โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

เวที "ประชาสังคมอาเซียน" ที่พนมเปญ เตรียมเสนอ "ปฏิญญาสิทธิมนุษยชน" คู่ขนานกับฉบับรัฐ

Posted: 15 Nov 2012 12:19 PM PST

จัดเวทีประชาสังคม/ภาคประชาชนอาเซียน (ACSC/APF) ที่กัมพูชา หลังต้องย้ายที่จัดงานถึง 3 ครั้ง โดยอภิปรายกันหลายหัวข้อ ตั้งแต่เรื่องเพศสภาพไปจนถึงเรื่องความมั่นคง พร้อมนำเสนอ "ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน" ฉบับประชาชน หวังใช้คู่ขนานไปกับฉบับที่ผู้นำอาเซียนจะลงนามในวันที่ 18 พ.ย.

พนมเปญ  - เมื่อวันที่ 14 พ.ย. ที่ผ่านมา มีการจัดเวที "การประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน/ภาคประชาชนอาเซียน" (ASEAN Civil Society Conference/ASEAN Peoples' Forum 2012) หรือ ACSC/APF ที่ศูนย์ SOVANN KOMAR ชานกรุงพนมเปญ โดยในวันเปิดงานมี Sok Sam Oeun ผู้อำนวยการบริหาร Cambodian Defenders Project

โดยระหว่างกล่าวเปิดงาน นาย Sok Sam Oeun กล่าวขออภัยที่ต้องย้ายที่จัดงานหลายครั้ง เนื่องจากเจ้าของสถานที่มาขอยกเลิกสัญญาจัดงาน ทำให้ต้องหาสถานที่ใหม่ เขากล่าวว่า "ตามกฎหมายกัมพูชา ไม่มีกฎหมายใดห้ามการรวมตัวแบบนี้ ทั้งการจัดเวิร์คชอบ หรือประชุม กัมพูชามีแต่กฎหมายห้ามการชุมนุม แต่ในวันนี้ไม่ได้เป็นจัดการชุมนุม เราแค่มาประชุม อภิปราย และพูดคุยกันเท่านั้น"

ชลิดา ทาเจริญศักดิ์ จากมูลนิธิศักยภาพชุมชน และกรรมการอำนวยการ การประชุม ACSC/APF ให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลกัมพูชาได้ปิดกั้นไม่ให้มีการรวมตัวของประชาชน ทั้งกรณีของสมัชชาประชาชนรากหญ้าอาเซียน "AGPA" ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตัดไฟทำให้การประชุมไม่สามารถใช้เครื่องเสียงได้ และแม้เจ้าหน้าที่จะยังไม่ใช้ความรุนแรง แต่เรื่องนี้ก็เป็นสิ่งที่ปิดกั้นอย่างมากในการให้ประชาชนมาแลกเปลี่ยนความเห็นกัน เพื่อนำเสนอข้อเสนอต่อรัฐบาล เช่นเดียวกับการประชุม "ACSC/APF" ต้องย้ายที่ 3 ครั้งเพราะเจ้าของสถานทีปฏิเสธไม่ให้ใช้ เพราะมีการติดต่อจากเจ้าหน้าที่รัฐขอไม่ให้มีการใช้สถานที่

ทั้งนี้รู้สึกว่าเรื่องแบบนี้ไม่สมควรจะเกิดขึ้น เพราะภาคประชาชนอาเซียนถูกบรรจุอยู่ในกฎบัตรอาเซียน ว่าการทำงานของอาเซียนทุกอย่างจะมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง แต่ในความเป็นจริงอาเซียนไม่ได้สนับสนุนประชาชนและไม่ได้เปิดพื้นที่ให้ประชาชนพูดคุยเลย

นอกจากนี้ กรณีที่จะมีการออกปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน ซึ่งจะมีการลงนามในวันที่ 18 พ.ย. โดยผู้นำประเทศของอาเซียนนั้น ภาคประชาชนที่ติดตามปฏิญญานี้เห็นว่า ปฏิญญาที่จะออกมานี้ต่ำกว่ามาตรฐานสากล ทั้งนี้อาเซียนมักอ้างว่ามีค่านิยมด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคมีความต่างจากค่านิยมด้านสิทธิมนุษยชนของยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา ทั้งที่ค่านิยมสิทธิมนุษยชนในโลกนี้มีความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะชาติพันธุ์ไหน นับถือศาสนาใด ทั้งนี้กรอบแนวคิดที่มีความต่างกันจึงทำให้การยกร่างปฏิญญาสิทธิมนุษยชนของภาครัฐเน้นไปที่ตัวสิทธิมนุษยชนที่ตัวกฎหมายภายในประเทศ ซึ่งมองว่าสิ่งนี้จำกัดการเคารพสิทธิมนุษยชน จึงมีการผลักดันและยกร่างอีกฉบับเป็นร่างสิทธิมนุษยชนอาเซียนฉบับประชาชน โดยจะมีพิจารณากันในการประชุม ACSC/APF ปฏิญญาภาคและภาคประชาชน เอกสารสำคัญของอาเซียนที่จะใช้คู่กันไป ทั้งปฏิญญาสิทธิมนุษยชนจากรัฐ และฉบับที่มาจากประชาชน

ทั้งนี้ตลอด 3 วันของการประชุมนอกจากการเสวนาที่เวทีหลัก แล้วจะมีการแบ่งหัวข้อสัมมนาย่อยออกเป็นหลากหลายประเด็นทั้งเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ การค้ามนุษย์ สิทธิมนุษยชน สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ ประเด็นเรื่องความหลากหลายทางเพศ ความเสมอภาคทางเพศ เยาวชน สันติภาพ ความมั่นคง การศึกษา การจัดการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรมในอาเซียน และในวันสุดท้ายของการประชุมจะมีการออกแถลงการณ์ร่วมซึ่งรวบรวมมาจากข้อเสนอของเวทีประชุมดังกล่าว มีในวันศุกร์นี้จะมีการนำเสนอปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนฉบับภาคประชาชน และกรอบของกลไกการติดตามและตรวขสอบข้อเสนอที่มาจากแถลงการณ์ร่วม

สำหรับการประชุม ACSC/APF ดังกล่าว ถือเป็นหนึ่งในหลายการประชุมที่จัดโดยองค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มชาวบ้าน และกลุ่มประชาสังคมจากกัมพูชาและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการจัดคู่ขนานไปกับการจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่จะมีขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์นี้ ขณะที่มีรายงานด้วยว่าการประชุมของ "สมัชชาประชาชนรากหญ้าอาเซียน" หรือ "(ASEAN Grassroots People's Assembly - AGPA)" ก็ถูกรบกวนจากเจ้าหน้าที่รัฐเช่นกัน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เกิดเหตุรุนแรงในจอร์แดนจากการประท้วงขึ้นราคาน้ำมัน

Posted: 15 Nov 2012 11:00 AM PST

หลังจากที่รัฐบาลจอร์แดนประกาศขึ้นราคาน้ำมันและแก็สหุงต้ม เพื่อปรับตัวกับภาวะขาดดุลงบประมาณและภาระหนี้สินไอเอ็มเอฟ ทำให้ประชาชนทั่วประเทศไม่พอใจออกมาชุมนุม มีบางส่วนทำลายข้าวของและมีอาวุธปืน และมีการประทะกับเจ้าหน้าที่จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต


15 พ.ย. 2012 - เกิดเหตุปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจของจอร์แดน หลังจากประชาชนชาวจอร์แดนออกมาชุมนุมแสดงความไม่พอใจที่รัฐบาลประกาศปรับราคาน้ำมันและค่าโดยสารขนส่งมวลชนเพิ่ม

หลังจากเมื่อวันที่ 13 พ.ย. ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีอับดุลลาห์ เอนซูร์ ของจอร์แดนได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันและก๊าซหุงต้มอื่นๆ ทำให้ประชาชนทั่วประเทศจอร์แดนออกมาชุมนุมประท้วงและเรียกร้องให้มีการนัดหยุดงาน จนกระทั่งเกิดความรุนแรงในคืนวันที่ 14 พ.ย.

สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานว่า ในคืนวันที่ 14 พ.ย. มีกลุ่มคนติดอาวุธบุกเข้าโจมตีสถานีตำรวจในเมืองอีรบิดทางตอนเหนือของประเทศ เหตุปะทะในครั้งนี้ทำให้มีประชาชนมีอาวุธคนหนึ่งเสียชีวิต และเจ้าหน้าที่หลายรายได้รับบาดเจ็บ มีบางรายบาดเจ็บสาหัส

ที่เมืองซัลท์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองหลวง ผู้ประท้วงได้จุดไฟเผาสำนักงานกรมกิจการพลเรือน ขณะที่ในเมืองหลวงกรุงอัมมาน ประชาชนราวเกือบ 1,000 คนออกมาเดินขบวนตามท้องถนนและเกิดการปะทะกับตำรวจปราบจลาจลที่ยิงแก็สน้ำตาใส่กลุ่มผู้ชุมนุม ผู้สื่อข่าวต่างประเทศรายงานว่าผู้ชุมนุมบางกลุ่มมีการเผายางรถยนต์และขยะทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเข้าไปยับยั้งกลถ่มผู้ชุมนุมและยิงแก็สน้ำตาเข้าใส่

ขณะที่ในเมืองคารัค ทางตอนใต้ของกรุงอัมมาน ผู้ชุมนุมราว 2,000 คนออกมาประท้วงโดยตะโกนขับไล่อับดุลลาห์ ตำรวจและผู้เห็นเหตุการณ์รายงานว่าผู้ประท้วงได้ทุบกระจกร้านค้าไปด้วยในขณะเดือนขบวนผ่านเมืองในวันที่ 14 พ.ย.

เหตุรุนแรงเกิดขึ้นตั้งแต่คืนวันที่ 13 ไม่กี่นาทีหลังจากที่ รัฐบาลประกาศขึ้นราคาแก็สหุงต้มในครัวเรือนร้อยละ 53 และขึ้นราคาน้ำมันร้อยละ 12 เพื่อเป็นมาตรการในการชดเชยภาวะขาดดุลงบประมาณและรักษาหนี้ที่ยืมมาจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) การปรับตัวของราคาส่งผลให้ค่าธรรมเนียมขนส่งมวลชนในจอร์แดนปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 11

การประกาศปรับราคาขึ้นในครั้งนี้ถูกฝ่ายต่อต้านรัฐบาลนำมาวิพากษ์วิจารณ์ และเตือนว่าจะเกิดการ 'อารยะขัดขืน' ในช่วงเลือกตั้งทั่วไปในเดือน ม.ค. 2013 ที่จะถึงนี้

ซากี บานี ผู้นำกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาลในจอร์แดนเปิดเผยว่าบนท้อนถนนเต็มไปด้วยความโกรธและพร้อมจะระเบิดในไม่ช้านี้ แต่ขณะเดียวกันบานีก็บอกว่าพวกเขาต้องการสร้างปรากฏการณ์ 'จอร์แดนเนี่ยนสปริง' (Jordanian Spring) ที่มีลักษณะของท้องถิ่น ซึ่งหมายความว่าพวกเขาต้องการปฏิรูประบบไปพร้อมกับการทำให้การประท้วงเป็นไปอย่างสันติ

เจ้าหน้าที่ตำรวจจอร์แดนเปิดเผยว่าเกิดการประท้วงด้วยความรุนแรงขึ้นทั้ง 12 เขตปกครองทั่วจอร์แดน มีการเผารถยนต์และรถตำรวจ รวมถึงสถานที่ราชการ อย่างน้อย 20 แห่ง รวมถึงอาคารศาล ทางตำรวจจับกุมตัวประชาชนไว้ได้อย่างน้อย 120 คน

ตำรวจจอร์แดนออกแถลงการณ์ว่า มีผู้ประท้วงหลายสิบคนพยายามบุกเข้าไปในที่พักอาศัยของนายกรัฐมนตรี แต่ไม่สำเร็จ ขณะที่ในเมืองมานทางตอนใต้ของแระเทศ มีผู้ชุมนุมยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อบังคับให้ตำรวจปราบจลาจลออกนอกเมือง มีเจ้าหน้าที่ 1 รายได้รับบาดเจ็บ

กลุ่มสหภาพครูเตรียมนักหยุดงาน

สำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานก่อนหน้านี้ว่า การประท้วงรอบปัจจุบันในจอร์แดน นอกจากนายกรัฐมนตรีแล้ว ประชาชนยังได้กล่าวโทษกษัตริย์ อับดุลลาห์ ที่ 2 ผู้ที่มีพระราชอำนาจชี้ขาดการตัดสินใจวาระที่เกี่ยวกับประชาชน ว่าเป็นผู้ก่อปัญหาให้กับจอร์แดน ผู้ชุมนุมยังได้เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยกษัตริย์ลาออกจากตำแหน่งด้วย

กลุ่มผู้ประท้วงมีทั้งชาวมุสลิม, กลุ่มชาตินิยมอาหรับ, ผู้มีแนวคิดมาร์กซิสต์, คอมมิวนิสต์ และกลุ่มเยาวชนต่อต้านรัฐบาล ซึ่งออกมาแสดงความไม่พอใจระบอบกษัตริย์ในจอร์แดน

โดยการวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ในจอร์แดนเป็นสิ่งต้องห้าม และผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกมากที่สุด 3 ปี

นิสรีน เอล ชามายเลห์ นักข่าวอัลจาซีร่ารายงานจากกรุงอัมมานว่า ประชาชนจอร์แดนจำนวนมากรู้สึกว่ามาตรการขึ้นราคาดังกล่าวเป็นการตั้งเป้าไปที่กลุ่มคนจน ขณะที่กลุ่มคนรวยในจอร์แดนยังคงพอจ่ายให้กับราคาที่สูงขึ้นได้ ชามายเลห์รายงานอีกวา มีการนัดประท้วงอีกในวันศุกร์ และกลุ่มสหภาพครูก็เตรียมนัดหยุดงานเพื่อประท้วงการขึ้นราคาในครั้งนี้


เรียบเรียงจาก

Jordan violence escalates during second night, Aljazeera, 15-10-2012

Protests in Jordan after spike in fuel prices, Aljazeera, 14-11-2012
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

หน่วยความมั่นคงสหรัฐฯ หวังใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องตรวจ-ควบคุมโรค

Posted: 15 Nov 2012 10:52 AM PST

กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ มอบหมายให้บริษัทเอกชนใช้ระบบตรวจสอบค้นหาข้อมูลตามโซเชียลมีเดียไม่ว่าจะทวิตเตอร์, เฟซบุ๊ก หรือบล็อก ในการช่วยเตือนเรื่องโรคระบาด ขณะที่บางคนแสดงความกังวลว่าจะเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงความเห็นและสิทธิความเป็นส่วนตัวหรือไม่

เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2012 เว็บไซต์ Livescience ซึ่งเป็นเว็บข่าววิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯ เปิดเผยว่ากระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ (Department of Homeland Security) ต้องการนำการตรวจตราเว็บไซต์โซเชียลมีเดียมาใช้เพื่อช่วยค้นหาและป้องกันการแพร่กระจายของโรคระบาด

โครงการดังกล่าวจะทำการค้นหาสัญญาณเตือนเรื่องโรคระบาด โดยอาศัยข้อมูลที่เปิดให้เป็นที่รับรู้ต่อสาธารณะผ่านเฟซบุ๊ค, ทวิตเตอร์ หรือบล็อก

โดยบริษัท Accenture ซึ่งเป็นบริษัทให้คำปรึกษาด้านการจัดการและให้บริการเทคโนโลยีได้รับงบประมาณ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในการติดตั้งโปรแกรมนำร่องซึ่งจะสามารถทำนายวิกฤติด้านสาธารณสุขล่วงหน้าได้

จอห์น แมทเชตต์ กรรมการผู้จัดการด้านความปลอดภัยสาธารณะของ Accenture กล่าวว่าในทางทฤษฎีแล้ว การวิเคราะห์ข้อมูลของโซเชียลมีเดียจะแสดงให้เห็นตัวบ่งชี้เวลาเกิดเหตุการณ์ด้านสุขภาพและชีววิทยาหลายเหตุการณ์ที่ผ่านมาในอดีต และการรวบรวมและทำความเข้าใจกับข้อมูลอย่างทันท่วงทีจะช่วยให้สำนักงานกิจการสาธารณสุข (OHA) ค้นหาและโต้ตอบกับภัยด้านสุขภาพได้ทันท่วงที

โครงการณ์นี้มีที่มาจากแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติเพื่อระบบติดตามแบบแผนทางชีวภาพและระบาดวิทยา (national strategy for biosurveillance) ที่ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่านำเสนอเมื่อเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา โดยในแนวทางปฏิบัติของแผนยุทธศาสตร์ระบุให้มีการ "พิจารณาโซเชียลมีเดียในฐานะเป็นกำลังเสริมที่จะช่วยให้บุคคลหรือชุมชนให้คำเตือนล่วงหน้าและความตระหนักต่อสถานการณ์โลก"

ในแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวอ้างถึงภัยที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาเพื่อเน้นย้ำความสำคัญของระบบติดตามฯ เช่น จดหมายเชื้อแอนแทรกในปี 2001, การระบาดของโรค SARS ในปี 2003, การแพร่ระบาดของไข้หวัดนกในปี 2009, และภัยฉุกเฉินจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นในปี 2011

อย่างไรก็ตาม การที่หน่วยงานความมั่นคงของสหรัฐฯ อาศัยวิธีการตรวจตราอินเตอร์เน็ต ทำให้สมาชิกสภาคองเกรสและประชาชนบางส่วนแสดงความกังวลว่าหน่วยงานความมั่นคงของสหรัฐฯ กำลังละเมิดเสรีภาพในการแสดงความเห็นหและสิทธิความเป็นส่วนตัวอยู่หรือไม่

ในปัจจุบันนี้หลายบริษัทได้นำไอเดียเครื่องมือทางอินเตอร์เน็ตหรือโซเชียลมีเดียมาใช้ในการตรวจหาแนวทางของโรค เช่น โปรแกรมสตาร์ทอัพอย่าง Sickweather ที่เที่ยวค้นหาตามโซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ เพื่อตรวจดูโรคทุกโรคตั้งแต่โรคซึมเศร้าไปจนถึงโรคติดเชื้อในกระเพาะอาหาร และทางยักษ์ใหญ่กูเกิ้ลก็เคยใช้คำค้นหาในการดูแนวโน้มของโรคไข้หวัด


เรียบเรียงจาก
Homeland Security to Test Social Media as Disease-Tracking Tool, Livescience, 14-11-2012

DHS TRIES MONITORING SOCIAL MEDIA FOR SIGNS OF BIOLOGICAL ATTACKS, NextGov, 14-11-2012
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พรรคฝ่ายซ้ายฝรั่งเศสของปลอม กับการผงาดขึ้นมาอีกครั้งของฝ่ายซ้ายแท้ในยุโรป

Posted: 15 Nov 2012 10:26 AM PST

แปลจากบทความบางส่วน « The faux French Socialist &The Reawakening of Europe's Genuine Left »[1] เขียนโดย David Smith ใน Economic Watch

                             

การเถลิงอำนาจของ François Holland ในการเลือกตั้งฝรั่งเศสครั้งล่าสุดเหมือนประกาศว่าเป็นการผงาดขึ้นมาอีกครั้งของฝ่ายซ้ายในยุโรป แต่ทว่าพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสกำลังดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดแบบเสรีนิยมใหม่ พรรคฝ่ายซ้ายของแท้ทั่วยุโรปจึงกลับมาโดดเด่นอีกครั้ง โดยเฉพาะในกรีซซึ่งนโยบายรัดเข็มขัดไม่เป็นที่นิยมอย่างสุดๆ

นโยบายของยุโรปเปลี่ยนเป็นฝ่ายขวาหลังจากที่เทตเชอร์รับนโยบายเสรีนิยมใหม่อเมริกาเข้ามาในอังกฤษ อย่างไรก็ตามฝ่ายซ้ายก็เริ่มกลับมามีอำนาจอีกครั้งในสมัย โทนี แบลร์ ในฐานะเป็นทางเลือกที่สามเพื่อสมาทานกับกลไกตลาดเสรี แต่ทว่าวิกฤติการเงิน 2008 ได้ทำลายสมมติฐานของเสรีนิยมใหม่ไปหมดสิ้น และฝ่ายซ้ายแท้ก็เข้ามามีบทบาทอย่างกว้างขวาง ถึงแม้ครั้งนี้ฝ่ายซ้ายจะอ่อนแอกว่าเมื่อปี 1970 แต่ก็มีสัญญาณเคลื่อนไหว

ฟิลิป มาร์ลิแยร์อาจารย์ด้านการเมืองฝรั่งเศสและยุโรปแห่งมหาวิทยาลัยลอนดอนกล่าวว่า "มันมีแนวความคิดฝ่ายซ้ายจำนวนมากและพัฒนาอย่างรวดเร็ว" "ที่กรีซพรรคสังคมนิยม Syriza มีโอกาสสูงมากที่จะเข้าถึงอำนาจ ในขณะที่ฝรั่งเศสพรรค Front de Gauch ซึ่งเป็นพรรคร่วมระหว่างคอมมิวนิสม์และฝ่ายซ้ายสุดโต่งนั้นได้คะแนนโหวตถึง 11.1% หรือ 4ล้านเสียง และเราเห็นลักษณะนี้ได้ทั้งใน อีตาลี ฮอลแลนด์ สเปน นอร์เวย์

ลักษณะทั่วไปของพรรคสังคมนิยมใหม่คือ สมาชิกพรรคหนีมาจากพรรคสังคมนิยมเดิมที่มีแนวทางพรรคเริ่มรับความคิดเสรีนิยมใหม่และมีนโยบายเป็นกลางมากขึ้น เช่น Jean-Luc Mélenchon หัวหน้าพรรค Front de Gauche ก็เป็นสมาชิกพรรคสังคมนิยมเก่ามา 30 ปี พรรคสังคมนิยมใหม่ในยุโรปต่างมีจุดมุ่งหมายเหมือนกันคือ เป็นคอมมิวนิสม์เก่าแต่ละทิ้งทฤษฎีมาร์กซเลนินหมดแล้วแต่ยังไม่ทิ้งตุดมุ่งหมายที่จะสร้างสังคมนิยม พรรคฝ่ายซ้ายปฏิเสธความคิดเสรีนิยมใหม่ เช่นการแปรรูปเป็นเอกชน การเก็บภาษีและใช้จ่ายภาครัฐต่ำ ตรงกันข้ามพวกนี้สนับสนุนรัฐสวัสดิการ ระบบการศึกษาที่ใช้เงินอุดหนุนจากภาษี นโยบายเพื่อความเท่าเทียมกันในสังคม

พรรคฝ่ายซ้ายปลอม

อย่างไรก็ตาม อาจารย์ฟิลิป มาร์ลิเยร์ ก็ไม่รวม ออลลองด์หัวหน้าพรรคสังคมนิยมฝรั่งเศสที่ชนะการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาที่ผ่านมาเข้าไว้ในบรรดาฝ่ายซ้าย "ยิ่งนับวันนับวันก็ไม่ได้เห็นความแตกต่างระหว่างเขากับ ซาร์โกซีเลย" ถึงแม้นโยบายเก็บภาษีคนรวย 75% ก็เป็นแค่สัลักษณ์เท่านั้น "นโยบายนี้เก็บเฉพาะคนรวยที่มีรายได้มากกว่า ล่นยูโรต่อปี ซึ่งมีแค่ไม่กี่พันคนและคนพวกนี้ไม่ใช่ฐานเสียงของออลลองด์อยู่แล้ว"

และเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ออลลองด์ได้ตกหลุมนโยบายรัดเข็มขัดเข้าแล้วหลังจากที่เขาไม่สามารถทำตามสัญญาในการเจรจารอบใหม่เรื่องการคลังหกตัวของสหภาพยุโรป ซึ่งนโยบายการคลังหดตัวนี้สร้างความขานเคืองให้ฝ่ายซ้ายเพราะหมายความว่า สภายุโรปสามารถเข้ามาแทรกแซงการคลังประเทศที่ไม่สามารถปรับเพดานหนี้ให้ต่ำกว่า 0.5%GDP หรืออีกนัยหนึ่งคือการเริ่มต้นนโยบายรัดเข็มขัดทั่วยุโรป

นโยบายเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มของออลลองด์ก็ไปกระตุ้นความโกรธของฝ่ายซ้ายที่เชื่อว่าภาษีทางอ้อมไม่ยุติธรรมสำหรับคนจน "นโยบายนี้เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน แผนการนี้เป็นแนวเสรีนิยมใหม่แท้ๆเลย และแหกกฎนโยบายภาษีฝ่ายซ้ายที่ต้องการเก็บจากคนรวยมากขึ้น" อาจารย์ฟิลิปกล่าว

นอกจากนี้ออลลองด์ตัดสินใจนโยบายเพิ่มรายได้ขั้นต่ำเพียง 2% หรือเท่ากับเพิ่มรายได้หลังหักภาษีแค่ 21.50 ยูโร และแน่นอนว่าฝ่ายซ้ายเห็นว่ามันไม่เพียงพอ และถูกโจมตีจากเมลองชงว่า" ด้วยเงินเพียงเท่านี้ซื้อขนมปังกินทกวันยังไม่ได้เลย อย่างมากก็ซื้อกาแฟเลี้ยงตัวเองสัปดาห์ละครั้ง"

ฝ่ายซ้ายกรีก ถูกต้องแล้วใช่ไหม?

แรงปฏิกริยาต่อนโยบายของออลลองด์เป็นเชื้อเพลิงให้ฝ่ายซ้ายในยุโรป แต่ทว่ามันยังลามไปกรีซอีกด้วย เมื่อเหตุการณ์เดินชุมนุมประท้วงสามารถเห็นได้ทุกวัน มิคาลิส สโปโดคาลิส อาจารย์รัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเอเธนสืกล่าวว่า "หมดข้อสงสัยเลยว่า พรรคฝ่ายซ้าย Syriza จะเข้ามามีอำนาจในไม่ช้า การเลือกตั้งคราวที่แล้วพรรคฝ่ายซ้ายตามหลังแค่ 3% ส่วนการเลือกตั้งครั้งนี้ผมมั่นใจว่าเขาชนะแน่ถึงผมไม่มั่นใจว่าเขาจะชนะด้วยเสียงส่วนใหญ่หรือเปล่า"

Syriza พรรคฝ่ายซ้ายแรดิคัลได้หลบออกจากเงามืดเพื่อเขย่าการเมืองกรีซ การเลือกตั้งคราวที่แล้ว Syriza ได้คะแนนโหวต 26.9% ตามหลังพรรค New Democracy ที่ได้ 29.6% ในขณะที่พรรคฝ่ายซ้าย Pasok ที่มีนโยบายรัดเขมขัดได้12.3% ซึ่งพอจะชี้ได้ว่านโยบายรัดเข็มขัดไม่เป็นที่นิยมของผู้เลือกตั้งหัวฝ่ายซ้าย

อาจารย์ยังทำนายอีกว่า พรรคร่วมรัฐบาล New Democracy จะล้มในไม่ช้า กฎหมายงบประมาณใหม่ที่ออกมาเพิ่มความเข้มข้นของนโยบายรัดเข็มขัดเข้าไปอีก ลดค่าใช้จ่ายรัฐ เพิ่มภาษีบรรดาคนรายได้น้อยและปานกลาง ปฏิรูประบบการศึกษาและประกันสังคม และโจมตีสิทธิแรงงานและสหภาพ

ความหมดหวังและท้อแท้เพิ่มขึ้นอีกเมื่อปรากฏว่านโยบายรัดเข็มขัดไม่ส่งผลการเติบโตเศรษฐกิจ ไอเอมเอฟคาดการณ์ไว้เมื่อเมษายน 2010 ว่าในปี 2011อัตราการเติบโตจะติดลบ 1%  และการเติบโตเป็นบวกในปี 2012 แต่ทว่าเมษายนที่ผ่านมา IMF คาดการณ์ใหม่ว่าปีนี้การเติบโตติดลบ 4.7% ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ต่างประเมินตัวเลขที่แย่กว่านี้

Syriza มีนโยบายที่จะยกเลิกนโยบายรัดเข็มขัดทั้งหมดแต่ยังคงพยายามที่จะเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เขาเชื่อว่ากรีซอยู่ในสถานะที่สามารถต่อรองได้เพราะถ้ากรีซต้องออกจากสมาชิกสภาพอียูแล้วมันจะส่งคลื่นความฉิบหายไปทั่วยุโรปหมด นอกจากนี้ Syriza ยังคิดจะยกเลอกกฎหมายต่อต้านสหภาพแรงงาน และสร้างนโยบายสวัสดิการขึ้นมาใหม่ และให้สังคมเป็นตัวควบคุมธนาคารและจัดองค์กรธนาคารขึ้นมาหใม่เพื่อให้สินเชื่อในการพัฒนา

ฝ่ายซ้ายช่างเบาหวิว

ถึงแม้มีการผงาดขึ้นมาของพรรคฝ่ายซ้ายทั่วยุโรป อาจารย์สปอร์ดาลาคิส ก็เชื่อว่าคงไม่มีพรรคฝ่ายซ้ายอื่นๆจะเข้มแข็งเท่า Syriza "โปรตุเกส สเปน อีตาลี และฝรั่งเศสต่างก็มีปัญหาเหมือนๆกัน แต่สหภาพยุโรปก็ถูกครอบงำจากเสรีนิยมออร์โธดอกซ์ แนวทางของ Syriza เป็นแค่การเมืองและเดิมพันเท่านั้น แต่อย่างน้อยก็ช่วยสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของฝ่ายซ้ายในระบบการเมืองยุโรป"

         

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เลาะเลียบริมโขง: ลาวเริ่มก่อสร้างเขื่อนไซยะบุลีอย่างเป็นทางการแล้ว ท่ามกลางเสียงคัดค้าน

Posted: 15 Nov 2012 09:47 AM PST

โครงการเขื่อนไซยะบุลีบนแนวลำน้ำโขงในลาว เริ่มลงมือก่อสร้างเขื่อนอย่างเป็นทางการ ในขณะที่เครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมยังคงคัดค้านโครงการอย่างต่อเนื่อง

ท่านเรวัด สุวันนะกิดติ รองผู้อำนวยการบริษัทไฟฟ้าไซยะบุลี จำกัด ก็ยืนยันว่ากลุ่มลงทุนในการพัฒนาโครงการเขื่อนไซยะบุลีบนแนวลำน้ำโขงในลาว ได้ออกแบบก่อสร้างเขื่อนไซยะบุลีครั้งใหม่สำเร็จแล้วในขณะนี้ ซึ่งด้วยผลสำเร็จดังกล่าวทำให้กลุ่มผู้พัฒนาโครงการสามารถจะเริ่มการก่อสร้างเขื่อนต่อไปได้ โดยมีการวางศิลาฤกษ์เพื่อเป็นการเริ่มลงมือก่อสร้างอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 พฤศจิกายนนี้ ณ เขตที่ตั้งของโครงการในแขวงไซยะบุลี

ท่านเรวัด ได้ให้การยืนยันว่า การออกแบบก่อสร้างเขื่อนไซยะบุลีครั้งให้ได้ดำเนินการอย่างโปรงใส และไม่สร้างผลกระทบด้านลบต่อสภาพแวดล้อมธรรมชาติให้แก่พื้นที่ทางตอนล่างของตัวเขื่อน โดยกลุ่มพัฒนาโครงการได้เพิ่มเงินทุนเข้าในการป้องกันผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมธรรมชาติและสัตว์น้ำอย่างได้มาตรฐานสากล

"เราได้ออกแบบเพื่ออนาคตสำหรับเรือที่จะขึ้น-ล่อง ระวางกว่า 500 ตันต่อปี และยังมีทางปลาผ่านอยู่ทางฝั่งเมืองน่าน ซึ่งแม้จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกแต่ก็ไม่เป็นไร เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ตอนล่างของแม่น้ำโขง มีความสบายใจว่าเขื่อนของเราไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เรายังรับประกันว่าเขื่อนจะไม่เก็บกักตะกอนไว้ด้วย"

การออกแบบก่อสร้างเขื่อนไซยะบุลีดังกล่าวนี้ เป็นการปฏิบัติตามแบบการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา 2 แห่ง ที่รัฐบาลลาวว่าจ้างให้ศึกษาเพื่อป้องกันผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุลี ได้แก่บริษัท POYRY จากสวิตเซอร์แลนด์ และบริษัท CNR จากฝรั่งเศส และก็ได้ดำเนินการดังกล่าวสำเร็จแล้วเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งผลยืนยันว่าสามารถจะป้องกันผลกระทบได้อย่างแน่นอน

ทั้งนี้ ด้วยการสร้างทางปลาผ่านที่ใช้วิทยาการสมัยใหม่ พร้อมด้วยการสร้างแหล่งพักอาศัยปลา การสร้างประตูทางขึ้น-ลง ของปลาอยู่ในระบบประตูเดินเรือ การสร้างสถานีปลาที่ติดตั้งระบบกังหันน้ำที่เป็นมิตรกับสัตว์น้ำทุกชนิด และการสร้างประตูระบายดินตกตะกอนที่เป็นแหล่งอาหารของสัตว์น้ำและปุ๋ยของพืชพันธุ์ต่างๆ เป็นต้น

แต่อย่างไรก็ตาม โครงการเขื่อนไซยะบุลีก็ยังต้องเผชิญกับการคัดค้านจากเครือข่ายประชาชนไทยเพื่อการอนุรักษ์แม่น้ำโขง ที่ได้ยืนยันจะยังคงเคลื่อนไหวคัดค้านโครงการเขื่อนอย่างต่อเนื่อง

การเคลื่อนไหวที่ผ่านมามีทั้งการร่วมกันยื่นคำร้องถึงคณะตุลาการศาลปกครองของไทย เพื่อขอให้มีคำสั่งยกเลิกสัญญาที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) ได้ตกลงรับซื้อกระแสไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไซยะบุลี และจะฟ้องร้องบริษัท ช.การช่าง และธนาคารไทยที่อนุมัติเงินกู้ให้ ช.การช่าง ดำเนินการก่อสร้างเขื่อน อีกด้วย ซึ่งที่ผ่านมาปรากฏว่าธนาคารไทยพาณิชย์ได้ถอนตัวจากการสนับสนุนเงินกู้ให้กับโครงการแล้ว

 บรรดานักอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ต่างเกรงกลัวว่า ผลกระทบระยะยาวจากเขื่อนดังกล่าว ก็คือจะปิดกันทางขึ้นลงไปมาของปลา และความเป็นไปได้ที่จะกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนมากกว่า 60 ล้านคนที่พึ่งพาแม่น้ำโขงเป็นหลักในการดำรงชีวิตแต่ดั้งเดิมมานั้นได้

นางเพียนพอน ดิถี นักเคลื่อนไหวผู้หนึ่งในกลุ่มอนุรักษ์สภาพแวดล้อมแม่น้ำสากล กล่าวว่า

"สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสงสัยต่อโครงการเขื่อนไซยะบุลีคือ การขาดความโปร่งใสนั่นเอง พวกเราไม่เคยรู้ว่าสิ่งใดเกิดขึ้น พวกเราไม่เคยรู้ข้อมูลข่าวสารหรือรายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับการก่อสร้างเขื่อน นอกจากที่ได้จากพวกที่ก่อสร้าง ซึ่งก็คือบริษัทเอกชนของไทย และบรรดาเจ้าหน้าที่ของลาวไม่กี่คนที่เป็นผู้ตัดสินใจและมีข้อมูลข่าวสารนั้น"

ในสัญญาร่วมระหว่าง กฟผ. และรัฐบาลลาว 95% ของไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเขื่อนไซยะบุลี จะขายให้ไทย ในต้นอาทิตย์ที่ผ่านมา ท่านสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย กล่าวว่ารัฐบาลไทยสนับสนุนให้เดินหน้าการก่อสร้างดังกล่าวต่อไป

ในขณะที่กัมพูชาและเวียดนาม ก็สงวนท่าทีเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งเวียดนามเคยเรียกร้องให้เลื่อนโครงการทั้งหมดที่จะก่อสร้างบนแม่น้ำโขงออกไปอีก 10 ปี แต่ก็ได้หยุดการคัดค้านโครงการหลังจากเห็นว่าได้มีการแก้ไขผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดีแล้ว

เป็นที่คาดหมายว่า ประเทศลาวจะมีรายรับจากโครงการเขื่อนไซยะบุลี ถึง 3,900 ล้านดอลลาร์ ในตลอดระยะสัมปทาน 29 ปี

 

ที่มา:  http://lao.voanews.com/content/south-east-asia-dam-/1541980.html
           http://lao.voanews.com/content/south-east-asia-dam-/1541980.html    
           http://lao.voanews.com/content/laos-govt-to-get-3-9-billions-dollars-from-sayabouly-dam-while-vn-dropped-objection/1543920.html
 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาคประชาสังคมห่วงไทยพลาดท่าสหรัฐ โอบามามาเยือนอย่ารีบประกาศร่วม TPP

Posted: 15 Nov 2012 09:30 AM PST

 

15 พ.ย.55 ภาคประชาสังคมทำจดหมายเปิดผนึกถึงยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ชะลอการเข้าร่วมเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) จนกว่าจะมีการศึกษาข้อดีข้อเสียอย่างชัดเจน พร้อมแสดงความกังวลการว่าการรวบรัดเข้าร่วมในเรื่องในการพบกับบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา วันที่ 18 พ.ย.จะกระทบต่อความมั่งคงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง เพราะการแถลงข่าวเข้าร่วมไม่เข้าข่ายมาตรา 190 ตามรัฐธรรมนูญแต่มีผลผูกพันทางการเมือง พร้อมระบุรายละเอียดข้อกังวลหลัก 4 ประการ

รายละเอียดมีดังนี้

 

จดหมายเปิดผนึกถึง นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

 

ภาคประชาสังคมตามรายนามด้านล่าง ขอเรียกร้องให้ ฯพณฯนายกรัฐมนตรี ชะลอการประกาศการเข้าร่วมเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) จนกว่าจะมีการศึกษาข้อดีข้อเสียอย่างชัดเจน ครอบคลุม และกว้างขวางเพียงพอ และดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งหารือประชาชนอย่างเร่งด่วน เพราะทั้งหมดนี้ เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน  จริงอยู่ที่ประเทศไทยไม่ควรหยุดนิ่งในการพัฒนาการค้าและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเช่นนี้ไม่สามารถดำเนินการอย่างผลีผลามได้ หากคำนึงเพียงแค่วาทกรรมเรื่องการตกขบวนการค้า อาจส่งผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อสวัสดิการของประชาชนและต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทยได้

พวกเรา ภาคประชาสังคมที่ติดตามเรื่องการเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสังคมในด้านต่างๆ มีความวิตกกังวลอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจเร่งด่วนของรัฐบาล ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงข่าวร่วมว่าด้วยการประกาศการเข้าร่วมเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP)  และการรื้อฟื้นการประชุมคณะมนตรีภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับสหรัฐ (TIFA JC) โดยนายกรัฐมนตรีไทยและประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจะมีถ้อยแถลงข่าวร่วม (Joint Press Statement) ในวันอาทิตย์ที่ 18 พ.ย.นั้น

คณะรัฐมนตรีรวบรัดออกมติดังกล่าว ทั้งที่เป็นมติที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญแต่ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องไม่มีส่วนในการให้ความเห็นที่รอบด้านแก่คณะรัฐมนตรีแม้แต่น้อย

แม้การแถลงข่าวร่วมของฯพณฯนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีสหรัฐฯ อาจไม่เข้าข่ายมาตรา 190 ตามรัฐธรรมนูญ แต่การประกาศการเข้าร่วมเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ถ้อยแถลงข่าวร่วม (Joint Press Statement) นั้นมีผลผูกมัดทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างชัดเจน ดังนั้นจึงควรเกิดจากการพิจารณาและหารือที่ถ้วนถี่ และยืนอยู่บนความรู้ความเข้าใจที่มากพอถึงผลดี-ผลเสียต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากการเข้าร่วมความตกลงดังกล่าว

ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) เป็นความตกลงที่สหรัฐฯมีท่าทีที่ชัดเจนในการบรรจุความต้องการและผลประโยชน์ที่เป็นของบรรษัทข้ามชาติที่ยังไม่ได้รับการยอมรับในการเจรจาระหว่างประเทศอื่นๆโดยเฉพาะในองค์การการค้าโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในด้านต่างๆ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ

  1. การเข้าถึงยาและสาธารณสุขของประเทศ ผ่านการเพิ่มระบบการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ การขยายอายุสิทธิบัตร, การผูกขาดข้อมูลทางยา, การจำกัดการใช้กลไกยืดหยุ่นในความตกลงทริปส์, ทำให้กระบวนการตรวจสอบสิทธิบัตรและการขึ้นทะเบียนยาอ่อนแอ การให้สิทธิบัตรแก่การผ่าตัดและวินิจฉัยโรค และจำกัดอำนาจต่อรองและควบคุมราคายาของระบบหลักประกันสุขภาพ ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อนโยบายลดความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพของรัฐบาล
  1. การอนุญาตให้จดสิทธิบัตรพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ ทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรชีวภาพและบังคับให้เกษตรกรต้องจ่ายค่าชดเชยต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงกับเกษตรกรซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่รัฐบาลให้ความสำคัญและพยายามยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
  1. เปิดเสรีบริการทางการเงินอย่างกว้างขวางให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้น 100% และจำกัดสิทธิในการกำกับดูแล โดยเฉพาะมาตรานโยบายเงินทุนเคลื่อนย้ายเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
  1. การคุ้มครองการลงทุนให้แก่นักลงทุนต่างชาติสามารถฟ้องร้องเพื่อยกเลิกนโยบายสาธารณะและเรียกค่าชดเชยจากรัฐผ่านกลไกอนุญาโตตุลาการ นั่นจะยิ่งจำกัดพื้นที่ในการดำเนินนโยบายเพื่อสาธารณะของรัฐบาล

 

นอกจากนี้ ระบบการเจรจาของ TPP นั้น ประเทศที่แสดงเจตจำนงเข้าไปร่วมเจรจาทีหลัง จะต้องเจรจากับประเทศที่เจรจาอยู่ก่อนให้ยอมรับ ฉะนั้นผลกระทบจากการเจรจาจะพิจารณาจากข้อเรียกร้องของสหรัฐฯในปัจจุบันไม่ได้ เพราะอาจจะมีข้อเรียกร้องจากประเทศต่างๆผนวกเพิ่มเข้ามา

                    

ขอแสดงความนับถือ

                                   

(ภญ. สำลี ใจดี)

กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)

เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย

คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์

มูลนิธิเข้าถึงเอดส์

มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์

เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก

ชมรมเพื่อนโรคไต

เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

มูลนิธิเภสัชชนบท

กลุ่มศึกษาปัญหายา

มูลนิธิชีววิถี

มูลนิธิบูรณะนิเวศ

มูลนิธิสุขภาพไทย

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เครือข่ายองค์กรผู้หญิงชี้ 'ความรุนแรง' ต่อเด็ก-สตรี ซับซ้อนและแรงขึ้น แม้มี กม.คุ้มครอง

Posted: 15 Nov 2012 09:08 AM PST

วันนี้ (15 พ.ย.55) ภาคีเครือข่ายองค์กรผู้หญิง ภาคประชาชนกว่า 40 องค์กรได้ร่วมกันแถลงกิจกรรมรณรงค์ "WE: เรา ผู้หญิง ไม่เป็นเหยื่อ เปิดความจริง หลากหลายความรุนแรงต่อเด็กและผู้หญิง จากกลุ่มผู้หญิง ถึงนายกหญิง" ณ ห้องประชุม 4 ชั้น 2 ตึกสภาคริสตจักรในประเทศไทย ใกล้สะพานหัวช้าง แขวงราชเทวี เขตพญาไท กรุงเทพฯ เนื่องในโอกาส 25 พฤศจิกายน วันยุติความรุนแรง ต่อเด็กและสตรีสากล ประจำปี 2555

องค์กรต่างๆ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำงานในระดับพื้นที่ชุมชน ได้ร่วมทำกิจกรรมอันเป็นภารกิจสำคัญ เพื่อการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย การสร้างความเข้มแข็งด้านร่างกาย จิตใจ อาชีพให้ผู้หญิง และการทำกิจกรรมรณรงค์ในพื้นที่ชุมชน จังหวัด ประเทศ และในเวทีสากล

มีการระบุว่า จากการทำงานขององค์กรผู้หญิงภาคประชาชนหลายภาคส่วนมากว่า 30 ปี ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างนโยบาย และกลไกการปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐในหลายส่วน เช่น การมีกฎหมายหลายฉบับประกาศใช้อย่างเป็นทางการ อาทิ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก 2546, พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว 2550, พ.ร.บ.การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ 2551 และการปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับเพศ ในมาตรา 276 และ มาตรา 277 ที่มีผลให้ภรรยาหรืออดีตภรรยา ได้รับการคุ้มครองสิทธิทางกฎหมายกรณีที่ถูกคุกคามทางเพศจากสามีหรืออดีตสามี ดังกล่าว

ทั้งนี้ พบว่า แม้จะมีมาตรการการบังคับใช้กฎหมายมากว่า 5 ปี แต่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กและสตรีก็ยังปรากฏตัวเลข รูปแบบของความรุนแรงก็ซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น ดูจากข่าวหนังสือพิมพ์ปีนี้มีกรณีสามีใช้น้ำมันเบนซินเผาภรรยาทั้งเป็น ภายในปี 2555 นี้ มีถึง 6 กรณี และหนึ่งใน 6 กรณีขณะนี้ได้เสียชีวิตแล้วส่วนที่เหลือก็ยังอาการสาหัสอยู่ในห้อง "ไอซียู" ที่เป็นตายเท่ากันและบางคนยังมีภาระต้องเลี้ยงลูกและครอบครัว จึงเห็นได้ว่า ความรุนแรงต่อผู้หญิง มิได้ส่งผลกระทบต่อเฉพาะผู้หญิง แต่หมายรวมถึง ลูก ครอบครัว และชุมชน ที่จำทนอยู่กับภาพการเห็นสามีทำร้ายภรรยาอันยาวนาน บุคคลในครอบครัวข่มขืนกระทำชำเราเด็ก เด็กหญิงตั้งครรภ์ มีเด็กสาวอายุไม่เกิน 15 ปี ถูกกักขังหน่วงเหนี่ยว บังคับให้ขายบริการทางเพศ อยู่ในหลายพื้นที่ กลายเป็นความเคยชินของชุมชน และไม่รู้ว่าจะช่วยเหลือเด็ก เด็กสาว ผู้หญิง ครอบครัว เหล่านี้ในรูปแบบไหน อย่างไร หรือควรสร้างความเข้าใจในชุมชนจากพื้นฐานอะไรเพราะยังไม่ได้มีการยกระดับให้เป็นประเด็นที่สำคัญเร่งด่วนเหมือนยาเสพติด

ผลการทำงานคุ้มครองสิทธิเด็กและสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรง มีข้อมูลการเข้ารับบริการของกลุ่มผู้เสียหายของภาคีองค์กรสตรีประจำปี 2555 ดังนี้
มูลนิธิเพื่อนหญิง เดือนมกราคม - 13 พฤศจิกายน 2555 มีเด็ก/ผู้หญิง เข้ารับการช่วยเหลือจำนวน 733 ราย แบ่งเป็น
1. ความรุนแรงในครอบครัว  จำนวน 593 ราย
2. ความรุนแรงทางเพศ        จำนวน 85  ราย
3. ท้องไม่พร้อม                จำนวน 22  ราย
4. ค้ามนุษย์                      จำนวน   3  ราย
5. คลิปวิดีโอ                      จำนวน  7   ราย
6. ต้องการหางานทำ สามีทอดทิ้ง  จำนวน  21 ราย

มูลนิธิพิทักษ์สตรี เป็นกรณีผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ทางเพศ แรงงาน จากประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า เวียดนาม  มีผู้เข้ารับบริการ จำนวน 328 ราย
มูลนิธิรักษ์ไทย   มีผู้เข้ารับบริการ  จำนวน -  ราย
สมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมาย   มีผู้เข้ารับบริการ จำนวน  258 ราย
ขอเข้ารับคำปรึกษา   จำนวน  147 ราย
ขอเจรจาไกล่เกลี่ย    จำนวน   15 ราย
ดำเนินคดี    จำนวน   96  ราย
แบ่งเป็นคดีทั่วไป     จำนวน    17 ราย
คดีครอบครัว   จำนวน   43 ราย
คดีครอบครัว   จำนวน   2  ราย
คดีข่มขืน อนาจาร  จำนวน  34 ราย

สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี   มีผู้เข้ารับบริการทั้งหมค  1,589 ราย
แบ่งเป็น ให้บริการทางโทรศัพท์ 1,236 ราย
เข้าพักในบ้านพักฉุกเฉิน จำนวน   328   ราย แยกเป็น
ท้องไม่พร้อม   จำนวน   234  ราย
ความรุนแรงในครอบครัว  จำนวน   80  ราย
ความรุนแรงทางเพศ  จำนวน   14  ราย

 

ข้อมูลแสดงความพึงพอใจของผู้เสียหายจำนวน 1,061 คน เข้ารับบริการของหน่วยงานรัฐ จากการสัมภาษณ์ ผู้เข้ารับบริการของภาคีเครือข่ายองค์กรสตรี รอบปี 2555

1. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ ร้อยละ 80 บอกว่า ไม่พึงพอใจเพราะ 1300 ติดต่อไม่มีคนรับสาย เจ้าหน้าที่ไม่ว่างติดประชุม เข้าช่วยเหลือช้า ไม่มีกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้เข้าพักในบ้านพักเด็กและครอบครัว คุณภาพและเพียงพอ เปลี่ยนบุคลากรบ่อย ดีในเรื่องจับขอทาน
 
จังหวัดที่ประชาชนรู้สึกประทับใจ จังหวัดศรีสะเกษ สุราษฎร์ธานี ชุมพร ขอนแก่น ตาก และนราธิวาส

2. สถานีตำรวจ ร้อยละ 90 ตำรวจไม่ให้ความสำคัญ ไม่อธิบายสิทธิทางกฎหมายให้เข้าใจ /แนะนำให้เจรจายอมความกับคู่กรณี ไม่ทราบว่ามีพนักงานสอบสวนหญิง เข้าช่วยเหลือช้า เปลี่ยนบุคลากรบ่อย /ดีในเรื่องในเรื่องจับแรงงานข้ามชาติ จับมอเตอร์ไซค์
 
สถานีประทับใจ  สน. หาดใหญ่ สน. ราษฏร์บูรณะ สน. บางซื่อ สน. เมืองเชียงใหม่ สภ.นราธิวาส

3. ศูนย์พึ่งได้ OSCC ของโรงพยาบาล ร้อยละ 75 พึ่งได้บ้างพึ่งไม่ได้บ้าง บางพื้นทีมีแต่ชื่อไม่มีตัวตน เข้าช่วยเหลือช้า เปลี่ยนบุคลากรบ่อย ไม่ทราบว่ามีศูนย์พึ่งได้ ขาดนักจิตและแพทย์ที่ชำนาญ ดีในเรื่องการรักษาพยาบาลเบื้องต้น

จังหวัดที่ประชาชนประทับใจ  โรงพยาบาลชุมพร โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลวชิร  โรงพยาบาลตำรวจ  โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลสงขลา และโรงพยาบาลปัตตานี
 

ข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีหญิง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
  เพื่อการยกระดับให้ประเด็นความ-รุนแรงต่อเด็กและสตรี เป็นวาระแห่งชาติที่มีผลปรากฏเป็นรูปธรรมเชิงคุณภาพต่อการคุ้มครองเด็ก สตรีและครอบครัวเหมือนนโยบายยาเสพติด รวมพลังแผ่นดินยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีทุกรูปแบบ
 
1) รัฐบาลควรแต่งตั้งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหญิง 1 คน เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อน กลไก การบูรณการ ภาคีหน่วยงานของรัฐและเอกชน เพื่อการบูรณการนโยบาย แผน ข้อมูล งบประมาณ กลไกที่เกี่ยวข้องด้านสตรี ให้สามารถมีการขับเคลื่อน กลไก แบบองค์รวม หรือเกิดกระบวนการทำงานที่เชื่อมโยงและต่อยอด เสริมพลังอันจะนำไปสู่สุขภาวะที่เข้มแข็ง แข็งแรงและมีความมั่นคงในชีวิตของผู้หญิงและครอบครัว โดยใช้กรอบแผนพัฒนาสตรีแห่งชาติฉบับที่ 11 และนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเป็นกรอบการขับเคลื่อน
 
2) การจัดทำฐานข้อมูลและตัวชี้วัดที่ชัดเจนภายในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขณะนี้ พบว่าแต่ละหน่วยงานมีข้อมูลที่ไม่ตรงกัน เพื่อให้สามารถเห็นถึงผลของการคุ้มครอง ผู้เสียหาย แบบครบวงจร ทั้งการลงโทษและกระบวนการบำบัด ผู้กระทำความผิดที่สามารถส่งผลต่อการปรับเปลี่ยน ทัศนคติ พฤติกรรมที่ไม่เป็นผู้กระทำความผิดแบบซ้ำซาก เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของการกระทำความความรุนแรงต่อเด็กและสตรี

3) มีการติดตามประเมินผล ภายใต้ภารกิจของแต่ละหน่วยงาน ความก้าวหน้าต่อการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย เพื่อขับเคลื่อนระบบการให้บริการของภาครัฐเชิงคุณภาพ

  1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ต้องเพิ่มอัตรากำลังพนักงานสอบสวนหญิงที่มีภารกิจโดยตรงต่อการทำคดีเกี่ยวกับผู้เสียหายเด็กและสตรี และหน่วยกำลังพลที่สามรถเข้าคุ้มครองผู้เสียหายได้อย่างรวดเร็ว ให้มีเพียงพอในทุกจังหวัด
  2. การมีบ้านพัก ศูนย์บำบัดฟื้นฟู ต้องมีนักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา ที่สามารถบริการได้ 24 ชั่วโมง ที่เป็นจริง เพราะกรณีของความรุนแรงต่อเด็กและสตรี เป็นเรื่องเร่งด่วนสำคัญ ต้องการการเข้าถึงการคุ้มครอง ภายใน 10 นาที

4) ควรสร้างความรู้ความเข้าใจ และมีบทลงโทษต่อเจ้าหน้าที่และพนักงานของรัฐ ที่มีทัศนคติ พฤติกรรม ที่ยังไม่เห็นความสำคัญ และแสวงหาประโยชน์ หรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดด้วยเป็นผู้มีอิทธิพล เป็นผู้มีฐานะหรือร่วมเป็นหุ้นส่วน จนทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับการคุ้มครอง

จากข้อมูลขององค์กรสตรีพบว่า มีหลายกรณี ตัวอย่างของกรณีการกระทำชำเราเด็ก การค้ามนุษย์เด็ก เด็กหญิง อันเป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้ ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้ยอมความโดยไม่ได้ให้ผู้เสียหายแจ้งความดำเนินคดี หรือพยายามหาช่องว่างของกฎหมายคุ้มครองผู้กระทำความผิดมากกว่าคุ้มครองผู้เสียหาย

5) ด้วยสัดส่วนของประชากรหญิงสูงถึง 33 ล้านคน รัฐต้องสนับสนุนกลไก บุคลากร เครื่องมือ งบประมาณที่เพียงพอให้ หน่วยงานรัฐ เอกชน ที่มีภารกิจเกี่ยวกับเด็กและสตรี สามารถทำงานไปได้อย่างต่อเนื่อง ต่อยอดและขยายผล จึงขอให้มีการติดตามประเมินผลความก้าวหน้าการทำงาน ปัญหาอุปสรรคของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อการสนับสนุน การทำงานให้มีผลต่อการยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี

6) ขอให้รัฐบาลออกมาตรการที่จริงจังต่อการกวาดล้างจับกุมดำเนินคดีจนถึงที่สุดกับอบายมุข เช่น แหล่งมั่วสุม ยาเสพติด สื่อลามกอนาจาร บ่อนการพนัน สถานบริการที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใกล้วัด โรงเรียน ชุมชน เพราะเป็นปัจจัยร่วม กระตุ้นให้เกิดการกระทำความรุนแรงต่อเด็กและสตรี ถึงร้อยละ 75 ของกลุ่มผู้กระทำความผิด
 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เพราะฉันถูกปิดหูปิดตา (ผ่าน ม.112) ฉันจึงขำ

Posted: 15 Nov 2012 08:26 AM PST

อารมณ์ขันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่รอดในสังคมป่าเถื่อนที่ปิดหูปิดตาปิดปากประชาชนอย่างไม่รู้จักพอเพียง

ต่อไปนี้คืออารมณ์ขันของผม ที่ขออุทิศให้กับนักโทษทางความคิด ที่ต้องติดคุกในนามของ 'ความดี' และการปกป้อง 'คนดี' และประชาชนผู้รักการลืมหูลืมตา


1) ผมชอบการปิดหูปิดตา มันมืดและทำให้เข้าใจอะไรต่อมิอะไรได้ง่ายดี ว่าเขาต้องการอะไร

2) จงเชื่อในความดีที่ตั้งคำถามไม่ได้ และการปิดหูปิดตาที่ห้ามขัดขืน

3) จงเชื่อในรถถัง และการปิดหูปิดตาปิดปากประชาชน

4) เชื่อในการปิดหูปิดตา แล้วเจ้าจะพ้นภัย

5) แม่ครับ แม่ครับ การปิดหูปิดตาคืออะไรครับ? แม่: อย่าเสือกเลยลูก เดี๋ยวก็เจอคุกหรือเจอคนเอาเก้าอี้ฟาดหัวหรอก

6) พ่อครับ พ่อครับ การปิดหูปิดตาคืออะไรครับ? พ่อ: มึงนี่อยากถูกไล่ออกจากบ้าน ตัดขาดพ่อลูกเหรอะ? พ่อกำลังดูทีวีช่อง…อยู่นะลูก –อย่ากวนนะจ๊ะลูกรัก

7) แม่ครับ แม่ครับ ทำไมต้องไล่คนไทยบางคนไปต่างประเทศละครับ? แม่: เขาหวังดีนะลูก เขากลัวคนเหล่านั้นถูกเก้าอี้ฟาดหัว

8) พ่อรักลูกมากนะลูก พ่อจึงอยากให้ลูกอยู่อย่างปิดหูปิดตาปิดปาก – มันปลอดภัยดี

9) แม่ๆ โตขึ้นลูกอยากเป็นนักคิดนักปรัชญา! แม่: อย่าเลยลูก ประเทศนี้เขาห้ามคิดต่าง ห้ามสงสัยนะลูก แต่อวยอย่างไม่รู้จักพอเพียงอย่างสร้างสรรค์และหวังดีได้นะลูก –เขาเรียกว่า whiteเลีย คล้ายๆ whitelie นะลูก อาชีพนี้ดีนะ สบายไปหลายคนแล้ว!

10) คำแนะนำในการใช้ชีวิตในราชอาณาจักรไทย: ตื่นขึ้นมา กรุณารีบปิดหูปิดตา ไม่พยายามสงสัยอะไรบางอย่าง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการดำรงชีวิตของคุณเอง

11) เมืองไทยอาจไม่เหมาะสำหรับการฝึกสมอง แต่สิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวยสำหรับการฝึกลิ้นฝึกเลียเป็นอย่างยิ่ง

12) สมองมีไว้ให้ไม่ต้องใช้ ลิ้นมีไว้ให้ whiteเลีย รัวๆ

13) ระหว่างลิ้นกับสมอง คุณเชื่ออะไรมากกว่ากัน?

14) ม.112 สอนให้ผมเชื่อว่า ความดีอย่างไม่ต้องตรวจสอบ มีจริงในโลกนี้!

15) ม.112 สอนให้ผมเชื่อว่า คนดีจริงล้าน % มีจริงในโลกนี้!

16) งานที่กระทรวง ICT ยากไหมครับ? ตอบ: ไม่หรอกค่ะ เช้าเข้ามาเจออะไรก็ปิดๆๆ บล็อคๆๆ ลูกเดียวเลยค่ะ

17) เกิดมาลืมตาดูโลกไม่ทันไร เขาก็ปิดหูปิดตาเราเสียแล้ว

18) หากต้องการแก้ปัญหาเร่งด่วน ให้กด 112

19) ผมไม่รู้หรอกว่าคุณคือใคร แต่ผมรู้ว่าคุณปิดหูปิดตาผมทำไม

20) ท่อนหนึ่งของเพลงชาติไทยฉบับปรับปรุง: 'ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงปิดหูปิดตาไม่รู้จักจบ…"

21) จำไว้: ปัญหาทุกอย่างแก้ได้ด้วยการปิดหูปิดตาตนเอง บ้านเมืองจะเจริญด้วยการปิดหูปิดตาประชาชน

22) โปรดทราบ: การปิดหูปิดตาตนเองมีผลดีต่อระดับความดันโลหิตคุณ แต่อาจทำให้สมองคุณพิการได้

23) สุราเป็นเหตุให้พิการและเสียชีวิตได้ ข้อมูลด้านเดียวเป็นเหตุให้พิการทางสมองและเสียสติได้

24) ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย แต่การไม่ยอมปิดหูปิดตาอาจทำให้คุณต้องติดคุกตาย

25) Amazing Thailand แดนปิดหูปิดตาประชาชน!

26) คำเตือนก่อนใช้ยา: หากอยากให้ได้ผลซาบซึ้งต่อเนื่อง กรุณาใช้ข้อมูล 'ดีๆ' ด้านเดียวอย่างไม่รู้จักพอเพียงไปจนวันตาย!

27) ประกาศ: ผู้ใดพบเห็นหูตาประชาชน กรุณานำส่งคืนประเทศไทยด่วน

28) 30 บาทรักษาทุกโรค ปิดหูปิดตานั้นแจกฟรี

29) 30 บาทรักษาทุกโรค ปิดหูปิดตาปฏิเสธทุกความจริง

30) ป้ายบอกทาง: อีก 112 กิโลเมตรจะถึงเมืองลับแล กรุณาชะลอความคิดและเบรคความสงสัยของคุณ -เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง

31) พุทธศาสนาสอนให้ถาม / ม.112 สอนให้เชื่อโดยไม่ต้องถามอะไร

32) เมืองไทยนี้แสนดี ในน้ำมีปลา ในสื่อกระแสหลักมีการปิดหูปิดตาประชาชนภายใต้ ม.112

33) ถามจริงๆ เถอะ ชีวิตนี้กะจะยอมให้เขาปิดหูปิดตาไปจนวันตายเลยหรือ? ตอบ: ชาตินี้ชาติหน้า ข้าขอปิดหูปิดตาและเป็นข้าซาบซึ้งทุกชาติไป!

34) นี่ AEC ก็ใกล้เข้ามาแล้ว เราจะส่งออกการปิดหูปิดตาเป็นสินค้าไปประเทศไหนก่อนดี?

35) อย่าปิดหูปิดตาผมเลยครับขอร้อง – มันมืด!

36) จะปิดหูปิดตาผมทั้งที ทำไมไม่ทำให้มันเนียนกว่านี้?

37) จำไว้นะ ประเทศนี้ไม่มีการปิดหูปิดตาประชาชน –ถ้าจำไม่ได้ก็จงปิดตาแล้วท่องซ้ำๆ อย่างไม่รู้จักพอเพียงจนขึ้นใจ

38) คนที่มีปัญหากับ ม.112 ควรเรียนรู้จากเซลล์ขายของ – พวกเขาจะพูดแต่ด้านดีๆด้านเดียวต่อลูกค้าที่พวกเขาต้องการขายของ

39) คุณรู้ไหม เราอยู่ยุคอะไรกัน? ตอบ: ยุคมืด

40) ยาตาสว่างไม่มีขาย หากใครอยากได้ เสี่ยง คุก ม.112 กันเอาเอง!

41) หวังดี: เพื่อนผมไปเมืองลับแลมา ที่โน่นชอบกินผลไม้ปิดหูปิดตามาก เขาเลยซื้อมาฝาก

42) ที่เขาปิดหูปิดตาเรา ก็เพราะเขาหวังดี ไม่ต้องการให้เราหักโหมใช้สมองมากจนเกินไป

43) ที่เขาปิดหูปิดตาเรา ก็เพราะเขาหวังดี ไม่ต้องการให้เราสงสัยจนต้องติดคุก

44) ช้าก่อน เราตาสว่างแล้ว แล้วคุณยังยืนยันที่จะปิดหูปิดตาเราต่อไปทำไม?

45) ผมเห็นเพื่อนๆ มีความสุขกับการปิดหูปิดตาแล้วรู้สึกดีใจ สมองพวกเขาได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มอิ่มไปตลอดชีวิตแน่ๆ

46) เวลาผมทวีตต้าน ม.112 แล้วเจอคำหยาบสารพัดอย่างไม่รู้จักพอเพียง ผมเริ่มสงสัยว่าคนเหล่านี้อาจรัก ม.112 และคำหยาบ มากกว่ารักเจ้าก็เป็นได้

47) นักเดินทางแสวงหาความจริง: พี่ครับ พี่ครับ เมืองลับแลไปทางไหนครับ? คนท้องถิ่น: ไม่รู้เหมือนกัน มันมืดไปหมดทั้งกลางวันและกลางคืน

48) ข้อมูล 'ดีๆ' ด้านเดียวน่าเชื่อถือมาก มันทำให้ผมไม่สงสัยอะไรเลย –จริงๆ นะ สาบาน!

49) ผมจะเชื่อในข้อมูลด้านเดียวได้อย่างไร? ตอบ: ถ้าคุณไม่เชื่อ เขาก็อาจจะทำให้คุณประจักษ์ว่าคุกและนรกมีจริง ไม่ว่าคุณจะเชื่อหรือไม่เชื่ออะไรก็ตาม ก็เป็นได้

50) ผมภูมิใจในการเป็นคนไทย ทุกอย่างมันดูดี ด้านเดียวและเข้าใจง่ายดี

51) ผมชอบคนคลั่งเจ้า เพราะพวกเขาทำให้ผมกลัวการต้องถูกปิดหูปิดตาไปตลอดชีวิต

52) ผมชอบคนคลั่งเจ้า เพราะพวกเขาทำให้ผมหัวเราะได้ –แต่อย่าถือเก้าอี้มาใกล้ๆนะ

53) คืออย่างนี้นะครับ นโยบายประเทศเราชัดเจนมาก คือปิดหูปิดตาประชาชนลูกเดียว!

54) บ้านนี้เมืองนี้ไม่มีการปิดหูปิดตาประชาชนหรอก –มีแต่การพยายามหลอกประชาชนว่าไม่มีการปิดหูปิดตา

55) ผมชอบข้อมูล 'ดีๆ' ด้านเดียว –มันทำให้สมองผมได้พักผ่อนไปจนวันตาย!

56) คนรักเจ้าอย่างไม่รู้จักพอเพียง: ม.112 ข้า ใครอย่าแตะ! / คนเท่าทันเจ้า: สมองข้าใครอย่าแตะ!

57) แม่ครับ แม่ครับ ทำไมโรงเรียนสอนให้สงสัยและตั้งคำถาม ดูข้อมูลหลากหลาย แต่น้าข้างบ้านบอกพอโตขึ้น เชื่อข้อมูลด้านเดียวลูกเดียวก็พอครับ? แม่: เดี๋ยวโตขึ้นลูกก็จะรู้เองจ๊ะ

58) คำขวัญของทางการ: ไทยคงสิ้นชาติ หากไม่อนุรักษ์การปิดหูปิดตาประชาชน

59) ขอให้มองโลกในแง่ดี – อย่างน้อยรัฐก็จริงใจกับจริงจังในการปิดหูปิดตาประชาชน

60) ความสงสัยเป็นบ่อเกิดในการละเมิด ม.112

61) คำขวัญแบบตอแหลแลนด์: การปิดหูปิดตา เป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา

62) ที่นี่เมืองไทย ความจริง อาจทำให้คุณติดคุกได้

63) ฉันรัก ม.112 เพราะ ม.112 สอนให้ฉันรักสติปัญญา

64) ฉันรัก ม.112 เพราะ ม.112 สอนให้ฉันห่วงสังคมไทย

65) ฉันรัก ม.112 เพราะ ม.112 สอนให้ฉันเข้าใจสังคมไทย

66) ฉันรัก ม.112 เพราะ ม.112 สอนให้ฉันรู้จักว่าความเป็นคนที่หายไปมีอะไรบ้าง

67) คุณเคยสังเกตุเห็นคำนี้ไหม? 'ปิดหูปิดตาปิดปากประชาชน -อย่างไม่พอเพียง!'

68) ประชาชนผู้นิยมการถูกปิดหูปิดตาโปรดทราบ: พรุ่งนี้จะมีการฉีดยาตาสว่าง เพื่อควบคุมโรคกบในกะลาระบาด หากท่านเป็นห่วงผลกระทบที่อาจมีต่อสมองและหูตาท่าน กรุณาหลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ๆ จะฉีดยาตาสว่าง จึงแจ้งมาเพื่อให้ทราบโดยทั่วกัน

69) คำเตือนก่อนใช้เก้าอี้: อาการคลั่งเจ้าอาจทำให้คุณใช้เก้าอี้ฟาดหัวคนตายได้โดยไม่รู้ตัว (ดูเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เป็นตัวอย่าง)

70) แม่บอกหลายทีแล้วทำไมลูกไม่เชื่อ? เป็นคนไทยที่ดีต้องไม่ขี้สงสัยนะลูก เดี๋ยวเจอ ม.112 หรือเก้าอี้ แล้วจะหาว่าแม่ไม่เตือนไม่ได้นะลูก

71) แม่กลุ้มใจจริงๆ ลูกอยากจะเปิดหูเปิดตาไปทำไม? อยู่อย่างปิดหูปิดตาก็ซาบซึ้งจนไม่รู้จักพอเพียงแล้ว แล้วจะดิ้นรนไปทำไม?

72) การปิดหูปิดตาในเมืองไทยทำให้ผมเข้าใจว่าทำไมเวลาไปต่างประเทศ ภาษาไทยเขาถึงเรียกว่า 'ไปเปิดหูเปิดตา'

73) บ้านนี้เมืองนี้ ยาแก้โรคกบในกะลา ต้องแอบซื้อแอบขาย ลับๆล่อๆยิ่งกว่าซื้อขายยาเสพติด

74) คือเดี๋ยวนี้เสาชิงช้าหน้าวัดสุทัศน์ เขาห้ามโหน เลยมีคนไปโหนเจ้าแทน

75) ผมรักคนโหนเจ้าที่เรียกร้องรัฐประหาร พวกเขาทำให้ผมตาสว่าง แรง เร็ว และรัวๆ

76) การยัดเยียดข้อมูล 'ดีๆ' ด้านเดียวไม่ได้มีแต่ในประเทศไทย ลองไปดูเกาหลี…เหนือ สิ!

77) คุณยิ่งบังคับ ผมยิ่งขัดขืน / คุณยิ่งอวย ผมยิ่งเอียน / คุณยิ่งเซ็นเซอร์ ผมยิ่งสงสัย / คุณยิ่งกด ผมยิ่งลุกขึ้นสู้

78) ทำไมต้อง 112? เพราะมันคิดอะไรต่อไม่ได้ ต้องวนไปวนมานับ 1 กับ 2

79) ยุคมืดยุโรปจบไปนานแล้ว แต่ของไทยกำลังฮิตเป็นที่นิยม

80) ชาวต่างชาติมาเมืองไทย เขาไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาไทยหรืออังกฤษ เพราะเมืองไทยเขาสื่อสารกันด้วยการปิดหูปิดตา

81) แม่ๆ ทำไมพ่อดูท่าทางซาบซึ้งจัง? แม่: พ่อเขาเสพแต่ข้อมูล 'ดีๆ' ด้านเดียวอย่างไม่รู้จักพอเพียงนะลูก

82) ป้ายก่อนจากเมืองลับแล: ขอให้เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ อะไรที่สงสัยระหว่างอยู่เมืองลับแล ก็ขอให้เก็บเอาไว้ในใจ ไม่งั้นอาจเจอแบบ Joe Gordon หากกลับมาครั้งหน้า!

83) ในเมื่อในโลกจริง ความจริงบางอย่างถูกทำให้ผิดกฎหมาย ผู้คนจึงต้องไปพูดความจริงกันในโลกเสมือนจริง (virtual reality) ในอินเทอร์เน็ต

84) แม่ๆ ทำไมประเทศเรามีแต่ข้อมูล 'ดีๆ' ด้านเดียว? แม่: ก็เพราะคนไทยชอบข้อมูลด้านเดียวไงลูก มันเข้าใจง่าย จำง่ายดี

85) คุณว่าเกาหลีเหนือกับไทย ใครปิดหูปิดตาประชาชนได้เนียนกว่ากัน? ก็ไทยสิครับ เพราะหลายคนยังหลงคิดว่าอยู่ในสังคมประชาธิปไตยและมีเสรีภาพในการแสดงออก

86) Thailand กับ North Korea = Same Same but Different!

87) คุณอยากถูกปิดหูปิดตา หรือติดคุก? ตอบ: ไม่มีทางเลือกที่สามหรือครับ?

88) การปิดหูปิดตาประชาชนอาจทำให้ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น – บ้านเมืองมันมืดน่ะ

89) คุณเชื่อไหม พวกคนไทยไม่เอา ม.112 แม่งรับเงินทักษิณทั้งนั้น!

90) ม.112 มีไว้เตือนสติประชาชน ว่าเสรีภาพไม่สามารถได้มาด้วยการขอ หรือการอวย

91) ในสังคมที่ปิดหูปิดตาประชาชน คุกกลับเปิดไฟสว่างไสวไว้ทุกคืน

92) อาการตาสว่างอาจทำให้คุณเป็นแกะดำ ในสังคมที่ชื่นชอบการปิดหูปิดตาตนเอง

93) ถ้าเราจะสู้กับ ม.112 เราคงต้องหาตึกสูงๆ แบบตึกใบหยก –แล้วเปิดไฟหมุนๆ บนยอดตึกทุกคืน ว่าประชาชนไม่เอาการปิดหูปิดตา

94) ในมุมมืด: DVD ตาสว่าง เอาไม๊? ตอบ: ไม่หรอกครับผมกลัวเป็นโรคตาสว่าง

95) พุทธศาสนาไปได้ดีกับกฎหมายปิดหูปิดตาประชาชน? สาธุ

96) อย่าแปลกใจว่าทำไมสังคมไทยมันไม่เจริญ ก็มันมัวแต่ปิดหูปิดตาปิดปากประชาชน!

97) สิ่งสำคัญในการปิดหูปิดตาประชาชนคือ ต้องปิดมันทั้งประเทศ จะได้ไม่มีความสงสัยหรือการเปรียบเทียบ – แต่ดันลืมตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ต!

98) ยาตาสว่างไม่มีขาย แต่ถ้าอยากเข้าใจ ให้ไปดูชีวิตนักโทษทางความคิดกันเอาเอง

99) นักโทษทางความคิดติดคุกเพราะแสดงความคิดเห็นต่าง ติดคุกในนามของการปกป้อง 'ความดี' และ 'คนดี' – มันเป็นไปได้อย่างไร?

100) ญี่ปุ่นเขาไม่มี ม.112 แต่ก็ไม่เห็นว่าจะมีใครโหวกเหวกว่าเจ้าเขาจะอยู่ไม่ได้

101) ถ้าคุณเชื่อว่าขาด ม.112 แล้วเจ้าจะอยู่ไม่ได้ ผมก็คงพูดได้แต่เพียงว่า 'Good luck!'

102) ที่อังกฤษนั้นคนอวยเจ้าก็มาก คนด่าเจ้าก็ไม่น้อย แต่ไม่มีใครต้องติดคุก – ส่วนเมืองไทยนั้นก็รู้ๆ กันอยู่ว่าเป็นอย่างไร

103) การปิดหูปิดตา / การเซ็นเซอร์ / การปฏิเสธความจริงบางอย่าง / ม.112 – เหล่านี้มีไว้ให้ใช้พร่ำเพรื่ออย่างไม่รู้จักพอเพียง

104) หาก George Orwell ยังมีชีวิตอยู่ เขาอาจอยากเขียนหนังสือชื่อ 2555 ก็เป็นได้!

105) ปัญหาไก่กับไข่: แน่จริงบอกมาสิว่ามึงเกลียดเจ้าหรือเปล่า? นาย ก. ตอบ: แน่จริงยกเลิกกฎหมาย ม.112 ก่อนสิ จะได้บอกว่ากูคิดยังไง

106) ม.112 เหมือน 7 Eleven – มันทำงาน 24 ชั่วโมง ทุกวันไม่มีวันหยุด / รับการปิดปากไปด้วยไหมคะ?

107) หากชาติหน้ามีจริง ขอไปเกิดในแผ่นดินที่ไม่มีการปิดหูปิดตาประชาชน!

108) การปิดหูปิดตาไม่ใช่ทางออก แต่ถ้าเขารู้ทางออก เขาคงไม่ปิดหูปิดตาประชาชน

109) ประชาชนไม่ใช่ม้า จะได้คอยปิดหูปิดตาอยู่ร่ำไป

110) ประชาชนไม่ใช่ควาย จะได้คอยแต่ป้อนข้อมูล 'ดีๆ' ด้านเดียว

111) ฝรั่งมักไม่เข้าใจว่าทำไมเมืองไทยต้องปิดหูปิดตาปิดปากประชาชน –แล้วคุณคิดว่าคนไทยเข้าใจหรือ?

112) คุณยิ่งบังคับ ผมยิ่งขัดขืน / คุณยิ่งอวย ผมยิ่งเอียน / คุณยิ่งเซ็นเซอร์ ผมยิ่งสงสัย / คุณยิ่งกด ผมยิ่งลุกขึ้นสู้

 

ป.ล. ขอแถมนิดนึงและอาจไม่ขำ: บางครั้ง 'ความดี' ที่ตรวจสอบไม่ได้ อาจเลวยิ่งกว่าความเลวที่ตรวจสอบวิพากษ์ได้เสียอีก 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

Posted: 15 Nov 2012 06:15 AM PST

"..การเมืองไทย การเมืองอาเซียน การเมืองโลก ได้วิ่งเลย 'คนรุ่นเก่า' หรือ 'อำนาจเก่า/บารมีเก่า' ไปแล้วครับ"

15 พ.ย.55, กล่าวถึงการเคลื่อนไหวขององค์การพิทักษ์สยาม

"รากหญ้าอาเซียน" จัดปราศรัยกลางพนมเปญ เตรียมยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้นำอาเซียนศุกร์นี้

Posted: 15 Nov 2012 05:35 AM PST

 

ชมแบบ HD คลิกที่นี่

พนมเปญ - วันนี้ (15 พ.ย.) นักกิจกรรมและสมาชิกเครือข่ายรากหญ้าในกัมพูชาและจากประเทศในอาเซียนในนาม "สมัชชาประชาชนรากหญ้าอาเซียน" หรือ "(ASEAN Grassroots People's Assembly - AGPA)" ได้ชุมนุมปราศรัยที่ถนน "Preah Mohaksat Treiyani Kossamak" ใกล้กับวัดพนม กลางกรุงพนมเปญ โดยมีการแจ้งกำหนดการแจ้งล่วงหน้ากับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ขณะที่รอบๆ ที่ชุมนุม มีรถกระบะของตำรวจพร้อมเจ้าหน้าที่ประจำการ ลาดตระเวนอยู่ใกล้ๆ กับที่ชุมนุม

กิจกรรมประกอบด้วยการปราศรัย เสนอประเด็นปัญหาและข้อเรียกร้องจากกลุ่มอาชีพและเครือข่ายรากหญ้าต่างๆ ในกัมพูชาและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้มีนักกิจกรรมจากขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ พีมูฟ มีนักกิจกรรมจากเครือข่ายความหลากหลายทางเพศ (LGBT) จากประเทศไทยมาร่วมแสดงความสมานฉันท์ด้วย

ไล พิไซ (Ly Pisey) คณะกรรมการผู้จัดงานหลักของสมัชชาประชาชนรากหญ้าอาเซียน (AGPA) ให้สัมภาษณ์ว่า "ประชาชนได้เรียกร้องต่อรัฐบาลกัมพูชา และรัฐบาลในอาเซียนให้รับฟังปัญหา ปัญหาเหล่านี้มีทั้งเรื่องที่ดิน การยึดที่ดิน การฟ้องขับไล่ผู้เช่าที่ดิน เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเรื่องความมั่นคงและอิสรภาพทางอาหาร นโยบายการค้าการลงทุน ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลในอาเซียน ไม่ใช่แค่รัฐบาลกัมพูชา นำประเด็นเหล่านี้ไปรับผิดชอบ และยังให้เรียกร้องให้นำข้อเสนอแนะ ข้อเสนอทางออกต่างๆ ให้นำไปปฏิบัติ"

ต่อข้อเสนอกับผู้นำประเทศในอาเซียนและชาติมหาอำนาจที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในช่วงสุดสัปดาห์นี้นั้น ไล พิไซ กล่าวว่า "ประชาคมอาเซียนอย่างที่พวกเรากำลังเฉลิมฉลองและจัดงาน "สมัชชารากหญ้าอาเซียน" กันอยู่นี้ ขอเรียกร้องให้ผู้นำอาเซียน รับรู้และรับฟังว่า อาเซียนต้องมีการนำโดยชุมชน ไม่ใช่แค่กำหนดการตัดสินใจมาจากผู้นำรัฐบาล ดังนั้นเพื่อการพัฒนาประชาคมอาเซียนในฐานะที่เป็นประชาคมระดับภูมิภาค ทั้งเรื่องเศรษฐกิจและการบริการทางสังคมนั้น จะต้องมาจากการตัดสินใจและการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงจากประชาชน"

ด้านนางนุชนารถ แท่นทอง จากเครือข่ายสลัมสี่ภาคและขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ซึ่งมาร่วมกิจกรรมด้วยกล่าวว่า เราเห็นว่าการประชุมอาเซียนในเวทีระดับรัฐบาลพูดแต่เรื่องภาคธุรกิจ การค้า การลงทุน แต่ไม่ได้พูดว่าจะเกิดผลกระทบอะไรกับประชาชนในอาเซียน และเรื่องที่รัฐบาลในกลุ่มประเทศอาเซียนมาละเมิดสิทธิประชาชนในเรื่องต่างๆ

กรณีของกัมพูชา มีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนและเช่าที่ดิน 99 ปี ก็ทำให้ชาวบ้านถูกเจ้าหน้าที่ไล่รื้อ ก็อยากให้อาเซียนยอมรับพวกเราว่าพวกเราก็เป็นส่วนหนึ่งของอาเซียน ไม่ใช่ว่าให้อาเซียนกำหนดโดยนักธุรกิจ เราเองก็ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมแสดงข้อคิดเห็นต่อนโยบายต่างๆ

ทั้งนี้กิจกรรม "สมัชชาประชาชนรากหญ้าอาเซียน" หรือ AGPA เริ่มมาตั้งแต่วันอังคารที่ผ่านมา (13 พ.ย.) ก่อนที่จะมีการประชุมสุดยอดผู้นำสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) หรืออาเซียน อย่างไรก็ตามพิธีเปิดของ "สมัชชาประชาชนรากหญ้าอาเซียน" เมื่อวันที่ 13 พ.ย. ซึ่งจัดบริเวณพื้นที่ชานเมืองของกรุงพนมเปญ ถูกขัดขวางจัดงานโดยฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ มีการตัดกระแสไฟฟ้าเพื่อไม่ให้สามารถใช้เครื่องเสียงบริเวณสถานที่จัดงานได้ อย่างไรก็ตามผู้เข้าร่วมยังคงดำเนินพิธีเปิดงานต่อไป (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) ขณะที่มีรายงานว่าในช่วงที่มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติในวันที่ 14 พ.ย. สถานที่ซึ่งใช้เป็นที่พักของผู้ที่มาร่วมกิจกรรมบางส่วนก็ถูกตัดกระแสไฟฟ้าเช่นกัน ขณะที่โรงแรมที่พัก หากมีชาวกัมพูชาเดินทางมาจากจังหวัดอื่นๆ นอกพนมเปญมาเข้าพัก ก็มีการร้องขอจากเจ้าหน้าที่โรงแรมให้เก็บของออกจากที่พัก เนื่องจากเกรงมาตรการกดดันจากรัฐบาล

นอกจากนี้มีรายงานว่าในวันพรุ่งนี้ (16 พ.ย.) "สมัชชาประชาชนรากหญ้าอาเซียน" เตรียมยื่นข้อเรียกร้องถึงผู้นำรัฐบาลอาเซียน ผ่านนายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาด้วย

ขณะเดียวกันในช่วงที่พนมเปญจะมีการจัดประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน และมีการเยือนของประธานาธิบดีบารัก โอบามาของสหรัฐอเมริกาในช่วงสัปดาห์นี้นั้น ยังมีการจัดสัมมนาโดยองค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มชาวบ้าน และกลุ่มประชาสังคมจากกัมพูชาและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกหลายเวที รวมทั้งการประชุมภาคประชาสังคมอาเซียน/เวทีอาเซียนภาคประชาชน (ASEAN Civil Society Conference/ASEAN Peoples' Forum 2012) ซึ่งเริ่มพิธีเปิดไปตั้งแต่วันที่ 14 พ.ย. และจะมีการเผยแพร่ข้อเรียกร้องและมาตรการรณรงค์ในวันพรุ่งนี้ (16 พ.ย.) โดยประชาไทจะนำเสนอต่อไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'มติชนออนไลน์' สัมภาษณ์ 'ชาญวิทย์': โอบามาเยือนไทย, ม็อบเสธ.อ้าย และ ครก.112

Posted: 15 Nov 2012 03:28 AM PST

"จุดติดยาก และจะสร้างสถานการณ์ให้เกมยืดยาว จนนำไปสู่การแตกหัก ได้ชัยชนะ อย่างรัฐประหาร 19 กันยา 49 ก็ยาก...การเมืองไทย การเมืองอาเซียน การเมืองโลก ได้วิ่งเลย 'คนรุ่นเก่า' หรือ 'อำนาจเก่า/บารมีเก่า' ไปแล้ว"

15 พ.ย.55 'มติชนออนไลน์' สัมภาษณ์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์การเมืองไทยและประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในบรรยากาศที่ไทยต้อนรับผู้นำระดับโลก ท่ามกลางกระแสการเมืองภายใน ที่กำลังก้าวผ่านยุคหนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่ง

อาจารย์มองว่า ผลการเลือกตั้งสหรัฐอเมริก สะท้อนแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงในอนาคตอย่างไร
'โอบามา' ชนะการเลือกตั้ง เมื่อไม่กี่วันมานี้ คือวันที่ 6 พฤศจิกายน ผมก็ไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งอเมริกา อยู่ที่ UCLA  นั่งดูรายงานทางโทรทัศน์ทั้งคืนด้วยความตื่นเต้น การเลือกตั้งอเมริกาน่าตื่นเต้น เพราะประธานาธิบดีอเมริกัน อาจมีอำนาจสูงที่สุดในโลกก็ว่าได้ เพราะมีกองทัพ ซึ่งมีสมรรถภาพสูง แผ่อำนาจไปทั่ว แล้วในกรณีของโอบามา น่าสนใจที่ว่า คนดำสามารถเป็นประธานาธิบดีได้เป็นครั้งแรก แล้วเป็นถึง 2 เทอม ชนะอย่างขาดลอย

ทั้งที่ตอนแรกมีข่าวว่า โอบามามีปัญหามาก อาจจะสูสี แต่เมื่อดูจากคะแนนนิยมทั่วไปที่เรียกว่า ป๊อบปูล่าโหวต ก็ชนะ ส่วนคะแนนที่ได้จากผู้แทนของรัฐก็ชนะ เขาก็ขาดลอยมา ทำให้คนคาดหวังว่า การเลือกตั้งต่อไปคราวหน้า อาจจะเป็นทีของผู้หญิง

เมื่ออเมริกา สามารถทำให้คนดำ เป็นประธานาธิบดีได้ อเมริกา ก็อาจจะเลือกผู้หญิงเป็นผู้นำ ก็ได้

เป้าหมายในการเดินทางมาไทยของประธานาธิบดีโอบามา
ผมคิดว่าน่าสนใจว่า ฮิลลารี่ คลินตัน คงจะมาด้วย เธอยังอยู่ในเทอมของการเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาล 'โอบามา1' นี่คือการรุกของโอบามาที่เข้ามากลุ่มอาเซียน ผมไม่ได้มองแค่ว่า โอบามามาประเทศไทย แต่เป้าหมายสำคัญของโอบามาอยู่ที่พม่า อย่าลืมว่า พม่ามีพรมแดนอยู่ระหว่างจีนและอินเดีย ซึ่งสำคัญมาก ไทยไม่มีพรมแดนติดจีนและอินเดีย ยกเว้นน่านน้ำในทะเลติดกับอินเดีย ฉะนั้นในแง่ของสถานที่ตั้งของพม่า สำคัญมาก ผมคิดว่า โอบามาก็คงต้องการจะผลักดันนโยบายที่จะทำให้พม่าปฏิรูปการเมือง มุ่งสู่ประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง และยังเข้ามา แข่งขันอำนาจกับจีนอีกด้วย พร้อมๆ กับการที่จะไปประชุมที่กัมพูชาในการประชุมอีสเอเชียซัมมิท 

โอบามารุกนโยบายต่างประเทศ ผมไม่คาดคิดว่าเขาจะเร็วขนาดนี้  เขาเป็นคนที่เร็วมากๆ แล้วคำที่เขาใช้ในการเลือกตั้ง คือ 'ฟอร์เวิร์ด' นี่เป็นภาษาของการสื่อสารในอินเตอร์เนต คุณจะฟอร์เวิร์ดสิ่งนี้ ไปที่คนโน้นคนนี้ เป็นภาษาคนหนุ่มสาว คนรุ่นใหม่ที่เล่นอินเตอร์เนต ขณะที่โอบามามีคนไลค์เฟซบุคประมาณ 3 ล้านคน ผมเชื่อว่า คนอายุ 60-70 ปีในบ้านเรา ไม่รู้ภาษาอินเตอร์เนตแล้ว คือ 'ตกรุ่น' ไปแล้ว 

เขาเล่นเกมส์ ไปพม่ากับกัมพูชา แถมประเทศไทย เพราะยังไงก็เป็นพันธมิตรเก่ากันมาในสมัยสงครามเย็น สงครามต่อต้านคอมมิวนิสต์ คุณยิ่งลักษณ์จึงได้เอี่ยวไปด้วยจากการที่เขาจะไปพม่า และกัมพูชา

เลือกมาไทยเป็นที่แรก
ก็พันธมิตรเก่านะครับ ร่วมรบกันมาตั้งกี่สิบปี ถล่มเวียดนาม ถล่มอินโดจีนมาเป็นเวลานาน มีฐานทัพ ดังนั้น ต้องรักษาไมตรีเก่า แต่ผมเดาว่า จุดสำคัญการรุกครั้งนี้ คือพม่ากับกัมพูชาในแง่นโยบายต่างประเทศ ส่วนสถานการณ์การเมืองภายในของไทยก็น่าเป็นห่วง เพราะดูไม่ค่อยมีความมั่นคง ขณะที่เมื่อก่อน พม่าดูล้าหลัง แต่ตอนนี้ดูพม่าจะก้าวหน้า ส่วนไทยเมื่อก่อนดูจะก้าวหน้า แต่ตอนนี้ดูจะล้าหลัง 

และก็น่าสังเกตว่า ดูเหมือนโอบามาไม่มีกำหนดการพบปะกับผู้นำฝ่ายค้านของไทย ทั้งๆ ที่เมื่อจะไปพม่า จะพบทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน อันนี้ควรจ้องดูให้ดีครับ

กลุ่มที่อยากแช่แข็งประเทศ ก็ยังเคลื่อนไหวอยู่ จะมีพลังหรือไม่
ไม่น่าจะมีพลัง เพียงแต่เขายังอาศัยการอิงกับอำนาจเก่า บารมีเก่า จึงเล่นได้... ประเภท 'ม็อบมีเส้น' ถ้าไม่มีเส้น เล่นแบบนี้ไม่ได้ ต้องมีเส้นถึงจะเล่นได้

อาจารย์ ประเมินพลังของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล อย่างม็อบองค์การพิทักษ์สยามของ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ อย่างไร
ผมค่อนข้างแปลกใจ เพราะถ้าดูๆ ไปก็น่าสงสาร น่าเห็นใจ ผู้ที่ออกมาก็อายุ 60-70-80 อะไรทำนองนี้ เรียกง่ายๆ ว่าค่อนข้าง 'ตกรุ่น' แล้ว ในแง่ของบารมี ในแง่ของแรงจูงใจดูไม่ค่อยมี เพราะฉะนั้น ผมก็แปลกใจว่า ทำไมทั้งสื่อมวลชน และผู้นำรัฐบาลเอง รวมถึงผู้สนับสนุนการปลุกกระแสนี้ ประเมินสูงมาก ผมค่อนข้างแปลกใจ ไม่รู้ว่าอันนี้ 'สับขาหลอก' หรือเปล่า ถ้าภาษาวัยรุ่นเรียกว่า 'สตรอเบอรี่' กันหรือเปล่า

อาจเป็นเพราะก่อนการชุมนุมรอบแรก รองนายกรัฐมนตรี ประเมินต่ำ 2,000 คน ทำให้รอบนี้ประเมินสูง
ส่วนใหญ่ที่ผ่านมา ถ้าพวกเดียวกันก็ประเมินจำนวนให้สูงๆ แต่ถ้าเป็นฝ่ายตรงข้ามก็ประเมินให้ต่ำๆ แต่ตอนนี้ เล่น 'สับขาหลอก' กันหรือเปล่าก็ไม่รู้ พูดง่ายๆ ถามว่า จะล้มรัฐบาลได้ไหม ผมก็คิดว่ายาก หรือว่าจะสร้างให้เป็นแผล ติดตัวไปแล้วกลับมาชกกันใหม่

นับจากนี้ไปอะไรๆ จะไม่เหมือนเดิม
ผมอยากจะคิดว่า การเมืองเปลี่ยนไปแล้ว เปลี่ยนไปมากๆ หัวเลี้ยวหัวต่อคือ 19 กันยา 2549 ของ 'บิ๊กบัง' พล.อ.สนธิ บุญรัตกลิน และ 'เมษา-พฤษภา53' สถานการณ์การเมืองไทยไม่น่าจะเหมือนเก่า ประชาธิปไตยที่ต้องมีการเลือกตั้ง เคลื่อนลงไปอยู่ชนชั้นกลางระดับล่างและคนระดับล่างอย่างไม่เคยมีมาก่อน

เหตุผลในการล้มรัฐบาล ยังเป็นข้อที่บอกว่า ปล่อยให้มีการจาบจ้วงเบื้องสูง และปล่อยให้มีการทุจริต
ก็เป็นเรื่องเก่าๆ การอ้างสถาบันเคยใช้ได้ผลกรณี อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ กรณี 6 ตุลา หรือกรณีของคุณทักษิณ ที่นำไปสู่การรัฐประหาร แต่ผมสงสัยว่า นับแต่รัฐประหาร ปี 2549 จนถึงเมษา-พฤษภา อำมหิต 2553 ผมคิดว่า ข้ออ้างนี้อาจจะใช้ได้ยากมาก

สถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน ยังมีความกลัวๆ กล้าๆ ถ้าเป้าอยู่ที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ก็เป็นเป้าที่จัดการลำบาก เพราะในแง่หนึ่ง เธอเป็นนักการเมืองที่ 'พูดน้อย' ผิดกับนักการเมืองผู้ชายทั่วๆ ไปที่ 'พูดมาก' ผมคิดว่านี่คือ ความได้เปรียบของเธอที่พูดน้อย แล้วเธอก็ยัง 'หน้าตาดีผิดพี่ผิดน้อง' ทำให้ผมคิดว่า นายกฯ หญิงคนแรกของไทยก็น่าจะเหมือนผู้นำในกลุ่มอุษคเนย์อาเซียนที่อยู่ครบเทอม 

ผมชอบยกตัวอย่าง เมกาวาตี ซูกาโนบุตรี เพราะผมเคยพบปะเธอด้วยตัวเอง แล้วเธอก็ท่าทางไม่ค่อยฉลาด คนบอกว่าเธอไม่ค่อยมีสติปัญญาเท่าไหร่ เธอท่าทางเหมือนแม่บ้านทั่วๆ ไป คล้ายๆ คอรี อาคีโน ที่คนก็มองว่า นี่น่าจะเป็นแม่บ้าน หรือทำครัวอยู่บ้าน อะไรทำนองนั้น แต่ทั้ง 2 ท่าน ก็อยู่จนครบเทอม แล้วก็เป็นที่ประหลาดใจของคนทั่วๆ ไป

ผมสงสัยว่า คุณยิ่งลักษณ์ก็จะอยู่ครบเทอม ด้วยการที่คนจำนวนไม่น้อย underestimate (ประเมินต่ำ) ความเป็นผู้หญิง underestimate ความที่เธอดูไม่เฉลียวฉลาดเท่าไหร่นะ ผมคิดว่า คุณยิ่งลักษณ์อาจจะเป็นผู้นำไทยไม่กี่คน ที่ไม่ได้มา 'ชุบตัว' ในกรุงเทพฯ คือไม่ได้เรียนโรงเรียนแบบระดับไฮโซ เธอเรียนอยู่เชียงใหม่ จบ มช. ไม่ได้เข้าจุฬาฯ ไม่ได้เข้าธรรมศาสตร์ แบบเราๆ ท่านๆ อะไรทำนองนี้ เพราะฉะนั้น ผมก็เลยมองว่า คนอาจจะ underestimate ประเมินต่ำมากๆ

แล้วคนที่คิดว่าฉลาดกว่าคนอื่นมักจะพลาดง่ายๆ อย่างบรรดาไฮโซทั้งหลายในกรุงเทพฯ มักจะคิดว่าตัวเองฉลาดผิดปกติ นอกจากจะเรียนโรงเรียนชั้นนำแล้ว ยังไปเรียนมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศอีก ก็เลยทำให้ประเมินเธอต่ำ จึงเป็นความได้เปรียบของเธอ เพราะ 'คนที่พูดว่าคนอื่นโง่ได้ง่ายๆ มักจะใช้สมองน้อยมาก'

คุณยิ่งลักษณ์ สำเนียงอังกฤษไม่ถูกใจบางคน อาจารย์คิดว่าไม่เป็นปัญหา
ผมคิดว่าไม่มีปัญหาเท่าไหร่ ผมยังเคยพูดเล่นๆ ว่า ทำไมเธอไม่ 'อู้คำเมือง' ไปซะเลย แล้วหาล่ามแปล จะเรียกใช้ 'บ่าวไพร่' ทั้งหลายที่การศึกษาสูงๆ มาแปลสำเนียงให้เป็นเคมบริดจ์ เป็นออกซ์ฟอร์ด ก็ได้ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพูดภาษาอังกฤษเก่ง ผมอยากให้เธอ 'อู้คำเมือง' ไปเลย

ข้อเสนอแก้ไข มาตรา 112 ถูกจำหน่ายออกไป ในรัฐบาลชุดนี้ อาจารย์คิดอย่างไร
ข้อเสนอที่พวกเรา 'ครก.' และ 'นิติราษฎร์' ร่วมกัน แก้ไข 112 เพื่อให้มีมาตรฐานแบบอารยประเทศ แบบสหราชอาณาจักร แบบอังกฤษ เพราะของเรามีโทษสูงและล้าหลัง รวมถึงคดีที่ขึ้นโรงขึ้นศาลก็มากที่สุดในโลก ถ้ารักษากฎหมายนี้ต่อไปจะนำความเสื่อมเสียมาสู่สถาบันฯมากกว่า ก็น่าเสียดายที่ประธานรัฐสภามองไม่เห็นความสำคัญอันนี้ แล้วก็ปัดเรื่องนี้ตกไปอย่างราวกับทำราชการตามปกติ ไม่มองปัญหาซึ่งผมมองว่าซีเรียส มองเพียงวันสองวันไม่ได้ มองเพียงรัชสมัยนี้ก็ไม่ได้ ต้องมองข้ามไปสู่อนาคต ต้องมองไกลมากๆ แต่นักการเมืองของเรามักจะมองเพียงวันนี้ พรุ่งนี้ แล้วก็มองคับแคบ คิดว่าอยู่แต่ในประเทศไทย ซึ่งมีรูปขวานทองเท่านั้น ไม่ได้มองในบริบทของโลก

จะผลักดันให้มีการแก้ไขต่อไปหรือไม่
เกมนี้ก็คงยาว ดังนั้น ในแง่ตัวผมเองและพรรคพวกเพื่อนฝูง ก็จะต้องผลักดันกันต่อไปครับ 

ข้อน่ากังวลของสังคมไทย
อยู่ที่การแบ่งฝ่าย 'แบ่งสี' (เสื้อ) โดยมีความเกลียดชัง โกรธแค้น ชิงชังกันแบบไม่ฟังกันแล้ว ไม่พูดกันแล้ว นี่คือสิ่งที่น่ากลัวมาก แปลว่า มันจะเดินไปถึงขั้นแตกหักยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา หมายถึง จะมี 'กลียุค' มีการนองเลือดยิ่งกว่า พฤษภา 53  หรือเปล่า นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่า น่าวิตก แต่ในกลุ่มวิชาการวงเล็กๆ ของเราก็คุยกันอยู่ มีฝ่ายที่มองว่า ไม่ช้าคง 'เกี้ยเซี๊ย' เพราะไม่สามารถเอาอีกฝ่ายหนึ่งลงได้ จึงต้อง 'เกี้ยเซี๊ย' กันในระดับบน เมื่อสู้แล้วชนะกันไม่ได้ ก็เป็นพวกเดียวกันดีกว่า ก็มีสัญญาณแบบนี้ คือผมคิดว่า ในวงวิชาการจำนวนไม่น้อยก็สังเกตอยู่ว่า ผู้นำสยามประเทศไทย เขาๆ และเธอๆ จะใส่เสื้อสีอะไร มีตั้งแต่สีเหลือง สีแดง สีชมพู บางคนบอกว่า สีส้ม ก็น่าสนใจ เพราะนี่คือเหลืองกับแดงปนกัน

การนัดชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม 24 พฤศจิกายน พล.อ.บุญเลิศ กำหนด เวลา 9.01 น. โดยเชื่อมโยงกับการปกป้องสถาบันฯ อาจารย์มองเรื่องนี้อย่างไร  
ก็คงเป็น 'ข้ออ้างเก่าๆ' เป็นการสะกิดเตือนความจำว่า พวกเขาๆ และเธอๆ ยังมีตัวตนอยู่กระมัง เลี้ยงความจำเอาไว้ วันหลังค่อยกลับมาใหม่เมื่อ 'ชาติต้องการ' หรือ 'สบโอกาส' อะไรทำนองนั้น 

แต่ผมคิดว่าจะ 'จุดติด' ยาก และจะสร้างสถานการณ์ให้เกมยืดยาวจนนำไปสู่การแตกหักได้ชัยชนะ อย่างปี 'รัฐประหาร 19 กันยา 49' ยาก อย่างปี 'ยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน' ใช้ประเด็น 'พระวิหาร' และ 'ล้มรัฐบาลสมัคร/สมชาย' ปี 51 ก็ยากครับ แถมยังมีตัวแปรใหม่ของความเป็น 'หญิง' เข้ามาแทรกด้วย  

การเมืองไทย การเมืองอาเซียน การเมืองโลก ได้วิ่งเลย 'คนรุ่นเก่า' หรือ 'อำนาจเก่า/บารมีเก่า' ไปแล้วครับ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'สมศักดิ์ เจียมฯ' ถูกตำรวจส่งฟ้องม. 112 เตรียมรายงานตัวกับอัยการอังคารนี้

Posted: 15 Nov 2012 02:45 AM PST

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เผยพนง.สอบสวนสั่งฟ้องฐานหมิ่นเบื้องสูงแล้ว เหตุตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับฟ้าหญิงจุฬาภรณ์เผยแพร่ 2 บทความ

เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 55 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กของตนเองระบุว่า พนักงานสอบสวนได้มีความเห็นสั่งฟ้องเขาด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้ว และมีหมายให้ไปรายตัวกับพนักงานอัยการในวันอังคารที่จะถึงนี้ (20 พ.ย.)  หลังจากเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2554 สมศักดิ์ได้รับทราบข้อกล่าวหาที่สน. นางเลิ้ง จากการที่กองทัพบกเป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษเขาด้วยกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการเขียนบทความเกี่ยวกับการพระราชทานสัมภาษณ์ของฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ และเผยแพร่ลงในเว็บไซต์ต่างๆ 

สมศักดิ์ให้ความเห็นว่า การดำเนินคดีดังกล่าวเป็นเรื่องที่ "น่าผิดหวัง" เนื่องจากรูปคดีดังกล่าว "มีน้ำหนักอ่อนมากๆ กล่าวได้ว่าไม่มีมูลเพียงพอ" ทั้งนี้ กฎหมายอาญามาตรา 112 ระบุว่า ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

การเมืองท้องถิ่นเบื้องหลังความรุนแรงใน Aceh

Posted: 15 Nov 2012 01:33 AM PST

เหตุการณ์ยิงกันตายอย่างต่อเนื่องในอาเจะห์ดูเหมือนยังไม่เบาบางลง เป็นความรุนแรงที่มีลักษณะเกาะกลุ่มอย่างเป็นระบบและอันตราย กำลังเป็นสิ่งที่บ่อนทำลายประชาธิปไตยและความเป็นมนุษย์ในจังหวัดแห่งนี้ ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องตอบสนองการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนและอย่างมีกลยุทธ์ที่จะหยุดความโหดร้าย และการรื้อฟื้นความยุติธรรม

ดังเหตุการณ์สุดสลดเมื่อวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประชาชนห้าคนถูกฆ่าตายและอีกกลุ่มหนึ่งได้รับบาดเจ็บ กูโนโก คนงานก่อสร้างคนหนึ่งเป็นผู้เสียชีวิตคนล่าสุดในช่วงเวลา 21 ชั่วโมงของหอผู้ป่วยหนักที่โรงพยาบาลในท้องถิ่นแห่งหนึ่ง ซึ่งเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายทั้งหมดเป็นผู้อพยพที่ยอมละทิ้งบ้านเรือนของพวกเขาเพียงเพราะต้องการมาทำงานหาเงินเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว

เป็นเรื่องหน้าเศร้าใจที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ระบุไว้ว่า ความรุนแรงได้กลายเป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปและไม่มีอะไรที่จะมารบกวนการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้กำหนดไว้ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์นี้ได้ แต่การฆาตกรรมอย่างเป็นระบบและการเพิ่มจำนวนของความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้เผยให้เห็นว่า ความโหดร้ายเกี่ยวข้องกับบางสิ่งบางอย่างที่ใหญ่กว่า

มีข้อสันนิฐานสามข้อที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมาของความรุนแรงในอาเจะห์ ข้อแรกคือ ความรุนแรงที่เชื่อมโยงกับการเมืองท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกตั้งในระดับภูมิภาคหรือที่เรียกกันว่า "pilkada" การฆาตกรรมเกิดขึ้นบนบรรทัดฐานของความขัดแย้งที่เกี่ยวพันธ์กับการเมืองท้องถิ่น

ความโหดร้ายที่เกิดขึ้นดูเหมือนจะมีรากเหง้าจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ ของอดีตกองกำลังของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน (GAM) ซึ่งขณะนี้มีอย่างน้อยสามกลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มสวีเดนที่มีการจัดการตนเองในรูแบบพรรคการเมือง Aceh Party กลุ่มภายในประเทศที่นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัด Yusuf Irwandi และรองผู้ว่า Muhammad Nasar และกลุ่มที่สามซึ่งถูกกันอยู่ภายนอกที่ไม่ได้เข้าสู่การเมืองท้องถิ่น ซึ่งการแข่งขันทางการเมืองระหว่าง Nasar และ Irwandi ในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นได้เพิ่มความซับซ้อนของการเมืองท้องถิ่นเพิ่มขึ้น

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นก่อนมีการเลือกตั้งสามารถยืนยันได้ว่าทั้งสองประเด็นมีความเชื่อมโยงกัน ความรุนแรงเกิดขึ้นจากแรงจูงใจทางการเมือง กลุ่มสิทธิมนุษยชน Imparsial ได้ตั้งข้อสังเกตว่ามีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในช่วงการเลือกตั้งท้องถิ่นในอาเจะห์ เมื่อดูจากเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นช่วงการเลือกทั้งผู้นำท้องถิ่นที่ผ่านมาในปี 2006 2009 และ 2012

ในปี 2011 และ 2012 มีการกระทำความรุนแรงที่ถูกบันถึกไว้ถึง 17 ครั้ง มี 15 เสียชีวิตและบาดเจ็บอีก 17 คน ในช่วงของการเลือกตั้งระดับภูมิภาคปีที่ผ่าน มีรายงานว่านักเคลื่อนไหวทางการเมืองของ Aceh Party 8 คนถูกฆ่าตายโดยตำรวจไม่สามารถจับคนร้ายได้

ข้อสันนิฐานที่สอง คาดว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นเชื่อมโยงกับประเด็นทางการเมืองและเรื่องเศรษฐกิจ อย่างเช่นการต่อสู้เพื่อการเข้าถึงและควบคุมทรัพยากรทางเศรษฐกิจในอาเจะห์ระหว่างกลุ่มต่างของอดีตกองกำลัง GAM สื่อท้องถิ่นรายงานว่า ความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มที่ชนะในการทำโครงการพัฒนาต่างๆ กับคนที่แพ้ไม่ได้โครงการที่ทำให้ถูกกันออกไป นั่นเป็นเหตุให้เป้าหมายในการฆาตกรรมต่างๆ ล้วนเป็นคนงาน

ข้อสันนิฐานที่สามคือ การพัฒนาการของอุดมการณ์ชาตินิยมที่ปฏิเสธรัฐศูนย์กลาง ส่งผลให้เกิดช่องว่างระหว่างผู้อพยพเข้ามาใหม่กับคนอาเจะห์ดั้งเดิม ซึ่ง Djoko Suyanto รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงและกฎหมายได้ยืนยันแนวคิดนี้และบอกว่าเหตุฆ่ากันตายไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยืนยันเป็นเรื่องความขัดแย้งส่วนตัวของคนในชุมชน

การอธิบายว่าความไม่ลงรอยกันทางสังคมและเศรษฐกิจมีส่วนต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอาเจะห์ เป็นเพียงการอำพรางความซับซ้อนที่เกิดขึ้นมากกว่า และคำอธิบายนี้ไม่ได้เป็นความพยายามให้ค้นพบวิธีแก้ปัญหาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายต่างท้าทายข้อสันนิฐานเหล่านี้เพราะเห็นว่าช่องว่างดังกล่าวไม่ได้มีอยู่จริง ทั้งๆ ที่เหยื่อของความรุนแรงก็คือกลุ่มที่เป็นผู้อพยพและแรงงานที่ยากจน

อย่างไรก็ตาม มีข้อโต้แย้งประการหนึ่งที่ยืนยันว่าข้อสันนิษฐานที่เกี่ยวกับการเมืองท้องถิ่นเป็นจริง ซึ่งมีข้อสังเกตสี่ประการคือ ประการแรก การใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือทางการเมืองนั้นอันตราย ไม่มีความเป็นมนุษย์ ป่าเถื่อน ไม่เป็นที่ยอมรับของทุกศาสนา พวกเขาถูกฆ่าเพียงเพราะคนกลุ่มหนึ่งที่ต้องการที่จะส่งข่าวสารไปยังรัฐบาลแห่งชาติหรือผู้นำรัฐบาลท้องถิ่นในอาเจะห์

ประการที่สอง ความรุนแรงทำให้ภาพลักษณ์ของอาเจะห์เสื่อมเสีย ในฐานะจังหวัดหนึ่งที่บังคับใช้กฎหมายชาริอา ฆาตกรฆ่าคนเหล่านี้เป็นอันตรายยิ่งกว่าพวกพั๊งค์ที่ตำรวจอาเจะห์มัวแต่วิ่งไล่จับ ซึ่งตำรวจควรพยายามมากกว่านี้เพื่อเปิดโปงผู้อยู่เบื้องหลังการฆาตกรรม แทนที่ไล่จับพวกไม่เคร่งศาสนา

ประเด็นที่สาม การฆาตกรรมเผยให้เห็นว่ามีอาวุธปืนที่ผิดกฎหมายจำนวนมากยังคงหมุนเวียนอยู่ในอาเจะห์ แม้ว่าได้มีข้อตกลงสันติภาพที่ลงนามเมื่อปี 2005 ที่ผ่านมา ข้อเท็จจริงที่ว่าปืนจำนวนมากอยู่ในมือคนที่ผิดกฎหมายเป็นภัยต่อสันติภาพในจังหวัดแห่งนี้ ดังนั้นตำรวจควรดำเนินการปลดอาวุธจากพลเรือน

Fachry Ali นักวิเคราะห์ทางการเมืองบอกว่า เมื่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งท้องถิ่น ดังนั้นเงื่อนไขการแก้ปัญหาคือการอำนวยความสะดวกสำหรับทุกกลุ่มการเมือง การให้โอกาสที่เท่าเทียมกันกับทุกฝ่ายในจังหวัดแห่งนี้ และได้แนะนำว่าจำเป็นที่รัฐบาลต้องเลื่อนการเลือกตั้งออกไปเพื่อเอื้ออำนวยแก่ทุกฝ่าย

การเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปจะช่วยให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีโอกาสที่จะพิมพ์บัตรลงคะแนนใหม่ รวมทั้งจัดการรณรงค์การเลือกตั้งใหม่และอื่นๆ วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดของการเลื่อนวันเลือกตั้งในครั้งนี้ คือเพื่อที่จะเปิดโปงผู้กระทำความผิดที่อยู่เบื้องหลังความโหดร้ายและลงโทษพวกเขา ย่างก้าวอันนี้จะเป็นการส่งสารอันหนักแน่นว่าอินโดนีเซียสนับสนุนหลักนิติธรรมและให้ความเคารพชีวิตมนุษย์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักวิชาการให้ภาพ ปริมาณนำเข้าสารกำจัดศัตรูพืชของไทยสูงเท่าตึกใบหยก 2

Posted: 15 Nov 2012 01:28 AM PST

นักวิชาการเผยปริมาณนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของประเทศไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาสูงเทียบเท่ากับตึกใบหยก 2 เกษตรกรและประชาชนประมาณ 1 ใน 3 มีเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัย มูลค่าการนำเข้าสูงถึงปีละกว่า 2 หมื่นล้านบาท ชี้การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีพิษร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศกลับทำให้มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมากขึ้น แนะกรมวิชาการเกษตรกำกับดูแลและกวดขันร้านค้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้ขายสารตามคำแนะนำของราชการอย่างจริงจัง

15 พ.ย. การประชุมวิชาการเพื่อเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ประจำปี 2555 ในหัวข้อการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อสังคมไทยที่ปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จัดโดยเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพแห่งชาติ (สสส.) นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ กล่าวปาฐกถาเรื่องสถานการณ์ความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหารว่า ขณะนี้ผู้บริโภคคนไทยไม่มีความมั่นใจ 100 เปอร์เซนต์ในการบริโภคพืชผักผลไม้เพราะกังวลเรื่องความปลอดภัย ในขณะที่ประเทศไทยมีการรณณงค์ส่งเสริมการบริโภคพืชผักผลไม้ให้ได้วันละ 400 กรัม และไทยเป็นประเทศส่งออกอาหารลำดับต้นๆ ของโลก อาหารและสินค้าเกษตรหลายชนิดส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยแต่ละปีมีมูลค่าการส่งออกสูงถึงเกือบหนึ่งล้านล้านบาท ความปลอดภัยทางอาหารจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญ

ความปลอดภัยทางอาหารคือการจัดการอาหารให้มีความปลอดภัยต่อการบริโภค ทั้งนี้ความมั่นคงทางอาหารปของประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ที่ถือว่าดีมาก หากแต่ปัจจุบันกลับตั้งอยู่ในความประมาท โดยเฉพาะการจัดการฐานทรัพยากรอาหารที่มีปัญหามาก ทั้งที่ดิน น้ำ ป่าไม้ ป่าชายเลน ที่กำลังเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงการปลูกพืชที่ไม่ใช่อาหารและการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ไม่เหมาะสมด้วย

นอกจากนั้นก็มีปัญหาด้านหนี้สินและอายุของเกษตรกรที่สูงขึ้นมาก การชลประทานที่ไม่ครอบคลุม การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการลดลงของพันธุ์พื้นบ้าน โดยเฉพาะพันธุ์ข้าวที่มีการลดลงของพันธุ์พื้นบ้านอย่างรวดเร็ว และผักที่วางขายในตลาดก็มีอยู่ไม่กี่ชนิดที่เป็นที่นิยมของตลาด

"ความปลอดภัยทางอาหารสัมพันธ์กับโรคร้ายแรงต่างๆ มะเร็งบางประเภทสัมพันธ์กับอาหารไม่ปลอดภัย สถิติการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสูงขึ้นๆ ทุกปี มีการนำสารเคมีไปใช้ไม่อย่างถูกต้อง เช่น มีการนำเข้าสารเคมีมาเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมแต่กลับนำไปใช้ในภาคการเกษตร มีการนำเข้ามาเพื่อใช้ในทางการแพทย์และสาธารณสุขแต่กลับนำมาใช้ในภาคการเกษตร และอีกจำนวนมากที่นำเข้ามาใช้ในภาคการเกษตรโดยตรง ประเทศไทยจึงมีการใช้สารเคมีในระดับสูง ขณะที่ต่างประเทศ เช่น เนเธอแลนด์ที่มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรจำนวนสูงมากก็พยายามลดและมุ่งสู่เกษตรอินทรีย์มากขึ้น ดังนั้นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชชนิดใดที่มีอันตรายร้ายแรงไทยก็ต้องห้ามนำเข้า ต้องทำให้กลไกการบริหารจัดการเข้มแข็ง"

นพ.ไกรสิทธิ์กล่าวต่อว่าปัจจุบันผู้บริโภคไทยมีความกังวลเรื่องอาหารปลอดภัยมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารและสินค้าเกษตรที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องมีกลไกการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง ขณะที่การส่งออกอาหารของประเทศไทยถือว่าอยู่ในระดับดีมาก ทั้งนี้ความมั่นคงและปลอดภัยทางอาหารต้องเกิดในทุกระดับ ประเทศไทยจึงมีความเสี่ยงถ้าไม่เตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ และเร่งแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ รวมถึงส่งเสริมการรวมกลุ่มโดยเชื่อมโยงกับความต้องการของผู้บริโภคและตลาด

ด้าน นพ.พิบูล อิสสระพันธุ์ รอง ผอ.สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงผลการศึกษาเรื่องความเสี่ยงของเกษตรกรและประชาชนที่ได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชว่าประเทศไทยมีการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชระหว่างปี 2548-2552 สูงถึง 520,312 ตัน หรือมีขนาดเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลาง 46 เมตร สูงเทียบเท่ากับตึกใบหยก 2 หรือมีความสูงถึง304 เมตร และมูลค่าการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในปี 2554 มีมูลค่ามหาศาลถึง 20,875.37 ล้านบาท

"ในปี 2550 สำนักโรคจากการประกอบอาชีพฯ ได้ทำการสำรวจการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชโดยใช้แถบกระดาษสำหรับตรวจเลือดในเกษตรกร 89,376 ราย พบว่ามีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยถึง 34,428 ราย หรือร้อยละ 38.52 และจากการตรวจเลือดในปี 2554 พบว่ามีเกษตรกรที่มีผลการตรวจเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยสูงถึง 173,243 รายจากจำนวนทั้งสิ้น 533,524 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 32ขณะที่ผลการตรวจเลือดของประชาชนจำนวนทั้งสิ้น 99,283 ราย พบว่ามีเลือดอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยถึง 35,949 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ซึ่งเป็นแนวโน้มเดียวกันกับผลการตรวจเลือดในปี 2555 ที่พบว่าเกษตรกรมีผลเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยสูงถึง41,457 รายจากจำนวนทั้งสิ้นที่ทำการสำรวจ 117,131 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 30"

ส่วนนางสุกัญญา อรัญมิตร นักกีฎวิทยาปฏิบัติการ กรมการข้าว เผยผลการศึกษาเรื่องผลกระทบของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในนาข้าวว่าสาเหตุสำคัญในการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นนอกเหนือจากการปลูกพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอต่อเนื่องกันยาวนานแล้ว การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีพิษสูงต่อธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศของนาข้าวยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญด้วย เมื่อเกิดการระบาดของแมลงเกษตรกรจะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีพิษร้ายแรง เป็นพิษต่อสัตว์น้ำ และสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ เป็นหลัก เช่น abamectin และสารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ ดังกรณีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่เกษตรกรมักจะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ไม่แนะนำให้ใช้ในนาข้าวทั้งๆ ที่สารเคมีเหล่านี้ทำให้เกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมากขึ้น

"การใช้สารฆ่าแมลงคาร์โบฟูรานส่งผลกระทบโดยตรงต่อตัวห้ำ มวนเขียวดูดไข่ ที่เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ขณะที่การใช้สารฆ่าแมลงไพรีทรอยด์สังเคราะห์จะมีพิษสูงต่อธรรมชาติของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยผลจากการใช้ที่ไม่ถูกวิธีทำให้แมลงสร้างความต้านทาน มีการระบาดรุนแรงมากขึ้น และเกิดแมลงศัตรูข้าวชนิดใหม่ จากการศึกษาพบว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลใน จ.สุพรรณบุรีและพระนครศรีอยุธยาสร้างความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากชนิดที่สุด และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในพื้นที่ระบาดส่วนใหญ่สร้างความต้านทานต่อ ethiprole และ fenobucarb"

นางสุกัญญากล่าวต่อว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาสารเคมีในนาข้าวคือหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องไม่อนุญาตให้มีการใช้สารเคมีกำจัดแมลงหลายชนิดในนาข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีข้อมูลชัดเจนว่าก่อให้เกิดปัญหาในระบบนิเวศของการปลูกข้าว มีคุณสมบัติที่ทำให้เกิดการระบาดเพิ่ม และมีรายงานว่าแมลงศัตรูข้าวสร้างความต้านทานต่อสารนั้นๆ แล้ว รวมถึงทำให้เกิดการระบาดของศัตรูข้าวชนิดใหม่หรือศัตรูพืชชนิดรอง นอกจากนั้นก็ขอให้กรมการข้าวได้มีเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาข้อมูลวิชาการในกรณีที่สารเคมีกำจัดศัตรูพืชชนิดนั้นๆ ขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรเพื่อใช้ในนาข้าว และขอให้กรมวิชาการเกษตรกำกับดูแลและกวดขันร้านค้าสารเคมีให้ขายสารตามคำแนะนำของราชการอย่างจริงจัง

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ราจัท แกงกูลี่ 'ออโตโนมีควรเป็นเครื่องมือสู่ธรรมาภิบาล'

Posted: 15 Nov 2012 01:20 AM PST

ราจัท แกงกูลี่ (Assoc. Prof. Dr. Rajat Ganguly) นักวิชาการสาขาความมั่นคงศึกษา รัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยเมอร์ด็อค ประเทศออสเตรเลีย บรรยายหัวข้อ "ออโตโนมี (Autonomy) และความขัดแย้งเชิงชาติพันธุ์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: บทเรียนและแนวโน้ม" ณ หอประชุมสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยมี อ.ซากีย์ พิทักษ์คุมพล จากสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นผู้ดำเนินรายการ มีภาคประชาสังคม กลุ่ม องค์กรภาคประชาชน สื่อมวลชนและนักศึกษาที่เข้าร่วมรับฟังกว่า 600 คน

นักวิชาการเชื้อสายอินเดียจากออสเตรเลียกล่าวถึงออโตโนมีโดยตั้งคำถามว่า คุณค่าที่แท้จริงของออโตโนมีควรเป็นเป้าหมายของการแก้ปัญหาความขัดแย้ง หรือควรเป็นเครื่องมือของการแก้ปัญหา ซึ่งจากการศึกษาพบว่า นักวิชาการจำนวนมากเข้าใจผิดว่าออโตโนมีเป็นเป้าหมายของการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่มีรากเหง้าทางชาติพันธุ์

ดร.ราจัท กล่าวถึงบริบทหรือความสัมพันธ์ที่นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชนกลุ่มน้อยก็คือ รัฐต้องการรักษาอำนาจอธิปไตยและบูรณาภาพแห่งดินแดนที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ในขณะที่ชนกลุ่มน้อยต้องการปลดปล่อยตนเอง และพบว่าในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมามีกรณีศึกษาน้อยมากที่การแก้ปัญหาความขัดแย้งสามารถแก้ได้ด้วยการเจรจา

สิ่งที่สำคัญที่สุดของสิทธิการจัดการตนเองของชนกลุ่มน้อยก็คือ การสร้างความสมดุลทางอำนาจระหว่างรัฐบาลกลางกับชนกลุ่มน้อย ซึ่งรัฐไม่ต้องการสูญเสียดินแดนและอธิปไตยเหนือดินแดน ในขณะที่ชนกลุ่มน้อยต้องการมีอิสระ มีอำนาจระดับหนึ่งในการจัดการตนเอง ดังนั้นออโตโนมีก็คือ รัฐต้องยอมรับสิทธิเหนือดินแดนของชนกลุ่มน้อย หรือ Homeland คือสำนึกต่อบ้านเกิดของชนกลุ่มน้อยต่อดินแดนซึ่งมีอาณาเขตที่แน่นอน มีพื้นที่ที่ชัดเจนของตนเองที่พวกเขาสามารถใช้ชีวิตในบริบทวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ของตนเองได้

นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเมอร์ด๊อค กล่าวถึงออโตโนมีว่า ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขสำคัญ 6 ประการคือ ประการที่หนึ่ง การมีแผ่นดินแม่ที่ชัดเจนที่ไม่อาจทับซ้อนกันของวัฒนธรรม ประการที่สองต้องสร้างองค์กรที่จะมาดูแลพื้นที่ออโตโนมี ประการที่สามจะต้องแบ่งแยกอำนาจการบริหารจัดการให้ชัดเจนระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น เช่น ด้านการทหาร การต่างประเทศ เป็นอำนาจของรัฐบาลกลาง ด้านการศึกษา เศรษฐกิจ เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นเป็นต้น

ประการที่สี่ ต้องมีการตกลงอย่างจัดเจนในเรื่องการแบ่งสัดส่วนรายได้จากการเก็บภาษี ประการที่ห้า ทั้งสองฝ่าย รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นต้องสร้างเครื่องมือเพื่อการแก้ไขความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างกัน และประการที่หกจะต้องมีตัวแทนของรัฐบาลท้องถิ่นในรัฐบาลกลางที่จะทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของรัฐบาลท้องถิ่น เช่น สหรัฐอเมริกาที่มีวุฒิสมาชิกจากมลรัฐต่างๆ อยู่ในสภาสูงเป็นตัวแทนปกป้องผลประโยชน์ของมลรัฐ

"สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ รัฐต้องตระหนักว่า ชนกลุ่มน้อยมีสิทธิที่จะกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ดูแลจัดการตนเอง ในขณะที่รัฐจำเป็นต้องปกป้องบูรณาการของดินแดน ออโตโนในความหมายนี้ คือการยอมรับจุดยืนของทั้งสองฝ่าย นับเป็นเรื่องภายใน ไม่ใช่การแบ่งแยกประเทศ" ดร.ราจัท กล่าว

ในการบรรยายครั้งนี้ ดร.ราจัทได้ยกตัวอย่างกรณีความขัดแย้งจากทั่วโลกเพื่อสื่อให้เห็นถึงกลไกต่างๆ ของแนวทางออโตโนมี เช่น กรณีปากีสถานไม่ยอมรับการเจรจาอันนำไปสู่การเกิดประเทศใหม่ คือบังคลาเทศ ในขณะที่กรณีของอาเจะห์ รัฐบาลยุดโดโยโนยอมรับถึงการมีสิทธิต่อดินแดนและการจัดการตนเองของชนกลุ่มน้อยอันนำไปสู่การเจรจาในที่สุด ในขณะเดียวกัน กรณีประเทศศรีลังกาที่การเจรจาระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีแลมไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อชนกลุ่มน้อยทมิฬอ้างว่าดินแดนของตนคือทั้งตอนเหนือและตอนใต้ของประเทศ

ในขณะที่กรณีศึกษาจากประเทศอินเดียพบว่า ออโตโนมีอาจจะไม่ใช่บทสรุปของการแก้ปัญหาความขัดแย้งเสมอไป ในกรณีที่รัฐบาลกลางให้อำนาจกับรัฐบาลท้องถิ่นมากเกินไป ก่อให้เกิดความหวาดระแวงระหว่างอำนาจรัฐหรือการนำไปสู่การคอรัปชั่น ความไม่มีธรรมมาภิบาลในการปกครอง ในอีกด้านหนึ่ง หากรัฐบาลกลางให้อำนาจน้อยเกินไปจะนำไปสู่ความรุนแรงครั้งใหม่ที่ไม่รู้จบ

ในความหมายที่แท้จริง ออโตโนมีไม่ใช่เป้าหมาย แต่เป็นเครื่องมือหรือทางเลือกในการขจัดการความขัดแย้ง การพัฒนาเศรษฐกิจ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี การมีระบบการเมืองที่เป็นธรรม ซึ่งเมื่อคู่ขัดแย้งเห็นว่าเป็นเครื่องมือที่ดีก็ควรนำออโตโนมีมาใช้ หลายกรณีที่การนำออโตโนมีมาใช้แต่ประสบความล้มเหลวเนื่องจากผลประโยชน์ของสาธารณะกลับตกอยู่กับกลุ่มนักการเมือง บางกรณีผู้นำใช้อำนาจนิยมในการปกครอง เข้าถึงทรัพยากรของประเทศมากกว่ากลุ่มอื่น สร้างความร่ำรวยให้ตนเองอย่างรวดเร็ว ประชาชนแทบไม่ได้ประโยชน์จากการนำออโตโนมีมาใช้

ดร.ราจัท สรุปบทเรียนจากการศึกษาวิจัยเชิงประจักษ์จากพื้นที่ความขัดแย้งทั่วโลกว่า ท้ายที่สุดแล้วอโตโนมีจะต้องนำไปสู่ธรรมมาภิบาล ผลลัพธ์สุดท้ายของออโตโนมีจะต้องอยู่ที่อิสรภาพ ความเป็นธรรม ความเสมอภาคในความเป็นอยู่ของประชาชน

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น