ประชาไท | Prachatai3.info |
- ความเห็นต่อ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี และแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่
- การเคลื่อนไหวทางสังคม จากมารีญาถึงเทพา
- ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: คิดถึงสุรินทร์..
- สนช.รับหลักการ ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว.
- 'ศรีสุวรรณ' ร้อง กสม. - ป.ป.ช. สอบรัฐสลายกลุ่มค้านโรงไฟฟ้าเทพา ละเมิดสิทธิฯ - ขัดรัฐธรรมนูญ
- Insects in the Backyard ฉายครั้งแรกหลังโดนแบน 7 ปี เปิดวงคุยความหลากหลายทางเพศไปถึงไหนแล้ว
- อาเซียนไม่ใช่ของเรา#2: อธิปไตย กติกาภูมิภาคกับสิทธิมนุษยชนในฐานะเสือกระดาษหลับ
- ปรี๊ดดด!: 4 ขวบ กปปส. 6 เรื่องปฏิรูปก่อนเลือกตั้งถึงไหนแล้ว
- รายงานวงวิพากษ์หยุดขบวนการล้มบอลไทย - เครือข่ายฯหยุดพนัน จ่อพบ รมต.คนใหม่ชงหาโมเดล
- พบเฟสบุ๊คให้ผู้ใช้อัพโหลด 'รูปตัวเอง' เพื่อยืนยันตัวตน อ้างป้องกัน 'บ็อต'
- ทนายเผย ‘สื่ออิสระ’ ถูกจับคดีเดียวกับชาวบ้าน จ.เลย ที่ยกฟ้องไปแล้ว แต่เพิ่งหาตัวเจอ
- ป.ป.ช.ประเมินคุณธรรม ความโปร่งใส ปี 60 สปสช. ได้ 92.77 คะแนน
- อำลา 'สุรินทร์ พิศสุวรรณ' อดีตเลขาธิการอาเซียน (2492-2560)
- สหภาพยุโรป เสนอแผนระยะ 2 ปี หวังลดความเหลื่อมล้ำค่าจ้างชาย-หญิง
- 'ต้านคอร์รัปชัน' วิพากษ์กฎหมายใหม่ ป.ป.ช. ปมเปิดเผยข้อมูลบัญชีทรัพย์สิน
ความเห็นต่อ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี และแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ Posted: 30 Nov 2017 09:32 AM PST
ก. ประเด็นพิจารณา1. มาตรา 16 วรรคสอง ของพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 หรือ 'กฎหมายแร่ 2560' กำหนดให้ต้องมีฐานข้อมูล 5 ด้าน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ตามมาตรา 12 (1) ดังนี้ (1) พื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำเหมืองของประเทศ คำถาม '(ร่าง) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี และแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ พ.ศ. 2560 - 2564' ที่ คนร. กำลังดำเนินการจัดทำอยู่ในขณะนี้ มีฐานข้อมูล 5 ด้านดังกล่าวครบถ้วนหรือไม่ อย่างไร ?
(3) การจำแนกเขตพื้นที่ศักยภาพแร่ (4) พื้นที่หรือชนิดแร่ที่สมควรสงวนหวงห้ามหรืออนุรักษ์ไว้ (5) พื้นที่ที่มีแหล่งแร่อุดมสมบูรณ์และมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงที่จะกำหนดให้เป็นเขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมือง (คำที่ขีดเส้นใต้น่าจะมีความหมายตรงกับ Mining zone) คำถาม หนึ่ง_มีหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข หรือกำหนดนิยามในการจำแนกแยกแยะความหมายที่แตกต่างกันระหว่างข้อ (4) กับข้อ (5) ไว้อย่างไร ? สอง_มีหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข หรือกำหนดนิยามในการจำแนกแยกแยะความหมายของ 'แหล่งแร่อุดมสมบูรณ์' และ 'แหล่งแร่มูลค่าทางเศรษฐกิจสูง' ไว้อย่างไร ? สาม_'(ร่าง) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี และแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ พ.ศ. 2560 - 2564' มีการจำแนกแยกแยะรายละเอียดตาม 5 ข้อนี้หรือไม่ อย่างไร ?
คำถาม 'เขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมือง' ใน '(ร่าง) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี และแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ พ.ศ. 2560 - 2564' ทับซ้อนพื้นที่ตามมาตรา 17 วรรคสี่ มากน้อยแค่ไหน หรือไม่ อย่างไร ? | |
การเคลื่อนไหวทางสังคม จากมารีญาถึงเทพา Posted: 30 Nov 2017 09:08 AM PST
ข้าพเจ้าคิดว่า สังคมในปัจจุบันมีความหลากหลายไปไกลมาก หรือมีความเป็นพหุวัฒนธรรมจนกระทั่งไม่อาจระบุว่าอะไรที่สำคัญที่สุดสำหรับทุกคน อะไรสำคัญสำหรับใครมากกว่า และใครที่ว่านี้ ก็ไม่ได้แยกจากกัน สิทธิมนุษยชน ไม่ได้แยกออกจากประเด็นสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม การเมืองเรื่องเพศ มันคงไม่มีประเด็นเดี่ยวๆ เต็มร้อยหรอก แต่มันเกาะเกี่ยวกันไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในช่วงสองสามวันนี้ คือ การเคลื่อนไหวต่อต้านถ่านหินเทพา และเมื่อโฆษกของรัฐบาลออกมาพูดจาพาดพิงแกนนำเคลื่อนไหวท่านหนึ่งในเชิงชู้สาวเสียหาย จนเป็นเหตุทำให้ภรรยาของแกนนำผู้นี้ได้ลุกขึ้นมาปกป้องเกียรติของสามีและครอบครัวตัวเอง ประเด็นเล็กๆ จากถ้อยคำเล็กๆ น้อยๆ นี้ได้ขยายความไม่พอใจไปในวงกว้าง ราวกับน้ำผึ้งหยดเดียว เพราะไม่ใช่แค่ความอยุติธรรมในภาคทางการเมืองภาคสาธารณะ แต่มันมีมิติวัฒนธรรมศาสนาที่ภาครัฐไม่เข้าใจร่วมอยู่ด้วย เรื่องเล็กๆ ในสายตาตัวแทนของรัฐเป็นเรื่องใหญ่ใจกลางของสังคมมุสลิม สำหรับคนสนใจการเมืองเรื่องเพศ การเคลื่อนไหวนี้น่าสนใจ บทบาทภรรยาในการต่อสู้เป็นเฟมินิสต์ได้ไหม ผู้หญิงมุสลิมส่วนใหญ่ถูกสั่งสอนและมีค่านิยมของการเป็นภรรยาและแม่ที่ดี ครอบครัวเป็นคุณค่าใหญ่ของสังคมนี้ เฟมินิสต์กระแสหลักไม่ได้ลดทอนคุณค่าของการเป็นภรรยาและแม่ เพียงแต่ไม่ได้จำกัดบทบาทหรือความสำคัญของผู้หญิงไว้ในเพียงพื้นที่เหล่านี้ –ผู้หญิงเป็นอะไรก็ได้ที่อยากเป็น มีงานที่เฟมินิสต์พยายามจะชี้ให้เห็นความสำคัญของแรงงานในบ้านอยู่ด้วย สิ่งที่นักวิชาการเหล่านี้เรียกร้องคือความเท่าเทียมและมองเห็นคุณค่าซึ่งกันและกันต่างหาก อย่างไรก็ดี เฟมินิสต์มีหลายสำนักคิด สำนักแห่งการรื้อถอนย่อมพยายามรื้อมายาคติของความดีงามถูกผิด และกรงขังสังคมออกจากผู้คนเสมอ มนุษย์ไม่เคยมีเสรีภาพ สำหรับนักคิดสำนักหลังโครงสร้างนิยม ความคิด ความเชื่อ ความปรารถนาของเราล้วนแล้วถูกกำหนด กำกับ ตามบรรทัดฐาน อุดมคติ และความสัมพันธ์ทางอำนาจในสังคม มนุษย์ผู้หญิงและผู้ชาย มีศาสนาหรือไม่มีศาสนา ไม่มีใครตาสว่าง รู้แจ้ง ปลอดการครอบงำภายใต้โครงสร้างไปได้ แต่ในบางโครงสร้างได้ผลิตชุดอำนาจที่ไม่เท่ากัน มีมนุษย์บางกลุ่มที่โอกาสในชีวิตและคุณค่าของเขาหรือเธอถูกริดลอน และมีมนุษย์บางกลุ่มที่มีอภิสิทธิ์เหนือกลุ่มอื่น การเคลื่อนไหวของผู้หญิงมุสลิม ขยับบทบาทจากข้างหลังมาเป็นข้างหน้ามักจะเป็นในภาวะวิกฤติที่ผู้ชาย ผู้นำทำหน้าที่ไม่ได้ เช่น ถูกอุ้มหาย ตาย สาบสูญหรือถูกนำไปเรือนรับรอง พักผ่อนนอกบ้านแทน ผู้หญิงมุสลิมบทบาทนี้คนสำคัญคนแรกๆ ที่เราเห็นกันคือ คุณอังคณา นีละไพจิตร ตามมาด้วยรอมละห์ แซแยะ ที่ขับเคลื่อนเรื่องสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ ไม่นับผู้หญิงอีกหลายๆ คนที่ได้เคลื่อนตัวเองสู่การทำงานภาคประชาสังคม อัญชนา หีมมิหน๊ะ สตรีโสดที่ได้ชื่อว่าเป็นสตรีเหล็กกับประเด็นเรียกร้องความเป็นธรรมและลงพื้นที่ช่วยเหลือชาวบ้านด้วยใจมาตลอด ก็เริ่มการทำงานด้วยผลกระทบจากสถานการณ์ที่ครอบครัวได้รับแม้จะไม่ใช่สามีก็ตาม การเคลื่อนไหวของผู้หญิงเหล่านี้ ชี้ให้เห็นว่า ประเด็น ความเป็นธรรม สิทธิมนุษยชน สตรีนิยม วัฒนธรรมศาสนามันเกาะเกี่ยวกันอยู่ แยกกันไม่พ้น ผู้หญิงเหล่านี้เป็นสตรีนิยมไหมไม่รู้ แต่วงการสตรีนิยมไม่อาจปฏิเสธพวกนาง พอๆ กันกับสิทธิมนุษยชน ย่อมไม่เลือกปฏิบัติต่อ สตรี เพศสภาพหลากหลายอื่น หรือชาติพันธุ์อื่นที่แตกต่างไปจากตนเอง ความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ว่านี้ไปไกลในระดับทิศทางที่ว่า หากมีใครพยายามจะสถาปนาอำนาจคุณค่าของตัวเองเหนือคุณค่าอื่น เช่น อิสลามกับ LGBT ความเป็นไทยปะทะความเป็นมลายู มันจะไม่มีใครยอมใคร เพราะแต่ละกลุ่มคนก็มีชุดคุณค่าหลักๆ ที่ผ่านการผสมแล้ว ประมาณว่ามีแก้วค็อกเทลของตัวเอง การเคลื่อนไหวถ่านหินที่เทพากำลังสลายเส้นแบ่งความเป็นเหลืองแดงในคนใต้ ส่วนหนึ่งคือรัฐทำลายตัวเอง แต่อีกส่วนคือ เงื่อนไขส่วนผสมที่ไปกันได้มากเท่าไหร่ ยิ่งนำพามวลชนให้รวมกันไปได้มากเท่านั้น และภูมิทัศน์ของการเคลื่อนไหวทางสังคมต่างหากที่สำคัญ ทั้งรูปแบบการสื่อสาร เทคโนโลยีที่กระชับระยะใกล้ของความสัมพันธ์ และการผสมผสานกันของสิทธิมนุษยชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เพศ สิ่งเหล่านี้เมื่อผสมรวมกันแล้วเท่ากับ 'การเมือง'.
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: คิดถึงสุรินทร์.. Posted: 30 Nov 2017 08:57 AM PST ก่อนอื่น ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวพิศสุวรรณ กับการจากไปของคุณสุรินทร์อย่างกระทันหัน ผมตื่นมาตอนตี 4 เช้านี้ เพราะนอนไม่หลับ ยังเจ็ทแล็คกับการเดินทาง ก็มาพบกับข่าวร้ายเกี่ยวกับการเสียชีวิตของคุณสุรินทร์ ผมอยากเขียนอะไรบางอย่างสะท้อนความรู้สึกผมต่อคุณสุรินทร์ครับ ผมได้รู้จักคุณสุรินทร์เป็นครั้งแรกในฐานะข้าราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ ในปี 1997 คุณสุรินทร์ได้ดำรงตำแหน่ง รมว กต ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ผมเดินทางไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ แต่การรู้จักในวันนั้นมันแค่ผิวเผิน ผมก็แค่ข้าราชการตัวเล็กๆ คนนึง ส่วนคุณสุรินทร์เป็นถึงรัฐมนตรี ไม่มีอะไรลึกซึ้งไปกว่านั้น แต่โดยส่วนตัว ผมชื่มชมคุณสุรินทร์อย่างมาก เพราะเป็นคนเก่งในเรื่องการต่างประเทศจริงๆ หลังจากผมหายไปจากกระทรวงต่างประเทศหลายปี ผมได้กลับมาทำงานอีกครั้งหลังสำเร็จปริญญาเอก และในที่สุด ได้ถูกส่งไปประจำการที่สถานทูตของเราที่สิงคโปร์ นั่นเป็นที่มาที่ทำให้ผมได้รู้จักคุณสุรินทร์อย่างแท้จริง ปี 2007 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่ผมรับราชการที่สถานทูต เป็นปีเดียวกับที่คุณสุรินทร์สนใจที่จะเป็นตัวแทนประเทศไทยในการขึ้นสู่ตำแหน่งเลขาธิการของอาเซียน จึงเป็นการเตรียมตัวขอความเห็นชอบจากอาเซียนประเทศอื่นๆ คุณสุรินทร์เลือกสิงคโปร์เป็นฐานในการเดินทางไปประเทศอาเซียนที่เหลือ จึงทำให้ผมได้ใกล้ชิดคุณสุรินทร์มากขึ้น ในปี 2007 นั้น ผมได้รับการขอจาก กต ให้ช่วยเขียนบทความลง นสพ The Straits Times ของสิงคโปร์ เพื่อเชียร์ให้คุณสุรินทร์ได้ตำแหน่ง ในที่สุดผมก็เขียนบทความดังกล่าว และทูตสิงคโปร์ตอนนั้น (ทูตเฉลิมพล) ได้ขอให้ผมเป็นคนติดตาม/ดูแล คุณสุรินทร์ทุกครั้งที่เดินทางมาสิงคโปร์ ในปีนั้น ผมได้พบคุณสุรินทร์บ่อยครั้ง ความรู้จักแบบธรรมดา พาไปสู่ความรู้จักที่เป็นกันเองมากขึ้น ผมอยู่ในหลายเหตุการณ์ร่วมกับคุณสุรินทร์ ในการไปเป็นผู้จดบันทึกทุกครั้งที่คุณสุรินทร์หารือข้อราชการกับสิงคโปร์ ได้มีโอกาสทานอาหารร่วมกันแบบส่วนตัวหลายครั้ง นำพาให้ผมไปรู้จักกับภริยาของคุณสุรินทร์ คนที่ขอให้ผมเรียกเค้าว่า "พี่ษา" ซึ่งได้ให้ความเป็นกันเองกับผม คุณสุรินทร์เป็นคน bright และ impressive ในการเดินทางไปเกาหลีครั้งนั้นด้วยกันนั้น คุณสุรินทร์ได้รับเชิญให้กล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้านักวิชาการ/นักการเมือง/นักธุรกิจเกาหลีใต้ ในห้องที่เต็มไปด้วยผู้คน ทันทีที่คุณสุรินทร์กล่าวสุนทรพจน์ คุณสุรินทร์สามารถสะกดให้ทุกสายตาหันมาที่เค้าได้ ผมสังเกตผู้ที่เข้าฟังในวันนั้น ทุกคนมองไปที่คุณสุรินทร์ เหมือนถูกสะกดจริงๆ มีบางคนบอกกับผมในงานว่า นี่แหละที่ทำให้คุณสุรินทร์ต่างไปจากคุณสุรเกียรติ คือ ความสามารถพูด public speaking ที่น่าประทับใจกว่ามาก จนบางคนบอกว่า หากคุณสุรินทร์ชิงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติแทนคุณสุรเกียรติ ป่านนี้เราอาจมีตัวแทนของเราที่ยูเอ็น ก็เป็นไปได้ สิงคโปร์รักคุณสุรินทร์ ผมเคยอยู่ในการสนทนาระหว่างคุณสุรินทร์กับลีกวนยู แม้แต่ลีกวนยูก็ยังชื่นชมคุณสุรินทร์ ในที่สุด เมื่อได้ตำแหน่งแล้ว คุณสุรินทร์ก็พยายามเปลี่ยนภาพลักษณ์อาเซียน และเมื่อไซโคลนนาร์กิสโจมตีพม่าในปี 2008 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่คุณสุรินทร์รับตำแหน่งเลขาอาเซียน คุณสุรินทร์เป็นบุคคลสำคัญที่สามารถเกลี้ยกล่อมให้พม่าเปิดประเทศ ยอมรับความช่วยเหลือจากต่างชาติ จากเหตุการณ์นั้น คุณสุรินทร์ติดต่อผมมา (ในปี 2008 ผมได้ออกไปอยู่กับสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาที่สิงคโปร์แล้ว) เพื่อขอให้ผมเดินทางไปพม่าด้วย และเขียนหนังสือเกี่ยวกับบทบาทของอาเซียนในการช่วยเหลือพม่า ซึ่งเป็นอีกโอกาสหนึ่งที่ผมได้ใช้เวลาร่วมกับคุณสุรินทร์ ในที่สุด หนังสือผมก็ออกมา เขียนร่วมกันนักวิชาการพม่า (Moe Thuzar) เรื่อง Myanmar: Life After Nargis (ISEAS, 2009) เป็นประสบการณ์ที่ลืมไม่ลงจริงๆ ครับ ผมได้ใช้เวลาหลายชั่วโมงสัมภาษณ์คุณสุรินทร์ทั้งที่กรุงเทพและย่างกุ้ง นับเป็นผลงานอีกชิ้นที่คุณสุรินทร์ฝากไว้ มรดกตกทอดที่เหลือของคุณสุรินทร์ในระหว่างการเป็น รมว.กระทรวงการต่างประเทศ คือการช่วยผลักดันนโยบาย constructive engagement ในการช่วยพม่าเปิดประเทศ ดังนั้น ผลงานในการช่วยพม่าจากภัยนาร์กิสก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของมรดกตกทอดนั้น… ยังมีอีกหลายโมเม้นท์ที่ผมนึกถึง ใครที่สนิทกับผม ผมก็เคยเล่าเรื่องนี้แล้วบ้าง ในครั้งหนึ่ง เมื่อคุณสุรินทร์บินมาจากปารีส ผมไปรับที่สนามบินชางงี จากนั้นมีเวลาเหลือไม่มากก่อนที่คุณสุรินทร์จะต้องขึ้นพูดอีกครั้ง เมื่อผมไปส่งที่โรงแรม คุณสุรินทร์ขอให้ผมรีดเสื้อให้ เพื่อที่จะใส่ไปในงานดังกล่าว ผมนึกถึงมันก็ขำดี บอกกับตัวเองตอนนั้น แม้เป็นนักการทูต ก็ต้องหัดรีดเสื้อให้เป็นด้วย คุณสุรินทร์ในมุมส่วนตัว เป็นคนมีอัธยาศัยดี โกรธคนยาก รับฟังความเห็นของบุคคลอื่น แน่นอน เหมือนกับคนทั่วไป ก็อาจจะมีด้านลบบ้าง แต่ขอไม่พูดในโอกาสนี้ครับ เพียงแต่อยากจะบอกว่า การเมืองมันก็อาจทำลายจุดยืนของคนบางคน เมื่อการเมืองไทยกลายมาเป็นเรื่อง "สีเสื้อ" ความสัมพันธ์ระหว่างผมกับคุณสุรินทร์ก็จางไป ผมพบกับคุณสุรินทร์ครั้งสุดท้ายคือต้นปีก่อนรัฐประหาร เราเดินสวนกันที่สนามบินชางงี ผมกำลังบินกลับไทย คุณสุรินทร์เอ่ยทักผมเชิงขำๆ "อ้าว คุณปวิน ยังกลับเมืองไทยได้เหรอ" ผมได้แต่ยิ้มตอบกลับ แต่ไม่ได้พูดอะไร ขอให้คุณสุรินทร์ไปสู่สุขคติครับ ผมระลึกถึงเสมอ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สนช.รับหลักการ ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. Posted: 30 Nov 2017 08:27 AM PST สภานิติบัญญัติมีมติรับหลักการ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่ง ส.ว. ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ กรอบเวลาทำงาน 58 วัน และแปรญัตติภายใน 15 วัน ที่มาภาพ เว็บไซต์วิทยุรัฐสภา 30 พ.ย.2560 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พ.ศ. .... ที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เป็นผู้เสนอ ไว้พิจารณา ด้วยคะแนนเห็นด้วย 188 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี งดออกเสียง 5 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา 33 คน กำหนดแปรญัตติภายใน 15 วัน กรอบระยะเวลาดำเนินการ ภายใน 58 วัน และ สนช. ยังมีมติรับหลักการในร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. ด้วยเช่นกัน ด้วยคะแนน 177 ต่อ 1 เสียง พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 27 คน โดยมีกรอบเวลาทำงาน 58 วัน และแปรญัตติภายใน 15 วัน โดยในช่วงชี้แจงของ กรธ. ก่อนลงมตินั้น มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. กล่าวชี้แจงว่า กรธ.ได้พิจารณาร่างกฎหมายลูกดังกล่าว โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั้ง 4 ภาค และการเชิญเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มาร่วมพิจารณาตั้งแต่ต้น เพื่อนำข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับแนวคิดของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มากที่สุด โดยการปรับแก้สาระสำคัญส่วนใหญ่เป็นเรื่องแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเลือกตั้ง อาทิ การใช้สิทธิเลือกตั้ง กำหนดให้ประชาชนมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรมให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม หากผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิโดยไม่มีเหตุอันสมควรจะถูกจำกัดสิทธิ การยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. และสิทธิการสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น เป็นเวลา 2 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง และกำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ต้องแสดงหลักฐานแสดงการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นเวลาติดต่อกัน 3 ปี เว้นแต่เป็นผู้ไม่ได้เสียภาษีเงินได้ให้ทำหนังสือยืนยันการไม่ได้เสียภาษีพร้อมทั้งสาเหตุ ขณะที่การกำหนดหมายเลขผู้สมัคร ส.ส.จะแตกต่างกันไปในแต่ละเขตเลือกตั้ง รวมทั้งกำหนดให้มีการนับคะแนนที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนในช่องทำเครื่องหมาย "ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด" ด้วย เพื่อให้เป็นไปตามกลไกที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญที่ระบุให้คะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทุกคนมีความหมาย ขณะเดียวกันหากในเขตเลือกตั้งใดที่ไม่มีผู้สมัครรายใดได้รับคะแนนเสียงมากกว่าคะแนนเสียงที่ไม่เลือกผู้ใด ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมดในเขตนั้นจะไม่มีสิทธิได้รับเลือกตั้ง และไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นใหม่ในคราวนั้นด้วย นอกจากนี้ กรธ.ยังได้กำหนดให้คณะกรรมการและ กกต. มีอำนาจตรวจสอบการเลือกตั้งในเชิงรุกมากขึ้น โดยมีอำนาจสั่งยับยั้ง หรือยกเลิกการเลือกตั้งและให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้ หากพบว่ามีการดำเนินการใดๆ ที่ทำให้การเลือกตั้งไม่ได้เป็นไปโดยสุจริตหรือเที่ยงธรรม พร้อมทั้งบัญญัติบทกำหนดโทษกรณีกระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้งไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่ระบุว่า ต้องไม่เป็นบุคคลที่เคยถูกลงโทษว่ากระทำการทุจริตต่อการเลือกตั้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นความชัดเจน หากฝ่าฝืนจะถูกตัดสิทธิ สำหรับ ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. นั้น มีชัย กล่าวว่า ร่างกฎหมายนี้ยกร่างตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งหลักการการได้มาซึ่ง ส.ว. ส่วนสำคัญสุด คือ การแบ่งกลุ่มคัดเลือกเป็น ส.ว. และวิธีการคัดเลือก ซึ่ง กรธ.ได้ออกแบบมาให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องการให้ประชาชนทุกอาชีพ ทุกคุณลักษณะทั่วประเทศมีส่วนในการใช้สิทธิทางการเมืองโดยทั่วหน้า จึงแบ่งกลุ่มตามลักษณะต่าง ๆ และมีกลุ่มอื่น ๆ ไว้ ในกรณีที่อาจจะไม่เข้าคุณลักษณะกลุ่มที่กำหนดไว้ ซึ่งแต่ละคนมีสิทธิที่จะเลือกลงสมัครได้หลายที่ หากเกิด เคยศึกษา หรือเคยทำงานในสถานที่นั้น สำหรับวิธีการเลือก ส.ว.นั้น ได้พยายามคิดวิธีการเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงในการฮั้วกันได้ จึงใช้ทั้งวิธีจับสลากแบ่งสาย วิธีเลือกโดยจำกัดจำนวน เลือกไขว้กัน แต่ กรธ.ไม่ขัดข้องหากจะมีการเสนอวิธีอื่นที่ดีกว่านี้ รายงานข่าวยังระบุด้วยว่า สนช. ส่วนใหญ่ ได้ตั้งข้อสังเกตถึงวิธีการได้มาซึ่ง ส.ว.ของ กรธ.ว่าจะสามารถป้องกันการฮั้วหรือทุจริตได้จริงหรือไม่ และยังไม่แน่ใจว่าวิธีการของ กรธ.จะดีกว่าการเลือกตั้งตรงของประชาชนอย่างไร ขณะที่บางส่วนเห็นว่าการแก้ไขในชั้นกรรมาธิการวิสามัญอาจเป็นเรื่องยาก เนื่องจากข้อบัญญัติหลายเรื่องเขียนผูกโยงกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน สมชาย แสวงการ สมาชิก สนช. ตั้งข้อสังเกตถึงวิธีการได้มาซึ่ง ส.ว.จำนวน 200 คนที่มาจากการเลือกกันเองตั้งแต่ระดับอำเภอ จังหวัด และประเทศ ก่อนส่งให้ คสช.คัดเลือกเหลือเพียง 50 คน ว่า อาจเกิดการบล็อกโหวตจากฝ่ายการเมืองที่ยอมเสียเงินจ้างคนของตัวเองเข้าไปตัดตอนตั้งแต่การเลือกระดับอำเภอ และแม้ว่าท้ายที่สุด คสช.จะคัดเลือกให้เหลือ 50 คน แต่ก็เป็น 50 คนใน 200 คนที่ส่งมาจากฝ่ายการเมืองอยู่ดี จึงเหมือนปรากฏการณ์ ยอมเสียเงิน 5,000 ล้านบาท ซื้อประเทศไทยทั้งประเทศ พร้อมยืนยันจะพยายามหาวิธีการแปรญัตติเพื่อป้องกันการบล็อกโหวตให้ได้ มีชัย ยอมรับว่า ปัญหาการบล็อคโหวตยังเป็นข้อกังวลใจ แต่จำเป็นต้องเดินหน้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งวิธีการของ กรธ.จะเป็นตัวพิสูจน์ว่าคนไทยได้พัฒนาไปมากน้อยเพียงใด เพราะถ้าเป็นไปตามข้อสังเกตของนายสมชาย แสดงว่าคนไทยซื้อได้ทั้งประเทศ ดังนั้นไม่ว่าระบบอะไรก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ที่มา : เว็บไซต์วิทยุรัฐสภา และสำนักข่าวไทย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
'ศรีสุวรรณ' ร้อง กสม. - ป.ป.ช. สอบรัฐสลายกลุ่มค้านโรงไฟฟ้าเทพา ละเมิดสิทธิฯ - ขัดรัฐธรรมนูญ Posted: 30 Nov 2017 04:51 AM PST ศรีสุวรรณ ร้องกรรมการสิทธิฯ ป.ป.ช. ตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงกรณีการสลายการชุมนุมและจับกุมกลุ่มแกนนำคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ชี้ละเมิดสิทธิมนุษยชนและขัดต่อรัฐธรรมนูญ ภาพจาก เฟซบุ๊ก สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 30 พ.ย. 2560 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (สนง.กสม.) รายงานว่าที่ สนง.กสม. ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เข้ายื่นเรื่องร้องเรียนต่อ กสม. โดยขอให้ตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณี การสลายการชุมนุมและจับกุมกลุ่มแกนนำคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา โดยมี โสพล จริงจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นตัวแทนรับเรื่องร้องเรียน ศรีสุวรรณ ขอให้ กสม. ตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริง และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีดังกล่าวใน 4 ประเด็นดังนี้ (1) ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกโดยที่ไม่มีลักษณะใดที่ขัดต่อกฎหมาย และได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 (2) การใช้โซ่ตรวนขนาดใหญ่ล่ามข้อมือชาวบ้านผูกโยงในเส้นเดียวกัน ในการนำตัวไปยังศาลจังหวัดสงขลา โดยที่ชาวบ้านยังไม่มีสถานะเป็น "นักโทษ" ตามกฎหมาย ถือเป็นการละเมิดต่อสิทธิหรือเสรีภาพในชีวิตหรือร่างกายและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (3) การตั้งข้อสังเกตของโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีต่อการหายตัวไปของ มุสตาร์ซีดีน วาบา หรือ แบร์มุส แกนนำกลุ่มคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาผ่านรายการ "เดินหน้าประเทศไทย" ว่าอาจเหมือนกรณีที่อำเภอสะบ้าย้อย ที่มีผู้แจ้งว่าหายตัวไป นัยว่าถูกเจ้าหน้าที่จับกุมตัวไป แต่ไม่นานปรากฏว่าไปเที่ยวกับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาที่จังหวัดสตูล ซึ่งถือเป็นการลดทอนความน่าเชื่อถือของนายแบร์มุส และ (4) การออกประกาศ หรือข้อบังคับของผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยห้ามบุคคลใดออกนอกเคหะสถานในเวลาที่กำหนด การห้ามใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ งดเว้นการปฏิบัติอันเกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตพื้นที่อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา เป็นเวลา 1 ปี เป็นการใช้อำนาจที่เกินกว่าเหตุ ละเมิดสิทธิมนุษยชนและขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง รองเลขาธิการ กสม. กล่าวว่า จะนำเรื่องร้องเรียนดังกล่าวไปศึกษาตามข้อกฎหมาย และรับฟังข้อมูลอย่างรอบด้าน เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ไทยรัฐออนไลน์ รายงานด้วยว่า ศรีสุวรรณ ระบุว่าหลังจากนี้ก็จะไปยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. ขอให้ตรวจสอบนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา และ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด กรณีการสลายขบวนเดินเท้าของชาวบ้าน เข้าข่ายดำเนินการไม่ชอบด้วยกฎหมายทุจริตต่อหน้าที่ราชการ โดยเฉพาะกับ พล.อ.ประวิตร การที่ออกมาระบุว่าแกนนำ ซึ่งก็มีเยาวชนด้วยหนึ่งคน เป็นพวกฮาร์ดคอร์ชอบความรุนแรง การพูดลักษณะนี้เท่ากับการให้ท้าย ยุยงส่งเสริมเจ้าหน้าที่ให้ใช้ความรุนแรงกับประชาชน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
Insects in the Backyard ฉายครั้งแรกหลังโดนแบน 7 ปี เปิดวงคุยความหลากหลายทางเพศไปถึงไหนแล้ว Posted: 30 Nov 2017 04:30 AM PST วงคุยชี้ทั้งหนัง Insects in the Backyard และเฟสบุ๊คคือตัวเชื่อมหนึ่งที่ให้คนเข้าใจความหลากหลายทางเพศ ไม่ใช่แค่ LGBT แต่เรื่องเพศมีความหลากหลายไม่สิ้นสุด พบปัญหาคนมักยอมรับถ้าคนอื่นเป็น แต่รับไม่ได้เมื่อคนในครอบครัวเป็น เผยอุปสรรคเมื่อเผยตัวตน ครอบครัวถูกสังคมกดดัน แต่สิ่งสำคัญคือความรักในครอบครัว
วานนี้ (29 พ.ย.2560) ตรงกับวันสิทธิความหลากหลายทางเพศ นิตยสารไบโอสโคป ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ และโรงภาพยนตร์ house RCA จัดฉายภาพยนตร์ Insects in the Backyard "แมลงรักในสวนหลังบ้าน" รอบแรกในเมืองไทย หลังหนังโดนแบนมานาน 7 ปี อันเป็นหนังไทยเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ที่โดนแบนภายใต้ พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติพ.ศ.2551 และต่อสู้จนสุดกระบวนการ ศาลตัดสินให้ฉายได้โดยกำหนดเป็นผู้ชมอายุ 20 ปีขึ้นไป แต่ให้ตัดฉากที่เป็น "หนังเอ็กซ์" ออก
Insects in the Backyard และเฟสบุ๊คคือตัวเชื่อมหนึ่งที่ให้คนเข้าใจความหลากหลายทางเพศธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ กล่าวว่า หนังเรื่อง Insects in the Backyard พูดเรื่องพื้นฐานที่สำคัญที่สุดคือครอบครัว ถ้าครอบครัวไม่เข้าใจสิ่งที่เราเป็น แล้วมันจะก้าวข้ามไปเข้าใจสังคมได้ยังไง |
เว็บไซต์ไอลอว์ระบุว่า คดี Insects in the Backyard วางบรรทัดฐานใหม่ การห้ามฉายภาพยนตร์ คดี Insects in the Backyard เป็นครั้งแรกที่ปัญหาเรื่องการพิจารณาภาพยนตร์ ตามพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2550 ได้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลปกครอง ซึ่งไม่ว่าผลการตัดสินจะออกมาเป็นอย่างไร ก็จะทำให้หน่วยงานรัฐระมัดระวังมากขึ้นในการใช้อำนาจออกคำสั่งห้ามฉายภาพยนตร์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 1. คณะกรรมการฯ ให้เหตุผลละเอียดชัดเจนมากขึ้น การไม่อนุญาตฉายภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard คณะกรรมการฯ ให้เหตุผลเพียงว่ามีเนื้อหา ขัดต่อศีลธรรมอันดี ซึ่งเป็นประเด็นที่ธัญญ์วารินยื่นฟ้องคดี โดยระบุว่าการให้เหตุผลเช่นนี้ไม่เพียงพอที่จะให้เข้าใจได้ ทำให้คำสั่งนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หลังจากการยื่นฟ้องคดีนี้ เห็นได้ว่าเมื่อคณะกรรมการฯ จะสั่งไม่อนุญาตให้ฉายภาพยนตร์อีก ก็จะระบุเหตุผลโดยละเอียดชัดเจนและเข้าใจได้มากขึ้น เช่น กรณีภาพยนตร์เรื่องฟ้าต่ำแผ่นดินสูง คณะกรรมการฯ ระบุถึงฉากที่คิดว่ามีปัญหาถึง 9 ฉากลงรายละเอียดเป็นวินาที และอธิบายเหตุผลประกอบการวินิจฉัยไว้ยาวเกือบ 1 หน้า 2. คณะกรรมการฯ ให้โอกาสเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงและแก้ไขตัดทอนก่อน การไม่อนุญาตฉายภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard คณะกรรมการฯ ไม่ได้เปิดโอกาสให้ ธัญญ์วาริน และผู้สร้างเข้าพูดคุยแสดงเหตุผลก่อนการออกคำสั่ง ซึ่งเป็นประเด็นที่ธัญญ์วารินยื่นฟ้องคดี หลังจากการยื่นฟ้องคดีนี้ เห็นได้ว่าเมื่อคณะกรรมการฯ จะสั่งไม่อนุญาตให้ฉายภาพยนตร์อีก ก็จะเชิญผู้สร้างภาพยนตร์มาพูดคุยให้โอกาสโต้แย้งอย่างเต็มที่ก่อนทุกครั้ง เช่น กรณีภาพยนตร์เรื่องเช็คสเปียร์ต้องตาย และกรณีภาพยนตร์เรื่องฟ้าต่ำแผ่นดินสูง เป็นต้น 3. คณะกรรมการฯ อ้างอิงอำนาจตามกฎกระทรวงได้ถูกต้องมากขึ้น การไม่อนุญาตฉายภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard คณะกรรมการฯ ให้เหตุผลว่ามีเนื้อหาขัดต่อศีลธรรมอันดี ซึ่งเป็นเหตุผลตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 29 ของพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ขณะที่ธัญญ์วารินยื่นฟ้องคดีว่า การสั่งห้ามฉายภาพยนตร์จะอาศัยเพียงหลักเกณฑ์ในมาตรา 29 ไม่ได้ แต่ต้องอาศัยหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวงด้วย ถ้าไม่ได้อ้างอิงถึงหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวงก็ถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย หลังจากการยื่นฟ้องคดีนี้ เห็นได้ว่าเมื่อคณะกรรมการฯ จะสั่งไม่อนุญาตให้ฉายภาพยนตร์อีก ก็จะให้เหตุผลอย่างละเอียดรอบคอบมากขึ้นโดยอ้างอิงหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงให้ชัดเจน เช่น กรณีภาพยนตร์เรื่องเช็คสเปียร์ต้องตาย คณะกรรมการให้เหตุผลว่าเพราะมีเนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ และกรณีภาพยนตร์เรื่องฟ้าต่ำแผ่นดินสูง คณะกรรมการให้เหตุผลว่า มีเนื้อหาก่อให้เกิดความแตกสามัคคีระหว่างคนในชาติ และมีเนื้อหาที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นถ้อยคำตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง |
อาเซียนไม่ใช่ของเรา#2: อธิปไตย กติกาภูมิภาคกับสิทธิมนุษยชนในฐานะเสือกระดาษหลับ
Posted: 30 Nov 2017 04:22 AM PST
กลไกห้ามแทรกแซงกิจการภายในและหลักฉันทามติทำหลักการสิทธิมนุษยชนภูมิภาคต่ำกว่ามาตรฐานสากล เปิดปมปัญหาโครงสร้างกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนอาเซียน (AICHR) ในฐานะเสือกระดาษหลับเมื่อรัฐใหญ่กว่าข้อตกลงร่วมระดับภูมิภาค กับความหวังและแนวทางการเป็นเสือแท้ในอนาคต
ถ้อยแถลงของ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ พ.อ.หญิง ทักษดา สังขจันทร์ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ระบุว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบและประกาศให้สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติมาในจังหวะที่ทางลมไม่ส่งเท่าไหร่ หลังมีปมที่สร้างข้อกังวลเรื่องสิทธิมนุษยชนออกมาผ่านหน้าสื่ออย่างต่อเนื่อง
ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนของ UN ร้องปล่อยผู้ถูกจับกุมขณะประท้วงโรงไฟฟ้าถ่านหินทันที
อมรินทร์ทีวีเผย มีทหารเกณฑ์ถูกซ้อมจนสะโพกหักอีก 1 ราย เหตุฝึกแถวช้าเกินไป
เครือข่ายนักกิจกรรมยื่นหนังสือขอ กสม.สอบข้อเท็จจริงการเสียชีวิตของน้องเมย
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีองค์กรดูแลสิทธิมนุษยชนเป็นรูปธรรม (กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ) เช่นเดียวกันกับมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า และติมอร์ เลสเต ในระดับองค์กรภูมิภาคอย่างอาเซียนเองก็มีกลไกการดูแลเรื่องสิทธิมนุษยชนเช่นกัน ที่ประชุมผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบและออกปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนตั้งแต่ปี 2555 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights - AICHR) องค์กรที่มีหน้าที่ส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และสนับสนุนให้มีการร่วมมือกันระหว่างชาติสมาชิกในด้านสิทธิมนุษยชนในหมู่ชาติสมาชิกในปี 2552
แม้ว่าจะมีกลไกทั้งระดับภูมิภาคและในระดับประเทศ (บางประเทศ) แต่ชาติสมาชิกอาเซียนมักมีข่าวเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนออกมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น เมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นไม่ว่าจะในระดับความรุนแรงเท่าใดก็ตาม ท่าทีในระดับภูมิภาคที่จะตอบสนองการละเมิดสิทธิมนุษยชนกลับเงียบงันกว่าที่คิด
หนึ่งเนื้อความจากเอกสารที่จัดทำโดยกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศไทยสะท้อนชัดเจนถึงตำแหน่งแห่งที่ของ AICHR และประเด็นสิทธิมนุษยชนในอาเซียนเป็นอย่างดี
"แม้จะมีบางฝ่ายออกมาวิจารณ์ว่า ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการฯ มีข้อบกพร่องในแง่ที่เน้นการส่งเสริมสิทธิฯ แก่คณะกรรมาธิการฯ มากเท่าที่ควร และไม่ได้ให้ความเป็นอิสระอย่างแท้จริงแก่สมาชิกของคณะกรรมาธิการฯ ในการทำงาน แต่หากเราคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า อาเซียนไม่ได้มีลักษณะเป็นองค์กรเหนือรัฐ และเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องต้องห้ามสำหรับการหารือในกรอบอาเซียนมาช้านาน การที่อาเซียนสามารถจัดตั้งคณะกรรมาธิการฯ ขึ้นมาได้ และยังกำหนดในกฎบัตรอาเซียนให้การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การส่งเสริมประชาธิปไตยและหลักธรรมาภิบาลเป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์และหลักการที่อาเซียนพึงยึดถือและปฏิบัติ ก็น่าจะถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในเชิงความคิดและค่านิยมขององค์กร และเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะนำไปสู่การสร้างประชาคมอาเซียนที่ยึดถือกฎกติกาและผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้งและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริงได้"
แอมเนสตี้ฯ เปิดภาพ-พยาน ชี้กองกำลังเมียนมา 'ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์' ชาวโรฮิงญา
เมื่อเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง ทวงถามความจริงให้บิลลี่และชัยภูมิ
สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศในไทยยกเลิกงานแถลงสถานการณ์สิทธิฯในเวียดนาม
ศิลปินถือกระจกสะท้อน 32 ปีการจองจำนักโทษการเมืองสิงคโปร์-ก่อนถูกรวบตัว
ไม่พอใจถูกตรวจสอบฆ่าตัดตอน-สภาฟิลิปปินส์หั่นงบกรรมการสิทธิฯ เหลือ 1 พันเปโซ
ศ.เดวิด เคย์ ผู้รายงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติในประเด็นการสนับสนุนและปกป้องสิทธิเสรีภาพด้านการแสดงออกและการแสดงความเห็นเคยกล่าวกับประชาไทว่า สถานการณ์เสรีภาพการแสดงออกของทั้งภูมิภาคอาเซียนอยู่ในระดับที่ต่ำ มีแรงกดดันจากรัฐบาลที่เลือกให้มีการแสดงออกหรือไม่แสดงออกอะไร รวมถึงการทำให้การพูด การรายงานข่าวที่สื่อถึงความไม่พอใจต่อรัฐบาลกลายเป็นอาชญากรรม
ธีรเนตร ไชยสุวรรณ ตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ที่เข้าร่วมประชุมเวทีภาคประชาชนอาเซียน (ACSC/APF) กล่าวถึงหนึ่งประเด็นที่ถูกชูขึ้นมาอภิปรายในเวทีที่จัดขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อ 11-14 พ.ย. ที่ผ่านมาว่า
"ในเวทีพูดเรื่องบริษัทข้ามชาติ บริษัทขนาดใหญ่ เข้ามาแย่งยึดพื้นที่จากเกษตรกรรายย่อย ส่งผลถึงสิทธิชุมชน เพราะการเกษตรต้องการพื้นที่เพาะปลูก การเข้ามาของบริษัทเหล่านี้จากการเปิดทางของรัฐบาล ยิ่งทำให้ชาวบ้านไม่สามารถเรียกร้องสิทธิได้เลย โดยเฉพาะรัฐบาลปัจจุบันของเรา"
"(ในกรณีไทย) ยังมีการบังคับไล่รื้อทั้งพื้นที่ในเมืองและชนบท บางที่ใช้ มาตรา 44 ในการไล่รื้อเพื่อเอาพื้นที่ไปให้กับนายทุนในรูปแบบเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีอยู่เดิมแล้ว 3 ล้านกว่าไร่ แต่ก็ยังเพิ่มพื้นที่เข้าไป 3 จังหวัด คือฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เห็นได้ชัดว่ารัฐบาลไม่ได้คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชนที่จะเข้าถึงและใช้ทรัพยากรธรรมชาติเลย"
"ตั้งแต่มีรัฐประหารปี 57 ที่ผ่านมาทำให้สถานการณ์สิทธิมนุษยชนเลวร้ายลงทุกประเด็น ไม่ว่าจะเป็นประเด็นน้ำ เขื่อน เหมือง อะไรที่เกี่ยวกับทรัพยากร ชาวบ้านถูกกระทำจากรัฐแต่ไม่สามารถออกมาเรียกร้องได้ ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมโดยสงบหรือการรวมตัวเพื่อเรียกร้องสิทธิ ชาวบ้านเป็นฝ่ายถูกกระทำอย่างเดียว โดยเฉพาะพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีวิธีเยียวยาแบบจ่ายชดเชยเท่าที่รัฐให้ได้ โดยไม่ได้คำนึงว่าชาวบ้านหรือเกษตรกรจะอยู่ได้หรือเปล่า" ธีรเนตรระบุเพิ่มเติม
ตอนที่สองของ 'อาเซียนไม่ใช่ของเรา' พาผู้อ่านดูเงื่อนไขในระดับภูมิภาคและตั้งคำถามว่า แล้วอะไรคือปัญหาในกลไกการบังคับใช้หลักการสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคอาเซียน
อาเซียนไม่ใช่ของเรา #1: รัฐแสดงนำ ภาคประชาชนที่ไม่มีส่วนร่วม และเอ็นจีโอปลอม
หลักการสิทธิมนุษยชนอาเซียนต่ำกว่ามาตรฐานสากล
ข้อสังเกตหนึ่งในปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนคือมีการเว้นช่องว่างให้แต่ละรัฐจัดทำหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามบริบทของรัฐตนเอง ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการตีความให้รัฐละเว้นการสนับสนุนและปกป้องสิทธิมนุษยชน ในมาตราที่ 6 และ 7 ของปฏิญญาฯ
"มาตรา 6 การใช้สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานต้องสมดุล กับการปฏิบัติหน้าที่ที่สอดคล้องกัน เนื่องจากบุคคลทุกคนมี ความรับผิดชอบต่อทุกปัจเจกบุคคลอื่นๆ ทั้งหมด ชุมชนและสังคมที่ตนอาศัยอยู่ ในท้ายที่สุด ความรับผิดชอบหลักในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานทั้งปวงอยู่ที่รัฐสมาชิกอาเซียนทุกรัฐ (The enjoyment of human rights and fundamental freedoms must be balanced with the performance of corresponding duties as every person has responsibilities to all other individuals, the community and the society where one lives. It is ultimately the primary responsibility of all ASEAN Member States to promote and protect all human rights and fundamental freedoms.)"
"มาตรา 7 สิทธิมนุษยชนทั้งมวล มีความเป็นสากล ไม่อาจแบ่งแยกได้ เชื่อมโยงและสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานทั้งมวลในปฏิญญานี้ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม เสมอภาค อยู่บนพื้นฐานเดียวกันและมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกัน การบรรลุสิทธิมนุษยชนต้องได้รับการพิจารณาในบริบทของภูมิภาคและของประเทศโดยคำนึงถึงความแตกต่างของภูมิหลังทางการเมืองเศรษฐกิจกฎหมาย สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และศาสนา (All human rights are universal, indivisible, interdependent and interrelated. All human rights and fundamental freedoms in this Declaration must be treated in a fair and equal manner, on the same footing and with the same emphasis. At the same time, the realisation of human rights must be considered in the regional and national context bearing in mind different political, economic, legal, social, cultural, historical and religious backgrounds.)"
รายงานการปฏิบัติงานประจำปีของ AICHR ที่จัดทำโดยเวทีเอเชียว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (FORUM-ASIA) ให้ความเห็นต่อมาตราที่ 6 และ 7 ว่าจะถูกค่อนขอดว่าไม่สอดคล้องกับมาตรฐานของปฏิญญาสิทธิมนุษยชนสากล โดยระบุถึงข้อกังวลเอาไว้ว่า
"(มาตรา 6) เรียกร้องให้มีสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ 'สมดุล' กับหน้าที่ของบุคคล แต่การได้รับสิทธิของบุคคลหนึ่งนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ของเขา เพราะว่าสุดท้ายแล้วความรับผิดชอบขั้นต้นในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั้งหมดยังคงเป็นของชาติสมาชิกอาเซียน"
"(มาตรา 7) อย่างไรก็ตาม เนื้อความที่ว่า 'การบรรลุซึ่งสิทธิมนุษยชนต้องได้รับการพิจารณาในบริบทของภูมิภาคและของประเทศโดยคำนึงถึงความแตกต่างของภูมิหลังทางการเมืองเศรษฐกิจกฎหมาย สังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และศาสนา' อาจทำให้บริบทข้างต้นมีผลต่อการพัฒนาวาทกรรมของสิทธิมนุษยชน" กล่าวคือ เป็นข้อกังวลว่ามาตรฐานสิทธิมนุษยชนในชาติสมาชิกอาเซียนอาจจะมีไม่เท่ากัน
อธิปไตยชาติสมาชิกและหลักการอาเซียนทำสิทธิมนุษยชนภูมิภาคตกต่ำ
อีกหนึ่งคำถามที่น่าสนใจคือ ในเมื่อการตัดสินใจต่างๆ ของอาเซียนในเชิงองค์กร และชาติสมาชิกนั้นยืนอยู่บนสองหลักการใหญ่ได้แก่ หนึ่ง หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในชาติสมาชิกอื่น (Non-inteference) และหลักการตัดสินใจด้วยฉันทามติ (Consensus) ผลแห่งการตัดสินใจที่ทำให้มาตรฐานสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคต่ำกว่ามาตรฐานสิทธิมนุษยชนสะท้อนว่าภูมิภาคนี้ไม่พร้อมกับสิทธิมนุษยชนหรือไม่
ศันสนีย์ สุทธิศันสนีย์
ศันสนีย์ สุทธิศันสนีย์ จากมูลนิธิส่งเสริมคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการอำนวยการภาคประชาชนอาเซียน (Regional Steering committee) จากประเทศไทยให้ความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนในอาเซียนว่า "ส่วนมากเรื่องสิทธิมนุษยชนในอาเซียนก็ต่ำกว่ามาตรฐาน ข้อจำกัดของมันที่จะใช้เป็นข้ออ้างที่จะไม่ทำอะไรเลย ประการหนึ่งคือเนื้อหาในบทนำที่ว่า ฉันยอมรับในหลักการสิทธิมนุษยชนนะ แต่คุณต้องคำนึงถึงบริบทของแต่ละประเทศและภูมิภาคด้วย นั่นคือข้อจำกัด อีกประการหนึ่ง ในรายมาตราที่ไม่ยอมรับสิทธิทางการเมือง สิทธิทางการทำงานหรืออะไรต่างๆ ก็จะบอกว่า ฉันยอมรับ แต่มันขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ แต่เรา (ภาคประชาสังคม) ก็อย่าไปอยู่กับมันตรงนั้นสิ เราก็ท้าทายมันไป ถ้ามีกรณีการละเมิดสิทธิฯ ก็ต้องนำเสนอ ถ้าเรานำเสนอไปตลอดมันก็ทำให้เกิดการพูดถึง วิพากษ์วิจารณ์และอาจนำไปสู่การทบทวน"
อีกด้านหนึ่ง เอดมุนด์ บอน ไท ซูน ผู้แทนประจำคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจากประเทศมาเลเซียมีความเห็นว่าหลักการฉันทามติมีจุดอ่อนจริงตรงที่มาตรฐานสิทธิมนุษยชนของแต่ละประเทศไม่เท่ากัน แต่ก็ยังมีข้อดีว่าการเห็นพ้องต้องกันทั้งหมดสร้างข้อตกลงที่แข็งมากและจะถอยกลับไปไม่ได้ แต่ไม่เห็นด้วยว่าอาเซียนไม่พร้อมสำหรับสิทธิมนุษยชน
เอดมุนด์ บอน ไท ซูน
"ไม่จริง (ที่อาเซียนไม่พร้อมรับหลักการสิทธิมนุษยชน) ทุกภูมิภาคมีความพร้อมเพราะว่าสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นสากลและแบ่งแยกไม่ได้ เพียงแต่ว่าจะแตกต่างไปในรูปแบบของแต่ละภูมิภาคก็เท่านั้น คำประกาศสิทธิมนุษยชนอาเซียนเองมาจากฉันทามติ และตอนนี้เราก็รู้แล้วว่ามันยังขาดเหลืออะไร ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องเดินหน้าพัฒนาตัวคำประกาศและการนำมันไปใช้ต่อไป" เอดมุนด์กล่าว
ต่อประเด็นข้อกังวลเกี่ยวกับการบรรลุสิทธิมนุษยชนตามบริบทที่แตกต่างกันของประเทศสมาชิก เอ็ดมุนด์เห็นว่า "มีหลายสิทธิที่ถูกจำกัดจากกฎหมายในประเทศ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ากฎหมายในประเทศจะถูกต้อง กฎหมายในประเทศที่จำกัดสิทธินั้นอาจผิดก็ได้หากวัดจากมาตรฐานนานาชาติ เราก็ยังต้องพูดกันต่อว่ากฎหมายในประเทศต้องเปลี่ยน โดยอิงอยู่กับความสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนในระดับนานาชาติ"
AICHR: เสือกระดาษหลับเมื่อความเป็นรัฐใหญ่กว่าอาเซียน ปัญหา ความหวังและแนวทางการเป็นเสือแท้ในอนาคต
แม้อาเซียนมีการพูดถึงสิทธิมนุษยชนมาตั้งแต่ปี 2536 แต่องค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียนเพิ่งมีอายุ 8 ปี หลังถือกำเนิดเมื่อผู้นำอาเซียนประกาศจัดตั้งคณะกรรมาธิระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights - AICHR) ในปี 2552 ที่ อ.ชะอำ-หัวหิน
หนึ่งในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ AICHR คือการส่งเสริมและคุ้มครอง (Promote and Protect) สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนอาเซียน แต่ปัญหาหนึ่งที่เป็นที่พูดถึงบ่อยคือประสิทธิภาพการทำงานของ AICHR ที่ไม่ได้ทำหน้าที่การคุ้มครองได้ดีพอ และเน้นหนักไปในทางการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมากกว่า
ทั้งนี้ ขอบเขตการทำงานของ AICHR ยังถูกกำหนดจากหลักการใหญ่ของอาเซียนว่าด้วย การต้องเคารพในหลักการว่าด้วยการเคารพเอกราช อธิปไตย ความเสมอภาค บูรณภาพแห่งดินแดนและอัตลักษณ์แห่งชาติของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งปวง หลักการการไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิกอาเซียน และหลักการการเคารพสิทธิของรัฐสมาชิกทุกรัฐในการธำรงประชาชาติของตนโดยปราศจากการแทรกแซง การบ่อนทำลาย และการบังคับจากภายนอก ทำให้อำนาจหน้าที่ในการเดินหน้าประเด็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามหน้าที่ของ AICHR ถูกดึงรั้งเอาไว้ด้วยอธิปไตยของชาติสมาชิก
ข้อสังเกตจากรายงานประจำปีของ FORUM-ASIA ระบุว่าความพยายามใดๆ ที่จะขับเคลื่อนประเด็นปกป้องสิทธิมนุษยชนมักถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่ออธิปไตยของรัฐบาลชาติสมาชิกและเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องต่อต้านให้ถึงที่สุด ข้อสังเกตนี้สะท้อนกลายๆ ถึงการจำกัดอำนาจในทางปฏิบัติขององค์การสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค
เอ็ดมุนด์ระบุว่า กลไกสิทธิมนุษยชนในอาเซียนยังมีปัญหาในเรื่องอำนาจหน้าที่ของ AICHR ที่ถูกจำกัดขอบเขตแนวทางปฏิบัติเมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และปัญหาในเรื่องการตกลงรายละเอียดของสิทธิมนุษยชนร่วมกันในภูมิภาค
"ปัญหาแรกคือเราไม่มีกระบวนการสื่อสารและแจ้งเหตุ กลไกพวกนี้มีความสำคัญมากเพราะ AICHR ไม่สามารถทำอะไรได้เลยเวลามีคนพบกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ยกตัวอย่างเช่นการล่วงละเมิดทางเพศกับเด็กและผู้หญิง เพราะว่า AICHR ไม่มีอำนาจอะไรที่จะไปแก้ปัญหาพวกนั้นได้ เราทำได้แค่แสดงความกังวลเพื่อขอข้อมูลกับประเทศเกิดเหตุเท่านั้นแต่เราไม่สามารถช่วยปกป้องสิทธิมนุษยชนได้เลย"
"ปัญหาที่สอง เราจำเป็นต้องให้ประเทศสมาชิกตกลงกันว่าสิทธิมนุษยชนคืออะไรในรายละเอียด เช่น สิทธิในการมีชีวิตอยู่คืออะไร หมายความว่ายกเลิกโทษประหารชีวิตหรือเปล่า สิทธิในอาหารหมายความว่ารัฐบาลต้องให้อาหารคนยากคนจนหรือเปล่า อาเซียนยังไม่ได้ตกลงในเชิงรายละเอียดว่าสิทธิมนุษยชนคืออะไร"
แต่ศันศณีย์ระบุว่าการเคารพหลักการดังกล่าวเป็นเพียงข้ออ้างที่จะไม่ทำหน้าที่ เพราะบทบาทของทั้ง AICHR และชาติสมาชิกสามารถมีท่าทีต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้มากกว่าการนิ่งเฉย
"เราว่ามันเป็นข้ออ้างที่จะไม่ทำ พอมาเป็นระดับอาเซียนแล้วมันจะมีเรื่องการเมืองระหว่างประเทศมาเกี่ยวข้อง และมันเหนือกว่าเรื่องสิทธิมนุษยชน หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในมันก็มีหลายแบบ แต่มันอาจจะไม่ตอบสนองต่อการละเมิดสิทธิฯ มากนัก เช่น สมัยที่มีเหตุการณ์ติมอร์ตะวันออก หรือเหตุการณ์ระเบิดในพม่า อาเซียนก็ออกมาพูดให้พม่าออกมาแสดงความกังวล แต่ตอนนี้คุณไม่ทำอะไรเลย แม้ตอนนี้อาเซียนจะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้มาก แต่การแสดงออกมาอย่างน้อยมันก็แสดงว่าคุณใส่ใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น เขาก็มองว่าในหลักการไม่ยุ่งเกี่ยวกิจการภายในประเทศ มันสามารถใช้เครื่องมือการทูต เพราะการแสดงความห่วงใยมันก็เป็นการแทรกแซงกลายๆ"
กลุ่มภาคประชาสังคมไทย 20 องค์กรเคยมีข้อเสนอก่อนหน้าที่จะมีการทบทวนของ AICHR ในปี 2557 ให้ AICHR มีอำนาจในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากขึ้น เปิดช่องให้มีการตัดสินใจแบบเสียงข้างมากได้ในกรณีที่ไม่สามารถทำให้เกิดฉันทามติในองค์กรได้ในสภาวการณ์ที่ต้องมีการตอบสนองอย่างรวดเร็ว และแนะนำให้มีกลไกการรับเรื่องร้องเรียนและสืบสวนด้วย
เอ็ดมุนด์กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมามีการพูดคุยในระดับรัฐมนตรีของแต่ละประเทศแล้วว่าควรให้อำนาจในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้อยู่ในมือ AICHR มากขึ้น และยังกล่าวถึงเป้าหมายของ AICHR ที่ต้องการเป็นศาลสิทธิมนุษยชน แต่องค์กรต้องทำอะไรมากกว่านี้ให้ได้เสียก่อน
"AICHR มีการพูดคุยเรื่องขอบเขตข้อกำหนดแล้ว และ AICHR ก็เห็นด้วยที่เวทีพูดคุยในระดับรัฐมนตรีให้ความเห็นว่าควรให้อำนาจการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของ AICHR มากขึ้น ตัวปฏิญญา (ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน) ตอนนี้ยังไม่จำเป็นต้องแก้เพราะมันเป็นหลักการกว้างๆ เราสามารถใช้มันเป็นข้อเสนอแนะในภาพรวมได้ เพียงแต่ต้องให้ AICHR อธิบายรายละเอียดของสิทธิต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการมีชีวิตอยู่ สิทธิของกลุ่มคนผู้มีความเปราะบาง"
"เรา (AICHR) อยากจะเป็นแบบศาลสิทธิมนุษยชน ตอนนี้คณะกรรมการทำได้แค่ให้คำปรึกษา เราต้องการสถานะแบบศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาและตัดสินกรณีต่างๆ ได้ ซึ่งศาลเหล่านี้มีในยุโรป อเมริกาใต้ แอฟริกา แต่ตอนนี้พวกเรายังไม่พร้อมที่จะมี คณะกรรมการจะต้องกระฉับกระเฉงมากกว่านี้" เอ็ดมุนด์กล่าว
ปรี๊ดดด!: 4 ขวบ กปปส. 6 เรื่องปฏิรูปก่อนเลือกตั้งถึงไหนแล้ว
Posted: 30 Nov 2017 04:13 AM PST
วันนี้เมื่อ 4 ปีก่อนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมกลุ่มหนึ่งที่แกนนำบนเวทีมักอ้างบ่อยครั้งว่า เป็นขบวนการภาคประชาชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบนหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย ได้ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ 29 พฤศจิกายน 2556 คือวันที่ม็อบซึ่งมีชื่อเล่นว่า "ม็อบนกหวีด" ได้ถูกตั้งชื่อจริงว่า "คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" หรือ "กปปส."
การเกิดขึ้นของ กปปส. ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่การต่อต้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เท่านั้น หากแต่มีการขยายขอบเขตการประท้วงต่อต้านรัฐบาลออกไปอีก จนกระทั่งที่สุดแล้วมีข้อเสนอว่า "ประเทศไทยต้องมีการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง" โดยที่ยังไม่แน่ชัดว่าประชาชนเจ้าของอำนาจทั้งประเทศจะมีส่วนร่วมอย่างไรกับการปฏิรูปที่ กปปส. เปิดตลาดไอเดียขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม ไม่กี่เดือนถัดมา ความคิดที่ว่าด้วยการปฏิรูปก่อนเลือกตั้งก็มีช่องทางที่จะเกิดขึ้นได้จริง 22 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศยึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการณ์ การเมืองไทยกลับไปอยู่ภายใต้อุ้งมือของทหารหาญอีกครั้ง เค้าโครงการของการปฏิรูปก่อตัวขึ้น ขณะที่ กปปส. ค่อยๆ ลดบทบาทตัวเองลง ถึงขั้นที่ว่าหลังจากนั้นไม่นาน สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ประกาศลาบวช และลั่นวาจาไม่ขอยุ่งเกี่ยวกับงานด้านการเมืองอีกตลอดชีวิต
หลังการรัฐประหารเพียง 7 วัน ดูเหมือนว่าภารกิจของ กปปส. จะเสร็จสิ้นลง เหล่าแกนนำ กปปส. จัดงานเลี้ยงขอบคุณกันเองในธีมปาร์ตี้ชุดลายพราง พร้อมโยนภารกิจเรื่องการปฏิรูปประเทศไว้ให้ คสช. สานต่อ
ประชาไทชวนทบทวน 6 ข้อเสนอปฏิรูปประเทศไทย สำรวจว่าในห้วงเวลาที่ผ่านไปแล้ว 4 ปี มีการปฏิรูปเรื่องใดเป็นรูปเป็นร่างแล้วหรือยัง
1.ปฏิรูปความจน สร้างรัฐสงเคราะห์ ออกบัตรคนจน 1 ปีเก็บภาษีมรดกไม่ได้แม้แต่บาทเดียว
ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ เป็นปัญหาคู่กับสังคมไทยมายาวนาน เลือกตั้งกี่ครั้งนโยบายที่พรรคการเมืองต่างนำเสนอสู่สายตาประชาชน วนเวียนกับการขจัดและแก้ไขปัญหาเหล่านี้ แตกต่างก็เพียงรูปแบบและวิธีการ แต่มีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกัน ซึ่งก็แล้วแต่เสียงข้างมากของประชาชนเจ้าของประเทศจะกำหนดเอาเองว่าอีก 4 ปีข้างหน้าจะร่วมกันขจัดปัญหาเหล่านี้อย่างไร แต่ดูเหมือนว่ากลไกการเลือกตั้งผู้แทน สู่การตั้งรัฐบาล แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี และการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหา เหล่า กปปส. จึงชูธงนำว่าต้องมีการปฏิรูปเรื่องนี้ก่อนการเลือกตั้ง
จากเดิมที่ปัญหาเหล่านี้ถูกนำแก้ไขผ่านกลไกนโยบายรัฐบาลมาโดยตลอด กลับกลายเป็นว่า เรื่องเหล่านี้ถูกยัดใส่มือรัฐบาลทหาร ผ่านมา 3 ปีกว่า สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจประกาศกร้าวกลางงานสัมมนาไทยแลนด์ 2018 ว่าปี 2561 รัฐบาลจะเร่งดำเนินนโยบายแก้ปัญหาความยากจนของประเทศ โดยประสานหลายหน่วยงานเพื่อดำเนินนโยบายอย่างบูรณาการ เชื่อว่าปัญหาความยากจนจะหมดไป พร้อมกับการอุบัติขึ้นของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า บัตรคนจน ซึ่งมียอดผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น 11.4 ล้านคน
แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีโครงการหรือนโยบายต่างๆ ออกมาจากรัฐบาลทหารเพื่อมุ่งหวังเเก้ไขปัญหาความยากจน แต่บัตรคนจนดูจะเป็นรูปธรรมที่เห็นชัดที่สุดสำหรับการแก้ไขปัญหาดังกล่าว นัยหนึ่งคือการจัดประเภทและแบ่งแยกทางชั้นชนว่าคนในประเทศอยู่ในระดับใด เพื่อรัฐจะได้ทุ่มงบลงไปช่วยเหลือได้อย่างถูกที่ถูกทาง เหมือนทุกอย่างจะเป็นไปด้วยความหวังดีที่ผู้มีอำนาจมอบให้
แต่เมื่อมองลงไปที่รายละเอียดการแก้ไขด้วยแนวทางที่ว่า การช่วยเหลือคนจนมีศักยภาพเป็นได้เพียงมาตรการแบบสังคมสงเคราะห์ ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพราะสิ่งที่ฝังรากลึกอยู่กับสังคมไทยมานานคือ "ภาวะรวยกระจุก จนกระจาย" การอัดเติมเงินลงไปช่วยเหลือคนจนของรัฐบาลทหาร มองอย่างไรก็ไม่สามารถพูดได้ว่าเป็นการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ ทั้งยังถูกมองว่าสิทธิต่างๆ ที่ผู้ถือบัตรคนจนได้รับเป็นการเอื้อผลประโยชน์ให้กับนายทุน เพราะการจับจ่ายใช้สอยถูกจำกัดเพียงในร้านธงฟ้าเท่านั้น
ขณะที่ระบบสวัสดิการรัฐที่มีอยู่เดิม เช่น ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เบี้ยคนชรา กลับถูกลดทอนลง เป็นเพียงการช่วยเหลือเฉพาะผู้ยากไร้ แม้ว่ายังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนออกมา แต่สิ่งที่เขียนเอาไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 ได้เปิดช่องให้รัฐไม่จำเป็นต้องจัดสวัสดิการให้แก่ทุกคนอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
เรื่องที่ตื่นเต้นขึ้นมาอีกนิด คือการจัดเก็บภาษีที่ดินและภาษีมรดก แต่ก็เป็นเพียงความหวังลมๆ แล้งๆ เมื่อมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ภาษีมรดก ช่วงเดือนสิงหาคม 2558 กำหนดว่าจะเริ่มมีการเก็บภาษีมรดกตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 แต่ถึงที่สุดแล้ว ผ่านมาจนถึงเดือนมีนาคม 2560 รัฐก็ยังไม่สามารถจัดเก็บภาษีมรดกได้เลยแม้แต่บาทเดียว ขณะที่เรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างก็ยังคงเป็นเรื่องที่คาราคาซังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อีกทั้งรายละเอียดการประชุมเพื่อพิจารณาแก้ไขกฎหมายดังกล่าวก็ยังถูกปิดลับ
2.ปฏิรูปคอร์รัปชัน ความเงียบงันคือคำตอบ (ใครจะกล้าตรวจสอบ?)
เจตนารมณ์ของการปฏิรูปอีกข้อหนึ่งที่ กปปส. ชูธงปฏิรูปก่อนเลือกตั้งคือ "ปฏิรูปปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ให้ประชาชนตรวจสอบรัฐบาลได้" ถือเป็นข้อเสนอสำคัญ โดยในครั้งนั้น สุเทพ ระบุว่าจะทำเสร็จภายใน 18 เดือน แต่ดูเหมือนกระบวนการจะยังไม่มีความคืบหน้า เพราะเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สุเทพพร้อมด้วยเหล่าแกนนำได้เข้าพูดคุยกับประธานคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นเพื่อสามัคคีปรองดองเพื่อย้ำเจตนารมณ์เดิม
อย่างไรก็ตาม ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร การดำเนินคดีเกี่ยวกับการทุจริตในอดีตยังเป็นที่สงสัยในมาตรฐานว่า เหตุใดบางคดีจึงสามารถดำเนินการเสร็จได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่บางคดีซึ่งเกิดขึ้นก่อนหน้ากลับมีการดำเนินการอย่างล่าช้า เช่น คดีประกันราคาข้าวของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รัฐบาลก่อนหน้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่คดีจำนำข้าวพิจารณาเสร็จไปแล้ว
แล้วผู้ที่เข้ามาจัดการปัญหาคอร์รัปชันอย่าง คสช. บริสุทธิ์ผุดผ่องแค่ไหน กรณีอุทยานราชภักดิ์ เรือเหาะ ทัวร์ฮาวาย ผลประโยชน์ทับซ้อนต่างๆ ยังเป็นที่จดจำและไร้การสืบสวน ซ้ำบางกรณีคนที่พยายามตรวจสอบกลับถูกกฎหมายเล่นงาน จนองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติเผยดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันโลกปี 2559 ไทยได้ที่ 101 จาก 176 ประเทศทั่วโลก ได้คะแนน 35 คะแนน ลดลง 3 คะแนนเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการจำกัดสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกช่วงลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเมื่อปีที่ผ่านมาทำให้ขาดความเป็นอิสระ การตรวจสอบ และการถกเถียงอย่างจริงจัง
ล่าสุด มีการผ่าน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมทั้งกฎหมายเกี่ยวกับการปราบปรามทุจริต แต่ก็ถูกมองว่าเน้นไปที่การเพิ่มโทษให้หนักมากกว่าสร้างกลไกการตรวจสอบที่ยึดโยงกับประชาชนอีกและมุ่งเล่นงานฝ่ายตรงข้าม
3.ปฏิรูปท้องถิ่นและการกระจายอำนาจ เลือกตั้งผู้ว่าฯ ยังอยู่แค่ในฝัน เลือกตั้งท้องถิ่นยังถูกดอง
ข้อเสนอเรื่องการกระจายอำนาจของ กปปส. เรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเรื่องที่หลายคนในเวลานั้นเห็นด้วย แต่สิ่งที่ต้องย้ำกันก่อนคือ นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาโดย กปปส. แต่มีการพูดถึงมาตั้งแต่ช่วงการปฏิรูปการเมืองหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 อย่างไรก็ตาม การส่งไม้ต่อเรื่องนี้จาก กปปส. ไปสู่ คสช. อาจจะตกหล่นไป เพราะตลอดช่วงเวลาของการปฏิรูป ผู้ว่าฯ มาจากการเลือกตั้งเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงน้อยมาก
ทั้งนี้ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปเเห่งชาติ เคยเสนอว่า ให้มีปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินใหม่ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้ง จัดตั้งสภาจังหวัด ยุบองค์การบริหารส่วนจังหวัดและส่วนภูมิภาค ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบลให้ยุบรวมกับเทศบาล เพื่อให้มีกำลังบุคลากรและงบประมาณในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่มากขึ้น ขณะเดียวกันได้จัดให้การบริหารส่วนท้องถิ่นเชื่อมโยงกับนายกรัฐมนตรีโดยตรง และการจัดสรรงบประมาณให้แบ่งเป็นงบประมาณจังหวัดและงบพัฒนาส่วนภูมิภาค โดยแบ่งเป็น 12 ภาค และตั้งกระทรวงปฏิรูปประเทศขึ้นใหม่ อย่างไรก็ตาม เอนกเชื่อว่าแนวคิดข้างต้นอาจไม่สามารถทำได้หรือเป็นไปได้ยาก แน่นอนว่าปัจจุบันเรื่องเหล่านี้ยังไม่ได้ก่อรูปก่อร่างขึ้นมา
เมื่อกลับมาดูที่การกระจายอำนาจในระดับท้องถิ่น พบว่า ตลอดระยะเวลาของการเข้ามาปฏิรูปสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ การแช่แข็งการเลือกตั้งท้องถิ่นเอาไว้ก่อน เป็นระยะเวลา 3 ปีกว่า ที่ประชาชนไม่ได้สัมผัสการเป็นเจ้าของอำนาจเลย เพราะตำแหน่งของผู้นำสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถูกกำหนดแต่งตั้งโดย คสช. ทั้งสิ้น ทุกอย่างถูกควบคุมผ่านกลไกราชการ
แม้ปัจจุบันทหารซึ่งกลายเป็นผู้นำประเทศเปิดเผยว่า จะเปิดให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่นในบางท้องถิ่นก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไป แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าท้องถิ่นไหนบ้างที่จะมีการเลือกตั้ง อีกทั้งคำสั่งของ คสช. ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพทางการเมืองหรือการทำกิจกรรมทางการเมืองก็ยังไม่ถูกยกเลิก จึงเป็นเรื่องน่าสนใจว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นที่จะเกิดขึ้นจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ท่ามกลางการจัดโครงสร้างองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นใหม่ซึ่งจะยุบรวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหลายพื้นที่ แต่ก็ยังไม่มีอะไรชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร และยังไม่แน่ชัดว่าท้องถิ่นใดบ้างที่จะถูกยุบรวมกัน อีกทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งท้องถิ่นก็ยังไม่ได้มีการแก้ไขให้แล้วเสร็จ
4. ปฏิรูปตำรวจยังคาราคาซัง ไม่ต้องพูดถึงทั้งกระบวนการยุติธรรม
ต่อประเด็นที่สุเทพเรียกร้องให้ตำรวจต้องอยู่ภายใต้การควบคุมโดยคณะกรรมการตำรวจที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนที่เรียกร้องเอาไว้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว แม้จะมีการฟอร์มทีมจากมหาดไทย – กระทรวงยุติธรรม - สำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิรูปกิจการตำรวจในปี 2558 มาจนถึงปี 2560 ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแต่งตั้ง พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ เป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และแม้คณะกรรมการชุดล่าสุดจะกล่าวว่ามีข้อสรุปในด้านการบริหารงานบุคคล การแต่งตั้งโยกย้าย เรื่องภารกิจและอำนาจหน้าที่ และเรื่องสืบสวนสอบสวนสำเร็จไปแล้วราวร้อยละ 80-90 แต่ข้อคำสั่งและแนวทางปฏิรูปใต้รัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งยังคงเป็นคำถามย้อนกลับไปถามโจทย์ของ กปปส. เรื่องการควบคุมกลไกในสถาบันตำรวจโดยคณะกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งเสมอ เช่น คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 6/2559 มีผลให้การคัดเลือก แต่งตั้งข้าราชการตำรวจตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ประกาศ คสช. คำสั่ง คสช. หรือคำสั่งหัวหน้า คสช. เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย
แม้แต่ข้อเรียกร้องของสุเทพที่ต้องการให้แบ่งการจัดองค์กรตำรวจเป็นระดับชาติและกระจายสังกัดไปในระดับจังหวัด จัดตั้งคณะกรรมการตำรวจในระดับจังหวัดเพื่อพิจารณาการโยกย้ายตำแหน่งในจังหวัดโดยตัวแทนประชาชน ตัดปัญหาเรื่องการวิ่งเต้นข้ามพื้นที่ การกำหนดเงื่อนไขให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ผ่านมาจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมออกมาจากคณะกรรมการปฏิรูป
5. ปฏิรูปการเลือกตั้งและพรรคการเมือง ได้ ส.ว. สรรหา และกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเป็นของแถม
ก่อนหน้าการก่อตั้ง กปปส. 3 วัน สุเทพปราศรัยเสนอให้มีการปฏิรูปการเลือกตั้ง โดยบอกว่า ต้องการให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ ยุติธรรม โกงไม่ได้ และต้องไม่ให้คนชั่วมีโอกาสเข้ามานั่งในสภาทำเรื่องชั่วๆ โดยที่ไม่ฟังเสียงของประชาชน ซึ่งเมื่อเข้าสู่ช่วงเวลาของปฏิรูปโดย คสช. เรื่องเหล่านี้ได้รับให้ความสำคัญมากที่สุด สังเกตได้จากการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่กำหนดระบบการเลือกตั้งใหม่และส่งผลมาถึงกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้อง
ทว่า สิ่งที่ได้รับการแก้ไขดูจะไปคนละทางกับที่ กปปส. คาดหมาย หากแต่นำมาซึ่งการออกแบบระบบการเลือกตั้งที่จะทำให้ไม่มีพรรคการเมืองใดได้แค่เสียงข้างมากอย่างเด็ดขาด เอื้อให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ ไม่สามารถผลักดันนโยบายเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง และเปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง โดยอาศัยของแถมจากการปฏิรูปชิ้นใหญ่ที่ คสช. ได้มอบให้ไว้นั้นคือสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ชุดแรก 250 คนที่มาจากการแต่งตั้งโดย คสช. ทั้งหมด ทั้งยังกำหนดให้ ส.ว. มีอำนาจเสนอและลงคะแนนเสียงเลือกตัวนายกรัฐมตรีได้ ซึ่งแต่เดิมไม่เคยมีการกำหนดอำนาจหน้าที่นี้ไว้
นอกจากนี้ ของแถมที่ได้มาจากการปฏิรูปคือการกำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติที่จะวางแผนยุทธศาสตร์ในระยะยาวถึง 20 ปี โดยมีผลผูกพันให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งหน่วยงานราชการต้องดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ หากละเลยไม่ปฏิบัติตามจะมีบทลงโทษตามมา ทั้งยังต้องรายงานความคืบหน้าในการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติทราบอยู่เป็นระยะ
ในส่วนของการปฏิรูปพรรคการเมือง มีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยพรรคการเมืองออกมา ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นกฎหมายที่มีเงื่อนไขยิบย่อยจำนวนมาก ทั้งเรื่องจดแจ้งขึ้นทะเบียนพรรคการเมือง เรื่องระบบสมาชิกพรรคการเมือง เรื่องการจ่ายเงินบำรุงพรรคการเมือง ซึ่งทางผู้ร่างต้องการให้พรรคการเมืองมีความเป็นสถาบัน และไม่เป็นพรรคการเมืองบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทว่า สิ่งเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นการปิดกั้นและไม่เอื้อให้เกิดพรรคการเมืองใหม่ๆ หรือพรรคการเมืองทางเลือกขึ้น
แม้พลเอกประยุทธ์เปิดเผยว่าจะเปิดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายในเดือนพฤศจิกายน 2561 แต่กฎหมายลูกที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง 4 ฉบับ ยังไม่ได้ประกาศใช้ครบทั้งหมด และ คสช. ก็ยังไม่ได้ยกเลิกคำสั่งที่ห้ามพรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมืองเสียที
6. ปฏิรูประบบราชการ ประเทศไทยกลายเป็นรัฐราชการไปแล้ว
กปปส. เสนอให้มีการปฏิรูปความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองกับข้าราชการประจำ เนื่องจากระบบข้าราชการได้ถูกฝ่ายการเมืองที่เข้าไปแทรกแซง นอกจากนี้ ส่วนกลางต้องลดขนาดลง โดยให้ข้าราชการภูมิภาคขึ้นอยู่กับท้องถิ่น ซึ่งจะลดค่าใช้จ่ายของส่วนกลาง และประชาชนควรมีส่วนร่วมในการตรวจสอบถ่วงดุลระบบราชการ
เมื่อ คสช. รัฐประหารและยึดอำนาจการปกครอง แนวคิดเรื่องปฏิรูประบบราชการเน้นในด้านเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรบนพื้นฐานความโปร่งใส ขณะที่เมื่อวิเคราะห์รัฐธรรมนูญปี 60 แล้วพบว่า มีการลดอำนาจนักการเมือง เพิ่มอำนาจข้าราชการ
เช่นการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศจำนวน 11 ชุด จำนวน 120 คน ซึ่งแต่งตั้งโดย ครม. หรือในขณะนี้คือ คสช. มีอำนาจสอดส่องการทำงานของหน่วยงานรัฐ หากเห็นว่าหน่วยงานรัฐดำเนินการไม่สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปฯ คณะกรรมการฯ สามารถประสานงานหรือปรึกษาหารือกับหน่วยงานของรัฐเพื่อแก้ไขปรับปรุงความไม่สอดคล้องนั้น
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังกำหนดให้ข้าราชการชั้นสูงเป็นทั้งกรรมการสรรหาและเป็นผู้รับการสรรหามาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระและกลไกควบคุมต่างๆ โดยเว็บไซต์ไอลอว์สรุปที่มาของคณะกรรมการสรรหาว่า สัดส่วนของคณะกรรมการสรรหาฯ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ความสำคัญกับตัวแทนที่เป็นข้าราชการมากกว่าพรรคการเมืองหรือนักวิชาการ และเฉพาะสัดส่วนของบุคคลที่องค์กรอิสระแต่งตั้งมีจำนวนมากกว่าตัวแทนจากฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง
และส่วนสุดท้าย คือการใช้อำนาจม. 44 ปลด-สั่งย้าย-แต่งตั้งข้าราชการจำนวนมาก บางส่วนเห็นชัดว่าแต่งตั้งเครือข่ายของตน อันเป็นการแทรกแซงระบบราชการ อ้างเรื่องความรวดเร็ว การคอร์รัปชัน ความเชี่ยวชาญ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น
- 18 ต.ค. 2559 ปลด สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากผู้ว่าฯ กทม. ให้ พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง ดำรงตำแหน่งแทน เหตุเพราะพบข้อมูลการทุจริต (ที่มา: https://www.thairath.co.th/content/758211)
- 1 สิงหาคม 2560 กำหนดตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิประจำส่วนราชการ 10 เก้าอี้ (ที่มา: https://www.posttoday.com/politic/506537)
- ดูรายชื่อข้าราชการที่ถูกแต่งตั้ง-โยกย้ายหลังรัฐประหารได้ที่: https://www.ilaw.or.th/node/3132
รวมถึงกฎหมายต่างๆ ที่มีการปรับแก้ที่แสดงให้เห็นถึงการสยายปีกของรัฐราชการออกไป เช่น ร่างกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ให้กระทรวงสาธารณสุขเข้ามาร่วมจัดซื้อยาร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การแก้กฎหมายการรักษาความมั่นคงภายในให้เข้าไปมีบทบาทในการป้องกันสาธารณภัย เป็นต้น
รายงานวงวิพากษ์หยุดขบวนการล้มบอลไทย - เครือข่ายฯหยุดพนัน จ่อพบ รมต.คนใหม่ชงหาโมเดล
Posted: 30 Nov 2017 03:32 AM PST
วงวิพากษ์ 'หยุดขบวนการล้มบอลไทย เคลียร์พนันห่างไกลคนกีฬา' นักวิชาการชี้ พนันบอลผลประโยชน์มหาศาล ค่าจ้างสูง ต้องแยกให้ขาดจากคนกีฬา ผลแข่งขันต้องขาวสะอาด สร้างมาตรการกลไกที่แข็งแรง ด้านเครือข่ายฯหยุดพนัน จ่อเข้าพบ รมต.คนใหม่ ชงหาโมเดลล้อมคอกก่
30 พ.ย. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ เมื่อเวลา 13.00 น. ที่โรงแรมแมนดาริน ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน จัดเวทีระดมความเห็น "หยุดขบวนการล้มบอลไทย เคลียร์พนันห่างไกลคนกีฬา" โดยมีนักวิชาการ เยาวชน สื่อมวลชนสายกีฬา และภาคประชาชนเข้าร่วม
นวลน้อย ตรีรัตน์ รองศาสตราจารย์จาก ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ขบวนการล้มบอลเมื่อ10ปีที่แล้ว นักวิชาการต่างประเทศ แสดงความกังกลใจต่อเรื่องนี้อย่
ธนิต โตอดิเทพย์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า การพนันและการล้มบอลเป็นเรื่
พญ.มธุรดา สุวรรณโพธิ์ ผอ.สถาบันสุขภาพจิ
วิเชษฐ์ พิชัยรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่
ธนากร คมกฤส เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน กล่าวว่า ปรากฎการณ์นี้ชี้ว่า ฟุตบอลไทยลีคได้เป็นที่นิ
พบเฟสบุ๊คให้ผู้ใช้อัพโหลด 'รูปตัวเอง' เพื่อยืนยันตัวตน อ้างป้องกัน 'บ็อต'
Posted: 30 Nov 2017 03:03 AM PST
ในโลกโซเชียลมีเดียมีการพูดถึงกรณีที่เฟสบุ๊คสั่งให้ผู้ใช้อัพโหลดรูปถ่ายตัวเองที่เห็นหน้าชัดๆ เพื่อ "ยืนยันตัวตน" ว่าไม่ใช่บ็อต โดยอ้างว่าระบบนี้เป็นรูปแบบอัตโนมัติเพื่อตรวจสอบพฤติกรรมน่าสงสัยและจะลบรูปที่ส่งให้ทันทีหลังจากตรวจสอบแล้ว แต่เฟสบุ๊คไม่ได้ตอบคำถามว่าจะป้องกันการนำระบบนี้มาใช้ในทางที่ผิดอย่างไร
30 พ.ย. 2560 สื่อ Wired รายงานว่าอีกไม่นาน เฟสบุ๊คอาจจะต้องให้คุณอัพโหลดรูปของตัวเองเพื่อยืนยันตัวตนว่าไม่ใช่ "บ็อต" ซึ่งหมายถึงโปรแกรมอัตโนมัติ โดยเมื่อวันอังคาร (29 พ.ย.) ที่ผ่านมา มีคนทวีตรูปหน้าล็อกอินเฟสบุ๊คที่สั่งให้ผู้ใช้งานต้องอัพโหลด "รูปของตัวเองที่แสดงให้เห็นใบหน้าอย่างชัดเจน" และอ้างว่า "พวกเราจะเช็คมันจากนั้นก็จะลบ (รูปที่อัพโหลด) ออกจากเซิร์ฟเวอร์ของพวกเขาอย่างถาวร"
โฆษกเฟสบุ๊คแถลงต่อสื่อ Wired ต่อกรณี "แคปช่า" หรือ "เครื่องมือยืนยันตัวตน" แบบใหม่ของพวกเขาว่ามีจุดประสงค์เพื่อ "ช่วยดักจับพฤติกรรมน่าสงสัยในการปฏิสัมพันธ์หลายๆ จุดบนเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบัญชีผู้ใช้ การส่งคำขอเป็นเพื่อน การจัดตั้งระบบจ่ายค่าโฆษณา และการสร้างหรือแก้ไขระบบโฆษณา"
การยืนยันตัวตนเช่นนี้เป็นระบบที่มีกระบวนการอัตโนมัติ เช่นการตรวจสอบว่าบัญชีที่ใช้งานมีพฤติกรรมน่าสงสัยหรือไม่ ตรวจสอบรูปถ่ายของผู้ใช้งาน เฟสบุ๊คจะตรวจสอบว่าบัญชีผู้ใช้เป็นตัวบุคคลจริงหรือไม่โดยดูว่ารูปถ่ายมีลักษณะเฉพาะหรือไม่ มีการยกตัวอย่างสิ่งที่เข้าข่าย "พฤติกรรมที่น่าสงสัย" เช่น การโพสต์โดยมีสถานที่มาจากนิวยอร์กมาโดยตลอดแต่จู่ๆ ก็เริ่มโพสต์โดยระบุสถานที่โพสต์ว่ามาจากรัสเซีย
ทางเฟสบุ๊คไม่เปิดเผยรายละเอียดว่ามีวิธีไหนบ้างที่จะป้องกันไม่ให้คนนำระบบนี้มาใช้ในทางที่ผิด ด้าน Wired ตั้งข้อสังเกตว่ามีการใช้ระบบเทคโนโลยีเกี่ยวกับใบหน้าของมนุษย์มากขึ้นเช่นในกรณีของ iPhone X ที่ ใช้ระบบยืนยันตัวตนผู้ใช้ด้วยใบหน้าแบบที่เรียกว่า Face ID
ไม่มีใครทราบว่าทำไมเฟสบุ๊คถึงหันมาใช้ระบบตรวจสอบใบหน้าอีกครั้งในช่วงนี้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยมีกรณีคล้ายๆ กันเกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือน เม.ย. โดยผู้ใช้งานเว็บบอร์ด Reddit ระบุว่าเฟสบุ๊คสั่งให้เขาต้องอัพโหลดรูปตัวเอง แต่ต่อมาก็ระบุว่ารูปของเขา "นำมาใช้ยืนยันไม่ได้"
ในกรณีล่าสุดที่มีการพูดถึงผ่านทวิตเตอร์ ผู้ใช้งานเฟสบุ๊คที่ถูกสั่งให้ส่งรูปถ่ายให้ ได้รับการตอบกลับมาว่าเขาไม่สามารถล็อกอินเข้าสู่ระบบได้จนกว่าทางเฟสบุ๊คจะตรวจสอบยืนยันรูปของเขาเสร็จเรียบร้อย
กรณีการตรวจสอบยืนยันรูปถ่ายดังกล่าวเป็นโครงการอย่างที่สองของเฟสบุ๊คที่ถูกนำมาพูดถึงในช่วงเดือนนี้ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาก็เคยมีกรณีที่เฟสบุ๊คบอกให้ผู้ใช้งานอัพโหลดรูปนู้ดของตัวเองทางโปรแกรมแชตเฟสบุ๊คแมสเซนเจอร์โดยอ้างว่าเพื่อเก็บเป็น "ลายนิ้วมือดิจิทัล" ในเทียบกับโพสต์ต่างๆ ในอนาคตแล้วนำไปใช้ป้องกันเหตุกรณีการแก้แค้นด้วยการอัพโหลดรูปโป๊เปลือยของฝ่ายตรงข้ามที่เรียกว่า revenge porn โดยผู้ใช้งานหลายคนก็รู้สึกไม่ปลอดภัยในการส่งรูปนู้ดตัวเองผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กโดยตรง เรื่องนี้เฟสบุ๊คชี้แจงว่าจะมีการเก็บไฟล์รูปไว้ในแบบข้อมูลที่เป็น "แฮช" (hash) และจะลบรูปทิ้งออกจากเซิร์ฟเวอร์
เรียบเรียงจาก
FACEBOOK'S NEW CAPTCHA TEST: 'UPLOAD A CLEAR PHOTO OF YOUR FACE', Wired, 28-11-2017
https://www.wired.com/story/facebooks-new-captcha-test-upload-a-clear-photo-of-your-face/
"Upload A Selfie" — Facebook May Soon Ask For Your Picture To Confirm You're Not A Robot, Fossbytes, 29-11-2017
https://fossbytes.com/upload-picture-facebook-verification-captcha-robot/
Facebook explains how it'll review nude photos to stop revenge porn, The Verge, 09-11-2017
https://www.theverge.com/2017/11/9/16630900/facebook-revenge-porn-defense-details
ทนายเผย ‘สื่ออิสระ’ ถูกจับคดีเดียวกับชาวบ้าน จ.เลย ที่ยกฟ้องไปแล้ว แต่เพิ่งหาตัวเจอ
Posted: 30 Nov 2017 02:14 AM PST
ทนายเผย จับ 'สื่ออิสระ' คดีเดียวกับชาวบ้าน จ.เลย ที่ยกฟ้องไปแล้ว แต่เพิ่งหาตัวเจอ ชี้ในการสู้คดีสามารถเอาคดีที่ยกฟ้องไปแล้วมาอ้างอิงได้ เตรียมยื่นประกันตัวที่ศาล จ.เลยพรุ่งนี้
ภาพที่ จามร ขึ้นโดรนถ่ายกิจกรรมรณรงค์ปิดเหมือง จ.เลย เมื่อปี 2558
30 พ.ย. 2560 กรณี จามร ศรเพชรนรินทร์ ผู้ทำสื่ออิสระด้านสิทธิชุมชนและสิ่งแวดล้อม ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) พุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี ขณะกำลังทำเรื่องผ่านแดนเพื่อเดินทางไปยังประเทศเมียนมาร์ เมื่อช่วงสายวานนี้ (29 พ.ย.) โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งว่ามีหมายจับคดีบุกรุกภูเขาภูซำป่าบอนซึ่งเป็นพื้นที่ทำเหมืองแร่ทองคำที่ จ.เลย ในข้อหาร่วมกันบุกรุก ขณะที่ ศิริพร ฉายเพ็ชร นักกิจกรรมทางสังคม ตั้งข้อสังเกตว่า อาจมาจากกรณีถ่ายภาพกิจกรรมของประชาชนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดในพื้นที่ด้วยโดรน ตั้งแต่ปี 2558 พร้อมระบุด้วยว่า เจ้าตัวไม่เคยได้รับหมายเรียกมาก่อน
ธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายความที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น ให้สัมภาษณ์ว่า คดีดังกล่าวเป็นคดีเดียวกับที่บริษัทเหมืองแร่ทุ่งคำเป็นโจทก์ฟ้องบุคคลสามคน ข้อหาบุกรุกพื้นที่ของบริษัทที่ภูเขาภูซำป่าบอนเพื่อไปปักธงเขียวและเขียนข้อความ "ปิดเหมืองฟื้นฟู" แต่ศาลได้พิพากษายกฟ้องชาวบ้านสองคนไปแล้วตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย.2559 เพราะบริษัทไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นที่ดินของบริษัทเนื่องจากพื้นที่ได้หมดอายุใบอนุญาตไปแล้ว ส่วนสาเหตุที่จามรไม่ได้ถูกจับพร้อมกับชาวบ้านสองคน เพราะเจ้าหน้าที่ไม่รู้ที่อยู่จึงไม่ได้ติดตามจับกุม เพราะถ้าไม่ใช่คดีร้ายแรงมากตำรวจก็ไม่ได้สืบเสาะหาตัวมาไต่สวนและให้หมายจับค้างเอาไว้ก่อน
ธีรพันธุ์ กล่าวว่า กระบวนการทางกฎหมายต่อไปจะเป็นขั้นตอนการทำสำนวนฟ้องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อส่งให้อัยการพิจารณาสั่งฟ้องหรือไม่สั่งฟ้อง โดยในการต่อสู้คดีสามารถนำคดีที่ศาลยกฟ้องชาวบ้าน 2 คนไปแล้วมาอ้างอิงกับเจ้าพนักงานสอบสวนได้เพื่อชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่รับฟังได้โดยมั่นคงว่าบริษัททุ่งคำไม่น่าจะเป็นผู้ใช้ประโยชน์ในที่เกิดเหตุ
ล่าสุด มีรายงานว่า เมื่อเวลา 15.40 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สภ.วังสะพุง จ.เลยที่เป็นเจ้าของคดี มารับตัวจามร จาก สภ.เมือง จ.กาญจนบุรี เพื่อฝากขังที่ศาล จ.เลย ซึ่งคาดว่าจะถึง จ.เลยในคืนนี้ ส่วนทนายจะเดินทางไปยังศาล จ.เลยเพื่อดำเนินการประกันตัวจามรในวันพรุ่งนี้
ป.ป.ช.ประเมินคุณธรรม ความโปร่งใส ปี 60 สปสช. ได้ 92.77 คะแนน
Posted: 30 Nov 2017 02:01 AM PST
30 พ.ย.2560 รายงานข่าวแจ้งว่า ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้ดำเนินโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ 2560 เพื่อประเมินผลด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมรับการประเมิน และเพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนาคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ นั้น
อำลา 'สุรินทร์ พิศสุวรรณ' อดีตเลขาธิการอาเซียน (2492-2560)
Posted: 30 Nov 2017 01:47 AM PST
สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีต ส.ส. หลายสมัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศผู้ผลักดัน "ศุภชัย พานิชภักดิ์" นั่ง ผอ.ใหญ่ WTO 3 ปีสลับกับไมค์ มัวร์ และส่งทหารไทย-ฟิลิปปินส์ไปรักษาสันติภาพหลังติมอร์เลสเตได้รับเอกราช และอดีตเลขาธิการอาเซียนเสียชีวิตแล้วด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน รวมอายุ 68 ปี
สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ที่มา: Facebook/Surinofficial)
30 พ.ย. 2560 เมื่อเวลา 15.00 น. สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เสียชีวิตแล้ววันนี้จากอาการหัวใจวายเฉียบพลัน โดยร่างอยู่ที่โรงพยาบาลรามคำแหง รวมอายุ 68 ปี
อนึ่งสุรินทร์มีกำหนดไปเป็นประธานเปิดงาน Thailand Halal Assembly 2017 ที่ไบเทคบางนาในเวลา 14.00 น. แต่เกิดเจ็บหน้าอกและหมดสติ ทางครอบครัวจึงรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลรามคำแหง และชีวิตในเวลา 15.00 น.
สำหรับกำหนดการพิธีฝังศพสุรินทร์ พิศสุวรรณ ในวันที่ 1 ธ.ค. ตามที่เผยแพร่ในเพจของสุรินทร์ พิศสุวรรณ ระบุว่า จะประกอบพิธีที่มัสยิดท่าอิฐ ต.ท่าอิฐ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โดยในเวลา 12.00 น. เคลื่อนศพออกจากบ้านดารุ้ลอามาน ไปมัสยิดท่าอิฐ ต.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 14.30 น. พิธีละหมาดญานาซะฮ์ตามหลักศาสนาอิสลาม 14.45 น. พิธีฝังศพตามหลักศาสนาอิสลาม ณ สุสานมัสยิดท่าอิฐ (ที่อยู่)
โดยเจ้าภาพได้ระบุในหมายเหตุด้วยว่า "ท่านที่ประสงค์จะแสดงความเคารพ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ครอบครัวพิศสุวรรณขอความกรุณาท่านให้เดินทางมาที่บ้านดารุ้ลอามาน เลขที่ 57/40 หมู่ที่ 1 ซ.ท่าอิฐ (ซ.พิศสุวรรณ) ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.ไทรม้า อ.เมือง จ.นนทบุรี ในช่วงเช้า ไม่เกิน 10.00 น."
สำหรับประวัติของเขาในฐานข้อมูลสถาบันพระปกเกล้า ระบุว่า สุรินทร์ พิศสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2492 เป็นคนบ้านตาล ต.กำแพงเซา อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช พ่อชื่อ ฮัจยี อิสมาแอล แม่ชื่อ ซอฟียะห์ พิศสุวรรณ เขาเป็นลูกชายคนโตจากทั้งหมด 11 คน มีคุณตาชื่อ ฮัจจียะโกบ พิศสุวรรณ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนปอเนอะบ้านตาลหรือ โรงเรียนประทีปศาสน์ โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามของเอกชน ส่วนคุณตาทวดของ ดร.สุรินทร์ เป็นผู้บุกเบิกชุมชนมุสลิมใน จ.นครศรีธรรมราช ชื่อ อิหม่ามตูวันฆูอัลมัรฮูม ฮัจยีซิดฎิก พิศสุวรรณ ดร.สุรินทร์มีชื่อในภาษาอาหรับว่า อับดุลฮาลีม บินอิสมาแอล พิศสุวรรณ ซึ่งแปลว่า "ผู้มีจิตใจสุขุมเยือกเย็น โกรธยาก อภัยเร็ว"
ทั้งนี้สุรินทร์ สมรสกับ ฮัจยะห์อาอีซะฮ์ มีบุตรชาย 3 คน คือ มุฮัมหมัด ฟูอาคี พิศสุวรรณ, ฮุสนี พิศสุวรรณ และฟิกรี่ พิศสุวรรณ
ชีวิตการศึกษาของเขา จบชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนวัดบ้านตาล อ.เมืองนครศรีธรรมราช จบชั้นมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนพรสวัสดิ์วิทยา, โรงเรียนเบญจมราชูทิศ และโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราชปี
ปี 2515 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต (ปรัชญารัฐศาสตร์) (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยแคลร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา โดยก่อนหน้านี้เขาเรียนที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเวลา 2 ปี
ปี 2517 จบการศึกษาปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ปี 2522 จบการศึกษาปริญญาเอกด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยเขาเริ่มอาชีพนักวิชาการในตำแหน่งอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่าง พ.ศ. 2518-2529
เขาเข้าสู่เส้นทางการเมืองในปี 2529 โดยได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. นครศรีธรรมราช เขต 1 พรรคประชาธิปัตย์ โดยตลอดชีวิตการทำงานการเมืองเขาได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ทั้งระบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อไม่น้อยกว่า 8 สมัย
ในปี 2535 เคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย และในปี 2540 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สมัยรัฐบาลชวน 2
โดยเขาเป็นผู้รณรงค์หาเสียงและสนับสนุน ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ณ ขณะนั้นให้ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization; WTO) ซึ่งต้องแข่งกับ ไมค์ มัวร์ อดีตนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ที่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้สนับสนุน สุดท้ายนำไปสู่ข้อเสนอของสุรินทร์ให้ผลัดกันเป็นผู้อำนวยการใหญ่ WTO คนละ 3 ปี โดยให้ไมค์ มัวร์เป็นก่อนตามด้วยศุภชัย
นอกจากนี้หลังจากที่ติมอร์-เลสเตได้รับเอกราช ในปลายปี 2542 โคฟี อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ และ บิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาขอความช่วยเหลือให้ไทยเป็นแกนนำหลักในการรักษาสันติภาพที่ติมอร์-เลสเต โดยสุรินทร์ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เจรจาของบประมาณสนับสนุน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากญี่ปุ่น เพื่อส่งกองกำลังร่วมไทย-ฟิลิปปินส์จำนวน 3,400 นายไปรักษาสันติภาพที่ติมอร์-เลสเต
ในปี 2548 หลังการเลือกตั้ง 6 กุมภาพันธ์ 2548 ที่พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งให้กับพรรคไทยรักไทยเป็นครั้งที่ 2 บัญญัติ บรรทัดฐาน ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีการเลือกกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยสุรินทร์ได้รับเลือกเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นอกจากนี้ในปี 2548 เขายังได้รับเลือกเป็นกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติด้วย
ทั้งนี้หลังรัฐประหาร คมช. ในปี 2549 เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
และในปี 2551 เป็นวาระที่ไทยจะต้องเป็นเลขาธิการอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศเสนอชื่อสุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นเลขาธิการอาเซียน โดยดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2551-2555
ในฐานข้อมูลของสถาบันพระปกเกล้า ระบุว่า สุรินทร์ มีส่วนสำคัญในการผลักดันในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศให้สัตยาบันต่อกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) จนแล้วเสร็จในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2551 และได้ประกาศใช้ในที่สุด นอกจากนี้แล้ว ดร.สุรินทร์ยังได้รณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนทั้ง 10 ชาติตระหนักและรู้จักอาเซียนให้มากขึ้นอีกด้วย
อนึ่งในปลายปี 2556 ช่วงการชุมนุมต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม สุรินทร์ พิศสุวรรณ ได้ร่วมกับศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปราศรัยคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่ลานหน้าตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2556 (ฟังคำปราศรัย)
ขณะที่ในรอบปีมานี้ มักมีข่าวว่าสุรินทร์มีชื่อเป็นผู้ชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่ด้วย
สหภาพยุโรป เสนอแผนระยะ 2 ปี หวังลดความเหลื่อมล้ำค่าจ้างชาย-หญิง
Posted: 30 Nov 2017 01:39 AM PST
ผู้หญิงในยุโรปได้รับค่าจ้างในการทำงานประเภทเดียวกันน้อยกว่าผู้ชายโดยเฉลี่ย 16.3% ในการทำงาน 1 ชั่วโมง คณะกรรมาธิการของสหภาพยุโรปหวังใช้แผน 2 ปี แก้ไขปัญหาช่องว่างนี้
ที่มาภาพประกอบ Ken Teegardin (CC BY-SA 2.0)
30 พ.ย. 2560 คนทำงานหญิงทั่วโลกยังคงเผชิญกับปัญหาเรื่องช่องว่างระหว่างรายได้ แม้แต่ภูมิภาคที่เจริญที่สุดอย่างยุโรปก็หนีปัญหานี้ไม่พ้น และพวกเขาก็พยายามแก้ไข โดย เว็บไซต์ trust.org รายงานว่าปลายเดือน พ.ย. 2560 ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้นำเสนอแผนการระยะ 2 ปี เพื่อลดปัญหาความไม่เท่าเทียมในการจ่ายค่าจ้างระหว่างเพศชายและหญิง หลังจากในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ปัญหาความเหลื่อมล้ำดังกล่าวแทบจะไม่ลดลง
โดยแผนการดังกล่าวได้ตั้ง 8 ข้อแนะนำสำหรับประเทศในสหภาพยุโรปเพื่อการรับประกันว่าผู้หญิงจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมในสถานที่ทำงาน ข้อเสนอนี้รวมไปถึงการตั้งมาตรการขั้นต่ำในการลงโทษสำหรับบริษัทที่ไม่ให้ความสำคัญในการจ้างงานอย่างเสมอภาคทางเพศ รวมทั้งการจับตาดูนโยบายที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศในบริษัทยักษ์ใหญ่ของยุโรป ซึ่งคณะกรรมาธิการจะประเมินผลมาตรการในช่วงสิ้นปี 2562 อันเป็นช่วงก่อนคณะกรรมการชุดนี้จะหมดวาระลง
"เราไม่เห็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่ ๆ ในเรื่องนี้เลย ตลอดเวลามากกว่า 10 ปีที่ผ่านมา" เวร่า จูโรว่า ประธานคณะกรรมาธิการด้านความเท่าเทียมทางเพศ (Commission's gender equality) กล่าวในการประชุม "เราไม่สามารถลดช่องว่างนี้ลงได้อย่างชัดเจน แม้ว่าเราจะมีความพยายามอย่างมากมายก็ตาม"
คณะกรรมาธิการยุโรปได้รายงานว่า ผู้หญิงในประเทศยุโรปได้รับค่าจ้างในการทำงานประเภทเดียวกัน น้อยกว่าผู้ชายโดยเฉลี่ยร้อยละ 16.3 ในการทำงาน 1 ชั่วโมง และค่าเฉลี่ยนี้ไม่ได้ลงเลยตลอด 5 ปี
ในเวลาเดียวผลสำรวจ Eurobarometer poll เผยว่าร้อยละ 90 ของชาวยุโรปมองว่าการที่ผู้หญิงได้รับค่าจ้างที่น้อยกว่าผู้ชาย ในงานชนิดเดียวกันเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้
"สิ่งนี้ถอยหลังลงคลองในหลายส่วนของโลก" ฟรานส์ ทิมเมอร์แมนส์ รองคณะกรรมาธิการยุโรปพูดในการกล่าวเปิดการประชุมเพื่อสิทธิสตรี "หลายคนคิดว่าเรามีสังคมที่เท่าเทียม เราบรรลุเป้าหมายแล้วแต่มันไม่ใช่ความจริงเลย"
ในปี 2555 คณะกรรมาธิการเคยเสนอมาตรการทางกฎหมาย เรียกร้องให้อย่างน้อยร้อยละ 40 ในตำแหน่งงานที่ไม่ได้ใช่ผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียนต้องมีผู้หญิงดำรงตำแหน่ง 7 ปี แต่ข้อเสนอดังกล่าวไม่ผ่านการพิจารณาโดยเสียงข้างมากของประเทศสมาชิก โดยสหราชอาจักรและเยอรมันเป็นสองในชาติสมาชิกที่คัดด้านข้อเสนอ
ตั้งแต่ปี 2557 ณอง-โคล้ด จุงเคอร์ ประธานกรรมาธิการยุโรป ได้ตั้งเป้าให้ผู้หญิงเป็นผู้แทนในตำแหน่งการจัดการระดับกลางและระดับอาวุโสของคณะกรรมาธิการเฉลี่ยร้อยละ 40 ให้ได้ภายในปี 2562 จากรายงานของคณะกรรมาธิการยุโรปเผยว่าในเดือน มี.ค. ที่ผ่านมามี สัดส่วนดังกล่าวพุ่งสูงขึ้นเกือบถึงร้อยละ 35 จากที่เคยอยู่ที่ร้อยละ 23 ในปี 2556
'ต้านคอร์รัปชัน' วิพากษ์กฎหมายใหม่ ป.ป.ช. ปมเปิดเผยข้อมูลบัญชีทรัพย์สิน
Posted: 29 Nov 2017 11:55 PM PST
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน จัดเวทีสื่อมวลชนถกประเด็นกฎหมายใหม่ป.ป.ช. กรณีเปิดเผยข้อมูลบัญชีทรัพย์สินโดยสรุปและปิดข้อมูลส่วนบุคคล 14 รายการ ชี้ไม่เปิดบัญชีทรัพย์สินตามที่ยื่นมา แต่จะเปิดผลการตรวจสอบ ห่วงวันข้างหน้าอาจปกปิดเพิ่มอีก ด้านรักษาการเลขาธิการ ป.ป.ช.พร้อมรับไปทบทวนเพิ่มเติม
30 พ.ย.2560 องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT รายงานว่า เมื่อวันที่ 29 พ.ย.ที่ผ่านมา ACT ได้จัดงานเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง การเปิดเผยทรัพย์สินและบทบาทหน้าที่ของปปช. ตามพระราชบัญญัติ ปปช.ใหม่ ประมนต์ สุธีวงศ์ ประธาน ACT กล่าวว่า องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ในฐานะองค์กรภาคประชาชนมีความสนใจในหลายประเด็นที่จะต่อต้านการคอร์รัปชันในไทย และได้จัดสัมมนามาเป็นระยะๆในหัวข้อที่น่าสนใจ โดยในวันนี้ได้จัดงานเสวนาโต๊ะกลมหัวข้อ "การเปิดเผยทรัพย์สินและบทบาทหน้าที่ ป.ป.ช.ตาม พระราชบัญญัติ ป.ป.ช.ใหม่" เนื่องจากขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติฉบับใหม่ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภา มีหลายประเด็นที่นำสู่การแสดงความเห็นที่หลากหลาย ทั้งความไม่เข้มแข็งของกฎหมายต่างจากฉบับเดิมที่มีความเข้มแข็ง ความรวดเร็ว ความมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมไปถึงหน้าที่ของปปช.ในด้านการป้องกันและการปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเชื่อว่าการสัมมนาในวันนี้จะได้รับฟังข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากหลายฝ่าย
มานะ นิมิตมงคล เลขาธิการ ACT
มานะ นิมิตมงคล เลขาธิการ ACT เปิดเผยว่า ปมใหญ่ขอกฏหมายใหม่จะไม่เปิดบัญชีทรัพย์สินตามที่ยื่นมา แต่จะเปิดผลการตรวจสอบ ขณะที่ระเบียบ ป.ป.ช.เดิมซึ่งออกเมื่อกลางปีนี้ การเปิดเผยข้อมูลจะยกเว้นหรือปกปิด 14 รายการ จากเดิม 4 รายการ
"เราเป็นห่วงว่า วันข้างหน้าอาจปกปิดเพิ่มอีก" เลขาธิการ ACT กล่าว
วรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการ คณะกรรมการป.ป.ช. รักษาการเลขาธิการ ให้ข้อมูลว่า การกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติกันทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันที่ 161 กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน เพื่อสร้างความโปร่งใส่ป้องกันการทุจริต ถือเป็นมาตรการเสริมในการป้องกันการทุจริต
การเปิดเผยข้อมูลทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของไทยมีการพัฒนามาเป็นระยะ โดยรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 234(3)บัญญัติไว้ว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดให้ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และเจ้าหน้าที่ของรัฐยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รวมทั้งตรวจสอบและเปิดเผยการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้ของบุคคลดังกล่าว
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตำแหน่งที่ต้องเปิดเผยข้อมูลทรัพย์สินและหนี้สินเพิ่มมากขึ้น และขณะนี้กำลังมีการพิจารณาที่จะเพิ่มตำแหน่งที่จะเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น คือ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงสุด และผู้ดำรงตำแหน่งการปกครองท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นเรื่องดี เมื่อเทียบกับตำแหน่งที่ต้องเปิดเผยข้อมูลตามรัฐธรรมนูญปี 2517 ที่กำหนดให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินเป็นครั้งแรก ซึ่งผลกับผู้ประพฤติผิดในวงราชการ
ส่วนรัฐธรรมนูญปี 2518 ได้มีการปฏิรูปให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องแสดงรายการทรัพย์สินและการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สิน เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่าในช่วงที่ดำรงตำแหน่งมีการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบหรือไม่ ซึ่งกำหนดให้มีการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของนักการเมืองในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กับรัฐมนตรี จนรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้เพิ่มตำแหน่งทางการเมืองที่ต้องเปิดเผนรายการทรัพย์อีก 2 ตำแหน่ง คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกรัฐสภา
สำหรับประเด็นที่มีการถกเถียงในขณะนี้คือ การเปิดเผยข้อมูล ซึ่งในมาตรการ 104 แห่งร่างพ.ร.บ. กำหนดให้คณะกรรมการป.ป.ช. เปิดเผยข้อมูลรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของนักการเมืองต่อสาธารณได้โดยสรุปเท่านั้น ห้ามเปิดเผยในรายละเอียด โดยเฉพาะรายการที่จะไม่เปิดเผยซึ่งเพิ่มเป็น 14 รายการจากเดิมมีเพียง 4 รายการเท่านั้น เพราะอาจขัดต่อหลักการที่จะให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ
ในเรื่องนี้ วรวิทย์ รายการข้อมูลที่ไม่เปิดเผยที่เพิ่มขึ้น 14 รายการเป็นรายละเอียดที่อาจจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิต หรืออาจจะถูกคุกคาม เช่น ข้อมูลหมายเลขบัตรประชาชน อีเมลล์ ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจจะมีผลต่อความปลอดภัยจากการบริการดิจิทัลที่มีการใช้กันมากขึ้นในปัจจุบัน หรือ เลขที่บัญชีธนาคารสถาบันการเงิน เลขที่โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง เลขที่บ้าน เป็นต้น
คณะกรรมการป.ป.ช.เห็นการปกปิดข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ประชาชนไม่สามารถมีส่วนร่วมในการตรวจสอบได้ เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนไม่ต้องการข้อมูลเชิงลึก ไม่ว่า เลขที่บัญชีธนาคาร เลขที่โฉนด อย่างไรก็ตามการปกปิดรายการใดยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการป.ป.ช. พร้อมที่จะรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน และยังต้องการพลังการสนับสนุนจากภาคประชาชน เพราะการป้องกันและการราบปรามทุจริตคอร์รัปชันเป็นหัวใจหลัก เพื่อนำไป ทบทวนและแก้ไขกฎหมายให้สะท้อนความเห็นจากประชาชน และสื่อมวลชนอย่างแท้จริง
ภัทระ คำพิทักษ์ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
ภัทระ คำพิทักษ์ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การเปิดเผยทรัพย์สินและหนี้สินเป็นมาตรการเชิงจริยธรรมที่พึงกระทำของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งระดับสูง นักการเมือง ผู้ที่มีตำแหน่งสำคัญของประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญทั้งโลก บางประเทศอาจจะมีโทษทางอาญา บางประเทศอาจจะไม่มีโทษทางอาญา แต่ใช้ข้อมูลนั้นเป็นฐานในการตรวจสอบเพิ่มเติมด้านอื่น เช่น ร่ำรวยผิดปกติ สำหรับประเทศไทยระยะแรกไม่มีโทษทางอาญา แต่มีการลงโทษทางอาญาโดยศาลในภายหลัง
การเขียนการเปิดเผยข้อมูลทรัพย์สินและหนี้สินในรัฐธรรมนูญ 2560 ได้คำนึงถึงความเป็นจริงของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ยึดหลักความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่ายและปัญหาที่เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย และยังคงไว้ซึ่งหลักการที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบทรัพย์สิน การป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญปี 2540 และปี 2550 เป็นการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำให้สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
ส่วนการเปิดเผยข้อมูลโดยสรุปหลังจากที่คณะกรรมการป.ป.ช.ได้ตรวจสอบแล้วนั้น หมายถึงว่า ตรวจได้ผลอย่างไรให้เปิดเผยตามนั้น เพียงแต่ต้องไม่ระบุถึงรายละเอียดทางทะเบียนของทรัพย์ หรือข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่จำเป็น หรือข้อมูลที่อาจจะมีอันตรายของบุคคลได้ เพราะปัจจุบันระบบเทคโนโลยี่ดิจิทัลแบงกิ้งเติบโตมากขึ้น การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวบางรายการอาจจะมีการนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ได้
จุดมุ่งหมายของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญคือ รายการใดที่อันตรายต่อเจ้าของบัญชีทรัพย์สิน ก็ไม่ควรเปิดเผย ไมได้มีเจตนาปกปิด เช่น หมายเลขบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด หมายเลขโทรศัพท์ที่บ้าน โทรศัพท์มือถือ เลขที่บัญชีหุ้น เลขที่บัญชีเงินใหกู้ยืม โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง เลขที่บ้าน เลขบัตรเครดิต ดังนั้นการ
เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินยังคงหลักการเดิม โดยกำหนดให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบ ส่วนวิธีการเปิดเผยข้อมูลขึ้นอยู่กับการกำหนดระเบียบวิธีปฏิบัติของคณะกรรมการป.ป.ช.
ภัทระ กล่าวปิดท้ายว่า กฎหมายมีความก้าวหน้าในการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน รวมทั้งการปราบปรามคอร์รัปชันเพราะครอบคลุมเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่เริ่มรับราชการ มีหน้าที่ในการยื่นบัญชีทรัพย์สิน ตามมาตรามา 103(2) และยื่นทุก 3 ปี ระหว่างการดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งข้อมูลนี้จัดเก็บ 2 ที่คือหน่วยนงานต้นสังกัดกับหน่วยงานกลาง
รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติและนักจัดรายการวิทยุ โทรทัศน์
รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติและนักจัดรายการวิทยุ โทรทัศน์ กล่าวว่า การเปิดเผยข้อมูลบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามรัฐธรรมนูญปี 2560 เป็นเรื่องที่ดี แต่ไม่มั่นใจว่าในการปฏิบัติงานคณะกรรมการป.ป.ช. สามารถตรวจสอบได้ถี่ถ้วนหรือไม่ รวมทั้งมีการตีความการเปิดเผยข้อมูลตามกฎหมายอย่างไร และจะมีการอ้างความเป็นส่วนตัวมากขึ้นหรือไม่
ประเด็นอยู่ที่การพิจารณาเรื่องสิทธิส่วนบุคคลกับผลประโยชน์ต่อสาธารณะ เพราะเมื่ออาสาเข้ามาทำงานเพื่อสาธารณะแล้ว ความเป็นส่วนตัวย่อมลดลง สิทธิส่วนบุคคลควรจะน้อยลง แต่รัฐธรรมนูญ 2560 เขียนไว้คลุมเครือทำให้เกิดความกังวลในประเด็นเปิดเผยโดยสรุป ซึ่งไม่มั่นใจว่าคณะกรรมการป.ป.ช.จะสรุปมากน้อยแค่ไหนเพราะตีความได้ นอกจากนี้ผลการตรวจสอบนั้นครอบคลุมถึงรายการที่ยื่นมาตั้งแต่ต้นหรือไม่
นอกจากนี้ยังกังวลประเด็นถึงบุคคลที่เป็นกรรมการ ป.ป.ช. ที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามกฎหมายใหม่ ซึ่งอาจจะไม่แน่ใจว่าจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการทั้งชุด หรือเปลี่ยนแปลงในรายบุคคล
พล.อ.อ.วีรวิท คงศักดิ์ กรรมการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ กล่าวว่า ความแตกต่างของรัฐธรรมนูญปี 2540 ปี 2550 และปี 2560 คือ การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินในปี 2540 กำหนดเป็นหมวดหนึ่งเฉพาะ ส่วนปี 2550 มีรายละเอียดเฉพาะวิธีการปฏิบัติ แต่ปี 2560 ไม่ได้เขียนไว้ กลับเขียนไว้ในอำนาจของป.ป.ช.ในมาตรา 234 อนุ 3 ที่เป็นประเด็นปัญหาอยู่
ประเด็นที่ถกเถียงว่า ใครควรจะยื่นบัญชีทรัพย์สินหนี้สิน แม้รัฐธรรมนูญ 2560 ได้เพิ่มคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียนด้วย แต่ไม่เหมือนกับต่างประเทศที่นัยยะของกฎหมายเจาะจงให้เกิดผลมากกว่า เพราะระบุว่า ตัวเองคือเจ้าหน้าที่รัฐ คู่สมรสและบุคคลในอุปการะ แต่กฎหมายไทยเขียนว่าคู่สมรส บุตรบุญธรรม ข้อเท็จจริงบุตรที่โตแล้วก็อาจจะอุปการะด้วย
จุดอ่อนในกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2560 คือการยื่นบัญชีทรัพย์สินที่เป็นหัวใจในการปราบคอร์รัปชันคือ 1.การยกเลิกยื่นบัญชี 1 ปีหลังพ้นตำแหน่ง ที่ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบที่มาของทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นได้เมื่อพ้นตำแหน่ง ขณะที่กฎหมายป.ป.ช. มาตรา 103 ห้ามรับของขวัญอันสืบเนื่องจากหน้าที่ที่ทำงาน 2 ปี หลังเกษียณ 2.ขยายกลุ่มผู้ที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน คือเพิ่มข้าราชการระดับสูงทั้งหมด และผู้บริหารท้องถิ่น 3.การให้ความสำคัญข้อมูลความลับ ข้อมูลส่วนตัวและอาจจะเกิดอันตราย
นอกจากนี้ข้อมูลที่เป็นความลับ ต้องกำหนดให้ชัดว่าข้อมูลที่เป็นความลับส่วนตัวคืออะไร เพราะ ข้อมูลที่ห้ามในหลักการเดิมคือ เลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร เลขบัตรเครดิต แต่บางอย่างที่ห้ามในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่ในนามบัตรมีไว้อยู่แล้วทั้งบ้านเลขที่ อีเมล์ หมายเลขโทรศัพท์ จึงไม่ควรห้าม
ส่วนการกำหนดให้ข้าราชการยื่นบัญชีทรัพย์สินหนี้สินไว้กับหัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้าส่วนราชการจะเอาไปเก็บไว้กับสมุดประวัติ โดยไม่ต้องเปิดเผยตามมาตรา 127 ซึ่งป.ป.ช.ต้องการให้ยื่นทุก 3 ปี โดยให้ฝ่ายบริหารของป.ป.ช. เป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บข้อมูล คณะกรรมการปฏิรูปมีความกังวล เพราะเคยมีบทเรียนมาแล้ว
พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กล่าวว่า โดยส่วนตัวได้กรอกแบบฟอร์มแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินส่งป.ป.ช.เมื่อเร็วๆนี้ และไม่รู้สึกลำบากใจต่อการเปิดเผยข้อมูลทั้งข้อมูลที่อยู่ ดังนั้นเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลไม่น่าจะมีการปกปิดอะไร เพราะเป็นข้อมูลที่มีการรับรู้กันทั่วไป ที่ผ่านมาสื่อมวลชนมีข้อมูลเจาะลึกกว่าที่ป.ป.ช.เผยแพร่เสียอีก รวมทั้งการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลสาธารณะ ก็ต้องยอมรับการเปิดเผย
ส่วนการตรวจสอบนั้นมีความเห็นว่า ควรมีผลตรวจสอบที่ให้หน่วยงานอื่นสามารถตรวจสอบเพิ่มเติมได้ ไม่ใช่เป็นการตรวจสอบฐานะว่า รวยเป็นปกติหรือผิดปกติ โดยควรสรุปงการแสดงบัญชีทรัพย์สินมีคุณค่ามีประโยชน์ไปถึงการตรวจสอบภาษีว่าถูกต้องครบถ้วนเป็นธรรมด้วย อยากฝากให้ป.ป.ช.ดูด้วย
ทางด้านข้อกังวลเรื่องบทบัญญัติมีการเพิ่มขั้นตอนขึ้นมามาก รวมทั้งร่างกฎหมายที่มีบทบัญญัติให้เลขาธิการป.ป.ช.ต้องรับผิดชอบด้วย กรณีข้อมูลรั่วไหลและสงสัยว่ามาจากการทำงานของป.ป.ช. ถือว่าไม่เป็นธรรมเพราะ ปัจจุบันนี้การสืบหาข้อมูลเลขที่บ้าน สื่อมวลชนหาได้ไม่ยาก รวมไปถึงยังกังวลขั้นตอนการไต่สวนที่เลขาธิการต้องเสนอคณะกรรมการป.ป.ช.ทุกเรื่อง เพราะเห็นว่าหน่วยงานธุรการของป.ป.ช.น่าจะมีอิสระในการตัดสินใจได้ลงมือปฏิบัติงาน แสวงหาข้อเท็จจริงได้
ส่วนมาตรา 41,42,43 ให้คณะกรรมการคตง.มีอำนาจตรวจสอบคณะกรรมการป.ป.ช. ต้องพิจารณาว่าซ้ำซ้อน และขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่
เสนาะ สุขเจริญ บรรณาธิการข่าว สำนักข่าวอิศรา กล่าวว่า ในฐานะสื่อให้ความสำคัญเป็นพิเศษ คือมาตรา 104 ที่ปกปิดทั้งหมด 14 รายการ มองว่าเป็นการตัดทางการทำงานขององค์กรภาคประชาชนเพราะที่ผ่านมาบัญชีทรัพย์สินเป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจสอบร่องรอยที่มาของทรัพย์สิน ความร่ำรวยของนักการเมือง อย่างเช่น คดีซุกหุ้น คดีเงินกู้ 45 ล้านบาท ของพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ คดีปกปิดบัญชีทรัพย์สินของอดีตส.ส.ก็มาจากการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน ในสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ มีรัฐมนตรี 7-8 คน ถือครองหุ้นเกิน 5% ซึ่งนำไปสู่การสิ้นสุดของความเป็นรัฐมนตรี ก็มาจากการทำหน้าที่ของสื่อและภาคประชาชน เข้าไปตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน การสิ้นสุดการเป็นรัฐมนตรี กรณีนายไชยา สะสมทรัพย์,นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ เป็นต้น
การตัดการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินทั้งหมด 14 รายการ แทบจะไม่เห็นร่องรอยอะไร อย่างเช่น กรณีโครงการก่อสร้างสนามฟุตซอล มีบริษัทของนักการเมืองเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐได้รับงานก่อสร้างสนามฟุตซอลรวมเป็นมูลค่า 30 ล้านบาท แต่เมื่อตรวจสอบบัญชีผู้ถือหุ้นแล้ว ปรากฏว่าไม่มีรายชื่อนักการเมืองรายนั้นถือหุ้น แต่มีผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สื่อไปตรวจสอบที่อยู่ของผู้ถือหุ้นใหญ่รายนี้ เปรียบเทียบกับที่อยู่อาศัยของนักการเมืองที่แจ้งต่อป.ป.ช. ปรากฏว่าใช้ที่อยู่เดียวกัน นี่คือร่องรอย ของการทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน
การปกปิดที่อยู่อาศัยของบุคคลสาธารณกลุ่มนี้ อาจจะกลายเป็นว่ากฎหมายฉบับนี้ให้ความสำคัญและให้น้ำหนักบุคคลสาธารณเหล่านี้มากกว่าการให้น้ำหนักการทำหน้าที่ตรวจสอบของภาคประชาชน .
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google, 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น