ประชาไท | Prachatai3.info |
- สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
- เลือกตั้งสหรัฐ 2012: "Who is running for President" คำค้นฮิตในกูเกิ้ล
- บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา: ดูการเมืองอเมริกันอย่างไรให้มันส์ ตอนที่ 5
- AI ร้องชะลอร่างปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนที่เต็มไปด้วยเงื่อนไข
- เลือกตั้งสหรัฐ 2012: การลงประชามติและอนาคตของเปอร์โตริโก
- แนะร่างฯก่อการร้ายไม่ควรใช้กับบุคคลในประเทศหวั่นกระทบสิทธิการชุมนุม
- คปก. ตั้งข้อสังเกตการจัดสรรงบ-บทกำหนด ร่างองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภค
- เอฟทีเอว็อทช์ชีรัฐบาลสุ่มเสี่ยงผิด รธน.หากเดินหน้า FTA กับอียู
- เอฟทีเอว็อทช์ชีรัฐบาลสุ่มเสี่ยงผิด รธน.หากเดินหน้า FTA กับอียู
- เปิดตัวหนังสือ ‘จากการปฏิวัติถึงโลกาภิวัตน์: ความรู้เบื้องต้นการเมืองโลกสู่โลกภาพยนตร์’
- เลือกตั้งสหรัฐ 2012: เริ่มเปิดลงคะแนนแล้ว-รัฐที่เสียงก้ำกึ่งเป็นจุดชี้ขาด
- ลาเวียคัมเปซินา : ขบวนการเคลื่อนไหวของชาวนาโลก
- รอบโลกแรงงานตุลาคม 2555
- ทุนนิยาม: เกร็ดการเลือกตั้งสหรัฐ 2012 "มุมมองจากแรงงาน"
- เวียงจัน: การประชุม ASEM ครั้งที่ 9 เริ่มแล้ว
Posted: 06 Nov 2012 10:54 AM PST | ||||
เลือกตั้งสหรัฐ 2012: "Who is running for President" คำค้นฮิตในกูเกิ้ล Posted: 06 Nov 2012 10:45 AM PST เจ้าหน้าที่ยุโรปส่งคนไปตรวจสอบเลือกตั้งสหรัฐ แต่มี 3 รัฐคือแอริโซนา ไอโอวา และ เท็กซัส ที่ไม่อนุญาตให้ จนท. 56 คนเข้าไปในที่เลือกตั้ง และถูกขู่ว่าจะถูกจับกุม ขณะที่ผู้ต้องขังที่ "กวนตานาโม" ซึ่งถูกรัฐบาลสหรัฐกล่าวหาว่า "เป็นข้าศึกผู้ละเมิดกฎหมาย" หลายคนถูกจับโดยไม่ถูกไต่สวน ต่างติดตามชมการถ่ายทอดสดเลือกตั้งสหรัฐ และบางคนติดตามการดีเบทมาโดยตลอด วันนี้ (6 พ.ย.) ซึ่งเป็นที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา จะออกไปเลือกตั้งคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะไปเลือกประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอีกทีหนึ่ง โดยเป็นการชิงชัยกันระหว่างผู้สมัครประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และประธานาธิบดีคนปัจจุบันจากพรรคเดโมแครต บารัก โอบามา และผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน มิตต์ รอมนีย์นั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 1, 2) ล่าสุด CNN เผยแพร่ความเห็นของอ้าย เหว่ย เหว่ย ศิลปินต่อต้านรัฐบาลจีน ที่บอกว่า แม้ระบอบของอเมริกาจะไม่สมบูรณ์แบบ แต่ชาวอเมริกันควรภาคภูมิใจกับการเลือกตั้งและประชาธิปไตยของพวกเขา ขณะที่ชาวจีนมีเพียงระบอบพรรคการเมืองเดียวซึ่ง 'ขาดความเป็นมนุษย์' นอกจากนี้ CNN ในทวิตเตอร์ได้สร้าง hashtag ชื่อ #CNNVotewatch เพื่อให้ผู้ไปลงคะแนนรายงานปัญหาที่พบเจอจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ในเวลา 10.13 น. ตามเวลาท้องถิ่น อัลจาซีร่ารายงานว่า มีการเปิดให้มีการลงคะแนนอย่างเป็นทางการในรัฐแคลิฟอร์เนีย, ไอดาโฮ, เนวาดา, โอเรกอน และเวอร์มอนท์ เวลา 10.37 น. ลอเรน กูด แห่งเทเลกราฟ รายงานว่ามีเหตุการณ์แปลกๆ เกิดขึ้นในอินสตาแกรม มีประชาชนหลายพันคนถ่ายรูปบัตรลงคะแนนของพวกเขาแล้วโพสท์มันลงในโซเชียลมีเดีย ซึ่งในบางรัฐถือเป็นเรื่องผิดกฏหมาย เวลา 10.43 น. อัลจาซีร่า รายงานว่า บารัค โอบาม่า กล่าวแสดงความยินดีต่อผู้สมั เวลา 10.51 น. อัลจาซีร่า รายงานว่า เมืองในญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า 'โอบามะ' ในจังหวัดฟุคุอิ ซึ่งมีชื่อพ้องเสียงกับ ปธน. โอบาม่า แสดงการการสนับสนุนบารัค โอบาม่า ในการเลือกตั้งครั้งนี้ และมีการขายขนมธีมบารัค โอบาม่า ด้วย นอกจากนี้ คำว่า Who is running for President หรือ "ใครบ้างที่ลงสมัครประธานาธิบดี" กลายเป็นคำค้นหายอดฮิตในกูเกิ้ CNN รายงานด้วยว่า ปธน. บารัค โอบาม่า ใช้เวลาในวันอังคารนี้ไปกั เวลา 11.19 น. ดี ปาวาส นักข่าว อัลจาซีร่ มีการสัมภาษณ์ผู้มาใช้สิทธิ แอน พาเวลิค อายุ 36 ปี ที่สถานีเลือกตั้งโรงเรียนเซนต์ ขณะที่อดีตทหารนาวิกโยธิน ที่ทำงานกิจการของตัวเองบอกว่ เวลา 11.30 น. เทเลกราฟ รายงานผลโพลจากฟลอริดาซึ่งสูสีมาก โอบาม่าอยู่ที่ร้อยละ 49.797 ส่วนรอมนีย์อยู่ที่ร้อยละ 49.775 คะแนน ในเวลา 11.35 น. เทเลกราฟรายงานต่อว่า โอบาม่าซึ่งดูเหนื่อยแต่ก็มี วีดิโอของสำนักข่าวเอพีใน youtube รายงานบรรยากาศการเลือกตั้งในรัฐนิวเจอร์ซี ที่ยังคงได้รับความเสี เวลา 11.26 น. อัลจาซีร่า รายงานว่า องค์กรเพื่อความมั่นคงและความร่ อัยการสูงสุดรัฐเท็กซัส เกร็ก แอบบ็อต กล่าวเตือนกลุ่ม OSCE ว่า หากทางกลุ่มต้องการเรียนรู้เกี่ เวลา 12.09 น. ตามเวลาท้องถิ่น ผู้ต้องขังในค่ายกักกันอ่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
บ้านเมืองไม่ใช่ของเรา: ดูการเมืองอเมริกันอย่างไรให้มันส์ ตอนที่ 5 Posted: 06 Nov 2012 09:21 AM PST ตอนสุดท้ายจริงๆ ของซีรีย์ "ดูการเมืองอเมริกันอย่างไรให้ เทปนี้อาจารย์พิชญ์มีเรื่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
AI ร้องชะลอร่างปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนที่เต็มไปด้วยเงื่อนไข Posted: 06 Nov 2012 07:45 AM PST ชี้ร่างฉบับปัจจุบันระบุ การเข้าถึงสิทธิประการต่างๆ "ต้องสมดุลกับการปฏิบัติหน้าที่" สอดคล้อง "บริบทในประเทศ" โดยอ้างเหตุผลหลายประการ รวมทั้ง "ความมั่นคงแห่งชาติ" และ "ศีลธรรมจรรยาของสังคม" 4 พฤศจิกายน 2555 แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้ชะลอการรับรองร่างปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่อง ระบุ เนื้อหาของร่างฉบับปัจจุบันไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และยังเสี่ยงจะลดมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคนี้ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 0 0 0
แถลงการณ์ แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล ให้ชะลอการรับรองร่างปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่อง
ในจดหมายที่ส่งถึงประมุขประเทศในอาเซียน บรรดาหน่วยงานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศชั้นนำเรียกร้องให้ชะลอการรับรองปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human Rights Declaration) และชี้ให้เห็นว่าเนื้อหาของร่างฉบับปัจจุบันไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และยังเสี่ยงจะลดมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคนี้ ที่น่ากังวลอย่างยิ่งคือเนื้อหาตามหลักการทั่วไปของปฏิญญาฯ ตามหลักการทั่วไปข้อ 6, 7 และ 8 ตามร่างฉบับปัจจุบันระบุว่า การเข้าถึงสิทธิประการต่าง ๆ "ต้องสมดุลกับการปฏิบัติหน้าที่" และสอดคล้องกับ "บริบทในประเทศและภูมิภาค" และต้องคำนึงถึง "ความเป็นมาทางวัฒนธรรม ศาสนา และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน" นอกจากนั้น ยังระบุให้มีการจำกัดสิทธิประการต่างๆ โดยอ้างเหตุผลหลายประการ รวมทั้ง "ความมั่นคงแห่งชาติ" และ "ศีลธรรมจรรยาของสังคม" แนวคิดที่ว่าสิทธิมนุษยชนประการต่าง ๆ จะต้อง "สมดุล" กับความรับผิดชอบของบุคคล ขัดแย้งกับแนวคิดหลักด้านสิทธิมนุษยชนตามที่มีความเห็นชอบในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2491 (1948 Universal Declaration of Human Rights - UDHR) ซึ่งบรรดารัฐทุกแห่ง รวมทั้งรัฐภาคีของอาเซียนให้ความเห็นชอบ รวมทั้งการให้ความเห็นชอบต่อปฏิญญาเวียนนาและแผนปฏิบัติการ (Vienna Declaration and Programme of Action) เมื่อปี 2536" ไวลเดอร์ เทเลอร์ (Wilder Tayler) เลชาธิการคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists) กล่าว "การสร้างสมดุลระหว่างสิทธิมนุษยชนกับความรับผิดชอบเป็นการบิดเบือนหลักความชอบธรรมของสิทธิมนุษยชนทั้งหมด" เขากล่าวย้ำ นอกจากนั้น กฎหมายระหว่างประเทศยังห้ามรัฐบาลไม่ให้พรากสิทธิประการต่าง ๆ ไม่ว่าในสภาพการณ์ใด ๆ การจำกัดสิทธิบางประการอาจกระทำได้ตามเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจง จำกัด และมีการกำหนดอย่างชัดเจนตามแต่พฤติการณ์ สุดท้าย กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดให้รัฐภาคีทุกแห่งของอาเซียนมีหน้าที่เคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานประการต่าง ๆ ไม่ว่าจะมีระบบการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอย่างไรก็ตาม "เป็นที่ชัดเจนว่า เนื้อหาปัจจุบันของร่างปฏิญญาฯ มีแนวโน้มเบี่ยงเบนอย่างมากจากกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่มีอยู่ และน่ากังวล และยังเบี่ยงเบนจากกฎบัตรสิทธิมนุษยชนภูมิภาคอื่น ๆ ทั้งในยุโรป อเมริกา และแอฟริกา" ซูเฮร์ เบลฮัสเสน (Souhayr Belhassen) ประธานของสหพันธ์สิทธิมนุษยชนสากล (International Federation for Human Rights - FIDH) กล่าว "หากไม่มีการแก้ไขอย่างมากต่อเนื้อหาฉบับร่าง อาเซียนน่าจะรับรองปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนในปี 2555 ซึ่งเป็นการให้อำนาจเพิ่มเติมกับรัฐภาคีของอาเซียนที่จะละเมิดสิทธิมนุษยชน แทนที่จะให้หลักประกันเพิ่มเติมแก่ประชาชนในภูมิภาคเพื่อให้ปลอดพ้นจากการละเมิดดังกล่าว" ไมเคิล โบเคเน็ก (Michael Bochenek) ผู้อำนวยการแผนกกฎหมายและนโยบาย แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว หน่วยงานต่าง ๆ กระตุ้นอย่างจริงจังในจดหมายเพื่อให้ผู้นำประเทศอาเซียนควรส่งปฏิญญาฉบับร่างกลับคืนไปที่คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights) และให้มีคำสั่งให้แก้ไขฉบับร่างโดยผ่านกระบวนการที่โปร่งใส จริงจังและมีส่วนร่วม โดยมีการปรึกษาหารืออย่างเต็มที่กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เนื้อหาต่ำกว่ามาตรฐานและกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศซึ่งเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
เลือกตั้งสหรัฐ 2012: การลงประชามติและอนาคตของเปอร์โตริโก Posted: 06 Nov 2012 07:38 AM PST นอกจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่จะขึ้นใน 50 มลรัฐแล้ว "เปอร์โตริโก" ก็มีการเลือกตั้งผู้ปกครองคนใหม่ และมีการทำประชามติว่าเปอร์โตริโกจะเป็นประเทศเอกราช เป็นรัฐที่ 51 ของสหรัฐ หรือจะเป็นรัฐในอารักขา แต่จะเพิ่มสิทธิการปกครองตนเองมากขึ้น 9.44 น. เทเลกราฟ เผยแพร่ภาพของผู้ประสบภัยพายุ ธงชาติเปอร์โตริโก ที่ตั้งของเกาะเปอร์โตริโก กลางทะเลแคริบเบียน 10.00 น. อัลจาซีร่า รายงานว่า ในวันเดียวกับที่สหรัฐอเมริกา เลือกตั้งประธานาธิบดี เปอร์โตริโก เกาะซึ่งมีประชากร 4 ล้านคน เป็นดินแดนภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกา ก็มีการเลือกตั้งผู้ว่าการดินแดนคนใหม่ ขณะเดียวกันก็มีการทำประชามติ วิกิพีเดียระบุว่า ในปี ค.ศ. 1509 สเปนเข้ามายึดครองเกาะเปอร์โตริโก จนกระทั่งถึงปี ค.ศ.1898 จึงถูกยกให้สหรัฐอเมริกาหลังจากสเปนแพ้สงครามสเปน-สหรัฐอเมริกา ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
แนะร่างฯก่อการร้ายไม่ควรใช้กับบุคคลในประเทศหวั่นกระทบสิทธิการชุมนุม Posted: 06 Nov 2012 07:35 AM PST แนะการจัดทำรายชื่อ 'บุคคลที่ถูกกำหนด' ตามมาตรา 4 สมควรมุ่งเน้นไปยังการก่อการร้ายสากล ไม่สมควรปรับใช้กับการก่อการร้ายในประเทศ เพราะยังมีข้อโต้แย้งเกี่ยวเนื่องกับการใช้เสรีภาพในการชุมนุม 6 พฤศจิกายน 2555 นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ได้ลงนามในบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะ คปก. เรื่อง ร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ. .... เสนอไปยังนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา ซึ่งปัจจุบันร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภาแล้ว โดยคปก.ตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการตราพระราชบัญญัตินี้เพื่อลดผลกระทบจากการจัดลำดับของ FATF ที่จะมีต่อสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ และมีความเห็นว่าประเทศไทยควรดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายสากลตามพันธกรณีระหว่างประเทศ แต่การดำเนินมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายซึ่งมีผลเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจักต้องเป็นไปโดยสอดคล้องกับหลักการตามรัฐธรรมนูญ คปก. มีความเห็นที่สำคัญใน 5 ประเด็น ได้แก่ การให้นิยาม "การก่อการร้าย" ตามมาตรา 3 ซึ่งไม่เห็นด้วยที่จะบัญญัติให้มีความหมายรวมถึงการกระทำที่เป็นความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา เพราะยังมีข้อโต้แย้งหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาลักษณะ 1/1 ที่จัดทำเป็นพระราชกำหนดจึงไม่มีกระบวนการพิจารณาลึกลงไปในรายละเอียดเพื่อทบทวนถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายที่ประเทศไทยเป็นภาคี อีกทั้งยังมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเนื้อหาของบทบัญญัติที่ยังไม่สอดคล้องกับหลักความชัดเจนแน่นอนซึ่งเป็นหลักประกันที่สำคัญในกฎหมายอาญา (หลัก Nullum crimen, nulla poena sine lege) ทำให้ความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญานั้นมีความหมายครอบคลุมถึงการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ จึงควรทบทวนถึงกระบวนการตราและเนื้อหาของกฎหมายให้มีองค์ประกอบความผิดที่ชัดเจนแน่นอนสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและพิธีสารที่เกี่ยวข้องซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีก่อนที่จะกำหนดให้นิยาม "การก่อการร้าย" ครอบคลุมไปถึง ด้วยเหตุผลเช่นเดียวกัน คปก. เห็นว่า การจัดทำรายชื่อ "บุคคลที่ถูกกำหนด" (หรือเดิม คือ "บัญชีรายชื่อผู้ก่อการร้าย") ตามมาตรา 4 สมควรมุ่งเน้นไปยังการก่อการร้ายสากลและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายสากล โดยยังไม่สมควรปรับใช้กับการก่อการร้ายในประเทศตามประมวลกฎหมายอาญาเพราะยังมีข้อโต้แย้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้เสรีภาพในการชุมนุม อันอาจเป็นช่องทางให้ใช้พ.ร.บ.นี้ไปในทางลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเพื่อประโยชน์ทางการเมืองได้ คปก. ยังไม่เห็นพ้องกับข้อเสนอของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ และสภาผู้แทนราษฎร ที่กำหนดให้กระบวนการและขั้นตอนการจัดทำรายชื่อ "บุคคลที่ถูกกำหนด" ตามมาตรา 4 ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบโดยพนักงานอัยการและศาล เนื่องจากเกรงว่าภายใต้เงื่อนเวลาและข้อจำกัดหลายประการจะทำให้พนักงานอัยการและศาลไม่อาจพิจารณากลั่นกรองถึงความชอบด้วยกฎหมายของการจัดทำรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์ และสุดท้ายจะทำให้ระบบการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งเป็นหลักการสำคัญของหลักนิติรัฐเสียไปในที่สุด ซึ่ง คปก. เห็นว่า พนักงานอัยการและศาลควรทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่เมื่อผู้ได้รับผลกระทบร้องขอน่าจะเหมาะสมกว่า และที่สำคัญกระบวนการขั้นตอนการจัดทำรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนดและกระบวนการตรวจสอบดังกล่าว ควรยึดถืออย่างเคร่งครัดต่อหลักการใช้อำนาจโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิในกระบวนการยุติธรรม แม้เป็นกรณีที่ปรากฏรายชื่อตามมติหรือประกาศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ส่วนการกำหนดหน้าที่และความรับผิดของ "ผู้มีหน้าที่รายงาน"ตามมาตรา 5 ควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการระงับดำเนินการกับทรัพย์สินให้ชัดแจ้งและครอบคลุมทั่วถึงทุกประเภทธุรกิจ ด้านมาตรการเชิงลงโทษต่อผู้มีหน้าที่รายงาน ควรมีหลักเกณฑ์และกระบวนการในการพิจารณากลั่นกรองที่เปิดเผยและให้ผู้ได้รับผลกระทบมีโอกาสชี้แจง รวมทั้งมีหลักเกณฑ์และกระบวนการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบธุรกิจจนเกินสมควรตลอดจนคำนึงถึงความพร้อมของผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย ขณะเดียวกัน ประเด็นความผิดฐานสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ในมาตรา 14 ตามร่างพ.ร.บ.แม้จะมีลักษณะเฉพาะสอดคล้องกับข้อเสนอของ FATF เรื่อง กำหนดให้การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายเป็นการกระทำความผิดทางอาญา และหลักการตามอนุสัญญาเพื่อการปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่ลัทธิการก่อการร้าย แต่บทบัญญัติดังกล่าวควรได้รับการพิจารณาทบทวนร่วมกับบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ 1/1 ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายซึ่งมีความคล้ายคลึงกันเพื่อขจัดความซ้ำซ้อนและเพื่อความเป็นระบบ นอกจากนี้ คปก. เห็นว่า ร่างพ.ร.บ.นี้ได้ให้อำนาจไว้อย่างกว้างขวางจึงสมควรที่จะมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลที่จากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอิสระถึงความสัมฤทธิ์ผลของมาตรการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายโดยรายงานอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชน อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อฝ่ายการเมืองมีเจตจำนงในการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายอย่างแท้จริง โดยรับประกันความเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง เสริมสร้างความเชี่ยวชาญและความเป็นมืออาชีพ โดยเคารพหลักความเสมอภาค หลักการตรวจสอบถ่วงดุล และหลักสิทธิมนุษยชน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
คปก. ตั้งข้อสังเกตการจัดสรรงบ-บทกำหนด ร่างองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภค Posted: 06 Nov 2012 07:24 AM PST 6 พฤศจิกายน 2555 – นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ได้ลงนามในบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะ คปก. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ....เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา โดย คปก. ได้พิจารณาประเด็นที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ว เห็นควรมีความเห็นและข้อเสนอแนะ สำคัญ 3 ประเด็น คือ กรณีการจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคโดยคำนวณจากจำนวนประชากร คปก. ได้พิจารณา เห็นว่าการกำหนดให้รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณเป็นจำนวนเงินขั้นต่ำโดยคำนวณตามจำนวนประชากร เป็นไปเพื่อให้ตอบสนองต่อหลักการของรัฐธรรมนูญมาตรา 61 วรรคสอง ที่กำหนดให้องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคต้องมีความเป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ และรัฐต้องสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การฯ ดังกล่าว ดังนั้น เพื่อเป็นการประกันความเป็นอิสระขององค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในเบื้องต้นซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจในการอนุมัติตามรายละเอียดในมาตรา 9 ของร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .… ที่กำหนดว่า "เพื่อประโยชน์ในการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปตามมาตรา 8(2) ให้องค์การเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ หรือร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี และในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ หรือร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาอาจขอให้เลขาธิการเข้าชี้แจงเพื่อประกอบการพิจารณาได้" ด้วยเหตุดังกล่าว คปก.จึงเห็นควรให้กำหนดหลักการเช่นว่านี้ไว้ในร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .… เพื่อเป็นการประกันความเป็นอิสระขององค์การตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ในแง่บทกำหนดโทษ คปก.มีความเห็นว่า การกำหนดเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญาที่ว่า "ไม่เป็นอิสระ" "ไม่เป็นกลาง" และ "ไม่คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน" นั้น คลุมเครือและไม่ชัดเจนว่า การกระทำเพียงใดที่ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่เป็นอิสระ ไม่เป็นกลาง หรือไม่คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน อีกทั้งผู้กระทำไม่สามารถทราบได้ว่าพฤติกรรมเช่นไรคือพฤติกรรมที่จะทำให้ตนต้องรับผิดตามมาตรานี้ ซึ่งขัดต่อหลักความผิดทางอาญาดังกล่าวข้างต้น ส่วนองค์ประกอบของคณะกรรมการอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และกรรมการสรรหา คปก.เห็นว่า การเพิ่มองค์ประกอบคณะกรรมการสรรหา ตามมาตรา 14 (1/1) ที่ให้อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐทุกแห่งเลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคนเพื่อเข้ามาเป็นกรรมการสรรหาได้นั้นอาจไม่เหมาะสม หากพิจารณาในแง่ที่ว่าอธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นผู้ให้บริการคนหนึ่ง ซึ่งอาจมีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงไม่เหมาะสมที่จะทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการสรรหา คปก.จึงเห็นว่าไม่ควรกำหนดให้อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐเป็นกรรมการสรรหา อนึ่ง ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .…ซึ่งวุฒิสภาได้แก้ไขเพิ่มเติมให้แตกต่างจากร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .… ที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเป็นรายมาตรานี้มีการแก้ไข รวม 11มาตรา และเป็นการเพิ่มเติมอีก 2 มาตรา ในประเด็นต่างๆ คือ เรื่องจำนวนเงินอุดหนุนทั่วไปจากรัฐบาล คุณสมบัติของกรรมการในคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค งบประมาณ รายได้ขององค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา อำนาจหน้าที่ของกรรมการ ประมวลจริยธรรม อำนาจในการเชิญบุคคลมาให้ข้อเท็จจริงแสดงความคิดเห็น หรือจัดส่งเอกสาร คณะอนุกรรมการกิจการฮาลาล ลักษณะต้องห้ามของเลขาธิการ บทกำหนดโทษ และระยะเวลาจัดสรรงบประมาณ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai This posting includes an audio/video/photo media file: Download Now | ||||
เอฟทีเอว็อทช์ชีรัฐบาลสุ่มเสี่ยงผิด รธน.หากเดินหน้า FTA กับอียู Posted: 06 Nov 2012 07:15 AM PST
ชี้วิกฤตในยุโรปส่งผลให้สหภาพยุโรปมีท่าทีทางการค้าที่เปลี่ยนไป ทำให้ผลประโยชน์ที่ประเทศคู่เจรจาจะได้จากการทำเอฟทีเอนั้นลดตามไปด้วย จากการที่ความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนเป็นประเด็นใหญ่ในการประชุมสุดยอดเอเชีย-ยุโรป (อาเซ็ม) และ เมื่อวันที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้แจ้งต่อประธานนายจูเซ มานูเอล บาโรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (อียู) ว่าประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป เนื่องจากได้แก้ไขอุปสรรคภายในเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพร้อมเปิดการเจรจาต้นปีหน้านั้น นายจักรชัย โฉมทองดี ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) มองว่า ขณะนี้มีสถาบันวิชาการชั้นนำในยุโรปทำบทวิเคราะห์ที่ชี้ให้เห็นว่า วิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปส่งผลให้สหภาพยุโรปมีท่าทีทางการค้าที่เปลี่ยนไปอย่างมาก อีกทั้งขนาดเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่หดตัวลงทำให้ผลประโยชน์ที่ประเทศคู่เจรจาจะได้จากการทำเอฟทีเอนั้นลดตามไปด้วย ซึ่งสอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์ของดร ศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการ UNCTAD ก่อนหน้านี้ ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือการจัดทำร่างกรอบเจรจาเอฟทีเอของกระทรวงพาณิชย์ยังใช้ผลการศึกษาประเมินผลดีผลเสียก่อนเกิดวิกฤติยูโรโซน ซึ่งไม่สามารถอธิบายความเป็นจริงในภาวการณ์ปัจจุบันได้ ดังนั้นรัฐบาลจึงควรเร่งประเมินผลดีผลเสียใหม่ที่รอบด้านและเป็นปัจจุบันโดยเร็วที่สุด นอกจากนี้ประเด็นแหลมคมอย่างยิ่งคือเรื่องกระบวนการ หากรัฐบาลมุ่งมั่นที่จะเปิดการเจรจาการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปนั้น สมควรดำเนินการให้ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะในมาตรา 190 วรรค 3 ที่กำหนดให้ "คณะรัฐมนตรีจะต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน" เพื่อให้การเจรจาการค้าเป็นประโยชน์กับประเทศและสังคมในวงกว้างอย่างแท้จริง "จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลโดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ยังมิได้ดำเนินการถูกต้อง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญมิใช่เป็นอุปสรรคหรือเป็นเรื่องยากอย่างไรทั้งสิ้น แต่เป็นการรับรองให้การเจรจาการค้าเป็นประโยชน์กับประเทศและสังคมในวงกว้างอย่างแท้จริง โดยไม่ปล่อยให้ผลได้กระจุกอยู่ในวงจำกัด แต่ผลเสียกระจายอย่างที่เคยเป็นมา ในความเป็นจริง กิจกรรมที่กรมเจรจาฯได้จัดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2553 แม้เป็นการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน แต่ไม่ได้มีการให้ข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น การออกความคิดเห็นของประชาชนจึงไม่สามารถสะท้อนท่าทีของรัฐบาลหรือเนื้อหาในกรอบการเจรจาได้ นอกจากนี้การจัดประชุมกลุ่มย่อย หรือ โฟกัส กรุ๊ป โดยกรมเจรจาฯ เมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา แม้มีการนำร่างท่าทีของทางกรมฯ มาหารือ แต่ก็ไม่สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นการรับฟังความเห็นประชาชน เนื่องจากเป็นการจัดลักษณะวงย่อยเฉพาะกลุ่ม แจ้งล่วงหน้าอย่างกระชั้นชิด ที่สำคัญคือกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ เช่น ในประเด็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ ยังไม่ได้มีการหารือแต่อย่างใด ดังนั้น หากรัฐบาลพิจารณาร่างกรอบการเจรจาฯ และเสนอให้รัฐสภาพิจารณาโดยไม่นำร่างดังกล่าว มารับฟังความคิดเห็นประชาชน ก็สุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะเข้าข่ายการดำเนินการขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะนำมาซึ่งความเสียหายต่อรัฐบาลเอง และประเทศชาติในที่สุด ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลจำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วนที่สุดคือการนำร่างกรอบการเจราฯ มาจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชน ก่อนเสนอต่อรัฐสภา ซึ่งจะไม่ทำให้เสียเวลาแต่ประการใด" ผู้ประสานงานกลุ่มเอฟทีเอ ว็อทช์กล่าว ทางด้านนายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในประเด็นเนื้อหา โดยเฉพาะผลกระทบที่จะเกิดกับการเข้าถึงยาที่จะส่งผลกระทบต่องบประมาณของประเทศไม่ต่ำกว่าปีละ 80,000 ล้านบาท "กรมเจรจาฯในฐานะเลขาฯฝ่ายเตรียมการเจรจา ไม่อ้างอิงความรู้และผลงานวิชาการใดๆ ในการจัดทำท่าที และยังพยายามกีดกัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความรู้โดยตรงเข้าร่วมจัดทำท่าที" ทั้งนี้ ภาคประชาสังคมได้ร้องเรียนไปยังคณะกรรมาธิการต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ซึ่งในวันพรุ่งนี้ คณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภาจะพิจารณาเรื่องนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
เอฟทีเอว็อทช์ชีรัฐบาลสุ่มเสี่ยงผิด รธน.หากเดินหน้า FTA กับอียู Posted: 06 Nov 2012 07:15 AM PST
ชี้วิกฤตในยุโรปส่งผลให้สหภาพยุโรปมีท่าทีทางการค้าที่เปลี่ยนไป ทำให้ผลประโยชน์ที่ประเทศคู่เจรจาจะได้จากการทำเอฟทีเอนั้นลดตามไปด้วย จากการที่ความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนเป็นประเด็นใหญ่ในการประชุมสุดยอดเอเชีย-ยุโรป (อาเซ็ม) และ เมื่อวันที่ 4 พ.ย.ที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้แจ้งต่อประธานนายจูเซ มานูเอล บาโรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (อียู) ว่าประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป เนื่องจากได้แก้ไขอุปสรรคภายในเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพร้อมเปิดการเจรจาต้นปีหน้านั้น นายจักรชัย โฉมทองดี ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) มองว่า ขณะนี้มีสถาบันวิชาการชั้นนำในยุโรปทำบทวิเคราะห์ที่ชี้ให้เห็นว่า วิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปส่งผลให้สหภาพยุโรปมีท่าทีทางการค้าที่เปลี่ยนไปอย่างมาก อีกทั้งขนาดเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่หดตัวลงทำให้ผลประโยชน์ที่ประเทศคู่เจรจาจะได้จากการทำเอฟทีเอนั้นลดตามไปด้วย ซึ่งสอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์ของดร ศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการ UNCTAD ก่อนหน้านี้ ที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือการจัดทำร่างกรอบเจรจาเอฟทีเอของกระทรวงพาณิชย์ยังใช้ผลการศึกษาประเมินผลดีผลเสียก่อนเกิดวิกฤติยูโรโซน ซึ่งไม่สามารถอธิบายความเป็นจริงในภาวการณ์ปัจจุบันได้ ดังนั้นรัฐบาลจึงควรเร่งประเมินผลดีผลเสียใหม่ที่รอบด้านและเป็นปัจจุบันโดยเร็วที่สุด นอกจากนี้ประเด็นแหลมคมอย่างยิ่งคือเรื่องกระบวนการ หากรัฐบาลมุ่งมั่นที่จะเปิดการเจรจาการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปนั้น สมควรดำเนินการให้ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะในมาตรา 190 วรรค 3 ที่กำหนดให้ "คณะรัฐมนตรีจะต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน" เพื่อให้การเจรจาการค้าเป็นประโยชน์กับประเทศและสังคมในวงกว้างอย่างแท้จริง "จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลโดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ยังมิได้ดำเนินการถูกต้อง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญมิใช่เป็นอุปสรรคหรือเป็นเรื่องยากอย่างไรทั้งสิ้น แต่เป็นการรับรองให้การเจรจาการค้าเป็นประโยชน์กับประเทศและสังคมในวงกว้างอย่างแท้จริง โดยไม่ปล่อยให้ผลได้กระจุกอยู่ในวงจำกัด แต่ผลเสียกระจายอย่างที่เคยเป็นมา ในความเป็นจริง กิจกรรมที่กรมเจรจาฯได้จัดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2553 แม้เป็นการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน แต่ไม่ได้มีการให้ข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น การออกความคิดเห็นของประชาชนจึงไม่สามารถสะท้อนท่าทีของรัฐบาลหรือเนื้อหาในกรอบการเจรจาได้ นอกจากนี้การจัดประชุมกลุ่มย่อย หรือ โฟกัส กรุ๊ป โดยกรมเจรจาฯ เมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา แม้มีการนำร่างท่าทีของทางกรมฯ มาหารือ แต่ก็ไม่สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นการรับฟังความเห็นประชาชน เนื่องจากเป็นการจัดลักษณะวงย่อยเฉพาะกลุ่ม แจ้งล่วงหน้าอย่างกระชั้นชิด ที่สำคัญคือกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ เช่น ในประเด็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ ยังไม่ได้มีการหารือแต่อย่างใด ดังนั้น หากรัฐบาลพิจารณาร่างกรอบการเจรจาฯ และเสนอให้รัฐสภาพิจารณาโดยไม่นำร่างดังกล่าว มารับฟังความคิดเห็นประชาชน ก็สุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะเข้าข่ายการดำเนินการขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะนำมาซึ่งความเสียหายต่อรัฐบาลเอง และประเทศชาติในที่สุด ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลจำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วนที่สุดคือการนำร่างกรอบการเจราฯ มาจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชน ก่อนเสนอต่อรัฐสภา ซึ่งจะไม่ทำให้เสียเวลาแต่ประการใด" ผู้ประสานงานกลุ่มเอฟทีเอ ว็อทช์กล่าว ทางด้านนายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในประเด็นเนื้อหา โดยเฉพาะผลกระทบที่จะเกิดกับการเข้าถึงยาที่จะส่งผลกระทบต่องบประมาณของประเทศไม่ต่ำกว่าปีละ 80,000 ล้านบาท "กรมเจรจาฯในฐานะเลขาฯฝ่ายเตรียมการเจรจา ไม่อ้างอิงความรู้และผลงานวิชาการใดๆ ในการจัดทำท่าที และยังพยายามกีดกัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความรู้โดยตรงเข้าร่วมจัดทำท่าที" ทั้งนี้ ภาคประชาสังคมได้ร้องเรียนไปยังคณะกรรมาธิการต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ซึ่งในวันพรุ่งนี้ คณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภาจะพิจารณาเรื่องนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
เปิดตัวหนังสือ ‘จากการปฏิวัติถึงโลกาภิวัตน์: ความรู้เบื้องต้นการเมืองโลกสู่โลกภาพยนตร์’ Posted: 06 Nov 2012 07:03 AM PST เมื่อวันที่ 2 พ.ย.55 ที่ร้านหนังสือ Bookmoby Shop ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ชั้น 4 กรุงเทพฯ บริษัทเคล็ดไทย และบริษัทสำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ ได้จัดเสวนาเปิดตัวหนังสือ 'จากการปฏิวัติ ถึง โลกาภิวัตน์ :ความรู้เบื้องต้นการเมืองโลกสู่โลกภาพยนตร์' ที่พึ่งพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ต.ค.ที่ผ่านมา โดยสำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ เขียนโดย สรวิศ ชัยนาม อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้ในวงเสวนานอกจากผู้เขียนหนังสือแล้วยังมี เก่งกิจ กิติเรียงลาภ นักวิชาการอิสระ และ ชญานิน เตียงพิทยากร นักวิจารณ์ภาพยนตร์ ร่วมเสวนาด้วย หนังสือ 'จากการปฏิวัติ ถึง โลกาภิวัตน์ :ความรู้เบื้องต้นการเมืองโลกสู่โลกภาพยนตร์' การเมืองเรื่องการปลดแอกต้องนึก 'คอมมิวนิสต์' ไม่ใช่ 'ประชาธิปไตย' สรวิศ ชัยนาม อุดมการณ์มากมายที่สมานบาดแผลที่เกิดขึ้นจากทุนนิยม สรวิศ ได้อธิบายด้วยว่า ที่ต้องโยงกับคอมมิวนิสต์ ก็เพราะคำว่าการต่อสู้ทางชนชั้นอย่างเดียวมันไม่เพียงพอ เพราะในความเป็นจริง คาร์ล มาร์กซ์ ไม่ได้เป็นคนคิดเรื่องการต่อสู้ทางชนชั้น แต่เป็นนักคิดกระฎุมพีของคาร์ล มาร์กซ์ เสียด้วยซ้ำ ที่ไม่พอใจชนชั้นที่สูงกว่าอย่างเจ้าศักดินา กลุ่มอำมาตย์ขุนนาง "ชนชั้นกระฎุมพียอมรับความคิดการต่อสู้ทางชนชั้นได้ ตราบเท่าที่มันไม่นำไปสู่เผด็จการของกรรมาชีพนั่นเอง" สรวิศ กล่าว และเขายังมองด้วยว่า สำหรับตนแล้ว หรือสำหรับ ชิเชค เราต้องสามารถพูดคำว่าคอมมิวนิสต์ได้ การต่อสู้ทางชนชั้น เผด็จการกรรมาชีพอะไรต่างๆได้ โดยที่ไม่ต้องเขินอาย ผู้เขียนยังเสริมอีกว่า นอกจากพหุวัฒนธรรมนิยมแล้ว ยังมีอุดมการณ์อื่นๆ มากมาย ประชานิยม การเหยียดชาติพันธุ์ การที่มองว่าถึงแม้สังคมเรามันเลวก็อาจจะเลวน้อยกว่าเกาหลีเหนือ ทำให้เรายอมรับสิ่งที่เป็น รวมถึงอุดมการณ์ทุนนิยมที่ทำให้เรารู้สึกว่าเราเปลี่ยนแปลงโลกได้โดยการบริโภคอย่างชาญฉลาดและถูกต้อง ช้อปปิ้งแล้วรักษาโลก คุณฉลาดซื้อของคุณก็สามารถกู้โลกนี้ได้ "ประชาธิปไตยกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เรายึดติดกับทุนนิยมได้สนิทใจมากขึ้น ทุนนิยมเลวร้าย แต่คุณก็เลือกตั้งได้ ทุนนิยมเลวร้ายแต่อย่างน้อยคุณก็มีสิทธิ ทุนนิยมเลวร้ายแต่คุณก็สามารถพูดห่าเหวอะไรได้ทั้งหมดในโลกนี้" ผู้เขียนกล่าว ชิเชค สนใจความขัดแย้งภายในขั้วเดียวกันเอง สรวิศ กล่าวว่า ชิเชค สนใจจริงๆ ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่าง 2 ขั้ว แต่เป็นความขัดแย้งภายในขั้วเดียวกันเอง ซึ่งมันมีความขัดแย้งมากมาย เช่น ความเป็นสากลไม่ได้ตรงกันข้ามกับ 'เฉพาะนิยม' แต่ความเป็นสากลเกิดขึ้นได้เพราะมันต้องกีดกันอะไรบางอย่างออกไป มันจึงเป็นสากลได้ คือความขัดแย้งมันอยู่ในตัวของมันเอง ไม่ใช่ตรงกันข้ามกับความเฉพาะ และตนได้นำชุดของวิภาษวิธีนี้มาจับในหลายประเด็น ผู้เขียนมองว่า สุดท้ายอย่าไปคาดหวังกับชิเชค ว่าจะเป็นคำตอบให้กับเรา เขาก็เป็นมาสเตอร์ที่เราควรเคารพในระดับหนึ่ง แต่เป็นมาสเตอร์ที่ค่อนข้างแตกต่าง เวลาอ่าน ชิเชค เขาจะถามอะไรมากมาย จะตั้งแนวคิด จะติงอะไรมากมาย มันสำคัญอย่างไร แต่วันหนึ่งอาจสำคัญกับเราก็ได้ โดยที่เขาตั้งใจหรือไม่ก็ตาม โจ๊กหมึกสีแดงของชิเชค ตั้งคำถามเพื่อเข้าใจสภาพปัญหา วีดีโอคลิปสรวิศ ชัยนาม แนะนำหนังสือ : เก่งกิจ กิติเรียงลาภ หนังสือเล่มนี้เป็นแถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ กรอบของหนังสือเล่มนี้ เก่งกิจมองว่า ถ้าเราดูงานของชิเชคเองก็จะมีหลายช่วง งานของอาจารย์สรวิศ ใช้งานที่เป็นงานการเมืองของชิเชคมากกว่าที่จะเป็นงานที่เกี่ยวกับการวิจารณ์ภาพยนตร์ที่ใช้ทฤษฎีพวก psychoanalysis (ไซโคอะแนล'ลิซิส - จิตวิเคราะห์) เพราะฉะนั้น งานนี้เป็นงานการเมืองมากกว่างานในเชิงวัฒนธรรม และเป็นงานที่มองชิเชคในฐานะที่เป็นนักทฤษฎีการเมืองมากกว่าที่จะเป็นนักทฤษฎีในทางวัฒนธรรม ระบบทุนนิยมมันดำรงอยู่ได้ เพราะว่าตัวเราเป็นส่วนหนึ่งที่ผลิตซ้ำมัน ในแวดวงวิชาการไทย ถ้าเราดูในพวกมานุษยวิทยา สังคมวิทยา หรือรัฐศาสตร์ การพูดถึงเรื่องพหุวัฒนธรรม การพูดถึงประชาธิปไตย การพูดถึงการเลือกตั้งมันดูเหมือนเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติและควรจะเป็นโดยตัวของมันเอง ทั้งที่จริงๆ แล้วความคิดเรื่องพหุวัฒนธรรมก็เป็นผลผลิตของยุคสมัยอะไรบางอย่าง อันหนึ่งที่อาจารย์สรวิศบอกว่า เสรีนิยมมันถูกทำให้ตรงกันข้ามกับ 'อิสลามิคฟันดะเมนทะลิสม์' (การยึดมั่นในหลักการอิสลาม-Islamic Fundamentalism) หรือพวกที่เน้นเรื่องศาสนา เน้นชาติพันธุ์ แต่เอาเข้าจริงแล้วมันเป็นด้านกลับของกันและกัน ถ้าเราคิดถึง 'การปะทะระหว่างอารยธรรม' (The Clash of Civilizations) ของ ฮันติงตัน (Huntington) ก็อธิบายโลกผ่านความคิดเรื่องเชื้อชาติ ซึ่งงานของอาจารย์สรวิศก็ชี้ให้เห็นว่าจริงๆ แล้ว ไม่ว่าฝ่ายขวาหรือฝ่ายเสรีนิยมต่างก็ใช้ตรรกะเดียวกันในการอธิบายสังคมหรือเสนอทางเลือกให้กับสังคม สิ่งที่หนังสือไม่ได้เขียน คือ What's Communism? จึงคิดว่างานของฝ่ายซ้ายจำนวนมากก็จะมาเติมเต็มได้โดยเฉพาะงานของไมเคิล ฮาร์ด (Michael Hardt) และอันโตนิโอ เนกรี (Antonio Negri) โดยคร่าวๆ จริงๆแล้วคอมมิวนิสต์มีรากมาจากคอมมอน คืออะไรที่เป็นร่วมกัน ถ้าแยกออก มีสาธารณะ(public) เอกชน (private) และคอมมอน (common) ซึ่งจะพบว่า ในโลกยุคปัจจุบันเราว่าแนวคิดไว้แค่ 2 ตัวแรกโดยไม่มีคอนเซปท์เรื่องคอมมอน เพราะเราไม่เคยชินกับอะไรที่เป็นส่วนรวม แต่เราชินกับส่วนตัวกับสาธารณะ คำว่าสาธารณะในที่นี้คือเป็นของรัฐ ถ้าไม่ใช่สมบัติของรัฐก็เป็นสมบัติของเอกชน ความคิดเรื่องคอมมิวนิสต์แบบนี้จำเป็นที่ฝ่ายซ้ายจะต้องขยายความมากขึ้นว่า 'คอมมอน' มันคืออะไร คอมมอนมาจากภาษาลาติน ซึ่งแปลว่า การแบ่งปัน หรืออีกความหมายคือ เป็นของพวกเราทุกคน คิดว่าความคิดแบบนี้ไม่ได้ถูกพูดถึงมากในสังคมไทย งานคอมมิวนิสต์มานิเฟสโตของมาร์กซและเองเกลส์ (Friedrich Engels) เราอาจจะเรียกมันว่า เป็นวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ หัวใจของวัตถุนิยมประวัติศาสตร์คืออะไร ประโยคแรกของแถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ก็ขึ้นต้นว่า ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติทั้งหมด คือประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางชนชั้น ระบบทุนนิยมเป็นคนที่ผลิตหลุมฝังศพให้กับทุนนิยม หรือพูดได้ว่า ระบบทุนนิยมผลิตคอมมิวนิสต์ขึ้นมาในฐานะที่เป็นผู้ขุดหลุมฝังศพของตนเอง และที่สำคัญคือ ระบบทุนนิยมเป็นสิ่งที่สร้างพลังของการปฏิวัติที่อยู่ในตัวของระบบเอง สิ่งที่ขาดไปในงานของชิเชคคือไม่สนใจ 'เศรษฐศาสตร์การเมือง' เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราจะทำความเข้าใจระบบทุนนิยม คือโครงสร้างเศรษฐกิจการเมืองของระบบทุนนิยมมันทำงานอย่างไร ความสัมพันธ์การผลิตในปัจจุบัน การศึกษางานของฝ่ายซ้ายอย่างไมเคิล ฮาร์ด (Michael Hardt) และอันโตนิโอ เนกรี (Antonio Negri) เดวิด ฮาวี่( David Harvey) ก็จะมีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจกับเรื่องเหล่านี้ สิ่งที่สำคัญในงานของมาร์กซที่ต้องทำความเข้าใจคือ มาร์กซและเองเกลส์เสนอว่าเราจะต้องโค้นล้มทำลาย 'ระบบกรรมสิทธิ์เอกชน' ดังนั้นไอเดียของคอมมิวนิสต์ คำว่า 'คอมมิวนิสต์' จึงแปลว่า กรรมาสิทธิส่วนรวม คอมมิวนิสต์ไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือ แต่เป็นการพูดถึงโลกทั้งโลกด้วย ซึ่งหมายถึงตัวตนของเราด้วยในความหมายที่ตัวเราเองเป็นผู้ผลิต พร้อมๆ กันกับที่เราเป็นผู้บริโภค แต่ในโลกทุนนิยม เราไม่ได้เป็นเจ้าของสิ่งที่เราผลิต เราไม่ได้เป็นเจ้าของตัวตนของเราเอง เพราะว่าถูกครอบโดยความสัมพันธ์การผลิตของทุนนิยมซึ่งวางอยู่บนทรัพย์สินเอกชน ดังนั้นไอเดียเรื่อง 'common property' (ทรัพย์สินร่วม) จึงเป็นหัวใจของการวิพากษ์วิจารณ์ลัทธิเสรีนิยมใหม่ ทุนนิยม รวมถึงวิจารณ์พวกสังคมนิยม ซึ่งวางอยู่บนความคิดเรื่องกรรมาสิทธิสาธารณะของรัฐ และวิพากษ์วิจารณ์ทุนนิยมซึ่งวางอยู่บนกรรมสิทธิ์เอกชน ประเด็นเหล่านี้จึงต้องขยายความมากขึ้นโดยเฉพาะการกลับมาศึกษาเรื่องเศรษฐศาสตร์การเมือง ประชาธิปไตยไม่เพียงพอต่อการวิพากษ์วิจารณ์ตัวระบบทุนนิยม เนื่องจากงานของ ชิเชค ไม่ใช่งานเศรษฐศาสตร์การเมือง ดังนั้นจึงไม่อธิบายทุนนิยมในฐานะที่เป็นระบบเศรษฐกิจ ข้อสรุปของชิเชคที่น่าสนใจ และ อ.สรวิศใช้ในบทสุดท้ายคือ พลังที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือตัวแทน (agent) ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มันไม่ใช่ชนชั้นกรรมาชีพแบบมาร์ก แต่ความที่จะเป็นพลังที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นพลังที่อยู่ในสลัม อันนี้ก็เป็นสิ่งที่จะต้องตั้งคำถามว่า มันเป็นจริงอย่างนั้นไหม การเสนอแบบนี้โดยที่ไม่ได้อยู่บนฐานความรู้ทางเศรษฐศาสตร์การเมือง หรือการวิเคราะห์การทำงานของระบบทุนนิยมในปัจจุบัน มันทำให้ถูกตั้งคำถามจำนวนมาก โดยเฉพาะงานหลังๆ ของชิเชคที่ไม่มีข้อเสนอว่า เราจะล้มระบบทุนนิยมได้อย่างไร นอกจาการเปิดโปงลิเบอรัลว่า ไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นประเด็นที่อาจต้องใช้งานของฝ่ายซ้ายอื่นๆ มาช่วยในการวิเคราะห์มากขึ้น อย่างงานของไมเคิล ฮาร์ด และอันโตนิโอ เนกรี ที่เสนอว่า 'multitude' (พลังสร้างสรรค์ของมหาชน) นี่ล่ะจะเป็นพลังที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง วีดีโอคลิปเก่งกิจ กิติเรียงลาภแนะนำหนังสือ : ชญานิน เตียงพิทยากร หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่การวิจารณ์ภาพยนตร์ หนังสือนอกจากจะถามกับสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเราแล้ว ยังถามกลับไปยังตัวหนังสือเองด้วย อย่างในบทที่เขียนถึงเรื่อง Capitalism: A Love Story ที่พูดถึงไมเคิล มัวร์ (Michael Moore) ที่ทำตัวเสมือนกับว่า เขากำลังทำสารคดีที่กำลังต่อต้านทุนนิยมโค่นล้มทุนนิยม แต่จริงๆมันผิด เพราะว่าสิ่งที่เขาต้องการกลายเป็นจะค้ำจุนทุนนิยม ในทางเดียวกัน เราสามารถมองชิเชคและบรรดานักทฤษฎีฝ่ายซ้ายอื่นๆในสถานะเดียวกับไมเคิล มัวร์ ได้หรือเปล่า เป็นคนที่ตั้งคำถาม เป็นคนที่พยายามที่จะบอกว่าทุนนิยมเลวร้าย เป็นปีศาจหรือมีข้อที่จำต้องทำให้ทุนนิยมล่มสลาย แต่ในทางหนึ่งแล้ว การดำรงอยู่ของเหล่าบรรดานักทฤษฎีเหล่านี้มันไปส่งเสริมทุนนิยมอีกทางหนึ่ง ซึ่งเป็นคำถามที่สำคัญที่หนังสือเล่มนี้วางเอาไว้ ชญานิน ยังมองอีกว่า อีกทางหนึ่งหนังสือเล่มนี้ให้ภาพที่ชัดเจนและค่อนข้างรอบด้านเกี่ยวกับทฤษฏีทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่นอกจากวงวิชาการสำหรับตนเองแล้ว เป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงค่อนข้างบาง แต่อย่างในบทที่ อ.สรวิศ เขียนถึงโอซาม่า ที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับสตรีนิยมได้ชัดเจนครอบคลุม และทำให้เห็นว่า 2 อย่างที่ในความรับรู้ของคนทั่วไปดูไม่เกี่ยวข้องกัน แต่ก็ถูกชี้ให้เห็นว่ามันเกี่ยวข้องกันได้อย่างไรในงานชิ้นนี้ "หนังสือเล่มนี้ถ้าดูตามแบบแผนอย่างเคร่งคัดจะไม่ใช่การวิจารณ์ภาพยนตร์ ที่จะพูดถึงข้อดีข้อด้อยและสิ่งอื่นๆ แต่ใจปัจจุบัน การวิจารณ์ภาพยนตร์อย่างเดียวมันเป็นเรื่อล้าสมัย แต่ยังคงมีคนทำอยู่" ชญานิน กล่าว และเขาอธิบายเพิ่มเติมด้วยว่าการวิจารณ์ภาพยนตร์มันจำเป็นต้องอยู่บนคุณค่าอะไรบางอย่าง แต่สิ่งที่หนังสือเล่มนี้ทำ คือการเปิดมุมมองต่อภาพยนตร์ ซึ่งโดยมากการวิจารณ์ภาพยนตร์ก็เอาสังคมการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่แล้ว แต่ในการที่จะเอาการเมืองและสังคมมาจับกับภาพยนตร์อย่างซีเรียสจะไม่ค่อยปรากฏในการวิจารณ์ภาพยนตร์ในปกติในสังคมไทย เพราะสิ่งที่ขาดในวงวิจารณ์ภาพยนตร์คือ เราไม่มีความลึกมากเท่าที่ควร การพูดถึงอุดมการณ์ที่ฝังอยู่ในภาพยนตร์อย่างซีเรียสไม่ค่อยปรากฏ แต่หนังสือเล่มนี้เอาทฤษฎีการเมืองของฝ่ายซ้ายมาจับได้อย่างลุ่มลึก และทำให้เราเห็นว่าภาพยนตร์ในฐานะสื่อกลางมันสามารถนำเราไปสู่อะไรได้บ้าง วีดีโอคลิปชญานิน เตียงพิทยากร แนะนำหนังสือ
วีดีโอคลิปช่วงถาม-ตอบ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
เลือกตั้งสหรัฐ 2012: เริ่มเปิดลงคะแนนแล้ว-รัฐที่เสียงก้ำกึ่งเป็นจุดชี้ขาด Posted: 06 Nov 2012 06:43 AM PST เริ่มลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาแล้ว โดยหลายฝ่ายจับตามองไปที่รัฐชี้ขาดผลเลือกตั้งซึ่งเสียงสนับสนุนโอบาม่า และมิตย์ รอมนีย์ ยังคงก้ำกึ่ง อย่างเช่น ผู้อาศัยในรัฐโอไฮโอต่างรู้สึกแปลกใจว่าทำไมพวกเขาถึงมีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงมากเช่นนี้ วันนี้ (6 พ.ย.) ซึ่งเป็นที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา จะออกไปเลือกตั้งคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะไปเลือกประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอีกทีหนึ่ง โดยเป็นการชิงชัยกันระหว่างผู้สมัครประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และประธานาธิบดีคนปัจจุบันจากพรรคเดโมแครต บารัก โอบามา และผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน มิตต์ รอมนีย์นั้น อัลจาซีร่า รายงานว่า เมื่อเวลา 06.10 น. ตามเวลาในสหรัฐอเมริกา สำนักข่าวต่างประเทศเผยแพร่ภาพการลงคะแนนด้วยระบบทัชสกรีนจากเครื่องอิเล็กโทรนิคโดยมีป้ายคำเตือนผู้มาใช้สิทธิถึงเรื่องที่เครื่องนี้ไวต่อการสัมผัส ต่อมาเวลา 06.57 น. ตามเวลาท้องถิ่นของสหรัฐฯ เทเลกราฟ รายงานว่า ตลาดหุ้นผู้เหมือนจะปรับตัวตามสภาพแบบที่โอบาม่าเป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง ซึ่งผลสำรวจโพลล์ในรัฐที่คะแนนเสียงก้ำกึ่งกันอย่าง โอไฮโอและวิสคอนซิน ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาก็เปิดเผยว่าโอบาม่ามีคะแนนนิยมนำรอมนีย์อยู่เล็กน้อย อัลจาซีร่า รายงานว่า ในเวลา 09.00 น. มิตต์ รอมนีย์ ผู้สมัครชิงตำแหน่งปธน.พรรคริพับริกัน และแอนภรรยาของเขา ได้ไปลงคะแนนที่สถานีเลือกตั้งของเมืองเบลมอนท์ รัฐแมสซาชูเสทท์ รอมนีย์บอกว่าเขาจะติดตามผลอยู่ที่รัฐบอสตัน เวลา 09.01 น. เทเลกราฟ ของอังกฤษรายงานว่าผู้สมัครชิงตำแหน่ง นักการเมือง และนักสำรวจโพลล์ ให้ความสำคัญกับรัฐโอไฮโอมาก ในแง่กุญแจสำคัญสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ แต่ผู้อาศัยในรัฐรู้สึกแปลกใจมากว่าทำไมพวกเขาถึงมีอำนาจการเปลี่ยนแปลงมากเช่นนี้ สำหรับรัฐโอไฮโอยังคงมีเสียงก้ำกึ่ง และหากผู้สมัครประธานาธิบดีคนใดมีคะแนนชนะการเลือกตั้งก็จะได้เสียงจากคณะผู้เลือกตั้งไปยกรัฐ 18 เสียง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ลาเวียคัมเปซินา : ขบวนการเคลื่อนไหวของชาวนาโลก Posted: 06 Nov 2012 06:11 AM PST ลาเวียคัมเปซินา (La Via Campesina) คือองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวกันของขบวนการเคลื่อนไหวของชาวนาชาวไร่รายย่อยจากทั่วโลก ที่เรียกร้องความเป็นธรรม ปกป้องสิทธิและศักดิ์ศรีของตน รวมถึงปกป้องภารกิจการผลิตอาหารเลี้ยงดูประชากรโลกของตนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ท่ามกลางสภาพทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมที่บั่นทอนศักยภาพและคุกคามต่อคนเล็กคนน้อยเหล่านี้ สมาชิกของลาเวียคัมเปซินามีทั้งชาวนา ชาวไร่ ชาวประมงพื้นบ้าน พราน คนเก็บหาของป่า คนเลี้ยงสัตว์ คนเผ่าเร่ร่อน คนเผ่าพื้นเมือง แรงงานภาคเกษตรไร้ที่ดิน ช่างหัตถกรรมเพื่อผลิตเครื่องมือทางการเกษตร และอื่นๆ ที่การทำมาหากินขึ้นอยู่กับธรรมชาติ มีความสัมพันธ์โดยตรง และสอดคล้องกับธรรมชาติ ลาเวียคัมเปซินาก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2536 แต่จุดกำเนิดขององค์กรเกิดขึ้นกว่า 10 ปีก่อนหน้านั้น ในช่วงนั้นองค์กรที่ร่วมก่อตั้งลาเวียคัมเปซินาได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันทั้งในระหว่างภูมิภาคและระดับโลก ทำให้เกิดการรวมกลุ่มขององค์กรชาวนาในยุโรป อเมริกาใต้ อเมริกากลาง ภูมิภาคแคริบเบียน แคนาดา และสหรัฐอเมริกา จนในที่สุดก็เป็นขบวนการเคลื่อนไหวของชาวนาระดับโลกที่รวมองค์กรจากแอฟริกาและเอเชีย กล่าวได้ว่า ลาเวียคัมเปซินา คือองค์กรของชาวนาชาวไร่กว่า 200 ล้านคนทั่วโลก จากสมาชิก150 องค์กรใน70 ประเทศ ทั้งโลกฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ ทั้งหมดนี้มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน นั่นคือการปฏิเสธตัวแบบการพัฒนาชนบทแบบเสรีนิยมใหม่ การปฏิเสธการกีดกันชาวนาออกไปจากนโยบายด้านเกษตร การยืดหยัดอย่างมั่นคงที่จะไม่ยอมให้ชาวนาชาวไร่รายย่อยสูญสิ้นไป ความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับชาวนาชาวไร่รายย่อย และการสร้างอิสรภาพให้กับระบบอาหาร แทนที่จะให้อาหารตกอยู่ภายใต้การยึดครองของบรรษัท บรรษัทข้ามชาติ และตลาดต่างประเทศ ลาเวียคัมเปซินาดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยใช้ยุทธศาสตร์การสร้างความสมานฉันท์ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลาย ภารกิจปกป้องชาวนาชาวไร่รายย่อยของลาเวียคัมเปซินา นับตั้งแต่ปี 2537 ซึ่งมีการลงนามในข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) รอบอุรุกวัย เป็นต้นมา ไม่ว่าสถาบันระหว่างประเทศเช่น ธนาคารโลก องค์การการค้าโลก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ จะจัดประชุมกันในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ อาหารและการเกษตรในที่ใด ที่นั้นก็จะมีสมาชิกของลาเวียคัมเปซินาชุมนุมกันเพื่อปฏิเสธการประชุมเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นในท้องถนนในกรุงเจนีวา ปารีส ซีแอตเติล วอชิงตัน ควีเบค โรม บังกาลอร์ ปอร์โตอัลเลเกร แคนคูน ฮ่องกง เป็นต้น พร้อมกันนั้นก็นำเสนอแนวคิดที่ท้าทายตัวแบบเสรีนิยมใหม่อย่างซึ่งหน้า เช่น เรื่องอธิปไตยทางอาหาร สิทธิชาวนาชาวไร่ เกษตรนิเวศโดยชาวนาชาวไร่ เป็นต้น นอกจากนี้จากการที่ชาวนาชาวไร่รายย่อยเป็นกลุ่มประชากรโลกที่มีความเปราะบางต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน ลาเวียคัมเปซินาจึงเห็นว่า จะต้องมีกฎระเบียบสากลเพื่อปกป้องสิทธิของชาวนา จึงได้เสนอร่าง กฎบัตรสากลว่าด้วยสิทธิชาวนาชาวไร่ (The International Convention on the Rights of Peasants (ICRP)) กฎบัตรนี้จะรวมถึงสิทธิด้านที่ดินและอาณาเขต สิทธิด้านเมล็ดพันธุ์ สิทธิด้านความรู้การเกษตรดั้งเดิม สิทธิด้านการปกป้องคุณค่าด้านการเกษตร สิทธิด้านวิถีการผลิต สิทธิด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น และขณะนี้อยู่ระหว่างการรณรงค์ต่อองค์การสหประชาชาติ ลาเวียคัมเปซินา : ขบวนการเคลื่อนไหวของชาวนาโลก ธุรกิจเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรมล้มเหลวในการเลี้ยงดูโลก การผลิตอาหารเชิงอุตสาหกรรมอาศัยกระบวนการแปรรูปอาหารอย่างหนัก ไม่ว่าจะเพื่อยืดอายุสินค้ากว่าจะถึงมือผู้บริโภคในที่ห่างไกล หรือเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าก็ตาม อาหารถูกแปรรูปให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน นั่นคืออาหารจากโรงงานที่ส่วนมากแล้วประกอบด้วยไขมันผ่านกรรมวิธี น้ำตาล แป้ง สารเคมีตกค้างที่อาจก่อมะเร็ง เป็นต้น ดังนั้นอาหารที่มีจำหน่ายแก่ประชาชนจึงมีราคาแพงอย่างไม่จำเป็นและส่งผลเสียต่อสุขภาพ ไม่เพียงล้มเหลวในปัจจุบันเท่านั้น การเกษตรแบบอุตสาหกรรมที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวยังจะสร้างความหายนะต่อการเกษตรเพื่อปลูกพืชอาหารในอนาคตอีกด้วย การเกษตรเชิงเดี่ยวใช้เครื่องจักรกลหนัก ใช้การชลประทานมากเกินไป ใช้สารเคมีเป็นพิษมากเกินไป และมีการดัดแปลงพันธุกรรม ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของดิน แหล่งน้ำ และทรัพยากรอื่นๆ รวมถึงการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ บรรษัทด้านเกษตรทั้งในชาติและข้ามชาติ ยังคงสร้างแรงกดดันต่อรัฐให้ผ่อนคลายกฎระเบียบหรือเข้าสู่ข้อตกลงการค้าเสรีด้านการเกษตรอย่างไม่ลดละ เพื่อให้ตนได้เข้าไปใช้ประโยชน์จากผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ได้ทั่วโลก บรรษัทเหล่านี้ไม่มีความผูกพันกับผืนดิน จึงสามารถสูบเอาความอุดมสมบูรณ์ออกมาให้ได้มากที่สุดอย่างรีบด่วนที่สุด เพื่อที่จะทำกำไรอย่างรวดเร็วที่สุด เมื่อความอุดมสมบูรณ์หมดไป ก็รีบออกจากพื้นที่นั้นไปหาพื้นที่ใหม่ และทิ้งความหายนะไว้เบื้องหลัง อันจะทำให้ความสามารถของผืนดินที่จะปลูกพืชอาหารเพื่อคนรุ่นหลังหมดสิ้นไป การขนส่งอาหารทางไกล และการใช้พลังงานในการผลิตพืชผลทางการเกษตรและแปรรูปอาหาร เป็นตัวการสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 30-40% ในโลก อันเป็นสาเหตุของวิกฤติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในที่สุดก็จะส่งผลลบต่อการผลิตอาหารเป็นลูกโซ่ต่อไป ยิ่งกว่านั้น นอกจากตนเองยังล้มเหลวในภารกิจเลี้ยงดูประชากรโลกแล้ว บรรษัทด้านเกษตรเหล่านี้ยังสร้างความทุกข์ยากให้กับชาวนาชาวไร่รายย่อยซึ่งเป็นผู้ป้อนอาหารแก่โลกตัวจริง เช่น การแย่งชิงที่ดินและทรัพยากรเพื่อการเกษตร การกว้านซื้อที่ดิน การกดราคาสินค้าเกษตรในขณะที่ขายปัจจัยการผลิตในราคาแพง ฯลฯ ชาวนาชาวไร่รายย่อยคือผู้เลี้ยงดูโลกตัวจริง ในทางกลับกัน ธุรกิจเกษตรถือเอาการค้าการส่งออกเป็นอาชีพหลัก และมีแนวโน้มที่จะผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงสัตว์ ผลิตเอธานอลเพื่อเลี้ยงรถยนต์ หรือปลูกพืชผลเกษตรอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารโดยตรง ด้วยเหตุที่การเกษตรของชาวนาชาวไร่รายย่อยอาศัยธรรมชาติโดยตรง พวกเขาจึงสั่งสมความรู้ด้านการเพาะปลูกที่ไม่รบกวนธรรมชาติ และการบำรุงรักษาผืนดินและธรรมชาติแวดล้อม แม้จะใช้สิ่งนำเข้าที่เป็นสินค้าของธุรกิจเกษตรน้อยหรือไม่ใช้เลย แต่การเกษตรนิเวศโดยชาวนาชาวไร่โดยประยุกต์ความรู้พื้นบ้านและวิธีการผลิตที่หลากหลายแบบดั้งเดิมนั้น มีศักยภาพล้นเหลือในการผลิตอาหารทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอีกทั้งการผลิตอาหารเพื่อตลาดในท้องถิ่นก่อน ยังทำให้ผู้คนเข้าถึงอาหารได้ง่ายกว่า ลาเวียคัมเปซินา : ขบวนการเคลื่อนไหวของชาวนาเพื่อเลี้ยงดูโลก การทำให้ชาวนาชาวไร่สูญเสียอิสรภาพและต้องไปเป็นลูกจ้างภาคการเกษตร การสูญเสียความรู้ดั้งเดิมในการทำการทำนาทำไร่ และอื่นๆ อีกมาก ปัญหาดังกล่าวนี้ ยิ่งสร้างความรุนแรงมากยิ่งขึ้นไปอีกในกลุ่มชาวนาชาวไร่รายย่อยที่เป็นชนกลุ่มน้อย ชนเผ่าพื้นเมือง เยาวชน ผู้หญิงและผู้สูงอายุ บารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน ในฐานะผู้ประสานงานของลาเวียคัมเปซินา ในประเทศไทย กล่าวว่า เราจะมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนผ่านจากเกษตรล้างผลาญโดยธุรกิจเกษตรมาเป็นเกษตรยั่งยืนโดยชาวนาชาวไร่รายย่อยได้อย่างไร การเปลี่ยนผ่านนี้ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนในประเด็นสำคัญระดับโครงสร้างของประเทศ เช่น การปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร การทำให้การตลาดของอาหารกลับคืนสู่ท้องถิ่น การปกป้องตลาดในประเทศ การปฏิเสธการค้าเสรีและการเก็งกำไรด้านอาหาร รวมทั้งการเปลี่ยนกระบวนทัศน์และพฤติกรรม เช่น เคารพภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนพื้นเมือง ปฏิเสธอาหารจากบรรษัท สนับสนุนตลาดที่เชื่อมโยงชาวนากับผู้บริโภคทางตรง และสนับสนุนขบวนการเคลื่อนไหวของชาวนาซึ่งทุกคนสามารถมีส่วนร่วมได้ การประชุมนานาชาติ ครั้งที่ 1 ว่าด้วยเกษตรนิเวศ โดย ลาเวียคัมเปซินา วันที่ 12 พฤศจิกายน เป็นเวทีวิชาการสาธารณะ จัดที่ห้องประชุมจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นโอกาสดีที่ชาวนาไทย และสังคมไทยโดยรวม จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้นำชาวนาจาก 9 ภูมิภาคทั่วโลก กว่า 70 คน และนักวิชาการที่มีชื่อเสียง ในประเด็นการเกษตรยั่งยืน และประเด็นสำคัญต่างๆ ที่ส่งผลกระทบกับชาวนา อาหาร และการเกษตร ซึ่งยังคงเป็นประเด็นหลักในสังคมไทยที่ต้องจับตามองอย่างยิ่ง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
Posted: 06 Nov 2012 03:54 AM PST พบแรงงานยุโรป 7 ประเทศหยุดงานเหตุโรคซึมเศร้า
ที่มาเรียบเรียงจาก: มติชนออนไลน์, ASTV ผู้จัดการออนไลน์, ประชาไท, สำนักข่าวไทย, สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยรัฐ, เดลินิวส์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
ทุนนิยาม: เกร็ดการเลือกตั้งสหรัฐ 2012 "มุมมองจากแรงงาน" Posted: 05 Nov 2012 10:24 PM PST สำหรับข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสหภาพแรงงานในสหรัฐฯ นั้นพบว่าจำนวนสมาชิกสหภาพฯลดลงเรื่อยๆ ปี 1983 สัดส่วนสมาชิกสหภาพฯ 20.1% ของแรงงานทั้งประเทศ ปี 2011 มีสมาชิกสหภาพฯ 11.8% ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | ||||
เวียงจัน: การประชุม ASEM ครั้งที่ 9 เริ่มแล้ว Posted: 05 Nov 2012 09:21 PM PST การประชุม ASEM หรือ Asia-Europe Meeting (ກອງປະຊຸມອາຊີ-ເອີລົບ) คือการประชุมร่วมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในทวีปเอเชียและประเทศในทวีปยุโรป ซึ่งริเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1996 ในการประชุม ASEM ครั้งที่ 1 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยความร่วมมือดังกล่าวเป็นการสร้างความร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ เป็นเวทีเปิดโอกาสให้ประเทศที่เป็นสมาชิกจับคู่หรือจับกลุ่มสร้างความสัมพันธ์ได้อย่างอิสระ โดยเน้นความเท่าเทียมระหว่างกันและกัน โดยการประชุมมีทั้งระดับผู้นำประเทศ ระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจและต่างประเทศ ระดับเจ้าหน้าที่จนถึงระดับภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาสังคม โดยจัดขึ้นเป็นประจำทุกวาระ 2 ปี - การซ่อมแซมและปรับปรุงสนามบินนานาชาติวัดไต ทั้งขยายลานบิน ปรับปรุงระบบตรวจคนเข้าเมืองและสร้างห้องรับรองแขกกิตติมศักดิ์เพิ่มเติม โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น การประชุม ASEM ครั้งนี้ รัฐบาลลาวได้ให้ความสำคัญอย่างมาก โดยประกาศให้โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย หยุดการเรียนการสอน เพื่อลดปัญหาการจราจรและเปิดโอกาสให้นักเรียนนักศึกษาเข้าเป็นอาสาสมัครในการช่วยเหลือการประชุม ตั้งแต่ระดับผู้ใช้แรงงาน ทำความสะอาด ตกแต่งสถานที่ จนถึงการเป็นผู้ช่วยเหลือคณะผู้แทนต่างชาติหรือ Liaison สำหรับนักศึกษาที่มีความสามารถทางด้านภาษาต่างประเทศขั้นดี แม้ว่าการก่อสร้างและเตรียมตัวรับการประชุมดังกล่าวของทางการลาวจะสำเร็จลงอย่างฉิวเฉียว เช่น การรับมอบลานบินและห้องรับรองใหม่ของสนามบินวัดไต เพิ่งสำเร็จในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2012 ก่อนหน้าที่เหล่าผู้นำจากนานาชาติจะเดินทางมาถึงเพียงวันเดียว หรือศูนย์ประชุมแห่งชาติและผู้บ้านอาเซ็ม ที่การก่อสร้างค่อนข้างล่าช้าจนทางการลาวต้องไปเร่งรัดอย่างต่อเนื่องกว่าจะแล้วเสร็จทันเวลา แต่ทางการลาวก็พยายามต้อนรับเหล่าผู้แทนจากต่างประเทศอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ บริษัท ลาว โทรคม จำกัด ยังได้เปิดตัวระบบการสื่อสารไร้สาย 4G เพื่อให้กลุ่มผู้นำและผู้แทนต่างชาติได้ใช้งานซิมโทรศัพท์มือถือ 4G ในระหว่างการประชุม ก่อนที่จะขยายเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ให้ชาวนครหลวงเวียงจัน และชาวลาวทั่วประเทศในลำดับต่อไป โดยที่บริษัทโทรคมนาคมอื่นๆ ของลาว เช่น Beeline, Unitel และ ETL ก็ได้เตรียมเข้าแข่งขันเปิดให้บริการในระบบ 4G ด้วยเช่นกัน เกร็ดความรู้ของการประชุม ASEM ครั้งที่ 9 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น