ประชาไท | Prachatai3.info |
- นักวิทยาศาสตร์พัฒนา 'อนุภาคนาโน' เพื่อรักษาโรค
- นักวิทยาศาสตร์พัฒนา 'อนุภาคนาโน' เพื่อรักษาโรค
- อัยการสั่งฟ้อง "สนธิ" และแกนนำพันธมิตรฯ คดีชุมนุมล้อมทำเนียบ-สภาปี51 20 พ.ย.นี้
- 'โอบามา' เยือนพม่าในทริปครั้งประวัติศาสตร์
- อธิป จิตตฤกษ์: Hate Speech: ความเข้าใจเบื้องต้นและประเด็นพิจารณาในการปราบปราม
- บันทึกเดินทาง: ‘พีมูฟ’ ร่วมเวทีประชาชนรากหญ้าอาเซียน
- ประชาสังคมประกาศบอยคอตปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 11 - 17 พ.ย. 2555
- บารัค โอบามา
- วุฒิสภาเลือกซูเปอร์บอร์ด กสทช. คัด 10 คน รอโหวตลับเหลือ 5 คน
- แฉแดงเมืองเลย รับจ้างเหมืองทองขวางชาวบ้านร่วมเวทีพับลิคสโคปปิ้ง
- 4 องค์กรสุขภาพหวั่นเร่งเจรจาการค้าเสรีขัดขวางการพัฒนาระบบยาของไทย
- คลองไทรพัฒนาระอุ! สมาชิก 'สกต.' ถูกยิงเสียชีวิต 2 ราย
- พนมสารคามช้ำ โรงไฟฟ้าอาศัยช่องว่าง 'ผังเมือง' เดินเรื่องขออนุญาต
- Smartphone กับการส่งเสริมสุขภาพระดับนานาชาติ กรณีศึกษา BlackBerry
นักวิทยาศาสตร์พัฒนา 'อนุภาคนาโน' เพื่อรักษาโรค Posted: 19 Nov 2012 10:27 AM PST
นักวิทยาศาสตร์จากม.นอร์ทเวสท์เทิร์น สหรัฐฯ พัฒนาดัดแปลงอนุภาคขนาดเล็กระดับนาโน ซึ่งสามารถช่วยรักษาโรคจากระบบภูมิคุ้มกันเช่น โรคปลอกหุ้มเส้นประสาทอักเสบ โดยยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเพียงบางตัว ไม่ให้ทำลายร่างกายตัวเอง แทนการใช้ยาที่ยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันทั้งหมด เมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่ผ่านมา นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสท์เทิร์นในสหรัฐฯ ที่ได้รับทุนจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ได้พัฒนาดัดแปลงอนุภาคขนาดเล็กมากซึ่งสามารถช่วยรักษาโรคสำคัญๆ อย่าง โรคปลอกหุ้มเส้นประสาทอักเสบ, โรคเบาหวานชนิดที่ 1, โรคภูมิแพ้ และโรคแพ้อาหาร การรายงานของ The Independent ระบุว่า โรคดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเข้าจู่โจมตัวร่างกายเอง เมื่อปรับสภาพอย่างดีแล้ว อนุภาคนาโนจะสามารถหยุดการกระทำของภูมิคุ้มกันไม่ให้เข้าจู่โจมร่างกายของผู้ใช้ได้ โดยปกติแล้วยาที่ใช้ในการรักษาโรคเหล่านี้จะทำการยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันทั้งหมด ทำให้ผู้ป่วยยิ่งไวต่อการติดเชื้อและโรคมะเร็ง แต่ในอนาคตผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาโดยอนุภาคนาโนซึ่งทำการเลือกยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันเฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดโรคได้ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสท์เทิร์นได้ทำการทดลองโดยใช้เทคนิคดังกล่าวเพื่อยับยังโรคปลอกหุ้มเส้นประสาทอักเสบในหนูทดลอง โรคปลอกหุ้มเส้นประสาทอักเสบเกิดขึ้นจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเข้าจู่โจมเยื่อหุ้มไมอีลินซึ่งครอบเส้นใยประสาทในสมองและเส้นประสาทไขสันหลัง ทำให้เกิดอาการชาไปจนถึงเป็นอัมพาต เหล่านักวิทยาศาสตร์ได้ฉีดอนุภาคนาโนเข้าไปเกาะกับไมอีลินแอนติเจนโปรตีน เพื่อยับยั้งไม่ให้ระบบภูมิคุ้มกันคิดว่าเยื่อหุ้มไมอีลินเป็นผู้รุกรานร่างกาย ซึ่งทำให้ภูมิคุ้มกันกลับสู่สภาพเดิมและยับยั้งการจู่โจม สตีเฟน มิลเลอร์ ศาตราจารย์ด้านจุลชีววิทยาผู้ที่เขียนบทวิจัยลงในวารสารเนเจอร์ ไบโอเทคโนโลยี กล่าวว่า "นี่เป็นการค้นพบที่สำคัญมาก ความงดงามของเทคโนโลยีใหม่นี้คือการใช้มันกับโรคที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันได้หลายโรค เราแค่เปลี่ยนแอนติเจนที่ถูกส่งเข้าไป" "พวกเราได้นำอนุภาคเหล่านี้เข้าไปในตัวสัตว์ที่มีโรคคล้ายกับโรคปลอกหุ้มเส้นประสาทอักเสบชนิดเป็นๆ หายๆ (relapsing remitting multiple sclerosis) และสามารถหยุดยั้งมันได้ พวกเราสามารถป้องกันการกำเริบของโรคได้มากถึง 100 วัน ซึ่งเปรียบเทียบได้กับหลายปีในกรณีของผู้ป่วยที่เป็นคน" มิลเลอร์กล่าว ทางองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ได้ให้การรับรองอนุภาคนาโนนี้แล้วในการใช้งานแบบอื่น และสามารถนำมาผลิตเพื่อการรักษาได้ถูกกว่าวิธีการอื่น นักวิจัยยังได้แสดงให้เห็นในห้องทดลองอีกว่า อนุภาคนาโนดังกล่าวยังสามารถใช้ป้องกันโรคจากระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคภูมิแพ้บางชนิด นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้กับผู้ปลูกถ่ายอวัยวะเพื่อลดปัญหาการที่ร่างกายปฏิเสธอวัยวะใหม่ โดยการสอนให้ระบบภูมิคุ้มกันรุ้ว่าอวัยวะที่ปลูกถ่ายไม่ใช่สิ่งภายนอกร่างกาย ที่มา Scientists develop nanoparticle method to help tackle major diseases, The Independent, 18-11-2012
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
นักวิทยาศาสตร์พัฒนา 'อนุภาคนาโน' เพื่อรักษาโรค Posted: 19 Nov 2012 09:06 AM PST นักวิทยาศาสตร์จาก ม.นอร์ทเวสท์ เมื่อวันที่ 18 พ.ย. ที่ผ่านมา นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ เนื้อความจาก The Independent ระบุว่า โรคดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่ โดยปกติแล้วยาที่ใช้ในการรั นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลั เหล่านักวิทยาศาสตร์ได้ฉีดอนุ สตีเฟน มิลเลอร์ ศาตราจารย์ด้านจุลชีววิทยาผู้ที "พวกเราได้นำอนุภาคเหล่านี้เข้ ทางองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ได้ให้การรับรองอนุภาคนาโนนี้ นักวิจัยยังได้แสดงให้เห็นในห้ ที่มา Scientists develop nanoparticle method to help tackle major diseases, The Independent, 18-11-2012 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
อัยการสั่งฟ้อง "สนธิ" และแกนนำพันธมิตรฯ คดีชุมนุมล้อมทำเนียบ-สภาปี51 20 พ.ย.นี้ Posted: 19 Nov 2012 08:55 AM PST อัยการสั่งฟ้อง 'สนธิ-เเกนนำพธม.' คดีชุมนุมล้อมทำเนียบ-สภาปี51 เตรียมนำตัวส่งศาล20 พ.ย.นี้ ทนายเผย "สนธิ" พร้อมมาพรุ่งนี้ 9 โมง ส่วนบางรายขอเลื่อนเหตุรอเงินประกันตัวจากกองทุนยุติธรรม 19 พ.ย.55 ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก นายประยุทธ ป.สัตยารักษ์ อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 กล่าวถึงความคืบหน้าคดีแกนนำพันธมิตรฯ ชุมนุมหน้ารัฐสภาและบุกรุกทำเนียบรัฐบาล และรวมทั้งคดีนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ หมิ่นประมาท พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนายเนวิน ชิดชอบ เเกนนำพรรคภูมิใจไทย ว่าในวันพรุ่งนี้ (20 พ.ย.) อัยการคดีอาญา 10 นัดส่งตัวนายสนธิยื่นฟ้องต่อศาลอาญา 3 สำนวน ประกอบด้วย 1. คดีที่นายสนธิและพวกรวม 20 คนชุมนุมที่รัฐสภาเมื่อวันที่ 5-7 ต.ค. 2551 2. คดีที่นายสนธิและกับพวกรวม 6 คนบุกเข้าทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 26-31 ส.ค. 2551 3. คดีที่นายสนธิหมิ่นประมาท พ.ต.ท.ทักษิณ โดยทนายของนายสนธิได้ติดต่อและแจ้งให้ทราบว่านายสนธิพร้อมจะเดินทางมาที่ศาลในวันพรุ่งนี้ ส่วนจำเลยคนอื่นๆ ถ้าไม่เดินทางมาที่ศาลในพรุ่งนี้โดยไม่แจ้งเหตุผลและความจำเป็นในการขอเลื่อนเพื่อฟังคำสั่งคดีก็จะเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องตามจับกุมต่อไป ส่วนคดีที่นายสนธิหมิ่นประมาทนายเนวินนั้น อัยการยังจะไม่ได้ยื่นฟ้องนายสนธิในวันพรุ่งนี้ เนื่องจากทางอัยการมีความเห็นไม่ฟ้องลูกชายนายสนธิซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาร่วมด้วย ยังต้องรอกระบวนการส่งความเห็นไปให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติพิจารณาว่ามีความเห็นแย้งกับความเห็นของอัยการหรือไม่ "เบื้องต้นคิดว่าจำเลยทั้งหมดคงจะมาตามนัด เเละหากยื่นฟ้องเเล้วก็จะต้องมีการยื่นประกันตัวไป ซึ่งอัยการไม่มีการคัดค้านการประกันตัวอยู่แล้วเพราะไม่ใช่คดีร้ายแรงอะไร ประกันตัวตกคนละ 9 หมื่นถึง 1 แสน" อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 10 กล่าว ด้าน น.ส.พวงทิพย์ บุญสนอง ทนายความของนายสนธิกล่าวว่า หลังจากทราบว่าอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องนายสนธิ 4 สำนวน ประกอบด้วย คดีบุกล้อมทำเนียบ-รัฐสภา เเละคดีหมิ่นประมาท พ.ต.ท.ทักษิณ เเละนายเนวิน ก็ได้มีการประสานอัยการว่านายสนธิจะเดินทางไปยังศาลอาญาพรุ่งนี้เวลา 09.00 น. เพื่อรออัยการส่งตัวยื่นฟ้องในคดีดังกล่าวเบื้องต้นได้เตรียมกรมธรรม์ประกันอิสรภาพเป็นหลักทรัพย์ยื่นประกันตัว ส่วนเเกนนำพันธมิตรฯ คนอื่นในคดีบุกล้อมทำเนียบรับสภาที่อัยการมีคำสั่งฟ้องด้วยนั้นจะได้มีการขอเลื่อนนัดกับอัยการเนื่องจากบางส่วนยังรอการอนุมัติความช่วยเหลือเงินประกันจากกองทุนยุติธรรม กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม สำหรับ สำนวนคดีนายสนธิ เเละเเกนนำพันธมิตร ฯ รวม 114 ราย ชุมนุมปิดล้อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ดอนเมือง เมื่อปี 2551 เเละคดีเเกนนำพันธมิตร ฯ 9 คน เป็นกบฏต่อเเผ่นดินนั้น อัยการยังพิจารณาสำนวนไม่เเล้วเสร็จ ซึ่งจะต้องรอฟังคำสั่งคดีในวันที่ 20 ธ.ค.นี้ เวลา 10.00น.
ที่มา : ASTV ผู้จัดการออนไลน์, คมชัดลึกออนไลน์
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
'โอบามา' เยือนพม่าในทริปครั้งประวัติศาสตร์ Posted: 19 Nov 2012 07:27 AM PST นับเป็นการเยือนพม่าครั้งแรกของปธน.สหรัฐ โดยได้เข้าพบกับปธน. เต็ง เส่ง และนางออง ซาน ซูจี ก่อนที่จะกล่าวปราศรัยที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ชี้การปฏิรูปในพม่าเป็นก้าวแรกของการเดินทางอีกยาวไกล ขณะที่มีรายงานว่าวันนี้ทางการพม่าปล่อยตัวนักโทษการเมืองอีก 66 คน 19 พ.ย. 55 - สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บารัค โอบามา ได้เดินทางเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์วันนี้ โดยได้เข้าพบกับประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของพม่า และผู้นำฝ่ายค้าน นางออง ซาน ซูจี และได้กล่าวปราศรัยที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังประเทศกัมพูชา โดยใช้เวลาเยือนพม่าทั้งหมดเป็นเวลา 6 ชั่วโมง ขณะที่มีรายงานว่าในวันเดียวกัน ทางการพม่าได้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองอีก 66 คน ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา พม่าได้ปล่อยตัวนักโทษจำนวน 518 คน แต่ไม่มีใครเป็นนักโทษการเมือง
โอบามาชี้ การปฏิรูปในพม่าเป็นก้าวแรกของการเดินทางที่ยาวนาน ในการแถลงข่าวร่วมระหว่างประธานาธิบดีโอบามาและเต็ง เส่ง ที่อดีตรัฐสภาในเมืองย่างกุ้ง ปธน. สหรัฐกล่าวถึงการปฏิรูปในพม่าว่า เป็นเพียงก้าวแรกของสิ่งที่จะเป็นการเดินทางที่ยาวนาน แต่การปฏิรูปทางประชาธิปไตยและเศรษฐกิจที่ได้ริเริ่มขึ้น จะสามารถนำไปสู่โอกาสด้านการพัฒนาอีกมากมาย ทั้งนี้ สำนักข่าวหลายแห่งได้ตั้งข้อสังเกตว่า โอบามาใช้คำเรียกประเทศพม่าว่า "เมียนมาร์" ซึ่งเป็นชื่อที่ผู้นำประเทศพม่าและอดีตผู้นำทหารเลือกใช้ แทนที่จะใช้คำว่า "เบอร์ม่า" ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในสหรัฐอเมริกา ด้านประธานาธิบดีเต็ง เส่ง กล่าวด้วยภาษาพม่าและแปลผ่านล่ามว่า ทั้งสองประเทศจะทำงานร่วมกัน "ด้วยความไว้วางใจ ความเคารพและความเข้าใจ" เขากล่าวต่อว่า "ในระหว่างการพูดคุย เราได้บรรลุข้อตกลงสำหรับการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่า และการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล" ออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) กับบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ระหว่างแถลงข่าวหน้าบ้านพักริมทะเลสาบอินยา ของนางออง ซาน ซูจี วันนี้ (19 พ.ย.) (ที่มา: The Myanmar Age) หลังจากนั้น โอบามา ร่วมกับรมต. กระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ฮิลลารี คลินตัน ได้เดินทางเข้าพบนางออง ซาน ซูจีที่บ้านของเธอบริเวณริมทะเลสาบ ซูจีได้กล่าวขอบคุณโอบามาสำหรับความสนับสนุนต่อกระบวนการปฏิรูปประชาธิปไตย และกล่าวเตือนให้ระวังถึง "ภาพลวงตาของความสำเร็จ" โดยย้ำว่าจำเป็นต้องทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงกับประชาชน ในขณะที่โอบามากล่าวว่า นางอองซานซูจีเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทั่วโลก และชี้ว่า การมาเยือนของทางการสหรัฐในครั้งนี้ นับเป็นก้าวต่อไปในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและพม่า โดยก่อนที่ปธน. สหรัฐจะเดินทางต่อไปกล่าวปราศรัยที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ทั้งสองได้กอดกัน และโอบามาได้จุมพิตนางซูจีบริเวณแก้ม ปล่อยตัวนักโทษการเมืองเพิ่มอีก 66 คน ในขณะที่วันเดียวกัน เว็บไซต์อิระวดี รายงานว่า ทางการพม่าได้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง 66 คน ในฐานะการนิรโทษกรรมที่จารึกการมาเยือนของปธน. สหรัฐ นักโทษการเมืองดังกล่าวประกอบด้วยสมาชิกกลุ่มสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู) กองทัพรัฐฉาน และแนวหน้านักศึกษาประชาธิปไตยพม่าทั้งมวล (ABFSD) เป็นต้น โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา มีรายงานว่าทางการพม่าได้ปล่อยตัวนักโทษ 452 คน แต่ไม่มีใครเป็นนักโทษการเมือง นักโทษการเมืองพม่าที่ได้รับการปล่อยตัววันนี้ (19 พ.ย.) ซึ่งเป็นช่วงที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา แห่งสหรัฐอเมริกาเดินทางเยือนพม่า นับเป็นประธานาธิบดีพม่าคนแรกที่มาเยือนพม่า (ที่มา: The Myanmar Age) เลทยาร์ ทูน อดีตนักเคลื่อนไหวนักศึกษา หนึ่งในผู้ถูกปล่อยตัวจากเรือนจำวันนี้ ให้สัมภาษณ์กับอิระวดีว่า เขารู้สึกว่ารัฐบาลพม่ากำลังใช้นักโทษการเมืองเป็นเบี้ยหมากทางการเมืองเพื่อการต่อรอง ในขณะที่องค์กรสิทธิมนุษยชนอย่างฮิวแมนไรท์วอทช์ ตำหนิการกระทำดังกล่าว และเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมดโดยทันที การเดินทางมาเยือนพม่าของปธน. โอบามา เกิดขึ้นท่ามกลางคำวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายแห่ง ซึ่งชี้ว่าเป็นการมาเยือนที่เร็วเกินไป และเป็นการให้รางวัลแก่รัฐบาลพม่าที่ยังประสบปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนักโทษการเมือง ความขัดแย้งทางชาติพันธ์ุ โดยเฉพาะความรุนแรงในรัฐยะไข่ แต่ในระหว่างการแถลงข่าวร่วมระหว่างโอบามาและยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเมื่อค่ำวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โอบามากล่าวว่า การเดินทางเยือนพม่ามิได้เป็น "การรับรอง" รัฐบาลพม่า หากแต่เป็นการให้ความสำคัญกับความคืบหน้าด้านการปฏิรูปที่ได้บรรลุ และเพื่อย้ำถึงการปฏิรูปอีกมากที่จำเป็นต้องมีอีกในอนาคต ที่มาภาพปก: The Myanmar Age ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
อธิป จิตตฤกษ์: Hate Speech: ความเข้าใจเบื้องต้นและประเด็นพิจารณาในการปราบปราม Posted: 19 Nov 2012 05:15 AM PST "บทความนี้จะมีลักษณะของการตั้งข้อสังเกตและตั้งคำถามคำถามมากว่าหาข้อสรุป ทั้งนี้ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่าผู้เขียนไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้าน Hate Speech เลย แต่เนื่องจากยังไม่เห็นผู้เชี่ยวชาญผู้ใดออกมาเขียนอะไรที่จะช่วยไกล่เกลี่ยข้อถกเถียงระหว่างผู้คนมันเป็นไปอย่างไม่ชวนสับสนมากขึ้น ซึ่งผู้เขียนจะพยายามชี้ให้เห้นในบทความนี้ว่าการถกเถียงที่เกิดขึ้นมีลักษณะ "เถียงกันคนละเรื่อง" อยู่ไม่น้อย" ในช่วงนี้บรรดาปัญญาชนและนักกิจกรรมจำนวนไม่น้อยมีการถกเถียงกันในประเด็นเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า Hate Speech ว่าเป็นสิ่งที่ควรจะทำการระงับยับยั้งหรือไม่ในสังคมไทย1 ผู้เขียนจึงคิดว่าควรจะเขียนอะไรออกมาบ้างตามที่ความรู้ของตนพึงมี ดังนั้นบทความนี้จะมีลักษณะของการตั้งข้อสังเกตและตั้งคำถามคำถามมากว่าหาข้อสรุป ทั้งนี้ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่าผู้เขียนไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้าน Hate Speech เลย แต่เนื่องจากยังไม่เห็นผู้เชี่ยวชาญผู้ใดออกมาเขียนอะไรที่จะช่วยไกล่เกลี่ยข้อถกเถียงระหว่างผู้คนมันเป็นไปอย่างไม่ชวนสับสนมากขึ้น ซึ่งผู้เขียนจะพยายามชี้ให้เห้นในบทความนี้ว่าการถกเถียงที่เกิดขึ้นมีลักษณะ "เถียงกันคนละเรื่อง" อยู่ไม่น้อย
อะไรคือ Hate Speech ? Hate Speech ในความหมายกว้างนั้นหมายถึงคำพูดหรือการสื่อสารใดๆ ก็ตามที่ก่อให้เกิดความเกลียดชังและนำไปสู่กายใช้ความรุนแรงทางกายภาพกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ในกรอบแบบนี้ตั้งแต่การโฆษณาชวนเชื่อเรื่องยิวของนาซี การปลุกระดมให้เกิดการสังหารหมู่ในรวันดา ไปจนถึงการปลุกระดมที่ส่งให้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาจึงถูกนับเป็น Hate Speech ทั้งสิ้น ปัญญาชนอย่างเกษียร เตชะพีระได้นิยาม Hate Speech อย่างสั้นและกระชับว่าคือว่า "Speech That Kills"2 ผู้เขียนอยากจะตั้งข้อสังเกตประการแรกว่า การพูดหรือการสื่อสารที่ทำให้คนฆ่ากันทันทีทันใดไม่น่าจะจัดเป็น Hate Speech การพูดครั้งเดียวทำให้เกิดการฆ่ากันเลยดูจะเป็นคำสั่งฆ่ามากกว่าที่จะเป็น Hate Speech ซึ่งความต่างนี้สำคัญมากในแง่กฎหมาย ลักษณะสำคัญของ Hate Speech คือมันทำงานผ่านการสะสมเป็นเวลานาน มันเกิดขึ้นซ้ำๆ จนมันทำให้เกิดผลทางการกระทำในท้ายที่สุด ประการต่อมา Hate Speech ไม่น่าจะใช่คำพูดหรือการสื่อสารที่ฆ่าคนได้โดยตรง มันต้องการตัวกลางในการดูดซึมอุดมการณ์ของ Hate Speech ไปกระทำการ คำพูดที่ฆ่าคนได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางเช่น การกล่าวอะไรบางอย่างแล้วคนช็อคหัวใจวายตาย กล่าวอะไรบางอย่างแล้วทำให้คนฆ่าตัวตาย หรือกระทั่งการท่องคาถาแล้วทำให้คนที่โดนคาถาตาย นั้นไม่น่าจะจัดเป็น Hate Speech ดังนั้นผู้เขียนจึงขอเสนอว่าโดยทั่วไป Hate Speech นั้นคือคำพูดหรือการสื่อสารที่มีลักษณะดังนี้3
ข้อเสนอแนะในการบัญญัติกฎหมายควบคุม Hate Speech สัมพันธภาพระหว่างความเกลียดชังกับความรุนแรงทางกายภาพดูจะทำให้ Hate Speech เป็น Hate Speech อย่างน้อยๆ โดยทั่วๆ ไปนั้นแม้แต่ฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการควบคุม Hate Speech เองก็ไม่ออกมายืนยืนว่าลำพังการทำให้เกิดความเกลียดชังแบบลอยๆ นั้นควรจะเป็นสิ่งที่สมควรถูกจำกัดทางกฎหมาย4 แต่การกล่าวอ้างที่สำคัญของฝ่ายสนับสนุนการควบคุมก็คือ Hate Speech นั้นนำไปสู่การกระทำที่เป็นความรุนแรงทางกายภาพ นี่หมายความว่า Hate Speech จะเป็น Hate Speech สมบูรณ์ได้ มันต้องเป็นการสื่อสารที่นำไปสู่การกระทำ ไม่ใช่การสื่อความเฉยๆ ซึ่งนี่คล้ายกับมโนทัศน์ Perlocutionary Act ของ J.L. Austin นักปรัชญาชาวอังกฤษ ผู้เขียนคิดว่าความสัมพันธ์ระหว่างความเกลียดชังที่การสื่อสารก่อให้เกิดกับความรุนแรงทางกายภาพที่จะเกิดจากความเกลียดชังนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้เพื่อจะยืนยันว่าการสื่อสารหนึ่งๆ เป็น Hate Speech โดยเฉพาะถ้าเราต้องการจะให้ Hate Speech มีผลในทางกฎหมาย กล่าวอีกแบบคือการกล่าวหาว่าการกระทำหนึ่งๆ เป็น Hate Speech นั้นต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าก่อให้เกิดความเกลียดชังและนำไปสู่ความรุนแรงทางกายภาพ ผู้เขียนเห็นว่าในทางกฎหมาย ผู้กล่าวหาว่าผู้อื่นก่อ Hate Speech ต้องเป็นผู้พิสูจน์ว่าคำพูดนั้นเป็น Hate Speech ไม่ใช่ผู้ที่ถูกกล่าวหาต้องพิสูขน์ว่าสิ่งที่ตนพูดไม่ได้เป็น Hate Speech ซึ่งนี่ก็เป็นหลักว่า "ผู้ต้องหาบริสุทธิ์จนกว่าจะถูกพิสูจน์ว่าผิด" ธรรมดา ผู้เขียนเห็นว่า "ภาระในการพิสูจน์" (burden of proof) ควรจะอยู่ที่ผู้กล่าวหาไม่ใช่ผู้ถูกกล่าวหา เพื่อป้องกันไม่ให้กฎหมาย Hate Speech มีลักษณะเป็น "กฎหมายหมิ่นอัตลักษณ์" ที่จะถูกใช้ในการป้ายสีทางการเมืองพร่ำเพรื่อ ทั้งผู้เขียนยังเห็นว่า Hate Speech ควรจะเป็นคดีความทางแพ่งที่มีการยอมความกันได้ไม่ควรจะเป็นความผิดอาญา หรือถ้าจะเป็นความผิดอาญาก็น่าจะมีความพิดเพียงลหุโทษเท่านั้น นอกจากนี้เจ้าทุกข์ของ Hate Speech ก็น่าจะเป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลจาก Hate Speech เท่านั้น กล่าวคือมันไม่ใช่สิ่งที่ใครควรจะฟ้องก็ได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนผู้หวังดีที่ "คาดเดาว่าจะมีผู้ได้รับผลกระทบจาก Hate Speech" ทั้งๆ ที่ตนไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง ทั้งนี้ไม่ว่าทั้งกระบวนการพิสูจน์ และเงี่อนไขสารพัดในการดำเนินคดี Hate Speech ที่ผู้เขียนเสนออาจกินเวลานาน แต่ผู้เขียนไม่คิดว่ามันจะเป็นปัญหา "ความยุติธรรมมาช้าเกินไป" เพราะสิ่งที่ทำให้ Hate Speech เป็น Hate Speech เองก็คือการต้องใช้เวลาในการทำงานของมัน Hate Speech จะทำงานได้ต้องมีการสะสมเป็นเวลานานดังนั้นมันจึงไม่ใช่ปัญหาเร่งด่วยโดยตัวมันเอง ถ้ามีกฏหมายแล้วปัญหาคือฝ่ายผู้เสียหายที่ปล่อยให้เกิด Hate Speech มาเป็นเวลานานจนมันสุกงอมและทำให้เกิดความรุนแรงทางกายภาพต่างหาก ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้เสียหายที่จะต้องเฝ้าระวัง Hate Speech และทำการระงับอย่างเนิ่นๆ และดำเนินคดี ผู้เขียนคิดว่าแนวทางนี้ยุติธรรมกับทุกๆ ฝ่าย ฝ่ายผู้เสียหายก็มีช่องทางปราบปราม และฝ่ายที่อาจถูกกล่าวหาโดยที่ไม่มีความผิดก็ไม่ต้องรับภาระทางกฎหมายที่มากเกินไปเพราะทางผู้เสียหายก็ต้องระมัดระวังการดำเนินคดีของตนเหมือนกัน และผู้ที่ไม่ใช่ผู้เสียหายก็ไม่สามารถจะเดือดร้อนแทนแล้วแจ้งให้รัฐดำเนินคดีได้
ปัญหาการทำให้การปราบ Hate Speech เป็นภาระเร่งด่วนของรัฐ: กรณีการปราบ Hate Speech บนอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ดีก็ยังมีผู้มองว่า Hate Speech ควรจะเป็นความผิดทางอาญาที่รัฐเข้ามาแทรกแซงอย่างจริงจังและเร่งด่วนอยู่ หลายๆ ฝ่ายดูจะเห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่รัฐจะต้องลงมาควบคุม Hate Speech โดยการยกตัวอย่างเหตุการณ์สังหารหมู่ครั้งใหญ่ๆ ของโลกไม่ว่าจะเป็นของนาซีหรือในรวันดาที่ Hate Speech เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ทำไปสู่การสังหารหมู่ไปจนถึงยกตัวอย่างงานวิจัยเชิงวิชาการที่ชี้ความเชื่อมโยงกันของ Hate Speech กับการสังหารหมู่เหล่านี้ ณ ตรงนี้ผู้เขียนคงจะข้ามงานวิจัยที่โต้แย้งข้อเสนอเหล่านี้ไปจนถึงข้อโต้แย้งง่ายๆ อย่างหลักฐานเชิงประจักษ์ของสังคมที่เต็มไปด้วย Hate Speech แต่ไม่มีการสังหารหมู่ หรือสังคมที่มีการสังหารหมู่โดยปราศจาก Hate Speech แต่จะมุ่งประเด็นปัญหาในเชิงนโยบายว่า การใช้อำนาจรัฐมาจัดการกับ Hate Speech นั้นจะสามารถป้องกันการสังหารหมู่ได้หรือไม่? อะไรคือต้นทุนที่สังคมต้องจ่ายในการควบคุม Hate Speech ในยุคนี้สมัยนี้? เท่าที่ผู้เขียนสังเกต แม้แต่ฝ่ายผู้ที่ต่อต้าน Hate Speech เองก็ยังไม่ได้ยกหลักฐานว่าการระงับยับยั้งและควบคุม Hate Speech โดยรัฐจะสามารถป้องกันการสังหารหมู่หรือกระทั่งการก่อความรุนแรงทางกายภาพได้ การพิสูจน์ว่า Hate Speech เป็นส่วนหนึ่งของการสังหารหมู่ กับการพิสูจน์ว่าการกำราบ Hate Speech จะหยุดการสังหารหมู่จะเป็นคนละเรื่องกัน สมมติว่ามีข้อพิสูจน์ที่หนักแน่นว่าการกำราบ Hate Speech จะนำไปสู่การป้องกันการสังหารหมู่ได้ สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อคือต้นทุนและความเป็นไปได้ของการควบคุม Hate Speech ในยุคสมัยนี้ และสิ่งที่ผู้เขียนอยากจะยกก็คือการควบคุม Hate Speech บนอินเทอร์เน็ต เนื่องจากเป็นสื่อหลักที่จะมีบทบาทมากในการเผยแพร่ Hate Speech ไปเรื่อยๆ ในอนาคต หรืออีกนัยหนึ่งผู้เขียนเสนอว่าถ้าควบคุม Hate Speech บนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ การควบคุม Hate Speech บนสื่อกระแสหลักอื่นๆ ก็ดูจะเป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าประสงค์ในการควบคุม Hate Speech แต่แรกซึ่งคือการลดความเป็นไปได้ของความรุนแรงทางกายภาพอันเกิดจาก Hate Speech คำถามคือเราจะควบคุมการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตอย่างไรในทางเทคนิค? การควบคุมการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เท่าที่ผู้เขียนได้รับรู้มาจากมิตรสหายผู้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศการควบคุมอินเทอร์เน็ตผูกโยงกับสถาปัตยกรรมของอินเทอร์เน็ตในตอนที่มีการวางโครงสร้างอินเทอร์เน็ตของประเทศหนึ่งๆ ด้วยว่ารวมศูนย์หรือไม่ ตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแบบรวมศูนย์ที่รัฐสามารถเข้าถึงการไหลเวียนของข้อมูลทั้งหมดก็ได้แก่จีน และ "The Great Firewall of China" หรือระบบการบล็อคอินเทอร์เน็ตอันแทบจะสมบูรณ์แบบของจีนก็เป็นไปได้จากสถาปัตยกรรมนี้ ในรัฐอื่นๆ ทั่วไปสถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ตจะเป็นแบบไม่มีศูนย์กลาง ผู้มีสิทธิอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลที่ไหลเวียนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคือบรรดาผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั้งหลายหรือที่เรียกกันว่า ISP มาตรการการสอดส่องอินเทอร์เน็ตได้แก่มาตรการกดดันให้ ISP ทำการสอดส่องเนื้อหาในเครือข่ายว่ามีเนื้อหาที่ผิดกฎหมายหรือไม่ อย่างไรก็ดีนี่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ในทางเทคนิค เพราะโดยทั่วไปกฎเกณฑ์การสอดส่องจะเป็นไปได้หลักการหลักการ "อ่าวปลอดภัย" (safe harbour) ซึ่งหมายความว่าทาง ISP ทั้งหลายจะมีภาระที่จะต้องจัดการกับเนื้อหาที่ผิดกฎหมายต่อเมื่อมีการร้องเรียนเท่านั้น ทาง ISP ไม่ได้มีภาระหน้าที่จะสอดส่องให้พบกิจกรรมผิดกฎหมายให้พบแล้วรายงานรัฐ ซึ่งแนวทางนี้ก็ดูจะเป็นการเรียกร้องเกินไปกับ ISP เพราะนอกจากเนื้อหาที่ทาง ISP จะต้องสอดส่องจะมหาศาลที่จะสร้างปัญหาด้านต้นทุนและประสิทธิภาพในการบริการของ ISP แล้ว นอกจากนี้สิ่งที่ "ผิดกฎหมาย" หลายๆ อย่างนั้นรัฐก็ไม่มีสิทธิจะดำเนินคดีโดยปราศจากเจตจำนงของเจ้าทุกข์ด้วย กรณีของความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในหลายๆ ประเทศก็เป็นตัวอย่างที่ดี ที่เลวร้ายกว่านั้น การให้สิทธิรัฐในการสอดส่องเนื้อหาทั้งหมดบนอินเทอร์เน็ตมันยังเป็นการสร้างเครื่องจักรในการสอดส่องกิจกรรมของประชาชนอันสมบูรณ์แบบ ที่นอกจากจะละเมิดความเป็นส่วนตัวของการสื่อสารโดยสิ้นเชิงแล้ว การให้เครื่องมือแบบนี้กับรัฐก็ดูจะเป็นการปูทางไปสู่โลกแบบนิยาย 1984 แบบกลายๆ นี่เป็นเหตุผลที่หลายๆ คนออกมาต่อต้านนโยบายรับสารพัดทุกรูปแบบที่มีแนวโน้มแบบนี้ ซึ่งค่อยๆ คืบคลานมาในปี 2012 นี้ในโฉมหน้าที่ต่างๆ กันไม่ว่าจะเป็นการปราบปรามละเมิดลิขสิทธิ์ของ SOPA และ ACTA หรือการผลักดันกฏหมายปราบปรามสิ่งลามกอนาจารย์เด็ก (Child Porn) อันเป็นอาวุธสำคัญในการจำกัด Free Speech หรือการเซ็นเซอร์สารพัดที่แม้แต่โลกตะวันตกเองก็ไม่สามารถทัดทานโดยการอ้างว่าสิ่งลามกอนาจารย์เด็กมีความชอบธรรมได้เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ การพยายามควบคุม Hate Speech บนอินเทอร์เน็ตให้ได้อย่างเฉียบขาดก็ไม่ได้ต่างจากการควบคุมการติดต่อสื่อสารชนิดอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ตที่อาจเป็นการประเคนอภิมหาเครื่องจักรแห่งการสอดส่องไปสู่มือรัฐ คำถามคือเราพร้อมหรือเปล่าที่จะจ่ายความเสี่ยงทางการเมืองที่จะให้เครื่องมือในการสอดส่องชั้นยอดกับรัฐซึ่งทำให้สิทธิในความเป็นส่วนตัวบนอินเทอร์เน็ตของเราสูญไปเพียงเพื่อเราจะป้องกันไม่ได้มี Hate Speech บนอินเทอร์เน็ต? พูดง่ายๆ ให้รวบรัดที่สุดคือ เราพร้อมจะเสี่ยงเสียความเป็นส่วนตัวบนอินเทอร์เน็ตไปเพื่อการลดความเสี่ยงในการเกิดความรุนแรงที่เกิดจาก Hate Speech หรือไม่? เพราะสุดท้ายการให้รัฐเข้ามาปราบ Hate Speech นั้นประชาชนก็ไม่ได้เสียแค่ Free Speech ที่เป็นนามธรรม แต่ยังเสียสิทธิพลเมืองย่อยๆ อื่นๆ ไปจนถึงเสียงบประมาณสาธารณะซึ่งเป็นต้นทุนดำเนินงานปราบ Hate Speech ของรัฐด้วย และที่จะต้องพิจารณาสุดท้ายก็คือ ถึงเราให้สิทธิอำนาจรัฐในการปราบปราม แต่รัฐจะมีปัญญาปราบปรามหรือไม่? ถ้าเราให้รัฐออกกฎหมายที่รัฐจะไม่มีความสามารถการบังคับใช้ได้อย่างสมบูรณ์ สิ่งที่จะตามมาก็คือการเลือกบังคับใช้กฎหมายของเจ้าพนักงาน ซึ่งก็เป็นการตอกย้ำวงจรการคอร์รัปชั่นในระบบราชการเข้าไปอีก
เชิงอรรถ 1 ผู้เขียนพบว่าจุดเริ่มการถกเถียงน่าจะเกิดจาการพี่เพจ เชิญมาเป็นชาว "คิด" โพสต์รูปภาพที่มีป้ายข้อความว่า "HATE SPEECH Is NOT FREE SPEECH" (ข้อความตามต้นฉบับ) (ดู https://www.facebook.com/photo.php?fbid=460970737287293&set=a.414662268584807.114272.414661088584925&type=1&ref=nf) แล้วก็เกิดมีการโต้แย้งขึ้น หลังจากนั้น "ปัญญาชนสาธารณะ" ส่วนหนึ่งก็เสนอความคิดของตนบนเพจตัวเองแล้วเพจจำนวนหนึ่งก็ได้ทำภาพโควตเพื่อนำเสนอความเห็นของปัญญาชนเหล่านั้น (เช่น เพจวิวาทะ หรือ เพจ Prachatai) ซึ่งก็ทำให้ข้อถกเถียงขยายต่อไปอีกเรื่อยๆ 2 ดู http://blogazine.in.th/blogs/kasian/post/3764 หรือ http://blogazine.in.th/blogs/kasian/post/3780 3 นี่เป็นนิยามที่ผู้เขียนสังเคราะห์จากสิ่งที่ถูกจัดว่าเป็น Hate Speech ซึ่งต่างจาก "กติกาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง" ที่เสนอว่า "การสนับสนุนให้เกิดด้วยความเกลียดชังทางสัญชาติ, เชื้อชาติหรือศาสนาเพื่อยั่วยุให้เกิดการดูถูกเหยียดหยาม, ความเป็นศัตรู หรือความรุนแรงสามารถถูกจำกัดได้ตามกฎหมาย" (ดู http://prachatai.com/journal/2012/11/43729) ซึ่งตามมาตรฐานแบบนี้ การ "สังหารหมู่" ทั้งหลายในไทยที่วางอยู่บนฐานการออกใบอนุญาติฆ่าบนฐานของ "อัตลักษณ์ทางการเมือง" ก็ยากจะจัดเป็น Hate Speech ตามกติกาสากลฯ เพราะสิ่งที่กติกาสากลคุ้มครองมีเพียงอัตลักษณ์ "สัญชาติ, เชื้อชาติหรือศาสนา" เท่านั้น ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ปัญญาชนไทยจำนวนมากยากจะเห็นด้วยเพราะพวกเขาก็มองว่า Hate Speech บนฐานของความต่างของอัตลักษณ์ทางการเมืองนั้นนำไปสู่เหตุการณ์อย่างการล้อมปราบนักศึกษาธรรมศาสตร์ 6 ตุลาคม 2519 หรือ เหตุการณ์สลายการชุมนุมของ นปช. ในเดือนพฤษภาคม 2553 นี่คือความแตกต่างในการนิยาม Hate Speech ที่เป็นเรื่องที่เกินเลยไปจากเนื้อหาหลักของบทความนี้ 4 ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นยืนยันแบบนั้นผู้เขียนก็กังขาว่าการเมือง (หรือให้ตรงกว่านั้นคือ "ความเป็นการเมือง") จะเป็นไปได้อย่างไร เพราะการทำให้เกิดความเกลียดชังฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองมันก็เป็นแก่นสารของเสรีประชาธิปไตยในภาคปฏิบัติอยู่แล้วที่ประชาชนล้วนเท่าเทียมกันในมี "ทางเลือก" และที่ต้องมีระบบการลงคะแนนเสียงก็เพราะประชาชนนั้นเลือกไม่เหมือนกัน ซึ่งในเงื่อนไขแบบนี้การยุยงให้ผู้อื่นเกิดความเกลียดชังทางเลือกอื่นๆ ก็ดูจะเป็นกิจกรรมทางการเมืองปกติในระบอบเสรีประชาธิปไตย
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
บันทึกเดินทาง: ‘พีมูฟ’ ร่วมเวทีประชาชนรากหญ้าอาเซียน Posted: 19 Nov 2012 05:14 AM PST เครือข่ายภาคประชาชนไทยเดินทางร่วมเวทีประชาชนรากหญ้าอาเซียนเล่าประสบการณ์ร่วมเคลื่อนไหวกับประชาชนกัมพูชา-อาเซียน ก่อนได้ข้อเสนอ 5 ด้าน ส่งถึงผู้นำอาเซียน ระหว่างวันที่ 13-16 พ.ย.55 เครือข่ายภาคประชาชนในขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) อาทิ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) สลัม 4 ภาค สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.) เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) และสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนในประเทศกัมพูชา และจากประเทศในอาเซียน จัดในเวที "สมัชชาประชาชนรากหญ้าอาเซียน (ASEAN Grassroots People's Assembly - AGPA)" ที่ประเทศกัมพูชา ก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 21 ระหว่างวันที่ 18-20 พ.ย.55 การรวมตัวของคนรากหญ้าในอาเซียนครั้งนี้ก็เพื่อยื่นหนังสือในข้อเรียกร้องส่งต่อรัฐบาลกัมพูชาไปจนถึงรัฐบาลในอาเซียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และรับรู้ถึงปัญหา ถึงผลกระทบในการด้านนโยบายการลงทุนของรัฐบาลในอาเซียน ที่จะส่งผลถึงคนรากหญ้า ทั้งในเรื่องที่ดิน การละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งความมั่นคงในอาหาร ความเคลื่อนไหวที่ผ่านมา พีมูฟ ได้รวมกันผลักดันรัฐบาลไทยในการแก้ปัญหาของเครือข่าย มาตลอด โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 1-2 พ.ย.55 ภายหลังที่ได้นัดรวมพลกันนับพันคนในวันที่อยู่อาศัยสากล รวมทั้งได้ปักหลักชุมนุมบนถนนพิษณุโลกข้างทำเนียบรัฐบาล ในที่สุดยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาเป็นประธานในที่ประชุมรับฟังปัญหาด้วยตนเอง และรับปากเป็นประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของ พีมูฟ ... การมาร่วมในเวทีสมัชชาประชาชนรากหญ้าฯ นอกจากจะมาร่วมกันระดมปัญหากับองค์กรภาคประชาชนในกัมพูชาและในภูมิภาคอาเซียน จากกรณีโครงการพัฒนาของรัฐบาลในแต่ละประเทศ รวมถึงผลกระทบที่จะได้รับต่อไปในอนาคต ทั้งในเรื่องสิทธิแรงงาน ค่าจ้างไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและที่ดินทำกิน ปัญหาการไล่รื้อคนจนทั้งในเมืองและชนบท รวมทั้งในเรื่องความมั่นคงและอิสรภาพทางอาหารซึ่งเป็นผลมาจาการค้าเสรีแล้ว เวทีดังกล่าวยังถือเป็นครั้งแรกที่องค์กรภาคประชาชนไทยได้เกิดการขยายตัวร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนในภูมิภาคอาเซียนด้วยกัน ด้านสหพล สิทธิพันธ์ ที่ปรึกษาเครือข่ายสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ เล่าถึงการมาร่วมเรียนรู้ สร้างสัมพันธ์ระหว่างประชาชนภูมิภาคอาเซียนในเวทีดังกล่าวว่า ทางเครือข่ายฯ ร่วมเดินทางมาพร้อมกันกว่า 40 คน ในเช้าวันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา ทางช่องผ่านแดน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว แรกเริ่มเข้ามารู้สึกแปลกใจ ที่ทางเจ้าหน้าที่ด่านชายแดนไทย ถามทุกคนว่าจะไปทำอะไรกัน ต่อมาเครือข่ายฯ ได้เข้าพักที่ในกรุงพนมเปญ ซึ่งเป็นสถานที่ของเครือข่ายนักกิจกรรมรากหญ้าในกัมพูชาที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องสิทธิสตรีและผู้ใช้แรงงาน ทั้งยังเป็นองค์กรที่ให้ความรู้ด้านข้อมูล ข่าวสาร เช่น สิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน รวมทั้งในเรื่องของกฎหมาย ให้ข้อแนะนำต่อผู้ที่ถูกเอาเปรียบในกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น … พิธีเปิดงาน ในวันที่ 13 พ.ย.55 ช่วงประมาณ 15.00 น. ทางเจ้าหน้าที่ของกัมพูชาได้เข้าทำการขัดขวางไม่ให้ภาคประชาชนรากหญ้าจัดมีการประชุม แต่หลังจากพยายามต่อรองจนเป็นผลสำเร็จ เจ้าหน้าที่ยินยอมให้จัดการประชุมต่อไป แต่ก็ได้ทำการตัดไฟไม่ให้ใช้เครื่องขยายเสียง สำหรับวันที่ 14 พ.ย.55 กำหนดการจัดให้มีเวทีย่อยของแต่ละองค์กรที่ร่วมกันระดมความคิดเห็น เพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นที่จะนำไปสู่การผลักดันเชิงนโยบาย ก่อนนำไปสู่เวทีใหญ่ในวันที่ 15 พ.ย.55 โดยมี 3 ประเด็นที่ร่วมกันปรึกษาคือ เรื่องที่ดิน ความมั่นคงทางอาหาร และความไม่มั่นคงในที่ดินเมืองและชนบทที่ถูกไล่รื้อ ในวันที่ 15 พ.ย.55 มีการจัดสมัชชาใหญ่ระดมปัญหาร่วมกัน เพื่อร่างเอกสารยื่นเสนอต่อรัฐบาลกัมพูชาให้ส่งผ่านไปยังผู้นำอาเซียน การประชมในวันนี้นอกจากเจ้าหน้าที่กัมพูชาจะขัดขวางไม่ให้มีการกางเต็นท์แล้ว รอบๆ บริเวณยังมีการจัดเวรยามของเจ้าหน้าที่ให้ประจำการโดยรอบที่ประชุม จนกระทั่งการปราศรัยระดมปัญหาของภาคส่วนต่างๆ จบลงในช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. .... สหพล เล่าถึงสถานการณ์ในกัมพูชาว่า ช่วงคืนวันที่ 15 พ.ย.55 เครือข่ายฯ ในต่างจังหวัดของประเทศกัมพูชา ที่พักอยู่ตามโรงแรมต่างๆ ในกรุงพนมเปญ เพื่อรอเข้าร่วมการนัดหมายเดินขบวนครั้งใหญ่ในวันที่ 16 พ.ย.55 ถูกเจ้าหน้าที่เข้าไปขับไล่ออกจากโรงแรมที่พัก ทำให้ต้องเข้ามาอาศัยค้างคืนในสถานที่ขององค์กรที่พีมูฟพักอยู่ กรณีดังกล่าวสร้างความหวาดหวั่นแก่ภาคประชาชนที่มารวมตัวกัน เพราะเกรงว่าจะถูกสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรงดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว แต่ถึงอย่างไรในคืนนั้นก็ถูกกระทำเพียงแค่ตัดน้ำ ตัดไฟในที่พัก ถือเป็นการสร้างแรงกดดันจากเจ้าหน้าที่กัมพูชาเพื่อไม่ให้มีการชุมนุมกันในวันรุ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ในเช้าวัน 16 พ.ย.55 สมาชิกเครือข่ายรากหญ้าทั้งในกัมพูชาชาติต่างๆ ของอาเซียนในนาม "สมัชชาประชาชนรากหญ้าอาเซียน" ก็ได้ชุมนุมตามนัดหมายที่หน้าอาคารรัฐสภากัมพูชา ในการเข้ายื่นหนังสือข้อเรียกร้องของสมัชชาประชาชนรากหญ้าอาเซียน มีทั้งหมด 5 ด้าน ประกอบด้วย ข้อเรียกร้องด้านสิทธิแรงงาน ข้อเรียกร้องด้านสิทธิที่ดิน ข้อเรียกร้องด้านความมั่นคงทางอาหาร ข้อเรียกร้องด้านการค้าและการลงทุน และข้อเรียกร้องด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย เจ้าหน้าที่กัมพูชายอมให้ส่งตัวแทนสมัชชาประชาชนรากหญ้าอาเซียนเข้าไปภายในที่ทำการรัฐสภา เพื่อยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลกัมพูชาเพื่อส่งต่อไปยังผู้นำประเทศอาเซียนที่จะเข้าร่วมการประชุมอาเซียนช่วงสุดสัปดาห์นี้ จากนั้นจึงมีการยุติการชุมนุมไปในเวลาราว 11.00 น. ข้อเรียกร้องของสมัชชาประชาชนรากหญ้าอาเซียน มีทั้งหมด 5 ด้าน มีรายละเอียดดังนี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
ประชาสังคมประกาศบอยคอตปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน Posted: 19 Nov 2012 05:03 AM PST ประณามการรับรองร่างปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่อง ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนต่ำกว่ามาตรฐานสากลมาก 19 พฤศจิกายน 2555 ภาคประชาสังคมอาเซียน ออกแถลงการณ์ประณามการรับรองร่างปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่อง ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนต่ำกว่ามาตรฐานสากลมาก โดยแถลงการณืระบุว่า ปฏิญญาฉบับนี้ไม่คำนึงถึงข้อกังวลอย่างลึกซึ้งของบรรดาเจ้าหน้าที่อาวุโสองค์การสหประชาชาติ ผู้ชำนาญการด้านสิทธิมนุษยชน และหน่วยงานระดับรากหญ้าและหน่วยงานภาคประชาสังคมอีกหลายร้อยแห่งในระดับภูมิภาคและนานาชาติ บรรดาผู้นำประเทศอาเซียนเดินหน้ารับรองปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN Human Rights Declaration) เมื่อวานนี้ ทั้ง ๆ ที่เป็นกฎบัตรซึ่งทำลายกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ หาได้เป็นการส่งเสริมไม่ กฎบัตรสิทธิมนุษยชนฉบับนี้เป็นเพียงเครื่องกำบังการประกาศอำนาจรัฐต่าง ๆ มากกว่า เป็นเรื่องที่น่าเสียใจที่รัฐบาลประเทศอาเซียนยืนยันจัดทำปฏิญญาซึ่งเหมือนเป็นการระบุว่า ประชาชนของตนเองคู่ควรกับสิทธิมนุษยชนน้อยกว่าประชาชนในยุโรป แอฟริกา หรืออเมริกา ประชาชนในอาเซียนไม่ควรยอมรับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ต่ำกว่ามาตรฐานในที่อื่น ๆ ทั่วโลก ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนควรแสดงเจตจำนงสากลในการเคารพสิทธิมนุษยชน ซึ่งหมายถึงการจำกัดอำนาจของรัฐบาล แต่ในทางตรงข้าม เนื้อหาของปฏิญญาฉบับที่ผ่านการรับรองนี้ จะยิ่งสร้างความชอบธรรมมากขึ้นให้กับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนที่อยู่ใต้เขตอำนาจของรัฐบาลอาเซียน ทั้งนี้จะเห็นได้จาก "หลักการทั่วไป" ที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่อง นอกจากนั้น ยังมีการลดหย่อนการคุ้มครองสิทธิพื้นฐานโดยอ้างการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องกระทำกับบุคคล มีการอ้างบริบทระดับภูมิภาคและระดับชาติเพื่อเป็นเงื่อนไขในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และยังอ้างข้อจำกัดต่อสิทธิอย่างอื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่เป็นสิทธิอันไม่พึงถูกจำกัดเลย ในหลายข้อบัญญัติ มีการกำหนดเงื่อนไขการคุ้มครองสิทธิให้ขึ้นอยู่กับกฎหมายระดับประเทศ แทนที่จะกำหนดให้กฎหมายควรได้รับการปรับให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับสิทธิเหล่านั้น ปฏิญญาฉบับนี้ยังละเลยสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานหลายประการ รวมทั้งสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการรวมตัวเป็นสมาคมและสิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้กลายเป็นบุคคลผู้สูญหาย เนื้อหาที่เพิ่มเติมเข้ามาในนาทีสุดท้ายสำหรับถ้อยแถลงของผู้นำที่รับรองปฏิญญาฉบับนี้ แทบไม่ได้แก้ปัญหาขั้นพื้นฐานของปฏิญญาเลย แม้จะเป็นการยืนยันเจตจำนงของรัฐบาลอาเซียนที่มีต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights - UDHR) และกฎบัตรสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ตราบที่ "หลักการทั่วไป" ของปฏิญญาฉบับนี้และช่องโหว่ต่าง ๆ ยังปรากฏอยู่ จะเป็นการส่งสัญญาณผิด ๆ ต่อรัฐบาลว่า สามารถอ้างเหตุผลเพื่อไม่ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศได้ เป็นเรื่องน่าเสียใจอย่างยิ่งที่รัฐบาลในอาเซียนซึ่งเป็นประชาธิปไตยมากกว่าและเปิดรับกับสิทธิมนุษยชนมากกว่า กลับยอมตกอยู่ใต้แรงกดดันของรัฐบาลที่รังเกียจสิทธิมนุษยชน และยอมรับกฎบัตรที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่องเหล่านี้ เรายังขอแสดงความไม่เห็นด้วยต่อระบบการตัดสินใจแบบ "ปรึกษาหารือและฉันทามติ" (consultation and consensus) ของอาเซียน ซึ่งก็ทำให้ประชาชนผิดหวังอีกครั้ง เป็นการเผยให้เห็นว่าวาระสิทธิมนุษยชนของอาเซียนถูกกำหนดแต่ฝ่ายเดียวโดยบรรดารัฐภาคี โดยแทบไม่มีการปรึกษาหารืออย่างจริงจังกับหน่วยงานระดับรากหญ้าและหน่วยงานภาคประชาสังคมซึ่งทำงานด้านสิทธิมนุษยชนกับประชาชนในภูมิภาคอาเซียนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ปฏิญญาฉบับนี้ไม่คู่ควรกับชื่อของมันเลย เราจึงขอปฏิเสธ และจะไม่นำปฏิญญาฉบับนี้มาใช้ในการทำงานกับกลุ่มต่าง ๆ ที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาค เราจะไม่อ้างปฏิญญาฉบับนี้ในการติดต่อกับอาเซียนหรือรัฐภาคีของอาเซียน ทั้งยังจะประณามว่าเป็นกฎบัตรที่ต่อต้านสิทธิมนุษยชน เราจะยังอ้างอิงกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศต่อไป เพราะประกันเสรีภาพและให้ความคุ้มครองที่คู่ควรกับประชาชนและกลุ่มต่าง ๆ ในอาเซียน แตกต่างจากปฏิญญาฉบับนี้มาก เราขอเตือนบรรดารัฐภาคีอาเซียนถึงพันธกรณีของพวกเขาที่มีต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และย่อมมีผลบังคับใช้เหนือกว่ากรณีที่เนื้อหามีความขัดแย้งกับปฏิญญาฉบับนี้ และไม่ควรมีการอ้างปฏิญญาฉบับนี้เป็นข้อแก้ตัวกรณีที่รัฐไม่สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศได้
รับรองโดย:
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 11 - 17 พ.ย. 2555 Posted: 19 Nov 2012 04:33 AM PST
อาชีพอิสระสมัครประกันสังคมม.40 ทะลุ 1.2 ล้าน
ครม.อนุมัติ 461ล.ดึงแรงงานนอกระบบเข้าประกันสังคม
จี้รัฐคุมเข้มนายจ้างใช้แรงงาน นศ.
กรมจัดหางานคืนเงิน 78 แรงงานถูกหลอกทำงานอิสราเอล 37.5%
เครือข่ายแรงงานจี้ติด ประชุม ครม. 20 พ.ย.นี้ หากขึ้นค่าแรง 300 บ. ทั่วประเทศไม่ผ่านเคลื่อนพลแน่
บ.ยุโรปโอดขาดแคลนแรงงานหนัก
คนทำงานบ้านขอสิทธิเพิ่มอีก 4 ข้อ เตรียมหารือ 9 ธ.ค.
ปชป.หวั่นนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท กระทบโรงงานภาคอีสาน
เตือนรัฐบาลลดประชานิยมทบทวนค่าแรง
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
Posted: 19 Nov 2012 03:41 AM PST | |
วุฒิสภาเลือกซูเปอร์บอร์ด กสทช. คัด 10 คน รอโหวตลับเหลือ 5 คน Posted: 19 Nov 2012 03:07 AM PST เมื่อวันที่ 19 พ.ย.55 ณ ห้องโถงใหญ่อาคารรัฐสภาชั้น 1 ได้มีการจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลตามพระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (กสทช.) ซึ่งสมาชิกวุฒิสภาเป็นผู้ลงคะแนนเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการ 5 ด้าน เมื่อเวลา 09.00 น. นายนิคม ไวรัชพานิช ประธานวุฒิสภา และเจ้าหน้าผู้เกี่ยวข้อง เข้าตรวจสอบความพร้อมของพื้นที่ และคูหาลงคะแนนเลือกผู้สมัครเข้ารับการดำเนินการคัดเลือกเป็นกรรมการติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และ กำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม. พ.ศ.2553 (พรบ.กสทช.) รอบแรก ที่บริเวณห้องโถงอาคารรัฐสภา ก่อนที่จะให้ สมาชิกวุฒิสภา ลงคะแนนเลือกบุคคลเพื่อเข้าเป็นกรรมการ ในการตรวจสอบดังกล่าวได้มีการตรวจสอบคูหาลงคะแนน และหีบบัตร ซึ่งได้มีการเปิดหีบบัตรให้สื่อมวลชนและผู้สังเกตการณ์ได้ตรวจสอบว่าเป็นหีบเปล่า ไม่มีบัตรปลอมอยู่ในตู้แต่อย่างใด และได้มีการปิดหีบ ใช้แม่กุญแจล็อคอย่างแน่นหนา ซึ่งบริเวณงาน มีการจัดบอร์ดขั้นตอนการเลือกตั้งคณะกรรมการ ประวัติผู้รับเลือกตั้งโดยย่อ และหลังจากนั้นนายนิคม จึงได้แจ้งต่อสมาชิกวุฒิสภาถึงการไปใช้สิทธิเลือกตั้งดังกล่าวในเวลา 9.30-11.00 น. ในเวลา 9.30 น. ใน บรรยากาศในการลงคะแนนในช่วงแรกนั้นมีสมาชิกวุฒิสภามีใช้สิทธิบางตา เพราะบางส่วนต้องเข้าประชุมวุฒิสภาและบางส่วนยังเดินทางมาไม่ถึงรัฐสภา ทั้งนี้ในการประชุมวุฒิสภาช่วงที่แจ้งวาระดังกล่าว ได้มี ส.ว. ลุกสอบถามถึงกรณีการใช้พื้นที่ห้องโถงอาคารรัฐสภา 1 เพื่อลงคะแนนเลือก แทนที่จะใช้ภายในห้องประชุมรัฐสภาเหมือนอย่างที่เคยปฏิบัติมา ทั้งนี้ได้ท้วงติงว่าอาจจะทำให้เกิดความไม่โปร่งใส และเสี่ยงที่จะถูกนำประเด็นไปฟ้องร้องเป็นคดีความได้ ซึ่ง นายนิคม ชี้แจงว่า เหตุที่ได้ใช้พื้นที่อื่นจัดการเลือกตั้ง เพื่อเป็นการบริหารเวลาระหว่างการพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระและการลงคะแนนเลือกกรรมการติดตามและประเมินผลงานของกสทช. ส่วนประเด็นเรื่องฟ้องร้องนั้น ขณะนี้ทราบว่า นายสุทธิพร เดี่ยวพานิช ผู้สมัครเป็นกรรมการติดตามและประเมินผลงาน กสทช. ซึ่งไม่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติได้ฟ้องร้องอยู่ที่ศาลปกครองกลางแล้ว โดยศาลได้จัดไต่สวนในวันนี้ ( 19 พ.ย.) เวลา 10.00 น. เบื้องต้นหากศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งคุ้มครอง กระบวนการลงคะแนนเลือกกรรมการดังกล่าว ต้องยุติลง แต่หากศาลไม่มีคำสั่งใดๆ ออกมา ตนพร้อมจะเดินหน้าการลงคะแนนเลือกตั้งดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้เมื่อการเลือกตั้งรอบแรกแล้วเสร็จและไม่เกิดปัญหา ตนจะนัดประชุม ส.ว.อีกครั้งในวันที่ 23 พ.ย. เพื่อให้เลือกกรรมการฯ ในรอบสุดท้าย ให้เหลือจำนวน 5 คน จากนั้นพล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา ได้ลุกท้วงติงว่าไม่ทราบถึงประเด็นการเลือกตั้งกรรมการติดตามและประเมินผลงาน ของกสทช. นอกห้องประชุมมาก่อน ซึ่งจากการรับฟังคำชี้แจงนั้นระบุว่าเพื่อความโปร่งใสและไม่เสียเวลาการประชุม ทั้งนี้ตนมีประเด็นเรียกร้องในส่วนการทำลายบัตรลงคะแนนที่ทำโดยกรรมการอยากให้มีการทำลายจริงๆ เพราะในการเลือกเลขาธิการกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ทั้งที่เป็นการลงคะแนนลับ แต่กลับพบว่ามีการพิมพ์ใบลงคะแนนของ ส.ว.มาเผยแพร่ ว่าใครโหวตอย่างไรบ้าง ดังนั้นขอให้ทบทวน อย่าคิดแค่ว่าเป็นการเรื่องเสียเวลาเท่านั้น เพราะประเด็นนี้ ส.ว.ได้รับหน้าที่มาดำเนินการแล้ว ขอให้ทำด้วยความรอบคอบ เช่นเดียวกับนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ที่ของให้มีการทำลายบัตรลงคะแนนต่อหน้า เพราะก่อนหน้านั้นมีคนมาพูดกับตนว่าทราบว่าตนได้ลงคะแนนลับให้กับบุคคลใดบ้าง จึงทำให้เห็นว่าการลงคะแนนลับไม่ใช่ความลับอย่างแท้จริง ด้านนางทัศนา บุญทอง ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่จัดทำบัญชีรายชื่อและตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครเข้ารับการดำเนินการคัดเลือกบุคคลผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อเพื่อนำเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาคัดเลือกเป็นกรรมการติดตามและประเมินผล กสทช. รายงานการตรวจสอบว่า จากผู้สมัครเป็นกรรมการทั้ง 72 คน พบว่ามีผู้ที่ผ่านคุณสมบัติทั้งหมด 67 คน และมี 5 รายที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ ได้แก่ 1.นายเจตศักดิ์ บุญสุยา เพราะเป็นผู้ถือหุ้มบริษัททรู คอเปอร์เรชั่น จำกัด, 2.นายชนัด เผ่าพันธุ์ดี เพราะถือหุ้นบริษัททีทีแอนด์ที จำกัด, 3.นายสุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล เป็นกรรมการบริษัทจีเดด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการโทรคมนาคม และไม่พ้นจากตำแหน่งเป็นระยะเวลา 1 ปีตามที่กฎหมายกำหนด, 4.นายวุฒิพร เดี่ยวพานิช เป็นกรรมการบริษัทไอทีวี และ 5.พล.ต.ต.ภานุรัตน์ มีเพียร เป็นกรรมการบริษัทสหพัฒนพิบูลย์ จนเวลาประมาณ 11.00 น.จึงมีสมาชิกวุฒิสภาเดินทางมายังบริเวณจุดลงคะแนนมากขึ้นจนต่อเป็นแถวยาวเลยเขตที่เจ้าหน้าที่กำหนดไว้ไปถึงบริเวณประตูทางเข้าอาคารรัฐสภา จึงต้องมีการขยับเขตการเลือกตั้งออกไปให้กว้างกว่าเดิม จนกระทั่งเวลา 12.05 น.คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงได้ปิดหีบเลือกตั้ง ซึ่งจากการนับจำนวนสมาชิกที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งปรากฏว่ามีสมาชิกที่ ไม่มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 7 คน ทั้งนี้การนับคะแนน แบ่งเป็น 5 ด้าน โดยมีกระดานคะแนนและผู้นับคะแนนแยกเป็นแต่ละด้าน 1.ด้านกิจการกระจายเสียง 2.ด้านกิจการโทรทัศน์ 3.ด้านกิจการโทรคมนาคม 4.ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค 5.ด้านการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งการนับคะแนนเต็มไปด้วยผู้สื่อข่าวและสมาชิกวุฒิสภาบางส่วน และผู้สังเกตการณ์ของผู้สมัคร โดยผลการลงคะแนนของสมาชิกวุฒิสภา เพื่อคัดเลือกกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 จำนวน 2 เท่า หรือจำนวน 10 คน จากผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมจำนวน 67 คน นั้นปรากฏว่าบุคคลที่ผ่านการคัดเลือกประกอบด้วย ด้านกิจการกระจายเสียง ได้แก่ พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก และน.ส.ลักษมี ศรีสมเพ็ชร กรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเชียงใหม่ หรือ กรอ.เชียงใหม่ ด้านกิจการโทรทัศน์ ได้แก่ นายพิชัย อุตมาพินันท์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการกฎหมายสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และพล.อ.จิรเดช คชรัตน์ อดีตที่ปรึกษากรรมการบริษัทกิจการโทรทัศน์กองทัพบก ด้านกิจการโทรคมนาคม ได้แก่ นายอนันต์ วรธิติพงศ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา สรรหา และนายอมรเทพ จิรัฐิติเจริญ นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ นายพันธ์ศักดิ์ จันทร์ปัญญา อนุกรรมการกิจการกระจายเสียง บริการธุรกิจ และนายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการสำนักงาน กสทช.และกิจการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ได้แก่ พล.อ.บุญยวัจน์ เครือหงส์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม และนายจเด็จ อินสว่าง อดีตปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำหรับขั้นตอนต่อไป ที่ประชุมวุฒิสภานัดพิเศษในวันที่ 23 พ.ย.นี้ สมาชิกวุฒิสภาจะทำการลงคะแนนลับในคูหา ซึ่งจะดำเนินการภายในห้องประชุมวุฒิสภา เพื่อคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมให้เหลือเพียง 5 คน ขณะเดียวกัน มีสมาชิกวุฒิสภาบางส่วนเห็นว่าสมควรตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติและจริยธรรมของผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 10 คนอีกครั้ง ทำให้ต้องขอมติจากที่ประชุมวุฒิสภาต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
แฉแดงเมืองเลย รับจ้างเหมืองทองขวางชาวบ้านร่วมเวทีพับลิคสโคปปิ้ง Posted: 19 Nov 2012 02:50 AM PST 19 พฤศจิกายน 2555 ศูนย์สื่อชุมชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ศสธ.) รายงานอ้างแหล่งข่าวในจังหวัดเลยแจ้งว่า ขณะนี้บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ได้ว่าจ้างกลุ่มเสื้อแดงเมืองเลยขนคนเข้ามาร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ค.1) หรือพับลิค สโคปปิ้ง (Public scoping) ซึ่งเป็นขั้นตอนเริ่มต้นแรกสุดของการทำ EHIA เพื่อประกอบการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำส่วนขยายบนภูเหล็ก ตามคำขอประทานบัตรที่ 104/2538 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 ณ ห้องประชุมศาลาประชาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย เพื่อหวังที่จะนำมวลชนมาเป็นกำลังปะทะขัดขวางชาวบ้านในพื้นที่ตำบลเขาหลวง อ.วังสะพุง ซึ่งเป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการทำเหมืองและโรงแต่งแร่ทองคำ ไม่ให้เข้าร่วมเวทีดังกล่าว เพราะเกรงว่าจะเข้าไปตั้งคำถามและยื่นหนังสือต่อส่วนราชการเกี่ยวกับเรื่องเขื่อนกักเก็บไซยาไนด์แตกและผลกระทบที่เกิดขึ้นในด้านอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นผลให้เวทีดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ เพราะมีแต่เสียงสะท้อนของผู้ไม่เห็นด้วยเป็นส่วนใหญ่ รายงานระบุว่า แกนนำกลุ่มเสื้อแดงเมืองเลยที่รับจ้างบริษัททุ่งคำในครั้งนี้ เพื่อทำการปั่นป่วนจนถึงขั้นปะทะขัดขวางชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ดังกล่าวไม่ให้เข้าร่วมเวทีให้จงได้ โดยค่าจ้างที่รับมาถูกแบ่งให้กับแกนนำเสื้อแดงเมืองเลยอีก 4 คน เพื่อปฏิบัติภารกิจขัดขวางชาวบ้านไม่ให้เข้าร่วมเวทีดังกล่าว คือ 1) เป็นการ์ดของ นปช. รับผิดชอบขนเสื้อแดงในเขตอำเภอเชียงคานประมาณ 150 คน 2) แกนนำในอำเภอเมือง จ.เลย รับผิดชอบคุมเวที เครื่องเสียงและปราศรัยโจมตีชาวบ้านที่ออกมาคัดค้านการทำเหมืองแร่ทองคำเพราะได้รับผลกระทบ เพื่อปลุกระดมให้เสื้อแดงเกลียดชังและทำการขัดขวางไม่ให้เข้าร่วมเวทีดังกล่าว ทั้งสองคนนี้เป็นที่รู้จักกันดีของทั้งเสื้อแดงเมืองเลยและเสื้อแดงทั่วประเทศ 3) ลูกน้องคนสนิทของผู้ประสานงานหลัก รับผิดชอบควบคุมมวลชนในภาพรวมแทน 4) ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านหนึ่งในเขตอำเภอเอราวัณ รับผิดชอบร่วมกับแกนนำคนหนึ่งของชุดปฏิบัติการภูผ่อง ที่เป็น ส.จ.สอบตกเมื่อคราวเลือกตั้งที่ผ่านมา ให้ขนเสื้อแดงในเขตอำเภอเอราวัณและนาด้วงให้ได้ 500 คน เมื่อรวมกับพนักงานบริษัทดังกล่าวที่ถูกเกณฑ์มาจะได้มวลชนรวมกันทั้งหมดประมาณ 700 คน รายงานระบุด้วยว่า สาเหตุที่ต้องจ้างกลุ่มเสื้อแดงเมืองเลยให้มาปะทะขัดขวางชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำ ในเขตพื้นที่ตำบลเขาหลวง อ.วังสะพุง ในเวทีพับลิค สโคปปิ้ง ครั้งนี้ ก็เพราะว่าที่ผ่านมาบริษัททุ่งคำได้พยายามจัดเวทีพับลิค สโคปปิ้ง เพื่อขอทำ EHIA ประกอบการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำส่วนขยายบนภูเหล็ก (คำขอประทานบัตรที่ 104/2538) มา 4 ครั้งแล้ว นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 เป็นต้นมา แต่ก็ต้องเลื่อนออกไปทุกครั้งก็เพราะว่าไม่มีเสียงสนับสนุนการทำเหมืองจากชาวบ้านคนใดในพื้นที่ สาเหตุหลักก็เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่รับรู้เรื่องผลกระทบรุนแรงที่เกิดขึ้น เช่น การรั่วไหลของสารปรอทและโลหะหนักชนิดอื่น ๆ จากพื้นที่ประทานบัตรจนเป็นเหตุให้ชาวบ้านจำนวนหลายสิบรายมีค่าโลหะหนักตามที่กล่าวปนเปื้อนอยู่ในกระแสเลือดและเนื้อเยื่อในร่างกายเกินเกณฑ์มาตรฐาน และยังพบอีกจำนวนเกือบร้อยรายที่มีค่าโลหะหนักตามที่กล่าวปนเปื้อนอยู่ในกระแสเลือดและเนื้อเยื่อในร่างกายยังไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งกำลังเฝ้าระวังและติดตามถึงสาเหตุการปนเปื้อนดังกล่าวอย่างใกล้ชิดว่ามีส่วนสัมพันธ์กับการทำเหมืองทองคำหรือไม่ จนทำให้ไม่มีชาวบ้านรายใดออกมาสนับสนุนการทำเหมืองแร่ทองคำอย่างเปิดเผย เพราะหวั่นเกรงอย่างลึก ๆ ว่าผลกระทบจะมาถึงตนเองในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งบริษัททุ่งคำพยายามจะสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมิตรกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมโดยว่าจ้างชุดปฏิบัติการภูผ่องให้ทำหน้าที่ชุมชนสัมพันธ์ แต่กลับล้มเหลวก็เพราะว่าหัวหน้าชุดปฏิบัติการภูผ่อง ถูกเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงจับกุมดำเนินคดีฐานบุกรุกภูหลวงซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำป่าสักเมื่อปี 2554 ซึ่งศาลทหารตัดสินให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างพร้อมโทษจำคุก ขณะนี้อยู่ในระหว่างอุทธรณ์ อีกด้านหนึ่งบริษัทได้ว่าจ้างมูลนิธิต้นไม้สีเขียว ซึ่งเป็นนักวิชาการที่ปรึกษารับจ้างทำ EIA และ EHIA จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ดำเนินการจัดทำรายงาน EHIA เพื่อประกอบการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำส่วนขยายบนภูเหล็ก แปลงคำขอประทานบัตรที่ 104/2538 ซึ่งต้องรับผิดชอบกระบวนการจัดทำรายงาน EHIA ตั้งแต่เริ่มต้นด้วยการจัดประชุมเวทีพับลิค สโคปปิ้ง ที่จะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2555 ตามที่กล่าว หากเวทีพับลิค สโคปปิ้ง ถูกรบกวนจากคำถามและหนังสือร้องเรียนจากชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ และไม่มีชาวบ้านรายใดแสดงท่าทีสนับสนุนการทำเหมืองแร่ทองคำอยู่ในเวที ก็อาจจะเป็นเหตุให้เวทีไม่ประสบความสำเร็จ คือ ไม่สามารถเดินหน้าจัดทำรายงาน EHIA ต่อไปได้ และจะส่งผลต่อการที่ไม่สามารถดำเนินการขอประทานบัตรแปลง 104/2538 ต่อไปได้ตามมาเป็นลูกโซ่ จึงเป็นเหตุให้บริษัทต้องวางแผนว่าจ้างกลุ่มเสื้อแดงเมืองเลยให้มาปกป้องเวทีดังกล่าว โดยการสกัดขัดขวางให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบเข้าร่วมเวทีให้น้อยที่สุด เพื่อจะให้กลุ่มเสื้อแดงเมืองเลยที่ถูกว่าจ้างมาเข้าร่วมเวทีให้มากที่สุดเพื่อจะได้ไปแสดงความเห็นสนับสนุนการทำเหมืองแร่ทองคำให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ อนึ่ง รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องเขื่อนกักเก็บไซยาไนด์แตก เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2555 ได้ปรากฏว่าคันทำนบดินของบ่อกักเก็บไซยาไนด์หรือบ่อกักเก็บกากแร่ทางด้านทิศเหนือในพื้นที่โครงการเหมืองแร่ทองคำภูทับฟ้า-ภูซำป่าบอน ตามประทานบัตรที่ 26968/15574, 26969/15575, 26970/15576, 26971/15558, 26972/15559 และ 26973/15560 เกิดมีรอยแตกชำรุดเสียหายขึ้น ส่งผลให้น้ำในบ่อกักเก็บไซยาไนด์ไหลลงสู่บ่อเก็บน้ำธรรมชาติในพื้นที่ประทานบัตร ซึ่งสภาพบ่อเก็บน้ำธรรมชาติดังกล่าวอยู่บนพื้นที่สูงกว่าที่นาของชาวบ้าน โดยมีภูเขาโอบล้อมทางด้านทิศตะวันออก ตะวันตก และทิศเหนือ ส่วนทางทิศใต้เปิดโล่งลงสู่ที่นาของชาวบ้าน และพื้นบ่อไม่มีการบดอัดและด้านข้างของบ่อไม่มีการปูด้วยวัสดุกันซึม ชาวบ้านได้เข้าไปสำรวจพบว่าน้ำจากบ่อเก็บน้ำธรรมชาติในพื้นที่ประทานบัตรที่รับน้ำมาจากบ่อกักเก็บไซยาไนด์อีกทอดหนึ่งนั้น ซึ่งมีไซยาไนด์และโลหะหนักหลายชนิดปนเปื้อนรวมอยู่ด้วยได้รั่วซึมลงสู่ที่นาของชาวบ้านที่อยู่ติดเขตประทานบัตรแล้ว และได้ทำหนังสือร้องเรียนขึ้นต่อหน่วยงานราชการ ต่อมาเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเลยได้ทำหนังสือด่วนมากถึงบริษัททุ่งคำเพื่อขอให้หยุดการทำเหมืองและดำเนินการแก้ไขปัญหาจนกว่าจะได้ข้อยุติ ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2555 บริษัททุ่งคำทำหนังสือถึงสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเลยเพื่อขออุทธรณ์คำสั่งหยุดเหมือง ซึ่งขณะนี้เรื่องยังค้างอยู่ที่การพิจารณาของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป โดยไม่มีการแก้ไขน้ำจากบ่อเก็บกักไซยาไนด์ที่รั่วลงสู่ที่นาชาวบ้านแต่อย่างใด
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
4 องค์กรสุขภาพหวั่นเร่งเจรจาการค้าเสรีขัดขวางการพัฒนาระบบยาของไทย Posted: 19 Nov 2012 02:31 AM PST ด้านเอฟทีเอ ว็อทช์จี้รัฐบาลเปิดเผยข้อมู 19 พ.ย.55 เครือข่ายผู้มีเชื้อเอชไวอี/เอด 1. สร้างความสมดุลย์ที่เป็ 2. ปฏิเสธไม่ยอมรับข้อกำหนดแบบทริ 3. ต้องสร้าความมั่นใจว่ · หลักเกณฑ์การรับจดสิทธิบัตรที่ · มาตรการใช้สิทธิ์ตามสิทธิบั · มาตรการคัดค้านสิทธิบัตรทั้งก่ 4. ทบทวนและแก้ไขกฏหมายและระเบี 5. จัดตั้งคณะทำงานระดับชาติที่ 6. รับฟังเสียงของภาคประชาสั 7. สนับสนุนให้เกิดภาคีความร่วมมื ทางด้านนายจักรชัย โฉมทองดี ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้ "ขั้นตอนที่กรมเจรจาฯได้ชี้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
คลองไทรพัฒนาระอุ! สมาชิก 'สกต.' ถูกยิงเสียชีวิต 2 ราย Posted: 19 Nov 2012 02:21 AM PST
ภาพ: พื้นที่เกิดเหตุ วันนี้ (19 พ.ย.55) เวลาประมาณ 07.00 น.เกิดเหตุชาวบ้านเพศหญิง 2 คน ในชุมชนคลองไทรพัฒนา หมู่ที่ 2 ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฏร์ธานี ซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องโฉนดชุมชน ถูกซุ่มยิงจนเสียชีวิตขณะกำลังจะไปซื้อกับข้าว โดยผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ราย คือนางมณฑา ชูแก้ว อายุ 50 ปี และนางปรานี บุญรักษ์ อายุ 54 ปี เป็นสมาชิกของสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ซึ่งเป็นกลุ่มชาวบ้านผู้ประสบปัญหาไม่มีที่ดินทำกินและมาอาศัยอยู่ในชุมชนคลองไทรพัฒนา ซึ่งเป็นพื้นที่ สปก.และกำลังมีกรณีพิพาทกับบริษัทเอกชนผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่เกิดเหตุการณ์รุนแรงผู้ตายทั้งคู่กำลังขี่รถจักรยานยนต์ออกไปจ่ายตลาดเมื่อขับรถห่างจากชุมชนประมาณ 800 เมตร ชาวบ้านในชุมชนได้ยินเสียงปืนดังขึ้น ลูกสาวผู้ตายกับเพื่อนบ้านได้ขี่รถตามออกมาดูก็พบว่าทั้งคู่ถูกยิงเสียชีวิตแล้ว ส่วนในที่เกิดเหตุพบปลอกกระสุนปืน เอส.เค.กับ เอ็ม.16 ตกอยู่ 10 ปลอก จึงเดินทางไปแจ้งความที่ สถานีตำรวจภูธร อ.ชัยบุรี ในเบื้องต้นผู้นำชุมชนคลองไทรพัฒนา ออกมาให้ข้อมูลว่าเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นครั้งนี้น่าจะมาจากบริษัทเอกชนที่ไม่พอใจชาวบ้านที่เข้ามาเรียกร้องสิทธิและใช้ประโยชน์ในที่ดิน ทำให้บริษัทและกลุ่มอิทธิพลในพื้นที่ต้องเสียผลประโยชน์จากการเก็บเกี่ยวผลปาล์มและที่ดินไปอย่างมหาศาล ผู้นำชุมชนคลองไทรพัฒนา ระบุด้วยว่าไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุรุนแรงขึ้น แต่ก่อนหน้านี้ก็เคยเกิดเหตุการณ์ยิงนายสมพร พัฒภูมิเสียชีวิตมาแล้ว 1 ศพ รวมทั้งมีการใช้รถแบ็คโฮมาไถดันบ้านเรือน และเผาบ้านเรือนสมาชิกชุมชนทำให้ได้รับความเสียหายอย่างที่เคยเป็นข่าวมาแล้ว ทั้งนี้ ในพื้นที่สถานการณ์ตรึงเครียดมาก ชาวบ้านกังวลและไม่มั่นใจว่าเหตุการณ์จะรุนแรงมากขึ้นกว่านี้หรือไม่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อปลายปี พ.ศ.2551กลุ่มชาวบ้านสมาชิก สกต.ได้รวมตัวกันขอตรวจสอบพื้นที่กับ ส.ป.ก.จังหวัดสุราษฏร์ธานี และเมื่อเห็นว่าเป็นพื้นที่ของรัฐและบริษัทเอกชนเข้าไปทำผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย ชาวบ้านจึงเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ตั้งเป็นชุมชนอยู่อาศัยทำอาชีพเกษตรกรรม และหน่วยงาน ส.ป.ก.ก็ได้ดำเนินการฟ้องขับไล่บริษัทเอกชนแล้ว ซึ่งผลการตัดสินของศาลให้บริษัทดังกล่าวแพ้คดีต้องรื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกไปจากพื้นที่ ลำดับสถานการณ์ คลองไทรพัฒนา พฤศจิกายน 2551 มีนาคม 2552 9 สิงหาคม 2552 10 สิงหาคม 2552 2-7 พฤศจิกายน 2552 29 ธันวาคม 2552 11 มกราคม 2553 ในที่เกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำตรวจ สภ.อ.ชัยบุรี ได้ตรวจพบปลอกกระสุนปืนลูกซอง 1 ปลอกและปลอกกระสุนปืนเอ็ม 16 จำนวน 7 ปลอก มีข้อสังเกตว่าก่อนเกิดเหตุยิ 19 พฤศจิกายน 2555 หมายเหตุ ชุมชนคลองไทรพัฒนา เป็นชุมชนที่ผ่านการอนุมัติให้ ความเป็นมา 1. นายทุนบริษัท จิวกังจุ้ยพั 2.ผลกระทบจากการถูกดำเนินคดีมี 2.1 เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 บริษัท จิวกังจุ้ยพัฒนา ไ 2.2 เมื่อเดือนธันวาคม 2553 บริ 2.3. ถูกคุกคามจากกลุ่มอิทธิพลมืด ความคืบหน้าคดี 1.เมื่อปีพ.ศ. 2548 ส.ป.ก.ฟ้องศาลกระบี่ 2. เดือนมีนาคม พ.ศ.2552 คปท. ไ 3. วันที่ 11 มีนาคม 2552 คณะกร 4. วันที่ 2-7 พฤศจิกายน 2552คณ 5. เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 ได้ประกาศใช้ระเบียบสำนั 6. เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553 มติ คณะกรรมการประสานงานเพ 7.ปัจจุบันบริษัทฯถอนคดี
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
พนมสารคามช้ำ โรงไฟฟ้าอาศัยช่องว่าง 'ผังเมือง' เดินเรื่องขออนุญาต Posted: 19 Nov 2012 02:03 AM PST รายงานข่าวจากนักสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ อ.พนมสารคาม แจ้งว่า จากการที่บริษัทแอ๊ดว๊านซ์ อะโกร เอเชียจำกัด ได้ส่งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดเกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ให้สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจะมีการประชุมพิจารณารายงานอีไอเอนี้โดยคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ในวันที่ 20 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ บริษัทแอ๊ดว๊านซ์ อะโกร เอเชีย ส่งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ทั้งที่รู้ว่า พื้นที่ที่ตั้งโรงไฟฟ้า หมู่ 7 ตำบลเกาะขนุน อ.พนมสารคาม เป็นพื้นที่ "สีเขียวทแยงขาว" หรือเป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม ในผังเมืองรวมจังหวัดฉะเชิงเทราที่กำลังรอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเท่านั้น ผังเมืองรวมจังหวัดฉะเชิงเทราฉบับนี้ต้องใช้เวลายาวนานกว่า 10 ปีในการจัดทำ ผ่านการประชุมระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนหลายครั้งหลายหน จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีใด้ให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อ 14 สิงหาคม 2555 และผ่านขั้นตอนต่างๆมาจนถึงขั้นตอนที่ 23 แล้ว จากทั้งหมด 24 ขั้นตอน ซึ่งคือขั้นตอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามในกฎกระทรวงฉบับนี้ แล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งเป็นขั้นตอนที่ 24 นอกจากพี้นที่หมู่ 7 ตำบลเกาะขนุน อ.พนมสารคาม จะถูกประกาศให้เป็นพื้นที่สีเขียวทแยงขาวแล้ว ในบัญชีท้ายกฎกระทรวงผังเมืองฉบับนี้ ยังกำหนดให้โรงไฟฟ้าเป็นข้อห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินอีกด้วย บริษัทแอ๊ดว๊านซ์ อะโกร เอเชีย ยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้ คชก.พิจารณา ทั้งที่เจ้าหน้าที่จากสำนักโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ได้ให้ข้อมูลนี้ไว้แล้วในวันที่บริษัทจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับนี้ เป็นการ "ช่วงชิง" จังหวะที่เรียกได้ว่าเป็น "สุญญากาศ" ของผังเมือง แสดงให้เห็นว่า บริษัทไม่สนใจเจตนารมณ์ของกฎหมาย และสำนึกความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม ถือได้ว่าขาดธรรมาภิบาลในการประกอบธุรกิจ การกระทำเช่นนี้เรียกได้ว่าเป็นการท้าทายจริยธรรมของ คชก. ด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากนั้นแล้ว ชุมชนในพื้นที่รอบที่ตั้งโครงการโรงไฟฟ้า โดยเฉพาะคนในหมู่7 เอง ได้พยายามดิ้นรนปกป้องพื้นที่ "ทำอยู่ทำกิน" ของตัวเอง เนื่องจากเห็นว่าการศึกษาอีไอเอของโรงไฟฟ้ายังไม่รอบด้านพอ และพยายามเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้วยการเชิญ คชก.ลงพื้นที่เพื่อดูข้อเท็จจริงด้วยตาตนเอง แต่ไม่ได้รับการตอบรับ ชุมชนจึงดิ้นรนอีกครั้ง ด้วยการขอเข้าไปให้ข้อมูลในการประชุมพิจารณาของ คชก.ในวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ ตาม "สิทธิชุมชน" ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตราที่ 66 และ 67 คือ ชุมชนและบุคคลมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ดำรงชีพได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของตน การตัดสินใจของ คชก.ว่าจะรับฟังข้อมูลของชุมชนหรือไม่ รวมทั้งผลการพิจารณาอีไอเอของบริษัทจะเป็นเครื่องพิสูจน์จริยธรรมของ คชก.ที่บริษัทแอ๊ดว๊านซ์ อะโกร เอเชีย ได้ท้าทายไว้
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai | |
Smartphone กับการส่งเสริมสุขภาพระดับนานาชาติ กรณีศึกษา BlackBerry Posted: 19 Nov 2012 01:47 AM PST ยุคนี้เป็นยุค ครองเมือง จึงยากที่จะปฏิเสธว่าเจ้ามือถือแสนฉลาดมีส่วนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนมากมายทั่วโลก คนจำนวนมากกลายเป็นผู้บริโภคที่ถูกจัดอยู่ในประเภท Smartphonatics หรือผู้ที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำเนินชีวิตหลังจากใช้ smartphone เป็นที่น่าจับตามองจากสถิติของ Smartphonatics ในแต่ละประเทศว่า ถึงแม้ครึ่งหนึ่งของชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่จะมี smartphone ไว้ในครอบครอง และอัตราการบริโภคมือถืออัจฉริยะเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกๆกลุ่มอายุ แต่บรรดาสาวก smartphone สายพันธุ์ใหม่ในสหรัฐอเมริกาก็ยังคิดเป็นสัดส่วนเพียง 20% ของประชากรในประเทศ ซึ่งตามหลังประเทศอย่างอินเดีย (60%) และแอฟริกาใต้ (42%) อย่างไม่น่าเชื่อ ฟังก์ชั่นการใช้งานโทรศัพท์มือถือ smartphone กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ตอบสนองวิถีประจำวันยุคใหม่ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการจับจ่ายใช้สอย การทำธุรกรรมทางการเงิน การชำระค่าใช้จ่ายจิปาถะ การใช้เพื่อการศึกษา การเดินทาง แม้กระทั่งการจัดการด้านสุขภาพอนามัยและสาธารณสุข ซึ่งอันหลังสุดนับเป็นเทรนด์ใหม่ที่กำลังมาแรงทั่วโลก smartphone ชั้นนำอย่าง BlackBerry เองก็ได้เล็งเห็นศักยภาพของการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ และไม่รอช้าที่จะพัฒนาระบบเพื่อตอบสนองพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของเหล่านานาประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูงด้วยการผสมผสานเทคโนโลยี smartphone เข้ากับเทคนิคความรู้ทางการแพทย์ จนกลายเป็น tools for action เพื่อสุขภาพที่โดดเด่นต่อไปนี้ iAfya เพื่อเคนยา สำหรับการรังสรรค์แอพพลิเคชั่น iAfya เพื่อโทรศัพท์มือถือ BlackBerry โดยเฉพาะนั้่นเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายระยะยาวในการพัฒนาบริการสาธารณสุขเคลื่อนที่ของรัฐบาลเคนยา แอพพลิเคชั่น iAfya จะช่วยเอื้อประโยชน์ทางการแพทย์และสาธารณสุขให้กับผู้ใช้ BlackBerry ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกในครัวเรือนที่ต้องการค้นหาวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉิน หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ต้องการค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลเชิงปฏิบัติทางการแพทย์ก็สามารถใช้ iAfya ในการตรวจสอบข้อมูลสาธารณสุข รวมไปถึงติดต่อผู้ให้บริการสาธารณสุขอย่างบริษัทประกันสุขภาพหรือหน่วยแพทย์ได้ในเวลาอันรวดเร็วเพียงปลายนิ้วสัมผัส ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นมุ่งหวังว่าข้อมูลทางการแพทย์ที่ทันสมัย ครอบคลุมและเชื่อถือได้ในแอพพลิเคชั่น iAfya นี้จะช่วยลดช่องว่างระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในแต่ละชุมชนกับสาธารณชนในเคนยา รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายและยกระดับความรู้ของกลุ่มเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เอง ซึ่งถือเป็นตัวแปรสำคัญในความสำเร็จของการพัฒนาสาธารณสุขแบบองค์รวมในประเทศเคนยา ธีม Breast Cancer Awareness เพื่ออเมริกา ธีมใหม่เอี่ยมที่ว่าจะมีพื้นหลังเป็นรูปโบว์สีชมพูอันเป็นสัญลักษณ์ของการรณรงค์ต่อต้านภัยมะเร็งเต้านม ซึ่งจะปรากฏที่ข้อความและระบบควบคุมด้วย เพียงแค่ 0.99 ดอลลาร์ ผู้ใช้ BlackBerry ก็สามารถช่วยเหลือและส่งกำลังใจไปให้ผู้ที่ต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักหรือผู้ที่กำลังต่อสู้กับโรคร้ายได้ ส่วนรายได้ทั้งหมดจากธีมจะถูกส่งต่อไปให้มูลนิธิเพื่อมะเร็งเต้านมซูซาน จี โคเมนเพื่อสมทบกองทุนรักษาโรคในนามของผู้ดาวน์โหลด eUNO R10 เพื่ออินเดีย Mediline Systems Limited ส่งแอพพลิเคชั่นกู้ชีพสำหรับป้องกันการเกิดหัวใจวายนามว่า eUNO R10 เพื่อผู้ป่วยโรคหัวใจในประเทศโดยเฉพาะ eUNO R10 จะทำหน้าที่เสมือนอุปกรณ์บันทึกกราฟการเต้นของหัวใจ และเมื่อเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตจะทำการส่งรายงานผลการทำงานของหัวใจผู้ป่วยไปที่เซิร์ฟเวอร์ ก่อนที่เซิร์ฟเวอร์จะส่งรายงาน ECG ไปยังโทรศัพท์มือถือ BlackBerry ของแพทย์ผ่านทางเครือข่ายสัญญาณของ Vodafone โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้เพื่อให้แพทย์สามารถตอบสนองด้วยการวินิจฉัยและหาทางออกในการรักษาได้อย่างทันท่วงที แพลตฟอร์ม BlackBerry ที่โดดเด่นในเรื่องของการเข้ารหัสข้อความและเทคโนโลยี push นั้น นับว่าเข้ากันได้ดีอย่างยิ่งกับระบบการทำงานของเครื่องมือฉุกเฉินและการส่งไฟล์ขนาดใหญ่อย่าง ECG ซึ่งจะถูกย่อส่วนก่อนทำการ push หรือส่งสัญญาณแบบเรียลไทม์
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 20 West Kinzie, Chicago IL USA 60610 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น