ประชาไท | Prachatai3.info |
- ประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ล่องเรือร้อง ‘อาเซม’ หยุด ‘เขื่อนไซยะบุรี’
- ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี (1): 'สายธารประวัติศาสตร์'
- คนสะเอียบประกาศ! ไม่รับผ้าห่มแลกลายเซ็น เสนอ ‘หนึ่งตำบลหนึ่งแหล่งกักเก็บน้ำ’ ต้านเขื่อน
- โค้งสุดท้ายก่อนวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ
- โฆษกประธานสภาฯ ชี้แก้ ม. 112 ขัดรัฐธรรมนูญ วอนหยุดแสดงความเห็นหวั่นประชาชนเข้าใจผิด
- กรมคุมประพฤติเล็งใช้กำไลอิเล็กทรอนิกส์คุมเด็กแว้นแทนกักขัง
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 28 ต.ค. - 3 พ.ย. 2555
- การพัฒนาและติดตั้งไฟส่องสว่างสาธารณะ: ความท้าทายและมาตรการควบคุมมลภาวะทางแสง
- นิธิ เอียวศรีวงศ์ : เปลี่ยนประเทศไทย ด้วยการรับจำนำข้าว
- ภาคภูมิ แสงกนกกุล: การรักษาเป็นสินค้าและความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้ในฐานะผู้บริโภค
- ASEAN Weekly: สันติภาพที่มินดาเนา
ประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ล่องเรือร้อง ‘อาเซม’ หยุด ‘เขื่อนไซยะบุรี’ Posted: 05 Nov 2012 11:52 AM PST เครือข่ายประชาชน 8 จังหวัดลุ่มแม่น้ำโขง พร้อมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน ล่องเรือบนน้ำโขงฝั่งหนองคายตรงข้ามที่ประชุมอาเซม รณรงค์ค้านเขื่อนไชยะบุรี ด้าน สปป.ลาวสัมภาษณ์สื่อเผยวางศิลาฤกษ์โครงการฯ 7 พ.ย.นี้ วันที่ 5 พ.ย.55 ในลำแม่น้ำโขงด้านหน้าวัดชุมพล ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับบ้านหาดดอนจัน นครหลวงเวียงจันทน์ เมืองหลวง สปป.ลาว สถานที่จัดประชุมสุดยอดผู้นำเอเชีย-ยุโรป (อาเซม) เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง และเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.) รวมทั้งประชาชนใน จ.หนองคาย ประมาณ 200 คน ร่วมกันจัดกิจกรรมคัดค้านการสร้างเขื่อนไชยะบุรีของ สปป.ลาว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มชาวบ้านได้นำเรือราว 50 ลำล่องในลำแม่น้ำโขง โดยเรือแต่ละลำได้ติดป้ายรณรงค์คัดค้านการก่อสร้างเขื่อนไชยะบุรี อย่างไรก็ตามขบวนเรือล่องประชิดชายฝั่งไทย เนื่องจากมีเรือลาดตระเวนของ สปป.ลาวจำนวน 3 ลำ ประกบเพื่อไม่ให้ขบวนเรือรุกล้ำเข้าไปใกล้ฝั่ง สปป.ลาว นอกจากนี้ยังมีเฮลิคอปเตอร์ของทางการบินวนเวียนสังเกตการณ์ ทำให้ชาวบ้านต้องเร่งมือกันทำกิจกรรมให้ลุล่วง นายอิทธิพล คำสุข ตัวแทนเครือข่ายสภาองค์กรชุมตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (จังหวัดหนองคาย) กล่าวว่า ในวาระการประชุมผู้นำประเทศเอเชีย-ยุโรป หรืออาเซม ในวันนี้ ณ นครหลวงเวียงจันทร์ สปป.ลาว พวกเราเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง และ เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสช.) ขอเรียกร้องให้ผู้นำประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมประชุมได้รับรู้ว่าแม่น้ำโขงกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤติเนื่องจากโครงการก่อสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงทางตอนล่างที่กำลังคืบหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะโครงการเขื่อนไซยะบุรี ตั้งอยู่ใน สปป.ลาว ซึ่งเป็นการลงทุนโดยบริษัทเอกชนไทย สัญญาซื้อขายไฟฟ้าลงนามโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเดินหน้าการก่อสร้างอย่างรวดเร็ว ทั้งที่มีการคัดค้านจากรัฐบาลกัมพูชาและเวียดนาม ตลอดจนประชาชนในภูมิภาค นายอิทธิพล กล่าวด้วยว่า เขื่อนไซยะบุรีเป็น 1 ใน 12 โครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่จะกั้นแม่น้ำโขงทางตอนล่าง ชาวบ้านที่อาศัยริมแม่น้ำโขงมีความกังวลเป็นอย่างยิ่งว่าจะสร้างผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศน์แม่น้ำโขง พันธุ์ปลา การประมงการเกษตร การคมนาคม และปากท้องวิถีชีวิตของประชาชนกว่า 60 ล้านคนในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง สำหรับประเทศทั้งในเอเชียและยุโรปที่เป็นผู้บริจาคแก่คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) หลายปีที่ผ่านมาเราพบว่ากลไกของ MRC ไม่มีประสิทธิภาพไม่สามารถไกล่เกลี่ยปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ แม้จะมีข้อตกลงแม่น้ำโขง พ.ศ.2538 แต่ข้อตกลงนี้ก็แทบไม่มีความหมายเพราะการตัดสินใจไม่ได้อยู่บนฐานของข้อเท็จจริง ความรู้ และการมีส่วนร่วมแต่กลับเป็นเรื่องของผลประโยชน์เฉพาะหน้า แม้ที่ผ่านมาจะมีความพยายามนำเสนอผ่านสื่อมวลชนของทางการลาวว่าเขื่อนแห่งนี้เป็นเขื่อน "โปร่งใส" ไม่มีการกักเก็บน้ำ ไม่กักเก็บตะกอน และไม่มีผลกระทบต่อพันธุ์ปลา แต่กลับไม่มีการเปิดเผยข้อมูลโครงการแก่สาธารณะและผู้ได้รับผลกระทบอย่างรอบด้านที่เพียงพอที่จะใช้ประเมินความเสียหายโดยเฉพาะผลกระทบข้ามพรมแดนต่อชุมชนท้ายน้ำ-เหนือน้ำ ในประเทศเพื่อนบ้านนับตั้งแต่ประเทศไทยเรื่อยไปจนถึงกัมพูชาและเวียดนาม ด้านนายเสถียร มีบุญ สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย กล่าวเสริมว่า จวบจนขณะนี้ชาวบ้านริมน้ำโขงซึ่งจะต้องเป็นผู้เดือดร้อนยังไม่รู้ว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากเขื่อน ที่ผ่านมาไม่เคยมีใครมาถามเราว่า ชุมชนริมแม่น้ำโขงพึ่งพาแม่น้ำโขงเพียงใด ใครกันที่จะรับรองได้ว่าจะไม่เกิดผลกระทบต่อชุมชน ในวาระที่จะมีการประชุมเอเชีย-ยุโรป และจะมีการพูดคุยในที่ประชุมเกี่ยวกับเรื่องพลังงาน ชาวชุมชนริมแม่น้ำโขงขอเรียนว่าแม่น้ำโขงเป็นเส้นเลือด เป็นชีวิต เป็นจิตวิญญาณและวัฒนธรรมของประชาชนอย่างน้อย 60 ล้านคน แม่น้ำโขงมีค่ามากเกินกว่าจะเป็นเพียงแหล่งผลิตพลังงานหรือเพื่อสร้างความร่ำรวยแก่บุคคลกลุ่มเล็กๆ เพียงกลุ่มเดียว ประชาชนในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงแห่งนี้ต้องการการวางแผนพลังงานที่รอบด้านยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีส่วนร่วมตลอดสายน้ำ "หยุดโครงการเขื่อนไซยะบุรี ศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน และมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อแม่น้ำโขงที่ไหลอย่างอิสระ" นายเสถียรกล่าวย้ำถึงข้อเรียกร้อง ในวันเดียวกัน (5 พ.ย.55) สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานสัมภาษณ์นายวีระพน วีระวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ สปป.ลาวว่า จะมีพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการเขื่อนไซยะบุรี ในวันพุธที่ 7 พ.ย.นี้ ที่หัวงานเขื่อน แม้จะมีการคัดค้านจากประเทศท้ายน้ำ และนักอนุรักษ์ทั่วโลกก็ตาม โดยพลังงานไฟฟ้าเป็นผลประโยชน์ใหญ่หลวงของลาว ถ้าไม่สร้างเขื่อนไซยะบุรี ลาวจะมีทางเลือกอื่นอย่างไร "เราศึกษาประเมินแล้ว ตลอดเวลา 2 ปี เราศึกษาเรื่องที่มีข้อห่วงใยแล้วเกือบทุกประเด็น" นายวี ระพน กล่าว และว่า กัมพูชาที่เคยคัดค้านโครงการนี้มีความสุขมาก ประมวลภาพจาก : แม่น้ำโขง: อิสระแห่งสายน้ำ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี (1): 'สายธารประวัติศาสตร์' Posted: 05 Nov 2012 09:50 AM PST
ท่ามกลางเสียงระเบิดและควันปืนที่ไม่เคยหยุดในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้เกือบเก้าปีแล้ว ยังคงมีความไม่ตกผลึกในทางความคิดว่าสิ่งที่รัฐไทยกำลังต่อสู้อยู่นั้นคืออะไร โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (Deep South Journalism School – DSJ) พยายามที่จะถอดความคิดของคนที่จับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐผ่านปากคำของพวกเขาเอง เราหวังว่าการสะท้อนเสียงเหล่านี้จะทำให้สังคมเข้าใจถึงวิธีคิดของพวกเขาและนำไปใช้ในการแก้ปัญหาความรุนแรงด้วยปัญญาอย่างมีทิศทางมากขึ้น เชื่อว่าทุกฝ่ายที่เฝ้าติดตามและทำงานในภาคใต้ต่างต้องการที่จะเห็นสันติภาพเกิดขึ้นในเร็ววัน แม้ในขณะนี้อาจจะยังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ก็ตามที
สายธารแห่งประวัติศาสตร์ หลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่าดินแดนที่รู้จักกันว่าเป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยในปัจจุบันนั้นเดิมมีฐานทางวัฒนธรรมจากอิทธิพลของศาสนาฮินดูและพุทธ ก่อนที่ศาสนาอิสลามจะเข้ามาในช่วงศตวรรษที่ 9 ในขณะที่อิทธิพลของทั้งสองศาสนาแผ่ขยายอย่างกว้างขวางในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ข้ามกลุ่มและชาติพันธุ์ การเข้ามาของศาสนาอิสลามกลับจำกัดอยู่เฉพาะคนชาติพันธุ์มลายู ในช่วงหลายศตวรรษ อาณาจักรสยามกับอาณาจักรปาตานีมีความสัมพันธ์กันอย่างหลวมๆ เจ้าเมืองของปาตานีส่งเครื่องราชบรรณาการให้กับสยามเพื่อแสดงความจงรักภักดีแต่สยามก็ให้อิสระเจ้าเมืองเหล่านั้นในการปกครอง ตราบจนกระทั่งในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ที่สยามเผชิญกับภัยคุกคามจากเจ้าอาณานิคมตะวันตก ในกระบวนการสร้างชาติไทยและทำประเทศให้ทันสมัย รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งส่งผลให้อาณาจักรปาตานีกลายเป็นจังหวัดที่ขึ้นกับการปกครองของกรุงเทพฯ โดยตรงนับตั้งแต่พ.ศ. 2445 ต่อมาสยามได้ลงนามใน The Anglo-Siamese Treaty ในพ.ศ. 2452 กับอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมของดินแดนในคาบสมุทรมาลายาในขณะนั้น สนธิสัญญาฉบับนั้นส่งผลให้พื้นที่ในรัฐเคดาห์ กลันตัน ตรังกานูและเปลิสตกเป็นของอังกฤษ ส่วนดินแดนในอาณาจักรปาตานี รวมถึงสตูลตกอยู่ภายใต้การปกครองของสยาม คนมลายูมุสลิมในดินแดนแถบนั้นไม่ได้มีส่วนในการตัดสินใจชะตากรรมของตนเองว่าต้องการจะเป็นสมาชิกของชาติสยามหรือไม่ การต่อต้านการถูกผนวกรวมและการถูกทำให้กลายเป็นไทยได้ปะทุขึ้นและดำเนินต่อมาตลอดช่วงเวลากว่าหนึ่งศตวรรษ แม้ว่าอาจจะเบาบางไปบ้างในบางยุคสมัย แต่ความคิดต่อต้านยังไม่เคยยุติลง การต่อสู้ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในหมู่ชนชั้นนำมลายูมุสลิมได้ขยายตัวไปสู่ระดับสามัญชนมากขึ้นเรื่อยๆ หมุดหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์อันหนึ่ง คือ การเรียกร้องของหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ในพ.ศ. 2490 ซึ่งขณะนั้นเขาเป็นประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี หะยีสุหลงได้ยื่นข้อเสนอ 7 ข้อให้กับตัวแทนของรัฐบาลไทย ข้อเสนอนั้นประกอบด้วย 1) ให้มีผู้ปกครองใน 4 จังหวัด ปัตตานี สตูล ยะลาและนราธิวาสเป็นคนมุสลิมในพื้นที่และได้รับเลือกจากคนในพื้นที่ โดยให้มีอำนาจในการศาสนาอิสลามและแต่งตั้งข้าราชการ 2) ให้ข้าราชการในสี่จังหวัดเป็นคนมลายูในพื้นที่ร้อยละ 80 3) ให้ใช้ภาษามลายูเป็นภาษาราชการควบคู่ไปกับภาษาไทย 4) ให้มีการใช้ภาษามลายูเป็นสื่อในการเรียนการสอนระดับประถม 5) ให้มีศาลพิจารณาคดีตามกฎหมายอิสลามที่แยกขาดจากศาลยุติธรรมของทางราชการ โดยให้ดาโต๊ะยุติธรรมมีเสรีในการพิพากษาชี้ขาดความ 6) ภาษีและรายได้ที่จัดเก็บให้ใช้ในพื้นที่ 4 จังหวัดเท่านั้น 7) ให้คณะกรรมอิสลามประจำจังหวัดมีอำนาจในการออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติทางศาสนาโดยได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจตามข้อ 1
หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ หลังจากได้มีการยื่นข้อเรียกร้องไม่นาน หะยีสุหลงและผู้นำศาสนาอีกหลายคนก็ถูกจับกุมข้อหากบฏและถูกคุมขังเป็นเวลา 4 ปี 8 เดือน ต่อมาเขาได้รับการปล่อยตัวก่อนครบกำหนด แต่สองปีต่อมาเขากลับหายตัวไปอย่างลึกลับพร้อมกับลูกชายคนโต หลังถูกตำรวจสันติบาลที่สงขลาเรียกไปรายงานตัว ซึ่งคาดกันว่าพวกเขาถูกตำรวจจับถ่วงน้ำจนเสียชีวิต เรื่องราวของหะยีสุหลงยังคงเป็นหนึ่งใน "ประวัติศาสตร์บาดแผล" ที่ยังคงถูกเล่าต่อๆ กันในหมู่ชาวมลายูมุสลิม แม้เวลาผ่านไปกว่าครึ่งศตวรรษ และน่าประหลาดใจว่าข้อเสนอหลายๆ ข้อที่มีการพูดกันในปัจจุบันมีความคล้ายคลึงกับข้อเรียกร้องของหะยีสุหลงยิ่งนัก ในช่วงหลังพ.ศ. 2500 เป็นยุคเริ่มต้นของการต่อสู้ด้วยอาวุธ โดยกลุ่มเคลื่อนไหวที่สำคัญ ได้แก่ 1) BNPP (Barisan National Pembebasan Patani - Patani National Liberation Front) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในพ.ศ. 2502 โดยมีกลุ่มชนชั้นนำของปาตานีเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ BNPP นับเป็นกลุ่มขบวนการติดอาวุธที่ต่อสู้เพื่อเอกราชกลุ่มแรก ต่อมาในพ.ศ. 2529 ได้เปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น BIPP (Barisan Islam Pembebasan Patani – Patani Islamic Liberation Front) ปัจจุบันเชื่อว่ากลุ่มนี้ไม่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวแล้ว 2) PULO (Patani United Liberation Organisation) ก่อตั้งในพ.ศ. 2511 ที่ประเทศซาอุดิอาราเบีย โดยนายตนกูบีรอ กอตอนีลอ เขาเสียชีวิตในพ.ศ. 2548 ที่ประเทศซีเรีย ในพ.ศ. 2550 นายนอร์ อับดุลเราะห์มานได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานแทน ต่อมาได้เกิดความขัดแย้งภายใน นายคัสตูรี มะกอตา ซึ่งเป็นรองประธานและหัวหน้าฝ่ายต่างประเทศได้แยกตัวออกมา ทั้งสองกลุ่มต่างอ้างว่าตนเป็นประธานของกลุ่มพูโล ปัจจุบันพูโลยังคงเคลื่อนไหวอยู่นอกประเทศและทำงานการเมืองในเวทีระหว่างประเทศเป็นหลัก 3) BRN (Barisan Revolusi Nasional – National Liberation Front) กลุ่ม BRN จัดตั้งขึ้นในพ.ศ. 2503 โดยมีสมาชิกรุ่นก่อตั้ง คือ นายอับดุลการิม ฮัสซัน ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนนะห์ฎอตุลสูบาน ในอ.รือเสาะ จ.นราธิวาส รวมถึงโต๊ะครูปอเนาะที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของรัฐ ข้อมูลจากหน่วยงานความมั่นคงและนักวิเคราะห์อิสระบางท่านระบุว่านายอามีน โต๊ะมีนา ลูกชายของหะยีสุหลงและนายฮารูน สุหลง ประธานของโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิเป็นสมาชิกรุ่นแรกๆ ด้วย ในช่วงต้น การต่อสู้ของ BRN ใช้แนวทางแบบชาตินิยม-สังคมนิยม-อิสลามในการเคลื่อนไหว โดยเน้นการสร้างฐานจากโรงเรียนปอเนาะ ต่อมาในช่วงทศวรรษ 2520 มีความขัดแย้งกันในเรื่องแนวทางของการต่อสู้ โดยมีการถกเถียงกันว่าการต่อสู้โดยใช้ประเด็นเรื่องชาตินิยม-สังคมนิยมนั้นไม่ถูกต้องและเป็นอุปสรรคต่อการสร้างแนวร่วมในประเทศมุสลิมอื่นๆ และได้มีการเสนอให้นำเอาประเด็นศาสนามาใช้ในการต่อสู้แทน ความเห็นที่ขัดแย้งกันทำให้ BRN แยกกันเป็น 3 กลุ่ม คือ BRN- Coordinate, BRN-Ulama และ BRN-Congress อับดุลการิมแยกตัวไปเป็นกลุ่ม BRN-Ulama ซึ่งไม่ได้มีความเคลื่อนไหวมากนักหลังจากนั้น เขาใช้ชีวิตอยู่ในมาเลเซียและหันไปสนใจนิกายชีอะห์ในช่วงบั้นปลายของชีวิต เขาเสียชีวิตในพ.ศ. 2539 BRN-Congress เป็นกลุ่มปฏิบัติการทางทหารเดิมของ BRN ซึ่งนำโดย นายรอสะ บูราซอ หรือ เจ๊ะกูเป็ง การเคลื่อนไหวจะเน้นด้านการทหาร ปัจจุบัน เจ๊ะกูเป็งเสียชีวิตไปแล้ว BRN – Coordinate เป็นกลุ่มที่หน่วยงานความมั่นคงและหลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นกลุ่มที่มีบทบาทมากที่สุดในการเคลื่อนไหวในปัจจุบัน ข้อมูลบางแหล่งระบุว่านายอามีน โต๊ะมีนา บุตรชายของหะยีสุหลงเป็นแกนนำของกลุ่ม BRN – Coordinate นายอามีนเสียชีวิตในพ.ศ. 2544 การเคลื่อนไหวของ BRN – Coordinate มีลักษณะปิดลับ ไม่ปรากฎชัดเจนว่าใครเป็นผู้ถือธงนำในการต่อสู้ แม้ว่าทางฝ่ายความมั่นคงจะได้ระบุชื่อบุคคลจำนวนหนึ่งว่าเป็นแกนนำสำคัญ เช่น นายสะแปอิง บาซอ อดีตครูใหญ่โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิซึ่งหลบหนีออกนอกประเทศไปเมื่อพ.ศ. 2547 4) GMIP (Gerakan Mujahidin Islam Patani – Patani Islamic Holy Warriors Movement) ตั้งขึ้นโดยนายนาซอรี แซะเซ็ง ในพ.ศ. 2538 กลุ่มนี้พัฒนามาจากกลุ่ม GMP (Gerakan Mujhidin Patani) ซึ่งตั้งขึ้นในพ.ศ. 2529 และยุติบทบาทในพ.ศ. 2536 นาซอรีเคยไปฝึกการทหารที่ลิเบียและไปร่วมรบอัฟกานิสถาน เชื่อว่ากลุ่มนี้มีความใกล้ชิดในเชิงอุดมการณ์กับกลุ่มญิฮาดสากลมากกว่ากลุ่มอื่น ในปัจจุบันไม่ปรากฏการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน 5) กลุ่ม Bersatu ซึ่งเป็นองค์กรร่ม (umbrella organization) ของ PULO, BIPP และ BRN ซึ่งจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2532 โดยมีดร. วันกาเดร์ เจ๊ะมานเป็นประธาน ปัจจุบันไม่มีการเคลื่อนไหวในฐานะของกลุ่มนี้แล้ว การก่อตัวของคลื่นกระแสการต่อสู้ยุคปัจจุบัน ในขณะที่รัฐไทยตายใจและคิดว่า "ขบวนการแบ่งแยกดินแดน" ในภาคใต้กำลังจะสลายตัวไปแล้ว ปรากฏการณ์การปล้นปืนที่ค่ายปิเหล็งในอ. เจาะไอร้อง จ.นราธิวาสในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นสิ่งที่ช็อครัฐบาลทักษิณ ชินวัตรในขณะนั้น ฝ่ายรัฐใช้เวลาอยู่นานในการจัดทัพเพื่อรับมือกับการต่อสู้ด้วยอาวุธที่ปะทุขึ้นอย่างฉับพลันจนรัฐตั้งตัวไม่ทัน รัฐยังคิดว่าพวกเขาเป็น "โจรกระจอก" บ้างว่าเป็นพวกเด็กติดยาเสพติด ไม่มีใครที่ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อการก่อเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้น จนมีคำพูดที่ว่ารัฐไทยกำลังรบอยู่กับ "ผี" ที่มองไม่เห็น เนื่องจากว่าการเคลื่อนไหวในช่วงเกือบสามทศวรรษที่ผ่านมาเป็นการเคลื่อนไหวใต้ดินปิดลับ ข้อมูลว่าใครเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างขบวนการเคลื่อนไหวใต้ดินที่ปรากฏรูปอยู่ในทุกวันนี้ยังเป็นปริศนาที่หลายคนกำลังพยายามไข ข้อมูลจากฝ่ายความมั่นคงและปากคำของคนที่เคยอยู่ในขบวนการระบุตรงกันว่ากลุ่มที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวในพื้นที่อยู่ในปัจจุบัน คือ กลุ่ม BRN – Coordinate สมาชิกระดับกลางที่เข้าสู่ขบวนการในช่วงทศวรรษ 2530 คนหนึ่งเล่าย้อนถึงสถานการณ์ในช่วงต้นทศวรรษ 2520 ว่า BRN – Coordinate ได้เปลี่ยนแนวทางการเคลื่อนไหวโดยการลงมาจากป่าเขาและเข้าไปหามวลชนในหมู่บ้าน ซึ่งต่างจากแนวทางของ BRN - Congress ที่เน้นการทำงานกองกำลังอย่างเดียว ไม่เน้นงานด้านมวลชน ในช่วงนั้นนายอับดุลการิมซึ่งลี้ภัยไปอยู่ในประเทศมาเลเซียแทบจะไม่ได้มีบทบาทใดๆ ในการเคลื่อนไหวแล้ว "ฐานแห่งการปฏิวัติ คือ ศาสนา แนวทางการต่อสู้ คือ จับอาวุธ และเป้าหมายของการปฏิบัติการ คือ merdeka [เอกราช]", สมาชิกฝ่ายการเมืองระดับกลางผู้นี้กล่าวอย่างชัดเจน เขาอธิบายว่าการทำงานของ BRN – Coordinate นั้นจะไม่เน้นการพึ่งตัวบุคคลแต่ว่าจะบริหารงานแบบคณะกรรมการร่วม ในช่วงสิบปีแรกระหว่างพ.ศ. 2527 - 2537 เป็นช่วงของการทำงานความคิดและจัดตั้งมวลชนให้มีสำนึกความเป็นมลายู โดยเฉพาะในมัสยิด ตาดีกาและปอเนาะ เหตุการณ์การเผาโรงเรียน 36 แห่งในปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสงขลาในคืนวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ดูเหมือนจะเป็นหมุดทางประวัติศาสตร์สำคัญในการประกาศลุกขึ้นสู้ด้วยการเผาสถานที่ซึ่งพวกเขามองว่าเป็นแหล่งทำลายอัตลักษณ์ความเป็นมลายูและกลืนลูกหลานของพวกเขาให้กลายเป็นไทย สมาชิกขบวนการผู้นี้ซึ่งปัจจุบันได้ยุติการเคลื่อนไหวแล้วระบุว่าในช่วงพ.ศ. 2537 – 2542 เป็นการวางโครงสร้างการทำงานขององค์กร โดยแบ่งหลักๆ เป็น 2 ปีก คือ ปีกการเมืองที่เรียกว่า MASA และปีกการทหารที่เรียกว่า MAY (คาดว่าเป็นการกร่อนเสียงคำว่า militer ในภาษามาเลย์ซึ่งแปลว่า กองทัพ) ตั้งแต่ช่วงพ.ศ. 2538 เป็นต้นมาเริ่มมีการฝึกกองกำลังทางทหาร ในช่วงนั้นใช้เวลา 2 ปีในการฝึกแต่ละรุ่น พอถึงพ.ศ. 2546 ขบวนการสร้างกองกำลังได้ตามเป้าหมายประมาณ 3,000 คน ช่วงพ.ศ. 2545 – 2546 เป็นช่วงอุ่นเครื่องก่อนการเปิดฉากการต่อสู้อย่างเต็มรูปแบบ ในหนังสือ "สงครามประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้" ที่เขียนโดยนายทหารในภาคใต้ที่ศึกษาเกี่ยวกับขบวนการมากว่า 8 ปี ระบุว่า BRN – Coordinate เปิดฉากด้วยการปล้นปืนที่ป้อมตำรวจที่บ้านรานอ อ.บันนังสตา จ.ยะลา เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 หลังจากนั้นมีการโจมตีฐานการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่หลายแห่งและขบวนการได้ปืนไปเกือบ 100 กระบอก นอกจากนี้ หนังสือเล่มนี้ยังได้ระบุว่าขบวนการได้ตระเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน ทั้งฝ่าย MASA MAY ฐานทางเศรษฐกิจที่จะทำให้ขบวนการพึ่งพาตนเองได้ ด้วยการเก็บเงินจากสมาชิกวันละ 1 บาท การเตรียมข้าวปลาเสบียงอาหารและเงินบริจาคจากแหล่งอื่น รวมทั้งฝ่ายพยาบาลที่ต้องพร้อมรักษาคนเจ็บจากการสู้รบ ทหารได้ยึดเอกสารฉบับหนึ่งจากโต๊ะทำงานของนายมะแซ อุเซ็ง ในพ.ศ. 2546 นายมะแซเป็นอุสตาซโรงเรียนสัมพันธ์วิทยา ใน อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ผู้ซึ่งฝ่ายความมั่นคงเชื่อว่าเป็นสมาชิกระดับนำคนหนึ่งของ BRN - Cooridanate ในเอกสารฉบับนี้ได้พูดถึง "แผนบันได 7 ขั้น" ซึ่งได้ถูกนำมาอ้างอิงอยู่บ่อยครั้งว่าเป็นแผนการการปฏิวัติของ BRN - Coordinate เอกสารที่กองทัพเรียกว่า "บันไดเจ็ดขั้น" ที่ยึดได้จากโต๊ะทำงานของนายมะแซ อุเซ็งในพ.ศ. 2546 คำแปลเอกสาร "บันได 7 ขั้น" (เอกสารของกอ.รมน.) ในหนังสือ "องค์กรปฏิวัติปัตตานี" ที่เขียนโดยอดีตสมาชิกที่คุมงานมวลชนของขบวนการและจัดพิมพ์โดยนายทหารที่ทำงานในภาคใต้ได้อ้างถึงแผนบันได 7 ขั้นนี้ โดยอธิบายเพิ่มเติมว่าในช่วงพ.ศ. 2527 – 2537 เป็นสิบปีแรกที่ขบวนการทำงานในขั้นที่ 1 และ 2 คือสร้างสำนึกมวลชนและจัดตั้งมวลชน ในช่วงพ.ศ. 2538 – 2546 เป็นช่วงของการดำเนินงานในขั้นที่ 3 – 6 โดยพัฒนาการที่สำคัญคือ การวางโครงสร้างการปฏิบัติงานในปีกมวลชนและการทหาร เมื่อถึงพ.ศ. 2547 ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการ "จุดดอกไม้ไฟแห่งการปฏิวัติ" หรือเป็นขั้นที่ 7 โดยมีการปล้นปืนในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 เป็นหมุดหมายสำคัญของการเริ่มต้นการปฏิวัติ ความพยายามต่อจิ๊กซอว์เพื่อเข้าใจพัฒนาการของขบวนการใต้ดินนี้อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะความจริงที่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้นเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ยากในสถานการณ์เช่นนี้ บางทัศนะไม่เชื่อว่าแผนบันได 7 ขั้นที่ทหารอ้างอิงอยู่บ่อยครั้งนี้จะเป็นแผนการปฏิวัติของฝ่ายขบวนการจริง แต่นี่ก็เป็นข้อมูลชุดหนึ่งสำหรับการพิจารณาเพื่อเข้าใจปรากฏการณ์การต่อสู้ด้วยอาวุธที่ปะทุขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา หมายเหตุ รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช เป็นอดีตนักวิเคราะห์ของ International Crisis Group ปัจจุบัน เธอกำลังศึกษาในระดับปริญญาโทด้านทฤษฎีการจัดการความขัดแย้งที่ King's College London และเป็นที่ปรึกษาของโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ การจัดทำรายงานพิเศษเรื่อง "ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี" ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ติดตามอ่าน ตอนที่ 2 "กระบวนการเข้าสู่การต่อสู้เพื่อ merdeka" ได้ในวันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2555
ที่มา: http://www.deepsouthwatch.org/dsj/3676 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คนสะเอียบประกาศ! ไม่รับผ้าห่มแลกลายเซ็น เสนอ ‘หนึ่งตำบลหนึ่งแหล่งกักเก็บน้ำ’ ต้านเขื่อน Posted: 05 Nov 2012 09:43 AM PST ชาวบ้าน ต.สะเอียบ ประกาศไม่รับผ้าห่มกันหนาว แลกลายเซ็นและเลขประจำตัว 13 หลัก หวั่นนำไปอ้างหนุนสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น พร้อมเสนอทางออกการแก้ไขน้ำท่วมน้ำแล้ง ลุ่มน้ำยม 12 ข้อ เมื่อวันที่ 3 พ.ย.55 ชาวบ้านบ้านดอนชัย หมู่ 1, ชาวบ้านบ้านดอนชัยสักทอง หมู่ 9, ชาวบ้านบ้านแม่เต้น หมู่ 5, ชาวบ้านบ้านดอนแก้ว หมู่ 6 จัดประชุมปรึกษาหารือถึงเรื่องการแจกผ้าห่มกันหนาวประจำปี โดยในขณะนี้อากาศที่ ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ ได้เริ่มหนาว และมีหมอกลงจัดในตอนเช้า แต่ชาวบ้านได้แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางและมีมติปีนี้ไม่รับผ้าห่มกันหนาวที่หน่วยงานราชการนำมาแจกเป็นประจำทุกปี เนื่องจากเกรงว่าหน่วยงานที่มาแจกผ้าห่มกันหนาว อาจนำรายชื่อและลายเซ็นของตนไปอ้างเพื่อสนับสนุนเขื่อนแก่งเสือเต้นที่ชาวบ้านคัดค้านมาอย่างต่อเนื่อง "ชาวบ้านเกรงว่าหน่วยงานที่มาแจกผ้าห่มกันหนาว จะมาหลอกเอารายชื่อและลายเซ็นของชาวบ้านไปอ้างว่าชาวบ้านสนับสนุนการสร้างเขื่อน จึงมีมติไม่รับผ้าห่มกันหนาวในปีนี้" นายสอนชัย อยู่สุข ชาวบ้านบ้านดอนชัยสักทอง อายุ 62 ปี กล่าว นายสอนชัย ยังกล่าวอีกว่า จากประสบการณ์ที่ผ่านมาอย่างเขื่อนปากมูลหน่วยงานราชการก็ไปหลอกเอารายชื่อ ลายเซ็นชาวบ้านไปอ้างสนับสนุนเขื่อน หรือกรณีของยายไฮ เขื่อนห้วยละห้า ก็ยังมีลายเซ็นยายไฮยกที่ให้สร้างเขื่อน ทั้งที่ยายไฮเขียนหนังสือไม่เป็น หน่วยงานราชการยังปลอมแปลงไปให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจผิดๆ ได้ ชาวบ้านมีบทเรียนมาแล้วไม่อยากให้เกิดขึ้นกับบ้านเรา จึงตัดไฟเสียแต่ต้นลม ประกาศไม่รับผ้าห่มกันหนาวในปีนี้ จะได้ไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยแบบหลอกลวงชาวบ้านเกิดขึ้นอีก นายสอนชัย กล่าวด้วยว่า ในช่วงนี้มีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาในชุมชน ชาวบ้านจึงต้องช่วยกันตรวจสอบ เพราะได้ประกาศไปแล้วว่า ห้ามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเขื่อนเข้าพื้นที่ ทางด้านผู้ใหญ่สุดารัตน์ ชัยมงคล ผู้ใหญ่บ้านบ้านดอนชัย หมู่ 1 กล่าวว่า ชาวบ้านต่อสู้คัดค้านเขื่อนแก่งเสือเต้น ปกป้องป่าสักทองมายาวนาน ถึงแม้จะแบ่งเขื่อนแก่งเสือเต้นออกเป็น 2 เขื่อน คือเขื่อนยมบน และเขื่อนยมล่าง น้ำก็จะท่วมป่าสักทอง ท่วมที่ทำกินของชาวบ้านเกือบทั้งหมด แล้วชาวบ้านจะทำมาหากินอะไร ก็อยู่ไม่ได้ ไม่มีที่ทำกิน ไม่มีป่า ชาวบ้านก็อยู่ไม่ได้ จึงต้องต่อสู้คัดค้านต่อไปจนถึงที่สุด กำนันเส็ง ขวัญยืน กำนันตำบลสะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ กล่าวว่า เมื่อมติของชาวบ้านไม่รับผ้าห่มกันหนาวประจำปีนี้ ตนเองก็จะได้แจ้งไปทาง อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะทุกปีจะมีหน่วยงานราชการและเอกชนมาแจกผ้าห่มกันหนาวทุกปี ทั้งนี้การรับผ้าห่มกันหนาวจะต้องเซ็นชื่อรับและลงเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักเป็นหลักฐาน ซึ่งชาวบ้านเกรงว่าหน่วยงานอาจเอารายชื่อ ลายเซ็น ทั้งเลขประจำตัว 13 หลัก ไปใช้เป็นหลักฐานในการสนับสนุนเขื่อน ชาวบ้านจึงมีมติไม่รับผ้าห่มกันหนาวในปีนี้ และจะได้นำไปแจกให้กับชาวบ้านหมู่อื่นๆ ต่อไป "เราไม่ควรเอางบประมาณแผ่นดิน 12,000 - 14,000 ล้านบาทไปผลาญกับการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่ปล่อยน้ำท่วมกรุงเทพฯ อีกต่อไป อีกทั้งจุดที่สร้างเขื่อนตั้งอยู่บนรอยเลื่อนแม่ยม รอยเลื่อนแผ่นดินไหว 1 ใน 13 รอยเลื่อนที่มีอยู่ในประเทศไทย เขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมล่าง ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนแม่ยม เขื่อนแก่งเสือเต้น สูง 72 เมตร จากท้องน้ำแม่ยม หากเขื่อนแตก คงไม่ตายเฉพาะคนเมืองสอง แต่คงตายทั้งเมืองแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร" กำนันเส็ง แสดงความเห็นต่อการสร้างเขื่อนในพื้นที่ ทั้งนี้ จากการหารือกัน ชาวสะเอียบได้เสนอให้รัฐยุติการผลักดันการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ทั้งเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง แนะให้ใช้แนวทางการจัดการน้ำชุมชน พร้อมเสนอทางออกการแก้ไขน้ำท่วมน้ำแล้ง ลุ่มน้ำยม 12 ข้อ ดังนี้ 1.ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ รักษาป่าที่เหลืออยู่ ป้องกันการบุกรุกป่า ให้ป่าซับน้ำไว้เป็นเขื่อนถาวรและยั้งยืน และทำหน้าที่เก็บคาร์บอนช่วยลดโลกร้อน รวมทั้งฟอกอากาศให้ออกซิเจนแก่มวลมนุษยชาติ 2.รักษาและพัฒนาป่าชุมชน ทุกชุมชนควรมีป่าชุมชน ไว้ใช้สอย เก็บเห็ด ผัก หน่อไม้ สมุนไพร เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตของชุมชน รักษาป่าอนุรักษ์ โดยเฉพาะป่าอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ต้องรักษาไว้อย่างเข้มงวด ห้ามมิให้พัฒนาโครงการขนาดใหญ่ที่กระทบต่อป่าและสัตว์ป่า เช่น โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนยมบน เขื่อนยมล่าง ที่ผ่าใจกลางอุทยานแห่งชาติแม่ยม รวมทั้งเขื่อนแม่วงก์ ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เป็นต้น 3.ปลูกต้นไม้เพิ่ม โดยเฉพาะในเมือง สร้างพื้นที่สีเขียวให้กับครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค และ ประเทศชาติ ทุกคน ทุกชุมชน ช่วยกันทำได้ ช่วยลดโลกร้อนได้อีกด้วย ยุติการตัดถางป่าเพื่อปลูกต้นไม้สร้างภาพไปวันๆ ซึ่งไม่เกิดประโยชน์ ควรปล่อยให้ป่าได้ฟื้นสภาพเอง ซึ่งจะมีความหลากหลายทางพันธุกรรมมากกว่า 4.พัฒนาระบบภาษีเพื่อสิ่งแวดล้อม ชุมชนไหนรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อตัวเองและเพื่อชุมชนอื่น ควรได้รับการสนับสนุน ชุมชนใดไม่มีศักยภาพในการรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ควรให้การสนับสนุน เป็นชุมชนพี่น้องหนุนช่วยกัน 5.ฟื้นฟูระบบเหมืองฝาย พัฒนาฝายดักตะกอน ฝายชะลอน้ำ ฝายกักเก็บน้ำ ให้ทั่วทุกพื้นที่ที่มีศักยภาพ 6.เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำตามลำน้ำสาขา พัฒนาอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ขนาดเล็ก ทั้ง 77 ลำน้ำสาขา ของแม่น้ำยม ซึ่งจะกักเก็บน้ำได้มากกว่าเขื่อนแก่งเสือเต้นถึง 3 เท่า 7.ทำแก้มลิงไว้ทุกชุมชน โดยกรมทรัพยากรน้ำได้สำรวจไว้แล้ว 395 แหล่ง เก็บน้ำได้มากกว่า 1,500 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าเขื่อนแก่งเสือเต้น ซึ่งเก็บน้ำได้เพียง 1,175 ล้าน ลูกบาศก์เมตร แต่ใช้งบเพียง 4,000 กว่าล้านบาท น้อยกว่าเขื่อนแก่งเสือเต้นถึง 3 เท่า 8.พัฒนาหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งแหล่งน้ำ หนึ่งตำบลหนึ่งแหล่งน้ำ 9.สนับสนุนการจัดการน้ำระดับครัวเรือน และระดับชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้แก่ ฝายต้นน้ำ ฝายทดน้ำ ฝายกักเก็บน้ำ ขุดบ่อ หรือ สระน้ำในไร่นา รวมทั้งอนุรักษ์ และฟื้นฟูระบบเหมืองฝายที่เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น จะสร้างประโยชน์ให้กับชาวบ้าน และชุมชน อย่างเป็นจริง และใช้งบประมาณน้อยกว่าการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ 10.กระจายอำนาจและงบประมาณให้กับชุมชนท้องถิ่น ในการวางแผนระบบการจัดการน้ำโดยชุมชน รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการฟื้นฟูป่าต้นน้ำและระบบการจัดการน้ำของชุมชนท้องถิ่น และให้สิทธิและอำนาจการจัดการน้ำแก่ชุมชนท้องถิ่น โดยมีกฎหมายรองรับ 11.ทบทวนนโยบายการส่งเสริมปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในฤดูแล้ง เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำ และส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจแบบพอเพียง ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชอายุสั้น และเลือกปลูกพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เพื่อลดการบุกรุกพื้นที่ป่า และลดปริมาณการใช้น้ำในการทำเกษตรกรรมนอกฤดู 12.ส่งเสริมระบบการใช้ที่ดินให้สอดคล้องกับภูมิสังคม สนับสนุนโฉนดชุมชน สร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับชุมชน ยุติการขับไล่ชุมชนออกจากป่า สนับสนุนชุมชนที่อยู่กับป่า ให้รักษาป่า รักษาต้นน้ำ รวมทั้งจัดการผังเมืองให้สอดคล้องกับธรรมชาติและภูมิสังคม
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โค้งสุดท้ายก่อนวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ Posted: 05 Nov 2012 08:47 AM PST โพลหลายสำนักระบุโอบามานำรอมนีย์แบบสูสี ด้านรอมนีย์ปราศรัยอัดโอบาม่าว่าไม่สามารถทำตามที่สัญญาว่าจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ ขณะที่โอบาม่ามั่นใจในนโยบายที่ทำลงไป ยืนยัน "4 ปีของการเป็นประธานาธิบดี คุณก็รู้จักผมแล้วตอนนี้" นอกจากนี้ทั้งสองพรรคต่างร้องเรียนในเรื่องบัตรเลือกตั้ง และการเลือกตั้งล่วงหน้า เว็บไซต์ข่าวต่างประเทศหลายแห่ ทางด้าน เดอะ การ์เดียน ของอังกฤษรายงานว่าศูนย์วิจัย Pew เปิดเผยว่าคะแนนนิยมของโอบาม่ Pew ประเมินว่าคะแนนป็อบปุลาร์
บรรยากาศการหาเสียง เมื่อวันอาทิตย์ (4) ที่ผ่านมา โอบาม่าก็ได้ออกตระเวณหาเสี ในการหาเสียงทั้งโอบาม่ "ข้อสรุปคำถามของการเลือกตั้ ทางด้านโอบาม่าได้กล่าวหาเสี "เมื่อคุณต้องเลือก ส่วนหนึ่งของคุณคือการเลือกคนที่คุณเชื่อใจ" โอบาม่ากล่าว "หลังจาก 4 ปีของการเป็นประธานาธิบดีคุณก็ ในนิวแฮมเชียร์ โอบาม่ากล่าวหาเสียงท่ ในรัฐเสียงแกว่งอย่างโอไฮโอ จอน ฮัสเต็ด เลขาธิการรัฐจากพรรคริพับริกั อะรี เปิดเผยอีกว่าบั
การงัดข้อทางกฏหมายของทั้งสองฝ่ ทางด้านนิวยอร์กไทม์รายงานว่า ขณะที่ทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันด้ พรรคเดโมแครตในฟลอริดา ได้ฟ้องร้องเจ้าหน้าที่รั ขณะที่บ็อบ บาวเออร์ หัวหน้าที่ปรึกษาด้ ทางด้าน The Independent ของอังกฤษแสดงความกังวลว่าการต่ The Independent รายงานว่าทั้งสองฝ่ายต่างก็ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การวางตัวนักกฏหมายดังกล่าวจะส่ ขณะเดียวกันก็มีการร้องเรี นักกฏหมายของทางฝ่ายเดโมแครตมี นักกฏหมายฝ่ายริพับริกั ขณะที่ในไอโอวา คืนวันอาทิตย์ พรรคริพับริกันกล่าวหาว่าฝ่
ที่มา เรียบเรียงจาก Obama ahead in new poll as president's camp accuses Romney of desperation, 04-11-2012 http://www.guardian.co.uk/ Obama, Romney in Final Push for White House, CommonDream, 04-11-2012 http://www.commondreams.org/ Legal arms race begins as both sides prepare to do battle in court, The Indepedent, 04-11-201 http://www.independent.co.uk/ As Candidates Make Final Pleas, Legal Battles Begin, The New York Times, 04-11-201 http://www.nytimes.com/2012/ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โฆษกประธานสภาฯ ชี้แก้ ม. 112 ขัดรัฐธรรมนูญ วอนหยุดแสดงความเห็นหวั่นประชาชนเข้าใจผิด Posted: 05 Nov 2012 06:48 AM PST วัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร ระบุ การขอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากขัดรัฐธรรมนูญ พร้อมวอนให้บุคคลที่ออกมาแสดงความคิดเห็นหยุดการแสดงความคิดเห็นในลักษณะผิดๆ เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
กรมคุมประพฤติเล็งใช้กำไลอิเล็กทรอนิกส์คุมเด็กแว้นแทนกักขัง Posted: 05 Nov 2012 06:42 AM PST กรมคุมประพฤติเตรียมใช้กำไลอิเล็กทรอนิกส์คุมเด็กแว้น และผู้ต้องหาเมาแล้วขับ ควบคุมพื้นที่แทนกักขังในสถานพินิจฯ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 28 ต.ค. - 3 พ.ย. 2555 Posted: 05 Nov 2012 05:29 AM PST 'แรงงาน' ยันเดินหน้าค่าจ้าง 300
พนักงาน รง.ผลิตชิ้นส่วนร้องเท้าในระยอง ร้องบริษัทฯ ปิดกิจการไม่แจ้งล่วงหน้า
ประธานอุตฯ 70 จังหวัดทั่วประเทศ นัดบุกทำเนียบวันนี้ ค้านขึ้นค่าแรง
กระทรวงแรงงาน ยันเดินหน้าเสนอครม.ขึ้นค่าจ้าง 300 บาททั่วประเทศ
ถกอิสราเอลลดค่าหัวแรงงานไทย
ปลัดแรงงานส่ง อสส.และกรมบัญชีกลางเคลียร์ปม สปส.ลงทุน ตปท. ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
การพัฒนาและติดตั้งไฟส่องสว่างสาธารณะ: ความท้าทายและมาตรการควบคุมมลภาวะทางแสง Posted: 05 Nov 2012 04:07 AM PST ชื่อบทความเดิม: การพัฒนาและติดตั้งไฟส่องสว่างสาธารณะของท้องถิ่น: ประเด็นความท้าทายเกี่ยวกับการพัฒนามาตรการควบคุมมลภาวะทางแสงของท้องถิ่นในอนาคต
[1] บทนำ การขยายตัวของชุมชนเมืองสมัยใหม่และการเติบโตของจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ชุมชนเมืองและพื้นที่ปริมลฑลย่อมก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์และการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติและปัจจัยด้านอื่นๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งประชากรในท้องถิ่นหรือชุมชนเมืองสมัยใหม่ย่อมต้องการความสะดวกสบายในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ทั้งในเวลากลางวันตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกและเวลากลางคืนตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ตกจนถึงพระอาทิตย์ขึ้น อนึ่ง แม้ว่าจะเป็นเวลากลางคืน แต่ประชากรในท้องถิ่นหรือชุมชนเมืองย่อมต้องอาศัยสิ่งอำนวยความสะดวกหรือสาธารณูปโภคด้านอื่นๆ เพื่อให้ตนเองสามารถทำกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกอาคารบ้านเรือนได้เสมือนหนึ่งเป็นเวลากลางวัน นอกจากนี้ ภาครัฐและท้องถิ่นยังต้องดำเนินบริการสาธารณะด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรในท้องถิ่นและชุมชนเมือง ตัวอย่างเช่น การจัดบริการสาธารณะด้านขนส่งมวลชนในเวลากลางคืน การออกตรวจตราของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนในยามค่ำคืน และการจัดพื้นที่ประกอบกิจกรรมนันทนาการและการกีฬาให้กับประชาชนในยามค่ำคืน เป็นต้น ดังนั้น รัฐและท้องถิ่นสมัยใหม่จึงได้พยายามแสวงหาแนวทางในการให้ประชาชนประกอบกิจกรรมต่างๆ ในเวลากลางคืนได้โดยสะดวกและแนวทางให้รัฐหรือท้องถิ่นประกอบกิจกรรมบริการสาธารณะด้านต่างๆ ในเวลากลางคืนเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชากรในชุมชนเมืองหรือท้องถิ่นนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ ท้องถิ่นสมัยใหม่จึงได้พยายามพัฒนาและติดตั้งไฟส่องสว่างสาธารณะประเภทต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้กับประชาชนในท้องถิ่นในยามค่ำคืน รวมไปถึงอำนวยความสะดวกในการจัดทำบริการสาธารณะในด้านอื่นๆของท้องถิ่นเอง ตัวอย่างเช่น ไฟถนน (Street lights) ไฟรักษาความปลอดภัย (Security lights) และไฟสนามกีฬาและพื้นที่ประกอบกิจกรรมนันทนาการ (Floodlights at sports and recreational areas) เป็นต้น ในปัจจุบันท้องถิ่นของไทยไม่ว่าจะเป็นท้องถิ่นในรูปแบบทั่วไป ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษได้พยายามพัฒนาและติดตั้งไฟส่องสว่างสาธารณะผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการเมืองปลอดภัย อุ่นใจทุกครอบครัว ของกรุงเทพมหานครที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษและโครงการติดตั้งไฟส่องสว่างของเทศบาลที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบทั่วไป เป็นต้น อย่างไรก็ดี การพัฒนาและติดตั้งไฟส่องสว่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนได้เนื่องจากปัญหาการใช้งานแสงสว่างภายนอกอาคาร (Outdoor artificial light) จากการติดตั้งไฟส่องสว่างสาธารณะที่มีลักษณะการติดตั้งหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟที่ไม่เหมาะสม (inappropriate) และไม่เป็นมิตรต่อระบบนิเวศ (eco-unfriendly) อันนำไปสู่ปัญหามลภาวะทางแสงในชุมชนเมืองของท้องถิ่นนั้นๆ
รูปที่ 1 การพัฒนาและติดตั้งไฟส่องสว่างสาธารณะของท้องถิ่นระดับต่างๆ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดมลภาวะทางแสงที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชนเมือง ที่มา BBC News. (2012). Light pollution: Is there a solution?. Retrieved November 1, 2012, from http://www.bbc.co.uk/news/magazine-16470744
รูปที่ 2 มลภาวะทางแสงอาจมีสาเหตุมาจากการติดตั้งหรือการออกแบบหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟส่องสว่างสาธารณะที่มีลักษณะที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จนทำให้เกิดแสงรุกล้ำ (light trespass) ในบริเวณทรัพยสินและบ้านเรือนของประชาชน อันอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพลามัยของประชาชนในระยะยาว ที่มา PTL SOLAR FZ LLC. (2012). Useful Light and Light Pollution. Retrieved November 1, 2012, from http://www.grenlite.com/research-info.html
[2] มลภาวะทางแสงคืออะไร? การใช้งานไฟส่องสว่างสาธารณะประเภทต่างๆ แม้ว่าจะให้คุณอนันต์ต่อการดำเนินชีวิตของประชากรและการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในยามค่ำคืน แต่หากการใช้งานแสงสว่างที่กำเนิดมาจากไฟส่องสว่างสาธารณะที่มีค่าความสว่าง (Luminance) ที่เกินไปกว่าความจำเป็นในการใช้งานในแต่ละพื้นที่ (Excessive) หรือมีทิศทางการส่องสว่างของแสงจากไฟส่องสว่างสาธารณะที่ไม่เหมาะสมอันทำให้แสงนั้นรุกล้ำไปยังพื้นที่ของผู้อื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่น (Intrusive) รวมไปถึงการใช้งานแสงสว่างในเวลาและพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ย่อมก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางแสง (Light pollution) อนึ่ง การพัฒนาพื้นที่ชุมชนเมืองและการวางผังเมืองเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของเมืองจำเป็นอย่างยิ่งที่จำต้องคำนึงถึงปัญหาและผลกระทบจากไฟส่องสว่างสาธารณะด้วย เพราะไฟส่องสว่างสาธารณะอาจก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางแสง ที่อาจกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้ ด้วยเหตุนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภูมิภาคของหลายประเทศจึงได้พยายามแสวงหาแนวทางและวิธีการเพื่อจัดการกับปัญหามลภาวะทางแสงในอนาคต
[3] มลภาวะทางแสงจากไฟส่องสว่างสาธารณะของท้องถิ่นกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือสุขภาพมนุษยอย่างไร? แม้แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟประเภทต่างๆ ที่นำมาใช้จัดทำไฟส่องสว่างสาธารณะจะมีประโยชน์กับประชาชนพื้นที่ชุมชนเมืองของแต่ละท้องถิ่นมากสักเพียงใดก็ตาม แต่อย่างไรก็ดี มลภาวะทางแสงอาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ได้เช่นกัน โดยผลกระทบของการใช้ไฟส่องสว่างสาธารณะที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อนามัยและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ประการแรก มลภาวะทางแสงที่ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ (Human health) มลภาวะทางแสงที่เกิดจากการติดตั้งหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟส่องสว่างสาธารณะภายนอกอาคารประเภทต่างๆ ที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากการออกแบบและติดตั้งไฟส่องสว่างสาธารณะที่ไม่เหมาะสมต่อลักษณะของการใช้งานในแต่ละพื้นที่ที่มนุษย์อาศัยหรือประกอบกิจกรรมในเวลากลางคืน ย่อมนำมาซึ่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น วงจรชีวิตมนุษย์ (Human Circadian Rhythms) โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง (Chronic Lack of Sleep) โรคเครียด (Psychological Stresses) โรคมะเร็งในเต้านม (Breast Cancer) และการพัฒนาการของทารกที่คลอดก่อนกำหนด (Development of Premature Babies) เป็นต้น สาเหตุที่มลภาวะทางแสงจากการใช้งานแสงสว่างจากไฟฟ้าส่องสว่างสาธารณะอาจกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ได้เช่นนี้ ก็เพราะ ความมืดในเวลากลางคืน (Dark Nights) กับการหลั่งสารเมลาโทนินตามปกติ (Normal Melatonin Production) มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งสารเมลาโทนินถือเป็นฮอร์โมนประเภทหนึ่งที่หลั่งออกมาจากต่อมไพเนียล (Pineal Gland) ซึ่งอยู่ในสมองส่วนไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) สารเมลาโทนินจะหลั่งได้ดีในที่มืดขณะเวลาที่มนุษย์นอนหลับตอนกลางคืนช่วง 2 นาฬิกาจนถึง 4 นาฬิกา โดยสารชนิดนี้มีส่วนช่วยในการควบคุมวงจรชีวิตมนุษย์หรือวงจรการทำงานของร่างกายมนุษย์ตามปกติ เช่น การพัฒนาระบบอวัยวะสืบพันธุ์ การนอนหลับของมนุษย์ อารมณ์ของมนุษย์และการต่อต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น แต่หากมลภาวะทางแสงจากการใช้แสงสว่างที่มาจากไฟส่องสว่างสาธารณะเกินสมควรหรือรุกล้ำของแสงไปในสถานที่อันเป็นที่พักอาศัยของมนุษย์ในเวลากลางคืน รวมไปถึงการใช้แสงสว่างในเวลาและพื้นที่ที่ไม่จำเป็น ย่อมส่งผลกระทบต่อความสามารถของร่างกายในการผลิตสารเมลาโทนินได้ดีในเวลากลางคืน ซึ่งเมื่อร่างกายผลิตสารเมลาโทนินได้น้อยลง ย่อมส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตมนุษย์โดยทั่วไปด้วย ตนอาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงหรืออันตรายต่อกายในอนาคต ทั้งนี้ สมาคมการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา (American Medical Association) ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างมลภาวะทางแสงและสุขภาพมนุษย์ ได้แก่ "การรุกล้ำของแสงส่งผลกระทบต่อจังหวะวงจรชีวิตมนุษย์และสัตว์และอาจเป็นสาเหตุของการลดปริมาณการหลั่งของสารเมลาโทนินที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย อันทำให้มนุษย์เผชิญกับภาวะความเสี่ยงที่อาจเกิดโรคมะเร็งในอนาคต" ดังนั้น การรุกล้ำ (Light trespass) ของแสงสว่างจากการใช้งานไฟส่องสว่างสาธารณะของท้องถิ่นจากการใช้งาน ออกแบบและติดตั้งหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟจากไฟส่องสว่างสาธารณะที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมย่อมทำให้มนุษย์เผชิญกับความเสี่ยงต่างๆ ต่อสุขภาพด้วย
รูปที่ 3 แสงสว่างมีความสัมพันธ์กับการหลั่งสารเมลาโทนินจากต่อมไพเนียลในสมองมนุษย์ ที่มา Cancertruth. (2012). Magnificent Melatonin, Retrieved November 1, 2012, from http://www.cancertruth.net/magnificientmelatonin/ ประการที่สอง มลภาวะทางแสงจากไฟส่องสว่างสาธารณะอาจกระทบต่อระบบนิเวศ (Ecological light pollution) กล่าวคือ การติดตั้งไฟส่องสว่างที่มีลักษณะไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศบริเวณรอบๆ พื้นที่ที่มีการติดตั้งไฟส่องสว่าง อาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ต้นไม้ประเภทต่างๆ รวมไปถึงระบบนิเวศตามธรรมชาติในเวลากลางคืน (Nocturnal ecological system) ตัวอย่างเช่น ไฟส่องสว่างสาธารณะอาจก่อให้เกิดมลภาวะทางแสงที่รุกล้ำไปยังที่อยู่อาศัยของค้างคาวตามธรรมชาติ ซึ่งตามธรรมชาติแล้วค้างคาวจะชอบอยู่อาศัยในพื้นที่มืดและอากาศถ่ายเทสะดวก นอกจากนี้ ไฟส่องสว่างสาธารณะประเภทไฟถนนบริเวณชายหาด (Coastal roadway lighting) อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเคลื่อนที่ของแม่เต่าทะเลภายหลังจากฟักไข่ได้ ซึ่งแทนที่แม่เต่าทะเลจะอาศัยแสงธรรมชาติ ได้แก่ แสงจันนทร์และแสงจากดวงดาวในการนำทางเคลื่อนที่กลับเข้าสู่ท้องทะเล แต่แสงไฟถนนบริเวณชายหาดกลับทำลายบรรยากาศความมืดตามธรรมชาติในเวลากลางคืน ทำให้แทนที่แม่เต่าทะเลจะเคลื่อนที่ลงสู่ท้องทะเลไปตามธรรมชาติ แต่แม่เต่าทะเลกลับเคลื่อนที่ลึกเข้ามายังพื้นที่ชายฝั่ง โดยอาจทำให้เกิดอันตรายต่อแม่เต่าทะเล ได้แก่ ภาวะเหนื่อย (exhausting) ภาวะขาดน้ำ (dehydration) รวมไปถึงการตายจากยวดยานพาหนะที่สัญจรบนถนนชายหาด
รูปที่ 4 มลภาวะทางแสงจากไฟส่องสว่างสาธารณะบริเวณพื้นที่ชายหาดที่อาจกระทบต่อสวัสดิภาพของเต่าทะเล ที่มา Collier County Florida. (2012). Lighting Compliance. Retrieved November 1, 2012, from http://www.colliergov.net/Index.aspx?page=446
[4] ไฟส่องสว่างสาธารณะสามารถยับยั้งการเกิดอาชญากรรมได้หรือไม่? แม้ว่ารัฐบาลท้องถิ่นหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของหลายประเทศมีความเชื่อว่าการติดตั้งหลอดไฟฟ้าหรือโคมไปเป็นจำนวนมากจะสามารถลดปัญหาและระดับของการก่ออาชญากรรมลงได้ แต่อย่างไรก็ดี ความเชื่อดังกล่าวยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์อย่างแน่ชัดว่าค่าความสว่างในพื้นที่ระดับสูงจะสัมพันธ์กับการหยุดยั้งการกระทำความผิดหรือลดจำนวนอาชญากรรมแต่อย่างใด ซึ่งแท้จริงแล้วแสงสว่างจากไฟส่องสว่างกลับเอื้อประโยชน์ต่อการก่ออาชญากรรมบางประเภท เช่น การทำลายทรัพย์สินของรัฐหรือของเอกชนในเวลากลางคืน (Vandalism) และการวาดภาพหรือเขียนบนกำแพงในพื้นที่สาธารณะหรือทรัพย์สินของผู้อื่น (Graffiti) เป็นต้น นอกจากนี้ แสงสว่างอาจช่วยเอื้อต่อการมองเห็นของผู้กระทำความผิดในกรณีอื่นๆอีกด้วย ซึ่งจากการศึกษาเอกสาร 'Preventing Crime: What Works, What Doesn't, What's Promising' จัดทำโดย Lawrence W. Sherman และคณะ (1998) เพื่อเสนอต่อ รัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา ที่พบว่าแสงสว่างอาจช่วยสนับสนุนผู้กระทำความผิดในการประกอบอาชญากรรมในบางกรณี โดยยกตัวอย่างกรณีผู้กระทำความผิดต้องแสงสว่างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการก่ออาชญากรรมในกรณีที่ต้องการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในเวลากลางคืน เช่น ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ เป็นต้น
[5] ความท้าทายเกี่ยวกับการพัฒนามาตรการควบคุมมลภาวะทางแสงจากไฟส่องสว่างสาธารณะของท้องถิ่นในอนาคต จากที่ได้กล่าวมาในข้างต้นอาจเห็นได้ว่าไฟส่องสว่างสาธารณะอาจช่วยอำนวยความสะดวกต่อประชากรในการใช้ชีวิตในยามค่ำคืนและการจัดทำบริการสาธารณะของท้องถิ่นเพื่ออำนวยความสะดวกต่อประชาชนในยามค่ำคืน แต่ไปส่องสว่างสาธารณะที่มีการติดตั้งที่ไม่เหมาะสมหรือการออกแบบที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมย่อมอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ได้ นอกจากนี้ ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่บ่งชี้ว่าการติดไฟส่องสว่างสาธารณะเป็นจำนวนมากจะทำให้ลดปริมาณการก่ออาชญากรรมในท้องถิ่นลงได้ ด้วยเหตุนี้ ท้องถิ่นในหลายประเทศจึงได้พยายามแสวงหามาตรการทางกฎหมายท้องถิ่นเพื่อรับมือกับปัญหามลภาวะทางแสงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานไฟส่องสว่างสาธารณะหรือการใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟภายนอกอาคารประเภทอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น เมืองทูซอน มลรัฐเอริโซน่าได้ตรา ประมวลข้อบังคับท้องถิ่น City of Tucson/Pima County Outdoor Lighting Code 2012 โดยออกตามความในกฤษฎีกาเมืองว่าด้วยการผังเมือง City of Tucson Ordinance 2012 ที่กำหนดให้ท้องถิ่นของเมืองทูซอนต้องมีหน้าที่ในการรักษามาตรฐานการติดตั้งหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟจากไฟส่องสว่างสาธารณะของท้องถิ่นให้ได้มาตรฐานเพื่อลดผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพมนุษย์ของประชาชนและระบบนิเวศ สำหรับสาระสำคัญของประมวลข้อบังคับท้องถิ่น City of Tucson/Pima County Outdoor Lighting Code 2012 ได้กำหนดให้ไฟส่องสว่างสาธารณะในบริเวณถนนสาธารณะ (Lighting of public right-of-ways) ต้องมีการติดตั้งโล่ไฟ (Light shield) เพื่อควบคุมทิศทางของแสงไม่ให้แสงส่องรุกล้ำไปยังบริเวณที่ไม่จำเป็นต่อการใช้งานหรือส่องสว่างไปทำลายระบบนิเวศโดยรอบ นอกจากนี้ ประมวลการใช้งานไฟส่องสว่างสาธารณะดังกล่าวยังได้กำหนดค่าความส่องสว่างโดยเฉลี่ยขั้นสูง (maximum average illumination level) ในบริเวณพื้นที่ทางสาธารณะที่ติดตั้งไฟส่องสว่างสาธารณะเพื่อให้ท้องถิ่นสามารถวัดระดับความส่องสว่าง (Footcandle ( fc ) 1 lumen / sq.ft) ในแต่ละพื้นที่ได้เพื่อให้ความส่องสว่างเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยในแต่ละพื้นที่ รวมไปถึงกำหนดมาตรฐานของพิกัดประสิทธิภาพต่ำสุดของหลอดไฟหรือโคมไฟที่ติดตั้งสำหรับไฟส่องสว่างสาธารณะในแต่ละประเภท (Rated minimum efficacy values) อีกด้วย
[6] สรุปและข้อเสนอแนะสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย ในปัจจุบันหลายท้องถิ่นของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษหรือท้องถิ่นทั่วไปได้พยายามพัฒนาและติดตั้งไฟส่องสว่างสาธารณะผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการ "เมืองปลอดภัย อุ่นใจทุกครอบครัว ของกรุงเทพมหานคร" ที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษและโครงการติดตั้งไฟส่องสว่างของเทศบาลอื่นๆ ที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบทั่วไป เป็นต้น ซึ่งแม้ว่าโครงการต่างๆ จะมีวัตถุประสงค์ดีคือเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นหรือมีความรู้สึกปลอดภัยจากอาชญากรรมประเภทต่างๆ แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับต่างๆของไทยต้องพึงระลึกไว้เสมอว่าการติดตั้งหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟเป็นจำนวนมาก อาจช่วยเพียงแค่ให้แสงสว่างในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ในบริเวณพื้นที่ชุมชนเมืองให้สะดวกมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าการติดตั้งไฟส่องสว่างสาธารณะเป็นจำนวนมากจะช่วยลดอัตราการเกิดอาชญากรรมได้จริง นอกจากนี้ การติดตั้งไฟส่องสว่างสาธารณะที่ไม่เป็นไปตามหลักวิศวกรรมส่องสว่าง กล่าวคือ หลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟจากไฟส่องสว่างสาธารณะอาจมีการติดตั้งที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งานจริงในแต่ละพื้นที่หรืออาจมีลักษณะที่ไม่เป็นมิตรต่อระบบนิเวศโดยรอบพื้นที่ชุมชนเมืองที่มีการติดตั้งไฟส่องสว่างสาธารณะ ซึ่งผลที่ตามมาอาจก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางแสง ที่อาจกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของมนุษย์ได้ ด้วยเหตุนี้ ท้องถิ่นประเภทต่างๆ ของไทย จึงควรตระหนักถึงผลร้ายหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการโครงการพัฒนาไฟส่องสว่างสาธารณะประเภทต่างๆ ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายท้องถิ่นที่กำหนดถึงมาตรฐานการติดตั้งหรือใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟจากไฟส่องสว่างสาธารณะ เช่น ข้อบัญญัติท้องถิ่น ข้อบังคับท้องถิ่น เทศบัญญัติท้องถิ่น ข้อบัญญัติเมือง เป็นต้น ดังนั้น ในอนาคตก่อนที่จะมีการดำเนินโครงการพัฒนาหรือติดตั้งไฟส่องสว่างสาธารณะ ท้องถิ่นควรออกนโยบายหรือมาตรการทางกฎหมายท้องถิ่นเฉพาะเพื่อกำหนดมาตรฐานการใช้งานและการติดตั้งไฟส่องสว่างสาธารณะในอนาคต
เอกสารอ้างอิง Ackermann, K. & Stehle, H. J. (2006). Melatonin Synthesis in the Human Pineal Gland: Advantages, Implications, and Difficulties. Chronobiology International, 23:1-2, 369-379. Ancoli-Israel, S. et al. (2003). The Role of Actigraphy in the Study of Sleep and Circadian Rhythms. SLEEP, 26 (3), 342-92. BBC News. (2000). Night shifts 'increase breast cancer risk, Retrieved November 1, 2012, from http://news.bbc.co.uk/1/hi/health/1092390.stm BBC News. (2003). Artificial light linked to breast cancer, Retrieved November 1, 2012, from http://news.bbc.co.uk/1/hi/in_depth/sci_tech/2003/denver_2003/2766161.stm BBC News. (2006). Light 'risk' to premature babies, Retrieved November 1, 2012, from http://news.bbc.co.uk/1/hi/health/4799445.stm Cajochen C. (2005). High Sensitivity of Human Melatonin, Alertness, Thermoregulation, and Heart Rate to Short Wavelength Light. Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism, 90 (3), 1311-1316. Davis, S., Mirick, D.K. & Stevens, R.G. (2001). Night shift work, light at night, and risk of breast cancer, Journal of the National Cancer Institute, 93, 1557-1562. Engineering Society of North America & International Dark Sky Association. (2010). JOINT IDA-IES MODEL LIGHTING ORDINANCE (MLO) with USERS GUIDE, (Arizona: International Dark Sky Association). Gallagher, M.R. (2010). The influence of urban noise and light pollution on women's and girls' sleep patterns, weight and cardiovascular health, Penn-International Conference On Women's Health Initiative 18th Congress. Philadelphia: University of Pennsylvania. . Guardian. (2007). Lights out on Britain's bats, Retrieved November 1, 2012, from http://www.guardian.co.uk/environment/2007/jul/15/conservation.endangeredspecies Hansen, J. (2001). Light at Night, Shiftwork, and Breast Cancer Risk. Journal of the National Cancer Institute, 93(20), 1513-1515. Johnson C.H. (2010). Circadian clocks and cell division. Cell Cycle, 9(19), 3864–3873 . Kerenyi, N.A., Pandula E. & Feuer G. (1990). Why the incidence of cancer is increasing: the role of `light pollution'. Med Hypotheses. 33(2), 75-78. Kloog, I. et al. (2011). Does the Modern Urbanized Sleeping Habitat Pose a Breast Cancer Risk?. Chronobiology International, 28 (1), 76-80. Longcore, T. & Rich, C. (2004). Ecological light pollution. Front Ecol Environ, 2(4): 191–198. Pima County. (2012). 2012 City of Tucson/Pima County Outdoor Lighting Code Adopted by City of Tucson ordinance #10963 on February 7, 2012, Retrieved November 1, 2012, from http://cms3.tucsonaz.gov/sites/default/files/dsd/Codes-Ordinances/2012_outdoor_lighting_code_.pdf Sherman, W. L. (1998). Preventing crime: what works, what doesn't, what's promising, (New York: U.S. Dept. of Justice, Office of Justice Programs, National Institute of Justice) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
นิธิ เอียวศรีวงศ์ : เปลี่ยนประเทศไทย ด้วยการรับจำนำข้าว Posted: 04 Nov 2012 11:47 PM PST ผมไม่มีความเห็นอะไรเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวด้วยราคาสูงของรัฐบาลมานาน เพราะยอมรับว่ายังไม่สู้เข้าใจผลกระทบถ่องแท้นัก จึงได้สดับตรับฟังและตามอ่านความเห็นของคนอื่นตลอดมา บัดนี้ ผมคิดว่าผมพอจะบรรลุความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว
ที่มา: มติชนออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ภาคภูมิ แสงกนกกุล: การรักษาเป็นสินค้าและความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้ในฐานะผู้บริโภค Posted: 04 Nov 2012 10:41 PM PST ภายในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาระบบสาธารณสุขไทยเป็นระยะเปลี่ยนผ่าน การเปลี่ยนแปลงต่างๆเพื่อให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงโลก เปลี่ยนสถานภาพของแพทย์ในประเทศไทยที่มีสถานะเป็นที่ยอมรับในสังคมในฐานะผู้เสียสละเพื่อรักษาชีวิตของสังคมเป็นผู้ให้บริการ นอกจากนี้การเติบโตของธุรกิจการแพทย์ทำให้ภาพของแพทย์บางส่วนที่ผู้ป่วยมองว่าเป็นผู้มีพระคุณกลายเป็นพ่อค้า และเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้จากเดิมที่ดีกลายเป็นภาพขัดแย้งไม่เข้าใจมากขึ้น และมีการฟ้องร้องมากขึ้น [1] ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญจนฝ่ายนโยบายสาธารณสุขเช่นสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ หามาตรการเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างแพทย์คนไข้ [2] ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ 4 แบบ ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 4 แบบคือ [3] • ความสัมพันธ์แบบกึ่งเสรี (deliberative model) เป็นความสัมพันธ์ที่แพทย์เสมือนครูหรือเพื่อนที่หวังดีกับคนไข้แพทย์มีหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารและชักชวนให้ผู้ป่วยเลือกการรักษาที่แพทย์คิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของคนไข้ สิ่งที่แตกต่างจากแบบแรกคือ ผู้ป่วยมีการตัดสินใจเองว่าจะทำหรือไม่ทำตามที่แพทย์พูด • ความสัมพันธ์แบบการแปล (interpretative) เป็นความสัมพันธ์ที่แพทย์เปรียบเสมือนเป็นที่ปรึกษาของคนไข้ โดยคนไข้เป็นผู้มีความรู้และสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์การแพทย์และข้อมูลที่ซับซ้อนได้ เพียงแต่ต้องอาศัยการอธิบายจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแปลสารที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายให้แก่ผู้ป่วย • ความสัมพันธ์แบบให้ข้อมูลข่าวสาร (informative model) เป็นความสัมพันธ์ที่แพทย์มีลักษณะเป็นช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญการรักษาและมีหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารทุกอย่างทั้งข้อดีข้อเสียของการรักษาทุกชนิดและสร้างตัวเลือกต่างๆให้กับผู้ป่วยซึ่งอยู่ในสถานะผู้บริโภค มื่อได้รับข้อมูลแล้วก็สามารถไตร่ตรองได้เองว่าจะเลือกการรักษาในฐานะเป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายตัวเองดีที่สุด ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จวบจนศตวรรษที่แล้วเป็นความสัมพันธ์ลักษณะพ่อปกครองลูก ที่แพทย์ผูกขาดการตัดสินใจจากคนไข้หมด การรักษาที่ดีจึงขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์และคนไข้ คือถ้ามีความสัมพันธ์ดีก็มีโอกาสที่แพทย์จะทุ่มเทการรักษาอย่างเต็มที่ และต้องอาศัยจริยธรรมส่วนตัวของแพทย์ สาเหตุที่ความสัมพันธ์เป็นแบบพ่อปกครองลูกเพราะ ความไม่สมมาตรด้านข้อมูลระหว่างแพทย์และคนไข้ การเข้าถึงข้อมูลอย่างยากลำบากของคนไข้ ความซับซ้อนของความรู้ด้านการแพทย์ ความสัมพันธ์ของคนไข้และแพทย์แบบเก่าจึงวางอยู่บนความไม่เสมอภาค โดยที่คนไข้ได้สูญเสียอธิปไตยในการตัดสินใจไปให้กับแพทย์และอยู่ในรูปแบบของการมอบอำนาจให้แพทย์ตัดสินใจ « Tutelle médicale » [5] อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็วและการเติบโตของธุรกิจการแพทย์ เปิดโอกาสให้แพทย์สามารถหากำไรได้จากความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลและอำนาจตัดสินใจผูกขาดที่อาจเลือกการรักษาที่ไม่จำเป็นให้คนไข้เพื่อเพิ่มรายได้กับตนเองและอาจสร้างความไม่ไว้วางใจระหว่างแพทย์คนไข้ สภาพการณ์ปัจจุบันจริยธรรมของแพทย์เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอและต้องอาศัยการเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับคนไข้ ด้วยผลดีของเทคโนโลยีปัจจุบันส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลมากขึ้นผู้ป่วยสามารถหาข้อมูลที่มีความสลับซับซ้อนได้มากขึ้นและทั่วถึงกับประชาชน ทำให้ผู้ป่วยมีอำนาจทางข้อมูลมากขึ้นและสามารถมีอำนาจต่อรองกับแพทย์และดึงอำนาจตัดสินใจจากแพทย์มาสู่ตนเองอีกครั้ง ผู้ป่วยจากเดิมที่มีลักษณะตั้งรับ (passive) กลายมาเป็นผู้ป่วยที่มีความอิสระ (autonomy) พวกเขาไม่ใช่ผู้ป่วยที่เชื่อง ต้องเชื่อฟังคำสั่งทุกอย่างจากแพทย์โดยไม่รู้ว่าแพทย์ทำสิ่งที่ดีหรือแย่กับตน แต่ผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยที่รับรู้ เรียนรู้ได้ ว่าการรักษาใดที่ดีสำหรับตน ตัดสินใจได้ด้วยตัวเองและมีแขนขาสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ถึงแม้ตนเองจะป่วยอยู่ก็ตาม แนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และคนไข้ทั่วโลกค่อนข้างจะเปลี่ยนจากระบบพ่อปกครองลูกเปลี่ยนเป็นความสัมพันธ์ในลักษณะผู้ป่วยเป็นผู้บริโภค อย่างไรก็ตามก็มีการโต้แย้งกับแนวความคิดดังกล่าว [6] โดยเห็นว่าการรักษาไม่ควรเป็นสินค้าแต่ควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนมีสิทธิเข้าถึง และอาจมองว่าโมเดลผู้ป่วยเป็นผู้บริโภคจะเป็นการบั่นทอนความสัมพันธ์อันดีระหว่างแพทย์และคนไข้ ข้อโต้แย้งดังกล่าวเป็นสิ่งที่น่าคิด แต่ควรแยกออกจากกันก่อนว่า การแพทย์เชิงพาณิชย์ที่ลดทอนสิทธิการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยและโมเดลผู้ป่วยเป็นผู้บริโภคเป็นคนละเรื่องกัน ในประเทศฝรั่งเศสที่จัดหาการบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึงให้กับประชาชนทุกคนหรือแม้แต่ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ถึงแม้บางรายไม่ได้เป็นผู้เสียภาษีเลยก็ตาม ต่างก็เปลี่ยนเป็นโมเดลผู้บริโภค โดยมองว่าเป็นการเพิ่มอำนาจและสิทธิของผู้ป่วยและเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการประชาธิปไตยในระบบสาธารณสุข สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคมีความแข็งแกร่งและสามารถเป็นปากเป็นเสียงให้กับคนไข้ที่เดือดร้อนจากการรักษาที่ผิดพลาดของแพทย์ได้
เชิงอรรถ [1] http://www.doctor.or.th/clinic/detail/7043 [2] มติและข้อเสนอจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๑ [3] http://www.med.yale.edu/intmed/resources/docs/Emanuel.pdf [4] http://www.who.int/genomics/public/patientrights/en/ [5] Claude Le Pen, « Patient » ou « personne malade » ? Les nouvelles figures du consommateur de soins, Revue économique-vol.60, N°2 mars 2009, p.258. [6] http://www.mat.or.th/file_attach/22Mar201205-AttachFile1332376445.pdf ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ASEAN Weekly: สันติภาพที่มินดาเนา Posted: 04 Nov 2012 05:25 PM PST ASEAN Weekly ดำเนินรายการโดยสุลักษณ์ หลำอุบล และดุลยภาค ปรีชารัชช สัปดาห์นี้ติดตามการบรรลุผลการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์ และแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (Moro Islamic Liberation Front - MILF) ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ที่เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์มา 40 กว่าปี กรอบข้อตกลงที่มีการลงนามเมื่อ 15 ต.ค. ดังกล่าว กำหนดให้มีเขตปกครองตนเองใหม่ที่ชื่อว่า "บังซาโมโร" ที่เกาะมินดาเนา ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ภายในปี 2559 โดยฝ่าย MILF ได้สิทธิปกครองตนเองในพื้นที่บางส่วนของเกาะมินดาเนา ครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด 4 เมือง 113 เขตเทศบาล มีประชากร 4.7 ล้านคน รัฐบาลฟิลิปปินส์และแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (MILF) ลงนามในข้อตกลงสันติภาพเมื่อ 15 ต.ค. 55 ที่ทำเนียบประธานาธิบดี กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย นาจีป ราซักเป็นสักขีพยาน (ที่มา: http://www.gov.ph/official-visit-of-malaysian-prime-minister/) แผนที่แสดงพื้นที่ซึ่งคาดหมายว่าจะเป็นเขตปกครองตนเอง Bangsa Moro ตามข้อตกลงสันติภาพ โดยกำหนดกรอบระยะเวลาไว้ภายในปี 2559 (ที่มา: http://www.gov.ph/the-2012-framework-agreement-on-the-bangsamoro)
ทั้งนี้ดุลยภาคประเมินผลสำเร็จและผลกระทบจากกรอบข้อตกลงสันติภาพว่า ประการแรก การเจรจาสันติภาพกับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นยุทธศาสตร์การเมืองที่สำคัญของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ใครที่ทำให้ประสบความสำเร็จหรือมีรูปธรรมพอสมควรจะมีผลต่อฐานคะแนนและภาพลักษณ์ในอนาคต ซึ่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ก่อนหน้านี้ก็ดำเนินการเจรจา ทั้งฟิเดล มากอส และกรอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ขณะที่ในปี 2559 ซึ่งเป็นกรอบเวลาที่แผนสันติภาพจะถูกนำไปปฏิบัติก็เป็นปีที่ประธานาธิบดี เบนิญโน่ อาคีโน่ ดำรงตำแหน่งครบวาระพอดี นอกจากนี้ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์มักจะใช้ "การทูตการพัฒนา" เป็นจักรกลสำคัญเชื่อมเครือข่ายระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศไปพัฒนาในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง ซึ่งที่ผ่านมาดินแดนตอนใต้ของฟิลิปปินส์มีความขัดแย้งสูงเป็นระยะ ทำให้การพัฒนาไม่เต็มรูปเท่าที่ควร แต่การดันนโยบายการทูตการพัฒนาประสบความสำเร็จอยู่เป็นช่วงดีกว่าไม่มีกระบวนการผลักดันอะไรเลย ประการที่สอง มีการเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศในอาเซียน สืบเนื่องจากว่าภาคใต้ของฟิลิปปินส์เป็นส่วนหนึ่งของเขตเศรษฐกิจอาเซียนตะวันออก ซึ่งครอบคลุมทั้งฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน โดยเฉพาะอินโดนีเซียและมาเลเซียแข็งขันกับกรณีเป็นพิเศษ เพราะถ้าไม่ทำให้ดินแดนนี้มีสันติภาพเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การค้า การลงทุนในอาเซียน การรวมกลุ่มเหลี่ยมเศรษฐกิจซึ่งมีความสำคัญกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทะเลก็จะไม่สำเร็จ จะเห็นบทบาทของรัฐบาลมาเลเซียเข้ามาร่วมในกระบวนการเจรจานี้ด้วย เพราะทางมาเลเซียเองมีพื้นที่ติดต่อกันบริเวณเกาะบอร์เนียวตอนเหนือก็ได้รับผลกระทบกับความขัดแย้งที่ผ่านมา ซึ่งทำให้การค้าขายไม่สะดวก ประการที่สาม ระยะเวลา 40 ปีของความขัดแย้ง ทั้งฝ่ายรัฐบาลฟิลิปปินส์และฝ่าย MILF ต่างฝ่ายต่างเหนื่อยล้า สุดท้ายไม่มีอะไรจะจบได้ดีกว่าที่โต๊ะเจรจา ซึ่งมีสิ่งสำคัญคือการไว้เนื้อเชื่อใจกัน ซึ่งก็ยากอยู่ แต่ดีกว่าไม่มีอะไรเป็นรูปธรรมเกิดขึ้น ฝ่ายแบ่งแยกแดกดินแดนก็พบกันครึ่งทางด้วยการขอเขตปกครองพิเศษน่าจะพอพูดคุยกันได้ ฝ่ายรัฐบาลฟิลิปปินส์สอดคล้อง เพราะพอรับกับเขตปกครองพิเศษได้ ในช่วงท้ายรายการ ยังมีการอภิปรายบทเรียนจากมินดาเนากับกรณีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเปรียบเทียบกับการเจรจาสันติภาพและพื้นที่เขตปกครองตนเองในของชนกลุ่มน้อยในพม่าด้วย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น