ประชาไท | Prachatai3.info |
- รมว.แรงงาน ขอให้กลุ่มผู้ประกันตนร่วมแสดงความคิดเห็นปฏิรูประบบบำนาญประกันสังคม
- สื่อพม่าในวิกฤตโรฮิงญา: โดนเซ็นเซอร์-ข่มขู่-คุกคาม ถ้ารายงานไม่ตรงใจรัฐบาล
- พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชทำไมต้องเป็นฉบับใหม่?: เสียงจากนายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์
- ฐานข้อมูลออนไลน์ 6 ตุลา และความคาดหวังเห็นความยุติธรรมในอนาคต
- จ่อชง ครม. ขยายเพดานเก็บเงินสมทบผู้ประกันตนสูงสุด 1,000 บ.
- เปิดรับสมัคร กกต. วันที่ 2 ยังเงียบเหงาไร้เงาผู้สมัคร
- โสภณ ย้ำมาบตาพุดต้องย้ายชาวบ้านออกนอกพื้นที่ หลังศาลปกครองสั่งเป็นเขตควบคุมมลพิษ
- แม่ทัพภาค 4 พบ นักธุรกิจรุ่นใหม่ชายแดนใต้ เดินหน้าพัฒนาสตาร์ทอัพเป็นนักรบทางเศรษฐกิจ
- รีวิวร่าง พ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญ อัพเกราะห้ามวิจารณ์ - อัลติเมทแก้เดดล็อคการเมือง
- 51 ผู้ประกันตน ฟ้องศาลปกครอง เพิกถอน 3 กฏกระทรวง กรณีเงินชราภาพ
- มันไม่ง่ายที่จะเป็น ‘ปอแน’: เสี้ยวชีวิต LGBT ในสามจังหวัดชายแดนใต้ เพราะต่างจึงเจ็บปวด (2)
- คณะทำงานฯ UN ร้องปล่อย 'ศศิพิมล-ใหญ่ แดงเดือด' ผู้ต้องขัง 112 ชี้คุมตัวโดยพลการ
- ผ่านวาระ 3 พ.ร.ป.การตรวจเงินแผ่นดินให้อำนาจ สตง. ตรวจสอบ ป.ป.ช. ตามหลักเกณฑ์ที่ ป.ป.ช. กำหนด
- ชาวบ้านริมน้ำโขงยื่นอุทธรณ์ศาลปกครอง ชี้หน่วยงานรัฐปล่อยลาวสร้างเขื่อนปากแบงไม่ถูกต้อง
รมว.แรงงาน ขอให้กลุ่มผู้ประกันตนร่วมแสดงความคิดเห็นปฏิรูประบบบำนาญประกันสังคม Posted: 20 Oct 2017 09:45 AM PDT พล.อ.ศิริชัย รมว.แรงงาน ขอบคุณกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ที่ช่วยตรวจสอบการดำเนิ แฟ้มภาพ กระทรวงแรงงาน 20 ต.ค. 2560 รายงานข่าวจากกระทรวงแรงงานแจ้งว่า วิวัฒน์ จิระพันธุ์วานิช ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ขอบคุณกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ที่ช่วยตรวจสอบการดำเนิ สำหรับพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มีวัตถุประสงค์หลัก ประการแรก เพื่อให้ผู้รับบำนาญไม่ตกอยู่ ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมยังอยู่ รายงานข่าวระบุด้วยว่า กระทรวงแรงงาน จึงขอเชิญชวนกลุ่มผู้ประกันตน เข้าร่วมแสดงความคิดเห็ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
สื่อพม่าในวิกฤตโรฮิงญา: โดนเซ็นเซอร์-ข่มขู่-คุกคาม ถ้ารายงานไม่ตรงใจรัฐบาล Posted: 20 Oct 2017 08:03 AM PDT ขณะที่รัฐบาลพม่าเล่นบทว่าตัวเอง "ถูกรังแก" จากสื่อต่างประเทศและประชาคมโลกที่ประณาม กองทัพพม่า-กองกำลังพลเรือนที่ร่วมเผาบ้านเรือน สังหาร และข่มขืนชาวโรฮิงญา นอกจากนี้สื่อพม่าเองก็ลำบากเพราะถูกคุกคามเมื่อพวกเขาพยายามสืบค้นความจริงในกรณีนี้ ถ้าหากเรื่องที่เขานำเสนอแตกต่างจากวิธีการเล่าเรื่องแบบเข้าข้างรัฐบาล แนวแผงกั้นด้านหน้าสวนมหาพันธุละ ด้านหลังคือศาลาว่าการนครย่างกุ้ง ภาพถ่ายเดือนพฤศจิกายน 2558 (แฟ้มภาพ/ประชาไท) 20 ต.ค. 2560 อัลจาซีรารายงานเรื่องนักข่าวชาวพม่าซึ่งถูกรังแกและคุกคามเพียงเพราะพยายามสืบค้นความจริงและนำเสนอข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นกับชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ หนึ่งในนั้นคือมินมิน นักข่าวอายุ 28 ปี ซึ่งมีผู้ถูกลอบวางระเบิดในบ้านของเขา ซึ่งอยู่ในพื้นที่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ มินมินเปิดเผยว่าเขาต้องเผชิญกับความเสี่ยงขณะที่พยายามสืบหาความจริงเกี่ยวกับประเด็นในรัฐยะไข่ เขาเป็นบรรณาธิการของสำนักข่าว "สืบสวนรัฐยะไข่" ซึ่งตีพิมพ์นิตยสารข่าวการเมืองเผยแพร่รายเดือนที่เน้นข่าวสอบสวนสืบสวนเรื่องชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโดยเฉพาะในช่วงที่เกิดเหตุรุนแรงเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่พวกเขาก็รายงานอะไรไม่ได้มาก จำต้องเก็บเงียบในเรื่องนี้เพราะต้องระวังตัว หลังเหตุการณ์ที่รัฐบาลพม่าใช้กำลังปราบปรามชาวโรฮิงญาผู้ไม่ได้รับสัญชาติและสิทธิพื้นฐานของรัฐบาลพม่า ก็เป็นเหตุให้มีชาวโรฮิงญามากกว่า 500,000 รายหนีออกจากประเทศ สหประชาชาติกล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่าเป็นตัวอย่างของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในขณะที่อองซานซูจีและรัฐบาลพม่าวิจารณ์การนำเสนอของสื่อต่างประเทศและการทำงานของสหประชาชาติผู้บันทึกเหตุการณ์ต่อชาวโรฮิงญาว่าเป็นการรายงาน "ข่าวปลอม" แต่หม่อง ซานี นักวิชาการพม่าซึ่งลี้ภัยอยู่นอกประเทศก็วิจารณ์ว่ารัฐบาลปฏิเสธการบันทึกหลักฐานและข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการสังหารหมู่ ทั้งยังปฏิเสธว่าไม่มีการข่มขืนผู้หญิงหลายร้อยคน ซึ่งนั่นคือสิ่งที่ อองซานซูจี มักกล่าวในเฟซบุ๊กเพจอย่างเป็นทางการของเธอ อัลจาซีรายังได้พูดคุยกับนักข่าวอีกสิบกว่าคนที่เปิดเผยว่าพวกเขาก็ถูกคุกคามถึงขั้นถูกขู่ฆ่าเพราะพยายามทำข่าวประเด็นโรฮิงญาในแบบที่ทำให้รัฐบาลไม่พอใจ การคุกคามและการเซ็นเซอร์ยังส่งผลต่องานของพวกเขา ทำให้พวกเขารู้สึกอึดอัด นอกจากรัฐบาลแล้วพวกเขายังกังวลเรื่องการตอบโต้จากชาวพม่าที่ไม่พอใจข่าวของพวกเขาด้วย ยารา บาว เมลเฮม นักข่าวอัลจาซีราในนครย่างกุ้งเปิดเผยว่า รัฐบาลพม่ายังนำเสนอข่าวในลักษณะที่เป็นเรื่องเล่าแบบเข้าข้างตัวเอง เช่น อ้างว่ารัฐบาลจะสู้รบกับสิ่งที่พวกเขานิยามว่าเป็น "การก่อการร้ายของกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง" ในรัฐยะไข่ต่อไป ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลระบุว่าพวกเขาปฏิบัติการเพื่อโต้ตอบการโจมตีของกองกำลังติดอาวุธโรฮิงญาอาระกัน (ARSA) แต่รายงานของสหประชาชาติเปิดเผยว่าทหารได้เผาบ้านเรือนของชาวโรฮิงญาเพื่อขับไล่ไม่ให้พลเรือนชาวโรฮิงญากลับประเทศอีก แต่รัฐบาลพม่าก็ปฏิเสธในเรื่องนี้ และอ้างว่าการนำเสนอดังกล่าว "รังแก" พวกเขา ดาวิส มาธีสัน นักวิเคราะห์เรื่องพม่ากล่าวว่าสิ่งที่น่ากลัวมากคือตัวโฆษณาชวนเชื่อที่รับใช้รัฐบาลพม่า ที่ทำให้เขานึกถึงลักษะการกลบเกลื่อนเหตุการณ์แบบโลกโหดร้ายคล้ายนิยายของจอร์จ ออร์เวลล์ แม้แต่การทำงานของสื่อนิตยสารของมินมินเองก็ยากลำบาก มีทีมงานนิตยสารของเขาลาออกไปแล้ว 6 รายเพราะเขาไม่อนุญาตให้ใช้คำว่า "พวกผู้ก่อการร้ายชาวเบงกาลี" ในรายงาน ทำให้เขาเป็นห่วงอนาคตนิตยสารของตัวเองก่อนอนาคตของประเทศแล้วตอนนี้ เรียบเรียงจาก Myanmar journalists 'harassed' for reporting on Rohingya crisis, Aljazeera, 16-10-2017 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชทำไมต้องเป็นฉบับใหม่?: เสียงจากนายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ Posted: 20 Oct 2017 06:29 AM PDT ความเห็นอีกด้านต่อร่างพ.ร.บ. คุ้มครองเมล็ดพันธุ์ กับ ชัยฤกษ์ สงวนทรัพยากร นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย เก็บเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อทำไม่ได้จริงหรือ? การผูกขาดเมล็ดพันธุ์จากบรรษัทขนาดใหญ่เป็นไปได้ไหม? การเข้าเป็นสมาชิก UPOV จำเป็นต่อเราหรือไม่? ทำไมการได้รับการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่จึงสำคัญ? และเหตุผลที่ต้องแก้พ.ร.บ.ฉบับนี้ จากข้อโต้แย้งของ BIOTHAI ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ. คุ้มครองเมล็ดพันธุ์ ซึ่งได้ตีความกฎหมายว่า การเก็บเมล็ดพันธุ์ของพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับการคุ้มครองไปปลูกต่อจะผิดกฎหมาย รวมทั้งไม่สามารถจำหน่ายจ่ายแจกเมล็ดพันธุ์นั้นได้ รวมถึงเจตนาการร่างพ.ร.บ. ที่ต้องการให้เป็นไปตามแนวทางของ UPOV1991 อาจทำให้บรรษัทขนาดใหญ่เข้ามาผูกขาดเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทย และทำให้เมล็ดพันธุ์มีราคาแพง มีผลกระทบต่อเกษตรกรและผู้บริโภค เรื่องที่เกี่ยวข้อง เมื่อประชาชนถูกยึดกุมอาหารผ่านการยึดเมล็ดพันธุ์, 18 ต.ค. 2560 ประชาไทสัมภาษณ์ ชัยฤกษ์ สงวนทรัพยากร นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย เพื่อให้เห็นอีกด้านของความคิดเห็นต่อร่างพ.ร.บ. ฉบับนี้ ข้อสงสัยในมาตรา 35 วรรค 2 จะจำกัดสิทธิเกษตรกรในการปลูกพืชพันธุ์ใหม่จริงไหม?ในวรรคแรก "เพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูกหรือขยายพันธุ์สำหรับพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับความคุ้มครอง เกษตรกรมีสิทธิในการใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ตนเองเป็นผู้ผลิตในพื้นที่ของตนเอง" สิ่งเหล่านี้ในทางวิชาการเมล็ดพันธุ์คือ Home save seed คือผู้ปลูกเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง ซึ่งเป็นกันมานานแล้วในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ เช่น เมล็ดพันธุ์ข้าว เกษตรกรซื้อพันธุ์ข้าวแล้วเก็บพันธุ์ที่ตัวเองรู้ว่าดี และเก็บไว้ใช้เอง กฎหมายก็ให้สิทธิเกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ ส่วนวรรคที่สอง "รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชมีอำนาจออกประกาศกำหนดพันธุ์พืชใหม่ชนิดใดเป็นพันธุ์พืชที่สามารถจำกัดปริมาณการเพาะปลูกหรือการขยายพันธุ์ทั้งหมดหรือบางส่วนของเกษตรกรได้" อันนี้ยิ่งเป็นประโยชน์มากกับเกษตรกร คือในภาวะเมล็ดพันธุ์ขาดแคลน แทนที่เกษตรกรจะมีสิทธิแค่เก็บเมล็ดพันธุ์ตามปกติไว้ใช้เอง ก็มีสิทธิเก็บไว้ได้มากกว่านั้นอีกเนื่องจากใช้อำนาจของคณะกรรมการคุ้มครอง คำว่า "จำกัด" ทำให้ตีความว่า สามารถจำกัดปริมาณการเพาะปลูกหรือการขยายพันธุ์ทั้งหมดหรือบางส่วนของเกษตรกรได้อาจจะใช้คำว่า "กำหนด" ก็ได้ ผมไม่ทราบภาษากฎหมาย แต่คิดว่าถ้าเป็นที่เรื่องคำ ในเวลานี้ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้เขาเปิดรับฟังความเห็นอยู่ เราก็อาจจะเขียนเสนอความเห็นให้ใช้คำที่มันมีความหมายแบบนี้ คำว่า "จำกัด" มันอาจจะรู้สึกถูกข่มขู่มากเกินไปก็เป็นได้ เจตนาของกฎหมายตัวนี้ ผมมองว่ารัฐจะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องจนกว่าผู้ทรงสิทธิไม่สามารถขยายจำนวนได้ตามความต้องการของตลาด เกิดภาวะเช่น ข้าวยากหมากแพง ภัยพิบัติ และคณะกรรมการเห็นว่าพืชนี้มีความสำคัญ กฎหมายฉบับนี้จะขยายสิทธิให้เกษตรกรได้ปลูกพืชที่ตลาดต้องการ หรือเช่นพันธุ์ข้าวไม่พอใช้ บ้านเราผลิตข้าวได้ 10 ล้านตัน ใช้พันธุ์ข้าว 1 เปอร์เซ็นต์ ถ้าพันธุ์ข้าวไม่พอใช้ก็แปลว่าเราจะไม่สามารถผลิตข้าว 10 ล้านตันได้ รัฐก็จะเข้ามากำกับช่วยดูแลเรื่องพวกนี้ ถึงตอนนั้นถ้าใครได้รับการคุ้มครองสิทธิ์อยู่ พอถึงเวลาคุณก็ต้องปล่อยสิทธิตัวนี้ออกไป ในแง่ของสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ ถ้าเรารู้ว่าเมล็ดจะไม่พอ ในแง่ของการค้าเราต้องทำเพิ่มอยู่แล้ว แต่ภัยพิบัติมันมาอย่างที่เราไม่รู้ เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ เพราะฉะนั้น พ.ร.บ. นี้เปิดทางให้รัฐมีอำนาจในการจัดการเรื่องพวกนี้ได้
จากมาตรา 74 ทำให้ตีความได้ว่า ใครนำเมล็ดพันธุ์ซึ่งเป็นพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับการคุ้มครองไปขายหรือแจกจ่ายจะผิดกฏหมาย?มาตรา ๗๔ ผู้ใดกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๕๗ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิในพันธุ์พืชนั้น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ มาตรานี้ถูกตีความว่า จะทำให้เกษตรกรที่ปลูกพันธุ์พืชใหม่ตามประกาศข้างต้นแล้วเก็บรักษาพันธุ์ไปปลูกต่อ หรือแจกจ่ายแก่เพื่อนบ้าน จะมีความผิด มาตรา ๓๓ ผู้ทรงสิทธิในพันธุ์พืชใหม่มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวใน การดําเนินการต่อส่วนขยายพันธุ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ผลิต หรือการผลิตซ้ํา (การขยายพันธุ์) (๒) การปรับปรุงสภาพเพื่อวัตถุประสงค์ของการขยายพันธุ์ (๓) การเสนอขาย (๔) การขายหรือการทําการตลาดอื่น ๆ (๕) การส่งออก (๖) การนําเข้า (๗) การเก็บสํารองเพื่อวัตถุประสงค์ในการดําเนินการตาม (๑) ถึง (๖) มาตรา ๕๗ เมื่อได้จดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมือง เฉพาะถิ่นของชุมชนใดแล้วให้ชุมชนนั้นมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการ ปรับปรุงพันธุ์ ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย ผลิต ขาย ส่งออกนอก ราชอาณาจักร หรือจําหน่ายด้วยประการใดซึ่งส่วนขยายพันธุ์ของ พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น ทั้งนี้ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์ที่ได้รับหนังสือสําคัญแสดงการจดทะเบียนพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นเป็นผู้ทรงสิทธิในพันธุ์พืช พื้นเมืองเฉพาะถิ่นนั้นแทนชุมชนดังกล่าว ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) การกระทําเกี่ยวกับพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นที่ได้รับความ คุ้มครอง โดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นส่วนขยายพันธุ์ (๒) การกระทําเกี่ยวกับพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นที่ได้รับ ความคุ้มครองซึ่งกระทําโดยสุจริต (๓) การเพาะปลูกหรือขยายพันธุ์สําหรับพันธุ์พืช พื้นเมือง เฉพาะถิ่นที่ได้รับความคุ้มครองโดยเกษตรกรด้วยการใช้ส่วน ขยายพันธุ์ที่ตนเองเป็นผู้ผลิตแต่ในกรณีที่รัฐมนตรีโดยความ เห็นชอบของคณะกรรมการประกาศให้พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น นั้นเป็นพันธุ์พืชที่ควรส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์ให้เกษตรกรสามารถ เพาะปลูกหรือขยายพันธุ์ได้ไม่เกินสามเท่าของปริมาณที่ได้มา (๔) การกระทําเกี่ยวกับพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นที่ได้รับความ คุ้มครองโดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า มาตรา 33 คือมาตราที่เราคุยเมื่อกี้ 33 อันเดียวถูกขยายไป 6 ข้อในร่าง ฯ ฉบับใหม่ ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปปลูกหรือเก็บรักษาพันธุ์ปลูกต่อได้ในพื้นที่ของตัวเอง ส่วนผลผลิตนำไปขายได้ แต่อย่าขายพันธุ์อย่าขายเมล็ดพันธุ์ หรือแจกจ่าย ถ้าเรายุติธรรมพอเราก็จะมองเห็นว่ามันไม่เหมาะ เหมือนกับการไปลิดรอนสิทธิของผู้ที่พึงได้ เพราะมันเท่ากับว่าคุณไม่ต้องทำอะไรเลย แค่ซื้อเมล็ดพันธุ์ที่เขาใช้เวลาวิจัยกันกว่าจะได้รับการยอมรับว่าเป็นพืชพันธุ์ใหม่ แล้วคุณก็มาปลูกต่อ แล้วเก็บเมล็ดพันธุ์ไปขายต่อ แบบนี้เขาจะเสียเวลาวิจัยกันทำไม ส่วนมาตรา 57 อันนี้ไม่ได้จำกัดสิทธิเกษตรกรเลย แต่จำกัดสิทธิผู้ทรงสิทธิ ซึ่งต้องขออนุญาตก่อนการนำพันธุ์พืชเมืองท้องถิ่นมาพัฒนา เพราะมาตรา 57 เป็นการคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น ซึ่งเจ้าของพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นก็คือคนในท้องถิ่น ไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่ง พูดกันง่ายๆ ก็คือ เจ้าของพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นก็คือรัฐบาล กลุ่มบุคคลในท้องถิ่น ตอนนี้ยังไม่มีอะไรขึ้นทะเบียนเป็นพืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นเลย เพราะมันถูกขยายไปโดยธรรมชาติ ไม่ได้มีเฉพาะที่นี่ที่เดียว บางคนย้ายถิ่นก็เอาไปด้วย แต่ในความหมาย "พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น" คือพืชที่ขึ้นเฉพาะถิ่นนั้นๆ และถูกดูแลรักษา ยกตัวอย่าง กล้วยไม้รองเท้านารี จะเป็นกล้วยไม้ที่มีลักษณะเฉพาะในท้องที่ของมันเอง เช่น ภาคใต้ก็มีรองเท้านารีเฉพาะ ภาคเหนือก็มีรองเท้านารีอีกลักษณะหนึ่ง กลุ่มบุคคลหรือประชาชนท้องถิ่นเมื่อได้ดูแลรักษาทำให้พืชตัวนี้อยู่ในท้องถิ่น ใครจะนำไปใช้ต้องขออนุญาต ทีนี้เวลาจะนำไปใช้ สมมติเราเห็นว่ารองเท้านารีสตูลลักษณะดี ถ้าหากไปผสมกับรองเท้านารีลำปางจะได้พันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะดียิ่งกว่า การจะเอารองเท้านารีสตูลมาใช้ก็ต้องขออนุญาต ขอจากใคร ก็ขอจากรัฐบาล ซึ่งการขออนุญาตก็จะมีการแบ่งผลประโยชน์ ถ้าเกิดผลประโยชน์ขึ้นจะมีการแบ่งปันเท่าไหร่ เงินแบ่งปันผลประโยชน์เหล่านี้ก็จะกลับคืนไปสู่ท้องถิ่นที่พืชตัวนี้อยู่ เพื่อดูแลมันต่อไป เพราะฉะนั้นในพ.ร.บ.นี้ถึงมีเงินกองทุนคุ้มครองพันธุ์พืช การจะมีพืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นก็แสดงว่าชุมชนจะต้องมองหาพืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นแล้วไปขอขึ้นทะเบียนเอาไว้ และใครจะนำออกจากท้องถิ่นไปต้องขออนุญาต ถ้ายิ่งนำไปทำประโยชน์มากเท่าไหร่ ผลตอบแทนก็จะกลับคืนสู่ท้องถิ่นนั้นๆ แต่การทำประโยชน์ไม่ใช่ว่าเก็บเกี่ยวไป เป็นเพียงการเอาตัวอย่างไปใช้ ไม่เหมือนกับปัจจุบันที่ไม่มีการคุ้มครอง เข้าป่าไปกวาดเอารองเท้าพื้นเมืองกลับมาเป็นเข่งๆ มันก็สูญไปจากท้องถิ่นที่มีอยู่ แต่ถ้ามันเป็นพืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นแล้ว ประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นจะรักษาและหวงแหน ใครจะมาเก็บไปก็จะไม่ยอม เพราะมันจะเป็นประโยชน์ของท้องถิ่นที่จะได้รับ การจะขึ้นทะเบียนเป็นพืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นก็ต้องพิสูจน์ได้ว่าที่อื่นไม่มี แล้วอย่างพืช เช่น ทุเรียนเมืองนนท์ ที่เขาว่ากันว่าต้องเมืองนนท์เท่านั้น จดเป็นพืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นได้ไหม?ไม่จัดว่าเป็นพืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น แต่สามารถจดเป็น GI (Geographical Indications - การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ) ได้ ตัวนี้เป็นเรื่องของการตลาด เช่น ทุเรียกหลงลับแล เราคงไม่สามารถหาซื้อได้จากระยอง มันช่วยส่งเสริมการตลาดแก่ชุมชนนั้นๆ และการจะรับจดทะเบียนพืชพื้นเมืองท้องถิ่นรัฐก็ต้องดูแลและตรวจสอบ ทำไมต้องเข้าเป็นสมาชิก UPOV?UPOV เป็นองค์กรนานาชาติระหว่างประเทศ ซึ่งดูแลเรื่องการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ เน้นว่าเป็นพันธุ์พืชใหม่ ปัจจุบันมี 74 ประเทศ ถ้าเป็นสมาชิก UPOV พันธุ์พืชที่ได้รับการคุ้มครองในประเทศจะได้รับการคุ้มครองในประเทศที่เป็นสมาชิก UPOV ทุกประเทศ ถ้าหากเราไม่มีการพัฒนาพันธุ์ใหม่เราก็ไม่ต้องเข้าเป็นสมาชิกเขาก็ได้ ใน 74 ประเทศก็คือประเทศที่มีการพัฒนาพันธุ์พืช ก็จะได้รับการคุ้มครอง การคุ้มครองไม่ใช่เฉพาะพันธุ์พืชแต่ขยายตัวไปถึงการขาย เป็นเรื่องของการตลาด ถ้าพันธุ์พืชที่เราพัฒนาถูกขายออกไปในประเทศอื่นและไม่ได้รับการคุ้มครองก็จะถูก- - ใช้คำง่ายๆ ก็คือ ถูกก็อปปี้ได้ง่าย พ.ร.บ. ฉบับนี้เราส่งเสริมให้มีนักปรับปรุงพันธุ์ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาพันธุ์ ส่งเสริมให้มีการสร้างพันธุ์ใหม่ เมื่อสร้างพันธุ์ใหม่แล้วส่งไปขาย ถ้าไม่ได้รับการคุ้มครอง พันธุ์ของเราก็จะถูกนำไปใช้ โดยเฉพาะในช่วง 20 ปี บ้านเราพัฒนาพันธุ์ใหม่ๆ ขึ้นมาเยอะมาก แล้วก็ถูกนำไปใช้ในอาเซียน ในประเทศเขตร้อนเกือบทั้งหมด เราเป็นผู้ส่งออกพันธุ์พืชรายใหญ่ของเอเชีย รองจากญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน ณ ปัจจุบัน เราส่งออกข้าวโพดเกือบทุกประเทศในเอเชีย ถ้าพันธุ์เราไม่ได้รับการคุ้มครอง ก็จะถูกผลิตขึ้นในประเทศนั้นๆ แล้วก็ขายโดยที่จะไม่ซื้อจากเราอีกต่อไป แล้วเราจะไปขอความคุ้มครองจากประเทศนั้นๆโดยตรงได้ไหม?เราก็ต้องไปจดทะเบียนขอการคุ้มครองในประเทศเขาทีละประเทศ แต่ถ้าเราเป็นสมาชิก UPOV เราแค่จดทะเบียนในประเทศเรา การคุ้มครองจะเกิดขึ้นทุกประเทศสมาชิก ความสำคัญของการได้รับการคุ้มครองบริษัท (ส่วนตัว) ผมอายุ 30 กว่าปี เริ่มทำงานพัฒนาพันธุ์มา 25 ปี เพิ่งจะขายพันธุ์ที่เป็นของบริษัทได้จริงๆ เมื่อประมาณสัก 10 ปีนี้เอง มันใช้เวลานานมาก ถ้าไม่ใช่ความฟลุ๊ค แต่ละปีมีพันธุ์ออกมาเป็นร้อย แต่เอามาสกรีนจะเข้าตลาดจริงๆ เหลือสัก 3-4 พันธุ์ก็ถือว่าเก่งแล้ว เพราะอะไร?ตลาดมีข้อจำกัด พันธุ์พืชใหม่จะได้รับการยอมรับเมื่อไหร่ หนึ่ง เกษตรกรต้องยอมรับ จะยอมรับก็เพราะพันธุ์แข็งแรง ปลูกง่าย ตายยาก สอง ฝ่ายขนส่ง แม้พันธุ์นี้ผลผลิตดีแต่ขนส่งบอกว่าไม่เอา ขนถึงปลายทางหายไปครึ่งหนึ่ง เสียหาย ช้ำ ไม่อยากได้ สาม ตลาด พอขนส่งไปที่ตลาด ตลาดบอกว่า พันธุ์นี้ไม่เอา วางสองวันเหลืองแล้ว เหี่ยวเร็ว สี่ ผู้บริโภค รสชาติไม่อร่อย ก็ไม่ได้ ดังนั้นในการที่พันธุ์จะเข้าตลาดได้ จะต้องมีคนอย่างน้อย 4 กลุ่มบอกว่า Yes ไม่ใช่ว่าเราทำพันธุ์ออกมาดีแล้วทุกคนจะโอเค พอไปถึงตลาดจริงๆ แล้วข้อจำกัดจะตามมา พื้นที่นี้ปลูกได้ พื้นที่นี้ปลูกไม่ได้ ฤดูนี้ปลูกได้ ฤดูนี้ปลูกไม่ได้ เพราะงั้นพันธุ์จะมีความหลากหลายมาก บ้านเรามีสามฤดู ร้อน ฝน หนาว สามฤดูนี้พันธุ์พืชก็จะแตกต่างกัน ถามว่าพันธุ์เดียวได้ไหม ก็ได้ แต่ต้องยอมรับว่ามันดีที่สุดในฤดูหนาวนะ ฤดูฝนมันก็ได้แค่นี้ พื้นที่ราบได้แบบนี้นะ ที่ดอนได้แบบนี้ ที่ภูเขาได้แบบนี้ มันเป็นผลกระทบที่เราต้องหาพันธุ์ที่เหมาะ เช่น เราจะผลิตของไปขายที่ภาคเหนือก็ต้องทนเย็น เพราะที่นั่นเย็น ถ้าไม่ทนเย็นที่นั่นก็ไม่ยอมรับ เพราะมันเติบโตไม่ได้ เชื่อไหมว่าผมทำพัฒนาพันธุ์มา เวลานี้ผมยังไม่มีพันธุ์ขายภาคเหนือเลย เพราะว่าเขตพัฒนาผมอยู่สุพรรณบุรี อยู่ในเขตร้อน ก็ต้องยอมรับว่าข้อจำกัดของเรามี จากปัจจัยเหล่านี้เป็นไปได้ไหมว่าบริษัทใหญ่จะผูกขาด เพราะเป็นผู้มีกำลังและทุนมากกว่า?บริษัทใหญ่ กำลังเยอะ อย่าลืมว่าต้นทุนก็สูง ดังนั้นเขาจะไม่พัฒนาพันธุ์ที่ใช้เฉพาะถิ่น เช่น ตอนนี้ประเทศไทยผลิตข้าวโพด 17,000 ตันต่อปี เฉลี่ยกิโลละ 70-100 บาท ก็มีมูลค่าเมล็ดเพียง 1,700 ร้อยล้านบาทเป็นมูลค่าขาย ผมว่าไม่มีบริษัทไหนจะลงมาเล่น ที่เขาจะมองคือเขามองว่าทั้งภูมิภาคเท่าไหร่ บริษัทใหญ่เขาจะไม่มองเฉพาะประเทศ โดยเฉลี่ยแล้วพันธุ์พืชแต่ละชนิด แต่ละบริษัทดูแลไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีใครคุม Majority ทั้งหมด ถ้าใครคุม Market share ของพืชตัวหนึ่งได้สัก 50 เปอร์เซ็นต์นี่ยอมนับถือ แต่อย่างตลาดข้าวโพด เป็นของซีพีประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ และเป็นของมอนซาโต้อีกประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ และที่สำคัญเมล็ดพันธุ์ของซีพีก็ได้สิทธิบัตรมาจากมอนซาโต้ ดังนั้นจึงกลายเป็นการถือครองตลาดครึ่งหนึ่งของทั้งสองบริษัทใหญ่ที่ผนวกรวมกันเรื่องนี้เราก็ต้องยอมรับ ในเรื่องพัฒนาการใครเก่งก็ต้องยอมรับ แล้วเรื่องความหลากหลายล่ะ?ถามว่าเราไม่ซื้อพันธุ์เขาได้ไหม ได้ เวลานี้ทุกบริษัทพัฒนาพันธุ์ออกมาไม่ใช่ว่าพันธุ์เดียวแล้วขายได้ ปริมาณพันธุ์ที่ว่ารวมๆ 50 เปอร์เซ็นต์คือหลายพันธุ์ อาจจะเป็นข้าวโพดชนิดเดียวแต่พันธุ์มีเป็นสิบๆ ชนิด อย่างเวลานี้แตงกวาในบ้านเรามีขายอยู่ 300 กว่าพันธุ์ เพราะฉะนั้นคนใช้จะเลือกใช้อะไรก็ได้ เวลาคนใช้เมล็ดพันธุ์อยู่ในพื้นที่ต่างๆ ก็จะมองว่าพันธุ์นี้เหมาะกับฉัน ต้องใช้พันธุ์นี้ แต่ในที่สุดการตัดสินใจจะอยู่ที่คน 4 กลุ่มเสมอ ผมอยู่ในวงการนี้ผมมองว่าเมล็ดพันธุ์ ถ้าคุณขายแพง ปลูกแล้วไม่คุ้มทุน ผมไม่ซื้อ ผมไปซื้ออีกพันธุ์ที่ราคาถูกกว่า ในฤดูที่สินค้าแพงอย่างฤดูฝน ถ้าฝนตกหนักๆ ผักหลายชนิดจะโตลำบากเพราะน้ำเยอะเกินไป จะมีพันธุ์บางพันธุ์ที่โตได้ เขาก็จะไปซื้อพันธุ์นั้นมาใช้ แต่พันธุ์นั้นราคาแพงเกินไปขายแล้วไม่คุ้ม อันนี้เป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดในบ้านเรา เพราะบ้านเราต้นทุนเมล็ดพันธุ์คิดเป็น 5 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนทั้งหมดทางการเกษตร ถือว่าถูกมาก ต้นทุนการผลิตทั้งหมด ถ้าเราเริ่มจากการไถที่เตรียมแปลง เมล็ดพันธุ์ วัสดุการเกษตร ปุ๋ย ยาเคมี แรงงาน น้ำมัน ค่าเครื่องสูบน้ำ เมล็ดพันธุ์ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ แต่ว่า เซ้นซิทีฟที่สุด ถึงแม้จะมีมูลค่าต่ำ ทำอะไรล้มเหลวโทษเมล็ดพันธุ์ไว้ก่อน เมล็ดพันธุ์ มีคุณภาพสองอย่างคือ อันที่หนึ่งคือคุณภาพพันธุ์ อันที่สองคือคุณภาพเมล็ด พันธุ์จะดีไม่ดี จะไปรู้เอาตอนสุดท้ายที่เรากินแล้วอร่อย ส่วนคุณภาพเมล็ดพันธุ์ จริงๆ แล้วรับผิดชอบแค่หยอดลงไปแล้วงอก ถ้างอกได้ก็จบหมดภาระของเมล็ดพันธุ์แล้ว ส่วนที่เหลือคือการบำรุงรักษา ใส่ปุ๋ยใส่น้ำ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่การผลิตล้มเหลว คุณจะได้ยินเสียงเลยว่า เมล็ดพันธุ์ไม่ดี โทษเมล็ดพันธุ์ไว้ก่อน ทั้งที่เมล็ดพันธุ์ควรจะรับผิดชอบแค่ปลูกแล้วงอกดี ปลูกแล้วโอเค จบ มีงานวิจัยที่อิงจากสิ่งที่เกิดขึ้นในอเมริกาเมื่อเข้า UPOV เมล็ดพันธุ์จะแพงขึ้นเป็น 3 เท่า เป็นไปได้ไหม?อะไรก็ตามที่เป็นปัจจัยการผลิต ถ้าไม่คุ้มจะถูกเปลี่ยนทันที ในการผลิต ธรรมชาติมีไดนามิกในตัวมันเอง เราไม่จำเป็นจะต้องทำอะไรแบบนี้เท่านั้น มันจะถูกปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เมล็ดพันธุ์ถ้าแพงเกินไปก็จะเลือกซื้อของที่ถูกกว่า ที่คุณภาพใกล้เคียง เมื่อไหร่ก็ตามที่เค้กชิ้นนี้ใหญ่ ในระบบการค้าเสรีจะมีคนเข้ามาแบ่ง เพราะฉะนั้นมันไม่มีทาง ที่กังวลกันเรื่องข้าวกับข้าวโพดว่าจะเกิดการผูกขาดจากบรรษัทใหญ่ข้าวไม่มีใครอยากลงไปเล่นหรอก เพราะรัฐดูแลอยู่ ณ ปัจจุบันนี้มีบริษัทไหนขายเมล็ดพันธุ์ข้าว แม้กฎหมายฉบับนี้จะเอื้อประโยชน์ให้นักปรับปรุงพันธุ์ แต่ยังมีกฎหมายฉบับอื่นคุ้มครองอยู่ เรามีกฎหมายหลายฉบับ คุณจะพัฒนาพันธุ์ข้าวไม่ได้หรอกถ้ากฎหมายตัวนี้ยังไม่ได้เปลี่ยน ประเทศเราห้ามนำพันธุ์ข้าวเปลือกเข้ามาในประเทศเพื่อการค้า ข้าวไฮบริด (ข้าวลูกผสม) เขาขายกันมา 30 ปีแล้ว บ้านเรายังไม่ได้ใช้เลยเพราะนำเข้าไม่ได้ แม้กระทั่งจะขอพันธุ์ข้าวมาทดสอบก็ต้องผ่านกระบวนการควบคุมคุ้มครอง ณ ปัจจุบันบริษัทเอกชนที่พัฒนาพันธุ์ข้าว ก็ใช้พันธุ์ข้าวในเมืองไทย นำเข้าไม่ได้ กฎหมายมันมี linkage (การเชื่อมโยง) ที่ถ่วงดุลกันอยู่หลายอัน ผมไม่อยากใช้คำว่าไม่มีเอกชนผลิตพันธุ์ข้าว แต่บริษัทที่เป็นบริษัทเมล็ดพันธุ์ผลิตพันธุ์ข้าวเนี่ย เป็นคนไทยเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ พูดง่ายๆ คือ อยู่ในท้องถิ่น ผลิตพันธุ์ข้าว แล้วก็ขายให้เกษตรกรในท้องถิ่น ต่างประเทศไม่มีใครลงทุน เพราะราคายังไม่จูงใจ เนื่องจากรัฐบาลช่วยซับพอร์ท ควบคุมราคา รัฐบาลถึงจะผลิตพันธุ์ข้าวได้น้อย ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ต่อปริมาณการใช้ทั้งหมด แต่ว่าราคาต่ำ มันดึงราคาพันธุ์ข้าวไว้ไม่ให้สูง เมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นเมล็ดพันธุ์ที่สามารถดูแลได้เอง เพราะฉะนั้นเกษตรกรเก็บไว้ใช้เองเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ข้าวพื้นเมือง พันธุ์ข้าวที่ใช้อยู่ในปัจจุบันบริษัทท้องถิ่นเป็นคนทำ ซึ่งแต่ก่อนก็คือโรงสี เมื่อมีพันธุ์ข้าวดีโรงสีก็จะเก็บไว้เพื่อขายแก่เกษตรกรในฤดูหน้า คล้ายๆ ทำหน้าที่เป็นยุ้ง แต่มาระยะหลังมีกฎหมายเรื่องการควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ โรงสีก็ต้องพัฒนาตัวเอง ต้องควบคุมคุณภาพ เก็บรักษาให้ดี จนกระทั่งมาระยะหนึ่งในท้องถิ่นที่ทำได้ก็จะมีคนกลาง ในการไปดูแปลงข้าว แปลงนี้ข้าวสวยคุณภาพดี ก็เก็บพันธุ์มาขาย มันเป็นเงินหมุนเวียนในท้องถิ่นทั้งนั้น เพราะราคาไม่สูง ดังนั้นใครก็ตามคิดจะลงไปทำพันธุ์ข้าว ราคานี้ไม่คุ้มค่าใช้จ่าย บริษัทผมก็ไม่ทำ ถ้าพันธุ์จะทะลักเข้ามาก็เพราะ หนึ่งมีคุณสมบัติที่ดี เด่นกว่า ถ้าแตกต่างกันไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ คนปลูกไม่เปลี่ยนพันธุ์ เข้าคุ้นกับพันธุ์เก่า เขาจะใช้วิธีการเดิม อะไรเดิมในการปลูก ถึงแม้บอกว่านี่พันธุ์ใหม่นะ ผลผลิตสูงกว่า 20 เปอร์เซ็นต์เชียวนะ แต่ต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มนะ ต้องทำยังงั้นเพิ่ม ยังงี้เพิ่มนะ ยังขายยากเลย การขายพันธุ์ยากที่สุดคือเปลี่ยนวิธีการจัดการของเกษตรกร อย่าลืมว่าแม้กระทั่งข้าวโพด กว่าเกษตรกรจะยอมรับไฮบริดใช้เวลาเป็น 10 ปี เพราะปกติปลูกข้าวโพดสิบไร่ แบกปุ๋ยลงไปสองกระสอบ เดี๋ยวนี้ต้องแบกปุ๋ยไปไร่ละกระสอบถึงจะได้ผลผลิตขนาดนี้ เมื่อก่อนไร่หนึ่งสีข้าวโพดมาได้อย่างเก่งก็ 200-300 ร้อยกิโล เดี๋ยวนี้ปลูกข้าวโพดใส่ปุ๋ยมาได้ 800-900 กิโล ถึง 1,200 กิโลต่อไร่ ก็เพราะหนึ่งพันธุ์ดีขึ้น สองเทคโนโลยีการผลิตก็ดีขึ้น แต่ผมยังไม่พูดว่าต้นทุนที่ได้กับข้าวโพดที่ได้มันคุ้มกันไหม ซึ่งมันต้องคุ้ม ไม่งั้นเขาคงไม่ทำ เกษตรกรเขาฉลาดนะ การฟ้องร้องเรื่องการหยิบพันธุ์ไปใช้?เช่น ตำลึง เป็นตัวที่น่าสนใจเนื่องจากคุณค่าทางอาหารสูง ผมเคยเอามาพัฒนา แต่ปรากฏว่าในเชิงการตลาดมันไปไม่ได้ คนกิน แต่ตำลึงจะให้ผลผลิตสูงต้องไปหาตำลึงตัวผู้ ไม่ติดลูก ใบก็จะเยอะ แต่ถ้าคุณทำตำลึงตัวผู้คุณจะเอาเมล็ดที่ไหน ก็ต้องไปหาตำลึงตัวเมีย แต่ปรากฏว่าตำลึงขยายพันธุ์ง่ายโดยใช้เถา เพราะฉะนั้นถ้าผมพัฒนาตำลึงมาผมคงไม่ได้ขาย เขาซื้อผมครั้งเดียวแล้วเขาก็ใช้เถามันปลูกต่อ เพราะฉะนั้นในแง่ธุรกิจมันจึงทำไม่ได้ ดังนั้นก็ไม่มีใครพัฒนา พัฒนามาแล้วคนก็ซื้อพันธุ์เราไปปลูก แล้วเก็บพันธุ์ขายต่อ ลักษณะแบบนี้มันชุบมือเปิบกันเกินไป แต่ถ้ามีการคุ้มครอง อันนี้ทำได้ แต่ต้องหา marker ให้เจอ เช่น แทนที่จะเป็นใบห้าเหลี่ยม ตำลึงผมจะเป็นใบหกเหลี่ยม คุณจะไปขยายพันธุ์ของผม ผมต้องไปขอค่าลิขสิทธิ์ ในไทยกฎหมายเรื่องการฟ้องร้องการหยิบพันธุ์ไปใช้มักจะไม่สำเร็จ ในที่สุดจะถูกยกฟ้อง เพราะไม่มีกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ คล้ายกับความผิดไม่ซึ่งหน้า ผมพิสูจน์ได้ว่านี้เป็นพันธุ์ของผม คุณมีได้ไง เขาบอกเขาซื้อมาปลูก แสดงว่าก็ต้องมีคนขโมยพันธุ์ผมไปขาย ก็ต้องไปหาคนขโมย ใครล่ะ เมื่อพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีการขโมย ก็ยกฟ้อง ต่างจากมอนซาโต้ที่เกษตรกรโดนฟ้องเพราะเก็บเมล็ดพันธุ์ของบริษัทไปปลูกต่อ สุดท้ายบริษัทชนะเขาชนะเขาไม่ได้ชนะจากพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช เขาชนะจากกฎหมายลิขสิทธิ์ของอเมริกา เพราะอเมริกาเขายอมให้จดลิขสิทธิ์ยีน ซึ่ง UPOV ไม่รับเรื่องนี้ เกษตรกรในต่างประเทศมีพื้นที่กันเป็นพันเอเคอร์ เอาแค่ซื้อไปแล้วเก็บพันธุ์ไว้ใช้ได้เอง คนพัฒนาพันธุ์ก็ตายแล้ว ไม่ต้องขาย เขาถึงต้องมีกฎหมายอื่นขึ้นมาควบคุมกำกับรองรับ ประเทศอเมริกาตอนนี้อยู่ได้ด้วยค่าลิขสิทธิ์ เพราะฉะนั้นใครคิดค้นอะไรขึ้นมาได้เขาก็มีลิขสิทธิ์ เคสนี้ต่างกัน อเมริกายอมให้ใช้จีเอ็มโอในประเทศ เพราะฉะนั้นยีนจีเอ็มโอที่ของเขา คุณจะเอาไปใช้ต่อไม่ได้ มันเป็นลิขสิทธิ์ของเขา บ้านเรายอมให้เกษตรกรเก็บพันธุ์ไว้ใช้เอง เพราะเกษตรกรอยู่ในเกณฑ์ที่มีพื้นที่จำกัด แต่ถ้าหากเราไม่นิยามคำว่าเกษตรกรให้ดี คำว่าเกษตรกร คุณลองช่วยนิยามให้หน่อย ใครที่จะถูกนิยามว่าจะเป็นเกษตรกร? ที่ไม่ใช่นิติบุคคล?เพราะฉะนั้นนิติบุคคลจะเก็บเมล็ดพันธุ์มาใช้เองไม่ได้ ถูกไหม? เวลาที่คุยกันเรามักไปสะดุดอยู่ที่คำนี้ ลองนิยามคำว่าเกษตรกร บางทีเขาก็จะบอกว่า ผู้มีรายได้ต่ำ ถ้าเป็นเกษตรกรแล้วมีรายได้ต่ำผมไม่เป็น (หัวเราะ) แล้วคุณจะหาเกษตรกรที่เข้มแข็งได้ยังไงในเมื่อคุณบังคับให้เกษตรกรมีรายได้ต่ำ แล้วเกษตรกรคืออะไร? อย่างฟาร์มที่ทำอยู่ เป็นเกษตรกรไหม? ผมก็ยังไม่รู้เหมือนกันนะ ถ้าเกษตรกรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ไม่ว่าจะคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วน จะพ้นจากความเป็นเกษตรกรไหม? คนในประเทศ 65 ล้านคนใครเป็นเกษตรกรบ้าง ถ้าเกษตรกรคือคนมีอาชีพเกษตรกรรม ผมก็เป็นเกษตรกรนะ บริษัทผมก็เป็นเกษตรกรเหมือนกัน แล้วเกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนไหม คนไม่เสียภาษีคือเกษตรกรไหม เกษตรกรรายใหญ่มีพื้นที่เป็นพันไร่ จ้างคนงานทีร้อยคน คุณยังนับว่าเขาเป็นเกษตรกรอยู่รึเปล่า บริษัทซีพีก็ถือเป็นเกษตรกรไหม ถ้าเขาแค่เอาพันธุ์ผมไปผลิตใช้เองผมก็จนแล้วล่ะ ไม่ต้องขายใครแล้ว ต้องช่วยกันนิยาม ผมว่ารัฐเองก็ตอบไม่ได้หรอกว่าใครคือเกษตรกร มันต้องหาให้เจอก่อน ไม่งั้นเราก็มานั่งเถียงกันแล้วก็ไม่รู้ว่าเรากำลังต่อสู้เพื่อใคร เพื่อคนกลุ่มไหน การขยายการคุ้มครองลักษณะพิเศษไปยังสายพันธุ์ย่อยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากเมล็ดพันธุ์ไปถึงตัวผลิตผลและผลิตภัณฑ์ จริงไหมที่ผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากพันธุ์พืชใหม่ก็ถูกคุ้มครองจาก พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชฉบับใหม่ ผิดกฎหมายถ้าเรานำไปทำเป็นผลิตผลและผลิตภัณฑ์?"มาตรา ๓๙ สิทธิของผู้ทรงสิทธิในพันธุ์พืชใหม่ตามมาตรา ๓๓ ย่อมไม่ขยายไปถึงการกระทําใดๆ ต่อส่วนขยายพันธุ์หรือผลิตผล หรือผลิตภัณฑ์ของพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับความคุ้มครอง ซึ่งถูกนําออกจําหน่ายโดยผู้ทรงสิทธิหรือด้วยความยินยอมของผู้ทรงสิทธิ เว้นแต่การนําไปทําเป็นส่วนขยายพันธุ์ต่อไปของพันธุ์พืชใหม่ที่ได้รับการคุ้มครอง" ดังนั้นจึงสิทธิของผู้ทรงสิทธิจึงไม่รวมถึงผลิตผลและผลิตภัณฑ์ ยกเว้นการนำไปทำเป็นส่วนขยายพันธุ์ต่อไป คือการนำพันธุ์ของเขามาใช้ขยายพันธุ์ผสมจนออกมาเป็นพันธุ์ใหม่ อเมริกามีกฎหมายคล้ายๆ แบบนี้อยู่อันหนึ่งที่คุ้มครองไปถึงผลผลิต น่าจะเป็นเรื่องของสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ซึ่งคนละอันกับบ้านเรา และ UPOV ก็ไม่มีเรื่องนี้ จริงๆ บ้านเรามีหน่วยงานที่จดสิทธิบัตรซึ่งแยกออกมาจากการคุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งคุ้มครองพันธุ์พืชก็ไม่เหมือนกับสิทธิบัตร บ้านเรามีอยู่ตัวเดียวคือ EVD ซึ่งเป็นการคุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพันธุ์เบื้องต้น เช่น คุณทำพันธุ์ข้าวหอมมะลิใหม่ขึ้นมาได้ แล้วมีคนใส่สีม่วงเข้าไปในข้าวหอมมะลิคุณแล้วบอกว่าเป็นพันธุ์ใหม่ EVD จะไม่ยอมให้ทำแบบนั้น คำว่า "ซึ่งถูกนําออกจําหน่ายโดยผู้ทรงสิทธิหรือด้วยความยินยอมของผู้ทรงสิทธิ" เหมือนประโยคนี้กลายเป็นว่าต้องได้รับการยอมรับจากผู้ทรงสิทธิก่อน?ตามที่ผมเข้าใจคือมันน่าจะเป็นส่วนขยายของประโยคแรก คือ "ย่อมไม่ขยายไปถึงการกระทำใดๆ" ก็หมายความว่าสามารถจะนำไปใช้งานได้ ทั้งผลิตผลและผลิตภัณฑ์ เขาเคยมีความพยายามที่จะไปควบคุมผลิตผล ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากพันธุ์พืชใหม่ แต่ไม่ได้รับการยอมรับ และมาตรานี้ก็เขียนว่าผู้ทรงสิทธิย่อมไม่สามารถไปเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เหล่านั้นได้ แต่อย่างที่ผมบอกว่านี่คือร่างแรก เพราะฉะนั้นถ้ามีอะไรไม่เคลียร์เราก็สามารถนำเสนอความเห็น ทำประชาพิจารณ์ได้ กฎหมายฉบับนี้ส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์?กฎหมายฉบับนี้ส่งเสริมการปรับปรุงพันธุ์ เพราะประเทศที่พัฒนา มันมีตัวเลขแสดงให้เห็นชัดว่า ประเทศนั้นใช้เมล็ดพันธุ์ในประเทศมูลค่าสูงเมื่อเทียบกับประชากร เขาคำนวณออกมาเป็นประชากรต่อหัวต่อเมล็ดพันธุ์ ยิ่งใช้เมล็ดพันธุ์มูลค่าสูงก็ยิ่งเป็นประเทศที่พัฒนา ญี่ปุ่นก็ดี อเมริกาก็ดี ไต้หวันก็ดี ใช้เมล็ดพันธุ์มูลค่ามากกว่าเมืองจีน เมล็ดพันธุ์เขาแพง เป็นของมีคุณภาพ อินโดนิเซียมีคน 200 ล้าน แต่มูลค่าการใช้เมล็ดพันธุ์เท่ากับบ้านเราที่มีคน 65 ล้านคน เหตุผลที่ต้องแก้พ.ร.บ. ฉบับนี้พ.ร.บ. ฉบับนี้ใช้เมื่อปี 42 แต่ทำอะไรไม่ได้ ไม่สามารถเดินหน้าได้ เนื่องจากติดประเด็นพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป เดิมเขียนแค่พื้นที่มีกำเนิดในประเทศไทย ไม่ใช่ ถิ่นกำเนิด และพอเป็นกำเนิดมันเลยเป็นพืชตั้งแต่หญ้าแพรกขึ้นไปหมด แล้วการปรับปรุงพันธุ์จะเกิดขึ้นได้ยังไง เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่มันถูกปลูกในไทยมันก็มีเป็นพืชพื้นเมืองทั่วไปแล้ว แปลว่าพืชทุกตัวที่ปลูกเป็นของรัฐบาล อย่างพันธุ์ข้าวโพดที่เรานำเข้า ก็ถือเป็นของไทย ไม่ให้สิทธิ์เจ้าของเดิมที่นำเข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ที่เขาพัฒนามาแล้วเพื่อเอามาต่อยอด พันธุ์พืชจะมีประสิทธิภาพต้องพัฒนาในพื้นที่ใช้งาน ต้องถูกเอามาพัฒนาในเมืองไทย แต่กลายเป็นว่าพอลงเครื่องบินมา พอเมล็ดตกถึงพื้นแผ่นดินไทยก็เป็นของไทยเลยใช่ไหม คำตอบคือใช่ อย่างนี้ใครก็รับไม่ได้ มันเลยไม่เกิดอะไรขึ้น ทุกคนหยุด ไม่ทำอะไรต่อ ด่านที่สอง พ.ร.บ. เก่า มาตรา 52 ผู้ใดจัดเก็บต้องได้รับการอนุญาต พร้อมทั้งทำข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์ ผมเป็นนักปรับปรุงพันธุ์ผมยังไม่รู้เลยว่าผมจะเก็บอะไรบ้าง แต่เขาจะบังคับให้เราขึ้นทะเบียนว่าจะเก็บอะไร เก็บจำนวนเท่าไหร่ เก็บที่ไหน ตอบไม่ได้ ถ้าตอบก็โกหก เพราะจริงๆ คือไม่รู้ การรวบรวมพันธุ์พืชมันเป็นลมเพลมพัด บางทีเราเดินเข้าตลาด น่าสนใจเก็บมาก่อน เขาบอกพันธุ์นี้อร่อย เก็บมาก่อน มันมีการเดินทาง ระหว่างนั้นไปเจอเมล็ดก็ขอซื้อเขาไว้ ออกมาเป็นรูปนั้นซะเยอะ แต่ระเบียบให้ลงทะเบียน ต้องกรอกหมด แบ่งปันผลประโยชน์ ผมยังไม่รู้เลย ยังไม่เห็นมูลค่าเลย จะกรอกยังไง เลยไม่มีใครยอมกรอก ดังนั้นออกมาแล้วมันใช้ไม่ได้ ถ้า พ.ร.บ. ฉบับนี้ปี 60 ไม่คลอดก็รอต่อไป ส่วนประเด็นอีกอย่างก็คือแก้ไขตาม UPOV เหมือนถ้าเราจะเข้าไปในสมาคมเข้าเราก็ต้องตั้งกฎเกณฑ์ที่ไม่ขัดกับระเบียบของเขา พูดถึง พ.ร.บ. สำหรับคนทำธุรกิจไม่มีใครเสีย เพราะคนทำธุรกิจถ้าทางนี้ไปไม่ได้เขาก็ไปทางอื่น เพียงแต่ประเทศจะเสียโอกาสเหล่านี้ไปจากการที่ไม่อัพเดตตัวเอง ไม่สามารถที่จะออกกฎหมายกำกับดูแลได้ เราเสียแล็บใหญ่ๆ ไปตั้งหลายแล็บ มูลค่าหลายร้อยล้าน เขาไปที่อื่นดีกว่าเพราะอยู่ที่นี่มาคุยกันหลายปีแล้วไม่เกิดอะไรขึ้น ถ้าเราเสียแล็บพวกนี้ซึ่งเป็นวิทยาการที่ค่อนข้างจะสูง เราเสียความรู้ด้วยนะ ถ้าเขามาตั้ง คนของเราเข้าไปทำงาน ความรู้ก็จะถูกถ่ายทอดออกมา ความรู้เราก็จะอัพเดต มูลค่าทางเศรษฐกิจก็เรื่องหนึ่ง แต่เรื่องที่แน่ๆ คือความรู้ถดถอย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ฐานข้อมูลออนไลน์ 6 ตุลา และความคาดหวังเห็นความยุติธรรมในอนาคต Posted: 20 Oct 2017 05:39 AM PDT เสวนาเปิดตัวเว็บไซต์ 'บันทึก 6 ตุลา' พวงทอง ภวัครพันธุ์ ชี้ว่าการทำฐานข้อมูล 6 ตุลาในที่สุดเมื่อบริบททางการเมืองเปลี่ยนข้อมูลเหล่านั้นจะถูกใช้ประโยชน์ ธงชัย วินิจจะกูล ย้ำว่าแม้จะไม่ได้เห็นความยุติธรรมในระยะนี้ แต่สิ่งที่ทำได้คือความหวังของคนในอนาคต รวมทั้งการทำให้สังคมพูดคุยกันได้ทุกด้าน เพื่อทำให้สังคมมีวุฒิภาวะ เมื่อวันที่ 24 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่อาคารอุทยานิน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬา ร่วมกับ โครงการบันทึก 6 ตุลา จัดกิจกรรมโครงการสัมมนา "เผชิญความอยุติธรรมด้วยการบันทึกประวัติศาสตร์" เปิดตัวเว็บไซต์ "บันทึก 6 ตุลา" [www.doct6.com] ในฐานะแหล่งข้อมูลออนไลน์ ที่มุ่งเก็บรวบรวมรักษาและจัดระบบข้อมูลที่ยังกระจัดกระจายในที่ต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลและเพื่อการค้นคว้าเกี่ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลา กิจกรรมเปิดตัวเว็บไซต์ดังกล่าวยังมีการเสวนาหัวข้อ "บันทึกข้อมูลเพื่อทวงความยุติธรรม" วิทยากรประกอบด้วย ธงชัย วินิจจะกูล สถาบันพัฒนาเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น (IDE-Jetro, Japan) พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรอมฎอน ปันจอร์ จาก Deep South Watch ดำเนินการเสวนาโดยเวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พวงทอง ภวัครพันธุ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า ในต่างประเทศมีการจัดตั้งที่บันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับความรุนแรงมีมาก โดยกระแสอันหนึ่งของนักจดหมายเหตุหรือนักเก็บข้อมูลก็คือเรื่องเกี่ยวกับความรุนแรงของรัฐ โดยเฉพาะอาชญากรรมของรัฐ หลายกรณีสามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้ มีการรวบรวมและค้นหาความจริงมาเป็นเวลา 20 ปี แล้ว ซึ่งช่วงนั้นคนอาจไม่มีความหวังเลย แต่เมื่อเวลาผ่านไปการเมืองเปลี่ยน ข้อมูลหลักฐานเหล่านั้นก็กลับมาใช้ประโยชน์ พวงทอง ชี้ด้วยว่า สังคมไทยอยู่ได้กับความอิหลักอิเหลื่อ เราจัดการได้ดีภายใต้ความคลุมเครือ ภาวะแบบนี้มันมีราคา สิ่งที่ชัดคือ มันเกิดวัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิด แต่จากประสบการณ์หลายสังคม ข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์มันสำคัญ มันทำให้สังคมได้เรียนรู้เหตุปัจจัยที่จะนำไปสู่ความรุนแรง โดยไม่ติดอยู่กับมายาคติ โดยเฉพาะข้อมูลการละเมิดนั้น หากไม่เก็บขึ้นมามันก็จะหาย สังคมไทยอยู่ในจุดที่น่าจะคิดอย่างจริงๆ ที่จะต้องมีแหล่งข้อมูลที่รวบรวม รอมฎอน ปันจอร์ เสนอแนะด้วยว่า อยากให้พยายามให้มองรอบด้าน รวมทั้งมองในประเด็นการเปลี่ยนปลงทางการเมืองในศูนย์กลางประเทศในช่วงนั้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรอบนอกอย่างไร เพื่อนำไปสู่ความจริงที่รอบด้านขึ้น สำหรับประเด็นเกี่ยวกับการพูดถึงประวัติศาสตร์ 6 ตุลาคม 2519 นั้น ธงชัย วินิจจะกูล ย้ำว่า ต่อให้เรารังเกียจว่าหลายคนกล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยความเข้าใจผิด แต่ก็ห้ามไม่ได้ ในทางกลับกันการพูดถึงเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นทางหนึ่งที่จะทำให้อดีตนั้นไม่ตาย ดังนั้นโดยภาพรวมในสังคมควรส่งเสริมให้คนพูดไป รวมทั้งพูดผิดๆ ด้วย เพราะเราไม่กลัวว่าคนจะเขียนประวัติศาสตร์อย่างไร สำหรับการแสวงหาความยุติธรรมจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 นั้น ธงชัย มองว่าจะไม่ได้เห็นความยุติธรรมในระยะนี้ แต่สิ่งที่ทำได้ก็คือความหวังของคนในอนาคต ดังนั้นเราจึงต้องเก็บเอกสารข้อมูลเอาไว้ เพราะอนาคตอาจเห็นความยุติธรรมได้ในระยะยาว รวมทั้งต้องทำให้สังคมเราพูดกันทุกด้าน เพื่อให้คนในสังคมเติบโตมีวุฒิภาวะ สำหรับเหตุผลในการสร้างเว็บนี้ ธงชัย กล่าวว่า เกิดขึ้นเพื่อ หนึ่ง ความยุติธรรม และสอง รู้สึกผิด เนื่องจากที่ผ่านมาไม่สามารถตามญาติตามคนที่เกี่ยวข้องไม่ได้มาก จึงอยากทำและเก็บเป็นหลักฐานไว้ "มีความอยุติธรรมอีกมาก หากเราสู้ไม่ได้หมด อย่างน้อยที่สุดก็แบมันออกมา ตอนนี้พูดไม่ได้ก็เตรียมแบในอนาคต" ธงชัย กล่าว พร้อมย้ำด้วยว่าตนไม่เคยรังเกียจเลยกับคนที่กัดไม่ปล่อย คนกัดไม่ปล่อยบางที่ก็น่าเบื่อ แต่คนกัดไม่ปล่อยมีประโยชน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จ่อชง ครม. ขยายเพดานเก็บเงินสมทบผู้ประกันตนสูงสุด 1,000 บ. Posted: 20 Oct 2017 05:25 AM PDT เลขาฯ สนง.ประกันสังคมเผยเตรียมขยายเพดานเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เป็นสูงสุด 1,000 บาท ระบุต้องการให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์มากขึ้น เผยรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง 81% เห็นด้วย 20 ต.ค. 2560 รายงานข่าวระบุว่า สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวถึงการเตรียมขยายเพดานเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมว่า ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปลายปี 2559 โดยรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งร้อยละ 81 เห็นด้วยกับการขยายเพดานการเก็บเงินสมทบ จาก 15,000 เป็น 20,000 บาท โดยเก็บร้อยละ 5 ของค่าจ้าง แต่สูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท เช่น คนที่ได้เงิน 16,000 บาท เก็บ 800 บาท เงินเดือน 17,000 บาท เก็บ 850 บาท คือสูงสุดเก็บไม่เกิน 1,000 บาท ส่วนผู้ที่มีฐานเงินเดือน 20,000 บาทขึ้นไป จะเก็บเงินสมทบเข้ากองทุน 1,000 บาท ซึ่งคณะกรรมการ สปส. ได้ทำเป็นร่างกฎกระทรวง เสนอกระทรวงแรงงาน เพื่อพิจารณาเสนอเข้าครม. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป คาดว่าน่าใช้ได้จริงภายใน 3 เดือนนี้ "เดิมผู้ประกันตนถูกหักเดือนละ 750 บาท บนพื้นฐานเงินเดือน 15,000 บาท ซึ่งใช้มานาน 20 ปี เมื่อครั้งค่าแรงขั้นต่ำยัง 111 บาท ซึ่งในช่วงเวลานั้นมีผู้ประกันตนได้รับเงินเดือน 15,000 บาทไม่ถึงร้อยละ 10 แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้ว จำเป็นต้องมีการขยับปรับเปลี่ยน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง" สุรเดช อธิบาย ส่วนที่มีหลายฝ่ายเห็นว่าไม่เป็นธรรมเนื่องจากขยายการเก็บเงินสมทบเพิ่มแต่เรื่องเงินชราภาพกลับมีเงื่อนไขมาก ที่สำคัญ เมื่อผู้ประกันตนที่เสียชีวิตไปแล้วเงินนั้นไม่ตกแก่ทายาทนั้น สุรเดช กล่าวว่า ยืนยันว่าสปส.ไม่ได้เอาเปรียบผู้ประกันตน เรื่องการจ่ายบำนาญชราภาพให้ทายาทผู้ประกันตนนั้น คณะกรรมการได้หารือกันว่าอาจจะปรับเปลี่ยนการจ่ายให้กับทายาทได้ เช่น กรณีที่เดือดร้อน มีความจำเป็น ซึ่งอยู่ระหว่างการรับฟังความเห็นในเรื่องเหล่านี้ เลขาธิการ สปส.ส่วนที่เรียกร้องให้จ่ายให้โดยไม่มีเงื่อนไขสุดท้ายหากสังคมต้องการอย่างนั้นก็จ่ายให้ได้ แต่สิ่งอยากจะบอกคือถ้าเราคิดแต่เรื่องกำไรส่วนตัว การดูแลสังคมร่วมกันก็จะไม่เกิดขึ้น เรื่องความคิดต่อส่วนรวมตั้งช่วยกันสร้าง สุรเดช กล่าวอีกว่า ต้องการให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อต้องออกจากงาน ปัจจุบันประกันสังคมจะจ่ายให้จากการคำนวณที่ฐานเงินเดือน 15,000 บาท โดยจะได้รับเพียงครึ่งหนึ่งของฐานนี้ คือได้เพียง 7,500 บาท เป็นเวลา 6 เดือน หากปรับอัตราใหม่ คนที่ฐานเงินเดือน 20,000 บาทก็จะได้รับ 10,000 บาท คือได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น และจากการสำรวจก็พบว่า ปัจจุบันแรงงานที่อยู่ในกลไกตลาดมีอัตราเฉลี่ยของรายได้ที่ 20,000 บาทถึง 32% ซึ่งเพิ่มขึ้นมากจากฐานเดิมเมื่อปี 2534 ทำให้เป็นผลดีที่จะมีการปรับปรุงอัตราเงินสมทบใหม่ "รวมทั้งการเพิ่มฐานเงินเดือนจะมีผลให้ต้องจ่ายบำนาญมากขึ้น แต่กองทุนจะมีแผนลงทุนที่ให้ผลตอบแทนเพียงพอกับค่าใช้จ่าย ปัจจุบันกองทุนประกันสังคมมีเงิน 1.6 ล้านล้านบาท มีเงินเข้ากองทุนปีละ 180,000 ล้านบาท มีรายจ่ายที่จ่ายให้ผู้ประกันตนปีละ 80,000 ล้านบาท แต่ต่อไปรายจ่ายจะสูงขึ้น โดยเฉพาะรายจ่ายบำนาญที่จะมีจำนวนผู้รับมากขึ้นตามค่าเฉลี่ยอายุของประชากรที่สูงขึ้นเป็นสังคมผู้สูงวัย" เลขาธิการ สปส. กล่าว ที่มา : ข่าวสดออนไลน์ และคมชัดลึกออนไลน์ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เปิดรับสมัคร กกต. วันที่ 2 ยังเงียบเหงาไร้เงาผู้สมัคร Posted: 20 Oct 2017 04:52 AM PDT ผ่านไปสองวันยังไม่มีผู้เข้าสมัครรับการสรรหาเป็น กกต. ในสัดส่วนของมีความรู้ความเชี่ยวชาญ – ภาคประชาสังคมซึ่งจะมีการสรรหาทั้งหมด 5 คน ทั้งนี้การรับสมัครเริ่มต้นตั้งวันที่ 19 ต.ค. – 10 พ.ย. คาดว่าเสร็จสิ้นกระบวนการสรรหาไม่เกินวันที่ 12 ธ.ค. นี้ ที่มาภาพจากสำนักข่าวไทย 20 ต.ค. 2560 สำนักข่าวไทย รายงานว่า ที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ซึ่งปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เปิดรับสมัครบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เป็นวันที่ 2 ของการเปิดรับสมัครบุคคลเข้ารับการสรรหาในสัดส่วนของผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ – ภาคประชาสังคม จำนวน 5 คน จากตำแหน่งทั้งหมด 7 คน ซึ่งการรับสมัครในวันนี้ยังคงเป็นไปอย่างเงียบเหงา ยังไม่มีบุคคลเดินทางมายื่นสมัครเข้ารับการสรรหา ขณะที่เจ้าหน้าที่ประจำจุดรับสมัคร ได้จัดเตรียมเอกสารการรับสมัครอย่างพร้อมเพียง สำหรับคุณสมบัติผู้ที่จะสมัครเข้ารับการสรรการ กกต. ในสัดส่วนดังกล่าว จะต้องรับราชการ หรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดี หัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า ไม่น้อยกว่า 5 ปีหรือดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือเคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยในประเทศ มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และยังจะต้องมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ประจักษ์ด้วยหรือเคยประกอบวิชาชีพที่มีกฎหมายรับรองต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 20 ปี หรือเคยทำงานในภาคประชาสังคมมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 20 ปี ที่สำคัญจะต้องไม่เคยดำรงตำแหน่งกรรมการในองค์กรอิสระใด ๆ มาก่อน หรือพ้นจากการดำรงตำแหน่งทางการเมือง พรรคการเมืองมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 ปี ผู้ที่จะเข้ารับการสรรหา จะต้องกรอกรายละเอียด และคุณสมบัติของตนเอง บรรยายถึงประสบการณ์การทำงาน ประวัติการศึกษา และตอบแบบสอบถามความเกี่ยวพันธ์ทางการเมือง และอธิบายความรู้ความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้ารับการสรรหาได้ ตั้งแต่วันที่ 19 ต.ค. ถึง 10 พ.ย. ที่อาคารรัฐสภา ถนนอู่ทองใน และอาคารสุขประพฤติ ถนนประชาชื่น โดยคาดว่าจะได้ชื่อบุคคลที่สมควรเข้าดำรงตำแหน่ง กกต. ไม่เกินวันที่ 12 ธ.ค. นี้ ก่อนจะส่งให้ สนช. ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมอีกครั้ง ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
โสภณ ย้ำมาบตาพุดต้องย้ายชาวบ้านออกนอกพื้นที่ หลังศาลปกครองสั่งเป็นเขตควบคุมมลพิษ Posted: 20 Oct 2017 03:47 AM PDT โสภณ พรโชคชัย แถลงหลังศาลปกครองสั่งมาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ เสนอย้ายชาวบ้านออกนอกพื้นที่โดยด่วน และขยายอุตสาหกรรมให้ใหญ่ขึ้น ระบุ 65.3% เห็นควรให้มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่อไป มีเพียง 1 ใน 3 ที่เห็นว่าควรหยุด 20 ต.ค. 2560 จากกรณีเมื่อวันที่ 18 ต.ค. ที่ผ่านมา ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ท้องที่เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด จ.ระยอง ทั้งหมด รวมทั้ง ต.เนินพระ ต.มาบข่า และต.ทับมา อำเภอเมืองระยอง ทั้งตำบล ตลอดจนท้องที่ ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉางทั้งตำบล เป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อดำเนินการควบคุม ลด และขจัดมลพิษนั้น ล่าสุด วันนี้ (20 ต.ค.60) โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) เผยแพร่แถลงการของ AREA ฉบับที่ 410/2560 โดยระบุว่า โสภณ ได้เคยศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในมาบตาพุดเมื่อปลายปี 2552 โดยได้สุ่มตัวอย่างประชาชนไว้ถึง 1,107 คน (http://bit.ly/1Rfm0QH) แถลงระบุว่า ประเด็นสำคัญที่พึงพิจารณาในเชิงนโยบายก็คือประชากรส่วนใหญ่ (65.3% หรือสองในสาม) ในพื้นที่มาบตาพุดเห็นควรให้มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่อไป มีเพียงหนี่งในสามที่เห็นว่าควรหยุดขยายอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามหากนับรวมผู้ที่ยังไม่แน่ใจหรือไม่มีความเห็น 22.2% แล้ว จะพบว่า ประชากรที่เห็นว่าควรหยุดขยายตัวมีอยู่ 26.6% หรือเพียงครึ่งหนึ่งของประชากรที่เห็นควรให้อุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดควรจะขยายตัวต่อไป (51.1%) ที่ผ่านมามักมีการอ้างอิงว่ามลพิษในมาบตาพุด ทำให้เกิดการเจ็บป่วยต่าง ๆ นานา การศึกษานี้จึงได้สำรวจความเห็นของประชาชนในประเด็นนี้ โดยพบว่าในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้เจ็บป่วยหรือเสียชีวิตตามผลกระทบจากมลพิษในเขตมาบตาพุดมีอยู่ทั้งหมด 504 ราย หรือประมาณ 12.86% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ทั้งนี้แยกเป็นสาเหตุจากการทำงานในสถานประกอบการ 92 ราย หรือ 2.35% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ที่เหลืออีก 412 รายหรือ 10.52% ป่วยหรือเสียชีวิตจากการอยู่อาศัยในพื้นที่ ในการพิจารณาผลกระทบจากมลพิษ ควรพิจารณาแยกกลุ่มผู้ป่วยและเสียชีวิตจากมลพิษในสถานประกอบการออกก็เพราะผลกระทบจากมลพิษในกรณีนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกแห่งทั่วประเทศ ทั้งนี้มักเป็นผลจากความประมาทและการขาดการควบคุมอาชีวะอนามัยที่ดีในสถานประกอบการ ดังนั้นในการพิจารณาถึงมลพิษในมาบตาพุดจึงควรเน้นเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการอยู่อาศัยซึ่งมีอยู่ประมาณ 10.52% ของประชากรทั้งหมดเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจสอบการเจ็บป่วยจากทุกกลุ่มพบว่า ส่วนมาก (11.82%) มักเป็นการเจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น เป็นหวัด ภูมิแพ้ เป็นต้น กลุ่มที่เชื่อว่าป่วยหนักหรือเสียชีวิตเพราะมลพิษ มีเพียง 0.69% ของประชากรทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าจำนวนผู้เจ็บป่วยและเสียชีวิตจากมลพิษมีไม่มากนัก ซึ่งแตกต่างจากความเชื่อทั่วไปที่ว่ามลพิษได้ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในบริเวณมาบตาพุด แถลงของ AREA ระบุด้วยว่า จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า สาเหตุหลักของการตายของประชาชนในจังหวัดระยอง ในปี 2548 เป็นเพราะสาเหตุภายนอกการป่วยและการตาย(เช่น อุบัติเหตุ ฆ่าตัวตาย ถูกฆ่าตาย) ถึง 15% รองลงมาคือสาเหตุจากโรคมะเร็งและเนื้องอก 12.7% และสาเหตุจากโรคติดเชื้อและปรสิต 12.6% อย่างไรก็ตามสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งและเนื้องอกในจังหวัดระยองกลับมีสัดส่วนต่ำกว่าระดับทั่วประเทศ ในมาบตาพุดยังไม่มีพื้นที่ปนเปื้อนสารพิษ (Contamination Area) จนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ เช่น กรณีพื้นที่ปนเปื้อนอันเนื่องมาจากสนามบินเก่า เหมืองแร่ หรืออื่น ๆ ในการประเมินค่าทรัพย์สิน พื้นที่ปนเปื้อนเหล่านี้มักจะมีมูลค่าต่ำหรือติดลบเพราะต้องบำบัดให้พ้นจากสภาพปนเปื้อน แต่อย่างไรก็ตามปัญหาพื้นที่ปนเปื้อนสารพิษยังไม่ปรากฏให้เห็น ดังนั้นการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงยังมีความเป็นไปได้สูงที่จะบำบัดให้พื้นที่ปลอดพ้นจากมลพิษ อย่างไรก็ตาม ประชากรราวสองในสาม (64.2%) เชื่อว่าในมาบตาพุดน่าจะมีมลพิษมากกว่าในตัวเมืองระยอง แต่ก็มีประชากรเพียง 48.5% ที่คิดจะย้ายออกจากมาบตาพุดหากในอนาคตมีมลพิษมากกว่านี้หรือมากเกินไป การที่ประชากรยังจะอยู่ในพื้นที่ก็เพราะเหตุผลทางเศรษฐกิจและความเคยชินในการอยู่อาศัยเป็นสำคัญ โดยประชากรที่อยู่อาศัยเกินกว่า 10 ปี ส่วนมากจะไม่คิดย้ายออกจากพื้นที่ โดยที่มีความจำเป็นในการขยายตัวของอุตสาหกรรมในมาบตาพุดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนไทยทั่วประเทศ ในกรณีนี้อาจมีความจำเป็นต้องซื้อหรือเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ทั้งที่ดิน อาคารและที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมบางส่วนจากประชาชน โดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ใกล้กับทิศทางการขยายตัวของอุตสาหกรรม เพื่อมาเป็นพื้นที่ขยายตัวของอุตสาหกรรม และอาจเป็นพื้นที่กันชนกับพื้นที่อยู่อาศัย อันจะเป็นการป้องกันการได้รับผลกระทบจากมลพิษของประชาชนด้วย อย่างไรก็ตามการซื้อหรือเวนคืนนี้ ควรจะจ่ายสูงกว่าราคาประเมินเพื่อการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของทางราชการ และยังควรซื้อเท่ากับราคาตลาด หรืออาจจ่ายสูงกว่าราคาตลาดในระดับหนึ่งเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ได้รับผลกระทบย้ายออกโดยเร็ว เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย คณะนักวิจัยเชื่อว่าประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้พื้นที่อุตสาหกรรมยินดีที่จะย้าย ทั้งนี้เพราะส่วนหนึ่งเป็นผู้เช่าซึ่งย้ายที่อยู่อาศัยได้ง่าย ส่วนหนึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ย้ายออกไปแล้ว จากการสังเกตยังพบว่า เจ้าของบ้าน เจ้าของที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมหรือที่ดินชายหาดที่ตั้งอยู่ติดเขตอุตสาหกรรมจำนวนมาก ไม่ได้อยู่อาศัยในพื้นที่มาก่อนหน้านี้หลายปีแล้ว ส่วนหนึ่งย้ายออกไปซื้อบ้านและที่ดินที่อยู่ห่างไกลออกไป และหากมีมลพิษมากจริงในอนาคต ประชาชนย่อมคำนึงถึงสุขภาพของตน ที่สำคัญที่สุดก็คือ หากรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยินดีซื้อหรือเวนคืน ณ ราคาตลาด หรือสูงกว่าราคาตลาดตามสมควร โดยไม่ใช้ราคาเพื่อการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในการซื้อหรือเวนคืน ประชาชนย่อมยินดีย้ายออก ดั้งนั้นโอกาสในการจัดการพื้นที่ให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ย่อมสามารถดำเนินการได้ นอกจากนี้ระบบการคมนาคมขนส่งในมาบตาพุดก็สะดวก การย้ายห่างออกไปอีกประมาณ 10-20 กิโลเมตร ให้พ้นจากพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากมลพิษ น่าจะมีความเป็นไปได้สูง โดยเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้นไม่มากนัก และค่าใช้จ่ายเหล่านี้ยังสามารถคำนวณเป็นค่าชดเชยให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างเป็นธรรมได้อีกด้วย AREA ระบุข้อเสนอในแถลงตอนท้ายว่า ควรย้ายประชาชนออกนอกพื้นที่ให้หมด น่าจะเป็นผลดีต่อประชาชนเอง และราคาอสังหาริมทรัพย์บริเวณดังกล่าวก็ไม่ค่อยขึ้นเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ประชาชนก็ยินดีที่จะย้าย และหากสามารถขยายนิคมอุตสาหกรรมให้ได้พื้นที่มากกว่านี้รวมทั้งมีการควบคุมที่ดีกว่านี้ ก็จะทำให้อุตสาหกรรมไทยมีความมั่นคงเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนในพื้นที่อีกด้วย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
แม่ทัพภาค 4 พบ นักธุรกิจรุ่นใหม่ชายแดนใต้ เดินหน้าพัฒนาสตาร์ทอัพเป็นนักรบทางเศรษฐกิจ Posted: 20 Oct 2017 02:36 AM PDT พล.ท.ปิยวัฒน์ พบคณะนักธุรกิจรุ่นใหม่ชายแดนภาคใต้ ชี้แก้ปัญหาต้องใช้มิติด้านเศรษฐกิจควบคู่กับการแกปัญหาด้านความมั่นคง สอดคล้องรัฐบาลมีนโยบายมุ่งเน้นพัฒนาสตาร์ทอัพให้เป็นนักรบทางเศรษฐกิจ 20 ต.ค. 2560 รายงานข่าวจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) แจ้งว่า วานนี้ (19 ต.ค.60) เวลา 17.00 น. ที่ห้องประขุมกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า คณะนักธุรกิจรุ่นใหม่ชายแดนภาคใต้ (YES) ได้เข้าพบ พล.ท.ปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 และผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เพื่อรับฟังแนวทาง นโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พล.ท.ปิยวัฒน์ ได้กล่าวถึง นโยบายในการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องใช้มิติด้านเศรษฐกิจควบคู่กับการแกปัญหาด้านความมั่นคง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า จึงได้มี นโยบายส่งเสริมให้ประขาชน โดยเฉพาะในระดับชุมชน หมู่บ้าน ได้มีอาชีพ มีงานทำ มีรายได้ที่มั่นคง ซึ่งที่ผ่านมาได้ขับเคลื่อนมาโดยตลอด ซึ่งในปีนี้ ทีมเศรษฐกิจ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ได้มีแนวนโยบายในการส่งเสริมกลุ่มอาชีพให้มีการต่อยอดการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ มีช่องทางในการจำหน่ายสินค้าเพิ่มมากขึ้น โดยเฉาะการจำหน่ายสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย หรือ ที่เรียกว่าสตาร์ทอัพ ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายมุ่งเน้นพัฒนาสตาร์ทอัพให้เป็นนักรบทางเศรษฐกิจที่สามารถใช้ทรัพยากรของประเทศในการผลิตสินค้าและบริการที่สร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่นการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค ซึ่งขณะนี้ ทีมเศรษฐกิจ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า กำลังเดินหน้าในการพัฒนาและส่งเสริม สตาร์ทอัพ เริ่มต้นด้วยการสร้างแรงบันดาลใจ เสริมสร้างความรู้ ส่งเสริมให้เกิดแนวคิดธุรกิจใหม่ วางแผนการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มรายได้ด้วยกลยุทธ์การตลาดผ่านกิจกรรมต่างๆ รายงานข่าวระบุว่า ขณะนี้ ทีมเศรษฐกิจกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ได้เตรียมในการสนับสนุน ส่งเสริมให้กลุ่มอาชีพต่างๆในจังหวัดขายแดนภาคใต้ ให้มีความรู้ในเรื่องดังกล่าว และ พร้อมให้การสนับสนุนทั้งนี้เพื่อเปิดพื้นที่และช่องทางในการพัฒนาสินค้าชุมชนเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน แม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวด้วยว่า ตนเองรู้สึกดีใจ ที่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักธุรกิจรุ่นใหม่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีความต้องการที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ พร้อมขอความร่วมมือจากกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ ให้นำสินค้าของกลุ่มเกษตรกร และสินค้าจากโครงการพระราชดำริที่มีในพื้นที่ ไปจำหน่ายผ่านช่องทาง ที่นักธุรกิจรุ่นใหม่ได้ดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เกิดความยั่งยืน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
รีวิวร่าง พ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญ อัพเกราะห้ามวิจารณ์ - อัลติเมทแก้เดดล็อคการเมือง Posted: 20 Oct 2017 02:02 AM PDT iLaw รีวิวร่าง พ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ให้อำนาจเพิ่ม คือ ห้ามวิจารณ์คำวินิจฉัย มีโทษสูงสุดจำคุก พร้อมทั้งให้อำนาจแก้ 'เดดล็อคทางการเมือง' ในกรณีเกิดปัญหาระหว่างรัฐบาลและองค์กรอิสระ
20 ต.ค. 2560 จากเมื่อวันที่ 28 ก.ย. ที่ผ่านมา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเอกฉันท์รับหลักการร่าง พ.ร.ป. ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เป็นผู้เสนอ ด้วยคะแนน 198 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างกฎหมาย 22 คน กำหนดกรอบการทำงาน 50 วัน แปรญัตติภายใน 7 วัน โดยมีประเด็นที่น่าสนใจคือ กรณีที่ มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ออกมาระบุว่าให้อาวุธและเครื่องมือสามารถปกป้องตนเองจากการถูกละเมิดศาลได้ พร้อมกลไกให้ศาลรัฐธรรมนูญทำงานได้รวดเร็วมากขึ้น ล่าสุดวานนี้ (19 ต.ค.60) iLaw วิเคราะห์ร่างดังกล่าว ว่ามีสาระสำคัญซึ่งถือเป็น "อำนาจใหม่ของศาลรัฐธรรมนูญ" อย่างน้อย 2 ประการ คือ ห้าม "วิจารณ์คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" ที่กระทำด้วยความไม่สุจริตและใช้ถ้อยคำหรือความหมายที่หยาบคาย เสียดสี อาฆาตมาดร้าย ให้เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ซึ่งมีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจับทั้งปรับ ซึ่ง อุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ. ให้ความเห็นว่า การป้องกันการวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่สุจริตนั้นให้ครอบคลุมการใช้สื่อและสังคมออนไลน์ และรวมถึงการปลุกระดมมวลชนที่มาล้อมกดดันศาลด้วย และ ให้อำนาจแก้ "เดดล็อคทางการเมือง" ในกรณีเกิดปัญหาระหว่างรัฐบาลและองค์กรอิสระ กล่าวคือ ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตัดสินปัญหาหรือให้คำปรึกษาปัญหาข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นระหว่างการทำหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรีหรือองค์กรอิสระ โดยที่ อุดม อธิบายว่า การให้คำปรึกษาข้อสงสัยขององค์กรตามรัฐธรรมนูญได้ก่อนจะเกิดข้อพิพาทนั้นมีเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจนบานปลายในอดีต เช่น เรื่องการเลื่อนวันเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. 2557 ซึ่งมีความเห็นต่างระหว่างรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อ่านสรุปร่างกฎหมายดังกล่าวได้ที่ เว็บไซต์ iLaw https://www.ilaw.or.th/node/4657 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
51 ผู้ประกันตน ฟ้องศาลปกครอง เพิกถอน 3 กฏกระทรวง กรณีเงินชราภาพ Posted: 20 Oct 2017 12:54 AM PDT ผู้ประกันตน 51 คนรวมตัวฟ้อง รมว.แรงงาน ต่อศาลปกครองสูงสุด กรณีเดือดร้อนจากได้รับผลประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพที่ไม่เป็นธรรม ไม่เพียงพอแก่การดำรงชีพ ที่มาภาพ : voicelabour.org เมื่อวันที่ 19 ต.ค.ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'นักข่าวพลเมือง (ThaiPBS)' รายงานว่า ที่ศาลปกครอง วิไลวรรณ แซ่เตีย อดีตประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) นำผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมรวม 51 คน เข้ายื่นฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และให้มีการเพิกถอนกฏกระทรวงทั้ง 3 ฉบับ ประกอบด้วย 1. กฏกระทรวงฉบับที่ 7(2538) 2. กฏกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ 2550 และ 3. กฏกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบประกันสังคม 2556 สำหรับประเด็นในการฟ้องร้องนั้น เนื่องมาจาก 1. การจ่ายประโยชน์ทดแทนชราภาพปัจจุบัน ไม่เพียงพอกับการดำรงชีพ ไม่สอดคล้องกับเศรษฐกิจสังคมปัจจุบัน ไม่สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น ผู้ที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพ ได้รับเงินเพียงเดือนละประมาณ 2,000- 3,000 บาทในปัจจุบัน ไม่ต้องพูดถึงถ้าผู้ประกันตนดำรงชีวิตไปยาวนานหลังเกษียนก็จะได้รับเงินจำนวนเท่าเดิมไปตลอด ประเด็นที่ฟ้อง 1. กฏกระทรวงฉบับที่ 7(2538) ออกตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 2. กฏกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ การจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ 2550 ออกตามความใน พ.ร.บ.2533 ม.77 และ 3. กฏกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบประกันสังคม 2556 ออกตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม 2533 ม.46 วรรค 1 และวรรค 2 โดยกฏหมาย 3 ฉบับนี้ ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฏหมาย ไม่เกิดหลักประกันสังคมกรณีบำนาญชราภาพที่เป็นธรรมและเพียงพอแก่การยังชีพ รัฐไม่ร่วมสมทบ รัฐเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรม ขณะที่รัฐร่วมจ่ายในกองทุนอื่นๆ ไม่สอดคล้องกับแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ เป็นการใช้ดุลพินิจออกกฏกระทรวงดังกล่าวโดยมิชอบ อันเป็นการสร้างภาระแก่ประชาชนเกินสมควร
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
มันไม่ง่ายที่จะเป็น ‘ปอแน’: เสี้ยวชีวิต LGBT ในสามจังหวัดชายแดนใต้ เพราะต่างจึงเจ็บปวด (2) Posted: 20 Oct 2017 12:40 AM PDT เมื่ออัตลักษณ์ทางเพศและศาสนาไปด้วยกันไม่ได้ LGBT ในสามจังหวัดจึงต้องเลือกแตกหัก ต่อรอง หรือปรับเปลี่ยนตนเอง คือวิธีจัดการและคลี่คลายความขัดแย้งภายในตน 3 ปีก่อน เอ๋ (นามสมมติ) ตัดสินใจหนีออกจากบ้านที่ยะลามาใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ เมืองเทพสร้างที่เธอเคยสาบานว่าจะไม่มีวันมาอยู่อาศัยเด็ดขาด เธอฝ่าฝืนคำสาบานของตัวเองเพราะไม่อาจทนแรงกดดันจากครอบครัวได้อีกต่อไป เอ๋รู้ตัวตั้งแต่จำความได้ว่า เธอเป็นทอม ตอนนั้นเธอยังไม่รู้หรอกว่าสิ่งที่ตนเองเป็นเรียกว่าอะไร รู้เพียงว่าเธอแปลก เธอผิดปกติ ทำไมถึงรู้สึกขัดเขินยามสนิทสนมกับผู้หญิง เอ๋เคยหลอกตัวเองด้วยการลองคบหาผู้ชาย แต่ก็ทนฝืนได้ไม่นาน "ตอนเด็กๆ น้อยเนื้อต่ำใจพ่อแม่ หนูมีพี่น้อง 6 คน ผู้ชาย 4 คน หนูเป็นคนที่ 3 คิดว่าพ่อแม่รักลูกผู้ชายมากกว่า ทำกับลูกชายแบบหนึ่ง กับลูกสาวอีกแบบหนึ่ง เราต้องรับผิดชอบทุกอย่างในบ้าน แต่ลูกชายไม่ต้องทำอะไรเลย เลยถามเขาว่าทำไมต้องเป็นเราอยู่คนเดียวที่ทำงานบ้าน คำตอบเดียวที่เขาให้มาคือเพราะคุณเป็นผู้หญิง ต้องทำงานในบ้านทุกอย่าง มีการโต้เถียงกัน แต่สุดท้ายก็ได้คำตอบเดิมๆ คิดในใจว่าถ้าเราเกิดมาเป็นผู้ชายก็คงจะดี พ่อแม่คงจะรักเรามากกว่านี้" ครอบครัวของเอ๋ค่อนข้างเคร่งครัดในแนวทางศาสนา พ่อของเอ๋เป็นคนหนึ่งที่ริเริ่มผลักดันให้มีการคลุมฮิญาบในยะลาอันเป็นผลจากการปฏิวัติอิหร่านในยุคนั้น เอ๋จึงต้องคลุมฮิญาบตั้งแต่เด็ก เธอไม่เคยชอบ มันทั้งร้อนและยุ่งยาก ขณะที่ผู้ชายกลับแต่งตัวแบบไหนก็ได้ เป็นอีกครั้งที่เธอตั้งคำถามกับพ่อว่าทำไมเธอถึงต้องคลุมฮิญาบ "คุณพ่อตอบว่าพระเจ้าไม่ชอบ พระเจ้าสั่ง ไม่ใส่แล้วบาป ตกนรก การที่มีผู้ชายเห็นเส้นผมเราแค่เส้นเดียวตกนรก 40 ปี เขาจะอ้างถึงพระเจ้าเสมอ หนูถามต่อไปว่าแต่มันร้อนนะ ร้อนมาก เคยลองท้าให้เขามาใส่ดูบ้าง เขาก็ตอบว่าในนรกร้อนกว่า สำหรับหนูตอนนั้นไม่เมคเซ๊นส์เลย หนูคิดว่าการเปิดผมไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ทำไมพระเจ้าจะต้องเกลียดกับแค่ที่เราเปิดผมให้คนอื่นเห็น" นอกจากความยุ่งยากแล้ว ฮิญาบยังเป็นสัญลักษณ์ของสตรีเพศ มันจึงยากจะยอมรับสำหรับเอ๋ที่นิยามตัวเองเป็นผู้ชาย เธอเลือกคลุมผมเวลาอยู่บ้านและถอดฮิญาบออกเมื่อใช้ชีวิตนอกบ้าน "ตราบใดที่เรายังอยู่ในฮิญาบ เขาก็ยังมองว่าเราเป็นผู้หญิงอยู่ มันอำพรางตัวได้ง่ายกว่าการถอดฮิญาบออก ผมเราสั้น แต่พอคลุมฮิญาบเท่านั้นแหละ เป็นผู้หญิงทันที "ตอนนั้นการที่เราเป็นทอม หนูเชื่อว่ามันบาป แต่บาปร้อยเปอร์เซ็นต์มั้ย ก็ไม่ อีกใจหนึ่งก็คานความคิดว่า ไม่เป็นไร ถึงเราจะเป็นแบบนี้ แต่เรายังเชื่อในพระเจ้า พระเจ้าเมตตา ทรงให้อภัยเสมอ กฎเหล็กของอิสลามคือตราบใดที่ยังเชื่อในพระเจ้า บาปทั้งหมดก็จะหลุดพ้น เลยคิดว่าเรายังเชื่อพระเจ้า ต่อให้เราเป็นทอม พระเจ้าก็คงให้อภัยได้ แต่อีกใจยังตั้งคำถามว่า ถ้าพระเจ้าไม่รัก ที่พระเจ้าบอกว่าเพศที่สามเป็นชาวนรก ทำไมล่ะ ถ้าเรารักพระเจ้าแล้ว แล้วพระเจ้าจะยังโกรธเกลียดเราเหรอ เราจะยังเป็นบ่าวที่ดีของพระเจ้าไม่ได้เหรอ เราแค่เป็นแบบนี้ แล้วถ้าพระเจ้าทรงเกลียด เรียกเราเป็นชาวนรก พระเจ้าจะสร้างเรามาทำไม" เอ๋เล่าว่า เธออยู่กับความอึดอัดนี้มาตลอด กระทั่งพ่อแม่เธอเริ่มกดดันให้เธอแต่งงาน ใช่, กับผู้ชาย นั่นเป็นจุดแตกหักที่เธอตัดสินใจหนีมาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ "อยู่บ้านไม่ได้ พ่อแม่ไม่สามารถรับความเป็นเราได้เลย พอเริ่มโตขึ้น เขาจะกดดันเรื่องแต่งงาน จะเป็นทอมก็เป็นไป แต่ยังไงก็ต้องแต่งงาน ทุกวันที่ตื่นมาจะมีแรงกดดันให้แต่งงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เขาพยายามซ่อมเราด้วยการให้เราแต่งงาน เพราะคิดว่าการเป็นทอมคือโรคที่สามารถแก้ได้ด้วยการแต่งงานกับผู้ชาย และเหมือนเป็นจุดสูงสุดของชีวิตคนอิสลามมลายูที่นอกจากเรื่องการศึกษาแล้วก็คือการมีผัว มีลูก เป็นค่านิยมแบบนั้น" หลังจากใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ เอ๋ค่อยๆ ปลดเปลื้องตัวเองออกจากพันธนาการทางศาสนา เธอตั้งคำถามต่อความมีอยู่ของพระเจ้าและเลือกเดินออกจากอิสลาม แน่นอน นี่ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ความสัมพันธ์กับพ่อแม่ที่เปราะบางอยู่แล้ว ...แหลกสลายก็ยังอาจเป็นคำที่เบาไป ว่างเปล่า เป็นคำที่เธอใช้ เอ๋ไม่ใช่คนเดียวที่หนีการแต่งงาน บุษยมาสเล่าชีวิตของน็อต (นามสมมติ) กะเทยคนหนึ่งให้ผมฟังว่า หลังจากพ่อเสียชีวิต ผู้เป็นพี่ชายก็รู้สึกว่าตนเองต้องรับผิดชอบครอบครัว เขาจึงพยายามทำให้น็อตหายจากการเป็นกะเทยด้วยการจับแต่งงานเมื่อเรียนจบ น็อตเลือกเส้นทางของตนด้วยการไม่เรียนต่อ พาตัวเองไปทำงานอยู่หัวหิน ไว้ผมยาว ใช้ชีวิตตามเพศที่เลือก กลับมาบ้านปีละครั้งช่วงเทศกาลฮารีรายอ ซึ่งเป็นเทศกาลสำคัญของชาวมุสลิมในสามจังหวัด น็อตจะกลับบ้านด้วยทรงผมที่ตัดสั้น กลับไปเป็นผู้ชายชั่วคราว ................ ไม่ใช่คนหลากหลายทางเพศทุกคนที่เลือกจะแตกหักแบบเอ๋ ราคาที่ต้องจ่ายมันแพงเกินไป สำหรับบางคน เมื่อสองอัตลักษณ์ปะทะกัน พวกเขาเลือกประนีประนอมและต่อรองให้อัตลักษณ์ทั้งสองอยู่ร่วมกันได้ภายใต้กรอบความเชื่อทางศาสนา ไม่ทำร้ายตนเองและคนรอบข้างจนเกินไป "การปะทะระหว่างอัตลักษณ์ ผมคิดว่ามันมีพื้นที่และเวลาของมัน คนเรามีหลายอัตลักษณ์ขึ้นกับเวลาและสถานที่ แอลจีบีทีในวันรายอ เขาอาจแต่งชุดของเขาตามเพศกำเนิด เพราะมันเป็นสีสัน เป็นวันที่เขาผูกพัน ร่วมสังสรรค์กับญาติพี่น้องของเขา เขารู้ว่าเขาควรจะทำอะไร ในเวลาใด กาลเทศะไม่ใช่เพดานของสิทธิและเสรีภาพ แต่เป็นการปฏิสัมพันธ์กับบางสิ่งบางอย่างที่ไม่เหมือนเรา และเราจะอยู่กับสิ่งนั้นอย่างไร "เวลาที่เขาเลือกแสดงออกระหว่างอัตลักษณ์ทางเพศของตนกับอัตลักษณ์มลายู สำหรับผม มันเป็นความชาญฉลาดและผมคิดว่าเขาก็มีความสุขที่ได้แสดงหลายอัตลักษณ์ ผมคิดว่าไม่จำเป็นต้องบังคับให้เขามีอัตลักษณ์เดียว แต่บางกรณีเขาก็อาจรู้สึกอึดอัด ทุกคนไม่ได้อะไรทั้งหมด การดีลกับความไม่เหมือนจึงน่าสนใจ" เป็นความเห็นของเอกรินทร์ ต่วนศิริ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กะเทยวัยรุ่นในตัวเมืองยะลา นาน่า วีนัส ชื่อในวงการที่เธอใช้เรียกตัวเอง เธอเลือกแสดงออกอัตลักษณ์ทางเพศให้สังคมรับรู้ ในเวลาเดียวกัน เธอก็ไม่ขาดหายจากการปฏิบัติศาสนกิจที่มุสลิมที่ดีพึงทำ มันไม่ง่าย แต่ก็ไม่ถึงกับย่ำแย่นัก จะให้เดินเข้ามัสยิดแบบหน้าสด? เธอทำไม่ได้ ขืนทำแบบนั้นความมั่นใจเป็นได้หล่นหายก่อนถึงมัสยิด นาน่าแต่งหน้าเมื่อต้องไปละหมาดที่มัสยิด ใส่ชุดปกติสำหรับทำศาสนกิจ บรรดาผู้ใหญ่ก็มองเป็นเชิงถามบ้างว่า 'เยอะไปหรือเปล่า' ถ้าเป็นรุ่นราวคราวเดียวกันก็เลือกนินทาให้เธอได้ยิน เธอบอกว่าเพราะเธออยู่ในเมือง การแสดงออกของเธอจึงไม่ใช่เรื่องซีเรียส ความเป็นเมืองช่วยดูดซับแรงปะทะจากความหลากหลาย "เราต้องดูพื้นที่ด้วยว่าเราสามารถแต่งตัวได้แบบไหน ไม่ใช่ว่าเราจะนุ่งสั้นเลย พ่อแม่หนูก็รู้ว่าเราเป็นแบบนี้ แต่หนูไม่เคยใส่สั้น เวลาหนูไปไหนก็พยายามแต่งตัวให้เกียรติสถานที่ แต่งหน้า ผมเกรียน ให้เขารู้ว่าเราเป็น แต่ไม่เว่อร์" "รู้สึกบาปมั้ย" ผมถาม "ก็รู้สึกค่ะ แต่เราเกิดมา เราเลือกไม่ได้ เราพยายามเป็นคนดีให้เขาเห็น เราไม่ใช่แบบว่าจะเป็นหญิงไปเลย การที่เราเป็นแค่นี้กับเป็นมากกว่านี้ ไม่เหมือนกันนะคะ บาปก็ไม่เท่ากัน เรารู้ตัวว่าเรามีบาป แค่นี้ก็บาปแล้ว เราเลยพยายามแค่นี้พอ" "เคยอยากแปลงเพศมั้ย" "ถ้าตอน ม.1 ม.2 เราเห็นรุ่นพี่ เราเห็นตามสื่อต่างๆ เขาสวย ผมยาว มีนม เราก็อยากจะเป็น อยากเหมือนเขา แต่ความเป็นจริงเราอยู่ศาสนานี้ เราเป็นมุสลิม สังคมด้วย เราเรียนรู้ เราโตมา เราไปศึกษาดู พ่อแม่ก็ไม่ได้ห้ามไปเลย แต่ก็มีกรอบให้เรา เราก็ไม่เอาดีกว่า แค่นี้พอแล้ว แค่นี้ท่านก็ลำบากใจพอแล้ว" "แล้วถ้าวันหนึ่งเราอยากจะเปลี่ยนตัวเองเป็นผู้หญิงล่ะ" "คงต้องห้ามใจ ในเมื่อเราเป็น ความรู้สึกมี มันก็ไม่มีได้ พอมันมีอีกครั้งหนึ่งก็ต้องไม่มีได้ คนเราความรู้สึกมันเปลี่ยนแปลงไปตลอด เราก็พยายามเสพสื่อให้น้อยลง พยายามเสพสื่อที่ดูแล้วเหมาะกับเรา เราก็มีรุ่นพี่ที่ไปทำงานกรุงเทพ ก็เป็นแบบนี้ เขาสวย แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องสวย ผมยาว มีนม แค่นี้เราก็มีความสุขแล้ว มันขึ้นกับความสุขหนูมากกว่า ถ้าเราทำมากกว่านี้เราก็รู้สึกว่าคนอื่นเขามอง เราก็ไม่มีความสุข ทำแค่นี้พอแล้วค่ะ" "แปลว่ายังแคร์สายตาคนอื่นอยู่" "ใช่ค่ะ" ถ้าวันหนึ่งถูกจับแต่งงานกับผู้หญิง นาน่าบอกทันทีว่าเธอทำใจไม่ได้ เคยบอกกับที่บ้านว่า ถ้าบังคับเธอแต่งงาน "หนูจะหนีออกจากบ้าน จะหาผัวผู้ชายให้ดู แต่เขาก็ยิ้มๆ ทางบ้านหนูเปิดและยอมรับหนู "ถ้าเป็นไปได้หนูคงไม่เชิงว่าแต่งงาน หนูยังให้เกียรติ เสพสื่อมาเยอะ แต่งงานแล้ว มีพิธีมงคล แต่ทำไมคนเขากดดัน ไปว่าด่าดูถูกจนไม่ใช่พิธีมงคล แค่ใช้ชีวิตด้วยกันก็พอ ซึ่งเราคงต้องฟังทั้งฝั่งพ่อแม่เขา พ่อแม่เรา ส่วนสายตาคนอื่นเราก็แคร์เหมือนกัน แต่ไม่มาก ในเมื่อเราสองคนรักกัน มีความสุข แต่ถ้าทำให้คนอื่นลำบาก หนูขอบายดีกว่า มันหนักใจนะคะ อยู่ด้วยกันมีความสุข แต่ถ้าคนอื่นมาทำให้เราไม่มีความสุข อยู่ไปก็ไม่มีความสุข สักวันหนึ่งก็ต้องเลิก" ถามถึงการคลุมฮิญาบ นาน่าบอกว่าถ้าเป็นงานกิจกรรมก็ใส่บ้าง แต่ในชีวิตประจำวันไม่ใส่ เธอเกรงใจทางบ้านและรู้สึกว่าต้องให้เกียรติผ้าคลุม เว้นเสียแต่ว่าจะออกนอกพื้นที่ยะลา "อยู่ในสามจังหวัดดูว่ากะเทยหนักกว่า แต่จริงๆ แล้วผู้หญิงหนักกว่า เพราะการไม่ใส่ฮิญาบเป็นการเปิดเผย ทอมในสามจังหวัดมีเยอะ กะเทยยังมีความให้เกียรติ คือเป็นผู้ชายไม่ต้องใส่ผ้าคลุมก็ได้ แต่ถ้าเป็นทอมก็อยากเป็นผู้ชาย ก็ไม่ใส่ผ้าคลุม เลยชัดเจนกว่า เปิดเผยตัวโดยที่ผิดหลักศาสนา" ..............
ย้อนกลับมาที่เอกับบี ความรักของพวกเขาทั้งคู่เป็นความรักข้ามพรมแดนศาสนา เอเป็นมุสลิม บีเป็นพุทธ ปัจจุบันทั้งคู่นิยามตนเองเป็นเกย์ ส่วนอดีต เอเป็นกะเทย บีเป็นผู้ชาย เอและบีพบกันผ่านโลกโซเชียล ไม่นานก็ตัดสินใจอยู่ด้วยกันเพื่อช่วยกันประกอบธุรกิจ กว่าเอจะมาถึงจุดนี้ เขาผ่านความเจ็บปวด การต่อรอง การเปลี่ยนแปลงตนเองมามากมาย เอเล่าให้ฟังว่า เขาเคยผ่านช่วงเวลาที่เป็นกะเทย แต่งหญิง กินยาคุม ผ่านกระบวนการทุกอย่างเท่าที่ผู้ชายคนหนึ่งที่ต้องการเปลี่ยนตัวเองสู่ความเป็นหญิงจะทำได้ ขาดก็แต่การแปลงเพศ ความเป็นลูกชายคนเดียวของครอบครัวมุสลิมที่ค่อนข้างมีหน้ามีตาในพื้นที่ ทำให้พ่อแม่ไม่อาจยอมรับความเป็นตัวเขาได้ เกิดการดุด่ารุนแรง ถูกไล่ออกจากบ้าน เลยเถิดถึงขั้นลงไม้ลงมือ จบลงด้วยการหนีไปใช้ชีวิตเป็นแดนเซอร์ในกรุงเทพฯ "ในสังคมกรุงเทพ เขาจะบอกว่าไม่ต้องเป็นกะเทย ถ้าจะเป็นก็เป็นผู้หญิงไปเลย ถ้าจะเป็นเกย์ก็เป็นเกย์ไปเลย ผมไปอยู่ในสังคมเกย์ อยู่ที่ยะลาคือฟรีแลนซ์จะเป็นอะไรก็ได้ แต่ที่นั่น ที่กรุงเทพฯ ไม่ได้ ชีวิตที่นู่น ถ้าน้องๆ ที่นี่ได้ไปสัมผัส ผมเชื่อว่าน้องๆ ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพราะถ้าอยู่อย่างนี้ ผมก็เป็นเกย์ไม่ได้หรอก ผมต้องเป็นกะเทยเหมือนเพื่อน แต่ผมไปอยู่ในสังคมเกย์ เพื่อนทั้งหมด 10 คนเป็นเกย์หมด ผมก็ต้องเป็นเกย์" ความเป็นเกย์ยังคงเก็บภาพลักษณ์ความเป็นชายได้ ไม่เหมือนกะเทย ครอบครัวของเอยอมรับได้ง่ายกว่า เขาเริ่มไว้หนวดเครา เตะฟุตบอล แต่งตัวเป็นผู้ชาย กับหัวใจเกย์ "นั่นแหละคือสิ่งที่พ่อแม่เห็นภายนอก แต่ข้างในยังเหมือนเดิม ซึ่งเขายอมรับได้ว่านี่คือลูกเรา แค่นั้นก็พอแล้ว" เจ็ดปีในกรุงเทพฯ เอกลับยะลาในฐานะเกย์ ไม่ใช่กะเทยเหมือนครั้งจากไป พ่อแม่ยอมรับภาพลักษณ์นี้ได้มากกว่า เขาเริ่มทำธุรกิจของตนเองจากประสบการณ์และความรู้ที่สั่งสมมาจากชีวิตกร้านกรำในกรุงเทพฯ ทั้งเมคอัพ อาร์ตทิสต์ ช่างทำผม กระทั่งเป็นครูสอนเต้น เหมือนเรื่องจะจบลงอย่างมีความสุข ...ก็ไม่อย่างนั้นเสียทีเดียว "พ่อแม่ก็ไม่ยอมรับอีก ทำไมไปสอนเต้น ไปแต่งหน้า เพราะการสัมผัสตัวระหว่างชายหญิงในอิสลาม บาปแน่นอน แต่ด้วยความที่ผมอยากให้พ่อแม่ยอมรับผมให้ได้ว่ามันเป็นอาชีพ จนสุดท้าย 3 ปีหลัง แม่เห็นว่าเราพยายาม ตั้งใจเปลี่ยนแปลงตัวเอง แกก็เลยยอมรับ" ไม่ต่างจากนาน่าหรือเอ๋ บาปเกาะกินความรู้สึก "ถ้าพูดตามหลักศาสนาแล้วคือบาป เพราะตามหลักศาสนามีแค่ชายกับหญิงเท่านั้น เกย์ ตุ๊ด บาปหนัก ก็รู้สึกบาปครับ แต่ผมคิดว่ามันเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แค่เราดำเนินชีวิตปกติที่เราเป็นอยู่ ณ ตอนนี้ แค่ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ผมไม่ซีเรียส" หลังจากเริ่มทำธุรกิจของตัวเอง เอต้องการคนที่อยากจะเดินทางร่วมกัน ใช้ชีวิตร่วมกัน ทำมาหากินร่วมกัน แล้วบีก็เข้ามา บีซึ่งก่อนนี้เคยผ่านการมีครอบครัวและมีลูกมาแล้ว เอเชื่อว่าพ่อแม่น่าจะรู้ความสัมพันธ์ของเขากับบีและน่าจะรับได้ เพราะทั้งสองต่างก็ช่วยกันทำมาหากิน บียอมรับว่า การใช้ชีวิตนอกชายคาวางตัวลำบาก พวกเขาต้องทำตัวเหมือนเพื่อนชายสองคน ขณะที่ชีวิตส่วนตัวเป็นอีกแบบหนึ่ง เอบอกว่า เขาเชื่อว่าต้องมีคนที่คิดและนินทาทำนองว่า นี่ไง เพราะไปคบหากับคนนอกศาสนาจึงพาให้เป็นแบบนี้ แต่เขาไม่สนใจ "ในความคิดของผมนะ การเป็นเกย์จะอยู่ในสังคมง่ายกว่า เพราะมีภาพของความเป็นผู้ชาย พอเรามีเพื่อนเป็นผู้ชายก็สบายๆ อย่างผมสองคนสามารถอยู่ในหมวดหมู่ของผู้ชายแท้ๆ ไปเล่น ไปกินได้ทุกอย่างปกติ คนอื่นมองเข้ามาอาจจะไม่คิดว่าเป็น เรารู้กันแค่สองคน ไม่ต้องมาบอกใครว่านี่แฟนนะ การใช้ชีวิต เราใช้เป็นครอบครัวมากกว่าเป็นแฟน พออยู่ข้างนอกเราทำงาน เราเพื่อนกัน เรารู้อยู่แล้วว่าเป็นแฟนกันนี่แหละ แต่บางทีสังคมไม่ต้องการแบบเรา เราก็ต้องบอกสังคมอีกแบบหนึ่ง" ถ้าวันหนึ่งถูกกดดันให้ต้องแต่งงานกับผู้หญิง? "ถามว่าวันหนึ่งผมต้องการมั้ย ผมต้องการ แต่ผมต้องการจุดยืนของตัวเองให้มั่นคงก่อน ถึงจะไปดูแลอีกคนหนึ่งที่เป็นผู้หญิงได้ ลูกก็อยากมี อยากมีชีวิตแบบครอบครัว แต่ ณ เวลานี้เรากำลังค้นหาจุดที่อยู่ วันหนึ่งเราอยากมี แต่ขอให้วันนั้นมันสมบูรณ์ทุกอย่าง เราสามารถดูแลลูกเขาได้ ถึงตอนนั้น ผมก็ต้องเลือกเพื่อครอบครัว แล้วจะมีความสุข? "ผมคิดว่าเราต้องเรียนรู้กัน" "ถ้าวันนั้นยังรักบีอยู่ล่ะ" "ผมคิดว่าความรักไม่ต้องจากกันเพราะชีวิตคู่ เราจะไปมีภรรยาแล้วนะ เราจะต้องเลิกกันมั้ย ไม่จำเป็นขนาดนั้น เพราะเราอยู่ด้วยกันทุกวันนี้ เราอยู่กันแบบครอบครัวมากกว่า คือใช้ชีวิตแบบครอบครัว แบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน เป็นเพื่อนชีวิต ถ้าวันหนึ่งเราต้องแยกกัน เราสองคนจะดีใจ เราต่างไปมีครอบครัว เราเคยคุยกันแล้วว่าถ้าวันหนึ่งเราต้องแยกจากกันจริงๆ ด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ขอให้แยกกันแบบยิ้ม ไม่เอาทะเลาะโวยวาย" ผมหันไปมองหน้าบี เขาเพียงเงียบและยิ้ม (ตอนต่อไปซึ่งเป็นตอนสุดท้าย จะกล่าวถึงหนทางเล็กๆ เท่าที่มีในการอยู่ร่วมกัน) ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
คณะทำงานฯ UN ร้องปล่อย 'ศศิพิมล-ใหญ่ แดงเดือด' ผู้ต้องขัง 112 ชี้คุมตัวโดยพลการ Posted: 20 Oct 2017 12:04 AM PDT 'ศูนย์ทนายสิทธิ' รายงาน คณะทำงานว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการรับรองความคิดเห็นในกรณีของศศิพิมลและ ใหญ่ แดงเดือด ผู้ขังคดีตามมาตรา 112 ในการประชุม 21-25 ส.ค.ที่ผ่านมา ว่าเข้าข่ายเป็นการควบคุมตัวบุคคลโดยพลการ ขัดต่อกติการะหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี พร้อมเรียกร้องให้ปล่อยตัวทั้งสองคนโดยทันที
20 ต.ค. 2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 19 ต.ค.ที่ผ่านมา ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า คณะทำงานว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการ (Working Group on Arbitrary Detention) ซึ่งเป็นกลไกพิเศษภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights Council) ได้รับรองความคิดเห็นในกรณีของศศิพิมล (สงวนนามสกุล) และกรณีของเธียรสุธรรม (สงวนนามสกุล) หรือ "ใหญ่ แดงเดือด" สองผู้ขังคดีตามมาตรา 112 ในการประชุมครั้งที่ 79 ระหว่างวันที่ 21-25 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยคณะทำงานฯ ลงมติเห็นว่าการควบคุมตัวทั้งสองคนเข้าข่ายเป็นการควบคุมตัวบุคคลโดยพลการ ขัดต่อกติการะหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี พร้อมเรียกร้องให้ปล่อยตัวทั้งสองคนโดยทันที ก่อนหน้านี้คณะทำงานฯ เคยมีความเห็นที่เป็นทางการต่อกรณีผู้ต้องขังตามมาตรา 112 ว่าเป็นการควบคุมตัวโดยพลการ มาแล้วทั้งหมด 4 กรณี ได้แก่ กรณีสมยศ พฤกษาเกษมสุข (ปีพ.ศ.2555) กรณีปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม (ปีพ.ศ.2557) และภรณ์ทิพย์ มั่นคง (ปีพ.ศ.2558) สองนักกิจกรรมในคดีเจ้าสาวหมาป่า และกรณีของพงษ์ศักดิ์ (ปีพ.ศ.2559) ส่วน กรณีของศศิพิมลและเธียรสุธรรมนั้น เป็นสองกรณีผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 ล่าสุด ที่คณะทำงานว่าด้วยการควบคุมตัวโดย ได้จัดทำรายงานความคิดเห็นที่เป็นทางการออกมาอีกสองฉบับ (ความคิดเห็นอันดับที่ 51/2017 รับรองเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2560 และความคิดเห็นอันดับที่ 56/2017 รับรองเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2560) สำหรับกรณีของศศิพิมล หรือก่อนหน้านี้รายงานในชื่อ "ศศิวิมล" แม่เลี้ยงเดี่ยวลูกสองคน อดีตพนักงานโรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เธอถูกกล่าวหาจากกรณีการใช้เฟซบุ๊กชื่อ "รุ่งนภา คำพิชัย" โพสต์ข้อความที่เข้าข่ายมาตรา 112 จำนวน 7 ข้อความ แม้เธอยืนยันว่าไม่ได้เป็นผู้โพสต์ข้อความดังกล่าว แต่ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจหว่านล้อมและกดดันให้ยินยอมรับสารภาพ โดยไม่มีญาติหรือทนายความอยู่ด้วย ก่อนจะมีการสั่งฟ้องต่อศาลทหาร โดยเธอไม่ได้รับการประกันตัว ทำให้ต่อมาได้ยินยอมรับสารภาพในชั้นศาล ก่อนที่เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2558 ศศิพิมลได้ถูกศาลทหารเชียงใหม่พิพากษาจำคุก 56 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 28 ปี และจนถึงปัจจุบันเธอยังถูกควบคุมตัวอยู่ภายในเรือนจำ กรณีของเธียรสุธรรม หรือ "ใหญ่ แดงเดือด" นักธุรกิจในกรุงเทพฯ ถูกกล่าวหาจากการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กจำนวน 5 ข้อความ โดยเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2557 เขาและภรรยาถูกเจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่ปอท. จับกุมตัวจากบ้านพักไปยังมณฑลทหารบกที่ 11 ก่อนที่ภรรยาจะได้รับการปล่อยตัว ส่วนเขาถูกควบคุมตัวต่อ ก่อนจะถูกนำตัวมาแจ้งข้อหาตามมาตรา 112 โดยไม่ได้รับการประกันตัว หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558 เธียรสุธรรมถูกศาลทหารกรุงเทพพิพากษาจำคุก 50 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 25 ปี จนถึงปัจจุบันยังถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำเช่นกัน ทั้งสองกรณีนี้ จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาเนื่องจากเกิดขึ้นในขณะการประกาศกฎอัยการศึก และทั้งสองกรณีนับได้ว่าเป็นคดีที่ศาลทหารมีการลงโทษจำคุกสูงเป็นอันดับต้นๆ เท่าที่เคยมีมาในข้อหาตามมาตรา 112 โดยนอกจากกรณีของพงษ์ศักดิ์ ที่ถูกศาลทหารพิพากษาจำคุก 60 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 30 ปี ซึ่งคณะทำงานฯ ของสหประชาชาติเคยมีความเห็นว่าเป็นการควบคุมตัวโดยพลการมาก่อนหน้านี้แล้ว ล่าสุดยังมีกรณีของ "วิชัย" จากกรณีการปลอมเฟซบุ๊กและโพสต์ข้อความเข้าข่ายมาตรา 112 จำนวน 10 ข้อความ ได้ถูกศาลทหารพิพากษาจำคุก 70 ปี ให้การรับสารภาพ ลดโทษเหลือจำคุก 35 ปี คำชี้แจงของรัฐบาลไทยรายงานระบุด้วยว่า ภายใต้กลไกการรับข้อร้องเรียนรายกรณี หลังจากคณะทำงานว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการได้รับข้อร้องเรียนและได้พิจารณาข้อมูลแล้ว จะมีการสอบถามกลับไปยังรัฐบาลต่างๆ ที่ถูกร้องเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้ชี้แจงกลับมา ในระยะเวลา 60 วัน ก่อนจะมีการส่งคำชี้แจงดังกล่าวไปยังผู้ร้องเรียนสำหรับให้ความเห็นกลับมาอีกครั้ง แล้วคณะทำงานฯ จึงจะจัดทำความเห็นจากข้อมูลต่างๆ ดังกล่าว ในกรณีของศศิพิมลและเธียรสุธรรมที่มีการร้องเรียนไป ทางคณะทำงานฯ ได้สอบถามกลับมายังรัฐบาลไทยเช่นกัน แต่ในกรณีของศศิพิมล ทางรัฐบาลไม่ได้มีการตอบกลับใดๆ ต่อข้อร้องเรียนที่คณะทำงานฯ สอบถามไปเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2560 กรณีของเธียรสุธรรม คณะทำงานฯ ได้สอบถามไปยังรัฐบาลไทยเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2560 และรัฐบาลไทยได้ชี้แจงกลับมาเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2560 โดยยืนยันว่าประเทศไทยสนับสนุนและให้คุณค่ากับเสรีภาพในการแสดงออกที่เป็นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม สิทธินี้ไม่สมบูรณ์และจะต้องแสดงออกภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ไม่กระทบต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสามัคคีในสังคม หรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น ตามข้อ 19 (3) ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) คำตอบของรัฐบาลไทยยังระบุว่าการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 เป็นไปตามหลักการดังกล่าว โดยที่สถาบันกษัตริย์ถือได้ว่าเป็นเสาหลักของสังคมไทย และกฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์มีไว้เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือชื่อเสียงของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เช่นเดียวกันกับกฎหมายหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อยับยั้งสิทธิในการแสดงออกของประชาชน ต่อมา ผู้ร้องเรียนที่ไม่มีการเปิดเผยชื่อได้ระบุข้อมูลเพิ่มเติมกับคณะทำงานฯ ว่าคำชี้แจงของรัฐบาลไทยเป็นไปในลักษณะเดิมซ้ำกับคำชี้แจงในกรณีอื่นๆ ที่มีการสื่อสารกับผู้รายงานพิเศษหรือคณะทำงานฯ ต่างๆ ของสหประชาชาติก่อนหน้านี้ โดยไม่ได้ให้รายละเอียดถึงเหตุผลว่าทำไมจึงควรเชื่อว่าการดำเนินคดีบุคคลตามมาตรา 112 ซึ่งได้รับการลงโทษอย่างต่อเนื่องโดยการจับกุม คุมขัง และถูกจำคุกอย่างยาวนาน เป็นการสอดคล้องกับข้อ 19 ของกติกา ICCPR และรัฐบาลก็ไม่ได้อธิบายถึงการใช้ศาลทหารต่อพลเรือน ซึ่งขัดแย้งกับข้อ 14 ของกติกานี้ ผู้ร้องเรียนยังแสดงความกังวลว่าการละเมิดสิทธิผ่านมาตรา 112 ยังดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังมีการลงโทษจำคุกอย่างรุนแรงจากศาลหลังการรัฐประหาร 2557 โดยยกตัวอย่างถึงกรณี "วิชัย" ที่ศาลทหารมีการกำหนดโทษสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา การใช้ ม.112 มีความคลุมเครือ-ตีความกว้างขวางนอกจากการพิจารณาถึงสองกรณีดังกล่าว คณะทำงานว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการ ยังแสดงความกังวลถึงการใช้กฎหมายมาตรา 112 ภายหลังการรัฐประหาร ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (OHCHR) เปิดเผยเมื่อเดือน มิ.ย. 2560 ระบุว่ามีบุคคลที่ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหานี้ เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า โดยจากช่วงปี 2554-2556 มีจำนวนอย่างน้อย 119 กรณี แต่ในช่วงปี 2557-2559 มีตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 285 กรณี ทั้งในระหว่างการประชุมทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนรอบของประเทศไทย (UPR) ในเดือน พ.ค. 2559 สถานการณ์ในเรื่องการจำกัดเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพการแสดงออก โดยเฉพาะการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์นี้ เป็นประเด็นที่คณะผู้แทนฯ หยิบยกขึ้นมาแสดงความกังวลต่อไทยอย่างมาก คณะทำงานฯ ยังอ้างอิงไปถึงข้อสังเกตเชิงสรุป (Concluding Observation) ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเมื่อเดือน มี.ค. 2560 ในการประชุมทบทวนรายงานการปฏิบัติตามกติกา ICCPR ของประเทศไทย ซึ่งได้มีการแสดงความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ถูกคุมขังและฟ้องร้องในข้อหาตามมาตรา 112 ตั้งแต่หลังรัฐประหาร และยังมีการลงโทษจำคุกที่รุนแรง โดยบางกรณีถูกลงโทษจำคุกหลายสิบปี ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเห็นว่าการคุมขังบุคคลที่ใช้เสรีภาพในการแสดงออกของพวกเขา เป็นการละเมิดต่อข้อ 19 ของกติกา ICCPR ซึ่งประเทศไทยมีพันธะต้องปฏิบัติตาม คณะทำงานฯ ยังแสดงความกังวลต่อความคลุมเครือ และการถูกตีความอย่างกว้างขวาง ในนิยามของคำว่า "หมิ่นประมาท" ภายใต้ข้อหามาตรา 112 ซึ่งคณะทำงานฯ เห็นว่าความคลุมเครือ การตีความอย่างกว้างขวาง และการลงโทษอย่างรุนแรงดังกล่าว จะทำให้เกิดบรรยากาศของความหวาดกลัว ทำให้ผู้คนเซ็นเซอร์ตนเอง และส่งผลเป็นการระงับยับยั้งการถกเถียงที่มีความสำคัญต่อประโยชน์สาธารณะ คณะทำงานฯ เน้นย้ำถึงรูปแบบของการควบคุมตัวโดยพลการในกรณีที่เกี่ยวกับการใช้กฎหมายมาตรา 112 ของไทย โดยเห็นว่าภายใต้บางสถานการณ์ การแพร่กระจายของการคุมขังอย่างกว้างขวางหรืออย่างเป็นระบบ หรือการลิดรอนอิสรภาพอื่นๆ ตามข้อบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศอย่างรุนแรง อาจนับเป็น "การก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ" (crimes against humanity) ได้ ในตอนท้ายรายงานทั้งสองฉบับ คณะทำงานฯ เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวศศิพิมลและเธียรสุธรรมโดยทันที พร้อมให้การชดเชย-เยียวยาจากการควบคุมตัวโดยพลการที่เกิดขึ้น และยังเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายที่ขัดต่อเสรีภาพในการแสดงออก โดยเฉพาะมาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (3) โดยเรียกร้องให้มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ อ่านรายงานเต็มได้ที่ เว็บไซต์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ผ่านวาระ 3 พ.ร.ป.การตรวจเงินแผ่นดินให้อำนาจ สตง. ตรวจสอบ ป.ป.ช. ตามหลักเกณฑ์ที่ ป.ป.ช. กำหนด Posted: 19 Oct 2017 10:42 PM PDT สนช. มีมติผ่านวาระ 3 พ.ร.ป.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน ปรับแก้มาตรา 7 วรรค 3 ให้อำนาจ สตง. ตรวจสอบ ป.ป.ช. เบื้องต้นตามหลักเกณฑ์ของ ป.ป.ช. และต้องไม่กระทบการทำงานของ ป.ป.ช. หากกระทบ ป.ป.ช. สั่งยุติการตรวจสอบได้ แล้วส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ดำเนินการตรวจสอบต่อไปเอง เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2560 สำนักข่าวไทย และเว็บข่าวรัฐสภา รายงานตรงกันว่า ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. .... ในวาระ 2 และ 3 รายมาตรา ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว มีจำนวนทั้งสิ้น 114 มาตรา โดยประเด็นที่สมาชิก สนช.ถกเถียงกันมากคือ บทบัญญัติในมาตรา 7 วรรค 3 ที่กำหนดให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มีอำนาจไต่สวนเบื้องต้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กำหนด กรณีตรวจพบว่าเจ้าหน้าที่ของ ป.ป.ช. กระทำการอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งราชการ โดยธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย กรรมาธิการเสียงข้างน้อยในสัดส่วนของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ชี้แจงถึงเจตนารมณ์ในการบัญญัติประเด็นนี้ว่า เพื่อให้เกิดการตรวจสอบ ถ่วงดุล การทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ให้โปร่งใส เพราะกรณีเกิดการกระทำความผิดในระดับเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ไม่มีหน่วยงานอื่นเข้าไปตรวจสอบ พร้อมยอมรับว่าการให้อำนาจ สตง.เข้าไปตรวจสอบได้เช่นเดียวกับ ป.ป.ช. อาจขัดหรือแย้งกับอำนาจ ป.ป.ช.ที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญ กรธ.จึงได้ให้อำนาจไต่สวนเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนการวินิจฉัยให้เป็นอำนาจ ป.ป.ช.ตามเดิม ขณะที่กล้านรงค์ จันทิก กรรมาธิการเสียงข้างมาก ชี้แจงเหตุผลของการเสนอตัดวรรค 3 ทิ้งว่า การให้ผู้ว่าการฯ เข้ามาไต่สวนเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ที่ทุจริตได้นั้น เป็นการก้าวล่วงอำนาจการทำงานของ ป.ป.ช. และอาจส่งผลกระทบต่อการไต่สวนคดีที่มีบุคคลหรือองค์กรอื่นล่วงรู้ความลับในสำนวนได้ และอาจทำให้เกิดความขัดแย้งต่อการตรวจสอบของ 2 องค์กร และกระทบต่อการตรวจสอบทุจริตของ ป.ป.ช. ทันที พร้อม ไม่ส่งผลต่อการตรวจสอบถ่วงดุลของ ป.ป.ช. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิก สนช. อภิปรายแสดงความเห็นด้วยกับเหตุผลของทั้งสองฝ่าย จึงเสนอให้ปรับถ้อยคำให้ ป.ป.ช. และ สตง. สามารถใช้กลไกร่วมกันได้ โดยไม่เกิดความขัดแย้งต่อการทำงานของ 2 องค์กรและไม่ให้เกิดการก้าวล่วงในสำนวนของ ป.ป.ช. โดยภายหลังถกเถียงกันนานเกือบ 2 ชั่วโมง ในที่สุดกรรมาธิการเสียงข้างมาก ยอมปรับเนื้อหาในวรรค 3 ของมาตรา 7 เป็น ในกรณีที่ผู้ว่าการ สตง. ตรวจสอบการใช้เงินแผ่นดินแล้วพบหลักฐานอันเชื่อได้ว่าเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ทุจริตต่อหน้าที่ให้แจ้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบและให้ผู้ว่าการ สตง. มีอำนาจไต่สวนเบื้องต้นตามหลักเกณฑ์ที่ ป.ป.ช.กำหนด แต่ต้องไม่กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ทั้งนี้หากคณะกรรมการ ป.ป.ช.เห็นว่า การดำเนินการของผู้ว่าการ สตง. กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. สามารถแจ้งให้ผู้ว่าการ สตง. ยุติการไต่สวนเบื้องต้น เพื่อส่งเรื่องให้ ป.ป.ช.ดำเนินการต่อไป ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบกับการแก้ไขดังกล่าว อย่างไรก็ตามหลังใช้เวลาในการพิจารณาร่วม 9 ชั่วโมง ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. .... ในวาระ 3 ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย 170 เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง 4 เสียง และเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ จากนั้น จะจัดส่งให้องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ชาวบ้านริมน้ำโขงยื่นอุทธรณ์ศาลปกครอง ชี้หน่วยงานรัฐปล่อยลาวสร้างเขื่อนปากแบงไม่ถูกต้อง Posted: 19 Oct 2017 10:10 PM PDT ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความจากมูลนิธิศูนย์ข้อมู ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความจากมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน ภาพจาก:iLaw 20 ต.ค. 2560 ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความจากมูลนิธิศูนย์ข้อมู ส.รัตนมณีกล่าวว่าในคำอุทธรณ์ มีเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า ผู้ฟ้องคดีทั้ง 4 เป็นประชาชนที่ ทนายความกล่าวว่า การมีอยู่ของแม่น้ำโขงก่อให้เกิ ส. รัตนมณี กล่าวต่อว่า อีกทั้ง ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 56 มาตรา 57 มาตรา 58 และตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 58 และมาตรา 59 ได้บัญญัติไว้ในทำนองเดียวกันว่ ส.รัตนมณี กล่าวว่าคณะทำงานเชื่อว่ "เราเพียงขอให้หน่วยงานรัฐปฏิ อนึ่งโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ ทั้งนี้คณะกรรมมาธิการแม่น้ำ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น