โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ส่องกระแสนักกิจกรรมหญิงคนรุ่นใหม่ในกัมพูชากับภารกิจเพื่อความเป็นธรรมต่อทุกเพศ

Posted: 24 Nov 2017 08:45 AM PST

เนื่องในสัปดาห์รณรงค์ต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิง ขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับพลังของนักกิจกรรมหญิงในกัมพูชาที่มุ่งสั่นคลอนระบอบชายเป็นใหญ่ ผู้หญิงเหล่านี้เคลื่อนไหวทั้งในประเด็นสิ่งแวดล้อม สิทธิผู้มีความหลากหลายทางเพศ สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ และการเสริมพลังให้ผู้หญิง โดยมีผู้นำสตรีเหล่านี้เป็นคนรุ่นใหม่ที่พยายามแผ้วถางไปสู่ทางใหม่

24 พ.ย. 2560 สื่อเซาธ์อีสต์เอเชียโกลบระบุว่า ในกัมพูชามีปัญหาการไล่ที่ประชาชนทำให้เกิดชนชั้นล่างผู้ไร้ทรัพย์สมบัติ ความขัดแย้งเรื่องที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนหลายแสนคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจนเพื่อเซ่นสังเวยผลประโยชน์ของกลุ่มบรรษัท อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ได้ส่งผลบางอย่างที่ไม่ได้คาดหมายเอาไว้คือมันกลายเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกระแสนักกิจกรรมหญิงชาวกัมพูชารุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตขึ้น

กลุ่มผู้หญิงจากทะเลสาบบึงกอกเดินทางไปประท้วงบนท้องถนนของกรุงพนมเปญหลายครั้ง ถูกจับกุมหลายครั้ง และอาจจะเรียกได้ว่าเป็นที่รู้จักมากที่สุดในฐานะผู้ประท้วงโครงการถมทะเลสาบและยึดที่ดินของคนในท้องถิ่น เรื่องนี้มีการนำเสนอออกไปทั่วโลก พวกเธอไม่ได้โดดเดี่ยว เนื่องจากในกัมพูชากลุ่มผู้หญิงจะเป็นหัวหอกในการประท้วงเพื่อสิทธิที่ดินทำกิน บางส่วนก็ได้เข้าไปมีส่วนในวงการเมืองด้วย

จักร โซเพียบ ผู้อำนวยการบริหารศูนย์เพื่อสิทธิมนุษยชนกัมพูชา (CCHR) เคยกล่าวไว้ว่าในกัมพูชามีความเชื่อฝังหัวทางวัฒนธรรมที่ว่าผู้หญิงต้องเป็นคนทำหน้าที่ดูแลและเป็นแม่บ้าน นั่นทำให้เวลาเกิดความขัดแย้งเรื่องที่ดินทำกินมันส่งผลกระทบต่อผู้หญิงกัมพูชาอย่างหนัก ด้วยเหตุนี้เองจึงกลายเป็นแรงจูงใจให้พวกเธอเป็นตัวแทนดำเนินกิจกรรมแทนชุมชนของพวกเธอ

มีการยกตัวอย่างกรณีของลิม คิมซอร์ ผู้ใช้นามว่ากิกิ ในปี 2552 ชุมชนเธอในกรุงพนมเปญถูกไล่ที่ แม้ว่าครอบครัวเธอจะได้รับค่าชดเชยพอสมควร แต่พ่อของเธอก็บอกว่าไม่อยากทิ้งชุมชนไว้เบื้องหลังจึงคงอยู่และพยายามปกป้องเพื่อทุกคนในชุมชน การแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวนี้เป็นแรงบันดาลใจให้คิมซอร์กลายเป็นนักกิจกรรมที่เรียกร้องความเป็นธรรมในองค์กรเครือข่ายสิ่งแวดล้อมที่ชื่อ 'มาเธอร์เนเจอร์' ถึงแม้ว่ากลุ่มนี้จะสลายตัวไปหลังจากถูกรัฐบาลกดดันเมื่อไม่นานมานี้ แต่อดีตสมาชิกก็จะทำกิจกรรมต่อไปในลักษณะแนวร่วมแบบไม่เป็นทางการ

คิมซอร์มักจะเดินทางไปเยี่ยมผู้คนตามหมู่บ้านที่ห่างไกล เธอเล่าว่าเธอต้องเผชิญกับการข่มขู่คุกคาม ถูกทำร้ายร่างกาย และมีอยู่ครั้งหนึ่งก็ถูกจับขัง 17 ชั่วโมง ผู้ที่เข้ามาคุกคามเธอคือกลุ่มตำรวจนอกเครื่องแบบหรือยาม

ในกัมพูชา ผู้หญิงจำนวนมากยังไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้และถูกผลักให้ไปเป็นแม่บ้านตามประเพณี ทำให้คิมซอร์รู้สึกอยากเป็นคนนำทางให้ผู้หญิงหลุดพ้นไปจากวงจรความคาดหวังในบทบาททางเพศและมีชีวิตที่อิสระ เธอเชื่อว่านี่คือวิธีการที่ทรงพลังในการช่วยกันโอบอุ้มกันและกัน

ในกัมพูชายังมีกฎทางศีลธรรมเคร่งๆ อีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า Chbab Srey คอยกำกับบทบาททางเพศของหญิงและชาย มันบีบเค้นผู้หญิงด้วยการสร้างภาพผู้หญิงในอุดมคติว่าต้องเป็นคนอ่อนโยน เหนียมอาย และเชื่อฟังปรนนิบัติสามีตัวเอง คำสอนนี้ยังบรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนมาเป็นเวลานานจนกระทั่งถึงปี 2550 ซึ่งหลังจากนั้นยังคงสอนเรื่องนี้อยู่โดยใช้ฉบับที่ตัดทอนบางส่วนออกไป

อย่างไรก็ตามในขณะที่กัมพูชากำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วและผู้คนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนได้มากขึ้น ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมบ้างแล้ว เช่นการใช้สื่อของ แคเธอรีน วี แฮร์รี นักจัดรายการวิดีโออายุ 23 ปี เธอเป็นที่รู้จักจากการที่รายการเธอเน้นพูดถึงสิทธิทางเพศวิถีและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์อย่างตรงไปตรงมา เธอบอกว่าผู้หญิงวัยรุ่นเริ่มลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิของตัวเองมากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความหลากหลายอย่างพนมเปญ

แฮร์รีบอกว่าเรื่องนี้เป็นการแย่งชิงพื้นที่กันระหว่างคนต่างรุ่น คนรุ่นใหม่ที่ส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า 30 ปี มักจะใช้โซเชียลมีเดีย ผู้คนต่างรุ่นกันยังได้พบเจอวัฒนธรรมต่างกัน เจอคนที่ต่างกัน และประเทศที่ต่างกัน อีกทั้งคนรุ่นใหม่ได้รับรู้ข้อมูลมากขึ้นไม่ใช่เพียงแค่ข้อมูลจากพ่อแม่ จากเพื่อน หรือจากโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังได้ข้อมูลมาจากประเทศอื่นด้วย

วิดีโอของแฮร์รี่ที่พูดในเชิงสำรวจข้อห้ามศีลธรรมเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ได้รับความนิยมมีจำนวนรับชม 2 ล้านวิว ขณะที่ความคิดของเธอมีคนชมชอบจำนวนมาก แต่ก็มีกลุ่มคนที่โต้ตอบกลับในเชิงไม่พอใจ เธอบอกว่าส่วนใหญ่คนที่มีปฏิกิริยาทางลบต่อเธอมักจะเป็นผู้ชาย ผู้ชายเหล่านี้รู้สึกสั่นคลอนคิดว่าเธอจะทำลาย "วัฒนธรรม" ของพวกเขา แต่ก็มีบางส่วนที่เป็นผู้หญิงที่อ้างว่าเธอ "ทำลายภาพลักษณ์ของผู้หญิงชาวกัมพูชา" ด้วย

ในกัมพูชายังมีนักสตรีนิยมเยาวชนที่ชื่อ นอย ชอวิน (Noy Chhorvin) เธอเป็นผู้ประสานงานระดับชาติขององค์กรเสริมพลังสตรีรุ่นเยาว์กัมพูชา (CYWEN) เป้าหมายของเธอคือการขจัดการสร้างภาพเหมารวมความเป็นผู้หญิงในสังคมกัมพูชา นอกจากนี้ยังเน้นประเด็นเรื่องความรุนแรงจากเหตุทางเพศสภาพ สิทธิแรงงานและการศึกษา ภายในช่วง 3 ปี ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นกุญแจสำคัญเพื่อความก้าวหน้าในประเด็นผู้หญิงกัมพูชา

ชอวินกล่าวว่าเธอต้องการให้ความรู้เรื่องแนวคิดสตรีนิยมเพื่อสร้างความเป็นผู้นำให้กับสมาชิก อีกทั้งยังต้องการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้คนในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศโดยเฉพาะกับคนหนุ่มสาว และอยากให้แนวคิดสตรีนิยมฝังรากอยู่ในวัฒนธรรมกัมพูชา แต่ทว่าเช่นเดียวกับผู้หญิงที่ลุกขึ้นสู้ทุกคน ชอวินเองก็ต้องเผชิญกับการถูกตัดสินจากสังคมหรือคนใกล้ตัว เธอดิ้นรนบนหนทางของตัวเองจนสามารถเรียนจบปริญญาตรีได้เป็นคนแรกของครอบครัวแม้ก่อนหน้านี้ครอบครัวจะมีความเชื่อฝังหัวว่าพวกเธอไม่จำเป็นต้องเรียนสูงและอ้างว่ามหาวิทยาลัยที่อยู่ไกลบ้านไม่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิง

ชอวินเล่าว่าก่อนหน้านี้ตัวเธอเองก็เคยมีความเชื่อผิดๆ หลายเรื่องแม้กระทั่งต่อผู้หญิงด้วยกัน เธอเคยรู้สึกเหยียดหยามคนทำงานบริการทางเพศและกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมาก่อน แต่เมื่อเธอพัฒนาความคิดของตัวเอง เธอก็ปลดปล่อยตัวเองจากอคติเหล่านี้ได้ เธอเชื่อว่าทุกคนมีสิทธิที่จะบรรลุศักยภาพในตัวเอง

ในเรื่องสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ราจนา เจิง (Rachana Chhoeurng) ผู้เรียกตัวเองว่า "ทานา" หญิงรักหญิงอายุ 25 ปี บอกว่าในกัมพูชายังมีอคติและการเลือกปฏิบัติต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศ ปัจจุบันทานาทำงานเป็นนักกิจกรรมให้กับองค์กรสิทธิมนุษยชน CamASEAN ในประเด็น LGBT เช่น เรื่องการถูกบังคับให้แต่งงาน การถูกทำร้ายทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงการไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆ

ทานาบอกว่าในขณะที่เธอต่อสู้เพื่อให้ LGBT แสดงออกถึงวิถีชีวิตพวกเขาในสังคมทั่วไปได้ เธอก็บอกว่าในประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเพศสภาพยังเป็นเรื่องของคนอื่นๆ ในสังคมที่ไม่ใช่ LGBT ด้วย พวกเขาจึงมีสิทธิที่จะร่วมกันผลักดันความเท่าเทียมทางเพศสภาพด้วยกันทั้งหมด

ธิดา คุส ผู้อำนวยการบริหารของศิลาคา (Silaka) ที่เป็นตัวตั้งตัวตีหลักในการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศสภาพในกัมพูชา ตั้งแต่ก่อตั้งองค์กรของเธอมาเธอเน้นเรื่องการให้ผู้หญิงเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นนับตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ในปัจจุบัน เธอเชื่อว่าความพยายามส่งเสริมสิทธิสตรีถูกส่งผ่านไปอยู่ในมือของนักกิจกรรมหญิงคนรุ่นใหม่แล้ว

"จุดที่เราอยู่ในตอนนี้ไม่ได้เป็นผลมาจากสิ่งที่เราทำเมื่อ 10-20 ปีที่ผ่านมา มันเป็นผลมาจากการที่ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาพวกเราถูกละเลยเรื่องความเท่าเทียมทางเพศสภาพ ทำให้อะไรแบบนี้เกิดขึ้น มันเป็นการต่อสู้อย่างต่อเนื่อง" คุสกล่าว "คนรุ่นต่อไปจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง"


เรียบเรียงจาก

A wave of young female activists from Cambodia aim to shake up the patriarchy. Here's how, Southeast Asia Globe, 01-11-2017
http://sea-globe.com/taking-a-stand/

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โปรดเกล้าฯ ให้ 'ร.ท.หญิง ชยุตรา สิริวชิรภักดิ์' ออกจากยศร้อยโทคงเป็นสิบเอก

Posted: 24 Nov 2017 07:27 AM PST

มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ ร.ท.หญิง ชยุตรา สิริวชิรภักดิ์ ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ออกจากยศร้อยโทหญิง คงเป็น สิบเอกหญิง เหตุขาดประสบการณ์-ความสามารถในตําแหน่งหน้าที่ จึงให้เข้ารับการฝึกศึกษา 

24 พ.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ให้นายทหารสัญญาบัตร ออกจากยศทหาร

ประกาศระบุว่า มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ ร้อยโทหญิง ชยุตรา สิริวชิรภักดิ์ นายทหารสัญญาบัตร ตําแหน่ง รักษาราชการ ผู้บังคับหมวดทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ปฏิบัติการที่ 2 หมวดทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์มาตรฐานที่ 2 กองร้อยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ที่ 1 กองพันทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 4 หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ออกจากยศร้อยโทหญิง คงเป็น สิบเอกหญิง ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 เนื่องจากขาดประสบการณ์ ขาดวุฒิภาวะ ขาดความรู้ ความสามารถในตําแหน่งหน้าที่ของตน และขาดความเหมาะสมที่จะครองยศนายทหารสัญญาบัตร จึงให้เข้ารับการฝึกศึกษา เพื่อปรับปรุงและพัฒนาตนเองตลอดจนความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ ความชํานาญในตําแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบ ให้มีความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการรับราชการต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โปรดเกล้าฯ ครม.ประยุทธ์ 5 พ้น 16 เก้าอี้ - แต่งตั้งใหม่ 18 ตำแหน่ง

Posted: 24 Nov 2017 07:09 AM PST

พล.อ.ฉัตรชัย พ้น รมว.เกษตรฯ โดยมี กฤษฎา นั่งแทน ขณะที่ พล.ต.อ.อดุลย์ นั่ง รมว.แรงงาน ส่วน ม.ล.ปนัดดา หลุดเก้าอี้ รมว.  

24 พ.ย.2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ 

ประกาศระบุว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่นายกรัฐมนตรีได้กราบบังคมทูลว่า ได้มีรัฐมนตรีลาออกบางตําแหน่ง และสมควรปรับปรุง รัฐมนตรีบางตําแหน่ง เพื่อความเหมาะสมและบังเกิดประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดิน อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 158 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้ 1. ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี พล.อ. อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี พิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี อภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี

2. ให้แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ เป็นรองนายกรัฐมนตรี สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ เป็นรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี กอบศักดิ์ ภูตระกูล เป็นรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา 

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ กฤษฎา บุญราช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลักษณ์ วจนานวัช เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์  วิวัฒน์ ศัลยกําธร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ไพรินทร์ ชูโชติถาวร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ศิริ จิระพงษ์พันธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ชุติมา บุณยประภัศร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อีกตําแหน่งหนึ่ง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี อุดม คชินทร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สมชาย หาญหิรัญ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 23 พ.ย. 2560 เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

วอนมหาดไทยเร่งทำตามคำสั่งศาลปกครอง-คืนสัญชาติคนไทยพลัดถิ่น

Posted: 24 Nov 2017 06:03 AM PST

เครือข่ายไทยพลัดถิ่นแม่สอด-แม่ระมาด 351 คน ร้องขอให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเร่งดำเนินการคืนสัญชาติไทย หลังศาลปกครองมีคำสั่งให้สัญชาติไทยมาแล้วกว่าสองเดือน

แฟ้มภาพ กลุ่มเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่นแม่สอด-แม่ระมาด และสุรพงษ์ กองจันทึก ทนายความ ระหว่างไปฟังคำพิพากษาศาลปกครองขอคืนสัญชาติไทยเมื่อ 14 กันยายน 2560 (ที่มา: แฟ้มภาพ/เอื้อเฟื้อภาพโดยสุรพงษ์ กองจันทึก)

เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 23 พฤศจิกายน 2560 กลุ่มเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่น อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด นำโดยนายตา ธรรมะใจ อายุ 55 ปี อยู่บ้านเลขที่ 838 หมู่ที่ 2 ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่ปรึกษาอาวุโสเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่นจังหวัดตาก พร้อมพี่น้องเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่น ได้ดินทางมายังที่ว่าการแม่อำเภอแม่สอด เพื่อสอบถามถึงความคืบหน้า หลังจากศาลปกครอง ได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2560 คดีหมายเลขดำที่ 352/2558 คดีหมายเลขแดงที่ 1678/2560  ให้มีการคืนสัญชาติไทย ให้กับกลุ่มคนไทยพลัดถิ่น จากอำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก จำนวน 351 คน ที่ยื่นร้องต่อศาลปกครอง อีกทั้งยังได้วินิจฉัยให้กับบุตรของคนไทยพลัดถิ่น ว่าย่อมได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิดไปด้วย  ซึ่งต่อมาคณะกรรมการกลั่นกรองสัญชาติคนไทยพลัดถิ่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีความเห็นว่าจะไม่มีการอุทธรณ์ คำสั่งศาลปกครอง โดยทางอธิบดีกรมการปกครอง ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการฯ จะเป็นผู้มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ให้กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นกลุ่มนี้ตามกฎหมาย และดำเนินการทำบัตรประชาชนให้

เครือข่ายคนไทยพลัดถิ่น ได้พบกับ นายธีระนันท์  ชัยมานันท์ ปลัดอำเภอหัวหน้างานทะเบียนอำเภอแม่สอด เพื่อสอบถามความคืบหน้าถึงการดำเนินการให้สัญชาติไทยแก่กลุ่มคนไทยพลัดถิ่น จำนวน 351 ราย โดยทางปลัดอำเภอแม่สอดได้แจ้งว่า ขณะนี้ทางอำเภอทราบเรื่องที่ทางศาลปกครองมีคำพิพากษาดังกล่าวแล้ว แต่ยังคงต้องรอให้ทางกรมการปกครองทำหนังสือสั่งการและจัดส่งรายชื่อผู้ได้สัญชาติไทยมาก่อน จึงสามารถที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้ โดยทางอำเภอแม่สอดพร้อมที่จะดำเนินการในทุกเรื่องอย่างเร่งด่วนให้กับพี่น้องคนไทยพลัดถิ่นชุดดังกล่าว

ศาลปกครองสั่งมหาดไทยคืนสัญชาติ 351 ไทยพลัดถิ่นบ้านห้วยส้าน-เมียวดี, 14 ก.ย. 60

นายตา กล่าวว่า กลุ่มเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่นรู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ทางกรมการปกครองและทางอำเภอแม่สอด ให้ความสำคัญกับกลุ่มพี่น้องไทยพลัดถิ่น อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด และต้องขอขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่เห็นถึงความสำคัญของการได้สัญชาติ ความเป็นคนไทย โดยเฉพาะจากคำพิพากษาของศาลปกครอง นั้นได้สร้างบรรทัดฐานให้กับ คนไทยพลัดถิ่นในอำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด ซึ่งขณะนี้ทางเครือข่ายคนไทยพลัดถิ่น ได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลว่าผู้ฟ้องคดี ทั้ง 351 ราย นั้น มีจำนวนเท่าใดที่ได้สัญชาติไทยไปก่อนคำพิพากษาแล้วบ้าง และมีจำนวนเท่าไร ที่เสียชีวิตไปแล้ว เพื่อจะได้จำนวนที่ชัดเจนของผู้ฟ้องคดีว่า ปัจจุบันมีจำนวนเท่าไหร่

ด้านนายสุรพงษ์ กองจันทึก หัวหน้าคณะทำงานช่วยเหลือคดีคนไทยพลัดถิ่น สภาทนายความ กล่าวว่า คนไทยพลัดถิ่นทั้ง 351 คน ได้รับสัญชาติไทยโดยถือว่าเป็นไทยโดยการเกิดตั้งแต่วันที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาคือวันที่ 14 กันยายน 2560  เป็นหน้าที่ของสำนักทะเบียนกรมการปกครองต้องออกเอกสารรับรองความเป็นคนไทย ได้แก่การเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านแบบคนไทย และจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนคนไทยให้  จนปัจจุบันผ่านมา 70 วันแล้วก็ยังไม่ได้รับการติดต่อให้ไปทำเอกสารในฐานะคนไทย ทำให้ชาวบ้านยังคงเสียสิทธิต่างๆ อาทิ เช่น สิทธิในการศึกษา สิทธิในการทำงานและประกอบวิชาชีพ สิทธิในการรักษาพยาบาล และการเข้าถึงสวัสดิการ ประกันสังคม เบี้ยผู้สูงอายุ สิทธิในการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และ สิทธิทางการเมือง อาทิ การรับราชการ การเลือกตั้งและการลงสมัครรับเลือกตั้ง

นายตา กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนอยากให้ทางกรมการปกครองเร่งรัดในการออกหนังสือรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ให้กับกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นอำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด เนื่องจากว่าที่ผ่านมากลุ่มคนไทยพลัดถิ่นอำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด ได้ต่อสู้ในเรื่องของสิทธิในสัญชาติและรอคอยกันมานานถึง 15 ปี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไทยแพนแถลงมากกว่าครึ่งผักผลไม้มีสารกำจัดวัชพืชตกค้างเกินค่ามาตรฐาน

Posted: 24 Nov 2017 02:31 AM PST

ไทยแพนแถลงผลการเฝ้าระวังสารพิษกำจัดศัตรูพืชประจำปี 60 พบมากกว่าครึ่งของผักผลไม้มีสารกำจัดวัชพืชตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ส่วนใหญ่เป็นพาราควอตซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเสนอแบนและไม่ให้มีการต่อทะเบียน ถั่วฝักยาว คะน้า ใบบัวบก กะเพรา พริกแดง องุ่น แก้วมังกร พบการตกค้างในระดับสูง

24 พ.ย. 2560 เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือไทยแพน (Thai-PAN) รายงานว่า ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสาน Thai-PAN แถลงผลการเฝ้าระวังผักและผลไม้ซึ่งไทยแพนดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 พบว่า จากการเก็บตัวอย่างผักและผลไม้จากทั่วประเทศจำนวน 150 ตัวอย่างเมื่อเดือนสิงหาคม 2560 ครอบคลุมผักยอดนิยม 5 ชนิด (ได้แก่ถั่วฝักยาว คะน้า พริกแดง กะเพรา และกะหล่ำปลี) ผักพื้นบ้านยอดฮิต 5 ชนิด (ได้แก่ ใบบัวบก ชะอม ตำลึง และสายบัว) และผลไม้ 6 ชนิด (องุ่น แก้วมังกร มะละกอ กล้วย มะพร้าว สับปะรด) ครอบคลุมตลาดจำนวน 9 ตลาดในจังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น ปทุมธานี ราชบุรี และสงขลา รวมทั้งจากห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่ 3 ห้าง และซุปเปอร์มาร์เก็ต  4 แห่ง พบว่าโดยภาพรวมมีสารพิษปนเปื้อนในผักและผลไม้เกินมาตรฐานถึง 46% แต่ก็ดีกว่าปีที่แล้วเล็กน้อย

ผู้ประสาน Thai-PAN  ระบุต่อว่า เป็นปีแรกที่ไทยแพนสุ่มตรวจผักพื้นบ้านยอดนิยมเพื่อเปรียบเทียบกับผักทั่วไปและผลไม้พบว่า ผักยอดนิยมทั่วไปมีสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน 64% ผักพื้นบ้านยอดนิยม 43% และผลไม้ 33% ตามลำดับ โดยในผักผลไม้ที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่ ถั่วฝักยาว คะน้า ใบบัวบก กะเพรา พริกแดง องุ่น แก้วมังกร  เพราะพบการตกค้างเกินมาตรฐานตั้งแต่ 7-9 ตัวอย่างจาก 10 ตัวอย่าง

"อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าเป็นกังวลมากที่สุดคือไทยแพนพบว่ามีสารเคมีกำจัดวัชพืชหรือยาฆ่าหญ้าตกค้างในผักและผลไม้ในระดับสูงถึง 55% จากจำนวนตัวอย่างที่ส่งตรวจทั้งหมด 76 ตัวอย่าง ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะเท่าที่ผ่านมาแทบไม่เคยมีการสุ่มตรวจหาสารพิษกลุ่มนี้อย่างจริงจังมาก่อนเลย โดยผลการตรวจพบพาราควอตตกค้างในระดับเกินมาตรฐานสูงถึง 38 ตัวอย่างจาก 76 ตัวอย่างที่ส่งตรวจ รองลงมาคือไกลโฟเซต ตรวจพบ 6 ตัวอย่าง และอะทราซีน 4 ตัวอย่าง" ปรกชล กล่าว

กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา ผู้ประสานงานโครงการรณรงค์ "กินเปลี่ยนโลก" มูลนิธิชีววิถี ซึ่งเข้าร่วมการเฝ้าระวังครั้งนี้ร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกและเครือข่ายความมั่นคงทางอาหารใน 5 จังหวัด กล่าวว่า "ก่อนการแถลงครั้งนี้ ไทยแพนได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง พร้อมได้มอบข้อมูลทั้งหมดให้มีการดำเนินการตามขั้นตอนและกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน หน่วยงานที่มาร่วมหารือ ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กรมวิชาการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักอาหาร คณะกรรมการอาหารและยา กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ทั้งนี้หน่วยงานต่าง ๆ และผู้ประกอบการก็จะได้นำข้อมูลระบุแหล่งที่มาแหล่งผลิตและแหล่งจำหน่ายที่เป็นปัญหาไปดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพบว่ายังมีการตรวจพบสารที่แบนและไม่อนุญาตให้ขึ้นทะเบียนแล้ว เช่น เมทามิโดฟอส อีพีเอ็น คาร์โบฟูราน และเมโทมิล  รวมทั้งมีการพบว่าผักผลไม้ราคาแพงซึ่งประทับตรารับรองต่างๆ ยังมีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานในระดับสูงกว่าที่จะยอมรับได้"

ผู้ประสานงานโครงการรณรงค์ "กินเปลี่ยนโลก" ระบุว่า ในส่วนของผักพื้นบ้านยอดฮิต ผลการตรวจชี้ว่า ขณะนี้การเพาะปลูกผักพื้นบ้านยอดนิยมที่เป็นที่ต้องการของตลาดจำนวนมาก ก็มีการใช้สารเคมีเข้มข้นไม่น้อยเลย ผลการตรวจครั้งนี้ยังเปิดเผยความจริง และชี้ให้เห็นว่าปัญหาของยาฆ่าหญ้าได้กลายเป็นปัญหาระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคทุกคนอย่างไม่อาจปฏิเสธได้อีกต่อไป

"นอกเหนือจากผลักดันให้หน่วยงานรัฐและเอกชนแก้ปัญหาข้างต้นแล้ว เครือข่ายที่ติดตามปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้ประสานงานกับองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค และองค์กรสิ่งแวดล้อมหลายองค์กร ได้หารือจนได้ข้อยุติแล้วว่าจะร่วมกันฟ้องร้องกรมวิชาการเกษตรซึ่งอนุญาตให้มีการต่อทะเบียนพาราควอต และเป็นไปได้ว่าอาจมีการต่อทะเบียนคลอร์ไพริฟอสด้วย ทั้งๆที่กระทรวงสาธารณสุขและคณะทำงาน 4 กระทรวงหลักได้เสนอต่อกรมวิชาการเกษตรให้ยุติการต่อทะเบียนและดำเนินการแบนสารทั้งสองชนิดดังกล่าว" กิ่งกร กล่าว

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

มสพ.อุทธรณ์ขอลดโทษให้จำเลยชาวกัมพูชา เหยื่อนายหน้าปลอมแปลงเอกสาร

Posted: 24 Nov 2017 01:42 AM PST

24 พ.ย. 2560 มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) รายงานว่า วานนี้ ทนายความอาสา มสพ. ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 โดยยื่นต่อศาลจังหวัดสุรินทร์ เพื่อขอให้ลดโทษแก่จำเลยชาวกัมพูชา 9 คน ซึ่งถูกพิพากษาให้จำคุกหกปี ในข้อหาปลอม และใช้หนังสือเดินทางปลอม  และปลอมและใช้ตราประทับคนเข้าเมืองปลอม ทั้งนี้ทนายความ มสพ. เห็นว่า เนื่องจากจำเลยทั้ง 9 คนมีการศึกษาน้อย ตกเป็นเหยื่อขบวนการนายหน้าค้าแรงงานและปลอมแปลงเอกสาร และไม่มีทนายความให้การช่วยเหลือแนะนำให้คำปรึกษาตั้งแต่ต้น จึงรับสารภาพต่อข้อหาดังกล่าวโดยขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้

สำหรับรายละเอียดดี มสพ. รายงานด้วยว่า สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 28 เม.ย.2560  แรงงานชาวกัมพูชา จำนวน 10 คน เป็นชาย 5 คน หญิง 5 คน ถูกเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสุรินทร์จับกุม เนื่องจากได้นำหนังสือเดินทางและวีซ่าปลอมมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ที่จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ เบื้องต้นพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาต่อแรงงานทั้งหมดว่า ปลอมและใช้หนังสือเดินทางปลอม และปลอมและใช้ตราประทับคนเข้าเมืองปลอม อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(15) , 296/8 , 296/13 และ 91 ต่อมาในวันที่ 24 ก.ค. 2560 ศาลจังหวัดสุรินทร์ ตัดสินจำคุกแรงงานทั้งหมดโดยเรียงกระทงลงโทษ กระทงละ 4 ปี รวมจำคุก 12 ปี แต่จากการที่แรงงานให้การรับสารภาพ ศาลจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงลงโทษจำคุกแรงงานทั้ง 10 คน คนละ 6 ปี

หลังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ญาติจำเลยในกัมพูชาได้ติดต่อสมาคมสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งกัมพูชา หรือชื่อย่อว่า ADHOC เพื่อขอความช่วยเหลือ โดยญาติยืนยันว่าจำเลยทุกคนเป็นเหยื่อของขบวนการค้าแรงงานและปลอมแปลงเอกสาร หลังถูกจับกุมได้รับการแจ้งและเข้าใจว่าหากรับสารภาพแล้วจะได้รับการปล่อยตัวให้กลับประเทศกัมพูชา แต่กลับปรากฎว่าต้องรับโทษจำคุกถึง 6 ปี  ADHOC จึงได้ติดต่อมายัง มสพ. เพื่อขอความช่วยเหลือด้านกฎหมาย โดยจำเลย 9 คน ได้ขอให้ทนายความอาสาจาก มสพ. ช่วยเหลือในคดี

ทนายความอาสาจาก มสพ. ได้ประสานความช่วยเหลือจากประธานสภาทนายความจังหวัดสุรินทร์ และได้ทราบข้อเท็จจริงจากจำเลยทั้งหมดว่าพวกตนได้ติดต่อนายหน้าที่คนรู้จักแนะนำกันมาเพื่อเดินทางมาทำงานในประเทศไทย โดยนายหน้าได้จัดทำเอกสารต่างๆ เกี่ยวกับการเดินทางให้ เสียค่าใช้จ่ายคนละ 2,500 บาท โดยเข้าใจว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้อง

"ในกัมพูชา เป็นเรื่องธรรมดามากที่ชาวบ้านในชนบทจะจ่ายเงินให้นายหน้าช่วยทำพาสปอร์ตให้ ชาวบ้านทั่วไป โดยเฉพาะคนที่มีการศึกษาน้อยไม่เข้าใจด้วยซ้ำว่าพาสปอร์ตคืออะไร อย่าว่าแต่แยกแยะได้หรือไม่ระหว่างพาสปอร์ตจริงกับพาสปอร์ตปลอม หน่วยงานรัฐยังสร้างความตระหนักในเรื่องนี้ให้กับผู้คนไม่พอ  ถ้าเปรียบเทียบกับนายหน้าผิดกฎหมายที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียง โฆษณาเสนอบริการตัวเอง และใช้ภาษาที่ง่ายๆ" ชาน โสกุนเทีย เจ้าหน้าที่สมาคม ADHOC สนับสนุนคำกล่าวของจำเลย

มสพ. รายงานเพิ่มเติมด้วยว่า ในชั้นสืบสวน จำเลยเข้าใจว่าตนได้ให้การสารภาพในข้อหาใช้เอกสารปลอม แต่ไม่ใช่รับสารภาพในข้อหาปลอมแปลงเอกสาร แต่ที่ปรากฏว่าจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาปลอมแปลงเอกสารด้วยนั้นอาจเป็นเพราะความไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ เนื่องจากไม่มีทนายความให้คำปรึกษาอย่างแท้จริง ไม่เข้าใจภาษาไทย และมีปัญหาในการแปล นอกจากนี้ ทนายความ มสพ. ยังพบข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อได้อีกว่ามีจำเลย 3 คน เป็นเด็ก มีอายุต่ำกว่า 18 ปีในวันที่ถูกจับ ซึ่งควรจะต้องถูกดำเนินคดีตามกระบวนการของศาลเยาวชนและครอบครัว ไม่ใช่กระบวนการยุติธรรมสำหรับผู้ใหญ่ จึงไม่สอดคล้องกับทั้งกฎหมายไทย และพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของสหประชาชาติ สำหรับขบวนการนายหน้าที่จำเลยทั้งหมดตกเป็นเหยื่อนั้น ญาติของจำเลยยืนยันว่ายังคงลอยนวลพ้นผิดและหลอกลวงชาวกัมพูชาต่อไป โดยทั้งเจ้าหน้าที่ไทยและกัมพูชาไม่ได้จับกุมกลุ่มบุคคลดังกล่าวมาดำเนินคดีแต่อย่างใด  

"คดีนี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ทั้งรัฐบาลประเทศต้นทางอย่างกัมพูชา และรัฐบาลประเทศปลายทางอย่างไทยยังคงต้องทำงานหนักเพื่อให้วาระ 'การเคลื่อนย้ายถิ่นอย่างปลอดภัย' (safe migration) ซึ่งเป็นวาระภายใต้ปฎิญญาร่วมของประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และในระดับอาเซียนนั้น มีความหมายอย่างแท้จริงกับชาวบ้านที่อยู่ห่างไกลข่าวสารข้อมูลเชิงนโยบาย สำหรับชาวบ้านทั่วไป นายหน้าคือแหล่งข้อมูลหลักที่เข้าถึงได้ และเข้าใจได้ หากต้องการย้ายถิ่นไปทำงานประเทศอื่น" ชลธิชา ตั้งวรมงคล  ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมของ มสพ. กล่าว

สำหรับกรณีเด็กสามคนที่ตกเป็นจำเลย และขณะนี้ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำจังหวัดสุรินทร์ร่วมกับผู้ใหญ่ อันเกิดจากการสอบสวนและดำเนินคดีที่ผิดพลาดของทางราชการนั้น มสพ. จะขอให้ทางราชการปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผย อำนาจซ้อนทับ-อุปสรรคในการเรียกร้องความเป็นธรรมของเหยื่อชายขอบที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ

Posted: 24 Nov 2017 01:41 AM PST

ตัวแทนชนเผ่าพื้นเมือง, คนข้ามเพศ และคนพิการ ร่วมแลกเปลี่ยนว่าอะไรเป็นมายาคติในสังคมไทยที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียกร้องความเป็นธรรมกรณีถูกล่วงละเมิดทางเพศ กงสุลใหญ่สหรัฐฯ ชี้ นอกจากการยุติความรุนแรงแล้วยังต้องต่อสู้กับ "การอ้างความชอบธรรม" ในการใช้ความรุนแรงต่อสตรีด้วย

เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2560 มีงาน "การประชุมและรณรงค์วันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงสากล" จัดโดย เครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อความเท่าเทียมระหว่างเพศ (CSOs for Gender Equality) ภาควิชาสตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มช. กลุ่มสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน มูลนิธิเอ็มพลัส แอมเนสตี อินเตอร์เนชันแนล อเมริกันคอร์เนอร์เชียงใหม่ และสถานกงสุลใหญ่สหรัฐฯ เชียงใหม่

ในการประชุมดังกล่าวมีงานเสวนาในประเด็นเรื่องความรุนแรงทางเพศ และกิจกรรมแลกเปลี่ยนกันเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการคุกคามและการล่วงละเมิดทางเพศ มีผู้สนใจเข้าร่วมราว 100 คน โดยมีตัวแทนมาจากหลายองค์กรรวมถึงนักศึกษา


กงสุลใหญ่สหรัฐฯ ปาฐกถา "ต้องต่อสู้กับการอ้างความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงด้วย"


เจนนิเฟอร์ ฮาร์ไฮ กงสุลใหญ่สหรัฐฯ ประจำเชียงใหม่ พูดถึงการยุติความรุนแรงทางเพศ

เจนนิเฟอร์ ฮาร์ไฮ กงสุลใหญ่สหรัฐฯ เปิดงานด้วยการกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อยุติความรุนแรงทางเพศ" โดยย้ำว่า "สิทธิสตรีคือสิทธิมนุษยชน" ทุกคนเป็นมนุษย์เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นแม่ เมีย หรือเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจยากจนหรือร่ำรวย

กงสุลใหญ่ฯ ยังพูดถึงความท้าทายเกี่ยวกับความรุนแรงที่นอกจากจะต้องต่อต้านความรุนแรงแล้ว ยังต้องต่อสู้กับการอ้างความชอบธรรมให้เกิดความรุนแรงด้วย ไม่ว่าจะเป็นข้ออ้างจากวัฒนธรรมในสังคมนั้นๆ หรือข้ออ้างทางกฎหมาย หรือการใช้เหตุผลใดๆ ก็ตาม

"จึงขอให้ต่อต้านความรุนแรงต่อสตรีทุกรูปแบบ และมุ่งมั่นทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชนต่อไป" ฮาร์ไฮกล่าวสรุปในการปาฐกถา


#MeToo มุมมองต่อการล่วงละเมิดทางเพศในสังคมไทยยังเต็มไปด้วยมายาคติ


เวทีเสวนา #metoo แคมเปญรณรงค์ยุติการคุกคามและการละเมิดทางเพศจากการรณรงค์ระดับโลกสู่การเคลื่อนไหวในระดับชุมชน

ต่อมา มีการเสวนาเกี่ยวกับประเด็นแคมเปญรณรงค์ยุติการคุกคามและการละเมิดเพศที่เป็นประเด็นในระดับโลกอย่าง #MeToo ซึ่งศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระและนักวิเคราะห์จาก Voice TV ผู้ดำเนินรายการเสวนา ชี้ว่าประเด็นนี้แม้จะเป็นปัญหาของคนครึ่งโลกแต่ก็เป็นปัญหาที่คนเคยชิน จึงควรพูดถึงความสำคัญของปัญหานี้

ในการเสวนานี้ยังมีวิทยากรจากหลายองค์กรมาพูดถึงประสบการณ์ที่เคยเผชิญกับการล่วงละเมิดทางเพศมาก่อนและอุปสรรคในการเรียกร้องความเป็นธรรมให้ตนเอง


ความเชื่อจารีตที่กดขี่ซ้ำคนถูกละเมิดทางเพศ - เสียงจากหญิงชนเผ่าพื้นเมือง

อำพร ไพรพนาสัมพันธ์ จากเครือข่ายสตรีชนเผ่า และเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อความเสมอภาคทางเพศ กล่าวว่า ตนเองมาจากชนพื้นเมืองปกาเกอะญอ การถูกล่วงละเมิดทางเพศสร้างความเจ็บช้ำทั้งทางร่างกายและจิตใจ

แต่ทว่าปัญหาในการที่คนจะต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมให้ตัวเองในเรื่องนี้กลับมีข้อจำกัดเนื่องจากจารีตของชนพื้นเมืองเอง เช่นจารีตเรื่องการต้อง "เป็นผู้หญิงที่ดี" ซึ่งหมายถึงมีความเป็นแม่ มีความบริสุทธิ์ ถูกกำหนดวิถีทางเพศด้วยการแต่งงาน และถูกคาดหวังให้ต้องทนกับสามี เวลาเกิดเรื่องถูกทำร้ายหรือล่วงละเมิดก็มักจะเป็นฝ่ายถูกประณามว่า "เพราะเธอเป็นผู้หญิงแบบนี้น่ะสิ" แทนที่จะได้รับความช่วยเหลือ แม้แต่การจะออกข้างนอกก็ต้องขอสามี อีกทั้งยังถูกกีดกันเรื่องการเรียนหนังสือ

อย่างไรก็ตาม อำพรเล่าถึงชีวิตเธอว่าเธอพยายามดิ้นรนจนออกมาหาเงินเรียนด้วยตัวเองทั้งจากการรับจ้างและการกู้เรียน กระนั้นเธอก็ต้องเผชิญกับเหตุล่วงละเมิดทางเพศ ไม่เพียงแค่ความเจ็บปวดจากการถูกกระทำแต่จารีตของชุมชนเธอกลับทำให้เธอต้องแบกรับความรู้สึกผิดเพิ่มขึ้นไปอีกเพราะจารีตที่ว่าทำให้เธอรู้สึกตัวเองกลายเป็น "ผู้หญิงไม่ดี"

อำพรเล่าว่าเธอเครียดมากจึงกลับไปที่บ้านและปรึกษาแม่เพราะเชื่อใจ แต่กลับถูกว่ากล่าว "ถ้าเธอไม่ยอม ก็ไม่มีใครทำเธอได้" ทั้งที่เหตุล่วงละเมิดทางเพศนี้เป็นสิ่งที่ผู้ถูกกระทำไม่ได้ตั้งใจให้ถูกกระทำ แม่ของเธอกลับกลัวเรื่องชื่อเสียงมากกว่า อำพรยังกล่าวอีกว่ากรณีของผู้หญิงชนพื้นเมืองที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศเช่นนี้ ทำให้พวกเธอรู้สึกเหมือนไม่มีที่พึ่งที่อื่นเลย เพราะวัฒนธรรมการประณามเหยื่อและรู้สึกเป็นเรื่องธรรมดา เช่นการใช้วลีว่า "เพราะเธอเป็นผู้หญิงไม่ดีเธอถึงต้องเป็นแบบนี้" มีหญิงบางคนถูกกดดันจนหาทางออกไม่ได้จนต้องฆ่าตัวตายพร้อมกับลูกในท้อง

จารีตและความเชื่อบางอย่างยังกลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้ผู้หญิงพูดเรื่องเหล่านี้กับชุมชนตัวเองไม่ได้ บางทีความเชื่อฝังหัวก็ทำให้แม้แต่ผู้หญิงที่เชื่อฝังหัวยังต่อต้านไม่ให้ผู้หญิงที่ถูกกระทำพูดเรื่องเหล่านี้ได้ เวลาพวกเธอพยายามรณรงค์เพื่อสิทธิของคนที่ถูกกระทำ มีความพยายามดึงผู้ชายที่มีความเข้าใจในเรื่องนี้เข้ามาร่วมด้วยแม้จะยังมีน้อยอยู่ ชายบางคนเข้าร่วมด้วยสาเหตุว่าพวกเขาก็มีลูกผู้หญิงและไม่อยากให้ลูกของพวกเขาต้องถูกกระทำเช่นนี้รวมถึงเคยพบเห็นผู้หญิงที่ถูกกระทำมาก่อน

ศิโรตม์ถามว่า เหตุใดการรณรงค์ในบางชนเผ่าพื้นเมืองถึงได้ผลแต่ในอีกบางส่วนกลับไม่ได้ผล ผู้ร่วมเสวนาที่เป็นตัวแทนชนพื้นเมืองท่านหนึ่งแสดงความคิดเห็นว่าเป็นเพราะความเชื่อว่าจารีตต่างๆ สืบต่อมาจากบรรพบุรุษจะเกิดอาเพศถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลง การจะเปลี่ยนแปลงจึงขึ้นอยู่กับ "ผู้ใหญ่" ในชุมชนนั้นๆ อำพรเสริมว่านั่นทำให้มีความพยายามดึงผู้ชายในชนเผ่าพื้นเมืองเข้ามาร่วมเปลี่ยนแปลงด้วยเพาะพิธีกรรมส่วนใหญ่ยังขึ้นอยู่กับผู้ชาย


ปัญหาการอธิบายเหมารวม LGBTQ ถูกนำมาอ้างความชอบธรรมการล่วงละเมิด - มุมมองของคนข้ามเพศ

วิทยากรคนต่อมาคือ เจษฎา แต้สมบัติ จากมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน เจษฎาพูดเสริมกรณีของชนเผ่าพื้นเมืองที่เป็นคนข้ามเพศว่ามีความยากลำบากเวลาต้องกลับไปในสังคมของชนพื้นเมืองตัวเอง พวกเธอมักจะถูกคาดหวังให้ต้องกลับบ้านทุกปี และจากเดิมที่ในโลกภายนอกพวกเธอปรับเปลี่ยนร่างกายเป็นผู้หญิง แต่พอกลับบ้านพวกเธอต้องเปลี่ยนรูปลักษณ์ตัวเองให้กลับเป็นผู้ชาย สร้างความอึดอัดให้คนข้ามเพศ

ในประเด็นเรื่องการใช้แฮกแท็ก #MeToo พูดถึงเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศนั้น เจษฎาบอกว่าเธอเองก็แชร์ประสบการณ์เรื่องนี้ผ่านทางแฮกแท็ก #MeToo ด้วยเช่นกันจนทำให้แม่ของเธอแสดงความเป็นห่วงเมื่อพบเห็นโพสต์นี้ เจษฎาเล่าว่าการล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นในช่วงที่เธอเป็นนักเรียนที่ยังไม่มีอำนาจต่อรองและกฎหมายก็ไม่คุ้มครองเธอ ทำให้เธอไม่รู้จะไปหาใคร แม้แต่ในทางสังคมก็มีคำพูดปรามไม่ให้เธอเรียกร้องสิทธิตัวเองว่า "อย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่" รวมถึงความคิดที่ว่าการที่เธอเป็นคนข้ามเพศก็ทำให้ครอบครัวหนักใจอยู่แล้ว จึงพูดเรื่องนี้ได้ยากเพราะกลัวเป็นภาระ

เจษฎาพูดถึงพื้นที่ที่คนข้ามเพศมักจะถูกล่วงละเมิดทางเพศอย่างเช่นห้องน้ำในโรงเรียน ค่ายทหาร หรือหอพักในมหาวิทยาลัย ปัญหาอีกเรื่องหนึ่งคือการที่ประเทศไทยยังไม่มีการยอมรับเรื่องเพศสภาพที่หลากหลาย (Gender Recognition) รวมถึงไม่มีกฎหมายรับรองในจุดนี้ ทำให้เวลาออกแบบอาคารสถานที่ต่างๆ คนข้ามเพศจะมีความเสี่ยงจะถูกล่วงละเมิดทางเพศ เช่น ในโรงเรียนคนข้ามเพศถูกบีบให้ต้องเข้าห้องน้ำชายซึ่งเป็นสถานที่เสี่ยง บางคนถึงขั้นไม่ยอมเข้าห้องน้ำตลอด 8 ชั่วโมงในโรงเรียน

นอกจากนี้เจษฎายังพูดถึงอุปสรรคเรื่องความคิดการตีตราจากสังคมที่เอื้อต่อการให้ความชอบธรรมในการล่วงละเมิดทางเพศคนข้ามเพศ เช่น ความเชื่อเหมารวมที่ว่าคนข้ามเพศคือคนที่หมกมุ่นในเรื่องเพศ หรือเป็นแค่วัตถุทางเพศ ฉะนั้นเวลามีเหตุล่วงละเมิดทางเพศผู้ก่อเหตุจะมักอ้างว่า "ก็เธอชอบนี่"

ตัวเธอเองพูดถึงกรณีที่เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่สุ่มเสี่ยงอย่างการเข้าค่ายของนักศึกษาวิชาทหาร สิ่งที่ทำให้รู้สึกแย่คือตอนที่มีคนมุดเต็นท์มาพยายามล่วงละเมิดทางเพศเธอ โดยที่คนที่อยู่ในเต็นท์เดียวกันไม่ช่วยแต่กลับมุดออกไปปล่อยให้เธอเผชิญเหตุ ทำให้เธอโกรธมาก เธอหนีออกจากเต็นท์ที่เกิดเหตุไปหาเพื่อนคนข้ามเพศอีกฝั่งหนึ่ง ตอนเช้าอีกวันหนึ่งเมื่อเธอไปต่อว่าเพื่อนของเธอที่ปล่อยให้เธอถูกกระทำ เพื่อนคนนั้นกลับตอบมาว่า "ก็นึกว่าเธอชอบนี่" แม้แต่ผู้ใหญ่บางคนก็พูดราวกับว่าพวกเธอเป็นคนที่ผิดที่ทำให้คนอื่นเกิดอารมณ์ทางเพศ เธอจึงย้ำว่าการเหมารวมตัวตนทางเพศแบบนี้เป็นเรื่องอันตราย

นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงวันสากลว่าด้วยการรำลึกถึงคนข้ามเพศผู้ถูกสังหารด้วยเหตุแห่งความเกลียดชัง (Transgender Day of Remembrance) ซึ่งมีการค้นคว้าข้อมูลจากองค์กรทรานส์เจนเดอร์ยุโรป (TGEU) พบว่ามีผู้มีความหลากหลายทางเพศถูกสังหาร 2,016 คน นับตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2558 ส่วนสถิติในไทยพบว่ามีผู้ที่ถูกสังหารด้วยเหตุแห่งความเกลียดชังหรือ "Hate Crime" เพราะเป็นคนข้ามเพศ 19 ราย

เจษฎายังกล่าวถึงอุปสรรคเรื่องการเข้าถึงข้อมูลผู้มีความหลากหลายทางเพศในสังคมไทยว่ายังคงเข้าถึงยากเพราะมักจะมีการบันทึกเพศสภาพตามเพศกำเนิดของคนๆ นั้นอย่างเดียว อีกทั้งปัญหาที่กฎหมายในประเทศไทยยังไม่มีการบัญญัติว่าด้วยเรื่อง Hate Crime

อีกทั้งในสังคมไทยยังมีสิ่งที่ครอบงำการอธิบายเรื่องผู้มีความหลากหลายทางเพศแต่จากมุมมองของทางการแพทย์ที่ยังใช้คำว่า "เบี่ยงเบนทางเพศ" แม้แต่องค์การอนามัยโลกก็ยังใช้คำว่า "Transgenderism" ซึ่งสื่อในเชิงว่าเป็นความผิดปกติ มุมมองจากศาสนาจะบอกว่าการเป็นเพศอื่นนอกจากหญิงหรือชายเป็นบาปเป็นเรื่องผิดและบีบให้มีการ "บำบัด" ให้กลับไปเป็นเพศกำเนิด ในแง่การศึกษาในวิชาสุขศึกษาก็ยังมีการเลือกปฏิบัติมีการระบุว่าผู้มีความหลากหลายทางเพศ "ผิดปกติ" หรือมีปัญหาเรื่องชู้สาว

เจษฎากล่าวต่อว่าอคติเหล่านี้ก็ยังถูกผลิตซ้ำต่อโดยสื่อ เช่น กรณีที่มีการนำคนข้ามเพศมาออกรายการแล้วพอคนๆ นั้นหกล้มหัวฟาดพื้นก็กลับมาเป็นชาย เรื่องนี้เอื้อต่อการสร้างความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงต่อเพศ หรือแม้แต่ในหน้าข่าวเองก็นำเสนอเวลาคนข้ามเพศถูกสังหารโดยเน้นแต่มุมมองของผู้กระทำ ซึ่งมักพูดให้ความชอบธรรมต่อการใช้ความรุนแรง เช่น อ้างว่าคนข้ามเพศอยากมีเพศสัมพันธ์กับตนเลยใช้ความรุนแรงจนถึงแก่ชีวิต

เจษฎากล่าวว่าขณะที่สังคมไทยยังมีการเลือกปฏิบัติต่อคนข้ามเพศอยู่ แต่ปัจจุบันการใช้โซเชียลมีเดียก็ทำให้มีการแชร์ข่าวสารประเด็นต่างๆ ในเรื่องนี้มากขึ้น และประเด็นนี้เป็นที่พูดถึงแพร่หลายในระดับสากล สำหรับในไทยเองเจษฎากล่าวว่ายังควรต้องมีการทำงานรื้อสร้างวาทกรรมไม่ว่าจะเป็นในสถาบันศาสนา สถาบันการแพทย์ สถาบันการศึกษา รวมถึงสื่อมวลชน


สังคมที่มองคนพิการแค่สงสารแต่ไม่เข้าใจเรื่องฐานสิทธิ - ประสบการณ์ของหญิงพิการ

วิทยากรคนที่สามคือ กัชกร ทวีศรี จากองค์กรโกลบอลแคมปัสเชียงใหม่ (Global Campus Chiang Mai) ที่พูดถึงเรื่องของความรุนแรงเชิงโครงสร้างต่อคนพิการเพราะถูกมองว่าเป็นคนไม่มีความสามารถ รวมถึงแชร์ประสบการณ์เรื่องการถูกล่วงละเมิดทางเพศที่ถูกกดขี่ซ้อนทับกับตัวตนความเป็นคนพิการด้วย

กัชกรเล่าประสบการณ์ว่าด้วยความพิการทำให้เธอไม่ได้ไปเรียนหนังสือ ในยุคนั้นทางโรงเรียนอ้างว่าไม่รู้จะดูแลเธออย่างไร ไม่อยากรับผิดชอบถ้าหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น รวมถึงเรื่องไม่มีสิ่งของที่จะอำนวยความสะดวกให้พวกเขา ถึงแม้ว่าจะมีโรงเรียนเฉพาะทางแต่ทางโรงเรียนที่แม่เธอพาไปนั้นก็บอกว่ารับเฉพาะ "ผู้มีความพิการรุนแรงซ้ำซ้อน" เท่านั้น ความยากลำบากของเธอยังผนวกกับการที่เป็นผู้หญิงทำให้ถ้าไม่ได้รับการศึกษาคงใช้ชีวิตได้ยากในสังคม ทำให้แม่เธอพยายามค้นหาโรงเรียนให้ได้

ในเชิงสังคมแล้วคนพิการยังถูกทำให้ไม่มีเพศด้วยคำพูดในเชิงว่าพวกเขาไม่ควรมีลูก ไม่ควรแต่งงาน ไม่มีใครรักพวกเขาจริง สายตาที่มองคนพิการก็มองแปลกจากคนอื่นๆ ตัวเธอเองก็รู้สึกวิตกกังวลและรู้สึกเหมือนอยู่ในโลกนี้คนเดียวเพราะตอนเด็กรู้สึกมีแต่ตัวเองที่พิการ และยังคงรู้สึกถูกลดทอนความเป็นมนุษย์มาตั้งแต่เป็นเด็กมาจนถึง ณ ปัจจุบัน

กัชกร เล่าว่าเธอเคยถูกคุกคามทางเพศมาก่อนตอนที่พาหลานไปเที่ยวที่สวนสัตว์ ด้วยความที่เธอเดินไม่สะดวกด้วยในช่วงที่เธอกับหลานกำลังยืนดูบ่อช้างอยู่ก็มีชายคนหนึ่งมายืนชะโงกดูด้วย แต่ท่าทีที่เขาชะโงกดูโดยเอาตัวเองเข้ามาเบียกตัวเธอจากด้านหลัง เบียดไปเบียดมาทั้งที่คนก็ไม่ได้เยอะจนเบียดกัน นั่นทำให้เธอรู้สึกไม่ปลอดภัย เธอจึงออกมาจากจุดนั้นแล้วไปแจ้งเจ้าหน้าที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ก็อำนวยความสะดวกด้วยการพานั่งรถไปแจ้งความ เธอตกลงเพราะรู้สึกว่าเรื่องนี้ชายคนนั้นทำไม่ถูก

แต่เมื่อกัชกรเข้าไปแจ้งความเรื่องนี้ที่สถานีตำรวจกลับถูกตำรวจพากันหัวเราะเมื่อรู้ว่าเป็นเรื่องล่วงละเมิดทางเพศ มีเสียงออกมาจากสถานีว่า "สงสารลุงเขาเถอะ" ทำให้เธอรู้สึกกังวลเหมือนถูกคุกคามซ้ำ เธอยังกังวลว่าถ้าหากเป็นคนพิการคนอื่นๆ ที่ถูกล่วงละเมิดพวกเธอจะทำอย่างไรเพราะความเป็นคนพิการทำให้มีโอกาสหลบหนีออกจากพื้นที่ได้น้อยกว่า มีความเข้าใจว่าตัวเองถูกล่วงละเมิดน้อยกว่าเพราะโอกาสในการศึกษา

กัชกรยังพูดถึงอุปสรรคในการดำเนินการทางกฎหมายต่างๆ แม้กระทั่งการทำบัตรประชาชนก็ยังถูกมองว่าจะเอาไปทำอะไร หรือการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ก็มีอุปสรรคจากการมองคนพิการด้วยภาพเหมารวม ทำให้รู้สึกถูกกีดกันเหมือนไม่มีตัวตนในสังคม จากที่กระบวนการต่างๆ ไม่มีการรองรับคนพิการทำให้พวกเธอรู้สึกว่าต้องต่อสู้กับสิ่งต่างๆ มากมาย และในการทำงานก็มีเรื่องของอำนาจซ้อนทับที่บางครั้งคนพิการที่เป็นผู้ชายก็ยังกีดกันคนพิการที่เป็นผู้หญิง เธอเคยถูกคนพิการชายคนหนึ่งปรามาสในเชิงดูถูกตอนที่เธอได้ไปพูดที่สหประชาชาติว่า "ไหนดูซิ ว่าเธอจะพูดอะไรได้บ้าง" หรือแม้กระทั่งการเหยียดคนบ้านนอกว่า "เธอเป็นผู้หญิงพิการที่มาจากบ้านนอก เธอจะไปรู้อะไร"

ทั้งนี้ ความเชื่อในสังคมไทยยังเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่กดขี่คนพิการ เช่น ความเชื่อเหนือธรรมชาติ กัชกรเล่าว่ามันมีความเชื่อที่ว่าถ้ารับคนพิการขึ้นรถ พวกเขาจะซวย มีรถแดงบางคันที่พอรับคนตาบอดขึ้นรถแล้วต่อมารถโดนเฉี่ยวก็อ้างว่าซวยเพราะไปรับคนตาบอดขึ้น หรือกรณีที่ในชนบทเวลามีคนขาหักแล้วเอาไม้ค้ำยันไว้ที่บ้านก็จะมีคนรีบเอาไปไว้ที่วัดเพราะกลัวว่าจะมีคนบาดเจ็บ

กัชกรบอกว่าความเชื่อฝังหัวทางสังคมต่อคนพิการยังมีเรื่องการครอบงำจากแนวคิดแบบเวทนานิยมจากในอดีต แม้ว่าคนพิการจะมีตัวตนเพิ่มมากขึ้นแต่ผู้คนยังมองพวกเขาด้วมุมมองที่ว่าคนพิการน่าสงสาร มันทำให้คนรู้สึกว่า "ช่วยๆ เขาไปเถอะ" แต่กลับไม่ได้มีการมองคนพิการในแง่ของฐานสิทธิที่ว่าคนพิการก็ควรได้รับการคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนคนหนึ่ง

ในวงเสวนายังมีการตั้งข้อสังเกตว่าหลายครั้งที่การล่วงละเมิดทางเพศเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากคนใกล้ตัว ส่วนในคำถามที่ว่าทำไมคนที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศไม่ลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่าง เจษฎามองว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาในระดับสังคมเองจากที่มีการพูดถึงประสบการณ์ของผู้คนเหล่านี้ เช่น พอไปแจ้งความตำรวจก็หัวเราะ หรือถูกบีบให้ไกลเกลี่ย รวมถึงความคิดฝังหัวทางวัฒนธรรมที่ทำให้คนที่ออกมาพูดเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศของตัวเองถูกมองในแง่ลบ รวมถึงการหาข้ออ้างประณามเหยื่อ (victim blaming) แทนที่จะพูดถึงปัญหาจากผู้ก่อเหตุล่วงละเมิด สิ่งเหล่านี้บีบให้คนที่ถูกใช้ความรุนแรงไม่กล้าออกมาพูด

เจษฎาบอกว่า "สิ่งที่ควรถูกตั้งคำถามมากกว่าคือสังคมที่เราอยู่ ว่าเราอยู่ในสังคมแบบไหนกันทำไมถึงปล่อยให้เกิดความรุนแรงเกิดขึ้นตั้งแต่ในระดับครอบครัว"

นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงการแก้ไขปัญหาโดยผู้ร่วมเสวนาท่านหนึ่งมองว่าคนไทยยังไม่ค่อยรู้สิทธิของตัวเองว่าพวกเขาควรได้รับการคุ้มครองเรื่องนี้ รวมถึงในบางกรณีที่ผู้ก่อเหตุมีชื่อเสียงหรือมีอำนาจทางสังคมก็ทำให้เกิดการพยายามปกปิดเรื่องนี้ มีปัญหาเรื่องที่เจ้าหน้าที่รัฐเองเพิกเฉยต่อปัญหา ผู้เสวนาอีกท่านหนึ่งพูดถึงในระดับสังคมว่าครอบครัวผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศบางคนพยายามปกปิดเรื่องนี้เพราะกลัวเรื่องชื่อเสียงวงศ์ตระกูล และเสนอว่าการแก้ไขปัญหาในระดับโครงสร้างควรรณรงค์เรื่องสิทธิบนบรรทัดฐานเท่าเทียมกันทุกคน


เวิร์กชอปแลกเปลี่ยนสร้างความตระหนักรู้เรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ

 




กิจกรรมการสร้างความตระหนักรู้และแลกเปลี่ยนพูดคุยเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ

ในช่วงบ่ายยังมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเริ่มจากการให้ความรู้ว่าการกระทำแบบใดถึงจะเรียกว่าเป็นการล่วงละเมิดทางเพศ มีกระบวนกรคือ มัจฉา พรอินทร์ ผู้อำนวยการโครงการสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน และเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อความเท่าเทียมระหว่างเพศ

โดยการประชุมมีข้อสรุปว่าการกระทำทั้งแบบจับเนื้อต้องตัว การแสดงความคิดเห็นทางอินเทอร์เน็ต การใช้วาจา หรือการจ้องมอง ในแบบที่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกไม่ปลอดภัยหรือรู้สึกถูกล่วงล้ำเนื้อตัวร่างกายโดยไม่มีการอนุญาต ถือเป็นการล่วงละเมิดทางเพศ โดยการระบุว่ากรณีใดใช้หรือไม่ใช่การล่วงละเมิดทางเพศนั้น ควรมีการถามฝ่ายที่เป็นคนถูกกระทำ แทนที่จะไปถามฝ่ายกระทำ

นอกจากนี้ยังมีการยกตัวอย่างว่าการล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นได้แม้กับคนใกล้ชิดเช่นกับเพื่อนกันเอง โดยมีการเล่นสมมติเหตุการณ์เพื่อนสนิท 2 คู่ ว่าระดับใดจึงจะถือว่าเป็นการล่วงละเมิดทางเพศ และมีการพูดถึงว่ากรณีเช่นนี้อาจจะเกิดขึ้นได้แม้ไม่ตั้งใจ ทุกคนไม่ว่าเพศใดก็ตามมีโอกาสจะกลายเป็นผู้กระทำได้จากอำนาจที่มีอยู่ เช่นแม้แต่กับกรณีเจ้านายที่เป็นหญิงก็อาจจะใช้อำนาจตัวเองล่วงละเมิดทางเพศลูกน้องชายได้

มีผู้ร่วมกิจกรรมรายหนึ่งเสนอว่าควรเริ่มจากตัวผู้พบเห็นเหตุการณ์ล่วงละเมิดทางเพศเองที่ต้องแสดงตัวต่อต้านและบอกว่าการกระทำนั้นๆ ผิดอย่างไร ผู้ดำเนินกิจกรรมพูดย้ำว่าปัญหาการคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศไม่ควรจะเป็นการเน้นแก้ปัญหาโดยจ้องเล่นงานตัวบุคคลอย่างเดียวต้องมองเป็นเรื่องเชิงโครงสร้างอำนาจด้วย


World Cafe ผู้เข้าร่วมประเด็นการกดขี่ทางเพศหลายรูปแบบ จากมุมมองอำนาจทับซ้อน (Intersectionality)

จากนั้นจึงมีการแลกเปลี่ยนในวงกว้างจากกิจกรรม World Cafe แบบเปิดให้ผู้ร่วมงานพูดถึงประเด็นความรุนแรง การคุกคามทางเพศ หรือการกดขี่ในรูปแบบต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัว มีทั้งตัวแทนกลุ่มคนพิการที่พูดถึงการถูกกระทำซ้ำซ้อนจากโครงสร้างสังคม กรณีของคนข้ามเพศที่ถูกใช้ภาษาในเชิงล่วงล้ำเช่นถามเรื่องการแปลงเพศหรือเรื่องการเปลี่ยนแปลงร่างกายต่างๆ มีกระทั่งเป็นคำถามในการสมัครงาน แม้จะทำไปด้วยความอยากรู้แต่มันทำให้คนข้ามเพศ "รู้สึกเหมือนมีคนมาเปิดกระโปรง"

มีการแลกเปลี่ยนเรื่องที่ว่าแม้จะมีการแจ้งกรณีการคุกคามทางเพศต่อภาครัฐ แต่ก็ไม่ได้รับการคุ้มครองเสมอไป ยังรู้สึกไม่ปลอดภัยเพราะเป็นคนอำนาจน้อย เป็นชายขอบ อีกทั้งวิธีการซักถามผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศของภาครัฐยังมีลักษณะซ้ำเติมผู้ถูกกระทำอย่างการถามว่า "ทำไมถึงถูกทำแบบนี้" ซึ่งเหมือนบีบให้เหยื่อรู้สึกเหมือนตัวเองผิด คนชายขอบยังเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ยาก และตัวกระบวนการยุติธรรมเองก็มีช่องว่างไม่คำนึงถึงความหลากหลายมากพอ

นอกจากนี้ยังมีคนที่พูดถึงการกดขี่ในแง่มุมต่างๆ เช่นการกีดกันเลือกปฏิบัติในสังคมต่อผู้หญิงที่มีน้ำหนักมาก ถูกกดให้ต่ำกว่าคนที่ผอมกว่าแทนที่จะมองด้านประสิทธิภาพในการทำงาน

กลุ่มตัวแทนผู้ทำงานบริการทางเพศก็แลกเปลี่ยนประสบการณ์ถูกกระทำซ้ำซ้อนเช่นกัน พวกเธอนอกจากจะถูกตีตราทางสังคมแล้ว ยังถูกกดขี่ในที่ทำงานโดยที่รับไม่ยอมให้การคุ้มครอง อีกทั้งยังใช้กฎหมายกดขี่พวกเธอ ตัวแทนผู้ทำงานบริการทางเพศจึงต่อสู้ด้วยการพยายามวิจัยเรื่องราวของคนทำงานบริการทางเพศด้วยกันเอง รวมถึงเรียกร้องต่อต้านกฎหมายว่าด้วยการปรามการค้าประเวณีที่ถูกนำมาอ้างใช้ละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนทำงานบริการทางเพศ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

97 นักวิชาการใต้ ร่อน จม.เปิดผนึกถึงประยุทธ์ ขอยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา

Posted: 24 Nov 2017 01:26 AM PST

แฟ้มภาพ เครือข่ายพลเมืองสงขลาค้านเวทีฟังความเห็นโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เมื่อวันที่ 28 ก.ค.2558 (ภาพโดย เอกชัย อิสระทะ)

24 พ.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า วันนี้ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้ มีผู้ร่วมลงชื่อ 97 คน ออกจดหมายเปิดผนึก ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่อง ขอให้ยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา สร้างการพัฒนาที่เป็นสุขอย่างยั่งยืน คืนประชาธิปไตย เร่งแก้ไขปัญหาประชาชน

รายละเอียดจดหมายเปิดผนึก : 

จดหมายเปิดผนึก

24 พฤศจิกายน 2560

เรื่อง ขอให้ยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา สร้างการพัฒนาที่เป็นสุขอย่างยั่งยืน คืนประชาธิปไตย เร่งแก้ไขปัญหาประชาชน

เรียน นายกรัฐมนตรี

ตามที่จะมีการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อประชุมคณะรัฐมนตรี และติดตามการปฏิบัติงานตามนโยบายและการพัฒนาขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้โครงการสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในระหว่างวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2560 ณ จังหวัดปัตตานีและสงขลา นั้น

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของนักวิชาการ นักวิจัยในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของภาคใต้ ได้ติดตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการดำเนินงานของรัฐบาลมาโดยตลอด มีความเห็นว่านโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ ได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนทางภาคอุตสาหกรรม โครงข่ายคมนาคมและพลังงาน รวมถึงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และนโยบายการพัฒนาต่าง ๆ ตามแนวทางตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาประเทศไทย 4.0 และประชารัฐ อาจส่งผลกระทบกับวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนของกลุ่มคนต่าง ๆ ในภาคใต้ในระยาว ขณะที่ปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตในประจำวันก็ไม่ได้การตอบสนองจากรัฐบาลแต่อย่างใด

ดังนั้นเพื่อให้การกำหนดนโยบาย ทิศทาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ ของรัฐบาลสอดคล้องกับกระบวนทัศน์การพัฒนาที่เป็นมาตรฐานจริยธรรมสากล ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(Sustainable Development Goals : SDGs) ที่ประเทศไทย โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ไปพร้อม ๆ กับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน การตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ด้วยกระบวนการและวิธีการทางเมืองที่เป็นประชาธิปไตย

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้ จึงขอเสนอแนะ ดังนี้

1.       เร่งรัดการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของเกษตรกร อันเนื่องมาจากราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคายางพารา และราคาปาล์มน้ำมัน  ซึ่งรัฐบาลยังไม่มีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในระยะสั้นและระยาว แสดงให้เห็นถึงการ "ไม่รู้สึกใส่ใจใยดีต่อชีวิตและปากท้องของเกษตรกร" ทั้งที่มีความพยายามในการแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเครือข่ายเกษตรกร กลับถูกปิดกั้นจากหน่วยงานด้านความมั่นคงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด  จึงขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาของเกษตรกรอย่างจริงจัง โดยตระหนักว่าการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรคือวาระสำคัญของรัฐบาล ที่ต้องอาศัยพลังความร่วมมือ การระดมองค์ความรู้ และนับความรู้ของเกษตรกรเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการแก้ไขปัญหา

2.       ในสถานการณ์เฉพาะหน้า ขอให้ "หยุดการดำเนินโยบายและโครงการ ในภาคใต้" ที่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ละเมิดสิทธิมนุษยชน และหลักมนุษยธรรม ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน ที่มีรายงานวิจัยยืนยันถึงผลกระทบและส่งผลเชื่อมโยงต่อการทำลายศักยภาพของภาคใต้อย่างชัดเจนแล้ว โครงการเวนคืนผืนป่าพร้อมทั้งกำหนดมาตรการความยั่งยืนให้เกษตรกรได้มีที่ดินเป็นปัจจัยการผลิต รวมทั้งปัญหาความรุนแรงจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเร่งด่วน

3.    ให้รัฐบาล "ทบทวนนโยบาย ทิศทาง และยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ทั้งระบบ" โดยจัดให้มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA) ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยบูรณาการมิติด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี การเปรียบเทียบทางเลือกที่เหมาะสม รวมถึงความเชื่อมโยงกับโครงการอื่น ไม่ว่า โครงการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาประเทศไทย 4.0 โครงการประชารัฐ และโครงการที่เกิดขึ้นจากการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมาย และ /หรือการใช้กฎหมายพิเศษ ตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ด้วยหลักการ กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคมโดยในชั้นต้นควรเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งหมดที่จะช่วยให้มองเห็น "ภาพรวมการพัฒนา" แก่สาธารณะชนอย่างตรงไปตรงมา

4.  ส่งเสริมและสนับสนุนวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อให้บรรลุ"ภาคใต้แห่งความสุขอย่างยั่งยืน" ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงในชีวิต แหล่งผลิตอาหาร การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น การสร้างนวัตกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและการประกอบการฐานราก อันเป็นศักยภาพ ทุน ภูมิทัศน์วัฒนธรรมและการพัฒนาของภาคใต้ที่มีมาอย่างยาวนาน ทั้งนี้ควรสร้าง/ เปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชน ประชาสังคมในการเข้ามากำหนดอนาคตภาคใต้อย่างทั่วถึง กว้างขวางและครอบคลุม โดยเริ่มต้นจากการวางแผนร่วมอย่างเป็นระบบ ลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นในสังคม บนพื้นฐานของ "ความหลากหลายทางคุณค่าของพื้นที่"(Area-based Value Diversity)

5. ข้อเสนอในข้างต้นสัมพันธ์และโยงใยอย่างยิ่งยวดกับ "ระบบการเมืองแบบเปิดที่เป็นประชาธิปไตย" ดังนั้นรัฐบาลและคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ต้อง "คืนประชาธิปไตย ด้วยการเคารพอย่างมั่นคง จริงใจในโรดแมบ (Road Map) การเลือกตั้ง ไม่ริดรอน สิทธิ เสรีภาพ  และการใช้อำนาจที่ทำให้ประชาชนหวาดกลัว"

ขอแสดงความนับถือ

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้

24 พฤศจิกายน 2560

รายชื่อนักวิชาการ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้

1 ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ มหาทักษิณ 2 พรพันธุ์ เขมคุณาศัย ทักษิณ 3 นิจนิรันดร์ อวะภาค ทักษิณ 4 ปิยปาน อุปถัมภ์ ทักษิณ 5 เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ ทักษิณ 6 จันทราทิพย์ สุขุม ทักษิณ 7 นฤมล ฐานิสโร ทักษิณ 8 พรไทย ศิริสาธิตกิจ ทักษิณ 9 พรชัย นาคสีทอง ทักษิณ 10 มูหำหมัด สาแลบิง ทักษิณ 11 ศุภการ สิริไพศาล ทักษิณ 12 ฐากร สิทธิโชค ทักษิณ 13 อดิศร ศักดิ์สูง ทักษิณ 14 อุทัย เอกสะพัง ทักษิณ 15 ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ ทักษิณ 16 อนินทร์ พุฒิโชติ ทักษิณ 17 ปรเมศวร์ กาแก้ว ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง 18 บัณฑิต ทองสงฆ์ ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง 19 ชนะ จันทร์ฉ่ำ ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
 
20 เทพรัตน์ จันทพันธ์ ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง 21 วิชัย กาญจนสุวรรณ สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 22 อภิชาติ จันทร์แดง สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 23 โชคชัย วงษ์ตานี สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 24 ธรรมศาสตร์ โสตถิพันธุ์ สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 25 เก็ตถวา บุญปราการ สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 26 เจตน์สฤษฏิ์ สังขพันธ์ สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 27 ปัญญา เทพสิงห์ สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 28 วรรณะ หนูหมื่น สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 29 เอมอร เจียรมาศ สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 30 นันทรัฐ สุริโย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 31 วีระศักดิ์  คงฤทธิ์ สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 32 อภิวัฒน์ อายุสุข สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 33 รพี พงษ์พานิช สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 34 ณัฐยา ยวงใย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี 35 สมพร ช่วยอารีย์ สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 36 เกื้อ ฤทธิบูรณ์ สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 37 สุภาพร ฝั่งชลจิตต์ สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 38 สายฝน สิทธิมงคล สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 39 ศุภกาญจน์ บัวทิพย์ สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
 
40 สุไรนี สายนุ้ย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 41 อรชา รักดี สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 42 สุรวุฒน์ ช่อไม้ทอง สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 43 ถาวรินทร รักษ์บำรุง สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 44 นุกูล รัตนดากุล สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 45 สิทธิศักดิ์ จันทรัตน์ สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 46 วลัยลักษณ์ จ่างกมล สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 47 ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 48 กรวิทย์ เกาะกลาง แม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร 49 ชุมพล แก้วสม แม่โจ้  วิทยาเขตชุมพร 50 อนิรุต หนูปลอด แม่โจ้  วิทยาเขตชุมพร 51 เกียรติขจร ไชยรัตน์ ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช 52 สนธยา ปานแก้ว ราชภัฏภูเก็ต 53 เนานิรันดร์ อวะภาค ราชภัฏภูเก็ต 54 อับดุลรอซะ วรรณอาลี ราชภัฏยะลา 55 วัชระ ศิลปเสวตร์ พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร 56 กฤษณะ ทองแก้ว ราชภัฏสุราษฎร์ธานี 57 ณัฐกานต์ แน่พิมาย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี 58 ธวัช บุญนวล ราชภัฏสุราษฎร์ธานี 59 พลกฤต แสงอาวุธ ราชภัฏสุราษฎร์ธานี
 
60 กิตติพิชญ์ โสภา ราชภัฏสุราษฎร์ธานี 61 สมปราชญ์ วุฒิจันทร์ ราชภัฏสุราษฎร์ธานี 62 บูฆอรี ยีหมะ ราชภัฎสงขลา 63 ชาญวิทย์ จันทร์อินทร์ ราชภัฎสงขลา 64 ไชยา เกษารัตน์ ราชภัฎสงขลา 65 กรีฑา แก้วคงธรรม ราชภัฎนครศรีธรรมราช 66 จัตุรัส กีรติวุฒิพงศ์ ราชภัฎนครศรีธรรมราช 67 ปริทรรศ หุตางกูร ราชภัฎนครศรีธรรมราช 68 บุญยิ่ง ประทุม ราชภัฎนครศรีธรรมราช 69 สืบพล จินดาพล ราชภัฎนครศรีธรรมราช 70 นฤมล ขุนวีช่วย ราชภัฎนครศรีธรรมราช 71 มานะ ขุนวีช่วย ราชภัฎนครศรีธรรมราช 72 เชษฐา มุหะหมัด ราชภัฎนครศรีธรรมราช 73 วิชิต จรุงสุจริตกุล ราชภัฎนครศรีธรรมราช 74 ส.ศิริชัย นาคอุดม ราชภัฎนครศรีธรรมราช 75 ทยา เตชะเสน์ ราชภัฎนครศรีธรรมราช 76 มลิมาศ จริยพงศ์ ราชภัฎนครศรีธรรมราช 77 ฐิรวุฒิ เสนาคำ วลัยลักษณ์ 78 ฟารีดา หมัดเหล็ม วลัยลักษณ์
 
80 ปิยชาติ สึงตี วลัยลักษณ์ 81 จิตประพัฒน์  สายโสภา วลัยลักษณ์ 82 ธนิต  สมพงศ์ วลัยลักษณ์ 83 พรเพ็ญ ประกอบกิจ วิทยาลัยชุมชนสงขลา 84 ภาวดี ฉัตรจินดา วิทยาลัยชุมชนสงขลา 85 อทิมาพร ทองอ่อน วิทยาลัยชุมชนสงขลา 86 บุญเลิศ จันทระ สถาบันทักษิณคดีศึกษา 87 ธีระ จันทิปะ สถาบันทักษิณคดีศึกษา 88 กามารุดดีน อิสายะ ทักษิณ 89 ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ ทักษิณ 90 ประภาศ ปานเจี้ยง นักวิชาการอิสระ 91 เพ็ญประไพ ภู่ทอง นักวิชาการอิสระ 92 กอแก้ว วงษ์พันธุ์ นักวิชาการอิสระ 93 ณัฐวุฒิ โชติการ นักวิชาการอิสระ 94 จิราภรณ์ เรืองยิ่ง นักวิชาการอิสระ 95 จรูญ หยูทอง นักวิชาการอิสระ 96 ปารพ์พิรัชย์ จันเทศ ราชภัฏสงขลา 97 เดโช แขน้ำแก้ว ราชภัฏนครศรีธรรมราช
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลฎีกาสั่งจำคุก กำนันโต๊ะเด็ง แจ้งความเท็จถูกซ้อม คดีปล้นปืนปี 47

Posted: 24 Nov 2017 01:21 AM PST

ศาลฎีกาสั่งจำคุกนายอนุพงศ์ พันธชยางกูร 1 ปี ไม่รอลงอาญาข้อหาแจ้งความเท็จว่าถูก "ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา" สมัยเป็นรอง ผบช.ก. กับพวกซ้อมทรมานให้รับสารภาพคดีปล้นปืน ปี 47 ขณะที่ศาลชั้นต้นมีความเห็นให้ยกฟ้อง อดีตกำนัน ต.โต๊ะเด็ง อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส เป็นผู้ที่ระบุว่านายสมชาย นีละไพจิตร ทนายสิทธิมนุษยชนที่ได้สาบสูญไปได้ถูกทำให้เสียชีวิตโดยเจ้าหน้าที่รัฐ

นสพ.ผู้จัดการรายงานว่า 22 พฤศจิกายน 2560  ศาลได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกา คดีดำ อ.3613/2552 ที่ พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง และอดีตรอง ผบ.ตร. เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายอนุพงศ์ พันธชยางกูร หรือ อดีตกำนัน ต.โต๊ะเด็ง อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส อดีตจำเลยในคดีปล้นปืนกองพันทหารพัฒนาที่ 4 เมื่อปี 2547 เป็นจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ, แจ้งความเท็จเกี่ยวกับคดีอาญา, รู้ว่าไม่มีการกระทำความผิดอาญาเกิดขึ้น แต่แจ้งความว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น

โจทก์ยื่นฟ้อง 5 ตุลาคม 2552 ระบุพฤติการณ์ว่า นายอนุพงศ์ จำเลยคดีนี้ได้ถูกพนักงานสืบสวนสอบสวน ที่มี พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ เป็นหัวหน้าพนักงานสืบสวนสอบสวน จับกุมตัวเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2547 ข้อหาร่วมกันปล้นปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547  โดยระหว่างที่ถูกนำตัวขึ้นเครื่องบินของ สตช. ที่มีโจทก์คดีนี้เป็นหัวหน้าในการควบคุมตัว เพื่อไปสอบสวนที่กองปราบปราม จำเลยอ้างว่า ได้ถูกโจทก์กับพวกรุมซ้อมทรมานทำร้ายร่างกาย เพื่อให้รับสารภาพในคดีปล้นปืนและคดีฆ่า ด.ต.ปัญญา ดาราฮีม ทั้งยังระบุอีกว่า หลังจากถูกนำตัวกลับจากกองปราบปราม มาควบคุมอยู่ที่ สภ.ตันหยง ยังถูกโจทก์พร้อมด้วยตำรวจอีกหลายนาย ซ้อมทรมานเพื่อให้รับสารภาพ ต่อมา นายอนุพงศ์ ถูกฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยอื่นอีกรวม 4 คน ฐานร่วมกันฆ่า ด.ต.ดาราฮีม ซึ่งศาลอาญาได้พิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสี่ และศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษยืนตามศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุด

นายอนุพงศ์ จึงเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ กล่าวหาว่า โจทก์ได้ร่วมกับพวกซ้อมทรมานทำร้ายร่างกายซึ่ง ดีเอสไอได้สอบสวน และส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด ต่อมา ป.ป.ช. ได้ชี้ว่า พยานหลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะฟังได้ว่าโจทก์กับพวกรวม 19 คน ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ จึงนำคดีมายื่นฟ้อง ศาลอาญา ขอให้พิพากษาลงโทษจำเลยด้วย

คดีนี้ศาลอาญา พิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า ในวันเวลาเกิดเหตุ โจทก์มีตำแหน่ง รอง ผบช.ก. ได้ควบคุมตัวจำเลยกับพวก ผู้ต้องหาในคดีปล้นปืนโดยสารเครื่องบินของ สตช. ซึ่งการจับกุมและสอบสวนจะต้องกระทำเป็นความลับ ขณะที่บนเครื่องบินไม่มีบุคคลอื่น ซึ่งเป็นคนกลางที่จะเล่าถึงเหตุการณ์บนเครื่องบินได้ ฝ่ายโจทก์มีเพียงโจทก์เบิกความเป็นพยานเพียงปากเดียว อีกทั้งยังมีผู้ต้องหาอื่นในคดีปล้นปืนซึ่งอยู่บนเครื่องบิน เบิกความว่า ระหว่างอยู่บนเครื่องบินได้ยินเสียงร้องของจำเลยด้วย พยานหลักฐานของโจทก์จึงไม่เพียงพอรับฟังได้ว่า จำเลยแจ้งความเท็จ พิพากษายกฟ้อง พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ โจทก์ ยื่นอุทธรณ์ ขอให้ลงโทษนายอนุพงศ์ จำเลยด้วย

ศาลอุทธรณ์พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า นายอนุพงศ์ กระทำผิดจริง จึงพิพากษาจำคุก 1 ปี โดยไม่รอลงอาญา นายอนุพงศ์ ยื่นฎีกา ขอให้ศาลฎีกา พิพากษายกฟ้องด้วย

ศาลฎีกาพิเคราะห์แล้ว ที่ศาลล่างพิพากษามานั้นชอบแล้ว ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ จึงนำตัวนายอนุพงศ์ ไปคุมขังไว้ที่เรือนจำพิเศษ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาต่อไป

กรณีข้างต้น นายอนุพงศ์ จำเลยได้เคยเล่าในเวทีเสวนา "10 ปี กฎอัยการศึก 10 ปี ณ ปาตานี กับการบังคับให้สูญหายของเสียงเรียกร้อง" เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2557 ที่ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) โดยมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ว่า เขาได้ถูกพล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา และพวกซ้อมทรมานจนฟันกรามหัก 2 ซี่ ถูกจับมัดขาแล้วโยนตัวห้อยจากเฮลิคอปเตอร์กลางทะเล ถูกจับใส่ห้องเย็น และสุดท้ายยังได้จับตัวลูกและเมียของเขามาทรมานต่อหน้า เพื่อให้เขาแถลงข่าวยอมรับว่าเป็นคนปล้นปืนในค่ายทหารปี 2547 และให้ใส่ร้ายหะยีสุหลง พ่อของนายเด่น โต๊ะมีนา และกลุ่มวาดะห์ในพรรคไทยรักไทยว่าเป็นกบฏแบ่งแยกดินแดนเขาจึงยอมรับสารภาพเพื่อแลกกับความปลอดภัยของลูกเมีย

โดยในระหว่างการถูกจับกุม เขาได้ขอพบทนายสมชาย นีละไพจิตร จึงทำให้รู้จากปากเจ้าหน้าที่ว่าทนายสมชาย ได้ถูกทำให้เสียชีวิตไปแล้ว  

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนไร้สัญชาติ ผู้ลี้ภัยในเมือง และภาวะไร้ตัวตนที่ชายแดนไทย-พม่า (ตอนจบ)

Posted: 24 Nov 2017 12:17 AM PST

เมื่อการเปลี่ยนผ่านในพม่าไม่คืบหน้าอย่างที่คาดหวัง กองทัพพม่ายังมีบทบาทนำทางการเมือง สงครามกับกลุ่มชาติพันธุ์ยังคุกรุ่น การเลือกปฏิบัติต่อประชากรมุสลิมในพม่าที่ขยายวง ทำให้หลายชีวิตที่ลี้ภัยมาแล้วไม่คิดหวนกลับพม่าอีก อย่างเช่นเรื่องราวของครูอาสาอดีตนักศึกษาพม่ารุ่น '88จากย่างกุ้ง และหญิงชาวกะเหรี่ยงที่หนีความไม่สงบจากบ้านเกิดมาอาศัยอยู่ตามหัวไร่ปลายนาที่แม่สอดตั้งแต่เด็ก

แม้จะปลอดภัยกว่าบ้านเกิดที่จากมา แต่ชีวิตของพวกเขาเหมือนคนไร้ตัวตน เพราะอยู่อย่างคนไร้รัฐ การได้รับสถานะบุคคลและสัญชาติ สำหรับพวกเขาอาจเป็นเรื่องเกินคาดคิด แต่ก็ยังมีความหวังให้คนรุ่นลูกหลานได้เข้าถึงการศึกษา เพื่อชีวิตใหม่ที่นี่และอนาคตที่ดีกว่าคนรุ่นตัวเอง

00000

เมื่อเส้นทางประชาธิปไตยไม่เป็นอย่างหวัง

การเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาลทหารมาสู่การปกครองกึ่งพลเรือนในพม่าไม่ได้ราบรื่นและคืบหน้าอย่างที่หลายคนคาดหวัง การเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤศจิกายนปี 2558 จนได้รัฐบาลที่นำโดยประธานาธิบดี ถิ่นจ่อ และที่ปรึกษาแห่งรัฐ อองซานซูจี ไม่ได้นำมาสู่การปฏิรูปประชาธิปไตยเท่าใดนัก

กองทัพพม่ายังคงมีอำนาจตาม 'รัฐธรรมนูญ 2551' และรักษาบทบาทนำทางการเมือง ขณะที่สงครามกลางเมืองที่กินเวลามากกว่า 7 ทศวรรษระหว่างกองทัพพม่าและกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ก็ยังอยู่ในระดับคุกรุ่น เหตุเพราะการเจรจาสันติภาพไม่คืบหน้า

ซ้ำร้ายที่รัฐยะไข่ ความรุนแรงระลอกใหม่ที่ก่อตัวมาตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว ล่าสุดได้แตกปะทุในปลายเดือนสิงหาคมและบานปลายกลายเป็นวิกฤตมนุษยธรรมครั้งใหญ่ ข้อมูลในเดือนตุลาคมของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เปิดเผยว่ามีผู้อพยพชาวโรฮิงญาข้ามแดนไปยังบังกลาเทศมากกว่า 6 แสนคน

การผลิตซ้ำอคติสร้างความหวาดระแวงต่อชนกลุ่มน้อยที่เป็นชาวมุสลิมในพม่า ยิ่งทำให้ชาวมุสลิมจากพม่าหลายคนที่จากบ้านเกิดมานานนับตั้งแต่สมัยรัฐบาลทหารไม่คิดจะกลับพม่าอีก

 

โรงเรียนของหนูและครูผู้ลี้ภัย

 


ซาเหม่าง์ อดีตนักศึกษาพม่ายุคเรียกร้องประชาธิปไตยปี 1988 (2531)
ปัจจุบันเป็นครูอาสาสอนนักเรียนในชุมชนแรงงานข้ามชาติที่แม่สอด

ที่ชุมชนข้างมัสยิดบังกลาเทศ ตัวเมืองแม่สอด จ.ตาก เสียงท่องอาขยานบนกระดานดำโดยเด็กนักเรียนชายหญิงหลายสิบคน แว่วลอยตามลมอยู่ในชุมชน พวกเขาบ้างนั่งพับเพียบ บ้างนั่งขัดสมาธิ บนพื้นเสื่อน้ำมันที่ปูรองเรือนไม้ยกพื้น ฝาสังกะสี ซึ่งกลายสภาพเป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนกันเองโดยครูอาสาสมัครในชุมชน หรือที่ในพื้นที่นิยมเรียกกันว่า ศูนย์การเรียนรู้ โดยที่นี่เป็น 1 ใน 50 ศูนย์การเรียนรู้ที่จัดการเรียนการสอนในแม่สอด

โรงเรียนเรือนไม้แห่งนี้เปิดสอนให้ลูกหลานของคนในชุมชนมา 4 ปีแล้ว หนึ่งในครูผู้สอนคือ ซาเหม่าง์ อายุ 55 ปี ชาวพม่าเชื้อสายมุสลิม ทั้งนี้ในปี 2531 เขาเป็นหนึ่งในนักศึกษาพม่าที่ร่วมเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในการชุมนุมเดือนสิงหาคมหรือเหตุการณ์ 8888 ทำให้เขาถูกจับเป็นเวลา 4 ปี และถูกปล่อยตัวในปี 2535 ต่อมาเขาพยายามหนีออกจากพม่าและเข้าไปอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านอุ้มเปี้ยม อ.พบพระ จ.ตาก เมื่ออยู่มาหลายปี นานวันเข้าเพื่อนหลายคนในค่ายผู้ลี้ภัยเริ่มได้วีซ่าไปต่างประเทศ ทำให้เขาตัดสินใจออกจากค่ายผู้อพยพออกมาอยู่ที่แม่สอด และได้รับการชักชวนให้มาสอนหนังสือให้เด็กๆ ในชุมชนแรงงานในที่สุด

ศูนย์การเรียนรู้: กลไกเข้าถึงการศึกษาในกลุ่มเด็กเคลื่อนย้าย


ชั้นเรียนระดับมัธยมปลายในโรงเรียนที่ดูแลโดยมูลนิธิช่วยเหลือทางสังคมเพื่อเด็กและสตรี (SAW) ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก นักเรียนที่จบการศึกษาที่นี่สามารถเรียนต่อได้ทั้งระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาในไทย รวมทั้งเรียนต่อที่พม่าหากต้องติดตามผู้ปกครองกลับภูมิลำเนา

จากข้อมูลของเครือข่ายคุ้มครองเด็กอำเภอแม่สอด พบว่า รูปแบบการเข้าถึงระบบการศึกษาของกลุ่มเด็กเคลื่อนย้ายในพื้นที่ 5 อำเภอชายแดน จ.ตาก มี 3 รูปแบบคือ

1.ระบบการศึกษาภาครัฐ

2.การศึกษาในศูนย์พักพิงชั่วคราว

3.การศึกษาในศูนย์การเรียนรู้ของเด็กข้ามชาติ

เฉพาะจำนวนศูนย์การเรียนรู้ ข้อมูลในปี 2560 พบว่ามีศูนย์การเรียนรู้ที่ อ.แม่สอด ทั้งสิ้น 50 แห่ง อ.ท่าสองยาง 5 แห่ง อ.แม่ระมาด 4 แห่ง อ.พบพระ 13 แห่ง และ อ.อุ้มผาง 1 แห่ง

และเมื่อจำแนกตามรูปแบบการจัดการศึกษา จะแบ่งได้เป็น 6 รูปแบบคือ หนึ่ง โรงเรียนไทยที่ใช้หลักสูตรแบบกระทรวงศึกษาธิการ สอง โรงเรียนไทยที่ใช้การหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ แต่เพิ่มการสอนแบบทวิภาษา สาม ศูนย์การเรียนรู้ของเด็กข้ามชาติที่ใช้หลักสูตรโรงเรียนไทยประยุกต์ สี่ ศูนย์การเรียนรู้ของเด็กข้ามชาติที่จัดการเรียนการสอนด้วยหลักสูตรของตนเอง เพื่อให้เด็กสามารถนำกลับไปใช้ในประเทศต้นทางได้ ห้า การศึกษานอกระบบที่ประยุกต์จากหลักสูตรศูนย์การเรียน แต่จัดให้มีการยืดหยุุ่นด้านเวลาเรียน หก การศึกษาแบบอัธยาศัย เน้นกลุ่มเด็กที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบโรงเรียน

ทั้งนี้ เครือข่ายคุ้มครองเด็กอำเภอแม่สอดมีข้อเสนอแนะเพื่อการคุ้มครองเด็กว่า หากเด็กขาดโอกาสทางการศึกษา ย่อมเสี่ยงต่อการถูกแสวงประโยชน์ได้ง่ายและเสี่ยงต่อการเป็นแรงงานเด็ก ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ขาดโอกาสที่จะได้รับการส่งเสริมให้เด็กเข้าถึงระบบการศึกษา

แต่หากเด็กเคลื่อนย้ายสามารถเข้าถึงการศึกษา ก็จะลดปัญหาแรงงานเด็ก และเด็กจะได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ผ่านการศึกษาและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสามารถในอนาคตอันใกล้ โดยข้อเสนอหนึ่งของเครือข่ายคุ้มครองเด็กอำเภอแม่สอดเสนอก็คือส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาที่เหมาะสมกับความต้องการของเด็กอย่างจริงจัง และมีระบบติดตามเด็กที่ไม่ได้เข้าระบบการศึกษา พร้อมเสนอให้ลดขั้นตอนและเอกสารประกอบการสมัครเรียนในกรณีที่เด็กประสงค์จะเรียนในโรงเรียนที่รัฐบาลไทยจัดให้

 

 

เมื่อถามถึงความจำเป็นที่ต้องเปิดโรงเรียน ทั้งที่เด็กๆ ในชุมชนหลายคนก็เข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาล ซาเหม่าง์ บอกว่าหลังจากผู้นำชุมชนมาปรึกษากับเขาว่ายังมีเด็กในชุมชนอีกมากที่ไม่มีโอกาสเรียนหนังสือ บางครอบครัวพ่อแม่ไม่มีเงินส่งลูกไปโรงเรียนทุกวัน นอกจากนี้ เขาเห็นว่าเด็กๆ ที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ก็เที่ยวเล่น บ้างก็เที่ยวเก็บขยะขาย เขากลัวว่าเมื่อเด็กๆ เติบโตมาจะไม่มีอนาคต หรือถูกชักนำให้ไปก่อเรื่องไม่ดี ดังนั้น เขาเลยมาเปิดโรงเรียนแบบไม่เป็นทางการและชักชวนพ่อแม่ให้ส่งลูกมาเรียน มารับการอบรมด้วย โดยเขาตั้งเกณฑ์ให้พ่อแม่ว่าถ้าเริ่มมีฐานะหรือพอมีกำลัง ก็ค่อยส่งลูกไปเรียนต่อกับโรงเรียนข้างนอก

ซาเหม่าง์เปิดสมุดระเบียนของโรงเรียนชี้ให้ดูชื่อนักเรียนและผู้ปกครองของเด็กซึ่งมีทั้งคนในชุมชนและใกล้เคียง โดยปัจจุบันโรงเรียนของเขาดูแลมีนักเรียน 42 คน โดยจัดการเรียนการสอนแบบชั้นรวมภายในเรือนไม้ขนาด 6 คูณ 8 เมตร ที่เด็กเล็กพอนั่งเรียนได้แบบไม่เบียดเสียด โดยเปิดสอนทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เริ่มเวลาบ่ายสองถึงห้าโมงเย็น สอนวิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาพม่า วิชาคณิตศาสตร์ระดับ 1 และวิชาคณิตศาสตร์ระดับ 2 เขาบอกว่า สามสี่ปีก่อนเคยมีครูอาสาสมัครมาช่วยสอนวิชาภาษาไทยด้วย แต่มาปีนี้ไม่มีครูอาสาสมัคร ก็เลยไม่ได้สอนวิชาภาษาไทยให้เด็กนักเรียน โดยการเรียนการสอนที่เริ่มตั้งแต่บ่ายสอง พอถึงเวลาเย็น นักเรียนก็จะไปเรียนศาสนาอิสลามต่อที่มัสยิดจนถึงสองทุ่ม
 

คนรุ่น '88 ที่ยังไม่ได้รับชัยชนะ

ซาเหม่าง์ กล่าวด้วยว่าแม้พม่าจะมีการเลือกตั้งจนได้รัฐบาลชุดใหม่ แต่เขาก็ไม่มีโอกาสได้กลับบ้านเลย ทั้งนี้คนพม่าเชื้อสายมุสลิมแบบเขาอยู่เหมือนคนไม่มีประเทศ ต้องหาประเทศอยู่ ที่ผ่านมาคนพม่าเชื้อสายมุสลิม ถึงแม้ไม่ใช่ชาวโรฮิงญาก็ประสบความยากลำบากเวลาที่ต้องกลับไปพิสูจน์สัญชาติเพื่อทำบัตรประชาชนพม่า

"รู้จักอองซานซูจีใช่ไหม นั่นแหละ (ปัจจุบันนี้) คนมุสลิมก็ยังคงเดือดร้อน อีก 50 ปีก็ยังเดือดร้อน และผมคิดว่าไม่ใช่แค่ชาวโรฮิงญาเท่านั้น อย่างผมก็คงกลับไปไม่ได้อีกแล้ว ต้องอยู่เมืองไทยนี่แหละ"

เมื่อถามว่าหากร้องเรียนกับอองซานซูจีได้ อยากร้องเรียนเรื่องใด ซาเหม่าง์บอกว่า ถ้าร้องเรียนได้ เขาอยากเสนอเรื่องกลุ่มหัวอนุรักษ์ในพม่า เพราะว่าเดี๋ยวนี้เวลาปัญหาเกิดที่พม่า หลายเรื่องจากคนกลุ่มเหล่านี้ส่งผลกระทบกับคนมุสลิม เขาไม่อยากให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น "ที่ผ่านมาถ้าผู้ใหญ่ทำไม่ดี เราต้องสอนเขา แต่นี่ไม่มีใครสอน ปล่อยให้เขาก่อปัญหาได้ตามใจ"

"ประเทศพม่ามีทั้งรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญ ฯลฯ ในประเทศมีประชาชนนับถือหลายศาสนาทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม ที่ผ่านมารัฐบาลดูแลแต่คนเชื้อชาติพม่าอย่างเดียว คนเชื้อชาติอื่น นับถือศาสนาอื่นเหมือนโดนกดขี่" ซาเหม่าง์กล่าว

สำหรับอนาคต เขาคาดหวังว่า แม้ตัวเขาจะอยู่แบบคนไม่มีสถานะ ไม่มีบัตรประชาชนก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้เด็กๆ ในชุมชนมีบัตรประชาชน ได้เรียนหนังสือ โดยที่ไม่ถูกส่งกลับ เขาก็พอใจแล้ว ทั้งนี้ เขาเชื่อว่าถ้าเด็กๆ มีบัตร ก็จะตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและมีอนาคตที่ดี ส่วนคนต่างศาสนาต่างวัฒนธรรมถึงที่สุดแล้วสามารถอยู่ร่วมกันได้เพราะทุกศาสนาสอนให้คนอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

 

ไร้รัฐไร้ตัวตน: ลี้ภัยจากรัฐกะเหรี่ยงสู่หัวไร่ปลายนาเมืองชายแดน


บ้านของมึมึและครอบครัวชาวกะเหรี่ยงไร้สัญชาติ อยู่ที่หัวไร่ปลายนาแห่งหนึ่งใน อ.แม่สอด จ.ตาก
 

ไม่ไกลจากถนนใหญ่ของตัวเมืองแม่สอด จ.ตาก ลัดเลาะไปตามถนนคอนกรีตเข้าหมู่บ้าน เดินไปตามคันนาจนถึงลานกว้างเป็นที่ตั้งของกระท่อม 3 หลังอยู่ไม่ห่างกัน เรามีโอกาสพูดคุยกับครอบครัวชาวกะเหรี่ยงไร้สัญชาติที่อาศัยในละแวกเดียวด้วยกันกว่า 14 ชีวิต พวกเขาเป็นหนึ่งในหลายกรณีของประชากรอพยพจากรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ที่ไม่ได้อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยตามแนวชายแดน แต่เข้ามาอาศัยอยู่ตามหัวไร่ปลายนาในแม่สอด

มึมึ หญิงชาวกะเหรี่ยงอายุ 42 ปี เธอเกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้กับเมืองดูปลายา หรือที่รัฐบาลพม่าเรียกว่าเมืองกอกะเร็ก ในรัฐกะเหรี่ยง ไม่ไกลจากแม่สอดมากนัก เพราะความไม่สงบในรัฐกะเหรี่ยงทำให้เธอตัดสินใจหนีมาอยู่แม่สอดตั้งแต่ปี 2531 หรือตั้งแต่ตอนอายุ 13 ปี โดยข้ามกลับไปที่บ้านเกิดครั้งเดียวตอนอายุ 30 ปีเพื่อรับพ่อที่ชรามาอยู่ด้วย

ความรันทดอดยากที่ 'ดูปลายา' ช่วงสงครามยึดครองของกองทัพพม่า

แผนที่เมืองดูปลายาหรือเมืองกอกะเร็ก ในรัฐกะเหรี่ยง (ที่มา: Google Maps)

ตลอดทศวรรษที่ 2530 รัฐบาลทหารพม่าปฏิบัติการทางทหารอย่างหนักในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยง ซึ่งสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) ยึดครองพื้นที่ ต่อมาในเดือนธันวาคม 2537 มีทหารกะเหรี่ยงแยกตัวออกมาร่วมกับกองทัพพม่าและตั้งกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย หรือ DKBA ซึ่งมีผลทำให้สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) อ่อนกำลัง จนสูญเสียฐานที่มั่นสำคัญคือ มาเนอปลอ (Manerplaw) เมื่อกุมภาพันธ์ 2537 และคอมูรา (Kawmoora) เมื่อกุมภาพันธ์ 2538

เมื่อสูญเสียฐานที่มั่นสำคัญไปแล้ว กองทัพพม่าก็รุกคืบเข้ามาในพื้นที่อื่นๆ ของรัฐกะเหรี่ยงมากขึ้น ในรายงาน ที่เผยแพร่ปี 2543 ของกลุ่มสิทธิมนุษยชนกะเหรี่ยง (Karen Human Rights Group – KHRG) (อ่านรายงาน) เปิดเผยว่าหมู่บ้านส่วนใหญ่ของเมืองดูปลายาที่กินพื้นที่นับพันตารางกิโลเมตร ซึ่งแต่เดิมอยู่ในการปกครองของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) นั้น นับตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมาต้องตกอยู่ในความยึดครองของกองทัพพม่า หลังจากกองทัพพม่าจำนวน 26 กองพัน เปิดฉากปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ โดยได้รับความร่วมมือจากกองกำลัง KPA ของ ธูมูเฮ (Thu Mu Heh) อดีตผู้บัญชาการของกองกำลังกะเหรี่ยง KNU ในพื้นที่ ซึ่งแปรพักตร์มาเข้าร่วมกับกองทัพพม่า

ทั้งนี้ระหว่างปี 2540-2542 กองทัพพม่าได้เผาทำลายหมู่บ้าน และบังคับโยกย้ายชาวบ้านกะเหรี่ยงในพื้นที่ห่างไกลของเมืองดูปลายาเพื่อตัดการสนับสนุนทหารกะเหรี่ยง KNU โดยให้ชาวบ้านเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านยุทธศาสตร์ใกล้กับค่ายทหารพม่า การออกนอกพื้นที่เพื่อไปทำไร่ทำนาต้องขออนุญาตกองทัพพม่า ทหารพม่าเกณฑ์ชาวบ้านไปเป็นลูกหาบ มีการจับกุมและทรมานผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าร่วมมือกับทหารกะเหรี่ยง KNU และหลายกรณีจบลงด้วยการสังหาร

นอกจากนี้ ในเดือนธันวาคมปี 2542 ชาวบ้านกะเหรี่ยงที่เมืองดูปลายาต้องยกผลผลิตทั้งหมดจากการเก็บเกี่ยวให้กับกองทัพพม่า โดยกองทัพพม่าจะปันส่วนรายวันให้กับชาวบ้านแต่ละครอบครัวแทน ส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารทั่วไปในเมืองดูปลายา ชาวบ้านต้องออกหาของป่าและขุดเผือกกินประทังชีวิต บ้างเลือกที่จะละทิ้งไร่นาเพื่อหลบหนีจากการถูกบังคับโยกย้ายบ้านเรือนเข้าไปอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ ในป่า ซึ่งทหารพม่าในพื้นที่ลั่นวาจาว่าจะยิงทิ้งถ้าเจอตัว บ้างก็เลือกที่จะอพยพข้ามเข้าชายแดนไทย ที่ซึ่งมีอนาคตไม่แน่นอนรอพวกเขาอยู่

 

ปัจจุบัน มึมึอยู่กับสามีชาวกะเหรี่ยง มีลูก 3 คน ลูกสาวคนโตอายุ 25 ปี ลูกชายคนกลางอายุ 16 ปี ลูกสาวคนเล็กอายุ 9 ปี พอลูกสาวคนโตแต่งงานกับสามีแล้วแยกไปอยู่ที่อื่น จึงฝากลูกชายอายุ 4 ขวบที่เกิดกับสามีคนแรกให้เลี้ยง ส่วนกระท่อมอีกสองหลัง หลังหนึ่งเป็นบ้านของพี่ชาย อีกหลังเป็นบ้านของน้องสาวที่อยู่กับสามีและลูกๆ โดยทั้ง 3 หลัง โดยมึมึและทุกคนในครอบครัวนับเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติเพราะไม่มีเอกสารติดตัวใดๆ มีเพียงสามีของน้องสาวมึมึคนเดียวที่มีบัตรอนุญาตทำงานของแรงงาน 3 สัญชาติ

มึมึเล่าว่าเดือนแรกที่มาอยู่เมืองไทย ทำงานได้เงิน 300 บาท โดยอาชีพของเธอคือการรับจ้างทำไร่ ถ้าหมดงานก็ย้ายไปเรื่อยๆ แล้วแต่คนจะจ้าง ส่วนมากมึมึจะทำงานอยู่ในแม่สอด แต่ก็เคยไปรับจ้างถึง ต.แม่จะเรา อ.แม่ระมาด และ ต.แม่กาสา อ.แม่สอด จ.ตาก งานหนึ่งมักจะทำหลายอาทิตย์หรือหนึ่งเดือน เมื่อเสร็จงานแล้วก็กลับมาที่แม่สอด วนเวียนอยู่เช่นนี้

โดยมากงานที่ทำคืองานรับจ้างในไร่ข้าวโพด คัดเมล็ดข้าวโพด และรับจ้างทำนา งานช่วงนี้คือแกะเมล็ดข้าวโพดใส่กระสอบ ได้ค่าจ้างกระสอบละ 15 บาท วันหนึ่งถ้าทำได้มากเคยได้ถึงวันละ 200 บาท น้อยสุดก็วันละ 80 บาท

ต่อมาเมื่อปลายเดือนมิถุนายน เมื่อมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารจัดการเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว เจ้าของที่ดินมาบอกครอบครัวของมึมึให้ออกจากพื้นที่ เพราะถ้าอยู่เจ้าหน้าที่ตำรวจทหารจะมาจับ ทำให้มึมึและครอบครัวพากันไปอาศัยอยู่ในชายป่า3 วัน 3 คืน เมื่อข่าวซาลงแล้วจึงกลับมาอยู่ที่กระท่อมตามเดิม

เพราะค่อนชีวิตของเธอเลือกแล้วที่จะอยู่ที่ฝั่งไทย รวมทั้งการที่รัฐบาลพม่าจัดระเบียบการปกครองใหม่ในพื้นที่เมืองดูปลายาที่ปัจจุบันถูกเรียกว่าเมืองกอกะเร็ก ยิ่งทำให้มึมึไม่มีหลักฐานที่ออกให้โดยทางการพม่าเลย ทั้งบัตรประชาชนพม่าและทะเบียนบ้าน เมื่อไม่มีทะเบียนบ้าน การพิสูจน์สัญชาติที่พม่าก็ไม่มีทางเป็นไปได้ มึมึถึงกับบอกว่า

"ถ้ากลับไปที่รัฐกะเหรี่ยงก็ไม่มีทางทำกิน แต่ถ้าอยู่เมืองไทยก็ยังพอมีทางทำกิน คงอยู่แม่สอดจนตาย ถ้าถูกจับส่งกลับพม่าก็ยังจะนั่งเรือข้ามกลับมาฝั่งไทย"

ระหว่างที่พูดคุยกับมึมึ 'ลาก่อ' วัย 16 ปี ลูกชายคนกลางก็มานั่งเคียงข้างอยู่กับผู้เป็นแม่ด้วย เขาก็เป็นเช่นเดียวกับเด็กไร้สัญชาติอีกหลายคนที่ทำคลอดกับหมอตำแยตามหัวไร่ปลายนาและพ่อแม่ไม่ได้พาไปแจ้งเกิด ทำให้ไม่มีทั้งสูติบัตรหรือหนังสือรับรองการเกิด

และถึงแม้ว่าจะมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 5 กรกฎาคม 2548 ให้โรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่งรับเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยทุกคนเข้าศึกษาเล่าเรียน และเมื่อเรียนจบแล้วจะต้องออกหลักฐานรับรองผลการเรียนให้ทุกราย แต่ลาก่อก็ไม่มีโอกาสได้ไปโรงเรียน เพราะเขากลายเป็นกำลังสำคัญของบ้าน โดยออกไปรับจ้างทำงานกับอู่ล้างรถแห่งหนึ่งในตัวเมืองแม่สอด โดยเขาเก็บเงินให้แม่ 3-4 พันบาทต่อเดือน

เมื่อถามมึมึว่าอยากให้ลูกได้เรียนหนังสือหรือไม่ มึมึเคยคิดว่าไม่อยากให้ลูกชายไปเรียน เพราะเป็นคนเดียวที่ช่วยพ่อแม่ทำงาน ส่วนลูกสาวคนเล็ก ไม่รู้ว่าลูกสาวมีใจอยากเรียนหรือไม่ แต่ก็อยากให้เรียนอยู่ และในเวลาต่อมาเมื่อมึมึได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่คลินิกกฎหมายแรงงานแม่สอด ภายใต้มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (HRDF) มึมึก็ตัดสินใจว่าจะวางแผนเพื่อให้ลูกๆ ของเธอทุกคนได้เรียนหนังสือ

ต่อกรณีไร้รัฐไร้สัญชาติที่เกิดขึ้นกับมึมึและครอบครัว  สุรพงษ์ กองจันทึก ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสัญชาติ ประธานมูลนิธิช่วยเหลือทางสังคมเพื่อเด็กและสตรี (SAW) กล่าวถึงช่องทางเข้าถึงสิทธิของมึมึ และนโยบายของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาติว่า ระหว่างปี 2549-2554 กระทรวงมหาดไทยเคยสำรวจบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน เพื่อสำรวจบุคคลตกหล่นจากการสำรวจครั้งก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสำรวจปี 2542 ทั้งนี้บุคคลที่เข้ามาในประเทศไทยก่อนปี 2542 โดยหลักการต้องได้รับการสำรวจและจัดทำบัตรไม่มีสถานะทางทะเบียน หรือ "บัตร 089" ซึ่งเป็นบัตรประจำตัวที่มีเลข 13 หลัก โดยหลักที่ 1 จะระบุเลข 0 และหลักที่ 6 และ 7 จะระบุเลข 89 แต่มึมึก็ตกหล่นจากการสำรวจอีก และที่ผ่านมารัฐก็ไม่เปิดสำรวจอีกแล้ว

แต่ในปี 2551 มีการแก้ไขพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร ฉบับที่ 2 มาตรา 38 วรรค 2 ที่ให้ทำทะเบียนประวัติให้กับคนซึ่งยังไม่มีสัญชาติไทย ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย โดยที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ก็เคยมีการดำเนินการบ้างแล้ว

กรณีของมึมึถ้าสามารถพิสูจน์ได้ว่าอยู่มานานแล้ว ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับรัฐพม่าเลย ก็สามารถไปขอเพิ่มชื่อในทะเบียนประวัติหรือแบบ ทร.38 แต่ต้องพิสูจน์ได้ว่าตัวเองอยู่มานานแล้ว แม้จะตกหล่นจากการสำรวจที่ผ่านมาก็สามารถทำได้ แต่ก็จะได้แค่ใบทะเบียนประวัติ มีบัตรบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ซึ่งเป็นบัตรที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก หลักแรกจะขึ้นต้นด้วยเลข "0" ส่วนที่หลักที่ 6 และ 7 จะเป็นเลข "00" ซึ่งบัตรนี้มอบบัตรให้บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน แต่ยังไม่มีสิทธิอาศัย ยังไม่ได้รับสิทธิรักษาพยาบาล แต่จะมีเอกสารแสดงตัว

ส่วนลูกเกิดจากพ่อแม่ที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนแม้จะเกิดในประเทศไทย แต่ยังไม่ได้สัญชาติไทย จะได้สัญชาติไทยก็ต่อเมื่อเข้าคุณสมบัติมติคณะรัฐมนตรี 7 ธันวาคม 2559 และประกาศกระทรวงมหาดไทย 14 มีนาคม 2560 (อ่านประกาศ) กรณีที่ลูกไม่ใช่บุตรของชนกลุ่มน้อยที่เกิดในประเทศไทย แม้จะยังไม่ได้สัญชาติไทยอัตโนมัติ แต่ลูกของมึมึซึ่งเกิดในประเทศไทย หากต้องการพิสูจน์สัญชาติไทย หนึ่ง ต้องทำหนังสือรับรองการเกิดว่าเกิดในประเทศไทย คือต้องมีพยานหลักฐาน สอง ต้องเรียนหนังสือจนจบปริญญา เมื่อมีองค์ประกอบทั้ง 2 อย่างก็จะได้รับสัญชาติไทย

รัฐบาลทราบดีอยู่แล้วเวลามีคนพิสูจน์สัญชาติแล้วประเทศต้นทางไม่มีหลักฐานเขาก็ไม่รับ แต่มึมึนั้นมีตัวตนอยู่ในประเทศไทย เป็นหน้าที่ของรัฐไทยต้องกำหนดว่าจะให้เขาอยู่แบบไหน แต่รัฐไทยก็ยังไม่ได้กำหนด

สำหรับลูกของมึมึที่ยังไม่ได้เข้าเรียนนั้น สุรพงษ์เห็นว่า เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ในการพาเด็กเข้าสู่โรงเรียน เป็นหน้าที่ของโรงเรียนต้องรับเด็กเข้าเรียน โดยไม่ต้องถามเด็กว่าอยากเรียนไหม เพราะเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะต้องทำให้เด็กได้รับการพัฒนาสูงสุดในช่วงวัยเด็ก กฎหมายกำหนดให้พ่อแม่พาลูกเข้าโรงเรียน โรงเรียนก็มีหน้าที่ในการรับเด็กเข้าเรียน พ่อแม่ต้องรีบพาลูกไปเข้าโรงเรียน เพื่อให้มีพื้นฐานภาษาไทย และหากลูกไม่มีพื้นฐานเลย ไม่ได้ปรับตัว ไม่เข้าใจภาษา ก็จะเรียนไม่ทันเขา

 

รัฐไทยต้องปฏิบัติต่อประชากรกลุ่มชาติพันธุ์อย่างผู้ลี้ภัย

ต่อข้อเสนอเชิงนโยบายกรณีประชากรชาติพันธุ์จากพม่าที่อยู่ในชุมชนตามแนวชายแดนไทย-พม่า รวมทั้งประชากรข้ามชาติชาวพม่าเชื้อสายมุสลิมนั้น สุรพงษ์ เห็นว่าการดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐจะใช้วิธีตีขลุมไม่ได้ ต้องจำแนกคนออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรกคือ แรงงานข้ามชาติ คือคนที่มีถิ่นฐานอยู่ต่างประเทศ เดินทางเข้ามาประเทศไทยเพื่อทำงาน และยังสามารถกลับประเทศต้นทางหรือมีเงินส่งกลับได้ รัฐต้องดูแลแบบแรงงานข้ามชาติ

กลุ่มที่ 2 เป็นชนกลุ่มน้อยดั้งเดิม คือเข้ามาประเทศไทยนานแล้ว อาจจะเป็นผู้ลี้ภัยหนีมา คนกลุ่มนี้ไม่สามารถกลับประเทศต้นทางได้ เพราะมานานแล้ว จากถิ่นฐานบ้านเดิมแล้ว และสถานการณ์ในพม่ายังไม่สงบ กลุ่มนี้ต้องดูแลแบบชนกลุ่มน้อย หรือแบบผู้ลี้ภัย ซึ่งเป็นคนละแบบกับแรงงานข้ามชาติ

กลุ่มที่ 3 คือเด็กที่เกิดในไทย คนกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นแรงงาน และไม่ใช่คนที่หนีภัยมา เป็นคนที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งตามหลักดั้งเดิมคนเหล่านี้อาจเป็นคนที่มีสัญชาติไทยตามหลักดินแดนได้ แต่รัฐไทยยังไม่ให้สัญชาติ ซึ่งนโยบายของประเทศอื่นให้

ดังนั้นการดำเนินการกับ 3 กลุ่มนี้ต้องดำเนินการไม่เหมือนกัน แต่ปัจจุบันนี้เจ้าหน้าที่รัฐใช้วิธีตีขลุม ดำเนินการเหมือนกันหมด หาว่าหลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมาย ก็ไปใช้วิธีจับกุม หรือผลักดันออกนอกประเทศ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาตลอดมา

ข้อเสนอของสุรพงษ์ก็คือ ต้องจัดให้ประชากรผู้ลี้ภัยได้อยู่อย่างถูกต้อง ถ้าประเทศต้นทางไม่มีความพร้อม ก็ต้องอยู่ในประเทศไทยไปก่อน และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยดูแล ส่วนแรงงานข้ามชาติก็ให้ดูแลตามขั้นตอน และสามารถกลับบ้านได้เมื่อระยะเวลาอนุญาตให้เข้าทำงานสิ้นสุด ส่วนเด็กที่เกิดในประเทศไทยก็ต้องดูแลแบบเด็กที่เกิดในไทย เพราะไม่ใช่ทั้งผู้ลี้ภัยและแรงงาน

วิธีแก้ปัญหาคือรัฐบาลต้องแก้ไขให้ตรงจุดที่เป็นปัญหา ในเมื่อปัญหาคือเจ้าหน้าที่จับกุมโดยอ้างพระราชกำหนดฯ วิธีแก้คือต้องเลิกจับกุม แล้วไปกำหนดสถานะเขาเสียใหม่ให้ถูกต้องว่าเขาเป็นคนกลุ่มไหน ถ้าเขาเป็นผู้ลี้ภัย ต้องทำสถานะผู้ลี้ภัย ถ้าเป็นแรงงานข้ามชาติ ก็ขึ้นทะเบียนแรงงานให้ถูกต้อง ถ้าทำแบบนี้เขาก็อยู่ในบ้านเมืองได้อย่างถูกต้อง มีข้อกำหนด มีผู้ดูแลชัดเจน แต่ถ้าบอกว่าเขาผิดกฎหมาย ไปส่งกลับ เขาก็กลับเข้ามาใหม่อีก

00000

กลับมาที่ลานกว้างหน้ากระท่อมปลายนาของมึมึ บทสนทนาดำเนินมาถึงเวลาที่พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว เมื่อหันหลังมองไปทางฝั่งถนนใหญ่ก็เห็นแสงไฟจากถนนหลวงและห้างสรรพสินค้าอยู่ลิบๆ แทนเส้นขอบฟ้า หลังรับประทานอาหารเย็นแล้ว ครอบครัวของมึมึก็เก็บกวาดบ้านเรือน เตรียมพักผ่อน เก็บออมกำลังแรงเอาไว้ต่อสู้ชีวิตในเช้าวันใหม่

ก่อนขอตัวอำลาจากมึมึและลาก่อ เมื่อถามถึงสิ่งที่จำเป็นที่สุดในชีวิต มึมึตอบว่า "ต้องมีบัตรเป็นอันดับแรกเลย ทำให้เราหางานที่ไหนก็ได้ ถ้าเรามีงาน ก็มีอาหารให้กิน" มึมึกล่าวต่อว่า "ถึงมีเงินทอง แต่ไม่มีบัตร ก็ไปไหนมาไหนไม่สะดวก ต้องหลบๆ ซ่อนๆ"

เธอเชื่อว่าถ้าครอบครัวของเธอได้สัญชาติ หรืออย่างน้อยมีสถานะ คิดว่าชีวิตคงดีขึ้น ไม่ต้องอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ ลูกชายก็สามารถทำงานอย่างอื่น เช่น ไปสมัครงานที่โรงงานได้ ที่ผ่านมาลูกชายก็เคยไปสมัครงานกับโรงงาน แต่ไม่มีนายจ้างที่ไหนรับเข้าทำงาน เพราะเป็นคนไม่มีสถานะ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คิดผิดมหันต์: ยุบ อบต.

Posted: 23 Nov 2017 11:20 PM PST

 

ลดขนาดราชการส่วนกลาง เลิกราชการส่วนภูมิภาค ส่งเสริมราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นการกระจายอำนาจสู่ประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย คือการปฏิรูประบบราชการที่แท้จริง

กำลังคนภาครัฐในฝ่ายพลเรือน 2557

ท้องที่   จำนวน   %
 ส่วนกลาง 1,267,609 61%
ส่วนภูมิภาค 360,928 17%
ส่วนท้องถิ่น 463,226 22%
รวม 2,091,763 100%

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า

1. ราชการส่วนภูมิภาค หรือก็คือแขนขาของราชการส่วนกลางที่ถูกส่งไปประจำตามท้องถิ่นต่าง ๆ นั้น มีกำลังคนอยู่เป็นจำนวนมากถึง 360,928 คน ตามข้อมูลคนภาครัฐในฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2557 ซึ่งเป็นข้อมูลเผยแพร่ล่าสุด ข้าราชการส่วนภูมิภาคจำนวนนี้มีสัดส่วนถึง 17% ของข้าราชการทั้งหมด

2. แต่ราชการส่วนท้องถิ่น มีกำลังคนเพียง 22% เท่านั้น ทั้งที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในจังหวัดภูมิภาคหรือในชนบท กลับมีข้าราชการไป "รับใช้ประชาชน" น้อยมาก

3. ที่น่าสังเกตก็คือราชการส่วนกลาง ที่กระจุกอยู่ในกรุงเทพมหานครมีข้าราชการรวมกันถึง 1,267,609 คนหรือราว 61% ของทั้งหมด ซึ่งแสดงถึงองคาพยพที่ใหญ่โตมากของระบบราชการที่อาจมีกำลังคนเกินความจำเป็น (นอกจากนั้นข้อมูลข้างต้นยังรวมเฉพาะในส่วนของกำลังคนในฝ่ายพลเรือนเท่านั้น ยังไม่รวมรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนข้าราชการทหารที่มีอีก)

และข้อมูลล่าสุดระบุว่า จำนวนกำลังคนภาครัฐเพิ่มขึ้นเกือบ 50% อยู่ที่ราว 2.2 ล้านคน (ณ ปี 2558) ถ้าหากรวมเอาภาระงบบุคลากรรวมทั้งสวัสดิการข้าราชการอื่นๆ อย่างค่ารักษาพยาบาล และบำเหน็จ บำนาญ ก็ร่วม 1.1 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้ของรัฐบาล. . .เมื่อเทียบกับจีดีพี งบบุคลากรภาครัฐของไทยสูงเป็นอันดับต้นๆ ในเอเชีย รองจากบาร์เรน และมัลดีฟส์ โดยสัดส่วนงบบุคลากรภาครัฐต่อจีดีพีของไทยอยู่ประมาณ 7% สูงกว่าเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย (6%) ฟิลิปปินส์ (5%) หรือสิงคโปร์ (3%) (อ่าน)

ในอดีตประเทศไทยมีแต่ราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การจดทะเบียนต่างๆ ก็ต้องไปติดต่อที่อำเภอ หรือจังหวัด แต่ในปัจจุบันเรามีราชการส่วนท้องถิ่น จะเห็นได้ว่าบทบาทของอำเภอหรือจังหวัดมีน้อยลงมาก ยกเว้นอำนาจจากส่วนกลางที่พยายามจะรักษาไว้เพื่อการควบคุมส่วนท้องถิ่น อันที่จริงควรมีการเลือกตั้งนายอำเภอ และผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อการกระจายอำนาจ นี่จึงเป็นการปฏิรูประบบราชการที่แท้ และให้อำนาจตกเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง แต่ดูจากแนวโน้มประเทศไทยเราคงเดินไปในแนวทางที่จะให้อำนาจข้าราชการประจำมากขึ้น แทนที่จะส่งเสริมท้องถิ่นให้มีอำนาจจริง

ในการส่งเสริมส่วนท้องถิ่นนั้น สามารถดำเนินการได้โดย

1. ให้อำนาจส่วนท้องถิ่นในการจัดการศึกษา การดูแลความปลอดภัย การปกครองโดยตรง โดยมีข้าราชการเป็นของตนเอง ไม่สังกัดส่วนกลาง ไทยก็จะมีองคาพยพของระบบราชการที่ไม่อุ้ยอ้าย ไม่มีกระทรวงศึกษาธิการที่ "เทอะทะ" ตัดวงจรเส้นสายต่าง ๆ ไป

2. ให้ท้องถิ่นสามารถแต่งตั้งหรือสรรหา "City Manager" (ผู้จัดการเมือง) "City Appraiser" (ผู้ประเมินค่าทรัพย์สิน) หรือผู้บริหารการศึกษา ผู้จัดการฝ่ายโยธา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา โดยมีข้าราชการประจำคอยปฏิบัติตามนโยบาย ไม่ใช่ให้ข้าราชการประจำที่ควรรับใช้ประชาชนกลับมา "ขี่คอ"

3. การแต่งตั้งหรือสรรหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนี้ ก็มาจากท้องถิ่น โดยนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ไม่ใช่มาจากการแต่งตั้งจากส่วนกลางอย่างเด็ดขาด เพราะนั่นเท่ากับไม่เป็นประชาธิปไตย

ดังนั้นงบประมาณต่าง ๆ ที่จะใช้จึงมาจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง นำเงินส่วนนี้มาใช้เพื่อการบริหารเมืองหรือท้องถิ่นระดับต่างๆ ต่อไป ในการนี้

1. ต้องจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้เพียงพอ ไม่ใช่เก็บแค่ 0.1-1% แต่พึงจัดเก็บที่ 1-2% ของมูลค่าในแต่ละปี
        
2. ลดภาระภาษีทางอื่น เช่น เลิกใช้ภาษีโรงเรือน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีและค่าธรรมเนียมโอน เป็นต้น

3. ลดการเก็บภาษีทางตรง หรืออย่างน้อยต้องไม่เพิ่มขึ้น เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเงินจะได้ไม่ไหลไปส่วนกลาง ทำให้เกิดการทุจริตประพฤติมิชอบต่างๆ ในระหว่างทางได้
        
แต่ขณะนี้กลับอนาถนัก ราชการกำลังพยายามยุบรวม อบต. ต่างๆ ทำให้ผู้แทนหรือปากเสียงของประชาชนลดลงและกลับพึ่งอำนาจส่วนกลางครอบงำให้มากขึ้น  อย่างนี้จะพากันลงเหวหรือไม่ต้องช่วยกันไตร่ตรองให้ดี

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ปลุกกระแสวันยุติความรุนแรงต่อสตรี ชูแคมเปญ “บ้านไม่ใช่เวทีมวย ผู้ชายไม่ทำร้ายผู้หญิง”

Posted: 23 Nov 2017 09:10 PM PST

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ชี้ปมลึก มาจากอำนาจชายเป็นใหญ่ น้ำเมาตัวกระตุ้นสำคัญ ถึงเวลาจริงจังปรับทัศนคติเท่าเทียม หยุดอำนาจเหนือกว่า พร้อมปลุกกระแสวันยุติความรุนแรงต่อสตรี ชูแคมเปญ "บ้านไม่ใช่เวทีมวย…ผู้ชายไม่ทำร้ายผู้หญิง" หยุดทำร้ายร่างกาย  การใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ 

23 พ.ย.2560 รายงานข่าวแจ้งว่า มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล จับมือ บริษัท เจ.วอลเตอร์ธอมสัน ประเทศไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ออกแคมเปญรณรงค์ ภายใต้แนวคิด "บ้านไม่ใช่เวทีมวย…ผู้ชายไม่ทำร้ายผู้หญิง"เพื่อรณรงค์เนื่องในโอกาส 25 พฤศจิกายนเป็นวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากลภายในงานมีการเดินรณรงค์จากสวนสันติภาพ มายังเกาะพญาไท การแสดงละครสั้นชุด"แขวนนวม"พร้อมทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์  ทั้งนี้มีกลุ่มเยาวชน นักเรียน นักศึกษา จากหลากหลายสถาบัน และส่วนราชการกว่า 150 คน เข้าร่วม ณ เกาะพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ        

อังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า สถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิงยังเป็นปัญหาที่น่าห่วงอยู่มาก สะท้อนจากการเก็บข้อมูลปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปี 2559 โดยรวบรวมข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ 13 ฉบับ ได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด คมชัดลึก มติชน แนวหน้า ไทยโพสต์ กรุงเทพธุรกิจ บ้านเมือง สยามรัฐ พิมพ์ไทย ผู้จัดการรายวัน โพสต์ทูเดย์ พบข่าวความรุนแรงในครอบครัวพุ่งสูงถึง 466 ข่าว อันดับ 1 เป็นข่าวการฆ่ากัน 48.5% ข่าวฆ่าตัวตาย 17.6% ข่าวการทำร้ายกัน 17.4% ข่าวการตั้งครรภ์ไม่พร้อม10.7%และข่าวความรุนแรงทางเพศของบุคคลในครอบครัว 5.8%อีกทั้งมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดกรณีข่าวสามีฆ่าภรรยา มาจากการหึงหวง ระแวง ฝ่ายหญิงไม่ยอมคืนดี 78.6% นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญมาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกือบ1ใน 5  และที่น่ากังวล คือ ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวนำไปสู่ความสูญเสียถึงขั้นเสียชีวิตทั้งหญิงและชาย สูงถึง 308 ข่าวหรือ  66.1% ซึ่งผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นเพศชาย โดยวิธีการที่ผู้ชายลงมือฆ่า เกือบครึ่ง 43.6% ใช้อาวุธปืนยิง รองลงมาใช้มีดหรือของมีคม การตบตีจนเสียชีวิต และการเผา

"อย่าลืมว่าผู้หญิงที่ถูกทำร้ายปางตาย ไม่ได้โชคดีหนีรอดมาได้ทุกคน ยังมีหลายรายต้องจบลงด้วยการเสียชีวิตหรือผู้หญิงกลายเป็นฝ่ายโต้กลับด้วยความรุนแรง เพราะหมดความอดทนที่สะสมมาหลายปี จนกลายเป็นฟางเส้นสุดท้าย ดังนั้นอยากให้สังคมมองปัญหาอย่างเข้าใจไม่มีผู้หญิงคนไหนที่ต้องการให้บ้านมีความรุนแรง  ยิ่งระบบคิดแบบชายเป็นใหญ่ ยังฝังรากลึกในสังคม ดังนั้นผู้ชายควรปรับทัศนคติไม่ใช้อำนาจเหนือกว่า ภาครัฐต้องมีกลไกที่มีประสิทธิภาพ ช่วยผู้หญิงได้จริง เกิดการรณรงค์ให้เคารพสิทธิเนื้อตัวร่างกายเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ความเท่าเทียมทางเพศ และสังคมต้องไม่มองว่าความรุนแรงเป็นเรื่องส่วนตัว ซึ่งชุมชนต้องร่วมเป็นหูเป็นตาเฝ้าระวังแจ้งเหตุและห่างไกลเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไว้เป็นดีที่สุด" อังคณา กล่าว

ทสร  บุณยเนตร ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ บริษัท เจ.วอลเตอร์ธอมสัน ประเทศไทย กล่าวว่า "สำหรับแคมเปญ "บ้านไม่ใช่เวทีมวย ผู้ชายไม่ทำร้ายผู้หญิง" มีจุดเริ่มต้นจากการได้พูดคุยกับทางมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และผู้หญิงที่เป็นเหยื่อถูกทำร้าย หลังจากได้ฟังเรื่องราวทั้งหมด พบว่าผู้ที่กระทำความรุนแรงกลับเป็นสามีที่เป็นคนที่ใกล้ชิดมากที่สุด ดังนั้น เจ. วอลเตอร์ธอมสันในฐานะที่เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการสื่อสารการตลาด จึงต้องการใช้ความเชี่ยวชาญของเราในการสร้างสรรค์แคมเปญรณรงค์เพื่อเป็นกระบอกเสียงไปสู่สังคม โดยการร่วมมือกับมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลปลุกกระแส #ผู้ชายไม่ทำร้ายผู้หญิง เพื่อสื่อสารรณรงค์ผ่านกีฬามวยไทยที่ผู้ชายชื่นชอบ ต่อต้านการใช้ความรุนแรงให้ผู้ชายได้ฉุกคิด ณ ช่วงเวลาที่อะดรีนาลีนกำลังสูบฉีดในขณะที่กำลังเชียร์มวยอยู่รอบสังเวียนระหว่างการแข่งขันมวย Ring Girl หรือผู้หญิงที่ถือป้ายคั่นยกการแข่งขัน โดยส่วนใหญ่จะมีรูปร่างหน้าตาสวยงามดึงดูดผู้ชมชาย กลับถูกแทนที่ด้วยผู้หญิงที่ร่างกายเต็มไปด้วยรอยฟกช้ำ ร่องรอยการถูกทำร้าย  ซึ่งปกติแล้วจะชูป้ายบอกเลขยก แต่คราวนี้ Ring Girl กลับเดินออกมาด้วยข้อความรณรงค์ของโครงการ "บ้าน… ไม่ใช่เวทีมวย" "#ผู้ชายไม่ทำร้ายผู้หญิง"ซึ่งเราตั้งใจให้เกิดความคิดที่ว่าผู้ชายต้องล้อมกรอบความรุนแรงไว้เฉพาะบนสังเวียนมวยที่เป็นกีฬามีกติกาและอย่านำความรุนแรงกลับไปที่บ้าน โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแคมเปญนี้จะสร้างแรงกระเพื่อมในสังคมเป็นวงกว้างไปยังทุกคนในสังคมว่าความรุนแรงในบ้าน ไม่ใช่เรื่องปกติ ไม่ใช่ปัญหาภายในครอบครัว ไม่ใช่ความผิดของผู้หญิง แต่มันคือปัญหาสังคมที่ทุกคน ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องร่วมมือกันยุติความรุนแรง"

เอ(นามสมมติ) อายุ 34 ปี ผู้ที่ถ่ายทอดเรื่องราวความรู้สึกผ่านภาพยนตร์ชุด "บ้าน…ไม่ใช่เวทีมวย" และเคยเป็นผู้ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวจากอดีตสามีทำร้าย กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในภาพยนตร์นี้ ยอมรับว่ามีความกลัวเพราะถ่ายทำกับบรรยากาศจริง กลัวว่าเขาจะตะโกนโห่ไล่ กลัวผู้ชายที่กำลังเชียร์มวยจะไม่เข้าใจ แต่ปรากฏว่า ช่วงที่เดินชู้ป้าย "บ้านไม่ใช่เวทีมวย ผู้ชายไม่ทำร้ายผู้หญิง" กลับได้ยินเสียงปรบมือ ชื่นชม บอกให้สู้ๆ พร้อมทั้งส่งเสียงเชียร์และสนับสนุนที่กล้าออกมารณรงค์ในครั้งนี้ ซึ่งมันทำให้เรารู้สึกมีค่า และอยากให้ผู้หญิงที่ถูกทำร้ายเช่นเดียวกับตนเอง ลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิ อย่ายอมเป็นผู้ถูกกระทำ อยากให้สู้ เลิกทนอยู่กับความรุนแรง สติจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ขอให้ก้าวผ่านมันมาให้ได้และเอาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คืนมาที่สำคัญต้องกล้าที่จะขอคำปรึกษาช่วยเหลือ  มันไม่ใช่เรื่องน่าอาย  คนต้องอายคือคนที่ทำร้ายเรา  ตัวเองโชคดีที่ได้ความช่วยเหลือจากมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลทำให้ลุกขึ้นมามีวันนี้ได้ซึ่งหลังจากนี้จะเดินหน้าร่วมรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิงทุกรูปแบบ

"ร่องรอยบาดแผลที่ศีรษะ มือ แผลเป็นรอบตัว ยังเป็นเครื่องเตือนสติมาตลอดกว่า 7 ปี ที่ต้องทนทุกข์ทรมาน อยากฝากเป็นบทเรียนกับหลายๆคน ว่า การใช้ความรุนแรงไม่ช่วยแก้ปัญหามีแต่จะซ้ำเติมทำให้ครอบครัวแย่และพังลง  ความรักที่แท้จริงต้องเอาใจใส่ดูแลเข้าใจกันไม่ใช่เจ้าข้าวเจ้าของและอย่าอ้างว่ารักแต่ทำร้าย" เอ กล่าว 

ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถชมภาพยนตร์ชุด"บ้าน…ไม่ใช่เวทีมวย"ได้ที่ https://goo.gl/iiVRFW หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล แล้วมาร่วมกันชูป้าย "บ้าน.... ไม่ใช่เวทีมวย ผู้ชายไม่ทำร้ายผู้หญิง" ที่คุณเขียนขึ้น และโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย พร้อมกับติดแฮชแท็ก#ผู้ชายไม่ทําร้ายผู้หญิง ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใบตองแห้ง: รถคันนี้มีสิทธิมนุษยชน

Posted: 23 Nov 2017 09:05 PM PST

 

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ให้สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติ ร่วมขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

นับเป็นข่าวใหญ่ที่ชาวโลกแตกตื่น รัฐประหารอัตลักษณ์ไทย จะฉีกหน้า UN แอมเนสตี้ ฮิวแมนไรต์วอทช์ ฯลฯ ให้ได้อาย ถึงไม่มาจากเลือกตั้ง ก็เสริมสร้างสิทธิมนุษยชนได้

อ้าว ไม่เห็นหรือ ไผ่ ดาวดิน ก็ได้รางวัลสิทธิมนุษยชนกวางจู ในรัฐบาลนี้นี่เอง

ฝรั่งไม่เข้าใจ สิทธิมนุษยชนไทยไปกันได้กับ ม.44 ทหารเชิญชาวสวนยางไปปรับทัศนคติฉันพี่น้อง ไม่เคยใช้กำลังซ้อมทรมานใคร ส่วนที่ "ซ่อม" กันภายใน เขาเรียกว่า "ธำรงวินัย" เหมือนน้ำท่วมให้เรียกว่าน้ำรอระบาย

รัฐประหาร คสช.ไม่เหมือนใครในโลก เพราะเคารพกฎหมาย ไม่ได้ใช้อำนาจตามอำเภอใจ เพียงแต่ใช้ ม.44 ออกคำสั่งเป็นกฎหมาย แล้วบอกให้ทุกคนเคารพกฎหมาย ใครฝ่าฝืนก็จับกุมดำเนินคดี ตามกระบวนการยุติธรรม โดยมีศาลเป็น ผู้ตัดสิน ไม่ใช่ลุงตู่ไปสั่งยิงเป้าใคร

ลุงตู่เป็นผู้นำที่ใจกว้าง ยอมรับความเห็นต่าง ไม่เห็นหรือ ท่านไปสัตหีบก็ถาม ใครไม่ชอบยกมือขึ้น ชาวบ้านไม่กล้าเอง จนท่านขำ "ไม่กล้าละสิ" ทั้งที่บอกว่ารับได้ ตอบ 6 คำถามอย่างไรก็ไม่โกรธ ไม่ต้องมายกยอปอปั้น แต่เอ๊ะ ตอนพวกดาวดินชู 3 นิ้ว ท่านก็บอกไม่โกรธเหมือนกัน

แถมท่านยังเป็นผู้นำที่ไม่หลงตัวเอง ไหว้พระขอพร ให้ตัวเองเป็นคนดี อย่าหลงลาภยศสรรเสริญ ฉะนั้น ใครอย่าเที่ยวมาชี้หน้าว่าท่านหลงอำนาจ หาว่าท่านอยากสืบทอดอำนาจ จึงตั้ง 6 คำถาม พูดซี้ซั้วอาจมีความผิดฐานเผยแพร่ข้อมูลเท็จ บิดเบือน ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

สังคมไทยจึงอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีเลือกตั้งก็ไม่เห็นเดือดร้อนอะไร ไม่มีประชาธิปไตยก็มีสิทธิมนุษยชนได้ ใครไม่ได้ทำความผิดก็ไม่ต้องกลัวอะไร ใครไม่ผิดวินัยก็ไม่โดนซ่อม ปัดโธ่ ลุงป้อมยังโดนซ่อมจนสลบมาแล้ว แต่ฟื้นได้ ไม่ตาย จนเป็นใหญ่เป็นโต

สิทธิมนุษยชนมีที่ยืนเสมอในสังคมไทย ตราบใดที่อยู่ใต้กฎหมาย วินัย คำสั่ง เชื่อฟัง เคารพ ขนบประเพณีอันดีงาม และคำสั่งสอนของผู้หลักผู้ใหญ่

สิทธิมนุษยชนมีที่ยืนเสมอในยุค คสช. ตราบใดที่ไม่ฝ่าฝืนประกาศคำสั่ง ห้ามชุมนุมเกิน 5 คน ห้ามวิพากษ์วิจารณ์ ไม่งั้นยืนเฉยๆ ก็ผิด กดไลก์กดแชร์ก็ผิด เขียนป้ายเวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหารก็ผิด

แหม่ ก็อย่าไปทำอะไรผิดๆ สิ เวทีสิทธิออกกว้างใหญ่ มีเรื่องให้เคลื่อนไหวรณรงค์เยอะไป เช่น สิทธิเด็ก สิทธิสตรี สิทธิคนพิการ สิทธิผู้สูงวัย รัฐบาลนี้เอาใจทุกอย่าง ไปกระทั่งสิทธิสัตว์ ตั้งรัฐมนตรีหญิง ปลัดกระทรวงหญิง ก็หลายราย คนไร้สัญชาติก็ได้สิทธิสัญชาติไทย ปราบปรามการค้ามนุษย์ก็จริงจังกว่าใคร

สิทธิชุมชน รักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม ยิ่งดีใหญ่ รัฐอยากให้คนไทยมีจิตอาสา จิตสาธารณะ แต่อย่าเที่ยวมาคัดค้านโรงไฟฟ้า ขัดขวาง EEC ม.44 ผังเมือง ม.44 ไม่ต้องทำ EIA นี่เป็นพวกขัดขวางความเจริญ

ความยุติธรรมก็ใส่ใจนะ เช่นที่ปริญญา เทวานฤมิตรกุล เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ให้เลิกใช้เงินประกันตัว "ต้องไม่มีใครติดคุกเพราะจน" คณะกรรมการปฏิรูปอ้ารับ แต่อย่าเที่ยวรณรงค์ "ต้องไม่มีใครติดคุกเพราะเห็นต่าง"

สิทธิมนุษยชน สิทธิพลเมือง ต้องมากับหน้าที่พลเมือง รัฐธรรมนูญมีชัยเขียนไว้ ไม่เข้าใจกันอีกหรือ คนไทยต้องเป็นพลเมืองดี เคารพเชื่อฟัง แล้วถึงจะมีสิทธิ ขนาดกรรมการสิทธิยังมีหน้าที่ต้องปกป้องชื่อเสียงเกียรติภูมิของชาติ ถ้าฝรั่งต่างชาติหาว่ารัฐละเมิดสิทธิ ต้องชี้แจงแก้ต่างให้

โฆษกไก่อูประกาศว่า 2561-2562 จะเป็นวาระแห่งชาติ 4 สร้าง 3 ปรับปรุง 2 ขับเคลื่อน 1 ลด โดยจะสร้างสำนึกสร้างระบบ สร้างวัฒนธรรมเคารพสิทธิ ปรับทัศนคติ สร้างองค์กรต้นแบบ ฯลฯ ฟังแล้วเพริดในจินตนาการ รัฐบาลทหารสถาปนาสิทธิมนุษยชน หวังว่าคงเอาจริงเอาจัง สั่งกองทัพรณรงค์ ส่งทหารไปอบรมเด็ก สั่งมหาดไทยทำป้าย ติดสติ๊กเกอร์ ประกวดคำขวัญ สั่ง กอ.รมน. จัดตั้งมวลชนเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชน สั่งตำรวจไปกวาดล้างพวกแอบอ้างสิทธิมนุษยชน มาแถลงข่าวทำแผนประกอบคำรับสารภาพ

สิทธิมนุษยชนน่าจะมาก่อนเลือกตั้ง ก่อนปลดล็อกพรรคการเมือง มาพร้อมกับ "คนจนหมดประเทศ" โดยยังไม่ต้องเลิก ม.44 ซึ่งมีไว้ปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพื่อให้ชาวโลกเห็นว่า "รถคันนี้สีขาว" ประเทศนี้มีสิทธิมนุษยชน

 

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อังคณา แนะรัฐเพิ่มมาตรการ กลไกการคุ้มครองผู้หญิงและเด็ก

Posted: 23 Nov 2017 08:54 PM PST

กสม. อังคณา นีละไพจิตร เสนอรัฐบาลเพิ่มมาตรการ กลไกการคุ้มครองผู้หญิงและเด็ก เนื่องในโอกาสวันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก  

24 พ.ย.2560 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (สนง.กสม.) รายงานว่า วันนี้  อังคณา นีละไพจิตร กสม. ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านสิทธิและความเสมอภาคทางเพศสภาพ ใน กสม. เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้หญิงจำนวนมากยังต้องเผชิญปัญหาความรุนแรงทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน  โดยในช่วงปีที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนในประเด็นทางเพศเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดจากความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ความรุนแรงจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ การล่วงละเมิดทางเพศจากการทำงาน การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ ปัญหาทัศนคติและอคติทางเพศของสังคมไทย รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงในรูปแบบต่างๆ

อังคณา ระบุว่า ถึงแม้ว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ได้มีความพยายามสร้างมาตรการหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาหลายประการ ซึ่งถือว่าเป็นการดำเนินการที่น่ายกย่องและชื่นชม  อย่างไรก็ดียังมีข้อกังวลและห่วงใย  เช่น 1. ข้อจำกัดทางกฎหมาย พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558  เปิดช่องให้มีการเลือกปฏิบัติได้ ด้วยเหตุผลตามหลักการทางศาสนา หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ หรือเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัย ซึ่งขัดกับตามความเห็นทั่วไปของคณะกรรมการการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of  Discrimination - CEDAW) ขององค์การสหประชาชาติ  ที่ระบุว่า การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศถือเป็นความรุนแรงต่อผู้หญิ

2. ผู้หญิงและเด็กหญิงกลุ่มเฉพาะ เช่น กลุ่มผู้หญิงชาติพันธุ์ ผู้หญิงพิการ ผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ยังคงถูกเลือกปฏิบัติ และมีอุปสรรคหลายประการในการเข้าถึงความยุติธรรมผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนมักถูกคุกคามด้วยการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี และถูกคุกคามทางเพศในรูปแบบต่างๆ ในขณะที่เด็กหญิงที่อพยพย้ายถิ่นตามครอบครัวมายังประเทศไทยถูกกักตัวในสถานที่กักร่วมกับผู้ใหญ่ และไม่ได้รับการดูแลตามสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็กตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) และ 3. พนักงานและข้าราชการหญิง ยังต้องเผชิญกับการคุกคามทางเพศจากการทำงาน ถึงแม้ว่าคณะรัฐมนตรีจะได้มีมติให้ทุกหน่วยงานมีมาตรการเพื่อป้องกันการกระทำดังกล่าว  แต่หน่วยงานต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชน ยังไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ

อังคณา เปิดเผยต่อว่า ในโอกาสที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน โดยกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ คณะอนุกรรมการด้านสิทธิและความเสมอภาคทางเพศสภาพ มีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเนื่องในโอกาสวันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี  ดังนี้ 1. รัฐบาลควรเพิ่มมาตรการในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บังคับใช้กฎหมายและบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม รวมถึงสังคมให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความละเอียดอ่อนทางเพศ และการเคารพในความเสมอภาคระหว่างเพศและสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง ตามหลักการสิทธิมนุษยชนและอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination (CEDAW) ) ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อให้เกิดกลไกที่สามารถคุ้มครองผู้หญิงและเด็กหญิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. รัฐบาลควรสร้างหลักประกันในการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงและเด็กหญิงทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้หญิงกลุ่มเฉพาะ โดยกระบวนการยุติธรรมต้องเป็นมิตรกับผู้หญิง มีกระบวนการการให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้หญิงมีความมั่นใจในการต่อสู้คดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ พร้อมทั้งให้มีการฟื้นฟูเยียวยาผู้เสียหายและครอบครัวเพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ 3. รัฐควรรีบเร่งให้มีกลไกเพื่อคุ้มครองผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน จากการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีจากกรณีใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การสมาคมเพื่อปกป้องสิทธิชุมชนและสิทธิมนุษยชน  และ 4. รัฐบาลควรรับประกันการเพิ่มสัดส่วนของผู้หญิงในกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และส่วนร่วมทางการเมืองทุกระดับ เพื่อให้ผู้หญิงสามารถนำเสนอปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความรุนแรง รวมถึงปัญหาอื่นๆ เช่น ปัญหาความยากจน หรือปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

อังคณา กล่าวตอนท้ายว่า คณะอนุกรรมการด้านสิทธิและความเสมอภาคทางเพศสภาพจะมุ่งมั่นปฏิบัติภารกิจในการส่งเสริม ปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพื่อให้เกิดสังคมที่เคารพสิทธิมนุษยชนต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสังคมให้เกิดความเป็นธรรมที่คำนึงถึงความละเอียดอ่อนทางเพศ

สำหรับ พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 มาตรา 17 วรรคสอง ได้กำหนดว่า "... เพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพ ได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัย หรือการปฏิบัติตามหลักการทางศาสนา หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ"  

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิธิ เอียวศรีวงศ์: หยุดเผาวรรณคดีไทยเสียที

Posted: 23 Nov 2017 08:54 PM PST



หากนางผีเสื้อสมุทรคือ "อดีต" เราทุกคนต่างหนีนางผีเสื้อสมุทรของเรา เพื่อเอาชีวิตรอดเหมือนกันทั้งสิ้น

นางผีเสื้อฯ ในพระอภัยมณีนั้นเป็นตัวละครประหลาดนะครับ คือไม่มีที่มาที่ไป นางเงือกยังมีพ่อแม่เป็นตัวเป็นตน ซึ่งได้ช่วยให้พระอภัยและสินสมุทรหนีนางผีเสื้อในระยะแรก แต่นางผีเสื้อไม่มีพ่อมีแม่ หลังจากสิ้นชีวิตแล้ว ก็ไม่มีผีเสื้อตัวอื่นโผล่เข้ามาในท้องเรื่องอีกเลย นางเป็นตัวเดียวหรือคนเดียวในสปีชีส์ของนาง เกิดขึ้นหรือมีขึ้นเพื่อพระอภัย และเป็นของพระอภัยคนเดียวโดยแท้

นางผีเสื้อจึงเป็นอดีตของพระอภัยเพียงคนเดียว และไม่มีใครขจัดเธอออกไปได้นอกจากตัวพระอภัยเอง วิธีขจัดนางผีเสื้อของพระอภัยก็น่าสนใจ เพราะใช้การเป่าปี่จนเธอสิ้นชีวิตลง วิธีที่เราขจัดอดีตอันบาดใจของเรา ก็ใช้วิธีเดียวกันคือเป่าปี่ หรือฟังคนอื่นเป่าปี่ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ หันไปหาสิ่งสวยงามที่จรุงใจให้ลืมอดีตลงได้ อย่างน้อยก็ชั่วคราว

ปี่ของบางคนอาจเป็นศิลปะ บางคนอาจเป็นการทำงานหามรุ่งหามค่ำ บางคนอาจเป็นการสร้างชื่อเสียง บางคนอาจเป็นนางเงือกสาว นางสุวรรณมาลีและนางละเวง

และด้วยเหตุดังนั้น จึงทำให้เกิดคำถามตามมาว่า ปี่ของพระอภัยทำให้นางผีเสื้อตายลงจริงหรือ หากตายจริงเหตุใดพระอภัยจึงยังต้องหนีนางผีเสื้อต่อไปเกือบตลอดชีวิต ถึงไม่ได้หนีด้วยการว่ายน้ำ แต่ก็หนีด้วยวิธีอื่นๆ ซึ่งน่ากลัวพอๆ กัน คือเข้าทำสงครามนองเลือดกับรัฐโน้นรัฐนี้อย่างไม่หยุดหย่อน หรือต้องเสี่ยงอันตรายเพื่อไปให้ถึง "เกาะแก้วพิสดาร" อันเป็นดินแดนที่พระอภัยเข้าใจว่าปลอดภัยจากนางผีเสื้อ อย่างจะหาความสงบในชีวิตสักชั่วขณะก็ไม่ได้เลย

"เกาะแก้วพิสดาร" ที่ไปได้ถึง อาจเป็นสถานที่ซึ่งนางผีเสื้อไม่อาจล่วงล้ำเข้าไปทำอันตรายได้ แต่นางก็ยืนสกัดอยู่ไม่ไกลในทะเล มองเห็นเงาทะมึนเบื้องหน้า แม้เสียงถอนใจคร่ำครวญยังได้ยิน และความคั่งแค้นน้อยใจก็สัมผัสได้จากสายลม

มหากาพย์การวิ่งหนีอดีตหรือนางผีเสื้อของพระอภัยมาสิ้นสุดลงในตอนจบ ไม่ใช่โดยการฆ่านางผีเสื้อใหม่อีกครั้งหนึ่ง แต่โดยการหยุดหนี และใช้ชีวิตร่วมกันไประหว่างอดีตและปัจจุบัน ประนีประนอมยอมรับให้นางผีเสื้อเข้ามาอยู่ร่วมกับนางสุวรรณมาลีและนางละเวง ด้วยเหตุดังนั้น จึงพากันเดินทางไปพบกับนางเงือกซึ่งพระอินทร์ได้ตัดหางให้แล้วที่เมืองลังกา อย่าลืมว่า หากไม่นับสินสมุทรแล้ว นางเงือกเป็นตัวละครตัวเดียวที่มีชีวิตและบทบาทร่วมกับนางผีเสื้อ หรือ "อดีต" ของพระอภัย

การกลับไปพบกับนางเงือกอีกครั้งหนึ่ง จึงเท่ากับกลับไปเผชิญหน้ากับนางผีเสื้อหรืออดีตได้อย่างสงบเป็นครั้งแรก และเรื่องก็ควรจบลงได้อย่างบริบูรณ์

พระอภัยโชคดีที่ในที่สุดก็สามารถอยู่ร่วมกับนางผีเสื้อได้ ในขณะที่คนอีกมากต้องหนีการไล่ล่าของนางผีเสื้อของตนเอง จนถึงวันสิ้นลม

การบำเพ็ญสมณธรรมของพระอภัยอาจเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ได้กับการมีชีวิตร่วมกับอดีต แต่นั่นไม่ใช่วิธีเดียวเท่านั้น มีวิธีอื่นๆ อีกมากซึ่งเหมาะแก่แต่ละคน หากต้องเริ่มต้นที่อ่านแล้วทำให้สำนึกได้ว่า หยุดวิ่งหนีนางผีเสื้อของตนเสียที และจะอยู่ร่วมกับนางผีเสื้อของตนอย่างไร

ตัวใครตัวมัน อย่างที่พูดๆ กันแหละครับ

ใครอ่านถึงตรงนี้ คงมีความเห็นตรงกันว่า เฮ้ย ผมนโนเอาเองนี่หว่า สุนทรภู่ไม่ได้คิดอย่างนี้แน่ ผมก็เห็นด้วยเลยว่าสุนทรภู่ไม่น่าจะคิดอย่างนี้ แม้ผมจะเห็นว่าสุนทรภู่มีสำนึกปัจเจกสูงกว่ากวีร่วมสมัยและก่อนสมัยอย่างเห็นได้ชัดก็ตาม แต่คงไม่ถึงกับวางท้องเรื่องเพื่อเผยชีวิตส่วนในของพระเอกดังที่ผมกล่าวมาแต่ต้น แม้แต่ที่ผมเรียกว่า "ชีวิตส่วนใน" ก็คงเป็นความหมายที่คนรุ่นสุนทรภู่ไม่รู้จัก

แต่เราจะอ่านสุนทรภู่เพื่อรู้ว่าสุนทรภู่คิดอะไรไปทำไมครับ เราอ่านวรรณคดีอะไรก็ตาม เพื่อจะรู้ว่าเราคิดอะไรต่างหาก และนี่คือจุดอ่อนของการเรียนการสอนวรรณคดี (ทั้งไทยและต่างชาติ) ในประเทศไทย คือไม่สนใจว่าอ่านแล้วเราคิดอะไร และทำไม

ผมเชื่อว่า หากเราสนับสนุนและยั่วยุให้เด็กนักเรียนให้ความหมายแก่วรรณกรรมที่ตัวอ่าน ความหมายที่สร้างขึ้นเอง จากความรู้และประสบการณ์ของตนเอง แต่อาจแบ่งปันกันในหมู่ผู้อ่านได้

การอ่านวรรณกรรม ไม่ว่าจะเก่าหรือใหม่ ย่อมให้ความสนุกสนาน ตื่นเต้น เร้าใจแก่นักเรียน อ่านใหม่ก็ได้ความหมายใหม่ เพราะความรู้และประสบการณ์เปลี่ยนไป การเรียนวรรณคดีจึงไม่ใช่เพียงแค่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับงานเขียนชั้นยอดเท่านั้น แต่ได้ปลดปล่อยจินตนาการสร้างสรรค์ในตัวผู้เรียนออกมา

การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ด้วยตนเอง เป็นความสุขตามธรรมชาติของมนุษย์ พูดอย่างนักจิตวิทยาพัฒนาการ คือความสุขอย่างเดียวกับที่ได้เล่นอึของตนเองเมื่อตอนเป็นทารก หากสัญชาตญาณสร้างสรรค์ไม่ถูกขัดขวาง คนก็จะเล่นอะไรที่จริงมากขึ้น งามมากขึ้น และดีมากขึ้นกว่าอึของตนเองไปตามพัฒนาการชีวิตและสังคมของตนเอง

เด็กไทยจะจืดอย่างที่เห็นในปัจจุบันละหรือ

ตรงกันข้ามกับที่กล่าวข้างต้น การเรียนการสอนวรรณกรรม-วรรณคดีในเมืองไทยกลับทำตรงกันข้าม คือสถาปนาความหมายเพียงอันเดียวที่ครูประกาศิตไว้ให้เป็นความหมายที่ถูกต้องและเป็นไปได้แก่วรรณกรรมแต่ละชิ้น จินตนาการสร้างสรรค์จึงหมดบทบาทหน้าที่ในการเรียนวรรณกรรมไปโดยสิ้นเชิง และแน่นอนว่าวรรณกรรมแต่ละชิ้นไร้ความหมายในชีวิตจริงของผู้เรียน ยิ่งเป็นวรรณกรรมเก่าเท่าไร ก็ยิ่งไร้ความหมายมากเท่านั้น

เราไม่ได้อ่านวรรณกรรมเพื่อการปลดปล่อย แต่อ่านเพื่อตกเป็นเชลยของกวีและครูผู้สถาปนาอำนาจเผด็จการขึ้นเหนือหัวใจของเรา

ผมควรกล่าวไว้ด้วยว่า ความหมายของวรรณกรรมแต่ละชิ้นที่ครูบังคับให้เรารับไว้อย่างดิ้นไม่ได้นั้น ไม่ใช่ความหมายที่ตื้นเขินหรือไม่ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นจริงเสียเลย ตรงกันข้ามด้วยซ้ำ ความหมายเหล่านั้นล้วนเป็นผลจากการศึกษาสั่งสมของนักปราชญ์หลายยุคหลายสมัยสืบเนื่องกันมา นับตั้งแต่การตรวจตราต้นฉบับให้ใกล้เคียงกับต้นฉบับของกวีที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ ความหมายตามตัวอักษร ซึ่งได้จากการเปรียบเทียบการใช้คำและสำนวนในยุคสมัยนั้นๆ หรือในภาษาถิ่นไทยอื่นๆ ไปจนถึงบริบททางสังคมที่ใช้วรรณกรรมนั้นๆ ในสมัยโบราณ ฯลฯ

นี่คือจารีตของการศึกษาวรรณกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของโลกตะวันตก โดยเฉพาะการศึกษา "ไพรัชวรรณกรรม" ทั้งหลาย ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาตามแนวนี้มีประโยชน์ อย่างขาดไม่ได้ในการศึกษาวรรณกรรมด้วย อีกทั้งเป็นความรู้ที่ต้องสั่งสมสร้างสรรค์กันต่อไปอีกมาก

บ้านเมืองไหนๆ ก็ต้องมีคนอย่างศาสตราจารย์ ดร.นิยดา เหล่าสุนทร ซึ่งสร้างคุณูปการอย่างใหญ่หลวงในการอนุรักษ์มรดกด้านวรรณกรรมของบ้านเมือง ด้วยการสร้างสรรค์ความรู้ความเข้าใจวรรณกรรม-วรรณคดีให้ลุ่มลึก กว้างขวางยิ่งขึ้น

แต่เราจะทำให้นักเรียนมัธยม หรือแม้แต่นักศึกษามหาวิทยาลัยที่เรียนวรรณกรรมเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการศึกษาทั่วไป กลายเป็นท่านอาจารย์นิยดาได้อย่างไร

พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ประชาชนทั่วไปไม่มีภาระต้องสั่งสมสร้างสรรค์ความรู้ทางวรรณกรรมอย่างนักปราชญ์ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ควรมีโอกาสเรียนรู้ที่จะสนุกสนานกับวรรณกรรม และใช้วรรณกรรมเป็นประโยชน์ในชีวิตของตน นับตั้งแต่เลือกดูละครทีวีเป็น ไปจนถึงบางคนอาจสร้างละครสมัยใหม่ขึ้นจากสมุทโฆษคำฉันท์ ด้วยความหมายใหม่ที่ประทับใจคนดูละครในโลกปัจจุบัน อันเป็นโลกที่เทวดายัง "อุ้ม" ผู้คนไปสู่โชคชะตาที่แตกต่างกัน ฝืนหลักการและเหตุผลที่มนุษย์สร้างขึ้นไว้

จะเข้าใจเหตุผลของเทวดาว่าจะเลือก "อุ้ม" ใคร และไม่ "อุ้ม" ใครได้ ก็ต่อเมื่อเลิกคิดว่าเทวดาเป็น "คนนอก" ที่อยู่เหนือชะตากรรมของมนุษย์ แต่เทวดาก็มีผลประโยชน์อยู่ในโลกมนุษย์ที่ต้องรักษาเหมือนกัน

เพราะวรรณกรรมเป็นงานเขียนชนิดเดียวในโลกที่ฝึกผู้อ่านใช้จินตนาการให้พ้นตัวเองออกไป ไม่ใช่สู่อะไรที่เลื่อนลอยไร้ความเป็นจริงนะครับ แต่สู่สถานการณ์ของคนอื่น, ความรู้สึกของคนอื่น, ความคิดของคนอื่น, ความงามของคนอื่น, ลีลาการใช้ภาษาของคนอื่น ฯลฯ อะไรต่อมิอะไรที่เป็นของ "คนอื่น"

ที่เรียกว่า "คนดี" ก็แค่นี้แหละครับ คือสามารถหลุดจากตัวเองไปสวมชีวิตคนอื่นได้อย่างคล่องแคล่ว, อย่างลึกซึ้ง และอย่างกว้างขวางไม่เลือกหน้า พูดภาษาชาวบ้านคือ "เอาใจเขามาใส่ใจเรา" ซึ่งไม่ได้มีความหมายเพียงสงสาร, เห็นใจ, เมตตากรุณา, อนุเคราะห์เกื้อกูล ฯลฯ เท่านั้น แต่ที่สำคัญกว่าก็คือความเข้าใจความเป็นผู้อื่นได้แทบไม่ต่างจากตัวเขาเอง จึงไม่มองโลกเป็นเพียงสองขั้วของดี-ชั่ว, ขาว-ดำ ซึ่งผมก็ไม่ปฏิเสธว่าเป็นส่วนหนึ่งของความหมายเชิงสั่งสอน (didactic) ซึ่งปรากฏในวรรณกรรมเก่าของไทยอย่างชัดเจน แต่ก็ยังมีความหมายอื่นอีกมากมายที่มนุษย์แต่ละคน และแต่ละยุคสมัยอาจสร้างสรรค์ลงไปในเนื้องานวรรณกรรมเหล่านั้นได้ไม่สิ้นสุด

ปัญหาสำคัญเฉพาะหน้าของสังคมไทยเวลานี้ คือเราหมดความสามารถในด้านจินตนาการสร้างสรรค์ เรามองโลกจากมุมของชูชกไม่เป็น ใครที่ไม่เหมือนเราหรือไม่เหมือนมาตรฐานของเรา จึงสมควรท้องแตกตายนอกคุก หรือท้องแฟบตายในคุกให้หมดๆ ไป

เรากำลังต้องการคนที่อ่านวรรณกรรมเป็น คือสนุกสนานกับการสร้างความหมายใหม่ให้แก่สิ่งที่อ่าน อันเป็นความหมายที่มีนัยยะสำคัญแก่ตนเอง และอาจแก่คนอื่นร่วมสมัย เพราะโดยผ่านความเข้าใจคนอื่นอย่างลึกซึ้งเท่านั้น ที่เราอาจช่วยกันปรับเปลี่ยนเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ, สังคม, การเมือง และวัฒนธรรม อันจะเป็นคุณและเป็นธรรมแก่ชีวิตของทุกคนในสังคม

 

ที่มา: www.matichonweekly.com

เผยแพร่ครั้งแรกใน: มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 17 - 23 พฤศจิกายน 2560

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น