โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

กสม. ลุยแม่กลอง ถก ผู้ว่า - เกษตรกร ปมปลาหมอซีพีนำเข้า ระบาดทำสัตว์น้ำอื่นสูญหาย

Posted: 09 Nov 2017 09:18 AM PST

กสม. เตือนใจลงพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม หารือร่วม ผู้ว่าฯ-เกษตรกร กรณีเรื่องร้องเรียนปลาหมอสีคางดำ ที่ บ.ซีพี นำเข้าเจ้ากานา ปี 53 ระบาดทำสัตว์น้ำอื่นสูญหาย

9 พ.ย. 2560 รายงานข่าวจก สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (สนง.กสม.) แจ้งว่า วันนี้ (9 พ.ย.60) ที่ จ.สมุทรสงคราม เตือนใจ ดีเทศน์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร ใน กสม. ลงพื้นที่ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนกรณีเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำใน จ.สมุทรสงครามและ จ.เพชรบุรี ร้องเรียนว่าได้รับผลกระทบจากการแพร่พันธุ์ของปลาหมอสีคางดำซึ่งเป็นปลาต่างถิ่นจากประเทศกานา ทวีปแอฟริกา ซึ่งบริษัทแห่งหนึ่งโดยการอนุญาตของกรมประมงได้นำเข้ามาทดลองเพาะเลี้ยง กระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของพันธุ์ของปลาชนิดดังกล่าวรุกรานปลาพื้นถิ่น สร้างความเดือดร้อนแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในวงกว้างมาตั้งแต่ปี 2555

โดยในช่วงเช้า เตือนใจ พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนฯ ได้เดินทางไปยังฟาร์มทดลองยี่สาร (ปลา) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ณ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โดยได้รับฟังข้อมูลและคำชี้แจงจากผู้แทนบริษัทฯ กรณีการสั่งนำเข้าปลาหมอสีคางดำจากประเทศกานาเมื่อปี 2553

ภายหลังการประชุม เตือนใจ เปิดเผยว่า บริษัทฯ ชี้แจงข้อมูลว่าได้ดำเนินการนำเข้าปลาชนิดดังกล่าวถูกต้องตามกระบวนการทางกฎหมายโดยการอนุญาตของกรมประมง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพันธุ์ปลาหมอให้ทนทานต่อโรคระบาดที่มักเกิดในไทย แต่การพัฒนาพันธุ์ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากปลาจำนวนมากอ่อนแอและตาย บริษัทฯ จึงได้ทำลายปลาชุดนั้นทั้งหมดโดยการฝังกลบและโรยปูนขาวอย่างถูกต้องตามกระบวนการทำลาย อย่างไรก็ดีพบว่าเกิดข้อบกพร่องบางประการขึ้นเนื่องจากการทำลายในครั้งนั้นไม่ได้รายงานการทำลายปลาอย่างเป็นทางการต่อกรมประมง ขณะที่กรมประมงก็ไม่มีการตรวจสอบอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการแพร่ระบาดของปลาพันธุ์ดังกล่าวในพื้นที่อื่นนอกบริเวณนี้ซึ่งน่าจะเกิดจากการที่มีผู้ลักลอบนำปลาไปปล่อยด้วย อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ยินดีให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการในการหามาตรการแก้ไขปัญหาตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UNGP) ต่อไป

หลังจากนั้น เตือนใจและคณะ ได้ลงพื้นที่สำรวจลำน้ำที่มีการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำ ณ ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ร่วมกับเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบ โดยนายปัญญา โตกทอง เครือข่ายผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จ.สมุทรสงคราม ตัวแทนผู้ร้องเรียน ให้ข้อมูลว่า การแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำเริ่มส่งผลกระทบราวปี 2555 ครอบคลุมพื้นที่ อ.เขาย้อย อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี และพื้นที่ อ.อัมพวาและ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม ทั้งนี้ เนื่องจากปลาชนิดดังกล่าวเป็นสัตว์กินเนื้อ สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำกร่อยและน้ำจืด ทำให้กุ้งและปลาชนิดอื่นที่เกษตรกรเลี้ยงไว้ถูกกินและสูญหายไปจำนวนมาก ขณะที่ปลาหมอสีคางดำไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพราะเนื้อน้อย กระดูกใหญ่ ไม่สามารถเลี้ยงขายได้ราคา ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตการทำมาหากินของเกษตรกรอย่างมาก โดยมีข้อเสนอให้รัฐบาลโดยกรมประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ เช่น อนุญาตให้เกษตรกรใช้เครื่องมือประมงพื้นบ้านที่ผิดกฎหมายทำลายปลาชนิดดังกล่าวได้เป็นกรณีพิเศษ และรับซื้อปลาชนิดดังกล่าวในราคาสูงขึ้นเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า อย่างไรก็ดีต้องการให้มีผู้รับผิดชอบต่อการแพร่พันธุ์ปลาดังกล่าวในประเทศไทยด้วย

ช่วงบ่าย เตือนใจและคณะ ได้เข้าหารือกับ คันฉัตร ตันเสถียร ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหากรณีดังกล่าว โดยได้เสนอให้มีการบูรณาการแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างหน่วยงานระดับจังหวัดของทุกจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งนายคันฉัตร ยืนยันจะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาเสนอต่ออธิบดีกรมประมงเพื่อให้เกิดมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

เตือนใจ กล่าวปิดท้ายว่า กสม. จะติดตามการประสานงานแก้ไขปัญหา และจะรวบรวมข้อเท็จจริงของทุกฝ่ายเพื่อจัดทำรายงานข้อเสนอแนะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี กรมประมง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'แรงงานรัฐวิสาหกิจ' ยก 10 ข้อ ร้องรัฐบาลถอน 'ร่าง พ.ร.บ.พัฒนารัฐวิสาหกิจ' ออกจาก สนช.

Posted: 09 Nov 2017 08:43 AM PST

สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ประท้วงกลางวงเสวนา ยก 10 เหตุผลขอรัฐบาลถอน ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ....ออกจาก สนช. ชี้ขัดต่อเจตนารมณ์ เอื้อนักการเมืองข้าราชการประจำและอดีต รวมถึงนายทุนนักธุรกิจนั่ง กก.ชุดต่างๆ 

9 พ.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (9 พ.ย.60) เมื่อเวลาประมาณ 11.30 น. ที่ ห้อง Le lotus 1 โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด (รัชดาฯ) ช่วงถามตอบวงเสวนาสาธารณะ หัวข้อ "อนาคตรัฐวิสาหกิจไทย กับ ร่างกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจ" ซึ่งจัดโดย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และมีวิทยากรทั้งนักวิชาการ ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่ออภิปรายถึง ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ..." (ร่างกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจ) ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รับหลักการร่างกฎหมายนี้เมื่อต้นเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา และจะพิจารณาออกกฎหมายอีกไม่นานนี้นั้น (รับชมวิดีโอเสวนา)

ตัวแทนสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ลุกขึ้นอภิปราย พร้อมผู้เข้าร่วมจาก สรส. ในห้องเสวนาประมาณ 50 คน รวมกันชูป้ายข้อความคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลถอนร่างฉบับนี้ออกมา โดยให้เหตุผลประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ขัดต่อเจตนารมณ์ และหลักการของร่างกฎหมายโดยสิ้นเชิง โครงสร้างของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ล้วนมาจากนักการเมือง ข้าราชการประจำและอดีต รวมถึงนายทุนนักธุรกิจ

สรส. ระบุด้วยว่า การตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่ในการถือหุ้นแทนกระทรวงการคลังเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงานเต็มศักยภาพมีความพร้อมในการแข่งขันเชิงพาณิชย์  เป้าประสงค์ของรัฐวิสาหกิจที่เปลี่ยนจากบริการประชาชนไปเป็นเพื่อการพาณิชย์ การค้าขาย การลงทุน โครงสร้างและอำนาจคณะกรรมการชุดต่าง  ๆ แล้ว ก็ปราศจากการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนอื่นของสังคมหรือแม้กระทั่งบุคคลในองค์กรนั้น ๆ  ขัดกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มาตรา 23 (4) ที่บัญญัติว่าทุกคนมีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงานและมีสิทธิเข้าร่วมกับสหภาพแรงงาน และตามหลักการพื้นฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ 
 
รวมทั้งประเด็นที่อ้างว่า กระทรวงการคลัง ยังคงถือหุ้นในบรรษัทอยู่ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่หลายมาตราที่กล่าวมา ที่จะกำหนดสัดส่วนการถือหุ้น จำหน่ายหุ้น กำหนดให้บรรษัทลดสัดส่วนการถือหุ้นจนพ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจได้  เป็นต้น
 
รายละเอียดตามแถลงการณ์ที่ สรส.แจกในวงเสวนา ดังนี้ :
 

เหตุผลที่ขอให้รัฐบาลถอนร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ....ออกจากการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

ตามที่รัฐบาลได้นำร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาและร่างดังกล่าว สภา สนช. ได้พิจารณาเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2560 ซึ่งได้ผ่านวาระแรกไปแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ข้ออ้างของรัฐบาลนับตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศ คือต้องการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจให้ปลอดจากการเมืองเข้ามาแทรกแซง ให้บริการแบบโปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล ให้เกิดประสิทธิภาพ ให้บริการที่ดีแก่ประชาชน และเพื่อเป็นกลไกของรัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และการลงทุน โดยคงความเป็นรัฐวิสาหกิจไว้  ฟังแล้วดูดี แม้กระทั่งชื่อ "ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ...." แต่เมื่อพิจารณาในสาระในรายมาตราแล้ว กลับไม่ได้เป็นไปตามที่กล่าวอ้างตั้งแต่ต้น และขบวนการร่างกฎหมายฉบับนี้ ก็ไม่ได้มีส่วนร่วมจากภาคประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กล่าวคือ

1.      หลักการร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... แต่เหตุผลขัดต่อ เจตนารมณ์ และหลักการของร่างกฎหมายโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ

1.1 โดยที่รัฐวิสาหกิจเป็นกลไกของรัฐในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจ และการลงทุนของประเทศ รวมถึงเป็นผู้ให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน ดังนั้น ภาครัฐจำเป็นต้องมีการปฏิรูปการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้เหมาะสมกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไป และสอดคล้องกับมาตรการที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลซึ่งครอบคลุมการกำหนดบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้กำหนดนโยบาย ผู้กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ผู้ถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจ และรัฐวิสาหกิจ ให้ชัดเจน ตลอดจนให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ รัฐวิสาหกิจที่เป็นช่องทางในการส่งผ่าน นโยบายของภาครัฐ ไปยังรัฐวิสาหกิจให้มีความชัดเจน และโปร่งใส รวมทั้งให้มีการเปิดเผย ข้อมูล การประเมินผลการดำเนินงาน และการกำหนดกระบวนการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้ง เป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจที่มุ่งเน้นประสบการณ์และความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ อันนำไปสู่สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดทำบริการสาธารณะ ที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชนและขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

1.2 และสมควรจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ ทำหน้าที่ในฐานะผู้ถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจที่เป็น

บริษัทแทนกระทรวงการคลังเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพ ในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้มีความพร้อมในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ และสามารถดำเนินการได้เต็มศักยภาพ โดยคงความเป็นรัฐวิสาหกิจไว้

จะเห็นว่าเหตุผลขัดกันโดยสิ้นเชิง คือ ข้อที่ 1.1 กล่าวถึงการพัฒนารัฐวิสาหกิจ การกำกับดูแล การตรวจสอบ การให้บริการที่ดี และให้รัฐวิสาหกิจ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน แต่ในข้อ 1.2 ให้มีการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ "แต่ไม่ได้เป็นบรรษัท "รัฐ" วิสาหกิจแห่งชาติ คำว่ารัฐหายไป" และบริษัททำหน้าที่ในฐานะผู้ถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัท และบริษัทมหาชนจำกัด แทนกระทรวงการคลังเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้มีความพร้อมในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ ซึ่งในบางมาตรา ที่กำหนดให้กำหนดสัดส่วนการถือหุ้นและลดสัดส่วนการถือหุ้นจนพ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจได้ เช่น มาตรา 3, 11, (4) (6) (8) มาตรา 45, 47, 49, 57 (3) เป็นต้น

2.      ประเด็นที่อ้างว่าให้ปลอดจากการเมืองแทรกแซง แต่เมื่อพิจารณาแล้ว จากโครงสร้างของ คณะกรรมการชุดต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) คณะกรรมการบรรษัทวิสาหกิจ คณะกรรมการคัดสรรผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการกลั่นกรองบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ที่ล้วนมาจากนักการเมือง ข้าราชการประจำและอดีต รวมถึงนายทุนนักธุรกิจ เช่นผู้แทนจากสภาหอการค้า ผู้แทนจากตลาดหลักทรัพย์ ผู้แทนจากสมาคมธนาคารไทย ผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรม ทั้งหมดล้วนมาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐมนตรี โดยปราศจากการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนอื่นของสังคมมาตรา 6, 15, 16, 35, 52, 63

3.      ประเด็นที่อ้างว่าเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพย้อนหลังไป 10 ปี จนถึงปัจจุบัน สินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจจากประมาณ 5 ล้านล้านบาท 14 ล้านล้านบาท รายได้รวมจาก 1.5 ล้านล้านบาทเป็น 5 ล้านล้านบาท ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกัน คงไม่มีหน่วยงานไหนมีความมั่นคง แข็งแกร่ง อย่างรัฐวิสาหกิจ แสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งรายได้เข้ารัฐแต่ละปีเกือบ 2 แสนล้านบาท และมีงบประมาณการลงทุนขยายงานเพิ่มเพื่อบริการประชาชน โดยไม่ต้องพึ่งงบประมาณจากรัฐบาลเกือบ 5 ล้านล้านบาท

4.      ประเด็นที่อ้างว่าเพื่อให้เกิดการบริการที่ดีแก่ประชาชน ต้องทราบว่ารัฐวิสาหกิจทุกแห่งจะถูกควบคุมโดยรัฐบาล ไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้หากกระทรวงต้นสังกัด และรัฐบาลไม่อนุมัติแผนวิสาหกิจแต่ละแห่งก็มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน และได้ทำงานสนองนโยบายของประเทศ ของรัฐบาลแต่ละยุคสมัยแต่ละแห่งก็ได้พยายามพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการอย่างต่อเนื่อง แต่ร่างกฎหมายฉบับนี้ ไม่มีมาตราไหนที่เป็นรูปธรรมที่จะกำหนดให้เกิดการบริการที่ดีแก่ประชาชน ร่างกฎหมายฉบับนี้ที่เห็นได้ชัดคือ "การตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่ในการถือหุ้นแทนกระทรวงการคลังเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงานเต็มศักยภาพมีความพร้อมในการแข่งขันเชิงพาณิชย์" เป้าประสงค์ของรัฐวิสาหกิจที่เปลี่ยนจากบริการประชาชนไปเป็นเพื่อการพาณิชย์ การค้าขาย การลงทุน แล้วประชาชนจะได้อะไร

5.      ประเด็นที่อ้างว่า คงความเป็นรัฐวิสาหกิจไว้ไม่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังยังคงถือหุ้นเต็มตามจำนวน แต่ในสาระรายมาตราของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้ให้อำนาจ ทั้ง ครม. คนร. และบรรษัทในการโอนหุ้น ขายหุ้น ลดสัดส่วนการถือหุ้นของบรรษัท จนพ้นสภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจได้กำหนดให้บรรษัทวิสาหกิจไม่เป็นราชการและรัฐวิสาหกิจ เป็นเพียงหน่วยงานของรัฐ ความหมายก็คือ จะยกเลิกกฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นกฎหมายมหาชน แต่จะไปใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎมายเอกชน และยิ่งกว่านั้น การขายหุ้นก็สามารถกระทำการได้โดยเสรีไม่ได้กำหนดสัดส่วนว่าจะขายจำนวนเท่าใดซึ่งสามมารถขายทั้งหมดก็ได้ ซึ่งเมื่อขายไปแล้ว กระทรวงการคลังก็ไม่สามารถเป็นเจ้าของได้อีกต่อไป ก็จะทำให้รัฐวิสาหกิจพ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจไปหากขายเกินกว่าร้อยละ 50 ซึ่งหากรัฐวิสาหกิจนั้นมีบริษัทลูกก็จะทำให้บริษัทลูกเหล่านั้นพ้นจากความเป็นรัฐวิสาหกิจด้วย ซึ่งในตลาดทุนตลาดหุ้นเป็นที่ทราบกันว่า คนไทยต่างชาติก็สามารถซื้อได้ และรัฐวิสาหกิจอื่น นอกจาก 11 แห่ง ก็สามารถดำเนินการตามกระบวนการโอนหุ้นให้บรรษัทนำไปขายได้ เพียงแต่ต้องทำให้รัฐวิสาหกิจเหล่านั้นเป็นบริษัทเสียก่อน เช่น มาตรา 11 (4) (6) (8) มาตรา 45, 47, 49, 57 (3) เป็นต้น

6.      ประเด็นที่อ้างว่าให้มีการบริหารอย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ซึ่งพิจารณาจากโครงสร้างและอำนาจคณะกรรมการชุดต่าง  ๆ แล้ว ก็ปราศจากการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนอื่นของสังคมหรือแม้กระทั่งบุคคลในองค์กรนั้น ๆ ที่เข้าใจเชี่ยวชาญในภารกิจของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ และที่ยิ่งกว่านั้น บรรษัทวิสาหกิจไม่ต้องผ่านการตรวจสอบงบการเงิน บัญชีจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ผู้ตรวจสอบงบการเงินงบดุลทางบัญชี ที่มีสินทรัพย์อย่างมหาศาล ดำเนินการตรวจสอบ "โดยการแต่งตั้งของกระทรวงการคลัง" มาตรา 79, 80

7.      เป็นร่างกฎหมายที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน กล่าวคือ บรรษัทวิสาหกิจเป็นหน่วยงานของรัฐไม่เป็นหน่วยงานราชการไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ กำหนดให้สถานะสิทธิของพนักงานรัฐวิสาหกิจยังคงมีอยู่ต่อไป "ตราบเท่าที่บรรษัทยังคงถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจนั้นเกินกว่าร้อยละ 50" ซึ่งหากบรรษัทขายหุ้นเกินร้อยละ 50 รัฐวิสาหกิจนั้นจะพ้นสภาพจากความเป็นรัฐวิสาหกิจ สถานะพนักงาน สิทธิต่าง ๆ ก็หมดตามไปด้วยและไม่สามารถรวมตัวจัดตั้งองค์กรสหภาพแรงงานของลูกจ้างได้ทั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ และ สหภาพแรงงานเอกชน บรรษัทเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่น หน่วยงานดังกล่าวเป็นอะไร ที่สำคัญหน่วยงานต้องมีพนักงานหรือลูกจ้างทำให้ไม่สามมารถจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ เพราะไม่ได้เป็นรัฐวิสาหกิจและไม่ได้เป็นเอกชน ซึ่งเป็นการขัดต่อสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ อย่างรุนแรง จึงไม่เป็นไปตามหลักการสากลที่เขียนไว้ในเหตุผลร่างกฎหมาย เพราะขัดกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มาตรา 23 (4) ที่บัญญัติว่าทุกคนมีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงานและมีสิทธิเข้าร่วมกับสหภาพแรงงาน และตามหลักการพื้นฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO)

8.      ประเด็นที่อ้างว่า กระทรวงการคลัง ยังคงถือหุ้นในบรรษัทอยู่ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่หลายมาตราที่กล่าวมา ที่จะกำหนดสัดส่วนการถือหุ้น จำหน่ายหุ้น กำหนดให้บรรษัทลดสัดส่วนการถือหุ้นจนพ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจได้ ก็ยังมองไม่เห็นว่า กระทรวงการคลังจะถือหุ้นเต็มจำนวนได้อย่างไร อาจจะมีเพียง 100 ล้านหุ้นมูลค่าหุ้นละ 10 บาท เป็นเงิน 1,000 ล้านบาท ที่กำหนดให้กระทรวงการคลังถือไว้ห้ามโอนและเปลี่ยนมือ มาตรา 47

9.      ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตราที่ 56 ที่กำหนดให้รัฐมีหน้าที่ในการให้บริการที่ดีแก่ประชาชน และในกิจการที่เป็นโครงพื้นฐาน โครงข่ายโทรคมนาคมรัฐจะให้เอกชนดำเนินการเกินกว่าร้อยละ 51 ไม่ได้ ซึ่งเป็นที่ทราบทั่วกันว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายอื่นจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ ซึ่งในอนาคตเมื่อรัฐวิสาหกิจทั้งหลายสิ้นสลายไป ภารกิจในการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนก็จะหายไป หลักประกันในการดำเนินชีวิตที่มั่นคงก็จะหายไป

และร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77  ที่กำหนดให้ตรากฎหมายต้องรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากประชาชน รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมาย และต้องเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและผลการวิเคราะห์ต่อประชาชนด้วย แต่ ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... มิได้ดำเนินการใด ๆ ตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ และสิ่งที่กล่าวอ้างของกรรมการ คนร. บางคนที่รับผิดชอบในการร่างกฎหมายฉบับนี้ที่บอกว่า "รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและสหภาพแรงงานแล้วนั้น" มิได้เป็นไปตามคำกล่าวอ้างแต่ประการใดเป็นเพียงเวทีที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจและสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์จัดแล้วเชิญผู้แทนภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับร่างกฎหมายฉบับนี้มาให้ข้อมูลเท่านั้น มาตรา 84 ความว่า "รัฐพึงส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชน" มีความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ การจัดทำบริการด้านสาธารณะ ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น การตรวจสอบการใช้อำนาจ รัฐ การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมตลอดทั้งการตัดสินใจทางการเมือง และการอื่นใดบรรดาที่อาจมีผลกระทบต่อประชาชนหรือชุมชน"

10.  ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดให้ มีแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจซึ่งมีระยะเวลา 5 ปี เพื่อกำหนดเป้าหมาย นโยบายและทิศทางในการพัฒนารัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยังไม่แล้วเสร็จจึงมีเวลาเพียงพอที่จะดำเนินให้เป็นไปตามเจตนารมณ์เดิมตั้งแต่ต้น และที่นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า "เป็นการปฏิรูปโดยไม่มีการแปรรูปโดยเด็ดขาด"

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และองค์กรสมาชิกจึงขอให้รัฐบาลเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนที่จะได้รับผลกระทบจากการใช้กฎหมายฉบับนี้ ขอให้ "ถอนร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... ออกจากการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" แล้วหลังจากนั้นจึงมาเริ่มกระบวนการ ขั้นตอนการร่างกฎหมายให้เป็นไปตามเจตนารมณ์และบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยการมีส่วนร่วมจากประชาชน องค์กรภาคประชาสังคม หน่วยงานรัฐวิสาหกิจและสหภาพแรงงาน เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชน ตามที่นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พยายามเน้นย้ำเสมอมา

และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) พร้อมให้ความร่วมมือในการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งจากนี้ไป สรส. จะดำเนินการให้ความรู้ความเข้าใจกับร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ กับพนักงานรัฐวิสาหกิจ สหภาพแรงงานเครือข่ายของ สรส. ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคทั่วประเทศ พร้อมกับหาแนวทางเพื่อให้รัฐบาลได้ทราบเจตนาที่แท้จริง และจะประสานความร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจที่แท้จริงรวมไปถึงร่วมกันยับยั้ง ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... ต่อไป

สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.)

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มถูกแม่ค้าอ้างเป็นเมียทหารเปิดเพจหลอกขายกระทง ร้องกองปราบ

Posted: 09 Nov 2017 05:51 AM PST

กลุ่มผู้เสียหายรวมตัวแจ้งความ หลังตกเป็นเหยื่อเพจขายกระทงเปลือกข้างโพดโดยอ้างเป็นภรรยานายทหาร พร้อมอ้างอิงเอารูปราชวงค์มาขึ้นเพจเรียกยอดขาย สุดท้ายปิดเพจหายตัวไร้ร่องรอย

9 พ.ย. 2560 สำนักข่าวไทย รายงานว่า กลุ่มผู้เสียหายเกือบ 10 คน เดินทางเข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวนกองปราบปราม หลังถูกแม่ค้าที่อ้างตัวเป็นภรรยานายทหาร เปิดเพจทำกระทงเปลือกข้าวโพด ขายส่งทั่วไทย แต่กลับถูกหลอกลวงเชิดเงินหนี โดยมีพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยตกเป็นเหยื่อ บางรายเสียเงินเป็นแสนแต่ไม่ได้รับของ เมื่อทวงถามเอาเงินคืนแต่ไร้คำตอบ จากการสอบประวัติพบเมื่อปี 59 ที่ผ่านมาเคยมีพฤติกรรมเช่นนี้ อ้างอิงเอารูปราชวงค์มาขึ้นเพจเพื่อสร้างศักยภาพเรียกการตลาดหลอกลวงผู้คน

ยุทธศักดิ์  มหาทรัพย์ศิริ อายุ 38 ปี เจ้าของธุรกิจร้านสังฆภัณฑ์ หนึ่งในผู้เสียหาย เล่าว่า ตนได้สั่งกระทงจากเพจ "กระทงเปลือกข้าวโพดราคาถูก จำนวน 2,000 ใบ ใบละ 38 บาท มูลค่ากว่า 70,000 บาท โดยเมื่อโอนเงินแล้ว กลับได้สินค้าไม่ครบตามจำนวนจึงส่งกระทงคืนกลับและติดต่อผ่านเพจแต่ถูกปฎิเสธ พร้อมบ่ายเบี่ยงการคืนเงิน และขู่ฟ้องกลับฐานหมิ่นประมาทหากมีการแจ้งความ ส่วนสาเหตุที่หลงเชื่อเนื่องจากมีการโพสภาพแอบอ้างเบื้องสูง และจากการตรวจสอบเบื้องต้น ทราบว่าเจ้าของเพจเป็นบุคคลมีสี จึงตัดสินใจแจ้งความฐานฉ้อโกงประชาชน 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นำร่อง คสช. จ่อปลดล็อกเลือกตั้งท้องถิ่น หลังได้ กกต.ชุดใหม่

Posted: 09 Nov 2017 04:23 AM PST

วิษณุ เผยขณะนี้กำลังพิจารณาปลดล็อกให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น แต่เป็นแค่บางระดับ ไม่ใช่ทั้งหมด ระบุจะต้องได้ กกต.ชุดใหม่ก่อน ปฏิเสธกระแสข่าวออก ม.44 คืนตำแหน่งข้าราชการ นักการเมืองท้องถิ่นที่ถูกตรวจสอบทุจริต

แฟ้มภาพ

9 พ.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นว่า ขณะนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กำลังพิจารณาอยู่ โดยเลือกตั้งท้องถิ่นมีทั้งระดับอบต. อบจ. เทศบาล กทม. เมืองพัทยา โดย คสช.ดูมาเป็นระยะ ๆ และได้หารือกับกระทรวงมหาดไทยว่าอาจจะต้องปลดล็อกให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น แต่เป็นแค่บางระดับ ไม่ใช่ทั้งหมด วันนี้ชุดเก่ายังทำหน้าที่อยู่ได้ ไม่ได้เกิดปัญหาอะไร ซึ่งในหลายพื้นที่รายงานมาว่าดี ไม่มีปัญหาอะไร โดยคสช.กำลังคิดว่าจะทำอย่างไรให้เกิดการเลือกตั้งท้องถิ่นก่อนการเลือกตั้งระดับชาติ

รองนายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า แต่ไม่ใช่ว่า จะนึกปลดล็อกแล้วทำได้ทันที เพราะคุณสมบัติของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งท้องถิ่นเหล่านี้ จะไม่เหมือนคุณสมบัติเก่า เพราะรัฐธรรมนูญใหม่ได้เขียนไว้อีกแบบหนึ่งแล้ว ดังนั้น ต้องแก้กฎหมายก่อน อีกไม่กี่วันตนจะนัดปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นมาหารือว่าจะทำกฎหมายท้องถิ่นให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญอย่างไร แต่คงไม่ต้องแก้หลายมาตรา นอกจากนี้ อาจจะต้องคิดถึงไทม์ไลน์หรือโรดแมปของการเลือกตั้งท้องถิ่นด้วย นี่คือ โจทย์ แต่คำตอบยังไม่มี

"การเลือกตั้งในบางท้องถิ่น เช่น กรุงเทพมหานคร พัทยา และ เทศบาลต่างๆ ในบางพื้นที่ ที่อาจต้องผ่อนคลายคำสั่ง คสช.ให้สามารถทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การหาเสียงได้ แต่ก่อนจะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นในบางพื้นที่นั้น จะต้องได้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดใหม่ก่อน" วิษณุ กล่าว

ต่อกรณีคำถามที่ว่าไทม์ไลน์เลือกตั้งท้องถิ่นไม่เกี่ยวกับไทม์ไลน์ระดับชาติใช่หรือไม่นั้น วิษณุ กล่าวว่า ไม่เกี่ยว เพียงแต่ถ้าเป็นไปได้อยากให้การเลือกตั้งบางประเภทเกิดก่อนระดับชาติ เพราะไม่เช่นนั้นคนจะพะวักพะวงว่าจะลงเลือกตั้งอะไรดี จะลงทั้งสองอย่างคงยาก ดังนั้น ถ้าจะให้เขาคิดต้องให้เขารู้ตัวว่าจะทำอะไรเมื่อไร จึงเกิดโรดแมปเล็กซ้อนขึ้นมา ยืนยันว่าไม่ใช่ทุกระดับ ไม่เช่นนั้น กกต.จะวุ่นวาย นี่จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้โยงไปถึงเรื่องของการปลดล็อก เพราะคนที่จัดการเลือกตั้งท้องถิ่นและระดับชาติคือกกต.ซึ่งตามหลักควรจะเป็นกกต.ชุดใหม่ จึงต้องคิดวางแผนเตรียมเอาไว้ และต้องให้เวลาบริหารจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นบางระดับได้ทัน จากนั้นค่อยเลือกตั้งระดับชาติ และในบางระดับค่อยไปเลือกตั้งหลังการเลือกตั้งระดับชาติ

สำหรับคำถามที่ว่า นอกจากแก้ไขบางมาตราของกฎหมายท้องถิ่นแล้ว ต้องมีคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่จะปลดล็อกเรื่องการหาเสียงด้วยหรือไม่ วิษณุ กล่าวว่า ปัจจุบันมีคำสั่งและประกาศหัวหน้าคสช. อยู่ 2 ฉบับที่ล็อกเรื่องนี้ไว้ ที่สุดจะต้องปลดล็อก โดยในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Relaxation ที่แปลว่าผ่อนคลาย เพื่อให้พรรคเก่าสามารถทำกิจกรรมได้ และพรรคใหม่สามารถดำเนินการจัดตั้งพรรคได้ เพื่อไม่ให้ได้เปรียบเสียเปรียบกัน แต่จะทำอย่างไรตนไม่ทราบ ส่วนการผ่อนคลายจะทำพร้อมกันทั้งหมดหรือไม่นั้น ตนไม่ทราบ แต่ในระดับชาติถ้าจะผ่อนคลายต้องทำให้พร้อมกันทั้งประเทศ ส่วนท้องถิ่นอาจจะผ่อนคลายเฉพาะบางระดับที่มีการเลือกตั้ง

ต่อข้อถามที่ว่าจำเป็นต้องใช้มาตรา 44 ในการขยายกรอบ 90 วันที่พรรคการเมืองต้องเตรียมการตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองหรือไม่ วิษณุ กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรา 44 เพราะมีหลายวิธี โดยพล.อ.ประยุทธ์ ระบุแล้วว่า จะใช้อำนาจที่มีอยู่และวิถีทางตามรัฐธรรมนูญที่มีหลายวิธี โดยเรื่องนี้ได้มีการพูดคุยกับนายกฯ แล้ว  

วิษณุ ยังปฏิเสธกระแสข่าวจะมีการออกคำสั่งตามมาตรา 44 คืนตำแหน่งให้ข้าราชการที่เคยถูกตรวจสอบเรื่องการทุจริตต่างๆ  ก่อนหน้านี้  เนื่องจากศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) จะต้องตรวจสอบผลการสืบสวนสอบสวนจาก 5 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน

ที่มา : สำนักข่าวไทย และคมชัดลึกออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แนะเด็กเรียนสายอาชีพ ก.แรงงานเผยตลาดต้องการจบ ปวช.ปวส.และอนุปริญญามากที่สุด

Posted: 09 Nov 2017 01:50 AM PST

กระทรวงแรงงานเผยตลาดต้องการแรงงานที่จบ ปวช.ปวส. และอนุปริญญามากที่สุด แนะเด็กไทยเลือกเรียนสายอาชีพ ป้องกันการตกงาน พบเดือนกันยายนตลาดต้องการแรงงานกว่า 32,000 อัตรา ได้รับการบรรจุงานแล้วกว่า 30,000 คน

ที่มาภาพประกอบจาก http://of.surin.rmuti.ac.th/th/newsSharefb.php?id=02707

9 พ.ย. 2560 รายงานข่าวจากกรมจัดหางาน แจ้งว่า อนุรักษ์ ทศรัตน์ ช่วยราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ในเดือนกันยายน 2560 ที่ผ่านมา กรมการจัดหางาน ได้รับแจ้งความต้องการแรงงานจากนายจ้าง/สถานประกอบการว่าต้องการแรงงานเป็นจำนวน 32,128 อัตรา ซึ่งต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2559 จำนวน 2,038 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 6.77 โดยพบว่าอุตสาหกรรมที่มีความต้องการแรงงานมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมการผลิต จำนวน 12,245 อัตรา รองลงมาคือ การขายส่ง การขายปลีก ซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ จำนวน 8,338 อัตรา กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน จำนวน 2,109 อัตรา ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร จำนวน 1,892 อัตรา และการก่อสร้าง จำนวน 1,188 อัตรา โดยนายจ้าง/สถานประกอบการแจ้งว่าต้องการแรงงานที่จบการศึกษาในระดับปวช.-ปวส./อนุปริญญามากที่สุดถึงร้อยละ 34.13 รองลงมาคือระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 31.88 ระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า ร้อยละ 22.39 ปริญญาตรีและสูงกว่าเพียงร้อยละ 11.60

จากความต้องการแรงงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การเรียนในสายอาชีพเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเป็นอย่างมาก ดังนั้น เพื่อรองรับต่อภาคอุตสาหกรรม จึงขอให้นักเรียน นักศึกษา ปรับเปลี่ยนทัศนคติ มุมมองต่อการเลือกศึกษาโดยหันมาเลือกเรียนในสายอาชีพเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ ทั้งนี้ เพื่อจะได้ไม่ตกงาน และสามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับตนเอง นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป นายอนุรักษ์ กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สปสช.ปรับกลยุทธ์ เน้นขับเคลื่อนกลไกระดับพื้นที่เดินหน้ายุทธศาสตร์พัฒนาบัตรทอง

Posted: 09 Nov 2017 01:08 AM PST

สปสช.บูรณาการกลไกกำกับคุณภาพมาตรฐานและคุ้มครองสิทธิระดับพื้นที่ ดึง อปสข. อคม.และหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ม.50(5) สร้างกระบวนการทำงานใหม่ ขยายเครือข่าย หนุนเดินหน้ายุทธศาสตร์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 

9 พ.ย. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นประธานเปิดประชุมชี้แจงแนวทางบูรณาการกลไกเพื่อกำกับคุณภาพมาตรฐานและการคุ้มครองสิทธิระดับพื้นที่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จัดโดย สปสช. เพื่อร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานควบคุมกำกับคุณภาพมาตรฐานและการคุ้มครองสิทธิ์ในระดับพื้นที่เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันในปี 2561 พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานที่ผ่านมา และนำไปสู่การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีผู้แทนในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อกำกับคุณภาพมาตรฐานและการคุ้มครองสิทธิระดับพื้นที่ฯ เข้าร่วม

ศักดิ์ชัย กล่าวว่า การกำกับคุณภาพมาตรฐานและการคุ้มครองสิทธิเป็นหัวใจสำคัญของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าดังจะเห็นได้จากเจตนารมณ์ของกฎหมาย แนวทางการทำงานกำกับคุณภาพมาตรฐานและการคุ้มครองสิทธิ มองว่ามีหลักการสำคัญ 2 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนแรกคือยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า "ขารุก" โดย สปสช.กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพที่เป็นเป้าหมายดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยยุทธศาสตร์ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560-2564) มี 5 ด้าน คือ 1.ความมั่นใจในการเข้าถึงบริการของกลุ่มเปราะบางและกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงบริการ 2.สร้างความมมั่นใจในคุณภาพมาตรฐานและความเพียงพอของบริการ 3.สร้างความมั่นใจในประสิทธิภาพการบริหารกองทุน 4.สร้างความมั่นใจการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และ5.สร้างมั่นใจในธรรมาภิบาล ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ "ทุกคนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย ได้รับความคุ้มครองหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าด้วยความมั่นใจ" 

ส่วนต่อมาคือการกำกับคุณภาพมาตรฐานและการคุ้มครองสิทธิ เรียกว่า "ขาดึง" ซึ่งการทำงานเชิงรุกจำเป็นต้องส่วนนี้เพื่อก้าวไปพร้อมกัน โดยตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 นอกจากได้ระบุถึงคุณภาพและมาตรฐานบริการสุขภาพที่คนไทยต้องได้รับอย่างเท่าเทียมแล้ว ยังเน้นการดำเนินงานที่ต้องมีส่วนร่วม ความเป็นเจ้าของระบบร่วมกันของคนไทยทุกคน ทำให้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ ต่างจากกฎหมายฉบับอื่น    

"พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ กำหนดให้มี สปสช. ซึ่งต้องดูว่าการทำงานของเรามีขอบเขตและบทบาทอะไร  มีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง สปสช.เล่นเป็นพระเอกเองไม่ได้ทุกเรื่อง เป็นพระเอกขี่ม้าขาวคนเดียวไม่ได้ แต่ต้องรู้ว่าจะเล่นอย่างไรและเปิดโอกาสให้คนอื่นเข้ามีบทบาทและร่วมเล่นด้วย ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะสำเร็จได้ต้องอาศัยทุกคน ระบบออกแบบมาเช่นนั้น" เลขาธิการ สปสช. กล่าว

ศักดิ์ชัย กล่าวต่อว่า กลไกการดำเนินระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในพื้นที่ ประกอบด้วย 2 ส่วนเช่นกัน คือ คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขต (อปสข.) และคณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุขระดับพื้นที่ (อคม.) ทำหน้าที่กำกับ ติดตาม และประเมินผล รวมถึงการให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานตามมาตรา 50(5) ในการจัดตั้งหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน เพื่อคุ้มครองสิทธิ์  

"กลไกลเหล่านี้เป็นแขนขาของการทำงาน เป็นส่วนที่ทำให้กฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติบรรลุเจตนารมณ์ได้ จากเดิมเราใช้บอร์ด สปสช.เป็นกลไกหลักเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องเข้าใจและไม่มอง อปสข. อคม. และ 50(5) เป็นภาระงาน แต่ต้องดูว่าทำอย่างไรให้เกิดการบริหารจัดการ มีกระบวนการทำงานร่วมกัน เป็นสิ่งที่ต้องช่วยกันคิด นอกจากนี้ อคม.ยังเป็นกลไกสำคัญเพื่อกระตุ้นการพัฒนาคุณภาพในหน่วยบริการอย่างสร้างสรรค์ได้ เช่นเดียวกับมาตรา 50(5) ที่ช่วยลดเรื่องร้องเรียนและความขัดแย้งในระบบได้" เลขาธิการ สปสช. กล่าว   

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักข่าวพลเมือง: "เราต่อสู้กับความไม่แยแสของสังคม"

Posted: 09 Nov 2017 01:03 AM PST

พูดคุยกับสองนักข่าวพลเมือง เมื่อข่าวกระแสหลักผลิตซ้ำข้อมูลชุดเดิม ฝังความเชื่อหลักในสังคม ส่งผลถึงนโยบายรัฐ นักข่าวพลเมืองจึงต้องนำเสนอความจริงรูปแบบอื่นจากประสบการณ์ตรง ย้ำการสร้างเครือข่ายสำคัญไม่อาจทำเพียงคนเดียว เผยปัญหาถูกคุกคามจากรัฐอ้างภัยความมั่นคง และ  "ไม่ใช่แค่ความมั่นคงของรัฐ แต่เราต่อสู้กับความไม่แยแสของคนในสังคม"

เมื่อวานนี้ (8 พ.ย.) ที่ Warehouse 30 มีงานเสวนา "พลังของสื่อพลเมืองกับการสร้างสังคมที่เป็นธรรม" โดยมีวิทยากรคือ  ธีรมล บัวงาม บรรณาธิการมูลนิธิสื่อประชาธรรม และชัชวาล สะบูดิง กลุ่ม Selatan Nature จ.ปัตตานี และพิธีกรคือศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์

หลังเสวนามีการฉายภาพยนตร์สารคดี City of ghost ซึ่งเรื่องราวระหว่างกลุ่มนักข่าวพลเมือง ที่ต่อสู้กับกลุ่ม ISIS โดยใช้สื่อออนไลน์ในการนำเสนอและโดนตามไล่ล่า งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานสัปดาห์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล MIDL Week 2017 : พลังพลเมืองดิจิทัล จัดโดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส), ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย (Thai Civic Education Center), Documentary Club และ Warehouse 30

จากซ้ายไปขวา ชัชวาล สะบูดิง ธีรมล บัวงาม และศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์

จุดเริ่มต้นของนักข่าวพลเมือง

ธีรมล บัวงาม บรรณาธิการมูลนิธิสื่อประชาธรรม กล่าวว่า การเกิดขึ้นของสิ่งที่เรียกว่านักข่าวพลเมืองหรือการสื่อสารที่ประชาชนลุกขึ้นมาสื่อสารด้วยตัวเอง หลายๆที่เริ่มต้นจากการประสบปัญหาหรือเผชิญความไม่เป็นธรรมบางอย่าง และพบว่าพื้นที่ข่าวของรัฐหรือเอกชนมันมีข้อจำกัดบางอย่าง

ประชาธรรมตั้งขึ้นเมื่อปี 2542 พยายามส่งเสริมให้มีข่าวสารของภาคประชาชน ย้อนไปเมื่อ 10 กว่าปีก่อนภูมิทัศน์สื่อไม่เป็นแบบในปัจจุบัน ถ้าอยู่ต่างจังหวัดก็จะมีแค่ช่อง 7 ที่รับสัญญาณได้ดี ข่าวส่วนใหญ่มักจะเป็นข่าวของคนกรุงเทพ ส่วนข่าวที่เกี่ยวข้องกับชาวบ้าน ข่าวเรื่องน้ำท่วม เรื่องราคาพืชผล ไม่ค่อยถูกนำเสนอ ส่วนถ้าชาวบ้านก่อม็อบเพราะราคาพืชผลไม่ดีก็จะถูกนำเสนอในแง่ที่คนเหล่านี้มาสร้างปัญหา ก่อความวุ่นวาย ทั้งที่ปัญหาอาจเกิดมาจากรัฐบาลไปเซ็น FPA กับจีน ปัญหาพวกนี้เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง การศึกษาไม่พอ ทุนในการเข้าถึงไม่เท่ากัน

ขณะที่ชัชวาล สะบูดิง กลุ่ม Selatan Nature จ.ปัตตานี  เล่าให้ฟังถึงเหตุการณ์ในสามจังหวัดชายแดนใต้ว่า 13 ปีของการเกิดเหตุการณ์ตั้งแต่ปี 47 เกิดเหตุกรือเซะ-ตากใบ ถึงปัจจุบัน ถูกปลูกฝังว่าเป็นชายแดนใต้เป็นพื้นที่อันตราย สื่อกระแสหลักจะโจมตีว่าเป็นพื้นที่โหดร้าย แต่ในสามจังหวัดก็มีพื้นที่ที่ดีด้วยเช่นกัน เราจึงพยายามพูดถึงพื้นที่ดีที่มีอยู่ แต่คนมักจะเสพแต่สื่อที่บอกว่าวันนี้มีการฆ่า วันนี้มีระเบิด ส่วนสื่อที่มีเรื่องของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ในแง่ดีๆ เสนอแหล่งท่องเที่ยว หรือความโดดเด่นทางพหุวัฒนธรรม ทั้งจีน พุทธ มุสลิม คนมักไม่ค่อยสนใจ

"ตัวผมเองเวลาเข้าด่านทหารผมมักโดนตรวจค้น เรียกไปพูดคุย คุณเป็นใคร มาจากไหน จะไปทำอะไร ทหารเหล่านี้บางส่วนเป็นทหารมาจากพื้นที่อื่น มีความระแวงคนในพื้นที่ เห็นคนหน้าตาแปลก มีหนวดเครา ใส่เสื้อโต๊บ เขาก็ระแวงไปหมดทุกอย่าง คนในพื้นที่จะรู้ว่านี่คือทหารใหม่ เพราะเขาเห็นความระแวง ซึ่งเหล่านี้มันเกินกว่าสภาพปัญหาจริงๆ

หรือตอนผมยังเรียนอยู่แล้วขึ้นมากรุงเทพฯ อาจจะใส่ชุดนักเรียกที่แปลกกว่าที่อื่น ผมไปซื้อของแล้วเจอคำถามว่า มาจากไหน ผมตอบว่า มาจากนราธิวาส เขาถามกลับมาว่า เอาระเบิดมารึเปล่า

หรือเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ที่มีข่าวจับกุมกลุ่มนักศึกษาที่อยู่แถวรามฯ แล้วบังเอิญเจอเครื่องข้าวยำ แต่คิดว่าเป็นวัตถุระเบิด ซึ่งหมายความว่าเขาตั้งอคติไว้ตั้งแต่ต้น ด้วยการสะสมของเคสต่างๆ ทำให้คนเกิดอคติ และเลือกปฏิบัติกับเขา" ชัชวาลกล่าว

ความยากในการนำเสนอความจริงอีกชุดที่ต้องปะทะกับข้อมูลเดิมที่คนมีอยู่ตลอดเวลา

ธีรมลอธิบายว่า

สิ่งที่สื่อพลเมืองทุกพื้นที่ทั้งโลกพยายามบอกคือ มันยังมีความหมายในการอธิบาย มันยังมีความเข้าใจอื่นๆ ที่หลงหายไป ตรงนี้คือวิธีการสู้ของสื่อพลเมือง มันคือการไม่ยอมรับความหมายที่สังคมยอมรับ เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องถูกผลิตซ้ำ ความหมายพวกนี้มันไปส่งผลต่อแนวนโยบายของรัฐ ทางการเงิน การทหาร ความมั่นคง หรือแม้กระทั่งทัศนคติของสังคมส่วนรวม

สื่อพลเมืองเราต้องทำการให้คนรู้ทัน รู้ธรรม และรู้ทำ รู้ทันคือรู้โครงสร้างของสื่อ อย่างคลื่น Broadcasting มันก็จะถูกผูกขาดอยู่ในหน่วยงานความมั่นคง หน่วยงานของรัฐ ที่เป็นเอกชนมีค่อนข้างน้อย เพราะแบบนี้มันถึงถูกผลิตซ้ำๆ ย้ำๆ และสร้างอำนาจ รู้ธรรมก็คือการให้ความเป็นธรรมโดยให้พื้นที่ข่าวแก่อีกฝ่าย และรู้ทำคือลุกขึ้นมาทำของตัวเอง

ชัชวาลกล่าวว่า เป็นความท้าทายของเราที่จะนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ที่คนอื่นไม่ได้ทำ การนำเสนอความจริงเราต้องเตรียมตัวจากการคุกคาม ซึ่งอาจจะไม่ใช่แค่จากรัฐ แต่อาจจะมาจากกลุ่มอื่นด้วย เราควรมีแผนหรือมีอะไรบางอย่างรองรับเรา หาคนมาเป็นแบคกราวด์ในการปกป้องเรา

ความเสี่ยงของนักข่าวพลเมือง

ธีรมลเห็นว่า ปัญหาที่เราพบคือจะทำยังไงให้คนอ่าน ให้คนเห็นคุณค่า หรือที่เขาใช้ว่า "มันไม่เซ็กซี่" คนก็ไม่อ่าน มันมีการประยุกต์ ปรับเปลี่ยน ใช้วิธีการต่างๆ มากมาย อันนี้เป็นกระบวนการที่ต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้รับสารในปัจจุบัน

แต่สิ่งที่สื่อพลเมืองทำได้และสำคัญอย่างหนึ่งแต่คนไม่ค่อยเห็นเพราะมันอยู่หลังฉากคือการสร้างเครือข่าย สิ่งเป็นต้นทุนสำคัญที่ทำให้งานมันสร้างแรงสั่นสะเทือนและเกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ได้ เพราะน้อยครั้งมากที่เราทำข่าวชิ้นหนึ่งแล้วมันจะเปลี่ยนแบบพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน พวกนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำไปเรื่อยๆ

ตอนแรกประชาธรรมทำงาน เราก็บอกว่าประชาชนเป็นผู้ถูกกระทำจากโครงการของรัฐ เป็นเหยื่อของการพัฒนา เราก็นำเสนอชาวบ้านในมุมที่ดราม่านิดหน่อย ให้เห็นความมนุษย์ ต่อมาความเป็นมนุษย์มันเริ่มขายไม่ได้แล้ว เริ่มเฝือ เพราะมันถูกใช้มาตลอด และมันเริ่มซ้ำ เป็นพล็อตคลีเช่ เขาเดาได้ว่าเรื่องจะเป็นแบบนี้ และสุดท้ายก็จะนำเสนอแบบนี้ มันก็เลยไม่ต้องอ่าน เพราะยังไงคุณก็พูดเรื่องเดิม

เรื่องที่สัมพันธ์กันด้วยคือสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และเสรีภาพการแสดงออก สังคมไทยถูกจำกัดและควบคุมเรื่องเหล่านี้ "ความมั่นคงของรัฐ" มันใหญ่โตครอบคลุมมาก แม้กระทั่งทรงผม มีหนวดเครา ก็อาจมีปัญหากับความมั่นคงของรัฐได้ หรือแม้กระทั่งภาษาถิ่นที่ไม่ใช่ภาษากลางของรัฐ คนที่ทำสื่อพลเมืองนอกจากว่าจะทำยังไงให้น่าสนใจแล้ว ยังต้องเผชิญหน้ากับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และพอนำเสนอหลายคนถูกข่มขู่คุกคาม และกลไกการตรวจสอบของรัฐ

จากประสบการณ์ที่ผมเจอมา หลายคนถูกยิง หลายคนถูกขู่ หลายคนถูกตั้งข้อกล่าวหา เรียกไปปรับทัศนคติ โทรหา ใครก็ตามในพื้นที่ทำสิ่งที่ขัดกับที่รัฐกำลังบอก ก็จะถูกอธิบายว่าขัดต่อความมั่นคงของรัฐ โครงสร้างแบบนี้ทำให้ ไม่เฉพาะสื่อพลเมือง สื่อท้องถิ่น สื่อมวลชนทุกคนได้รับผลกระทบหมด และทุกคนก็ต้องเรียนรู้ที่จะสร้างความปลอดภัยทางดิจิทัลของตัวเองขึ้นมา ดังนั้นเรื่องความปลอดภัยทางดิจิทัลก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องเรียนรู้

ด้านชัชวาลเล่าเรื่องในสามจังหวัดชายแดนใต้ว่า มีข่าวบางข่าวที่เราพยายามจะนำเสนอ เช่น มีคดีที่คนถูกฆ่า ข่าวกระแสหลักและบางสื่อออกข่าวมาในมุมที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบ แต่ความเป็นจริงการฆ่าครั้งนี้เป็นเรื่องส่วนตัว แต่ทุกอย่างโยงไปเข้ากับความไม่สงบ ถ้าเราจะเลือกนำเสนอในเรื่องความรุนแรงหรือความขัดแย้ง ทุกครั้งที่มีการฆ่ากันตายในกรุงเทพ เอาไปผูกโยงกับเรื่องการก่อการร้าย กรุงเทพก็จะเป็นเมืองที่ดูไม่สงบขึ้นมาทันทีเช่นกัน

นอกจากนี้ชัชวาลยังให้ความเห็นว่า ข่าวที่ออกมาจาก 3 จังหวัดในความรู้สึกส่วนตัวมักเป็นการด่วนสรุป และไม่มีการติดตามต่อ ปัจจุบันค่อนข้างดีขึ้น มีเรื่องที่ดีออกมาบ้าง การจะออกเป็นข่าวสักข่าวก็มีการกรองมากขึ้น

ความยากของคนรับสารในปัจจุบัน การแยกสื่อที่มีจรรยาบรรณหรือสื่อที่ปั่นความขัดแย้ง

ธีรมลแสดงความเห็นว่า ส่วนที่สังคมไทยขาดคือความคิดเชิงวิพากษ์ที่มันอยู่ในกระดูกสันหลังของเรา ผมโตมาพร้อมกับคำสอนว่าต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ สังคมไทยวิพากษ์วิจารณ์ไม่เป็น ถ้าเราโต้แย้งจะโดนหาว่าก้าวร้าว หัวรุนแรงทันที แต่จริงๆ แล้วเรายังเคารพอยู่ เราแค่โต้แย้งทางความคิดเฉยๆ

คือตอนนี้เรายอมรับความหลากหลายเฉพาะว่า อย่ามายุ่งกับกู กูมีชีวิตของกู แต่เราไม่ยอมรับความหลากหลายคนอื่น เราเรียกร้องให้คนอื่นมายอมรับสิทธิของเรา เราอยากจะทำแบบนี้ แต่เราไม่แคร์คนอื่น ความเคารพตัวเองและเคารพความคิดคนอื่นมันหายไป ผนวกกับความคิดเชิงวิพากษ์ที่หายไป มันเลยทำให้ความพยายามในการส่งเสริมการเท่าทันสื่อมันน้อย เพราะน้อยคนจะตื่นตัว คนที่จะมากดรีพอร์ทมาเพจนั้นเพจนี้ว่ามันไม่โอเคจึงมีน้อย

ในส่วนองค์กรสื่อ ข้อเสนอธีรมลคือ

สิ่งที่เราพยายามจะต่อสู้ไม่ใช่แค่ความมั่นคงของรัฐ แต่เราต่อสู้กับความไม่แยแสของคนในสังคม

เช่น ในเฟซบุ๊ค เรารู้สึกว่าเราเปิดรับข้อมูลข่าวสาร เราเข้าถึง แต่จริงๆ มันมีคนอีกครึ่งประเทศที่ยังไม่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ช่องว่างทางดิจิทัลมันยังเป็นปัญหาในสังคม โครงสร้างพวกนี้ยังไม่เท่าเทียม

"ทุกวันนี้มันมีคนลุกขึ้นมาเล่าเรื่องของตัวเองเยอะแยะมากมาย แต่ลองจินตนาการว่าคนเหล่านี้เป็นแค่ 50 เปอร์เซ็นต์ของคนทั้งหมดในประเทศเท่านั้น แล้วอีก 50 เปอร์เซ็นต์อยู่ไหน ถ้าคนกลุ่มนี้เข้ามาในโลกอินเทอร์เน็ตด้วย และมาช่วยสร้างโลกอินเทอร์เน็ตอีกแบบหนึ่งล่ะ มันจะมันส์มากเลยนะ" ธีรมลกล่าว

บรรณาธิการมูลนิธิสื่อประชาธรรมเสนอต่อว่า เราอยู่ในระบบที่เราเชื่อว่าเราเปิดกว้างรับรู้ แต่จริงๆ แล้วอยู่ในฟิลเตอร์บับเบิ้ล อยู่ในฟองน้ำของเรา ก็ยิ่งทำให้การรับรู้เราจำกัด เพราะฉะนั้นทำยังไงให้ทุกคนอ่าน หรือแชร์ข่าวตู้มหนึ่งแล้วเป็นกระแส ผมคิดว่ามันมีโอกาสเกิดขึ้นน้อย แต่สิ่งที่เราต้องทำคือกัดไม่ปล่อย สร้างฐานข้อมูลที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยง สามารถค้นได้ เช่น สมมติวันหนึ่งลูกหลานเราอยากรู้เหตุการณ์กรือเซะ-ตากใบ เขาก็ควรได้เห็นข้อถกเถียงที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ ไม่ใช่ว่าทำแล้วก็ปล่อยหาย หรือคาดหวังว่าข่าวชิ้นหนึ่งจะเปลี่ยนแปลงสังคม มันไม่มีทาง

"ที่สำคัญคือการสร้างเครือข่ายที่ตื่นตัว หากใครถูกอุ้มหาย ถูกจับกลุ่มเพราะนำเสนอข่าว เราก็ต้องตื่นตัวตลอดเวลา ทำให้คนทำงานในพื้นที่ไม่รู้สึกว่ากำลังสู้อย่างโดดเดี่ยว ผมคิดว่าเราต้องการสังคมที่เอื้ออาทรและตื่นตัวมากกว่านี้มันถึงจะทำให้คนที่ทำงานอยู่ตอนนี้มีพลังใจและทำต่อไปได้" ธีรมลกล่าว

ส่วนชัชวาลกล่าวเสริมว่า

คนมักจะรับข้อมูลข่าวสารที่ตัวเองสนใจเท่านั้น ทั้งที่โลกนี้เป็นพลวัตร ทุกสิ่งมีส่วนเกี่ยวเนื่องกัน สำคัญคือจะทำยังไงให้คนรู้สึกรับผิดชอบร่วมการ และทำยังไงให้มีตัวเชื่อมระหว่างความจริงสองชุดที่แตกต่าง มีเวทีในการถกเถียงพูดคุยเพื่อให้เกิดประเด็น

 

เราจะสร้างเครือข่ายได้อย่างไร?

ศิโรตน์ในฐานะพิธีกรในงานและคนที่ทำงานในองค์กรสื่อกระแสหลักเล่าว่า "ความรู้สึกรับผิดชอบร่วมกันของพลเมือง" นั้น เป็นสิ่งที่สื่อกระแสหลักไม่ได้คิด ศิโรตน์ตั้งคำถามว่า แต่ในความจริงคนระดับรากฐานของประเทศนี้ทุกกลุ่มมันมีความทุกข์คล้ายๆ กัน หากเราคอนเนคกันได้มันเปลี่ยนประเทศนี้ได้ แต่ในความเป็นจริงคนไม่คอนเนคกัน ไม่ต่อติดกัน จะแก้ปัญหานี้ยังไง

ธีรมลให้ความเห็นว่า ช่วงหลังลองมาจับประเด็นเรื่องเมืองหรือ urbanization พยายามจะหาจุดร่วมกันของคนในเมือง อย่างประชาธรรมทำปัญหาเรื่องชาวบ้านในชนบท เรื่องทรัพยากร น้ำป่า ทำมาเยอะมาก แต่ตอนนี้เราพูดถึง "พลเมือง" ในสมัยใหม่ ความเป็นพลเมืองมันไม่ใช่แค่มีบัตรประชาชน แต่คำว่า "พลเมือง" มันมีพลวัตรที่เยอะมาก

ยกตัวอย่างเช่น เชียงใหม่สมัยก่อนความเป็นพลเมืองคือคนที่อู้กำเมือง แต่ตอนนี้เมืองเชียงใหม่มีนักท่องเที่ยว มีคนจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ที่เกษียณแล้วย้ายมาอยู่ หรือคนต่างประเทศที่มาทำงานในไทย หรือแรงงานข้ามชาติ ทั้งหมดนี้เราจะนับว่าเป็นพลเมืองของเชียงใหม่ได้ไหม

"ถ้าภูมิทัศน์ของทั้งโลกมันเปลี่ยน ภาคธุรกิจรู้ว่างานแบบนี้ไม่มีใครทำ ต้องเป็นแรงงานข้ามชาติ แต่เมืองมันไม่ได้รองรับเขา เมืองบอกว่าคุณต้องเป็นคนไทย หรือต้องเป็นต่างชาติที่เข้ามาแบบถูกกฎหมาย เรากำลังพูดถึงพลเมืองในสังคมที่ความเป็นพลเมืองมันเริ่มไร้เส้นพรมแดน ขอบเขตเดียวที่มีอยู่ตอนนี้สำหรับผมคือภาษา" ธีรมลกล่าว

บรรณาธิการประชาธรรมกล่าวต่อว่า ผมพยายามจะใช้ประเด็นความเป็นเมือง ประเด็นที่เราต้องมาอยู่ด้วยกัน มาแชร์ทรัพยากรร่วมกัน

คนเมืองอยู่ไม่ได้ถ้าขาดแคลนเกษตรกรที่ปลูกข้าวในชนบท ส่วนเขาไม่มีน้ำ เขาก็ปลูกข้าวไม่ได้ ปัญหาน้ำแล้งในชนบทจึงไม่ใช่แค่ปัญหาของเกษตรกร แต่คือปัญหาของคนเมืองด้วย ประเด็นพวกนี้ผมพยายามดึงขึ้นมาแล้วตั้งคำถามว่าเราจะอยู่ร่วมกันได้ยังไง เราจะดีไซน์ความเป็นเมืองร่วมกันได้ยังไง อันนี้เป็นพัฒนาการที่ต่อเนื่องมาจากความขัดแย้งทางสังคมและการเมืองที่ผ่านมาด้วย

เราต้องยอมรับก่อนว่า ความขัดแย้งมีอยู่จริง เราไม่ได้รักกัน เราไม่ได้ปรองดอง แต่เราจะอยู่ด้วยกันได้ยังไง

ประเด็นทางเศรษฐกิจก็โอเค แง่ว่าเราจะแชร์และกระจายทรัพยากรกันได้ยังไง แต่ว่าสิทธิของการกำหนดล่ะอยู่ที่ใครบ้าง สองสามปีที่ผ่านมาผมพยายามรวมคนกลุ่มต่างๆระหว่างคนที่เป็น active citizen และคนกลุ่มต่างๆ ที่อาจจะไม่ได้มองเห็นประเด็นเหล่านี้ ให้พวกเขาลองมาคุยกัน

ซี่งจริงๆ ข้อค้นพบของผมคือ นายทุนก็ไม่ได้เป็นคนโหดร้าย นายทุนก็ไม่ได้ขูดรีดแรงงานอย่างเดียว จริงๆ คือเขาต้องการความมั่นคงทางการผลิตของเขา เพียงแต่จะจัดการยังไงร่วมกัน ผมคิดว่าบทสนทนาเหล่านี้แหละจะเป็นสิ่งที่ทำให้พลังของงานสื่อสารของภาคพลเมืองมันไปได้ ประเด็นที่ผมพยายามจะเน้นคือการสร้างด้วยเครือข่าย เราพูดเรื่องนี้คนเดียวไมได้ ต้องหาเพื่อน อาจจะพูดไม่ใช่ภาษาเดียวกัน มีคนละแบบ และต้องเข้าใจว่าเขามีผลโยชน์ยังไง เราจะมาเจอกันตรงไหน มันยากมาก แต่ก็ต้องทำ

ต้องสร้างข้อถกเถียงเชิงสร้างสรรค์ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกลายเป็นเราไปขวางทางเรือที่กำลังไปตามกระแส และมันจะมีผลกระทบอยู่แล้วกับเรา แต่เราต้องมีศิลปะในการสื่อสาร บอกยังไงให้เขาไม่เสียหน้า ไม่รู้สึกรังเกียจในประเด็นนี้ เช่นช่วงที่มีกระแส PC แรงมาก เช่น คำว่าโสเภณีก็ควรใช้คำว่าหญิงบริการมากกว่า บางคนมองว่ามันมากเกินไป แต่ผมคิดว่ามันเป็นความสนุกของสังคม มันก็ต้องอยู่ร่วมกันแบบนี้แล้วสร้างข้อถกเถียงกันไปแบบนี้

ธีรมลเห็นว่า นักข่าวพลเมืองไม่ใช่เรื่องเฉิ่มเชย ไม่ได้มีเฉพาะในประเทศโลกที่สาม ถ้าลองไปเสิร์ชดูจะเห็นว่าทั่วโลกก็มีการเทรนนิ่งนักข่าวพลเมือง อเมริกาก็ทำ ทั่วโลกทำ เพราะเกิดสภาวะพื้นที่ทางการสื่อสารไม่เท่ากัน  การเท่าทันสื่อและเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารมันเป็นสิ่งที่ต้องฝังลงไปในการศึกษา ยกตัวอย่างเช่น บางคำพูดที่เกิดมาจากการดูถูกประเทศอื่น เรานึกถึงคำเหล่านี้โดยอัตโนมัติเมื่ออยากจะพูด ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องรื้อถอนมันออกมา แน่นอนว่ามันจะสร้างความวุ่นวาย แต่เป็นความวุ่นวายที่สร้างสรรค์

ด้านชัชวาลเล่าวิธีการทำงานของเขาว่า สิ่งที่ผมกำลังทำอยู่ตอนนี้คือการใช้ วิทยปัญญา หรือ wisdom ทุกอย่างมันมีความเกี่ยวพันกันหมด และมีความเป็นไป สิ่งสำคัญคือเราต้องยอมรับความแตกต่างได้ เข้าใจ และไม่กีดกัน เริ่มจากตัวของเราเองก่อน เราต้องมองคนในภาพรวมว่าคนเป็นมนุษย์เหมือนกัน หลังจากเราพัฒนาตัวเองได้ เราค่อยๆ ขยับเครือข่าย มีโครงการที่ผมทำกับเด็ก สิ่งที่ผมพบจากเด็กๆ คือเขาอยากทำดี แม้กระทั่งเด็กที่เรามองว่าเกเร เป็นเด็กแว๊นซ์ ถ้าเรามองเขาเป็นมนุษย์คนหนึ่ง เราก็จะปฏิบัติกับเขาในอีกแบบหนึ่ง หรือแรงงานข้ามชาติ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อแรงงานข้ามชาติ เราก็รู้สึกต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน

การเป็นพลเมืองในโลกทุกวันนี้อาจต้องเหนื่อยมากในการกรองข่าว แยกแยะข้อมูล เป็นเรื่องเล่าหรือยาพิษที่สอดแทรกเข้ามา ความเป็นพลเมืองต้องมีอะไรบ้าง?

ธีรมล แสดงความเห็นว่า ความเป็นพลเมืองในทุกวันนี้มันยาก การจะเท่าทันสื่อมันยากมาก หนึ่งคือต้องมีตังค์จ่ายค่าเน็ต มีตังค์จ่ายค่าหนังสือความรู้ต่างๆ มีตังค์พาตัวเองมาในวงเสวนาแบบนี้ ต้องมีโอกาส ต้องมีต้นทุน แต่ไม่ได้หมายความว่าคนไม่มีโอกาสไม่มีทางเป็นพลเมืองที่ตื่นตัว เราต้องเข้าใจว่าคนมีความเหลื่อมล้ำ เราต้องคิดว่าทำยังไงให้มีโครงสร้างที่ทุกคนมีสิทธิเท่ากันก่อน มันมีข้อจำกัดเช่นเรื่องการให้บริการอินเตอร์เน็ตฟรีของกสทช. ก็ยังเป็นความเร็วต่ำ

"สิ่งหนึ่งที่ทำให้ปัญหาในสังคมไทยไม่ถูกมองอย่างแท้จริงคือ ปัญหาทั้งหมดมันยังไม่ถูกวางในระนาบเดียวกัน ถ้าเรามีอินเทอร์เน็ตเราอาจใช้สื่อโซเชียลในการโวยวายปัญหาของเรา แต่คนที่เขาไม่มีจะทำยังไง ผมคิดว่าถ้าเราให้โอกาสทุกคนเท่ากัน จะทำให้เขาเรียนรู้และเห็นในพลังอำนาจของตัวเองและเข้ามามีส่วนร่วมในวงของการสื่อสาร เมื่อมีคนมาร่วมมากขึ้นก็จะมีเสียงสนับสนุนหรือคัดค้านมากขึ้นเช่นกัน" ธีรมลกล่าว

ชัชวาลกล่าวเสริมว่า ผมคิดว่าเราควรเริ่มที่ตัวเราเอง ถ้าสิ่งที่เขาพูดเรารู้ว่ามันไม่เป็นความจริง เราก็พูดความจริงแบบของเราออกมา เราคงไม่สามารถไปวิพากษ์ในทุกเรื่องได้ แต่เริ่มจากสิ่งที่เราเห็นก่อน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อาจารย์ธรรมศาสตร์ ระบุกรณีบิดเบือนคำพูดชาญวิทย์ เป็นการทำลายความเป็นมนุษย์ของตัวคนทำ

Posted: 08 Nov 2017 11:16 PM PST

อัครพงษ์ ค่ำคูณ อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าปรึกษาเจ้าหน้าที่ตำรวจกรณี เพจ Army Worldwide News ตัดต่อภาพบิดเบือนคำพูด ชาญวิทย์ เกษตรศิริ กรณีบริจาคเงินให้ 'พี่ตูน' เผยการกระทำดังกล่าวไร้อารยะ ทำลายความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น และตัวเอง

9 พ.ย. 2560 เวลา 09.00 น. อัครพงษ์ ค่ำคูณ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เดินทางเข้าปรึกษาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ชนะสงคราม เพื่อหาทางดำเนินคดีกับ แอดมินเพจ "Army Worldwide News" กรณีเผยแพร่ข้อความบิดเบือนในวันที่ 8 พ.ย. 2560 โดยการตัดต่อภาพของ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบกับคำพูดซึ่ง ชาญวิทย์ ไม่ได้เป็นผู้พูด ซึ่งโพสต์ดังกล่าวถูกแชร์ไป และมีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นตำหนิ ชาญวิทย์ จำนวนมาก

โดยข้อความดังกล่าวระบุว่า "ตามติดชีวิตคนแก่" , "ใครจะจ่ายให้พี่ตูนตามสบายนะครับ ผมไม่ขัดศรัทธา แต่ในสภาพนี้ อย่าว่าแต่สิบบาทเลย พี่ตูนจะไม่ได้เงินจากผมแม้แต่บาทเดียว" ทั้งนี้แอดมินยังได้เขียนแสดงความคิดเห็นว่า "เก็บเงินสอบบาทนั้นไว้ใส่ปากตอนตายเถอะครับ"

อัครพงษ์ ให้สัมภาษณ์กับประชาไทว่า วันนี้ได้เดินทางไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ชี้แจงว่าไม่สามารถแจ้งความเนื่องจากไม่ใช้ผู้เสียโดยตรง ควรจะรอให้ ชาญวิทย์ กลับจากต่างประเทศมาแจ้งความด้วยตัวเองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 ตามความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยกับโฆษณา ซึ่งสามารถดำเนินการได้เลยเนื่องจากเป็นความผิดซึ่งหน้า หาก ชาญวิทย์ มีความประสงค์จะแจ้งความดำเนินคดี หรือในกรณีที่ 2 คือเดินทางไปแจ้งความกับ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ในส่วนที่เป็นการกระทำความผิดในระบบคอมพิวเตอร์

"ข้อเรียกร้องของผมตอนนี้ก็คือ อยากให้ลบ และออกมาขอโทษ เพราะผมรู้สึกว่ามันไม่เป็นอารยะ ในส่วนของข้อความผมคิดว่าทุกคนพูดได้หมด หากอาจารย์ชาญวิทย์พูดจริง ก็สามารถพูดได้เพราะมันเป็นการแสดงความคิดเห็น แต่ปัญหาก็คืออันนี้มันเป็นการตัดต่ออันเป็นเท็จซึ่งอาจารย์ชาญวิทย์ไม่เคยพูด ซึ่งมันไม่ต้องพิจสูน์อะไรแล้ว หรือถ้าจะพิสูจน์ทางนั้นก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าอาจารย์ชาญวิทย์ไปพูดแบบนั้นเมื่อไหร่ ที่ไหน อย่างไร แต่ตามข้อมูลข้อเท็จจริงคือ อาจารย์ไม่เคยพูด" อัครพงษ์ กล่าว

อัครพงษ์ กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่กังวลมากที่สุดคือ การต่อสู้ทางการเมือง ไม่ว่าฝ่ายไหนจะต่อสู้ทางการเมืองอย่างไรก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องไม่ล้ำเส้นไปคือ การทำลายความเป็นมนุษย์ เพราะไม่ใช่เพียงการทำลายฝ่ายตรงข้ามอย่างเดียว แต่เป็นการทำลายความเป็นมนุษย์ของตัวเองด้วย ซึ่งเป็นการกระทำที่ไร้ศักดิ์ศรี

"ไม่ว่าคุณจะคิดต่างกันอย่างไร เห็นไม่ตรงกันอย่างไร สิ่งสำคัญที่สุดต้องไม่ใส่ร้ายป้ายสีกัน" อัครพงษ์ กล่าว

อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวต่อไปด้วยว่า ปรากฎการณ์การบิดเบือนข้อมูล ข้อเท็จจริง เพื่อใส่ร้ายป้ายสีกัน ไม่ได้มีกรณีที่เกิดขึ้นกับ ชาญวิทย์ เป็นกรณีแรก แต่ว่ามีมาอย่างต่อเนื่อง โดยเขาเห็นว่าไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนที่ต้องการจะต่อสู้ทางการเมืองย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการโฆษณาความคิดได้ ไม่ว่าจะเป็นอนุรักษนิยม หรือเสรีนิยมก็ตาม แต่สิ่งที่ต้องตระหนักคือ อย่าต่อสู้กันด้วยความเท็จ

"คนเราจะคิดต่างกันต้องสู้กันด้วยความคิด ไม่ใช่สู้ด้วยข้อความเท็จและสร้างความเกลียดชัง ถ้าสร้างความเกลียดชังด้วยพื้นฐานข้อความที่เขาพูดอย่างนั้นจริงก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ว่าการสร้างความเกลียดชังโดยที่เขาไม่ได้พูด และไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง มันทำลายศักดิ์ศรีของตัวเอง มันน่าละอาย และคุณค่าในความคิดที่คุณต่อสู้กันก็จะหมดไป เพราะคนยังโกหกตัวเอง และโกหกคนอื่น" อัครพงษ์ กล่าว

ด้านชาญวิทย์ ได้โพสต์สเตตัสส่วนตัว ระบุว่าตนเองไม่ได้เป็นคนพูดคำพูดดังกล่าว พ้อมระบุด้วยว่าหากตนเป็นผู้พูดจริงจะต้องใช้คำว่า น้องตูน หรือ หนูตูน จึงจะถูกต้องเนื่องจากตนเป็นรุ่นพี่โรงเรียนสวนกุหลาบ ซึ่งเป็นโรงเรียนเดียวกันกับ ตูน และมีอายุห่างกันหลายรุ่น

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อเวลา 17.09 น. ทีผ่านมา เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'Army Worldwide News' ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น 'Thai News Onlin' โพสต์แถลงการณ์ขอโทษ ชาญวิทย์ และผู้ที่รับข่าวสารจากเพจ มา ณ ที่นี้ด้วย ที่ทำให้ท่านเสื่อมเสียชื่อเสียง 

 

หมายเหตุ : ประชาไทมีการอัพเดทข่าวเพิ่มเติมเมื่อเวลา 20.30 น. วันที่ 9 พ.ย.2560

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อำลาศิลปินผู้บุกเบิกละครใบ้ ไพฑูรย์ ไหลสกุล (2505-2560)

Posted: 08 Nov 2017 09:37 PM PST

ไพฑูรย์ ไหลสกุล ศิลปินและนักการละครผู้มีชีวิตวัยเด็ก 4 ภาค ผู้บุกเบิกละครใบ้ และก่อตั้งคณะละคร "คนหน้าขาว" เปิดสอนศิษย์หลายรุ่น เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 55 ปี

9 พ.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อกลางดึกคืนวานนี้ ไพฑูรย์ ไหลสกุล หรือ "อั๋น คนหน้าขาว" ศิลปินผู้บุกเบิกละครใบ้ เสียชีวิตแล้วด้วยด้วยวัย 55 ปี กลางดึกเมื่อคืนนี้ หลังเข้ารับการรักษาตัวโรคหัวใจ โดยกำหนดการบำเพ็ญกุศลศพ วันที่ 9 พฤศจิกายน เวลา 17.30 น. รดน้ำศพ และสวดพระอภิธรรมที่ศาลา 27 วัดธาตุทองจนถึงคืนวันที่ 12 พฤศจิกายน หลังจากนั้นวันที่ 13 พฤศจิกายน เวลา 14.00 น. จะมีพิธีฌาปนกิจศพ

ชีวิตวัยเด็ก 4 ภาค สู่ศิลปินผู้บุกเบิกละครใบ้

ในบทสัมภาษณ์ "อั๋น-ไพฑูรย์ ไหลสกุล" ต้นธารละครใบ้ไทย เปิดมุมมองแบบขำไม่ออก" เผยแพร่ในมติชนออนไลน์เมื่อ 29 ก.ย. 55 เขาเกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ที่ จ.นครศรีธรรมราช ต่อมาเขาย้ายตามมารดาไป จ.อุบลราชธานี ช่วง ป. 2-4 จนพูดภาษาอีสานคล่อง ชอบกินข้าวเหนียว และชอบทำข้าวจี่ขาย และย้ายกลับมาที่นครศรีธรรมราช กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สุดท้ายกลับมาปักหลักที่กรุงเทพ

ทำให้ในวัยเด็กเรียนทั้งโรงเรียนเบญจมราชูทิศ จ.นครศรีธรรมราช, วัฒโนทัยพายัพ จ.เชียงใหม่, วัดธาตุทอง กทม. และโรงเรียนสุวรรณศรี จ.นครศรีธรรมราช (ปัจจุบันยุบแล้ว)

เก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านการละคร เรียนวิชาละครใบ้กับมิลาน สลาเด็ค

จุดที่ทำให้ไพฑูรย์ สนใจการละครเริ่มต้นจากการเรียนที่โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จ.เชียงใหม่ ซึ่งเขาต้องเรียนภาคค่ำจะได้ทันเพื่อน พอกลางวันว่าง จึงไปทำงานที่ศูนย์ศิลปะเด็กเชียงใหม่ ทำให้ได้รู้จักกับ "เทพศิริ สุขโสภา" ผู้ก่อตั้งศูนย์ ซึ่งพาไปเล่นละครหุ่นตามที่ต่างๆ บ่อย กระทั่งได้ดูละครใบ้ของ "ครูช่าง-ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง"

"เห็นครูช่างเล่นแล้วอยากเล่นเป็นบ้าง เลยขอให้ท่านสอน ตอนนั้นท่านยังหนุ่ม บอกวิธีเดินอยู่กับที่และการแตะกระจกให้แล้วก็ออกไปเที่ยว 4 ชั่วโมงผ่านไปท่านกลับมา เห็นเรายังซ้อมอยู่ท่านเลยสอนอย่างเต็มที่"

หลังจากนั้นก็เก็บเกี่ยวประสบการณ์ด้านการแสดงจากมูลนิธิดวงประทีป แสดงในค่ายอพยพกับมูลนิธิการศึกษาเพื่อสังคม เข้าเป็นนักแสดงรุ่นแรกของคณะละครมะขามป้อม ในปี 2523 มีโอกาสได้เรียนวิชาละครใบ้กับ "มิลาน สลาเด็ค" (Milan Sladek) นักการละครชาวสโลวาเกีย

ตั้งคณะละครใบ้ "คนหน้าขาว"

หลังจากนั้นเขาจึงเริ่มตระเวนเล่นเปิดหมวก และตั้งคณะละครใบ้ชื่อ "คนหน้าขาว" เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนปี 2527 และเปิดการแสดงในโอกาสต่างๆ

ข้อมูลจากสูจิบัตรงานเทศกาลคนรักละครใบ้ 2016 กลุ่มคนหน้าขาวเปิดการแสดงชุด "กามาละครใบ้" ในปี 2530 มีเนื้อหาเกี่ยวกับความเท่าเทียมระหว่างหญิง-ชาย เป็นเรื่องแรกของเอเชีย ผลจากการจัดแสดงทำให้ได้รับทุนจากสถาบันเกอเธ่ (Geothe Institute) หรือ สถาบันวัฒนธรรมไทย – เยอรมัน (German Cultural Institute) ให้ไปดูงานการแสดงละครใบ้ที่ประเทศเยอรมันเป็นเวลา 1 เดือน และเป็นศิลปินละครไทยที่ได้รับเชิญจากเทศกาลละครใบ้ในประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลี ให้ไปเปิดการแสดงในเทศกาล

ต่อมาก่อตั้งสถาบันละครใบ้คนหน้าขาว (2547) เปิดทำการสอนการแสดงละครใบ้ให้กับกลุ่มนักศึกษาและบุคคลทั่วไป พร้อมทั้งกำกับและเปิดแสดงงานทุกๆ ปี ไพฑูรย์มีผลงานในวงการแสดงอย่างต่อเนื่อง อาทิ ร่วมแสดงในละครเวทีเรื่อง อโรคยา จอมยากับยาใจ นำแสดงโดย ธงชัย แมคอินไตย กำกับมิวสิควิดีโอเพลงให้กับค่ายเพลงสมอล์รูม แสดงประกอบภาพยนตร์ มิวสิกวิดีโอและโฆษณาต่างๆ อีกทั้งเป็นผู้ริเริ่มโครงการสอนละครใบ้เพื่อเด็กหูหนวกซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สำหรับคณะละครใบ้คนหน้าขาวมีนักแสดงเข้าร่วมอบรมและแสดงหลายรุ่น มีการเปิดผลงานการแสดง เช่น กามาละใบ้, รัด-สา-หะ-กิจ, Mime Solo คุณคือตัวละคร, Mime Cocktail, เปลี่ยนหน้าไม่เปลี่ยนใจ, ผีเพื่อนแท้, แอปเปิ้ล เชอรี่แอน, Soulmate Dinner Nightmare, นักล้วงกระเป๋า, พระจันทร์สีส้มอมชมพู, อารมณ์มนุษย์ผู้ชาย, Falling in Heaven และอื่นๆอีกมากมาย

ในเดือนเมษายนปี 2559 ก่อนเริ่ม "เทศกาลคนรักละครใบ้ 2016" ไพฑูรย์ได้ให้สัมภาษณ์ประชาไทเล่าถึงความเป็นมาของละครใบ้ ที่ตามตำราศิลปะการแสดงสากลของยุโรปมีประวัติพัฒนาการเป็นมานับร้อยปีหรือพันปี เริ่มมีการแสดงละครใบ้มาตั้งแต่ยุคโรมัน หรือหากจะย้อนกลับไปยาวนานกว่านั้นก็คือสมัยที่มนุษย์เริ่มติดต่อกับเทพเจ้า

ในสมัยก่อน เวลาเราติดต่อกับเทพเจ้า มักเห็นคนที่เป็นตัวกลางในการติดต่อต้องทาหน้าขาวๆ และทำท่าทางเพื่อเล่าว่า วันนี้ไปทำอะไรมา ล่าสัตว์มาหรือเปล่า หรือทำโน่นทำนี่ไปตามประสา แล้วก็บอกกับเทพเจ้าว่า พรุ่งนี้อยากจะล่าสัตว์ให้ได้มากขึ้น" เขากล่าวและคนหน้าขาวเหล่านี้ จึงเปรียบเสมือนตัวแทนของมนุษย์เพื่อขอพรโดยใช้ท่าทาง ซึ่งนั่นคือต้นตอของละครใบ้ (อ่านบทสัมภาษณ์)

เขาเล่าด้วยว่าแนวทางของละครใบ้ในโลกมี 3 แบบหลักๆ คือ หนึ่ง แบบดั้งเดิมซึ่งไม่มีการใช้เสียงพูด หรือซาวน์เอฟเฟคใดๆ สอง แบบพัฒนา คือมีการใช้ซาวน์ประกอบ  และสามแบบประยุกต์ คือมีการนำเอามายากลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการแสดง ผ่านนักแสดงละครใบ้ที่ทาหน้าขาว ไม่แสดงสีหน้า และแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีสันเรียบๆ อย่างไรก็ตาม ละครชนิดนี้เริ่มเข้ามาในประเทศไทยราว 4 ทศวรรษ แต่ความนิยมที่มีต่อละครชนิดนี้กลับไม่ค่อยเพิ่มขึ้น ซ้ำยังคงถูกเล่นอยู่ในวงแคบ ซึ่งมีเพียงแค่นักแสดงกลุ่มเล็กๆ ไม่กี่คน เท่านั้น

"ถ้าจำนวนคนเล่นก็มีหลักสิบ ถ้าคณะละครก็สามถึงสี่คณะ"เขากล่าว

เขาเห็นว่าแม้ละครใบ้จะยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร แต่กลุ่มคนรุ่นใหม่กลับสนใจละครชนิดนี้กันมากขึ้น ไพฑูรย์เห็นว่า อาจเป็นเพราะละครใบ้เป็นศิลปะที่ไม่ต้องแบกอะไรเลย เสื้อผ้าก็ง่ายๆ ไปที่ไหนก็เล่นได้ ลำบากแค่อย่างเดียวนั่นคือคือต้องใช้เวลาฝึกฝนค่อนข้างนาน

"ปัญหาหลักที่พบนอกเหนือจากนั้นก็คือโครงสร้างของละคร ที่เราต้องมีโรงละคร ทีมงาน นักแสดง และผู้ชม ตอนนี้เราไม่มีโรงละคร นักแสดงก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ เมื่อไม่มีพื้นที่ให้เขาแสดง นักแสดงจึงไม่เติบโต เพราะไม่มีใครทำอย่างจริงจังเป็นอาชีพ" เขากล่าว

ท่ามกลางอุปสรรคสารพัดที่ทำให้ศิลปะแขนงนี้ยังไม่พัฒนาไปมากนักในสังคมไทย แต่เขาก็มีประสบการณ์ด้านบวกอยู่เหมือนกัน เช่น มีช่วงหนึ่งที่ได้รับเชิญไปเล่นให้เด็กดู ทั้งในสลัม บนดอย ค่ายอพยพ และรวมทั้งเด็กพิการทางการได้ยิน  ซึ่งพบว่า เด็กพิการทางการได้ยินมีความสุขมาก การสื่อสารแนวนี้ไปกันได้ดีกับเขา จึงพัฒนามาสู่การสอนละครใบ้เด็กพิการ

ละครใบ้เป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้โลกที่พวกเขามีกว้างขึ้น  เด็กพิการมักถูกจำกัดให้อยู่ในกรอบว่าทำสิ่งนี้ได้ หรือทำสิ่งนั้นไม่ได้ การมีกิจกรรมที่พวกเขาสามารถทำได้อย่างเท่าเทียมอย่างแสดงละครใบ้ จึงทำให้เด็กๆ  รู้สึกมีความภาคภูมิใจที่พวกเขาสามารถเล่นละครให้คนที่ไม่พิการดูได้ ที่สำคัญคือเขาก็สามารถดูละครใบ้อย่างเท่าเทียมร่วมกับคนอื่น ความเท่าเทียมในเรื่องเล็กๆ เช่นนี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่ทำให้ความเท่าเทียมนั้นกระจายไปสู่เรื่องอื่นๆ ด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อีกกี่ ‘ก้าว’ จะถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (2) เธอแช่งให้คน 5 คนต้องตาย

Posted: 08 Nov 2017 08:47 PM PST

ทำไมหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่กำลังถูกบ่อนเซาะอย่างหนักมือจากหลากฝ่ายจึงมีความสำคัญกับชีวิตผู้คน ทำไมคนจำนวนหนึ่งต้องต่อสู้เพื่อให้สิ่งนี้ดีขึ้นแทนที่จะแย่ลง 3 ชีวิตในงานชิ้นนี้มีคำตอบ

ถ้าคุณเติบโตในตระกูลที่มั่งคั่ง ทั้งชีวิตไม่เคยย่างกรายเข้าไปในโรงพยาบาลรัฐที่แออัดด้วยผู้คนที่มารอรับการรักษา คุณอาจไม่เข้าใจว่าหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือที่เรียกอย่างลำลองว่าบัตรทองหรือ 30 บาท สำคัญอย่างไร หากหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าถูกบ่อนทำลายให้อ่อนแอลงหรือหายไป จะเกิดอะไรขึ้นกับผู้คนเหล่านั้น

หากคำว่า สิทธิ ดูแข็งกระด้างไปและคุณอาจไม่ค่อยเข้าใจนักว่า สิทธิในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลคืออะไร ลองใช้ใจอ่านเรื่องราวของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 3 คนนี้ที่บอกเล่าเรื่องราวของตนผ่านความเจ็บป่วยที่พวกเขาแบกรับ แล้วคุณจะพบคำตอบ

เขาคงไม่มีชีวิตอยู่ถึงทุกวันนี้: ภาษิต ชุนศิริวัฒน์ เครือข่ายผู้ติดเชื้อ

ภาษิตเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี เขารู้ตัวครั้งแรกตอนปี 2548 วัดพระบาทน้ำพุคือสถานที่ที่ทางบ้านของภาษิตจะนำตัวไปส่ง

"ตอนที่รู้ว่าติดเชื้อครั้งแรกเลย แว้บแรกที่คิดคือจะอยู่ยังไง อยู่ที่ไหน อยู่กับใคร ใครรู้บ้าง ใครจะรังเกียจเราบ้าง ตอนนั้นอยู่ในห้องแคบๆ เล็กๆ ซื้อยาฆ่าแมลงมาแล้วด้วย นับหนึ่งถึงสิบๆ กินไม่กินดีๆ คนที่รู้สถานะตัวเองตอนนั้นไม่มีใครรับได้ ถ้าไม่เจอพยาบาลที่ดีคงไม่มีชีวิตมานั่งอยู่จนทุกวันนี้"

"ตอนนั้นมืดแปดด้านไปหมด ปี 2548 ยาต้านเข้าสู่ระบบแล้ว แต่ไปหาหมอทุกครั้งเสีย 30 บาท ไหนจะค่ากิน ค่าเดินทางแม่อีก ครั้งหนึ่งไปโรงพยาบาลก็ไม่ต่ำกว่าสามสี่ร้อย"

ด้วยอาชีพรับจ้างไม่จำเป็นต้องแจกแจงว่ารายได้ของภาษิตจะสูงต่ำอย่างไร เขาเล่าว่าช่วงปี 2538-2540 ราคายาต้านไวรัสตกเดือนละ 20,000 บาทต่อคน เวลาล่วงเลยมา ก่อนมีการประกาศมาตรการบังคับใช้สิทธิหรือซีแอล ราคายาต้านไวรัสตกเดือนละ 2,400 บาทต่อคน หลังจากประกาศซีแอล ค่ายาลดฮวบเหลือ 800 บาท และเหลือเพียง 600 บาทในปัจจุบัน

"ยาสูตรที่ผมกิน ณ ปัจจุบัน สมัยก่อนจะแพงมาก ทุกวันนี้เหลือไม่เกิน 3,000 บาทต่อคนต่อเดือน ซึ่งผมไม่ต้องจ่าย แต่ถ้าให้จ่าย 3,000 บาทก็จ่ายไม่ไหว เพราะต้องกินยาทุกเดือน ถามว่าทุกวันนี้มีระบบหลักประกันดียังไง มันก็ช่วยให้เรามีชีวิตอยู่รอด สมัยก่อนถ้าต้องเรามานั่งร่วมจ่ายค่ายา เราก็คงไม่มีชีวิตอยู่ทุกวันนี้"

ท่ามกลางสถานการณ์หลักประกันสุขภาพที่กำลังสั่นคลอน ภาษิตบอกว่า

"เราก็ไม่รู้ทิศทางในอนาคตข้างหน้าว่าระบบหลักประกันจะเป็นแบบไหน จะต้องร่วมจ่ายมั้ย ถ้าเราต้องร่วมจ่าย เท่าที่ถามเพื่อนๆ หลายคนก็บอกว่าจ่ายไม่ไหว ถ้าต้องร่วมจ่าย ก็ไม่กิน ก็ตาย เพื่อนพูดแบบนี้เลยนะครับ บางคนกินยาสูตรเดือนละหมื่น สมมติถ้าต้องร่วมจ่ายครึ่งหนึ่ง 5,000 ปีละ 60,000 จ่ายไหวมั้ย หรือทำงานมาทั้งหมดแล้วต้องมาซื้อยากิน อันนี้ก็ตั้งคำถามกัน คุยกัน"

เธอแช่งให้คน 5 คนต้องตาย: กุหลาบ วิไลรัตน์ เครือข่ายผู้ติดเชื้อ

กุหลาบติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ในปี 2546 โชคไม่ดีที่ลูกเธอติดเชื้อด้วย ไม่ต่างจากใครๆ เมื่อรู้ว่าตนมีเชื้อเอชไอวีอยู่ในร่าง เธอช็อก แต่นั่นยังไม่แย่เท่าตอนที่อาการเธอเริ่มทรุดจนไม่สามารถทำงานได้ บ้านทางฝ่ายสามีเธอจึงรับรู้และขับไล่ไสส่ง โชคยังดีที่สามีเธอเข้าใจ ไปตามกลับมาจากวัดพระบาทน้ำพุ

เวลานั้น หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเกิดขึ้นแล้ว แต่กว่ายาต้านไวรัสจะอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ปีล่วงเลยมาถึงปี 2548 แล้วระหว่างนี้เธอทำอย่างไร

"ตอนนั้นมียาของโครงการนภา โรงพยาบาลหนึ่งอาจให้ได้แค่ 30-40 คน ณ วันนี้เจอกันก็เป็นกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ให้กำลังใจกัน แลกเปลี่ยนความรู้กัน แตกต่างจากอดีต เจอกันปุ๊บ พี่แช่งเลย เพราะว่ายังไม่ได้กินยาต้องรอให้อีกคนหนึ่งตายก่อน เพราะยาโครงการเข้ามาที่โรงพยาบาลจะได้ใช้แค่ 30 คน พี่ไปลงชื่อคนที่ 35 เพราะฉะนั้นจะต้องตาย 5 คนก่อน พี่ถึงจะได้กินยา

"เราไม่มีปัญญาซื้อยาเอง เพราะยาราคาค่อนข้างสูงมาก ตอนนั้นเราป่วย เราไม่สามารถทำงานอะไรได้เลย เงินแค่ร้อยสองร้อยก็มีความหมายต่อเรามาก"

แต่กว่ากุหลาบจะได้รับยาจากโครงการนภาก็ต้องรอเกือบ 2 ปี เป็น 2 ปีที่เธอต้องเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บรุมเร้า เธอใช้วิธีรักษาตามอาการ

"ตอนนั้นก็ใช้ระบบสงเคราะห์ บ้านเรามีฐานะค่อนข้างยากจน เราก็ไม่สามารถทำงานได้ เมื่อไปโรงพยาบาลก็ต้องขอระบบสงเคราะห์ ปฏิกิริยาก็ทราบกันอยู่ว่าใครเข้ามาป่วยในระบบอนาถาจะเป็นยังไง รออยู่ปีสองปี มันท้อทั้งกาย ท้อทั้งใจ คนในสภาวะนั้น งานก็ไม่มี ยาก็ไม่มี เงินก็ไม่มี มันก็จะใช้ชีวิตคล้ายๆ กับให้หมดไปวันๆ

"พี่แช่งเลย เพราะว่ายังไม่ได้กินยาต้องรอให้อีกคนหนึ่งตายก่อน เพราะยาโครงการเข้ามาที่โรงพยาบาลจะได้ใช้แค่ 30 คน พี่ไปลงชื่อคนที่ 35 เพราะฉะนั้นจะต้องตาย 5 คนก่อน พี่ถึงจะได้กินยา เราไม่มีปัญญาซื้อยาเอง เพราะยาราคาค่อนข้างสูงมาก ตอนนั้นเราป่วย เราไม่สามารถทำงานอะไรได้เลย เงินแค่ร้อยสองร้อยก็มีความหมายต่อเรามาก"

"พี่ต้องคอยติดตามข่าวอยู่เรื่อยๆ ว่าเมื่อไหร่ยาจะเข้ามาอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ให้พวกเราได้กิน ก็รักษาชีวิตไว้รอจนถึงวันนั้น พี่ก็ยังคิดว่ารอดมาจนถึงวันนี้เพราะได้รับยาต้านจากหลักประกันสุขภาพ ถ้ากลับไปเป็นระบบสงเคราะห์อีก เราคิดว่าไม่โอเค เราก็ต้องสู้กันต่อไป"

จ่ายเงินซื้อชีวิต: ธนพลธ์ ดอกแก้ว ประธานชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย

ธนพลธ์เป็นโรคไตวายเมื่อปี 2549 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังไม่ครอบคลุมโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงอย่างโรคไตวาย เขาเล่าว่าเวลานั้นค่าจ่ายในการฟอกเลือดและค่ายาแต่ละครั้งสูงมาก

"ตอนที่ผมเป็นไตวาย ค่าฟอกเลือดครั้งหนึ่ง 3,500 บาท ค่ายาฉีดกระตุ้นเม็ดเลือดแดงที่ผมใช้เข็มหนึ่งตก 1,500 บาท ไปฟอกหนึ่งครั้งใช้เงินประมาณ 5,000 บาท ยังไม่รวมค่าเดินทาง ค่ากิน ฟอกไตสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เดือนหนึ่งก็ประมาณ 12 ครั้ง ตก 60,000 บาท ถ้าเราจ่ายเองตลอด เราไม่สามารถยืนอยู่ได้ แล้วสมัยที่ผมเป็นคนไข้โรคไตวายมีประมาณหกเจ็ดพันคน ถามว่าคนกลุ่มนี้ไปไหนหมด พวกเขาเสียชีวิตเพราะไม่ได้รับการรักษาพยาบาล แล้วถ้าจะไม่ให้ตัวเองตายก็ต้องขายบ้าน ขายรถ ขายที่ ทุกอย่าง เพื่อเอาเงินมารักษาพยาบาลตัวเอง"

การเป็นไตวายยังทำให้เขาต้องออกจากงาน เนื่องจากต้องลาไปฟอกไตอาทิตย์ละ 3 ครั้ง ธนพลธ์โชคดีอยู่บ้างที่พอจะมีเงินเก็บจำนวนหนึ่งเพื่อยื้อชีวิต

เราถามว่า เหตุใดจึงไม่ไปฟอกไตในโรงพยาบาลรัฐที่น่าจะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า ธนพลธ์อธิบายว่า โรงพยาบาลรัฐจะมีไว้ฟอกสำหรับคนไข้ฉุกเฉิน ทำให้ผู้ป่วยโรคไตวายต้องไปฟอกในหน่วยไตที่เป็นของเอกชนหรือโรงพยาบาลเอกชนเป็นส่วนใหญ่

กลุ่มผู้ป่วยโรคไตกลุ่มเล็กๆ รวมตัวกันเมื่อปี 2549 เริ่มต่อสู้และเรียกร้องให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าครอบคลุมโรคไต

"พอมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าครอบคลุมโรคไตวาย หลังจากนั้นค่าฟอกไตก็ลดลงมาบ้าง แต่ถึงแม้จะมีครอบคลุมแล้ว เราก็ยังต้องร่วมจ่ายในช่วงแรก ในยุคนั้นค่าฟอกไตลดลงมาเหลือ 1,500 เดือนหนึ่งอยู่ประมาณ 18,000 กว่าบาท รัฐออกให้ 1,000 บาท เราร่วมจ่าย 500 บาท 12 ครั้งก็ 6,000 บาท ก็ยังทำให้เราตกอยู่ในชะตากรรมที่ลำบากเหมือนเดิม"

หลัง 1 ตุลาคม 2551 ผู้ป่วยโรคไตก็ไม่ต้องร่วมจ่ายอีกต่อไป มีการล้างไตทางช่องท้องเข้ามา ซึ่งธนพลธ์ย้ำว่ามีประโยชน์มาก ช่วยให้คนเข้าถึงบริการ คนไข้โรคไตสามารถล้างไตทางช่องท้องเองที่บ้านได้

"คุณล้างเอง อยู่กับครอบครัว อยู่บนดอย สปสช. ส่งน้ำยาล้างไตให้คุณถึงบ้าน เดือนหนึ่งหมอนัดครั้งหนึ่งเพื่อติดตามอาการ คุณก็สามารถทำงานได้เหมือนคนทั่วไป

"ตอนที่ไม่มีระบบหลักประกัน ก็เหมือนกับคนเราเดินไปซื้อชีวิตที่หน่วยบริการ ในอดีต คุณต้องจ่ายเงินก่อนเข้าเครื่อง ถ้าไม่จ่าย คุณไม่สามารถเข้าเครื่องได้ ช่วงนั้น ผมนอนฟอกเลือดอยู่ ผมเห็นวันนี้ คนนี้มาฟอก เว้นไปอีกสองสามวันทำไมคนนี้ไม่มาฟอก หายไป พอเขากลับมา ผมก็ถามว่าไปไหนมา เขาตอบว่าไม่มีเงินมาฟอก ไปหาเงิน พอมาฟอกก็หายไปอีกสี่ห้าวัน แล้วกลับมาฟอก มันทำให้คุณภาพชีวิตเขาแย่ลง แล้วบางคนรอไม่ได้ก็ต้องจากไป ใครที่จะมาฟอกอย่างสม่ำเสมอก็ต้องไปขายที่ ขายบ้าน สุดท้ายก็ตาย ตายอย่างเดียวไม่ว่า สร้างภาระหนี้สินไว้ให้คนข้างหลังอีก

"ปัจจุบัน ผู้ป่วยโรคไตมีชีวิตรอดมากกว่า 24,000 คน ทำให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดี สิ่งที่ดีที่สุดคือเขาได้อยู่กับครอบครัว ไม่ต้องล้มละลายจากการรักษาพยาบาลเหมือนในอดีต ถ้าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าล่ม ก็ให้ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ระบบจะถอยหลังเข้าคลอง สิ่งที่ทำมาสิบกว่าปีจะกลับไปเป็นระบบสงเคราะห์ คนไข้โรคไตก็กลับไปเสียชีวิตเหมือนเดิม"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น