ประชาไท | Prachatai3.info |
- เผยทหารนำตัว 2 แกนนำสวนยางเข้าค่ายทหาร ก่อนเดินทางมาเรียกร้องนายก
- หมายเหตุประเพทไทย #184 รวยแล้วทำไมต้องใส่แต่เสื้อยืด
- นักวิชาการจุฬาฯ ชี้ รพ.ขาดทุนผู้ป่วยใน ไม่เกี่ยวกับระบบการจ่ายแบบวินิจฉัยโรคร่วม
- คกก.ปฏิรูปประเทศ เชิญนักการเมืองให้ข้อมูลทำแผนปฏิรูปประเทศ
- สหภาพแรงงานชี้ช่วงที่เหลือของปี 'ผู้หญิงนิวซีแลนด์' ต้องทำงานฟรี ๆ
- งานวิจัยระบุ 1 เรื่องร้องทุกข์การแพทย์ สะท้อนความทุกข์ 1,560 ราย
- 'สรรเสริญ' ขอให้สื่อลดเสนอข่าวการปรับ ครม.
- เปิดงานวิจัยอเมริกัน การสนับสนุนสื่ออิสระเล็ก ๆ มีผลดีอย่างไร
- รัฐประหารทำคนจน ภาคประชาชนแนะรัฐหยุดออกนโยบายสงเคราะห์คนจน เพื่อเอื้อนายทุน
เผยทหารนำตัว 2 แกนนำสวนยางเข้าค่ายทหาร ก่อนเดินทางมาเรียกร้องนายก Posted: 19 Nov 2017 04:30 AM PST นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้เผยทหารนำตัว 2 แกนนำเข้าค่ายชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ขณะเตรียมตัวเดินทางไป กทม.เพื่อไปยื่นหนังสือและเสนอแนวทางให้นายกแก้ปัญหาวิกฤตยางพาราไทยอย่างยั่งยืน ระบุก่อนหน้านี้ทหารก็รับทราบแล้วว่าจะเดินทางไป กทม. 19 พ.ย. 2560 มติชนออนไลน์ รายงานว่านายสุนทร รักษ์รงค์ นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ และเลขาธิการสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สคยท.) เปิดเผยว่าได้รับแจ้งว่าขณะนี้เจ้าหน้าที่ทหารได้เชิญตัว 2 แกนนำสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย นายเกษม บุญชนะ และนายวุฒินันท์ แจะซ้าย ไปไว้ในค่ายชุมพรเขตอุดมศักดิ์ อ.เมือง จ.ชุมพร เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา ขณะที่แกนนำทั้ง 2 คนกำลังเตรียมตัวเดินทางไป กทม.เพื่อไปยื่นหนังสือและเสนอแนวทางให้นายกรัฐมนตรีแก้ปัญหาวิกฤตยางพาราไทยอย่างยั่งยืน ทั้งที่สมาคมฯได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทหารรับทราบความเคลื่อนไหวแล้วตั้งแต่วันที่ 10 พ.ย. 2560 ที่ผ่านมา จากการประชุมที่ จ.สุราษฎร์ธานี "ทหารจับเขาทำไม ลุแก่อำนาจมากไปหรือไม่ เพราะแกนนำได้ทำหน้าที่นี้เพื่อเสียสละแทนพี่น้องชาวสวนยาง โดยตั้งใจจะเดินทางไปแจ้งให้นายกรัฐมนตรีช่วยแก้ปัญหาเรื่องปากท้องของชาวสวนยาง ขณะที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ไปร่วมชุมนุม ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ทหารก็รับทราบแล้วว่าจะเดินทางไป กทม. แต่ถ้าพวกคุณทำแบบนี้ถือว่าผิดคำพูด เสียชื่อชายชาติทหาร และขอถามว่าศักดิ์ศรีที่มีอยู่หายไปไหน" นายสุนทร กล่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
หมายเหตุประเพทไทย #184 รวยแล้วทำไมต้องใส่แต่เสื้อยืด Posted: 19 Nov 2017 12:08 AM PST หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้พบกับ คำ ผกา และ เจนวิทย์ เชื้อสาวะถี แนะนำหนังสือ "Uneasy Street: The Anxieties of Affluence" ของ Rachel Sherman นักวิชาการด้านสังคมวิทยาที่สัมภาษณ์ผู้มีอันจะกินในนิวยอร์ก ที่ชนชั้นของพวกเขาก็มีความกังวล ท่ามกลางความเหลื่อมล้ำที่เริ่มปรากฏเห็นเด่นชัดในสังคมสหรัฐอเมริกา แถมการขยับชนชั้นฐานะก็ทำไม่ได้ง่ายเหมือนแต่ก่อน อะไรคือความวิตกกังวลของมหาเศรษฐีในสหรัฐอเมริกา ทำให้พวกเขาส่วนหนึ่งเลือกนำเสนอวิถีชีวิตของตัวเองแบบเรียบง่ายใส่เสื้อยืดเพื่อให้คนทั้งโลกชื่นชม ติดตามได้ในรายงานหมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่ เฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/maihetpraphetthai ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นักวิชาการจุฬาฯ ชี้ รพ.ขาดทุนผู้ป่วยใน ไม่เกี่ยวกับระบบการจ่ายแบบวินิจฉัยโรคร่วม Posted: 18 Nov 2017 10:49 PM PST อาจารย์คณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ ยันโรงพยาบาลขาดทุนผู้ป่วยในไม่เกี่ยวกับระบบการจ่ายแบบวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) ชี้มี 4 ปัจจัยหลักต้องดูว่าขาดทุนเพราะอะไรแล้วไปแก้ตรงนั้น เช่นเดียวกับเงื่อนไขการจ่ายเงินของ สปสช.ก็เป็นเรื่องของหน่วยงานรัฐจ่ายเงินระหว่างกัน ไม่ใช่จ่ายแบบเอกชนจ่ายหนี้กัน 19 พ.ย. 2560 รศ.ดร.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ระบบการจ่ายแบบวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้โรงพยาบาลขาดทุนในส่วนของผู้ป่วยในว่า ต้องเข้าใจหลักการก่อนว่าการจ่ายตาม DRG ถูกพัฒนาขึ้นเพราะการจ่ายเงินตามจริงแบบที่ให้โรงพยาบาลเบิกจ่ายไปเรื่อย ๆ ตามที่ให้บริการผู้ป่วย ไม่ได้สร้างแรงจูงใจให้โรงพยาบาลสนใจเรื่องประสิทธิภาพหรือการใช้ทรัพยากรอย่างสมเหตุสมผลเท่าที่ควรเพราะใช้ไปเท่าไหร่ก็เบิกได้ จึงมีการคิดวิธีการจ่ายแบบ DRG เพื่อให้กระบวนการจ่ายเงินเป็นปลายปิด เหมือนตั้งราคากลางขึ้นมาโดยพิจารณาจากน้ำหนักการใช้ทรัพยากรเพื่อการรักษาโรคแต่ละโรค ด้วยเหตุนี้ การจ่ายเงินแบบ DRG จึงขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าเฉลี่ยตามกลุ่มโรค ซึ่งถ้าดูเป็นรายกรณีก็จะมีทั้งคนที่รักษาแล้วขาดทุนและคนที่รักษาแล้วได้กำไร แต่โดยเฉลี่ยถ้ารักษาคนไข้ได้มีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรก็จะเกลี่ยๆกันไปได้พอดี ๆ นพ.จิรุตม์ กล่าวต่อไปว่า การกำหนดค่าเฉลี่ยก็กำหนดเป็นสิ่งที่เรียกว่าน้ำหนักสัมพัทธ์ของแต่ละกลุ่มโรค ซึ่งคำนวณมาจากต้นทุนเฉลี่ยของการรักษาคนไข้ตามแต่ละกลุ่มโรค โดยอาศัยฐานข้อมูลจากโรงพยาบาลทั้งประเทศเข้ามาคำนวณค่าเฉลี่ย และไม่ใช่ค่าเฉลี่ยเฉพาะแค่กลุ่มโรคเท่านั้น แต่เป็นค่าเฉลี่ยที่สัมพัทธ์กับค่าเฉลี่ยของการรักษากลุ่มโรคอื่น ๆ ด้วย เพราะฉะนั้นตัวเลขน้ำหนักสัมพัทธ์จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับว่าฐานข้อมูลในปีที่ผ่าน ๆ มาโรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายอะไรที่ส่งเบิกไปบ้าง ถ้าส่งเบิกค่าใช้จ่ายไปน้อย ไม่ครบหรือคิดราคาถูกเกินไปในปีที่ผ่าน ๆ มา ก็จะทำให้ฐานข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณต่ำ รวมทั้งถ้าโรงพยาบาลที่เป็นเจ้าของข้อมูลไม่มีระบบบัญชีที่ดี เก็บตัวเลขไม่ครบ ฐานข้อมูลที่ส่งไปให้หน่วยงานที่คำนวณ DRG ก็จะคำนวณได้ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง "ทีนี้ DRG ที่ผ่านๆ มาก็จะอาศัยฐานข้อมูลและวิธีการคำนวณแบบนี้ โดยทำให้ละเอียดขึ้นเรื่อยๆ สมัยก่อนมีแต่กลุ่มใหญ่ ๆ 400-500 กลุ่ม แต่ตอนนี้ซอยย่อยเป็นหมื่นกลุ่ม พอละเอียดขึ้นก็หวังว่าจะช่วยกระจายตรงนี้ และ DRG แต่ละกลุ่มก็จะมีคะแนนซึ่งได้จากฐานข้อมูลที่โรงพยาบาลเป็นคนส่งเบิกเอง ถ้าโรงพยาบาลส่งข้อมูลไม่ดี ไม่ครบ ตัวเลขน้ำหนัก DRG ก็จะผิดและอาจส่งผลให้โรงพยาบาลขาดทุนได้" นพ.จิรุตม์ กล่าว อย่างไรก็ดี หลักการค่าเฉลี่ยก็ทำให้โรงพยาบาลบางประเภทที่มีเทคโนโลยีสูงหรือต้นทุนการบริหารสูงกว่าโรงพยาบาลโดยเฉลี่ยของประเทศเกิดการขาดทุน เช่น ถูกส่งตัวคนไข้มาให้รักษา ซึ่งการรักษาด้วยยาง่าย ๆ ทำไม่ได้แล้ว ต้องรักษาด้วยยายาก ๆ โรงพยาบาลประเภทนี้พอเจอระบบ DRG ก็จะขาดทุนเพราะค่าเฉลี่ยการรักษาสูงกว่าเสมอ ขณะเดียวกัน การจ่ายในระบบ DRG ยังขึ้นอยู่กับ 2 ประการ 1.คือคะแนนตามกลุ่มโรค กลุ่มโรคไหนคะแนนเท่าไหร่ และ 2.อัตราการจ่ายพื้นฐาน (Base Rate) เช่น ถ้า DRG มีคะแนนเท่ากับ 1 แล้วจะจ่ายด้วยเงินเท่าไหร่ สมมุติ 1 คะแนน DRG จ่าย 10,000 บาท โรคที่มีคะแนน 1.5 ก็จะได้ 15,000 บาท แต่ถ้าในปีนั้นระบบสุขภาพไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ Base Rate ก็อาจลดลงเหลือ 8,000 บาท โรคที่คะแนน 1.5 แทนที่จะได้ 15,000 บาท ก็ได้ 12,000 บาท "เพราะฉะนั้นการจ่ายด้วย DRG จะกำไรหรือขาดทุน นอกจากฐานข้อมูลที่เอามาใช้ในการคำนวณแล้วก็จะขึ้นอยู่กับว่าปีนั้นระบบ เช่น สปสช.หรือประกันสังคม ได้รับงบประมาณมาเท่าไหร่เพื่อเอามากำหนดอัตราฐาน ถ้าได้งบมาเยอะก็สามารถกำหนดอัตราฐานล่วงหน้าได้ว่าปีนี้จะจ่ายเท่าไหร่" นพ.จิรุตม์ กล่าว นพ.จิรุตม์ กล่าวอีกว่า ระบบของ สปสช.จะมีความพิเศษอยู่ประการหนึ่ง คืออัตราฐานจะคำนวณโดยประมาณการจากข้อมูลของปีก่อนหน้า เช่น ปีก่อนดูแล้ว DRG เป็นแบบนี้ น่าจะใช้อัตราฐานประมาณ 8,000 บาท แล้วเอาไปของบจากสำนักงบประมาณ ถ้าได้งบมาเพียงพอก็สามารถประเมินได้ว่าจะจ่ายอัตราฐานที่ 8,000บาท แต่วงเงินงบประมาณถูกล็อคแล้ว สมมุติเช่น คิดว่าผู้ป่วยในจะมีการเบิก 100 คะแนน อัตราฐานคะแนนละ 10,000 บาท ก็จะใช้งบประมาณ 1,000,000 บาท แต่ถ้าปีนั้นมีคนป่วยเยอะกว่าค่าเฉลี่ยที่ประเมินไว้ก็ทำให้จำนวนคะแนนที่มาเบิกไม่ใช่ 100 คะแนนแต่อาจเพิ่มเป็น 200 คะแนน เมื่อเอามาหารกับงบประมาณ 1,000,000 บาท ก็จะเหลือคะแนนละ 5,000 บาท แทนที่จะเป็น 10,000 บาท ซึ่งการคิดแบบนี้เรียกว่า Global Budget คือมีวงเงินรวมไว้ให้ ถ้าเบิกเกินก็จะทำอัตราฐานที่จ่ายต่อ 1 คะแนนได้น้อยลง นพ.จิรุตม์ กล่าวอีกว่าเมื่อเห็นภาพเช่นนี้แล้วจะพบว่าการที่โรงพยาบาลจะขาดทุนหรือกำไรจากระบบ DRG มี 4 ปัจจัย 1.ฐานข้อมูลที่ส่งมาเพื่อใช้คำนวณสอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่ 2.โรงพยาบาลมีเทคโนโลยีและการบริหารจัดการสูงกว่าค่าเฉลี่ยหรือไม่ 3.วงเงินงบประมาณรวมที่ได้ในปีนั้นมากหรือน้อย และ 4.คนไข้ป่วยมากกว่าที่ประเมินไว้หรือไม่ "เพราะฉะนั้นการจะบอกว่า DRG ดีหรือไม่ดีแล้วมาโทษ ก็ต้องดูว่ามันเกี่ยวกับใคร เช่น ถ้าโทษว่าข้อมูลที่เอามาคำนวณไม่ดี ก็ระบบบัญชีโรงพยาบาลนั่นแหละส่งตัวเลขมาไม่ครบแล้วขาดทุน ปัจจัยนี้ไม่เกี่ยวกับ DRG มันอยู่ที่ข้อมูลที่โรงพยาบาลส่งมาเอง หรือถ้าเกิดจากค่าเฉลี่ยต้นทุนการรักษาของโรงพยาบาลสูงกว่าค่าเฉลี่ยโดยทั่วไป ถ้าเป็นเพราะความไม่มีประสิทธิภาพอันนี้โทษระบบไม่ได้ แต่ถ้าเป็นโรงเรียนแพทย์ มีทรัพยากร มีเทคโนโลยีที่แพงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ อันนี้ระบบต้องช่วยชดเชยไม่อย่างนั้นเขาจะขาดทุนเพราะรักษาแต่โรคยากๆ ทำให้มีต้นทุนสูง" นพ.จิรุตม์ กล่าว นอกจากนี้ หากการขาดทุนเกิดจากอัตราฐานกำหนดไว้น้อยก็เป็นเพราะรัฐบาลให้เงินมาน้อย ระบบ DRG ก็เลยจ่ายได้น้อย ไม่เกี่ยวกับตัวระบบ DRG และสุดท้ายถ้ามีคนไข้ป่วยมารับบริการมาก อันนี้ก็ไม่เกี่ยวกับ DRG อีก เพียงแต่โดยระบบการจัดการก็ต้องมีระบบสำรอง เช่น อาจต้องมีเงื่อนไขว่าถ้าคนไข้เยอะเกินกว่าที่ประเมินไว้ จะต้องทำเรื่องของบสำรองจากงบกลางของรัฐบาลเข้ามาชดเชยเพิ่มเติม ซึ่งก็อยู่ที่ระบบการจัดการว่าคิดถึงเรื่องนี้หรือไม่ แต่ไม่ได้เกี่ยวกับตัว DRGโดยตรง นพ.จิรุตม์ กล่าวต่อว่า ในส่วนของเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องเงื่อนไขการจ่ายเงิน การเรียกเก็บข้อมูลรหัสโรค หรือส่งข้อมูลช้าแล้วไม่จ่าย ต้องไม่ลืมว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เอกชนจ่ายหนี้สินกัน สปสช.เป็นหน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาลก็เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นเรื่องของการตกลงกันว่าระหว่างหน่วยงานของรัฐกับหน่วยงานของรัฐจะจ่ายเงินกันอย่างไร "ต้องเข้าใจตรงนี้ก่อน มันเป็นเงื่อนไขการจ่ายระหว่างหน่วยงานของรัฐ ถ้าเขาตกลงกันแบบนี้มันก็จบ หรือแม้แต่เอกชนเองก็ตาม สมมุติพนักงานไม่สบายเอาค่าใช้จ่ายมาเบิกบริษัทก็ต้องมีใบเสร็จ ถ้าไม่มีก็จ่ายไม่ได้ มันเป็นข้อตกลงกัน แล้วถ้าเอาใบเสร็จที่ไม่ถูกระเบียบ เช่น ไม่มีเลขกำกับภาษี บริษัทก็ให้เบิกไม่ได้ หรือในประกันสุขภาพเอกชนก็ทำกันไม่ใช่แค่ สปสช. เช่น บางครั้งส่งใบเสร็จไปเบิก ประกันเอกชนก็บอกว่าอันนี้ไม่ตรงกับโรคไม่จ่ายให้ โรงพยาบาลหรือคนไข้ก็มี 2 ทางคือจะอุทธรณ์หรือร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ผมกำลังบอกว่าหลักการแบบนี้เอกชนก็ทำ มันมีกระบวนการตกลงกันแบบนี้ หรือถ้าส่งเบิกช้าแล้วจะโดนตัดเงินก็ต้องไปดูว่า 1.มันมีเหตุผลอะไร 2.คนส่วนใหญ่เขาทำได้ไหม สมมุติคน 30% ทำไม่ได้ อย่างนี้ค่อยมาดู แต่ถ้า 1% ทำไม่ได้แล้วเอา 1% มาโวยก็คงไม่ถูก แบบนี้ก็ต้องไปดูในรายละเอียด" นพ.จิรุตม์ กล่าว เช่นเดียวกับการวิจารณ์ในประเด็นที่ว่าเงื่อนไขการจ่ายเงินของ DRG ก้าวล่วงมาตรฐานการแพทย์และการรักษา ประเด็นนี้ต้องแยกก่อนว่าหมอจะรักษาคนไข้อย่างไร โรงพยาบาลมีอะไรให้หมอรักษา กับ สปสช.จะจ่ายหรือไม่จ่ายอะไร เป็นคนละเรื่อง ถ้าเอามาปนกันเมื่อไหร่ก็คุยกันไม่จบ "หมอจะใส่ท่อช่วยหายใจก็เป็นหน้าที่ของคุณที่จะใส่ ถ้าไม่ใส่ก็คือไม่ใส่ ขึ้นอยู่กับมาตรฐานวิชาชีพว่าต้องทำหรือไม่ทำ ไม่ใช่บอกว่าพอไม่มีคนจ่ายแล้วไม่ใส่ท่อช่วยหายใจให้ แล้วการจะมีท่อหรือไม่มีท่อให้หมอเอาไปใส่คนไข้ มันก็อยู่ที่โรงพยาบาลจะซื้อหรือไม่ซื้อ ถ้าโรงพยาบาลมีท่อให้ใช้หมอก็ใช้ ถ้าโรงพยาบาลไม่มีเงินก็เลยไม่ซื้อ หมอก็ไม่มีจะใช้ อันนี้ก็อีกเรื่อง ทีนี้โรงพยาบาลอาจจะพูดว่า สปสช.ไม่ยอมให้ค่าท่อก็เลยไม่มีเงินไปซื้อท่อ คำถามที่ตามมาคือเอาเงินก้อนอื่นซื้อได้ไหม" นพ.จิรุตม์ กล่าว นพ.จิรุตม์ กล่าวย้ำว่า ประเด็นที่ สปสช.จะจ่ายหรือไม่จ่ายค่าท่อช่วยหายใจ ต้องเข้าใจก่อนว่าจริงๆ แล้วระบบการจ่ายเงินของ สปสช.เป็นการจ่ายแบบรวมเหมาจ่าย เมื่อเหมาจ่าย สิ่งที่เกิดขึ้นคือในคนไข้บางรายที่มีค่าใช้จ่ายพิเศษสูงกว่าค่าเฉลี่ย ก็จะเกิดปัญหาการขาดทุน จึงมีการสร้างกระบวนการจ่ายเพิ่มให้ว่าถ้ามีแบบนี้ๆ แล้วจะจ่ายเพิ่มให้ เมื่อมีการอนุมัติรายการจ่ายเพิ่มเข้าบ่อยๆ คนที่เกี่ยวข้องก็เข้าใจว่า "การอนุมัติรายการจ่ายเพิ่มแบบนี้คือการอนุมัติสิทธิประโยชน์ ถ้าไม่อนุมัติแบบนี้แปลว่าไม่ใช่สิทธิประโยชน์ หมอรักษาไม่ได้" ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะของเดิมถึงไม่มีรายการนี้ให้เบิก กระบวนการค่าใช้จ่ายก็เหมารวมอยู่แล้วในค่า DRG "เพราะฉะนั้น การที่หมอจะรักษาหรือไม่รักษาตามมาตรฐานแพทยสภา ผมย้ำว่าไม่เกี่ยวกับ สปสช. แต่ถ้าหมอรักษาไปแล้วทำให้โรงพยาบาลขาดทุนแล้ว สปสช.ไม่สนใจ อันนี้เป็นความรับผิดชอบที่ สปสช.ต้องพิจารณา ดังนั้นต้องแยก 2 เรื่องนี้ออกจากกัน ถ้าตัดหัวตัดท้ายมารวมกัน แบบนี้มันตีกันมั่ว แก้ปัญหาไม่ได้" นพ.จิรุตม์ กล่าวทิ้งท้าย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คกก.ปฏิรูปประเทศ เชิญนักการเมืองให้ข้อมูลทำแผนปฏิรูปประเทศ Posted: 18 Nov 2017 10:27 PM PST คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง เชิญนักการเมืองระดับประเทศ "นิกร-อนุทิน-สุวัจน์-อภิสิทธิ์-สุดารัตน์" ให้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นในการจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศ ด้านประธาน กรธ. ระบุชัด ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ไม่เกิดความสับสน เผย กกต. มีสูตรคำนวณอยู่แล้ว เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ที่มาภาพ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ รายงานเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2560 ที่ผ่านมาว่านายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง กล่าวว่าตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ได้กำหนดให้คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมืองมีหน้าที่สำคัญประการหนึ่งในการจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศด้านการเมืองนั้น ในขณะนี้ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมืองกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำร่างแผนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน หน่วยงานของรัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างแผนการปฏิรูปประเทศดังกล่าว โดยในเบื้องต้น คณะกรรมการฯ ได้จัดทำร่างแผนการปฏิรูปประเทศด้านการเมืองร่างแรกเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยได้กำหนดประเด็นในการปฏิรูปไว้ 5 ประเด็นสาคัญ เพื่อให้การปฏิรูปประเทศด้านการเมืองเกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 257 และ 258 ประกอบด้วย ประเด็นการปฏิรูปที่ 1 เรื่อง การเลือกตั้งที่สุจริตและเที่ยงธรรมเพื่อการปฏิรูปประเทศ, ประเด็นการปฏิรูปที่ 2 เรื่อง การสร้างรัฐธรรมาธิปไตย, ประเด็นการปฏิรูปที่ 3 เรื่องการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข, ประเด็นการปฏิรูปที่ 4 เรื่อง กลไกการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธีและการรู้รักสามัคคีของสังคมไทย และประเด็นการปฏิรูปที่ 5 เรื่อง การกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการจัดสรรทรัพยากรที่เป็นธรรม และในระหว่างวันที่ 20 พ.ย. ถึงสิ้นเดือน พ.ย. 2560 คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมืองได้เรียนเชิญนักการเมืองระดับประเทศ ผู้มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทางการเมืองในระดับสูงเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการฯ ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 สานักงานสภาพัฒนาการเมือง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธ.ค. 2550 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร บี) ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อให้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นในการจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง โดยจะได้นำข้อมูลและความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาดำเนินการแก้ไขปรับปรุงร่างแผนการปฏิรูปประเทศด้านการเมืองให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป ทั้งนี้ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมืองได้เชิญบุคคลต่าง ๆ ซึ่งเป็นนักการเมืองระดับประเทศ เพื่อให้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นกับที่ประชุมของคณะกรรมการฯ โดยได้รับการตอบรับทั้งหมดแล้ว ได้แก่ นายนิกร จำนง ในวันจันทร์ที่ 20 พ.ย. 2560 เวลา 13.00 น., นายอนุทิน ชาญวีรกูล ในวันอังคารที่ 21 พ.ย. 2560 เวลา 09.30 น., นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ในวันพุธที่ 22 พ.ย. 2560 เวลา 09.00 น. , นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในวันพุธที่ 22 พ.ย. 2560 เวลา 10.30 น. และคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ในวันอังคารที่ 28 พ.ย. 2560 เวลา 09.00 น. โดยการประชุมทั้งหมดจะเป็นการประชุมที่ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกหรือบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าร่วมฟังการประชุม แต่อนุญาตให้สื่อมวลชนต่าง ๆ เข้าถ่ายภาพและภาพเคลื่อนไหวก่อนเริ่มประชุมได้ ประธาน กรธ. ระบุชัด ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ไม่เกิดความสับสน เผย กกต. มีสูตรคำนวณอยู่แล้ว สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ รายงานเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2560 ว่านายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เปิดเผยก่อนการประชุมกรรมการร่างรัฐธรรมนูญว่า การคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อ ในร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร จะทำให้เกิดความสับสน หรือทำให้รัฐบาลในอนาคตขาดเสถียรภาพตามที่มีการตั้งข้อสังเกต นั้น ว่า ไม่เป็นความจริง เนื่องจากการเลือกตั้งเขตแต่ละเขตก็อยู่ที่ประชาชนในการลงคะแนน โดย ส.ส.บัญชีรายชื่อนั้น เป็นการคำนวณสัดส่วนจาก ส.ส.เขต ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำให้ทุกคะแนนของประชาชนมีอำนาจ อีกทั้งทำให้พรรคการเมืองที่จะส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งต้องพิจารณาเลือกผู้สมัครที่ประชาชนต้องการอย่างแท้จริง เนื่องจากหากเขตการเลือกตั้งมีผู้ลงคะแนน ไม่ประสงค์ออกเสียงเกินครึ่ง ก็จะทำให้การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นโมฆะ และต้องตัดสิทธิ์ผู้สมัครทั้งหมด ทั้งนี้ในส่วนของสูตรการคำนวนคะแนนเพื่อเลือก ส.ส.นั้น ทางเป็นอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเป็นผู้กำหนดรายละเอียดการคำนวณที่ชัดเจน นอกจากนี้ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ยังกล่าวถึงกฎหมายที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองที่ประกาศใช้ไปแล้ว ยังไม่สามารถปฏิบัติได้นั้น เชื่อว่า จะไม่กระทบกับการเลือกตั้ง เพราะ กกต. สามารถจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอยืดขยายเวลาการทำกิจกรรมทางการเมืองได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สหภาพแรงงานชี้ช่วงที่เหลือของปี 'ผู้หญิงนิวซีแลนด์' ต้องทำงานฟรี ๆ Posted: 18 Nov 2017 09:36 PM PST สภาสหภาพแรงงานของนิวซีแลนด์ระบุจากปัญหา 'ช่องว่างรายได้ระหว่างเพศ' ที่ผู้หญิงในนิวซีแลนด์มีรายได้จากการทำงานน้อยกว่าชาย 13% ซึ่งจะเท่ากับว่าจากวันที่ 14 พ.ย.- 1 ม.ค. พวกเธอต้องทำงานฟรี ๆ ให้กับที่ทำงาน 19 พ.ย. 2560 เว็บไซต์ข่าวท้องถิ่นของนิวซีแลนด์ Newshub รายงานเปรียบเทียบว่าช่วงที่เหลือของปีนี้ผู้หญิงนิวซีแลนด์ต้องทำงานฟรี ๆ ให้กับที่ทำงานเนื่องจากปัญหาช่องว่างรายได้ระหว่างเพศ โดยสภาสหภาพแรงงานของนิวซีแลนด์ (CTU) ระบุว่าเมื่อเทียบสัดส่วนแล้ว ผู้หญิงในนิวซีแลนด์มีรายได้จากการทำงานน้อยกว่าชายร้อยละ 13 ซึ่งจะเท่ากับว่าจากวันที่ 14 พ.ย.- 1 ม.ค. พวกเธอต้องทำงานฟรี ๆ ให้กับที่ทำงาน ราเชล แมคอินทอช รองประธานของ CTU กล่าวว่า "ถ้าคุณ(ผู้หญิง)มองออกมาจากหน้าต่างที่ทำงานของคุณในวันนี้ มันถูกต้องที่คุณจะรู้สึกว่าคุณควรจะอยู่ในช่วงวันหยุดแล้ว" สถานการณ์นี่ยิ่งย่ำแย่ไปหากคุณเป็นผู้หญิงชนกลุ่มน้อย โดยผู้หญิงเมารี (Māori) มีช่องว่างระหว่างรายได้เปรียบเทียบกับผู้ชายนิวซีแลนด์ (ทุกชาติพันธ์รวมกัน) ร้อยละ 23 ส่วนผู้หญิงชาวปาสิฟิคา (Pasifika) มีช่องว่างถึงร้อยละ 27.9 เลยทีเดียว จากฐานข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาตินิวซีแลนด์ ด้านจูเลีย แอนน์ เกนเทอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสตรี กล่าวว่า "ผู้หญิงจะทำงานฟรีตั้งแต่วันนี้จนถึงสิ้นปีเนื่องจากช่องว่างด้านค่าจ้างระหว่างเพศ และเราต้องการเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้" แม้จะมีการปรับค่าจ้างตามอายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และตัวแปรอื่น ๆ แต่ก็ยังพบว่ามีช่องว่างทางรายได้ที่ไม่สามารถอธิบายได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสตรีจึงแนะนำให้นายจ้างชาวนิวซีแลนด์มองหาสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้เพื่อแก้ปัญหาช่องว่างนี้ในที่ทำงาน ก่อนหน้านี้ Newshub เคยรายงานว่าเจซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีหญิงคนปัจจุบันของนิวซีแลนด์ เคยกล่าวไว้เมื่อช่วงเดือน ส.ค. 2560 ว่าหากพรรคแรงงานที่เธอเป็นผู้นำได้เป็นรัฐบาล ก็จะมีการแก้ปัญหาค่าจ้างที่ไม่เท่าเทียมระหว่างชายหญิงนี้ทันที "เราต้องการให้แม่ ลูกสาว พี่สาว น้องสาว และหลานสาวของเรามีคุณค่า ไม่ว่าพวกเธอกำลังทำงานอยู่ในตำแหน่งใดก็ตาม" อาร์เดิร์น เคยกล่าวไว้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
งานวิจัยระบุ 1 เรื่องร้องทุกข์การแพทย์ สะท้อนความทุกข์ 1,560 ราย Posted: 18 Nov 2017 09:22 PM PST ผอ.สปสช. เขต 7 ขอนแก่น ชี้งานวิจัยระบุ 1 เรื่องร้องทุกข์ทางการแพทย์ แฝงด้วยความทุกข์ของ 1,560 คน ชี้ต้องแก้ปัญหาเชิงรุก ด้าน รมว.สธ.จ่อยกระดับ 10 โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติฯ เป็นมากกว่าโรงพยาบาล 19 พ.ย. 2560 นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ ผู้อำนวยการ สปสช.เขต 7 ขอนแก่น กล่าวในเวทีเสวนา หัวข้อปัญหาหรือโอกาส : จากข้อมูลสะท้อนกลับสู่การพัฒนาความปลอดภัยบริการ (2 P Safety Goals) ซึ่งอยู่ภายในงานการสัมมนาเครือข่ายคุณภาพและความปลอดภัยในระบบบริการ ประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 6 พ.ย.2560 ตอนหนึ่งว่า ท่ามกลางบาดแผลและความสูญเสียที่เกิดขึ้น สิ่งที่เรามักจะได้ยินและนำมาสู่การพูดคุยเสมอนั่นก็คือแพทย์ผิดหรือแพทย์ไม่ผิด ขณะที่ความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการสาธารณสุขก็มีความแตกต่างกัน เช่น ประชาชนต้องการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ ได้รับสิทธิประโยชน์ที่ดี ผู้ให้บริการก็ต้องการจัดบริการที่ดี และมีประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ขณะที่กองทุนสุขภาพก็มักมีประเด็นเรื่องงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากภาครัฐ คำถามคือในเมื่อมุมมองของทุกฝ่ายแตกต่างกันแล้วอะไรคือความต้องการร่วม ซึ่งแน่นอนว่าทุกคนต้องการคุณภาพ นพ.ปรีดา กล่าวอีกว่า จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการร้องเรียนหรือร้องทุกข์จากการรับบริการทางการแพทย์ พบว่า 1 คนที่มีความทุกข์ หรือไม่มีความสุขจากการรับบริการนั้น หมายถึงยังมีอีก 25 คน ที่ประสบปัญหาเดียวกัน นั่นหมายความว่าเมื่อพบความทุกข์ 1 คน เท่ากับมีจำนวนจริงๆ ถึง 26 คนที่เป็นทุกข์ นอกจากนี้ งานวิจัยยังระบุอีกว่า ในจำนวน 26 คนที่มีความทุกข์ มักจะไปเล่าหรือบอกต่อความทุกข์เหล่านั้นให้คนอื่นรับรู้อีกคนละ 10 คน โดยคน 10 เหล่านั้นก็จะมีประสบการณ์ร่วมที่คล้ายคลึงกัน นั่นหมายความว่าจะมีคนเกิดทุกข์แล้วถึง 260 คน มากไปกว่านั้นก็คือคนทั้ง 260 คนจะไปพูดต่ออีกอย่างน้อยคนละ 5 คน ซึ่งงานวิจัยสรุปว่าที่สุดแล้วการร้องทุกข์เพียง 1 คน จะมีผู้ที่มีความทุกข์ทั้งสิ้น 1,560 คน นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เมื่อหน่วยบริการได้รับการร้องเรียนแล้ว จำเป็นต้องนำเรื่องร้องเรียนเหล่านั้นไปปรับปรุง และทำงานเชิงรุกเพื่อแก้ไขปัญหา นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เห็นด้วยกับข้อสรุปจากการประชุมที่ระบุว่าเราคงอยู่ไม่ได้ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน โดยในระยะเวลาอันใกล้นี้ สธ.กำลังจะรณรงค์ ให้โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนที่ตั้งอยู่ในถิ่นทุรกันดารจำนวน 10 แห่ง เป็นศูนย์ศึกษาเรียนรู้ภายใต้แนวคิด "เป็นมากกว่าโรงพยาบาล" ที่จะต้องเป็นของประชาชน โดยความเห็นของประชาชนที่มาร่วมมือกับเรา เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'สรรเสริญ' ขอให้สื่อลดเสนอข่าวการปรับ ครม. Posted: 18 Nov 2017 08:52 PM PST พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพราะการวิพากษ์วิจารณ์แบบคาดเดา อาจส่งผลเสียต่อผู้อื่น พร้อมยืนยันเร่งรัดการทำงานอย่างฉับไว รวดเร็ว หลังเข้ารับหน้าที่เป็นทางการ แนะสังคมอดใจรอ สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ รายงานเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2560 ที่ผ่านมาว่าพลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามการนำเสนอข่าวการปรับ ครม.ผ่านสื่อต่าง ๆ โดยย้ำว่า เข้าใจดีถึงการทำหน้าที่ของสื่อฯ แต่ไม่อยากให้นำเสนอ หรือวิพากษ์วิจารณ์จนมากเกินไป เพราะการรายงานข่าวและแสดงความคิดเห็นในขณะนี้ ล้วนอยู่บนพื้นฐานของการคาดเดา ซึ่งไม่เกิดประโยชน์และอาจบั่นทอนกำลังใจในการทำงาน รวมทั้งไม่เป็นผลดีต่อทั้งตัวรัฐมนตรีและภาพลักษณ์ของรัฐบาลโดยรวม ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า การเลือกตัวบุคคลมาดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีนั้น พิจารณาด้วยตัวเอง โดยยึดหลักความรู้ความสามารถและความเหมาะสม โดยเฉพาะกับสถานการณ์ในปัจจุบัน จึงขอให้สื่อและพี่น้องประชาชนรอติดตามประกาศอย่างเป็นทางการ ซึ่งเมื่อได้รับทราบและ ครม.ชุดใหม่เข้ารับหน้าที่แล้ว นายกรัฐมนตรี จะเร่งรัดการทำงานด้วยความฉับไว รวดเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของประเทศที่รออยู่อีกมากมาย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เปิดงานวิจัยอเมริกัน การสนับสนุนสื่ออิสระเล็ก ๆ มีผลดีอย่างไร Posted: 18 Nov 2017 08:37 PM PST งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในเว็บวิ 18 พ.ย. 2560 ในช่วงที่สภาคองเกรสของสหรัฐฯ กำลังพูดกันถึงกรณีที่เว็บโซเชี มีการพูดถึงเรื่องการพยายามสู้ งานวิจัยดังกล่าวมีชื่อว่า "สื่อกระตุ้นให้เกิ ทีมนักวิจัยทำการสำรวจสื่อเล็กๆ ที่เป็นกลไกสำคั พวกเขาพบว่าถึงแม้สื่ออิสระแค่ มีการเขียนถึงงานวิจัยนี้ สื่ออิสระเหล่านี้ไม่ได้เป็นสื่ อะไรที่ทำให้สื่อเล็กๆ เหล่านี้สามารถส่งผลต่อการอภิ แต่ผู้คนที่ติดตามสื่อเล็กๆ เหล่านี้ไม่ได้เป็นแค่คนที่ ประการที่สองจากผลการวิจัยตลอด 5 ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่ ผู้อำนาจการบริหารของเดอะมีเดี ประการสุดท้ายคือพวกเขามี ถึงแม้ว่าพื้นที่แบบโซเชียลมี เรียบเรียงจาก Why Science Says You Should Be Reading Small Independent Media, Yes! Magazine, 10-11-2017 How the news media activate public expression and influence national agendas, Sciencemag, 10-11-2017 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รัฐประหารทำคนจน ภาคประชาชนแนะรัฐหยุดออกนโยบายสงเคราะห์คนจน เพื่อเอื้อนายทุน Posted: 18 Nov 2017 08:20 PM PST ภาคประชาสังคมวิพากษ์รัฐบาลอ้างเงินไม่พอ แต่ลดแลกแจกแถมเอื้อนายทุน ทำสูญเงินกว่า 200,000 ล้านบาท แต่ยอดคนจนกลับเพิ่มขึ้น เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2560 เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ จัดเวทียุทธศาสตร์ประชาสังคมขับเคลื่อนสวัสดิการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่โรงแรมบลิสตัน สุวรรณ ปาร์ค วิว สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กล่าวว่า ในขณะที่รัฐบาลกำลังเดินหน้าไปสู่นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้นเทคโนโลยีการผลิต มุ่งการเติบโตทางตัวเลขเศรษฐกิจด้วยมาตรการลดภาษี ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ไปกว่า 200,000 ล้านบาท เพื่อแลกกับการจ้างคน 55,000 คน หรือรัฐยอมเสียรายได้ 5 ล้านบาทเพื่อจ้างคนเพียง 1 คน ซึ่งการลดแลกแจกแถมแบบที่รัฐกำลังทำอยู่นี้ ไม่ทำให้คนส่วนใหญ่อยู่ดีกินดีขึ้น แทนที่จะลดความเหลื่อมล้ำ กลับยิ่งตอกย้ำถ่างความยากจนให้มากขึ้น เพราะรายได้ที่เกิดขึ้นกลับกระจุกตัวกับคนที่มีเงินอยู่แล้วให้รวยยิ่งขึ้น สุรีรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อนำตัวเลขรายได้ที่รัฐสูญเสียไปจากการลดภาษีให้นักลงทุน รวมกับตัวเลขที่รัฐใช้จัดสวัสดิการที่หลากหลาย ซ้ำซ้อนกันไปมา หากนำมาจัดสรรบริหารแบบมืออาชีพ และเป็นธรรม เชื่อได้ว่ารัฐมีเงินพอที่จะนำมาจัดสวัสดิการถ้วนหน้าให้กับประชาชนได้ แต่ทุกวันนี้รัฐมักจะอ้างว่าเงินไม่พอ จึงต้องเลือกจัดสวัสดิการให้เฉพาะคนจนเท่านั้น ในขณะที่สวัสดิการของคนบางกลุ่ม เช่น บำนาญข้าราชการ ซึ่งมีคนเพียง 6 - 7 แสนคน ใช้เงินกว่า 200,000 ล้านบาท เทียบกับงบเบี้ยยังชีพ ที่จ่ายให้คน 8 ล้านคน รัฐกลับจัดงบให้เพียง 64,700 ล้านบาท ด้านระนอง ซุ้นสุวรรณ ตัวแทนเครือข่ายแรงงานนอกระบบ กล่าวว่า การแจกเงินให้คนจน ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจนช่วยเหลือได้เพียงชั่วคราว ต่อให้ลูกจ้างทำงานทุกวันไม่มีวันหยุด คนจนก็ไม่มีเงินพอที่จะใช้จ่าย ซึ่งบัตรคนจนเพียงเข้ามาเติมในส่วนที่ไม่พอได้บ้างเท่านั้น ทั้งยังไม่รวมระบบการจัดการ ที่ยิ่งแบ่งแยกคนจนคนรวยให้ชัดเจนมากขึ้น คือ ขณะที่รัฐมุ่งลดภาษีให้นายทุน ค่าแรงของลูกจ้างเท่าเดิม แต่ค่าครองชีพกลับเพิ่มสูงขึ้น "หากรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารต้องการให้ประชาชนลืมตาอ้าปากได้จริง รัฐต้องเลิกอุ้มคนรวย เลิกการสงเคราะห์ครั้งคราวที่พุ่งเป้าแค่คนบางกลุ่ม แต่ต้องสร้างหลักประกันทางรายได้ที่มั่นคงให้กับประชาชน ทั้งในแบบการจัดสวัสดิการถ้วนหน้า เช่น การมีบำนาญพื้นฐานให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมและเพียงพอต่อการยังชีพ" ตัวแทนเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ให้ความเห็น ชุลีพร ด้วงฉิม ตัวแทนกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ กล่าวว่า ความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพเป็นอีกตัวอย่างที่ชัดเจนของการบริหารงบประมาณที่ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐ โดยทุกวันนี้ประเทศไทยจ่ายค่าสวัสดิการรักษาพยาบาลกว่า 80,000 ล้านบาทให้กับกลุ่มข้าราชการที่มีเพียง 4 - 5 ล้านคน ในขณะที่บัตรทองต้องดูแลคนถึง 49 ล้านคน มีเงินใช้เพียง 140,000 ล้านบาท นอกจากนี้ กลุ่มลูกจ้างที่อยู่ในประกันสังคมเป็นคนเพียงกลุ่มเดียว ที่ต้องร่วมจ่ายเงินสมทบเป็นค่ารักษาพยาบาล หากรัฐบาลนำเงินที่กระจัดกระจายเหล่านี้ มาจัดการร่วมกันใหม่ จะทำให้ประชาชนทุกคน มีโอกาสเข้าถึงบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานเท่าเทียมกัน รวมทั้งมีอำนาจต่อรองในการไปพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ทั้งของรัฐและเอกชน ให้มีคุณภาพมากขึ้น จุติอร รัตนอมรเวช ตัวแทนเครือข่ายสลัมสี่ภาค ให้ความเห็นว่า บัตรคนจนนั้นแยกคนจนออกจากคนจน เพราะมีปัญหาตั้งแต่การขึ้นทะเบียน ที่ไม่สามารถเลือกได้จริงว่าใครจน ใครไม่จน เห็นได้ชัดจากมีคนจำนวนหนึ่งที่มีรายได้ต่ำกว่าปีละ 30,000 บาท แต่กลับไม่สามารถไปขึ้นทะเบียนคนจนได้ เพียงเพราะมีชื่อร่วมเปิดบัญชีของกลุ่ม ทั้งนี้ เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ เรียกร้องให้รัฐบาล 1.หยุดนโยบายอุ้มคนบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่ร่ำรวยอยู่แล้ว และหยุดแยกคนจนออกจากคนเฉียดจน แต่ต้องจัดระบบรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าให้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยลดช่องว่างระหว่างคนจน คนรวย 2.นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ต้องไม่เน้นตัวเลขเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเดียว โดยเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการได้ศึกษาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่รัฐบาลไทยร่วมลงนามกับประเทศสมาชิกอื่นๆ กว่า 170 ประเทศ ว่าต้องขจัดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้ และสร้างสวัสดิการถ้วนหน้าให้ทุกคน เพราะประเทศไทยจะไม่มีทางพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ถ้าไม่แก้ไขปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำ อย่างไรก็ดี เครือข่ายประชาชนฯ จะจัดทำรายงานของภาคประชาสังคมคู่ขนานไปกับรายงานการพัฒนาที่ยั่งยืนของภาครัฐเสนอต่อสหประชาชาติ (UN) ต่อไป รวมถึงจะเตรียมตัวสู่การเลือกตั้ง ด้วยการเสนอนโยบายต่อพรรคการเมืองว่า ต้องเห็นหัวคนจน และให้แรงงานที่ไม่มีนายจ้างต้องได้รับการยกระดับค่าแรง จากรายงานของสภาพัฒน์ การสำรวจความยากจน โดยเทียบกับเส้นความยากจน (ที่ 2,920 บาท/คน/เดือน) พบว่าในระหว่างปี 2558-2559 ประเทศไทยมีคนจนเพิ่มขึ้น 963,000 คน (เกือบหนึ่งล้านคน) จากเดิมมีจำนวนคนจน 4.847 ล้านคนในปี 2558 เพิ่มเป็น 5.810 ล้านคน ในปี 2559 (หรือเพิ่มขึ้น 20% จากจำนวนคนจนในปี 2558) ในจำนวนคนจนที่เพิ่มขึ้นเกือบหนึ่งล้านคน แยกเป็น คนจนในเมืองเพิ่มขึ้น 436,000 คน (หรือเพิ่มขึ้นถึง 24% ของจำนวนคนจนในเมืองในปี 2558) และคนจนในชนบทเพิ่มขึ้น 527,000 คน (หรือเพิ่มขึ้น 17% ของจำนวนคนจนในชนบทปี 2558) ถ้ามองในแง่สัดส่วนความยากจนพบว่า สัดส่วนของคนจนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจาก 7.21% (หรือมีคนจน 7 คนในประชากร 100 คน) เป็น 8.61%
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น