โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

กลุ่มอนุรักษ์ฯ ยื่นหนังสื่อ ‘ผู้ว่าฯ ชุมพร’ ชี้กรมชลฯ ลั่นเดินหน้า ‘เขื่อนท่าแซะ’

Posted: 27 Nov 2012 10:29 AM PST

เผยเจ้าหน้าที่ของกรมชลฯ ยืนยันสร้างเขื่อนท่าแซะในเวทีรับฟังความคิดเห็น ชาวบ้านหวั่นผลกระทบเร่งรวมตัวยื่นหนังสือผู้ว่าฯ ชุมพร ยุติการสร้าง ด้านป้องกันจังหวัดชุมพรชี้มีมติ ครม.ให้ชะลอโครงการ ทำชาวบ้านหวั่นบิดเบือนข้อมูล

 
วันที่ 26 พ.ย.55 กลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำท่าแซะรวมตัวกันเข้ายื่นหนังสือ แก่นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ณ ห้องเกาะทองหลาง ศาลากลางจังหวัดชุมพร ขอให้ยุติการสร้างเขื่อนท่าแซะ ในพื้นที่บ้านร้านตัดผม ต.สองพี่น้อง อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร เนื่องจากส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในพื้นที่อย่างมากหากมีการก่อสร้าง
 
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 22 พ.ย.55 ที่โรงแรมนานาบุรี จ.ชุมพร ในเวทีรับฟังความคิดเห็นที่จัดขึ้นโดยมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่กรมชลประทานยืนยันว่าจะต้องมีการสร้างเขื่อนท่าแซะอย่างแน่นอน เพราะการดำเนินการแล้วเสร็จในทุกขั้นตอน เหลือเพียงนำเครื่องจักรเข้ามาในพื้นที่ ทั้งนี้ เวทีดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมอาทิ กรมชลประธาน ผู้นำท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบล กรมโยธาธิการและผังเมือง ฯลฯ รวมทั้งบริษัทผู้รับเหมาโครงการ แต่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างเขื่อนท่าแซะไม่ได้เข้าร่วม
 
กลุ่มอนุรักษ์ต้นน้ำท่าแซะระบุว่า หากมีการก่อสร้างจะมีพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมประมาณ 9,800 ไร่ ต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างจำนวนมาก ไม่คุ้มกับการก่อสร้างที่ต้องแลกด้วยผืนป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ กว่า 3,000 ไร่ และจะมีประชาชนได้รับผลกระทบ 800 ครอบครัว
 
ดังนั้นจึงขอให้ยกเลิกโครงการก่อสร้างเขื่อนท่าแซะ รวมทั้งให้ผู้ว่าฯ ชุมพร และกรมชลประธาน เสนอยกเลิกโครงการเขื่อนท่าแซะต่ออธิบดีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และให้มีการผลักดันเข้ามติคณะรัฐมนตรีเพื่อยกเลิกโครงการ อีกทั้งการดำเนินโครงการพัฒนาใดๆ ในลุ่มน้ำท่าแซะ ต้องให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการการตัดสินใจ ให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงต่อสาธารณะและประชาชนที่จะได้รับผลกระทบ
 
 
นายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าฯ ชุมพร ได้รับเรื่องไว้ และกล่าวว่า ตนเองไม่มีอำนาจในการไปสั่งการ และทำได้เพียงเป็นนายไปรษณีย์ส่งต่อข้อคิดเห็นของประชาชนไปยังกรมชลประธาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 
ขณะที่ นายชนการ ทิพย์ประเสริฐสุข ป้องกันจังหวัดชุมพร กล่าวกับประชาชนว่า ขอให้พี่น้องที่รับได้รับผลกระทบนอนหลับให้สบายใจ เพราะมีมติคณะรัฐมนตรีให้ชะลอโครงการเขื่อนท่าแซะ และเขื่อนจะไม่มีการสร้างอย่างแน่นอน แม้ว่าผู้ได้รับผลกระทบจะอธิบายให้ฟังถึงคำยืนยันต่อการก่อสร้างเขื่อนของเจ้าหน้าที่กรมชลประธาน
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีดังกล่าวทำให้ประชาชนที่เข้ายื่นหนังสือในวันนี้เกิดความรู้สึกไม่มั่นใจในคำพูดของผู้ว่าฯ ชุมพร และป้องกันจังหวัดชุมพร โดยผู้ได้รับผลกระทบมีความคิดเห็นว่าอาจมีการบิดเบือนข้อมูล
 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อภิปรายวันสุดท้าย นายกยันทุกนโยบายทำเพื่อประชาชน 'จุรินทร์' สรุปจี้ยุติเหตุแห่งความเสื่อม 5 ข้อ

Posted: 27 Nov 2012 10:25 AM PST

นายกฯ แจงสรุปซักฟอกยันทุกนโยบายรัฐบาลทำเพื่อประชาชน-ชาติ ปัดเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง 'จุรินทร์' อภิปรายสรุป จี้นายกยุติเหตุแห่งความเสื่อม 5 ข้อ ก่อนปธ.สภาฯ นัดลงมติ 9.30 น. พรุ่งนี้



'สาธิต' อภิปรายรัฐใช้งบเยียวยาเสื้อแดงติดคุกทั้งที่ทำผิด กม.ร้ายแรง

27 พ.ย. 55 - การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 พ.ย. นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวอภิปรายว่า กรณีการใช้งบประมาณกลางของรัฐบาลนั้นจะใช้ได้ต่อเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น ซึ่งหากเป็นการนำเงินงบประมาณไปใช้เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยจากสถานการณ์น้ำท่วม โดยเรื่องนี้สามารถใช้งบกลางได้ แต่การใช้เงินของรัฐบาลนี้ประชาชนรับไม่ได้ เพราะมติของคณะรัฐมนตรีในวันที่ 10 มกราคม 2555 อนุมัติเงินกว่า 43 ล้านบาท และถัดมาในวันที่ 3 กรกฎาคม 2555 อนุมัติอีก 67 ล้าน ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมทั่วประเทศ มีประชาชนมาประท้วงเพื่อขอรับเงินเยียวยากันทั่วทั้งประเทศ แต่รัฐบาลกลับเอาเงิน 43 ล้านบาท ไปประกันตัวผู้ต้องหาคดีอาญาในความผิดร้ายแรงจึงเกิดคำถามว่าความเร่งด่วนอยู่ที่ไหน

ทั้งนี้ นายสาธิต ได้เปิดคลิปวีดีโอ เป็นภาพการโฟนอินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่เวทีการชุมนุมของคนเสื้อแดง โดย พ.ต.ท.ทักษิณระบุว่า ขอให้รัฐบาลเร่งช่วยเหลือเยียวยากลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่ถูกทางการจับกุมไปก่อนหน้านี้ เพราะคิดว่าเวลาผ่านมานานเกินไปแล้วที่คนเสื้อแดงต้องจำคุก

ภายหลังจากการเปิดคลิป ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ได้ลุกขึ้นประท้วงอย่างหนักถึงการนำคลิปของบุคคลภายนอกเข้ามาเปิดในที่ประชุมสภา แต่นายวิสุทธิ์ ​ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมได้วินิจฉัย ว่าคลิปดังกล่าวไม่มีอะไรเสียหาย จึงให้นายสาธิตอภิปรายต่อไป

นายสาธิต อภิปรายว่าว่า คลิปดังกล่าวส่อให้เห็นว่านายกฯมีผู้ชักใยอยู่เบื้องหลัง เพราะสอดคล้องกับการอนุมัติงบกลางประมาณในวันที่ 10 มกราคม 2555 โดยเป็นการอนุมัติตรงไม่ผ่านกองทุนยุติธรรม เพื่อนำไปช่วยพรรคพวกตัวเอง ซึ่งบุคคลที่ได้รับงบประมาณกลางไปประกันตัวนั้นเป็นพวกทำลายชาติ อาทิ พวกที่เผาศาลากลางจำนวน 14 คน, พวกทำลายศาสนาคนที่ยิงอาวุธอาร์พีจี ใส่วัดพระแก้ว

"คนเหล่านี้ที่ทำผิดกฎหมายร้ายแรงไม่สมควรที่จะได้รับเงินงบประมาณไปช่วยเหลือ ไม่เข้าใจว่าจะปรองดองกลับพวกโจรที่ทำลายชาติหรืออย่างผู้ต้องหาหญิง ดา ตอร์ปิโด ที่หมิ่นสถาบัน ทั้งที่มีผู้บริสุทธิ์ที่ไม่ได้รับการช่วยเหลืออีกเยอะจากกองทุนยุติธรรม รวมไปถึงเจ้าหน้าที่ทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสถานการณ์ความไม่สงบภาคใต้กลับได้เงินเยียวยาช่วยเหลือที่ไม่เป็นธรรม"นายสาธิตกล่าว

นายสาธิต กล่าวด้วยว่า เหตุการณ์ลอบยิงบ้านพักของตนที่ จังหวัดระยอง เมื่อคืนที่ผ่านมานั้น ก็ไม่อยากจะคิดว่าเป็นเรื่องทางการเมือง จึงขอให้นายกฯได้ตรวจสอบด้วย

ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า เรื่องการลอบยิงนั้น ขอให้ส่งหลักฐานมาและจะดำเนินการสอบสวนต่อไป ส่วนในเรื่องของกระบวนการเยียวยา ขอมอบหมายให้รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมตอบแทน เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ได้รับฟังการอภิปรายตลอดทั้งวัน ในเรื่องอภิปรายก็อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีหลาย ๆ คน ตนในฐานะประธาน ได้มีการมอบหมายให้กับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ขณะที่ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ชี้แจงว่า ผู้ต้องหาหญิง ดา ตอร์ปิโด นั้น ไม่ได้รับการประกันตัวและยังอยู่ในการควบคุมที่เรือนจำหญิงกลาง โดยการดำเนินการเยียวยาของรัฐบาล ได้ทำตามข้อเสนอของ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่เสนอว่า การชดเชยเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายเป็นเรื่องที่สำคัญ รัฐจึงมีหน้าที่เยียวยาอย่างเร่งด่วยและต่อเนื่อง รวมไปถึงกลุ่มผู้ที่ถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรมก็เป็นเรื่องที่ต้องกระทำ

ส่วนการใช้งบกลางเป็นการดำเนินการงบประมาณทั้งหมด 111 ล้านบาทนั้นเป็นการดำเนินการโดยผ่านกองทุนยุติธรรมทั้งหมด


'นิพิฏฐ์' อภิปรายชี้มีการทุจริตงบฟื้นฟูน้ำท่วมไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นล้าน

27 พ.ย. 55 - นายนิพิฏฐ์ อินทรสัมบัติ สส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์​ (ปชป.) อภิปราย ว่านายกฯ​ประกาศจะปราบปรามการทุจริตแต่กลับ ปล่อยปละให้หน่วยงานในการควบคุมดูแล มีการทุจริต ในงบประมาณ 1.2 แสนล้านบาท เพื่อซ่อมแซม ฟื้นฟูความเสียหายจากอุทกภัยในหลายจังหวัด  โดยที่ผ่านมาหน่วยงานสำคัญในการป้องกันการทุจริตอย่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)​ พ.ต.อ.ดุษฎี อารยะวุฒิ อดีตเลขาฯ​ถูกย้ายเป็นเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม เพราะเข้าไปตรวจสอบการนำเข้ารถหรู​ของผู้มีบารมีนอกรัฐบาล หรือ "เจ๊แดง"

นายนิพิฏฐ์  กล่าวว่า ​จากการตรวจสอบ​การก่อสร้าง ซ่อมแซม ถนน ที่ได้รับความเสียหาย โดยรับงบประมาณจากงบกลาง 1.2 แสนล้าน ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี  หนองคาย บึงกาฬ ที่เบิกจ่ายเงินงบประมาณไป แต่ไม่ดำเนินการตามสัญญา บางแห่งมีเพียงใช้รถมาเกลี่ยดิน​ให้เรียบเท่านั้น ไม่มีการลาดยาง ​ พบการเรียกเก็บค่าหัวคิว ​ 30 % ของราคาก่อสร้างโดยคน "คนหัวขาว" ที่กระทรวงมหาดไทย ซึ่งจากการสุ่มตรวจสอบข้อมูลของป.ป.ท.ในสัญญาการก่อสร้างถนน 56 สัญญา มีการทุจริตทั้ง 56 สัญญา ​ และเมื่ออดีตเลขาฯ ป.ป.ท.ถูกย้ายเรื่องก็เงียบ

นอกจากนี้โครงการก่อสร้างฟื้นฟูอนุรักษ์แหล่งน้ำของกรมทรัพยากรน้ำ 21 สัญญา เฉพาะใน จ.ขอนแก่นเพียงจังหวัดเดียว ทางสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน พบว่ามีการทุจริตถึง 20 สัญญา  ในพื้นที่ 6 จังหวัดวงเงิน 2,566 ล้านบาท มีการทุจริตถึง 1,000 ล้านบาท ดังนั้นคำนวณแล้ว​ 1.2 แสนล้านบาท จะมีการทุจริตไม่ต่ำกว่า  3 – 4 หมื่นล้านบาท​ โดยเงินนี้ไปอยู่ที่ คือเจ๊แดง คนที่สอง คือคนหัวขาว ไม่รู้ว่านายกฯ รู้หรือไม่ แต่นายกฯ ไม่ตรวจสอบ ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ที่กำกับดูแล ออกมาบอกว่าไม่พบการทุจริต ทั้งๆ ที่ ป.ป.ท.และ​สตง.​ระบุว่ามีการทุจริต

พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ชี้แจงว่า การย้าย พ.ต.อ.ดุษฎี เป็นการย้ายตามวาระ และทำตามกฎระเบียบถูกต้อง ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการนำเข้ารถหรู พร้อมเปิดคลิปคำให้สัมภาษณ์ของ พ.ต.อ. ยืนยันว่าการโยกย้ายไม่มีเรื่องการเมืองเข้ามาแทรกแซง ส่วนประเด็นเรื่องกาตรวจสอบโครงการ 1.2 แสนล้านบาท ของ ป.ป.ท.พบการทุจริตนั้น การจะชี้มูลเรื่องทุจริตจะต้องผ่านความเห็นของกรรมการ ป.ป.ท.

อย่างไรก็ตามในการประชุม ​จ.ส.อ.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทยก็ลุกขึ้นมาประท้วงว่า นายนิพิฏฐ์ ไม่ควร​พูดถึง "เจ๊แดง" หรือ "คนหัวขาว" ​


'นิพนธ์' อภิปรายระบุ 'ชัชชาติ' รับงานกรมทรัพยากรน้ำ 43 โครงการ ในภาคอีสาน

27 พ.ย. 55 - เมื่อเวลา 12.40 น. นายนิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายไม่ไว้วางใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่ารัฐบาลไม่ดำเนินการเอาจริงเอาจังกับการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งที่ผ่านมาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เคยทำเรื่องถึงคณะรัฐมนตรี ให้ดำเนินการรับรองประกาศของ ป.ป.ช.เพื่อให้หน่วยงานที่จะดำเนินโครงการต่างๆ เปิดเผยวิธีการและรายละเอียดการคำนวณราคากลางเพื่อที่จะเปิดให้สามารถตรวจสอบและป้องกันการทุจริตได้ แต่ ครม.กลับไม่ดำเนินการ จนทำให้เกิดความไม่โปร่งใส เห็นได้จากโครงการฟื้นฟูเยียวยา อุทกภัยในงบกลาง 1.2 แสนล้านบาท เช่น ราคากลางในโครงการซ่อมแซมคลอง แม่น้ำ แค่ จ.สุพรรณบุรีจังหวัดเดียว ราคากลางก็แตกต่างกัน โดยราคาต่ำสุดอยู่ที่ 33.49 บาทต่อลูกบาศก์เมตร และสูงสุดอยู่ที่ 54.80 บาท นอกจากนี้ในการตรวจสอบโครงการของกรมทรัพยากรน้ำภาค 3 พื้นที่ 7 จังหวัดในภาคอีสาน ในส่วนของงบ 1.2 แสนล้านบาท มีโครงการที่เกี่ยวข้อง 171 โครงการ แต่พบว่าห้างหุ้นส่วน พิตรพิบูลย์ จำกัด ได้รับเป็นผู้ดำเนินการ 43 โครงการ ทั้งที่เป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนเพียงแค่ 1 ล้านบาท โดยมีที่ตั้งอยู่ที่ จ.มุกดาหาร แต่กลับได้รับทำโครงการถึง 43 โครงการ มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท

นายนิพนธ์กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบพบว่าใน 43 โครงการ เป็นโครงการในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จ.มุกดาหาร 26 โครงการ จ.เลย 8 โครงการ จ.อุดรธานี 5 โครงการ จ.สกลนคร และ จ.นครพนม อย่างละ 2 โครงการ จึงน่าสงสัยว่าจะทำงานให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาดำเนินงาน 2-5 เดือนได้อย่างไร และห้างหุ้นส่วนแห่งนี้เพิ่งมาจดทะเบียนกับกรมทรัพยากรน้ำ เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2555 แต่พอเดือน ก.พ. 2555 ก็ได้งานทันที 43 โครงการ ห้างหุ้นส่วนนี้มีผู้ถือหุ้นสองคนคือ นางนิลรัตน์ สิทธิพันธุ์ และ น.ส.ชนิตา บุญชื่น ถือหุ้นคนละ 5 แสนบาท ซึ่งนางนิลรัตน์ยอมรับในชั้นกรรมาธิการงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร ว่าเป็นญาติกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ซึ่งนายกฯปล่อยปละละเลยให้คนใกล้ชิดเอื้อพวกพ้อง เอื้อให้เกิดการทุจริต


'วิรัช' แฉเลขาฯ 'ชัชชาติ' มีเอี่ยวรับงานซ่อมถนน ทั้งที่ไม่ถูกน้ำท่วม

27 พ.ย. 55 - เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 27 พฤศจิกายน นายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีที่ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริต ในงบประมาณเยียวยาแก้ไขปัญหาน้ำท่วม 1.2 แสนล้านบาท สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีไม่เห็นชอบรับหลักกฎหมายตามมาตรา 103/7 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (กฎหมาย ปปช. 103/7) ที่กำหนดให้มีการเปิดเผยราคากลาง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้หน่วยงานรัฐต้องเปิดแบบราคากลาง และวิธีคิดคำนวณราคากลาง โครงการจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมดทางเว็บไซต์เพื่อให้ประชาชนได้ตรวจสอบ เมื่อ ครม.ไม่เห้นด้วยกับกฎหมายดังกล่าว ทำให้เป็นช่องทางที่ทำให้เกิดการทุจริต โดยตนตรวจสอบพบการทุจริตในโครงการของกระทรวงมหาดไทย ในการปรับปรุงถนนสาย นย.2011 แยกทางหลวง 33 อ.เมือง จ.นครนายก ระยะทาง 7.2 กิโลเมตร ราคา 47,285,600 บาท ซึ่งมีการกำหนดราคากลางที่สูงกว่าวิธีอีออคชั่นปกติกว่าเท่าตัวคือ กม.ละ 5.9 ล้านบาท จากวิธีอีออคชั่นปกติ อยู่ที่ราคา 2.7 ล้านบาทต่อ กม. โดยใช้งบกลาง 1.2 แสนล้านบาท แต่ต่อมากระทรวงมหาดไทยโยนเรื่องให้กรมทางหลวงชนบทรับไปดำเนินการ ด้วยเรื่องความชำนาญหรืออะไรก็ไม่ทราบ

นายวิรัชกล่าวว่า บริษัทที่ได้รับประมูลงานดังกล่าวคือ หจก.วิสิทธิชัย จ.นครนายก โดยประมูลไปในราคา 47,338,000 บาท แต่เมื่อเห็นว่าประมูลสูงกว่าราคาจริง กรมทางหลวงชนบท จึงได้ลดราคาให้เท่ากับราคาตั้งต้น โดยบริษัท วิสิทธิชัย ดังกล่าวมีนายสิทธิชัย กิตติธเนศวร หรือเสี่ยแหมะ ส.ส.นครนายก พรรคเพื่อไทย และนายเกรียงไกร กิติธเนศวร เป็นกรรมการผู้จัดการ ซึ่งตรวจสอบพบว่านายเกรียงไกรเป็นเลขานุการ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม ในระหว่างที่นายชัชชาติเป็น รมช.คมนาคม ซึ่งตนยังพบความผิดปกติ เพราะว่า ถนน นย. 2011 แยกทางหลวง 33 ไม่ได้ถูกน้ำท่วม จึงไม่เข้าข่ายที่จะถูกซ่อมแซม อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามอนุมัติให้แต่งตั้งผู้ช่วยรัฐมนตรี ซึ่งปรากฏชื่อของนายเกรียงไกรอยู่ในนั้นด้วย


'รังสิมา' อภิปราย รัฐบาลใช้งบน้ำท่วมซ่อมบ่อบาดาลสูงผิดปกติ สภาวุ่นฝ่ายค้านชี้ 'จ่าประสิทธิ์' คุกคามทางเพศ

27 พ.ย. 55 - การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลในช่วงบ่ายวันนี้ (27 พ.ย.) เป็นการอภิปราย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จากการติดตามโครงการของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล พบความผิดปกติความแตกต่างของงบประมาณในการขุดเจาะน้ำบาดาล ซ่อมแซมระบบไฟฟ้า โครงการเชื่อมต่อระบบประปาหมู่บ้าน โครงการเป่าล้างบ่อน้ำบาดาล ฯลฯ  โดยงบประมาณเดิมที่ตั้งขอไว้กับงบประมาณที่โอนให้ผู้ทำโครงการจริงแตกต่างกัน งบที่โอนไปจริงสูงกว่างบที่ตั้งไว้ครึ่งต่อครึ่ง เมื่อดูเอกสารพบว่าแต่ละโครงการลงนามในสัญญาวันเดียวกันทั้งหมด

"แต่เมื่อตรวจสอบหลายจังหวัดพบว่ามีโครงการที่ชาวบ้านไม่ได้ขอให้ทำ เช่น การเป่าล้างบ่อน้ำบาดาล แต่กลับมาทำให้ทั้งที่ไม่จำเป็น บางโครงการไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ทำให้น้ำไหลดีขึ้น ที่สำคัญงบประมาณดังกล่าวเป็นงบประมาณเยียวยาซ่อมแซมผลกระทบจากอุทกภัยรวมมูลค่า 1,648 ล้านบาท โครงการทั้งหมดทำเสร็จสิ้นอย่างรวดเร็วจนน่าสงสัย เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องน่าแปลก เพราะกรมนี้มีข้าราชการเพียง 757 คน มีงบประมาณปกติปีละ1,434 ล้านบาท ลำพังทำโครงการของตัวเองตามงบประมาณปกติยังทำไม่ทัน และมีโครงการเพิ่มขึ้นมา แต่ทำไมจึงดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ บางที่น้ำไม่ท่วมยังไปทำให้เขาอีก คนอุดกลบบ่อเป็นคนกลุ่มเดียวกันหมดกับคนเป่าล้างบ่อ บางโครงการทำวันเดียวเสร็จ แต่มีรายการเบิกค่าที่พัก บ่อน้ำบาดาลบางบ่อจุดอุดปิดถาวรแล้วยังไปเป่าล้างบ่ออีก ที่พูดมาทั้งหมดอยากให้ดีเอสไอ สตง.และ ป.ป.ช.ไปตรวจหน่อย" น.ส.รังสิมา กล่าว

นอกจากนี้นางสาวรังสิมายังได้พาดพิงถึงพื้นที่จังหวัดเลยของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นั้นไม่ได้มีการเป่าบ่อเลยแต่ได้เบิกงบประมาณไปหมดแล้ว และกระทำในที่ส่วนบุคคลไม่ใช่ที่สาธารณะ ถือเป็นการเอางบประมาณรัฐไปเอื้อประโยชน์ให้พื้นที่เอกชน ทั้งยังมีการใช้งบประมาณไม่ตรงตามความเป็นจริง ซึ่งก่อนหน้านี้ตนได้เชิญ รัฐมนตรีเข้ามาตอบข้อซักถามในชั้นกรรมาธิการแล้วแต่รัฐมนตรีก็ไม่สามารถตอบคำถามได้ ดังนั้นตนจึงไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีที่ไม่สามารถควบคุมกำกับดูแลคณะรัฐมนตรีให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเที่ยงธรรมได้

ทั้งนี้ ระหว่าง​การอภิปราย น.ส.รังสิมา ​ได้ดำ​เนิน​การอภิปราย​โดย​เล่าข้อมูลสลับกับ​การ​เล่า​ความฝัน ​ทำ​ให้ จ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ ​ไชยศรีษะ ส.ส.พรรค​เพื่อ​ไทย ลุกขึ้นมาประท้วงว่า นำ​ความฝันมาอภิปรายถอดถอน​ไม่​ได้ ​และบอกว่า ถ้าผมฝันว่า​ได้นอนกับคุณรังสิมาบ้างจะว่าอย่าง​ไร? ​ทำ​ให้​เกิด​การประท้วง ประธาน​จึงสั่ง​ให้ จ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ ถอนคำพูด ​แต่ ส.ส.ฝ่ายค้าน ​ได้ยืนยัน​ให้มี​การกล่าวขอ​โทษด้วย ​เนื่องจาก​เป็น​การคุกคามทาง​เพศ ​และมี​การถ่ายทอดสด​ไปทั่วประ​เทศ

ด้านนายสาทิตย์ วงศ์หนอง​เตย ส.ส.จังหวัดตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นประท้วงขอ​ให้ประธานวินิจฉัย​ให้ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ถอนคำพูด ​เพราะอยู่​ในสภามา 17 ปี​ไม่​เคยมีพฤติกรรมของ ส.ส.ราย​ใดคุกคามทาง​เพศ​ผู้อื่นอย่าง​โจ่ง​แจ้งขนาดนี้ พร้อม​ทั้งระบุว่าคำพูดของ จ.ส.ต.ประสิทธิ์ขัดต่อประมวลจริยธรรมสภา​ผู้​แทนราษฎร ข้อ 28 ​เพราะ​เป็น​การ​แสดงพฤติกรรมคุกคาม​หรือระรานทาง​เพศควร​ให้คณะกรรม​การจริยธรรม สภาฯสอบสวน​เรื่องนี้ ต่อมานาย​เจริญ จรรย์​โกมล รองประธานสภา​ผู้​แทนราษฎรคนที่ 1 ​ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมวินิจฉัยถอนคำพูด จนจ.ส.ต.ประสิทธิ์ยอมถอนคำพูดดังกล่าว ​จึง​ทำ​ให้​การอภิปรายดำ​เนินต่อ​ไป​ได้

ในช่วงการตอบโดยรัฐมนตรี นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตอบการอภิปรายเรื่องน้ำบาดาลว่า เดิมมีหน่วยงานที่รับผิดชอบแยกกันไป 4 หน่อยงาน ต่อมาจึงให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น ทางชุมชนได้ขอมา จึงได้เข้าไปตรงนี้ โดยการตรวจรับและมีคณะกรรมการดูแล ทุกโครงการไม่ใช่ภัยพิบัติอยู่ตรงนี้ไปนอกพื้นที่แต่เพราะชาวบ้านเขาขอมา ในส่วนพื้นที่ที่ ส.ส.รังสิมาลงไปตรวจเอง ก็เป็นพียงแผนที่เขาขอมา ซึ่งทุกโครงการต้องอยู่ในการประกาศภัยพิบัติแห่งชาติ ถ้าผิดพร้อมให้ดำเนินคดี ในส่วนที่ลงไปถ่ายคลิปนั้นไปลงพื้นที่ตรงไหน ให้เอาตนลงไปด้วยจะได้ไปชี้แจง เรื่องนี้พร้อมไปพิสูจน์ด้วย


'วิลาศ' อภิปรายแฉขบวนการโกงจัดซื้อยาปราบศัตรูพืช

27 พ.ย. 55 - นายวิลาศ จันทรพิทักษ์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า นายกรัฐมนตรีเคยแถลงว่ามียุทธศาสตร์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น แต่ความจริงการทุจริตยังคงมีมาก และทำกันอย่างเอิกเกริก อาจเป็นเพราะที่นายกรัฐมนตรีพูด ไม่ได้ทำด้วยความจริงใจ ข้าราชการจึงไม่ได้เกรงกลัว โครงการที่ผ่านตาไม่มีโครงการไหนไม่ทุจริต จนเรียกว่าโกงทุกเม็ด การทุจริตถ้าผู้มีอำนาจไม่รู้เห็นเป็นใจ คนทำคงไม่กล้าทำ จึงต้องการรู้ว่าโครงการที่โกงกันมากมีการปัดเศษเงินเข้าพรรคกันบ้างหรือไม่

นายวิลาศ กล่าวว่า กรณีเงินทดรองราชการอยู่ในงบกลาง ภายใต้การดูแลของนายกรัฐมนตรีโดยตรง ปรากฏว่ามีการปล่อยปละละเลย ทำให้เกิดปัญหาการทุจริต พร้อมยกตัวอย่างกรณีภัยพิบัติด้านพืช ปี 2552 มีอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคอีสานจัดให้มีการซื้อยาปราบศัตรูพืชอย่างมาก มีการประมูลขายในราคาแพงกว่าตลาด มูลค่ายาปราบศัตรูพืชในโครงการนี้รวมกว่า 5,000 ล้านบาท และยังได้เลื่อนตำแหน่ง

"เรื่องการซื้อยาปราบศัตรูพืชทำกันอย่างเป็นระบบ  มีบริษัทที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองอยู่ทั้งในฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขาย โดยฝ่ายที่อยู่กับผู้ซื้อโทรศัพท์ไปบอกให้จังหวัดซื้อ เรื่องนี้มีนักการเมืองระดับชาติเข้าไปเกี่ยวข้อง ผมไม่ขอเปิดเผยชื่อตอนนี้ เมื่อใดเรื่องนี้ถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผมจะพูด" นายวิลาส กล่าวและว่า ที่ต้องอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี เพราะมีหน้าที่กำกับดูแลงบกลางซึ่งเป็นที่มาของงบประมาณทดรองราชการ นายกรัฐมนตรีไม่ใส่ใจในการทำหน้าที่ ปล่อยปละละเลย ทั้งที่ควรออกมาตรการควบคุมดูแลไม่ให้เกิดการทุจริต


'เจะอามิง' อภิปรายชี้นายกลอยแพชายแดนใต้ 'ผุสดี' ถามภาวะผู้นำ-ปรองดองทำอะไรบ้าง

27 พ.ย. 55 - นายเจะอามิง โตะตาหยง ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอภิปราย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในประเด็นปัญหาชายแดนภาคใต้ ซึ่งนายกฯ มีพฤติกรรมลอยตัวจากปัญหาของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี เพราะยังไม่เคยเห็นกรอบความคิดในการแก้ไขปัญหาหรือมันสมองของนายกรัฐมนตรีเลย กรณีเหตุการณ์ระเบิดใหญ่ที่จังหวัด ยะลา นราธิวาส และล่าสุดวันที่ 24 พ.ย.ที่ผ่านมาที่จังหวัดปัตตานี มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากมาย แต่นายกฯไม่เคยแสดงความห่วงใยต่อความเป็นอยู่ของประชาชนภาคใต้เลย ทั้งที่นายกฯมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ตนรู้ดีว่าสถานการณ์ภาคใต้ไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายที่จะแก้ไขปัญหา แต่ตนได้ลงพื้นที่ตรวจสอบว่า เหตุการณ์ที่มีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงหลัง เนื่องจาก นายกฯ เคยไปพูดคุยกับฝ่ายตรงข้ามที่ต่างประเทศแล้วไม่ทำตามที่ตกลงกันไว้ สถานการณ์ในขณะนี้ไม่ได้ดีขึ้นอย่างที่นายกฯได้แถลงเอาไว้เมื่อวานนี้ เพราะจากสถิติ พบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.ถึง 22 พ.ย.55 ระยะเวลา 327 วัน พื้นที่ชายแดนภาคใต้เกิดเหตุความรุนแรงขึ้นทุกวัน ยกเว้นเพียงแค่ 38 วันเท่านั้นที่ไม่มีเหตุความรุนแรง ทั้งนี้ สถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2547 จนมาถึงปัจจุบัน จะพบว่า สถานการณ์ในปี 55 นั้นมีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นถี่ที่สุด
       
นายเจะอามิง กล่าวต่อว่า ถ้าให้นายกฯ แก้ไขปัญหาให้กับคนภาคใต้ จะต้องมีคนเจ็บคนตายมากขึ้นอีกกี่คน แทนที่นายกฯหรือรัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะลงไปดูแลพื้นที่ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่เคยมีใครให้ความสนใจครูที่อยู่ในพื้นที่ จนสมาพันธ์ครูจะต้องขึ้นมาเรียกร้องเองในอีก 2-3 วันข้างหน้า ถ้าวันนี้นายกฯจะลงไปแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ นายกฯรู้หรือไม่ว่ากำลังเล่นอยู่กับอะไร เพราะในตอนนี้ฝ่ายก่อเหตุ ต้องการแสดงให้เห็นว่ามีอำนาจเหนือกว่า และสามารถต่อกรกับอำนาจรัฐได้ ซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นธงชาติ โดยมีเป้าหมายที่ต้องการคือ ดินแดน การดำเนินการตอนนี้ฝ่ายก่อเหตุกำลังทำงานจะสำเร็จตามเป้าหมาย โดยมีการทำงานเป็นขั้นตอน และถ้าเข้าถึงขั้นตอนที่ 7 คือซึ่งตนคิดว่าตัวนายกฯไม่รู้เรื่องตรงนี้ และอาจจะทำให้ด้ามขวานทองของประเทศหัก เพราะรัฐบาลอ่อนแอ และปล่อยปะละเลย ลอยแพคนภาคใต้ ซึ่งนายกฯ เป็นนายกฯของประเทศไทย และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็คือส่วนหนึ่งของประเทศไทย แต่เพราะเหตุใดนายกฯ ถึงไม่มีความใส่ใจต่อปัญหา แถมเวลาไปตาม 3 จังหวัดภาคใต้ยังมีอาการปล่อยไก่หลายๆ ครั้ง แบบนี้ตนคงไม่คิดว่าไม่มีมันสมอง แค่คิดว่าน่าจะใช้คำพูดว่า กวง ตนจึงไม่สามารถไว้ใจนายกรัฐมนตรีคนนี้ได้อีกต่อไป
       
ด้านนางผุสดี ตามไท ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ขาดวุฒิภาวะในการบริหารราชการแผ่นดิน การที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ พูดในรายการนายกฯพบประชาชน ในวันที่ 24 มีนาคม ที่ระบุว่า "ท่านเป็นผู้หญิง แต่อยากจะให้มองที่ผลงานมากกว่า" ถือเป็นคำมั่นสัญญาว่า นายกฯ จะให้ความสำคัญต่อการทำงานมากกว่าความเป็นเพศหญิง แต่เมื่อนายกฯ ทำหน้าที่ไปสักพักหนึ่ง นายกฯ พยายามเน้นที่จะบริหารประเทศด้วยความปรองดอง เห็นได้จากการไปกล่าวสุนทรพจน์ในหลายๆ ประเทศ ว่าจะใช้ความเป็นผู้หญิงในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ตนจึงอยากเรียนถามว่า มาถึงขณะนี้นายกฯ ทำอะไรได้บ้าง
       
"ถ้าจะถามว่าความล้มเหลวของรัฐบาลมาจากสาเหตุอะไร ตนคิดว่าส่วนหนึ่งต้องมาจากการขาดวุฒิภาวะความเป็นผู้นำของนายกฯ เช่น เรื่องของความซื่อสัตย์ต่อตัวเองและต่อประชาชน ใน 1 ปีที่ผ่านมา นายกฯ ไม่ซื่อสัตย์ โดยการปล่อยปะละเลยให้มีการทุจริต การให้ข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน ไม่ตรงกับความเป็นจริง และไม่ทันต่อเหตุการณ์ เห็นได้จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เพิ่งผ่านมา จนสร้างความสับสนให้กับประชาชนอย่างมาก หรือภารกิจลับที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ ได้สร้างความสงสัยให้กับประชาชน ด้วยความที่เป็นผู้นำหญิงการปิดบังเรื่องแบบนี้ ยิ่งทำให้เกิดผลเสียหาย ซึ่งการที่นายกฯ มีพฤติกรรมที่ปิดบังและโกหก ประชาชนจะเชื่อผู้นำได้อย่างไร" นางผุสดี กล่าว และว่า เวลาถามนอกสภา บอกให้ไปพูดในสภา เวลาถามในสภา บอกออกไปเปิดงานข้างนอก จะเอายังไงกัน
       
ด้านนางสาวยิ่งลักษณ์ ชี้แจงว่า สำหรับเรื่องภาวะผู้นำที่ได้อภิปรายไปนั้น คำว่าภาวะผู้นำ อยู่ที่คนตีความ สำหรับตนภาวะของผู้นำอยู่ที่ผลของงาน และภาคประชาชนเป็นผู้ตัดสิน ก่อนให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงต่อ

นายกฯ แจงสรุปซักฟอกยันทุกนโยบายรัฐบาลทำเพื่อประชาชน-ชาติ ปัดเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้อง

เมื่อเวลา 21.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงสรุปการอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยยืนยันว่านโยบายทั้งหมดของรัฐบาลไม่ได้มีการทุจริต ล้มเหลว เอื้อพวกพ้อง และทำตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ส่วนโครงการรับจำนำข้าวเป็นนโยบายสร้างรายได้ให้กับประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น ส่วนข้อห่วงใยเรื่องทุจริตได้มีการตรวจสอบอย่างเคร่งครัด

ขณะที่การแก้ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆขึ้นมาบูรณาการ พร้อมจัดจัดสรรงบประมาณในส่วนงานพัฒนาเพิ่มเติมจากปีที่แล้ว 2 เท่า ด้านงานมั่นคงอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกองทัพ ตำรวจ และแม่ทัพภาคที่ 4 ทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่และศอ.บต. ทั้งนี้ รัฐบาลยินดีร่วมมือสร้างกระบวนการร่วมกับป.ป.ช. เพื่อปราบปรามการทุจริตให้หมดไปจากประเทศไทย ส่วนข้อเท็จจริงตามมีการร้องหรือทักท้วง ก็ยินดีร่วมมือกับภาคเอกชนโดยไม่เลือกปฏิบัติ

ส่วนการโยกย้ายนายทหารในกระทรวงกลาโหมนั้น ได้ยึดตามระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และการที่เข้ามาทำงานการเมือง ก็ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน และทำงานยึดประโยชน์ประเทศและประชาชน ไม่เคยคิดทำเพื่อใครคนใดคนหนึ่ง ไม่เคยเข้าไปแทรกแซงเพื่อใคร

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าไม่ทำตัวลอยอยู่เหนือปัญหา ในฐานะนายกฯเรื่องการแทรกแซงการปฏิบัติงาน ยืนยันว่าไม่มี ทั้งนี้ ตลอดเวลาการอภิปราย 3 วันที่ผ่านมา ไม่ได้อภิปรายเรื่องนโยบาย แต่เป็นเนื้อหาที่ลงไปรายละเอียดในเนื้องานของรัฐมนตรี และข้าราชการ

"ผู้นำฝ่ายค้านก็เคยเป็นนายกฯ ก็เห็นเช่นกันว่านายกฯไม่ได้รู้ทุกเรื่อง อย่างไรก็ตาม แม้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องไม่ได้ชี้แจงทุกคน แต่ดิฉันจะให้ชี้แจงต่อประชาชนต่อไป ยืนยันนโยบายที่ดำเนินการไป ตามหลักวิชา แก้ปัญหาเป็นรูปธรรม เน้นประโยชน์ประชาชน มุ่งสร้างความเชื่อมั่นแก่คนไทยและต่างชาติ ยินดีที่เห็นคนไทย โดยเฉพาะเกษตรกรลืมตาอ้าปาก มีชีวิตที่ดีตามความใฝ่ฝัน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี"

นอกจากนี้ ยังเห็นว่าภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ภายใต้กลไกรัฐสภา ฝ่ายค้านมีหน้าที่ตรวจสอบ และรัฐบาลยินดีเปิดใจรับฟัง 3 วันที่ผ่านมามีข้อถกเถียงต่างๆ ซึ่งเป็นวิถีทางที่ถูกต้องที่จะแก้ปัญหาร่วมกัน ก็ขอขอบคุณประธานฯ ฝ่ายค้าน และสส.ทุกคน การถกเถียงภายใต้การเคารพในกติกา และอยากเห็นการเมือง การเลือกตั้งเหมือนเกมกีฬา มีแพ้ ชนะ มีจบ

"สมัยท่านเป็นส.ส.บอกว่าเมื่อจบในสภา ฝ่ายค้านและรัฐบาลเดินคุยกันได้ ไปเดินถนนก็คุยกัน อยากเห็นสิ่งนั้นกลับคืนมา เราทั้ง 2 ฝ่ายทำงานเพื่อประชาชน หาทางออกให้ประเทศ ยืนยันด้วยเกียรติและจิตวิญญาณคนไทยที่รักชาติ จะมุ่งมั่นทำงานแก้ปัญหาประเทศ นำประเทศก้าวผ่านวิกฤติ เสริมสร้างประชาธิปไตยแท้จริง ธำรงไว้ซึ่งชาติ ศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์"น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าว


'จุรินทร์' อภิปรายสรุป จี้นายกยุติเหตุแห่งความเสื่อม 5 ข้อ ก่อนปธ.สภาฯ นัดลงมติ 9.30 น. พรุ่งนี้

27 พ.ย. 55 - ในช่วงท้ายของการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ได้รับมอบจากผู้นำฝ่ายค้านและส.สพรรคประชาธิปัตย์ และพรรครักประเทศไทยจำนวน 157 รายชื่อ เพื่อสรุปการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 และรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลตามมาตรา 159

โดยก่อนการอภิปราย ฝ่ายค้านเจอปัญหาหลายประการ เริ่มตั้งแต่การพยายามลดความน่าเชื่อถือจากรัฐมนตรี ทำให้การอภิปรายเป็นเพียงแค่พิธีกรรม ทั้งที่เป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านในการตรวจสอบฝ่ายบริหารแทนประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย ต่อมามีการพยายามทำให้เข้าใจว่าเป็นฝ่านค้านที่ค้านทุกเรื่อง ซึ่งไม่ใช่เรื่องจริง เพราะจากการเสนอกฎหมายเข้าสภาฯ ของรัฐบาลทั้งหมด 59 ฉบับ ฝ่ายค้านยกมือให้ 57 ฉบับ ไม่เห็นด้วยแค่ 2 ฉบับ คือ พ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งไม่เห็นด้วยเพราะเป็นการออกพ.ร.ก. ที่รัฐบาลอ้างว่าเร่งด่วน ซึ่งความจริงก็พิสูจน์แล้วว่า มีการเบิกเงินแค่ 2-3 หมื่นล้าน แต่รัฐบาลต้องการรอให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจผ่านไปก่อน เพื่อความคล่องในการดำเนินการ ต่อมาคือร่างพระราชกฤษฎีกาโอนหนี้จากกระทรวงการคลังไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย เช่นเดียวกับการทำสัญญาผูกพันระหว่างไทยกับต่างประเทศทั้งหมด 31 เรื่อง ฝ่ายค้านก็สนับสนุนทั้งหมด และที่ว่ามีการพยายามจับมือกับกลุ่มองค์การพิทักษ์สยามนั้น ขอทำความเข้าใจว่าฝ่ายค้านยื่นญัตติก่อนที่กลุ่มองค์การพิทักษ์สยามจะชุมนุมด้วยซ้ำ ตรงนี้คือความจริง แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามลดความน่าเชื่อถือผู้นำฝ่ายค้าน เพื่อให้ญัตติที่ตรวจสอบมีปัญหา

ทั้งนี้ เดิมไม่คิดอภิปรายร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ตรงกันข้ามกลับชื่นชมความกล้าหาญ ที่ยอมรับความจริงว่า เป็นขี้ข้าของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี แต่มีประเด็นที่อภิปรายคือ การไม่ไม่ถอดยศพ.ต.ท.ทักษิณ เพราะขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สอบถามไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาถึง 2 ครั้ง ได้คำตอบตรงกันว่า คดีของพ.ต.ท.ทักษิณ เข้าเกณฑ์การถูกถอดยสทุกประการ หรือถูกถอดยศเมื่อต้องคำพิพากษาถึงที่สุด (จำคุก) ต่อมารัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ให้ร.ต.อ.เฉลิม ดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) แต่ไม่เกิดอะไรขึ้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ตอบสื่อ 2 ข้อ คือ ไม่ถอดถอนและจะเพิ่มยศให้ด้วย ขณะที่ร.ต.อ.เฉลิม บอกว่าที่ศาลตัดสินจำคุกคดีที่ดินรัชดานั้น ไม่ใช่การทุจริต ทั้งที่กฎหมายของสำนักงานป.ป.ช. ก็บอกชัดเจนว่า มีความผิดรวมถึงคู่สมรส และกฎหมายก็ออกมาเมื่อปีพ.ศ.2542 ก่อนที่พ.ต.ท.ทักษิณ จะรับตำแหน่งด้วยซ้ำ

ขณะที่ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สรุปได้ 3 เรื่อง คือ การแต่งตั้งปลัดกระทรวงกลาโหมโดยมิชอบ โดยมีเป้าหมายในการเข้าไปแทรกแซง พร้อมกับพบว่านายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ และพ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 ทั้งที่สำนักปลัดกระทรวงกลาโหมต้องเป็นผู้เสนอ แต่พล.อ.อ.สุกำพล ล้วงลูกผิดกฎหมาย และการที่นายกฯ ทูลเกล้าฯ เสนอชื่อทั้งที่มีปัญหาก็เป็นการไม่บังควร ส่อไปในทางมิชอบ หรือไม่ทำตามจริยธรรม ซึ่งผิดอย่างร้ายแรง ต่อมาคือ เรื่องจัดซื้อเรือลาดตระเวน 3 ลำ มูลค่า 558 ล้านบาท ซึ่งจากการตรวจสอบข้อร้องเรียนปรากฎว่ามีการฮั้วกัน แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกลับเซ็นยกเลิกการชะลอ เรื่องที่ 3 คือการเปลี่ยนระบบยิงลูกหลอกจรวจนำวิธีเรือรบ ที่เปลี่ยนจากแท่นหมุนได้รอบทิศทาง มาเป็นแท่นที่ยึดอยู่กับที่ ซึ่งไม่ถูกต้อง

ด้านพล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นั้น มีเหตุผล 3 ประเด็นหลักๆ คือ การทำผิดกฎหมายฮั้วประมูล ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่จนทำให้รัฐเสียหาย โดยเฉพาะงบฯ เยียวยาน้ำท่วม 1.2 แสนล้าน ใน 26 โครงการ ที่ให้กรมเจ้าท่าดำเนินการ สุดท้ายผลงานขุดลอกแม่น้ำ 7 สายแม่น้ำเละเทะ อีกทั้ง ทำบัญชีเท็จ เรื่องที่ 2 คือเรื่องตลาดนัดจตุจักร ตอนยึดที่ของการรถไฟฯ มาจากกทม. ก็บอกว่าจะตั้งบริษัทลูกมาดูแล กลายเป็นการยึดแล้วมายกให้บริษัท ที เอ เอ็ม แมเนจเมนท์ฯ จัดการ ซึ่งตอนนี้แผงก็ยังว่าง สุดท้ายคือการแจ้งบัญชีทรัพย์สินเท็จต่อสำนักงานป.ป.ช. กรณีเป็นเจ้าหนี้นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ จำนวน 232 ร้อยล้าน และเรื่องนี้ภริยาของพล.ต.ท.ชัจจ์ ก็ฟ้องนายสุริยา ด้วยว่าเงินส่วนหนึ่งนั้นเป็นเงินของพล.ต.ท.ชัจจ์ และพล.ต.ท.ชัจจ์ ก็รู้เป็นอย่างดี เพราะได้เชิญนายสุริยา มาตกลง ซึ่งเรื่องนี้พล.ต.ท.ชัจจ์ จึงไม่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่อไป

คนสุดท้ายคือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยมีข้อกล่าวหา 3 ประเด็นใหญ่ คือ นายกฯ เบียดบังอำนาจและงบประมาณของประชาชน เพื่อประโยชน์ตนเองและครอบครัว พฤติกรรมที่ชัดเจนคือ ค่าแรง 300 บาท ที่ต้องรอถึงเดือนถึงม.ค. 2556 ทั้งที่บอกว่า ทำได้ในปี 2555 จากการหาเสียงที่ผ่านมา อีกทั้ง เงินเดือนปริญญาตรี 1.5 หมื่นบาท ก็ปรากฎว่า ไม่ใช่เงินเดือนแต่เป็นค่าครองชีพ ที่หลายๆ รัฐบาลให้อยู่แล้ว สุดท้ายคือ การให้บริการรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย แต่ประเด็นที่เอื้อพวกพ้องกลับทำทันที โดยไม่มีเงื่อนไข เช่น การร้องขอให้ประเทศญี่ปุ่นออกวีซ่าให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ พร้อมกับตอบแทนตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ให้กับผู้ที่ดำเนินการ นอกจากนี้ ยังลักไก่ออกพ.ร.บ.พระราชทานอภัยโทษ อีกทั้ง ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ผ่านพ.ร.บ.ปรองดอง มากกว่านั้น คือการเอางบฯ ฉุกเฉินจำนวน 100 ล้านบาท ไปประกันตัวผู้ต้องหาที่มาชุมนุมแล้วถูกศาลตัดสินจำคุก

ประการที่ 2 คือ นายกรัฐมนตรี บริหารงานล้มเหลว โดยเฉพาะการบริหารประเทศและปากท้องของประชาชน เช่น การแก้ปัญหาเกษตรกร โครงการรับจำนำข้าว ซึ่งที่สุดท้ายแล้ว เจ้ง เพราะต้นทุนสูงฝีมือต่ำ เกิดการทุจริต และประชาชนจนเหมือนเดิม มากกว่านั้นคือ ทำให้ประเทศไทยเสียแชมป์การส่งออกข้าว

ประการสุดท้ายคือ นายกรัฐมนตรีปล่อยให้มีการทุจริต ทำผิดกฎหมาย โดยเฉพาะงบเยียวยาน้ำท่วม 1.2 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบกลาง ตรวจสอบยาก พฤติกรรมก็คือว่า นายกรัฐมนตรี สร้างภาพด้วยการเปิดงานต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น แต่ต่อมามีการสั่งย้ายเลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และแก้ตัวทั้งๆ ที่รู้ว่า เลขาฯ ป.ป.ท.กำลังแฉ 3 เรื่อง คือการนำเข้ารถหรู ไซฟ่อนเงิน และทุจริตงบฯ น้ำท่วม

สุดท้ายนายจุรินทร์ เชื่อว่า แผนบันได 5 ขั้น ไม่สามารถล้มรัฐบาลได้อยู่แล้ว ลงมติเมื่อไหร่ก็มีการอุ้มกันไว้ แต่สิ่งที่จะล้มรัฐบาลได้ก็คือ ตัวของนายกรัฐมนตรี และการบริหารงานที่ล้มเหลว ซึ่งนายกรัฐมนตรี ต้องยุติเหตุแห่งความเสื่อม 5 ข้อ ดังนี้

1.หยุดทำผิดกฎหมาย หรือปล่อยให้มีการทุจริต

2.ต้องมีวุฒิภาวะในการเป็นนายกรัฐมนตรี ในสภาฯ ซึ่ง 1 ปีกว่า นายกรัฐมนตรี ไม่สามารถแสดงได้โดยชัดเจน มาปรากฏตัวน้อยมาก หรือมาปรากฎตัววันแรกที่ขอให้เป็นนายกรัฐมนตรี นอกนั้นเลี่ยงสภาฯ มาโดยตลอด ฝ่ายค้านตั้งกระทู้ใน 3 สมัยประชุมทั้งหมด 74 กระทู้ แต่นายกรัฐมนตรี มาตอบด้วยตัวเอง 2 กระทู้

3.เลิกการบริหารประเทศแบบลอยตัว หนีปัญหาและความรับผิดชอบ ซึ่งนายกรัฐมนตรี ต้องรักษาคำมั่นสัญญา โดยเฉพาะที่บอกว่าจะแก้ไข ไม่แก้แค้น อย่าปล่อยให้คำพูดเหล่านี้เป็นวาทะกรรมสร้างภาพอีกต่อไป

4.อย่าปล่อยให้คนอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่มาล้วงลูก โดยเฉพาะการแต่งตั้ง ตรงนี้ไม่ใช่แค่นายกรัฐมนตรี เท่านั้นที่จะตกต่ำ เพราะสถาบันนายกรัฐมนตรี จะตกต่ำไปด้วย

5.นายกรัฐมนตรี ต้องก้าวข้ามผลประโยชน์ของพวกพ้อง หรือทำเพื่อคนคนเดียว เพราะเรื่องนี้จะทำให้ประเทศก้าวเข้าสู่วิกฤตอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม ภายหลังการอภิปราย นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้สั่งปิดประชุมสภาฯ ในเวลา 23.45 น. และนัดลงมติในวันที่ 28 พ.ย. เวลา 09.30 น.


ที่มาเรียบเรียงจาก: เว็บไซต์ข่าวรัฐสภาถึงประชาชน, โพสต์ทูเดย์, มติชนออนไลน์, ASTV ผู้จัดการออนไลน์, สำนักข่าวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทหารพม่าโจมตี SSA ดับ 1 เจ็บ 1 ในภาคตะวันออกรัฐฉาน

Posted: 27 Nov 2012 07:03 AM PST

เกิดเหตุสู้รบกันอีกระหว่างทหารพม่าและกองกำลังไทใหญ่ SSA หน่วยภาคพื้นเชียงตุง ในรัฐฉานภาคตะวันออก ฝ่าย SSA พลีชีพ 1 เจ็บ 1 เผยเหตุสู้รบเกิดจากทหารพม่าไม่ยึดมั่นคำสัญญาหยุดยิง

มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา เกิดเหตุสู้รบกันอีกระหว่างทหารพม่าและกองกำลังไทใหญ่ SSA ของสภากอบกู้รัฐฉาน RCSS หน่วยภาคพื้นเชียงตุง ในภาคตะวันออกรัฐฉาน เหตุสู้รบเกิดขึ้นที่บริเวณดอยปางหม้อ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือเมืองตุม จังหวัดเมืองสาด ทั้งสองฝ่ายเปิดฉากสู้รบกันนานกว่า 2 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลาเที่ยงวันถึงบ่าย 2 โมงครึ่ง

พ.อ.เจ้ากอนจื้น ผบ.หน่วยภาคพื้นเชียงตุงของ SSA เปิดเผยว่า เหตุสู้รบเกิดขึ้นหลังจากทหารไทใหญ่ SSA ที่เคลื่อนไหวอยู่ในพื้นที่พยายามหลีกเลี่ยงการไล่ล่าโจมตีจากฝ่ายทหารพม่าสังกัดกองพัน 578 และ 580 และไปพบกับทหารพม่าอีกชุดสังกัดกองพันทหารราบที่ 553 นำโดยพ.ต.จ่อจ่อลิน และกองพันทหารราบที่ 554 นำโดยพ.ต.ตานจ่อเท ฐานประจำการเมืองตุม เป็นเหตุให้สองฝ่ายสู้รบกันอย่างดุเดือด ฝ่ายทหารพม่าใช้ปืนค.60 ยิงเข้าใส่หน่วยบัญชาการของ SSA ที่อยู่แนวหลัง เป็นเหตุให้ร.ต.จายก๋อนคำ เสียชีวิต และร.ท.จายจ่าม ได้รับบาดเจ็บถูกสะเก็ดลูกระเบิดเข้าบริเวณใบหน้าและลำตัว

โดยหลังการสู้รบดำเนินต่อไประยะหนึ่งทางฝ่ายทหารไทใหญ่ SSA ได้ถอนกำลังนำคนเจ็บออกจากพื้นที่ การสู้รบทั้งสองฝ่ายจึงยุติลง ซึ่งหลังเกิดเหตุทางพ.ท.กอนจื้น ได้รายงานถึงกองบัญชาการใหญ่ของ SSA ดอยไตแลงรับทราบทันที ทั้งนี้ เพื่อให้ทำการประท้วงไปยังรัฐบาลพม่าถึงเหตุทหารพม่าไม่ยึดมั่นคำสัญญาหยุดยิง โดยได้ออกลาดตระเวนติดตามการเคลื่อนไหวของ SSA อย่างต่อเนื่องและเป็นเหตุให้เกิดการสู้รบกันขึ้น

พ.อ.กอนจื้น กล่าวว่า แม้จะลงนามหยุดยิงกัน แต่หากทางฝ่ายทหารพม่ายังไม่ยุติการกดดันไล่ล่า SSA ทางฝ่าย SSA ก็ไม่มีทางเลือก โดยพร้อมจะทำการตอบโต้อย่างถึงที่สุดต่อไป

ด้านแหล่งข่าวคนขับรถประจำทางเมืองตุม – เมืองสาดเปิดเผยว่า ในวันเดียวกันหลังเกิดเหตุสู้รบของทหารทั้งสองฝ่าย ทำให้การสัญจรไปมาบนเส้นทางหลายดังกล่าวต้องหยุดชะงัก เนื่องจากถูกทหารพม่าปิดเส้นทางและทำการตรวจค้นอย่างเข้มงวด และทราบจากการบอกเล่าชาวบ้านในพื้นที่ว่า จากเหตุสู้รบมีทหารพม่าได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายนายด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ พล.ท.เจ้ายอดศึก ประธานสภากอบกู้รัฐฉาน RCSS กองทัพรัฐฉาน SSA ได้กล่าวกับสำนักข่าวฉาน (SHAN) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า นับตั้งแต่สภากอบกู้รัฐฉาน RCSSกองทัพรัฐฉาน SSA ลงนามหยุดยิงกับรัฐบาลพม่าเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 54 ทหารทั้งสองฝ่ายยังสู้รบกันอยู่อย่างต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้นับจำนวนครั้งมากกว่า 30 ครั้ง ซึ่งเหตุสู้รบเกิดจากการไม่ยึดมั่นคำมั่นสัญญาหยุดยิงจากฝ่ายทหารพม่า

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ถอดบทเรียนจากเหตุปัจจัยของการปฏิวัติและรัฐประหาร

Posted: 27 Nov 2012 06:48 AM PST

ปรากฏการณ์ลุกขึ้นมารวมพลขององค์กรพิทักษ์สยามและภาคีเครือข่ายเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านแล้วจบลงอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่ถึง 9 ชั่วโมง ได้เกิดคำถามและคำตอบขึ้นอย่างมากมายว่าเกิดอะไรขึ้น และทำไมถึงจบลงตามประสา "หวยออกแล้ว" เช่น เกิดการแตกแยกภายในบ้าง จำนวนคนมาน้อยเกินไปบ้าง ฯลฯ แต่ล้วนแล้วเป็นเหตุผลในด้านข้อมูลประเภทการให้ความเห็นเสียมากกว่า ซึ่งคนที่จะตอบได้ดีที่สุด คือแกนนำที่ประกาศยุติการชุมนุมนั่นเองว่า เกิดอะไรขึ้น

เหตุการณ์การรวมตัวขององค์กรดังกล่าวในระยะเริ่มแรกเป็นลักษณะของการรวมตัวในลักษณะของการที่ต้อง "ปฏิวัติ" ด้วยการประกาศแช่แข็งประเทศ แต่เมื่อถูกต่อต้านมากจึงผ่อนคลายลงเป็นเพียง"รัฐประหาร" ด้วยการที่จะขับไล่รัฐบาล ด้วยการแช่แข็งนักการเมือง ซึ่งไม่มีในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จึงถือได้ว่าเป็นการรัฐประหารอีกในรูปแบบหนึ่ง เช่นเดียวกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้เคยทำรัฐประหารเงียบมาแล้วในอดีตด้วยการประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราและปิดสภาผู้แทนราษฎร

การปฏิวัติ (revolution) หมายถึง การใช้ความรุนแรงทางการเมืองเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างเบ็ดเสร็จ โดยมีวัตถุประสงค์อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง อุดมการณ์ทางการเมือง วัฒนธรรม วิถีชีวิต ระบบเศรษฐกิจ ความเชื่อทางศาสนา และระบบสังคมโดยรวม

การปฏิวัติเป็นความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยครั้งนัก เพราะจะต้องโค่นล้มลงทั้งระบบ ซึ่งหากสภาพสังคมไม่สุกงอมเต็มที่ หรือสภาพสังคมยังไม่พร้อมแล้ว การปฏิวัติจะเป็นไปได้ยากมาก ตัวอย่างของการปฏิวัติที่ผ่านมา ก็คือการปฏิวัติฝรั่งเศส การปฏิวัติรัสเซีย การปฏิวัติจีน และการปฏิวัติเมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ของไทยเราที่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจเต็มในการปกครองประเทศ มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นต้น

สาเหตุของการปฏิวัติ
1.สังคมอยู่ในสภาวะที่ขาดสมดุล การปฏิวัติจะไม่เกิดในสภาพที่สังคมที่มั่นคง เรียบง่าย เป็นปกติ แต่มักเกิดในสังคมที่ได้รับความกดดันรอบด้านหรือสังคมที่กำลังเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลง โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้กระทบต่อสังคมอย่างใหญ่หลวง จนเกินกว่าที่อำนาจรัฐสามารถบังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในภาวะหลังสงครามของฝรั่งเศสและอำนาจรัฐที่อ่อนแอลงของพระมหากษัตริย์ในขณะนั้น

2.ผู้นำต้องเสียอำนาจและความชอบธรรม ผู้นำมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิวัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่ผู้นำไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้นำไม่สามารถระดมความจงรักภักดีจากผู้ใต้บังคับบัญชาและประชาชนได้อีกต่อไป

3.การแพร่หลายของอุดมการณ์ปฏิวัติ ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของการปฏิวัติ เพราะถือว่าเป็นตัวเร่ง (catalyze) ของกระบวนการปฏิวัติ โดยกลุ่มคนที่ไม่พอใจรวมตัวกัน มีอุดมการณ์เป็นตัวชี้นำ และทำให้ประชาชนเห็นว่า หากโค่นล้มระบอบเก่าไป จะสามารถสถาปนาระบอบใหม่ซึ่งให้ความยุติธรรมในสังคม หากได้ผู้นำในลักษณะนี้แล้ว จะทำให้อุดมการณ์ปฏิวัติได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่และทำให้การปฏิวัติประสบความสำเร็จ

ซึ่งทั้ง 3 เหตุข้างต้นนี้ องค์กรพิทักษ์สยามและภาคีเครือข่ายประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงตั้งแต่แรก จนต้องลดเป้าหมายจากการปฏิวัติเพื่อแช่แข็งประเทศไปสู่เพียงการรัฐประหารเพื่อแช่แข็งนักการการเมืองด้วยการล้มรัฐบาลนั่นเอง

การรัฐประหาร (coup d'état) หมายถึง การใช้ความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันด่วน โดยมีวัตถุประสงค์อยู่ที่การเปลี่ยนตัวหัวหน้ารัฐบาล หรือผู้ปกครองประเทศ แล้วจัดตั้งคณะรัฐบาลชุดใหม่ที่อยู่ภายใต้ผู้ก่อการรัฐประหารขึ้นมา โดยที่รูปแบบการปกครองไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด มีแต่ตัวผู้นำและคณะผู้นำเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป     

ปัจจัยที่ที่ทำให้การรัฐประหารประสบความสำเร็จ
1.ประชาชนไม่ชอบมีส่วนร่วมทางการเมือง
ประเทศมีการรัฐประหารเกิดขึ้นได้บ่อยๆนั้น เป็นประเทศที่ประชาชนไม่ค่อยชอบเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ถ้าประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ การหยุดชะงักทางการเมืองด้วยกระบวนการรัฐประหารจะเกิดขึ้นไม่ได้ ซึ่งไทยเรานับตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมืองยิ่งกว่าเดิมเป็นอันมาก

2.ต้องเป็นองค์กรลับ ในการทำรัฐประหารนั้นจะต้องมีองค์กรที่ปิดลับ มีสมาชิกไว้ใจได้ไม่กี่คน มีจำนวนน้อยเพราะจะต้องรักษาความลับไว้เป็นสำคัญ หากความลับรั่วไหลก็อาจถูกปราบปรามได้อย่างง่ายดายก่อนที่จะทำการสำเร็จ ดังเช่นคราวนี้เป็นต้น

3.ปฏิบัติการสายฟ้าแลบ การทำรัฐประหารจะต้องทำการอย่างรวดเร็ว โดยปกติต้องทำสำเร็จภายใน 24 ชั่วโมง แต่ในคราวนี้มีการประกาศล่วงหน้าอย่างโจ๋งครึ่มเป็นเวลานานทำให้รัฐบาลเตรียมการได้ทัน

4.ต้องไม่ให้ประชาชนรังเกียจ การทำรัฐประหารที่ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องไม่ทำให้ประชาชนเสียเลือดเนื้อ และการรัฐประหารนั้นจะต้องสร้างอุดมการณ์ที่ไม่ให้ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลใหม่ที่จะได้มาเป็นรัฐบาลเผด็จการ ซึ่งในข้อนี้องค์กรพิทักษ์สยามและภาคีเครือข่ายประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง

การกบฏหรือขบถ (rebellion) นั้น หมายถึงการที่กลุ่มคนพยายามทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารแต่กระทำไปไม่สำเร็จ จึงได้ชื่อว่าเป็นกบฏนั่นเอง ตัวอย่างของไทยเราก็เช่น กบฏบวรเดช กบฏนายสิบ กบฏเสนาธิการหรือกบฏนายพล กบฏวังหลวง กบฏแมนฮัตตัน กบฏ ๒๖ มีนาคม (พล.อ.ฉลาด) กบฏเมษาฮาวายหรือกบฏยังเติร์ก กบฏสองพี่น้อง ฯลฯ

จะเห็นได้ว่าการที่ที่องค์กรพิทักษ์สยามและภาคีเครือข่ายประสบความล้มเหลวในคราวนี้ด้วยเหตุผลทางวิชาการที่ได้นำมาอธิบายข้างต้น ส่วนการที่ว่าจะเป็นกบฏหรือไม่นั้นก็สุดแล้วแต่ว่า จะมีการนำคดีไปสู่ศาลหรือไม่ และศาลจะพิจารณาพิพากษาว่าอย่างไร

แต่ที่แน่ๆ บทเรียนที่แกนนำได้รับคงต้องจำจนวันตาย อยู่ที่ว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังและผู้เหลืออยู่จะเดินเกมต่อไปอย่างไร ช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องน่าจับตามากกว่าการระดมพลก่อนหน้านี้เสียมากกว่าด้วยซ้ำไป

หลายคนที่กลืนเลือดไปแล้วคงไม่ยอมง่ายๆ หรอกครับ

 

หมายเหตุ
1) ค้นคว้าเพิ่มเติมได้จาก "ปฏิวัติ รัฐประหารหรือกบฏ" ที่ http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=982
2) เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2555

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เริ่มแล้ว-การประชุมนัดสำคัญของชาวไทใหญ่หารือเรื่องสันติภาพ

Posted: 27 Nov 2012 06:33 AM PST

การประชุมของกลุ่มองค์กรไทใหญ่หารือเรื่องสร้างสันติภาพ ซึ่งเป็นการประชุมใหญ่ครั้งประวัติศาสตร์ได้เริ่มขึ้นแล้วที่นครย่างกุ้ง มีตัวแทนกลุ่มการเมือง ทหาร นักวิชาการ ภาคประชาสังคมเข้าร่วมกว่าสองร้อยคน

มีรายงานว่า การประชุมใหญ่ของกลุ่มองค์กรไทใหญ่เพื่อหารือเรื่องสันติภาพ ในชื่อ "การประชุมสร้างความไว้วางใจเพื่อสันติภาพ" (Trust Building for Peace Conference) ที่มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 26 – 28 พ.ย. นี้ ได้เริ่มขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการเมื่อวานนี้ ที่อาคารนินสี่ (Royal Rose) ในกรุงย่างกุ้ง มีผู้นำและตัวแทนกลุ่มองค์กรของไทใหญ่ทั้งกลุ่มการเมือง การทหาร ภาคประชาสังคม กลุ่มชมรมวัฒนธรรม นักวิชาการและกลุ่มเยาวชนเข้าร่วมรวมกว่า 200 คน

นอกจากนี้ มีตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มเข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย โดยมีอูอ่องมิน รมต.ประจำสำนักประธานาธิบดี และรองประธานคณะทำงานเพื่อสันติภาพรัฐบาลพม่าเข้าร่วมเป็นประธานเปิดการประชุม ซึ่งในส่วนของรัฐบาลพม่าได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมเป็นเกียรติในวันเปิดการประชุมด้วยหลายคน

อูอ่องมิน กล่าวว่า การสร้างสันติภาพเป็นหน้าที่ทุกฝ่าย ถึงเวลาร่วมกันสร้างสหพันธรัฐที่แท้จริง และถึงเวลาสร้างความหมายของสหพันธรัฐที่ดำเนินมาอย่างผิดๆ ในอดีตให้เป็นรูปธรรมและให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย การแบ่งปันอำนาจ การแบ่งปันทรัพยากรควรได้รับการแก้ไข ขอทุกฝ่ายร่วมด้วยช่วยกันต่อไป

ทางด้าน เจ้าขุนทุนอู ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติไทใหญ่เพื่อประชาธิปไตย SNLD กล่าวก่อนการประชุมว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมใหญ่ของกลุ่มองค์กรไทใหญ่ครั้งแรกซึ่งไม่มีประสบการณ์มาก่อน โดยหลังจากการประชุมในกลุ่มองค์กรไทใหญ่ครั้งนี้แล้วเสร็จ จะจัดการประชุมใหญ่ของทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐฉานเพื่อหารือเรื่องสร้างสันติภาพร่วมกันต่อไป

โดยกลุ่มองค์กรสำคัญของไทใหญ่ที่เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย พรรคสันนิบาตแห่งชาติไทใหญ่เพื่อประชาธิปไตย SNLD (พรรคหัวเสือ) พรรคชาติไทใหญ่เพื่อประชาธิปไตย SNDP (พรรคเสือเผือก) สภากอบกู้รัฐฉาน RCSS (กองทัพรัฐฉาน SSA "ใต้") พรรครัฐฉานก้าวหน้า SSPP (กองทัพรัฐฉาน SSA "เหนือ") กองกำลังสัมพันธมิตรชาติประชาธิปไตย หรือ กองกำลังเมืองลา NDAA และตัวกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมไทใหญ่ทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วม

โดยคนที่เข้าร่วมประชุมที่น่าสนใจ เช่น ดร.จายอ่องทุน, ดร.จายส่างอ้าย, เจ้าหาญ ณ หยองห้วย, ดร.จายคำเหล็ก, หญิงน้อย มังราย, ดร.นางหอมเหล็ก, เจ้าขุนทุนอู, พล.ท.เจ้าเสือแท่น, พลจัตวา ป๋องเครือ, น.ส.จ๋ามตอง, ก่อนหน้านี้ดร.จายหมอกคำ รองประธานาธิบดีสหภาพพม่า มีกำหนดเข้าร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม แต่เนื่องจากติดภารกิจ อูอ่องมิน จึงรับหน้าที่แทน

สำหรับกำหนดการประชุมในวันที่ 1 หารือกันเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน อันเป็นสาเหตุการจัดการประชุมหารือสร้างความไว้วางใจเพื่อให้เกิดสันติภาพ รวมถึงวางกรอบและแผนการสร้างสันติภาพต่อไป ในวันที่ 2 หารือกันเกี่ยวกับแนวทางการทหาร การเมือง ภาคประชาสังคม ปัญหายาเสพติดและปัญหาสังคมต่างๆ ในรัฐฉาน และในวันที่ 3 สรุปผลการหารือและปิดการประชุม

 

ชมภาพ / อ่านข่าวย้อนหลังได้ที่
http://www.khonkhurtai.org/


"คนเครือไท" เป็นศูนย์ข่าวภาคภาษาไทยเครือข่ายสำนักข่าวฉาน (SHAN – Shan Herald Agency for News) สำนักข่าวอิสระของไทยใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐฉาน สหภาพพม่า และตามแนวชายแดนไทย ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับองค์กรการเมือง / การทหารกลุ่มใด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ shan_th@cm.ksc.co.th หรือ ติดตามอ่านข่าวสารภาคภาษาอังกฤษได้ที่ www.shanland.org ภาคภาษาไทใหญ่ที่www.mongloi.org และภาคภาษาไทยที่ www.khonkhurtai.org

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แอมเนสตี้ฯหารือ ก.ต่างประเทศพักการใช้โทษประหารชีวิต

Posted: 27 Nov 2012 05:17 AM PST

27 พฤศจิกายน 2555 ตัวแทนจากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยเข้ายื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อเรียกร้องให้มีการพักการใช้โทษประหารชีวิต โดยคุณพรประไพ กาญจนรินทร์ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศเป็นตัวแทนเข้าร่วมปรึกษาและรับมอบหนังสือ

นายสมชาย หอมลออ ประธานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวถึงการรณรงค์ยกเลิกโทษประหารชีวิตว่า แม้ปัจจุบันประเทศไทยยังคงมีการตัดสินลงโทษประหารชีวิตอยู่ แต่ในแผนแม่บทสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552-2556) ที่รัฐบาลได้ประกาศอย่างเป็นทางการและมีผลปฏิบัติตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมานั้น หนึ่งในตัวชี้วัดต่อความสำเร็จในการดำเนินการตามแผนนี้ คือตัวชี้วัดกลยุทธ์ที่ 3.1 ว่ามีการยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยเปลี่ยนให้เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งถือได้ว่าเป็นพันธสัญญาของรัฐบาลที่จะให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตในที่สุด

และในการประชุมของคณะกรรมาธิการที่สามของที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติ เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2555 ที่ผ่านมา รัฐภาคีสมาชิกได้ร่วมลงคะแนนต่อมติพักการใช้โทษประหารชีวิต โดยมีรัฐที่ลงคะแนนเสียงเห็นชอบ 110 เสียง  งดออกเสียง 36 เสียง และคัดค้าน 39 เสียง   องค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ขอชื่นชมที่รัฐบาลไทยลงคะแนน "งดออกเสียง" และไม่คัดค้านต่อมติข้อตกลงการพักใช้โทษประหารชีวิตดังกล่าว

"เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยสนับสนุนและลงมติ "เห็นชอบ" ต่อมติการพักใช้โทษประหารชีวิตที่จะมีขึ้นอย่างเป็นทางการในที่ประชุมสมัชชาใหญ่ฯ ในเดือนธันวาคม 2555  เพื่อแสดงจุดยืนและเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทยต่อการเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนในเวทีระหว่างประเทศ ทั้งยังนับเป็นการปฏิบัติตามแผนแม่บทสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 และปฏิบัติตามพันธกรณีของไทยที่มีต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ทั้งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง" คุณสมชายกล่าว

นางสาวปริญญา บุญฤทธิ์ฤทัยกุล ผู้อำนวยการองค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระบุว่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยเรียกร้องให้รัฐบาลไทยควรพิจารณาสนับสนุนแนวโน้มที่เกิดขึ้นในเวทีระหว่างประเทศในทางที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต โดยประกาศยุติการประหารชีวิตในทางปฏิบัติอย่างเป็นทางการโดยทันที เพื่อให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติแม่บทว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  โดยมีเจตจำนงที่จะออกกฎหมายให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตในท้ายที่สุด และให้มีการยกเลิกโทษประหารชีวิต และให้ใช้โทษจำคุกตลอดชีวิตแทนภายในปี 2556 นอกจากนี้ ประเทศไทยควรให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับฉบับที่สองของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Second Optional Protocol to the International Covenant on Civil and Political Rights)

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลต่อต้านโทษประหารในทุกกรณี โดยถือเป็นการละเมิดสิทธิที่จะมีชีวิตรอด และถือเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และดูหมิ่นศักดิ์ศรีมากสุด

ด้านคุณพรประไพ กาญจนรินทร์ อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยในปีนี้คิดว่าคงจะงดออกเสียงในประเด็นนี้ไปก่อน แต่ก็ยังมีความคืบหน้าในประเด็นดังกล่าว ซึ่งขณะนี้กระทรวงยุติธรรมได้จัดสรรงบประมาณจำนวนหนึ่งให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพเป็นผู้รับผิดชอบ ในการว่าจ้างให้คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาวิจัยและการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนว่ามีความคิดเห็นอย่างไร หากมีการยกเลิกโทษประหารชีวิต ซึ่งผลการศึกษาจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายนปี 2556

ทั้งนี้ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10.30 น. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยจะเข้าพบอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทวงยุติธรรม ณ อาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ตึก A ชั้น 8 เพื่อปรึกษาหารือและยื่นหนังสือในประเด็นดังกล่าวข้างต้นอีกด้วย

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

อดีตศิลปินโฆษณาชวนเชื่อเกาหลีเหนือ หันมาผลิตงานล้อเลียนผู้นำ

Posted: 27 Nov 2012 02:53 AM PST

ซง เบียก อดีตคนวาดภาพโฆษณาชวนเชื่อให้รัฐบาลเกาหลีเหนือ หนีออกจากประเทศจากภาวะข้าวยากหมากแพงซึ่งทำให้ครอบครัวเขาล่มสลาย ล่าสุดเขาหันใช้ฝีแปรงสร้างผลงานแนวล้อเลียน ซึ่งถูกจัดแสดงในสหรัฐฯ

 

ภาพ My Modern Metropolis

ที่มา: http://www.mymodernmet.com/profiles/blogs/north-korean-pop-art-5-pics


เมื่อวันที่ 26 พ.ย. ที่ผ่านมา รายการ First Person ของ BBC ได้นำเสนอเรื่องราวของ ซง บิยอก (Song Byeok) อดีตคนวาดโปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อของเกาหลีเหนือ ที่อพยพออกมาอยู่เกาหลีใต้หลังภาวะข้าวยากหมากแพงได้คร่าชีวิตครอบครัวของเขา จากนั้นจึงหันมาใช้ฝีมือผลิตผลงานแนวล้อเลียนสิ่งที่เขาเคยทำ

ซง เล่าว่าเขาเคยทำงานเป็นคนทำงานให้ทางการเกาหลีเหนือ โดยเขียนโปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อแสดงความยกย่องสรรเสริญผู้นำ คิมจองอิล และคิมอิลซุง โดยมีการนำโปสเตอร์ไปวางตามท้องถนนของเกาหลีเหนือ

แต่แล้วในช่วงยุค 1990s ศรัทธาต่อรัฐบาลเกาหลีเหนือของเขาก็ถูกทำลายลง เมื่อเกาหลีเหนือเข้าสู่ภาวะข้าวยากหมากแพง มีประชาชนหลายล้านคนรวมถึงพ่อ แม่ และน้องสาวของ ซง เสียชีวิต

"สำหรับผมแล้ว สังคมเกาหลีเหนืออยู่อย่างยากลำบากมาก และผมก็จงรักภักดีกับประเทศตัวเอง ต่อคิมจองอิล ต่อคิมอิลซุง" ซงกล่าว "แต่ไม่ใช่เพียงแค่ความภักดีเท่านั้นที่มีอยู่ ผมยังมีพ่อ มีแม่ มีครอบครัวของผม แต่ดูสิว่าเกิดอะไรขึ้น พ่อของผมเสียชีวิต ครอบครัวต้องระหกระเหิน น้องาสวของผมเสียชีวิตจากความหิวโหย"

ซง เล่าต่อว่าจากการที่ต้องหาอาหาร เขาพยายามข้ามพรมแดนมายังจีน ซึ่งพ่อของเขาเสียชีวิตจากอุทกภัย และตัวเขาก็ถูกจับกุมและถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกัน

"หลังจากผมข้ามพรมแดนไปแล้วก็ถึงได้รู้ว่ามันเป็นช่วงฤดูมรสุม ระดับน้ำสูงมาก แต่ผมต้องไปหาอาหาร ผมกับพ่อจึงไปที่แม่น้ำ แต่นั่นก็ทำให้ผมสูญเสียพ่อไป เขาถูกกระแสน้ำพัดพาไป" ซงเล่า

"จากนั้นผมก็ถูกจับไปในค่ายกักกัน ถึงจุดนั้นผมเริ่มตั้งคำถามกับเกาหลีเหนือ ว่าทำไมเกาหลีเหนือถึงทำได้ขนาดนี้ และเริ่มคิดว่าผมจะอยู่ในสังคมแบบนี้ได้อย่างไร" ซงเล่า "ผมจึงตัดสินใจว่าเป้าหมายสุดท้ายคือการหนีจากเกาหลีเหนือ"

หลังจากที่เขาถูกปล่อยตัวจากค่ายกักกันในปี 2002 เขาก็หนีไปที่เกาหลีใต้ และที่นั่นเขาก็เริ่มใช้ทักษะด้านศิลปะที่เขามีในการต่อต้านรัฐบาลของประเทศบ้านเกิดตัวเอง

นิทรรศการแสดงผลงานล่าสุดของซง บิยอก จัดแสดงที่วูลลี่ แมมมอธ เทียร์เตอร์ ในกรุงวอชิงตันดีซี ซึ่งผลงานมีลักษณะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลเปด็จการทั่วโลก

"ผมไม่ได้มีวิธีการเฉพาะในการวาดผลงานของผม ผมแค่อยากให้คนมองผลงานผมด้วยความสนุกสนาน ทำให้พวกเขาหัวเราะได้เวลาที่เห็นผลงานผม ได้ตั้งคำถามว่าทำไมศิลปินถึงใช้อารมณ์ขันแบบนี้ และผมก็อยากให้ความหวังกับผู้คนที่กำลังสิ้นหวัง" ซงกล่าว

"ในงานศิลปะของผม ไม่เพียงแค่อยากแสดงให้เห็นเรื่องราวของเกาหลีเหนือ แต่ต้องการสื่อถึงคนในประเทศที่ยากลำบากเช่นเกาหลีเหนือ ผมอยากนำทางพวกเขา ผมเชื่อว่าผมควรทำในฐานะของศิลปิน" ซงกล่าว


เรียบเรียงจาก (วีดิโอและเนื้อหาตัวอักษรของ)

North Korean propaganda artist Song Byeok turns satirist, BBC, 26-11-2012
 

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไทยเตรียมแซงอินเดียเป็นแชมป์ส่งออกข้าว หลังมีปริมาณสำรองข้าวสูงระดับโลก

Posted: 27 Nov 2012 02:23 AM PST

บลูมเบิร์กรายงาน สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (IRRI) ชี้ประเทศไทยเตรียมแซงอินเดียเป็นประเทศส่งออกข้าวใหญ่ที่สุด ขณะกระทรวงเกษตรสหรัฐคาดราคาข้าวในตลาดโลกปีหน้าจะลดต่ำลงเพราะข้าวล้นตลาด และไทยจะถูกบีบให้ขายต่ำกว่าราคาตลาดโลก

จากข้อมูลของสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (IRRI) ระบุว่าประเทศไทยเตรียมแซงอินเดียในเรื่องการเป็นประเทศส่งออกข้าวใหญ่ที่สุด จากการที่ไทยเร่งขายข้าวจากคลังสินค้าของรัฐ และจะเป็นสถิติสำรองข้าวระดับโลก

ซามาเรนดู โมหันธี (Samarendu Mohanty) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสกล่าวว่า ตลอดปีนี้จนถึงวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา การส่งข้าวของอินเดียน่าจะลดลงมาเหลือ 7 ล้านตัน ขณะที่กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA) ระบุว่าการส่งออกข้าวหอมบาสมาติเมื่อปีที่แล้วของอินเดียมีปริมาณเพิ่มขึ้น 3 เท่า คิดเป็นจำนวน 10.4 ล้านตัน ขณะที่ข้อมูลจากกรมการค้าระหว่างประเทศระบุว่าประเทศไทยมีแผนที่จะส่งออกข้าวเป็นจำนวน 8.5 ล้านตันในปี 2556 จากที่ในปีนี้ส่งออกข้าว 7.3 ล้านตัน

กระทรวงเกษตรสหรัฐ ราคาข้าวน่าจะลดลงในปีหน้า ผลจากไทยสำรองข้าวจำนวนมาก

กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า การเพิ่มขึ้นของปริมาณสำรองข้าวของไทยน่าจะไปเพิ่มการแข่งขันระหว่างประเทศผู้ผลิตข้าวในเอเชีย และไปกดราคาข้าวที่ปีนี้ตลาดชิคาโกขึ้นราคาไปแล้วร้อยละ 1.2 ราคาที่ลดลงของอาหารหลักสำหรับประชากรกว่าครึ่งโลกนี้จะทำให้ราคาอาหารที่องค์การและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประเมินไว้ลดลงร้อยละ 0.9 ในเดือนตุลาคม จากที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วง 6 เดือนแรก ขณะที่ปริมาณสำรองข้าวในโลกในฤดูกาล 2555 - 2556 จะเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบสิบปี

"ประเทศไทยมีทางเลือกไม่มาก แต่จะต้องระบายสต็อกข้าวซึ่งจะทำให้ราคาข้าวลดลง" คอนเซปซัน คาล์ฟ (Concepcion Calpe) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ให้สัมภาษณ์จากกรุงโรม "จะมีการแข่งขันกันมากขึ้นระหว่างประเทศที่ส่งออกข้าวที่มีความสำคัญรองๆ ลงมา อย่างบราซิล รัสเซีย อียิปต์ และออสเตรเลีย ในตลาดส่งออก ซึ่งจะทำให้ราคาข้าวมีแนวโน้มลดลงในปี 2556"

ปริมาณสำรองของไทย

โมหันธีกล่าวว่า กระทรวงการเกษตรของสหรัฐอเมริกา ประมาณการว่า ปริมาณสำรองข้าวของไทยได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 12.1 ล้านตันในสิ้นฤดูกาล 2555 ถึง 2556 จากปริมาณสำรองข้าวในฤดูกาลที่แล้ว 9.8 ล้านตัน จะทำให้ประเทศไทยถูกบีบให้ขายข้าวที่รับซื้อมาจากเกษตรกรเพื่อให้มีพื้นที่พอสำหรับการเก็บเกี่ยวรอบใหม่

"ปริมาณสำรองข้าวที่สูงจะทำให้ไทยต้องขายข้าวในราคาที่ถูกกว่าราคาตลาดโลก" โมหันตีกล่าว "ตอนนี้ปริมาณข้าวล้นตลาดโลกแล้ว และถ้าประเทศไทยขายข้าวในราคาที่ต่ำก็จะทำให้ราคาในอนาคตต่ำลงไปอีก"

บลูมเบิร์กระบุว่า นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ออกนโยบายจำนำข้าวที่ทำให้รายได้ของชาวนาเพิ่มขึ้น ซึ่งชาวนามีส่วนช่วยให้พรรคเพื่อไทยของเธอเอาชนะการเลือกตั้งเมื่อปีก่อน โดยรัฐบาลให้ราคาข้าวเปลือกอยู่ที่ตันละ 15,000 บาท ซึ่งมากกว่าราคาตลาดในประเทศร้อยละ 50 และให้ราคาตันละ 20,000 บาทสำหรับข้าวพันธุ์ที่มีคุณภาพสูงกว่า

ข้อมูลของกระทรวงการเกษตรของสหรัฐอเมริการะบุว่า อินเดียจะส่งออกข้าวในปี 2555 - 2556 ที่ 7.25 ล้านตัน และประเทศไทยจะส่งออกข้าว 8 ล้านตัน ขณะที่เวียดนามจะส่งออกข้าว 7 ล้านตัน ทำให้เวียดนามกลายเป็นประเทศส่งออกข้าวใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3

ในประเทศไทย ราคารับซื้อข้าวขาวหัก 25% ในการซื้อขายแบบรวมค่าขนส่ง (FOB: free-on-board) อยู่ที่ 540 เหรียญสหรัฐต่อตัน ส่วนตลาดในอินเดียอยู่ที่ 385 เหรียญสหรัฐ วีเจย์ เสเธีย (Vijay Setia) ประธานสมาคมรวมผู้ส่งออกข้าวอินเดียกล่าว เขากล่าวด้วยว่าข้าวที่อินเดียส่งออกส่วนใหญ่เป็นข้าวขาวหัก 25%

จากข้อมูลของคณะกรรมการการค้าที่ชิคาโก ล่าสุดราคาซื้อขายข้าวล่วงหน้าในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เป็น 15.045 เหรียญสหรัฐต่อ 100 ปอนด์ เมื่อเวลา 9.25 น. (ของวันที่ 26 พ.ย.) ตามเวลาที่มุมไบ ทั้งนี้เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้วราคาข้าวได้เพิ่มสูงที่สุดในรอบ 3 ปี เป็น 18.37 เหรียญสหรัฐต่อ 100 ปอนด์

 

 

ที่มา: แปลจาก

Bloomberg News: Thailand to Surpass India as Top Rice Shipper on Stockpiles, By Pratik Parija and Supunnabul Suwannakij on November 26, 2012, Bloomberg Businessweek

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

Past-Present-Future : รวมความคืบหน้า-ตารางนัด คดี 112 - พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

Posted: 27 Nov 2012 12:57 AM PST

 

ประชาไทนำเสนอตารางข้อมูล-การนัดหมายคดีในชั้นศาลที่เกี่ยวพันกับมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมถึงบางส่วนของคำพิพากษาคดีที่สิ้นสุดแล้วแต่จำเลยยังคงต้องโทษอยู่ในเรือนจำ  ซึ่งอาจทำให้เห็นพลวัตร การเปลี่ยนแปลง หรือความแตกต่างในแง่การตีความบริบททางการเมืองบางประการ พร้อมทั้งข้อสังเกตในคดีใบปลิวที่ร้อยเอ็ดและคดีหุ้นตกซึ่งยังไม่เป็นที่รับทราบในทางสาธารณะมากนัก

 

0000000

คดีที่เพิ่งเสร็จสิ้น

 

1.คดีใบปลิวร้อยเอ็ด – จำคุก 3 ปี รอลงอาญา  บำเพ็ญประโยชน์สาธารณะ 18 ชั่วโมง

สัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 22 พ.ย. มีข่าวคราวความเคลื่อนไหวคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งโดยปกติแล้ว สื่อมวลชนและผู้สนใจเรื่องนี้มักเข้าไม่ถึงข้อมูลในต่างจังหวัด

คดีนี้เป็นอีกคดีที่เป็นหมุดหมายใหม่ที่ดูจะแตกต่างจากเดิมพอควร เนื่องจากจำเลยได้รับการประกันตัว และศาลพิพากษารอลงอาญา 

คดีดังกล่าวคือคดีของ นายอุทัย (ขอสงวนนามสกุล)  มีอาชีพเป็นชาวนา ถูกกล่าวหาว่าขณะที่อยู่ที่เถียงนาได้นำเอกสารเข้าข่ายหมิ่น จำนวน 7-8 หน้า ให้ผู้อื่นอ่าน จำเลยให้การปฏิเสธ

เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อราวเดือน กรกฎาคม 2552 ซึ่งเป็นช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองยังคุกรุ่น หลังจากการชุมนุมของ นปช.เพิ่งสลายไปเมื่อเดือนเมษายน โดยเรื่องเริ่มต้นจากการที่กองกำลังอาสาสมัครรักษาดินแดน (อส.) เข้าสอบถามหาต้นตอใบปลิวจากผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ใกล้เคียง และเมื่อผู้ใหญ่บ้านสอบถามลูกบ้าน ก็มีคนนำใบปลิวดังกล่าวมามอบให้และซัดทอดว่าได้มาจากจำเลย โดยจำเลยนำมาจากใต้หลังคาเถียงนาแล้วนำมาให้อ่าน จากนั้นผู้ใหญ่บ้านได้นำเอกสารของกลางไปมอบให้ปลัดอำเภอ และปลัดอำเภอจึงแจ้งผู้บังคับบัญชาก่อนจะเป็นผู้ไปร้องทุกข์กล่าวโทษกับตำรวจ

ตำรวจในพื้นที่เบิกความในศาลว่า ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนเรื่องดังกล่าวและส่งเรื่องต่อไปยังคณะ กรรมการพิจารณาคดีหมิ่นระดับภาค ไปจนถึงระดับชาติ

ขณะที่ฝ่ายจำเลย ปฏิเสธว่าในวันดังกล่าวไม่ได้อยู่ที่เถียงนา ภรรยาไปงานวันเกิดหลานและตัวจำเลยก็กำลังสีข้าวอยู่ด้านหลัง ไม่ได้อยู่ที่เถียงนา ขณะที่เถียงนาก็มีธงเฉลิมพระเกียรติ มีพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง พระราชินี อยู่ภายในด้วย  นอกจากนี้ในการต่อสู้คดียังมีการรวบรวมรายชื่อของชาวบ้านในหมู่บ้านจำนวน 67 คนลงชื่อเพื่อรับรองความประพฤติของจำเลยว่าไม่เคยมีพฤติกรรมที่กระทบต่อความมั่นคง

สิ่งที่น่าสนใจปรากฏอยู่ในคำพิพากษา

ศาลระบุว่า

1.จำเลยผิดตามฟ้อง โดยให้เหตุผลหลักๆ ว่า ที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุนั้นไม่มีการนำพยานส่วนอื่นมายืนยัน และพยานโจทก์ก็เบิกความสอดคล้องกัน ประกอบกับผู้ใหญ่บ้านและปลัดอำเภอก็เป็นข้าราชการที่ทำตามหน้าที่ ไม่มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลย

2.แต่ไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าจำเลยเป็นผู้ผลิตใบปลิวดังกล่าว 

3.มีการอ้างถึงบริบททางการเมืองในคำพิพากษา โดยระบุว่า ในช่วงเวลานั้นมีความเคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชนหลายกลุ่มที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน จำเลยย่อมได้รับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองจากสื่อต่างๆ

4.มีการอ้างถึงความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ชี้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งจำเลยมีความประพฤติเรียบร้อย ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยมีพฤติการณ์เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เห็นสมควรให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดี

5. ครั้งนี้น่าจะเป็นครั้งแรกที่มีการตัดสินโทษขั้นนต่ำสุดคือ 3 ปี (โดยปกติเรามักจะเห็นการกำหนดที่ราว 5-6 ปีต่อหนึ่งกรรม) ทำให้สามารถกำหนดให้รอการลงโทษหรือรอลงอาญาได้ โดยกำหนดไว้ที่ 2 ปี ให้คุมความประพฤติจำเลยและให้รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง กระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณะประโยชน์เป็นเวลา 18 ชั่วโมงภายในกำหนด 1 ปี

 

คดีที่กำลังดำเนินอยู่

2.คดีโพสต์ข่าวไม่เป็นมงคล ทำหุ้นตก –  สืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว นัดพร้อม 19 ธ.ค.55

คดีนี้เป็นหนึ่งใน 4 คดีที่เกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2552 ซึ่งเป็นช่วงที่มีข่าวลือที่ทำให้ตลาดหุ้นไทยร่วงกราวรูด จำเลยเป็นโบรกเกอร์ในบริษัทแห่งหนึ่งถูกกล่าวหาว่าโพสต์ในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกันเกี่ยวกับข่าวลือดังกล่าว และถูกฟ้องว่ากระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14(2) ทั้งหมด 2 กรรม แม้จำเลยได้รับการประกันตัวแต่ถูกให้ออกจากงานทันทีหลังถูกจับกุมตัว

ประเด็นที่น่าสนใจคือ โดยปกติหลักฐานสำคัญที่มัดตัวผู้กระทำผิดในคดีเกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือ IP Address แต่กรณีนี้ผู้ดูแลเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกันรายหนึ่งยืนยันกับผู้สื่อข่าวว่าไม่มีการนำส่ง IP Address ของสมาชิกที่โพสต์ในบอร์ดให้กับเจ้าหน้าที่ ประกอบกับเว็บนี้มี server อยู่ต่างประเทศทำให้เชื่อได้ว่ากรณีนี้เจ้าหน้าที่ไม่ได้หลักฐานความเชื่อมโยงจาก IP Address   

ในการสืบพยาน เจ้าหน้าที่จากไอซีทีระบุว่า ทราบว่าผู้กระทำผิดใช้อีเมล์อะไรจาก "หน่วยงานลับด้านความมั่นคง" โดยระบุเชื่อมโยงว่าคือ "สำนักข่าวกรอง" "สภาความมั่นคง" จากนั้นได้ส่งอีเมล์หลอกล่อไปยังอีเมล์ดังกล่าวเมื่อผู้รับปลายทาง คลิ๊กลิงก์ดูก็จะทราบไอพี IP Address ของผู้รับทันที

อย่างไรก็ตาม ในการสืบพยานโจทก์ไม่มีการเปิดเผยที่มาข้อมูลของหน่วยงานลับดังกล่าวซึ่งเป็นจุดแรกของการเชื่อมโยงไปสู่ตัวผู้กระทำผิดว่าได้มาได้อย่างไร อีกทั้งไม่มีการเบิกตัวพยานจากหน่วยงานดังกล่าวมายืนยัน แต่มีเพียงการเบิกตัวเจ้าหน้าที่จากธนาคารสองแห่งมายืนยันว่าอีเมล์ที่เชื่อว่าใช้กระทำผิดนี้ได้ทำธุรกรรมกับธนาคาร และธนาคารเป็นผู้มอบข้อมูลให้เจ้าหน้าที่ว่าใครคือเจ้าของอีเมล์ดังกล่าว

วันที่ 19 ธ.ค.นี้ ศาลนัดพร้อมเพื่อฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หลังจากจำเลยยื่นคำร้องระบุว่า มาตรา 14(2) ขัดต่อ ม.40(3) ของรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ปรากฏในเว็บไซต์ของศาลแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามาตราดังกล่าวไม่ขัดรัฐธรรมนูญ หลายคนจึงเชื่อกันว่า มีความเป็นไปได้ที่ศาลจะอ่านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ต่อเนื่องไปกับการพิพากษาคดีในวันที่ 17 ธ.ค.นี้ 

เช่นเดียวกับกรณีของสมยศ พฤกษาเกษมสุข ซึ่งศาลนัดวันที่ 19 ธ.ค.เพื่อฟังคำวินิจฉัยของศาลธรรมนูญเช่นกัน และคำวินิจฉัยก็ปรากฏในเว็บไซต์ศาลแล้ว จึงมีความเป็นไปได้ว่า วันที่ 19 ธ.ค.นี้อาจได้ฟังคำพิพากษาคดีของสมยศอีกคดีหนึ่ง

 

 

ชื่อ

 

สถานะคดี

โทษ

คำพิพากษา
(บางส่วน)

ข้อกล่าวหา

1.ดารณี /ดา ตอร์ปิโด
 

 

อยู่ในเรือนจำตั้งแต่ชั้นจับกุม ก.ค.2551

ศาลอุทธรณ์

 

 

 

ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 18 ปี
ศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้รอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีทีการร้องว่าการพิจารณาคดีลับขัด รธน.

ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการพิจารณาคดีลับไม่ขัด รธน.

ศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาใหม่ ให้จำคุก 15 ป

แม้จำเลยจะเบิกความว่าไม่เจตนาจาบจ้วงล่วงเกินพระมหากษัตริย์ เพราะประเทศไทยอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีพระมหากษัตริย์ และต้องการปกป้องสถาบัน ไม่ให้ใครดึงมาเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่จากการพิจารณาจากเนื้อหาการปราศรัยทั้งหมด มิใช่แค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง จะเห็นว่าจำเลยกล่าวซ้ำหลายครั้ง แสดงให้เห็นว่าจำเลยกระทำด้วยเจตนา ไม่ใช่พลั้งเผลอ จำเลยจึงกระทำผิดตามฟ้อง

ปราศรัยที่สนามหลวง

 

ฟ้องตามมาตรา 112

2.สมยศ

 

 

อยู่ในเรือนจำ ตั้งแต่ชั้นจับกุม เม.ย.2554

 

 

สืบพยานเสร็จสิ้น ศาลนัดฟังคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 19 ธ.ค.55 หลังจำเลยยื่นคำร้องว่า ม.112 ขัดรัฐธรรมนูญ

(อย่างไรก็ตาม ในเว็บศาลรัฐธรรมนญปรากฏคำวินิจฉัยฉบับย่อแล้วว่า ม.112 ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ)

 

  รอคำพิพากษา

 

 

                          -

เป็นบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin ซึ่งตีพิมพ์บทความเข้าข่ายหมิ่น 2 บทความ เขียนโดยนามแฝง จิตร พลจันทร์

 

ฟ้องตามมาตรา 112

 

3.สุรชัย

 

 

อยู่ในเรือนจำตั้งแต่ชั้นจับกุม ก.พ.2554

 

 

รับสารภาพ

ยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ

 

 

 

5 คดี

ตัดสินจำคุกคดีละ 5 ปี รับสารภาพลดเหลือคดีละ 2 ปีครึ่ง

รวมแล้ว 12 ปีครึ่ง

 

พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามปอ.ม.112 จำคุก 5 ปี จำเลยรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามปอ.ม.78 คงจำคุก 2 ปี 6 เดือน พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีประกอบกับรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติแล้ว เห็นว่าแม้ขณะกระทำผิดจำเลยมีอายุ 68 ปี แต่จำเลยมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองมาเป็นเวลายาวนาน ทั้งจำเลยเป็นผู้มีการศึกษา โดยสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงนับว่าจำเลยเป็นผู้มีวุฒิภาวะและมีความรู้ผิดชอบเป็นอย่างดีแล้ว นอกจากนี้ในช่วงเกิดเหตุเป็นช่วงที่สังคมไทยมีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง บ้านเมืองมีเหตุการณ์วุ่นวาย มีการแบ่งแยกเป็นฝักเป็นฝ่าย การที่จำเลยกล่าวถ้อยคำดังกล่าวย่อมเป็นการทวีความขัดแย้งในสังคม ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ตลาดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ต่างทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิการชาวไทย มิได้มีพฤติการณ์ตามที่จำเลยกล่าวอ้างแม้แต่น้อย พฤติการณ์แห่งคดีถือเป็นเรื่องร้ายแรง นอกจากนี้จำเลยเคยรับโทษจำคุกมาแล้วหลายครั้งแต่ไม่หลาบจำ จึงไม่สมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย

 

อภิปรายในเวทีเสวนา / ปราศรัยยังพื้นที่ต่างๆ

 

ฟ้องตามมาตรา 112  

 

4.ธันย์ฐวุฒิ

 

 

อยู่ในเรือนจำตั้งแต่ชั้นจับกุม เม.ย.2553

 

ถอนอุทธรณ์

ยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ

 

 

 

2 กรรม

จำคุกกระทงละ 5 ปี ตามมาตรา 112 และจำคุกตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 3 ปี รวมเป็น 13ปี

 

 

 

พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมาอาญามาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14(3),15 ความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ เป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ให้ลงโทษฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด ตามปอ.ม.90 จำคุก 10 ปี ฐานผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดในระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในความควบคุมของตน จำคุก 3 ปี การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามปอ.ม.91 รวมจำคุก 13 ปี ริบของกลาง

 

ดูแลเว็บไซต์นปช.ยูเอสเอ ซึ่งปรากฏข้อความหมิ่น 2 ข้อความ

 

ฟ้องตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยกากระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2551

 

 

5.เสถียร

 

 

อยู่ในเรือนจำตั้งแต่ชั้นจับกุม มี.ค.2554

 

รับสารภาพ ไม่อุทธรณ์

 

 

จำคุก 3 ปี

 

พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามปอ.ม.112 พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง, 82 การกระทำของจำเลยเป็นความผิด

หลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 91 ฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท จำคุก 6 ปี ฐานประกอบกิจการจำหน่ายวีดิทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้รับประโยชน์ตอบแทน โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ปรับ 100,000 บาท รวมจำคุก 6 ปี และปรับ 100,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ

ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 3 ปี และปรับ 50,000 บาท  หากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ริบของกลาง

 

ขายซีดีที่มีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่น

 

ฟ้องตามมาตรา 112
 

 

6.วันชัย

 

 

อยู่ในเรือนจำ (ไม่ทราบวันจับกุมคุมขังแน่ชัด)

 

ศาลชั้นต้นพิพากษา

 

2 คดี คดีแรกจำคุก 10 ปี คดีที่สองจำคุก5 ปี รวมทั้งสิ้น 15 ปี 

 

คดีแรก
พิเคราะห์ว่าจำเลยมีความผิดตามปอ.ม. 112 พฤติการณ์ของจำเลย นอกจากจะเป็นความผิดร้ายแรงที่กระทำต่อองค์พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงเป็นประมุข และทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะสูงสุดของประชาชนทั้งประเทศตลอด มาเป็นเวลาช้านานแล้ว การกระทำของจำเลยยังมีผลกระทบต่อความรู้สึกของปวงชนชาวไทยทั้งมวลอย่างรุนแรง สมควรต้องระวางโทษในขั้นสูง จึงกำหนดโทษจำคุก 15 ปี จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนและข้อเท็จจริงที่จำเลยนำสืบในชั้นพิจารณาก็ถือได้ว่าเป็นการรับว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดตามฟ้อง เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาทางคดีอยู่บ้าง กรณีมีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกจำเลยมีกำหนด 10 ปี ริบของกลางทั้งหมด

 

คดีที่สอง

จำเลยมีความผิดตามปอ.ม. 112 จำคุก 10 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 5 ปี

 

-กรณีแจกเอกสารให้ประชาชนจำนวนหลายคนซึ่งเป็นบุคคลที่สาม มีข้อความหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ (เม.ย.2552)

 

- กรณีนำเอกสารซึ่ง มีข้อความหมิ่นประมาทดูหมิ่นและแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวไปวางไว้บริเวณอาคาร 5 โรงเรียนสาธิต (ก.พ.2552)

 

 

7.เอกชัย

 

 

อยู่ในเรือนจำ 9 วันหลังถูกจับกุม (มี.ค.2554) จากนั้นได้รับการประกันตัว

 

ระหว่างสืบพยาน

 

สืบพยานจำเลยนัดหน้าวันที่ 22 ก.พ.56 ปาก ส.ศิวรักษ์ และจิตรา คชเดช

 

 

 

        -

 

 

                   -

 

กรณีขายซีดีสารคดีของสำนักข่าวเอบีซี ประเทศออสเตรเลีย และขายสำเนาเอกสารวิกิลีกส์

 

ฟ้องตาม ม. 112 และ พ.ร.บ. ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551

 

8.คธา

 

 

 

ถูกจับกุม พ.ย.2552 ได้รับการประกันตัว

 

 

สืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว

 

ศาลนัดพร้อม 19 ธ.ค.55 ฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมหลังจำเลยยื่นคำร้องว่า ม.14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ขัดรัฐธรรมนูญ

(อย่างไรก็ตาม ในเว็บไซต์ของศาลรัฐธรรมนูญปรากฏคำวินิจฉัยฉบับย่อแล้วว่า ม.14 (2) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ)

 

 

 

         -

 

 

 

                  -

 

กรณีถูกกล่าวหาเป็นผู้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับข่าวไม่เป็นมงคลทำให้หุ้นตก

 

ฟ้องตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ม.14(2), 14(3)

 

9. เจ๋ง ดอกจิก

 

 

ได้รับการประกันตัวแล้ว หลังจากถูกคุมขังราว 9 เดือน

 

 

 

อยู่ระหว่างสืบพยาน

 

(เจ๋งรับสารภาพในครั้งแรก แต่ตัดสินใจกลับคำให้การในภายหลังทนายแจ้งว่าเจ๋งเข้าใจผิดว่ารับสารภาพแล้วโทษจะน้อยหรือรอลงอาญา)

 

สืบพยานจำเลยนัดหน้า 11, 12 ธ.ค.55

 

 

       

         -

 

 

 

                  -

 

กรณีปราศรัยบริเวณสะพานผ่านฟ้า (29 มี.ค.53)

 

ฟ้องตาม ม. 112 พร้อมๆ กับข้อหาก่อการร้าย

 

10.อุทัย (ร้อยเอ็ด)

 

 

ศาลชั้นต้นพิพากษา

 

 

 

 

จำคุก 3 ปี รอลงอาญา

 

บำเพ็ญประโยชน์สาธารณะ 18 ชั่วโมง

 

 

พิเคราะห์แล้วขณะเกิดเหตุปี 52 มีการชุมนุม มีความขัดแย้งหลายกลุ่มจำเลยย่อมได้รับข้อมูลหลายทาง อีกทั้งความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของตำรวจก็มี ความเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ประกอบกับจำเลยมีความประพฤติเรียบร้อย ไม่เคยมีประวัติเป็นปฏิปักษ์กับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์เป็นประมุข ไม่พบหลักฐานว่าจำเลยทำใบปลิวขึ้นมา จึงเห็นควรให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็น พลเมืองดี โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี และให้รายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ 18 ชม. ภายใน 1 ปี

 

 

กรณีถูกกล่าวหานำเอกสารเข้าข่ายหมิ่นให้ผู้อื่นอ่าน

 

 

ฟ้องตาม ม.112

 

 

11.นาวาอากาศตรีชนินทร์

 

 

 

เข้ารายงานตัวต่อตำรวจและได้รับการประกันตัว พ.ย.2553

 

อยู่ระหว่างสืบพยานในศาลทหาร

 

สืบพยานโจทก์นัดหน้า ก.พ.56

 

(ผู้ไม่เกี่ยวข้องกับคดีไม่สามารถเข้าฟังการพิจารณาคดีได้)

 

ถูกพักราชการจนถึงปัจจุบันราว 2 ปี

 

 

 

 

 

                         -

 

กรณีถูกกล่าวหาโพสต์ข้อความเข้าข่ายหมิ่นในเฟซบุ๊ก จำนวน 24 ข้อความ

 

 

ฟ้องตาม ม.112 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 

 

12.อัศวิน (เชียงใหม่)

 

 

อยู่ระหว่างสืบพยาน

 

สืบพยานจำเลย เดือน ก.พ.56 ที่ศาลเชียงใหม่

 

 

 

 

      -

 

 

 

                        -

 

กรณีถูกคนรู้จักร้องทุกข์กล่าวโทษกล่าวหาว่าพูดจาเข้าข่ายหมิ่นสถาบัน

 

 

13.ชาวไทยเชื้อสายมลายู (ปัตตานี)

 

 

 

ระหว่างสืบพยาน ศาลจังหวัดปัตตานี

 

 

      -

 

 

                         -

 

กรณีถูกกล่าวหาว่านำแผ่นป้ายผ้าสองผืนซึ่งมีข้อความเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเหตุการณ์ความขัดแย้งอื่นๆ ในประเทศไปปิดไว้บนสะพานลอยคนข้ามถนน พร้อมกับพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

จำเลยถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าทีทหารและแจ้งว่าถูกบังคับ ทำร้ายร่างกายให้รับสารภาพในชั้นสอบสวน

 

ฟ้องตาม ม.112

 

อ่านรายละเอียดที่

http://freedom.ilaw.or.th/th/case/120#detail

 

*นำเสนอเฉพาะ 1.ข้อมูลคดีที่อยู่ในชั้นพิจารณาคดีเท่านั้น ไม่รวมคดีในชั้นสอบสวนและชั้นอัยการ 2.ข้อมูลคดีที่สิ้นสุดไปแล้วแต่ผู้ต้องขังยังอยู่ในเรือนจำ 3.เป็นข้อมูลเท่าที่กองบก.จะสามารถเข้าถึงได้ ส่วนหนึ่งนำมาจากเว็บ

**คำพิพากษาที่คัดลอกมานั้นบางส่วนนำมาจากเอกสารชั้นต้นซึ่งได้รับจากทนายจำเลย บางส่วนนำมาจากเว็บไซต์ศาลอาญา บางส่วนนำมาจากเว็บศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาสวัต บุญศรี: สื่อและการตรวจสอบบทบาทของ “กรรมการสิทธิมนุษยชน”

Posted: 27 Nov 2012 12:32 AM PST

เหตุการณ์ต่อเนื่องจากการใช้แก๊สน้ำตาเพื่อหยุดการเคลื่อนผู้ชุมนุมกลุ่มพิทักษ์สยามไม่ให้ผ่านสะพานมัฆวานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเช้าวันเสาร์ที่ 24 พฤศิกายน 2555 นั้น มีกลุ่มคนหลากหลายออกมาวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในทำนองตำรวจทำถูกต้องแล้วและเป็นลักษณะ "เกินกว่าเหตุ" แน่นอนไม่ต้องเดาว่าฝ่ายไหนพูดอย่างไร เอาเป็นว่าการใช้แก๊สน้ำตาครั้งนี้ถูกด่าขรมว่าไม่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนการสลายการชุมนุมที่สากลโลกพึงกระทำ

องค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการอย่างคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ต่อไปขอใช้โดยสั้นว่า กรรมการสิทธิฯ) ได้ออกมาติงการออกคำสั่งแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจในเหตุการณ์เช้าวันนั้นว่าใช้แก๊สน้ำตาเร็วไปหรือไม่ พร้อมแนะให้ใช้รถกระจายเสียงที่มีกำลังขับความดังที่มากกว่านี้เพื่อจะได้ส่งสารไปยังผู้ชุมนุมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และจะมีการประชุมกรรมการสิทธิฯ ต่อกรณีนี้ในวันพุธที่ 28 พฤศจิกายน (อ่านข่าวเต็ม ๆ ได้ที่ http://www.thairath.co.th/content/pol/308995)

ข่าวนี้สร้างความไม่พอใจให้แก่ฝ่ายผู้สนับสนุนรัฐบาลไม่น้อย มีการกล่าวเสียดสีแดกดันพบเห็นได้ตามหน้าเฟซบุ๊คว่ากรรมการสิทธิฯ มีสองมาตรฐาน การชุมนุมของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลเพื่อไทยมักได้รับการจับตาและพร้อมเป็นปากเสียงให้เสมอ ในทางกลับกันการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ นปช. เมื่อพฤษภาคม 2553 กลับได้รับการเพิกเฉย ทั้ง ๆ ที่มีผู้เสียชีวิตจากกระสุนจริงปลิดชีพถึง 98 ชีวิต) หากเมื่อเทียบระดับความรุนแรง จำนวนผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตแล้ว เหตุการณ์ปี 2553 ถือเป็นเหตุการณ์น่าสะพรึงกลัวที่มีการสังหารกันกลางกรุง ทว่ากรรมการสิทธิฯ แทบไม่ออกปากวิพากษ์วิจารณ์ผู้สั่งการเลยแม้แต่น้อย

ผู้ติดตามการเมืองหลายคนตั้งคำถามต่อกรรมการสิทธิฯ ถึงบรรทัดฐานในการพิจารณาเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่าสิ่งใดคือการละเมิดหรือไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนบ้าง รวมถึงบทบาทในการออกมาพูดต่อสาธารณะ เพราะดูหลายครั้งหลายเหตุการณ์ที่ชาวบ้านผู้ติดตามการเมืองมองเห็นว่านี่เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชน (โดยเฉพาะในทางการเมือง) กรรมการสิทธิฯ ก็ดูนิ่งเฉยจนไม่รู้แน่ว่าบทบาทเหล่านี้ควรมีตอนไหนอย่างไร

เท่าที่ผมติดตามอ่านข่าวทุกวี่ทุกวัน ได้คุยกับนักข่าวที่รู้จัก เราก็มักมีการพูดถึงกรรมการสิทธิ์ฯ ในแง่การตั้งคำถามต่อหน้าที่ บทบาท (และโดยมากมักทำกันแบบเล่น ๆ ด้วยลีลาแดกดันประชดประชัน) แต่โดยจริง ๆ แล้วยังไม่มีการสำรวจ ตรวจสอบ การทำงานของบุคคลกลุ่มนี้อย่างจริงจัง โดยลักษณะองค์กร กรรมการสิทธิฯ ก็มีหน้าที่ไม่ต่างจาก Watchmen ที่คอยเฝ้าดูความไม่เป็นธรรมในสังคม แล้วทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนในการยื่นฟ้องหรือเรียกร้องรักษาสิทธิอันถูกละเมิด ทว่าตัว Watchmen เองก็ต้องถูกตรวจสอบได้เช่นกัน มิฉะนั้นแล้วอำนาจที่มีอยู่ในมือ หากถูกใช้อย่างบิดเบือน ก็รังแต่จะสร้างปัญหาตามมา

ตัวสื่อมวลชนเองน่าจะเป็นกลุ่มองค์กรที่เหมาะสมที่สุดในการตรวจสอบการทำงานของกรรมการสิทธิฯ อย่างจริงจัง คำถามที่พึงถามเพื่อความกระจ่างคือ บรรทัดฐานใดที่กรรมการสิทธิฯ ใช้เป็นเครื่องมือในการวัดสถานการณ์ว่าเรื่องใด "ละเมิด" หรือ "ไม่ละเมิด" เพราะตอนนี้ดูการวัดน้ำหนักชั่งตวงดูไม่มีเกณฑ์กลางหรือหลายครั้งก็ไม่ตรงกับความรู้สึก หากมีการทักท้วงหรือตรวจสอบจากสื่อมวลชนบ่อยครั้งต่อมาตรฐาน ย่อมส่งผลให้ถูกจับตามองโดยสังคมอย่างสม่ำเสมอ

สืบเนื่องจากบรรทัดฐาน บทบาทในการพูดต่อสาธารณะต้องเป็นสิ่งที่สื่อจับตามองและวิเคราะห์วิพากษ์อย่างแข็งขัน โดยเฉพาะกรณีที่รุนแรงแต่ไม่พูด (หรือแสร้งปิดตาไม่รู้ไม่เห็น) เพราะการแถลงต่อสาธารณะของกรรมการสิทธิฯ นั้นต้องมีลักษณะที่เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติในทำนองคนกลุ่มหนึ่งถูกปฏิบัติถูกละเมิดไม่เป็นไร แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งโดยกระทำแล้วเต้นเร่าออกมาเป็นปากเสียงแทนทันที ที่ผ่านมาการทำงานของกรรมการสิทธิฯ ช่างน่าสงสัยยิ่งต่อการเป็นกลาง และมองเหตุการณ์โดยไม่ใช้อคติเป็นสำคัญ

หากกรรมการสิทธิฯ ยังปฏิบัติงานโดยขาดการตรวจสอบอย่างจริงจัง แถมหลาย ๆ ครั้งยังคล้ายกับมีอคติเป็นตัวนำในการเลือกปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ เพียงเพราะไม่เกรงกลัว โดยถือตนเป็นองค์กรอิสระ เชื่อได้ว่าในระยะอันใกล้กรรมการสิทธิฯ ย่อมเผชิญกับวิกฤติศรัทธายิ่งกว่าทุกวันนี้เป็นแน่ ดังนั้นเป็นการดีที่สังคมโดยเฉพาะสื่อมวลชนจะต้องจับจ้อง จับตามอง ตั้งคำถามต่อการทำงานของกรรมการสิทธิฯ อย่างเข้มข้น

ผมเองเชื่อมั่นสื่อมวลชนในการเเป็นธงนำสำหรับเรื่องนี้ และคาดว่าเราจะได้เห็นองค์กรอิสระองค์กรนี้ที่โปร่งใสมากขึ้น

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น