โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

รายงานพิเศษชุด “ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี” : สนทนากับหัวหน้ากอมปีและมือระเบิด

Posted: 25 Nov 2012 12:46 PM PST

 

ด้วยรูปแบบการต่อสู้แบบลับลวงพรางของขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชปาตานีในปัจจุบัน ทำให้ไม่ค่อยมีใครมีโอกาสเห็นหน้าค่าตาหรือพูดคุยกับคนที่อยู่ในขบวนการอย่างเปิดเผยมากนัก    DSJ ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับพวกเขา  ในตอนนี้เราจะนำ "คนใน" ที่มีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติการทางการทหารมาเล่าเรื่องราวชีวิตและความคิดของพวกเขา 

 

เรื่องราวของอัมรัน : หัวหน้ากอมปี

อัมรัน (นามสมมุติ) ถูกชักชวนเข้าสู่ขบวนการในขณะที่เขาเรียนศาสนาในระดับชั้นซานาวีย์อยู่ที่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามแห่งหนึ่งในจ.นราธิวาส ซึ่งเป็นระดับสูงสุดใน 3 ระดับขั้นของการเรียนศาสนาอิสลาม  ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรปาตานีเป็นประเด็นสำคัญที่ปลุกเร้าให้เขาเข้าร่วมขบวนการ "ญิฮาด" เพื่อกอบกู้เอกราช

เมื่ออัมรันเรียนจบ  เขาไปเป็นทหารเกณฑ์ 1 ปี พอกลับมาก็ได้รับคัดเลือกให้ไปฝึกในสายเมย์ (MAY – สายทหาร) เขาคิดว่าประสบการณ์จากการเป็นทหารเกณฑ์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขาได้รับเลือกเข้าไปฝึกด้านการรบ   การฝึกใช้เวลาประมาณ 1 เดือนทั้งทฤษฏีและการปฏิบัติ  จากนั้นเขาก็เริ่มต้นปฏิบัติการเป็นหัวหน้าระดับรือกู (regu – หมู่) ในช่วงต้นปี 2547 โดยมีหน้าที่ในการดูแลสั่งการอาร์เคเค 2 ชุด

อัมรันเล่าว่าเขาได้รับมอบหมายให้ไปสำรวจดูเสาสัญญาณโทรศัพท์ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ปล้นปืนในวันที่ 4 มกราคม 2547 เพราะขบวนการวางแผนที่จะทำลายเสาโทรศัพท์   ในวันปฏิบัติการเขาได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ตัดต้นไม้ขวางถนนเพื่อป้องกันการติดตามของเจ้าหน้าที่

"เขาอยากจะทำเพื่อยกระดับขบวนการ" อัมรันกล่าวถึงสาเหตุของการปล้นปืนครั้งใหญ่ที่ทำให้ทหารเสียชีวิต 4 นายและอาวุธถูกปล้นไปจากค่ายค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ค่ายปิเหล็ง) ในอ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาสกว่า 400 กระบอก

ในฐานะของหัวหน้ารือกู อัมรันรับหน้าที่ประสานงานระหว่างอาร์เคเคซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดกับระดับพลาตง (platong – หมวด) ซึ่งอยู่เหนือเขาขึ้นไประดับหนึ่ง  เขาบอกว่าความรับรู้ของเขาต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในการเคลื่อนไหวจำกัดอยู่เพียงแค่นั้น   เขาจะคอยสอดส่องดูการเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครองและดูสถานที่ที่เป็นฐานเศรษฐกิจ ธนาคาร แหล่งอบายมุข เช่น สถานบันเทิง ซึ่งเป็นเป้าหมายการโจมตีหลักอย่างหนึ่งของขบวนการ

"ผมไม่เคยปฏิบัติการจริง  ผมได้เลื่อนขั้นขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะคนที่อยู่เหนือกว่าตาย" อัมรันกล่าว  เขาได้ปรับตำแหน่งสูงขึ้นจนสุดท้ายได้เป็นหัวหน้ากอมปี (kompi – กองร้อย)  ก่อนที่เขาจะถูกจับกุมเมื่อห้าปีที่แล้ว (ปี 2550)

ชายหนุ่มวัยกลางคนรูปร่างบึกบึนผิวคล้ำผู้นี้ประกอบอาชีพทำสวนยางเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว   นอกจากภาระส่วนตัวแล้ว  เขายังมีพันธกิจที่จะต้องบริจาคเงินวันละ 2 บาทให้กับขบวนการอีกด้วย  

 "ทุกฝ่ายจ่ายวันละบาท ยกเว้นเมย์จ่าย 2 บาท," อัมรันกล่าว

เขายืนยันว่าขบวนการมีกฎอย่างเคร่งครัดและไม่อนุญาตให้สมาชิกอาร์เคเคตัดสินใจในการก่อเหตุเองจะต้องมีการเสนอเรื่องขึ้นไปยังระดับพลาตง  หรือสองขั้นเหนือขึ้นไป  ถ้าหากว่ามีการละเมิดก็จะถูกลงโทษด้วยการให้ "ปอซอ" (ถือศีลอด) หรืออาจจะให้งดปฏิบัติการชั่วคราว   ขบวนการระมัดระวังที่จะไม่ให้นำอาวุธไปใช้ในการล้างแค้นเรื่องส่วนตัว  ซึ่งเขาบอกว่ามีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นบ้าง แต่ไม่มากนัก

สำหรับแหล่งที่มาของอาวุธและกระสุนที่ใช้  อัมรันบอกว่าส่วนใหญ่ได้มาจากการลอบยิงและปล้นมา  ไม่ค่อยมีการซื้อมากนัก  สำหรับปืนพกสั้น มีการซื้อจากเจ้าหน้าที่หรือคนที่เป็นญาติเจ้าหน้าที่บ้าง  แต่ก็เป็นส่วนน้อย

แม้หลายคนไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา  แต่การโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐที่ถืออาวุธนั้นอาจเป็นเรื่องที่หลายคนสามารถเข้าใจ กระทั่งยอมรับได้ มากกว่าการสังหารเหยื่อคนพุทธซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์    

อัมรันตอบประเด็นนี้ว่าอูลามาของขบวนการซึ่งเขาเองก็ไม่ทราบว่าเป็นใครได้ฟัตวา (คำตัดสินทางศาสนาอิสลาม) ว่าคนพุทธหรือคนจีนที่อาศัยอยู่ในดารุลฮัรบีนั้น "ฆ่าได้"  พวกเขาเป็นกาฟิรฮัรบี (kafir harbi) หรือ ผู้ไม่ศรัทธาในพระเจ้าซึ่งอาศัยอยู่ใน "ดินแดนแห่งสงคราม"   พวกเขาไม่ใช่ กาฟิรซิมมี (kafir dhimmi) ซึ่งหมายถึง ผู้ไม่ศรัทธาในพระเจ้าที่อาศัยที่อยู่ในดารุลอิสลาม  กาฟิรซิมมีนั้นจะได้รับการคุ้มครองสิทธิในการอาศัยอยู่ในดารุลอิสลาม

ส่วนการเผาบ้านเรือนคนไทยพุทธนั้น  อัมรันอธิบายว่าอูลามาได้กล่าวว่า "ท่านอุมัร  [ซึ่งเป็นผู้ปกครองคนที่สามหลังจากที่ท่านศาสดานบีมูฮัมหมัดเสียชีวิต]  ได้กล่าวไว้ว่าบ้านใดไม่ไปละหมาด  เรายังเผาบ้านเขาได้  ฉะนั้น คนที่มายึดครองแผ่นดินของเรา ทำไมเราจึงจะเผาบ้านเขาไม่ได้"

อัมรันอธิบายว่าเหตุผลในการโจมตีคนไทยพุทธก็เพื่อต้องการให้เขาหวาดกลัวและย้ายออกไปจากดินแดนปาตานี 

ส่วนมูนาฟิก (คนมุสลิมที่กลับกลอก) ซึ่งมักใช้เรียกคนมุสลิมที่ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือรัฐนั้น  อัมรันอธิบายว่าได้มีการออกหลักการกว้างๆ ว่า "ฆ่าได้" แต่ว่าการตัดสินว่าใครเป็นมูนาฟิกหรือไม่นั้น จะต้องมีการเสนอไปยังระดับพลาตงหรือกอมปีเพื่อพิจารณา   ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการสังหารกันอย่างไร้กฎเกณฑ์  แต่ว่าอัมรันก็ชี้ว่ามีบางกรณีที่เป็นการล้างแค้นส่วนตัวเช่นเดียวกัน  โดยคนในขบวนการไปชี้ว่าคนที่ไม่ถูกกับตนเป็นมูนาฟิกเพื่อให้ขบวนการสั่งเก็บ

 

เรื่องราวของสุไลมาน : มือระเบิด

สุไลมาน (นามสมมุติ) เข้าขบวนการตั้งแต่เขายังเป็นวัยรุ่นในช่วงพ.ศ. 2540 ช่วงนั้นเขาอายุ 16 ปีเพิ่งเรียนจบมัธยมปลายจากโรงเรียนของรัฐแห่งหนึ่ง   เขาวางแผนว่าจะมาเรียนด้านนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ  แต่ชีวิตของเขาต้องหันเหไปหลังเลือกที่จะเดินเข้าสู่เส้นทางการต่อสู้  เขา ไม่ได้มีโอกาสมาเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาในเมืองหลวง

"การคุยเรื่องญิฮาดเป็นเรื่องธรรมดา  ในสังคมมลายูมีการปลุกจิตสำนึกให้ต่อต้านรัฐสยามอยู่แล้ว", สุไลมานเล่าถึงบรรยากาศในสังคมในช่วงที่เขาตัดสินใจเข้าขบวนการ

เขาเล่าถึงเพลงกล่อมเด็กที่มีการร้องกันมาหลายช่วงสมัยโดยไม่ทราบที่มา  ท่อนหนึ่งที่เขาจดจำได้ คือ"นอนเถอะ ตื่นขึ้นมาเราจะไปสู้กับซีแย (สยาม)"

 "ในพื้นที่เป็นสังคมที่ปิด   ในสมัยนั้น ผมก็มีความรู้สึกแอนตี้ [ต่อต้าน] คนที่รับราชการ  มันเป็นสภาวะของสังคม" สุไลมานกล่าว

 ท่ามกลางบรรยากาศเช่นนั้นทำให้เขาไม่ลังเลที่จะตอบตกลงต่อคำชวนของอุสตาซโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามคนหนึ่งที่มาขอให้เขาเข้าร่วมขบวนการ  เขาเล่าว่าอุสตาซคนนั้นมาชวนคุยเรื่องชาติ มาตุภูมิ  ความอยุติธรรมในการบริหารจัดการทรัพยากรและการปกครอง

"ในสมัยนั้นชาวบ้านไปอำเภอก็ไม่ได้รับการต้อนรับ ดูแล แต่ถ้าแต่งตัวดีๆ ใส่เสื้อเชิ้ต กางเกงสแล็คก็จะได้รับการต้อนรับ  ส่วนชาวบ้านก็นั่งรอไปก่อน" สุไลมานกล่าว

อุสตาซบอกเขาว่าพื้นที่ในปัตตานี ยะลาและนราธิวาสนั้นเป็นดารุลฮัรบี  เขาบอกว่าในใจตอนนั้นก็ "รู้สึกฮึกเหิม พร้อมที่จะตายเพื่อศาสนาและมาตุภูมิ" 

เขาเริ่มไปฝึกด้านการทหารเพื่อเป็นอาร์เคเคในช่วงปี 2546 – 47  ในช่วงการฝึก เขาได้รับการอบรมในเรื่องการฉีดยา อาวุธปืน และได้เรียนรู้ถึงอุปกรณ์ประกอบระเบิดต่างๆ เช่น ฝักแคTNT ปุ๋ยยูเรีย  แต่ไม่ได้มีการทำจริง

"พอฝึกเสร็จ  เขาก็ให้ดูอาวุธจริง  แต่บอกว่าเขาไม่มีให้ ต้องหาเองจากเจ้าหน้าที่" สุไลมานเล่าย้อนความหลัง  เขาบอกว่าเหตุการณ์ปล้นปืนค่ายปิเหล็งทำให้เขามั่นใจมากขึ้นว่า "ขบวนการมีจริง"

หลังจากจบหลักสูตรและปฏิบัติการในฐานะอาร์เคเคอยู่พักหนึ่ง  เขาก็ถูกส่งไปอยู่หน่วยเลตุปัน  (letupan - ระเบิด)  เขาเริ่มต้นด้วยการเป็นผู้ติดตามมือระเบิดฝีมือกล้าคนหนึ่ง  โดยจะทำงานในลักษณะเป็น "บัดดี้" (เป็นคู่) หลักการของขบวนการคือจะต้องไม่แหวกแนว ให้ทำตามทฤษฎีอย่างเคร่งครัด  สุไลมานบอกว่าการทำระเบิดนั้นจริงๆ แล้วเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอยู่แล้ว

"เดิมเราเคยระเบิดปลา โดยใช้ TNT ไดนาไมท์  แต่ว่าการทำระเบิดมีการเอาวงจรโทรศัพท์เข้ามาเติม" สุไลมานกล่าว

สุไลมานอธิบายเพิ่มเติมว่าในกัสนราธิวาสมีมือระเบิดอยู่ประมาณ 16 – 18 คน โดยจะขึ้นกับแต่ละกอมปี  ในนราธิวาสมี 8 กอมปี โดยแต่ละกอมปีจะมีชุดเลตุปันหนึ่งชุด ชุดละ 2 คน  เขาทราบแต่จำนวนชุดในพื้นที่ซึ่งตนเองเคลื่อนไหวเท่านั้น  เขาไม่มีข้อมูลในพื้นที่กัสยะลาหรือกัสปัตตานี  

แม้ว่าเจ้าหน้าที่ความมั่นคงบางคนอาจคิดว่าขบวนการจะต้องส่งคนไปฝึกในพื้นที่สงครามอย่างอิรักหรืออัฟกานิสถานหรือไปฝึกกับชาวต่างชาติเพื่อเรียนรู้เรื่องการทำและวางระเบิด  แต่สุไลมานกลับให้ข้อมูลที่ตรงกันข้าม

"มือระเบิดหาใหม่ไม่ยาก  สามารถผลิตใหม่ได้ไม่เกินสองสัปดาห์  พอโดนจับ  ก็จะให้ลูกน้องที่ติดตามดูงานตลอดขึ้นมาทำงานแทน" สุไลมานกล่าว   เขายืนยันว่าในความรับรู้ของเขาไม่มีกลุ่มญิฮาดสากลอย่างอัลเคด้าหรือเจมาห์ อิสยามิยะห์ (กลุ่มที่เคลื่อนไหวหลักอยู่ในประเทศอินโดนีเซียเพื่อเป้าหมายในการตั้งรัฐอิสลาม) มาช่วยเหลือในการเคลื่อนไหว   ระบบทำงานแบบบัดดิ้นี้ทำให้การถ่ายทอดวิชาสามารถดำเนินต่อไปได้เรื่อย ๆ เมื่อมือระเบิดถูกจับกุมหรือเสียชีวิต อีกคนหนึ่งก็พร้อมจะขึ้นมาแทนได้ทันที และทำการถ่ายทอดความรู้ให้กับคนใหม่ที่มาเป็นคู่ของตนเองต่อไป

สุไลมานอธิบายว่าการเตรียมการวางระเบิดนั้นมีการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน  โดยเริ่มแรก ฝ่ายเมย์หรืออาร์เคเคในพื้นที่จะขอมาว่าต้องการอะไร โดยจะบอกเป็นรหัส เช่น "ส้มตำจานหนึ่ง ขอให้เตรียมของให้ด้วย"  จากนั้นฝ่ายอาร์เคเคก็มีหน้าที่ในการเตรียมภาชนะบรรจุ เช่น กล่องเหล็ก เหล็กเส้น ถังดับเพลิง  ส่วนชุดเลตุปันจะเป็นคนหาวัสดุในการทำระเบิด เช่น ปุ๋ยยูเรียTNT ไดนาไมท์ ฝักแค  โดยมือระเบิดที่เป็นหัวหน้าทีมของเขาจะเป็นคนไปสั่งของ    แต่ว่าคนที่ไปรับของจะเป็นฝ่ายตุรงแง (สนับสนุน) ในระดับอาเจาะ    หลังจากนั้น ทีมเลตุปันก็จะต้องไปผลิตระเบิดในหมู่บ้านที่มีอาเจาะที่เข้มแข็ง  โดยจะประกอบระเบิดเสร็จอย่างน้อยสามวันก่อนการนำไปวาง  โดยจะมีคนมารับของ  เขาก็จะสอนวิธีการใช้ให้ เช่น จะต้องลากสายอย่างไร  กดสวิตซ์ตรงไหน

สุไลมานชี้ว่าในการทำงาน  ฝ่ายเลตุปันจะต้องพยายามพัฒนาศักยภาพของตนเองตลอดเวลา 

 "เราคิดไปเรื่อยๆ เพื่อทำให้ระเบิดของเรามีประสิทธิภาพ  เข้าไปดูในอินเตอร์เน็ต ในYouTube บ้าง แล้วก็ค่อยๆ หาข้อมูลต่อไปเรื่อยๆ" สุไลมานกล่าว    เขาบอกด้วยว่าส่วนใหญ่ข้อมูลที่เข้าไปค้นในอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นภาษาอังกฤษ โดยเขาอ่านไป พร้อมเปิดพจนานุกรมภาษาอังกฤษไปด้วย  คำหลายๆ คำในภาษาอังกฤษมีการใช้ทับศัพท์ในภาษามลายูกลางแม้จะมีการสะกดต่างกันนิดหน่อย  แต่ก็ช่วยให้เขาเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น

เขาเล่าว่าในช่วงปี 2549 เป็นช่วงที่หาซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือได้ยาก  เพราะว่าทางรัฐได้ออกกฎให้มีการจดทะเบียนซิมการ์ดแบบเติมเงินที่ใช้ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกหมายเลข  เจ้าหน้าที่ความมั่นคงก็เริ่มใช้เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์อย่างกว้างขว้าง ตอนนั้น  เริ่มมีการใช้นาฬิกาแบบเข็มในการจุดชนวน  แต่สุไลมานบอกว่าเขาพบว่ามีความเสี่ยงค่อนข้างมาก  เพราะระเบิดอาจทำงานได้เมื่อรถสั่น  ทางออแฆตูวอ (ผู้ใหญ่) จึงก็ให้การบ้านว่าต้องการให้คิดค้นวิธีการจุดชนวนระเบิดด้วยวิทยุสื่อสาร

ข้อมูลจากหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ระบุว่าพบการใช้วิทยุสื่อสารในการจุดชนวนครั้งแรกในวันที่ 17 กรกฎาคม 2552 ในพื้นที่อ.ยะหา จ.ยะลา  ระเบิดถูกซุกซ่อนอยู่ในรถกระบะที่จอดอยู่ริมถนน และถูกจุดชนวนเมื่อรถจี๊บซึ่งมีทหารโดยสารมา 6 นายแล่นผ่าน แรงระเบิดทำให้ พ.ต.พันธ์ศักดิ์ ทองสุข รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจยะลา 14 และ จ.ส.ต. วิชัย สาหลีเสียชีวิต  มีทหารอีก 4 นายและประชาชน 1 คนได้รับบาดเจ็บ   จนถึงปัจจุบัน การใช้วิทยุสื่อสารยังคงเป็นวิธีจุดชนวนหลักในระเบิดครั้งใหญ่ๆ โดยเฉพาะคาร์บอมบ์

ในส่วนของวัสดุประกอบระเบิด สุไลมานกล่าวว่าในช่วงแรก  "ของ" จะมาจากโรงงานโม่หินในพื้นที่เป็นหลัก  แต่ว่าช่วงหลังการควบคุมเข้มงวดมากขึ้น   การหาของเหล่านี้ส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน  

ในการกำหนดเป้าหมายนั้น  สุไลมานอธิบายว่ามี 3 เป้าหลัก คือ แหล่งโลกีย์  สัญลักษณ์ทางเศรษฐกิจและเจ้าหน้าที่รัฐ   ขบวนการได้กำชับไม่ให้การก่อเหตุระเบิดกระทบกับคนที่ไม่เกี่ยวข้องเพราะว่าเขาคำนึงถึงภาพลักษณ์ในสายตามวลชน   หากว่าเกิดความผิดพลาดก็จะถูกให้ "ปอซอ"

สำหรับเมืองท่องเที่ยวชายแดนอย่างสุไหงโกลกซึ่งเป็นอำเภอที่โดนวางระเบิดใหญ่ๆ บ่อยที่สุด  สุไลมานอธิบายว่า  "[สุไหง] โกลกเป็นที่ลองระเบิด  เพราะเป็นพื้นที่อบายมุข ถ้าทำลายได้ก็จะได้ใจมวลชน"

สุไลมานบอกว่าในคำอธิบายของออแฆตูวอ  การโจมตีคนไทยพุทธนั้นทำได้ เพราะ "เขตนี้เป็นพื้นที่สู้รบ  การฆ่าพวกเขาไม่ผิด"  แต่เขาตั้งข้อสังเกตว่าการทำร้ายคนไทยพุทธนั้น  ในช่วงแรกๆ จะทำเพื่อเป็นการตอบโต้เจ้าหน้าที่ แต่ว่าในช่วงหลังๆ กลายเป็น "เป้าหมายหลัก" ไปแล้ว  

 นอกจากนี้ เขายังระบุว่าขบวนการพยายามที่จะเพิ่มอานุภาพการทำลายล้างของระเบิดอยู่ตลอดเวลา

"เขาพยายามที่จะพังตึก  ช่วงหลังๆ เขาไม่ได้หวังผลต่อชีวิตมากนัก  สังเกตว่าในช่วงหลังๆ จะมีสะเก็ดระเบิดน้อยลง" สุไลมานกล่าว   แต่เขาก็ชี้ว่าการหาและขนส่งวัตถุระเบิดเข้ามาในพื้นที่นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย   หากจะใช้ TNT หรือไดนาไมท์ซึ่งเป็นวัตถุระเบิดแรงสูง (high explosive) ก็ไม่สามารถที่จะหาได้ง่ายๆ   เขาบอกว่า ช่วงที่เขายังปฏิบัติการอยู่  ไดนาไมท์หนึ่งแท่งต้องใช้ผลิตระเบิดให้ได้ 8 ลูก    หากว่าจะใช้ปุ๋ยยูเรียในการทำระเบิดซึ่งเป็นระเบิดแรงต่ำ (low explosive) ก็จะต้องใช้ปริมาณมากซึ่งยากต่อการขนส่งโดยไม่ถูกตรวจพบ

สุไลมานเล่าว่ายังมีการส่งสารจากออแฆตูวอถึงคนในระดับปฏิบัติการว่า แนวทางของขบวนการไม่ต้องการ "พูดคุย" กับรัฐ  เป้าหมายในการต่อสู้ของพวกเขานั้นคือเอกราช (merdeka)และไม่ต้องการ เขตปกครองพิเศษ (autonomy)  เขาบอกว่าออแฆตูวอเชื่อมั่นว่าแม้ว่าจะมีคนมลายูมุสลิมกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับขบวนการ เช่น กลุ่มดะวะห์ กลุ่มซาลาฟี แต่ว่าพวกเขาก็จะมาคุยกันขบวนการ  หากได้เอกราชแล้ว  และพวกเขาเชื่อมั่นว่าคนมลายูสามารถที่จะปกครองกันเองได้

สุไลมานถูกจับกุมในปี 2552  เขาบอกว่าตลอดเวลาที่เขาเคลื่อนไหวอยู่นั้น ไม่เคยทราบว่าขบวนการที่เขาทุ่มเทชีวิตเข้าร่วมต่อสู้นี้ชื่อว่าอะไร เขาได้รับทราบเพียงว่าเขาเข้าร่วมต่อสู้กับ "กองทัพญิฮาดอิสลาม"  แต่เมื่อออกมาแล้วและได้รับข่าวสารข้อมูลจากหลายแหล่งทำให้เขาเชื่อว่าขบวนการเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อเอกราชนี้มีเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน  ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าอะไรก็ตาม

สุไลมานทิ้งท้ายบทสนทนาว่าเขาไม่เชื่อว่ามีคนหนึ่งคนใดที่จะสามารถสั่งให้การต่อสู้นี้ยุติได้

 "เขาสอนว่าให้ยึดแนวทางการต่อสู้  อย่ายึดตัวบุคคล" สุไลมานกล่าว  แต่ว่าถ้าหากว่าเป็นฉันทามติมาจากออแฆตูวอซึ่งเขาไม่ทราบว่าเป็นสิ่งเดียวกับที่เจ้าหน้าที่ความมั่นคงเรียกว่า DPPหรือไม่ ก็เป็นไปได้ที่จะทำให้เครือข่ายปฏิบัติการใยแมงมุมนี้ยุติได้

 

หมายเหตุ     รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช  เป็นอดีตนักวิเคราะห์ของ International Crisis Group   ปัจจุบัน เธอกำลังศึกษาในระดับปริญญาโทด้านทฤษฎีการจัดการความขัดแย้งที่ King's College London และเป็นที่ปรึกษาของโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้  การจัดทำรายงานพิเศษเรื่อง "ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี" ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ติดตามอ่านตอนที่ 5 "แผ่นดินปาตานีเป็นดารุลฮัรบี...หรือไม่?" ได้ในวันจันทร์ที่  3 ธันวาคม 2555

 

 

อ่านย้อนหลังรายงานพิเศษชุด "ถอดความคิดขบวนการเอกราชปาตานี"

ตอน 1 สายธารแห่งประวัติศาสตร์

ตอน 2 กระบวนการเข้าสู่การต่อสู้เพื่อ Merdeka  

ตอน 3 โครงสร้างขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชปาตานี

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ตร.ฟินแลนด์บุกยึดแล็ปท็อปหมีพูห์ของผู้ต้องสงสัยโหลดไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์วัย 9 ปี

Posted: 25 Nov 2012 12:13 PM PST

เว็บ Torrentfreak รายงานว่า เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ตำรวจฟินแลนด์ได้บุกไปที่บ้านของผู้ต้องสงสัยว่ามีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์วัย 9 ปี และยึดแล็ปท็อปหมีพูห์ของเธอไปด้วย

เรื่องดังกล่าวเกิดเมื่อศูนย์ข้อมูลลิขสิทธิ์และต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ (The Copyright Information and Anti-Piracy Centre: CIAPC) หรือที่รู้จักกันในฟินแลนด์ในชื่อ TTVK (ซึ่งเคยมีประวัติร้องขอให้ไอเอสพีในฟินแลนด์บล็อคเว็บเดอะไพเรตเบย์มาแล้ว) ได้ตามรอยจนพบผู้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บเดอะไพเรตเบย์ และแจ้งเรียกเก็บเงินจากชายคนดังกล่าว 600 ยูโร เพื่อยุติเรื่องนี้ พร้อมทั้งขอให้ลงนามในข้อตกลงว่าจะปิดเรื่องดังกล่าวเป็นความลับด้วย แต่ชายคนดังกล่าวไม่ยอม ต่อมา ตำรวจจึงบุกไปที่บ้านของเขา พร้อมหมายค้นเพื่อหาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการดาวน์โหลดที่ผิดกฎหมาย

โดยต่อมา ตำรวจได้พบว่าผู้ที่กระทำการคือลูกสาววัย 9 ปีของชายคนดังกล่าว เขาบอกว่าลูกสาวอยากได้อัลบั้มเพลงล่าสุดของนักร้องสาว "ชิซู" จึงค้นหาในเว็บกูเกิ้ล จนไปพบเว็บเดอะไพเรตเบย์ อย่างไรก็ตาม สุดท้าย เมื่อไม่สามารถดาวน์โหลดได้ พวกเขาจึงตัดสินใจไปซื้ออัลบั้มแท้ที่ร้าน

สุดท้าย ตำรวจได้ยึดแล็ปท็อปวินนี่เดอะพูห์ของเด็กหญิงไปพร้อมบอกกับพ่อของเธอว่า ทุกอย่างจะง่ายขึ้น เพียงแต่เขายอมจ่ายค่าปรับ

ด้านพ่อของเด็กหญิงบอกว่า รู้สึกเหมือนมีมาเฟียส่งคนมาไถเงินถึงประตูบ้าน และยืนยันว่า เขาและลูกไม่ได้ทำอะไรผิด ขนาดผู้ใหญ่หลายคนยังไม่รู้ว่าคอมพิวเตอร์และเว็บใช้งานอย่างไร แล้วจะบอกได้อย่างไรว่าเด็ก ผู้ใหญ่ หรือเด็กอายุ 9 ขวบจะรู้ว่าพวกเขากำลังทำอะไรไปในขณะที่ออนไลน์

"นี่คือที่สุดของความไร้สาระ ผมเข้าใจจุดยืนของบรรดาศิลปิน แต่เรื่องแบบนี้ต้องการการให้การศึกษาและข้อมูล ไม่ใช่ทำเป็นคดีแบบนี้" พ่อของเด็กบอก

องค์กรปกป้องสิทธิพลเมืองออนไลน์ของฟินแลนด์ (Electronic Frontier Finland) ระบุว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในอาทิตย์นี้ทำให้เห็นว่า ปัญหาการบังคับใช้ลิขสิทธิ์ไปไกลแค่ไหนแล้วในฟินแลนด์

"ไม่มีใครสนใจว่า เด็กหญิงตัวเล็กๆ ถูกคุกคามในนามของลิขสิทธิ์ นี่แสดงให้เห็นถึงการตัดสินใจและวิจารณญาณที่แย่ของทั้ง TTVK และตำรวจ" วิลลี โอคซาเนน รองประธานองค์กรปกป้องสิทธิพลเมืองออนไลน์ของฟินแลนด์ระบุในแถลงการณ์ 

อย่างไรก็ตาม มีเสียงสนับสนุนจากฝั่งที่ไม่คาดฝัน นักร้องสาวชิซูออกแถลงการณ์ว่า เธอไม่ต้องการฟ้องร้องใคร และว่า ไม่มีศิลปินคนไหนอยากได้รับความสนใจจากสื่อในสถานการณ์แบบนี้

"ฉันหวังว่าเรื่องราวจะได้รับการแก้ไขในไม่ช้า และขอแสดงความเสียใจต่อเด็กน้อยของฉัน" เธอเขียนในเพจเฟซบุ๊กของเธอ พร้อมลงลิงก์สำหรับดาวน์โหลดเพลงของเธอฟรีบน Spotify เว็บบริการดาวน์โหลดเพลง

โยนาส เมกีเนน แห่งพรรคไพเรตฟินแลนด์ ตอบรับการแสดงความเห็นของชิซู แต่ก็โอดควรญถึงความไม่ชัดเจนของศิลปินที่ไม่มีพลังในการเปลี่ยนแปลงอะไรได้ โดยบอกว่า น่าเศร้าที่เราได้เห็นว่าแม้แต่ศิลปินใหญ่ๆ ก็ไม่รู้ว่า CIAPC กำลังใช้ชื่อของพวกเขาทำอะไร และที่แย่ที่สุดคือแม้ว่าจะรู้แล้ว แต่พวกเขาไม่สามารถหยุดมันได้ เพราะการปกป้องและตรวจสอบลิขสิทธิ์ถูกรวมศูนย์

"ผมหวังว่า นักดนตรีทั้งหลายจะตระหนักว่าการล่าแฟนเพลง โดยการยึดแล็ปท็อปและให้เซ็นชื่อในสัญญาว่าจะไม่พูดถึงการจ่ายเงินค่าปรับนั้นเป็นการทำลายภาพพจน์ของลิขสิทธิ์และผู้สร้างสรรค์งานอย่างร้ายแรง ผู้ผลิตผลงานควรลุกขึ้นปฏิเสธสิ่งที่ CIAPC/TTVK กำลังทำถ้าพวกเขายังอยากจะรักษาแฟนๆ เอาไว้" โยนาส กล่าว

CIAPC ยืนยันว่ากรณีเด็กหญิง 9 ขวบ เป็นเพียงกรณีล่าสุดในการพยายามทำข้อตกลง ทั้งนี้ เมื่อปลายฤดูใบไม้ร่วงที่ผ่านมา ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 28 รายที่ทำข้อตกลงกับ CIAPC แต่ไม่มีใครรู้ถึงรายละเอียดของกรณีเหล่านั้น เพราะข้อตกลงนั้นเป็นความลับ

 

 

แปลและเรียบเรียงจาก
https://torrentfreak.com/police-raid-9-year-old-pirate-bay-girl-confiscate-winnie-the-pooh-laptop-121122/

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

9 โมงเช้าวันนี้ ศาลนัดฟังคำสั่งคดี "ชาญรงค์" เหยื่อกระสุน พ.ค.53

Posted: 25 Nov 2012 09:44 AM PST

ศาลอาญารัชดานัดฟังคำสั่ง 9.00 น. 26 พ.ย.นี้ คดีไต่สวนการตาย "ชาญรงค์" คนขับรถแท็กซี่เสื้อแดงที่ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณหน้าปั้มเชลล์ ราชปรารภ บ่ายวันที่ 15 พ.ค.53 ช่วงกระชับวงล้อมผู้ชุมนุมเสื้อแดง คดีที่ 2

ภาพนายชาญรงค์ ขณะถูกยิง เวลาประมาณ 15.50 น. 15 พ.ค.53

วันนี้(26 พ.ย.)เวลา 9.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 707 ศาลอาญา รัชดา ศาลได้นัดฟังคำสั่งคดีไต่สวนกรณีการเสียชีวิตของนายชาญณรงค์ พลศรีลา คนขับรถแท็กซี่เสื้อแดงที่ถูกยิงและเสียชีวิตบริเวณหน้าปั้มเชลล์ ถนนราชปรารภ เมื่อบ่ายวันที่ 15 พ.ค.53 ช่วงที่มีการกระชับวงล้อมผู้ชุมนุมเสื้อแดงโดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.)และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (คลิกอ่านรายงานการไต่สวนคดีที่ผ่านมาและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง)
 
คำสั่งศาลกรณีไต่สวนการตายของนายชาญณรงค์ พลศรีลา จากการสลายการชุมนุมเมษา – พ.ค.53 นั้นเป็นคดีที่ 2 ที่ศาลจะมีคำสั่ง ต่อจากกรณีนายพัน คำกอง ที่ศาลมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยในคดีดังกล่าวคำสั่งศาลระบุว่าพยานหลักฐานทั้งหมดชี้ว่าผู้ตายถูกกระสุนปืนขนาด.223 (5.56 มม.) จากอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ทหารที่ร่วมกันยิงไปยังรถตู้ที่วิ่งเข้ามายังพื้นที่หวงห้ามแล้วกระสุนไปโดนผู้ตายที่ออกมาดูเหตุการณ์ ทั้งนี้ ให้ส่งสำนวนให้พนักงานอัยการดำเนินการต่อไป
 
นอกจากนี้ ต่อจากคดีนายชาญณรงค์ มีอีก 2 คดีที่ศาลเตรียมมีคำสั่งอีก วันที่17 ธ.ค. นี้ คดีของนายชาติชาย ชาเหลา อายุ 25 ปี ที่ถูกยิงเสียชีวิตคืนวันที่ 13 พ.ค.53 ที่บริเวณหน้าบริษัท กฤษณา มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ถนนพระราม 4 ตรงข้ามสวนลุมพินี 
 
และ 16 ม.ค.นี้ คดีของนายบุญมี เริ่มสุข อายุ 71 ปี ซึ่งถูกยิงที่ย่านบ่อนไก่ บริเวณท้อง ด้านซ้ายกระสุนตัดลำไส้เล็กขาดตอน เมื่อวันที่ 14 พ.ค.53 และเสียชีวิตเมื่อ วันที่ 28 ก.ค.53 
 
บางส่วนของวีดีโอเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง :

Uploaded by nidnungnid on May 16, 2010

Uploaded by oneday2010A on Jun 5, 2010

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อภิปรายวันแรก 'ชูวิทย์' ซัก 'เฉลิม' ปล่อยทุจริตโรงพัก ปชป. ชี้ 'สุกำพล' จัดซื้อเรือลาดตระเวนมีพิรุธ

Posted: 25 Nov 2012 07:24 AM PST

 

เริ่มแล้ว อภิปรายซักฟอกรัฐบาล 'ยิ่งลักษณ์' เข้าสภา เตรียมประกาศยกเลิก พ.ร.บ.ความมั่นคง 'อลงกรณ์' อภิปราย รมว.กลาโหม จัดซื้อเรือลาดตระเวนมีพิรุธ 'ชูวิทย์' ซัก 'เฉลิม' ใช้หลักฐานสองมาตรฐาน ปล่อยทุจริตโรงพักทดแทน

 
อภิปรายซักฟอกรัฐบาล 'ยิ่งลักษณ์' เข้าสภา เตรียมประกาศยกเลิก พ.ร.บ.ความมั่นคง
 
25 พ.ย. 55 - ที่รัฐสภา นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลหรือวิปรัฐบาล กล่าวถึงการประชุมอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลว่า ทุกอย่างจะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และมั่นใจว่าการอภิปรายจะใช้เวลาไม่เกิน 30 ชั่วโมง ตามที่ตกลงกันไว้ พร้อมกับเห็นว่า หากมีการอภิปรายพาดพิงถึงผู้อื่นคงจะมีการประท้วงขึ้นมาตามปกติ และหากมีการอภิปรายนอกประเด็นและประท้วงจนเกิดการยืดเยื้อ ก็จะส่งผลให้ในวันที่ 2 ของการอภิปรายต้องใช้เวลามากกว่าปกติ และก่อนเริ่มการอภิปรายควรจะมีการพูดถึงมาตรการในการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้นกับ ส.ส. เพื่อการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้น  
 
ทั้งนี้ ตั้งแต่ เวลา 08.55 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาถึงรัฐสภา เพื่อเข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมว่า "พร้อมค่ะ" จริงๆ เราก็ทำงานอยู่แล้ว ยินดีที่จะตอบทุกข้อซักถามต่างๆ และข้อข้องใจของฝ่ายค้าน
 
เมื่อสื่อมวลชนถามว่า มั่นใจว่านายกฯและรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายจะสามารถผ่านไปได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า "เราตอบอย่างเต็มที่ ทุกอย่างตอบตามที่เราได้ทำงานไป ก็เชื่อมั่นค่ะ" 
 
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวอีกว่า ในเวลา 10.00 น. ฝ่ายความมั่นคงจะมีการประเมินสรุปสถานการณ์และรายงานให้กับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทราบ เพื่อให้ความมั่นใจว่าสถานการณ์มีความเรียบร้อย และพร้อมที่จะมียกเลิกพระราชบัญญัติความมั่นคงตามที่ได้กล่าวไว้ โดยให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการชุมนุม 66 ราย ส่วนคดีความต่างๆ ที่เกิดจากการชุมนุมนั้น ยืนยันว่าจะให้ความเป็นธรรมอย่างเต็มที่ พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวอีกว่า รู้สึกดีใจที่มีการเลิกการชุมนุมโดยเร็วและทุกอย่างเป็นไปด้วยความสงบ 
 
ด้านความเคลื่อนไหวทางฟากฝ่ายค้าน เมื่อวันที่ 24 พ.ย.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวถึงความพร้อมในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล วันที่ 25-27 พ.ย.ว่า ฝ่ายค้านได้เตรียมข้อมูลไว้พร้อมแล้ว แต่เนื่องจากยังมีข้อมูลเพิ่มเติมเข้ามาอีก ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนการอภิปรายเพื่อให้เกิดความเหมาะสม เบื้องต้นคาดว่า ผู้อภิปรายมีประมาณ 30 คน และเมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติมเข้ามา จึงต้องหารือกันอีกว่าอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เคยระบุว่าจะใช้เวลาอภิปราย 1 วันต่อรัฐมนตรี 3 คนคือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ส่วนเวลาที่เหลืออีก 2 วัน จะอภิปราย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนเดียว 
 
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก ปชป. กล่าวว่า ผู้ที่จะอภิปรายเกี่ยวกับโครงการจำนำข้าว มีประมาณ 4-5 คน โดยจะพุ่งเป้าไปที่นายกฯ ในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) จะพยายามไม่ไปแตะนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้มีโอกาสได้ชี้แจง เพราะยื่นอภิปรายนายกฯจึงต้องพุ่งเป้าไปที่นายกฯโดยตรง ซึ่งนายกฯต้องเป็นผู้ชี้แจง 
 
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา หัวหน้าทีมกฎหมาย ปชป. กล่าวว่า ขณะนี้ ส.ส.ปชป.พร้อม 100 เปอร์เซ็นต์ในการที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯและ 3 รัฐมนตรี โดยตนเป็นหนึ่งใน ส.ส.ที่ได้รับมอบหมายให้อภิปรายด้วย ซึ่งจากข้อมูลยืนยันได้ว่า การอภิปรายครั้งนี้จะไม่ใช่เพียงแค่การใช้โวหารและวาทกรรม จะมีหลักฐานถึงขั้นเป็นใบเสร็จเอาผิดผู้สั่งการได้ จึงอยากให้รัฐบาลตั้งใจฟังการอภิปรายอย่าตีรวน เพื่อจะได้นำสิ่งที่ฝ่ายค้านอภิปรายไปปรับปรุงในสิ่งที่ผิด อะไรที่ผิดกฎหมายก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอน ถ้าปล่อยปละละเลยจะถูกข้อหาสมคบกันกระทำความผิดไปด้วย
 
"สิ่งที่ผมจะอภิปราย จะมีทั้งเรื่องการทุจริต ผิดกฎหมาย ผิดจริยธรรม ขัดรัฐธรรมนูญ ถึงขั้นทำให้คนบางคนต้องพ้นจากตำแหน่ง ดีไม่ดีอาจจะต้องติดคุกด้วย และเรื่องนี้รับรองได้ว่าโยงถึงนายกฯหญิงคนสวยแน่นอน" นายวิรัตน์กล่าว
 
จุรินทร์ ชี้การอภิปรายมุ่งเน้นไปที่ตัวนายกรัฐมนตรี ในการบริหารผิดพลาด ไม่เป็นไปตามที่แถลงต่อรัฐสภา
 
โดยในการเริ่มอภิปรายนั้นนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ มุ่งเน้นไปที่ตัวนายกรัฐมนตรี ในการบริหารผิดพลาด ไม่เป็นไปตามที่แถลงต่อรัฐสภา และทุจริตสายนโยบาย รวมถึงการปรายปรามการทุจริตที่มีการเลือกปฏิบัติ ละเว้น จงใจไม่รับผิดชอบรัฐสภา ขาดวุฒิภาวะ ปิดบังข้อมูล เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ และหลังจาก นายจุรินทร์ อภิปรายเสร็จ ก็เป็น นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ขึ้นอภิปรายคนแรก ในการอภิปราย พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรทัต รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหม
 
ชูวิทย์ซักเฉลิมใช้หลักฐานสองมาตรฐาน ปล่อยทุจริตโรงพักทดแทน
 
นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ส.ส.พรรครักษ์ประเทศไทย ได้เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ในฐานะผู้รับผิดชอบดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยนายชูวิทย์ได้เปิดเผยคลิปวีดีโอ บ่อนการพนันผิดกฎหมาย ที่นายเฉลิมได้รับหลักฐานอุปกรณ์การเล่นพนันแต่ไม่มีการดำเนินการจับกุมโดยอ้างว่าไม่สามารถจับกุมได้แต่ใช้คลิปวีดีโอบ่อนการพนันที่ตนนำเสนอพิจารณาให้ พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี พ้นจากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นการกระทำสองมาตรฐาน 
 
นอกจากนั้นนายชูวิทย์ ยังได้เปิดเผยคลิปภาพโครงการก่อสร้างโรงพักทดแทนที่ยังไม่แล้วเสร็จและการดำเนินงานไม่มีความคืบหน้าจนใกล้จะปิดโครงการในอีก 40 วันข้างหน้า พร้อมทั้งได้เปรียบเทียบการก่อสร้างห้องทำงานของ นายวัน อยู่บำรุง ลูกชายของ รตอ.เฉลิม ว่าสร้างเสร็จภายใน 30 วัน มีเครื่องใช้หรูหรา แต่ละเลยการดูแลตำรวจทั่วประเทศ  ทั้งนี้นายชูวิทย์ ยังได้กล่าวถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัฒน์ ว่าบัดนี้นางสาวยิ่งลักษณ์เป็นพญาระกา ยืนเทียบกับพญาอินทรีและพญามังกรได้แล้วไม่ต้องพึ่งพาพญาฉลาม(หมายถึงนายเฉลิม)อีกต่อไป
 
ด้าน ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง ได้ตอบข้ออภิปรายของนาชูวิทย์ถึงกรณีการใช้คลิปวีดีโอในการจับกุมผู้เล่นการพนันไม่ได้เพราะการจะจับกุมผู้เล่นพนันได้นั้น ต้องจับกุมซึ่งหน้า ทั้งยังวิจารณ์หลักฐานคลิปบ่อนของนายชูวิทย์ว่า "ในประเทศเพื่อนบ้านของเรามีการเปิดบ่อนแบบถูกกฎหมาย ผมจะรู้ได้ยังไงว่าคลิปที่ท่านเอามานั้นถ่ายในเมืองไทยจริงๆ" นอกจากนั้นยังได้ชี้แจงถึงกรณีการก่อสร้างโรงพักทดแทนว่า มีนักการเมืองกลุ่มหนึ่งส่งบริษัทของตนเข้าไปทำการประมูลรับจัดทำเพียงแค่บริษัทเดียวแต่จ้างซับคอนแทรกส์ ในการดำเนินการ ดังนั้นงานจึงออกมาเป็นอย่างที่เห็น ซึ่งเรื่องนี้ตนจะนำไปให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติตรวจสอบต่อไป พร้อมกับยืนยันว่าตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตการก่อสร้างแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังสำทับด้วยว่าการที่ห้องทำงานของลูกชายตนมีเฟอร์นิเจอร์ครบครันเพราะเอามาจากที่บ้านไม่ได้ใช้งบประมาณของสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่อย่างใด
 
'อลงกรณ์' อภิปราย รมว.กลาโหม จัดซื้อเรือลาดตระเวนมีพิรุธ
 
นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่มีการปล่อยปละละเลยให้ดำเนินการในโครงการจัดหาเรือสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือ จำนวน 3 ลำมูลค่า 535 ล้านบาทของกองทัพเรือโดยมีความไม่โปร่งใส โครงการเกิดความล่าช้า และเอื้อประโยชน์เอกชนบางราย ซึ่งอาจเข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 หรือกฎหมายฮั้ว รวมทั้งผิดกฎหมายอาญามาตรา 157  ด้วยการอนุมัติยกเลิกชะลอการลงนาม ที่ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม คนก่อนระงับไว้เนื่องจากมีการร้องเรียนเกิดขึ้น
 
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า ในกรณีดังกล่าว ทางสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีหนังสือถึงทางกลาโหมและผู้บัญชาการทหารเรือให้ทบทวนการจัดหาให้ถูกต้อง และให้ชี้แจงเพิ่มเติมในพฤติรรมที่ส่อว่าจะมีการกระทำผิดกฎหมาย รวมทั้งมีการสรุปรายงานถึง พล.อ.อ.สุกำพล อีกครั้ง เมื่อมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนใหม่ว่า โครงการจัดหาเรือสนับสนุนฯ ดังกล่าวมีการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทใดบริษัทหนึ่งจึงให้ทบทวน แต่ในวันที่ 24 เม.ย. 55 หรืออีกสิบวันต่อมาหลังมีหนังสือดังกล่าว พล.อ.สุกำพล กลับให้ยกเลิกการชะลอการลงนามของ รมว.กลาโหมคนก่อนและลงนามมีสัญญาผูกพันกับบริษัทมาร์ซัน เมื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว ส.ต.ง. จึงมีความเห็นเสนอให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการต่อไป 
 
ทั้งนี้ นายอลงกรณ์ ได้กล่าวถึงข้อพิรุธ ในโครงการจัดหาเรือลาดตระเวนดังกล่าวว่า มีการประกาศให้เป็นการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธิพิเศษ แต่มีความรวบรัด การเชิญชวนมีระยะเวลาที่สั้นเพียงประมาณหนึ่งเดือน จึงมีบริษัทมารับฟังเงื่อนไขเพียง 7 ราย ประการต่อมาคือ การซื้อซองประมูลน้อยราย คือ เหลือเพียง 2 ราย ประการที่สามคือ บริษัทที่ชนะการประมูลผิดเงื่อนไขข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง (TOR) ซึ่งมีสามข้อใหญ่ คือ เครื่องยนต์หลักเรือเป็นดีเซล  เครื่องยนต์หลักต้องสอดคล้องกับระบบกลไกทั้งหลายหรือเป็นยี่ห้อเดียวกัน แต่บริษัทที่เสนอได้ตรงเงื่อนไขนี้กลับแพ้ประมูลและมีการร้องเรียนเกิดขึ้น อีกเรื่องหนึ่งคือ สมรรถนะของเรือจะต้องฟ่าฟันลมมรสุมระดับ 5 หรือคลื่นต่ำกว่า 4 เมตร ลงมา ซึ่งในเอกสารแสดงรายละเอียดการยื่นซองของผู้ชนะกลับไม่มีความชัดเจนตรงนี้และเป็นเรื่องหนึ่งที่ร้องเรียนไป สตง. ด้วย การตรวจสอบเรื่องนี้เป็นเวลาปีกว่าและก็ยังไม่สามารถชี้แจงชัดได้
 
ประการสุดท้าย คือ การยื่นเอกสารภายหลังจากวันที่ 2 พ.ค. ซึ่งเป็นวันที่ต้องยื่นพร้อมกันเพื่อการแข่งขันที่เป็นธรรม แต่บริษัทที่ชนะกลับมีการยื่นเอกสารเพิ่มเติมโดยชี้แจงว่าไม่ใช่สาระสำคัญ  ในเรื่องเหล่านี้ ทางองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญต่างๆส่งหนังสือท้วงแล้วท้วงอีก มีการเซ็นต์หนังสือรับทราบโดย รมว.กลาโหมคนเก่า แต่เมื่อ พล.อ.สุกำพล มาเป็น รมว.กลาโหมคนใหม่กลับยกเลิกการชะลอและลงนามในสัญญา ซึ่งถือเป็นความคือบกพร่องต่อหน้าที่ เพราะมีผู้ยื่นน้อยรายและมีการเลือกหนึ่งรายชนะ จึงยอมให้มัดมือชก เพราะมีเพียงรายเดียวที่สามารถยื่นซองราคาได้ทำไมจึงไม่ให้บริษัททั้งสองรายยื่นซองราคาให้พร้อมกัน 
 
ด้าน พล.อ.อ.สุกำพล ได้ตอบการอภิปรายว่า รมว.กลาโหมคนเก่ามีหนังสือให้ชะลอการลงนามเพื่อให้ สตง.ตรวจสอบ ซึ่งทางกองทัพเรือได้ชี้แจงไปถึง 6 ครั้ง และได้เชิญผู้แทนกองทัพเรือมาถึง 3 ครั้ง เพื่อพิจารณาประเด็นต่างๆถูกร้องเรียนไว้ และได้คุยกันทุกประเด็นแล้วจึงมาปลดล็อคให้เพราะเรื่องนี้ล่วงเลยมานานจึงต้องแก้ไข นอกจากนี้ การร้องร้องดังกล่าวยังทำไปหลายที่รวมทั้งที่กรรมาธิการทหาร วุฒิสภา เมื่อตรวจสอบแล้วก็มีหนังสือแจ้งว่า ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วปรากฏว่า การชี้แจงของกองทัพเรือมีหลักฐานบุคคลและเอกสารจึงให้ยุติการตรวสอบ อย่างไรก็ตาม ก็พร้อมชี้แจงให้ ปปช.ทราบต่อไป 
 
"ต้องการให้กองทัพเรือมีเรือใช้ เพราะค้างมานานแล้ว และสามารถตอบข้อร้องเรียนได้ทั้งหมดจึงใช้ความกล้าหาญเซ็นต์ลงไป ส่วนรื่องการทุจริตไม่มี" พล.อ.อ.สุกำพล กล่าว
 
'ถาวร' แฉเอกสารมัด 'ชัจจ์' ลงนามสัญญาส่อฮั้วจัดซื้อจัดจ้างขุดลอกแม่น้ำ
 
นายถาวร เสนเนียม รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ลุกขึ้นอภิปราย พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.มหาดไทย ในฐานะอดีต รมช.คมนาคม ซึ่งมีพฤติกรรมส่อทุจริต ส่อผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ มาตรา10 โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐรู้เห็นหรือมีพฤติการณ์ละเว้นหรือไม่ดำเนินการให้ยกเลิกในการเสนอราคา โดยเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการใดเอื้อประโยชน์ซึ่งผู้มีดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทำให้ผู้เสนอราคาได้ประโยชน์จะมีโทษจำคุก 7 ปีหรือตลอดชีวิตและปรับ 7 แสนบาท 
 
โดยนายถาวรระบุว่า พบว่าเอกสารสัญญาที่ อดีต รมช.คมนาคมลงนามเห็นชอบจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษทั้งหมด 16 สัญญา รองปลัดลงนามอีก 10 สัญญา รวม 26 สัญญาในโครงการขุดลอกแม่น้ำ 7 สายวงเงินงบประมาณ 1,019 ล้านบาท แต่ไม่มีการประมูลประกวดราคา สั่งให้กรมเจ้าท่า เชิญนิติบุคคลมาเพียง 14 แห่งเท่านั้นอ้างว่าอยู่ในพื้นที่ให้เกิดความรวดเร็ว ดำเนินการอย่างนี้หลีกเลี่ยงแข่งขันอย่างเป็นธรรม เอื้อประโยชน์ของเจ้าธุรกิจ โดยผ่านเจ้าหน้าที่และรัฐมนตรี ล็อคพื้นที่เอื้อประโยชน์ให้กับพวกพวก มีการตั้งบริษัทนอมินีมาสับเปลี่ยนกันเสนอราคาเพื่อให้ถูกวิธี อ้างการดำเนินการเร่งด่วนเพราะยกเหตุแห่งความเสียหายจากมหาอุทกภัยปี 2554 ทุกคนทราบว่าพื้นที่ 65 จังหวัด  4 ล้านครัวเรือน ประชาชน 14 ล้านคนเดือดร้อน เสียทางเศรษฐกิจ 1.4 ล้านล้านบาท หากเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนก็ควรทำ แต่หนังสือพิมพ์วอลสตรีทเจอร์นัล ลงพิมพ์ว่ารัฐบาลไทยรู้ล่วงหน้าก่อน 2 เดือนว่าจะต้องฟื้นฟูเยียวยา แต่ได้วางแผนทำผิดกฎหมาย มีการของบกลาง 1.2 แสนล้านบาทเพื่อนำไปแก้ไขเยียวยา อ้างเหตุผลเร่งด่วนในการจัดจ้างจัดซื้อเพื่อป้องกันอุทกภัย การอ้างที่สำคัญเร่งขุดลอกเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้หน้าแล้งด้วย ซึ่งฝ่ายค้านได้อภิปรายแล้วไม่เห็นด้วยการใช้งบจำนวนนี้เกรงว่านำไปทุจริตได้ง่าย
 
นายถาวร กล่าวว่าอดีต รมช.คมนาคม เสนองบขุดลอกแม่น้ำ ปิง วัง ยม น่าน ป่าสัก ใช้งบ 1,019 ล้านบาทเมื่อช่วงเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา อ้างจำเป็นเร่งด่วนช่วยเหลือประชาชน แต่ปล่อยปละเลยการที่ต้องขุดมาตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค.54 หรือ 50 วัน   หลังจากนั้น กรมเจ้าท่าจึงทำหนังสือถึงสำนักงบประมาณของบไปจัดสรรทำโครงการ และออกมติ ครม.ให้ใช้วิธีพิเศษ ช่วงนี้มีการลือกันว่ามีการนำงานไปขายเอาเงินทอนมา โครงการละ 30 ล้านบาท มีการระบุว่าต้องหาผู้รับจ้างมีคุณภาพให้เสร็จตามวัตถุประสงค์ ส่วนการเสนออีอ็อกชั่นหรือวิธีธรรมดา ก็ไม่มีการดำเนินการ หลังจาก ครม.อนุมัติให้ทำวิธีพิเศษ ก็มีการส่อทุจริตฮั้ว ล็อกพื้นที่โดยวันที่ 16 -20 ก.พ.มีหนังสือเชิญชวนบริษัทให้เสนอราคา ให้ไปดูพื้นที่ ในช่วงเวลาแค่ 3 วันไม่สามารถทำได้นอกจากรู้กัน ในหนังสือเชิญชวนลงวันที่ 16 ก.พ.บางบริษัทตั้งอยู่ จ.นครสวรรค์ ไปทำสัญญาเช่าเครื่องจักรตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ. อีกบริษัท ไปทำสัญญาลงวันที่ 9 ก.พ.  ถ้าไม่รู้ล่วงหน้าทำได้อย่างไร ระบุร่องน้ำได้ถูกต้องตามเสนอราคายื่นซองจัดจ้างวิธีพิเศษ และยังมีการสมยอมเสนอราคา โครงการขุดลอกแม่น้ำทุกสายเสนอประกบราคาเท่ากันเกือบหมดต่างกันเพียงหลักพัน ทั้งที่แต่ละโครงการวงเงิน60-70 ล้านบาททั้งหมด
 
 นายถาวรกล่าวต่อว่า ตนลงพื้นที่ดูแม่น้ำปิง สงสารคนกำแพงเพชร และนครสวรรค์ ปรากฏว่าสันดอนกว้าง 10 เมตร ที่บอกว่าให้ขุดเกาะกลางออกเพื่อให้น้ำไหล ให้มีพื้นที่เก็บกักน้ำมากขึ้นในหน้าแล้ง ปรากฏว่าชาวนาไม่มีน้ำทำนา งบเป็นพันล้านอ้างฟื้นฟูเยียวยาขุดลอกแม่น้ำเก็บน้ำไว้หน้าแล้ง แต่ชาวบ้านไม่มีโอกาสได้ใช้ การปรับปรุงภูมิทัศน์ก็ไปเอาดินวางกองเพื่อกันน้ำ  เขียนว่าจะปลูกหญ้าแฝก แต่กลับไม่มีสักต้น แต่เบิกจ่ายงบประมาณไป 70 เปอร์เซ็นต์ เปิดโอกาสให้มีคนรับเงินทอน คนไทยโดนน้ำท่วม ยังทำได้ลงคอ อ้างช่วยเหลือประชาชน รีบด่วนจัดจ้างวิธีพิเศษ ใครได้ประโยชน์จาก 14 บริษัท ที่ จ.กำแพงเพชร มีคนชื่อย่อ จ ได้ประโยชน์ ที่ จ. นครสวรรค์ มีคนชื่อ บ. เป็นนักการเมืองตั้งบริษัทนอมินี ที่สำคัญมีรัฐมนตรีไปจัดจ้างขุดเองคิวบิกละ 14 บาท แต่รับงบไปคิวละ 34 บาท ส่วนเจ๊ชื่อดังที่อยู่ทางเหนือรับมากที่สุด ตั้งบริษัท  บ. และบริษัทเล็ก เป็นนอมินีของนักการเมืองทั้งนั้น ถามว่ารัฐบาลประกาศสงครามหยุดการคอร์รัปชั่นแต่ฝืนนโยบายตัวเอง การดำเนินการของรัฐมนตรีเป็นตามระเบียบบัญชีกลางหรือไม่
 
'ศิริโชค' ปูดไอ้โม่งงาบส่วนต่างพันล้านเปลี่ยนสเปคระบบป้องกันภัยเรือหลวงนเรศวร
 
นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายพุ่งเป้าไปยังพล.อ.อ.สุกำพล สุวรณทัต รมว.กลาโหม เกี่ยวกับการเปลี่ยนทีโออาร์การจัดซื้อระบบป้องกันภัยคุกคามในโครงการปรับปรุงเรือฟริเกต เรือหลวงนเรศวร ระยะที่ 2 ของกองทัพเรือ ว่า โครงการดังกล่าวฝ่ายเสนาธิการทหารเรือได้มีการทำทีโออาร์พัฒนาระบบป้องกันภัยคุกคามในระยะที่ 2 ซึ่งกำหนดให้มีระบบการยิงเป้าลวงอย่างน้อย 2 แท่น
 
โดยทีโออาร์ได้กำหนดให้ต้องเป็นแบบแท่นหมุน เพราะเป็นเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดที่เรือรบฟริเกตใช้กันทั่วโลก ซึ่งปรากฏว่าบริษัท Saab AB (publ) ที่เป็นผู้ชนะการประมูล โดยเสนอให้ใช้อุปกรณ์ชื่อ SAGEM DECOY ซึ่งเป็นระบบแท่นยิงหมุนได้ และเป็นอุปกรณ์ทีเรือฟริเกตใช้กันทั่วโลก
 
นายศิริโชค กล่าวว่า ต่อมาพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 18 ม.ค.55 จากนั้นภายหลัง 12 วัน ได้มีไอ้โม่งสั่งการไปยังบริษัท Saab AB (publ) ให้เปลี่ยนแปลงคุณลักษณะที่สำคัญหรือสเปคของทีโออาร์ มาใช้เป็นระบบ TERMA DECOY ซึ่งเป็นระบบแท่นยิงอยู่กับที่ ใช้ในยุดสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีข้ออ้างหลายประการ เช่น ระบบดังกล่าวจะต้องใช้พื้นที่ในการติดตั้งมาก และหลายจุด เป็นต้น จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงสเปค ซึ่งพล.อ.อ.สุกำพล เสนอให้คณะรัฐมนตี (ครม.) อนุมัติงบประมาณ วงเงิน 2,699 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงเรือหลวงนเรศวร ซึ่งกองทัพเรือได้ลงนามจัดซื้อจัดจ้าง ในวันที่ 25 ก.ย.55
 
อย่างไรก็ตาม การที่รมว.กลาโหม เสนอเรื่องดังกล่าวโดย Saab AB (publ) แถมส่วนลดจำนวน 1,000 บาท โดยพล.อ.อ.สุกำพล ก็ยอมรับส่วนลดดังกล่าว เพราะหากคิดตามมีเงินทอนให้กับฝ่ายการเมืองเกือบ 1,000 ล้านบาท คิดเป็น 35% จึงอยากถามว่าเงินส่วนดังกล่าวอยู่ที่ไหน
 
"ถือว่ากรณีดังกล่าวเป็นการทุจริตคอรัปชั่น ส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สินของกองทัพเรือ เพราะมีการเปลี่ยนระบบป้องกันภัยคุกคามย้อนยุค ดังนั้นหากจะดำเนินการอะไรควรคิดถึงลูกเรือที่ประจำการบนเรือหลวงนเรศวร"นายศิริโชค กล่าว
 
'วิรัตน์' อภิปรายรมว.กลาโหมเปิดคลิปเสียงสนทนาอ้างแต่งตั้งโยกย้าย ขรก.ไม่เป็นธรรม นายกฯแจงไม่เคยแทรกแซง
 
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์  อภิปราย พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม  ถึงการตั้งแต่ง พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน เป็นปลัดกระทรวงกลาโหมขัด พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม  2551 และ ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล  ซึ่งการแต่งตั้งมีสองขั้นตอน คือระดับแต่ละหัวหน้าหน่วยงานทำเสนอขึ้นมา และ คณะกรรมการชุดใหญ่ที่มี รมว.กลาโหม​ เป็นประธานซึ่งการแต่งตั้งไม่ได้เป็นไปตามาขั้นตอน ​
 
ทั้งนี้ นายวิรัตน์ ได้เปิดคลิปเสียงสนทนาระหว่าง ของ พล.อ.อ. สุกำพล โดยมีเนื้อหาระบุว่า พล.อ.เสถียร ต้องการแต่งตั้ง พล.อ.ชาตรี ทัตติ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีความอาวุโสและอยู่ในอัตราจอมพล  เป็นปลัดกระทรวง แต่พล.อ.อ.สุกำพล ต้องการ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ผู้ช่วย ผบ.ทบ  มาดำรงตำแหน่ง​พร้อมพูดในคลิปว่า หาก"พล.อ.เสถียรเสนอ พล.อ.ชาตรี ตัวเองก็จะเปลี่ยนเป็น.ชื่อ พล.อ.ทนงศักดิ์" และ "หากเรื่องนี้เป็นการส่งมาเพื่อรับทราบก็ไม่ต้องมีรัฐมนตรีแล้ว"​ และ  อย่างนี้ไม่ต้องเซ็น แ_่ง แล้ว"  นอกจากนี้ยังมีคลิปเสียงที่ พล.อ.เสถียร​ ซักถามว่า  พล.อ.มี 130 คน จอมพล มี 6 คน ทำไมต้องแต่งตั้ง พล.อ.ทนงศักดิ์
 
นายวิรัตน์​  กล่าวว่า จากนั้น ก็มีการย้ายพล.อ.เสถียร และ นายทหารที่เกี่ยวข้องไปช่วยงานสำนักรัฐมนตรีกลาโหม  เพื่อให้หมดอำนาจในการแต่งตั้งข้าราชการ ซึ่งต่อพล.อ.เสถียรทำหนังสือขอเข้าประชุมแต่ก็ได้รับการปฏิเสธ ​  หลังการแต่งตั้ง พล.อ.เสถียร เคยการขอเข้าพบ และเยือนหนังสือให้ น.ส. ยิ่งลักษณ์ เพื่อชี้แจงในเรื่องนี้แต่ก็ได้รับการเพิกเฉย  ซึ่งพฤติกรรมของ พล.อ.สุกำพล ที่เข้าแทรกแซงข้าราชการ ขัดต่อรัฐธรรมนูญและ และกฎหมายหลายฉบับ โดยเป็นการสมรู้ร่วมคิดกับนายกรัฐมนตรี                
 
พล.อ.สุกำพล ชี้แจงว่า การแต่งตั้งปลัดกระทรวงกลาโหมจะต้องผ่านคณะกรรมการชุดเล็ก  และ คณะกรรมการชุดใหญ่ ซึ่งตนเองเป็นประธาน และเป็นเพียงหนึ่งเสียงใน 6 เสียง ​มีสิทธิ์เท่ากันไปบังคับใครไม่ได้   ขั้นตอนแต่งตั้ง​จะพิจารณาในชุดใหญ่ก่อนก็ได้ หรือ ชุดเล็กเสนอก่อนก็ได้ ​สำหรับคลิปเสีย​ง ในวันที่ 17 ส.ค. 55   ยอมรับเป็นเสียงตน ซึ่งเป็นคลิปที่ไม่สมบูรณ์ นำมาเปิดเผยไม่ครบ และรู้ว่าใครอัดเสียง ​ซึ่งสิ่งที่ไม่ถูกต้องถือผิดวินัยร้ายแรงที่สุดที่ไม่เคยเกิดขึ้นในกระทรวงกลาโหมมาก่อน และได้ตั้งกรรมการตรวจสอบแล้ว  
 
ส่วนระบุเรื่องความอาวุโส ตามระเบียบแต่งตั้งปลัดกระทรวงกลาโหมจะต้องยึดหลักอาวุโส  ประวัติการทำงาน และ ความรู้ความสามารถมาประกอบกัน มิใช่นำเรื่องอาวุโสมาพิจารณาอย่างเดียว ​และที่ผ่านมาพล.อ.พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม มีอาวุโส แต่สุดท้ายก็มีการเลือกพลอ.เสถียรมาเป็นปลัดกระทรวงกลาโหมในครั้ง  แต่ครั้งนั้น พล.อ.วิทวัส เป็นลูกผู้ชาย ก็ยอมรับในการตัดสิน 
 
พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า การโยกย้ายนายทหารทั้ง 3 คน เนื่องจากมีพฤติกรรมไปยื่นหนังสือต่อประธานองคมนตรี และไปพบองคมนตรีบางคน  ถือเป็นการดำเนินการผิดวินัย​นำความลับที่ยังไม่เสร็จสิ้นไปเผยแพร่ต่อบุคคลภายนอก  และบุคคลที่ไปพบองคมนตรีอยู่ในระดับจอมพล ตนจึงได้โยกย้ายไปช่วยราชการในสำนักรัฐมนตรีกลาโหม และยืนยันว่าตัวเองมีอำนาจทำได้ และ 1ใน 3  คน นั้นต่อมาก็ได้มาขอโทษตนในภายหลังและยอมรับว่าตัวเองทำถูกต้องแล้ว  ​
 
น.ส. ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า  การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการทหารมีระเบียบชัดเจน นายกฯไม่สามารถก้าวข้ามไปแทรกแซงได้ เพราะการแต่งตั้งดังกล่าวเป็นอำนาจของคณะกรรมการที่มีรมว.กลาโหมเป็นประธาน 
 
อย่างไรก็ตาม หลังจากได้รับเรื่องร้องเรียนจากพล.อ.เสถียร ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ สำนักเลขาธิการสำนักนายกฯ ทำหนังสือถึงพล.อ.อ.สุกำพล ให้ดำเนินการให้ถูกต้องและแจ้งให้พล.อ.เสถียรทราบแล้ว
 
'ธนิตพล' ชี้โครงการขุดลองคูคลองเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม 26 โครงการ ไม่ชอบมาพากล
 
นายธนิตพล ไชยนันท์ ส.ส.ตาก พรรคประชาธิปัตย์ อภิปราย พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ถึงความไม่ชอบมาพากลโครงการขุดลองคูคลองเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม 26 โครงการของกระทรวงคมนาคมว่า จากการติดตามตรวจสอบพบว่าโครงการบางจุดไม่ได้ขุดลอกคูคลองจริง พบมีแต่เพียงการตกแต่งคันดิน สัญญาการทำงานเสียเปรียบ มีการทุจริตเกิดขึ้น เพราะไม่ได้บอกรายละเอียดว่าจะดำเนินการอะไรบ้าง นอกจากปัญหาเรื่องการขุดลอกคูคลอง เมื่อไปตรวจงานพบว่าการขุดลอกทำแต่ไม่ทันฤดูน้ำหลาก ทำให้ดินทรายที่ขุดมากองไว้ริมตลิ่งไหลกลับไปอยู่ในน้ำตามเดิม จึงสงสัยว่าโครงการที่ใช้เงินถึง 2,215 ล้านบาท ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย แม้รัฐมนตรีจะย้ายกระทรวงไปแล้ว แต่คณะกรรมาธิการติดตามการใช้งบประมาณของสภาผู้แทนราษฎรจะตรวจสอบต่อไป
 
ด้าน พล.ต.ท.ชัจจ์  ชี้แจงว่า การขุดลอกคูคลองบางส่วนที่เอาภาพมาแสดงยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จจริง แต่อยู่ระหว่างดำเนินการ ส่วนที่ระบุว่าการทำโครงการเป็นการให้คนทำกับคนจ้างมาตกลงกันเองโดยไม่มีรายละเอียดโครงการคงไม่ใช่ ซึ่งสัญญาที่ผู้อภิปรายนำเอาแผนที่มาอภิปรายโดยมีข้อกำหนดรายละเอียดโครงการถูกต้องทั้งหมด ย่อมแสดงว่าโครงการนี้มีการทำสัญญาจริง ไม่ได้เลื่อนลอย
 
 
ที่มาเรียบเรียงจาก: เว็บไซต์ข่าวรัฐสภาถึงประชาชน, สำนักข่าวไทย, กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, มติชนออนไลน์
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กลุ่มผู้พิพากษาอียิปต์นัดหยุดงานประท้วง ประกาศกฤษฎีกาของปธน. มอร์ซี

Posted: 25 Nov 2012 04:45 AM PST

หลังจากที่ ปธน. โมฮาเม็ด มอร์ซี จากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดของอียิปต์ ได้ประกาศกฤษฎีกาที่มอบอำนาจเด็ดขาดแก่ปธน. โดยอ้างว่าเพื่อปกป้อง 'การปฏิวัติ' ของอียิปต์ สมาคมผู้พิพากษาของอียิปต์ก็เรียกร้องให้คนทำงานศาลและอัยการรัฐหยุดงานประท้วง โดยที่มีประชาชนชุมนุมประท้วงมอร์ซีมาตั้งแต่วันศุกร์แล้ว


25 พ.ย. 2012 - กลุ่มผู้พิพากษาในอียิปต์เรียกร้องให้มีการนัดหยุดงานทั่วประเทศเพื่อประท้วงต่อต้านการประกาศใช้กฏหมายของประธานาธิบดี โมฮาเม็ด มอร์ซี ที่ทำให้เขาขยายขอบเขตอำนาจมากขึ้น

หลังจากการประชุมด่วนเมื่อวันเสาร์ (24) ที่ผ่านมา สภาศาลสูงของอียิปต์ ซึ่งเป็นกลุ่มอำนาจตุลาการสูงสุดในอียิปต์ ได้เรียกร้องให้มอร์ซีถอนคำประกาศที่ฝ่ายตุลาการมองว่าเป็นการโจมตีระบบตุลาการ

การประกาศกฤษฎีกาดังกล่าวระบุว่า มอร์ซีจะมีอำนาจการตัดสินใจชี้ขาดและไม่สามารถคัดค้านหรืออุทธรณ์ได้ ซึ่งฝ่ายต่อต้านมอร์ซีบอกว่านี่เป็นกลวิธีแบบเผด็จการแบบเดียวกับที่ ฮอสนี มูบารัค อดีตประธานาธิบดีอียิปต์ที่ถูกโค่นล้มเคยนำมาใช้

ขณะเดียวกันการให้อำนาจดังกล่าวกับมอร์ซีก็เปิดทางให้เขาสามารถถอดถอนตำแหน่งอัยการสูงสุดและเปิดการไต่สวนคดีของอดีต ปธน. มูบารัค และผู้ติดตามของเขาได้

"ผมเองก็ไม่ได้ชอบ หรือไม่ได้ต้องการ ใช้มาตรการยกเว้นพิเศษ ที่ว่าเลย แต่ผมจะนำมาใช้เมื่อเห็นว่าประชาชนของผม ประเทศชาติ และการปฏิวัติของอียิปต์กำลังอยู่ในอันตราย" มอร์ซีกล่าวต่อผู้ที่ชุมนุมแสดงการสนับสนุนเขานอกทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงไคโร เมื่อวันศุกร์ (23) ที่ผ่านมา  "ผมไม่ได้ต้องการกุมอำนาจไว้ทั้งหมด แต่ถ้าหากประเทศชาติของผมอยู่ในอันตราย ผมจะทำ ผมจะลงมือ ผมต้องทำ"

ในที่ประชุมแถลงข่าวของกลุ่มสมาคมผู้พิพากษา อดีตอัยการสูงสุด อับเดล-เมกีด มาห์มูด กล่าวว่าเขาต้องการอภิปรายเรื่องการตัดสินใจของมอร์ซีในศาล และเตือนไม่ให้มอร์ซีกระทำการใดๆ ที่เป็นการขัดขวางการทำงานของระบบตุลาการ กลุ่มสมาคมผู้พิพากษายังได้เรียกร้องให้คนทำงานศาลและเจ้าหน้าที่อัยการของรัฐหยุดงานเพื่อประท้วงกฤษฎีกาของมอร์ซี

หลังจากที่มอร์ซีประกาศกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 22 พ.ย. ที่ผ่านมา ก็ทำให้ประชาชนชาวอียิปต์ทั่วประเทศออกมาประท้วงใหญ่ มีเหตุปะทะกันเล็กน้อยในวันที่ 23 พ.ย. เมื่อผู้ประท้วงบนถนนโมฮัมเม็ด มาห์มูด ใกล้กับจัตุรัสทาห์เรีย ขว้างปาก้อนหินใส่เจ้าหน้าที่รักษาความสงบ ทำให้เจ้าหน้าที่ยิงแก็สน้ำตาตอบโต้

ขณะที่กลุ่มภราดรภาพมุสลิมในอียิปต์ นัดชุมนุมเพื่อแสดงการสนับสนุนมอร์ซี ในวันอังคาร (27) ที่ จะถึงนี้

เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ที่ผ่านมามีผู้ประท้วงหลายพันคนพากันมาชุมนุมที่จัตุรัสทาห์เรีย ที่เป็นหัวใจของการปฏิวัติประชาชนเมื่อปี 2011 ในการโค่นล้มอำนาจของปธน.มูบารัค หลังจากที่แกนนำฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเรียกร้องให้มี "การชุมนุมของมวลชนนับล้าน" โดยผู้ชุมนุมเรียกร้องให้มอร์ซีออกจากตำแหน่งและกล่าวหาว่าสิ่งที่มอร์ซีทำเป็นการ 'ก่อรัฐประหาร'

โมฮาเม็ด เอลบาราดี หนึ่งในผู้ร่วมชุมนุม ที่เคยเข้าร่วมการประท้วงมาตั้งแต่ปี 2011 กล่าวผ่านทวิตเตอร์ว่ามอร์ซีได้ตั้งตนเองขึ้นเป็นฟาร์โรห์องค์ใหม่ของอียิปต์

อัลจาซีร่ารายงานว่า มีการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนและผู้ต่อต้านมอร์ซีในหลายเมือง ซึ่งแสดงให้เห็นการแบ่งขั้วของประชาชนในประเทศอียิปต์

โดยในเมืองอเล็กซานเดรีย, พอร์ตซาอิด และสุเอซ ผู้ชุมนุมฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านเริ่มปะทะกันด้วยความรุนแรงจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 100 คน

อัลจาซีร่ารายงานอีกว่า สำนักงานพรรคฟรีดอมแอนด์จัสติสของมอร์ซีในอเล็กซานเดรียถูกผู้ประท้วงจุดไฟเผาในช่วงบ่ายวันศุกร์ (23) ที่ผ่านมา โดยมีสำนักงานพรรค 5 แห่งแล้วที่ถูกผู้ชุมนุมโจมตี

ที่มา

Egypt judges call for nationwide strike, Aljazeera, 25-11-2012
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศอ.รส.ยกเลิกคำสั่ง 4 ฉบับ ให้การจราจรผ่านหน้าทำเนียบรัฐบาลได้แล้ว ชงนายกปิดศูนย์ ศอ.รส. พรุ่งนี้

Posted: 25 Nov 2012 03:05 AM PST

ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเตรียมเสนอนายกรัฐมนตรีปิดศูนย์ ศอ.รส. พรุ่งนี้ (26 พ.ย.) พร้อมยกเลิกคำสั่ง 4 ฉบับ ให้การจราจรผ่านหน้าทำเนียบรัฐบาลได้แล้ว

 
25 พ.ย. 55 - สำนักข่าวไทยรายงานว่าพล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงสรุปผลการประชุมศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ ศอ.รส. ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ยกเลิกประกาศ ศอ.รส. 4 ฉบับ ที่ประกาศใช้ในช่วงการชุมนุมวานนี้ (24 พ.ย.) ซึ่งคาดว่าจะสามารถประกาศยกเลิกได้ภายในเย็นนี้ หลังยกเลิกประกาศแล้ว กองบัญชาการตำรวจนครบาลจะเข้ารื้อถอนสิ่งกีดขวางออกจากถนนพิษณุโลก ถนนราชดําเนิน และลานพระบรมรูปทรงม้า ทันทีเพื่อเปิดการจราจรตามปกติ ส่วนการยกเลิก พ.ร.บ.ความมั่งคง
 
พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ในฐานะ ผอ.ศอ.รส. เสนอต่อนายกรัฐมนตรีได้ภายในวันพรุ่งนี้ (26 พ.ย.)
 
ด้านการดำเนินคดีผู้กระทำผิดจากการชุมนุม ตำรวจสามารถควบคุมตัวได้ 138 คน แบ่งเป็นข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงาน 1 คน พกพาอาวุธมีด 3 คน มีหรือใช้วิทยุสื่อสารโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต 1 คน ซึ่งอยู่ระหว่างควบคุมตัวที่ สน.ดุสิต  และฝ่าฝืน พ.ร.บ.ความมั่นคง 133 คน หลังสอบสวนเสร็จสิ้นได้ปล่อยตัวเเล้ว 137 คน โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ประกันตัว
 
พล.ต.ต.ปิยะกล่าวว่า ผอ.ศอ.รส. ได้สั่งการให้นครบาลจัดทำบทเรียนการปฏิบัติภารกิจที่ผ่านมา เพื่อใช้ปรับปรุงการทํางานในอนาคต ทั้งข้อบกพร่องที่ทําให้การทํางานมีปัญหา โดยเฉพาะเรื่องที่กระทบต่อประชาชน และข้อดีที่ทําให้งานสําเร็จ พร้อมทั้งให้ดําเนินการรวบรวมพยานหลักฐานทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว จากกล้องวงจรปิด เว็บไซต์ ว่าแกนนําได้กระทำผิดกฎหมาย พ.ร.บ.ความมั่นคง และกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 18 - 24 พ.ย. 2555

Posted: 25 Nov 2012 02:05 AM PST

จับเครือข่ายหลอกแรงงานไปค้ากามโอมาน

เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 ที่ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ (บก.ปคม.) พล.ต.ต.ชวลิต แสวงพืชน์ ผบก.ปคม. แถลงข่าวจับกุม น.ส.ไอศิกา เคางาม หรือ มายด์ อายุ 32 ปี หุ้นส่วนร้านนวดแผนไทยแห่งหนึ่งในกรุงมัสกัต ประเทศโอมาน ตามหมายจับศาลอาญา ที่ 1851/2555 ลงวันที่ 16 ตุลาคม 55 ข้อหา ร่วมกันค้ามนุษย์โดยแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี หลังถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้รับหญิงสาวผู้เสียหายซึ่งถูกหลอกว่ามีงานนวดแผนไทย รายได้ดีที่ประเทศโอมานให้ทำแต่เมื่อมาถึงกลับถูกบังคับค้าประเวณี

สำหรับคดีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา ผู้เสียหายสาวอายุ 30 ปี ชาวกรุงเทพฯ โทรศัพท์ทางไกลจากประเทศโอมานมายัง บก.ปคม.เพื่อขอความช่วยเหลือหลังถูกขบวนการค้ามนุษย์หลอกลวงไปค้าประเวณีที่ กรุงมัสกัต ตำรวจ ปคม.จึงประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศช่วยเหลือออกมาได้ ภายใน 24 ชั่วโมง จากนั้นได้แจ้งความดำเนินคดีกับขบวนการดังกล่าวซึ่งที่ผ่านมามีการขออนุมัติ หมายจับและติดตามจับกุมผู้ต้องหาที่เป็นนายหน้าได้แล้ว 2 คน คือ นางวรรณวิภา หรือ ณัฎฐ์ธยาน์ วัฒนาพงษากุล และนายพิบูลย์ ละภักดี หรือ เจนนี่ ได้แล้วก่อนหน้านี้

(เนชั่นทันข่าว, 19-11-2555)

 

เด็กไทยเยี่ยม! คว้าเหรียญทองช่างเชื่อม แข่งฝีมือแรงงานอาเซียน ที่อินโดนีเซีย

ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 15-19 พฤศจิกายน มีการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 9 ที่จาการ์ตา คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ปีนี้มีชาติสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ ส่งเยาวชนร่วมแข่งขันประมาณ 300 คน และประเทศไทยส่งเยาวชน 34 คน ร่วมแข่งใน 17 สาขา เยาวชนไทยจำนวน 2 คน สามารถคว้า 2 เหรียญทองแรกในสาขาช่างเชื่อม ได้แก่ นายประเวศน์ บุญศรี อายุ 20 ปี จากวิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก และนายปรีชา หาญชนะ อายุ 21 ปี จากศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.สระแก้ว โดยทำคะแนนนำชาติอื่นจนถึงวันสุดท้ายของการแข่งขัน และได้อีก 2 เหรียญทองแดงในสาขาเมคคาทรอนิกส์ ส่วนสาขาอื่นยังต้องรอการประกาศผลอย่างเป็นทางการ ในพิธีมอบรางวัลและปิดการแข่งขัน วันที่ 19 พฤศจิกายนนี้

นายปรีชา หาญชนะ เจ้าของเหรียญทองสาขาช่างเชื่อม กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ได้เหรียญนี้ไปฝากคนไทย เพราะเหรียญทองสาขาช่างเชื่อมเป็นเหรียญบังคับที่ไทยต้องได้ เนื่องจากเป็นแชมป์มา 7 สมัย ทุกคนจึงคาดหวังไว้มาก ซึ่งในระหว่างแข่งขัน รู้สึกกดดันบ้างเหมือนกัน เพราะในระดับอาเซียน ถือว่าฝีมือคนไทยยังเหนือกว่าชาติอื่น โดยโจทย์ในการแข่งขันกำหนดให้ทำงานเชื่อมทั้งหมด 4 ชิ้น และทำได้ดีทุกชิ้นและได้คะแนนเต็มในงานเชื่อมอะลูมิเนียม ส่วนงานเชื่อมท่อที่ต้องมีการเอกซเรย์ดูชิ้นงานอย่างละเอียดก็ผ่านได้ด้วยดี ในขณะที่หลายชาติไม่ผ่าน ทำให้มีกำลังใจทำงานชิ้นที่เหลือจนประสบความสำเร็จ โดยก่อนหน้านี้ได้รับการฝึกฝีมือที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จ.สมุทรปราการ นาน 5 เดือน และเคยได้รับเหรียญเงินในการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 24

(ประชาชาติธุรกิจ, 19-11-2555)

 

เครือข่าย"พนง.มหาวิทยาลัย"ประท้วง ชวดโบนัส-เงินเดือนไม่เป็นธรรม

นายวีรชัย พุทธวงศ์ ประธานหลักสูตรนิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ในฐานะเลขานุการเครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา เปิดเผยว่า ปัจจุบันพนักงานมหาวิทยาลัยมีอยู่สองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการจ้างด้วยเงินงบประมาณแผ่นดินที่มหาวิทยาลัยได้รับจากสำนัก งบประมาณทุกๆ ปี และกลุ่มที่มหาวิทยาลัยจ้างโดยใช้เงินรายได้ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่านอกจากพนักงานที่จ้างด้วยเงินงบประมาณ ซึ่งหลายมหาวิทยาลัยไม่ยอมให้เงินเดือนเต็มตามมติคณะรัฐมนตรี 1.5-1.7 เท่าแล้ว พนักงานที่จ้างด้วยเงินรายได้ ได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมยิ่งกว่าด้วยสัญญาจ้างปีต่อปี และหลายคนทำงานมากว่า 15 ปี จบปริญญาโท แต่เงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท ส่วนระดับปริญญาตรี เงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้น

นายวีรชัยกล่าวต่อว่า ครม.ได้มีมติให้จ้างพนักงาน ทดแทนอัตราข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการออกนอกระบบในปี 2545 โดยให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่มากกว่าข้าราชการ คือ เพิ่มขึ้น 1.7 เท่า สำหรับ สาย ก และเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า สำหรับ สาย ข และ สาย ค ตามข้อเสนอของคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) ดังนั้น พนักงานไม่ว่าจะจ้างด้วยเงินงบประมาณ หรือเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย ควรได้รับเงินเดือนเท่ากัน

"ความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำที่ปฏิบัติต่อพนักงาน ได้ทยอยเปิดเผยเรื่อยๆ แม้ในมหาวิทยาลัยรัฐจำนวนมากมีสัดส่วนพนักงานมากกว่า 80% แต่ผู้บริหารส่วนใหญ่ก็ยังเป็นข้าราชการ และเมื่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ ครม. ให้โบนัสบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา เป็นเงินรางวัลให้กับบุคลากรที่สร้างสรรค์ผลงานให้สถาบันตนเอง โดยให้เป็นเงินพิเศษโบนัส แต่โบนัสเหล่านี้กลับห้ามแจกจ่ายให้พนักงาน ส่วนผู้บริหารรับหลักหลายแสนบาท เลขานุการเครือข่ายกล่าว

(ประชาชาติธุรกิจ, 19-11-2555)

 

'สมศักดิ์' พร้อมนำสหภาพแรงงานฯ ประกาศร่วมม็อบ 'เสธ.อ้าย'

นายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ อดีตหนึ่งในห้าแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกาศเข้าร่วมชุมนุมกับองค์การพิทักษ์สยาม นำโดย พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์การพิทักษ์สยาม ในวันที่ 24-25 พ.ย.นี้พร้อมทั้งจะนำสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจเข้าร่วมชุมนุมด้วย

(ว๊อยซ์ทีวี, 19-11-2555)

 

สรส.ยังไม่มีมติร่วมม็อบ "เสธ.อ้าย" หรือไม่

นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การไปร่วมการชุมนุมกับกลุ่มองค์การพิทักษ์สยามนั้น ยังมีความเห็นที่หลากหลายต่างกันไปของแต่ละสหภาพ ซึ่งยังไม่ได้มีข้อสรุปที่ชัดเจน ว่าจะเป็นการเข้าไปร่วมในนามองค์กรสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เพราะสหภาพแต่ละแห่งมีอิสระ ดังนั้น จะต้องไปพูดคุยกันอีกครั้ง

ส่วนการที่ถอนตัวออกจากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยนั้น นายสาวิทย์ ชี้แจงว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการที่นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ถอนตัวก่อน เพราะเป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่บุคคลก็ขึ้นกับองค์กร

อย่างไรก็ตาม นายสาวิทย์ กล่าวว่า การชุมนุมองค์การพิทักษ์สยาม ต้องสามารถตอบข้อกล่าวหาของรัฐบาลได้ เพื่อดึงมวลชน โดยควรมีเหตุผลที่ชัดเจน

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 19-8-2555)

 

ก.แรงงานแก้ระเบียบลดปัญหาค่าหัวคิวไปต่างประเทศให้ถูกลง

กรุงเทพฯ 20 พ.ย.- ก.แรงงาน เตรียมแก้ไขระเบียบการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายของบริษัทจัดหางานที่เรียกเก็บจาก คนไปทำงานต่างประเทศให้ถูกลง ลดช่องโหว่บริษัทฯ  เอาเปรียบแรงงาน  เตรียมนัดชี้แจงระเบียบที่แก้ใหม่ให้เจ้าหน้าที่และบริษัทฯ เข้าใจตรงกัน พร้อมสั่งทุกกรมศึกษาจุดอ่อนข้อบังคับเสร็จใน 30 วัน

นายสง่า ธนสงวนวงศ์  เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน  เปิดเผยว่า  หลังจากที่มีการร้องเรียนจากแรงงานที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศอิสราเอล และไต้หวัน ที่บริษัทจัดหางานเรียกเก็บเงินเกินความเป็นจริง  เตรียมแก้ไขระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าบริการและค่าใช้ จ่ายที่เรียกเก็บจากคนหางาน พ.ศ.2547 โดยกระทรวงฯ ให้กฤษฎีกาตีความ ข้อความในระเบียบกระทรวงฯ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และเข้าใจที่ถูกต้องในการเรียกเก็บเงิน ให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน  เนื่องจากกฎกระทรวงและระเบียบใช้มานานหลายปีแล้ว ทำให้เนื้อหาบางส่วนไม่ทันสมัย และมีช่องโหว่ให้บริษัทจัดหางานเอารัดเอาเปรียบแรงงานไทยโดยมีการเรียกเก็บ ค่าใช้จ่าย ค่าบริการในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศสูงเกินกว่าความเป็นจริง  เดิมบริษัทจัดหางานกำหนดเรียกเก็บค่าบริการ 1 เดือน ของเงินเดือนที่แรงงานได้รับ

ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ บริษัทเรียกเก็บจากแรงงานถึง 4 เท่า  บางแห่งเรียกเกินที่ระเบียบกำหนด ซึ่งได้รับการร้องเรียนมาเป็นจำนวนมาก  แต่หลังจากกฤษฎีกาตีความได้กำหนดให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกัน คือ ให้บริษัทเรียกเก็บค่าบริการตามที่กฎหมายกำหนด 1 เดือน ของเงินเดือนที่ได้รับ  ส่วนค่าใช้จ่ายต้องเป็นเงินที่เรียกเก็บตามจริงมีเอกสารหลักฐานยืนยันได้  ทั้งนี้  มอบหมายให้อธิบดีกรมจัดหางาน เรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงทำความเข้าใจในระเบียบใหม่ให้เพื่อ ไม่เกิดความสับสนแล้ว

นายสง่า กล่าวอีกว่า ได้ให้ทุกกรมในกระทรวงกลับไปศึกษาระเบียบข้อบังคับที่แต่ละกรมใช้อยู่ว่ามี จุดอ่อนตรงไหนที่ต้องแก้ไขให้เป็นรูปธรรม ให้มีความทันสมัย โดยให้เวลาไปศึกษา 30 วัน แล้วมารายงานรัฐมนตรีรับทราบอีกครั้ง

(สำนักข่าวไทย, 20-11-2555)

 

ครม.ไฟเขียวขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วปท. เริ่ม 1 ม.ค.′56 ตั้ง"กิตติรัตน์"หามาตรการเยียวยาช่วยภาคเอกชน

วันนี้ ( 20 พ.ย.)  ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายวรวิทย์ จำปีรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า ครม.มีมติเห็นชอบในการขึ้นค่าแรง 300 บาท ทั่วประเทศ โดยจะเริ่มในวันที่ 1 ม.ค. 2556 นี้ แล้ว พร้อมกับหามาตรการในการช่วยเหลือภาคเอกชนที่อาจจะได้รับผลกระทบจากมาตราการ ดังกล่าว  โดยแต่งตั้งนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการการะทรวงการคลัง เป็นประธานคณะกรรมการในการหามาตราการช่วยเหลือ ซึ่งจะมีการประชุมเพื่อหามาตราการในการเยียวยาผู้ประกอบการต่อไป

ทั้งนี้ ที่ประชุมไม่ได้มีการหารือกองทุนตั้งตัวได้ 5 พันล้านบาท เพื่อสร้างผู้ประกอบการรายใหม่
 
วานนี้(19 พฤศจิกายน) มีการประชุมคณะกรรมการติดตามเรื่องผลกระทบจากค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศ ของคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.) ที่เมืองทองธานี โดยนายสมเกียรติ อนุราษฎร์ รองประธานกรรมการหอการค้า ไทย เปิดเผยผลประชุมว่า เป็นการประชุมครั้งที่สองเพื่อหาทางออกต่อปัญหาดังกล่าว โดยครั้งนี้มีมติให้แยกผลกระทบจากค่าแรงเป็น 2 เรื่อง เรื่องแรกคือหามาตรการลดภาระด้านต้นทุน แบ่งเป็น 11 ข้อ และสอง เรื่องการหามาตรการช่วยเหลือด้านการเงิน เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ พร้อมทั้งมีการจัดกลุ่มผลกระทบเป็นระดับสูงถึงต่ำ เนื่องจากแต่ละภาคธุรกิจได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน โดยรายละเอียดต่างๆ ที่ประชุมให้ 3 สถาบันหารือกับสมาชิกอีกครั้งหนึ่ง

นายสมเกียรติกล่าวว่า นอกจากนี้ ยังรอภาครัฐเรียกหารือเพื่อจัดตั้งคณะทำงานร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไข ปัญหา หลังจากเอกชนยื่นเสนอไปแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการติดต่อจากภาครัฐ มีแต่การประสานงานอย่างไม่เป็นทางการ ผ่านเวทีสัมมนาต่างๆ

นายสมเกียรติกล่าวถึงตัวอย่างมาตรการที่อยากให้ภาครัฐช่วยเหลือ เช่น มาตรการด้านต้นทุนอยากให้ลดอัตราเงินนำส่งประกันสังคมทั้งฝ่ายนายจ้างและ ลูกจ้าง มาตรการด้านการเงินอยากให้ภาครัฐสนับสนุนวงเงินกู้ 0% เป็นเวลา 3 ปี โดยให้เพิ่มวงเงินสนับสนุนจาก 20,000 ล้านบาท เป็น 50,000 ล้านบาท

ที่กระทรวงอุตสาหกรรม นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ต้องเดินหน้าแน่นอน ไม่สามารถเลื่อนตามข้อเสนอของ ส.อ.ท.ได้ แต่ยืนยันว่ารัฐบาลจะมีมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบผู้ประกอบการแน่นอน โดยมอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รวบรวมผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบเพื่อออกมาตรการช่วยเหลือ ส่วนความขัดแย้งภายใน ส.อ.ท.มั่นใจว่านายพยุงศักดิ์จะสามารถแก้ไขได้ ไม่จำเป็นต้องเข้าไปจัดการ แม้ว่าจะมีอำนาจปลดประธาน ส.อ.ท.ก็ตาม

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวยอมรับว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรง ซึ่งรัฐบาลได้มีมาตรการช่วยเหลือแล้ว โดยเฉพาะมาตรการทางด้านการเงินและภาษี เช่น สินเชื่อเพื่อพัฒนาผลิตภาพการผลิต วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท โครงการค้ำประกันสินเชื่อวงเงิน 2.4 พันล้านบาท โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการใหม่วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน วงเงินกู้ยืม 42,000 บาทต่อราย ในอัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อปี โดยมีวงเงินในโครงการทั้งหมด 570 ล้านบาท และสินเชื่อส่งเสริมการจ้างงาน จากกองทุนประกันสังคมอีก 1 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการต้องปรับตัวเพื่อรองรับค่าแรงสูงด้วย

(มติชน, 20-11-2555)

 

เผดิมชัยสั่งเฝ้าระวังเลิกจ้างรับมือค่าจ้าง 300 บ.

วันที่ 21 พ.ย.2555 นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน(รมว.รง.)กล่าวถึงกรณีที่นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ออกมาคาดการณ์ว่าในช่วงเดือนธันวาคมนี้จะมีการเลิกจ้างจำนวนมาก เนื่องจากนายจ้างจะเลิกจ้างงานก่อนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเพื่อจ่ายเงินชดเชยน้อยกว่าการหลังปรับขึ้นค่าจ้าง พร้อมทั้งเสนอให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณมาโปะเงินที่หายไปจากกองทุนประกัน สังคม เนื่องจากการขยายเวลาใช้มาตรการลดเงินสมทบทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างเพื่อ ความมั่นคงของกองทุนประกันสังคมว่า ตนเชื่อว่าในเดือนธันวาคมนี้ มีความเป็นไปได้ที่ภาคธุรกิจต่างๆ อาจจะเลิกกิจการก่อนการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทใน 70 จังหวัด เพราะนายจ้างสามารถจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างในอัตราที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับ ช่วงที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างแล้ว อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้มีการปรับค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทครั้งแรกขึ้นไปแล้วใน 7 จังหวัด ภาคธุรกิจก็ได้มีการปรับตัวระดับหนึ่ง ดังนั้น ตนจึงไม่รู้สึกกังวลเกี่ยวกับปัญหาการเลิกจ้างแรงงาน อีกทั้งขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมต่างๆประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานรวมกว่า 300,000 คน และประเทศต่างๆก็มีความต้องการแรงงานไทยไปทำงานด้วยและจ่ายค่าจ้างในอัตรา ที่สูง

"อยากขอความร่วมมือผู้ประกอบการให้ปรับค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทให้แก่แรงงานตามที่กฎหมายกำหนด เพราะหากบริษัทอื่นปรับค่าจ้างสูงกว่าวันละ 300 บาท จะส่งผลให้มีการย้ายงานไปทำงานในสถานประกอบการที่ได้รับค่าจ้างสูงกว่า จึงอยากให้บรรดาผู้ประกอบการเห็นใจและคำนึงด้วยว่า แรงงานคือผู้ที่ทำให้บริษัทมีความมั่นคงและมีรายได้ หากแรงงานอยู่ไม่ได้ สถานประกอบการต่างๆก็จะอยู่ไม่ได้เช่นกัน" รมว.แรงงาน กล่าว

นายเผดิมชัย กล่าวอีกว่า ส่วนมาตรการในการเฝ้าระวังการเลิกจ้างนั้นได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัด กระทรวงแรงงานทั่วประเทศเร่งสร้างความเข้าใจและเฝ้าระวังสถานการอย่างใกล้ ชิด โดยเฉพาะใน 29 จังหวัดที่มีการปรับค่าจ้างแบบก้าวกระโดด ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงแรงงานมีศูนย์โปร่งใสในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งคอยรับเรื่องร้องเรียนปัญหาต่างๆจากแรงงาน รวมทั้งรับเรื่องราวร้องเรียนจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้าง ขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท โดยได้สั่งการให้สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานเร่งรวบรวมปัญหาและสรุปผลมา รายงานตนภายในเดือนมีนาคมนี้ เพื่อเสนอรัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม

นายเผดิมชัย กล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีการขยายเวลาใช้มาตรการการลดเงินสมทบเข้ากองทุน เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบนั้นก็เพื่อเป็นมาตรการจูงใจและ ช่วยเหลือนายจ้างเพื่อปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท แต่รัฐบาลยังคงจ่ายเงินสมทบ 2.75 % เช่นเดิม รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆที่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนได้รับไม่ได้ลดน้อย ลงและไม่ได้มีการไปลดเงินสมทบในส่วนขอสิทธิประโยชน์ในกรณีชราภาพ ทั้งนี้ โดยภาพรวมการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ส่งผลให้การส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้นถึง 45 % จึงไม่อยากให้แรงงานกังวลว่ามาตรการนี้จะกระทบต่อสถานะของกองทุนประกันสังคม

นายปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ตนได้สั่งการไปยังสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานใน 70 จังหวัดให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การเลิกจ้างอย่างใกล้ชิด รวมทั้งให้ลงพื้นที่ไปพูดคุยกับสถานประกอบการต่างๆในจังหวัดเพื่อรวบรวม ปัญหาและข้อเสนอมาตรการช่วยเหลือเสนอมายังกสร.เพื่อจะได้สรุปข้อมูลเสนอต่อ รมว.แรงงาน

อธิบดีกสร. กล่าวอีกว่า กสร.ได้รวบรวมข้อมูลสถานการณ์การเลิกจ้างในช่วงเดือนม.ค.จนถึงวันที่ 20 พ.ย.2555 โดยแยกเป็น 3 ประเภทกิจการได้แก่ 1.สถานประกอบการเลิกจ้างเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้น ต่ำเป็นวันละ 300 บาท มีสถานประกอบการได้รับผลกระทบ 5 แห่งเป็นกิจการประเภทสิ่งทอ ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งออก ผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารามีลูกจ้างรวมทั้งหมด 1,908 คนในจำนวนนี้ถูกเลิกจ้าง 1,072 คน

2.สถานประกอบการเลิกจ้างเนื่องจากได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจยุโรป มีสถานประกอบการได้รับผลกระทบ 12 แห่งเป็นกิจการประเภทประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตเสื้อผ้า เครื่องประดับส่งออก เครื่องปั้นดินเผา บริการขนส่ง มีลูกจ้างทั้งหมด 3,747 คนในจำนวนนี้ถูกเลิกจ้าง 2,524 คน

3.สถานประกอบการการเลิกจ้างในกรณีอื่นๆ เช่น การขาดทุนสะสมตนต้องปิดกิจการ คำสั่งซื้อลดลง ประสบภัยน้ำท่วม มีสถานประกอบการได้รับผลกระทบ 33 แห่งเป็นกิจการประเภทโรงแรม ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ขนส่งสินค้า ผลิตชิ้นส่วนรองเท้า ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ รับเหมาก่อสร้าง ประกันภัย มีลูกจ้างทั้งหมด 7,567 คนในจำนวนนี้ถูกเลิกจ้าง 2,508 คน และสถานประกอบการที่มีแนวโน้มเลิกจ้างมี 33 แห่งเป็นกิจการประเภทโรงแรม ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก ผลิตสิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับ มีลูกจ้าง 46,872 คน

"การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทใน 7 จังหวัด เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา มีแรงงานถูกเลิกจ้างน้อยมาก แต่การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทใน 70 จังหวัดซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 ม.ค.2556 คิดว่าคงจะมีผลกระทบต่อสถานประกอบการมากกว่าครั้งที่แล้วอย่างแน่นอน แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีแรงงานได้รับผลกระทบถึงขั้นถูกเลิกจ้างจำนวน เท่าไหร่ แต่โดยภาพรวมของประเทศคงไม่กระทบต่อภาคธุรกิจอย่างรุนแรงเพราะนายจ้างมีเวลา ปรับตัวล่วงหน้าถึง 1 ปี สถานประกอบการบางพื้นที่เช่น จ.พระนครศรีอยุธยาก็ปรับตัวได้แล้วและให้ค่าจ้างสูงถึงวันละ 320 บาท เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน อย่างไรก็ตาม กิจการประเภทใช้แรงงานแบบเข้มข้นอาจจะได้รับผลกระทบมากเช่น โรงงานผลิตเสื้อผ้า รองเท้า ทั้งนี้ อยากให้แรงงานปรับตัวโดยขยันทำงานมากขึ้น ไม่หยุดงานบ่อยเพื่อให้การทำงานคุ้มค่ากับการปรับค่าจ้าง" นายปกรณ์ กล่าว

นายปกรณ์ กล่าวต่อไปว่า หากแรงงานถูกเลิกจ้างจำนวนมาก ทางกระทรวงแรงงานได้เตรียมมาตรการรองรับไว้แล้วโดยรมว.แรงงานให้ทุกหน่วยงาน ในกระทรวงแรงงานทำร่วมกันแบบบูรณาการทั้งการเฝ้าระวังการเลิกจ้างและแก้ ปัญหา เช่น นายจ้างงดส่งเงินสมทบ หรือ แรงงานในพื้นที่ใดไปสมัครงานมากเป็นพิเศษ ก็แสดงถึงสัญญาณการเลิกจ้าง และหากแรงงานถูกเลิกจ้าง กระทรวงแรงงานก็จะเข้าไปดูแลโดยกสร.ดูแลให้ได้รับเงินชดเชยการถูกเลิกจ้าง และสิทธิประโยชน์ต่างๆ สำนักงานประกันสังคม(สปส.)จ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน กรมการจัดหางาน(กกจ.)จัดหาตำแหน่งงานรองรับ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน(กพร.)เข้าไปพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อเข้าไปทำงานในสถาน ประกอบการแห่งใหม่

"ในเรื่องของตำแหน่งงานรองรับแรงงานถูกเลิกจ้างนั้นไม่น่าห่วงเพราะขณะ นี้ภาคอุตสาหกรรมเช่น ผลิตรถยนต์ขาดแคลนแรงงานกว่า 1 แสนคน และบริษัทญี่ปุ่นก็ต้องการแรงงานจำนวนมาก รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกก็ยังมีความต้องการแรงงานเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม หากเกิดกรณีแรงงานในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เช่น ภาคเหนือหรืออีสาน ถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเท่าที่ดูตัวเลขส่วนต่างของค่าจ้างที่ต้องปรับเพิ่มขึ้นสูงกว่า พื้นที่อื่นๆ ทางกระทรวงแรงงานคงจะต้องเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเป็นระบบเพราะแรงงานต้อง เคลื่อนย้ายพื้นที่ทำมาหากินโดยต้องจัดหาตำแหน่งงานรองรับ ฝึกอบรมทักษะการทำงานในตำแหน่งงานใหม่และประสานนายจ้างจัดหาที่พักรองรับ" อธิบดีกสร. กล่าว

(คมชัดลึก, 21-11-2555)

 

อธิบดี กสร.ย้ำห้ามร่วมชุมนุมในนามกลุ่มแรงงาน-สหภาพ

กระทรวงแรงงาน 21 พ.ย. - นายปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดเผยถึงกรณีที่อาจมีกลุ่มแรงงานเข้าร่วมชุมนุมองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) นำโดย พล.อ บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือ เสธ. อ้าย ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า ในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ว่า เป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชนหากกระทำในฐานะบุคคลย่อมสามารถกระทำได้  แต่หากกระทำการในฐานะกลุ่มแรงงานหรือสหภาพนั้น จะขัดกับวัตถุประสงค์ตามกฎหมายการจัดตั้งสหภาพแรงงาน

ก่อนหน้านี้ กสร. ได้ทำความเข้าใจกับกลุ่มสหภาพแรงงานต่าง ๆ ถึงข้อระเบียบปฏิบัติแล้ว  และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าจะมีกลุ่มแรงงานใดเข้าร่วมการชุมนุม  จึงขอประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มสหภาพแรงงานปฏิบัติอยู่ในกรอบของกฏหมาย ไม่เช่นนั้นจะถือเป็นความผิด หากกระทำการดังกล่าวและกระทรวงแรงงานมีอำนาจในการดำเนินการจัดการได้

ทางด้าน นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวถึงกรณีที่อาจมีแรงงานต่างด้าวเข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง ในวันดังกล่าวว่า ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ กรรมกรและแม่บ้าน ซึ่งวัตถุประสงค์คือการเข้ามาทำงาน ห้ามไม่ให้เข้ามาประกอบธุรกิจหรือชุมนุมทางการเมือง ต้องมีการจำกัดพื้นที่  หากนายจ้างนำลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวออกนอกพื้นที่ถือว่ากระทำผิด กฎหมาย ลูกจ้างต้องถูกยึดวีซ่า และถูกนำตัวส่งกลับประเทศทันที ทั้งนี้ ในส่วนของกลุ่มแรงงานทั่วไป มักมาในนามของประชน หากกระทำการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เป็นสิทธิที่สามารถกระทำได้.

(สำนักข่าวไทย, 21-11-2555)

 

จับผู้ต้องหาตุ๋นแรงงานไปทำงานต่างประเทศ

(22 พ.ย.) ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ (บก.ปคม.) เมื่อเวลา 14.00 น. พล.ต.ต.ชวลิต แสวงพืชน์ ผบก.ปคม. นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน นายเชิดศักดิ์ วิสุทธิกุล ผอ.กองตรวจและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน แถลงข่าวจับกุม นายเรวัตร ผาริการ อายุ 39 ปี อยู่บ้านเลขที่ 69 หมู่ 4 ต.คึมชาด อ.หนองสองห้อง จ.ขอนแก่น ตามหมายจับศาลจังหวัดพระโขนง ที่ ส.419/2553 และ ส.420/2553 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2553 ข้อหาจัดหางานให้คนงานไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน โดยการหลอกลวงได้มาซึ่งเงินหรือทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง จับกุมได้ที่ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาบางนา แขวงและเขตบางนา กทม.
      
ทั้งนี้ เมื่อปี 2552 ผู้ต้องหามีพฤติการณ์หลอกลวงแรงงานว่า สามารถพาไปทำงานในประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ฯลฯ โดยเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรายละ 100,000 บาท ที่ผ่านมาผู้ต้องหาได้ออกวีซ่าให้กับกลุ่มผู้เสียหายเป็นเพียงวีซ่านักท่อง เที่ยว หรือบางรายก็เป็นเพียงหนังสือเดินทางและวีซ่าปลอม จึงไม่สามารถทำงานในประเทศนั้นๆ ได้ ซึ่งมีผู้เสียหายหลงเชื่อถูกหลอกลวงกว่า 30 ราย รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 3 ล้านบาท
      
ต่อมาผู้เสียหายได้เข้าร้องทุกข์ที่กรมการจัดหางาน จึงมีการประสานข้อมูลมายัง บก.ปคม.ก่อนวางแผนสืบสวนติดตามจับกุมผู้ต้องหาดังกล่าว นอกจากนี้ จากการตรวจสอบประวัติผู้ต้องหาพบว่าเคยกระทำความผิดในลักษณะเดียวกันนี้มา แล้วหลายครั้ง โดยมีหมายจับของ สน.บางนา ติดตัวอยู่ 8 หมาย
      
สอบสวนเบื้องต้นผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่า ได้ชักชวนแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ โดยเสนอว่าจะออกค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้จริง แต่หลังจากได้เงินค่าดำเนินการแล้วก็จะลอยแพคนงานผู้เสียหายก่อนจะหลบหนี ทั้งนี้ ชุดจับกุมได้ควบคุมตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน บก.ปคม.รับไว้ดำเนินคดีต่อไป

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 22-11-2555)

 

พยาบาลลูกจ้าง ขู่หยุดงานประท้วง! หากหลัง ม.ค.56 ไม่ได้บรรจุ ขรก.

รศ.จินตนา ยูนิพันธุ์ นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย กล่าวระหว่างแถลงข่าว "คุณภาพของระบบบริการกับกรณีพยาบาลลูกจ้างชั่วคราวกระทรวงสาธารณสุข" ภายในการประชุมพยาบาลระดับเอเชีย และภาคพื้นแปซิฟิก ในหัวข้อปัญหากำลังคนด้านพยาบาล ว่า รัฐบาลมีนโยบายจำกัดกำลังคนข้าราชการมาตั้งแต่ปี 2547 ทำให้เกิดการจ้างงานไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราวของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพราะไม่มีความไม่มั่นคง ขาดโอกาสในการพัฒนาและความก้าวหน้าในวิชาชีพ ที่สำคัญ มีภาระงานหนักมากและเป็นปัญหาสะสมยาวนาน 7-8 ปี นอกจากนี้ รัฐบาลและ สธ.ยังไม่ให้ความสำคัญ แต่กลับเปลี่ยนประเด็นให้ปรับเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข (พนักงาน กสธ.) แทน ซึ่งมองว่าแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ทั้งนี้ หากพยาบาลลูกจ้างชั่วคราวยังไม่ได้รับความเป็นธรรม จะเกิดวิกฤตพยาบาลไหลออกนอกระบบภาครัฐ ไปอยู่โรงพยาบาลเอกชนและต่างประเทศ โดยเฉพาะหากมีการเปิดการค้าเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 จะเกิดผลกระทบต่อประชาชนแน่นอน
      
รศ.จินตนา กล่าวอีกว่า สมาคมพยาบาลฯ ประธานชมรมพยาบาล และหัวหน้าพยาบาลตามโรงพยาบาลต่างๆ จึงขอเรียกร้องแทนพยาบาลน้องๆ ดังนี้ 1.ต้องมีการบรรจุพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราวจำนวน 17,000 คน เป็นข้าราชการสังกัด สธ.ทั้งหมด ภายในเดือนมกราคม 2556 ซึ่งทางสมาคมฯ และตัวแทนพยาบาลทั่วประเทศได้ลงชื่อสนับสนุน รวมทั้งสิ้น 32,874 รายชื่อ เพื่อต้องการให้รัฐบาลแก้ปัญหาให้ตรงจุด หรือกำหนดให้ชัดเจนว่า จะสามารถให้อัตราการบรรจุจำนวนเท่าไร และเมื่อใด ซึ่งจะมีการนำรายชื่อทั้งหมดเสนอให้นายกรัฐมนตรีในเร็วๆ นี้ 2.ให้ สธ.ผลักดันการกำหนดกรอบอัตรากำลังพยาบาลใหม่เป็นการเฉพาะสำหรับกลุ่มกำลังคน ด้านการพยาบาล 3.ตำแหน่งพยาบาลที่เกษียณอายุราชการทั้งหมด ขอสงวนไว้สำหรับบรรจุเฉพาะพยาบาลเท่านั้น และ 4.ให้ สธ.ทบทวนวิชาชีพพยาบาล ต้องยังคงสถานะของการเป็นวิชาชีพที่ขาดแคลนตามมติคณะรัฐมนตรีเช่นเดียวกับ แพทย์และทันตแพทย์ และยังเป็นสาขาที่รัฐบาลไทยได้ลงนามในข้อตกลงบังคับร่วมให้เป็นสาขาวิชาชีพ ที่มีการเคลื่อนย้ายพยาบาลไปทำงานในประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนได้อีกด้วย
      
"ขอให้เยียวยาพยาบาลลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้าราชการทั้งหมด เพราะเป็นระบบที่มั่นคงที่สุด ส่วนที่สธ.คิดระบบใหม่ อย่างการเป็นพนักงาน กสธ.ยังไม่ชัดเจน และเป็นกระบวนการแก้ปัญหาระยะยาว เหมาะสำหรับพยาบาลจบใหม่ ไม่ใช่รวมพยาบาลรุ่นเก่า เพราะขนาดกระทรวงศึกษาธิการยังสามารถบรรจุครูได้ถึง 12,000 ตำแหน่ง พยาบาลก็สำคัญเพราะเกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชน จึงฝากความหวังที่รัฐมนตรี สธ.เพราะต้องข้ามหน่วยงานจากสำนักงบประมาณ และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)" นายกสมาคมพยาบาลฯ กล่าว
      
น.ส.วรรณวิภา ศรีหอมชัย ประธานภาคกลางเครือข่ายพยาบาลวิชาชีพลูกจ้างชั่วคราว กล่าวว่า หาก สธ.ไม่สามารถบรรจุพยาบาลลูกจ้างชั่วคราวทั้งหมดเป็นข้าราชการได้หลัง ม.ค.2556 พยาบาลลูกจ้างวิชาชีพทั้ง 17,000 คน จะนัดหยุดงานพร้อมกันทั่วประเทศ โดยจะทำหนังสือผ่านโรงพยาบาลต้นสังกัด ไปยัง สธ.เพื่อให้เตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบก่อนหยุดงานด้วย ส่วนการพนักงาน กสธ.ทางเครือข่ายฯ ไม่ขอรับข้อเสนอ เพราะเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุ
      
นายจักรี กั้วกำจัด สมาคมศิกษ์เก่าวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ กล่าวว่า ปัจจุบันพยาบาลลูกจ้างชั่วคราวทำงานหนักมากประมาณ 16 ชั่วโมงต่อวัน การปฏิบัติงานก็ไม่ได้มาตรฐาน อย่างห้องไอซียูพยาบาลมีสัดส่วนต่อผู้ป่วยที่ 1 ต่อ 4 ทั้งที่ตามมาตรฐานสากลต้อง 1 ต่อ 1 ถึงจะให้บริการได้ดีที่สุด ขณะที่การบริการผู้ป่วยทั่วไปมีสัดส่วนพยาบาลต่อเตียงผู้ป่วย 1 ต่อ 8 เตียง หากในพื้นที่ชนบทอาจสูงถึง 1 ต่อ 12 เตียง ทั้งที่สัดส่วนที่เหมาะสมคือ 1 ต่อ 6 เตียง นอกจากนี้ อัตราเงินเดือนของพยาบาลลูกจ้างชั่วคราวก็ไม่เท่ากัน เพราะเป็นการให้เงินเดือนโดยใช้เงินบำรุงจากโรงพยาบาล หากโรงพยาบาลใดมีเงินบำรุงมาก ก็ได้ค่าตอบแทนสูง อาจถึงเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาท แต่บางแห่งได้แค่ 12,000 บาท ร้ายสุดเดือนละ 9,000 บาทก็มี ส่วนค่าเวรและค่าโอทีบางแห่งจ่ายข้ามปี ซึ่งการจะเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงาน กสธ.ก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะเป็นแค่การเปลี่ยนแค่ชื่อเท่านั้น นังคงใช้เงินบำรุงจากโรงพยาบาลจ้างงานเหมือนเดิม การบริหารก็ไม่แตกต่าง มีความเสี่ยง และไม่มั่นคง หากยังเป็นแบบนี้สุดท้ายผลกระทบจะตกที่ผู้ป่วย เพราะพยาบาลลาออก อย่างข้อมูลปี 2548 พบลาออกมากถึงร้อยละ 48
      
ด้าน นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัด สธ.กล่าวว่า การบรรจุลูกจ้างชั่วคราวเป็นข้าราชการไม่สามารถทำได้หมดในครั้งเดียว เนื่องจากต้องดูแลทั้ง 21 สายงาน และขณะนี้ประเทศมีภาระหลายอย่างที่ต้องดูแล จึ่งต้องรอแต่ระหว่างรอก็จะมีการปรับสถานะเป็นพนักงาน กสธ.ซึ่งจะมีสวัสดิการที่ไม่แตกต่างจากข้าราชการ เบื้องต้นได้เสนอร่างระเบียบการปรับสถานภาพดังกล่าว โดยเน้นความมั่นคงในการทำงาน ขยายเวลาสัญญาการจ้างงาน ส่วนกรณีที่มีพยาบาลลูกจ้างชั่วคราวจะหยุดงานทั้งหมดหากไม่ได้รับการบรรจุ นั้น ถือว่าเป็นสิทธิ์ที่ทำได้ และ สธ.ก็คงไม่สามารถห้ามได้ แต่ยืนยันว่า มีแผนรองรับเอาไว้แล้ว หากหยุดงานจริง รับรองว่าไม่เกิดผลกระทบต่อโรงพยาบาลแน่นอน

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 23-11-2555)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เผย 'เสธ.อ้าย' เตรียมลาออก ปธ.มูลนิธิโรงเรียนเตรียมทหารพรุ่งนี้

Posted: 25 Nov 2012 01:37 AM PST

'เสธ.อ้าย' ปธ.องค์การพิทักษ์สยามเผยจ่อลาออกปธ.มูลนิธิโรงเรียนเตรียมทหารพรุ่งนี้ เหตุตนเองทำให้ชื่อเสียงของมูลนิธิสถาบันของทหารเสื่อมเสีย พร้อมทั้งยอมรับมีความน้อยใจต่อนายทหารรุ่นน้อง  ยันยังไม่ทราบ น.ต.ประสงค์ นำม็อบต่อหลัง 10 ธ.ค.นี้

 
25 พ.ย. 55 - สำนักข่าวทีนิวส์รายงานว่า พลเอก บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์การพิทักษ์สยาม หรืออพส. กล่าวกับสำนักข่าวทีนิวส์ โดยยอมรับว่า ในวันพรุ่งนี้ตนได้เตรียมการทำหนังสือลาออกจากการเป็นประธานมูลนิธิโรงเรียนเตรียมทหาร ทั้งนี้เมื่อถามว่าสาเหตุในการลาออกเป็นเพราะสาเหตุใด พล.อ.บุญเลิศ กล่าวว่า ตนเองทำให้ชื่อเสียงของมูลนิธิสถาบันของทหารเสื่อมเสีย พร้อมทั้งยอมรับมีความน้อยใจต่อนายทหารรุ่นน้องด้วย  
  
ประธานองค์การพิทักษ์สยาม ยังกล่าวถึงกระแสข่าว นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตเลขาสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือสมช. ที่จะเข้ามาเป็นผู้นำการชุมนุมต่อหลังวันที่ 10 ธันวาคมนี้ว่า ตนเองยังไม่ทราบ และยังไม่แน่ใจว่า น.ต.ประสงค์ จะเข้ามาทำหน้าที่รับไม้ต่อ พร้อมถามกลับว่า นต.ประสงค์ ยอมรับมาเป็นแกนนำแล้วจริงหรือไม่  
 
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'อภิวันท์' ปัดหมิ่นสถาบัน ระบุแค่ไม่อยากใช้คำหยาบ ชี้คนที่พูดถึงคือคนหัวหงอกอายุ 90

Posted: 25 Nov 2012 01:22 AM PST

'พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย' เผยหลังถูกพาดพิงบนเวที เสธ.อ้าย ระบุคำว่า "เหี้ยสั่งฆ่า ห่าสั่งยิง" ซึ่งเป็นคำไม่สุภาพ ตนจึงอยากให้เปลี่ยนเป็น "คุณลุงสั่งฆ่า คุณป้าสั่งยิง" ซึ่งที่ตนพูดถึงก็คือคนอายุ 90 ปี ซึ่งมีคนเดียวในบ้านนี้เมืองนี้ คือคนหัวหงอกๆ

เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 55 ที่ผ่านมาหนังสือพิมพ์แนวหน้ารายงานว่า พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำคนเสื้อแดง กล่าวถึงกรณีที่ถูกนำคลิปไปเปิดบนเวทีการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) จนถูกกล่าวหาว่าน่าจะมีเจตนาล้มล้างสถาบันว่า ข้อกล่าวหาที่แกนนำอพส.บอกว่า การปราศรัยของตนครั้งหนึ่งบนเวทีเสื้อแดงจะทำให้อยู่ในประเทศไม่ได้นั้น คงต้องขอชี้แจงการปราศรัยในวันนั้นว่า ตนพูดหลังจากที่ทหารสลายการชุมนุมแล้วทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 90 ศพว่า หากทหารเป็นสุภาพบุรุษจริงควรต้องรับผิดชอบ เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้คนเสื้อแดงบางส่วนไม่พอใจและไปทำเสื้อสกรีนข้อความว่า "เหี้ยสั่งฆ่า ห่าสั่งยิง" ซึ่งเป็นคำไม่สุภาพ ตนจึงอยากให้เปลี่ยนเป็น "คุณลุงสั่งฆ่า คุณป้าสั่งยิง" ซึ่งที่ตนพูดถึงก็คือคนอายุ 90 ปี ซึ่งมีคนเดียวในบ้านนี้เมืองนี้ คือคนหัวหงอกๆ 
 
"ผมไม่รู้สึกหนักใจที่ถูกพาดพิงว่ามีแนวคิดล้มสถาบัน เพราะการพูดในวันนั้นก็เพื่อสอนน้องๆ ทหารในกองทัพว่าควรต้องรับผิดชอบหลังจากที่มีผู้เสียชีวิตกว่า 90 คน ถ้าฟังให้จบก็จะรู้ เท่าที่ได้ข่าวมาการชุมนุมครั้งนี้คุณลุงก็มีการเตรียมการไว้หมดแล้ว ทั้งคนที่จะเป็นนายกฯ ก็คือคนในเครือข่ายคุณลุงทั้งนั้น"พ.อ.อภิวันท์กล่าว
 
ผู้สื่อข่าวถามว่า การยุติการชุมนุมเร็วนั้นผิดคาดจากที่ประเมินไว้หรือไม่ พ.อ.อภิวันท์กล่าวว่า ไม่ แกนนำคงคิดว่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจได้ว่าต้องมาต่อสู้ในสภาฯ เท่านั้น ส่วนมองว่าการประกาศยุติชุมนุมการชุมนุมครั้งนี้แค่ชั่วคราวหรือถาวรนั้น พ.อ.อภิวันท์กล่าวว่า คงยัง เพราะจุดประสงค์คือต้องการล้มล้างรัฐบาล แต่มั่นใจว่าน้องๆ ในกองทัพมีความเป็นประชาธิปไตย คงไม่สามารถบีบให้ทหารออกมาทำรัฐประหารได้ อย่างไรก็ตาม การยุติการชุมนุมครั้งนี้ต้องถือว่าเสธ.อ้ายมีความเป็นสุภาพบุรุษ เป็นนายทหารนักเลง เพราะเมื่อประกาศว่าหากคนมาร่วมชุมนุมไม่ถึงจำนวนที่กำหนดไว้จะเลิกท่านก็เลิกจริงๆ ต้องขอบคุณท่านด้วย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

จอม เพชรประดับ : คนไทยต่อสู้กันเองเพื่ออะไร..?

Posted: 25 Nov 2012 12:08 AM PST

 

โล่งอกโล่งใจ กันไม่น้อย เมื่อ เสธ.อ้าย พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประกาศยุติการชุมนุมของ กลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม เมื่อตอนเย็นของวันที่ 24 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา หลังจากที่การชุมนุมดำเนินไปได้ไม่ถึง 10 ชั่วโมง

เหตุผลเพราะว่า ผู้ชุมนุม ถูกสกัดกั้นจากตำรวจจนไม่สามารถระดมพลสร้างพลังแช่แข็งประเทศไทยได้สำเร็จ ขณะเดียวกัน สภาพฟ้าฝนก็ดูเหมือนจะไม่ค่อยเป็นใจ เลยทำให้เกิดสถานการณ์ "ฟืนเปียกน้ำ – จุดไม่ติด"

แต่ การชุมนุมเพื่อแช่แข็งประเทศไทย ของ กลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับการเมืองไทยอีกครั้ง เพราะถือ เป็นครั้งแรกในการชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง ที่มีการลุกขึ้นมาต่อต้านวิถีทางประชาธิปไตย และพยายามที่จะล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดย แกนนำพยายาม เรียกร้องให้ ทหารออกมาปฎิวัตรอีกครั้ง

แม้ว่า "เสธ.อ้าย" จะยอมรับความพ่ายแพ้อย่างชายชาติทหาร แต่ "เสธ.อ้าย" ก็ยังไม่ตายไปจากกลุ่มความคิด ที่จะล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และนับจากนี้ไป สงครามแห่งความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย ระหว่าง "กลุ่มอำนาจฝ่ายขวา - อนุรักษ์นิยม" หรือที่เรียกว่าเป็นฝ่าย อำมาตย์ชาตินิยม กับ "กลุ่มอำนาจฝ่ายประชาธิปไตย" ยิ่งจะชัดเจน เปิดหน้ากันสู้ และจะรุนแรงมากขึ้น

กลุ่มอำนาจฝ่ายขวา แม้จะพบกับความพ่ายแพ้อีกครั้ง หลังการประกาศยอมแพ้ของ เสธ.อ้าย แต่ด้วยความมั่นอกมั่นใจ และด้วยเพราะไม่เคยสนใจให้ความสำคัญ กับ กลุ่มอำนาจฝ่ายประชาธิปไตย ที่คิดว่า ถูกปกครอง ครอบงำ หรือล้างสมองเสียจนเชื่องชิน จึงเกิดเป็นความชะล่าใจ ไม่คิดที่จะ ทบทวนท่าที และวิธีคิด วิธีการของกลุ่มตัวเอง

ดังนั้นความเชื่อมั่น และมั่นใจในพลังอำนาจที่เคยมีของ "ฝ่ายขวาอนุรักษ์นิยม" จึงยังคงเดินหน้าสู้อย่างสะเปะสะปะต่อไปอย่างสุดแรง

ขณะที่ "ฝ่ายประชาธิปไตย" ก็ได้รับแรงหนุน ทั้งจากประชาชน ปัญญาชน องค์กรต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกประเทศ อีกทั้งกระแสโลกาภิวัตน์ที่พัดพาเอา สายลมประชาธิปไตยไปทั่วทุกหนทุกแห่ง พลังฝ่ายประชาธิปไตยในประเทศไทย จึงเต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง

นักวิเคราะห์หลายคนบอกว่า ศึกนี้อีกยาวนาน เพราะไม่ใช่การต่อสู้ระหว่างสองกลุ่มอำนาจเท่านั้น แต่เป็นการต่อสู้ภายใน ในตัวตนของความเป็นคนไทยโดยส่วนใหญ่ด้วย เพราะ ความคิดใหม่ ค่านิยมใหม่ เข้ามาท้าทายความคิด ความเชื่อ และทัศนคติแบบดั้งเดิมของคนไทย

ความคิดความเชื่อของคนไทย ที่ถูกสร้างสม บ่มเพาะให้อยู่ในระบบ "อุปภัมภ์" มาเป็นเวลาช้านาน เราจึงเชื่อมั่น ศรัทธา เฉพาะใน "ตัวบุคคล" มากกว่า "หลักการ – กฎกติกา" หรือ "การปกครองที่เป็นธรรม" ตามวิถีทางสากล.

คนไทยส่วนใหญ่ยังแยกแยะไม่ออก(หรือเปล่า) ระหว่างคุณค่าของ หลักการ หรือ กฎกติกาที่ถูกต้องชอบธรรม ในสังคมที่หลากหลาย กับการรักษาไว้ซึ่ง "ตัวบุคคล"

คนไทยจำนวนไม่น้อยที่กำลังต่อสู้เพื่อปกป้อง สถาบันพระมหากษัตริย์ แต่สื่อความหมาย เพียงเฉพาะ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ" คนไทยจำนวนไม่น้อยต่อสู้เพื่อรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตย แต่กลับให้คุณค่าอยู่ที่ พรรคเพื่อไทย และครอบครัว "ชินวัตร" โดยเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ

นอกจากต้องแยกแยะคุณค่าที่มั่นคงถาวร เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงให้กับบ้านเมืองในระยะยาวแล้ว คนไทยจะต้องตั้งสติและยอมรับสัจธรรมของชีวิตด้วยว่า "ตัวบุคคล" หรือ "คณะบุคคล" ไม่ได้มั่นคงยืนยาวชั่วนิรันดร์ ทั้งสภาพร่างกาย สติปัญญา และสมรรถนะที่จะสร้างความก้าวหน้าให้ชาติบ้านเมืองได้ตลอดไป

ทำนองเดียวกัน การจะฝากความหวังไว้ กับ พรรคเพื่อไทย และตระกูลชินวัตร เพื่อสร้างระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ให้สถิตย์สถาพรอยู่ในประเทศไทย ก็ไม่ใช่หนทางที่ดีที่สุด แต่แน่นอน นี่คือหนทาง ที่จะได้เห็นพัฒนาการที่ ก้าวหน้าของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยในอนาคต

หากอุปสรรคสำคัญต่อการเผชิญหน้ากับกระแสโลกาภิวัตน์ อยู่ที่ค่านิยม ความคิดความเชื่อของคนไทยโดยส่วนใหญ่ เราก็ควรจะให้เวลามาทบทวนความคิด ความเชื่อของตัวเอง และยอมรับความเป็นจริงกันแล้วหรือยัง

แน่นอน บุคคลหนึ่งที่มีโอกาสสร้างสรรค์สิ่งดีงาม สร้างความเจริญมั่งคั่งให้กับชาติบ้านเมืองตลอดชั่วชีวิตของเขา เป็นสิ่งที่จะสถิตสถาพรอยู่ในห้วงคำนึงของคนในชาติอย่างไม่เสื่อมคลาย และถือกเป็นภารกิจของคนรุ่นหลังด้วย ที่จะนำเอา คุณประโยชน์ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยตัวบุคคล หรือคณะบุคคล นำไปเสริมเติม เพิ่มความเข้มแข็งให้กับ หลักการ และกฎกติกาที่ถูกต้องชอบธรรม ให้มั่นคงยืนยาวตลอดไป ให้คุณค่า เป็นมรดกตกทอดมาจาก บุคคล หรือ คณะบุคคล ที่เราเคารพรักและศรัทธา

เช่นเดียวกับการที่ พระพุทธองค์ ไม่ต้องการให้ พุทศาสนิกชน ศรัทธากราบไหว้ในความเป็น ตัวตนแห่งองค์พระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า หรือ สัญลักษณ์แทนพระองค์ มากไปกว่า ความศรัทธายอมรับ และปฎิบัติตาม หลักธรรมคำสั่งสอนของพระองค์

ดังนั้น คนไทยทั้งประเทศ คงจะต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า เรากำลังต่อสู้เพื่ออะไร หรือ เพื่อใคร เราจะเอาชีวิตเข้าแลก เพื่อรักษา "สถาบัน" "ระบอบการเมืองที่เป็นธรรม" หรือ "ตัวบุคคล" หรือสุดท้ายเราสู้กันเพื่อทำลายทุกอย่าง. 

กรณี เสธฯ อ้าย: A Strong Case of Leadership and Self-Deception

Posted: 25 Nov 2012 12:04 AM PST

 

ถ้าเสธอ้ายเป็นแค่หัวหน้าฝ่ายการผลิตคนหนึ่ง เคยเกี่ยวข้องกับกรณีหัวหน้าคนงานทะเลาะกันจนยิงกันตาย แล้วจู่ ๆ วันหนึ่งก็ออกมาทำ "ฟอร์ม" เรียกร้องให้คนงานช่วยกันทำให้ "โรงงานเป็นสีขาว" คนที่รู้ทันอย่างมากคงแค่หมั่นไส้และไม่ให้ความสำคัญอะไร

ดังนั้น การหลอกตัวเอง หรือ self-deception ของเสธอ้าย จึงเป็นไปเพียง "พล็อต" เพื่อให้ตัวเองได้แสดงความเป็นผู้นำ มีที่ยืน แม้จะไม่มีใครยอมรับหรือถึงยอมรับก็เพียงแค่เปลือกนอก .. เขาชอบของเขาแบบนี้ .. แบบนี้ไม่เรียกว่า strong case เพราะ 1) แก้ไขได้ง่าย ถ้าอยากแก้ไข 2) ไม่ต้องแก้ไขก็ได้ เชิญบ้าไปคนเดียว แต่อย่าลืมตอกบัตรเข้างานก็แล้วกันถ้าอยากได้ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท 55+
 
แต่การที่เสธอ้ายจู่ ๆ ก็กระโดดออกมาเป็น "โต้โผใหญ่" ชนิดข้ามคืน แบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยมีวี่แววว่าจะเป็นแกนนำหรือเป็นตัวตั้งตัวตีในเรื่องอะไร นอกจากการเป็นหัวหน้าวงเหล้าศิษย์เก่าเตรียมทหาร แสดงว่า 1) ต้องมีคน "ไขลาน" ให้เสธอ้ายเดินออกมา อย่างที่รู้ ๆ กัน เสธอ้ายไม่ใช่คนแรกที่ถูกไขลานให้เดินออกมา และ 2) ตอนนี้ไพ่เด็ด ๆ ในสต็อกของ "คนที่ไขลานเสธอ้าย" คงเริ่มจะหมดหน้าตักแล้ว ถึงได้ต้องงัดเอาคนที่ไม่มีทักษะเลยอย่างเสธอ้ายมารับจ้อบ
 
ที่บอกว่าเป็น strong case ก็เพราะ "คนที่ไขลานเสธอ้าย" 1) ยังคงถูกกักขังอยู่ในกล่อง (in the box) ของจินตนาการที่ว่า ตนเองมีพันธกิจสูงส่งที่ยังทำไม่สำเร็จ กล่าวคือ ยังคงเห็นว่า ตัวเองดี และคนนั้นก็ไม่ดี คนนี้ก็ไม่น่าไว้วางใจ จะเป็นอันตรายต่อประเทศชาติหรือเป็นศัตรูของคนไทย .. ความจริงมันก็แค่ "พล็อต" เล็ก ๆ ของผู้นำที่หลอกตัวเอง และ 2) ตัวเองถูกขังยังไม่เท่าไหร่ แต่กลับเอา "กล่อง" หรือ "เชื้อโรค" ของตัวเองไปติดต่อให้กับคนอื่นเป็นจำนวนมากอีกด้วย .. จนบ้านเมืองแทบไม่ต้องเดินหน้าไปไหน และประชาชนจะเลือกตั้งให้ใครมาเป็นผู้นำประเทศไม่ได้ ถ้าคน ๆ นั้นไม่ใช่คนที่ตัวเอง "ไว้วางใจ" หรือ "เลือกมากับมือ" กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ระบอบประชาธิปไตยไม่มีความหมาย แต่ระบอบอัตตาธิปไตยต่างหากที่มีความหมาย

จะเห็นได้ว่า นี่คือตัวอย่างที่หนักหนาของ "ความหลงผิด" หรือ "การหลอกตัวเองของผู้นำ" ที่บ้องตื้นและไร้เหตุผล ซึ่งไม่เพียงแต่เป็น "กล่อง" ที่พันธนาการชีวิตตัวเองและสมุนบริวารไว้เท่านั้น หากยังเป็น "กล่อง" ที่หน่วงเหนี่ยว กักขังชีวิต และความรุ่งเรืองของคนทั้งประเทศกว่า 60 ล้านคนไว้อีกด้วย

ในทางกลับกัน สิ่งที่หลายคนไม่ค่อยจะตระหนักกันก็คือ แทนที่จะยอมให้ "กล่องเจ้าปัญหา" ทำร้ายสังคมไทยและนำไปสู่การเผชิญหน้ากันของคนหลากสี เรียนผูกก็ต้องมีเรียนแก้ .. กล่องความคิดหรือการหลอกตัวเองเช่นที่ว่า จะอันตรทานหายไปได้ในบัดดล ถ้าบังเอิญ "คนที่ไขลานเสธอ้าย" อยู่ ๆ ก็เกิดคิดขึ้นมาได้ว่า

ประการแรก ทักษิณมันเป็นแค่นักธุรกิจคนหนึ่ง ไม่ใช่ศัตรูไม่ใช่ภัยคุกคามอะไรตรงไหน เพราะวัน ๆ มันก็คิดแต่เรื่องเงินทองผลประโยชน์ รวมทั้ง ถึงคนอย่างทักษิณถึงจะเป็นนักการเมือง อยู่ในวงจรอำนาจ แต่เขาก็เป็นได้แค่นักการเมืองแบบธุรกิจ ไม่ใช่แบบอุดมการ เพราะทักษิณไม่เคยพูดอะไรที่คล้่ายเหมา และไม่เคยทำอะไรเหมือนเลนิน ดังนั้น เรื่องที่ทักษิณจะไม่จงรักภักดี คิดเปลี่ยนแปลงประเทศไทยเป็นระบอบสาธารณรัฐอะไร ล้วนเป็นไปไม่ได้ เป็นความหวาดระแวงที่เกินกว่าเหตุ

ประการที่สอง ความห่วงประเทศชาติว่าจะล่มสลาย จะตกอยู่ในมือของนักการเมืองขี้ฉ้อ เป็นความกังวลที่ปราศจากรากฐานและไร้มูลโดยสิ้นเชิง เพราะไม่มีใครยอมให้ประเทศชาติล่มสลายง่าย ๆ หรือไปตกในอุ้มมือของใครได้ เนื่องจากประชาชนฉลาด มีความตื่นตัว สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง และระบอบประชาธิปไตยโดยตัวของมันเอง ก็เอื้ออำนวยให้ประชาชนควบคุมผู้นำที่ตัวเองเลือกตั้งเข้ามาได้ ในทางกลับกัน ตัวเองควรทำหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ก็พอ

สรุป – ปัญหาผู้นำติดกับในกล่องของการหลอกตัวเองไม่ใช่ปัญหาใหม่ แต่เป็นกรณีที่ทำให้สังคมไทย ตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งทางสังคม และการสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจมาหลายทศวรรษแล้ว โดยเฉพาะในระยะไม่กี่ปีมานี้ รากเหง้าของความขัดแย้งระหว่างสีเหลืองสีแดง และการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งติด ๆ กัน เช่น รัฐบาลทักษิณ-สมัคร-สมชาย รวมทั้งล่าสุด คือความพยายามที่่จะล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ ล้วนมีสาเหตุมาจากความล้มเหลว อ่อนแอ และการหลอกตัวเองของผู้นำในสังคมไทย ดังนั้น ผู้นำของสังคมต้องตอบคำถามต่อสามัญชนคนทั้งประเทศว่า ในฐานะที่ตัวเองเป็นผู้นำของสังคม จะยังคงหลอกตัวเองแล้วใช้สิ่งนั้นเป็นแพล็คฟอร์มในการเอาชนะฝ่ายที่ตัวเองคิดว่าอยู่ตรงกันข้าม เป็นศัตรู เป็นปฏิปักษ์ หรือจะยอมหันมามองดูตัวเอง แล้วปลดเปลี้องพันธนาการทางความคิดที่ตัวเองและสมุนบริวารเป็นคนสร้างขึ้น เพื่อให้สังคมไทยได้วิวัฒน์ไปบนหนทางและครรลองของประชาธิปไตยต่อไปได้
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เปลี่ยนประเทศไทยด้วยการรับจำนำข้าว: ข้อเท็จจริงสำหรับ อ.นิธิ และประชาชน

Posted: 24 Nov 2012 11:50 PM PST

อนุสนธิจากบทความของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่อง "เปลี่ยนประเทศไทยด้วยการรับจำนำข้าว" ในมติชนออนไลน์ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 ผู้เขียนทั้งสองคนขอให้ข้อเท็จจริงทั้งจากตัวเลขของหน่วยงานราชการ และจากการวิจัยของผู้เขียน เราทั้งสองเชื่อว่าการมีข้อเท็จจริงที่ถูกต้องจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อชาวนาส่วนใหญ่ ประชาชนผู้เสียภาษีและภาคธุรกิจส่วนใหญ่ เรายังไม่กล้าหาญพอจะเสนอนโยบายที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศไทยแบบอาจารย์นิธิ เพราะหากข้อเสนอให้เปลี่ยนประเทศเกิดผิดพลาดและสร้างความเสียหายใหญ่หลวงต่อประเทศ เราไม่มีปัญญาและทรัพยากรพอจะแบกรับความเสียหายดังกล่าว
 
ก่อนอื่นขอชี้แจงจุดยืนส่วนตัวก่อนว่า เราทั้งสองต้องการให้มีนโนบายข้าวที่ประโยชน์ตกกับชาวนา "ทุกคน" โดยเฉพาะชาวนาที่ยากจนจริงๆ โดยไม่สร้างความเสียหายใหญ่โตกับคนอื่นๆ ในสังคม หรือถ้าเกิดต้นทุนต่อผู้เสียภาษีก็ต้องหาหนทางจำกัดต้นทุนดังกล่าว เราเคารพกระบวนการทางการเมืองของระบบประชาธิปไตย ในเรื่องการใช้คะแนนเสียงเลือกตั้งกำหนดนโยบาย แต่เราต้องการประชาธิปไตยที่ดี
 
บทความของ อ.นิธิ มีหลายประเด็น แต่เราขอตอบเพียง 3 ประเด็น คือ เรื่องแรกเป็นเรื่องข้อมูลอาจารย์นิธิข้องใจฝ่ายคัดค้านโครงการจำนำข้าวที่ระบุว่าเงินจากโครงการจำนำข้าวไม่ตกถึงมือชาวนาเล็กที่ยากจน เรื่องที่สองเกี่ยวข้องกับการให้รัฐเข้ามาแทรกแซงตลาดข้าวแทนกลไกตลาด อาจารย์นิธิเห็นว่าการขาดทุนจากโครงการจำนำเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะรัฐบาลตั้งใจขาดทุน เพื่อปฏิรูปสังคมอ.นิธิจึงเสนอให้รัฐบาลต้องวางแผนระบายข้าวให้ดี โดยการระบายข้าวตามจังหวะเพื่อรักษาตลาดข้าวไทย และจำกัดการขาดทุนให้น้อยที่สุด รวมทั้งการเสนอให้รัฐบาลลงทุนเพิ่มมูลค่า เช่น การแพคเกจจิ๊ง เป็นต้น เรื่องสุดท้ายซึ่งเป็นประเด็นหลัก คือ อาจารย์นิธิเชื่อว่าโครงการรับจำนำข้าวมีส่วนช่วยสร้างความเข้มแข็งทางการเมืองให้ชาวนาเพื่อการเปลี่ยนประเทศไทย
 
ประเด็นแรก อาจารย์นิธิโต้แย้งผู้คัดค้านโครงการจำนำเรื่องที่ผู้คัดค้านโครงการจำนำเห็นว่า ผู้ที่ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่จากโครงการจำนำ คือชาวนาฐานะปานกลางขึ้นไป กับโรงสี...โดยระบุว่า "ความเห็นนี้ไม่ได้มาจากการวิจัย แต่เป็นการประมาณการเท่านั้น"
 
ข้อมูลที่เราสองคนนำเสนอต่อสาธารณชนว่าผู้ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่ เป็นชาวนาปานกลางขึ้นไปกับโรงสี มาจากข้อมูลจริงที่ได้จากหน่วยงานของรัฐและจากการวิจัย ไม่ใช่การประมาณการอย่างเลื่อนลอยอันที่จริงการวิจัยก็ต้องอาศัยการประมาณการจากข้อเท็จจริงที่มีอยู่
 
ข้อมูลชุดแรกในรูปที่ 1-ก และ 1-ข มาจากผลการจ่ายเงินซื้อข้าวภายใต้โครงการรับจำนำของธนาคารเพื่อการเกษตรฯ (ธกส.) โดยแยกแยะเงินจำนำที่ชาวนาได้รับจากการขายข้าวให้รัฐบาล ตามวงเงินขายข้าวของชาวนาแต่ละราย ก็ปรากฏชัดเจนว่า ชาวนารายเล็กที่มียอดขายข้าวไม่เกิน 2 แสนบาท (หรือขายข้าวเปลือกเจ้า 14 ตัน หรือขายข้าวหอมมะลิไม่ถึง 10 ตัน) มีจำนวนถึง 3.45 แสนราย (ข้อมูลจำนำข้าวนาปรัง ณ วันที่ 16 กรกฏาคม 2555 ซึ่งค่อนข้างเก่า) ได้เงินรวมกัน 32,636 ล้านบาท หรือร้อยละ 33 ของยอดเงินที่ชาวนาทุกคนได้รับจากการขายข้าวนาปรังให้รัฐบาล ส่วนชาวนาปานกลางและรวยที่มีวงเงินขายข้าวตั้งแต่ 2 แสนบาทขึ้นไปซึ่งมีจำนวน 2.69 แสนราย กลับมียอดเงินขายข้าวสูงกว่ามากถึง 109,197 ล้านบาท
 
แต่นอกจากชาวนาที่ขายข้าวให้รัฐบาลโดยตรงแล้ว ชาวนาที่ไม่ได้เข้าโครงการจำนำ แต่ขายข้าวให้โรงสีก็ได้รับอานิสงค์จากการที่โครงการจำนำทำให้ราคาข้าวเปลือกในตลาดสูงขึ้น เราจึงต้องคำนวณหาประโยชน์ทั้งสองส่วน โชคดีที่สำนักงานสถิติแห่งชาติมีการสำรวจรายได้รายจ่ายของครัวเรือนโดยละเอียด และมีข้อมูลผลผลิตข้าวที่ครัวเรือนเกษตรกรเก็บเกี่ยวได้ รวมทั้งการบริโภคและการขายข้าว เราจะสมมติว่าครัวเรือนเกษตรกรทั้งหมดขายข้าวทั้งหมดที่ผลิตได้ให้รัฐบาลในราคา 15,000 บาท (ซึ่งสูงกว่าราคาที่ชาวนาขายให้โรงสี) แล้วซื้อข้าวสาร(ราคาถูก) บริโภค ผลปรากฏว่าชาวนายากจน (คือ ชาวนาที่อยู่ในครัวเรือน 30% ที่มีรายได้ต่ำสุด) ได้รับผลประโยชน์จากส่วนต่างราคาระหว่าง ราคาจำนำ กับราคาตลาดก่อนมีการจำนำเป็นสัดส่วนเพียง 18% ชาวนาร่ำรวย(ซึ่งอยู่ในกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุด 30%ของครัวเรือนทั้งประเทศ) ได้ประโยชน์ 39% และชาวนาปานกลางได้ส่วนแบ่ง 42% (รูปที่ 2)โปรดสังเกตว่าการแบ่งกลุ่มรายได้ของชาวนาเราใช้รายได้ของครัวเรือนไทยทั่วประเทศ ไม่ใช่เฉพาะครัวเรือนชาวนา
 
อาจารย์ยังเข้าใจผิดว่าโรงสีไม่ได้กำไรอะไร เพราะรัฐบาลจ่ายค่าจ้างสี 500 บาทค่ากระสอบและค่ารถซึ่งเป็นอัตราที่เท่าทุน หรือบางโรงอาจจะบอกว่าขาดทุน แต่อาจารย์คงไม่ทราบว่ารัฐบาลกำหนดอัตราสีแปรสภาพที่ใจดีกับโรงสีมาก ปรกติการสีข้าวเปลือกเจ้า 1 ตันจะได้ต้นข้าว 500 กิโลกรัม และผลผลิตอื่น(ปลายข้าว+รำข้าว) อีก 160 กิโลกรัม แต่รัฐบาลกำหนดอัตราส่งมอบต้นข้าวขาว 5% เพียง 450 กิโลกรัม โรงสีจึงได้รับแจกข้าวสาร (หรือกำไรพิเศษ) จากการร่วมโครงการเกือบ 50 กิโลกรัมต่อข้าวเปลือก 1 ตัน[1] หรือประมาณ 15,750 ล้านบาท (หรือ 825 บาทต่อตันข้าวเปลือก[2]) กำไรนี้ผู้เขียนยังไม่ได้ไปรวมถึงส่วนค่าจ้างของโรงสี 21,382 ล้านบาท จึงไม่น่าแปลกใจที่มีโรงสีจำนวนมากอยากเข้าโครงการ และลงทุนขยายกำลังการผลิตนอกจากนี้ยังมีพ่อค้าบางรายที่สามารถซื้อข้าวจากรัฐในราคาถูกกว่าราคาประมูลโดยการรับจ้างทำข้าวถุงให้รัฐ หรืออาศัยนายหน้าที่มีอิทธิพลทางการเมือง เรากำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อประมาณการกำไรดังกล่าวซึ่งล้วนมาจากเงินภาษีอากรจากประชาชน
 

สำหรับประเด็นที่สองของอาจารย์นิธิที่ว่าการขาดทุนจากโครงการจำนำข้าวเป็นเงินเล็กน้อย และเป็นการขาดทุนโดยตั้งใจ เพราะฉะนั้นจึงสามารถบริหารจัดการได้  เราขอแยกเป็น 3 เรื่อง คือ (ก) เราเห็นว่าการขาดทุน(ซึ่งไม่น่าจะต่ำกว่า1.73 แสนล้านบาท) ไม่ใช่เรื่องเล็กเพราะเงินมีต้นทุนเสียโอกาส ขณะนี้ปรากฏข้อเท็จจริงแล้วว่าโครงการจำนำข้าวเริ่มเกิดผลกระทบทางการคลังต่อโครงการสำคัญอื่นๆที่เป็นนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ เช่นงบประมาณของโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคถูกจำกัดไว้เท่าเดิมใน 3 ปีข้างหน้า  ส่วนอีกสองเรื่องขอให้หาอ่านจากเว็บไซต์ทีดีอาร์ไอ ได้แก่ (ข) ความเห็นที่ว่าโครงการจำนำด้วยราคาสูง เป็นการปฏิรูปสังคม ชาวนาจะนำเงินขาดทุนไปลงทุนสร้างเนื้อสร้างตัว เป็นเพียงการคาดเดาของอาจารย์นิธิ อาจารย์เองก็บอกว่าชาวนาได้ปรับตัวแก้ปัญหาความจนโดยการออกไปทำงานนอกภาคเกษตร แต่ขณะนี้การจำนำกำลังดึงดูดแรงงานที่อยู่นอกภาคเกษตรให้กลับเข้ามาทำนา ยิ่งกว่านั้นโครงการนี้จะเลิกยาก ทำให้รัฐต้องจ่ายเงินสงเคราะห์ชาวนาและโรงสีที่มีฐานะซึ่งจะก่อภาระการคลังหนักขึ้น แต่รัฐกลับละเลยชาวนายากจน (ค) อาจารย์นิธิเสนอให้รัฐบาลต้องวางแผนระบายข้าวให้ดีเพื่อให้ขาดทุนน้อยที่สุด ในบทความฉบับยาว เราได้เปรียบเทียบผลงานการระบายข้าวของรัฐบาลที่เป็นระบบพรรคพวก และล้มเหลว กับกระบวนการผลิตและการค้าข้าวซึ่งควบคุมด้วยกลไกตลาด ที่ชักนำให้เกิดวิวัฒนาการมาจากการเรียนรู้ร่วมกันของชาวนาและผู้ประกอบการหลายฝ่าย จึงมีพลังเหนือกลไกรัฐ 

 
(ก) ขาดทุนเป็นเรื่องเล็กน้อย:อาจารย์นิธิอ้างตัวเลขของนักเศรษฐศาสตร์ท่านหนึ่ง ที่ระบุว่าการขาดทุนไม่เกิน 50,000 ล้านบาท แต่ดูเหมือนอาจารย์คงไม่ค่อยเชื่อตัวเลขนี้ จึงเพิ่มตัวเลขขาดทุนให้อีกเท่าตัว กลายเป็น 100,000 ล้านบาท แล้วบอกว่าขาดทุนแค่นี้ไม่เป็นไร เพราะเรามีงบแผ่นดินปีละหลายล้านล้านบาท เพราะถ้าหากช่วยแล้ว ชาวนานำเงินดังกล่าวไปสร้างเนื้อสร้างตัวก็จะเป็นผลดีต่อชาวนาในระยะยาวประเด็นหลังนี้เป็นการคาดคะเนของอาจารย์นิธิ ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลวิเคราะห์ในภายหลัง
 
แต่ประเด็นสำคัญกว่า คือ เงินขาดทุนจำนวน 1 แสนล้านบาทไม่ใช่เป็นเรื่องเล็กน้อย[3] อย่างที่อาจารย์คิด เพราะเงินก้อนนี้มีต้นทุนเสียโอกาสที่กระทบต่อการทำนโยบายอื่นที่สำคัญของรัฐบาลชุดนี้ ขณะนี้ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าการใช้เงินจำนวนมากในโครงการจำนำข้าวเริ่มเกิดผลกระทบทางการคลังต่อโครงการสำคัญอื่นๆ เช่นงบประมาณของโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคถูกจำกัดไว้เท่าเดิมใน 3 ปีข้างหน้า เม็ดเงินงบประมาณแท้จริงที่ใช้รักษาพยาบาล จะลดลงตามภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อทั้งปริมาณและคุณภาพของบริการรักษาโรคของประชาชนทั้งประเทศ  ผู้ที่สนับสนุนแนวคิดของอาจารย์นิธิอาจแย้งว่าถ้าชาวนาเอาเงินไปสร้างเนื้อสร้างตัวได้สำเร็จโดยทำงานนอกภาคเกษตร (ดูประเด็นนี้เพิ่มเติมข้างล่าง) ก็คุ้มค่า แต่นั่นเป็นเพียงการคาดเดา
 
นอกจากนั้นเงินกู้ที่นำมาใช้ในการจำนำอย่างไม่จำกัดจำนวนเริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในโครงการเงินกู้อื่นๆของรัฐบาลแล้ว ในปีงบประมาณ 2555/56 รัฐบาลจะมีภาระค้ำประกันหนี้จากโครงการจำนำพืชผลเกษตรเป็นจำนวน 3.17 แสนล้านบาท หรือ 66% ของการค้ำประกันหนี้สาธารณะและการให้กู้ต่อเป็นเงินบาท[4] ทำให้รัฐบาลมีวงเงินที่จะค้ำประกันการก่อหนี้สาธารณะเพื่อนำไปใช้ในโครงการอื่นๆ ตามนโยบายของรัฐบาลเพียง 34% เช่น โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศจำนวน 2.7 ล้านๆบาท เป็นต้น
 
กล่าวโดยสรุป คือ เงินขาดทุนจากการจำนำข้าวมีต้นทุนเสียโอกาส ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจารย์นิธิมีความเข้าใจมากกว่านักเศรษฐศาสตร์บางคนเสียอีก ถ้าจำไม่ผิดอาจารย์เคยเขียนอธิบายเรื่องนี้ไว้ในอดีต ยิ่งกว่านั้นเงินกู้ที่รัฐบาลนำมาใช้ในโครงการจำนำ ยังเป็นเงินนอกงบประมาณที่อยู่นอกเหนือกระบวนการพิจารณางบประมาณประจำปีของรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตย
 
(ข) การปฏิรูปสังคมชาวนา: เราเห็นด้วยกับบทวิเคราะห์ของอาจารย์นิธิเรื่องชีวิตของชาวนาไทยว่าปัจจุบันชาวนาได้หลุดออกไปเป็นแรงงานประเภทต่างๆซึ่งเป็นปรากฏการณ์ปกติที่เกิดขึ้นในการพัฒนาของทุกประเทศ ข้อมูลการสำรวจรายได้-รายจ่ายครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติก็ยืนยันว่าครอบครัวชาวนามีรายได้ที่หลากหลายทั้งจากการส่งลูกหลานไปทำงานนอกภาคเกษตร และทำงานเกษตรอื่นๆที่มีรายได้สูงกว่าการทำนา (ดูข้อมูลเรื่องการอบรมผู้สื่อข่าว ในเว็บไซต์ของทีดีอาร์ไอ 22 พย. 2555) ขณะเดียวกันผลผลิตข้าวกลับเพิ่มมากขึ้นจากการที่ชาวนาหาทางเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ทำให้ไทยมีผลผลิตข้าวเหลือส่งออกมากขึ้นมาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
 
แต่เราขอตั้งข้อสงสัยกับความเห็นที่ว่าอาจเป็นไปได้ที่ชาวนาจะนำเงินขายข้าวในราคาจำนำ 15,000 บาทไปทำอาชีพอื่นๆมากกว่าการทำนา 
 
ตรงกันข้าม การกำหนดราคาจำนำข้าว15,000บาทกำลังดึงดูดแรงงานที่อยู่นอกภาคเกษตรให้กลับเข้ามาทำนา รวมทั้งการเปลี่ยนพื้นที่เกษตรที่ใช้ปลูกพืชชนิดอื่น มาปลูกข้าวแทนเพราะปลูกข้าวได้รายรับมากกว่า ถ้าเช่นนั้นเงินสงเคราะห์ชาวนาก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย กลุ่มชาวนาที่มีฐานะก็จะกดดันไม่ให้รัฐบาลเลิกโครงการรับจำนำ (จนกว่าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ แล้วเราต้องไปกู้เงินไอเอ็มเอฟ และถูกบังคับให้ตัดรายจ่ายแบบที่เคยเกิดขึ้นในปี 2540-41 และเพิ่งเกิดขึ้นในกรีก) ทำไมเราถึงต้องเอาเงินจำนวนมหาศาลไปโอบอุ้มพ่อค้าและชาวนาที่มีฐานะ แต่ละเลยไม่เหลียวแลชาวนายากจน (แม้คำนี้จะมีปัญหานิยามก็ตาม) ที่ไม่สามารถปรับตัวออกจากความยากจนของภาคเกษตร (ซึ่งเราประมาณการจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติว่ามีจำนวนประมาณ 1 ล้านครัวเรือนในปี 2554โดยนับครัวเรือนชาวนาที่มีรายได้อยู่ในกลุ่มครัวเรือน 20 %ที่มีรายได้ต่ำที่สุด)
 
(ค) ข้อเสนอให้รัฐเข้ามาแทรกแซงตลาดข้าวแทนกลไกตลาด โดยการวางแผนระบายข้าวให้ขาดทุนน้อยที่สุด[5]:ก่อนอื่นเราขอเปิดเผยว่าเรามีอคติต่อการแทรกแซงของรัฐที่เกิดขึ้นจากการคิดไปทำไปของผู้กำหนดนโยบายไม่กี่คน  เราทั้งสองไม่ได้หลงคลั่งไคล้ในกลไกตลาด แต่เราไว้ใจกลไกตลาดที่วิวัฒนาการมาจากการเรียนรู้ร่วมกันของชาวนาและผู้ประกอบการหลายฝ่ายจะมีพลังเหนือกลไกรัฐ
 
ก่อนที่จะมีการจำนำข้าวทุกเม็ด กระบวนการผลิตและการค้าข้าวของไทยถูกกำหนดโดยกลไกตลาด จนช่วยให้ประเทศไทยสามารถผลิตข้าวที่มีคุณภาพสูงที่สุด แถมยังมีผลผลิตส่วนเกินส่งออกไปเลี้ยงพลเมืองทั่วโลก รวมทั้งประเทศที่ยากจน ทุกคนที่อยู่ในกระบวนการผลิตและค้าข้าวมีบทบาทในการปรับปรุงและควบคุมคุณภาพข้าว และได้รับผลตอบแทนเป็นสัดส่วนกับต้นทุนและหยาดเหงื่อแรงงานของตน ชาวนาพยายามลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลิตภาพการผลิตไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ดี การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน มีการรวมกลุ่มเพื่อหาหนทางการใช้ปุ๋ยสั่งตัดที่เกิดประสิทธิภาพ การรวมกลุ่มเพื่อผลิตข้าวอินทรีย์ลดการใช้สารเคมีเกษตร และผลิตพันธุ์ข้าวคุณภาพที่รายได้ราคาดี ฯลฯ
 
แต่การจำนำข้าวกำลังทำลายกระบวนการเหล่านี้ บัดนี้ชาวนาพยายามเพิ่มผลผลิตข้าวให้มากที่สุดโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพข้าว มีการเพิ่มรอบการผลิตโดยการหาเมล็ดพันธุ์อายุสั้น (เป็นข้าวคุณภาพต่ำ) มีการใช้ปุ๋ยใช้ยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตกำลังพุ่งขึ้นตามราคาจำนำ 15,000 บาท ราคาจำนำจึงเป็นตัวกำหนดต้นทุนการผลิต และต้นทุนคงไม่ลดลงเมื่ออุปสงค์สมดุลกับอุปทานอย่างที่อาจารย์นิธิให้ความเห็น
 
ภายใต้กลไกตลาดที่ต้องแข่งขันกันโรงสีมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการสีข้าวให้สูงขึ้น โดยการเลือกซื้อข้าวเปลือกที่มีคุณภาพ(ทำให้ชาวนาต้องผลิตข้าวคุณภาพ) สร้างไซโลอบข้าวแทนเกษตรกรที่ไม่มีพื้นที่ตากข้าวเปลือก ลงทุนในเครื่องสีข้าวที่มีประสิทธิภาพ พื้นที่ใดที่มีข้าวมาก ก็จะมีโรงสีเข้ามาแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งโรงสีเพิ่ม หรือเข้าไปเปิดจุดรับซื้อ ก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเต็มที่ ทำให้เกษตรกรไม่ถูกกดราคา โรงสีที่อยู่รอดจึงต้องมีประสิทธิภาพสูง มีฝีมือในการคัดเลือกข้าวและความสามารถในการเก็งกำไรราคาข้าว
 
แต่การจำนำลดแรงกดดันจากการแข่งขันให้กับโรงสี โรงสีกลายมาเป็น "ลูกจ้าง" ของรัฐบาลที่ได้รับค่าตอบแทนสูงกว่าค่าตอบแทนจากการแข่งขัน การจำกัดจำนวนโรงสีทำให้โรงสีมีอำนาจผูกขาดเหนือเกษตรกร ในช่วงนี้ ชาวนาในภาคอีสานกำลังเกี่ยวข้าว แต่ปรากฏว่าชาวนาจำนวนมากกลับต้องยอมขายข้าวหอมมะลิให้โรงสีในราคา 14,000-15,000 บาทต่อตัน แทนที่จะขายให้รัฐบาลในราคา 20,000 บาท เพราะนอกจากจะมีโรงสีในโครงการเป็นจำนวนน้อยแล้ว ถ้าชาวนาขายข้าวให้รัฐบาล ชาวนายังต้องรอรับใบประทวนจากโรงสีนานถึง 10-14 วัน เพราะมีกระบวนการเตะถ่วงในการออกในประทวน ยิ่งกว่านั้นโรงสีในภาคอื่นที่ต้องการข้ามเขตไปซื้อข้าวในอีสานยังถูกโรงสีท้องถิ่นรวมหัวกีดกันไม่ให้จังหวัดออกใบอนุญาติ ลงท้ายโรงสีในภาคอื่นก็ต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะให้เจ้าหน้าที่เพื่อได้ใบอนุญาติข้ามเขต ผิดกับในระบบตลาดที่โรงสีสามารถข้ามเขตไปแข่งแย่งซื้อข้าวในพื้นที่ใดก็ได้ การจำนำกำลังส่งเสริมการวิ่งเต้นและสร้างอำนาจผูกขาดให้กับกลุ่มโรงสีกลายป็นกลุ่มล๊อบบี้ที่มีพลังทางการเมืองมากขึ้น แต่ทำลายโรงสีชุมชนและวิสาหกิจชุมชนที่รัฐบาลเพียงพยายามสนับสนุนมานานด้วยนโยบายเอสเอ็มแอล ตัวอย่างเช่น โรงสีชุมชนในตำบลเจดีย์หัก จังหวัดราชบุรีที่เคยมีชาวบ้านนำข้าวมาสีเดือนละ 100 ตัน ตอนนี้มีข้าวสีเพียง 10 ตันต่อเดือนวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มที่ผลิตพันธุ์ข้าว และสร้างผลิตภัณฑ์ข้าวงอก รวมทั้งจัดให้มีสวัสดิการชุมชนกำลังล่มสลาย เราทราบว่ามีโรงสีชุมชนจำนวนมากทั่วประเทศ แต่เรายังไม่มีสถิติที่ชัดเจน
 
ในกระบวนการค้าตามระบบตลาด พ่อค้าส่งออกไทยสร้างขีดความสามารถในการส่งออกข้าวจนไทยกลายเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุด และเป็นข้าวที่มีคุณภาพดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นข้าวหอมมะลิ หรือข้าวนึ่งที่ได้ราคาสูงกว่าข้าวขาวธรรมดา (ทั้งๆที่ใช้ข้าวเปลือกชนิดเดียวกัน) พ่อค้าแต่ละรายมีความชำนาญในตลาดข้าวแต่ละประเภท (เช่น ข้าวนึ่ง ข้าวหอม) และแต่ละประเทศ (เช่น บางบริษัทเก่งส่งออกไปมาเลเซีย ขณะที่อีกบริษัทถนัดส่งข้าวไปอิหร่านหรือไนจีเรีย) ความชำนาญนี้มาจากการเรียนรู้มานานนับปี แต่รัฐบาล (โดยเฉพาะคุณทักษิณ) เชื่อว่าจะสามารถควบคุมผูกขาดตลาดส่งออกได้ ทว่าผลการระบายข้าวของรัฐตลอดเวลา 1 ปีที่ผ่านมา แสดงว่ารัฐสามารถระบายข้าวทั้งในและนอกประเทศแค่1.46 ล้านตัน (ตามคำพูดของนายกรัฐมนตรีในรายการยิ่งลักษณ์พบประชาชนเมื่อต้นเดือนตุลาคม 2555) ทั้งๆที่รัฐบาลมีข้าวสารอยู่ในมือถึง  13 ล้านตัน ผลก็คือ ตัวเลขการส่งออกข้าวของไทยตั้งแต่มีการจำนำข้าวในเดือนตุลาคม 2554 ถึงสิ้นกันยายน 2555 มีเพียง 6.7 ล้านตัน ลดลงจาก 12.13 ล้านตัน ในช่วงตุลาคม 2553- กันยายน 2554 (ก่อนการจำนำข้าว) (ดูรายละเอียดในเอกสารการอบรมผู้สื่อข่าวเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2555 ในเวปไซต์ของทีดีอาร์ไอ)
 
อันที่จริงประวัติความพยายามผูกขาดการส่งออกข้าวล้มเหลวมาตั้งแต่สมัยคุณทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี บริษัทเพรสซิเด้นท์อะกริฯ สามารถประมูลข้าวของรัฐ 2 ครั้ง รวมกว่า 2 ล้านตัน แต่บริษัทกลับประสบปัญหาไม่สามารถส่งออกได้ทั้งๆที่มีการขอแก้สัญญาหลังการประมูลจนทำให้วุฒิสภาต้องตั้งคณะกรรมาธิการสอบสวนและตีพิมพ์รายงานออกมา ต่อมาบริษัทนี้ประสบปัญหาไม่สามารถชำระหนี้แก่ธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ในเวลาต่อมาผู้บริหารของบริษัทนี้หันมาตั้งบริษัทใหม่และได้สัญญาขายข้าวให้อินโดนีเซีย แต่หนังสือพิมพ์รายงานว่ารัฐบาลอินโดนีเซียไม่ยอมรับข้าวบางส่วน เพราะปัญหาด้านคุณภาพ นี่คือ เหตุผลที่เวลานี้ เจ้าหน้าที่รัฐเริ่มเปลี่ยนท่าทีหันมาขอความร่วมมือจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยในการส่งออกข้าวหอมมะลิ ขณะที่สมาคมฯขอเจรจาส่งออกข้าวหอมเพียง 2 แสนตัน เจ้าหน้าที่รัฐบางคนกลับให้ข่าวว่าจะมีการส่งออกข้าวหอมมะลิแบบ ex-factory 7 แสนตัน คำถามคือ ส่วนต่างนี้รัฐจะมอบให้ใคร หลักเกณฑ์การขายจะเป็นอย่างไร ดูเหมือนกระทรวงพาณิชย์ยังละเลยมิได้ประกาศหลักเกณฑ์นี้ให้ประชาชนได้รับทราบทั้งๆที่คณะรัฐมนตรีมีความเห็นชอบกับข้อเสนอของรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ตามหนังสือเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2555
 
ขณะเดียวกันกลับปรากฏข้อเท็จจริงบางอย่างว่ามีพ่อค้าบางรายสามารถซื้อข้าวของรัฐบาลได้ในราคาต่ำกว่าราคาตลาด จนกลายมาเป็นคู่แข่งรายใหม่ในตลาดค้าส่งข้าวสารถุงในประเทศ แต่เป็นคู่แข่งที่มีต้นทุนข้าวต่ำกว่าพ่อค้าที่ไม่มีเส้นสายการเมือง นอกจากนั้นยังปรากฏว่าทุกวันนี้มีการส่งออกข้าวนึ่ง เช่นในช่วงเก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง ระหว่างเดือนเมษายน ถึงกันยายน 2555 ไทยสามารถส่งออกข้าวนึ่งจำนวน 1.06 ล้านตัน โดยหลักการแล้ว ไทยจะต้องไม่มีข้าวนึ่งส่งออก เพราะรัฐบาลซื้อข้าวเปลือกนาปรังทั้งหมด (14.8 ล้านตัน) สั่งสีแปรสภาพเป็นข้าวสารภายใน 7 วันและส่งเข้าโกดังกลาง แต่ข้าวนึ่งจะต้องนำข้าวเปลือกมานึ่งก่อน คำถาม คือ มีนายหน้าที่มีอิทธิพลคนใดที่สามารถสั่งให้โรงสีในโครงการจำนำส่งข้าวเปลือกในโครงการจำนำไปให้โรงสีของผู้ส่งออก ถ้ารัฐขายข้าวเปลือกให้ผู้ส่งออก ทำไมจึงจึงไม่ปรากฏในตัวเลขการระบายข้าวของรัฐ ทำไมนายกรัฐมนตรีจึงไม่ทราบ เพราะตัวเลขการระบายข้าว 1.46 ล้านตันที่ท่านแถลงในรายการนายกฯพบประชาชนไม่มีข้อมูลการขายข้าวเปลือกจำนวนมาก ถ้ามีการขายข้าวเปลือก ได้เงินเท่าไร เงินอยู่ที่ไหน รัฐบาลจ่ายค่าจ้างสีข้าวให้โรงสีที่แอบส่งข้าวเปลือกไปให้ผู้ส่งออกข้าวหนึ่งหรือเปล่า และมีข้าวสารในโกดังกลางหรือเปล่า หรือมีแต่ลมอยู่ในโกดัง ฯลฯ
 
ระบบค้าขายข้าวของรัฐบาลทุกวันนี้กำลังกลายเป็นระบบพรรคพวกที่อาศัยอิทธิพลทางการเมือง มีการร่วมกันปิดบังข้อมูลมิให้คนอื่นรู้ ฉะนั้นข้อเสนอของอาจารย์นิธิให้รัฐบาลวางแผนระบายข้าวเพื่อให้ขาดทุนน้อยที่สุด คงไม่มีวันเกิดขึ้นจริง
 
ประเด็นเล็กๆ อีกประเด็นหนึ่ง คือ อาจารย์นิธิเสนอให้รัฐลงทุนเพิ่มมูลค่า เช่นการแพคเกจจิ้ง ไปจนถึงผ่านกระบวนการรักษาคุณภาพให้คงทน เท่ากับโครงการรับจำนำช่วยเปิดตลาดข้าวระดับสูงไปพร้อมกันโดยร่วมมือกับผู้ส่งออกเอกชน
 
การเพิ่มมูลค่า การแพคเกจจิ๊ง การเปิดตลาดข้าวระดับสูง เป็นเรื่องที่ภาคเอกชนไทยทำกันมานานแล้วและประสบความสำเร็จมาก จนข้าวไทยมีคุณภาพสูงสุด และได้รับการยอมรับทั่วโลก หากท่านผู้อ่านเคยร่วมงานแสดงการค้าข้าวระหว่างประเทศ หรือเคยเดินดูข้าวที่ขายคนมีเงินในห้างพารากอน ก็จะเห็นการบรรจุหีบห่อข้าวไทยที่ดูแล้วนึกว่ามาจากต่างประเทศ  ตรงกันข้าม ถุงข้าวธงฟ้าเทียบไม่ได้กับถุงข้าวหงษ์ทอง ยิ่งกว่านั้นการจำนำกำลังทำลายตลาดข้าวคุณภาพของไทย รัฐรับจำนำข้าวหอมมะลิมาเก็บไว้ในโกดังนานเป็นปี แค่เก็บข้าวหอมไว้นานสามเดือน สารระเหยความหอมก็หมดไป ขณะนี้บริษัทส่งออกข้าวที่เก่งที่สุดของไทยเกือบทุกราย (ที่เก่งเรื่องเพิ่มมูลค่า และทำแพคเกจจิ๊ง) กำลังผันตัวเองไปทำธุรกิจค้าข้าวที่เขมร และประเทศเพื่อนบ้าน เพราะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า และกำไรมากกว่าการทำธุรกิจในประเทศ หากรัฐยังคงจำนำข้าวต่อไปอีก 1-2 ปี แล้วเลิกโครงการ พ่อค้าเหล่านี้คงไม่หวนกลับมาทำธุรกิจในประเทศอีก
 
โครงการจำนำข้าวจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย จากระบบการค้าขายที่อาศัยการแข่งขันบนความสามารถ ไปเป็นตลาดของพรรคพวก  ขณะเดียวกันชาวนากำลังเร่งผลิตข้าวคุณภาพต่ำเป็นจำนวนมากที่สุด โดยอาศัยสารเคมีการเกษตรที่จะทำลายระบบนิเวศเกษตรเรากำลังสร้างกลุ่มโรงสีที่มีพลังต่อรองทางการเมือง แต่ทำลายกลุ่มเกษตรกรที่รัฐเพียรพยายามสนับสนุนมาเป็นเวลานานระบบการผลิตและการค้าข้าวที่ดีที่สุดจะหมดไป
 
นี่หรือครับ การเปลี่ยนประเทศไทย
 
ประเด็นที่สามซึ่งเป็นประเด็นหลักในบทความของอาจารย์นิธิ คือ อาจารย์เชื่อว่าโครงการรับจำนำข้าวจะมีส่วนช่วยสร้างความเข้มแข็งทางการเมืองให้ชาวนาเพื่อการเปลี่ยนประเทศไทย
 
งานวิจัยหลายชิ้นที่พยายามพยากรณ์ความต้องการข้าวในตลาดต่างๆ ต่างก็มีข้อสรุปเหมือนกันว่า ปริมาณการบริโภคข้าวต่อหัวในเอเซียมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากรายได้ของคนเอเชียเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่เงินที่ใช้ในการซื้อข้าวมิได้ลดลงตาม ซึ่งชี้ให้เห็นว่า คนเอเชียเริ่มต้องการบริโภคข้าวที่มีคุณภาพสูงขึ้น  ในเรื่องนี้ประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ดี การบริโภคข้าวหอมมะลิในประเทศได้พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก  ขณะที่ปริมาณการบริโภคข้าวโดยทั่วไปสูงขึ้นในอัตราที่ต่ำ เพราะประชากรไทยเพิ่มขึ้นน้อย และการบริโภคข้าวต่อหัวลดลง ในเมื่ออนาคตจะเป็นเช่นนี้ ย่อมหมายความว่ายุทธศาสตร์ที่ฉลาดสำหรับประเทศไทยจึงน่าจะเป็นยุทธศาสตร์ที่สนับสนุนการผลิตข้าวคุณภาพดีทั้งสำหรับตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ
 
ความจริงแล้ว กระบวนการผลิตและค้าข้าวของไทยได้ประสบความสำเร็จในการยกระดับคุณภาพข้าวมา และจากชื่อเสียงของข้าวไทย ตลาดต่างประเทศก็พร้อมที่จะให้ข้าวไทยได้ราคาสูงกว่าข้าวของประเทศอื่นๆ  แต่นโยบายจำนำข้าวทุกเมล็ดในปีที่ผ่านมากำลังคุกคามชื่อเสียงของข้าวไทยในตลาดต่างประเทศ (และแม้กระทั่งในประเทศ)  ทั้งนี้ เพราะชื่อเสียงและคุณภาพข้าวไทยมิได้เกิดขึ้นในสุญญากาศ แต่จากกระบวนการผลิตและค้าข้าวไทยที่ชาวนา โรงสี และพ่อค้าส่งออกได้ร่วมกันสร้างมาแต่อดีต และที่อาศัยกลไกตลาดเป็นเครื่องมือ  กระบวนการดังกล่าวนี้มีความละเอียดอ่อนพอสมควร สามารถแยกแยะเกรดข้าวต่างๆ เช่นสามารถแยกแยะแม้กระทั่งข้าวหอมมะลิจากจังหวัดต่างๆ ได้  กระบวนการดังกล่าวกำลังถูกกวาดล้างออกไปโดยนโยบายจำนำข้าวทุกเมล็ดซึ่งหยาบกว่า  ด้วยเหตุนี้ ชาวนาไทยจึงเริ่มหันไปปลูกข้าวที่เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ  ยิ่งถ้าดูในตลาดต่างประเทศแล้วความล้มเหลวของรัฐบาลในการระบายข้าว รวมทั้งข้าวหอมมะลินั้นเป็นประจักษ์พยานอย่างชัดเจนว่าต่อไปนี้ชื่อเสียงของข้าวไทยนั้นจะเป็นเรื่องอดีต ตราบใดที่การรับจำนำข้าวทุกเมล็ดจะยังเป็นนโยบายของรัฐบาลไทย
 
ที่เราให้ความสำคัญแก่ประเด็นนี้ ซึ่งดูเผินๆ แล้วดูจะเป็นประเด็นไม่ใหญ่นัก เมื่อเทียบกับ "อะไรที่มีความสำคัญสุดยอดในการเปลี่ยนประเทศไทย" ที่อาจารย์นิธิเห็นในนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน  ที่อาจารย์นิธิให้ความสำคัญก็คือการสร้าง  "ความเข้มแข็งทางการเมืองให้แก่ชาวนา"  เราไม่ปฏิเสธคำพยากรณ์ของอาจารย์นิธิว่า "หากดำเนินนโยบายนี้ต่อไปอีกสักสองสามปี จะไม่มีรัฐบาลไหนกล้าเลิกโครงการนี้เป็นอันขาด"  แต่เรามีคำถามว่า ถ้าความเข้มแข็งทางการเมืองของชาวนาตั้งอยู่บนความอ่อนแอของเศรษฐกิจการผลิตและค้าสินค้าที่มีความสำคัญสูงสำหรับประเทศชาติ  จะมิหมายความว่าอุตสาหกรรมข้าวโดยรวม (ไม่ว่าจะเป็นชาวนาร่ำรวย หรือ ชาวนาที่ "ยากจน" โรงสี และพ่อค้าที่มีเส้นสายการเมือง) จะต้องพึ่งเงินสงเคราะห์จากรัฐบาลอยู่ร่ำไปอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกาและยุโรปหรือ???   (อนึ่ง นโยบายอุ้มภาคเกษตรในประเทศเหล่านี้ได้ทำให้พื้นที่การเกษตรตกอยู่ในมือของนักลงทุนที่ร่ำรวยมากๆ ที่มารวบซื้อที่ดินจากเกษตรกรเดิมๆ เพื่อตักตวงเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ความเข้มแข็งทางการเมืองของเกษตรกรในประเทศเหล่านี้มาจากนักลงทุนที่มารวบซื้อที่ดินเกษตรกรรม ขณะนี้ก็ปรากฏหลักฐานว่ามีบริษัทยักษ์ใหญ่ไทยบางแห่งได้กว้านซื้อที่ดินการเกษตรเป็นจำนวนมาก)
 
"ความเข้มแข็งทางการเมืองของชาวนา" ที่เราเห็นในบทส่งท้ายของอาจารย์นิธินั้น เราก็เห็นว่าเกิดจากการที่ชาวนาใช้อำนาจหย่อนบัตรในการเลือกตั้ง เลือกพรรคการเมืองที่สัญญาว่าจะให้ผลทันทีต่อตน ข้อนี้เป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยแบบประชานิยมที่กำลังเป็นชุดนโยบายมาตรฐานของทุกพรรคการเมืองในปัจจุบัน  เสน่ห์ของประชาธิปไตยแบบนี้ คือทำให้เกิดนโยบายที่บรรลุผลทันตาเห็น  เราไม่ปฏิเสธว่าชาวนาเกือบทุกคนได้ราคาข้าวตามที่รัฐบาลสัญญาไว้  แต่ที่เราวิตกมากก็คือ ผลเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากนโยบายนี้ทั้งแก่อุตสาหกรรมข้าวและสภาพการเงินการคลังของรัฐบาล จะมิได้รับการกล่าวถึง เพราะมิได้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่รัฐบาลสัญญาไว้  ยิ่งถ้าเป็นเรื่องระยะยาวหรือเป็นเรื่องของกลไก "หลังจอ" แล้ว ก็จะถูกกลบโดยเสียงไชโยในความสำเร็จ  กว่าผลเสียต่างๆ จะปรากฏ ประชาชนจะไม่สามารถเชื่อมโยงผลเสียกับนโยบายที่ผิดพลาดตั้งแต่ต้นได้  กระบวนการเรียนรู้ที่สังคมโดยรวมควรจะได้ก็จะไม่เกิดขึ้น สิ่งที่เราพยายามยกเรื่องเหล่านี้มาวิพากษ์วิจารณ์ก็ด้วยความเป็นห่วงในจุดบอดของประชาธิปไตยแบบประชานิยมที่กำลังเป็นแนวนโยบายของทุกรัฐบาลในประเทศไทย และเป็นห่วงอนาคตข้าวไทย ประชาธิปไตยที่ดี  ไม่ใช่แค่ประชาธิปไตยที่กินได้เท่านั้น แต่ต้องเป็นประชาธิปไตยที่มีความรับผิดต่อความเสียหายที่จะเป็นผลพวงตามมาตลอดสาย
 
                        ------------------------------------------
 
รูปที่ 1-ก มูลค่าเงินจำนำข้าว และจำนวนชาวนาในโครงการจำนำ
จำแนกตามวงเงินจำนำต่อราย นาปี 2554/55 (16 กรกฏาคม2555)
 
 
รูปที่ 1-ข มูลค่าเงินจำนำข้าว และจำนวนชาวนาในโครงการจำนำ
จำแนกตามวงเงินจำนำต่อราย นาปรัง
2555 (16 กรกฏาคม 2555)
 
 
รูปที่ 2 ส่วนแบ่งผลประโยชน์จากการจำนำข้าวของครัวเรือนชาวนา 3 กลุ่ม
 
 
 
หมายเหตุ: (1) การจัดชั้นความจน-ความรวยอาศัยรายได้ของครัวเรือนทั่วประเทศที่รวมครัวเรือนชาวนา: (2) ครัวเรือนยากจนคือครัวเรือน 30% ที่มีรายได้ต่ำสุด ครัวเรือนร่ำรวยคือครัวเรือน 30% ที่มีรายได้สูงสุด ที่เหลือตรงกลาง 40% เป็นครัวเรือนรายได้ปานกลาง
ที่มา:คำนวณจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ "การสำรวจรายได้-รายจ่ายครัวเรือน".

 

ตารางที่ 1 รายจ่าย-ประมาณการรายรับและขาดทุนโครงการรับจำนำข้าวรอบ 2554/55

รายการ (ล้านบาท)

ปี 2554/55

นาปรัง 2555

รวม 2 รอบ

จากปริมาณข้าวเปลือก ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2555 (ล้านตัน)

6.95

14.08

21.03

คิดเป็นข้าวสารที่ส่งมอบเข้าโกดังของรัฐบาล (ล้านตัน)

4.23

8.71

12.93

1. เงินกู้

118,594

207,163

325,757

     1.1 เงินกู้ ธกส.

90,000

0

90,000

     1.2 เงินกู้สถาบันการเงินอื่น

28,594

207,163

235,757

2. ดอกเบี้ย

6,491

7,487

13,978

     2.1 เงินกู้ ธกส.

5,869

0

5,869

     2.2 เงินกู้สถาบันการเงินอื่น

622

7,487

8,109

3. ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

19,783

38,721

58,505

     ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อตัน (บาท/ตันข้าวเปลือก)

2,846

2,750

2,782

     3.1 ค่าดำเนินงานของกรมส่งเสริมการเกษตร

306

38

344

     3.2 ค่าดำเนินงานของ ธกส.

1,235

2,158

3,393

     3.3 ค่าดำเนินงานของ อคส. และ อตก.

2,369

4,368

6,736

     3.4 ค่าดำเนินงานของโรงสี

6,989

14,392

21,382

     3.5 ค่าดำเนินงานของกรมการค้าภายใน

498

0

498

     3.6 ค่าเสื่อมคุณภาพจากการเก็บรักษาข้าวสาร

4,982

4,983

4,984

4. รวมรายจ่าย (1+2+3)

144,868

253,372

398,240

5. รายรับจากการขายข้าวทั้งหมดของโครงการ

89,354

135,983

225,338

6. ขาดทุน

-55,514

-117,388

-172,902

     ขาดทุนต่อตัน (บาท/ตันข้าวเปลือก)

-7,987

-8,337

-8,222

 

ที่มา: การคำนวนของผู้วิจัย.จากข้อมูลของธกส.และกระทรวงพาณิชย์




[1] กำไรส่วนเกินจากต้นข้าวนี้ต้องหักด้วยมูลค่าของปลายข้าวที่ได้น้อยลงก่อน

[2]ตัวเลข 825 บาทต่อตันข้าวเปลือกใกล้เคียงกับการคำนวณผลต่างของกำไรของโรงสีที่เข้าโครงการจำนำ กับกำไรจากการทำธุรกิจโรงสีตามปรกติ ข้อมูลนี้ประมาณการจากการสัมภาษณ์โรงสีที่มีประสิทธิภาพ

[3] การคำนวณของเราโดยอาศัยหลักเศรษฐศาสตร์ พบว่า การขาดทุนของรัฐบาลอาจสูงถึง 1.729 แสนล้านบาทต่อปี ตัวเลขนี้คำนวนโดยสมมติว่ารัฐบาลขาวข้าวได้หมดในสิ้นปี 2556 ตามการคาดคะเนของกระทรวงพานิชย์ และขายข้าวขาวได้ในราคาสูงกว่าเวียดนามตันละ $30 ส่วนข้าวหอมมะลิขายได้ในราคาเท่ากับที่รัฐประมูลขายได้เมื่อเดือนกันยายน 2555 (ดูรายละเอียดการคำนวณในตารางที่ 1) ถ้ารัฐไม่สามารถขายข้าวได้หมดในปีหน้า การขาดทุนจะเพิ่มขึ้นอีกจากภาระดอกเบี้ย ค่าเก็บรักษาและข้าวเสื่อมคุณภาพ

 

[4] พรบ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 กำหนดกรอบวงเงินการค้ำประกันและการให้กู้ต่อและการให้กู้ต่อเป็นบาทไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม

[5]โปรดสังเกตว่าอาจารย์นิธิมีความเห็นต่างจากคุณทักษิณที่ต้องการเก็บสต๊อกข้าวไว้เก็งกำไรอาจารย์จึงขอแค่ให้รัฐขาดทุนน้อยที่สุด

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

บันทึกจากแยกมิสกวัน: แกนนำสั่งผู้ชุมนุมลุยตำรวจ

Posted: 24 Nov 2012 11:31 PM PST

หลังจากปะทะกันไปแล้วรอบหนึ่งที่แยกมัฆวานในตอนเช้า พอตกบ่ายเกือบสองโมงแกนนำหญิงขององค์การพิทักษ์สยามคนหนึ่งที่ไม่ทราบชื่อบนหลังรถหกล้อใกล้แยกมิสกวันซึ่งอยู่ใกลทำเนียบรัฐบาลก็พูดกับผู้ชุมนุมผ่านลำโพงขยายเสียง: 'เราทำเพื่อพระเจ้าอยู่หัวของเราใช่ไหมคะ? แล้วตำรวจทำเพื่อใคร? เพื่อนักการเมืองเลวๆ!'

ผู้ชุมนุมชายฉกรรจ์เป็นร้อยยืนเกือบประชิดแนวตำรวจปราบจลาจลที่สวมหน้ากากกันแก๊สน้ำตาและถือโล่ไฟเบอร์กลาสใส ผมเห็นผู้ชุมนุมบางคนเริ่มเอาน้ำในขวดราดผ้าพันคอและผ้าขนหนู และเดาว่าคงอีกไม่นานก็จะปะทะกันอีกรอบ

เสียงแกนนำหญิงยังคงได้ยินชัด เธอประกาศว่าตอนเช้า มีผู้ชุมนุมถูกจับ 132 คนหลังการปะทะและบาดเจ็บจนต้องรับการรักษาพยาบาลจำนวนหนึ่งและเสริมว่าทางโรงพยาบาลไม่ยอมให้นักข่าวเข้าไปสัมภาษณ์

บรรยากาศตึงเครียด และอีกไม่กี่นาที แกนนำชายคนหนึ่งบนรถหกล้อคันเดิมก็ประกาศด้วยเสียงแข็งขัน: 'ฟังเสียงตรงนี้เท่านั้นนะครับ! อย่าเพิ่งขยับอะไรนะครับ'

ผู้ชุมนุมหลายร้อยคนตรงแยกมิสกวัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผู้ชุมนุมที่ผมคาดว่ามีประมาณ 30,000 คน ก็เริ่มเตรียมพร้อม

แล้วแกนนำชายก็พูดผ่านเครื่องขยายเสียงไปสู่ฝั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ: 'ท่านกำลังบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมครับ!'

ณ เวลานั้น พื้นที่สามเขตในกรุงเทพฯ อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ที่ผ่านโดยสภา สนช. ที่แต่งตั้งโดยเผด็จการ คมช. หลังรัฐประหาร 19 กันยา 2549

เสียงตำรวจชั้นผู้บังคับบัญชาแทรกกลับมาทางฝั่งผู้ชุมนุม และขอให้ผู้ชุมนุมถอยออกจากแนวกั้นของตำรวจ: 'ช่วยถอยไปครับ เรามาทำตามหน้าที่ครับ'

'พี่มาทำหน้าที่ ผมก็มาทำหน้าของผม' แกนนำตอบโต้

นายตำรวจคนเดิมยืนยันว่าจะไม่ทำเกินหน้าที่

แต่พูดจบแกนนำชายก็สั่งให้ผู้ชุมนุมเผชิญหน้าตำรวจ

'เดินหน้า'

ผู้ชุมนุมเป็นร้อยเดินเข้าเผชิญแนวตำรวจที่ถือโล่ใส ผลักบ้างถีบบ้าง มีการโยนหินก้อนเท่ากำปั้นไปฝั่งตำรวจเป็นระยะๆ มีการโยนดอกไม้ไฟเข้าใส่ทางเจ้าหน้าที่ ผมเห็นผู้ชุมนุมคนหนึ่งใกล้ผมยืนฉีดแก๊สพริกไทยใส่ตำรวจคนหนึ่งอย่างต่อเนื่องยาวนาน ตำรวจก็ใช้โล่ดันและกระบองตีกลับ ปะทะอยู่ไม่นานแก๊สน้ำตาแบบขว้างและแบบยิงก็ถูกใช้จนส่งเสียงดังบนฟ้า ควันขาวและความชุลมุนจนมองอะไรตรงแยกนั้นไม่เห็น

ผมหายใจสำลักเอาแก๊สน้ำตาเข้าไปโดยไม่รู้ตัว และเริ่มแสบหน้าเหมือนมีกรดอ่อนๆ กัด จึงรีบวิ่งผ่านแนวด่านตำรวจทางทิศตะวันตก โดยรอดผ่านได้เพราะบอกว่าตนเป็นนักข่าว ตำรวจหลายนายที่ไม่มีหน้ากากกันแก๊สน้ำตาวิ่งกรูมาไล่เลี่ยกัน แต่ลมกลับพัดมาทางเรา ผมจึงต้องวิ่งต่อไปกว่า 100 เมตร จนใกล้แยกวังแดง ติดคุรุสภา ต่างคนต่างวิ่งไปเอาผ้าปิดหน้าไป พยายามเอาน้ำขวดล้างหน้าไปซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อบรรเทาความแสบบนใบหน้าและแขนคอ

ที่แยกวังแดง มีตำรวจจากต่างจังหวัดสามสี่จังหวัดภาคกลางรวมเก้ากองร้อยตั้งแนวกั้นหลายชั้น หนึ่งในผู้บังคับบัญชาคือนายตำรวจร่างใหญ่หน้าออกจีนๆ ชื่อ พ.ต.อ.ประเสริฐ ศิริพรรณภิวัฒน์ ท่าทางแกดูไม่ค่อยพอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น

ผมเข้าไปทัก และไม่นานแกก็พูดออกมาอย่างอารมณ์เสียว่า: 'คุณก็ดูสิ เขาทำเพื่ออะไร? วิถีประชาธิปไตยทำอย่างนี้เหรอ? กฎหมายก็มี… นี่นักเลงชัดๆ'

พ.ต.อ.ประเสริฐยืนยันว่าตำรวจเพียงรักษาแนวกั้นตาม พ.ร.บ.ความมั่นคง และผู้ชุมนุมก็สามารถเข้าออกทางถนนศรีอยุธยาได้เป็นปกติ แต่ทำไมต้องมาพยายามทำลายด่านกั้นตำรวจ แกบอกว่าอย่างไรก็ตามตำรวจพร้อมที่จะใช้กำลังปกป้องแนวกั้นต่างๆ

เสียงเพลงตำรวจดังรอบๆ ขณะที่ตำรวจกองปราบสวมหน้ากากป้องกันแก๊สน้ำตาเดินเป็นแถวมุ่งหน้าไปเสริมกำลังที่แยกมิสกวัน

ตอนบ่ายก่อนการปะทะครั้งที่สอง แกนนำบนเวทีใหญ่ประกาศว่าจะฟ้องศาลปกครองให้วินิจฉัยว่าการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง โดยไม่มีหลักฐานใดๆ ว่าผู้ชุมนุมจะล้มล้างรัฐบาลโดยใช้ความรุนแรง เป็นการกระทำอันมิชอบหรือไม่

แต่พลบค่ำ พล.เอก บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์การพิทักษ์สยามก็ได้ประกาศบนเวทีใหญ่ยุติการชุมนุมหลังผู้ชุมนุมจำนวนน้อยกว่าเป้าหนึ่งล้าน บุญเลิศบอกแกแพ้ต่อนักการเมืองชั่ว แต่ผมกลับรู้สึกว่านี่เป็นเพียงบทโหมโรงของการพยายามล้มรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มาจาการเลือกตั้ง และคงมีความพยายามที่จะล้มต่อ ไม่ว่าโดยวิธีรัฐประหารหรือวิธีอื่นใด ไม่ว่าราคาที่สังคมจะต้องจ่าย จะสูงเพียงใด

 

 

 


(แปลและปรับปรุงโดยผู้เขียนจาก Demomstrators told to Confront Police, The Nation on Sunday, by Pravit Rojanaphruk, November 25, 2012 http://nationmultimedia.com/politics/Demonstrators-told-to-confront-police-30194986.html)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การเมืองเรื่องบนเตียงของสตรี

Posted: 24 Nov 2012 11:25 PM PST

 
ในช่วงนี้หนีไม่พ้นการมองเรื่องการเมืองเรื่องแช่แข็งเป็นแน่ ด้วยเทรนด์ของโลกที่เปลี่ยนไป การต่อสู้ทางความคิด ต่อสู้ทางการเมือง การต่อสู้ของสองขั้วอำนาจในสงครามเย็นก็ได้ผ่านพ้นไป หากกล่าวอีกแง่หนึ่งชัยชนะก็ตกเป็นของฝ่ายเสรีนิยมประชาธิปไตยในที่สุด ถามว่าเทรนด์มันสำคัญแค่ไหน สำหรับผู้เขียนแล้วคงขอยกตัวอย่างที่เข้าใจง่ายๆคือ ผมเคยถามนักศึกษาว่า วันนี้คุณใส่กางเกงขาเดฟ ถ้าเช่นนั้นพรุ้งนี้คุณใส่กางเกงขาม้า มาได้ไหม นักศึกษาตอบว่า เดี๋ยวเขาก็หาว่าผมบ้าซิครับอาจารย์
 
สิ่งที่เห็นจากข้างต้นคืออะไร เช่นเดียวกับเทรนด์ระบอบการปกครอง การต่อสู้ได้จบลงพร้อมกับชัยชนะของฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ดังนั้นเมื่อเทรนด์ของโลกเป็นเช่นนั้น ถามว่าคุณไม่ทำตามได้ไหม คำตอบคือได้ แต่คุณก็ต้องถูกเรียกว่า เด็กแนว เพี้ยนหรือบ้า ก็เป็นได้
 
ที่กล่าวถึงอย่างนั้นเพราะว่าเอาเข้าจริงผมยังงงไม่หายกับการที่มีแกนนำการชุมนุมท่านหนึ่งไม่เห็นด้วยและไม่ชอบต่อระบอบประชาธิปไตย(ตั้งแต่เด็ก) ไม่มีปัญหาครับกับการไม่ชอบเพียงแต่ว่าอีกแง่หนึ่งคุณก็ต้องยอมรับสิ่งที่คุณจะโดยกดดัน ไม่เห็นด้วย เสียดสี จากสังคม หากคุณเป็นคนที่ยึดมั่นในอุดมการณ์คุณก็คงไม่มีปัญหาอะไรต่อการเจออสิ่งเหล่านั้น แต่เอาเข้าจริงแม้ว่าคุณจะผ่านร้อนผ่านหนาวมาขนาดไหน ท้ายที่สุดคุณก็ต้องยอมรับและคุณก็ไม่สามารถทัดทานต่อเทรนด์ได้ เช่นเดียวกับเด็กที่คงไม่ใส่กางเกงขาม้าเป็นแน่ หากกล่าวอีแง่หนึ่งในที่สุดแล้วคุณก็ต้องทำตามโลก เพราะคนส่วนมากก็คงไม่ได้อยากที่จะเป็นเด็กแนว หรือ เป็นตัวของตัวเองมากขนาดนั้น
 
จากการเมืองนี้เช่นกันสิ่งที่เรามักจะเห็นและทำให้ผู้เขียนรู้สึกย่ำแย่และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งนั่นก็คือเรื่อง เพศกับการเมือง
 
เพศกับการเมือง ทำให้ผู้เขียนเห็นอะไรหลายอย่าง ประเด็นที่ใช้ในการเมืองระหว่างชายและหญิงนั้นมีความต่างกัน หรือหากจะคิดอีกแง่ก็อาจกล่าวได้ว่าการเมืองทำให้ชายและหญิงไม่มีความเท่าเทียมกันก็เป็นได้
 
หากเรากล่าวย้อนตั้งแต่อดีต ในช่วงยุคโบราณสตรีก็มักจะถูกมองข้ามทางการเมืองเสมอดังเช่นสมัยกรีกโบราณ การเมืองในสมัยโบราณนั้นมันมีความขัดแย้งกันตลอดเวลา การต่อสู้ฆ่าฟันกัน เป็นสิ่งที่จะทำให้ตนเองอยู่รอด ดังนั้นด้วยเหตุนี้ผู้ชายซึ่งเป็นเพศที่แข็งแรงกว่าที่พระเจ้าสร้างขึ้นจึงมีบทบาทมาก นักรบคือผู้นำ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งที่ในเวลาต่อมามีคำกล่าวที่เรามักได้ยินเสมอนั่นก็คือ ผู้ที่แข็งแรงกว่าเท่านั้นที่จะอยู่รอด เมื่อเป็นเช่นนั้นสตรีก็จึงมีหน้าที่อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนตามภาษาพูดของคนไทย หรืออีกอย่างก็อยู่ตามหอนางโรมเฉกเช่นเดียวกับในภาพยนตร์จีนกำลังภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลักของคริสต์ศาสนาแล้วเมื่อการแต่งงานเสมือนหนึ่งการให้ความรักต่อพระเจ้า ดังนั้นการนอกใจภรรยาจึงเป็นสิ่งที่ทำมิได้ (แต่ก็แหกกฎได้เสมอ) นางโรมก็เลยมีความหมายมากเพราะอย่างน้อยมันก็ไม่ได้เกิดจากความรักแต่มันไก้มาเฉกเช่นเดียวกับคุณไปซื้อกับข้าวที่ตลาด
 
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าในยุคโบราณสตรีแทบไม่มีบทบาทอะไรมากนักในการเมือง ตัวอย่างที่อยากให้สังเกตอีกแง่หนึ่งก็คือในภาพยนตร์เรื่อง มู่หลาน ที่นำแสดงโดย จ้าวเหว่ย (Zhao Wei) แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าในที่สุดแล้วเรื่องการรบนั้นไม่ใช่หน้าที่ของสตรีแต่มันเป็นเรื่องของผู้ชาย ดังนั้นมู่หลานทำอย่างไรเล่าก็ต้องปลอมตัวเป็นชาย(เพราะเห็นว่าพ่อแก่แล้ว)เพื่อที่จะมารบแทน การที่มู่หลานปลอมตัวก็เท่ากับว่าแม้แต่ตัวเขาเองก็รู้ดีว่าการสงครามนั้นไม่ใช่หน้าที่ของสตรี แม้ว่าเวลาต่อมามู่หลานจะถูกยกย่องเป็นวีรสตรีของจีนแต่ก็ต้องมีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยแน่ๆเพราะอย่างน้อยเขาก็คงคิดว่าเสียศักดิ์ศรีมากที่สตรีเก่งกว่า
 
หากกล่าถึงการเมืองไทย ก็เช่นกันว่าการดำลงตำแหน่งข้าราชการฝ่ายบริหารก็พึ่งปรับเปลี่ยนวิธีคิดเมื่อไม่นานมานี้เอง หลังเลือกตั้งปี 2535 สตรีเพิ่งเข้ามามีบทบาทในช่วงนี้กล่าวคือ รัฐบาลกลางก็เพิ่งเปิดโอกาสให้สตรีเข้ามาเป็น ปลัดอำเภอ นายอำเภอ และผู้ว่าราชการจังหวัดได้ ดังนั้นก็สะท้องให้เห็นว่าเอาเข้าจริงสตรีก็เพิ่งมีบทบาททางการเมืองแบบเต็มที่เมื่อไม่นานมานี้เอง
 
สตรีกับการเมืองมักทำให้เกิดความเจ็บปวดเสมอในสังคมไทย สิ่งที่เป็นตัวควบคุมนั้นก็คงเป็นจารีต ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ของสังคมที่มีมาแต่เก่าก่อน คำว่าสตรีต้องเรียบร้อยเหมือนผ้าพับไว้ สตรีเป็นช้างเท่าหลัง ก็คงเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้เป็นอย่างดีว่าสตรีต้องเป็นแบบไหนเมื่ออยู่ในสังคม
 
จากการที่สตรีเข้ามามีบทบาททางการเมืองในสภาสิ่งที่สะท้องให้เห็นอย่างหนึ่งก็คือว่า เพศมีความสำคัญมากในการทำลายกันทางการเมือง กล่าวคือ การโจมตีและทำลายกันทางการเมืองนั้นมีความแตกต่างกัน หากโจมตีผู้ชายแล้วก็จะเป็นเรื่องหนึ่ง แต่หากจะโจมตีสตรีก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องเกี่ยวกับชู้สาวเป็นต้น
 
เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ผู้เขียนคิดว่ากรอบคิดของสังคมไทยมีความอนุรักษ์นิยมอยู่ค่อนข้างมากทีเดียว หากเราสังเกตถึงละครตอนเช้าทางช่องสามสี จะพบว่าเป็นเรื่องที่ไม่แปลกอะไรที่ชายจะมีนางสนมกี่คนก็ได้ แต่สตรีนั้นหาทำเช่นนั้นได้ไม่เพราะอย่างน้อยนางวันทองก็เสียคนไปแล้วในสังคมไทย
 
ในช่วงหลังเมื่อเราสังเกตในสภาผู้แทนราษฎรของบ้านเราจะพบว่าสตรีมีบทบาทมากขึ้น มีการต่อสู้ทางการเมืองกันเองของสตรี แต่สิ่งที่ตามมาก็คือว่า การกล่าวหาสตรีในทางการเมืองนั้นกลับเป็นสิ่งที่เลวร้ายอย่างมาก เช่น ส.ส. ท่านหนึ่งของจังหวัดสมุทรสงครามก็ถูกผู้ที่ไม่เห็นด้วย ไม่ชอบ ฝังตรงข้ามเล่นงานในเรื่องทางชู้สาวแบบเสียๆหายๆ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกที่เรื่องอย่างนี้มักไม่เกิดขึ้นกับชายแต่สตรีมีแนวโน้มที่จะโดนมากกว่า
 
ไม่เพียงแต่ในประเทศเท่านั้น ต่างประเทศก็เช่นกันในกรณีของภรรยาผู้นำอย่างสหรัฐอเมริกาแม้ว่าจะไม่ใช่นักการเมืองแต่ก็ถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองมากในระดับหนึ่ง การถูกยกให้เป็นสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐอเมริกาก็ไม่พ้นที่จะถูกจับตามองในเรื่องส่วนตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเสื้อผ้าหน้าผม ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วขนาดในสังคมอเมริกาที่มีความเป็นปัจเจกบุคคลสูงก็ยังมิวายโดนปัญหาเหล่านี้
 
กรณีสุดท้ายก็คงหนีไม่พ้นบนเวทีทางการเมืองเมื่อวันวานนี้ผ่านมา ผู้เขียนนั่งฟังด้วยความตั้งใจเป็นอย่างมากแต่สิ่งที่ได้ยินได้ฟังกลับทำให้ผู้เขียนรู้สึกไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง การพูดบนเวทีกลับเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องบนเตียง เรื่องชู้สาว และที่น่าสนใจไปกว่านั้นผู้ที่พูดก็ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีความรู้กันทั้งนั้น ระดับปัญญาชนทั้งนั้น แต่สิ่งที่ได้ยินกลับพบว่า แม้ว่าคุณจะมีสติปัญญาสูงแค่ไหนสุดท้ายแล้วคุณก็ไม่ได้มีความสูงส่งทางความคิดดังเช่นปัญญา สนุกปากเป็นอย่างมากอาจจะด้วยอารมณ์ที่มีในการอยู่บนเวทีหรืออะไรก็สุดแล้วแต่ แต่สุดท้ายสิ่งที่คุณแสดงออกมามันก็ไม่มีความยุติธรรมเท่าไรกับสตรี
 
สิ่งที่สะท้อนได้จากที่กล่าวไปข้างต้น สตรีมักจะโดนทำร้ายมากกว่าชาย ทำร้ายในเรื่องส่วนตัวมากเป็นพิเศษ เรื่องบนเตียงเป็นสิ่งที่การเมืองไทยหยิบยกมาใช้ทำลายกัน สิ่งที่มองเห็นของผู้เขียนมันสะท้อนว่าในที่สุดแล้วการมองสตรีก็ยังเป็นไปในลักษณะของเพศที่อ่อนแอกว่า มองในลักษณะที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน ใช้กรอบของสังคมในเรื่องของขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ที่สั่งสมกันมาเป็นตัวทำลาย เพราะอย่างน้อยเขารู้ว่าสิ่งที่จะทำลายสตรีได้มากที่สุดนั่นก็คือเรื่องความเป็นสตรีในบริบทของสังคมไทย หากกล่าวหาและทำให้คนเชื่อได้ว่าสตรีผู้นั้นเป็นนางวันทองละก็เสร็จไปทุกรายเป็นแน่
 
ดังนั้นในสุดท้ายนี้ผู้เขียนอยากจะเห็นการเมืองที่มีความสร้างสรรค์ ควรมองชายและสตรีให้มีความเท่าเทียมกัน การต่อสู้ทางการเมืองควรที่จะต่อสู้กันในเรื่องของการเมืองมากกว่าเรื่องส่วนตัว เพราะหากคิดอีกแง่เรื่องบนเตียงมันไม่ได้จำกัดอยู่แค่สตรีเท่านั้น ชายเองเอาเข้าจริงมีมากกว่านั้นอีกเป็นไหนๆ ทางที่ดีวัดกันที่ความรู้ ความสามารถดีกว่าวัดกันดัวยน้ำลายซึ่งทำให้สังคมไทยเปียกโชกไปหมดแล้วทุกอณู
 
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คนงานเหมาค่าแรงในภาคตะวันออกยังไม่ยอมจำนน …และเขาพร้อมแล้วที่จะชักธงรบ

Posted: 24 Nov 2012 11:02 PM PST

 
ในช่วงฤดูกาลนี้ของทุกปีตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนธันวาคม เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นช่วงที่สหภาพแรงงานจำนวนมากครบกำหนดยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงสภาพการจ้างให้กับสมาชิกสหภาพแรงงาน และคนงานประจำทั้งหลายในส่วนที่ยังไม่มีสหภาพแรงงานและไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานก็ได้รับผลพลอยได้หรือผลประโยชน์ตามสมควรกับสถานะของสถานประกอบการที่ตนเองทำงานอยู่ แต่ ณ อีกมุมหนึ่งของโรงงานมีแรงงานอีกจำนวนมากที่ทุกคนรู้จักเขาดีในนามของพนักงาน "ซับคอนแทรค" หรือในภาษาวิชาการเรียกเขาเหล่านั้นว่า "ลูกจ้างในระบบเหมาค่าแรง" เขาเหล่านั้นไม่กล้าแม้แต่จะคิดว่าจะได้โบนัสหรือสวัสดิการอะไรเพิ่มขึ้นบ้างนอกจ้างค่าจ้าง 300 บาทตามนโยบายของรัฐบาล แต่มันก็ไม่สมดุลกับค่าของชีพ ณ ปัจจุบันที่ถีบตัวสูงขึ้น
 
หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 ได้มีการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฏหมายได้บัญัติให้มีการจ้างงานในระบบเหมาค่าแรงได้เพื่อเป็นการลดต้นทุนให้กับนายจ้าง โดยที่ภาครัฐเองไม่ได้ตระหนักว่าคุณภาพชีวิตของกรรมกรไทยจะเป็นอย่างไรในอนาคต หลังจากนั้นขบวนการแรงงานไทยจากหลายภาคส่วนได้พยายามที่จะขับเคลื่อนและผลักดันให้แรงงานในระบบเหมาค่าแรงได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเช่นเดียวกับพนักงานประจำ โดยเฉพาะในช่วงระหว่างปี 2548-2551 ได้มีการรณรงค์กดดันทั้งในส่วนของการผลักดันกฏหมายรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ซึ่งได้บัญญัติเกี่ยวกับการจ้างงานไว้ในมาตรา 84(7) บัญญัติว่า "ส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครองแรงงานเด็กและสตรี จัดระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบไตรภาคีที่ผู้ทำงานมีสิทธิเลือกผู้แทนของตน จัดระบบประกันสังคม รวมทั้งคุ้มครองให้ผู้ทำงานที่มีคุณค่าอย่างเดียวกันได้รับค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ"
 
หลังจากนั้นการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 2 พ.ศ.2551 บัญญัติไว้ในมาตรา 11/1 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงานอันมิใช่การประกอบธุรกิจจัดหางาน โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ และโดยบุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำงานหรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างให้แก่คนที่มาทำงานนั้นหรือไม่ก็ตามให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานดังกล่าว
 
ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำงานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้างโดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ"
 
และในขณะเดียวกันระหว่างปี 2548-2551 โดยเฉพาะในส่วนของนักสหภาพแรงงานเองในภาคตะวันออกซึ่งมีการใช้การจ้างงานในระบบเหมาค่าแรงอย่างเข้มข้น นอกเหนือจากการกดดันเพื่อให้เกิดการแก้ไขกฏหมายแล้วก็มีการรณรงค์ในพื้นที่ สหภาพแรงงานได้ออกมาลุกขึ้นสู้โดยการยื่นข้อเรียกร้องในนามสหภาพแรงงานต่อนายจ้างของตนเองเพื่อให้พนักงานเหมาค่าแรงเหล่านั้นได้รับการบรรจุเป้นพนักงานประจำหรือได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเช่นเดียวกับพนกงานประจำ หรือแม้แต่พนักงาเหมาค่าแรงเองก็ได้ลุกออกมาเพื่อที่จะปกป้องและรักษาสิทธิ์ของตนเองโดยการยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างซึ่งเป็นบริษัทเหมาค่าแรง ถึงแม้จะมีกฏหมายออกมาประกาศและบังคับใช้แล้วแต่ในทางปฏิบัติคนงานเหมาค่าแรงเหล่านั้นก็ยังคงได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างไปจากพนักงานประจำอย่างสิ้นเชิง ยิ่งต่อสู้ความหวังก็ดูเหมือนจะยิ่งเลือนลางลงไปเรื่อยเพราะแกนนำของคนงานเหมาค่าแรงเมื่อลุกออกมาต่อสู้มักจะถูกเลิกจ้างหรือกลั่นแกล้งจนทนทำงานอยู่ต่อไปไม่ได้เสมอ หรือนักสหภาพแรงงานที่มีความเข้มแข็งพยายามที่จะเป็นแกนให้กับคนงานเหมาค่าแรงก็จะถูกกลั่นแกล้งหรือเลิกจ้างไม่แตกต่างไปกว่ากัน จนท้ายที่สุดกระแสการต่อสู้ของคนงานในระบบเหมาค่าแรงก็เริ่มที่จะแผ่วเบาลงไปเรื่อยๆ
 
จะเห็นได้ว่าการยื่นข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานแต่ละแห่งในปีนี้แทบจะไม่มีประเด็นที่จะเสนอข้อเรียกร้องใหกับพนักงานในระบบเหมาค่าแรงเลย จึงเป็นคำถามที่น่าสนใจและท้าทายต่อการหาคำตอบพอสมควรเพราะในปัจจุบันในอุตสาหกรรมยานยนต์หรือผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เกือบทุกแห่งมีลูกจ้างในระบบเหมาค่าแรงเกือบเท่ากับพนักงานประจำหรือในบางแห่งมีมากกว่าพนักงานประจำเสียอีก วันนี้อาจพูดได้ว่าในอุตสาหกรรมคนที่ได้ชื่อว่า "คนงานเหมาค่าแรง" กลายเป็นแรงงานหลักของสถานประกอบการไปแล้ว
 
แต่สถานการณ์ด้านการจ้างงานและคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนงานเหล่านี้ผู้ที่ทุกคนเรียกเขาว่า "พนักงานเหมาค่าแรง" จำนวนมากยังถูกเอาเปรียบถูกกดขี่ เป็นแรงงานชั้นสองของสังคมอยู่ วันนี้หลายสหภาพแรงงานกำลังพูดถึงโบนัส และสวัสดิการดีๆ ให้กับสมาชิกของตน แต่ถ้าเราตระหนักให้ดีเราจะพบว่าผู้ที่ร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจและกำไรมูลค่ามหาศาลให้กับบริษัทต่างๆ พวกเขาเหล่านั้นคือใคร? "คนงานเหมาค่าแรง" เขาคือใคร ณ วันนี้เขาอยู่ส่วนใดของสังคมคนทำงาน ถึงเวลาหรือยังครับที่ท่านผู้นำสหภาพแรงงานทั้งหลายจะหยิบยื่นโอกาส ในการที่จะรับเขาเหล่านั้นเข้าเป็น "สมาชิกสหภาพแรงงาน"ของพวกท่าน โปรดอย่าได้เอาคำว่า "มันไม่ถูกกฎหมาย" มาเป็นข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตัวเองเลย ถึงเวลาแล้วที่คนงานไม่ว่าจะอยู่ในส่วนใดของโรงงานต้องหันหน้ามาจับมือและฝ่าฟันปัญหาและอุปสรรคไปพร้อมๆ กัน
 
แต่วันนี้ก็ยังไม่สิ้นหวังเสียทีเดียวได้มีบางสหภาพแรงงานในภาคตะวันออกได้พยายามที่จะคิดนอกกรอบเดิมๆ โดยการรับคนงานเหมาค่าแรงภายในสถานประกอบการของตนเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน และยื่นข้อเรียกร้องในนามสหภาพแรงงานให้กับบริษัทเหมาค่าแรงในนามสหภาพแรงงานได้เป็นผลสำเร็จ แต่ก็พบอุปสรรคอยู่บ้างที่มีเจ้าหน้าที่รัฐที่ยังมีแนวคิดแบบเดิมๆ อ้างแต่กฏหมายฉบับเก่าๆ ว่าเป็นอุตสาหกรรมคนละประเภทไม่สามารถเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานในสถานประกอบการได้ แต่นักสหภาพแรงงานรุ่นใหม่ต้องกล้าที่จะคิดและก้าวให้พ้นปัญหาและอุปสรรคเหล่านี้ เพราะวันนี้กฏหมายรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 64 บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น" นั่นหมายถึงทุกคนย่อมมีสิทธิ์เสรีภาพอันชอบด้วยกฎหมายที่จะเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน กฎหมายรัฐธรรมนูญถือเป็นกฏหมายสูงสุด กฏหมายใดที่ขัดกับรัฐธรรมนูญย่อมบังคับใช้ไม่ได้ และสหภาพแรงงานที่พี่น้องคนงานจัดตั้งขึ้นนั้นเป็นองค์กรณ์นิติบุคคลที่ถูกต้องตามกฏหมาย สามารถที่จะเข้าทำสัญญาหรือข้อตกลงกับใครหรือนิติบุคคลใดก็ได้ ดังนั้นการที่สหภาพแรงงานซึ่งเป็นนิติบุคคลได้ทำสัญญาหรือข้อตกลงสภาพการจ้างกับบริษัทเหมาค่าแรงซึ่งเป็นนิติบุคคลเช่นเดียวกันย่อมมีผลผูกพันธ์ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาย่อมฟ้องบังคับทางแพ่งได้ตามกฏหมาย
 
 
สถานการณ์การลุกขึ้นสู้ของคนงานเหมาค่าแรงล่าสุดวันนี้ 24 พฤศจิกายน 2555 เวลา 17.30 น. พนักงานเหมาค่าแรงานในบริษัท CUEL ได้มาชุมนุมรวมตัวกันที่หน้าบริษัท CUEL ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังกว่า 500 คน จาก 4 บริษัท โดยมีแกนนำหลักจากสองบริษัทคือ แกนนำจากบริษัทเทกาเทค อินดัสเทรียล คอนซัลแทนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด และแกนนำจากบริษัท บรูเนล เทคนิคัล เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัดเนื่องจากยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัทเหมาค่าแรงตั้งแต่เดือนกรกกาคม 2555 แต่ผลการเจรจาไม่มีความคืบหน้าและนายจ้างพยายามจะหยิบยื่นสวัสดิการเพียงเล็กน้อยแต่มีเงื่อนไขมากมายให้แล้วบอกให้ทำสัญญาข้อตกลงสามปีทำให้พนักงานส่วนใหญ่ยอมรับไม่ได้ หลังจากนั้นพนักงานเหมาค่าแรงสี่บริษัท ได้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานขึ้นมาสองสหภาพแรงงาน คือ สหภาพแรงงานเพื่อนแรงงานไทยใน CUEL และอีกหนึ่งสหภาพแรงงานคือ พลังซับคอนแทคไทย ใน CUEL ซึ่งทั่งสองสหภาพแรงงาน จะรับพนักงานเหมาค่าแรงที่มีอยู่ในรั้วของ บริษัท CUEL ทั้งหมดกว่า 2500 คน เข้าเป็นสมาชิกให้ได้นั่นคือเป้าหมายที่พวกเขาวางไว้ เป็นก้าวแรกและเป็นก้าวที่กล้าเพราะในสัปดาห์หน้าจะมีการนัดชุมนุมคนงานเหมาค่าแรงที่มีอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังทั้งหมด เพื่อแสดงพลังและเปลี่ยนแปลงสังคมของคนงานเหมาค่าแรงมันอาจจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้ภายในวันเดียว เรารู้ว่าการต่อสู้ทุกอย่างมันต้องใช้เวลา บางครั้งมันมีความเจ็บปวด มันต้องมีการสูญเสีย แต่เพื่อก้าวไปสู่สังคมที่ดีกว่าเราต้องทำ
 
พี่น้องกรรมกรที่รักทั้งหลายครับวันนี้เราต้องกล้าที่จะลุกออกมาช่วยกันปกป้องสิทธิ์ที่เรามีอยู่ให้มันเป็นจริงให้ได้อย่างที่กฏหมายบัญญัติ ไม่เช่นนั้นชีวิตของเราหรือลูกหลานของเราในอนาคตก็จะไม่ต่างจากทาสหรอกครับ จึงอยากจะฝากถึงกรรกกรทุกท่านว่า "จงช่วยกันลุกออกมาต่อสู้อย่าอยู่อย่างยอมจำนน"
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น