาร จัดตั้งทั่วไทยสำหรับพรรคพลังชาติไทยนั้น ซึ่งเป็นที่มาของกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นพรรคทหาร คมชัดลึกออนไลน์ รายงานว่า กำลังเคลื่อนไหวจัดตั้งสาขาพรรคในต่างจังหวัด โดยพรรคนี้ ได้สร้างองค์กร "จิตอาสา พลังชาติไทย" ขึ้นมา และทุกกิจกรรมในห้วงเวลานี้ จึงเป็นเรื่องขององค์กรจิตอาสาฯ "พล.ต.ทรงกลด ทิพยรัตน์" ว่าที่หัวหน้าพรรคพลังชาติไทย นั้นมีคำถามมากมายในหมู่หัวคะแนนบ้านนอก แต่ก็ไม่มีข้อมูลมากนัก นอกจากข่าวสารหลังรัฐประหาร ทาง คสช.ได้มอบหมายให้ กอ.รมน. ไปดำเนินการตามกระบวนการปรองดองสมานฉันท์และให้จัดตั้ง "คณะทำงานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติ" โดยมอบให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยรับผิดชอบดำเนินการ พล.ต.ทรงกลด นายทหารประจำสำนักงานปลัดกลาโหม จึงได้รับมอบหมายให้มาทำงานในคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปฯ และผ่านไป 3 ปี พล.ต.ทรงกลด ได้เปิดใจกับกลุ่มนักข่าวภาคกลางเมื่อเดือน มิ.ย.2560 ว่า ตัวเขาได้เตรียมการจัดตั้งพรรคการเมืองชื่อ "พลังชาติไทย" โดยนอกจากภาคอีสาน แกนนำพรรคพลังชาติไทย ยังได้ขยายการจัดตั้งศูนย์ประสานงานกลุ่ม "จิตอาสา พลังชาติไทย" ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ นัยว่า การจัดตั้งกลุ่มจิตอาสา พลังชาติไทย จะเป็นกลยุทธ์การจัดตั้งทางการเมือง ในยามที่ คสช.ยังไม่ปลดล็อคการเมือง ตอนท้ายรายงานของ คมชัดลึกออนไลน์ ตั้งข้อสังเกตุด้วยว่า หากไม่ใช่กลยุทธ์อำพรางจัดตั้ง "จิตอาสา" ก็จะโดนโจมตีว่า ทำไม คสช.จึงปล่อยให้พรรคพลังชาติไทย ทำกิจกรรมการเมืองได้ ไพบูลย์ ตั้งพรรคหนุน 'ประยุทธ์' เป็นนายกฯไม่เพียงพรรคพลังชาติไทยเท่านั้น เมื่อย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้ว (9 ส.ค.59 ) คมชัดลึกออนไลน์ อีกเช่นกัน รายงานด้วยว่า ไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่เพิ่งประกาศตั้ง "พรรคประชาชนปฏิรูป" ให้สัมภาษณ์กับ "สำนักข่าวเนชั่น" โดยยอมรับตรงๆ ว่า จุดประสงค์หนึ่งในการตั้งพรรคการเมือง เพราะต้องการให้เป็นเครื่องมือของประชาชนในการสนับสนุนให้คนดีมีความสามารถ มีความซื่อสัตย์สุจริตมาเป็นผู้นำประเทศ ซึ่งส่วนตัวเห็นว่า นาทีนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีความเหมาะสมที่สุด "ผมเป็นคนไปกาเห็นด้วยกับคำถามพ่วง ผมรู้อยู่แล้วตั้งแต่ตอนนั้นว่าผมต้องการให้ใครเป็นนายกฯ และผมก็เชื่อว่าคนจำนวนมากที่ไปกาเห็นด้วยกับคำถามพ่วง ก็คงคิดเหมือนกันว่าอยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ" ไพบูลย์ กล่าว พร้อมระบุด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ เห็นด้วยกับตนหรือไม่ และจะรับเป็นนายกฯหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของพล.อ.ประยุทธ์ แต่เชื่อว่าประชาชนจำนวนมากที่ไปกาเห็นชอบกับคำถามพ่วงต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ ไพบูลย์ ย้ำว่า การตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาไม่ใช่เพราะ คสช.สั่งให้ตั้ง แต่เพราะต้องการสานต่อเจตนารมณ์ของคนที่มีความเห็นตรงกันว่าต้องการให้เกิดการปฏิรูปการเมืองขึ้น และไปแสดงออกด้วยการกาเห็นชอบกับคำถามพ่วง ซึ่งการสนับสนุนให้คนดีได้เป็นนายกฯถือว่าเป็นการปฏิรูปการเมืองอย่างหนึ่ง ไพบูลย์ กล่าวอีกว่า นอกจากการสนับสนุนให้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้เป็นนายกฯแล้ว อีกจุดประสงค์ของการตั้งพรรคการเมืองคือ เพื่อเข้าไปตรวจสอบถ่วงดุลการทำงานในรัฐสภา
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กทม.จับมือ สปสช.ตั้ง 'กองทุนหลักประกันสุขภาพ กทม.' หนุนป้องกันโรคระดับพื้นที่ Posted: 06 Nov 2017 05:40 AM PST บอร์ด สปสช.เห็นชอบหลักการ 'กองทุนหลักประกันสุขภาพกรุ 6 พ.ย. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (6 พ.ย.60) ที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการที่ "หลักเกณฑ์ในประกาศฉบับนี้ จะทำให้กรุงเทพมหานครสามารถรั ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้ เลขาธิการ สปสช. กล่าวต่อว่า แต่ในส่วนของพื้นที่กรุ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ปธ. เครือข่ายสลัม 4 ภาคระบุ 1 ปีที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยอย่างเป็นรูปธรรม Posted: 06 Nov 2017 05:08 AM PST ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค เผยการยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลแก้ปัญหาการเข้าไม่ถึงสิทธิด้านที่อยู่อาศัยไม่ได้รับผลตอบรับที่เป็นรูปธรรม ระบุรัฐบาลทหารคุยยากกว่ารัฐบาลปกติ และคาดหวังได้น้อยเรื่องการแก้ปัญหา แต่เครือข่ายฯต้องการออกมาสื่อสารปัญหาว่ายังมีอยู่ในสังคมไทย 6 พ.ย. 2560 ที่บริเวณด้านหน้าองค์การสหประชาชาติ (UN) เครือข่ายสลัม 4 ภาค พร้อมด้วยภาคคีเครือข่าย 9 เครือข่าย ซึ่งประกอบไปด้วยชาวบ้านในเครือข่ายหลายร้อยคน นำโดย นุชนารถ แท่นทอง ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค ได้รวมตัวกันเพื่อยื่นข้อเสนอสำหรับการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย ถึง อังตอนีอู กูแตรึช เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ เพื่อขอให้องค์การสหประชาชาติกระตุ้นเตือนให้รัฐบาลไทยเคารพต่อสิทธิด้านที่อยู่อาศัยของคนจน และให้มีมาตรการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของคนจนในประเทศไทยที่เป็นรูปธรรม นุชนารถ ระบุว่าข้อเรียกร้องในวันนี้คือ การเรียกร้องในด้านที่อยู่อาศัย โดยต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัยเช่น การนำที่ดินสาธารณต่างๆ ที่ไม่ได้มีการใช้ประโยชน์มาทำเป็นเป็นอยู่อาศัยของคนยากจน รวมทั้งต้องการให้รัฐบาลทบทวนการไล่รื้อบ้านและที่ดินของคนจน และขอให้มีการยกเลิกคำสั่งของ คสช. ที่มีผลกระทบต่อชุมชน และที่อยู่อาศัย ขณะที่ข้อเรียกร้องในเรื่องคุณภาพชีวิตได้มีข้อเรียกร้องในเรื่องรัฐสวัสดิการซึ่งเห็นว่า รัฐควรจัดสวัสดิการอย่างถ้วนหน้าให้ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม ขณะที่ช่วงบ่าย นุชนารถ ได้เข้าร่วมประชุมกับผู้แทนของสำนักงานกรุงเทพมหานคร เพื่อยื่นข้อเสนอให้ทางกรุงเทพมหานครได้ส่งมอบพื้นที่โฉนดชุมชน ซึ่งทางเครือข่ายสลัม 4 ภาค ได้ยื่นเสนอ 4 ชุมชนร่องในโครงการโฉนดชุมชนซึ่งได้ผ่านเกณฑ์ต่างๆ เรียบร้อยแล้ว แต่ทางกรุงเทพมหานครยังไม่ได้ส่งมอบที่ดินให้กับชุมชนเสียที โดยวันนี้ได้เข้าไปติดตามเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม นุชนารถ กล่าวด้วยว่าการยื่นข้อเสนอเรียกร้องให้กับ UN เพื่อกดดันรัฐบาลนั้นได้มีการจัดขึ้นในทุกๆ โดยปีที่ผ่านมานั้นก็ได้ยื่นข้อเสนอในเรื่องการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยไป แต่ไม่มีผลตอบรับที่เป็นรูปธรรม มีเห็นเพียงแค่การตั้งยุทธศาสตร์ชาติที่มีการพูดถึงเรื่องการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยในระยะเวลา 20 ปี โดยมีการตั้งเป้าว่าจะมีการสร้างบ้าน ที่อยู่อาศัยให้กับคนมีรายได้น้อยที่เข้าไม่ถึงที่อยู่อาศัยประมาณ 1 ล้านหลังภายใต้โครงการบ้านมั่นคง แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีชาวบ้านที่ยังไม่สามารถเข้าถึงการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลได้ "โดยสรุปเลยมันก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปมากจากปีที่แล้ว คือตั้งแต่รัฐบาลนี้ เรารู้สึกว่าเป็นรัฐบาลที่พูดคุยยากที่สุด และปีนี้สิ่งที่มีผลกระทบโดยตรงกับเราคือ นโยบายต่างๆ ที่ออกมามันไม่ได้เกิดจากการมีส่วนร่วมจากผู้ประสบปัญหาหรือผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่นการวางแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี หรือบัตรสวัสดิการคน ซึ่งคนจนในชุมชนแออัดในบางพื้นที่ไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการนี้ได้ หรือบางคนที่ได้บัตรมาแล้วก็ประสบปัญหาในการใช้สิทธิ เช่นร้านค้าสวัสดิการอยู่ไกลจากชุมชน การจะไปซื้อของกลายเป็นว่าเขาต้องเสียค่าเดินทางเพิ่มไปอีก และสำคัญคือการมีบัตรคนจนก็เหมือนเป็นการจำแนกคนจนคนรวย เป็นการสร้างชนชั้น เหมือนกับถูกตราหน้า" นุชนารถ นุชนารถ กล่าวต่อไปว่า การรวมตัวเพื่อยื่นข้อเสนอเรียกร้องในรัฐบาลทหาร ไม่สามารถคาดหวังอะไรได้ เพราะกฎหมายต่างๆ ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการกำหนด รวมทั้งยังมีช่องทางในการเข้าไปมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย "ยุทธศาสตร์ชาติที่สร้างมายาวนาน 20 ปี มันจะแก้ปัญหาได้ไหม ในเมื่อคนที่เข้าไปร่างยุทธศาสตร์ไม่ใช่พวกเรา เอาคนที่ไม่มีส่วนร่วมกับปัญหาไปร่างยุทธศาสตร์มันจะสอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างไร โดยปกติแล้วหากเราได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเรายังเรียกร้องในเชิงนโยบายได้ แต่ตอนนี้หากมีการเลือกตั้งรัฐบาลที่เข้ามาก็ต้องทำตามยุทธศาสตร์ พรรคไหนเข้ามาก็ต้องทำตาม ในขณะที่เรากำลังเห็นความเหลือมล้ำ และเราเห็นความเห็นแก่ตัว การที่เรายังไปยื่นเรืองเราก็เพียงต้องการที่จะสื่อสารกับสังคมว่ามันยังมีปัญหาเหล่านี้อยู่" นุชนารถ กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กสทช. เดินหน้าลงทะเบียนซิมด้วยวิธีอัตลักษณ์ เทียบใบหน้า - ลายนิ้วมือ ทั่วประเทศ Posted: 06 Nov 2017 04:21 AM PST สำนักงาน กสทช. เดินหน้าลงทะเบียนซิมด้วยวิธีอัตลักษณ์ ใช้ได้ทั้งวิธีตรวจสอบใบหน้าและสแกนลายนิ้วมือ เริ่ม 15 ธ.ค. นี้พร้อมกันทุกค่ายมือถือทั่วประเทศ 6 พ.ย. 2560 รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจาย การลงทะเบียนซิมด้วยวิธีอัตลักษณ์เป็นการส่งเสริมนโยบายของของรัฐบาลในเรื่องการดำเนินธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจำเป็นต้องมีการปรับปรุงการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ และต้องมีการปรับปรุงการพิสูจน์และยืนยันตัวบุคคลของผู้ใช้บริการให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะมีการเปรียบเทียบใบหน้า (face recognition) หรือ ลายนิ้วมือ (finger print) ของผู้ซื้อซิมการ์ดกับข้อมูลที่เก็บในบัตรประชาชนฉบับจริง โดยหากข้อมูลมีความถูกต้องตรงกัน จึงจะอนุญาตให้มีการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการและเปิดใช้งานซิมการ์ดได้ ดังนั้น ประชาชนที่ต้องการเปิดซิมใหม่ จะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงไปด้วยเพื่อให้จุดให้บริการตรวจสอบข้อมูล อย่างไรก็ตาม หากมีการตรวจสอบอัตลักษณ์แล้วไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบได้ ให้ผู้ใช้บริการติดต่อศูนย์ให้บริการหรือสำนักงานบริการลูกค้าเพื่อดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมการเปิดใช้งานซิมการ์ดต่อไป "เมื่อมีการลงทะเบียนซิมการ์ดเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลของผู้ใช้บริการจะถูกจัดส่งตรงไปยังฐานข้อมูลของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลไว้ที่จุดให้บริการ ซึ่งประชาชนสามารถมั่นใจได้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกจัดเก็บเป็นความลับและปลอดภัยอย่างแน่นอน ซึ่งการดำเนินงานครั้งนี้เป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการดำเนินการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้มีประสิทธิภาพ มีการพิสูจน์ตัวตนได้ และยังช่วยในเรื่องความมั่นคงของรัฐ และความปลอดภัยของสังคมด้วย" เลขาธิการ กสทช. กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 06 Nov 2017 02:22 AM PST "..คณะราษฎรนั้นพยายามจะเปลี่ยนการปกครองให้ประชาชนมีส่วนร่วม ให้อำนาจรัฐเป็นของปวงชนชาวไทย แต่ว่าถ้าคุณมาดูข้อเท็จจริงจะพบว่าในที่สุด 24 มิ.ย.2475 ในความเป็นจริงนะครับ หลังจากที่เวลาผ่านมา 80 กว่าปี หมดรัชกาลที่ 9 ในช่วง 70 ปีมาแล้ว มันคืออะไร บางทีอดคิดไม่ได้ว่ามันคือการเปลี่ยนจากระบอบราชาธิปไตยแบบหนึ่งมาเป็นราชาธิปไตยอีกแบบหนึ่งเท่านั้นเอง จากแบบรัชกาลที่ 7 มาเป็นแบบรัชกาลที่ 9 .." ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง/ที่ปรึกษาและกรรมการในคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ใน ป.ย.ป. (ไทยโพสต์, 5 พ.ย.60) |
นักประวัติศาสตร์สับแหลก เอกสาร FBI เกี่ยวกับ 'มาร์ติน ลูเทอร์ คิง' เต็มไปด้วยเรื่องเท็จ Posted: 05 Nov 2017 11:54 PM PST นักประวัติศาสตร์สหรัฐฯ สับแหลกกรณีที่มีการเปิดเผยหนึ่งในเอกสารเก่าเกือบ 50 ปีของเอฟบีไอระบุว่ามาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ นักสู้สิทธิพลเมืองเป็นพวก "ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์" โดยระบุว่าเอกสารดังกล่าวเต็มไปด้วยอคติการเขียนรายงานของเอฟบีไอในยุคนั้นที่พยายามหาเรื่องทำลายชื่อเสียงคิงในหลายๆ ทาง เนื่องจากคิงบาดหมางกับ เจ เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ ผู้นำเอฟบีไอในสมัยนั้น 6 พ.ย. 2560 มีการเปิดเผยเอกสารการวิเคราะห์ของสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ (FBI) จากปี 2511 เกี่ยวกับ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ศาสนาจารย์และผู้นำการต่อสู้เรียกร้องสิทธิพลเมืองชาวอเมริกัน โดยกล่าวหาว่าคิงเป็นผู้ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์และเดินรอยตาม "แนวทางมาร์กซิสต์-เลนินนิสต์" แต่ก็มีคนมองว่าเอกสารการสืบสวนของเอฟบีไอเองมีความผิดพลาดไม่ตรงกับความจริง หอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐฯ เปิดเผยเอกสาร 20 หน้าระบุวันที่ 12 มี.ค. 2511 หนึ่งสัปดาห์ก่อนที่คิงจะถูกลอบสังหารในเมมฟิส เอกสารดังกล่าวนี้ยังรวมอยู่ในส่วนหนึ่งของเอกสารทางการเกี่ยวกับกรณีการลอบสังหารประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี โดยมีการกล่าวหาว่าการจัดตั้งองค์กรการประชุมผู้นำคริสเตียนทางตอนใต้ของอเมริกาของคิงนั้นได้รับอิทธิพลมาจากคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะจากพรรคคอมมิวนิสต์สหรัฐฯ นอกจากนี้ยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับสแตนลีย์ เลวิสัน นักกฎหมายนิวยอร์กและนักธุรกิจผู้จัดหาทุนให้พรรคคอมมิวนิสต์เป็นเวลาหลายปีก่อนหน้าที่เขาจะพบปะกับคิง มีการกล่าวหาว่าเลวิสันมีอิทธิพลกับการเคลื่อนไหวของคิง แต่ทว่านักประวัติศาสตร์มองว่าเอกสารของเอฟบีไอฉบับนี้ขาดความแม่นยำ เดวิด แกร์โรว์ นักเขียนและนักประวัติศาสตร์รางวัลพูลิตเซอร์ที่เขียนเรื่องราวชีวประวัติของคิงอย่างละเอียดกล่าวว่าข้อกล่าวหานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่และไม่เป็นความจริงด้วย แกร์โรว์กล่าวว่า "แค่คุณเห็นมันในเอกสารลับสุดยอด แต่มีคนพูดถึงเรื่องนี้กับเอฟบีไอ ไม่ได้หมายความว่ามันจะแม่นตรงกับความเป็นจริงไปทั้งหมด" แกร์โรว์บอกอีกว่าการกล่าวหาว่าคิงในเรื่องต่างๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด ก่อนหน้านี้ในยุคคริสตทศวรรษ 1960s ผู้นำเอฟบีไอในยุคนั้นคือ เจ เอ็ดการ์ ฮูเวอร์ เคยพยายามขุดคุ้ยข้อมูลที่น่าอายเกี่ยวกับชีวิตของคิง แต่ก็ไม่พบเจอหลักฐานว่าคิงมีส่วนเกี่ยวข้องกับคอมมิวนิสต์แต่อย่างใด ในหลักฐานล่าสุดแสดงให้เห็นการที่รัฐบาลสหรัฐฯ หมกมุ่นกับเรื่องพรรคคอมมิวนิสต์ในสหรัฐฯ มากกว่า อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าตัวฮูเวอร์เองมีความไม่ชอบคิงเป็นการส่วนตัว ทำให้พยายามดิสเครดิตเขา แกร์โรว์เปิดเผยอีกว่าเอฟบีไอเคยใช้วิธีการอย่างการดักฟังโทรศัพท์ของเลวิสันในช่วงปี 2505 แต่แม้กระทั่งหลักฐานที่ได้มาด้วยการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวก็ไม่พบว่าเลวิสันเป็นตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสต์ ไม่พบว่าเกี่ยวข้องใดๆ กับสหภาพโซเวียต และไม่พบว่ามีความพยายามชักใยคิงแต่อย่างใด เอกสารฉบับดังกล่าวของเอฟบีไอเขียนขึ้นในยุคที่สหรัฐฯ กำลังหวาดกลัวภัยคอมมิวนิสต์อย่างหนัก อีกทั้งคิงเองก็เคยพูดวิจารณ์เอฟบีไอว่าไร้ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาการกระทำอย่างโหดร้ายต่อคนดำในตอนใต้ของสหรัฐฯ จนทำให้ความสัมพันธ์บาดหมางกับฮูเวอร์หนักขึ้นไปอีกในปี 2507 ฮูเวอร์ถึงขั้นออกมาโต้ตอบกล่าวหาคิงเองว่าเป็น "คนโกหกที่ฉาวโฉ่ที่สุดในประเทศ" ในบทความที่แกร์โรว์เขียนไว้ตั้งแต่ปี 2545 ระบุว่าทั้งฮูเวอร์และประธานาธิบดีลินดอน บี จอห์นสัน หมกมุ่นมากนานแล้วกับการพยายามโยงคิงว่าเป็นผู้ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ ฮูเวอร์ยังเคยปกปิดข้อมูลไม่ให้ประธานาธิบดีรู้ในเรื่องที่คิงเคยแสดงความคิดเห็นในเชิงเอาตัวเองออกห่างจากคอมมิวนิสต์ด้วย โดยที่แกร์โรว์บอกว่าแม้แต่ในการเปิดเผยเอกสารครั้งล่าสุดก็ไม่ยอมแก้ไขในเรื่องนี้ เอกสารของเอฟบีไออาศัยข้อมูลในเรื่องนี้จากแค่ปากคำของกัส ฮอลล์ เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์สหรัฐฯ ที่เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่ แจ็ค ไชล์ด สายของเอฟบีไอ โดยที่แกร์โรว์บอกว่ากัส ฮอลล์ เป็นจำพวก "คนขี้โม้คุยโต" อยู่แล้ว ไม่เพียงแกร์โรว์เท่านั้นที่พูดถึงปัญหาการสร้างเรื่องโจมตีคิงโดยเอฟบีไอ เบเวอร์ลี เกจ ศาตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเยลก็เคยเขียนถึงเรื่องที่เอฟบีไอ เคยเขียนจดหมายปลอมสร้างเรื่องว่าคิง "เป็นคนที่ชั่วร้าย หลอกลวง" ขนาดไหน โดยที่เกจมองว่าเป็นการโจมตีของเอฟบีไอสมัยฮูเวอร์ที่น่าละอายที่สุด เกจยังมองเป็นเรื่องน่าขันที่เอฟบีไอในยุคนั้นพยายามนำเอาแนวคิดทางการเมืองอย่างคอมมิวนิสต์มาทำลายภาพลักษณ์ของคิง เอกสารดังกล่าวที่มีการเปิดเผยโดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐฯ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (3 พ.ย.) เป็นหนึ่งในเอกสาร 676 ฉบับที่มีการเปิดเผยและมีมากกว่า 500 ฉบับในนี้เป็นแฟ้มของหน่วยงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ หรือซีไอเอที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อน เรียบเรียงจาก In the latest JFK files: The FBI's ugly analysis on Martin Luther King Jr., filled with falsehoods, Washington Post, 04-11-2017 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เตรียมขอมติมหาเถรสมาคม เริ่มใช้ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ Posted: 05 Nov 2017 10:57 PM PST เผยเตรียมนำ ร่าง ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติเสนอต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคม 20 พ.ย.นี้ ย้ำหัวใจธรรมนูญฯ หวังพระสงฆ์มีสุขภาพแข็งแรง เป็นผู้นำสังคมเป็นสุขอย่างยั่งยืน ตามแนวคิดบวร หรือ บ้าน วัด โรงเรียน 6 พ.ย. 2560 รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่ นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา กรรมการสุขภาพแห่งชาติ และประธานคณะทำงานจัดทำธรรมนู ขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่ นอกจากนี้ พระมหาประยูร โชติวโร ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิ "การใช้ ด้าน พระครูอมรชัยคุณ (หลวงตาแชร์) วัดอาศรมธรรมทายาท จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า หัวใจของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ ทั้งนี้ จากเวทีรับฟังความคิดเห็นทั้ง 5 ภาค พบว่าพระสงฆ์ต่างเห็นด้วยกั ในการประชุมคณะทำงานจัดทำร่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์: ปรัชญาการเมืองจะตายในวันที่ความรักไม่เหลืออยู่แล้ว Posted: 05 Nov 2017 10:25 PM PST เสวนาเปิดตัวหนังสือ "ปรัชญาการเมือง: ความรู้ฉบับพกพา" ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ชี้ปรัชญาการเมืองไม่ได้มีแค่เรื่องที่เกี่ยวพันกับ 'รัฐ' ถ้าแต่เป็นการตั้งคำถามกับกรอบความคิดที่ครอบเราอยู๋ ผ่านการมองโลกด้วยสายตาของเด็ก ย้ำปรัชญาการเมืองจะตายก็ต่อเมื่อไม่มีความรักเหลืออยู่ในสังคม หากจะฆ่าปรัชญาการเมืองก็ต้องทำลายความรัก คลิปอภิปราย "ปรัชญาการเมืองตายแล้ว?" โดยชัยวัฒน์ สถาอานันท์ และช่วงตอบคำถาม เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2560 ที่ห้อง ร 102 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ได้จัดงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ "ปรัชญาการเมือง: ความรู้ฉบับพกพา" (Political Philosophy: A very short introduction) โดยมีการเสวนาในหัวข้อ ปรัชญาการเมืองตายแล้ว ร่วมเสวนาโดย ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยดิเรก ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยงานเสวนาครั้งนี้ร่วมจัดโดยสำนักพิมพ์ open worlds และศูนย์วิจัยดิเรก ชัยนาม ชัยวัฒน์ เริ่มต้นด้วยการระบุถึงคำกล่าวที่ว่า "ปรัชญาการเมืองตายแล้ว" ว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมามีหลายคนที่พูดคำนี้ด้วยคำอธิบายและเหตุผลที่ต่างกันไป แต่ภายใต้กระแสธารที่บอกว่าปรัญชาการเมืองตายไปแล้วนั้น ก็ยังมีผู้คนที่อยู่ในอีกกระแสหนึ่งที่เห็นว่า ปรัชญาการเมืองไม่เคยตาย "ที่น่าสนใจมันไม่ใช่ตัววิชาปรัชญาการเมืองไง ปรัชญาการเมืองมันเป็น อรูป มันไปอยู่ในที่ต่างๆ ได้ มันไม่ได้ต้องอยู่ในคณะปรัชญา หรือวิชาปรัชญาการเมือง คุณไปดูตำราปรัชญาการเมืองจริงๆ มันอาจจะน่าเบื่อมาก แต่มันไปอยู่ในละคร วรรณกรรม มันไปอยู่ในอะไรได้อีกเยอะเลย ในความหมายนี้ ฉะนั้นถามว่ามันตายแล้วหรือยัง ผมไม่ค่อยแน่ใจเท่าไหร่" ชัยวัฒน์ กล่าว เขา อธิบายต่อไปถึงภาพการดืมเฮ็มล็อค ของโสเครติส ซึ่งมักจะมีการอธิบายกันว่า ในที่สุดแล้วโสเครติสอยมตายเพื่อให้ปรัชญาการเมืองคงอยู่ ชีวิตของปรัญชาการเมืองไม่ได้สิ้นสุดลงที่ความตายของโสเครติส แต่ชีวิตของปรัญชาการเมืองยั่งยืนต่อไปในอะคาเดมี่ของเพลโต ยั่งยืนต่อไปในไลเซียมของอริสโตเติล ซึ่งนั้นหมายความว่าชีวิตของปรัญญาการเมืองไม่ได้สิ้นสุดลงเพียงเพราะคนหนึ่งตายลงไป แต่สิ่งที่น่าสนใจต่อไปคือ ปรัชญาการเมืองมีส่วนในการเปลี่ยนชีวิตคน ยกตัวอย่างเช่น เพลโต ก่อนหน้าที่จะพบกับโสเครติสเขาไม่ได้สนใจที่จะมาสอนในอะคาเดมี่ แต่ตั้งใจที่จะเป็นนักการเมือง แต่เมื่อกับการตั้งคำถามในเชิงปรัญญาการเมือง ความคิดของเพลโตก็เปลี่ยนไป ชัยวัฒน์ ชวนตั้งคำถามต่อไปว่า เมื่อลองทบทวนงานวิชาการในช่วงที่ผ่านทำให้ชวนตั้งคำถามว่า ปรัญชาการเมืองต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับ รัฐ หรือเรื่องของการปกครอง หรือเรื่องของรัฐบาลเท่านั้นจริงๆ หรือ หรือว่ามีอะไรบ้างอย่างที่มากกว่านั้น เพราะสิ่งที่รับผิดชอบต่อสิ่งที่ เกษียร เรียกว่า ปุ่มกลางหลังของสังคม บางทีอาจจะไม่ได้มาจากรัฐ บางทีมาจากศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่ต้องหยิบขึ้นมาดู และตั้งคำถามกับมัน ชัยวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า ใครจะเป็นคนตั้งคำถามเหล่านี้ได้ โดยยกตัวอย่างเหตุการณ์หนึ่งซึ่งเขาได้ขับรถไปคน คนหนึ่ง เมื่อผ่านตึกแห่งหนึ่งคนที่นั่งรถไปกับเขาถามเขาว่า น่าสนใจนะว่า ตึกนี้สร้างจากข้างบนลงมาข้างล่าง หรือสร้างจากข้างล่างขึ้นไปข้างบน ท้ายที่สุดชัยวัฒน์เฉลยว่าคนที่ถามเป็นหลานสาวอายุ 8 ปี "ผมเกือบจะจอดรถยกมือไหว้มัน แต่มันผิดวัฒนธรรมเพราะว่าไอ้หมอนี่เป็นหลานผมเอง อายุแปดขวบ เด็กผู้หญิง คือมันมีคำถามแบบนี้ในเด็กๆ พวกนี้จมเลย แล้วมันไม่ได้อยู่ในตำราไง แต่มันทำในสิ่งที่เกษียรบอกเรา คือมันตั้งคำถามในสิ่งที่เราไม่เคยคิด แต่หลายสิบปีผ่านไปเพื่อนผมที่ทำบริษัท สร้างอพาร์ทเม้นท์สำเร็จรูป ก็สร้างสำเร็จมาเลย ตอนนี้สร้างบนลงมาพวกตึกสูงๆ ก็อาจจะจำเป็นก็ได้ คือมันมีวิธีที่หลุดไปจากกรอบ อาจารย์เกษียรพูดเรื่องที่สำคัญมาก คือความไร้เดียงสา คำนี้มันเป็นคุณค่าสำคัญ ไอ้เราเนี่ยมันเดียงสาไปหมดแล้ว" ชัยวัฒน์ กล่าว เขา อธิบายต่อไปว่า ความเดียงสาระนั้นเป็นปัญหาที่ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นโลกได้ด้วยดวงตาของเด็ก ซึ่งไม่ถูกเคลือบด้วยอคตินานาชนิดได้ ซึ่งเห็นได้ว่าเด็กตอนเล็กๆ เกิดมาก็ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร นับถือศาสนาอะไร หรือผิวสีอะไร เด็กสามารถเด็กได้กับทุกคน แต่พอพ่อแม่สอน พอวัฒนธรรมบอก หรือเมื่อร้องเพลงชาติได้ เด็กก็รู้ว่าต่อจากนั้นเขาไม่เหมือนเดิมแล้ว ฉะนั้นสิ่งที่ปรัชญาการเมืองทำคือ ความพยายามที่จะนำความไร้เดียงสากลับมาใหม่ "คือเราทุกคน รวมถึงผมด้วยมันถูกเคลือบด้วยของเหล่าอย่าง ด้วยวัฒธรรม ประเพณี หรือด้วยสิ่งที่ตัวเองเรียน ปัญหานี้มันเป็นปัญหาใหญ่โตมากสำหรับผม วิชาบางวิชาผมหยุดสอนไปเป็น 10 ปี และเหตผลที่ผมหยุดสอนเพราะผมรู้สึกว่า ถ้านักศึกษาถามแล้วผมตอบได้หมด ผมไม่สอน เมื่อไหร่ที่เขาถามแล้วผมตอบได้หมด ผมมีปัญหาแล้ว ผมรู้เกินไป เป็นอันตรายมาก และผมคิดว่าผมถูกไง แต่วิชาปรัชญาที่ผมสอนอยู่เพราะผมเห็นว่ามันมีคำถามที่ผมตอบไม่ได้เยอะแยะเต็มไปหมดเลย และเวลาผมนั่งฟังนักศึกษาถามมันมีคำถามแปลกๆ เยอะเลยซึ่งบางทีผมไม่เคยคิด ซึ่งอันนั้นคือชีวิตของปรัชญาที่มันดำเนินต่อไป" ชัยวัฒน์ กล่าว เขากล่าวต่อไปว่า หากจะถามว่าปรัชญาการเมืองจะตายวันไหน คำตอบที่ได้คือ วันที่ไม่มีความรักเหลืออยู่แล้ว ฉะนั้นสิ่งที่นักวิชาการหลายคนเคยเสนอมาว่าปรัชญาการเมืองตายแล้ว เท่ากับเป็นการมองไม่เห็นเลยว่าอะไรคือส่วนสำคัญที่สุดของความเป็นปรัชญา เพราะส่วนสำคัญที่สุดของปรัชญาคือ ความรักในปัญญา ซึ่งความรักที่ว่านี้ไม่ใช่ความรักแบบความหลงไหล หรือไม่ใช่ความรักในเชิงศาสนา แต่เป็นความรักรักฉันท์มิตร ซึ่งตราบใดที่ความรักลักษณะนี้ยังอยู่ ปรัชญาการเมืองก็ยังอยู่ ตราบใดที่มิตรภาพตาย ปรัชญาการเมืองก็ตาย "มันไม่ใช่เหตุบังเอิญนะครับที่ ในที่สุดท้ายของ THE POLITICS ปัญหาสำคัญที่อริสโตเติลพูดถึงคือเรื่องมิตรภาพ ไม่ใช่รูปของรัฐ ไม่ใช่ธรรมนูญ ไม่ใช่ของพวกนั้น แต่มิตรภาพกับความรักต่างหาก ที่ทำให้สังคมการเมืองมันอยู่ และสิ่งที่เรากำลังเจอตอนนี้ก็คือมีปัจจัยมากมายที่ทำลายสายสัมพันธ์พวกนี้ ความเชื่อใหม่ๆบางอย่าง อันตรายบางอย่าง ความเกลียดชังบางอย่างมันทำลายของพวกนี้หมดเลย ซึ่งถ้าทำลายหมดแล้ววันนั้นปรัชญาการเมืองถึงจะตาย แต่ถ้าเรานิยามปัญหาแบบนี้ หน้าที่ของปรัญชาการเมืองอาจจะเป็นการทำให้เห็นว่า ถ้าความรักยังอยู่ปรัชญาการเมืองก็ไม่ตาย ฉะนั้นหากจะฆ่าปรัชญาการเมืองต้องทำลายความรัก แต่ราคาของการทำลายความรักในสังคมการเมืองคืออะไร อันนี้ผมตอบไม่ได้" ชัยวัฒน์กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น