ประชาไท | Prachatai3.info |
- Land Watch Thai ร้อง สนช.เปิดเผยบันทึกประชุม กมธ.ภาษีที่ดินฯ
- สนช.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ นำภาษีสรรพสามิต 2% ใส่เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรายได้น้อย
- ร้องอัยการสูงสุดสั่งฟ้องข้าราชการ คดีซื้อประเวณีเด็กแม่ฮ่องสอน หลังอัยการจังหวัดสั่งไม่ฟ้อง
- สกสส.ร้อง ป.ป.ช.สอบ 3 อัยการสูงสุด ปมไม่ดำเนินคดีสุเทพ-พวก ขวางเลือกตั้ง กว่า 3 ปีแล้ว
- เรืองไกร ยื่น ป.ป.ช.สอบ รัฐบาล-สนช. ทำงบฯ ปี 61 ขัดรัฐธรรมนูญ
- คดีซับซ้อน เลื่อนพิพากษาศาลอุทธรณ์ครั้งที่ 2 คดี 'อภิชาต' ชูป้ายค้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์ฯ
- 1 ทศวรรษคดี 112 ตอนที่ 3: ปัญหาอยู่ที่วิธีคิดหรือความกลัวของศาล? กฎหมายหรือระบอบ?
- สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี: วิกฤตโรฮิงญาและการทูต
- ประวิตร โรจนพฤกษ์ เข้ารับรางวัลเสรีภาพสื่อนานาชาติที่นิวยอร์กแล้ว
- สุรชาติ บำรุงสุข: บทบาทที่ไม่หายไปของ กอ.รมน. และการเกิดขึ้นของอุดมการณ์ต่อต้านการเมือง
- เผยภาพฟันร่วงหมดปากในโลกโซเชียล ใช้รณรงค์ในฟิลิปปินส์อย่าจัดฟันเถื่อน
- ขอนแก่น: จำคุก2 ปีครึ่ง ริบของกลาง คดีเตรียมการเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติไม่รอลงอาญา
- ถกโครงการโขง เลย ชี มูล - ประตูระบายน้ำศรีสองรัก กสม.ขอให้ข้อมูลชัดเจนร่วมตัดสินใจ ลดผลกระทบ
- ยูนิเซฟเปิดแคมเปญ #โอกาสที่เท่าเทียม รณรงค์โอกาสเพื่อเด็กข้ามชาติในไทย
Land Watch Thai ร้อง สนช.เปิดเผยบันทึกประชุม กมธ.ภาษีที่ดินฯ Posted: 16 Nov 2017 11:33 AM PST จับตาปัญหาที่ดิน ร้อง สนช.เปิดเผยบันทึกประชุม กมธ.พิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ พร้อมทั้งปรับเจตนารมณ์ให้ลดความเหลื่อมล้ำ เมื่อวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมา รายงานข่าวระบุว่า สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 รับหนังสือจาก องค์กรจับตาปัญหาที่ดิน หรือ Land Watch Thai ที่เรียกร้องขอให้เปิดเผยบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.... จากกรณีการประชุมสนช.เมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งมีมติไม่ให้มีการเปิดเผยบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.... โดยเห็นว่า การไม่เปิดเผยบันทึกการประชุมเป็นการกระทำที่ไม่ให้เกียรติประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และการประชุมอาจมีผลกระทบต่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่กรรมาธิการวิสามัญใช้อ้างอิงเพื่อกำหนดอัตราภาษี ดังนั้นเพื่อความกระจ่างในข้อสงสัย องค์กรจับตาปัญหาที่ดิน จึงขอเสนอให้เพิ่มวาระการประชุมของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.... พร้อมเสนอกรรมาธิการ ให้ปรับปรุงร่างกฎหมาย ให้มีเนื้อหาเป็นภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า อีกทั้งยังเสนอให้มีมาตรการที่ว่าด้วยการบริหารจัดการถือครองที่ดิน โดยบังคับให้มีการเก็บ และเปิดเผยฐานข้อมูลการถือครองที่ดิน เพื่อประโยชน์และนโยบายด้านที่ดินด้วย สุรชัย กล่าวว่า จะนำเรื่องดังกล่าวส่งให้กรรมาธิการได้พิจารณาต่อไป และส่วนตัวมองว่าแม้ก่อนหน้าจะไม่มีการเปิดเผยบันทึกการประชุม แต่หากเตรียมขั้นตอนออกกฎหมายก็จะมีการเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบ และส่วนตัวทราบดีว่ากฎหมายนี้มีผลกระทบต่อผู้ได้เสียหลายราย ซึ่งจะทำการศึกษารายละเอียดอีกครั้ง เนื่องจากปัจจัยหลักของกฎหมายนี้ทำเพื่อให้เกษตรกรมีทีทำกิน ไม่ถูกเอาเปรียบจากนายทุน ด้าน Land Watch Thai ยืนยันว่ามีจุดยืนสนับสนุนให้กฎหมายที่ดินออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำได้จริง และเป็นเวลากว่า 3 ปีแล้ว ที่กฎหมายดังกล่าวถูกพูดถึงในยุครัฐบาล คสช. โดยขณะนี้กฎหมายดังกล่าวอยู่ในชั้นกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและได้มีความล่าช้าเป็นเวลากว่า 5 เดือนแล้ว หากแต่ สนช. ยังสามารถที่จะพิจารณาขยายเวลาให้ช้าออกไปได้เรื่อยๆ เหนือสิ่งอื่นใดก็ตามร่างกฎหมายดังกล่าวยังมิได้เป็นร่างกฎหมายที่พูดถึงภาษีอัตราก้าวหน้าและผู้ที่มีส่วนได้เสียกับกฎหมายฉบับนี้ก็คือ สนช.ที่มีที่ดินครอบครองอยู่ถึง 9800 ล้านบาท ที่เป็นผู้ตัดสินชี้ขาดกฎหมายดังกล่าว ที่มา : เว็บไซต์วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา และ เฟซบุ๊กแฟนเพจ Land Watch THAI จับตาปัญหาที่ดิน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สนช.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ นำภาษีสรรพสามิต 2% ใส่เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรายได้น้อย Posted: 16 Nov 2017 10:55 AM PST สนช.เห็นชอบให้ประกาศใช้ร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ เป็นกฎหมาย นำเงินจากภาษีสรรพสามิตสุราและยาสูบ 2% มาให้เบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุรายได้น้อย ที่ลงทะเบียนแล้วเท่านั้น พร้อมยืนยันไม่มีการยกเลิกเบี้ยผู้สูงอายุตามที่เป็นข่าว แฟ้มภาพ 16 พ.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ (16 พ.ย.60) การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ที่มี สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. คนที่ 1 เป็นประธานการประชุม มีมติประกาศให้ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ผู้สูงอายุ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ด้วยคะแนนเห็นด้วย 181 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียง 6 เสียง พล.ร.อ.พลวัฒน์ สิโรดม ประธานกรรมาธิการฯ ชี้แจงว่า ร่างกฎหมายนี้มี 6 มาตรา และกรรมาธิการขอแก้ไข 2 มาตรา สาระสำคัญปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุให้มีความสอดคล้องกับสภาวะการณ์ปัจจุบันมากขึ้น เพิ่มบทบัญญัติเรื่องการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย และบทบัญญัติเกี่ยวกับที่มาของเงินกองทุนเพื่อให้รวมถึงเงินบำรุงกองทุนที่ได้รับจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าสุราและยาสูบ โดยให้เรียกเก็บเงินบำรุงกองทุนในอัตราร้อยละ 2 ของภาษีที่เก็บเพื่อนำส่งเข้ากองทุน "ให้ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพเพิ่มขึ้นและทั่วถึง สามารถพึ่งพาตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขอให้กระทรวงการคลัง รวมถึงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินงานเชิงรุกในการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจให้ประชาชนทราบว่าการจ่ายเงินสงเคราะห์กรณีนี้ เป็นการมุ่งจ่ายเพิ่มเติมเฉพาะให้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยที่ได้ลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการแห่งรัฐแล้วเท่านั้น" พล.ร.อ.พลวัฒน์ กล่าว พล.ร.อ.พลวัฒน์ กล่าวด้วยว่า กระแสข่าวที่ว่าจะมีการยกเลิกเบี้ยผู้สูงอายุนั้น ไม่เป็นความจริง ซึ่งหลักจากนี้จะสั่งการให้กระทรวงการคลัง รวมถึงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประชาสัมพันธ์ในเรื่องนี้เพื่อสร้างการรับรู้และความชัดเจนให้กับประชาชน ที่มา : เว็บไซต์วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา และสำนักข่าวไทย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ร้องอัยการสูงสุดสั่งฟ้องข้าราชการ คดีซื้อประเวณีเด็กแม่ฮ่องสอน หลังอัยการจังหวัดสั่งไม่ฟ้อง Posted: 16 Nov 2017 08:34 AM PST องค์กรผู้หญิง ร้องอัยการสูงสุด วินิจฉัยชี้ขาดสั่งฟ้อง ข้าราชการ ตำรวจ ผู้มีชื่อเสียง คดีซื้อประเวณีเด็กแม่ฮ่องสอน หลังอัยการจังหวัดสั่งไม่ฟ้องผู้ 16 พ.ย.2560 รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้(16พ.ย.60) เมื่อเวลา10.00 น. ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ทิชา ณ นคร ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและเยาวชน สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง ผู้อำนวยการมูลนิธิส่งเสริ ทิชา กล่าวว่า ภาคประชาสังคมได้ตรวจสอบและติ ทิชา กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์ดังกล่าว เครือข่ายภาคประชาสังคมรู้สึกกั และ 2. การนำเด็ ผอ.มูลนิธิส่งเสริ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สกสส.ร้อง ป.ป.ช.สอบ 3 อัยการสูงสุด ปมไม่ดำเนินคดีสุเทพ-พวก ขวางเลือกตั้ง กว่า 3 ปีแล้ว Posted: 16 Nov 2017 07:47 AM PST สมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิฯ ร้อง ป.ป.ช. สอบ 3 อัยการสูงสุด กรณีไม่สั่งฟ้องและดำเนินคดีกับ สุเทพ และพวก ขัดขวางการเลือกตั้ง ระบุล่าช้ากว่า 3 ปี 4 เดือนแล้ว ด้านอดีต อสส.ไม่กังวล หลังถูกร้อง ภาพจาก เฟซบุ๊กแฟนเพจ TV24 สถานีประชาชน 16 พ.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ (16 พ.ย.60) เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) วิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการสมาพันธ์นักกฏหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ (สกสส.) เดินทางเข้ายื่นเรื่องต่อประธาน ป.ป.ช. ร้อง อดีตอัยการสูงสุดและอัยการสูงสุดคนปัจจุบัน ประกอบด้วย ตระกูล วินิจฉัยภาค ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร และเข็มชัย ชุติวงศ์ เพื่อขอให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบและไต่สวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของบุคคลทั้ง 3 ที่กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ตามมาตรา 84 ของ พ.ร.บ.ป.ป.ช. ในกรณีไม่สั่งฟ้องและดำเนินคดีกับ สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำ กปปส. และพวก ในข้อหากบฏ กรณีขัดขวางการเลือกตั้งเมื่อปี 2556 จนจะมีการเลือกตั้งในปี 2561 แล้ว แต่มีเพียงการสั่งฟ้องผู้ต้องหาแค่ 4 ราย ที่เป็นผู้ร่วมการกระทำความผิดกับ สุเทพ วิญญัติ กล่าวว่า การไม่เร่งดำเนินการนำตัวมาฟ้องคดี ปล่อยให้มีการร่วมฟังการพิจารณาคดีในศาล ปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฏหมาย จนเกิดความล่าช้ากว่า 3 ปี 4 เดือน การปฏิบัติหน้าที่ของอัยการสูงสุดทั้ง 3 ในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดขององค์กรอัยการ และพนักงานอัยการ ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.2553 และมีหน้าที่รักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งได้กำหนดให้การปฎิบัติหน้าที่ขององค์กรอัยการต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายและหลักนิติธรรม จึงไม่อาจปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือเลือกปฏิบัติในการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ หรือบิดผันการใช้อำนาจ หรือใช้อำนาจนอกขอบเขตความชอบด้วยกฎหมายและหลักนิติธรรม วิญญัติ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวมีการเลือกปฏิบัติที่จะดำเนินคดีเอากับบุคคลหนึ่ง แต่ไม่ดำเนินคดีกับบุคคลอีกคนหนึ่งตามอำเภอใจ ซึ่งคดีนี้ศาลอาญา ได้รับเป็นคำฟ้องและดำเนินกระบวนการพิจารณาอยู่ในศาลแล้ว เลขาธิการ สกสส. ยังกล่าวว่า การยื่นกล่าวหาต่อ ป.ป.ช.ในครั้งนี้ ย่อมกระทบต่อความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนต่อองค์กรอัยการและกระบวนการยุติธรรมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ต้นจึงขอเรียกร้องให้กรรมการ ป.ป.ช.ทั้งคณะ เป็นองค์คณะไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่องนี้ อดีต อสส.ไม่กังวล หลังถูกร้องด้าน ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อดีตอัยการสูงสุด (อสส.) เปิดเผยว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดที่ วิญญัติ ยื่นเรื่องต่อป.ป.ช.เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า ของ ตระกูล วินิจนัยภาค และ ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ อดีต อสส. และเข็มชัย ชุติวงศ์ อสส. คนปัจจุบัน ที่ไม่เร่งสั่งคดีสุเทพ และแกนนำ กปปส. เป็นการกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมหรือไม่ ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ กล่าวว่า การขอให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบดังกล่าว ไม่กระทบต่อการทำหน้าที่อัยการอาวุโสในปัจจุบัน เนื่องจากไม่ใช่ตำแหน่งบริหาร จึงสามารถทำหน้าที่ต่อไป ได้ ส่วนจะดำเนินการใดต่อกรณีดังกล่าว คงต้องรอฟังผลของ ป.ป.ช.ก่อน ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลอะไร และว่า การทำหน้าที่ขณะดำรงตำแหน่ง อสส. การพิจารณาสำนวน เป็นไปตามลำดับขั้นตอน ซึ่งอัยการที่รับผิดชอบดำเนินการต่อเนื่อง ต่อกรณีคำถามว่า มีความกังวลอะไรหรือไม่ ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ กล่าวว่า ไม่มีอะไร และว่า ที่มาที่ไปการร้องต่อ ป.ป.ช.เป็นอย่างไร ไม่ขอออกความเห็น
ที่มา : สำนักข่าวไทย ข่าวสดออนไลน์และTV24 สถานีประชาชน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เรืองไกร ยื่น ป.ป.ช.สอบ รัฐบาล-สนช. ทำงบฯ ปี 61 ขัดรัฐธรรมนูญ Posted: 16 Nov 2017 06:16 AM PST เรืองไกร ร้อง ป.ป.ช. สอบ นายกฯ ครม. และ สนช. จัดทำงบประมาณปี 61 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ - พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ จี้สอบผู้ร่วมโหวตให้ความเห็นชอบโดยเร็ว ระบุขณะนี้ได้เกิดความเสียหายแล้ว ที่มาภาพ เฟซบุ๊กแฟนเพจ TV24 สถานีประชาชน 16 พ.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ (16 พ.ย.60) ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภา เข้ายื่นหนังสือถึงประธาน ป.ป.ช. ผ่าน กชนนท์ สุขแก้ว รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักสืบสวนและกิจการพิเศษ สำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อขอให้ตรวจสอบนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ว่าจัดทำ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 142 เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญกำหนดว่า พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี จะต้องจัดทำตามยุุทธศาสตร์ชาติ และ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ การกระทำนี้จึงอาจเข้าข่ายการกระทำความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 123/1 แต่จากการตรวจสอบพบว่า ในระหว่างการจัด ทำจนถึง พ.ร.บ.งบประมาณ มีผลบังคับใช้ ยังไม่มีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ ดังนั้น รัฐบาล และ สนช.จะทำงบประมาณไม่ได้ ต้องกลับไปใช้งบประมาณปี 2560 "ขณะนี้ได้เกิดความเสียหายแล้ว เพราะมีการใช้จ่ายงบประมาณตามกฎหมายฉบับนี้ ผมในฐานะเคยเป็นสมาชิกรัฐสภา ก็ได้รับเงินจากกฎหมายดังกล่าว เป็นเงินทุนเลี้ยงชีพจากงบประมาณปี 2561 งวดเดือนตุลาคมที่ผ่านมา จึงได้ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินับฉัยว่า พ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 2561 ขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่" เรืองไกร กล่าว พร้อมขอให้ ป.ป.ช. ตรวจสอบผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดทำกฎหมายดังกล่าว รวมทั้ง ผู้ที่ร่วมโหวตให้ความเห็นชอบกฎหมายฉบับนี้โดยเร็ว เพราะขณะนี้ได้มีการใช้จ่ายเงินไปแล้วอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากศาลวินิจฉัยเรื่องนี้แล้วขัดต่อรัฐธรรมนูญ ผู้ที่ได้รับเงินดังกล่าวจะมีความผิดไปด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คดีซับซ้อน เลื่อนพิพากษาศาลอุทธรณ์ครั้งที่ 2 คดี 'อภิชาต' ชูป้ายค้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์ฯ Posted: 16 Nov 2017 02:47 AM PST เลื่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นครั้งที่ 2 คดี 'อภิชาต' ชูป้ายคัดค้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ไป ม.ค.ปีหน้า เหตุคดีซับซ้อนและมีคนให้ความสนใจ พร้อมเปิด 6 ประเด็นอุทธรณ์คดีชี้ไม่ผิดเหตุ ประยุทธ์ ไม่ได้อยู่ในฐานะรัฏฐาธิปัตย์ประกาศ คสช.ไม่มีผลเป็นกฎหมาย ภาพเหตุการณ์วันที่ 23 พ.ค.57 หน้าหอศิลปฯ 16 พ.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (16 พ.ย.60) ศาลแขวงปทุมวัน เลื่อนนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นครั้งที่ 2 เป็นวันที่ 31 ม.ค.2561 ในคดีความผิดต่อ พ.ร.บ.กฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง (คดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 คดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559) ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด กับ อภิชาต พงษ์สวัสดิ์ จากการชูป้ายคัดค้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ 23 พ.ค. 2557 หลังการรัฐประหารของ คสช. เพียงวันเดียว สำหรับคดีดังกล่าว สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เป็นทนายให้ อภิชาต โดยผู้สื่อข่าวประชาไท สบถาม บัณฑิต หอมเกษ ผู้ประสานงานและรณรงค์ของ สนส. บัณฑิต เปิดเผยว่า ทางศาลไม่มีหนังสือแจงถึงเหตุผลที่เลื่อนอ่านคำพิพากษา ศาลเพียงนั่งบัลลังก์และบอกว่าเลื่อน พร้อมกล่าวว่าคดีนี้เป็นคดีที่มีคนให้ความสนใจ รวมทั้งเป็นคดีที่มีประเด็นที่ซับซ้อน ศาลอุทธรณ์จึงแจ้งมายังศาลแขวงว่าพจารณายังไม่แล้วเสร็จจึงต้องเลื่อนไปก่อน บัณฑิต กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า คดีนี้ในตอนแรกศาลแขวงพิพากษายกฟ้องโดยยกเรื่องกองปราบไม่มีอำนาจสอบสวน อัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลจึงยกฟ้องด้วยเหตุนี้ จากนั้นอัยการได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงระบุว่ากองปราบมีอำนาจสอบสวนอยู่ จึงย้อนสำนวนนี้ไปให้ศาลแขวงปทุมวันพิจารณาคดีใหม่ เมื่อให้ศาลแขวงปทุมวันพิจารณาคดีใหม่ จึงมีคำพิพากษาออกมาว่า อภิชาต ทำผิดจริงตามฟ้องพร้อมลงโทษตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ให้จำคุก 2 เดือน ปรับ 6,000 บาท โดยโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี และต่อมาทนายความของจำเลยได้ยื่นอุ ผู้ประสานงานและรณรงค์ของ สนส. เปิดเผยว่า อภิชาต ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้ 1. ประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เนื่องจากการสอบสวนในคดีนี้มิ 2. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ได้อยู่ในฐานะรัฏฐาธิปัตย์ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 3. การประกาศกฎอัยการศึกโดยกองทั 4. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ 5. ปากคำพยานโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ และจำเลยมีเสรีภาพในการชุมนุ 6. จำเลยไม่ได้มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป เพื่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
1 ทศวรรษคดี 112 ตอนที่ 3: ปัญหาอยู่ที่วิธีคิดหรือความกลัวของศาล? กฎหมายหรือระบอบ? Posted: 16 Nov 2017 02:38 AM PST ปฏิเสธไม่ได้ว่าคดี 112 เป็นที่สนใจของผู้คนทั้งในและต่างประเทศ และศาลก็กลายเป็นกลไกสำคัญที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เนื่องจากต้องรับบทบาทในการตัดสินความผิดและกำหนดบทลงโทษ ข้อวิจารณ์หลักตลอดทศวรรษที่ผ่านมา แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ลักษณะแรก สะท้อนผ่านกระบวนการพิจารณาคดีของศาล ไม่ว่าจะเป็นการ 'ไม่ให้ประกันตัวเป็นหลัก ได้ประกันเป็นข้อยกเว้น' การพิจารณาคดีลับ บทลงโทษที่หนักหน่วง เป็นต้น ลักษณะที่สองคือ การวิพากษ์ไปถึงวิธีคิดเบื้องหลังของตุลาการทั้งระบบว่ามีลักษณะอนุรักษ์นิยม (conservative) และกษัตริย์นิยม (royalism) ในเบื้องต้น ขอนำเสนอมุมมองของนักสิทธิมนุษยชนและทนายความที่เกี่ยวข้องกับคดี 112 ซึ่งกล่าวถึงปัญหารูปธรรมที่พวกเขาเผชิญ และมุมมองที่พวกเขามีต่อตุลาการ ก่อนที่จะไปฟังเสียงสะท้อนของผู้พิพากษา "ปัญหาหลักๆ น่าจะอยู่ที่ทัศนคติของคนในกระบวนการยุติธรรม หลายคนแสดงออกค่อนข้างชัดว่า มีอคติอยู่พอสมควร แล้วอีกอย่างที่สร้างปัญหามากคือ การแจ้งความ ไม่ควรเป็นแบบนี้ที่ใครก็แจ้งความได้ เพราะเราพบว่ามันกลั่นแกล้งกันเยอะ" ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ความเห็น "มีบางคดีที่ศาลพิจารณาลับ ล็อคห้องไม่ให้ใครเข้า สั่งให้ทนายความปิดโทรศัพท์มือถือ แล้วเอาไปไว้กับเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ ตอนสู้คดีก็ไม่ให้พูดถึงข้อความในนั้นเลย ให้ใช้คำว่า "ข้อความที่ไม่สมควรชุดที่หนึ่ง" "ข้อความที่ไม่สมควรชุดที่สอง" แล้วก็ไม่ให้คัดถ่ายทุกอย่างแม้แต่คำพิพากษา ทนายความจะอุทธรณ์คดีต้องไปนั่งคัดคำพิพากษาและกระบวนพิจารณาคดีด้วยลายมือ" ศศินันท์ยกตัวอย่าง "ศาลยุติธรรมจะระมัดระวังมาก แม้แต่เวลาบันทึก ค่อนข้างเข้มงวด บางคดีจะบันทึกรายงานกระบวนพิจารณายังต้องพักการพิจารณา ลงไปปรึกษาหัวหน้าแล้วขึ้นมาใหม่ เช่น คดีไผ่ (จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา) เรายื่นคำร้องว่า ขอให้ไม่พิจารณาลับเป็นบางนัดได้ไหม เช่น พนักงานสอบสวน คนจับกุม ศาลก็ต้องไปปรึกษาหัวหน้า จะสั่งอะไรก็ต้องลงไปปรึกษาหัวหน้า สุดท้ายก็พิจารณาลับอยู่ดีในทุกกรณี หรือคดีเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติที่ขอนแก่น เจ้าหน้าที่ศาลโทรหาทนายเลยว่า เป็นคดีที่มีข่าว ทางภาคถามมา จะขอเลื่อนวันนัดเข้ามาเร็วกว่านี้ได้ไหมเพื่อนัดสมานฉันท์ เพราะต้องรายงานภาค" ภาวิณี ชุมศรี ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธมนุษยชนให้ข้อสังเกต ขณะที่ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ จากไอลอว์ซึ่งเป็นองค์กรที่สังเกตการณ์คดี 112 อย่างใกล้ชิดมองต่างออกไป "ผมไม่คิดว่าเป็นเรื่องทัศนคติของผู้พิพากษา ไม่ได้ให้น้ำหนักเรื่องที่ว่า ผู้พิพากษาตัดสินภายใต้พระปรมาภิไธยแล้วเป็นข้อจำกัด หรือถ้าศาลยกฟ้องแล้วจะได้ผลลบอะไรแบบนั้น ผมคิดว่าท่านก็ทำเหมือนคดีอื่นๆ หลักการรับฟังพยานหลักฐานในทางวิชาการกับทางปฏิบัติมันไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ตำรวจทำงานมีช่องโหว่อยู่แล้ว คดีลักวิ่งชิงปล้นท่านก็รับฟัง แต่พอเป็นคดีการเมือง เราสู้กันละเอียดว่ารับฟังพยานหลักฐานบางอย่างไม่ได้ แต่ท่านใช้ประสบการณ์จากคดีทั่วไปนั้นเอง จึงไม่คิดว่าเป็นเรื่องมีอคติต่อจำเลย คดีที่ผู้พิพากษาดูมีท่าทีมีอคตินั้นมีอยู่แต่น้อยมาก เช่น พูดจาไม่ดี โดยส่วนใหญ่ที่สัมผัสได้คือ กลัว" "ตัวผู้พิพากษาเองก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ถามว่ากลัวอะไร ท่านก็อาจกลัวโดนสังคมด่า กลัวกลายเป็นประเด็นทางการเมือง กลัวผู้พิพากษาผู้ใหญ่ว่า กลัวตั้งกรรมการสอบ กลัวเรื่องจะเข้าตัวเอง นี่ผมคาดเดาเอาเอง ผู้พิพากษาก็เหมือนข้าราชการคนหนึ่งที่ต้องการทำอะไรให้มันถูกต้องตามระบบระเบียบ มันมีฟอร์แมตในคดีต่างๆ อยู่ แต่พอเป็นคดี 112 มันไม่มีฟอร์แมต รูปแบบการกระทำไม่เหมือนกัน พยานหลักฐานไม่เหมือนกัน วิธีสู้ของทนายก็ไม่เหมือนกัน มันจึงยาก ต้องคิดเอง ท่านอาจจะไม่มั่นใจ แล้วแต่ละท่านก็จัดการกับความกลัวของตัวเองต่างกัน บางคนนิ่ง บางคนรน" ยิ่งชีพกล่าว "เราต้องเข้าใจก่อนว่า ปัจจัยในชีวิตเขาคืออะไร มันคือการอ่านหนังสือ สอบ อ่านหนังสือ สอบ เขาไม่ได้เจอโลกกว้างขวางนัก เมื่อเป็นผู้พิพากษา ชีวิตก็ 'เข้าฮอร์ส' แล้ว อยู่นิ่งๆ มีเงินเดือน มีเกียรติยศ สิ่งที่เขาคิดคือจะไม่ออกจากกรอบตรงนี้เด็ดขาด" ยิ่งชีพกล่าวและว่า สิ่งที่ไอลอว์ทำจึงมุ่งเน้นการวิพากษ์ณะบบเท่ากับมุ่งเปลี่ยนแปลงทัศนคติของสังคมเป็นหลัก 0000ไม่ว่าจะมองเบื้องหลังบทบาทของตุลาการไปในทิศทางไหน เราปฏิเสธไม่ได้ว่า องค์กรตุลาการนั้นก่อกำเนิดขึ้นโดยเกี่ยวพันกับสถาบันกษัตริย์มาตั้งแต่ในอดีต ในหนังสือ 'พระธรรมนูญศาลยุติธรรม' อธิบายถึงพัฒนาการของหนึ่งในอำนาจอธิปไตยอย่าง 'ตุลาการ' ว่า แต่เดิมนั้นอำนาจในการพิพากษาอรรถคดีเป็นของพระมหากษัตริย์ จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ด้วยแรงกดดันของชาติมหาอำนาจ จึงมีการ "ทำตุลาการให้ทันสมัย" โดยแยกศาลที่เคยมีประจำอยู่ในกระทรวงต่างๆ ซึ่งให้ปุโรหิตหรือมโนสารอำมาตย์ผู้เชี่ยวชาญคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นผู้วินิจฉัยคดี มารวมในสังกัดเดียวกัน และประกาศตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้นใน ร.ศ.110 (พ.ศ.2435) ผู้มีบทบาทสำคัญในการวางระบบกฎหมายและศาลของไทยก็คือ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์) พระราชโอรสองค์ที่ 14 ในรัชกาลที่ 5 นั่นเอง หลังจากนั้นไม่กี่สิบปีก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี 2475 โดยคณะราษฎร ส่งผลให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เกิดการเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตยอย่างสำคัญในสองส่วน คือ ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติที่ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่ในส่วนของตุลาการนั้นแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทำให้เกิดข้อวิจารณ์จนถึงปัจจุบันว่า อำนาจตุลาการนั้นเป็นอำนาจเก่าแก่ที่ไม่เคยได้รับการปฏิรูปให้เป็นประชาธิปไตยเลย "หลายแห่งที่เป็นประชาธิปไตยในโลก สถาบันตุลาการ ราชการ ทหาร ถูกสร้างขึ้นก่อนมีระบอบประชาธิปไตยทั้งสิ้น คำถามก็คือ ทำไมสถาบันตุลาการหลายที่ในต่างประเทศจึงไม่กลายเป็นตุลาการที่เข้ามาฝักใฝ่ทางการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คำตอบก็คือ ในอังกฤษและในฝรั่งเศสมีการปรับเปลี่ยนระบบตุลาการหลังประชาธิปไตยเบ่งบาน…ถามว่าหลังจาก 2475 มีความพยายามในการปรับเปลี่ยนระบบตุลาการบ้างไหม คำตอบคือไม่มี" นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวไว้ในงานเสวนาวิชาการ 'ความยุติธรรมที่ลำเอียง' ที่คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ 22 ก.พ. 2560 โยชิฟูมิ ทามาดะ ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเกียวโตที่ศึกษาการเมืองไทยมายาวนานก็พูดถึงความใกล้ชิดระหว่างสถาบันตุลาการกับสถาบันกษัตริย์ไว้อย่างน่าสนใจ โดยตั้งข้อสังเกตจากการถวายสัตย์ปฏิญาณ ตราสัญลักษณ์ และสัดส่วนองคมนตรีของในหลวงรัชกาลที่ 9 รวมถึงรัชกาลที่ 10 ซึ่งมีผู้พิพากษาจำนวนมาก "ก่อนหน้านี้คำถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ได้บัญญัติในรัฐธรรมนูญ แต่หลังการปฏิวัติในปี 2490 ซึ่งฝ่ายนิยมเจ้าได้ขึ้นครองอำนาจทางการเมือง ทำให้รัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2492 เป็นต้นมา มีการกำหนดคำถวายสัตย์ปฏิญาณในส่วนของรัฐมนตรีและองคมนตรีเอาไว้ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2517 สมัยสัญญา ธรรมศักดิ์ ก็ได้เขียนคำถวายสัตย์สำหรับผู้พิพากษาด้วย และเมื่อมาถึงรัฐธรรมนูญ 2540 ก็มีการแยกชัดเจนขึ้นอีก โดยองคมนตรีและรัฐมนตรีใช้ถ้อยคำเดียวกัน แต่ผู้พิพากษานั้นมีถ้อยคำเฉพาะของตนเอง นี่อาจทำให้ศาลมีความภูมิใจเป็นพิเศษว่า ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์มากกว่าองคมนตรีและรัฐมนตรี เพราะใช้คำศัพท์พิเศษ" ทามาดะกล่าว ยุติธรรมลำเอียง: วงวิพากษ์ตุลาการไทย นิธิ-ปิ่นแก้ว-ไชยันต์-ภัควดี ทามาดะมอง "ตุลาการภิวัตน์ไทย" ปราบคอร์รัปชันหรือทำลายประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม เราไม่อาจกล่าวถึงยอดของภูเขาน้ำแข็งอย่างมาตรา 112 โดยวิพากษ์เพียงตุลาการและไม่มองถึงพัฒนาการของ 'อำนาจนำ' ในทางการเมือง-วัฒนธรรมของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทยได้ เพราะมันมีผลต่อการ 'ปรับแก้' กฎหมายนี้ให้หนักขึ้น และ 'ปรับใช้' กฎหมายนี้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ณัฐพล ใจจริง นักประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อธิบายไว้ว่า หลังการรัฐประหารในปี 2490 ตลอดทศวรรษนั้น สถาบันกษัตริย์และกลุ่มรอยัลลิสต์ได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองอย่างชัดเจนและเริ่มรื้อฟื้นบทบาทสถานะของสถาบันกษัตริย์หลังจากถดถอยมาตั้งแต่ปี 2475 ในตอนท้ายแม้กลุ่มนี้จะแตกกับกลุ่มจอมพล ป.พิบูลสงคราม (ที่กำจัดกลุ่มของปรีดี พนมยงค์ ออกจากการเมืองและขึ้นครองอำนาจ) แต่ก็ได้จับมือกับสหรัฐอเมริกาในการทำสงครามกับคอมมิวนิสต์ โดยสหรัฐฯ สนับสนุนการใช้ประเด็นการคุกคามสถาบันกษัตริย์ของคอมมิวนิสต์เป็นประเด็นสำคัญของปฏิบัติการสงครามจิตวิทยาในไทย กลุ่มรอยัลลิสต์ยังมีแผนสร้างกระแสความนิยมต่อรัชกาลที่ 9 ให้เกิดในหมู่ประชาชนด้วยการเสนอโครงการให้พระองค์เสด็จเยี่ยมประชาชนในชนบทตั้งแต่เดือนเมษายน 2497 เป็นต้นมา ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างมากในการสร้าง 'สัญลักษณ์' แห่งชาติ "ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลจอมพล ป.และกลุ่มตำรวจที่นำโดย เผ่า ศรียานนท์ กับ สถาบันกษัตริย์ 'กลุ่มรอยัลลิสต์' และกองทัพ ภายใต้การนำของสฤษดิ์ ได้เดินไปสู่จุดแตกหักในการรัฐประหาร 16 กันยายน 2500...การรัฐประหารครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของโครงสร้างอำนาจทางการเมืองที่สำคัญระหว่างสหรัฐฯ-สถาบันกษัตริย์-กองทัพ หรือ 'อำนาจไตรภาคี' (The Triangle of Power) ซึ่งจะดำรงอยู่ในการเมืองไทยอย่างยาวนานกว่า 20 ปีต่อมา ท่ามกลางกระแสสงครามเย็นที่ขึ้นสูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ขณะที่ธงชัย วินิจจะกูล นักประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน กล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกันว่า พระมหากษัตริย์สมัยใหม่แบบใหม่เริ่มต้นมากับยุคเผด็จการทหารขนานแท้ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยหลัง 2490 เติบโตเข้มแข็งขึ้นภายใต้เผด็จการทหารยุคพัฒนา และบรรลุจุดหมายโดยพื้นฐานเมื่อโค่นเผด็จการทหารลงในปี 2516 ใช้เวลาเสริมสร้างความมั่นคงในเวลา 15 ปีต่อมา จนสถาปนาพระมหากษัตริย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่รักของมหาชนอยู่ข้างบนการเมืองได้สำเร็จ "นี่เป็นมรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ปรับตัวกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้งในยุคสมัยของเรา" ธงชัยเขียนไว้ในบทความชิ้นหนึ่ง ก่อนสงครามคอมมิวนิสต์จะจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายซ้าย และรัฐออกนโยบาย 66/2523 ที่อนุญาตให้ผู้หลงผิดกลับมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ในปี 2519 คณะรัฐประหารได้ปรับแก้กฎหมายมาตรา 112 โดยเพิ่มโทษจำคุกจาก 'ไม่เกิน 7 ปี' เป็น '3-15 ปี' และใช้มาจนถึงปัจจุบัน
"บทลงโทษในกฎหมายปัจจุบันภายใต้ระบอบประชาธิปไตยกลับมีความรุนแรงมากกว่ากฎหมายในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของรัชกาลที่ 5 ...กฎหมายหมิ่น 'พระบรมเดชานุภาพ' แท้ๆ ในยุคนั้น ยังมีโทษ (3 ปี) ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของโทษแบบเดียวกันในยุคสมัยใหม่ ภายใต้ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" จรัญ โฆษณานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงเคยกล่าวไว้ในการอภิปรายเมื่อปี 2552 จรัญยังกล่าวถึง 'ความเงียบ' สองประเภทที่เกี่ยวกับมาตรา 112 ความเงียบอย่างแรก มาจากการเห็นดีเห็นงามกับกฎหมายนี้เนื่องจากอยู่ภายใต้มายาคติดว่าด้วย 'ความเป็นไทย' 'ความมั่นคงแห่งรัฐ' จนถือว่ากฎหมายนี้เป็นข้อยกเว้นหรืออยู่เหนือสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในการแสดงออกไม่ว่ารูปแบบใดๆ ความเงียบอย่างที่สอง มาจาก 'ความกลัว' กลัวว่าจะไม่เป็น 'คนไทย' หรือกลัวถูกต่อต้านทางสังคม (social sanction) "สภาพที่เป็นจริง กฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ที่เป็นอยู่ได้ขานรับ ยืนยันต่อวาทกรรมความเป็นไทยที่ว่าอย่างแข็งขันยิ่ง โดยอาศัยโทษที่รุนแรง การเปิดกว้างต่อการกล่าวหาความผิดจากบุคคลทั่วไป รวมทั้งการใช้การตีความในทางปฏิบัติที่แข็งกร้าว ปรวนแปร ไม่แน่นอน และไม่ยอมรับต่อบทพิสูจน์ ข้อยกเว้นความผิดหรือโทษใดๆ ท่ามกลางการครอบงำของการเมืองแบบราชาชาตินิยมหรือการเมืองใน 'ระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข'...อิทธิพลของวาทกรรมความเป็นไทยกระแสหลัก แนวคิดทศพิธราชธรรมที่ไร้การวิพากษ์ ความคิดความเชื่อแบบสมมติเทพ บวกกับการอ้างอาศัยการตีความมาตรา 8 (พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้) ของรัฐธรรมนูญอย่างไม่ถูกต้อง ล้วนนำไปสู่ความเชื่อแบบไทยๆ ที่ว่า พระมหากษัตริย์ไม่สามารถกระทำผิดได้ อยู่เหนือเกล้า เหนือการละเมิด หรือเหนือการติชมใดๆ และท้ายที่สุดคือ อยู่เหนือการพิสูจน์ความผิดพลาดใดๆ ของการกระทำจนทำให้ไม่อาจมีสิ่งที่เป็นบทพิสูจน์เกี่ยวกับข้อยกเว้นความผิดและโทษใน ม.112 ได้" จรัญระบุ เมื่อพูดถึงบริบทการเมืองที่หดแคบเข้ามาในช่วงทศวรรษนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าสถาบันกษัตริย์ถูกนำมากล่าวอ้างในการต่อสู้ทางการเมืองมากมาย โดยเฉพาะในกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) หรือแม้กระทั่งการทำรัฐประหารในปี 2549 โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ขณะที่ข้อหา 'ความไม่จงรักภักดี' 'การล้มเจ้า' ก็ดังกระหึ่มท่ามกลางความขัดแย้งสีเสื้อ จึงไม่แปลกที่จะมีปรากฏการณ์ของการวิพากษ์วิจารณ์ปฏิบัติการทางการเมืองของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวโยงไปถึงสถาบันกษัตริย์ด้วย นักวิชาการด้านนิติศาสตร์หลายคนยกให้พระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่มีต่อตุลาการในเดือนเมษายน 2549 (หลังมีกระแสขอนายกฯ พระราชทานตามมาตรา 7) เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการที่ศาลทั้งหลายเข้ามามีบทบาทสร้างความเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ ในทางการเมือง และทำให้ศาลกลายเป็น 'ผู้เล่น' และเป็น 'เป้าแห่งการวิพากษ์วิจารณ์' ในสงครามความขัดแย้งนั้นด้วยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ในปี 2560 คำให้สัมภาษณ์ของจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ให้กับบีบีซีไทย ยิ่งตอกย้ำถึงเงื่อนปมดังกล่าวที่ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กระจายไปทุกสถาบันทางการเมืองในสังคม "ในครั้งนั้นหลักการใหม่มันเกิดขึ้น เมื่อฝ่ายบริหารไม่มี ฝ่ายนิติบัญญัติแท้จริงยังไม่มี วุฒิสภาก็ทำหน้าที่อะไรไม่ได้ในเรื่องนี้ และเกิดปัญหาที่ไปรบเร้าให้พระองค์ท่านต้องเข้ามา ถ้าพระองค์ท่านทำตามคำขอก็จะกลายเป็นว่า เข้ามาแทรกแซงก้าวก่ายทางการเมือง ก็ผิดหลัก นี่ล่ะพระอัจฉริยภาพที่ทรงชี้ว่า ยังมีช่องทางอยู่นะ ให้ไปคิดกัน ไปหาทางออกกันให้ถูกต้อง ถ้าทำไม่ได้ก็ลาออกไป นี่จึงคล้ายๆ ตกอยู่ในภาวะต้องมาหาทาง" "การแพ้ชนะในศาลรัฐธรรมนูญ หมายถึงเดิมพันที่ใหญ่ของแต่ละฝ่าย ดังนั้นแรงกดดันก็จะเข้ามามากทั้งทางด้านบวกและลบ ฝ่ายที่พอใจก็อยากจะเอาดอกไม้มาให้กำลังใจ ฝ่ายที่ไม่พอใจก็ตำหนิติเตียนวิพากษ์วิจารณ์ สิ่งที่พวกเรายึดถือกันตลอดมาในการทำหน้าที่นี้คือ เราทำหน้าที่ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์" "เราถือกันว่าพระองค์ท่านเป็น 'ตุลาการหมายเลข 1' นี่เป็นคำพูดแบบสื่อความหมายที่เข้าใจในหมู่พวกเรา" จรัญ กล่าว 0000แม้เราจะพยายามมองมาตรา 112 ในระดับโครงสร้างเพียงไหน แต่แรงปะทะย่อมมาที่ผู้รับหน้าเสื่ออย่างตุลาการอย่างยากจะหลีกเลี่ยง ในปี 2556 คณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) และเครือข่ายทำการรวบรวมรายชื่อประชาชนหลายหมื่นรายชื่อเพื่อให้รัฐสภาแก้ไขมาตรานี้ โดยนำเสนอร่างของคณะนิติราษฎร์ที่มีหลักใหญ่ใจความ 3 ประการ คือ ปรับลดโทษลง กำหนดผู้มีอำนาจแจ้งความกล่าวโทษอย่างชัดเจน และมีข้อยกเว้นความผิด เช่น การติชมโดยสุจริตเพื่อประโยชน์ทางวิชาการหรือประโยชน์สาธารณะ แต่ท้ายที่สุดรัฐสภาก็ไม่รับร่างแก้ไขกฎหมายนี้ เนื่องจากมันอยู่ในหมวดความมั่นคง ไม่ใช่หมวดสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งประชาชนมีสิทธิเสนอหรือแก้ไขกฎหมาย ที่น่าสนใจก็คือ ในวาระแห่งการรณรงค์นั้นมีการออกจดหมายเปิดผนึกถึงผู้พิพากษาทั่วประเทศ โดย สถิตย์ ไพเราะ อดีตผู้พิพากษาอาวุโสเป็นตัวแทนอ่านจดหมายในเวทีสาธารณะแห่งหนึ่ง "เมื่อผมเป็นผู้พิพากษา พระราชบัญญัติตุลาการ ศาลยุติธรรม กำหนดไว้ในมาตรา 26 ว่า ผู้พิพากษาต้องเลื่อมใสระบอบประชาธิปไตยโดยบริสุทธิ์ใจ และผมก็ปฏิบัติเรื่อยมา อีกประการหนึ่ง ต้องขออ้างถึงคำกล่าวของมองเตสกิเออที่ว่า 'ไม่มีความเลวร้ายใดที่จะยิ่งไปกว่า ความเลวร้ายที่ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย หรือในนามของกระบวนการยุติธรรม' เพราะฉะนั้นในฐานะที่ยังเป็นสมาชิกสังคมอยู่ แม้จะเกษียณแล้วก็ควรจะปกป้องไม่ให้เกิดความเลวร้ายไปกว่านี้" สถิตย์กล่าว ในจดหมายเปิดผนึกฉบับนั้น วิพากษ์บทบาทตุลาการอย่างรุนแรง โดยแบ่งเป็นส่วนของบทบาท 'การสานต่อรัฐประหาร' ผ่านการตัดสินคดีทางการเมืองที่เป็นข้อกังขา กับการพิจารณาคดีมาตรา 112 (อ่านที่นี่) ซึ่งยกตัวอย่างสำคัญหลายประการ "เท่าที่ปรากฏต่อสาธารณะ ศาลไม่ได้ให้เหตุผลโดยการชั่งน้ำหนักสิทธิในทางรัฐธรรมนูญของจำเลยกับข้อกฎหมายที่ศาลอาจใช้อ้างในการไม่ปล่อยตัวชั่วคราวเลย ในหลายกรณียังปรากฏด้วยว่า ศาลได้ก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติโดยการกำหนด 'เหตุ' แห่งการปฏิเสธการปล่อยชั่วคราวขึ้นเสียเอง เช่น 'คดียังอยู่ระหว่างสืบพยานโจทก์' หรือ 'เป็นความผิดที่สะเทือนจิตใจประชาชน' ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่ากังวลยิ่ง" "หากพิเคราะห์คำพิพากษาในบางคดีโดยละเอียดแล้วจะพบว่า มีลักษณะที่ขัดหรือแย้งกับหลักกฎหมายหลายประการ เช่น คดีนายอำพล ตั้งนพกุล หรืออากง ที่ศาลพิพากษาลงโทษด้วยเหตุผลประการหนึ่งว่า 'แม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบแสดงให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า จำเลยเป็นผู้ส่งข้อความ ฯลฯ แต่ก็เพราะเป็นการยากที่โจทก์จะสามารถสืบด้วยประจักษ์พยาน เนื่องจากผู้ที่กระทำความผิดที่มีลักษณะร้ายแรงดังกล่าว ย่อมจะต้องปกปิดการกระทำของตนมิให้บุคคลอื่นได้ล่วงรู้ ทั้งจะอาศัยโอกาสกระทำเมื่อไม่มีผู้ใดรู้เห็น' ซึ่งขัดกับหลักเรื่องภาระการพิสูจน์ในคดีอาญาที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของโจทก์ในอันที่จะต้องพิสูจน์...การวินิจฉัยในลักษณะที่เป็นปัญหาเช่นนี้ยังเกิดขึ้นกับคดีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ที่ศาลพิพากษาจำคุก 10 ปี ด้วยข้อสันนิษฐานว่า เมื่อจำเลยเป็นบรรณาธิการ จำเลยย่อมต้องรู้ข้อความ รวมทั้งความหมายในบทความที่เขียนขึ้นโดยบุคคลอื่นอันเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ซึ่งข้อสันนิษฐานในลักษณะนี้ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดรองรับ" "ในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 28-29/2555 ที่วินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญนั้น เมื่อพิเคราะห์คำวินิจฉัยโดยตลอดแล้วย่อมเห็นได้ว่า คำวินิจฉัยนี้แสดงให้สาธารณชนเห็นถึงทัศนะที่ยึดถืออุดมการณ์กษัตริย์นิยมเหนืออุดมการณ์นิติรัฐประชาธิปไตยของบรรดาผู้พิพากษาและตุลาการจำนวนหนึ่งอย่างชัดแจ้ง.... นอกจากนี้ศาลยังวินิจฉัยด้วยว่า บทลงโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปีกรณีดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายได้สัดส่วนกับการกระทำอันเป็นความผิด โดยให้เหตุผลว่า สถาบันพระมหากษัตริย์มีลักษณะพิเศษเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของราชอาณาจักร และพรรณนาความแสดงให้เห็นถึงคุณงามความดีของพระมหากษัตริย์ ซึ่งการพรรณนาเช่นนั้นย่อมไม่ใช่เหตุผลทางกฎหมาย…อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญยังนำมาตรา 112 มาปะปนกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มาตรา 8 โดยมิได้พิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการดำรงอยู่ของบทบัญญัติมาตรานี้ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแต่อย่างใด คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงแสดงให้เห็นว่า สิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญย่อมปราศจากค่าบังคับทันทีเมื่อเผชิญหน้ากับกฎเกณฑ์ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์" สถิต ไพเราะ ในครั้งนั้นไม่มีเสียงตอบรับใดจากแวดวงผู้พิพากษา มุมมองของผู้พิพากษาเป็นสิ่งที่น่าสนใจและควรทำความเข้าใจ แต่การพูดคุยประเด็นที่ละเอียดอ่อนกับผู้พิพากษานั้นเป็นเรื่องยากยิ่ง แต่ก็ไม่ใช่สิ่งเป็นไปไม่ได้เสียทีเดียว ผู้พิพากษารุ่นใหม่คนหนึ่งที่ไม่ได้ทำคดีลักษณะนี้มองปรากฏการณ์ของคดี 112 ว่า เป็นเรื่องที่เข้าใจได้เนื่องจากตุลาการย่อมมีบทบาทในการรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ และพวกเขาอาจเห็นว่า หากไม่ลงโทษจริงจัง คดีลักษณะนี้อาจยิ่งมีเพิ่มมากขึ้นอย่างยากจะควบคุม เขากล่าวด้วยว่า ปฏิเสธไม่ได้ว่าลักษณะองค์กรของผู้พิพากษามีการปลูกฝังกันเรื่องการทำงานภายใต้พระปรมาภิไธยฯ อยู่จริง และต่างก็เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เมื่อประกอบเข้ากับแนวคิดหลักของกฎหมายอาญาคือ การป้องปราม จึงปรากฏการลงโทษโดยไม่มีการรอลงอาญาในคดีที่ผู้พิพากษาคิดว่าสำคัญและหากคดีนั้นเข้าองค์ประกอบของกฎหมาย "แม้จะมีผู้พิพากษาส่วนที่มีความคิดในแนวทางเสรีนิยมอยู่บ้าง แต่เมื่ออยู่ในโครงสร้างแบบนี้นานๆ มันก็ส่งผลต่อต่อวิธีคิด วิธีมองโลก" ผู้พิพากษาหนุ่มกล่าว ผู้พิพากษาคนดังกล่าวยังยืนยันถึงความเป็นอิสระของตุลาการในการพิจารณาคดีว่า โดยปกติผู้พิพากษาจะมีอิสระอย่างเต็มที่ในการพิพากษาคดี แต่คดีสำคัญๆ จะเป็นไปตามแนวพิพากษาศาลฎีกา และอาจมีการปรึกษาหารือภายในกับหัวหน้าศาลซึ่งเป็นเรื่องปกติ ผู้พิพากษาจะไม่ปฏิบัติตามแนวฎีกาก็ได้ แต่อาจไม่มีผลอะไรนัก เพราะในที่สุดก็จะถูกพิพากษากลับในชั้นที่สูงกว่า ส่วนการจัดสรรคดีความสู่องค์คณะผู้พิพากษาซึ่งมีอยู่หลายคณะ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาสามารถพิจารณามอบหมายคดีสำคัญๆ ให้กับองค์คณะที่ไว้วางใจได้ด้วย ขณะที่ผู้พิพากษาอาวุโสอีกคนหนึ่งที่ไม่ได้ทำคดีนี้เช่นกัน ไม่เชื่อว่าการพิพากษาคดี 112 เป็นเพราะทัศนคติของผู้พิพากษาที่ถูกปลูกฝังในระบบของตุลาการ และไม่เชื่อว่าการแก้ไขปัญหาใดๆ เกี่ยวกับมาตรา 112 ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จะสามารถแก้ได้จากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือเรียกร้องจากตุลาการ "คุณไม่สามารถเปลี่ยนคนในเวลาแป๊บเดียวได้ ต้องใช้เวลายาวนานของชีวิตทำให้เขาคิดอย่างที่ต้องการ ต้องไปดูตั้งแต่ระบบโรงเรียน มหาวิทยาลัย สื่อในสังคม สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ในระบบของตุลาการมันอาจมีส่วนปลูกฝังวิธีคิดคอนเซอร์เวทีฟบ้าง แต่เพราะมันมีธรรมชาติหรือแนวโน้มของมันอยู่แล้ว แล้วเมื่อผสมกับมายาคติ ลักษณะอำนาจนิยมของตัวเองที่มีอยู่แล้วมันจึงเดินไปได้" "ตุลาการเป็นอะไรที่ปลายน้ำมาก ระบบศาลไม่ว่าประเทศไหนในโลก ล้วนเป็นกลไกที่รับใช้ระบอบการปกครองนั้นๆ ถ้าเป็นศาลในประเทศคอมมิวนิสต์ ศาลก็จะเป็นคอมมิวนิสต์ ศาลในประเทศเผด็จการก็ต้องปกป้องระบอบเผด็จการ ศาลในสมัยฮิตเลอร์ก็ปกป้องระบอบนาซี ศาลในอเมริกาตอนเป็นเสรีนิยมเต็มที่ก็ปกป้องเสรีนิยม แต่ศาลไม่ได้เกิดโดยตัวของมันเอง ศาลไม่ได้เริ่มต้นที่จะทำอะไรทั้งสิ้น มันเป็นแค่ tool ชนิดหนึ่ง" "คดี 112 มองเป็นการเมืองก็ได้ ไม่ใช่การเมืองไม่ได้ คนธรรมดาก็มีกฎหมายหมิ่นประมาทอยู่แล้ว สถาบันก็มีเหมือนกัน มันไม่ได้อยู่ที่ตัวกฎหมาย แต่อยู่ที่การแปลกฎหมายว่า แปลให้กว้างออกไปหรือแคบเข้ามา ในทางกฎหมายอาญาเราต้องแปลกฎหมายในทางแคบ เพราะมันเป็นกฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของคน … ดังนั้น การแก้กฎหมายไม่มีความจำเป็นเลย มันอยู่ที่คุณแปลยังไง บังคับใช้กฎหมายยังไง มันก็กลับมาที่บอกไว้ว่า ศาลเป็นเครื่องมือของระบอบ ถ้าอยากจะเปลี่ยนคุณต้องเปลี่ยนการเมือง และเรียกร้องตัวเอง อย่าฝากความหวังไว้กับคนอื่น" ผู้พิพากษาอาวุโสระบุ มาตรา 112 เป็นเพียงปรากฏการณ์ส่วนยอดต่อคำถามสำคัญเรื่องที่ทางของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย และจะยิ่งเป็นคำถามที่จะก้องดังขึ้นเรื่อยเมื่อมีการเปลี่ยนรัชสมัย พร้อมๆ กับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง จึงขอปิดท้ายด้วยข้อเสนอของธงชัย วินิจจะกูล ที่นำเสนอไว้ตั้งแต่ปี 2554 (ฟ้าเดียวกัน ฉบับเมษายน-มิถุนายน 2554) แต่ยังคงทันสมัย เนื่องจากสถานการณ์ในปี 2560 ดูยังไม่เปลี่ยนไปไกลนัก แต่มันก็อาจซ่อนความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในรัชสมัยใหม่ไว้ด้วยเช่นกัน "พวก 'รักพ่อ' มากจนต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เองกำลังทำให้ปัญหาทับถมหนักหน่วงขึ้นทุกที การทำร้ายด้วยอำนาจรัฐและกฎหมายทำให้ทุกอย่างเลวร้ายลง พวกเขา (กลุ่มรอยัลลิสต์) กำลังสร้างปัญหาแก่อนาคตของสถาบันกษัตริย์" "ทางออกที่สถาพรในระยะยาว คือเลิกพยายามสืบทอดมรดกที่มาจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เลิกพยายามสร้าง (สถาบัน) พระมหากษัตริย์ที่มีบทบาทสถานะและความสัมพันธ์ทางการเมืองแบบศักดิ์สิทธิ์เหนือมนุษย์และอยู่ชั้นบนของระบบการเมือง ก็จะทำให้กษัตริย์ทุกพระองค์ ไม่ว่าจะปรีชาสามารถมากน้อยเพียงใด สามารถเป็นที่เคารพรักของมหาชนได้อย่างสนิทใจ...หยุดใช้มาตรา 112 ปลดปล่อยคนที่เดือดร้อนโดยเร็วที่สุด ขจัดบรรยากาศความกลัวที่ปกครองประเทศไทย ยอมให้มีการอภิปรายถึงบทบาทสถานะทางการเมืองของ (สถาบัน) พระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผย ปล่อยให้กระบวนการประชาธิปไตยดำเนินไปตามทางของมันไม่ว่าจะลุ่มๆ ดอนๆ ขนาดไหนก็ตาม...การประนีประนอมหาทางออกในวันนี้จะส่งผลดีต่อ (สถาบัน) พระมหากษัตริย์ในระยะยาว" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี: วิกฤตโรฮิงญาและการทูต Posted: 16 Nov 2017 12:47 AM PST
ในการประชุมสุดยอดเมื่อตอนต้นสัปดาห์ กลุ่มอาเซียนไม่ใช้คำรุนแรงใดๆในแถลงการณ์ที่พูดถึงปัญหาวิกฤตในรัฐยะไข่ แม้ว่าสมาชิกในกลุ่มจะแสดงความกังวลและอยากให้อาเซียนพิจารณาปัญหานี้อย่างถึงแก่น แต่ท่าทีโดยรวมของกลุ่มนี้ซึ่งพม่าเป็นสมาชิกอยู่ด้วยก็จะจำกัดเอาไว้แค่เพียงปัญหาทางด้านมนุษยธรรม คือส่งความช่วยเหลือช่วยผู้ที่ได้รับผบกระทบเท่านั้น
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประวิตร โรจนพฤกษ์ เข้ารับรางวัลเสรีภาพสื่อนานาชาติที่นิวยอร์กแล้ว Posted: 16 Nov 2017 12:26 AM PST ยันไม่ขอลี้ภัยที่สหรัฐฯ เพราะต้องกลับไทยมาปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชนและปกป้องเสรีภาพสื่อต่อ ขอบคุณผู้ให้รางวัลที่สะท้อนว่าเผด็จการคุกคามสื่อไม่ใช่แค่เรื่องในประเทศ
ประวิตร โรจนพฤกษ์ ในงานรับรางวัลเสรีภาพสื่อนานาชาติ 2017 (ที่มา:twitter/CPJ) 16 พ.ย. 60 สำนักข่าวข่าวสดรายงานว่า ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสประจำข่าวสดภาคภาษาอังกฤษ (ข่าวสดอิงลิช) ได้รับมอบรางวัลเสรีภาพสื่อนานาชาติ 2017 (International Press Freedom Awards 2017) จากคณะกรรมการเพื่อปกป้องนักข่าว หรือซีพีเจ ในนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับนักข่าวชาวเม็กซิโก แคเมอรูน และเยเมนอีกจำนวนทั้งสิ้น 3 คน งานรับรางวัลมีขึ้นเมื่อช่วงสายวันนี้ตามเวลาประเทศไทยหรือคืนวันพุธที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น ประวิตรกล่าวขอบคุณเพื่อนร่วมงานและคณะกรรมการซีพีเจในช่วงรับรางวัล ที่ช่วยแสดงให้เห็นว่าการคุกคามสื่อมวลชนโดยเผด็จการในประเทศต่างๆ เป็นประเด็นสากล
"ผมรู้สึกเป็นเกียรติยิ่งที่ได้รับรางวัลเสรีภาพสื่อนานาชาติจากคณะกรรมการคุ้มครองสื่อที่มหานครนิวยอร์ก ขอบคุณข่าวสด ข่าวสดอิงลิชและเครือมติชนที่ให้การสนับสนุนมาโดยตลอด" ประวิตรกล่าว "หลายคนถามผมว่าจะขอลี้ภัยที่สหรัฐเลยไหม ผมตอบว่าไม่ เพราะผมต้องกลับไปปฎิบัติหน้าที่สื่อ และพยายามปกป้องเสรีภาพสื่อและเสรีภาพการแสดงออกที่ประเทศไทยต่อไป" แถลงการณ์ให้รางวัลของซีพีเจระบุถึงประวิตรว่าเป็น "นักข่าว นักวิพากษ์ และนักรณรงค์ด้านเสรีภาพสื่อ ถูกคุกคามโดยรัฐบาลและถูกคุมขัง 2 ครั้งในช่วงไม่กี่ปีนี้จากการทำข่าวประเด็นการเมืองและสิทธิมนุษยชน" ประวิตรเคยเป็นผู้สื่อข่าวที่สำนักข่าว เดอะ เนชั่นกว่า 20 ปี ประวิตรเคยถูกควบคุมตัวไปแบบไม่สามารถติดต่อกับคนอื่นได้เพื่อ 'ปรับทัศนคติ' โดยรัฐบาลทหารถึง 2 ครั้งหลังแสดงความเห็นที่ถูกตีความว่ากระทบกับรัฐบาล คสช. และกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ในปี 2557 และ 2558 โดยครั้งหลังประวิตรได้ถูกกดดันให้ลาออกจากหนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น ที่ตนสังกัดอยู่ ณ เวลานั้น จนได้ย้ายมาร่วมงานกับข่าวสดอิงลิชและทำงานมาจนถึงปัจจุบัน "เป็นเกียรติยิ่งที่คณะกรรมการคุ้มครองสื่อแห่งมหานครนิวยอร์กมอบรางวัลเสรีภาพสื่อนานาชาติประจำปี 2017 แก่ผม (คณะกรรมการคุ้มครองสื่อเป็นหนึ่งในสององค์กรสำคัญที่ต่อสู้ผลักดันเพื่อเสรีภาพสื่อระดับโลก อีกองค์กรคือกลุ่มนักข่าวไร้พรมแดนแห่งกรุงปารีสที่ผมเคยได้รับการเสนอชิงรางวัลเสรีภาพสื่อรอบสุดท้ายในปี 2015) ขอบคุณทั้งเสียงสนับสนุนชื่นชมและเสียงวิพากษวิจารณ์ด่าเพราะทั้งสองคือเสรีภาพการแสดงออกและไม่ควรมีผู้ใดอยู่เหนือการวิพากษ์วิจารณ์ ขอบคุณข่าวสดอิงลิชและเครือมติชน ขอบคุณบ้านเก่าที่เดอะ เนชั่น" ประวิตรกล่าวกับประชาไทเมื่อครั้งได้รับทราบว่าตนได้รับรางวัลจากซีพีเจเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา "รางวัลนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการขาดเสรีภาพสื่อและเสรีภาพการแสดงออกอย่างแท้จริงในสังคมไทย ไม่ว่าโดยเผด็จการทหาร ม.112 หรือวัฒนธรรมล้าหลังอนุรักษ์นิยมของสื่อและสังคมไทย" "ผมตระหนักว่าคงไม่ได้รางวัลนี้หากไม่มีเผด็จการ คสช. คุกคาม แต่ที่สำคัญคือเราจะปฎิบัติตนอย่างไรเมื่อเจออำนาจอันไร้ความชอบธรรมคุกคามละเมิดสิทธิ เมื่อเผชิญกับเผด็จการ คุณจะยอมก้มหัวสยบหรือยืนหยัดเพื่อเสรีภาพ" ล่าสุด ประวิตรถูกหมายเรียกจากเจ้าหน้าที่กองปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมเทคโนโลยี (ปอท.) ในข้อหายุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116 และนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว วิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด โดยปรากฏรูปภาพที่แสดงท่าทีไม่เหมาะสม และแสดงความคิดที่มีผลกระทบต่อรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาไปแล้วเมื่อวันที่ 18 ส.ค. ที่ผ่านมา หากประวิตรถูกตัดสินว่ามีความผิดก็อาจได้รับโทษจำคุกสูงสุดถึง 14 ปี สำหรับประวัตินักข่าวอีก 3 คนที่ได้รับรางวัลเดียวกันกับประวิตรมีดังต่อไปนี้ อาห์เมด อับบา (ที่มา: CPJ) อาห์เมด อับบา - นักข่าวจาก Radio France Internationale's Hausa service ถูกจำคุกในแคเมอรูนเมื่อปี 2558 จากข้อหาว่ามีความเกี่ยวพันกับการก่อการร้าย ถูกตัดสินจำคุก 10 ปีเมื่อต้นปี 2560 จากการทำข่าวประเด็นลัทธิหัวรุนแรง โบโก ฮาราม แพทริเซีย มาญอร์กา - นักข่าวจากหนังสือพิมพ์ Proceso ในกรุงเม็กซิโก ซิตี ถูกข่มขู่จากการทำข่าวเรื่องความเกี่ยวโยงระหว่างกลุ่มพรรครัฐบาลกับขบวนการอาชญากรรม การบังคับสูญหาย และประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน อัฟราห์ นาสเซอร์ - นักข่าวและคนเขียนบล็อกชาวเยเมนที่ติดตามประเด็นเหตุการณ์ความตึงเครียดในเยเมนจากประเทศสวีเดน นาสเซอร์รายงานเหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน ประเด็นสตรีและเสรีภาพสื่อ โดยได้ลี้ภัยไปที่สวีเดนเนื่องจากถูกขู่ฆ่า หลังจากเขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในช่วงการลุกฮือขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนในปี 2556 ที่มา: ข่าวสด ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สุรชาติ บำรุงสุข: บทบาทที่ไม่หายไปของ กอ.รมน. และการเกิดขึ้นของอุดมการณ์ต่อต้านการเมือง Posted: 15 Nov 2017 11:45 PM PST สุรชาติไล่ไทม์ไลน์บทบาทกองทัพต่อเรื่องความมั่นคงจากยุคก่อนสงครามคอมมิวนิสต์จนถึงหลังสิ้นสุดสงคราม ชี้ปัจจุบันบทบาท กอ.รมน.ไม่เหมือนเดิม แปลงโฉมใหม่ พร้อมกับการเกิดขึ้นของอุดมการณ์ต่อต้านการเมือง ที่เชื่อว่าทหารมีศีลธรรมทางการเมืองเหนือกว่าพลเรือน
เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2560 ที่ห้อง 103 ตึก 1 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดงานรัฐศาสตร์เสวนาในหัวข้อเรื่อง "กิจการพลเรือนของทหาร: จากยุคต้านคอมมิวนิสต์ สู่ยุคต้านประชาธิปไตย" โดยมีวิทยากรคือ สุรชาติ บำรุงสุข และ พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า งานดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมสนใจฟังการเสวนาราว 40 คน โดยมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในชุดนอกเครื่องแบบเข้าร่วมฟังและถ่ายรูปวิทยากรและผู้เข้าร่วมงานเสวนาตลอดงาน
สุรชาติ บำรุงสุข: โจทย์ความมั่นคงหลังสงครามเย็น เมื่อ กอ.รมน. แปลงโฉมใหม่ผมคิดว่าลักษณะการขยายบทบาทของทหาร หรือที่เรียกว่า บทบาทที่ไม่ใช่บทบาททางทหารโดยตรง เกิดขึ้นในหลายประเทศ เพียงแต่ความน่าตกใจของไทยคือ บทบาทที่ทหารขยายงานออกไปสู่ภาคพลเรือน โดยเหตุผลหรือบริบทมันเกิดในยุคสงครามเย็น แต่ปัญหาของไทยคือ สงครามที่จบไม่ได้ทำให้บทบาทตรงนี้จบ จะเห็นความต่างอย่างยิ่งในช่วงหลังๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังรัฐประหารปี 2516 ก็จะเริ่มเห็นบทบาทของ กอ.รมน. ที่ชัด ผมคิดว่าถ้าเราลองแบ่งกรอบเวลา จะได้สักประมาณ 3 ช่วงใหญ่ๆ คือช่วงก่อนสงครามคอมมิวนิสต์ สงครามคอมมิวนิสต์ และหลังสงครามคอมมิวนิสต์ ยุคก่อนสงครามคอมมิวนิสต์: ทหารกับการพัฒนาทหารจะไม่มีบทบาทอย่างที่เราเห็น ทหารมีหน้าที่อยู่กับการรบอย่างตรงไปตรงมาที่สุด ผมคิดว่าถ้าเราอธิบายสักนิดหนึ่ง ต้นเรื่องทั้งหมดมาจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อรัฐประหารปี 2501 จอมพลสฤษดิ์ขึ้นมามีอำนาจโดยตรง ความน่าสนใจตรงนี้คือ เขาเป็นคนอีสาน แล้วในการขึ้นมาเป็นรัฐบาล ทริปแรกที่จอมพลสฤษดิ์เดินทางออกต่างจังหวัดเป็นทริปที่ไปภาคอีสาน ผมล้อเล่นๆ ว่าเป็นทัวร์นกขมิ้น หรือ ครม.สัญจรชุดแรก ซึ่งออกยาวมากถ้าดูเวลา นึกไม่ออกเลยว่ารัฐบาลทิ้งงานกรุงเทพแล้วไปอยู่อีสาน ด้วยความเป็นลูกอีสาน จอมพลสฤษดิ์เห็นอะไร คำตอบคือความยากจนของพี่น้อง ผมคิดว่าโครงการที่รัฐบาลมีต่อพี่น้องในต่างจังหวัดที่เป็นคนยากคนจน จริงๆ แล้วเกิดขึ้นก่อนสมัยนายกฯเปรม ติณสูลานนท์ แต่คนยุคหลังจะเห็นบทบาทตรงนี้สมัยนายกฯ เปรม มากกว่า แต่หากย้อนกลับไปเราจะเห็นบทบาทของจอมพลสฤษดิ์ ที่ให้กำเนิดงานทหารที่เกี่ยวกับการพัฒนา ฉะนั้นเราอาจต้องทำความเข้าใจว่า มันเป็นเรื่องของการพัฒนาจริงๆ เพราะสงครามคอมมิวนิสต์ยังไม่เกิด แม้มี พ.ร.บ.คอมมิวนิสต์จริง แต่ไม่ได้มีนัยสำคัญในการขยายบทบาทของทหารอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน ยุคสงครามคอมมิวนิสต์: ทหารกับการจัดตั้งมวลชน และสงครามตัวแทนจุดเริ่มต้นของสงครามคอมมิวนิสต์คือ วันเสียงปืนแตก 7 สิงหาคม 2508 หลังจากเหตุการณ์นั้นมันเกิดการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาลไทย กับกองกำลังติดอาวุธของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ถ้าพูดแบบละเอียดก็คือ การปะทะที่บ้านนาบัว อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม นี่คือจุดเริ่มต้นของสงครามคอมมิวนิสต์ ทีนี้พอสงครามคอมมิวนิสต์เกิดถ้าเราย้อนกลับไปอ่านประวัติ รัฐบาลไทยก็ต้องคิดว่าจะเอาองค์กรอะไรขึ้นมาเสริมในการทำสงคราม องค์กรนี้ถูกสร้างประมาณเดือนธันวาคม โดยจอมพลประภาส จารุเสถียร เป็นคนผลักดัน องค์กรที่ว่านี้คือ กองบัญชาการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ (บก.ปค.) เกิดขึ้นเพื่อรองรับภารกิจสงคราม ซึ่งไม่ใช่เรื่องทางการทหารทั้งหมด แต่พยายามดึงหน่วยงานที่เป็นหน่วยงานความมั่นคงที่ไม่ใช่เรื่องทางการรบเข้าไปร่วม จนกระทั่งต่อมาก็ยกฐานะเป็น กองอำนวยการป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์ (กอ.ปค.) โดยมีการบริหารงานแบบราชการ ช่วงต้นมันเป็นความหวังของรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ที่เชื่อว่าสงครามคอมมิวนิสต์จะรบสั้น มีความเชื่อว่าหากทุ่มกำลังเต็มที่สงครามที่เป็นอยู่ในเวลานั้นจะไม่ยาว เราคิดว่าเราจะรบในสงครามคอมมิวนิสต์สักประมาณ 6 เดือน แล้วเราจะชนะ นั่นหมายความว่าจากสิงหาคมถ้าเราคิดเพียง 6 เดือน พูดง่ายๆ คือประมาณต้นปี 2509 หรือกลางปี 2509 เราจะชนะ วันนี้ท่านทั้งหลายจำได้ไหมครับว่าสงครามคอมมิวนิสต์สิ้นสุดเมื่อไหร่ ช่วงที่สงครามคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยสิ้นสุดลงคือปี 2525-2526 ในรัฐบาลของพลเอกเปรม การแปลงโฉมของ กอ.รมน. และการก่อเกิดสงครามตัวแทน หลัง 14 ตุลา 16จะเห็นว่าสงครามคอมมิวนิสต์มันยาวกว่าที่ผู้นำทหารคิดไว้เยอะ เนื่องจากสถานการณ์สงครามคอมมิวนิสต์มันพัฒนา แต่มันซ้อนด้วยสถานการณ์การเมืองชุดหนึ่ง นั่นคือเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ฉะนั้น หลัง 14 ตุลา เราเห็นอะไร เราเห็น กอ.ปค. แปลงโฉมเป็น กอ.รมน. คือเปลี่ยนชื่อแต่อยู่ภายใต้โครงสร้างเดิม พูดง่ายๆ คือเปลี่ยนเครื่องทรงอีกแบบหนึ่ง ในสภาวะของการเกิด กอ.รมน. มันซ้อนกัน สงครามคอมมิวนิสต์ที่รัฐไทยเคยรบในชนบท มันกลายเป็นแนวรบหนึ่ง คือรัฐไทยเริ่มรู้สึกว่าพลทหารของคอมมิวนิสต์มันย้ายเข้ามาสู่พื้นที่เมือง ก็คือ ขบวนการนักศึกษา กอ.รมน. ในช่วงหลัง 14 ตุลา จะเห็นบทบาทในส่วนของชนบทกับส่วนที่อยู่ในเมือง พูดง่ายๆ ก็คือบทบาทในการต่อต้านการเคลื่อนไหวของนักศึกษา หรือของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ในช่วงนี้เราก็จะได้เห็นการเกิดขึ้นของกลุ่มนวพล กระทิงแดง และอีกหลายกลุ่ม ผมว่าทั้งหมดที่เราเห็นเป็น proxy หรือสงครามตัวแทนของ กอ.รมน. ที่ไม่ใช้เครื่องมือทางการทหารตรงๆ แต่ใช้เครื่องมือที่เป็นองค์กรพลเรือน องค์กรจัดตั้งของทหาร เข้าทำกิจกรรมบางอย่างเพื่อต่อต้านขบวนการฝ่ายซ้าย ในสภาวะหลัง 14 ตุลา ผมว่ามันมาพีคที่สุดคือ เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เราเห็นคนจำนวนมากเดินทางเข้าสู่ชนบท ในช่วงเวลาใกล้กัน เราเห็นการล้มของโดมิโน 3 ตัวคือ ลาว เวียดนาม กัมพูชา ในปี 2518 โดยตัวเวลาก็คือกลางปี เราเห็นเวียดนาม กัมพูชา ล้มในเดือนเมษายน 2518 แล้วพอธันวาคมในปีเดียวกัน ลาวเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ในสถานการณ์นี้เราเห็นบทบาทของทหารประชาธิปไตย อย่างพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ หรือทหารอีกส่วนหนึ่งที่เราเห็นว่าเป็นนักรบมากกว่านักคิดคือ กลุ่มยังเติร์ก ในสภาวะแบบนั้นสิ่งที่เราเห็นก็คือ มันมีความพยายามที่จะถอดสลักสงครามคอมมิวนิสต์ในไทย พูดง่ายๆ คือ หาทางที่จะยุติเงื่อนไขสงครามคอมมิวนิสต์ไม่ให้ขยายตัวเป็นสงครามทางการเมือง ในปี 2519 มีความรุนแรงในบริบทของปัญหาภายใน แต่พอถึงมกราคม 2521 เวียดนามยึดกัมพูชา พอกัมพูชาแตกไป ต้นปี 2521 โจทย์ใหญ่คราวนี้ มันใหญ่มากสำหรับไทยเพราะว่า ต้องคิดแบบคนยุคผมนะว่าเมื่อกัมพูชาแตก เท่ากับกองทัพกัมพูชาอยู่ใกล้ที่สุดคือ แถวอรัญประเทศ แถวสระแก้ว ระยะทางจากสระแก้วเข้ากรุงเทพบนเงื่อนไขถนนที่ประเทศไทยมี การเคลื่อนกำลังจะใช้เวลา 3 ชั่วโมง แต่เราบอกเราไม่กลัว กองกำลังของเวียดนามที่เคลื่อนจะติดไฟแดงแถวประมาณเซียร์รังสิต คนยุคผมมีโจ๊กเพื่อให้สบายใจ (หัวเราะ) ในสภาวะแบบนี้สิ่งที่อาจารย์พวงทองเปิดประเด็น มันนำไปสู่การจัดตั้งประชาชน การจัดตั้งประชาชนส่วนหนึ่ง ทำในช่วงสงครามคอมมิวนิสต์ แต่อีกส่วนหนึ่งมันไปรองรับบทบาทของการเตรียมรับกับสงครามจริงๆ สิ่งที่เราเห็นทั้งหมด มันมีสถานการณ์ความมั่นคงทั้งภายในและภายนอก ในขณะเดียวกันถ้าสังเกตในปีต่อเนื่องกันประมาณ 2-3 ปี ปี 2519 มีรัฐประหารที่กรุงเทพฯ ปี 2520 มีการยึดอำนาจอีกครั้ง โดยกลุ่มทหารที่ยึดอำนาจเข้ามากับความคิดแบบใหม่ และยุทธศาสตร์ชุดหนึ่ง เมื่อถึงเดือนปี 2522 กัมพูชาแตก พอถึงปี 2523 สิ่งที่ตามมาคือคำสั่งสำนักนายกรัฐนตรีฉบับที่ 66/2523 ถ้าเราเรียงปีตั้งแต่ 2519, 2520, 2522 และ 2523 เหตุการณ์มันเหมือนกับว่าปัญหาความมั่นคงภายนอกและภายในรวมอยู่ในเวลาเดียวกัน และมันท้าทายให้รัฐไทยต้องคิดเพื่อแก้ไขปัญหาตรงนั้น ในบริบทดังกล่าว เราต้องยอมรับว่ารัฐไทยเป็นรัฐทหารที่คุมทิศทางยุทธศาสตร์ และทิศทางด้านความั่นคงโดยทหาร เมื่อเป็นอย่างนี้ สิ่งที่เห็นก็คือ พวกเขามีความเชื่อว่าถ้าต้องทำสงคราม การจัดตั้งประชาชนจะเป็นเงื่อนไขสำคัญ หากเรามองไปยาวอีกนิด หลังจากกัมพูชาแตกในปี 2522 และหลังจากมีการออกประกาศฉบับที่ 66/2523 ต้องยอมรับว่านโยบายพวกนี้สามารถผลักดันบทบาทของทหารที่เรารู้สึกว่าอยู่นอกเหนืองานของทหารจริงๆ แต่สำหรับทหารเขามองว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ในการต่อสู้กับสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปัญหาสงครามภายใน หรือแม้กระทั่งเชื่อว่าหากมีความจำเป็นประเทศเราต้องอาศัยประชาชนเป็นกำลังที่จะรับมือการลุกของกองกำลังจากต่างชาติ หรือกองกำลังจากภายนอก ยุคหลังสงครามคอมมิวนิสต์: กอ.รมน.4.0 VS ภัยคุกคามใหม่แต่พอวันหนึ่ง เมื่อมาถึงเหตุการณ์ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2532 เชื่อว่าวันนี้เราน่าจะลืมเหตุการณ์ตรงนั้นไปแล้ว เหตุการณ์นั้นคือการรวมเยอรมนีตะวันตก และตะวันออกเข้าด้วยกัน ซึ่งนั่นคือความทรงจำที่เราเรียกว่าเป็นการสิ้นสุดของสงครามเย็นหรือสงครามคอมมิวนิสต์ เมื่อสัญญาณของการสิ้นสุดของสงครามเย็นเกิดขึ้น ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่าสงครามในประเทศไทยสิ้นสุดก่อนการสิ้นสุดของสงครามในเวทีโลก เพราะเราสิ้นสุดไปในช่วงปี 2525-2526 แต่ในเวทีโลกเริ่มจบในช่วง 2532 ฉะนั้น หลังจากปี 2532 เราจะเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ในยุโรป ขณะเดียวกัน เราเห็นการถอนตัวของเวียดนามออกจากกัมพูชา ในบริบทนี้การเมืองโลกเปลี่ยน การเมืองในภูมิภาคเปลี่ยน การเมืองในไทยก็เปลี่ยนด้วย ปัญหาใหญ่ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงชุดนี้คือ อะไรคือภัยคุกคามด้านความมั่นคง พูดง่ายๆ คือ โลกหลังสงครามเย็นเมื่อไม่มีคอมมิวนิสต์เป็นภัยคุกคาม อะไรคือปัญหาความมั่นคง และไม่ใช่เรื่องที่ต้องคิดเฉพาะกองทัพไทย แต่เป็นปัญหาทั่วโลก ในสภาวะที่ไม่มีความชัดเจนว่าอะไรเป็นภัยคุกคามหลักของกองทัพ หรือแม้กระทั่งของประเทศ สิ่งที่ตามมามันต้องการคำตอบ คำตอบที่วงวิชาการเรียกว่า Non-Traditional Security คือการแยกความมั่นคงและภัยคุกคามที่ไม่ใช่ความมั่นคงทางทหารออกมาเป็นภัยอีกชุดหนึ่ง เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาผู้ก่อการร้าย ปัญหาความมั่นคงของมนุษย์ หรืออะไรก็ตามที่เราเห็น สิ่งที่น่าสนใจคือ วิทยานิพนธ์ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เขียนเรื่อง "กองทัพไทยกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ Non-Traditional Threats" หากอยากจะเข้าใจความคิดของกองทัพไทย หรือความคิดของผู้นำเรื่องการมองภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ก็ต้องอ่านงานชิ้นนี้ ผมคิดว่างานของพลเอกประยุทธ์เป็นต้นร่างชุดหนึ่งของการมองภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ หากมองในยุคหลังสงครามเย็นสิ่งที่ตามมาในสมัยของรัฐบาลชวน หลีกภัย คือการยกเลิกกฎหมายคอมมิวนิสต์ แต่ก็เป็นเพียงการยกเลิก พ.ร.บ.คอมมิวนิสต์ ไม่ได้ยุติบทบาทของ กอ.รมน. สิ่งที่ตามมากลับไปสู่การขยายบทบาทของ กอ.รมน. หรือถึงที่สุดแล้วมันเป็นการขยายบทบาทของทหารผ่านโครงสร้างเดิม และจุดพลิกผันที่เห็นชัดที่สุดคือ รัฐประหารในปี 2549 ซึ่งเราเห็นการกลับมาของ กอ.รมน. ซึ่งทำหน้าที่อยู่ในยุคหลังสงครามเย็น สิ่งที่น่าสนใจคือ กองทัพนิยามภัยคุกคามอย่างไร ความน่ากังวลคือ เราเริ่มเห็นการปรากฏตัวของความคิดชุดหนึ่งในสังคมไทยด้วย ชุดความคิดชุดนี้อาจจะเรียกได้ว่า อุดมการณ์ต่อต้านการเมือง อุดมการณ์ต่อต้านการเมืองชุดนี้ เป็นชุดความคิดหนึ่งที่เรากำลังเห็นในสังคมไทยหลังรัฐประหารปี 2549 มันแทบจะสวมทับซ้อนได้ชัดระหว่างประเทศเรา กับลาตินอเมริกา คือ การไม่เอาการเมืองแบบการเลือกตั้ง เกลียดกลัวนักการเมือง เมื่อถามว่าใครเป็นผู้บริสุทธิ์ คำตอบที่ได้ก็คือ กองทัพ หรือใช้คำในยุคนั้นของลาตินคือ เชื่อว่าผู้นำกองทัพมีศีลธรรมทางการเมืองสูงกว่าผู้นำพลเรือน ในลาตินอเมริกาในยุคหนึ่งคิดอย่างนั้น และมันเป็นชุดความคิดที่พาทหารเข้าสู่การทำรัฐประหารในทุกภูมิภาคของลาตินอเมริกา สิ่งที่เราเห็นคือ หลังจากสงครามคอมมิวนิสต์จบ รัฐไทยไม่ได้ตัดบทบาทของ กอ.รมน. แต่เรากลับเห็นการแปลงโฉมของ กอ.รมน. และกลายเป็น กอ.รมน. ในยุค 4.0 คือมันเป็นอะไรใหม่อีกแบบหนึ่ง และยังมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสังคมไทยจะเปลี่ยนแปลงไปมากเพียงใด แต่ก็ไม่สามารถปรับบทบาทของทหารลดอย่างที่เราเห็นในหลายๆ ประเทศได้ ซึ่งสุดท้ายก็จะเกิดคำถามว่าจะทำอย่างไร ตอนนี้ผมยังไม่มีคำตอบ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เผยภาพฟันร่วงหมดปากในโลกโซเชียล ใช้รณรงค์ในฟิลิปปินส์อย่าจัดฟันเถื่อน Posted: 15 Nov 2017 11:43 PM PST อุปนายกสมาคมทันตแพทย์จัดฟัน เผยภาพจัดฟันจนฟันร่ ภาพที่มีการแชร์ 16 พ.ย.2560 รายงานข่าวแจ้งว่า ทพญ.เรืองรัตน์ โกมลภิส อุปนายกสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่ ทพญ.เรืองรัตน์ กล่าวอีกว่า ปกติแล้วการจัดฟันที่ทำอย่างมี "การแชร์ภาพแบบนี้เพื่ ทพญ.เรืองรัตน์ กล่าวอีกว่า เท่าที่เคยเจอมาก็มีเคสที่ต้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ขอนแก่น: จำคุก2 ปีครึ่ง ริบของกลาง คดีเตรียมการเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติไม่รอลงอาญา Posted: 15 Nov 2017 11:35 PM PST ศาลจังหวัดพลอ่านคำพิพากษาคดี นายหนูพิณ และนายฉัตรชัย (สงวนนามสกุล) ให้จำคุกในคดี อั้งยี่ 1 ปี ในส่วนการเตรียมการวางเพลิงและ ม.112 นั้น ให้ตัดสินโทษในคดี 112 ซึ่งเป็นบทหนัก 4 ปี รวมทั้งสิ้น 5 ปี แต่เนื่องจากจำเลยรับสารภาพลดเหลือ 2 ปี 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา
คดีนี้เป็นเหตุสืบเนื่องจากกรณีการก่อเหตุเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติในเขต อ.บ้านไผ่ และ อ.ชนบท ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2560 ต่อมาเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2560 ทหารและตำรวจได้เข้าทำการนายฉัตรชัยกับนายหนูพิน และยังได้จับกุมเยาวชนและวัยรุ่นชาย (อายุ 14-20 ปี) 6 คน จากที่บ้านและโรงเรียนใน ต.บ้านแท่น อ.ชนบท จ.ขอนแก่น ทั้งหมดถูกนำตัวไปค่ายศรีพัชรินทร จ.ขอนแก่นและถูกส่งไปควบคุมตัวที่ มทบ.11 กรุงเทพฯ โดยที่ไม่สามารถติดต่อกับญาติหรือทนายความได้เป็นเวลาประมาณ 6 วัน ก่อนถูกส่งกลับมาดำเนินคดีที่ สภ.ชนบท จ.ขอนแก่น จากคำฟ้องระบุว่า เหตุเกิดในระหว่างวันที่ 12-13 พ.ค. 60 จำเลยทั้ง 2 กับพวก ได้เข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลที่มุ่งประสงค์จะวางเพลิงเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ และได้ร่วมกันเตรียมวางเพลิงเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติในเขต อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น อันเป็นการแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ขณะที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานคำบอกเล่าจากการสอบถามนายหนูพินว่า ล่าสุด ศูนย์ทนายฯ รายงานว่า 15 พฤศจิกายน 2560 พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นความผิดหลายกรรม ต่างกรรมต่างวาระกัน ให้ลงโทษทุกกรรม เรียงกระทงความผิด ฐานเป็นอั้งยี่ ลงโทษจำคุก 1 ปี ฐานตระเตรียมวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่นและหมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานหมิ่นฯ พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษหนักที่สุด ให้จำคุก 4 ปี รวมจำคุก 5 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 ปี 6 เดือน พิเคราะห์รายงานการสืบเสาะ คดีมีพฤติการณ์ร้ายแรง ไม่มีเหตุให้รอลงอาญา ให้ริบน้ำมัน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และรถกระบะ ซึ่งเป็นของกลางที่ใช้ในการกระทำความผิด ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ถกโครงการโขง เลย ชี มูล - ประตูระบายน้ำศรีสองรัก กสม.ขอให้ข้อมูลชัดเจนร่วมตัดสินใจ ลดผลกระทบ Posted: 15 Nov 2017 11:26 PM PST กสม. เชิญหน่วยงาน - ผู้ร้องถกผลกระทบโครงการโขง เลย ชี มูล - ประตูระบายน้ำศรีสองรัก จ.เลย - เผยหน่วยงานต้องให้ข้อมูลชัดเจนแก่ประชาชนเพื่อร่วมตัดสินใจ - ลดผลกระทบ 16 พ.ย. 2560 รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุ ตัวแทนประชาชนผู้ร้องเรียนจากชุ ด้านผู้แทนกรมชลประทานชี้แจงว่า โครงการประตูระบายน้ำศรีสองรั รายงานข่าวจาก สนง.กสม. ระบุด้วยว่า การร้องเรียนกรณีโครงการบ ผู้แทนกรมชลประทาน ระบุว่า โครงการทั้งสองไม่มีความซ้ำซ้ คณะอนุกรรมการฯ ตั้งข้อสังเกตว่า ที่ผ่านมาเคยมี เตือนใจ สรุปว่า ภายหลังการประชุมครั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะส่งข้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ยูนิเซฟเปิดแคมเปญ #โอกาสที่เท่าเทียม รณรงค์โอกาสเพื่อเด็กข้ามชาติในไทย Posted: 15 Nov 2017 10:20 PM PST ยูนิเซฟเปิดตัวแคมเปญ #โอกาสที่เท่าเทียม รณรงค์เรื่องโอกาสที่เท่าเที ภาพ เมื่อเร็วๆ นี้ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่ นักแสดงชื่อดัง และ Friend of UNICEF ได้ไปเยี่ยมเด็กๆ ข้ามชาติในชุมชนแห่งหนึ่งไม่ เมื่อวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา รายงานข่าวจาก องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ระบุว่า องค์การยูนิเซฟฯ เปิดตัวแคมเปญ #โอกาสที่เท่าเทียม หรือ #FightUnfair เพื่อสร้างความตระหนักในความไม่ วิดีโอเรื่อง #เด็กก็คือเด็ก ความยาว 5 นาที นำเสนอบทสนทนาจริงของเด็ โธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า "เด็กก็คือเด็ก ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นใครหรื ดาวิน กล่าวต่อไปว่า แม้ประเทศไทยจะมี ยูนิเซฟฯ รายงานด้วยว่า วิดีโอเรื่อง #เด็กก็คือเด็ก เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ #โอกาสที่เท่าเทียม ของยูนิเซฟที่เปิดตัวไปเมื่อต้ ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่ นักแสดงชื่อดัง และ Friend of UNICEF เป็นอีกเสียงหนึ่งที่มาร่ ภาพ เมื่อเร็วๆ นี้ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่ นักแสดงชื่อดัง และ Friend of UNICEF ได้ไปเยี่ยมเด็กๆ ข้ามชาติในชุมชนแห่งหนึ่งไม่ "การลงพื้นที่ครั้งนี้ทำให้ใหม่ รายงานข่าวจากยูนิเซฟฯ ยังระบุด้วยว่า แคมเปญนี้ได้รับการสนับสนุนอย่ ยูนิเซฟเรียกร้องให้สังคมไทยเปิ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น