โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

เปิดตารางนัดสืบพยานคดีกวาดจับหน้ารามฯ หลังข่าวคาร์บอม เริ่ม 5 พ.ค. - 3 ส.ค.ปีหน้า

Posted: 08 Sep 2017 09:58 AM PDT

เปิดตารางนัดสืบพยานคดีกวาดจับหน้ารามฯ หลังข่าวคาร์บอม 52 ปาก 27 นัด ขณะที่จำเลยยังต้องรออยู่ในคุกอีก 8 เดือน ด้านบิดาจำเลยร้องรอในคุกกระทบญาติหลายด้าน ทนายขอ 4 พยานโจทก์สำคัญใช้เวลาสืบ 8 นัด พร้อมเปิดชื่อมีทั้งตัวแทน คสช. สายข่าวตำรวจและทหารใต้ด้านสันติวิธี

แฟ้มภาพ

จากเหตุการณ์จับกุมนักศึกษาและชาวมุสลิมที่พักย่าน ม.รามฯ ไปกว่า 40 คน ตั้งแต่วันที่ 10 ต.ค. 2559 เป็นต้นมา ทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงอ้างเหตุสงสัยว่าคนเหล่านี้อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเตรียมการก่อวินาศกรรมคาร์บอมบ์ในช่วงที่จะมีการประชุมสุดยอดผู้นำกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 9-10 ต.ค.2559 ซึ่งช่วงเวลานั้นตรงกับโอกาสครบรอบ 12 ปี การสลายการชุมนุมที่ตากใบด้วย แต่จากข่าวที่ปรากฏยังไม่พบของกลางเป็นวัตถุระเบิดตามคำฟ้อง มีเพียงกล่องลังที่ใส่น้ำบูดูเท่านั้นที่เจ้าหน้าที่ยึดได้จากห้องพัก

ศาลสั่งร่วม 2 คดีเป็น 1 ระบุทั้งสองคดีเกี่ยวข้องกัน

ต่อมามีการปล่อยตัวจำนวนหนึ่ง ยังเหลืออีก 9 ราย ถูกดำเนินคดีในฐานความผิด "ร่วมกันอั้งยี่ ซ่องโจร มีวัตถุระเบิดไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย" และฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร จากนั้นศาลอนุมัติรวบรวมคดี 9 จำเลยดังกล่าที่อัยการยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 22 ก.พ.2560 กับคดี 4 จำเลยที่ถูกทหารใต้พามามอบตัวเพิ่มเมื่อวันที่ 17 พ.ค.2560 ให้เป็นคดีเดียวกัน โดยระบุว่าทั้งสองคดีเกี่ยวพันกัน คู่ความ พยานหลักฐานเดียวกัน พิจารณาแล้วเห็นว่า คดีทั้งสองเกี่ยวพันกัน เกิดจากคราวเดียวกัน มีการพิจารณาแล้ว จึงอนุญาตรวบรวมคดีนี้เป็นคดีเดียวกัน หมายเลขคดีดำที่ อ.561/2560

28 ส.ค.ที่ผ่านมา ญาติคดีดังกล่าว พร้อมทนายความจากมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมจำนวนร่วมเกือบ 80 ชีวิต เดินทางไปยังศาลอาญารัชดา กรุงเทพมหานคร ตามกำหนดการนัดตรวจพยานหลักฐาน กรณีอัยการโจทก์ยื่นฟ้อง ตาลมีซี โต๊ะตาหยง และพวกรวม 9  คน ประกอบด้วย (1) ตาลมีซี อายุ 32 ปี (2) อับดุลบาซิร สือกะจิ อายุ 20 ปี (3) มูบาห์รี กะนา อายุ 24 ปี (4) อุสมาน กาเด็งหะยี อายุ 23 ปี (5) มีซี เจ๊ะหะ อายุ 20 ปี (6) ปฐมพร มิหิแอ อายุ 20 ปี (7) อัมรัน มะยี อายุ 24 ปี (8) วิรัติ หะมิ อายุ 24 ปี (9) นิเฮง มะยี อายุ 28 ปี

และอีก 4 จำเลยที่อัยการยื่นฟ้องเพิ่ม ประกอบด้วย (10) นุรมาน อาบู อายุ 20 ปี (11) อัมรี หะ อายุ 18 ปี (12) มูฟตาดิน สาและ อายุ 18 ปี (13) ต่วนฮาฟิต ดือมุงกาป๊ะ อายุ 19 ปี ซึ่งทั้ง 13 ถูกฟ้อง 2 ข้อหาเหมือนกันทุกคน คือ ร่วมกันเป็นอังยี่ และร่วมกันซ่องโจร ยกเว้นจำเลยที่ 3 (มูบาห์รี) มีข้อหาเพิ่มอีก 1 เป็น 3 ข้อหา คือ บังอาจมีสารระเบิดชนิด PETN (Pentaerythritol Tetranitrate)"

ภาพญาติจำเลยทั้ง 13 คน กำลังประชุมร่วมกับทนายความที่ช่วยเหลือคดีนี้ จากมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม หลังออกจากห้องพิจรณาคดี ในห้องละหมาดศาลอาญารัชดา กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 28 ส.ค.ที่ผ่านมา

เปิดตารางนัดสืบพยาน 52 ปาก 27 นัด เริ่ม 5 พ.ค. - 3 ส.ค. 61

หลังจากมีการเลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานมาถึง 2 ครั้ง (ครั้งแรก 8 พ.ค. 2560 และครั้งที่สอง 24 ก.ค.2560) ครั้งนี้ครั้งที่ 3 (28 ส.ค.2560) ศาลให้นัดสืบพยานโจทก์ทั้งหมด 36 ปาก รวม 19 นัด และนัดสืบพยานจำเลยอีก 16 ปาก รวม 8 นัด โดยจะเริ่มสืบพยานนัดแรกตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2561 และพยานนัดสุดท้ายในวันที่ 3 ส.ค.2561 รวมเวลาในการสืบพยาน 27 นัด 52 ปาก ทั้งนี้ก่อนที่จะมีการนัดสืบพยานศาลนัดแถลงตรวจความพร้อมคู่ความในวันที่ 2 ก.พ.2560 (ดูตาราง)  

 

ลำดับ

วันที่นัด

เวลา

นัดครั้งที่

นัดเพื่อ

1

05 ก.พ.2561

13.30 น.

-

แถลงตรวจความพร้อมคู่ความ

 

2

01 พ.ค.2561

09.00 น.

1

สืบพยานโจทก์

3

01 พ.ค.2561

13.30 น.

1

สืบพยานโจทก์

4

02 พ.ค.2561

09.00 น.

2

สืบพยานโจทก์

5

02 พ.ค.2561

13.30 น.

2

สืบพยานโจทก์

6

03 พ.ค.2561

09.00 น.

3

สืบพยานโจทก์

7

03 พ.ค.2561

13.30 น.

3

สืบพยานโจทก์

8

04 พ.ค.2561

09.00 น.

4

สืบพยานโจทก์

9

04 พ.ค.2561

13.30 น.

4

สืบพยานโจทก์

 

10

15 พ.ค.2561

09.00 น.

5

สืบพยานโจทก์

11

15 พ.ค.2561

13.30 น.

5

สืบพยานโจทก์

12

16 พ.ค.2561

09.00 น.

6

สืบพยานโจทก์

13

16 พ.ค.2561

13.30 น.

6

สืบพยานโจทก์

14

17 พ.ค.2561

09.00 น.

7

สืบพยานโจทก์

15

17 พ.ค.2561

13.30 น.

7

สืบพยานโจทก์

16

18 พ.ค.2561

09.00 น.

8

สืบพยานโจทก์

17

18 พ.ค.2561

13.30 น.

8

สืบพยานโจทก์

 

18

30 พ.ค.2561

09.00 น.

9

สืบพยานโจทก์

19

30 พ.ค.2561

13.30 น.

9

สืบพยานโจทก์

20

31 พ.ค.2561

09.00 น.

10

สืบพยานโจทก์

21

31 พ.ค.2561

13.30 น.

10

สืบพยานโจทก์

22

01 มิ.ย.2561

09.00 น.

11

สืบพยานโจทก์

23

01 มิ.ย.2561

13.30 น.

11

สืบพยานโจทก์

 

24

26 มิ.ย.2561

09.00 น.

12

สืบพยานโจทก์

25

26 มิ.ย.2561

13.30 น.

12

สืบพยานโจทก์

26

27 มิ.ย.2561

09.00 น.

13

สืบพยานโจทก์

27

27 มิ.ย.2561

13.30 น.

13

สืบพยานโจทก์

28

28 มิ.ย.2561

09.00 น.

14

สืบพยานโจทก์

29

28 มิ.ย.2561

13.30 น.

14

สืบพยานโจทก์

30

29 มิ.ย.2561

09.00 น.

15

สืบพยานโจทก์

31

29 มิ.ย.2561

13.30 น.

15

สืบพยานโจทก์

 

32

10 ก.ค.2561

09.00 น.

16

สืบพยานโจทก์

33

10 ก.ค.2561

13.30 น.

16

สืบพยานโจทก์

34

11 ก.ค.2561

09.00 น.

17

สืบพยานโจทก์

35

11 ก.ค.2561

13.30 น.

17

สืบพยานโจทก์

36

12 ก.ค.2561

09.00 น.

18

สืบพยานโจทก์

37

12 ก.ค.2561

13.30 น.

18

สืบพยานโจทก์

38

13 ก.ค.2561

09.00 น.

19

สืบพยานโจทก์

39

13 ก.ค.2561

13.30 น.

19

สืบพยานโจทก์

 

40

17 ก.ค.2561

09.00 น.

1

สืบพยานจำเลย

41

17 ก.ค.2561

13.30 น.

1

สืบพยานจำเลย

42

18 ก.ค.2561

09.00 น.

2

สืบพยานจำเลย

43

18 ก.ค.2561

13.30 น.

2

สืบพยานจำเลย

44

19 ก.ค.2561

09.00 น.

3

สืบพยานจำเลย

45

19 ก.ค.2561

13.30 น.

3

สืบพยานจำเลย

46

20 ก.ค.2561

09.00 น.

4

สืบพยานจำเลย

47

20 ก.ค.2561

13.30 น.

4

สืบพยานจำเลย

 

48

31 ก.ค.2561

09.00 น.

5

สืบพยานจำเลย

49

31 ก.ค.2561

13.30 น.

5

สืบพยานจำเลย

50

01 ส.ค.2561

09.00 น.

6

สืบพยานจำเลย

51

01 ส.ค.2561

13.30 น.

6

สืบพยานจำเลย

52

02 ส.ค.2561

09.00 น.

7

สืบพยานจำเลย

53

02 ส.ค.2561

13.30 น.

7

สืบพยานจำเลย

54

03 ส.ค.2561

09.00 น.

8

สืบพยานจำเลย

55

03 ส.ค.2561

13.30 น.

8

สืบพยานจำเลย

ตารางใบนัดความ คดีหมายเลข  อ.561/2560 ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นโจทก์ กับนายตาลมีซี หรือซี โตะตาหยง และพวกรวม 13 คน ซึ่งเป็นจำเลย

ทนายจำเลยเสนอนัดวันแถลงความพร้อม เกรงพยานโจทก์ไม่มา

ระหว่างที่มีการตกลงระหว่างอัยการโจทก์และทนายความจำเลยเกี่ยวกับวันนัดสืบพยานนั้น ทนาย กิจจา อาลีอิสเฮาะ เลขานุการมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ในฐานะทนายความคดีนี้ แถลงต่อศาลว่า ก่อนนัดสืบพยานปากแรกและลำดับต่อไปนั้น ขออนุญาติเสนอนัดวันแถลงตรวจความพร้อมของคู่ความ เพราะทางตนเกรงพยานของโจทก์จะไม่มาตามที่นัด อีกทั้งเพื่อเป็นการเช็คความพร้อมของทั้งสองฝ่ายด้วย

"ทุกอย่างต้องจบให้เร็วที่สุด อย่าไปยืดเยื้อ เสียเวลาเปล่า หากช้าไป จำเลยรวมทั้งญาติก็จะเสียหาย" ศาลชี้แจง รวมทั้งกำชับไปยังอัยการโจทก์ว่า "ทุกคนต้องมาให้ได้ ไม่มาก็ต้องตาม ไม่อย่างนั้นก็จะเสียหายกันหมด"

เปิดชื่อ 4 พยานโจทก์สำคัญ ทนายขอเวลาสืบ 8 นัด

ทนายจำเลยร่วมแถลงต่อหน้าศาลว่า สำหรับพยานฝ่ายโจทก์ลำดับที่ 1 ถึงลำดับที่ 4 (ดูตารางประกอบ) เป็นพยานปากสำคัญ คงต้องใช้เวลาในการสืบเป็นเวลามาก จึงขออนุญาตใช้เวลาในการสืบพยาน 4 ปากนี้เป็นเวลา 8 นัด ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 32 ปากขอใช้เวลาเพียง 11 นัด ในลำดับต่อไป

พยานฝ่ายโจทก์ลำดับที่

ชื่อ-สกุล

ตำแหน่ง

1

พล.ต.วิจารณ์ จดแตง

·      หัวหน้าด้านกฎหมายด้านกฎหมายของ คสช.

·      ผู้กล่าวหา ซึ่งรับอำนาจจาก คสช.

2

พ.ต.อ.ปรีชญาวุฒิ อุดมพิสุทธิ์คุณ

·      ผู้กล่าวหา และร่วมแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีนี้

3

พ.อ.ชัชภณ สว่างโชติ (ผู้พันแพะ)

·      รอง ผอ.ศูนย์สันติวิธี กอ.รมน.ภาค 4 สน

·      เจ้าหน้าที่ฝ่ายการข่าวทางทหาร

4

ร.ต.ต.อะหมัด หมัดหมาน

·      เจ้าหน้าที่ฝ่ายการข่าวทางตำรวจสันติบาล

พ่อจำเลยระบุรอในคุก 2 ปี กระทบหลายด้าน ทนายชี้เป็นเรื่องของศาล

อดิลัน อาลีอิสเฮาะ ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมประจำจังหวัดยะลา กล่าวว่า สำหรับวันนี้(28 ส.ค.60)เราได้วันนัดแล้ว และก่อนที่จะมีการสืบพยานปากแรกศาลกำชับให้ทั้งสองฝ่ายมาแถลงตรวจความพร้อมของพยานก่อน นั่นหมายความว่า นับแต่วันนี้ไปทางอัยการโจทก์ต้องนัดวันพร้อมของพยานโจทก์แต่ละคน ด้านจำเลยเองก็ต้องกลับไปดูความพร้อมของพยานด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่าศาลจะพยายามควบคุมเวลาให้เป็นไปตามกรอบตารางนี้เพื่อให้จบเร็วที่สุด

ขณะที่ บิดาของปฐมพร ซึ่งจำเลยที่ 6 กล่าวว่า ไม่สบายใจสงสัยทำไมต้องรอการสืบพยานถึงกลางปีหน้า (2561) อย่างนี้ถือว่าเป็นการกลั่นแกล้งของฝ่ายใดฝ่ายหรือเปล่า การรอดำเนินคดีตามกระบวนการอยู่ในคุกถึง 2 ปี นี่มันนานมาก พวกตนและญาติๆ จำเลยคนอื่นๆ ก็จะได้รับความเดือดร้อนไปด้วยทั้งเรื่องเงินและเวลา

"เราต้องเดินทางไปกลับอีกเป็นปี ต้องใช้เงินอีกมากมาย แค่นึกถึงก็ท้อมากแล้ว ไม่ใช่ผมคนเดียว ทุกคนที่โดนข้อครหาครั้งนี้มีฐานะยากจนกันทั้งนั้น ลองดูหน้าพวกพวกเราสิ ที่ผ่านมาพวกเรายืมเงินเขาบ้าง จำนำบ้าง ถ้าใช้เวลายิ่งนาน เราก็ต้องใช้เงินอีกมาก แล้วเราจะไปเอามันมาจากไหน" บิดาปฐมพร กล่าว

อดิลัน กล่าวว่า ประเด็นการที่จำเลยต้องรออยู่ในเรือนจำเป็นปีนั้นเป็นดุลพินิจและอำนาจของศาล อีกทั้งตารางการนัดวันอยู่ที่คิวของศาล เพราะตารางศาลเต็มศาลมีคดีอื่นทั้งประเทศร่วมด้วยอีกทั้งถึงจะใช้เวลาเป็นปีก็ถือว่าเร็วที่สุดแล้วถ้าไปเทียบกับคดีอื่น เพราะศาลอาญามีสิทธิที่จะมีคดีทั่วประเทศก็เลยต้องใช้เวลาตามคิวนานไป

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แอมเนสตี้ฯ สรุปอย่างย่อ โรฮิงญาคือใคร และทำไมต้องหลบหนีจากเมียนมา

Posted: 08 Sep 2017 08:03 AM PDT

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล อธิบายถึงชะตากรรมชาวโรฮิงญา หลังหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาประมาณ 1.5 แสนคนได้หลบหนีเข้าสู่บังคลาเทศ ผลมาจากปฏิบัติการทางทหารของกองทัพเมียนมาที่มีต่อกลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงญา

แฟ้มภาพ ประชาไท

8 ก.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เขียนอธิบายถึงชะตากรรมของประชาชนชาวโรฮิงญา หลังจากในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาประมาณ 150,000 คนได้หลบหนีเข้าสู่ประเทศบังคลาเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากปฏิบัติการทางทหารของกองทัพเมียนมาที่มีต่อกลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงญา โดยเป็นปฏิบัติการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้สัดส่วนอย่างสิ้นเชิง ตามหลักการได้สัดส่วนของการใช้กำลังอาวุธ เป็นปรากฎการณ์ที่สะท้อนถึงการกดขี่ปราบปรามจากรัฐที่กระทำต่อพวกเขา และวิกฤตที่ส่งผลกระทบด้านมนุษยธรรมอย่างร้ายแรง

โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

กลุ่มชนที่ถูกกดขี่ปราบปราม

ชาวโรฮิงญาส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิม มีจำนวนประชากรประมาณ 1.1 ล้านคน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ทางตะวันตกของเมียนมา มีพรมแดนติดกับบังคลาเทศ 

แม้ว่าพวกเขาจะอาศัยอยู่ในเมียนมามาหลายชั่วคน แต่รัฐบาลเมียนมายืนยันว่าชาวโรฮิงญาทั้งหมดเป็นผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายจากบังคลาเทศ และไม่ยอมรับว่าพวกเขาเป็นพลเมืองของตน ส่งผลให้ชาวโรฮิงญาส่วนใหญ่เป็นคนไร้รัฐ 

ผลจากการเลือกปฏิบัติที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ พวกเขาจึงมีชีวิตที่ยากลำบาก เมื่อถูกกีดกันออกจากประชากรส่วนอื่น ๆ โดยจงใจชาวโรฮิงญาไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางอย่างเสรี และมีโอกาสเข้าถึงบริการรักษาพยาบาล การศึกษา หรือการมีงานทำอย่างจำกัด

ในปี 2555 เกิดความขัดแย้งครั้งสำคัญระหว่างชาวโรฮิงญากับประชากรส่วนใหญ่ในรัฐยะไข่ ซึ่งส่วนมากเป็นชาวพุทธ ส่งผลให้เกิดการก่อจลาจล เป็นเหตุให้ประชากรหลายหมื่นคนโดยเฉพาะชาวโรฮิงญา ต้องทิ้งถิ่นฐานบ้านเรือน และไปอาศัยอยู่ในค่ายกักกันที่มีสภาพเลวร้าย คนที่อาศัยอยู่ในค่ายเหล่านี้ถูกจำกัดสิทธิไม่ให้เดินทาง และถูกแยกกีดกันออกจากชุมชนอื่น ๆ

ในเดือนตุลาคม 2559 ภายหลังการโจมตีของกลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงญาต่อฐานทัพของตำรวจทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ เป็นเหตุให้กองทัพเมียนมาเริ่มปฏิบัติการปราบปราม โดยพุ่งเป้าไปที่ชุมชนทั้งหมด แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้บันทึกข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางที่เกิดขึ้นกับชาวโรฮิงญา รวมทั้งการสังหารอย่างมิชอบด้วยกฎหมาย การจับกุมโดยพลการ การข่มขืนกระทำชำเราการทำร้ายทางเพศต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิง และการเผาบ้านเรือนกว่า 1,200 หลัง รวมทั้งอาคารเรียนและมัสยิด ในครั้งนั้นแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลมีข้อสรุปว่า ปฏิบัติการเหล่านี้อาจร้ายแรงถึงขั้นเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นล่าสุด

กระแสการอพยพของประชาชนจำนวนมากเข้าสู่ประเทศบังคลาเทศครั้งล่าสุดเกิดภายหลังปฏิบัติการทางทหารของเมียนมา เพื่อตอบโต้กับการโจมตีของกลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงญาที่มีต่อค่ายทหารเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม โดยการตอบโต้ของกองทัพทั้งไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้สัดส่วนอย่างสิ้นเชิง (ตามหลักการได้สัดส่วนของการใช้กำลังอาวุธ) เป็นการปฏิบัติต่อประชาชนทั้งหมดราวกับอริราชศัตรู รายงานจากในพื้นที่ระบุถึงการเสียชีวิตของพลเรือน รวมทั้งการเผาทำลายหมู่บ้านอย่างราบคาบ

รัฐบาลเมียนมากล่าวว่า จนถึงปัจจุบันมีประชาชนที่ถูกสังหารอย่างน้อย 400 คน โดยระบุว่าส่วนใหญ่ถูกสังหารโดย "กลุ่มก่อการร้าย" นอกจากนี้ยังมีรายงานที่กลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงญาได้ใช้ความรุนแรงต่อพลเรือน รวมทั้งประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาอื่นที่เป็นชนกลุ่มน้อย

ใครเป็นผู้รับผิดชอบ?

กองทัพเมียนมาเป็นตัวหลักในการกระทำอันโหดร้ายครั้งล่าสุดนี้การที่กองทัพเป็นอิสระอย่างมากจากรัฐบาลพลเรือน และไม่ต้องรับผิดในการไต่สวนของศาลพลเรือน จึงทำให้ผู้บัญชาการในทุกระดับและทหารไม่ต้องรับผิดชอบต่อความผิดใด ๆ ที่ตนเองเป็นผู้กระทำระหว่างวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ กองทัพเมียนมามีประวัติการละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาวโรฮิงญาและประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาอื่นที่เป็นชนกลุ่มน้อยในเมียนมา

อย่างไรก็ดี อองซานซูจีซึ่งเป็นมุขมนตรีแห่งรัฐเมียนมาและเป็นผู้นำประเทศในทางพฤตินัย กลับไม่ยอมรับข้อเท็จจริงตามรายงานว่ามีปฏิบัติการโดยมิชอบและโหดร้ายของกองทัพ และไม่ได้ดำเนินการเพื่อลดความตึงเครียดเหล่านี้

ช่วงต้นเดือนนี้ ทางหน่วยงานของอองซานซูจียังกล่าวหาว่าผู้ทำงานให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในเมียนมา ให้ความสนับสนุนกับกลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงญา ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเหล่านี้เกิดความหวาดกลัวต่อความปลอดภัยของตนเอง 

อองซานซูจียังไม่รับฟังความเห็นจากองค์การสหประชาชาติและผู้นำโลก ซึ่งเรียกร้องให้เธอดำเนินการแทรกแซงเพื่อแก้ไขสถานการณ์ในรัฐยะไข่

หายนะทางมนุษยธรรม

จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ ชาวโรฮิงญาเกือบ 150,000 คน ได้หลบหนีเข้าสู่บังคลาเทศในช่วงสองสัปดาห์แรกของวิกฤตครั้งนี้ และคาดว่าจะมีการหลบหนีเข้ามาอีก

คนที่มาถึงบังคลาเทศอยู่ในสภาพได้รับบาดเจ็บ หิวโหย และถูกทำร้าย พวกเขาต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างเร่งด่วนรวมทั้งอาหาร ที่อยู่อาศัย และบริการรักษาพยาบาล ทางการบังคลาเทศต้องการความช่วยเหลือจากนานาชาติอย่างเร่งด่วน เพื่อตอบสนองความต้องการของคนที่ทุกข์ยากเหล่านี้

ในประเทศเมียนมา คาดว่ามีประชาชนประมาณ 27,000 คน ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ที่ต้องพลัดถิ่นฐานในรัฐยะไข่ และในปัจจุบันได้รับความช่วยเหลือจากทางการเมียนมา

ทางการเมียนมาได้ห้ามไม่ให้องค์การสหประชาชาติและหน่วยงานบรรเทาทุกข์ต่าง ๆ นำอาหาร น้ำ และเวชภัณฑ์ไปให้กับประชาชนหลายหมื่นคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญา คนเหล่านี้ต่างหลบหนีไปยังอยู่ในป่าเขาที่รกร้างทางตอนเหนือของรัฐยะไข่

ชาวโรฮิงญาจำนวนมากต้องพึ่งพาความช่วยเหลือให้มีชีวิตรอด ตั้งแต่ก่อนจะเกิดความรุนแรงครั้งล่าสุด การปิดกั้นความช่วยเหลือเหล่านี้ยิ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงภัยมากขึ้นต่อประชาชนหลายหมื่นคน และแสดงให้เห็นความเพิกเฉยต่อชีวิตมนุษย์

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กกต. เดินหน้าสร้างเครือข่ายเตรียมเลือกตั้งสุจริต ยันไม่ได้กำหนดวันเพื่อกดดันใคร

Posted: 08 Sep 2017 04:19 AM PDT

อภิสิทธิ์ ไม่ติดใจ ชี้เลือกตั้งปลายปีหน้ายังอยู่ในกรอบโรดแมป คาดประชาชนในประเทศ-ต่างชาติ หวังที่จะเห็นการเดินหน้าตรงนี้ไม่ต้องมาถกเถียงกันว่าเดือนไหน แต่ขอให้อยู่ในกรอบและเดินไปอย่างมั่นคง 

ภาพ ประวิช รัตนเพียร กกต. เข้าพบพระคุณเจ้าพระคาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช เพื่อหารือแนวทางการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ ซอยเจริญกรุง 40 เขตบางรัก กรุงเทพฯ ที่มาภาพ เว็บไซต์ กกต.

8 ก.ย. 2560 จากกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง ( กกต.) กำหนดแผนวันเลือกตั้งเดือน ส.ค. 2561 และต่อมาเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เช่น พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ออกมาแย้งกว่า ไม่น่าจะเป็นช่วงดังกล่าว เพราะหากนับตามกรอบเวลาการร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูกทุกกระบวนการแล้ว การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้ในช่วงปลายปี 61 ระหว่างเดือน พ.ย. ถึง ธ.ค. 61 นั้น

ล่าสุดวันนี้ (8 ก.ย.60) ประวิช รัตนเพียร กกต.กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นการกำหนดตุ๊กตาการทำงานภายในของ กกต. เพื่อลำดับงานสำคัญว่าจะทำอย่างไรให้เป็นไปตามกรอบโรดแมป เหมือนเป็นการตั้งโจทย์สมมติเพื่อเตรียมพร้อมไว้เท่านั้น ยกตัวอย่างด้านเลือกตั้งได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชน ขณะที่ด้านการมีส่วนร่วมซึ่งผมรับผิดชอบก็เดินหน้าโดยร่วมมือกับเครือข่ายต่าง ๆ ปลูกฝังประชาธิปไตยก่อนที่เลือกตั้ง 

"ยืนยันว่าเราไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดให้มีเลือกตั้งหรือดักคอใคร เพราะกกต.รู้ดีว่าต้องรอให้กฎหมายทั้ง 4 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อยก่อน จึงจะเริ่มถึงวันเลือกตั้งที่ต้องดำเนินการภายใน 150 วัน การกำหนดกรอบดังกล่าวเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อส่งงานให้กกต.ชุดใหม่ เพื่อไม่ให้งานสะดุด  เป็นการตั้งโจทย์สมมติให้กับองค์กร  เพราะงานเลือกตั้งเป็นงานใหญ่จะต้องเตรียมการล่วงหน้า เราไม่ได้กำหนดเพื่อเร่งรัดใคร และไม่มีฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบ" ประวิช กล่าว 

ส่วนกรณี สนช. จะเร่งพิจารณากฎหมายในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์เพื่อให้ทันตามกำหนดเวลานั้น ประวิช กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับกกต. เป็นอำนาจของกรรมาการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ. )และสนช.ที่เป็นผู้ร่างกฎหมาย แต่ไม่ว่าร่างกฎหมายออกมาแบบใด กกต.ให้ความเคารพ จบคือจบ  อย่างเรื่องเซ็ตซีโร่ถือว่าจบไป ไม่ได้ติดใจอะไร นับจากนี้เราเดินหน้าเตรียมการงานต่างให้กกต.ใหม่อย่างเต็มที่ สุดท้ายไม่ว่ากรธและสนช.จะว่าอย่างไร เราพร้อมให้ความเคารพ

นอกจากนี้ ประวิช ยังเปิดเผยด้วยว่าได้ประสานพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย เพื่อขอเข้าพบพระคุณเจ้าพระคาร์ดินัลฟรังซิสเซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช  โดยมีผู้บริหารพร้อมด้วยพนักงานของสำนักงานกกต.เข้าประชุมหารือแนวทางความร่วมมือการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน เช่น กิจกรรมรณรงค์หมู่บ้านไม่ขายเสียงต้นแบบและกิจกรรม 6 สัปดาห์ประชาธิปไตย เพื่อเตรียมความพร้อมการจัดการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในอนาคต ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ที่สำนักมิสซังกรุงเทพฯ     

ประวิช กล่าวว่า การประสานความร่วมมือในครั้งนี้สืบเนื่องจากสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดประชุมบรรดาประมุขแห่งเขตปกครองต่างๆ ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยพร้อมกับผู้บริหารในเขตต่างๆ เมื่อวันที่ 11 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยสำนักงานกกต.ได้จัดทีมวิทยากรพร้อมสื่อประกอบต่าง ๆ บรรยายให้บรรดาประมุขแห่งเขตปกครองต่าง ๆ ในพระศาสนจักรคาทอลิกและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อถ่ายทอดความรู้และการเตรียมตัวเลือกตั้ง ซึ่งพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทยเห็นความสำคัญของการเลือกตั้งและพร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐ เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายสำคัญของกกต.ที่จะสร้างจิตสำนึกและตระหนักรู้เรื่องภัยของการซื้อสิทธิขายเสียงและการทุจริตเลือกตั้ง 

อภิสิทธิ์ ไม่ติดใจหากจะเลือกตั้งปลายปีหน้า 

ขณะที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่มีการคาดการณ์จะสามารถเลือกตั้งได้ปลายปีหน้าว่า ทุกอย่างควรเป็นไปตามกรอบและเงื่อนเวลา ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต้องมาถกเถียงเรื่องวันเลือกตั้ง เพราะกำหนดเวลาที่อยู่ในโรดแมป หรือในกฎหมาย จะต้องมีความยืดหยุ่นอยู่ในระดับหนึ่ง เนื่องจากมีขั้นตอนการทูลเกล้าฯ ขั้นตอนการลงพระปรมาภิไธย ดังนั้นหากอะไรก็ตามที่ยังอยู่ในกรอบนี้ ถือว่าเป็นเรื่องปกติ 

แฟ้มภาพ

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลมีความชัดเจน เพราะตอนนี้มีการหยิบยกช่องโหว่ เช่นมีความกังวล หวาดระแวงว่าจะมีการคว่ำกฎหมายประกอบรัฐธรรรมนูญ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ควรเกิด เพราะเป็นความรับผิดชอบของแม่น้ำ 5 สาย ที่ควรเดินไปอย่างราบรื่น  อย่างไรก็ตามยังไม่เห็นใครจงใจที่จะเบี่ยงเบนประเด็นไปจากเดิม เพียงแต่ กกต.คำนวณโดยลืมนับบางขั้นตอนไป

"ผมว่าทั้งประชาชนในประเทศ ทั้งต่างชาติ หวังที่จะเห็นการเดินหน้าตรงนี้เป็นไปอย่างต่อเนื่องมากกว่า เพราะฉะนั้นต้องช่วยกัน ไม่ต้องมาถกเถียงกันว่าสิงหาคม กันยายน ขอให้อยู่ในกรอบและเดินไปอย่างมั่นคง เพราะเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ประเทศ อย่างที่ผมบอกว่า ถ้าเป็นกระบวนการโดยธรรมชาติ อย่าได้มีปัญหากัน แต่ถ้าเป็นการจงใจที่จะเบี่ยงเบน ก็อย่าทำเลย เพราะสุ่มเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงในสังคม" อภิสิทธิ์ กล่าว

เรียบเรียงจาก สำนักข่าวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

เทศบาลนครรังสิต โวย สตง.หลังทักท้วงท้องถิ่นจัดบริการแพทย์ฉุกเฉิน ชี้กระทบผู้ป่วยติดเตียงอื้อ

Posted: 08 Sep 2017 03:29 AM PDT

นายกเทศบาลรังสิต โวย สตง.ทักท้วง กระทบจัดบริการแพทย์ฉุกเฉินทั่วประเทศ ระบุต้องหยุดรับส่งผู้ป่วยติดเตียงมากว่า 1 ปี เหตุไร้ความชัดเจน

ธีรวุฒิ กลิ่นกุสม นายกเทศมนตรีนครรังสิต 

8 ก.ย. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า ธีรวุฒิ กลิ่นกุสม นายกเทศมนตรีนครรังสิต เปิดเผยว่า รังสิตเป็นเทศบาลนครและมีศูนย์บริการสาธารณสุขของตัวเอง ฉะนั้นที่ผ่านมาจึงมีการดูแลเชิงการแพทย์และมีการจัดซื้อรถพยาบาลไว้ตั้งแต่ก่อนมี พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน รถพยาบาลเหล่านั้นจึงถูกใช้เพื่อบริการทางการแพทย์เป็นภารกิจหลักอยู่แล้ว แต่เมื่อเกิด พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉินขึ้นมา ทางเทศบาลนครรังสิตก็ได้เข้าร่วม และมีการจัดสรรรถพยาบาลที่มีอยู่บางส่วนเข้าไปร่วมทำการแพทย์ฉุกเฉิน โดยจะให้บริการแก่ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายตัวเองหรือไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ด้วยการไปรับที่บ้านเพื่อส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลตามแพทย์นัดหมาย

ธีรวุฒิ กล่าวต่อว่า เมื่อดำเนินการไปได้ระยะหนึ่งก็มีคำทักท้วงมาจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ว่าการใช้รถพยาบาลไปรับส่งผู้ป่วยติดเตียงเหล่านี้ไม่ใช่อำนาจหน้าที่หรือภารกิจของท้องถิ่น ท้องถิ่นไม่สามารถดำเนินการได้ เป็นเหตุให้ต้องหยุดให้บริการดังกล่าวกลุ่มนี้ทั้งหมด

"ต้องเข้าใจว่าการทำงานตรงนี้มีค่าใช้จ่ายสูง และที่ผ่านมาเราก็ดำเนินการมาตลอด แต่เมื่อ สตง.ทักท้วงเราก็ต้องหยุด แต่จริงๆ แล้วเราก็ไม่ได้งดรับเสียทีเดียว เพราะนี่เป็นแค่คำท้วง ซึ่งผมก็ไม่เห็นด้วย แต่ปัญหาก็คือทางกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นก็ยืนยันซ้ำมาอีกว่าทำไม่ได้ ขณะนี้ก็ระงับการรับส่งผู้ป่วยมากว่า 1 ปี แล้ว" ธีรวุฒิ กล่าว พร้อมกล่าวด้วยว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับ สตง. และเห็นว่าเป็นหน้าที่หลักตาม พ.ร.บ.จัดตั้ง อยู่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องการให้บริการสาธารณสุขซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตคน และคณะกรรมการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นก็วินิจฉัยแล้วว่าการแพทย์ฉุกเฉินเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาพยาบาล จึงควรดำเนินการได้

"ในช่วงที่หยุดมีผลกระทบเยอะมาก สุดท้ายแล้วจึงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนด้วยการใช้กลไกมูลนิธิส่วนตัวที่มีอยู่ เอางบประมาณมูลนิธิไปซื้อรถเพื่อให้บริการผู้ป่วยไปก่อน แต่รถเราก็ไม่ได้มีเยอะ ซึ่งตรงนี้เราก็ต้องบริการจัดการภายในและแบกรับภาระงบประมาณเอง" นายธีรวุฒิ กล่าว พร้อมระบุว่า ข้อท้วงติงดังกล่าวส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง เพราะจะทำให้ท้องถิ่นทั่วไปประเทศไม่สามารถจัดบริการเหล่านี้ได้เลย ส่วนตัวมองว่าเรื่องการแพทย์ฉุกเฉินและการขนส่งผู้ป่วยเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมาก

"ตอนนี้มีความชัดเจนเฉพาะเรื่องการแพทย์ฉุกเฉินว่าสามารถทำได้ แต่ประเด็นการรับส่งผู้ป่วยติดเตียงนั้นยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งเขาก็ท้วงมาหลายประเด็น แต่สิ่งที่ชัดเจนที่สุดก็คือการแพทย์ฉุกเฉินเป็นอำนาจหน้าที่ของ อปท.แล้ว แต่จริงๆ การจัดบริการสาธารณะในส่วนของเทศบาล เราไม่ได้มองว่าจะได้ค่าตอบแทนจากการแพทย์ฉุกเฉินหรือไม่อย่างไร แต่เมื่อเราถูกร้องขอมาเราไม่สามารถปฏิเสธผู้ร้องขอได้ พอไปถึงแล้วเราไม่สามารถกลับได้ ตรงนี้คือปัญหาของทั้งประเทศ" นายกเทศบาลรังสิต กล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'สมานฉันท์แรงงาน' ร้องรัฐขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ-คุมราคาสินค้า

Posted: 08 Sep 2017 01:45 AM PDT

'สมานฉันท์แรงงาน' ร้องรัฐนิยามค่าจ้างขั้นต่ำแรกเข้าให้เพียงพอเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก 2 คน ตามหลัก ILO เท่ากันทั้งประเทศ ปรับค่าจ้างทุกปี คุมราคาสินค้าไม่ให้ขึ้นราคาตามไปด้วย พร้อมยกเลิกอนุ กก.ค่าจ้างระดับจังหวัด เสนอมีบอร์ดค่าจ้างระดับประเทศชุดเดียว

8 ก.ย. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (8 ก.ย.60) เมื่อเวลา 11.00 น. ที่ผ่านมา ที่ พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย สาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) นำแถลงข่าว คสรท. ร่วมกับ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เรียกร้องต่อรัฐบาลขอให้มีการปรับค่าจ้างในปี 2561 โดยยืนยันให้กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำที่สามารถเลี้ยงคนในครอบครัวได้อีก 2 คน  ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) พร้อมทั้งไม่เห็นด้วยกับค่าจ้างลอยตัวและสูตรการคิดค่าจ้างขั้นต่ำของกระทรวงแรงงาน โดยเสนอให้ยกเลิกกรรมการค่าจ้างประจำจังหวัด ให้มีคณะกรรมการค่าจ้างระดับชาติเพื่อกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำอัตราเดียวกันทั่วประเทศ

ประธาน คสรท. แถลงว่า สืบเนื่องจากที่ คสรท. และ สรส. ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลเนื่องในวันกรรมกรสากลปี พ.ศ. 2560 มีจำนวน 10 ข้อ การเสนอให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นหนึ่งใน 10 ข้อที่ยื่นไปซึ่งมีสาระก็คือ 1) รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน  ด้วยเหตุผลที่ว่า ที่ผ่านมาการปรับค่าจ้างก็เน้นแต่คำว่า "ขั้นต่ำ"แต่การปรับค่าจ้างไม่ได้คำนึงถึงความเป็นธรรมที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนงานสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ควรค่าแห่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ก็จะได้รับการปฏิเสธจากรัฐบาลด้วยข้ออ้างเสมอว่านักลงทุนจะหนี จะย้ายฐานการผลิต รัฐบาลให้ความสำคัญของนักลงทุนมากกว่าคุณภาพชีวิตของลูกจ้างซึ่งส่วนมากยังคงได้รับค่าจ้างที่ไม่พอต่อการดำรงชีพ ทำให้คนงานไม่มีเงินเพียงพอที่จะสร้างคุณค่าให้ชีวิตที่ ยากจน เป็นหนี้ ซึ่งก็จะส่งผลต่อการบริโภคและภาคการผลิตและอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับตัวเลขมากกว่าความเป็นจริงทางสังคม แท้จริงแล้วประมาณร้อยละ ๖๐ ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า GDP มาจากคนงานและชนชั้นล่าง
 
2) ให้กำหนดนิยามค่าจ้างขั้นต่ำแรกเข้าให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก 2 คน ตามหลักการของ ILO และต้องเท่ากันทั้งประเทศ  ด้วยเหตุผล : ค่าจ้างขั้นต่ำเริ่มประกาศใช้ในประเทศไทยครั้งแรกในปี 2516 ซึ่งหลักการเป็นไปตามนิยามที่ ILO ให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก 2 คนโดยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่วันละ 12 บาทแต่ในปี พ.ศ.2518 นิยามค่าจ้างขั้นต่ำก็เปลี่ยนไปเหลือเพียงเลี้ยงดูคนทำงานเพียงคนเดียว และที่เลวร้ายกว่านั้นในปี 2537 รัฐบาลได้ประกาศให้ค่าจ้างลอยตัว โดยการปรับค่าจ้างในแต่ละจังหวัดก็ขึ้นอยู่กับอนุกรรมการค่าจ้างประจำจังหวัด ซึ่งทำให้ราคาค่าจ้างมีความต่างกันอย่างมากถึง 32 ราคา ในปี 2553 จังหวัดที่มีค่าจ้างสูงสุดเปรียบเทียบกับค่าจ้างต่ำสุดห่างกันถึง 62  บาท คือระหว่าง 221 บาท กับ159 บาท ซึ่งจากความไม่เข้าใจ มองระบบเศรษฐกิจแบบคับแคบ ไม่สนใจโครงสร้างทางสังคมของนักการเมือง นักลงทุน และข้าราชการ ความต่างของค่าจ้างเหล่านี้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นจนทำให้ประเทศไทยติดลำดับต้นๆของโลกในเรื่องความเหลื่อมล้ำ ซึ่งทุกรัฐบาลพยายามที่จะแก้ปัญหาแต่ก็ไม่สามารถแก้ได้จนกระทั่งปัจจุบัน และการทำให้ค่าจ้างต่างกันก็จะทำให้คนงานที่อยู่ในเขตค่าจ้างต่ำก็อพยพเข้าเขตค่าจ้างสูงก่อให้เกิดการกระจุกตัวแออัด และทำให้ชนบทภูมิลำเนาขาดแรงงาน ขาดความสัมพันธ์ต่อกันในสังคม สังคมชนบทล่มสลาย ที่ดินที่นาว่างเปล่าไร้เกษตรกรรุ่นหลังสืบทอดจนเกิดการยึดครองที่ดินของกลุ่มทุนผ่านการซื้อขายถูกๆ ชอบด้วยกฎหมายแต่ไม่ชอบธรรม
 
3 ) กำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้าง และปรับค่าจ้างทุกปี ด้วยเหตุผลที่ว่า โครงสร้างค่าจ้างและการปรับค่าจ้างทุกปีในเหตุผลและราคาที่เหมาะสมโดยไม่ต้องมารอกังวลกับค่าจ้างขั้นต่ำ ก็จะทำให้คนงานสามารถวางแผนอนาคตได้ การจับจ่ายซื้อขายด้วยกำลังซื้อก็จะทำให้เกิดการไหลเวียนในระบบเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง ยั่งยืน ยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทยที่เกือบทั้งหมดทั้งการลงทุนและส่งออกยังคงพึ่งพาต่างประเทศเป็นหลัก ยังมีความผันผวนสูงจากเงื่อนไขปัจจัยต่างๆที่กล่าวมา การเน้นกำลังซื้อ กำลังผลิต หรือการสร้างความแข็งแกร่งจากภายในประเทศ มีความสำคัญยิ่งต่อการวางระบบโครงสร้างค่าจ้าง และการปรับค่าจ้างรายปีโดยมองบริบทรอบด้านอย่างเข้าใจ ความเหลื่อมล้ำที่พยายามควานหาทางแก้ไขก็จะค่อยๆหายไปในที่สุด
 
ประธาน คสรท. แถลงด้วยว่า ปัจจุบันรัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานยังคงพยายามที่จะดำเนินการปรับค่าจ้างตามกรอบความคิดเดิม คือปล่อยค่าจ้างลอยตัวในแต่ละจังหวัดให้ดำเนินการได้เอง และเพิ่มสูตรการคิดให้ซับซ้อนมากขึ้นซึ่งในอนาคตค่าจ้างอาจมีถึง ๗๗ ราคา ไม่เกิดผลดีต่อระบบโครงสร้างค่าจ้าง และระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ จะเป็นการตอกย้ำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมในสังคมมากขึ้น จากข้อเสนอและเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น คสรท. และ สรส. จึงแถลงจุดยืนต่อสื่อมวลชนและสังคมว่าทั้ง 2 องค์กร ยังคงยืนยันในข้อเรียกร้องและเจตนารมณ์เดิมคือ 
 
"รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน โดยกำหนดนิยามค่าจ้างขั้นต่ำแรกเข้าให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก 2 คน ตามหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และต้องเท่ากันทั้งประเทศ พร้อมกำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้าง และปรับค่าจ้างทุกปี  และไม่เห็นด้วยกับการให้ค่าจ้างลอยตัวและสูตรการคิดค่าจ้างขั้นต่ำของกระทรวงแรงงานที่กำลังดำเนินการในขณะนี้ ส่วนการปรับค่าจ้างในอัตราเท่าใดนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องเจรจาหาเหตุผลกันโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางที่มิใช่เพียงแค่คณะกรรมการค่าจ้างกลางเพียงอย่างเดียว และให้ยกเลิกอนุกรรมการค่าจ้างระดับจังหวัดโดยให้มีคณะกรรมการค่าจ้างระดับประเทศเพียงชุดเดียว มีองค์ประกอบคณะกรรมการที่หลากหลายกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและที่สำคัญด้วยสภาวะเศรษฐกิจตามที่รัฐบาลได้มีการให้ราคาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของคนงานและประชาชน เช่น ก๊าซ น้ำมัน และอื่นๆจึงควรที่จะต้องปรับค่าจ้างในปี 2561 ตามหลักการและเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นพร้อมกับควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภคไม่ให้ขึ้นราคาตามไปด้วย" ประธาน คสรท. แถลงในตอนท้าย
สาวิทย์ แก้วหวาน ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมหลังแถลงข่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ISDS vs มาตรา 44 หรือจะเป็นความพ่ายแพ้ราคา 3 หมื่นล้านของ คสช. (แล้วใครจะรับผิดชอบ?)

Posted: 07 Sep 2017 09:19 PM PDT

รัฐไทยกำลังจะถูกบริิษัทออสเตรเลียฟ้องเรียกค่าเสียหาย 30,000 ล้าน เพราะสั่งปิดเหมืองทองด้วยมาตรา 44 ทำความรู้จักกับ ISDS เครื่องมือยุคการค้าเสรีที่ทำให้เอกชนฟ้องรัฐได้ งานนี้แทบไม่เห็นทางชนะ แต่คนออกคำสั่งบอกว่า "ผมไม่ต้องรับผิดชอบอะไรทั้งสิ้น"

อำนาจของมาตรา 44 ออกมาเป็นคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 72/2559 เรื่อง การแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ ที่ให้ระงับการอนุญาตให้สำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ทำให้เหมืองทองอัคราต้องหยุดดำเนินการ

ปัญหาคงไม่เกิดขึ้น ถ้าการแก้ปัญหาแบบอำนาจนิยมจะจำกัดผู้เกี่ยวข้องอยู่เพียงภายในประเทศ แต่บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) มีบริษัทแม่คือ บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด จำกัด จากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลไทยชดใช้ค่าเสียหายทางธุรกิจอันเกิดจากคำสั่งดังกล่าวสูงถึง 3 หมื่นล้านบาท โดยบริษัท คิงส์เกตฯ หยิบเอาความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ที่มีเนื้อหาว่าด้วยการคุ้มครองการลงทุนมาใช้ ผ่านเครื่องมือที่ชื่อว่า กลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชนหรือไอเอสดีเอส (Investor-state Dispute Settlement: ISDS)

แสดงให้เห็นว่ากำปั้นเหล็กของ คสช. ไม่มีความหมายใดๆ บนเวทีการค้าระหว่างประเทศที่มีกติกาอีกชุด

ไอเอสดีเอส กลไกคุ้มครองนักลงทุนมากกว่าคุ้มครองรัฐ

ไอเอสดีเอสเป็นกลไกที่เปิดช่องให้เอกชนสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐได้ ผ่านระบบอนุญาโตตุลาการ ไม่ต้องพึ่งพิงกระบวนการยุติธรรมภายในประเทศนั้นๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีฐานความคิดว่า ผู้พิพากษาของประเทศนั้นๆ อาจมีอคติและความลำเอียงเข้าข้างประเทศตนเอง ไม่สามารถตัดสินข้อพิพาทด้วยความเที่ยงตรงเป็นธรรม รวมถึงมรดกตกค้างแบบอาณานิคมที่เชื่อว่าระบบกฎหมายของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมักเป็นผู้รับการลงทุนจากประเทศพัฒนาแล้ว ยังไม่มีความก้าวหน้าเพียงพอ ทำให้ต้องมีไอเอสดีเอสไว้เป็นทางออกเพื่อการดำเนินการที่รวดเร็วและเป็นธรรม

ไม่ใช่เพียงว่ารัฐบาลประเทศนั้นออกกฎหมาย นโยบาย หรือคำสั่งที่ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจของนักลงทุนเกิดความเสียหายแล้วจึงฟ้องร้องได้เท่านั้น ไอเอสดีเอสในข้อตกลงการค้าเสรีบางฉบับกินความถึงขั้นว่า หากการกระทำของรัฐถูก 'คาดการณ์' ว่าจะทำให้รายได้ที่นักลงทุนประเมินว่าจะได้ในอนาคตต้องสูญเสียหรือได้รับน้อยกว่าที่คาด ก็เพียงพอที่จะฟ้องร้องได้แล้ว ซึ่งการเพิ่มขึ้นของไอเอสดีเอสที่มาพร้อมกับข้อตกลงการค้าเสรีส่งผลอย่างชัดเจนต่อกรณีเอกชนฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐ ปี 2539 มีกรณีเช่นนี้เพียง 38 คดี ถึงปี 2557 จำนวนคดีกลับพุ่งขึ้นถึง 568 คดี

ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ ไม่มีสิทธิอุทธรณ์

ขณะที่กระบวนการยุติข้อพิพาทของไอเอสดีเอสก็ไม่ใช่กระบวนการยุติธรรมปกติ แต่เป็นกระบวนการอนุญาโตตุลาการ โดยคณะอนุญาโตตุลาการ 3 คน ฝ่ายนักลงทุนเลือก 1 คน ฝ่ายรัฐเลือก 1 คน ส่วนคนที่ 3 มาจากการเลือกร่วมกันของทั้งสองฝ่าย หลังจากนั้นคณะอนุญาโตตุลาการจะทำการพิจารณาข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ซึ่งโดยมากแล้วจะเป็นการพิจารณาแบบปิดลับ ประชาชนของประเทศคู่กรณีไม่มีสิทธิรับรู้ความเป็นไปของการพิจารณา ในบางกรณีลับมากเสียจนไม่มีใครรู้ด้วยซ้ำว่าเกิดข้อพิพาทขึ้น นอกจากนักลงทุนและรัฐ

หากคณะอนุญาโตตุลาการตัดสินให้รัฐเป็นฝ่ายแพ้และต้องจ่ายชดเชยให้กับนักลงทุนเอกชน รัฐก็จำเป็นต้องปฏิบัติตามอย่างมิอาจขัดขืน และไม่มีสิทธิอุทธรณ์ใดๆ ทุกอย่างจบที่อนุญาโตตุลาการ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยก็เคยถูกยึดทรัพย์สินที่อยู่นอกประเทศจากการพ่ายแพ้ในกระบวนการนี้มาแล้ว

มองในแง่อำนาจอธิปไตยของรัฐในการออกกฎหมายหรือกำหนดนโยบาย ไอเอสดีเอสเปรียบเสมือนเครื่องมือที่บ่อนเซาะอำนาจชนิดนี้ ยกสถานะของเอกชนให้ขึ้นมามีบทบาทเทียบเท่ารัฐ สามารถใช้สิ่งนี้ยับยั้งกฎหมายหรือนโยบายของรัฐบาลได้ ถ้ามันกระทบกับผลประกอบการที่นักลงทุนควรได้รับ แม้ว่าจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ของประชาชนในประเทศ

เมื่อรัฐไม่มีสิทธิกำหนดนโยบาย

ที่ผ่านมา เคยเกิดกรณีทำนองนี้หลายกรณี เช่น ปี 2540 รัฐบาลแคนาดาออกคำสั่งห้ามนำเข้าและขนย้ายสารเอ็มเอ็มที เนื่องจากเป็นสารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้บริษัท เอธิล คอร์พ จากอเมริกา ฟ้องร้องรัฐบาลแคนาดา เรียกค่าชดเชยเป็นเงิน 251 ล้านเหรียญสหรัฐ กรณีจบลงที่รัฐบาลแคนาดายอมประนีประนอม จ่ายค่าชดเชยให้ 13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และยกเลิกคำสั่งดังกล่าว

ปี 2550 รัฐบาลแอฟริกาใต้ออกกฎหมายสร้างเสริมอำนาจทางเศรษฐกิจแก่คนผิวดำในประเทศ เพื่อเยียวยาผลร้ายจากนโยบายแบ่งแยกสีผิว (Apartheid) โดยกำหนดให้บริษัทเหมืองแร่ต้องโอนหุ้นจำนวนหนึ่งให้แก่นักลงทุนผิวดำ ทำให้บริษัท ปีเอโร ฟอเรสติ จากอิตาลี ฟ้องร้องรัฐบาลแอฟริกาใต้ สุดท้าย บริษัท ปีเอโรฯ สามารถลดจำนวนหุ้นที่ต้องโอนให้แก่นักลงทุนผิวดำได้เป็นจำนวนมากและยังได้รับใบอนุญาตฉบับใหม่

นี้เป็นสองในหลายๆ กรณีที่เกิดขึ้นจากไอเอสดีเอส

คำถามคือจากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น รัฐบาล คสช. จะหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย 30,000 ล้านให้แก่บริษัท คิงเกตส์ฯ ได้หรือไม่

เอ็นจีโอระบุหากถูกฟ้องจริง ไทยหมดสิทธิชนะ

กรรณิการ์ กิจติเวชกุล รองประธานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน แสดงความเห็นต่อกรณีนี้ว่า

"มาตรา 44 ไม่ใช่ขั้นตอนโดยชอบตามกฎหมายปกติ ดังนั้น เรียกว่าแทบจะปิดประตูชนะเลย แต่เราจะมองเฉพาะด้านเดียวไม่ได้ มิอย่างนั้นจะมองว่าเป็นเพราะรัฐบาลรัฐประหาร แต่โดยกระบวนการ กลไกไอเอสดีเอสถูกออกแบบมาเพื่อคุ้มครองนักลงทุนโดยไม่เห็นหัวประชาชน เปรียบเหมือนกับประชารัฐของรัฐบาลนี้ คือการที่รัฐกับทุนจับมือกันโดยไม่เห็นหัวประชาชน ซึ่งไอเอสดีเอสสะท้อนภาพนั้นอยู่ ดังนั้น ต่อให้เป็นรัฐบาลประชาธิปไตยจะทำสิ่งที่ปกป้องประชาชนก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสามารถทำได้ แต่อย่างน้อยยังมีช่องพอหายใจได้ หรือการใช้กฎหมายปกติอย่างการฟ้องศาลปกครอง แล้วศาลปกครองตัดสินให้ยกเลิกการทำเหมืองตามกระบวนการกฎหมาย โอกาสที่จะสู้ยังมี"

กรรณิการ์ กล่าวว่า บทเรียนจากกรณีนี้ แสดงให้เห็นว่าในการทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ทั้งผู้เจรจาและหน่วยงานของรัฐรับรู้ถึงนัยของผลที่จะเกิดขึ้นตามมาต่ำมาก สังคมจึงยังเห็นกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์สนับสนุนไอเอสดีเอส ทั้งที่เอฟทีเอวอทช์เตือนมากว่าสิบปีแล้วตั้งแต่ตอนที่จะลงนามข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ซึ่งมีการคาดหมายว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้

สิ่งที่น่าวิตกอีกประการหนึ่งคือ ในรัฐธรรมนูญปี 2550 มีมาตรา 190 ที่กำหนดให้ต้องทำกรอบการเจรจา มีกระบวนการวิจัย การรวบรวมข้อมูลความรู้ถึงผลกระทบด้านต่างๆ การมีส่วนร่วมของประชาชนและของอำนาจนิติบัญญัติ ขณะที่รัฐธรรมนูญปี 2560 ตัดมาตรา 190 ออก ซึ่งจะทำให้กระบวนการเหล่านี้หายไป

"เรายังไม่รู้ว่าต่อจากนี้ การเจรจาเกี่ยวกับการลงทุน สาระเดิมที่เป็นตัวป้องกันจะยังถูกใช้หรือไม่ เพราะเท่าที่เห็นตอนนี้รัฐบาลทหารอยากจะสร้างผลงานด้วยการเจรจาเอฟทีเอ ฉบับใหญ่ๆ อาจจะยังเจรจาไม่ได้ แต่อย่างอาร์เซป (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP หรือความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคของอาเซียน) ตอนนี้ประเด็นอยู่ที่ไอเอสดีเอส เพราะอินเดียไม่เอากลไกนี้ แต่ไทยไปบอกให้ยอมรับเพื่อให้อาร์เซปผ่านไปได้"

คำถามก็คือหากไทยต้องจ่ายค่าเสียหาย 30,000 ล้านบาทจริง ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ในเมื่อผู้ออกคำสั่งพูดเองว่าไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะมีมาตรา 44 คุ้มครอง

 

 

"จำเลยของเรื่องนี้คือ คสช."

ด้านเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้ประสานงานกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา ผู้ทำงานเกี่ยวกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหมือง เขายอมรับว่าเป็นเรื่องลำบากใจเนื่องจากเขาเห็นว่า การรัฐประหารไม่ถูกต้องชอบธรรม  ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะเห็นด้วยกับคำสั่งนี้ แต่อีกส่วนหนึ่งก็เห็นว่าเป็นประโยชน์สำหรับชาวบ้านมาก ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะไม่เห็นด้วยเสียเลยก็เกรงว่าจะทำให้ชาวบ้านเสียหาย

"ประเด็นของผมคือการปิดเหมืองทองไม่จำเป็นต้องใช้คำสั่ง คสช. ใช้กฎหมายปกติอย่างกฎหมายสิ่งแวดล้อมกับกฎหมายแร่ก็ได้ แค่นี้ก็เอาอยู่แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะใช้คำสั่ง คสช. เพื่ออะไร ถ้าใช้กฎหมายปกติก็เข้าสู่ระบบศาลไทย ทางเหมืองแร่ก็สามารถฟ้องร้องได้ถ้าไม่เห็นด้วยกับคำสั่งตามกฎหมายปกติ

"จำเลยของเรื่องนี้คือ คสช. ที่ใช้คำสั่งมาตรา 44 ลำพังชาวบ้านเองไม่ว่าจะรัฐบาลใดไหนก็ไม่มีความสามารถที่จะทำให้รัฐบาลออกคำสั่งอะไรได้ เบื้องหลังมีความเป็นมาอย่างไร เราไม่ทราบ แต่ถ้าจะบอกว่าจำเลยของสังคมเป็นชาวบ้าน เป็นเอ็นจีโอ ก็เป็นเรื่องแปลก จริงๆ แล้วชาวบ้านในพื้นที่ได้รับผลกระทบสูงมาก แต่สังคมส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจเลย

"สังคมต้องเข้าใจว่าผลกระทบมีจริง แต่สมควรต้องใช้มาตรา 44 หรือไม่ ผมเห็นว่าไม่จำเป็นต้องใช้ ใช้กฎหมายปกติก็เพียงพอแล้ว ถ้าต้องเปรียบเทียบความรับผิดชอบของรัฐบาล คสช. กับกรณียิ่งลักษณ์ (ชินวัตร) ผมเห็นด้วยว่ารัฐบาล คสช. จำเป็นต้องเผชิญเหมือนที่ทำกับยิ่งลักษณ์ ถ้ารัฐบาล คสช. กล้าหาญจริงที่จะช่วยเหลือชาวบ้าน คุณก็ต้องสู้กับอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ถ้าสู้ไม่ได้ก็ต้องยอมจ่าย ถ้าโดนปรับแล้ว ประยุทธ์ (จันทร์โอชา) ต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อความเสียหายนี้ และสังคมก็ควรต้องกดดันหรือตั้งคำถามต่อประยุทธ์"

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น