โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

คนฮักท้องถิ่นเชียงรายยิ่นศาล ปค.ค้านคำให้การไฟฟ้าชีวมวล

Posted: 07 Nov 2012 01:17 PM PST

ศาลปกครองเชียงใหม่ ชี้ใกล้มีคำพิพากษาแล้ว ปัจจุบันขั้นตอนการแสวงหาข้อเท็จจริงใกล้สิ้นสุดในเร็วๆนี้ หลังชาวบ้านชีวมวล เชียงราย 200คน ยื่นเอกสารเพิ่มเติมในคดี

ศาลปกครองเชียงใหม่ ชี้แจงกับชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์คนฮักท้องถิ่นจังหวัดเชียงรายที่เดินทางมายื่นเอกสารพยานหลักฐานต่อศาลจำนวนกว่า200 คน ว่ากระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีใกล้จะเสร็จสิ้น โดยศาลได้เรียกข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและได้ข้อมูลใกล้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว คาดว่าอีกไม่นานน่าจะมีคำพิพากษาในคดีได้ว่าจะเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานไฟฟ้าชีวมวลที่ชาวบ้านมีคำขอต่อศาลหรือไม่

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555  เวลา 10.30 น. ชาวบ้าน อ.เวียงชัย จ.เชียงราย เดินทางมาจากเชียงรายจำนวนกว่า 200 คน  โดยทันทีที่มาถึงก็ได้ตั้งขบวนเดินรณรงค์ที่หน้าศาล จากนั้นก็ได้ส่งตัวแทนผู้ฟ้องคดีเข้าไปยื่นเอกสารคัดค้านคำให้การกรณีฟ้องเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานไฟฟ้าชีวมวล ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน( ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) ออกให้แก่บริษัทพลังงานสะอาดดี 2 จำกัด (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ในพื้นที่บ้านไตรแก้ว  ต.เวียงเหนือ อ.เวียงชัย จ.เชียงราย ต่อศาลปกครองเชียงใหม่  ต่อมาเวลา 11.30 น. เจ้าพนักงานคดีปกครองได้ชี้แจงต่อชาวบ้านว่า ขณะนี้ขั้นตอนของคดีอยู่ในกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงของศาลเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานในคดีให้ครบถ้วน  โดยคดีนี้ศาลได้เรียกให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดชี้แจงข้อเท็จจริงเกือบจะครบถ้วนแล้ว ส่วนเอกสารที่ชาวบ้านมายื่นในวันนี้ศาลมีหน้าที่ต้องนำไปพิจารณาในคดีต่อไป  ในทางคดีคาดว่าศาลจะได้สั่งกำหนดวันสิ้นสุดแสวงหาข้อเท็จจริงในเร็วๆนี้ และจากนั้นก็จะเป็นขั้นตอนการนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก และกำนดวันพิพากษาคดีต่อไป ทั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้ชาวบ้านที่เดินทางมาจากเชียงรายได้สอบถามถึงกรณีที่สงสัยในกระบวนการของศาล โดยเจ้าพนักงานคดีปกครองก็ได้ตอบข้อสงสัยของชาวบ้านจนกกระทั่งเวลา12.00 น. ชาวบ้านก็แยกย้ายเดินทางกลับจังหวัดเชียงราย

โดยประเด็นที่กลุ่มอนุรักษ์คนฮักท้องถิ่นจังหวัดเชียงรายได้ยื่นต่อศาลนั้นมีประเด็นที่สำคัญคือ มีการถมดินบริเวณสถานที่ก่อสร้างโรงงานทับลำเหมืองสาธารณะโดยไม่แจ้งขออนุญาตกับองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงเหนือ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ อ้างว่าไม่ทราบมาก่อนว่าสภาพพื้นที่ดังกล่าวเป็นลำเหมืองสาธารณะ โดยผู้ฟ้องคดีได้ชี้แจงกับศาลว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินซึ่งมีโฉนดและในรูปแผนที่ในโฉนดปรากฎชัดเจนว่ามีลำเหมืองสาธารณะปรากฎอยู่ การที่ผู้ถูกฟ้องคดี ๒ (บริษัทฯ)เป็นเจ้าของโฉนดจะกล่าวอ้างว่าไม่ทราบข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวไม่ได้  ประเด็นต่อมาคือผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองอ้างว่าบริเวณสถานที่ก่อสร้างโรงงานนั้นไม่มีโบราณสถานหรือสถานที่สำคัญทางศาสนาและชุมชน ภายในรัศมี 2 กิโลเมตร แต่จากข้อเท็จจริงพบว่าในระยะ 1.4 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของพุทธสถานพระเจ้ากือนา ซึ่งเป็นศาสนสถานที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย ซึ่งเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมาได้มีการจัดงานบุญใหญ่ในที่ดังกล่าว โดยมีประชาชนเข้าร่วมงานกว่า 3,000 คน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายเป็นประธานฝ่ายฆราวาส เจ้าคณะจังหวัดเชียงรายเป็นประธานฝ่ายสงฆ์  นอกจากนี้มีการแสดงธรรมจากพระมหา ว.วชิรเมธี  โดยภาคราชการเอกชนและชุมชนต่างให้คำมั่นว่าจะส่งเสริมให้พุทธสถานพระเจ้ากือนากลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญประจำจังหวัดเชียงรายต่อไป และพื้นที่โดยรอบล้วนแล้วเป็นที่นาของชาวบ้านที่เป็นแหล่งผลิตข้าวอันดับต้นๆของจังหวัด และประเด็นสุดท้ายกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง (กกพ.และบริษัท)อ้างว่าโรงงานไฟฟ้าชีวมวลในประเทศไทยไม่เคยเกิดปัญหาร้องเรียนจากประชาชน และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน ปัจุบันปรากฎว่ามีการร้องเรียนให้กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.)ตรวจสอบการละเมิดสิทธิชุมชนที่เกิดจากโรงไฟฟ้าชีวมวลในหลายจังหวัดของประเทศ และพบว่ามีข้อมูลจากรายงานประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ชี้ชัดว่าโรงงานไฟฟ้าชีวมวลสร้างผลกระทบด้านสุขภาพต่อประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งในจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดสุรินทร์

ทั้งนี้คดีดังกล่าวได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเชียงใหม่เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2554 โดยกลุ่มอนุรักษ์คนฮักท้องถิ่น เป็นผู้ฟ้องคดีจำนวน 100 ราย มีประชาชนผู้สนับสนุนกว่า 1,000 รายชื่อจาก 3 ตำบล และมีเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนให้ความช่วยเหลือด้านคดี โดยมุ่งหวังให้คดีดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานในการปฎิบัติงานของราชการที่มีอำนาจในการออกใบอนุญาต ให้มีการตรวจสอบข้อมูลอย่างครบถ้วนและคำนึงถึงสิทธิชุมชนของประชาชนในการกำหนดวิถีชีวิตของตนเองร่วมกับภาครัฐต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใจ อึ๊งภากรณ์: ผิดหวังโอบาม่า ผิดหวังยิ่งลักษณ์??

Posted: 07 Nov 2012 01:05 PM PST

เราไม่เคยหลงเชื่อว่าพรรคเดโมแครดของโอบาม่าเป็นพรรค "ซ้าย" ของคนจน หรือเป็นพรรคของขบวนการแรงงาน เพราะในสหรัฐอเมริกาสองพรรคการเมืองหลักเป็นพรรคของกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่อย่างชัดเจน มีการใช้เงินมหาศาลในการหาเสียง และมีการร่วมกันเสนอนโยบาย "โดยนายทุนเพื่อนายทุน" เช่น นโยบายลดภาษีให้คนรวย หรือนโยบายจักรวรรดินิยมที่ก้าวร้าวไปทั่ว 
เราไม่น่าจะผิดหวังอะไรกับผลงานในรอบ 4 ปีที่แล้วของประธานาธิบดีโอบาม่า และไม่น่าจะผิดหวังอะไรกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ด้วย เพราะเราไม่ควรจะมีความหวังกับนักการเมืองฝ่ายนายทุนเหล่านี้ตั้งแต่แรก เราควรมั่นใจมานานแล้วว่าเขาจะหักหลังพวกเราแน่นอน

ในการเลือกตั้งที่สหรัฐ ทั้งๆ ที่ โอบาม่าชนะ แต่เราก็เห็นชัดว่าคนส่วนใหญ่ที่เคยตั้งความหวังกับโอบาม่า ผิดหวังจนคะแนนเสียงของโอบาม่าตกต่ำลง คือโอบาม่าได้คะแนนมากกว่ารอมนี้แค่ 2% เอง เทียบกับปี 2008 เขาได้มากกว่ามะเคน 7% และคนที่ลงคะแนนให้โอบาม่าลดจาก 70 ล้านเสียงเหลือแค่ 60 ล้าน เป็นเพราะอะไร?
    
สำหรับนักสังคมนิยม เราไม่เคยหลงเชื่อว่าพรรคเดโมแครดของโอบาม่าเป็นพรรค "ซ้าย" ของคนจน หรือเป็นพรรคของขบวนการแรงงาน เพราะในสหรัฐอเมริกาสองพรรคการเมืองหลักเป็นพรรคของกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่อย่างชัดเจน มีการใช้เงินมหาศาลในการหาเสียง และมีการร่วมกันเสนอนโยบาย "โดยนายทุนเพื่อนายทุน" เช่น นโยบายลดภาษีให้คนรวย หรือนโยบายจักรวรรดินิยมที่ก้าวร้าวไปทั่ว นอกจากนี้เราก็จะปฏิเสธด้วยว่ารัฐบาลพรรคเดโมแครดจะเป็นรัฐบาลที่ "แย่น้อยกว่า" รัฐบาลพรรคริพับลิแคนทั้งๆ ที่นักการเมืองพรรคริพับลิแคนมักใช้วาจาของพวกอนุรักษ์นิยมสุดขั้วก็ตาม ถ้าไม่เชื่อก็ต้องดูรูปธรรมของนโยบายทั้งสองพรรคเมื่อเป็นรัฐบาล
    
โอบาม่าชนะการเลือกตั้งในปี 2008 และเข้ามาเป็นประธานาธิบดีท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ร้ายแรงที่สุดตั้งแต่ยุค 1930 แต่แทนที่โอบาม่าจะปฏิรูปโครงสร้างระบบทุนนิยมเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในลักษณะการปรองดองระหว่างทุนกับคนงานกรรมาชีพ อย่างที่ประธานาธิบดีรุสเวลท์เคยทำในยุค 1930 โดยการใช้รัฐสร้างงานและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสหภาพแรงงาน โอบาม่ากลับเลือกข้างนายทุนฝ่ายเดียว และให้คนทำงานธรรมดาต้องแบกภาระจากวิกฤตที่ตนเองไม่ได้สร้าง

นโยบายเศรษฐกิจของโอบาม่าเป็นการต่อยอดนโยบายของรัฐบาลบุชที่มาก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะในเรื่องการปล่อยให้ธนาคารดำเนินกิจการและกอบโกยอย่างเสรี อันนี้เป็นการเลือกของโอบาม่า ไม่ใช่ว่าถูกบังคับแต่อย่างใด 

หลังจากที่กระตุ้นเศราฐกิจเล็กน้อย โอบาม่าหันมาใช้ลัทธิเสรีนิยมกลไกตลาดตามเคย ซึ่งเน้นการตัดสวัสดิการและแปรรูปภาครัฐให้เป็นเอกชน

เราเข้าใจได้ดีว่าทำไมโอบาม่าเลือกข้างนายทุน ซึ่งไม่ต่างจากพรรคริพับลิแคนเพราะในหนังสือของโอบาม่าที่ออกมาในปี 2007 เขาเล่าว่าตอนที่เขาเป็นวุฒิสมาชิกในสภา เขาเริ่มคลุกคลีกับพวกนายทุนและคนรวยที่สุด 1% ของประเทศจนตัวเขาเองเริ่มเคารพและคิดเหมือนพวกนั้น

เมื่อเราพิจารณาความเดือดร้อนของคนงานสหรัฐ โดยเฉพาะคนงานประกอบรถยนต์ที่เป็นสมาชิกสหภาพ United Auto Workers (UAW) ซึ่งกำลังตกงานจากวิกฤตที่เริ่มในระบบธนาคาร เราจะเห็นว่าหัวหน้าทีมงานของประธานาธิบดีโอบาม่าเคยพูดในทำเนียบขาวว่า "สหภาพนี้ไปตายห่าก็ได้" ("Fuck the UAW") ซึ่งผลของนโยบายดังกล่าวบวกกับความขี้ขลาดของผู้นำแรงงานระดับชาติ แปลว่าคนงานสหรัฐต้องแบกภาระการตกงานและการถูกตัดเงินเดือน เพื่อให้มีการฟื้นฟูกำไรสำหรับกลุ่มทุน ต่อมาท่าทีของนายกเทศมนตรีเมืองชิคาโก ซึ่งเป็นนักการเมืองพรรคเดโมแครดก็ไม่ต่าง เพราะพยายามแข็งข้อกับครูทั่วเมืองที่นัดหยุดงานในปีนี้ เพื่อเรียกร้องให้มีการพัฒนาสภาพโรงเรียนและสภาพการจ้างงาน
    
โดยรวมแล้วในสหรัฐตอนนี้มีตำแหน่งงานน้อยกว่าก่อนวิกฤตระเบิดขึ้นในปี 2007 ถึง 4.2 ล้านตำแหน่ง ปัจจุบันครึ่งหนึ่งของคนทำงานในสหรัฐ(75 ล้านคน) อยู่ในสภาพยากจนมีรายได้ไม่พอ คือต่ำกว่า $26,000 และถ้าเรารวมรายได้ทั้งหมดของคนงานทุกคนทั่วประเทศที่กินเงินเดือนเท่ากับหรือต่ำกว่า $50,000 มันยังน้อยกว่ารายได้ทั้งหมดของคนรวยที่สุด 1%

ในแง่ของการมีประธานาธิบดีผิวดำคนแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐ คนทำงานผิวดำไม่ได้ประโยชน์เลย เพราะระดับการตกงานของคนผิวดำเพิ่มขึ้น 11% ในยุคโอบาม่า และความแตกต่างระหว่างรายได้เฉลี่ยของคนผิวขาวกับคนผิวดำก็เพิ่มขึ้นอีกด้วย คือตอนนี้ 22 เท่า
    
แม้แต่ในเรื่องระบบประกันสุขภาพ ซึ่งระบบสหรัฐแย่กว่าของไทยอีก เพราะพลเมืองจำนวนมากไม่มีการประกันเลย โอบาม่าก็ขี้ขลาดลังเลใจ และในที่สุดก็สนับสนุนกฏหมายประกันสุขภาพที่ไม่ต่างจากระบบที่ มิต รอมนี้ คู่แข่งพรรคริพับลิแคนนำมาใช้ก่อนหน้านั้นในรัฐแมแซชูเซทส์ คือยังแย่กว่าของไทยหรือของรัฐสวัสดิการในยุโรป
    
ในเรื่องนโยบายต่างประเทศ หลายคนเคยหวังว่ารัฐบาลโอบาม่าจะเปลี่ยนจุดยืน จากความก้าวร้าวเบ่งอำนาจของรัฐบาลบุช หลายคนคิดว่าโอบาม่าจะพยายามปรึกษาหารือกับประเทศอื่นๆ ก่อนที่จะทำอะไร แต่ที่ไหนได้ ในคำปราศัยหลังชัยชนะครั้งที่สอง โอบาม่าพูดว่าเขาภูมิใจในการที่สหรัฐอเมริกามีกองทัพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก

โอบาม่าเป็นผู้นำร่องในการเข้นฆ่าพลเรือนในตะวันออกกลางและในปากีสถาน ด้วยเครื่องบินไร้นักบิน (Drone) เป็นผู้นำร่องในการตามฆ่าบินลาเดน เป็นผู้ที่สนับสนุนการใช้อำนาจทหารในลิบเบียเพื่อแทรกแซง "ไฮแจก" การปฏิวัติ 

เป็นผู้ที่เพิ่มกำลังทหารในเอเชียเพื่อค้านจีน และโอบาม่าก็สนับสนุนหมารับใช้ของสหรัฐในตะวันออกกลางอย่างเต็มที่ คือเป็นเพื่อนที่ดีของอิสราเอลในการที่อิสราเอลกดขี่ปราบปรามชาวปาเลสไตน์

นอกจากนี้โอบาม่าผิดสัญญาว่าจะปิดคุกทหารกวานทานาโมเบย์ ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง และผิดสัญญาว่าจะยุติสงครามในอัฟกานิสถาน แต่เราไม่ควรแปลกใจเลย เพราะในอดีต รัฐบาลพรรคเดโมแครดกับพรรคริพับลิแคนมีนโยบายจักรวรรดินิยมพอๆ กัน อย่าลืมว่าประธานาธิบดีเคเนดีและจอห์นสัน จากพรรคเดโมแครด เป็นผู้ที่เพิ่มจำนวนทหารและการทิ้งระเบิดมหาศาลในสงครามเวียดนาม
    
ถ้าพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างพรรคเดโมแครดกับสหภาพแรงงาน เราต้องเข้าใจว่าตั้งแต่ยุค 1930 พรรคคอมมิวนิสต์สหรัฐ ซึ่งมีอิทธิพลในหมู่นักเคลื่อนไหวแรงงานยุคนั้น ใช้นโยบายสร้าง "แนวร่วมข้ามชนชั้น" กับพรรคนายทุนอย่างเดโมแครด และมีบทบาทสำคัญในการห้ามไม่ให้เกิด "พรรคแรงงาน" อย่างแท้จริง อย่างที่เราเห็นในยุโรป เช่นพรรคสังคมนิยมปฏิรูปทั้งหลาย และต่อมาในสมัยสงครามเย็น รัฐอเมริกาใช้ "การล่าแม่มด" ในการปราบคอมมิวนิสต์อย่างหนักจนพรรคไม่เหลือซาก ในขณะเดียวกันยุคนั้นเป็นยุคที่เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวและฐานะของคนงานดีขึ้นชั่วคราว ผลในระยะยาวคือในการเลือกตั้งที่สหรัฐไม่มีพรรคทางเลือกเลย มีแต่พรรคนายทุนทีม A กับพรรคนายทุนทีม B แต่พวกผู้นำแรงงานน้ำเน่าก็ได้แต่เกาะพรรคเดโมแครดต่อไป
    
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้ ฝ่ายที่ได้เสียงมากที่สุดคือฝ่ายที่ไม่เลือกใคร คาดว่าประชาชนสหรัฐที่มีสิทธิ์เลือกตั้งแต่ไม่ไปใช้สิทธิ์มีประมาณ 48% ของประชาชนทั้งหมด ซึ่งมากกว่าคนที่ลงคะแนนเสียงให้โอบาม่าหรือรอมนี้และปีนี้คนที่ไปใช้สิทธิ์ลดลงจากปี 2008 ประมาณ 10%

ดังนั้นเราสรุปได้ไหมว่าการเมืองในระบบเลือกตั้งของสหรัฐไม่มีความหมายสำหรับคนทำงานธรรมดา? ในแง่หนึ่งเราพูดได้ แต่ในอีกแง่ก็ไม่ถูก
    

ชัยชนะของโอบาม่าในการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อ 4 ปีก่อน มีความสำคัญที่ผู้ลงคะแนนเสียงให้โอบาม่า เพราะมันสะท้อนว่าคนสหรัฐจำนวนมากต้องการการเปลี่ยนแปลง และมันสะท้อนว่าคนสหรัฐจำนวนมากไม่เหยียดสีผิวของโอบาม่าด้วยแน่นอนคนที่ไปเลือกโอบาม่ารอบแรกจำนวนมากผิดหวังไปแล้ว แต่ก็ยังมีคนที่มองว่าการมีโอบาม่าเป็นประธานาธิบดีจะดีกว่าการมีคนอย่างรอมนี้และพรรคพวก

เหตุผลที่คนเหล่านี้จะใช้คือ ฝ่ายรอมนี้ประกอบไปด้วยนักการเมืองยุคไดโนเสาร์ที่คลั่งศาสนา ดูถูกสิทธิสตรี และปฏิเสธปัญหา "โลกร้อน" ซึ่งเป็นความจริง แต่ในภาพรวมมันเป็นการมองข้ามนโยบายรูปธรรมของฝ่ายเดโมแครดเมื่อเป็นรัฐบาล และเป็นการให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งในระบบรัฐสภาสหรัฐมากไป

อย่างไรก็ตามนักสังคมนิยมต้องเข้าใจคนที่ลงคะแนนให้โอบาม่า และพยายามแลกเปลี่ยนกับคนเหล่านี้ให้ทำกิจกรรมร่วมกันในรูปธรรม เช่นการสู้ผ่านสหภาพแรงงาน อย่างที่เกิดขึ้นกับการนัดหยุดงานของครูทั่วเมืองชิคาโกซึ่งได้รับชัยชนะหรือการรณรงค์ยึดพื้นที่กลางเมืองของขบวนการ Occupy และขบวนการเคลื่อนไหวอื่นๆ เช่นการต้านโลกร้อน หรือการต้านจักรวรรดินิยม เป็นต้น เพราะขบวนการเหล่านี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมสหรัฐได้มากกว่าการไปเลือกตั้ง ทั้งๆ ที่มันอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยเท่านั้น แต่มันก็เป็นก้าวแรกที่สำคัญ

ในอดีตการเปลี่ยนแปลงของสังคมสหรัฐมาจากการต่อสู้นอกรัฐสภาทั้งนั้น เช่นการลุกฮือนัดหยุดงานในยุค 1930 การเรียกร้องสิทธิของคนผิวดำ สตรี และเกย์ทอมดี้ การต่อต้านสงครามเวียดนาม หรือแม้แต่การเผาเมืองท่ามกลางการก่อจลาจล เป็นต้น

การเลือกตั้งในสหรัฐอาจไม่มีความหมายในตัวมันเอง และถ้าเราเป็นนักสังคมนิยมในสหรัฐ เราจะไม่เสียเวลาหรือสร้างความหวังเท็จด้วยการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือหาเสียงให้โอบาม่า แต่มันเป็นโอกาสที่จะพบประชาชนธรรมดาที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง ส่วนพวกที่นั่งอยู่บ้านและไม่ไปใช้เสียงก็น่าเห็นใจ แต่คนเหล่านั้นมีแนวโน้มจะไม่มีกำลังใจพอที่จะเคลื่อนไหวนอกระบบรัฐสภาเลย เขาจึงไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของนักเคลื่อนไหว

เวลาเราพิจารณาการเลือกตั้งที่สหรัฐ เราควรคิดกลับมาที่ไทย การเลือกตั้งในเดือนกรกฏาคมปี ๒๕๕๔ สำคัญที่เราสามารถแสดงให้สังคมเห็นว่าคนส่วนใหญ่ไม่เอาทหารและไม่เอาพรรคประชาธิปัตย์ คือเราต่อต้านรัฐประหารและการฆ่าประชาชน แต่มันไม่ได้สำคัญตรงที่เราได้พรรคเพื่อไทยขึ้นมาเป็นรัฐบาลแต่อย่างใด เพราะพรรคเพื่อไทยประกอบไปด้วยนักการเมืองฝ่ายทุนบวกกับโจรทางการเมืองด้วย

และถ้าเราพิจารณาตัวนโยบายของรัฐบาล โดยไม่พิจารณาที่มาที่ไปของรัฐบาลนี้ หรือความหลังของพรรคต่างๆ เราสามารถฟันธงได้ว่านโยบายพรรคเพื่อไทยจะไม่ต่างและไม่ดีกว่าพรรคประชาธิปัตย์ในรูปธรรมมากนัก และทั้งสองพรรคก็เลวพอๆ กันในเรื่องกฏหมาย 112 การขังลืมนักโทษทางการเมือง การไม่ปฏิรูประบบยุติธรรม การไม่ลดอำนาจกองทัพ และการไม่นำฆาตกรที่สั่งฆ่าเสื้อแดงมาขึ้นศาล และคงเลวพอๆ กันในเรื่องการต่อต้านการสร้างรัฐสวัสดิการผ่านการเก็บภาษีก้าวหน้าจากคนรวย หรือการแก้ปัญหาสงครามกลางเมืองในภาคใต้ผ่านการให้สิทธิคนในพื้นที่ที่จะกำหนดอนาคตของตนเองโดยไม่ต้องคำนึงถังแนวคิดชาตินิยมสุดขั้วของรัฐไทยอีกด้วย
    
สรุปแล้วในการเลือกตั้งข้างหน้าเราไม่ควรไปเลือกพรรคเพื่อไทย เราควรกาช่องไม่เลือกใคร แต่ที่สำคัญกว่าหลายร้อยเท่า เราต้องเน้นการเคลื่อนไหวของขบวนการต่างๆ เป็นหลัก เช่นสหภาพแรงงาน การรณรงค์ต่อต้านกฏหมายเผด็จการ 112 การรณรงค์ให้ปล่อยนักโทษการเมืองและนำฆาตกรมาขึ้นศาล และการต่อสู้เพื่อรัฐสวัสดิการ และแน่นนอนถ้าเราจะทำสิ่งเหล่านี้ด้วยประสิทธิภาพ เราต้องมีองค์กรหรือพรรคการเมืองสังคมนิยมของเราเอง ที่อิสระจากพรรคเพื่อไทยและแกนนำ นปช.
    
ประชาธิปไตยและสิทธิที่จะลงคะแนนเสียงเป็นสิ่งสำคัญ แต่มันสำคัญตรงที่มันช่วยสร้างพื้นที่ในการเคลื่อนไหว และเปิดโอกาสให้เราสร้างพรรคทางเลือกได้ แต่ในสหรัฐกับไทย พรรคทางเลือกที่แท้จริงยังไม่เกิด

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาคประชาสังคม แจง กมธ.ต่างประเทศ วุฒิฯ ชี้ปัญหา FTA ไทย-สหภาพยุโรป

Posted: 07 Nov 2012 12:50 PM PST

เผยกรอบเจรจามีปัญหาทั้งเรื่องขั้นตอนสุ่มเสี่ยงต่อการผิดรัฐธรรมนูญ ทั้งเนื้อหาบิดเบือนข้อมูลผลกระทบ ผูกขาดตลาดยา เสนอ 5 ข้อ แก้ปัญหา นำผลการรับฟังความเห็นพิจารณา ครม.ก่อนการยกร่างกรอบการเจรจา – ยันไม่รับทริปส์พลัส

 
 
วันนี้ (7 พ.ย.55) นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย เป็นตัวแทนเครือข่ายประชาชน 14 องค์กรเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา จากกรณีเมื่อวันที่ 8 ต.ค.55 ได้ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคมยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา เพื่อเรียกร้องให้ตรวจสอบกระบวนการจัดทำการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป โดยเฉพาะความพยายามเร่งรัดนำร่างกรอบเจรจาเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) และการประชุมรัฐสภา
 
นายอภิวัฒน์ กล่าวว่า ทางเครือข่ายไม่ได้ค้านการเจรจา แต่ต้องการเห็นการเจรจาการค้าที่ได้ประโยชน์อย่างแท้จริงและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนและสังคม โดยมีข้อเรียกร้องใน 2 ประเด็นคือ 1.เรื่องขั้นตอน โดยก่อนที่จะมีการเจรจาหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ครม.จะต้องให้ข้อมูลและจัดรับฟังความเห็นของประชาชนก่อน จากนั้นจึงเสนอรายละเอียดกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ ตามที่มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ แต่การดำเนินการของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ที่ผ่านมาไม่เป็นไปตามนี้ และสุ่มเสี่ยงต่อการผิดรัฐธรรมนูญ
 
2.เรื่องเนื้อหา ซึ่งเมื่อวันที่ 9 ส.ค.55 ในการประชุมเพื่อพิจารณาเตรียมเปิดการเจรจาการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป กรมเจรจาฯ ได้ทำเอกสารเสนอต่อรัฐบาลว่า 'ควรกำหนดให้ไทยมีท่าทีการเจรจาที่ยืดหยุ่นและเสนอให้พิจารณารับเงื่อนไขข้อตกลงทางการค้าว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินไปกว่าความตกลงในองค์การการค้าโลก (TRIPs Plus)' โดยอ้างว่าจะไม่มีผลกระทบต่อราคายาในปัจจุบัน อีกทั้งยังระบุว่าการคุ้มครองข้อมูลทดสอบยาที่จะส่งผลขยายอายุสิทธิบัตรของยาต้นแบบเกินกว่า 20 ปี ตามพ.ร.บ.สิทธิบัตรและข้อตกลงทริปส์ อาจมีผลให้ยาสามัญวางตลาดได้ช้าลงเพียง 5 ปี
 
ทั้งนี้ข้อเสนอดังกล่าวบิดเบือน เนื่องจากข้อเสนอจากสถาบันวิชาการหลายแห่งให้ข้อมูลตรงกันว่า ข้อผูกพันดังกล่าวเป็นการผูกขาดตลาด และส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อประเทศชาติ โดยค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศจะเพิ่มขึ้นทุกปี และในปีที่ 5 จะมีผลกระทบมากกว่า 80,000 ล้านบาทต่อปี ทำให้ประเทศต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายด้านยาเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น และอาจส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณะสุขของประเทศ หากรัฐบาลไม่มีเงินเพียงพอที่จะสนับสนุน นอกจากนั้นทั้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข และกรมทรัพย์สินทางปัญญาก็ได้ออกมาระบุตรงกันถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
 
นายอภิวัฒน์ กล่าวต่อมาถึงข้อเสนอซึ่งมีอยู่ 5 ข้อ ดังนี้ 1.ให้กรมเจรจาฯ ดำเนินการตามมติ ครม.เมื่อปี 2553 โดยนำผลการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนรายงานกลับไปยัง ครม.ก่อนการยกร่างกรอบการเจรจา และไม่ควรลัดขั้นตอนโดยให้ ครม.พิจารณาร่างกรอบฯ ทั้งที่ยังไม่มีการรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ 2.นำร่างกรอบการเจรจาไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ เช่นที่เคยทำเมื่อครั้งเริ่มเจรจาเอฟทีเอ อาเซียน-สหภาพยุโรป ก่อนเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา
 
3.เปิดเผยเนื้อหาการทำขอบเขตการเจรจา (Scoping Exercise) ที่กรมเจรจาฯ ไปทำกับสหภาพยุโรปก่อนหน้านี้ เพื่อให้ไม่สุ่มเสี่ยงกับการผิดรัฐธรรมนูญ หรืออย่างน้อยต้องเสนอให้กรรมาธิการฯ พิจารณา 4.รอผลการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่ อย.ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กำลังดำเนินการ ก่อนการเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป 5.เครือข่ายภาคประชาชนผู้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมาธิการฯ ยืนยันจุดยืนเดียวกับคณะนักวิชาการ 84 คน ที่ให้กำหนดกรอบเจรจาเอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรปว่า ไม่รับข้อเรียกร้องที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์
 
ทั้งนี้ เครือข่ายภาคประชาชนที่ร่วมทำหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการฯ อีกทั้งยังยื่นเรื่องร้องเรียนคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ 2.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ 3.มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ 4.เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก 5.ชมรมเพื่อนโรคไต 6.เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง 7.มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 8.มูลนิธิเภสัชชนบท 9.กลุ่มศึกษาปัญหายา 10.มูลนิธิชีววิถี 11.มูลนิธิบูรณะนิเวศ 12.มูลนิธิสุขภาพไทย 13.เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย และ14.กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ใจ อึ๊งภากรณ์: ผิดหวังโอบาม่า ผิดหวังยิ่งลักษณ์??

Posted: 07 Nov 2012 12:07 PM PST

เราไม่น่าจะผิดหวังอะไรกับผลงานในรอบ 4 ปีที่แล้วของประธานาธิบดีโอบาม่า และไม่น่าจะผิดหวังอะไรกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ด้วย เพราะเราไม่ควรจะมีความหวังกับนักการเมืองฝ่ายนายทุนเหล่านี้ตั้งแต่แรก เราควรมั่นใจมานานแล้วว่าเขาจะหักหลังพวกเราแน่นอน

ในการเลือกตั้งที่สหรัฐ ทั้งๆ ที่ โอบาม่าชนะ แต่เราก็เห็นชัดว่าคนส่วนใหญ่ที่เคยตั้งความหวังกับโอบาม่า ผิดหวังจนคะแนนเสียงของโอบาม่าตกต่ำลง คือโอบาม่าได้คะแนนมากกว่ารอมนี้แค่ 2% เอง เทียบกับปี 2008 เขาได้มากกว่ามะเคน 7% และคนที่ลงคะแนนให้โอบาม่าลดจาก 70 ล้านเสียงเหลือแค่ 60 ล้าน เป็นเพราะอะไร?

สำหรับนักสังคมนิยม เราไม่เคยหลงเชื่อว่าพรรคเดโมแครดของโอบาม่าเป็นพรรค "ซ้าย" ของคนจน หรือเป็นพรรคของขบวนการแรงงาน เพราะในสหรัฐอเมริกาสองพรรคการเมืองหลักเป็นพรรคของกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่อย่างชัดเจน มีการใช้เงินมหาศาลในการหาเสียง และมีการร่วมกันเสนอนโยบาย"โดยนายทุนเพื่อนายทุน" เช่น นโยบายลดภาษีให้คนรวย หรือนโยบายจักรวรรดินิยมที่ก้าวร้าวไปทั่ว นอกจากนี้เราก็จะปฏิเสธด้วยว่ารัฐบาลพรรคเดโมแครดจะเป็นรัฐบาลที่ "แย่น้อยกว่า" รัฐบาลพรรคริพับลิแคนทั้งๆ ที่นักการเมืองพรรคริพับลิแคนมักใช้วาจาของพวกอนุรักษ์นิยมสุดขั้วก็ตาม ถ้าไม่เชื่อก็ต้องดูรูปธรรมของนโยบายทั้งสองพรรคเมื่อเป็นรัฐบาล

โอบาม่าชนะการเลือกตั้งในปี 2008 และเข้ามาเป็นประธานาธิบดีท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ร้ายแรงที่สุดตั้งแต่ยุค 1930 แต่แทนที่โอบาม่าจะปฏิรูปโครงสร้างระบบทุนนิยมเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในลักษณะการปรองดองระหว่างทุนกับคนงานกรรมาชีพ อย่างที่ประธานาธิบดีรุสเวลท์เคยทำในยุค 1930 โดยการใช้รัฐสร้างงานและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสหภาพแรงงาน โอบาม่ากลับเลือกข้างนายทุนฝ่ายเดียว และให้คนทำงานธรรมดาต้องแบกภาระจากวิกฤตที่ตนเองไม่ได้สร้าง

นโยบายเศรษฐกิจของโอบาม่าเป็นการต่อยอดนโยบายของรัฐบาลบุชที่มาก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะในเรื่องการปล่อยให้ธนาคารดำเนินกิจการและกอบโกยอย่างเสรี อันนี้เป็นการเลือกของโอบาม่า ไม่ใช่ว่าถูกบังคับแต่อย่างใด 

หลังจากที่กระตุ้นเศราฐกิจเล็กน้อย โอบาม่าหันมาใช้ลัทธิเสรีนิยมกลไกตลาดตามเคย ซึ่งเน้นการตัดสวัสดิการและแปรรูปภาครัฐให้เป็นเอกชน

เราเข้าใจได้ดีว่าทำไมโอบาม่าเลือกข้างนายทุน ซึ่งไม่ต่างจากพรรคริพับลิแคนเพราะในหนังสือของโอบาม่าที่ออกมาในปี 2007 เขาเล่าว่าตอนที่เขาเป็นวุฒิสมาชิกในสภา เขาเริ่มคลุกคลีกับพวกนายทุนและคนรวยที่สุด 1% ของประเทศจนตัวเขาเองเริ่มเคารพและคิดเหมือนพวกนั้น

เมื่อเราพิจารณาความเดือดร้อนของคนงานสหรัฐ โดยเฉพาะคนงานประกอบรถยนต์ที่เป็นสมาชิกสหภาพ United Auto Workers (UAW) ซึ่งกำลังตกงานจากวิกฤตที่เริ่มในระบบธนาคาร เราจะเห็นว่าหัวหน้าทีมงานของประธานาธิบดีโอบาม่าเคยพูดในทำเนียบขาวว่า "สหภาพนี้ไปตายห่าก็ได้" ("Fuck the UAW") ซึ่งผลของนโยบายดังกล่าวบวกกับความขี้ขลาดของผู้นำแรงงานระดับชาติ แปลว่าคนงานสหรัฐต้องแบกภาระการตกงานและการถูกตัดเงินเดือน เพื่อให้มีการฟื้นฟูกำไรสำหรับกลุ่มทุน ต่อมาท่าทีของนายกเทศมนตรีเมืองชิคาโก ซึ่งเป็นนักการเมืองพรรคเดโมแครดก็ไม่ต่าง เพราะพยายามแข็งข้อกับครูทั่วเมืองที่นัดหยุดงานในปีนี้ เพื่อเรียกร้องให้มีการพัฒนาสภาพโรงเรียนและสภาพการจ้างงาน

โดยรวมแล้วในสหรัฐตอนนี้มีตำแหน่งงานน้อยกว่าก่อนวิกฤตระเบิดขึ้นในปี 2007 ถึง 4.2 ล้านตำแหน่ง ปัจจุบันครึ่งหนึ่งของคนทำงานในสหรัฐ(75 ล้านคน) อยู่ในสภาพยากจนมีรายได้ไม่พอ คือต่ำกว่า $26,000 และถ้าเรารวมรายได้ทั้งหมดของคนงานทุกคนทั่วประเทศที่กินเงินเดือนเท่ากับหรือต่ำกว่า $50,000 มันยังน้อยกว่ารายได้ทั้งหมดของคนรวยที่สุด 1%

ในแง่ของการมีประธานาธิบดีผิวดำคนแรกในประวัติศาสตร์สหรัฐ คนทำงานผิวดำไม่ได้ประโยชน์เลย เพราะระดับการตกงานของคนผิวดำเพิ่มขึ้น 11% ในยุคโอบาม่า และความแตกต่างระหว่างรายได้เฉลี่ยของคนผิวขาวกับคนผิวดำก็เพิ่มขึ้นอีกด้วย คือตอนนี้ 22 เท่า

แม้แต่ในเรื่องระบบประกันสุขภาพ ซึ่งระบบสหรัฐแย่กว่าของไทยอีก เพราะพลเมืองจำนวนมากไม่มีการประกันเลย โอบาม่าก็ขี้ขลาดลังเลใจ และในที่สุดก็สนับสนุนกฏหมายประกันสุขภาพที่ไม่ต่างจากระบบที่ มิต รอมนี้ คู่แข่งพรรคริพับลิแคนนำมาใช้ก่อนหน้านั้นในรัฐแมแซชูเซทส์ คือยังแย่กว่าของไทยหรือของรัฐสวัสดิการในยุโรป

ในเรื่องนโยบายต่างประเทศ หลายคนเคยหวังว่ารัฐบาลโอบาม่าจะเปลี่ยนจุดยืน จากความก้าวร้าวเบ่งอำนาจของรัฐบาลบุช หลายคนคิดว่าโอบาม่าจะพยายามปรึกษาหารือกับประเทศอื่นๆ ก่อนที่จะทำอะไร แต่ที่ไหนได้ ในคำปราศัยหลังชัยชนะครั้งที่สอง โอบาม่าพูดว่าเขาภูมิใจในการที่สหรัฐอเมริกามีกองทัพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก

โอบาม่าเป็นผู้นำร่องในการเข้นฆ่าพลเรือนในตะวันออกกลางและในปากีสถาน ด้วยเครื่องบินไร้นักบิน(Drone) เป็นผู้นำร่องในการตามฆ่าบินลาเดน เป็นผู้ที่สนับสนุนการใช้อำนาจทหารในลิเบียเพื่อแทรกแซง "ไฮแจก" การปฏิวัติ 

เป็นผู้ที่เพิ่มกำลังทหารในเอเชียเพื่อค้านจีน และโอบาม่าก็สนับสนุนหมารับใช้ของสหรัฐในตะวันออกกลางอย่างเต็มที่ คือเป็นเพื่อนที่ดีของอิสราเอลในการที่อิสราเอลกดขี่ปราบปรามชาวปาเลสไตน์

นอกจากนี้โอบาม่าผิดสัญญาว่าจะปิดคุกทหารกวานทานาโมเบย์ ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง และผิดสัญญาว่าจะยุติสงครามในอัฟกานิสถาน แต่เราไม่ควรแปลกใจเลย เพราะในอดีต รัฐบาลพรรคเดโมแครดกับพรรคริพับลิแคนมีนโยบายจักรวรรดินิยมพอๆ กัน อย่าลืมว่าประธานาธิบดีเคเนดีและจอห์นสัน จากพรรคเดโมแครด เป็นผู้ที่เพิ่มจำนวนทหารและการทิ้งระเบิดมหาศาลในสงครามเวียดนาม

ถ้าพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างพรรคเดโมแครดกับสหภาพแรงงาน เราต้องเข้าใจว่าตั้งแต่ยุค 1930 พรรคคอมมิวนิสต์สหรัฐ ซึ่งมีอิทธิพลในหมู่นักเคลื่อนไหวแรงงานยุคนั้น ใช้นโยบายสร้าง "แนวร่วมข้ามชนชั้น" กับพรรคนายทุนอย่างเดโมแครด และมีบทบาทสำคัญในการห้ามไม่ให้เกิด"พรรคแรงงาน" อย่างแท้จริง อย่างที่เราเห็นในยุโรป เช่นพรรคสังคมนิยมปฏิรูปทั้งหลาย และต่อมาในสมัยสงครามเย็น รัฐอเมริกาใช้ "การล่าแม่มด" ในการปราบคอมมิวนิสต์อย่างหนักจนพรรคไม่เหลือซาก ในขณะเดียวกันยุคนั้นเป็นยุคที่เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวและฐานะของคนงานดีขึ้นชั่วคราว ผลในระยะยาวคือในการเลือกตั้งที่สหรัฐไม่มีพรรคทางเลือกเลย มีแต่พรรคนายทุนทีม A กับพรรคนายทุนทีม B แต่พวกผู้นำแรงงานน้ำเน่าก็ได้แต่เกาะพรรคเดโมแครดต่อไป

ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้ ฝ่ายที่ได้เสียงมากที่สุดคือฝ่ายที่ไม่เลือกใคร คาดว่าประชาชนสหรัฐที่มีสิทธิ์เลือกตั้งแต่ไม่ไปใช้สิทธิ์มีประมาณ 48% ของประชาชนทั้งหมด ซึ่งมากกว่าคนที่ลงคะแนนเสียงให้โอบาม่าหรือรอมนี้และปีนี้คนที่ไปใช้สิทธิ์ลดลงจากปี 2008 ประมาณ 10%

ดังนั้นเราสรุปได้ไหมว่าการเมืองในระบบเลือกตั้งของสหรัฐไม่มีความหมายสำหรับคนทำงานธรรมดา? ในแง่หนึ่งเราพูดได้ แต่ในอีกแง่ก็ไม่ถูก

ชัยชนะของโอบาม่าในการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อ 4 ปีก่อน มีความสำคัญที่ผู้ลงคะแนนเสียงให้โอบาม่า เพราะมันสะท้อนว่าคนสหรัฐจำนวนมากต้องการการเปลี่ยนแปลง และมันสะท้อนว่าคนสหรัฐจำนวนมากไม่เหยียดสีผิวของโอบาม่าด้วยแน่นอนคนที่ไปเลือกโอบาม่ารอบแรกจำนวนมากผิดหวังไปแล้ว แต่ก็ยังมีคนที่มองว่าการมีโอบาม่าเป็นประธานาธิบดีจะดีกว่าการมีคนอย่างรอมนี้และพรรคพวก

เหตุผลที่คนเหล่านี้จะใช้คือ ฝ่ายรอมนี้ประกอบไปด้วยนักการเมืองยุคไดโนเสาร์ที่คลั่งศาสนา ดูถูกสิทธิสตรี และปฏิเสธปัญหา "โลกร้อน" ซึ่งเป็นความจริง แต่ในภาพรวมมันเป็นการมองข้ามนโยบายรูปธรรมของฝ่ายเดโมแครดเมื่อเป็นรัฐบาล และเป็นการให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งในระบบรัฐสภาสหรัฐมากไป

อย่างไรก็ตามนักสังคมนิยมต้องเข้าใจคนที่ลงคะแนนให้โอบาม่า และพยายามแลกเปลี่ยนกับคนเหล่านี้ให้ทำกิจกรรมร่วมกันในรูปธรรม เช่นการสู้ผ่านสหภาพแรงงาน อย่างที่เกิดขึ้นกับการนัดหยุดงานของครูทั่วเมืองชิคาโกซึ่งได้รับชัยชนะหรือการรณรงค์ยึดพื้นที่กลางเมืองของขบวนการ Occupy และขบวนการเคลื่อนไหวอื่นๆ เช่นการต้านโลกร้อน หรือการต้านจักรวรรดินิยม เป็นต้น เพราะขบวนการเหล่านี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมสหรัฐได้มากกว่าการไปเลือกตั้ง ทั้งๆ ที่มันอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยเท่านั้น แต่มันก็เป็นก้าวแรกที่สำคัญ

ในอดีตการเปลี่ยนแปลงของสังคมสหรัฐมาจากการต่อสู้นอกรัฐสภาทั้งนั้น เช่นการลุกฮือนัดหยุดงานในยุค 1930 การเรียกร้องสิทธิของคนผิวดำ สตรี และเกย์ทอมดี้ การต่อต้านสงครามเวียดนาม หรือแม้แต่การเผาเมืองท่ามกลางการก่อจลาจล เป็นต้น

การเลือกตั้งในสหรัฐอาจไม่มีความหมายในตัวมันเอง และถ้าเราเป็นนักสังคมนิยมในสหรัฐ เราจะไม่เสียเวลาหรือสร้างความหวังเท็จด้วยการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือหาเสียงให้โอบาม่า แต่มันเป็นโอกาสที่จะพบประชาชนธรรมดาที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง ส่วนพวกที่นั่งอยู่บ้านและไม่ไปใช้เสียงก็น่าเห็นใจ แต่คนเหล่านั้นมีแนวโน้มจะไม่มีกำลังใจพอที่จะเคลื่อนไหวนอกระบบรัฐสภาเลย เขาจึงไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของนักเคลื่อนไหว

เวลาเราพิจารณาการเลือกตั้งที่สหรัฐ เราควรคิดกลับมาที่ไทย การเลือกตั้งในเดือนกรกฏาคมปี 2554 สำคัญที่เราสามารถแสดงให้สังคมเห็นว่าคนส่วนใหญ่ไม่เอาทหารและไม่เอาพรรคประชาธิปัตย์ คือเราต่อต้านรัฐประหารและการฆ่าประชาชน แต่มันไม่ได้สำคัญตรงที่เราได้พรรคเพื่อไทยขึ้นมาเป็นรัฐบาลแต่อย่างใด เพราะพรรคเพื่อไทยประกอบไปด้วยนักการเมืองฝ่ายทุนบวกกับโจรทางการเมืองด้วย

และถ้าเราพิจารณาตัวนโยบายของรัฐบาล โดยไม่พิจารณาที่มาที่ไปของรัฐบาลนี้ หรือความหลังของพรรคต่างๆ เราสามารถฟันธงได้ว่านโยบายพรรคเพื่อไทยจะไม่ต่างและไม่ดีกว่าพรรคประชาธิปัตย์ในรูปธรรมมากนัก และทั้งสองพรรคก็เลวพอๆ กันในเรื่องกฏหมาย 112 การขังลืมนักโทษทางการเมือง การไม่ปฏิรูประบบยุติธรรม การไม่ลดอำนาจกองทัพ และการไม่นำฆาตกรที่สั่งฆ่าเสื้อแดงมาขึ้นศาล และคงเลวพอๆ กันในเรื่องการต่อต้านการสร้างรัฐสวัสดิการผ่านการเก็บภาษีก้าวหน้าจากคนรวย หรือการแก้ปัญหาสงครามกลางเมืองในภาคใต้ผ่านการให้สิทธิคนในพื้นที่ที่จะกำหนดอนาคตของตนเองโดยไม่ต้องคำนึงถังแนวคิดชาตินิยมสุดขั้วของรัฐไทยอีกด้วย

สรุปแล้วในการเลือกตั้งข้างหน้าเราไม่ควรไปเลือกพรรคเพื่อไทย เราควรกาช่องไม่เลือกใคร แต่ที่สำคัญกว่าหลายร้อยเท่า เราต้องเน้นการเคลื่อนไหวของขบวนการต่างๆ เป็นหลัก เช่นสหภาพแรงงาน การรณรงค์ต่อต้านกฏหมายเผด็จการ 112 การรณรงค์ให้ปล่อยนักโทษการเมืองและนำฆาตกรมาขึ้นศาล และการต่อสู้เพื่อรัฐสวัสดิการ และแน่นนอนถ้าเราจะทำสิ่งเหล่านี้ด้วยประสิทธิภาพ เราต้องมีองค์กรหรือพรรคการเมืองสังคมนิยมของเราเอง ที่อิสระจากพรรคเพื่อไทยและแกนนำ นปช.

ประชาธิปไตยและสิทธิที่จะลงคะแนนเสียงเป็นสิ่งสำคัญ แต่มันสำคัญตรงที่มันช่วยสร้างพื้นที่ในการเคลื่อนไหว และเปิดโอกาสให้เราสร้างพรรคทางเลือกได้ แต่ในสหรัฐกับไทย พรรคทางเลือกที่แท้จริงยังไม่เกิด

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

"อภิสิทธิ์" แสดงความยินดี "โอบามา" ชนะเลือกตั้ง

Posted: 07 Nov 2012 11:46 AM PST

หวังให้เข้ามาสานต่อนโยบายด้านเอเชีย-แปซิฟิก แต่ก็หนักใจเพราะการเมืองสหรัฐมีความขัดแย้งระหว่างพรรคสูง อาจทำให้นโยบายหลายอย่างไม่เดินอย่างรวดเร็ว พร้อมเทียบกับเลือกตั้งเมืองไทยปี 54 ก็ผ่านไปได้เรียบร้อยเช่นกัน ด้านมติชนอ้าง "แหล่งข่าว" ระบุ "กลาโหม" เตรียมเคาะเรื่องถอดยศ "อภิสิทธิ์"

เมื่อวานนี้ (7 พ.ย.) เว็บไซต์พรรคประชาธิปัตย์ รายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการ "101 องศาข่าว ช่วงตรงไปตรงมากับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" เกี่ยวกับผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีในสหรัฐอเมริกาว่า ขอแสดงความยินดีด้วย คิดว่าประธานาธิบดีโอบามาก็เป็นบุคคลหนึ่งซึ่งมีบทบาทในการทำให้สหรัฐ อเมริกาได้เข้ามามีการรื้อฟื้นกับความสัมพันธ์กับภูมิภาคนี้อย่างเป็น รูปธรรม โดยหวังว่าจะได้มาสานต่องานตรงนี้กับทางภูมิภาคเอเชีย เอเชียแปซิฟิคต่อไป

"ก็แสดงความยินดีด้วยนะครับ และผมก็คิดว่าท่านประธานาธิบดีโอบามาก็เป็นบุคคลหนึ่งซึ่งได้มีบทบาทในการทำ ให้สหรัฐอเมริกาได้เข้ามามีการรื้อฟื้นกับความสัมพันธ์กับภูมิภาคนี้อย่าง เป็นรูปธรรม และปัจจุบันก็เข้ามามีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของอาเซียน ในเวทีเอเชียตะวันออก อะไรต่างๆ เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ดี แล้วก็หวังว่าท่านก็จะได้มาสานต่องานตรงนี้กับทางภูมิภาคเอเชีย เอเชียแปซิฟิค"

ผู้ดำเนินรายการถามว่า อยากเห็นความเป็นไปได้อะไรที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ไปที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของประธานาธิบดีโอบามาบ้าง นายอภิสิทธิ์ตอบว่า "ถ้าในแง่ของการต่างประเทศแล้ว ก็นอกจากการมาเพื่อเพิ่มพูนความสัมพันธ์โดยเฉพาะการค้าการลงทุน การให้เกิดดุลยภาพที่เหมาะสมในแง่ของความมั่นคงในภูมิภาค แล้วก็คาดหวังว่าสหรัฐฯเองอย่างไรก็เป็นมหาอำนาจ เพราะฉะนั้นเขาเป็นอย่างไรก็กระเทือนไปถึงโลก และถึงเราไม่มากก็น้อย เพราะฉะนั้นถ้าเขาฟื้นเศรษฐกิจเขาได้เร็ว ก็เป็นประโยชน์กับเรามาก ถ้าเขาช่วยทำให้บทบาทของเขาช่วยทำให้ตะวันออกกลางคลี่คลาย สภาพความขัดแย้งในปัจจุบัน หรือป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นอิหร่าน ไม่ว่าจะเป็นกรณีของซีเรีย ซึ่งอาจจะลุกลามบานปลายออกไป ก็ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์กับเราทั้งสิ้น แต่ว่าผมก็เชื่อว่างานหนักครับ ก็เป็นกำลังใจให้ หวังว่าท่านจะสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ แล้วก็แน่นอนครับ ผลการเลือกตั้งก็กลับมาเหมือนเดิม คือไม่ได้เหมือนเดิมเฉพาะท่านประธานาธิบดี แต่ว่าสภา รีพับลิกันก็ยังกลับมาเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นก็อาจจะเป็นเรื่องที่ยังต้องหนักใจกันนิดหน่อยว่า หลายเรื่องก็อาจจะทำให้สหรัฐฯ เอง ภาวะการเมืองก็ยังมีความขัดแย้งระหว่างพรรค ค่อนข้างสูง แล้วก็ทำให้งานหลายอย่างไม่เดินได้รวดเร็วอย่างที่หลายฝ่ายอยากจะเห็น"

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า "อยากให้คุณอภิสิทธิ์มองการเมืองในสหรัฐฯ ที่มีการยอมรับความพ่ายแพ้ และประกาศเดินหน้าร่วมงานทางการเมืองต่อไปนั้น เมื่อหันมามองการเมืองบ้านเราแล้ว เราจะไปถึงจุดนั้นบ้างได้หรือไม่" นายอภิสิทธิ์ตอบว่า "ผมว่าการเลือกตั้งครั้งที่แล้วนี่ก็ผ่านไปด้วยความเรียบร้อยนะครับ ของเรา ผมก็คืนนั้นก็ได้ยืนยันว่า ทุกสิ่งทุกอย่างก็อยากจะให้ทุกอย่างกลับเข้าสู่ระบบให้มากที่สุด ถ้าไม่มีเรื่องของผลประโยชน์ส่วนตัว ผลประโยชน์กลุ่มแอบแฝงแล้ว งานการเมือง นโยบายอะไรต่างๆ ก็ว่ากันไป แต่ว่าผมก็ไม่แน่ใจนะครับว่า ความร่วมไม้ร่วมมือของสหรัฐฯ จะแก้ปัญหาอย่างที่เจอกันมาหลายปีนี้หรือเปล่า เพราะว่าแน่นอนการหาเสียงครั้งนี้ก็ค่อนข้างที่จะดุเดือดพอสมควร ที่เราติดตามจากข่าวสารมา" 

นายอภิสิทธิ์ตอบคำถามที่ว่าประธานาธิบดีโอบามา ตัวตนที่แท้จริงเป็นอย่างไรว่า "ผมก็ว่าหลายสิ่งหลายอย่างที่เราเห็นจากข่าว แล้วก็ต้องยอมรับนะครับ ความตื่นเต้นที่ประชาชนทั่วโลกมี ช่วงที่ท่านก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนั้น ด้วยลักษณะบุคลิกที่ค่อนข้างที่จะดูจะเรียกว่าอ้อนน้อมก็ไม่เชิง แต่มีความเข้มแข็งอยู่ มีความมุ่งมั่นอยู่ แต่มีความสุภาพ มีความเป็นกันเอง ก็เป็นอย่างนั้นแหละครับ เป็นอย่างที่เห็นเลยครับ"

 

มติชนอ้าง "แหล่งข่าว" ระบุ "กลาโหม" เตรียมเคาะเรื่องถอดยศ "อภิสิทธิ์"

ขณะเดียวกัน "มติชน" อ้างรายงานจากกระทรวงกลาโหมว่า จากกรณีที่ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้แต่งตั้งคณะกรรมการรวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการถอนยศ และเรียกเบี้ยหวัดคืนจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ใช้หลักฐานไม่ถูกต้องสมัครเข้ารับราชการทหาร ที่ประกอบด้วย พล.อ.ม.ล.ประสบชัย  เกษมสันต์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน พล.อ.ชาญ โกมลหิรัญ เจ้ากรมเสมียนตรา พล.อ.ชัยรัตน์ ชีระพันธุ์ เจ้ากรมพระธรรมนูญ พล.ท.พอพล มณีรินทร์ ผบ.รร.นายร้อย จปร. ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการทั้งหมดได้ประชุมเพื่อตรวจสอบทางกฎหมาย และกฎระเบียบของกระทรวงกลาโหม พบว่า 1.นายอภิสิทธิ์ไม่ได้มารายงานตัวเพื่อตรวจเลือกการเกณฑ์ทหาร 2.ไม่ได้มีการขอผ่อนผันตามระเบียบ 3.การเข้ารับราชการเป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อย จปร.ไม่ถูกต้อง โดยแหล่งข่าวของ "มติชน" ระบุว่า คณะกรรมการดังกล่าวมีมติให้ใช้กฎกระทรวงกลาโหมดำเนินการถอดยศนายอภิสิทธิ์ ซึ่งได้ส่งเรื่องทั้งหมดไปให้ พล.อ.อ.สุกำพลแล้ว และระบุว่าการดำเนินการต่างๆ ที่ดูเหมือนทิ้งช่วงนั้นเพราะกฎหมายระบุให้กระทรวงกลาโหมต้องส่งหนังสือไปถึงผู้ถูกร้องคือนายอภิสิทธิ์ ให้เวลา 2 สัปดาห์ในการนำเอกสารหลักฐานมาชี้แจงคณะกรรมการ โดยมีการแจ้งนายอภิสิทธิ์แล้วแต่นายอภิสิทธิ์ไม่ได้เข้ามาชี้แจงหรือส่งหลักฐานตามระยะเวลาที่กำหนด

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีการชี้แจงเรื่องดังกล่าวจาก พล.อ.อ.สุกำพล

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เกร็ดบันเทิง: เก็บตกเลือกตั้งอเมริกา เมื่อสาวน้อย 4 ขวบน้ำตาท่วมเบื่อการหาเสียง

Posted: 07 Nov 2012 08:46 AM PST

วิทยุสาธารณะแห่งชาติสหรัฐขอโทษเด็กหญิงวัย 4 ขวบ หลังถูกระบุเป็นเหตุให้เธอร้องไห้น้ำตาไหลพรากบ่นเบื่อการเลือกตั้งเพราะแม่เปิดวิทยุฟังข่าวตลอดทางที่ไปซื้อของ ขณะที่คลิปเด็กน้อยมีผู้เข้าชมทางยูทูปว์แล้วกว่า 13 ล้านครั้ง

สาวน้อยอบิเกล อีแวนส์วัย 4 ขวบ จากเมืองฟอร์ธ คอลลินส์ มลรัฐโคโลราโด กลายเป็นเด็กน้อยอีกคนที่มีผู้เข้าไปคลิกไลค์และชมวิดีโอของเธอในยูทูปว์จำนวนหลักล้าน โดยเวลา 23.00 น. ตามเวลาเมืองไทย มีผู้คลิกเข้าไปชมแล้ว 13 ล้านครั้ง หลังจากที่แม่ของเธออัพโหลดขึ้นบนยูทูปว์ เมื่อวันที่ 30 ต.ค. ที่ผ่านมา

วีดีโอดังกล่าวมีความยาวเพียง 22 วินาที บันทึกภาพโดยอลิซาเบธ อีแวนส์ คุณแม่ของอบิเกลที่สนทนากับลูกสาวถึงสาเหตุที่เธอร้องไห้น้ำตาเป็นเผาเต่า และอบิเกลตอบกลับมาว่า "หนูเบื่อ หนูเบื่อ บรองโคบามมา กับมิต รอมนีย์" คุณแม่ปลอบประโลมลูกสาวว่า "อีกเดี๋ยวมันก็จะจบแล้ว โอเคไหม" สาวน้อยอบิเกลสะอื้นฮักก่อนตอบว่า "โอเค"

 

ไม่เพียงผู้คลิกเข้ามาชมในยูทูปว์ แต่อบิเกลยังกลายเป็นข่าวสำหรับสื่อในสหรัฐอีกหลายแห่ง และพาดหัวเกี่ยวกับวิดีโอของเธอก็เรียกชื่อของ บารัก โอบามา ว่า "บรองโคบามมา" ตามการเรียกของเด็กหญิงอบิเกลด้วย

ข้อเท็จจริงของเรื่องนี้มีอยู่ว่า แม่ของอบิเกลเปิดวิทยุสาธารณะแห่งชาติ NPR (National Public Radio) เพื่อติดตามรายงานเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีตลอดทางขณะขับรถไปจ่ายตลาด และอบิเกลก็ระเบิดร้องให้ออกมา

1 วันให้หลัง (31 ต.ค.) วิทยุสาธารณะแห่งชาติก็ไม่รอช้า ออกมากล่าวขอโทษเด็กหญิงอบิเกลวัย 4 ขวบ และผู้ฟังที่อาจจะรู้สึกแย่เหมือนๆ กับอบิเกล พร้อมปลอบใจว่าอีกไม่กี่วันการเลือกตั้งก็จะจบแล้ว

ในหน้าเว็บของ NPR ยังได้ลงรูปสาวน้อยอบิเกลที่ยิ้มร่า พร้อมระบุว่า ตอนนี้อบิเกลมีความสุขแล้ว

อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยของ Pew Research Center ก็ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่าพลเมืองสหรัฐจะออกอาการอยากจะร้องไห้เบื่อหน่ายการเมืองเหมือนเด็กน้อยในคลิปวิดีโอ โดยผลการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 63 เปอร์เซ็นต์ตอบแบบสำรวจว่า การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้น่าสนใจ โดยตัวเลขกลุ่มตัวอย่างนี้เพิ่มขึ้นจากการทำสำรวจเมื่อเดือนมิถุนายน ที่ระบุว่ามีเพียง 34 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างที่รู้สึกว่าการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง "น่าสนใจ"

การสำรวจของศูนย์วิจัย Pew Research Center ระบุด้วยว่า ประชาชนรู้สึกเบื่อดราม่าระหว่างบารัก โอบามา และมิต รอมนีย์ระหว่างการหาเสียง โดย 55 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า การหาเสียงครั้งนี้เป็นไปในเชิง "ลบ" มากเกินไป

 

อ่านเพิ่มเติม
Dear Little Girl: Sorry We Made You Cry About 'Bronco Bamma' And Mitt Romney

Presidential candidates make 4-year-old cry

Are we all 'Bronco Bamma' girl, so tired of election we could cry?

Little Girl Cries Over 'Bronco Bamma'

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ณัฐกร วิทิตานนท์: “การลอบสังหาร” ในการเมืองอเมริกัน

Posted: 07 Nov 2012 08:01 AM PST

"Anybody can kill anybody, even the President, remember?"

ประโยคเด่นจากภาพยนตร์เรื่อง Best Seller (1987)

 

จอห์น เอฟ เคนเนดี ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 35 (1961-1963) ถือเป็นประธานาธิบดีคนแรกและคนเดียวของพรรคเดโมแครตที่ถูกลอบสังหารจนถึงแก่อสัญกรรม (ที่มา: วิกิพีเดีย)

ความนำ

จากอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สังคมอเมริกันไม่เคยว่างเว้นจากการลอบสังหาร (Assassination)[1] นักการเมืองและผู้ที่มีบทบาททางการเมืองคนแล้วคนเล่าต้องจบชีวิตด้วยสาเหตุนี้ ไม่เว้นแม้แต่คนระดับประธานาธิบดีที่มีอำนาจบริหารสูงสุดของประเทศ

บทความชิ้นนี้พยายามที่จะรวบรวมข้อมูลการลอบสังหารทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา เน้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับประธานาธิบดีเป็นหลัก (โดยเฉพาะในครั้งที่ทำสำเร็จ) ซึ่งตัวเลขสถิติที่ผ่านมาบ่งชี้ว่าไม่มีประเทศใดที่มีประชากรเกิน 50 ล้านคนที่มีอัตราการลอบสังหารและความพยายามลอบสังหารทางการเมืองมากมายเท่านี้อีกแล้ว[2]

ความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในยุคต้น ๆ ของสหรัฐฯ มีเพียงความรุนแรงแบบฝูงชน (Mob) และการต่อสู้แบบตัวต่อตัว (Duel) เช่น กรณีของ Alexander Hamilton กับ Aaron Burr ในปี 1804 ที่ส่งผลให้ Hamilton บาดเจ็บสาหัสจนเสียชีวิต เท่านั้น

การลอบสังหารปรากฎขึ้นชัดเจนจากเหตุการณ์พยายามฆ่าประธานาธิบดี Andrew Jackson (1767-1845) ประธานาธิบดีคนที่ 7 (1829-1837) เขาถูกบันทึกว่าเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ถูกลอบสังหาร โดยเขาถูกนาย Richard Lawrence ซึ่งมีอาชีพเป็นนักวาดภาพเล็งปืนพกยิงเข้าใส่แต่พลาดเป้าไป เหตุเกิดวันที่ 30 มกราคม ค.ศ.1835 ต่อมาศาลพิพากษาว่านายริชาร์ด ลอว์เรนซ์ไม่มีความผิด เนื่องจากมีอาการทางประสาท และในขณะก่อเหตุไม่สามารถควบคุมตัวเองได้

ความรุนแรงทางการเมืองระลอกใหญ่ปะทุขึ้นภายหลังการตายของประธานาธิบดี Lincoln ใน ค.ศ.1865 ซึ่งเป็นปีที่ "สงครามกลางเมือง" ระหว่างรัฐฝ่ายเหนือกับรัฐฝ่ายใต้ที่ยืดเยื้อมากว่า 3-4 ปีสิ้นสุดลง ในช่วงนี้ ระหว่างปี 1865 ถึง 1877 ทั้งนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ เกือบ 40 คนได้ถูกลอบสังหาร และมากกว่า 20 คนเสียชีวิต[3] แน่นอน ความรุนแรงส่วนใหญ่มักพบทางตอนใต้ ซึ่งเป็นรัฐผู้พ่ายแพ้ในสงคราม

ในศตวรรษที่ 20 สามารถแบ่งช่วงหลักๆ ของความรุนแรงทางการเมืองและการลอบสังหารออกได้เป็น 3 ช่วง ช่วงแรก คือ ช่วงที่เพิ่งจะหมดยุคทาสใหม่ๆ ซึ่งยังนิยมใช้การประชาทัณฑ์อย่างแพร่หลาย ช่วงที่สอง ค.ศ.1920-1930 เกิดความรุนแรงระหว่างประชาชนด้วยกันเองจนมีเหตุบานปลายขึ้นในหลายพื้นที่ ช่วงที่สาม ระหว่างทศวรรษ 1960, 1970 และต้น 1980 หรือในห้วง "สงครามเย็น" ซึ่งมีการลอบสังหารนักการเมืองคนสำคัญ และนักกิจกรรมที่มีพลังทางการเมือง (เช่น เคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิมนุษยชน, ต่อต้านสงคราม ฯลฯ) อีกหลายต่อหลายคน เป้าหมายส่วนใหญ่เสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุค 60 ไม่ว่าจะเป็นตระกูล Kennedy ที่ต้องพบกับความสูญเสียถึง 3 หนในเวลาไล่เลี่ยกัน ตั้งแต่ประธานาธิบดี John F. Kennedy, วุฒิสมาชิก Thomas J. Kennedy, ผู้สมัครประธานาธิบดี Robert F. Kennedy เมื่อปี 1963, 1966, 1968 ตามลำดับ ตลอดจนผู้นำคนผิวสีคนสำคัญอย่าง Malcolm X (1965) และ Martin Luther King, Jr. (1968) คงพอสรุปได้ว่าความรุนแรงเกิดขึ้นถี่ยิบตั้งแต่ช่วงหลังประธานาธิบดี Kennedy ถูกลอบสังหารเป็นต้นมา ก่อนที่ปรากฏการณ์เช่นนี้จะเบาบาง และบรรลุผลสำเร็จน้อยลงเรื่อยๆ ในเวลาต่อมา

 

การลอบสังหารประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา[4]

 

(1) อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham  Lincoln, 1809-1865) ประธานาธิบดีคนที่ 16 (1861-1865) ­ผู้นำการเลิกทาสในสหรัฐฯ และนับเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากพรรครีพับลิกัน

ค่ำวันที่ 14 เมษายน ค.ศ.1865 ประธานาธิบดีลินคอล์นถูกจ่อยิงที่ศีรษะด้านหลังแบบเผาขนด้วยปืนสั้นเดอริงเจอร์ระหว่างนั่งชมละครกับภรรยาบนที่นั่งชั้นพิเศษ ณ โรงละครฟอร์ด ที่กรุงวอชิงตันดีซี ฆาตกรมีอาชีพเป็นนักแสดงของคณะละคร ชื่อนาย จอห์น วิลคส์ บูธ (John Wilkes Booth) ชายหนุ่มหัวรุนแรงที่สนับสนุนการให้มีทาส ลินคอล์นไม่ได้เสียชีวิตลงทันที หากแต่สิ้นลมในรุ่งเช้าวันถัดมา ส่วนนายบูธสามารถหลบหนีไปได้ แต่ก็ได้ถูกฆ่าระหว่างการหลบหนี

ลินคอล์นทราบมาตลอดว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่จ้องจะเอาชีวิตเขาจากจดหมายขู่เอาชีวิตที่ส่งมาถึงเขาเองกว่าร้อยฉบับ โดยเหตุการณ์ครั้งนี้เชื่อกันว่าเกิดขึ้นจากการสมคบคิดกันของคนกลุ่มหนึ่งที่มีความโกรธแค้นต่อลินคอล์น ซึ่งคนกลุ่มนี้เชื่อว่าลินคอร์นเป็นต้นเหตุของสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ที่เกิดขึ้นระหว่างปี 1861-1865 ผลพวงจากนโยบาย "เลิกทาส" ที่เมื่อเขาถูกเลือกขึ้นเป็นประธานาธิบดีในปี 1861 และได้ผลักดันกฎหมายเลิกทาสผ่านสภาจนสำเร็จ ส่งผลให้รัฐต่างๆ ทางตอนใต้ของสหรัฐฯ แสดงความไม่พอใจต่อตัวเขาเป็นอย่างมาก ด้วยความที่เป็นรัฐเกษตรกรรมทำให้ยังคงต้องอาศัยแรงงานทาสจำนวนมาก จึงได้มารวมตัวกันประกาศตนเป็นอิสระไม่ยอมขึ้นต่อรัฐบาลกลางอีกต่อไป จากนั้นสงครามกลางเมืองที่มีปมเหตุขัดแย้งมาจากเรื่องทาสและบั้นปลายทำให้ผู้คนเสียชีวิตถึงหกแสนคนก็เริ่มขึ้น ทว่าท้ายที่สุดชัยชนะกลับตกเป็นของฝ่ายเหนือ และวันสุดท้ายในชีวิตของลินคอล์นก็คือห้าวันหลังจากที่กองทัพฝ่ายใต้ยอมปราชัยต่อฝ่ายเหนือนั่นเอง

การลอบสังหารประธานาธิบดีลินคอล์นนำไปสู่กระแสต่อต้านชาวใต้ที่ลุกลามไปทั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลายๆ รัฐทางตอนเหนือ กระทั่งเหตุการณ์ค่อยๆ สงบลง อย่างไรก็ตาม คณะผู้สมคบคิดในคดีนี้ทั้งหมดถูกนำตัวขึ้นสู่ศาล กระทั่งมีคำตัดสินในปี 1865 ออกมาให้ประหารชีวิตจำเลย 4 คนด้วยการแขวนคอ ส่วนอีก 3 คนถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิต และอีก 1 คนถูกตัดสินจำคุก 6 ปี

โดยผู้ที่มารับช่วงตำแหน่งต่อจากลินคอล์นได้แก่ แอนดรูว์ จอห์นสัน (Andrew Johnson)

 

(2) เจมส์ อับราม การ์ฟิลด์ (James Abram Garfield, 1831-1881) ประธานาธิบดีคนที่ 20 (1881) และอดีต  นายพลคนสำคัญแห่งกองทัพสหรัฐฯ

เขาเป็นสมาชิกพรรครีพับลิกันที่ถูกมองว่าอยู่ในกลุ่ม "พันทาง" (Half-Breed) ของพรรค ขณะที่กลุ่มใหญ่ในพรรคคือพวกซอลวาร์ต (Stalwart) อันเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่เป็น "เลือดแท้" ทำให้ช่วงเวลานั้นในพรรคมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างมาก และทำให้คนในสองกลุ่มนี้ต้องฟาดฟันกันเอง

สายของวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ.1881 เพียงแค่ 5 เดือนหลังจากดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี การ์ฟิลด์ได้ถูกนาย ชาร์ลส จูเลียส กีโต (Charles Julius Guiteau) ลอบสังหาร เขาคือมือปืนที่อ้างตนว่าเป็นพวก "เลือดแท้" ผู้ซึ่งเคยทำงานให้แก่เขาช่วงการรณรงค์หาเสียงมาก่อน แต่ภายหลังกลับถูกเพิกเฉยละเลย และถูกดูหมิ่นเหยียดหยามจากคนในคณะรัฐบาลของเขา กีโตจึงตัดสินใจทำลงไปด้วยความแค้นเคือง

กีโตทราบมาว่าในวันเกิดเหตุนั้น ประธานาธิบดีจะเดินทางไปพักผ่อนช่วงฤดูร้อนโดยขบวนรถไฟ เขาดักรออยู่ที่สถานีรถไฟ Baltimore-Potomac ในกรุงวอชิงตันดีซี จนกระทั่งการ์ฟิลด์เดินทางมาถึง จึงฉวยโอกาสเดินเข้าไปประชิดตัวทางด้านหลังแล้วล้วงปืนพกออกมาจ่อยิงในระยะใกล้ การ์ฟิลด์ทรุดตัวล้มลงในทันที

ประธานาธิบดีการ์ฟิลด์ไม่ได้เสียชีวิตลงในทันทีหลังจากถูกยิงเข้าที่ตัว 2 นัด เขากลับมาพักรักษาอาการบาดเจ็บได้นานอีกถึง 11 สัปดาห์ และสามารถจะกลับมาทำงานได้แล้วด้วย แต่ในที่สุดเขาก็ต้องจากไปด้วยอาการติดเชื้อทางบาดแผล เมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ.1881 ซึ่งก็เป็นผลจากการถูกยิงนั่นเอง

ขณะที่กีโตถูกตำรวจจับกุมตัวไว้ได้ขณะกำลังที่จะหลบหนี คณะลูกขุนลงความเห็นว่าเขาผิดจริง ถึงแม้จะยกเอาความวิกลจริตของตัวเองขึ้นมาสู้คดีก็ไม่เป็นผล ศาลพิพากษาให้ประหารชีวิตเขาด้วยการแขวนคอในปี 1882

ความตายของการ์ฟิลด์ยังคงเป็นปริศนาในแง่ของสาเหตุที่แท้จริง หลายคนไม่เชื่อว่าจะเกิดจากแค่ความโกรธแค้นส่วนตัวของฆาตกรเพียงลำพัง แต่เชื่อว่าเบื้องลึกแล้วฆาตกรอาจทำเพื่อให้คนจากฝั่งซอลวาร์ตด้วยกันได้เป็นประธานาธิบดีแทน นั่นคือ เชสเตอร์ อาลัน อาร์เธอร์ (Chester Alan Arthur) รองประธานาธิบดีขณะนั้น

 

(3) วิลเลียม แมคคินลีย์ (William McKinley, Jr., 1843-1901) ประธานาธิบดีคนที่ 25 (1897-1901) ทหารผ่านศึกคนสุดท้ายจากสงครามกลางเมืองที่ได้เข้ามามีตำแหน่งทางการเมือง

แมคคินลีย์สังกัดพรรครีพับลิกัน เขาขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในช่วงที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาตกต่ำ ดังนั้น การที่เขาสามารถทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ กระเตื้องขึ้นมาได้ส่งผลให้เขาประสบชัยชนะในการเลือกตั้งกลับเข้ามาเป็นประธานาธิบดีต่อเนื่องอีกเป็นสมัยที่สอง ในปี ค.ศ.1900

แต่ในปีต่อมานั้นเองที่แมคคินลีย์ต้องถูกลอบสังหาร เมื่อบ่ายวันที่ 6 กันยายน ค.ศ.1901 ฝีมือมือปืนเชื้อสายโปแลนด์ที่เป็นพวกต่อต้านรัฐ (Anarchism) ชื่อนาย ลีออน โซลโกสซ์ (Leon Czolgosz) เขายิงประธานาธิบดีซึ่งๆ หน้าถึง 2 นัดซ้อน กระสุนเข้าที่หน้าท้องทั้ง 2 นัด โดยแอบซ่อนปืนเอาไว้ในผ้าเช็ดหน้า ขณะที่แมคคินลีย์กำลังให้การต้อนรับประชาชนที่รอคิวเพื่อเข้าไปจับมือกับตนอยู่ และมีโซลโกสซ์ยืนเข้าคิวอยู่ด้วย ในงานแสดงสินค้า Pan-American Exposition จัดที่เมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก เขาถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล แพทย์รักษาจนอาการดีขึ้น แต่ด้วยความที่บาดแผลเกิดอาการติดเชื้อลุกลาม เป็นผลให้เขาสิ้นใจลงอย่างสงบในวันที่ 14 กันยายน ค.ศ.1901 หรือในอีก 6 วันต่อมา

อย่างก็ตาม ในวันเกิดเหตุ เลขาส่วนตัวและผู้อารักขาของเขาได้กล่าวเตือนเขาก่อนแล้วว่าให้ยกเลิกกำหนดการดังกล่าว เนื่องจากเกรงความไม่ปลอดภัย แต่เขาก็ยังยืนยันที่จะไม่เปลี่ยนแผน และผู้ที่ได้รับตำแหน่งสืบต่อจากเขาก็คือ ธีโอดอร์ รูสเวลต์ (Theodore Roosevelt)

สำหรับด้านโซลโกสซ์ เขาถูกเจ้าหน้าที่อารักขาของประธานาธิบดีจับได้ทันทีหลังจากลงมือลั่นไก โดยเขาให้การว่าหน้าที่ของเขาก็คือการกำจัดพวกเห็นแก่ตัวให้หมดสิ้นไป เขาเห็นว่าแมคคินลีย์ทำงานให้แต่กับพวกนายทุนนายธนาคารเท่านั้น ไม่ใช่ชาวอเมริกันทั้งหมด

คดีนี้ถูกนำขึ้นสู่ศาลอย่างรวดเร็ว กอปรกับเขาเองก็ปฏิเสธที่จะพึ่งพากระบวนการทางกฎหมายทั้งหมด ในที่สุด เขาก็ถูกลงโทษสูงสุดคือ การประหารชีวิตด้วยการนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า ในปี 1901

 

(4) จอห์น เอฟ เคนเนดี (John F. Kennedy, 1917-1963) ประธานาธิบดีคนที่ 35 (1961-1963) ถือเป็นประธานาธิบดีคนแรกและคนเดียวของพรรคเดโมแครตที่ถูกลอบสังหารจนถึงแก่อสัญกรรม

ประธานาธิบดีเคนเนดีถูกลอบซุ่มยิงจากในระยะไกลในช่วงเวลากลางวันของวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ.1963 ที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส ขณะที่ขบวนรถเปิดประทุนแล่นไปตามถนนจนถึงบริเวณจัตุรัสกลางเมือง Dealey Plaza ซึ่งเขานั่งคู่ไปภรรยา และจอห์น คอนเนลลี ผู้ว่าการรัฐเท็กซัสพร้อมภรรยา กระสุนได้แล่นเจาะเข้าที่หลังทะลุออกลำคอ และที่บริเวณศีรษะเป็นแผลฉกรรจ์ มีผลให้เคนเนดีเสียชีวิตทันทีทันใด เบื้องต้นสันนิษฐานว่ากระสุนถูกยิงออกมาจากชั้นที่ 6 ของอาคารคลังหนังสือบริเวณนั้น

โดยภายหลังจากที่เกิดเหตุเพียงชั่วโมงเศษ ตำรวจก็สามารถตามจับตัวผู้ลั่นกระสุนสังหารได้ คือนาย ลี ฮาร์วีย์ วอลด์ (Lee Harvey Oswald) แต่ออสวาลด์ก็ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา และในอีกสองวันต่อมา ระหว่างที่กำลังนำตัวออกจากสถานีตำรวจเพื่อไปขอให้ศาลออกคำสั่งให้ฝากขังยังเรือนจำนั้น ออสวาลด์ก็ถูกนาย แจ็ค รูบี (Jack Ruby) เจ้าของบาร์แห่งหนึ่ง บุกฝ่าฝูงชนเข้าไปจ่อยิง เขาเสียชีวิตลงต่อหน้าต่อตาผู้คนและสื่อมวลชนจำนวนมาก ต่อมาศาลพิพากษาลงโทษประหารชีวิตรูบี แต่รูบีก็มาล้มป่วยและเสียชีวิตลงเสียก่อนจะได้ยื่นอุทธรณ์

เกือบหนึ่งปีให้หลังจึงมีผลสรุปออกมาจากคณะทำงานที่ถูกตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเพื่อทำการสอบสวนคดีนี้โดยเฉพาะหรือในชื่อเรียกว่า "คณะกรรมาธิการวอร์เรน" (The Warren Commission) ซึ่งมี เอิร์ล วอร์เรน (Earl Warren) ผู้พิพากษาศาลสูงสุดของสหรัฐฯ เป็นหัวหน้าคณะ สรุปว่าการลอบสังหารครั้งนี้มาจากความไม่พอใจต่อเคนเนดีเป็นการส่วนตัว โดยมือปืนผู้คลั่งในลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) ที่ลงมือกระทำการทุกอย่างแต่เพียงผู้เดียว โดยมิได้ร่วมมือกับใครหรือกลุ่มบุคคลใดๆ ทั้งสิ้น

ขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับข้อมูลที่ จิม แกร์ริสั (Jim Garrison) อัยการของเขตนิวออร์ลีนผู้ที่พยายามสอบสวนเบื้องลึกคดีนี้ได้นำเสนอต่อสาธารณะ (ซึ่งต่อมากลายเป็นภาพยนตร์เรื่องเยี่ยม JFK (1991) ผลงานของผู้กำกับคนสำคัญอย่าง Oliver Stone ที่พยายามจะชี้ให้ผู้ชมเห็นว่ามันเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง และเกิดจากการสบคบคิดกันมากกว่า) เนื่องจากเขาค้นพบความเชื่อมโยงของกลุ่มองค์กรต่างๆ ที่มีอิทธิพลระดับประเทศ พฤติกรรมที่เข้าข่ายน่าสงสัยว่าอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีลอบสังหารเคนเนดี สามารถสรุปออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ดังนี้[5]

1) ซีไอเอ หรือหน่วยข่าวกรองกลางสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีถึงความขัดแย้งขั้นรุนแรงระหว่างหน่วยงานนี้กับทำเนียบขาวในสมัยของประธานาธิบดีเคนเนดี

2) กลุ่มมาเฟีย (Mafia) คนกลุ่มนี้มีผลประโยชน์ทางธุรกิจต่างๆ ในระดับชาติมากมาย แต่จากนโยบายทางสังคมหลายๆ อย่างของเคนเนดี ทำให้คนกลุ่มนี้ต้องสูญเสียผลประโยชน์ไปด้วย

3) กลุ่มสายเหยี่ยวในกองทัพสหรัฐ ที่ต้องสูญเสียประโยชน์หรืออาจต้องสูญเสียต่อไปอีกในอนาคตจากนโยบายและการลดงบประมาณทางทหารของประธานาธิบดีเคนเนดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายต่างประเทศที่มีผลกระทบกับด้านการทหาร

4) กลุ่มอัลฟา 66 (Alpha 66) คนกลุ่มนี้เป็นชาวคิวบาอพยพที่เข้ามาอยู่ในรัฐฟลอริดาภายหลังจากการยึดอำนาจของฟิเดล คาสโตร (Fidel Castro) องค์กรนี้พยายามเคลื่อนไหวเพื่อโค่นล้มอำนาจของคาสโตร มาโดยตลอด แต่ก็ต้องสิ้นหวังลงเมื่อประธานาธิบดีเคนเนดีขึ้นปกครองประเทศ

5) กลุ่มนักธุรกิจและกลุ่มนายทุน ผู้ทรงอิทธิพลในระดับชาติที่ไม่พอใจต่อนโยบายของประธานาธิบดีเคนเนดี ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ คนกลุ่มนี้มักเป็นพวกอนุรักษ์นิยมขวาจัด จึงไม่พอใจนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน หรือการเอาใจคนผิวดำของเคนเนดี ทำให้คนกลุ่มนี้มองว่าเขาเป็นตัวอันตราย

อัยการแกร์ริสันมั่นใจมากว่ามือปืนต้องมีมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป โดยถูกวางไว้ตามจุดต่างๆ ทั้งที่อาคารห้องสมุด และตรงบริเวณเนินดินที่ขบวนรถแล่นผ่าน หรืออาจจะมีบริเวณอื่นอีก แต่ทุกๆ จุดได้ลงมือปฏิบัติการโดยพร้อมเพรียงกัน แน่นอนว่าเป็นการยิงมากกว่า 3 นัด และต้องมาจากทิศทางที่ต่างกันด้วย

ประธานาธิบดีเคนเนดี ถือได้ว่าเป็นผู้นำคนหนุ่มหัวก้าวหน้าที่มีแนวคิดใหม่ๆ ในการปฏิรูปประเทศ ตั้งแต่เขาได้รับเลือกตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในปี ค.ศ.1961 ก็นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ มากมาย ถึงแม้เขาจะต้องเผชิญหน้ากับวิกฤติการณ์ขีปนาวุธคิวบาในปี 1962 เหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลให้ ลินดอน นส์ จอห์นสัน (Lyndon Baines Johnson) ได้ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีสืบแทนเขา

ขณะเดียวกันก็มีการตั้งทฤษฎีที่ระบุถึงเบื้องหลังและสาเหตุอีกนับไม่ถ้วน หลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการลอบสังหารครั้งนี้ยังคงเป็นปริศนามาจนถึงทุกวันนี้

นอกจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ 4 คนที่ถูกลอบสังหารถึงแก่ชีวิตดังกล่าวไว้แล้ว ยังมีประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนอื่นอีกหลายๆ คนที่ต้องมาถูกลอบสังหาร บางคนได้รับบาดเจ็บสาหัสเฉียดตาย บางคนไม่เป็นอันตรายเลยแม้แต่น้อย และมีบ่อยครั้งที่แผนการลอบสังหารล้มเหลวลงเสียก่อน[6]

ข้อสังเกตคือ ตั้งแต่เริ่มต้นศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ปรากฏการลอบสังหารประธานาธิบดีบ่อยครั้งมาก และตั้งแต่ภายหลังการลอบสังหารประธานาธิบดีเคนเนดีเป็นต้นมา ผู้ที่ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ แทบทุกคนเคยถูกวางแผนลอบสังหารมาแล้วทั้งสิ้น แต่ก็ไม่มีซักครั้งที่ประสบความสำเร็จ

โดยมีสองเหตุการณ์แปลกๆ ที่ขอเอ่ยถึงเพิ่มเติม นั่นคือ กรณีแรก ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) ประธานาธิบดีคนที่ 37 มีนาย Samuel Byck เซลล์แมนตกงานมีความคิดจะฆ่าเขา โดยการจี้เครื่องบินพาณิชย์บังคับให้นักบินเอาเครื่องขึ้น ตั้งใจจะนำไปพุ่งชนทำเนียบขาว แต่จนมุมเสียก่อน เขาจึงฆ่าตัวตาย เหตุเกิดวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1974 ที่สนามบินนานาชาติ Baltimore-Washington อีกกรณี โรนัลด์ รแกน (Ronald Reagan) ประธานาธิบดีคนที่ 40 เคยถูกลอบสังหารหน้าโรงแรม Washington Hilton ในปี ค.ศ.1981 เหตุผลจากปากคำของนาย John Hinckley มือสังหารไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวเขาเลย Hinckley เป็นชายสติเฟื่องผู้ตกหลุมหลงรักดาราสาว Jodie Foster ชนิดแทบคลั่ง เขาทำเพื่อต้องการดึงความสนใจของเธอมาที่ตัวเขาบ้างเพียงเท่านั้น ซึ่งด้วยความสามารถของคณะแพทย์ทำให้สามารถช่วยชีวิตประธานาธิบดีเรแกนไว้ได้ทัน

 

บทส่งท้าย

จากที่กล่าวมาคงพอทำให้อธิบายโดยรวบรัดได้ว่าในการลอบสังหารประธานาธิบดีสหรัฐฯ แทบทุกกรณีนั้น เกิดจากการกระทำของคนเพียงคนเดียว และมือสังหารส่วนใหญ่มักถูกมองว่าเป็นกลุ่มคนที่มีความแปลกแยกทางสังคม (Social Separatism) ได้แก่ ผู้ที่มีทัศนคติและอุดมการณ์ทางการเมืองผิดแผกไปจากสังคมกระแสหลัก ซึ่งกินความรวมถึงหลายรายที่มีอาการบกพร่องทางจิตด้วย แน่นอนว่าความข้อนี้ได้กลายเป็นสูตรสำเร็จของบทสรุป (อย่างเป็นทางการ) เกี่ยวกับคดีลอบสังหารในการเมืองอเมริกันไปแล้ว และสมควรกล่าวไว้ด้วยว่าความตายหนึ่งมักนำไปสู่อีกความตายหนึ่ง (หรืออีกหลายๆ ความตาย) ได้เสมอ

ถึงกระนั้น การศึกษาการลอบสังหารที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 (ตั้งแต่ปี 1949) พบว่า การลอบสังหารส่วนใหญ่ได้รับการวางแผนและเตรียมตัวกันเป็นอย่างดี ขณะที่ส่วนน้อยนั้น จะเกิดจากการตัดสินใจอย่างฉับพลันมิได้ตระเตรียมล่วงหน้า ร้อยละ 25 ของผู้ลงมือ พบว่ามีอาการหลงผิด (ทางจิตวิทยา) และอีกร้อยละ 60 จะตะหนักรู้ในการกระทำของตัวเองก่อนที่จะลงมือกับเป้าหมาย ยิ่งมีอาการหลงผิด (ทางจิตวิทยา) มากก็ยิ่งประสบความสำเร็จน้อยลง จากรายงานยังพบด้วยว่า 2 ใน 3 ของผู้ลงมือ เคยถูกจับจากการฝ่าฝืนกฎหมาย 44 % มีประวัติเรื่องความหดหู่มาก่อน และอีก 39 % ได้รับการเลี้ยงดูอย่างไม่ดีเท่าที่ควร[7]

ขณะที่ข้อสันนิษฐานเชิงลึกกลับเห็นว่า สาเหตุจริงๆ น่าจะสลับซับซ้อนกว่าที่คิดมากโข โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากวิเคราะห์โดยใช้แนวทาง ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิด (Conspiracy Theory) ด้วยแล้ว ซึ่งทฤษฎีนี้พยายามชี้ให้เห็นว่าเบื้องหลังความตายของบุคคลสำคัญทางการเมือง เป็นผลจากการสมคบคิดกันของขบวนการใหญ่โตในแบบที่คาดไม่ถึง โดยต้องการจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เฉพาะอย่างยิ่งกับตัวผู้นำ หลายๆ เหตุการณ์เป็นไปไม่ได้อย่างเด็ดขาดที่จะมีผู้ก่อการเพียงคนเดียว แน่นอน องค์กรที่อยู่ในข่ายต้องสงสัยมากที่สุดว่าคอยบงการอยู่เบื้องหลังยามมีการฆาตกรรมที่พัวพันกับเรื่องการเมือง ก็คือ หน่วยงานของรัฐบาลกลางอย่าง ซีไอเอ และ เอฟบีไอ ภายใต้อุดมการณ์ทางการเมืองแบบขวาจัด หรือไม่ก็เพื่อจะปกป้องผลประโยชน์มหาศาลของคนบางกลุ่ม

พูดตามจริง แม้นการรัฐประหาร จะยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในสังคมอเมริกัน แต่หลายคนกลับเห็นว่าการลอบสังหารหลายๆ คราวมันก็คือการรัฐประหารดีๆ นี่เอง บางคนถึงขนาดเรียกการลอบสังหารทำนองนี้ว่าเป็น "รัฐประหารเงียบ" (The Silent Coup) เนื่องจากการถึงแก่อสัญกรรมของประธานาธิบดี (คนหนึ่ง) เป็นหนึ่งในเหตุที่เปิดโอกาสให้รองประธานาธิบดี (อีกคนหนึ่ง) มีสิทธิเข้ารับช่วงตำแหน่งต่อจนสิ้นสุดวาระ

ปรากฏการณ์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นด้านที่เป็นจริงของ "การเมือง" ที่แม้นแต่ภายในระบอบเสรีประชาธิปไตยอย่างอเมริกายังกลับเต็มไปด้วย "ความรุนแรง" ชวนให้นึกถึงวาทะอมตะของ Joseph Stalin ที่ว่า "ความตายแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง...ไม่มีมันปัญหาก็จบ" (Death solves all problems, No Man No Problems).




[1] เหตุการณ์ที่เป็นข่าวใหญ่ครั้งหลังสุดคือ เหตุการณ์ที่นาง Gabrielle Giffords ส.ส.พรรคเดโมแครต รัฐอริโซนา ถูกมือปืนจ่อยิงแต่รอดตาย เมื่อวันที่ 8 มกราคมของปี 2011 ในระหว่างออกพบปะประชาชนในเมืองทูซอน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 6 ราย รวมทั้งเด็กหญิงอายุ 9 ปี และมีผู้บาดเจ็บอีกหลายสิบราย นอกจากนี้รายงานข่าวบางแหล่งยังให้ข้อมูลด้วยว่า เธอคือสมาชิกสภาหญิงคนแรกของสหรัฐฯ ที่มาถูกลอบสังหาร ดู http://en.wikipedia.org/wiki/2011_Tucson_shooting

[2] พิจารณาจากความตายของประธานาธิบดี 4 คน ผู้ว่าการรัฐ 8 คน สมาชิกวุฒิสภา 7 คน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 9 คน นายกเทศมนตรี 11 คน สมาชิกสภานิติบัญญัติของรัฐ 17 คน และผู้พิพากษา 11 คนในรอบ 200 กว่าปี อ้างใน "Political Assassination: The Violent Side of American Political Life," http://www.digitalhistory.uh.edu/historyonline/assassinations.cfm และจาก "List of assassinated people," http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_assassinated_people

[3] เรื่องเดียวกัน.

[4] เรียบเรียงจากหนังสือหลายเล่ม ได้แก่ Jon Roper, The Illustrated Encyclopedia of The Presidents of America, (London: Hermes House, 2008); Lindsay Porter, Assassination: A History of Political Murder, (New York: Overlook Press, 2010); Paul Elliott, Assassin: The Bloody History of Political Murder, (London: Blandford, 1999); บรรพต กำเนิดศิริ, ลอบสังหารผู้นำ, (กรุงเทพฯ: อนิเมทกรุ๊ป, 2549); เอกนรี พรปรีดา, ลอบสังหารประธานาธิบดีสหรัฐ, (กรุงเทพฯ: มายิก สำนักพิมพ์, 2552).

[5] เอกนรี พรปรีดา, อ้างแล้ว, หน้า 90-91.

[6] ดู Frederick M. Kaiser, "Direct Assaults Against Presidents, Presidents-Elect, and Candidates," www.fas.org/sgp/crs/misc/RS20821.pdf

[7] Robert Fein and Brian Vossekuil, "Assassination in the United States: An Operational Study of Recent Assassins, Attackers, and Near-Lethal Approaches," Journal of Forensic Sciences Vol.44 No.2 (March 1999).

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กำนัน-ผู้ใหญ่นับหมื่นยุติชุมนุม หลังมท.1 รับปากไม่ดันร่าง พ.ร.บ.ปกครองท้องที่เข้าสภา

Posted: 07 Nov 2012 05:55 AM PST

กำนัน-ผู้ใหญ่ นับหมื่นชุมนุมค้าน ร่าง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ฉบับใหม่ ที่กำหนดวาระ 5 ปีและเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ชี้เป็นการทำลายสถาบันกำนัน-ผู้ใหญ่ มท.1 ยัน ร่างฯ นี้ ไม่เข้าในสมัยการประชุมนี้เด็ดขาด และจะให้กรมการปกครองยกร่างใหม่แบบที่กำนันผู้ใหญ่บ้านต้องการ ไม่มีวาระตำแหน่ง 5 ปี

7 พ.ย.55 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า กำนันผู้ใหญ่บ้านจากทั่วประเทศนับหมื่นคน ในนามสมาคมกำนันและผู้ใหญ่แห่งประเทศไทย ได้ทยอยเดินเดินทางมาถึงตั้งแต่ช่วงดึกเมื่อคืนที่ผ่านมาเพื่อร่วมชุมนุมปกป้องสถาบันกำนันผู้ใหญ่บ้าน คัดค้านร่างพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ฉบับใหม่ ที่มีการกำหนดให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนและดำรงตำแหน่ง วาระ 5 ปี จากเดิมให้อยู่จนถึงเกษียณอายุ 60 ปี การชุมนุมมีแกนนำกำนันผู้ใหญ่บ้านสลับขึ้นปราศรัยบนรถขยายเสียงเพื่อให้สภาฯ และรัฐบาลยุติการแก้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยมีแกนนำส่วนหนึ่งนำโดยนายยงยศ แก้วเขียว นายกสมาคมกำนันและผู้ใหญ่แห่งประเทศไทย ได้เดินทางไปถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ที่โรงพยาบาลศิริราช ด้วย

นายยงยศ แก้วเขียว นายกสมาคมกำนันและผู้ใหญ่แห่งประเทศไทย

เวลาประมาณ 11.30 น. นายยงยศ ได้กลับมาขึ้นเวทีปราศรัยต่อผู้ชุมนุมว่า วันนี้เราเล็งเห็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 2 พรรค คือพรรคเพื่อไทย 4 คน พรรคประชาธิปัตย์ 1 คน ต้องรับผิดชอบในการเสนอกฎหมายครั้งนี้ วันนี้ยุทธการการต่อสู้ของพี่น้องกำนันผู้ใหญ่บ้านทั้งประเทศกำลังเข้าสู่ที่หมายและสมหวัง หัวหน้าพรรคเพื่อไทยจะมาตอบคำถามพี่น้องกำนันผู้ใหญ่บ้านบนเวทีนี้ วันนี้เราถือว่าเรามาต่อสู้เพื่อสงครามศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันกำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็นครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่กำนันผู้ใหญ่บ้านทั้งประเทศเดินทางมามากที่สุด หน้าที่ต่อไปเป็นหน้าที่ของฝ่ายการเมืองที่ต้องรับข้อเรียกร้องของสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านฯ เราเจตนาดีกับประเทศ เราเจตนาดีกับองค์กรและรัฐบาล สิ่งที่ ส.ส.เรียกร้องและร่างกฎหมายท่านมีสิทธิทำได้ สิ่งที่พวกเราอยากได้คือการถอนกฎหมาย

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

หลังจากนั้นนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าพรรคเพื่อไทยได้ขึ้นกล่าวชี้แจงกับผู้ชุมนุมว่า สถาบันกำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นสถาบันที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 สร้างขึ้นมาเป็นเวลา 120 ปีเศษแล้ว และเป็นสถาบันหลักสำคัญของบ้านเมืองมาโดยตลอด และแท้ที่จริงแล้วเป็นสถาบันที่เกิดและเติบโตมาจากประชาชน เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ชี้แจงอีกว่าเรื่อง พ.ร.บ.ปกครองท้องที่นั้น เป็นสิ่งที่ ส.ส.เสนอ ร่างขึ้นมา รวม 5 ฉบับด้วยกัน ซึ่งเป็นของพรรคเพื่อไทย 3 ฉบับ ของประชาธิปัตย์ 2 ฉบับ เมื่อผ่านวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการแล้ว ก็มีการตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาและนำทั้ง 5 ฉบับรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน ขั้นตอนอยู่เพียงแค่ตอนนี้ ยังไม่ได้ผ่านวาระ 2 และยังไม่ได้เข้าสู่การพิจารณาของสภาในวาระ 3 เพราะฉะนั้นเป็นกลไกในส่วนของฝ่ายนิติบัญญัติดำเนินการ ไม่ได้เป็นกฎหมายที่ฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ แต่ตนเองได้คุยในลักษณะไตรภาคีกับฝ่ายนิติบัญญัติ คือ กรรมาธิการที่ยกร่างฯ ฝ่ายกำนันผู้ใหญ่บ้าน และมีฝ่ายกลางคือข้าราชการนับตั้งแต่ปลัดกระทรวง อธิบดีกรมการปกครอง ได้ข้อสรุปว่า วันนี้เราตอบได้ว่าเราจะหยุดยั้งเรื่องนี้ไว้ก่อน แต่ยังถอนไม่ได้เพราะไม่มีอำนาจถอน อำนาจอยู่ที่ฝ่ายนิติบัญญัติ วันนี้จึงรับปากไม่ได้ว่าต้องถอน แต่รับปากได้ว่าเราหยุด

"เมื่อหยุดแล้ว ร่าง พ.ร.บ. นี้จะไม่เข้าในสมัยการประชุมนี้เด็ดขาด" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกล่าวย้ำ

นายจารุพงศ์ ได้อธิบายถึงขั้นตอนต่อจากนี้กับผู้ชุมนุมว่าจะให้ทางฝ่ายกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ยกร่างใหม่ขึ้นมา ซึ่งจะเป็นร่างที่กำนันผู้ใหญ่บ้านต้องการให้เป็น และจะนำร่างนี้เข้าสู่ ครม. และเข้าสู่ฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อเข้าไปแล้วก็สามารถเข้าไปปรับและแก้ตามกระบวนการ

นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยยังได้เปิดเผยกับผู้ชุมนุมด้วยว่า ร่างที่เสนอร่างโดยกรมการปกครอง ผ่านกระทรวงมหาดไทย และนำเข้าสู่สภานั้นจะไม่มีเงื่อนไขเรื่องวาระ 5 ปี มีเพียงมาตราเดียวว่าด้วยการเลือกตำแหน่งกำนันโดยประชาชน โดยผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับสมัครเลือกตั้งเท่านั้น พร้อมทั้งยืนยันด้วยว่าคนที่เป็นกำนันผู้ใหญ่บ้านในวันนี้ถ้าไม่ตายก่อนก็อยู่ในตำแหน่งจนถึง 60 ปีแน่นอน

โดยหลังจากนั้น นายจารุพงศ์ และคณะได้ลงจากเวทีเพื่อไปสักการะพระบรมรูป ร.5 ผู้ชุมนุมจึงสลายการชุมนุมในเวลา 12.30 น.

ภาพบรรยากาศการชุมนุม :

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'กรมการค้าต่างประเทศ' แจง กมธ.วุฒิฯ ปม ‘ระบายข้าว’ ชี้สิ้นปี 56 คืนเงิน ธ.ก.ส. 2.4-2.6 แสนล้าน

Posted: 07 Nov 2012 05:44 AM PST

แจงแผนระบายข้าวคิดเป็นรายได้ ส่วนขายข้าว 'จีทูจี' 7.3 ล้านตันหมดในไตรมาส 3 ปีหน้า ทำ MOU 3 ประเทศอีก 8 ล้านตัน ย้ำข้อมูล USDA –สถานการณ์ในอินเดีย เปิดโอกาสการค้าข้าวไทยปีหน้ารุ่ง ด้าน 'คำนูณ' ชี้ 'จำนำข้าว' ก่อหนี้สาธารณะ กระทบลงทุนสาธารณูปโภคพื้นฐาน

 
วันนี้ (7 พ.ย.55) เวลา 10.00 น.ห้อง 114 อาคารรัฐสภา 2 คณะอนุกรรมาธิการด้านการธนาคาร และสถาบันการเงินในตลาดเงิน ในคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน วุฒิสภา ประชุมพิจารณานโยบายการระบายข้าว หลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการระบายข้าว ผลการดำเนินการระบายข้าว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 จนถึงปัจจุบัน และปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง โดยเชิญอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และนายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าให้ข้อมูล
 
ทั้งนี้ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยแจ้งว่าติดภารกิจไม่ได้มาร่วมให้ข้อมูล ส่วนอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศติดภารกิจไปเจรจาความร่วมมือการค้าข้าวที่ประเทศพม่า ส่งตัวแทนจากสำนักบริหารการค้าข้าวต่างประเทศ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และนักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการเข้าร่วมชี้แจง โดยขอสงวนชื่อในการเผยแพร่ข่าว
 
 
รับ 'ราคาจำหน่าย-การเก็บสต็อกข้าว' อุปสรรค์การระบายข้าว
 
ตัวแทนกรมการค้าต่างประเทศ ชี้แจงว่า ในเรื่องการระบายข้าวตามโครงการรับจำนำข้าวนั้น อยู่ภายใต้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) โดยมีอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวสาร ซึ่งมี รมว.กระทรวงพาณิชย์เป็นประธานอนุกรรมการ และอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเป็นเลขานุการและกรรมการ ทำหน้าที่ในเรื่องการระบายข้าว และมีการตั้งคณะกรรมการระบายข้าวที่มีอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเป็นประธานเพื่อดำเนินการในเรื่องเกณฑ์การค้าและการต่อรองเพื่อให้ขายในราคาที่ดีที่สุด
 
ทั้งนี้ อุปสรรค์ในการระบายข้าว คือเรื่องราคาจำหน่ายและการเก็บสต็อกข้าว ซึ่งต้องการขายในราคาที่ดีที่สุด แต่ก็อยู่กับสถานการณ์และช่วงจังหวะเวลา หากบางช่วงราคาปรับตัวดีขึ้นในตลาดโลกก็จะขายได้มากขึ้น ตรงนี้เป็นข้อจำกัดทางปัจจัยภายนอก โดยที่ผ่านมามีการขายอย่างต่อเนื่อง ค่อยๆ ระบายออก ส่วนปัจจัยภายในคือหากเก็บข้าวไว้นานก็จะเสื่อมคุณภาพ จึงต้องพยายามดำเนินการอย่างรอบครอบเพื่อไม่ให้รัฐเสียประโยชน์
 
สำหรับการระบายข้าว ตามที่รัฐบาลได้ให้ความเห็นชอบใน 5 วิธี คือ 1.การเจรจาขายแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) 2.เปิดประมูลขายเป็นการทั่วไปให้พ่อค้าข้าวและผู้ส่งออก 3.ซื้อขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (เอเฟด) 4.ขายให้องค์กรภายในประเทศหรือนอกประเทศ และ 5.บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ ตัวแทนกรมการค้าต่างประเทศ ชี้แจงถึงการดำเนินที่ผ่านมา คือมีการเปิดประมูลขายให้ผู้ประกอบการในประเทศ 5 ครั้ง รวมจำนวน 3 แสนกว่าตัน และมีการจำหน่ายให้กับหน่วยงานราชการด้วยกัน ไปแล้ว 8.3 แสนตัน
 
โดยราคาขายที่ประกาศเป็นการทั่วไปให้กับผู้ประกอบการในประเทศอิงกับราคาตลาด เพื่อไม่ให้ราคาต่ำเกินไป ยกตัวอย่างข้าวหอมมะลิราคาตลาดยู่ที่ ตันละ 31,000 – 32,000 บาท จะขายอยู่ที่ 29,000 – 30,000 บาท ส่วนข้าวสารขาว 5 เปอร์เซ็นต์ ราคาตลาดภายในประเทศอยู่ที่ตันละ 16,500 บาท  
 
 
เผยระบายข้าว 'จีทูจี' 7.3 ล้านตันได้ ในไตรมาส 3 ปี 56
 
ส่วนความคืบหน้าการขายข้าวจีทูจี ขณะนี้มีการทำสัญญาซื้อขายไปแล้ว 7.3 ล้านตัน กับอินโดนีเซีย ไอวอรี่โคสต์ และจีน ซึ่งอยู่ระหว่างการส่งมอบและคาดว่าจะส่งมอบทั้งหมดได้ราวไตรมาส 3 ของปี 2556 อีกทั้งมีการทำเอ็มโอยูขายข้าวอีก 8 ล้านตัน กับอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบังกลาเทศ รวมแล้วเป็นตัวเลขได้ 15.3 ล้านตัน ทั้งนี้ เอ็มโอยูนั้นบางส่วนมีความจำเป็น แม้ไม่ใช่สัญญาซื้อขายข้าวแต่ในบางกรณีเป็นข้อกำหนดของผู้ซื้อที่ต้องทำก่อนจึงจะขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐได้
 
ทั้งนี้ ปีการผลิต 2554-2555 ผลผลิตข้าวทั้งนาปีและนาปรังรวมแล้วมี 23 ล้านตัน ใช้บริโภคในประเทศประมาณ 10 ล้านตัน และมีผลผลิตค้างในสต็อกเก่าอยู่ด้วย
 
ตัวแทนกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวด้วยว่า การระบายข้าวในอีก 2 วิธี ที่ยังไม่มีการดำเนินการนั้น ในกรณีการซื้อขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า มีความซับซ้อน อีกทั้งการแข่งขันยังไม่สมบูรณ์ ตลาดยังเป็นของผู้ซื้ออยู่ ซึ่งจะส่งผลเชิงลบในภาพรวม รวมทั้งต่อการค้าแบบจีทูจีด้วย จึงมีการชะลอออกไปก่อน ส่วนการบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ ขณะนี้ยังไม่มีเหตุการณ์วิกฤติเกิดขึ้นจึงไม่ได้มีการดำเนินการ
 
 
แจงแผนระบายข้าวคิดเป็นรายได้ - สิ้นปี 2556 คืนเงิน ธ.ก.ส. 2.4-2.6 แสนล้าน
 
ต่อคำถามเรื่องระยะเวลาการระบายผลผลิตข้าวของปี 2554-2555 ว่าจะหมดในเมื่อไหร่ ตัวแทนกรมการค้าต่างประเทศชี้แจงว่า ได้มีการจัดทำแผนการส่งมอบเงินให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยสิ้นปีนี้จะส่งมอบเงินรวมประมาณ 75,000 – 85,000 ล้านบาท ขณะนี้คืนไปแล้ว 42,000 ล้านบาทซึ่งเป็นเฉพาะเงินจากจีทูจี ส่วนเงินที่ได้จากการค้าภายในประเทศนั้น องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ต้องจ่ายให้ ธ.ก.ส.โดยตรง
 
นอกจากนี้ไปจนถึงสิ้นปี 2556 จะคืนเงินให้ ธ.ก.ส.รวมทั้งหมด 2.4-2.6 แสนล้านบาท เหล่านี้คือแผนของการระบายที่คิดเป็นรายได้ออกมา ซึ่งอาจบอกเป็นปริมาณได้ไม่ชัดเพราะขึ้นอยู่กับราคาในแต่ละช่วงเวลา แต่ที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่ประมาณ 10 ล้านตัน ส่วนเรื่องรายรับนั้นก็มีตรวจสอบทุกไตรมาศถึงตัวเลขที่คาดการณ์ไว้และรายรับที่เข้ามา โดยกำหนดไว้ให้ไม่เกินบวกลบ 20 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้เป็นไปตามแผนของรายได้ที่จะส่งคืน ธ.ก.ส. และมีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะเอาเงินทุนไปหมุนในระบบให้โครงการเดินหน้าต่อไปได้
 
 
ย้ำข้อมูล USDA –สถานการณ์ในอินเดีย เปิดโอกาสการค้าข้าวไทยปีหน้ารุ่ง
 
ตัวแทนกรมการค้าต่างประเทศ ชี้แจงต่อมาถึง การคาดการณ์แนวโน้มข้าวในตลาดโลกว่า จากตัวเลขของ กระทรวงเกษตรของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. Department of Agriculture: USDA) ระบุว่า ในปีหน้าปริมาณการบริโภคข้าวจะสูง จากเดิมที่ปริมาณการผลิตสูงกว่าการบริโภค นั่นหมายความว่าการค้าขาวจะสูงขึ้น นอกจากนี้ ในส่วนของอินเดียประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก ปีนี้ประสบภาวะฝนแล้ง ทำให้เป้าหมายการผลิตข้าว 110 ล้านตัน ลดลงเหลือ 99 ล้านตัน ซึ่งในจำนวนนี้ใช้บริโภคในประเทศถึง 90 ล้านตัน ตรงนี้จะถือเป็นโอกาสของประเทศไทยในการส่งออก อีกทั้งในฐานะผู้ขายจะสามารถกำหนดราคาได้ดีขึ้น
 
ต่อคำถามเรื่องผลกระทบต่อผู้ส่งออก ตัวแทนกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ระบบตลาดส่งออกนั้น ผู้ส่งออกจะรับออร์เดอร์มาซึ่งส่วนใหญ่ผู้ซื้อเป็นคนกำหนดราคา แล้วทำการจัดหาข้าวในประเทศโดยผ่านโรงสีที่ไปรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวบ้าน ซึ่งตรงนี้ราคาข้าวจะถูกกำหนดโดยผู้ซื้อและจะกดราคาลงไปเรื่อยๆ ทำให้ชาวนาลำบากเพราะต้องทนยอมรับกับราคาดังกล่าว ทั้งนี้ตามระบบดังกล่าวผู้ส่งออกจะได้รายได้มากจากการขายปริมาณที่มาก มี margin มาก แต่เมื่อมีการเปลี่ยนนโยบาย มูลค่าต่อหน่วยของสินค้าเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้รายได้ของผู้ส่งออกลดลง ซึ่งตรงนี้ก็มีการพูดคุยและมีความพยายามในการช่วยเหลือผู้ส่งออกเพื่อให้สามารถดำเนินการต่อไปได้
 
 
ชี้ 'รับจำนำข้าว' ไม่ได้ดัมพ์ตลาดข้าว ไม่ขัดหลักการ WTO
 
ตัวแทนกรมการค้าต่างประเทศ ชี้แจงต่อมาถึงกรณีโครงการรับจำนำข้าวที่อาจทำให้ไทยเข้าข่ายฝ่าฝืนระเบียบขององค์การการค้าโลก (WTO) ว่า ส่วนตัวเข้าใจว่าหลักการของ WTO นั้นกลัวว่าประเทศใดประเทศหนึ่งจะทำการอุดหนุนภายในประเทศมาก จนต้นทุนของผู้ส่งออกลดลง สามารถส่งออกสินค้าในราคาที่ต่ำ แล้วผู้ค้าในประเทศอื่นๆ จะได้รับผลกระทบเพราะแข่งขันเรื่องราคาไม่ได้ แต่ในกรณีของโครงการรับจำนำข้าวนั้นทำให้ราคาส่งออกข้าวของไทยเพิ่มขึ้น ปัจจุบันราคาข้าวของเวียดนามอยู่ที่ 440 เหรียญสหรัฐ ส่วนไทยอยู่ที่ 560 เหรียญสหรัฐ จากที่เคยราคาใกล้เคียงกัน ส่วนสหรัฐจากเดิมมีราคาข้าวสูงกว่าไทย 80 เหรียญสหรัฐ ปัจจุบันราคาห่างกันราว 30-40 เหรียญสหรัฐ
 
ดังนั้น ในตลาดโลกคนที่ได้เปรียบคือ เวียดนาม สหรัฐ และอินเดีย เพราะราคาส่งออกข้าวของไทยสูงขึ้น และปริมาณส่งออกต่ำลง รัฐบาลไม่ได้ขายข้าวออกมาดัมพ์ราคาตลาด ตรงนี้ไม่ได้ลดประสิทธิภาพในการแข่งขันของผู้ส่งออกประเทศอื่นๆ เราจึงหล่นมาอยู่ในอันดับ 3 ของผู้ส่งออกข้าว อย่างไรก็ตามตรงนี้อาจต้องไปชี้แจงต่อ WTO อีกครั้ง แต่หากจะคิดว่าเป็นการบิดเบือนตลาดก็เป็นการบิดเบือนตลาดภายในประเทศ ไม่ใช่ตลาดต่างประเทศ
 
 
'คำนูณ' ชี้ 'จำนำข้าว' ปัญหาทางนโยบาย ตอนนี้กระบวนการอยู่ได้เพราะความศรัทธา
 
คำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภาแสดงความเห็นต่อคณะอนุกรรมาธิการฯ ว่า ปัญหาตอนนี้คือสังคมรู้สึกไม่เชื่อรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ว่าจะได้เงินตามที่คาดการณ์ และหากดูตามมติ ครม.ถึงปีการผลิต 2555 – 2556 ธ.ก.ส.ก็จะไม่มีเงินไปดำเนินการรับจำนำต่อ เพราะมติ ครม.ให้นำเงินจากที่กระทรวงพาณิชย์คืนไปหมุนเวียนใช้ โดยรัฐบาลจะค้ำประกันเพียง 1.5 แสนล้านบาท หากรัฐบาลยังดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวทุกเมล็ดด้วยราคาสูง โดยไม่มีกลไกจำกัดการผลิต มีการประเมินหรือไม่ว่าปีการผลิตต่อๆ ไป หากผลผลิตเกินกว่า 23 ล้านตันแล้วจะดำเนินการอย่างไร ตรงนี้เป็นปัญหาทางนโยบาย อีกทั้งข้าวที่เกินมาจะเป็นข้าวที่คุณภาพไม่สูงเพราะมาจากการเร่งผลิต
 
คำนูณ กล่าวด้วยว่า ตอนนี้เราอยู่กันได้ด้วยความศรัทธาอย่างเดียว  ถ้าเราศรัทธาต่อรัฐบาล ศรัทธาต่อกระทรวงพาณิชย์ เชื่อว่าระบายข้าวได้ คืนเงินให้ ธ.ก.ส.ได้ มันก็หมุนไปได้เรื่อยๆ แต่ในขณะเดียวกัน ธ.ก.ส.ก็ไม่เสี่ยง เพราะว่านโยบายใหม่ของกระทรวงการคลัง ซึ่งก็คงจะต้องเป็นนโยบายของ ครม.ต่อไปก็คือ ให้แยกบัญชี ไม่เกี่ยวกับการทำงานของ ธ.ก.ส.ตามปกติ แล้วก็ให้ปิดบัญชีภายในปีงบประมาณนั้นหรือในปีงบประมาณถัดไป เงินขาดเท่าไหร่ให้สำนักงบประมาณตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปี
 
"ปัจจุบันนี้เราวัดกันที่ผลคือการส่งเงินคืน แต่ว่าถ้าถึงเวลาแล้วส่งเงินคืนไม่ได้จะทำอย่างไร อันนี้ไม่มีใครตอบได้ ทั้งนี้หากไม่มีการส่งเงินคืนปัญหาที่จะต้องเกิดขึ้นคือชาวนาที่เข้าร่วมโครงการจะได้เงินช้าลงด้วย" คำนูณกล่าว
 
 
จวกจำนำข้าว กระทบหนี้สาธารณะ-โครงการสาธารณูปโภค จี้รัฐฟัง ก.คลังท้วง
 
คำนูณ กล่าวต่อมาว่า นโยบายนี้ถึงที่สุดแล้ว รัฐบาลจะขาดทุนอยู่ดี แต่จะไม่เป็นภาระของ ธ.ก.ส.เพราะมีการตั้งงบประมาณรายจ่ายคือ หากจะเป็นภาระก็เป็นภาระที่ทำให้หนี้สาธารณะสูงขึ้น ซึ่งรัฐบาลก็ต้องเอาไปคิดคำนวณ แต่ที่มองเห็นคือตอนนี้หนี้สาธารณะเราเริ่มเข้าสู่จุดวิกฤติที่ 44.8 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพี (ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 44.19 เปอร์เซ็นต์) และมีแผนที่จะก่อหนี้ใหม่ในปีงบประมาณ 2556 เพิ่มอีก 9.5 แสนล้านบาท อีกทั้งยังมีแผนที่จะออก พ.ร.บ.กู้อีกกว่า 2 ล้านล้านบาทในเรื่องสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้วย เพราะฉะนั้นหากโครงการรับจำนำข้าวหาคำตอบไม่ได้ โครงการเรื่องสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่รัฐบาลระบุว่าจะเป็นตัวเปลี่ยนประเทศไทยก็อาจได้รับผลกระทบ
 
คำนูณ กล่าวด้วยว่า รัฐบาลควรฟังข้อคิดเห็นนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง และนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคลัง ที่ทำหนังสือถึงเลขาธิการรัฐมนตรี 2 ฉบับ ที่ระบุถึงโครงการรับจำนำข้าวว่าก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณรายจ่ายค่อนข้างสูง โดยพิจารณาเฉพาะในฤดูกาลผลิต พ.ศ.2554-2555 หากระบายข้าวหมดได้ภายใน 3 ปี จะก่อให้เกิดภาระต่อการปรับโครงสร้างหนี้เฉลี่ยปีละ 2.2 แสนล้านบาท ทั้งนี้ หากรวมปีใหม่ๆ ที่จะเพิ่มเข้าไปคาดว่าจะก่อให้เกิดภาระต่อการปรับโครงสร้างหนี้เฉลี่ยปีละ 3 แสนล้านบาท ตรงนี้จะทำให้เมื่อถึงปี 2560 ภาระหนี้สาธารณะจะพุ่งขึ้นมหาศาลจนอาจถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีได้
 
"ผมไม่ว่าหรอกถ้าเราจะต้องเสียเงินปีละ 2 - 3 แสนล้านบาท เพื่อช่วยชาวนา แต่ว่ามันมีเงื่อนไขอยู่คือ 1.เป็นการช่วยอย่างยั่งยืนหรือเปล่า 2.ช่วยถูกคนหรือเปล่า ซึ่งประเด็นนี้ก็จะมีคำถามเชิงปรัชญาตามมามากมายว่า ไอ้จินตภาพที่ว่าชาวนาคือคู่กับความจน ทุกวันนี้จริงหรือเปล่า มัยนใช่หรือเปล่า ยังมีอยู่อีกหรือเปล่าหรือว่าชาวนาที่เขาจนจริงๆ หรือที่เขาทำพอกินไป เขาก็ไม่มีปัญญาเอาข้าวมาจำนำ ตรงนี้ก็ว่ากันไป ให้นักทฤษฎีเขาเถียงกันไป" คำนูณให้ความเห็น
 
 
กมธ.สอบทุจริตฯ วุฒิสภา เตรียมเรียก อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ-อกค.แจงความโปร่งใส
 
ทั้งนี้ ในวันพรุ่งนี้ (8 พ.ย.55) คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ได้ทำหนังสือเชิญอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ และผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า ให้มาชี้แจงเอกสารการระบายข้าวในประเทศ เพื่อตรวจสอบคำสั่งที่จากต้นทางและการระบายข้าวไปยังปลายทาง หลังมีข้อร้องเรียนต่อกรรมาธิการในความไม่โปร่งใส
 
ขณะที่มีรายงานข่าวว่า นายฑิฆัมพร นาทวรทัต รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ระบุพร้อมเข้าชี้แจงกับคณะกรรมาธิการฯ ทุกชุด ส่วนการขอให้เปิดเผยข้อมูลการระบายข้าวนั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือปลัดกระทรวงโดยยืนยันว่าที่ผ่านมามีการระบายข้าวอย่างโปร่งใส

 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไทยขื่นขันอันหาที่สิ้นสุดมิได้: รักหนองจอก

Posted: 07 Nov 2012 04:10 AM PST

ไทยขื่นขันอันหาที่สิ้นสุดมิได้: รักหนองจอก

Posted: 07 Nov 2012 04:09 AM PST

หากราคาค่าคลื่นความถี่ 3G แพงขึ้น..ประชาชนจะเดือดร้อนหรือไม่

Posted: 07 Nov 2012 04:03 AM PST

ไม่น่าเชื่อว่าการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สากล 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ในประเทศไทยจะมีปัญหาเพียงเพราะประเทศไทยมีคลื่นความถี่ "มาก" เพียงพอสำหรับผู้เข้าร่วมประมูลทุกราย (3 ราย) ทำให้ราคาประมูล (ราคาตลาด) ไม่สูงไปกว่าราคาขั้นต่ำมากนัก (ที่จริงแล้วเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องปกติมากเมื่อคลื่นความถี่มีเพียงพอสำหรับทุกราย) แต่ถึงกระนั้น บางฝ่ายก็มีข้อเสนอว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ กสทช.ควรจะกำหนดราคาขั้นต่ำคลื่นความถี่ให้สูงขึ้นไปอีกมาก ๆ ซึ่งผู้เขียนมีข้อสังเกตดังนี้

1. หากค่าคลื่นความถี่สูงขึ้น ผู้บริโภคคงต้องร่วมจ่ายด้วย

ฝ่ายที่มีข้อเสนอให้คิดราคาค่าคลื่นความถี่สูงขึ้นเห็นว่าผู้ใช้บริการไม่ต้องร่วมจ่ายค่าคลื่นความถี่ด้วยโดยให้เหตุผลว่า ในทางเศรษฐศาสตร์ ค่าคลื่นความถี่ถือเป็น "ต้นทุนจม" (sunk cost) เมื่อผู้ประกอบการจ่ายไปแล้ว ก็จะกลายเป็นอดีตที่ไม่มีทางส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในอนาคตของผู้ประกอบการในการกำหนดอัตราตลาดของค่าบริการโทรศัพท์มือถือ (ซึ่งฝ่ายนี้เห็นว่าต้องคำนึงถึงแต่เฉพาะต้นทุนส่วนเพิ่ม หรือ marginal cost เท่านั้น)  แต่ข้อสรุปนี้เป็นข้อสรุปที่ไม่ครบถ้วนในทางวิชาการเพราะเป็นเพียงการกล่าวถึงเศรษฐศาสตร์ Neoclassic เท่านั้น แต่นักเศรษฐศาสตร์เชิงปฏิบัติการหรือที่เรียกว่าเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม (Behavioral economics) อันรวมถึง Daniel Kahneman (ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์)  ได้ชี้ให้เห็นไปในทางตรงกันข้ามว่าผู้ใช้บริการย่อมจะได้รับผลกระทบ โดยผู้ประกอบการจะต้องกำหนดอัตราค่าบริการ (โทรศัพท์) ให้สูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในตลาดที่มีผู้แข่งขันน้อยราย (oligopoly) และการแข่งขันในตลาดก็อาจจะลดลงหรือเปลี่ยนแปลงไปด้วยโดยมีตัวอย่างให้เห็นบ้างแล้วในกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในสหภาพยุโรป[2]  ผู้เขียนได้นำเรื่องนี้มาเสนอแล้วซึ่งผู้ที่สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก http://www.prachatai3.info/journal/2012/10/43210 ดังนั้น ในการทำนโยบายสาธารณะนั้นน่าจะสรุป "กลางๆ" ได้ว่ามีความเป็นไปได้ว่าผู้ใช้บริการน่าจะต้องร่วมจ่ายค่าคลื่นความถี่ด้วยเหมือนกันและค่าคลื่นความถี่อาจจำกัดหรือบิดเบือนการแข่งขันในตลาดการให้บริการ 3G ได้ด้วย

2. จะสามารถนำราคาประเมินที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประเมินไว้มาตั้งเป็นราคาตั้งต้นหรือราคาขั้นต่ำในการประมูลได้หรือไม่

การวิจัยโดยคณะเศรษฐศาสตร์ไม่ได้เสนอให้นำราคาประเมินมากำหนดเป็นราคาขั้นต่ำของการประมูล แต่ได้เสนอไปในทางตรงกันข้ามว่า "หากภาครัฐให้ความสำคัญต่อรายรับจากการประมูลพอสมควรเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ของผู้บริโภคและผู้ให้บริการซึ่งมีจำนวนไม่มาก สัดส่วนของราคาเริ่มต้นต่อมูลค่าคลื่นความถี่ไม่ควรต่ำกว่า 0.67..." ของราคาประเมิน กล่าวคือ ไม่ต่ำกว่า 4,314.8 ล้านบาทต่อชุดเท่านั้น

ซึ่งหมายความว่าหากภาครัฐให้ความสำคัญต่อรายรับจากการประมูลน้อยกว่าผลประโยชน์ของผู้บริโภค (เมื่อผู้ให้บริการมีไม่มาก) ราคาตั้งต้นการประมูลก็ควรจะต่ำกว่า 4,314.8 ล้านบาทไปได้อีกมาก

แต่ กสทช. ก็ได้ตั้งราคาขั้นต้นของการประมูลไว้ที่ 4,500 ล้านบาท ซึ่งค่อนไปในทางที่สูง

การจะนำราคาประเมิน คือ 6,440 ล้านบาทมากำหนดเป็นราคาขั้นต่ำเสียเลยนั้นอาจส่งผลร้าย ในเรื่องนี้ก็เช่นกันควรจะพิจารณาหลักวิชาให้หลากหลาย การกำหนดราคาขั้นต่ำในการประมูลนั้น นักวิชาการเห็นว่าควรทำไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เพื่อไม่ให้มีผู้พยายามเข้ามาร่วมประมูลเพียงเพื่อกลั่นแกล้งคนอื่น (โดยไม่ได้เจตนาจะประมูลเพื่อนำคลื่นไปใช้จริง ๆ) อันจะทำให้การดำเนินการประมูลไร้ประสิทธิภาพและเพื่อให้แน่ใจว่ารัฐจะได้รายได้พอเพียงกับรายจ่ายในการจัดประมูล ฯลฯ แต่ไม่ได้มีข้อสรุปตายตัวในทางวิชาการว่าการกำหนดราคาขั้นต่ำนั้นเป็นไปเพื่อให้เอาราคาประเมินมากำหนดเพื่อรัฐจะได้รับรายได้สูง ๆ และอันที่จริงแล้ว ในทางวิชาการเป็นที่รับกันว่าการกำหนดราคาประเมินคลื่นความถี่ให้ถูกต้องแม่นยำนั้นแทบจะเรียกได้ว่าเป็นไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องจัดการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้กลไกตลาดเป็นตัวตัดสินว่าใครควรเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และราคาตลาดของใบอนุญาตควรเป็นเท่าใด ในกรณีการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ราคาที่รัฐได้รับจากการประมูลคือราคาตลาด (ราคาที่อุปสงค์พบกับอุปทาน) เมื่อคลื่นความถี่หรือใบอนุญาตมีเพียงพอหรือเหลือมากเกินความต้องการสำหรับผู้เข้าร่วมประมูล ก็เป็นธรรมดาที่ราคาประมูลจะไม่สูงมากไปกว่าราคาขั้นต่ำนัก

ที่จริงแล้ว ราคาใบอนุญาตที่ไม่สูงเกินไปกว่าราคาตลาดนักก็เป็นเรื่องดีเพราะมิฉะนั้น ผู้บริโภคก็ต้องร่วมจ่ายมากขึ้นตามที่ได้กล่าวแล้ว[3]

3. ในเมื่อจำนวนผู้เข้าร่วมประมูลมีน้อยกว่าหรือเท่ากับสินค้า (คลื่นความถี่) ที่นำออกประมูล เท่ากับว่าไม่มีการประมูล...ใช่หรือไม่

"การประมูล" กับ "จำนวนผู้เข้าร่วมประมูล" เป็นคนละเรื่องกัน การประมูลเป็นเรื่องกติกาที่ กสทช. ต้องกำหนดเพื่อเชิญชวนให้ผู้สนใจมาร่วมเสนอราคา ส่วนเรื่อง "จำนวนผู้เข้าร่วมประมูล" เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่กสทช.กำหนดเองไม่ได้ จำนวนผู้เข้าร่วมประมูลจะติดสินว่าจะมีการแย่งคลื่นความถี่กันหรือไม่ เมื่อกสทช. จัดการประมูลแล้ว หากจำนวนผู้เข้าร่วมประมูลมีไม่มาก เช่นเท่ากับจำนวนคลื่นความถี่ ก็เป็นเรื่องสภาพตลาด จะถือว่าไม่มีการประมูล เช่นนี้ย่อมไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ขายประกาศประมูลขายรถ 3 คัน แต่เมื่อถึงวันประมูล มีผู้มาประมูล 3 คนพอดี ถ้านาย ก, นาย ข และ ค เลือกรถคันที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับโดยทั้งสามรายไม่แย่งรถคันที่ 1 เพราะทั้งสามคนถือว่ารถทุกคันเหมือนกัน เขาซื้อคันไหนก็ได้ ก็ถือเป็นสิทธิที่จะทำได้ และแต่ละรายตัดสินใจเอง จึงไม่ใช่การ "ฮั้ว" แต่อย่างใดและการประมูลก็ถือว่าจบสิ้นลงอย่างสมบูรณ์ แน่นอนว่าถ้าผู้ขายไม่พอใจในเรื่องราคา ก็อาจถอนรถออกจากการประมูลได้ แต่หากสินค้านั้นเป็นคลื่นความถี่ ก็ไม่รู้จะถอนหรือยกเลิกการประมูลไปทำไมเพราะถ้าถอนไปแล้ว คลื่นความถี่ก็จะไม่มีประโยชน์ต่อสังคมเลยและไม่มีประโยชน์ต่อรัฐ (ซึ่งเป็นผู้นำออกประมูล) อีกด้วย (ไม่เหมือนกับรถยนต์ที่ยังมีประโยชน์ต่อเจ้าของ)

4. ในเมื่อถอนหรือยกเลิกการประมูลไม่เกิดประโยชน์ กำหนดราคาคลื่นความถี่สูงๆ ก็อาจเกิดโทษต่อผู้บริโภค มิเท่ากับว่าผู้ประกอบการได้ใช้ทรัพย์สมบัติของชาติในราคาถูกๆ หรือ ?

ข้อเท็จจริงคือ เมื่อผู้ประกอบการได้รับใบอนุญาต ประชาชนก็จะได้รับบริการที่ดีในอัตราค่าบริการตามสภาพการแข่งขันในตลาด ที่จริงแล้วผู้ใช้บริการทุกรายต่างหากที่เป็นผู้ใช้คลื่นความถี่ตัวจริง ผู้ประกอบการเป็นเสมือนผู้รับจ้างนำส่งคลื่นสัญญาณของผู้ใช้บริการไปยังที่ต่าง ๆ โดยใช้เครื่องและอุปกรณ์ที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐ หากรัฐเรียกเก็บค่าใบอนุญาต (เสมือนภาษี) สูงกว่าราคาตลาด ทั้งๆที่กิจการนี้มีผู้ประกอบการไม่มากนัก ก็มีความเป็นไปได้ว่าผู้ใช้บริการจะต้องร่วมจ่ายค่าใบอนุญาตด้วยในท้ายที่สุด[4] รัฐจะทำเช่นนั้นทำไม

กฎหมายไทย[5] ถือว่าคลื่นความถี่เป็น "ทรัพยากรสื่อสารของชาติ" (natural resource) (ที่ต้องใช้) "เพื่อประโยชน์สาธารณะ" กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าคลื่นความถี่เป็น "ทรัพย์สมบัติของชาติ" เพื่อประโยชน์ (รายได้) ของรัฐ แต่อย่างใดไม่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein – นักฟิสิกส์ทฤษฎี) และนักเศรษฐศาสตร์อย่าง Ronald H. Coase ซึ่งทั้งสองท่านได้รับรางวัลโนเบลก็ได้ย้ำว่าคลื่นความถี่นั้นเป็นเรื่องสมมุติที่เราเรียกให้เข้าใจง่าย แต่ที่จริงคลื่นความถี่ไม่มีอยู่จริง (There is no such thing as spectrum) สิ่งที่รัฐอนุญาตนั้นเป็นเพียงการอนุญาตให้ผู้ประกอบการใช้เครื่องและอุปกรณ์รับส่งสัญญาณในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเท่านั้น อย่าไปคิดว่าผู้ประกอบการได้คลื่นความถี่ไปครอบครองหรือเป็นเจ้าของ อันเป็นการคิดประหนึ่งว่าคลื่นความถี่เป็นสิ่งของที่รัฐมีอยู่เดิมและได้ให้ผู้ประกอบการนำไปใช้แสวงหาประโยชน์อันเกิดประโยชน์แก่บุคคลในวงจำกัด อย่างเช่นการได้รับสัมปทานแร่หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ที่ใช้แล้วหมดไป อันทำให้รัฐควรเรียกเก็บค่าใช้ประโยชน์สูง ๆ ที่จริงแล้วเมื่อผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้บริการ 3G ผู้บริโภคจำนวนมากจะเป็นผู้ใช้คลื่นความถี่ตัวจริงและคลื่นความถี่ที่ผู้บริโภคใช้ก็ไม่ได้สึกหรอ ผู้ประกอบการเป็นเพียงแต่ขอรับใบอนุญาตเพื่อขอใช้เครื่องและอุปกรณ์เพื่อรับส่งสัญญาณคลื่นความถี่ที่ผู้บริโภคเป็นผู้ใช้ตัวจริงเท่านั้น

ด้วยเหตุผลที่ว่านี้ นักเศรษฐศาสตร์จึงไม่ให้นำเรื่องการอนุญาตให้ผู้ประกอบการใช้เครื่องและอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ (ให้ใช้ช่องคลื่นสัญญาณ) ไปเปรียบเทียบกับการอนุญาตให้ใช้ที่ดินหรือทรัพย์สินต่าง ๆ ของรัฐ เพราะจะทำให้เข้าใจผิดว่าแนวความคิดด้านกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสาธารณะสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดิน จะสามารถนำมาใช้เทียบเคียงกับเรื่องการอนุญาตให้ใช้เครื่องและอุปกรณ์รับส่งสัญญาณได้[6] กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ในการให้ใบอนุญาตนั้น หากจะใช้วิธีการประมูล ก็ควรเป็นไปโดยเหตุผลว่าราคาตลาดจากการประมูลจะขจัดผู้ประกอบการที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าออกไปไม่ให้ประกอบกิจการ สังคมก็จะได้มาซึ่งบริการที่ดี แต่ไม่จำต้องเกินเลยไปจนถึงขนาดใช้การประมูลเป็นเครื่องมือจัดเก็บภาษี (ค่าคลื่นความถี่) สูง ๆ จากผู้ใช้บริการ

5. ในเมื่อใบอนุญาตมีเพียงพอสำหรับผู้ประกอบการทุกราย ก็ไม่ควรใช้วิธีประมูล แต่ควรใช้วิธีประกวดซอง (Beauty contest) หรือแจกคลื่นความถี่ให้แก่ผู้ประกบการในราคาขั้นต่ำ

การใช้วิธีการประมูลมีข้อดีอื่น ๆ อีก เช่น เป็นหลักประกันความโปร่งใสในการออกใบอนุญาต อันจะเป็นเสมือนใบเชิญอย่างดีให้มีผู้สนใจเข้ามาลงทุน เมื่อเทียบกับวิธีอื่น แต่จะมีผู้เข้ามาลงทุนหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ฯลฯ อีกทั้ง การที่ กสทช. จัดประมูลต่อไปโดยไม่ได้แจกคลื่นความถี่ไปเลยในราคาขั้นต่ำก็เพราะผู้ประกอบการอาจช่วงชิงตำแหน่งคลื่นความถี่ เรื่องนี้ไม่สามารถกำหนดได้ การไม่แจกคลื่นความถี่ไปในราคาขั้นต่ำจึงมีเหตุผล

6. มีการเสนอให้ กสทช. กำหนดค่าใบอนุญาตขึ้นเพื่อทดแทนรายได้ค่าสัมปทาน

ผู้เขียนเห็นว่าข้อเสนอเช่นนี้น่าจะทำไม่ได้

ประการแรก ระบบค่าสัมปทานทำให้ผู้ใช้บริการต้องร่วมชำระค่าสัมปทานเสมือนภาษีที่สูงมาก ประมาณร้อยละ 30 ของค่าบริการโทรศัพท์ ("ภาษีสัมปทาน") เพียงแต่ผู้รับเงินดังกล่าวไม่ใช่กระทรวงการคลัง แต่เป็นรัฐวิสาหกิจ หากจะให้ กสทช. กำหนดค่าคลื่นความถี่ 2.1 GHz ให้สูงขึ้นกว่าราคาตลาด ซึ่งในที่สุดก็จะต้องสะท้อนกลับไปยังผู้บริโภคให้ต้องร่วมจ่ายมากขึ้น ก็เปรียบเสมือนเรียกเก็บภาษีสัมปทานให้ประชาชนชำระมากขึ้นอีก แล้วเช่นนี้รัฐธรรมนูญจะตั้ง กสทช. ไปเพื่ออะไร การกำหนดภาษีเพิ่มเติมในรูปค่าคลื่นความถี่ที่สูงขึ้นกว่าราคาตลาดจะเป็นการเพิ่มการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมในตลาดอันเป็นภาระหน้าที่ของ กสทช. อย่างไร ?

ประการที่สอง การเอาต้นทุนสัมปทานมากำหนดเป็นค่าคลื่นความถี่ราวกับว่าระบบสัมปทานหมดไปและเปลี่ยนเป็นใบอนุญาต 3G ในชั่วข้ามคืน ก็ไม่ถูกต้อง เป็นการไม่คำนึงห้วงเวลา อีกทั้งความรวดเร็วที่ลูกค้าสัมปทานจะย้ายไปใช้บริการภายใต้ใบอนุญาต 3G ของผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายก็น่าจะไม่เท่ากันและไม่มีผู้ใดกำหนดได้ล่วงหน้า แต่ละรายจึงอาจได้รับประโยชน์จากใบอนุญาต 3G อย่างไม่เท่ากัน การกำหนดราคาขั้นต่ำในการประมูลตามแต่ว่าผู้ประกอบการแต่ละรายได้รับจากใบอนุญาต 3G เท่าไร (เมื่อเทียบกับระบบสัมปทาน) จะกำหนดอย่างไร

ประการที่สาม ในการประมูลนั้น ไม่มีใครสามารถกำหนดได้ล่วงหน้าว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมูลกี่ราย หน้าที่ของ กสทช. คือจะต้องกำหนดหลักเกณฑ์ที่ดีเพื่อสร้างแรงจูงใจให้การเข้าร่วมประมูลเป็นสิ่งที่น่าสนใจ แต่แม้ว่า กสทช. กำหนดราคาขั้นต่ำที่ 4500 ล้านบาท ก็ยังไม่มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาร่วมประมูลเลย ดังนั้น หากตั้งค่าคลื่นความถี่เท่ากับหรือคำนึงถึงต้นทุนสัมปทาน ค่าคลื่นความถี่ก็จะสูงมากขึ้นไปอีก ก็จะเป็นเสมือนกำแพงที่ลดความน่าสนใจในการเข้าร่วมประมูลลงไปอีกโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ที่ไม่อยู่ในระบบสัมปาน อีกทั้งผู้ประกอบการที่เกี่ยวโยงกับระบบสัมปทานก็จะมีความได้เปรียบเสียเปรียบกันมากขึ้นเพราะต้นทุนสัมปทานไม่เท่ากัน ซึ่งก็จะเท่ากับว่ากฎการประมูลนั้นลำเอียง ไม่เป็นกลาง (neutral) ดังนั้น ในการกำหนดราคาขั้นต่ำของคลื่นความถี่ 2.1 GHz กสทช. จะคำนึงถึงต้นทุนสัมปทานไม่ได้

ประการที่สี่ ใบอนุญาต 3G เป็นเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ 2.1 GHz เป็นธุรกิจบนคลื่นใหม่ การที่รัฐจัดประมูลเพื่อให้ใบอนุญาตนั้น ในทางกฎหมายและเศรษฐศาสตร์มีเหตุผลว่าผู้ประกอบการ A ที่ให้ราคาใบอนุญาตสูงสุดและได้รับใบอนุญาตไปน่าจะเป็นผู้ประกอบกิจการได้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด (ด้วยเหตุนี้ A จึงกล้าให้ราคาสูงสุด) ดังนั้น มีเหตุผลอะไรที่จะไปนำต้นทุนในธุรกิจ 2G บนคลื่นอื่นมากำหนดค่าใบอนุญาต (ค่าเริ่มต้นธุรกิจ) ในอีกธุรกิจหนึ่ง คือ 3G ซึ่งให้บริการบนอีกคลื่นหนึ่ง? การทำเช่นนั้นจะทำให้การประมูลเป็นไปเพื่อหารายได้เท่านั้น ไม่ได้เป็นไปเพื่อค้นหาผู้ประกอบการที่มีประสิทธิภาพแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบการ A มีต้นทุนธุรกิจสัมปทานเท่ากับ 1,000 บาทและคาดว่าจะมีรายได้จากธุรกิจ 3G ประมาณ 700 บาท (รวมผลประโยชน์สมมุติจากใบอนุญาต 3G เท่ากับ 1,700 บาท) ในขณะที่ B มีต้นทุนสัมปทาน 600 บาท แต่คาดว่าจะสามารถมีรายได้จากธุรกิจ 3G ประมาณ 900 บาท (รวมผลประโยชน์ 1,500 บาท) หาก กสทช. กำหนดราคาขั้นต่ำที่ 1,600 บาท ผู้ประกอบการ B ก็จะไม่ได้ใบอนุญาตทั้ง ๆ ที่ B เป็นผู้ประกอบกิจการ 3G ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด (เพราะหากไม่นำเรื่องต้นทุนสัมปทานในธุรกิจอื่นบนคลื่นความถี่อื่นมาเกี่ยวข้อง B พร้อมที่จะชำระค่าใบอนุญาต 3G ที่ประมาณ 900 บาท และนำคลื่น 3G ไปสร้างประโยชน์มากที่สุด ในขณะที่ A พร้อมที่จะชำระเพียง 700 บาท) ดังนั้น การกำหนดราคาคลื่นความถี่ 2.1 GHz โดยไปนำต้นทุนการประกอบกิจการในคลื่นความถี่อื่นมาพิจารณาจึงเป็นเรื่องที่ขาดเหตุผล

นอกจากนี้ การเรียกเก็บค่าคลื่นความถี่สูง ๆ นั้นมีข้อชวนให้คิดว่าจะเชื่อได้อย่างไรว่าเงินที่เรียกเก็บเข้าภาครัฐมากขึ้นจะเป็นทางก่อให้เกิดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจมากกว่าการให้ผู้ประกอบการชำระค่าใบอนุญาตในราคาตลาดตามกฎประมูลและประกอบกิจการต่อไป (ภายใต้การแข่งขันกันในตลาดทั้งทางด้านราคาและบริการ) ? หากจะมีการตอบคำถามในเรื่องนี้ ผู้เขียนขอให้ทุกฝ่ายคำนึงถึงความหลากหลายทางวิชาการและไม่ควรยึดถือความเห็นของทฤษฎีเใดทฤษฎีเดียวโดยเฉพาะทฤษฎีที่ยังพัฒนาไม่ถึงจุดสิ้นสุด

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การจัดการประมูลคลื่นความถี่จะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ (ประชาชนได้รับบริการที่ดีในอัตราค่าบริการตามกฎตลาดภายใต้สภาวะการแข่งขันที่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐ) ซึ่งจะสำเร็จได้หากการประมูลสามารถทำให้สังคมได้มาซึ่งผู้ประกอบการที่มีประสิทธิภาพ (ผู้ประกอบการดังกล่าวคือผู้ที่ยอมชำระค่าใบอนุญาตในราคาสูงสุดตามกฎประมูลหรือเรียกว่าราคาตลาด) ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการเรียกค่าคลื่นความถี่ให้สูงกว่าราคาตลาดเพื่อเป็นรายได้แก่รัฐ นักวิชาการต่างยอมรับว่าสองสิ่งนี้มักจะเดินทางเป็นเส้นขนานที่ไม่มีวันจะบรรจบกันได้เลย

ดังนั้น จึงขึ้นอยู่ว่าประเทศไทยจะเลือกประโยชน์สาธารณะ (คิดราคาใบอนุญาตตามกฎตลาด) หรือเลือกหารายได้เข้ารัฐ (โดยทำให้ราคาใบอนุญาตสูงกว่าราคาตลาด) แต่พึงระลึกไว้ว่ารัฐธรรมนูญบัญญัติให้เลือกประโยชน์สาธารณะมากกว่าอย่างอื่น ดังนั้น การที่ราคาคลื่นความถี่ที่สูงอยู่แล้ว (4,500 ล้านบาทต่อชุด) ไม่ได้ถูกกำหนดให้ราคาสูงไปมากกว่านี้จึงมีเหตุมีผลอยู่ในตัว

 




[1] ปริญญาเอกกฎหมายมหาชน (Docteur en droit public) - เกียรตินิยมสูงสุดโดยมติเอกฉันท์ของคณาจารย์พร้อมสิทธิในการเผยแพร่งาน (มหาวิทยาลัย Strasbourg III ฝรั่งเศส), ปริญญาโท (DEA) กฎหมายประชาคมยุโรป และ Certificat des études européennes (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัย Strasbourg III, นิติศาสตรบัณฑิต เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง (เหรียญรางวัล) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บทความนี้เป็นข้อเขียนทางวิชาการของผู้เขียนโดยมิได้เกี่ยวข้องกับองค์กรใด ๆ และมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอข้อเท็จจริง เพื่อให้มีการอภิปรายในประเด็นของเรื่องต่อไป  

[2] ทฤษฎีต้นทุนจม (Sunk cost) เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ Neoclassic ซึ่งอาจยกตัวอย่างแนวคิดได้ง่าย ๆ ว่า เมื่อผู้ประกอบการชำระค่าคลื่นความถี่สูง ๆ นักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายนี้จะสรุปว่า การตัดสินใจชำระค่าคลื่นดังกล่าวย่อมกลายเป็นอดีตที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้อีกแล้ว ด้วยเหตุนี้ นักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้จึง "ทำนาย" (ในกรอบการวิเคราะห์ของตน หรือ model) ว่าผู้ประกอบการก็จะไม่อาจไปคำนึงถึงมันอีก (และการตัดสินใจของแต่ละรายจะเป็นเช่นนี้ตรงกัน) ดังนั้น กำหนดราคาค่าบริการโทรศัพท์ของผู้ประกอบการแต่ละรายก็จะไม่ถูกกระทบโดยค่าคลื่นความถี่ อัตราตลาดของค่าบริการโทรศัพท์ก็จะไม่ถูกกระทบนั่นเอง ข้อสรุปเช่นนี้ เกิดจากการที่นักเศรษฐศาสตร์ Neoclassic กำหนดกรอบการวิเคราะห์ (model) เสมือนหนึ่งว่าโลกนี้เป็นโลกสมบูรณ์แบบที่ตลาดมีข้อมูลครบถ้วน ผู้ประกอบการได้รับข้อมูลโดยทันทีและผู้ประกอบการเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ (มากกว่าจะเป็นมนุษย์ธรรมดา) เพราะเท่ากับว่าผู้ประกอบการทุกรายจะไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ไม่คำนึงถึงห้วงเวลา ไม่ตัดสินใจล่าช้า ไม่พิจารณาทางเลือกอื่น ตลาดทุกตลาดมีลักษณะเหมือนกันหมด ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ยุคใหม่ที่ศึกษาเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม (Behavioral economics) เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องที่จะวิเคราะห์ในกรอบเช่นนี้

นักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายนี้ยกตัวอย่างให้เห็นถึงความไม่น่าเชื่อถือของข้อสรุปดังกล่าวว่า ถ้าการลงทุนในตอนเริ่มต้นนั้นมีจำนวนสูงมาก และผู้ประกอบการไม่อาจเพิ่มอัตราค่าบริการภายหลังได้เพื่อทวงทุนคืน (ซึ่งในทางธุรกิจเท่ากับว่าการตัดสินใจลงทุนดังกล่าวเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดของผู้ประกอบการ) เพราะเหตุใดผู้ประกอบการแต่ละรายจะไม่เรียนรู้เรื่องนี้และจะยังคงเร่งสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมเพิ่มเติมต่อไปอีกโดยไม่เปลี่ยนแปลง? นักเศรษฐศาสตร์ Behavioral economics ได้อาศัยแนวความคิดของ Daniel Kahneman (ซึ่งเป็นนักวิชาการที่ได้รับรางวัลโนเบล) จึงเห็นว่าเศรษฐศาสตร์แบบ Neoclassic ได้ทำนายพฤติกรรมของผู้ประกอบการไปในทางที่ผิดพลาด ข้อสรุปง่าย ๆ ที่ว่าต้นทุนเหล่านี้เป็นต้นทุนจม (sunk cost) จึงไม่ถูกต้อง โปรดดู James Alleman, Jonathan Liebenau and Pau Rappoport. The New Economics of ICT: The Regulatory Implications of Post-neoclassical Economics for the ICT Sector, 2009, เข้าถึงได้จาก : http://www.colorado.edu/engineering/alleman/Workshop%202009/print_files/New%20Economics%206.08.2009%20ACORN%20FORMAT%20SHORT.pdf (วันที่ค้นข้อมูล : 6 พฤศจิกายน 2555). ในหน้า 8:"one of the greatest potential for the application for dynamic analysis has is when dealing with irreversible investments, since such as investment means that a wrong decision cannot be changed, in contrast to an investment which, if the investment proves to be unprofitable, can be sold. But who will buy fiber in the ground, if it has proved unprofitable? และโปรดดู Martin Sewell. Behavioral Finance, May 2007 (revised April 2010), เข้าถึงได้จาก : http://www.behaviouralfinance.net/behavioural-finance.pdf (วันที่ค้นข้อมูล : 6 พฤศจิกายน 2555) และ Royal Swedish Academy of Science. Foundations of behavioral and experimental economics: Daniel Kahneman and Vernon Smith, 2002, เข้าถึงได้จาก : http://www.nobelprize.org/nobel_prizes/economics/laureates/2002/advanced-economicsciences2002.pdf (วันที่ค้นข้อมูล : 6 พฤศจิกายน 2555)

[4] โปรดดูข้อถกเถียงทางเศรษฐศาสตร์ Behavioral Economic ข้างต้น

[5] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 47 บัญญัติว่า คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ

[6] ผู้เขียนได้นำเสนอเรื่องนี้ไว้โดยสังเขปแล้ว โปรดดู http://www.prachatai3.info/journal/2012/10/43330

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ครั้งแรก กับการไปพื้นที่พักพิงชั่วคราว

Posted: 07 Nov 2012 03:51 AM PST

วันที่ 26 ตุลาคม 2555 เป็นครั้งแรกในชีวิตของฉันที่ได้มีโอกาสร่วมคณะกับคณะอนุกรรมการด้านสิทธิและสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติ ไทยพลัดถิ่น ผู้อพยพ และชนพื้นเมือง สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไปเยือนค่ายผู้ลี้ภัย หรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

-1-

ตลอดเส้นทางจากอำเภอแม่สอด ไปยังบ้านแม่หละ อำเภอท่าสองยาง สองข้างทางเต็มไปด้วยความเขียวขจีของแปลงพืชไร่ และทิวทัศน์ของภูเขาตัดกับสีฟ้าของท้องฟ้า ในวันที่แดดดีอย่างนี้ ฉันคิดว่าถ่ายรูปแสงสวยแน่ๆ เมื่อถึงเขตพื้นที่พักพิงฯ ที่อยู่ติดริมถนนเส้นที่รถกำลังวิ่งอยู่นี้ หัวใจของฉันก็เริ่มสูบฉีด จะได้มีโอกาสเข้าไปเห็นสภาพภายในพื้นที่พักพิงฯกับตาตัวเองสักที ไม่น่าเชื่อว่าตั้งแต่ทำงานมา ยังไม่เคยได้ย่างกรายเข้ามาในพื้นที่พักพิงสักครั้ง

จากการนำเสนอของปลัดปรีดา ตระกูลชัย ในฐานะหัวหน้าพื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ ได้ข้อมูลสำคัญว่า

ประชากรภายในพื้นที่พักพิงนี้ประกอบไปด้วย

1.ผู้หนีภัยการสู้รบที่คณะกรรมการของอำเภอและจังหวัดมีมติรับสถานะเป็นผู้หนีภัยจากการสู้รบ และได้จัดทำทะเบียนร่วมกับ UNHCR มีจำนวน 16,675 คน

2.ผู้หนีภัยทางการเมืองและไม่สามารถดำรงชีพในประเทศพม่าได้ 9,363 คน

3. ประชากรแอบแฝง     22,500 คน

มีประชากรจาก 13 ชนเผ่า แบ่งเขตการปกครองเป็น 3 โซน คือ A,B,C โดยมีหัวหน้าโซนดูแล และแต่ละโซนจะแบ่งเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านดูแล มีสถานศึกษาทั้งหมด 59แห่ง ตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนถึงวิทยาลัยเพื่อการประกอบอาชีพ แต่เนื่องจากสถานศึกษาเหล่านี้ไม่ได้รับการรับรองหลักสูตรจากกระทรวงศึกษาของไทย จึงไม่สามารถออกวุฒิบัตรทางการศึกษาตามกฎหมายไทยได้  โดยโรงเรียนที่นี่ได้มีการเรียนการสอนถึง 4 ภาษาคือภาษาพม่า กะเหรี่ยง อังกฤษ และภาษาไทย

นอกจากจะมีหน่วยงานระหว่างประเทศ อย่าง UNHCR แล้วยังมีหน่วยงานองค์กรการกุศลเอกชนที่ให้ความช่วยเหลือผู้หนีภัยจากการสู้รบ ทั้งทางด้านสังคมสงเคราะห์ สาธารณสุข การศึกษา กฎหมาย การฝึกอาชีพ

ปัญหาที่น่าสนใจ
หนึ่ง
การจดทะเบียนการเกิด กรณีเด็กเกิดใหม่ มีปัญหาความล่าช้า เพราะโรงพยาบาลในพื้นที่พักพิงจะรวบรวมให้ได้จำนวนพอสมควรจึงจะส่งเอกสารให้แก่ปลัดฝ่ายทะเบียน โดยมีเอกสารที่คล้ายคลึงกับหนังสือรับรองการเกิด  ท.ร.1/1 เพื่อกรอกรายละเอียดของเด็กที่เกิดใหม่ เนื่องจากโรงพยาบาลนี้ไม่ถือเป็นสถานพยาบาล ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 ทำให้ไม่สามารถออก ท.ร. 1/1 ได้ และไม่มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านตามเขตการปกครองของกระทรวงมหาดไทย จึงไม่มีผู้ออก ท.ร. 1ตอนหน้า ปลัดจึงต้องออก ท.ร. 100 และสอบ ป.ค. 14 เพื่อความมั่นใจทราบแน่ชัดเกี่ยวกับตัวพ่อ แม่เด็ก และหากเป็นกรณีแจ้งเกิดย้อนหลัง จะต้องมีคณะกรรมการพื้นที่พักพิงชั่วคราวและผู้ใหญ่บ้าน มาเป็นพยานบุคคลรับรองอีกชั้นหนึ่ง จึงจะเข้าสู่ขั้นตอนการออกสูติบัตรประเภท ท.ร.031 โดยความล่าช้าของกระบวนการทำให้เด็กที่เกิดในพื้นที่พักพิง แจ้งเกิดเกินกำหนด และเด็กกลุ่มที่พ่อแม่ไม่มีชื่อในทะเบียน ก็ไม่สามารถดำเนินการออกสูติบัตรให้ ปัญหาเหล่านี้เป็นโจทก์เก่าที่ยังไม่ได้แก้ไขสำหรับสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่ต้องคิดหาทางออกสำหรับการปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมายและสะดวกสำหรับการจดทะเบียนการเกิดเด็กในพื้นที่พักพิงต่อไป

แม้ว่าเด็กที่เกิดใหม่ทุกคนจะได้รับการจดทะเบียนการเกิด แต่ก็ยังเป็นปัญหาสำหรับอดีตเด็กทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนการเกิด

สอง เรื่องคุณภาพของสถานศึกษา เนื่องจากหลักสูตรที่ทำการเรียนการสอนในพื้นที่พักพิงจัดการเรียนการสอนโดยอิสระ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. ทำให้ไม่สามารถออกวุฒิบัตรทางการศึกษาได้ แต่เมื่อผู้ที่เข้ารับการเรียนได้รับความรู้ด้านหนึ่งด้านใดมา จึงมีประเด็นปัญหาว่า จะทำอย่างไรเพื่อมีหลักฐานรับรองการเรียนของคนเหล่านี้

สาม การส่งผู้ลี้ภัยไปยังประเทศที่สาม แม้ว่าจะมีการส่งผู้หนีภัยจากการสู้รบไปยังประเทศที่สาม นับแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2549 ถึงตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 32,486คน ปัจจุบันUNHCR ดำเนินการให้สถานะผู้หนีภัย เฉพาะผู้ที่ต้องการรวมครอบครัวยังประเทศที่3 ซึ่งต้องดำเนินการสอบสวน ทำ pre scanning เพื่อให้ได้ความว่าเกี่ยวข้องกับผู้ที่อาศัยอยู่ ณ ประเทศที่สามอย่างไร

แต่เนื่องจากการจะถูกส่งไปยังประเทศที่สามได้ ผู้ลี้ภัยนั้นต้องได้รับการขึ้นทะเบียน persons of concern[1] เสียก่อน แต่ปัจจุบัน UNHCR ไม่สามารถขึ้นทะเบียนสถานะเป็นผู้หนีภัยจากการสู้รบได้  ประชากรประเภทแอบแฝงซึ่งเป็นคนหมู่มาก จึงไม่สามารถถูกส่งไปยังประเทศที่สามได้อย่างแน่แท้

-2-

และแล้วเวลาที่ฉันรอคอยก็มาถึง คือการเดินสำรวจภายในพื้นที่พักพิง อย่างกับคำกล่าวที่ว่า "สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น" ถ้าไม่เห็นเอง สัมผัสเอง เราจะรู้ได้อย่างไร

ตามทางเดินเล็กๆ มีบ้านไม้ปลูกอย่างแน่นหนา ใช่สิ บนพื้นที่ 1,150 ไร่ มีบ้านเรือนถึง 4,583 ครอบครัว ฉันเดินตามถนนหลักของโซน C เพื่อไปยังจุดหมายปลายทางที่โรงพยาบาล ฉันพบว่าที่นี่เหมือนชุมชนที่บ้านเรือนอยู่ติดๆกัน มีร้านขายของชำ ขายอาหาร ขนม ตัดผม ขายสินค้าทอมือที่ทำโดยผู้ลี้ภัย ซึ่งฉันช่วยอุดหนุนย่ามมา 1 ใบ ระหว่างทางเดิน ฉันก็เห็นที่ตั้งขององค์กรต่างๆที่ร่วมให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย โรงเรียน ห้องสมุด จนเดินมาสุดที่สนามฟุตบอลที่ไม่มีหญ้าเลย มีแต่พื้นที่ที่ฝุ่นคลุ้งเมื่อเด็กๆแตะฟุตบอลกัน สุดทางข้างหน้าฉันคือโรงพยาบาลภายในพื้นที่พักพิง แต่เนื่องจากไม่สามารถถ่ายรูปภายในได้ ฉันจึงได้ยืนมองจากภายนอก ฉันเห็นป้าย OPD และ IPD แต่ตลอดเส้นทางเดินนี้ ฉันพบเด็กๆมากหน้าหลายตา ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กเล็กๆ เล่นกันอยู่ขวักไขว่ แม้เราจะพูดกันไม่รู้เรื่อง แต่รอยยิ้ม และท่าทางเขินอาย แต่ยังร่วมเข้าเฟรมกล้องฉันอยู่ ทำให้ฉันรับรู้ได้ว่า นี่เป็นลักษณะของมิตรที่ยังไร้เดียงสา ไม่รู้ว่าเด็กๆเหล่านี้จะรู้หรือไม่ว่าทำไมถึงต้องอาศัยอยู่ภายในพื้นที่พักพิงแห่งนี้ หรืออาจจะคิดว่าที่นี่เป็นบ้านเกิด ที่ตนเกิด เติบโต และอาศัยอยู่เท่านั้น เป็นเด็กก็ดีอย่างที่ไม่ต้องคิดอะไรมาก แตกต่างจากพวกผู้ใหญ่ ที่ต้องเลี้ยงดูครอบครัว

 จากที่เคยรับรู้มาว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิง ผู้ลี้ภัยไม่มีสิทธิได้รับการว่าจ้างทำงานตามกฎหมาย ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการรอรับอาหารจากทาง UNHCR ซึ่งทำให้ฉันคิดว่า อืม อย่างนี้นี่ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือเปล่านะ แต่ในทางข้อเท็จจริงของข้อเท็จจริงอีกที กลับพบว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงออกไปรับจ้างทำงานข้างนอกพื้นที่พักพิง เพราะลำพังอาหารที่ UNHCR ให้มานั้นไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต จะทำอย่างไรให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น จึงกลายเป็นช่องทางที่ทำให้ผู้หนีภัยการสู้รบเหล่านี้ อาจถูกละเมิดสิทธิ และถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ที่แสวงหาผลประโยชน์กับพวกเขาได้ง่าย

ผู้ที่เข้าไม่ถึงสิทธิ แปรผันโดยตรงกับการถูกละเมิดสิทธิ

จะทำอย่างไรให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น อาจเป็นเพียงแค่คำถาม ที่ทำได้แต่เพียงคิดอยู่ในใจ

 




[1] Persons of concern to UNHC

A generic term used to describe all persons whose protection and assistance needs are of interest to UNHCR. These include refugees under the 1951 Convention, persons who have been forced to leave their countries as a result of conflict or events seriously disturbing public order, returnees, stateless persons, and, in some situations, internally displaced persons. UNHCR's authority to act on behalf of persons of concern other than refugees is based on General Assembly resolutions.

http://www.icmc.net/glossary/term/319

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'นิธิ เอียวศรีวงศ์' วิพากษ์ “ฝ่ายก่อการชายแดนใต้ล้มเหลว”

Posted: 07 Nov 2012 03:30 AM PST

ศ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักประวัติศาสตร์คนสำคัญได้อภิปรายในหัวข้อ "สันติภาพชายแดนใต้ ในมุมมองของนักประวัติศาสตร์" ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2555 ที่ผ่านมา จัดโดยเครือข่ายผู้ภาคหญิงภาคประชาสังคม

โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ) ขออนุญาตถอดความคำอภิปรายโดยมีเนื้อหา ดังนี้

0 0 0

ก่อนอื่นต้องบอกว่า ผมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ในภาคใต้น้อยมาก เหตุผลสำคัญเพราะแรกๆ เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นในปี 2547 ผมค่อนข้างสนใจและติดตามมาก หลังจากนั้นมา 1-2 ปี ผมพบว่า สำหรับคนนอกแล้ว จะติดตามเรื่องนี้ได้ยากมากๆ เพราะว่าสื่อในประเทศไทยค่อนข้างแย่ คือคุณจะติดตามเหตุการณ์จริงจังจากสื่อไม่ได้ เพียงแค่รู้ว่ามันระเบิดที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ ใครตาย มันไม่ได้ช่วยให้คุณเข้าใจสถานการณ์ดีขึ้น และผมก็อยากจะโทษว่า สื่อในประเทศไทยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก แต่ว่าไม่มีความพยายามในการเจาะลึกลงไปจริงๆ ถึงเรื่องที่มันจะเกิดขึ้น

ผมขอยกตัวอย่างรูปธรรมว่า ตั้งแต่มีเหตุการณ์ใน พ.ศ.2547 จนถึงปัจจุบัน ผมพบผู้สื่อข่าว ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ใช่มืออาชีพ เป็นนักวิชาการฝรั่งที่สนใจและทำงานอยู่ในภาคใต้บ่อยมาก นานมาก เป็นคนเดียวที่สามารถเข้าถึงผู้ปฏิบัติการ ผู้ก่อการ อย่างน้อยที่สุด 2-4 คนด้วยกัน เขาปิดชื่อหมด ถ่ายรูปด้านหลัง ไม่มีทางจำได้ แล้วคุยกันว่าเขารู้สึกอย่างไร เขาคิดอย่างไร เขาไปทำอะไรบ้าง ในกระบวนการที่เขาจะไปร่วมอยู่ในการเคลื่อนไหว เขาต้องผ่านอะไรบ้าง ต่างๆ นานา แล้วลงในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

จากนั้นไม่มีเลยครับ สื่อไทยไม่สามารถเข้าถึงคนเหล่านี้ได้ ต่างฝ่ายต่างไม่ไว้วางใจกัน ผมคุยกับเพื่อนที่อยู่ในวงการสื่อพอสมควร เขาก็รู้สึกไม่ไว้วางใจ ไม่กล้าพอที่จะเข้าไปเจอคนที่ปฏิบัติการเหล่านี้ได้ ตัวเขาเองก็เป็นคนที่ฝ่ายปฏิบัติการไม่ไว้วางใจเหมือนกัน ซึ่งทำให้สื่อเจาะอะไรไม่ได้มากไปกว่าเหตุการณ์

ผมอยากจะเตือนไว้ด้วยว่าในความขัดแย้งทุกอย่าง ในสงครามทุกแห่ง ไม่ใช่เฉพาะแต่ในเมืองไทย เขาพูดกันว่า เหยื่อรายแรกของสงครามคือความจริงเสมอ ในเมืองไทยก็เหมือนกัน ผมจะนึกย้อนไปถึงสงครามเวียดนามว่า สื่ออเมริกันเองก็ไม่สามารถรายงานข้อเท็จจริงจริงๆ ที่เกิดขึ้นกับประชาชนที่เวียดนามกลับไปที่อเมริกาได้เป็นปี  คือเกิดสงครามรบกันมา คนอเมริกันเองก็มาตายเยอะไปหมดในเวียดนาม แต่คนอเมริกันที่อยู่ในอเมริกาไม่ได้รู้ว่าอะไรเกิดขึ้นจริงๆ ในเวียดนาม ต้องฟังแต่ที่รัฐบาลอเมริกาพยายามที่จะบอก ซึ่งก็ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด ก็เป็นสิ่งที่หลอกกันตลอดมา

ผมว่าในสงคราม ในความขัดแย้งทุกแห่ง รวมทั้งในเมืองไทยด้วยก็เกิดสิ่งนี้เหมือนกัน ฝ่ายที่เป็นอริของกันและกัน ทำลายความจริงเพื่อจะช่วยให้เกิดพรรคพวก ให้เกิดการสนับสนุนฝ่ายตน นี่ผมไม่ได้โทษแต่รัฐบาลไทย อีกฝ่ายหนึ่งก็เหมือนกัน มันเป็นหน้าที่ของการทำสงครามในความขัดแย้งที่คุณจะต้องฆ่าความจริงก่อน แล้วก็เพื่อแสวงหาพรรคพวกของกันและกัน เป็นปกติธรรมดา

แต่ที่น่าเสียดายก็คือ สื่อ เขาไม่ได้สังกัดทั้งสองฝ่าย เขาน่าจะไปเจาะอะไรสักอย่างออกมาให้สังคมไทยได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นมากกว่านี้ ดังนั้นหลัง พ.ศ.2547 ผมรู้สึกว่าผมหมดหวัง เพราะว่าผมไม่มีความสามารถที่จะเข้ามาในพื้นที่เพื่อมาสัมผัสกับความจริงเหล่านี้ได้ ก็เลยตามเท่าที่จะตามได้ ไม่ได้สนใจที่จะตามใกล้ชิดอย่างที่เคยคิดจะทำในตอนแรกๆ ที่มันเกิดเรื่องขึ้น

ฉะนั้นที่จะพูดต่อไปนี้ อยากจะให้เป็นการคุยกันมากกว่า เพราะผมไม่ได้คิดว่าผมจะมีความรู้มากพอจะพูดได้

ทีนี้เมื่อประมาณ 2 เดือนที่แล้ว ได้เจอกับเพื่อนคนหนึ่ง คือ อ.ดันแคน แม็คคาร์โก ก็เป็นอีกคนที่ใช้เวลาในการศึกษากรณีภาคใต้มาตั้งแต่ พ.ศ.2548 แล้วก็มีผลงานเกี่ยวกับสถานการณ์ในภาคใต้ทยอยออกมาอยู่เรื่อยๆ ก็ถามแกว่า ในทัศนะของแก อะไรที่ทำให้เกิดสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในภาคใต้ แกบอกพูดอย่างสั้นที่สุด คือ ความอยุติธรรม มันไม่ยุติธรรม ซึ่งผมก็คิดว่ามันก็ตรงกับคนจำนวนมากที่สนใจเรื่องนี้ ทุกคนก็เห็นตรงกันว่า มันมีความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น

ทีนี้ผมอยากจะเริ่มต้นจากความอยุติธรรมหรือความไม่ธรรมที่เกิดขึ้นในกรณีภาคใต้ ผมว่าเราต้องเข้าใจความไม่เป็นธรรมหรือความไม่ยุติธรรมสองสามอย่างด้วยกันที่ผมอยากจะขยายความ อันที่หนึ่งก็คือ มันเกิดความไม่เป็นธรรมที่กระทำขึ้นทั้งโดยรัฐและโดยทุนแก่คนในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้นี้หรือไม่ คำตอบคือ แน่นอน แต่ในขณะเดียวกันก็อยากจะเตือนว่า ความไม่เป็นธรรมที่รัฐและทุนกระทำแก่คนเล็กๆ ทั้งหลาย มันไม่ได้เกิดขึ้นในสามจังหวัดภาคใต้นี้เท่านั้น มันเกิดขึ้นทั้งประเทศ

ในอีสานซึ่งนับถือพุทธ เป็นคนไทยเหมือนคนอื่นๆ มีเชื้อสายไทยเหมือนกัน ถูกขับไล่ออกไปจากที่ทำกิน ถูกแย่งทรัพยากร เช่น คนอีสานจะใช้พื้นที่ริมแม่น้ำที่เขาเรียก ป่าทาม ในการทำเกษตรเยอะมาก แต่ว่าวันหนึ่งนายทุนก็มากว้านเอาที่ดินเหล่านั้นไปปลูกมะเขือเทศ เพื่อที่จะทำโรงงานน้ำมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ และนายทุนคนนั้นก็มีความผูกพัน ที่จริงก็ร่วมหุ้นอยู่กับพรรคการเมืองหนึ่ง ก็ไล่ออกไปให้หมด ชาวบ้านก็ไม่มีสิทธิจะใช้ป่าทามเหล่านั้นได้

ชาวบ้านต่อสู้เป็นเวลาเกือบ 20 ปีกว่าจะได้คำสั่งศาลมาว่า บริษัทนั้นไม่มีสิทธิที่จะยึดเอาที่ดินเหล่านั้นไป แต่คิดถึง 20 ปี ในชีวิตของคนมันเป็นเศษหนึ่งส่วนสามของชีวิตที่คุณเสียไป มานั่งสู้อยู่กับเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง เพราะฉะนั้นความอยุติธรรมในแง่นี้ ผมคิดว่ามันเกิดขึ้นกับคนเล็กๆ ในประเทศไทยทั้งหมด

อีกแง่หนึ่งของความยุติธรรม ถามว่ามันไม่มีความยุติธรรมแก่คนส่วนน้อยของประเทศไหม คำตอบคือผมว่ามันมีแน่นอน การที่สามจังหวัดภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายมลายู นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งอันนี้นอกเรื่องไปนิดหนึ่งก่อน คือผมไม่เชื่อว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เป็นความขัดแย้งทางศาสนาแท้ๆ อย่างไรก็ตามแต่ คุณนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งมีความแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ค่อนข้างมาก แต่ลองนึกถึงชาวมุสลิมที่อยู่ในหนองจอกในกรุงเทพฯ ไม่มีใครรู้สึกอะไรกับเขาเลย เป็นมุสลิมที่อยู่ใกล้กันมาเป็นร้อยกว่าปี มันกลืนกันไป กลืนกันมา จนไม่มีรู้สึกอะไรอีกแล้ว

แต่มุสลิมที่อยู่ในสามจังหวัดภาคใต้ ไม่ได้อยู่ใกล้กันแบบนั้น เพราะฉะนั้นเขาก็ยังมีความแตกต่าง แล้วเขาก็รู้สึกว่าความแตกต่างเหล่านั้นเป็นตัวตนของเขา เช่น เขาอยากจะให้การศึกษา ทางด้านศาสนาสืบต่อมาในภาษามลายู นี่เป็นตัวอย่าง

ในขณะที่คนหนองจอกไม่จำเป็น คุณจะสอนคัมภีร์กุรอ่านเป็นภาษาไทยก็ได้ สอนไปเลย สอนศาสนาด้วยภาษาไทยก็ได้ แต่คนตรงนี้ต้องสอนเป็นภาษามลายู เพราะตำรามีอยู่ในภาษามลายู จะไปสอนภาษาไทยได้ยังไง ก็ต้องสอนด้วยภาษามลายู ความแตกต่างเหล่านี้ ถามว่ารัฐไทยเป็นรัฐที่รังแกคนส่วนน้อยที่มีความแตกต่างเหล่านี้ไหม ผมว่าทำ ไม่ว่าจะเป็นชาวมลายู ไม่ว่าจะเป็นชาวกะเหรี่ยง ไม่ว่าจะเป็นชาวม้ง ชาวกุยที่อยู่ในที่ต่างๆ ในประเทศไทย

แต่ทั้งหมดเหล่านี้ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า รัฐไทยเป็นรัฐที่อ่อนแอ ที่บอกว่ารัฐไทยเป็นรัฐที่อ่อนแอก็เพราะว่า รัฐทุกรัฐในโลกนี้ผูกขาดการใช้ความรุนแรง ถามว่ารัฐไทยผูกขาดการใช้ความรุนแรงสำเร็จไหม ผมว่าสำเร็จ

จริงอยู่สถานการณ์ในภาคใต้ มีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เข้ามาท้าทายการผูกขาดการใช้ความรุนแรง โดยใช้ความรุนแรงตอบโต้บ้าง อย่างไรก็ตามแต่ ถามว่ารัฐไทยผูกขาดความรุนแรงได้สำเร็จแค่ไหน ผมว่าสำเร็จค่อนข้างมาก คือกองกำลังติดอาวุธทั้งหลายของเรา ไม่ว่าจะเป็นทหาร ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ถึงที่สุดแล้ว สามารถที่จะปราบปรามการท้าทายการใช้ความรุนแรงของคนอื่นได้  อีกฝ่ายหนึ่งที่ใช้ความรุนแรง ถามว่าทำร้ายรัฐไทยได้มากไหม ผมว่าไม่มากเท่าไหร่

แต่ความอ่อนแอของรัฐไทย ไม่ใช่อยู่ตรงที่คุณไม่สามารถใช้ความรุนแรงได้นะครับ ความอ่อนแอของรัฐไทยอยู่ที่ว่า เราไม่มีเอกภาพในการนำเพียงพอ ลองถามว่า ใครจะสามารถทำอะไรที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่ามีประโยชน์ ตัวอย่างเช่น การศึกษาไทยควรจะได้รับการปฏิรูปไหม ผมเชื่อว่า 80-90 เปอร์เซนต์เห็นด้วยว่าเราต้องปฏิรูปการศึกษา ถามว่าใครทำได้ ไม่มีใครทำได้สักคน ผมไม่ได้โทษ รมต.ศึกษาฯนะ

มีนักวิชาการฝรั่งคนหนึ่ง เขาเปรียบเทียบสังคมไทยเหมือนกับ...คุณเคยเห็นไหมที่เขาผูกเชือกเป็นปมๆ ให้เด็กปีนเล่น เขาบอกว่ารัฐไทย มันเป็นแบบนั้น คือมีปมแยะมาก เด็กปีนปมนี้ ก็จะไปดึงปมอื่นด้วย มันก็กระทบถึงกัน แต่มันคนละปม ประเทศไทยก็จะเป็นอย่างนี้ คือไม่มีการนำที่ชัดเจน แต่กระจายการนำไปหมด มีทั้งนักการเมือง ทั้งระบบราชการ กองทัพบก ทั้งตำรวจ ทั้งฝ่ายวิชาการในมหาวิทยาลัย ทั้งหมดเหล่านี้มีอำนาจหมด แล้วก็ดึงกันไปดึงกันมา ไม่มีความเด็ดขาด ความอ่อนแอของรัฐไทยอยู่ตรงนี้ ดังนั้น รัฐที่อ่อนแอจึงอยากได้สิ่งหนึ่งที่เป็นสิ่งจำเป็น คือความจงรักภักดีของพลเมืองที่มีต่อรัฐ ทุกรัฐต้องการสิ่งนี้หมด

แต่คุณไปดูเถอะครับ ผมไม่เห็นจะมีรัฐไหนที่พูดแบบตรงไปตรงมาว่า ผมต้องการความจงรักภักดีจากคุณ เข้าใจไหม วิธีที่จะได้ความจงรักภักดีจากพลเมืองก็คือ ทำอ้อมๆ ไม่บอกตรงๆ จึงมีแต่ความระแวง ระแวงว่าคนนี้ กลุ่มนั้น ไม่ภักดีอยู่ตลอดเวลา ด้วยความอ่อนแอ ผมก็คิดว่ารัฐไทยจึงมีความระแวงต่อความแตกต่างของพลเมือง ระแวงพวกกุย ระแวงพวกม้ง ระแวงพวกมลายู คุณพูดภาษาไทยไม่เหมือนเขา ระแวงไปหมด

สมัยหนึ่งที่รัฐไทยระแวงว่า คนอีสานทั้งอีสานภักดีต่อฉันจริงหรือเปล่า หรือภักดีต่อประเทศลาวที่อยู่เวียงจันทร์กันแน่ เพราะอ่อนแอ เพราะต้องการแต่ความภักดีที่ชัดๆ อยู่ตลอดเวลา แทนที่จะสร้างความภักดีโดยวิธีอื่น ก็สร้างความภักดีโดยการข่มขู่ให้เขาภักดีต่อตัวเอง ใช้ความกลัวเป็นเครื่องมือค่อนข้างมาก

จริงๆ รัฐบาลพม่าที่กดขี่ประชาชนมาเป็น 10 ปี เห็นได้ชัดที่สุดเลย คือความไม่ไว้วางใจ เพราะอ่อนแอ แล้วใช้ความกลัวเป็นเครื่องมือในการบังคับให้ชนกลุ่มน้อยทุกกลุ่มในพม่ามีความภักดีต่อตัวเอง คล้ายๆ กับที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่เราอาจจะไม่แรงเท่าพม่า ในแง่นี้ ถามว่ารัฐไทยมีความเป็นธรรมต่อชนกลุ่มน้อยไหม มันไม่มี ที่ไม่มีเพราะอ่อนแอ

อันสุดท้าย เรื่องของความเป็นธรรมที่ต้องนึกถึงก็คือ น่าประหลาดนะครับ เวลาที่รัฐทำอะไรก็แล้วแต่ที่มันยุติธรรม คนที่เป็นพลเมืองต้องรู้สึกด้วยว่า อันนั้นคือความยุติธรรม แต่ไม่ใช่ ผมกำลังจะบอกว่าความเป็นธรรมคือสิ่งที่ทั้งรัฐและพลเมืองเห็นพ้องต้องกัน ไม่ใช่เฉพาะรัฐเห็นว่าเป็นธรรมอย่างเดียว

เพราะฉะนั้นเวลาที่รัฐบอกว่า ไม่เป็นธรรมอย่างไร ก็ผมส่งคุณขึ้นศาลให้อัยการตรวจสอบ ขึ้นฟ้องศาล ศาลบอกว่าคุณผิด แล้วคุณยังบอกผมไม่เป็นธรรมได้ยังไง ไม่ใช่ เรากำลังพูดถึงความเป็นธรรมที่มีในกฎหมาย ไม่ใช่ที่มันล่องลอยอยู่ในอากาศ มันต้องเป็นความเป็นธรรมที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นธรรม ตรงนี้รัฐไทยไม่สามารถให้ได้ ไม่ใช่เฉพาะแก่ชาวมลายูมุสลิม  ทั้งประเทศไทยเลยก็ว่าได้ ที่จะทำให้ไม่รู้สึกว่า ที่ผมโดนลงโทษและได้รับการปล่อยตัวมันเกิดขึ้นจากความเป็นธรรม แต่ความเป็นธรรมในแง่นี้มันไม่มีจริง เพราะฉะนั้นนี่เป็นมิติด้านความเป็นธรรมที่ผมคิดว่ารัฐไทยจะให้ได้ นี่เป็นประเด็นหนึ่งที่ผมอยากจะฝากทิ้งไว้

ประเด็นที่สองต่อมา ที่ อ.โซรยา [จามจุรี – DSJ] ถามว่า จะเกิดความสันติขึ้นมาได้อย่างไรในที่่ตรงนี้ มองจากแง่ของประวัติศาสตร์ ผมคิดว่าในสามจังหวัดภาคใต้ ความไม่สงบไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก ทุกคนก็รู้อยู่ว่ามันเกิดความไม่สงบมากี่ครั้งกี่หนแล้ว เพราะคนที่นี่เขารู้สึกว่าเขาไม่ได้รับความเป็นธรรมในการอยู่กับรัฐไทย แล้วเขารู้สึกว่าต้องสร้างอำนาจต่อรอง โดยอำนาจต่อรองในที่นี้หมายถึงแยกตัวออกจากรัฐไทย หมายถึงต้องมีการเจรจาตกลงกันก่อนว่า จะอยู่ร่วมกันอย่างไรก็แล้วแต่ มันมีทุกอย่างหมด ในการแข็งข้อหรือขัดขืนกับอำนาจของรัฐไทย แล้วในที่สุดก็สงบลง แล้วก็เกิดมาอีก แล้วก็สงบลง ทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้น

ถ้ามองถึงแง่ประวัติศาสตร์ หรือร้อยปีที่ผ่านมา ผมอยากจะพูดอย่างตรงไปตรงมาว่า รัฐไทยใหญ่มาก เมื่อเทียบกันกับคนในสามจังหวัดภาคใต้ ยังไงๆ ก็สู้ไม่ได้ คือเมื่อไหร่ก็ตามแต่ที่คุณใช้วิธีการสู้ด้วยความรุนแรง คุณไม่มีทางชนะรัฐไทยได้ อย่างที่ผมบอกเมื่อครู่แล้วว่า รัฐไทยอ่อนแอก็จริง แต่ไม่ได้อ่อนแอในแง่ของการใช้ความรุนแรง มันใช้ได้มากเท่าๆ กับ หรือมากยิ่งกว่ากลุ่มใดก็แล้วแต่ในประเทศที่สามารถใช้ได้

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ถามว่าเข้มแข็งไหม เข้มแข็งมากครับ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยนั้นได้รับความอุดหนุนช่วยเหลือจากประเทศมหาอำนาจที่ใหญ่พอสมควร คือจีนในสมัยนั้น แล้วก็เวียดนามปล่อยให้ผ่านทางเข้ามา ผมมีเพื่อนที่เข้าไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยทางภาคอีสาน เขาบอกว่า ในภาคอีสานไม่ต้องห่วงเรื่องเกี่ยวกับอาวุธเลย เขาสามารถใช้ปืนอาก้าหรืออะไรก็แล้วแต่ที่ส่งมาจากประเทศจีนได้สบายๆ แต่แน่นอน ในภาคใต้หาอาวุธได้ยากกว่า ต้องใช้วิธีแย่งจากตำรวจมาอีกที ทีนี้ภาคอีสานที่อยู่ติดกับลาว ติดกับเวียดนาม อาวุธไหลเข้ามาสบายๆ

ผมคิดว่าพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเข้าถึงอาวุธได้มากกว่าผู้ปฏิบัติการในภาคใต้เวลานี้มากเลย แล้วก็เป็นอาวุธที่ค่อนข้างจะเป็นอาวุธสงครามขนาดใหญ่ด้วย ไม่ใช่แค่ปืนประจำกายแต่เพียงอย่างเดียว แต่กระนั้นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็ต้องยุติการต่อสู้ไปเพราะการตัดความช่วยเหลือของจีน พอจีนตัดความช่วยเหลือ คุณก็เสร็จ คุณไม่มีทางดิ้นรนจะไปสู้อะไรกับรัฐไทยได้

เพราะฉะนั้นกำลังของรัฐไทยในการป้องกันตนเอง อย่าไปคิดแต่เพียงกองทัพอย่างเดียว คุณยังมีความสัมพันธ์ทางการทูต ยังมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่คนจำนวนมากในโลกนี้อยากจะอยู่ฝ่ายเดียวกับคุณมากกว่าที่จะอยู่กับฝ่ายที่ต่อสู้กับคุณ ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นมลายู จะเป็นคอมมิวนิสต์ จะเป็นอะไรก็แล้วแต่ คุณให้ประโยชน์แก่เขามากกว่า เพราะฉะนั้นกำลังในแง่นี้ของรัฐไทยมันมหาศาล ดังนั้น การกบฏต่อรัฐไทยหลังราชการที่ 5 เป็นต้นมา ผมไม่เห็นมีใครประสบความสำเร็จสักคน

กบฏจริงๆ แล้วไม่มีทาง ในรัฐสมัยใหม่ รัฐสามารถดึงเอาอำนาจมาได้เมื่อไหร่ เชือกที่เป็นปมๆ ที่ผมพูดถึงมันเห็นพ้องต้องกันในการร่วมกันป้องกันตนเอง พอเห็นอย่างนี้ปั๊บ กำลังจะมโหฬาร ฉะนั้นในภาคใต้ จึงเกิดขึ้นแล้วก็สงบลง เกิดขึ้นแล้วก็สงบลง

ดังนั้นผมคิดว่า สันติในความหมายทั้งสองฝ่าย คือ การประสบความสำเร็จในการเจรจากัน แล้วก็อยู่ร่วมกันอย่างสันติ อันนี้ผมไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่ แต่ผมอยากจะชี้ 2-3 อย่างหากมองจากแง่ประวัติศาสตร์แบบเหี้ยมโหด คือไม่นึกถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับชีวิตคนนะครับ

อันที่หนึ่ง ผมอยากจะพูดว่า ฝ่ายผู้ก่อการในภาคใต้ ประสบความล้มเหลว ก็คือว่า คุณไม่สามารถที่จะดึงเอาความร่วมมือจากต่างประเทศได้ ซึ่งผมเข้าใจว่า เป็นความปรารถนาหรือความตั้งใจตั้งแต่ต้น ตั้งแต่ 2547 แล้วว่า ถ้าคุณเคลื่อนไหวแล้ว ในที่สุดคุณจะได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่มที่เขาเรียกว่ามุสลิมหัวรุนแรง หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่คุณไม่ประสบความสำเร็จในการดึงความช่วยเหลือที่เป็นกอบเป็นกำ ไม่ใช่เป็นศูนย์เลย ไม่ใช่นะ อาจจะมี แต่เป็นกอบเป็นกำอย่างที่จะมีโอกาสให้คุณจะเอาชนะรัฐไทยด้วยอาวุธ เป็นไปไม่ได้

ทำไมเขาจึงไม่รับไม่ให้การช่วยเหลือ ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน แต่อธิบายในที่นี้ว่า กลุ่มต่างๆ มีผลประโยชน์ผูกพันอยู่กับรัฐไทยสูงกว่าที่จะมาเสี่ยงกับกลุ่มเหล่านี้ คุณอาจจะบอกว่าเป็นมุสลิมด้วยกัน ผมไม่ทราบ แต่ผมเชื่อว่าอุดมการณ์เพียงอย่างเดียว จะเป็นอุดมการณ์ศาสนา อุดมการณ์ทางการเมืองไม่พอหรอก ไม่พอที่คุณจะดึงรัฐอื่นเข้ามาช่วยด้วยเหตุผลอุดมการณ์อย่างเดียว

คุณยังจำได้ไหม จีนกับเวียดนามซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ด้วยกันยังรบกันเลย เมื่อผลประโยชน์ของประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง ลองมองว่า คอมมิวนิสต์มันเป็นศาสนาชนิดหนึ่ง ยังรบกันเลย เป็นต้น เพราะฉะนั้น ผมคิดว่านี่เป็นความล้มเหลวที่หนึ่ง

อีกอย่างหนึ่ง เพื่อนของผมอีกคนเป็นนักข่าวเหมือนกัน เขาเข้าไปทำข่าวหลังจากที่อาเจะห์ได้มีข้อตกลงกับรัฐบาลอินโดนีเซียเรียบร้อยแล้ว เขาได้มีโอกาสเข้าไปในอาเจะห์ ไปคุยกับผู้นำฝ่ายปฎิบัติการของฝ่ายกบฏอาเจะห์ซึ่งตอนนี้ก็วางอาวุธแล้ว  เพราะรัฐบาลอินโดนีเซียยอมหลายอย่าง ยอมแบ่งผลประโยชน์เรื่องน้ำมัน ยอมให้มีการปกครองตนเอง ให้กลายเป็นเขตปกครองพิเศษ อะไรต่างๆ นานาร้อยแปด

ปรากฏว่าผู้นำอาเจะห์เหล่านั้นบอกเลยว่า เขาไม่รู้จะช่วยยังไงกับมุสลิมที่อยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย เพราะกลุ่มมุสลิมที่อยู่ในภาคใต้ของประเทศไทยนั้นดำเนินงานทางการเมืองทั้งการเมืองภายในประเทศและการเมืองระหว่างประเทศล้มเหลวมากๆ เลย เพราะหลังจาก พ.ศ.2547 มาจนถึงปัจจุบันนี้ ที่จริงประมาณ 3 ปีหลัง พ.ศ.2550 เป็นต้นมา องค์กรระหว่างประเทศ เริ่มชี้ว่า ฝ่ายที่ใช้ความรุนแรงและละเมิดสิทธิมนุษยชน มีทั้งสองฝ่าย ฝ่ายรัฐไทยก็ละเมิดสิทธิมนุษยชน อีกฝ่ายหนึ่งก็ละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะคุณไปทำร้ายคน คือคุณใช้ความรุนแรง คุณไม่มีทางชนะทางการเมืองได้ แม้แต่คนที่อยู่ฝ่ายต่างประเทศที่เคยผ่านประสบการณ์เหล่านี้มาแยะแล้ว ยังรู้สึกว่า ถ้าผมไปช่วยก็จะเสียไปด้วย กลายเป็นว่า ผมก็เป็นฝ่ายละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย

ถ้าไปดู ไม่ว่ากรณีอาเจะห์ กรณีการเคลื่อนไหวของโลกมุสลิมทั้งหมด คุณจะพบว่า เขาไม่เคลื่อนไหวโดยอาศัยความรุนแรงเพียงอย่างเดียว เขาจะไม่ทำอย่างนั้นเป็นอันขาด เขาจะต้องดูว่า ความรุนแรงที่เขาใช้มันจะมีผลในทางการเมืองอย่างไร คือการเมืองกับสงครามมันแยกออกจากกันไม่ได้ ถ้าคุณคิดว่าจะอาศัยความรุนแรงในทางต่อสู้ เพื่อจะได้สิ่งที่คุณต้องการมา คุณต้องนึกถึงการเคลื่อนไหวในทางการเมืองไปพร้อมๆ กัน คุณใช้แต่ความรุนแรงอย่างเดียวไม่ได้ และด้วยเหตุดังนั้น ผมคิดว่านี่เป็นความล้มเหลวอันที่หนึ่ง ก็คือเขาไม่ประสบความสำเร็จในการดึงความช่วยเหลือจากต่างประเทศได้

อันที่สอง หลังจากเหตุการณ์ผ่านไปตั้งแต่ 2547-2555 แปดปีแล้ว ผมคิดว่ารัฐรู้แล้ว อย่างเก่งพวกคุณก็ทำได้แค่นี้ คุณลองมองประเทศไทยให้กว้างกว่าสามจังหวัด คุณลองดูตัวผมก็ได้ ผมนั่งอยู่เชียงใหม่ ถามว่าการปฏิบัติการที่รุนแรงทั้งหมดของกลุ่มปฏิบัติการในภาคใต้ กระทบต่อการธนาคารไทยไหม น้อยมาก คือธนาคารกรุงเทพสาขาที่ถูกระเบิดที่ยะลา มันเป็น 0.01 เปอร์เซนต์ของธนาคารกรุงเทพ ไม่มีความหมาย

ในทัศนะผม คนที่อยู่ไกลจากสามจังหวัดภาคใต้ ก็ไม่ได้อะไรมากกว่านี้ มีประชากรที่เดือดร้อนอยู่ 1.7-1.8 ล้านคนที่อยู่ในสามจังหวัดภาคใต้ ก็แค่นั้น ประเทศไทยตั้ง 60 ล้าน จะเป็นอะไรไป นี่พูดแบบเหี้ยมๆ เลยนะ ไม่สนใจว่าพวกคุณจะตาย จะอะไรเท่าไหร่ แต่หากมองจากรัฐที่ใหญ่ทั้งหมดแล้ว แปดปีผ่านไปถ้าคุณทำได้แค่นี้ คุณก็ได้แค่นี้แหละ ใครจะอึดกว่ากัน ประเทศไทยถามว่า เดือดร้อนไหม ไม่เดือดร้อน อยู่ได้สบายมากเลย คุณลองไปคิดถึงสมัยเราเคยเผชิญกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เอาเฉพาะพื้นที่อย่างเดียว ที่เรียกว่าพื้นที่สีชมพูนั้นมีเท่าไหร่ ผมคิดว่าชะตากรรมอันนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกกับชาวมลายูมุสลิมที่เคลื่อนไหวเพื่อจะเรียกร้อง ไม่ว่าจะเรียกร้องอะไรก็แล้วแต่ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน คือคุณทำไม่ได้มากไปกว่านี้

สมัยหนึ่งในภาคใต้ เมื่อสัก 30-40 ปีก่อน พอตกมืดก็ไม่มีใครกล้าเดินทางระหว่างชุมชนเมืองกับชุมชนเมืองแล้ว เพราะระหว่างทางไม่ปลอดภัย แต่ตอนนี้ขยายเข้ามาถึงในเมืองด้วย ข้างนอกด้วย แต่มากสุดก็แค่นี้ เพราะมันผ่านไปแล้วแปดปี คือถ้าปีที่สอง ปีที่สามคุณสามารถระเบิดหาดใหญ่ได้บ่อยๆ พอจากปีที่สามไปถึงสงขลา อันนี้แหละมันน่ากลัว แต่ก็แค่นี้ สามปีหาดใหญ่ที ก็ไม่เป็นไร และผมคิดว่าเรื่องนี้ ทั้งสองฝ่ายรู้ อีกฝ่ายหนึ่งก็รู้ และผมคิดว่าในอดีต กลุ่มผู้ก่อการทั้งหลายในภาคใต้ หลังจากทำงานไปพักหนึ่ง อาจจะถึงสิบปี ก็เริ่มรู้สึกว่า วิธีนี้ไม่ได้ผล เพราะคล้ายกับว่า คุณเป็นแจ็คที่ตัวเล็กมาก แล้วคุณไปสู้กับยักษ์ที่ใหญ่มากๆ โดยวิธีที่คุณไปตีหัวแม่เท้ามันอย่างเดียว มันทำไม่ได้หรอก มันไม่มีทางที่จะสู้ได้

แต่แน่นอนความสูญเสียเกิดขึ้นมาก โดยเฉพาะกับประชาชน แต่แน่นอนไม่ใช่กับรัฐไทย คุณอยู่เชียงใหม่ได้โดยไม่ต้องสนใจเรื่องที่เกิดขึ้นนี้เลย ไม่กระทบ ดอกเบี้ยไม่เพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยไม่ลดลง การส่งออกสินค้าก็ไม่ได้ต่ำลง ไม่มีอะไรเกิดขึ้น การท่องเที่ยวก็กระทบไปอยู่พักหนึ่ง เดี๋ยวนี้ก็กลับมาเฟื่องฟูเหมือนเก่า ไม่มีอะไรเกิดขึ้น มันไม่เกิดผล

จะเกิดสันติภาพได้อย่างไร คำตอบคือ ผมไม่ทราบว่าจะเกิดสันติภาพได้อย่างไร แต่ผมเชื่อแต่เพียงว่า ถ้าไม่มีใครเปลี่ยนแปลงมากนัก คือรัฐไม่เปลี่ยน อีกฝ่ายหนึ่งไม่เปลี่ยน ในที่สุดคือจะสงบไป แล้วจะเกิดกลุ่มใหม่มาอีก ถ้ารัฐยังเหมือนเดิมอีก

แต่ในขณะเดียวกัน ผมก็ยอมรับว่า รัฐไทยกำลังเปลี่ยน  เปลี่ยนโดยตัวสังคมเอง และการเมืองของรัฐไทยเองก็ดำรงอยู่อย่างเก่าได้ยาก ทำให้จำเป็นต้องปรับตัวเอง จะปรับไปอย่างไรผมไม่ทราบ

ท่ามกลางประชาชนที่ตื่นตัวมาก คุณสามารถเรียกร้องให้มีการกระจายอำนาจมากขึ้นอย่างตรงไปตรงมา แล้วจะให้รัฐเหมือนเก่านั้นก็เป็นไปไม่ได้แล้ว กลุ่มที่ปฏิบัติการต่อต้านอำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม จะเปลี่ยนยุทธวิธีของตนเองไหม ผมก็หวังว่าจะเปลี่ยน

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประวิตร โรจนพฤกษ์: ทำไมพวกเขาถึงไม่ยอมแก้หรือยกเลิก ม.112 ?

Posted: 07 Nov 2012 01:45 AM PST

1) เพราะพวกเขาเชื่อว่าประชาชนโง่

2) เพราะพวกเขากลัวว่าประชาชนจะฉลาด รู้เท่าทัน

3) เพราะพวกเขาเชื่อว่าประชาชนแยกจริงเท็จไม่ออก

4) เพราะพวกเขาคิดว่าข้อมูล 'ดีๆ' ด้านเดียว จำง่ายดี

5) เพราะพวกเขาคิดว่าข้อมูลหลายด้านเป็นอันตราย

6) เพราะพวกเขาคิดว่าประชาชนจะเคยชินกับการมองอะไรดีชั่วแบบสุดขั้ว

7) เพราะเชื่อว่าประชาชน แม้โตหรือแก่แล้ว ก็ยังชอบนิทานก่อนนอน

8) เพราะคิดว่าประชาชนไม่สามารถเข้าใจความสลับซับซ้อนย้อนแย้งของมนุษย์ได้

9) เพราะไม่เชื่อมั่นว่าประชาชนจะชอบบูชาคนเหมือนพระเจ้าได้ตลอดรอดฝั่ง

10) เพราะเชื่อในการควบคุมข้อมูลข่าวสาร

11) เพราะกลัวจะควบคุมข้อมูลข่าวสารไม่ได้

12) เพราะกลัวว่าประชาชนจะแยกแยะจริงเท็จไม่ออก

13) เพราะกลัวว่าประชาชนจะแยกแยะจริงเท็จออก

14) เพราะเขาเห็นประชาชนเป็นเด็ก

15) เพราะประชาชนอาจไม่ใช่เด็กอย่างที่เขาคิด

16) เพราะเขาไม่แน่ใจว่าจะเกิดอะไร หากประชาชนเข้าถึง และพูดถึง ข้อมูลหลากหลายเกี่ยวกับเจ้าได้

17) เพราะเขาเชื่อว่าประชาชนคิดเองไม่เป็น

18) เพราะเขากลัวว่าประชาชนจะคิดเองเป็น

19) เพราะเขาเชื่อว่าประชาชนคิดเองเป็น

20) เพราะเขาไม่รู้ว่าโลกเปลี่ยนแปลงไปถึงไหนแล้ว

21) เพราะเขาไม่สนใจว่าประชาคมโลกจะคิดอย่างไร

22) เพราะเขากลัวความเปลี่ยนแปลง

23) เพราะเขากลัวประชาชนสงสัย

24) เพราะเขากลัวประชาชนสับสน

25) เพราะเขาไม่ไว้ใจประชาชน

26) เพราะเขาปิดตาตนเอง

27) เพราะเขารู้ว่าความจริงไม่เข้าใครออกใคร

28) เพราะพวกเขาอยากให้ประชาชนเชื่อและรักอย่างไม่ต้องลืมหูลืมตา

29) เพราะเขากลัวประชาชนจะลืมหูลืมตา

30) เพราะเขาเชื่อในการสร้างบรรยากาศความกลัวในหมู่ประชาชนที่คิดเท่าทันเจ้า ไปพร้อมๆ กับบรรยากาศซาบซึ้งสุดขั้วอย่างไม่รู้จักพอเพียงในหมู่ผู้รักเจ้า

31) เพราะเขากลัวจนไม่รู้จะทำอย่างไร

32) เพราะเขาเทิดทูนเจ้า จนแทบจะกลายเป็นศาสนา

33) เพราะเขาปิดหูปิดตาตนเอง และดูไม่ออกว่าอะไรเป็นประโยชน์สูงสุดต่อสาธารณะ

34) เพราะพวกเขาไม่สนใจว่าในที่สุด จะเกิดอะไรขึ้นกับบ้านเมืองและประชาชน ที่ถูกปิดหูปิดตาปิดปาก อย่างไม่รู้จักพอเพียงมานานปี

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น