โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท

สนง.ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนฯ ยินดี หลังแรงงานพม่าชนะคดีฟาร์มไก่ ไม่จ่ายค่าจ้าง

Posted: 18 Sep 2017 12:15 PM PDT

สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนฯ แสดงความยินดีกับคำตัดสินของศาลไทยที่สั่งให้นายจ้างชดเชยเงิน 1.7 ล้านบาทแก่แรงงานข้ามชาติชาวพม่า 14 คนผู้ถูกละเมิดสิทธิ ร้องให้ทางการไทยยุติข้อกล่าวหาทางอาญาทั้งหมดทันที 

19 ก.ย. 2560 จากกรณีเมื่อที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา ศาลมีคำพิพากษาให้ฟาร์มไก่ธรรมเกษตรใน จ.ลพบุรี ซึ่งเคยทำสัญญาส่งไก่ให้แก่บริษัทเบทาโกร จ่ายเงินชดเชยแก่อดีตคนงานพม่า 14 คน จำนวน 1,700,000 บาท โดย คำตัดสินของศาลถือเป็นการตัดสินตามคำสั่งของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ลพบุรี ที่ก่อนหน้านี้มีคำสั่งให้เจ้าของฟาร์มธรรมเกษตรชดเชยเงินให้แก่กลุ่มแรงงาน และถือเป็นการยกคำร้องอุทธรณ์ของเจ้าของฟาร์มธรรมเกษตร ที่ต้องการให้ศาลพิจารณายกเลิกไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยโดยอัตโนมัตินั้น

ล่าสุดวานนี้ (18 ก.ย.60) เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'UN Human Rights - Asia' เผยแพร่คำแถลงของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อกรณีดังกล่าว โดย สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนฯ แสดงความยินดีกับคำตัดสินของศาลไทยที่สั่งให้นายจ้างชดเชยเงิน 1.7 ล้านบาทแก่แรงงานข้ามชาติชาวพม่า 14 คนผู้ถูกละเมิดสิทธิ และยังเรียกร้องให้ทางการไทยยุติข้อกล่าวหาทางอาญากับแรงงานข้ามชาติทั้งหมดทันที 

คำแถลงดังกล่าวระบุว่า แรงงานข้ามชาติชาวพม่ากล่าวหาว่าพวกเขาต้องทำงานถึง 20 ชั่วโมงต่อวัน โดยถูกหักค่าจ้างจากเงินเดือนอย่างไม่เป็นไปตามกฎหมาย นอกจากนี้ เอกสารประจำตัวก็ถูกยึดและคนงานยังถูกจำกัดไม่ให้ออกนอกสถานที่ ทั้งนี้ ศาลฎีกาไทยได้ยกฟ้องอุทธรณ์ของฟาร์มไก่ธรรมเกษตร จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นนายจ้างของแรงงานเหล่านี้ และตัดสินให้แรงงานได้รับการชดเชยเงินเดือน แรงงานข้ามชาติทั้ง 14 คนผู้นำเรื่องนี้เสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เพื่อขอให้ดำเนินคดีกับนายจ้าง ยังคงต้องเผชิญกับคดีอาญาที่นายจ้างฟ้องกลับในข้อหาหมิ่นประมาททางอาญา นอกจากนี้ แรงงานข้ามชาติ 2 รายยังถูกตั้งข้อหาว่าขโมยบัตรลงเวลาด้วย 

"สำนักงานของเรา รู้สึกยินดีกับคำตัดสินให้นายจ้างชดเชยค่าแรงให้กับแรงงานข้ามชาติ และเราหวังจะเห็นการถอนฟ้องคดีหมิ่นประมาททางอาญา ทำให้เสียชื่อเสียงในคดีนี้ด้วยเช่นกัน" ซินเธีย เวลิโค (Cynthia Veliko) ผู้แทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

"เป็นเรื่องน่าวิตกอย่างยิ่งที่มีการยื่นฟ้องคดีอาญาหลังคนงานแจ้งเรื่องนี้กับ กสม. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในคดีลักษณะนี้" ซินเธีย กล่าว พร้อมกับ ขอให้กสม. สอบสวนกรณีนี้อย่างเป็นกลาง 

"แรงงานข้ามชาติยังคงถูกละเมิดสิทธิในประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เราขอย้ำให้ทุกบริษัทปฏิบัติตามมาตรฐานและพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ตกลงไว้"  ซินเธีย กล่าว

สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยุติคดีต่อแอนดี้ ฮอลล์ นักกิจกรรมชาวอังกฤษ ซึ่งฟาร์มไก่ธรรมเกษตรเป็นผู้ฟ้องในคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาท ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงด้วย แอนดี้ ฮอลล์ถูกตัดสินให้จำคุกเป็นเวลา 3 ปีในปี 2016 ในอีกคดีหนึ่งที่เกี่ยวกับแรงงานพม่าในข้อหาเดียวกัน คือหมิ่นประมาททางอาญา ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ทั้งนี้ นาย แอนดี้ ฮอลล์เดินทางออกจากประเทศไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่าตนรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะอยู่ในประเทศไท

ซินเธีย ยังรับทราบและสนับสนุนความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการทำให้ธุรกิจปฏิบัติตามมาตรฐานสิทธิมนุษยนชนภายใต้กรอบของหลักการชี้นำว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ  สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติยังได้เรียกร้องให้ประเทศไทยให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาระหว่างประเทศไทยว่าด้วยสิทธิของแรงงานข้ามชาติอีกด้วย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สุเนตร: มโนทัศน์กษัตริย์อยุธยา ศาสนากับที่ทางอาณาจักร และ ปวศ. ชาตินิยม

Posted: 18 Sep 2017 11:55 AM PDT

ตำแหน่งแห่งที่ของอยุธยาในทางจิตวิญญาณและการเมือง จักรวาลพุทธ-พราหมณ์สะท้อนผ่านบทบาทและสมัญญานามกษัตริย์ จักรวรรดินิยมเบียดสยามจากศูนย์กลางจักรวาล ปรับตนเองตามระเบียบโลกใหม่ สร้างชาติบนประวัติศาสตร์บาดแผลเรื่องเอกราช อนาคตประวัติศาสตร์ชาตินิยมกับการเป็นประชาคมอาเซียนยังต้องจับตามอง

18 ก.ย. รศ.สุเนตร ชุตินธรานนท์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากรการเสวนาหัวข้อ "จากจินตกรรมแห่งอาณาจักรอยุธยา สู่ประวัติศาสตร์ชาตินิยมรัฐไทย" ในงานเสวนา "ความทรงจำเคล้าจินตนาการ: อยุธยาในฝันกับการสร้างประวัติศาสตร์ชาติไทย" (Imagined Memories: The Ayutthayan Fantasy and the Making of National History in Thailand) จัดโดยศูนย์ไทยศึกษาร่วมกับศูนย์ลาตินอเมริกาศึกษา คณะอักษรศาสตร์ ที่ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุเนตร ชุตินธรานนท์

คติความเชื่อ พุทธ-พราหมณ์ กับจินตภาพกษัตริย์-อาณาจักรอยุธยา

สุเนตรกล่าวว่า ต้องทำความเข้าใจว่าอยุธยามีความเฉพาะ ต่างจากบ้านเมืองอื่นที่พัฒนาไปก่อนหน้าในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ก่อนนี้ไม่มีหลักฐานยืนยันเลยว่ามีพัฒนาการรัฐได้ขึ้นมาถึงระดับการเกิดศูนย์อำนาจรัฐแต่เพียงศูนย์เดียวชัดเจนอย่างที่เราเรียกว่าเมืองราชธานี หรือที่คำเขมรที่เรียกว่า 'กรุง' แต่บ้านเมืองในขอบขัณฑสีมาอยุธยาไม่ได้ถูกเรียกกรุงไปด้วย เช่น ลพบุรีหรือสุพรรณบุรี จะมีก็แต่เมืองที่ไม่ใช่ขอบขัณฑสีมาของอยุธยาเช่นเชียงใหม่ การเกิดขึ้นของอยุธยาจึงเป็นปรากฎการณ์ใหม่ของประวัติศาสตร์ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา

การเกิดอยุธยาทำให้เห็นว่า ผู้จะแสดงตนว่ามีอำนาจสูงสุดเหนือกษัตริย์องค์อื่นๆ จะต้องครองอยุธยาอย่างเช่นสมัย พ.ศ. 1893 ที่สถาปนารัชสมัยพระเจ้ารามาธิบดีที่ 1 อย่างเป็นทางการ จะเห็นว่ากษัตริย์รอบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาพยายามจะเข้ามาแย่งชิงอำนาจและความเป็นใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา เพื่อได้รับการยอมรับว่ายิ่งใหญ่จริง

คำขนานนามว่า 'กรุง' ที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นในสถานะสัมพันธ์ทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องความสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณด้วย ภาพของกรุงศรีอยุธยาที่อยู่ในกฎหมายหรือพงศาวดารคือเมืองที่เป็นศูนย์กลางของชมพูทวีป จึงเป็นเรื่องปรกติที่อยุธยาในจินตภาพตามหลักฐานช่วงแรก คือภาพของผู้ปกครองหรือการรับรู้ความเข้าใจจะอธิบายอยุธยาว่าเป็นศูนย์รวมของอำนาจราชศักดิ์ใหญ่ๆ แห่งชมพูทวีป แล้วถ้ามีเมืองใดมาสร้างสถานะให้เทียบเท่าอยุธยา กษัตริย์ผู้ครองอยุธยาก็ต้องทำการลบสถานะนั้นออก เช่นการโจมตีนครธมเมื่อ พ.ศ. 1431 และกวาดตีทรัพย์สินมาไว้ที่อยุธยา

อีกสถานะของจินตภาพอยุธยาคือเมืองของวีรบุรุษในรามายณะ ชื่อของอยุธยาหรืออโยธยาคือเมืองของพระรามดังที่ปรากฎในศิลาจารึกหลักที่ 2 ของอาณาจักรสุโขทัยที่ระบุชื่ออยุธยาไว้ว่า อโยธยาศรีรามเทพนคร ดังนั้นกษัตริย์ของอยุธยาจึงมักใช้สมัญญานามว่า รามาธิบดี คือรามผู้เป็นใหญ่ เป็นภาพที่ไม่ได้เห็นความย้อนแย้งกันระหว่างการอธิบายสถานะความยิ่งใหญ่ในสถานะของพุทธและพราหมณ์ และถ้าสถานะอยุธยาเป็นเช่นนั้น ผู้ปกครองในจินตภาพอยุธยาในความเชื่อแบบพุทธก็เป็นพระพุทธเจ้าในฐานะมหาบุรุษ ดังที่เห็นจากพระนามพระมหากษัตริย์เช่นพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระสรรเพชญ์ หรือการเรียกรัชทายาทว่าสมเด็จหน่อพุทธเจ้า เป็นนัยที่ส่อความเท่าเทียมกับพระพุทธเจ้า ในขณะที่ข้าราชบริพารก็เรียกตนเองว่า ข้าพระพุทธเจ้า พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงวางตนเองเป็นพระราชาที่ทรงปกครองโดยธรรม มีทศพิธราชธรรม เป็นธรรมราชาที่มีพันธกิจในการดูแลสันติสุขของอาณาประชาราษฎร์ทางหนึ่ง และชี้้นำทางไปสู่การก้าวพ้นสังสารวัตรอีกทางหนึ่ง ในหน้าที่นี้พระองค์เป็นประโพธิสัตว์ ดังที่เห็นจากวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าปราสาททอง มหาชาติคำหลวงที่แต่งโดยพระมหากษัตริย์

อยุธยายังมีสถานะสัมพันธ์กับอาณาจักรรอบด้านด้วย เพื่อจะอ้างความเป็นใหญ่เหนืออาณาจักรอื่น กษัตริย์อยุธยาจึงต้องมีจินตภาพของการเป็นเจ้าจักรพรรดิ ในความเป็นจริงจะเป็นได้หรือไม่ได้เป็นอีกอย่าง ด้วยคติความเชื่อและจินตภาพเช่นนั้น อยุธยาจึงไม่ได้เป็นอาณาจักรของคนไทย หรือกลุ่มชาติพันธุ์ใดชาติพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะแต่เชื่อมต่อตนเองกับจักรวาลทางความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธและพราหมณ์ แม้ในโลกความเป็นจริงกษัตริย์อยุธยาจะไม่สามารถครอบครองชมพูทวีปทั้งหมด แต่ก็ยังสามารถจัดสรรและแสดงขอบเขตปริมณฑลของตนเองว่ามีอยู่แค่ไหน เราเรียกเครือข่ายทางอำนาจนี้ตามภาษาสันสกฤตว่า ขอบเขตพระราชอำนาจ (มันดาลา - Mandala) คือเหล่าเครือข่ายบ้านเมืองที่ยอมรับในความเป็นใหญ่ของผู้ครองอยุธยา แต่ถ้ากษัตริย์องค์ใหม่ที่ขึ้นมาไม่มีอำนาจเท่าพระองค์เดิม ตัวมันดาลานี้ก็พร้อมจะหดลงได้

ภาพอาณาจักรอยุธยา วาดโดยบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (ที่มา:วิกิพีเดีย)

จักรวรรดินิยมเบียดอยุธยา-สยามจากศูนย์กลางจักรวาล จุดเปลี่ยนบทบาทของประวัติศาสตร์

ในการบอกเล่าประวัติศาสตร์อยุธยามีชุดความเข้าใจสามสาย หนึ่ง สายราชสำนักซึ่งเป็นผู้ดูแลจัดการเรื่องราวต่างๆ เฉพาะของผู้ที่ครองอย เท่านั้น เป็นพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ถ้ากษัตริย์พระองค์ใดมีเหตุที่ไม่สามารถขึ้นครองอยุธยาได้ ประวัติศาสตร์ก็จะหายไป เช่น พระยารามในสมัยอยุธยาตอนต้น เราเรียกพงศาวดารนี้ว่าวงศ์อวตาร เป็นเครือวงศ์ที่สงวนไว้สำหรับผู้ที่ครองกรุงศรีอยุธยา เป็นสำคัญ เจ้าพนักงานหรืออาลักษณ์ก็จะจัดการให้มีฉบับต่างๆ เช่นฉบับพิสดารหรือฉบับสังเขป

สอง สายสงฆ์ เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ว่าด้วยกรุงศรีอยุธยา แน่นพอสมควร เราอาจจะเห็นร่องรอยเช่นพระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ในสมัยต้นรัชกาลที่ 1 หรือผู้เขียนวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติพระนเรศวรมหาราชในสมัยรัตนโกสินทร์ พระภิกษุองค์สำคัญก็จะมาเทศนาหน้าพระที่นั่งในวันสำคัญ เป็นการเล่าชีวประวัติของพระมหากษัตริย์ในพระบรมโกศหรือไม่ก็กล่าวเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์

สาม ประวัติศาสตร์บอกเล่า (Oral History) เช่นในพงศาวดารกรุงศรีฉบับวันวลิตที่ไปสัมภาษณ์พระและใครต่อใครเรื่องอภินิหารพระนเรศวรมหาราช

ทั้งสามชุดความเข้าใจเป็นตัวส่งผ่านจินตภาพจากรุ่นสู่รุ่นที่บางครั้งก็มีการชำระบ้าง จนกระทั่งเราต้องเผชิญกับการขยายอำนาจของมหาอนาจตะวันตกในคริสตวรรษที่ 19 เป็นอย่างช้า ซึ่งเปลี่ยนโลกแห่งการดำรงอยู่อย่างเป็นเอกเทศภายใต้การตัดสินใจกษัตริย์ ให้ไปโอนอ่อนและปรับตัวให้สอดคล้องกับระเบียบโลกใหม่ เช่นสมัยก่อน เวลากษัตริย์ต้นสมัยรัตนโกสินทร์จะออกราชโองการก็ไม่ได้เกรงว่าญวนหรือฝรั่งจะคิดอย่างไร แต่การขยายอำนาจของโลกตะวันตกได้เปลี่ยนเงื่อนไขนี้ไปโดยสิ้นเชิง อำนาจดังกล่าวมาพร้อมกับเงื่อนไขของการตกเป็นฝ่ายถูกยึดครอง สิ่งที่สำคัญมากกว่าการเข้ายึดครองคือ หลังถูกผนวกไปแล้วคุณจะอยู่อย่างไร

ทางออกคือการนำระเบียบจารีตเดิมให้เข้ากับระเบียบโลกใหม่ ไม่จำเป็นต้องถูกยึดครองก่อนแต่เราต้องปรับตัวให้ดำรงอยู่ได้ภายใต้ระบบอำนาจใหม่ของโลกในขณะนั้น นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาล 3-5 เป็นสำคัญ แต่เดิมอยุธยาไม่เคยได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความเป็นเอกภาพ มีเพียงความสัมพันธ์แบบการสวามิภักดิ์ การให้บรรณาการและดอกไม้เงินดอกไม้ทอง แต่ระบบโลกใหม่ทำให้เริ่มเกิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับอยุธยาในแบบที่ไม่ใช่จักรวาลพุทธ กษัตริย์ไม่ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ไม่ใช่อวตารของพระรามแล้วแม้สมัญญานามยังคงอยู่ แต่ก็เกิดคำใหม่ที่มาอธิบายตัวตนเรา เช่น เมืองสยาม สยามรัฐ สยามประเทศ บางกอกแว่นแคว้นแดนสยาม และอธิบายกษัตริย์ที่ปกครองว่า สยามินทร์ เราจะเห็นว่าตัวตนใหม่ที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เราเป็นที่ยอมรับได้ในระเบียบโลกใหม่ เป็นตัวตนใหม่บนโครงสร้างทางอำนาจใหม่ที่เน้นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางจากเดิมที่เป็นการกระจายอำนาจ เรากำลังจะเคลื่อนเข้าสู่มุมมองชุดใหม่เกี่ยวกับตัวตนของเรา ผู้ปกครองของเรา ระบบการดูแล การปกครองการจัดการของเราและความชอบธรรมทางอำนาจชุดใหม่ที่กำลังจะเกิดตามขึ้นมา

ในบรรยากาศที่เราอาจจะเรียกได้ว่าเรามีรัฐในจินตนาการ สิ่งหนึ่งซึ่งจำเป็นต้องมีในฐานะกลไกสำคัญในการสร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือการสร้างชีวประวัติของบ้านเมืองหรือประวัติศาสตร์สยาม ตรงนี้เองที่เกิดกระบวนการการสร้างประวัติศาสตร์ชุดใหม่ขึ้นมา แน่นอนว่าไม่ได้โละของเก่าไป แต่เป็นการให้ความหมายใหม่กับของที่มีอยู่เดิม นำมาปรับสถานะมันเสียใหม่ เริ่มในสมัยรัชกาลที่ 4 คือเกิดการเปลี่ยนแปลงจากประวัติศาสตร์พงศาวดารที่ต่อมาถูกเรียกว่าประวัติศาสตร์ชาติ

ในการคลี่คลายประวัติศาสตร์ชาติก็มีกลไกมากมายในการชำระและจัดระบบข้อมูลที่มีอยู่มากหลายเพื่อให้ได้ประวัติศาสตร์ชาติที่ค่อนข้างลงตัว มีหลักฐานเป็นรูปธรรมเพื่อแสดงตัวตนของรัฐในจินตนาการนี้ เช่น ในสมัยก่อนเรามีประวัติศาสตรืออกมาเป็นสามสายดังที่ว่า สายราชสำนักจะไม่เอาสายชาวบ้านเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของราชสำนัก ผู้เขียนพงศาวดารไม่ใช่ไม่รู้ แต่เลือกที่จะไม่เขียน ไปทางใครทางมัน แต่พอรัชกาลที่ 4 มีพระมอญนำปากคำของเชลยศึกจากพม่ามาเรียบเรียงและทูลเกล้าถวายฯ ก็มีเนื้อหาต่างๆเพิ่มมา เช่นพระนเรศวรชนไก่ รัชกาลที่ 4 จึงเริ่มนำมุขปาฐะมาผสมกับประวัติศาสตร์ทางการแล้วชำระออกมาเป็นประวัติศาสตร์ชาติ หน้าที่ของประวัติศาสตร์ที่แต่เดิมเป็นของปิด ใช้อ่านในพระราชพิธีหรือเฉพาะในพระบรมวงศานุวงศ์ กลายเป็นงานที่คนทั่วไปที่สามารถอ่านหนังสือได้ก็เข้าถึงได้ พงศาวดารไม่ได้เป็นประวัติศาสตร์ของผู้เป็นองค์อวตารอีกต่อไป แต่กลายเป็นตัวแทนของประวัติศาสตร์ของประชาชนที่รัฐมีเจตจำนงที่จะทำให้พวกเขามีความทรงจำเดียวกัน

เครื่องมือ แนวทางประกอบสร้าง ปวศ. ชาตินิยม กับโจทย์รอบด้านในสังคมโลกาภิวัฒน์

สารัตถะหลักที่จะทำให้เราจินตนาการความเป็นตัวตนของชะตากรรมที่มีอยู่ทั้งหมดทั้งสิ้นคือประวัติศาสตร์อยุธยาที่มีอายุอาณาจักรถึง 417 ปี ประวัติศาสตร์ยังทำหน้าที่ให้ความชอบธรรมการให้อำนาจการปกครองของผู้ครองอำนาจรัฐ เช่นสมัยรัฐบาลทหารในพม่าก็ใช้การอ้างว่าตนเองทำให้พม่าอยู่รอดมาได้ พระนเรศวรกลายมาเป็นกษัตริย์แห่งกองทัพไทยจากตอนแรกเป็นกษัตริย์แห่งกองทัพบก ถ้าคุณสร้างความกระทบกระเทือนกับสิ่งนี้ มันกระทบกระเทือนสเถียรภาพของสถาบันหลักที่หยัดยืนกับประวัติศาสตร์ชาติ ถ้าเราตั้งคำถามว่าพระนเรศวรทำยุทธหัตถีจริงหรือเปล่า ถ้าไม่แน่ใจเอาออกไปจากหนังสือเรียนก่อนไหม ถ้าทำเช่นนั้นคิดดูว่าจะมีความวุ่นวายขนาดไหน

ทว่าสังคมมันไม่ได้หยุดนิ่ง เราได้ผ่านยุคอาณานิคม ยุคของการสร้างชาติ ตัวตนใหม่และความทรงจำร่วมไปนานแล้ว เมื่อสังคมเปลี่ยนผ่าน ปัญหาของสังคมก็เริ่มมีความหลากหลาย มีข้อมูลใหม่ๆ เกิดโจทย์ใหม่ๆ ขึ้นมา ทั้งหมดประเดประดังมาที่ประวัติศาสตร์ชาติซึ่งบางครั้งก็ตอบโจทย์ได้ บางครั้งก็ตอบไม่ได้ เพราะการประกอบสร้างไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้ตอบโจทย์ทุกโจทย์ หลังกรณี 14 ต.ค. 2516 เป็นต้นมา ผมคิดว่ามันเกิดกระแสการท้าทาย แนวทางทางออกของประวัติศาสตร์อื่นๆ ตามมา เช่นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เกิดขึ้นหลัง 14 ต.ค.

สิ่งที่ตามมาอีกอย่างคือการมีส่วนร่วมในการสร้างความทรงจำ สังคมที่ผ่านการเปลี่ยนผ่านอนุญาตให้คนรับสารตั้งคำถามกับคนส่งสารให้เรา เช่นเว็บไซต์พันทิป  หรือการที่มีคนตั้งคำถามกับภาพยนตร์สุริโยไทที่หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลสร้างมากมายจนภาพยนตร์เกี่ยวกับพระนเรศวรฯ ต้องใส่คำว่าตำนานนำหน้าเพื่อสื่อว่าเป็นตำนาน ไม่ใช่ข้อเท็จจริงไปเสียทุกอย่าง มีสำนักประวัติศาสตร์อื่นๆ มากมาย เช่น มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉะนั้น ประวัติศาสตร์ชาติที่เคยมีสถานะ มีสิทธิ์และศักดิ์ในการดำรงอยู่ก็ตกอยู่ในสภาวะที่จะต้องประคับประคองไปภายใต้กระแสการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้น แต่ประวัติศาสตร์ชาติที่เราสร้างขึ้นในเงื่อนไขที่จะทำให้คนในสังคมต้องมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันคือต้องทำให้คนในสังคมมีโศกนาฏกรรมหรือบาดแผลทางประวัติศาสตร์เดียวกัน ดังนั้นแก่นหลักของประวัติศาสตร์ไทยจึงสัมพันธ์กับเรื่องเอกราช อนุเสาวรีย์ที่ถูกสร้างส่วนมากก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นเอกราช

นอกจากเรื่องเอกราชและโศกนาฏกรรมแล้ว เราก็ต้องมีศัตรูร่วม พม่า กัมพูชามักถูกนำมาใช้เป็นศัตรูร่วมทางจินตภาพ แต่ในยุคปัจจุบันที่อนาคตของอาเซียนขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนในภูมิภาค การปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มีเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านและผู้คนในภูมิภาค ประวัติศาสตร์ชาติที่เป็นแกนหลักจึงกลับกลายเป็นตัวหยุดการตอบโจทย์ปัจจุบัน ภาวะตรงนี้จึงเป็นภาวะที่ทางหนึ่งทำให้เกิดประวัติศาสตร์สำนักอื่นมากมายที่ตั้งคำถาม เสนอข้อเท็จจริงที่บางครั้งสวนทางหรือท้าทายกับประวัติศาสตร์ชาติ แต่ประวัติศาสตร์ชาติก็มีกลไกสร้างความสามัคคีและความมั่นคงแห่งรัฐในแบบหนึ่ง ในขณะที่ความมั่นคงรัฐในปัจจุบันกลับผูกกับภาวะความมั่นคงในภูมิภาค เราจึงยังหาคำตอบให้กับประวัติศาสตร์ชาติไม่ได้ว่าต่อไปจะเอาอย่างไรกันแน่ ตัวตนของประวัติศาสตร์ชาติที่ตอนนี้ค่อนข้างจะติดเพดานก็พยายามต้องดิ้นรนพอสมควรภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปนี้ เมื่อเรามีจินตภาพของอยุุธยาเป็นแก่น มันจึงน่าติดตามว่า แล้วจินตภาพของอยุธยาอันเป็นแก่นหลักของประวัติศาสตร์ชาติ กับอยุธยาในการเปลี่นยแปลงของโลกในไทยและอาเซียนปัจจุบันจะมีทางออกไปในทิศทางไหน

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กรธ. ไม่ตัด 'ป.ป.ช.จังหวัด' แต่ให้รณรงค์ป้องกันทุจริตแทน ไม่ต้องสอบสวนคดี

Posted: 18 Sep 2017 11:31 AM PDT

มีชัย ระบุไม่ได้ยุบ ป.ป.ช. ประจำจังหวัด แต่ปรับบทบาทให้ทำงานประชาสัมพันธ์เชิงรุกป้องกันการทุจริตร่วมกับภาคประชาชน ไม่ต้องทำงานด้านการสอบสวนคดีทุจริต เหตุเกรงว่าพนักงานสอบสวนอาจมีการเกื้อหนุนกับผู้ถูกสอบสวนในจังหวัด

แฟ้มภาพ

18 ก.ย. 2560 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ (18 ก.ย.60) มีชัย ฤชุพันธ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. .... ว่า กรธ. ไม่ได้ยุบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประจำจังหวัด แต่ปรับบทบาทให้ ทำงานด้านประชาสัมพันธ์เชิงรุกและขับเคลื่อนมาตรการป้องกันการทุจริตร่วมกับภาคประชาชน ไม่ต้องทำงานด้านการสอบสวนคดีทุจริต เนื่องจากเกรงว่าพนักงานสอบสวนอาจมีการเกื้อหนุนกับผู้ถูกสอบสวนในจังหวัดได้ โดยให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติงานอยู่กับ ป.ป.ช.ภาค แทน เพื่อให้มีกำลังคนเพียงพอในการพิจารณาคดีทุจริต โดย ป.ป.ช.ภาค จะเป็นศูนย์กลางในการสอบคดีทุจริต ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดว่าจะมีกี่ภาค ต้องมีการหารือต่อไป

ประธาน กรธ. ระบุด้วยว่า ภาคประชาชนสามารถมีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายแจ้งเบาะแสการทุจริตให้กับ ป.ป.ช. ได้ โดยไม่ต้องระบุชื่อ แต่จำเป็นต้องมีหลักฐานเพียงพอในการดำเนินการต่อ ขณะเดียวกันยังได้ปรับเปลี่ยนให้พนักงานสอบสวนของ ป.ป.ช. ทำหน้าที่ไต่สวนคดีทุจริตเบื้องต้น โดยไม่จำเป็นต้องมีการตั้งอนุกรรมการ จากนั้นให้ กรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาข้อเท็จจริง และกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาคดีให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี ทุกกรณี ทั้งนี้เพื่อให้การพิจารณาคดีทุจริตของ ป.ป.ช.เป็นไปด้วยความรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ กรธ. ได้พิจารณาถึงการกำหนดบทบาทการพิจารณาคดีทุจริตระหว่าง ป.ป.ช. และอัยการ ไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกัน ส่วนกรณีที่มี ป.ป.ช. และอัยการ มีความเห็นไม่ตรงกัน ยังคงให้มีการตั้งกรรมการร่วมกันเหมือนเดิม แต่หากอัยการยืนยันว่า ไม่ฟ้อง ป.ป.ช. ก็ยังสามารถดำเนินการฟ้องเองได้ อย่างไรก็ตาม ทั้ง ป.ป.ช. และ อัยการ ต่างเป็นองค์กรอิสระ ดังนั้น กรธ. จึงเขียนกฎหมายให้มีกลไกปรึกษาหารือกันด้วยเหตุผล แต่หากอัยการ เห็นว่า คดีดังกล่าวยังขาดรายละเอียดข้อเท็จจริง ก็สามารถขอให้ ป.ป.ช. ดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมได้

ต่อกรณีที่หาก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดแล้ว แต่ผู้ถูกฟ้องไปร้องศาลปกครอง แล้วมีคำวินิจฉัยขัดแย้งกันนั้น มีชัย กล่าวว่า กระบวนการดังกล่าวทำให้ ป.ป.ช. ต้องทำสำนวนให้แข็งแรงขึ้น เพราะศาลก็สามารถพิจารณาคดีโดยอิสระ ดังนั้น กรธ. จึงบัญญัติให้ ป.ป.ช.เข้าไปเป็นคู่กรณีในการต่อสู้คดีด้วย เพื่อให้มีกลไกในการทำงานให้เกิดความรอบคอบ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากร่างกฎหมายลูกว่าด้วย ป.ป.ช. มี เนื้อหาสาระค่อนข้างยาก จำเป็นต้องคำนึงถึงเป้าหมายในการปราบการทุจริต แต่ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถให้อำนาจมากเกินไปได้ จึงต้องมีการทบทวนอย่างรอบคอบ

ที่มา : เว็บไซต์วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา และสำนักข่าวไทย

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

‘เครือข่ายผู้บริโภค’ จี้ รมว.เกษตรฯ เร่งสั่งเพิกถอน ‘2 เคมีอันตราย’

Posted: 18 Sep 2017 11:14 AM PDT

เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ยื่นหนังสือต่อ รมว.เกษตรฯ เร่งให้มีคำสั่งด่วน ยกเลิกเพิกถอนและประกาศไม่ต่อทะเบียนสารเคมีอันตราย พาราควอต และคลอร์ไพริฟอส รวมถึงจำกัดการใช้สารไกลโฟเซต หากชักช้าหวั่นสารพิษตกค้างในพืชผัก-สิ่งแวดล้อม ทำผู้บริโภคสุขภาพทรุด
 
18 ก.ย. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (18 ก.ย.60) เวลา 10.00 น. ที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค นำโดย คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน (คอบช.) สมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค (สสอบ.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) และภาคีเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ร่วมกันเข้ายื่นหนังสือต่อ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอให้มีคำสั่งให้กรมวิชาการเกษตรยกเลิกและจำกัดการใช้สารพิษที่มีความเสี่ยงสูง
 
บุญยืน ศิริธรรม ประธานสมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า ตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ครั้งที่ 4/2560 เมื่อวันที่ 5 เม.ย.60 ที่มี นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานนั้น ได้มีมติให้ยกเลิกการใช้ พาราควอต และ คลอร์ไพริฟอส รวมถึงจำกัดการใช้ สารไกลโฟเซต อย่างชัดเจน การที่อธิบดีกรมวิชาการเกษตรออกมาแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 13 ก.ย.ที่ผ่านมา ว่าจะไม่ดำเนินการตามมติดังกล่าวในข้อแรก โดยอ้างว่ากระทรวงเกษตรฯ ขาดความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพอนามัย โดยจะส่งเรื่องให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาต่อ ซึ่งก็คาดว่ากระทรวงอุตสาหกรรมเองก็คงไม่ได้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพเช่นกัน อาจเป็นการกระทำที่ละเลยการคุ้มครองผู้บริโภค
 
 "มติที่ประชุมดังกล่าว เมื่อวันที่ 5 เม.ย.60 นั้นมี รมว.สาธารณสุขเป็นประธาน และกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ ก็มีส่วนร่วมในการพิจารณากับคณะกรรมการชุดนี้มาโดยตลอด จึงไม่มีเหตุอันสมควรให้ต้องนำไปพิจารณาต่อให้การเพิกถอนสารเคมีอันตรายดังกล่าวล่าช้าออกไปอีก ทำให้ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนผู้บริโภคในวงกว้าง" บุญยืนกล่าว
 
มลฤดี โพธิ์อินทร์ นักวิชาการด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ คอบช. กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ได้ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งประกอบไปด้วย 4 กระทรวงหลัก ได้แก่ กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงทรัพยากรฯ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข ขึ้นมาพิจารณาผลกระทบ และมีมติให้ยกเลิก พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส รวมถึงจำกัดการใช้สารไกลโฟเซตนั้น เนื่องจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ซึ่งมีงานวิชาการรองรับชัดเจน
 
"ปัจจุบันประเทศในทวีปเอเชีย ที่ประกาศห้ามใช้พาราควอต เช่น จีน เกาหลีใต้ เวียดนาม ลาว กัมพูชา แม้แต่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ที่เป็นที่ตั้งของบริษัทผู้ผลิตยังประกาศห้ามใช้ ทำให้พาราควอตเข้าเงื่อนไขการพิจารณาเพิกถอนทะเบียนของกรมวิชาการเกษตรที่ว่า หากประเทศผู้ผลิตต้นทางและประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนของไทยมีการยกเลิกหรือประกาศห้ามใช้ คณะกรรมการก็ควรพิจารณายกเลิกการใช้เช่นเดียวกัน คือ One Ban All Ban Policy " นักวิชาการด้านอาหารฯ กล่าว
 
พชร แกล้วกล้า ผู้ช่วยเลขาธิการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวด้วยว่า สารพาราควอตนั้นเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชที่มีพิษเฉียบพลันสูง ไม่มียาถอนพิษ เป็นสาเหตุของโรคพาร์กินสัน ระบบประสาท โดยสามารถซึมเข้าสู่ผิวหนังของเกษตรกรได้ ซึ่ง 48 ประเทศทั่วโลกได้แบนไม่ให้มีการใช้พาราควอตในทางการเกษตรแล้ว สำหรับคลอร์ไพริฟอสนั้นเป็นยาฆ่าแมลง ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของสมองเด็กทารกอย่างถาวร ส่วนสารไกลโฟเซตนั้น เป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชที่องค์การอนามัยโลกประกาศให้เป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
 
"กรมวิชาการเกษตรสามารถใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตรายฯ มาตรา 27, 28 และ 29 พิจารณาไม่ต่ออายุใบอนุญาตพาราควอตและคลอร์ไพริฟอสได้ เช่นเดียวกับที่ดำเนินการในกรณีไม่ให้ใบอนุญาตสารเมโทมิล และคาร์โบฟูรานที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปตามนโยบายลดการใช้สารเคมีปีละ 5% ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ อีกด้วย" พชร กล่าว
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

พ่อ 'ไผ่ ดาวดิน' เผยไม่อุทธรณ์คดี 112 ของลูกชาย เหตุเชื่อว่าจะไม่มีประโยชน์

Posted: 18 Sep 2017 10:45 AM PDT

เดอะอีสานเรคคอร์ด รายงาน พ่อ 'ไผ่ ดาวดิน' เผยไม่ยื่นอุทธรณ์คดีลูกชาย หลังศาลชั้นต้นตัดสินจำคุก 2 ปี 6 เดือน ฐานผิด ม.112 และ พ.ร.บ.คอมฯ เพราะเชื่อว่าจะไม่มีประโยชน์ต่อผลคดี

แฟ้มภาพ ประชาไท

18 ก.ย. 2560 ความคืบหน้าคดีของ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน หลังจากเมื่อวันที่ 15 ส.ค. ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำพิพากษาว่า เขา มีความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จากการแบ่งปันรายงานข่าวของสำนักข่าวบีบีซีไทยเรื่อง "พระราชประวัติกษัตริย์พระองค์ใหม่ของไทย" บนหน้าเฟซบุ๊กของตน โดยศาลตัดสินให้จำคุก 5 ปี แต่เนื่องจากรับสารภาพ จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือ 2 ปี 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา โดยให้นับโทษจากวันที่ เขาถูกเพิกถอนประกันตัวเมื่อวันที่ 22 ธ.ค.59 และถูกคุมขังมาอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้รับสิทธิการปล่อยตัวชั่วคราวแม้จะมีการยื่นประกันตัวถึง 10 ครั้ง นั้น

ล่าสุดวันนี้ (18 ก.ย.60) เดอะอีสานเรคคอร์ด รายงานว่า วิบูลย์ บุญภัทรรักษา บิดาจตุภัทร์ เปิดเผยกับเดอะอีสานเรคคอร์ด ว่า ครอบครัว ทนายความ และลูกชาย ตัดสินใจไม่ยื่นอุทธรณ์คดีเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ด้วยเหตุผล 2 ข้อ คือ การยื่นอุทธรณ์ครั้งนี้ไม่มีประโยชน์ เพราะศาลชั้นต้นตัดสินแล้วว่าไผ่ทำผิด ตนจึงเดาว่าศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาคงตัดสินว่าไผ่กระทำผิดด้วยเช่นกัน อีกข้อคือถ้าหากยื่นอุทธรณ์ก็หมายถึงว่าคดียังไม่ถึงที่สุด โดยในระหว่างการดำเนินคดีลูกชายก็คงไม่ได้รับการประกันตัวเหมือนเดิม

"ถ้าผมมีทางเลือกและศาลอุทธรณ์ยึดมั่นในความยุติธรรม ปราศจากอคติและพิจารณาคดีตามหลักฐานและเหตุผล ผมก็ไม่อยากให้คดีของลูกชายถึงที่สุดเพียงแค่ศาลชั้นต้น แต่ช่องทางที่จะไปในขั้นตอนต่อไปนั้นมันไม่มี ก็คงไม่มีประโยชน์ที่จะทำ" วิบูลย์ กล่าว พร้อมกล่าวด้วยว่าลูกชายของตนก็คิดเหมือนกัน เพราะที่ผ่านมาลูกชายได้พบเห็นและสัมผัสถึงกระบวนการยุติธรรมด้วยตัวเอง จึงยืนยันว่าไม่ขอยื่นอุทธรณ์

ส่วนการใช้สิทธิยื่นเรื่องทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น วิบูลย์ กล่าวว่า การขออภัยโทษก็เป็นสิทธิของจำเลยเพราะไม่มีช่องทางอื่นในการช่วยเหลือลูกชาย ส่วนจะได้รับการอภัยโทษหรือไม่นั้นตนไม่ทราบ แต่ถ้าคดีไม่ถึงที่สุดก็ขออภัยโทษไม่ได้  และอาจทำให้ลูกชายถูกจำคุกนานขึ้น

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศาลเลื่อนฟังพิพากษาคดีฉีกบัตรประชามติ เป็น 26 ก.ย.นี้

Posted: 18 Sep 2017 09:59 AM PDT

ภาพ โตโต้ ปิยรัฐ ฉีกบัตรลงประชามติ เมื่อวันที่ 7 ส.ค.59

18 ก.ย. 2560 วานนี้ (17 ก.ย.60) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า จำเลยคดีฉีกบัตรประชามติได้รับหมายศาลจังหวัดพระโขนง แจ้งเลื่อนวันนัดฟังคำพิพากษาจากเดิมวันที่ 19 ก.ย.60 เป็น 9 โมงเช้าของวันที่ 26 ก.ย.60 แทน แต่ในหมายไม่ได้ระบุสาเหตุที่เลื่อนนัดเอาไว้

ทั้งนี้คดีดังกล่าวนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 7 ส.ค.59 ปิยรัฐ จงเทพ หรือ "โตโต้" จำเลยที่ 1 ได้แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เนื่องจากเห็นว่าการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นโดยไม่เป็นธรรม จึงได้ทำการฉีกบัตรลงคะแนนเสียงประชามติ พร้อมกับตะโกนว่า "เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ" ภายในหน่วยลงคะแนนเสียงในสำนักงานเขตบางนา ทำให้เขาถูกจับกุมดำเนินคดี ใน 4 ข้อหา ได้แก่ ข้อหาทำลายบัตรออกเสียง และก่อความวุ่นวายในหน่วยลงคะแแนน ตามพ.ร.บ.ประชามติ, ข้อหาทำลายเอกสารราชการ และข้อหาทำให้ทรัพย์สินสาธารณะเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา ขณะที่ จิรวัฒน์ เอกอัครนุวัฒน์ จำเลยที่ 2 และ ทรงธรรมแก้ว พันธุ์พฤกษ์ จำเลยที่3 ซึ่งได้ติดตามถ่ายวีดีโอขณะที่ปิยรัฐทำการฉีกบัตร ก็ได้ถูกกล่าวหาดำเนินคดีในข้อหาก่อความวุ่นวายในหน่วยลงคะแนนด้วย 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทำไมคนเกาหลีใต้รายได้ดีถึงชอบอยู่อพาร์ทเมนต์มากกว่าบ้านเดี่ยวชานเมือง

Posted: 18 Sep 2017 08:24 AM PDT

ขณะที่ผู้มีฐานะดีในหลายประเทศมีความฝันอยากมีบ้านที่แถบชานเมืองห่างไกลความวุ่นวายของเมืองใหญ่ แต่ในเกาหลีใต้มีงานศึกษาวิจัยเมืองค้นพบว่าชาวเกาหลีใต้มีความฝันต่างออกไป คืออยากเข้าไปอยู่อาศัยในตัวเมืองใหญ่ๆ มากขึ้น

สี่แยกมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล ด้านหลังคือย่านที่อยู่อาศัย ที่มาภาพจากWikipedia

18 ก.ย. 2560 เรื่องนี้มาจากการค้นคว้าวิจัยของจุนเมียงจิน ศาตราจารย์ด้านการวิจัยเมืองของมหาวิทยาลัยจุงอังในกรุงโซล เขาเคยศึกษาในมหาวิทยาลัยเซาธ์เทิร์นแคลิฟอร์เนีย รัฐลอสแองเจลิส ที่ทำให้เขามองเห็นสภาพเมืองที่แออัดในย่านนั้นของสหรัฐฯ ยุค 2531-2536 และในเกาหลีใต้สมัยนั้นเองที่ยังไม่ไม่ได้เป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ก็มีสภาพผู้คนแออัดในกรุงโซลเช่นกัน เขาเคยทำนายไว้ว่าถ้าหากชาวเกาหลีใต้มีรายได้มากขึ้นพวกเขาจะเริ่มออกจากพื้นที่แออัดไปสู่นอกเมือง ทำให้มูลค่าที่ดินย่านชานเมืองสูงขึ้น

สิ่งที่จุงเมียงจินทำนายไว้เป็นความจริงกับกรณีสหรัฐฯ แคนาดา ญี่ปุ่น และที่อื่นๆ หลายที่ในโลก แต่ไม่ใช่กับเกาหลีใต้ "การคาดการณ์ของผมผิดโดยสิ้นเชิง" จุนเมียงจินกล่าว ขณะที่อพาร์ทเมนต์ที่เชาซื่อไว้ในชานเมืองโอซานราคาไม่ได้ขึ้นมาก แต่เพื่อนของเขาที่มีอพาร์ทเมนต์ในกรุงโซลมีราคาสูงขึ้นมากจนกลายเป็นคนร่ำรวย

ในเกาหลีใต้กรุงโซลเป็นเมืองใหญ่ที่มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวง ไม่ว่าจะเป็นแหล่งทำการของประธานาธิบดี มีวิทยาลัยชื่อดัง มีสถานทำการของบริษัทใหญ่ๆ เกือบทั้งหมด เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมวัฒนธรรมป็อบ เป็นแหล่งศิลปะ แฟชั่น และอาหาร มีประชากรอาศัยอยู่ 1 ใน 5 ของประเทศ อย่างไรก็ตามกรุงโซลก็ไม่ใช่สถานที่ที่มีคุณภาพชีวิตดีนัก มีสวนสาธารณะอยู่น้อย อาคารดูทึมเทา มีมลภาวะทางอากาศมากจนทำให้ต้องสวมหน้ากากกันมลภาวะ การจะเช่าอพาร์ทเมนต์มอซอในกรุงโซลต้องวางเงินประกันไว้ถึง 5,000,000 วอน (ราว 145,000 บาท) แต่ความฝันของชาวเกาหลีใต้ก็ยังเป็นการเข้าไปอยู่ในกรุงโซลอยู่ดี เพราะอะไร?

รายงานในเว็บไซต์ซิตีแล็บสัมภาษณ์คนบางส่วนที่อาศัยอยู่ในซองนาซึ่งเป็นเมืองเล็กกว่า มีค่าที่อยู่อาศัยถูกกว่า ในแง่การเดินทางชองนาใช้เวลามากกว่าในการเข้าถึงใจกลางเมืองเมื่อเทียบกับโซลจากการเดินทางโดยรถไฟฟ้าใต้ดินและรถประจำทาง คนที่อาศัยในเมืองนี้พูดคุยกับซิติแล็บบอกว่าเธอรู้สึกว่าเมืองชองนา "มันก็โอเคนะ"

ซิตีแล็บระบุว่าเมืองชองนาดูสบายตามากกว่า มีพื้นที่สีเขียวมากกว่าและมีแม่น้ำ กระทรวงการคลังของเกาหลีใต้เคยอนุมัติเมื่อปี 2549 ให้เมืองชองนาเป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนต่างชาติ และนักท่องเที่ยวเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนที่พักอาศัยในกรุงโซลด้วย แต่ทว่าหลังจากผ่านไปแล้ว 11 ปีก็ยังไม่มีการดำเนินการอะไรจริงจังปล่อยให้ชองนาเป็นเมืองร้าง มีแต่ธุรกิจเฉพาะเล็กน้อยกับธุรกิจเครือเกาหลีใต้ทั่วไป ขาดความน่าตื่นตาตื่นใจในแบบกรุงโซล

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือชาวเกาหลีใต้มักจะชอบอยู่ในอพาร์ทเมนต์มากกว่าบ้าน จากบริการข้อมูลทางสถิติของเกาหลีใต้ระบุว่าในเมืองใหญ่ๆ อย่างโซลและเมืองใกล้เคียงอย่างจังหวัดกยองกีโดก็มีคนอาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนต์ถึงร้อยละ 85 โดยรวมทั้งประเทศแล้วมีราวร้อยละ 60 ที่อาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนต์ และมีเพียงร้อยละ 16 เท่านั้นที่อาศัยอยู่ใน "ที่พักอาศัยแบบเดี่ยวๆ ทั่วไป" และในกรุงโซลก็มีคนอาศัยในบ้านเดี่ยวแค่ร้อยละ 3 เท่านั้น

จุนเมียงจินอธิบายว่าที่ชาวเกาหลีชอบอยู่อพาร์ทเมนต์มากกว่ามาจากสาเหตุเรื่องความปลอดภัยและบริการต่างๆ อย่างคนเปิดประตู คนทำความสะอาด และความสามารถเข้าถึงขนส่งสาธารณะได้ง่าย อาคารส่วนใหญ่สร้างใหม่ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ไม่ต้องกังวลเรื่องของเสีย หากถ้ามีอะไรเสียก็ติดต่อผู้จัดการอาคารให้มาจัดการได้

ในทางตรงกันข้ามการอาศัยอยู่ในบ้านเดี่ยวสำหรับชาวเกาหลีใต้แล้วมีความเกี่ยวข้องกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ไม่ค่อยดีนัก พวกบ้านเดี่ยวเหล่านี้สร้างมาตั้งแต่ช่วงยุคเศรษฐกิจเฟื่องเมื่อราวทศวรรษ 1960s-1990s ซึ่งบ้านที่สร้างในช่วงนั้นยังจะไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกสมัยใหม่อย่างเครื่องทำน้ำอุ่นหรือครัวสมัยใหม่ เทียบกับอพาร์ทเมนต์ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้แล้ว ในการสำรวจปี 2552 มีชาวเกาหลีใต้เพียงร้อยละ 5.9 เท่านั้นที่อยากอยู่ในบ้านแถบชานเมือง เกือบ 3 ใน 4 อยากอยู่ใน "อพาร์ทเมนต์สูง"

จุนเมียงจินเปิดเผยว่าอีกหนึ่งสาเหตุที่ผู้คนแออัดกันในเมืองหลวงเป็นเพราะเรื่องการขนส่งมวลชนจากจังหวัดรอบนอกเข้ากรุงโซลไม่สะดวก คนที่อาศัยแถบจังหวัดรอบนอกแต่ต้องเดินทางไปทำงานในกรุงโซลใช้เวลาเดินทางนาน 2.5 ชั่วโมง และจ่ายค่าเดินทางมากกว่าคนอื่นๆ จุนเมียงจินเคยเขียนเรียกร้องให้รัฐบาลเล็งเห็นปัญหานี้มาก่อน

ทั้งนี้เกาหลีใต้เองยังเป็นประเทศที่พื้นที่น้อยเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรแบบเดียวกับฮ่องกงและสิงคโปร์ การทำให้เป็นเมืองอย่างสุดโต่งของเกาหลีใต้เป็นเรื่องดีสำหรับความยั่งยืน อพาร์ทเมนต์เองก็เป็นทางเลือกที่อยู่อาศัยที่ดีสำหรับจำนวนประชากรเช่นนี้ด้วย แต่ทว่าเกาหลีใต้ก็มีปัญหาตรงที่ปล่อยให้ความเจริญกระจุกตัวอยู่แต่ในเมืองหลวงมากเกินไป ในเรื่องที่อยู่อาศัย การจ้างงาน โอกาสทางการศึกษานั้น คนต่างเมืองนอกกรุงโซลราวกับอยู่คนละประเทศ คนในกรุงโซลได้รับโอกาสที่ดีกว่าทั้งการงานและการศึกษา แม้กระทั่งคำในภาษาเกาหลีก็แสดงให้เห็นความสูงต่ำอย่างชัดเจน อย่างคำว่าไปที่กรุงโซลจะใช้คำความหมายเดียวคำว่า "ไปข้างบน" ออกจากกรุงโซลใช้คำว่า "ลงข้างล่าง"

 

เรียบเรียงจาก

Why Koreans Shun the Suburbs, City Lab, 14-09-2017

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

กสม.ขอ ประยุทธ์ ทบทวนคำสั่ง หัวหน้า คสช. ปมเปิดช่องใช้ประโยชน์อื่นในที่ดิน ส.ป.ก.

Posted: 18 Sep 2017 07:38 AM PDT

ประธาน กสม. ส่งหนังสือให้ พล.อ.ประยุทธ์ เสนอทบทวนคำสั่ง 'หัวหน้า คสช. ที่ 31/2560' เพื่อรักษาเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของเกษตรกรในที่ดิน ส.ป.ก.

แฟ้มภาพ

18 ก.ย. 2560 รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แจ้งว่า วันนี้ (18 ก.ย.60) วัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เปิดเผยว่า ได้ลงนามในหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อแจ้งมติที่ประชุม กสม. ด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครอง เรื่องข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย ตามนัยมาตรา 257 (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 เพื่อเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทบทวนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 31/2560 เรื่องการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรและประโยชน์สาธารณะของประเทศ ลงวันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา

วัส กล่าวว่า สาระสำคัญของคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 31/2560 กำหนดให้สามารถนำที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินไปใช้เพื่อประโยชน์ในกิจการอื่น นอกเหนือจากการทำเกษตรกรรมหรือกิจการที่ต่อเนื่องหรือเกี่ยวข้องได้ โดยเฉพาะข้อ 8 ระบุให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินฯ ให้พิจารณาอนุญาตให้สำรวจหรือใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การให้ใช้ที่ดินเพื่อดำเนินกิจการด้านพลังงาน และดำเนินกิจการอื่นอันเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรและประโยชน์สาธารณะของประเทศด้วยนั้น

"ที่ประชุม กสม. เห็นว่าการแก้ไขหรือปรับปรุงพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 เพื่อรองรับกิจการอื่นที่มิใช่เกษตรกรรม จะทำให้เจตนารมณ์ของกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป กรณีรัฐต้องการใช้พื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อจัดทำกิจการอื่นอันเป็นประโยชน์สำคัญของชาติโดยส่วนรวมสามารถออกเป็นพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนที่ดินบริเวณนั้นออกจากการเป็นเขตปฏิรูปที่ดินได้" ประธาน กสม. ระบุ

วัส กล่าวอีกว่า ที่ประชุมจึงมีข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีให้เสนอหัวหน้า คสช. ให้พิจารณาทบทวนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 31/2560  ให้สอดคล้องต่อหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 26 วรรคหนึ่ง และความมุ่งหมายของมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ด้วย

ประธาน กสม. กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีควรกำหนดหลักเกณฑ์การชดเชยเยียวยาและคุ้มครองสิทธิของเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบอย่างรอบด้านภายใต้กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนการออกกฎกระทรวง และระเบียบเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ดังกล่าวต้องดำเนินการตามมาตรา 57, 58 และ 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 เพื่อเป็นหลักประกันว่าสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ และพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี จะได้รับการคุ้มครองจากการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้หัวหน้า คสช. ขยายระยะเวลาในการออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 31/2560 ออกไปก่อน

                                                                                        

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ภาษีที่ดิน กับการสร้างวินัยการใช้เงินขององค์กรปกครองท้องถิ่น

Posted: 18 Sep 2017 07:10 AM PDT




เมื่อรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศจะเสนอร่างกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง นักเศรษฐศาสตร์และนักรัฐศาสตร์ส่วนใหญ่ต่างชื่นชมในความกล้าหาญทางการเมืองของพลเอกประยุทธ์  เพราะเราทราบดีว่ารัฐสภาไทยจะไม่กล้าตรากฎหมายเก็บภาษีที่ดินจากคนรวย

ภาษีที่ดินเป็นแหล่งรายได้สำคัญที่ช่วยให้ท้องถิ่นมีรายได้ของตนสำหรับใช้พัฒนาท้องถิ่นตามความต้องการของประชาชนและชุมชนในพื้นที่ ทำให้ท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองและมีอิสระทางการเงินในระดับหนึ่ง ภาษีที่ดินช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินเพราะภาษีที่ดินสามารถลดการเก็งกำไรจากการถือครองที่ดินทิ้งไว้เฉยๆ โดยไม่ทำประโยชน์ได้ ยิ่งกว่านั้นภาษีที่ดินยังเป็นเครื่องมือการคลังสำคัญที่จะบังคับให้นักการเมืองท้องถิ่น ต้องมีวินัยการใช้เงินและความรับผิด (accountable) ต่อประชาชนผู้เสียภาษี เพราะถ้าขืนถลุงเงิน เช่น เดินทางไปดูงานต่างประเทศ หรือดูงานในประเทศแฝงการเที่ยวโสเภณีเด็ก ก็จะไม่ได้รับเลือกตั้งอีก

แต่น่าเสียดายว่ารัฐบาลกลับใจอ่อน ยอมผ่อนตามกระแสการวิ่งเต้นของคนชั้นกลางบางกลุ่ม โดยเฉพาะนักธุรกิจ ข้าราชการ และคนในเครื่องแบบบางกลุ่มที่ใกล้ชิดกับรัฐบาล มาตรา 43 ในร่างกฎหมายฯจึงกำหนดให้ยกเว้นไม่จัดเก็บภาษีจากผู้ที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยส่วนที่มีมูลค่าไม่เกินห้าสิบล้านบาท

ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (หรือ อปท. ไม่ว่าจะเป็นเทศบาล อบต. กทม. เมืองพัทยา หรือ อปท.อื่น ยกเว้นองค์การบริหารส่วนจังหวัด) มีพันธกิจหรืออำนาจหน้าที่จัดบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นถึง 31 กิจกรรมสำคัญๆ เช่น การบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ บริการด้านสาธารณูปโภค/สาธารณูปการ  การจัดการศึกษาและฝึกอาชีพ สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว สาธารณสุข บำรุงศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและประชาธิปไตย ฯลฯ

แต่ อปท. กลับไม่มีรายได้เพียงพอที่จะให้บริการแก่ประชาชน จึงต้องพึ่งงบประมาณจากรัฐบาลกลางเป็นหลัก ในปี 2559 อปท. มีรายได้ของตนเอง เพียง 70,000 ล้านบาท หรือ 10.7 % ของรายได้ทั้งหมดของท้องถิ่น

การยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาทจะทำให้รายได้ส่วนนี้ของ อปท. ส่วนใหญ่ ลดฮวบลง โดยเฉพาะ อปท.เกือบทั้งหมดในชนบทจะไม่มีรายได้ภาษีจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเลย ทำให้ไม่มีงบที่จะใช้ในการจัดบริการสาธารณะ สาเหตุเพราะนอกจากเกษตรกรส่วนใหญ่จะมีที่ดินเกษตรถือครองเฉลี่ยเพียง 20 ไร่แล้ว ราคาประเมินยังค่อนข้างต่ำ ตัวอย่างเช่น ในอำเภอเมืองนครปฐม ที่ดินเกษตรมีราคาประเมินพียงไร่ละ 8 แสน – 2 ล้านบาท ถ้าราคาประเมินเท่ากับ 1 ล้านบาทต่อไร่ ครัวเรือนเกษตรที่จะเสียภาษีที่ดิน ต้องมีที่ดินไม่ต่ำกว่า 50-62 ไร่ซึ่งมีจำนวนน้อยมากในชนบท ยกเว้นคนที่มีธุรกิจบ่อดินที่จะมีที่ดินจำนวนนับ 100 ไร่ หรือโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น อปท. ที่จะมีรายได้เพียงพอหรือเพิ่มขึ้นต้องเป็นเขตเทศบาล กรุงเทพมหานคร หรือพัทยาเท่านั้น

น่าเสียดายว่ามหาดไทยไม่มีสถิติจำนวนบุคคลที่มีที่ดินและบ้านมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท แต่การประมาณการจากสถิติของสำนักงานสถิติฯพบว่า ครัวเรือนทั่วประเทศที่มีที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 50 ล้านบาท มีเพียง 15,700 ครัวเรือน(จาก 21.3 ล้านครัวเรือน) และครัวเรือนที่บ้านมีมูลค่าสูงกว่า 50 ล้านบาท มีเพียง 5,000 ครัวเรือน นั่นหมายความว่าครัวเรือนกว่า 99 % ไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉะนั้นกฎหมายภาษีที่ดินฯฉบับนี้ก็แทบไม่มีประโยชน์

ครัวเรือนทั่วประเทศที่มีที่ดินมูลค่าตั้งแต่ 50 ล้านบาท มีเพียง 15,700 ครัวเรือน(จาก 21.3 ล้านครัวเรือน) และครัวเรือนที่บ้านมีมูลค่าสูงกว่า 50 ล้านบาท มีเพียง 5,000 ครัวเรือน นั่นหมายความว่าครัวเรือนกว่า 99 % ไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉะนั้นกฎหมายภาษีที่ดินฯฉบับนี้ก็แทบไม่มีประโยชน์ 

เมื่อไม่มีรายได้จากภาษีที่ดิน อปท. ก็ต้องพึ่งเงินที่รัฐบาลแบ่งให้กับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลมากขึ้น ในปี 2558 งบประมาณ 2 ก้อนนี้รวมกันเท่ากับร้อยละ 50.6 ของรายได้ท้องถิ่น การพึ่งเงินจากรัฐบาลส่วนกลางมากขึ้นจะก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อการพัฒนาท้องถิ่นหลายประการ

ประการแรก อปท. ส่วนใหญ่คงต้องตัดทอนการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในท้องถิ่น ยกเว้นว่ารัฐบาลกลางจะแบ่งเงินรายได้จำนวนมากขึ้นให้แก่ อปท.  แต่การพึ่งงบประมาณจากรัฐบาลกลางมากขึ้น นอกจากจะทำให้ อปท. ไม่อาจกำหนดทิศทางการพัฒนาของตนแล้ว โครงการพัฒนาต่างๆยังต้องขึ้นกับข้าราชการในส่วนกลางและนักการเมืองระดับชาติ ซึ่งมิได้เข้าใจความต้องการของประชาชนในแต่ละท้องถิ่น ยิ่งกว่านั้นการพึ่งงบอุดหนุนจากรัฐบาลกลางยังก่อให้เกิดปัญหาทุจริต "เงินทอน" จากนักการเมืองระดับชาติ พูดง่ายๆ คือ นักการเมืองท้องถิ่นที่ต้องการเงินมาพัฒนาพื้นที่ของตนต้องยอมอยู่ในอุปถัมภ์ของพรรครัฐบาล ประชาธิปไตยไทยก็จะยังคงอยู่ในวังวนของการเมืองอุปถัมภ์ โดยหัวหน้าพรรคการเมืองไม่กี่คน

ประการที่สอง การยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งก่อสร้างมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะทำลายแรงจูงใจของ อปท. ในการหารายได้มาใช้พัฒนาท้องถิ่น แม้ว่า อปท. ยังจัดเก็บภาษีได้น้อย แต่สถิติรายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง บ่งบอกว่า อปท. มีความพยายามจัดเก็บภาษีมากกว่าที่ อปท. ได้รับจากรัฐบาลกลาง ระหว่างปี 2545-2559 รายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเองเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 10% ขณะที่รายได้ที่รัฐบาลแบ่งให้ท้องถิ่นและเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางเพิ่มชึ้นเพียงปีละ 7.6%

ร่างกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (มาตรา 28) เปิดโอกาสให้ อปท. สามารถกำหนดอัตราภาษีที่แตกต่างจากอัตราตามพระราชกฤษฎีกาได้ แต่ต้องไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด และมาตรา 44 รัฐบาลสามารถตราพระกฤษฎีกา ลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภทเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความจำเป็นทางเศรษฐกิจ หรือสังคมหรือ เหตุการณ์หรือกิจการ หรือสภาพแห่งท้องถิ่นได้

อำนาจดังกล่าวย่อมทำให้ อปท. มีแรงจูงใจที่จะกำหนดอัตราภาษีที่เงินและสิ่งก่อสร้างที่สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจสังคม และความจำเป็นของการใช้เงินในการพัฒนาท้องถิ่น บาง อปท.อาจกำหนดอัตราภาษีให้ต่ำหน่อย บาง อปท.ที่มีความจำเป็นก็อาจกำหนดอัตราภาษีสูงขึ้น แต่ถ้าหากมีการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีคุณค่าต่ำกว่า 50 ล้านบาท จำนวนผู้อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีจะมีจำนวนไม่กี่คน ดังนั้นอำนาจตามมาตรดังกล่าวจึงไม่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินนโยบายการคลังและการพัฒนาท้องถิ่นของ อปท. ยกเว้นว่า อปท. จะมีความจำเป็นต้องหารายได้เพิ่มและกล้าขึ้นภาษีที่เก็บจากคนรวยไม่กี่คนใน อปท. ที่มีฐานภาษีเกิน 50 ล้านบาท

ผลเสียหายสำคัญประการสุดท้าย คือ การยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จะทำลายบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น และการส่งเสริมประชาธิปไตยตามกฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2542 (มาตรา 16)

หากประชาชนทุกคนที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ว่าจะมีมูลค่าเท่าไรก็ตาม มีส่วนเสียภาษีให้แก่ อปท. สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ ประชาชนในท้องถิ่นจะมีแรงจูงใจคอยเฝ้าติดตามว่าผู้บริหารท้องถิ่นเอาเงินภาษีของตนไปใช้ประโยชน์สำหรับคนในท้องถิ่นส่วนใหญ่ หรือใช้ประโยชน์ส่วนตัวและพรรคพวก ผลที่ตามมา คือ ผู้บริหารท้องถิ่นที่นำเงินภาษีไปใช้ส่วนตัว หรือใช้ในโครงการที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อส่วนร่วมก็จะไม่ได้รับเลือกตั้ง บรรดานักการเมืองท้องถิ่นจะต้องเริ่มคิดโครงการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ส่วนร่วมต่อท้องถิ่น

เมื่อประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนติดตามการใช้จ่ายของนักการเมือง อย่างใกล้ชิดเพื่อรักษาผลประโยชน์จากภาษีที่ตนเสีย ในการเลือกตั้งระดับชาติ ประชาชนก็จะเรียนรู้ว่านโยบายหาเสียงของพรรคการเมือง นโยบายใดเป็นนโยบายที่ดี คุ้มกับเงินภาษีของตน นโยบายใดเป็นประชานิยมที่จะก่อความเสียหายต่อส่วนรวม

ภาษีที่ดิน จึงเป็นภาษีที่ฝึกให้คนไทยคอยสอดส่องการใช้เงินของนักการเมืองอย่างใกล้ชิด เป็นภาษีที่ป้องกันมิให้นักการเมืองใช้นโยบายประชานิยมแบบขาดความรับผิดชอบทางการคลังมาหาเสียง เป็นเครื่องมือสร้างวินัยการเงินการคลังให้กับพรรครัฐบาล ดีกว่าการตรากฎหมายห้ามพรรคการเมืองใช้นโยบายประชานิยมหาเสียง

ภาษีที่ดิน จึงเป็นภาษีที่ฝึกให้คนไทยคอยสอดส่องการใช้เงินของนักการเมืองอย่างใกล้ชิด เป็นภาษีที่ป้องกันมิให้นักการเมืองใช้นโยบายประชานิยมแบบขาดความรับผิดชอบทางการคลังมาหาเสียง เป็นเครื่องมือสร้างวินัยการเงินการคลังให้กับพรรครัฐบาล ดีกว่าการตรากฎหมายห้ามพรรคการเมืองใช้นโยบายประชานิยมหาเสียง

คำถามสุดท้าย คือ ใครควรเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผมขอเสนอให้สมาชิกของ สนช. ใช้แนวคิดเรื่อง ทุกคนที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต้องเสียภาษี "เสียน้อย หรือเสียมาก ก็ต้องเสียภาษี" เพราะคนที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต้องใช้บริการสาธาณูโภค/สาธารณูปการ ถนนหนทาง บริการเก็บขยะ ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่ต้องใช้เงินภาษี ท่านที่วิ่งเต้นขอยกเว้นไม่ให้รัฐบาลเก็บภาษีสำหรับที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ท่านไม่ละอายใจหรืออย่างไร ท่านต้องการบริการสาธารณูปโภค/สาธารณูปการ แต่ท่านไม่ยอมเสียภาษีทางตรงที่จะนำมาจัดหาบริการเหล่านี้

ผมขอยกตัวอย่าง ประชาชนใน อบต.โพรงมะเดื่อที่มีที่ดินเกษตร 20 ไร่ เสียภาษีปีละ 110 บาท แต่เขาก็มีส่วนเสียภาษีให้ อบต.

ข้อเสนอของผม คือ ทุกคนที่มีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่อยู่อาศัยตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ต้องเสียภาษีบ้าง เช่น ถ้ามูลค่าที่ดินรวมกับบ้านที่อยู่อาศัยมีมูลค่า 1-20 ล้านบาท ขอให้เสียภาษ๊ปีละ 50 บาทต่อมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 1 ล้านบาท ถ้ามูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของท่านมีมูลค่า 20 ล้านบาท ท่านก็เสียภาษีปีละ 1,000 บาท เท่านั้น

ส่วนผู้มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวมกันมูลค่า 20.01-50 ล้านบาท ขอให้เสียภาษี 100 บาทต่อมูลค่าที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง 1 ล้านบาท ดังนั้นถ้าที่ดินและบ้านของท่านมีมูลค่า 50 ล้านบาท ท่านก็เสียภาษีเพียง 100 บาท x 50 = 5,000 บาทต่อปี

ถ้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ก็ให้เสียภาษีในอัตราที่กำหนดในร่างกฎหมายที่กำลังพิจารณา

แต่ผมมีข้อสังเกตว่าในปีแรกที่มีการประกาศใช้กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผมไม่อยากให้รัฐบาลเก็บภาษีจนเกิดรายได้เพิ่มขึ้นจำนวนมาก เพราะรายได้จากภาษีนี้ย่อมเป็นภาระต่อประชาชนและภาคธุรกิจ ทางที่ดี คือ ในปีแรกที่เริ่มบังคับใช้กฎหมาย รัฐบาลควรมีเป้าหมายว่ารายได้รวมจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะต้องไม่เพิ่มขึ้นจาก รายได้รวมในปี 2560 เกินกว่า 3%-3.5% ที่เป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ แล้วจึงค่อยๆปรับฐานภาษีขึ้นไปในเวลา 5 ปีแรก แต่อัตราการปรับฐานภาษีนี้ต้องเป็นอัตราที่กำหนดตายตัวในพระราชบัญญัติ มิใช่ปล่อยให้รัฐบาลในอนาคตเป็นผู้กำหนด

ผมหวังว่า ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และสมาชิก สนช. ทุกท่านจะมีความกล้าหาญ เรียกร้องให้ทุกคนที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างร่วมกัน เสียภาษีตามหน้าที่ของพลเมือง "เสียน้อย เสียมาก ไม่ว่ากัน แต่ขอให้ร่วมกันเสีย" ครับ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

สมลักษณ์ จัดกระบวนพล: ผู้ไต่สวนอิสระอาจเป็นทางรื้อคดีสลายการชุมนุมปี 53

Posted: 18 Sep 2017 07:06 AM PDT

อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา และอดีต ป.ป.ช. ชี้การรื้อคดีสลายการชุมนุมปี 2553 อาจใช้กระบวนการตั้งผู้ไต่สวนอิสระ ตามมาตรา 275 ในรัฐธรรมนูญ 2550 ระบุพูดทุกอย่างตามการวินิจฉัยของศาลฎีกา ย้ำคดีดังกล่าวต้องทำให้กระจ่าง โดยกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงในศาล

ดูเหมือนจะถูกเข้าใจว่าจบสิ้นไปแล้วหลังจากที่ศาลฎีกาอ่านคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ยกฟ้องในคดีสั่งสลายการชุมนุมกลุ่มเสื้อแดง หรือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งเป็นเหตุการณ์ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 10 เมษายน 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ภายใต้การออกคำสั่งของอภิสิทธิ เวชชาชีวะ และสุเทพ เทือกสุบรรณ นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรีตามลำดับในเวลานั้น โดยมีการประกาศขอคืนพื้นที่การชุมนุมโดยใช้กระสุนจริง ประกอบกับใช้กองกำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมจนทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งฝ่ายประชาชนที่ออกมาชุมนุม และเจ้าหน้าที่รัฐรวม 99 ศพ และบาดเจ็บอีกจำนวนมาก

31 สิงหาคม 2560 ให้หลังจากการอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาไม่กี่ชั่วโมง อภิสิทธิ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านทางแอปพลิเคชั่นไลน์ @Mark_Abhisit โดยใจความตอนหนึ่งระบุว่า  "ผมขอขอบคุณสำหรับความเป็นธรรมที่ได้รับ เพราะการตรวจสอบการทำงานของผมในช่วงเหตุการณ์ปี 2553 เป็นเรื่องของ ป.ป.ช.กับศาลฎีกาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเท่านั้น ซึ่ง ป.ป.ช.ก็ได้วินิจฉัยกรณีนี้ไปแล้ว"(อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ขณะที่สุเทพ ได้ให้สัมภาษณ์หลังรับฟังคำพิพากษา โดยระบุว่าไม่เข้าใจว่าทำคดีดังกล่าวจึงมีการยื่นฟ้อง อภิสิทธิ์ รวมอยู่ด้วย เนื่องจากอภิสิทธิ์ ได้มอบหมายให้ตนซึ่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง เป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) และคดีนี้ศาลชั้นต้น และอุทธรณ์ ได้มีคำสั่งยกฟ้องไม่รับสำนวนไว้พิจารณา เนื่องจากเป็นอำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ส่วนกรณีที่ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ จะไปยื่นคำร้องถึงคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้นำคดีนี้พิจารณาขึ้นมาใหม่นั้น สุเทพ  เห็นว่า ณัฐวุฒิ จ้องเล่นงานตนอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร อโหสิกรรม (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ด้านพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2560 โดยระบุถึงกรณีที่ นปช. จะเรียกร้องให้ ป.ป.ช. รื้อคดีการสลายการชุมนุมปี 2553 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 99 ศพ มาพิจารณาใหม่ว่า ถึงวันนี้ไม่มีอะไรที่มีผลกระทบต่อหน่วยงานด้านความมั่นคง ทุกอย่างก็ว่ากันไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ส่วนที่กลุ่มนปช. อยากให้รื้อฟื้นคดีขึ้นมาใหม่นั้น จะให้รื้อขึ้นมาอีกทำไมเจ้าหน้าที่ทำแทบตาย (อ่านข่าวที่เกียวข้อง)

ในขณะที่ ณัฐวุฒิ พร้อมแกนนำ นปช. คนอื่นๆ ได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าว เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2560 ระบุชัดจะพยายามทุกวิถีทางเพื่อรื้อคดีสลายการชุมนุมปี 2553 ให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาในชั้นศาลให้ได้ โดยจะมีการไปยื่นพยานหลักฐานใหม่ให้กับ ป.ป.ช. เพื่อให้มีการหยิบคดีดังกล่าวมาพิจารณาอีกครั้ง ทั้งยังระบุอีกด้วยว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาในคดีดังกล่าว ไม่ได้เป็นการตัดสินว่าอภิสิทธิ์ และสุเทพ ได้พ้นจากความผิดที่สั่งสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิต 99 ศพ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)

ท่ามกลางความมืดมนของผู้ที่สูญเสีย ในห้วงรอยต่อระหว่างช่วงเวลา 7 ปีที่สูญเปล่า กับการเริ่มต้นเดินทางครั้งใหม่เพื่อนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่ยังไม่รู้ชัดว่าจะดำเนินไปโดยใช้เวลาอีกนานแค่ไหน ประชาไทสัมภาษณ์ สมลักษณ์ จัดกระบวนพล อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา และอดีตคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ซึ่งเป็นอดีตของทั้งสององค์กรที่มันอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาคดีดังกล่าว เธอระบุชัดว่า คดีดังกล่าวควรเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในข้อเท็จจริง แม้จริงไม่สามารถคืนชีวิตให้กับผู้สูญเสียได้ แต่การให้เรื่องได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม คือการเยียวยาในเบื้องต้น และการให้เงินชดเชยอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะความเจ็บซ้ำน้ำใจของผู้สูญเสียมันลึกเกินกว่าจะเข้าใจ คำถามที่ตามมาคือจะนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอีกครั้งได้อย่างไร

"ให้ผู้เสียหาย ยื่นเรื่องต่อประธานศาลฎีกา ตามมาตรา 275 วรรค 4 รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 เพื่อตั้งผู้ไต่สวนอิสระ" นี่คือคำตอบของสมลักษณ์ ซึ่งเธอยืนยันว่าไม่ได้พูดนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลฎีกา และยืนยันว่าคำพิพากษานี้ถือเป็นบรรทัดฐานที่มีผลในทางปฏิบัติ

000000

ยกฟ้องเพราะศาลไม่มีอำนาจพิจารณา ไม่ได้หมายความว่าจำเลยไร้ความผิด

สมลักษณ์ เริ่มต้นอธิบายคำพิพากษายกฟ้องของศาลฎีกาในคดีที่อภิสิทธิ์ และสุเทพ เป็นจำเลยจากกรณีการออกคำสั่งสลายการชุมนุม โดยอนุญาตให้มีการใช้กระสุนจริง และกองกำลังทหารเข้าสลายการชุมนุม จนมีผู้เสียชีวิต 99 ศพ ซึ่งตามคำฟ้องอัยการได้ขอให้ศาลพิจารณาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 80, 83 และ 84 ว่า ในภาษาทางกฎหมายถือเป็นการยกฟ้องในข้อกฎหมาย โดยการวินิจฉัยของศาลจะมีการวินิจฉัยสองส่วนคือ เรื่องของข้อกฎหมาย กับเรื่องของข้อเท็จจริง

"ในส่วนของคำพิพากษาศาลฎีกา กรณีฟ้องอภิสิทธิ์ และสุเทพสั่งสลายการชุมนุม เป็นการยกฟ้องในเรื่องของข้อกฎหมาย คือมาผิดศาล มาผิดทาง แต่ยังไม่มีการวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่ากระทำของจำเลยที่มีการออกคำสั่ง อนุญาตให้มีการใช้อาวุธสงคราม ใช้กระสุนจริง ใช้กำลังทหารเข้าไปสลายการชุมนุม ว่าการกระทำเหล่านี้ผิดหรือไม่ หรือมีเจตนาพิเศษที่จะใช้เข้าไปฆ่าคนที่มาชุมนุม ตรงนี้คือข้อเท็จจริง ซึ่งยังไม่ได้รับการวินิจฉัย มีเพียงการวินิจฉัยในเรื่องขอบเขตอำนาจศาลว่า ศาลอาญานั่นไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีนี้ เนื่องจากเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" สมลักษณ์ กล่าว

สมลักษณ์เห็นว่า หากจะมีการดำเนินการยื่นฟ้องใหม่ ก็สามารถทำได้เพราะในกรณีนี้ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยในข้อเท็จจริง เพียงแต่พิจารณาในข้อกฎหมาย ซึ่งมันเป็นคนละเรื่องกัน ฉะนั้นหากจะฟ้องใหม่ก็ถือว่าฟ้องได้ แต่ต้องไปให้ถูกทาง

สำหรับเรื่องการไปให้ถูกทาง หรือฟ้องให้ถูกศาลนั้น สมลักษณ์ได้อ่านคำพิพากษาในคดีดังกล่าวแล้วพบว่า คำพิพากษานี้ไม่ได้เป็นการยกฟ้องลอย เนื่องจากในคำพิพากษา ศาลได้อธิบายไว้ด้วยว่า คดีนี้ต้องดำเนินการอย่างไรเป็นขั้นตอน ซึ่งเธเห็นว่าเป็นการชี้ทางสว่างให้แก่ผู้ที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ผู้ทุกข์ใจ เจ็บปวดหัวใจ และไม่รู้จะเดินไปทางไหนต่อ

"โดยท่านระบุว่า คดีนี้มันเกิดขึ้นในปี 2553 ฉะนั้นในเวลานั้นเรายังใช้รัฐธรรมนูญ 2550 กันอยู่ ก็ต้องไปบังคับด้วยรัฐธรรมนูญฉบับนั้น แล้วท่านบอกละเอียดเลยว่าคดีนี้มีกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท อธิบายเพิ่มเติมก็คือ มันเป็นบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 ยกตัวอย่างที่เห็นชัดคือ คนเข้าไปบุกรุกบ้านคนอื่น ก็มีความผิดบุกรุก แต่ถ้าไม่ได้เข้าทางประตูดันไปทุบกระจกหน้าต่างบ้านเขาแตก ก็มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เพิ่มเข้าไปด้วย ฉะนั้นกรณีการสั่งสลายการชุมนุมก็เหมือนกันเพราะเป็นเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกันอาจจะมีเจตนาพิเศษโดยการใช้กองกำลังทหาร และมีการอนุญาตให้ใช้อาวุธจริง ฉะนั้นตามคำฟ้องของโจทก์ชี้ให้เห็นว่ามีเจตนาพิเศษ จึงเป็นไม่ใช่การปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพราะมันมีเจตนาพิเศษนอกเหนือไปจากนั้น

การกระทำในฐานะของนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ขณะเดียวกันก็มีเจตนาที่ไม่ใช่เจตนาที่จะใช้อำนาจธรรมดาเพื่อสลายการชุมชนเพียงเท่านั้น แต่บุคคลทั้งสองมีเจตนาพิเศษเนื่องจากไปใช้กำลังทหาร แล้วใช้อาวุธจริง เป็นอาวุธที่ใช้ในการสงคราม เล็งเห็นได้เลยว่าการกระทำอย่างนี้มุ่งหมายที่จะให้เป็นการทำลายชีวิตของบุคคลที่ชุมนุมอยู่  อันนี้คือสิ่งที่ศาลฎีกาวินิจฉัย อาจารย์ไม่ได้พูดไปนอกเหนือจากนี้" สมลักษณ์ กล่าว

สมลักษณ์ระบุด้วยว่า การวินิจฉัยของศาลฎีกายังชี้ว่ากรณีดังกล่าวเป็นการกระทำกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท อยู่ในอำนาจตาม 24 ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 โดยมาตรา 24 ระบุว่า ในการฟ้องคดีอาญาสำหรับการกระทำอันเป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท และบทใดบทหนึ่งอยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้ศาลรับพิจารณาพิพากษาความผิดบทอื่นไว้ด้วย

"นี่คือการอธิบายคำพิพากษาศาลฎีกา ว่าหากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงแหน่งทางการเมืองรับพิจารณาคดีมาตรา 157 จะต้องรับคดีตามมาตรา 288 80 83 84 ไว้ด้วย และท่านพูดชัดเลยว่าคดีนี้อยู่ในระหว่างที่บังคับใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 และบอกมาตราไว้ด้วยว่าต้องไปตามช่องทางในมาตรา 250 คือเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และมาตรา 275 ก็เป็นเรื่องที่ระบุว่า ตำแหน่งอะไรบ้างที่อยู่ในอำนาจของ ป.ป.ช. และระบุถึงกรณีของการดำเนินการว่า หาก ป.ป.ช.มีการดำเนินการที่ล่าช้า หรือ ไม่ชี้มูลความผิด ก็สามารถยื่นต่อที่ประชุมศาลฎีกา เพื่อให้มีการตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระ แต่คำพิพากษาของศาลฎีกาไม่ได้ละเอียดขนาดนั้น บอกแต่เพียงว่าให้ไปใช้มาตรา 275 ตามรัฐธรรมนูญ 2550" สมลักษณ์ กล่าว

มีรัฐธรรมนูญใหม่แล้ว ทำไมถึงได้ย้อนกลับไปใช้รัฐธรรมนูญเก่า

เมื่อถามอดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาว่า จะเป็นไปได้จริงๆ หรือหากจะมีการยื่นเรื่องต่อที่ประชุมศาลฎีกาเพื่อให้มีการตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระ โดยที่ไม่ต้องผ่านช่องทางของ ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว สมลักษณ์ ระบุชัดว่า การชี้ช่องทางนี้ไม่ได้เป็นสิ่งที่คิดขึ้นเอง หากแต่เป็นสิ่งที่อยู่ในคำพิพากษาของศาลฎีกาเอง

"บอกตรงนี้ก่อนว่าอาจารย์ไม่ได้พูดนอกเหนือไปจากคำวินิจฉัยของศาลฎีกาเลย เพราะศาลฎีกาบอกว่าขณะเกิดเหตุ ท่านบอกว่าขณะเกิดเหตุเนี่ยยังใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 จึงต้องให้การฟ้องคดีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ทั้งยังบอกมาตราด้วย ฉะนั้นสิ่งที่อาจารย์พูดก็เพียงแต่พูดตามคำพิพากษาศาลฎีกา ฉะนั้นหากจะเถียงอาจารย์ก็ต้องไปเถียงศาลฎีกา" สมลักษณ์ กล่าว

สมลักษณ์ระบุด้วยว่า หลายคนมักคิดว่ามาตรา 275 ในรัฐธรรมนูญ 2560 สุดท้ายแล้วกระบวนการต่างๆ จะอยู่ที่ ป.ป.ช. แต่ในวรรค 4 ได้ระบุชัดว่า ในกรณีที่พูดถูกกล่าวตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา ผู้เสียหายจากการกระทำดังกล่าวจะยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เช่นดำเนินการตามมาตรา 250 (2) หรือ จะยื่นคำร้องต่อที่ประชุมคำร้องต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เพื่อขอให้ตั้งผู้ไต่สวนอิสสระตามมาตา 276 ก็ได้ แต่ถ้าผู้เสียไปยื่นที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. แล้ว กรณีที่เป็นคดีที่อยูในอำนาจ ป.ป.ช. จะไปยื่นที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาไม่ได้ จะยื่นได้ก็ต่อเมื่อ ป.ป.ช. ไม่รับดำเนินการไต่สวน หรือดำเนินการล่าช้าเกินสมควร หรือดำเนินการไต่สวนแล้วเห็นว่า ไม่มีมูลความผิดตามข้อกล่าวหา

"การที่จะมีการไปยื่น ป.ป.ช. ให้พิจารณาอีกครั้ง มันดูจะลำบาก เพราะตามกฎหมาย ป.ป.ช. มันติดอยู่ที่มาตรา 86 ที่ห้ามไม่ให้คณะกรรมการยกเรื่องที่ได้มีการวินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดแล้ว ยกเว้นแต่มีพยานหลักฐานใหม่ที่เป็นข้อสำคัญแห่งคดีจึงจะยกมาพิจารณาใหม่ได้ ทีนี้ข้อสำคัญในพยานหลักฐานใหม่มันจะไปหาที่ไหน แล้วถ้าหามาได้จะไปยื่นให้ ป.ป.ช. เราก็ยังอยู่ในการวินิจฉัยดุลยพิจนิจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. อยู่ดี เขาก็ต้องมาว่าพยานหลักฐานที่ยื่นมาใหม่หรือไม่ ถ้าไม่ใหม่เขาก็ไม่รับอีก มันก็ไปได้ยาก ถ้าทำตามทนายผู้เสียบอกว่าจะไปยื่น ป.ป.ช. อีกครั้ง ความเห็นอาจารย์คิดว่า ซึ่งไม่ได้ชี้ว่าใครถูกใครผิด แต่มันเป็นความเห็นที่ต่างกันเท่านั้น อาจารย์มองว่ามันยากที่จะไปทาง ป.ป.ช. อีกครั้ง

ทีนี้ท่านเปลี่ยนไปในช่องทางที่อาจารย์ว่าคือตามมาตรา 275 (4) ไปทางที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกายื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ไต่สวนอิสระตามมาตรา 276 ท่านจะไปได้เลย และคณะไต่สวนอิสระก็จะทำหน้าที่เหมือนคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อไต่สวนเสร็จแล้วก็จะส่งไปที่ สนช. เพื่อให้ลงมติถอดถอนก็ได้ด้วย แล้วในส่วนที่เป็นความผิดทางกฎหมายก็ยื่นให้ศาลอาญาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ได้ หากเห็นว่ามีมูลความผิดจริง" สมลักษณ์ กล่าว

ทั้งนี้สมลักษณ์กล่าวย้ำในตอนท้ายด้วยว่า สิ่งที่ทำให้เชื่อว่าการยื่นเรื่องเพื่อขอตั้งผู้ไต่สวนอิสระสามารถทำได้ เป็นเพราะศาลฎีกาวินิจฉัยออกมาอย่างนี้ ในขณะที่รัฐธรรมนูญใหม่ก็ประกาศใช้แล้ว ซึ่งระบุชัดว่าเหตุเกิดในปี 2553 ดังนั้นคำพิพากษาจึงพูดถึงรายละเอียดว่าต้องไปดำเนินการอย่างไรต่อ นี่ก็คือการชี้แนวทางให้ และคำวินิจฉัยของศาลฎีกาถือเป็นแนวบรรทัดฐาน โดยเฉพาะคนที่เรียนกฎหมาย โดยเฉพาะศาลต้องยึดถือ

คดีนี้ต้องทำให้กระจ่าง หากผู้สูญเสียหันไปพึ่งฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติไม่ได้ ก็เหลือแค่ฝ่ายตุลาการ

สมลักษณ์เห็นว่า ตามแนวทางของรัฐธรรมนูญ 2550 จะเป็นการช่วยเหลือผู้คนที่ไม่มีหนทาง และยังเป็นการช่วยประเทศด้วย เพราะเมื่อไหร่ที่ผู้คนเริ่มหมดหนทางที่จะทวงถามความยุติธรรม ก็ยากที่จะจินตนาการว่าจะเกิดอะไรขึ้น

"เวลาคนเราเจ็บซ้ำน้ำใจ จะไปขอเพิ่งฝ่ายบริหารก็ไม่ได้ จะไปขอเพิ่งฝ่ายนิติบัญญัติก็ไม่ได้ เหลืออยู่ทางเดียวคือตุลาการ ถ้าไม่ได้อีก คนเรามันเกิดความอัดอั้นตันใจ และความอดทนของคนเรามีขีดจำกัด ฉะนั้นต้องหาทางออกที่ดีที่สุดเพื่อให้เขารู้สึกว่า เขาได้รับการเยียวยาในการที่เขาสูญเสียคนที่รักไป ดีกว่าที่จะไปให้เงินเขาอย่างเดียว เพราะชีวิตคนมันไม่สามารถจะเรียกคืนมาได้ และความเจ็บซ้ำน้ำใจมันลึกมาก" สมลักษณ์ กล่าว

สมลักษณ์ กล่าวด้วยว่า คดีดังกล่าวจะต้องทำให้กระจ่าง เพราะเป็นเรื่องของการสลายการชุมนุม ซึ่งจะต้องมีการวินิจฉัยข้อเถียงจริงโดยศาล ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ และในการวินิจฉัยก็จะมีการระบุเหตุผลว่าทำไมถึงผิด หรือทำไมถึงไม่ผิด ผู้คนจะได้ไม่มีอะไรค้างคาใจ

"คำพิพากษาจะกลายเป็นแนนวบรรทัดฐานสำหรับคนหลายกลุ่ม ในส่วนของผู้บริหารประเทศ ก็จะได้รู้ว่าหากการกระทำตามข้อเท็จกรณีสลายการชุมนุมไม่ผิด ต่อไปในอนาคตใครจะสลายการชุมนุมโดยอาวุธสงคราม และกองกำลังทหารก็ทำได้ ในส่วนของผู้ที่จะไปชุมนุมเองก็จะได้รู้ว่าหากคำพิพากษาของศาลออกมาว่าไม่ผิด จำเลยสามารถสั่งให้ใช้อาวุธสงครามได้ เขาจะได้ระวังตัวเองในการที่จะไปชุมนุม หากจะไปชุมนุมกันแต่ทางผู้บริหารสามารถใช้อาวุธก็ได้ ใช้กำลังทหารมาขอคืนพื้นที่ก็ได้ เขาจะได้ระวังว่า คุ้มไหมที่จะมีความเห็นต่างจากผู้บริหาร แล้วไปนั่งชุมนุมกันอยู่วันดีคืนดีมีกระสุนโป้งมา แต่เรียกร้องอะไรไม่ได้เลย เขาจะได้ระมัดระวัง" สมลักษณ์ กล่าว

ข้อมูลเพิ่มเติม

อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่นี่  /  อ่านมติของ ป.ป.ช. ที่นี่

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ศสธ. เปิดเสียงสะท้อนคนอีสานกับการแก้กฎหมายบัตรทอง

Posted: 18 Sep 2017 06:47 AM PDT

ศูนย์สื่อชุมชน เพื่อสังคมที่เป็นธรรม รายงาน เสียงสะท้อนคนอีสานต่อการแก้ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพ 3 ข้อกังวล หวั่นสัดส่วนบอร์ด สปสช. ภาคประชาชนลดลง

18 ก.ย. 2560 รายงานข่าวจากศูนย์สื่อชุมชน เพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ศสธ.) ระบุว่าในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลมีการแก้กฎหมายหลายฉบับในด้านต่างๆ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับสื่อดิจิตอลและอินเตอร์เน็ต กฎหมายด้านเศรษฐกิจและทรัพยากรธรรมชาติ และหนึ่งในนั้นก็คือความพยายามที่จะแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพ หรือที่เรียกกันติดปากว่า "บัตรทอง" ดังปรากฏในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมารัฐบาลแสดงออกชัดเจนขึ้นต่อการแก้ไข พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพ โดยให้เหตุผลเรื่องประสิทธิภาพและการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นั้น ได้ดำเนินการไม่ถูกต้องตามกฎหมายหลายประเด็น ทำให้รัฐบาลมองว่าจำเป็นต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพและได้จัดให้มีเวทีประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้งหมด 5 เวที ในแต่ละภูมิภาครวมทั้งกรุงเทพมหานคร ทว่าก็ได้มีกระแสการออกมาคัดค้านอย่างกว้างขวาง

รายงานข่าวระบุว่า หากจะโฟกัสลงมาในภาคอีสานเองก็ได้มีการคัดค้านและล้มเวทีรับฟังความคิดเห็น ซึ่งจัดขึ้นที่ จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.ที่ผ่านมา  ดังนั้นผู้สื่อข่าวจึงสอบถามไปยังประชาชนในภาคอีสานว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อการแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพ การแก้ไขครั้งนี้สำคัญต่อชาวอีสานอย่างไร

จิดาภา เฉียบแหลม ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ จ.ขอนแก่น และเครือข่ายผู้ติดเชื้อ HIV ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความจำเป็นต่อการใช้สิทธิใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ เรื่องสิทธิในการรักษาพยาบาลจึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีส่วนสำคัญต่องานที่เธอทำกับเครือข่ายผู้ติดเชื้อ โดย จิดาภา ได้เล่าให้ฟังว่า พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฉบับเดิมเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ได้รับการรักษาที่ได้มาตรฐาน และสำหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคไวรัสอย่างกลุ่มผู้ติดเชื้อHIV เอง ก็มีการให้ความรู้ในเรื่องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศ และมียาให้กินอย่างต่อเนื่อง เพราะที่ผ่านมา สปสช.จัดซื้อยาต้านไวรัสได้ในราคาที่ถูก เนื่องจากซื้อเยอะทำให้มีอำนาจการต่อรองทำให้ยานั่นราคาถูกลง ทำให้ประชาชนเข้าถึงได้มากขึ้น ถ้าหากมีการแก้ไขกฎหมายบัตรทอง แล้วให้กระทรวงสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลเป็นผู้รับผิดชอบจัดซื้อยา ซึ่งยังเป็นประเด็นถกเถียงกันว่าหน่วยงานใดมีอำนาจซื้อยาตามกฎหมาย  แต่ถึงอย่างไรไม่ว่ากระทรวงสาธารณสุข หรือ โรงพยาบาล เป็นผู้จัดซื้อยาก็ยังมีข้อห่วงกังวลคือที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขมักซื้อยาราคาที่แพงและไม่มีคุณภาพ อีกทั้งยังเคยมีการทุจริตเรื่องการซื้อยาของกระทรวงฯ จนเป็นข่าวอื้อฉาวมาแล้ว  การร่วมจ่ายก็ไม่รู้จะออกมาแบบไหน ก็เกรงว่าจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ป่วย  โดยเฉพาะในโรคที่มีค่ารักษาที่สูงประชาชนคนทุกข์คนยากจะอยู่อย่างไร  ที่ผ่านมาประชาชนก็ร่วมจ่ายไปแล้วในรูปแบบของการเสียภาษีให้แก่รัฐ

ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ จ.ขอนแก่น  กล่าวต่อว่า สิ่งที่กังวลอีกอย่าง คือการแก้ไขกฎหมายครั้งนี้จะมีการแยกเงินเดือนออกจากเงินรายหัว ซึ่งเดิมที่ผ่านมา สปสช. ได้มีการรวมเงินเดือนไว้ในค่าใช้จ่ายรายหัวของผู้ใช้บัตรทองผู้ป่วยอยู่ไหนหมอก็อยู่นั่น จึงสามารถช่วยลดปัญหาแพทย์ขลาดแคลนในชนบทได้ แต่ถ้าหากมีการรวมเงินเดือน อาจจะเกิดการกระจุกตัวของบุคลากรทางการแพทย์ในเมืองใหญ่ๆ และอาจทำให้ชนบทขลาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงกระบวนการร้องเรียนในกรณีที่มีความเสียหายจากทางการแพทย์แต่เดิมก็สามารถร้องเรียนได้

"เราได้ประโยชน์เรื่องการดูแลสุขภาพ การคุ้มครองสิทธิ์ เราได้รับการรักษาฟรี ถ้าเราได้รับความเสียหาย ถ้าหากมีความเสียหายทางการแพทย์เราก็ร้องเรียนได้ ถ้าการให้การบริการไม่ดีเราก็สามารถร้องเรียนได้ ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญของพ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพที่ผ่านมา" จิดาภา กล่าว พร้อมระบุว่า ที่ผ่านมามีหลายฝ่ายยกปัญหา พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพเดิมมาอธิบายว่าสาเหตุที่โรงพยาบาลบางแห่ง "ขาดทุน" จากโครงการบัตรทอง เพราะไม่มีการแยกเงินเดือนบุคลากรออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว ซึ่งปัจจุบัน อยู่ที่ 3,109 บาท/คน/ปี ร่างกฎหมายบัตรทองฉบับใหม่ จึงกำหนดให้แยกค่าใช้จ่ายบุคลากรออกมา เพื่อให้สะท้อนต้นทุนการให้บริการที่แท้จริง แต่ทว่าอาจจะทำให้บุคลากรทางการแพทย์ขอย้ายไปทำงานในโรงพยาบาลที่อยู่ในกรุงเทพฯ หรืออยู่ในเขตเมือง โดยที่ตำแหน่งยังอยู่ในโรงพยาบาลในโรงพยาบาลประจำอำเภอ 

สุวรรณี ศรีสูงเนิน แกนนำชาวบ้านที่รุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยการคัดค้านในเรื่องการทำโรงไฟฟ้าถ่านหินและเหมืองแร่โปแตช อ.เหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิและเล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาะจากการเข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นที่ จ.ขอนแก่นและแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยในเวที โดยเธอมองว่า สิทธิหลักประกันสุขภาพทำให้ได้ประโยชน์ตรงที่เวลาคนเจ็บป่วยเราก็สบายไปรับยาจากหมอ ไม่ต้องให้ลูกรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษา เหมือนสมัยที่ยังไม่มีสามสิบบาทเราก็ต้องจ่ายเงินเอง ชาวบ้านได้ประโยชน์จากการรักษาพยาบาล ซึ่งถ้ามีการแก้ไขกฎหมายชาวบ้านจะลำบากขึ้น  เราอาจต้องหาเงินมารักษาตัวเอง และตอนนี้ทุกบ้านทุกครอบครัวต้องมีคนป่วยอยู่แล้ว  

"ชาวบ้านทั่วไปไม่มีเงินเดือน มีเพียงแค่เบี้ยผู้สูงอายุ 600 บาท ไม่มีสวัสดิการเหมือนราชการ ที่ไม่เดือดร้อนหากมีการแก้ไขกฎหมายบัตรทองและเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าบัตรทองมีประโยชน์อย่างไร ที่เขาบอกจะให้ร่วมจ่ายค่ารักษาเป็นแสนจะทำอย่างไร" สุวรรณี กล่าว

นอกจากนี้ยังมีเสียงของภาคประชาชนภาคประชาชนอีกคน คือ เตียง ธรรมอินทร์ แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี เป็นประชาชนที่ลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิในการจัดการทรัพยากรของชุมชน และเป็นอีกหนึ่งคนที่ใช้สิทธิ์หลักประกันสุขภาพในการรักษาพยาบาล

เตียง กล่าวว่า ถ้าหากมีการแก้ไขกฎหมายบัตรทองมันก็คงไม่ดีถ้าหากให้ประชาชนร่วมจ่าย เพราะว่าถ้าสมมุติค่ารักษาพยาบาลมันสูงเป็นแสนๆ คงไม่มีเงินจ่าย  อีกประเด็นหนึ่งก็คือคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขกฎหมายบัตรทองส่วนมากก็เป็นข้าราชการ ซึ่งเขาไม่ได้ใช้สิทธิ์บัตรทองแล้วเขาจะเข้าใจคนที่ใช้บัตรทองอย่างพวกเราได้อย่างไร

"ประโยชน์ของการมีบัตรทองกะคือมันเฮ็ดให้คนป่วยที่บ่มีสิทธิ์รักษาพยาบาลแบบข้าราชการอย่างเฮาสามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ บ่ว่าสิเป็นเบาหวาน ความดัน หรือโรคอื่น ที่มีผู้ป่วยหลายในชุมชน ถึงแม้มันจะยังบ่ดีเท่าที่ควรแต่มันกะดีกว่าบ่มี เพราะว่าขนาดมีสิทธิ์รักษาฟรีเฮายังต้องจ่ายค่าเดินทางไปรักษาพยาบาล ซึ่งแต่ละครั้งก็บ่แม่นน้อยๆ" เตียง กล่าว 

ศูนย์สื่อชุมชน เพื่อสังคมที่เป็นธรรม ระบุว่า จากการสัมภาษณ์ประชาชนในภาคอีสานสำหรับการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพนั้นมีประเด็นหลักๆอยู่ 3 ประเด็นคือ

1. การปรับสัดส่วนบอร์ดบริหาร สปสช. ซึ่งดูเหมือนว่าที่นั่งในบอร์ดของภาคประชาชนซึ่งเป็นผู้รับบริการจะถูกลดลงและเพิ่มกลุ่มผู้ให้บริการ มาแทนซึ่งอาจจะส่งผลต่อการกำหนดนโยบายในอนาคต

2. การแยกเงินเดือนบุคลากรออกจากงบเหมาจ่ายรายหัวโดยภาคประชาชนกังวลว่าอาจจะส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าไปอยู่ในเมืองโดยที่ตำแหน่งยังอยู่ในโรงพยาบาลขนาดเล็กประจำอำเภอ

3. การร่วมจ่ายซึ่งหากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ประชาชนร่วมจ่ายความกังวลเรื่องภาระที่เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีภาระอยู่แล้ว เช่นค่าเดินทาง ค่าที่พักของญาติ อาจจะต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้นจากการร่วมจ่าย ซึ่งทั้ง 3 เรื่องนี้เป็นความกงัวลและประเด็นสำคัญที่รัฐบาลจำเป็นต้องคำนึงถึงในการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ยูนิเซฟชี้เด็กชายแดนใต้ประสบภาวะขาดสารอาหารมากที่สุด

Posted: 18 Sep 2017 06:31 AM PDT

ยูนิเซฟและสำนักงานสถิติแห่งชาติได้เผยแพร่ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในจังหวัดชายแดนใต้ โดยระบุว่า จังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทยมีอัตราของเด็กที่ประสบภาวะทุพโภชนาการมากที่สุด เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ

ดาวน์โหลด รายงานการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีใน 14 จังหวัดของประเทศไทย (ฉบับเต็ม) และผลสำรวจรายจังหวัดใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ได้ที่ http://bit.ly/MICS5THSOUTH

18 ก.ย. 2560 รายงานข่าวจาก องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย แจ้งว่าวันนี้ (18 ก.ย.60) ยูนิเซฟและสำนักงานสถิติแห่งชาติได้เผยแพร่ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในจังหวัดชายแดนใต้ โดยระบุว่า จังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทยมีอัตราของเด็กที่ประสบภาวะทุพโภชนาการมากที่สุด เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีรายจังหวัด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและสนับสนุนโดยยูนิเซฟ พบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา มีภาวะเตี้ยแคระแกร็น (ความสูงต่ำกว่าเกณฑ์อายุ) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ โดยในจังหวัดนราธิวาสมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มีภาวะเตี้ยแคระแกร็นสูงถึงร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศซึ่งอยู่ที่ร้อยละ11 ในขณะที่จังหวัดยะลา ปัตตานี สตูล และสงขลา อัตรานี้อยู่ที่ร้อยละ 21 ร้อยละ 19 ร้อยละ 17 และร้อยละ 13 ตามลำดับ

โธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหานี้น่าเป็นห่วงมาก เพราะมันหมายความว่า เด็กที่อยู่ในจังหวัดเหล่านี้ไม่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน การขาดสารอาหารทำให้การเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาสมองของเด็กต้องหยุดชะงัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ ทั้งหมดนี้ส่งผลเสียในระยะยาวต่อตัวเด็กเองและสังคมโดยรวม

นอกจากนี้ อัตราของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่มีภาวะผอมแห้งหรือภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันในจังหวัดชายแดนใต้ก็สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศเช่นกัน อัตรานี้สูงสุดในจังหวัดปัตตานีเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ในชายแดนใต้ คือร้อยละ 13 ตามด้วยจังหวัดนราธิวาสที่ร้อยละ 11 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 5

หลังจากที่ยูนิเซฟและสำนักงานสถิติแห่งชาติได้เผยแพร่ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในระดับประเทศไปแล้วเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา  ยูนิเซฟและสำนักงานสถิติแห่งชาติได้ทำการสำรวจเจาะลึกในอีก 14 จังหวัดที่มีอัตราความยากจนสูงสุดตามรายงานประจำปี 2554 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งรวมถึงจังหวัดชายแดนภาคใต้ การสำรวจครั้งนี้มุ่งเน้นให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของเด็กที่ขาดโอกาสและเสี่ยงมากที่สุดของประเทศไทย เพื่อช่วยวางแผนงานและกำหนดโครงการต่างๆ ในระดับจังหวัดเพื่อก่อให้เกิดความเสมอภาคยิ่งขึ้น

ผลสำรวจยังชี้ว่าการได้รับวัคซีนของเด็กยังคงเป็นปัญหาสำคัญในจังหวัดชายแดนใต้  ในขณะที่ทั่วประเทศไทยมีเด็กอายุ 12-23 เดือนร้อยละ 72ได้รับภูมิคุ้มกันครบก่อนอายุ 1 ปี  แต่สัดส่วนนี้ต่ำมากในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ซึ่งอยู่ที่เพียงร้อยละ 37 ร้อยละ 39และร้อยละ 40 ตามลำดับ

ผลสำรวจรายจังหวัดยังพบว่า เยาวชนอายุ 15-24 ปีในจังหวัดชายแดนใต้ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากเอชไอวี โดยในจังหวัดนราธิวาสมีเยาวชนชายเพียงร้อยละ 16 และเยาวชนหญิงเพียงร้อยละ 21 ที่สามารถตอบคำถามได้ถูกต้องเกี่ยวกับการแพร่เชื้อเอชไอวี ในขณะที่จังหวัดปัตตานี เยาวชนชายร้อยละ 20 และเยาวชนหญิงร้อยละ 25 ตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระดับความรู้ความเข้าใจของเยาวชนในจังหวัดเหล่านี้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 45 สำหรับเยาวชนชาย และร้อยละ 46 สำหรับเยาวชนหญิง  

"เด็กที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนใต้ต้องเผชิญกับอุปสรรคมากเกินไปในการเติบโตขึ้น  เราต้องพยายามมากขึ้นในการช่วยให้เด็กๆ เหล่านี้เติบโตขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้พวกเขาสามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการต่างๆ และสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ ทั้งนี้ ข้อมูลจากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีรายจังหวัดถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะช่วยวางแผนการทำงาน และจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอเพื่อเข้าถึงเด็กและสตรีที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด" โธมัส กล่าว

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

แอมเนสตี้ชี้วิกฤตผู้ลี้ภัยโรฮิงญาคือความน่าอับอายของเหล่าผู้นำโลก

Posted: 18 Sep 2017 06:13 AM PDT

แอมเนสตี้ชี้การล้มตายของชาวโรฮิงญาคือความน่าอับอายของสหประชาชาติที่ทำตามสัญญาในการปกป้องผู้ลี้ภัยไม่ได้ ย้ำประเทศร่ำรวยยังคงผลักภาระการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยให้ประเทศยากจน

ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา ภาพจาก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล 

18 ก.ย. 2560 รายงานข่าวจาก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย แจ้งว่า แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์เนื่องในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติครั้งที่ 72 โดยระบุว่าการล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญาในเมียนมาซึ่งก่อให้เกิดผู้ลี้ภัยระลอกใหญ่นั้นเป็นความน่าอับอายของเหล่าผู้นำโลก โดยเฉพาะประเทศร่ำรวย ที่ต่างล้มเหลวในการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาว่าจะร่วมกันช่วยเหลือผู้ลี้ภัย

แถลงระบุว่า จากข้อมูลพบว่าการล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญาระลอกล่าสุดในรัฐยะไข่ของเมียนมาส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากมาย และมีประชาชนที่ต้องกลายเป็นผู้ลี้ภัยเกือบ 400,000 คนตลอดช่วงสามสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้ลี้ภัยที่หนีไปยังยุโรปทางเรือตลอดปี 2559 เลยทีเดียว

ซาลิล เช็ตตี้ เลขาธิการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาส่วนใหญ่หนีข้ามชายแดนไปยังบังกลาเทศ ซึ่งเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าประเทศยากจนถูกทิ้งให้ต้องรับมือกับวิกฤตผู้ลี้ภัยครั้งใหญ่ ขณะที่ประเทศร่ำรวยอย่างสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และสหภาพยุโรป กลับมีท่าทีเพิกเฉยและให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยน้อยลง

"ประเทศยากจนและรายได้น้อยอย่างบังกลาเทศ ยูกันดา และเลบานอน ถูกทอดทิ้งให้ต้องรับมือกับจำนวนผู้ลี้ภัยมหาศาล ประเทศร่ำรวยซึ่งรองรับผู้ลี้ภัยน้อยกว่าจึงควรหันมาให้ความช่วยเหลือด้านการตั้งถิ่นฐานใหม่มากขึ้น แต่ผู้นำประเทศร่ำรวยต่างๆ ยังคงเพิกเฉยราวกับว่าวิกฤตการณ์นี้ไม่มีอยู่จริง" เลขาธิการแอมเนสตี้ กล่าว

ทั้งนี้ ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำว่าด้วยผู้ลี้ภัยเมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลประเทศต่างๆ สัญญาว่าจะรองรับผู้ลี้ภัยให้ได้ราว 360,000 คน แต่ในทางปฏิบัติ กลับไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง หลายประเทศไม่ตอบสนองแต่วิกฤตผู้ลี้ภัย และหลายประเทศยังพยายามลิดรอนสิทธิผู้ภัยมากขึ้นเสียเอง เช่น สหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาลทรัมป์ที่ลดการรับผู้ลี้ภัยจาก 110,000 คนเหลือเพียง 50,000 คนต่อปี หรือออสเตรเลียที่ขังผู้ลี้ภัยเอาไว้ที่ศูนย์กักกันนอกชายฝั่งซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่อันตราย เป็นต้น

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ทีมทนายนำหลักฐานใหม่ ร้องอัยการสูงสุดรื้อคดีสลาย แดง 53

Posted: 18 Sep 2017 05:29 AM PDT

ทีมทนายญาติผู้เสียชีวิต จากสลายการชุมนุม ปี 53 นำหลักฐานใหม่เข้ายื่นอัยการสูงสุด ขอให้ไต่สวน อภิสิทธิ์ และ สุเทพ หลัง ป.ป.ช.ยกฟ้องเมื่อปี 58 

ที่มาภาพ เฟซบุ๊กแฟนเพจ Banrasdr Photo

18 ก.ย.2560 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ (18 ก.ย.60) เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา โชคชัย อ่างแก้ว และ วิญญัติ ชาติมนตรี  ทนายความจากสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิและเสรีภาพ (สกสส.) พร้อมด้วยญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อปี เม.ย.-พ.ค. 53 เข้ายื่นหนังสือ พร้อมหลักฐานใหม่ ขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด เพื่อขอให้อัยการสูงสุดแจ้ง คณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ไต่สวนคดี 99 ศพ ​ที่มี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และ สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ถูกกล่าวหาในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือ ทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมาย และเจตนาฆ่า 

วิญญัติ ชี้แจงว่า แม้ ป.ป.ช.จะมีมติยกฟ้อง อภิสิทธิ์ และ สุเทพ เมื่อปี 2558 แล้วก็ตาม แต่จากผลของคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ยกฟ้องและให้เหตุผลว่า คดีดังกล่าวต้องยื่นต่อ ศาลอาญาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง  ซึ่งจากคำพิพากษานี้ ทางทีมทนายความได้พิจารณาอย่างละเอียดแล้วพบว่า มีหลักฐานจากคำพิพากษาศาลฎีกา รวมถึงคำสั่งฟ้องที่ทางอัยการสูงสุดทำไว้ก่อนหน้านั้น ที่ ป.ป.ช.ไม่ได้นำมาพิจารณา
        
ด้าน เรือโท สมนึก เสียงก้อง โฆษกสำนักอัยการสูงสุด ได้กล่าวว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเข้ายื่นต่อประธานอัยการสูงสุด เพื่อให้พิจารณา ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา ศาลฎีกา พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ยกฟ้องสำนวนคดีที่ อัยการ ฟ้อง อภิสิทธิ์ กับสุเทพ ฐานร่วมกันก่อให้ฆ่าผู้อื่นเหตุสลายการชุมนุมกลุ่ม นปช. โดยเมื่อ 28 ส.ค. 57 ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งยกฟ้องคดีดังกล่าวไปแล้ว โดยศาลระบุว่ามูลเหตุแห่งคดี เป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาจำเลยในฐานะนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และ ผอ.ศอฉ. ซึ่งเป็นความผิดตามอำนาจหน้าที่ราชการ และเป็นการออกคำสั่งโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงอยู่ในอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หาใช่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลอาญาไม่ ศาลอาญาจึงไม่มีอำนาจรับคำฟ้องของโจทก์ทั้ง 2 สำนวน จึงพิพากษายกฟ้องคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้ง 2 และยกฟ้องการขอเป็นโจทก์ร่วม (อ่านรายละเอียด)
 
ขณะที่มีการฟ้องต่อ ป.ป.ช.ไปแล้วครั้งหนึ่ง หลังศาลชั้นต้นพิจารณาว่าอยู่ในอำนาจการสืบสวนสอบสวนของ ป.ป.ช. ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไข นั้น โดยกลุ่มผู้เสียหายได้ยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. ต่อมาเมื่อวันที 29 ธ.ค.58 แต่ ป.ป.ช. ได้มีมติให้ คำร้องตกไป (อ่านรายละเอียด)
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

'ทนายประเวศ'ประกาศไม่ยอมรับระบบยุติธรรมไทยคดี 112 โจทก์นัดสืบพยานฝ่ายเดียวปีหน้า

Posted: 18 Sep 2017 04:37 AM PDT

หลังถูกคุมขังมา 5 เดือนโดยไม่ได้ประกันตัว ประเวศ ประภานุกูล ทนายความที่ตกเป็นจำเลยคดี 112 และ 116 รวม 13 กรรม แถลงไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมไทย ไม่ให้การต่อศาล ถอนทนายความ ไม่ลงชื่อในเอกสาร ประท้วงการพิจารณาคดีหมิ่นฯ ของศาลไทย โจทก์นัดสืบพยาน 11 ปาก พ.ค.ปีหน้า<--break- />


ประเวศ ประภานุกูล เดินทางจากเรือนจำมายังศาลอาญา

18 ก.ย.2560 ที่ศาลอาญา รัชดา มีนัดสอบให้การและตรวจพยานหลักฐานคดีหมายเลขดำ อ.2368/2560 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 7 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายประเวศ ประภานุกูล ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนเป็นจำเลยข้อหาความผิดตามมาตรา 112, 116 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ รวม 13 กรรม โดยในวันนี้ประเวศถูกเบิกตัวมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เขากล่าวต่อศาลในห้องพิจารณาคดีว่า ไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมของศาลไทย พร้อมทั้งยื่นคำร้องเป็นแถลงการณ์ 2 ฉบับ

แถลงการณ์ของเขาสรุปความได้ว่า จำเลยขอไม่เข้าร่วมกระบวนการพิจารณาคดีนี้ โดยจะไม่ให้การต่อศาล ดำเนินการถอนทนายความ ไม่ถามค้านพยานโจทก์ ไม่นำสืบพยานจำเลย ไม่ลงชื่อในเอกสารใดๆ ของศาล เนื่องจากกังขาต่อความเป็นกลางของศาลไทยในคดีลักษณะนี้เนื่องจากศาลพิพากษาในพระปรมาภิไธย นอกจากนี้ในการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว (ประกันตัว) ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวโดยให้เหตุผลราวกับพิพากษาคดีแล้วว่า พิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว กรณีเป็นการกระทำที่ร้ายแรงต่อสถาบันกษัตริย์อันเป็นที่เคารพรักและเทิดทูนของประชาชนโดยไม่เกรงกลัวกฎหมาย อันอาจกระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดค้านการปล่อยชั่วคราว จึงไม่อนุญาต ยกคำร้อง แจ้งคำสั่งให้ผู้ต้องหาและผู้ขอประกันทราบเป็นหนังสือโดยเร็ว

"คำสั่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวของศาลอาญาดังกล่าว จึงเป็นการพิจารณาคดีล่วงหน้าก่อนสืบพยาน เป็นการพิจารณาคดีว่า ข้าพเจ้ากระทำการอันเป็นความผิดต่อกฎหมายโดยที่ยังไม่มีการสืบพยาน เป็นการพิพากษาคดีล่วงหน้าว่าข้าพเจ้ากระทำการอันเป็นความผิดต่อกฎหมายก่อนฟ้องคดีอาญาด้วยซ้ำ" แถลงการณ์จำเลยระบุ

จากนั้นศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาคดีระบุว่า จำเลยยื่นคำร้องขอถอนทนายความจำนวน 3 คน ศาลอนุญาตให้จำเลยถอนทนายความ ศาลได้อ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยไม่ได้ให้การโดยยืนยันข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำแถลงการณ์ 2 ฉบับของจำเลยที่ยื่นต่อศาล ศาลสอบถามคู่ความเกี่ยวกับพยานเอกสารที่จะให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตรวจและอ้างส่งต่อศาลแล้ว โจทก์แถลงว่า มีพยานเอกสาร 20 ฉบับที่จะอ้างเป็นพยานให้จำเลยตรวจและส่งศาล จำเลยแถลงไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมของศาลและแถลงไม่ขอตรวจพยานหลักฐานดังกล่าว ส่วนพยานบุคคลนั้นโจทก์ประสงค์สืบพยานรวม 11 ปาก ศาลสอบถามจำเลยว่าจะยอมรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพยานโจทก์ดังกล่าวบ้างหรือไม่ จำเลยแถลงไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมของศาลไทย และยืนยันตามคำแถลงการณ์ 2 ฉบับข้างต้น และการสืบพยานจะใช้เวลา 2 วันครึ่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พนักงานอัยการได้ทำการนัดหมายสืบพยานที่ห้องคู่ความ ระบุวันนัดสืบพยานโจทก์ทั้ง 11 ปากในวันที่ 8,9,10 พ.ค.2561 หรืออีกราว 8 เดือน

"ผมเคยเขียนถึงวิธีต่อสู้คดี 112 แบบนี้ในเฟสบุ๊คมาก่อนแล้ว แต่ไม่มีใครคิดว่ามันจะเป็นไปได้ ถ้าผมไม่ทำแบบนี้ก็เท่ากับที่พูดไปนั้นเป็นเรื่องเพ้อเจ้อ ผมไม่ได้อยากอยู่ตรงนี้ แต่เมื่อต้องอยู่แล้วก็ต้องใช้โอกาสนี้ให้ถึงที่สุด เพราะโทษที่เยอะขนาดนี้ อายุผมก็เท่านี้คงได้ตายในคุก....มันเป็นเรื่องการเมือง ไม่ใช่เรื่องกฎหมาย"

"ที่คิดแบบนี้มันมาจากประสบการณ์ที่ทำคดีให้ดา (ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล) และดูแนวทางของคดีอื่นๆ ที่ผ่านมา ผมไม่มีความหวังเลยว่าจะสามารถต่อสู้คดีลักษณะนี้ได้เต็มที่และบนหลักการโดยแท้จริง"

ประเวศยังกล่าวด้วยว่า สิ่งที่ช่วยให้จิตใจเขาคงสภาพอยู่ได้แม้สิ้นไร้หวังว่าจะเป็นอิสระจากการคุมขังคือ การนั่งสมาธิ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้มีตัวแทนจากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน นักข่าว ญาติ เพื่อน รวมถึงอดีตลูกความของประเวศมาร่วมรับฟังการพิจารณาประมาณ 10 กว่าคน

บรรพต ไชยสา หนึ่งในผู้มาฟังการพิจารณาในวันนี้กล่าวว่า ที่มานั่งฟังเพราะรู้จักกับทนายประเวศมาตั้งแต่ปี 2537 เนื่องจากเขาประสบอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำตกถนน กระดูกซี่โครงร้าว,มีบาดแผลที่ใบหน้า อาการสาหัส ในรถคันที่โดยสารมามีประกันอุบัติเหตุ แต่พนักงานบริษัทประกันภัยพยายามที่จะให้เขายอมรับค่าชดเชยเพียงแค่ 20,000-30,000 บาท

"ถึงขนาดที่จะให้ผมประทับลายนิ้วมือลงในหนังสือสัญญาเพื่อที่จะให้เป็นข้อยุติ ทั้งๆ ที่ในตอนนั้นผมยังบาดเจ็บรักษาตัวต้องปิดตาทั้งสองข้างอยู่ เพื่อนของผมแนะนำให้ทนายประเวศเข้ามาช่วยฟ้องเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยให้ สุดท้ายบริษัทประกันยอมที่จะจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้ประมาณสองแสนบาท ผมจึงได้เงินมารักษาตัว แต่สุดท้ายตาผมก็รักษาไว้ได้เพียงแค่ข้างเดียว อีกข้างต้องใส่ลูกตาเทียม" บรรพตกล่าว

เขากล่าวด้วยว่า ทนายประเวศช่วยคดีของเขาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพียงแค่จ่ายค่ารถและเลี้ยงอาหารทนายเท่านั้น เขากล่าวด้วยว่าตัวเองเป็นโรคไตวายเฉียบพลัน ในแต่ละวันต้องใช้น้ำยาล้างไตสี่ครั้ง การมาศาลครั้งนี้ทำให้ไม่สามารถล้างไตได้ตามกำหนดเวลาได้ อาจล้างได้เพียงแค่สองครั้ง

"แต่ผมอยากมาให้กำลังใจเพราะทนายประเวศมีบุญคุณกับผม" บรรพตกล่าว

ทั้งนี้ประเวศ ประภานุกูล อายุ 57 ปี มีอาชีพทนายความ เขาถูกควบคุมตัวตั้งแต่เช้าวันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยไม่มีหมายจับ ไม่มีหมายค้น และไม่แจ้งให้ผู้ถูกควบคุมตัวทราบว่าถูกควบคุมเพราะเหตุใด ก่อนจะพาตัวไปที่ มณฑลทหารบกที่ 11 เขาถูกสอบปากคำ และซักถามประวัติส่วนตัว ซึ่งประเวศให้ความร่วมมือ และยอมลงชื่อในเอกสาร เพราะคิดว่าจะได้รับการปล่อยตัวกลับบ้าน ระหว่างนั้นเขาขอโทรศัพท์ติดต่อบุคคลที่ไว้วางใจ แต่ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมตัว จากนั้นจึงถูกดำเนินการแจ้งข้อหาและฝากขังจนครบ 7 ผัด โดยเคยยื่นประกันตัว 1 ครั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาต

อัยการได้ยื่นฟ้องต่อศาลไปเมื่อวันศุกร์ที่ 21 ก.ค.2560 คำฟ้องสรุปว่าในระหว่างวันที่ 25 ม.ค.-23 เม.ย.2560 ประเวศได้กระทำความผิดรวมทั้งหมด 13 กรรม จากการโพสต์ในเฟสบุ๊คส่วนตัว โดยเป็นการกระทำความผิดในข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ รวม 10 กรรม และในข้อหากระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญหรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 (ยุยงปลุกปั่น) รวม 3กรรม

 

ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น