ประชาไท | Prachatai3.info |
- สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี: ความฝันกลางฤดูร้อนปี 2542
- ภูมิสถานต้นรัตนโกสินทร์ในแผนที่กรุงเทพฯ-กรุงธน พ.ศ.2430
- วันชาติจีน 1 ตุลา-ฮ่องกงนัดเดินขบวนต้านรัฐบาล "อำนาจนิยม"
- เสียงคนงาน 'OT' ความหวังสุดท้ายยุคค่าแรงถูกก็หดหาย
- หมายเหตุประเพทไทย #177 เทพฮินดู Localization
- กวีประชาไท: แด่มนุษยชาติ
- 'หมวดเจี๊ยบ' ตั้งคำถาม 'ประยุทธ์' เยือนสหรัฐฯ ปิดดีลซื้ออาวุธหรือไม่
- เวียดนาม 4.0 เลิกจ้าง ‘แรงงาน’ แล้วแทนที่ด้วย ‘หุ่นยนต์’ บ้างแล้ว
- จาตุรนต์ ฉายแสง: (คสช.) อย่าฝันหวาน
- ใจ อึ๊งภากรณ์: สุธาชัยที่ผมรู้จักเป็นนักสังคมนิยม
- 'ศรีสุวรรณ' จี้ทบทวนแต่งตั้ง กก.ยุทธศาตร์ชาติ 'ฝักถั่ว-นายทุน-ขุนศึก'
- ไทยขวาหัน#2: กระแสอำนาจนิยมโลก ขั้วอำนาจที่เปลี่ยนไปใน ปชต. ไร้เลือกตั้ง
- สธ.ยันยาต้านไวรัสไม่ขาด
- จดหมายจากหลังลูกกรงของ 'โจชัว หว่อง' วอนโลกอย่าลืมการต่อสู้ของชาวฮ่องกง
- เมื่อเก้าอี้ กก.ยุทธศาสตร์เลือก 'ชัชชาติ' แต่เขาปฏิเสธมัน
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี: ความฝันกลางฤดูร้อนปี 2542 Posted: 01 Oct 2017 10:51 AM PDT 1 ตุลาคม 2544 (วันนี้เมื่อ 16 ปีที่แล้ว) หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30 บาทรักษาทุกโรค เปิดให้บริการครบ 75 จังหวัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก หลังจากที่ดำเนินการนำร่องใน 6 จังหวัดคือ สมุทรสาคร ปทุมธานี ยโสธร นครสวรรค์ พะเยา และยะลา เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2544 และขยายเพิ่มอีก 15 จังหวัดในวันที่ 15 มิถุนายน 2544 เป็นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งได้รับการยกย่องจากสังคมโลกในเวลาต่อมาว่า นี่คือการปฎิรูประบบบริการสาธารณสุขที่ทะเยอทะยานที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศกำลังพัฒนา เป็นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งใช้เวลาผลักดันเพียง 7 เดือนกับอีก 2 วัน หลังจากรัฐบาลที่มี ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 เป็นเวลา 7 เดือนกับอีก 2 วันที่ได้รับทั้งดอกไม้และก้อนอิฐ ทั้งคำชื่นชมและเสียงเยาะเย้ยถากถาง เป็นเวลา 7 เดือนกับอีก 2 วันที่บางกลุ่มบอกว่า เร่งรีบทำเพื่อหาเสียง และบางคนเช่น อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ สนับสนุนให้รีบทำ เพราะรู้ดีว่า ถ้า "ไม่รีบทำก็ไม่ได้ทำ" ถึงวันนี้ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นเรื่องราวปกติของสังคมไทย แม้ถูกโยกคลอนเป็นระยะๆ แต่ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่จะถูกลดระดับให้ถอยหลังเข้าคลอง เพราะนับตั้งแต่ พ.ศ.2426 ซึ่งเยอรมันได้ริเริ่มเป็นแห่งแรก ทุกประเทศที่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้ว ไม่เคยถอยหลังอีกเลย แต่กลับพัฒนายกระดับเพิ่มขึ้นตลอดมา ผมจึงจำได้ถึงมวลแห่งความสุขที่อบอวลรอบตัวในวันนี้เมื่อ 16 ปีที่แล้ว และยังจำได้ด้วยว่า ก่อนหน้านั้นแค่ 2 ปี คือ พ.ศ.2542 ความคิดเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังเป็นเพียงความฝันที่เป็นไปไม่ได้ของแพทย์รุ่นพี่รามาธิบดีที่ชื่อ สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ แต่ผมรู้ดีว่า "พี่หงวน" ก็ไม่เคยถอย กัดไม่ยอมปล่อย สู้เพื่อฝันนี้ของเขาอยู่เสมอ .......................................
ผมซึ่งรับหน้าที่ทำนโยบายสาธารณสุขของพรรคไทยรักไทย ขอนัดหมายกับพี่หงวนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเรื่องระบบสาธารณสุขที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ หลักสี่ เพราะพี่หงวนจัดสัมมนาที่นั่น และเพื่อให้ได้แนวนโยบายสาธารณสุขที่ "ใหญ่" และ "แตกต่าง" อย่างที่ผมต้องการ ผมจึงเอ่ยถามพี่หงวนทันทีที่พบคุยกันว่า
พี่หงวนตอบผมด้วยน้ำเสียงนุ่มเนิบที่คุ้นเคย ผมรู้สึกได้ว่า พี่หงวนไม่ได้ฝากความหวังว่า พรรคไทยรักไทยจะช่วยให้ฝันเป็นจริงได้ เพราะเวลานั้น พรรคไทยรักไทยเพิ่งตั้งขึ้นได้ไม่ถึง 1 ปี ยังไม่มีสัญญานใดๆให้จับต้องได้เลยว่า จะชนะการเลือกตั้งใหญ่ซึ่งไม่รู้ว่าจะมาถึงเมื่อใด .................................................. วันหนึ่งกลางฤดูร้อนปี 2542 เช่นกัน ผมขอปรึกษาพูดคุยกับ ดร.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย เกี่ยวกับแนวทางการจัดทำนโยบายของคณะทำงานด้านนโยบายของพรรค ณ ห้องทำงานของหัวหน้าพรรค เมื่อได้ความกระจ่างเรื่องที่ต้องการสอบถามแล้ว ผมถือโอกาสถามเป้าหมายของพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งใหญ่ว่า
ครับ ไม่ผิดครับ ห้วงเวลากลางฤดูร้อนปี 2542 พรรคไทยรักไทยตั้งเป้าว่า จะได้ ส.ส.ในการเลือกตั้งใหญ่ที่จะมาถึงเพียง 25 คน! ................................................. หากย้อนเวลากลับไปในปี 2542 ไม่มีใครเชื่อแน่ ถ้ามีคนทำนายว่า อีก 2 ปี พรรคไทยรักไทยจะชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายด้วยจำนวน ส.ส.เกือบครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร และรัฐบาลภายใต้การนำของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร จะปฎิรูประบบบริการสาธารณสุขที่ทะเยอทะยานที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศกำลังพัฒนา วันนี้ ความฝันกลางฤดูร้อนที่เคยเป็นไปไม่ได้ ได้รับการบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ว่า เกิดขึ้นแล้วจริงๆ แน่นอน ไม่ใช่เหตุบังเอิญ ไม่ใช่โชคชะตากำหนด ไม่ใช่ปาฏิหารย์ แต่นี่คือเรื่องราวแห่งการทำงานหนักช่วงปี 2542-2543 ของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร และคนกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่ง ในการสร้างพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ให้เป็นพรรคการเมืองแบบใหม่ คิดใหม่ ทำใหม่ ที่ตั้งเป้าหมายให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง เรื่องราวเหล่านี้ยังอยู่ในความทรงจำของผม และคงมีโอกาสได้เล่าสู่กันฟังต่อไป ดังนั้น บางเวลา เมื่อผมรู้สึกหดหู่ ทอดถอนใจ ไม่แน่ใจว่าอนาคตจะเป็นเช่นไร มืดมนหรือสดใส ผมมักย้อนคิดถึงภาพอดีตแห่งฤดูร้อนปี 2542 แล้วบอกกับตัวเองว่า อย่าสิ้นหวัง อย่าท้อถอย กัดไม่ปล่อย สู้เพื่อฝัน อนาคตที่ใครต่อใครพร่ำบอกว่าเป็นไปไม่ได้ จักต้องมาถึง เพราะเราจะทำงานหนัก แล้วเขียนอนาคตนั้นขึ้นมาเอง เผยแพร่ครั้งแรกใน: เฟสบุ๊ค Surapong Suebwonglee
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ภูมิสถานต้นรัตนโกสินทร์ในแผนที่กรุงเทพฯ-กรุงธน พ.ศ.2430 Posted: 01 Oct 2017 10:11 AM PDT
ภาพจากเพจเฟสบุ๊ค มูลนิธิพิริยะ ไกรฤกษ์ การค้นพบแผนที่กรุงเทพฯ-กรุงธน จ.ศ.1249 (พ.ศ.2430) เมื่อปี 2542 โดยธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ ทำให้แผนที่ดังกล่าวกลายเป็นแผนที่สมัยใหม่ที่มีรายละเอียดชัดเจนที่เก่าแก่ที่สุด ก่อนหน้าฉบับ พ.ศ.2439 ที่เรียกว่า ฉบับนายวรนายสอน และฉบับ พ.ศ.2450 หากจะถือจารีตแบบผู้ค้นพระราชพงศาวดาร แผนที่ที่ถูกค้นพบนี้ควรได้รับเกียรติว่าเป็น "แผนที่ฉบับธงชัย ลิขิตพรสวรรค์" (ต่อไปผู้เขียนจะใช้ชื่อว่า แผนที่ฉบับธงชัยฯ) ธงชัย ให้ข้อมูลว่าแผนที่ดังกล่าวมีความละเอียด 1:5000 แบ่งเป็น ฝั่งกรุงเทพฯและฝั่งกรุงธน การจัดพิมพ์นั้นแยกเป็นสองครั้ง นั่นคือ จัดพิมพ์ฝั่งกรุงเทพฯ ก่อนที่อังกฤษด้วยแม่พิมพ์ทองเหลืองจึงมีความละเอียดและคมชัด ขณะที่ฝั่งกรุงธนพิมพ์ทีหลังแต่ส่งต้นฉบับไปพิมพ์ที่กัลกัตตา อินเดีย แม่พิมพ์สังกะสีที่ให้ความคมชัดน้อยกว่า แผนที่ต้นฉบับฝั่งกรุงเทพฯมี 18 ฉบับ ส่วนฝั่งธนบุรีมีเพียง 13 ฉบับคาดว่าสูญหายไปอีก 5 ฉบับ จนถึงปี 2558 จึงได้จัดพิมพ์เป็นเล่มขนาดใหญ่โดยทุนสนับสนุนจากธนาคารกสิกรไทย ในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติครบ 6 รอบของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ
ข้อเสนอของชาตรี กับการอ่านแผนที่ฉบับธงชัยฯความสำคัญของแผนที่ในมุมมองชาตรี ประกิตนนทการ คือ เมื่อย้อนกลับไปแผนที่ที่เกี่ยวกับกรุงเทพฯ ในฐานะ "ภูมิสถาน" แล้ว กรุงเทพฯ-กรุงธน มีแผนที่ย้อนไปได้เก่าสมัยพระเพทราชาราว พ.ศ.2230 ที่แสดงภาพป้อมบางกอก ถึงจะเก่าแต่ไม่มีรายละเอียด ไม่มีสเกล ไม่มีรายละเอียดทางกายภาพที่จะทำต่อได้มากนัก ส่วนแผนที่สายลับชาวพม่า แม้รายละเอียดจะมาก แต่ขนบคล้ายแผนที่อุดมคติแบบโบราณ ผสมกับแผนที่แบบไตรภูมิไปด้วย พอเข้าสมัยรัตนโกสินทร์ ในจดหมายเหตุครอฟอร์ด พ.ศ.2367 ผิดมาตราส่วน เห็นภาพรวม ขณะที่ฉบับ พ.ศ.2397 แม้จะมีรายละเอียดมากขึ้นแต่ก็ผิดสัดส่วน จุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ ร.4 เริ่มทำแผนที่แบบเข้ามาตราส่วนจริง แต่เป็นระวางใหญ่มากและมีเป้าหมายสำคัญอย่างเช่น ตัดถนน การพัฒนาเมือง เห็นถนน คูคลอง และสถานที่ใหญ่จริงๆ จนถึงแผนที่ 2439 ที่ใช้แต่ก็หยาบมาก แผนที่ 2430 เจอในกรมดำรงฯ มีรายละเอียด เส้นละเอียด แต่สภาพแผนที่ และในแผนที่ไม่ได้ระบุข้อความ legend แล้วข้ามมาเลย 2450 หลังจากนั้นคือ 2475 ในมุมมองของชาตรี แผนที่ฉบับธงชัยฯ สำคัญตรงที่มันเป็นแผนที่ก่อน ปี 2435 อันเป็นหมุดหมายที่สยามเริ่มปฏิรูปการปกครอง ทั้งยังมีลักษณะเป็น realistic/informative map ต่างจากแผนที่โบราณและแผนที่ตะวันตกที่เป็น ideal map ที่ยังไม่ได้เข้ามาตราส่วนตามจริง ดังนั้นแผนที่นี้จึงมีคุณค่าเสมือนการตีพิมพ์ฐานะหลักฐานชั้นต้น สำคัญมากสำหรับศึกษากรุงเทพฯ ยุคต้นในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา
ข้อเสนอของชาตรีคือ ที่ผ่านมาคนมักอ่านแผนที่สมัยใหม่ในฐานะยุคต้นของความศิวิไลซ์ แต่เขาเชื่อว่าแผนที่ฉบับนี้มันเก็บภูมิสถานที่เก่าแก่จนอาจย้อนไปถึงยุคต้นรัตนโกสินทร์ เชื่อว่ากระบวนการสำรวจและจัดทำแผนที่นั้นใช้เวลาก่อนปี 2430 ไม่ต่ำกว่า 5 ปี สังเกตได้จากหลักฐานที่ว่าแมคคาร์ธีพานักเรียนโรงเรียนแผนที่ไปทำแผนที่ในกรุงเทพฯ ที่จำเป็นต้องขออนุญาตเข้าไปในเขตบ้านอันเป็นที่ส่วนตัว นั่นหมายถึง การสำรวจลงละเอียดไปในระดับพื้นที่ส่วนตัว การดำเนินการด้วยบุคลากรที่มีไม่มากในยุคนั้นจึงเป็นภาระงานที่ใหญ่หลวงและไม่คงไม่สำเร็จง่ายๆ ภายในปีสองปี แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า แผนที่ทั้งหมด 36 ระวางทั้งฝั่งกรุงเทพฯ และฝั่งธนจะทำเสร็จพร้อมๆกัน เห็นตัวอย่างได้จากแผนที่ทศวรรษ 2470ที่บางระวางก็จัดทำปี 2468 บางระวางก็ปี 2470 4 ประเด็นที่เขาให้ความสนใจกับแผนที่ฉบับธงชัยฯ ก็คือ 1. เป็นแผนที่ที่ให้ภาพเมืองยุคจารีต ก่อนการเชื่อมกับเศรษฐกิจทุนนิยมสมัยใหม่ 2. สามารถใช้เป็นหลักฐานสันนิษฐานแผนผังและรูปแบบวัดยุครัตนโกสินทร์ 3. สะท้อนโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจผ่านพื้นที่เมืองยุครัตนโกสินทร์ 4. เป็นเครื่องมือสอบทานตำนานหรือเรื่องเล่าตำนานท้องถิ่น อาจใช้แผนที่ช่วยตรวจสอบเรื่องเล่าว่ามีมูลหรือเปล่า ประเด็นแรก แผนที่ฉบับธงชัยฯ ปี 2430 สามารถใช้เทียบเคียงกับ 2450 ในระยะ 20 ปีพบว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงมหาศาลอันเนื่องมาจากการเชื่อมต่อกับเศรษฐกิจทุนนิยม ด้วยความละเอียดของแผนที่ฉบับธงชัยฯ ทำให้ยังเห็นสภาพภูมิศาสตร์ของกรุงเทพฯ ในฐานะที่ลุ่มต่ำ ลักษณะที่หลงเหลือของทะเลตม แผนที่ได้แสดงให้เห็นถึงวัดเกาะ วัดสัมพันธวงศ์ และวัดปทุมคงคา ที่ยังมีน้ำล้อมรอบ ขณะที่แผนที่ฉบับ2450 ไม่เห็นร่องรอยนั้นอีกต่อไปแล้ว นอกจากนั้นความสัมพันธ์ของวัด ระบบอุปถัมภ์และระบบทุนนิยมยังส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของวัดด้วย พบว่าช่วงหลังราวทศวรรษ 2420 รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศยกเลิกระบบไพร่ เลิกพระราชทานไพร่ให้เจ้านาย แล้วแทนที่ด้วยเงินเดือน ส่งผลต่อการยกเลิกเลกวัด ข้าพระ อันเป็นระบบแรงงานเกณฑ์ที่ติดอยู่กับวัด ทรัพยากรมหาศาลที่ดูแลวัดจึงหายไปด้วย รัฐเปลี่ยนมาให้เงินบำรุงแทน การมีไพร่ติดที่เป็นความมั่งคั่งเดิมที่สูญหายไปจึงส่งปัญหาการดูแลรักษาและความมั่งคั่งของวัดไปด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อโต้แย้งใหญ่จนกระทั่ง กรมหมื่นมหิศรราชฤทัย ร.ศ.118 มีจดหมายว่า วัดควรจะทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็น "คัมปานี" แบบหนึ่ง นั่นหมายถึงว่า รัฐผลักวัดเป็นบริษัทที่ควรแสวงหากำไร และหาเลี้ยงตัวเองแทนที่จะพึ่งพิงระบบไพร่และรัฐแบบเดิม แผนที่ฉบับธงชัยฯ แสดงให้เห็นถึงวัดรังษีและวัดบวรนิเวศก่อนที่จะถูกยุบรวมกัน แสดงให้เห็นถึงผังวัดก่อนที่จะเข้าไปอยู่ในกระแสทุนนิยม เนื่องจากแผนที่ยุคต่อมา เขตวัดรังษีได้กลายเป็นพื้นที่ของโรงเรียนวัดบวรนิเวศและตึกแถวที่วัดสร้างเพื่อหาประโยชน์ทางการค้าแล้ว ประเด็นที่สอง อาจศึกษาผังของวัดผ่านแผนที่ดังกล่าวได้ เช่น ผังของวัดอรุณราชวราราม ได้แสดงองค์ประกอบแบบวัดแบบ รัชกาลที่ 3 และมีศาลาเล็กรอบพระปรางค์ออก 7 หลัง ที่ในเวลาต่อมาถูกรื้อออกแล้วสร้างเป็นกำแพงลูกกรงเหล็กในสมัยรัชกาลที่ 5 นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นว่า ผังของวัดพระยาไกรที่หายไปเป็นเช่นไร วัดและผังที่มีลักษณะคล้ายกับผังรูปตัวทีในรัชกาลที่ 3 แบบเดียวกับวัดสุทัศน์เทพวราราม และวัดราชโอรสารามวัดพระยาไกรหายไปเนื่องจากว่า ในยุคหนึ่งรัฐได้อนุญาตให้บริษัทอีสต์เอเชียติกเช่าบริเวณวัดเพื่อดำเนินธุรกิจ ยังมีภาพการใช้ภายในวิหารเป็นออฟฟิศปรากฏอยู่ และพระพุทธรูปในวัดพระยาไกรนี้ก็คือ พระพุทธรูปที่ยกไปวัดไตรมิตรปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวก็คือ เอเชียทีคแหล่งบันเทิงริมน้ำชื่อดังในปัจจุบันนั่นเอง ประเด็นที่สาม ที่ตั้งของวังและตำหนักต่างๆ ย่อมสะท้อนถึงความสำคัญ ความใกล้-ไกลศูนย์กลางอย่างวังหลวงในเชิงพื้นที่ภูมิศาสตร์จะทำให้เราเข้าใจความสัมพันธ์เชิงอำนาจมากขึ้น ก่อนรัชกาลที่ 5 จะทรงเลิกวังหน้า การปกครองแบ่งเป็นครึ่งหนึ่งของวังหน้าและวังหลวง เครือข่ายของวังจะสามารถวัดความสัมพันธ์หรือนำไปสู่การรู้ถึงราชนิยมความพอพระทัยของเจ้านายตามตำแหน่งวังที่ได้ที่ไป ไม่เพียงเท่านั้นตำแหน่งบ้านเรือนของขุนนางตระกูลบุนนาคฝั่งธน ก็เป็นบริเวณที่มีอาณาบริเวณใหญ่โตมาก อาจกล่าวได้ว่าใหญ่เกือบเท่าครึ่งหนึ่งของกรุงเทพฯ มันจึงสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของกลุ่มอำนาจต่างๆไปด้วย ส่วนวัดบดีนายก หรือวัดปรินายก ที่เป็นวัดของทหารคู่พระทัย รัชกาลที่ 3 คือ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ก็เคยเป็นวัดที่มีอาณาเขตใหญ่โตมาก่อนดังเห็นได้จากสัณฐานของอาคารและพระปรางค์ขนาดใหญ่ที่ทุกวันนี้ถูกรื้อทิ้งแล้วสร้างใหม่แล้ว เนื่องจากถูกถนนราชดำเนินผ่าน ไม่เพียงเท่านั้นตำแหน่งวังและตำหนักที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์จะมีการถ่ายโอนไปยังเจ้านายรุ่นหลังๆหากตามประวัติวังย้อนไปแล้วไปทำการ map เท่ากับว่า เราจะสามารถวางตำแหน่งวังเจ้านายต้นรัตนโกสินทร์อันจะทำให้เห็นความสำคัญของกลุ่มอำนาจต่างๆ ที่โคจรอยู่รอบศูนย์กลาง ประเด็นที่สี่ ในเรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นได้ยกตัวอย่างวัดบางกะปิ หรือวัดอุทัยธารามขึ้นมา จากตำนานวัดระบุว่า มีความเก่าแก่ถึงช่วงอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่กลางทุ่ง เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีพระสงฆ์มาจำพรรษามาก ทั้งยังพื้นที่ที่เรียกว่า เขตปริวาสกรรมที่ตั้งอยู่คนละฝั่งคลองบางกะปิ หากมองจากภาพถ่ายหรือ google map ปัจจุบันจะไม่เห็นลักษณะดังกล่าวแล้ว แต่แผนที่ฉบับธงชัยฯ แสดงให้เห็นผังแบบอยุธยาปลาย คือ มีวิหารและอุโบสถวางขนานกันแล้วมีกำแพงแก้วล้อมรอบ แล้วยังมีผังของอาคารขนาดใหญ่ที่น่าจะช่วยยืนยันถึงเรื่องเล่าที่ว่าด้วยการที่มีพระภิกษุมาจำพรรษาอยู่มาก เช่นเดียวกับการแสดงสิ่งปลูกสร้างที่อยู่อีกฝั่งของวัดที่น่าจะเป็นเขตปริวาสกรรม ตัวอย่างนี้น่าจะแสดงให้เห็นถึงการใช้แผนที่เพื่อช่วยอธิบายประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เคยเป็นเพียงประวัติศาสตร์บอกเล่า (oral history) ให้มีความหนักแน่นมากขึ้น |
วันชาติจีน 1 ตุลา-ฮ่องกงนัดเดินขบวนต้านรัฐบาล "อำนาจนิยม" Posted: 01 Oct 2017 09:37 AM PDT แม้อิทธิพลของจีนแผ่นดินใหญ่จะคืบขยายเข้าสู่ฮ่องกงมากขึ้นทุกทีๆ แต่ฝ่ายต่อต้านจีนแผ่นดินใหญ่ในฮ่องกงได้นัดหมายในวันชาติจีน 1 ต.ค. เดินขบวนเพื่อต่อต้าน "รัฐบาลอำนาจนิยม" พร้อมอ่านคำประกาศว่าจะไม่หยุดต่อต้าน เชื่อมั่นคนฮ่องกงจะไม่ยอมค้อมหัวให้กับเผด็จการ ขณะที่ในช่วงเช้า จนท.ตำรวจนำตัวผู้ประท้วงออกจากพิธีเชิญธงชาติจีน 1 ต.ค. 2560 - ในวันชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน 1 ตุลาคมที่ฮ่องกงปีนี้ เต็มไปด้วยบรรยากาศของการต่อต้านโดยผู้ประท้วง ทั้งนี้พรรคเดโมสิทโธ (Demosisto) สันนิบาตสังคมประชาธิปไตย (League of Social Democrats) แนวร่วมสิทธิมนุษยชนพลเมือง (Civil Human Rights Front) นักศึกษาต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มนักกิจกรรมย่านนิวเทอริทอรีส์ตะวันออกเฉียงเหนือ ฯลฯ ได้จัดชุมนุมเพื่อต่อต้าน "รัฐบาลอำนาจนิยม" นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้เลขาธิการศาลยุติธรรม ริมสกี หยึน (Rimsky Yuen) ลงจากตำแหน่ง ทั้งนี้ผู้จัดการชุมนุมระบุว่ามีผู้เข้าร่วมกว่า 4 หมื่นคนในขณะที่ตำรวจฮ่องกงระบุว่ามีผู้เข้าร่วม 4,300 คน ชาวฮ่องกงใช้วันชาติจีน 1 ต.ค. นัดเดินขบวนใหญ่ต่อต้าน "รัฐบาลอำนาจนิยม" (ที่มาของภาพ: เอื้อเฟื้อภาพโดยอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล) โดยที่จุดเริ่มต้นขบวนที่สวนสาธารณะวิคตอเรียปาร์ก ผู้แทนของผู้จัดชุมนุมซึ่งในจำนวนนี้รวมทั้งสมาชิกของสันนิบาตสังคมประชาธิปไตย ฟิโก ชาน ได้อ่านจดหมายของผู้นำการชุมนุมปฏิวัติร่มที่ถูกจำคุกได้แก่ โจชัว หว่อง, นาธาน หลอ, อเล็ก โจว รวมทั้งผู้ประท้วงคัดค้านโครงการในเขตนิวเทอริทอรีส์ซึ่งถูกตัดสินจำคุกเมื่อเดือนที่แล้ว นอกจากนี้ เบนนี ไท้ ผู้นำการชุมนุมปฏิวัติร่มได้อ่าน "คำประกาศต่อต้านรัฐบาลอำนาจนิยม" ก่อนที่จะเริ่มการเดินขบวน "ถ้าหากระบอบอำนาจนิยมได้ปรากฏขึ้นจริง พวกเราเชื่อว่าประชาชนฮ่องกงจะไม่ยอมรับในสิ่งนี้ จะไม่ยอมค้อมหัวให้กับระบอบเผด็จการ จะไม่ยอมแพ้ ไม่หยุดการต่อต้านใดๆ ทั้งต่อภายในและภายนอกระบบ" ขณะที่ทิโมธี โอ'เลียรี สมาชิกสภาของมหาวิทยาลัยฮ่องกง ซึ่งร่วมชุมนุมด้วยกล่าวว่า มีประเด็นข้อถกเถียงที่เริ่มขยายตัวขึ้น หลังจากที่มีป้ายสนับสนุนการเรียกร้องเอกราชปรากฏขึ้นในแคมปัส เขากล่าวด้วยว่ามีพัฒนาการหนึ่งที่ "น่าห่วง" เนื่องจากมีข้อครหาที่ว่าเลขาธิการศาลยุติธรรม ริมสกี หยึน ได้เพิ่มข้อกล่าวหาหนักๆ ตัดสินจำคุกนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างโจชัว หว่อง ทั้งที่ถูกศาลสั่งลงโทษให้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะไปแล้ว เขากล่าวด้วยว่า "มีความจำเป็นที่จะต้องจัดชุมนุมในลักษณะเช่นนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าจะมีความผิดหวังเกิดขึ้นหลังการปฏิวัติร่ม แต่ก็ต้องทำให้เห็นว่าประชาชนยังคงมีความหวังว่าพวกเขาจะได้ลงสู่ท้องถนนเพื่อทำให้เสียงของพวกเขาถูกได้ยิน" บัจโจ เหลียง ผู้ก่อตั้งพรรค Youngspiration อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติฮ่องกงที่ถูกศาลปลดจากตำแหน่งกล่าวด้วยว่า "ในรอบปีมานี้ ทุกคนได้เห็นว่ามีนักเคลื่อนไหวนับร้อยที่ต้องเผชิญกับการถูกดำเนินคดียืดยาว หรือไม่เช่นนั้นก็สูญเสียอิสรภาพต้องไปอยู่ในเรือนจำเนื่องเพราะพวกเขาได้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและเสรีภาพแก่ฮ่องกง ผมยังคงมีความหวังว่าทุกคนจะแสดงความห่วงใยต่อพวกเขาเหล่านั้น" อนึ่งก่อนหน้านี้ในช่วงเช้า นักกิจกรรมของเดโมสิทโธได้ถูกเจ้าหน้าที่นำตัวออกไปจากพิธีชักธงชาติจีนด้วย โดยมีรายงานว่าพวกเขาได้รับบาดเจ็บ แปลและเรียบเรียงจาก In Pictures: Hongkongers rally against 'authoritarian gov't' on China National Day; demand Justice Sec. step down, Karen Cheung, HKFP, 1 October 2017 19:26 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เสียงคนงาน 'OT' ความหวังสุดท้ายยุคค่าแรงถูกก็หดหาย Posted: 01 Oct 2017 08:41 AM PDT คุยกับแกนนำคนงานภาคอิเล็กทรอนิกส์ และย่านสระบุรี ระบุเศรษฐกิจคนงานแย่ลง 'OT' ความหวังในยุคค่าแรงไม่พอ ก็เริ่มหดหาย การใช้จ่ายลด กระทบเป็นวงจร ย้ำคนงานไม่ใช่ตัวลำพัง แต่มีภาระครอบครัว และข้อเสนอรายได้ที่ควรจะเป็น (ซ้าย) ธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง และรองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (ขวา) มณีรัตน์ อาจวิชัย ประธานสหภาพแรงงานโซนี่ประเทศไทย 1 ต.ค. 2560 จากกรณีที่รัฐบาลทหารประกาศว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว โดยในรายการศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 23 ก.ย.ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวตอนหนึ่งว่า สถานการณ์ในภาพรวมของประเทศในปัจจุบันด้านเศรษฐกิจ ล่าสุดตามหลักการ ตามวิชาการ หรือตามหลักเศรษฐศาสตร์ หลายอย่างปรับตัวดีขึ้น ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาราคาสินค้าเกษตรในหลายหมวดปรับเพิ่มขึ้น นั้น อย่างไรก็ตามยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์หรือเห็นแย้งทั้งเชิงสนับสนุนว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นและในทางตรงกันข้ามว่าไม่ฟื้นตัว ในโอกาสนี้ประชาไทจึงได้สอบถามผู้นำแรงงานในภาคอุตสาหกรรม 2 ราย คือ มณีรัตน์ อาจวิชัย ประธานสหภาพแรงงานโซนี่ประเทศไทย และ ธนพร วิจันทร์ ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีและใกล้เคียง และรองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เพื่อสะท้อนภาวะเศรษฐกิจของคนงานในภาคอุตสาหกรรมขณะนี้ OT เป็นสิ่งหล่อเลี้ยงคนงาน แต่กำลังหดประธานสหภาพแรงงานโซนี่ฯ กล่าวถึงภาวะทางการเงินของคนงานในช่วงนี้ว่า ขาด ไม่สะพัดเหมือนกับช่วงก่อนหน้า งานดรอปลง OT (การจ้างงานล่วงเวลา) ก็น้อยลง การใช้จ่ายจึงประหยัดขึ้น และอาจไม่มีสิ่งของพิเศษที่ต้องใช้จ่าย เนื่องจากไม่มี OT "ถ้ามี OT ทุกคนจะผ่อนโน้นนี่นั่น เพราะยังมีความสามารถในการจ่ายอยู่" มณีรัตน์ กล่าว พร้อมระบุถึงสำหรับสาเหตุที่ OT ว่า ส่วนหนึ่งเป็นช่วงของฤดูกาลด้วย อย่างในบริษัทที่ตนทำงานก็จะมีช่วงฤดูกาลที่พีคมีคำสั่งซื้อจำนวนมาก เช่น ช่วง ม.ค.-เม.ย. จะแจ้งมาว่าช่วงเวลานี้จะมีคำสั่งซื้อจำนวนมาก ทุกคนก็จะเตรียมตัวทำ OT จะเป็นแบบนี้เกือบทุกปี ส่วนช่วง ต.ค.-พ.ย.งานจะเริ่มลดลงแล้ว บริษัทจะแจ้งไว้ คนงานก็จะเตรียมตัว เช่น มีพักร้อนหรือมีธุรอะไร ก็ลาในช่วงนี้ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบปีนี้กับปีก่อนหน้า ประธานสหภาพแรงงานโซนี่ฯ กล่าวว่า ปีนี้งานจะน้อยลง ปีก่อนๆ งานจะพีคมาก มี OT ทุกวัน ไม่ได้หยุด ขณะที่ปีนี้ก็จะมีหยุดบ้าง หรือบางช่วงไม่ได้ทำ OT เป็นเดือนเลยก็มี OT นั้น ต่อคนเต็มที่อยู่ที่ 48 ชั่วโมงต่อเดือน แต่ละเดือนวันละ 2 ชั่วโมง หรือบางคนที่ไม่ค่อยมีก็จะได้ประมาณ 10 – 16 ชั่วโมงต่อเดือน เหตุที่ OT มีความสำคัญมาก เนื่องจากค่าแรงขั้นต่ำที่เป็นอยู่ไม่เพียงพอ ดังนั้นส่วนมากคนงานจะมาพึ่ง OT และเป็นปัจจัยแรกๆ ที่คนงานตัดสินใจสมัครเข้าทำงาน "OT เป็นตัวสำคัญที่คนงานจะตัดสินใจลงทุนหรือใช้จ่ายกับสินค้าก้อนใหญ่หรือสินค้าสำหรับอนาคตด้วย" มณีรัตน์ กล่าว พร้อมยืนยันด้วยว่ารายได้ปีก่อนๆ จะดีกว่าปีนี้ จึงต้องรักษาตัวเอง ต้องไม่ก่อหนี้สินเพิ่มหรือเกินตัว สำหรับหนี้ครัวเรือนนั้น ประธานสหภาพแรงงานโซนี่ฯ กล่าวว่า มองเห็นได้ชัดว่าหนี้ของคนงานสูงขึ้น และหลายคนคนยอมที่จะออกจากงาน หากเป็นหนี้สถาบันทางการเงิน แล้วไม่มีความสามารถในการจ่าย หรือมี OT ไม่เพียงพอที่จะเป็นรายจ่าย การออกจากงานและหนี้ก็จะส่งผลต่อภาระในทางคดีตามมาด้วย เช่นเดียวกับ ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีฯ ซึ่่งอยู่ในโรงงานผลิดสิ้นค้าสุขภัณฑ์ กล่าวว่า ช่วงปี่ที่ผ่านมานั้น รายรับลดลงอยู่แล้ว ที่จริงคนงานอยู่ได้เพราะ OT การที่รัฐบาลบอกว่าเศรษฐกิจโตนั้นไม่เป็นความจริง หากมามองในเศรษฐกิจของประชาชนที่อยู่ในชุมชนหรือโรงงานมันไม่ได้ดีขึ้น วันนี้ต้องยอมรับว่านายจ้างก็ขายของไม่ได้ ยอดสินค้าก็ตก ทำให้ OT ไม่มี ดังนั้นคนงานจะได้เพียงค่าจ้างเท่านั้น และส่วนมากได้แบบรายวัน ซึ่งต่อเดือนก็ไม่ถึง 30 วัน เพราะต้องหักวันเสาร์อาทิตย์ออก จึงไม่ถึง 9,000 บาทต่อเดือน เมื่อต้องอยู่สภาพแบบนี้ ท้ายที่สุดคนงานก็มีหนี้ อีกทั้งคนงานต้องดูแลพ่อแม่และลูกอีก หากเงินไม่เพียงพอก็ต้องไปกู้หนี้นอกระบบบ้าง หากมีสหกรณ์ก็กู้สหกรณ์ หรือไม่มีทั้ง 2 อย่างก็ต้องพึ่งบัตรเครดิต จากคนงานในโรงงานที่ตนอยู่ มีสหกรณ์อยู่ด้วย คนงานที่จะเข้ามารีไฟแนนซ์พอครบรอบเขาก็จะมาแล้ว นั่นหมายความว่าค่าใช้จ่ายเขาไม่เพียงพอ บวกกับ OT ก็ไม่มี มีเพียงค่าจ้างที่ไม่เพียงพอจึงก่อให้เกิดหนี้สิน สำหรับปรากฎการณ์ที่ OT ลดลงไปนั้น ประธานกลุ่มผู้ใช้แรงงานสระบุรีฯ กล่าวว่า เกิดขึ้นช่วงระยะเวลา 2-3 ปีมานี้ ด้านหนึ่งเป็นเพราะนายจ้างปรับกระบวนการผลิต เช่น รับงานไปทำข้างนอก จ้างคนรับงานไปทำที่บ้าน และคิดเป็นชิ้น จึงไม่ต้องรับผิดชอบทั้งค่าน้ำค่าไฟหรือค่า OT มาจ่ายตามกฎหมาย อีกปัจจัยที่ OT ลดลงมาจากยอดขายที่หดลง พิจารณาจากโรงงานที่ตนอยู่ ผลมาจากนโยบายของรัฐบาลที่เปิดให้สินค้าจีนเข้ามาและกลายมาเป็นคู่แข่งที่ราคาถูกกว่า ส่งผลให้นายจ้างพยายามลดต้นทุนเพื่อแข่งกับสินค้าเหล่านั้น นอกจากนี้ยังเป็นผลมาจากนโยบายรัฐที่ส่งเสริมทุนใหญ่ แต่ละเลยทุนเล็ก หรือ SMEs คนงานมีภาระครอบครัว และรายได้ที่ควรจะเป็นค่าแรงที่ควรจะเป็นต่อคนงานที่จะเพียงพอต่อการดำรงชีวิตที่ดีนั้น ประธานสหภาพแรงงานโซนี่ฯ กล่าวว่า เริ่มจากดูก่อนว่าแต่ละวันมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ เริ่มต้นที่ค่ากินนั้น ทุกวัน 3 มื้อ อยู่ที่ 80 บาทต่อคนต่อวัน ตัวเลขนี้จะไม่แพงมากเนื่องจากบริษัทมีสวัสดิการข้าวให้คนงาน ส่วนกับข้าวก็จะต้องซื้อเอง นอกจากนี้จะมีค่าใช้จ่ายกับคนในครอบครัว ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ โดยเฉลี่ยค่าเช่าบ้านอยู่ที่ 2,500 บาท ต่อคนต่อเดือน จึงคิดว่า 25,000 บาท ต่อเดือน จะเป็นตัวเลขที่ทำให้คนงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีในปัจจุบัน ประธานสหภาพแรงงานโซนี่ฯ กล่าวด้วยว่า คนงานแต่ละคนต้องเลี้ยงครอบครัวด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายของลูก รวมทั้งคนอื่นๆ ในครอบครัว ยังรวมถึงค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางในกรณีที่มีที่อยู่อาศัยที่ไม่ติดถนนที่มีรถรับส่งผ่านโดยตรง ทุกคนเมื่อทำงานเริ่มซื้อรถและบ้าน เพราะฉะนั้นรายจ่ายพวกนี้จะเป็นตัวหลักเลย เพราะเงินที่จะต้องผ่อนจะมาทุกเดือน สำหรับคนงานในโซนี่หรืออิเล็คทรอนิคนั้น จะอายุตั้งแต่ 20 กว่าถึง 40 ปี ซึ่งเริ่มเจ็บป่วยและมีปัญหาของร่างกายด้วย แล้วค่าใช้จ่ายก็จะตามมาด้วย ส่วนมากนิยมไปคลินิก เนื่องจากเร็วกว่าโรงพยาบาล ซึ่งบางที่ใช้เวลานานเป็นวัน สำหรับข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยเรื่องค่าแรงที่ควรจะเป็นควรอยู่ที่ 700 บาทต่อวันนั้น ธนพร ในฐานรองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานฯ ระบุว่ามาจากฐานที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานฯ เคยสำรวจเมื่อปี 54 ว่าค่าจ้างที่จะอยู่ได้พร้อมครอบครัว อยู่ที่ 560 กว่าบาท แต่ 6 ปีที่ผ่านมาเมื่อพิจารณาจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเราจึงคิดว่าปัจจุบันควรอยู่ที่ 700 บาท ที่จะทำให้คนงานจะสามารถดูแลครอบครัว ดูแลลูก ดูแลอย่างอื่นโดยไม่ต้องเป็นหนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เองก็เคยพูดถึงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ประชาชนต้องมีรายด้ปีละ 4.5 แสนบาทที่จะอยู่ แต่คนงานได้ไม่ถึงแสนเลยต่อปี ธนพร กล่าวด้วยว่า เวลาเราบอกว่าคุณภาพของคนงานมันจะดีขึ้น คุณภาพคนงาน ก็ต้องมองเศรษฐกิจภายในด้วย ถ้าคนงานมีอำนาจในการซื้อ เศรษฐกิจภายในประเทศก็หมุนเวียน ในชุมชนที่ตนอยู่ตามที่สังเกต เช่น ตลาดนัดซึ่งเป็นสถานที่ประจำที่คนงานไปบริโภคอยู่นั้น จะเห็นว่าคนเริ่มขายของไม่ได้ คนงานไม่มีเงิน เริ่มเลือกไม่ซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็น กินเท่าที่จำเป็น เสื้อผ้าอะไรก็ขายไม่ได้ มันก็จะเป็นผลพวง เมื่อเสื้อผ้าขายได้ โรงงานที่ผลิตเสื้อผ้าก็ขายไม่ได้ คนงานก็ตกงาน จึงเป็นวงจร หากคนงานตกงานคนทำห้องพักก็ได้รับผลกระทบ
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
หมายเหตุประเพทไทย #177 เทพฮินดู Localization Posted: 01 Oct 2017 05:39 AM PDT การปรับความเชื่อพราหมณ์-ฮินดูเมื่อมาถึงไทย ให้สอดคล้องกับความเชื่อและความนิยมของท้องถิ่น ตั้งแต่การตั้งศาลพระพรหมเมื่อก่อสร้างโรงแรมเอราวัณ การตั้งศาล "พระตรีมูรติ" แต่ต้นแบบการปั้นมาจาก "พระสทาศิวะ" แล้วกลายเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก รวมทั้งพระพิฆเนศที่กลายเป็นเทพแห่งศิลปะ ฯลฯ หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ และชานันท์ ยอดหงษ์ พูดคุยกับ สฏฐภูมิ บุญมา ผู้ศึกษาเรื่อง "คติการนับถือพระสทาศิวะในชุมชนเขมรโบราณและอิทธิพลสืบเนื่องที่มีต่อกรุงศรีอยุธยา" เล่าถึงการปรับความเชื่อพราหมณ์-ฮินดูเมื่อมาถึงไทย ให้สอดคล้องกับความเชื่อและความนิยมของท้องถิ่น ตั้งแต่การสร้างโรงแรมเอราวัณ แยกราชประสงค์์ แล้วเกิดอุปสรรคระหว่างการก่อสร้าง ด้วยชื่อว่าชื่อเอราวัณเป็นชื่อช้างทรงของพระอินทร์ จึงมีการแก้ไขด้วยการประดิษฐานพระพรหม เมื่อ พ.ศ. 2499 และเป็นตัวแบบของตั้งศาลพระพรหมทั่วประเทศในเวลาต่อมา ขณะเดียวกันบริเวณที่ดินตรงกันข้ามซึ่งเดิมเป็นที่ดินของวังเพ็ชรบูรณ์ เมื่อจะตั้งศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์และต่อมาเปลี่ยนเป็นเซ็นทรัลเวิลด์ จึงมีการประดิษฐานเทวรูป "พระตรีมูรติ" ซึ่งเป็นภาคอวตารรวมกันของเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดูคือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ อย่างไรก็ตามที่มาของตัวแบบในการปั้นพระเทวรูปกลับเป็น "พระสทาศิวะ" ซึ่งเป็นภาคหนึ่งของพระศิวะ โดยเทวรูปพระสทาศิวะต้นแบบนั้นเป็นศิลปะอยุธยา จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แต่ไม่ว่าจะอย่างไรเมื่อกลายเป็นเทวรูป "พระตรีมูรติ" ที่หน้าห้างเซ็นทรัลเวิล์ดก็ได้กลายเป็น เทพเจ้าแห่งความรัก ซึ่งไม่เคยปรากฏความเชื่อนี้มาก่อน โดยทุกคืนวันพฤหัสบดีเวลา 21.30 น. จะมีผู้มาอธิษฐานเพื่อให้ความรักสมปรารถนา ทั้งนี้การปรับปรุงประยุกต์ความเชื่อถือต่อเทพเจ้าฮินดูเกิดขึ้นทั่วไป โดยก่อนหน้านี้กรณีของพระพิฆเนศ ซึ่งในคติเดิมเชื่อถือว่าเป็นเทพแห่งการพิชิตอุปสรรค ขณะที่ในสมัยรัชกาลที่ 6 เริ่มมีการยกย่องพระพิฆเนศในฐานะผู้เป็นใหญ่ในวงการศิลปะ-วิทยาการ แต่กรณีเช่นนี้ก็เกิดขึ้นในโลกตะวันตกเช่นกัน เช่น เซนต์วาเลนไทน์ กลายเป็นสัญลักษณ์ของวันแห่งความรัก หรือ เซนต์นิโคลาส กลายเป็นต้นแบบของซานตาคลอสในวันคริสต์มาส ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่ https://www.facebook.com/maihetpraphetthai ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 01 Oct 2017 01:16 AM PDT
โหดร้ายทารุณกระสุนสาด โลกกว้างใหญ่ไร้ที่อยู่ผู้ตกยาก เเบ่งสีผิวชาติชนปนย่ำเหยียบ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'หมวดเจี๊ยบ' ตั้งคำถาม 'ประยุทธ์' เยือนสหรัฐฯ ปิดดีลซื้ออาวุธหรือไม่ Posted: 01 Oct 2017 12:16 AM PDT 'ร.ท.หญิงสุณิสา เลิศภควัค' อดีตรองโฆษกพรรคเพื่อไทย ชี้มีสื่อต่างประเทศอ้างข้อมูลจากทำเนียบขาวเปิดเผยว่าในการพบหารือกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ กับ พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นการไปเจรจาขอซื้ออาวุธล็อตใหม่จากสหรัฐฯ 1 ต.ค. 2560 เว็บไซต์ กรุงเทพธุรกิจ รายงานว่า ร.ท.หญิง สุณิสา เลิศภควัค อดีตรองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าขณะนี้สื่อต่างประเทศอ้างข้อมูลจากทำเนียบขาวของสหรัฐ เปิดเผยว่าในการพบหารือกับประธานาธิบดีสหรัฐในสัปดาห์หน้านี้ รัฐบาล พล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังจะไปเจรจาขอซื้ออาวุธล็อตใหม่จากสหรัฐ นอกจากนี้ ยังจะไปปิดดีลการส่งมอบเฮลิคอปเตอร์ รุ่น แบล็คฮอว์ก 4 ลำ ที่กองทัพไทยเคยเจรจาซื้อจากสหรัฐค้างไว้ ตั้งแต่สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ยังปิดดีลไม่สำเร็จ เพราะเกิดการยึดอำนาจโดย คสช. ขึ้นเสียก่อนและไม่ทราบว่าดีลซื้อขายอาวุธครั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเอาผลประโยชน์ของชาติไปแลกด้วยหรือไม่ เพราะสื่อต่างประเทศระบุว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เตรียมกดดันให้ประเทศไทย เป็นหัวหอกในภูมิภาคเพื่อคว่ำบาตรรัฐบาลเกาหลีเหนือ ซึ่งกำลังมีความขัดแย้งตึงเครียดกับสหรัฐอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นที่ตั้งของสถานทูตเกาหลีเหนือ โดยสื่อต่างประเทศยังแฉอีกด้วยว่าเมื่อครั้งที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ คือ นาย เร็กซ์ ทิลเลอสัน พบหารือกับ พล.อ.ประยุทธ์ ในไทยเมื่อเดือนที่แล้ว พล.อ.ประยุทธ์ อาจปิดบังความจริงเรื่องความสัมพันธ์ทางการค้ากับเกาหลีเหนือ ซึ่งไทยอ้างว่า การค้าระหว่างไทยกับเกาหลีเหนือในปีนี้ลดลงไปแล้วถึง 94 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสวนทางกับข้อมูลของรอยเตอร์ ที่ระบุว่าการลงทุนของเกาหลีเหนือในไทยยังมีมูลค่าสูงเท่าเดิม และไม่พบว่าธนาคารของไทยจะปิดบัญชีของนักธุรกิจเกาหลีเหนือแต่อย่างใด ไม่ทราบว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เวียดนาม 4.0 เลิกจ้าง ‘แรงงาน’ แล้วแทนที่ด้วย ‘หุ่นยนต์’ บ้างแล้ว Posted: 01 Oct 2017 12:06 AM PDT พบโรงงานในเวียดนามบางส่วนเริ่มทยอยปลดพนักงานแล้วใช้หุ่นยนต์แทนที่บ้างแล้ว แม้ในทางทฤษฎีแรงงานที่ตกงานจะสามารถไปสมัครงานบริษัทขนาดเล็กที่ไม่สามารถซื้อหุ่นยนต์ได้ แต่กระนั้นธุรกิจขนาดเล็กก็ไม่ต้องการใช้แรงงานจำนวนมากด้วยเช่นกัน พบโรงงานในเวียดนามบางส่วนเริ่มทยอยปลดพนักงานแล้วใช้หุ่นยนต์แทนที่แล้ว ที่มาภาพประกอบ: VIETNAMNET สำนักข่าว VIETNAMNET รายงานเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2560 ว่าบริษัทดั๊กเกียง (Duc Giang) ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์และผงซักฟอกชั้นนำ ได้นำหุ่นยนต์มาแทนที่พนักงานในไลน์ผลิตแล้วร้อยละ 80 โดยโรงงานผลิตผงซักฟอกของดั๊กเกียงเคยมีพนักงาน 100 คน แต่ปัจจุบันเหลือพนักงานเพียง 10-15 คน เท่านั้น สามเดือนก่อนมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับการเข้ามาแทนที่ของหุ่นยนต์ในงานต่าง ๆ หนึ่งเดือนที่ผ่านมามีข่าวว่าโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดบิ่ญเซือง (Binh Duong) ได้ปลดพนักงานร้อยละ 90 เนื่องจากงานส่วนใหญ่สามารถทำแทนด้วยหุ่นยนต์ได้ ปรากฏการณ์เหล่านี้ได้ทำพนักงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 340 IZs ของเวียดนามเริ่มมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับงานของพวกเขา ในการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อกลางเดือน ส.ค. 2560 ที่ผ่านมา ก็มีการพูดคุยถึงความเสี่ยงในการแทนที่มนุษย์ด้วยหุ่นยนต์ในเวียดนาม ซึ่งก็เป็นแนวโน้มที่ทั้งโลกกำลังเผชิญ และผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็ได้มีการตระเตรียมการล่วงหน้าไว้รับมือบ้างแล้ว ในอนาคตมีการประมาณการว่าคนงานเวียดนามทุก 300 คน จาก 1,600 คน จะต้องสูญเสียงานให้หุ่นยนต์ แม้ในทางทฤษฎีคนงานที่ตกงานจากบริษัทที่นำหุ่นยนต์มาแทนที่จะสามารถไปสมัครงานยังบริษัทขนาดเล็กกว่าที่ไม่สามารถซื้อหุ่นยนต์และต้องการแรงงานในสายการผลิตของตน แต่กระนั้นมองในอีกมุมธุรกิจขนาดเล็กส่วนใหญ่ก็ไม่มีความต้องการใช้แรงงานในจำนวนมากด้วยเช่นกัน ผลการสำรวจเมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่าธุรกิจเวียดนามเชื่อว่าประเทศควรมุ่งเน้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ภาพรวมทุกธุรกิจร้อยละ 89.9 การท่องเที่ยวร้อยละ 45.7 การเกษตรร้อยละ 44.9 การเงินและการธนาคารร้อยละ 47 และโลจิสติกส์ ร้อยละ 28.3 อนึ่งสำนักงานสถิติกลางเวียดนามรายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เติบโตร้อยละ 7.46 ในไตรมาสสามของปี 2560 เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว นับว่าเป็นตัวเลขการขยายตัวที่แข็งแกร่งที่สุดของไตรมาสสามตั้งแต่ปี 2553 ทั้งนี้เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีผลประกอบการทางเศรษฐกิจดีที่สุดในภูมิภาคช่วงสองสามปีที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนส่วนใหญ่มาจากการส่งออกสินค้าที่มีต้นทุนต่ำ เช่น โทรศัพท์มือถือ และรองเท้า ขณะที่ฐานคนชั้นกลางขยายตัวขึ้นในเวียดนามที่มีประชากร 93 ล้านคนซึ่งช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศในภาคการผลิตต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการขยายตัวสะดุดลงเมื่อปีที่แล้วมาอยู่ที่ร้อยละ 6.2 เนื่องจากเศรษฐกิจเพิ่งฟื้นตัว ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จาตุรนต์ ฉายแสง: (คสช.) อย่าฝันหวาน Posted: 30 Sep 2017 11:41 PM PDT
การเลื่อนการเลือกตั้งออกไปให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ กับการทำให้คนใน คสช.ได้เป็นนายกฯ คนนอกหลังการเลือกตั้ง คือ เรื่องเดียวกัน จากนี้ไป โจทย์ใหญ่ของ คสช. คือ การใช้เวลาก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทำให้แน่ใจว่า พรรคการเมืองทั้งหลายโดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย จะไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ นั่นก็หมายความว่า ยังจะเกิดอะไรต่อมิอะไรขึ้นอีกมาก ทั้งการออกกฎหมายลูก เตรียมองค์กรตามรัฐธรรมนูญและการจัดการกับพรรคการเมืองและนักการเมือง ทั้งการกระทำต่อชื่อเสียง คะแนนนิยม องค์กรและบุคลากร รวมทั้งการสร้างฐานการเมืองสนับสนุนผู้นำ คสช.ให้กว้างและเข้มแข็งมากขึ้นๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่คิดว่า หลังการเลือกตั้งครั้งหน้า คนนอกมีโอกาสเป็นนายกฯมากกว่า สส.จากพรรคการเมืองมาก แต่ฟังความเห็นนักการเมืองกับคอการเมือง รวมถึงประชาชนที่ได้คุยกันมาบ้างก็รู้สึกว่า หากคนนอกได้เป็นนายกฯ ก็ไม่ใช่จะบริหารงานได้ราบรื่นง่ายดาย รัฐบาลอาจจะไม่มีเสถียรภาพเอาเสียเลยด้วยซ้ำ สถานการณ์น่าจะต่างจากสมัยประชาธิปไตยครึ่งใบเมื่อ 30 กว่าปีก่อนอย่างมาก เมื่อก่อนนี้ พรรคการเมืองในสภามีหลายพรรค พรรคที่ใหญ่ที่สุดมี สส.อย่างมากก็ประมาณหนึ่งในสามของสส.ทั้งหมด แต่ในระยะหลังพรรคการเมืองมีขนาดใหญ่กว่าเดิมมาก ถึงแม้ระบบเลือกตั้งจะหาทางป้องกันไม่ให้พรรคใดพรรคหนึ่งได้เสียงข้างมาก แต่ก็คงไม่เกิดสภาพเบี้ยหัวแตกอย่างในอดีตอีกแล้ว ดังนั้น หากพรรคการเมืองใหญ่แค่พรรคเดียวไม่ร่วมรัฐบาล รัฐบาลก็ไม่ใช่จะอยู่ได้แบบสบายเหมือนในอดีต การต่อรองในรัฐบาลก็จะดุเดือดเข้มข้น พลาดนิดเดียวรัฐบาลก็ล้มได้เหมือนกัน ยิ่งรัฐบาลนายกฯ คนนอกต้องคอยเอาใจ สว.250 และพรรคการเมืองต่างๆ โดยไม่ต้องคอยตอบสนองความต้องการของประชาชน ความมั่นคงทางการเมืองก็จะยิ่งน้อย นอกจากนั้น ในปัจจุบันดูจะไม่ง่ายนักที่พรรคการเมืองต่างๆจะไปสนับสนุนคนนอกเป็นนายกฯ โดยไม่ฟังเสียงประชาชน กลายเป็นว่า ถ้าพรรคการเมืองจัดตั้งรัฐบาลได้ก็ถูกกำกับด้วยยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปจนทำอะไรไม่ได้ และคงอยู่ได้ไม่นานก็จะถูกกลไกในรัฐธรรมนูญจัดการให้พ้นหน้าที่ไป ถ้าเป็นรัฐบาลนายกฯ คนนอกก็จะเจอปัญหาอีกแบบ คือ ต้องเจอกับการต่อรองในฝ่ายรัฐบาลและยังขาดทั้งเสถียรภาพในสภาและขาดความชอบธรรมทางการเมืองอีกด้วย เรามาถึงจุดนี้ก็เพราะ คสช.ต้องการระบบที่ตนเองสืบทอดอำนาจได้แน่ๆ เต็มๆ ไปเลย แต่พอร่างรัฐธรรมนูญกันออกมาแล้วกลับครึ่งๆ กลางๆ ไม่ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดดังที่ตั้งใจ เรื่องก็เลยจะไม่ง่ายอย่างที่วางแผนเอาไว้ อย่างที่ผมกล่าวแล้ว คงมีความพยายามทำอะไรอีกมากเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้แต่ต้น ถ้าทำจนแน่ใจว่าเป็นไปตามแผนได้เร็ว การเลือกตั้งก็อาจไม่ล่าช้านัก แต่ถ้าทำอย่างไรก็ยังไม่อาจแน่ใจเสียทีว่า คนนอกจะได้เป็นรัฐบาลและบริหารประเทศได้อย่างราบรื่น เราอาจเห็นการเลือกตั้งเลื่อนออกไปเรื่อยๆก็ได้ ถึงอย่างไร โรดแม็ปก็เป็บแบบปลายเปิดอยู่แล้ว เคยบอกว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่แบบชัดๆ ลงไปเสียเมื่อไหร่ แต่ก็อยากจะเตือนเสียหน่อยว่า ใครก็ตามที่คิดจะมาเป็นนายกฯคนนอก โดยคิดว่าอะไรๆ จะง่ายไปเสียหมดเหมือนตอนมีมาตรา 44 อยู่ในมือนั้น อย่าได้ฝันหวานไปเลย ที่น่าเป็นห่วง คือ จากระบบที่เขาออกแบบกันไว้นี้ หลังการเลือกตั้งประเทศก็ยังไม่มีเสถียรภาพและความเชื่อมั่นจากนานาประเทศก็อาจไม่เกิดขึ้น เพราะเขาก็รู้อย่างที่เรารู้เหมือนกัน
ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ใจ อึ๊งภากรณ์: สุธาชัยที่ผมรู้จักเป็นนักสังคมนิยม Posted: 30 Sep 2017 11:27 PM PDT
นอกจากนักสังคมนิยมแล้วเขาเป็นนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เป็นเสื้อแดง เป็นนักประวัติศาสตร์ และเป็นคนชอบใส่รองเท้าแตะ เขาคงเป็นอะไรอีกมากมายที่ผมไม่รู้ เพราะเขาคงเป็นมนุษย์เต็มตัวที่มีความหลากหลายรอบด้าน แต่ในขณะนี้ผมและสหายหลายคงกำลังกังวลว่าความเป็นนักสังคมนิยมปฏิวัติของสุธาชัยกำลังถูกลืมโดยคนที่ต้องการบิดเบือนจุดยืนของเขา บางคนกระทำไปแบบนี้เพื่อให้ความชอบธรรมกับการเปลี่ยนจุดยืนของตนเอง ในขณะที่สุธาชัยจริงๆ แล้วไม่ได้เปลี่ยนจุดยืน เลนิน ในย่อหน้าแรกของหนังสือ "รัฐกับการปฏิวัติ" เคยเขียนว่า "ในเวลาที่บรรดานักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่มีชีวิตอยู่ ชนชั้นปกครองและพรรคพวกพากันจองล้างจองผลาญพวกเขามิรู้หยุดหย่อน ต้อนรับคำสอนของพวกเขาด้วยความมุ่งร้ายอย่างป่าเถื่อน และความจงเกลียดจงชังอย่างเข้ากระดูกดำ พร้อมกับรณรงค์ใส่ร้ายป้ายสีอย่างไร้หิริโอตัปปะ ทว่าพอพวกเขาตายไปกลับบังเกิดความพยายามที่จะเนรมิตพวกเขาให้เป็นรูปเคารพที่ไร้พิษสง สวมคราบนักบุญให้กับพวกเขา ขณะเดียวกันก็กลับบั่นทอนสารัตถะแห่งคำสอนปฏิวัติ ทำให้คมปฏิวัติแห่งคำสอนบิ่นทื่อ" ขณะนี้อาจมีคนที่มีพฤติกรรมต่อสุธาชัย อย่างที่เลนินเคยบรรยาย ผมรู้จักสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ก่อนที่ผมจะกลับไปสอนหนังสือที่ไทย เพราะผมอ่านหนังสือประวัติศาสตร์การเมืองไทยเล่มหนึ่งของเขา ซึ่งผมจำชื่อไม่ได้แล้ว และผมไม่ได้เอาติดตัวผมไปตอนที่ต้องย้ายบ้านจากไทยกระทันหันเมื่อแปดปีก่อน แต่เมื่อเขาติดต่อกับผมที่อังกฤษตอนนั้น ผมตื่นเต้นที่จะพบเขา และชวนมาที่บ้านที่ออคซ์ฟอร์ด เพื่อมาคุยกัน สิ่งหนึ่งที่ผมแปลกใจเกี่ยวกับสุธาชัยตอนเขามาเยี่ยมผมเป็นครังแรกคือเขาใส่รองเท้าแตะและมีความเรียบง่ายเป็นกันเอง การใส่รองเท้าแตะในอังกฤษเป็นเรื่องน่าแปลกใจด้วยเพราะอากาศมันหนาว ตอนนั้นเขาเล่าให้ผมฟังว่าเขามาเรียนหรือวิจัยที่อังกฤษและโปรตุเกส และตอนอยู่อังกฤษเขาสมัครเป็นสมาชิก "พรรคสังคมนิยมกรรมาชีพ" (Socialist Workers Party) ที่อังกฤษ ซึ่งเป็นพรรคมาร์คซิสต์สายตรอทสกี้ และผมก็เป็นสมาชิกพรรคนี้มาตั้งแต่ปี 1977 หลังเหตุการณ์ 6 ตุลา ด้วย เพราะตอนนั้นผมเป็นนักศึกษาที่อังกฤษ ทุกวันนี้ผมก็เป็นสมาชิกพรรคนี้ และพอมาเมืองไทยและมาสอนที่จุฬาฯ ผมก็มีส่วนในการก่อตั้ง "กลุ่มประชาธิปไตยแรงงาน" และ "เลี้ยวซ้าย" สิ่งที่น่าปลื้มเกี่ยวกับสุธาชัยคือ เขาเป็นนักสากลนิยม อยู่ประเทศไหนก็เข้ากับพวกสังคมนิยมที่นั้น ทั้งๆ ที่สุธาชัยเป็นนักสังคมนิยมแบบพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยสายเหมาเจ๋อตุง ซึ่งไม่น่าจะเข้ากับสังคมนิยมสายตรอทสกี้ได้ แต่เขามองว่าควรจะสามัคคีฝ่ายซ้ายไปก่อน เมื่อผมย้ายมาสอนที่รัฐศาสตร์จุฬาฯ ผมได้รู้จักสุธาชัยมากขึ้น เพราะเขาสอนที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน และที่รู้จักกันดีคือผ่านการทำงานร่วมกันในการชำระประวัติศาสตร์เหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลา 2519 สุธาชัยกับผมมีอุดมการณ์ร่วมในเรื่องนี้ เพราะเราทั้งสองเป็นนักสังคมนิยม และเราชัดเจนว่าชนชั้นปกครองไทยก่ออาชญากรรมรัฐ 6 ตุลา เพื่อพยายามกำจัดแนวสังคมนิยมออกจากสังคมไทย แต่ในเรื่องรายละเอียดว่าสังคมนิยมหมายความว่าอะไร สุธาชัยก็คงเส้นคงวาปกป้องแนวของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย รวมถึงแนวเหมาเจ๋อตุง ในขณะที่ผมชัดเจนว่าเป็นแนวตรอทสกี้ หนังสือที่เราผลิตร่วมกันชื่อ "อาชญากรรมรัฐในวิกฤติการเปลี่ยนแปลง" โดยคณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เขียนโดย ใจ อึ๊งภากรณ์ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และคณะ (2544) แนวทางการเมืองของตรอทสกี้จะเน้นพลังชนชั้นกรรมาชีพที่ควรจะเป็นหัวหอกในการต่อสู้ และจะต่อต้านความเป็นเผด็จการของสตาลินอีกด้วย ส่วนแนวทางการเมืองของ พคท. จะเห็นด้วยกับสตาลิน และเน้นกองกำลังติดอาวุธของชาวนา [อ่านเพิ่ม http://bit.ly/2vbhXCO ] ในช่วงวิกฤตการเมืองไทยหลังรัฐประหาร 19 กันยา ผมกับสุธาชัย และประชาชนนับล้านก็อยู่ฝ่ายเดียวกันอีก คืออยู่ฝ่ายเสื้อแดงเพื่อประชาธิปไตย และผมก็ไปฟังเขาพูด และร่วมพูดกับเขาในเวทีเดียวกันหลายครั้ง นั้นเป็นอีกจุดร่วมที่เรามี แต่ในเรื่องของท่าทีต่อทักษิณ ผมกับเขาอาจต่างกันบ้าง เพราะผมไม่เคยสนับสนุนทักษิณ และไม่เคยสนับสนุนพันธมิตร ในช่วงหลังรัฐประหารสุธาชัยสนับสนุนทักษิณแต่ไม่ได้สนับสนุนทักษิณโดยไม่มีเงื่อนไขเพราะก่อนหน้านั้นเขาเคยขึ้นเวทีพันธมิตรก่อนที่จะถอนตัวออก เนื่องจากเขาชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องให้ใช้มาตรา 7 แต่ในเรื่องการต้านเผด็จการทหารสุธาชัยชัดเจนมาก หลังถูกทหารของประยุทธ์เรียกเข้าค่ายเพื่อพยายาม "ปรับทัศนคติ" หรือข่มขู่แบบสามัญนั้นเอง สุธาชัยเขียนว่า "ผมก็ยืนยันว่า ผมไม่ได้ต้านรัฐประหารเฉพาะครั้งนี้ การรัฐประหารตั้งแต่ 6 ตุลา 2519 เป็นต้นมา ผมไม่เคยเห็นเลยว่าจะแก้อะไรได้ มีแต่จะยิ่งขยายปัญหามากขึ้นทุกครั้ง ปัญหาบ้านเมืองคลี่คลายด้วยประชาธิปไตยทั้งนั้น" ผมไม่สามารถอ้างว่าผมรู้จักเขาเป็นส่วนตัวดีกว่าคนอื่นได้ จริงๆ ผมไม่ใช่เพื่อนสนิทของเขา แต่ผมสามารถพูดได้ว่าสุธาชัยเป็นคนมารยาทงดงาม อาจดีกว่าผมด้วย และเขาเป็นคนไม่ถือตัว น่ารัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นที่สำคัญที่สุดคือเขามีอุดมการณ์เพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ คือมีอุดมการณ์สังคมนิยม และต่อต้านเผด็จการทหาร เราเสียสหายคนน่ารักของเราไปอีกคนหนึ่งแล้ว คนรุ่นใหม่คงต้องต่อสู้ต่อไปเพื่อรักษาอุดมการณ์สังคมนิยม ประชาธิปไตย และความเท่าเทียม
เผยแพร่ครั้งแรกใน: Turnleft-Thailand ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
'ศรีสุวรรณ' จี้ทบทวนแต่งตั้ง กก.ยุทธศาตร์ชาติ 'ฝักถั่ว-นายทุน-ขุนศึก' Posted: 30 Sep 2017 10:03 PM PDT 'ศรีสุวรรณ จรรยา' ออกแถลงการณ์ 'หยุดลุแก่อำนาจแต่งตั้ง กก.ยุทธศาตร์ชาติพวกฝักถั่วและกลุ่มนายทุนขุนศึกเสียที' จี้ทบทวนการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 28 ก.ย. ให้มีการสมัครและคัดเลือกใหม่ มีการเลือกตั้งกันอย่างเปิดเผย โปร่งใส ตามครรลองประชาธิปไตย 1 ต.ค. 2560 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ออกแถลงการณ์ 'หยุดลุแก่อำนาจแต่งตั้ง กก.ยุทธศาตร์ชาติพวกฝักถั่วและกลุ่มนายทุนขุนศึกเสียที' โดยระบุว่าตามที่นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ลงนามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน มีระยะเวลาถึง 20 ปีนั้น เนื่องจากยุทธศาสตร์ชาติเป็นเรื่องใหญ่เพราะต้องนำไปบังคับใช้กับประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดโดยที่คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติยังต้องทำหน้าที่ในการจัดทำแผนแม่บทให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดและต้องติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ว่าสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่ด้วย ดังนั้นผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่จัดทำยุทธศาสตร์ชาติต้องเป็นบุคคลที่หลากหลายจากทุกอาชีพหรือวิชาชีพที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และมีความเป็นกลางทางการเมืองแต่ทว่าตามรายชื่อตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีข้างต้น กลับกลายเป็นกลุ่มคนที่กระจุกตัวใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจหรือรัฐบาลในปัจจุบัน รวมทั้งเป็นตัวแทนของกลุ่มนายทุนที่ได้ประโยชน์จากการทำรัฐประหารที่ไม่เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตยทั้งสิ้น อีกทั้งยังมีรายชื่อของบุคคลที่ไม่สมัครใจจะเข้ามาร่วมสังฆกรรมกับการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติอีกด้วย ดังกรณีของนายชัชชาติ เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงกระบวนการแต่งตั้งที่เร่งรีบรุกรี้รุกรน ทั้ง ๆ ที่การจัดทำยุทธสาสตร์ชาติเป็นเรื่องใหญ่ของชาติการได้มาซึ่งกรรมการควรจะมีกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยจึงจะชอบการลุแก่อำนาจในการแต่งตั้งกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติที่เป็นแหล่งรวมกันของคนใกล้ชิดผู้มีอำนาจ กลุ่มนายทุน นักธุรกิจต่างชาติและนักเทคโนแครตที่เท้าไม่เคยเหยียบดิน จะไปล่วงรู้สภาพปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนทั่วประเทศได้อย่างไรการกำหนดหรือจัดทำยุทธสาตร์ชาติจะตอบสนองหรือสะท้อนข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั้งยืนได้อย่างไรหรือเพียงเพื่อจัดทำขึ้นมาเพื่อปกป้องกลุ่มผู้มีอำนาจและเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มนายทุนขุนศึกเท่านั้น ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงขอเรียกร้องมายัง ฯพณฯนายกรัฐมนตรีได้โปรดพิจารณาทบทวน และยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2560 เสียแล้วกลับไปดำเนินการเปิดโอกาสให้ประชาชนคนไทยทั้งประเทศที่มีจิตอาสามีเวลา มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ที่หลากหลายได้มาสมัครและเลือกตั้งกันอย่างเปิดเผย โปร่งใส ตามครรลองประชาธิปไตยเพื่อนำไปสู่การยอมรับในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติร่วมกันในอนาคต 20 ปีต่อไป ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
ไทยขวาหัน#2: กระแสอำนาจนิยมโลก ขั้วอำนาจที่เปลี่ยนไปใน ปชต. ไร้เลือกตั้ง Posted: 30 Sep 2017 09:45 PM PDT ไทยผู้นำเทรนด์ 'ประชาธิปไตยไร้การเลือกตั้ง' โมเดลกำปั้นเหล็กกับทุนนิยมมาแรงจากจีน สิงคโปร์ ขั้วอำนาจราชการ-องค์กรอิสระในฐานะราชการสาขา 2 ลดทอนการเมืองกับประชาชน รธน. อำนาจนิยมส่วนบนลึกลับซับซ้อนไม่ใช่แค่ระดับการเมือง กองทัพ เสวนาประเทศไทยหันขวา: ประจันหน้าอำนาจนิยม เสวนาโดย 1. อนุสรณ์ อุณโณ 2. รังสิมันต์ โรม และ 3. ศุภวิทย์ ถาวรบุตร ดำเนินรายการโดย ณัฏฐา มหัทธนา ซ้ายไปขวา: อนุสรณ์ อุณโณ ศุภวิทย์ ถาวรบุตร รังสิมันต์ โรม ณัฏฐา มหัทธนา 30 ก.ย. 2560 กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD) ร่วมกับองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนาเวทีสาธารณะ "ประเทศไทยหันขวา : ประจันหน้าอำนาจนิยม" ที่ห้องประกอบ หุตะสิงห์ ชั้นสามอาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีอนุสรณ์ อุณโณ อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิมันต์ โรม สมาชิกกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย ศุภวิทย์ ถาวรบุตร อาจารย์ภาคประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย ณัฏฐา มหัทธนา
ไทยผู้นำเทรนด์ 'ประชาธิปไตยไร้การเลือกตั้ง' โมเดลกำปั้นเหล็กกับทุนนิยมมาแรงจากจีน สิงคโปร์โรม กล่าวว่า อำนาจแบบอำนาจนิยมกับเสรีภาพเป็นเพียงความคิดนามธรรมและต่อสู้กันมาตลอด อยู่ที่ตัวละครในประวัติศาสตร์เป็นใคร แต่นามธรรมดังกล่าวก็มีพัฒนาการเสมอมา อำนาจนิยมคือผู้ที่นิยมในอำนาจ เอาอำนาจไปใช้กดขี่ แสวงหาประโยชน์จากคนอื่น ในประวัติศาสตร์มักเคียงคู่กับความรุนแรงทั้งต่อกายและใจ หรือในลักษณะในเชิงสังคม เพราะการใช้อำนาจกดขี่ประชาชนนานเพียงพอ ประชาชนก็จะเคยชินและง่ายต่อการปกครองในอนาคต คนที่นิยมอำนาจนิยมมีความฝันสูงสุดคือการสถาปนาอำนาจนิยมให้มีระบบระเบียบมากที่สุด ในหน้าประวัติศาตร์ก็คือระบอบเผด็จการ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็เป็นระบอบเผด็จการแบบหนึ่ง ในประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะในเกาหลีเหนือหรือประเทศแถวนี้ จะพบว่าระบอบเผด็จการไม่สามารถแยกออกจากอำนาจนิยมเลย ระบบเผด็จการเอาความชอบธรรมมาจากไหน จึงต้องใช้ความรุนแรงให้ประชาชนสยบยอมต่อระเบียบ เมื่อไหร่ที่คุณหยุด ประชาชนก็จะลุกฮือต่อต้านทันที จึงมีการต่อสู้หลายครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ ถ้ามนุษย์คิดได้ เริ่มเชื่อมโยงปัญหาเฉพาะหน้ากับปัญหาระดับใหญ่ ก็จะตระหนักว่า ข้าพเจ้าจะไม่อยู๋ใต้อำนาจของท่านอีกต่อไป ถึงวันนั้นอำนาจนิยมก็สิ้นสุด สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการต่อสู้ของฝ่ายโลกเสรี นำโดยสหรัฐฯ และฝ่ายเผด็จการ นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ลงท้ายด้วยชัชนะของฝ่ายโลกเสรี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยตัวแนวคิดคอมมิวนิสต์นั้นไม่มีความรุนแรง แต่ผู้นำไปใช้ในสมัยนั้นเชื่อว่าการเปลี่นยแปลงสังคมต้องใช้ความรุนแรง ในแง่นั้น อำนาจนิยมได้จับมือกับความเชื่อคอมมิวนิสต์และเผยแพร่แนวคิดไปยังประเทศต่างๆ ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์หรือจอมพลถนอม กิตติขจร สหรัฐฯ ก็ส่งเสริมระบอบอำนาจนิยมในไทยเพื่อจะยังยั้งคอมมิวนิสต์ กลายเป็นว่าโลกเสรีก็เสียโอกาสในการจัดการอำนาจนิยมอย่างถึงรากถึงโคน บทสรุปของการต่อสู้นั้น ฝ่ายโลกเสรีชนะ สหภาพโซเวียตล่มสลาย แต่น่าเสียดายที่การชนะครั้งนี้ อุดมการณ์ประชาธิปไตยไม่ได้รับเครดิตสูงสุดแต่เป็นอุดมการณ์ทุนนิยม กลายเป็นว่าวันนี้ทุกคนต้องอยู่ใต้ระเบียบโลกแบบทุนนิยมที่มีลักษณะเป็นกลาง ใครหยิบไปใช้ก็ได้ ในไทยเราเห็นความพยายามการพัฒนาระบอบเศรษฐกิจบนระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่เขาก็รู้ดีว่าระเบียบโลกนั้นอยู่ใต้ระบอบอะไร อำนาจแบบอำนาจนิยมไม่สามารถปรากฏตัวอย่างชัดเจน มันต้องแอบ เช่นประชาธิปไตย 99.99 เปอร์เซ้็นต์ ในระเบียบโลกสมัยใหม่ อำนาจนิยมไม่สามารถปรากฎกายได้อย่างชัดเจนเพียงพอ คุณต้องยอมรับชัยชนะของฝ่ายโลกเสรีบางส่วน สะท้อนจากการพยายามยอมรับในหลักนิติรัฐ สิทธิมนุษยชน เพื่อหาความชอบธรรม ภายใต้บริบทประเทศไทยเราไม่มีการเลือกตั้งมาหลายปี แต่ในเกาหลีเหนือมีการเลือกตั้ง แต่ต้องเลือกคิมจองอึน แต่ในไทยเราล้ำไปกว่านั้น เราพยายามอธิบายว่าเราเป็นประชาธิปไตยแต่ไม่มีการเลือกตั้ง ยังไม่มีประเทศไหนในโลกไปได้ไกลกว่านี้ ทุกประเทศที่มีการรับประหารก็พยายามเปลี่ยนตัวเองจากอำนาจเถื่อนให้เป็นระบอบปรกติมากที่สุด แต่ไทยไม่ต้องทำ ไทยจึงยังเป็นประเทศเดียวบนโลกใบนี้ที่ปกครองด้วยรัฐบาลทหารหรือ Junta ภายใต้คุณค่าที่โลกสมัยใหม่มี อำนาจนิยมก็ต้องเปลี่ยนตัวเองเข้ามา พยายามนำเสนอว่าตัวเองมีคุณค่าเหล่านี้ แต่สิ่งที่น่ากลัวคือ โลกสมัยใหม่กำลังเผชิญสิ่งที่น่ากลัว ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 อำนาจนิยมสามารถปรากฏกายได้อย่างเปิดเผย ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนระบอบให้เข้ากับคุณค่าพื้นฐานของโลก แต่มันได้หายไปหลังสงครามสิ้นสุด ในวันนี้ อำนาจนิยมค้นพบจุดอ่อนของชัยชนะในสงครามโลก ก็คือทุนนิยม เราให้ความสำคัญกับปากท้องมากๆ ทุกๆ คนบนโลกก็ทำ นี่คือจุดอ่อนของชัยชนะของฝ่ายโลกเสรีที่อำนาจนิยมรู้ว่า เมื่อตนตอบสนองปากท้องและนายทุนได้ก็จะไม่มีใครโค่นล้มตน ประเทศที่จับทางได้เช่น จีน สิงคโปร์ ก็สามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้าจนมีหลายประเทศอยากเอาอย่าง ชัยชนะของอำนาจนิยมที่คืบคลานมาเรื่อยๆ ได้ทำให้หลายประเทศเริ่มรุ้สึกว่าไม่จำเป็นต้องพูดเรื่องประชาธิปไตยก็ทำให้เกิดความเจริญงอกงามได้ ผมจึงกลัวว่าต่อไปจะเกิดการต่อสู้ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตยกับอำนาจนิยมอีกครั้ง แต่คงจะเป็นการต่อสู้ผ่านการส่งออกอุดมการณ์ คำถามคือทำไมประยุทธ์ถึงอยู่นาน ภายในประเทศก็ต้องยอมรับว่าเพราะประชาชนแตกแยก ไม่สามารถขับไล่ประยุทธ์ออกไป แต่ในระดับระหว่างประเทศก็พบว่าอำนาจนิยมเริ่มมีพื้นที่ของมันเอง ผมคิดว่าปัญหาของประเทศไทยคือเราเป็นส่วนผสมของหลายอย่าง เราไม่ได้ไปสุดโต่งกับทุกเรื่อง เวลาพูดถึงประชาธิปไตยก็ไปไม่สุด เป็นแบบอำนาจนิยมหน่อยๆ บางช่วงก็มากหน่อย ในขณะเดียวกันถ้าชัยชนะของอำนาจนิยมสามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคต ประเทศไทยที่ไม่ได้เป็นอำนาจนิยมเต็มใบแบบจีน เวลารับโมเดลแบบจีน ก็จะสามารถพัฒนาตัวเองให้มีความพัฒนาเศรษฐกิจแบบจีนได้หรือเปล่า คิดว่าในอนาคตพวกเราทุกคนจะเจอกับความท้าทายจากอิทธิพลของโมเดลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสรีประชาธิปไตยหรือแบบอำนาจนิยมจับมือกับทุนนิยม ตอนนี้คงตอบไม่ได้ว่าโมเดลแบบไหนดีต่อไทย แต่ส่วนตัวเชียร์การมีสิทธิ เสรีภาพทางความคิดและเศรษฐกิจ ถ้าคนไทยมีศักยภาพดังกล่าวก็จะทำให้ไทยพัฒนาได้ทัดเทียมประเทศตะวันตกแน่นอน ต่อคำถามว่า ในเมืองไทยก็ท้องไม่อิ่ม อำนาจนิยมใช้ความชอบธรรมจากอะไร โรมตอบว่า เป็นเพราะว่ายังมีคนไทยที่ไม่เชื่อการเลือกตั้ง เชื่อว่าประชาธิปไตยแบบตะวันตกนำมาซึ่งการชุมนุม การชุมนุมหลายครั้งทำให้เศรษฐกิจเสียความเชื่อมั่น แต่เขาก็ไม่ชอบประยุทธ์ ตอนนี้ก็เลยคิดไม่ออก มันก็มีคนแบบนี้เยอะพอสมควร ไม่งั้นประยุทธ์อยู่ไม่ได้อย่างนั้นหรอก ผมเชื่อว่าการรัฐประหารจะเป็นครั้งสุดท้าย ถ้าฝ่ายประชาธิปไตยหาตัวแทนที่จะมาจัดการกับฝ่ายอำนาจนิยม ขั้วอำนาจราชการ-องค์กรอิสระในฐานะราชการสาขา 2 ลดทอนการเมืองกับประชาชนศุภวิทย์กล่าวว่า มีการปะทะกันระหว่างอำนาจจากการเลือกตั้ง กับก่อนหน้านั้นที่ระบบราชการเอาจะเป็นแค่สับเซตหนึ่ง แต่สิ่ที่เป็นพลังในสังคมคือมันเป็นพลังที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ในขอบเขตที่พูดได้คือจะชี้ให้เห็นว่า เท่าที่พูดได้เกดอะไรขึ้นบ้างก็โฟกัสไปที่ระบบราชการ ซึ่งสากลโลกการควบคุมให้ระบบราชการทำตามประชาชนคือใช้นโยบายจากรัฐบาลเลือกตั้งคุมระบบราชการอยู่ดี รัฐธรรมนูญปี 2540 ก็มีเช่นนี้ ให้ฝ่ายการเมืองเหนือระบบราชการ และมีองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มีความเชื่อมโยงจากประชาชนควบคุมระบบการเมืองอีกทีหนึ่ง แต่องค์กรตามรัฐธรรมนูญที่โยงกับวุฒิสภาที่ไม่ได้อิงกับพรรคการเมืองก็มีปัญหากลายเป็นสภาผัวเมียไป จากลำดับบังคับบัญชาปรกติตามรัฐธรรมนูญก็เป็นปัญหาก็มีความพยายามทำให้ระบบราชการและองค์กรตามรัฐธรรมนูญอยู่เหนือการเมือง องค์กรตามรัฐธรรมนูญก็กลายเป็นที่ทำงานของคนเกษียณจากระบบราชการมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ผ่านมาในช่วง 10 ปี ก็มีลักษณะอย่างนั้น กรณีศาลรัฐธรรมนูญกับถนนลูกรัง ตุลาการท่านที่ถามก็เป็นข้าราชการเกษียณจากกระทรวงหนึ่ง หรือตุลาการอีกท่านที่ถามว่าโครงการราคา 2 ล้านล้านจะสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร นั่นคือคนที่ปลายของชีวิตราชการทำงานในช่วงที่อำนาจฝ่ายการเมืองขึ้นมาในยุคทักษิณ พอพ้นจากจุดนั้นก็ได้รับการสรรหาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ให้คุณให้โทษกับอำนาจทางการเมืองนั้นได้ แต่นั่นคือสิ่งที่เราเริ่มเห็น คือการสร้างสภาพอำนาจขึ้นมา ถ้าอำนาจการเมืองอยู่ตรงกลาง ระบบราชการที่เป็นต้นทาง กับปลายทางที่คุมฝ่ายการเมืองแต่มามีบทบาทวิพากษ์วิจารณ์นโยบายต่างๆ มากขึ้น ก็คือคนซึ่งพ้นจากระบบราชการไปแล้วอาศัยอำนาจตรงนั้นอยู่ได้ เราจะไม่ค่อยแปลกใจว่าทำไมในข้อเสนอรัฐธรรมนูญอันใหม่ ทำไมวุฒิสภาถึงมาจากการแต่งตั้ง นั่นคือการตัดความยึดโยงออกไป แน่นอนมันถูกปูทางว่า คนในระบบราชการจะเข้ามาคุมการเมืองได้อีกครั้ง พลังเดียวที่ยึดโยงกับประชาชนมีแต่จะถูกกดลงไป ตอนนี้ใครจะอยากเป็นรัฐบาล เข้าไปก็กระดิกตัวไม่ได้เลย โดนทั้งยุทธศาสตร์กด และมีองค์กรคอยตรวจสอบอีกเต็มไปหมด สิ่งที่ต้องกังวลคือ ช่วงปลายของรัฐบาลทักษิณ มีหน้าปกของมติชนสุดสัปดาห์ที่ดังมาก เป็นภาพทักษิณสมัยเรียนนายร้อยคาดด้วยคำว่า Absolute power corrupt absolutely ซึ่งโดนใจกลุ่มต่อต้านทักษิณมาก แต่ในปัจจุบันเราจะเห็นการทำงานของวาทกรรมบางอย่าง สิ่งซึ่งผู้มีอำนาจพยายามพูด ประยุทธ์พยายามพูดว่า มีรัฐธรรมนูญใหม่แล้วอย่าเลือกคนผิดอีกนะ หรือคำพูดที่ว่าที่มีรัฐประหารเป็นเพราะว่าพวกคุณเลือกผิด การที่ระบบราชการสู้กับระบอบทักษิณมาจนถึงจุดนี้ที่ระบบราชการพยายามควบคุมองค์กรตามรัฐธรรมนูญแล้วกดฝ่ายการเมืองก็เป็นเรื่องผลประโยชน์ แต่ที่กังวลมากกว่านั้นก็คือคนกลุ่มหนึ่งยอมให้คนที่มีอำนาจทำอะไรก็ได้ที่ไม่ทำให้เขาอยู่ใต้อำนาจการเลือกตั้ง มันก็คือการคอร์รัปชั่นแบบหนึ่ง ความซับซ้อนของสถานการณ์ในไทยมันพูดได้อยาก แต่ถ้ามีอำนาจนิยมอยู่ ถ้าแบ่งคร่าวๆ 2 ระดับ ในโครงสร้างที่เราเห็นตามปรกติว่ามีสภา มีระบบราชการ มีกองทัพ เป็นโครงสร้างที่ทำงานในระบบ วัฒนธรรมอำนาจนิยมก็อยู่ แต่แน่นอนว่ามันมีโครงสร้างส่วนบนซึ่งเราจะนิยามให้กว้างมากน้อยอย่างไรก็ว่ากันอีกที มันก็มีความเป็นอำนาจนิยมที่มากขึ้น เป็นสถานการณ์ที่ยาก ถ้าเรามองกว้างเทียบกับระดับโลกแล้วมันไม่เหมือนกัน ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
Posted: 30 Sep 2017 09:42 PM PDT สธ. ยืนยัน ยาต้านไวรัสเอดส์ไม่หมด เตรียมเดินหน้าวางแผนการจัดซื้อยาใหม่โดย รพ.ราชวิถี เชื่อไม่มีปัญหา เพราะ สปสช. รับผิดชอบจัดซื้อยาถึงสิ้นปี 2560 สำนักข่าวไทย รายงานเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2560 ที่ผ่านมาว่า หลังจากเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ แห่งประเทศไทย ออกมาเปิดเผยว่า ยาต้านไวรัสเอดส์ กำลังจะไม่พอ และอาจส่งผลกระทบต่อผู้ติดเชื้อที่ต้องรับยากว่า 3 แสนคน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าการจัดซื้อยา วัคซีน รวมถึง อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ของ รพ.ราชวิถี เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของ คสช. หลังจากที่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ชี้ว่า สปสช. ไม่มีอำนาจในการสั่งซื้อยาได้ พร้อมกล่าวว่า กระบวนการจัดซื้อยา ขณะนี้รอการโอนงบประมาณจากกระทรวงการคลัง เมื่อได้รับแล้วก็จะสามารถจัดซื้อได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ เนื่องจากมีการระบบและดำเนินการเหมือนที่ สปสช.ทำทุกอย่าง เชื่อว่าไม่กระทบต่อระบบแน่นอน นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่าที่ผ่านในการประชุมวางระบบการจัดซื้อยาก็ มีตัวแทนภาคประชาชนร่วมด้วยเสมอ ทั้งนายนิมิตร เทียนอุดม ผู้จัดการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และนางยุพดี ศิริสินสุข ร่วมด้วยเสมอ และในการจัดซื้อยา คำสั่งได้ขยายไปในช่วงรอยต่อของกระบวนการจัดซื้อ เอประโยชน์ให้กับผู้ป่วย โดยให้ สปสช.ดำเนินการไปก่อนจนถึงสิ้นปี 2560 ทำให้มียาพอแน่นอน ส่วนในปี 2561 ก็ให้ทาง รพ.ราชวิถี ดำเนินการ พร้อมกันนี้ที่ประชุมบอร์ด สปสช. ที่มี นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข เป็นประธาน จัดให้จำเงินส่วนลดจากการจัดซื้อ 5 เปอร์เซนต์ ให้นำมาจัดซื้อยาต้านไวรัสให้กับประชาชนด้วย โดยไม่ต้องเข้ากองทุนสวัสดิการ สปสช. เหมือนในอดีต ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
จดหมายจากหลังลูกกรงของ 'โจชัว หว่อง' วอนโลกอย่าลืมการต่อสู้ของชาวฮ่องกง Posted: 30 Sep 2017 09:13 PM PDT โจชัว หว่อง หนึ่งในผู้นำคนหนุ่มสาวผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงที่ถูกสั่งจำคุก 6 เดือนจากกรณีการชุมนุมในปี 2557 เขียนจดหมายจากในทัณฑสถานตีพิมพ์เป็นรายตอนในสื่อเดอะการ์เดียน จดหมายแรกที่ตีพิมพ์เผยความในใจว่าเขาไม่เสียดายที่ร่วมเคลื่อนไหวกับประชาชน และขอให้โลกอย่าลืมประชาชนฮ่องกง โจชัว หว่อง (ที่มา: Vimeo) 1 ต.ค. 2560 โจชัว หว่อง ระบุว่าถึงแม้ชีวิตในทัณฑสถานจะแห้งแล้งและน่าเบื่อหน่าย การถูกตัดขาดจากครอบครัวและจากเพื่อนที่ต่อสู้ร่วมกันมาเป็นเรื่องเจ็บปวดมาก แต่แม้ว่าจะมีความยากลำบากเหล่านี้เขาก็ยังคงภาคภูมิใจที่ได้เข้าร่วมขบวนการปฏิวัติร่มเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงเมื่อปี 2557 หว่องระบุว่าเมื่อเทียบกับนักสู้รายอื่นๆ อย่างหลิวเสี่ยวโป หรือเนลสัน แมนเดลา ต้องลำบากกว่าเขามากนัก ตัวเขาเองมองว่าการถูกจับเข้าคุกในครั้งนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในเส้นทางอันยากลำบากในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย "ร่างกายเราถูกจับขังไว้ แต่การไล่ตามเสรีภาพของพวกเขาไม่สามารถถูกกักกันไว้ได้ อุปสรรคจะทำให้เรามีไหวพริบมากขึ้นและทำให้จิตใจของพวกเราแข็งแกร่งขึ้น จะยิ่งทำให้เกิดการตื่นรู้ทางการเมืองของชาวฮ่องกงมากขึ้น ไม่ต้องพูดถึงว่าจะได้รับการสนับสนุนจากประชาคมนานาชาติด้วย" หว่องกล่าว หว่องเตือนว่าก่อนหน้านี้คนในจีนแผ่นดินใหญ่ที่ต่อต้านขัดขืนอำนาจรัฐจะถูกจับกุม แต่ในตอนนี้ความเสี่ยงถูกจับเริ่มแผ่ขยายมาถึงฮ่องกง ทำให้ผู้คนคงไม่หลอกตัวเองว่าฮ่องกงยังคงเป็นเหมือนเดิมแบบที่เคยเป็นมา และเสรีภาพในฮ่องกงก็กำลังลดน้อยถอยลง ในจดหมายจากคุกของหว่องยังระบุถึงการต่อสู้ปี 2557 และการตัดสินจากศาล เขาบอกว่าในปี 2557 เขาเชื่อว่าชาวฮ่องกงจะใช้วิธีการอย่างสันติในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในการเลือกผู้นำของตัวเองในพื้นที่ของชาวฮ่องกงได้ ในปีที่แล้วศาลตัดสินว่าเขา "ชุมนุมอย่างผิดกฎหมาย" แต่ก็ลงโทษแค่ให้ทำงานบริการชุมชน นั่นหมายว่าจากคำตัดสินในปีที่แล้วยังยอมรับคุณค่าเรื่องการอารยะขัดขืนของพวกเขา แต่ริมสกี หยุ่น รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของฮ่องกงก็เปลี่ยนคำตัดสินลงโทษหว่องให้หนักขึ้นโดยอ้างกฎหมายเกี่ยวกับกลุ่มแก็งค์ซึ่งเป็นกฎหมายเก่าล้าสมัยตั้งแต่ช่วงอาณานิคมทำให้หว่องกลายเป็นนักโทษการเมืองที่เด็กที่สุดของฮ่องกง หว่องมองว่ารัฐบาลฮ่องกงที่หนุนหลังโดยทางการจีนจะพยายามสกัดกั้นไม่ให้ฮ่องกงได้มีอิสระในการปกครองตนเอง อาจจะมีคนที่เกี่ยวข้องกับการประท้วงปฏิวัติร่มถูกดำเนินคดีอีกนอกจากเขา ถึงเวลาที่ต้องทำให้โลกรู้ว่าฮ่องกงไม่ได้เป็นแบบเดิมจากที่โลกรู้จักมาก่อน แบบที่ยังมีเสรีภาพถึงแม้จะยังไม่มีประชาธิปไตย หลักนิติธรรมฮ่องกงที่ก่อนหน้านี้เคยเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจก็ถูกครอบงำโดยทางการจีนแผ่นดินใหญที่สั่งลงโทษจำคุกแบบลงโทษเกินเลยขอบเขตที่ควรจะเป็น ถึงแม้ลอร์ดแพทเทน ชาวอังกฤษที่เคยเป็นผู้ว่าการรัฐฮ่องกงจะเคยให้กำลังใจหว่องและเพื่อนของเขาที่ถูกตัดสินจำคุกด้วยกันอย่างนาธาน หลอ และอเล็ก โจว ว่าชื่อของพวกเขาจะถูกจดจำไว้ แต่คนที่ตัดสินลงโทษพวกเขาจะถูกลืมเลือนไปในเถ้าถ่านของกาลเวลา แต่ตัวของหว่องภายหลังลูกกรงกลับมุ่งหวังอีกเรื่องหนึ่ง แทนที่จะไม่ลืมแค่เขาและเพื่อนของเขา หว่องต้องการให้โลกอย่าลืมฮ่องกง และให้ประวัติศาสตร์จดจำการเคลื่อนไหวของขบวนการร่มไว้เพราะมันคือช่วงเวลาที่ชาวฮ่องกงยืนหยัดร่วมกันต่อสู้เพื่อเป็นอิสระ แม้ว่าจำนวนประชากรชาวฮ่องกงจะเทียบไม่ได้กับจีนแผ่นดินใหญ่แต่ชาวฮ่องกงก็มีความกล้าหาญ การยืนหยัดมุ่งมั่นเพื่อเผชิญหน้าการกดขี่ และตัวเขาเองก็ไม่เสียดายที่ได้ร่วมการต่อสู้นี้เขาเองก็จะไม่หยุดยั้งจนกว่าจะถึงวันที่ได้รับประชาธิปไตย "ฮ่องกงอาจจะเล็ก แต่เป็นประชาชนของที่นี่ที่ทำให้ยิ่งใหญ่" หว่องกล่าว เรียบเรียงจาก The Guardian, Prison is an inevitable part of Hong Kong's exhausting path to democracy, September 28, 2017 ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
เมื่อเก้าอี้ กก.ยุทธศาสตร์เลือก 'ชัชชาติ' แต่เขาปฏิเสธมัน Posted: 30 Sep 2017 06:36 PM PDT ชัชชาติ ประกาศไม่รับตำแหน่งกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เตรียมยื่นหนังสือจันทร์นี้ เผยตอนแรกจะไปตั้งแต่วันศุกร์แต่ทำเอกสารไม่ทัน ย้ำ "แก่นแท้ของกลยุทธ์ คือ การเลือกว่าอะไรไม่ควรทำ" ระบุไม่มีเวลาและไม่ได้มีความเข้าใจในแนวคิดและหลักการของยุทธศาสตร์ชาติอย่างถ่องแท้ 1 ต.ค. 2560 จากเมื่อวันที่ 29 ก.ย.ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านต่าง ๆ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เป็นผู้ลงนาม โดย 1 ในรายชื่อ รศ.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นกรรมการ ในคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทั้งคัดค้านและสนับสนุนนั้น ล่าสุดวันนี้ (1 ต.ค.60) ชัชชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ 'ชัชชาติ สิทธิพันธุ์' ปฏิเสธการรับตำแหน่งดังกล่าว โดยระบุว่า การจัดทำยุทธศาสตร์ชาตินั้น เป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากมีเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน มีระยะเวลายาวไม่น้อยกว่า 20 ปี และ หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยมีหน้าที่ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ นอกจากนี้ คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติยังมีหน้าที่ตามมาตรา 10 ในการจัดทำแผนแม่บทให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด และ มาตรา 26 ในการพิจารณาว่าการดำเนินการของหน่วยงานใดไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งมีหน้าที่ในการติดตามแก้ไขปรับปรุงด้วย ซึ่งเป็นภาระงานสำคัญที่ต้องใช้เวลาและความทุ่มเทอย่างมาก "ตัวผมเอง ไม่ได้มีความเข้าใจในแนวคิดและหลักการของยุทธศาสตร์ชาติอย่างถ่องแท้ นอกจากนี้ยังติดภาระงานประจำที่เป็นพนักงานเต็มเวลาของบริษัทมหาชนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาระด้านครอบครัว จึงไม่สามารถที่จะทำหน้าที่กรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างเต็มกำลัง ผมจึงขอไม่รับตำแหน่งกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ โดยจะไปยื่นหนังสือในวันจันทร์ ตอนแรกจะไปตั้งแต่วันศุกร์แต่ทำเอกสารไม่ทันครับ" ชัชชาติ โพสต์ ชัชชาติ ยังโพสต์วรรคทองของ Michael Porter ผู้เชียวชาญด้านกลยุทธ์ด้วยา "The essence of strategy is choosing what not to do." "แก่นแท้ของกลยุทธ์ คือ การเลือกว่าอะไรไม่ควรทำ" "สิ่งที่เรารู้ว่าจะทำได้ไม่ดี ก็ควรเลือกที่จะไม่ทำเพื่อไม่ให้เสียเวลาทั้งของคนอื่นและตัวเราครับ" ชัชชาติ ทิ้งท้าย ติดตามความเคลื่อนไหวของ ประชาไท ทางอีเมล คลิกอ่าน http://goo.gl/8xIcV หรือเฟซบุ๊ค http://fb.me/Prachatai |
You are subscribed to email updates from ประชาไท. To stop receiving these emails, you may unsubscribe now. | Email delivery powered by Google |
Google Inc., 1600 Amphitheatre Parkway, Mountain View, CA 94043, United States |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น