โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

ประกาศใช้ พ.ร.ป.กกต. ล้างไพ่ชุดเก่า-ให้วุฒิสภาที่ คสช.ตั้งเป็นผู้สรรหาชุดใหม่

Posted: 13 Sep 2017 12:18 PM PDT

ประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยให้ประธาน กกต. และ กกต. ปัจจุบันพ้นจากตำแหน่ง แต่ยังให้ปฏิบัติหน้าที่จนกว่า ส.ว.ชุดแรกที่ คสช. แต่งตั้งจะเป็นผู้สรรหา กกต.ชุดใหม่

ในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 13 ก.ย. ได้เผยแพร่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 ประกาศใช้เมื่อ 8 ก.ย. 2560 โดยในมาตรา 70 ของ พ.ร.ป. ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งและกรรมการการเลือกตั้งชุดปัจจุบันนี้ "พ้นจากตําแหน่งนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ แต่ให้ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าประธานกรรมการการเลือกตั้งและกรรมการการเลือกตั้งที่แต่งตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่" ส่วนคณะกรรมการเลือกตั้งชุดใหม่จะได้รับการสรรหาโดยวุฒิสภา ซึ่งวุฒิสภาชุดแรกตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดให้มาจากการสรรหาของ คสช.

โดยพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 เป็น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) 1 ใน 10 ฉบับ ตามที่รัฐธรรมนูญ 2560 บัญญัติ และเป็น พ.ร.ป. 1 ใน 4 ฉบับที่ต้องประกาศใช้ก่อนที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป

โดย พ.ร.ป.อีก 3 ฉบับที่เหลือประกอบด้วย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

อย่างไรก็ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา จะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นลำดับท้ายๆ จึงทำให้โรดแมปที่จะเกิดการจัดเลือกตั้งยังอยู่ในช่วงกรกฎาคม ถึง พฤศจิกายน 2561 ขณะที่ล่าสุด กกต. ให้ข่าวว่ากำหนดช่วงจัดการเลือกตั้งทั่วไปไว้ที่ 19 ส.ค. 2561 (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

สำหรับรายละเอียดของ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 สามารถอ่านได้ที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา

 
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นักศึกษา ม.อ.หาดใหญ่-ปัตตานี แอคชั่นต้านความรุนแรงต่อชาวโรงฮิงญาในพม่า

Posted: 13 Sep 2017 11:31 AM PDT

ที่มา เพจ องค์การบริหาร องค์การนักศึกษา ม.อ. ปัตตานี

13 ก.ย. 2560 จากจากเหตุการณ์ความรุนแรงภายในรัฐยะไข่ ประเทศพม่า โดยในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาจำนวนมากได้หลบหนีเข้าสู่ประเทศบังคลาเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากปฏิบัติการทางทหารของกองทัพพม่าที่มีต่อกลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงญา

ล่าสุดวันนี้ (13 ก.ย.60) รายงานข่าวระบุว่า กลุ่มเครือข่ายนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (ม.อ. หาดใหญ่) และวิทยาเขต ปัตตานี (ม.อ. ปัตตานี) จัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ และรณรงค์ Save Rohingya เพื่อแสดงจุดยืนและไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงจากเหตุการณ์ที่รัฐบาลพม่าเลือกปฎิบัติ กระทำโดยไร้ซึ่งหลักมนุษยธรรม เหตุการณ์ดังกล่าวยิ่งนับวันยิ่งเพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น พร้อมทั้งประณามการกระทำของรัฐบาลพม่า และขอประณามประชาคมโลกที่ไม่สนใจต่อความรุนแรงดังกล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สกต. เดินสายร้อง 'สภาทนาย-สตช.-กสม.' ช่วยเหลือ 15 ชาวบ้านถูกฟ้องข้อหาบุกรุกที่ดิน

Posted: 13 Sep 2017 09:38 AM PDT

ตัวแทนสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ร้องหน่วยงานรัฐช่วยเหลือกรณีที่นักปกป้องสิทธิที่ดิน ชุนชนน้ำแดงพัฒนา 15 ราย หลังถูกดำเนินคดีข้อหา บุกรุกที่ดิน และซ่องโจร จากกลุ่มบริษัทเอกชนที่อ้างสิทธิ์ในพื้นที่ดินดังกล่าว

 

13 ก.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่าเมื่อวันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมา ตัวแทนจากสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ชุมชนน้ำแดงพัฒนาจำนวน 13 ราย ได้เดินทาง เข้ายื่นหนังสือกับหน่วยงานรัฐ ในกรณีที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนเรื่องที่ดิน ชุนชนน้ำแดงพัฒนาสมาชิกของสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ จำนวน 15 ราย ถูกแจ้งความดำเนินคดีและฟ้องร้องในข้อหา บุกรุกที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น, ทำให้เสียทรัพย์ และซ่องโจร จากกลุ่มบริษัทเอกชนที่อ้างสิทธิ์ในพื้นที่ดินดังกล่าว

สำหรับหน่วยงาน ที่ สกต. เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนประกอบด้วย เวลาประมาน 10.00 น. เข้ายื่นหนังสือและร่วมพูดคุย ที่สภาทนายความ โดยมี เสาวภักดิ์ สกุลโรมวิลาส อุปนายกฝ่ายช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย รับเรื่องดังกล่าว เพื่อที่จะให้ทางสภาทนายความฯ ได้ทำการตั้งทนายความในพื้นที่ ให้เป็นคณะทำงานของทางสภาทนายความฯ

โดยต่อมาเวลาประมาน 12.30 น. ตัวแทน สกต. เดินทางเข้าพบพร้อมทั้งยื่นหนังสือ กับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ผ่าน พล.ต.ท.ธีระศักดิ์ กลิ่นพงษา ผู้ช่วย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเรียกร้องให้ สตช. ดำเนินการตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในพื้นที่สถานีตำรวจภูธรชัยบุรี เนื่องจากสมาชิกชุมชนน้ำแดงพัฒนานั้นได้เดินทางเพื่อเข้าแจ้งความกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายครั้ง หากแต่ไม่ได้มีความคืบหน้าในการที่จะประสานเรื่องการรักษาความปลอดภัยให้กับทางสมาชิกชุมชนน้ำแดงพัฒนา  ขอให้มีการประสานกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนน้ำแดงพัฒนา อีกทั้งให้มีการเข้าระงับเหตุอย่างทันทวงที เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของสมาชิกชุมชนน้ำแดงพัฒนา ขอให้แสวงหาแนวทางและมาตรการในการปกป้องคุ้มครอง นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ที่มีความเสี่ยง สมาชิกชุมชนน้ำแดงพัฒนา สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้

รายงานข่าวระบุด้วยว่า ที่ผ่านมา ทางสมาชิกชุมชนน้ำแดงพัฒนา ได้ถูกกลุ่มบริษัทเอกชน และผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ทำการเข้ามาข่มขู่ คุกคามในพื้นที่ อีกทั้งที่ผ่านมาก็ยังมีกลุ่มคนเข้ามาตัดฟันพืชผลอาสินของสมาชิกในชุมชน มาโดยตลอด ซึ่งสมาชิกชุมชนน้ำแดงพัฒนา ได้มีการลงบันทึกประจำวัน และแจ้งความแล้วถึง 7 ครั้ง แต่ก็ไม่ได้มีความคืบหน้าจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ จึงได้มาร้องขอความเป็นธรรมที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ตัวแทนจากทั้งชุมชนและ สกต. บอกเล่าถึงความเป็นมา และปัญหาความยากลำบากในการเข้าถึงความปลอดภัยและความยุติธรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชนน้ำแดง ต่อ พล.ต.ท.ธีระศักดิ์ เพื่อรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งต่อมา พล.ต.ท.ธีระศักดิ์  ได้ประสานงานโดยตรงไปถึงผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรชัยบุรี โดยทันที โดยได้กำชับอย่างหนักแน่นกับทางผู้กำกับ สภ.ชัยบุรี ว่า ให้ช่วยดูแลความปลอดภัย ความอุ่นใจของประชาชนในพื้นที่และให้ทำงานโดยเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด อีกทั้งให้มีการติดตั่งตู้แดง ในพื้นที่ชุมชนน้ำแดงพัฒนา และให้มีการเข้าตรวจการตู้แดงอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งในเรื่องของการรับแจ้งความหรือลงบันทึกประจำวันนั้น ให้กระทำตามกฎหมาย หรือระเบียบที่พึงจะกระทำได้ โดยหากไม่สามารถที่จะกระทำได้ก็ให้มีการชี้แจงกับทางชาวบ้านที่เข้าแจ้งให้เข้าใจอย่างชัดเจน

รายงานแจ้งด้วยว่า สุดท้ายเวลาประมาน 13.30 น. ตัวแทนจากชุมชนน้ำแดงพัฒนา และ สกต. ได้เข้ายื่นหนังสือกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยได้มีการเข้าพบบอกเล่าถึงปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ พร้อมทั้งยื่นหนังสือกับ อังคณา นีละไพรจิตร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและประธานอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อให้มีการประสานเรื่องความปลอดภัยให้การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนด้านที่ดิน ของชุมชนน้ำแดงพัฒนา อีกทั้งให้มีตรวจสอบและประสานงานกับเจ้าหน้าที่จากภาครัฐทั้งในระดับประเทศและในระดับท้องถิ่นเพื่อแสวงหากลไกในการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในลำดับต่อไป โดยคุณอังคณา นีละไพรจิตร ได้ออกมารับหนังสือกับทางตัวแทนชุมชนน้ำแดงพัฒนา และสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ พร้อมทั้งรับว่าติดตามและดำเนินการตามที่ทางตัวแทน ได้ร้องขอมาหนังสือร้องเรียนดังกล่าว

นอกจากนี้  ตัวแทนจากชุมชนน้ำแดงพัฒนา และสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ได้ยื่นหนังสือเพื่อขอเข้าพบกับทาง วัส ติงสมิตร ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิในที่ดินและการจัดการทรัพยากรป่าไม้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เนื่องจากก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 25 เม.ย.ที่ผ่านมา เวลา 11.30 น. นายวัส  ติงได้รับเรื่องร้องเรียนจาก ชุมชนน้ำแดงพัฒนา และ สกต. กรณีขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเกษตรกร  ชุมชนน้ำแดงพัฒนา โดยถูกตั้งข้อหาซ่องโจร(อั้งยี่) สาเหตุเกิดจากความขัดแย้งในที่ดิน อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ขอให้ กสม. ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยเร่งด่วนและประสานหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะติดตามผลการทำงานและการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการที่ดินและทรัพยากรป่าไม้ กสม.

แต่ วัส ระบุว่าติดภารกิจ จึงได้มีการส่งตัวแทนคือ อัญญะรัฐ เอ่งฉ้วน ผู้อำนวยการสำนักคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สำนักงาน กสม. รับหนังสือจากตัวแทนชุมชนดังกล่าวแทน  พร้อมรับว่าจะเร่งนำเรื่องขึ้นเสนอต่อ วัสดำเนินการและติดตามต่อจากครั้งที่แล้ว ในเรื่องที่ได้มีการร้องเรียนเข้ามาของชุมชนน้ำแดงพัฒนาที่ในตอนนี้อยู่ในการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการด้านที่ดินและทรัพยากรป่าไม้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อีกทั้งในเรื่องการลงพื้นที่ชุมชนน้ำแดงพัฒนาของประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และประธานคณะอนุกรรมการด้านสิทธิในที่ดินและการจัดการทรัพยากรป่าไม้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต่อไป

รายงานข่าวยังแจ้งด้วยว่า 11 ก.ย. ที่ผ่านมา ณ.ศาลจังหวัดเวียงสระ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี นัดไต่สวนคำร้องขอให้เพิกถอนสัญญาประกันตัวจำเลย 4 ราย และ นัดพร้อมตรวจคำให้การในคดีที่ ภาสกร เจริญมีชัยกุล, บริษัท สากลทรัพยากรพัฒนา จำกัด ซึ่งมอบอำนาจในการแจ้งความดำเนินคดีให้ อดีตกำนัน ต.คลองน้อย อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี เป็นผู้ดำเนินการแทน และ บริษัท อิควอโทเรียล คอมมิวนิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน ได้แจ้งความและอัยการ จ.สุราษฎร์ธานี ได้ฟ้องดำเนินคดีกับสมาชิกชุมชนน้ำแดงพัฒนา สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ จำนวน 15 ราย ในข้อหาบุกรุกเข้าอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น, ทำให้เสียทรัพย์ และซ่องโจร โดยศาลได้มีคำสั่งไม่เพิกถอนสัญญาประกันตัวการประกันตัวของสมาชิกน้ำแดงทั้ง 4 คน หากแต่มีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าห้ามจำเลยทั้ง 4 คนนั้น ไปในพื้นที่พิพาท หรือพื้นที่โจทก์ฟ้อง และศาลนัดกำหนดวันสืบพยานในวันที่ 7 ต.ค.นี้  แต่ที่ผ่านมา ทางบริษัทฯ ก็ยังได้มีการเข้ามาในพื้นที่พิพาท อีกทั้งยังได้มีการตัดฟันพืชผลอาสิน ที่ทางสมาชิกชุมชนน้ำแดงพัฒนา ปลูกมาโดยตลอด

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ถกโรฮิงญา: ทางเลือกน้อยนิดของ ร.บ.พลเรือน เล่า ปวศ.โรฮิงญา กับมุสลิมในอาระกันที่หายไป

Posted: 13 Sep 2017 08:20 AM PDT

วงจุฬาฯ เสวนาเผยปัจจัยทางการเมือง ศาสนา ประวัติศาสตร์ กฎหมายที่ซับซ้อนในประเด็นชาวโรฮิงญา เปิดสี่เงื่อนปมซับซ้อนวิกฤติการณ์โรฮิงญา วอนพม่าตระหนักศีลธรรม จริยธรรมให้สมกับมีเจดีย์นับพันนับหมื่น เล่าความสัมพันธ์พุทธ-มุสลิมที่หายไปผ่านสายตานักวิจัยที่ลงพื้นที่พม่าหลังพบว่ามุสลิมถูกทำให้ไม่มีตัวตน

13 ก.ย. 2560 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีจุฬาฯ เสวนา ครั้งที่ 9 เรื่อง "โรฮิงญา: เรื่องที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด" โดยมี รศ.สุเนตร ชุตินธรานนท์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์พม่า ผศ.นฤมล ทับจุมพล อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และ ผอ.ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย จุฬาฯ ธานินทร์ สาลาม จากศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อณัส อมาตยกุล จากภาควิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ ผอ.ศูนย์เอเชียใต้ศึกษาสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ

เงื่อนไขการเมืองเลือกตั้ง อำนาจทหาร กลุ่มชาติพันธุ์ทำพรรครัฐบาลขยับยาก แต่รับคำด่าเต็มๆ โลกลืมตั้งคำถามกับกองทัพ กลุ่มพุทธหัวรุนแรง

นฤมล ทับจุมพล

นฤมล กล่าวว่า สิ่งที่พบในกรณีโรฮิงญาในบริบทการเมืองพม่าสมัยใหม่คือ หนึ่ง คำอธิบายของการให้หรือไม่ให้สิทธิพลเมืองสัมพันธ์กับเรื่องคะแนนเสียงการเลือกตั้ง เราจะเห็นว่าคนโรฮิงญาในสมัยนายพลอูนุเคยได้รับสิทธิ์เลือกตั้ง จึงเป็นการถกเถียงแรกเลยว่าเขาควรเป็นพลเมืองหรือไม่ แล้วหลังมีกฎหมายสัญชาติสมัยนายพลเนวินที่อธิบายว่าคนที่เป็นพลเมืองคือคนที่อยู่มาก่อนสมัยสงครามพระเจ้ามินดงครั้งที่ 1 ซึ่งจะเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์บาดแผลที่อธิบายว่าชาวโรฮิงญามาทีหลัง ไม่ใช่หนึ่งในเจ็ดรัฐชาติพันธุ์ ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรก็อีกเรื่อง สอง การเมืองเลือกตั้งในพม่า ถ้าพูดถึงคะแนนเสียง จะเห็นว่าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือ NLD ได้ 364 ที่นั่งแบ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 238 ที่นั่ง สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 126 ที่นั่ง รองมาคือพรรคของทหารชื่อพรรคสหสามัคคีและการพัฒนา (USDP) ของอดีตประธานาธิบดีเต็งเส่ง ได้ ส.ส. 28 ที่นั่ง และได้ ส.ว. 12 ที่นั่ง อันดับสามคือพรรคฉาน ส.ส. 12 ที่นั่ง ส.ว. 3 ที่นั่ง พรรคที่ 4 คือพรรคอาระกันเนชั่น ส.ส. 7 ที่นั่ง ส.ว. 7 ที่นั่ง ที่เหลือก็เป็นพรรครองได้กันไปเล็กๆ น้อยๆ พรรคฉิ่น คะฉิ่น โกกั้ง เป็นต้น แล้วทีนี้พอพรรคยะไข่แห่งชาติที่ไม่รู้สึกว่าโรฮิงญาเป็นพลเมืองและเป็นฐานคะแนนเสียงของเขา คนที่เป็นฐานคะแนนเสียงเขามีแค่ยะไข่พุทธหรือชาวมุสลิมที่เรียกกว่ากะมันที่อยู่ในรัฐยะไข่

โรฮิงญาในบริบทการเมืองพม่านั้นซับซ้อน ยิ่งถ้าเถียงกันในบริบทรัฐบาลในระบบการเมืองเลือกตั้ง ท่าทีของรัฐบาลพม่าตั้งแต่รัฐบาลเต็งเส่ง และอองซานซูจี ในชุดการบริหารของประธานาธิบดีทีนจอ ท่าทีมีลักษณะต่างกันแต่เกือบจะคล้ายกัน ในช่วงของนายพลเต็งเส่ง มีสิ่งที่เรียกว่าการไม่อนุญาตให้เดินทางข้ามเมือง และก่อนจะมีการเลือกตั้งปี 2558 มีการเปิดสำรวจจำนวนประชากรให้ชาวพม่ามาจดทะเบียนเพื่อใช้ประกอบในแง่การใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ในเดือน เม.ย. 2014 คนโรฮิงญา ตอนนั้นก็มีชาวโรฮิงญาบอกว่าตนเองเป็นชาวโรฮิงญา ไม่ใช่เบงกาลี ไม่ใช่ผู้อพยพ ทำให้คณะกรรมการต้องแขวนเรื่องนี้ไว้เพราะไม่มีกฎหมายรับรองสถานะของชาวโรฮิงญา ทำให้ชาวโรฮิงญาขณะนั้นไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ซึ่งถ้ามีเสียงก็ไม่รู้ว่าจะทำให้พรรคโรฮิงญาได้ที่นั่งในสภาหรือเปล่า แต่โจทย์ที่เกิดขึ้นคือพรรคแห่งชาติอาระกันก็เป็นพรรคที่กุมคะแนนเสียงท้องถิ่น มีที่นั่งในสภาสูงและสภาล่าง และมีความเป็นชาตินิยมแบบยะไข่พุทธ ประเด็นปัญหาโรฮิงญาที่พบคือ เขาถูกกีดกันออกไปตั้งแต่ต้น เป็นคนชายขอบไป ไม่ได้อยู่ในบริบทการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แม้พรรค NLD จะได้เสียงถึง 364 ที่นั่ง แต่ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งก็ห้ามไม่ให้ผู้สมัครประกาศว่าตัวเองเป็นมุสลิม เป็นเรื่องการเมืองศาสนา ไม่ใช่เรื่องโรฮิงญา หลังเลือกตั้งไม่นาน ที่ปรึกษาทางกฎหมายของพรรค NLD ที่เป็นชาวมุสลิมก็ถูกยิงตายที่สนามบิน ผู้สมัครของพรรค NLD ที่เป็นมุสลิมก็ถูกคุกคาม ถูกทำร้าย โจทย์ยากของ NLD ก็คือความพยายามไม่ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างพุทธและมุสลิม และพยายามไม่เอาประเด็นโรฮิงญามาเป็นประเด็นทางศาสนา อย่าลืมว่าพม่ามีทั้งพุทธ คริสต์ มุสลิม และฮินดู

เราจะเห็นได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากผลการเลือกตั้ง ในช่วงก่อนปี 2015 ท่าทีของรัฐบาลพม่าในยุคนายพลเต็งเส่งก็ไม่มีท่าทีเป็นมิตรกับชาวโรฮิงญา มีการใช้กำลังปราบปราม มีการออกกฎหมายการขออนุญาตกับทางการถ้าชาวพุทธจะแต่งงานกับมุสลิม แต่สิ่งที่เป็นรากของปัญหาก่อนมาถึงรัฐบาลซูจีตอนนั้น แล้วกฎหมายก็ผ่านในยุคเต็งเส่งและถูกใช้ในปัจจุบัน

แล้วภายใต้การเมืองพม่าแบบนี้ เราจะคาดหวังให้รัฐบาลซูจี ในรัฐธรรมนูญพม่าบอกว่า เขาคุมกระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงชายแดนไม่ได้ เวลาจะลงพื้นที่แบบพวกเราขอวีซา ถ้าเป็นพื้นที่รัฐชาติพันธุ์มันไม่ใช่ตกลงกันที่รัฐบาลซูจีและกระทรวงต่างประเทศอย่างเดียว แต่กองทัพต้องมีเสียงด้วย ดังนั้นพรรค NLD ไม่ได้กุมอำนาจเบ็ดเสร็จอย่างที่พวกเราคิด ซูจีมีเพียงฐานมวลชนจำนวนมาก คำถามคือ มวลชนพม่าและกลุ่มอื่นๆ คิดอย่างไรกับชาวโรฮิงญา อาจจะมีแบบที่ไม่ตระหนักและเชื่อฟังประวัติศาสตร์แบบเรียนตั้งแต่สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง อาจมีบางส่วนที่ไม่คิดอะไร หรือบางส่วนก็มองประเด็นหน่อยแต่มีบาดแผลเรื่องอาณานิคม โรฮิงญาในบริบทการเมืองพม่าจึงไม่ง่ายที่จะแก้ปัญหา

ประชาสังคม พุทธสายกลางอ่อนแอไม่เข้าใจปัญหา ชาติพันธุ์เสรีไม่มีโรฮิงญาในสมการ แนะ แก้ปัญหามนุษยธรรม ให้โรฮิงญาอยู่ในพม่าได้ก่อน สถานะมาทีหลัง

อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงประเด็นภาคประชาสังคมว่า ทำไมประชาสังคมถึงไม่ทำให้เรื่องโรฮิงญาเป็นที่ปรากฎ ประชาสังคมในพื้นที่สาธารณะไม่ได้ก้าวหน้าเสมอไป มีทั้งที่ก้าวหน้าและไม่ก้าวหน้า มีทั้งกลุ่มชาตินิยมและไม่ชาตินิยม เช่นกลุ่มพุทธ กลุ่มศาสนา ใ่นปี 2007 กลุ่มศาสนาที่ก้าวหน้า คืออูคำวีระก็ถูกจับสึกตั้งแต่ปี 2007 ตอนนี้ก็เป็นพระวีระทูที่เป็นชาตินิยมมากออกมามีบทบาท ประชาสังคมฝ่ายก้าวหน้าที่พอจะผลักดันเรื่องนี้ให้ไปไกลกว่าประเด็นพุทธ-มุสลิมก็ถูกลดบทบาทไปแล้ว

ดิฉันคิดว่าประชาสังคมกลุ่มอื่นไม่เข้าใจปัญหาโรฮิงญา คิดว่าเป็นภัยหรือไม่ใช่พวกเรา มีลักษณะเป็นอื่น ไปจนถึงมองว่าเป็นคนในประเทศแต่เป็นแรงงานข้ามชาติที่อยู่มานาน ไม่ใช่พลเมือง โอกาสที่จะทำให้ประชาสังคมมองโรฮิงญาว่าเป็นพลเมืองยังคงต้องใช้เวลา แม้แต่กลุ่มนักศึกษา 88 generation ก็ยังไม่มีการเรียกโรฮิงญาว่าโรฮิงญาเลย เพราะพวกเขาก็อยู่ในบริบทของประวัติศาสตร์ต่อสู้กับอาณานิคม และกลุ่มที่มีโอกาสก้าวหน้าที่ยอมรับประเด็นพหุวัฒนธรรมก็ยังไม่มีพื้นที่ในพม่า และ่ยังคงเป็นโจทย์ที่พรรค NLD ยังไม่สามารถหาทางออกได้ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งสามารถนำมาซึ่งการอยู่ร่วมกันและนำพาเศรษฐกิจไปได้ ถ้าพวกเขาทำไม่สำเร็จ พรรค USDP และกองทัพก็จะกลับมา ตอนนี้กระแสต่างประเทศดิฉันไม่เห็นว่าจะมีการกดดันนายพลเม็งอองลายและกองทัพพม่า แต่กดดันคนที่กดดันได้ ก็คือพรรครัฐบาล และไม่มีคนตั้งคำถามกับภาคประชาสังคม กลุ่มพุทธหัวรุนแรงในพม่า ซึ่งถือเป็นโจทย์ที่ซับซ้อน

ประเด็นชาติที่พันธุ์ที่ว่าทำไมรัฐชาติพันธุ์ที่เหลืออีก 7 รัฐไม่ว่าจะเป็นคะฉิ่น ฉิ่น ฉาน ไม่ออกมาช่วยโรฮิงญา สิ่งที่เป็นข้อสังเกตคือ รัฐชาติพันธุ์ต่างหากที่มีลักษณะเป็นชาตินิยมเกินปรกติ โจทย์ที่ต้องเถียงกันถ้าพม่ายอมรับสถานะโรฮิงญาก็คือเรื่องเอกสิทธิ์การปกครองตนเอง ยะไข่จะแบ่งพื้นที่ให้กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มอื่นไหมถ้าชาติพันธุ์ในยะไข่ยอมรับชาวโรฮิงญา ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างแสดงท่าทีเฉยๆ ไปจนถึงไม่เอาโรฮิงญา จึงเป็นการเมืองเรื่องชาติพันธุ์กับเอกสิทธิ์การปกครองตนเอง และโจทย์นี้ก็ไม่ได้เอาโรฮิงญาไปอยู่ในสมการของอิสระทางชาติพันธุ์

ต่อประเด็นว่า เราในฐานะคนนอกจะเอาอย่างไรดี หรือจริงๆ วิกฤติโรฮิงญาเป็นวิกฤติที่ซับซ้อนไปกว่าเรื่องมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน วิกฤติโรฮิงญาสะท้อนว่าเราจะรับมือรัฐบาลที่ค่อนข้างอ่อนแอ ไม่สามารถควบคุมองคาพยพของระบบราชการในประเทศ ไม่สามารถคุยกับภาคธุรกิจได้เต็มที่ได้อย่างไร เราอาจสร้างข้อโต้แย้งว่าอย่างน้อยที่สุดในเชิงมนุษยธรรม ไม่ว่าเขาจะเป็นหรือไม่เป็นพลเมืองในฐานะมนุษย์ เขามีสิทธิ์ที่จะอยู่บนแผ่นดินพม่า แต่จะอยู่กันอย่างไรก็ค่อยไปเถียงกันอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าทำแบบนี้อาจจะลดความร้อนแรงของการถกเถียง ประเด็นที่สองที่ต้องระวังคือ อย่าทำให้ประเด็นโรฮิงญาเป็นประเด็นวิกฤติศาสนา เพราะจะทำให้ปัญหาในพม่าหนักขึ้นมากเนื่องจากกลุ่มมุสลิมในพม่านั้นมีหลายกลุ่ม

ประเด็นที่สาม ท่าทีอาเซียนก็มีการปรับหลายเรื่อง เช่น มีความพยายามในการออกมาพูดเรื่องโรฮิงญา แต่ก็ต้องยอมรับความจริงว่ารัฐบาลที่ออกมาพูดก็ไม่ได้ออกมารับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาเลย ยกเว้นรัฐบาลท้องถิ่นของอาเจะห์ สิ่งที่อาเซียนต้องทำคือจะแบ่งการช่วยเหลือ จัดการทางมนุษยธรรมอย่างไร และประเด็นนี้อาจจะไม่ได้จำกัดอยู่ในอาเซียน แต่อาจจะต้องเป็นปัญหาที่ต้องคุยกันในพื้นที่เอเชียใต้คืออินเดียและบังคลาเทศด้วย สิ่งที่ทำได้คือมองเรื่องนี้จากรอบด้านแล้วมองวิธีแก้ปัญหา การด่าและวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น แต่ทำอย่างไรให้กลุ่มที่ต้องการหาทางออกมีพื้นที่ต่อรองต่างหาก ในวงวิชาการและกลุ่มที่ไม่ใช่รัฐ ในเมื่อรัฐขยับตัวลำบาก ภาคประชาสังคมและวิชาการน่าจะขยับตัวลงไปผลักดันประเด็นเรื่องนี้ และพยายามไม่ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นเรื่องเสียหน้าหรือไม่เสียหน้า อาจจะต้องไปอย่างอ่อนน้อมถ่อมตนเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายลงได้

นฤมลได้ตอบคำถามผู้เข้าร่วมเสวนาในประเด็นบทบาทของไทยที่ทำได้ในประเด็นโรฮิงญาว่า รัฐบาลไทยค่อนข้างเก่งในการเจรจาการทูตหลังม่าน (Shadow Diplomacy) ซึ่งแน่นอนว่าคงต้องมีการพูดคุยกับกองทัพพม่าด้วยฐานะของกองทัพ ไม่ใช่รัฐบาล แต่ในนามรัฐบาล คิดว่าจะต้องเอารายงานที่โคฟี อันนันกับคณะที่ปรึกษาประเด็นรัฐยะไข่เสนอไว้ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ปะทะกันครั้งล่าสุดขึ้นมาพูด เพราะเป็นสิ่งที่ผ่านรัฐสภาของพม่าไปแล้วแต่ยังไม่ได้ทำอะไรเพราะมาตีกันก่อน เราอาจผลักดันประเด็นนี้อย่างเป็นทางการ สถานการณ์ในยะไข่ตอนนี้ไม่ได้มีแค่โรฮิงญาที่พลัดถิ่น ถ้าเราเข้าไปช่วยในลักษณะมนุษยธรรมก็ควรช่วยทุกกลุ่ม และเราควรสนับสนุนกลุ่มสายกลางในพม่าที่เชียร์การเกิดการพูดคุยข้ามศาสนาเช่นกลุ่ม 88 เจเนอเรชัน ควรสนับสนุนกลุ่มภายในให้เขาทำงานได้ ทั้งควรจะเปิดพื้นที่ให้การช่วยเหลือทางมนุษยธรรมเข้าไปได้หรือไม่ เพราะตอนนี้พื้นที่ถูกปิดหมด อย่าเพิ่งพูดคุยเรื่องการแก้ไขทางการเมือง ในแง่นี้แล้วอาเซียนจะเข้าไปเสนอแบบไหนทั้งในระดับการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมที่ทำให้ดูเป็นการช่วยเหลือทุกฝ่าย ซึ่งในฐานะอาเซียนอาจพูดได้ง่ายกว่ายูเอ็น และไทยอาจจะพอมีเงื่อนไขที่พูดได้มากที่สุด

กฎหมายอิงประวัติศาสตร์ทำโรฮิงญาไร้ตัวตน เปิดสี่เงื่อนปมซับซ้อนประเด็นโรฮิงญา วอนพม่าตระหนักศีลธรรม จริยธรรมให้สมกับมีเจดีย์นับพันนับหมื่น

สุเนตร ชุตินธรานนท์

สุเมธ กล่าวว่า ในการรับรู้และเข้าใจปัญหาโรฮิงญา ความสนใจส่วนใหญ่ทั้งในไทยและต่างประเทศเป็นกรณีปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นการมองจากมุมของคนนอกมองเข้าไปในพม่า ประเด็นที่สองที่คู่ขนานมาคือเรื่องของการวางตัวของอองซานซูจีที่เป็นที่ปรึกษาแห่งรัฐ แต่ก็เป็นอดีตผู้ได้รับรางวับโนเบลสาขาสันติภาพ ทำให้แรงกดดันลงไปที่อองซานซูจีสูงมากอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน การกระทำการของกองทัพพม่าต่อโรฮิงญาอย่างเลยเถิด จึงเป็นเรื่องที่อองซานซูจีต้องวางจุดยืน การมองจากภายนอกก็ไม่ผิด เพียงแต่ว่าการมองปัญหานี้ จะต้องมองปัญหาให้รอบด้านกว่านี้ถ้าเราอยากแก้ปัญหา การมองปัญหาให้รอบด้านกว่านี้คือต้องมองทั้งปัญหาทั้งจากภายนอกและภายใน

มิติภายในพม่า ปัญหาโรฮิงญาเมื่อย้อนไปปี 2012-2013 เป็นปีที่มีการอพยพของโรฮิงญาเรือนแสนเข้าไปในบังคลาเทศ และปี 2016 ที่ีมีการฆ่าชาวโรฮิงญา ที่บางคนใช้คำแรงไปถึงคำว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่ปัญหาความขัดแย้งและปัญหาโรฮิงญาเป็นปัญหาที่มีมาช้านานในพม่า แต่ที่เราไม่ได้ข้อมูลเป็นเพราะช่วงนั้นพม่าปิดประเทศ ในช่วงนั้นข้อมูลข่าวสารไม่ได้เปิดกว้าง แต่ความรุนแรงในยุคก่อนหน้าก็อยู่ในระดับพอๆ กัน

ปัญหาใหญ่ของโรฮิงญา หนึ่ง ประวัติศาสตร์บาดแผล ซึ่งสิ่งสำคัญคือสถานะของชาวโรฮิงญาที่เป็นที่ถกเถียงกัน และสัมพันธ์อย่างยิ่งกับท่าทีรัฐบาลพม่าต่อโรฮิงญา เรื่องนี้มีแนวคิดต่อประเด็นต้นตอของชาวโรฮิงญาอยู่ 2 ขั้ว ในทางหนึ่ง ถ้ามองจากภาครัฐบาลหรือผู้ต่อต้านโรฮิงญาในพม่าจะมองว่าโรฮิงญาไม่ใช่คนพื้นถิ่นในพม่าเหมือนกับชาวพม่าหรือชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่น มองว่าเขาเป็นคนที่เข้ามาหลังปี 1827 และจะเรียกพวกนี้ว่าเบงกาลี พอเรียกแบบนี้ก็เลยมาต่อที่การกำหนดสถานะว่าเขาเป็นคนนอก และตามมาด้วยกฎหมายที่ควบคุมสถานะดังกล่าว เช่นกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า (Constitution of Socialist Republic of Union of Burma) ในปี 1974 เป็นปัญหาแรกที่ชาวโรฮิงญาในพม่าไม่สามารถถือบัตรประจำตัวประชาชนได้เลย และกฎหมายที่ตามมาอีกครั้งคือกฎหมายสัญชาติพม่าเมื่อปี 1982 ถือเป็นการปิดสถานะสัญชาติโรฮิงญาไปเลย สร้างความลำบากอย่างยิ่งใหญ่ในการดำรงอยู่ของชาวโรฮิงญา ซึ่งแนวคิดนี้เป็นกระแสที่คนส่วนใหญ่ในพม่าเชื่อถือ ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรก็เป็นอีกเรื่อง เพราะชาวโรฮิงญาและนักวิชาการต่างชาติก็มีข้อมูลอีกชุดว่า แท้จริงคำว่าโรฮิงญามีใช้มานานแล้ว บ้างก็อาจจะอ้างไปที่คริสศตวรรษที่ 18 ไปจนถึงคริสตศตวรรษที่ 7-8 แต่ต้องเข้าใจว่าการขยายตัวของศาสนาอิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มอย่างช้าก็คริสตศตวรรษที่ 13 และขยายเข้ามาทั้งในแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ ในขณะเดียวกันการเคลื่อนย้ายของประชากรก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่จะมีชาวเบงกอลหรือชาวพุทธเข้าไปในบังคลาเทศ ปี 1974 ที่ถูกเอามาเป็นเพดานกำหนด อีกฝ่ายหนึ่งก็มีหลักฐานหลายชุดที่ออกมาปฏิเสธว่าชาวโรฮิงญาอยู่มาก่อนแล้ว แต่เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญของชาวโรฮิงญาที่จะกำหนดว่าเขาได้รับสิทธิ์การเป็นพลเมือง ซึ่งในพม่าจะต้องสู้กันหลายศาลเพราะมีข้อบังคับหลายอย่างที่ออกมาโดยจงใจที่บอกว่าอันนี้ไม่ใช่คนพื้นเมืองเดิมของพม่า

โดยปรกติเดิมที คนอาระกัน หรือที่เรียกกว่ายะไข่พุทธ อาระกันพุทธ ไม่ได้คิดว่าตัวเองเป็นชาวพม่า แม้รากภาษายะไข่เป็นรากภาษาเดียวกับพม่า เพียงแต่การพูด การออกเสียงจะเร็วกว่า แต่ก็ไม่ได้คิดว่าตัวเองเป็นชาวพม่า มันมีการแยกกันอย่างซับซ้อน และรัฐอำนาจพม่าที่ส่วนกลางก็ไม่เคยรวมอาระกันได้มาก่อน จนรัชกาลพระเจ้าปดุงที่ส่งราชโอรสไปตีเมืองหลวงของอาระกันได้ มีการกวาดต้อนผู้คน และรวมถึงเจ้านายต่างๆ และพระมหามัยมุนีกลับมาพม่าได้ ตอนนั้นก็มีชาวมุสลิมหลายหมื่นคนหนีไปที่บังคลาเทศ แต่ผลจากที่พม่ายึดครองอาระกัน ทำให้พม่าเกิดการกระทบกระเทือนกับอาณานิคมอังกฤษที่มีพรมแดนเชื่อมต่อกับราชสำนักพม่าซึ่งเดิมทีมีอาระกันเป็นรัฐกันชน จึงทำให้เกิดกระทบกระทั่งกัน เกิดเป็นสงคราม First Anglo Burmese War ระหว่างปี 1824-1826 ทำให้เกิดสนธิสัญญายันดาโบที่มีผลให้รัฐอาระกันทั้งก้อนหลุดไปเป็นสมบัติของอาณานิคมอังกฤษ เป็นก้อนเดียวกับอินเดียและบังคลาเทศ ตรงนี้ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายประชากรระหว่างอาระกันและบังคลาเทศ ซึ่งเข้ามามากช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เมื่ออังกฤษต้องการใช้แรงงานแขกที่มีหลายหมู่เหล่า แต่ส่วนมากเป็นมุสลิมที่ถูกเอามาใช้เป็นแรงงานในท่าเรือและใ้นภาคการเกษตร แล้วจินตนาการดูว่าใครจะไปรู้ได้ว่าโรฮิงญาคนไหนเข้ามาก่อนหรือหลัง 1824 แต่รัฐบาลพม่าเหมาทั้งหมดว่าเข้ามาก่อนปี 1824

เรื่องที่จะเป็นเรื่องใหญ่เกิดขึ้นเมื่อญี่ปุ่นเข้ามาเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษใช้กำลังของโรฮิงญารบกับญี่ปุ่น ในขณะที่ผู้นำที่ปลดแอกพม่ากลับไปเข้ากับญี่ปุ่น จึงมีพื้นที่รบกันระหว่างผู้นำพม่ากับชาวโรฮิงญา พออังกฤษเริ่มถอยไปจากพื้นที่นี้ก็ได้ให้อาวุธกับโรฮิงญาจำนวนมากเพื่อหวังจะให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่กันชนระหว่างตนกับญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการแยกประเทศขึ้นทั่วโลก กลุ่มโรฮิงญาเองก็มีปรากฏในช่วงนั้น ซึ่งการแบ่งแยกดินแดนไปตั้งรัฐเองนั้นถือเป็นเรื่องสุดท้ายที่พม่าจะยอมได้ กลุ่มที่เคลื่อนไหวของชาวโรฮิงญาเป็นชาวมุสลิม ใช้ชื่อว่ามุจาฮีดีน ทำให้มีความรุนแรงขึ้นตั้งแต่ปี 1937

ในช่วงแรกๆ พม่าให้พื้นที่กับชาวโรฮิงญาพอสมควร มีการให้สิทธิ เสรีภาพ กระทั่งให้ตั้งสถานีวิทยุ แต่พอพม่าเปลี่ยนแปลงการปกครองซึ่งนำโดยนายพลเนวิน ก็ไม่ได้รับนโยบายนั้นต่อมาจากนายพลอูนุ และใช้ปฏิบัติทางทหารการกวาดล้างชาวโรฮิงญาโดยใช้ข้ออ้างว่าเพื่อกวาดล้างกลุ่มก่อความไม่สงบในรัฐยะไข่ ทำให้คนเรือนแสนอพยพเข้าไปในบังคลาเทศ แต่เรื่องนี้ก็ไม่ได้เป็นที่รู้กันอย่างแพร่หลาย

ประวัติศาสตร์บาดแผลเป็นเรื่องที่รัฐบาลและชาวพม่ายกมาอ้างเพื่อแยกชาวโรฮิงญาจากชนกลุ่มน้อยอื่นๆ เพราะมีประเด็นการต่อสู้และความขัดแย้งมา ผมมองว่าในพม่ามี 4 กลุ่มที่สัมพันธ์กับเรื่องนี้

หนึ่ง พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของอองซานซูจี ที่อย่างไรเสียปฏิเสธความรับผิดชอบได้ยาก เพราะตนเองเป็นรัฐบาลด้วยคะแนนเสียงส่วนใหญ่ แต่อองซานซูจีตระหนักถึงความละเอียดอ่อนของปัญหานี้มาก ตั้งแต่ช่วงหาเสียงก็มีคำถามอยู่ 1 คำถามที่เธอห้ามนักข่าวถาม คือคำถามเรื่องโรฮิงญา จนทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้ตอบคำถามนี้จนกระทั่งประชาคมนานาชาติออกมาตั้งคำถามกดดัน

สอง กองทัพ ซึ่งเป็นไม้เบื่อไม้เมากับโรฮิงญามานานแล้ว ตอนนี้กองทัพก็เป็นพรรค USDP จึงถือเป็นพรรคการเมืองที่แข่งขันกับพรรค NLD ซึ่งทั้งสองก็หวังเสียงสนับสนุนจากชาวพม่าซึ่งร้อยละ 90 เป็นชาวพุทธ ถ้าทั้งสองไปสนับสนุนโรฮิงญาก็จะทำให้ชาวพม่าไม่พอใจ จะทำให้เสียคะแนนเสียง ในขณะที่ตัวแปรสำคัญคือพรรคการเมืองภายในอาระกัน คือพรรคสันนิบาติอาระกันแห่งประชาธิปไตยหรือ Arakan League of Democracy ซึ่งเป็นพรรคพุทธหัวรุนแรง ที่มีฐานในการต่อต้านโรฮิงญาอยุ่แล้วจนมาเปลี่ยนเป็นพรรค RNDP ในปี 2010 แต่ก็ไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่เพราะมีเป้าหมายผลักดันโรฮิงญาให้ไปอยู่บังคลาเทศทั้งหมด หรือไม่ก็เอาไปอยู่ในค่ายกักกัน ซึ่งพรรคนี้ไดรับเลือกตั้ง ทำให้พรรค NLD ต้องให้ความสำคัญกับพรรคดังกล่าว จึงเป็นเหตุผลที่ทำไมอองซานซูจีวางตนเองภายใต้ปัญหานี้ยากมาก

สาม ในประเด็นศาสนา กลุ่มพุทธชาตินิยมขบวนการ 969 สัมพันธ์กับ NLD กลุ่มพุทธสุดโต่ง มะบะต๊ะ ก็สัมพันธ์กับพรรค USDP เราจึงเห็นเจ้าหน้าที่รัฐและคนของกลุ่มเหล่านี้ทำงานร่วมกันในการเข้าโจมตีชาวโรฮิงญา

สี่ ปัญหาเรื่องชาติพันธุ์และสีผิว ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ด้วย ชาวโรฮิงญาที่ถูกแยกออกจากชาวพม่ามีภาษาและสีผิวต่างกันชัดเจน แถมศาสนาก็ยังแตกต่างกันไปด้วย พอเป็นปัญหาแบบนี้แล้วรัฐก็วางตัวยากบนคำถามที่ว่าตนอยากได้คะแนนนิยมจากใคร ท้ายที่สุด เราเห็นภาพของการร่วมมือกันที่โดยพื้นฐานไม่ถูกกัน แต่มาตะลุมบอนชาวโรฮิงญา ไม่ว่าจะเป็นกองทัพ NLD มะบ๊ะต๊ะ พรรคการเมืองท้องถิ่นหรืออะไรก็ตามที พอเราจะเข้าไปแก้ไข รัฐบาลพม่าพยายามจะยืนกรานว่าปัญหานี้คือปัญหาภายในของฉัน คนอื่นอย่ามาเกี่ยว

สุเนตรตอบคำถามในประเด็นบทบาทที่รัฐบาลไทยจะทำได้ในวิกฤติโรฮิงญาครั้งนี้โดยระบุว่า การแสดงจุดยืนเพื่อช่วยเหลือชาวโรฮิงญาจากรัฐบาลจะมีผลกระทบในระดับประเทศ แต่การแสดงจุดยืนในระดับภูมิภาคตามแรงกดดันจากนานาประเทศจะค่อนข้างปลอดภัย เพราะปัญหาในพม่านั้นกำลังกลืนกลายเป็นปัญหาระดับภูมิภาคแล้ว เอาแค่จำนวนคนอพยพข้ามเข้ามา ยังไม่พูดถึงทีท่าประเทศมุสลิมที่มีต่อพม่า แต่ในภาคประชาชนผมอยากเห็นความร่วมมือมากไปกว่ากลุ่มชาวไทยมุสลิม และยกปัญหานี้เป็นปัญหาเชิงมนุษยธรรมที่เป็นปัญหาสากลที่ไม่ว่าเราจะอยู่ในศาสนาใดก็ตามทีคิดว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ไม่ว่าเป็นคำสอนในศาสนาใด การใช้กำลังกวาดล้างอย่างนี้เป็นสิ่งไม่ถูก และเราอยากจะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือด้วยคนจากหลายศาสนา

อณัส อมาตยกุล

อณัสได้ให้แง่มุมทางประวัติศาสตร์เพิ่มเติม โดยกล่าวว่า ตามประวัติศาสตร์ มุสลิมมาตั้งรกรากในยะไข่ รักษาปุรี จากนั้นโปรตุเกสที่เดินเรือเข้ามาใน คศ 16 ก็เรียกคำนี้เพี้ยนไป ในราชวงศ์มะระอู คศ 15 กษัตริย์มินซอมอน เสียอาณาจักรให้ราชาองค์อื่นในพื้นที่ที่ต่อมาเป็นรัฐพม่า พระองค์จึงหนีไปพึ่งสุลต่านเบงกอล พระองค์ก็ได้รับกองกำลังทหารมุสลิมจากเบงกอลกลับมาต่อสู้กอบกู้เอกราชได้ จึงยกพื้นที่บางส่วนให้สุลต่านเบงกอล ในเวลาต่อมาเมื่อปี 1785 กษัตริย์พม่าในราชวงศ์กอนบวงได้ยกทัพเข้าไปยึดครองอาระกัน ทำให้คนในยะไข่ต้องหนีไปยังจิตตะกอง แคว้นเบงกอลซึ่งตอนนั้นเป็นของอังกฤษแล้ว อันเป็นผลมาจากการฆ่าฟันและข่มขืนของทหารพม่า การอพยพทำให้ประชากรในพื้นที่ยะไข่เบาบางลงมาก เมื่ออังกฤษเข้ามายึดจึงพบว่าประชากรเบาบางและมีทรัพยากรธรรมชาติมาก จึงมีการนำชาวเบงกอลมาเป็นแรงงานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ซึ่งเป็นบาดแผลให้ชาวพม่าที่ยังคงโหยหาราชสำนักอยู่ อังกฤษเองก็มีกระบวนการสนับสนุนการอยู่ร่วมกันแต่ยังไม่ทันทำอะไรได้มากจนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดการปะทะกันระหว่างโรฮิงญาและชาวพม่าจากการสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์จากอังกฤษและญี่ปุ่นตามลำดับ

สิ่งหนึ่งที่สังคมที่บริโภคข่าวสารเรื่องนี้ควรได้รับรู้วิกฤติที่เกิดขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน สำหรับสังคมไทยซึ่งยังเป็นสังคมที่ในระดับหนึ่งไม่ได้มีวิกฤิติขนาดนั้น ผู้คนอยู่ในดุลยภาพศีลธรรมที่น่าภูมิใจระดับหนึ่ง ประการต่อไป ประเด็นโรฮิงญา ถ้าไม่มองเป็นประเด็นศาสนาก็มองได้ แต่ก็ควรมองในประเด็นที่ชาวพม่าที่มีศาสนาควรดำรงอยู่ในดุลยภาพของธรรมมะ นักบวชก็ควรนำมวลชนออกไปจากการเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เช่นนั้นพม่าจะล่มสลายในทางศีลธรรม เพราะทางปฏิบัติธรรมมะไม่ได้ซึมซับในตัวผู้คนที่ไม่มีแม้กระทั่งน้ำใจ

อณัสยังได้เสนอในตอนท้ายว่า ถ้าเราจะมีนโยบายปฏิบัติทางสังคมที่นอกจากการคุยกันทางการทูตที่สวยหรู ควรทำให้คนพม่ามีสติว่าจะตั้งรัฐที่มีคุณธรรมและจริยธรรมอย่างไร ให้เป็นแผ่นดินทองแผ่นดินธรรมจริงๆ สมกับที่มีเจดีย์นับพันนับหมื่น ไม่ใช่มีแต่วัตถุ แต่มีจิตใจและพฤติกรรมที่เป็นธรรมะเช่นเดียวกัน

เล่าความสัมพันธ์พุทธ-มุสลิมที่หายไปผ่านสายตานักวิจัยที่ลงพื้นที่พม่า อาระกันรุ่นใหม่กระแสเกลียดชังอ่อนลง หวังลดขัดแย้งแล้วพัฒนาเศรษฐกิจ จะทำงานกับรุ่นเก่าอย่างไรคือข้อท้าทาย

ธานินทร์ สาลาม

ธานินทร์ เล่าเรื่องราวที่ได้รับจากงานวิจัยที่เคยไปลงพื้นที่ในพม่ามาว่า จากย่างกุ้งเราเข้าไปที่ซิตเวก่อน เราไปเจอสภาพหนึ่งคือเข้าไปยากมาก ผมเข้าไปในฐานะนักท่องเที่ยว สิ่งหนึ่งที่เห็นคือมัสยิดใหญ่ๆ 2-3 ที่ถูกล้อมรั้วปิดกั้น ไม่มีชุมชนมัสยิดแล้ว เมืองซิตเวที่เป็นเมืองหลวงของรัฐอาระกัน ไม่มีชาวมุสลิมแม้แต่คนเดียว ผมอยู่ซิตเวเพื่อเก็บข้อมูลให้มากที่สุด จากนั้นไปที่เหมี่ยวอู ที่เป็นเมืองหลวงเดิมของรัฐอาระกันก็ไม่มีชาวมุสลิมในเมืองเลย ไม่มีมัสยิดในเขตเมืองสักหลัง จากนั้นก็ข้ามไปที่เขตชุมชนมองดอว โบชิดอง ก็เข้าไม่ได้เพราะรัฐบาลปิดไว้ด้วยเหตุผลว่ายังจัดการเรื่องภายในยังไม่เรียบร้อย

จากซิตเวไปเหมี่ยวอูใช้เวลาครึ่งวันเพื่อเดินทางบนแม่น้ำกลาดันที่ใหญ่กว่าแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณสองเท่า ผมเคยเอาภาพของเหมี่ยวอูไปให้เพื่อนโรฮิงญาดู เขาก็เล่าว่าบ้านเขาอยู่ที่นี่ตอนเด็กครอบครัวเป็นชาวประมง ตอนพ่อออกเรือก็เอาตนไปฝากกับเพื่อนชาวพุทธหรือที่เรียกว่าม็อก สะท้อนถึงสภาวะการอยู่ร่วมกัน แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว

เราเข้าไปในพิพิธภัณฑ์รัฐยะไข่ ซึ่งสร้างติดกับมัสยิดหลังใหญ่มาก ผมถามคนโรฮิงญาที่มาจากซิตเว เขาบอกว่าที่ดินที่สร้างก็เป็นที่ของมัสยิด ผมเข้าไปดูในพิพิธภัณฑ์ก็พบว่า ข้อความที่อ้างถึงหรือพูดถึงมุสลิมนั้นไม่มีเลย ต่อมาเรามาดูพื้นที่ใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างชาวพุทธยะไข่กับพระและถามไถ่ถึงทัศนคติต่อมุสลิม อันหนึ่งที่น่ารับฟังคือ คนรุ่นใหม่ของยะไข่ที่เคยมาทำงานต่างประเทศเขาบอกว่าเขาไม่ชอบความขัดแย้งเพราะมันไม่เป็นผลดีเลยกับการพัฒนาประเทศ ยะไข่เป็นรัฐที่ยากจนเป็นอันดับต้นๆ ของพม่าและมันต้องใช้เศรษฐกิจในการพัฒนา คนรุ่นใหม่มีท่าทีประนีประนอมกับชาวโรฮิงญามากขึ้น แต่ก็ยังมีชุดความรู้ที่เกลียดชังชาวโรฮิงญาจากประวัติศาสตร์ในแบบเรียนอยู่ ผมไปถามชาวยะไข่อายุ 20 ปีคนหนึ่งพบว่าไม่เคยเจอ ไม่เคยมีเพื่อนชาวมุสลิม รู้จักชาวมุสลิมผ่านข่าวสารที่รัฐใส่มาเท่านั้น เพราะชาวมุสลิมถูกกันออกไปจากซิตเวแล้ว ไม่มีปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพและความรู้สึกใดๆ ระหว่างกันเลย ถ้าสิ่งนี้ยังคงอยู่ แล้วอนาคตมันจะปรองดองกันอย่างไร

เมื่อเข้าไปในค่ายผู้พลัดถิ่นในประเทศ  (IDP-Internally Displace People) แล้ว พบว่าผู้คนเรือนแสนจากหลายๆ ที่ ที่ค่ายในเมืองซิตเว เสียงของมุสลิมในแคมป์บอกว่า เขาก็อยู่กับคนยะไข่ได้เป็นอย่างดี แต่ไม่เข้าใจว่ารัฐบาลแยกเขาออกมาทำไม

ด้วยหมากการเมืองด้านการแบ่งแยกศาสนา ทำให้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างสองกลุ่มศาสนาแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ชาวมุสลิมไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองทุกรูปแบบ หลังจากที่ออกจากพม่าก็ไปสู่ปลายทางที่ประเทศหนึ่งคือมาเลเซีย ซึ่งมีชาวโรฮิงญาอยู่กันเรือนแสน ทั้งที่ลงทะเบียนและไม่ได้ลงทะเบียน ในมาเลเซียมีสมาคมชาวโรฮิงญาเยอะมาก

เวลาเราพูดถึงโรฮิงญา โดยความเป็นจริงของผู้คน อย่ามองว่าเป็นก้อนเดียวกัน แต่ในเชิงหลักการ โรฮิงญามีความหลากหลาย ในชั้นที่กว้างที่สุดแต่คลุมเครือที่สุดก็จะมองว่าเป็นโรฮิงญามุสลิมจากอาระกัน แต่พอเราบีบให้แคบเข้าก็จะเห็นว่าชาวมุสลิมโรฮิงญาจากอาระกันนั้นออกมาตั้งชุมชนตามเมือง และการเดินทางจากอาระกันมาจากมาเลเซียก็มีขั้นตอนมากมายที่ต้องพึ่งพาอาศัยคนที่ไว้ใจเท่านั้น จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ชาวโรฮิงญาตั้งชุมชน ตั้งสมาคมของตนเอง ในอินโดนีเซีย อินโดนีเซียไม่ใช่พื้นที่ที่เขาจะไปใช้ชีวิตประกอบอาชีพ เพียงแต่เป็นพื้นที่พักก่อนจะไปที่ประเทศที่ 3 ในอาเจะห์ ผมไปทุกแคมป์ที่อาเจะห์พบว่าไม่มีที่ใดสบายเท่าที่นี่อีกแล้ว ในแคมป์มีมัสยิด มีสถานพัฒนาฝีมือแรงงาน มีโรงเรียนเลี้ยงเด็กและการซื้ออาหารสดให้ชาวโรฮิงญาปรุงเอง

ธานินทร์ได้ตอบคำถามผู้เข้าร่วมในประเด็นการช่วยเหลือจากต่างประเทศว่า ถ้าขยับเข้ามาในอาเซียน กลุ่มเอ็นจีโอที่เข้าไปช่วยเหลือมากที่สุดเป็นมาเลเซีย แต่มาเลเซียมีแบรนด์ที่เป็นมุสลิม คำถามมีอยู่ว่า ถ้าใ่นอาเซียนที่ไม่มีแบรนด์มุสลิมเช่น ลาว ไทย กัมพูชา สิงคโปร์ มันมีเงื่อนไขว่าอย่าช่วยแต่ชาวมุสลิม เพราะรัฐยะไข่นั้นจนกันทั้งหมดทั้งชาวยะไข่และมุสลิมทั้งด้านสุขภาพอนามัย การศึกษา อาหารการกินและเศรษฐกิจ ถ้าเราเข้าไปในองค์กรเป็นกลาง ลดความเป็นประเทศมุสลิมแล้วช่วยพัฒนาทั้งระบบก็จะเหมือนกับตอนที่ไปช่วยพายุนาร์กีซ ในเชิงนโยบายจึงต้องมองเป็นการเข้าไปช่วยความขัดสน จากการทำงานวิจัยพบว่าคนยะไข่และอาระกันรุ่นใหม่นั้นต้องการชีวิตที่ดีกว่า กลุ่มที่ฝังใจกับความขัดแย้งทางชาติพันธุ์นั้นลดลง โจทย์จึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้คนสองกลุ่มนี้ทำงานร่วมกัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ณัฐวุฒิ ยันแถลงทวงถามความยุติธรรมคดีสลายการชุมนุม นปช. 53 พรุ่งนี้เหมือนเดิม

Posted: 13 Sep 2017 08:04 AM PDT

เลขาธิการ นปช. ยัน จะแถลงข่าวเพื่อติดตามทวงถามความยุติธรรมการสลายการชุมนุม นปช. ปี 53 ตามกำหนดการเดิม ในวันที่ 14 ก.ย. นี้ที่ชั้น 5 อิมพีเรียล ลาดพร้าว ระบุไม่ใช่การเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่เป็นการใช้สิทธิของประชาชนตามกฎหมาย 

แฟ้มภาพ

13 ก.ย. 2560 จากที่ พ.อ.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แนวทางการทวงถามความยุติธรรมให้ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมนปช.เมื่อปี 2553 ในวัน 14 ก.ย.นี้ ว่า คสช. ต้องขอร้องและขอความร่วมมือว่าอย่าเพิ่งทำ เรายังไม่อนุญาตให้ดำเนินการได้ในช่วงนี้ เพราะยังมีงานสำคัญของชาติรออยู่หลายประการ นั้น

PEACE NEWS รายงานว่า ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. ยืนยัน จะแถลงข่าวเพื่อติดตามทวงถามความยุติธรรมการสลายการชุมนุม นปช. ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 99 ศพ.ตามกำหนดการเดิม ในวันที่ 14 ก.ย. 2560 ที่ชั้น 5 อิมพีเรียล ลาดพร้าว

"ขอชี้แจงว่า การแถลงข่าวในวันที่ 14 ก.ย. นี้ ไม่ใช่การเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่เป็นการใช้สิทธิของประชาชนตามกฎหมาย หลังศาลฎีกามีคำพิพากษาชี้แนวทางการดำเนินคดีจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 53 ซึ่งป.ป.ช.ยกคำร้องไปก่อนหน้านี้ เพื่ออธิบายแนวทางการทวงถามความยุติธรรมให้กับผู้เสียชีวิต ไม่มีการพาดพิงตัวบุคคล หรือปลุกปั่นยุยงให้เกิดความวุ่นวาย ในทางกลับกันจะเป็นการทำความเข้าใจและลดความรู้สึกกดดันต่อประชาชนผู้สนใจและติดตามเรื่องนี้ ว่ากฎหมายยังเปิดช่องให้เข้าถึงความยุติธรรมได้" เลขาธิการ นปช. กล่าว

ณัฐวุฒิ กล่าวว่า หลังจากนั้นเป็นเรื่องข้อกฎหมายล้วนๆ ไม่มีความเคลื่อนไหวทางมวลชนใดๆ เรื่องการรวบรวมรายชื่อประชาชนถ้าต้องทำตนก็พูดไปชัดแล้วว่าจะเริ่มหลังมีรัฐบาลเลือกตั้ง ถ้าเจ้าหน้าที่จะเข้าสังเกตการณ์ตอนแถลงข่าวก็ไม่ขัดข้อง ตนให้ความร่วมมือกับคสช.มาโดยตลอด ที่ผ่านมาจัดกิจกรรมทุกครั้งเมื่อยืนยันว่าไม่มีการเมืองก็ไม่เคยเบี้ยว แต่เรื่องความยุติธรรมเป็นวาระสำคัญของประเทศ เชื่อว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงเข้าใจได้

คำยืนยันของ เลขาธิการ นปช. ดังกล่าวมีขึ้นภายหลัง สำนักข่าวคมชัดลึก และกรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า พ.อ.ปิยพงศ์ ทีมโฆษก คสช. ขอความร่วมมือจาก นปช.ให้งดการแถลงข่าว เนื่องจากหวั่นเป็นการเคลื่อนไหวการเมือง กระทบต่อบรรยากาศความสงบเรียบร้อย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ออสเตรเลียเปิดลงประชามติการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันผ่านไปรษณีย์

Posted: 13 Sep 2017 07:07 AM PDT

ออสเตรเลียเริ่มให้มีการลงประชามติการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันแบบขอความคิดเห็นจากประชาชน (public vote) ที่ถึงแม้จะไม่มีข้อผูกมัดทางกฎหมายแต่ก็อาจจะถูกพิจารณาในสภา ขณะเดียวกันยังมีวิธีลงคะแนนต่างจากประชามติทั่วไปโดยการส่งไปรษณีย์ให้กับทางบ้าน

ที่มาของภาพประกอบ: Ludovic Bertron/Wikipedia

13 ก.ย. 2560 ออสเตรเลียมีการลงประชามติเรื่องการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันเมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ผ่านมา หลังจากที่นายกรัฐมนตรีมัลคอล์ม เทิร์นบูลล์ เลือกให้มีการโหวตประชามติในแบบการขอความเห็นของประชาชน (public vote) ต่อเรื่องนี้ ซึ่งต่างจากการลงประชามติทั่วไปในแง่ที่ว่ามีลักษณะไม่ผูกมัดทางกฎหมาย ไม่มีอำนาจชี้นำทางกฎหมายแต่เป็นไปในเชิงให้ข้อเสนอแนะมากกว่า ซึ่งในเรื่องนี้ทำให้มีทั้งคนที่พอใจและเกิดข้อถกเถียง

อย่างไรก็ตามการลงประชามติในเรื่องการแต่งงานแบบเท่าเทียมกันทุกเพศในครั้งนี้ก็อาจจะถูกนำเข้าสู่การพิจารณาในสภานิติบัญญัติของออสเตรเลียได้

วิธีการลงประชามติในครั้งนี้ยังใช้วิธีการส่งบัตรคะแนนทางไปรษณีย์โดยผู้ส่งคือสำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย โดยที่จะมีการส่งบัตรลงคะแนนเหล่านี้ไปให้ผู้คนลงคะแนนตลอดหลายสัปดาห์ถัดจากนี้ไปจนถึงกำหนดส่งบัตรลงคะแนนวันสุดท้ายในวันที่ 7 พ.ย. และจะมีการประกาศผลในช่วงปลายเดือน พ.ย. นี้

ใบลงคะแนนมีคำถามเขียนไว้ว่า "ควรมีการแก้ไขกฎหมายอนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานได้หรือไม่" จากผลโพลล์ระบุว่าฝ่ายสนับสนุนฝ่ายโหวตสนับสนุนมีคะแนนมากกว่า อย่างไรก็ตามฝ่ายต่อต้านก็ใช้วิธีการสร้างความหวาดกลัวซึ่งใช้ได้ผล แต่ฝ่ายสนับสนุนการแต่งงานที่เท่าเทียมกันทุกเพศก็ประกาศว่าจะชนะให้ได้

เทียร์แนน แบรดดี ผู้อำนวยการบริหารของฝ่ายรณรงค์สนับสนุนการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันกล่าวว่าพวกเขาจะต้องชนะในครั้งนี้ให้ได้เพราะมีผู้สนับสนุนเขาจำนวนมากบอกกับเขาว่าเหตุใดการแต่งงานที่เท่าเทียมกันของทุกเพศจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับพวกเขา "การโหวตในครั้งนี้เกี่ยวข้องกับคุณค่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสถานะทางสังคมของสมาชิกในครอบครัวพวกเรา เพื่อนของพวกเรา เพื่อนร่วมงานของพวกเรา และเพื่อนบ้านของพวกเรา รวมถึงผู้คนทั่วประเทศที่ยืนหยัดเพื่อพวกเขา" แบรดดีกล่าว

ขณะที่ฝ่ายต่อต้านก่อนหน้านี้เคยพยายามล็อบบี้ต่อต้านว่าการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันเป็นข้อเสนอแบบ "การแต่งงานของคนข้ามเพศ" ซึ่งฟังดูไร้สาระในสายตาของสื่อ LGBTQ+ อย่าง Pink News เหมือนหลอกอ้างคนข้ามเพศเพื่อพยายามสร้างความแตกแยกในหมู่ LGBTQ+ ซึ่งเคยเป็นวิธีการแบบที่ใช้ในสหรัฐฯ มาก่อน

 

เรียบเรียงจาก

Voting begins in Australia's equal marriage postal ballot, Pink News, 12-09-2017

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

คลังเผยยังไม่พบกักตุน หลัง ครม.ขึ้นภาษี เหล้า-บุหรี่ ดีเดย์ 16 ก.ย.นี้

Posted: 13 Sep 2017 06:48 AM PDT

หลังครม.ขึ้นภาษีเหล้า-บุหรี่-ไพ่ เริ่ม 16 ก.ย.นี้ ปลัดกระทรวงการคลังเผยยังไม่ได้รับรายงานว่ามีการกักตุนสินค้าดังกล่าว ยันปรับปรุงภาษีหวังขยายฐานภาษีให้กว้างมากขึ้น

13 ก.ย. 2560 จากกรณีวานนี้ (12 ก.ย.60) สมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงว่าด้วยกำหนดอัตราโครงสร้างภาษี 3 สินค้า คือ เหล้า ยาสูบ หรือ บุหรี่ และไพ่ ซึ่งออกตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต 2560 ฉบับใหม่ ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 ก.ย. นี้ คาดว่าจะประกาศลงราชกิจจานุเบกษาก่อนวันที่มีผลบังคับใช้ หรือในวันที่ 15 ก.ย. 2560 หลังจากนั้นกรมสรรพสามิตจะมีการแถลงรายละเอียดเกี่ยวกับอัตราภาษีและ พ.ร.บ.อีกครั้ง ซึ่งจะส่งผลให้ราคาเหล้า ยาสูบ หรือ บุหรี่ และไพ่ แพงขึ้นนั้น

ล่าสุดวันนี้ (13 ก.ย.60) สมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ยังไม่ได้รับรายงานจาก อธิบดีกรมสรรพสามิต ว่ามีการกักตุนสินค้าประเภทเหล้า บุหรี่ ก่อนที่ภาษีสรรพสามิตใหม่จะมีผลบังคับใช้วันที่ 16 ก.ย.นี้ ซึ่งจะทำให้เหล้า ไวน์ เบียร์ บุหรี่ ปรับราคาขึ้น โดยกระทรวงการคลังยืนยันว่าการปรับปรุงภาษีสรรพสามิตครั้งนี้ เพื่อขยายฐานภาษีให้กว้างมากขึ้นและให้รัฐบาลมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเท่าเดิมไม่ได้ต้องการเพิ่มภาระให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภค ดังนั้น ผู้ประกอบการไม่ต้องกักตุนสินค้า

รายงานข่าวระบุด้วยว่า ภาษีสรรพสามิตใหม่จะกำหนดเพดานภาษีขึ้นอยู่กับปริมาณแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มแต่ละชนิด จะมีผลทำให้สุราที่มีดีกรีสูง เช่น เหล้าขาว ถูกจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น ส่วนการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตบุหรี่ จะเก็บจากราคาขายปลีกและปริมาณอีกมวนละ 1.50 บาท หรือซองละ 30 บาท สำหรับซอง 20 มวน

โดยเมื่อวานที่ผ่านมา พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยรายละเอียดว่ากล่าวว่า ในที่ประชุมครม.ได้มีมติปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต เหล้า บุหรี่ และไพ่ แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้หวั่นทำให้มีการกักตุนสินค้า รอให้มีผลตามกฏหมาย ก่อนซึ่งเบื้องต้น เหล้าจะปรับเพิ่มตามดีกรี หรือ ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ ส่วนบุหรี่จะมีการจัดเก็บ อัตราภาษีต่อมวน และเก็บตามอัตราของราคาบุหรี่ และในเบื้องต้นที่กรมสรรพสามิตได้อธิบายต่อครม. ว่า กรณีของสุราไม่ได้จัดเก็บจากมูลค่าหรือราคาเท่านั้น แต่จะจัดเก็บจากดีกรีหรือความแรงของแอลกอฮอล์ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการดูแลสุขภาพของประชาชน และมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เก็บภาษีจากราคาหน้าโรงกลั่นมาเป็นตามราคาขายปลีก ส่วนบุหรี่ จะมีการเก็บภาษีทั้งในส่วนของมูลค่าหรือราคา และยังมีการจัดเก็บภาษีจากปริมาณหรือคิดอัตราภาษีต่อมวนด้วย

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์และข่าวสดออนไลน์

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ประภาส ปิ่นตบแต่ง : สถานการณ์ข้าว ‘ชาวนาวิกฤตแน่หลังพ้นยุคจำนำข้าว’

Posted: 13 Sep 2017 05:31 AM PDT

นักวิชาการเผยภาพรวม ตลาดโลกแข่งขันสูง ราคาข้าวเปลือกไม่ขึ้น ชี้ทำนาอย่างเดียวไม่พอ ชาวนาต้องสร้างรายได้หลากหลาย แนะรัฐควรมีนโยบายสนับสนุน ระบุอุดหนุนยังจำเป็น แต่นโยบายจัดการน้ำยังมีปัญหา มองนโยบายนาแปลงใหญ่ไม่ได้ผล ขาดระบบจัดการที่ดี ถามมีองค์กรตรวจสอบกำกับ 'ประชานิยม' ยังยึดโยงกับประชาชนหรือไม่

แฟ้มภาพ

เมื่อวันที่ 5 ก.ย. ที่ผ่านมา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนาในหัวข้อเสวนาเรื่อง "ทิศทางข้าวและชาวนา หลังยุคจำนำข้าว" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน "รัฐศาสตร์เสวนา" ชุดไทยศึกษากับการเมืองและสังคมไทย โดยหนึ่งในวิทยากรผู้ร่วมเสวนาคือ ประภาส ปิ่นตบแต่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมชาวนา ได้พูดเกี่ยวกับสถานการณ์ภาพรวมของข้าว ชาวนา และนโยบายของรัฐที่เกี่ยวกับข้าว โดยมีรายละเอียดดังนี้

สถานการณ์ภาพรวมขณะนี้

ดังนั้นอย่าไปดัดจริตพูดว่ากินข้าวช่วยชาวนา ต่อให้กิน 9 มื้อชาวนาก็ไม่รวย

ประภาสกล่าวว่า ชาวนาวิกฤตแน่หลังจำนำข้าว โดยชี้ว่า แม้ข้าวอินทรีย์ 150,000 ไร่ เพิ่มขึ้นมาเป็น 200,000 ไร่ (ตัวเลขของมูลนิธิสายใยแผ่นดิน) จากนาทั้งหมด 70 ล้านไร่ แต่ก็ยังถือว่าเป็นปริมาณที่น้อยมาก ราคาข้าวเปลือกหลังโครงการจำนำข้าว ขึ้นสูงสุด โดยเฉพาะข้าวคุณภาพต่ำอยู่ที่ตันละ 7,200-8,000 บาท แต่ก็ลดลงอีก ปัจจุบันอยู่ที่ 7,000-7,500 บาท หากเป็นการขายข้าวของชาวนาโดยตรงจากการเกี่ยวสดจะถูกหักเรื่องความชื้น จึงเหลือเพียง 6,000 บาท และอาจไม่มีทางราคาขึ้นกว่านี้เพราะสถานการณ์ตลาดโลกมีการแข่งขันสูงมาก

ไทยเคยผลิตข้าวได้ถึง 38 ล้านตันในสมัยโครงการจำนำข้าว ปัจจุบันเหลือ 32-33 ล้านตัน และเคยต่ำสุดในปี 58 อยู่ที่ 27 ล้านตัน แต่ก็ยังต้องมีการส่งออกเพราะข้าวเป็นพืชที่ปลูกเพื่อการส่งออกอยู่แล้ว เราบริโภคประมาณ 55 เปอร์เซ็นต์ ส่งออก 45 เปอร์เซ็นต์ แต่ในจำนวน 55 เปอร์เซ็นต์ที่บริโภคในไทยนั้นคิดง่ายๆ ว่าเราต้องกินข้าว 6-9 มื้อถึงจะกินหมด

"ดังนั้นอย่าไปดัดจริตพูดว่ากินข้าวช่วยชาวนา ต่อให้กิน 9 มื้อชาวนาก็ไม่รวย" ประภาสกล่าว

เขาเสริมต่อว่า ประเด็นคือไม่สามารถเปลี่ยนได้ในชั่วพลิกฝ่ามือ การพูดว่า 'ตอนนี้ข้าวถูกก็ไปปลูกอย่างอื่นสิ' ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา การเข้ามาดูแลชาวนาในภาพรวมนั้นสำคัญกว่า นโยบายช่วยชาวนาเป็นสิ่งที่ทุกรัฐบาลต้องประคับประคองให้ชาวนาอยู่รอดได้

ในปี 59 เราผลิตข้าวคุณภาพต่ำได้ 13.5 ล้านตัน ส่วนข้าวคุณภาพสูง ได้แก่ หอมมะลิ 12 ล้านตัน และหอมปทุมฯ 1 ล้านตัน ข้าวอินทรีย์ที่พยายามจะบุกเบิกตลาดให้เป็นพรีเมี่ยมมีเพียง 3-7 หมื่นตันเท่านั้น ข้าวคุณภาพต่ำไม่ได้หมายความว่าใช้ตีนเขี่ยๆ ทำ แต่ข้าวเหล่านี้ถูกรัฐบาลสนับสนุนให้มีการปลูกเพื่อส่งออกไปตลาดใหญ่คือ ตะวันออกกลาง แอฟริกา

ชีวิตชาวนาปัจจุบัน เผชิญวิกฤตราคา

ประภาสคาดว่าชาวนาภาคกลางอาจเผชิญวิกฤตราคาเพราะส่วนใหญ่ที่ปลูกเป็นข้าวคุณภาพต่ำ ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยมากขึ้น ช่วยประหยัดเวลาและแรงงาน ทำให้ชาวนามีเวลาไปทำอย่างอื่นด้วย ชีวิตที่สามารถทำให้เกิดรายได้ที่หลากหลายจึงน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

ในสถานการณ์ที่ราคาข้าวพอไปได้ชีวิตก็โอเค แต่ปัจจุบัน ขณะที่ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยประมาณไร่ละ 5,500 บาท (นาเช่าบวก 1,000) ราคาข้าวเกี่ยวสดจากนาไร่ละ 6,000-6,500 บาท ราคาข้าวตันละ 7,000 บาท ชาวนาได้กำไรประมาณไร่ละ 500-1,000 ชาวนาปกติมีนาสูงสุดประมาณ 20 ไร่ นั้นหมายความว่าในรอบ 4 เดือนที่ทำนา ชาวนาจะมีรายได้ตกประมาณ 1-2 หมื่นบาท (บวกโครงการไร่ละ 1,000 ก็อาจจะได้เพิ่มอีกสูงสุด 10,000) แต่ค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ในชีวิตประจำวันก็มีไม่น้อย โดยเฉพาะ ค่าการศึกษาสำหรับลูกหลาน ชาวนาจึงต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด

ประภาสกล่าวว่าชาวนาก็ไม่ได้รอให้รัฐบาลมีนโยบายมาช่วย ไม่ได้หมายความว่าเขาไม่อยากได้ แต่ช่องทางเหล่านั้นขึ้นอยู่กับคนอื่น ดังนั้นการปรับตัวของชาวนาเอง เช่น การทำนาแบบล้มตอซัง การปรับที่นาบางส่วนทำพืชผักล้มลุก เช่น นาบัว ผักบุ้ง ฯลฯ การทำนากุ้ง รวมถึงการค้าขายและขายแรงงาน และการปรับตัวมาเป็นผู้ประกอบการ กลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์

การปรับตัวของชาวนาในปัจจุบัน

ประภาสเสนอว่าควรมีนโยบายที่พอให้ชีวิตชาวนาอยู่ได้ เช่น คำนึงว่าเขามาขายแรงงาน มีสวัสดิการค่าแรงขั้นต่ำรองรับมากน้อยขนาดไหน โครงสร้างการเอารัดเอาเปรียบ หลักประกันที่ให้ผู้ค้าขายไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ มีหลักประกันเชิงรายได้ เรื่องของระบบความปลอดภัยที่ให้ผู้บริโภคเชื่อมั่น รัฐต้องใส่ใจกับนโยบายเหล่านี้ ไม่ใช่สักแต่ให้เขาไปเผชิญตามยถากรรมเอง

ประภาสยกตัวอย่างว่า ผักบุ้งที่เราซื้อกำละ 10-15 บาท ที่บ้านเขาเหลือกำละ 3 บาท สิ่งเหล่านี้ต้องมีนโยบายสนับสนุน ไม่ใช่บอกให้เขาเปลี่ยนไปปลูกอันนี้แทนสิ แล้วมันอย่างไรต่อ

นโยบายข้าวยุค คสช.

เนื้อหาเชิงนโยบาย

ถ้านาแปลงใหญ่เน้นประสิทธิภาพการผลิต ซื้อรถดำนามา 3 คัน มี 50 ไร่ กว่าจะดำได้ครบทุกแปลง ผมว่าแปลงแรกเกี่ยวแล้ว แปลงสุดท้ายยังไม่ได้ดำเลย เพราะคุณต้องรอเพาะข้าว ไม่งั้นคุณต้องมีฐานเพาะข้าวจำนวนมหาศาลซึ่งก็ไม่คุ้ม เกษตรตำบลเกษตรอำเภอที่ผมได้คุยอยู่บ้างก็พูดว่าอย่าไปทำเลย ถ้าเจ๊งใครจะรับผิดชอบ

ประภาสวิเคราะห์ในด้านบวกว่า ได้แก่ การอุดหนุนรูปแบบต่างๆ เห็นด้วยว่าเป็นเรื่องจำเป็น แต่นโยบายที่จะไปช่วยส่งเสริมการขยายพื้นที่การปลูกหรือปริมาณผลผลิตคงไปได้ยากถ้าดูในเชิงบริบท สถานการณ์ข้าวในปัจจุบันและการแข่งขันในตลาดโลก แต่อย่างไรก็ดีนโยบายเชิงระยะสั้นที่ประคับประคองให้ชาวนาพออยู่ได้ก็เป็นสิ่งซึ่งควรต้องทำ และรัฐบาลปัจจุบันก็กลับมาทำทั้งสิ้น แม้จะเปลี่ยนชื่อนโยบายไปแต่ก็อันเดียวกัน

ส่วนด้านลบ มีเรื่องการห้ามทำนาปรัง รวมทั้งนโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากร การบริหารจัดการน้ำ จะให้เมืองหรือให้ภาคการเกษตร น้ำแล้งไม่ให้ทำนา น้ำท่วมก็กันน้ำไว้เต็มนา ชาวนาต้องสูบน้ำออกเอง

แต่ทั้งนี้ต้องดูเชิงเนื้อหาในแต่ละเรื่อง เช่นประเด็นเรื่องนาแปลงใหญ่* ความจริงเขาตั้งเป้าไว้ 2,000 แปลง แต่ปัจจุบันตัวเลขที่ไม่เป็นทางการเท่าที่ทราบคือ 10-20 แปลงเท่านั้น ถามว่าทำไมไปไม่ได้ ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ชัดมากแต่มันมีปัญหาเยอะอยู่ นาแปลงใหญ่ตอนหลังก็ไม่ได้เป็นนาอินทรีย์เพราะคงทำยาก และต้องให้เกษตรตำบล เกษตรอำเภอมาเป็นผู้จัดการ คิดว่าประเด็นคือปัญหาในเชิงจัดการ ดีอย่างเดียวคือดอกเบี้ยร้อยละ 0.01

"ถ้านาแปลงใหญ่เน้นประสิทธิภาพการผลิต ซื้อรถดำนามา 3 คัน มี 50 ไร่ กว่าจะดำได้ครบทุกแปลง ผมว่าแปลงแรกเกี่ยวแล้ว แปลงสุดท้ายยังไม่ได้ดำเลย เพราะคุณต้องรอเพาะข้าว ไม่งั้นคุณต้องมีฐานเพาะข้าวจำนวนมหาศาลซึ่งก็ไม่คุ้ม เกษตรตำบลเกษตรอำเภอที่ผมได้คุยอยู่บ้างก็พูดว่าอย่าไปทำเลย ถ้าเจ๊งใครจะรับผิดชอบ" ประภาสกล่าว

เรื่องจำนำยุ้งฉางก็ไม่ได้มีความแตกต่างจากนโยบายที่ผ่านมาสักเท่าไหร่ เป็นเรื่องของการให้ฟรีส่วนหนึ่ง และปัจจุบันก็จะมีเรื่องค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพไร่ละ 1,200 บาท ค่าการรักษาคุณภาพข้าวในยุ้งตันละ 1,500 บาท

กระบวนการเชิงนโยบาย

เรากำลังสร้างวัฒนธรรมใหม่เชื่อมโยงกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่จะมีองค์กรเข้ามาตรวจสอบกำกับสิ่งที่เขาเรียกกันว่านโยบาย 'ประชานิยม' ต่างๆ

ประภาสตั้งคำถามว่า นโยบายปัจจุบันเปลี่ยนเรื่องกระบวนการกำหนดนโยบาย การมีส่วนร่วมของผู้คนโดยเฉพาะชาวนาอย่างไรบ้าง โดยโครงสร้างนโยบายมีชาวนาอยู่ตรงไหนบ้าง มีอำนาจการต่อรองอย่างไร เช่น นโยบายพืชเศรษฐกิจ (ส่งเสริมให้ปลูกพืชบางชนิดจนอาจกลายเป็นกีดกันพืชอีกชนิด และส่งผลให้พืชชนิดนั้นๆ ล้นตลาด) หรือการเดินชุมนุมให้เปิดประตูน้ำตอนนี้ก็ทำไม่ได้ ทหารห้าม ชาวนาไม่สามารถต่อรองให้ได้มาซึ่งปัจจัยการผลิตที่พอ

มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความอยู่รอดของชาวนา กระบวนการตัดสินใจเชิงนโยบายจึงสำคัญ ซึ่งอยากพูดวกไปถึงเรื่องนโยบายจำนำข้าว อาจารย์สมชาย ปรีชาศิลปกุล ได้ให้สัมภาษณ์ใน way magazine ออนไลน์ น่าจะเป็นความเห็นที่ดีที่สุดที่ให้ข้อสังเกตว่ามันไปมีผลต่อการปรับโครงสร้างนโยบายสาธารณะที่สำคัญมาก รวมถึงอาจารย์ทามาดะ (ยูชิฟูมิ ทามาดะ) พูดไว้ในประชาไท ในเชิงของการตัดสินใจเชิงนโยบายในการเข้าไปกำกับการดำเนินการของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใน นโยบายสาธารณะ มันมีมิติที่สำคัญ ซึ่งมันจะดีหรือไม่ก็ถกเถียงกันไป

เดิมรัฐบาลประกาศนโยบายนำไปสู่การปฏิบัติและการตรวจสอบกำกับซึ่งขึ้นอยู่กับประชาชนผู้ออกเสียงเลือกตั้ง อำนาจในการตรวจสอบกำกับก็อยู่ที่ประชาชน ทำดีไม่ดีก็ต้องถูกถอดถอนหรือไม่ได้รับเลือก ตรงนี้ข้อสังเกตของอาจารย์ปรีชาและอาจารย์ทามาดะจึงเป็นเรื่องที่ว่า เรากำลังสร้างวัฒนธรรมใหม่เชื่อมโยงกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่จะมีองค์กรเข้ามาตรวจสอบกำกับสิ่งที่เขาเรียกกันว่านโยบาย 'ประชานิยม' ต่างๆ

มันเป็นประเด็นที่น่าถกเถียงว่าในการกำกับตรวจสอบโดยประชาชนแบบเก่าที่ดำเนินกันมาในหลักการแบบเก่า มันอาจมีปัญหาพอสมควรในตัวมัน แต่ผมพยายามจะชี้ว่าช่วงนโยบายจำนำข้าวมีอยู่ช่วงหนึ่งที่รัฐบาลก็พยายามจะเลิก เพราะมีการตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก มีข้อมูลยืนยัน ตอนหลังรัฐบาลก็ไม่เลิกแต่ลดเพดาน นั้นหมายความว่าประสิทธิภาพในการตรวจสอบที่ให้อำนาจอยู่ที่ประชาชนมันทำงานได้ แต่พอมีประเด็นทางการเมืองด้วย รัฐบาลยุคนั้นเลยต้องดำเนินนโยบายต่อไป

"ผมไม่ได้พยายามสรุปว่าอะไรดีไม่ดีแต่ชี้ให้เห็นว่าอะไรเป็นประเด็นที่ควรถกเถียงกัน อำนาจการตรวจสอบแบบใหม่จะยึดโยงกับอำนาจของประชาชนอย่างไร" ประภาสกล่าว 

ข้อสรุปบางประการ

ประภาสเห็นว่าการอุดหนุนชาวนายังจำเป็น แต่จะเลือกวิธีอย่างไรที่ไม่ให้เกิดต้นทุนในการบริหารจัดการ การเก็บไว้ในยุ้งฉางถามว่ามีใครไปไถ่ถอนบ้าง ข้าวขึ้นราคาไปหรือเปล่า ตรงนี้ยังไม่เห็นว่ามีใครจัดการ

หมายความว่ารัฐบาลนี้ก็จะมีปัญหาเรื่องบริหารจัดการข้าวที่อยู่ในยุ้งฉาง แล้วต้องจับนายกไปติดคุกรึเปล่า หมายความว่านโยบายนี้คงขาดทุนแน่ การเจ๊งแค่ไหนก็น่าสนใจ แล้วจะอธิบายยังไงว่าไอ้นั่นเจ๊งมากไอ้นี่เจ๊งน้อย ก็บอกว่าทุจริตบาทเดียวก็ต้องติดคุกเหมือนกัน

ประภาสกล่าวต่อว่า แน่นอนว่าด้วยพื้นที่ประเทศเรามาก ชาวนาส่วนใหญ่ยังปลูกข้าวแบบเดิม (ข้าวแข็ง ข้าวเคมี ตวงข้าวขายพ่อค้า ราคาข้าวที่อิงกับตลาดโลก ฯลฯ) ซึ่งรัฐเป็นผู้พาชาวนาเข้าสู่ระบบนี้อยู่รอดยาก ดังนั้น ต้องพิจารณานโยบายที่เปลี่ยนมาสู่ชาวนาผู้ประกอบการ ข้าวอินทรีย์ ข้าวสี ข้าวปลอดสาร ซึ่งยังมีจำนวนน้อย การพัฒนาเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเฉพาะถิ่น การพัฒนาให้สามารถปลูกแบบข้าวไม่ไวแสงแต่คงรสชาติ กลิ่น ฯลฯ แบบข้าวพื้นถิ่น เพื่อเพิ่มข้าวเชิงคุณภาพที่สามารจำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยตรงได้กว้างขึ้น

ข้อเสนอบางประการ

ในระยะสั้นช่วงเปลี่ยนผ่านนโยบายการอุดหนุนสำหรับชาวนาในระบบเดิมยังมีความจำเป็น แต่ควรแสวงหาทางเลือกนโยบายที่เหมาะสม และให้ความสนใจกับขั้นตอนการนำนโยบายไปปฏิบัติ

- Smart Farmer / Young Smart Farmer เป็นทิศทางสำคัญที่จะเป็นทางเลือกในความอยู่รอด แต่เป็นทางเลือกที่ยังแคบมากในการรองรับวิกฤตชีวิตชาวนา

- มาตรการหนุนเสริมในมิติการตลาด การรับซื้อจำนำ อุดหนุนข้าวอินทรีย์ (ยังไม่เคยมี)

- มาตรการด้าน logistic เช่น การลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง การขายตรงสู่ผู้บริโภค ฯลฯ

- ช่องทางรายได้และหลักประกันชีวิตในมิติชีวิตที่หลากหลายของชาวนา

- นโยบายการหนุนเสริมทางเลือกบางประการ เช่น มาตรการหนุนเสริมในการปรับเปลี่ยนระบบการผลิต หนุนเสริมในด้านเทคโนโลยี เครื่องจักร ฯลฯ การพัฒนาให้มีราคาถูก ผ่อนแรง/ลดการใช้แรงงาน

 

นาแปลงใหญ่ เป็นนโยบายในยุคคสช. คือโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพผลผลิต ส่งเสริมให้เกษตรกรประสบผลสำเร็จในการลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต และพัฒนาคุณภาพข้าวให้เหมาะสมกับพื้นที่และชุมชน พร้อมกับขยายผลเทคโนโลยีการผลิตข้าวแปลงใหญ่ การกำหนดเขตพื้นที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวในแต่ละชนิดพันธุ์ ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิต ส่งเสริมให้ชุมชนมีการบริหารจัดการผลิตและการตลาดอย่างมีส่วนร่วม รวมถึงการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุน อนุมัติเงินกู้จาก ธ.ก.ส. สำหรับกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่วงเงินกลุ่มละ 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี ระยะเวลา 3 ปี (2560-2562) สำหรับเป็นเงินหมุนเวียนในการดำเนินงานและจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการผลิต

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยังไม่อนุญาต! คสช.ขอความร่วมมือ นปช. อย่าเพิ่งจัดแถลงข่าวติดตามคดีสลายชุมนุม 53

Posted: 13 Sep 2017 04:56 AM PDT

ทีมโฆษก คสช. ถาม นปช. แถลงข่าวติดตามคดีสลายชุมนุม 53 พรุ่งนี้เข้าข่ายเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือไม่ ย้ำขอความร่วมมือว่าอย่าเพิ่งทำ ยันยังไม่อนุญาตให้ดำเนินการได้ในช่วงนี้ เหตุมีงานสำคัญของชาติรออยู่หลายประการ

ภาพทหารปฏิบัติการบนรางรถไฟฟ้า BTS หน้าวัดปทุมฯ วันที่ 19 พ.ค.53

13 ก.ย. 2560 จากวานนี้ (12 ก.ย.60) ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวว่า จากการพบปะหารือกับฝ่ายต่างๆ ถึงวันนี้ถือว่าได้ข้อสรุปแนวทางการทวงถามความยุติธรรมให้ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมนปช.เมื่อปี 2553 ซึ่งครอบคลุมทั้งมาตรการทางกฎหมาย สิทธิมนุษยชน และด้านอื่นๆ โดยจะแถลงรายละเอียดให้ทราบในวันที่ 14 ก.ย.นี้ เวลา 13.30 น. ที่อิมพีเรียล ลาดพร้าวชั้น 5 พร้อมยืนยันว่า เป็นการใช้สิทธิต่อสู้ตามกรอบกฎหมาย นั่งแถลงกันไม่เกิน 4 คน ไม่มีการปลุกระดมใดๆ

ล่าสุดวันนี้ (13 ก.ย.60) กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงานว่า พ.อ.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ในเบื้องต้นต้องถามก่อนว่าการแถลงข่าวดังกล่าวถือเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือไม่ ถ้าเข้าข่ายเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง คสช. ต้องขอร้องและขอความร่วมมือว่าอย่าเพิ่งทำ เรายังไม่อนุญาตให้ดำเนินการได้ในช่วงนี้ เพราะยังมีงานสำคัญของชาติรออยู่หลายประการ หากถึงเวลาสมควรแล้ว สถานการณ์บ้านเมืองมีความเรียบร้อย บรรยากาศมีความเหมาะสมการจะออกมาดำเนินกิจกรรมทางการเมืองใดๆ คสช.ก็จะผ่อนปรนให้ดำเนินการได้ ขณะเดียวกันหากกลุ่มนปช.จะจัดแถลงข่าวจริง ทางเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานทั้งตำรวจทหาร ก็จะเข้าไปดูแลรักษาความปลอดภัย รักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ด้วย ถ้ากิจกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับการเมืองก็ขอให้พึงระมัดระวัง

"เราไม่อยากให้คิดว่ามีความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ระหว่างฝ่ายเกิดขึ้น เพราะคสช.พยายามรักษาบรรยากาศความสงบเรียบร้อย เพื่อสนับสนุนการบริหารแผ่นดินของรัฐบาล แต่ถ้าอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เพื่อไปปลุกกระแสเป็นการเคลื่อนไหวต่างๆ เราก็บอกกล่าว ตักเตือน ขอร้อง และขอความร่วมมือ ให้ใจเย็นๆ ก่อน รอให้บรรยากาศมีความเหมาะสมจะดีกว่าค่อยดำเนินการ" พ.อ.ปิยพงศ์ กล่าว พร้อมระบุด้วยว่า หากกลุ่มนปช.ยืนยันจะแถลงข่าวจริงก็ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม และต้องรับผิดชอบในสิ่งที่กระทำลงไปด้วยเช่นกัน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาคประชาชนชี้พิรุธ คสช. กำลังยืมมือนายทุนต่างชาติเพื่อเปิดเหมืองถาวรหรือไม่?

Posted: 13 Sep 2017 04:09 AM PDT

ภาคประชาชนชี้พิรุธใช้ ม.44 ปิดเหมืองทองแทนใช้กฎหมายปกติ หรือต้องการยืมมือต่างชาติเป็นข้ออ้างให้เปิดเหมืองถาวร แนะให้กลับไปใช้กฎหมายปกติเพื่อสู้คดีหากถูกฟ้อง ทบทวนผลกระทบจากไอเอสดีเอส ถ้าเจรจาประนีประนอมต้องเปิดเผย โปร่งใส

วันที่ 9 กันยายน 2560 เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่และกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชนหรือเอฟทีเอ วอทช์ ( FTA Watch) ได้ร่วมกันแถลงข่าวกรณีที่บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด จำกัด จากประเทศออสเตรเลีย บริษัทแม่ของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ขู่ว่าจะฟ้องร้องรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จากการใช้มาตรา 44 สั่งปิดเหมืองทองเป็นเหตุให้ธุรกิจเสียหายผ่านกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชนหรือไอเอสดีเอส (Investor-state Dispute Settlement: ISDS)

เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้ประสานงานกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษาและตัวแทนเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ กล่าวว่า ต้องการเสนอให้ คสช. ยืนยันให้ชัดว่า เหมืองทองทั้งที่พิจิตรและเลยมีผลกระทบจริง ไม่ต้องละล้าละลังเพื่อหวังจะเปลี่ยนผู้ประกอบการลงทุนรายใหม่ เพราะผลกระทบเห็นได้ด้วยตาอยู่แล้ว ทั้งการล่มสลายของชุมชน การที่บริษัทฟ้องคดีกลั่นแกล้งชาวบ้านหลายคดี จะมีก็แต่ผลกระทบทางวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ทราบอย่างชัดเจน ซึ่งต้องใช้เวลา

"ประเด็นเหมืองทองอัครามีสัญญา 2 ชั้นที่เกี่ยวพันกันอยู่ เหมืองนี้ผูกพักกับกฎหมายไทยโดยสัมปทานเหมืองแร่ระหว่างรัฐไทยกับเอกชนต่างชาติ ส่วนชั้นที่ 2 คือการที่มีข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลียรองรับกำกับอีกชั้นหนึ่ง ประเด็นของผมคือในสัญญาชั้นแรก ถ้า คสช. อ้างเหตุผลจากกฎหมายแร่หรือกฎหมายอื่นใดประกอบ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายโรงงาน กฎหมายควบคุมมลพิษ เพื่ออธิบายความชอบธรรมว่าเหตุใดรัฐไทยจึงปิดเหมืองทองอัครา เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้กฎหมายปกติปิดเหมืองทองได้ ซึ่งจะช่วยในประเด็นเกี่ยวเนื่องกับสัญญาชั้นที่ 2 หรือเอฟทีเอ ทำให้เอกชนไม่สามารถไล่บี้คุณให้จนตรอกได้

"คสช. สามารถใช้กฎหมายปกติมาพยุงคำสั่งตามมาตรา 44 แต่ถ้าไม่ยอมใช้ ไม่สู้ แสดงว่า คสช. มีเจตนาแอบแฝงซ่อนเร้นเพื่อเปิดเหมือง คือถ้าจะต้องเปิดเหมืองโดยกฎหมายในประเทศ จะทำให้ชาวบ้านรู้สึกได้ว่า มันยังพอสู้กันได้ แต่ถ้าต้องเปิดเหมืองโดยผลจากเอฟทีเอ จะเหมือนกับ คสช. ยืมมือเอฟทีเอเพื่อเปิดเหมือง"

ขณะที่กรรณิการ์ กิจติเวชกุล รองประธานเอฟทีเอ วอทช์ กล่าวกับประชาไทว่า การยอมรับกลไกไอเอสดีเอสมีโอกาสถูกฟ้องอยู่แล้ว ไม่ว่ารัฐจะเป็นฝ่ายผิดหรือถูก แต่การใช้กฎหมายปกติ โอกาสที่รัฐจะปิดประตูแพ้จะมีน้อยกว่า เนื่องจากมาตรา 44 ไม่ได้เป็นไปตามกฎหมายปกติถ้าเทียบกับระบบสากล

"ล่าสุด คสช. ก็ใช้มาตรา 44 เรื่องห้ามบิน ซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทการบินต่างๆ จะฟ้องก็ได้ นี่เป็นการใช้อำนาจนิยม ซึ่งจุดเริ่มต้นของการสร้างกลไกคุ้มครองการลงทุนสมัยที่ยังไม่ก้าวร้าวขนาดนี้ก็เพื่อจัดการกับรัฐอำนาจนิยม ซึ่งในระดับสากลทำไม่ได้ แต่ถ้ามีเหตุผลก็ชดเชยตามสัดส่วนที่เหมาะสม หรือถ้าเอกชนทำผิดก็ลงโทษหรือถอนการลงทุน แต่การใช้อำนาจนิยมแบบนี้โอกาสแพ้เราก็สูง"

กรรณิการ์ตั้งข้อสังเกตเช่นเดียวกับเลิศศักดิ์ว่า เหตุใดจึงต้องใช้มาตรา 44 ทั้งที่สามารถใช้กฎหมายปกติเพื่อสั่งปิดเหมืองได้ หรือว่ามีใครพยายามทำให้มีการเปิดเหมืองถาวร โดยใช้วิธียืมมือต่างชาติมาข่มขู่ ที่เธอสันนิษฐานเช่นนี้ เพราะเธอไม่เชื่อว่าหน่วยราชการจะไม่รับรู้ผลกระทบจากกรณีนี้ เนื่องจากกรณีแร่ใยหินหรือการซื้อยา ก็มีความเห็นจากกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์ทุกครั้งว่าให้ระมัดระวังเพราะอาจนำไปสู่การฟ้องร้องผ่านกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน แต่กรณีสั่งปิดเหมืองจึงไม่มีการเตือน หรือเพราะความเป็นรัฐอำนาจนิยมทำให้ราชการปิดปาก หรือเป็นเรื่องทฤษฎีสมคบคิด

เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่และกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน ( FTA Watch) ยังออกแถลงการณ์ร่วมกัน โดยมีเนื้อหาดังนี้

13 กันยายน 2560

1.ตามที่ปรากฏว่ามีการตั้งข้อสังเกตถึงกรณีรัฐบาลเผด็จการทหาร คสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ปิดกิจการเหมืองแร่ทองคำที่จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก ของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ผู้ร่วมทุนรายใหญ่จากประเทศออสเตรเลีย โดยที่ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่ากิจกรรมของเหมืองคือสาเหตุของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพของประชาชนในพื้นที่รอบเหมือง จึงเป็นการกลั่นแกล้งนักลงทุนเอกชนที่เกินแก่เหตุ หรือเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบธรรม ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และข้อเท็จจริงที่ดีพอ หากมีการสู้คดี ไทยจะมีโอกาสแพ้สูง เพราะมาตรา 44 บังคับใช้ในประเทศเท่านั้น เนื่องจากการดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำแห่งนี้เป็นไปตามความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ซึ่งมีข้อกำหนดต้องคุ้มครองนักลงทุนเอกชน หากประเด็นนี้เข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ไทยมีโอกาสเสียเปรียบและแพ้คดีสูง คล้ายคลึงกับกรณีค่าโง่ทางด่วนนั้น

สาธารณชนฟังแล้วอาจจะรู้สึกขัดเคืองใจ โดยเฉพาะกับความเห็นของปัญญาชนฝ่ายประชาธิปไตยที่พยายามโยงประเด็นของโครงการจำนำข้าวในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่โดนกลั่นแกล้งทางการเมืองจนต้องหลบหนีคดีอยู่ในขณะนี้ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงความอยุติธรรมและนำบริบททางการเมืองเข้ามาแทรกแซงหรือแสดงเจตนาต่อต้านเผด็จการทหาร คสช. ผ่านการวิพากษ์วิจารณ์นี้ ข้อเท็จจริงก็คือว่า ที่มาของคำกล่าวที่ว่ารัฐบาลเผด็จการทหาร คสช. ใช้มาตรา 44 ไปกลั่นแกล้งนักลงทุนเอกชนด้วยการ "ปิดเหมืองทองคำโดยที่ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่ากิจกรรมของเหมืองคือสาเหตุของผลกระทบด้านต่างๆ" นั้น ไม่ใช่คำกล่าวอ้างที่เริ่มต้นจากสาธารณชนรายใดทั้งสิ้น แต่เป็นคำกล่าวอ้างที่อยู่ในตัวคำสั่ง คสช. เอง กล่าวคือ คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 72/2559 ออกเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2559 ระบุไว้ในย่อหน้าแรกว่า "โดยที่ได้มีการร้องเรียนและคัดค้านการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคํา เนื่องจากการประกอบกิจการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งของประชาชนในพื้นที่โครงการทําเหมืองแร่ทองคําหลายแห่ง ซึ่งยังต้องรอการตรวจสอบ วิเคราะห์ และวินิจฉัยในข้อเท็จจริงและปัญหา..." และย่อหน้าที่สองว่า "ข้อ 5 ให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตรวจสอบ วิเคราะห์ และวินิจฉัยข้อเท็จจริงและปัญหา..."

ดังนั้น จากข้อความที่ยกมาจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ารัฐบาลเผด็จการทหาร คสช. เองก็ไม่กล้าตัดสินใจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดว่าให้ปิดเหมืองทอง โดยที่ไม่จำเป็นต้องอ้างเรื่อง "ไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่ากิจกรรมของเหมืองคือสาเหตุของผลกระทบด้านต่างๆ" หรือ "ต้องรอการตรวจสอบ วิเคราะห์ และวินิจฉัยในข้อเท็จจริงและปัญหา"  ในคำสั่งแต่อย่างใด หรืออาจจะด้วยการมีเจตนาแอบแฝงซ่อนเร้นอยู่จึงทำให้มีคำสั่งแบบเปิดช่องไว้

2.ปัญหาของเรื่องนี้อยู่ที่การกลั่นแกล้งทางการเมือง ตรงที่รัฐบาลหนึ่งกลั่นแกล้งอีกรัฐบาลหนึ่ง 'รัฐบาลปิดเหมืองทอง' กลั่นแกล้ง 'รัฐบาลจำนำข้าว' ทั้งๆ ที่ทั้งสองรัฐบาลทำเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนเหมือนกัน  ไม่ต่างกัน  มีนโยบายเพื่อช่วยเหลือคนยากคนจนเช่นเดียวกัน แต่ทำไมถึงต้องกลั่นแกล้งกันเอง

ถ้าบอกว่าโครงการจำนำข้าวมีการทุจริตคอร์รัปชั่น ก็ต้องบอกว่าการออกคำสั่ง คสช. ตามมาตรา 44 ที่ให้ปิดและฟื้นฟูเหมืองทองคำโดยอ้างว่ายัง "ไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่ากิจกรรมของเหมืองคือสาเหตุของผลกระทบด้านต่างๆ" หรือ "ต้องรอการตรวจสอบ วิเคราะห์ และวินิจฉัยในข้อเท็จจริงและปัญหา" นั้น ได้แสดงเจตนาชัดเจนมาตั้งแต่แรกว่าจะปิดเหมืองทองคำเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพื่อเปิดช่อง/โอกาสให้นายทุนรายอื่นเข้ามาสวมแทน  เจตนาเช่นนี้ก็คือการคอร์รัปชั่นทางนโยบายหรือเป็นการคอร์รัปชั่นในรูปแบบผลประโยชน์ทับซ้อนรูปแบบหนึ่ง  เช่นเดียวกับโครงการจำนำข้าวในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ถูกกลั่นแกล้ง

3.ปัญหาใหญ่ของการทำเหมืองทองคำในประเทศไทยก็คือแร่ทองคำมีนิดเดียว ไม่ได้มีปริมาณมหาศาลตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด หรือถ้าจะโต้แย้งว่ามันมีปริมาณมากพอสำหรับความคุ้มค่าในการลงทุนอย่างแน่นอน ก็ต้องพิจารณาข้อมูลอื่นประกอบด้วย กล่าวคือลักษณะทางธรณีวิทยาของแหล่งแร่ทองคำมันไม่ได้เป็นทองคำบริสุทธิ์หรือเกือบบริสุทธิ์ก้อนใหญ่ แต่มันแทรกกระจายตัวอยู่ในเนื้อหินเป็นบริเวณกว้างใหญ่ เช่น ทองคำบริสุทธิ์หนัก 1 บาท ประมาณ 15 กรัมนิดๆ โดยเฉลี่ยจะต้องระเบิดหินไม่ต่ำกว่า 15 ตันขึ้นไป ดังนั้น การทำเหมืองทองคำจะต้องเปิดหน้าดินบนพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อได้ทองคำเพียงแค่เศษธุลี แต่พบแร่พลอยได้อื่นๆ ในปริมาณมากกว่า แต่มูลค่าไม่สูงเท่าทองคำ เช่น ทองแดง เงิน แร่โลหะ และอโลหะชนิดอื่นๆ แทน

มันจึงเป็นนโยบายตื่นทองแบบ 'ฆ่าช้างเอางา' หรือ 'เผาป่าเอาเต่า' อะไรเทือกนั้น หมายถึงเป็นการทำลายสิ่งที่ใหญ่โตหรือมีค่ามากเพื่อให้ได้ของที่มีค่าน้อยไม่สมกับผลเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นนโยบายเพียงเพื่อต้องการเปิดหน้าดินจนเสียหายย่อยยับแล้วพบทองแค่น้อยนิด หรือเป็นการออกนโยบายที่อ้างแร่ทองคำไปเปิดหน้าดินบนพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อเอาแร่พลอยได้ชนิดอื่นเสียมากกว่า เพราะถ้าอ้างแร่ชนิดอื่นที่ไม่ใช่ทองคำเพื่อประสงค์ให้รัฐออกนโยบายและกฎหมายสนับสนุนการทำแร่ชนิดนั้นๆ มันไม่ทำให้ 'ตื่นตูม' มากพอที่จะทำให้รัฐสนับสนุนและผลักดันนโยบายและกฎหมายการให้สัมปทานเหมืองแร่ชนิดนั้นๆ บนพื้นที่ขนาดใหญ่ได้ จึงต้องอ้างแร่ทองคำเพื่อไปเอาแร่พลอยได้อื่นๆ แทน หรืออ้างแร่ทองคำเพื่อต้องการทำให้นโยบายและกฎหมายในการบริหารจัดการแร่เปิดโอกาส/เปิดทาง/สร้างความชอบธรรมให้กับการให้สัมปทานแปลงใหญ่ระดับหลายแสนไร่ขึ้นไปได้

สิ่งเหล่านี้มีบทเรียนที่เห็นชัดจากสัญญาให้สิทธิสัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ แปลงที่สี่ พื้นที่น้ำคิว-ภูขุมทอง ที่รัฐบาลไทยทำกับบริษัท ทุ่งคำ จำกัด อนุมัติให้ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่สามแสนสี่หมื่นกว่าไร่เพื่อการสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำและแร่ชนิดอื่นๆ ได้โดยไม่กำหนดวันสิ้นอายุ และประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำแหล่งชาตรีและชาตรีเหนือของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) บนพื้นที่เกือบหกพันไร่ รวมถึงคำขออาชญาบัตรพิเศษเพื่อสำรวจแร่ทองคำของบริษัทลูกหรือบริษัทในเครือของบริษัท อัคราฯ ที่ กพร. (กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่) จ่ออนุญาตและต่ออายุให้อีกไม่ต่ำกว่าล้านไร่บนพื้นที่รอยต่อสามจังหวัดของพิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก และอาชญาบัตรพิเศษเพื่อสำรวจแร่ทองคำของบริษัทลูกหรือบริษัทในเครือของบริษัท อัคราฯ เกือบแสนไร่ในจังหวัดสระบุรี เป็นต้น

4.ข้อเสนอ ดังนี้

            (4.1) เหมืองทองอัคราฯ ผูกพันกับรัฐไทยโดยสัมปทานทำเหมืองแร่หรือประทานบัตร ซึ่งเป็นสัญญารูปแบบหนึ่ง เป็นสัญญาระหว่างรัฐไทยกับเอกชนต่างชาติ นี่เป็นสัญญาชั้นแรก ส่วนสัญญาชั้นที่สองก็คือประทานบัตรมีข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างรัฐไทยกับรัฐออสเตรเลียรองรับและคุ้มครองอยู่อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งรัฐออสเตรเลียจะดูแล กำกับ และคุ้มครองการลงทุนแก่เอกชนจากประเทศออสเตรเลียที่เข้ามาลงทุนในไทย ดังนั้น เรื่องข้อพิพาทเหมืองทองอัคราฯ จึงมีสัญญาสองชั้นกำกับอยู่

            ดังนั้น สัญญาชั้นแรกในส่วนที่เกี่ยวกับประทานบัตร รัฐไทยสามารถอ้างเหตุผลของกฎหมายแร่หรือกฎหมายปกติอื่นใดมาคุ้มครองได้ว่า เหตุใดรัฐไทยจึงปิดเหมืองทองอัคราฯ ที่นักลงทุนจากออสเตรเลียเป็นเจ้าของ ซึ่งมีบทบัญญัติหลายมาตราในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 (ในระหว่างที่ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 72/2559 อยู่ในระหว่างการใช้บังคับตามกฎหมายแร่ฉบับนี้) และพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2560 เอามาอ้างความชอบธรรมแก่รัฐไทยได้ เช่น บทบัญญัติในมาตรา 17 และมาตราอื่นๆ ในหมวดของนโยบายในการบริหารจัดการแร่ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2560 ที่อ้างได้ว่าพื้นที่ประทานบัตรและพื้นที่อาชญาบัตรพิเศษของบริษัท อัคราฯ มีความไม่เหมาะสมหรือขัดต่อพื้นที่ที่สมควรสงวนหวงห้ามไว้เพื่อการใช้ประโยชน์อื่น รวมถึงการจัดทำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ หรือแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ที่ต้องจัดทำขึ้นตามกฎหมายแร่ฉบับใหม่ก็สามารถสงวนหวงห้ามแร่ทองคำไม่ให้นำขึ้นมาใช้ประโยชน์ในโอกาสและเวลาที่ยังไม่เหมาะสมแก่สังคมไทยได้ เป็นต้น ซึ่งเป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย

            ถ้าในชั้นนี้รัฐไทยทำการบ้านได้ดี สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ปฏิบัติภารกิจให้เต็มที่ก็จะทำให้มีความชอบธรรมเพียงพอในการเอาไปอ้างในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามสัญญาชั้นที่สองตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลียได้ และยังสามารถยกเลิกคำสั่ง คสช. โดยใช้เพียงกฎหมายปกติเท่านั้นก็เพียงพอและสมเหตุสมผล

            (4.2) ในส่วนของภาคประชาชนที่ผลักดันและเห็นด้วยกับการใช้มาตรา 44 เพื่อปิดเหมืองทองจะต้องเรียนรู้และซึมซับรับบทเรียนทางการเมืองที่เปิดใจกว้างให้มากขึ้น ไม่ใช่ผลักดันประเด็นตัวเองเสียจนเกิดความเห็นแก่ตัวจนไปทำลายความยุติธรรมในส่วนอื่นๆ ของสังคม กล่าวคือ ถ้าภาคประชาชนส่วนใด ฝ่ายใด  องค์กรหรือสถาบันใดยอมรับได้กับการที่รัฐบาลเผด็จการทหาร คสช. ออกคำสั่งตามมาตรา 44 เพื่อปิดเหมืองทอง แต่ยอมรับไม่ได้กับโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ จงทบทวนตัวเองให้หนักว่าจะขับเคลื่อนภาคประชาชนไปรับใช้เผด็จการทหาร คสช. ที่โยนเศษอาหารให้ หรือจะสร้างประชาธิปไตยที่ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกัน

            (4.3) ตั้งคณะกรรมการที่มาจากหลายภาคส่วนเพื่อศึกษาผลกระทบจากบทการคุ้มครองการลงทุนและกลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน (ISDS) ที่ไทยเป็นภาคีไปแล้ว โดยเฉพาะการจำกัดพื้นที่การกำหนดนโยบายของรัฐและผลกระทบต่อประชาชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การทบทวน

            (4.4) สำหรับความตกลงระหว่างประเทศที่อยู่ระหว่างการเจรจา จะต้องยึดถือกรอบการเจรจาความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (ฉบับที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2553) ที่ระบุมาตรการที่จำเป็นและเหมาะสมเพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะ ที่ให้รัฐบาลสามารถออกมาตรการที่จำเป็นและเหมาะสมเพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะได้ เช่น สิ่งแวดล้อม สุขภาพสาธารณะ มาตรการเพื่อปกป้องดุลการชำระเงิน นโยบายเศรษฐกิจมหภาคได้ และต้องเปิดให้ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และฝ่ายนิติบัญญัติมีส่วนร่วมในการติดตามการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศอย่างแท้จริง ไม่น้อยกว่าที่เคยปฏิบัติตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550

            (4.5) การเจรจาทุกกรณีพิพาทกับนักลงทุนต่างชาติ ต้องตั้งอยู่บนผลประโชยน์สาธารณะ ต้องให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการเจรจาจะต้องเปิดเผยโปร่งใส่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: คำตอบของฆาตกร

Posted: 13 Sep 2017 03:28 AM PDT

เด็กๆถามฆาตกรว่าต้องฆ่าคนอีกเท่าไหร่
คำตอบที่ได้คือใบหน้าเศร้าๆ
แล้วเรื่องราวทั้งหมดก็พรั่งพรู
ในนั้นมีความหวัง มีความรัก มีความสุข มีดอกไม้ มีเสียงเพลง

มีคุณค่า – มีคุณฆ่า – มีควรค่า – มีควรฆ่า
ต่อให้เกิดขึ้นอีกกี่ครั้งก็ยังยึดมั่นยืนยัน
หนูๆ ไม่ควรถามคำถามไร้สาระ
ฆาตกรซ่อนแววตาในถ้อยคำตะกุกตะกัก

ใบหน้าสำเร็จรูปถูกนำมาใช้ในสถานการณ์คับขันเสมอ
ผีเสื้อบินกรูออกจากปากฆาตกร
ความจริงมันไม่ใช่ผีเสื้อหรอก
แค่คล้ายๆเท่านั้น

เด็กๆถามซ้ำว่าต้องฆ่าคนอีกเท่าไหร่
เรื่องราวทั้งหมดจึงพรั่งพรู

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เยาวชนรณรงค์ต้านข่มขืนประณามความรุนแรงทางเพศทุกรูปแบบ เคารพสิทธิในเนื้อตัวร่างกายผู้อื่น

Posted: 13 Sep 2017 03:08 AM PDT

เยาวชนแถลงการณ์ต้านข่มขืนประณามความรุนแรงทางเพศทุกรูปแบบ ปลุกสังคมไม่นิ่งเฉย สร้างการเรียนรู้เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์-สิทธิในเนื้อตัวร่างกายของผู้อื่น นักสังคมสงเคราะห์เผยเหยื่อข่มขืนส่วนใหญ่อายุไม่เกิน 20 ปี พบต่ำสุด 2-4 ขวบถูกล่วงละเมิด

13 ก.ย. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (13 ก.ย.60) เวลา10.00 น. ที่เกาะพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิกลุ่มเยาวชนจากหลากหลายสถาบัน ร่วมกับองค์กรต่างๆ อาทิ เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กว่า 100 คน จัดกิจกรรมเนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติ ชูแนวคิด "พลังเยาวชน ต่อต้านการข่มขืน ความรุนแรงทางเพศ ทุกรูปแบบ" ทั้งนี้เยาวชนได้ร่วมกันประทับมือบนป้ายผ้า ต่อต้านการข่มขืน การใช้ความรุนแรงทางเพศทุกรูปแบบ ช่วยกันพับนกกระดาษเพื่อสื่อถึงการส่งกำลังใจให้เหยื่อความรุนแรงทางเพศในการต่อสู้ และเขียนข้อความรณรงค์ พร้อมทั้งเดินขบวน ชูป้ายคำขวัญ และแจกสื่อ สติกเกอร์ประชาสัมพันธ์

ธารารัตน์ ปัญญา นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้เสียหายที่ลุกขึ้นมาต่อสู้หลังจากถูกล่วงละเมิดทางเพศ จนทำให้ผู้ก่อเหตุถูกลงโทษ  ได้เป็นตัวแทนอ่านแถลงเจตนารมณ์เยาวชน ต่อต้านการข่มขืน การใช้ความรุนแรงทางเพศทุกรูปแบบ ความว่า จากกรณีข่มขืนกระทำชำเราและรุมโทรมเด็กผู้หญิงอายุ 14 ปี ในพื้นที่ ต.เกาะแรด จ.พังงา นับเป็นเหตุการณ์ความรุนแรง และการใช้อำนาจทางเพศที่ร้ายแรง  ส่งผลสะเทือนและอยู่ในความสนใจของคนทั้งประเทศ ท่ามกลางการเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือนของฝ่ายต่าง ๆ เพื่อทำลายความจริง และกดดันเด็กผู้เสียหายและครอบครัวให้ยอมจำนน พวกเราตระหนักว่า ในช่วงเวลาของการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม ในคดีที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง และการใช้อำนาจทางเพศเช่นนี้  ผู้ที่กล้าลุกขึ้นต่อสู้ มักต้องเผชิญกับความยากลำบาก ทั้งจากขั้นตอนการแสวงหาความช่วยเหลือ และกระบวนการยุติธรรมที่ยุ่งยากซับซ้อน  และจากความไม่เข้าใจ และกระแสต่อต้านที่เกิดจากอคติของคนรอบข้าง และคนในสังคม ที่มักเพ่งโทษผู้เสียหาย และกล่าวหาว่าผู้เสียหายเป็นต้นเหตุของความรุนแรงทางเพศที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ผู้ที่เผชิญปัญหาความรุนแรงทางเพศส่วนใหญ่ ต้องปิดปากเงียบ และยอมจำนน แต่ในกรณีของน้องอายุ 14 ปี ดังกล่าว เธอและครอบครัวกล้าที่จะลุกขึ้นเปิดเผยความจริง และต่อสู้เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม การต่อสู้ของน้องและครอบครัว จะเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ ที่ช่วยทำให้เสียงของผู้ถูกกระทำรุนแรงทางเพศในสังคมไทย ไม่ต้องเป็นเสียงเงียบดังที่ผ่าน ๆ มา

ธารารัตน์ กล่าวว่า ในนามของเครือข่ายด้านเด็ก เยาวชน และองค์กรผู้หญิง 11 องค์กร ขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งทำความจริงให้ปรากฏ และนำคนผิดมาลงโทษโดยเร็ว  ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนากลไกคุ้มครองและเยียวยาผู้เสียหาย ที่มีประสิทธิภาพ  และให้รัฐบาลเร่งสร้างกระบวนการเรียนรู้ และเป็นแบบอย่าง ในเรื่องของการเคารพสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาคระหว่างเพศ และการเคารพสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของผู้อื่น และขอให้ประชาชน และเพื่อนเยาวชน ช่วยกันเฝ้าระวังและสกัดกั้นเหตุการณ์ ในลักษณะที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงทางเพศ เพื่อร่วมกันสร้างสังคมที่ปลอดภัย และปกป้องเด็กและเยาวชน จากภัยการข่มขืนและความรุนแรงทางเพศทุกรูปแบบ

อุสุมา เกตุท่าหัก นักสังคมสงเคราะห์ ฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลกล่าวว่า ขอประณามและต่อต้านการข่มขืน การกระทำชำเรา การใช้ความรุนแรงกับผู้หญิงและคนทุกเพศทุกวัย เพราะมันทำให้เขาเหมือนตายทั้งเป็น ทำลายชีวิตทำลายความเป็นมนุษย์ กระทบทั้งทางร่างกายจิตใจ ความเป็นอยู่  เช่นเดียวกับกรณีที่เข้ามาขอรับความช่วยเหลือจากทางมูลนิธิ  ทั้งถูกรุมโทรม นักศึกษาถูกข่มขืน เพศทางเลือกถูกล่วงละเมิด เด็ก 2 ขวบและ 4 ขวบถูกล่วงละเมิด ส่วนใหญ่ผู้ถูกกระทำอายุไม่เกิน 20 ปี และผู้ก่อเหตุมักจะเป็นคนใกล้ชิด ใกล้ตัวใกล้บ้านที่เด็กไว้ใจ อย่างไรก็ตาม ควรมีมาตรการพิทักษ์สิทธิเด็กเยาวชน มีหน่วยงานให้ความช่วยเหลือเยียวยามากกว่าที่เป็นอยู่  ที่สำคัญกลไกรัฐต้องไม่กระทำซ้ำ  ให้บริการอย่างเข้าใจ เป็นมิตร และถึงเวลาที่ควรพัฒนาให้มีหน่วยงานในลักษณะนี้ในสถาบันการศึกษาด้วย

วศิณี สนแสบ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ม.รามคำแหง ในนามแกนนำเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กและเยาวชนต้องเผชิญ ทั้งปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด  สื่อสังคมออนไลน์ ฯลฯ เป็นตัวกระตุ้นให้ปัญหาต่างๆเกิดขึ้น และปัญหาความรุนแรงทางเพศหรือการข่มขืนที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่มักพบว่ามีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือยาเสพติดเป็นปัจจัยร่วม สิ่งสำคัญคือเด็ก เยาวชนต้องเท่าทัน พยายามหลีกเลี่ยง ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น  ช่วยกันสอดส่องดูแล  แจ้งเหตุ และผู้ใหญ่ต้องช่วยปกป้องเด็กและเยาวชน ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศ  ร่วมสร้างสังคมที่ปลอดภัยด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กวีประชาไท: เนรคุณ

Posted: 13 Sep 2017 02:57 AM PDT

 


ยอมต่ำตม เลียตีน จนลิ้นแตก
ลิ้นหลายแฉก เห็นชัด ถนัดชั่ว
เผด็จการ ด้านกร่าง อย่างไม่กลัว
กำจัดขั้ว ตรงข้าม ล่ามใส่คุก

เนรคุณข้าว ตัดสินข้าว เข้าเข่นฆ่า
พิพากษา ไดโนเสาร์ เปลืองข้าวสุก
เลวระยำ ย่ำขยี้ กลียุค
เร่งเพลิงลุก รุมเร้า ทุกข์ผ่าวร้อน

ทั้งอุ้ม-ฆ่า ขังคุก ผูกขาแขน
เเตกแยกแค้น เลี้ยงไข้ ไฟสุมขอน
ยิ่งคิดครอบ ให้หมอบคลาน ยิ่งสั่นคลอน
เเรงสะท้อน ยิ่งสะท้าน บัลลังก์ทอง

หลงอำนาจ วาสนา คว้าตำแหน่ง
จึงกำแหง เหี้ยมเหิม เริ่มจองหอง
มัวเมาเกียรติ เสนียดกาก มากยศกอง
ไม่อาจครองใจคน ปืนปล้นคุม

ทุกข์กระทำ ย่ำคนไทย ยากไถ่ถอน
จงตกนรก ไฟร้อน เมื่อนอนหลุม
บาปตะกอน ผลกรรม ตามเกาะกุม
สิบชาติสุม สาสม ความเลวทราม

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

นิธิ เอียวศรีวงศ์: กึ๋นของอนุรักษ์นิยมไทย

Posted: 13 Sep 2017 02:46 AM PDT

หลังจากที่คุณเนติวิทย์ โชติภัทรไพศาล ถูกผู้บริหารจุฬาฯ ถอดออกจากตำแหน่งซึ่งได้มาจากการเลือกตั้ง บางท่านนำกรณีนี้ไปเปรียบกับสิ่งที่คุณจิตร ภูมิศักดิ์เคยต้องเผชิญมาในมหาวิทยาลัยแห่งเดียวกัน

เป็นเรื่องน่าเปรียบจริงเสียด้วย

แต่เมื่อมองจากยุทธศาสตร์ยุทธวิธีของฝ่ายอนุรักษ์นิยมแล้ว ผมคิดว่ามีความต่างที่สำคัญในสองกรณีนี้

หนังสือ 23 ตุลาคม ซึ่งคุณจิตรเป็นผู้รับผิดชอบนั้น ไม่มีนิสิตคนใดเคยเห็นหรือเคยอ่าน เพราะมีคำสั่งห้ามแจกในงานถวายบังคมพระบรมรูป แม้แต่นิสิตวิศวะที่จับคุณจิตร "โยนบก" ก็ให้น่าสงสัยว่า ได้เคยอ่านเนื้อหาส่วนที่เป็นปัญหาด้วยตัวเองหรือไม่ แม้กระนั้น นิสิตที่แสดงความไม่พอใจ ก็พูดถึงหนังสือเล่มนั้นประหนึ่งว่าเคยเห็นมาแล้ว เช่นทราบว่าไม่มีพระบรมฉายาลักษณ์ที่ปก รวมทั้งรู้สาระของเนื้อหาส่วนที่เป็นปัญหา (เช่นแม่ไม่มีบุญคุณต่อลูก เพราะลูกเป็นผลผลิตของกามราคะเท่านั้น หรือพระคือคนหัวโล้นที่นุ่งเหลือง) อันเป็นสาระลอยๆ ที่ปราศจากข้อถกเถียงและเงื่อนไขตามที่มีในข้อเขียน

เหตุใดนิสิตที่ไม่มีโอกาสอ่านหรือแม้แต่เห็นหนังสือเล่มนั้น จึงสามารถบิดเบือนเนื้อหาได้ใกล้เคียงความจริงถึงเพียงนั้น พวกเขาทำได้ก็เพราะมีคนที่เคยเห็นและเคยอ่านได้สรุป (brief)บางเรื่องให้ฟัง และอาจชี้ให้เห็นว่า การกระทำเช่นนี้ของคุณจิตรได้สร้างความเสื่อมเสียแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างไร จนต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อรักษาเกียรติยศและศักดิ์ศรีของจุฬาฯ เอาไว้

นี่เป็นเงื่อนไขเบื้องต้นของฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ต้องมี ก่อนจะทำการรุกปรปักษ์ฝ่ายก้าวหน้า คือต้องควบคุมการรับรู้ข้อมูลของมวลชน ในระดับที่จะกล่าวหาฝ่ายตรงข้ามได้โดยมวลชนไม่มีทางรู้ข้อมูลจากมุมอื่น หรือตรวจสอบข้อมูลของฝ่ายตนได้เลย ที่ต้อง"โยนบก"คุณจิตร ก็เพื่อไม่ให้ข้อมูลข่าวสารจากมุมอื่นได้หลั่งไหลจากปากของคุณจิตรนั่นเอง

เหตุดังนั้น เมื่อฝ่ายบริหารมีมติลงโทษคุณจิตร นิสิตอื่นจึงยอมรับโดยไม่มีเสียงเรียกร้องให้เปิดเผยข้อมูลการกระทำของคุณจิตร หรือรายละเอียดในการลงมติของฝ่ายบริหาร บรรยากาศของจุฬาฯ เงียบเสียจน ผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมมีอยู่คนเดียว และไม่สามารถส่งเสียงชี้แจงแก่ใครได้

โทษที่คุณจิตรได้รับก็คือพักการเรียน นั่นคือสายสัมพันธ์ใดๆ ที่คุณจิตรมีอยู่ในจุฬาฯ ต้องขาดสะบั้นลงหมด อย่างน้อยเป็นการชั่วคราว จนกว่าเงามืดที่ครอบงำชาวจุฬาฯ อยู่จะถูกลืมเลือนไป เพราะถึงอย่างไร ชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป

ความสำเร็จของฝ่ายอนุรักษ์นิยมในการพักการเรียนของคุณจิตรอาจสรุปได้สองอย่าง หนึ่งคือกลบความคิดที่คุณจิตรเสนอไว้ในหนังสือ 23 ตุลาคมได้สนิทมิดชิดสืบมาอีกนาน และสองทำให้ความคิดของจิตร ไม่มีทายาทสืบต่อในจุฬาฯ อีกเลย และนี่คือความสำเร็จที่สำคัญที่สุด อนุรักษ์นิยมจะเรืองอิทธิพลได้ ก็ต่อเมื่อทำให้ความคิดที่เป็นปฏิปักษ์กับตนไม่มีทายาท เกิดได้ แต่ต้องตายได้ในเวลาอันสั้น เหมือนชีวิตคนทั่วไป ยิ่งทำให้เหมือนแฟชั่น ยิ่งประสบความสำเร็จ เพราะอายุสั้นกว่ากันมาก ทั้งผู้สมาทานยังปฏิบัติต่อความคิดนั้นเหมือนเครื่องแต่งกายเท่านั้น สวมได้ ถอดได้

.........

เปรียบเทียบกับกรณีคุณเนติวิทย์ การปลดคุณเนติวิทย์ออกจากตำแหน่ง เป็นก้าวที่ผิดพลาดอย่างใหญ่ของฝ่ายอนุรักษ์นิยม

คุณเนติวิทย์ได้ส่งสารเกี่ยวกับทางเลือกของการถวายบังคมมาก่อนหน้าเป็นปีแล้ว ใครที่เลือกคุณเนติวิทย์ก็น่าจะรู้อยู่แล้วว่าคุณเนติวิทย์มีจุดยืนในเรื่องการถวายบังคมอย่างไร ไม่ว่าคุณเนติวิทย์จะอยู่หรือไม่อยู่ในตำแหน่งประธานสภานิสิต สารของคุณเนติวิทย์ก็เผยแพร่ในจุฬาฯ ไปแล้ว ร้ายไปกว่านั้น ความอื้อฉาวของการปลดออกครั้งนี้ ยิ่งทำให้"สาร"ถูกกล่าวย้ำบ่อยขึ้นทั้งในสื่อแบบเก่า และสื่อโซเชียล ตรงกันข้าม หากคุณเนติวิทย์ไม่ถูกปลดออก ป่านนี้"สาร"ดังกล่าวคงซบเซาไปแล้ว

คุณเนติวิทย์ก็ยังอยู่ในจุฬาฯ ต่อไป แม้ไม่มีตำแหน่ง แต่เสียงของคุณเนติวิทย์ไม่ได้ค่อยลงแต่อย่างไร อาจดังขึ้นกว่าเก่าเสียอีก ไม่ว่าเธอจะพูดอะไร ก็มีคนเอามาขยายต่อเสมอ ความคิดแบบเนติวิทย์มีทายาทในจุฬาฯ แน่ และอาจอยู่กับนิสิตที่ได้รับเลือกเป็นประธานสภานิสิตในปีหน้าก็ได้ ที่น่ากลัวกว่านั้นคืออยู่กับนิสิตจุฬาฯ ทั้งที่มีและไม่มีตำแหน่งขยายออกไปมากขึ้น

สรุปก็คือฝ่ายอนุรักษ์นิยมควบคุมข้อมูลเกี่ยวกับธรรมเนียมการกราบถวายบังคมไม่ได้ และไม่ว่าจะใช้อำนาจบาตรใหญ่อย่างไรก็ควบคุมไม่ได้ ต่างจากสมัยคุณจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งควบคุมได้ในระดับสูงทีเดียว

สิ่งสำคัญในการต่อสู้กันทางความคิดก็คือภาพของความชอบธรรม จะชอบธรรมจริงหรือไม่ยกไว้ก่อน แต่ต้องมีภาพที่คนดูซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่เห็นว่าชอบธรรม หรืออย่างน้อยก็ชอบธรรมพอสมควร อย่าทำให้คนดูเห็นว่าใช้อำนาจแทนความชอบธรรมเป็นอันขาด

เมื่อเปรียบเทียบกรณีคุณเนติวิทย์กับคุณจิตรแล้ว ผมพบด้วยความแปลกใจ ปนตกใจนิดๆ ว่า อนุรักษ์นิยมไทยปัจจุบันไม่มีกึ๋นอย่างที่เคยมีเสียแล้ว ครับอนุรักษ์นิยมไทยนั้นเคยมีกึ๋นอยู่ไม่น้อยเลย ไม่เชื่อก็ลองหวนกลับไปคิดถึงความสำเร็จด้านต่างๆ ของอนุรักษ์นิยมไทยดูบ้าง

กองทัพไทยนั้นเคยเป็นพลังก้าวหน้าที่สำคัญอันหนึ่งในสังคมไทย ย้อนกลับไปอ่านวารสารของกองทัพและกระทรวงกลาโหมรุ่นเก่าๆ ตั้งแต่ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ ดูก็ได้ นายทหารต่างๆ ได้เขียนบทความเกี่ยวกับความรู้ที่ทันสมัย หรือความเห็นที่ก้าวหน้าเสนอในวารสารหล่านั้น แต่ในที่สุดกองทัพกลับถูกทำด้วยผลประโยชน์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของกองทัพเอง ให้กลับกลายเป็นพลังฝ่ายบู๊ของอนุรักษ์นิยมไทยไปอย่างกู่ไม่กลับ

นี่เป็นความสำเร็จที่ใหญ่มากนะครับ ถ้าคิดถึงการรุกการถอยให้ได้จังหวะของผู้นำอนุรักษ์นิยม ในการค่อยๆ ดึงเอากองทัพมาเป็นพวก

หรือหลังการปฏิวัติ 2475 ฝ่ายอนุรักษ์นิยมซึ่งเพิ่งเสียอำนาจให้แก่ฝ่ายประชาธิปไตย แต่ก็สามารถพลิกกลับมาเป็นฝ่ายประชาธิปไตยในความเห็นของ"ผู้ดู"ได้ ในขณะที่ฝ่ายคณะราษฎรถูกทำให้กลายเป็นฝ่ายปฏิปักษ์ของประชาธิปไตยไปฉิบ

ทั้งนี้ยังไม่พูดถึงการสร้างความรู้หรือเนื้อหาของ"ความเป็นไทย"และชาตินิยมให้ประกอบด้วยเนื้อหาของฝ่ายอนุรักษ์นิยมโดยสิ้นเชิง ทั้งๆ ที่ชาตินิยมนั่นแหละเป็นอุดมการณ์สำคัญที่ทำให้ผู้คนหลากหลายกลุ่มสามารถร่วมมือกันในการโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ลงได้ แต่ชาตินิยมไทยหลังจากนั้นไม่มีเชื้อของประชาธิปไตยเหลืออยู่เลย กลับกลายเป็นชาตินิยมของทหารและชาตินิยมของอนุรักษ์นิยมเท่านั้น

อย่างนี้ไม่มีกึ๋น ทำไม่ได้หรอก

แต่กึ๋นอย่างนั้นกำลังสิ้นสลายลงในหมู่อนุรักษ์นิยมไทยเสียแล้ว ผมไม่ปฏิเสธว่าสังคมไทยได้เปลี่ยนไปมาก เช่นข่าวสารข้อมูลเข้าถึงได้ง่าย และกว้างขวาง ทำให้ควบคุมการรับรู้ได้ยากขึ้น แต่สิ่งที่อนุรักษ์นิยมรุ่นที่ผมยังเรียนหนังสือเขาทำก็คือ เขาไม่คอยคุมข้อมูลข่าวสารเพียงอย่างเดียวหรอกครับ เพราะถึงอย่างไรมันก็เล็ดลอดมาถึงผู้คนได้บ้าง แต่เขาคุมระดับกระบวนทรรศน์ต่างหาก คือถึงไปรับรู้ข่าวสารข้อมูลจากอีกมุมหนึ่งอย่างไร ก็ยังอ่านมันในความหมายเดิมอยู่นั่นเอง

ผมไม่เห็นอนุรักษ์นิยมไทยปัจจุบันพยายามเข้าไปคุมกระบวนทรรศน์ เช่นกระบวนทรรศน์ว่าเมืองไทยเป็นข้อยกเว้น ทฤษฎีข้อยกเว้น (exceptionalism) ดำรงอยู่ได้ยาก หากไม่มีการศึกษาอย่างละเอียดเพื่อทำให้ยอมรับลักษณะเฉพาะบางอย่างที่ไม่อาจพบได้ในสังคมอื่น เราจะสนับสนุนทฤษฎีข้อยกเว้นด้วยข้อเท็จจริงพื้นๆ ที่มีในอีกหลายสังคมไม่ได้หรอกครับ

ถ้าจุฬาฯ ไม่ปกป้องอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมด้วยกึ๋น ก็ไม่มีทางจะปกป้องเอาไว้ได้อย่างเดิม อย่าลืมว่าจุฬาฯ สมัยนี้ต่างจากสมัยผมเรียนอย่างมาก เพราะจุฬาฯ ได้สูญเสียอำนาจผูกขาดไปหลายอย่างแล้ว สมัยผมใกล้จบ ไม่เคยมีความวิตกอย่างไรว่าจะหางานทำไม่ได้ เพียงแต่จะได้ทำงานที่พอใจมากน้อยแค่ไหนเท่านั้น จุฬาฯ ไม่ได้ผูกขาดความรู้ทางวิชาการอย่างสมัยนั้นเสียแล้ว จะพูดถึงวรรณคดีไทยระดับสูงเพียงคนเดียวไม่ได้ เพราะที่ไหนๆ เขาก็ศึกษาและสอนวรรณคดีไทยระดับสูงกันทั้งนั้น

ถ้าอนุรักษ์นิยมไทยปัจจุบันไม่มีกึ๋นเสียแล้ว พวกเขาจะรักษาอำนาจทางอุดมการณ์ของอนุรักษ์นิยมอย่างไร คำตอบก็อย่างที่เห็นๆ นะครับ พละกำลังไงครับ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความชอบธรรมเสียด้วย

ความไม่มีกึ๋นของอนุรักษ์นิยมไทย จึงหมายถึงความรุนแรง, การกดขี่บีฑาอย่างออกหน้า, พละกำลังคือธรรม, กฎหมายคือกฎกู, ฯลฯ ทางเลือกโดยสันติของฝ่ายปฏิปักษ์อนุรักษ์นิยมกำลังถูกปิดตาย

 

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ฉลาดซื้อ' เผยเฉาก๊วยเกือบ 50 % ไม่พบสารกันบูด

Posted: 13 Sep 2017 02:44 AM PDT

เผยเฉาก๊วยเกือบ 50 % ไม่พบสารกันบูด จากผลการทดสอบของนิตยสารฉลาดซื้อ จำนวน 30 ตัวอย่าง ในพื้นที่ กทม. เครือข่ายต้านสารพิษผิดหวังปมกรมวิชาการเกษตรแถลงข่าวยื้อเวลาการแบนและจำกัดการใช้ 3 สารพิษที่มีความเสี่ยงสูง

13 ก.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ (13 ก.ย.60) ที่ ห้องประชุมชั้น 2 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นิตยสารฉลาดซื้อ โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แถลงผลทดสอบ สารกันบูด ใน "เฉาก๊วย" โดย สารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหาร นิตยสารฉลาดซื้อ สมนึก งามละมัย กองบรรณาธิการ นิตยสารฉลาดซื้อ โดยแถลงระบุว่า เฉาก๊วย 14 ยี่ห้อ ไม่พบสารกันบูด (เบนโซอิก และซอร์บิก) ในการทดสอบ ได้แก่ 1. เฉาก๊วย อาม่า, 2. ละออ, 3. เมจิกฟาร์ม ดีเซิ้ดทคัพ, 4. แฮปปี้เฉาก๊วย (สั่งซื้อออนไลน์), 5. หวานเย็น, 6. ตลาดคลองเตย ไม่มียี่ห้อ ไม่มีชื่อร้าน, 7.เฉาก๊วยเกาลูน, 8.เฉาก๊วยยูเทิร์น (สั่งซื้อออนไลน์), 9.ตราศรีลำทับ (SRI-LAM-THAP), 10. เฉาก๊วยในน้ำเชื่อม, 11.น้ำเฉาก๊วย ตรากรีนเมท, 12.เฉาก๊วยชากังราว,13.เฉาก๊วยในน้ำเชื่อม, 14.เฉาก๊วยเต็งหนึ่ง

ขณะที่ เฉาก๊วย 6 ยี่ห้อ พบสารกันบูดเบนโซอิก น้อยกว่า 1.5 - 1.75 มิลลิกรัม/1 กิโลกรัม ได้แก่ 1.ตลาดอมรพันธ์ ไม่มียี่ห้อ ไม่มีชื่อร้าน, 2.เฉาก๊วยตราจริงใจ แบบก้อนใหญ่, 3. ตลาดบางกะปิ ไม่มียี่ห้อ ไม่มีชื่อร้าน, 4.เฉาก๊วยเกาลูน บางกอกเกาลูน (แบบถุง), 5.นายอุ๋ย เฉาก๊วยโบราณ, 6.ตลาดบางกะปิ ไม่มียี่ห้อ ร้านข้าวเหนียวมูลแม่สุวิมล เฉาก๊วย 2 ยี่ห้อ พบสารกันบูดไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/1 กิโลกรัม ได้แก่ 1.เมจิกฟาร์ม ดีเซิ้ดทคัพ ถั่วแดงฯ 2. เฉาก๊วย นายอ๋อง

เฉาก๊วย 2 ยี่ห้อ พบสารกันบูดไม่เกิน 80 มิลลิกรัม/1 กิโลกรัม ได้แก่ 1.เฉาก๊วยดอนเมือง (แบบถัง) (68.85 มิลลิกรัม), 2.เฉาก๊วยดอนเมือง (แบบถุง) (79.41 มิลลิกรัม) เฉาก๊วย 2 ยี่ห้อ พบสารกันบูดไม่เกิน 400 มิลลิกรัม/1 กิโลกรัม คือ ได้แก่ 1.เฉาก๊วยตลาดบางแค ไม่มียี่ห้อ (124 มิลลิกรัม)  2. เฉาก๊วยปุ้น & เปา (399.73 มิลลิกรัม) เฉาก๊วย 3 ยี่ห้อ พบสารกันบูดเกิน 500 มิลลิกรัม/1 กิโลกรัม ได้แก่ 1. เฉาก๊วย (jelly glass) (523.08 มิลลิกรัม) 2. แม่ปิงเฉาก๊วย (581.34 มิลลิกรัม) 3. คิด+ เฉาก๊วยธัญพืช (627.91 มิลลิกรัม) และเฉาก๊วย 1 ยี่ห้อ พบสารกันบูดเบนโซอิก 1,387.37 มิลลิกรัม/1 กิโลกรัม คือ เฉาก๊วยอาโก ศูนย์การค้าบางประกอกที่พบปริมาณเบนโซอิกเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม

ข้อสังเกต จากตัวอย่างที่พบสารกันบูดเบนโซอิก-ซอร์บิก

แถลงของ นิตยสารฉลาดซื้อ ระบุอีกว่า ยังพบว่าการแสดงฉลาก มีข้อสังเกตดังนี้ ตัวอย่างที่พบสารกันบูดเบนโซอิกและหรือซอร์บิก จำนวน 16 จาก 30 ตัวอย่าง มีเพียง 4 ตัวอย่างที่แจ้งข้อมูลบนฉลาก ว่า มีการใช้สารกันบูด ประกอบด้วย 1. ยี่ห้อ ปุ้น & เปา แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสีย INS202, 211 หรือ โปแตสเซียม ซอร์เบต และ โซเดียม เบนโซเบต ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสารกันเสีย เบนโซเอต ทั้ง 2 ชนิด โดยผลทดสอบพบ เบนโซอิก 219.56 มก./กก. และพบซอร์บิก 180.17 มก./กก. 2. เฉาก๊วย (jelly glass) ของ นิตยาวุ้นมะพร้าว แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสีย โซเดียมเบนโซเอท (INS211) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 292.03 มก./กก. และพบซอร์บิก 231.05 มก./กก. 3. ยี่ห้อ แม่ปิงเฉาก๊วย แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสียโซเดียมเบนโซเอท (INS211) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 321.05 มก./กก. และพบซอร์บิก 260.19 มก./กก.  และ 4. เฉาก๊วยอาโก ศูนย์การค้าบางปะกอก แจ้งว่า มีโซเดียมเบนโซเอท 0.02% ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 1,387.37 มก./กก.

ฉลากสินค้าที่แจ้งว่าไม่มีวัตถุกันเสีย แต่จากผลทดสอบพบว่า มีการปนเปื้อน กลุ่มตัวอย่างที่แจ้งว่า "ไม่มีวัตถุกันเสีย" บนฉลากแต่จากผลทดสอบพบว่า มีการปนเปื้อน ได้แก่ 1. ยี่ห้อ นายอุ๋ย เฉาก๊วยโบราณ ผลทดสอบพบ เบนโซอิก น้อยกว่า 1.50 มก./กก. 2. ยี่ห้อ เมจิกฟาร์ม ดีเซิ้ดทคัพ ขนมเยลลี่คาราจีแนน ผสมบุกผง ถั่วแดงและน้ำเฉาก๊วย 15% ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 6.53 มก./กก. และพบซอร์บิก 3.74 มก./กก. 3. ยี่ห้อ เฉาก๊วยดอนเมือง (แบบถัง) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 68.85 มก./กก. และ 4. ยี่ห้อ เฉาก๊วยดอนเมือง (แบบถุง) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 79.41 มก./กก.

สำหรับมาตรฐานการใช้สารกันบูดใน เฉาก๊วย นั้นเฉาก๊วย จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับผลิตภัณฑ์ เยลลี่ เพราะมีกรรมวิธีในการผลิตในลักษณะเดียวกัน ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 213) พ.ศ. 2543 เรื่อง แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท นิยามความหมายของ เยลลี่ ไว้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำผลไม้ล้วนที่ได้จากการคั้นสดหรือสกัดจากผลไม้ หรือทำจากน้ำผลไม้ล้วนที่ผ่านกรรมวิธี หรือทำให้เข้มข้น หรือแช่แข็ง ซึ่งผ่านการกรองและผสมกับ น้ำตาลทำให้มีความข้นเหนียวพอเหมาะ (ส่วนเฉาก๊วยทำจากพืชที่เรียกว่า หญ้าเฉาก๊วยหรือGrass Jelly )

แถลงของ นิตยสารฉลาดซื้อ ระบุว่า ข้อกำหนดเรื่องการใช้สารกันบูด กรดเบนโซบิก และ กรดซอร์บิก ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) กำหนดไว้ อาหารกลุ่ม แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด สามารถใช้ กรดเบนโซอิก ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก สามารถใช้ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม เช่นกัน

ทั้งนี้หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ปริมาณรวมที่ใช้ต้องไม่เกินปริมาณสูงสุดที่กฎหมายอนุญาตของสารตัวใดตัวหนึ่ง (อิงตัวที่ปริมาณน้อยที่สุด) ซึ่งในกรณีของ เฉาก๊วย อนุญาตให้ใช้สารกันเสีย กรดเบนโซบิก และ กรดซอร์บิก รวมกันสูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม 

อันตรายของ เบนโซอิก และ ซอร์บิก

นิตยสารฉลาดซื้อ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวอันตรายของสารดังลก่าวว่า เป็นกลุ่มสารกันเสียที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ในอาหาร ซึ่งนิยมใช้ใน แยม เยลลี่ ผักผลไม้ดอง เครื่องดื่ม น้ำหวาน น้ำอัดลม แต่หากได้รับสารทั้ง 2 ชนิดจากการรับประทานอาหารในปริมาณสูง อาจส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย วิงเวียน และปวดศีรษะ

'ต้านสารพิษ' ผิดหวังปมกรมวิชาการเกษตรแถลงข่าวยื้อเวลาการแบนและจำกัดการใช้ 3 สารพิษที่มีความเสี่ยงสูง

วานนี้ (12 ก.ย.60) เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) และเครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรงซึ่งประกอบไปด้วยองค์กรและเครือข่ายต่างๆมากกว่า 40 องค์กร ออกแถลงการณเครือข่าว โดยระบุว่า รู้สึกผิดหวังต่อคำแถลงและผลการพิจารณาของกรมวิชาการเกษตร และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นอย่างยิ่ง ที่ยื้อการเพิกถอนพาราควอต และคลอร์ไพริฟอสออกไป 

แถลงการณ์ ระบุว่า ตามที่ สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ได้แถลงว่ากรมวิชาการเกษตรไม่มีความเชี่ยวชาญที่จะพิจารณาข้อมูลด้านสุขภาพอนามัย จึงจะขอคำปรึกษาจากคณะกรรมการวัตถุอันตราย ซึ่งมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน ทางเครือข่ายเห็นว่าเป็นการยื้อเวลา และหมกเม็ดให้มีการใช้สารพิษดังกล่าวออกไป เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญได้ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งประกอบไปด้วย 4 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข ขึ้นมาพิจารณาผลกระทบโดยรอบด้าน และมีมติให้ยกเลิกพาราควอตและคลอร์ไพริฟอสเนื่องจากผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค มีงานวิชาการที่ชัดเจนรองรับ ดังนั้นกรมวิชาการเกษตรสามารถใช้อำนาจตามพ.ร.บ.วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 มาตรา 25 คือ ใบอนุญาตที่ออกไปแล้ว หากมีเหตุสําคัญเพื่อคุ้มครองความปลอดภัย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจออกใบอนุญาตมีอํานาจสั่งแก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขในการอนุญาตได้ตามความจําเป็น แต่กรมวิชาการเกษตรมิได้กล่าวถึงประเด็นนี้แต่ประการใด

การผลักเรื่องนี้ออกไปทั้งๆที่สามารถดำเนินการระงับการใช้สารพิษทั้งสองชนิดได้ ไปให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายเข้าทางบริษัทสารพิษ เนื่องจากในคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีกรรมการอย่างน้อย 2 คน เป็นตัวแทนของสมาคมของบริษัทสารพิษร่วมอยู่ในคณะกรรมการด้วย โอกาสที่จะแบนสารพิษดังกล่าวจะเป็นไปได้ยากหรือยื้อเวลาต่อไปอีกหลายปี ดังที่ปัจจุบันคณะกรรมการวัตถุอันตรายยังไม่ได้ประกาศแบนคาร์โบฟูราน และเมโทมิล ทั้งๆที่กรมวิชาการเกษตรได้เสนอให้มีการแบนทั้งสองสารดังกล่าวมานานมากกว่า 4 ปีแล้วก็ตาม

กรณีการจำกัดการใช้สารพิษไกลโฟเซต โดยระบุพื้นที่ห้ามใช้ในฉลากไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ทางกรมวิชาการเกษตรต้องมีมาตรการและกลไกมารองรับการจำกัดการใช้ ซึ่งจะเป็นการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงานตาม Road Map ที่คณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูงได้วางแนวทางไว้

แถลงการณ์ ระบุถึงข้อเรียกร้องว่า เพื่อสนับสนุนมติของกระทรวงสาธารณสุข คือ ให้มีการยกเลิกพาราควอต คลอร์ไพริฟอส และจำกัดการใช้ไกลโฟเซต เครือข่ายฯจะเคลื่อนไหวใหญ่ทั่วประเทศตามกำหนดการเดิมในวันที่ 19 ก.ย. 2560 หน้าทำเนียบรัฐบาลและศาลากลางทุกจังหวัดทั่วประเทศต่อไป โดยเรียกร้องให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปฏิเสธการต่อทะเบียนพาราควอตและคลอร์ไพริฟอสที่กำลังหมดอายุในต้นเดือนตุลาคมนี้ รวมทั้งเพิกถอนทะเบียนของสารพิษดังกล่าวตาม Road Map เพื่อให้มีการยุติการใช้สารดังกล่าวภายในปี 2562 อย่างไม่มีเงื่อนไข

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น