โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ยังพิจารณาอยู่ อัยการเลื่อน 'ทนายจูน' ฟังคำสั่งครั้งที่ 8 คดีซ่อนเร้นพยานหลักฐาน

Posted: 20 Nov 2017 11:08 AM PST

'ทนายจูน' ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เข้ารายงานตัวต่ออัยการ ในคดีซ่อนเร้นพยานหลักฐาน โดยพนักงานอัยการมีคำสั่งให้เลื่อนการรับทราบคำสั่งออกไปเป็นครั้งที่ 8 ในวันที่ 13 ก.พ.61 

ภาพ ศิริกาญจน์เข้าเข้ารายงานตัวต่ออัยการ โดยมีตัวแทนจากสถานทูตและองค์กรระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนเขาสังเกตการณ์ (ภาพจาก เว็บไซต์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน)

20 พ.ย. 2560 ความคืบหน้าของคดี ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ถูกพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลชนะสงครามมีความเห็นสั่งฟ้องฐานซ่อนเร้นพยานหลักฐานและทราบคำสั่งเจ้าพนักงานแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งตามมาตรา 142 และมาตรา 368 ประมวลกฎหมายอาญา จากการทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย ในการคัดค้านการฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 14 นักกิจกรรมกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) ต่อศาลทหาร และปฏิเสธไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจค้นรถยนต์เพื่อยึดเอาโทรศัพท์มือถือของลูกความ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่มีหมายค้นและปราศจากเหตุอันสมควรที่จะค้นรถ ในคืนวันที่ 26 ถึงเช้าวันที่ 27 มิ.ย. 2558 นั้น

ล่าสุดวันนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ศิริกาญจน์ เข้ารายงานตัวต่ออัยการ ในคดีซ่อนเร้นพยานหลักฐาน โดยพนักงานอัยการมีคำสั่งให้เลื่อนการรับทราบคำสั่งออกไปเป็นครั้งที่ 8 ในวันที่ 13 ก.พ.61 เวลา 9.30 น. โดย พนักงานอัยการแจ้งว่าคดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาคำสั่งของอัยการสูงสุด จึงเลื่อนการรับฟังคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องออกไปอีกนัดหนึ่ง รวมระยะเวลาในการพิจารณาทำคำสั่งกว่า 18 เดือน นับตั้งแต่พนักงานสอบสวนได้ส่งสำนวนให้อัยการเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2559 และการพิจารณายังไม่เสร็จสิ้น

นอกจากนี้ รายงานข่าวจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ยังระบุด้วยว่า ระหว่างการรายงานตัวได้มีตัวแทนจากสถานทูตแคนนาดา สวีเดน เนเธอแลนด์ เยอรมัน สหภาพยุโรป เจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการนิติศาสตร์สากลและแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เข้าร่วมสังเกตการณ์ และติดตามความคืบหน้าของคดีด้วย

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานข้อมูลเพิ่มเติมว่า คดีดังกล่าวสืบเนื่องจากการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ทนายความยังศาลทหารเมื่อวันที่ 26-27 มิ.ย. 2558 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ขอเข้าค้นรถยนต์ของศิริกาญจน์ซึ่งจอดหน้าศาลทหารโดยไม่มีหมายค้น ศิริกาญจน์จึงปฏิเสธไม่ให้ทำการค้นรถ โดยปราศจากหมาย ซึ่งเป็นที่มาของคดีนี้ รวมถึงคดีร่วมกันยุยงปลุกปั่นและมั่วสุมชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป และคดีแจ้งความเท็จ ซึ่งทั้งสองคดียังอยู่ในชั้นสอบสวน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยูนิเซฟชี้เด็ก 180 ล้านคนทั่วโลกเผชิญกับสถานการณ์เลวร้ายกว่ารุ่นพ่อแม่

Posted: 20 Nov 2017 09:16 AM PST

จากกิจกรรมวันเด็กสากลที่จัดใน 130 ประเทศทั่วโลก ประเทศไทยได้จัดเวทีสิทธิเด็กขึ้นที่รัฐสภา โดยมีตัวแทนเด็กกว่า 200 คนร่วมประกาศเจตนารมณ์ และยื่นข้อเสนอแนะเพื่อยุติความรุนแรงต่อเด็ก

ตัวแทนเด็กและเยาวชนกว่า 200 คน จากสภาเด็กและเยาวชนและเครือข่ายเยาวชนจากทั่วประเทศร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงต่อเด็กในประเทศไทย ณ เวทีสิทธิเด็กซึ่งจัดขึ้นที่รัฐสภาเมื่อวันศุกร์ที่ 17 พ.ย. ที่ผ่านมา (ภาพ โดยสุขุม ปรีชาพานิช)

20 พ.ย. 2560 องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย รายงานว่าเนื่องในวันเด็กสากลซึ่งเป็นวันครบรอบของการรับรองอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ในปีนี้ยูนิเซฟได้ทำการวิเคราะห์สถานการณ์เด็ก โดยพบว่า แม้ประเด็นด้านความเป็นอยู่ของเด็กจะมีความก้าวหน้าดีขึ้นในทั่วโลก แต่เด็ก 1 ใน 12 คนยังคงอาศัยอยู่ในประเทศที่สถานการณ์ทุกวันนี้เลวร้ายยิ่งกว่ารุ่นพ่อแม่ของพวกเขา

ผลการวิเคราะห์บ่งชี้ว่า เด็ก 180 ล้านคนใน 37 ประเทศมีแนวโน้มที่จะอาศัยอยู่อย่างแร้นแค้น ต้องออกจากโรงเรียน หรือถูกฆ่าตายอย่างทารุณ มากกว่าเด็กที่อาศัยอยู่ในประเทศเหล่านี้เมื่อ 20 ปีก่อน

องค์การยูนิเซฟฯ รายงานด้วยว่า ในโอกาสวันสิทธิเด็กสากล ประเทศไทยได้จัดเวทีสิทธิเด็กขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 17 พ.ย. ที่ผ่านมา มีตัวแทนเด็กและเยาวชนกว่า 200 คนจากสภาเด็กและเยาวชนและเครือข่ายเยาวชนจากทั่วประเทศได้จัดประชุมวิสามัญสภาเด็กและเยาวชน และพิธีประกาศเจตนารมณ์ยุติความรุนแรงต่อเด็กขึ้นที่รัฐสภา โดยตัวแทนเด็กทั้งหมดเข้านั่งในห้องประชุมรัฐสภาและได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงต่อเด็กในประเทศไทย พร้อมประกาศเจตนารมณ์ของเด็กและเยาวชนโดยเรียกร้องให้รัฐบาลสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนเพื่อให้พวกเขามีทักษะในการจัดการกับปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง และให้มีระบบบริการทางสังคมที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อเด็กและเยาวชน

โธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟประเทศไทย กล่าวว่า "ความคิดเห็นของเด็กเป็นสิ่งสำคัญ และเมื่อพวกเขาพูด เราจะต้องรับฟัง เสียงของเด็กทำให้เรารู้ว่าพวกเขาต้องการอะไร และอะไรคือปัญหาที่พวกเขาต้องเผชิญ นอกจากนี้ เรายังต้องทำงานร่วมกับเด็กและเยาวชน เปิดโอกาสให้พวกเขาแสดงความคิดเห็น และพัฒนาศักยภาพของพวกเขา และร่วมแก้ปัญหาไปด้วยกัน เด็กๆ จำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตของพวกเขาทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก"

แม้ประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าไปมากในการพัฒนาสุขภาพและความเป็นอยู่ของเด็กในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่ยังคงมีปัญหาหลายด้านที่ยังคงน่ากังวล โดยเฉพาะความรุนแรงต่อเด็กซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเด็กจำนวนมากในประเทศไทย ข้อมูลที่กระทรวงสาธารณสุขในพ.ศ. 2558 ซึ่งรวบรวมจากศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาล พบว่า มีเด็กจำนวนเกือบ 11,000 คน หรือราว 30 คนต่อวัน เข้ารับการรักษาพยาบาลจากการถูกกระทำรุนแรง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรงทางเพศ  ในขณะที่ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2559 ที่จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ชี้ให้เห็นว่า เด็ก 3 ใน 4 คนที่มีอายุระหว่าง 1-14 ปีถูกสมาชิกครอบครัวลงโทษทางร่างกายหรือจิตใจภายในเดือนก่อนการสำรวจ

นอกจากนี้ ในเดือนพฤศจิกายน ยูนิเซฟได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของเด็กและเยาวชนจำนวน 1,118 คนในประเทศไทยผ่านเครือข่ายยูรีพอร์ต ซึ่งพบว่า ร้อยละ 86 ของเยาวชนที่ตอบแบบสำรวจกล่าวว่า พวกเขาเคยมีประสบการณ์หรือพบเห็นความรุนแรงในโรงเรียน แต่เกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 42) ไม่ได้บอกให้ใครทราบถึงเหตุการณ์ดังกล่าว

ปุณณพัทธ์ อรุณิชย์ตระกูล ประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย ซึ่งยื่นประกาศเจตนารมณ์ของเด็กๆ ต่อพลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า "นอกจากเด็กและเยาวชนจะต้องมีทักษะในการปกป้องตนเองจากความรุนแรงแล้ว เจ้าหน้าที่รัฐก็ต้องมีศักยภาพในการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากความรุนแรง และระบบคุ้มครองเด็กก็ต้องมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับความต้องการของเด็กๆ ด้วย"

องค์การยูนิเซฟฯ รายงานด้วยว่า เวทีสิทธิเด็กซึ่งจัดขึ้นที่รัฐสภาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เป็นกิจกรรมหนึ่งที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันสิทธิเด็กสากลในประเทศไทยและทั่วโลก มีผู้มีชื่อเสียงทั่วโลกให้การสนับสนุนผ่านกิจกรรมต่างๆ และโซเชียลมีเดีย เช่น Friend of UNICEF นิชคุณ หรเวชกุล,  ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่, พอลล่า เทย์เลอร์, พีช พชร จิราธิวัฒน์ หนูดี วนิษา เรซ นอกจากนี้กลุ่มเยาวชนจากสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทยซึ่งได้รับการสนับสนุนจากยูนิเซฟ จะจัดการฉายหนังสั้นที่ผลิตโดยเยาวชน รอบปฐมทัศน์ ณ โรงภาพยนตร์ SF World Cinema ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ในจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พร้อมการเสวนาในหัวข้อ "เด็กนำ ผู้ใหญ่หนุน" และจะมีการฉายรอบบุคคลทั่วไปในวันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายนนี้ รอบ 15.00 น. และ16.00 น. ที่โรงภาพยนตร์ SF World Cinema ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร และ SF Cinema ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าขอนแก่น นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับเครือข่ายเด็กและเยาวชนในประเทศลาว เพื่อฉายรอบบุคคลทั่วไปในวันที่ 26 พฤศจิกายน ที่โรงภาพยนตร์ Major Platinum Cineplex ศูนย์การค้า Vientiane Centre Mall ประเทศลาวอีกด้วย

หมายเหตุ: ประเทศที่สถานการณ์ของเด็กแย่ลงในประเด็นสำคัญอย่างน้อยหนึ่งประเด็น 37 ประเทศ ได้แก่ เบนิน, โบลิเวีย, แคเมอรูน, สาธารณรัฐแอฟริกากลาง, คอโมรอส, โกตดิวัวร์, จิบูตี, อิเควทอเรียลกินี, เอริเทรีย, กัวเตมาลา, กายอานา, กินี-บิสเซา, จอร์แดน, อิรัก, คิริบาส, เลบานอน, ไลบีเรีย, ลิเบีย, มาดากัสการ์, มาลี, หมู่เกาะมาร์แชลล์, ไมโครนีเซีย, ปาเลา, ปารากวัย, สาธารณรัฐมอลโดวา, โรมาเนีย, เซนต์คิตส์แอนด์เนวิส, หมู่เกาะโซโลมอน, เซาท์ซูดาน, สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย, ทองกา, สาธารณรัฐแทนซาเนีย, ยูเครน,วานูอาตู, เยเมน, แซมเบีย และซิมบับเว รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก ที่นี่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พ่อแม่นักเรียนเตรียมทหาร จัดงานเผาหลอกแอบนำศพลูกไปชันสูตร พบอวัยวะภายในหายหมด

Posted: 20 Nov 2017 08:54 AM PST

พ่อแม่นักเรียนเตรียมทหาร ร้องเรียนสื่อ ระบุลูกชายเสียชีวิตจากการฝึกนักเรียนเตรียมทหารเมื่อเดือนที่ผ่านมา ได้รับแจ้งสาเหตุ "หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน" ครอบครัวสงสัยจึงจัดงานเผาหลอกแอบนำศพไปชันสูตร พบอวัยวะภายในหายไปทั้งหมด และในกระโหลกมีเพียงกระดาษทิชชูยัดแทนสมอง

20 พ.ย. 2560 อัมรินทร์ทีวี รายงานว่า พิเชษฐ และสุกัลยา ตัญกาญจน์ 2 นักแข่งรถชื่อดังประเทศไทย ได้ร้องสื่อมวลชนว่าบุตรชายของตนคือ ภคพงศ์ ตัญกาญจน์ หรือน้องเมย นักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 ซึ่งเสียชีวิตในวันที่ 17 ต.ค. ที่ผ่านมา หลังกลับเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร เพียง 1 วัน โดยไม่ได้รับคำชี้แจงที่ละเอียดจากผู้เกี่ยวข้องของโรงเรียนเตรียมทหาร ได้รับเพียงใบมรณบัตรชี้แจงสาเหตุการตายจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน จึงข้องใจถึงสาเหตุการตาย ขณะที่ผลการชันสูตรชิ้นเนื้อจากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ต้องใช้เวลานานถึง 2 เดือน

หลังเกิดเหตุ พิเชษฐ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาลูกไม่เคยบ่นหรือเล่าว่ามีปัญหากับใคร เพียงแต่รู้ว่าลูกมักถูกลงโทษและถูกเรียกไปซ่อมเดี่ยวอยู่บ่อยๆ แต่ก็อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ และก็เคยถูกลงโทษโดยรุ่นพี่ซึ่งเป็นหัวหน้าหมวด จนทำให้ชีพจรหยุดเต้นไปแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งเท่าที่ทราบ รุ่นพี่นายนั้นก็ถูกปลดชั้นจากหัวหน้าหมวด แต่ก็ไม่เคยคิดว่าสาเหตุการเสียชีวิตในครั้งนี้จะมาจากเหตุการณ์ในครั้งก่อน จึงอยากทวงถามความกระจ่างจากทางโรงเรียนว่า สาเหตุที่แท้จริงคืออะไร ไม่ใช่เพียงคำบอกกล่าวที่ว่า เพราะลูกชายเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

ขณะที่สุกัลยา กล่าวว่า ในครั้งแรกที่ลูกชายถูกทำโทษอย่างรุนแรงด้วยการให้ปักหัวลงที่พื้นห้องน้ำ จนเกิดอาการช็อกเพราะเลือดตกที่หัวและความดันพุ่งต่ำลง ซึ่งในรายละเอียดไม่ทราบว่า ถูกทำโทษเพราะเหตุใดและถูกทำโทษนานเท่าใด แต่เมื่อบุตรชายถูกปั๊มหัวใจจนมีชีพจรอีกครั้งก็ไม่ติดใจเอาความ แต่ในครั้งล่าสุดที่ลูกชายหัวใจหยุดเต้น ไม่มีผู้ใดชี้แจงถึงรายละเอียดและสาเหตุการเสียชีวิต

แม้ว่าทั้งคู่จะเคลือบแคลงถึงสาเหตุการตายของลูกชาย แต่ครอบครัวก็ได้นำศพกลับมาตั้งบำเพ็ญกุศลทางศาสนา ที่วัดวิเวการาม ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยมีพิธีฌาปนกิจในวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่า วันนั้นพิเชษฐ แอบนำศพลูกชายออกมา ก่อนที่จะมีการเผาศพ โดยไม่ได้บอกใครว่าไม่ได้เผาศพลูก เท่ากับพิธีวันนั้นเป็นการเผาหลอกไป ส่วนศพของ ภคพงศ์ ทางนายพิเชษฐ ผู้เป็นพ่อ ได้นำศพไปชันสูตร ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ปรากฏว่า อวัยวะภายใน ทั้ง ตับ ไต ไส้ พุง หายไปหมด ซึ่งยิ่งทำให้เคลือบแคลงสงสัย

ต่อมา เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 20 พ.ย. 60 พิเชษฐ และสุกัลยา พร้อมด้วย สุพิชชา ตัญกาญจน์ ลูกสาวคนโต ได้แถลงข่าวถึงกรณีนี้ โดย สุพิชชา ระบุว่า จากการชันสูตรพบว่า อวัยวะภายใน ทั้ง ตับ ไต ไส้ พุง หายไปหมด ส่วนที่กะโหลกศีรษะ มีกระดาษทิชชู่ยัดไว้ แต่สมองหายไป นอกจากนี้ยังตรวจพบกระดูกซี่โครงซี่ที่ 4 หัก และมีรอยช้ำภายในช่องท้องด้านขวาขนาดเท่ากำปั้น และส่วนด้านหลังภายในซีกซ้ายมีรอยช้ำ และที่ไหปลาร้าหักทั้ง 2 ข้าง ซึ่งแพทย์ที่ชันสูตรระบุว่า ซี่โครงที่หักไม่น่าจะเกิดจากการปั๊มหัวใจ เพราะหักต้องหักทั้งแถบ และรอยช้ำน่าจะเกิดจากการถูกกระแทกอย่างแรง

นอกจากนี้ ทางครอบครัวตัญกาญจน์ ยังนำคลิปเสียงที่อ้างว่าได้พูดคุยกับ ผู้บัญชาการโรงเรียนเตรียมทหาร หลังจาก รู้ว่าอวัยวะหายไป มาเปิดให้สื่อมวลชนฟังด้วย และหลังจากการแถลงข่าวทางครอบครัวกล่าวว่า อยากได้คำชี้แจงว่า อวัยวะลูกชายหายไป เกิดจากสาเหตุอะไร และชิ้นส่วนอวัยวะที่หายไป ก็อยากจะขอคืน เพื่อนำมาพิสูจน์หาสาเหตุการเสียชีวิตอีกครั้ง

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘อารยา ราษฎร์จำเริญสุข’ กับงานล่าสุด ‘ศิลปินกำลังพยายามกลับไปเป็นนักเขียน’

Posted: 20 Nov 2017 08:38 AM PST


 อารยา ราษฎร์จำเริญสุข 
 

อ่านหนังสือให้ศพฟัง คืองานศิลปะที่ทำให้เรารู้จัก อารยา ราษฎร์จำเริญสุข แม้งานชุดนี้จะไม่ได้เผยแพร่ในวงกว้างของไทย แต่ก็ทำให้เธอเป็นที่รู้จักในนานาชาติ ในชื่อผลงาน Reading Inaow for female corpse", "Reading Inaow for three female corpse" ซึ่งเป็นการอ่านกลอนเรื่องอิเหนาให้กับศพเพศหญิงฟัง หลังจากนั้นมีงานสอนหนังสือศพอีก 3 ชุด ได้แก่ The Class I, II, III

อารยาเล่าถึงเรื่องราวที่ทำให้เธอตัดสินใจเริ่มทำงานชุดนี้ว่า

"จริงๆ ที่เราไปอ่านหนังสือให้ศพฟัง เพราะเราเดินผ่านที่คณะ ก็มีกลุ่มอาจารย์ผู้ชายนั่งกินเหล้ากัน พอเราเดินผ่านมีอาจารย์คนหนึ่งตะโกนล้องานว่า เศร้า เหงา ดำ มืดหม่น คือเขาพูดถึงงานภาพพิมพ์ของเรา เราก็เลยเดินมาขึ้นรถคิดว่า มันจะหนักกว่านี้อีกได้ยังไง เหตุผลเบาๆ  เรื่องอ่านหนังสือให้ศพฟังจริงๆ คืออยากเผชิญหน้ากับความกลัว ความไม่รู้ พอลงมือทำหลังจากนั้นไม่มีใครพูดอีกเลยว่า เศร้า เหงา ดำ โศก ไม่มีใครพูดเลย คงคิดว่าไปแล้ว เธอไปแล้ว (หัวเราะ)"

ตอนอายุ 48 เธอทำเรื่องที่เป็นที่ฮือฮาในหมู่แวดวงอาจารย์สอนศิลปะ เมื่อเธอเดินท้อง(ปลอม)ไปสอนที่คณะ และทุกคนเชื่อว่าเธอท้องจริงๆ มีคนมากล่าวแสดงความยินดี มีคนตั้งความหวังว่าเธอคือผู้หญิงตัวคนเดียวอายุเกือบห้าสิบ ที่ท้องมาสอนได้อย่างภาคภูมิ และเมื่อเธอเฉลยความจริง ทุกคนจึงผิดหวัง โมโห โกรธาไปต่างๆ นานา อารยาเล่าให้ฟังว่าปฏิกิริยาของแต่ละคนนั้นหลากหลาย

"วันหนึ่งเราก็เดินตัวปลิว เลิกท้อง แล้วหิ้วกุหลาบใส่ตะกร้าไปแจกทุกคนที่พบกันตอนท้อง นักศึกษาป.โทที่เคยพูดแสดงความยินดีกับเราก็โยนกุหลาบเราทิ้ง "อาจารย์จะเอายังไงกับผม" ส่วนอาจารย์ที่แต่งงานแต่ไม่มีลูกก็ไม่พูดกับเราเดือนหนึ่ง ส่วนเจ้าหน้าที่อีกคนที่ไม่แต่งงานแต่มีลูกก็ใส่ชุดดำมา ทั้งที่ปกติเขาจะใส่ชุดสีสวยๆ"

"จริงๆ มันมี text ในงานนะ เราตั้งคำถามว่าการจะไปนอนกับใครสักคนก็เป็นเรื่องธรรมชาติ ทำไมใครๆถึงเอาธรรมชาติของใครไปแบกไว้มากนัก ถึงใส่ชุดดำ ถึงไม่พูดด้วย ถึงเหวี่ยงดอกกุหลาบ ทำไมใครๆ เอามันไปไว้กับตัวหมดเลย ขำและน่ากลุ้มใจเพราะเขาใส่ใจกับมันมากเกินไป จนมันเป็นปัญหากับผู้หญิงที่ตกเป็นจำเลยในเรื่องแบบนี้"

รวมถึงอารยายังเคยทำวิดีโอเกี่ยวบันทึกเรื่องราวของผู้ป่วยจิตเวชในไทย ที่เธอเล่าว่า การได้มาทำงานกับผู้ป่วยจิตเวชทำให้เธอเห็นว่า ครอบครัว สภาพแวดล้อม สังคมกระทำต่อผู้หญิงหนักมาก ต้องเป็นลูกสาวที่ดี เมียที่ดี เป็นแม่ที่รับผิดชอบต่อลูก ทำให้เธอเหล่านั้นเป็นบ้าเพราะเงื่อนไขพวกนี้

"การเป็นบ้า เราคิดว่ามันไม่ใช่การทำร้ายแต่มันคือการบรรเทานะ บรรเทาให้คุณไม่ถึงขีดแล้วดับดิ้นไปด้วยอะไรสักอย่าง ในที่สุดร่างกายมันจะต้องไปถึงจุดที่มันบรรเทาตัวมันเอง

"มันขมขื่น มันเหมือนเดินเข้าไปเจอความจริงที่ไม่เคยถูกเปิดเผย ความจริงนั้นอยู่ในเรา แล้วเราเข้าไปหาจากคนอื่น ไปคุ้ยมัน แล้วเราสะเทือนใจ เพราะฉะนั้นเวลาเข้าไปอยู่กับงานพวกนี้มันกินตัวเรา กินความรู้สึกนึกคิดของเรา เราไม่อยากอยู่อีกต่อไป ถึงระดับที่ไม่อยากอยู่" อารยากล่าว

00000


อ่านหนังสือให้ศพ ท้องปลอม ทำงานกับคนบ้า เหล่านี้คือข้ออ้างของบรรดาศาสตราจารย์และนักวิชาการ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย) บอกว่าผลงานของเธอไม่มีองค์ประกอบทางศิลปะขั้นสูง ไร้ศีลธรรม ไร้จริยธรรม พวกเขาจึงปฏิเสธการขอตำแหน่งทางวิชาการของเธอถึง 2 ครั้ง

"คนในวงการก็ผู้ชายเกือบทั้งหมด ทั้งผู้มีอำนาจในและนอกระบบ ในขณะที่ผู้หญิงจริงๆ ก็แข่งขันกันเอง อวดประชันกันสูง และขณะที่เพศหญิงแข่งขันกัน เพศหญิงก็หันไปจำยอมเพศชาย คือยอมโดยวัฒนธรรม โดยเชิงอำนาจ น่าเวทนามากในจุดยืนของผู้หญิง เราคิดว่าศิลปะกับวรรณกรรมก็ช่วยเปิดทางให้เยอะเลยนะ ที่จะเข้าไปช่วยจัดการกับเรื่องพวกนี้แบบไม่ก้าวร้าวจนเกินไป" อารยากล่าว

และเป็นเหตุให้เธอทำผลงานวิดีโอออกมาหนึ่งชิ้น ชื่อว่า "อำมหิต" โดยในวิดีโอจำลองเหตุการณ์มีตัวแสดงเป็นศิลปินใหญ่ชายที่วิพากษ์วิจารณ์ผลงานด้วยท่าทีทรงภูมิ กับกลุ่มผู้ฟังเป็นชาวบ้านชายหญิงและภิกษุสงฆ์ที่กำลังฉันเพล

แต่ในที่สุดการขอตำแหน่งครั้งที่ 3 ของเธอก็สำเร็จเพราะมีอ.ชลูด นิ่มเสมอ และอาจารย์คนอื่นๆ ที่เข้าใจในผลงานของเธอ

อารยาเล่าว่า "อ.ชลูดรู้ว่าเราทำในจุดของศิลปิน ไม่ใช่นักวิชาการที่ปราดเปรื่อง ทำในแง่มนุษย์ธรรมดาที่สามารถรู้สึกอะไรกับชีวิตของคนอื่นได้ที่เชื่อมกันกับเรา"
 


อารยา ราษฎร์จำเริญสุข คือหนึ่งในศิลปินที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งที่มีผลงานแสดงทั้งในไทยและต่างประเทศ งานของเธอถูกนำไปแสดงตามเทศกาลศิลปะนานาชาติมากมาย อาทิเช่น งาน  Venice Biennale ในปี 2005 ที่ เวนิซ ประเทศอิตาลี งาน DOCUMENTA ปี 2012 ที่ แคสเซิล ประเทศเยอรมนี  ไม่นานมานี้นิทรรศการเดี่ยวครั้งใหญ่ที่ Sculpture Center, New York ในปี 2015 และล่าสุด ในงาน Singapore Biennale  ปี 2016  ในระยะการทำงานร่วม 30 ปี

ถึงแม้ว่าอารยาจะมีชื่อเสียงในฐานะศิลปินที่เป็นที่รู้จักในนานาชาติ แต่น้อยคนจะรู้ว่าเธอเคยมีอาชีพเป็นนักเขียน ทั้งนิยาย เรื่องสั้น และคอลัมน์นิสต์ให้กับดิฉัน พลอยแกมเพชร แพรวสุดสัปดาห์ กรุงเทพธุรกิจ มติชนสุดสัปดาห์ ก่อนที่ 2-3 ปีก่อน เธอจะตกลงใจหยุดงานเขียน

นิทรรศการ "ศิลปินกำลังพยายามกลับไปเป็นนักเขียน" ที่ 100 ต้นสน แกลลอรี่ คือนิทรรศการล่าสุด ในวาระครบรอบอายุ 60 ปี ของอารยา เป็นนิทรรศการที่เธอกล่าวว่ารู้สึกถึงความเป็นกวีในงานและสนุกในการเปิดกว้างให้ตีความ จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 28 มิ.ย. 60 – 14 ม.ค. 61

ประชาไทชวนคุยกับ อารยา ราษฎร์จำเริญสุข เกี่ยวกับที่มาของผลงาน แนวคิด ตัวตน ชีวิต ประสบการณ์ในวัย 60 ปี ที่ผ่านเรื่องราวหลากหลาย นำมาซึ่งการถ่ายทอดเป็นผลงานทางศิลปะ และล่าสุดกับงานที่กำลังเขียนในหนังสือเล่มใหม่ของเธอ


ที่มาของศิลปินกำลังพยายามกลับไปเป็นนักเขียน

อารยา: เคยทำงานศิลปะควบคู่ไปกับงานเขียน 2-3 ปีที่ผ่านมาหยุดงานเขียนไป ถอนออกจากการเป็นคอลัมนิสต์ เพราะว่าอายุมากขึ้น แล้วเราก็ตั้งสาขาใหม่คือทัศนศิลป์กับสหศาสตร์ศิลป์ ต้องดูแลปรับหลักสูตร ทัศนศิลป์ของป.โท ส่วนสหศาสตร์ศิลป์ทุกคนบอกว่าต้องป.โท แต่เราคิดว่าต้องป.ตรี เพราะปัญหามันอยู่ที่ป.ตรี คือ วิธีการคิดหลักสูตรศิลปะแบบเดิมมามันแยกส่วน ทุกคนถูกสอนมาแบบจารีตสายเดี่ยว คือ หลักสูตรเพ้นท์ (วาด) พิมพ์ก็ต้องพิมพ์ (ภาพพิมพ์)

ปีนี้เราครบ 60 ก็เลยเหมือนเป็นธรรมเนียมว่าต้องมีงานอะไรสักอย่างก็หิวงานเขียน เลยคิดโครงงานนี้ขึ้นมา

พองานจัดแสดงปุ๊บ เราก็เขียนเลยตั้งแต่นั้น มันก็เป็นอุบายอย่างหนึ่งแหละ เป็นอุบายที่จริงจังมาก เพราะเรากลัวภาวะเปลี่ยนผ่านจากการเป็นอาจารย์ประจำเคยทำงานมากมาก่อน เปิดสาขาใหม่ บริหารสาขา ก็กลัวตัวเองโหวง เพราะฉะนั้นอุบายในการเขียนหนังสือของคือเรามีที่อยู่ ของตัวเอง ในนึกคิดของตัวเราเอง ไม่เกี่ยวกับใครเลย ส่วนตัวมาก หมามากวนยังดุเลย


ประติมากรรม ศิลปินกำลังพยายามกลับไปเป็นนักเขียน


ภาพจาก 100 ต้นสน แกลลอรี่ 

"ฟิกเกอร์ตัวอาจารย์ที่ตัวหนึ่งเต้นอีกตัวห้อยหัวอยู่ เรารู้สึกว่าอาจารย์กำลังรู้สึกอยู่ในสภาวะระหว่างการเป็นศิลปินที่สร้างงานศิลปะ กับการเป็นนักเขียนที่เขียนหนังสือ เรารู้สึกว่าตัวที่เต้นคือตัวในจินตนาการ ในความฝัน ไม่ใช่เรื่องจริง ในขณะชิ้นที่ห้อยหัวมันดูจริงกว่า เหมือนกำลังจะตาย เหมือนกำลังจะร่วงโรย ถ้าให้ตอบว่าตัวไหนคือศิลปิน ตัวไหนคือนักเขียน เราว่ามันตอบยาก เพราะทั้งตัวที่เต้นและตัวที่ห้อยหัวมันอยู่ในทั้งพาร์ทที่เป็นศิลปินและพาร์ทที่เป็นนักเขียน" ผู้ดูแล 100 ต้นสน แกลลอรี่ อธิบายให้เราฟัง
 

ประติมากรรม เพลงกล่อมเด็กของรังไข่ที่ตายไปแล้ว


ภาพจาก 100 ต้นสน แกลลอรี่ 

'เพลงกล่อมเด็กของรังไข่ที่ตายไปแล้ว' เป็นประติมากรรมที่อารยาทำหลังออกจากการเป็นคอลัมน์นิสต์แล้วปี 2015 โดยอารยาอธิบายว่า รังไข่ เปลไกวกล่อมเด็ก หรือแม้กระทั่งภาชนะของความตายส่งพ้นจากความเป็น ซึ่งมันมีอะไรหลายๆ อย่างในความเป็นที่ไม่สวย และก็คิดว่ามันเป็นพื้นที่สงัดได้ เคยคิดว่าศิลปะก็คือพื้นที่ที่ปลอดภัยเอาเข้าจริงแล้วมันก็ไม่มีที่ไหนปลอดภัย ใจพาไปไม่ปลอดภัย
 

ทำไมถึงหยุดเขียน
สมัยเขียนหนังสือส่งตามที่ต่างๆ เคยเขียนเดือนละ 7 บท ตื่นตี 4 พัก 10 โมง กินข้าวเช้าเที่ยงรวมกัน บ่ายงีบเพราะต้องพักสมอง เย็นต่อ 4 โมงเย็น ถึง 4 ทุ่ม ต้องมีวินัยแบบนั้นถึงจะส่งมติชนสุดสัปดาห์ ส่งดิฉันรายปักษ์ ส่งกรุงเทพธุรกิจ แถมยังมีเรื่องสั้นตามที่ต่างๆ

เพราะตอนนั้นคิดว่าตัวเองเหมือนเป็ดเลย คือทำทุกอย่าง เลี้ยงหมาก็เป็นเรื่องหนักมากนะ เพราะเที่ยวไปเก็บหมาเจ็บ หมาป่วย หมาแก่มาหมด 10-20 ตัว ต้องให้น้ำเกลือตัวนี้ ป้อนยาตัวนั้น หยอดตาทาจมูกอีกสองตัว อุ้มอีกตัวที่เดินไไม่ได้ไปถ่าย เหมือนนางพยาบาลเลย เพราะฉะนั้นคิดว่ามันเยอะไปหน่อย อีกอย่างเป็นการเบรกของอะไรที่ต่อเนื่องยาวนานเกินไป มันเขียนมาเป็นสิบๆปี

แล้วที่กลับมาเขียน
หวังว่าการเขียนจะเป็นห้วงภวังค์แข็งแรงที่จะดูแลเรา เพราะถ้าศิลปะเรายังต้องยุ่งเกี่ยวกับโลกข้างนอกเยอะมาก งานเขียนเราเป็นผู้กำกับแต่เพียงผู้เดียว ทุกถ้อยคำ ทุกอารมณ์ เพราะถ้าพูดในเชิงร่างกาย ความโลดโผน การเดินทางต่างๆ โดยวัยขนาดนี้ก็น่าจะลดลง ตอนนี้การสอนก็น้อยลง แต่ก็ยังสอน

งานวิดีโอ "อำมหิต" ที่พาดพิงถึงเหตุการณ์เมื่อผลงานคุณถูกปฏิเสธจากบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิทางศิลปะในการขอตำแหน่งทางวิชาการ
เราไม่ได้เป็นคนเริ่ม แต่เราถูกกระทำ เราก็เลยเอาบันทึกของการถูกกระทำมาลงในวิดีโอ เป็นการฉลองแซยิด สิ่งที่นักวิชาการศิลปะวิพากษ์ก็อยู่ในวิดีโอนั้น เช่น ไม่ได้ใช้องค์ประกอบศิลป์ขั้นสูง ไม่มีจริยธรรม

สำหรับศิลปินรุ่นเก่าบางคน สำหรับเขาคุณค่าของศิลปะคงอยู่ที่ความงามของการจัดการอย่างลงตัว มันเกี่ยวกับการมองเห็นมาก อาจไม่ให้ค่าในเรื่องของความคิด ความหมาย เพราะฉะนั้นทางออกคือผลิตในเชิงทักษะ ฝีมือ

ในฐานะที่เป็นอาจารย์เขาก็จะรู้สึกปลอดภัยกว่าที่จะอยู่ตรงนั้น เพราะไม่งั้นเขาจะถูกท้าทายจากคนรุ่นใหม่ คนรุ่นหลัง คนจากที่อื่น เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ก็ดูแลปกป้องสาขาเชิงเดี่ยวของเขา ทำให้เราถูกต้านตอนทำสาขาที่รวมทั้งหมดเข้าด้วยกัน ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเขาไม่ต้องขวนขวาย อยู่กับที่ กับสิ่งที่เรียนมา เขาจะรู้สึกเขารอดไปจนเกษียณ เพียงแต่มันอาจจะแย่ในเชิงการศึกษา การขาดโอกาสเพราะมีเด็กรุ่นใหม่ที่อยากทดลอง ตื่นเต้นกับอะไรที่เปลี่ยนไป แต่แน่นอนของเดิมก็มีดีอยู่ในแบบเดิม แต่หายากแล้ว

ดูเป็นงานที่พยายามเข้าถึงในหลายชนชั้น อย่างงานอำมหิต มีทั้งพระ ทั้งชาวบ้าน นักเรียน อยู่ในงาน
ต่างสปีชีส์ด้วย แต่งานไม่ได้มีความตั้งใจแข็งว่าต้องเพื่อรากหญ้า เพื่อชายขอบ มันเป็นไปเอง เป็นธรรมชาติของเราเอง มันมีความน่าเอ็นดูอะไรบางอย่าง เช่น เดินออกกำลังในหมู่บ้าน เห็นชาวนาปลูกข้าว บทสนทนาของเขามันขำ หรือไปวัดแล้วไปเจอเขาที่งานบุญ มันก็จะมีอะไรที่มันเป็นธรรมชาติที่น่าเอ็นดู แล้วเราคิดว่าในฝั่งนั้นของมนุษย์มันงดงาม พอมันงดงามเราคิดว่ามันอาจเป็นส่วนหนึ่งของงานได้

อย่างงาน The Two Planets (2007-2008) ที่ให้ชาวบ้านมาวิจารณ์งานศิลปะมาสเตอร์พีชจากตะวันตก รู้สึกเหมือนกำลังตั้งคำถามว่าศิลปะของชนชั้นสูง เมื่อชาวบ้านมามอง เขาก็อาจไม่ได้เห็นว่ามันสวยงามก็ได้
มันมี text ของนักวิชาการเอเชีย บอกว่าศิลปะเอเชียจะได้รับการพัฒนาถึงขีดสุดถ้าได้รับการวิจารณ์จากภายนอก แล้วภายนอกคือตะวันตก เราก็เลยกลับข้างแค่นั้นเอง เอาศิลปะที่เป็นมาสเตอร์พีชตะวันตกให้คนเอเชียวิจารณ์บ้าง งานมีความแสบสันในการเอาคืนนิดๆ แต่งานถูกตีความว่าไปจัดการชั้นเรียนประวัติศาสตร์ศิลป์ อย่างมหา'ลัยเราสอนประวัติศาสตร์ศิลป์ ส่วนใหญ่เป็นของตะวันตก ไม่ค่อยมีของเอเชีย แล้วก็แข็งๆ ไม่สนุก

งานไม่มีคำถามแข็งๆ ก็แค่เปิดเวทีให้เขาทดลองกับเผชิญสนุกกับตัวเองกับความไม่รู้ ที่ใจไม่ดีตอนคิดว่าจะทำงานนี้คือ คิดว่าศิลปะจะเละแน่ๆ เพราะเราเปิดให้ชาวบ้านคุยอะไรกันก็ได้ ตรงนั้นคือต้องทำใจแข็งไว้หน่อยนึง ไม่ห่วงหน้าตาของศิลปะจนเกินไป

เหมือนงานผู้ป่วยโรคจิตผู้หญิง ก็ไปตั้งกล้องแล้วก็ให้เขาพูดตามสบาย บางคนก็ร้องไห้ บางคนก็เล่าเรื่องที่เขาไม่ได้คิดว่าตลก แต่พอเราขำอยู่หลังกล้อง ขำน้ำตาไหล พอเขาเห็นแบบนั้นเขายิ่งสนุก ไปใหญ่ ฟุ้งเลย แถมบอกว่า จริงๆนะคะอาจารย์

ชอบทำงานกับกลุ่มคนชายขอบ?
อาจจะไม่ใช่ชายขอบ แต่มีคำวิจารณ์ว่างานเราชอบทำงานเกี่ยวกับการสื่อสารที่ติดขัด เช่น ไปอ่านหนังสือให้ศพฟัง หรือไปนั่งฟังคนบ้าพูดไปเรื่อย แต่ผู้วิจารณ์มองในเชิงบวกมากของความเป็นมนุษย์ ว่าจริงๆ การพยายามจะสื่อสารมันเป็นเรื่องที่พิเศษมากสำหรับคนเราในฐานะมนุษย์ แม้ว่าเราจะไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นใคร พูดเรื่องอะไร ศพเป็นใครมาก่อน ผู้ป่วยทางจิตเล่าเรื่องจริงรึเปล่า หมาก็อยู่ในงานศิลปะได้แบบตัวเป็นๆ ก็คิดว่ามันดีมากที่ข้ามสปีชี่ส์ไป ข้ามข้อจำกัดไปสู่อะไรก็ตาม

งานมีความเป็นเฟมินิสต์?
นักวิชาการผู้หญิงก็จะจับเราไปในโซนเฟมินิสต์ แต่สำหรับตัวเราเอง (คิด) ก็คงมีเชื้ออยู่นะ ในวัฒนธรรมไทยที่มันนุ่มเอ๋อ เป็นการประนีประนอม เราจะสู้ด้วยอะไรล่ะ เราก็สู้ด้วยงาน คนในวงการก็ผู้ชายเกือบทั้งหมด ทั้งผู้มีอำนาจในและนอกระบบ

แล้วผู้หญิงจริงๆ ก็แข่งขันกันเอง อวดประชันกันสูง และในขณะที่เพศหญิงแข่งขันกัน เพศหญิงก็หันไปจำยอมเพศชาย คือยอมโดยวัฒนธรรม โดยเชิงอำนาจ น่าเวทนามากในจุดยืนของผู้หญิง มันมีเรื่องริษยาของเพศเดียวกัน ที่เขาไม่เคยตั้งคำถามกับกลุ่มผู้ชาย พาวเวอร์ของผู้ชายในที่ทำงานเปล่งรัศมีครอบงำพวกผู้หญิง ดูเหมือนเราเป็นเหยื่อของทั้งสองฝ่าย อยากอยูในคุณค่าของสิ่งที่ทำมากกว่าอยากอยู่ในกลุ่มพวกของใคร ไม่อยากประนีประนอมเชิงสาระของสิ่งที่ทำ

เราคิดว่าศิลปะกับวรรณกรรมก็ช่วยเปิดทางให้เยอะเลยนะ ที่จะเข้าไปช่วยจัดการกับเรื่องพวกนี้แบบไม่ก้าวร้าวจนเกินไป

อย่างงานอำมหิต จริงๆ ทำด้วยความขำนะ ให้ลูกศิษย์มาเล่น เล่นแข็งๆถ่ายหลายรอบตลกดี ไม่ได้โกรธแค้นอะไร เริ่มมาจากอ.ชลูด (นิ่มเสมอ) อ.ชลูดคือคนที่สู้กับคนที่วิจารณ์เราในเชิงวิชาการ อ.ชลูดบอกว่า อารยา ถ้าฉันเป็นเธอฉันต้องทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นมาสักชิ้น แล้วอาจารย์ตายไปแล้ว ตายไปนานแล้วเราไม่ได้ทำสักที ก็เลยทำขึ้นมาตามคำแนะนำ เป็นศิษย์มีครู
 


นิยายที่เขียนอยู่เป็นไงบ้าง?
ไม่ได้ตั้งพล็อต ใช้เริ่มจากจุดที่ตัวเองคุ้น สนุกกับอดีตก็เขียนเกี่ยวกับอดีต ถ้ามีจุดที่สะเทือนใจอยากตอกย้ำก็ใส่ อยากให้มันมาเอง ตอนนี้ได้ประมาณครึ่งเรื่อง อย่างเมื่อวันก่อนนึกไอเดียได้อย่างหนึ่ง คล้ายบาปสุนทรีย์ คือมันเป็นบาปหรือกรรมที่ติดมากับศิลปะ ในเรื่องก็จะพูดถึงศิลปะกับวรรณกรรม และมีบุคคลที่ใช้คำว่า "เรา" เข้ามาสังเกตการณ์ วิเคราะห์แทรกความเป็นไปของตัวละครอยู่บ้าง

พ่อเราเป็นหมอ ส่วนแม่เลี้ยงเป็นพยาบาล พ่อเป็นนายแพทย์ใหญ่ดูโรงพยาบาล กับอนามัยจังหวัด อยู่ระยอง อุบล จันทบุรี แต่เราเกิดที่ตราด เพราะฉะนั้นมันจะมีแม่น้ำ มีทะเล มีที่ราบสูง ฉากในจังหวัดพวกนี้อะไรยังงี้อยู่ในเรื่อง

ในนิยายมันคล้ายๆ กับชีวิตของคุณด้วย?
มันคล้ายๆ แต่บางมุมมันถูกทำให้ขำ เช่น มีอยู่ตอนหนึ่งอ่านหนังสือให้ศพฟัง แต่ตัวละครศพลุกขึ้นมาถกกันใหญ่เลย ไม่ฟังกันเลย ถกกันว่ามันละเมิดสิทธิรึเปล่า วันนี้วันหยุดทำไมไม่ได้พัก แล้วทำไมถึงอ่านอิเหนา ศพไม่ตาย ศพฟื้น เราก็เออ เราได้ตัวละครใหม่แล้ว ดีจัง ปกติหาตัวละครลำบาก คิดถึงแต่หมา ไม่ได้ตั้งใจพวกเขาลุกขึ้นมาเอง อยากมีบทในเรื่อง (หัวเราะ)

เหมือนคุณทำงานด้วยอารมณ์ขัน
ปีที่แล้วตอนไปบรรยายต่างประเทศ ศิลปินนานาชาติประมาณ 60 คนนั่งฟัง ก็มีศิลปินคนหนึ่งถามว่า คุณไม่เห็นพูดถึงเรื่องอารมณ์ขันในงานคุณเลย เราก็ถามไปว่าคุณอายุเท่าไหร่ คนก็ขำกันใหญ่ หนุ่มคนนั้นก็พาซื่อตอบว่า 38 คนก็ยิ่งขำ แต่จริงๆ เรากำลังจะบอกว่า ถ้าเธออายุเท่าฉัน ถ้าเธออายุมากขึ้นเรื่อยๆ อารมณ์ขันเธอจะมา

ตอนไปอ่านหนังสือให้ศพฟังเรายังมีอารมณ์ขันไหม?
โห ตอนไปอ่านทีแรก ศพแรกเราร้องไห้ คือมันทั้งกลิ่น ทั้งฉาก ทั้งอะไร คุณไม่เคยเผชิญความตายสดๆ แถมคุณยังเอาน้ำไปแช่เขาอีก เจ้าหน้าที่ก็บอกเดี๋ยวจะเน่าแล้วนะครับอาจารย์ บางคนก็บอกว่าเดี๋ยวมันขึด ขึดคืออาถรรพ์ เจ้าของโลงแก้วไม่ยอมรับฝาก เพราะผมมีลูกเล็กที่บ้าน อ้าวเราก็มีหมา มันไปปนความเชื่ออะไรเต็มไปหมด เห็นศพแต่งตัวสวยๆ ข้างในคือแพมเพิร์ส คือผ้าพันแผลมีเลือด

จุดเริ่มต้นของการทำงานกับศพ?
อายุ 40 เราเป็นผู้หญิงที่อยู่คนเดียวที่ทาวน์เฮ้าส์ เลยทำงานปั้นดินเหนียวไว้ที่เก้าอี้ตัวหนึ่ง ที่เก้าอี้ดูทีวีตัวหนึ่ง โต๊ะกินข้าวตัวหนึ่ง ตรงประตูหน้าบ้านตัวหนึ่ง แล้วปั้นดินมันต้องพรมน้ำ ต้องดูแล มันเริ่มจากตรงนี้ มันเป็นการดูแลอะไรที่ไม่มีชีวิต มันหลอนนะ มันดูหลอนๆ

แล้วเราชอบวรรณคดีเก่า เย็นวันหนึ่งขับรถไปซื้อของ รถก็ติด ก็ร้องกลอนเก่าๆ ร้องไปร้องมาก็ไปพ่วงกับรูปปั้นที่ตัวเองฉีดน้ำดูแล มันก็เลยกลายคิดไปว่า เออทำไมฉันไม่ไปอ่านหนังสือให้ศพฟังล่ะ ตอนนี้ที่บ้าน 4 ตัว ฉันก็ดูแลเหมือนศพอยู่แล้ว แล้วตอนหลังก็ต้องขนรูปปั้นออกมาหมดเลย มันแตกหมด มันก็คือความไม่จีรังยั่งยืน

การอ่านหนังสือ แต่งตัว เล่านิทาน ร้องเพลงให้ศพฟัง มันก็คือการดูแลอย่างหนึ่ง แต่งตัวก็แต่งตัวให้เขาลายเดียวกับเราเลย ทัดดอกลั่นทม เขาถึงได้เหน็บว่าศิลปินใกล้คนบ้านิดเดียว (หัวเราะ)

แล้วมันเกิดการตั้งคำถาม ทำไมคุณถึงได้รับการดูแลที่ดีเมื่อคุณตายแล้ว รองเท้าขัดมัน ชุดสวยที่สุด ทั้งที่ตลอดชีวิตอยู่รองเท้าคุณอาจจะไม่เคยขัดมันเท่านั้นมาก่อน อันนี้เป็นข้อสังเกตของการปฏิบัติเป็นต่อตาย

ทำงานกับศพยากไหม?
พอเครื่องติดมันก็ไปได้นะ เพราะมันต้องทำให้งานสมบูรณ์ แต่ตอนแรกๆ ไม่กล้ากลับบ้านเลย เพราะว่ากลิ่นมันตามมาถึงเช้า มันมีส่วนหนึ่งของสมองแถวท้ายทอยที่อ่อนไหวและรับสัมผัสอะไรพวกนี้ได้ไว อ่านมา เช้าเราชงกาแฟก็เป็นกลิ่นศพ คือถ้าเป็นคนโบราณจะบอกว่าเขามาตาม

ตอนอยู่หน้าบ้านเราก็ถอดเสื้อผ้ากองไว้หน้าบ้าน พยายามไม่เอากลิ่นเข้าบ้าน ตอนแรกๆนะ แต่ตอนหลังสบายเลย ชิน มันเหมือนนักแสดงขึ้นไปแสดงบนเวที มันต้องเดินไปตามบท สถานการณ์ตรงนั้นมันกำกับเรา แต่มันมีภาวะกินตัวเองเหมือนกัน กินตัวเองจนเราเศร้า หดหู่ ต้องไปหาหมอ หมอบอกให้ไปทำสมาธิ ดูลมหายใจ

ในเชิงผลิตให้เป็นงานศิลปะมันก็ยากนะ อาจไม่เป็นก็ได้ คุณว่าเป็นมั้ย? มันไปยากตรง material เงื่อนไขของสังคม และการถูกกระทำ หรือคำถาม ทางศีลธรรมจริยธรรม โดยไม่มองในแง่การสร้างสรรค์ศิลปะ มีหลายเลเยอร์ในความยาก

แล้วตอนอยู่กับศพปลงไหม?
ไม่ปลงเพราะทำศิลปะ

แล้วทำงานกับคนบ้าล่ะ?
เราขมขื่นนะ เดินเข้าไปในโรงพยาบาลบ้า คนบ้าที่รออยู่ก็บอกว่า นักข่าวไทยพีบีเอสมาแล้ว

ครอบครัว สภาพแวดล้อม สังคมกระทำต่อผู้หญิงหนักมาก ต้องเป็นลูกสาวที่ดี เมียที่ดี เป็นแม่ที่รับผิดชอบต่อลูก คือบ้าเพราะเงื่อนไขพวกนี้แหละ

มีผู้หญิงคนหนึ่งบ้าเพราะว่าเป็นลูกสาวของครอบครัวจีนที่อยากได้ลูกชาย แต่ทางออกของเขาก็สวยมาก เมื่อเช้าตอนเขียนเราไปถึงจุดนั้นเลย ข้อเขียนมันพาไปเอง ทางออกก็คือเขากลายเป็นผู้วิเศษตอนเขาบ้า เขาสามารถรักษาไก่ที่ตายแล้วให้ฟื้นได้ เขากลายเป็นคนที่ชาวบ้านเรียกว่าหมอ จากที่เขาอยู่ใต้สามีตลอดเวลา แต่ตอนนี้เหนือกว่าแล้วเพราะชาวบ้านมาหาเขา แล้วก็เจอผู้หญิงอีกคนเล่นเป็นราชินีด้วย

การเป็นบ้า เราคิดว่ามันไม่ใช่การทำร้ายแต่มันคือการบรรเทานะ บรรเทาให้คุณไม่ถึงขีดแล้วดับดิ้นไปด้วยอะไรสักอย่าง ในที่สุดร่างกายมันจะต้องไปถึงจุดที่มันบรรเทาตัวมันเอง เราไม่เคยเจอมุมนี้ ทำงานกับคนบ้ามาตั้งนาน แต่เมื่อเช้าในงานเขียนเราเจอจุดนี้ มันช่วยนี่เอง มันถึงทำให้ฉันหัวเราะตอนตั้งกล้องถ่ายเธอ แล้วกลายเป็นนั่งหัวเราะกันทั้งสองฝ่ายทั้งศิลปินกับคนบ้า มีความสุขกันเหลือเกิน

ตอนไปจัดแสดงงานที่ญี่ปุ่น ก็มีคนบ้าของญี่ปุ่นมาดูงาน มีล่ามแปล คนบ้าญี่ปุ่นคนนั้นกรีดตัวเอง เหมือนเขาไม่รู้ว่านี่คือโลกจริงหรือเสมือนจริง ก็เลยเริ่มทำร้ายตัวเอง ให้รู้สึกว่ายังเจ็บอยู่ จะได้รู้สึกว่าฉันยังเป็นมนุษย์ ต้องรอวันที่เขาอารมณ์ดีที่สุด เขาแต่งตัวสวยชอบมามานั่งหน้ากล้องแล้วคุย

มันขมขื่น มันเหมือนเดินเข้าไปเจอความจริงที่ไม่เคยถูกเปิดเผย ความจริงนั้นอยู่ในเรา แล้วเราเข้าไปหาจากคนอื่น ไปคุ้ยมัน แล้วเราสะเทือนใจ เพราะฉะนั้นเวลาเข้าไปอยู่กับงานพวกนี้มันกินตัวเรา กินความรู้สึกนึกคิดของเรา เราไม่อยากอยู่อีกต่อไป ถึงระดับที่ไม่อยากอยู่

เรารู้ธรรมชาติตัวเอง จุดเปลี่ยนอายุ 60 จะหยุดบริหารสาขา หยุดสอนเราถึงต้องเกาะการเขียนหนังสือซึ่งเยี่ยมมาก ต้องชมอุบายตัวเอง เรารอด มีพลังอย่างเหลือเชื่อ ตอนนี้ไม่เคยวางกระดาษ ปากกา จากมือเลย ไม่ว่าจะไปไหน ขับรถ สอนหนังสือ ดูแลหล่อเลี้ยงตัวละครให้โลดเต้นอยู่ ไม่ให้ชีวิตจริงมากระทบไล่ตัวละครไป

มันเป็นไปได้ไหมที่พอเจอการโจมตีหนักๆ เข้าเราจะชิน
ไม่ ไม่ชิน มันก็แย่ทุกที เพียงแต่เราคิดว่าทางออกของเราไม่ได้เดินไปทะเลาะกับใคร ทางออกก็คือออกในงาน ตอนเด็กกว่านี้ก็ออกในงาน โตขึ้นก็ทำใจ คงเป็นอย่างนี้แหละ เป็นอย่างนี้เอง เข้าใจหละ ไม่เข้าใจก็ไปโรงพยาบาล อยู่กับคนเคยนั่งหัวเราะกันแบบหยุดไม่อยู่

 

ในวันที่ 25 พ.ย. นี้ จะมีกิจกรรมเสวนาพิเศษ ณ 100 ต้นสนแกลอรี่ เวลา 16.00 – 18.00 น. ในหัวข้อ "เธอเกิดมาพร้อมอวัยวะเพศรูปกลีบดอกไม้แย้ม" (เพื่อจะเสียชาติเกิด) โดย สายัณห์ แดงกลม อาจารย์สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ต้องการจะเปิดเวทีร่วมเสนอการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นงานเขียน งานศิลปะ ของอารยา ราษฎร์จำเริญสุข ในนิทรรศการ "ศิลปินกำลังพยายามกลับไปเป็นนักเขียน" และร่วมถามตอบกับศิลปินและผู้นำเสวนาหลังจากจบการเสวนา

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.facebook.com/events/545217915829043/

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'สมานฉันท์แรงงาน' ทวงถามประยุทธ์ ทำไมค้างจ่ายเงินสมทบประกันสังคมกว่า 5.6 หมื่นล้าน

Posted: 20 Nov 2017 05:04 AM PST

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ร้อง 'ประยุทธ์' ปฏิรูประบบประกันสังคม กับ 8 ประเด็นคำถาม ทำไมรัฐค้างจ่ายเงินสมทบกว่า 56,000 ล้านบาท และเมื่อไหร่จะจ่ายให้ครบจำนวน 

ที่มา : ภาพคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จากเฟซบุ๊ก จิระพัฒน์ คงสุข

20 พ.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ ที่ศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาลคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อทวงถามถึงกรณีการปฏิรูประบบประกันสังคม ที่ได้รวบรวมประเด็นปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ใช้แรงงาน บรรจุเป็นข้อเรียกร้องเสนอต่อรัฐบาล เพื่อปรับปรุงแก้ไขยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

สาวิทย์ แก้วหวาน ประธาน คณะกรรมการ คสรท. กล่าวว่า แม้มีการเรียกร้องให้ปรับปรุง แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมิได้ดำเนินการหรือสนใจใดๆ ต่อข้อเรียกร้องจากความต้องการของผู้ประกันตน แต่กลับทำในสิ่งที่ผู้ประกันตนไม่เห็นด้วย เมื่อผู้ประกันตนท้วงติงไปก็มีการประวิงเวลา พยายามหาความชอบธรรมให้ตนเองด้วยการจัดเวทีแสดงความคิดเห็น แต่กลับไม่เปิดกว้างให้ผู้ประกันตน ที่มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมอย่างครอบคลุม

สำหรับคำถามต่อรัฐบาลของ คสรท. ประกอบด้วย 1.ทำไมรัฐจึงไม่ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารสำนักงานประกันสังคม ให้เป็นองค์กรอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และให้ผู้ประกันตนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง 2.ทำไมรัฐไม่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในสัดส่วนที่เท่ากัน ระหว่างรัฐ นายจ้าง ลูกจ้างตามหลักการของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 3.ทำไมรัฐค้างจ่ายเงินสมทบกว่า 56,000 ล้านบาท และเมื่อไหร่จะจ่ายให้ครบจำนวน 4.ทำไมรัฐจึงไม่เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 ให้เท่ากับมาตรา 33

5.ทำไมไม่เปลี่ยนหลักเกณฑ์การคำนวณเงินสิทธิประโยชน์ชราภาพใหม่ จากเดิม 20% ของฐานเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย เป็น 50% ของฐานเงินเดือนสุดท้าย 6.ทำไมรัฐไม่ประกาศใช้อนุบัญญัติทั้ง 17 ฉบับ ที่ออกตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2558 ทั้งที่ทุกฉบับดำเนินการแล้วเสร็จมานานแล้ว 7.ทำไมรัฐจึงไม่จัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ แทนชุดเก่าที่หมดวาระโดยเร็ว และสองปีที่ผ่านมา ไม่ได้มีการปฏิรูประบบประกันสังคมให้ดีขึ้นเลย และ 8.ทำไมรัฐจึงไม่ขยายกรอบเวลาในการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมและเงินทดแทนจนสิ้นสุดการรักษาตามคำวินิจฉัยของแพทย์โดยไม่มีข้อจำกัด ทั้งนี้ ขอให้รัฐบาลให้ความชัดเจนต่อคำถามดังกล่าว เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ประกันตน ผู้จ่ายเงินสมทบเต็มจำนวน

ที่มา : โพสต์ทูเดย์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมัชชาคนจนออกแถลงการณ์ค้านปิดเขื่อนปากมูล 8 บาน ร้อง ปลดผู้ว่าฯ รองผู้ว่าฯ

Posted: 20 Nov 2017 04:23 AM PST

แจง ปิดเขื่อนแม้น้ำสูงกว่าเกณฑ์ ไม่ตรงตามที่ตกลงกันไว้ อนุกรรมการไม่มีส่วนร่วมตัดสินใจ เรียกร้องเปิด-ปิดเขื่อนตามข้อตกลงปี 2558 ยกเลิกการปิดเขื่อน ปลดผู้ว่าฯ - รองผู้ว่าฯ ปลัดรับหนังสือแทนผู้ว่าฯ แล้ว จะส่งให้สำนักนายกฯ ต่อไป 35 องค์กร - นักวิชาการ - นักกิจกรรมลงชื่อสนับสนุนแถลงการณ์

กฤษกรณ์ ศิลารักษ์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูลส่งมอบหนังสือให้กับปลัด จ.อุบลราชธานีที่มารับแทนตัวผู้ว่าราชการจังหวัด จากนั้นจะส่งแฟกซ์ให้กับสำนักนายกรัฐมนตรีต่อไป (ที่มา: กฤษกร ศิลารักษ์)

สืบเนื่องจากวันที่ 19 พ.ย. 2560 ปราโมทย์ ธัญพืช รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ทำพิธีปิดประตูเขื่อนปากมูลทั้ง 8 บาน โดยมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จาก 3 อำเภอ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร เข้าร่วมพิธีดังกล่าว

กลุ่มสมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูลได้ออกแถลงการณ์ในประเด็นการปิดเขื่อนเพื่อชี้แจงว่าการตัดสินใจปิดเขื่อนขัดกับหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูลที่ได้กำหนดไว้ ทั้งยังเรียกร้องให้รัฐบาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการปิดเขื่อนปากมูล ย้าย ผวจ. อุบลราชธานี และรอง ผวจ. อุบลราชธานี และให้รัฐบาลสั่งการไปยังหน่วยต่างๆ ที่เกี่วข้องให้ดำเนินการบริหารจัดการเขื่อนปากมูลตามเกณฑืที่ได้ตกลงกันแล้วเมื่อปี 2558 อย่างเร่งด่วน ลงท้ายด้วยองค์กรและกลุ่มบุคคลที่ลงชื่อสนับสนุน ดังนี้

ที่ สคจ. 046 /2560

20 พฤศจิกายน 2560

กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)

เรื่อง การละเมิดข้อตกลงการบริหารจัดการน้ำเขื่อนปากมูล

ความเดิม : นับตั้งแต่รัฐบาลของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เข้ามาบริหารประเทศ สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล ได้ทำการเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดจากเขื่อนปากมูลมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2558 รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดจากการก่อสร้างเขื่อนปากมูล ขื้น โดยคณะกรรมการอำนวยการ ฯ ได้ประชุมและมีมติ กำหนดเกณฑ์ การบริหารจัดการน้ำเขื่อนปากมูล ดังนี้

1.เกณฑ์การเปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูล ตามรายละเอียดดังนี้

1.1 เมื่ออัตราการไหลของน้ำที่สถานีวัดน้ำ M7 เกินกว่า 500 cms (cms หมายถึง ลบ.ม./วินาที)

1.2 หรือ ระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำ M7 ตั้งแต่ 107 ม.รทก (เมตร.จากระดับน้ำทะเลปานกลาง)

1.3 หรือ ระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำห้วยสะคาม ตั้งแต่ 95 ม.รทก (เมตร.จากระดับน้ำทะเลปานกลาง)

2. เกณฑ์การปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูล ตามรายละเอียดดังนี้

2.1 เมื่ออัตราการไหลของน้ำที่สถานีวัดน้ำ M7 ต่ำกว่า 100 cms (cms หมายถึง ลบ.ม./วินาที)

2.2 หรือ ระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำ M7 ต่ำกว่า 107 ม.รทก (เมตร.จากระดับน้ำทะเลปานกลาง)

โดยหลักเกณฑ์ การบริหารจัดการน้ำนี้ เป็นการผลักดันของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี คนก่อน ซึ่งทางสมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล ไม่เห็นด้วยตั้งแต่ต้น แต่เนื่องจากไม่สามารถโน้มน้าวให้กรรมการในที่ประชุมเห็นด้วยได้ สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล จึงต้องยอมรับมติที่ประชุมของคณะกรรมการอำนวยการ ฯ ที่กำหนดให้เกณฑ์ ดังกล่าวเป็นกรอบแนวทางในการบริหารจัดการน้ำเขื่อนปากมูล และจากนั้นเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำดังกล่าว ได้ถูกน้ำมาใช้ในการบริหารเขื่อนปากมูลนับตั้งแต่ปี 2558 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมารับตำแหน่งใหม่ (รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560) ได้เรียกประชุมอนุกรรมการบริหารจัดการน้ำเขื่อนปากมูล เพื่อทำการปิดประตูเขื่อนปากมูล และในครั้งนั้นสมัชชาคนจนก็ได้ทำการคัดค้านการประชุม แต่ผู้วาฯเดินหน้าการประชุม แต่ไม่มีมติใดๆ แต่เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีได้มีหนังสือด่วนที่สุด เรียกประชุมอนุกรรมการบริหารจัดการน้ำเขื่อนปากมูล ครั้งที่ 5/2560 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี (เป็นการเรียกประชุมครั้งที่ 2 ในรอบหนึ่งเดือน) ซึ่งเป็นการประชุมที่มีการนัดหมายอย่างกระชั้นชิด และเร่งรีบ เพื่อให้ปิดประตูเขื่อนปากมูล ซึ่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังนี้

1. เมื่ออัตราการไหลของน้ำที่สถานีวัดน้ำ M7 ต่ำกว่า 100 cms (cms หมายถึง ลบ.ม./วินาที) ขณะที่ข้อเท็จจริงคือ อัตราการไหลของน้ำที่สถานีวัดน้ำ M7 อยู่ที่อัตรา อยู่ที่ 1,431 cms สูงกว่าเกณฑ์ อยู่ที่ 1,331 cms (ข้อมูลระดับและปริมาณน้ำ ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2560)

2. หรือ ระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำ M7 ต่ำกว่า 107 ม.รทก (เมตร.จากระดับน้ำทะเลปานกลาง) ขณะที่ข้อเท็จจริงคือ ระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำ M 7 อยู่ที่ 110.25 ม.รทก สูงกว่าเกณฑ์ อยู่ 3.25 ม.รทก.(ข้อมูลระดับและปริมาณน้ำ ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2560)

ที่สำคัญ การดำเนินการของคณะอนุกรรมการ ฯ ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา เป็นการกระทำที่มีความผิดหลายประการ ดังนี้

  1. คณะอนุกรรมการ ฯ ถูกแต่งตั้งขึ้นมานั้น ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ ใด ใด ต่อการปิด – เปิดประตูเขื่อนปากมูล มีหน้าที่เพียงแค่ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น สำหรับเสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการ ฯ (กรรมการชุดใหญ่) เพื่อมีมติให้ดำเนินการอย่างหนึ่ง อย่างใด ต่อไป โดยเฉพาะการปิด – เปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูล

  2. ละเมิดเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำเขื่อนปากมูล ปี 2558 ที่ได้ตกลงกันไว้

  3. ฝ่าฝืนคำสั่งของคณะกรรมการอำนวยการฯ อย่างรุนแรง ที่ระบุไว้ในอำนาจหน้าที่ข้อที่ 1 ที่ให้ยึดหลักเกณฑ์ปี 2558 มาเป็นแนวทางปฏิบัติ

  4. ฝ่าฝืน มติ คณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ที่ระบุว่า การดำเนินการเกี่ยวกับเขื่อนปากมูล จะต้องมีการหารือผู้เดือดร้อน

ดังนั้นพฤติกรรมของผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ที่เรียกประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการน้ำเขื่อนปากมูล ถึง 2 ครั้ง ในเวลาไล่เลี่ยกัน และยังมีการลงมติที่ขัดกับหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล ที่ได้กำหนดไว้นั้น สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล เครือข่ายองค์กรประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน และบุคคลที่มีรายชื่อแนบท้ายจดหมายฉบับนี้ ขอเรียกร้องให้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ดำเนินการ ดังนี้

  1. ให้รัฐบาลมีคำสั่ง ให้จังหวัดอุบลราชธานี และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทสไทย (กฟผ.) ยกเลิกการปิดประตูเขื่อนปากมูล โดยเร็ว

  2. ให้รัฐบาลย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (นายสฤษดิ์ วิฑูรย์) และรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี (นายปราโมทย์ ธัญพืช) เนื่องจากทำผิดหลายประการ

  3. ให้รัฐบาลสั่งการไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการบริหารจัดการเขื่อนปากมูลตามเกณฑ์ ปี 2558 ที่ได้ตกลงร่วมกันอย่างเคร่งครัด ในขณะเดียวกันควรเร่งเยียวยาความเสียหายให้กับชาวบ้าน โดยเร่งด่วนด้วย

สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล เครือข่ายองค์กรประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน และบุคคลที่มีรายชื่อแนบท้ายจดหมายฉบับนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลจะตระหนักถึงความสำคัญต่อปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านปากมูน (สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล) ที่ได้รับมานานกว่า 25 ปี ด้วยการเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ลุล่วง และเป็นรูปธรรม

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

เชื่อมั่นในพลังประชาชน

รายชื่อเครือข่ายและบุคคลที่ร่วมลงชื่อ

  1. สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล

  2. สลัมสี่ภาค

  3. เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.)

  4. สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)

  5. สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต

  6. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย

  7. ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติธรรม (สสธ.)

  8. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.)

  9. คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)

  10. กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

  11. เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์บางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

  12. เครือข่ายไทบ้านผู้ไร้สิทธิ์

  13. กลุ่มรัก บขส.ขอนแก่น

  14. เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี

  15. องค์กรรักษ์ต้นน้ำตำบลตะแพน จังหวัดพัทลุง

  16. เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดพัทลุง

  17. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน จังหวัดพัทลุง

  18. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนวิถีไท

  19. กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอ่างลำพอกและโบราณสถาน ต.ยาง อ.ศรีขรภูมิ จ.สุรินทร์

  20. เครือข่ายเกษตรเกษตรบึงปากเขื่อน

  21. ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติโคกขาม

  22. กลุ่มเครือข่ายพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมนานาชาติ (IEANA)

  23. ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน

  24. คณะกรรมการชาวบ้านฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูน (ชชช.)

  25. มูลนิธิศักยภาพชุมชน

  26. มูลนิธิส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

  27. มูลนิธิเอ็มพลัส

  28. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน

  29. อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการ

  30. อาจารย์วสันต์ พานิช อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ / ทนายความ

  31. นายเดชรัต สุขกำเนิด นักวิชาการ

  32. นายชวลิต วิทยานนท์ นักวิชาการ

  33. ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ นักวิชาการ

  34. นายจำนงค์ จิตรนิรัตน์ ที่ปรึกษาเครือข่ายชุมชนปฏิรูปสังคมและการเมือง

  35. คุณศุกาญจน์ตา สุขไผ่ตา นักกิจกรรมด้านแรงงาน

**************

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน: ความรันทดของสื่อ ประชาชนเมื่อเสรีภาพออนไลน์ถูกรัฐและเฟสบุ๊คตีกระหนาบ

Posted: 20 Nov 2017 02:29 AM PST

เปิดรายงานเสรีภาพอินเทอร์เน็ตพบไทยไร้เสรี เกาะกลุ่มจีน อิหร่าน รัสเซีย ซาอุฯ พม่า เวียดนาม ติดหนึ่งในหกประเทศที่ให้เอกชนเปิดช่องทางให้รัฐเข้าถึงข้อมูลได้ แนวรบเอกชนตีกระหนาบหลังเฟสบุ๊คใช้ประเทศเล็กๆ ทดลองนิวส์ฟีดใหม่ทำสื่อเดือดร้อน โอดคนเข้าถึงข้อมูลยากขึ้น

ทัศนคติที่เชื่อว่าโลกอินเทอร์เน็ตนั้นไร้พรมแดนและอิสระเสรีกำลังถูกท้าทายอย่างหนักจากทั้งแนวรบระหว่างภาครัฐและเอกชนที่เล่นแร่แปรธาตุกับการเข้าถึงข่าวสารและข้อเท็จจริงของประชาชน

หนึ่งในตัวชี้วัดภาพการลิดรอนเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตคือรายงานเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตของ Freedom House องค์กรติดตามตรวจสอบเสรีภาพทางประชาธิปไตย และการแสดงความคิดเห็นของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่สำรวจการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชนใน 65 ประเทศทั่วโลก คิดเป็นประชากรร้อยละ 87 ของประชากรโลกที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ระบุว่า ระหว่างเดือน มิ.ย. - พ.ค. 2560 ราวครึ่งหนึ่งของประเทศกลุ่มที่ทำการสำรวจมีเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตลดลง

รายงานชิ้นดังกล่าวจัดให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่ม "ไร้เสรีภาพทางอินเทอร์เน็ต" ได้คะแนน 67 จาก 100 คะแนน (เกณฑ์คะแนนยิ่งสูงยิ่งมีเสรีภาพน้อย) อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับจีน รัสเซีย อิหร่าน ซาอุดิอาระเบีย พม่า และเวียดนาม ขณะที่อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ที่เป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนอยู่ในกลุ่ม "มีเสรีภาพบางส่วน" ในขณะที่จีนครองแชมป์การละเมิดเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตสูงที่สุดเป็นปีที่สาม ตามมาด้วยซีเรียและเอธิโอเปีย

ภาพดัชนีเสรีภาพทางอินเตอร์เน็ตปี 2560 ประเทศไทยอยู่ในระดับไม่เสรี (ที่มา: Freedom House)

อีกข้อสังเกตคือ ดัชนีเสรีภาพทางอินเทอร์เน็ตของไทยถูกลดระดับลงเรื่อยๆ หลังรัฐประหารในปี 2557 โดยถูกให้คะแนน 62 63 66 และ 67 คะแนนตามลำดับ Freedom House ระบุเพิ่มเติมว่าการเซ็นเซอร์เพิ่มขึ้นหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในปี 2559 ข่าวสารเกี่ยวกับการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูลถูกควบคุมอย่างหนัก ข่าวจากต่างประเทศถูกบล็อค ทั้งยังกล่าวถึงการจับกุมจตุภัทร บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดินกรณีแชร์ข่าวของสำนักข่าวบีบีซีด้วย

ประเทศไทยถูกระบุว่าเป็นหนึ่งในอย่างน้อยหกประเทศที่มีการออกกฎหมายให้บริษัทเอกชนและปัจเจกปลดล็อคการเข้ารหัสข้อมูล (encryption) เพื่อให้ทางการสามารถเข้าดูเนื้อหาการสื่อสารต่างๆ ที่เป็นความลับจากระบบหลังบ้าน (backdoor access) อีกห้าประเทศคือจีน ฮังการี รัสเซีย สหราชอาณาจักรและเวียดนาม โดยการปลดล็อกรหัสเพื่อเข้าถึงนั้นเป็นดาบสองคมที่ด้านหนึ่งก็ปกป้องความเป็นส่วนตัว แต่ในขณะเดียวกันแม้แต่ประเทศประชาธิปไตยก็มองว่าระบบการเข้ารหัสเช่นนี้ถูกใช้ในปฏิบัติการของผู้ก่อการร้ายและอาชญากร

ราชกิจจาฯ ประกาศ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2560 แล้ว เริ่มใช้ พ.ค.นี้

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (พ.ร.บ.คอมฯ) เป็นหนึ่งในกลไกของรัฐบาลไทยที่สะท้อนถึงการเอาประเด็นด้านความปลอดภัยและการก่อการร้ายบนโลกไซเบอร์เป็นเครื่องมือในการออกกฎหมายมาสอดส่องกลุ่มนักกิจกรรมและสื่อมวลชน การแก้ไข พ.ร.บ. คอมฯ ล่าสุดในมาตรา 18 (7) ที่ให้อำนาจรัฐ "ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว" เป็นข้อที่น่ากังวล

เฟสบุ๊คกระหน่ำซ้ำ ใช้ประเทศเล็กเป็นห้องทดลองนิวส์ฟีดใหม่ สื่อทางเลือกโอดกระทบยอดวิว คนเข้าถึงข้อมูลยากขึ้น

ในแนวรบด้านเอกชน ผู้ให้บริการโซเชียลเน็ตเวิร์กยังคงไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการรับมือกับการนำเข้าข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือที่หลายคนเรียกขานหรือเคยได้ยินในนามข่าวปลอม (Fake news) ประกอบกับการทดลองแพลตฟอร์มต่างๆ ของโซเชียลเน็ตเวิร์กเองก็ส่งผลกับเสรีภาพและการเข้าถึงพื้นที่โซเชียลในหลายพื้นที่

ศ.เดวิด เคย์ ผู้รายงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติในประเด็นการสนับสนุนและปกป้องสิทธิเสรีภาพด้านการแสดงออกและการแสดงความเห็นกล่าวกับประชาไทในเรื่องนี้ว่า "ในภาพรวม อินเทอร์เน็ตทำให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลผ่านการค้นหาและพาตัวเองออกไปเชื่อมต่อกับคนอื่นได้มากอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน แต่ปัญหามีอยู่สองข้อ หนึ่ง รัฐบาลพยายามปิดกั้นการแสดงออกในพื้นที่โซเชียลมีเดีย ประชาชนถูกดำเนินคดีจากการโพสท์เฟสบุ๊ค ไลน์ ทวิตเตอร์ หรืออะไรก็ตามแต่ สอง ตัวบริษัทที่ควบคุมพื้นที่ดังกล่าวก็มีกฎของพวกเขาเองว่าผู้ใช้งานพูดอะไรได้หรือไม่ได้ บางครั้งกฎดังกล่าวก็ไม่ชัดเจน ความไม่ชัดเจนรวมไปถึงระบบการลบเนื้อหาโดยอัตโนมัติด้วย ปัจจัยทั้งสองสร้างสภาวะที่ผู้ใช้ไม่ค่อยแน่ใจว่าอะไรพูได้หรือไม่ได้ บริษัทที่ดูแลพื้นที่สาธารณะเหล่านั้นมีความรับผิดชอบในการคุ้มครองพื้นที่ดังกล่าวจากการสอดส่องของรัฐรวมถึงการเป็นพื้นที่ให้ประชาชนได้แสดงออกด้วย"

คุยกับผู้รายงานพิเศษ UN ปัญหา แนวทาง เป้าหมายอาเซียนกับเสรีภาพการแสดงออก

สเตวาน ดอจซิโนวิช บรรณาธิการจาก KRIK สื่ออิสระในเซอร์เบีย เขียนบทความในเดอะนิวยอร์กไทม์ ระบุว่าเฟสบุ๊คมีการทดลองกับพฤติกรรมของผู้ใช้งานนิวส์ฟีดในประเทศขนาดเล็ก ได้แก่ เซอร์เบีย กัวเตมาลา สโลวาเกีย โบลิเวียและกัมพูชา โดยทดลองให้มีนิวส์ฟีดแยกกันระหว่างนิวส์ฟีดโพสท์ของคนที่เพื่อนกันในเฟซบุ๊ค กับนิวส์ฟีดสาธารณะที่แสดงโพสท์จากเพจ ซึ่งออกแบบมาให้เป็นส่วนแยกและต้องกดเข้าไปดู จากเดิมที่ผู้เล่นเฟสบุ๊คจะมีเพียงนิวส์ฟีดเดียวที่ผู้ใช้จะเห็นตั้งแต่เปิดใช้งาน ทำให้ให้การเข้าถึงข่าวสารในเฟสบุ๊คลดลง ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงกับองค์กรข่าวของดอจซิโนวิชที่เป็นสำนักข่าวอิสระ ทำข่าวเจาะลึกที่พึ่งพาเฟสบุ๊คเป็นหน้าร้านเพื่อเสนอข่าวให้กับแฟนข่าวของพวกเขาจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของแฟนข่าวทั้งหมด

"เมื่อเดือนที่แล้ว (เดือน ต.ค. 2560) ผมพบว่าข่าวของพวกเราไม่ปรากฏบนเฟสบุ๊คเหมือนแต่ก่อน ผมพูดอะไรไม่ออกเพราะว่าแหล่งส่งข้อมูลข่าวสารที่ใหญ่ที่สุดของเราให้กับคนจำนวนเกินครึ่งของยอดวิวเพจถูกทำให้ง่อยเปลี้ยลง" ดอจซิโนวิชระบุ

บทความยังระบุด้วยว่าการแทนที่ระบบนิวส์ฟีดแบบเดิมที่ง่ายดายด้วยการมีคลิกแยกเพิ่มไปอีกแค่คลิกเดียวก็สามารถสร้างความแตกต่างอย่างใหญ่หลวงเพราะหนึ่งคลิกที่เพิ่มขึ้นหมายถึงหนึ่งขั้นตอนการเข้าถึงความจริงของสังคมและผู้นำของพวกเขาที่ถูกเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งขั้น

อดัม มอซเซรี หัวหน้าฝ่ายนิวส์ฟีดของเฟสบุ๊คระบุถึงเป้าหมายของการทดลองในแถลงการณ์ว่า

"เป้าหมายของการทดลองคือการทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานชอบระบบนิวส์ฟีดแยกกันระหว่างฟีดส่วนตัวกับฟีดสาธารณะหรือไม่เพื่อจะตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรต่อไปในอนาคต ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีดำริที่จะขยายการทดลองไปยังประเทศอื่น และจะยังไม่มีการเรียกเก็บเงินกับเพจเฟสบุ๊คในการเผยแพร่ข้อมูลในนิวส์ฟีดใหม่"

เซอร์เบียเพิ่งหลุดพ้นจากระบอบเผด็จการของสโลโบดาน มิโลเชวิชในปี 2543 แต่ก็ยังไม่สามารถสถาปนาระบอบประชาธิปไตยที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ ปัจจุบันพรรคของประธานาธิบดีอเล็กซานดาร์ วูชิช กุมอำนาจเบ็ดเสร็จทั้งในสภาและระบบการเมืองทั้งหมดอย่างไม่มีสถาบันใดตรวจสอบและคานอำนาจ วูชิชประกาศว่าตนเองเป็นฝ่ายก้าวหน้าและสนับสนุนความเป็นภูมิภาคยุโรป แต่อีกด้านหนึ่งก็เซ็นเซอร์สื่อ

การเซ็นเซอร์สื่อในเซอร์เบียทุกวันนี้กระทำกันอย่างนิ่มนวลขึ้นผ่านการเลือกปฏิบัติของรัฐต่อสื่อที่สนับสนุนรัฐบาล โดยรัฐจะให้เงินช่วยเหลือจากท้องถิ่นและงบประมาณแผ่นดิน ส่วนสื่อที่เห็นต่างมักถูกเจ้าหน้าที่ภาษีเข้าไปตรวจสอบอย่างไม่คาดฝัน สำนักข่าว KRIK ของเขาก็เคยถูกติดตามและข่มขู่เมื่อพวกเขาทำข่าวในประเด็นที่สื่อกระแสหลักไม่จับมาเล่น ตัวดอจซิโนวิชเองถูกนำภาพไปขึ้นในหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ของรัฐ กล่าวหาว่าเขาเป็นหนึ่งในมาเฟียที่จะโค่นล้มรัฐบาลเซอร์เบีย

 

หน้าปกของหนังสือพิมพ์ Informer แสดงภาพของดอจซิโนวิช (ซ้าย) พร้อมกล่าวหาว่าเป็นส่วนหนึ่งของมาเฟียที่พยายามโค่นล้มรัฐบาลเซอร์เบีย (ที่มา:Index)

ในตอนนี้คุณูปการของเฟสบุ๊คที่ช่วยให้สื่อกระแสรองก้าวข้ามช่องทางการเข้าถึงอย่างสื่อกระแสหลักและนำข้อมูลไปเสิร์ฟให้กับผู้อ่านจำนวนหลักแสนกำลังถูกบ่อนทำลายด้วยการเกิดขึ้นของ "ข่าวปลอม" ซึ่งการทำลายช่องทางการส่งข้อมูลให้ผู้อ่าน ก็คือการบ่อนทำลายตัวสำนักข่าวด้วยในทางเดียวกัน

การทดลองของมาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟสบุ๊คในลักษณะนี้จึงเป็นสิ่งที่อันตรายมากเพราะว่าสื่อโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์หัวใหญ่หรือกลุ่มอาชญากรสามารถกระตุ้นยอดวิวได้ผ่านการซื้อโฆษณาเฟสบุ๊คหรือหาทางอื่นให้มียอดการเข้าถึงมากขึ้นโดยขนหน้าแข้งไม่ร่วง แต่สื่อทางเลือกขนาดเล็กแบบ KRIK คือผู้ได้รับความเดือดร้อนตัวจริง

สื่อมวลชนเองก็มีส่วนต้องรับผิดชอบที่ลงทุนลงแรงไปกับการนำเสนอข่าวผ่านเฟสบุ๊ค จนทำให้ตอนนี้มันกลายเป็นแพลตฟอร์ม - อสุรกายตัวใหญ่อย่างที่เป็นทุกวันนี้ ในทางกลับกัน บริษัทเอกชนที่ตอนนี้ครอบครองระบบนิเวศของสื่อโลกไปล้วไม่ได้ต้องรับผิดชอบต่อใครสะท้อนได้จากการเลือกประเทศเล็กๆ ที่ประชาธิปไตยไม่เข้มแข็งมาเป็นหนูทดลอง

ประเด็นที่ต้องคำนึงถึงในอนาคตเมื่อเราเห็นแล้วว่าเฟสบุ๊คมีอำนาจมากขนาดไหนคือการมองหาวิธีการตรวจสอบมัน และอาจจะต้องมองหาแพลตฟอร์มที่ไม่ถูกรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางและมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นสนามเด็กเล่นของผู้มีอำนาจอีกสนามแบบเฟสบุ๊ค ในบริบทของเซอร์เบีย ดอจซิโนวิชเสนอว่าอาจจะต้องหันไปใช้งานทวิตเตอร์ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ชาวเซอร์เบียใช้มากเป็นอันดับสองรองจากเฟสบุ๊ค (แต่ความนิยมของอันดับสองห่างจากอันดับหนึ่งมาก)

แปลและเรียบเรียงจาก

Hey, Mark Zuckerberg: My Democracy Isn't Your Laboratory, The New York Times, Nov. 15, 2017

รายงาน "Freedom on the Net 2017" ชี้ 'ไทย' ไร้เสรีภาพทางอินเทอร์เน็ต, VOA, Nov. 15, 2017

Freedom of the Net 2017: Manipulating Social Media to Undermine Democracy, Freedom House

Clarifying Recent Tests, media.fb, Oct. 23, 2017

Freedom on the Net 2017: Thailand Country Profile, Freedom House

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

72 นักพัฒนาองค์กรเอกชนลั่นไม่ร่วมกับกลไกกับดักสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลทหาร

Posted: 20 Nov 2017 01:01 AM PST

เครือข่ายนักพัฒนาองค์กรเอกชนออกแถลงการณ์ไม่ร่วมกับกลไกกับดักสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลทหาร ชี้เป็นกลไกยุทธศาสตร์ชาติออกแบบมาเพื่อสนองตอบการเติบโตของกลุ่มทุน 

 

20 พ.ย.2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ เครือข่ายนักพัฒนาองค์กรเอกชนจำนวน 72 คน ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์เครือข่ายฯ แสดงจุดยืนการไม่ร่วมกับกลไกกับดักสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลทหาร แถลงระบุว่า เป็นการแสดงจุดยืนต่อการไม่ร่วมกับกลไกใดๆ ของรัฐบาลทหารที่จะนำไปสู่กับดักและสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลในการสร้างความทุกข์ยากให้กับประชาชนในอนาคตเว้นเพียงการร่วมมือกันทำงานกับส่วนราชการซึ่งมีมาแต่เดิมแล้ว

เนื่องจากกลไกยุทธศาสตร์ชาติเป็นสิ่งที่จะนำมาซึ่งการควบคุมประเทศให้เดินไปตามทางที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องการอย่างยาวนาน เมื่อเราพิจารณาการออกแบบของคณะรัฐประหารครั้งนี้ในภาพรวมจะพบว่า กลไกที่ออกแบบมานั้นเป็นไปเพื่อสนองตอบการเติบโตของกลุ่มทุน มิได้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมและหลักประกันสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชนโดยรวม ฉะนั้นการทำความจริงให้ชัดเจนเป็นภารกิจที่สำคัญ เพราะจะเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของประชาชน

"การเข้าร่วมอื่นใดกับรัฐบาลทหารของภาคประชาชน เช่น การเข้าร่วมมีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ, อนุกรรมการบูรณาการและขับเคลื่อนการปฏิรูปเชิงระบบและโครงสร้างในคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.), อนุกรรมการการมีส่วนร่วมเพื่อการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น  การกระทำเช่นนี้คือการยินยอมเข้าร่วมกับกลไกของรัฐบาลทหารที่เพิกเฉยต่อสิทธิชุมชนและจะทำให้ประเทศไปสู่ความทุกข์ยากในอนาคตอันใกล้   ความจริงซึ่งควรจะปรากฏให้ประชาชนได้เรียนรู้นั้นกลายเป็นความพร่ามัวต่อทิศทางการขับเคลื่อนสิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตยการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ชัดเจนและมีพลังได้" แถลงการณ์เครือข่ายนักพัฒนาองค์กรเอกชน ระบุ

รายละเอียดแถลงการณ์ : 

 

แถลงการณ์เครือข่ายนักพัฒนาองค์กรเอกชน

แสดงจุดยืนการไม่ร่วมกับกลไกกับดักสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลทหาร

ตามที่รัฐบาลทหาร คสช. ได้บริหารราชการแผ่นดินมาเป็นระยะเวลากว่า 3 ปีแล้วนั้น ผลประจักษ์ในทางนโยบายและกฎหมายจำนวนมากจะชักนำประเทศไปสู่ความทุกข์ยากทั้งในปัจจุบันและอนาคต ด้วยการนำพาประเทศไปสู่ กลไกการบริหารประเทศที่ เอื้ออำนวยต่อกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ลดทอนสิทธิชุมชน เพิกเฉยการมีส่วนร่วมและหลักประกันสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชน อาทิ

1.  การดำเนินการสร้างพื้นที่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษด้วยการยกสิทธิพิเศษให้นักลงทุน ยกเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายหลายฉบับเพื่อให้สิทธินั้นกระทำได้โดยง่าย

2. การเขียนร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืชฉบับใหม่ ที่จะก่อให้เกิดการควบคุมของกลุ่มทุนต่อระบบอาหารของประเทศ ลดทอน บังคับ ให้ประชาชนซื้อเมล็ดพันธุ์จากกลุ่มทุน มีบทลงโทษสำหรับการนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อ ด้วยการให้สิทธิแก่กลุ่มทุนในการผูกขาดพันธุ์พืช อันเป็นการทำลายอิสรภาพด้านอาหารของประเทศ

3.  การแก้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ด้วยการบรรจุเนื้อหาคำสั่งหัวหน้า คสช. ภายใต้อำนาจตามมาตรา 44 เข้าไปใน พระราชบัญญัติฉบับใหม่ เพื่อเอื้อให้กลุ่มทุนสามารถดำเนินโครงการได้รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ที่ควรมีมาตรการการรักษาสิ่งแวดล้อมมากกว่าการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ

4.  การเร่งรัดออกคำสั่ง คสช. และนโยบายต่างๆ จำนวนมากนั้น ได้สร้างผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนที่มีวิถีชีวิตพึ่งพิงกับฐานทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า เช่น การออกคำสั่ง คสช.ที่ 64/2557 และ ที่ 66/2557 เพื่อทวงคืนผืนป่า สร้างความเดือดร้อนกับพี่น้องประชาชนจำนวนมาก ประกอบกับไม่เปิดโอกาสให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม จำกัดสิทธิในการรวมตัวรวมกลุ่ม และคุกคามประชาชนในการเสนอความคิดเห็น สิ่งที่เกิดขึ้นคือการนำพาประเทศชาติก้าวถอยหลัง หาใช่การเดินหน้าเพื่อการปฏิรูปไม่ ฯลฯ

การมีสภาปฏิรูปล้วนไม่เกิดผลอันใด การมีสภาขับเคลื่อนประเทศล้วนเป็นกลไกที่กำหนดทิศทางเพียงฝ่ายเดียวของรัฐบาล การบริหารงานที่ก่อความเสื่อมต่อประเทศในทุกด้าน ในขณะที่กลุ่มทุนและทหารเติบโตอย่างมากในรัฐบาลยุคนี้ ล้วนเป็นตัวชี้วัดถึงเจตนารมณ์อันแท้จริงที่กระทำการรัฐประหารเข้ามายึดอำนาจการบริหารประเทศ

ประเด็นสำคัญคือการนำกลุ่มทุนธุรกิจเอกชนเข้ามาเพื่อให้มีบทบาทในทางนโยบายและกลไกการบริหาร ในขณะที่การกีดกันจำกัดสิทธิของประชาชนเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในรัฐบาลนี้ ล้วนเป็นการกระทำที่ชี้ชัดถึงเจตนารมณ์ของ คสช. ประเด็นสำคัญยิ่งอีกประเด็นหนึ่งคือ ว่าด้วยการควบคุมประเทศไปอีก 20 ปี ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยพบว่า กลไกของยุทธศาสตร์ชาตินั้นกำเนิดขึ้นมาเพื่อบังคับให้หน่วยงานรัฐกระทำตามสิ่งที่เขียนขึ้นมาโดยมีสาระที่เป็นข้อสังเกตบางประการดังนี้

1. เมื่อยุทธศาสตร์ชาติใช้บังคับแล้ว จะมีผลให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งต้องแถลงนโยบายและจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยมีหน้าที่ดําเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กําหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติด้วย

2. การทบทวนแผนยุทธศาสตร์ชาติทุก 5 ปี ไม่ได้มีการกำหนดมาตรการในเรื่องการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั้งที่มีสภาพบังคับต่อประชาชน และเกี่ยวข้องกับงบประมาณของประเทศ

3. หากหน่วยงานรัฐไม่ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ให้สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภามีมติ ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พิจารณาดำเนินการกับหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นตามหน้าที่และอำนาจให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง และในกรณีที่ ป.ป.ช. มีมติว่าข้อกล่าวหามีมูล ให้ผู้บังคับบัญชาของ ผู้ถูกกล่าวหานั้นสั่งให้ผู้นั้นพักราชการหรือพักงาน หรือสั่งให้ออกจากราชการ หรือออกจากงานไว้ก่อน หรือสั่งให้พ้นจากตำแหน่งต่อไป

4. การรับฟังความเห็นประชาชนในการทำยุทธศาสตร์ชาติทำอย่างพอเป็นพิธีโดยให้ถือว่า การรับฟังความคิดเห็นที่คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 และสำนักงาน ได้ดำเนินการก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถือเป็นการดำเนินการรับฟังความเห็นประชาชนแล้ว

5.  ในกรณีที่การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ เป็นผลจาก  มติคณะรัฐมนตรี หรือเป็นการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีโดยตรง ก็จะถูกส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หากศาลวินิจฉัยว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติต้องส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่โดยเร็ว

6.  รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่ต้องการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม และไม่สนใจการปกป้องสิทธิชุมชนอย่างที่ควรจะเป็น ทั้งยังเป็นรัฐธรรมนูญที่จะนำไปสู่การสูญเสียฐานทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นเพื่อตอบสนองการเติบโตของระบบทุนอย่างไม่เคยมีมาก่อน ที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือยังเป็นรัฐธรรมนูญที่หวังจะให้มีการสืบทอดอำนาจรัฐบาลทหารผ่านกลไกที่มีการจัดตั้งขึ้นตามเจตนาที่จะทำให้รัฐข้าราชการ (ทหาร) เข้มแข็งกว่าอำนาจประชาชน และน่าเชื่อว่าจะนำไปสู่การสืบทอดอำนาจไปอีกชั่วเวลาหนึ่ง

เราเห็นว่า กลไกยุทธศาสตร์ชาตินั้นเป็นสิ่งที่จะนำมาซึ่งการควบคุมประเทศให้เดินไปตามทางที่ คสช. ต้องการอย่างยาวนาน เมื่อเราพิจารณาการออกแบบของคณะรัฐประหารครั้งนี้ในภาพรวมจะพบว่า กลไกที่ออกแบบมานั้นเป็นไปเพื่อสนองตอบการเติบโตของกลุ่มทุน มิได้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมและหลักประกันสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชนโดยรวม ฉะนั้นการทำความจริงให้ชัดเจนเป็นภารกิจที่สำคัญ เพราะจะเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของประชาชน

การเข้าร่วมอื่นใดกับรัฐบาลทหารของภาคประชาชน เช่น การเข้าร่วมมีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ, อนุกรรมการบูรณาการและขับเคลื่อนการปฏิรูปเชิงระบบและโครงสร้างในคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.), อนุกรรมการการมีส่วนร่วมเพื่อการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น  การกระทำเช่นนี้คือการยินยอมเข้าร่วมกับกลไกของรัฐบาลทหารที่เพิกเฉยต่อสิทธิชุมชนและจะทำให้ประเทศไปสู่ความทุกข์ยากในอนาคตอันใกล้ ความจริงซึ่งควรจะปรากฏให้ประชาชนได้เรียนรู้นั้นกลายเป็นความพร่ามัวต่อทิศทางการขับเคลื่อนสิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตยการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ชัดเจนและมีพลังได้

เพื่อให้ความจริงปรากฏเป็นที่เรียนรู้ของประชาชนเครือข่ายนักพัฒนาองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งได้ลงชื่อร่วมกันนี้ ขอแสดงจุดยืนต่อการไม่ร่วมกับกลไกใดๆ ของรัฐบาลทหารที่จะนำไปสู่กับดักและสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลในการสร้างความทุกข์ยากให้กับประชาชนในอนาคตเว้นเพียงการร่วมมือกันทำงานกับส่วนราชการซึ่งมีมาแต่เดิมแล้ว

ด้วยปณิธานในการกำหนดอนาคตตนเองของประชาชน

20 พฤศจิกายน 2560

1. นายเอกชัย  อิสระทะ                                     

2. นายสมบูรณ์  คำแหง                                      

3. นายประสิทธิ์ชัย  หนูนวล

4. นายสุวิทย์  กุหลาบวงษ์

5. นายเลิศศักดิ์  คำคงศักดิ์

6. นายสิริศักดิ์  สะดวก

7. นายรณชัย  ชัยนิวัฒนา

8. นายณัฐวุฒิ  อุปปะ

9. นายสุรชัย  ตรงงาม

10. นางสาวสุภาภรณ์  มาลัยลอย

11. นายกฤษดา    ขุนณรงค์

12. นางสาวละม้าย  มานะการ

13. นายกิตติภพ  สุทธิสว่าง               

14. นางสาวศุภวรรณ  ชนะสงคราม  

15. นายชาญวิทย์    อร่ามฤทธิ์                          

16. นายศักดิ์กมล   แสงดารา                            

17. นางสาวจุฑา  สังขชาติ

18. นางสาวจินดารัตน์  เพิ่มลาภวิรุฬห์             

19. นางสาวสุธาวัลย์  บัวพันธ์                           

20. นางสาวบัณฑิตา  อย่างดี

21. นางสาวกรรณิการ์  แพแก้ว                         

22. นายมงคล  หมวกดำ

23. นางสาวเสาวคนธ์  รสสุคนธ์                        

24. นางสาววรรณิศา  จันทร์หอม                      

25. นายพร้อมศักดิ์  จิตจำ

26. นางสาวโชติมา   สมัครพงศ์                         

27. นางสาวบารีย๊ะ  ยาดำ                                 

28. นางณัฑฐวรรณ   อิสระทะ                           

29. นางสาว ฐิตารัตน์  แก้วศร

30. นายนิติกร  ค้ำชู                                                                             

31. นางพิมพ์วิมล  พลพิทักษ์

32. นายวิทวัจน์  ทองบุ                                                                                        

33. นายอาทิตย์  พิลาบุตร

34. นายจักรพงศ์  ธนวรพงศ์                              

35. นายกรชนก  แสนประเสริฐ                          

36. นางสาวเปรมฤดี  ดาวเรือง

37. นายยงยุทธ  ดงประภา                  

38. นายยงยุทธ  พงสาลี                                     

39. นางปรียานุช    ป้องภัย

40. น.ส.แม้นวาด  กุญชร  ณ อยุธยา

41. นายปฏิวัติ  เฉลิมชาติ                   

42. นางสาวศิรินาฎ  มาตรา

43. นายอิทธิฤทธิ์   สุวรรณคำ                            

44. นางสาววรีรัตน์  ชูวา                                     

45. นางสาวจินตนา  ศรีนุเดช

46. นางสาวพงศ์สุดา  กาศยปนันท์                   

47. นางสาวณัฐพร  อาจหาญ                            

48. นายอกนิษฐ์  ป้องภัย

49. นางสาวชวกร  ศรีโสภา                

50. นางจรูญพิศ  จันทะศรี                   

51. นายสุนทร  ยุขะสี

52. นางสาวณภาวรรณ  ผิวขม                          

53. นางปราณี  ยิ่งรุ่งโรจน์                   

54. นายศตคุณ  คนไว

55. นายธีระศักดิ์  ศรีเดช                                    

56. นายประกาศ  เรืองดิษฐ์               

57. นางสาวดรุณี  บุตรสุ

58. นางสาวสดใส สร่างโศรก                            

59. นายภานุพงศ์   ศรีธนานุวัฒน์                      

60. นายมารุต  พลายอยู่วงษ์

61. นายโกวิทย์  บุญเจือ                                     

62. นายเดชา  เปรมฤดีเลิศ                

63. นายพงศ์ศักดิ์  สายวรรณ์

64. นายคำพอง  เทพาคำ                   

65. จุฑามาศ  ศรีหัตถผดุงกิจ             

66. นางสาวชฎาพร  ชินบุตร

68. นางสาวบุบผาทิพย์  แช่มนิล

67. นาย สมนึก จงมีวศิน

68. นางสาวศุภมาศ  มะละสี

69. นายสุทธิเกียรติ คชโส

70. นายอัมรินทร์ สายจันทร์

71. นางสาวมนัญญา พูลศิริ

72. นางสาวชนะจิต  รอนใหม่

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'โสภณ' ชี้ 'สมคิด' พูดความจริงด้านเดียวปม GDP ทั้งที่ต่ำสุดในอาเซียน

Posted: 20 Nov 2017 12:44 AM PST

ประธาน กก. AREA แถลง 'สมคิดพูดความจริงด้านเดียวเรื่อง GDP' ชี้เศรษฐกิจไทยโตต่ำสุดในอาเซียนยกเว้น สิงคโปร์และบรูไนที่เป็นประเทศที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัวสูงกว่าไทยประมาณ 5-7 เท่า 

20 พ.ย. 2560 ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA  ออก แถลง ฉบับที่ 437/2560: 20 พ.ย. พ.ศ. 2560 เรื่อง 'ดร.สมคิดพูดความจริงด้านเดียวเรื่อง GDP' โดยมี โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธานกรรมการบริหาร AREA เป็นผู้แถลง

แถลงระบุถึง สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนา THAILAND 2018 ว่า "ในปี 2561 หากทุกภาคส่วนร่วมมือกันคาดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) มีโอกาสจะเห็นได้โตระดับ 4-5% ซึ่งจะถือว่าเป็นเศรษฐกิจที่สดใสกว่าปี 2560 ที่หลายหน่วยงานเห็นสอดคล้องกันว่า GDP ปีนี้จะโตได้ระดับ 3.8%"(https://goo.gl/wkxzd3)

โสภณ มองต่าง่มุมจาก สมคิด โดยระบุว่า 1. ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเซียให้ประเทศไทยเติบโตที่ 3.5% (https://goo.gl/R1SVoo) 2. การที่เศรษฐกิจไทยเติบโตนั้น ก็เติบโตล้อตามการเติบโตของทั้งภูมิภาค ไม่ใช่ว่าเราโดดเด่นเพียงรายเดียว และ 3. อันที่จริงเศรษฐกิจไทยโตต่ำสุดในอาเซียนยกเว้น สิงคโปร์และบรูไนที่จัดเป็นกลุ่มประเทศที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัวสูงกว่าไทยประมาณ 5-7 เท่า

 

โสภณ ย้ำว่า ถ้า สมคิดจะบอกว่า ประเทศที่มีระดับการพัฒนาตามหลังไทย เช่น ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเมียนมา อาจเติบโตในอัตราที่สูงกว่าไทย แต่ในอีกด้านหนึ่ง มาเลเซียที่มีฐานะทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะในด้านรายได้ประชาชาติต่อหัวที่สูงกว่าไทยเกือบเท่าตัว ก็ยังมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าไทย โดยในปี 2560 และปี 2561 นี้คาดว่าจะเติบโต 5.4% ในขณะที่ไทยได้รับการคาดการณ์ว่าจะเติบโตเพียง 3.5% และ 3.6% ตามลำดับ ข้างต้นจึงเป็นความจริงอีกด้านหนึ่งที่ สมคิดอาจไม่ได้พูดให้สาธารณชนได้ทราบ หากประเทศจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี ย่อมเป็นสิ่งที่ดีต่อต่อชาติ  แต่หากเราเข้าใจคลาดเคลื่อนเกินจริง อาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการวางแผนการลงทุนได้

ที่มา : https://csrthai.files.wordpress.com/2017/11/60-437.jpg

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'กกต. สมชัย' เชื่อแก้กฎหมายท้องถิ่นไม่ทัน เลือกตั้งก่อน ส.ส.ไม่ได้

Posted: 19 Nov 2017 11:58 PM PST

สมชัย ศรีสุทธิยากร ยก 4 ประเด็นทำให้เชื่อว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นไม่น่าจะเกิดก่อนการเลือกตั้งทั่วไป ชี้แก้กฎหมายท้องถิ่นไม่ทัน เว้นแต่ยืดการเลือกตั้งทั่วไปออกไป ย้ำห้ามเชียร์ให้ยืดเด็ดขาด เหตุเป็นไปตามเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ

สมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (แฟ้มภาพ) 

20 พ.ย.2560 ความคืบหน้ากรณีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เตรียมปลดล็อคให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น วันนี้ สมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวในลักษณะสาธารณะวิเคราะห์ว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นอาจจะมาหลังเลือกตั้งทั่วไป
 
สมชัย กล่าวว่ามีเหตุผลหลายประการที่ตนเชื่อว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นไม่น่าจะเกิดก่อนการเลือกตั้งทั่วไป 1. การเตรียมการในด้าน กฎหมายยังไม่แล้วเสร็จ โดยทราบจากการให้สัมภาษณ์ของ วิษณุ เครืองาม รองนายกฐันมนตรี ว่า ยังต้องมีการแก้ไข กฎหมายที่เกี่ยวข้องประมาณ 5-6 ฉบับ และกว่าจะนำกฎหมายเข้าสภา ก็น่าจะเป็นเลยปีใหม่ไปแล้ว ดังนั้น คิวการนำเข้าสภา จึงอยู่หลังกฎหมาย ส.ส. และ ส.ว.ที่จะเข้าในปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ ตามหลัก first in first serve กฎหมายเข้าก่อน ก็ต้องเสร็จก่อน ยกเว้นจะมีการจัดคิวพิเศษ และ พิจารณาผ่านกันตอนตีสาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แปลว่า สภาขยันเป็นพิเศษ

2. หลังการแก้ กฎหมายยังมีกิจกรรมอีกหลายอย่าง ที่ต้องดำเนินการ เช่น กรณี อบต. เทศบาล ต้องมีการยุบรวม อบต.ขนาดเล็ก ให้เป็นเทศบาล ซึ่งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นต้องเป็นฝ่ายดำเนินการประกาศ ซึ่งอาจต้องรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน หลังจากนั้น กกต. ต้องกำหนดเขตเลือกตั้ง ซึ่งต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเช่นกัน ทั้งหมดต้องใช้เวลา ไม่สามารถทำในเวลาสั้นๆ ได้ 3. การให้มีการเลือกตั้งท้องถิิ่นโดยไม่แก้กฎหมายจะสามารถทำให้การเลือกตั้งท้องถิ่นเกิดก่อนเลือก ส.ส.หรือ ส.ว. แต่คงไม่ใช่ทางเลือกที่รัฐบาลตัดสินใจ เพราะเลือกแล้วก็ขัดหลักการในรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ต้องแก้ กม. แก้เสร็จก็ต้องเลือกใหม่ เลือกกันสองรอบใช้เงินสองเท่าในเวลาใกล้ๆ กันคงไม่เหมาะสม

และประเด็นที่ 4 สมชัยระบุว่า ในขณะที่ การเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว. เป็นการเลือกตั้งที่วันเลือกตั้งไม่สามารถขยับออก เพราะเป็นไปตามเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญว่า หาก กฎหมายลูก สำคัญ 4 ฉบับประกาศในราชกิจจานุเบกษา กกต.ต้องจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จใน 150 วัน ดังนั้น หากรัฐบาลตั้งใจอย่างยิ่งให้การเลือกตั้งท้องถิ่นเกิดก่อน คือ ต้องยืดการเลือกตั้งทั่วไปออกไป ห้ามเชียร์เด็ดขาด
 
เรียบเรียงจาก เฟซบุ๊ก Srisutthiyakorn Somchai
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประทับจิต นีละไพจิตร: 13 ปีตากใบ ความยุติธรรมยังติดเพดาน

Posted: 19 Nov 2017 11:42 PM PST

ยอมรับว่าล่าช้าไปมาก หากนับว่ามีวาระครบรอบเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคมไทยที่มักเวียนบรรจบอยู่เนืองๆ และสื่อมีหน้าที่ต้องผลิตเนื้อหาเพื่อย้ำเตือน

วันที่ 25 ตุลาคม 2547 คืออีกหนึ่งวาระที่ถึงเวลานี้มันคงเป็นแค่เชิงอรรถเล็กๆ ในหน้าประวัติศาสตร์ หนักกว่านั้นคือถูกหลงลืมและไม่สลักสำคัญ 13 ปีของการสลายการชุมนุมหน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ จังหวัดนราธิวาส ผู้ชุมนุมถูก 'ขน' ขึ้นรถ วางทับซ้อนกันเหมือนวัตถุสิ่งของ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 100 คน และจนบัดนี้ ยังไม่มีผู้สั่งการและผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต้องรับผิดแม้แต่คนเดียว

ในประเทศที่วัฒนธรรมพ้นผิดลอยนวลเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถูกค้ำยัน-ผลิตซ้ำด้วยโครงสร้างและกลไกต่างๆ ของรัฐ อาจบางที...การทบทวนเหตุการณ์ตากใบเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ทุกวัน

ประทับจิต นีละไพจิตร กับงานวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง 'ความยุติธรรมกับการขับเคลื่อนความขัดแย้ง: ศึกษากรณีเหตุการณ์ความรุนแรงหน้า สภ.ตากใบ จ.นราธิวาส' เธอบอกกับเราว่า จุดตั้งต้นของความสนใจศึกษาเหตุการณ์นี้และการงานอันเกี่ยวเนื่องกับพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้คือการหายตัวไปของพ่อเธอ สมชาย นีละไพจิตร เมื่อศึกษาลึกขึ้นๆ เธอค้นพบว่าตากใบมีสถานะพิเศษในตัวมันเอง

 
ตากใบไม่ได้เกิดขึ้นวันที่ 25 ตุลาคม 2547 แล้วจบวันนั้น แต่หลังจากนั้นอีกหลายปี มันส่งผลกระทบและยังเกิดเหตุการณ์ตลอดเวลา

 

ที่ตามมาหลังจากนั้น

"ในทางทฤษฎี เรามองว่าเหตุการณ์ตากใบเป็นเหตุการณ์ที่มีศักยภาพนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความขัดแย้ง มันเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ตากใบไม่ได้เกิดขึ้นวันที่ 25 ตุลาคม 2547 แล้วจบวันนั้น แต่หลังจากนั้นอีกหลายปี มันส่งผลกระทบและยังเกิดเหตุการณ์ตลอดเวลา ที่สำคัญคือตากใบเป็นเหตุการณ์แรกในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่ก่อผลสะเทือนเยอะ ทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัย 44 คน นำโดยอาจารย์สุริชัย หวันแก้วเข้าไปหาคุณทักษิณ ชินวัตร ว่าเรื่องนี้ต้องจัดการ"

สำหรับประทับจิต เหตุการณ์ตากใบสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อการมองสถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนใต้ เพราะหลังจากเกิดเหตุ ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) มีอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ซึ่ง กอส. ได้นำพาองคาพยพอีกแบบหนึ่งในการคิดถึงสามจังหวัดชายแดนใต้ให้ปรากฏ

"ก่อนหน้านี้ ทักษิณจะใช้คำว่า 'โจรใต้' เรื่องความหลากหลายทางชาติพันธุ์ คนส่วนกลางไม่รู้อะไรเลย แต่หลังจากที่มี กอส. ทำให้มีความคิดใหม่ๆ ในการจัดการปัญหาชายแดนภาคใต้ เกิดการยอมรับ ตระหนักเกี่ยวกับความหลากหลายทางอัตลักษณ์ ตากใบนำองคาพยพใหม่ในการแก้ปัญหาเข้ามาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้สถานการณ์มีความยืดหยุ่น"

ในส่วนของชาวบ้าน ประทับจิตกล่าวว่า คนที่เห็นการเปลี่ยนแปลง-เปลี่ยนผ่านมากที่สุดคือ 'แยนะ สะแลแม' ที่ก้าวจากหญิงชาวบ้านธรรมดามาเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวเกี่ยวกับประเด็นตากใบในฐานะเหยื่อที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ แต่เธอไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มผู้ชาย ทั้งที่ผู้ที่รอดชีวิตน่าจะแสดงบทบาทเป็นแกนนำ แต่ปรากฏว่าหลังเหตุการณ์ตากใบหรือหลังเหตุการณ์อื่นๆ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่มีผู้ชายขึ้นมาเป็นแกนนำเลย

"ส่วนหนึ่งก็ต้องเข้าใจ เพราะหลังจากคุณถูกปล่อยตัว คุณจะถูกติดตามไปตลอดชีวิต เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดระเบิดที่ตากใบ คนเหล่านี้จะถูกเรียกกลับมาสอบสวน เรามองว่าเป็นผลกระทบระยะยาวต่อผู้ชาย แล้วหลายคนก็ได้รับความกระทบกระเทือนทางใจมาก โดยเฉพาะการเอามือมัดไพล่หลัง การทับ ในทางระหว่างประเทศนี่คือการซ้อมทรมาน มันรุนแรง แต่ไม่มีใครช่วยบำบัดพวกเขาให้ผ่านพ้นจุดนี้ไป รัฐก็ไม่ได้เข้าไปช่วย เพราะตอนนั้นความรู้ทางด้านการแพทย์และด้านสิทธิมนุษยชนไม่มี"

นอกจากการเปลี่ยนแปลง-เปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นแล้ว เหตุการณ์ตากใบยังถูกฉวยใช้จากหลายฝ่าย ประทับจิตกล่าวว่า ในปีกของคนรุ่นใหม่ที่ไม่ใช้ความรุนแรงก็ยังใช้เรื่องนี้ในการรณรงค์เพื่ออัตลักษณ์ เพื่อเอกราชของคนมลายู ซึ่งเธอวิจารณ์ว่าคนกลุ่มนี้ไม่ได้ติดตามเรื่องตากใบโดยละเอียด เพียงแต่ใช้เหตุการณ์วันที่ 25 ตุลาคม 2547 โดยไม่ได้คำนึงว่าชาวบ้านมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มีผลกระทบดีหรือไม่ดีอย่างไร ดังนั้น แม้จะเป็นปีกการเมืองที่เคลื่อนไหวอย่างสันติ กลับไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เหตุเพราะไม่เข้าใจพลวัตที่เกิดขึ้นจากความรุนแรง

ฝ่ายรัฐ ฝ่ายความมั่นคงก็ใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ตากใบด้วยการอ้างว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก แต่หากตรวจสอบจะพบว่าหลังจากเหตุการณ์ตากใบก็ไม่เกิดการชุมนุมระดับนี้อีกเลย ในทศวรรษ 2550 เป็นต้นมา ลักษณะการชุมนุมเปลี่ยนแปลงไป เป็นการชุมนุมแบบใช้ผู้หญิงปิดหน้า ด้านนักศึกษาก็เพียงแค่เดินขบวน ไม่มีการประท้วงแสดงความไม่พอใจต่อความไม่ยุติธรรมระดับเดียวกับเหตุการณ์ตากใบอีกต่อไป

"ทุกปีฝ่ายความมั่นคงบอกว่า วันนี้ 25 ตุลาคม เราต้องเฝ้าระวังความรุนแรง เพราะฝ่ายความรุนแรงจะเคลื่อนไหว เฝ้าระวังความรุนแรงคืออะไร คือจับตามองและจับกุมคนที่ต้องสงสัยเพิ่มมากขึ้น นี่คือการใช้แบบหนึ่งและบอกว่าความยุติธรรมคือการที่เราให้เงินแล้ว"

 

 


ไม่ไหวแล้ว พอ จบ

แม้จะมีผู้เสียชีวิตเกือบ 100 คนจากการสลายการชุมนุม แต่ไม่น่าเชื่อว่าชาวบ้าน 75 คนที่รอดชีวิตกลับถูกฝ่ายความมั่นคงฟ้องร้องในข้อหาอั้งยี่และก่อความเสียหายต่อทางราชการ อีกด้านหนึ่ง ประทับจิตเล่าว่า หลังจากเหตุการณ์ต่อเนื่องนานหลายปี ฝ่ายกองทัพมีปฏิบัติการหลายอย่างเพื่อลดความตึงเครียดและบรรเทาความรู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรมของชาวบ้านลง เช่น มีการส่งนายทหารที่มีประวัติดีลงไปดูแลชาวบ้าน มีการเข้าไปหาชาวบ้าน เข้าหาคนพิการ ในระหว่างการเจรจาก็มีการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน เจ้าหน้าที่ก็ไม่ติดใจอุทธรณ์คำสั่งศาล มีกรณีที่ชาวบ้านจะได้รับเงินเพิ่ม แต่ขอให้เซ็นว่าจะไม่ดำเนินคดีอาญา แต่ทนายบอกว่าไม่ควรให้มีการเซ็นในลักษณะนี้ จึงลงเอยด้วยการไม่มีใครเซ็น

สำหรับประทับจิต สิ่งนี้ไม่ต่างกับการตบหัวแล้วลูบหลัง เป็นการผ่อนคลายสถานการณ์ความตึงให้มากที่สุด ซึ่งก็ประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง

แต่เหตุการณ์ที่ประทับรอยแผลในความรู้สึกของเหยื่อและประทับรอยด่างพร้อยให้แก่กระบวนการยุติธรรมคือกรณีการไต่สวนการตายที่เป็นการหาสาเหตุการตายและหาว่าใครทำให้ตาย

"ชาวบ้านจบลงที่การไต่สวนการตาย วันที่ไปสังเกตการณ์การไต่สวนการตาย ซึ่งก็คือการเปิดเผยข้อเท็จจริงโดยกระบวนการศาล หลังจากชาวบ้านฟังแล้วก็ส่ายหัว ทุกคนบอกว่าไม่ไหวแล้ว พอ จบ ทั้งที่ชาวบ้านควรคัดค้านการไต่สวนการตายและนำคดีขึ้นสู่ศาลอาญา แต่ถ้าจะฟ้อง มันต้องเริ่มใหม่ทั้งหมด เพราะไม่มีพยานหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านสักเท่าไร

"การไต่สวนการตายบอกว่า ชาวบ้านตายเพราะขาดอากาศหายใจ ซึ่งเป็นคำอธิบายแรกที่คุณหมอพรทิพย์ (โรจนสุนันท์) พูดตั้งแต่วันแรกที่มาเจอศพ แต่คำไต่สวนการตายไม่บอกว่าใครเป็นคนทำให้ขาดอากาศหายใจ แถมบอกอีกว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนเกี่ยวข้องทำให้ตายจริง แต่อยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ วรรคทองตรงนี้ทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่า เหมือนกำลังบอกว่าเจ้าหน้าที่รัฐไม่ได้ทำอะไรผิด เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาความสงบ"

เพราะต้องขึ้นโรงขึ้นศาลหลายคดี อายุอานามของชาวบ้านแต่ละคนที่เป็นผู้เสียหายก็อยู่ในวัยปลายชีวิต ไม่มีการส่งผ่านรุ่นต่อรุ่น 'แยนะ' ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงการเคลื่อนไหวก็ค่อยๆ วางมือ ไม่มีชาวบ้านคนใดคิดสานต่อ ทั้งที่กฎหมายยังเปิดช่องให้หาตัวคนผิด อย่างการผ่านช่องทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) แต่ก็นั่นแหละ เวลาล่วงเลยมาขนาดนี้ พบเผชิญกระบวนการยุติธรรมแบบนี้ ชาวบ้านเหนื่อยล้าเกินกว่าจะทำอะไรได้อีก ราคาสูงเกินไปที่จะเรียกร้องความยุติธรรม

"ชาวบ้านเหนื่อย ไม่มีความหวังกับกระบวนการยุติธรรม"


ความยุติธรรมติดเพดาน

"ความยุติธรรมติดเพดาน มันมีเพดานบางอย่าง เหตุการณ์นี้ไม่สามารถนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงกองทัพได้เลย เราเคยสัมภาษณ์อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ที่เข้ามารับตำแหน่งหลังจากเหตุการณ์ตากใบ ถามว่าชาวบ้านต้องการให้ท่านขอโทษในทางสาธารณะ เขาบอกว่าทำไม่ได้ ถ้าทำอย่างนั้น ความชอบธรรมในการอยู่ภาคใต้จะหมด นี่คือการรักษาความชอบธรรมของกองทัพ ถ้ามีความรับผิดชอบ (accountability) ปุ๊บ กองทัพคิดว่าจะหมดความชอบธรรมในการคงอำนาจนำไว้ แล้วเขาก็เล่าให้ฟังว่า สำหรับเจ้าหน้าที่ทหารการย้ายออกจากพื้นที่มันน่าอาย มันทำให้เสียหน้า มันคือการลงโทษแล้ว นี่คือความเข้าใจของกองทัพว่าเขาได้ทำดีที่สุดแล้ว เขายอมรับในความผิด แต่ไม่สามารถขอโทษได้ เพราะตามหลักการของความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน ขอโทษแล้วมักจะนำมาซึ่งการปฏิรูปกองทัพให้อยู่ใต้พลเรือน แต่ประเทศไทยไม่ไปไหน"

ประทับจิตตั้งข้อสังเกตว่า ระบบศาลยุติธรรมกล้าตัดสินว่ากองทัพต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ตากใบหรือไม่ อย่างในการไต่สวนการตาย กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า ส่งคนขับรถซึ่งมองไม่เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นหลังรถมาเป็นผู้ให้ปากคำ ขณะที่ศาลก็ไม่ใช้อำนาจที่ตนมีเพื่อเรียกคนระดับแม่ทัพหรือผู้บังคับบัญชามาให้ปากคำ

"ศาลในระบบไต่สวนการตายมีสิทธิ์จะปฏิเสธพยานที่เป็นแค่คนขับรถ แล้วให้เรียกนายทหารระดับสูงแค่ไหนก็ได้มาให้การในศาล แต่ไม่ทำ เพราะเขายึดตามกฎหมาย ในระบบศาลไทย ถ้าคุณจะกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัฐสักคน คุณต้องไปหาหลักฐานมาเอง ต้องทำให้ศาลเชื่อ มันเป็นระบบกล่าวหา คนที่เป็นผู้กล่าวหาต้องเอาพยานหลักฐานมาให้ศาลดูและทำให้ศาลเชื่อได้"

ความยุติธรรมที่ติดเพดาน ประทับจิตมองว่าเป็นผลจากโครงสร้างใหญ่ มันเกี่ยวกับการคงไว้ซึ่งระบอบทหารในสังคมไทย ขณะที่บทบาทของผู้พิพากษา อัยการ และบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมก็เป็นส่วนหนึ่งของการค้ำยันโครงสร้างนี้

"อัยการบอกว่าชาวบ้านก่อความรุนแรง ทั้งที่ชาวบ้านบอกว่ามันคือการชุมนุมภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 มีการสกรีน แล้วเรามั่นใจว่าชาวบ้านไม่มีอาวุธ อาวุธก็แค่เก็บหินมาปา อัยการเป็นคนของรัฐมีหน้าที่ช่วยชาวบ้าน แต่ไม่ได้ทำหน้าที่นั้น"

ด้วยโครงสร้างเช่นนี้ แม้ชาวบ้านจะอยากได้ความยุติธรรม ก็เป็นไปไม่ได้ ประทับจิตถ่ายทอดความยุติธรรมแบบที่ชาวบ้านต้องการให้ฟังว่า เวลาที่ชาวบ้านทำผิดกับเวลาที่เจ้าหน้าที่รัฐทำผิด ควรจะได้รับผลเท่ากัน เท่านี้จริงๆ ที่พวกเขาต้องการ ทั้งที่รู้เต็มอกว่าเป็นไปไม่ได้ มีเรื่องเล่าของการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมที่ตอกย้ำลงในความรู้สึกนึกคิดของคนสามจังหวัดว่า ฝืนต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม ไม่นานก็ต้องแพ้ เพราะมันตัน เมื่อความยุติธรรมไม่อาจเป็นจริง โดยส่วนมากคนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงเลือกขอเงินชดเชยเพื่อจบเรื่อง ขอเพียงมีความรู้สึกว่าได้มากขึ้นจากสิ่งที่ต้องสูญเสียไป และนี่คือแนวโน้มที่เกิดขึ้น ณ เวลานี้

กรณีตากใบจึงแสดงให้เห็นถึงปัญหาของกระบวนการยุติธรรม วุฒิภาวะของสังคมไทยในการเผชิญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนขนาดใหญ่ ซึ่งสังคงไทยไม่มีความรู้เรื่องนี้ ไม่มีนโยบายการพัฒนา และไร้การเตรียมพร้อมสำหรับหลังความขัดแย้ง

"เรารู้สึกว่าเหตุการณ์ตากใบเป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่าแนวคิดเรื่องการเปลี่ยนผ่านความยุติธรรมในสังคมไทยไม่มี ขนาดเคสที่ชัดเจนยังไม่สามารถผลักได้ มันตัน มันติดเพดาน ตากใบควรเป็นกรณีที่คนมาไขกุญแจให้เยอะๆ ว่ามีตรงไหนบ้างที่ติด และในที่สุดตากใบจะชี้ให้เห็นว่าปัญหาอำนาจอธิปไตยในประเทศไทย คือปัญหาใหญ่มาก ความยุติธรรมถูกดันอยู่ด้วยเรื่องอำนาจอธิปไตย ความมั่นคง

"จะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงได้" ประทับจิตกล่าว "ถ้าไม่มีการปรับโครงสร้างหรือปฏิรูปรัฐจริงๆ ณ ปัจจุบันนี้ เราพูดตรงๆ ว่าตากใบคือความว่างเปล่า เวลาที่ความรุนแรงผ่านมานาน คนก็ลืม สังคมไทยเป็นสังคมที่ลืมง่าย"

13 ปีผ่านไป เหตุการณ์ตากใบและความยุติธรรมหลงเหลือเพียงความว่างเปล่า...
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

องค์กรผู้หญิงชูวันยุติความรุนแรงต่อสตรี พบเหยื่อเกือบครึ่งเข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรม

Posted: 19 Nov 2017 09:48 PM PST

องค์กรผู้หญิงชูเดือนยุติความรุนแรงต่อสตรี พบเหยื่อเกือบครึ่ง 40% เข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรม เหตุต้นทางถูกปิดตาย เลือกปฏิบัติ อัด สตช.ไร้การเหลียวแล เสนอรัฐบาลปฏิรูปกลไก ให้ผู้เสียหายเข้าถึงสิทธิ แนะสังคมเปลี่ยนทัศนคติ ร่วมคุ้มครองผู้ถูกละเมิดทางเพศ

20 พ.ย. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ เมื่อเวลา 09.30 น. ที่โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม ร่วมกับ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) จัดเวทีเสวนาเนื่องในโอกาสวันยุติความรุนแรงต่อสตรี ในหัวข้อ"ปัญหา ความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้หญิงต่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม"

อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า กรรมการสิทธิฯได้ตรวจสอบปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิง พบว่า ในชั้นพนักงานสอบสวนมีปัญหา ความล่าช้า ทัศนคติที่มองความรุนแรงทางเพศ ความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องธรรมดา เช่น ผู้หญิงกลุ่มเฉพาะ พิการ ทางสายตา ทางการได้ยิน กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้ลี้ภัย คนกลุ่มนี้เมื่อถูกข่มขืน หากไปแจ้งความที่โรงพัก จะไม่มีล่ามภาษามือ ไม่มีคนช่วยสื่อสาร อีกทั้งยังพบปัญหาผู้เสียหาย ต้องนำใบตรวจร่างกายไปตรวจร่องรอยการข่มขืนที่โรงพยาบาลด้วยตัวเอง คือ ต้องไปแจ้งโรงพยาบาลว่า ฉันถูกข่มขืน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สมควรเป็นอย่างมาก แม้ตำรวจไม่มีเจ้าหน้าที่เพียงพอ แต่ควรติดต่อทีมสหวิชาชีพ หน่วยงานที่ทำงานด้านผู้หญิงให้เข้าไปช่วยตรงนี้ และยิ่งเป็นผู้หญิงมุสลิมที่ภาคใต้ ตำรวจแทบไม่ต้องทำคดีล่วงละเมิดทางเพศเลย เพราะมองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนาวัฒนธรรมประเพณี มักจะส่งไปให้ผู้นำองค์กรศาสนาตัดสิน บางรายถูกบังคับให้แต่งงานกับคนที่ข่มขืนตัวเอง

"ความรุนแรงทางเพศ ความรุนแรงในครอบครัว มันไม่ใช่เรื่องส่วนตัว สังคมต้องเปลี่ยนทัศนคติร่วมปกป้องคุ้มครองผู้หญิง ให้ได้รับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ข้อเสนอแนะของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ที่ให้ไว้กับไทยล่าสุด มีประโยชน์ ครอบคลุมผู้หญิงทุกกลุ่ม รัฐบาล สตช.สนช. พม.ควรนำมาพิจารณาปรับใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ ปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับผู้ได้รับความเสียหาย เยียวยาให้ได้รับความยุติธรรม สร้างหลักประกันว่าผู้เสียหายจะไม่ถูกล่วงละเมิดทางเพศอีก เพราะหากเรามีกฎหมายที่ก้าวหน้า แต่ถูกซ่อนไว้ไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สังคมก็จะเกิดการเลือกปฏิบัติไม่มีวันจบสิ้น" อังคณา กล่าว

ทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน(ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า ช่วงที่มีการผลักดันให้มีตำรวจนายร้อยผู้หญิง  เราหวังมาตลอดว่าพนักงานสอบสวนหญิงจะเป็นกลไก เป็นนวัตกรรมของกระบวนการยุติธรรม แต่เรากลับผิดหวัง เพราะจนถึงปัจจุบันยังไม่ตอบโจทย์ ไม่ถูกนำไปเชื่อมโยงกับสถานการณ์ความรุนแรงทางเพศต่อผู้หญิง ขาดความละเอียดอ่อน ขาดความเข้าใจปัญหา

"ผู้หญิงที่เป็นเหยื่อทางเพศ เหยื่อความรุนแรง เขามีความเจ็บปวด เกิดความต้อยต่ำ  หากกระบวนการต้นน้ำ มีทัศนคติมองไม่ออกว่ามันเป็นเรื่องที่อ่อนไหวอ่อนโยน หรือมองไม่เห็นปัญหา การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมก็ไม่เกิดขึ้น เช่น ล่าสุดคดีที่จ.พังงา พนักงานสอบสวนนำบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในห้องสอบสวนด้วย จากนั้นถ่ายภาพลงโซเชียล ซึ่งไม่เหมาะสมและเป็นการละเมิดสิทธิของผู้เสียหายอย่างร้ายแรง มันสะท้อนระบบการจัดการของตำรวจที่ยังไปไม่ถึงไหน และเนื่องในเดือนยุติความรุนแรงต่อสตรีนี้ อยากฝากการบ้านถึงรัฐบาล สตช. ผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้ขับเคลื่อนยกระดับกลไกอย่างเป็นรูปธรรม เกิดนโยบายที่สำคัญนำไปบังคับใช้ได้จริง" ทิชา กล่าว

สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง ผู้อำนวยการมูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม กล่าวว่า เดือนนี้เป็นเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรี ทางมูลนิธิฯ จึงร่วมกับ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) จัดทำรายงานเพื่อรวบรวมปัญหาความต้องการของผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ ยังเข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรมที่ต้นทาง โดยทำการศึกษาจากผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ โรงพยาบาลตำรวจ บ้านพักฉุกเฉินดอนเมือง และผู้ที่มาขอรับบริการจากมูลนิธิฯ พบว่า กว่า 60%เป็นกลุ่มที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดีเอาผิด แต่ที่น่าห่วงคือ เกือบครึ่งหรือ40%ไม่พบว่ามีการดำเนินคดี เพราะต้นทางคือ ตำรวจ ให้ไกล่เกลี่ยยอมความ พบหลายรายถูกข่มขู่คุกคามจากคู่กรณี เช่น กรณีถูกข่มขืน การโทรมหญิง ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ที่น่าเศร้าใจ เด็ก3ขวบถูกล่วงละเมิดจากคนข้างบ้าน เมื่อพ่อแม่ไปขอตรวจร่างกาย โรงพยาบาล2แห่งกลับปฏิเสธ ไล่ให้เอาใบแจ้งความมาก่อน ซึ่งเป็นอุปสรรคเข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรม  อีกทั้งกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ เวลาไปแจ้งความ พนักงานสอบสวนมักพูดจาไม่เป็นมิตร ไม่มีความละเอียดอ่อน

"ปัญหาคือ เมื่อกระบวนการต้นทางถูกปิดตาย ผู้เสียหายจึงไม่ได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งการไกล่เกลี่ยยอมความ ผู้ทำผิดไม่ต้องถูกดำเนินคดี ทำผิดแล้วกฎหมายไม่ลงโทษ จะย่ามใจทำซ้ำ ยิ่งคนมีชื่อเสียง มีสถานะทางสังคม ก็วิ่งเต้นมีคนมาช่วยเหลือให้พ้นผิดได้ง่าย ขณะเดียวกันผู้เสียหายเขาอยากเห็นหน่วยบริการที่เป็นมิตรเป็นธรรม มีห้องสอบสวนเฉพาะ มีพนักงานสอบสวนหญิงที่มีศักยภาพ อำนวยความสะดวกให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จึงถึงเวลาที่ต้องมีการปฏิรูปมาตรการกลไกเพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้น และลดข้อจำกัดที่ทำให้ผู้เสียหายเข้าไม่ถึง ทั้งนี้ ทางมูลนิธิฯยินดีช่วยเหลือผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิไม่ว่าคดีความรุนแรงทางเพศ หรือความรุนแรงในครอบครัว ให้ได้รับความยุติธรรม หรือโทร 1300 ขอความช่วยเหลือจากศูนย์ช่วยเหลือสังคม(OSCC)ได้ตลอดเวลา" สุเพ็ญศรี กล่าว  

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สื่อแฉ 'ฮาร์วีย์ ไวน์สไตน์' ลิสต์ชื่อหมายหัวคนเปิดโปงกรณีล่วงละเมิดทางเพศ

Posted: 19 Nov 2017 07:55 PM PST

สื่อเผยพวกเขาได้รับรายชื่อกลุ่มคนที่ ฮาร์วีย์ ไวน์สไตน์ โปรดิวเซอร์ฉาวแห่งวงการฮอลลิวูดหมายหัวไว้ 91 ราย มีทั้งนักแสดง สื่อ หรือคนทำงานภาพยนตร์ที่บางส่วนกล่าวหาว่าเขาล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงคนที่เคยถูกเขาข่มเหงรังแก ถึงขั้นจ้างทีมเอกชนที่เคยเป็นอดีตหน่วยข่าวกรองของอิสราเอลสืบข้อมูลส่วนตัวของคนเหล่านี้ด้วยเหตุผลบางอย่าง

20 พ.ย. 2560 จากกรณีอื้อฉาวของฮาวีย์ ไวน์สไตน์ ผู้กำกับฮอลลีวูดที่ถูกเปิดโปงกรณีล่วงละเมิดทางเพศหญิงหลายคนจนเกิดเป็นกระแส #MeToo สื่อเดอะนิวยอร์กเกอร์เปิดเผยว่าไวน์สไตน์เคยพยายามหาวิธีปิดปากผู้หญิงและนักข่าวที่พูดถึงเรื่องอื้อฉาวของตนมาก่อนด้วการจ้างองค์กรความปลอดภัยเอกชนเก็บข้อมูลผู้คนเหล่านั้น

ดิอ็อบเซอร์เวอร์ สื่อในเครือเดอะการ์เดียนรายงานว่า พวกเขาสามารถเข้าถึงรายชื่อของบุคคลที่ไวน์สไตน์จ้องโจมตีได้ 91 ราย มีทั้งนักแสดง, นักหนังสือพิมพ์, โปรดิวเซอร์, ผู้ให้ทุนสร้าง และบุคคลอื่นๆ ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกไวน์สไตน์ล้วงข้อมูล มีความเป็นไปได้ว่าไวน์สไตน์ต้องการข้อมูลของบุคคลเหล่านี้เพื่อขู่แบล็กเมลไม่ให้พวกเขาเปิดเผยข้อมูลของไวน์สไตน์ไปมากกว่านี้

ไวน์สไตน์ติดต่อกับบริษัทเอกชนสองคือโครลล์ บรรษัทข่าวกรองเอกชนที่ใหญ่ที่สุดและแบล็กคิวบ์ บริษัทที่คนทำงานในนั้นส่วนใหญ่เป็นอดีตเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองของอิสราเอล (มอสสาด) และหน่วยข่าวกรองสัญชาติอิสราเอลอื่นๆ มาตั้งแต่ปี 2559 ก่อนที่จะมีการเปิดโปงเรื่องอื้อฉาวของเขา มีการใช้วิธีการเก็บข้อมูลเช่นการหลอกนัดพบหนึ่งในเหยื่อของเขาคือ โรส แม็คโกแวน โดยอาศัยตัวตนปลอมเพื่อหาข้อมูลว่าแม็คโกแวนพูดอะไรกับสื่อไปบ้าง หลังจากนั้นก็จะส่งเรื่องกลับไปให้ทนายความของไวน์สไตน์ดำเนินการต่อ

สื่อนิวยอร์กเกอร์ระบุว่ากระบวนการสืบข้อมูลเหล่านี้บางครั้งถึงขั้นล้วงเอาข้อมูลส่วนบุคคลหรือประวัติของคนที่ไวน์สไตน์ตั้งเป้าหมาย รวมถึงประวัติเพศวิถีของพวกเขาด้วย

ลอรา แมดเดน เป็นอีกคนหนึ่งที่เปิดโปงการบีบบังคับล่วงละเมิดทางเพศโดยไวน์สไตน์ เธอถูกตามเก็บข้อมูลทำให้ทราบว่าแมดเดนเคยพูดกับหน่วยข่าวกรองเอกชนเหล่านี้ว่าเธอรู้สึก "ขมขื่นมาก" ต่อไวน์สไตน์ผู้เป็นโปรดิวเซอร์ของเธอ

มีผู้เคยเปิดโปงเรื่องของไวน์สไตน์คนอื่นๆ อีกที่ตกเป็นเป้าหมายการจ้างเก็บข้อมูลโดยไวน์สไตน์เช่น เซลดา เพอร์กินส์ ผู้ช่วยฝ่ายโปรดักชันของมิราแมกซ์ กับ โซฟี ดิกซ์ นักแสดงหญิงชาวอังกฤษ ทั้งสองคนนี้ก็เป็นคนแรกๆ ที่ออกมาเปิดโปงไวน์สไตน์

เดอะการ์เดียนระบุอีกว่ามีรายชื่อมากกว่า 50 รายชื่อในเป้าหมายของไวน์สไตน์ที่ถูกขีดเน้นย้ำไว้ด้วยสีแดงซึ่งหมายถึงเป็นกลุ่มคนที่ไวน์สไตน์ต้องการให้มีการสืบสวนเป็นกลุ่มแรกๆ ทั้งแมคโกแวน, ดิกซ์ และแมดเดน ก็อยู่ในจำนวนนี้ด้วย ที่น่าสนใจคือหนึ่งในรายชื่อนี้มี เบรต แรทเนอร์ คนทำภาพยนตร์ผู้ถูกล่าวหาเรื่องล่วงละเมิดทางเพศผู้หญิง 6 คนในช่วงที่มีการกล่าวหาไวน์สไตน์

ไม่เพียงแค่กรณีคนที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศเท่านั้นที่ถูกจ้างสืบ มีกรณีคนที่ถูกไวน์สไตน์ข่มเหงรังแก (bully) และทารุณกรรมทางจิตใจ ทำให้มีพนักงานสตูดิโอที่ไวน์สไตน์เคยทำงานด้วยติดอยู่ในรายชื่อที่เขาต้องการให้สืบด้วย

จนถึงตอนนี้มีผู้หญิงมากกว่า 50 คนแล้วที่กล่าวหาไวน์สไตน์เรื่องล่วงละเมิดทางเพศหรือกระทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่อผู้ร่วมงานด้วย เขาถูกกล่าวหาว่าเขามักจะเล็งเป้าเหยื่อที่ยังสาวและอยากเป็นนักแสดง ซึ่งไวน์สไตน์ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด ทางโฆษกของเขาก็ปฏิเสธรายงานข่าวเรื่องไวน์สไตน์จ้างสายสืบเพื่อหาทางปิดปากคน

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าไวน์สไตน์ต้องการจะทำอย่างไรหลังสืบเรื่องราวมาแล้ว แต่ก็มีหลักฐานว่าเขาทำข้อตกลงกับผู้หญิง 8 คนสำเร็จในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา


เรียบเรียงจาก

Harvey Weinstein had secret hitlist of names to quash sex scandal, The Guardian, 18-11-2017
https://www.theguardian.com/film/2017/nov/18/harvey-weinstein-secret-hitlist-sex-scandal

Harvey Weinstein's Army of Spies, The New Yorker, 06-11-2017
https://www.newyorker.com/news/news-desk/harvey-weinsteins-army-of-spies

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น