ประชาไท | Prachatai3.info |
- ผู้ตรวจฯ มีมติรับคำร้องสมชัยกรณีเซ็ตซีโร่กกต.
- รมว.ต่างประเทศ ขอตรวจสอบ 'ยิ่งลักษณ์' ได้สถานะลี้ภัย 'อังกฤษ' หรือไม่
- ธีรยุทธ ชี้ประยุทธ์สับสนกับโรดแมปที่ตั้งขึ้นมา มอง คสช.ไม่สนใจปัญหาคนจนเท่าที่ควร
- จี้สธ.ห้ามตู้กดเบียร์สดขายในร้านสะดวกซื้อ - ซีพีออลล์ประกาศยุติขายร้านเซเว่นฯ
- มติ ครม.ขยายเวลาไว้ทุกข์ ถึง 29 ต.ค.60
- ใครได้ ใครเสียจากคำแถลงร่วม สหรัฐ - ไทย
- บทเรียน 6 ตุลา 2519 กับประชาธิปไตย
- 5 เรื่องน่ารู้ เงื่อนไข ทางตันและทางออกก่อนกาตาลุญญาประกาศเอกราช
- ประยุทธ์พอใจ 'บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ' สรรเสริญ ยันไม่เอื้อประโยชน์นายทุนบางกลุ่ม
- “โลกส่วนตัวของผู้หญิง” ในงานวิชาการ
- ผู้ป่วยโรคไตเผยเจอปัญหาจัดส่งน้ำยาล่าช้าเดือดร้อนทั้งประเทศ
- สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์: ทบทวนไทศึกษา/ล้านนาคดี
- สมช. ระบุการข่าวไม่พบความผิดปกติเตรียมก่อเหตุในเดือน ต.ค.นี้
- วันชาติสาธารณรัฐจีนปีที่ 106 'ไช่อิงเหวิน' ย้ำนโยบายมุ่งลงใต้-ร่วมมือเพื่อนบ้าน
- ปริญญา เทวานฤมิตรกุล: ต้องไม่มีใครติดคุกเพราะจน
ผู้ตรวจฯ มีมติรับคำร้องสมชัยกรณีเซ็ตซีโร่กกต. Posted: 10 Oct 2017 12:55 PM PDT เลขาฯ ผู้ตรวจฯ เผยมีมติรับคำร้องสมชัยกรณีเซ็ตซีโร่กกต. แล้ว ด้าน 'กกต.สมชัย' เตือน คสช. ปลดล็อคพรรคการเมืองช้า กระทบสิทธิพรรคเก่า ส่งผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งหน้า ภาพ สมชัย เข้ายื่นคำร้องต่อ ผู้ตรวจการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 4 ต.ค.ที่ผ่านมา 10 ต.ค. 2560 รายงานข่าวระบุว่า รักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวภายหลังการประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินว่า ที่ประชุมมีมติรับคำร้องที่ สมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ยื่นขอให้พิจารณาและส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามาตรา 70 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.) ว่าด้วยกกต. กรณีให้เซ็ตซีโร่กกต.ชุดปัจจุบันขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ไว้พิจารณาวินิจฉัยแล้ว "หลังจากนี้จะมีหนังสือแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องคือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ยื่นคำชี้แจงกลับมาโดยเร็ว แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าผู้ตรวจการแผ่นดินจะมีความเห็นเรื่องดังกล่าวก่อนกระบวนการสรรหากกต.จะเริ่มขึ้นหรือไม่ เพราะเห็นว่าต่างคนต่างมีหน้าที่ของตัวเอง" รักษเกชา กล่าว รักษเกชา กล่าวว่า ผู้ตรวจฯ ไม่ได้รู้สึกหนักใจ แม้จะทำหน้าที่เหมือนคนกลาง แต่ไม่ใช่บุรุษไปรษณีย์ เรามีอำนาจที่จะวินิจฉัยเบื้องต้นก่อน ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานว่าโดยหน้าที่ของผู้ตรวจฯสามารถวินิจฉัยคำร้องได้เบื้องต้นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากเห็นว่าไม่มีก็ต้องยุติเรื่องและชี้แจงเหตุผลให้สังคมทราบ แต่หากเห็นว่ามีปัญหา ต้องชี้แจงว่าทำไมจึงต้องเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย "การพิจารณาจึงอยู่บนพื้นฐานการยึดข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายเป็นหลักว่าเนื้อหาตามพ.ร.ป.เขียนไว้อย่างไร เพราะเขียนเปิดช่องให้ทำได้ทั้งเซ็ตซีโร่ รีเซ็ตและให้อยู่ครบวาระ แต่การพิจารณาจะไม่นำประเด็นที่ผู้ตรวจฯได้อยู่ครบวาระตามร่างพ.ร.ป.ผู้ตรวจการแผ่นดินมาเป็นปัจจัยพิจารณาวินิจฉัย" รักษเกชา กล่าว 'กกต.สมชัย' เตือน คสช. ปลดล็อคพรรคการเมืองช้า กระทบสิทธิพรรคเก่าขณะที่สมชัย กล่าวถึงการที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มีผลบังคับใช้แล้ว ว่า ถึงคราวที่ควรปลดล็อคการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทางการเมืองได้แล้ว เพราะปฏิทินเริ่มนับ 1 หากครบ 90 วัน และ ครบ 180 วันแล้ว หากพรรคทำสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏใน พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองไม่เสร็จ จะไม่มีสิทธิ์รับเงินอุดหนุนจากกองทุนสนับสนุนพรรคการเมือง และ ไม่มีสิทธิ์ส่งผู้แทนลงรับสมัครรับเลือกตั้ง สมชัย กล่าวว่า หลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา จะครบ 90 วัน ในวันที่ 5 ม.ค. 61 และครบ 180 วัน ในวันที่ 5 เม.ย.61 หากไม่ปลดล็อค สิ่งที่ทำได้ตามกฎหมาย คือ แจ้งเปลี่ยนแปลงสมาชิก ที่แตกต่างจากทะเบียนเดิม ที่แจ้งไว้กับ กกต. แจ้งทุนประเดิม 1 ล้านบาท โดยสามารถใช้เงินและทรัพย์สินที่มีอยู่แล้ว ให้สมาชิกไม่น้อยกว่า 500 คน ชำระค่าบำรุงพรรครายปี และให้สมาชิกพรรคไม่น้อยกว่า 5,000 คน ชำระค่าบำรุงพรรครายปี ภายใน 1 ปี และไม่น้อยกว่า 10,000 คน ใน 4 ปี สมชัย กล่าวว่า ส่วนสิ่งที่ทำไม่ได้ คือ รับสมัครสมาชิกเพิ่ม ในกรณีที่ยังมีสมาชิกไม่ถึง 500 คน การจัดประชุมใหญ่ เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค เลือกหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค การจัดตั้งสาขาพรรค และตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดให้ครบถ้วน และ จดทะเบียนพรรคใหม่ "กฎหมายกำหนดให้พรรคต้องดำเนินการตามกรอบเวลา ซึ่งส่วนใหญ่ต้องเร่งดำเนินการให้ทันภายใน 180 วันหลังกฎหมายบังคับใช้ ยกเว้นการหาสมาชิกในระยะ 1 และ 4 ปี นอกนั้น หากไม่สามารถทำได้ตามกำหนด พรรคจะไม่สามารถส่งผู้สมัคร ส.ส.ในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นคราวหน้าได้ ดังนั้น หากปลดล็อคช้า พรรคเก่ามีโอกาสทำไม่ทัน เตรียมตั้งพรรคใหม่รอได้เลย" สมชัย กล่าว ที่มา : สำนักข่าวไทย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รมว.ต่างประเทศ ขอตรวจสอบ 'ยิ่งลักษณ์' ได้สถานะลี้ภัย 'อังกฤษ' หรือไม่ Posted: 10 Oct 2017 12:43 PM PDT รมว.ต่างประเทศ ขอตรวจสอบ "ยิ่งลักษณ์" ได้สถานะลี้ภัย "อังกฤษ" หรือไม่ ศรีวราห์ รอหมายแดงจากตำรวจสากลเพื่อจับกุม และว่าไม่พบดีเอ็นเอในรถยนต์ที่ 'รอง ผบก.น.5' ขับไป จ.สระแก้ว แฟ้มภาพ 10 ต.ค. 2560 รายงานข่าวระบุว่า ที่ทำเนียบรัฐบาล ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงข่าว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้สถานะผู้ลี้ภัยในประเทศอังกฤษว่า ตนยังไม่ทราบ เพราะตอนนี้มีแต่ข่าวที่ออกมาจากสื่อ ตนจึงยังไม่ใช้คำว่าลี้ภัย เพราะยังไม่แน่ใจ ต้องไปตรวจสอบก่อน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้กระทรวงการต่างประเทศยังไม่ได้คุยอะไรกันมาก เพราะมีเรื่องอื่นๆ อีก ส่วนความคืบหน้าเรื่องเพิกถอนหนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) ของ ยิ่งลักษณ์ นั้น ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของฝ่ายปฏิบัติ ยังไม่มีการรายงานขึ้นมา และที่ผ่านมาถ้าไม่มีเรื่องเร่งด่วนหรือคอขาดบาดตายอะไรเขาจะไม่มารายงาน เนื่องจากต้องการให้ตนทำงานเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ต่อคำถามว่า หากทางอังกฤษให้สถานะลี้ภัยแก่ ยิ่งลักษณ์จริง ทางไทยสามารถคัดค้านได้หรือไม่ นั้น รมว.ต่างประเทศ กล่าวว่า ไม่ทราบ เรื่องนี้ยังไม่ได้คุยกัน อย่าเพิ่งไปกระโดดไปถึงจุดนั้น เพราะตอนนี้มีแต่เพียงข่าวออกมา ขณะที่ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร.ระบุว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าจากอินเตอร์โพล หรือตำรวจสากล หลังสำนักงานตำรวจแห่งชาติประสานให้ออกหมายแดงเพื่อจับกุม ยิ่งลักษณ์ อดีตนายกรัฐมนตรี หนีฟังคำพิพากษาคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวเปลือก คาดใช้เวลาอีกระยะ พร้อมย้ำ ดีอ็นเอผู้หญิงในรถยนต์โตโยต้า คัมรี่ ที่ยึดจากจังหวัดนครปฐม ที่ พ.ต.อ.ชัยฤทธิ์ อนุฤทธิ์ รอง ผบก.น.5 ช่วยราชการ ศปก.น.5 ให้การว่าใช้เป็นพาหนะในการขับพานางสาวยิ่งลักษณ์ไป จ.สระแก้ว ปนเปื้อนมากไม่สามารถตรวจเปรียบเทียบกับตัวอย่างดีเอ็นเอ ยิ่งลักษณ์ ที่เก็บจากของใช้ส่วนตัวได้ ทำให้ต้องเสาะหาหาพยานหลักฐานอื่น ที่มา : สำนักข่าวไทยและกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ธีรยุทธ ชี้ประยุทธ์สับสนกับโรดแมปที่ตั้งขึ้นมา มอง คสช.ไม่สนใจปัญหาคนจนเท่าที่ควร Posted: 10 Oct 2017 12:29 PM PDT ธีรยุทธ มองทั้งคนจนและคนชั้นกลาง และอาจจะรวมไปถึงระดับผู้นำเกิดความสับสน ชี้การเมืองของไทยภายใต้การนำของ คสช. ได้ถอยห่างออกจากการเคารพอำนาจประชาชน และความตั้งใจที่จะกระจายอำนาจให้กับประชาชน
แฟ้มภาพ 10 ต.ค. 2560 สื่อหลายสำนักรายงานตรงกันว่า เมื่อเวลา 13:00 น. วันนี้ (10 ต.ค.60) ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ณ ห้องประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ จัดสัมมนาวิชาการ เรื่องคนจนในบริบทที่เปลี่ยนไปในสังคมปัจจุบัน จัดโดยสถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย โดยมี ธีรยุทธ บุญมี นักวิชาการอิสระ กล่าวเปิดสัมมนาว่า วาทกรรมคนจนเกิดมาผันแปรเปลี่ยนแปลงสถานะมาเรื่อยๆ โดยเริ่มต้นจะมีช่วงหนึ่งที่สังคมไทยจะให้ความสนใจกับคนจนมาก จะมีสมัชชาคนจน มีการเดินขบวนสมัชชาคนจน ค่อนข้างมีพลังมาก ข้อสังเกตก็ดูเหมือนว่าวาทกรรมนี้อ่อนแรงลงไป ไม่ได้หมายความว่าปัญหาคนจนลดลงไป หรือว่าสูญหายไปจากประเทศไทย อาจจะมีความรุนแรงมากขึ้นด้วยซ้ำ แต่ว่าวาทกรรมจะเปลี่ยนไปโดยมุ่งไปที่ชนบท เรื่องของรากหญ้า เกษตรกรมากกว่า ส่วนคนจนเมือง ธีรยุทธ มองว่า ได้รับความสนใจเหลียวแลน้อยลงและที่จริงก็ถูกขับไสค่อนข้างมาก จากการปรับปรุงเมืองเพื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว อันนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าสังเกตุโดยมองภาพโดยรวมไม่ออก ธีรยุทธ กล่าวต่อว่า แล้วก็สังเกตว่าความจริงคนจนจำนวนมากก็สับสนเหมือนๆกัน จากที่ได้นั่งแท๊กซี่และได้คุยกับคนขับรถแท๊กซี่ตนคิดว่าเขาได้มีภาวาะสับสนทางความคิดสูง มีจำนวนมากที่คิดว่า จะเลิกขับรถแท๊กซี่ดีไหม จะกลับไปบ้านดีหรือไม่ จะไปทำอาชีพอะไรต่างๆ ทำให้สังเกตได้ว่าเขาไม่ค่อยบ่นว่าเขายากจน ตนคิดว่าคนจนก็คงจนจนชินแล้ว และแค่หวั่นไหวว่าอนาคตจะทำอย่างไรดี เพราะฉะนั้นภาวะทางจิตใจของคนจนค่อนข้างสับสนพอสมควร สำหรับชนชั้นกลางก็ขาดความมั่นคง ขาดความมั่นใจในอนาคตของตัวเอง เขามีความรู้สึกว่าความมั่นคงในสถานะอาชีพ กำลังเป็นปัญหา โดยสรุปตนคิดว่าคนชั้นกลางส่วนใหญ่กำลังเลื่อนสถานะลง อันนี้ก็เป็นข้อสังเกตที่ตนมองเห็นเรื่องชนชั้นในสังคมไทย "ความสับสนอันนี้ที่เกิดขึ้นทั้งคนจนและคนชั้นกลาง บางทีอาจจะรวมไปถึงระดับผู้นำ อย่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผมก็คิดว่าแกสับสนกับความคิดเหมือนกันเพราะว่าโรดแมปที่ตั้งขึ้นมา แกก็ไม่รู้ไม่เข้าใจว่าช่วงต้น ช่วงกลาง ช่วงปลาย มันอยู่ตรงไหน จะเลือกตั้ง 2559 2560 หรือ 2561 ดี เพราฉะนั้นอันนี้เป็นภาวะปกติของสังคมไทย ผมคิดว่ามุมมองของรัฐบาล กระบวนทรรศน์ของ คสช. และ พล.อ.ประยุทธ์ จะไม่สนใจปัญหาคนจนเท่าที่ควรจากที่ผมสังเกต การบริหารงานของท่านในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ยังขาดลักษณะที่บูรณาการมองเห็นปัญหา ซึ่งมันเกิดจากปัจจัยรอบด้าน ทั้งมิติทางอำนาจ สิทธิ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนจน ท่านพูดเกี่ยวกับคนจนเยอะแต่ผมคิดว่าพูดถึงโดยไม่เข้าถึง" ธีรยุทธ กล่าว "ผมคิดว่าการเมืองของไทยภายใต้การนำของ คสช. ได้ถอยห่างออกจากการเคารพอำนาจประชาชน และถอยห่างออกจากความตั้งใจที่จะกระจายอำนาจให้กับประชาชน ซึ่งเคยเป็นข้อเรียกร้องหรือเป็นแนวความคิดทางการเมืองของเราในรอบ 2 ศตวรรษที่ผ่านมาได้ขาดหายไป ซึ่งทั้งหมดนี้คือ 2 ประเด็นใหญ่ๆที่สรุปได้จากข้อสังเกตที่มีต่อรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์" ธีรยุทธ กล่าว ที่มา : ข่าวสดออนไลน์ และเดลินิวส์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จี้สธ.ห้ามตู้กดเบียร์สดขายในร้านสะดวกซื้อ - ซีพีออลล์ประกาศยุติขายร้านเซเว่นฯ Posted: 10 Oct 2017 11:05 AM PDT ซีพีออลล์ยุติขายเบียร์สดร้านเซเว่นฯ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข จี้กระทรวงสาธารณสุขอาศัยอำนาจตามกกฎหมาย ห้ามตู้กดเบียร์สดขายในร้านสะดวกซื้อ 10 ต.ค. 2560 สำนักข่าวไทย รายงานว่า สำนักบริหารการสื่อสารฯ บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) แจ้งว่าตามที่ฝ่ายการตลาดซีพีออลล์ ได้ดำเนินโครงการทดลองจำหน่ายเบียร์สดที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น จำนวน 18 สาขา ช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมานั้น เนื่องจากมีคำแนะนำและความห่วงใยจากหลายภาคส่วน เมื่อฝ่ายบริหารของบริษัทรับทราบ จึงพิจารณาและมีคำสั่งให้ยุติโครงการทดลองดังกล่าวแล้ว จี้สธ.อาศัยอำนาจตามกกฎหมาย ห้ามตู้กดเบียร์สดขายในร้านสะดวกซื้อวันเดียวกัน (10 ต.ค.60) เมื่อเวลา เวลา13.00 น. ที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) คำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวั คำรณ กล่าวว่า เครือข่ายฯทราบว่าวันนี้ จะมีการประชุมคณะอนุกรรมการพิ 3.ขอขอบคุณคณะกรรมการควบคุมเครื่ "เพราะเป็นร้านสะดวกซื้อซึ่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
มติ ครม.ขยายเวลาไว้ทุกข์ ถึง 29 ต.ค.60 Posted: 10 Oct 2017 10:54 AM PDT ครม. มีมติอนุมัติให้ขยายเวลาการไว้ทุกข์และการลดธงครึ่งเสาในช่วงงานพระบรมศพฯ ไว้ทุกข์ถึง 29 ต.ค.60 ลดธงครึ่งเสา ถึง 30 ต.ค.60 เริ่มเก็บผ้าระบาย ป้ายส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย ตามสถานที่ต่าง ๆ ตั้งแต่คืนวันอาทิตย์ที่ 29 ต.ค. 60 10 ต.ค. 2560 รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ (10 ต.ค.60) คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติให้ขยายเวลาการไว้ทุกข์และการลดธงครึ่งเสาในช่วงงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ ดังนี้ 1. ขยายเวลาการไว้ทุกข์ของข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ จากเดิมขยายจากวันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 2560 ไปจนถึงวันที่ 27 ต.ค. 60 อันเป็นวันเก็บพระบรมอัฐิ รวมเวลา 15 วัน เป็น ขยายไปจนถึงวันอาทิตย์ที่ 29 ต.ค.60 รวม 17 วัน 2. ให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ สถานศึกษา และสถานที่ทำการของรัฐ ทั้งใน และต่างประเทศลดธงครึ่งเสา จากเดิม ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 13 ตุ.ค.60 ถึงวันศุกร์ที่ 27 ต.ค.60 รวมเวลา 15 วัน เป็น จนถึงวันอาทิตย์ที่ 29 ต.ค.60 รวม 17 วัน 3. ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ จากเดิม ออกทุกข์ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 28 ต.ค. 60 เป็นต้นไป เป็น ออกทุกข์ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 30 ต.ค.60 เป็นต้นไป 4. ให้เริ่มเก็บผ้าระบาย ป้ายส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย ตามสถานที่ต่าง ๆ จากเดิม ตั้งแต่คืน วันศุกร์ที่ 27 ต.ค.60 เป็น ตั้งแต่คืนวันอาทิตย์ที่ 29 ต.ค. 60 นอกจากนี้ ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 ก.ย.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ข้าราชสำนักออกทุกข์ ตั้งแต่วันที่ 30 ต.ค.60 ตามประกาศสำนักพระราชวัง เรื่อง กำหนดการออกทุกข์ของข้าราชสำนัก ลงวันที่ 3 ต.ค.60 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ใครได้ ใครเสียจากคำแถลงร่วม สหรัฐ - ไทย Posted: 10 Oct 2017 09:59 AM PDT
การที่พลเอกประยุทธ์ได้รับเชิญไปพบกับประธานาธิบดีทรัมป์มี 'นัยทางการเมือง' ที่น่าสนใจอยู่หลายประการ แต่อาจจะถูกกลบเกลื่อนเสียด้วยเรื่องโรดแมปที่ปรากฏในคำแถลงจนคนอาจจะไม่ค่อยสนใจแง่มุมอื่นๆ ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญและอาจส่งผลต่อประเทศไทยได้มากทีเดียวก็ได้ ที่ควรจะพูดถึงเสียก่อน ก็คือ เรื่องเกี่ยวกับวันเวลาที่จะมีการเลือกตั้ง ซึ่งในคำแถลงร่วมบอกว่า "…ประธานาธิบดีทรัมป์ได้แสดงความยินดีที่ไทยยังคงยึดมั่นตามโรดแมป เมื่อมีการตรากฎหมายลูกตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว ก็จะนำไปสู่การเลือกตั้งในปี 2561…" ซึ่งก็ชัดเจนในตัวอยู่ แต่ในรายงานข่าวของบางสำนักตั้งแต่แรกก็ใช้คำว่า "จะประกาศให้มีการเลือกตั้งในปี 2561" ผมรู้สึกเอะใจตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว ยังได้ทวีตทักเอาไว้ในทันที่ที่เห็นข่าวว่า ประกาศให้มีเลือกตั้งกับให้มีเลือกตั้ง ความหมายไม่เหมือนกัน ต่อมาพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณก็อธิบายว่าพลเอกประยุทธ์หมายความว่า "จะประกาศในปี 61 แต่การเลือกตั้งอาจจะมีขึ้นในปี 62 ก็ได้ ทำให้ผมคิดอยู่ในใจว่า "ว่าแล้วไง" ล่าสุด พลเอกประยุทธ์ออกมายืนยันเอง เป็นที่เข้าใจตรงกันในบรรดาสื่อมวลชนทั้งหลายและคนทั่วไปแล้วว่า การเลือกตั้งจะมีในปี 2562 หรืออย่างเร็วก็ปี 2562 ไม่ตรงกับคำแถลงร่วมสหรัฐ - ไทย จนถึงวันนี้ ผู้ที่ยังเข้าใจผิดเรื่องนี้อยู่คนเดียวอาจจะเป็นประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งก็ดูจะไม่ได้สนใจเท่าไหร่ว่าการเลือกตั้งของไทยจะมีขึ้นเมื่อใดอยู่แล้วด้วย จะว่าไปแล้ว นอกจากเรื่องโรดแมปยังมีข้อความตอนอื่นในคำแถลงที่ไม่เป็นความจริง ที่เห็นได้ชัด ก็คือ ข้อความในข้อ 8 ตอนต่อจากเรื่องโรดแมปที่บอกว่า "….ผู้นำทั้งสองยังได้ตระหนักถึงความสำคัญในการให้ความคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐานทั้งหลาย" นั่นแหละ ประธานาธิบดีทรัมป์จะให้ความสำคัญหรือไม่ ผมไม่แน่ใจ จึงไม่ขอออกความเห็น แต่ที่เป็นที่รู้กันทั่วไป ก็คือ พลเอกประยุทธ์ไม่ได้ให้ความสำคัญในการให้ความคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐานทั้งหลายแม้แต่น้อย สิ่งที่ท่านทำมาตลอด 3 ปีกว่ามันฟ้องอย่างนั้น และจนถึงบัดนี้ท่านก็ยังคงคำสั่งต่างๆรวมทั้งใช้อำนาจที่มีอยู่อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของท่านสั่งการที่เป็นการจำกัดและละเมิดสิทธิสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐานอยู่เป็นประจำและยังจะทำต่อไป ข้อความในคำแถลงในส่วนนี้ จึงไม่เป็นความจริงและถือเอาเป็นสาระอะไรไม่ได้ หลายเรื่องในคำแถลงดูจะเป็นเรื่องที่จะต้องหารือกันอยู่เป็นปรกติ เรื่องอื่นที่น่าสนใจ คือ เรื่องเกี่ยวกับทะเลจีนใต้และคาบสมุทรเกาหลี เรื่องทะเลจีนใต้นั้น ไทยไม่อยู่ในความขัดแย้งโดยตรง การมีข้อตกลงกับใคร จึงต้องสนใจว่า ประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศที่มีข้อพิพาทกันอยู่จะคิดอย่างไรกับเรา ส่วนเรื่องคาบสมุทรเกาหลีนั้น สิ่งที่จะต้องติดตาม ก็คือ ประเทศไทยเราไม่ควรจะทำอะไรที่เกินกว่าความเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ เพื่อหลีกเลี่ยงการต้องไปเผชิญหน้ากับใครโดยไม่จำเป็น ส่วนที่เป็นข่าวว่า การพบกันของสองผู้นำครั้งนี้จะนำไปสู่การค้าและการลงทุนมากขึ้นนั้น ดูจะไม่ค่อยมีความหวังสำหรับไทยสักเท่าไหร่ เพราะบังเอิญเป็นการพบและหารือกันในช่วงที่ผู้นำสหรัฐกำลังหาทางให้นักลงทุนสหรัฐกลับไปลงทุนในประเทศอยู่ กับกำลังต้องการลดการขาดดุลการค้าและถ้าข่าวรัฐบาลไทยพยายามซื้ออาวุธจากสหรัฐเป็นจริงก็ยิ่งทำให้เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า ที่ว่าจะมีการค้ากันมากขึ้นนั้นหมายถึงอะไร โดยภาพรวมแล้ว การเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจย่อมเป็นเรื่องดีสำหรับประเทศไทย แต่การพบกันครั้งนี้ นอกจากเกิดขึ้นในขณะที่ผู้นำสหรัฐมีนโยบายที่เน้นประโยชน์ของประเทศตนต้องมาก่อนแล้ว ยังเป็นช่วงที่สหรัฐกำลังต้องการมีบทบาทในภูมิภาคนี้มากขึ้น ในเรื่องที่ไทยต้องระมัดระวังในการวางตัวอยู่ด้วย ขณะที่รัฐบาลไทยเองก็กำลังอยู่ในสภาพเสียสมดุลเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจอยู่ด้วยพอดี พูดตรงๆ ก็คือ รัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจนั้น กลัวโดนโดดเดี่ยวจากประชาคมโลก เมื่อประเทศทางตะวันตกไม่นิยมชมชอบการรัฐประหาร ก็รีบหยิบฉวยเอามิตรภาพจากมหาอำนาจที่ไม่เห็นว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่องสำคัญ โดยไม่คำนึงว่าจะต้องยกสิทธิประโยชน์อะไรให้แก่เขาบ้าง จนทำให้เสียสมดุลหรือเอียงไป ครั้นพอมหาอำนาจอย่างสหรัฐยื่นมือมาให้จับ ถึงแม้อาจจะทำให้ปัญหาความไม่สมดุลกระเตื้องขึ้นบ้าง แต่แทนที่ประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากการกระชับความสัมพันธ์นี้ก็กลับไม่ได้อะไรเท่าใดนัก และยังมีเรื่องที่สังคมไทยต้องสนใจติดตามเพื่อป้องกันผลเสียที่อาจตามมาด้วย อย่างไรก็ตามต้องแม้ตามกฎหมายของสหรัฐ รัฐบาลสหรัฐจะมีข้อจำกัดในการร่วมมือกับรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร แต่ก็ต้องยอมรับว่าการพบกันของผู้นำทั้งสองในครั้งนี้ได้มีส่วนช่วยเสริมสถานะความมั่นคงของระบบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยให้เข้มแข็งขึ้นอยู่บ้าง รัฐบาล คสช.จึงเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์จากการพบกันของผู้นำทั้งสองในครั้งนี้
เผยแพร่ครั้งแรกใน: FacebookChaturon Chaisang
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
บทเรียน 6 ตุลา 2519 กับประชาธิปไตย Posted: 10 Oct 2017 09:48 AM PDT
วันที่ 6 ตุลาคม 2519 เป็นวันที่นักศึกษาประชาชนถูกป้ายสีว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและเป็นคอมมิวนิสต์ จึงถูกเข่นฆ่าบาดเจ็บล้มตายมากมาย เป็นการฆ่าเพื่อความมั่นคงของระบอบเผด็จการทรราช เสมือนการฆ่าสัตว์บูชายัญก็ไม่ปาน จากนั้นจึงสบโอกาสก่อรัฐประหารฟื้นคืนระบอบเผด็จการทรราชและกวาดล้างประชาชนผู้รักประชาธิปไตย ประชาชนต้องร่วมกันกำจัดวงจรอุบาทว์ทางการเมืองเช่นนี้ ประวัติศาสตร์ 6 ตุลา ชี้ให้เห็นชัดว่า ระบอบเผด็จการทรราชเป็นสิ่งเลวทรามต่ำช้า สร้างคนดีไม่ได้ แก้ไขปัญหาประชาชนและพัฒนาประเทศชาติไม่ได้ ระบอบนี้: 1. สร้างได้แต่ข้าราชการที่เป็นเจ้าคนนายคน ไม่คิดรับใช้ประชาชน ถ้าชาติล่มจม พวกมันก็พาครอบครัวหนีตายก่อนดังที่เห็นในช่วงสงครามอินโดจีน 2. สร้างได้แต่ระบบอุปถัมภ์ ทุจริตแบบบุฟเฟต์เฉกเช่นแร้งลง หากใครตรวจสอบ ก็กลับถูกป้ายสีข้อหาหนัก 3. สร้างได้แต่ 'อาจม' มหา'ลัยที่โกงเวลานักศึกษาไปหากินส่วนตัว หรือไม่ก็ไปเลียผู้มีอำนาจไต่เต้าเอาลาภยศสักการะ 4. สร้างได้แต่อาคารสถานที่ราชการใหญ่โตและสวยงามยิ่งกว่าสำนักงานใหญ่ธนาคารพาณิชย์ เพื่อไว้ใช้สอยกันเอง 5. สร้างได้แต่บ้านพักข้าราชการราคาแสนแพงไว้ให้พวกหัวโจกเสพสุข 6. สร้างได้แต่หนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชาติ เช่น จัดซื้ออาวุธ 7. สร้างได้แต่ระบบภาษีที่รีดนาทาเร้นกับประชาชน แต่ทีกับพวกเดียวกัน เช่น ภาษีมรดกกลับเก็บไม่ได้สักบาท 8. สร้างระบบการแจกเศษเงินฟาดหัวไปวันๆ 9. สร้างได้แต่ความดีจอมปลอมแบบ "คุณหญิงคุณนาย" ในอดีต กับ CSR แบบจอมปลอมในยุคนี้ที่ไม่ได้สร้างสรรค์อะไรดีๆ เป็นชิ้นเป็นอัน แต่คนเสแสร้งทำดีกลับได้ดี ก็เท่านั้น ระบอบเผด็จการทรราช มุ่งแต่จะลดทอนระบบสวัสดิการสังคม เช่น ค่ารักษาพยาบาลของประชาชน 48 ล้านคน มีงบประมาณเพียงปีละ 128,533 ล้านบาท หรือเฉลี่ยคนละ 2,700 บาทต่อปี แต่กับข้าราชการและครอบครัว 10 ล้านคน กลับได้ปีละ 70,000 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 7,000 บาทต่อปี ระบอบเผด็จการทรราชยังเบื่อเมาประชาชนให้จมอยู่กับความสุขชั่วแล่น (Hedonism) และการถือประโยชน์ตัวเองเป็นที่ตั้ง (Self-Centredness) เช่น ในยุคหลังปีกึ่งพุทธกาล ก็มอมเมาให้นักศึกษาสนุกไปกับงานราตรีสโมสรเพื่อไม่ให้ลุกฮือขึ้นต่อต้าน ทำให้เกิดพวก "สายลมแสงแดด" ฮิปปี้ บุบผาชน มาถึง "ฮิปสเตอร์" ในยุคสมัยนี้ จะสังเกตได้ว่าการทุจริตในระบอบเผด็จการทรราชเกิดขึ้นเพราะขาดกลไกการตรวจสอบจากประชาชนนั่นเอง อันที่จริงรัฐบาลที่ดีที่ประชาชนคาดหวัง จะต้องให้เบ็ด ไม่ใช่ให้ปลา ต้องทำให้ประชาชนได้ลืมตาอ้าปาก มีอิสรภาพทางการเงิน มีอิสรภาพทางความคิด ไม่พึ่งต่อระบอบเผด็จการทรราช ไม่กินน้ำใต้ศอกข้าราชการ เช่น 1. ให้ทุนหมุนเวียนไปประกอบอาชีพ เพื่อต่อยอดรายได้ พร้อมให้ช่องทางทำมาหากิน 2. แปลงสินทรัพย์เป็นทุนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต 3. ให้ทุนทางความคิด ให้ทุนการศึกษาทุกอำเภอ หรือแจกคอมพิวเตอร์ให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าเอง 4. ให้ทุนด้านสุขภาพ โดยการรักษาพยาบาลฟรี 5. สร้างสวัสดิภาพประชาชน เช่น ปราบยาบ้า หวยเถื่อนให้ราบคาบ เป็นต้น ระบอบเผด็จการทรราช มักจะดูถูกประชาชน เช่น 1. หาว่าประชาชนเป็นทาสของนักการเมือง แต่อย่างน้อย พวกที่หยามว่า "ทาส" ก็เลือกเอง "นายทาส" เอง ไม่ใช่ถูกบังคับ ข่มขู่ มอมเมาให้เป็นทาส 2. หาว่าประชาชนไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี ทั้งที่ในประวัติศาสตร์โลก ไม่เคยมีกรณีใดที่คนส่วนใหญ่ตัดสินใจผิด ฮิตเลอร์ก็ไม่ได้ถูกเลือกโดยคนส่วนใหญ่ เสียงส่วนใหญ่เป็นความถูกต้องเสมอ 3. หาว่าประชาชนคิดไม่เป็น เอารายได้ที่มีมากขึ้นในยุคประชาธิปไตยไปซื้อจักรยานยนต์หรือมือถือ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยการผลิต และไม่ใช่ของฟุ่มเฟือยในยุคนี้แล้ว 4. หาว่าประชาชนถูกซื้อเสียง ทั้งที่ในประเทศที่มีความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรงจนเกิดสงครามกลางเมือง ก็ต้องอาศัยการเลือกตั้งเป็นตัวยุติปัญหากันทั่วโลก 5. หาว่าประชาชนงมงาย ทั้งที่พวกคุณหญิงคุณนาย นายทุน ขุนศึก ศักดินา ต่างโง่งมไสยศาสตร์จนโงหัวไม่ขึ้น
เหตุการณ์ 6 ตุลา หรือการฆ่าประชาชนในเหตุการณ์อื่น ก็มักถูกวางโครงเรื่องแบบเดิม ๆ คือพอฆ่าเสร็จ ก็ยัดเยียดว่ามีปืน มีอาวุธ ฆ่าเจ้าหน้าที่ เผาสถานที่ราชการ นี่ชี้ให้เห็นว่าเหล่าเผด็จการทรราชเป็นพวกเดียวกันหมด พวกนี้อาจหลอกคนได้ระยะหนึ่ง แต่ไม่อาจหลอกคนได้ตลอดไป พวกนี้อาจหลอกคนได้จำนวนหนึ่ง แต่ไม่อาจหลอกคนส่วนใหญ่ได้ ประชาชนอันไพศาลไม่ได้โง่ เพียงแต่พวกเขาถูกปิดปากเท่านั้น เหล่าวีรชน 6 ตุลา ได้ตายไปอย่างยิ่งใหญ่ แต่น่าสังเวชที่เพื่อนผู้ร่วมต่อสู้กันมาจำนวนหนึ่ง กลับยอมศิโรราบต่ออำนาจเผด็จการทรราชด้วยการขายวิญญาณและเลียเท้าเผด็จการ พวกเขาไม่อาจเอาชนะใจประชาชน จึงชมชอบการถูกแต่งตั้ง (แต่เรียกเท่ๆ ว่า "สรรหา") พวกนี้สร้างสถานการณ์สู้อยู่ข้างถนนเพื่อทำลายประชาธิปไตยแล้วได้รับยศศักดิ์ พวกนี้ไร้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้อยค่ากว่าผู้ค้าบริการทางเพศที่เพียงใช้เฉพาะร่างกายของตนเองหากิน ไม่ได้ปล้นชิงผู้ใด เราจึงไม่ควรถือเดนคนเหล่านี้เป็นเยี่ยงอย่าง ในท้ายที่สุดนี้ เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของวีรชน 6 ตุลา พวกเราต้อง
2. ต้องไม่ยึดติดในชาติวุฒิ วัยวุฒิ คุณวุฒิหรือกระทั่งปัญญาวุฒิไม่รับซากเดนความคิดศักดินาที่ชอบแบ่งชนชั้น ถือยศศักดิ์ เราต้องเคารพในศักดิ์ศรีของมนุษย์ที่เท่ากัน 3. ต้องยืนหยัดไม่หวังรวยทางลัด ไม่ยี่หระต่อลาภยศถาบรรดาศักดิ์ที่ระบอบเผด็จการทรราชหยิบยื่นให้จากการปล้นมา 4. ต้องเคารพและต่อสู้เพื่อประชาชนคนเล็กคนน้อย เพราะประชาชนคือเจ้าของประเทศ ไม่ใช่ผู้อาศัย 5. ต้องอยู่อย่างยิ่งใหญ่ ตายอย่างมีเกียรติ ไม่เป็นสมุนเผด็จการทรราชที่มักตายอย่างเบาหวิว ไร้ค่าดั่งขนนก ที่พวกเราไม่ถูกฆ่าในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 แล้วได้อยู่ได้อีก 41 ปีมานี้ ก็ถือเป็นกำไรชีวิตแล้ว พวกเราที่อยู่หลังจึงต้องไม่ปล่อยให้เหล่าวีรชนตายไปอย่างสูญเปล่า ระบอบเผด็จการทรราชที่กัดกร่อนชาติจงพินาศ ประเทศชาติ ประชาธิปไตย และประชาชน จงเจริญ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
5 เรื่องน่ารู้ เงื่อนไข ทางตันและทางออกก่อนกาตาลุญญาประกาศเอกราช Posted: 10 Oct 2017 06:09 AM PDT วงเสวนาเล่าประวัติศาสตร์การเมืองเรื่องเอกราชของกาตาลุญญา สะกิด ผลประชามติแยกตัวคือเสียงข้างมากของเสียงข้างน้อย ชำแหละทางตันทางกฎหมายของแคว้นในรัฐเดี่ยว เงื่อนไขการเมือง เศรษฐกิจว่าด้วยการแยกตัว เทรนด์ขอแยกตัวด้วยประชามติกำลังมาแรง ของกาตาลุญญายังไม่เป็นที่ยอมรับ ผ่านไปหนึ่งสัปดาห์แล้วหลังแคว้นกาตาลุญญาทำประชามติขอแยกตัวออกจากสเปน มีคนออกมาโหวตร้อยละ 42 โดยร้อยละ 90 ของคะแนนเสียงเห็นด้วยแยกตัว แม้จะถูกรัฐบาลกลางห้ามและมีการใช้กำลังตำรวจของรัฐบาลกลางบุกยับยั้ง ทำลายการลงประชามติ สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนผู้รอลงคะแนนจนมีการปะทะกัน มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 450 ราย ในขณะที่ทางการท้องถิ่นของกาตาลันระบุว่ามีผู้บาดเจ็บมากกว่า 800 คน วันนี้ (10 ต.ค.) สำนักข่าวอินดิเพนเดนท์ของสหราชอาณาจักรรายงานว่า การ์เลส ปุกเดมอนด์ ประธานรัฐบาลท้องถิ่นกาตาลุญญาประกาศว่าพร้อมที่จะขอแยกตัวเป็นเอกราชในคืนวันอังคารนี้ตามเวลาท้องถิ่นสเปน อย่างไรก็ดี เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาก็มีกระแสต่อต้านการแยกตัวเมื่อคนเรือนแสนมาชุมนุมในเมืองบาร์เซโลนา ท่ามกลางการรอคอยครั้งนี้ ที่ไทยก็มีการจัดเสวนาเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในสเปน เมื่อ 9 ต.ค. 2560 ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสาขาวิชาภาษาสเปน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ จัดงานเสวนา มากกว่าการเมืองร่วมสมัย? ร่วมกันเข้าใจสถนการณ์และความขัดแย้งสเปน-กาตาลูญญา ที่ห้อง 802 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) มี รศ.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ ดาบิด กูเตียร์เรซ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาสเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ณภัทร พุ่มศิริ เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตบราซิลประจำประเทศไทย อดีตนักเรียนแลกเปลี่ยน AFS ณ เมืองบาร์เซโลนา เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย สุกิจ พู่พวง งานเสวนามีผู้เข้าร่วมจำนวนมากจนเต็มห้องประชุม ประชาไทนำเสนอเนื้อหาในวงเสวนาออกมาเป็น 5 ข้อเพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ก่อนที่จะเกิดการประกาศเอกราช (ถ้ามี) 1.ปมเอกราชมีมานานนมจากซ้ายไปขวา: สุกิจ พู่พวง ณภัทร พุ่มศิริ สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ย ดาบิด กูเตียร์เรซ สมชาย กล่าวว่า การรวมแคว้นเกิดเมื่อ ค.ศ. 1469 เมื่ออภิเษกระหว่างเฟอร์นันโดแห่งแคว้นอารากอน กับพระนางอิสซาเบลาแห่งคาสติญญา ยุคนี้ยิ่งใหญมากเพราะ ค.ศ. 1492 เป็นปีที่ไล่แขกมัวร์คนสุดท้ายที่บุกเข้ายุโรปและครองสเปนตั้งแต่ ค.ศ. 711ออกจากกรานาด้า การรวมแคว้นอยู่ในลักษณะที่ไม่ได้สนิทสนมเท่าไหร่ แต่ละแคว้นยังอยู่กันเป็นอิสระจนกระทั่ง ค.ศ. 1705 แคว้นกาตาลุญญาถูกรวบเข้ากับสเปน แรงกดดันที่อยากเป็นอิสระมีตั้งแต่ศตวรรษ 15 และรุนแรงมากขึ้นทุกที เหตุการณ์มาแรงมากตอนก่อนที่จะเกิดสงครามกลางเมือง แคว้นกาตาลุญญาก็อยู่ในฝ่ายสนับสนุนสาธารณรัฐ เรียกร้องอิสระมากซึ่งรัฐบาลก็ยอมในสมัยที่เป็นสาธารณรัฐ แต่ท้ายที่สุดก็มีรัฐประหารโดยนายพลฟรังโก้ ตามมาด้วยการรวมสเปนกลายเป็นหนึ่งเดียว กลุ่มฝักใฝ่การแยกตัวหลบหนีไปอยู่ที่อื่นและถูกลดทอนบทบาทลง โดยเฉพาะในแคว้นบาสก์ รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1978 บัญญัติว่าสเปนต้องเป็นหนึ่งเดียว แต่ยังเปิดให้แคว้นต่างๆ มีอิสระเสรีแม้ไม่ได้ปกครองในรูปแบบสหพันธรัฐ แคว้นกาตาลุญญามีเสรีภาพด้านการศึกษา มีการสอนภาษากาตาลัน มีรัฐบาลท้องถิ่น หัวหน้าก็เรียกว่า presidente มีอำนาจรัฐสภาท้องถิ่น สถานการณ์ที่ทำให้การแยกตัวกลับมาร้อนแรงคือเมื่อปี 2006 รัฐบาลกลางสเปนภายใต้พรรคโซเชียลลิสตาต้องการคะแนนเสียงในสภา จึงต้องไปเจรจากับพรรคต่างๆ และสนับสนุนแคว้นกาตาลุญญาให้มีสิทธิ์เสียงมากขึ้น นำไปสู่การลงประชามติรับรองกฎหมายรัฐบัญญัติว่าด้วยการปกครองตนเอง (Statute of Autonomy) ในปี 2006 ที่ให้เสรีภาพในการปกครองตนเองของแคว้นกาตาลุญญามากขึ้น แต่ก็มีพรรคปาร์ติโด ปอปูลาร์ (พีพี) สืบทอดมาจากนายพลฟรังโกที่เป็นเสียงข้างน้อยคัดค้านไม่เห็นด้วย ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญว่ารัฐบัญญัติขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1978 และใน ค.ศ. 2010 ศาลก็ตัดสินว่าขัดแย้งจริง ดังนั้นกฎหมายที่ออกมาก็ไม่ผ่าน ภาวะใกล้ได้อิสระแต่ไม่ได้ทำให้กระแสแยกตัวในกาตาลุญญายิ่งร้อนแรง นำไปสู่การเดินขบวนครั้งใหญ่ในเมืองบาร์เซโลนาเมื่อปี ค.ศ. 2010 ยิ่งมีสถานการณ์ค่าเงินยูโรที่ทำให้สเปนและแคว้นต่างๆ ลำบาก ประธานแคว้นกาตาลุญญายิ่งขอความเป็นอิสระ เพราะแคว้นกาตาลุญญาจ่ายเงินให้รัฐบาลกลางมากกว่าที่รับมา รัฐบาลกลางตอนนั้นไม่คุยเพราะสภาวะแย่มาก นำไปสู่ความแค้นมากขึ้น นำไปสู่เหตุการณ์ 2014 เป็นการลงประชามติแยกตัว ร้อยละ 80 ของคนเห็นด้วยกับการแยกตัวเป็นเอกราช แต่สัดส่วนผู้ไปออกเสียงมีเพียงร้อยละ 33 จากทั้งหมดเท่านั้น 2. รัฐธรรมนูญ 1978 อิสรภาพแคว้นมากแต่แบ่งแยกไม่ได้ กลายเป็นทางตันทางการเมืองณภัทรกล่าวว่า ถ้าจะมองว่าอะไรเป็นสิ่งที่เกิดสิ่งนี้ขึ้นคือเศรษฐกิจและรัฐธรรมนูญปี 1978 เกิดขึ้นมาแล้วเป็นทั้งข้อจำกัดและช่องว่างให้เกิดประชามติที่ผ่านมา ข้อจำกัดคือสเปนแบ่งแยกไม่ได้ แต่การที่เขาให้อิสระแคว้นในการปกครองตัวเองก็เป็นช่องว่างหลายอย่าง ทั้งนโยบายการศึกษาที่ให้ใส่ความเป็นกาตาลันเข้าไปได้ ในห้องเรียน ใครที่เชียร์เรอัล มาดริดถือว่าเป็นแกะดำ กาตาลุญญามีอิสระในการสร้างกองกำลังตำรวจ (มอสโซส) เป็นของตัวเองได้ สะท้อนว่าเขามีอิสระถึงขนาดไหน รวมถึงมีสถานทูตขนาดเล็กในประเทศต่างๆ แม้จะไม่ได้รับการยอมรับก็ตาม มันเลยเกิดภาพความย้อนแย้งในกฎหมาย เพราะทั้งจำกัดและให้อิสระ รัฐบาลท้องถิ่นจึงตีความว่าในเมื่อฉันออกกฎหมายได้ก็แปลว่าสามารถออกกฎหมายทำประชามติได้สิ การมีสภาท้องถิ่นในรูปแบบการปกครองแบบรัฐเดี่ยวกลายเป็นปัญหา เวลามันผ่านไปแสดงให้เห็นว่ามีความย้อนแย้งในตัวเองอยู่ 3. ผลประชามติเป็นเสียงข้างมากของเสียงข้างน้อย แต่การแยกตัวสร้างบรรยากาศที่ไม่เหมือนเดิมสมชายกล่าวว่า คนเห็นด้วยกับการแยกตัวไม่ใช่เสียงข้างมาก เป็นเพียงร้อยละ 90 ของร้อยละ 40 จากจำนวนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทั้งหมด และไม่สามารถยืนยันได้ว่าผลออกคะแนนเสียงเป็นทางการเนื่องจากการลงประชามติไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ เพราะจากการหยั่งเสียงพบว่าไม่ต้องการแยกตัวมีมากกว่า แต่ฝ่ายแยกตัวเป็นเอกราชประโคมข่าวกันมากกว่า ณภัทรกล่าวว่า ยังเป็นเรื่องที่เถียงกันไม่จบว่าคนกาตาลันส่วนมากอยากแยกตัวเป็นเอกราชหรือไม่ เพราะคนที่อยากแยกตัวก็อ้างว่าผลการเลือกตั้งรัฐบาลท้องถิ่นที่สนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราชเมื่อปี 2015 ก็ชี้ชัดแล้วว่าคนอยากแยกตัว แต่คนที่ไม่อยากแยกก็อ้างสถิติการลงประชามติว่าคนอยากแยกตัวเป็นส่วนน้อย แต่เมื่อประมวลประวัติศาสตร์การต่อสู้ระหว่างกาตาลุญญากับรัฐบาลกลางมาตลอดจนทุกวันนี้ ที่มีการชุมนุมใหญ่ในเมืองบาร์เซโลนาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาดูมีความรุนแรงก็จะยิ่งทำให้คนกาตาลันไม่รู้สึกสนิทใจกับคนสเปนเท่าเดิมอีกต่อไป การรวมตัวบนความแตกต่างทางวัฒนธรรมยังมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดของคนในสเปนจนถึงปัจจุบัน ดาบิดกล่าวว่า ถึงสเปนจะมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมจาก 17 แคว้นรวมกันแต่ทั้งหมดก็อยู่ด้วยกันได้ แต่ว่าเราก็รู้สึกว่าไม่ค่อยเข้าใจกันเท่าไหร่ แต่ละที่มีอัตลักษณ์ของตัวเองและไม่ได้ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับแคว้นอื่น การมีเอกลักษณ์ตนเองอย่างเหนียวแน่นก็ทำให้เข้ากับแคว้นอื่นได้ยากเหมือนกัน เพราะแคว้นกาตาลุญญาก็มีภาษาและวัฒธนธรรมของตัวเอง ความรู้สึกเป็นกาตาลันที่มันจัดๆ ก่อนหน้าที่จะเกิดวิฤกติเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องที่เป็นประเด็นหลัก มิติด้านประวัติศาสตร์เป็นเพียงแรงผลักส่วนเล็กๆ หลัง 1978 กาตาลุญญาก็แฮปปี้ที่อยู่กับสเปน ครอบครัวอุปถัมภ์ (โฮสท์) ที่เป็นลูกครึ่งอันดาลูเซีย-กาตาลัน ในบาร์เซโลนาก็เกิดการรวมกันระหว่างสเปนกับกาตาลันพอสมควร คนกาตาลันไม่เข้าใจคนสเปนจริงไหม ก็เป็นไปได้ แต่ในบาร์เซโลนาก็มีการหลอมรวมอยู่ ถ้าหากจะมองกันจัดๆ คนกาตาลันมองว่าคนสเปนเป็นพวกอนุรักษ์นิยม ในทางกลับกันสเปนก็มองกาตาลันว่าเห็นแก่ตัว รวยแล้วหยิ่ง ก่อนจะเดินทางไปสเปนในฐานะนักเรียนแลกเปลี่ยนมีนักเรียนแลกเปลี่ยนสองคนคนหนึ่งไปมาดริดอีกคนไปบาร์เซโลนาไปเยือนสถานทูตในไทย มีเจ้าหน้าที่ทูตท่านหนึ่งออกมาพูดคุย แต่พอรู้ว่ามีคนไปบาเซก็หันไปบอกเจ้าหน้าที่ AFS ว่าระวังนะ อย่าส่งเด็กไปกาตาลุญญา ก็สะท้อนถึงความไม่เข้าใจหรือทัศนคติที่เกิดขึ้นอยู่ คนในยุโรปส่วนใหญ่ไม่ได้เอาประวัติศาสตร์มาผูกใจเจ็บ ไม่มีละครแบบรากนครา คนกาตาลันหลายๆ คนก็บอกว่าเป็นส่วนที่เขามองว่าตัวเองเป็นคนยุโรปมากกว่า มองไปในอนาคตว่าสิ่งที่อยู่ตอนนี้มันไม่โอเค แล้วยิ่งมีความรุนแรงเกิดขึ้นก็รู้สึกว่าไม่เอาแล้ว ออกจากสเปนดีกว่า แม้อนาคตจะดูริบหรี่ อนาคตจะดีกว่านี้ ความเป็นกาตาลันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาทั้งหมด 4. วางถุงกาวแล้วตั้งสติ เปิดเงื่อนไขเศรษฐกิจ การเมืองใน-นอกประเทศว่าด้วยการแยกตัวสมชายกล่าวว่า ถ้าหากกาตาลุญญาประกาศเป็นเอกราชย่อมเกิดการเผชิญหน้า ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมรับกันและกัน ถ้ารัฐบาลกลางใช้ไม้แข็งปลดรัฐบาลท้องถิ่นด้วยมาตรา 155 ก็จะมีปัญหา รัฐบาลกลางเองก็ไม่กล้าใช้เพราะรัฐบาลกลางประกอบด้วยสองพรรคที่ไม่เห็นด้วยกับประชามติแต่ก็ไม่อยากให้รัฐบาลใช้มาตรา 155 ในการยึดอำนาจรัฐบาลท้องถิ่นที่อาจจะมีความรุนแรงและก่อปัญหาคาราคาซัง และถ้าหากใช้จริง กาตาลุญญาก็คงพยายามใช้โอกาสหาความชอบธรรมเพื่อให้ประเทศต่างๆ รับรอง สอง ถ้ากาตาลุญญาแยกตัวก็จะหลุดจากสหภาพยุโรป (อียู) กรณีนี้ถ้าหยุดออกจากสเปนแล้วจะเข้าอียูใหม่ก็ต้องสมัครใหม่ สาม ในแง่เศรษฐกิจ กาตาลุญญากับสเปนมีตลาดร่วมทั้งในทางสินค้า เงินทุนและแรงงาน เมื่อแยกประเทศจะมีปัญหาในทางกฎหมายเรื่องการส่งออก กาตาลุญญากับสเปนจะสูญเสียสิทธิประโยชน์เรื่องการนำเข้า-ส่งออกแบบไม่มีภาษี ทำให้เศรษฐกิจของทั้งสเปนและกาตาลุญญาได้รับผลกระทบ ทางออกที่สองคือการเจรจา ทางกาตาลุญญาก็ต้องการให้อียูเป็นตัวกลาง แต่อียูไม่กล้าทำเพราะมันจะกลายเป็นตัวอย่างนำร่องของโมเดลการแยกดินแดน การเจรจาก็มีสองทาง นำไปสู่การเจรจาเพื่อทำประชามติอย่าเป็นทางการเปิดกว้างยุติธรรมในอนาคต หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1978 แล้วค่อยเจรจา แต่ถ้าแก้ไขแบบนั้นก็จะต้องมีผลกระทบกับแคว้นอื่นที่เหลือ ทางออกที่สาม จัดตั้งเป็นสหพันธรัฐสเปนไปเลย ณภัทรกล่าวว่า ตัวของกาตาลุญญาเองก็เชื่อว่ารัฐบาลหรือคนที่สนับสนุนรัฐบาลก็ถอยหลังไม่ได้แล้ว เพราะถอยตอนนี้ก็จะเสียไปหมด เขาก็ต้องสู้ให้ถึงที่สุด มันมีสัญญาณบางอย่างที่ธนาคารหลายแห่งก็ย้ายตัวออกจาก กาตาลุญญาไปแล้ว เป็นสัญญาณว่าภาคเศรษฐกิจเชื่อว่าอาจมีบางอย่างเกิดขึ้นจริงๆ นอกจากนั้นธนาคารก็ต้องการความแน่นอนสูงสุดเพราะต้องรักษาลูกค้าในสเปนที่เหลือกว่า 30 ล้านคนก็ต้องถอยออกมา ถ้าประกาศเอกราชจริงๆ คนที่มองก็มองในระยะยาวว่ามันจะดีขึ้น แต่แน่นอนว่ามันไม่ใช่สิ่งที่ง่ายๆ โฮสท์พ่อที่ทำเรื่องเกี่ยวกับการเป็นเอกราชมาตั้งแต่ 2012 ก็เชื่อว่าเสรีภาพจะไม่ได้มาในระยะเวลาอันสั้น สิ่งที่กาตาลุญญามีตอนนี้คือประชาชน การเกิดขึ้นตามรัฐใหม่ตามกฎหมายระหว่างประเทศบัญญัติว่าต้องมีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย แต่ว่ากาตาลุญญาตอนนี้ยังทำไม่ได้ขนาดนั้นกาตาลุญญาซวยนิดหนึ่งตรงที่ว่าตอนนี้โลกทั้งใบนิยมขวา เขาก็ไม่อยากสนใจเพราะประเทศตัวเองยังต้องกินต้องอยู่ ก็ตีความไปเป็นเรื่องภายในประเทศ 5. เทรนด์ขอแยกตัวด้วยประชามติกำลังมาแรง ของกาตาลุญญายังไม่เป็นที่ยอมรับผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงนี้ประชามติถูกใช้เป็นเครื่องมือในความพยายามแยกตัวเป็นเอกราชของกลุ่มต่างๆ นอกจากประชามติของกาตาลุญญาแล้วเรายังเห็นประชามติขอแยกตัวของชาวเคิร์ดในอิรักเมื่อ 28 ก.ย. ที่ผ่านมา โดยมีผู้ใช้สิทธิลงคะแนนในครั้งนี้ร้อยละ 72.61 ของผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนทั้งหมด มีคนลงคะแนนเห็นชอบกับการให้เขตกึ่งปกครองตนเองของชาวเคิร์ดเป็นอิสระมากถึง 3.3 ล้านเสียง คิดเป็นร้อยละ 92.73 อย่างไรก็ตามนับเป็นการลงประชามติในแบบที่ไม่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย สกอตแลนด์เคยจัดทำประชามติขอแยกตัวกับสหราชอาณาจักรมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2557 ผลประชามติปรากฏว่าร้อยละ 55 ต้องการให้อยู่กับสหราชอาณาจักรต่อไป แต่นิโคลา สเตอร์เจียน นายกฯ สกอตแลนด์ก็ประกาศที่จะทำประชามติอีกครั้งหนึ่ง ภายหลังสหราชอาณาจักรทำประชามติขอแยกตัวจากสหภาพยุโรป เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2560 มีรัฐทางตอนใต้ของบราซิลสามรัฐได้แก่รัฐปารานา รัฐซานตา กาตารินา และรัฐริโอ กรานเด โด โซล ทำประชามติขอแยกตัวจากบราซิล แต่ประชามติไม่มีผลใดๆ ทางกฎหมาย ในปีที่แล้วก็มีประชามติในลักษณะนี้มาแล้วเมื่อเดือน ต.ค. มีผู้ไปออกเสียงเป็นจำนวนทั้งสิ้น 616,917 คน ร้อยละ 95 ของผู้มาออกเสียงเห็นด้วยกับการแยกตัว แต่สัดส่วนผู้มาออกเสียงนั้นเป็นเพียงร้อยละ 3 จากผู้มาออกเสียงทั้งหมด สมชายกล่าวว่า ความชอบธรรมเมื่อแยกเป็นเอกราชสามารถมองได้สองแง่ กฎหมายระหว่างประเทศกับในประเทศ กรณีสกอตแลนด์และแคนาดา รัฐธรรมนูญแคนาดาอนุญาตให้ทำประชามติได้ กรณีอังกฤษก็เหมือนสเปน เป็นรัฐเดี่ยว แยกไม่ได้แต่อนุญาตให้แยกได้ถ้าการทำประชามติได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา สกอตแลนด์จึงถูกต้องตามกฎหมายเพราะรัฐสภานำโดยนายกรัฐมนตรีเดวิด แคเมรอน อนุญาต แต่ในสเปนรัฐบาลและรัฐธรรมนูญไม่ได้อนุญาตให้ทำประชามตินี้ ตามกฎหมายระหว่างประเทศนั้น การจะเป็นประเทศจะต้องได้รับการยอมรับจากประเทศอื่นๆ มีกรณีการแยกประเทศได้แต่ไม่ได้รับการรับรอง เช่นไครเมีย การเมืองระหว่างประเทศก็มีส่วนเนื่องด้วยรัสเซียมีอิทธิพลในบริเวณนั้น นี่คือเหตุผลที่กาตาลุญญาไม่มีประเทศไหนยอมรับ เพราะถ้ายอมรับก็เท่ากับกติกาโลกเปลี่ยนไปหมด ข้อมูลเพิ่มเติม First Brexit, now BRAXIT? Brazil faces SPLIT as southern states want to form NEW country, Express, October 8, 2017 รัฐสภาสกอตแลนด์ลงมติแล้ว เห็นชอบทำประชามติอีกรอบ, BBC, March 29, 2017 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ประยุทธ์พอใจ 'บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ' สรรเสริญ ยันไม่เอื้อประโยชน์นายทุนบางกลุ่ม Posted: 10 Oct 2017 04:58 AM PDT ประยุทธ์พอใจ 'บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ' ช่วยแบ่งเบาภาระผู้มีรายได้น้อยระดับฐานราก สรรเสริญ ยันไม่เอื้อประโยชน์นายทุนบางกลุ่ม กรมบัญชีกลาง แจงไม่ขัดรัฐธรรมนูญ 10 ต.ค. 2560 จากกรณีเมื่อวันที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า สมาคมขอเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดเอื้อประโยชน์ธุรกิจให้เจ้าสัวผ่านบัตรคนจนตามที่รัฐบาลมีโครงการ ประชารัฐสวัสดิการช่วยเหลือคนจนที่ลงทะเบียนนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปรูดซื้อสินค้าตามร้านที่กำหนด รัฐบาลต้องควักเงินทั้งสิ้น 41,940 ล้านบาทต่อปี ไม่ต่างอะไรกับนโยบายประชานิยมของรัฐบาลในอดีตที่ไม่ได้ช่วยเพิ่มตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ของประเทศ แต่เป็นเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มธุรกิจเจ้าสัว นายทุนใหญ่เจ้าของสินค้าอุปโภค-บริโภคขนาดใหญ่ที่ส่งผ่านสินค้าไปยังตัวแทนผู้จำหน่ายในรูปร้านธงฟ้าประชารัฐ ขณะที่สินค้าจากชาวบ้าน สินค้าจากธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จากกลุ่มผู้ผลิตในท้องถิ่นที่ไม่มีไลน์ธุรกิจจะไม่สามารถขายสินค้าของตนเองได้ นั้น ประยุทธ์พอใจช่วยแบ่งเบาภาระผู้มีรายได้น้อยระดับฐานรากล่าสุดวันนี้ (10 ต.ค.60) เมื่อเวลา 13.40 น. ณ บริเวณห้องโถง ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่มอบให้กับผู้มีรายได้น้อยว่า เป็นโครงการที่รัฐบาลทำได้ตรงตามเป้าหมาย และดีที่สุดในช่วงเวลานี้ ถึงแม้จะมีวงเงินจำนวนไม่มาก แต่ก็สร้างความสุข สามารถแบ่งเบาภาระให้กับผู้มีรายได้น้อยระดับฐานราก พร้อมกล่าวขอบคุณความร่วมมือจากภาคเอกชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐในการอำนวยความสะดวกเรื่องการใช้บัตรให้กับผู้มีรายได้น้อย สรรเสริญ ยันไม่เอื้อประโยชน์นายทุนบางกลุ่มพล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงกระแสข่าวโจมตีและวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐในสื่อออนไลน์ใน 3 ประเด็น คือ 1.การนำบัตรไปแลกเป็นเงินซึ่งมีการหักค่าหัวคิว 2.สิ่งที่รัฐบาลทำโครงการนี้เงินจะไหลเข้าสู่กลุ่มนายทุน หรือเจ้าสัวผู้เป็นเจ้าของกิจกาiที่นำของจำหน่ายในร้านธงฟ้า และ 3.ผู้ที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐว่าเป็นผู้ที่กู้เงินจากธนาคารไม่ได้ โดยระบุว่าทั้งหมดทุกประเด็นเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล และกลุ่มผู้ไม่หวังดี ซึ่งเป็นข้อห่วงใยจาก พ.อ.ประยุทธ์ ที่ต้องการทำความเข้าใจโดยผ่านสื่อมวลชน เพื่อให้สังคมเกิดความเข้าใจในความพยายามแก้ไขปัญหาในอดีต ในการช่วยผู้มีรายได้น้อย พล.ท.สรรเสริญ ชี้แจงแต่ละประเด็นเริ่มประเด็นแรกอธิบายว่า ในการบริหารงานมีทั้งรัฐมนตรี ผู้ที่ดูแลด้านนโยบายและข้าราชการ เจ้าหน้าที่ พนักงาน ลูกจ้างผู้ปฏิบัติ และเแม้รัฐบาลเปลี่ยนไปแต่ระดับปฏิบัติยังเป็นคนเดิม ยอมรับว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่อาจมีบางคนกระทำการทุจริต และหากใครพบเห็นหรือมีเบาะแสข้อมูลให้แจ้งมายังรัฐบาล ซึ่งจะเดินหน้าตรวจสอบข้อเท็จจริงและเอาผิด ทั้งร้านธงฟ้าที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่ที่ทุจริต เพื่อให้โครงการเป็นไปอย่างโปร่งใสและตรงตามความต้องการของประชาชน ประเด็นที่ 2 ชี้แจงว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการอุ้มเจ้าสัว เพราะว่าร้านธงฟ้าในปัจจุบันมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการกว่า 20 รายและมีรายการสินค้ากว่า 40 รายการมีและประเภทสินค้ากว่า 300 รายการ กำลังมีผู้ประกอบการจากหลายส่วนกำลังเข้าร่วมโครงการอีกมาก ทั้งวิสาหกิจชุมชน สถาบันเกษตรกรของประชาชน กลุ่มเอสเอ็มอี ประเด็นที่ 3 ข้อกล่าวหาว่า หากใครมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะกู้เงินไม่ได้ เมื่อพิจารณาจากผู้ที่ได้รับบัตรซึ่งมีฐานรายได้น้อยกว่า 100,000 บาทต่อปี หรือโดยเฉลี่ยต่อเดือนมีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ซึ่งทำให้การกู้เงินปกติค่อนข้างลำบาก กรมบัญชีกลาง แจงบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่ขัดรธน.ส่วนข้อวิจารณ์ของ ศรีสุวรรณ ข้อหนึ่งของโครงการนี้ ว่า มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ว่าเป็นการสูญเสียงบประมาณในการจัดทำบัตรสวัสดิการ ซึ่งมีงบประมาณที่ใบละ 35 บาท รวมทั้งอาจขัดมาตรา 62 ของ รธน. ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน 2542 นั้น สุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ว่า การดำเนินการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนตรงตัว ตรงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน และต้องการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการแนวทางการจัดประชารัฐสวัสดิการ การให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 แต่โดยที่บัตรประชาชนที่ประชาชนถืออยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าจะเป็นแบบเอนกประสงค์ (Smart Card) แต่จัดเก็บเฉพาะข้อมูลบุคคล ข้อมูลสิทธิการรักษาพยาบาลของ สปสช. ข้อมูลหน่วยบัญชาการกำลังสำรอง และข้อมูลทะเบียนเกษตรกร โดยยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพและรายได้ รวมทั้งยังไม่สามารถนำไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการที่เครื่องรูดบัตรได้ (Electronic Data Capture : EDC) ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อใช้เป็นสื่อในการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ ซึ่งเป็นราคามาตรฐานทั่วไป
ที่มา : เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล, ไทยพีบีเอส และ Voice TV
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
“โลกส่วนตัวของผู้หญิง” ในงานวิชาการ Posted: 10 Oct 2017 04:42 AM PDT วงเสวนาเพื่อมุทิตาจิต 'นลินี ตันธุวนิตย์' หัวข้อ "โลกส่วนตัวของผู้หญิง" 'ธเนศ' ชี้ เรื่องส่วนตัวต้องการการปกปิด ขณะที่ "ความเสือกคือรูปแบบหนึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ นั่นคือสถานะสำคัญของนักวิชาการ" ด้าน 'ฉันทนา' กล่าว ยุคสมัยใหม่แบ่งโลกส่วนตัวจากโลกสาธารณะ เป็นปัญหาแก่ชนชั้นล่าง โลกส่วนตัวหญิงชายแตกต่าง สะท้อนในงานวิชาการ เมื่อวาน (10 ต.ค.) คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทย จากซ้ายไปขวา ปณิธี บราวน์, อมต จันทรังษี, ธเนศ วงศ์ยานนาวา, ฉันทนา บรรพศิริโชติ หวันแก้ว ความลับของโลกส่วนตัวที่ต้องเปิดเผยธเนศ วงศ์ยานนาวา อาจารย์ประจำสาขา การพูดถึงชีวิตส่วนตัวทำให้ชีวิตไม่มีความเป็นส่วนตัว ความเป็นส่วนตัวพูดถึงไม่ได้ เมื่อไหร่พูดถึงก็ไม่มีความเป็นส่วนตัว การพูดถึงความเป็นส่วนตัวจึงเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัว การกล่าวถึงความเป็นส่วนตัวจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อพูดกับสิ่งที่เล่าต่อไปไม่ได้ การเล่าถึงความเป็นส่วนตัวเพื่อยังคงความเป็นส่วนตัวไว้อยู่นั้นก็ต้องทำตัวเป็นสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิตเท่านั้นที่เก็บความลับไว้ได้ การเก็บความลับเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก อาชีพหลายอาชีพจึงจำเป็นต้องมีจริยธรรมทางอาชีพ เป็นกฎที่กำหนดว่าคนต่างๆ เหล่านี้จะไม่ละเมิดความลับ เช่น พระรับฟังคำสารภาพบาป ทนายความเก็บความลับของลูกความ วิถีการสารภาพความลับในกระบวนการศาสนาและยุติธรรมมีเป้าหมายเหมือนกันคือการแสดงให้เห็นถึงความจริง การสารภาพความลับทั้งในศาสนาและกระบวนยุติธรรมแสดงให้เห็นถึงการจรรโลงคุณธรรม ทั้งสองให้ประโยชน์กับผู้นำเสนอความจริงที่ถูกปกปิด ทำให้ผู้ฟังมีสถานะพิเศษเพราะได้รับความรู้ถึงชั้นสุดยอด คนกุมความลับแสดงให้เห็นถึงสถานะของคนมีอำนาจ ความเป็นส่วนตัวถูกปกปิดแต่เมื่อมีใครบางคนรู้ก็แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่เปลี่ยนแปลงไป การเข้าถึงความลับสุดยอดจึงเป็นรูปแบบการกระหายอำนาจ การเข้าถึงความลับเป็นการเพิ่มอำนาจ การดักฟัง เข้าถึงข้อมูลจึงเป็นการเพิ่มอำนาจ เมื่อความเป็นส่วนตัวหมดไป เมื่อความลับที่ดำมืดทั้งหมดถูกเปิดเผยจากการรุกรานเข้าไปในดินแดนที่ไม่มีแสงสว่างใดสาดส่องไปถึง ความเป็นส่วนตัวไม่ต้องการความโปร่งใส ความต้องการความโปร่งใสให้แสงสว่างแห่งความรู้สาดส่องเข้าไปกลับแสดงให้เห็นถึงการรุกราน การรุนรานเข้าไปในวิถีชีวิตส่วนตัวเป็นวิถีของโลกสมัยใหม่ โลกที่ใช้สื่อเป็นหัวหอกสำคัญในการทะลุทะลวงความเป็นส่วนตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง เหล่าดารา นับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา วัฒนธรรม "เสือกเรื่องส่วนตัว" เป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของการดำเนินชีวิต วิถีแห่งการสื่อสารเพื่อมวลชนยิ่งมีความเป็นมวลชนมากขึ้นเท่าไหร่ วัฒนธรรมแห่งแสงสว่างที่สาดส่องให้ทุกอณูของชีวิตไร้ซึ่งความมืดก็จะยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น สภาวะที่ดำมืดของความเป็นส่วนตัวก่อให้เกิดความอึดอัดวิตกจริตเพราะแสงสว่างไม่อาจสาดไปถึงได้ ความเป็นส่วนตัวต้องการความไม่รู้ สำหรับบุคคลสาธารณะรวมไปถึงบุคลิกภาพที่ครอบคลุมวิถีชีวิตมีส่วนสำคัญในการให้เขาหรือเธอกลายเป็นคนดัง วิถีของคนดังเหล่านี้จึงต้องไร้ซึ่งความมืด ต้องมีไฟส่องตลอดเวลาไม่ว่าเขาหรือเธอจะชอบหรือไม่ มวลชนต้องการให้แสงสว่างในทุกแห่งที่มีมุมมืด ภายใต้ยุค enlightenment คนต้องการให้ทุกที่มีแสงสว่างสาดส่อง เมื่อพื้นที่ส่วนตัวที่ดำมืดถูกแสงสว่างสาดส่องก็ทำให้ความเป็นส่วนตัวเปิดเผยออกมาและรูปแบบที่สร้างความตื่นเต้นให้แก่ผู้คนเป็นอันมากก็คือเรื่องเพศ วัฒนธรรมหนังสือโป๊จึงเป็นวัฒนธรรมแห่งแสงสว่างที่สาดส่องเข้าไปในพื้นที่ส่วนตัวมากที่สุด วิถีแห่งหนังสือโป๊เปิดเผยเรื่องส่วนตัวให้ไม่เป็นความลับอีกต่อไป สำหรับศตวรรษที่ 21 วิถีแห่งหนังสือโป๊ไม่ทรงพลังมากเท่ากับวิถีแห่งเทคโนโลยี เช่น รายการเรียลลิตี้ รวมถึงไลฟ์ในอินเทอร์เน็ต การถ่ายทอดสดชีวิตส่วนตัวในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป วิถีการโชว์ชีวิตส่วนตัว (exhibitionism) ไม่ได้เป็นเรื่องต้องห้ามอีกต่อไป วิถีการเป็นผู้แอบมองไม่จำเป็นต้องแอบมองอีกต่อไป ผู้ถูกมองก็ยินดีให้มอง ทุกคนต่างสมประโยชน์ซึ่งกันและกัน การจ้องมองไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะค้นพบความจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ ที่ทุกคนในสภาวะสมัยถูกทำให้ค้นหาความจริง ทุกๆ คนจึงเป็น Discovery Channel ไปในตัวเอง เพียงการได้เห็นในสิ่งที่คนอื่นต้องการให้เห็นก็ไม่ได้ทำให้มั่นใจว่านั่นเป็นความจริง เพราะความหวั่นวิตกว่าอะไรตกหล่นไปไม่ครบถ้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอในวิถีแห่งความเป็นส่วนตัว ความหวาดวิตกว่าจะถูกจัดฉากให้ถูกจ้องมองก็เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไปได้ยาก การเปิดเผยผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่กระทำกันสดๆ กลับทำให้รู้สึกว่าเป็นภาพลวงตา การจัดฉากหรือการถูกหลอกเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่มากไม่น้อย การวิตกจริตว่าถูกหลอกก็มีอยู่เสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสื่อ อย่างภาพยนตร์เรื่อง Truman Show ที่เล่นกับคำว่า Truman Show ก็สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะวิตกจริตนั้น ความรู้สึกถูกปิดบังดำเนินไปพร้อมกับความต้องการจะปิดบัง สภาวะการของความต้องการจะรู้แต่ถูกกีดกันดูจะเป็นเงื่อนไขสำคัญในการดำรงชีวิต ชีวิตที่ดำมืดที่แสงสว่างที่ถูกกีดกัน แสงสว่างที่แสดงตัวด้วย Rationality หรือจิตสำนึก เพียงแต่ว่าจิตไร้สำนึกที่ทรงพลังดังมหาสมุทรที่ซ่อนเข็มแห่งความเจ็บปวดเอาไว้ใต้ท้องทะเลลึกที่แสงสว่างไม่อาจจะสาดส่องไปถึงได้ สภาวะจิตไร้สำนึกทำให้ความเป็นส่วนตัวคงความเป็นส่วนตัวมากขึ้นไปอีก เพราะบุคคลมีสติและสำนึกผู้นั้นเองก็ไม่อาจล่วงรู้ความลับอันดำมืดของตัวเองได้ ความลับส่วนตัวนั้นดำมืดจึงเป็นอะไรที่รู้ได้ต่อเมื่อบุคคลผู้นั้นรู้และคนอื่นไม่รู้ ในบางทีความลับที่ดำมืดดำมืดเฉพาะบุคคล นั่นเพราะตัวเองไม่รู้ว่าตัวเองเป็นในขณะที่คนอื่นรู้ถึงสิ่งเหล่านั้น ความลับที่ซ่อนอยู่ที่ต้องการให้เปิดเผยเป็นฐานคิดที่สำคัญมากสำหรับการแสวงหาความรู้ในโลกสมัยใหม่ สภาวะสมัยใหม่ที่ต้องการให้ทุกสิ่งสว่าง แสงสว่างแห่งปัญญาที่หามีอย่างอื่นเสมอเหมือน แสงสว่างที่เสริมสร้างความต้องการที่จะทะลุทะลวงหรือความเสือกในรูปแบบหนึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เรียกว่าความรู้ นั่นคือสถานะสำคัญของนักวิชาการ
ยุคสมัยใหม่แบ่งโลกส่วนตัวจากโลกสาธารณะ ชนชั้นกลางไม่เจอปัญหาเท่าชนชั้นล่าง โลกส่วนตัวหญิงชายแตกต่าง สะท้อนออกมาในงานวิชาการฉันทนา บรรพศิริโชติ หวันแก้ว อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โลกส่วนตัว โลกสาธารณะ เกี่ยวข้องกับความเป็นสมัยใหม่ โลกต้องแยกชัดเจน โลกสาธารณะถ้าพูดถึงพื้นที่ก็คงเป็นเรื่องการเมือง โลกส่วนตัวคืออยู่ที่บ้าน ถ้าแยกแบบนี้เป็นปัญหากับใคร ชนชั้นกลางอาจไม่รู้สึกมากนัก เมื่อไปดูงานวิทยานิพนธ์ของนิสิตเกี่ยวกับการจะเป็นผู้ว่าฯหญิงได้ ส่วนใหญ่มาจากชนชั้นกลางขึ้นไปถึงจะมีต้นทุนที่จะทำให้โลกส่วนตัว(บ้าน)ไม่เป็นอุปสรรคในการทำงาน ถ้าดูพัฒนาการของการแบ่งโลกแบบนี้ ในโลกสมัยใหม่คุณค่าที่ให้คือคุณค่าทางการเมือง บทบาทที่ถูกกำหนดมาคือบทบาทของผู้ชาย แต่เอาเข้าจริงสำหรับชนชั้นกลางก็เบลอ ถ้าในโลกหญิงชาย บทบาทการเมือง เศรษฐกิจเป็นอาณาบริเวณหนึ่งที่ถูกตีค่าให้สูงขึ้น แต่ยิ่งโลกพัฒนาเท่าไหร่ บทบาทบ้านยิ่งน้อยลง เรากำลังก้าวสู่ยุคหลังอุตสาหกรรม ในยุคอุตสาหกรรมก็คือยุควัตถุนิยมอะไรที่สัมพันธ์กับการสร้างวัตถุได้มีค่าเป็นเงินก็จะได้รับการประเมินค่ามากกว่า ส่วนใหญ่ผู้ชายมีบทบาทในขณะที่ผู้หญิงถูกกำหนดให้อยู่ในพื้นที่ส่วนตัวหรือบ้าน แต่ยุคหลังอุตสาหกรรม เป็นผลของทุนนิยมหรือความย้อนแย้งของโลกสมัยใหม่หรือเปล่าที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนคุณค่าโลกทั้งสองสลับไปมา การเกิดโลกสมัยใหม่มีอิทธิพลของทุนนิยมกำกับด้วย ทุนนิยมเป็นลัทธิสนับสนุนชายเป็นใหญ่รึเปล่า เพราะผู้ชายน่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าในความหมายของระบบตลาด แต่หลังยุคอุตสาหกรรมการให้คุณค่ากับเงินเริ่มเปลี่ยนแปลงไป มีการโยกย้ายสลับบทบาทระหว่างการบ้านการเมืองกับบทบาทในครัว นักวิชาการอาจเจอปัญหานี้ไม่มากเท่ากับชนชั้นล่างลงไป เพราะต้องทำงานสองด้าน งานภายนอกสร้างรายได้ ขณะเดียวกันต้องดูแลบ้านในโลกส่วนตัวด้วย สิ่งที่ทำให้ชายหญิงต่างกันในโลกส่วนตัว มันต่างกันไหมระหว่างโลกส่วนตัวของชายและหญิง? ยกตัวอย่างความสนใจเรื่องแมวของอาจารย์นลินีก็แสดงออกถึงความอ่อนโยน ละเมียดละไม เป็นโลกส่วนตัวของผู้หญิง งานด้านวิชาการก็สะท้อนออกมาจากการดูแล (caring) ไม่ได้จำกัดว่าผู้ชายไม่สามารถทำได้ แต่บทบาทนี้สะท้อนออกมาจากกายภาพ งานวิชาการออกมาในลักษณะที่มีความอ่อนไหวต่อคนที่มีอำนาจน้อย อันนี้จะเรียกว่ามีความเชื่อมโยงได้รึเปล่า? งานอ.นลินี approach เป็นการเล่าเรื่อง (narrative) ทำให้เห็นแง่มุมของผู้คนอีกด้านที่ถูกมองข้ามไปในกระบวนการพัฒนา อันนี้เป็นส่วนที่แตกต่างในงานวิชาการ และไม่ได้หมายความว่าการเล่าเรื่องไม่มีพลัง สำหรับสำนักเศรษฐศาสตร์การเมือง อาจสนใจการเล่าเรื่องน้อยหน่อย แต่ต้องการการชี้ประเด็นไปเลยว่าผิดถูกอย่างไร นำไปสู่การถกเถียงว่าสไตล์นี้จะนำไปสู่การคัดง้างงานวิชาการกระแสหลักอย่างไร แต่คิดว่าคุณค่ามันคือการได้เห็นแง่มุมลึกซึ้งของชีวิตผู้คน ประเด็นวิชาการยังให้คุณค่าของความสำคัญของโลกส่วนตัวน้อยอยู่ ในฐานะผู้หญิง มีภาระส่วนตัวอาจจะกินเวลาไม่น้อยไปกว่างานที่เราทำในโลกวิชาการ แต่มันไม่ถูกนับ เวลาที่บอกว่าสังคมเราลงทุนในทางเวลา พลังงาน ในการดูแลสังคม ดูแลพลเมืองต่อไปมากน้อยเท่าไหร่ไม่มีใครรู้ เพราะไม่เคยถูกตีค่า ดังนั้นคนที่เป็นผู้ว่าฯผู้หญิง ถ้าไม่มีทุน เครือข่าย ฐานะครอบครัวที่ดี หรอืถ้ามีบุตรก็ต้องมีพี่เลี้ยง ถ้าไม่เจอเงื่อนไขแบบนี้ ถ้าเป็นผู้หญิงก็ต้องแบกรับภาระของทั้งสองโลก อาจพูดได้ว่าผู้หญิงทำงานวิชาการอาจมีข้อจำกัด แต่โลกกำลังจะเปลี่ยน การแบ่งระหว่างคุณค่าการเมือง เศรษฐกิจอาจลดลง แล้วเพิ่มคุณค่าให้โลก caring มากขึ้น
มองงานวิชาการผ่านโลกสาธารณะและโลกส่วนตัวของอาจารย์นลินีอมต จันทรังษี อาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แบ่งหัวข้อออกเป็นโลกสาธารณะ และ โลกกึ่งสาธารณะและโลกส่วนตัวของอาจารย์นลินี ตันธุวนิตย์ โลกสาธารณะ สังคมมองงานวิชาการเป็นสองขั้วแบบเหมารวม ขั้วหนึ่งคือ masculine (เพศชาย) มีลักษณะพับบลิก เป็นมุมมองที่หนัก เกี่ยวข้องกับอำนาจการปะทะกัน ส่วนอีกขั้วคือ feminine (เพศหญิง) เป็นด้านความสัมพันธ์ ประณีประนอม สมานฉันท์ การพัฒนาผู้หญิงและเด็ก สิ่งแวดล้อม แต่เราจะทำไงให้สองขั้วมาเจอกันและสลายขั้วสองขั้วนี้ งานวิชาการของอ.นลินีเห็นชัดว่าไม่จำเป็นต้องจับประเด็นผู้หญิง สิ่งแวดล้อม แต่เป็นประเด็นการเคลื่อนไหวทางสังคม คนที่ถูกกดทับ การปะทะของอำนาจรัฐ อาจารย์ได้เปิดมุมมองใหม่สำหรับการเป็นนักวิชาการผู้หญิง ไม่จำเป็นต้องอยู่ขั้วตรงข้ามกับความเป็นชาย ปกติในงานวิชาการมักถูกมองเหมารวมว่างานวิชาที่เป็นเพศชายมักอัดแน่นเรื่องการอธิบายแบบเหตุผล มีลักษณะเป็น objective (ภาวะวิสัย) ในตัวงาน อาจทำให้เห็นว่าตัวงานมีความน่าเชื่อถือมากกว่า อีกขั้วหนึ่งมักถูกมองเป็นลบมองว่างานวิชาการผู้หญิง ผูกโยงกับการใช้อารมณ์ในการเข้าถึงข้อมูล โกรธ ดีใจ ยินดีเวลาเข้าไปอยู่ใน field (สนาม) การวิจัย มักถูกมองว่าเป็นsubjective (อัตวิสัย) มีความน่าเชื่อถือแค่ไหน ในงานอาจารย์นลินีมี emotional แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นแง่ลบ งานหลายอันของอาจารย์ การใช้ emotion ทำให้เราเห็นอารมณ์ที่อยากรู้อยากเห็นอยากสะท้อนเกี่ยวกับคนที่เราไปศึกษาอย่างไรบ้าง ทำให้เห็นว่านี่คือความเป็นพลังของความเป็นผู้หญิงในงานวิชาการ โลกกึ่งสาธารณะและโลกส่วนตัว โลกที่อาจารย์ใช้สร้างนักวิชาการไม่ใช่ในห้องเรียนหรือโลกสาธารณะอย่างเดียว แต่เป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ เช่น รถตู้ รถบขส. รวมถึงโลกส่วนตัวคือบ้านของอ. เวลาอาจารย์สร้างนักวิชาการ อาจารย์สร้างได้ในพื้นที่หลากหลาย ระหว่างนั่งรถตู้ไปบ่อนอก เราฟังแกนนำพูดแล้วขึ้นรถตู้ คำถามหนึ่งที่อาจารย์ถามขึ้นมาคือ คิดว่าสามารถนำกลยุทธ์การต่อสู้ไปตีพิมพ์ได้รึเปล่า เกิดการถกเถียงกันในรถตู้ สิ่งที่อาจารย์สรุปคือ ถ้าประสบการณ์แบบนี้ถูกบอกเล่าแล้วขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมอื่นหยิบไปเป็นกลยุทธ์การเคลื่อนไหวก็อาจเป็นประโยชน์ ทำให้เกิดการเรียนรู้โดยไม่จำเป็นต้องเกิดในห้องเรียน บางครั้งอาจารย์เปิดบ้านซึ่งเป็นโลกส่วนตัวที่สุดให้เราเข้าไปนั่งทำงาน ทำให้เห็นว่าบางครั้งเราจำเป็นต้องใช้โลกส่วนตัวในการทำงานวิชาการด้วย การผสมกันระหว่างโลกส่วนตัวและโลกสาธารณะทำให้อาจารย์มีสไตล์บางอย่างที่สร้างนักวิชาการ บางครั้งการยกตัวอย่างก็สำคัญกว่าทฤษฎี หรือการคำปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์ของอาจารย์จะไม่ติเพียงอย่างเดียว แต่อาจารย์มักมีทางออกเสมอในการคอมเมนต์ ไม่ใช่การบอกตรงๆ แต่เป็นการไกด์ให้เราไปค้นเพิ่มเติมจนเห็นทางออกด้วยตัวเอง วิธีการทำงานแบบนี้ทำให้พวกเราไม่เคว้งคว้างจนเกินไป อาจารย์ทำให้เห็นว่าสนามในการวิจัยไหนเหมาะกับผู้หญิง ชุมชนแออัดก็สามารถเป็น field work ของผู้หญิงได้ สไตล์อาจารย์มีผลต่อวิธีคิดของดิฉันเอง การที่เป็นนักสังคมวิทยาสิ่งที่เราต้องสนใจด้วยคือเรื่องอารมณ์ความรู้สึก ดังนั้นโลกส่วนตัวและโลกสาธารณะของอาจารย์สามารถมีอิทธิพลต่อโลกส่วนตัวและโลกสาธารณะของลูกศิษย์ได้
โลกส่วนตัวและโลกสาธารณะของผู้หญิงชนชั้นล่าง และโลกส่วนตัวของผู้หญิงข้ามวัฒนธรรมปณิธี บราวน์ อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า บทบาทผู้หญิงในโลกส่วนตัว เราสนใจชีวิตแม่ค้าหาบเร่แผงลอยตอนทำวิทยานิพนธ์ ได้ลงชุมชนเรียนรู้เรื่องคนในชุมชน คนที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักกับเราหนีหนี้เงินกู้หายตัวไป เราเขียนลงในงานกังวลว่างานจะเป็นอย่างไรต่อ อาจารย์นลินีคอมเมนต์ว่าเราไม่ห่วงเรื่องสวัสดิภาพของเขาเลยเหรอ ห่วงแต่ธีสิสจะทำยังไง อาจารย์ทำให้เรารู้สึกว่าเขาไม่ใช่แค่ object แต่เราต้องสัมพันธ์กับเขาในฐานะมนุษย์ด้วย ระหว่างโลกส่วนตัวกับสาธารณะแยกได้จริงหรอ? มันอาจจะซ้อนทับกันก็ได้ เช่น เมื่อผู้หญิงต้องทำงาน สะท้อนจากประสบการณ์ที่เราทำวิจัยในสนาม ผู้หญิงออกไปทำงานหารายได้ โดยเฉพาะผู้หญิงชนชั้นล่างมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจ และเมื่อกลับบ้านก็ถูกเรียกร้องภาระของการทำงานบ้าน เวลามองการทำงานบ้านของผู้หญิง เราลงสนามในการรับรู้ของงานบ้านแบบผู้หญิงชนชั้นกลาง ที่มีห้องนอน ห้องครัว ห้องรับแขก ได้ไปถามว่าพี่ในชุมชนว่าเขาจัดการงานบ้านอย่างไร และพบว่าบ้านเช่าของเขาเป็นห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ซึ่งกิจกรรมทุกอย่างอยู่ในนั้น งานบ้านจึงไม่เยอะ ไม่มีห้องหลายห้อง เมื่อผู้หญิงออกมาทำงาน งานก็เลี่ยงไม่ได้เกี่ยวกับงานผู้หญิง เช่น แม่บ้านทำความสะอาด ทั้งที่ความจริงการที่ผู้หญิงออกมาทำงานก็ไม่จำเป็นต้องทำงานแบบผู้หญิงเสมอไป โลกส่วนตัวของผู้หญิงในงานศึกษาข้ามวัฒนธรรม เราเคยศึกษาการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมของหญิงไทยกับชาวต่างชาติ (ชาวดัชต์) เขาเปิดเผยเรื่องส่วนตัว ชีวิตรัก และมิติทางเพศ การนิยามความเป็นส่วนตัวก็มีลักษณะข้ามวัฒนธรรม บางทีเขามองว่ามันเป็นเรื่องที่แชร์กับคนแปลกหน้า(นักวิจัย)ได้ แต่เขาไม่แชร์กับคนรู้จัก เพราะอาจเกิดการนินทา ส่วนการเข้าถึงข้อมูลของผู้หญิงต่างวัฒนธรรมนั้นยาก การสัมภาษณ์ชาวตะวันตก เกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ของครอบครัว การจัดการความขัดแย้ง เขามองว่ามันเป็นเรื่องส่วนตัว ครัวบ้านเป็นเรื่องส่วนตัว คุณต้องนั่งรอในห้องรับแขก ดังนั้นจึงยากเข้าถึง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ผู้ป่วยโรคไตเผยเจอปัญหาจัดส่งน้ำยาล่าช้าเดือดร้อนทั้งประเทศ Posted: 10 Oct 2017 04:04 AM PDT ประธานชมรมเพื่อนโรคไตฯ เผยขณะนี้เกิดปั 10 ต.ค. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า ธนพลธ์ ดอกแก้ว ประธานชมรมเพื่ ธนพล กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวเริ่มเกิดขึ้นในช่ ประธานชมรมเพื่ หมอบางโรงพยาบาลบอกว่าที่ ประธานชมรมเพื่ "ตอนนี้เขาแจ้งมาว่าเริ่มจัดส่
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์: ทบทวนไทศึกษา/ล้านนาคดี Posted: 10 Oct 2017 03:50 AM PDT ปาฐกถานำ "ทบทวนไทศึกษา/ ล้านนาคดี" โดยศาสตราจารย์ ดร.สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ เมื่อ 20 กันยายนที่ผ่านมา โดยการปาฐกถาเป็นส่วนหนึ่งของงานสัมนาวิชาการ "มานุษยวิทยา ล้านนาคดี และประวัติศาสตร์นิพนธ์ คนสามัญ อานันท์ 70 ปี" ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 20 - 21 เดือนกันยายน 2560 ที่สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเนื้อหาการนำเสนอของสมพงศ์ เริ่มต้นด้วยเรื่องทำไมต้องทบทวนไทศึกษา/ล้านนาคดีศึกษา ทั้งในแง่การนิยาม/การให้ความหมาย "ไทศึกษา"/"ล้านนาคดีศึกษา" เป้าหมายของการศึกษา การตอบโจทย์ทางวิชาการ/โจทย์ของสังคม ผลของการศึกษา: ทำให้เข้าใจคนไท/สังคมไท/คนเมือง/สังคมล้านนาดีขึ้นจริงหรือ? ใครเป็นผู้เข้าใจ และนำมาใช้แก้ปัญหาทางสังคมของสังคมไท/สังคมล้านนาได้หรือไม่? VUCA "New Normal" ความปกติแบบใหม่ ความผันผวน (Volatillity) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความซับซ้อน (Complexity) ความกำกวม (Ambiguity) ที่คนกำลังเผชิญ คำถามก็คือเราเข้าใจสังคม เศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลอย่างไร เราจะทำอย่างไร อย่างธนาคารที่เคยรับฝากเงินแล้วให้ดอกเบี้ยต่อไปก็อาจคิดค่าฝากหรือทยอยปิดสาขา แนวโน้มจะเกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ก็คือ VUCA หรือความปกติแบบใหม่หรือเปล่า นอกจากนี้สมพงศ์ยังตั้งคำถามต่อถึง ไทศึกษา/ล้านนาคดีศึกษา กับความปกติแบบใหม่ ว่าสังคมและวัฒนธรรมล้านนาจะเป็นอย่างไร นักวิจัย/นักวิชาการจะมีท่าทีต่อสภาพสังคมแบบใหม่นี้อย่างไร การศึกษาวิจัยจะมีส่วนช่วยเหลือชุมชนล้านนาได้อย่างไร ประเด็นการศึกษาเรื่องคนท้องถิ่น/คนชายขอบ/คนต่างชาติ ควรปรับอย่างไร เมื่อเข้าใจแล้วต่อไปจะช่วยเหลือได้อย่างไรทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ ธเนศ วงศ์ยานนาวา: มิเชล ฟูโกต์ แฮมเบอร์เกอร์ อร่อยจริงหรือเปล่า, 21 ก.ย. 2560 พหุวัฒนธรรม ความหลากหลาย ทิศทางและข้อท้าทาย ล้านนาคดีศึกษาและวิชาการเพื่อสังคม, 22 ก.ย. 2560
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สมช. ระบุการข่าวไม่พบความผิดปกติเตรียมก่อเหตุในเดือน ต.ค.นี้ Posted: 10 Oct 2017 03:22 AM PDT เลขาฯ สมช. คนใหม่ ระบุการข่าวไม่พบความผิดปกติเตรียมก่อเหตุในเดือน ต.ค.นี้ ยันเดินหน้าสานต่องานด้านความมั่นคง เตรียมเสนอแผนนโยบายความมั่นคงระดับชาติ ปี 60-64 กสทช. ตรวจสอบสัญญาณระบบสื่อสารบริเวณสนามหลวง ยันพร้อม 100% พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) คนใหม่ 10 ต.ค. 2560 สำนักข่าวไทย รายงานว่า พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) คนใหม่ เปิดเผย ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีถึงแนวทางการปฏิบัติงานของสภาความมั่นคงแห่งชาติหลังรับตำแหน่ง ว่า จะปฏิบัติตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรื่องเร่งด่วนของ สมช. คือ ดูแลภาพรวม ทั้งปัญหาภายในประเทศและภายนอกประเทศ ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะยังคงมีคณะกรรมการดูแล ประสานกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า และมีคณะพูดคุยสันติสุขเช่นเดิม รวมถึงการก่อการร้าย ก็ต้องติดตามใกล้ชิด "ในวันนี้ สมช.จะเสนอแผนนโยบายความมั่นคงระดับชาติ ปี 2560-2564 จะครอบคลุมความมั่นคงใน 19 ด้าน ซึ่งทั้งหมดเกี่ยวกับความมั่นคงในประเทศไทย ทำแบบครอบคลุมทุกด้าน และสามารถหยิบมาใช้ได้ตามสถานการณ์ ส่วนเรื่องการก่อการร้าย เราเฝ้าระวังเต็มที่ ปัญหาในประเทศไทยไม่รุนแรงเท่าประเทศอื่น ซึ่งเราจะเฝ้าระวังไม่ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย" พล.อ.วัลลภ กล่าว เมื่อถามถึงกรณีฝ่ายความมั่นคงเปิดเผยว่ามีกลุ่มจ้องก่อความวุ่นวายในช่วงเดือนตุลาคม พล.อ.วัลลภ กล่าวว่า ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องดังกล่าวกับหน่วยข่าวทุกภาคส่วน ทั้งเหล่าทัพ ตำรวจ อย่างไรก็ตาม ยังคงติดตามอย่างต่อเนื่อง และยังไม่พบความผิดปกติ กสทช. ตรวจสอบสัญญาณระบบสื่อสารบริเวณสนามหลวง ยันพร้ |
วันชาติสาธารณรัฐจีนปีที่ 106 'ไช่อิงเหวิน' ย้ำนโยบายมุ่งลงใต้-ร่วมมือเพื่อนบ้าน Posted: 10 Oct 2017 03:06 AM PDT ประธานาธิบดีไช่อิงเหวินกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีฉลองวันชาติปีที่ 106 ย้ำพันธะของไต้หวันมีบทบาทสำคัญที่ขาดไม่ได้ต่อสันติภาพ ความมั่นคง และความรุ่งเรืองในเอเชียแปซิฟิก จะยืนอยู่บนพื้นฐานประชาธิปไตยและเสรีภาพ ผลักดันนโยบายมุ่งลงใต้อย่างเต็มที่ เชื่อมโยงและรักษาสัมพันธภาพกับประเทศเพื่อนบ้าน ชี้มูลค่าการค้ากับชาติในทะเลใต้เพิ่มขึ้น 20% ที่มาของภาพประกอบ: Flickr/ทำเนียบประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน ประธานาธิบดีไช่อิงเหวินแห่งไต้หวัน สาธารณรัฐจีนได้เอ่ยถึงการผลักดันนโยบายมุ่งสู่ใต้ครั้งใหม่ขณะที่ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีฉลองวันชาติสาธารณรัฐจีนปีที่ 106 ในช่วงเช้าวันที่ 10 ตุลาคมศกนี้ว่า วันนี้เราได้มาอยู่กันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากับบรรดามิตรจากทั่วโลก ข้าพเจ้าจึงต้องขอย้ำอีกครั้งว่า เราคือผู้รักในสันติภาพ เรามีเจตจำนงค์และมีความสามารถเพียงพอที่จะอุทิศคุณูปการต่อสังคมโลกให้มากยิ่งขึ้น โดยในสุนทรพจน์ของไช่อิงเหวินกล่าวด้วยว่าเจตจำนงของประชาชนในรอบ 20 ปีมานี้ต้องการเห็น "ไต้หวันที่ดีขึ้น" ซึ่งเธอจะยึดมั่นต่อเจตจำนงนี้ด้วยการทำทุกอย่างให้ดีขึ้น ได้เน้นย้ำ 3 ข้อ ได้แก่ 1. จะทำให้บรรลุตามพันธสัญญาที่ตั้งไว้และเร่งการปฏิรูป 2. ปกป้องประชาธิปไตยและเสรีภาพของไต้หวัน 3. มุ่งหาตำแหน่งแห่งที่ของไต้หวันตามระเบียบโลกใหม่ (อ่านสุนทรพจน์) ที่มาของภาพประกอบ: Flickr/ทำเนียบประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน ตามรายงานของ สถานีวิทยุ RTI ไช่อิงเหวินกล่าวย้ำว่า ไต้หวันเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่ขาดไม่ได้ต่อสันติภาพ ความมั่นคงและความรุ่งเรืองในเอเชียแปซิฟิก พวกเราจะร่วมมือกับประเทศข้างเคียงที่มีแนวความคิดเหมือนกันอย่างแนบแน่น ยืนอยู่บนพื้นฐานประชาธิปไตยและเสรีภาพ เราจะเร่งผลักดันนโยบายมุ่งใต้ใหม่อย่างเต็มที่ เพื่อเชื่อมโยงและรักษาสัมพันธภาพกับประเทศเพื่อนบ้าน มูลค่าการค้ากับประเทศนโยบายมุ่งใต้ใหม่ เพิ่มขึ้นเกือบ 20% เทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลสำเร็จที่ประจักษ์ต่อหน้าพี่น้องร่วมชาติ พวกเราส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านบุคลากร ปัจจุบันจำนวนเยาวชนที่เข้าร่วมหลักสูตรเทคนิคเฉพาะด้านในต่างประเทศกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นักศึกษาที่มีประสบการณ์ข้ามประเทศเหล่านี้ถือเป็นบุคลากรส่งเสริมความรุ่งเรืองในภูมิภาคในอนาคต พวกเราส่งเสริมความร่วมมือการผลิต กระทรวงเศรษฐการจัดตั้งหน่วยงานการลงทุนของไต้หวัน เพื่อให้บริการสองฝ่ายในด้านการลงทุนและการให้คำปรึกษาใน เวียดนาม ฟิลิปปินส์อินโดนีเซีย เมียนมาร์ ไทย และอินเดีย พวกเราดำเนินการจัดตั้งกลไกด้านสินเชื่อในต่างประเทศ เพื่อให้ SMEs ที่ต้องการไปลงทุนในเอเชียอาคเนย์ เช่น การค้ำประกัน เพื่อให้ผู้ประกอบการไต้หวันและประเทศนโยบายมุ่งใต้ พัฒนาศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่ เป็นการเชื่อมห่วงโซ่การผลิตอนุเคราะห์กันเพื่อการชนะสองฝ่าย จุดประสงค์ของการดำเนินนโยบายมุ่งใต้ใหม่ เป็นการแสวงหายุดยืนที่เป็นประโยชน์ต่อไต้หวันในสังคมนานาชาติอีกครั้ง และถือโอกาสนี้บอกต่อเพื่อนทั่วโลกว่า การเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเอเชียแปซิฟิก ไต้หวันเตรียมความพร้อมและแสดงบทบาทสำคัญเพื่อความสงบมั่นคงและความรุ่งเรืองในภูมิภาค ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล: ต้องไม่มีใครติดคุกเพราะจน Posted: 10 Oct 2017 02:05 AM PDT ถ้าคนหาเช้ากินค่ำอย่างป้าขาว (ยัง) ไม่ผิด แล้วทำไมต้องติดคุก ปริญญา เทวานฤมิตรกุล จากเครือข่ายปฏิรูปการประกันตัวเพื่อคนจน ตีแผ่ความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรมและชวนทุกคนร่วมกันเปลี่ยนแปลง สักสองสามสัปดาห์ก่อน หลายคนน่าจะได้เห็นคลิปตัวหนึ่ง 'ป้าขาวไม่ผิด' บอกเล่ากระบวนการยุติธรรมที่ผลักคนจนเข้าคุกเพียงเพราะไม่มีเงินประกันตัว มาพร้อมกับการณรงค์รวบรวมรายชื่อผ่านเว็บไซต์ Change 'เปลี่ยนระบบเงินประกันต้องไม่มีใครติดคุกเพราะจนอีกต่อไป' คนประมาณ 66,000 คนที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่ามีความผิด ต้องติดคุก เพียงเพราะไม่มีหลักทรัพย์หรือเงินมาประกันตัว ลองนึกดูว่าหากท้ายที่สุดแล้ว พวกเขาไม่มีความผิด สิ่งที่คนกลุ่มนี้ต้องสูญเสียไปในโลกหลังกำแพง ใครจะชดใช้ได้เพียงพอ "คนตั้ง 66,000 คนที่ประกันตัวไม่ได้ ไม่ใช่เพราะศาลไม่ให้ประกัน แต่เพราะเขาไม่มีเงิน เนื่องจากศาลกำหนดหลักประกันเป็นเงิน ในคดีที่มีโทษอย่างสูงถึงประหารชีวิตก็ต้องมี 8 แสนบาทเป็นอย่างต่ำ ในคดีที่มีโทษจำคุกตลอดชีวิตก็ต้องมี 6 แสนบาท ผลลัพธ์ของวิธีการแบบนี้คืออะไร มันก็คือกระบวนการยุติธรรมในแบบที่คนมีเงินก็ไม่ต้องติดคุก ส่วนคนที่ไม่มีเงิน ถ้ากู้ยืมใครไม่ได้ ก็ต้องติดคุก" ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ตัวแทนจากเครือข่ายปฏิรูปการประกันตัวเพื่อคนจน กล่าว เราจะทำให้ถ้อยคำประชดประชันทำนองว่า คุกมีไว้ขังคนจนหรือเศรษฐีนอนบ้าน ขอทานนอนคุก เปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยหนักหนาพออยู่แล้ว ไม่จำเป็นที่กระบวนการยุติธรรมจะเพิ่มความเหลื่อมล้ำในส่วนนี้อีก เรื่องนี้ไม่ง่าย จะเป็นความตั้งใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าแนวคิดการใช้เงินเป็นหลักประกันนั้นฝังอยู่ในแนวทางปฏิบัติของสถาบันตุลาการมาเนิ่นนาน ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะรื้อถอน แต่ความยากไม่ใช่ข้ออ้างที่จะนิ่งเฉย ไม่กฎหมายฉบับใดบอกว่า ต้องใช้เงินประกันตัว เป็นที่รับรู้กันดีว่า จำเลยยังถือเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ตราบใดที่ศาลยังไม่พิพากษาว่ามีความผิด อันเป็นหลักการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ แล้วเหตุใดจึงยังมีคน 66,000 คนต้องติดคุกทั้งที่ยังไม่ถูกตัดสินว่ามีความผิด อีกทั้งในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็ไม่มีจุดใดเลยระบุว่าจำเลยต้องใช้ 'เงิน' ในการประกันตัว นี่คือคำถามใหญ่ที่ปริญญาชูขึ้น "เรื่องนี้เป็นปัญหามากในประเทศไทย แต่ยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง เราจึงมีเครือข่ายนี้ขึ้นมา เพราะถ้าดูตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็ไม่ได้เขียนว่าต้องใช้เงิน เขียนเพียงว่าในคดีที่มีอัตราโทษอย่างสูง จำคุก 5 ปีขึ้นไป ศาลจะให้มีหลักประกันหรือไม่ก็ได้ แล้วคดีที่มีโทษต่ำกว่า 5 ปีก็เช่นกัน จะไม่มีหลักประกันก็ได้ สรุปคือถ้าพูดอย่างง่ายที่สุด คดีอาญาโทษจำคุกกี่ปีก็แล้วแต่ ศาลจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ได้ แล้วหลักประกัน ถ้าจะมีก็ไม่ได้เขียนตรงไหนเลยว่าต้องเป็นตัวเงิน "เราจึงเห็นว่าควรต้องมีการรณรงค์ เพื่อเชิญชวนให้สังคมตระหนักแล้วหันมาร่วมกันแก้ไขปัญหาความยุติธรรมที่เป็นความเหลื่อมล้ำอย่างยิ่งในประเทศไทย คนที่ยังไม่ผิดก็ไม่ควรติดคุกจนกว่าศาลพิพากษา ถ้าหากว่ากลัวเขาหนีหรือยุ่งเหยิงพยานหลักฐานก็สามารถมีวิธีประกันด้วยแบบอื่น เพราะถ้าใช้เงินเมื่อไหร่ มันหมายถึงความเหลื่อมล้ำทันที ไม่ต้องพูดถึงอาชีพใหม่ที่เป็นนายหน้าค้าประกันหรือการไปกู้เงินนอกระบบด้วยอัตราแพงๆ" กระบวนการยุติธรรมที่ตราชั่งข้างหนึ่งมีจำนวนเงินวางอยู่และอีกข้างคืออิสรภาพจากการได้รับการประกันตัว ย่อมเป็นกระบวนการยุติธรรมที่วางอยู่บนความยากดีมีจนและความเหลื่อมล้ำ คนมั่งมีซื้อหาอิสรภาพ คนจนถูกพรากอิสรภาพ หากพินิจพิเคราะห์ว่า การวางหลักประกันจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการหลบหนี ประเด็นนี้ก็มีข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์หลายต่อหลายครั้งแล้วว่า ไม่เป็นความจริง ยิ่งผู้ที่สามารถประกันตัวได้ด้วยหลักประกันราคาสูง หากคิดหนีย่อมสะดวกกว่าคนจนด้วยซ้ำ ปริญญาก็ตั้งคำถามอีกว่า "แล้วอย่างนี้จะเรียกว่าความยุติธรรมได้อย่างไร "วิธีการใช้เงินเป็นหลักประกันมันง่ายที่สุด เอาเงินมาวางไว้ ถ้าหนีไป ก็ริบเงิน และเชื่อว่าเงินมีความสำคัญต่อคน ถ้าวางเงินสูงขนาดนั้นก็คงไม่หนี แต่วิธีคิดแบบนี้มีปัญหา 2 อย่างคือกฎหมายไม่ได้เขียนไว้เลยว่าต้องใช้เงินและถ้าใช้เงินเมื่อไหร่ มันเหลื่อมล้ำทันที ย้ำอีกทีว่าคนที่มีเงินจริงๆ แล้วคิดจะหนี เขาจ่ายเงินเพื่อจะหนีครับ เมื่อเข้ามั่นใจว่าเขาจะแพ้คดี" ปรับเปลี่ยนวิธีการประกัน "หลายท่านฟังแล้วอาจคิดว่า ถ้าไม่มีหลักประกันเป็นเงิน พวกที่ทำผิดกฎหมายคงออกมาเพ่นพ่าน ต้องย้ำอีกครั้งว่าไม่ได้ให้เลิกการมีหลักประกัน แต่ให้เปลี่ยนวิธีการจากเงินเป็นแบบอื่น เพราะใช้เงินแล้วแก้ปัญหาไม่ได้ "หลักเกณฑ์ทั่วไปคือดูว่าจะหนีหรือไม่ แม้กระทั่งการใช้กำไลข้อเท้าติดตามตัวก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่าการนำมาขัง ถ้าบอกว่าการใช้กำไลข้อเท้าเป็นการละเมิดสิทธิ แล้วการนำไปขังอย่างไหนละเมิดหนักกว่า แต่กำไลข้อเท้าก็ไม่ได้แก้ปัญหาร้อยเปอร์เซ็นต์ คนคิดจะหนีก็ตัดทิ้ง ตัดยากหน่อย แต่มันจะได้ผลกับผู้ต้องหาหรือจำเลยส่วนใหญ่ นี่เป็นตัวอย่างว่ามีวิธีการมากมายแทนการใช้เงิน" ปริญญากล่าวต่อว่า ในทางปฏิบัติเริ่มมีผู้พิพากษาบางคนก็ใช้วิธีการให้ประกันโดยไม่ใช่เงินแล้ว แต่ใช้วิธีการอื่นๆ โดยดูจากปัจจัยต่างๆ เป็นองค์ประกอบ "ในอเมริกามีหลักอยู่ว่าควรให้ประกันหรือไม่ คือดูว่าจะหนีหรือเปล่า เพราะถ้าจะหนี ถึงประกันด้วยเงินก็หนี ที่อเมริกามีวิธีการดูหลายอย่าง จากการวิจัยและเก็บข้อมูล คนที่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีฐานะ หน้าที่การงาน แนวโน้มส่วนใหญ่คือไม่หนี คนที่มีภาระครอบครัวก็ไม่หนี ดังนั้น สิ่งที่เป็นประเด็นว่ากลัวหนี ก็ต้องพูดอีกครั้งว่าเงินไม่ได้ช่วย เพราะถ้าคนจะหนีก็หนี ก็ควรเปลี่ยนเป็นหลักประกันอย่างอื่น
"ผมไม่ได้บอกว่าไม่ต้องมีเลย แม้ว่ากฎหมายจะอนุญาตก็ตาม เพียงแต่เปลี่ยนเป็นวิธีอื่นที่ไม่ใช่เงิน เรื่องนี้ผมคิดว่าผู้พิพากษาจำนวนมากอยากทำ แต่เนื่องจากวิธีการปฏิบัติที่ผ่านมา ศาลส่วนใหญ่ยังไม่ให้ทำ ทำให้สังคมต้องสนับสนุนผู้พิพากษาที่เห็นด้วยกับแนวทางนี้" ยี่ต๊อก ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการให้ประกันตัว ส่วนหนึ่งแฝงฝังอยู่ในสถาบันตุลาการเอง มันเกิดจากแบบปฏิบัติที่ถูกกำหนดขึ้นในหมู่ผู้พิพากษาหรือที่เรียกว่า ยี่ต๊อก "ยี่ต๊อกคืออะไร เช่น โทษปรับ 5 หมื่นบาท ไม่เกิน 1 แสนบาท ยี่ต๊อกก็อาจจะอยู่ตรงกลาง 7 หมื่นหรือ 7.5 หมื่น ยี่ต๊อกเป็นระเบียบภายใน ถ้าโทษจำคุก 3 ปีถึง 15 ปี ก็ติดจริงสัก 5 ปี แต่ยี่ต๊อกหรือระเบียบภายในแบบนี้ทำให้เกิดปัญหา ด้านหนึ่ง ศาลก็ง่ายขึ้นไม่ต้องใช้ดุลพินิจ แต่ในด้านกลับกัน การที่กฎหมายเขียนเป็นช่วงเวลาหรือช่วงเงินเอาไว้ก็เพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจให้เหมาะสมในแต่ละกรณี ปริญญาเล่าว่า ผู้พิพากษาหลายคนที่เปลี่ยนวิธีการวางหลักประกันก็เพราะพบความจริงว่า เมื่อยี่ต๊อกกำหนดวงเงินประกันด้วยวงเงินสูงๆ แต่จำเลยไม่สามารถหาเงินมาประกันตัวได้ทำให้ต้องติดคุก ปรากฏกว่า 1 ปีผ่านไป ศาลพิพากษายกฟ้อง แต่นั่นคือ 1 ปีที่ชีวิตของเขาหายไป เป็น 1 ปีที่ลูกของเขาต้องออกจากโรงเรียน การมียี่ต๊อกจึงเท่ากับตัดทอนอำนาจในการใช้ดุลพินิจของผู้พิพากษา ยิ่งเมื่อเป็นคดีที่มีความละเอียดอ่อนด้วยแล้ว ผู้พิพากษายิ่งไม่กล้าใช้ดุลพินิจออกนอกลู่นอกรอยของยี่ต๊อก "จริงๆ แล้วในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้แบ่งประเภทว่าข้อหาแบบไหนประกันได้หรือไม่ได้ มีแค่ต้องพิจารณาเรื่องหนี ยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน หรือทำผิดซ้ำเท่านั้น นี่จึงเป็นเรื่องของศาล ไม่ใช่ข้อกฎหมายเลย ว่าคดีในข้อหาใดควรได้รับการประกันหรือไม่ แต่ศาลก็กลัวความผิด กลัวจะต้องรับผิด หรือถูกมองว่าผิดไปด้วยถ้าให้ประกันตัว แต่อย่าลืมว่าหลักการของรัฐธรรมนูญคืออะไร "แล้วเรื่องยี่ต๊อกในคดีที่ละเอียดอ่อนก็มีปัญหา เช่น โทษจำคุก 3 ปีสูงสุดไม่เกิน 15 ปี ในบางมาตรา ยี่ต๊อกระหว่าง 3-15 ปีคือ 5 ปี ถ้าทำผิด 4 กรรมก็ 20 ปี ทั้งที่ศาลสามารถใช้ดุลพินิจเป็นโทษขั้นต่ำ 3 ปีได้ แต่ท่านก็ไม่กล้าเพราะยี่ต๊อก ยี่ต๊อกก็เป็นอันตราย ด้านหนึ่งศาลต้องการให้เกิดมาตรฐาน แต่อีกด้านหนึ่งทำให้ดุลพินิจในการลงโทษขั้นต่ำหายไป" กฎหมายมีปัญหา วิธีปฏิบัติยิ่งมีปัญหา ปริญญาอธิบายต่อไปถึงปัญหาในถ้อยคำกฎหมายไทยที่ยังไม่ถูกปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาใช้คำว่า การปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งไม่สอดรับกันกับหลักการของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติภายหลัง "คำว่า ปล่อยตัวชั่วคราว แปลว่าอะไรครับ แปลว่าจับมาคือผิด แต่ถ้ามีหลักประกันระหว่างพิจารณาก็จะปล่อยให้ชั่วคราว แปลว่าหลักการคือจับมาถือว่าผิดไว้ก่อน รัฐธรรมนูญมาทีหลัง วางหลักว่าต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ปัจจุบันอยู่ที่มาตรา 29 วรรค 2 แต่ตัวกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญายังเป็นแบบเดิมอยู่ ยังใช้คำว่าปล่อยตัวชั่วคราว ไม่ได้ใช้คำว่าประกันตัวนะครับ เอาเข้าจริงๆ แล้วประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ต้องเปลี่ยนแปลงด้วย แต่นี่มันยากขึ้นอีกชั้นหนึ่ง เราก็เริ่มต้นด้วยวิธีนี้ก่อน จากที่ใช้เงินก็ไม่ควรใช้เงินอีกต่อไป "ผมกำลังบอกว่า มาตรา 110 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีปัญหา แต่วิธีปฏิบัติของเรายิ่งมีปัญหาหนักกว่ากฎหมาย เพราะขนาดกฎหมายมีปัญหาแล้ว ก็ไม่ได้เขียนว่าต้องใช้เงิน เราไปปฏิบัติด้วยการใช้เงินก็ยิ่งหนักหรือแย่กว่ากฎหมายเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง ต้องแก้วิธีปฏิบัติก่อน แล้วกฎหมายก็จะปรับตาม "วิธีปฏิบัติของศาลควรต้องปฏิรูปหรือไม่ เรื่องนี้ผู้พิพากษาแต่ละคนสามารถทำได้เลย เพราะตามกฎหมาย ผู้พิพากษามีดุลพินิจ เพียงแต่ในระเบียบปฏิบัติที่เป็นคำแนะนำ ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่กล้าทำผิดไปจากคำแนะนำหรือยี่ต๊อก ซึ่งผมว่าสังคมช่วยได้" ต้องไม่มีใครติดคุกเพราะจน "เราบอกว่าโทษปรับ ถ้าไม่มีเงินจ่ายก็ต้องติดคุก ทำไมไม่กลับกัน ถ้าโทษจำคุกไม่สูงเกินไปก็เปลี่ยนให้เขามาทำงานให้รัฐหรือบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมภายใต้การควบคุม รัฐก็ไม่ต้องเป็นภาระ เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำได้แล้ว อยู่ที่ว่าเราจะเริ่มทำหรือยัง" หากได้รายชื่อประมาณ 66,000 คนเท่ากับจำนวนคนที่ต้องติดอยู่ในคุกเพราะไม่มีเงินประกันตัว ปริญญาและเครือข่ายจะนำรายชื่อให้กับคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ด้านการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมต่อไป "เรื่องนี้เป็นการทำงานของฝ่ายตุลาการ ซึ่งท่านก็มีดุลพินิจ มีอัตวินิจฉัย ภายใต้อำนาจของท่านตามกฎหมาย เราก็ทำในแง่ให้สังคมสนับสนุนผู้พิพากษาที่อยากจะลองเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำน้อยลงในกระบวนการยุติธรรม ส่วนกับคณะกรรมการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เราก็หวังจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ เช่นยี่ต๊อกเลิกได้หรือไม่ การกำหนดหลักประกันเป็นตัวเงินจะมีทางเลือกอื่นๆ ขึ้นมาขนานกันได้หรือไม่ หรือเลิกไปเลิกได้หรือไม่ ต้องไปดูกันต่อ" ปริญญาย้ำกับประชาไทว่า นี่ไม่ใช่การบอกว่าไม่ควรมีหลักประกัน แต่หลักประกันไม่ควรเป็นตัวเงิน เพราะเมื่อใดที่ใช้เงิน ความเหลื่อมล้ำจะเกิดขึ้นทันที ต้องไม่มีใครติดคุกเพราะจน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น