โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ครั้งแรกในสนาม มุมมองต่อการชุมนุมของกลุ่มพิทักษ์สยาม

Posted: 26 Nov 2012 11:20 AM PST


ผมไม่เคยไปม็อบมาก่อนเลย จึงรู้สึกตื่นเต้นมากๆ แถมยังเป็นม็อบที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างจากตัวเองอีกด้วย แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ได้กังวลอะไรมาก คิดว่าไม่น่าจะมีอะไรรุนแรง เพราะไปถึงตอน 10 โมงกว่า ยังสว่างอยู่

ทีแรกคิดว่าจะเป็นการชุมนุมที่มีคนแออัดและคงต้องร้อนมากๆ แต่เมื่อไปถึงก็พบว่ากลุ่มผู้ชุมนุมมีไม่มากนัก แม้แต่บริเวณหน้าเวทีปราศรัยที่มีคนมากที่สุดก็รู้สึกว่าไม่ได้แออัดอะไรมาก สามารถเดินเข้าออกได้สบายพอสมควร ไม่เหมือนอย่างที่คิดไว้เท่าไร

ประเด็นที่ใช้เคลื่อนไหวเป็นประเด็นเก่าคือโจมตีว่าเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดและมีการทุจริต รวมถึงข้อหาปล่อยให้มีการจาบจ้วงสถาบัน ซึ่งสอดคล้องกับเหตุผลในการตัดสินใจเข้าร่วมชุมนุมของผู้ชุมนุมหลายๆ คน ส่วนที่น่าจะฝังใจผู้เข้าร่วมชุมนุมมากที่สุดก็คือ รัฐบาลมีการทุจริต เป็นรัฐบาลโกงบ้านโกงเมือง และบางคนกล่าวต่ออีกว่า "ต้องหาคนดีมาเป็นรัฐบาล ไม่ใช่เอาพวกเผาบ้านเผาเมืองมาเป็นรัฐบาล"

นอกจากนี้แกนนำบางคนหยิบประเด็น "ยิ่งลักษณ์ส่งตาหวานให้โอบามา" มาโจมตีเพื่อลดความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ และเมื่อในกรอบคิดของสังคมไทยไม่ยอมให้ผู้หญิงมีกริยาเจ้าชู้อย่างชายได้ การนำประเด็นเรื่องบนเตียงมาใช้โจมตีผู้หญิงจึงเป็นการไม่ให้เกียรติอย่างรุนแรง แสดงถึงความถดถอยทางศีลธรรมของนักการเมืองและความคิดอุบาทว์ของผู้พูด

บรรยากาศภายในม็อบก่อนการใช้แก๊สน้ำตาในเวลาประมาณ 14.00 น. นั้น ไม่มีความตึงเครียด หลายๆ คนยังมีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสเมื่อได้ฟังคำพูดที่ถูกใจจากบรรดาแกนนำ ตรงนี้ทำให้ผมก็ไม่รู้สึกเครียดไปด้วย และถือโอกาสเดินถ่ายรูป และเข้าไปพูดคุยกับผู้เข้าร่วมชุมนุม พูดคุยไปประมาณ 3-4 คน แต่เพราะความไม่เจนจัดในการพูดการจา จึงได้พูดคุยแค่ประเด็นว่าทำไมต้องออกมาร่วมชุมนุม สอบถามถึงสาเหตุความไม่พอใจรัฐบาลเพียงเท่านั้น

ในแง่ของบทบาทของตัวละครต่างๆ ในด้านแกนนำ คิดว่ายังอ่อนอยู่ คือไม่สามารถพูดปลุกเร้าอารมณ์คนเพิ่มความเกลียดชัง เพิ่มแรงโมโหอะไรได้มากนัก จึงต้องถือว่าไม่ประสบความสำเร็จนัก ในเรื่องการพูดต่อมวลชน ดูเหมือนว่าแกนนำอื่นๆ กับเสธ.อ้าย ไม่ได้ตระเตรียมว่าจะถามอะไร จะพูดอะไร ทำให้ เสธ.อ้าย ดูเหมือนติดๆ ขัดๆ ถามคำตอบคำ

ส่วนตำรวจนั้นจะถูกกล่าวถึงหรือถูกด่ามากที่สุดก็ช่วงที่ยิงแก๊สน้ำตามาทางผู้ชุมนุม ผมคิดว่านี่เป็นเรื่องปกติเพื่อปรามผู้ชุมนุม ไม่ว่าการชุมนุมไหนๆ และเมื่อคิดเทียบกับการชุมนุมทางการเมือง ก็ดูจะเป็นมาตรฐานเดียวกับที่ใช้กับกลุ่มคนเสื้อแดง

ขณะที่บทบาทของสื่อคราวนี้ สื่อให้ความสำคัญกับม็อบเสธ.อ้ายอย่างมาก (คงคิดว่าเป็นม็อบที่แปลกกระมัง) แต่เอาเข้าจริงก็ต้องถือว่าไม่ยิ่งใหญ่สมความเกรียวกราวในหน้าสื่อ โดยเฉพาะตัวเสธ.อ้ายเอง ทั้งๆ ที่กระแสแช่แข็งมันโลดแล่นในหน้าสื่ออยู่แล้ว แต่ไม่สามารถเรียกคนให้ออกมาร่วมชุมนุมได้มากเท่าที่คาด อาจเป็นเพราะไม่ได้มีการวางแผนที่ดี ไม่มีการปรึกษากับกลุ่มพันธมิตรฯ อย่างจริงจัง หรือไม่ก็เป็นไปได้ว่าพันธมิตรฯ ไม่เอาด้วย เพราะเห็นแล้วว่าท่าจะไปไม่รอด

การเคลื่อนไหวครั้งนี้จะถือว่าประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น คงต้องรอดูอีกสักระยะว่าจะมีตัวละครอะไรใหม่หรือตัวละครเก่าๆ แต่มาเล่นบทบาทใหม่อะไรบ้างไหม กล่าวเฉพาะหน้าม็อบครั้งนี้น่าจะไม่มีผลอะไรโดยตรงแก่รัฐบาลเลย หนำซ้ำอาจจะมีผลดีบ้างที่เป็นการหยั่งกระแสผู้ไม่เอารัฐบาลและอาจเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ในกลุ่มผู้ไม่เอารัฐบาล รวมทั้งปลุกเร้าให้กลุ่มอนุรักษ์นิยมเปิดเผยตัวต่อสาธารณะ นำเสนอวาระทางการเมืองตรงไปตรงมาอย่างไม่ต้องกระมิดกระเมี้ยนอีกต่อไป

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไต่สวนคดี ‘ด.ช.อีซา’ เหยื่อกระสุน พ.ค.53 ทนายยันเหตุการณ์เดียวกับ ‘พัน คำกอง’

Posted: 26 Nov 2012 11:20 AM PST

ไต่สวนการตาย ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ วัย 14 ปีเสียชีวิตระหว่างสลายชุมนุม พ.ค.53 ทนายยันเหตุการณ์เดียวกับ 'พัน คำกอง' ที่ศาลมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมาว่าเป็นการเสียชีวิตจากทหาร สืบพยานนัดต่อไป 4 ธ.ค.

26 พ.ย.55 เวลา 13.30 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 804 ศาลนัดไต่สวนชันสูตรศพ คดีเลขที่ อช.3/2555  ในคดีที่พนักงานอัยการจากสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญา 8 สำนักงานอัยการสูงสุด ยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนการเสียชีวิตของ ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ หรือ "อีซา" อายุ 14 ปี ที่ถูกยิงเสียชีวิตจากบาดแผลกระสุนปืนความเร็วสูงที่หลังทะลุเข้าช่องท้องทำให้เลือดออกมากในช่องท้อง เมื่อวันที่ 15 พ.ค. เวลาหลังเทียงคืน ที่บริเวณใต้แอร์พอร์ตลิงค์ ปาก ซ.หมอเหล็ง หน้าโรงภาพยนตร์ โอเอ ถนนราชปรารภ ช่วงที่มีการกระชับวงล้อมผู้ชุมนุมเสื้อแดงโดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.)และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

โดย ร.ต.ท. สากล คำยิ่งยง อายุ 33 ปี ขณะเกิดเหตู อยู่ สน.พยาไท เป็น พนักงานสอบสวน เบิกความรับรองเอกสารรายงานช่วงเกิดเหตุของตนที่รับผิดชอบ พร้อมทั้งเบิกความอธิบายว่าช่วงเกิดเหตุตนได้รับคำสั่งตรวจสอบเกี่ยวกับการชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ตั้งแต่ แยกประตูน้ำ ถ.ราชปรารภ ถึงสามเหลี่ยมดินแดง ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 14-20 พ.ค.53 พบผู้เสียชีวิต 15 ราย ในบริเวณที่รับผิดชอบนั้น ซึ่งหนึ่งในนั้นมี ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ ผู้ตายในคดีนี้ ที่ถูกยิงเสียชีวิตวันที่ 15 พ.ค. เวลา 2.00 น. เศษ ที่บริเวณใต้แอร์พอร์ตลิงค์ ปาก ซ.หมอเหล็ง หน้าโรงภาพยนตร์ โอเอ หลังจากทราบแล้วรวบรวมเอกสารทั้ง 15 ราย ให้คณะสอบสวนอีกชุด  โดยตัวพยานเองไม่ได้ตรวจสอบร่าง ผู้ตายแต่มี พนักงานสอบสวนอีกชุดหนึ่งไปตรวจสอบ

ในวันเดียวกันนี้ ช่วงเช้าได้มีพยาน 4 ปากเข้าเบิกความ ประกอบด้วยนายสมร ไหมทอง คนขับรถตู้ที่ถูกทหารยิงสกัดจนได้รับบาดเจ็บสาหัส นายสันติ ทองมาก ช่างภาพสำนักเนชั่นทีวี ที่บันทึกภาพเหตุการณ์ที่นายสมร ถูกระดมยิง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 2 นาย ที่เดินทางมาเบิกความด้วย คือ พ.ต.ท.ทนงศักดิ์ บุญมาก และ พ.ต.ท.กิติศักดิ์ ยาคุ้มภัย

นายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความญาติผู้เสียชีวิต ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวถึงการเบิกความของพยานทั้ง 4 ปากว่า นายสมร เบิกความว่าขณะเกิดเหตุขับรถตู่มาแล้วถูกระดมยิง โดยไม่ได้ยินการประกาศเตือนห้ามไม่ให้ขับเข้ามาของเจ้าหน้าที่ทหารที่อยู่บริเวณนั้น จึงได้รับบาดเจ็บและเป็นกระสุนขนาด .223

ซึ่งนายสมรได้เบิกความในคดีไต่สวนการตายของ นายพัน คำกอง ที่ศาลมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา ว่าเป็นการเสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่ทหารแล้วด้วย โดยทนายญาติผู้เสียชีวิตยืนยันว่าเป็นเหตุการณ์เดียวกัน

สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจอีก 2 ปากนั้น นายโชคชัย กล่าวว่า พ.ต.ท.ทนงศักดิ์ เป็นผู้ตรวจอาวุธ ของเจ้าหน้าที่ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ในที่เกิดเหตุส่งมาตรวจ ส่วน พ.ต.ท.กิติศักดิ์ เป็นผู้ตรวจภาพรถตู้นายสมร ที่ถูกยิง และอาวุธ

ทั้งนี้ ศาลได้นัดไต่สวนพยานปากต่อไปวันที่  4 ธ.ค.นี้ เวลา 9.00 น.

 

เนชั่นทีวีรายงานขณะเกิดเหตุ เด็กถูกลูกหลงตาย

จากรายงานข่าวของ ธนานุช สงวนศักดิ์ ผู้สื่อข่าวเนชั่นทีวี เมื่อวันที่ 15 พ.ค.53 ได้รายงานสดจากที่เกิดเหตุผ่านรายการเก็บตกเนชั่น ว่า มีการประกาศแล้ว มีการยิงด้วยกระสุนยางแล้ว แต่ว่าคุณสมร(คนขับรถตู้)ก็ยังขับมา ตนอยู่ตรงนั้นตรงที่เกิดเหตุจริงก็ฝ่าฝืนขับเข้ามาชนตรงรั้วลวดหนาม  ก็เลยมีการระดมยิงเข้าไป  คุณสมร  ไหมทอง  ก็เลยได้รับบาดเจ็บ  แต่นอกจากคุณสมรแล้ว ตรงนี้ยังมีเด็กอีก 1 คน ซึ่งไม่ทราบชื่อเสียชีวิตด้วย(ด.ช.คุณากร ศรีสุวรรณ) เพราะถูกลูกหลง เด็กคนนี้จะมานอนเล่นแถวบังเกอร์ของทหาร ช่วงแรกทหารก็มีการไล่ให้กลับไปบ้าน แต่ก็ไม่กลับ พอดีมีการระดมยิงเข้าไปเด็กคนนี้ก็เลยเสียชีวิตด้วย นอกจากเด็กคนนี้แล้วยังมี คุณพัน คำกอง เสียชีวิตด้วย

รายงานสดจากที่เกิดเหตุผ่านรายการเก็บตกเนชั่น

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อภิปรายวันที่สองเน้นเรื่องจำนำข้าว แต่เอกสารถอดถอน 'ยิ่งลักษณ์' ใช้ ม.270

Posted: 26 Nov 2012 11:14 AM PST

'อภิสิทธิ์' เปิดชำแหละ 'จำนำข้าว' อภิปรายถอดถอน 'ยิ่งลักษณ์' ไม่เอาจริงจัดการคอรัปชั่น ด้านนายก ตอบอภิปรายให้เกียรติปล่อย รมต.แจงเอง ชี้ 'จำนำข้าว' เพื่อความมั่นคงเกษตรกร เปิดเอกสารลับที่สุด ฝ่ายค้านใช้มาตรา 270 ถอดถอนนายก ไม่มีเรื่องจำนำข้าว 'อรรถพร' เปิดคลิปอภิปรายสารพัดวิธีทุจริตจำนำข้าว 'หมอวรงค์' อภิปรายรัฐขายข้าวจีทูจีให้บริษัทผี "ไทย - จีน"

 
'อภิสิทธิ์' เปิดชำแหละ 'จำนำข้าว' อภิปรายถอดถอน 'ยิ่งลักษณ์' ไม่เอาจริงจัดการคอรัปชั่น
 
26 พ.ย. 55 - ผู้นำฝ่ายค้าน อภิปราย 'จำนำข้าว' ขาดทุนกราวรูด ทำลายระบบการค้า เปิดทางทุจริตในทุกขั้นตอน หวั่นไทยสูญเสียตลาดข้าวในต่างประเทศ ชี้ประเด็นถอดถอน 'ยิ่งลักษณ์' ขาดความจริงจังปราบคอรัปชั่น 
 
เมื่อเวลา 09.50 น. วันที่ 26 พฤศจิกายน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ดูมีอุปสรรคมากเหลือเกิน เป็นครั้งแรกที่สื่อมวลชนต้องมาถามตลอดเวลาว่าท่านนายกจะมาฟังอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่ ไม่อยากเห้นกระบวนการทางการเมืองของเราต้องมาตั้งคำถามในเรื่องเหล่านี้ และอยากให้กระบวนการทางเมืองนั้นเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ เพื่อประโยชน์ในการรักษาระบอบประชาธิปไตย และเพื่อให้สังคมเดินไปได้อย่างสงบสุข เพราะถ้าเราปิดกั้นพื้นที่ทางการเมืองมากท่าไร ความอึดอัดในสังคมจะมีมากขึ้นเท่านั้น แล้วสุดท้ายก็จะทำให้เกิดปัญหากับระบบการเมืองของเรา 
 
ผู้นำฝ่ายค้าน อภิปรายอีกว่า กระบวนการอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นหน้าในการตรวจสอบที่มีประโยชน์กับสังคม ตนเองในสมัยเป็นรัฐบาลถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ 3 ครั้ง ไมมีครั้งไหนที่จะถูกถามว่าจะมาฟัง มาตอบการอภิปรายในสภาหรือไม่ เพราะถือว่านั่นคือหน้าที่สำคัญ ไม่ใช่เฉพาะการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบต่อผู้แทนปวงชนคือหัวใจของการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา  
 
เขายังกล่าวอีกว่า ที่ต้องเจาะจงอภิปราย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในหลายเรื่อง เป็นเพราะเป็นความรับผิดชอบที่นายกฯ ไม่สามารถปฏิเสธได้ เนื่องจากท่านคือประธานในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และมีความรับผิดชอบตามกฎหมาย ขณะที่บอกว่าท่านรับมอบงานในเดือนสิงหาคม 2554 ประเทศอยู่ในสถานะที่ดีพอสมควร ถามว่าวันนี้สถานะของประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นอย่างไร เราเจอปัญหาน้ำท่วม หนี้ท่วม แพงทั้งแผ่นดิน พืชผลการเกษตรถูกทั้งแผ่นดินหรือ มีปัญหาทั้งแผ่นดิน ไฟใต้ท่วม ความขัดแย้งในสังคมยังดำรงอยู่ และที่สำคัญที่สุด ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นเลวร้ายลง ลองไปหยิบการสำรวจและจัดทำดัชนีความเจริญของหน่วยงานในประเทศอังกฤษ ได้ประเมินปี 2555 จาก 142 ประเทศ พบว่า ไทยอยู่อันดับที่ 56 ด้านที่ไปได้ดีคือภาพรวมเศรษฐกิจและการที่คนไทยมีทุนทางสังคม คือมีความเข้มแข็งและคนไทยมีน้ำใจไมตรีกันซึ่งจะเอื้อต่อการทำให้ไทยเจริญก้าวหน้าประเด็นนี้ไทยอยู่ที่ลำดับที่ 18 - 19 ซึ่งถือว่าสูง แต่พอมาดูประเด็นธรรมาภิบาลอยู่ลำดับที่ 64 พอมาดูปัญหาระยะยาวที่ต้องได้รับการแก้ไขคือการศึกษากับสาธาณะสุข ไทยอยู่ลำดับที่ 70 -71 ที่น่าตกใจคือ ในส่วนความมั่นคงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อยู่อันดับที่ 99 และที่น่าตกใจที่สุดคือ สิทธิเสรีภาพของประชาชน ไทยอยู่อันดับที่ 129 ซึ่งเป็นดัชนีที่มีการจัดทำล่าสุด และหากเปรียบเทียบย้อนหลังซึ่งเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2552 ตอนนั้นไทยอยู่ลำดับที่ 54 ในปี 2553 อยู่ลำดับที่ 52 ในปี 2554 อยู่ลำดับที่ 45 แต่ปีนี้ตกรวดเดียว 11 ลำดับ ต้องถามว่าสถานะประเทศขณะนี้น่าเป็นห่วงเป็นสิ่งที่พวกตนไม่ได้คิดไปเองฝ่ายเดียว แต่ข้างนอกเขากำลังมองเห็นหลายสิ่งหลายอย่างที่กำลังเกิดขึ้นในไทย
 
บทบาทของนายกรัฐมนตรีในขณะที่เห็นขณะนี้มีฝ่ายยุทธศาสตร์ทางการเมือง คนรอบๆ ตัวกันออกจากการแสดงความคิดเห็น ยุทธศาสตร์นี้ทราบว่าใช้กันหลายที่เพื่อให้นายกฯ ลอยตัว ไม่ติดใจว่า ทำแล้วได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางการเมือง เพราะถ้าเป็นเรื่องที่ไม่ผิดกฎหมาย ก็มีสิทธิที่จะทำ แต่ถ้าการลอยตัวและบทบาทของนายกฯ เป็นเช่นนี้ และเกิดความเสียหายต่อการบริหารราชการแผ่นดินก็จำเป็นที่จะต้องอภิปรายว่านายกฯจะไม่ทำอะไรไม่ได้ เพราะบ้านเมืองกำลังเสียหายจากการบริหารงานที่ท่านเป็นหัวหน้ารัฐบาล ทั้งจากกรณีของ รมว.กลาโหม ที่ได้กระทำการผิดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการโยกย้าย และแต่งตั้งที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอน และยังมีการบริหารงานที่ผิดพลาดเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะเมื่อปรับ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ออกจากการเป็นรองนายกฯ และมีการแต่งตั้งเข้ามาใหม่ ปรากฏว่าไม่มีรองนายกฯ คนไหนรับหน้าที่ ถือเป็นอีกตัวอย่างว่านโยบายมีปัญหามาจากการที่ผู้นำรัฐบาลขาดความชัดเจน
 
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า เรื่องหลักที่ต้องอภิปรายมี 2 เรื่อง ที่นายกฯกำลังนำพาประเทศไปสู่ความเสียหาย เรื่องแรกคือ นโยบายการรับจำนำข้าว วันนี้ข้าวไทยกำลังถูกทำลายอนาคตจากนโยบายที่ผิดพลาด และที่ต้องอภิปรายนายกฯเพราะมีคำสั่งที่ 153/2554 แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) โดยมีนายกฯเป็นประธาน สิ่งที่จะชี้ให้เห็นว่าจะต้องไม่หลงประเด็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นปัญหาในทางปฏิบัติ ความหมายคือนโยบายดี เดินหน้าไปปฏิบัติแล้วจะปรับปรุงแก้ไขได้ สิ่งที่จะพิสูจน์ให้เห็นคือนโยบายนี้คือที่มาของปัญหาและคนที่จะเปลี่ยนนโยบายนี้ได้คือนายกฯ จะอภิปรายเพื่อจะบอกว่าจะนำพาประเทศด้วยการดำเนินนโยบายอย่างนี้ต่อไปไม่ได้ 
 
การจำนำข้าว ไม่ใช่เรื่องใหม่ เคยทำมาแล้วในอดีต และต้องเป็นการจำนำ วันที่เริ่มต้นนโยบายนี้เกือบ 20 แล้ว ซึ่งจำนำจริงๆคือการรับของเข้าไปโดยให้ต่ำกว่าราคาตลาด จะมาไถ่คืนเมื่อไรก็เป็นสิทธิ ทำเพื่อดึงผลผลิตออกจากตลาด เมื่อผลิตมันล้นตลาดแล้วรอโอกาสเมื่อราคาดีขึ้นเกษตรกรก็มาเอาคืนไปเข้าสู่ตลาด แต่โครงการจำนำข้าวถูกบิดมาเป็นโครงการรับซื้อข้าวโดยรัฐบาล แต่ใช้ชื่อโครงการรับจำนำ ซึ่งเริ่มต้นในสมัย พ.ศ. 2551 และเห็นมาแล้วว่ามันเสียหายอย่างไร การประกาศรับซื้อของที่แพงกว่าราคาซื้อขายปกติที่คนซื้อทั่วไปก็หมายความว่าคนที่รับซื้อนั่นเองต้องซื้อทั้งหมด เพราะคนขายต้องการได้ราคาที่ดีที่สุด ฉะนั้น การออกแบบนโยบายนี้ คือ นโยบายที่จงใจให้รัฐบาลเป็นผู้ซื้อและขายข้าว ในช่วงที่ทำในปี 2551 และต่อเนื่องมายังเป็นโครงการที่ทำในวงจำกัด คือมีโควต้า สุดท้ายเกิดจุดอ่อน คนมีโควต้าเข้าร่วมได้ก็ได้ประโยชน์ แต่เกษตรกรจำนวนมากเข้าไม่ได้ แต่คราวนี้แก้จุดอ่อนด้วยการบอกว่า จำนำทุกเม็ด เพราะฉะนั้นนโยบายนี้คือโครงการรับซื้อข้าวและเป็นนโยบายที่นำไปสู่การผูกขาดค้าข้าวและถือเป็นทำลายกลไกการซื้อขายตามปกติโดยสิ้นเชิง 
 
เรื่องการทุจริตที่เกิดขึ้นตลอดทางคือ ปลายเหตุ แต่ต้นเหตุอยู่ที่นโยบายที่เอื้อต่อการทุจริต เรื่องนี้มีคนการเตือนจากหลายฝ่าย 7 ต.ค. 54 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ทำหนังสือเตือนว่า นโยบายรับจำนำข้าวมีความสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการทุจริตอย่างกว้างขวาง ผลที่จะเกิดขึ้นกับข้าวของประเทศและการบริหารราชการแผ่นดินคือ ประการแรกเมื่อรัฐบาลจะผูกขาดซื้อขายข้าวทั้งประเทศ ด้วยนโยบายซื้อแพงแล้วต้องขายถูก การขาดทุนเกิดขึ้นแน่นอน ซึ่งตัวเลขของรัฐบาลบอกว่า การบริหารจัดการเรื่องข้าว ที่ผ่านมาใช้วงเงินไปแล้ว 5.17 แสนล้านบาท ที่จะขายได้กลับคืนมา ตามหนังสือของกระทรวงการคลังถึงคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 ต.ค. 55 เขียนไว้ว่า หากกรณีระบายผลิตผลที่รับจำนำได้ใน 3 ปี จะมีภาระการบริหารการปรับโครงสร้างหนี้เฉลี่ยปีละ 2.14 แสนล้านบาท เรากำลังพูดถึงการขาดทุนในโครงการเดียวประมาณร้อยละ 10 ของงบประมาณทุกปี จึงได้มีการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญว่า ถ้าทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆอีก 7 ปี หนี้สาธารณะก็จะไปแตะที่ร้อยละ 60 ของรายได้ประชาชาติ ซึ่งถือว่าเป้นระดับที่เข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงมีความอันตราย นอกจากไปเก็บภาษีเพิ่มจากประชาชน หรือไปลดการใช้จ่ายอื่นๆในโครงการต่างๆ ซึ่งเราไม่เคยมีโครงการไหนที่รัฐบาลดำเนินแล้วขาดทุนปีละ 2 แสนล้านบาท ในประวัติศาสตร์
 
ประการที่สองที่จะเสียหายคือฐานะของประเทศเสียหาย เมื่อรัฐบาลผูกขาดการค้าข้าว และซื้อมาในราคาที่สูงกว่าตลาด จะขายไปอย่างไร ที่เคยทำนายว่า ประเทศไทยจะสูญเสียแชมป์การส่งออกข้าวจึงเกิดขึ้นแล้ว ตัวเลขการส่งออกข้าวตามปฏิทินปีนี้น่าจะลดลงร้อยละ 35 แต่ถ้านับตั้งแต่การจำนำข้าวของประเทศคือบวกไปอีกสองสามเดือนก่อนหน้านั้นจะลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง และไม่ต้องบอกว่าเราขายได้ปริมาณน้อยลงแต่ได้เงินมากขึ้นเพราะข้าวไทยแพงขึ้น เพราะมูลค่าคือปริมาณไปคูณกับราคาส่งออกก็ลดลงไปร้อยละ 25 หรือ ร้อยละ 40 หากนับตั้งแต่เริ่มโครงการ พูดง่ายๆคือรายได้ของประเทที่ได้จากการขายข้าวลดลงไปเกือบครึ่ง ที่สำคัญคือการสูญเสียตลาดไปแบบนี้ไม่ใช่เอาคืนมาง่ายๆ นอกจากนี้ปัญหายังเกิดขึ้นกับคุณภาพข้าวด้วย เพราะนโยบายนี้จูงใจให้เกษตรกรต้องปลูกข้าวให้ได้มากที่สุด เร็วที่สุด เพราะฉะนั้นจะมีข่าวคุณภาพข้าวไทยที่ลดลงต่อเนื่อง 
 
ประการที่สาม การทุจริตคอร์รัปชั่นในวงการค้าข้าวทั้งหมดขณะรุนแรงมาก โกงทุกขั้นตอน เกษตรกรหลายคนเข้าโครงการไม่ได้ ความยุ่งยากของขั้นตอนยังทำให้ถูกกดสาระพัด บางคนเข้าไปแล้วเงินยังไม่ได้และยังไม่เจอสักรายที่ได้ 15,000 บาท นอกจากนี้ รัฐบาลกลายมาเป็นผู้ค้าข้าวและกำกับการเคลื่อนย้ายข้าวทั้งประเทศ ขณะนี้ธุรกิจที่เกี่ยวกับข้าว ธุรกิจโรงสีที่มีเส้นสายเกี่ยวข้องกับรัฐบาลชอบมาก แต่ใครไม่มีเส้นสายสู้ไม่ได้ จึงเป็นการทำลายกลไกการแข่งขัน นำมาสู่ความเสียหายสะสมในระบบการค้าข้าวทั้งประเทศ ผู้ส่งออกรู้ว่าจะค้าข้าวไทยไปต่างประเทศต้องวิ่งหารัฐบาลเท่านั้น แต่ใครไม่อยากวิ่งเต้นเปลี่ยนไปทำการค้าข้าวของกัมพูชา ปากีสถานอินเดีย นี่คือความสุญเสียที่จะเกิดขึ้น 
 
อีกเรื่องที่ยังไม่มีการตรวจสอบเลยคือการระบายข้าว เพราะขายอย่างไรก็ขาดทุน ทำให้การขายข้าวเป็นปริศนามาตลอด ตัวเลขการส่งออกข้าวที่เป้นทางการของรัฐไม่มี แต่นายกฯ บอกว่ามีจีทูจี ปลายปีนี้เห็นข้าวออกไป แต่ตอนนี้เปลี่ยนแล้วเป็นปลายปีหน้า แต่ที่ต้องพูดกันยาคือ จีทูจีคืออะไร จีเจี๊ยะ จีเจ๊ง จีโจ๊ก หรือจีอะไร หรือจะเหมือนที่ฝรั่งบอกว่า จี โกสท์ (Ghost) หรือ บริษัทผีคืนชีพ ซึ่งจะมีผู้อภิปรายบ่งบอกให้เห็นถึงกระบวนการทุจริตทั้งหมด 
 
จากหนังสือ รู้ลึก รู้จริง เรื่องจำนำข้าว ที่ต้องขาดทุน 2 แสนกว่าล้านบาทเพื่อชาวนาจริงหรือไม่ ชาวนาได้ประโยชน์คำนวนจากคนที่เข้าโครงการได้ ปรากฎว่า ตัวเลขของรัฐบาลข้าวที่เข้าโครงการคือ 18 ล้านตัน คนกลุ่มนี้ตีให้ว่า เขาจะได้ราคาตันละ 5-6 พันบาท แม้แต่คนที่เข้าโครงการไม่ได้ ซึ่งมีข้าวอีก 19 ล้านตัน ท่านยังบอกว่าได้ประโยชน์ เพราะโครงการนี้ทำให้ราคาข้าวขึ้นมาอีก 8 % เอาง่ายๆว่าได้คนละ 1 พันบาทต่อตัน ลองบวกดูจะได้เงินประมาณครึ่งเดียวของเงินภาษีอากรที่ขาดทุน และตัวเลขก็ไม่จริงอยู่แล้ว นี่ถือเป็นปีแรกที่ข้าวไทยสูงถึง 37 ล้านตัน ในอดีตเข้าใจคือ 34 ล้านตัน เชื่อว่า 3 ล้านตันที่โผล่ขึ้นมามาจากประเทศเพื่อนบ้าน รัฐบาลนี้เอาเงินภาษีประชาชนไป 2.2 แสนล้านบาท แต่ช่วยจริงอย่างเก่งคือครึ่งเดียว อีกครึ่งอยู่กับพ่อค้า โรงสี นักการเมืองทุจริ นี่คือสิ่งที่นายกฯ ซึ่งเป็นประธานกขช.ที่มีคนท้วงติงสาระพัดมาโดยตลอด แต่การเพิกเฉยทำให้ไว้วางใจไม่ได้
 
นายอภิสิทธิ์ อภิปรายต่อไปในเรื่องที่สองซึ่งเป้นเรื่องที่ยื่นถอดถอนนายกฯ ว่า เป็นเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งรัฐบาลไม่มีมาตรการเป็นระบบในการแก้ปัญหาหรือป้องกัน เพราะคนที่เขาพยายามที่จะร่วมมือกับรัฐบาลในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ก็ไม่เคยได้รับการตอบสนอง ซึ่งหลังน้ำท่วม ตนเดินสายพบกับองค์กรต่างๆ เพื่อไปสอบถามความเสียหายคืออะไร ซึ่งองค์กรหลักทางธุรกิจ สิ่งแรกที่เขาพูดกับความตนคือต้องการให้ตรวจสอบงบเยียวยาน้ำท่วม และงบฟื้นฟูทั้งหลาย เพราะเขากังวลว่าจะเกิดการทุจริตอย่างมโหราฬ มหาศาล พอนายกฯ มาของบกลางจำนวน 1.2 แสนหมื่นล้านบาท กับเงินกู้อีก 3.5 แสนล้านบาท ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดกับสภาฯ  ซึ่งไม่เกินวิสัยที่จะให้รายละเอียด และในเว็บไซต์ของรัฐบาลเกี่ยวกับเงินน้ำท่วมไม่มีใครสามารถเข้าไปหาข้อมูลได้ กรรมาธิการงบประมาณพยายามเข้าอยู่ 7 สัปดาห์ก็เข้าไม่ได้ สุดท้ายผลที่เกิดขึ้นเป็นไปอย่างที่อภิปรายไปเมื่อวันที่ 25 พ.ย. ที่ผ่านมา ทั้งขุดลอก ขุดหลอก อ้อยเข้าปากช้าง ก้างติดคอ เห็นภาพชัดว่าเกิดอะไรขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าความจริงใจในการที่จะป้องกันและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่นมีปัญหามาตั้งแต่ต้น แต่จุดที่เป็นปัญหาหลัก เป็นเรื่องที่ในอดีตทำงานกันมา ตนพูดเสมอว่า ทุกรัฐบาลมีการทุจริต ไม่มีข้อยกเว้น และไม่มีนายกฯ คนไหนที่เก่งกาจสามารถไปป้องกันทุจริตได้แม้แต่นิดเดียว แต่เราต้องพยายามมาศึกษาวิเคราะห์ปัญหาว่าการทุจริตที่รุนแรงในระยะหลังจะแก้กันอย่างไร 
 
หนึ่งเรื่องที่สรุปกันไปในการสัมมนากับ ปปช. คือ จะทำนโยบายอะไรให้ดูผลกระทบด้วยว่านโยบายนั้นออกแบบมาแล้วโอกาสทุจริตมีมากหรือไม่ นันเป็นที่มาว่านโยบายจำนำข้าวอย่าทำรูปแบบนี้ แต่รัฐบาลก็เพิกเฉย ประเด็นที่สองที่พูดกันมากเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นระยะหลังมี 2 เรื่องหลักที่เป็นปัญหา คือ 1.ราคากลาง เพราะการทุจริตมักจะเกิดจากการฮั้ว  แต่ถ้าราคากลางเป็นไปตามต้นทุนที่แท้จริงก็หากำไรกันยาก เราจึงต่อสู้ว่ากระบวนการจัดทำราคากลางและการเปิดเผยราคากลางต้องเกิดขึ้น แต่การเปิดเผยราคากลางและการคำนวณราคากลางให้ตรวจสอบคือปัญหา ก่อนยุบสภาจึงสภาแห่งนี้จึงได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจิต และก็มีการเพิ่มบทบัญญัติมาตรา 103/7 กับ 103/8 ของปปช.เข้าไป 
 
สุดท้ายเรื่องนี้ เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.วันที่ 13 ธ.ค. 54 ซึ่งหน่วยงานอย่างสำนักงบประมาณก็เห็นด้วยกับเรื่องนี้ แต่สุดท้าย นายกฯซึ่งรับเรื่องนี้จาก ปปช. เสนอต่อ ครม. มติที่มีสั้นๆคือไม่เห็นชอบหรือไม่อนุมัติ กลับบอกว่าให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่ใช้ในปัจจุบันห้เคร่งคัด
 
"คือถ้าเจตนาจะต่อสู้กับทุจริตคอรัปชั่น แล้วเขาทำงานกันมาเป็นเวลาหลายปี บอกว่าจะต้องปรับปรุงกฎระเบียบการเปิดเผยตรงนี้ พอ ปชช.เสนอมา ท่านบอกว่าไม่ต้อง กฎระเบียบเดิมนั่นแหล่ะแต่ทำให้เคร่งครัดขึ้น รัดกุมขึ้น นี่หรือครับที่เป้นการเอาจริงเอาจังกับการทุจริตคอรัปชั่น" นายอภิสิทธิ์กล่าว
 
ผู้นำฝ่ายค้าน ยังกล่าวต่อว่า เรื่องนี้ยังเป็นการฝ่าฝืนเจตนารมณ์ของมาตรา 103/7 และ 103/8 ของกฎหมาย ป.ป.ช.อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ไว้วางใจ เพราะถ้าท่านอยากจะต่อสู้กับการทุจริต แล้วคนเสนอมาตรการมาแทนที่ท่านจะพยายามทำ กลับไปถามกฤษฎีกาว่าไม่ทำได้หรือไม่ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาตอบกลับมาว่า ไม่จำเป็นต้องทำตามที่ป.ป.ช.เสนอ แต่ไม่ได้บอกว่าไม่ให้ทำ ซึ่งทางสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง ยังทำหนังสือยืนยันว่าเขาเห็นด้วยที่จะให้ปฏิบัติตามข้อเสนอของ ป.ป.ช. แต่รัฐบาลก็ส่งไปให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความอีก เพื่อจะให้ยืนยันว่า ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจมาบังคับ ครม. แล้วเสนอเรื่องให้ครม.พิจารณาอีกในเดือน ก.ค. 55 ซึ่งถ้าครม.อนุมัติตั้งแต่เดือน ธ.ค. 54 งบประมาณน้ำท่วมที่อภิปรายวานนี้ก็คงไม่เป็นอย่างนี้ สิ่งที่ยื่นอภิปรายและถอดถอนคือ นายกฯต้องรับผิดชอบกับเรื่องนี้ถึงจะทำให้การต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชั่นนั้นเป็นจริง
 
นายอภิสิทธิ์ กล่าวประเด็นสุดท้ายว่า เกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบัติ สองมาตรฐาน และความห่วงใยที่มีต่อแนวโน้มความขัดแย้งในสังคมและทางการเมือง การเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง ให้กับญาติ การบั่นทอนความน่าเชื่อถือ การไม่ยอมรับองค์กรอิสระ องค์การศาล เรื่องเหล่านี้นายกฯจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้  เมื่อวาน ร.ต.อ..เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ หัวเราะชอบใจในคำพูดตัวเอง ที่ไปบอกให้ตำรวจเลือกข้าง ความจริงนายกฯ เป็นคนมอบให้ ร.ต.อ.เฉลิม ไปดูสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ช่วยตอบได้หรือไม่ว่า ตำรวจต้องเลือกข้างหรือเปล่า และเมื่อวาน ร.ต.อ.เฉลิม ก็ชี้แจงคลาดเคลื่อนเรื่องแก๊สน้ำตา ซึ่งตำรวจออกมายอมรับแล้วที่ท่านไปกล่าวหาว่าผู้ชุมนุมใช้แก๊สน้ำตารุ่นนั้น มีอยู่ในรถตำรวจ และคำชี้แจงท่านเรื่องการถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ปกติท่านอ่านเสียงดังฟังชัด แต่เอกสาร 15 ก.ค. ไม่รู้ส่งให้ท่านประธานหรือยัง อ่านรัวเลย เพราะฟังที่ท่านอ่านรัว เขายืนยันว่าเข้าหลักเกณฑ์ เพียงแต่เขาอ้าง ซึ่งน่ากลัวว่า ต่อไปนี้ศาลตัดสินแล้วจะมีองค์กรอย่างตำรวจไปวินิจฉัยอีกว่า ความผิดที่ศาลตัดสินแล้วเป็นความผิดที่ร้ายแรงหรือไม่ เราจะใช้ระบบนี้หรือ
 
ไม่นับหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นกับพวกตนทุกอาทิตย์ ทั้งที่เป็นสมัยประชุมแท้ๆ กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอส่งหนังสือขู่ทุกอาทิตย์ในคดีเรื่องน้ำท่วม ทั้งที่ไปเป็นพยานไม่ใช่ผู้ถูกกล่าวหา จะบังคับให้เซ็นเอกสารเป็นลัง เป็นคอนเทรนเนอร์ให้ได้ก่อนปิดสมัยประชุม ไม่อยากให้การเมืองของเราวนเวียนอยู่กับความขัดแย้ง แต่ถ้านายกฯไม่พร้อมที่จะทำงานโดยการเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้กับทุกฝ่ายปัญหานี้จะดำรงต่อไป ตนเคยพูดในช่วงหาเสียงว่า ถ้านายกฯได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ก็จะเป็นบุคคลที่น่าสงสาร ข้อแรกคือมีคนที่ยังคิดว่าใหญ่กว่าท่าน และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา นักการทูตบางคนเข้าพบตนก็บอกว่าไม่เคยเห็นในประเทศอื่นว่าตกลงอำนาจอยู่ที่ไหน อย่างไร อยู่ในรปะเทศหรือไม่ ประการที่สอง อยู่ในภาวะที่ลำบากใจมากในหลายๆ เรื่อง เพราะถ้าทำตรงไปตรงมากระทบกระเทือนพี่ชายท่าน ญาติท่าน และวันนี้ที่บ้านเมืองยังครุกรุ่นอยู่ไม่จบ ก็เพราะรัฐบาลไม่สามารถที่จะละวางวาระส่วนตัวในเรื่องการนิรโทษกรรมได้ การตัดสินใจตรงนี้ทราบดีไม่มีทางง่าย แต่วันนี้ต้องสงสารประเทศมากกว่า ไม่อยากเห็นบ้านเมืองเดินหน้าไปอย่างนี้ ข้าว สินค้าที่อยู่คู่กับประเทศไทย คนไทยกำลังถูกทำลายอนาคต  ไม่อยากเห็นปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นลุกลามบานปลายอย่างที่อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ถ้าคิดว่าเสียงข้างมาก กลไกรัฐ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ถูกนำมาใช้ให้เลือกข้างทำงานให้กับรัฐบาลในทางการเมืองได้ แล้วบ้านเมืองจะสงบ ยืนยันว่าคิดผิด ความอึดอัดจะสะสม ความไม่เข้าใจความโกรธจะมีมากขึ้นในสังคม และสุดท้ายไม่มีพวกเราแม้แต่คนเดียวที่นี่จะมีความสุข ไม่ต้องการให้บ้านเมืองเดินไปในทิศทางนั้น นายกฯ มีเวลาปีกว่าแล้วที่จะพิสูจน์ว่าจะไม่เดินไปทางนั้น แต่ไม่ได้ทำ จึงไม่สามารถไว้วางใจได้
 
นายกฯ ตอบอภิปราย ให้เกียรติปล่อย รมต.แจง เอง แจง 'จำนำข้าว' เพื่อความมั่นคงเกษตรกร
 
26 พ.ย. 55 - 'ยิ่งลักษณ์' ให้เกียรติ รมต.ปล่อยแจงเอง ไม่หวั่นไทยเสียแชมป์ส่งออกข้าว ฟันธง อยากเห็นจำนวนเงินมากกว่าจำนวนตัน 
 
หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปัตย์ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลุกขึ้นชี้แจงว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา ประเทศเกิดความเหลื่อมล้ำ ปัญหาต่าง ๆ มากมาย เจตนารมณ์ที่เข้ามาทำงานคืออยากเห็นประเทศเดินไปข้างหน้า และการเคารพในกติกาประชาธิปไตย ตั้งปณิธานไว้ว่าแก้ไขแต่ไม่แก้แค้น ที่ผ่านมายึดมั่นในความซื่อสัตย์และยุติธรรม 
 
นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมายึดการทำงานภายใต้ความรับผิดชอบร่วมกันใน ครม. และนายกฯ มีหน้าที่กำกับนโยบายต่าง ๆ ส่วนรองนายกฯกำกับการบริหารในกระทรวงที่ได้รับมอบหมาย และรัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบงานในกระทรวง ทั้งนี้ ไม่ปฏิเสธความรับผิดชอบ การมอบหมายไม่ใช่การก้าวก่ายแต่ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันในการทำงาน ยืนยันว่า  ตำรวจไม่ได้เลือกปฏิบัติในการทำหน้าที่ และที่ผ่านมายึดหลักงานนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ งานนิติบัญญัติ ลักษณะการทำงานของตนจะเป็นการมอบหมาย โดยให้ รัฐมนตรีว่าการที่เกี่ยวข้องมาตอบกระทู้โดยตรง ยืนยันว่า ที่ผ่านมาให้เกียรติสภาฯ ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับงานด้านการบริหาร ส่วนสถานะของประเทศตั้งแต่เข้ามามีภาระต่างๆที่ต้องเผชิญ โดยเฉพาะวิกฤตน้ำท่วม ขณะที่มีเรื่องต่าง ๆ ที่ต้องผลักดัน ในอนาคต การบริหารราชการไม่ได้ถูกรองรับในภาวะวิกฤต จึงตัดสินใจตัดงบประมาณปกติมาเป็นงบประมาณกลาง 1.2 แสนล้าน ในการเยียวยาประชาชนและปกป้องน้ำท่วม  
 
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังได้ตอบคำถามในเรื่องการรับจำนำข้าวว่า เป็นนโยบายที่ต้องการสร้างความมั่นคงรายได้เกษตรกรให้มั่นคงขึ้น เป็นทางเลือกของเกษตรกร ถ้าสามารถขายร้านค้าได้ดีกว่าก็เลือก แต่รัฐบาลมีทางเลือกที่จะรับจำนำข้าว จึงตั้งจำนำข้าว ทุกเม็ด งบประมาณราว 410,000 ล้านบาท ซึ่งวันนี้ราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้น 8% อย่างไรก้ตาม วงเงินดังกล่าวที่ใช้ต่อการรับจำนำหนึ่งรอบปี ได้รวมมันสัมปะหลังและยางพาราด้วย ซึ่งใช้ไปจริงราว 300,000 ล้านบาท คาดว่า ในปี 2556 จะมีเงินเข้าระบบ 240,000 -260,000 ล้านบาท โดยได้ให้นโยบายแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิช ซึ่งเป็นประธานนโยบายข้าวแห่งชาติทุกครั้งว่า ให้ตรงไปตรงมา โปร่งใส และไม่ให้ขาดทุนกว่าโครงการประกันราคาข้าวที่ผ่านมาและต้องตรวจสอบได้ 
 
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าวว่า ในระยะยาวจะมีติดตั้งกล้อง CCTV สร้างระบบไซโลข้าว นำระบบ IT มาใช้เก็บข้อมูลทุกขั้นตอน คือ ตั้งแต่ขึ้นทะเบียน การออกใบรับรองโรงสี ธนาคารเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) กรมการค้ากลาง กระทรวงต่างประเทศ ซึ่งจะลดความซ้ำซ้อนและทุจริตได้ ในเชิงรุกได้ให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ โดยมีช่องทางให้ประชาชนแจ้งเบาะแส 
 
น.ส. ยิ่งลักษณ์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาทุกโพลล์ที่สำรวจความเห็นต่อการรับจำนำข้าวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ประชาชนมีความสุข รัฐบาลก็มีความสุข ส่วนประเทศไทยจะเสียแชมป์หรือไม่ ถ้าดูในราคาเฉลี่ยของข้าวไทยอยู่ที่ 679 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่เบอร์หนึ่งอย่างเวียดนาม ขายได้ในราคาประมาณ 400 เหรียญสหรัฐ 
 
"ดิฉันอยากเห็นจำนวนเงินมากกว่าจำนวนตัน" นายกรัฐมนตรีกล่าว 
 
เปิดเอกสารลับที่สุด "อภิสิทธิ์" ยื่นถอดถอน"ยิ่งลักษณ์" มาตรา 270 ไม่มีเรื่องจำนำข้าว
 
26 พ.ย. 55 - ในระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจ วันที่สอง ได้มีการเผยแพร่ เอกสาร ลับที่สุด ที่ลงนาม โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ที่ยื่นต่อ ประธานวุฒิสภา   เรื่อง ขอให้ถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่งบทบัญญัติ มาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
 
ด้วยข้าพเจ้าผู้ลงลายมือชื่อท้ายคำร้องฉบับนี้ ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ตามบทบัญญัติมาตรา 271 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ขอยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกร้อง ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีและเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน แต่ได้บังอาจกระทำการขัดต่อกฎหมาย ข้าพเจ้าจึงขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยมีข้อกล่าวหาและพฤติการณ์ดังนี้
 
ข้อ 1.ผู้ถูกร้อง ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรีจงใจบังอาจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมาย กล่าวคือ สืบเนื่องจากได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 และได้มีผลบังคับใช้ในวันที่19 เมษายน 2554 ซึ่งมาตรา 103/7 วรรคหนึ่งได้บัญญัติ ให้หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะราคากลางและการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้และในมาตรา 103/7 วรรคสี่
 
นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เนื่องจากการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช.เห็นสมควรในการกำหนดมาตรการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐรับไปปฏิบัติ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีอำอนาจสั่งให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดมาตรการในเรื่องนั้น แล้วรายงานให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทราบก็ได้ และเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ซึ่งมาตรา 103/8 ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีหน้าที่รายงาน ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อสั่งการให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามมาตรา 103/7 วรรคหนึ่ง โดยหน่วยงานของรัฐจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการดังกล่าวและให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีหน้าที่ติดตามผลดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในกรณีดังกล่าวด้วย
 
หน่วยงานของรัฐฝ่าฝืนหรือไม่ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อมีความผิดทางวินัยหรือเป็นเหตุที่จะถูกถอดถอนจากตำแหน่งหรือต้องพ้นจากตำแหน่งแล้วแต่กรณี
 
ข้อเท็จจริง ในหลักเกณฑ์ของกฎหมายย่อมเห็นโดยชัดแจ้งว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการที่จะให้ความสำคัญกับการป้องกันการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างในทุกหน่วยงานของรัฐ เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้ จึงได้กำหนดให้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่จัดทำรายงานกำหนดหลักเกณฑ์ ตามมาตรา103/7 และต้องดำเนินการตาม มาตรา 103/8 ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบแปดวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ใช้บังคับ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่สั่งการให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามมาตรา 103/7 วรรคหนึ่ง 
 
ข้อ 2 ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ในวันที่ 1 สิงหาคม 2554 ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ได้ทำหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี เรื่อง การให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะราคากลาง และการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้และการกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้อเพิ่มเติม พร้อมแนบรายงานซึ่งเป็นรูปแบบดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะราคากลาง และการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจดธได้ และการกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
 
แต่นายกรัฐมนตรีรวมทั้งคณะรัฐมนตรีก็ไม่ได้เห็นชอบกับรายงานที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้เสนอ โดยคณะรัฐมนตรีก็ไม่ได้สั่งการให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามมาตรา 103/7 วรรคหนึ่ง แต่ประการใด ประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช.ก็ยังได้ทำหนังสือขอให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีโดยให้เหตุผลว่ามติคณะรัฐมนตรียังไม่ครอบคลุมตามเจตนารมณ์ของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 แต่มติคณะรัฐมนตรีได้มีมติไม่รับข้อเสนอของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
 
ข้อ 3 จากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังที่ข้าพเจ้าได้กราบเรียนมาดังกล่าวข้างต้นรับฟังเป็นยุติได้ว่า ผู้ถูกร้อง ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรีได้มีพฤติกรรมดังจะกล่าวต่อไปนี้
 
3.1) จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติกฎหมาย คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 103/7 วรรคหนึ่ง, มาตรา 103/8 และ
 
3.2) จงใจที่จะกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/1 และ
 
3.3) จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ในการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 178
 
3.4) การกระทำตาม ข้อ 3.1 ข้อ 3.2 ข้อ 3.2 ที่ ผู้ถูกร้อง ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรีไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และประมวลกฎหมายอาญา ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน พฤติการณ์ของผู้ถูกร้องดังกล่าว จึงเป็นมูลเหตุที่มีการทุจริตกันหลายโครงการ และเป็นผลทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชนเป็นอย่างมาก 
 
ซึ่งพฤติกรรมของผู้ถูกร้อง ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรี ย่อมรับฟังโดยชัดแจ้งว่าเป็นกรณีที่ใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างสิ้นเชิง
 
ข้อ 4 ผู้ถูกร้อง ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรี โดยหลักความเป็นจริงแล้วมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จำต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญตามกฎหมายโดยเคร่งครัดเพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ก็มีเจตนารมณ์ในการที่จะป้องกันและปราบปรามการทุจริตงบประมาณของประเทศ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเชื้อร้ายอยู่ในสังคมขณะนี้ แต่สิ่งที่ผู้ถูกร้อง ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรีได้กระทำกลับตรงกันข้ามกับหลักกฎหมายและหลักความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง รายงานกำหนดรูปแบบดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะราคากลางและการคำนวณราคากลาง ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้นำเสนอตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ไม่ได้รับการสนใจใยดี จากคณะรัฐมตรีเลยแม้แต่น้อย
 
ทั้งๆ ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ให้คณะรัฐมนตรีเมื่อได้รับรายงานจาก คณะกรรมการ ป.ป.ช.แล้ว มีหน้าที่โดยตรงในการสั่งการหน่วยงานของรัฐซึ่งอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของตนจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามมาตรา 103/7 วรรคหนึ่ง โดยหน่วยงานของรัฐจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ดำนเนินการดังกล่าวและให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่ติดตามผลดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในกรณีดังกล่าวด้วย แต่รัฐมนตรีก็มิได้ดำเนินการสั่งการตามที่กฎหมายกำหนดแต่อย่างใด ย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนาโดยชัดแจ้งว่า นอกจากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแล้วยังมีเจตนาที่จะสนับสนุน ส่งเสริมให้มีการทุจริต
 
ผู้ถูกร้อง เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาล เป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรี มีพฤติกรรมกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จงใจใช้อำนาจหน้าที่ข้อต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ใช้อำนาจไปในทางทุจริต อันเข้าลักษณะที่จะต้องถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 270
 
ข้าพเจ้าดังมีรายนามแนบท้าย ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงขอใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 271 ประกอบ มาตรา 270 ร้องขอมายังท่านในฐานะประธานวุฒิสภาเพื่อให้ดำเนินการส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการไต่สวน และดำเนินการเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอน ผู้ถูกร้อง ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
 
ส่วนรายละเอียด ข้อมูลพยานหลักฐานต่างๆ ข้าพเจ้าขอส่งในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการตามกระบวนการตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ต่อไป
     
ขอแสดงความนับถือ
      
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
     
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์
         
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
 
 
'เกียรติ' นำทีม ส.ส.ประชาธิปัตย์ อัดนายกฯปมทุจริตจำนำข้าว ซัดเป็นนโยบายที่พบทุจริตอื้อ
 
26 พ.ย. 55 - การประชุมสภาผู้แทนราษฎร นัดพิเศษ เพื่อพิจารณาญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล วันที่สอง ในช่วงบ่าย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้สลับขึ้นอภิปรายรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ต่อประเด็นการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดของรัฐบาล โดยนายเกียรติ สิทธีอมร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่าจากการตรวจสอบตัวเลขของกรมศุลกากรระบุว่าการส่งออกข้าวทั้งระบบของประเทศได้เพียง 4.7 ล้านตันเท่านั้นไม่ใช่ 5 ล้านกว่าตันตามที่รัฐบาลกล่าวอ้าง อยากตั้งข้อสังเกตว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีการเวียนเทียนข้าวในโครงการ เพราะในปีที่ผ่านเกษตรกรประสบภัยพิบัติน้ำท่วมและข้าวเปลือกเสียหายกว่า 8 ล้านตัน
 
นายเกียรติ อภิปรายอีกว่า นอกจากจะมีการเวียนเทียนนำสต๊อกเก่า รวมถึงข้าวในประเทศเพื่อนบ้านมาจำนำ แล้วการที่รัฐบาลบอกว่าได้ทำสัญญาขายข้าว 7.3 ล้านตันแล้วนั้นถือเป็นการส่งออกที่จะเสร็จสิ้นในปี 56 และกว่าจะได้เงินต้องบวกไปอีกกว่า 2 ปี และจะยิ่งขาดทุนเพราะเท่าที่ทราบรัฐบาลขายข้าวได้ต่ำกว่าราคากลางของตลาดที่กำหนดไว้ 600 เหรียญ หรือ 1.8 หมื่นบาทต่อตัน แต่ความจริงขายได้เพียง 400 เหรียญต่อตันเท่านั้น โดยอ้างว่าเป็นราคามิตรภาพ ไม่ทราบว่าใครให้สิทธินายกรัฐมนตรีไปขายข้าวในราคามิตรภาพ
 
"วันนี้ในวงการข้าวเขาทราบกันดีว่าถ้าโรงสีใดอยากได้ข่าวต้องติดต่อเจ๊ ด.คนเดียว และที่ผ่านมามีบริษัท ส.ได้สิทธิกระจายข้าวจากโครงการรับจำนำมีการจัดเป็นระบบในการส่งมอบ จัดหาข้าวและแบ่งกำไรให้โรงสีกิโลกรัมละ 1 บาท ที่ผ่านมามีผู้เตือนรัฐบาลเกี่ยวกับโครงการนี้ผ่านการเขียนบทความกว่า 3,500 บทความในประเทศ และบทความต่างประเทศถึง 356 บทความ แต่รัฐบาลไม่เคยรับฟัง" นายเกียรติ อภิปราย
 
นายเกียรติ กล่าวต่อว่า หากเทียบงบประมาณที่รัฐบาลใช้กับโครงการรับจำนำพบว่าขาดทุนมหาศาล เพราะมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติเงิน 4.05 แสนล้านบาทต้องรับจำนำข้าวได้ 26 ล้านตันครอบคลุมเกษตรกร 4 ล้านครัวเรือน แต่รัฐบาลกลับใช้เงิน 4.05 แสนล้านรับจำนำข้าวได้เพียง 18 ล้านตันและครอบคลุมเกษตรกรเพียง 1.7 ล้านครัวเรือนเท่านั้น เท่ากับเงินหายไปถึง 1.2 แสนล้านบาท นอกจากนี้ตัวเลขจากสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยังระบุว่ารัฐบาลใช้เงินโครงการรับจำนำข้าวนาปีและนาปรังในปี 54/55 รวมถึงข้าวนาปรังรวมเป็นงบที่ไม่ใช่เพียงเบิกออกมาแต่ใช้ไปแล้วถึง 5.17 แสนล้านบาท หากเทียบกับสูตร 4.05 แสนล้านบาทต้องได้ 26 ล้านตันแล้ว เท่ากับว่าเงินหายไปจากงบประมาณ 5.17 แสนล้านบาทถึง 1.8 แสนล้านบาท แต่ผลประโยชน์ที่ได้กลับพบว่าไม่ถึงมือชาวนา แต่กลับมีโรงสีเท่านั้นที่ได้รายได้อย่างมหาศาล โดยเป็นโรงสีพื้นที่ภาคกลาง จาการตรวจสอบโรงสีแห่งหนึ่ง มียอดรายได้ปี 54 ถึง 44 ล้านบาท ทั้งที่ยอดรายได้ในปี 53 มีเพียง 19 ล้านบาท หรือในโรงสีที่อยู่ใกล้ กทม. มีรายได้ปี 54 สูงถึง 114 บาท ทั้งที่ปี 53 มีรายได้แค่ 3หมื่นบาท
 
"โครงการนี้ผมมองว่าไม่ใช่โครงการทุจริตเชิงนโยบาย เรียกว่า เป็นการทุจริตด้วยนนโยบาย เพราะนโยบายทำให้เกิดทุจริตทั้งระบบ ชาวนาไม่ได้อะไร และนโยบายจะทำให้ประเทศล้มละลาย โครงการนี้ทุจริตทุกเม็ด มีคนโกยแล้วโกยอีก อยากถามว่าต่อมสำนึกนายกฯ อยู่ที่ไหน" นายเกียรติ อภิปราย
 
จากนั้น นายยุพราช บัวอินทร์ ส.ส.เพชรบูรณ์ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่าในโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดในพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ พบว่ามีการโกงชาวนาเกิดขึ้น โดยโรงสี ทั้งในขั้นตอนการตรวจวัดความชื้น นอกจากนั้นแล้วยังพบด้วยว่าโรงสี ซึ่งไม่ได้เข้าในโครงการรับจำนำ ดำเนินการรับจำนำข้าวของเกษตรกร และนำไปขายให้กับ อตก. ทั้งนี้โรงสีที่รับซื้อข้าวดังกล่าวถูกตำรวจจับดำเนินคดี ทำให้ประเด็นนี้สงสัยว่า อตก. มีความผิดในข้อหารับของโจรหรือไม่ นอกจากนั้นแล้วยังพบว่ามีกระบวนการทำทุจริตโครงการรับจำนำข้าวในพื้นทีโดยมีเจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้ที่ดำเนินการ
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงท้ายของการอภิปราย นายยุพราช ได้เปิดคลิปวีดีโอ ภาพการสนทนาระหว่างกลุ่มบุคคล โดยมี ชายรูปร่างอ้วน สวนเสื้อโปโลสีน้ำเงิน ที่ถูกคาดหน้าด้วยแถบสีดำ ระบุว่า "การจ่ายเงิน ต้องทำต่อหน้าผู้ว่าฯ เท่านั้น เพราะกฎหมายกำหนด ไม่เช่นนั้นจะเป็นการยักยอกทรัพย์ เพราะผมได้เอาทรัพย์ของพวกท่านมาแล้ว" ทั้งนี้มีชายคนหนึ่งสอบถามขึ้นว่า "หากจะให้ออกใบประทวน หรือ จ่ายเงินสดก็บริการได้ใช่ไหม" ผู้ชายสวมเสื้อสีน้ำเงิน กล่าวตอบว่า "ได้เลย แต่การจ่ายเงินสด ต้องจ่ายผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด เนื่องจากเป็นกฎหมาย ไม่สามารถจ่ายเงินสดได้ด้วยตัวผมเอง เพราะผิดเงื่อนไขจำนำ" จากนั้นนายยุพราช อภิปรายต่อว่า คลิป วิดีโอดังกล่าวเป็นตัวอย่างความล้มเหลวขอโครงการรับจำนำของรัฐบาล ที่มีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ เป็นประธานกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ซึ่งตนไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ที่ จ.เพชรบูรณ์ ขึ้นอีก
 
จากนั้น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ขอใช้สิทธิ์ชี้แจงในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ว่า ตนขอข้อมูลที่นำมาเสนอ โดยตนจะเรียกตำรวจให้มารับคำร้องทุกข์ จากนั้นตนจะดำเนินการจับกุมผู้ที่ทุจริต แต่ยังไม่ทันที่ ร.ต.อ.เฉลิมจะชี้แจงจบ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ได้ลุกประท้วงว่า ร.ต.อ.เฉลิม ไม่มีสิทธิ์ที่จะชี้แจงต่อที่ประชุม โดยการประท้วงดังกล่าวได้ใช้เวลานานกว่า 30 นาที จึงสามารถเข้าสู่การอภิปรายตามปกติได้ โดยส่วนใหญ่เป็นการอภิปรายประกอบคลิปวิดีโอในประเด็นการลักลอบนำข้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาสู่ประเทศไทย เพื่อสวมสิทธิ์ข้าวในโครงการรับจำนำ
 
 
'อรรถพร' เปิดคลิปอภิปรายสารพัดวิธีทุจริตจำนำข้าว
 
เมื่อเวลา 16.00 นายอรรถพร พลบุตร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์  ได้อภิปรายพร้อมนำเสนอคลิปวีดีโอที่ทางพรรคบันทึกไว้เกี่ยวกับการทุจริตของโครงการรับจำนำข้าว โดยพบขั้นตอนการทุจริตในหลายรูปแบบและหลายพื้นที่ เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือง ภาคเหนือ และภาคกลาง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานพบว่ามีการนำข้าวจากกัมพูชาเข้ามาจำนำในไทย ได้กำไรเฉลี่ยตันละหมื่นกว่าบาท
 
พร้อมกันนี้ยังมีเครือข่ายนักการเมืองร่วมมือกับโรงสีทำการเวียนเทียนข้าว โดยใช้วิธีการจำนำข้าวในจังหวัดหนึ่งและนำไปจำนำต่ออีกจังหวัดหนึ่ง ซึ่งจากคลิปเป็นการนำข้าวจากจ.อุบลราชธานีไปจำนำต่อที่จ.สุรินทร์ ทั้งนี้ พบว่ามีการนำข้าวนาปีที่นำไปเข้าโครงการรับจำนำข้าวแล้ว นำมาเทและบรรจุกระสอบใหม่แล้วนำไปเข้าโครงการรับจำนำข้าวนาปรัง ต่อ ขณะเดียวกันพบว่ามีการนำข้าวเหลืองซึ่งเป็นข้าวเสื่อมคุณภาพนำมาซ่อนไว้ในกองข้าวที่ได้คุณภาพด้านใน จึงทำให้ยากต่อการตรวจสอบ
 
นอกจากนี้ พบการทุจริตที่น่าอับอายที่สุดในพื้นที่จ.นครปฐม อ.ดอนตูม บ้านลาดสะแก ที่มีโรงสีแห่งหนึ่งร่วมมือกับชาวบ้านที่ไม่ได้ประกอบอาชีพเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ซึ่งส่วนให้ประกอบอาชีพบ่อเลี้ยงปลาและสวนผัก โดยนำชาวบ้านไปลงทะเบียนชาวนา พร้อมแจ้งพื้นที่นาอันเป็นเท็จ จากนั้นจะทำการออกใบประทวนปลอม โดยโกงน้ำหนักรวมถึงราคารับจำนำข้าว เพื่อไปหลอกรัฐบาลให้ได้เงินจากโครงการมากกว่าความเป็นจริง และเมื่อได้เงินมาโรงสีจะแบ่งส่วนแบ่งให้กับชาวนาปลอม อีกทั้ง พบว่ามีคนในตระกูล "กุลดิลก" เป็นหุ้นส่วนอยู่ในโรงสีดังกล่าวด้วย
 
จากนั้น บรรยากาศการอภิปรายได้มีเกิดการประท้วงจากผู้ที่ถูกพาดพิงจากฝั่งรัฐบาลตลอดเวลา โดยร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี และนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ ได้พยายามขออนุญาตประธานเพื่อทำการชี้แจงในประเด็นที่ถูกพาดพิง แต่นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งที่ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ไม่อนุญาตให้ร.ต.อ.เฉลิมชี้แจง รวมทั้งขอให้นายบุญทรง นั่งลง เพื่อขอทำความเข้าใจกับสมาชิก ว่า นายกรัฐมนตรีพูดภาพรวมแล้ว และสามารถมอบหมายให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องชี้แจงในรายละเอียดแทนได้
 
โดยนายถาวร เสนเนียม สส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ได้ประท้วงว่าในสมัยที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในขณะนั้นนายอภิสิทธิ์ ได้มอบหมายให้ตนชี้แจงแทน แต่ประธานในที่ประชุมกลับวินิจฉัยว่าไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเป็นการเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ ดังนั้น ขอยืนยันว่าต้องเป็นนายกฯเท่านั้นที่ต้องชี้แจง และขอให้ประธานตีความกฎหมายอย่างเคร่งครัดตามตัวอัษรด้วย
 
ขณะที่นายสมศักดิ์ วินิจฉัยยืนยันว่า ตามข้อบังคับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องสามารถชี้แจงได้รวมถึงใช้สิทธิ์อภิปรายเมื่อมีการอภิปรายพาดพิงได้ จากนั้นร.ต.อ.เฉลิม .ใช้สิทธิ์ชี้แจงว่า ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการตรวจสอบเพื่อป้องกันการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว  และที่ผ่านมามีการจับกุมดำเนินคดีกับผู้ที่ทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวถึง 81 คดี และขณะนี้ศาลได้พิพากษาไปแล้วจำนวน 2 คดี
 
ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ ดังนั้น รัฐบาลขอแสดงความจริงใจในประเด็นการปราบทุจริต ขอให้ฝ่ายค้านนำหลักฐานการทุจริตข้าวมามอบให้ตน โดยจะเปิดห้อง 3310 รอ และจะเชิญตำรวจที่เกี่ยวข้องมารับเรื่องร้องทุกข์โดยยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่มีการปาหี่
 
 
'อาคม' แฉ สินบน 2 ล้าน ทุจริตตรวจคุณภาพข้าว
 
26 พ.ย. 55 - นายอาคม เอ่งฉ้วน ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายไม่ไว้วางใจเรื่องการทุจริตจำนำข้าวว่า โครงการรับจำนำข้าวที่ล้มเหลวเป็นเพราะเป็นนโยบายที่รับจำนำข้าวราคาสูงจึงไม่มีผู้มาไถ่ถอนคืน จึงเป็นภาระของรัฐบาล อีกทั้งยังเปิดให้มีการทุจริต โดยการสวมสิทธิ์ และทำลายกลไกตลาดระดับเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมข้าว และเมื่อนำไปจำนำแล้วข้าวจะเป็นของรัฐบาล หลังจากโรงสี สีเป็นข้าวสารแล้วนำไปเก็บไว้ขายภายหลัง แต่เมื่อรับซื้อมาราคาสูงทำให้ระบบการขายล้มเหลว ประกอบกับรัฐบาลเปลี่ยนแปลงทำสัญญาเช่าโกดังและไม่มีการตรวจคุณภาพข้าวขาออก รวมทั้งบริษัท 17 บริษัทที่เข้าร่วมกับรัฐบาลในการตรวจสอบคุณภาพข้าวหรือ เซอร์เวย์เยอร์ไม่น่าเชื่อถือ
 
นายอาคมยังกล่าวอีกว่า มีการนำเอาข้าวที่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิมาจำนำด้วย และมีการนำข้าวข้ามเขตมาเข้าโครงการรับจำนำด้วย โดยโรงสีที่ได้รับต้องจ่ายให้ ดอกเตอร์คนหนึ่ง ซึ่งเป็นหมอ 2 ล้านบาทโดยร่วมมือกับบริษัทตรวจสอบ และโครงการดังกล่าวกรมการค้าภายในมีการจัดฉากให้ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีไปตรวจสอบแล้วไม่พบความผิดปกติ ซึ่งนายกฯจะต้องรับผิดชอบทางการเมือง
 
 
'ประเสริฐ' แฉ รัฐปกปิด ขายข้าวจีทูจี 3 แสนตัน เอื้อประโยชน์ 'สยามอินดิก้า'
 
25 พ.ย. 55 - นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ ส.ส.ยะลา พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) อภิปรายว่า นายกรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศและรับตำแหน่งฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ไม่กี่วันก็เริ่มมีประมูลการขายข้าวค้างสต๊อกกว่า 3 แสนตัน  ให้กับบริษัทสยามอินดิก้า เพื่อขายให้กับองค์กรสำรองข้าวประเทศอินโดนีเซีย (บูล็อค) ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีการงุมงิบทำสัญญา เนื่องจากก่อนการประมูล มีเพียง 2 บริษัทเท่านั้นที่ทราบข่าว แต่ในที่สุดบริษัทที่ได้ประมูลไปคือบริษัทสยามอินดิก้า โดยไม่มีการเปิดเผยและแจ้งให้สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยทราบ แต่เรื่องแดงขึ้นมาเมื่อสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยทำหนังสือมาถึงรองนายกฯ และรมว.พาณิชย์  ว่าเหตุใดจึงไม่ทราบเรื่อง  และการขายข้าวครั้งนี้จำนวน 3 แสนตัน ก็ไม่ได้นำสต๊อกข้าวของรัฐบาลมาดำเนินการ ทำให้องค์การคลังสินค้า ( อคส.) ต้องไปกว้านซื้อ ซึ่งถือเป็นการโกหก รัฐบาลกลืนน้ำลายตัวเอง เพราะคงไม่มีใครมีข้าวจำนวนมากถึง 3 แสนตันเหมือนรัฐบาล ที่ไปรับซื้อในราคาที่ถูกกว่า และเห็นว่ารัฐบาลยุคนี้ กล้ากว่า หนากว่า รัฐบาลยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพราะในสมัยนั้น มี 4-5 บริษัทที่เข้าร่วมประมูล เมื่อมีการท้วงติงมา รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณก็ได้ยกเลิกการประมูล               
 
นายประเสริฐ กล่าวว่า เวลาไปเจรจากับต่างประเทศใช้ยี่ห้อประเทศไทย คนไทย ข้าวไทยไปเจรจาหรือไม่ แต่เมื่อสำเร็จกลับยกให้เอกชนทำ และการอนุมัติปล่อยเงินกู้ของธนาคารกรุงไทยให้กับบริษัทสยามอินดิก้าเพื่อซื้อข้าว 3 แสนตันล๊อตนี้  ผู้บริหารธนาคารกรุงไทย ยังไม่รู้เลย เหมือนกับเอาเงินจากธนาคารกรุงไทยไปจ่ายให้กับอคส. ซึ่งปัจจุบันบูล็อคได้ทยอยเบิกข้าวไปแล้ว 1.5 แสนตัน ส่วนที่เหลือให้ชะลอไว้ก่อน  ไหนว่าการขายข้าวแบบจีทูจีเป็นความลับ  แต่ปิดหูปิดตาประชาชน  เป็นเพราะให้เอกชนดำเนินการใช่หรือไม่  ทั้งนี้สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็มีการขายข้าวแบบจีทูจี กับประเทศอินโดนิเซียและบังคลาเทศ ซึ่งไม่มีอะไรปิดบัง ทั้งที่เป็นเงินจำนวนมหาศาล และมีการเชิญชวนบริษัทต่างๆให้มาประมูลอย่างทั่วถึง
 
นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า   บริษัทสยามอินดิก้า มีความเชื่อมโยงกับบรัษัทเพรซิเด้นอะกริ เทรดดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับการประมูลข้าวในสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ กว่า 3.8 แสนตัน  เป็นบริษัทที่เดินเข้าออกกระทรวงพาณิชย์ ได้รับผลประโยชน์จากการขายข้าว  ได้ลดค่าประกันสัญญา แต่ต่อมาบริษัทดังกล่าวทำให้ อคส.เสียหายถึง4,800 ล้านบาท ซึ่งต่อมาบริษัทดังกล่าวล้มละลาย ทำให้ อคส.ไม่ได้รับค่าเสียหายแม้แต่แดงเดียว ต่อมาบริษัทเพรสซิเด้นฯ มาตั้งบริษัทไหม่ ใช้ชื่อบริษัทสยามอินดิก้า โดยมีรายชื่อกรรมการบริหารบริษัทเป็นชุดเดียวกัน ครั้งนี้บริษัทดังกล่าวได้รับผลประโยชน์จากการประมูลข้าวจำนวน 3 แสนตัน แต่ก็เป็นบริษัทนี้ที่ในอดีตเคยทำให้ อคส.เสียหาย แต่ทำไมรัฐบาลยังทำธุรกิจกับบริษัทนี้อยู่ เพราะทำให้อสค.เสียหาย มีประวัติไม่ดี ขาดคุณสมบัติที่จะเข้าร่วมประมูลได้  ซึ่งตนเชื่อว่าต้องมีเงินทอนกลับมาแน่นอน แต่ไปเข้ากระเป๋าใครต้องตอบให้ได้
 
"นายกฯรู้ยิ่งกว่ารู้ เพราะเป็นนักธุรกิจ ว่า 2 บริษัทนี้โคลนนิ่งกันมา มีคุณสมบัติไม่ชอบ และมีเป้าหมายเดียวกันคือมุ่งไปสู่การทุจริต  ดังนั้นอยากให้นายกฯ เปิดเผยว่า อคส.รับเศษเงินมาเท่าไหร่ หายไปเท่าไหร่ ตกหล่นอยู่ที่ไหนบ้าง ขอให้มาเปิดเผยในสภาฯแห่งนี้ นี่เป็นสิ่งที่ผมเสียใจและไม่อาจให้นายกฯอยู่ในตำแหน่งได้ต่อไป"นายประเสริฐ กล่าว
 
 
'พุทธิพงษ์' อภิปรายจำนำมันสำปะหลังกินส่วนต่าง-เอื้อประโยชน์พวกพ้อง
 
26 พ.ย. 55 - เมื่อเวลา 20.30 น. ที่รัฐสภา นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์  อภิปรายโครงการรับจำนำมันปะหลังว่า รัฐบาลได้ยกเลิกโครงการรับประกันราคามันสำปะหลังและเปลี่ยนเป็นโครงการรับจำนำ แต่ไม่สามารถที่จะดำเนินการโครงการรับจำนำได้ตั้งแต่เดือนพ.ย.54 –ม.ค.55 รวมระยะเวลา 3 เดือน และเมื่อดำเนินการได้รัฐบาลได้ประกาศว่าราคาที่รัฐบาลตั้งไว้คือ 2.75 บาท เดือนกุมภาพันธ์ 2.80 บาท ในเดือนมีนาคม 2.85 บาทในเดือน เมษายน และ 2.90 บาทในเดือนพฤษภาคทม ต่อกิโลกรัม
 
"เมื่อถึงเวลาเกษตรกรนำสำปะหลังไปจำนำกลับได้ราคาเพียง 2.50 บาท ต่อกิโลกรัมเท่านั้น จึงอยากถามว่าเงินส่วนต่างที่เหลือหายไปไหน และเอื้อประโยชน์ให้ใครหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีการสวมสิทธิ์โดยนำมันสำปะหลังจากประเทศเพื่อบ้านมาเข้าโครงการรับจำนำ " นายพุทธิพงษ์กล่าว
 
การรับซื้อมันสำปะหลังรัฐบาลนำไปขายให้ใครเนื่องจากมันสำปะหลังที่อยู่ในมือรัฐบาลมีถึง 2.2 ล้านตันต่อมาซึ่งมาทราบภายหลังว่ารัฐบาลได้ขายไปในลักษณะรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) แต่ก็ไม่มีรายละเอียดข้อมูลไม่ทราบว่าขายให้ประเทศใดและไม่ได้เปิดแอลซีและไม่รุ้ว่าขายไปเท่าไร และยังทราบมาว่าไม่ได้เป็นการขายแบบจีทูจีอย่างแท้จริง เพราะมีบริษัทที่คนไทยเป็นเจ้าของไปมีส่วนได้ส่วนเสียในการซื้อขายมันสำปะหลังแบบจีทูจีกับจีน
 
หลังจากนั้นนายนายศุภชัย ศรีหล้า ส.ส.อุบลราชธานี ได้อภิปรายโจมตีรัฐบาลในโครงการแทรกแซงสินค้าการเกษตรอย่างเช่นหอมแดงที่ปล่อยให้มีการทุจริตใน อคส. และสร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องเกษตรกร รวมถึง น.พ.สุกิจ อัถโถปกรณ์' ส.ส.ตรัง ได้อภิปรายเรื่องยางพารา
 
 
'หมอวรงค์' อภิปรายรัฐขายข้าวจีทูจีให้บริษัทผี "ไทย - จีน"
 
26 พ.ย. 55 - นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายในญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ต่อประเด็นการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ว่า การขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐระหว่างรัฐบาลจีนและรัฐบาลไทย เป็นสิ่งที่รัฐบาลโกหก เนื่องจากการตรวจสอบจากเอกสารแล้วพบว่า ในจำนวนข้าวที่รัฐบาลว่าจะขาย ในจำนวน 7.32 ล้านตันนั้นเป็นการซื้อขายให้กับบริษัทผี ของคนไทย และของบริษัทจีน ซึ่งเป็นบริษัทผี ซื้อแค่ชื่อบริษัทเพื่อมาทำสัญญาเท่านั้น โดยบริษัทจีนที่ว่านั้นชื่อ GSSG IMP AND EXP.CORPตั้งอยู่ที่นครกวางเจา ประเทศจีน โดยในเอกสารรับมอบอำนาจบริษัทดังกล่าว ระบุว่า นายรัฐนิธ โสจิรกุล เป็นผู้มีอำนาจของบริษัท ลงนามมอบอำนาจให้กับนายนิมล รักดี มีที่อยู่ อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร ให้เป็นผู้มีอำนาจในการลงนามแทน ในการซื้อขายข้าวตามสัญญารัฐต่อรัฐ จำนวน 5 ล้านตัน โดยจากการตรวจสอบแล้วพบว่านายรัฐนิธ มีชื่อเล่นว่า "ปาล์ม" อายุ 32 ปี ผู้ช่วยลำดับที่ 3 ของ นางระพีพรรณ พงษ์เรืองรอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และเมื่อตรวจสอบบัญชีธนาคารกรุงไทย พบว่ามียอดเงินค้างในบัญชี จำนวน 64.63 บาทเท่านั้น
 
นพ.วรงค์ อภิปรายต่อว่า ชื่อของนายนิมล ที่เป็นผู้มีอำนาจของบริษัทจีนนั้น ตรวจสอบพบว่า คนในพื้นที่ จ.พิจิตร เรียกว่า "เสี่ยโจ" เป็นมือขวาให้กับ นายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือ"เสี่ยเปี๋ยง" และเมื่อตรวจสอบจากเอกสารของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พบว่า นายนิมล นั้นเป็นคนของบริษัทเพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง และถูก ป.ป.ช.ตรวจสอบพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตรับจำนำข้าว ในปี 46 - 47 สมัยรัฐบาลของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ในประเด็นนำข้าวเก่ามาเวียนเทียนเข้าโครงการรับจำนำ ซึ่งบริษัทเพรซิเดนท์ มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทสยามอินดิก้า จำกัด เพราะเมื่อปี 47 "เสี่ยเปี๋ยง" ได้ไปจดทะเบียนบริษัทสยามอินดิก้า จำกัด ทั้งนี้นายนิมล มีชื่อเรียกในวงการว่า "โจ เพรซิเดนท์ พิจิตร" เป็นคนของบริษัทสยามอินดิก้า ซึ่งเคยร่วมทุจริตค้าข้าวตั้งแต่สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ
 
"ประเด็นที่รัฐบาล ยอมนำหัวของบริษัทจีนมาทำสัญญาแบบจีทูจี เป็นเพราะว่าต้องการเลี่ยงการประมูลซึ่งมีราคาสูง ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า เมื่อทำเช่นนี้ จะค้าข้าวกระสอบละ 300 บาท ทั้งที่ราคาข้าวในตลาดจะอยู่ที่กระสอบละ 1,500 - 1,555 บาท ดังนั้นเมื่อค้าข้าวกระสอบละ 300 บาท จำนวนที่รัฐบาลว่าจะขายทั้งหมด 7.32 ล้านตัน จะมีค่าส่วนต่างถึ 2 หมื่นล้านบาท"น.พ.วรงค์ อภิปราย
 
น.พ.วรงค์ อภิปรายต่อว่าสำหรับข้าวที่มีการซื้อขายพบว่าถูกนำไปไว้ที่โกดัง จ.พิจิตร ซึ่งเป็นโกดังเก็บข้าวของบริษัทสยามเพรซิเดนท์ โดยใช้วิธีการเทข้าวเก็บไว้ในโกดัง แทนเก็บไว้ในกระสอบ โดยทราบว่าเมื่อช่วง 5 พ.ค. - 16 ก.ค. มีการนำข้าวไปไว้ถึง 4.1 แสนกระสอบ ทั้งนี้ประเด็นที่เกิดขึ้นนั้น นายกฯ ทราบข้อมูลและมีการสมรู้ร่วมคิดกับรัฐมนตรีในการกระทำทุจริต ตามที่เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนที่ทำเนียบรัฐบาล
 
นพ.วรงค์ อภิปรายต่อว่าจากการตรวจสอบของการบันทึกเบิกข้าวของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พบว่ามีการอำพรางชื่อบริษัทที่จะส่งมอบข้าว โดยใบบันทึกช่วงต้นพบมีการบันทึกบริษัทรับข้าวว่า "สยามเอริก้า" แต่ช่วงท้ายของบันทึกเบิกข้าว เจ้าหน้าที่พิมพ์ว่าสยามอินดิก้า ดังนั้นจึงถือว่ามีการลับลวงพราง
 
ผู้สื่อข่าวรายว่าช่วงที่ นพ.วรงค์อภิปรายนั้น ส.ส.เพื่อไทยได้ลุกประท้วงอย่างต่อเนื่อง
 
 
 
 
ที่มาเรียบเรียงจาก: เว็บไซต์ข่าวรัฐสภาถึงประชาชน, เนชั่นทันข่าว, มติชนออนไลน์, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สัมมนา TDRI: 'AEC' กับการปฎิรูปสาขาบริการ

Posted: 26 Nov 2012 10:11 AM PST

นักวิจัยทีดีอาร์ไอเสนอ เพื่อให้ไทยรับมือกับประชาคมศก.อาเซียน นอกจากต้องปรับปรุงกฎหมายในประเทศ ยังต้องพัฒนาฝีมือแรงงานภาคบริการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และต้องเปิดเสรี-ลดการผูกขาดบริการที่สนับสนุนธุรกิจ เช่น พลังงาน การเงิน และโทรคมนาคม 

เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 55 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ ได้จัดงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2555 ในหัวข้อ "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: มายาคติ ความเป็นจริง โอกาสและความท้าทาย"  ในงาน มีการนำเสนอรายงานวิจัยในหัวข้อ "AEC กับการปฏิรูปสาขาบริการ" โดยดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ได้เสนอว่า เพื่อให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียน นอกจากจำเป็นต้องปรับปรุง แก้ไขกฎหมายภายในประเทศแล้ว ยังจำเป็นต้องพัฒนาฝีมือแรงงานภาคบริการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และต้องเปิดเสรีและลดการผูกขาดสาขาบริการที่สนับสนุนธุรกิจ เช่น พลังงาน และโทรคมนาคม 

 
"มายาคติและข้อเท็จจริง" - การเปิดเสรีภาคบริการมีมาแล้วตั้งแต่ 2539
 
ดร. เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า มายาคติที่เข้าใจกันทั่วไปโดยเฉพาะจากการรายงานของสื่อ มักเข้าใจว่าภายในปี 2558 ทุกสาขาของการบริการจะสามารถเข้ามาแข่งขันได้อย่างเสรี คล้ายกับการเปิดเสรีของสหภาพยุโรป แต่ความจริงแล้ว กรอบการเปิดเสรีภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC มิได้มีข้อผูกพันทางกฎหมายในตัวมันเอง ต่างจาก FTA หรือการเจรจาอื่นๆ ในอดีต แต่เป็นการกำหนด Roadmap เพื่อให้การเจรจาการเปิดเสรีมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน และหากไม่ทำตาม ก็จะไม่มีบทลงโทษ นอกจากนี้ ก็มิได้เปิดเสรีเต็มรูปแบบเหมือนในสหภาพยุโรป 
 
เดือนเด่นกล่าวถึงที่มาของข้อตกลงการเปิดเสรีในอาเซียนว่า ที่จริงมีมานานแล้ว โดยมีการเจรจาการค้าบริการในอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services หรือ AFAS) เกิดขึ้นเมื่อปี 2539 ซึ่งมีข้อผูกมัดตามกฎหมาย  โดยเป็นตามรูปแบบของ request/offer เป็นการเปิดเสรีระหว่างประเทศที่มีความพร้อมและความเชี่ยวชาญโดยสามารถกำหนดเฉพาะประเทศที่พร้อมก็ได้ แต่ในความเป็นจริง ในประเทศที่กำลังพัฒนา เป็นไปได้ยากที่จะเปิดเสรีทางด้านบริการระหว่างกัน เพราะยังไม่ใช่กลุ่มผลประโยชน์ของซึ่งกันและกันโดยตรง  ทำให้ 17 ปีที่ผ่านมา กลับไม่มีความคืบหน้าใดๆ เลย จึงได้มีการกำหนด Roadmap ของ AEC ซึ่งกำหนดเป้าหมายและเงื่อนเวลาในการเปิดเสรีดังกล่าว 
 
ในทางปฏิบัติ จึงต้องนำกรอบข้อตกลง AEC ไปปฏิบัติผ่าน AFAS เพื่อทำให้มีข้อผูกพันตามกฎหมาย แต่ตามตารางการปฏิบัติ จะเห็นว่าประเทศไทยได้ล่าช้ากว่ากำหนดไปแล้วกว่า 4 ปี เนื่องจากข้อจำกัดทางกฎหมายในประเทศที่ยังเป็นอุปสรรค ดังนั้น การเปิดเสรีผ่านทาง AFAS คงจะไม่สำเร็จก่อนปี 2017 
 
เรื่องการเปิดเสรีทางภาคบริการ จะเห็นว่ามิได้เปิดเสรีกับทุกสาขาบริการ แต่มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายเฉพาะสาขา โดยตามข้อตกลง ประเทศไทยได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เร่งรัด ซึ่งต้องเปิดเสรีให้ต่างชาติมาถือหุ้นลงทุนร้อยละ 70 ภายในปี 2553 ได้แก่ e-อาเซียน การบริการสุขภาพ การท่องเที่ยว การขนส่งทางอากาศ​ ส่วนในภาคโลจิสติกส์ ต้องเปิดได้ร้อยละ 70 ภายในปี 2556 ส่วนภาคบริการอื่นๆ กำหนดให้เปิดร้อยละ 70 ภายในปี 2558 อย่างไรก็ตาม ตามกรอบข้อตกลง มีข้อกำหนดที่ยืดหยุ่น สามารถผลัดการเจรจาไปรอบต่อไปได้หากว่ายังไม่พร้อม หรือทดแทนภาคบริการอื่นๆ ซึ่งกันและกันได้ หากว่าสาขาบริการไหนมีความพร้อมก่อน และอนุญาตให้เปิดเสรีก่อนเฉพาะประเทศที่พร้อมได้ ซึ่งมีความคลุมเครือและข้อจำกัดว่าอาจนำไปสู่ความล่าช้าในการเปิดเสรีภาคบริการอีกหลายปี 
 
เดือนเด่นชี้ให้เห็นถึงข้อมูลว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่แย่ที่สุดในอาเซียนในแง่การขยายการถือหุ้น โดยที่ผ่านมา การขยายการถือครองหุ้นจากต่างชาติเพื่อการเปิดเสรี ได้ล่าช้าไปแล้ว 4 ปี เนื่องจาก พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ได้ห้ามชาวต่างชาติการถือครองหุ้นในธุรกิจเกินร้อยละ 49 ในทุกสาขาบริการ ทำให้ไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ยังมีอุปสรรคในประเทศต่อการเปิดเสรี ต่างจากบางประเทศ อย่างสิงคโปร์ที่เปิดเสรีเต็มที่แล้ว หรือมาเลเซียห้ามเฉพาะในบางสาขาบริการเท่านั้น 
 
ทั้งนี้ ข้อผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการชุดที่ 8 ของประเทศไทย ที่จะใช้ในปี 2559 ประกอบด้วย การบริการโรงแรมการท่องเที่ยว  การบริการด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษาด้านโทรคมนาคม และบริการโทรคมนาคม แต่ด้านโทรคมนาคม กลับจำกัดอยู่ที่บริการโทรเลขและโทรสาร ซึ่งจะเห็นว่าเป็นสาขาบริการที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยค่อนข้างน้อยมาก จึงสรุปได้ว่า ประเทศในอาเซียนยังไม่สามารถเปิดเสรีตามโรดแมพที่กำหนดไว้ได้ ยกเว้นประเทศสิงคโปร์เท่านั้นที่สามารถบรรลุได้ตามเป้าหมาย ส่วนประเทศไทยก็มิได้มีนโยบายในประเทศที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์เพื่อการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการเปิดเสรีภาคบริการในอาเซียนตามโรดแมพปี 2558 ถือว่าค่อนข้างเป็นไปได้น้อยมาก
 
"โอกาส" - ถ้าไม่แก้เรื่องการถือหุ้นของต่างชาติในภาคบริการ อาจตกขบวนรถไฟ
 
เดือนเด่นอธิบายว่า อาเซียนมีฐานเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดลำดับที่ 6 ของโลก เป็นแหล่งลงทุนที่สำคัญโดยมีทุนมุ่งมาภูมิภาคอาเซียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่เมื่อดูอย่างใกล้ชิดในกรณีของประเทศไทย จะเห็นว่า ส่วนแบ่ง การลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment - FDI) กลับน้อยกว่าจีดีพีของประเทศเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ การลงทุนในอาเซียน ถึงแม้ว่าไทยมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสอง แต่กลับมีการลงทุนในอาเซียนค่อนข้างน้อยมาก สิงคโปร์ต่างหากที่เป็นผู้ลงทุนขนาดใหญ่ในภูมิภาคนี้ 
 
จากสถิติ ชี้ว่า บริษัทข้ามชาติในไทยใช้สิงคโปร์เป็น "ทางผ่าน" ในการลงทุน โดยมีการตั้งสำนักงานใหญ่ที่สิงคโปร์ และเมื่อยิ่งเปิดเสรีภาคบริการในปี 2558 แล้ว คาดว่าทุนจะยิ่งกระจุกตัวที่สิงคโปร์มากขึ้นเพราะทุนต่างชาติจะใช้สิงคโปร์เป็นฐานในการมาลงทุนที่ประเทศไทย และมิใช่เพียงผู้ลงทุนจากสิงคโปร์เท่านั้น แต่รวมถึงผู้ลงทุนจากยุโรปและสหรัฐที่จะมาเปิดฐานที่สิงคโปร์ด้วย เนื่องจากเป็นประเทศที่เปิดเสรีในภาคบริการมากที่สุด 
 
"ฉะนั้นเมื่อเปิดเสรีแล้ว สิงคโปร์จะกลายเป็น Hub (ดุมล้อ) ของการลงทุนในภูมิภาคมากขึ้น และเราจะเป็น spoke (ซี่ล้อ) เท่านั้นเองจากตัวเลขที่แสดงให้เห็น" เดือนเด่นกล่าว
 
นอกจากนี้ เธอยังชี้ให้เห็นว่า การลงทุนจะมาลงที่ภาคบริการมากขึ้น แต่ประเทศไทยกลับจำกัดการถือหุ้นของต่างชาติในภาคบริการที่ร้อยละ 49 แต่ภาคอุตสาหกรรมกลับเปิดการถือหุ้นของต่างชาติให้ 100% เต็มที่ ทำให้นโยบายและโครงสร้างการลงทุนไม่สอดคล้องกับทิศทางการลงทุนจากต่างชาติที่จะเข้ามา ซึ่งประเทศไทยยังไม่เห็นภาพรวมตรงนี้ ทำให้เสียโอกาสในการได้รับการลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยีในภาคบริการจากต่างประเทศ 
 
"ความท้าทาย" - ต้องพัฒนาคุณภาพแรงงานภาคบริการให้มีประสิทธิภาพ  
 
ด้านประสิทธิภาพแรงงานในภาคการผลิตและบริการในประเทศไทย เดือนเด่นกล่าวว่า คุณภาพแรงงานถือว่ายังต่ำ โดยหากจัดอันดับคุณภาพของบริการในอาเซียน อาทิ การเงิน พลังงาน การสื่อสาร ไทยอยู่ที่อันดับ 3 และจากสถิติได้ชี้ให้เห็นว่า คุณภาพของแรงงานไทยภาคบริการ กลับมีประสิทธิภาพน้อยกว่าภาคการผลิตราวสองเท่าตัว นับเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งภาคบริการคิดเป็นราวร้อยละ 50 ของจีดีพี 
 
"นี่คือโครงสร้างของประเทศที่ไม่พัฒนา หากเราอยากจะหลุดจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง มันเป็นไปไม่ได้หากเรายังมีคุณภาพแรงงานของภาคบริการที่ไม่ถึงครึ่งของภาคอุตสาหกรรม" เดือนเด่นระบุ
 
ในส่วนของโทรคมนาคม เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียนแล้ว ค่าโทรศัพท์ของไทยสูงที่สุดอันดับสี่ในอาเซียน ทำให้เห็นว่าเรามีต้นทุนที่สูงพอสมควร ซึ่งเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นสำหรับภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจอื่นๆ ที่มาลงทุนในประเทศไทย ทำให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่ส่งออก ไม่ได้รับการคุ้มครองจากภาครัฐ ต้องแบกต้นทุนจากภาคบริการที่มีค่าใช้จ่ายสูงและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 
 
"ข้อเสนอแนะ" - เปิดเสรีภาคบริการที่สนับสนุนธุรกิจ และแก้กฎหมายภายใน 
 
เดือนเด่นกล่าวว่า ประเทศไทย ควรเปิดเสรีภาคบริการที่สนับสนุนภาคธุรกิจ เช่น โทรคมนาคม พลังงาน สถาบันการเงิน การขนส่ง และบริการที่มีลักษณะผูกขาดหรือกึ่งผูกขาด เช่น ไฟฟ้า พลังงาน และโทรคมนาคม 
 
เธอกล่าวว่า ตราบใดที่กฎหมายภายในประเทศยังไม่มีการปรับปรุง และธุรกิจยังมีการผูกขาดอยู่ การเปิดเสรีอาเซียนก็ไม่มีความหมาย เพราะไทยไม่เอื้อสำหรับการเข้ามาถือหุ้น และยกตัวอย่างที่กสทช. ได้ประกาศข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ. 2555 ทำให้ต่างชาติไม่กล้าเข้ามาลงทุนในด้านโทรคมนาคม 
 
เช่นเดียวกับท่อก๊าซ ที่ตอนนี้ผูกขาดโดยปตท. และกฟผ. ต่างชาติก็ไม่สามารถเข้ามาลงทุนในสาขานี้ได้ ทำให้เออีซีไม่มีความหมาย สิ่งที่ต้องมีคือกฎหมายในประเทศที่ลดการผูกขาด และเอื้อให้การใช้โครงข่ายในประเทศได้อย่างเสรีและเป็นธรรม 
 
ผู้อำนวยการวิจัยทีดีอาร์ไอ กล่าวย้ำว่า ภาคบริการจำเป็นต้องปฏิรูป เพราะถึงร้อยละ 45 ของประชากรไทยอยู่ในภาคบริการ โดยต้องทำให้แรงงานมีคุณภาพ เพื่อให้อัตราขยายตัวของภาคบริการสูงขึ้นให้ถึงร้อยละ 5-6 เและให้สามารถหลุดออกจากกับดักที่มีประเทศรายได้ปานกลางได้
 
สรุปข้อเสนอแนะในการเปิดเสรีภาคบริการ คือ ไทยควรมีโรดแมพของตนเอง และแทนที่จะทำตามข้อกำหนดจากต่างประเทศ เช่น AEC หรือ TPP นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องแก้ไขพ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เพื่อไม่ปิดกั้นในการเปิดเสรีภาคบริการ และคุ้มครองสาขาบริการบนพื้นฐานของผลประโยชน์ของเศรษฐกิจส่วนรวม มิใช่ของผู้ประกอบการธุรกิจนั้นๆ นอกจากนี้ ยังควรเร่งปรับปรุงกฎระเบียบภายในที่ไม่จูงใจการลงทุนจากต่างประเทศ และทบทวนนโยบายการลงทุนที่เน้นเพียงธุรกิจอุตสาหกรรม อย่างสำนักงานส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI ที่ปัจจุบันสังกัดอยู่ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

โปรดเกล้าฯ 'ชาญวิทย์ เกษตรศิริ' เป็น 'ศาสตราจารย์พิเศษ'

Posted: 26 Nov 2012 08:20 AM PST

26 พฤศจิกายน 2555 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ โดยมีเนื้อหาว่า  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อาจารย์พิเศษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชาประวัติศาสตร์  คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2555 ประกาศ ณ วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2555 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘สันติอโศก’ ณ ตำแหน่งศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ บนเส้นทางศาสนากับ ปชต.

Posted: 26 Nov 2012 06:54 AM PST

โดยส่วนตัว ผมเห็นด้วยกับการที่สันติอโศกประกาศตัวเป็นอิสระจากการปกครองของมหาเถรสมาคม เพราะ (1) ระบบสมณศักดิ์ของมหาเถรสมาคมเป็นระบบฐานันดรศักดิ์ที่ขัดต่อหลักการพื้นฐานของความเป็น "สังฆะ" ของพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมที่ยึดหลักความเสมอภาค ไม่มีชนชั้น ไม่มีฐานันดรศักดิ์ (2) โครงสร้างอำนาจมหาเถรสมาคมที่ขึ้นต่อระบบอาวุโสทางสมณศักดิ์ดังกล่าว เป็นโครงสร้างเผด็จการ (3) สังฆะภายใต้อำนาจมหาเถรสมาคมมีบทบาทค้ำจุนสถานะอำนาจบารมีของระบบอำนาจจารีตโดยการอ้างศีลธรรมทางพุทธศาสนาไปสนับสนุนคุณวิเศษของชนชั้นปกครอง ขาดสำนึกที่จะปกป้องราษฎรที่ถูกกดขี่ วัฒนธรรมสังฆะภายใต้ระบบเช่นนี้จึงมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรมประชาธิปไตยโดยพื้นฐาน

ฉะนั้น การที่สันติอโศกประกาศตัวเป็นอิสระจากการปกครองของมหาเถรสมาคม จึงมีความหมายสำคัญว่า เป็นไปได้ที่จะมีสังฆะที่เป็นอิสระจากรัฐ ปกครองกันเองตามหลักธรรมวินัย ไม่รับสมณศักดิ์หรือตำแหน่งการปกครองตั้งแต่เจ้าอาวาส อุปัชฌาย์ ฯลฯ ที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย แต่ชุมชนแห่งสังฆะนั้นจัดระบบการปกครองกันเองตามหลักการ/วิธีการที่ระบุไว้ในธรรมวินัย ไม่รับงบประมาณจากรัฐ เป็นองค์กรสังฆะในรูปเอกชนที่จัดการเรื่องการปกครอง การศึกษา ปฏิบัติธรรม การตรวจสอบกันเองทางธรรมวินัย และอื่นๆ อย่างเป็นตัวของตัวเอง นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นข้อดีของชุมชนสันติอโศก นี่คือ"โมเดล" ของ "ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ" ซึ่งผมคิดว่าพุทธศาสนาในอนาคตน่าจะมีกลุ่มต่างๆ ที่เป็นอิสระเป็นตัวของตัวเองในแบบต่างๆ มากขึ้น

โดยความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง หรือแนวทางของชาวพุทธกลุ่มต่างๆ นั้น จะเป็นที่ยอมรับของสังคมหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับชาวบ้านเขายอมรับหรือไม่ เพราะคนทั่วไปไม่ได้โง่ เราต้องเชื่อว่า ผู้คนมีเหตุผลที่จะตัดสินถูก ผิด ด้วยตนเอง ตราบใดที่ชาวพุทธกลุ่มต่างๆ ไม่ได้ทำอะไรที่เป็นการละเมิดสิทธิพลเมือง พวกเขาย่อมมีอิสระที่จะเลือกแนวทางศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ศาสนาของตนได้เต็มที่ ใครสอนถูก สอนผิด เป็นเรื่องที่ชาวพุทธควรวิพากษ์วิจารณ์กันไป ไม่ใช้อำนาจรัฐเข้ามาจัดการ

ผมคิดว่าชุมชุนสันติอโศกคือชุมชนตัวอย่างของชุมชนพุทธที่เป็นอิสระจากรัฐ ที่ยืนอยู่ได้ด้วยขาของตนเอง และนี่จะเป็นแบบอย่างให้เกิดชุมชนพุทธอื่นๆ ต่อไป แม้ชุมชนนั้นๆ อาจมีแนวทางเฉพาะของตนเองที่แตกต่างกันออกไป

แต่ประเด็นที่ควรพิจารณาเป็นพิเศษคือ "บทบาททางการเมืองของสันติอโศก" ผมคงไม่บอกว่า การที่สันติอโศกเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นสิ่งที่ผิดด้วยเหตุผลว่า "ศาสนาไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมือง" เพราะตามข้อเท็จจริงไม่มีศาสนาที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอยู่จริง กฎหมายควรจะเปิดให้พระสงฆ์มีสิทธิเลือกตั้งด้วยซ้ำ เนื่องจากพระสงฆ์คือพลเมืองของรัฐ แม้แต่พุทธะเองก็ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองแบบสมัยโบราณ ยุคนั้นกษัตริย์คือรัฐาธิปัตย์ และกษัตริย์เองก็มักมาขอคำปรึกษาจากพุทธะในเรื่องต่างๆ ตั้งแต่เรื่องลดน้ำหนัก ไปจนถึงเรื่องการปกครองบ้านเมือง การทำสงคราม พุทธะเองก็เลือกที่จะให้คำแนะนำไปตามที่เห็นเหมาะสมจึงสอนคุณธรรมของผู้ปกครอง และคุณธรรมอื่นๆ ที่เป็นไปเพื่อสันติสุขของสังคม

โครงสร้างมหาเถรสมาคมเองก็เป็นโครงสร้างสังคมการเมือง คือมีผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง มีอำนาจรัฐ และก็เป็นโครงสร้างเผด็จการที่รับใช้ชนชั้นปกครอง ฉะนั้น จะว่าคณะสงฆ์ปัจจุบันไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองได้อย่างไร การเทศนา และการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในลักษณะต่างๆ เพื่อยกย่องคุณความดีของชนชั้นปกครอง ปลูกฝังจิตสำนึกจงรักภักดีแก่ประชาชนทั่วไป จะว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองได้อย่างไร

จึงไม่ใช่สันติอโศกเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับการเมือง และการเกี่ยวข้องกับการเมืองก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดหรือเลวร้ายในตัวมันเอง ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าสันติอโศกเกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างไร? ผมคิดว่าบทบาททางการเมืองของสันติอโศกมีแง่มุมที่ควรพิจารณาอย่างวิพากษ์ (Critical) คือ

1) การออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองของสันติอโศกเป็นสิทธิที่จะทำได้ตามรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง ต้องยอมรับหลักความเสมอภาค กล่าวคือ ความคิด ความเชื่อทางศาสนาที่นำมาอ้างในประเด็นปัญหาสาธารณะต่างๆ นั้น ต้องไม่ใช่ความคิด ความเชื่อที่เป็นสัจธรรม ศักดิ์สิทธิ์ วิเศษกว่าความคิดความเชื่ออื่นๆ ทั้งสิ้น มันเป็นเพียงความคิดความเชื่อหนึ่งที่นำมาแชร์กับความคิดความเชื่ออื่นๆ อย่างที่จะถูกตั้งคำถาม โต้แย้ง หรือโยนทิ้งได้เสมอเหมือนกัน

ในขณะเดียวกันบุคคลทางศาสนา ไม่ว่าจะเป็นพระ เป็นผู้ทรงศีลธรรมใดๆ เมื่อออกมายืนอยู่ใน "พื้นที่ทางการเมือง" ทุกคนคือ "คนเหมือนกัน" ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์ทางศีลธรรมที่คนอื่นๆ จะต้องเชื่อฟังหรือยำเกรงเป็นพิเศษ พระไม่ใช่เป็นเพียงผู้สอนอยู่ฝ่ายเดียว แต่ต้องยอมรับการถูกเถียง ถูกด่า ถูกประณามได้ด้วย เหมือนพฤติกรรมการ "หนีตาย" ที่เสมอกันไม่ว่าคนหรือพระ แม้จะได้ชื่อว่าเป็นพระอริยะอย่างสมณะโพธิรักษ์ (ตามที่ชาวอโศกเชื่อกัน) ก็ต้องใช้วิธีปกป้องชีวิตตัวเองเหมือนคนธรรมดาอื่นๆ หาได้เหาะเหินเดินอากาศหนีตายแต่อย่างใดไม่ ดังภาพข้างล่าง  

2) แต่ปัญหาคือ ขณะที่สันติอโศกเป็นศาสนาที่เป็นอิสระจากรัฐ ซึ่งความเป็นอิสระจากรัฐนั้นเกิดจากการไม่ยอมรับอำนาจมหาเถรสมาคม และอำนาจมหาเถรสมาคมก็เป็นระบบอำนาจที่ยึดโยงกับระบบอำนาจเชิงจารีตประเพณี แต่บทบาทการต่อสู้ทางการเมืองของสันติอโศก (อย่างน้อยตั้งแต่ร่วมชุมนุมกับพันธมิตรเป็นต้นมา) กลับเป็นบทบาทที่สนับสนุนโครงสร้างอำนาจเชิงจารีตดังกล่าว

มันจึงเป็นเรื่องน่าชวนหัวว่า สันติอโศกปฏิเสธมหาเถรสมาคม เพราะอ้างว่ามหาเถรสมาคมเป็นเผด็จการ แต่ตัวเองกลับสนับสนุนระบบอำนาจอันเป็นที่มาของระบบเผด็จการแบบมหาเถรสมาคม

การอ้างว่า "ระบอบทักษิณ" เป็นเผด็จการัฐสภา แต่มันใช่วิธีการที่ถูกต้องหรือที่จะขจัดเผด็จการที่กล่าวอ้างนั้นด้วยการอาศัยกองทัพ หรืออำนาจจารีตที่ตรวจสอบไม่ได้ นี่ต่างหากที่สันติอโศกอธิบายกับสังคมไม่ได้ นอกจากแก้เกี้ยวว่า ถ้าเผด็จการล้มระบอบทักษิณเป็น "เผด็จการโดยธรรม" เพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แล้วมันมีที่ไหนครับเผด็จการโดยธรรมอย่างที่ว่า สันติอโศกก็ไม่มีคำตอบว่า จะผลักดันเผด็จการโดยธรรมดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ฉะนั้น การวางบทบาททางการเมืองต่อต้านรัฐบาลที่ประชาชนเลือกโดยเอาหลังพิงกองทัพและอำนาจจารีต จึงสะท้อนความขัดแย้งในตัวเอง ความสับสนในความคิดทางการเมืองของสันติอโศกอย่างชัดเจน

3) แม้การยืนยันสันติวิธีในการชุมนุมทางการเมืองจะเป็นสิ่งที่ดี แต่สันติวิธีแบบสันติอโศกเป็นสันติวิธีเพื่อสนับสนุนโครงสร้างอำนาจจารีต (ที่ ส.ศิวรักษ์ เรียกว่า "โครงสร้างอันอยุติธรรมและรุนแรง") โครงสร้างที่ว่านี้เองที่ถูกนำมาอ้างอิงเพื่อปราบปรามนักศึกษาประชาชนครั้งแล้วครั้งเล่าในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา การออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองภายใต้วาระการอ้าง "ขบวนการล้มเจ้า" เพื่อทำลายฝ่ายตรงข้าม ดังที่สันติอโศกเข้าร่วมมาตลอดและดังกรณีล่าสุดที่สันติอโศกร่วมชุมนุมกับ "องค์การพิทักษ์สยาม" นั้น คือการไม่รู้จักเรียนรู้จาก "บทเรียน" ที่ผ่านมา

เพราะมีแต่การปลดล็อกโครงสร้างอันอยุติธรรมและรุนแรงเพื่อให้ประชาธิปไตยเดินต่อไปได้ตามกระบวนการปกติของมัน โดยมีการตรวจสอบกันตามวิถีทางประชาธิปไตยเท่านั้น เราจึงจะปลดล็อกความรุนแรงทางการเมืองได้ แต่แทนที่สันติอโศกจะสนับสนุนการปลดล็อกดังกล่าว กลับอ้างสันติวิธีสนับสนุนการปกป้องระบบอำนาจที่ล็อกประชาธิปไตยต่อไป

4) จึงเป็นที่น่ากังขาว่า ทำไมสันติอโศกซึ่งมักอ้างศีลธรรมทางศาสนาต่อสู้ทางการเมือง แต่กลับไม่ได้เคารพหลักศีลธรรมแห่งประชาธิปไตย คือหลักเสรีภาพและความเสมอภาคเลย เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ซึ่งเคารพศีลธรรมประชาธิปไตยจะสนับสนุน หรือปกป้องโครงสร้างอำนาจที่ปิดกั้นเสรีภาพในการวิจารณ์ตรวจสอบ และเป็นโครงสร้างที่ดำรงสถานะของบุคคลที่ไม่เสมอภาคตามหลักประชาธิปไตย

ผมคิดว่าคนที่อ้างศีลธรรม จำเป็นต้องเคารพหลักศีลธรรม หรือซื่อสัตย์ต่อหลักศีลธรรม เพราะไม่ว่าจะอ้างหลักศีลธรรมพุทธศาสนา หรือหลักประชาธิปไตย เป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้อ้างจะต่อสู้ทางการเมืองเพื่อปกป้องระบบอำนาจที่ตรวจสอบไม่ได้ หรือจะต่อสู้ทางการเมืองโดยยอมรับการอ้างอิงระบบอำนาจที่ตรวจสอบไม่ได้นั้นมาสร้าง "ความชอบธรรม" ในการขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง การอ้างเช่นนั้นมีแต่แสดงถึง "ความกะล่อนทางศีลธรรม" ที่ชวนสังเวชใจ มันจึงช่วยไม่ได้ที่สันติอโศกจะถูกเรียกว่า "กองทัพทำไม" ดังที่ปรากฏแพร่หลายในโซเชียลมีเดียเวลานี้

ข้อเสนอแนะฉันมิตรอย่างตรงไปตรงมาคือ สันติอโศกสู้เพื่อให้ตนเป็นศาสนาที่เป็นอิสระจากรัฐนั้นดีแล้ว บนตำแหน่งแห่งที่ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐที่ยืนด้วยขาของตนเองนั้นน่าอนุโมทนา แต่บนเส้นทางการเมือง สันติอโศกควรเป็นอิสระจาก "วาระทางการเมือง" ของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง อันเป็นวาระทางการเมืองที่สนับสนุนโครงสร้างอำนาจจารีตซึ่งเป็นที่มาของอำนาจมหาเถรสมาคมที่ทำให้สันติอโศกเจ็บปวดมาก่อน

สันติอโศกควรยุติการอ้างสันติวิธีเพื่อสนับสนุนการใช้สถาบันกษัตริย์มาต่อสู้ทางการเมือง ทั้งนี้เพื่อยุติความเสียหายอันอาจเกิดแก่สถาบันมากไปกว่านี้ และเพื่อปลดล็อกความรุนแรงอันอาจเกิดขึ้นในอนาคต ไม่เช่นนั้นสันติวิธีแบบสันติอโศกจะก่อ "บาปอย่างมหัน" ต่อประชาธิปไตย และสังคมไทยไม่น้อยไปกว่า หรืออาจยิ่งกว่าที่กิตฺติวุฑฺโฒ ภิกฺขุ และกลุ่มนวพลเคยทำมา

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การแทรกแซงเศรษฐกิจของรัฐบาลในระบอบ ปชต.

Posted: 26 Nov 2012 06:38 AM PST

ผมขอแสดงความเห็นเพิ่มเติม (เพื่อตอบ comment  ที่มีกับ บทความของ อ.อัมมารและนิพนธ์ และบทความของ  อ.โสรัจจ์ หงส์ลดารมภ์  ) กว้างๆ สั้นๆ นะครับ (แต่ไม่ได้มาตอบแทน อ.อัมมารและนิพนธ์ นะครับ เพราะในบางประเด็นผมก็ไม่ได้เห็นเหมือนกับในบทความนั้น) เดี๋ยวว่างกว่านี้อาจมาเพิ่มในประเด็นย่อยๆที่เกี่ยวข้อง ) กว้างๆ สั้นๆ นะครับ  เดี๋ยวว่างกว่านี้อาจมาเพิ่มในประเด็นย่อยๆ ที่เกี่ยวข้อง

1.ในระบอบประชาธิปไตยนั้น   การแทรกแซงของรัฐบาล (เช่น การเอาเงินภาษีไปอุดหนุนคนบางกลุ่มเป็นพิเศษไม่ว่าชาวนา นายทุน หรือผู้มีบารมี  การกู้และนำเงินกู้มาใช้ในโครงการต่างๆ  การกำหนดราคา ค่าจ้างขั้นต่ำและกติกาต่างๆ) เป็นสิทธิ (และในบางกรณีเป็นหน้าที่ด้วย) ของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่จะตัดสินใจ

2.การตัดสินใจเหล่านี้ ถือเป็นการตัดสินใจทางการเมือง ซึ่งรัฐบาลย่อมได้รับเครดิตและในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบทางการเมืองจากผลการตัดสินใจเหล่านั้น  ซึ่งรวมถึงเสียงสะท้อนทั้งบวกและลบ การถกเถียงทั้งในและนอกสภา ความนิยมซึ่งอาจมีผลต่อการเลือกตั้งครั้งต่อๆไป และอาจยาวไปถึงผลที่ตามมา (และสิ่งที่ประวัติศาสตร์จะจารึก) ในอนาคต (ถึงแม้ว่ากรณีหลังนี้จะไม่มีผลกระทบโดยตรงกับผู้ตัดสินใจแล้วก็ตาม)  [ส่วนการกระทำใดๆที่ผิดกฎหมาย เช่น ตั้งศาลเตี้ย/สั่งฆ่าคน ก็เป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายของแต่ละบุคคลเอง และควรต้องตัดสินกันในกระบวนการยุติธรรม-- --ที่ทำให้เชื่อกันได้ว่ามีความเป็นธรรม--ในระดับไหนก็แล้วแต่กรณี ]

3.แต่นโยบาย มาตรการ โครงการ ต่างๆ มีทั้งที่มีและไม่มีประสิทธิผล มีผลกระทบที่แตกต่างกัน  การเลือกใช้เครื่องมือที่ได้ผลตามเป้าหมายที่วางไว้จึงมีความสำคัญในการบริหารในทุกระดับ โดยเฉพาะการบริหารประเทศ  

4.โครงการต่างนั้นมีหลายกรณีที่เข้ากับภาษิตฝรั่งที่ว่า "ปิศาจร้ายอยู่ในรายละเอียด" การมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่จะทำอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งสามารถคาดการณ์ผลได้ตรงหรือใกล้กับความเป็นจริงจึงมีความสำคัญ--ในหลายกรณีมากกว่าความตั้งใจ (ไม่ว่าจะดีหรือเลว) เสียด้วยซ้ำ  

5.การให้เหตุผลแบบ "นี่เป็นแค่การคาดการณ์ ควรต้องรอดูผลจริงๆก่อน" เป็นคำเตือนที่ดีในบางครั้ง (ช่วยให้เราไม่ "ติเรือทั้งโกลน")  แต่การรอดูผล (หรือรอจนปิดบัญชี--ซึ่งบางครั้งคนทำก็มีแรงจูงใจที่จะถ่วงเวลาปิดไปเรื่อยๆ) ไม่ใช่วิธีที่ดีในหลายกรณีแน่ๆ  ("งาไหม้" ก่อน)  และในหลายกรณี การวัดผลให้ถูกต้องจริงก็ทำไม่ได้อยู่ดี (เพราะจะวัดได้ก็ต้องเทียบผลที่เกิดในกรณีที่ทำโครงการกับผลในกรณีที่ไม่ได้ทำโครงการนั้น—ซึ่งกรณีหลังไม่ได้เกิดขึ้นจริงๆ)

6.การมีอำนาจและหน้าที่ที่ได้รับฉันทานุมัติจากประชาชนไม่ได้เป็นหลักประกันว่าการตัดสินใจของรัฐบาลจะสมเหตุสมผลเสมอไป (มีตัวอย่างให้เห็นในหลายประเทศ)  ความเห็นและความเชื่อของผู้เชี่ยวชาญอาจจะผิดหรืออาจมองในแง่มุมที่ไม่ครบถ้วน (หรืออาจมีอคติจากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีตได้)  แต่ก็เช่นเดียวกับความเห็นหรือ common sense (ที่มักฟังดู make sense) จากผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญ  ทุกคนจึงควรมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น แต่ก็ควรระมัดระวังในการปักใจเชื่อความเห็นหรือเหตุผลของตัวเอง (ไม่น้อยกว่าที่ผู้เชี่ยวชาญควรต้องทำ) และสนใจรับฟังแง่มุมที่ต่างจากตัวเอง

7.ในระหว่างที่มีการถกเถียงกันเรื่องโครงการที่ผมเคยเรียกไว้เมื่อ กย ปีก่อนว่า  "โครงการประกันราคาข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์" (ดูบทความใน ประชาไท)  มีผู้เสนอ "ทฤษฎี" (หรือ "ทิฐิ" ในภาษาบาลี) ต่างๆ ออกมามากมาย  รวมทั้งของท่านทักษิณ ที่อ้างเรื่องเงินจากการจำนำข้าวจะหมุนไปอีกสามรอบ ก็ทำให้ผมอดนึกถึงเจ้าของ "ความคิด (idea)" ที่ถูกอ้าง ซึ่งท่านเองก็เคยแสดงความเห็นในเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ จึงขอกลับไปนำข้อเขียนของท่านเมื่อเกือบ 80 ปีก่อนมาแบ่งกันอ่านอีกสักรอบครับ  บอกตรงๆว่าวันนี้ผมห่วงเรื่อง Madmen in authority, who hear voices in the air ผู้ซึ่งกำลัง distilling their frenzy from some academic scribbler of a few years back มากกว่าเรื่องกลุ่มผลประโยชน์หรือคอรัปชั่นที่ อ.นิพนธ์คอยย้ำนักย้ำหนามาก

"The ideas of economists and political philosophers, both when they are right and when they are wrong, are more powerful than is commonly understood. Indeed the world is ruled by little else. Practical men, who believe themselves to be quite exempt from any intellectual influence, are usually the slaves of some defunct economist. Madmen in authority, who hear voices in the air, are distilling their frenzy from some academic scribbler of a few years back. I am sure that the power of vested interests is vastly exaggerated

 

John Maynard Keynes
"The General Theory of Employment, Interest and Money" (1935)

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง:  TDRI กับนโยบายจำนำข้าว
                                     เปลี่ยนประเทศไทยด้วยการรับจำนำข้าว: ข้อเท็จจริงสำหรับ อ.นิธิ และประชาชน
                                      "เปลี่ยนประเทศไทยด้วยการรับจำนำข้าว"
 

ที่มา: เฟซบุ๊ก Viroj NaRanong (วิโรจน์ ณ ระนอง) จากบทความเดิมชื่อ ในระบอบ ปชต. การแทรกแซงของรัฐบาล

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เรียกร้องรัฐบาลไทยยุติการค้างาช้างในประเทศ

Posted: 26 Nov 2012 06:38 AM PST

ถ้อยแถลงของประธานาธิบดีบารัก โอบามา เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2555 ให้การยอมรับต่อความก้าวหน้าของประเทศไทย ในการจัดการต่อปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่า แต่ในความเป็นจริงแล้วเราอาจไม่มีเวลามากพอสำหรับความยินดีชื่นชม เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฎในปัจจุบัน คือ แต่ละปีช้างอัฟริกันหลายหมื่นตัวยังคงถูกฆ่าเอางา เพื่อป้อนตลาดค้างาช้างในเอเชีย เมื่อต้นปีที่ผ่านมา กองกำลังต่างชาติติดอาวุธบุกรุกอย่างอุกอาจเข้าไปในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแห่งหนึ่งในแคเมอรูนและสังหารช้างมากกว่า 300 ตัว ขณะที่ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่เป็นตลาดค้างาช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด ความเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและส่งออกนำเข้าสินค้าที่สะดวกสบายยังหมายถึงการตกเป็นเป้าหมายของการลักลอบค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นอาชญากรรมข้ามชาติที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบระดับโลก

WWF มีความยินดีที่ประเทศไทยให้คำมั่นสัญญาต่อการจัดการปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ และ WWF ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ใช้มาตรการเร่งด่วนเพื่อยุติการค้างาช้างในประเทศไทย

การลักลอบล่าสัตว์เพื่อการค้าข้ามชาติเพิ่มปริมาณมากขึ้นอย่างน่าตกใจในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และปัจจุบันยังเป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดต่อชนิดพันธุ์ที่มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์จำนวนมาก รวมถึงเป็นภัยต่องานอนุรักษ์ที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมานานหลายทศวรรษ การไล่ล่าแรดในอัฟริกาใต้เพิ่มขึ้นมากกว่า 3000 เปอร์เซนต์ ระหว่างปี 2550 – 2554 ขณะที่ช้างอัฟริกันถูกฆ่าเอางาหลายหมื่นตัวในแต่ละปี และมีเสือเหลืออยู่ในป่าน้อยกว่า 3,200 ตัว การลักลอบค้าสัตว์ป่าจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่กำลังคุกคามความอยู่รอดของสัตว์ป่าหลายชนิด

ความต้องการผลิตภัณฑ์ที่มาจากชนิดพันธุ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของตลาดในเอเชียนั้นไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่ล้วนมีอุปสงค์เป็นตัวกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็น งาช้าง นอแรด หรือ ชิ้นส่วนของเสือ  เพื่อแสดงสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

แม้หลายฝ่ายจะตระหนักถึงภัยคุกคาม มาตรการในการปราบปรามปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่าและการลงโทษผู้กระทำความผิดยังไม่สอดคล้องกัน ผู้กระทำผิดภายใต้การบังคับใช้กฎหมายจำนวนมากที่ยังเชื่อว่า พวกเขาจะได้รับการเว้นโทษ หรือ หากถูกจับ จะได้รับโทษสถานเบา การลักลอบค้าสัตว์ป่าจึงเป็นธุรกิจผิดกฎหมายที่มีความเสี่ยงต่ำ แต่ได้ผลกำไรสูง

WWF รณรงค์ต่อต้านการลักลอบการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายทั่วโลก โดยมีจุดประสงค์เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาล และองค์กรระหว่างประเทศ ตระหนักว่าการลักลอบค้าสัตว์ป่าเป็นอาชญากรรมร้ายแรงและถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันปิดฉากกิจกรรมดังกล่าว

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘ชาวนา’ และ 'อัมมาร'

Posted: 26 Nov 2012 06:10 AM PST

การแก้ไขปัญหาราคาข้าวโดยโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลายเป็นประเด็นสาธารณะที่มีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย และเปิดประเด็นวิวาทะสำคัญสำหรับผู้ปรารถนาดีต่อ 'ชาวนา' ทั้งหลายมากมาย ล่าสุดอัมมาร สยามวาลา แห่งสถาบันวิจัยทีดีอาร์ไอ ได้อ้างงานวิจัย วิพากษ์ถึงบทความของ 'นิธิ เอียวศรีวงศ์' จากนั้นพรรคประชาธิปัตย์ ฝ่ายค้าน ก็ฉวยไปใช้ในการอภิปรายไม่ไว้ใจรัฐบาลยิ่งลักษณ์

ผู้เขียนเองมีข้อสังเกตและความคิดเห็นบางประเด็น สั้นๆ ดังนี้

1. ต่อกรณีที่มีการมองว่า ชาวนาระดับกลางได้ประโยชน์ แต่ชาวนายากจนไม่ได้ประโยชน์ ซึ่งเป็นความจริง เพียงแต่ควรมองวิธีการแก้ไขปัญหาของชาวนาแต่ละกลุ่มอย่างแยกแยะ (ควรรวมกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในนิยามของชาวนาด้านการผลิตด้วยเช่นกัน) และให้ตรงประเด็นของปัญหาชาวนาแต่ละกลุ่มด้วย 

เนื่องจากชาวนาจน บางคนไม่มีที่ดิน ต้องเช่าที่ดินของผู้อื่น จึงต้องมีนโยบายการกระจายการถือครองที่ดินที่ปัจจุบันกระจุกตัวอยู่กับคนไม่กี่ตระกูลให้ชาวนากลุ่มนี้ บางส่วนของชาวนา ที่ดินของพวกเขาที่อาศัยมาก่อนนโยบายอนุรักษ์กลายเป็นพื้นที่อนุรักษ์ทับที่ทำกินและป่าชุมชน ก็ควรมีนโยบายกันเขตพื้นที่และสนับสนุนพวกเขาอนุรักษ์ป่าด้วย

 สำหรับกลุ่มชาวนาที่มีที่ดินน้อย ไม่พอที่จะปลูกข้าวเพื่อขาย ส่วนใหญ่พวกเขาทำได้ก็แต่เพียงปลูกข้าวไว้กินในครัวเรือนเท่านั้น และมีอาชีพอื่น เช่น รับจ้างในภาคเกษตรกรหรือภาคการผลิตอื่นๆ ชาวนากลุ่มนี้ก็ควรสร้างนโยบายหลักประกันพื้นฐานของชีวิตอื่นๆ เช่น ค่าจ้างที่เป็นธรรม  หลักประกันสุขภาพ หลักประกันทางสังคม  ฯลฯ  หรือสนับสนุนพวกเขาให้มีเงินกองทุนเพียงพอที่จะเช่าที่ดินจำนวนไม่น้อยปลูกข้าวเพื่อขาย

2 อย่างไรก็ตาม ชาวนากลางซึ่งล้วนทำการผลิตเพื่อการพาณิชย์หรือเพื่อขายนั้น ล้วนแต่เป็นหนี้สินทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรฯ (ธกส.) หรือหนี้นอกระบบ นับล้านครัวเรือน ที่รอว่าเมื่อไรวันไหน หมายศาลจะมาถึงประตูบ้านด้วยใจระทึก บางส่วนก็ดิ้นรนหาทางออกเข้ากองทุนฟื้นฟูเกษตรกรที่มีเป้าหมายแก้ไขปัญหาหนี้สินของชาวนา แต่ทำงานอย่างอืดอาดล่าช้านัก

ส่วนสำคัญ ปัญหาหนี้สินของชาวนา เนื่องจากการลงทุนทำการผลิตซึ่งไม่เพียงการปลูกข้าวเพื่อขาย ยังรวมทั้งการผลิตพืชอื่นๆ นั้น มักไม่คุ้มทุนหรือขาดทุนอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง ภายใต้กลไกตลาดเสรีให้ตลาดทำงาน ขณะที่ความเป็นจริง กลไกตลาดไม่เป็นธรรมต่อชาวนา หรือกลไกตลาดถูกบิดเบือนไม่เป็นไปตามทฤษฎีนีโอคลาสสิคเสียเลยท่านนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลาย 

รัฐไทย (มิเพียงรัฐบาล) หลายยุคหลายสมัย จึงมิเพียงปล่อยให้กลไกตลาดทำงานเพียงอย่างเดียว แต่ต้องแทรกแซงกลไกตลาดด้วย จะตั้งใจหรือเพื่อหาเสียงกับชาวนาก็ตามแต่  ซึ่งเป็นแนวทางช่วยเหลือชาวนานอกกลไกตลาด เช่น นโยบายประกันราคาข้าวสมัยนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ หรือนโยบายจำนำราคาข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เพียงแต่ตัวเลขการช่วยเหลือต่างกัน และทั้งสองนโยบาย มีกระบวนการช่วยเหลือ มีเทคนิคการจัดการ ก่อให้เกิดการทุจริตหรือไม่? ก็เป็นสิ่งที่ต้องตรวจสอบหาทางแก้ไขปัญหากัน ดึงการมีส่วนร่วมของชาวนาผู้มีส่วนได้เสียมาร่วมกำหนด มิใช่กลับไปใช้กลไกตลาดที่บิดเบือน ซึ่งย่อมทำให้ชาวนาขาดทุนอย่างราบคาบเหมือนเช่นที่ผ่านมาเป็นแน่

3 ชาวนาส่วนใหญ่ทั้งกลางและชาวนาจน ล้วนมีชีวิตอยู่รอดได้ ส่วนหนึ่งเนื่องจากลูกหลานของพวกเขาในวัยหนุ่มสาวมีรายได้ประจำและไม่ประจำ ทำงานประจำหรือชั่วคราวตามสัญญาจ้าง จากการทำงานในโรงงาน  บริษัท และอื่นๆ นอกภาคเกษตรกรรม ส่งเงินมาจุนเจือช่วยเหลือครอบครัวชาวนา โดยที่พวกเขาต้องทำงานมากกว่า 8 ชั่วโมง มิพักต้องพูดถึงสถานที่ทำงานบางแห่งไม่มีหลักประกันความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน

4.หากนิยามว่า การเมืองหมายถึงอำนาจในการเข้าถึงการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในด้านต่างๆ  ซึ่งย่อมสะท้อนความสัมพันธ์ทางอำนาจของคนแต่ละกลุ่มแต่ละอาชีพด้วยเช่นกัน แล้วรัฐจะให้ความสำคัญแก่ใคร? มีจุดยืนอย่างไร? และเพื่อใคร ?

ปฏิเสธไม่ได้ว่า รัฐไทยแทบทุกยุคสมัยมักจัดสรรงบประมาณในแต่ละกระทรวงไม่เท่ากัน บางกระทรวงไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณมากเกินไป เนื่องจากไม่จำเป็น  เช่น งบประมาณซื้ออาวุธของกองทัพ (โดยเฉพาะยุคอำนาจนอกระบบประชาธิปไตยครอบงำ) หรือโครงการต่างๆ ที่ฟุ่มเฟือยไม่มีประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง ขณะที่งบประมาณด้านการศึกษาบางยุคสมัยกลับน้อยมากทั้งๆ ที่จำเป็นมากๆสำหรับอนาคตของเยาวชน 

หรือการใช้งบประมาณบางส่วนโดยให้ความสำคัญกับคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ มากกว่าคนท้องถิ่น   เช่นการสร้างสาธารณูปโภคกรุงเทพฯ แต่ในต่างจังหวัดกลับละเลย สมัยช่วงวิฤตเศรษฐกิจ 40 ก็มีการใช้งบประมาณมหาศาลช่วยบริษัทเงินทุนไม่กี่แห่งไม่กี่ครอบครัวให้ล้มบนฟูก  ยังไม่ต้องกล่าวถึงมาตรการภาษีที่ก้าวหน้า เป็นธรรม เพื่อสร้างความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยที่เป็นอยู่ 

5 นโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เป็นนโยบายช่วยเหลือชาวนากลางอย่างที่ไม่มีรัฐบาลใดๆกระทำมาก่อน และหากมีกระบวนการบางอย่างที่เป็นจุดบกพร่อง มีการทุจริต เงินถึงชาวนาช้า หรือเงินไม่ครบ ส่วนปัญหาแผนการระบายข้าวตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน ก็ควรดำเนินการแก้ไขโดยการให้ชาวนามีส่วนร่วม ตลอดทั้งควรสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยเรื่องชาวนามากขึ้น มิใช่เพียง 'ทีดีอาร์ไอ ' ที่จุดยืนวิชาการมักผันแปรตามกระแสอำมาตย์นิยม

  

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นายกฯ ยกเลิกประกาศ 'พ.ร.บ.ความมั่นคง' แล้ว

Posted: 26 Nov 2012 03:57 AM PST

(26 พ.ย.55) สำนักข่าวไทยรายงานว่า นพ.ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในประกาศเรื่องให้อำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)  ที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่ที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ใน 3 เขตพื้นที่ ได้แก่ เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต  ระหว่างวันที่ 22-30 พ.ย. สิ้นสุดลง

กอ.รมน.ได้รายงานว่า เนื่องจากเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อันเป็นเหตุให้มีการประกาศพื้นที่ดังกล่าวนั้น สามารถดำเนินการแก้ไขได้ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบตามปกติ  นายกรัฐมนตรีจึงอาศัยอำนาจ ตามมาตรา 15 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  ออกประกาศยกเลิกการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ และมีผลให้บรรดาประกาศ ข้อกำหนดที่นายกรัฐมนตรี และศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ผอ. ศอ.รส.) ประกาศ และออกตาม พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ  เป็นอันสิ้นสุดลงด้วย ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย.2555 เป็นต้นไป

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไต่สวนการตาย 'จนท.เขาดิน' แพทย์ระบุตายจากกระสุนปืนลูกโดดความเร็วสูง

Posted: 26 Nov 2012 01:48 AM PST

ไต่สวนการตาย 'มานะ อาจราญ' เจ้าหน้าที่สวนสัตว์เขาดิน ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตในคืนวันที่ 10 เม.ย.53 ต่อ แพทย์นิติเวช ระบุพบบาดแผลจากกระสุนปืนลูกโดดความเร็วสูง ทำลายเนื้อสมอง ด้าน ตร.ผู้ตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุระบุ เป็นการยืนยิงจากพื้น


วันนี้ (26 พ.ย.) เวลา 9.30 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 808  ศาลนัดไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพ คดีหมายเลขดำที่ อช.8/2555 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 7 เป็นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ชันสูตรการเสียชีวิตของนายมานะ อาจราญ ลูกจ้างของสวนสัตว์ดุสิตแผนก บำรุงรักษา ซึ่งถูกยิงเสียชีวิตเมื่อกลางดึกของวันที่ 10 เม.ย. 53 บริเวณสวนสัตว์ดุสิต แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กทม. ภายหลังการสลายการชุมนุมในช่วงค่ำบริเวณแยกคอกวัวและถนนดินสอสงบลง ทั้งนี้ ลานจอดรถของสวนสัตว์ดุสิตเป็นจุดพักของเจ้าหน้าที่ทหารจำนวนหลายกองร้อย

พลอากาศตรี นพ.วิชาญ เปี้ยวนิ่ม หัวหน้าหน่วยนิติเวช คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เบิกความว่า ตนเป็นผู้ชันสูตรพลิกศพนายมานะ อาจราญ ที่หน่วยนิติเวช คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาฯ โดยพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลดุสิต เป็นผู้ส่งศพมาให้ชันสูตรเมื่อวันที่ 11 เม.ย.53 เวลา 02.00น.

พลอากาศตรี นพ.วิชาญ กล่าวว่า ได้ทำาการชันสูตรเมื่อเวลา 10.30 น. ของวันที่ 11 เม.ย.53 โดยพบบาดแผลสำคัญ คือ บาดแผนกระสุนปืนลูกโดด 1 แห่ง เข้าที่ศีรษะซีกขวาหลัง ขนาด 0.4*0.4 ซม. มีรอยถลอกรอบขอบบาดแผล ทิศทางกระสุนมาจากด้านหลังไปหน้า เฉียงล่างขึ้นบนเล็กน้อย โดยมีบาดแผลทางออกเป็นรูปแฉก นอกจากนี้ พบโลหะลักษณะคล้ายทองแดงบริเวณศีรษะและโลหะคล้ายตะกั่วใต้ผิวหนังบริเวณหน้าผาก ทั้งนี้จากการเอ็กซเรย์พบเศษโลหะหลายชิ้น แต่ผ่าออกมาได้สองชิ้น กระโหลกศีรษะแตกหลายชิ้นกระจายทั่วกระโหลก เนื้อสมองฉีกขาดมากกระจายทั่วสมอง เลือดออกใต้เยื้อหุ้มสมองชั้นในกระจายไปทั่วสมอง

สำหรับสาเหตุการตาย พลอากาศตรี นพ.วิชาญ ลงความเห็นว่าตายจากการถูกกระสุนปืนลูกโดด ที่มีความเร็วสูง ที่บริเวณศีรษะ ทำลายเนื้อสมองฉีกขาด ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติกระสุนชนิดดังกล่าวจะพบในปืนที่ใช้ในการสงคราม เช่น ปืนเอ็ม 16 และปืนอาก้า

ต่อมาในช่วงบ่าย พันตำรวจโทวัชรัศมิ์ เฉลิมสุขสันต์ จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เบิกความว่า เป็นผู้ตรวจสถานที่เกิดเหตุกรณีที่มีผู้ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 เม.ย.53 โดยดูแนววิถีกระสุน ทั้งนี้หลังได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 8 ต.ค.53 ได้ตรวจสถานที่เกิดเหตุเมื่อ 11 ต.ค.53

พันตำรวจโทวัชรัศมิ์ กล่าวว่า ได้ตรวจวิถีกระสุนและจำลองแนววิถีกระสุน โดยใช้ข้อมูลคดีที่มีอยู่ เช่น ผลตรวจสถานที่เกิดเหตุของกองตรวจพิสูจน์หลักฐานกลาง ผลชันสูตรศพจากแพทย์ แผนที่และภาพถ่าย พิจารณาประกอบกับร่องรอยที่เหลือ เช่น รอยกระสุนปืนที่ต้นไม้ โดยพบว่า ไม่สามารถยืนยันจุดที่ยิงมาได้ แต่บอกได้ว่ามาจากทางเดินหน้ากรงสัตว์ ใกล้บริเวณที่พบปลอกกระสุน และน่าจะเป็นการยืนยิงบนพื้น

พันตำรวจโทวัชรัศมิ์ กล่าวว่า จากรายงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในที่เกิดเหตุพบปลอกกระสุนปืนเล็กกล .223 สองปลอก ซึ่งมักใช้ยิงจากปืนเอ็ม 16 แต่ผู้ตายจะถูกยิงจากปลอกกระสุนนั้นหรือไม่ บอกไม่ได้ เพราะจะตรวจสอบได้เมื่อนำอาวุธและหัวกระสุนไปตรวจกับปลอกกระสุนในที่เกิดเหตุ แต่ในกรณีนี้ไม่ได้หัวกระสุนมา

อนึ่ง จากนี้ จะมีการไต่สวนอีก 2 นัด ในวันที่ 17 และ 24 ธ.ค. 55 โดยยังเหลือพยานอีก 11 ปาก
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

TDRI กับนโยบายจำนำข้าว

Posted: 26 Nov 2012 01:22 AM PST

 

บทความของ TDRI ที่ตอบข้อเสนอของ อ. นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่องนโยบายจำนำข้าว ผมไม่ใช่นักวิชาการเรื่องข้าว แต่อยากเสนอความคิดไว้ประกอบการอภิปรายของสังคมไว้บางประเด็น

1. เรื่องนโยบายต่างๆของรัฐบาล เรามีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์ได้เสมอ เพียงแต่ว่าเราไม่จำเป็นต้องเอาความเห็นที่เรามีแตกต่าง มาเป็นเครื่องมือในการล้มรัฐบาลก่อนครบกำหนดวาระ หากใครไม่เห็นด้วยกับนโยบายใด ก็สามารถรอไปจนครบวาระรัฐบาลเพื่อเสนอความคิดของตัวเองให้ประชาชนเลือกอีกพรรคหนึ่งที่มีนโยบายตรงกับที่ตนเองเชื่อได้

2. บทความบอกว่ามีจำนำข้าวแล้วผู้คนจะหันมาประกอบอาชีพชาวนามากขึ้น อันนี้เป็นการคาดคะเนแน่นอน เพราะพูดถึงเหตุการณ์ที่ยังไม่ได้เกิด แต่คิดว่าจะเกิด อาจมีปัจจัยอื่นที่จูงใจคนหลายคน ไม่ให้หวนกลับมาเป็นชาวนาอย่างเดิม ก็ได้ แม้ว่าจะมีการจำนำข้าวเกวียนละ 15,000 บาทก็ตาม เช่นนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท และอื่นๆเช่นการปฏิรูปการศึกษา (ที่รัฐบาลไม่ค่อยจะเริ่มทำเท่าไรนัก แต่เริ่มได้แล้ว)

3. ถึงแม้ว่าจะเชื่อ TDRI ว่าจะมีคนหันมากลายเป็นชาวนามากขึ้น รัฐบาลก็อาจออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อป้องกันไม่ให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นก็ได้ เช่นจำกัดจำนวนชาวนาที่จะมีสิทธิจำนำ ไม่ใช่ว่าต้องล้มนโยบายไปทั้งหมด

4. TDRI บอกว่าการจำนำข้าวเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด ข้อนี้ผมเห็นด้วย TDRI บอกว่าเมื่อมีการจำนำข้าว ชาวนาจะเร่งปลูกข้าวโดยไม่สนคุณภาพ หรือไปซื้อข้าวต่างประเทศถูกๆมาจำนำ แต่ข้อนี้แก้ได้ง่ายๆด้วยระบบกลไกตลาดเอง ด้วยการรับจำนำข้าวตามคุณภาพข้าว ข้าวดีก็จำนำให้ราคาดี ข้าวไม่ดีก็จำนำราคาไม่ค่อยดี เรื่องซื้อข้าวต่างประเทศก็ต้องอาศัยการตรวจสอบที่ด่านนำเข้าส่งออก ซึ่งทำเป็นประจำอยู่แล้ว เวลาเราไปร้านจำนำ เขาก็รับจำนำตามคุณภาพของอยู่แล้ว ไม่ใช่ว่าเอาของห่วยๆไปจำนำ แล้วได้ราคาเดียวกันหมด ถ้ารัฐบาลทำแบบนี้ ก็ควรเปลี่ยนแนวคิดได้แล้ว

5. TDRI มีข้อมูลที่น่ารับฟังเกี่ยวกับความไม่ชอบมาพากลของการไม่ใช่กลไกตลาดในการรับซื้อข้าว รัฐบาลต้องตอบประเด็นพวกนี้

6. แนวคิดระบบตลาดก็ปรากฏอยู่ในข้อเสนอที่วิพากษ์วิจารณ์การใช้เงินของรัฐไปรับซื้อหรือรับจำนำข้าวของชาวนา โดยบอกว่าความเข้มแข็งของชาวนาจากการได้เงินจำนำสูงๆ ตั้งอยู่บนความอ่อนแอทางเศรษฐกิจอันเนื่องจากการบิดเบือนกลไกตลาด ข้อวิจารณ์ก็คือว่า มันจะอ่อนแอจริงหรือ หากชาวนามีรายได้เพิ่มมากขึ้น จะไม่เป็นการเพิ่มอุปสงค์ในตลาดภายในประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การขยายตัวเพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจหรอกหรือ? เราสามารถรักษาระบบกลไกตลาดไว้ได้ จากการที่รัฐต้องรีบหาทางเพิ่ม productivity ของแรงงานไทยโดยเร็ว และเริ่มคิดหาแนวทางในการเพิ่มภาษีจากคนในเมืองเพื่อไม่ให้รัฐเองรับภาระจำนำข้าวมากเกินไป มาตรการพวกนี้สามารถทำได้โดยไม่ต้องยกเลิกนโยบายไปทั้งหมด ทำอย่างนั้นมันตรงกับสำนวนภาษาอังกฤษว่า To throw the baby with the bath water.

 

 

ที่มา: เฟซบุ๊กโสรัจจ์  หงส์ลดารมภ์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

รายงาน: ทีวีดิจิตอล 48 ช่อง ประชาชนพร้อมแบ่งเค้ก? สำรวจเหนือ-อีสาน-ใต้

Posted: 25 Nov 2012 10:53 PM PST



กสทช.กำหนดให้ปี 2558 เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านการยุติสัญญาณการแพร่ภาพโทรทัศน์ภาคพื้นดิน หรือระบบอนาล็อค ที่ใช้เสาก้างปลา หรือ หนวดกุ้ง ไปสู่โทรทัศน์ระบบดิจิตอล เพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีที่พัฒนา และเพิ่มประสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ โดยคาดว่าจะใช้เวลาในการเปลี่ยนผ่านทั้งหมด 8 ปี

จากนั้น กสทช. ได้มีมติในการแบ่งช่องรายการของโทรทัศน์ระบบดิจิตอลทั้ง 48  ช่อง เป็นช่องรายการในกลุ่ม ช่องบริการชุมชน 12 ช่อง ช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง ช่องบริการธุรกิจในหมวดรายการเด็กและเยาวชน 5 ช่อง หมวดข่าวสารและสาระ 5 ช่อง หมวดช่องทั่วไป 10 ช่อง และในหมวดของช่องรายการที่มีคุณภาพความคมชัดสูง หรือ ไฮเดฟฟินิชัน 4 ช่องรายการ โดยในหมวดของช่องทั่วไปและเอชดี จะมีการกำหนดให้ต้องจัดรายการที่เป็นสาระประกอบอยู่เป็น 25% ของรายการทั้งหมด

แน่นอนการขยับปรับเปลี่ยนครั้งนี้สร้างความแรงสะเทือนไปทุกภาคส่วน ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินว่า ทีวีดิจิตอล 48 ช่อง จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุน และแข่งขันในธุรกิจที่โดยมิติของการลงทุนจะเอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการรายใหญ่ จากฝั่งฟรีทีวีกลุ่มเดิมที่ต้องการรักษาตลาด รวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวีขนาดใหญ่ เช่น ทรู แกรมมี่ และอาร์เอส ที่ต้องการขยายฐานลูกค้า ขณะเดียวกันยังเห็นว่า จะมีครัวเรือนที่รับชมช่องดิจิตอลตามเมืองใหญ่มากถึง 80% อาจทำให้มียอดขายกล่องรับสัญญาณ หรือ Set-top box หรือการซื้อโทรทัศน์เครื่องใหม่ที่รองรับระบบนี้ เพิ่มขึ้นรวมกันกว่า 7 ล้านเครื่อง

ในส่วนภาคประชาชน ภาคประชาสังคมก็มีการเคลื่อนไหวเช่นกัน ประชาไท – ประชาธรรม ร่วมกันสัมภาษณ์จับสัญญาณความเคลื่อนไหว สำรวจตำแหน่งแห่งที่ และความพร้อม ความฝัน ความหวัง และความเป็นไปบนการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้

 

พรศักดิ์ สุคงคารัตนกุล
กลุ่มรุ้งอ้วน จ.เชียงราย ในนามเครือข่ายทีวีดิจิตอลภาคประชาชนภาคเหนือ

 

"หากจะมีทีวีดิจิตอลที่ดำเนินการในลักษณะเครือข่ายของประชาชนจะต้องไม่พูดเรื่องการเมือง

เพราะต้องยึดเรื่องทางสังคมเป็นตัวตั้งไว้ก่อน

ถ้าเอาความต่างทางการเมืองเข้ามาก็จะผิดเพี้ยนไป

เหมือนวิทยุชุมชนหลายแห่งที่มีการโจมตีตอบโต้กันทางการเมืองไปมา"

 

เครือข่ายทีวีดิจิตอลภาคประชาชนภาคเหนือรวมตัวกันอย่างไร
เราเห็นว่ามีการกำหนดสัดส่วนของคลื่นความถี่ที่จะให้ภาคประชาชนไม่น้อยกว่า 20% จากข้อความนี้กระตุ้นให้สนใจเพิ่มเติม ประสบการณ์ของตัวเองจากกลุ่มรุ้งอ้วนที่เชียงราย ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำงานพัฒนาด้านสื่อเพื่อการพัฒนาและเป็นโปรดักชันเฮ้าส์อิสระเพื่อสังคม ก็ยิ่งสนใจเรื่องนี้

เรามีเครือข่ายเยอะทั้งภาคเหนือ ซึ่งเพื่อนๆ ก็คิดว่าควรจะมาคุยกัน โดยเริ่มต้นจากคำถามและความไม่รู้ว่าทีวีดิจิตอลมันคืออะไร และความเปลี่ยนแปลงของระบบนี้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาคประชาชนอย่างไร ก็เลยนัดประสานทางเฟซบุ๊กและอีเมล แจ้งแก่เครือข่ายว่าจะจัดเรื่องนี้โดยเชิญคุณสภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการ กสทช.มาให้ความรู้ เพราะเรามองว่าคุณสุภิญญามีอีกสถานะหนึ่ง เหมือนเป็นเพื่อนเอ็นจีโอด้วยกัน

ปรากฏว่าคนก็สนใจมาเข้าร่วมกันราว 60 กว่าคน ซึ่งมาจากหลายจังหวัด หลายกลุ่มหลายเครือข่ายตั้งคำถามเยอะ ตั้งแต่ทีวีดิจิตอลคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ภาคประชาชนต้องปรับตัวอย่างไร บางคำถามคุณสุภิญญาก็ตอบได้ บางคนถามก็ตอบไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องที่ว่าเมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วในส่วนของภาคประชาชนจะมีหลักเกณฑ์ปรับตัวอย่างไรบ้าง รู้แต่ว่ามันจะต้องเปลี่ยนแน่นอน และภาคประชาชนยังไงก็จะได้พื้นที่จะบอกเล่าเรื่องราวทางสังคมมากขึ้น ก็ให้เตรียมตัวไว้ พอจบการประชุมก็ยังงงว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร ขณะที่พี่ชัชวาล ทองดีเลิศ ก็สนับสนุนอยากเห็นสถานีโทรทัศน์ ที่เป็นของท้องถิ่นจริงๆ ตอนนี้ตั้งชื่อไว้ก่อนว่าเป็น "ล้านนาแชนแนล" เราก็ชอบคำนี้มาก เพราะมันดูเป็นท้องถิ่น มีพลัง และไม่ได้เป็นของใครโดยเฉพาะ

กรอบแนวทางของสถานี "ล้านนาแชนแนล" จะเป็นอย่างไร
จริงๆ ยังไม่มีกรอบ มีการตั้งประเด็นพูดคุยกันอยู่ในอินเทอร์เน็ต เพื่อจะหาเวทีพูดคุยกันเรื่องนี้ว่า ล้านนาแชนแนลคืออะไร และเราจะทำอะไรกันบ้าง โดยเฉพาะสถานการณ์ที่ กสทช. เริ่มโยนรายละเอียดมาบ้างแล้วว่า ภาคประชาชนก็ต้องส่ง Beauty contest ให้กรรมการของ กสทช.พิจารณา ไม่ใช่มาโยนให้ง่ายๆ เพราะถึงแม้จะมีเพิ่มขึ้นมาถึง 48 ช่องโดยประมาณ แต่ก็ต้องกระจายให้กับหลายฝ่าย ดังนั้นต้องมีหลักเกณฑ์ในการคัดกรอง ซึ่งมันก็เริ่มมีการคุยกันแล้วว่าในส่วนของภาคประชาชนจะปะหน้าทาแป้งประมาณไหน ซึ่งต่อไปก็จะคุยกัน เพื่อเตรียมโครงการ Beauty Contest เข้ามานำเสนอ รวมถึงการพูดคุยเรื่องโครงสร้าง

มองเรื่องความพร้อมอย่างไรถ้าเทียบเคียงผ่านประสบการณ์ของวิทยุชุมชน
เป็นความห่วงกังวลโดยส่วนตัว หากจะมีทีวีดิจิตอลที่ดำเนินการในลักษณะเครือข่ายของประชาชนจะต้องไม่พูดเรื่องการเมือง เพราะต้องยึดเรื่องทางสังคมเป็นตัวตั้งไว้ก่อน ถ้าเอาความต่างทางการเมืองเข้ามาก็จะผิดเพี้ยนไปเหมือนวิทยุชุมชนหลายแห่งที่มีการโจมตีตอบโต้กันทางการเมืองไปมา จริงอยู่ที่แต่ละคน แต่ละกลุ่มจะมีทัศนะทางการเมืองแตกต่างกันไป เราก็เคารพความต่างนี้เพียงแต่ไม่เอามาพูด เพราะการเอามาพูดในสถานการณ์ปัจจุบันมันจะเจ๊ง ขอให้ใจกว้าง เอาเรื่องความดี ความงามของสังคมเป็นตัวตั้ง อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว แต่คนอื่นก็ไม่ได้คิดต่างไปจากนี้เท่าที่พูดคุย

เท่าที่ศึกษามาทีวีดิจิตอลลักษณะหลายอย่างก็เหมือนวิทยุชุมชนที่ทำมา เพียงแต่ว่าเนื้อหามันจะสอดคล้องกับท้องถิ่นมากขึ้น แต่สิ่งที่น่าจะเป็นปัจจัยด้านบวกคือใน พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ฯ มันระบุไว้ชัดเจนว่านอกจากการแบ่งพื้นที่คลื่นความถี่ให้กับภาคประชาชน กสทช.ยังต้องเป็นพี่เลี้ยง เทรนนิ่งเรื่องการบริหารจัดการ และจัดตั้งกองทุนสนับสนุนให้ภาคประชาชน ภาคชุมชนดำเนินการ

โมเดลการทำงานจะออกแบบอย่างไรให้ทำงานกับทุกกลุ่มและเครือข่ายได้
ส่วนตัวไม่ได้มองเป็นเรื่องยากมาก เพราะถ้าเห็นตรงกันในเรื่องความดีความงามมันก็น่าจะมี แค่แบ่งบทบาทหน้าที่กันทำ ใครทำอะไรได้ก็ทำ มันไม่มีโครงสร้างชัดเจนอะไรทั้งนั้น แค่ต้องเอาจิตใจที่เสียสละเข้ามา แล้วค่อยทำโครงการว่าสถานีของล้านนา แชนแนลจะนำเสนออะไร ตั้งแต่เป้าหมายของสถานี  วัตถุประสงค์ ภารกิจ กิจกรรม ที่ต้องคิดให้ชัด ตอนนี้ยังไม่เห็นใครทั้งนั้น หลักการคือเน้นเรื่องการกระจายบทบาทอย่างเท่าเทียมทุกจังหวัด เพราะเรื่องนี้มันอ่อนไหว เพราะนอกจากจะไม่พูดถึงเรื่องการเมืองแล้ว เรื่องของบทบาทของแต่ละจังหวัดจะต้องมีความเป็นเจ้าของ

เท่าที่ศึกษาร่างข้อบังคับต่างๆ มีข้อกังวลอะไรในการทำทีวีดิจิตอล ทีวีชุมชน
จะกังวลเรื่องการครอบงำมากกว่า คิดว่าภาคธุรกิจที่เขาทำเรื่องทีวีดาวเทียมหรือประเภทอื่นๆ จะเข้ามาเป็นตัวเล่นในทุกส่วน เมื่อมีช่องทางบริการชุมชน เขาก็จะแปลงรูปทีวีของเขาให้คล้ายทีวีบริการชุมชน แต่จริงๆ เขามีภาคธุรกิจอยู่เบื้องหลัง ซึ่งลักษณะนี้มีการจัดตั้งอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นเวลาภาคประชาชนจะทำจริงๆ จะไม่ทันเขา อย่างตัวกฎหมายเรื่องนี้ ภาคประชาชนหลายส่วนก็ไม่รู้ว่ามันมีอยู่ เราก็ต้องทำให้เขารู้ และเตรียมตัว

ความกังวลส่วนตัวคือ ต้องจับตาให้ได้ว่าเรื่องนี้มันเป็นผลประโยชน์ ต้องรู้ว่าในสถานการณ์แบบนี้มันคือการแข่งขัน รู้เขารู้เรา แม้เราจะทำรายการไม่เก่งเหมือนเอกชน แต่เราก็มีเนื้อหาที่หนักแน่น เพราะมีฐานสังคมกว้างขวาง และรู้ว่าปัญหาของชุมชนท้องถิ่นคืออะไรต้องนำเสนออะไร เป็นต้น

สำหรับเรื่องเทคนิค การบริหารสถานี การทำรายการ ก็หวังว่า กสทช.จะมีเรื่องการอบรมตามหน้าที่ที่กำหนดไว้อยู่แล้ว อีกส่วนก็คือการฝึกฝนทำรายการเอง อย่างรุ้งอ้วนเป็นโปรดักชันเฮ้าส์ก็มีศักยภาพของตัวเองระดับหนึ่งที่จะทำรายการได้ คือ องค์กรจะเตรียมความพร้อมเรื่องทางเทคนิคไว้สูง  ก็วางตัวเองไว้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตรายการ ซึ่งจะเป็นพี่เลี้ยงให้กับเครือข่ายได้ เพราะเมื่อเกิดสถานีขึ้นมาก็ต้องทำรายการ หลายองค์กรจะวางตัวเองอยู่ในระดับของคนให้เนื้อหา (Content) แต่จะไม่ร่วมในส่วนของการผลิตรายการ เขาก็คาดหวังกับหลายๆ ที่ทำเรื่องนี้อยู่ ทั้งการอบรม การใช้กล้อง การตัดต่อ การทำรายการ

ภาคเอกชนก็เนียน หลักเกณฑ์ กสทช.ก็ยังไม่ชัด ก็ส่ออยู่เหมือนกันว่าอาจจะนำไปสู่การละเมิดสิทธิผู้บริโภคในบางประเด็นได้ที่เกี่ยวกับเรื่องสิทธิที่อาจจะไม่ได้รับการคุ้มครอง 100% เหมือนเวลาสร้างถนน ยังไงก็ต้องมีเลนจักรยาน เป็นสิ่งที่โครงการเขียนไว้อย่างสวยหรู แต่พอทำเสร็จก็ไม่เห็นจะคุ้มครอง รถจอดขวางเลน ไม่เห็นจะได้ใช้

คาดหวังว่าโทรทัศน์ช่องนี้จะทำอะไรให้กับสังคม
เชื่อว่าเมื่อมีพื้นที่มันจะสร้างความตระหนักเองในเรื่องการมีส่วนร่วมความเป็นเจ้าของและร่วมกันพัฒนา เชื่อว่าเวลาเราซึมซับเนื้อหาจากสื่อกระแสหลักเขาก็จะไม่คิดอะไร เพราะมันเพลิดเพลินจะไม่คิดว่าสังคมมีปัญหา พอมีพื้นที่เราก็เล่าเรื่องในสังคมและสร้างความตระหนักให้คนท้องถิ่นสนใจ โจทย์ของเราที่คุยกับเครือข่าย คือ เวลาเราทำเรื่องท้องถิ่นของเราเองซึ่งส่วนกลางไม่สนใจ ต้องทำให้ดูสนุก ไม่น่าเบื่อ ต้องมาอบรมทักษะการสร้างสรรค์ ทำอย่างไรให้สิ่งที่เป็นสาระเป็นเรื่องที่สนุกได้ มันก็มีตัวอย่างเยอะในต่างประเทศและหลายรายการในประเทศไทยที่เราต้องมาพิจารณาดูว่าจะนำมาปรับใช้อย่างไร



เจริญลักษณ์  เพ็ชรประดับ 
บรรณาธิการบริหารหนังสือพิมพ์อีสานบิซวีค
และ ผู้จัดรายการ "เก็บตกอีสาน" ที่ KKU Channel มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

"ประชาชนเขาตื่นตัวมากขึ้นอย่างมาก ในช่วงความขัดแย้งทางการเมือง

เราเห็นชัดว่าสื่อมีพลัง และประชาชนก็ตื่นตัว

เราไม่ได้มองว่าต้องการใช้เป็นเครื่องมือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่เราเห็นพลังของมัน

และทีวีนั้นก็เป็นเครื่องมือที่สร้างอิมแพ็คได้มากกว่าอะไร

ท้องถิ่นก็จะสร้างความเข้มแข็งและสอดคล้องกับแนวเคลื่อนของสังคมไทย

ที่มุ่งไปสู่เรื่องการ กระจายอำนาจ เรื่องท้องถิ่นจัดการตนเอง"
 

ข้อกังวลเกี่ยวกับการเข้าสู่ทีวีดิจิตอล?
วิทยุชุมชนน่าจะเป็นบทเรียนสำคัญที่ กสทช.ต้องตระหนักถึงอย่างมาก เพราะเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญถูกบิดเบือนแบบล้มเหลวโดยสิ้นเชิง แม้กระทั่งขบวนที่อยู่ในองค์กรที่บอกว่าขับเคลื่อนวิทยุชุมชนก็ยังมีการแฝงตัวและไม่ได้ทำตามเจตนารมณ์เดิม ที่ให้เป็นของประชาชน ทำโดยประชาชน เพื่อประชาชน ความวุ่นวายต่างๆ นานาที่เกิดขึ้นก็เป็นอีกเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับทีวีชุมชน ตอนนี้มีการปรับตัวชัดเจนแล้ว เห็นปัญหา เห็นบทเรียนมา ต้องเริ่มต้นได้ดีกว่า แต่ว่าก็อย่างที่บอกว่าถ้าจะทำ ต้องสร้างการรับรู้ในวงกว้างให้มากกว่านี้ หรือกระทั่งวิธีที่จะออกระเบียบก็ไม่ควรเป็นลักษณะจากบนลงล่าง (top down) ลงไป ทำนิยามของทีวีชุมชนให้ชัดเจน รวมถึงควรระบุให้ชัดว่าทีวีชุมชนนั้นจะมีขอบเขต พื้นที่ระดับไหน

สำหรับรูปร่างหน้าตาของนิยาม อยากให้เริ่มต้นจากกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่ม กสทช.ควรลงไปเปิดพื้นที่ให้กับคนในภูมิภาค คนในท้องถิ่นได้ยกร่างข้อเสนอขึ้นมาว่าต้องการอย่างไร แล้ว กสทช.ค่อยมาประยุกต์กับเรื่องเทคนิค ความเป็นไปได้ มันอาจจะเป็นอุดมคติเกินไปหรือเปล่าไม่ทราบ แต่การอ้างเรื่องเทคนิคแล้วทำแบบ top down มันก็ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ถ้าเจตนารมณ์ต้องการให้เป็นของ ประชาชน ก็ต้องให้เขาร่วมคิด ร่วมสร้าง แล้วเขาจะร่วมทำ แต่ถ้าเขาไม่ได้ร่วมคิด ไม่ได้ร่วมสร้าง แล้วจะบอกให้เขาทำ มันก็เป็นโจทย์ปัญหาเดิมๆ ที่สุดท้ายเปิดมาอาจบอกว่า เปิดแล้ว ไม่มีศักยภาพทำเอง ก็โทษประชาชนอีก

ประชาชนเขาตื่นตัวมากขึ้นอย่างมาก ในช่วงความขัดแย้งทางการเมืองเราเห็นชัดว่าสื่อมีพลัง และประชาชนก็ตื่นตัว เราไม่ได้มองว่าต้องการใช้เป็นเครื่องมือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่เราเห็นพลังของมัน และทีวีนั้นก็เป็นเครื่องมือที่สร้าง impact ได้มากกว่าอะไร ท้องถิ่นก็จะสร้างความเข้มแข็งและสอดคล้องกับแนวเคลื่อนของสังคมไทยที่มุ่งไปสู่เรื่องการ กระจายอำนาจ เรื่องท้องถิ่นจัดการตนเอง ฉะนั้นสื่อจะเป็นพลังให้เขา สื่อในความหมายของทีวีชุมชน ยกตัวอย่าง ที่ผมเคลื่อนเรื่องขอนแก่นในทศวรรษหน้า ชวนคนมาคุยเรื่องเมืองในอนาคต สื่อหลักไม่สนใจ สื่อชุมชนก็เข้าไม่ถึง ถ้าเรามีโทรทัศน์แล้วมีเวทีแบบนี้เราก็รายงานไป ใส่เทคนิคให้น่าสนใจ ตรงนี้เป็นโอกาสให้ประชาชนรับรู้
 
ถ้าจริงใจเราก็ควรช่วยหนุนเขาให้ทำตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมสร้าง และร่วมเรียนรู้

ในพื้นที่อีสาน กลุ่มที่น่าสนใจเข้าสู่ทีวีชุมชนนั้นมีเยอะมาก ในแง่การขับเคลื่อนของภาคประชาชนในพื้นที่มันมีแต่ละจังหวัดอยู่แล้ว ถ้าพูดเฉพาะขอบเขตจังหวัด ตัวแอคติวิสต์เขาสรุปบทเรียนว่าต้องมีสื่อเป็นเครื่องมือถึงจะขับเคลื่อน แต่ยังไม่รู้ว่าจะทำยังไง เขาเรียกร้องแล้ว แต่ถ้ามีคนที่เข้าใจเรื่องนี้เข้ามาหนุน กสทช.เอาทีมไปพูดคุยในภูมิภาคเลย ผมคิดว่ามันเกิดได้ 

เรื่องทีวีชุมชน อย่าไปผลักให้เป็นภาระของประชาชนในแง่การบริหารจัดการ มันเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องหนุนเสริม มันเป็นเครื่องมือสร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่น ภาคประชาชนตื่นตัวแล้ว แต่ในทางเทคนิคมีข้อจำกัด คนจะมีทักษะทางสื่อมันต้องสะสมและเรียนรู้ แม้แต่สื่ออาชีพ จบนิเทศมาไม่ใช่จะทำได้เลยต้องไปเรียนรู้ คนที่ตื่นตัวและอยู่กับประเด็นอยู่แล้วเขาทำได้อยู่แล้ว แต่เติมในทางทักษะ เทคนิคให้เขา ทั้งนี้ ในการจัดการจริงนั้นไม่ใช่เอาเทคนิคมาจับ เหมือนการทำ "นักข่าวพลเมือง" ที่ล้มเหลว เท่าที่ทราบคือ บางทีเอามุมเทคนิคไปจับแล้วมองว่าไม่ผ่าน ไม่ได้ ด้านหนึ่งก็บั่นทอนพลัง บั่นทอนความตั้งใจของเขาแล้วก็หายไป

ในพื้นที่อีสานมีความขัดแย้งทางการเมืองสูง สื่อนี้จะช่วยคลี่คลายปัญหาได้ไหม? 
การมีส่วนร่วมของทุกส่วนเป็นหัวใจสำคัญ ต้องมีความหลากหลาย ความเป็นเจ้าของ ต้องเป็นของประชาชน และประชาชนต้องมีความหลากหลาย ไม่ใช่ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ต้องเป็นพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนไว้วางใจ เชื่อมั่น เข้ามาในพื้นที่นี้ได้ ไม่เกี่ยวกับค่ายหรือสีใดเลย แต่เป็นพื้นที่สะท้อนปัญหาหรือเรื่องราวในท้องถิ่น เดี๋ยวนี้ประชาชนเขามีวุฒิภาวะ เรื่องความเชื่อความศรัทธาทางการเมืองต้องเคารพ มันคือเสรีภาพ แต่ถ้าคุณจะเป็นพื้นที่สาธารณะ คุณต้องเป็นสื่อที่เขาเชื่อมั่น  การที่สื่อเลือกข้างมันเกิดจากความไม่เชื่อมั่น การเกิดขึ้นของเอเอสทีวี ของเอเชียอัพเดทก็เกิดจากความไม่เชื่อมั่นในสื่อของรัฐ ถ้าเป็นสื่อของประชาชนต้องให้เขามีส่วนร่วม ให้เป็นเจ้าของ และหลากหลายจริงๆ

ผมมองในแง่ดี ตอนนี้คนต้องการพื้นที่ตรงกลาง แต่ไม่มีใครสร้าง อย่างผมทำรายการวิทยุในพื้นที่ที่ขอนแก่น  รายการผมทั้งเหลืองและแดงเข้า เราสร้างความเชื่อมั่นว่าคุณจะคิดยังไงก็ได้ ผมไม่ห้าม แต่เรามีกติการ่วมบางอย่าง มันทำได้ ทำมาแล้ว และโมเดลแบบนี้ทำได้ทุกที่ ถึงบอกว่าโมเดลแบบนี้ทำได้ทุกที่ แต่ถ้าคนที่ถูกสรุปแล้วว่าเป็นใคร ไปทำอย่างไรเขาก็ไม่เชื่อ แต่มันจะสร้างพื้นที่ตรงนี้อย่างไร นี่เป็นโจทย์ที่สังคมต้องช่วยกันคิด

นอกจากนิยามที่ยังไม่ชัด มีข้อกังวลเกี่ยวกับการจัดการเรื่องนี้อีกไหม?
ต้องยอมรับว่าภาคเอกชนเขาเร็วกว่า แม้ว่า กสทช. เองก็เริ่มที่ภาคเอกชนก่อน โลกทุกวันนี้เอกชนไปเร็วกว่าอยู่แล้ว ถ้า กสทช. มีเจตนา มีความตั้งใจดี เราไม่ได้ปฏิเสธเอกชน แต่รากของประเทศจริงๆ อยู่ที่ท้องถิ่น ชุมชน ไม่ได้อยู่ที่ส่วนกลาง คุณต้องมาสร้างความข้มแข็งให้เขาเติบโตขึ้นมาพร้อมกัน เหมือนกับทำฐานรากให้มันเข้มแข็ง ตอนนี้ประเทศไทยมีปัญหาที่การรวมศูนย์อำนาจ ถ้าจะเริ่มต้น ต้องกระจายออกไป สื่อก็ต้องกระจาย อัตลักษณ์ ความงามในพื้นที่มีอยู่แต่ถูกทุนบั่นทอน



ว่าที่ร้อยตรีกำพล จิตตะนัง
สำนักงานประสานการจัดการความรู้ภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ในฐานะเครือข่ายสื่อพลเมืองปักษ์ใต้

 

"มันเหมือนภาพฝันมากเกินไป เพราะเราก็ยังไม่รู้ว่าหน้าตาที่เราทำจะเป็นยังไง

แต่ถ้าเราร่วมออกแบบ เราจะออกแบบในสิ่งที่เราทำได้ เราจะเสนอในระดับที่เรารับได้

เราจะไม่เสนอในสิ่งที่เกินขอบเขตที่เราจะทำได้

ฉะนั้น ความเป็นไปได้ที่ช่องทีวีชุมชนจะเกิดจริงก็จะมีสูง ถ้าคนอื่นออกแบบ อาจจะเหลว"

 

ในนครศรีธรรมราช มีการขับเรื่องทีวีชุมชนแล้ว?
จริงๆ ก็ทุกพื้นที่ ไปที่ไหนเราก็เห็นทีวีที่เป็นเคเบิล ซึ่งมีมาหลายปีก่อนหน้านี้แล้ว แต่ในภาพของนครฯ ที่อยู่ในทีมที่ขยับเรื่องภัยพิบัติก็รับงานสื่อด้วย เขาก็ทำงานสื่อป้อนให้กับเคเบิลทีวี ป้อนให้สำนักข่าวกระแสหลักอื่นๆ ด้วย การขยับเรื่องทีวีดิจิตอลในพื้นที่ เราก็คุยกันอาทิตย์ที่แล้ว มีการจอง มีการระดมทีมแล้วว่าใคร สามารถมาผลิตงานได้บ้าง ในพื้นที่เองก็หาคณะทำงาน ต้องหาผู้ผลิตรายย่อย ระดมเป็นทีมใหญ่ พอทาง กสทช.เริ่มปล่อยข้อมูล ทางพื้นที่ก็ตั้งรับแล้ว จริงๆ มีการระดมทีมกันก่อนด้วยซ้ำ
 
เรื่องทีวีช่องใหม่ที่จะเกิดในทีวีดิจิตอล คนก็เห็นแล้วว่าพื้นที่เขาจะเยอะขึ้น เมื่อก่อนไม่มีพื้นที่ที่เขาจะเป็นเจ้าของรายการเองได้ ต้องป้อนให้ช่องกระแสหลัก 5-6 ช่อง  ยังไม่สามารถใช้โลโก้ทีมข่าวของตัวเองด้วยซ้ำ แต่ต่อไปนี้เราสามารถสร้างแบรนด์ สร้างตัวตนได้ และยกประเด็นในพื้นที่ให้เป็นกระแสหลักได้บ้าง ความรู้สึกเป็นเจ้าเข้าเจ้าของก็กระตุ้นพวกเขา

หลายคนมองคล้ายกันว่าต่อไปเราสามารถเป็นผู้ผลิตเองได้ คล้ายๆ กับที่ทีวีไทย ประชาไท พยายามทำให้ผลิตกันเองได้ และอาจยกระดับให้ดีขึ้นได้ อาจไม่ดีมากแต่มีพื้นที่ให้ออกได้ ประกอบกับทีวีดิจิตอล จำนวนช่องดูแล้วมันน่าจะได้สักช่องแหละ ถ้าเป็นฟรีทีวีนี่ไม่ต้องคิดหวังแล้ว สำหรับทีวีดิจิตอล โอกาสที่เขาจะได้เป็นผู้ผลิตรายย่อยและมีแบรนด์ตัวเองได้มันสูง ขึ้น และมันก็เป็นเหมือนต้นน้ำ ทุกอย่างเริ่มต้นพร้อมๆ กัน ถ้าเขาเตรียมทีมตั้งแต่แรกๆ โอกาสยึดหัวหาดได้ก็อาจจะมี แม้ว่าเขาจะยังไม่ค่อยเห็นภาพเท่าไรว่าไอ้ทีวีช่องใหม่ๆ ไม่รู้กี่ช่อง ของชุมชนด้วย ของสาธารณะด้วย จะทำงานกันยังไง พื้นที่ทางธุรกิจจะทำงานกันยังไงก็ไม่รู้ แต่มันมีพื้นที่เยอะ

ถ้ามองในภาคประชาสังคม ก็คงใช้ช่องทีวีดิจิตอลในส่วนของสื่อชุมชน เราคงเข้าไปในส่วนนี้ แม้ตอนนี้เรายังไม่เห็นภาพว่าต้องทำ ยังไงกันแน่ ต้องใช้ทุนเท่าไร แต่ถ้ามันสามารถทำได้ง่ายพอๆ กับที่เราสร้างสถานีวิทยุชุมชน ที่เราพอจัดการกันเองง่าย ถ้าทำได้แบบนั้น ภาคใต้ที่มีประเด็นร้อนเยอะ แต่ละพื้นที่ก็จะสามารถยึดพื้นที่สื่อมาสร้างช่องทางของตัวเอง และเป็นช่องทางการเรียนรู้ของเราได้ด้วย  เพราะโจทย์มันอาจไม่ใช่แค่จะทำให้คนทั่วไปรู้ แต่คนในพื้นที่เอง คนในอำเภอ ในจังหวัดเองบางทีก็ยังไม่รู้ เราต้องทำให้เขารู้ด้วย เพราะคนส่วนมากก็ดูสื่อกระแสหลัก แค่เรื่องหมู่บ้านติดกันก็ไม่ค่อยรู้แล้ว แต่นั่นก็เพราะว่ามันไม่มีพื้นที่นำเสนอด้วย

เดือนหน้าเตรียมจะทำทีวีออนไลน์ เราพอมีเครื่องไม้เครื่องมือและมันก็ไม่ได้ยาก ไม่มีเทคนิคอะไรซับซ้อน เราก็จะใช้เครื่องมือที่มีอยู่ก่อน ทีวีออนไลน์ วิทยุออนไลน์ การใช้เครื่องมืออื่นๆ เช่น ยูทูป รายการเดียวกันสามารถนำเสนอได้ในทุกพื้นที่ เพราะแต่ละช่องก็มีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน ฉะนั้น การสร้างพื้นที่ให้มากที่สุด หรือการเข้าไปใช้สื่อต่างๆ เป็นโจทย์ของเราเหมือนกัน เพราะชุมชนต้นทุนน้อยอยู่แล้ว เพราะถ้าพูดถึงข้อมูลเราไม่ได้ด้อย ข้อมูลมีเยอะมากแต่การกระจายข้อมูลต่างหากที่เป็นข้อจำกัด

จากข้อมูลของ กสทช. ตอนนี้ ประเมินว่าอย่างไร ?
ยังบอกได้ไม่มาก เรายังไม่เห็นกรอบชัดเจน กสทช.ยังตอบได้ไม่ชัดเจนด้วยซ้ำว่าจะทำอย่างไรกับทีวีชุมชน การเปิดโอกาสให้เรามาร่วมออกแบบก่อนที่มันจะเป็นรูปเป็นร่าง ก็คิดว่าน่าสนใจมาก เพราะถ้าบอกว่า กสทช.จะจัดสรรทีวีชุมชนให้ ก็ต้องถามชุมชน ให้เขาได้ออกแบบ อีก 80% ที่ให้ภาคธุรกิจ ทั้งประสบการณ์ ความรู้ เขามีอยู่แล้ว มันมีวิธีการอยู่แล้ว แต่ของภาคชุมชน อันนี้เป็นเหมือนกันเริ่มต้นนับหนึ่งเลย ก่อนขั้นตอนจะเสร็จควรชวนชุมชน หรือภาคการศึกษามาร่วมออกแบบ ถ้ารอให้บันไดขั้นสุดท้ายออกมาแล้วบอกว่าขั้นตอนเป็นแบบนี้ ทุนเป็นแบบนี้ แล้วชุมชนไม่มีศักยภาพจะทำได้มันก็จบ เราก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์

ทีวีที่บอกว่าให้เราตั้งเกือบ 40 ช่องย่อย เราอาจจะผลิตจากพื้นที่ท่าศาลาแต่ไปออกช่องอีกเขตก็ได้ อาจเป็นประเด็นร่วมกัน แต่มันเหมือนภาพฝันมากเกินไป เพราะเราก็ยังไม่รู้ว่าหน้าตาที่เราทำจะเป็นยังไง แต่ถ้าเราร่วมออกแบบ เราจะออกแบบในสิ่งที่เราทำได้ เราจะเสนอในระดับที่เรารับได้ เราจะไม่เสนอในสิ่งที่เกินขอบเขตที่เราจะทำได้ ฉะนั้น ความเป็นไปได้ที่ช่องทีวีชุมชนจะเกิดจริงก็จะมีสูง ถ้าคนอื่นออกแบบ อาจจะเหลวและต้องนั่งแก้ปัญหาอีก 5 ปี 10 ปี แต่ตอนนี้ทุกคนพูดตรงกันว่ายังไม่เห็นหน้าตาชัดเจน อาจใช้โอกาสนี้เชิญเข้ามาเดินร่วมกันเสียก่อน เพราะตอนนี้เราไม่รู้ว่าอยู่ที่บันไดขั้นที่เท่าไหร่แล้ว

ข้อกังวลต่อการทำทีวีชุมชน? 
ก็คงต้องมองบทเรียนที่ผ่านมา สื่อเป็นเครื่องมือที่ดี แต่ก็สร้างความเสียหายได้เยอะเหมือนกัน จากการถูกคุกคามด้วยภาคธุรกิจ สื่อเกือบทุกประเภทรับใช้ภาคธุรกิจ การเมืองก็เป็นการเมืองที่อิงธุรกิจ มีความพยายามใช้สื่อเป็นเครื่องมือต่างๆ ในภาคธุรกิจ เพื่อกำไรทั้งนั้น จากกรณีวิทยุชุมชน เราเห็นบทเรียนแล้วว่า แม้หน้าตายังไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ยังถูกภาคธุรกิจซื้อไปเสียเยอะแล้ว

มีคำแนะนำในการป้องกันปัญหานี้ไหม?
ยังพูดยาก เพราะยังไม่เห็นหน้าตาว่าจะเป็นยังไง ถ้าเรากังวลว่ามันอาจถูกซื้ออีก เพื่อกำหนดทิศทางทีวีชุมชน ก็อาจต้องมีกติกาที่ปรามหรือห้ามในเรื่องนั้น แล้วให้ชุมชนกำหนดทิศทางเองได้ เช่น เรื่องกองทุนที่จะสนับสนุน เพราะเรื่องเงินก็เป็นปัจจัยสำคัญ ถ้าจะต้องบริหารสถานี ต้องใช้ทุนทำอะไรต่างๆ ก็ควรสนับสนุน ไทยพีบีเอสอยู่รอดได้ ก็เพราะมีงบประมาณให้เลย ไม่ต้องดิ้นรนหาเงิน สสส.ก็เช่นกัน คุณแค่ทำงาน ทีวีชุมชนถ้าจะให้ชุมชนทำงานด้วย หารายได้ด้วย อาจเป็นเรื่องลำบาก เขาไม่เก่งภาคธุรกิจอยู่แล้วแน่นอน อาจจัดสรรงบประมาณลงไปแบบรายปี โดยใช้ภาษีเหล้าบุหรี่ซึ่งที่ผ่านมารัฐก็ยังจัดสรรได้มากมาย หรือธุรกิจภาครัฐที่ไม่ส่งเสริมจริยธรรม เช่น หวย ก็สามารถนำมาจัดสรรตรงนี้ได้ แม้โดยส่วนตัวจะไม่เห็นด้วยกับเงินบาปพวกนั้น แต่เมื่อรัฐเก็บอยู่แล้วก็เอามาจัดสรรได้ เพราะตอนนี้ก็ไม่ได้จัดสรรให้มากเท่าไร

การเกิดขึ้นของสื่อตรงนี้หลักการและเหตุผลก็คงเป็นประมาณว่าเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตัวเองได้ ดังนั้นการลงทุนของภาครัฐ ผ่านการสนับสนุนกองทุนส่วนนี้ก็ไม่สูญเปล่าแน่ ถ้าทีวีชุมชนเกิดแล้วไม่มีประโยชน์ต่อประเทศ ก็ไม่ต้องให้เกิด แต่ถ้ามันเกิดแล้วเป็นประโยชน์ก็ควรจะหนุน

นอกจากในนครศรีธรรมราช ได้เตรียมจับมือกับเครือข่ายอื่นไหม? 
ชาวบ้านก็ยังไม่รู้เรื่องนี้ นอกจากผู้ผลิต อาจได้ยินข่าวบ้างว่ามีทีวีดิจิตอล แต่ทีวีชุมชนก็ขอสารภาพตรงๆ ว่าเพิ่งได้ยินในเวทีเท่านั้น แต่ก็ยังไม่เห็นรายละเอียด เข้าใจว่าชุมชนเองยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าอนาคต ปลายปี 56 เขาอาจมีช่องทางของเขาเองได้ มีเวลาเตรียมตัวแค่ปีเดียวเท่านั้น การเปลี่ยนจากชาวบ้านมาเป็นผู้ผลิต หนึ่งปีมันน้อยมาก แบ่งไว้หลายช่องมากมาย ไม่รู้ว่าจะเป็นจริงได้สักเท่าไร ทำได้กี่รายการ  เวลาเตรียมตัวจึงเป็นเรื่องสำคัญ ยิ่ง กสทช.ตอนนี้ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะหน้าตาเป็นยังไง มันอาจมีโอกาสล้มเสียมากกว่าที่เราจะยืนได้ก็ได้

ถามว่าตอนนี้ชุมชนจะมีส่วนร่วมได้ยังไง ก็เรายังนึกไม่ออกว่าตอนนี้เขาทำอะไรกัน เราจะบอกได้ยังไงว่าเราจะมีส่วน ร่วมได้ตรงไหน แค่ไหน เราพูดมากๆ ในเวที ถึงที่สุด ในเวทีนี้ไม่มีกรรมการ อนุกรรมการสักคน พูดไปก็ไม่ถึงคนที่ตัดสิน คนที่ออกแบบ มันต้องรีบเปิดหน้าตักแล้ว แค่ตำบลในไทยก็มีกว่า 7,000 ตำบลแล้ว ถ้าเชิญมาตำบลละคน คนก็มหาศาล ความคิดต่างๆ ที่จะร่วมออกแบบก็น่าจะมีค่า ต้องเร่งตรงนี้

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลสั่งแล้วคดีที่2 ! สลายชุมนุมแดง 'ชาญณรงค์ พลศรีลา' เสียชีวิตจากทหาร

Posted: 25 Nov 2012 09:49 PM PST

ไต่สวนการตาย นายชาญณรงค์ พลศรีลา คนขับแท็กซี่เสื้อแดงที่เสียชีวิตในวันที่ 15 พ.ค.53 ศาลมีคำสั่งระบุชัดเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ของทหาร นับเป็นคดีไต่สวนการตายคดีที่สองที่ศาลมีคำสั่งแล้ว รองฯ DSI ชี้ทำให้คดีที่เหลือชัดเจนมากขึ้น

ภาพนายชาญรงค์ ขณะถูกยิง

26 พ.ย.55 เมื่อเวลา 11.00 น.ที่ศาลอาญา รัชดา ศาลได้อ่านคําสั่งไต่สวนกว่า 1 ชม.ระบุว่า การตายของนายชาญณรงค์ พลศรีลา คนขับรถแท็กซี่เสื้อแดงที่ถูกยิงและเสียชีวิตบริเวณหน้าปั้มเชลล์ ถนนราชปรารภ ช่วงบ่ายวันที่ 15 พ.ค.53 จากการกระชับวงล้อมของเจ้าหน้าที่ทหาร เป็นการเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทหารขณะควบคุมสถานการณ์การชุมนุม ตามคําสั่งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ที่บริเวณถนนราชปรารภ ด้วยกระสุนปืนเล็กกลขนาด .223 หรือ 5.56 มิลลิเมตร ที่บริเวณช่องท้องและแขน เป็นเหตุให้เสียชีวิต แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นทหารคนใดหรือสังกัดใดที่ทำให้นายชาญณรงค์เสียชีวิต ทั้งนี้ การไต่สวนการตายครั้งนี้นับเป็นลำดับที่ 2 ต่อจากคดีนายพัน คํากอง ซึ่งศาลมีคําสั่งในทำนองเดียวกันไปเมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา

โดยคำสั่งศาลระบุด้วยว่ากระสุนดังกล่าวเป็นกระสุนที่ใช้กับ ปืน HK33, M16 และ ปืนทราโว่ ทาร์ 21 ซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกให้กับบุคคลทั่วไปได้ และมีใช้ในการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ในครั้งนี้ ทั้งนี้ประจักษ์พยานที่ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นนักข่าวชาวไทยและชาวต่างชาติยืนยันตรงกันว่ากระสุนถูกยิงมาจากฝั่งที่ทหารวางกำลังอยู่ รวมทั้งพยานที่เป็นพนักงานสอบสวนในดดีนี้เบิกความด้วยว่าในบริเวณที่ทหารวางกำลังอยู่นั้นไม่สามารถมีบุคคลอื่นใดเข้าออกได้ ทำให้ศาลรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่ากระสุนปืนที่มาจากฝั่งทหารนั้น จึงไม่มีใครที่อยู่ในพื้นที่นั้นได้นอกจากเจ้าหน้าที่ทหาร อีกทั้งพยานยืนยันด้วยว่าผู้ตายไม่ได้มีการใช้อาวุธตอบโต้หรือยั่วยุเจ้าหน้าที่

ลูกสาวผู้ตายดีใจ ประเทศไทยยังยุติธรรมอยู่

นิพาดา พลศรีลา(ขวา)และน้องสาว

น.ส.นิพาดา พลศรีลา บุตรสาวนายชาญรงค์ กล่าวหลังฟังคำสั่งศาลว่า ดีใจ เราได้รู้ว่ากระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยยังยุติธรรมอยู่ แต่ยังต้องดำเนินต่อไปเพื่อให้สามารถทราบตัวผู้กระทำผิด ตามกระบวนการยุติธรรม เธอย้ำด้วยความมั่นใจด้วยว่ามาถึงขั้นนี้แล้ว สักวันมันก็จะถึงขั้นหาตัวผู้กระทำความผิดได้

ทนายฯ เผยต่อไปเป็นการสืบ-สอบหาตัวผู้กระทำความผิด

นายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความญาติผู้เสียชีวิต กล่าวถึงกระบวนการต่อจากนี้ศาลจะส่งคำสั่งไปที่อัยการและอัยการจะส่งไปที่ พนักงานสอบสวนท้องที่และส่งต่อไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งคดีเหล่านี้จะเป็นคดีพิเศษทั้งหมด ซึ่งพนักงานสอบสวนของกรมสวบสวนคดีพิเศษก็จะสอบสวนเพิ่มเติม เพราะยังไม่ปรากฏชัดว่าใครบุคคลไหนเป็นผู้กระทำ ดังนั้นกระบวนการต่อไปก็จะเป็นการสืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิด

ในการฟังคำสั่ง นอกจากครอบครัวพลศรีลาแล้ว ยังมี นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. และ นายแพทย์เหวง โตจิราการ เข้าร่วมฟังด้วย

รองอธิบดี DSI ชี้คำตัดสินทำให้คดีที่เหลือชัดเจนมากขึ้น

นอกจากนี้ มติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่าในวันเดียวกัน พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีการเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 99 ศพ ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค.2553 กล่าวภายหลังจากที่ศาลพิพากษาให้คดีการเสียชีวิตของนายชาญณรงค์ พลศรีลา จะทำให้คดีที่เหลือที่อยู่ในชั้นศาลมีความชัดเจนมากขึ้น

ในส่วนขั้นตอนต่อไปคดีนายชาญณรงค์ พลศรีลา นั้นดีเอสไอก็จะเดินทางไปขอคัดสำนวนคำสั่งจากศาล เพื่อนำมาพิจารณาในรายละเอียดว่ามีกลุ่มบุคคลใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของนายชาญณรงค์ แต่ยังไม่สามารถที่จะระบุได้ว่า จะออกหมายเรียกบุคคลใดมารับทราบข้อกล่าวหาบ้าง เพราะจะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะพนักงานสอบสวนทั้ง 3 ฝ่าย ประกอบด้วย พนักงานอัยการ ตำรวจ และดีเอสไอ ซึ่งก็จะเร่งดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนธันวาคม และพนักงานสอบสวนยังคงสอบปากคำพยานที่เกี่ยวข้องอยู่ยังไม่เสร็จสิ้น

ภาพนายชาญณรงค์ ที่นิค นอสติทซ์ถ่ายไว้(คลิกดูเพิ่ม)

นายชาญรงค์ก่อนถูกยิงไม่กี่นาที

นายชาญรงค์หลังถูกยิงและมีผู้ช่วยเหลือหลบมาหลังปั้มเชลล์

 

หมายเหตุ : ประชาไทได้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาเมื่อเวลา 22.30 น. 23 พ.ย. 55

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศศิน vs ธนาธร: สิ่งแวดล้อม กับ การพัฒนา (และประชาธิปไตย)

Posted: 25 Nov 2012 06:56 PM PST

คลิปส่วนหนึ่งจาก "ห้องเรียนประชาธิปไตย ครั้งที่ 4" "สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาในระบอบประชาธิปไตย" จัดที่ร้าน Book Re:public ข้อถกเถียงระหว่าง "ศศิน เฉลิมลาภ" และ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" (โปรดติดตามคลิปฉบับเต็มจาก Book Re:public เร็วๆ นี้)

 

 

 

เมื่อวันที่ วันที่ 24 พ.ย.55 เวลา 13.00 น. Book Re:public จัดห้องเรียนประชาธิปไตย ครั้งที่ 4: สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาในระบอบประชาธิปไตย ข้อถกเถียง โดย ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ในฐานะนักอนุรักษ์ซึ่งเป็นที่สนใจของคนหนุ่มสาว และ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท เป็นนักธุรกิจหนุ่มผู้เคยผ่านงานกิจกรรมในขบวนการนักศึกษา

'ประชากรเพิ่ม-รายได้สูง-บริโภคมาก-สิ่งแวดล้อมถูกทำลาย' ห่วงโซ่การพัฒนาในกระแสโลก
ธนาธร กล่าวว่า ประเทศไทยอยู่ในกระแสโลกร้อน ซึ่งไปไกลกว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา ไปสู่ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง ทั้งในระดับชาติและระดับโลกด้วย จากความเปลี่ยนแปลงของโลกในรอบ 20-30 ปีที่ผ่านมามีการเติบโตของจำนวนประชากรสูงขึ้น รายได้ต่อหัวของประชากรสูงขึ้น ส่งผลต่อความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตสูงขึ้น และต้องมีการใช้ทรัพยากรพื้นฐาน ที่ดิน น้ำ พลังงาน ฯลฯ ในการผลิตเพื่อป้อนความต้องการที่มากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้วและในประเทศไทย คือปัญหาการนำทรัพยากรมาใช้อย่างไม่เท่าเทียมกัน โดยทรัพยากรถูกนำไปใช้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาของคนเมือง เช่น กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน เขื่อนผลิตไฟฟ้า ขณะที่ปัญหาที่เกิดจากการพัฒนาตกไปอยู่กับคนในชนบท

อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ปัญหาความต้องการพลังงานไม่ใช่เรื่องง่ายๆ

ชี้ยิ่งอนุรักษ์ ผลกระทบยิ่งกลับไปอยู่ที่คนจน - ย้ำทางเลือกนโยบายไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด
ธนาธร ยกตัวอย่าง กรณีพลังงานไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันไฟฟ้ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ที่ไทยใช้มาจากถ่านหินซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมสกปรกที่สุดในโลก และยังมีปัญหาของการคัดค้านไม่ว่ากรณีถ่านหิน เขื่อน นิวเคลียร์ ขณะที่ความสามารถในการผลิตพลังงานแต่ละประเภทในแต่ละพื้นที่มีไม่เท่ากัน รวมทั้งต้นทุนการผลิตพลังงานต่างกัน พลังงานสะอาดอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม มีราคาแพงและจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีการสนับสนุนจากรัฐบาล การที่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหลายๆ คน หลายๆ แนวทางพยายามจะบอกว่าต้องการเพียงพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ ตรงนี้เท่ากับตัดให้คนจนไม่มีสิทธิเข้าไปใช้ชีวิตสะดวกสบาย เนื่องจากผลคือค่าไฟจะแพงขึ้นหากต้องการไปถึงสังคมสีเขียว

"ถ้าคุณบอกว่าไม่เอาพลังงานสกปรกเลยผลิตไฟฟ้าได้ 100 ก็ใช้ได้ 100 แล้วคนที่อยากจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เหมือนอย่างคนกรุงเทพจะทำอย่างไร เขาจะเอาไฟที่ไหนใช้ คนกรุงเทพฯ ใช้ไฟน้อยลงหรือเปล่า" ธนาธร ตั้งตำถาม

ในกรณีอุตสาหกรรมรถยนต์ มีความคิดตอบสนองต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งการทำให้เครื่องยนต์วิ่งได้ไกลขึ้นโดยใช้พลังงานเท่าเดิม ซึ่งรถรุ่นใหม่ที่ลดการปล่อยคาร์บอนแต่ตรงนี้ก็หนีไม่พ้นที่จะต้องปล่อยคาร์บอนอยู่ดี ส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio-fuel) ซึ่งมาจากพืชก็ต้องการพื้นที่จำนวนมากเพื่อการเพาะปลูก จะกระทบกับพื้นที่ปลูกพืชอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัด และจะส่งผลให้ราคาอาหารแพงขึ้นได้ สำหรับทางเลือกในการใช้รถไฟฟ้านั้น รถไฟฟ้ามีราคาแพงเป็น 2 เท่าของรถทั่วไป หากทางนโยบายเลือกสนับสนุนตรงนี้จะเป็นปัญหาต่อการเคลื่อนที่อย่างอิสรเสรีของคนชั้นล่างและคนชั้นกลาง ขณะที่ไฟฟ้าต้องมีแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าเช่นกัน

หรือกรณีการใช้ไฮโดเจนเซลล์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุดสำหรับรถยนต์ที่เป็นพลังงานสะอาด ราคารถยนต์จะอยู่ที่คันละ 6 ล้าน เราพร้อมที่จะประกาศนโยบายนี้ใช้ไหม หากจะเป็นผู้นำด้านความเขียว ความขาวสะอาดของสิ่งแวดล้อม แต่จะทำให้คนมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของประเทศนี้จะเข้าถึงรถยนต์ไม่ได้

"สิ่งสำคัญ ถ้าเรา Enforce ความเขียวมากขึ้นเท่าไร ผลกระทบมันจะกลับไปอยู่ที่คนที่มีโอกาสทางเศรษฐกิจน้อยกว่ามากขึ้นเท่านั้น คุณต้องเลือก ดังนั้น พอพูดถึงเรื่องเขียว มันไม่ได้เป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว มันมีเรื่องนโยบายเข้ามาเกี่ยว มันเป็นเรื่องของการเลือกนโยบายแล้วว่าคุณจะเอาเขียว เขียวขนาดไหน อย่างไร มันไม่ได้ง่ายและเบ็ดเสร็จขนาดนั้น ในการตอบเรื่องการพัฒนากับสิ่งแวดล้อม ความสมดุลของสิ่งต่างๆ เหล่านี้คืออะไร" ธนาธร กล่าว

มายาคติต่อต้านทุนนิยม-กิจกรรมต้านบริโภคนิยม สิ่งประโลมใจที่ไม่ได้แก้ปัญหาจริง
อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกแนวความคิดหนึ่งที่ว่า เราทุกคนตกอยู่เป็นทาสของลัทธิบริโภคนิยมที่ทำให้คนมีความต้องการมากขึ้น บริโภคมากขึ้น ใช้พลังงานมากขึ้น เบียดบังสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้เกิดการมองว่าการพัฒนาเป็นเรื่องความโลภ มายาคติ ค่านิยมจากต่างประเทศที่รุกล้ำพรมแดนความเป็นไทย วัฒนธรรมเศรษฐกิจพอเพียง วัฒนธรรมชุมชนที่อยู่กันอย่างสุขสบายมานับร้อยปี คนไทยแต่ก่อนไม่มีความต้องการเกินตัว กลายเป็นมายาคติที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเอามาต่อต้านกับกระแสการบริโภคนิยม



นอกจากนั้นการต่อต้านการพัฒนา ยังมีรูปแบบของกิจกรรมรณรงค์ เช่น การหยุดขับรถมาปั่นจักรยาน วันปิดทีวีแห่งชาติ หรือการปฏิเสธลัทธิบริโภคนิยม ด้วยการรงค์ใช้กระดาษรีไซเคิล บริโภคผักปลอดสารพิษ ไม่ซื้อเสื้อผ้าที่มาจากโรงงานใหญ่ๆ ฯลฯ ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกชั่วครู่ว่าได้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมดีขึ้น รู้สึกว่าตัวเองมีความสูงส่งทางศีลธรรมมากกว่าคนอื่น แต่ไม่ได้แก้ปัญหาจริง

"ผมเคยเป็นมาก่อนนะ ผมแต่ก่อนเคยสะพายย่าม ไว้ผมยาว ใส่รองเท่าแตะ เรารู้สึกว่าใช้ชีวิตแบบนี้เราเป็นคนดีขึ้น มันเท่ มันอะไรสักอย่าง แต่ว่าถ้าคุณไม่เข้าไปแก้ความสัมพันธ์เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม ต่อให้คุณแต่งตัวหรือเสพย์ของแบบนั้นเท่สักเท่าไรก็ไม่แก้ปัญหาเรื่องนี้"  ธนาธรกล่าว

ระบบทุนนิยมประชาธิปไตย ดีกว่าการกลับไปสู่ระบบศักดินา
ธนาธร กล่าวด้วยว่า การปฏิเสธลัทธิบริโภคนิยมจะทำได้ต้องปฏิเสธทุนนิยม เพราะความต้องการบริโภคเกิดจากแรงกระทำจากภายนอกที่ต้องเกิดขึ้นโดยความต้องการแสวงหากำไรที่มากขึ้น ขณะที่การปฏิเสธการบริโภคสินค้าส่วนเกินในมุมกลับจะส่งผลกระทบทำให้คนในสายการผลิตจำนวนมากต้องตกงาน เพราะการบริโภคในสังคมทุนนิยมคือการทำให้เกิดการจ้างงาน คำถามคือเราเอาการจ้างงานไหม

"ในสังคมที่คุณจะต้องสะสมทุนในระดับปัจเจกเพื่อเอาชีวิตรอด เพื่อซื้อข้าวมื้อต่อไป เพื่อผ่อนบ้าน ผ่อนรถ คุณต้องการงานไหม ถ้าคุณต้องการงาน พูดให้ถึงที่สุดก็คือคุณต้องบริโภคให้มากกว่านี้ ไม่ใช่ไม่บริโภค" ธนาธรกล่าวถึงความซับซ้อนของการแก้ปัญหาระบบทุนนิยม อย่างไรก็ตามระบบทุนนิยมประชาธิปไตยก็ถือเป็นระบบที่ดีที่สุดที่มีในปัจจุบัน ดีกว่าการกลับไปสู่ระบบศักดินา

นักสิ่งแวดล้อมจำยังเป็น! ทั้งต้องผลักดันวาระทางการเมือง
ในประเด็นความสัมพันธ์ของประชาธิปไตยกับสิ่งแวดล้อม ธนาธร กล่าวว่า โดยส่วนตัวเห็นว่าทิศทางของการปกครองในสังคม ระบอบประชาธิปไตยควรเข้าไปในวงที่ยิ่งเล็กยิ่งดี ลงไปในระดับ อบต. อบจ. แล้วให้คนในพื้นที่ตัดสินใจกันเองในการจัดสรรทรัพยากร และผลประโยชน์ต้องอยู่ที่เขาหากเขาต้องเสียสละ ไม่ใช่ต้องเสียสละเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของคนกรุงเทพฯ

ยกตัวอย่างกรณีโครงการเขื่อนแม่วงก์ ต้องให้คนในท้องถิ่นวัดมูลค่าทางเศรษฐกิจในสิ่งที่ต้องสูญเสียและได้รับ แล้วตัดสินใจเองว่าจะเอาเขื่อนนี้หรือไม่ รัฐจากส่วนกลางในกรุงเทพฯ ไม่ควรมีสิทธิเข้าไปจัดการ คิดแทนและไปจัดสรรทรัพยากรแทนเขา ในขณะที่คนในพื้นที่ไม่ได้อะไรอย่างที่เคยเป็นมาแล้วในอดีต

ธนาธร กล่าวด้วยว่าคนทำงานเรื่องสิ่งแวดล้อมต้องมีในสังคม และส่วนตัวก็ต้องการป่าสีเขียว มีความหลากหลายทางชีวภาพ แม่น้ำสะอาด ให้ชาวบ้านกับป่าอยู่กันอย่างสมดุล อยู่กันอย่างมีความสุข ฯลฯ แต่ว่าในเรื่องจุดคุ้มทุนหรือความสมดุลไม่มีใครตัดสินแทนใครได้ ตรงนี้ต้องมีกลไก และตรงนี้เป็นประเด็นสาธารณะที่สำคัญ การยกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมต้องทำระดับนักการเมืองและระดับชาติด้วย ส่วนข้อเรียกร้องทางสิ่งแวดล้อมต้องทำเป็นวาระทางการเมือง

นอกจากนี้ปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมไม่ใช่ปัญหาเพียงระดับชาติ แต่เป็นปัญหาในระดับภูมิภาค และระดับโลกด้วย เช่น กรณีจีนสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขง ซึ่งกระทบต่อประเทศท้ายน้ำ แต่ไม่มีใครกล้าไปค้านจีน หรือการที่ประเทศหนึ่งดำเนินนโยบายใช้เทคโนโลยีสีเขียวไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอน ผลคือทำให้ต้นทุนในประเทศเพิ่มสูงขึ้น  สินค้าราคาสูงขึ้นส่งออกไม่ได้ ทำให้คนตกงาน ตรงนี้แสดงให้เห็นว่าการดำเนินนโยบายเช่นนี้เพียงประทศใดประเทศหนึ่งทำไม่ได้ เพราะเราอยู่ในระบบเศรษฐกิจโลกที่ต้องมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน

เผยทุนไม่เคยปรับด้วยตัวเอง แนะภาคประชาสังคมร่วมกับรัฐผลักดันการเปลี่ยนแปลง
ธนาธร กล่าวด้วยว่า การขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อม สิ่งสำคัญคือการจัดความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มพลัง 3 กลุ่ม คือ รัฐ ทุน และภาคประชาสังคม ซึ่งภาคประชาสังคมสามารถร่วมกับรัฐเพื่อจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยกดดันให้ทุนต้องรับผิดชอบต้นทุนการผลิตในเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แม้ที่ผ่านมาทุนจะมีการวิวัฒนาการเรื่องนี้ แต่ทุนไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวของมันเอง แต่จะมีเมื่อถูกกฎหมายบังคับและถูกเรียกร้องจากสังคมภายนอก

การที่ทุนในปัจจุบันปรับเปลี่ยนก็เป็นเรื่องคาร์บอนเครดิต โดยมีการใช้กลไกตลาดเอามาจัดการ ให้มีการซื้อขายคาร์บอนเครดิต กลไกตรงนี้ดีหรือไม่เป็นสิ่งที่พูดคุยกันได้ ซึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดตรงนี้มาจากการผลักดันของภาคประชาสังคม อีกทั้งการที่จะทำให้ทุนเพียงรายใดรายหนึ่งปรับเปลี่ยนนั้นเป็นไปได้ยาก ต้องใช้กฎหมาย และคนที่จะผลักดันให้เกิดกฎหมายคือองค์กรภาคประชาสังคมที่ผลักดันประเด็นไปในระดับรัฐ

นักอนุรักษ์ไม่ปะทะ แค่ทำหน้าที่ "หน่วง" การพัฒนา
ศศิน กล่าวยกตัวอย่างถึงกรณีการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและท่าจีนว่า การสร้างเขื่อนก่อนเกิดน้ำท่วมเมื่อปี 2554 จะพูดเรื่องน้ำความต้องการน้ำในอีก 20 ปี ซึ่งการคาดการณ์ไม่ต่างกับการคาดการณ์ความต้องการไฟฟ้า ความต้องการอาหารที่นับเอาจากหัวประชากรที่เพิ่มขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจที่เติมโตขึ้น และแผนการพัฒนาสู่การเป็นอุตสาหกรรมที่สูงขึ้น

ในกรณีลุ่มน้ำเจ้าพระยาและท่าจีนมีแผนการจัดการลุ่มน้ำโดยแบ่งพื้นที่ตามศักยภาพน้ำ โดยเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ และตรงนี้จะถูกนำมาใช้เขียนโครงการและตั้งงบประมาณในการจัดการน้ำในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำโดยการสร้างเขื่อนหรือทำระบบแจกจ่ายน้ำ ทั้งที่แต่ละพื้นที่มีศักยภาพตามธรรมชาติไม่เท่ากัน ซึ่งสำหรับเขาเห็นว่าการพัฒนาเพื่อให้ทุกพื้นที่กลายเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำมากขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่อาจตั้งโจทย์ไว้ว่าจะทำอย่างไรให้คนสามารถอยู่ในพื้นที่ได้โดยอยู่ดีกินดีและมีเศรษฐกิจดีเท่าคนในพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำมาก

ศศิน กล่าวว่าตนเองเปลี่ยนจากนักวิชาการที่สอนให้เด็กสร้างเขื่อนและตัดถนนมาทำในสิ่งที่ชอบ และคิดว่าต้องมีใครสักคนที่รักษาสิ่งที่เป็นเรื่องสำคัญ บางเรื่องที่เชื่อว่าควรต้องรักษาไว้ อย่างป่าไม้ในพื้นที่หนึ่งๆ ซึ่งมันก็เป็นการหน่วงดึงไว้ ไม่ใช่การปะทะ หลังจากที่มีการสร้างเขื่อนจำนวนมากและส่งผลกระทบต่อมาแล้ว ก็ให้เหลือเขื่อนแก่งเสือเต้นและเขื่อนแม่วงก์ เพื่อเก็บพื้นที่ป่าเอาไว้ให้เสือที่ห้วยขาแข้งไปแพร่พันธุ์ ประมาณ 17 ตร.กม.และเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้กับกรมชลฯ ซึ่งชนชั้นกลางในเมืองรับกระแสนี้ ช่วยกันต้านเขื่อนจำนวนมาก

"เราไม่ปฏิเสธว่า วันนี้ที่เราได้แชมป์โลกในการส่งออกข้าว เราได้มาจากเขื่อน ถ้าไม่มีเขื่อนต่างๆ เหล่านี้เราไม่ได้แชมป์โลกการส่งออกข้าวหรอก เพราะว่าจะต้องทำนาปีละ 3-4 ครั้ง ต้องอาศัยการเก็บน้ำจากเขื่อน แต่ประเด็นของการอนุรักษ์วันนี้ก็คือว่า มันเยอะขนาดขึ้นแท่นแชมป์โลกแล้ว หยุดไหม หยุดคือ ไม่ได้หยุดจากการเป็นแชมป์โลก แต่เราขึ้นมาถึงตรงนี้แล้ว เราหันมาว่า เรามาเก็บตรงนี้ เก็บที่ไว้ให้สิ่งมีชีวิตประเภทอื่น" ศศินกล่าว


รับ 'แช่แข็ง-กลับไปอยู่ในยุคหิน' ไม่เกิด เสนอแค่อยู่เท่าที่มีอยู่
ศศิน เล่าด้วยว่าเมื่อประมาณ 20 ปีก่อนการพัฒนาเขื่อนไม่มีใครคัดค้าน แต่เมื่อคุณสืบ นาคะเสถียร ในฐานะหัวหน้าโครงการช่วยชีวิตสัตว์ป่า ที่เขื่อนเชี่ยวหลาน และคุณโจ๋ย บางจาก (สันติธร หุตาคม) บันทึกภาพมาเผยแพร่ จากนั้นเรื่องอนุรักษ์ได้ไปกระทบกับชนชั้นกลาง ทำให้รู้ว่าการสร้างเขื่อนส่งผลต่อสัตว์ป่า อีก 2 ปีต่อมาเมื่อต้องสู้กับเขื่อนน้ำโจน คนเมืองกาญจนบุรีก็ลุกขึ้นมาคัดค้าน โดยประเด็นหลักคือกลัวแผ่นดินไหว ทำให้ยุติการก่อสร้างไป หลังจากนั้นประเทศไทยก็ไม่เคยสร้างเขื่อนในพื้นที่ป่าสมบูรณ์อีกเลย ซึ่งเขื่อนแม่วงก์และเขื่อนแก่เสือเต้นก็มีการยื้อกันมายาวนาน

ส่วนเหตุที่ต้องจริงจังในการคัดค้านเขื่อนแม่วงก์และเขื่อนแก่งเสือเต้น ศศิน กล่าวว่า เพราะถ้าวันนี้ปล่อยเขื่อนทั้ง 2 แห่งให้เกิดขึ้น จะเป็นการเปิดให้แนวคิดการสร้างเขื่อนที่กระทบป่าสมบูรณ์และสัตว์ป่าให้กลับมาอีกครั้ง และจะเกิดเขื่อนเล็กเขื่อนน้อยขึ้นไปในพื้นที่ป่า มันจะไม่ใช่แค่ 2 เขื่อนนี้ ฝ่ายอนุรักษ์แพ้แน่นอน

"มันไม่ใช่เรื่องของการว่าจะกลับไปอยู่ในยุคหิน หรือการกลับไปไม่พัฒนา หรือการแช่แข็ง มันไม่ใช่แล้ว เพราะวันนี้มันมาไกลถึงขั้นที่มันเกินความสุข สะดวกสบายแล้ว มันเป็นอะไรที่น่าจะอยู่เท่าที่อยู่ นี่ผมคิดว่ามันก็สบายดีอยู่แล้ว ส่วนคนที่คิดว่ามันยังไม่พอก็ไม่เป็นไร ก็คิดไม่เหมือนกันได้ แต่โลกน่าจะสมดุลนะ ถ้ามันมีการดึงกันไว้บ้าง" ศศินกล่าว

'อนุรักษ์เพื่อโลก' ชุดความรู้สู้การพัฒนา
ศศิน กล่าวด้วยว่า การคิดในเรื่องสิ่งแวดล้อม ในเรื่องประโยชน์ นักสิ่งแวดล้อมจะตัดสินบนชุดความรู้อีกชุดหนึ่ง เช่น การเก็บเสือไว้ในเป็นมรดกโลก ซึ่งตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตยขนาดเล็กที่ให้คนท้องถิ่นจัดการ ซึ่งในเรื่องแม่วงก์ก็ยอมรับว่านักอนุรักษ์ไปคิดแทนคนในพื้นที่จริงๆ คิดแทนว่าต้องเก็บพื้นที่ป่าส่วนรวมเอาไว้ซึ่งไม่ใช่เฉพาะของ อ.ลาดยาว แต่พูดถึงส่วนรวมของชาติ และมองไปถึงความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ซึ่งถ้ายึดโยงเอาความรู้ของนักอนุรักษ์ที่เขียวกว่าตนเองเช่น WWF ก็มีงานศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่อ้างได้ มันก็เป็นประเด็นที่ต้องมีการปะทะกันทางชุดความรู้นี้ด้วย สำหรับกรณีคนที่ได้รับประโยชน์จากการพื้นที่ชลประทานจากการสร้างเขื่อนแม่วงก์ นักอนุรักษ์ก็นำข้อมูลใน EIA มาต่อสู้ เพื่อดูความสมเหตุสมผลของโครงการ เพราะภาพรวมการพัฒนาของประเทศมันก็ต้องมีการคนถ่วงดุลตรวจสอบ ในระบบประชาธิปไตยตรงนี้ก็ต้องมี

โจทย์ใหญ่ที่สนใจคือการที่บอกว่าคน จ.สุโขทัยและพิจิตรที่อยู่ห่างไปอีกประมาณ 200 กิโลเมตร ไม่ควรให้คนสะเอียบย้ายที่อยู่และเปลี่ยนวิถีชีวิตวิถีชุมชน โจทย์นี้กรมชลออกแบบแก้ไขสำเร็จ โดยมีโครงการเขื่อนยมบนและเขื่อนยมล่างที่ทำให้ชุมชนไม่ต้องย้าย แต่น้ำจะท่วมป่าสักทองเช่นเดิม ซึ่งก็ทำให้ต้องมีการปรับขบวนในการต่อสู้ และล่าสุดจากคำประกาศของคนสะเอียบก็ยังยืนยันที่จะสู้อยู่เพื่อรักษาป่าสักทองซึ่งเป็นป่าอุทยานแห่งชาติ

โครงการพัฒนาเกิดได้ ถ้าปรับลด 'ผลประโยชน์สูงสุด'
ศศิน กล่าวในฐานะอดีตนักวิชาการด้วยว่า การที่ทุนนิยมจะเข้าไปในพื้นที่โดยคิดเรื่องทำอย่างไรจะได้ผลประโยชน์สูงสุด ต้นทุนต่ำสุด ในเวลาที่สั้นที่สุด ทำให้การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ผ่านมาจึงพุ่งเป้าไปที่ บ่อนอก จ.ประจวบฯ ซึ่งติดทะเล แต่ก็ถูกต่อต้านจากชาวบ้านจนสร้างไม่ได้ โดยส่วนตัวเห็นว่าหากขยับโรงไฟฟ้าไปออกมาอยู่ใกล้ภูเขา และปรับลดเป้าหมายผลประโยชน์สูงสุด ต้นทุนต่ำสุด ในเวลาที่สั้นที่สุด โรงไฟฟ้าก็จะตั้งได้ เพราะวันนี้การอนุรักษ์ไม่ได้สุดโต่ง ไม่ได้กลับไปสู่ยุคเอาหรือไม่เอา

ในความรู้ที่เป็นนักธรณีวิทยา ส่วนตัวอยากใช้ถ่านหิน เพราะว่าปริมาณถ่านหินสำรองที่แม่เมาะจำนวนมาก อีกทั้งขณะนี้ปัญหาของแม่เมาะอยู่ที่เหมืองไม่ใช่โรงไฟฟ้าแม้จะเคยมีปัญหา แต่จะทำอย่างไรให้เทคโนโลยีจะเอื้อให้เอามาใช้อย่างมั่นคง และการแก้ปัญหาต้องมีกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเป็นธรรม ส่วนตัวคิดว่าต้องมีการลงทุนในการเพิ่มประสิทธิภาพโรงไฟฟ้า และลงทุนเรื่องเหมือนให้มากขึ้น มีกระบวนการที่ทำให้เกิดความเป็นธรรมที่มากกว่าการชดเชยให้กับคนที่อยู่ในพื้นที่

'ขาดคน-ขบวน-เงินทุน' ปัญหาเอ็นจีโอด้านอนุรักษ์
ส่วนทิศทางขบวนการอนุรักษ์ขณะนี้ ศศิน กล่าวว่า นักอนุรักษ์ใช้การแก้ปัญหาการในหลายรูปแบบ ไม่ใช่เพียงทางใดทางหนึ่งเป็นตำตอบ และแตกต่างกันตามพื้นที่ ยกตัวอย่างในกลุ่มนักอนุรักษ์ที่รณรงค์ปิดไฟสำหรับนักอนุรักษ์มันคือการขายความคิด ขายข้อมูลในบางเรื่อง และหากิจกรรมมาสร้างพื้นที่ในการต่อสู้ที่ยืดเยื้อยาวนาน ไม่ใช่ขอแค่ได้ทำ ส่วนการตั้งพรรคการเมืองเพื่อผลักดันประเด็นก็มีคนเสนอ แต่ไม่ถูกจริตที่จะทำ

ส่วนการโยงไปถึงการเมืองหรือเปล่า ศศิน กล่าวว่า วันนี้น้ำยาของนักอนุรักษ์มันยังไปไม่ถึงจุดนั้น คือยังไม่มีใครทำไม่มีใครขับเคลื่อนเรื่องงานเชิงสังคมหรือการเมืองเลย ทั้งองค์ความรู้ ทั้งศักยภาพของทุน ทั้งคน และที่สำคัญคือเรื่องขบวน ซึ่งขณะนี้ไม่มีการจัดขบวนการอนุรักษ์หรือขบวนการสิ่งแวดล้อม

ศศินกล่าว ด้วยว่า ในช่วงที่คุณสืบ นาคะเสถียร เสียชีวิตใหม่ๆ มีองค์กรอนุรักษ์เกิดขึ้นมากมาย แต่วันนี้ก็ทยอยหายไป ส่วนมูลนิธิสืบเหลือเงินทำโครงการอยู่อีกไม่กี่ปี ขณะที่คนทำงานอนุรักษ์ก็ลดจำนวนลง

"วันนี้เอ็นจีโอด้านอนุรักษ์มันไม่เหลือ ไม่มีนะ ไม่ต้องห่วงว่าจะไปลดทอนการพัฒนา" ศศินกล่าว อีกทั้งยังระบุถึงปัญหาการเข้ามาของการรับเงินจากแหล่งทุนธุรกิจพลังงาน ซึ่งมีผลต่อการตั้งคำถามของคนภายนอกต่อจุดยืนขององค์กรอนุรักษ์ด้วย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น