ประชาไท | Prachatai3.info |
- NHK รับ ใช้งานนักข่าวหนักจนเสียชีวิต-ศาลตัดสินเดนท์สุชดใช้ พนง. ฆ่าตัวตาย
- วงถก 'แผ่นดินจึงดาล': ทหาร ชนชั้น กับการเปลี่ยนผ่าน ไม่มี รธน.ก็ไม่ตาย!?
- 'คนงานรังสิต' ร้องก.แรงงาน ปรับค่าจ้างให้เป็นธรรม พอเลี้ยง 3 คนในครอบครัว
- อสส.มั่นใจหน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งศึกษาแนวทางรื้อคดี 'ทักษิณ'
- สหพันธ์แรงงานเผยผลสำรวจพยาบาลญี่ปุ่น 71.7% มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง
- 'สมชัย' ชี้กรรมการสรรหา กกต. ส่อขาดคุณสมบัติ
- พธม. เสวนาแนวทางคดี 7 ตุลา ย้ำยังไม่มีการชุมนุมจนกว่าจะถึงเวลา
- เผยมีร้านค้ายึดบัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อยจากประชาชน
- สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 1-7 ต.ค. 2560
- รมว.สาธารณสุข ชี้ 'หลักเกณฑ์บริหารงบบัตรทอง 61' เกิดจากทุกภาคส่วน ส่งผลเข้าใจกันมากขึ้น
- ภารกิจพีมูฟ จับตาผลกระทบนโยบาย 'ทวงคืนผืนป่า' รัฐแย่งยึดที่ทำกินประชาชนคนจน
- แอมเนสตี้ส่งจดหมายกระตุ้นอาเซียนเร่งแก้ไขวิกฤตโรฮิงญาอย่างจริงจัง
NHK รับ ใช้งานนักข่าวหนักจนเสียชีวิต-ศาลตัดสินเดนท์สุชดใช้ พนง. ฆ่าตัวตาย Posted: 07 Oct 2017 11:55 AM PDT สื่อเอ็นเอชเคออกมายอมรับว่านักข่าวของพวกเขาเสียชีวิตหลังทำงานหนักเกินไปเป็นเพราะระบบที่ย่ำแย่ของพวกเขาเอง อีกกรณีหนึ่งคือศาลตัดสินให้บริษัทเดนท์สุถูกสั่งปรับเนื่องจากละเมิดสิทธิแรงงานจากเหตุการณ์ที่ มัทสึริ ทากาฮาชิ พนักงานหญิงอายุ 24 ปี ฆ่าตัวตายหลังถูกใช้ทำงานล่วงเวลาอย่างหนัก ซ้าย: มิวะ ซาโดะ นักข่าวผู้เสียชีวิตหลังทำงานล่วงเวลา 159 ชั่วโมงในเวลาหนึ่งเดือน (ที่มา: thestar.com) ขวา: ภาพพนักงานออฟฟิศนอนหลับจากการทำงานมากเกินไป (ที่มา: flickr/hiroo yamagata) 7 ต.ค. 2560 สื่อเอ็นเอชเคเปิดเผยผลการสืบสวนจากผู้ตรวจการแรงงานว่าการเสียชีวิตของนักข่าวหญิงอายุ 13 ปี ของสื่อพวกเขาเองเมื่อปี 2556 มีสาเหตุมาจากการทำงานหนักเกินไป เป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าคนทำงานในญี่ปุ่นต้องเผชิญกับสภาพการทำงานหนักในระดับวิกฤต มิวะ ซาโดะ พนักงานของเอ็นเอชเคประจำกรุงโตเกียวเสียชีวิตจากภาวะหัวใจวายเมื่อเดือน ก.ค. 2556 ในช่วงเวลาหนึ่งเดือน เธอทำงานล่วงเวลาถึง 159 ชั่วโมงโดยที่มีวันหยุดเพียง 2 วันเท่านั้นก่อนที่เธอจะเสียชีวิต สำนักงานมาตรฐานแรงงานของท้องถิ่นมีการสรุปเรื่องนี้เอาไว้แล้วตั้งแต่เดือน พ.ค. 2557 เจแปนไทม์รายงานว่าชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นพยายามทำให้เกิดสภาพการจ้างงานที่ดีขึ้นในประเทศหลังจากที่เกิดกรณีคนทำงานหน้าใหม่ในบริษัทโฆษณายักษ์ใหญ่เดนท์สุ อิงค์ ฆ่าตัวตายในปี 2558 จากการที่มีชั่วโมงทำงานมากเกินไป ซาโดะเป็นผู้รับหน้าที่ทำข่าวประจำอยู่สำนักงานบริหารมหานครโตเกียว ในช่วงนั้นกำลังมีการเลือกตั้งสภากรุงโตเกียวและสภาบนในช่วงเดือน มิ.ย. ถึง ก.ค. ปี 2556 เธอเสียชีวิตในวันที่ 24 ก.ค. สามวันหลังจากการเลือกตั้งสภาบน เอ็นเอชเคระบุว่าพวกเขารวบรวมข้อมูลการทำงานของเธอจากการตอกบัตรเวลาทำงานและคำบอกเล่าส่วนตัว มาซาฮิโกะ ยามาอุจิ พนักงานระดับสูงของฝ่ายข่าวเอ็นเอชเคกล่าวว่าประเด็นการเสียชีวิตของเธอไม่ใช่เรื่องสวนบุคคล แต่เป็นปัญหาองค์กรทั้งระบบ รวมถึงระบบการจ้างงานและวิธีการใช้งานทำข่าวการเลือกตั้ง มีคำถามว่าเหตุใดถึงใช้เวลาตั้ง 3 ปี ถึงจะทำให้เรื่องนี้ออกสู่สาธารณะ ยามาอุจิบอกว่าทางเอ็นเอชเคยอมรับฟังความปรารถนาของครอบครัวซาโดะ ครอบครัวของเธอบอกว่าพวกเขาไม่อยากให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก ซาโดะเริ่มเข้าทำงานที่เอ็นเอชเคตั้งแต่ปี 2548 ในสำนักงานที่จังหวัดคาโกชิมะ ต่อมาเธอถูกส่งตัวไปที่สำนักงานในโตเกียวตอนปี 2553 และได้รับหน้าที่ทำข่าวที่สำนักงานบริหารมหานครโตเกียวเป็นเวลา 2 ปี จนกระทั่งเสียชีวิต "แม้แต่ในตอนนี้ ผ่านมา 4 ปีแล้ว พวกเราก็ยังคงรับกับความจริงไม่ได้ในเรื่องที่ลูกสาวของพวกเราเสียชีวิต" พ่อแม่ของซาโดะกล่าว ความคิดเห็นเหล่านี้ได้รับการเผยแพร่จากเอ็นเอชเค "พวกเราหวังว่าความเศร้าโศกจากการสูญเสียของครอบครัวพวกเราจะไม่สูญเปล่า" ศาลตัดสินให้เดนท์สุชดใช้กรณีพนักงานฆ่าตัวตายอีกกรณีหนึ่งคือกรณีการฆ่าตัวตายของ มัทสึริ ทากาฮาชิ พนักงานเดนท์สุอายุ 24 ปี เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่ชาวญี่ปุ่นให้ความสนใจ และมีการสรุปผลการสืบสวนโดยผู้ตรวจการมาตรฐานแรงงานเมื่อเดือน ก.ย. 2559 ทำให้เดนท์สุถูกดำเนินคดีละเมิดสิทธิแรงงาน ซึ่งศาลตัดสินเมื่อวันที่ 6 ต.ค. ที่ผ่านมาให้เดนท์สุต้องถูกสั่งปรับ 500,000 เยน (ราว 148,000 บาท) จากการสั่งทำงานล่วงเวลาอย่างผิดกฎหมาย คดีของเดนท์สุยังทำให้สังคมญี่ปุ่นอภิปรายกันเกี่ยวปัญหาสภาพการทำงานที่โหดร้ายในประเทศ ในวันตัดสินคดีผู้พิพากษา สึโตมุ คิคุจิ อ่านคำพิพากษาที่ระบุว่า "สังคมทั้งหมดทั้งมวลจะจับตาดูบริษัทคุณเพื่อดูว่าพวกคุณทำสำเร็จ (ในเรื่องการปฏิรูปการทำงาน) ตามที่วางแผนไว้ได้หรือไม่ และจับตาดูว่ามีการคงไว้ซึ่งเป้าหมายนี้ต่อไปหรือไม่" ฮิโรชิ คาวาฮิโตะ ทนายความที่ว่าความแทนแม่ของมัทสึริ ทากาฮาชิ กล่าวว่า การที่ทางบริษัทถูกตัดสินให้มีความผิดในครั้งนี้ถือเป็นความก้าวหน้าสำคัญของสังคมญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าอัตราการสั่งปรับในคดีนี้จะยังน้อยเกินไปจากมุมมองของคนทั่วไป แต่ทนายความก็มองว่ามันจะเป็นการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อการล่วงละเมิดสิทธิแรงงานได้ เรียบเรียงจาก NHK reveals journalist's 2013 death was caused by overwork, Japan Times, October 5, 2017 Society will be 'monitoring' Dentsu for illegal overtime: judge, The Mainichi, October 7, 2017 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
วงถก 'แผ่นดินจึงดาล': ทหาร ชนชั้น กับการเปลี่ยนผ่าน ไม่มี รธน.ก็ไม่ตาย!? Posted: 07 Oct 2017 08:59 AM PDT รีวิวหนังสือ "แผ่นดินจึงดาล" พร้อมเสวนาในโอกาส 20 ปีรัฐธรรมนูญ 2540 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตั้งโจทย์วังวนบนประชาธิปไตยใต้สภาพบังคับ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ เสนอยกเลิกรัฐธรรมนูญ-เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย ปลดคนไทยจากอุตสาหกรรมร่างรัฐธรรมนูญ แยกทหารจากการเมือง ยุกติ มุกดาวิจิตร เสนอเรื่องชนชั้นกลางและตัวกลางในฐานะตัวรั้งประชาธิปไตย ขณะที่พวงทอง ภวัครพันธุ์ ชี้ให้เห็นข้อจำกัดของการใช้โซเชียลมีเดียในการสร้างเสริมประชาธิปไตย ซ้ายไปขวา: ยุกติ มุกดาวิจิตร พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ 7 ต.ค. ประชาไทจัดงานพูดคุยหนังสือ 'แผ่นดินจึงดาล การเปลี่ยนผ่านในสภาพบังคับ' เนื่องในวาระครบรอบ 20 ปี การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 มี ผศ.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผศ.ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สำนักงานประชาไท 'พิชญ์' เปิดทฤษฎีเปลี่ยนผ่าน กับคำถาม วังวนบนประชาธิปไตยใต้สภาพบังคับพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ พิชญ์ กล่าวว่า หนังสือแผ่นดินจึงดาล เป็นบทสนทนาที่ถ้าเราเสพงานกลุ่มคนเหล่านี้อยู่แล้วก็จะได้ฟังเรื่องราว แต่ไม่ได้ถูกรวบรวมให้เป็นระบบมากเท่านี้ คำที่ใช้ในเล่มนี้คือการเปลี่ยนผ่านในสภาพบังคับ การเปลี่ยนผ่านเป็นคำที่ค่อนข้างจะหยิบใช้กันบ่อยมากในช่วงหลัง กลายเป็นทั้งการต่อสู้เรียกร้องและพันธกิจของระบอบคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในเวลาเดียวกัน เป็นเรื่องมหัศจรรย์ทั้งฝ่ายที่ต้องการเปลี่ยนแปลงทั้งแบบก้าวหน้าและทำการยึดอำนาจก็ใช้คำๆ นี้เหมือนกัน คำว่าในสภาพบังคับทำให้เราเห็นบรรยากาศในช่วงที่ผ่านมา คำว่าการเปลี่ยนผ่านถ้ามองทางรัฐศาสตร์หน่อย การเปลี่ยนผ่านเป็นกรอบทฤษฏีสำคัญโดยเฉพาะในสาขาการสร้างประชาธิปไตย เราอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเป็น 2 งานใหญ่ๆ หนึ่ง สายที่เรียกว่าการศึกษาการเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติ โค่นล้ม จะต้องได้ประชาธิปไตยผ่านการต่อสู้ ก็จะถามวนเวียนว่าเมื่อไหร่จะเกิด เมื่อเกิดแล้วมันยังไม่ถึงเวลาหรือว่ายังไม่สุกงอม สอง เริ่มจากสมัย 1980 จากสถาบันวูดโรว์ วิลสัน เชื่อว่าการก้าวสู่ระบอบประชาธิปไตยไม่ต้องใช้เวลาเป็นร้อยปี แต่ต้องใช้การเจรจาต่อรอง สร้างเงื่อนไขให้ชนชั้นนำเจรจาว่าถ้าอยู่ต่อไปจะมีต้นทุนที่แพงฉะนั้นสิ่งสำคัญในงานสายนี้คือการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาธิปไตย ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการปะทะหรือโค่นล้ม แต่เกิดจากการพยายามเจรจา แต่ทฤษฎียุคต้นๆ เชื่อว่าการเจรจาเกิดขึ้นแบบกึ่งเป็นธรรมชาติ คือชนชั้นนำเริ่มแตกกัน และรู้สึกว่าอยู่ไม่ได้ เช่น มีนายทหารกลุ่มหนึ่งรู้สึกว่าถ้าทหารปล่อยให้ทหารกลุ่มหนึ่งอยู่ในการเมืองนานเกินไปจะกระทบเอกภาพของทหาร ก็เลยคิดว่าถอยดีกว่าไหม หรือนักการเมืองกลุ่มหนึ่งคิดว่าหากินกับความขัดแย้งอย่างเดียวมันก็หนีอย่างเดียว แต่ถ้ามีสายนกพิราบในทุกๆ ฝ่ายมาคุยกันมันก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ในความเป็นจริงมัน 1960-80 มันเกิดนักยุทธศาสตร์ประชาธิปไตย (democratic strategist) ที่เชื่อว่าการวิ่งเจรจากับฝ่ายต่างๆ ให้เกิดเงื่อนไขที่จะตกลงกันได้บ้างและสร้างประชาธิปไตย แต่มันเป็นทฤษฎีที่แบบเฉินหลงนิดๆ คือไม่เคยฆ่าใคร ที่เชื่อว่าทุกคนมีเหตุผล มันก็กลับมาที่ส่วนสุดท้ายคือมันมีความเป็นไปได้เรื่องการคิดเรื่องการเปลี่ยนผ่าน สิ่งที่เกิดขึ้นคือนักวิชาการรุ่นหลังๆ พยายามจะบอกว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ แค่จากการตกลงกันของชนชั้นนำ แต่ประชาธิปไตยมันจะยั่งยืนด้วยสามขั้นตอนง่ายๆ ได้แก่ การเปิดประเทศ การสร้างประชาธิปไตย อาจจะง่ายๆ ก่อนด้วยการเลือกตั้ง และการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ประชาธิปไตยยากตรงการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะชนชั้นนำไม่ได้รู้สึกว่าอยากจะอยู่กับประชาธิปไตย ไม่ได้แปลว่าประชาชนมีการศึกษา หรือไม่มีการศึกษา ได้หรือไม่ได้ประโยชน์จากประชาธิปไตย แต่สิ่งสำคัญคือการทำให้ชนชั้นนำเห็นคุณค่าของประชาธิปไตยที่ทำได้ด้วยการทำให้ต้นทุนของการออกจากระบอบประชาธิปไตยมันแพงเกินไป แล้วถ้าว่าตามทฤษฎี 20 ปีของไทยที่ผ่านมามันจริงตามทฤษฎีไหม หนึ่ง ประชาสังคมเราแข็งไหมหรือพร้อมไปเป็นแม่น้ำห้าสายตลอดเวลา สอง โครงสร้างสถาบันการเมืองของไทยมันเพิ่มเหรือลดต้นทุนในการอยู่ในประชาธิปไตย สาม วิกฤติการเมืองและเศรษฐกิจไทยทำให้เราพร้อมที่จะยังอยู่ในประชาธิปไตยไหม สี่ การพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างไร ไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจดีแล้วคนจะเป็นประชาธิปไตย หลายคนค้นพบมากขึ้นว่าปัญหาอยู่ที่ช่องว่าง ไม่ได้หมายความว่ามีชนชั้นกลางเยอะแล้วจะมีประชาธิปไตย เพราะชนชั้นกลางบางทีก็ไม่อยากให้คนอื่นมาแย่งผลประโยชน์กับเขา ระบบโลกาภิวัฒน์เข้ามาเกี่ยวข้องยังไง ลักษณะการเพิกเฉยต่อพื้นที่ประชาธิปไตยในภูมิภาคนี้ของสหรัฐฯ ก็สำคัญ จะดูเรื่องนี้ต้องดูหลายเงื่อนไข และมันก็มีคำถามต่อไปว่า ถ้าคุณโค่นล้มเขาได้ คุณจะสถาปนาระบอบที่ต่อเนื่องได้หรือเปล่า ซึ่งไม่ใช่คำถามบนถนน แต่เป็นคำถามเชิงการออกแบบสถาบัน ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านบางครั้งไม่ได้ผ่านสู่ประชาธิปไตยแต่ผ่านไปสู่ระบอบผสม เหมือนที่กัมพูชาก็ผสมในลักษณะที่กลายเป็นประชาธิปไตยที่แปลงรูปและมีลักษณะอำนาจนิยมมากขึ้น สิ่งที่พบเจอบ่อยคือคลื่นประชาธิปไตยมันเปลี่ยนผ่านจากประชาธิปไตยไปสู่เผด็จการก็มี วงจรแบบนี้ก็เห็นอยู่ในหลายประเทศที่เป็นประเด็นท้าทายทั้งคนที่ต้องการเคลื่อนไหวผลักดันสู่สิ่งที่ควรจะไปกับนักรัฐศาสตร์ที่ต้องออกแบบสถาบันให้ยั่งยืน การเปลี่ยนผ่านจึงเต็มไปด้วยข้อถกเถียงหลายประการ นอกจากนั้นยังมีการศึกษาสายใหม่คือเรื่องการศึกษาความคงทนของระบอบ การกลายตัวเองป็นระบอบผสม มันไม่เปลี่ยนจากระอบหนึ่งไปสู่ระบอบหนึ่ง มันเปลี่ยนแบบที่ประชาธิปไตยมีส่วนผสมของเผด็จการ และเผด็จการก็เอาประชาธิปไตยไปใช้สร้างความชอบธรรมให้เขา การศึกษาประชาธิปไตยในสมัยใหม่มันไม่ง่าย ไม่ใช่แค่รัฐประหารกับเลือกตั้ง เสนอยกเลิก รธน. เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย ใช้หลักนิติธรรม การเมือง กฎหมายแทน ปลดคนไทยจากอุตสาหกรรมร่างรัฐธรรมนูญพิชญ์ กล่าวต่อไปว่า ผมไม่เคยมีศรัทธากับรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่เขียนงานตั้งคำถามกับมัน เครดิตที่สำคัญในการอธิบายรัฐธรรมนูญ 2540 ท่ามกลางกระแสที่คนยุคนั้นมองว่ามันคือยารักษาทุกโรคคือ รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ ที่ดูประเด็นแรงจูงใจว่าทำได้จริงไหม ยังมีคนจำนวนมากที่เข้าไม่ถึง อธิบายว่าท่ามกลางภาษาที่อธิบายว่าเป็นของประชาชนมันเป็นการครอบงำโดยชนชั้นนำ วิธีการวิพากษ์วิจารณ์ที่บางส่วนกลายเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับการทำรัฐประหารก็มีรากฐานจากตรงนั้น ภายในไม่กี่ปีนับตั้งแต่มี รัฐธรรมนูญ 2540 กระแสวิพากษ์วิจารณ์ค่อยๆ โตขึ้นด้วย ในทางหนึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ผลิตสิ่งที่เราเผชิญหน้ามาไม่ว่าจะเป็นระบอบทักษิณและระบอบไม่เอาทักษิณ โดยขอเสนอเล่นๆ ว่า ในสถานการณ์บ้านเมืองที่ผ่านมา คิดว่าถ้าอยากพัฒนาประชาธิปไตยไทยต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญ การมีรัฐธรรมนูญทำให้เกิดสภาวะอย่างที่เป็นอยู่ ทั้งนี้ไม่ได้เสนอให้ประเทศไม่ขื่อแป แต่ตั้งหลักแบบอังกฤษ คือไม่มีรัฐธรรมนูญแต่ให้มีระบบนิติธรรม การไม่มีรัฐธรรมนูญไม่ได้ทำให้คุณตายแต่การไม่มีอาจทำให้คุณคิดทะลุไปจากเดิมว่าคุณมีความฟุ่มเฟือยกับการมีกฎหมายมากมาย แต่กฎหมายพื้นฐานอย่างกฎหมายสิทธิมนุษยชนไม่มี กฎหมายจะเอาผิดคนที่ทำอะไรลอยนวลก็ไม่มีเพราะมันบัญญัติเอาไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นแนวทางอย่างนั้นอย่างนี้แล้ว ถ้าคุณปลดปล่อยประชาชนจากการมีรัฐธรรมนูญ คุณก็จะปลดปล่อยผู้คนจากอุตสาหกรรมร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีคนกลุ่มหนึ่งยึดกุมเอาไว้ตั้งแต่ปี 2490 แล้วมันจะไม่หลุดพ้นไปจากนั้น ฉบับหน้าก็จะเป็นอย่างนี้ หรือจะมีคนที่ฝันว่า เมื่อฟ้าสีทองผ่องอำไพแล้วฉันจะไปร่างบ้าง แต่ถึงเวลาคุณเข้าไปก็ต้องไปประนีประนอมกับเขาอยู่ดี ดังนั้นผมจึงคิดว่าไม่ต้องมีรัฐธรรมนูญ แล้วใช้สถานะทางกฎหมาย ใช้การเมืองต่อรองกับสถาบันการเมืองในแต่ละยุคสมัยมันท้าทายกว่าการมีรัฐธรรมนูญ ต่อให้พรุ่งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้หมดสภาพไป ต้องร่างใหม่ มันก็ยังอีหรอบเดิม เราก็จะคุยกันต่อไปแบบนี้เรื่อยๆ ความฝันที่จะร่าง รัฐธรรมนูญที่เปลี่ยนแปลงสังคมและร่างให้ได้ดังใจเรานั้นไม่มี คิดว่าทางที่ดีที่สุดคือไม่มีซะดีกว่า แล้วปล่อยให้ทุกอย่างเปนวิวัฒนาการทางสังคม สู้กันในสภา มีกฎหมาย ออกกฎหมาย ส่วนสภาพเดดลอคมันอยู่ได้ไม่นาน มันก็ต้องเจรจากัน แต่ถ้ามันปะทะกันสุดท้ายมันก็จะกลับสู่จุดสมดุล 20 ปีที่ผ่านมามันคือบทเรียน ไม่ได้หมายความว่าผมล้มระบอบ ระบอบอยู่ครบแค่ไม่มีรัฐธรรมนูญ อยากได้กฎหมายอะไรก็ร่างแล้วให้องค์กรตุลาการซึมซาบความรู้สึกของสังคมมากขึ้นกว่าการตีความตามตัวบทของรัฐธรรมนูญ เงื่อนไขทหารอาชีพ แยกทหารจากการเมือง มั่นคงแบบประชาธิปไตยยังไม่มีคำตอบอยากพูดเรื่องทหารเยอะ คิดว่าการอธิบายหลายๆครั้งที่เราชอบเชื่อกันว่าทหารความเป็นมืออาชีพคือการแบ่งระหว่างทหารกับพลเรือน ผมไม่แน่ใจว่าในสังคมไทยจะเกิดจริงหรือเกิดได้ง่ายๆ มีทฤษฎี 2 อย่าง 1 สายฮามิลตัน คือทหารอาชีพต้องไม่ยุ่งกับการเมือง ในขณะที่อ่านงานไฟเนอร์ ทหารอาชีพคือคนที่ทำรัฐประหารอย่างมืออาชีพ หมายความว่าการทำรัฐประหารเป็นอาชีพของคุณ วิธีคิดว่าทหารจะถอยจากการเมืองโดยเชื่อว่าการถอยจากการเมืองจะเป็นประโยชน์กับทั้งทหารและประชาธิปไตยหลายกรณีไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ ต้องลองเงื่อนไขร้อยแปด ซึ่งเงื่อนไขนี้ไม่มีในปัจจุบัน ในขณะที่เราเห็นทหารออกจากการเมืองในช่วงทศวรรษที่ 80 ของไทยที่ถอยแบบพยายามจะมีอำนาจอยู่โดยการหันไปทำอะไรเยอะแยะ แต่ก็ยังไม่เห็นสายพิราบในทหาร ระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมารวมถึง 10 ปีที่ผ่านมา ในทางกลับกันการเป็นสายเหยี่ยวกลับทำให้เขาเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงานมากขึ้น จริงๆ แล้วโลกทัศน์ทหารปัจจุบันเป็นแบบไหนในเชิงการเมือง ถ้าคิดเร็วๆ รู้สึกว่าอิทธิพลของวิธีคิดในแบบทหารพม่าเยอะ ที่ผสมกันระหว่างการใช้คำว่าสันติภาพในแบบพม่ากับประสบการณ์หลายๆ คนที่เชื่อว่าเขาเข้ามาทำหน้าที่รักษาสันติภาพได้ มองว่าเป็นการรักษาสันติภาพภายใน ปัญหาคือถ้าเราไม่ลงลึกถึงด้านยุทธการด้านข้อมูลข่าวสารของเขา กิจการที่ทำเรื่องพลเรือนในช่วง 10-30 ปีอาจจะไม่เห็นเพราะทหารยุคนี้ไม่ใช่ทหารยุคคลาสสิคที่เข้าใจได้ง่ายจากการอ่านหนังสือ มันมีความซับซ้อนในการเข้ามา คำถามที่สำคัญคือ เราจะมีกลไกอะไรที่จะทำให้ทหารไม่ยุ่งการเมือง มากกว่าการเชื่อว่าจะมีนักการเมืองไปนั่งในกระทรวงกลาโหมซึ่งที่ผ่านมาไม่มีหลักประกันอะไรเลย ผมคิดว่าทหารกับการเมืองยังเป็นประเด็นที่มืดมนอยู่ในสังคมไทย รู้สึกว่างานในเล่มนี้ที่ชอบคือสายดาร์คสองคนคืออาจารย์ปิ่นแก้วกับอาจารพวงทอง คืออ่านแล้วมันรู้สึกว่า อย่างนี้แหละ หลายคนยังมีอาการพยายามให้ความหวัง แต่ประโยคสุดท้ายของย่อหน้าสุดท้ายของพวงทองมันจับความรู้สึกของคนจำนวนหนึ่ง คนเราก็ต้องมีชีวิตอยู่ท่ามกลางความไม่หวังบ้าง สิ่งที่อยากเสริมจากพวงทองคือวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด ผมรู้สึกว่าสิ่งที่ผมมีปัญหาเป็นการส่วนตัวคือในความเสียหายของสังคมในรอบที่ผ่านมา ผมไม่ค่อยโกรธเคืองคนที่ถืออำนาจรัฐเท่าไหร่ ผมโกรธเคืองบรรดาชนชั้นกลางมากๆ ว่าคนพวกนี้กำลังทำตัวลอยนวล คนที่ลอยมีเยอะ แต่ลอยนวลแบบชนชั้นกลางอย่างที่เห็นในเฟซบุ๊กผมรู้สึกว่ามันเป็นวัฒนธรรมลอยนวลของคนเหล่านี้มันน่าตกใจกว่าวัฒนธรรมลอยนวลแบบที่ใช้กฎหมายเผด็จการจัดการ ระดับของคนเหล่านี้ที่สามารถเปลี่ยนจากเรื่องหนึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งได้มันน่าหนักใจ ในบางครั้งการอยู่กับเผด็จการจริงๆ มันมีเหตุผลมากกว่าอยู่กับคนแบบนั้น วัฒลอยนวลเหล่านี้ไม่สามารถเปลี่ยนแผลงได้โดยกฎหมาย มันคือพื้นที่ความสร้างสรรค์แบบ 5.0 คือการสร้างสรรค์ในพื้นที่ศิลปะ การเสียดสี ที่ยังเป็นพื้นที่ที่มีความจำเป็นที่จะต้องรักษาเอาไว้ซึ่งผมคิดว่ามันย้อนกลับมาสู่เสรีภาพการแสดงความเห็นซึ่งยากเย็น การลอยนวลพ้นผิดของคนจำนวนมากในสังคมมันน่ากลัวกว่าคนๆ เดียวที่สั่งการ มันคือรอยยิ้มเมื่อ 41 ปีที่แล้ว ของแบบนี้ยังไม่ถูกตั้งคำถามจริงๆ อย่างเป็นระบบเพราะมันจับยาก ถ้าเราจะแปลงคำว่า 'การรวมกันเป็นหนึ่ง' ให้เป็นบทสนทนากับฝ่ายความมั่นคงได้ ก็ต้องตั้งคำถามกับพวกเราว่าจะสร้างความมั่นคงแบบประชาธิปไตยยังไง มันไม่ใช่บทเรียนที่ผ่านกันมาหลายรอบที่ว่า ประชาธิปไตยจะมั่นคงได้เพราะเราเคารพเสียงข้างมาก คงต้องมีเงื่อนไขที่มากำกับไม่ให้เสียงข้างมากแบบเดียวทำงานได้ และหลุดจากสิ่งนั้นง่ายๆ จะต้องระงับจิตระงับใจ วิพากษ์วิจารณ์กันเองในระดับที่รับกันได้ ต้องมีโจทย์บางอย่างเหมือนสายปฏิรูปบ้างไม่ใช่รอแต่เมื่อไหร่จะมีเลือกตั้งอย่างเดียว แต่เสียงที่มีจากประชาชนก็ยังคงเป็นพื้นฐานอยู่ ยุกติ มุกดาวิจิตร: ชนชั้นกลาง และตัวกลาง ในฐานะตัวรั้งประชาธิปไตย
ยุกติ มุกดาวิจิตร ยุกติ เริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงเรื่อง 6 ตุลา ว่ามีความเปลี่ยนแปลงในเชิงสาระ เนื้อหา และเชิงประเด็น โดยในช่วง 1-2 ปีนี้มีกลุ่มที่โครงการทำบันทึกเรื่อง 6 ตุลาคม ซึ่งหลายสิ่งหลายอย่างสที่โครงการได้ทำ และบันทึก รวบรวมไว้ เป็นเรื่องของการคืนความเป็นคนให้กับผู้ที่ชีวิตในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ประเด็นขยายออกไป ไม่ได้เป็นวิชาการอย่างเดียว แต่เป็นการค้นหาความจริง ซึ่งเป็นความจริงที่สนใจในแง่ของ intimacy และสนใจเรื่องความเป็นมนุษย์ของผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการเมือง ซึ่งเป็นมิติใหม่ของการพูดถึงการเมือง สิ่งที่นำพามาเกี่ยวข้องได้คือการพูดถึงความรู้สึกผิดของคนทั้งสังคม ไม่ใช่ไปพูดถึงแต่เรื่องที่สร้างให้เกิดความโกรธ หรือความแค้นเพียงอย่างเดียว เมื่อพูดถึงหนังสือ แผ่นดินจึงดาล การเปลี่ยนผ่านในสภาพบังคับ ยุกติเห็นว่า สามารถนำไปเป็นตำราได้ และเห็นว่าอาจารย์ที่สอนทางสังคมศาสตร์ ก็สามารถนำไปอ้างอิงในการเรียนการสอนได้ เพราะมันอธิบายเรื่องราวที่ผ่านมาในช่วง 10 ปีได้ "สิ่งร่วมกันสิ่งหนึ่งที่ผู้ให้สัมภาษณ์ในหนังสือเล่มนี้แต่ละคนมีร่วมกันมันคือ สภาวะตีบตัน จุกอก ไปไม่ได้ ภาวะที่คาดเดาไม่ถูกว่าจะไปทางไหน อันนี้เป็นภาวะที่ทุกคนมีร่วมกัน ลักษณะร่วมกันตรงนี้ก็น่าวิเคาระห์ดูดีๆ ว่าแต่ละคนคิดถึงอะไรกันแน่ ในขณะเดียวกันก็มีสิ่งที่มีร่วมกันอีกอย่างหนึ่งคือ ทุกคนพูดถึงถึงความเปลี่ยนแปลง และเปลี่ยนเยอะ และเปลี่ยนไปในทางที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นด้วยซ้ำ หลายคนพูดถึง แต่ไม่ได้พูดอย่างถึงที่สุด" ยุกติ กล่าวถึงเรื่องที่พูดยากที่สุดคือ เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ และสถาบันทหาร ว่าสิ่งหนึ่งที่เป็นความคาดหวังของชนชั้นกลาง และชนชนั้นกลางในเมืองคือ การมีคนกลาง หรือตัวกลางทางการเมืองในสภาวะเปลี่ยนผ่าน โดยความคิดของคนกลุ่มนี้ยังคิดว่าหากไม่มีสถาบันสองสถาบันนี้เป็นตัวกลางทางการเมืองแล้วจะไม่สามารถอยู่ได้ เมื่อสังคมเดินหน้าไปสู่ความขัดแย้ง "ผมคิดว่าความรู้สึกนึกคิดของชนชั้นกลางที่สนับสนุนความเป็นคนกลาง ตัวกลาง เชื่อในผู้มีบารมี ผมคิดว่าเรื่องนี้สลัดไม่ออก และมันง่ายกับจริตของชนชั้นกลาง ฉะนั้นผมคิดว่าการปฏิรูปทหาร อาจจะเกิดไม่ได้ถ้าเรายังไม่เปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดนี้ รวมทั้งยังไม่ได้ปรับทัศนคติชนชั้นกลาง" ยุกติ กล่าวต่อว่า เมื่อพูดถึงชนชั้นกลางในฐานะตัวแปรที่นำไปสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย เรามักจะนึกถึงแต่เรื่องของการปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือนึกคิดถึงสิ่งที่ คาร์ล มาร์กซ์ พูดถึงในหนังสือ Communist Manifesto แต่เรื่องนี้เป็นภาพเก่าของชนชั้นกลาง ซึ่งต้องมีการคิดทบทวนใหม่มากพอสมควร เพราะระบบการศึกษาปัจจุบันนี้ได้ก้าวไปไกลแล้ว แต่ในเมืองไทยยังมองชนชั้นกลางแบบนิ่งตายตัว ทั้งที่ชนชั้นกลางในปัจจุบันก้าวไปสู่ความเป็นองค์กรขนาดใหญ่ และเป็นผู้ประกอบการ สิ่งเหล่านี้ทำให้ชนชั้นกลางรู้สึกถึงความมั่นคงในชีวิตมากกว่าที่จะไปสุ่มเสี่ยงกับอะไรอย่างอื่น "ผมได้มีโอกาสอ่านงานวิจัยชนชั้นกลางในฮานอย กับชนชั้นกลางในไซง่อน โดยหลังจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางเศรษฐกิจ แม้จะเป็นการปกครองในระบบคอมมิวนิสต์ แต่จริงๆ แล้วเป็นแค่ระบบการตลาดที่อยู่ในกำกับของรัฐ แม้มีการเกิดชนชั้นกลางเพิ่มขึ้นมากมาย ชนชั้นกลางทั้งสองเมืองใหญ่ในเวียดนามมี mentality เหมือนกันคือไม่ต้องการจะลุกฮือเปลี่ยนแปลงอะไรทั้งสิน เพราะระบบการเมืองแบบนี้ดีแล้ว ตราบใดที่รัฐยังสามารถสร้างโครงสร้างที่ทำให้ประเทศพัฒนาก็อยู่ได้ เขาโอเค เขา happy ถ้าจะพูดถึงการเปลี่ยนระบอบ เปลี่ยนการปกครอง เรื่องนี้เขาไม่ได้ให้ความสนใจขนาดนั้น" ยุกติเห็นว่า การที่มีการสร้างชนชั้นกลางขึ้นมา และดูดเข้ามาอยู่ในระบบ และกินเงินเดือนประจำ มีสถานะทางสังคมพิเศษพ่วงเข้ามา เช่นเป็นหมอ หรือเป็นบรรดาคนที่อยู่ในสถาบันการศึกษา ทำให้คนเหล่านี้ไม่กล้า และไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม จึงกลายเป็นตัวบั่นทอนการเปลี่ยนแปลง "แต่ที่ผมบอกว่า อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วผมเห็นความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเราอาจจะเรียกมีความก้าวหน้าในสังคมมากขึ้น ส่วนหนึ่งถ้าเราดูย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์การเมืองช่วงทักษิณ ช่วงรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นมา และช่วงเวลาที่ประเทศมีลักษณะที่เป็นประชาธิปไตย อาจจะเป็นช่วงที่ยาวที่สุดของประวัติศาสตร์การเมืองไทย 80 กว่าปีเลยก็ได้ ถ้าพูดอย่างนี้ผมคิดว่าเราเห็นความเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพเวลาที่เรามองไปในช่วงที่มันยาวขึ้น เราเห็นคณะราษฎรที่เป็นกลุ่มข้าราชการกลุ่มเล็กๆ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับยุคที่มีนักศึกษาออกมาเดินขบวน หรือยุคที่มีการก่อตัวของพรรคคอมมิวนิสต์ แล้วเป็นมาสู่ช่วงที่มีขบวนการของภาคประชาชน และ NGOs และเปลี่ยนมาสู่ช่วงที่มีขบวนการเสื้อแดง ซึ่งผมเรียกว่ากลุ่ม Voter (ผู้ลงคะแนน) ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นการปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพที่เราปฏิเสธไม่ได้" ยุกติ กล่าว ยุกติ อธิบายต่อไปว่า ในยุคที่เราดำรงอยู่นี้ เราเห็นกลุ่ม Voter ลุกขึ้นมาเรียกสิทธิ และต้องรักษาสิทธิของตัวเอง ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหญ่ อย่างน้อยมีประชากรเป็น 10 ล้านคน คำถามที่น่าสนใจคือ คนกลุ่มนี้เป็นใครกันแน่ แม้จะมีการทำงานวิจัยในช่วงที่ผ่านมาแลวบ้างแต่ก็ยังไม่เข้าใจคนกลุ่มนี้ได้อย่างดีพอสมควร ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็อาจจะถือได้ว่าเป็นชนชั้นกลางอีกกลุ่มหนึ่ง หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นชนชั้นกลางใหม่ ในแง่หนึ่ง รัฐธรรมนูญ 2540 เปิดโอกาสให้คนกลุ่มนี้แสดงตัวได้มากขึ้น ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นผลพ่วงของการเปลี่ยนของสังคมไทยที่สืบเนื่องยาวนานมาพอสมควร อย่างน้อยที่สุดตั้ง พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา ยุกติ กล่าวต่อไปว่า ความเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งน่าสนใจมากคือ ปรากฎการณ์นิติราษฎร์ โดยมีส่วนที่ทำให้สังคมสนใจกฎหมายมากขึ้น แต่ในทางกลับกันคือก็อาจเป็นเพราะ สังคมทั้งสังคมหันมาสนใจกฎหมายมากขึ้นจึงทำให้นิติราษฎร์มีบทบาทขึ้นมา แต่ถึงที่สุดสังคมไทยมันได้ก้าวมาสู่จุดที่เห็นว่า กฎหมายเป็นเรื่องสำคัญ "จากตรงนี้ผมก็เลยนึกถึงโจทก์ที่ว่า ตกลงแล้ว สนามรบของประชาชนอยู่ตรงไหน ผมคิดว่าสิ่งที่อาจารย์พิชญ์ผู้ว่า เราไม่ต้องไปเชียร์เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ เพราะถึงที่สุดแล้วเราไม่สามารถออกแบบรัฐธรรมนูญได้ และอาจารย์วรเจตน์เองก็พูดว่า เราพูดได้ว่าหลักการคืออะไร เราออกแบบได้ทั้งหมด แต่ว่าเราไม่มีอำนาจ และผมคิดว่าทหารไม่ทางเปลี่ยน และเราเปลี่ยนเขาไม่ได้ การปฏิรูปกลไกในอนาคตก็เป็นเรื่องที่เราต้องทำ แต่จะให้ทหารมีอุดมการณ์ประชาธิปไตยผมว่ามันไม่มีทาง" ยุกติ กล่าว พวงทอง: จุดอ่อนฝ่ายประชาธิปไตย โซเชียลมีเดียไม่พอสร้างประชาธิปไตย และความหวังกับคนรุ่นใหม่พวงทอง ภวัครพันธุ์ รศ. พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และหนึ่งในเจ้าของเนื้อหาในหนังสือ แผ่นดินจึงดาลฯ ให้ความเห็นว่า เรื่อง 6 ตุลา เรื่องการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยมีทั้งเรื่องที่เห็น ปัญหาคือถ้าเกิดการปะทะกันฝ่ายประชาธิปไตยจะได้อะไรไหม ซึ่งตนคิดว่าไม่ คนที่ได้ผลประโยชน์คือคนที่เข้มแข็งที่สุดในหมู่ชนชั้นนำ เราให้ความสำคัญกับโซเชียลมีเดียเกินจริง จริงอยู่ว่ามันมีพลังในการกระจายความคิด แต่คนที่ไม่เอาประชาธิปไตยจำนวนมากก็ใช้โซเชียลมีเดียและใช้ได้ดีผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ต่างๆ แต่ฝ่ายประชาธิปไตยเรามักใช้โซเชียลมีเดียเพื่อบ่อนเซาะกำลังใจกัน ยิ่งอ่านวันนี้ยิ่งรู้สึกอยากปิดแอพเร็วๆ ฝ่ายประชาธิปไตยแทบจะไม่มีการจัดตั้งการเคลื่อนไหวเลย ขบวนการนักศึกษาอ่อนแอมาก ยิ่งทำยิ่งเล็กลง ในขณะที่อีกฝ่ายมีสายพิราบกับสายเหยี่ยว ก็ติงนิดหนึ่งว่าสายพิราบเองก็ไม่เคยคิดที่จะเอาตัวเองออกจากการเมือง แม้หลังทหารปราบประชาชนในปี 2535 ที่ทำให้ทหารเสียความชอบธรรมและทหารถอนตัวกลับกรมกอง ดิฉันว่าระหว่างนั้นมันเป็นช่วงที่ทหารสั่งสมความเป็นรัฐพันลึก นอกจากนั้น มันมีรัฐพันลึกอื่นๆ อีกในนามกลุ่มประชาชน เช่น กปปส. ในขณะที่รัฐพันลึกใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ถ้ามีการปะทะกันจริงก็ไม่รู้ว่าฝ่ายประชาธิปไตยที่ไม่มีความพยายามจะทำการจัดตั้งและคิดว่าพลังโซเชียลมีเดียเพียงพอแล้วที่จะต่อสู้กับอำนาจนิยมจะเป็นอย่างไร โซเชียลมีเดียเราใช้แน่นอนในการเผยแพร่ความคิด แต่มีทางที่จะขยับไปสู่ส่วนอื่นไหม เรื่องที่น่าสนใจจากการทำเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียบันทึก 6 ตุลาคือ เราพบว่าคนที่มากดไลค์กดแชร์จำนวนมากเป็นคนอื่น คนนอกเยอะมาก คนกลุ่มนี้มีมาเรื่อยๆ นักศึกษาที่สอนก็ไม่ได้นิยามตัวเองว่าเป็นเหลืองหรือแดง เพราะเห็นพ่อแม่ทะเลาะเบาะแว้งจากความแตกต่างทางความคิด แต่ตัวคนรุ่นใหม่เหล่านี้ก็พร้อมที่จะรับรู้ข้อมูลใหม่ๆ คนรุ่นใหม่ที่โตมาปีละเป็นแสน เราจะทำให้โซเชียลมีเดียสร้างพลังส่วนนี้ได้อย่างไร แนะบันทึกข้อมูล 6 ตุลาเพิ่มเติมในส่วนผู้ยังมีชีวิตและลำดับเหตุการณ์รู้สึกว่าอยากพูดเรื่อง 6 ตุลา ช่วงหลังความพยายามในการค้นหาข้อมูลเชิงประจักษ์ใหม่ๆ น่าสนใจมาก เป็นงานขุดค้นกับอะไรที่ไม่ต้องลงไปลึกเลย ปีนี้ย้อนกลับไปกลายเป็นเรื่องการค้นหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่ไม่ต้องลงลึกอะไร ในขณะที่ช่วงที่ผ่านมา 6 ตุลา ถูกยกระดับให้กลายเป็นเรื่องวิชาการมากจนเกินไป ไปไกลขนาดว่าจะว่าจะจำยังไง จะลืมยังไงจนลืมเรื่องง่ายที่สุด ปีหน้าก็ขอเสนอให้ค้นหาสิ่งสำคัญที่หายไปอย่างหนึ่งคือลำดับเหตุการณ์ ลำดับเหตุการณ์น่าจะซับซ้อนขึ้นเพราะในสมัยนั้นที่ไม่มีเทคโนโลยี ไม่มีอินเทอร์เน็ต ลำดับเหตุการณ์ที่เราจำได้ง่ายสุดก็คือคนตายเพราะมาไล่ถนอม กิตติขจร ราคาที่คุณต้องจ่ายในการไล่เผด็จการมันสูง ยังนึกถึงช่วงแรกที่เรียนรู้เรื่องนี้คือที่มาของการฆ่า คนเหล่านั้นออกมาเพราะไม่ต้องการอยู่ใต้ระบอบเผด็จการที่มีอายุยาวนานมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญคือการย้อนกลับไปตั้งคำถามกับ 6 ตุลา ในอนาคตคือไม่ได้อาจอยู่ที่ว่าคนเราจำไม่ได้ลืมไม่ลง สิ่งที่น่าสนใจต่อไปคือ คนแต่ละคนมีกระบวนการจัดการกับเรื่องนี้อย่างไรแล้วกลายเป็นขวา หมายถึงจากอธิบายว่าตัวเองก้าวหน้า กลายเป็นอธิบายว่าตัวเองปฏิรูปโดยไม่ได้รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่จำไม่ได้ลืมไม่ลง แต่ได้เปลี่ยนมันไปเป็นอย่างอื่น ผมไม่ได้คิดว่าเขาเปลี่ยนข้าง แต่กระบวนการกลายเป็นขวาถ้าอธิบายจากกรอบของ อ.กุลลดา (รศ. ดร. กุลลดา เกษบุญชู-มี้ด) ที่ว่า คุณอธิบายขวาเป็นขบวนการเดียวไม่ได้ มันมียุคสมัยของขวา เช่น พ.ศ. 2474 2489 2500 2557 มันอาจไม่ใช่คนกลุ่มเดียวกัน การอธิบายว่าเป็นโครงสร้างอันยิ่งใหญ่พลังเดียวมันไม่ใช่ มันอาจมีผลจากแนวคิดของรัฐ โดยเฉพาะคนที่โตมาจาก 6 ตุลา ผมไม่เชื่อว่าเขาเปลี่ยนฝั่ง ผมว่ามันเป็นระดับการให้ความหมายโดยตัวเขาเองมากกว่าการใส่จากภายนอก ผมว่าเป็นเรื่องที่โปรเจ็คต่อไปคือการสานต่อสปิริตของเดือนตุลาคือการอธิบายประวัติศาสตร์ของคนที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่เพียงแต่คนที่ตายไปแล้ว คนที่ไม่ได้เรียกร้องหาความยุติธรรมในอดีตแต่ยังมุ่งหาความยุติธรรมในอนาคตต่อไป สามารถสั่งซื้อหนังสือ 'แผ่นดินจึงดาล การเปลี่ยนผ่านในสภาพบังคับ' ได้ที่ ประชาไทสโตร์ ในราคาเล่มละ 200 บาท ค่าจัดส่งฟรี ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'คนงานรังสิต' ร้องก.แรงงาน ปรับค่าจ้างให้เป็นธรรม พอเลี้ยง 3 คนในครอบครัว Posted: 07 Oct 2017 06:57 AM PDT เนื่องในวันงานที่มีคุณค่า สหภาพแรงงานย่านรังสิตฯ ร้อง รมว.แรงงาน ผ่าน คุ้มครองแรงงาน จ.ปทุมฯ ปรับค่าจ้างที่เป็นธรรมเพียงพอต่อการดำรงชีพและเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัวได้ 3 คน ค้านขยายเวลารับเงินชราภาพกองทุนประกันสังคมจาก 55 ปี เป็น 60 ปี 7 ต.ค. 2560 เนื่องในวันงานที่มีคุณค่า หรือ Decent Work ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (7 ต.ค.60) กลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง(กสรก.) ได้ไปยื่นหนังสือถึง สมพจน์ กวางแก้ว หัวหน้าสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ปทุมธานี เพื่อให้ข้าราชการในพื้นที่ทำหน้าที่ส่งข้อเรียกร้องต่อไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานต่อไป โดยมีข้อเรียกร้องประกอบด้วย 1. ค่าจ้างที่เป็นธรรม โดยรัฐต้องมีนโยบายปรับค่าจ้างที่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ค่าจ้างนั้นต้องเพียงพอต่อการดำรงชีพและเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัวได้ถึง 3 คน ตามหลังอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO ฉบับที่ 131 2. ขอให้รัฐบาลลงนามในอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 87 และ 98 ว่าด้วยสิทธิการรวมตัวและการเจ้าจาร่อรองร่วม 3 ความปลอดภัยในการทำงาน ขอให้ รมว.แรงงาน เข้มงวดตรวจสอบเรื่องความปลอดภัย ในสถานประกอบการ จ.ปทุมธานี อย่างจริงจัง 4. คัดค้านการขยายระยะเวลารับเงินชราภาพกองทุนประกันสังคมจาก 55 ปี เป็น 60 ปี และ 5 รัฐสวัสดิการ รัฐบาลต้องจัดสวัสดิการในรัฐแบบรัฐสวัสดิการให้ประชาชน เพื่อลดช่องว่าทางสังคมและความมั่นคงของชีวิตประชาชนอย่างทั่วหน้า สำหรับ "งานที่มีคุณค่า" ได้ถูกนำาเสนอต่อรัฐสมาชิก ILO เป็นครั้งแรกในการประชุมใหญ่แรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Conference) ครั้งที่ 87 เมื่อ 2547 โดยมี ความเชื่อมันว่างานที่มีคุณค่าจะยกระดับคุณภาพชีวิตในการทำางานให้ดีขึ้น และส่งเสริมให้มีการพัฒนาแรงงานที่ยังยืน สามารถตอบสนองความต้องการเกี่ยวกับชีวิตการทำางานของมนุษย์ได้ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
อสส.มั่นใจหน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งศึกษาแนวทางรื้อคดี 'ทักษิณ' Posted: 07 Oct 2017 06:26 AM PDT รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) ระบุยังไม่มีคำสั่งทางการให้หน่วยงานรับผิดชอบรื้อคดี 'ทักษิณ' แต่เชื่อทุกหน่วยกำลังเร่งศึกษากฏหมายใหม่ และขั้นตอนการทำงานส่งพิจารณา ด้านอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ รับลูก อสส.เร่งรวบรวมสำนวนข้อเท็จจริงข้อกฎหมายทั้งหมดส่งอัยการสูงสุดพิจารณาสั่งการ 7 ต.ค. 2560 สำนักข่าวไทย รายงานว่านายโกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) กล่าวถึงกรณีที่วานนี้ (6 ต.ค) นายเข็มชัย ชุติวงศ์ อัยการสูงสุดคนใหม่ ได้ตอบข้อซักถามสื่อมวลชนภายหลังเข้ารับตำแหน่ง โดยมีประเด็นเรื่องการจะรื้อฟื้น คดีทุจริตปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทยฯ กับกลุ่มกฤษดามหานคร ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำสั่งให้จำหน่ายคดี รวมถึงคดีทุจริตออกกฎหมายแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือและดาวเทียมเป็นภาษีสรรพสามิต ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กลับมาพิจารณาใหม่ ว่าประเด็นในเรื่องนี้เกิดขึ้นจากการที่อัยการสูงสุดคนใหม่ เปิดให้สื่อมวลชนเข้าพบและซักถามเมื่อวานนี้ โดยเป็นการพูดถึงกรอบแนวทางการทำงานว่าคดีดังกล่าวมีหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่ และสามารถดำเนินการต่อทำตามกรอบกฏหมายใหม่เท่านั้น โดยเรื่องนี้ยังไม่มีการสั่งการอย่างเป็นทางการ แต่เชื่อว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบ อย่าง อัยการสำนักงานคดีพิเศษ รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆในสังกัดที่ดูแลคดีที่เกี่ยวของกับนายทักษิณ กำลังตรวจสอบ และเตรียมเสนอเป็นผู้เสนอรายชื่อคณะทำงานที่เหมาะสม และแนวทางในการทำงานเพื่อรื้อฟื้นคดีใหม่มาให้อัยการสูงสุดพิจารณา เพราะคดีดังกล่าวเป็นการยื่นฟ้องคดีในกฎหมายเก่าปี พ.ศ.2542 (พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542) ที่เดิมไม่สามารถที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาคดีลับหลังโดยที่ไม่มีตัวจำเลยได้แต่กฎหมายใหม่ที่เพิ่งออกมา พ.ศ.2560 มาตรา 28 ให้ศาลสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาคดีโดยไม่มีตัวจำเลย หรือ พิจารณาคดีลับหลัง ซึ่งในบทเฉพาะกาล มาตรา 69 ของกฎหมายใหม่ระบุว่าการดำเนินการใดที่เกิดขึ้นมาโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายเก่าแล้วนั้น จะไม่ได้รับผลกระทบ แต่ให้พิจารณาต่อไปตามกฎหมายใหม่ที่บังคับใช้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในวันที่ 17 ต.ค. นี้เวลาประมาณ 9.00 น. ที่อัยการสูงสุดคนใหม่จะมอบนโยบายการทำงานให้กับหน่วยงานในสังกัด จะมีความชัดเจนในเรื่องนี้อีกครั้ง ด้านนายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษ กล่าวถึงกรณีนี้ว่าขณะนี้ทางอสส.ยังไม่ได้มีการสั่งการมายังอัยการสำนักงานคดีพิเศษโดยตรงเนื่องจากติดวันหยุด ซึ่งเรื่องนี้เมื่อ อสส.มีดำริผ่านสื่อมวลชน เบื้องต้นทางอัยการสำนักงานคดีพิเศษก็มีการเตรียมศึกษาข้อเท็จจริง เเละเสนอตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อพิจารณาศึกษาสำนวนทั้งในส่วนของข้อเท็จจริงเเละข้อกฎหมายทั้งหมด สำหรับคดีของนายทักษิณ นั้นมีความเกี่ยวพันในหลายเรื่องเเละคณะทำงานเคยพิจารณาสำนวนอยู่เดิม ก็มีการโยกย้ายหรือเกษียณอายุราชการไปเเล้ว จึงต้องนำข้อมูลมาศึกษาใหม่ทั้งหมดตามขั้นตอน หลังจากนั้นจะรวบรวมสำนวนข้อเท็จจริงข้อกฎหมายทั้งหมดส่งอัยการสูงสุดพิจารณาสั่งการต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สหพันธ์แรงงานเผยผลสำรวจพยาบาลญี่ปุ่น 71.7% มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง Posted: 07 Oct 2017 06:03 AM PDT ที่ญี่ปุ่นเมื่อเปรียบเทียบกับผู้หญิงที่ทำงานในทุกอุตสาหกรรมแล้ว พบว่าผู้ที่ทำอาชีพ 'พยาบาล' มีปัญหาด้านสุขภาพมากที่สุด ผลสำรวจสหพันธ์แรงงานพบพยาบาลญี่ปุ่น 71.7% มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง เกือบร้อยละ 75 เคยคิดทิ้งอาชีพพยาบาลนี้ เพราะภาระงานหนักเกินไป สหพันธ์แรงงานด้านการแพทย์ญี่ปุ่นเผยผลสำรวจพบพยาบาลญี่ปุ่น 71.7% มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง ที่มาภาพประกอบ: ifrc.org 7 ต.ค. 2560 ไม่ว่าจะที่ไหนในโลก 'พยาบาล' ถือเป็นอาชีพที่ต้องทำงานหนัก บ่อยครั้งก็ส่งผลต่อสุขภาพของผู้ทำอาชีพนี้เสียเอง ตัวอย่างเช่นที่ญี่ปุ่นซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผู้หญิงที่ทำงานในทุกอุตสาหกรรมแล้วพบว่าผู้ที่ทำอาชีพพยาบาลจะมีปัญหาด้านสุขภาพมากที่สุด เว็บไซต์ japan-press.co.jp รายงานว่าสหพันธ์แรงงานด้านการแพทย์ญี่ปุ่น (Japan Federation of Medical Workers' Unions - Iroren) หรือ 'อิโรเร็น' เผยแพร่ผลสำรวจเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2560 ที่ผ่านมาระบุว่าพยาบาล 7 ใน 10 คนจะมีอาการอ่อนเพลียเรื้อรังสืบเนื่องมาจากการทำงานหนัก ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่แตกต่างจากการสำรวจครั้งก่อน ทั้งนี้อิโรเร็นทำการสำรวจสภาพการทำงานของพยาบาลเป็นประจำทุก ๆ 5 ปี มาตั้งแต่ปี 2531 จากการทำแบบสอบถามสำรวจสภาพการทำงานของพยาบาลกว่า 33,000 คน ซึ่งการสำรวจในปีนี้พบว่า 71.7% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง นอกจากนี้ร้อยละ 62.5 รู้สึกเครียด และร้อยละ 55.3 มีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง ซึ่งตัวเลขเหล่านี้อยู่ในระดับเดียวกับการสำรวจครั้งก่อนในปี 2556 นอกจากนี้ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีประสบการณ์ในการทำผิดพลาดหรือเกือบจะผิดพลาดทางการแพทย์ เกือบร้อยละ 75 ระบุว่าพวกเธอเคยคิดถึงการทิ้งอาชีพพยาบาลนี้ไปหางานใหม่ทำเพราะภาระงานหนักเกินไปเนื่องจากการขาดแคลนพยาบาลในญี่ปุ่น ผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่ามีปัญหาสุขภาพร้อยละ 32.8 ซึ่งสูงกว่าคนทำงานหญิงในทุกภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ร้อยละ 50 ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าต้องทำงานกะกลางคืนแม้ว่าจะตั้งครรภ์และที่น่าตกใจคือร้อยละ 40 ระบุว่ามีประสบการณ์แท้งบุตร ทั้งนี้พยาบาลในญี่ปุ่นต้องทำงานในโรงพยาบาลที่มีตารางการทำงาน 3 กะ โดยร้อยละ 36.7 ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าทำงานกะกลางคืนถึง 9 ครั้งหรือมากกว่าต่อเดือน ร้อยละ 47.3 ระบุว่าทำงานกะกลางคืนถึง 5 ครั้งหรือมากกว่าต่อเดือน และร้อยละ 90 ต้องทำงานล่วงเวลา (OT) อิโรเร็นกำลังเรียกร้องให้รัฐบาลออกกฎหมายเพื่อลดเวลาทำงานของพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพยาบาลที่อยู่ในกะกลางคืน และเรีกยร้องให้มีเวลาพักผ่อนที่เพียงพอระหว่างการรอทำงานในกะต่อ ๆ ไป นอกจากนี้อิโรเร็นยังเรียกร้องให้รัฐบาลขจัดปัญหาการขาดแคลนพยาบาล และเพิ่มค่าแรงให้กับพยาบาลอีกด้วย
ที่มาเรียบเรียงจาก 70% of nurses suffer from chronic fatigue syndrome: union survey (japan-press.co.jp, 21/9/2017) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'สมชัย' ชี้กรรมการสรรหา กกต. ส่อขาดคุณสมบัติ Posted: 07 Oct 2017 03:16 AM PDT 'สมชัย ศรีสุทธิยากร' โพสต์เฟสบุ๊ค ชี้กรรมการสรรหา กกต. สเปคมหาเทพออกฤทธิ์ ส่งผลได้ตัวแทน 3 องค์กรอิสระที่ไม่มีความรู้ด้านเลือกตั้งมาทำหน้าที่ร่วมสรรหา กกต.ชุดใหม่ ซ้ำส่อขาดคุณสมบัติ เหตุพ้นตำแหน่งข้าราชการการเมืองไม่ถึง 10 ปี ยันไม่มีเจตนาตีรวน แต่ต้องการชี้ให้เห็นจุดอ่อนการเขียนกฎหมายของ กรธ. 7 ต.ค. 2560 นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัวถึงการประชุมคณะกรรมการสรรหา กกต.ชุดใหม่ นัดแรก เมื่อวานนี้ (6 ต.ค.) ที่มีนายชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานการประชุม เกี่ยวกับบุคคลซึ่งองค์กรอิสระแต่งตั้งให้มาทำหน้าที่ร่วมเป็นคณะกรรมการสรรหาตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 217 ประกอบมาตรา 203 (4) โดยระบุว่ากรรมการสรรหาองค์กรอิสระ สเปคมหาเทพออกฤทธิ์ ตนเคยให้ความเห็นว่ากรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เขียนรัฐธรรมนูญกำหนดคุณสมบัติคนที่จะมาเป็นองค์กรอิสระขั้นเทพ แถมยังกำหนดคุณสมบัติกรรมการสรรหาให้สูงขึ้นอีก เรียกว่าขั้นมหาเทพ กล่าวคือ ห้ามเป็นข้าราชการ ห้ามทำธุรกิจ ห้ามประกอบวิชาชีพอิสระ ต้องพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองไม่น้อยกว่า 10 ปี ไม่เคยปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ ในองค์กรอิสระมาก่อน ฯลฯ ซึ่งสเปคดังกล่าวจะเป็นปัญหา คือไม่สามารถหาคนมาทำหน้าที่ดังกล่าวได้โดยง่าย หรือถ้าได้มา ก็จะเป็นอดีตข้าราชการที่เกษียณในกรม หรืองานที่ไม่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง เช่น เคยเป็นอธิบดีในกระทรวงเกษตร และเคยพูดเล่นว่าจะได้อธิบดีกรมหม่อนไหม กรมการข้าว มาเป็นกรรมการสรรหา "เมื่อวานนี้ เห็นรายชื่อกรรมการสรรหา กกต.แล้ว ปรากฏว่าในฟากรายชื่อของตัวแทนจากองค์กรอิสระ 3 ท่าน ท่านหนึ่งเป็นศาสตราจารย์จาก ม.เกษตร. ท่านหนึ่งเป็นอดีตอธิบดีกรมการข้าวและกรมหม่อนไหม อีกท่านหนึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านนิติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผมเชื่อว่าด้วยความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ท่านทั้งสามจะสามารถทำหน้าที่เป็นกรรมการสรรหาได้อย่างดีและเที่ยงธรรมแม้ว่าอาจไม่มีประสบการณ์ตรงในด้านการเมืองการปกครองก็ตาม" นายสมชัย กล่าว นายสมชัย กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องติดตาม คือ การกำหนดคุณสมบัติขั้นมหาเทพ จะเป็นอุปสรรคต่อการทำงานหรือไม่ โดยเฉพาะในเรื่องการพ้นจากตำแหน่งข้าราชการการเมืองไม่น้อยกว่า 10 ปี เพราะเห็นว่ามีคนหนึ่งเคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ โดยพ้นจากตำแหน่งไม่ถึงสิบปี และเรื่องการไม่เคยปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ ในองค์กรอิสระ เพราะมีความเป็นไปได้ที่ผู้ที่เคยเป็นอาจารย์ในคณะนิติศาสตร์ อาจเคยได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการในองค์กรอิสระหนึ่งใดในช่วงชีวิตที่ผ่านมา การขาดคุณสมบัติ ทำให้จำนวนกรรมการสรรหา เหลือเพียงแค่กรรมการที่มีคุณสมบัติครบ แต่ไม่ทำให้กระบวนการสรรหาหยุดชะงัก "ดังนั้นสิ่งที่ผมนำเสนอจึงไม่ใช่การตีรวนกระบวนการสรรหา กกต. แต่เป็นการชี้ให้เห็นจุดอ่อนของการกำหนดคุณสมบัติกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ ที่ กรธ.เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ เผื่อว่าอนาคตอาจมีการแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป" นายสมชัย กล่าว ที่ประชุมกรรมการสรรหาฯ วางกรอบสรรหา กกต.ชุดใหม่ให้แล้วเสร็จ 12 ธ.ค.นี้ ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นัดแรก ได้กำหนดกรอบและแนวทางในการสรรหา กกต. โดยเบื้องต้นจะมีการเปิดรับสมัครบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็น กกต. ประมาณช่วงวันที่ 19 ต.ค. ไปจนถึงวันที่ 10 พ.ย. 2560 หรือภายหลังจากที่คณะกรรมการสรรหาฯ ได้พิจารณาร่างประกาศและระเบียบคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการพิจารณาสรรหา กกต. ที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญบัญญัติเสร็จสิ้น พร้อมมีมติให้นัดประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ ครั้งต่อไปในวันที่ 18 ต.ค. 2560 เวลา 09.00 น. เพื่อพิจารณาร่างประกาศและระเบียบต่าง ๆ ที่จะต้องประกาศกำหนดก่อนเริ่มดำเนินการสรรหาบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็น กกต.ตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งบัญญัติไว้ ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาฯ คาดว่าจะดำเนินการพิจารณาสรรหา กกต. ชุดใหม่แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลา 90 วัน หรือภายในวันที่ 12 ธ.ค. 2560 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พธม. เสวนาแนวทางคดี 7 ตุลา ย้ำยังไม่มีการชุมนุมจนกว่าจะถึงเวลา Posted: 07 Oct 2017 02:53 AM PDT พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เสวนาแนวทางคดี 7 ตุลาฯ มีมติรอเวลาที่เหมาะสม ยื่นเอาผิดกรรมการ ป.ป.ช.ไม่อุธทรณ์ 3 จำเลย "สมชาย วงศ์สวัสดิ์-ชวลิต ยงใจยุทธ-พัชรวาท วงษ์สุวรรณ" พร้อมย้ำยังไม่มีการชุมนุมจนกว่าจะถึงเวลา 7 ต.ค. 2560 ASTV ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่าช่วงเวลาประมาณ 11.00-13.00 น. ในงานรำลึก 9 ปี เหตุการณ์สลายการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 7 ต.ค. 2551 ที่บ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ ได้มีการจัดเสวนาแนวทางการดำเนินคดีต่อผู้เกี่ยวข้องกับการสลายชุมนุม ภายหลังจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยกฟ้องจำเลยทั้ง 4 คน และ ป.ป.ช.ไม่ยื่นอุทธรณ์ฟ้องนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมตรี และ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดยอุทธรณ์เพียงกรณี พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เพียงคนเดียว การเสวนาครั้งนี้ มีอดีตแกนนำพันธมิตรฯ ได้แก่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายพิภพ ธงไชย, นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์, นายสุริยะใส กตะศิลา อดีตผู้ประสานงานพันธมิตรฯ, นายวีระ สมความคิด ผู้ยื่นร้องต่อ ป.ป.ช.ให้เอาผิดต่อจำเลยทั้ง 4 คน, นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรฯ, นายสิทธิชัย มานะเสถียร อดีตผู้อำนวยการ ป.ป.ช.จังหวัดมหาสารคาม และนายชิงชัย อุดมเจริญกิจ ตัวแทนผู้ได้รับบาดเจ็บ ร่วมการเสวนา ที่สรุปจากการเสาวนา หลังจากผู้ร่วมเสวนาได้แสดงความคิดเห็น และได้สอบถามความเห็นจากพี่น้องประชาชนผู้ร่วมงานแล้ว มีมติว่า พันธมิตรฯ จะดำเนินคดีกับคณะกรรมการ ป.ป.ช.อย่างแน่นอน กรณีที่ไม่อุทธรณ์ฟ้องจำเลยให้ครบทั้ง 4 คน แต่จะดำเนินการเมื่อถึงเวลา ซึ่งไม่ใช่ตอนนี้ รวมทั้งจะยังไม่มีการจัดชุมนุมใดๆ ในเวลานี้เช่นกัน นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ได้กล่าวบนเวทีเสวนาว่า ป.ป.ช.ไม่ได้สู้คดีให้พันธมิตรฯ อย่างเต็มที่ ตั้งแต่การเบิกความเปิดคดีแทนที่จะเอาแกนนำพันธมิตรฯ ไปเบิกความกลับให้ตำรวจที่เป็นฝ่ายยิงประชาชนเบิกความก่อน เมื่อ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ เพื่อนของ พล.ต.อ.พัชรวาท และเป็นหน้าห้อง พล.อ.ประวิตร มาเป็นประธาน ป.ป.ช.ก็จะถอนคดี พันธมิตรฯ ต้องออกมาคัดค้าน จนถอนฟ้องไม่ได้ แต่พอถอนฟ้องไม่ได้ก็ทำจนแพ้คดี พอแพ้คดี แทนที่จะสู้ให้พันธมิตรฯ เต็มที่ให้คดีถึงที่สุด ก็ทำท่าจะไม่อุทธรณ์ จนเราต้องส่งตัวแทนไปยื่นหนังสือเพื่อเรียกร้องให้อุทธรณ์ ก็อุทธรณ์เฉพาะกรณี พล.ต.ท.สุชาติ เพียงคนเดียว อย่างไรก็ตาม แนวทางที่เราจะทำต่อไปไม่ควรจะจัดชุมนุม เพราะถ้าชุมนุมคงถูกจับแน่ ขณะที่แกนนำก็ติดคดีกันหมด จะใช้ช่องทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้เขาใช้เสียง 1 ใน 5 ยื่นเรื่องให้เราก็คงไม่มีทาง จึงเหลือแนวทางเดียว คือ การยื่นฟ้อง ป.ป.ช.ต่อศาลอาญาแผนกคดีทุจริตที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทางแกนนำพันธมิตรฯ จะสู้เพื่อผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บอย่างแน่นอน เพียงแต่ต้องรอเวลาสักระยะ ด้านนายวีระ สมความคิด กล่าวว่า ขณะนี้เลยเวลาที่จะพูดถึงการเอาผิดต่อจำเลยทั้ง 4 คนไปแล้ว เพราะเลยเวลาการยื่นอุทธรณ์ สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการเอาผิดต่อกรรมการ ป.ป.ช. แต่เราต้องสู้อย่างรอบคอบ ตอนนี้ถามว่าใครมีอำนาจ ถ้าเราสู้ไปเลย แล้วเขามีวิธีการที่จะทำให้เราแพ้ เราจะมาสู้อีกก็ไม่ได้ วันนี้เราจึงต้องรอก่อน รอให้ถึงเวลาของเรา และเราจะทำทุกวิถีทางที่ทำได้และไม่ผิดกฎหมาย ด้านนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ กล่าวว่า ในการเอาผิดกรรมการ ป.ป.ช.นั้น สามารถดำเนินการได้ตามมาตรา 236 ของรัฐธรรมนูญ 2560 โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภา จํานวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจํานวนไม่น้อยกว่า 2 หมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อกล่าวหาว่า กรรมการ ป.ป.ช.กระทำผิด โดยยื่นต่อประธานรัฐสภาพร้อมด้วยหลักฐานตามสมควร หากประธานรัฐสภาเห็นว่ามีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทําตามที่ถูกกล่าวหา ให้ประธานรัฐสภา เสนอเรื่องไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระจากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ เพื่อไต่สวนหาข้อเท็จจริง ซึ่งนายปานเทพได้สอบถามประชาชนที่มาร่วมงานว่าจะใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญดังกล่าวดำเนินการต่อ ป.ป.ช.ทันทีเลยหรือไม่ หรือจะรอให้ผ่านช่วงรัฐบาลปัจจุบันไปก่อน โดยเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าควรรอไปก่อน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เผยมีร้านค้ายึดบัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อยจากประชาชน Posted: 06 Oct 2017 11:37 PM PDT กรมบัญชีกลาง ยอมรับมีปัญหาเรื่องการทุจริตจากการใช้บัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย พบร้านค้าจังหวัดที่ยังไม่ได้ติดตั้งเครื่องรับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ แต่มีการติดป้ายหน้าร้านว่าพร้อมรับบัตรสวัสดิการ โดยให้มารับสินค้าออกไปใช้ก่อนได้ในวงเงิน 200-300 บาท และทำการยึดบัตรสวัสดิการของผู้มีรายได้น้อยไว้ก่อน ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ผิดเงื่อนไข ที่มาภาพประกอบ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ 7 ต.ค. 2560 เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า น.ส.สุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ยอมรับว่าขณะนี้มีปัญหาเรื่องการทุจริตจากการใช้บัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย ตามโครงการลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 โดยพบร้านค้าในพื้นที่ต่างจังหวัดซึ่งยังไม่ได้ติดตั้งเครื่องรับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (อีดีซี) แต่มีการติดป้ายหน้าร้านว่าพร้อมรับบัตรสวัสดิการ โดยให้มารับสินค้าออกไปใช้ก่อนได้ในวงเงิน 200-300 บาท และทำการยึดบัตรสวัสดิการของผู้มีรายได้น้อยไว้ก่อน ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ผิดเงื่อนไข ขณะนี้คลังจังหวัดและพาณิชย์จังหวัดได้ลงพื้นที่ไปนำบัตรที่ถูกร้านธงฟ้ายึดคืนมาแล้ว ซึ่งมีทั้งจากร้านในจังหวัดลำปางที่ยึดบัตรสวัสดิการไว้ 1,000 บัตร และกำแพงเพชรยึดอีก 500 บัตร และหลังจากนี้จะเร่งส่งคืนให้กับเจ้าของบัตร นอกจากนี้ยังพบปัญหาที่จังหวัดมหาสารคาม มีผู้มีรายได้น้อยเอาบัตรสวัสดิการไปแลกเป็นเงินกับร้านธงฟ้าแต่ไม่เอาสินค้า ซึ่งถือว่าผิดเงื่อนไข โดยล่าสุดได้ตรวจสอบแล้วว่าทำผิดจริง และจะลงโทษด้วยการถอดร้านดังกล่าวออกจากทะเบียนร้านธงฟ้ากระทรวงพาณิชย์ และยึดเครื่องรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (อีดีซี) คืน ส่วนผู้ถือบัตรสวัสดิการจะถูกระงับวงเงินในบัตรทันที และต้องชดใช้ค่าเสียหายเพิ่มด้วย "ตอนนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้หยุดลงแล้ว เพราะคลังจังหวัดและพาณิชย์จังหวัดมีการลงพื้นที่ตรวจสอบต่อเนื่อง โดยเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหม่ การดำเนินการก็เดินไปตามกระบวนการ ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างทางก็แก้ไขกันไป โดยปัญหาการยึดบัตรนั้น ยอมรับว่าเกิดการติดตั้งเครื่องอีดีซีที่ล่าช้า เพราะมีขั้นตอนดำเนินการยุ่งยาก ต้องเอาเครื่องมาโหลดโปรแกรมเพื่อให้ใช้งานกับบัตรสวัสดิการได้ ต้องอัพเดทข้อมูล ประวัติร้านค้า ผูกบัญชีธนาคารก่อนจึงจะนำไปติดตั้งได้" ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 1-7 ต.ค. 2560 Posted: 06 Oct 2017 10:26 PM PDT
สั่งตรวจเข้มคนงานไทยลักลอบทำงานเกาหลีใต้ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สั่งตรวจเข้มแรงงานไทยลักลอบไปทำงานเกาหลีใต้โดยใช้วีซ่าท่องเที่ยว หลังพบในรอบ 11 เดือน ระงับการเดินทางไปแล้ว 700 คน ส่วนใหญ่ได้รับการชักชวนทางสื่อออนไลน์ นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมีความห่วงใยในปัญหาการลักลอบไปทำงานต่างประเทศ โดยใช้วีซ่าท่องเที่ยว โดยเฉพาะที่ประเทศเกาหลีใต้ โดยได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนหางานสุวรรณภูมิเข้มงวด ตรวจสอบผู้ที่มีพฤติการณ์จะลักลอบไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งในปีงบประมาณ 2560 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 – สิงหาคม 2560 ระงับการเดินทางของผู้ที่มีพฤติการณ์จะลักลอบไปทำงานในประเทศเกาหลีใต้แล้วจำนวน 700 คน โดยจะแฝงตัวในลักษณะของกรุ๊ปทัวร์ซึ่งอยู่ได้ครั้งละ 90 วัน หากสามารถผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองไปได้ก็จะมีนายหน้ามารับเพื่อไปทำงาน เมื่อใกล้ครบกำหนดก็จะแนะนำให้เดินทางกลับประเทศและขอเดินทางกลับเข้ามาใหม่ แต่บางรายก็อยู่ต่ออย่างผิดกฎหมาย ซึ่งมีหลายรายได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่โฆษณาชวนเชื่อ ขณะเดียวกันอาจถูกบังคับให้ค้าประเวณี โดยคนหางานส่วนใหญ่จะได้รับการชักชวนทางสื่อออนไลน์ และไม่รู้จักผู้ที่มาชักชวนแต่อย่างใด นายวรานนท์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมากรมการจัดหางานได้ประกาศเตือนมาตลอดว่าอย่าหลงเชื่อการโฆษณาชวนเชื่อให้ไปทำงานเกาหลีใต้ทางสื่อออนไลน์ เพราะการไปทำงานเกาหลีใต้ที่ถูกกฎหมายต้องไปโดยวิธีรัฐจัดส่ง ซึ่งทางการไทยได้จัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กับทางการเกาหลีว่าด้วยการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลีภายใต้ระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ (EPS) ดังนั้น หากอยู่หรือทำงานอย่างผิดกฎหมายแล้วถูกจับได้จะต้องถูกปรับเงิน ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย และถูกทางการเกาหลีขึ้นบัญชีห้ามเข้าประเทศ (Black List) ทำให้สูญเสียโอกาสในการเดินทางไปทำงานเกาหลี ทั้งยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ของไทยอีกด้วย ขอให้ติดต่อสอบถามที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือโทร.สายด่วน 1694 ที่มา: กระทรวงแรงงาน, 1/10/2560 สหภาพฯ รฟท. ปูดขาดแคลนบุคลากรหนัก อาจส่งผลกระทบต่อการให้บริการ สหภาพฯ รฟท. ปูดปัญหาใหญ่ในองค์กร ขาดแคลนบุคลากรหนัก อาจส่งผลกระทบต่อการให้บริการ มีปัญหาความปลอดภัย ขณะที่การลงทุนพัฒนาระบบรางหลากหลายรูปแบบนับล้านล้านบาทอาจไม่มีคนปฏิบัติงาน นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวถึงปัญหาใหญ่ ที่เกิดขึ้นในองค์กรการรถไฟแห่งประเทศไทยขนาดนี้ และทางสหภาพฯเห็นว่ารัฐบาล และกระทรวงคมนาคมต้องรีบยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ปัญหาโดยด่วน เพราะนอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการปฏิบัติงานของพนักงานรถไฟตกต่ำแล้ว ยังอาจเป็นต้นเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในด้านการเดินรถ เกิดอันตรายต่อผู้โดยสารได้ โดยขณะนี้แม้ว่าสหภาพฯ จะพิจารณาเห็นว่า รัฐบาลปัจจุบัน มีความตั้งใจที่จะเข้ามาปฏิรูประบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างจริงจังมากกว่ายุคอื่นๆ มีการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางที่มีความเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศระยะ 8 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2565 รัฐบาลได้มีการเน้นการลงทุนให้เกิดโครงการรถไฟทางคู่ใหม่ระยะแรกถึง 10 เส้นทาง ระยะสองอีก 12 เส้นทาง และขณะนี้ก็เริ่มก่อสร้างไปแล้ว 2 เส้นทาง กำลังประมูลจัดซื้อจัดจ้างอีก 5 เส้นทาง การเร่งรัดรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง รถไฟฟ้าเชื่อมสนามบินหรือแอร์พอร์ตลิงค์ ตลอดจนรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เชื่อมประเทศที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ แต่โครงการเหล่านี้จะใช้บุคลากรจากไหนหากไม่เร่งสร้างในวันนี้ "ปัญหาใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้น คือ แผนในการพัฒนาบุคลากร หรือคนเพื่อมาทำงานรองรับระบบราง ที่ลงทุนมูลค่านับล้านล้านบาทกลับไม่มีความชัดเจนท่ามกลางปัญหาปัจจุบันที่ รฟท. มีปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ส่งผลกระทบเกิดปัญหาตามมา ทุกวันนี้นายสถานีหลายคนต้องปฏิบัติงาน ควงกะตลอดวันตลอดคืน ทำหน้าที่ทุกอย่างในสถานี ตั้งแต่ขายตั๋ว ยันล้างห้องน้ำ แค่นี้ก็หมดเวลาไปวันๆ แล้ว ไม่ต้องคิดกันมากเลยว่า หากรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง สร้างเสร็จจะ จะเอาคนที่ไหนมาทำงาน" นายสาวิทย์กล่าว ทั้งนี้ ข้อมูลอัตรากำลังของการรถไฟแห่งประเทศไทย ปัจจุบันตามแผนงาน การรถไฟฯ มีความต้องการบุคลากรเพื่อปฏิบัติงานด้านต่างๆ ที่ 15,000 คน แต่ในความเป็นจริงกลับเหลือพนักงานปฏิบัติหน้าที่ได้เพียง 11,000 คน เท่ากับว่าขาดแคลนอยู่เกือบ 4,000 คน และในแผนอีก 4 ปีข้างหน้า หากการลงทุนสร้างรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูงสำเร็จ จะต้องการบุคลากรเพิ่มเป็น 30,000 คน จำเป็นต้องสรรหาอัตรากำลังเพิ่มอีก 20,000 คน ซึ่งโครงการสำคัญเหล่านี้เหลือเวลาในการก่อสร้างสามถึงสี่ปีก็จะต้องเริ่มเปิดให้บริการแล้ว โดยต้นตอสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหา ณ วันนี้ เกิดจากมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 กรกฎาคม 2541 ที่กำหนดให้การรถไฟฯ สามารถรับพนักงานใหม่เพิ่มได้ 5% ของพนักงานที่เกษียณอายุราชการออกไปเพื่อเป็นการลดปัญหาการขาดทุน แต่ถึงวันนี้ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการแก้ปัญหาด้วยวิธีการนี้ไม่ได้ทำสถานะของการรถไฟฯ และการให้บริการดีขึ้น ทำให้ทุกวันนี้ การรถไฟฯ ต้องทนรับสภาพ เพราะเมื่อพนักงานประจำรับใหม่ไม่ได้ ลูกจ้างก็จ้างเพิ่มไม่ได้ รวมถึงบุคลากรที่การรถไฟฯ ผลิตขึ้นมาเอง อย่างนักเรียนวิศวกรรมรถไฟ มติ ครม.ดังกล่าวด้วย ส่งผลนักศึกษาที่เรียนจบจากโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ ในปี 2560 และพร้อมเข้ามาปฏิบัติงานเพิ่มได้ จำนวน 176 คน แต่กลับไม่สามารถดึงบุคลากรคนรุ่นใหม่เหล่านี้เข้ามาปฏิบัติงานได้ สุดท้ายต้องแยกย้ายกันกลับบ้านตามภูมิลำเนาของตัวเอง จึงถือเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เรื่องนี้จึงต้องจับตาต่อไปว่ารัฐบาลจะดำเนินการคลี่คลายปัญหาดังกล่าวอย่างไร ที่มา: สำนักข่าวไทย, 2/10/2560 วอนหาแนวทางรับมือแรงงานเพื่อนบ้านทิ้งงาน หลังหลอกให้พาเข้าประเทศ นายจ้างรายหนึ่ง ร้องเรียนกับแรงงานจังหวัดจันทบุรี ว่าถูกแรงงานชาวกัมพูชาจำนวน 2 คน หลอกให้นำพาเข้าประเทศ พร้อมขึ้นทะเบียนทำบัตรแรงงานตามกฎหมาย แต่สุดท้ายกลับหนีหาย ปัญหานี้คงเกิดขึ้นกับนายจ้างหลายท่าน โดยเฉพาะยามขาดแคลนแรงงาน นางสาวธนภรณ์ ผลสะอาด ผู้ประกอบธุรกิจโรงงาน ในฐานะนายจ้าง นำเอกสารหลักฐานพร้อมภาพถ่ายของแรงงานชายชาวกัมพูชา อายุ 19 ปี จำนวน 2 คน เข้าร้องเรียนกับสำนักงานจัดหางานจังหวัดจันทบุรี ว่าเธอถูกแรงงานทั้งคู่หลอกให้ทำบัตรแรงงาน ต้องจ่ายเงินเป็นค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าขึ้นทะเบียนแรงงาน รวมถึงค่าจ้างล่วงหน้าไปแล้วกว่า 8,500 บาท แต่หลังจากทำงานได้เพียง 4 วัน แรงงานกัมพูชาทั้ง 2 คน ก็ออกอุบายขอติดรถไปที่ตลาดบ้านแหลม อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี แล้วหนีกลับประเทศบ้านเกิดทันที นายจ้างรายนี้ ยอมรับนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ถูกแรงงานเพื่อนบ้านหลอกให้สูญทรัพย์ ประกอบกับมีนายจ้างอีกจำนวนมาก ต้องเผชิญกับปัญหาลักษณะนี้ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันหาแนวทางป้องกัน ครม.เห็นชอบทดแทนอัตรา ขรก.เกษียณด้วยการจ้างงานรูปแบบอื่น พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามที่สำนักงานข้าราชการพลเรือน (กพ.) เสนอแนวทางการทดแทนอัตราว่างงานการเกษียนอายุของข้าราชการ ด้วยการจ้างงานรูปแบบอื่น เพื่อลดการบรรจุข้าราชการทดแทนอัตราว่าง แต่หากบรรจุทดแทนในอัตราระดับล่างสามารถพิจารณาตามความเหมาะสม โดยในการทดแทนจากผลการเกษียณอายุราชการสายอัตราสนับสนุนทั้งตำแหน่งทั่วไป เช่น เจ้าหน้าที่พนักงานธุรการ เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี เจ้าหน้าที่พนักงานพัสดุ ให้ทดแทนอัตรว่างจากผลเกษียณอายุของข้าราชการด้วยการจ้างงานรูปแบบอื่นทั้งหมด ยกเว้นตำแหน่งประเภททั่วไประดับอาวุโสให้เว้นการทดแทนอัตราว่าง ขณะที่ ตำแหน่งประเภทวิชาการ เช่น นักทรัพยากรบุคคล นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการเงินและบัญชี นักวิชาการพัสดุ ให้ทดแทนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุของข้าราชการด้วยการจ้างงานรูปแบบอื่นร้อยละ 10 ของอัตราว่าง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2561 เป็นต้นไป 'ประวิตร' สั่งเร่งแก้ค้ามนุษย์ หวังปรับขึ้นเทียร์ 2 พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงหลังภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5 คณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปด้านความมั่นคง ลดความเหลื่อมล้ำ การเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานว่า ที่ประชุมเน้นย้ำเรื่องการแก้ปัญหาการประมงผิดกฎหมาย(ไอยูยู) ที่ต้องเร่งขึ้นเรือประมงผิดกฎหมายให้แล้วเสร็จภายในเดือน มี.ค. ปี 2561 เพื่อทำให้ประเทศไทยออกจากการประเมินใบเหลือง นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ จึงต้องเร่งแก้ปัญหาทุกด้าน เพื่อให้ไทยปรับอันดับการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ขึ้นเป็นเทียร์ 2 ให้ได้ในปีหน้า พล.ท.คงชีพ กล่าวอีกว่า ยืนยันว่า การแก้ปัญหาดังกล่าวเราไม่ได้เป็นการเอาใจสหภาพยุโรป(อียู) หรือสหรัฐฯ แต่ทำเพื่อความถูกต้องตามหลักกฎหมายและหลักมนุษยชน ซึ่งเดิมมีการละเลยมาตลอด และหากไม่ดำเนินการตอนนี้ก็จะทำให้ภาคธุรกิจเสียหายและกระทบต่อการส่งออกและระบบประมงของไทยทั้งหมด โดยพล.อ.ประวิตร ได้เน้นย้ำกับข้าราชการให้เน้นประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าประโยชน์ส่วนตน และหากเจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการหรือล่าช้า ปล่อยปละละเลย จะถือว่าพกพร่องต่อหน้าที่ ต้องรับผิดชอบ พล.ท.คงชีพ กล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกันพล.อ.ประวิตร ยังสั่งการให้กรมประมงมีการตรวจสอบย้อนกลับและดำเนินมาตรการด้านปกครองให้เรียบร้อย พร้อมกำชับกรมเจ้าท่าดำเนินการเรื่องกองเรือให้เสร็จสิ้นภายในเดือนต.ค.นี้ และให้ตรวจสอบเรือทุกลำที่เข้าในน่านน้ำของไทยตลอด 24 ชั่วโมง หากพบเรือต้องสงสัย ให้ปฏิเสธไม่ให้เข้าน่านน้ำ ห้ามหละหลวมโดยเด็ดขาด หากพบการกระทำความผิดต้องดำเนินคดีทุกกรณี ขณะเดียวกันได้มอบหมายให้อัยการสูงสุดเร่งรัดการดำเนินคดีให้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังให้กรมจัดหางานรวบรวมหลักฐานแรงงานประมงทั้งในน้ำและบนบกให้เสร็จสิ้นในเดือน มี.ค. 2561 "รฟท." เตรียมเสนอ ครม. เพิ่มบุคลากรอีก 4,000 ทดแทนคนเกษียณ และรองรับโครงการรถไฟทางคู่ - รถไฟความเร็วสูง นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคมในฐานะผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้การรถไฟฯ อยู่ระหว่างเสนอเรื่องเข้าสู่กระทรวงคมนาคม หลังจากผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.เพื่อขอแก้มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 ก.ค. 41 ที่กำหนดให้สามารถรับพนักงานใหม่เพิ่มได้ 5% ของพนักงานที่เกษียณอายุราชการ ซึ่งในปีนี้มีคนรถไฟที่เกษียณอายุราชการประมาณ 300 กว่าคน ทั้งนี้จากการศึกษานั้นรฟท.ต้องการเพิ่มบุคลากรอีกราว 4,000 คนเพื่อรองรับโครงการรถไฟทางคู่ รวมถึงรถไฟความเร็วสูง และรถไฟชานเมืองที่กำลังก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม หากครม.มีมติเห็นชอบได้ในปลายปีนี้ การรถไฟฯจะเร่งดำเนินการเพิ่มอัตราคนรถไฟในปี 61 จำนวน 500 คน ซึ่งรวมถึงบัณฑิตจบใหม่ของโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟที่รอบรรจุอีก 176 คนด้วย ก่อนทยอยเพิ่มให้ครบตามเป้าหมาย 4,000 คนต่อไป อย่างไรก็ตาม ตามแผนฟื้นฟูกิจการของการรถไฟฯ ตั้งเป้าไว้ว่า จะขยายแผนเดินรถ เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม ดังนั้นจึงมีแผนเพิ่มจำนวนรถไฟเป็น 450 ขบวน จากเดิม 250 ขบวน จึงต้องการบุคลากรด้านรถไฟประมาณ 30,000 คนในอีก 4 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันมีพนักงานอยู่ที่ 11,000 คน ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, 3/10/2560 แรงงานไอทีมีเฮ!!! รายได้ดี เป็นที่ต้องการ แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เดินหน้าเจาะลึกสายอาชีพที่กำลังมาแรง แนวโน้มเป็นที่ต้องการของตลาด ควบคู่กับนโยบายภาครัฐ Thailand 4.0 หรือ โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยในปัจจุบัน ซึ่งกระแสการเดินหน้าของประเทศ ต้องการผลักดันประเทศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งคงหนีไม่พ้นด้าน ไอที เทคโนโลยีที่จะมีบทบาท และเด่นชัดมากขึ้นในอีกไม่นาน ทั้งสังคม การศึกษา เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และภาคธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Cloud Computing ที่จะย่อโลก มีบทบาทในแวดวงอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจในอนาคต Big Data Analytics ที่ประเทศไทยให้ความตื่นตัว ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการเงิน แม้กระทั่งสถาบันการศึกษาที่เร่งผลิตบุคลากรมารองรับตลาด Internet of Things อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนโลก การเชื่อมโลกธุรกิจ อุตสาหกรรมด้านระบบไอที อินเทอร์เน็ต หรือแม้กระทั่ง IT Security ที่ต้องเตรียมพร้อมในด้านความปลอดภัย รองรับการเติบโต การเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่ต้องการทรัพยากรบุคคลคุณภาพแทบทั้งสิ้น กว่า 3 ปีที่ผ่านมา สุธิดา กาญจนกันติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ได้เก็บข้อมูล สถิติของแรงงานและตลาดแรงงานในกลุ่มสายไอที เทคโนโลยี และเจาะลึกในช่วงปี 2560 ที่ผ่านมาทำให้ได้ผลสำรวจของแรงงานและตลาดแรงงานในกลุ่มดังกล่าว คือ ตลาดมีความต้องการสูงและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น อัตรารายได้สูงหากได้มาตรฐานการทำงานตามที่หน่วยงานหรือองค์กรต้องการ ที่สำคัญบุคลากรในสายวิชาชีพดังกล่าวไม่เพียงต่อตลาด ยังขาดแรงงานที่มีทักษะและประสบการณ์อีกไม่น้อย 7 กลุ่มสายงานแนวโน้มเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบันและในอนาคต รับกับกระแส Thailand 4.0 ความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจของภาครัฐ และรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานยุคปัจจุบัน และเทรนด์การทำงานในอนาคตที่ในสายอาชีพไอที เทคโนโลยียังคงสดใสเรียกได้ว่า "รายได้ดี ความต้องการสูง" อย่างแน่นอน 1. กลุ่มสายงานด้าน IT Management สายงานในตำแหน่งผู้บริหารที่นับว่าเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก ใช้ความรู้ทางด้านเทคนิคร่วมกับความเข้าใจในธุรกิจ มีทักษะด้านการวางแผน การบริหารงานโครงการให้ตอบโจทย์ทางธุรกิจในช่วง Business Transformation ได้แก่ IT Auditor, Project Lead, IT Manager , Data Center Operator/Manager, Project Manager, IT Director, Project Director เป็นต้น อัตรารายได้เริ่มต้นที่ 22,000 บาท หากมีความเชี่ยวชาญ ทักษะเฉพาะด้าน สะสมประสบการณ์มากกว่า 10 ปี อาจมีรายได้สูงถึงกว่า 400,000 บาท 2. กลุ่มสายงานด้าน Network & System ถือเป็นหัวใจของงานด้านไอทีในทุกองค์กร เพราะขับเคลื่อนการวางแผนเครือข่ายพื้นฐาน (Network) การจัดการระบบของหน่วยงานต้องมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ทำงานดูแลเครือข่ายถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในตำแหน่ง Software Engineer, Software Tester, Software QA, Hardware Engineer, Solution Architect, Program Analyst, Network Engineer, Network Administrator, System Administrator, Business System Analyst เป็นต้น โดยมีฐานรายได้เริ่มต้นเฉลี่ยที่ 15,000 บาท และอาจทะยานสูงไปที่ 200,000 บาท ขึ้นอยู่กับทักษะ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์การทำงานที่มีมากกว่า 5-10 ปี 3. กลุ่มสายงานด้าน Programmer & Developer เปรียบเสมือนหมอเฉพาะทาง ต้องการผู้มีทักษะเขียนภาษาต่าง ๆ ทางคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษา C, C+, Java, COBAL, IOS, Android เป็นต้น หากแต่สายงานนี้มักไม่ค่อยชอบทำงานประจำ ชอบทำงานอิสระ มักเรียกใช้ฟรีแลนด์ได้ แต่องค์กรยังคงต้องการพนักงานประจำ ซึ่งรายได้บุคลากรที่สามารถทำงานด้าน Android Developer, Mobile Developer, Software Developer, Cobol Programmer, Java Programmer, Programmer เป็นต้น เริ่มต้นที่ 18,000 บาท และหากพัฒนาความรู้ สั่งสมประสบการณ์เพิ่มการใช้โปรแกรมจากผลสำรวจรายได้สูงสุดอยู่ที่ 130,000 บาท 4. กลุ่มสายงานด้าน Database Management บุคลากรในการจัดการระบบฐานข้อมูลถือมีความสำคัญในองค์กร โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ มักต้องการผู้เชี่ยวชาญ ประสบการณ์การทำงานสูง และต้องการความปลอดภัย สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์สู่การวางแผนการใช้ข้อมูลเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของธุรกิจได้อย่างสูงสุด ตำแหน่ง ได้แก่ Database Administrator, Oracle DBA/Specialist เป็นต้น โดยบุคลากรในสายงานนี้มีความมั่นคงในสายงานสูง มีฐานรายได้เริ่มต้นเฉลี่ยสูงถึง 20,000 บาท และสูงสุดที่ 150,000 บาท อีกด้วย 5. กลุ่มสายงานด้าน SAP&ERP อาชีพเฉพาะทางที่องค์กรตั้งแต่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความต้องการสูงในการวางแผนควบคุมการจัดการประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กร ซึ่งบุคลากรในระดับหัวกะทิหายาก หากมีประสบการณ์ตรงโดยเฉพาะตำแหน่งงาน ด้าน SAP Analyst, SAP Consultant, ERP Consultant ถือว่าเริ่มต้นฐานรายได้โดยเฉลี่ยสูงมากถึง 27,000 บาท และสูงได้ถึง 250,000 บาท หากมีประสบการณ์ตรง หากมีความเชี่ยวชาญ ทำงานมีประสิทธิภาพและแม่นยำ 6. กลุ่มสายงานด้าน Website เปรียบเสมือนบ้านหนึ่งหลังที่ต้องการผู้เข้าดูแลตั้งแต่ก่อสร้างจนถึงตกแต่ง พร้อมดูแลรักษา ดังนั้น ผู้ดูแลต้องเข้าใจโปรแกรมเฉพาะทาง Web Browser ต้องควบคุมดูแล วางโครงสร้างให้สอดคล้องกับระบบงานขององค์กร ตำแหน่งงานที่เป็นที่ต้องการ คือ Content Manager, Online Marketing Manager, SEO Specialist เป็นต้น โดยมีฐานรายได้โดยเฉลี่ยที่ 16,000 และสูงสุดที่ 140,000 บาท ที่มาพร้อมทักษะ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญของสายงานนี้ 7. กลุ่มสายงานด้าน IT Support เป็นตำแหน่งงานที่ทุกองค์กรต้องมีและขาดไม่ได้ เนื่องจากดูแลระบบการทำงานทั้ง Software และ Hardware บำรุงรักษาระบบ Network เข้าระบบเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน การเชื่อมต่อ การสื่อสารภายในเพื่อให้ผู้ใช้ไม่ติดขัด ถือเป็นอีกหนึ่งตำแหน่งที่มีความต้องการสูง มีฐานได้เฉลี่ยที่ 16,000 ถึง 48,000 บาทเลยทีเดียว สุธิดาให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ต้นปี 2560 ถึงปัจจุบัน แรงงานด้านสายงานไอทีและเทคโนโลยีถือว่าโดดเด่น เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานหมุนตามกระแสทิศทางเศรษฐกิจ โลกแห่งธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนไป การนำเอาระบบและเทคโนโลยีเข้ามีบทบาทในโลกของการทำงาน แรงงานด้านสายงานไอที เทคโนโลยีจึงมีความต้องการในตลาดแรงงานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมส่งผลถึงฐานรายได้ที่สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ผลพวงที่เกิดขึ้นคือ "ความก้าวหน้าของอาชีพ" ที่แรงงานในสายอาชีพดังกล่าวควรหันกลับมามอง ต้องพัฒนาทักษะ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในสิ่งที่ตลาดมองหา มีความต้องการสูง และผลตอบรับที่ได้คือความคุ้มค่าของรายได้ที่ตามมา แต่สิ่งที่สะท้อนกลับมาจากผู้ประกอบการ องค์กร คือ บุคลากรในสายงานดังกล่าวต้องมีทักษะในการสื่อสารให้เข้าใจได้แม้เป็นภาษาหรือศัพท์ทางเทคนิค ต้องรู้จักอ่อนน้อม มีความอดทน เพราะเก่งงานอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องมี Service Mind พร้อมสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆในองค์กร หากยึดถือ ปฏิบัติและปรับตัวได้ ต้องบอกว่าถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพในฝันของคนยุคนี้ที่ต้องบอกว่า "รายได้ดี มีความต้องการของตลาด" จริงๆ ที่มา: ผู้จัดการรายสัปดาห์ 6/10/2560 กกจ. มอบใบอนุญาตทำงาน ' Digital Work Permit' บนสมาร์ทโฟนใบแรกในไทย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ที่ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน ชั้น 18 อาคารจัตุรัสจามจุรี พญาไท นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน มอบใบอนุญาตทำงานแบบ Digital Work Permit ใบแรกแก่คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยกับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จำนวน 5 ราย จากบริษัท อโกดา เซอร์วิสเซส จำกัด เป็นสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคธุรกิจรับจ้างบริหารระบบธุรกิจระหว่างประเทศ และบริษัทเอ็นเอ็มบี-มินิแบ ไทยจำกัด นายวรานนท์ กล่าวว่า กระทรวงแรงงานได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ดำเนินโครงการพัฒนาระบบนำร่องการจัดหาและพัฒนาระบบ Single Window ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน ซึ่งถือว่าเป็นการปรับโครงสร้างการให้บริการภาครัฐในลักษณะนำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตั้งอยู่รวมกันและเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว ประหยัด เป็น One Stop Service Center โดยบริษัทที่ได้การส่งเสริมการลงทุนสามารถยื่นคำร้องและพิจารณาคำร้องแบบ Online : Single Entry ผ่านระบบนำร่อง Single Window ซึ่งเป็นช่องทางบริการที่สะดวก รวดเร็วและทันสมัย เป็นการให้บริการแบบ E-Service ลดการมาติดต่อด้วยตนเองของผู้ใช้บริการ ลดการใช้เอกสาร โดยใบอนุญาตทำงานที่คนต่างด้าวจะได้รับจะไม่เป็นเล่มเอกสารหรือบัตรแข็งอีกต่อไป แต่จะเป็นรูปแบบ Digital Work Permit บนโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน นายวรานนท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ใบอนุญาตฯดังกล่าว มีข้อดีคือลดเอกสารที่ต้องพกพา ผู้บังคับใช้กฎหมายหรือผู้ตรวจสอบสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ด้วยการใช้โทรศัพท์มือถือ Scan QR code สามารถตรวจสอบข้อมูลความเป็นตัวตนหรืออัตลักษณ์หรือเอกสิทธ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง เพราะมีข้อมูลเชิงลึกให้ตรวจสอบ หากบัตรเป็นรูปแบบเดิมจะตรวจสอบได้เฉพาะข้อมูลที่ปรากฏบนบัตรเท่านั้น มีความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูล ปลอมแปลงเอกสารได้ยาก ทั้งนี้ จะต่อยอดการออกใบอนุญาตในรูปแบบดังกล่าวไปยังกลุ่มช่างฝีมือผู้ชำนาญการต่างประเทศที่เข้ามาปฏิบัติงานในกิจการทั่วไป เมื่อรวมการให้บริการออกใบอนุญาตทำงานทั้งกลุ่ม BOI และกลุ่มกิจการทั่วไปจะมีอยู่ประมาณ 150,000 ราย ทั้งนี้ สำหรับขั้นตอนการทำงานคือ เมื่อคนต่างด้าวที่ยื่นคำขออนุญาตทำงานผ่านระบบ Single Window กรมการจัดหางานและ BOI จะพิจารณาอนุญาตในระบบและแจ้งผลการพิจารณาทาง E-mail เมื่อคนต่างด้าวได้รับการอนุญาตแล้วจะต้องมาแสดงตนเพื่อชำระค่าธรรมเนียม และถ่ายรูปลงลายมือชื่อ Digital เพื่อจะได้ Username และ Password เพื่อลงทะเบียนใน Application ชื่อ "Thailand Digital Work Permit" ใช้ได้ทั้งระบบ IOS และ Android ซึ่งเมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วจะปรากฏ Digital Work Permit บนโทรศัพท์มือถือของคนต่างด้าว ที่มา: มติชนออนไลน์, 6/10/2560 ก.แรงงาน ช่วยลูกจ้างสนามกอล์ฟสงขลา 30 ชีวิต ได้สิทธิแรงงานตามกฎหมาย 'อนันต์ชัย'โฆษกแรงงาน เผย หน่วยงานในสังกัด ก.แรงงาน จ.สงขลา เข้าดำเนินการช่วยเหลือคนงานภายในสนามกอล์ฟสงขลา 30 คน ขึ้นทะเบียนว่างงานตามสิทธิผู้ประกันตน จัดสรรตำแหน่งงานว่างรองรับ พัฒนาฝีมือแรงงานให้ตามความต้องการ พร้อมให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองสิทธิแรงงานตามกฎหมาย หลังสนามกอล์ฟปิดตัวลงและสร้างสวนสาธารณะขึ้นมาทดแทน นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากกรณีที่ธนารักษ์จังหวัดสงขลาขอคืนพื้นที่ราชพัสดุจากกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 4 ซึ่งได้เช่าพื้นที่จำนวน 90 ไร่ เพื่อดำเนินกิจการสนามกอล์ฟนานกว่า 20 ปี โดยให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาสร้างสวนสาธารณะเพื่อการท่องเที่ยว ส่งผลให้พนักงานสนามกอล์ฟจำนวน 30 คนต้องตกงานปรากฏเป็นข่าวผ่านสื่อนั้น นายอนันต์ชัย กล่าวต่อว่า พล.อ. ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ให้ความห่วงใยต่อพนักงานกรณีดังกล่าวซึ่งได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดเร่งให้ความช่วยเหลือลูกจ้างในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ล่าสุดหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน จ.สงขลา ได้ร่วมกันเข้าไปดำเนินการให้การช่วยเหลือคนงานภายในสนามกอล์ฟสงขลาทั้งหมดแล้ว โดยเบื้องต้นให้ความช่วยเหลือขึ้นทะเบียนว่างงานตามสิทธิผู้ประกันตน จัดสรรตำแหน่งงานว่างในพื้นที่รองรับ และพัฒนาฝีมือแรงงานให้หากลูกจ้างมีความประสงค์เพื่อพัฒนาฝีมือหรือประกอบอาชีพอิสระ พร้อมดูแลให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายแรงงาน ที่มา: กระทรวงแรงงาน, 7/10/2560 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รมว.สาธารณสุข ชี้ 'หลักเกณฑ์บริหารงบบัตรทอง 61' เกิดจากทุกภาคส่วน ส่งผลเข้าใจกันมากขึ้น Posted: 06 Oct 2017 08:56 AM PDT รมว.สาธารณสุข ชี้ 'หลักเกณฑ์บริหารงบบัตรทอง ปี 61' เกิดจากความร่วมมือร่วมใจทุ 6 ต.ค.2560 รายงานข่าวแจ้งว่าที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการ ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกั ปิยะสกล กล่าวว่า การดำเนินระบบหลักประกันสุ สำหรับในปีงบประมาณ 2561 นี้ ในการบริหารกองทุนและการจั ปิยะสกล กล่าวว่า กองทุนการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ "อปท.ที่ดำเนินโครงการ LTC สำเร็จ แม้ว่าจะติดขัดระเบียบ อปท.ไม่สามารถโอนเงินไปยังศูนย์ ปิยะสกล กล่าวว่า ส่วนการดำเนินกองทุนหลักประกั "การบริหารกองทุนหลักประกันสุ ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ภารกิจพีมูฟ จับตาผลกระทบนโยบาย 'ทวงคืนผืนป่า' รัฐแย่งยึดที่ทำกินประชาชนคนจน Posted: 06 Oct 2017 08:40 AM PDT ปัญหาของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายทวงคืนผืนป่า หากรัฐเพิกเฉย หรือละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ ภารกิจต่อไปของพีมูฟ คงต้องนำปัญหารวมทั้งข้อเสนอทั้งหมดเข้าพบนายกรัฐมนตรีโดยตรง เพื่อให้ร่วมพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าอีกเป็นการต่อไป หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายทวงคืนผืนป่า แล้วมอบหมายให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดทำแผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2557 โดยมีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ ร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งประเทศ แต่การดำเนินการทวงคืนผืนป่า กลับเข้ามาปฏิบัติการแย่งยึดที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของประชาชนคนยากจนสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนทั่วภูมิภาค ดังนั้น เครือข่ายประชาชนในนามขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ที่ได้ดำเนินการผลักดันการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้รัฐมีมาตรการการกระจายการถือครองที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรม จึงร่วมประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาในระดับนโยบายระหว่างหน่วยงานรัฐกับตัวแทนพีมูฟ กระทั่งช่วงต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) โดยได้แต่งตั้งและมอบหมายให้ ออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ เป็นประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของพีมูฟ แทน ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล อดีต รมต.ประจำสำนักนายกฯ ที่ย้ายไปเป็น รมช.ศึกษาธิการ ต่อมาเมื่อวันที่ 30 มี.ค.60 ออมสิน ได้จัดเวทีประชุมร่วมกับพีมูฟ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของผู้ได้รับผลกระทบจากการทวงคืนผืนป่า และโครงการอื่นๆ ของรัฐบาล ในที่ประชุม ออมสินกล่าวว่า ปัญหาที่พีมูฟ นำเสนอมาเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน หลังจากนี้สำนักนายกฯ จะเร่งประสานงานและทำหนังสือชี้แจงถึงหน่วยงานต่างๆ เมื่อล่วงเข้าสู่เดือน ก.ย.60 ข้อเรียกร้องเพื่อให้เกิดแนวทางแก้ไขเป็นรูปธรรมยังไม่มีความคืบหน้า โดยไม่มีการประชุมอีกเลยนับจากครั้งนั้น ทั้งที่มติที่ประชุมได้มีแนวทางให้แก้ไขปัญหาเร่งด่วนแต่กลับไม่มีการดำเนินการใดๆ การแก้ไขปัญหาไม่ได้ถูกนำมาสานต่อตรงกันข้ามกลับเป็นการสะสมปัญหาที่ประชาชนได้รับผลกระทบเพิ่มยิ่งขึ้น ดังนั้น เมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่ผ่านมา พีมูฟ จึงได้นัดรวมพลเพื่อเดินทางไปยังสำนักงานพัฒนาระบบข้าราชการ (ก.พ.ร.) กรุงเทพฯ เพื่อยื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่อสำนักงานสำนักปลัดนายกรัฐมนตรี และเพื่อติดตามทวงถามการแก้ไขปัญหาที่ล่าช้า ซึ่งทำให้ประชาชนเดือดร้อนจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ซึ่งข่มขู่ หลอกลวง และจับกุมดำเนินคดี อีกทั้ง ได้กำหนดให้รัฐบาลเปิดประชุมร่วมกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบต่างๆ อย่างเร่งด่วน หากทางหน่วยงานรัฐยังคงเพิกเฉย พีมูฟ จะนัดรวมกันมาอีกครั้งในวันที่ 25 ก.ย.60 กระทั่งถึงกำหนดตามนัดหมาย เมื่อวันที่ 25 ก.ย.ทีผ่านมา ตัวแทนเครือข่ายประชาชนผู้ได้ได้รับผลกระทบจากนโยบายและการพัฒนาของรัฐจากทั่วประเทศในนามพีมูฟ กว่า 100 คน มารวมตัวที่หน้าสำนักงาน ก.พ.ร. ตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอพบ ออมสิน เพื่อทวงถามความคืบหน้าในการแก้ปัญหารวมทั้งขอให้ ออมสิน เข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อให้เกิดการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว แต่ได้รับการประสานจากเจ้าหน้าที่ว่า ออมสิน ติดภารกิจไม่สามารถร่วมประชุมได้ กระทั่งเวลา 11.00 น. เจ้าหน้าที่ได้เชิญตัวแทนพีมูฟจำนวน 10 คน และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมกับน พงษ์ชัย นิรมิตศรีชัย ที่ปรึกษา รมต.ประจำสำนักนายกฯ การพูดคุยเบื้องต้น ที่ปรึกษา รมต.สำนักนายกฯ กล่าวว่า จะนำข้อเสนอทั้งหมดเรียนต่อ ออมสิน และจะนัดหมายประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของพีมูฟ ในวันที่ 24 พ.ย. ที่จะถึงนี้ การที่ ออมสิน ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของพีมูฟ ไม่สามารถมาเข้าร่วมประชุมได้ ทั้งที่ควรทราบล่วงหน้าว่าพีมูฟ จะขอไปเจรจา สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากความล่าช้า เพิกเฉย ไม่ให้ความสำคัญในการร่วมกันแก้ไขปัญหา พีมูฟมีภารกิจต้องติดตามจนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไข และหากคณะกรรมการฯ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ หรือละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ ขั้นตอนต่อไปของพีมูฟ คงต้องนำปัญหารวมทั้งข้อเสนอทั้งหมดเข้าพบกับนายกรัฐมนตรีโดยตรง เพื่อให้ร่วมพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าอีกเป็นการต่อไป
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
แอมเนสตี้ส่งจดหมายกระตุ้นอาเซียนเร่งแก้ไขวิกฤตโรฮิงญาอย่างจริงจัง Posted: 06 Oct 2017 08:23 AM PDT แอมเนสตี้ส่งจดหมายเรียกร้องให้ แฟ้มภาพ 6 ต.ค.2560 รายงานข่าวจาก แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย แจ้งว่า ในวันนี้ (6 ต.ค.60) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลส่งจดหมายเปิด จดหมายดังกล่าวลงนามโดยผู้อำนวยการ 13 คนจากสำนักงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลทั่วภูมิภาคเอ เจมส์ โกเมซ ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชี "รัฐบาลประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ต้องยึดมั่นปฏิบัติ นับแต่กลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงญาโ ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของการล้าง ที่ผ่านมา อาเซียนได้แสดงท่าทีต่อกรณีนี้ โดยออกแถลงการณ์ฉบับหนึ่งเมื่อวั จดหมายของแอมเนสตี้กล่าวด้วยว่าการแ แอมเนสตี้เรียกร้องรัฐบาลฟิลิปปิ จดหมายนี้ลงนามโดยผู้อำนวยการแอ รายละเอียดจดหมายดังกล่าว :
เลขาธิการ Alan Peter Cayetano รัฐมนตรีต่างประเทศ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ กระทรวงการต่างประเทศ 2330 Roxas Boulevard Pasay City, Metro Manila Philippines เรียน เลขาธิการ Cayetano จดหมายเปิดผนึก: อาเซียนต้องแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน อันเนื่องมาจากวิกฤตในรัฐยะไข่ของเมียนมา
ข้าพเจ้าเขียนจดหมายฉบับนี้ในนามของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เพื่อแสดงความกังวลอย่างลึกซึ้งต่อวิกฤตด้านสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรม ที่เกิดขึ้นกับพลเรือนในตอนเหนือของรัฐยะไข่ องค์กรของเราขอกระตุ้นให้ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) คนปัจจุบัน ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหานี้ ให้สอดคล้องตามกฎบัตรอาเซียน และมาตรฐานกฎหมายสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมระหว่างประเทศ นับแต่กลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงญาโจมตีป้อมของฝ่ายความมั่นคงในเมียนมาเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม รัฐบาลเมียนมาได้เริ่มปฏิบัติการอย่างรุนแรงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเกินกว่าเหตุต่อชาวโรฮิงญา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้เก็บข้อมูลการละเมิดและการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชนมากมายหลายครั้ง รวมทั้งการสังหารโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การวางเพลิงเผาบ้านเรือนและหมู่บ้านต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง และได้ยืนยันว่ามีการใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล (anti-personnel landmines) โดยกองทัพเมียนมา ทางการยังได้ยับยั้งการเข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ของหน่วยงานสหประชาชาติ และหน่วยงานด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศอื่นๆ ในตอนเหนือของรัฐยะไข่อย่างเด็ดขาด เป็นเหตุให้ประชาชนหลายหมื่นคนเสี่ยงภัย จากการคาดการณ์ล่าสุดขององค์การสหประชาชาติ ชาวโรฮิงญา 480,000 คนได้หลบหนีเข้าสู่บังคลาเทศ ในขณะที่รัฐบาลเมียนมาได้อพยพประชาชนกว่า 30,000 คนที่เป็นชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์อื่น ๆ ในรัฐยะไข่ แม้เราตระหนักว่า ทางการเมียนมา มีหน้าที่และสิทธิที่จะคุ้มครองประชากรของตนเอง และเจ้าหน้าที่ให้รอดพ้นจากการโจมตี รวมถึงการสอบสวนเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ แต่ทางการเมียนมาก็ต้องประกันว่า มาตรการตอบโต้การโจมตีที่นำมาใช้นั้น มีสัดส่วนเหมาะสม และไม่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน . แต่จากพยานหลักฐานที่รวบรวมโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เราได้ข้อสรุปว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนเหนือของรัฐยะไข่อาจเรียกได้ว่าเป็นการล้างเผ่าพันธุ์ (ethnic cleansing) โดยมีเป้าหมายเป็นชาวโรฮิงญา ซึ่งตกเป็นเป้าด้วยเหตุผลด้านชาติพันธุ์และศาสนา ในทางกฎหมายถือว่าเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ รวมทั้งการสังหารและการเนรเทศ หรือการบังคับให้ประชากรต้องเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ความรุนแรงในตอนเหนือของรัฐยะไข่เกิดขึ้นจากบริบทของการเลือกปฏิบัติที่เป็นไปอย่างกว้างขวาง และมีมาอย่างยาวนานต่อชาวโรฮิงญาในเมียนมา พวกเขาถูกเลือกปฏิบัติโดยแบ่งแยกเชื้อชาติ ถูกปฏิเสธสิทธิที่จะมีสัญชาติ และถูกจำกัดสิทธิอื่น ๆ อย่างเข้มงวด เช่น สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการเดินทาง การเข้าถึงการศึกษา บริการด้านสุขภาพ และอาชีพ สิทธิที่จะได้ปฏิบัติตามหลักศาสนาของตน และการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ กฎบัตรอาเซียนกำหนดอย่างชัดเจนว่า "อาเซียนและรัฐภาคีต้องปฏิบัติตาม" หลักการของ "การเคารพเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม" นอกจากนั้น ข้อ 20(4) ยังกำหนดว่า "กรณีที่มีการละเมิดกฎบัตรอย่างร้ายแรง หรือการไม่ปฏิบัติตาม ต้องมีการนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเพื่อพิจารณาลงมติ" และข้อ 7(2)(ง) ที่ระบุว่า "ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนจะ...สนองตอบสถานการณ์ฉุกเฉินที่กระทบต่ออาเซียน โดยดำเนินมาตรการที่เหมาะสม" แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเชื่อว่า รัฐบาลเมียนมาได้ละเมิดอย่างร้ายแรงต่อพันธรณีของตนด้านสิทธิมนุษยชน และมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎบัตรอาเซียน ทางหน่วยงานของเราได้รับทราบว่า ประธานอาเซียนได้มีถ้อยแถลงเมื่อวันที่ 24 กันยายน ที่แสดงข้อกังวลและประณาม "การกระทำที่รุนแรงใด ๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียชีวิตของพลเรือน การทำลายบ้านเรือน และการพัลดถิ่นฐานของประชาชนจำนวนมาก" ในรัฐยะไข่ เราเชื่อว่า ถ้อยแถลงนี้ยังไม่เพียงพอ และอาเซียนจำเป็นต้องแสดงท่าทีอย่างจริงจังมากกว่านี้ต่อวิกฤตในเมียนมา ดังนั้น เราจึงร้องขอให้อาเซียนดำเนินการต่อไปนี้ โดยถือเป็นเรื่องเร่งด่วน · จัดประชุมสุดยอดฉุกเฉินระดับอาเซียนเพื่อแก้ไขวิกฤตครั้งนี้ สอดคล้องกับข้อ 20(4) และ 7(2)(ง) ของกฎบัตรอาเซียน เพื่อให้มีการเจรจากับรัฐบาลเมียนมา ทั้งนี้เพื่อให้ดำเนินการโดยทันทีเพื่อ o ยุติความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง การละเมิดสิทธิมนุษยชน และอาชญากรรมตามกฎหมายระหว่างประเทศ o ประกันให้ผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในบังกลาเทศ และที่พลัดถิ่นในเมียนมา เข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม o ประกันให้มีการเดินทางกลับถิ่นฐานของตนได้อย่างปลอดภัยและมีศักดิ์ศรี สำหรับผู้ที่สมัครใจจะกลับ o แก้ปัญหาที่รากเหง้าของวิกฤตครั้งนี้ โดยเฉพาะการเลือกปฏิบัติที่ฝังรากลึก และการปฏิบัติโดยแบ่งแยก ด้วยเหตุผลทางชาติพันธุ์หรือศาสนาต่อชาวโรฮิงญา o สนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการไต่สวนความจริง ที่ตั้งขึ้นตามมติของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และความพยายามระหว่างประเทศใด ๆ ที่มุ่งสอบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชน และอาชญากรรมตามกฎหมายระหว่างประเทศ และให้นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย · สนับสนุนการรับรองมติว่าด้วยสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่เลวร้ายลงในเมียนมา ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และ · จัดทำกลไก ภายใต้คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) หรือนอกเหนือจากนั้น เพื่อรับคำร้องเรียนว่าจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด ๆ กรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยรัฐภาคีใด ๆ ของอาเซียน โดยให้กลไกนี้มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนตามคำร้องนั้น ในการแสวงหาและได้รับข้อมูลจากรัฐภาคีที่เกี่ยวข้อง และให้จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาตามคำร้องนั้น
ขอแสดงความนับถือ
Claire Mallinson, ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออสเตรเลีย
Mabel Au, ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ฮ่องกง
Aakar Patel, ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล อินเดีย
Usman Hamid, ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล อินโดนีเซีย
Kaoru Yamaguchi, รักษาการผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ญี่ปุ่น
Catherine Hee Jin Kim, ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เกาหลี
Gwen Lee, รักษาการผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มาเลเซีย
Altantuya Batdorj, ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มองโกเลีย
Nirajan Thapaliya, ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เนปาล
Grant Bayldon, ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล นิวซีแลนด์
Butch Olano, ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ฟิลิปปินส์
ปิยนุช โคตรสาร, ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
James Fang, ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ไต้หวัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น