ประชาไท | Prachatai3.info |
- ครม. เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
- จับตาฟองสบู่แตกอาคารชุดแตก 'โสภณ' เผยยังไม่ถึงจุดอันตราย แต่หากไม่คุมอาจเกิดขึ้น
- ผี ขวัญ คน: ความสัมพันธ์ของชีวิตและความหมายของคนไทใหญ่
- พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์: อะไรที่น่าเศร้ากว่าคำถามหกข้อ?
- ‘ตูน’ กับ ‘ไผ่’ ในวัฒนธรรมความดีแบบไทย
- 'กกต. สมชัย' โต้ 'มีชัย' อธิบายเกินกฎหมาย ปมให้ผู้ตรวจฯจัดเลือกตั้งท้องถิ่น
- เครือข่ายฯปฏิรูปสลาก ร้อง 'ประยุทธ์' ใช้ยาแรงแก้สลากแพง พบ 89.9% ขายเกินราคา
- ปฏิรูปกลไกบริการสุขภาพเขตเมือง วางร่างแผนยุทธศาสตร์ ดึง ‘สธ.-สปสช.’ เคลื่อน
- กระทบโรงงาน ผลผลิตอุตสาหกรรมจีนชะลอตัวเพราะรัฐเข้มงวดมลพิษ
- เครือข่ายปชช. จี้หยุดเดินหน้าร่างกม.สิ่งแวดล้อม ชี้ยัดคำสั่ง คสช.ในกม.-อีไอเอมีปัญหา
- เตือนโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาจพัฒนาเป็นอัลไซเมอร์ ย้ำผู้ป่วยรักษาต่อเนื่อง
- สาระ+ภาพ: ตัดงบกลาโหมช่วย ‘ก้าวคนละก้าว’ ได้หรือไม่
- นิพนธ์ TDRI : เช็คข้อมูลน้ำในคืนฝนถล่ม กทม. - จะเตรียมตัวหลังฝนหยุดอย่างไร
- 'หลงไฟ' กับเศรษฐศาสตร์การเมืองของไทย
- 1 ทศวรรษคดี 112 ตอนที่ 1: สถิติและความเป็น ‘การเมือง’ ของคดีหมิ่นฯ
ครม. เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ Posted: 14 Nov 2017 10:20 AM PST ครม. มีมติเห็นชอบ ร่างระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พ.ศ. .... กำหนดให้มี "คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์" ให้ นายกฯ เป็นประธาน
14 พ.ย. 2560 เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลรายงานว่าวันนี้ (14 พ.ย.60) เมื่อเวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุม ครม. ซึ่งมีประเด็นหนึ่งคือ ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) (สบร.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ สำหรับ สาระสำคัญของร่างระเบียบดังกล่าว ระบุว่า 1. กำหนดนิยามคำว่า "เศรษฐกิจสร้างสรรค์" "ธุรกิจสร้างสรรค์" "คณะกรรมการ" "ประธานกรรมการ" และ "กรรมการ" 2. กำหนดให้มี "คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์" เรียกโดยย่อว่า "กสศ." ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน 3 คน เป็นกรรมการ และรองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ และผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เป็นกรรมการและเลขานุการ 3. กำหนดให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อครบกำหนดตามวาระ หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่ง เพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ 4. กำหนดให้ กสศ. มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ แผนพัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์รายสาขา และแผนพัฒนาย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ เสนอแนะ และให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในการสนับสนุนและเร่งรัด การดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนงานที่กำหนด และมีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความเชี่ยวชาญให้เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่มอบหมาย และ 5. กำหนดให้ ศสบ. สบร. ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของ กสศ. ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายสำหรับเบี้ยประชุม ค่าตอบแทนและประโยชน์อื่นของ กสศ. ที่ปรึกษาและคณะอนุกรรมการ รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ให้เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณของ ศสบ. สบร. ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2558 ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พ.ศ. 2556 พ.ศ. .... ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จับตาฟองสบู่แตกอาคารชุดแตก 'โสภณ' เผยยังไม่ถึงจุดอันตราย แต่หากไม่คุมอาจเกิดขึ้น Posted: 14 Nov 2017 09:32 AM PST โสภณ พรโชคชัย เผยผลสำรวจ ตลาดอาคารชุดพักอาศัยใจกลางเมืองและตามแนวรถไฟฟ้า ระบุยังไม่ถึงจุดอันตราย แต่หากไม่ควบคุมอุปทาน อาจทำให้เกิดภาวะล้นตลาดและฟองสบู่แตกได้ในที่สุด ทุกฝ่ายจึงควรจับตามอง โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส 14 พ.ย. 2560 รายงานข่าวจาก Agency for Real Estate Affairs (www.area.co.th) แจ้งว่า วันนี้ (14 พ.ย.60) โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ได้นำเสนอผลการศึกษาล่าสุดเกี่ยวกับตลาดอาคารชุดพักอาศัยใจกลางเมืองและตามแนวรถไฟฟ้าว่าสถานการณ์เป็นอย่างไรกันแน่ ขายได้ไหม เหลือเท่าไหร่ คนซื้อเป็นใคร มีอัตราผลตอบแทนมากน้อยแค่ไหน คุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ เป็นต้น ว่าด้วยการสำรวจโสภณ ระบุว่า การสำรวจนี้ดำเนินการในเดือนกันยายน 2560 ครอบคลุมโครงการอาคารชุด 268 โครงการที่สร้างเสร็จในระยะ 6 เดือนถึงไม่เกิน 3 ปี ในพื้นที่ต่อไปนี้: 1. สีลม-สาทร, 2. ยานนาวา-พระราม 3, 3. สุขุมวิท 1-71, 4. สุขุมวิท 77-บางนา, 5. บางนา-สมุทรปราการ, 6. พญาไท-พหลโยธิน, 7. รัชดา-ลาดพร้าว, 8. ธนบุรี-ตากสิน, 9. เพชรเกษม-บางหว้า, 10. จรัญสนิทวงศ์-ปิ่นเกล้า, 11. รามคำแหง, 12. แจ้งวัฒนะ, 13. บางซื่อ-บางใหญ่ และ 14. หมอชิต-สะพานใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ๆ มีรถไฟฟ้าวิ่งผ่าน จะได้เห็นว่าสถานการณ์ห้องชุดตามแนวรถไฟฟ้าเป็นอย่างไร สำหรับสาเหตุที่สำรวจโครงการอาคารชุด ที่สร้างเสร็จเกิน 6 เดือน ก็เพราะในช่วง 6 เดือนแรก บางรายยังไม่ได้ย้ายเข้า อยู่ระหว่างการตบแต่งอยู่ จึงยังไม่สามารถนำมาพิจารณา หากนำมารวมไว้อาจทำให้เห็นจำนวนผู้อยู่อาศัยน้อยเกินจริง ในขณะเดียวกันโครงการที่แล้วเสร็จเกิน 3 ปี ก็ไม่สำรวจเช่นกัน เพราะคงมีคนเข้าอยู่มากแล้ว ไม่ได้สะท้อนภาวะตลาดที่แท้จริง โสภณ แถลงว่าแนวทางการสำรวจก็คือการส่งนักวิจัยออกสำรวจตามโครงการต่าง ๆ และคัดเหลือรวม 268 โครงการที่สร้างเสร็จในช่วง 6-36 เดือน ทั้งนี้ในระหว่างการสำรวจได้พบกับผู้บริหารนิติบุคคลอาคารชุด และบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินถึงภาวะการขาย จำนวนผู้เข้าอยู่อาศัย ผู้ซื้ออยู่และผู้เช่า ตลอดจนลักษณะของผู้อยู่อาศัยรวมทั้งผลตอบแทนจากการลงทุน ฯลฯ ผลการสำรวจโสภณ แถลงผลการสำรวจเบื้องต้นเป็นดังนี้: 1. ในจำนวน 268 โครงการอาคารชุดที่สร้างเสร็จในระยะเวลา 6-36 เดือนนี้ มีอยู่รวมกัน 117,250 หน่วย ส่วนมากถึง 107,096 หน่วย หรือ 91% ขายไปแล้ว แสดงว่าไม่ได้อยู่ในการครอบครองของนักพัฒนาที่ดินแล้ว หรือพ้นภาระของนักพัฒนาที่ดินแล้วเป็นหลัก มีเหลืออยู่ในมือนักพัฒนาที่ดินเพียง 10,154 หน่วย แสดงว่าไม่ได้กระทบต่อนักพัฒนาที่ดินโดยตรง ยกเว้นผู้ซื้อห้องชุดในโครงการเหล่านี้นำมาขายแข่งกับโครงการใหม่ ๆ ในอนาคต 2. ในจำนวนที่สร้างเสร็จ 117,250 หน่วยนี้ มีผู้เข้าอยู่แล้ว 71,864 หน่วย หรือ 61% ข้อนี้ก็ชี้ให้เห็นว่า มีการครอบครองแล้ว ได้นำมาใช้สอยเป็นอันมาก ยิ่งถ้าเทียบกับจำนวนหน่วยที่มีผู้ซื้อไปแล้วพบว่า 71,864 หน่วยที่มีผู้เข้าอยู่อาศัย เป็น 67% ของหน่วยที่มีผู้ซื้อไปทั้งหมด หรือราว 2/3 ส่วนที่เหลืออีก 1/3 ยังไม่ได้เข้าอยู่ การที่มีสัดส่วนผู้เข้าอยู่เป็นอันมากนี้ แสดงให้เห็นว่า ภาวะตลาดยังดีพอสมควร ไม่ได้เลวร้าย ไม่ได้สร้างแล้วร้างแต่อย่างใด 3. ยิ่งเมื่อได้เจาะลึกลงไปอีกชั้นหนึ่งว่า แล้วหน่วยที่มีผู้เข้าอยู่แล้วส่วนใหญ่เป็นใคร ก็พบว่า หน่วยที่มีผู้เข้าอยู่แล้ว 71,864 หน่วยนั้น 55,193 หน่วย หรือ 77% เป็นผู้ซื้อเข้ามาอยู่เอง แสดงว่าตรงความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย หรือแม้เทียบ 55,193 หน่วยที่ผู้ซื้ออยู่เองกับจำนวนหน่วยแล้วเสร็จทั้งหมด ก็มีสัดส่วนถึง 47% แสดงว่าผู้ซื้อมาอยู่เองราวครึ่งหนึ่ง แม้จะไม่ได้เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ถือว่าไม่น้อย 4. ในส่วนที่เหลือนั้น 23% หรือ 16,671 หน่วยอยู่อาศัยโดยผู้เช่า ผู้เช่ายังมีไม่มากคือราว 1/4 เพราะหากมีผู้เช่ามากเกินไป เช่น 1/3 ก็จะแสดงว่ามีการเก็งกำไรกันมาก ยิ่งหากมีสัดส่วนผู้เช่ากับผู้ซื้ออยู่ถึงราวครึ่งต่อครึ่ง ก็แสดงให้เห็นว่าการเก็งกำไรอาจมีมากจนเกินไป พอผู้ซื้อขายไม่ออกก็ปล่อยเช่าไป เป็นต้น และหากมีผู้เช่ามาก ๆ อาจมีปัญหาในการจ่ายค่าส่วนกลางด้วยเช่นกัน และ 5. ผู้เข้าอยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นคนไทยถึง 84% ส่วนอีก 16% เป็นชาวต่างประเทศ อย่างไรก็ตามสัดส่วนของชาวต่างประเทศที่เข้าอยู่อาศัยในห้องชุดเพิ่มขึ้นจาก 10% ในเดือนสิงหาคม 2556 ซึ่งสำรวจครั้งแรก มาเป็น 13% ในการสำรวจครั้งที่ 2 เมื่อปี 2558 และมาในปี 2560 นี้เพิ่มเป็น 16% สัดส่วนของชาวต่างประเทศมีมากที่สุดในทำเลสุขุมวิท ซอย 1-71 โดยมีอยู่ถึงราว 42% ที่ต่ำที่สุดคือบริเวณบางซื่อ-บางใหญ่ มีชาวต่างประเทศอยู่เพียง 3% ของหน่วยที่มีผู้เข้าอยู่เท่านั้น ผลตอบแทนและค่าเช่าโสภณ ชี้ว่า อัตราผลตอบแทนจากการให้เช่า (Return on Investment) อยู่ที่ 4.5% คือสมมติว่าห้องชุดหนึ่งมีราคา 1,000,000 ล้าน จะได้ผลตอบแทนสุทธิอยู่ที่ 42,000 บาท หรือเดือนละ 3,500 บาท ส่วนค่าเช่าตลาด (Market Rent) ควรอยู่ที่ประมาณ 4,700 บาท เพราะบางเดือนอาจไม่มีผู้เช่า หาผู้เช่าไม่ได้ หรือผู้เช่าหายไปหรือไม่จ่ายค่าเช่า เป็นต้น อัตราผลตอบแทนนี้ลดต่ำลงกว่าเมื่อ 2 ปีก่อนที่ประเมินไว้ที่ 5.8% ทั้งนี้เพราะอุปทานอาจมีมากขึ้น จึงทำให้ค่าเช่าลดลงตามลำดับนั่นเอง ในส่วนของการเพิ่มขึ้นของราคาตลาด (Return of Investment หรือ Capital Gain) พบว่ามีสัดส่วนอยู่ที่ 4.2% โดยสมมติว่าราคาห้องชุด 1,000,000 บาท ในปีถัดไปก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,042,000 บาท นั่นเอง สัดส่วนการเพิ่มขึ้นนี้ ก็ลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ 5.1% การนี้แสดงให้เห็นว่าตลาดอยู่ในช่วงที่ชะลอตัวลง อันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของอุปทานนั่นเอง ส่วนในกรณีค่าเช่าต่อตารางเมตรนั้นพบว่า ค่าเช่าเพิ่มขึ้นเป็นตารางเมตรละ 416 บาท ทั้งนี้ค่าเช่าต่อตารางเมตรสูงสุดคือบริเวณสุขุมวิทซอย 1-71 คิดเป็นเงินตารางเมตรละ 758 บาท ซึ่งสูงกว่าหรือพอๆ กับค่าเช่าอาคารสำนักงานเสียอีก ส่วนที่ต่ำที่สุดก็คือแถวแจ้งวัฒนะ (ซึ่งต่อไปจะมีรถไฟฟ้าสายสีชมพู) ค่าเช่าคิดเป็นเงินตารางเมตรละเพียง 265 บาทเท่านั้น ห้องชุดล้นตลาดหรือยังโสภณ แถลงว่า หากประเมินภาพแบบเจาะลึกจะพบว่า ในด้านหนึ่งห้องชุดที่เสร็จในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนั้น มีสัดส่วนห้องชุดในมือนักพัฒนาที่ดินถึง 15% แต่ก็คือว่าน้อยมาก นักพัฒนาที่ดินน่าจะสามารถผ่านพ้นวิกฤติได้หากมียอดขายเกิน 70% แต่นี่ขายได้แล้วถึง 85% และยิ่งอยู่นานถึง 13-24 เดือน ก็ยิ่งเหลือหน่วยขายในมือนักพัฒนาที่ดินเพียง 12% และหากเกิน 2 ปี ก็มีสัดส่วนเพียง 4% เท่านั้น ข้อนี้ชี้ว่าหน่วยขายที่เสร็จเหล่านี้ น่าจะโอนไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว พ้นภาระของผู้ประกอบการแล้ว ที่เสร็จในเวลาไม่เกิน 1 ปี (6-12 เดือน) อาจมีผู้เข้าอยู่เพียง 53% เมื่อเทียบกับที่เสร็จตั้งแต่ 1-2 ปี (60%) และ 2-3 ปี (65%) แต่ก็ถือว่าไม่น้อย ที่สำคัญก็คือสัดส่วนระหว่างผู้ซื้ออยู่กับผู้เช่าอยู่อยู่ที่ 77%-78% ในทุกกลุ่มระยะเวลาที่เข้าอยู่อาศัย การนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ซื้ออยู่ยังมีสัดส่วนสูงมากถึง 3/4 ของทั้งหมด ความกังวลเรื่องเก็งกำไรอาจมีไม่มากนัก ยิ่งกว่านั้นอัตราผลตอบแทนในการลงทุนของห้องชุดทั้งที่เป็น Return on Investment และ Return of Investment ก็ไม่แตกต่างกันระหว่างระยะเวลาที่สร้างเสร็จ เพียงแต่ว่าสินค้าใหม่สามารถเช่าได้ในอัตราค่าเช่าที่สูงกว่าคือ 425 บาท แต่ที่สร้างเสร็จราว 1-2 ปีก็เช่าได้ถึง 442 บาท ส่วนที่สร้างเสร็จ 2-3 ปี มีค่าเช่าเฉลี่ยถูกกว่าคือ 396 บาท แต่ก็ถือว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยมากนัก ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่าห้องชุดยังไม่ล้นตลาด บทสรุปรวบยอดโสภณ ระบุว่า ในจำนวนห้องชุด 117,250 หน่วยนี้ มีผู้ซื้ออยู่และเข้าอยู่ที่ 55,193 หน่วย ที่เหลือที่ซื้อแล้วยังว่าง 45,386 หน่วยนั้นยังไมได้เข้าอยู่ ในที่นี้อาจอนุมานว่า เพียง 1/3 ของหน่วยขายเหล่านี้ที่จะมีผู้ซื้อเข้าอยู่ที่เหลือคงเป็นนักเก็งกำไร แสดงว่าผู้ซื้ออยู่จะย้ายเข้าอยู่อีก 15,129 หน่วย เมื่อรวมกับ 55,193 หน่วย ก็จะเป็น 70,322 หน่วย หรือราว 66% ของยอดขายที่ 107,096 หน่วย การที่ผู้ซื้ออยู่มีถึงสองในสามเช่นนี้ แสดงว่าสถานการณ์ตลาดห้องชุดยังดีอยู่ ไม่ใช่ตลาดของนักเก็งกำไรเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม หากมีการเก็งกำไรเพิ่มมากขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น บางโครงการในขณะนี้ สามารถขาย "กระดาษ" ได้หมดในเวลา 1 วันบ้าง 3 วันบ้าง 1 สัปดาห์ หรือ 1 ปักษ์บ้าง ก็จะทำให้ภาวะตลาดตกต่ำลงได้ในที่สุด ทั้งนี้เพราะผู้ซื้อส่วนใหญ่ถึงราว 60% อาจเป็นนักเก็งกำไรที่รอขายหรือรอปล่อยเช่านั่นเอง หากการเก็งกำไรระบาดมาก อาจทำให้ 1. เกิดภาวะฟองสบู่ 2. กระแสเงินสดของนักพัฒนาที่ดินโดยเฉพาะรายใหญ่ๆ แปรปรวน 3. การโอนอาจมีปัญหา 4. หุ้นกู้ของบริษัทมหาชนอาจใช้คืนไม่ได้ และ 5. ภาวะฟองสบู่แตกจะตามมาได้ การจะลงทุนซื้อห้องชุด หรือพัฒนาอาคารชุด หรือให้สินเชื่อโครงการเหล่านี้จึงควรทำการศึกษาภาวะตลาดให้ดีเสียก่อนที่จะตัดสินใจ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับข้อเสนอแนะ โสภณ แถลงว่า ในการลงทุน ควรดำเนินการดังนี้: 1. การคุ้มครองเงินดาวน์ของผู้ซื้อห้องชุด เพื่อความมั่นใจของตลาดทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย และสถาบันการเงิน จะปล่อยให้การคุ้มครองนี้เป็นแบบอาสาสมัครไม่ได้อีกตอไป 2. การควบคุมอุปทาน ไม่ใช่ปล่อยให้สร้างกันตามสบาย 3. การควบคุมและตรวจสอบราคาขายและกำไรที่ไม่สูงจนเกินไป 4. การควบคุมการอำนวยสินเชื่อที่หนาแน่นรอบคอบมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาไม่ผ่านการอนุมัติสินเชื่อ เพราะการกู้ไม่ผ่านยังดีกว่าปล่อยกู้ไปแล้วไม่สามาถผ่อนต่อไปได้ 5. การลดดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินลงสัก 1-2% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และ 6. การไม่ปล่อยให้สร้างกันมากมายแล้วกระจายความเสี่ยงของผู้ประกอบการโดยส่งเสริมให้คนซื้อห้องชุด ซื้อไว้ ถือเป็นการถือและกระจายความเสี่ยงแทนผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ มากกว่าการช่วยให้ประชาชนสามารถซื้อบ้านได้ เพราะในปัจจุบัน สัดส่วนการมีบ้านก็สูงอยู่แล้ว การสร้างความมั่นคงกับตลาดที่อยู่อาศัย จึงจะทำให้เกิดความมั่นใจต่อทุกฝ่าย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ผี ขวัญ คน: ความสัมพันธ์ของชีวิตและความหมายของคนไทใหญ่ Posted: 14 Nov 2017 07:19 AM PST
1. เกริ่นนำงานเรื่อง Imagining the Course of Life: Self-Transformation in a Shan Buddhist Community[1] ของ Nancy Eberhardt วางอยู่บนงานภาคสนามในหมู่บ้านของชาวฉาน (ไทใหญ่)ในภาคเหนือของไทย ได้นำเสนอความคิดของชาว "ไทใหญ่" ว่าด้วยตัวตนและบุคคลในเรื่องเส้นทางชีวิตที่เชื่อมกับโครงสร้างท้องถิ่น ในกระบวนการดังกล่าว เธอได้ดึงความสนใจไปที่ตัวแบบที่ขัดแย้งกันในประเพณีของอเมริกัน-ยุโรป เรื่องปัจเจกบุคคลและใช้ชุดคำอธิบายที่เป็นสากลซึ่งอยู่บนวิธีคิดแบบคู่ตรงข้าม แต่ต้องใช้แนวทางการศึกษาที่เรียกว่า Ethnopsychology เพื่อทำความเข้าใจว่าคนไทใหญ่ มีโลกทัศน์/จักรวารทัศน์ในการอธิบายการพัฒนาตัวตนให้ถึงพร้อมสมบูรณ์ในช่วงชีวิตได้อย่างไร และจากการศึกษาชุมชนชาวไทใหญ่ ณ บ้านกองมู จ. แม่ฮ่องสอน Eberhardt ก็ค้นพบว่าทฤษฎีการพัฒนาตัวตนของคนไทใหญ่นั้นวางอยู่บนความเชื่อเรื่องขวัญ ผี และพุทธศาสนาแบบเถรวาทที่สัมพันธ์กับชีวิตของชาวไทใหญ่ในแต่ละช่วงของชีวิต การศึกษานี้ใช้วิธีการทางมานุษยวิทยาโดยการลงภาคสนามอย่างเข้มข้นและนำมาสู่ข้อถกเถียงเรื่องการศึกษาการพัฒนาของตัวตนให้สมบูรณ์ของมนุษย์ (human development) ในช่วงชีวิต (course of life) รวมทั้งนำเอางานงานภาคสนามในเชิงของจิต-มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา รวมถึงอธิบายกระบวนการพัฒนาตัวตนของบุคคลตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บและตาย ของคนไทใหญ่นั้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีจิตวิทยาแบบตะวันตกที่มองว่าการพัฒนาตัวตนและชีวิตของบุคคล แต่การอธิบายดังกล่าวต้องวางอยู่ที่บริบทของพื้นที่ โดย Eberhardt ศึกษาพัฒนาการชีวิต และการมองโลกของชาวไทใหญ่ผ่านพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของชีวิตมนุษย์ในช่วงเวลาต่างผ่านความเชื่อเรื่องขวัญ ผี คน และพุทธศาสนา |
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์: อะไรที่น่าเศร้ากว่าคำถามหกข้อ? Posted: 14 Nov 2017 06:58 AM PST
คําถามรอบที่สองของนายกรัฐมนตรีต่อประชาชน คงจะยังเป็นประเด็นในสังคมอยู่ หลังจากที่เห็นการออกมาแสดงความคิดเห็นมากมายของนักวิชาการที่ออกมาแสดงความแคลงใจต่อเจตจำนงของนายกรัฐมนตรีและระบอบ คสช.ว่าจะอยู่ในอำนาจอีกนานแค่ไหน หลังจากได้เห็นคำถามเหล่านี้ นี่คือคำถามชุดที่สองที่นายกรัฐมนตรีทั้งในฐานะหัวหน้าคณะรัฐบาล และหัวหน้าคณะรัฐประหาร (คสช.) ถามต่อประชาชนรอบ 6 เดือน เพื่อไม่ให้ลืมเลือนไป ขอนำเอาคำถามทั้งหมดมาใส่ไว้ในนี้อีกรอบหนึ่ง (1) ท่านคิดว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไป จะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่ (2) หากไม่ได้ จะทำอย่างไร (3) การเลือกตั้งเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย แต่การเลือกตั้งอย่างเดียวที่ไม่คำนึงถึงอนาคตของประเทศ และเรื่องอื่นๆ เช่น ประเทศชาติจะมียุทธศาสตร์และการปฏิรูปหรือไม่นั้น ถูกต้อง หรือไม่ถูกต้อง (4) ท่านคิดว่า กลุ่มนักการเมืองที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในทุกกรณี ควรจะมีโอกาสเข้ามาสู่การเลือกตั้งอีกหรือไม่ หากเข้ามาได้อีก เกิดปัญหาอีก แล้วจะให้ใครแก้ไข และแก้ไขด้วยวิธีอะไร (โพสต์ทูเดย์ 26/5/60) และหกคำถามใหม่ (1) วันนี้เราจำเป็นต้องมีพรรคการเมืองใหม่ๆ หรือนักการเมืองหน้าใหม่ๆ ที่มีคุณภาพให้ประชาชนได้พิจารณาในการเลือกตั้งครั้งต่อไปหรือไม่? การที่มีแต่พรรคการเมืองเดิม นักการเมืองหน้าเดิมๆ แล้วได้เป็นรัฐบาล จะทำให้ประเทศชาติเกิดการปฏิรูป และทำงานอย่างต่อเนื่องตามยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่? (2) การที่ คสช.จะสนับสนุนพรรคการเมืองใด ก็ถือเป็นสิทธิของ คสช.ใช่หรือไม่ เพราะนายกฯ ก็ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอยู่แล้ว (3) สิ่งที่ คสช.และรัฐบาลนี้ได้ดำเนินการไปในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ประชาชนมองเห็นอนาคตที่ดีของประเทศชาติบ้างหรือไม่ (4) การเอาแนวทางจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอดีต มาเปรียบเทียบกับการจัดตั้งรัฐบาลในวันนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องทั้งหมดหรือไม่? เพราะสถานการณ์บ้านเมืองก่อนหน้าที่ คสช.และรัฐบาลนี้จะเข้ามา เราได้พบเห็นแต่ความขัดแย้ง ความรุนแรง การแบ่งแยกประเทศเป็นกลุ่มๆ เพื่อมาสนับสนุนทางการเมืองใช่หรือไม่? (5) รัฐบาลและการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยที่ผ่านมาของไทย ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาล และมีการพัฒนาประเทศที่มีความต่อเนื่อง ชัดเจนเพียงพอหรือไม่? (6) ข้อสังเกตเพื่อพิจารณา เหตุใดพรรคการเมือง นักการเมืองจึงออกมาเคลื่อนไหว คอยด่า คสช., รัฐบาล, นายกรัฐมนตรี บิดเบือนข้อเท็จจริงในการทำงานในช่วงนี้อย่างมากผิดปกติ ฝากถามพี่น้องประชาชนว่าเป็นเพราะอะไร (BBC ไทย 8/10/60) เมื่อเห็นคำถามชุดใหม่ของระบอบรัฐประหารที่ครองอำนาจเข้าปีที่สี่ และไม่มีความชัดเจนเรื่องวันและกระบวนการเลือกตั้งมากกว่าแค่ว่า ประมาณปีหน้า หรืออาจจะเลื่อนออกไป แถมยังไม่ปลดล็อกพรรคการเมือง (แต่มีข่าวว่าเริ่มมีกลุ่มบางกลุ่มกำลังก่อตั้งและเริ่มทำกิจกรรมทางการเมืองในหลายๆ ที่โดยอ้างความเกี่ยวพันกับ คสช.) แถมยังไม่มีการปลดล็อกการให้เสรีภาพทางการเมืองและการเคลื่อนไหวทางการเมือง ก็คงไม่แปลกใจที่มีนักวิชาการหลายค่ายทั้งที่จะเห็นหรือไม่เห็นตรงกันในหลายเรื่องที่ผ่านมา ฟันธงร่วมกันว่า สงสัยจะอยากอยู่ต่อ เรื่องแรกที่จะขอให้ความเห็นก็คือ รูปแบบการตั้งคำถามแบบนี้ เพราะคำถามแบบนี้ที่ตั้งโดยนายกฯ และระบอบรัฐประหารน่าจะถูกเรียกในทางภาษาศาสตร์ว่า Rhetorical Question หรือที่เข้าใจกันว่า มันคือคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ หรือในสื่อโซเชียลจะค้นคำนี้ เขาอธิบายว่า เป็นคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ คือพูดลอยๆ ไปอย่างนั้น ตัวอย่างของคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ หรือพูดลอยๆ หรือมันมีคำตอบอยู่แล้ว จะเสียเวลาตอบไปทำไม จงก้มหน้ารับกรรมต่อไป ตามที่ในเน็ตเขากล่าวๆ ไว้ ขออนุญาตไม่อ้างอิงนะครับ กลัวเขาเดือดร้อน แต่ดูอ้างอิงจากกูเกิลก็จะเจอทันที) ได้แก่การที่เจ้านายถามว่า
อ่านดีๆ อีกสักรอบจะพบว่า นี่อาจเป็นหนึ่งในสถานการณ์ที่พวกเราเคยเจอ คือ การพูดลอยๆ หรือตำหนิ หรือโทษพวกเรา หรือโทษเหยื่อ – blaiming the victims (เช่นเหยื่อที่ถูกละเมิดทางเพศ อาจโดนถามว่า ทำไมใส่ชุดที่ดูยั่วยวนขนาดนั้น ทั้งที่สิ่งนั้นไม่ใช่คำถาม ไม่ควรถาม และคนที่ละเมิดทางเพศไม่ควรจะมีสิทธิในการทำตั้งแต่แรก) คำถามแบบหนึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งคำถามที่ต้องการคำตอบจริงๆ หรือคำถามลอยๆ ที่ไม่ได้ต้องการคำตอบ แต่ต้องการตำหนิ หรือสื่อสารไปในทางอื่น ส่วนหนึ่งที่เราจะประเมินว่าคำถามนั้นเป็นแบบไหน ก็คือบริบทของการถามคำถามนั้น และความจริงใจในการถามคำถามนั้น และถ้าทั้งบริบทและความจริงใจในการถามคำถามนั้นยังไม่พอ ก็คงต้องดูเรื่องของกระบวนการได้มาซึ่งการประมวลผลคำตอบ เท่าที่ผ่านมาจะพบว่า คำถามสี่คำถามแรกนั้นยังไม่มีการประมวลคำตอบออกมาอย่างเป็นระบบด้วยซ้ำ สิ่งที่ต้องสงสัยต่อไป ก็คือ หกคำถามหลังนี้จะมีการประมวลคำตอบออกมาอย่างไร ในการออกแบบคำถามในการวิจัยนั้น การตั้งคำถามที่ชัดเจนไม่คลุมเครือก็เป็นเรื่องสำคัญ คำถามทั้งหกมีลักษณะเป็นคำถามที่ชี้นำ ซึ่งสุ่มเสี่ยงที่จะกลายเป็นคำถามลอยๆ มากกว่าคำถามที่ต้องการคำตอบจริงๆ ไม่นับว่าบรรยากาศของการตั้งคำถามนั้นไม่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเคลื่อนไหวทางการเมืองถามว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเทียบเคียงกับปรากฏการณ์อะไรในอดีตได้ไหม คำตอบก็คือ เทียบเคียงได้กับการที่พลเอก สุจินดา คราประยูร สมัยเป็นแกนนำ จปร.ห้า และผู้บัญชาการทหารบก สมัยเรืองอำนาจเคยตอบคำถามติดตลกกับผู้สื่อข่าวท่ามกลางกระแสข่าวลือรัฐประหารว่า ถ้าอยากให้กองทัพแทรกแซงทางการเมืองโดยรัฐประหาร ก็ให้เขียนไปรษณียบัตรส่งมา ครบแสนฉบับแล้วจะพิจารณา ยังดีที่พลเอกสุจินดาถามแค่อยากให้ทำหรือไม่อยากให้ทำ แต่คำถามอันแสนวกวน แถมมาด้วยทัศนคติของตัวเองมากมายมหาศาล คำถามแบบนี้ในทางวิชาการทางรัฐศาสตร์เขาไม่ถามกัน เป็นคำถามมติมหาชน นอกจากเขาไม่ถาม มันยังเป็นคำถามที่ถามไม่ได้ เพราะมันโชว์วิสัยทัศน์ของผู้ถามครับว่า… (เติมคำในช่องว่างเอาเองนะครับ หรือจะมองว่านี่คือ Rhetorical Answer ก็ลองดู)
(1) วันนี้เราจำเป็นต้องมีพรรคการเมืองใหม่ๆ หรือนักการเมืองหน้าใหม่ๆ ที่มีคุณภาพให้ประชาชนได้พิจารณาในการเลือกตั้งครั้งต่อไปหรือไม่? การที่มีแต่พรรคการเมืองเดิม นักการเมืองหน้าเดิมๆ แล้วได้เป็นรัฐบาล จะทำให้ประเทศชาติเกิดการปฏิรูป และทำงานอย่างต่อเนื่องตามยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่? แทนที่จะตอบ แต่ถามใหม่ตามสไตล์เดียวกับ "คำถามพ่วง" ตอนลงประชามติเมื่อปีที่แล้วก็จะกลายเป็นว่า ท่านเห็นชอบ/เห็นด้วยหรือไม่ กับคำถามที่สะท้อนถึงทัศนคติของนายกรัฐมนตรีซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐประหาร (คสช.) ที่ว่า วันนี้เราจำเป็นต้องมีพรรคการเมืองใหม่ๆ หรือนักการเมืองหน้าใหม่ๆ ที่มีคุณภาพให้ประชาชนได้พิจารณาในการเลือกตั้งครั้งต่อไปหรือไม่? การที่มีแต่พรรคการเมืองเดิม นักการเมืองหน้าเดิมๆ แล้วได้เป็นรัฐบาล จะทำให้ประเทศชาติเกิดการปฏิรูป และทำงานอย่างต่อเนื่องตามยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่? อันนี้จึงเป็นคำถามที่ง่ายกว่าในการตอบ นั่นคือแทนที่จะต้องบอกว่าเราคิดอย่างไร ก็ให้เป็นการยืนยันว่าเห็นด้วยหรือไม่กับคำถามของนายกฯ และ คสช. (หัวหน้ารัฐบาลและหัวหน้าคณะรัฐประหาร) เพราะลึกๆ คำถามรอบนี้เป็นลักษณะของคำถามที่ไม่ได้ต้องการคำตอบอะไรมากกว่า "ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับคำถาม/ทรรศนะของ คสช.เหล่านี้" ความซับซ้อนยอกย้อนในการตั้งคำถามสาธารณะที่ไม่ได้ต้องการคำตอบอะไรจริงจังมากกว่าการต้องการให้เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับคำถามมากกว่านี้ อาจจะลองย้อนกลับมาดูว่าในการลงประชามตินั้น คำถามพ่วงก็ซับซ้อนเช่นนี้
ซึ่งคำถามแบบนี้มันโยงตรรกะว่า การที่สภาสองสภา คือสภาหนึ่งแต่งตั้งจาก คสช.ร่วมกันเลือกนายกฯ นายกฯ ที่ิอาจไม่ได้มาจากเสียงข้างมากของประชาชนจะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ มิพักต้องกล่าวว่า ในการเขียนแบบนี้นอกจากอาจมีนัยยะว่านายกฯ คนนอกนั้นอาจมาจากเสียงข้างน้อยจากการเลือกตั้งบวกกับเสียงสนับสนุนจากคนของ คสช.ที่เลือกเข้าไปในวุฒิสภาแล้ว ยังอาจแปลได้ว่าการปฏิรูปประเทศและแผนยุทธศาสตร์ชาติมีความสำคัญกว่าเจตจำนงของประชาชนผ่านการเลือกตั้ง จะเห็นว่าคำถามที่เต็มไปด้วยคำอธิบายมากมายเช่นนี้โดยไม่เปิดให้มีข้อถกเถียงทางสังคมอย่างเสรี นำมาซึ่งความสับสนมากมายในการเข้าใจคำถาม และในการได้คำตอบที่ตรงประเด็นจริงๆ เรื่องที่น่ากังวลจึงไม่ใช่คำตอบของประชาชน แต่เป็นคำตอบในใจของรัฐบาล/คสช.มากกว่า เพราะคำถามที่สับสนและชี้นำแบบนี้ทำให้ประชาชนเกิดคำถามว่า "ตกลงคนถามมีอะไรในใจ" หรือคำถามแบบนี้เป็นคำถามลอยๆ ไม่ใช่คำถามที่ต้องการคำตอบ และถ้าไม่ต้องการคำตอบแล้วต้องการอะไร เช่นต้องการอยู่ต่อเหมือนที่วิจารณ์กันมากมายตามหน้าสื่อ หรือต้องการคำตอบว่าจะหาทางลงจากอำนาจอย่างไร หรือจริงๆ แล้วคนตั้งคำถามต้องการบอกว่าเขาคิดอย่างไร แล้วก็ฟังไว้นะว่าฉันจะคิดแบบนี้ ดังนั้นถ้าคิดต่างจากนี้ก็ให้เข้าใจแล้วกันว่าจะอยู่กับระบอบที่คนถามคำถามแบบนี้อยู่ในอำนาจและคิดแบบนี้ประกาศแบบนี้อย่างไร สุดท้าย สิ่งที่น่าจะยืนยันได้ว่าคำถามเหล่านี้เป็นแค่คำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ แต่เป็นคำถามที่ต้องการบอกว่าฉันในนามของคนที่อยู่ในอำนาจคิดอย่างไร ก็คือทั้งรอบที่แล้วและรอบนี้ไม่มีการอธิบายว่าจะมีการประมวลคำตอบจากคำถามปลายเปิด แบบนี้อย่างไร (สมมุติว่าคำถามเป็นคำถามจริง) ระบบราชการโดยศูนย์ดำรงธรรมจะสรุปคำตอบอย่างไร เช่นจะนับคำสำคัญ หรือจะใช้วิธีประมวลผลอย่างไร เพราะคำตอบไม่ใช่แค่ใช่หรือไม่ใช่ และจะทำอย่างไรให้ผู้มีอำนาจได้ยินเสียงจริงๆ จากประชาชน จากข่าวพบว่า ปลัดกระทรวงมหาดไทยทำหนังสือด่วนให้จังหวัดสรุปการตอบแบบสอบถามและการแสดงความคิดเห็นรายงานให้ปลัดกระทรวงทราบทุกสิบวัน (มติชน 11/11/60) คำถามคือความคิดเห็นเหล่านั้นจะถูกคัดกรองอย่างไร และนำเสนออย่างไรให้ผู้มีอำนาจเข้าใจ ขณะที่สื่อต่างๆ ก็ไม่มีเสรีภาพ หรือถูกลากไปเป็นพวกในแม่น้ำหลายสาย และสื่อออนไลน์ก็ถูกติดตามและตีกรอบด้วย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เข้าไปอีก ในระบอบประชาธิปไตยเสรีนั้น เสียงทุกฝ่ายจะถูกได้ยินก่อนที่จะมีการตัดสินใจ และในระบอบประชาธิปไตยเสรีที่มีคุณภาพด้วยนั้น เสียงที่แตกต่างกันจะมีที่ทางในการต่อรองในการถกเถียงอภิปรายกันด้วย น่าเศร้าเหลือเกินครับที่เราไม่มีสิ่งนั้นในวันนี้ …
หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกใน www.matichon.co.th
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
‘ตูน’ กับ ‘ไผ่’ ในวัฒนธรรมความดีแบบไทย Posted: 14 Nov 2017 06:41 AM PST
เห็นปรากฏการณ์ "ตูน บอดี้แสลม" ออกวิ่งในโครงการ "ก้าวคนละก้าว เพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ" จากใต้สุด อ.เบตง ยะลา สู่เหนือสุด อ.แม่สาย เชียงรายได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากผู้คนจำนวนมากและจากการนำเสนอข่าวทุกวันจากสื่อทุกแขนงแล้ว ทำให้ผมนึกถึง "ไผ่ ดาวดิน" ที่ผมไม่แน่ใจว่าจะมีผู้คนในสังคมนี้สักกี่คนที่ยังนึกถึงเขาอยู่
หลายคนอาจถามว่า เรื่องของ "ตูน" เป็นเรื่องจิตอาสาเพื่อสาธารณกุศล ไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่เรื่องของ "ไผ่" เป็นเรื่องต่อสู้ทางการเมือง มันคนละเรื่องไม่มีอะไรเกี่ยวกันเลย ทำไมผมนำมาโยงกัน ใช่ครับสองเรื่องเป็นคนละปรากฏการณ์ คนละเป้าหมาย ไม่ใช่กิจกรรมที่มีความสัมพันธ์ใดๆ ต่อกัน แต่ก็มีลักษณะเหมือนกันอยู่คือเป็น "เรื่องสาธารณะ" เช่นกัน ประเด็นที่น่าวิเคราะห์คือสื่อและสังคมให้ความสนใจหรือให้ความสำคัญกับสองเรื่องนี้อย่างไร ส่วนที่ว่าเรื่องของตูนไม่ใช่เรื่องการเมืองนั้น ก็อยู่ที่ว่าเราพูดถึง "การเมือง" ในความหมายกว้างหรือแคบ เพราะในโลกสมัยใหม่ที่รัฐมีอำนาจกำกับชีวิตของปัจเจกบุคคลแทบทุกมิติ "เรื่องส่วนตัวก็เป็นเรื่องการเมือง" เช่นเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัว ย่อมเป็นเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการต่อรอง หรือโน้มน้าวในทางการเมืองว่า เราจะมีกฎหมายคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวในการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตและสิทธิความเป็นส่วนตัวด้านอื่นๆ อย่างไร เป็นต้น เรื่องกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะของตูน แม้แสดงถึงความเสียสละของตูนและบรรดาประชาชนที่ร่วมบริจาคช่วยเหลือโรงพยาบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรชื่นชม แต่ก็ย่อม "สื่อสาร" ในทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญอย่างน้อยสองประการ เช่น สื่อสารให้เห็นปัญหาด้านงบประมาณของโรงพยาบาล การบริหารงบประมาณที่ได้รับจากรัฐ งบฯ บริจาค ปัญหาระบบประกันสุขภาพ ที่จำเป็นต้องวางระบบการแก้ไขในระยะยาว และสื่อสารคำถามว่า หากงบประมาณเพื่อประกันสุขภาพไม่เพียงพอ เหตุใดรัฐบาล คสช.จึงทุ่มงบประมาณมหาศาลไปกับการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์กว่า 7 หมื่นล้าน ดังที่ตั้งคำถามกันแซดในโลกโซเชียล
ที่น่าสนใจคือ เหตุใดเรื่องของตูนกับไผ่ที่เป็น "เรื่องสาธารณะ" เช่นกัน แต่กระแสสังคมที่แสดงออกถึงการยอมรับ ชื่นชม และสนับสนุน กลับต่างกันราวฟ้ากับเหว แน่นอนว่า เรื่องของไผ่เป็นเรื่องซับซ้อนกว่ามาก เพราะเป็นการต่อสู้ทางการเมืองที่ย่อมมีฝ่ายเห็นด้วยและเห็นต่าง และฝ่ายที่เห็นด้วยก็ไม่สามารถแสดงออกในรูปของการเคลื่อนไหวทางการเมืองถึงการยอมรับ สนับสนุนได้อย่างเต็มที่ เพราะไม่มีเสรีภาพทางการเมือง ขณะที่เรื่องของตูนแทบจะไม่มีเงื่อนไขทำนองนี้ แต่กระแสตอบรับและสนับสนุนที่ต่างกันชัดเจนขนาดนั้น ย่อมสะท้อนทัศนะพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องความดี ความเสียสละเพื่อส่วนรวมของสังคมไทยที่น่าขบคิด นั่นคือ บางคนมองว่าการทำความดี เสียสละแบบตูนคล้ายๆ กับ "ผ้าป่าช่วยชาติ" ที่มีลักษณะสำคัญคือ มีผู้นำการเสียสละที่ต้องเป็นผู้มีบารมีสูง มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับของผู้คนทุกชนชั้นในสังคม การเกิดขึ้นของผู้มีบารมีที่สามารถนำหรือรวมจิตใจของผู้คนจำนวนมากในสังคมให้ร่วมเสียสละช่วยชาติได้ ย่อมไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ฉะนั้นปรากฏการณ์ของการทำดีเพื่อชาติเช่นนี้ จึงสอดคล้องกับวัฒนธรรมความเชื่อของสังคมไทย ที่เรียกว่า "พระมาโปรด" ซึ่งสะท้อนว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่ในวัฒนธรรมความดีแบบพระมาโปรด คำพูดที่ว่า "กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี" ย่อมหมายความว่า สักวันหนึ่งสังคมเราจะมี "คนดี" มาโปรด หรือเป็นผู้นำกูวิกฤตชาติบ้านเมืองเสมอ ไม่ว่าจะกู้วิกฤตในความหมายที่ได้คนดีมาเป็นผู้ปกครอง หรือในแบบผู้เสียสละอย่างตูน เป็นต้น ถามว่าการกระทำของไผ่เป็นการ "เสียสละ" หรือไม่ ผมคิดว่าคำตอบของไผ่ตามภาพข้างล่างนี้ ย่อมไม่ใช่เรื่องเกินจริง
แต่ดูเหมือนว่าการเสียสละแบบไผ่ ไม่มีความหมายเป็น "ความดี" ในวัฒนธรรมความดีแบบพระมาโปรด หากแต่กลายเป็น "ความแปลกแยก" จากวัฒนธรรมดังกล่าว ความดีแบบพระมาโปรดถูกถือว่าเป็นเรื่องเพื่อส่วนรวม เพื่อชาติ แต่การเสียสละแบบไผ่กลายเป็นเรื่องลักษณะนิสัยส่วนตัวที่หัวดื้อ หัวรุนแรง แกว่งเท้าหาเสี้ยน สร้างความแตกแยก ไม่รักชาติบ้านเมือง นี่คือลักษณะเฉพาะของไทยแลนด์โอนลี่ใช่ไหม ก็น่าจะใช่ในปัจจุบัน แต่ลักษณะเช่นนี้ก็มีในสังคมอื่นๆ เช่นกัน เมื่อเราดูหนังเรื่อง "Suffragette – หัวใจเธอสยบโลก" ซึ่งเป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อสิทธิเลือกตั้งของสตรีในประเทศอังกฤษช่วงปี 1900 ต้นๆ ที่นำโดยเอมเมอลีน แพงก์เฮิร์สต์ นักเรียกร้องสิทธิสตรี การต่อสู้ของผู้หญิงเหล่านั้นต้องเผชิญกับคำปรามาสว่า ธรรมชาติของสมองผู้หญิงไม่อาจรักษาความสมดุล (ระหว่างเหตุผลกับอารมณ์) จึงไม่สามารถจะมีวิจารณญาณในการใช้สิทธิเลือกตั้ง หากยอมให้ผู้หญิงโหวตโครงสร้างสังคมจะพังทลายลง สังคมภายใต้วัฒนธรรมผู้ชายมีสิทธิเหนือกว่าทุกด้านมองผู้หญิงที่ออกมาต่อสู้ว่าเป็น "ตัวประหลาด" ผู้หญิงบางคนถูกสามีซ้อม ถูกไล่ออกจากบ้าน ถูกสถานการณ์บังคับให้ต้องประท้วงอำนาจของผู้ชายทั้งด้วยวิธีรุนแรงและสันติวิธี จนนำไปสู่การสละชีวิตและถูกจับติดคุกกว่าพันคน จึงทำให้รัฐสภาอังกฤษแก้กฎหมายให้ผู้หญิงมีสิทธิเลือกตั้งได้ในปี 1918 ส่งผลให้ประเทศต่างๆ ในยุโรปและสหรัฐต่างทยอยให้สิทธิเลือกตั้งแก่สตรีในเวลาต่อมา ผมไม่ได้สรุปว่า สังคมไทยปัจจุบันอยู่ในยุคเดียวกับอังกฤษเมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว อย่างน้อยผู้หญิงไทยก็มีสิทธิเลือกตั้งหรือมีสิทธิเท่าเทียมกับชายมากขึ้นแล้ว เพียงแต่ตอนนี้เราต่างตกอยู่ในสภาพบังคับให้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหญิงและชาย แต่ปัญหาคือคนที่เสียสละต่อสู้เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตยยังคงไม่ถูกนับว่าเป็น "คนดี" ที่ควรยอมรับและสนับสนุนภายใต้วัฒนธรรมความดีแบบไทย คนแบบไผ่ ดาวดิน จึงยังคงเป็นตัวประหลาดในสังคมไทยปัจจุบัน เรื่องราวในชีวิตจริงของหลายคนที่ออกมาต่อสู้เพื่อเสรีภาพ และประชาธิปไตยจึงไม่ต่างอะไรกับเรื่องราวในหนังที่ผมกล่าวถึง คือชีวิตครอบครัวพัง งานพัง และเผชิญปัญหาเพียงลำพัง เสมือนว่าพวกเขาไม่ได้กำลังเสียสละในเรื่องสาธารณะที่ควรถูกยอมรับนับถือ เฉกเช่นตูนหรือยิ่งกว่า แสดงให้เห็นว่าไทยแลนด์โอนลี่ ก็ไม่ต่างจากสังคมอื่นๆ ในโลก เพราะเป็นสังคมที่ต้องผ่านประวัติศาสตร์การสร้างตัวประหลาด และตัวประหลาดก็หนีไม่พ้นจากการถูกกำหนดให้มีราคาที่ต้องจ่ายเพื่อแลกกับเสรีภาพและประชาธิปไตย ดังที่แพงก์เฮิร์สต์กล่าวว่า "ฉันยอมเป็นกบฏดีกว่าเป็นทาส" เราไม่รู้หรอกว่าเมื่อไรเราจะชนะ รู้แต่ว่าจะชนะ เพราะในสังคมที่ปิดกั้นการสื่อสารไม่ได้ แต่ยังมีความพยายามใช้อำนาจให้ประชาชนทำตัวเป็น "กบในกะลา" ย่อมจะมีกบฏความคิดเกิดขึ้นทุกๆ วัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'กกต. สมชัย' โต้ 'มีชัย' อธิบายเกินกฎหมาย ปมให้ผู้ตรวจฯจัดเลือกตั้งท้องถิ่น Posted: 14 Nov 2017 05:06 AM PST สมชัย ย้ำหากเลือกตั้งท้องถิ่นก่อนระดับชาติ ต้องแก้กฎหมายตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้ง ชี้เลือกตั้งท้องถิ่นมีร้องเรียนเหตุมาก อาจกระทบเลือกตั้ง ส.ส.-ส.ว. ขณะที่ 'มีชัย' ชี้ต้องแก้กฎหมาย 6 ฉบับก่อนเลือกตั้งท้องถิ่น แฟ้มภาพ เว็บไซต์ กกต.
14 พ.ย.2560 ความคืบหน้ากรณีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เตรียมปลดล็อคให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น ล่าสุดรายงานข่าวระบุว่า สมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) กล่าวถึงกรณีที่ มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) บอกว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นแม้ไม่มี กกต.จังหวัด แต่ กกต.สามารถใช้กลไกผู้ตรวจการเลือกตั้ง มาทำหน้าที่สนับสนุนได้ นั้น เป็นการอธิบายที่เกินกฎมาย เพราะใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย กกต. มาตรา 28 ระบุว่า การเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.แต่ละครั้ง ให้ กกต.จัดให้มีผู้ตรวจการการเลือกตั้ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างเวลาที่มีการดำเนินการเลือกตั้ง หากจะให้มีผู้ตรวจการเลือกตั้งในการเลือกตั้งท้องถิ่น ต้องมีการออกกฎหมายรองรับ มิฉะนั้นไม่สามารถตั้งงบประมาณในการดำเนินการได้ เตือนไว้ก่อนว่าบรรดาการเลือกตั้งทุกประเภทที่ กกต.รับผิดชอบ การเลือกตั้งท้องถิ่น เป็นการเลือกตั้งที่มีจำนวนเรื่องร้องเรียนสูงสุด มีอัตราการซื้อเสียงสูงสุด รูปแบบการซื้อเสียงและทุจริตการเลือกตั้งมีความหลากหลายและพลิกแพลงสูงสุด แข่งขันกันในพื้นที่ค่อนข้างรุนแรง การกำกับให้เกิดการเลือกตั้งที่สุจริตเที่ยงธรรม ไม่ใช่เรื่องทำได้ง่าย จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ สมชัย ระบุว่า หากจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นก่อนการเลือกตั้งใหญ่ อาจเป็นภาระของ กกต.ชุดใหม่ ที่ต้องจมตัวลงไปในคดีความ และข้อร้องเรียนต่างๆ จำนวนมาก อาจกระทบต่อประสิทธิภาพการจัดการสรรหา ส.ว. และการเลือกตั้ง ส.ส.ที่เป็นคิวถัดไป สมชัย เปิดเผยว่า ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปี 2560 มีจำนวนสมาชิกและผู้บริหารที่ครบวาระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวม 8,410 แห่ง แยกเป็น ปี 2557 ครบวาระ 689 แห่ง ปี 2558 940 แห่ง ปี 2559 3,217 แห่ง และปี 2560 3,564 แห่ง จากจำนวนจริงมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งประเทศ 7,853 แห่ง บางแห่งการครบวาระของสภาและผู้บริหารไม่พร้อมกันจึงนับเป็น 2 แห่ง ทำให้จำนวนรวมเกินกว่าจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 224 (1) ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่และอำนาจ ในการ "จัด" หรือ "ดำเนินการให้มีการจัดการเลือกตั้ง" ทั้งเลือกตั้ง ส.ส. ส.ว. สภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น และการออกเสียงประชามติ สมชัย กล่าวว่า พ.ร.ป.ว่าด้วย กกต. มาตรา 27 วรรคสอง ระบุให้ กกต.มีอำนาจดำเนินการให้ "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" หรือ "หน่วยงานของรัฐ" เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้งภายใต้การควบคุมดูแลของ กกต. ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่งเป็นประเด็นที่ กกต.เห็นว่ากฎหมายลูกขัดกับรัฐธรรมนูญ และมีปัญหาในเรื่องอำนาจหน้าที่ เพราะตัดประเด็นที่ให้ กกต.จัดเองได้ทิ้งไป และ กกต.กำลังจะนำประเด็นดังกล่าวสู่ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย มีชัยชี้ต้องแก้กฎหมาย 6 ฉบับก่อนขณะที่ มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. กล่าวถึงขั้นตอนการดำเนินการปรับแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่นว่า รัฐบาลต้องพิจารณาปรับแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น ทีมีอยู่ 6 ฉบับ ประกอบด้วย กฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง อบต. , เทศบาล , อบจ., พัทยา, กรุงเทพมหานคร และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นการปรับแก้ไขบางมาตราไม่ใช่การร่างกฎหมายใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งรัฐธรรมนูญระบุให้ยึดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครการเลือกตั้งท้องถิ่นเช่นเดียวกับ ส.ส. อีกทั้งกลไกการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งท้องถิ่นนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจึงต้องพิจารณาปรับแก้ไขให้สอดคล้องกัน ทั้งนี้ หากรัฐบาลปรับแก้ไขกฎหมายทั้ง 6 ฉบับแล้ว ก็จะสามารถส่งร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ทันที คาดว่ากระบวนการปรับแก้ไขกฎหมายของ สนช. จะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 1 เดือนและหากประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว คาดว่าจะสามารถจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นได้ ภายในปี 2561 ส่วนกำหนดการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นที่ชัดเจนนั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของรัฐบาล มีชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันที่ 16 พ.ย.นี้ กรธ. กับ รัฐบาล กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะมีการหารือปรับแก้กฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฉบับเดิมระหว่าง ซึ่งแนวทางการปรับแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่นนั้น คณะกรรมการพัฒนากฎหมายชุดที่มี บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ได้ดำเนินการเรื่องนี้ไปบ้างแล้ว แต่ที่ผ่านมายังไม่ได้ถูกหยิบขึ้นมาดำเนินการ ซึ่ง กรธ. จะนำเสนอเรื่องนี้ให้รัฐบาล พิจารณาต่อไป
ที่มา เว็บไซต์วิทยุรัฐสภาฯ สำนักข่าวไทย และไทยรัฐออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เครือข่ายฯปฏิรูปสลาก ร้อง 'ประยุทธ์' ใช้ยาแรงแก้สลากแพง พบ 89.9% ขายเกินราคา Posted: 14 Nov 2017 03:17 AM PST เครือข่ายฯปฏิรูปสลาก ร้อง ประยุทธ์ ใช้ยาแรงแก้ปัญหาสลากแพงเกลื่อนเมือง สำรวจพบ 89.9% ขายเกินราคา เฉลี่ยใบละ 130 บาท เชียร์สาวให้ถึงต้นตอ ฟันกลไกเอื้อพ่อค้าคนกลาง ต้นเหตุปัญหา 14 พ.ย. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (14พ.ย.60) เวลา10.00น. ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล ราเมศร ศรีทับทิม ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนปฏิรูปสลากฯ พร้อมด้วย ณัฐพงศ์ สำเภาแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายเด็กรุ่นใหม่ไม่พนัน นำกลุ่มนักเรียน นักศึกษาจากหลายสถาบัน กว่า30คน เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อให้รัฐบาลออกมาตรการที่เด็ดขาดในการแก้ปัญหาสลากแพง ภายหลังผลสำรวจ พบว่า มีผู้ค้าขายสลากเกินราคาที่กฎหมายกำหนดจำนวนมาก ทั้งนี้กลุ่มเยาวชนได้แสดงกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ "แพะรับบาป" เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงต้นตอปัญหาของสลากแพง ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนปฏิรูปสลากฯ กล่าวว่า จากกรณีการจับกุมกลุ่มพ่อค้า แม่ค้าที่จำหน่ายสลากฯเกินราคา กว่า60ราย บางรายยอมรับว่า รับสลากมาในราคาสูงกว่า80บาทจริง ซึ่งรับมาเป็นเล่มในราคาเฉลี่ยใบละ82-85 บาท แล้วแต่จังหวะงวดนั้นๆจึงจำเป็นต้องขายใบละ90-100 บาท นอกจากนี้ เครือข่ายเด็กรุ่นใหม่ไม่พนัน และเครือข่ายประชาชนปฏิรูปสลาก ยังได้ลงพื้นที่สำรวจการขายสลากในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ระหว่างวันที่4–12พ.ย.ใน 28 พื้นที่ ได้แก่ สี่แยกคอกวัว ตลาดมีนบุรี ตลาดบางใหญ่ ตลาดรังสิต ตลาดนัดสวนจตุจักร ปากเกร็ด นนทบุรี บางกะปิ บางนา ปิ่นเกล้า เป็นต้น พบ ผู้ขายสลากทั้งหมด328ราย มีทั้งเร่ขายและแผงประจำ โดยพบว่ามีการขายเกินราคาจำนวน 295 ราย คิดเป็น 89.9%จากจำนวนทั้งหมด และยังพบสลากใบเดี่ยวราคาแพงสุดอยู่ที่ใบละ130บาท ส่วนการรวมชุดแพงสุด คือ ชุด15 ใบ ราคา2,500บาท เฉลี่ยราคาใบละ167บาท สลากที่ขายเกินราคาส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบการรวมชุด เกือบทุกร้านมีป้ายราคาขาย80บาท แต่ขายจริงกลับขายเกินราคาทั้งเร่ขายและแผงประจำ "จากการลงพื้นที่และพูดคุยกับกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าสลาก พบว่า สาเหตุของการขายสลากแพงนั้น บางรายอ้างว่าไม่ได้รับโควต้าการจองสลาก ไม่มีเงินคงเหลือในบัญชีมากพอตามหลักเกณฑ์ที่จะสามารถซื้อ หรือ จองสลากล่วงหน้าผ่านระบบธนาคาร จึงต้องรับสลากจากพ่อค้าคนกลาง ซึ่งมีทั้งสลากใบ และสลากรวมชุดในราคาที่แพงกว่ากฎหมายกำหนด บางรายอ้างว่ารับมาใบละ85บาท กลุ่มผู้ค้าสลากยังบอกด้วยว่าระยะเวลาในการขายมีน้อย อีกทั้งไม่มีการรับซื้อสลากคืน ผู้ขายต้องแบกรับภาระสลากที่ขายไม่หมดไว้เอง จึงต้องบวกราคาเพิ่มเพื่อถัวเฉลี่ยกับสลากที่ขายไม่ได้ ซึ่งเครือข่ายฯแปลกใจมากว่า สำนักงานสลากฯออกมาระบุไม่พบการขายสลากเกินราคานั้น อยากทราบว่า ไปสำรวจจุดไหน และเป็นไปได้อย่างไร" ราเมศร กล่าว ณัฐพงศ์ สำเภาแก้ว ผู้ประสานงานเครือข่ายเด็กรุ่นใหม่ไม่พนัน กล่าวว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้น เครือข่ายเด็กรุ่นใหม่ไม่พนัน และเครือข่ายประชาชนปฏิรูปสลาก ขอแสดงจุดยืนและมีข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำไปพิจารณา ดังนี้ 1.เครือข่ายฯ ขอให้กำลังใจรัฐบาลในการเดินหน้าแก้ไขปัญหาสลากเกินราคา ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมายาวนาน และยังไม่มีรัฐบาลใดแก้ไขได้ ทั้งที่เป็นสินค้าของรัฐบาล ที่สำคัญปัญหานี้สะท้อนเรื่องการยอมรับค่านิยมการโกง หากปล่อยไว้จะเป็นเชื้อร้ายฝังรากลึกในสังคม ทำให้เด็กและเยาวชนยอมรับการโกงว่าเป็นเรื่องปกติซึ่งอันตรายยิ่ง 2.ขอให้พิจารณามาตรการขั้นสูงสุด แก้ปัญหาให้เบ็ดเสร็จ ในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ของรัฐบาล ปิดทางพ่อค้าคนกลางและระบบที่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มคนบางกลุ่มที่เป็นเสือนอนกิน เครือข่ายฯ เชื่อว่าผู้ค้ารายย่อยเป็นเพียงปลายทางของระบบที่ฉ้อฉล เป็นแพะรับบาป ท่ามกลางการกอบโกยของคนบางกลุ่มที่ทรงอิทธิพล 3.ขอเรียกร้องให้ใช้กลไกของภาครัฐในการรณรงค์ให้ประชาชนรักษาสิทธิของผู้บริโภค ไม่สนับสนุนสลากเกินราคาทุกรูปแบบ เพราะเท่ากับการสนับสนุนการโกง ยอมรับการทุจริตคอรัปชั่น และ4.เครือข่ายฯ ขอให้มีการกำหนดบทลงโทษกับกลุ่มคนกลาง พ่อค้าคนกลาง หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้สลากแพงทั้งระบบ รวมถึงการกำหนดมาตรการอื่นๆในการแก้ปัญหาราคาสลากแพง ไว้ให้ชัดเจนในพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ปฏิรูปกลไกบริการสุขภาพเขตเมือง วางร่างแผนยุทธศาสตร์ ดึง ‘สธ.-สปสช.’ เคลื่อน Posted: 14 Nov 2017 02:45 AM PST คมส.จัดทำ "ร่างแผนยุทธศาสตร์ระบบบริการสุขภาพเขตเมือง" ปฏิรูปกลไกบริการสุขภาพ ดึง 'สธ.-สปสช.' ร่วมขับเคลื่อน ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน คมส. (แฟ้มภาพ) 14 พ.ย.2560 รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่ ปิยะสกล ประธาน คมส. เปิดเผยว่า การให้บริการสุขภาพในเขตเมื ประธาน คมส. ระบุด้วยว่า การยกร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ ได้ดึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุ นอกจากนี้ คมส. ยังรับทราบความก้าวหน้าการขั "การขับเคลื่อนเฉพาะพื้นที่นำร่ ประธาน คมส กล่าวอีกว่า คมส. ยังรับทราบความก้าวหน้ามติ "วิกฤตการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้ "เรื่องนี้ยังต้องมีมาตรการเชิ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข และกรรมการ คมส. กล่าวว่า ขณะนี้ อย. กำลังทบทวนการจัดประเภทยา (Reclassification) เพราะปัจจุบันร้านขายยาส่ นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพั
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กระทบโรงงาน ผลผลิตอุตสาหกรรมจีนชะลอตัวเพราะรัฐเข้มงวดมลพิษ Posted: 14 Nov 2017 01:59 AM PST ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมจีนเดือน ต.ค. 2560 ชะลอตัวลง เพราะรัฐเข้มงวดอุตสาหกรรมหนักแก้ปัญหามลพิษ ปิดหลายโรงงานช่วงประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ 14 พ.ย. 2560 เว็บไซต์ Nikkei Asian Review รายงานว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนชะลอตัวเมื่อเดือน ต.ค. 2560 ที่ผ่านมา ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรและยอดขายสินค้าปลีกเติบโตช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจอาจจะชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์จีนพยายามที่จะลดความเสี่ยงจากหนี้สินและปัญหามลพิษ โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวเพียงร้อยละ 6.2 ในเดือน ต. ค. 2560 ลดลงจากร้อยละ 6.3 ในเดือน ต. ค. 2559 และลดลงหลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ในเดือน ก.ย. 2560 ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (NBS) ยังระบุว่าการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรชะลอตัวลงสู่ระดับร้อยละ 7.3 ในช่วงเดือน ม.ค. ต.ค. 2560 ซึ่งก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ประเทศซึงมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากพรรคคอมมิวนิสต์มีการเข้มงวดต่อปัญหาหนี้สินและกฎระเบียบด้านมลพิษซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม การส่งออกของจีนขยายตัวลดลงในเดือน ต.ค. 2560 ขณะที่มีการอ้าง รายงานข่าว ระบุว่า รัฐบาลจีนจะจำกัดการผลิตของโรงงานเหล็กและโรงถลุงแร่หลายแห่งหวังแก้ปัญหามลพิษ อีกทั้งยังปิดโรงงานหลายแห่งในช่วงที่มีการประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เครือข่ายปชช. จี้หยุดเดินหน้าร่างกม.สิ่งแวดล้อม ชี้ยัดคำสั่ง คสช.ในกม.-อีไอเอมีปัญหา Posted: 14 Nov 2017 01:32 AM PST เครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนยื่นหนังสือให้รัฐบาลหยุดเดินหน้าร่างกฎหมายสิ่งแวดล้อม เนื้อหาเกี่ยวกับอีไอเอเอื้อให้เดินหน้าโครงการ นำคำสั่ง คสช. ใส่ไว้ในกฎหมาย ไร้ข้อเสนอภาคประชาชน ต้องเริ่มกระบวนการใหม่ หากไม่หยุด เดินหน้าชุมนุมปักหลักหน้าทำเนียบวันที่ 6 ธันวาคม วันนี้ (14 พฤศจิกายน 2560) เวลา 10.30 น. บริเวณด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้รวมตัวกันอ่านแถลงการณ์เพื่อขอให้รัฐบาลยุติการเดินหน้าร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.... เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้ประสานงานกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา กล่าวว่า ขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ก่อนจะส่งกลับไปยังคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไปตามบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญที่ต้องออกกฎหมายฉบับนี้ภายใน 240 วัน โดยประเด็นสำคัญที่ทางเครือข่ายเห็นว่ามีปัญหามากคือหมวดที่ว่าด้วยการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ "เวลาอีไอเอผ่านก็นำมาซึ่งการก่อสร้างโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ แต่ประชาชนขาดการมีส่วนร่วมมาโดยตลอด เราไม่เคยแม้แต่จะได้อ่านอีไอเอของเรา อีไอเอผ่านแล้วชาวบ้านแต่ละพื้นที่ยังไม่รู้เลยว่าเนื้อหาในอีไอเอคืออะไร มีคณะกรรมการชุดหนึ่งมากำหนดชีวิตพวกเรา พอเกิดผลกระทบก็ไม่แก้ไขปัญหา มาตรการแก้ไขที่เขียนไว้สวยหรูก็ใช้อะไรไม่ได้ ซ้ำยังเอาคำสั่ง คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) ไปใส่ไว้ในกฎหมายที่ระบุให้สามารถหาผู้ดำเนินโครงการก่อนได้เลยโดยไม่ต้องรอทำอีไอเอ" จากนั้นตัวแทนเครือข่ายฯ จึงอ่านแถลงการณ์ โดยเนื้อหาบางส่วนระบุว่า ทางเครือข่ายฯ ได้จัดเวทีวิเคราะห์ปัญหาและข้อเสนอต่อการปฏิรูประบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากทุกภาค และนำเสนอข้อมูลดังกล่าวแก่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถึง 2 ครั้ง แต่กลับไม่มีการนำข้อเสนอของภาคประชาชนไปดำเนินการต่อแต่อย่างใด ดังนั้น ทางเครือข่ายจึงต้องการให้รัฐบาลยุติการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ไว้ก่อน และให้เริ่มกระบวนการขั้นตอนปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านจากประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามหลักการมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 และเป็นกฎหมายที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมและประชาชนอย่างแท้จริง ด้านสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ตัวแทนเครือข่ายจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า เรายืนยันว่าระบบนิเวศอีสานไม่สามารถรองรับโครงการขนาดใหญ่ได้อีกต่อไปแล้ว ผลกระทบจากโครงการโขงชีมูลตั้งแต่ปี 2535 จนบัดนี้ก็ยังไม่มีการแก้ไขปัญหา ถ้ารัฐบาลยังเดินหน้ากฎหมายฉบับนี้ ชาวอีสานก็พร้อมจะเดินหน้าหยุดยั้งต่อไป ขณะที่กัญจน์ ทัตติยกุล ผู้ประสานงานกลุ่มอีอีซี วอทช์ ในฐานะตัวแทนเครือข่ายจากภาคตะวันออก กล่าวว่า "ภาคตะวันออกเป็นภาคที่มีโครงการที่ผ่านอีไอเอจำนวนมากและก็มีมลพิษมากมายในภาคตะวันออก แสดงให้เห็นว่าระบบการทำอีไอเอที่ผ่านมาไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้อง ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ทำให้กระบวนการทำอีไอเอดีขึ้น หนำซ้ำยังแย่ลง เราจึงเรียกร้องให้หยุดกฎหมายไว้ก่อน แล้วทำกฎหมายฉบับใหม่ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชน แล้วทำให้ระบบการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมดีขึ้นจริงๆ" สุภาภรณ์ มาลัยลอย จากมูลนิธิยุติธรรมสิ่งแวดล้อมหรือเอ็นลอว์ กล่าวกับประชาไทว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้นอกจากประเด็นการทำอีไอเอแล้ว ยังมีประเด็นอื่นๆ เช่น การคุ้มครองพื้นที่สิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกันหรือควบคุมมลพิษ เช่น การประกาศเขตควบคุมมลพิษ การกำหนดการเปิดเผยข้อมูลมลพิษ ซึ่งภาคประชาชนเคยเสนอ แต่ก็ไม่มีการตอบรับจากรัฐบาลแต่อย่างใด "กฎหมายมีการสนับสนุนหรือเอื้อต่อการลงทุนขนาดใหญ่ แล้วพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมจะมีมาตรการใดมาปกป้องจากโครงการขนาดใหญ่ หรือการเปิดเผยข้อมูลมลพิษจากโครงการขนาดใหญ่ ก็ไม่ได้ถูกพูดถึง เพราะอีไอเอเป็นเรื่องป้องกัน แต่มันต้องพูดถึงตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังเกิดโครงการ อีไอเอจึงเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะในกฎหมายยังมีหมวดว่าด้วยการคุ้มครองปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมวดการอนุรักษ์พื้นที่ และหมวดการจัดการมลพิษ เหล่านี้จึงควรมีการจัดรับฟังความคิดเห็นอย่างครบถ้วนรอบด้าน "กระบวนการแก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นกฎหมายกลางควรนำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น แต่ถ้าเร่งรีบ เพียงแค่ต้องให้ทันเวลา โดยไม่คำนึงถึงมาตรา 58 ในรัฐธรรมนูญที่ต้องพิจารณาการประเมินศักยภาพโดยรวมด้วย มันก็จะยังวนอยู่กับรายโครงการและยิ่งเป็นการลดทอนมาตรา 58 อย่างเห็นได้ชัด เราจึงเห็นว่าต้องหยุดกระบวนการไว้ก่อน" ภายหลังจากอ่านแถลงการณ์ เครือข่ายฯ จึงนั่งรอตัวแทนรัฐบาลมารับหนังสือบริเวณฟุตปาธหน้า ก.พ.ร. กระทั่งเวลาประมาณ 14.00 น. พันศักดิ์ เจริญ ผู้อำนวยการส่วนประสานมวลชนและองค์กรประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจึงเดินทางมารับหนังสือ ต่อมาทางเครือข่ายฯ ได้ขึ้นไปประชุมร่วมกับ พ.อ.คฑาวุฒิ ขจรกิตติยุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และอ่านเนื้อหาในหนังสือเพื่อส่งต่อให้แก่รัฐบาล โดยทางเครือข่ายฯ ยืนยันว่า หากรัฐบาลไม่หยุดเดินหน้าร่างกฎหมายนี้ไว้ก่อน เครือข่ายฯ จะทำการนัดหมายทั่วประเทศและเดินทางมาชุมนุมที่ทำเนียบอีกครั้งในวันที่ 6 ธันวาคมที่จะถึงนี้ จนกว่าจะยุติการเดินหน้ากฎหมายและตั้งต้นกระบวนการใหม่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เตือนโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อาจพัฒนาเป็นอัลไซเมอร์ ย้ำผู้ป่วยรักษาต่อเนื่อง Posted: 14 Nov 2017 01:30 AM PST เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ชี้ภัยเงียบจากกล้ามเนื้อหัวใจตาย เสี่ยงเกิดภาวะเซลล์สมองตาย สมองเสื่อม และมีโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็นโรคอัลไซเมอร์ ย้ำผู้ป่วยโรคหัวใจควรรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อหัวใจและสมอง สิริพร ฉัตรทิพากร เมธีวิจัยอาวุโส สกว. 14 พ.ย.2560 รายงานข่าวจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) แจ้งว่า สิริพร ฉัตรทิพากร เมธีวิจัยอาวุโส สกว. และศาสตราจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ จากหน่วยสรีรวิทยาระบบประสาท ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยถึงภัยเงียบต่อสมองในโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ว่าโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่งที่คนทั่วโลกเป็นกันมากขึ้น และเป็นสาเหตุสำคัญอันดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก ในประเทศไทยโรคดังกล่าวเป็น 1 ใน 3 ของสาเหตุของการเสียชีวิตสูงสุดใกล้เคียงกับการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุและโรคมะเร็ง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัว หรือมีไขมันไปเกาะที่ผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดแดงตีบแคบมากจนอุดตัน หรือบางรายอาจเกิดจากการอุดตันเฉียบพลัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ อาการของผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายจะเจ็บแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง และอาจเจ็บร้าวไปที่คอหรือขากรรไกรหรือไหล่ซ้ายได้ บางคนอาจมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่ และอาจมีอาการคลื่นไส้ หน้ามืด ใจสั่น หอบเหนื่อยร่วมด้วย โดยมีปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของการเกิดโรค เช่น โรคความดันโลหิตและไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน โรคอ้วน ความเครียด การไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ วัยหลังหมดประจำเดือน และผู้มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ การป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเราต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. ระบุเพิ่มเติมว่าการมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนั้น นอกจากจะเป็นภาวะที่มีความอันตรายถึงชีวิตแล้ว อาจจะไม่มีใครคาดถึงว่ามีภัยร้ายที่แอบแฝงอยู่ในภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด นั่นคือ มีผลกระทบต่อสมองด้วย จากการศึกษาของคณะผู้วิจัยในสัตว์ทดลอง พบว่าหลังจากมีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแล้วเกิดมีเลือดกลับมาเลี้ยงใหม่นั้น จะทำให้เกิดมีภาวะเครียดออกซิเดชันหรือมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้นในสมองเพิ่มขึ้น ทำให้เซลล์สมองตาย รวมกับมีการสะสมของเบต้าอะไมลอยด์ (beta-amyloid, Aβ) เพิ่มขึ้นในสมอง ซึ่งเป็นพยาธิสภาพที่มีลักษณะคล้ายโรคอัลไซเมอร์เกิดขึ้นในสมอง "จะเห็นได้ว่าการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไม่ได้ก่อให้เกิดผลเสียเฉพาะแต่ที่หัวใจเท่านั้น แต่ยังมีภัยร้ายที่ซ่อนอยู่กับสมองอีกด้วย เพราะจะทำให้เกิดภาวะเซลล์สมองตาย สมองเสื่อม ได้เช่นกัน ดังนั้นการดูแลสุขภาพตนเอง หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง แต่ถ้าเป็นโรคหัวใจแล้วก็ควรรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทั้งหัวใจและสมอง" สิริพร กล่าวสรุป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สาระ+ภาพ: ตัดงบกลาโหมช่วย ‘ก้าวคนละก้าว’ ได้หรือไม่ Posted: 14 Nov 2017 01:27 AM PST หากพี่ตู่พี่ป้อมช่วย 'ก้าวคนละก้าว' ด้วยการตัดงบกระทรวงงบกลาโหม 1% จนถึง 10% เพื่อเพิ่มงบประมาณด้านสาธารณสุขให้กับประเทศจะได้มากขนาดไหน
งบประมาณปี 2561 ของกระทรวงกลาโหมและหน่วยงานในกำกับ (บวกแผนงานบูรณาการ) 220,523,650,700 บาท (สองแสนสองหมื่นห้าร้อยยี่สิบสามล้านหกแสนห้าหมื่นเจ็ดร้อยบาท) หรือ 7.60% ของงบประมาณแผ่นดิน
1% ของงบประมาณกระทรวงกลาโหมคือ 2,205.24 ล้านบาท
พี่ตูน บอดี้สแลม "ก้าวคนละก้าว" ครั้งที่ 2 วิ่งจากใต้จรดเหนือเริ่มต้นจาก อ.เบตง จ.ยะลา เมื่อ 1 พฤศจิกายน ตั้งเป้าถึง อ.แม่สาย จ.เชียงราย 25 ธันวาคม ระยะทาง 2,191 กิโลเมตร เพื่อหางบประมาณ 700 ล้านบาท สำหรับโรงพยาบาล 11 แห่งทั่วประเทศซื้ออุปกรณ์การแพทย์
ที่มาข้อมูล: ratchakitcha.soc.go.th
ที่มาเพลง: คนมีตังค์, เรือเล็กควรออกจากฝั่ง, ไม่รู้เมื่อไหร่ บอดี้สแลม
อีกกี่ 'ก้าว' จะถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (1) "เขาไม่เคยเชื่อว่าหลักประกันสุขภาพดีกับประชาชน" อีกกี่ 'ก้าว' จะถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (2) เธอแช่งให้คน 5 คนต้องตาย อีกกี่ 'ก้าว' จะถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (จบ) ระบบสวัสดิการทำให้ไม่สูญเสียความเป็นคน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นิพนธ์ TDRI : เช็คข้อมูลน้ำในคืนฝนถล่ม กทม. - จะเตรียมตัวหลังฝนหยุดอย่างไร Posted: 14 Nov 2017 12:55 AM PST บทสัมภาษณ์ นิพนธ์ พัวพงศกร เช็คระบบข้อมูล ระบายน้ำ เตือนภัยในเหตุฝนถล่มข้ามคืน 13-14 ต.ค. กทม. สู่ข้อเสนอการบริหารจัดการน้ำท่วมเมือง ชี้มีเครื่องมือ มีคลอง มีระบบวัดน้ำ แต่เราไม่มีระบบเตือนภัย พิสูจน์ว่าไม่เคยวางระบบเลยตั้งแต่ปี 54 ภาพเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ บางส่วนวันที่ 14 ต.ค.60 จากเหตุการณ์ฝนตกหนักในช่วงกลางดึกของคืนวันที่ 13-14 ตุลาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหนักในหลายจุดในกรุงเทพมหานคร ประชาชนต้องเผชิญกับปัญหามากมายอย่างไม่ทันตั้งตัว โดยเฉพาะความเสียหายต่อยานพาหนะที่จอดใต้ถุนอาคารหรือบนพื้นราบ ทรัพย์สินและบ้านเรือน รวมทั้งปัญหาการเจราจรในเช้าวันรุ่งขึ้น กัมพล ปั้นตะกั่ว นักวิจัยทีดีอาร์ไอ ได้ตรวจสอบระบบตรวจวัดข้อมูลต่างๆ ในช่วงคืนวันที่ 13 – 14 ต.ค. จาก เว็บไซต์สำนักการระบายน้ำ กทม. พบว่าปริมาณฝนสะสมเกินกว่า 100 มิลลิเมตรใน 32 เขต และข้อมูลจากสถานีวัดน้ำท่วมบนถนน 101 แห่งทั่ว กทม. พบว่ามีถนนอย่างน้อย 13 สาย ที่มีระดับน้ำท่วมกว่า 20 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระดับที่เกินกว่ารถยนต์ขนาดเล็กจะสัญจรได้ คำถามสำคัญ คือ กรุงเทพมหานคร เริ่มระบายน้ำออกจากพื้นที่ที่ฝนตกหนักตั้งแต่เมื่อไร และประสิทธิภาพการระบายน้ำเป็นอย่างไร ข้อมูลของ กทม.ช่วยตอบคำถามได้ เพราะ กทม.มีข้อมูลทันเวลา (เกือบ real time) เกี่ยวกับระดับน้ำบนถนนสายหลักและในคลองต่างๆ รวมทั้งสถิติการระบายน้ำในคลองต่างๆ ที่เป็นจุดรับน้ำฝนที่ระบายจากถนนผ่านท่อระบายน้ำ สถิติดังกล่าว แสดงว่าเจ้าหน้าที่ของเขตต่างๆ ใน กทม. เริ่มสูบน้ำออกจากคลองหลังจากที่ฝนเริ่มตกหนักแล้ว สถานีสูบน้ำส่วนใหญ่เริ่มสูบน้ำหลังเวลาตีหนึ่งของวันคืนวันที่ 13 ตุลาคม (หรือ ชั่วโมงแรกของวันที่ 14 ตุลาคม) ข้อมูลนี้แสดงว่าเจ้าหน้าที่ของเขตต่างๆ มีความรับผิดชอบสูง และมีพนักงานที่ดูแลเครื่องสูบน้ำตลอดเวลา แต่เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกหนักมากที่สุดในรอบ 25 ปี ตามคำแถลงของผู้ว่าราชการ กทม. และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ กทม. น้ำจึงท่วมหนักในหลายพื้นที่จนเกิดความเสียหายหนัก เพราะข้อมูลแสดงว่าระดับน้ำในคลองต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น อย่างรวดเร็วระหว่าง เวลา 21.40 – 01.50 น. ดังตัวอย่างรูปภาพกราฟแสดงระดับน้ำในคลองบริเวณรอบถนนในจุดที่น้ำท่วมสูงสุด 3 จุด ภาพที่ 1 ถนนวิภาวดีขาออก ได้แก่ คลองนาของ คลองบางซื่อ คลองสามเสน คือ (ภาพที่ 1) ถนนวิภาวดีขาออก ได้แก่ คลองนาของ คลองบางซื่อ คลองสามเสน (ภาพที่ 2) ถนนประชาสุขและประชาสงเคราะห์ ได้แก่ คลองนาของ คลองห้วยขวาง และ (ภาพที่ 3) ถนนรัชดา-ลาดพร้าว ได้แก่ คลองบางซื่อ คลองห้วยขวาง และ คลองน้ำแก้ว แต่กว่าการสูบน้ำจะสามารถลดระดับน้ำในคลองลงสู่ระดับที่ทำให้ระดับน้ำบนถนนและซอยต่างๆลดลงจนพอสัญจรได้ หรือเข้าสู่ระดับปกติก็ต้องใช้เวลา 6-36 ชั่วโมง เพราะขีดความสามารถในการพร่องน้ำจากคลองต่างๆ ไม่เท่ากัน คลองบางคลองสามารถพร่องน้ำให้ลดลงได้เพียง 3-4 เซ็นติเมตรในเวลา 24 ชั่วโมง เช่น คลองภาษีเจริญ/คลองราชมนตรี เป็นต้น ข้อมูลระดับน้ำในคลองแสดงให้เห็นจุดอ่อน หรือจริงๆต้องเรียกว่า "ข้อบกพร่องสำคัญ" ของระบบการป้องกันอุทกภัยของระบบราชการไทย และ กทม. ภาพที่ 2 ถนนประชาสุขและประชาสงเคราะห์ ได้แก่ คลองนาของ คลองห้วยขวาง ภาพที่ 3 ถนนรัชดา-ลาดพร้าว ได้แก่ คลองบางซื่อ คลองห้วยขวาง และ คลองน้ำแก้ว นี่คือประเด็นหลักที่ทีมจัดการความรู้และสื่อสารสาธารณะ ทีดีอาร์ไอ ชวน ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ มาสนทนา เพื่อให้มุมมองต่อสถานการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะประเด็นเรื่องกลไกและระบบการเตือนภัยล่วงหน้าในกรณีที่อาจจะเกิดฝนตกหนักผิดปกติ เช่น ฝนในรอบ 25 ปี (หรือฝนพันปีในยุคผู้ว่ากทม.พลเอกจำลอง ศรีเมือง) พร้อมข้อเสนอถึงอนาคต เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาเชิงระบบและป้องกันปัญหาน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นกับกรุงเทพมหานครต่อไป นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ เมื่อฝนตกใน กทม. มีการติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำกันอย่างไร และระบบข้อมูลที่มี ถือว่ามีประสิทธิภาพดีพอต่อการจัดการหรือยัง?นิพนธ์ : กรุงเทพมหานครมีการลงทุนในเรื่องระบบข้อมูลดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบตัวเลขสถิติเรามีระบบการติดตามดีขึ้นกว่าในปี 54 ค่อนข้างเยอะ มีการเตรียมตัวที่ดี ถึงแม้ว่ามีปัญหาเรื่องเทคโนโลยีนิดหน่อย แต่ระบบดีขึ้น มีเซนเซอร์ในถนนวัดระดับน้ำบนถนน วัดระดับน้ำในคลอง ขณะนี้จุดที่วัดระดับน้ำมีเยอะมาก เรามีสถานีวัดน้ำท่วมบนถนน 101 แห่ง สถานีวัดน้ำท่วมในอุโมงค์ 8 แห่ง สถานีวัดน้ำฝน 131 แห่ง สถานีวัดระดับน้ำ 151 แห่ง บางเขตมีสถานีวัดน้ำฝนถึง 5-6 แห่ง เราลงทุนเรื่องข้อมูลค่อนข้างมาก นอกจากนั้น กทม. ก็ทุ่มงบประมาณมหาศาลสร้างอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำที่บางซื่อ และพระรามเก้า กทม.มีคันกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีคันป้องกันน้ำด้านตะวันออก สถานีสูบน้ำ 174 แห่ง ประตูระบายน้ำ 227 แห่ง ฯลฯ แต่ระบบข้อมูลมีจุดอ่อนบางประการ คือ ข้อแรก เราเน้นแค่ถนนไม่ได้เน้นพื้นที่เสี่ยงในซอยที่เป็นที่อยู่อาศัยของคนจำนวนมาก ข้อสอง ในช่วงวันที่ 13-14 ตุลาคม สถานีสูบน้ำบางแห่งไม่มีข้อมูลบนเว็บไซต์ ซึ่งสันนิฐานว่ามีปัญหาด้านการส่งสัญญาณ และยังมีปัญหาการเชื่อมต่อสัญญาณข้อมูลระหว่างสำนักระบายน้ำกทม. กับเว็บไซต์ Thaiwater.net ของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตร ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่คนส่วนใหญ่รู้จัก และนิยมเข้าไปสืบค้นข้อมูล ทำให้ไม่มีข้อมูลแบบกึ่ง real time จุดอ่อนอีกประการหนึ่ง คือ ที่ตั้งของจุดวัดระดับน้ำบางแห่งในกทม. บน Google Map ก็ผิด เช่น คลองมหาสวัสดิ์แผนที่กลับแสดงว่าอยู่ที่ฝั่งพระนคร เป็นต้น สรุปแล้วระบบข้อมูลของเราดี พร้อมแล้ว แต่ที่ยังขาดอยู่คือการดึงข้อมูลเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการเตรียมการรับมือ แต่ต้องชื่นชมเจ้าหน้าที่ในเขตต่างๆ หลังฝนตกระดับน้ำจะสูงสุดตอนเที่ยงคืน ตีหนึ่ง สถานีสูบน้ำจะเปิดสูบน้ำ ต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่ตื่นมาทำงานกันอย่างขยันขันแข็ง แต่ว่ามันสายเสียแล้ว เพราะฝนตกหนัก จนสูบไม่ทัน สถานีวัดระดับน้ำบางแห่งมีขีดความสามารถต่ำ เช่น เขตภาษีเจริญ คลองราชมนตรี ฝั่งธน สูบได้วันละ 3 ซม. แต่ข้อบกพร่องใหญ่ที่สุด คือ เราไม่มีการเตรียมพร่องน้ำล่วงหน้า เรื่องนี้โทษเขตต่างๆไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องการเตรียมตัวป้องกันล่วงหน้าในภาพรวม ซึ่งเป็นหน้าที่ของ กทม. ต้องโทษรัฐบาลที่ไม่มีการวางระบบเตือนภัยเลย ทั้งๆที่ เรามีกฎหมาย ป้องกันสารตรณภัยที่กำหนดระดับภัยพิบัติไว้ชัดเจน แต่หลังจากน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 เราไม่ได้ทำอะไร เพิ่มเติมทั้งเรื่องการพยายากรณ์และเตือนภัยล่วงหน้า เมื่อฝนตกหนักอย่างในคืนวันที่ 13 – 14 ต.ค. คนกรุงมักตั้งคำถามต่อการระบายน้ำผ่านอุโมงค์ยักษ์ ดังนั้นในส่วนการเตรียมรับมือด้วยระบบโครงสร้างพื้นฐานการระบายน้ำของ กทม. มีการเตรียมการอย่างไร และยังมีจุดไหนที่ควรปรับปรุง?เรามีอุโมงค์ยักษ์แต่ใช้ประโยชน์ยังไม่เต็มที่ ก็เหมือนเวลาเราสร้างเขื่อนใหม่ ประโยชน์น้อยมากเพราะไม่มีคลองไส้ไก่ ส่งน้ำเข้าไปตามพื้นที่ต่างๆของเกษตรกร เช่นเดียวกันอุโมงค์ยักษ์จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อมีคลองและท่อส่งน้ำเข้าไปในอุโมงค์ เชื่อมต่ออุโมงค์กับท่อและคลองจากจุดสำคัญต่างๆ ไม่เช่นนั้น ก็จะเป็นการขี่ช้างจับตั๊กแตน เพราะมีอุโมงค์แต่ไม่มีท่อส่งน้ำเข้ามา อุโมงค์จึงไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควร เรื่องนี้ กทม.ต้องทำเพิ่มเติม นอกจากนั้นอุโมงค์ขนาดใหญ่ที่มีมาก่อนปี 2550 จำนวน 6 แห่ง ก็น่าจะมีปัญหาประสิทธิภาพการระบายน้ำ เช่น แม้ถนนสุขุมวิทและพญาไทจะมีอุโมงค์ใหญ่เพื่อใช้ระบายน้ำ 4 แห่ง แต่ก็มีปัญหาน้ำท่วมหนักจนเกิดความเสียหาย ซึ่งร่วมทั้งรถของอดีตนายกรัฐมนตรี แต่หากดูแยกเป็นฝั่ง ระบบระบายน้ำแถวฝั่งตะวันออกหลังสุวรรณภูมิไป ทำไว้แล้วดีมาก โดยมีท่อส่งน้ำยักษ์ลงทะเล แต่เมื่อปี 2554 มีปัญหาการเมืองทำให้ส่งน้ำไปไม่ได้ ขณะนี้เราลงทุนเรื่องเหล่านี้แล้ว แต่ไม่มีระบบเชื่อมให้น้ำส่งไป อย่างคลองที่จะส่งน้ำเข้ามา น้ำกลับส่งไปไม่ได้ เพราะมีการบุกรุกคูคลอง ทิ้งขยะในคูคลอง มีผักตบชวา เราก็สูบน้ำลงทะเลไม่ได้ ดังนั้นต้องมีการวางระบบการรักษาความสะอาดในคูคลอง แม้ กทม.จะพยายามแก้ปัญหาการบุกรุกคูคลองตามแนวทางของ พอช. (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน) แต่ก็ยังมีข้อจำกัดมาก ฉะนั้นเมื่อเรามีระบบอยู่เท่าเดิม แต่น้ำไม่เท่าเดิมมันมามากกว่าเดิม น้ำก็ต้องท่วมแน่ๆ ส่วนฝั่งตะวันตก เรื่องการวางท่อและระบบสูบน้ำยังสูบได้ช้ามาก ขีดความสามารถต่ำเราอาจจะต้องมีการปรับปรุงกันขนานใหญ่ ฝนถล่ม 13 – 14 ต.ค. อาจเรียกได้ว่าเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินสำหรับประชาชน เพราะไม่ทันได้เตรียมตัวรับมือ ดังนั้นระบบเตือนภัยล่วงหน้าและการจัดการที่ดีควรจะเป็นอย่างไร?คนอาศัยในกรุงเทพเริ่มชินถ้ากลางวันเห็นฝนตกก็เตรียมตัวเตรียมใจได้ แต่ถ้าตกกลางคืนหนักๆ คาดการณ์ไม่ได้ และกทม. มักเตือนภัยแต่บนถนน แต่จริงๆคนไม่ได้เดือดร้อนแค่บนถนน แค่รถติด ยังมีบ้านเรือน คอนโดที่เสียหาย รัฐบาลและกทม.ต้องร่วมมือกันอย่างเร่งด่วนในการจัดทำระบบเตือนภัยล่วงหน้าตั้งแต่วันนี้ เพราะระบบดังกล่าวต้องใช้ทั้งข้อมูล ความรู้ และการสร้างขีดความสามารถในการพยากรณ์อากาศที่ต้องใช้เวลานานนับปี กทม. มีเครื่องมือ มีคลอง มีระบบวัดน้ำ แต่เราไม่มีระบบเตือนภัย ในคืน วันที่ 13-14 ได้พิสูจน์แล้วว่าเราไม่เคยวางระบบเตือนภัยเลยตั้งแต่ปี 54 ทั้งที่เรามีกฎหมายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่ระบุขั้นตอนการประกาศภาวะฉุกเฉิน แบ่งระดับการเตือนภัยพิบัติ 3 ระดับ คือภัยในจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นผู้ดูแล หรือถ้ากระทบหลายจังหวัด อำนาจจะอยู่ที่รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย หากใหญ่กว่านั้นก็เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี แต่ที่เราไม่เคยวางระบบเพื่อให้หน่วยงานรัฐสามารถประกาศเตือนภัย และภาวะฉุกเฉินตามระดับความรุนแรงของภัยพิบัติก็เพราะ เราไม่เคยมีหน่วยงานกลางรับผิดชอบเรื่องเตือนภัยพิบัติและวางแผนป้องกัน หน่วยงานนี้จะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลด้านอากาศและภัยพิบัติต่างๆ จากหน่วยงานรัฐ เพื่อนำมาวิเคราะห์และพยากรณ์ภูมิอากาศ รวมทั้งนำผลวิเคราะห์ส่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ รมว.มหาดไทย หรือนายกรัฐมนตรีประกาศเตือนภัยล่วงหน้า กรณีน้ำท่วม หากเราสามารถเตือนภัยให้ประชาชนรู้ตัวล่วงหน้าเพียง 6-12 ชั่วโมง ก็สามารถความเสียหายและความสูญเสียต่างๆเป็นมูลค่าจำนวนมาก ตัวอย่างรูปธรรม คือ อำเภอหาดใหญ่มีกลไกเตือนภัยล่วงหน้า นอกจากสงขลาจะลงทุนในระบบโทรมาตร และเตรียมแผนป้องกันภัยของหมู่บ้านต่างๆแล้ว มอ. (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) ยังรับผิดชอบทำพยากรณ์ปริมาณน้ำที่ไหลจากอำเภอสะเดา เข้ามาสู่หาดใหญ่ ในปี 2555 และส่งข้อมูลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดออกประกาศเตือนภัยล่วงหน้า 3-4 ชั่วโมงทำให้ประชาชนในหาดใหญ่สามารถเก็บของขึ้นที่สูง ลดความเสียหายได้ กรุงเทพขณะนี้มีความเสี่ยงที่จะฝนตกหนักมากขึ้น[ นักวิทยาศาสตร์ไทยเชื่อว่ากรุงเทพจะมีฝนตกหนักมากขึ้น สาเหตุหลัก คือ ฝุ่นละอองในบรรยายกาศ] ดังนั้นการพยากรณ์เรื่องนี้ต้องมีรายละเอียด ไม่ใช่ให้คำพยากรณ์แบบกว้างๆ เหมือนปัจจุบัน เช่น ฝนจะตกหนัก 70% ของพื้นที่ แต่ต้องเป็นการให้คำพยากรณ์ที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นว่าฝนจะตกหนักระดับใด พายุจะเคลื่อนผ่านเขตใดในกทม. โอกาสสูงหรือต่ำเพียงใด ดังตัวอย่างการพยากรณ์การเกิดเฮอร์ริเคนที่สหรัฐ จะมีการพยากรณ์จากหลายสำนักว่าจะเกิดที่ไหน พอมีข้อมูลเรื่องนี้ คนในพื้นที่ก็พร้อมจะเตรียมตัว แต่ตรงนี้เราไม่มี เราไม่สร้างระบบเตือนภัยขึ้นมา เราปล่อยให้หน่วยงานต่างๆทำงานตามปกติ เรามีเครื่องมือมีอุปกรณ์ แต่ใช้ประโยชน์จากมันแค่ 10 เปอร์เซ็น ที่ผ่านมาเราไม่กล้าใช้คำพยากรณ์มาเตือนภัยเพราะการพยากรณ์มีการผิดพลาดค่อนข้างเยอะ แต่เราต้องไม่กลัว เราต้องกล้าทำ การคาดคะเนผิดไม่เป็นไร ถ้าเราทำไปเรื่อยๆ ปรับแบบจำลองไปเรื่อยๆ การพยากรณ์จะค่อยๆดีขึ้น ในวันเกิดเหตุ สสนก.(สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร) คาดคะเนว่าจะตกกลางวัน แต่ไปตกกลางคืน ซึ่งไม่เป็นไร ถ้าทำและติดตามไปเรื่อยๆ ปรับแบบจำลองไปเรื่อยๆ นอกจากกรมอุตนิยมวิทยาจะต้องปรับปรุงแบบจำลองของตนแล้ว รัฐบาลก็ควรให้ทุนวิจัยสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ ทำแบบจำลองพยากรณ์หลายๆแบบจำลองแข่งกับกรมอุตุฯ เหมือนกับ NOAA ของสหรัฐอเมริกาที่จ้างสถาบันวิจัยหลายแห่งช่วยกันทำแบบจำลองพยากรณ์ ในที่สุดผลการพยากรณ์จะค่อยๆดีขึ้น และจะช่วยลดความเสียหายจากภัยพิบัติได้คุ้มกับเงินงบประมาณ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงไม่ซ้ำรอยน้ำท่วม กทม.จากฝนถล่ม เราควรแก้ปัญหาในระยะสั้น และในระยะยาวอย่างไร และใครควรทำอะไรบ้าง?ในระยะสั้น คือ เรื่องการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เรามีหน่วยงานที่มีข้อมูลอยู่แล้วมากมาย รวมทั้งมี สสนก. ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล แต่เราขาดบุคคลากรที่จะเข้ามาวิเคราะห์ข้อมูลในระยะยาว เพื่อวางแผน วิเคราะห์ และสร้างระบบเตือนภัย เราต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงาน และเราขาดหน่วยงานวิชาการส่วนกลาง ต้องมีหน่วยงานอิสระที่ทำงานภายใต้สำนักนายกฯ เก็บข้อมูลน้ำท่วมวันนี้เพื่อนำไปทำแผน สรุปว่าพลาดตรงไหน มีแบบจำลองตรงไหนที่พลาด เพื่อปรับปรุง เตรียมรับมือครั้งต่อไป และข้อมูลเก่าจะช่วยให้เราสามารถสร้างระบบเตือนภัยได้ แล้วยังประโยชน์ต่อการวางแผนโลจิสติกส์ เมื่อทำในกรุงเทพได้แล้ว เราก็ขยายไปต่างๆจังหวัด ไปภาคเกษตรได้ อีกอย่างคือ ขณะนี้เราเฝ้าดูน้ำแต่ในถนน เรามีเซนเซอร์ แต่เราไม่รู้ว่าซอยไหนบ้างที่เสี่ยง เราต้องมีข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศแสดงเส้นชั้นความสูงว่าพื้นที่ในกทม.แต่ละท้องที่มีความสูงต่ำเพียงใด (digital elevation model) ถ้าจะลงทุนต้องดูว่าจุดไหนที่สำคัญ อย่างจุดที่น้ำท่วมชั้นใต้ดินคอนโด เพราะแต่ก่อนพื้นที่เป็นคลอง ต่อมาถมคลอง ทำถนน สร้างตึก พอฝนตกลงมาจากเดิมที่ไม่เสี่ยงมันจะเสี่ยง เพราะไม่มีพื้นที่รับน้ำ เป็นปัญหาการใช้ที่ดินในระยะยาว ถ้าฝนตกน้ำก็ไหลลงถนนไหลลงท่อระบายน้ำ ต่อให้ท่อระบายน้ำใหญ่แค่ไหนก็รับไม่อยู่ ยิ่งฝนตกหนักแบบปีนี้ที่เราเห็นแล้ว เมื่อมีข้อมูลพื้นที่เสี่ยงต่างๆ กทม. ก็สามารถวางแผนควบคุมการก่อสร้างอาคารได้ในระยะยาว เช่น การบังคับให้อาคารใหญ่ต้องมีบ่อพักน้ำไว้รองรับน้ำฝน ไม่แข่งกันระบายลงท่อระบายน้ำในช่วงที่ฝนกำลังตก เป็นต้น คนไทยไม่มี sense ของการป้องกันภัย เราจะเห็นได้ว่าผู้หลักผู้ใหญ่ชอบพูดถึงเรื่องฝน 25 ปี ฝนพันปีที่นานๆทีจะเกิด มันทำให้ไม่รู้สึกตัวว่าต้องระวังภัย สิ่งที่ผู้บริหาร กทม.พูดไม่ผิด แต่เราควรเปลี่ยนทัศนคติ ผมเสนอว่าแทนที่เราจะมานั่งคอยแก้ตัวว่าเป็นพายุฝนพันปี เราหันมาสร้างระบบเตือนภัยเพื่อช่วยลดความเสียหายจะดีกว่า จากเหตุการณ์ฝนถล่มมัน พิสูจน์แล้วว่าเราต้องมีระบบเตือนภัย ทำแผนล่วงหน้า ต้องมีการดึงข้อมูลจากหลังฝนตกมาวิเคราะห์ต่อ เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าใครผิด แต่เป็นเรื่องระบบการจัดการที่ต้องปรับปรุง เรื่องสำคัญในระยะยาวอีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องการบรรเทาสาธาณภัย ที่ผ่านมาทุกครั้งที่เกิดอุทกภัย รัฐบาลใช้วิธีตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจรับผิดชอบ โดยมีนายกรัฐมนตรีนั่งสั่งการที่หัวโต๊ะ มีรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงนั่งเป็นกรรมการ พอวิกฤติจบลง ต่างคนต่างก็แยกย้ายกลับกรมกองของคน ไม่มีการสร้าง "ความจำของสถาบัน" ไม่มีการรวบรวมข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ในการแก้ปัญหาและบริหารจัดการมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางป้องกัน และการบรรเทาสาธารณภัยที่ดีขึ้นกว่าเดิม เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560 นายกรัฐมนตรีได้ใช้มาตรา 44 จัดตั้งสำนักบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จึงควรมีการจัดโครงสร้างเรื่องการจัดการอุทกภัยและภัยพิบัติแบบรวมศูนย์อย่างจริงจัง นอกจากนี้รัฐบาลควรตั้งคณะทำงานที่เป็นข้าราชการมืออาชีพและมีความชำนาญในการจัดการด้านภัยพิบัติเป็นผู้รับผิดชอบ โดยนายกรัฐมนตรีมอบหมายอำนาจให้สั่งงานด้านกรมกอง และกระทรวงต่างๆได้ไม่ควรให้นักการเมืองเข้ามาแทรกแซง เพราะจะเกิดปัญหาการแทรกแซงเพื่อปกป้องเฉพาะพื้นที่ในเขตของนักการเมืองเหมือนที่เคยเกิดขึ้น ในปี 2554 ที่ทำให้มวลน้ำก้อนใหญ่ไม่อาจไหลผ่านเข้าไปในพื้นที่ตะวันออกของ กทม.ที่มีระบบระบายน้ำขนาดใหญ่ลงสู่ทะเล ทำให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อฝั่งตะวันตกของ กทม. และจังหวัดที่อยู่เหนือกรุงเทพฯ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'หลงไฟ' กับเศรษฐศาสตร์การเมืองของไทย Posted: 14 Nov 2017 12:42 AM PST
ดังเป็นพลุแตกสำหรับก้านแก้ว นางเอกของละครเรื่องหลงไฟ ละครดัง ละครแรงแห่งปี ที่นาทีนี้ไม่มีใครไม่พูดถึง และเมื่อคุณกำลังอ่านคอมเม้นในโลกโซเชียล ผู้ชมที่ติดตามละครก็พร้อมจะเทใจและส่งแรงเชียร์ให้กับ ก้านแก้ว ด้วยเสียงอย่างเป็นเอกฉันท์ – เอ๊ะ ? ก้านแก้วนี่นะ เพราะอะไร? ก้านแก้ว ชื่อเรียกแบบสนิท ให้เรียกว่า 'ก้าน' แต่ถ้ารับงาน ก้านจะให้เรียกว่า 'แก้ว' เป็นตัวละครที่พ่อแม่แยกทางกัน พ่อเอามาทิ้งไว้บ้านป้าที่สลัม ป้ากับลุงของก้าน แถมลุงของก้านเองจะเป็นโรคจิตจ้องจะงาบก้านอยู่ทุกวี่ทุกวัน แค่เริ่มก็รู้สึกสงสารลุ้นและเอาใจช่วยในโชคชะตาของก้านเสียแล้ว ความยากลำบากทำให้ก้านต้องดิ้นรนทำงานหนักหน่วงเพื่อดูแลตัวเอง ส่วนงานที่ก้านทำ เธอระบุเองว่า 'ก้านรับแต่งานทานข้าวนะคะ งานนั่งดริ๊ง เต้น ก้านไม่รับนะคะ' ซึ่งก้านแก้วก็เป็นนางเอกจากนวนิยายเรื่องเก่าในยุคใหม่ ซึ่งแค่คาแรคเตอร์ของตัวละครก้านแก้วเอง ก็ฉายภาพของ Class Struggle ได้อย่างเด่นชัด ก้าน พยายามที่จะไต่ระดับทางสังคมขึ้นไป ด้วยการใช้ข้าวเครื่องเครื่องใช้แบรนด์เนม พยายามพูดถึงชีวิตที่สะดวกสบายและอนาคตที่สดใส กลไกการขับเคลื่อนละครเรื่องหลงไฟมีแค่นี้เท่านั้น ความพยายามที่จะไต่ระดับทางสังคมของก้านแก้ว คือ แกนกลางของเรื่องที่แบกละครเรื่องหลงไฟมาจนใกล้ถึงจุดอวสานต่อสายตาผู้ชมชาวไทยทั้งประเทศ สรุปง่ายๆ สั้นคือ ก้านแก้ว ทำงานเป็นผู้หญิงขายบริการ, โสเภณี หรืออีกชื่อ **** นั่นเอง วิธีคิดของตัวละครนี้ พยายามที่จะพาตัวเองออกจากสังคมที่เธอมองว่าไม่ดี การต่อสู้ในการไต่ระดับทางสังคมของเธอจึงเริ่มต้นขึ้น เมื่อย้อนกลับไปเมื่อนวนิยายเรื่องหลงไฟถือกำเนิดขึ้นในปี 2532 จริงๆ แล้วหลงไฟ ถูกทำเป็นละครมาก่อนหน้านี้ถึงสองครั้ง นั่นก็หมายความว่า ชีวิตของก้านแก้วโลดแล่นบนหน้าจอมาแล้วรวมสามรอบ 20 ปีมานี้ ตั้งแต่ก้านแก้วเกิดขึ้น มีอะไรเกิดขึ้นกับเศรษฐศาสตร์การเมืองไทยบ้าง ? ปี 2532 เป็นปีที่สองของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เจ้าของวลีเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า ซึ่งก็สอดรับกับการทำงานและบริบทของทุนนิยมโลกรวมถึงกลุ่มนักคิดสาย Liberalism ที่ไม่ศรัทธาในการสู้รบเพื่อแย่งชิงแบบพวก Realism อีกต่อไป แต่กลับมองหาและแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก นอกจากนี้ ในห้วงเวลาเดียวกันของการดำรงตำแหน่งของพลเอกชาติชาย ยังเป็นช่วงเวลาของการขยายตัวของลัทธิเสรีนิยมใหม่ ซึ่งหัวขบวนนำโดย มากาเร็ต แทชเชอร์ และ โรนัล เรแกน นั่นเอง แล้ว... ลัทธิเสรีนิยมใหม่คืออะไร? (แล้วคนพวกนี้คือใครรรรร เกี่ยวอะไรกับก้านล่ะคะ?) ย้อนกลับไปก่อนยุคที่หลงไฟจะถูกเขียนขึ้น (2532) ประเทศไทยได้รับอานิสงค์จากเกิดขึ้นของสงครามเย็นในช่วงทศวรรษ 2500 รวมถึงสงครามเวียดนาม ที่สหรัฐอเมริกาได้หอบเงินถุงเงินถังเข้ามาลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้กับประเทศไทย ตัดถนนมิตรภาพให้ สร้างฐานทัพให้ การเข้ามาของสหรัฐฯในครั้งนั้น ได้กระตุ้นการทำงานการจับจ่ายใช้สอยในระบบเศรษฐกิจอย่างมาก สหรัฐฯมาพัฒนาอยู่หลายปีก่อนจะถอนตัวออกจากไทย จังหวะนั้นไทยก็ถือว่าพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด มีการเคลื่อนย้ายแรงงานภายในประเทศ คนจากต่างจังหวัดทุกภูมิภาคมุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเทพ ภาคชนบทไหลเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมกันแทบหมด ตั้งรกรากกันขวักไขว่ไขว่คว้าในเมืองหลวง (ซึ่งการอพยพเคลื่อนย้ายแบบเร่งรีบส่งผลทำให้เกิดการก่อต่อของชุมชนแออัด หรือสลัมนั่นเอง) และในยุคที่หลงไฟถือกำเนิดขึ้นมา ปี 2532 ก็เป็นช่วงรอยตัวยุค Plaza Accord กับการเป็นประเทศที่พัฒนาด้วยระบอบลัทธิเสรีนิยมใหม่ ประเทศไทยมีนายกทหารที่มีวิสัยทัศน์ทางการค้า และการทำเศรษฐกิจเป็นคนแรก (ปรบมืออออ) ผู้เขียนเลยสรุปเอาว่า บ้านลุงกับป้าก้านที่บอกว่าอยู่สลัม คงเป็นผลลัพธ์ของการพัฒนาเมืองอย่างเร่งรีบและขาดการวางแผนและผังเมือง ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับปัญหาและประเด็นการกระจายทรัพย์สินที่ไม่เป็นธรรมในระบบเศรษฐกิจและการเมืองไทย โดยเป็นที่รู้กันดีว่าชนชั้นนำและอภิสิทธิชนในสังคมไทย จำนวนหย่อมมือเดียว มีทรัพย์สินที่ดินที่ได้รับจากการการเกาะเกี่ยวผลประโยชน์ในช่วงสร้างเนื้อสร้างตัวของรัฐไทย ทำให้พวกเขาครอบครัวได้ครอบครองสิ่งเหล่านี้ไว้จำนวนมาก ตัวละครโชนที่เป็นลูกชายคนเดียวของเศรษฐีนี ที่เป็นชายที่ก้านหมายปอง ก็จัดเรียงลำดับชั้นอยู่กลุ่มชนชั้นนำเหล่านี้เห็นจะได้ การที่เธอไขว่คว้าโชน ยิ่งสะท้อนภาพความเด่นชัดของ class struggle ที่ก้านแก้วกับต่อสู้อยู่ ขณะที่พ่อแม่ของก้านที่เลิกรากันไป ก็ได้มาทิ้งก้านไว้กับลุงกับป้า ทำให้สันนิษฐานได้ว่าพ่อและแม่ของก้านเชื่อเป็นแรงงานอพยพที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพขณะนั้น ไม่น่าใช่คนพื้นที่ดังเดิม เพราะลุงป้าของก้านน่าจะมาตั้งรกราก (Settle down) ในช่วงทศวรรษ 2500 ในยุคที่อเมริกาเข้ามาครั้งแรก เลยเดาได้ว่า พ่อน้องก้านก็น่าจะเป็นแรงงานจากภาคชนบทที่เข้ามาทำงาน อยู่กินและเลิกรากันกับแม่ของเธอ ทำไมก้านต้องทำงานนี้แบบนี้ด้วยล่ะ จริงๆ แล้วลัทธิเสรีนิยมใหม่ เป็นลัทธิที่จัดการในระบบบนของระบบ ไม่ได้ลงวุ่นวายหรือมีข้อบังคับอะไรมากมายกับคนในระดับล่าง การที่ก้านจะเป็นเพื่อนเที่ยว เด็กนั่งดริ๊ง โสเภณี หรือ **** เป็นเรื่องปกติมากในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ตราบใดที่มีดีมานด์ของก็ขายได้ แต่มันสำคัญยังไงกับ ลัทธิเสรีนิยมใหม่กันล่ะ ??? ความต้องการและความปรารถนาของก้านแก้ว คือกลไกการทำงานของลัทธิเสรีนิยมใหม่ และมันทำงานได้ดีเมื่อจับคู่กับประเทศกำลังพัฒนาที่ขาดสวัสดิการและการประกันความมั่นคงในชีวิต แต่แฟนขับ น้องก้านบางกลุ่มอาจจะมองว่า ไม่ใช่ สิ่งที่น้องก้านทำคือกิเลสตัณหา ซึ่งนั่นจะเป็นอีกประเด็นที่เอาไว้ให้ถกเถียง แต่ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์การเมือง เรากำลังพยายามหาที่ทางของก้าน และอำนาจเศรษฐกิจการเมืองของก้านแก้วอยู่ เมื่อมันไม่มี ก็ต้องต่อสู้ วิธีต่อสู้แบบก้าน ก็เป็นสิ่งที่แฟนละครหลงไฟได้เห็นกันแล้ว เพราะนั้นเราจะโฟกัสที่แรงขับและแรงผลักที่ทำให้ก้านตัดสินใจที่จะทำงานอย่างในเรื่อง ความทะเยอทะยานมีแน่นอน บวกกับความอยากได้อยากมี ได้ก่อรูปแบบก้านแก้ว --- แต่เรา เราจะไม่พูดถึงศาสนากันนะ เราจะไม่พูดว่าน้องแก้วหลงในรูป น้องแก้วไม่รู้จักพอ น้องแก้วทำผิดศีลธรรม --- แต่สิ่งที่กระตุ้นการตัดสินใจของก้านจริงๆ คือระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมนี่แหละ ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดที่เมื่อมีผู้ซื้อก็มีผู้ขาย ตราบใดที่มีสองสิ่งนี้ ก็มีคนซื้อก้านและก้านก็ขายด้วย ตัวระบบเศรษฐกิจแบบตลาดนี่เข้ามาในไทยมาซักพักใหญ่ๆ เลยแหละ แต่ครอบคลุมไทยทุกภูมิภาคคือยุคที่อเมริกาเข้ามา ดังนั้นอาชีพแบบ sex worker จึงเป็นอีกอาชีพนึงในช้อยส์ของคนทำมาหากิน
|
1 ทศวรรษคดี 112 ตอนที่ 1: สถิติและความเป็น ‘การเมือง’ ของคดีหมิ่นฯ Posted: 14 Nov 2017 12:35 AM PST คดีที่เรียกติดปากว่า 'หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ' หรือความผิดตามมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาถูกพูดถึงมากอย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในทศวรรษที่ผ่านมา ในที่นี้จะนำเสนอปัญหาภาพรวมที่มีนัยสำคัญและพลวัตของมันอย่างกระชับที่สุด โดยจะแบ่งเป็น 3 ตอน อย่างไรก็ตาม แหล่งข้อมูลบางส่วนไม่สามารถอ้างอิงได้ครบถ้วนเนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อผู้ให้ข้อมูลหรือจำเลยในคดี เบื้องแรก ขอนำเสนอบริบททางการเมืองของเรื่องนี้ กลไกการทำงานของรัฐ และสถิติจำนวนคดีเท่าที่ทราบและเข้าถึงได้เสียก่อน เราพบว่า 1. จำนวนคดี 112 สัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับบริบททางการเมือง เมื่อการประท้วงเข้มข้น การวิพากษ์วิจารณ์การเมืองรุนแรง คดีเหล่านี้ก็ปรากฏมากขึ้นตามไปด้วย จุดเริ่มต้นอาจพอกล่าวได้ว่า เป็นเพราะสถาบันกษัตริย์ถูกนำมากล่าวอ้างในการต่อสู้ทางการเมืองอย่างชัดเจน เช่น วาทกรรม "เราจะสู้เพื่อในหลวง" "ปฏิญญาฟินแลนด์" (กล่าวหาว่าฝ่ายตรงข้ามต้องการล้มล้างสถาบัน) "ผังล้มเจ้า" ฯลฯ รวมทั้งในการทำรัฐประหารปี 2549 ที่มีการอ้างอย่างชัดเจนถึงสาเหตุการยึดอำนาจว่า สถานการณ์ "หมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่เคารพเทิดทูนของปวงชนชาวไทยอยู่บ่อยครั้ง" และทำให้การวิพากษ์วิจารณ์รัฐประหารของคนจำนวนหนึ่งจึงเกี่ยวพันไปกับสถาบันกษัตริย์ด้วย ประจักษ์ ก้องกีรติ: 40 ปี 14 ตุลา-40 ปี ราชาชาตินิยมประชาธิปไตย ชี้ติชมโดยสุจริต ฎีกายืนยกฟ้อง 'สนธิ-พวก' ไม่หมิ่นฯ ทักษิณ-ไทยรักไทย ปมเสวนาปฏิญญาฟินแลนด์ รายงาน: วิเคราะห์ 'ผัง (การเมือง?)' บทละครที่ไม่ต้องถามหาความจริง 2. ในช่วง 2 ปีแรกหลังการรัฐประหาร 2549 ผู้ที่เป็นเป้าหมายในการดำเนินคดีมักเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองโดยตรง เช่น นักปราศรัย นักการเมือง แต่ในช่วงหลังคดีนี้ถูกใช้กับประชาชนทั่วไปมากขึ้น เนื่องจากบทบาทของโซเชียลมีเดียขยายตัวอย่างมาก คดีโดยส่วนใหญ่มาจากการโพสต์เฟสบุ๊คซึ่งตามมาด้วยการลงโทษที่รุนแรงมาก เนื่องจากนับการโพสต์ 1 ครั้งเท่ากับ 1 กรรม ดังปรากฏโทษสูงสุดขณะนี้ (ปี 2560) อยู่ที่ 70 ปี (คดีวิชัย) รับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่ง 3. ช่วงปี 2552-2553 มีกระแส "การล่าแม่มดออนไลน์" สูงขึ้นมาก เพจที่โดดเด่น คือ เพจยุทธการลงทัณฑ์ทางสังคม (Social Sanction) หรือ SS รายงานของเครือข่ายพลเมืองเน็ตระบุว่า เพจนี้นำเสนอข้อมูลส่วนบุคคลของเป้าหมายที่เชื่อว่าหมิ่นสถาบันมากกว่า 40 ราย และส่งผลให้หลายรายต้องออกจากงาน บางรายกลายเป็นคดีความ จนกระทั่งเกิดเพจ Anti-SS ออกมาตอบโต้ 4. ช่วงปี 2553-2555 เริ่มมีกิจกรรมรณรงค์เรื่องนี้อย่างมาก เนื่องจากมีคดีเกิดขึ้นไม่น้อยและเป็นข่าวอยู่ตลอดเวลา ขณะที่แรงกดดันจากต่างประเทศก็เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจากสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป องค์กรต่างประเทศอื่นๆ รวมถึงในเวทีกฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ มีแถลงการณ์เรียกร้องและมีคำถามถึงรัฐบาลไทยในเรื่องนี้เรื่อยมา โดยเฉพาะเมื่อมีการเสียชีวิตของนายอำพล ตั้งนพกุล หรือ 'อากง' ในเรือนจำยิ่งเกิดการรณรงค์ทั้งในเชิงวิชาการ เช่น การเสวนาและบทความต่างๆ หรือในเชิงวัฒนธรรม เช่น บทกวี งานศิลปะ นิทรรศการ มีการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่น กระแสฝ่ามืออากง, fearlessness walk, กลุ่มแสงสำนึก ฯลฯ ตลอดจนการล่ารายชื่อให้ทั้งยกเลิกกฎหมายนี้ นำโดยสมยศ พฤกษาเกษมสุข หรือข้อเรียกร้องที่อ่อนกว่านั้นให้แก้ไขกฎหมายที่ ครก.112 (คณะกรรมการรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112) รวบรวมหลายหมื่นรายชื่อยื่นต่อรัฐสภา โดยนำเสนอร่างกฎหมายที่จัดทำโดยคณะนิติราษฎร์ซึ่งแก้ไขส่วนสำคัญให้ชัดเจนขึ้น คือ ปรับโทษให้ต่ำลง กำหนดผู้ริเริ่มดำเนินคดี กำหนดเหตุยกเว้นโทษ ขณะเดียวกันก็เกิดกระแสต่อต้านการแก้ไขกฎหมายเช่นกัน เช่น กลุ่มหมอตุลย์ กลุ่มสยามประชาภิวัตน์ และแม้แต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งขณะนั้นเป็น ผบ.ทบ.ก็เคยให้ความเห็นไล่ผู้ต้องการแก้ไข ม.112 ไปอยู่ต่างประเทศ และระบุว่า กลุ่มนิติราษฎร์เป็น "พวกสมองปลายเปิด" 5. ก่อนหน้าการรัฐประหารของ คสช. ในยุครัฐบาลพลเรือน ช่วงที่มีเหตุการณ์ประท้วงใหญ่ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีจำนวนคดีเกิดขึ้นมากกว่าในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พอสมควร ทั้งนี้เพราะเกิดการชุมนุมใหญ่และความรุนแรงในปี 2552-2553 กระแสความคิดเห็นทางการเมืองจึงร้อนแรงตามไปด้วย จากนั้นปลายปี 2554 คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อความปรองดองแห่งชาติ หรือ คอป. เสนอให้มีการแก้ไขมาตรา 112 แต่ไม่มีการตอบรับจากรัฐบาลใด 6. เมื่อเกิดการรัฐประหารครั้งล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2557 ผู้ที่มีบทบาททางการเมืองสูงและเคยมีประวัติวิจารณ์การเมืองเข้มข้นหลบหนีเพื่อลี้ภัยยังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันจำนวนคดี 112 ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็นสถิติสูงสุดในรอบสิบปี มีรายงานว่าเกิดจากการสั่งการให้รื้อคดีต่างๆ ที่ค้างอยู่ในชั้นตำรวจ ไม่ว่าจะด้วยเหตุที่หาผู้ต้องหาไม่ได้หรือเป็นคดียิบย่อยเกินไป ประกอบกับเป็นยุคที่การหาหลักฐานไม่เป็นไปตามหลักกฎหมายปกติ ทหารสามารถควบคุมตัวใครก็ได้และทำการสอบสวนได้เองในค่ายทหารเป็นเวลา 7 วันก่อนจะส่งให้ตำรวจดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมาย บางส่วนขึ้นศาลทหาร บางส่วนขึ้นศาลอาญา (หลังมีการใช้ ม.44 ยกเลิกดำเนินคดีความมั่นคงในศาลทหาร) กระนั้น ทหารก็ยังมีอำนาจในการจับกุมผู้ต้องสงสัยไปสอบสวนในค่ายทหารได้ 7 วันจนถึงปัจจุบัน โดยทนายและญาติไม่สามารถเข้าร่วมฟังการสอบสวนด้วยได้ รวมทั้งมีรายงานการถูกซ้อมทรมานในคดีความมั่นคงด้วย
สถิติคดี 112 ทั่วประเทศในชั้นตำรวจ ปี 2550-2560ปี 2550 จำนวน 36 คดี (รัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์)
ปี 2551 จำนวน 55 คดี (รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และสมชาย วงศ์สวัสดิ์) เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง: กลุ่มย่อยและ นปช.ชุมนุมที่สนามหลวง/ ศาลรัฐธรรมนูญปลดสมัคร สุนทรเวช จากตำแหน่งนายกฯ/ พันธมิตรฯ ชุมนุม 193 วัน ยึดสนามบินขับไล่รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์/ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชทานเพลิงศพ 'น้องโบว์'/ ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคพลังประชาชน
ปี 2552 จำนวน 104 คดี (รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง: การชุมนุมประท้วงของ นปช. เดือนเมษายน
ปี 2553 จำนวน 65 คดี (รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง: การชุมนุมประท้วงของ นปช.เดือนมีนาคม – พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิตเกือบร้อยรายจากการสลายการชุมนุม
ปี 2554 จำนวน 37 คดี (รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง: การชุมนุมรำลึกเหตุการณ์ปี 2553, เลือกตั้งทั่วไป (พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง)
ปี 2555 จำนวน 25 คดี (รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง: ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการแก้ที่มา ส.ว.ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยฯ, เสธ.อ้ายชุมนุมแช่แข็งประเทศไทย, อำพล หรืออากง SMS เสียชีวิตในเรือนจำ, ครก.112 รวบรวมรายชื่อยื่นรัฐสภาเพื่อขอแก้ไขมาตรา 112
ปี 2556 จำนวน 57 คดี (รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง: รายการตอบโจทย์ที่พูดเรื่องกฎหมายหมิ่นฯ ถูกประท้วงและถูกระงับการออกอากาศ/ ครบรอบ 40 ปี 14 ตุลา/ รัฐบาลพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม 'เหมาเข่ง' 'สุดซอย'/ ชุมนุมต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม/ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยุบสภา/ กปปส.ประท้วง Shutdown Bangkok
ปี 2557 จำนวน 99 คดี (รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และประยุทธ์ จันทร์โอชา) เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง: กปปส.ประท้วง ปิดคูหาเลือกตั้ง/ รัฐประหาร คสช.
ปี 2558 จำนวน 116 คดี (รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา) เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง: ชุมนุมขนาดเล็กต่อต้านรัฐประหาร/ ตรวจสอบโครงการราชภักดิ์
ปี 2559 จำนวน 101 คดี (รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา) เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง: จัดประชามติรัฐธรรมนูญ/ รณรงค์โหวตโน-โนโหวต/ นปช.ตั้งศูนย์ปราบโกงประชามติ พัฒน์นรี หรือแม่จ่านิว (คุยในกล่องข้อความเฟสบุ๊ค), หฤษฎ์และณัฏฐิกา (คุยในกล่องข้อความเฟสบุ๊ค), อานันท์ (พูดถึงสมเด็นพระเทพฯ), เกษร (โพสต์เฟสบุ๊ค), สราวุทธิ์ (โพสต์เฟสบุ๊ค), สุธี (โพสต์เฟสบุ๊ค), สุนทร (โพสต์เฟสบุ๊ค), เค (โพสต์เฟสบุ๊ค), อมรโชติซิงค์ (ทะเลาะกับบุคคลอื่น), จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา (แชร์ข่าวบีบีซีในเฟสบุ๊ค) ดูที่นี่
มกราคม - กันยายน 2560 จำนวน 45 คดี (รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา) เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง: ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 00000จากจำนวนคดีทั้งหมดที่นำเสนอมา คดีส่วนใหญ่ยังอยู่ในระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นตำรวจ คดีที่ตำรวจสั่งฟ้องต่ออัยการไปแล้วมีจำนวน 254 คดี สั่งไม่ฟ้อง 137 คดี และงดการสอบสวน 110 คดี การงดสอบสวนหมายถึง คดีที่หาตัวผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้เนื่องจากเหตุเกิดในโลกออนไลน์และเจ้าของแพลตฟอร์มรายสำคัญอย่างยูทูบและเฟสบุ๊ค ยังมีนโยบายไม่เปิดเผยข้อมูลผู้ใช้เป็นหลัก (อ่านที่นี่) นอกจากนี้มีกรณีที่อยู่ในการดำเนินการของสำนักงานอัยการสูงสุดอีก 62 คดี (คดีที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร อำนาจการสอบสวนและหาพยานหลักฐานอยู่ที่อัยการ) และมีคดีที่อยู่ในอำนาจของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ 23 คดี ด้านไอลอว์ระบุว่า หลังรัฐประหาร 22 พ.ค.2557 จนถึงปัจจุบัน สามารถเข้าถึงและติดตามคดี 112 ที่เกี่ยวพันกับการแสดงออกได้ทั้งหมด 90 คดี (อ่านที่นี่) ในจำนวนนี้ต้องขึ้นศาลทหาร 38 คดี หรือคิดเป็น 34.2%
รายงาน: รู้จักศาลทหาร รับรู้สภาพการณ์ผู้ต้องหาพลเรือน ไกลแค่ไหนคือใกล้: การสู้คดียาวนาน (พิเศษ) ในศาล (พิเศษ) ทหาร
คณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพคดี 112 นับเป็น 'เผือกร้อน' สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐในทุกองคาพยพ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่กลไกรัฐเล็กๆ ไม่อาจดำเนินการไปตามปกติ จึงต้องเกิดการควบคุมดูแลจากส่วนกลาง เราไม่ทราบแน่ชัดว่า คณะกรรมการส่วนกลางเกิดขึ้นเมื่อไร แต่ที่ชัดเจนคือในปลายปี 2552 สำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้ง คณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และมีการปรับปรุงแนวทางการทำงานอีกครั้งในปี 2553 กลไกนี้ยังคงทำงานมาจนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการประกอบด้วยบุคลากรระดับรองผู้บัญชาการ สตช. ผู้บัญชาการและผู้บังคับการหน่วยต่างๆ แนวทางหลักก็คือ ตำรวจในทุกท้องที่ต้องรายงานข้อเท็จจริงโดยละเอียดพร้อมความเห็น ในคดี 112 และคดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(3) เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ให้คณะกรรมการชุดนี้พิจารณาว่าเข้าข่ายความผิดหรือไม่ ... ไม่มีข้อยกเว้น โดยส่วนใหญ่แล้วคณะกรรมการจะสั่งฟ้องทั้งหมดหากเข้าองค์ประกอบอยู่บ้างเพื่อให้อัยการและศาลเป็นผู้พิจารณา บรรยากาศโดยรวมนั้นพบว่า ตำรวจมีความหวาดกลัวว่าหากสั่งไม่ฟ้องจะโดนข้อกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีเช่นกัน ในส่วนที่จะสั่งไม่ฟ้องได้นั้นจึงต้องไม่เข้าองค์ประกอบความผิดอย่างแน่ชัดซึ่งก็มีอยู่จำนวนไม่น้อย เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีความมั่นคงที่ประชาชนคนใดก็สามารถแจ้งความกล่าวโทษบุคคลอื่นได้โดยง่าย มีข้อมูลที่ยืนยันได้ถึงความเข้มงวดในเรื่องนี้ เมื่อพนักงานสอบสวนรายหนึ่งทำความเห็นสั่งไม่ฟ้องคดี 112 คดีหนึ่งซึ่งพาดพิงถึงสมเด็จพระเทพฯ โดยไม่ผ่านคณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่น หลังการรัฐประหารกรณีนี้ถูกหยิบมาพิจารณาใหม่โดยคณะกรรมการฯ และให้สั่งฟ้อง ขณะที่พนักงานสอบสวนรายนั้นถูกลงโทษทางวินัย ถูกย้ายไปประจำการยังต่างจังหวัด เขาหลั่งน้ำตาเล่าถึง "ความผิดพลาด" ที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเป็นพยานในศาลในฐานะอดีตพนักงานสอบสวนในคดีดังกล่าว อันที่จริงในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เคยมีการตั้ง "คณะกรรมการที่ปรึกษาคดีล่วงละเมิดสถาบัน" ทำหน้าที่สร้างเอกภาพในแนวทางดำเนินคดีระหว่างตำรวจกับอัยการ คัดกรองคดียิบย่อยออก ประเมินภาพรวมไม่ให้เรื่องนี้เสียหายต่อภาพลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ แต่สุดท้ายเนื่องจากกรรมการมีความคิดที่หลากหลายมาก และประเด็น 112 ถูกทำให้เป็นการเมืองอย่างยิ่ง ทำให้คณะกรรมการชุดนี้ต้องยุติบทบาทลงในที่สุด (กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ (ปลัดกระทรวงยุติธรรมขณะนั้น) ให้สัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์มติชน 24 ม.ค.2555) การดำเนินการคดี 112 จึงไม่ได้ถูกคำนวณผลลัพธ์ในทางการเมือง และขยายขอบเขตกว้างขวางอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน - - - - - - - - - - - - - ในตอนหน้าเราจะขยับเข้าใกล้สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งขึ้น โดยจะพิจารณาถึงรายละเอียดปัญหาการพิจารณาคดีและประเด็น 'การต่อสู้' ของจำเลยในคดีนี้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น