ประชาไท | Prachatai3.info |
- 'ยิ่งลักษณ์' นายกฯ ไทยในรอบทศวรรษ เตรียมเข้าเฝ้า 'ควีนเอลิซาเบ็ธ'
- กลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วในอียิปต์ชุมนุมเรียกร้องกฏหมายอิสลาม
- ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
- เสธ.อ้าย ลั่น นัดชุมนุม 24 พ.ย.นี้ ที่ลานพระรูปฯ หวังคน 1 ล้าน หากรัฐบาลไม่ไป ก็ต้องหยุด
- เข้าสู่วันที่ 12 คนพิการอดอาหารหน้าทำเนียบ ร้องขอโควต้าสลากกินแบ่งฯ ในราคาทุน
- นายกฯ เรียก รมต.พรรคเพื่อไทยหารือ หลังฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ
- ชาวสะเอียบร่วมใจบริจาคเลือด เพื่อคนไทยทั้งชาติ
- ความสุ่มเสี่ยงของพรรคเพื่อไทยต่อข้อกล่าวหานำที่ดิน ส.ป.ก. ไปให้นายทุนทำเหมืองแร่ถ่านหินที่บ้านแหง
- ชาวบ้านลุ่มน้ำโขง 8 จังหวัด ประณาม ‘ช.การช่าง’ เหยียดหยามไร้การศึกษา
- กลุ่ม 'วิศวกรเพื่อชาติ' ออกแถลงการณ์ สถานะการณ์คอร์รัปชั่นไทยถึงขั้นวิกฤต
- เสวนา “แนวทางการปฏิรูปรัฐสภาไทย” ราชบัณฑิตแนะปฏิรูปหลายตัวแปร สร้างความเข้มแข็งระบบรัฐสภา
- เอ็กซเรย์ช่วง ‘เปลี่ยนผ่าน’ : รวมบทวิเคราะห์ ธเนศ-ใบตองแห้ง-ประภาส-ธนาธร
- เสวนาพระปกเกล้า : ชี้ชัด 'รัฐสภาไทย' ล้มเหลวด้านการคลัง แนะสร้างที่ 'ระบบ' ไม่ยึดติดบุคคล
- ธงชัย วินิจจะกูล: ผีกลัวแสงสว่าง
'ยิ่งลักษณ์' นายกฯ ไทยในรอบทศวรรษ เตรียมเข้าเฝ้า 'ควีนเอลิซาเบ็ธ' Posted: 10 Nov 2012 10:08 AM PST พระราชินีอังกฤษโปรดเกล้าฯ ให้นายกฯ ไทย เข้าเฝ้าในระหว่างการเยือนอังกฤษอย่างเป็นทางการสัปดาห์หน้า นับเป็นนายกฯ ไทยในรอบสิบกว่าปีที่ได้เข้าเฝ้า 'ควีนเอลิเซาเบ็ธ'
หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์รายงานเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 55 ว่า สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบ็ธที่ 2 แห่งราชอาณาจักร ได้โปรดเกล้าให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย เข้าเฝ้าในระหว่างการเยือนอังกฤษอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า โดยนับเป็นนายกรัฐมนตรีของไทยคนแรกในรอบสิบกว่าปีที่ได้เข้าเฝ้าพระองค์ นายปสันน์ เทพรักษ์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีจะเดินทางเยือนประเทศอังกฤษในวันอังคารและพุธที่จะถึงนี้ (13-14 พ.ย.) ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด คาเมรอน อนึ่ง นสพ. บางกอกโพสต์ระบุว่า ไทยและอังกฤษได้เฉลิมฉลองครบรอบความสัมพันธ์ครบรอบ 400 ปี ในปีนี้ โดยสถานทูตไทยในลอนดอนนับเป็นคณะทูตที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งจากทั่วโลก ทั้งนี้ อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเคยเดินทางไปยังประเทศอังกฤษเมื่อปี 2545 และ 2548 และอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เคยเยือนอังกฤษในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระหว่างปี 2551 - 2554 ต่างมิได้รับโอกาสให้เข้าเฝ้าพระราชินีอังกฤษ ในขณะที่พระราชินีเอลิซาเบ็ธที่ 2 เคยเดินทางมาเยือนประเทศไทยเมื่อปี 2503 และ 2509 ในการเข้าพบครั้งนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเข้าหารือกับคู่เจรจาพร้อมกับรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคมขนส่ง สำนักนายกรัฐมนตรี และผู้นำจากองค์กรธุรกิจ 3 องค์กร ที่มา: Yingluck to meet Queen Elizabeth ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วในอียิปต์ชุมนุมเรียกร้องกฏหมายอิสลาม Posted: 10 Nov 2012 06:03 AM PST อียิปต์ในช่วงผ่านทางการเมืองกำลังร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เกิดข้อถกเถียงระหว่างกลุ่มเสรีนิยม ฆราวาสนิยม กับกลุ่มเคร่งศาสนา ซึ่งกลุ่มเคร่งศาสนา 10,000 คนก็มาชุมนุมเรียกร้องให้มีการใช้หลักวินิจฉัยตามหลัก 'ชาริอะฮ์' (Sharia) เมื่อวันที่ 9 พ.ย. ที่ผ่านมา กลุ่มชาวมุสลิมอนุรักษ์นิยมสุดโต่งหลายหมื่นคนได้รวมตัวชุมนุมกันที่จัตุรัสทาห์รีร์ ใจกลางกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เพื่อเรียกร้องให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของอียิปต์อยู่บนฐานของกฏหมายอิสลาม สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า การชุมนุมในครั้งนี้กลุ่มมุสลิมชนกลุ่มน้อยผู้มีแนวคิดแบบซาลาฟี (Salafi) เป็นผู้เรียกให้มวลชนมาชุมนุม แต่ทั้งกลุ่มภราดรภาพมุสลิมและพรรคการเมือง อัล-นูร์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่นิยมแนวคิดซาลาฟี ต่างก็ไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนเบื้องหลังการชุมนุมในครั้งนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมต่างพากันตะโกนว่ากฏหมายชาริอะฮ์ (Sharia – กฏหมายตามหลักศาสนาอิสลาม) เป็นรัฐธรรมนูญของเรา และประชาชนต้องการให้นำกฏของพระเจ้ามาใช้ อัลจาซีราระบุว่า คณะกรรมการร่างรธน.ของอียิปต์นำโดยกลุ่มภราดรภาพมุสลิมเป็นกลุ่มที่ประธานาธิบดี โมอาเม็ด มอร์ซี ให้การรับรอง สมาชิกบางส่วนมาจากกลุ่มภราดรภาพมุสลิม และมีชาวคริสต์ 8 คน แต่ในจำนวนสมาชิก 100 คน มีผู้หญิงอยู่เพียง 8 คน ข้อถกเถียงเรื่องรัฐธรรมนูญมุ่งความสนใจไปที่การใช้คำของร่างแก้ไขครั้งที่ 2 ซึ่งกำลังจะมีการประชุมหารือกันหลังจากที่ร่างแรกถูกยุบโดยคำสั่งศาลหลังจากที่กลุ่มเสรีนิยมและกลุ่มฆราวาสนิยมวอล์กเอาท์ออกจากห้องประชุมโดยอ้างว่าไม่พอใจที่กลุ่มเคร่งศาสนาอิสลามพยายามครอบงำกระบวนการ โดยที่ร่างรธน.ก่อนหน้านี้ มีการใช้คำว่า "หลักการชาริอะฮ์ตามแนวอิสลาม" เป็นรากฐานของการออกกฏหมาย ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผู้มีแนวคิดเสรีนิยม เนื่องจากไปกันได้กับแนวความคิดกว้างๆ ของศาสนาอิสลาม ขณะที่กลุ่มมุสลิมอนุรักษ์นิยมต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้คำเป็นคำว่า "การวินิจฉัยตามแบบชาริอะฮ์" ซึ่งหมายความว่ากฏหมายของอียิปต์อาจให้ปราชญ์ศาสนาอิสลามเป็นคนตีความ กลุ่มอนุรักษ์นิยมสุดขั้วกล่าวหาว่าภราดรภาพมุสลิมไม่ยืนยันสนับสนุนกฏหมายอิสลามหนักแน่นพอ ทำให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งพยายามทำให้กลุ่มผู้ไม่พอใจอยู่ในความสงบ กำลังหารือกันว่าจะเพิ่มข้อความซึ่งอธิบายว่าหลักการของกฏหมายอิสลามคืออะไร พระสันตปาปา ทาวาดรอสที่ 2 ของศาสนาคริสต์นิกายคอปต์ในอียิปต์ กล่าวว่ารัฐธรรมนูญจะไม่สามารถยอมรับได้หากมีความเป็นศาสนามากเกินไป อัสซัน อับเดล ฮามิด ผู้ประท้วงรายหนึ่งจากเมืองอเล็กซานเดรีย บอกว่าคนที่เป็นพ่อแม่ควรสนับสนุนกฏหมายอิสลาม เนื่องจากกฏหมายดังกล่าวจะช่วยป้องกันการลวนลามสตรี "อย่ากลัวการบังคับใช้ชาริอะฮ์ เพราะหากลูกสาวของคุณกลับบ้านดึกก็จะไม่มีใครลวนลามเธอ เพราะคนที่ทำจะต้องถูกลงโทษและชดใช้จากกฏหมายชาริอะฮ์"
เรียบเรียงจาก Egypt's ultraconservatives demand Islamic law, Aljazeera, 09-11-2012 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 10 Nov 2012 05:56 AM PST "ถ้าดูนโยบายประชาธิปัตย์จะเห็นว่าก็เป็นประชานิยมเช่นกันและเป็นนโยบายที่ไม่ขี้เหร่ด้วย แต่เหตุผลที่ประชาธิปัตย์แพ้ คือ ประชาธิปัตย์ไม่ได้แสดงให้ประชาชนเห็นว่ากำลังเดินไปสู่สัญญาประชาคมใหม่ ที่ทำให้ความสัมพันธ์ในสังคมใหม่มีประชาชนที่เท่ากัน" 10 พ.ย.55, ในงานเสวนาวิชาการ 'กลุ่มพลังประชาธิปไตยในช่วงเปลี่ยนผ่าน' |
เสธ.อ้าย ลั่น นัดชุมนุม 24 พ.ย.นี้ ที่ลานพระรูปฯ หวังคน 1 ล้าน หากรัฐบาลไม่ไป ก็ต้องหยุด Posted: 10 Nov 2012 05:38 AM PST เสธ.อ้าย ลั่น นัดชุมนุม 24 พ.ย.นี้ ที่ลานพระรูปฯ เวลา 9.01 น. หวังคน 1 ล้าน หากรัฐบาลไม่ไป ก็ต้องหยุด ไม่ให้ราคา "ชัยสิทธิ์" นำมวลชนต้าน เชิญชวนคนเข้าร่วมหยุดวิกฤติชาติ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เข้าสู่วันที่ 12 คนพิการอดอาหารหน้าทำเนียบ ร้องขอโควต้าสลากกินแบ่งฯ ในราคาทุน Posted: 10 Nov 2012 04:06 AM PST คนพิการผู้ประสบปัญหาราคาสลากกินแบ่งฯแพง อดอาหาร หน้าทำเนียบ เข้าสู่ วันที่ 12 ร้องขอโควต้าสลากฯ ในราคาต้นทุน ยันขอคำตอบจากนายก เผยเตรียมกระจายอดทุกประตูทำเนียบ 10 พ.ย.55 - ที่หน้าประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล กลุ่มองค์กรแนวร่วมผู้ค้าสลากในราคาควบคุม ซึ่งประสบปัญหาสลากกินแบ่งรัฐบาลราคาแพง ยังคงชุมนุมอดอาหาร เพื่อเรียกร้องขอโควต้าสลากกินแบ่งฯ ในราคาต้นทุนให้กับสมาชิกขององค์กรอย่างต่อเนื่องเป็นวันที่ 12 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 30 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยกลุ่มฯ ได้มีการทำหนังสือขอความกรุณาจาก นายกรัฐมนตรี ให้มีบัญชาพิเศษเพิ่มสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 20,000 เล่ม เพี่อนำไปจัดสรรให้กับคนพิการที่ประกอบอาชีพจำหน่ายสลาก จำนวน 2,000 ครอบครัว ตามแผนจัดการบริหารสลากของกลุ่มฯ อย่างไรก็ตามในวันนี้เหลือผู้อดอาหารเพียง 5 คน จากแต่เดิมมีผู้ร่วมอดอาหารมีถึง 49 คน โดยนายชัยวัฒน์ หวานคำ ประธานกลุ่มฯ ชี้แจงเหตุที่ผู้อดอาหารลดจำนวนเนื่องจากป่วยบางคนต้องถูกหามส่งโรงพยาบาล และได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวด้วยว่าจะมีการกระจายการอดอาหารไปทุกประตูทำเนียบ ประตูละ 3 คน โดยขณะนี้ได้มีอาสาสมัครที่จะมาร่วมอดอาหารเพิ่มแล้ว สำหรับกลุ่มองค์กรแนวร่วมผู้ค้าสลากในราคาควบคุมนั้น ประธานกลุ่มฯ ได้อธิบายว่า สมาชิกกลุ่มเป็นคนพิการที่เดือดร้อนเรื่องค่าครองชีพและรายได้ที่ไม่พอต่อการดำรงชีพ โดยมีรายได้หลักจากเบี้ยความพิการ 500 บาทต่อเดือน ส่วนการประกอบอาชีพจำหน่ายสลากนั้นต้องไปซื้อสลากจากนายทุน ใบละ 90-100 บาท มาขายใบละ 110 บาท เพราะไม่สามารถประกอบชีพอื่นได้ สมาชิกผู้ได้รับความเดือดร้อนจึวได้รวมตัวกันมาอดอาหารเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลจัดสรรโควต้าในราคาต้นทุน โดยจะอดต่อเนื่อวจนกว่าจะได้รับคำตอบจากนายกรัฐมาตรี ผู้อดอาหารเรียกร้อง นายชัยวัฒน์ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวด้วยว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 พ.ย. กลุ่มได้เจรจากับผู้อำนวยการสำนักงานสลากฯ แต่ก็ต้องเป็นขั้นตอนที่ยาวนาน เพราะจะต้องเสนอให้คณะกรรมการสลากฯ เพื่อพิจารณาประมาณกลางเดือนนี้ ซึ่งก็ไม่รู้ด้วยว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร จึงอยากได้คำตอบจากนายกรัฐมนตรีมากกว่า เนื่องจากหน่วยงานอื่นๆ มักอ้างว่าไม่มีอำนาจหน้าที่ โดยช่วงนี้ก็ยังต้องซื้อสลากแพงและขายยังเหลือด้วยอีก พี่น้องในกลุ่มก็เดือดร้อน โควต้าที่เราต้องการซื้อในราคาต้นทุนคือประมาณ 72.80-73 บาท เท่านั้น ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นายกฯ เรียก รมต.พรรคเพื่อไทยหารือ หลังฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ Posted: 10 Nov 2012 03:26 AM PST นายกฯ เรียก รมต.พรรคเพื่อไทยหารือที่บ้านพิษณุโลก คาดเตรียมรับมือศึกซักฟอก หลังพรรคฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ด้านวิปวุฒิสภา เตรียมเสนอวิปรัฐบาล ถกวันอภิปรายทั่วไป ม.161 อีกครั้ง หลังรัฐบาลอ้างนายกฯ ติดภารกิจวันซักฟอก 10 พ.ย. 55 - มติชนออนไลน์รายงานว่าช่วงบ่ายของวันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกรัฐมนตรีในส่วนของพรรคเพื่อไทย อาทิ ร.ต.อ.เฉลิม อยุ่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี พล.ต.ท.ชัชจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าหารือที่บ้านพิษณุโลก ทั้งนี้ เป็นที่คาดกันว่า การหารือครั้งนี้จะเป็นการหารือเพื่อเตรียมรับมือในการอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคฝ่ายค้าน ที่จะมีขึ้นในวันที่ 25-26 พ.ย. นี้ ตลอดจนประเมินสถานการณ์ทางการเมืองต่างๆ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชาวสะเอียบร่วมใจบริจาคเลือด เพื่อคนไทยทั้งชาติ Posted: 10 Nov 2012 03:12 AM PST ชาวบ้านสะเอียบ พระ ครู ผู้นำชุมชน ร่วมใจบริจาคโลหิต เพื่อคนไทยทั้งชาติ โดยไม่ต้องใช้ลายเซ็น และเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก เพื่อหลีกเลี่ยงการนำชื่อและลายเซ็นไปใช้ในการสนับสนุนเขื่อน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ความสุ่มเสี่ยงของพรรคเพื่อไทยต่อข้อกล่าวหานำที่ดิน ส.ป.ก. ไปให้นายทุนทำเหมืองแร่ถ่านหินที่บ้านแหง Posted: 10 Nov 2012 02:48 AM PST เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๑ นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอ ครม. ให้พิจารณายกเลิกมติ ครม. เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาแหล่งถ่านหิน เพื่อจะได้ดำเนินการประกาศยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษาหรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ถ่านหินตามความในมาตรา ๖ ทวิ ของกฎหมายแร่ ๒๕๑๐ ทั้งหมด ๘ พื้นที่ คือ แหล่งถ่านหินแอ่งเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี แอ่งสินปุน จังหวัดนครศรีธรรมราช แอ่งเชียงม่วน จังหวัดพะเยา แอ่งงาว แอ่งวังเหนือ แอ่งแจ้ห่ม-เมืองปาน แอ่งแม่ทะ และแอ่งเสริมงาม จังหวัดลำปาง ไปเปิดประมูลให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนสำรวจและทำเหมืองแร่ถ่านหินต่อไป ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ บริษัท เขียวเหลือง จำกัด ได้ทำการจดทะเบียนประเภทบริษัทจำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน ๓๐ ล้านบาท บริษัทนี้เป็นของกลุ่มทุนการเมืองพรรคภูมิใจไทยสายของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อครั้งล่าสุดในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ มีนายเรืองศักดิ์ งามสมภาค ซึ่งมีตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการพรรคภูมิใจไทยคนที่หนึ่ง นั่งอยู่ในตำแหน่งกรรมการบริษัทและประธานบริษัท อดีตเคยเป็นอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมสมัยที่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และเป็นผู้เคยถูกเสนอชื่อให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขแทนนายมานิต นพอมรบดี ที่ลาออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ปัจจุบันเป็น ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่สามของพรรค แต่ออกจากตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคคนที่หนึ่งแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา นับตั้งแต่ดำรงตำแหน่ง ส.ส. เมื่อการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาก็ได้ลาออกจากตำแหน่งการเป็นกรรมการและประธานบริษัทแล้วเช่นกัน คน ๆ นี้เป็นคนใกล้ชิดของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน หัวหน้ากลุ่มมัชฌิมา แกนนำพรรคภูมิใจไทย ตั้งแต่สมัยที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นสามีของนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน ถ้าดูจากความเชื่อมโยงหรือสายสัมพันธ์ที่กล่าวมาอาจจะสงสัยว่าการดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการและประธานบริษัท เขียวเหลือง จำกัด ของนายเรืองศักดิ์ งามสมภาค ไปเกี่ยวข้องเชื่อมโยงอย่างไรกับนายสมศักดิ์ เทพสุทิน แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องปฏิเสธยากก็เพราะว่าพฤติกรรมหลายกรณีของบริษัท เขียวเหลือง จำกัด มันโจ่งแจ้งออกมาเสียจนใคร ๆ เขาก็รู้กันทั่วทั้งจังหวัดสุโขทัยและลำปางว่าเจ้าของตัวจริงเสียงจริงของบริษัท เขียวเหลือง จำกัด เป็นใคร ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ ครม. ได้มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกมติ ครม. เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาแหล่งถ่านหินตามที่นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน เสนอ ต่อมานางอนงค์วรรณ เทพสุทิน ออกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ถ่านหินตามมาตรา ๖ ทวิ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ ซึ่งส่งผลให้บริษัทเขียวเหลืองทำการขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ถ่านหินแอ่งงาวที่บ้านแหง และที่แหล่งถ่านหินแอ่งแจ้ห่ม-เมืองปาน ที่บ้านแจ้คอน ต.ทุ่งผึ้ง อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง อยู่ในขณะนี้ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ ๐๕๐๕/๙๒๘๗ ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ แจ้งต่อนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน ว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ ตามที่นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน เสนอ ข้อสังเกตสำคัญก็คือ ครม. ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ แต่หนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีด่วนที่สุด ที่ ๐๕๐๕/๙๒๘๗ แจ้งมายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน) เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ จึงสงสัยว่านางอนงค์วรรณ เทพสุทิน ได้ทำการประกาศกระทรวงฯ เรื่องยกเลิกเขตสำหรับดำเนินการสำรวจ การทดลอง การศึกษา หรือการวิจัยเกี่ยวกับแร่ถ่านหินตามความในมาตรา ๖ ทวิ ของกฎหมายแร่ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ ก่อนที่หนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะส่งมาถึงได้อย่างไร หากประเด็นนี้ไม่ใช่การผิดลำดับขั้นตอน/กระบวนการของกฎหมายหรือกฎระเบียบใด ๆ แต่เป็นที่น่าสงสัยว่านางอนงค์วรรณ เทพสุทิน ได้เร่งรีบออกประกาศกระทรวงฯ ดังกล่าวก่อนหนังสือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะส่งมาถึงตัวเองไปเพื่ออะไร หรือเพื่อใคร ปัจจุบันบริษัท เขียวเหลือง จำกัด กำลังดำเนินการขออนุญาตใช้ที่ดิน ส.ป.ก. ในเขตปฏิรูปที่ดินตามที่ประกาศอยู่ในพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านร้อง ตำบลปงเตา ตำบลบ้านแหง ตำบลนาแก ตำบลหลวงเหนือ ตำบลหลวงใต้ และตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๕๒ เพื่อทำเหมืองแร่ถ่านหินที่บ้านแหง แต่บริษัทดังกล่าวได้ดำเนินการขอประทานบัตรจนเกิดความไม่ไว้วางใจจากประชาชนในหมู่บ้านแหงเหนือ หมู่ ๑ และ ๗ หลายประการ อาทิเช่น ๑. บริษัทจดทะเบียนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการป่าไม้ การทำไม้ ปลูกสวนป่า เพื่อขอซื้อที่ดินชาวบ้าน เพราะถ้าหากระบุวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัทเพื่อทำเหมืองแร่เกรงว่าชาวบ้านจะขายที่ดินให้ในราคาแพงขึ้นหรือไม่ยินยอมขายให้ แต่พอซื้อที่ดินได้แล้ว กลับนำที่ดินมาขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ภายหลัง มิหนำซ้ำใบอนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้[1] เป็นใบอนุญาตที่ได้มาในช่วงที่ขอใช้ประโยชน์เพื่อปลูกป่าหรือวนเกษตร แต่กลับนำใบอนุญาตปลูกป่ามาอ้างต่อชาวบ้านและส่วนราชการในพื้นที่ว่าเป็นใบอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ได้ ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ตามข้อกฎหมาย ๒. รายงานการไต่สวนประกอบคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ถ่านหิน ตามคำขอประทานบัตรที่ ๔ – ๘/๒๕๕๓ เป็นเท็จ โดยระบุข้อเท็จจริงที่ขัดกับสภาพความเป็นจริงหลายประการ คือ ตามรายงานดังกล่าวระบุภูมิประเทศว่าเป็นที่ราบ แต่ข้อเท็จจริงพบว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ราบเชิงเขามีลักษณะเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหรือป่าน้ำซับน้ำซึม ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำหรับการใช้อุปโภคบริโภคของชุมชน มีการระบุถ้อยคำอันเป็นเท็จว่าพื้นที่ขอประทานบัตรไม่ทับทางน้ำ ไม่มีน้ำไหลผ่าน ไม่มีน้ำเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการทำนาทำสวน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าพื้นที่คำขอประทานบัตรทับทางน้ำลำห้วยโป่ง ลำห้วยแม่จอนและลำห้วยสาขาย่อยอีกหลายสาย ซึ่งประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในการนำน้ำใช้ทำนา มีการระบุถ้อยคำอันเป็นเท็จว่าพื้นที่ขอประทานบัตรไม่ทับทางสาธารณะ ทั้ง ๆ ที่มีทางสาธารณะหลายเส้นทางที่ประชาชนใช้สัญจรไปมาตามปกติ จะต้องถูกขุดทำลายเพื่อเปิดหน้าดินไปเอาถ่านหินที่อยู่ใต้ดิน ๓. ขอประทานบัตรทับที่ดินทำกิน ทั้งที่เจ้าของที่ดินไม่ยินยอม โดยรายงานการไต่สวนประกอบคำขอประทานบัตรได้ขอทับพื้นที่ทำกินของชาวบ้านประมาณ ๒๐ กว่าราย ที่ไม่ยินยอมขายที่ดินหรือให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อการทำเหมืองแร่ถ่านหินแต่อย่างใด โดยมีการรวมหัวกันระหว่างข้าราชการและนายทุนเพื่อละเมิดสิทธิครอบครองที่ดินของประชาชน โดยพยายามเร่งรัดการขอประทานบัตรเพื่อให้ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ถ่านหินก่อน แล้วให้เจ้าของที่ดินไปเรียกร้องหรือฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเอาที่ดินที่ตนเองมีสิทธิครอบครองกลับคืนมาภายหลัง ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ถึงจะได้ที่ดินที่ตัวเองถือครองคืนมาเพราะกระบวนการร้องเรียนหรือฟ้องคดีต่อศาลใช้เวลายาวนานกว่าคดีความจะสิ้นสุด หรือถึงแม้ในที่สุดหากได้ที่ดินคืนมาก็จะไม่มีสภาพเดิมเหมือนเก่า ทำกินไม่ได้อีกต่อไป เพราะถูกขุดเปิดทำลายหน้าดินเพื่อเอาถ่านหินไปหมดแล้ว ๔. มีการทำประชาคมหมู่บ้านเท็จ หลอกลวง สวมรอย เพื่อช่วยเหลือให้บริษัทดำเนินการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ถ่านหินต่อไปให้ได้ โดยไม่ฟังเสียงประชาชน หรือบิดเบือนความเห็นที่ได้จากการประชุม กล่าวคือ ในการประชุมชี้แจงข้อมูลของบริษัทและส่วนราชการ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๓ ที่ศาลาเอนกประสงค์โรงเรียนบ้านแหงเหนือ โดยมีปลัด อบต.บ้านแหง เป็นผู้บันทึกการประชุม และผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๑ และหมู่ ๗ เป็นผู้รับรองรายงานการประชุม ข้อเท็จจริงที่ชาวบ้านบันทึกเอาไว้ได้ในแผ่นซีดีบันทึกภาพและเสียงพบว่าขัดแย้งกับรายงานการประชุม โดยรายงานการประชุมบันทึกไว้ตอนหนึ่งว่า "ใครเห็นด้วยให้บริษัทขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ถ่านหิน ให้ยกมือขึ้น" แต่ข้อเท็จจริงที่ได้จากแผ่นซีดีบันทึกภาพและเสียงที่บันทึกไว้ได้ในช่วงเวลาเดียวกันระบุว่า "ใครเข้าใจในเรื่องที่อธิบายเกี่ยวกับการชี้แจงการขอประทานบัตรเพื่อทำเหมืองแร่ถ่านหิน ให้ยกมือขึ้น" การกระทำดังกล่าวไม่ได้เป็นไปตามกระบวนการชี้แจงข้อมูลและสอบถามความเห็นโดยโปร่งใสและสุจริต การถามความเห็นเพียงเท่าที่กล่าว ผู้เข้าร่วมประชุมย่อมเข้าใจได้ว่าเป็นการสอบถามว่าชาวบ้านรับฟังคำชี้แจงแล้วเข้าใจหรือไม่ ไม่ใช่เป็นการสอบถามความเห็นชอบว่า ยินยอมหรืออนุญาตให้บริษัทได้รับประทานบัตรและประกอบกิจการเหมืองแร่ถ่านหินตามที่อ้างไว้ในบันการประชุมเท็จแต่อย่างใด ๕. มติของสภา อบต.บ้านแหง เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๓ มิชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากว่าสภา อบต.บ้านแหงมีมติเห็นชอบการขอประทานบัตรและการประกอบกิจการเหมืองแร่ถ่านหินของบริษัท โดยนำรายงานการประชุมชี้แจงข้อมูลของบริษัทเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๓ ที่บ้านแหงเหนือ มาใช้เป็นหลักฐานพิจารณาลงมติของสภา ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นไปตามหลักการของการมีส่วนร่วมของประชาชน ๖. บิดเบือนข้อมูลผลประโยชน์ที่ อบต. จะได้รับจากค่าภาคหลวงแร่ เนื่องจากว่าการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ถ่านหินของบริษัทดังกล่าวมี อบต. เกี่ยวข้อง ๒ แห่ง แห่งแรกเป็น อบต.ในพื้นที่ทำเหมือง คือ อบต.บ้านแหง และแห่งที่สองเป็น อบต. ในพื้นที่เส้นทางลำเลียงถ่านหิน คือ อบต.ปงเตา ซึ่งจะมีบ้านปันใต้เป็นเส้นทางลำเลียงถ่านหิน หากมีการทำเหมืองแร่เกิดขึ้นจะได้ส่วนแบ่งค่าภาคหลวงถ่านหินเท่ากับ อบต.และเทศบาลตำบลอื่น ๆ ในจังหวัดลำปางอีก ๙๘ แห่ง คือประมาณ ๓,๙๑๘ บาทต่อเดือน ต่างจากที่ อบต.บ้านแหง ได้เดือนละ ๗๖๘,๐๐๐ บาท หรือแตกต่างกันประมาณ ๑๙๙ เท่า คำถามสำคัญที่ประชาชนบ้านปันใต้ ในเขต อบต.ปงเตา เริ่มตั้งคำถามเสียงดังขึ้นเรื่อย ๆ ก็คือ ทั้ง ๆ ที่ อบต.ปงเตา ต้องแบกรับภาระปัญหาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นไม่แตกต่างกับ อบต.บ้านแหง ไม่ว่าผลกระทบที่เกิดจากฝุ่นถ่านหินระหว่างทางลำเลียง เสียงดังรบกวนจากรถบรรทุกขนถ่านหิน น้ำหนักบรรทุกถ่านหินต่อความสามารถแบกรับน้ำหนักของถนน ถ้าคิดการขนถ่านหินที่ ๓๐ ตันต่อเที่ยว (เฉพาะน้ำหนักถ่านหิน ยังไม่รวมน้ำหนักรถบรรทุก) จะมีรถบรรทุกขนถ่านหินผ่านหมู่บ้านปันเหนือและใต้วันละ ๑๑๑ เที่ยว รวมวิ่งกระบะเปล่า (ขากลับ) เพื่อมารับถ่านหินเป็นวันละ ๒๒๒ เที่ยว หรือคิดเป็นชั่วโมงละ ๕ เที่ยว รวมวิ่งกระบะเปล่าได้ชั่วโมงละ ๑๐ เที่ยว หรือใน ๖ นาที จะเห็นรถบรรทุกถ่านหินวิ่งผ่านหมู่บ้านปันเหนือและใต้ ๑ คัน แล้วทำไมนายทุนและข้าราชการบางคนถึงไปบิดเบือนข้อมูลว่า อบต.ปงเตา จะได้รับค่าภาคหลวงแร่ถ่านหินร้อยละ ๑๐ คิดเป็นเงินประมาณ ๓๘๔,๐๐๐ บาทต่อเดือน เต็มจำนวนโดยไม่ต้องแบ่งค่าภาคหลวงถ่านหินร้อยละ ๑๐ ให้กับ อบต.หรือเทศบาลตำบลอื่น ๆ ทั่วทั้งจังหวัดลำปางอีก ๙๘ แห่ง แต่ข้อเท็จจริงกลับได้ส่วนแบ่งจากค่าภาคหลวงแร่เพียง ๓,๙๑๘ บาทต่อเดือนเท่านั้น เพราะต้องแบ่งค่าภาคหลวงแร่ร้อยละ ๑๐ ไปให้กับ อบต./เทศบาลตำบลอื่น ๆ อีก ๙๘ แห่งทั่วทั้งจังหวัดลำปาง (ดูตารางในบทความนี้) ด้วยมูลค่าของค่าภาคหลวงที่แตกต่างกันนี่เองจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม อบต.บ้านแหง ถึงอยากให้มีการทำเหมืองถ่านหินแห่งนี้มาก ถึงขั้นมีมติโดยใช้ข้อมูลเท็จที่ได้จากประชาคมหมู่บ้านสนับสนุนให้บริษัทดำเนินการขอประทานบัตรต่อไปได้ ในขณะที่ อบต.ปงเตา กำลังเครียดกับการถูกหลอกลวงให้มีมติจากสภา อบต. สนับสนุนให้บริษัทลำเลียงถ่านหินผ่านหมู่บ้านปันใต้ได้ ตาราง มูลค่าและค่าภาคหลวงถ่านหินแหล่งบ้านแหงเหนือ-ใต้ ตาราง ส่วนแบ่งค่าภาคหลวงถ่านหินแหล่งบ้านแหงเหนือ-ใต้ ระหว่างรัฐส่วนกลางกับท้องถิ่น* (บาท)
ประเด็นสำคัญจากตาราง เมื่อเทียบกับถ่านหินเพียงน้อยนิด คือ ๑๐ ล้านตัน ผลประโยชน์ที่ อบต.บ้านแหง ได้น้อยนิดเดียว ไม่คุ้มค่ากับทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ผืนแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์และวิถีชีวิตของคนบ้านแหงที่ต้องสูญเสียหรือได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ เพราะต้องเปิดทำลายหน้าดินเป็นบริเวณกว้างมากกว่า ๑,๐๐๐ ไร่ และต้องขุดลึกมากที่ระดับ ๑๕๐ เมตรจากผิวดิน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบน้ำใต้ดินอย่างรุนแรงในอนาคต รวมทั้งพื้นที่ที่ต้องถูกเปิดหน้าดินเป็นบริเวณกว้างถึง ๑,๐๐๐ ไร่ดังกล่าว เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีลำห้วยจอน ลำห้วยโป่ง และลำห้วยย่อยอีกหลายสายไหลผ่าน โดยเฉพาะระบบเหมืองฝายของลำห้วยจอนที่นำน้ำไปหล่อเลี้ยงนาข้าวหลายร้อยไร่จะถูกทำลายลงไปหากมีเหมืองเกิดขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นหากลำห้วยจอนซึ่งเป็นลำห้วยใหญ่สายหนึ่งที่เติมน้ำให้กับน้ำแม่แหงถูกทำลายจากการเปิดหน้าดินทำเหมืองถ่านหิน ทุ่งนาผืนใหญ่ของหลายหมู่บ้านที่ใช้น้ำแม่แหงทดน้ำเข้านา ผลผลิตข้าวจะเสียหายตามไปด้วย ซึ่งน้ำแม่แหงเป็นลำน้ำสาขาสายสำคัญสายหนึ่งของลำน้ำงาวก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำยมต่อไป และเมื่อเทียบกับถ่านหินเพียงน้อยนิด คือ ๑๐ ล้านตัน แต่ค่าภาคหลวงถ่านหินที่ได้จะถูกแบ่งเฉลี่ยให้เท่ากันในแต่ละหมู่บ้านที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อบต.บ้านแหง เป็นลักษณะเบี้ยหัวแตก จนไม่สามารถเอามาใช้เป็นกองทุนเพื่อเตรียมการ ป้องกัน เฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบ หรือกำกับดูแลเพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบได้เลย ก็เพราะว่าค่าภาคหลวงถ่านหินที่ อบต.บ้านแหง ได้รับนั้นจะต้องเอาไปรวมเข้ากับรายได้ส่วนอื่น ๆ ที่จัดเก็บได้ในรอบปี และนำเงินรายได้ที่จัดเก็บได้ทั้งหมดไปวางแผนพัฒนาตำบลในภาพรวม แต่จะไม่สามารถนำเงินรายได้ที่ได้จากค่าภาคหลวงถ่านหินมาวางแผนเพื่อเตรียมการ ป้องกัน เฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบ หรือกำกับดูแลเพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำเหมืองถ่านหินโดยเฉพาะแต่อย่างใด เนื่องจากแรงกดดันของสมาชิก อบต. ที่อยากได้ส่วนแบ่งจากค่าภาคหลวงถ่านหินเพื่อเอาไปพัฒนาหมู่บ้านตนเองด้วย เพื่อสร้างความนิยมต่อชาวบ้านที่ลงคะแนนเลือกเข้ามาเป็นสมาชิก อบต. ทั้ง ๆ เป็นหมู่บ้านที่ไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ จากการทำเหมืองแร่ถ่านหินเลยก็ตาม แต่สมาชิก อบต. พวกนี้มีส่วนสำคัญต่อการยกมือลงมติเห็นชอบให้มีการทำเหมืองได้ พวกเขาจึงเห็นว่าสมควรได้รับค่าตอบแทนจากการยกมือสนับสนุนบริษัท
แผนที่นิเวศหมู่บ้านแหงเหนือ หมู่ ๑ และ ๗ และแปลงคำขอประทานบัตรเพื่อขอทำเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ ของบริษัท เขียวเหลือง จำกัด (จัดทำโดย ชาวบ้านบ้านแหงเหนือ หมู่ ๑ และ ๗ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง พฤศจิกายน ๒๕๕๓)
แผนที่นิเวศของหมู่บ้านแหงเหนือหมู่ ๑ และ ๗ แสดงพื้นที่คำขอประทานบัตรเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ของบริษัท เขียวเหลือง จำกัด ที่ซ้อนทับลงไปในไร่นาหรือที่ดินทำกินที่บางส่วนเป็นที่ดิน ส.ป.ก. (จัดทำโดย ชาวบ้านบ้านแหงเหนือ หมู่ ๑ และ ๗ ต.บ้านแหง อ.งาว จ.ลำปาง พฤศจิกายน ๒๕๕๓)
จากประชาธิปัตย์ถึงภูมิใจไทยและเพื่อไทย ผี ส.ป.ก. ยังตามหลอกหลอน
ป้ายรณรงค์ที่บ้านแหงเหนือ คัดค้านการนำที่ดิน ส.ป.ก. ไปให้นายทุนทำเหมืองแร่ถ่านหิน (ลิขสิทธิ์ภาพถ่ายเป็นของนายขวัญชัย ใจแก้วทิ) รายชื่อเกษตรกรผู้ถือครองที่ดินในเขตที่ดิน ส.ป.ก. ในบริเวณตามคำขอประทานบัตรที่ ๔, ๕ และ ๘/๒๕๕๓ มีทั้งสิ้น ๗๓ ราย รวมพื้นที่ประมาณ ๖๖๑ ไร่ จากพื้นที่ขอประทานบัตรรวม ๕ แปลง คือ แปลงที่ ๔ – ๘/๒๕๕๓ ทั้งหมดประมาณ ๑,๒๐๐ ไร่ หรือคิดเป็นที่ดิน ส.ป.ก. ในเขตคำขอประทานบัตรไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง จากปัญหาความไม่ไว้วางใจที่กล่าวมา กำลังนำมาสู่การคัดค้านขอใช้พื้นที่ ส.ป.ก. เพื่อทำเหมืองแร่ถ่านหินที่บ้านแหงอยู่ในขณะนี้ เพราะมีการเปรียบเทียบกรณีการแจกที่ดิน ส.ป.ก. ๔-๐๑ สมัยที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี ๒๕๓๘ สร้างผลงานชิ้นสำคัญด้วยการแจกที่ดิน ส.ป.ก. ๔-๐๑ ให้กับนายทศพร เทพบุตร สามีของนางอัญชลี เทพบุตร ขณะเป็นเลขานุการของตนเอง ไม่เพียงแต่นายทศพร เทพบุตร ที่ได้รับที่ดินผืนงามของเกาะภูเก็ตกว่า ๙๐ ไร่ แต่ยังมีนายทุนและคนสนิทของพรรคประชาธิปัตย์อีกหลายรายที่ได้รับเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. ๔-๐๑ เช่นเดียวกัน จากข้อครหาเอาที่ดินคนจนไปแจกคนรวย จนเป็นเหตุให้พรรคประชาธิปัตย์ต้องประกาศยุบสภาหลังอภิปรายไม่ไว้วางใจเกี่ยวกับเรื่อง ส.ป.ก. ๔-๐๑ ของพรรคฝ่ายค้าน เนื่องจากว่านายทศพร เทพบุตร และนายทุนและคนสนิทของพรรคประชาธิปัตย์อีกหลายรายไม่ใช่เกษตรกรคนยากจนที่ไม่มีที่ดินทำกิน แต่เป็นผู้มีอันจะกิน โดยเฉพาะนายทศพร เทพบุตร เป็นเศรษฐีใหญ่ของเกาะภูเก็ต ครั้งหนึ่ง ทักษิณ ชินวัตร ก็เคยออกแถลงการณ์โต้ คตส. หรือคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ที่ถูกตั้งขึ้นมาโดย คปค. (คณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กรณีที่นายแก้วสรร อติโพธิ เลขานุการ คตส. แถลงต่อสื่อมวลชนว่าจะแจ้งความกล่าวโทษทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว ในคดีซุกหุ้นและการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตสืบเนื่องมาจากกรณีการแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตและกรณีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าให้พม่ากู้เงิน ๔,๐๐๐ ล้านบาท ว่านโยบายการออก ส.ป.ก. ๔-๐๑ ในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่ภายหลังศาลได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนและคืนที่ดิน ส.ป.ก. แก่รัฐ (ให้นายทศพร เทพบุตร คืนที่ดิน ส.ป.ก. แก่รัฐ) เป็นการออก ส.ป.ก. ที่ไม่ได้ให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้จริง ซึ่งนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รู้ดีว่าลำพังพลังทางการเมืองของพรรคภูมิใจไทย ที่ตนเองนำพวกพ้องซึ่งเป็น ส.ส. อยู่ในพรรคดังกล่าว ๗ คน ไปอาศัยอยู่ด้วยไม่สามารถผลักดันให้เกิดเหมืองแร่ถ่านหินที่บ้านแหงได้อย่างแน่นอน เพราะทัศนคติทางการเมืองของประชาชนที่บ้านแหงและทั่วทั้งอำเภองาวรังเกียจพรรคการเมืองอย่างพรรคภูมิใจไทย หนทางเดียวคือต้องอาศัยพลังทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยถึงจะผลักดันให้เกิดเหมืองแร่ถ่านหินที่บ้านแหงขึ้นได้ ข่าวที่นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ สามีซึ่งเป็นอดีตนายกรัฐมนตรี และนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นัดพบนายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มมัชฌิมาในพรรคภูมิใจไทย ที่หอบหิ้ว ส.ส. และแกนนำกลุ่มมัชฌิมาในพรรคภูมิใจไทยมารับประทานอาหารเย็นร่วมกันเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่านายสมศักดิ์กำลังจะย้ายไปอยู่พรรคเพื่อไทย ถือว่ากลับถิ่นเก่าตั้งแต่สมัยที่พรรคเพื่อไทยยังเป็นพรรคไทยรักไทย พร้อมหอบหิ้ว ส.ส. ทั้ง ๗ คน ของพรรคภูมิใจไทยไปอยู่ด้วยชัดเจนขึ้น หลังจากที่เป็นข่าวเรื่องนี้มานานสักระยะหนึ่งแล้ว ไม่ว่านายสมศักดิ์ เทพสุทิน จะเข้าไปอยู่พรรคเพื่อไทยด้วยเป้าหมายใดก็ตาม แต่เป้าหมายหนึ่งก็คือต้องการผลักดันให้ได้ประทานบัตรทำเหมืองแร่ถ่านหินที่บ้านแหง และนี่คือบทพิสูจน์ ก็เพราะว่าป้ายรณรงค์ของชาวบ้านที่เขียนเอาไว้ว่า 'ภูมิใจไทยเอาที่ดิน ส.ป.ก. ของคนจนไปให้นายทุนทำเหมืองแร่ถ่านหินที่บ้านแหง' เตรียมพร้อมเสมอที่จะเปลี่ยนข้อความเป็น 'เพื่อไทยเอาที่ดิน ส.ป.ก. ของคนจนไปให้นายทุนทำเหมืองแร่ถ่านหินที่บ้านแหง' ถึงแม้จะต่างกรรมต่างวาระ หรือบริบทของเวลาและสถานที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่ข้อกล่าวหา 'เอาที่ดินคนจนไปแจกคนรวย' เหมือนสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลเมื่อปี ๒๕๓๘ แต่เป็นข้อกล่าวหา 'เอาที่ดินคนจนไปให้นายทุนทำเหมืองแร่' ในสมัยคาบเกี่ยวที่นายสมศักดิ์ เทพสุทิน กำลังนำพวกพ้องกลุ่ม ส.ส. ๗ คน ย้ายออกจากพรรคภูมิใจไทยไปอยู่พรรคเพื่อไทยอยู่ในขณะนี้ ซึ่งข้อกล่าวหานี้จะเป็นบทพิสูจน์พรรคเพื่อไทยว่าจะทำการเมืองแบบพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่
[1] หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เล่มที่ ๑๖ ฉบับที่ ๔๒ – ๔๔ ลงวันที่ ๔ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ อนุญาตให้บริษัท เขียวเหลือง จำกัด เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่งาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลบ้านแหง อำเภองาว จังหวัดลำปาง เพื่อการเกษตรกรรมแบบผสมผสาน (วนเกษตร) จนถึงวันที่ ๓ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชาวบ้านลุ่มน้ำโขง 8 จังหวัด ประณาม ‘ช.การช่าง’ เหยียดหยามไร้การศึกษา Posted: 10 Nov 2012 02:30 AM PST ประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ร่วมกับเครือข่ายฯ ออกแถลงการณ์ "ประณามบริษัท ช.การช่าง เหยียดหยามคนลุ่มน้ำโขงไร้การศึกษา" จี้หยุดบิดเบือนความจริงเรื่องเขื่อนไซยะบุรี เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ร่วมกับเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.) และสภาองค์กรชุมชนตำบลภาคอีสาน 19 จังหวัด ออกแถลงการณ์ "ประณามบริษัท ช.การช่าง เหยียดหยามคนลุ่มน้ำโขงไร้การศึกษา" ลงวันที่ 8 พ.ย.55 จากกรณีที่คนของบริษัทไซยะบุรีพาวเวอร์ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนระบุชาวบ้านไร้การศึกษาและถูกชักจูงไปในทางที่ผิด พร้อมเรียกร้องให้กล่าวขอโทษต่อการดูถูกเหยียดหยามชาวบ้านลุ่มน้ำโขงดังกล่าว โดยหากไม่มีการกล่าวขอโทษจะมีการยกขบวนไปหา "คนจนไม่ใช่คนโง่ หยุดบิดเบือนความจริงเรื่องเขื่อนไซยะบุรี หยุดเหยียบย่ำคนจน" ข้อความในแถลงการณ์ระบุ เนื้อหาของแถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า ตามที่นายเรวัติ สุวรรณกิตติ รักษาการผู้จัดการบริษัทไซยะบุรีพาวเวอร์ ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัทช.การช่าง ได้ให้สัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กทามส์เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 ว่า "พวกนักสิ่งแวดล้อมพยายามก่อกวนให้เกิดความขัดแย้งและสร้างความโกรธเคืองให้กับพวกชาวบ้านที่ไร้การศึกษาและพวกที่ถูกชักจูงไปในทางที่ผิดๆ" เครือข่ายประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน สภาองค์กรชุมชนตำบลภาคอีสาน 19 จังหวัด ขอประณามการเหยียดหยามคนลุ่มน้ำโขงดังกล่าวว่าเป็นการแสดงออกที่ขาดการเคารพความเป็นมนุษย์ ไร้ซึ่งความเป็นคนเพราะคนที่ดูถูกคนนั้นไม่ใช่คน เป็นคำพูดที่ไม่น่าจะหลุดออกมาจากปากของคนที่บอกว่าตัวเองมีการศึกษา สร้างโครงการเพื่อประโยชน์ของคนอื่นและอย่างโปร่งใส ไม่ใช่ทำเพื่อประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง ซึ่งความคิดของผู้นำบริษัทอย่างนี้ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโครงการนี้ทำไปเพื่อใคร พวกนี้คิดถึงชาวบ้านแค่ไหน อย่างไร ปัญหาสำคัญของสังคมไทยที่ผ่านมาเกิดจากความเชื่อที่ฉุดรั้งสังคมไว้ที่ว่าชาวบ้านโง่ คนจนขาดความรู้ ซึ่งเป็นความพยายามของคนที่เรียกว่ามีการศึกษาเพื่อถ่างความความเหลื่อมล้ำทางสังคมให้คงอยู่ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มตัวเอง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาสังคมไทยได้เรียนรู้และปรับตัวมากขึ้นกับปัญหารากเหง้าอันนี้ จากแต่ก่อนที่มักจะมองว่าชาวบ้านที่ลุกขึ้นมาคัดค้านโครงการต่างๆ เป็นพวกคอมมิวนิสต์ เป็นพวกที่ถูกจ้างมาม็อบ เป็นพวกขัดขวางการพัฒนา สร้างปัญหารถติดให้คนเมือง หลายปีที่ผ่านมาสังคมได้เข้าใจถึงความเชื่อที่ผิดๆ เหล่านี้และได้เห็นอกเห็นใจคนจนมากขึ้น แต่ก็ยังมีคนหลายกลุ่มหลายก้อนโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจอย่างเช่นกลุ่มนี้ ที่ยังมีความคิดอันล้าหลังใช้คำพูดและวิธีการที่มีแต่จะฉุดรั้งสังคมให้จมอยู่กับที่ แถลงการณ์ระบุด้วยว่า หลายปีที่ผ่านมาชาวบ้านตลอดลำน้ำโขงได้ประสบผลกระทบอย่างชัดเจนและต่อเนื่องจากปัญหาการสร้างเขื่อนในประเทศจีน ความรู้ที่สั่งสมมาตั้งแต่ปู่ย่าตายายได้บอกให้ชาวบ้านรู้ว่านี่เป็นความจริง ที่สำคัญชาวบ้านใน 8 จังหวัดตลอดลำน้ำโขงได้ทำการศึกษาวิจัยด้วยตัวเองมาแล้วหลายครั้ง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของแม่น้ำโขงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนไซยะบุรี พร้อมกับมีการเผยแพร่และเรียกร้องความเป็นธรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเปิดเผยข้อมูลความเป็นจริงว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับชาวบ้านทั้งหมด "เราเครือข่ายประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงและเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน และสภาองค์กรชุมชนตำบลภาคอีสาน 19 จังหวัด ขอประมาณการกระทำดังกล่าวและขอท้านายเรวัติ สุวรรณกิตติ หรือตัวแทนคนไหนก็ได้ของบริษัทได้มาแสดงความรู้กับพวกเราชาวบ้านลุ่มน้ำโขงเพื่อพิสูจน์ ให้สังคมได้รับรู้ว่าใครกันแน่ที่ไร้การศึกษา และเราขอเรียกร้องให้นายเรวัติ สุวรรณกิตติ กล่าวขอโทษต่อการดูถูกเหยียดหยามชาวบ้านลุ่มน้ำโขงดังกล่าว หากไม่มีการกล่าวขอโทษ พวกเราจะยกขบวนไปหาท่าน" แถลงการณ์ระบุ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กลุ่ม 'วิศวกรเพื่อชาติ' ออกแถลงการณ์ สถานะการณ์คอร์รัปชั่นไทยถึงขั้นวิกฤต Posted: 10 Nov 2012 02:03 AM PST กลุ่มวิศวกรเพื่อชาติ ออกคำแถลงการณ์แจ้งประชาชน ชี้เข้าประมูลงานราชการต้องจัดเงิน 30-40% ตอบแทนให้กับนักการเมืองผู้มีอำนาจในโครงการนั้นๆ ด้านสถานะการณ์คอร์รัปชั่นการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง ในประเทศไทยปัจจุบันถึงขั้นวิกฤต จนอาจจะทำให้ประเทศชาติล่มสลายได้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เสวนา “แนวทางการปฏิรูปรัฐสภาไทย” ราชบัณฑิตแนะปฏิรูปหลายตัวแปร สร้างความเข้มแข็งระบบรัฐสภา Posted: 10 Nov 2012 01:08 AM PST การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 14 "การปฏิรูปรัฐสภา: มุมมองเชิงเปรียบเทียบ" เวที "แนวทางการปฏิรูปรัฐสภาไทย" 'ลิขิต ธีรเวคิน' แนะปฏิรูปตัวแปร 'ส.ว.ดิเรก' ระบุอำนาจที่ 4 ทำให้รัฐสภาอ่อนแอ ด้าน 'จาตุรนต์' เตือน "แช่แข็งประเทศ" ส่อพาประเทศล่มจม เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 55 ที่ผ่านมาที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 14 "การปฏิรูปรัฐสภา: มุมมองเชิงเปรียบเทียบ" โดยการอภิปรายเรื่อง "แนวทางการปฏิรูปรัฐสภาไทย" มีวิทยากรนำอภิปรายคือ ศ.ดร. ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต อดีต ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อและอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย, นายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิกวุฒิสภา จ.นนทบุรี, ศาสตราจารย์ ดร. ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ศาสตราจารย์ประจำสาขารัฐสาสตร์ มหาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี โดยมีนางสาวจอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
ราชบัณฑิตแนะปฏิรูปหลายตัวแปร สร้างความเข้มแข็งระบบรัฐสภา ในการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 14 "การปฏิรูปรัฐสภา: มุมมองเชิงเปรียบเทียบ" การอภิปรายเรื่อง "แนวทางการปฏิรูปรัฐสภาไทย" ศ.ดร. ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต อดีต ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อและอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ได้อภิปรายถึงแนวทางว่าการจะทำให้รัฐสภาไทยเข้มแข็งนั้น เสนอว่าต้องปฏิรูป หลายตัวแปร เพื่อสร้างความเข้มแข็งระบบรัฐสภา อาทิเช่น 1. ส.ส. ต้องปฏิรูปจิตสำนึกในการตระหนักถึงสถานะของตนเองในทางการเมือง คือตัว ส.ส. ต้องรู้จักตัวเองก่อนว่าเป็นใคร ต้องมีจิตสำนึกมีศักดิ์ศรีให้สมกับการเป็นตัวแทนที่ได้รับเลือกมาจากประชาชน โดยประสบการณ์ส่วนตัวที่ ศ.ดร. ลิขิต เคยเจอมานั้นมีหลายกรณีที่พบว่า ส.ส. ยังไม่เข้าใจสถานะของตนเอง ซึ่ง ศ.ดร. ลิขิต มองว่าศักดิ์ศรีและเกียรติของความเป็น ส.ส. นั้นมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าข้าราชการประจำ ตัวอย่างเช่น เมื่อบางครั้งที่ ส.ส. เดินทางไปต่างประเทศการพูดจาระหว่าง ส.ส. กับเจ้าหน้าที่การทูตระดับสูงสุดที่มีลักษณะไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงทางการเมือง ส.ส. บางคนมีความเคารพนบน้อมจนเกินเลยไป ซึ่งในความเป็นจริงทั้งสองฝ่ายควรให้เกียรติกันและกัน รวมถึงการที่องค์กรอิสระต่างๆ ก้าวล่วงไปพยายายามให้โอวาทชี้นำแก่ ส.ส. "หรือครั้งหนึ่งได้มีการจัดเลี้ยงหลังการเลือกตั้ง และมี กกต. ท่านหนึ่งได้ขึ้นกล่าวให้โอวาทแก่ ส.ส. ให้รู้รักสามัคคี ลืมความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และช่วยกันทำงานให้ประเทศชาติ .. ผมสงสัยว่าคุณเป็นใครที่มาให้โอวาท ส.ส." ศ.ดร. ลิขิต กล่าว ทั้งนี้ ศ.ดร. ลิขิต มองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เข้าใจถึงฐานะที่แท้จริง เพราะ ส.ส. คือตัวแทนของประชาชน เป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยของ 3 อำนาจ กกต. เป็นเจ้าหน้าที่จัดการเลือกตั้ง ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะให้โอวาทชี้แนะชี้นำอะไรทั้งสิ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ศ.ดร. ลิขิต มองว่าแนะนำว่าตัว ส.ส. เองก็ต้องทำการปฏิรูปตนเองให้สมกับสถานทางการเมืองที่ตนเองเป็นอยู่ "การจะปฏิรูปสถานะของตนเองนั้น ก็ต้องทำให้ตนเองเป็นคนที่น่านับถือ มีความรู้ ไม่ขาดประชุม ถ้าทำไม่ได้เขาก็ไม่นับถือ" ศ.ดร. ลิขิต กล่าว 2. บทบาทของ ส.ส. และ ส.ว. ที่มีหน้าที่ 3 ประการคือ 1.การออกกฎหมาย (Lawmaker-legislator), 2.การพิจารณางบประมาณ และ 3. ตรวจสอบการบริหารงานให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล โดยการออกกฎหมายนั้น ศ.ดร. ลิขิต เห็นว่าต้องมีการปฏิรูปแก้ไขอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้จากประสบการณ์การเป็น ส.ส. ของ ศ.ดร. ลิขิต พบว่าเรามักจะให้น้ำหนักและความสำคัญแก่ฝ่ายบริหารมากเกินไป เราลืมนึกไปว่า ส.ส. ผู้ออกกฎหมายมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศและต่อกระบวนการยุติธรรม และความยุติธรรมในสังคม 3. การสนับสนุน (Logistics Support) แก่ ส.ส. และ ส.ว. เช่น เงินเดือนผู้ช่วย ส.ส. และ ส.ว. ต้องอยู่ในระดับที่จูงใจให้คนที่มีคุณภาพมาทำงานให้กับ ส.ส. และ ส.ว. โดยให้เป็นผู้ช่วยทางฝ่ายนิติบัญญัติ ส่วนผู้ช่วยส่วนตัวนั้นให้เป็นอีกเรื่องหนึ่ง "เงินเดือนผู้ช่วย ส.ส. ส.ว อย่างน้อย 30,000 บาท ต้องให้เขา และให้มี นักเศรษฐศาสตร์ 1 คน นักนิติศาสตร์ 1 คน และทั่วไป 1 คน แค่นี้พอ ให้ทำงานอย่างจริงๆ จังๆ มันจะได้เป็นเนื้อเป็นน้ำ … ไม่ใช่แค่เอาไว้หิ้วกระเป๋าแล้วก็ไปซื้อตั๋วเครื่องบินให้" ศ.ดร. ลิขิต กล่าว รวมถึงเรื่องค่าตอบแทนให้แก่ ส.ส. และ ส.ว. ต้องอยู่ในระดับที่ดีและสมเหตุสมผล แต่สังคมไทยส่วนใหญ่ยังคงมีอคติกับเรื่องนี้ เพราะค่าใช้จ่ายของทั้ง ส.ส. และ ส.ว. รวมถึงข้าราชการต่างๆ มันจะต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงในปัจจุบัน "แล้วก็รายได้ ส.ส. ผมว่าหยุดพูดแบบนี้ได้แล้ว คนไทยชอบพูดแล้วเพราะ พูดแล้วไพเราะ พูดแล้วเหมือนกับว่าตัวเองเป็นเทวดา ส.ส. และ ส.ว. ควรเสียสละเพื่อชาตินะ ไม่ควรรับเงินเดือน มันเพราะดียิ่งใหญ่มาก แต่ความเป็นจริงมันเป็นไปได้หรือ" ศ.ดร. ลิขิต กล่าว 4. พรรคการเมือง ศ.ดร. ลิขิต มองว่าพรรคการเมืองเป็นสถาบันที่สำคัญมากที่สุดต่อจากรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่กลั่นกรองสมาชิกไปให้ประชาชนเลือก ถ้าพรรคการเมืองเป็นเพียงพรรคเฉพาะกิจหรือเป็นของคนกลุ่มเล็กๆ มีการบริหารไม่เป็นประชาธิปไตย คัดแต่คนที่มีโอกาสได้เสียงลงเท่านั้น แต่สมาชิกพรรคไม่มีวินัย ไม่มีเอกลักษณ์ ไม่มีอัตลักษณ์ของพรรคการเมืองของตนเองติดตัวอยู่เลย เหมือนในต่างประเทศที่พรรคอนุรักษ์นิยม หรือพรรคสังคมนิยม จะมีภาพของพรรคติดตัว ส.ส. รวมถึงพรรคการเมืองจะต้องเข้มแข็งด้วยโดยควรจะมีสถาบันวิจัยเป็นของตัวเองเพื่อรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆ อย่างเป็นระบบและตรวจสอบความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5. การปฏิรูปประชาชน โดย ศ.ดร. ลิขิต กล่าวว่า "if you are not economically independent, you cannot be politically independent" คือ ถ้าประชาชนไม่สามารถเป็นอิสระทางการเมืองได้ ก็ไม่สามารถเป็นอิสระทางการเมืองได้ ซึ่งไม่สามารถโทษประชาชนได้ ต้องโทษฝ่ายที่ปกครองบ้านเมือง และกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปประชาชนและพรรคการเมือง 6. สภาพแวดล้อมของรัฐสภา อาคาร สถานที่ทำงาน และข่าวสารข้อมูลให้ ส.ส. และ ส.ว. ศ.ดร. ลิขิต เห็นว่าสภาพแวดล้อมของรัฐสภาในปัจจุบัน ไม่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมให้ ส.ส. และ ส.ว. พัฒนาตนเอง เช่น ห้องสมุดที่ไม่มีคุณภาพ เป็นต้น ทั้งนี้ที่ผ่านมารัฐสภาไทยไม่ให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลและองค์ความรู้ต่างๆ เลย แม้จะมีการสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ก็ยังให้ความสำคัญกับเนื้อหาความรู้น้อยมาก ไม่มีการพัฒนาให้ทันสมัย รวมทั้งการจัดเตรียมข้อมูลต่างๆ ทั้งในด้านกฎหมายและข่าวสารข้อมูลต่างๆ ไว้รองรับการทำงานของ ส.ส. และ ส.ว. ทั้งเป็นสิ่งพิมพ์และในระบบออนไลน์ต่างๆ ให้เข้าถึงได้ง่าย เพื่อประโยชน์ในการทำหน้าที่ทางนิติบัญญัติและตรวจสอบ และ 7. ส.ส. และ ส.ว. ต้องได้รับ บำเหน็จและบำนาญ เพื่อการันตีความมั่นคงให้หลังเกษียรอายุ
'ดิเรก ถึงฝั่ง' ระบุอำนาจที่ 4 ทำให้รัฐสภาอ่อนแอ ด้านนายดิเรก ถึงฝั่ง สมาชิกวุฒิสภา จ.นนทบุรี กล่าวถึงปัญหาของรัฐสภาไทยว่าระบบรัฐสภานั้นไม่ได้มีปัญหาในตัวของมันเองแต่ปัญหาอาจจะอยู่ที่ตัวรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ได้ลดทอนอำนาจของรัฐสภาลง และถึงแม้จะมีความพยายามในการแก้ไข แต่ก็พบว่ามีขบวนการพิทักษ์รัฐธรรมนูญปี 2550 เคลื่อนไหวต่อต้านอยู่ โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่ผ่านมาที่การแก้ไขในรัฐสภาได้ผ่านถึงวาระที่ 3 แล้ว แต่ปรากฏว่าฝ่ายพิทักษ์รัฐธรรมนูญปี 2550 กลับใช้ ม. 154 ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งจนบัดนี้รัฐสภาไม่สามารถลงมติในวาระที่ 3 ได้เพราะการตีความของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนั้น ทั้งๆ ที่ศาลรัฐธรรมนูญควรทำหน้าที่ตีความตามตัวอักษร แต่กลับไปตีความนอกตัวบท ซึ่งนายดิเรกเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญได้กลายเป็นอำนาจที่ 4 ไปแล้ว ทั้งๆ ที่ระบอบประชาธิปไตยควรมีแค่ 3 อำนาจ คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ไม่ควรมีอำนาจที่ 4 คือศาลรัฐธรรมนูญ ที่คอยควบคุมการทำงานของรัฐสภา รวมทั้งการตีความของศาลรัฐธรรมนูญในหลายๆ กรณีทำให้เกิดความล่าช้าในการออกกฎหมายต่างๆ ดังนั้นจึงต้องเร่งแก้รัฐธรรมนูญ 50 เพื่อให้รัฐสภามีอำนาจในการตรวจสอบดูแลควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลได้ นอกจากนี้นายดิเรกยังชี้ให้เห็นด้วยว่าปัญหาของระบอบรัฐสภายังมีปัญหาที่ตัวบุคคลด้วยเช่นกัน ส.ส. และ ส.ว. มีการตั้งกันเป็นก๊วนเป็นแก๊งค์ ไม่มีสปิริต เกิดการประหัตประหารแย่งชิงอำนาจกัน สะท้อนให้เห้นว่าสมาชิกรัฐสภาของประเทศไทยไม่ให้ความร่วมมือกันอย่างจริงจังในการพัฒนาบ้านเมือง ดังนั้นการยึดแนวทางของความเป็นธรรมของ ส.ส. และ ส.ว. จะเป็นทางออกที่ดีที่สุดทางหนึ่งในสถานการณ์บ้านเมืองเวลานี้ รวมถึงกลไกในการทำงานในรัฐสภานั้นควรมีข้อบังคับให้รัฐบาลหรือรัฐมนตรีมาตอบกระทู้ของส.ส. และ ส.ว. ในสภาฯ ด้วย หากไม่มาจะถูกลงโทษเหมือนกับการบังคับใช้ พ.ร.บ. เรียกบุคคลมาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการ ทั้งนี้ผู้ดำเนินรายการได้ซักถึงประเด็นความเห็นของนายดิเรกว่าต้องการให้ยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญไปหรือไม่นั้น นายดิเรกกล่าวว่าพิจารณาเรื่องนี้ไม่ได้ เพราะต้องการให้รัฐธรรมนูญนั้นมาจากประชาชนโดยตรง เราจะไม่ไปชี้นำว่าอะไรควร หรือไม่ควร เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศ เมื่อผู้ดำเนินรายการถามย้ำอีกว่า ถ้าให้ตอบในฐานะประชาชนได้หรือไม่ ดร.ดิเรก ตอบว่า "รัฐธรรมนูญต้องกำหนดอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน ไม่ใช่ให้กลายเป็นอำนาจที่ 4 ที่ทำให้เสาหลัก 3 เสานั้นเกิดความโยกคลอนและเคลื่อนไหว ชัดเจนไหมครับ"
'ธีรภัทร์' เสนอเลือกนายกโดยตรง สส.ห้ามเป็นรัฐมนตรีช่วยในหลวงหลุดพ้นการเมือง ศาสตราจารย์ ดร. ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ศาสตราจารย์ประจำสาขารัฐสาสตร์ มหาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช และอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เสนอการเลือกตั้งนายกโดยตรงและแยก ส.ส.ออกจากการบริหาร ซึ่งจะทำให้พระมหากษัตริย์หลุดพ้นเหนือไปจากการเมือง ศ.ดร. ธีรภัทร์ เสนอว่าควรจะมีการเลือกตั้งนายกโดยตรงและแยกส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ให้ดำรงค์ตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาการซื้อเสียงได้เป็นอย่างดีเพราะมันไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนซื้อเสียง ลดความต้องการผลประโยชน์ของนักธุรกิจ ให้นายกแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีลงเลือกตั้งเสนอต่อประชาชน ส.ส.ทำหน้าที่นิติบัญญัติอย่างแท้จริง ทั้งนี้ระบบการเลือกตั้งแบบนี้จะทำให้พระมหากษัตริย์หลุดพ้นจากการเมืองโดยสิ้นเชิง ในเรื่องการคอรัปชั่นนั้นศ.ดร. ธีรภัทร์ ได้อ้างถึงบทความ "คอร์รัปชั่นไทย ก้าวหน้าเกินใคร" เขียนโดย ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา ที่วิเคราะห์ว่าโครงสร้างตลาดค้างบประมาณในระบบคอร์รัปชั่นแบบใหม่ออกเป็น 3 ตลาด (คล้ายกับตลาดทุน) คือ ตลาดหลัก ตลองรอง และตลาดย่อย โดยในบทความระบุว่า ตลาดหลัก คือ ต้นทางของระบบการคอร์รัปชั่นโครงการ Mega project ทั้งหลาย เริ่มต้นกันที่ระดับชาติ โดยกลุ่มธุรกิจการเมืองระดับชาติ ซึ่งมีอำนาจอยู่ในมือ, ตลาดรอง คือ กลุ่มผู้ค้างบประมาณ ที่เหมาซื้องบประมาณมาจากกลุ่มธุรกิจการเมืองระดับชาติ จะมีวิธีค้ากำไรจากงบประมาณ และตลาดย่อย คือ บรรดาบริษัทที่ซื้องบประมาณโครงการใหญ่ๆ เมื่อได้โครงการมา ก็มาว่าจ้างผู้รับเหมารายย่อย ไปดำเนินการต่อ พร้อมกับหักค่าหัวคิวเพิ่มอีกจำนวนหนึ่ง เช่น 5-10% เป็นต้น ทั้งนี้ ศ.ดร. ธีรภัทร์ ยังเห็นว่าปัญหาในรัฐสภามีทั้งเชิงโครงสร้างและเชิงบุคคล การที่จะปฏิรูปโครงสร้างโดยมีการเลือกตั้งนายกโดยในรัฐสภาควรที่จะให้ประชาชนลงมัติด้วยรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน เพราะที่ผ่านมานักการเมืองไม่กล้าจะทำประชามติเพื่อฟังเสียงประชาชนอย่างแท้จริง และยังเสนอด้วยว่าหากจะแก้ไขรัฐะรรมนูญปี 2550 ก็ควรจะทำประชามติถามประชาชนเสียก่อนเพราะรัฐธรรมนูญนี้แม้จะมีข้อเสียแต่ก็ได้มาจากเสียงของประชาชน ไม่ใช่มานั่งถกเถียงกัน และก็ขัดแย้งกัน ประชาชนควรมีบทบาทในการเป็นตัวแทนการลงมติ ประชาธิปไตยน่าจะมีเสถียรภาพและสามารถพัฒนาต่อไปได้ในทางที่ดี ทุกฝ่ายจะต้องมีโครงสร้างกลไก ความรับผิดชอบ และความโปร่งใส และจะนำไปสู่ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
'จาตุรนต์' เตือนระวัง 'แช่แข็งประเทศ' จุดชนวนการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เป็นไปตาม รธน. นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี ให้ทัศนะถึง 2 กระแสความเคลื่อนไหวที่สวนทางกัน ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายที่ต้องการแช่แข็งประเทศไทย ซึ่งอาจจะเป็นการทำลายระบบรัฐสภา นายจาตุรนต์ ระบุว่าระบบรัฐสภากับระบบพรรคการเมืองประเทศไทยยังมีการส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองในการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยน้อยเกินไป และกลไกของรัฐสภาก็ยังทำงานในเรื่องดังกล่าวน้อยเกินไปเช่นกัน ซึ่งความไม่เป็นประชาธิปไตยของประเทศ เป็นปัญหาที่ต้องมีการแก้ไข และการจะปฏิรูปรัฐสภาก็ต้องเริ่มจากการทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยก่อน นายจาตุรนต์ กล่าวว่าความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทยกำลังถดถอยลงและระบบรัฐสภาถูกจำกัดบทบาทมากขึ้น พร้อมเห็นว่าประเทศไทยกำลังเผชิญ 2 กระแสที่สวนทางกัน คือ 1.ฝ่ายที่ต้องการเห็นประเทศเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น กับ 2.ฝ่ายที่ต้องการล้มล้างระบบรัฐสภา ซึ่งมองว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายในประเทศอย่างมาก และตนเห็นว่าสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวในสภาที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป้าหมายเพื่อล้มรัฐบาลอย่างที่เคยทำสำเร็จมาแล้ว ทั้งยังต้องการให้แช่แข็งประเทศไทยอีก 5 ปี นอกจากนี้นายจาตุรนต์เห็นว่า แม้การเคลื่อนไหวนอกสภาจะเป็นสิทธิที่ทำได้ แต่จะเป็นปัญหาหากข้อเสนอไม่เป็นไปตามประชาธิปไตย มีความต้องการแช่แข็งประเทศ จึงถือเป็นความล่อแหลมที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเกิดความเสียหายต่อประเทศ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ความไม่มีเสถียรภาพ และประเทศต่างๆ จะขาดความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย
ที่มาข่าว: เว็บไซต์ข่าวรัฐสภาถึงประชาชน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เอ็กซเรย์ช่วง ‘เปลี่ยนผ่าน’ : รวมบทวิเคราะห์ ธเนศ-ใบตองแห้ง-ประภาส-ธนาธร Posted: 10 Nov 2012 12:16 AM PST
10 พ.ย.55 งานเสวนาวิชาการ 'กลุ่มพลังประชาธิปไตยในช่วงเปลี่ยนผ่าน' จัดโดยสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย มีผู้ร่วมอภิปรายได้แก่ ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ จากวิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ , ประภาส ปิ่นตบแต่ง จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อธึกกิต แสวงสุข หรือใบตองแห้ง คอลัมนิสต์อิสระ, ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ จากภาคธุรกิจ เขาวิเคราะห์ว่าหากถอดบทเรียนจาก 6 ตุลาจะเห็นว่ามีการนำด้วยพลังที่รุนแรงก่อนแล้วค่อยมีพระเอกของความเป็นกลางมาช่วยแก้ปัญหา เป็นลำดับขั้น ซึ่งรูปแบบนี้ก็ยังเกิดขึ้นได้ในปัจจุบัน ขณะที่รัฐบาลก็ไม่ได้มีกลุ่มเสนาธิการที่จะตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างทันเหตุการณ์และตอบโต้ทางเนื้อหา การรับมือของรัฐบาลที่เป็นอยู่ก็เป็นรูปแบบไดโนเสาร์และไร้ประสิทธิภาพ เช่น การบอกว่าเขาขนคนจากไหน ขึ้นป้ายสนับสนุนรัฐบาลตามจังหวัดต่างๆ เขากล่าวต่อว่า ประชาธิปไตยไทยก้าวต่อไปควรเป็นอะไร เราจะไปสู่การปกครองตนเองอย่างไร การกำกับดูแลระบบ สถาบัน นักการเมืองจะทำได้อย่างไร หากคิดแบบพยายามเข้าใจประชาชนฝ่ายอนุรักษ์นิยมด้วยก็จะเห็นข้อกังวลสำคัญว่า หากล้างระบบอำมาตย์ เช่น องค์กรอิสระที่ไม่มีที่มาจากประชาชน แล้วในการคานอำนาจรัฐบาล ตรวจสอบรัฐบาลจะทำอย่างไร นี่เป็นโจทย์ที่ต้องตอบให้ละเอียดกับสังคม ประภาสกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ยังรู้สึกว่ามวลชนเหล่านี้ยังมีลักษณะ "เคว้งคว้าง" อยู่ เนื่องจากกิจกรรมที่เกาะเกี่ยวในระดับพื้นที่นั้นห่างหายไป โดยเฉพาะหลังพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล น่าเสียดายที่ไม่ได้ทำให้คนเหล่านี้ได้เกาะเกี่ยวและสร้างการต่อรองมากขึ้น สำหรับข้อเสนอนั้น ประภาสกล่าวว่า สำหรับประชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง การแก้รัฐธรรมนูญมาตราสำคัญๆ ต้องทำแน่ แต่ขณะเดียวกันการตรวจสอบอำนาจรัฐก็ต้องให้คำตอบให้กับสังคมด้วยว่าจะทำย่างไรให้มีประสิทธิภาพกว่าที่ผ่านมา และจะให้ชาวบ้านได้เข้าไปใช้พื้นที่ทางการเมือง เข้าไปมีส่วนร่วมกับนโยบายสาธารณะอย่างไร นอกจากนี้ประเด็นการสร้างพรรคมวลชนน่าจะเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณากันมากขึ้น ส่วนการกระจายอำนาจ ระบบตัวแทนท้องถิ่นเราก็พบว่ายังทำงานได้ไม่มากนัก ต้องพัฒนาต่ออย่างจริงจัง "การพูดถึงประชาธิปไตยชุมชนในสายคุณหมอประเวศ ถ้าเราไม่โกรธจัดตอนเขาสนับสนุนรัฐประหาร เราก็จะเห็นมิติว่าเป็นการถ่ายโอนอำนาจตัวแทนไปอยู่ในมือประชาชนมากขึ้นเช่นกัน" ประภาสกล่าว หากวิเคราะห์ 24 มิถุนายน 2475 ด้วยมุมมองนี้จะเห็นว่า ประชาธิปไตยตั้งแต่ 2475 ไม่ได้เริ่มต้นด้วยการเอาของใหม่ไปตั้งวางแทนของเก่าแล้วนับหนึ่งแบบที่เราเชื่อ หากดูประวัติศาสตร์การเมืองไทยเปรียบกับเอเชียด้วยกันแล้วจะพบว่ามีลักษณะพิเศษที่ไม่เหมือนคนอื่น ตรงที่ความต่อเนื่องของสถาบันดั้งเดิมมีอยู่สูงมาก สูงกว่าทุกประเทศในเอเชีย ไม่มีการถูกทำลายให้ขาดตอนเลย ในขณะที่ประเทศอื่นๆ นั้นขาดตอนกันไปตั้งแต่สมัยอาณานิคม มีการเปลี่ยนสถาบัน เปลี่ยนการปกครองในประเทศกันจนครึ่งหนึ่งเป็นตะวันตก ครึ่งหนึ่งเป็นของเดิม การสร้างประชาธิปไตยของประเทศเหล่านั้นจึงพูดถึงอนาคตอย่างเดียวไม่พูดถึงอดีต ขณะที่กรณี 24 มิถุนา ลองอ่านบันทึกของปรีดีก็จะเห็นชัดเจนว่าระบอบเก่าและใหม่ประนีประนอมกันอย่างแรง มันจึงไม่ได้เป็นการเริ่มต้นประชาธิปไตยแบบที่เราเข้าใจ โดยรากแล้วยังเป็นรากเก่าเกือบทั้งนั้น จนถึงทุกวันนี้ก็มีรากเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกัน ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ ซึ่งระบบอุปถัมภ์ก็ไม่ได้เลวร้ายทั้งหมด แต่เป็นธรรมเนียมระเบียบที่ควบคุมกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยไม่ไปแทรกแซงกฎระเบียบหลักตราบที่กฎหมายใหญ่นั้นไม่เบี้ยวมากเกินไป แต่เมื่อกฎหมายมันเบี้ยว คนก็เข้าหาระบบอุปถัมภ์ ทำให้ทฤษฎีการปกครองตนเอง เสียงข้างมาก แบบในยุโรปอเมริกาเป็นเพียงแต่นามธรรมสำหรับสถานการณ์ในบ้านเรา ความยากลำบากของการสร้างระบบประชาธิปไตยในการเมืองไทยคือ ทำอย่างไรจะเอาความเป็นจริงที่เรารับมา ปรับเข้าความเป็นจริงที่เป็นอยู่ เพื่อไปสู่ความเป็นจริงที่อยากเห็น ส่วนว่าจะให้เป็นอย่างไร ประชาชนต้องช่วยกันตอบว่าจะเอาแค่ไหน เพราะมันจะโยงถึงกลไกที่จะใช้ ตะวันตกใช้ระบบกฎหมายและทำให้ระบบกฎหมายเป็นสถาบัน สำหรับของเราต้องไม่ให้เป็นนักการเมืองมาเป็นผู้ตัดสินว่าประชาธิปไตยควรเป็นอย่างไร ควรจะปกครองอย่างไร และต้องสร้างกลไกที่ควบคุมผู้เข้ามามีอำนาจด้วย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เสวนาพระปกเกล้า : ชี้ชัด 'รัฐสภาไทย' ล้มเหลวด้านการคลัง แนะสร้างที่ 'ระบบ' ไม่ยึดติดบุคคล Posted: 09 Nov 2012 06:20 PM PST ถอดบทเรียนต่างประเทศ ระบุ การตรวจสอบที่เหมาะต้องมีเวลาให้รัฐสภาประมาณ 3 เดือน เพื่อแก้ไขและอภิปรายอย่างเพียงพอต่อร่างงบประมาณ นักวิชาการ 'จุฬา' ฟันธง รัฐสภาไทยล้มเหลวด้านการคลัง เพราะติดโรค 'หักหลังประชาชน' หนุนตั้ง กรรมาธิการการเงินการคลังสภาถาวร อดีต ผอ.ส.งบประมาณ เผย รัฐสภาได้ตรวจงบประมาณต่อปีเพียง 20 % จากสัดส่วนจริงทั้งหมด ชู ตั้ง 'เว็บไซต์' ตรวจสอบจากประชาชนยิงตรงถึงสภา ส.ส.ปชป.รับ ไปผลักดันในสภาต่อ เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 55 สถาบันพระปกเกล้าจัดการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 14 เรื่อง 'การปฏิรูปรัฐสภา : มุมมองเชิงเปรียบเทียบ' ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ โดยมีการเสวนา 'บทบาทด้านงบประมาณของรัฐสภา'เป็นหัวข้อย่อย นาย Shabih Mohib จาก World Bank Organization กล่าวถึงภาพรวมที่มาของการจัดการงบประมาณในประเทศต่างๆทั่วโลกว่า งบประมาณที่รัฐจัดเก็บได้นั้น นอกจากภาษีแล้วอาจมีรายได้จากรัฐวิสาหกิจ หรืออื่นๆ ซึ่งหลายประเทศมีวิธีการตรวจสอบทางนิติบัญญัติไม่เหมือนกันและไม่มีวิธี ปฏิบัติที่ดีที่สุด ส่วนใหญ่รัฐสภาจะเป็นผู้ตรวจสอบการนำไปใช้ ซึ่งรัฐสภาแต่ละประเทศก็มีวิธีการไม่เหมือนกันอีก อย่างไรก็ตาม ในแง่นิติบัญญัติ การตรวจสอบควรมีเวลาอย่างน้อน 3 เดือนในการดู สิ่งสำคัญนอกจากระยะเวลาก็คือความเพียงพอของข้อมูลที่จะมีในงบประมาณ ซึ่งไม่ใช่การให้ทุกอย่าง แต่บอกในเชิงยุทธศาสตร์ว่าจะทำอะไร โดยรัฐสภาบางประเทศสามารถอนุมัติ ปฏิเสธ หรือแก้ไขเพิ่มเติมงบประมาณได้ ทั้งนี้ งบประมาณเป็นสิ่งสำคัญ เป็นเครื่องมือที่รัฐบาลมีอยู่ สามารถกำหนดทิศทางสาธารณะ และเงินก็เป็นเรื่องของอำนาจ การกำหนดทิศทางเหล่านี้จะถ่วงดุลได้อย่างไร หลายประเทศจึงสร้างทำให้เกิดงบประมาณที่ตรวจสอบได้ เขากล่าวอีกว่า ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องความต้องการข้อมูลของรัฐสภาคือ ต้องการความครอบคลุม แม่นยำ เหมาะสม ซึ่งพูดง่ายแต่ทำยาก เพราะจะรู้อย่างไรว่าได้มาเพียงพอ ดังนั้น เรื่องงบประมาณจึงต้องมีเวลาเพียงพอ ต้องดูว่ามีเจตนาถูกต้องหรือไม่ และมีสำนักงานที่จะตรวจสอบติดตามตรงนี้ นอกจากนั้นต้องมีรายงานที่มีความเปิดเผยต่อรัฐสภาด้วย ด้าน ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา นักวิชาการคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อภิปรายต่อว่า รัฐสภาไทยล้มเหลวทางด้านการคลัง ซึ่งไม่ใช่ไม่มีความสามารถ แต่ที่ใดๆในโลกก็ล้มเหลวคล้ายกันหมด ซึ่งตามหลักการแล้วรัฐสภามีหน้าที่ตรวจสอบด้านการเงินการคลังและตรวจสอบฝ่าย บริหาร แต่ในประเทศประชาธิปไตยตัวแทน ระบบรัฐสภาจะมีโรคประจำตัวสองโรค ซึ่งเป็นทฤษฎีทางการคลังที่ว่ากันมานาน โรคประจำตัวแรกมาจากภาวะที่ ส.ส.มาจากการเลือกตั้งจึงต้องการได้งบประมาณลงสู่เขตตัวเอง เพื่อหวังคะแนนเลือกตั้งคราวหน้า อีกทั้งมีความเชื่อมโยงกลุ่มผลประโยชน์ เช่นเดียวกับพรรคการเมืองที่อิงฐานเสียงและพลังทางการเมืองที่สนับสนุนพรรค งบประมาณจึงมักไปลงกับคนกลุ่มที่เป็นฐานเสียงมากกว่าส่วนรวม เรื่องนี้จึงชื่อมโยงระหว่าง ส.ส เขตเลือกตั้ง กลุ่มผลประโยชน์ที่ติดกัน เช่นจะมีนโยบายลดหย่อนภาษีให้กับบางกลุ่ม ดังนั้น ส.ส. หรือพรรคการเมือง เมื่อถามว่าระหว่างเลือกเอื้อผลประโยชน์กับการตรวจสอบ ส่วนใหญ่ก็จะเลือกเอื้อมากกว่าซึ่งเป็นธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า 'ทฤษฎีหักหลังประชาชน' คือ ตอนสมัครก็พูดว่าจะทำเพื่อประชาชน แต่พอได้แล้วก็หักหลังไปทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนหรือกลุ่ม ศ.ดร.จรัส กล่าวถึงอีกโรคหนึ่งว่า คือเงินภาษีที่รัฐจัดเก็บมาได้ทั้งหมดจะกองเงินไว้ที่ส่วนรวม ทุกคนมีสิทธิ์ใช้เสมอกัน กลายเป็นว่าการที่ใครดึงเงินไปใช้ได้มากที่สุดเป็นคนเก่ง ฉะนั้น ตามธรรมชาติของ ส.ส. และพรรคการเมือง จึงไม่มีใครขัดค้านนโยบายที่มีความเสี่ยงต่อสถานะการเงินการคลังหรือนโยบาย ที่เสี่ยงจะขาดดุลการคลัง เพราะเป็นเงินส่วนรวมยกเว้นตัวเองได้ประโยชน์ ส.ส. หรือพรรคการเมืองจึงจะคัดค้านนโยบายภาษี เพราะจะทำให้เสียคะแนน จึงทำรัฐสภาไม่สามารถควบคุมวินัยทางการคลังได้ แม้แต่ประเทศที่ก้าวหนาในประชาธิปไตยมาก เช่น ญี่ปุ่น ก็จะเห็นว่ารัฐสภาไม่สามารถแก้ปัญหาการขาดดุลการคลังได้ ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมากๆก็จะมีปัญหานี้และมีมาก ในส่วนข้อเสนอ ศ.ดร.จรัส กล่าวว่า รัฐสภาต้องมีระบบฏิบัติการที่ทำงานได้จริง มีเสถียรภาพ ไม่ขึ้นกับบุคคล ไม่ว่า ส.ส.หรือ ส.ว. ก็ตาม ทั้งนี้ ควรตั้งระบบกรรมาธิการการคลังและงบประมาณเป็นประจำสภา ไม่ใช่มีเป็นครั้งๆอย่างที่เป็นอยู่ และมีกรรมาธิการเฉพาะด้านอื่นๆทำหน้าที่วิเคราะห์งบระมาณเฉพาะด้านเป็นส่วน ประกอบ ในระบบกรรมาธิการนั้นให้ทำหน้าที่รายงานเศรษฐิจ หรือ กรอบนโยบายการคลัง ซึ่งในประเทศไทยกระทรวงการคลังไม่เคยทำให้สภาดูมาก่อน ยกเว้น พ.ศ. 2542 แต่รัฐก็น่าจะไม่ได้ดู นอกจากนี้ นโยบายอย่างรถยนต์คันแรก ซึ่งเป็นงบประมาณประเภท Tax expenditure ในบางประเทศการใช้งบประมาณประเภทนี้ต้องผ่านสภาด้วย ประการต่อมา จะต้องมีการปฏิรูปเอกสารงบประมาณ ซึ่งไม่ค่อยมีการเสนอต่อสภา เช่น งบประมาณรัฐวิสาหกิจและกองทุนหรือประเภท Tax expenditure หรือประมาณการดุลการคลังและการเปลี่ยนแปลงสถานะทางการคลังของรัฐบาลเมื่อ สิ้นปีซึ่งไม่เคยมีรัฐบาลใดทำ ไม่เคยบอกเป็นหนี้เท่าไหร่ ฐานะการเงินการคลังจะเป็นอย่างไร ต้องขายรัฐวิสาหกิจไปกี่แห่ง บอกแต่เรื่องจะใช้เงินเท่าไหร่ ซึ่งถ้าเป็น CEO ของบริษัทเอกชนต่างๆจะต้องทำเรื่องนี้ เพื่อให้กรรมการอนุมัติการใช้เงินต่อไป ด้าน วลัยรัตน์ ศรีอรุณ อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า เห็นด้วยในเรื่องความล้มเหลวของรัฐสภา แต่เป็นเรื่องของระบบไม่ใช่ตัวบุคคล รัฐสภามีเวลาดูงบประมาณรายจ่ายที่เป็นส่วนน้อยนิด และได้ดูราว 20% ของงบประมาณเท่านั้น คือประมาณ สองล้านล้านบาทต่อปี แต่ที่มักหลุดไป เช่น เงินกู้ใหญ่ๆของรัฐวิสาหกิจ หรือการกู้เงินต่างหากอื่นๆก็ไม่ได้เข้ามาสู่สภา นอกจากนี้ เงื่อนไขอีกประการหนึ่งคือ รัฐสภาพึ่งพาข้อมูลทั้งหมดจากฝ่ายบริหาร แต่ถามว่า ข้อมูลเหล่านั้นจริงแค่ไหน ยกตัวอย่างสมัยเคยเป็น ผอ. สำนักงบประมาณ อย่างกรณีน้ำท่วมในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มีการจ่ายชดเชยเยียวยากรณีแบบนี้เป็นครั้งแรก ตัวเลขประมาณการเบื้องต้นที่ต้องจ่ายคือ 600,000 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 5,000 บาท เป็นงบประมาณฉุกเฉิน ซึ่งทางนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เป็นผู้ดูแลเรื่องนี้ในสมัยนั้นได้มอบหมายให้สำนักงบประมาณตรวจสอบว่าจะเบิก จ่ายอย่างไร วลัยรัตน์ กล่าวว่า กรณีนี้ได้ใช้วิธีดึงภาพจาก Google Earth มาซ้อนทับกับแผนที่หมู่บ้านโดยได้สอบถามไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านภาพ ดาวเทียมว่าสามารถใช้เป็นข้อมูลได้หรือไม่ ซึ่งได้รับคำตอบว่าได้ และใช้วิธีการนับครัวเรือนโดยวิธีการสุ่มตรวจด้วย ผลคือ จำนวนครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบหายไป 200,000 ครัวเรือน และประหยัดเงินไปได้ 2,000 ล้านบาท อีกตัวอย่างหนึ่ง วลัยรัตน์ กล่าวถึง โครงการที่มีการของบประมาณมาเพื่อตัดถนนไปประเทศเพื่อนบ้านประเทศประเทศ หนึ่ง ในโครงการบอกว่าถนนเส้นนี้ต้องเจาะภูเขามากมาย สำนักงบประมาณจึงขอพิกัดที่จุดเริ่มต้นและสิ้นสุด จากนั้นจึงไปตรวจดูจากหน้าจอคอมพิวเจอร์ พบว่า มีภูเขาจริง แต่ระหว่างงภูเขามีางราบกว้างใหญ่และมีถนนเดิมอยู่แล้ว จึงไม่อนุมัติงบประมาณถนนระดับพันล้านนี้ได้ ทั้งนี้ วลัยรัตน์ กล่าวต่อไปว่า การตรวจสอบข้อมูลที่ดีที่สุดคือ การตรวจสอบได้ที่มาจากประชาชน ซึ่ง ส.ส.มาจากประชาชนหรือใกล้ชิดประชาชน จึงควรมีการสร้าง เว็บไซต์ประเภท Peaple Watch หรือ Peaple Voice ขึ้นมา เพราะอาจเป็นไปได้ว่า โครงการอย่างเช่นถนนไร้ฝุ่น ประชนอาจไม่ต้องการไร้ฝุ่นก็ได้ หรือเมื่อตรวจสอบแล้วเราก็เห็นแล้วว่า ถนนไร้ฝุ่นที่ของบประมาณมานั้นความจริงมันเป็นถนนไร้ฝุ่นอยู่แล้ว ดังนั้น ต้องให้ตัวเลขเป็นผู้สร้างการกระทำของคน ดึงข้อมูลเข้ามา สร้างสถาบัน สร้างความต่อเนื่องขึ้น "เด็กมีแท็บเล็ตแล้วทำไมไม่ใช้สื่อเหล่านั้นบอกมาว่าได้รับอะไรจากรัฐบาล หรือต้องการอะไรจากรัฐ โดยไม่ต้องรอ ครม.สัญจร เพราะความเป็นจริง คือ ครม.ไม่สามารถสัญจรไปทุกจังหวัดได้หรืออย่างโครงการไทยเข้มแข็ง รัฐบอกแต่ขาลงว่าโครงการไปลงที่ไหน แต่ไม่บอกขาขึ้นกลับมาว่าเขาได้รับจริงหรือไม่" วลัยรัตน์ กล่าว นอกจากนี้ อดีต ผอ.สำนักงบประมาณยังมีความเป็นห่วงว่า หากไม่มีระบบครอบคลุมไปยังงบประมาณอื่นนอกจากเงินสองล้านล้านกว่าบาทที่เข้า สภา ก็อาจทำให้เกิดหนี้มหาศาลในอนาคต ซึ่งเรื่องนี้จะต้องไม่ไว้ใจที่ตัวบุคคล แต่ต้องมีระบบตรวจสอบ ในช่วงแสดงความเห็น ดร.เจริญ คันธวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า สนับสนุนความเห็นเรื่องการมีข้อมูลทางการเงินของรัฐสภาเอง แต่หากให้มีคณะกรรมาธิการถาวรคง อีกยาวนาน เพราะตัว ส.ส. ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้ แต่ควรมีคณะกรรมการของสภาเองที่ทำเรื่องงบประมาณ เพราะก็มี ส.ส. ที่สงสัยเรื่องนี้เหมือนกัน ซึ่ง ส.ส.ที่สนิทกับทางสำนักงบประมาณก็อาจไปขอข้อมูลได้ แต่บางคนไม่สนิทก็ไม่กล้าไปขอ หากมีข้อมูลของสภาเองก็จะสามารถไปใช้ข้อมูลตัวเลขต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งประชาชนและ ส.ส.เองว่างบประมาณไปไหน หมกเม็ดหรือไม่ ประชาชนจะได้ตรวจสอบได้ บางคนเอางบประมาณไปลงพื้นที่ตัวเองมากเกินก็ไปขุดมาฟ้องประชาชนได้ นอกจากนี้ นายเจริญ ยังรับปากว่าจะไปผลักดันเรื่องการทำให้มีเว็บไซต์ เพราะเคยพบตัวอย่างที่บนดอย จังหวัดลำพูน ซึ่งมีหมู่บ้านคนกลุ่มน้อยอย่างแม้ว มูเซอ อยากเจาะน้ำบาดาล แต่บางทีเรื่องไปไม่ถึง ส.ส. ทั้งที่ใช้งบประมาณแค่ 70,000 บาท ได้ประโยชน์ 3 หมู่บ้าน ถ้าเรามีระบบแบบนี้ มีอินเตอร์เน็ทให้เด็กๆเล่น ก็ป้อนข้อมูลตรงขึ้นมาให้ตั้งงบประมาณสำหรับปีหน้าต่อได้ เป็นต้น "ตรงนี้ผมจะไปผลักดันที่สภาต่อไป เพราะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ต่อ ส.ส. และต่อประเทศชาติด้วย" นายเจริญกล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ธงชัย วินิจจะกูล: ผีกลัวแสงสว่าง Posted: 09 Nov 2012 05:42 PM PST บัดนี้คงชัดเจนแล้วว่าคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ(ไอซีซี)กรณีอาชญากรรมการเมืองตรงราชประสงค์เมื่อปี 2553 และการดำเนินการต่อเนื่องมาทั้งหลาย ไม่ใช่ละครปลอบใจคนเสื้อแดงและไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันไร้ประโยชน์ ประชาคมโลกจัดตั้งไอซีซีขึ้นมาเพื่อจัดการลงโทษผู้มีอำนาจที่ก่ออาชญากรรมร้ายแรงต่อมนุษยชาติ เช่นสังหารประชาชนจำนวนมากหรือฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งร้อยทั้งร้อยเริ่มต้นจากกระทำผิดก่ออาชญากรรมแล้วลอยนวลไม่ถูกลงโทษ (impunity) ภารกิจของไอซีซีคือต้องยุติภาวะเช่นนี้ให้จงได้ ("End the Impunity") การที่อัยการของไอซีซีเข้าพบรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยก็เพราะเขาเห็นว่ากรณีนี้มีมูลควรสนใจและสะท้อนวัฒนธรรมปล่อยคนผิดที่มีอำนาจลอยนวลซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเป็นปัญหาใหญ่ของการเมืองไทย ด้วยเหตุนี้ไอซีซีจึงไม่จำหน่ายคำร้องของนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมออกไปตั้งแต่แรกๆที่เขายื่นเมื่อมกราคม 2554 (หวังว่าคงไม่มีใครเพ้อเจ้อกล่าวหาว่าอัยการของไอซีซีรับเงินทักษิณ) ผู้มีส่วนในการก่ออาชญากรรมเมื่อปี 2553 และบรรดาผู้สนับสนุนต่างพากันออกมาคัดค้านไอซีซีเป็นการใหญ่ด้วยข้ออ้างสารพัด เรื่องนี้เราควรพิจารณาสาเหตุผลสะเทือนให้กว้างและไกล อย่าหมกมุ่นหลงติดคิดแคบๆสั้นๆหรือคิดแค่ลูบหน้าปะจมูก อย่าหวังปัดปัญหาหรือปิดหูปิดตาตัวเองเด็ดขาด แต่ถึงวันนี้ จะมีสักกี่คนที่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมของไทยต่อกรณีอาชญากรรมการเมืองร้ายแรงจะมีสักกี่คนที่มั่นใจว่าไม่มีใบสั่ง ไม่เอียงเข้าข้างอำนาจ ไม่รังแกคนจนคนไร้อำนาจ ไม่มีสี เส้น หรือเอียงตามสถานะทางสังคม เปี่ยมด้วยวุฒิภาวะ หลักการ คงเส้นคงวา เชื่อถือได้ และเคารพสิทธิให้ประกันตัว ถ้ากระบวนยุติธรรมของไทยเคยกล้าจัดการกับอาชญากรรมเมื่อ 14 ตุลา 16 6 ตุลา 19 และพฤษภา 35 อย่างเที่ยงธรรม ไม่มีการนิรโทษกรรมผู้กระทำผิด ไม่มีการปล่อยลอยนวลครั้งแล้วครั้งเล่าจนเสียนิสัย ไม่ปล่อยให้คนมีอำนาจเคยตัวว่าก่ออาชญากรรมก็ไม่ถูกลงโทษ ป่านนี้ไอซีซีคงทิ้งคำร้องไปตั้งนานแล้ว ถ้ากระบวนการยุติธรรมของไทยไม่รับรองการรัฐประหารว่าเป็นเรื่องถูกต้อง ถ้านักกฎหมายไม่นิรโทษกรรมผู้ใช้อาวุธยึดอำนาจ ไม่ปกป้องผู้กระทำผิดร้ายแรงถึงขนาดบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ไอซีซีก็คงเอาคำร้องกรณีราชประสงค์ 2553ออกจากสารบบไปตั้งนานแล้ว ถ้านักกฎหมาย อาจารย์นิติศาสตร์ จนถึงศาลยุติธรรม ไม่รับใช้ช่วยให้ผู้มีอำนาจที่ก่ออาชญากรรมลอยนวลไม่ถูกลงโทษ ไอซีซีคงไม่รับคำร้องกรณีนี้ตั้งแต่ต้น ตลอด 30-40 ปีที่ผ่านมา อาชญากรรมการเมืองครั้งใหญ่เหล่านั้นอาจไม่เกิดขึ้นด้วยซ้ำไป เราอย่านึกว่าอัยการของไอซีซีไม่ทำการบ้าน ไม่ศึกษา ไม่รู้เรื่องประเทศไทยเลยว่ามีการนิรโทษกรรมผู้มีอำนาจที่ก่ออาชญากรรม ปล่อยลอยนวลครั้งแล้วครั้งเล่า เราอย่านึกเอาเองว่าอัยการของไอซีซีไม่รู้เหนือรู้ใต้ ไม่รู้ว่านับตั้งแต่กรณีราชประสงค์ 2553 ยังมีคนถูกขังคุกโดยไม่ได้รับการประกันตัวทั้งๆที่ยังไม่มีความผิด ในขณะที่ผู้ออกคำสั่งให้ใช้อาวุธสังหารประชาชนยังลอยนวลอยู่ และผู้กระทำผิดร้ายแรงเห็นโต้งๆเช่นการยึดทำเนียบรัฐบาลหรือสนามบินนานาชาติกลับไม่ถูกดำเนินคดี เพราะเขาทำการบ้าน ทำการศึกษา อัยการของไอซีซีจึงเห็นว่ากรณีอาชญากรรมเมื่อปี 2553 มีวี่แววว่าคนมีอำนาจที่ก่ออาชญากรรมอาจจะไม่ถูกลงโทษอีกเช่นเคย ดังนั้น เรื่องใหญ่คือเราต้องทำให้ประชาคมโลกและไอซีซีเห็นว่าระบบกฎหมายไทยและกระบวนการยุติธรรมของไทยกำลังปรับปรุงและแก้ปัญหา กำลังมุ่งจัดการเอาผู้สั่งการก่ออาชญากรรมมาลงโทษ พร้อมทั้งแก้ปัญหาความอยุติธรรมที่เกี่ยวเนื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ 2553 อย่างจริงจัง กระบวนการยุติธรรมของไทยต่อกรณีนี้ต้องดำเนินไปอย่างเที่ยงธรรม จริงจังไม่ล่าช้า พยายามล่าตัวผู้สั่งการมาลงโทษ ไอซีซีจะเห็นเองว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยเชื่อถือได้ ต้องให้ประกันผู้ถูกดำเนินคดีที่ยังอยู่ในคุกทั้งหมด ต้องปล่อยนักโทษการเมืองและให้ความเป็นธรรมแก่เหยื่อที่ถูกลงโทษซ้ำในความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีราชประสงค์ 2553 สิ่งที่ควรทำมากไปกว่านั้นก็คือ ต้องแสดงให้ชัดว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยไม่สนับสนุนการรัฐประหาร ด้วยการนำข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ที่ให้ล้มล้างผลพวงของรัฐประหาร 2549 ขึ้นมาพิจารณาและเร่งนำไปปฎิบัติ (ผู้ที่เห็นว่าข้อเสนอดังกล่าวเหลวไหลน่าหัวร่อคือคนที่คิดแคบคิดสั้น ไม่เข้าใจว่าข้อเสนอดังกล่าวจะมีผลช่วยปรับระบบนิติธรรมและกระบวนการยุติธรรมของไทยให้เข้ารูปรอย ซึ่งจะฟื้นความน่าเชื่อถือขึ้นมามหาศาล) ความกังวลต่อภาพพจน์ประเทศไทย สะท้อนความคับแคบปิดหูปิดตาตัวเองจนน่าสมเพช เพราะภาพพจน์ประเทศไทยในเรื่องระบบการเมืองและระบบนิติธรรมในสายตานานาชาตินั้น ตกต่ำจนแทบไม่เหลือให้เสียไปกว่านี้อีกแล้ว ตั้งแต่การรัฐประหาร 2549 คำตัดสินไร้หลักการทั้งหลายภายใต้ตุลาการภิวัฒน์ จนถึงกรณีราชประสงค์ 2553 การที่อัยการของไอซีซีเห็นว่าควรสอบสวนเหตุการณ์ 2553 น่าจะสะท้อนว่าภาพพจน์ของการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมไทยในสายตาชาวโลกเป็นอย่างไร บอกให้ก็ได้ว่ามีอีกมาตรการหนึ่งที่จะสามารถกู้ภาพพจน์ประเทศไทยขึ้นมาอย่างสำคัญและฉับพลันทันที นั่นคือการยกเลิกหรือแก้ม.112 เพราะในขณะนี้กฎหมายหมิ่นฯ คือ ภาพพจน์ของ "อนารยธรรมไทย" ในสายตาชาวโลก เป็นกฎหมายป่าเถื่อนที่อารยชนส่วนใหญ่ในโลกรับไม่ได้ คำอธิบายว่าเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยหรือพระมหากษัตริย์ไทยมีคุณวิเศษเหนือคนธรรมดา เป็นเหตุผลที่แย่มากๆเพราะเหมือนกำปั้นทุบดิน ("ก็เราจะเป็นอย่างนี้ เรื่องของเรา") ไม่ได้ช่วยอะไร แถมกลับทำให้คนไทยดูน่าสมเพชว่าเป็นคนหัวปักหัวปำอย่างขาดเหตุผล ทำนองเดียวกับพวกคลั่งศาสนา สังคมไทย เจ้าไทย ประชาชนไทยที่อารยะเสียภาพพจน์ไปด้วยกันทั้งหมดเพราะ ม.112เป็นตัวการ การออกหนังสือเชิดชูเจ้าพระองค์หนึ่งอย่างเก่งก็คงช่วยกู้ภาพพจน์เจ้าพระองค์นั้น แต่มิได้ช่วยสร้างความชอบธรรมแก่ ม.112 หรือระบบนิติธรรมของไทยในสายตาชาวโลกขึ้นมาแม้แต่นิดเดียว ชาวโลกที่สนใจและแคร์ต่อประเทศไทยรู้ข่าวการตายของอากงมากกว่ารู้จักหนังสือกู้ภาพพจน์เจ้าอย่างเทียบไม่ได้ ม.112 ที่มีไว้ปกป้องภาพพจน์เจ้ากลับทำให้ภาพพจน์เจ้าและประเทศไทยเสื่อมถอยหนัก ดังนั้น หากไม่กระทำการใดๆต่อม.112 อย่าหวังเลยว่าภาพพจน์ประเทศไทยจะฟื้นขึ้นมา ตราบใดที่ยังไม่ปล่อยผู้ถูกกล่าวหาและนักโทษม.112ออกมาทั้งหมด ภาพพจน์ประเทศไทยที่ป่าเถื่อนจะไม่มีวันยุติ เสียหายกันทั้งหมดทั้งไพร่อำมาตย์และเจ้าด้วย การที่รัฐสภาปัดข้อเสนอแก้ ม.112 ของประชาชนสามหมื่นกว่าคนอย่างไม่รับผิดชอบ เป็นการคิดสั้นๆและตื้นเขิน แทนที่จะใช้โอกาสนี้แก้ความป่าเถื่อนของกฎหมายที่มีปัญหา แถมช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อระบบนิติธรรมและประเทศไทย กลับเอาตัวรอดอย่างขี้ขลาด เป็นผู้แทนประชาชนแต่กลัวประชาชน (คงมีคนแก้ตัวว่าภาพพจน์ประเทศไทยยังดีมากๆดูได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวและความนิยมอาหารไทย เขาคงไม่รู้ว่าของดีๆในแง่เหล่านั้นบวกกับความล้าหลังด้านกฎหมายและระบบการเมืองประกอบกันเข้าเหมาะเหม็งเป็นภาพพจน์ของประเทศเก่าแก่ที่มีดีด้านวัฒนธรรมแต่กฎหมายและความยุติธรรมยังเถื่อนอยู่) โปรดตระหนักว่าการลูบหน้าปะจมูก ต่อให้หลอกไอซีซีได้ชั่วครั้งคราว สักวันหนึ่งการรัฐประหารและอาชญากรรมการเมืองร้ายแรงก็จะปะทุขึ้นอีก นี่คือมรดกที่เราอยากทิ้งไว้ให้ลูกหลานหรือ ผู้ก่ออาชญากรรมการเมือง ผู้สนับสนุน ให้ท้าย ร่วมแก้ตัวหรือปกปิดความผิด ทั้งในมหาวิทยาลัย ในสภา และในวงการสื่อมวลชน พวกเขากลัวไอซีซีเสมือนผีกลัวแสงสว่าง กลัวว่าอาชญากรรม อภิสิทธิ์ อวิชชา และความอยุติธรรมจะถูกประจานต่อชาวโลก พวกเขาขัดขวางไอซีซีสำเร็จหรือไม่ก็ตาม หรือต่อให้ลงท้ายไอซีซีไม่รับกรณีราชประสงค์ 2553 ก็ตาม โปรดตระหนักว่าประเทศไทยได้ถูกจับตาโดยกระบวนยุติธรรมระดับโลกเรียบร้อยแล้ว ถ้าครั้งนี้พวกเขาขัดขวางสำเร็จ ประเทศไทยจะยิ่งตกเป็นเป้าจับจ้องของไอซีซีหนักเข้าไปอีก ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น