โพสต์แนะนำ

ประชาไท Prachatai.com

ประชาไท Prachatai.com พท.-ปชป จัดประชุมแก้ไขข้อบังคับพรรคฯ ส่วนรัฐบาลคสช. เตรียมฉีดเงินตำบลละ 5 แสน คพศ. ขอ ตร.เรียกตั...

ซิตี้แบงก์ ให้คุณสมัครบัตรเครดิต citibank ออนไลน์ ด้วยวิธีสมัครบัตรเครดิตง่ายๆ รู้ผลอนุมัตทันใจภายใน 5 วัน อยากทำบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ สมัครออนไลน์ได้ทันทีที่นี่.

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ประชาไท | Prachatai3.info

ประชาไท | Prachatai3.info

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

แอมเนสตี้ฯ ชี้พม่าลดโทษให้ผู้ต้องขังทั่วประเทศ 1 ปี ยังไม่พอ

Posted: 17 May 2011 12:06 PM PDT

รัฐบาลพม่าลดโทษให้นักโทษทั้งหมด 1 ปี และเปลี่ยนโทษนักโทษประหารเป็นจำคุกตลอดชีวิต ด้านนักสิทธิมนุษยชนเชื่อหากยังไม่มีการปล่อยนักโทษการเมือง ถือว่ามาตรการเหล่านี้ล้มเหลว ชี้การเปลี่ยนโทษประหารชีวิตเป็นเรื่องต้องส่งเสริม แต่ก้าวต่อไปควรยกเลิกโทษประหารอย่างสิ้นเชิง 

รัฐบาลทหารพม่ากล่าวเมื่อวันจันทร์ (16 พ.ค.) ที่ผ่านมาว่า จะลดโทษให้กับนักโทษทั้งหมดเป็นเวลา 1 ปี และเปลี่ยนโทษประหารชีวิตเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต

อย่างไรก็ตาม แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุเมื่อวันอังคารนี้ (17 พ.ค.) ว่า การลดโทษดังกล่าวยังไม่เพียงพอ และเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมดโดยทันที อย่างไม่มีเงื่อนไข

"ขณะที่การลดโทษ ถือเป็นข่าวที่น่ายินดีสำหรับนักโทษการเมือง แต่สำหรับพวกเขาแล้วมาตรการเหล่านี้ถือว่ายังไม่พอ" นายเบนจามิน ซาวักกิ (Benjamin Zawacki) นักวิจัยของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ด้านพม่ากล่าว "มาตรการเหล่านี้ถือว่าล้มเหลว ถ้าไม่มีการปล่อยตัวนักโทษการเมือง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในพม่า"

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังเรียกร้องให้พม่าดำเนินมาตรการที่มากกว่าการลดโทษประหารชีวิต แต่เรียกร้องให้พม่าร่วมกับกระแสของโลกที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยสิ้นเชิง

ทั้งนี้ ไม่มีรายงานการประหารชีวิตนักโทษในพม่าเลยนับตั้งแต่ปี 2531 แต่ยังคงมีการกำหนดโทษประหารชีวิตไว้ในกฎหมาย

"การเปลี่ยนโทษประหารชีวิตถือเป็นเรื่องควรส่งเสริม แต่ก้าวต่อไปควรปรับเปลี่ยนกฎหมายเพื่อการยกเลิกโทษประหารในพม่า" ซาวักกิกล่าว

นายซาวักกิกล่าวด้วยว่า "รัฐบาลพม่าใช้มาตรการคุมขังเพื่อทำให้ฝ่ายที่ใช้สันติวิธีต่อต้านรัฐบาลเงียบเสียง การเลือกลดโทษจำคุก และการอภัยโทษเป็นครั้งคราว ถือเป็นการยอมเล็กๆ น้อยๆ ของรัฐบาลพม่า หลังเกิดข้อวิจารณ์จากนานาชาติในเรื่องสิทธิมนุษยชนในพม่า"

นอกจากนี้แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังเรียกร้องให้พม่าเพิ่มหลักประกันด้านสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานด้วย

"รัฐบาลควรยกเลิก หรือปรับปรุงกฎหมายและระเบียบต่างๆ ซึ่งจำกัดสิทธิเสรีภาพอย่างยิ่ง อย่างเช่น กฎหมายการติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งป้องกันการรายงานสิ่งที่เป็นการวิจารณ์รัฐบาล และควรมีหลักประกันว่ากระบวนการยุติธรรมจะปลอดจากการแทรกแซงทางการเมือง และการละเมิดอื่นๆ" นายซาวักกิกล่าว

ปัจจุบันทางการพม่ายังคงควบคุมตัวนักโทษไว้กว่า 2,200 คน นักโทษจำนวนมากถูกทรมาน หรือทำให้ได้รับความเจ็บปวด ถูกปฏิบัติอย่างไม่ใช่มนุษย์ นอกจากนี้ยังถูกควบคุมตัวในสภาพที่เลวร้ายในเรือนจำ ซึ่งขาดแคลนมาตรการด้านการแพทย์เพื่อรักษาผู้ต้องขัง และผู้ต้องขังมักถูกคุมขังอยู่ห่างไกลจากบ้านของสมาชิกครอบครัว

โดยประชาคมระหว่างประเทศได้เรียกร้องบ่อยครั้งให้รัฐบาลพม่าปล่อยนักโทษการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองในช่วงที่มีการจัดการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกของประเทศในรอบ 20 ปี เมื่อพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามเมื่อเดือนมกราคมนี้ ในที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council) ผู้แทนของรัฐบาลพม่าได้ปฏิเสธว่าไม่มีนักโทษการเมืองในประเทศ

ทั้งนี้เมื่อสัปดาห์ก่อน นายวิชัย นัมเบียร์ (Vijay Nambiar) ที่ปรึกษาพิเศษของเลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติ ได้เดินทางเยือนพม่าเป็นครั้งแรกหลังมีการเลือกตั้ง และได้เรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมืองในพม่าทั้งหมดด้วย

ขณะที่กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า (ASEAN Inter-Parliamentary Myanmar Caucus หรือ AIPMC) ซึ่งมีสมาชิกรัฐสภาจาก 6 ประเทศเข้าร่วมคือ มาเลเซีย ไทย กัมพูชา สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ออกแถลงการณ์ "พม่าต้องสร้างประชาธิปไตย ที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมก่อนก้าวสู่ประธานอาเซียน" ในโอกาสการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 18 เมื่อสัปดาห์ก่อน โดยเรียกร้องให้ผู้นำอาเซียนที่เข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ปฏิเสธคำขอของรัฐบาลพม่าในการขึ้นเป็นประธานอาเซียนในปี พ.ศ. 2557 จนกว่ารัฐบาลพม่าจะทำการปฏิรูปสิทธิมนุษยชน และ ประชาธิปไตยที่แท้จริงเสียก่อน

นอกจากนี้ ยังเสนอด้วยว่า อาเซียนควรพิจารณาขับพม่าออกจากสมาชิกภาพขององค์กรด้วยเหตุที่พม่าละเมิดกฎบัตรอาเซียนอย่างรุนแรง (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

รายงาน: 1 ปี พฤษภา 53 กับร่องรอยที่ยังหลงเหลือ?

Posted: 17 May 2011 11:55 AM PDT

เกษียร เตชะพีระ เคยเขียนบทความเรื่อง “คนไม่เห็นผี” เอาไว้เมื่อราวสองเดือนหลังเหตุการณ์พฤษภา 53 ปีที่แล้ว เป็นบทความอันว่าด้วยการที่คนกรุงเทพฯ ออกมาทำความสะอาด ลบร่องรอยที่เกิดขึ้นในช่วงการชุมนุมและสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ตั้งแต่รอยคราบเลือด ไปจนถึงรอยขีดเขียน ข้อความ สัญลักษณ์ สติ๊กเกอร์ ที่ปรากฎอยู่ตามที่ต่าง ๆ เช่น อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สี่แยกคอกวัว ราชประสงค์ สยามแสควร์ ฯลฯ อันบ่งบอกได้ถึงการชุมนุม ได้ถูกทำความสะอาดไปจนเรียบร้อยเกลี้ยงเกลา จนแทบไม่เหลือร่องรอยริ้วรอยว่าเคยเกิดเหตุผิดปกติอะไรขึ้น ณ สถานที่เหล่านั้นเมื่อไม่นานมานี้เอง

การทำความสะอาดครั้งใหญ่ดังกล่าวสะท้อนบอกว่า เมืองอย่างกรุงเทพฯ “ไม่อยากจำอะไร” หรือ “อยากให้อะไรจบลง” ทว่าการไม่อยากจำอะไรที่ว่า เป็นไปในลักษณะของ “การใช้อำนาจในการลืม” (the power to forget) ลบล้างตัดตอนความเป็นจริงที่เคยเกิดขึ้นอย่างหักหาญรุนแรง แม้ว่ามีคนตายมากมายจากเหตุการณ์พฤษภา 53 แต่คนกรุงก็ทำเป็น “ไม่เห็นผี” เสียนี่

ธรรมดายิ่งเวลาผ่านไป ร่องรอยอันโดดเด่นเหล่านั้นก็ย่อมจะถูกขจัดขัดถูลบออกไปเรื่อย ๆ จนบัดนี้ เวียนมาจะครบรอบ 1 ปีของเหตุการณ์ ดูเผิน ๆ เหมือนว่าจะไม่มีร่องร่อยอะไรหลงเหลืออยู่ แต่ถ้าเราไม่ละเลยจนเกินไป เราก็จะพบว่ามียังร่องรอยบางอย่างหลงเหลืออยู่จริง ๆ ตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งสถานที่ที่เป็นจุดเกิดเหตุ และที่อื่น ๆ มากมายทั่วกรุงเทพฯแห่งนี้

ซึ่งมันน่าจะพอบ่งบอกอะไรเราได้บ้าง...

กฟน.คลองเตย

กฟน.คลองเตย

หน้ากฟน.คลองเตย

กฟน. คลองเตย (29 มี.ค.54)

 

เกาะเกร็ด

เกาะเกร็ด (8 พ.ค.54)

 

ข้างห้างเซน

ข้างห้างเซน

ข้างห้างเซ็นทรัลเวิร์ลด์ (29 มี.ค.54)

 

คอกวัว

คอกวัว

คอกวัว

คอกวัว

บริเวณแยกคอกวัว (31 มี.ค.54)

 

ตึกเก่าตรงข้ามปปส.

ตึกเก่าตรงข้าม ปปส. (28 เม.ย.54)

 

ถ.ดินสอฝั่งสตรีวิทย์

ถ.ดินสอฝั่งสตรีวิทย์

ถ.ดินสอฝั่งสตรีวิทย์

ถนนดินสอ ฝั่งโรงเรียนสตรีวิทยา (17 พ.ค.54)

 

ถ.ตะนาวฝั่งข้าวสาร

ถ.ตะนาวฝั่งข้าวสาร

ถ.ตะนาวฝั่งข้าวสาร

ถ.ตะนาวฝั่งข้าวสาร

ถนนตะนาว ฝั่งข้าวสาร

 

สะพานผ่านฟ้าลิลาศ

สะพานผ่านฟ้าลีลาศ

สะพานผ่านฟ้าลีลาศ

สะพานผ่านฟ้าลีลาศ (20 เม.ย.54)

 

สะพานลอยหน้ารัฐศาสตร์จุฬาฯ

สะพานลอย ตรงประตูฝั่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (24 เม.ย.54)

 

บ่อนไก่

ตู้โทรศัพท์ย่านบ่อนไก่ ถ.พระรามสี่ (29 เม.ย.54)

 

บันไดหน้าหอศิลป์กทม

บันไดหน้าหอศิลป์ กทม (27 เม.ย.54)

 

ปากซอยงามดูพลี

ปากซอยงามดูพลี (24 เม.ย.54)

ราชประสงค์

ราชประสงค์

ราชประสงค์

แยกราชประสงค์ (29 มี.ค.54)

 

ราชประสงค์ หน้า CTW

ราชประสงค์ หน้า CTW

หน้าเซ็นทรัลเวิร์ลด์ (29 มี.ค.54)

 

ราชวิถีซอย 3

ราชวิถีซอย 3 (29 เม.ย.54)

 

หน้าทางเข้า MRT สีลม

ทางเข้า MRT สีลม (22 เม.ย.54)

 

หน้าโรงแรงสวิศโฮเตล ใกล้ MRT ห้วยขวาง

หน้าโรงแรมสวิสโซเทล ใกล้ MRT ห้วยขวาง (2 พ.ค.54)

 

ไทยไม่รักไทย เพราะมุ่งขจัดแต่ ไทยรักไทย

รถหน้าร้านส่งน้ำแข็ง ท่าเรือปากเกร็ด (14 พ.ค.54)

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เดินหน้าโครงการตาปี-พุมดวง ลักไก่ออกกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน

Posted: 17 May 2011 10:23 AM PDT

นายประทีป มีคติธรรม คณะทำงานติดตามแผนพัฒนาภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา ได้มีการพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณท้องที่ตำบลท่าเคย ตำบลหนองไทร อำเภอท่าฉาง ตำบลลีเล็ด ตำบลศรีวิชัย ตำบลมะลวน ตำบลหัวเตย ตำบลท่าข้าม ตำบลพุนพิน ตำบลน้ำรอบ ตำบลหนองไทร ตำบลบางงอน อำเภอพุนพิน และตำบลท่ากระดาน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2554 เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยไม่มีชาวบ้านคนใดรับทราบเรื่องการออกพระราชกฤษฎีเวนคืนที่ดินฉบับนี้มาก่อน

“ผมพบพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ปรากฏในอินเตอร์เน็ตโดยบังเอิญ เบื้องต้นได้นำพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ไปถ่ายเอกสารแจกจ่ายชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ จากนั้นจะหารือกับเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี–พุมดวงว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อไป” นายประทีปกล่าว

เดินหน้าโครงการตาปี-พุมดวง ลักไก่ออกกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน

นายประทีป กล่าวว่า ผลกระทบที่ชาวบ้านจะได้รับจากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี-พุมดวงคือ สูญเสียที่ดินทำกินเนื่องจากการก่อสร้างคลองกว่า 3,000 ไร่ มีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 1,000 ราย หากมีการก่อสร้างคลองส่งน้ำความกว้าง 5–55 เมตร ระยะทางเกือบ 40 กิโลเมตร ต้องยกคันคูสูงขึ้นจากพื้นกลายเป็นเขื่อนขวางทางน้ำ ทำให้น้ำท่วมขังตามแนวคลองส่งน้ำรุนแรง สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เกษตรกรรม ขณะที่โครงการฯลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท แต่ส่งน้ำไปใช้ประโยชน์ได้เพียงแค่ 4 เดือนต่อปีเท่านั้น และบางปีแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรเลย

นายประทีป กล่าวต่อไปว่า โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง เป็นโครงการที่ไม่ได้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จึงไม่มีการประเมินผลกระทบด้านต่างๆ โดยเฉพาะผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำจืดไปเลี้ยงระบบนิเวศชายฝั่งโดยเฉพาะในฤดูแล้ง ซึ่งจะทำให้น้ำเค็มรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรม ส่งผลกระทบต่อระบบประปาของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และปัญหาขาดน้ำจืดลงไปผลักดันน้ำเสีย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการประมงเพาะเลี้ยงชายฝั่ง เช่น ปลาในกระชัง ความเค็มที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อป่าชายเลนอ่าวบ้านดอน เป็นต้น

“ก่อนหน้านี้กรมชลประทานส่งเจ้าหน้าที่ปักหลักหมุดเสาปูนเป็นแนวคลองส่งน้ำขนาดกว้าง 55 เมตร ในพื้นที่ จุดที่เป็นบ้านพื้นปูนก็ตอกตะปูและลงสีแดงขนาดเท่าหัวเสาปูนเป็นเครื่องหมาย เมื่อชาวบ้านเห็นก็ไล่ออกจากพื้นที่ พอพระราชกฤษฎีกาฯ ออกมาแบบนี้ ชาวบ้านมีโจทย์ใหญ่ว่า หลังจากนี้จะคัดค้านโครงการกันอย่างไร” นายประทีป กล่าว

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2554 ที่วัดยางงาม ตำบลหนองไทร อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมคณะได้เดินทางมารับฟังความคิดเห็นจากส่วนราชการและประชาชนที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี-พุมดวง เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านว่าโครงการดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและชุมชน

จากการรับฟังความคิดเห็นฝ่ายต่างๆ ทางคณะอนุกรรมการสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากรมีความเห็นว่า โครงการพัฒนาลุ่มน้ำ-ตาปี เป็นโครงการที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2510 สำรวจมาตั้งแต่ปี 2533 สมัยนั้นยังมีที่นาอยู่มาก ขณะที่ปัจจุบันพื้นที่ทำนาเปลี่ยนเป็นสวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมัน ลักษณะการใช้น้ำต่างกัน โครงการจึงไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง และไม่สอดคล้องความต้องการใช้น้ำของภาคเกษตรกรในปัจจุบัน

ลักษณะโครงการไม่มีการศึกษารายละเอียด ผลกระทบชุมชน พืชเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้โครงการหลีกเลี่ยงการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดตัวเลขพื้นที่ดำเนินโครงการไว้เพียง 73,890 ไร่ จงใจหลีกเลี่ยงไม่ทำรายงานการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ทั้งที่ข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบพบว่า พื้นที่ชลประทานที่จะได้รับผลกระทบมากกว่า 80,000 ไร่ จากการขยายโครงการในระยะต่อไป ซึ่งเข้าข่ายจะต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างหัวงานและคลองส่งน้ำ ไม่เห็นด้วยกับโครงการ เพราะกระทบต่อพืชเศรษฐกิจหลัก คือสวนยางพารา และปาล์มน้ำมัน เนื่องจากในช่วงที่วางแผนโครงการราคายางพาราเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 14 บาท แต่ปัจจุบันราคายางพาราเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 100 บาท การประกาศกฤษฎีการเวนคืนที่ดินฯ และการดำเนินโครงการดังกล่าว ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการตัดสินใจ ทั้งที่ประชาชนมีสิทธิจัดการและกำหนดวิถีชีวิตของชุมชน ตามฐานทรัพยากรธรรมชาติ

จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ แม้กรมชลประทานจะชี้แจงว่า มีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นกว่า 40 ครั้ง แต่ปรากฏว่าประชาชนที่จะได้รับผลกระทบไม่เคยได้รับเชิญเข้าร่วมรับฟังคำชี้แจงแต่อย่างใด นอกจากนี้การเข้าไปปักหลักหมุดของกรมชลประทานในเขตบ้านเรือน สวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมันของชาวบ้าน โดยไม่มีการแจ้งว่าทำเพื่อการใด ยังส่งผลให้ชาวบ้านเกิดความแตกตื่น ถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และเป็นการบุกรุกเข้าไปในสถานที่ส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต

สำหรับโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง เป็นโครงการที่ทางเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง ซึ่งรวมตัวกัน เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2552 ออกมาคัดค้านอย่างต่อเนื่อง ด้วยการยื่นหนังสือคัดค้านโครงการฯ ไปยังหน่วยงานต่างๆ เช่น องค์กรปกครองท้องถิ่นต่างๆ ในพื้นที่, กรมชลประทาน, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี, นายดำริห์ บุญจริง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี, ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ประธานกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา และประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา เป็นต้น

 

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี-พุมดวง จังหวัดสุราษฎ์ธานี

1. ความเป็นมา

  1. ตั้งแต่ปี 2510 กรมชลประทาน ได้เริ่มดำเนินการวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำ ในลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง ประกอบด้วย เขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ 2 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนรัชชประภา (เขื่อนเชี่ยวหลาน) และเขื่อนแก่งกรุง (เขื่อนคลองยัน) กรมชลประทานได้โอนงานก่อสร้างเขื่อนรัชชประภา และเขื่อนแก่งกรุงให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการ ก่อสร้างเขื่อนรัชชประภาแล้วเสร็จในปี 2530
  2. ในปี 2533 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2533 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) รับไปดำเนินการศึกษาเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบชลประทานที่ล่าสุด โดยเฉพาะพื้นที่ชลประทานที่จะได้จากการก่อสร้างเขื่อนแก่งกรุง และกรมชลประทานได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสม แล้วเสร็จเมื่อเดือนธันวาคม 2537 ปรากฏว่าโครงการมีความเหมาะสมต่ำ เนื่องจากจำเป็นต้องอพยพราษฎรและต้องลงทุนค่าชดเชยทรัพย์สินสูง ทำให้ได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ประกอบกับเขื่อนแก่งกรุงมีกระแสต่อต้าน และได้ระงับการดำเนินงานเอาไว้ก่อน
  3. กรมชลประทานจึงได้พิจารณาการใช้ประโยชน์จากน้ำที่ปล่อยจากท้ายเขื่อนรัชชประภามาใช้ประโยชน์ จึงได้ทำการศึกษาทบทวนความเหมาะสม โดยพิจารณาการพัฒนาชลประทานสูบน้ำจากแม่น้ำพุมดวง เพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทานฤดูฝน 73,980 ไร่ มีความเหมาะสมทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม เป็นการบริหารจัดการน้ำหลังจากการผลิตกระแสไฟฟ้าของเขื่อนรัชชประภา มาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร

2. ความจำเป็นที่ต้องดำเนินการโครงการ

เขื่อนรัชชประภาได้ปล่อยน้ำจากท้ายเขื่อนเนื่องจากการผลิตกระแสไฟฟ้าประมาณ 3,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และมีปริมาณน้ำจากคลองสาขาไหลมารวมในแม่น้ำพุมดวงอีกประมาณ 2,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านแม่น้ำพุมดวงประมาณ 5,400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ไหลลงสู่ทะเลโดยไม่มีการนำน้ำมาใช้ประโยชน์แต่อย่างใด โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จะเป็นการบริหารจัดการน้ำโดยการนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

3. วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทานในฤดูฝน 73,980 ไร่ และในฤดูแล้ง 57,819 ไร่
  2. เพื่อการอุปโภค–บริโภค
  3. เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

4. รายละเอียดของโครงการ

  1. ที่ตั้งโครงการ ตำบลบางงอน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฏร์ธานี
  2. ลักษณะทางวิศวกรรมของโครงการ
    1. สถานีสูบน้ำ 1 แห่ง และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 16 เครื่อง อัตราการสูบน้ำรวมทั้ง 33.16 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ประกอบด้วย
      • เครื่องสูบน้ำขนาด 1.93 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จำนวน 4 เครื่อง
      • เครื่องสูบน้ำขนาด 2.12 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จำนวน 12 เครื่อง
    2. ระบบส่งน้ำ ความยาวรวมประมาณ 139 กม.
    3. ระบบระบายน้ำความยาวรวมประมาณ 83 กม.

5. ระยะเวลาดำเนินการ 8 ปี (พ.ศ. 2552–2559)

6. งบประมาณ วงเงินโครงการทั้งสิ้น 3,330.00 ล้านบาท

  • งบดำเนินงาน 41.00 ล้านบาท
  • งบบุคลากร 77.00 ล้านบาท
  • งบลงทุน 3,107.24 ล้านบาท
  • เผื่อเหลือเผื่อขาด 104.76 ล้านบาท

มีแผนการใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละปี ดังนี้

  • พ.ศ. 2552 : จำนวน 262.81 ล้านบาท
  • พ.ศ. 2553 : จำนวน 296.69 ล้านบาท
  • พ.ศ. 2554 : จำนวน 525.99 ล้านบาท
  • พ.ศ. 2555 : จำนวน 637.77 ล้านบาท
  • พ.ศ. 2556 : จำนวน 732.57 ล้านบาท
  • พ.ศ. 2557 : จำนวน 346.32 ล้านบาท
  • พ.ศ. 2558 : จำนวน 251.99 ล้านบาท
  • พ.ศ. 2559 : จำนวน 175.86 ล้านบาท
  • รวม 3,330.00

7. การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์

ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์ในปี 2552



   ที่อัตราคิดลดร้อยละ


8


10


12


 


อัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุน (B/C)


1.70


1.50


1.19


 


มูลค่าผลประโยชน์ปัจจุบันสุทธิ (NPV)


1,842


1,262


440


ล้านบาท


อัตราผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์(EIRR)


13.60


13.60


13.60


%

8. ประโยชน์ของโครงการ

  1. เพิ่มพื้นที่ชลประทาน 73,980 ไร่ โดยสามารถส่งน้ำในฤดูฝน 73,980 ไร่ และในฤดูแล้ง 57,819 ไร่
  2. มีน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภค
  3. เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

9. ผลกระทบจากการอนุมัติโครงการ

เมื่อได้รับอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี–พุมดวง จังหวัดสุราษฏร์ธานีแล้ว จะทำให้เกิดผลกระทบต่อที่ดินและทรัพย์สินของประชาชนประมาณ 3,000 ไร่ ซึ่งกรมชลประทานได้เตรียมมาตรการในการจ่ายทดแทนทรัพย์สินไว้ในแผนงานโครงการแล้ว

10. สถานภาพโครงการ

  • ด้านแบบก่อสร้าง แบบ และรายละเอียดด้านวิศวกรรมแล้วเสร็จ 100% (เสร็จปี 2544)
  • ด้านการจัดหาที่ดิน การสำรวจปักหลักเขตแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างขอคำขอรังวัดจากเจ้าของที่ดิน (ประมาณ 2,000 ราย)
  • รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการไม่เข้าข่ายที่จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เรื่องกำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการของส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมปี 2535
  • การมีส่วนรวมของประชาชน กรมชลประทานได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้ที่มีส่วนได้เสีย ทั้งในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ รวมทั้งระดับหมู่บ้าน รวมแล้วประมาณ 40 ครั้ง

ที่มา : กรมชลประทาน

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

สมชัย สุวรรณบรรณ: การเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ กับ ปัญหาสื่อชนเผ่า (partisan press)

Posted: 17 May 2011 10:09 AM PDT

พระราชกฤษฎีกายุบสภาที่นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประกาศทางโทรทัศน์ค่ำวันที่ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นการเปิดม่านการต่อสู้ทางการเมืองบนเวทีหาเสียงครั้งประวัติศาสตร์แล้ว ยังเป็นการเปิดประเด็นคำถามเกี่ยวกับบทบาทของสื่อมวลชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อประเภท partisan press ซึ่งผู้เขียนขอเรียกสื่อฯประเภทนี้ว่า สื่อชนเผ่า

การเลือกตั้งคราวนี้จะเป็นครั้งแรกที่สื่อประเภทนี้จะมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจทางการเมืองครั้งประวัติศาสตร์ การหาเสียงจะมีการแข่งขันที่ดุเดือดเพราะวางเดิมพันไว้สูง ผลที่จะติดตามมาก็คือ อนาคตของประเทศไทยก็อาจจะแตกแยกเป็นเผ่าพันธุ์ตามแต่ทิศทางของผู้ที่อยู่เบื้องหลังสื่อฯเหล่านี้

Partisan press เป็นสื่อฯเฉพาะกลุ่ม มีวาระทางการเมืองที่จะนำพาประเทศไปสู่ระบอบอำนาจนิยมแบบฟาสซิสม์ อย่างเช่นที่เคยเกิดขึ้นในยุคนาซี และ มุสโสลินี สิ่งที่จะฟ้องให้เห็นว่าเป็น partisan press คือจะมีการใช้พลังของสื่อในการปั้นผู้นำของกลุ่มตนให้มีลักษณะ cult status

เราได้เห็นการก่อเกิดและขยายตัวของสื่อประเภทนี้ในสังคมไทยในช่วงก่อนและหลังเหตุการณ์ยึดอำนาจ 19 กันยายน ที่แตกบานขยายตัวมากขึ้นตามลำดับ พลังของสื่อประเภทนี้คือสามารถชักชวนให้กลุ่มคนใส่เสื้อสีเดียวกัน ให้มีความนึกคิดหรือออกอาการไปในทิศทางเดียวกัน ตามที่แกนนำกรอกผ่านเครื่องกระจายเสียง และบางกลุ่มก็เกิดอาการคลั่งไคล้ผู้นำโดยไม่ตั้งคำถาม บางครั้งถึงขนาดชักชวนกันไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือทำผิดกฎหมาย โดยสื่อจะใช้โวหารหลอกให้หลงเชื่อในความชอบธรรมแบบกลวงๆ ที่ตั้งบนฐานความคิด หรือข้อมูลด้านเดียว

ผู้ที่บงการสื่อเหล่านี้ มักจะใช้พลังของสื่อที่อยู่ในการควบคุมของตนเป็นเครื่องมือชี้นำผู้คนให้หลงไปในโวหารฉาบยาพิษ บางครั้งถึงขนาดชักนำผู้คนไปข่มเหงหรือเข่นฆ่าคนอื่น อย่างบ้าคลั่งขาดสติ อย่างเช่นวิทยุยานเกราะในประเทศไทยสมัยเหตุการณ์หกตุลา หรือเคยมีตัวอย่างในต่างประเทศคือวิทยุมีลี คอลีน ในประเทศรวันดา แอฟริกา ซึ่งระดมม็อบไปฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันในปี 2537 ส่วนในประเทศไทยก็มีวิทยุชุมชนบางแห่งระดมสาวกออกไปทำร้ายฝ่ายตรงข้าม อย่างเหตุการณ์ที่เคยเกิดในเชียงใหม่และอุดร คล้ายๆ วิทยุในประเทศรวันดา

บัดนี้ประเทศไทยมีสื่อแบบนี้ในรูปของทีวีดาวเทียมบ้าง ผ่านทางเครือข่ายออนไลน์บ้าง บ้างก็มาในรูปของวิทยุชุมชนเป็นจำนวนมาก โดยที่วิทยุเหล่านี้ไม่ใช่วิทยุของชุมชนในความหมายที่แท้จริง แต่กลายเป็นแขนขาของกลุ่มการเมืองที่มีเป้าหมายชัดเจนในการแย่งชิงมวลชน บ้างก็ถึงขั้นโฆษณาชวนเชื่อให้เกลียดชังสถาบันสำคัญของชาติ บ้างก็มาในรูปของวิทยุที่มีการจัดตั้งโดยหน่วยงานความมั่นคงของรัฐ

สื่อฯ เหล่านี้มิได้ทำงานตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนในความหมายสากล ที่มีข้อกำหนดให้ความเสมอภาคต่อความหลากหลายทางความคิดเห็น ให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่ขัดแย้งกัน ให้หาทางออกโดยไม่ใช้ความรุนแรง แต่กลับมุ่งตอกย้ำกล่าวหาเพื่อสร้างความเกลียดชังให้คนในชาติเดียวกัน ให้เกิดการแตกแยกเหมือนคนต่างชนเผ่า ซึ่งในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยไม่อนุญาตให้มีสื่อฯประเภทนี้ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น ฯลฯ แต่ทว่าสื่อประเภทนี้มักจะมีดาษดื่นในประเทศที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย

ในวงการสื่อฯ ของประเทศที่เป็นประชาธิปไตยอย่างมั่นคงแล้ว เป็นที่ยอมรับกันว่าคลื่นสัญญาณ หรือวงจรสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งบัดนี้มีเพิ่มเติมเป็นบรอดแบนด์บ้าง สามจีบ้าง ถือเป็นทรัพยากรของชาติ ของประชาชนโดยรวม ดังนั้นการดำเนินกิจการใดๆ ที่ใช้ทรัพยากรของชาติเหล่านี้ โดยเฉพาะสื่อฯ ย่อมต้องดำเนินการโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผล ประโยชน์ของส่วนรวม หรือผลประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก ประเทศไทยก็มีบทบัญญัติเช่นนี้ในรัฐธรรมนูญมาแล้วสองฉบับ

แต่ผู้ที่ดำเนินกิจการสื่อแบบชนเผ่าเหล่านี้ ก็มักจะอ้างเสรีภาพสื่ออย่างผิดๆ เพราะแท้จริงแล้วเสรีภาพในการแสดงออก มิได้หมายถึงการแสดงความคิดความเชื่อของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว มิได้หมายถึงการสกัดกั้นเสรีภาพทางความคิดเห็นของคนอื่นในเวทีของตน มิได้หมายถึงการระรานสิทธิของผู้ที่เห็นแตกต่างจากตน หรือการผูกขาดสิ่งที่นึกคิดว่าถูกต้องแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือการชักชวนรวมตัวพวกเดียวกันไปทำร้ายฝ่ายตรงข้าม ดังนั้น partisan press จึงเป็นสื่อฯที่มีแนวโน้มที่จะทำลายประชาธิปไตยมากกว่าข้ออ้างที่ว่าเพื่อส่งเสริมเสรีภาพทางความคิดเห็น หรือประชาธิปไตย

เมื่อถึงเวลาที่ต้องเปิดตัวการแข่งขันหาเสียงเลือกตั้ง ก็ถึงเวลาที่สื่อเหล่านี้ต้องระดมสรรพกำลังและกลยุทธ์ทุกรูปแบบซึ่งหมายถึงการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง

ทั้งแบบตรงๆ และแบบซับซ้อนเพื่อให้ฝ่ายตนชนะเลือกตั้งให้มากที่สุด และกลยุทธ์ดังกล่าวรวมไปถึงการทำงานสื่อสารมวลชนที่ไม่ถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณ และจริยธรรมวิชาชีพสื่อฯ ละเมิดหลักการเพื่อให้ฝ่ายตนได้เปรียบมากที่สุด กลยุทธ์ดังกล่าวอาจจะหมายถึงการหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อข้อมูลด้านเดียว

ในเฉพาะหน้านี้ เพราะใกล้เลือกตั้ง ก็คงเป็นภาระหน้าที่อันเหน็ดเหนื่อยของ กกต. ที่จะต้องดำเนินการตรวจตราให้ทั่วถึงว่ามีสื่อใดบ้างที่มิได้ทำงานตามมาตรฐานจรรยาบรรณสื่อฯ ที่แท้จริง หรือสื่อใดที่แอบลักลอบทำงานโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง ที่จะทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง

ส่วนการแก้ปัญหาในระยะยาวนั้น คงเป็นหน้าที่ของ กสทช. องค์กรอิสระใหม่ล่าสุดของสังคมไทย (ที่กำลังมีอาการน่าเป็นห่วง) ต้องออกมาตอบโจทย์ว่า

ทำไมประเทศที่อ้างตนเองว่าเป็นประชาธิปไตย จึงยอมให้มีสื่อฯ ที่เกิดมาเพื่อทำลายประชาธิปไตย

 

------------------------------------

ที่มา:
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย สถาบันอิศรา 
http://www.thaireform.in.th/component/flexicontent/item/5861--partisan-press-.html

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

การเลือกตั้งเท่ากับการเลือกนอมินี?

Posted: 17 May 2011 09:58 AM PDT

พรรคเพื่อไทยจะต้องแสดงให้เห็นนโยบายที่ชัดเจนในทุกเรื่องว่า เลือกยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยแล้ว ปัญหาต่างๆ เหล่านั้นจะถูกแก้ไขอย่างก้าวหน้าไปบนวิถีทางประชาธิปไตยด้วยพร้อมๆ กันไปได้อย่างไร

เป็นความจริงว่า คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็น “นอมินี” ของคุณทักษิณ หรือพรรคเพื่อไทยก็คือนอมินีของคุณทักษิณ แต่คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และพรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่นอมินีของระบบอำมาตย์หรือ? แทบทุกพรรคการเมืองที่เหลือไม่ใช่นอมินีของนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองหรือ? 

และหากจะว่าไปแล้ว ก็พวกที่ออกมาโจมตีนอมินีนั่นแหละครับที่เป็นสาเหตุให้เกิด “ปรากฏการณ์นอมินีทางการเมือง” อย่างที่เป็นอยู่

หากพันธมติรจำกัดบทบาทการตรวจสอบให้อยู่ภายใต้กรอบหรือกติกาตามระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น หากพรรคประชาธิปัตย์ไม่ปฏิเสธการต่อสู้ทางการเมืองในสนามเลือกตั้ง และอำมาตย์ไม่ทำรัฐประหารปี 49 ปรากฏการณ์นอมินีทางการเมืองอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ก็ย่อมไม่เกิดขึ้น

แต่น่าสังเกตว่า พวกที่โจมตีนอมินียิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทย จงใจจะไม่พูดถึงนอมินีอภิสิทธิ์ พรรคประชาธิปัตย์และพรรคการเมืองอื่นๆ สุดท้ายแล้วก็เสนอ “วาระการเลือกตั้ง” ว่า หากเลือกยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยทักษิณจะกลับมา สังคมจะยังตกอยู่ในวังวนความขัดแย้งในปัญหา “ทักษิณ-ไม่ทักษิณ” อย่างไม่รู้จบ แต่ถ้าเลือกอภิสิทธิ์และประชาธิปัตย์ ทักษิณจะไม่ได้กลับมา และประเทศจะเดินหน้าต่อไป

ปัญหา “อำมาตย์-ไม่อำมาตย์” กำลังถูกกลบเลื่อนให้เลือนหายไป พูดให้ตรงคือปัญหาประชาธิปไตยภายใต้กำกับของระบบอำมาตย์ กับประชาธิปไตยที่เป็นอิสระจากการกำกับของระบบอำมาตย์ดูเหมือนจะไม่ถูกชูขึ้นเป็น “วาระการเลือกตั้ง” อย่างชัดเจนนัก

คุณยิ่งลักษณ์บอกว่า “ไม่แก้แค้น” แต่จะ “แก้ไข” ถามว่าจะแก้ไขอย่างไร หากไม่สามารถวางรากฐานประชาธิปไตยที่เป็นอิสระจากการกำกับของระบบอำมาตย์ได้ เช่น ด้วยการแก้รัฐธรรมนูญบนฐานของรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้น

พูดให้ตรงคือ หากพรรคเพื่อไทยไม่เสนอนโยบายที่ชัดเจนเรื่องแก้รัฐธรรมนูญเพื่อวางรากฐานประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ให้เป็น “สัญญาประชาคม” แก่ประชาชน ก็ยากที่จะแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมต่างๆ ในคดีความของคุณทักษิณ หรือในกรณีของคนเสื้อแดงได้

เพราะ “เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตย” และสนับสนุนการแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยเท่านั้น คือฐานรองรับ “ความชอบธรรม” ในการแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นคดีความของคุณทักษิณ ของคนเสื้อแดงที่บาดเจ็บ เสียชีวิต และติดคุก/ถูกขังลืม

ฉะนั้น ถ้าจะทำให้การเลือกคุณยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย ไม่ใช่แค่ได้ “นอมินี” ของคุณทักษิณ คุณยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยจำเป็นต้องเสนอวาระการเปลี่ยนผ่านสังคมสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่พ้นไปจากการกำกับของระบบอำมาตย์ให้ชัดเจน และเสนอนโยบายทางเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมและโดนใจประชาชน

พูดอีกอย่างคือ คุณยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยจะต้องแสดงให้สังคมเห็นว่า ปัญหาความไม่เป็นธรรมที่คุณทักษิณและคนเสื้อแดงได้รับ คือปัญหาที่ต้องแก้ไปพร้อมๆ กับการสร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์และการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของประเทศ

ผมไม่เห็นด้วยเลยที่เมื่อถูกจี้ถามปัญหาเรื่องคุณทักษิณ หรือถูกโจมตีว่าพรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดงยึดติด “ตัวบุคคล” มากกว่าคิดถึงประเทศชาติที่ต้องก้าวต่อไป แล้วพรรคเพื่อไทยพยายามเลี่ยงๆ ที่จะตอบประเด็นคุณทักษิณ และหันไปพูดถึงเรื่องปากท้องของประชาชน หรือความปรองดองสำคัญกว่า

ทั้งที่ในความเป็นจริง ไม่ว่าปัญหาคุณทักษิณ ปัญหาความไม่เป็นธรรมที่เกิดกับคนเสื้อแดง ปัญหาปากท้อง ความปรองดอง-ไม่ปรองดอง ประเทศจะเดินหน้าหรือถอยหลังมันก็เกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาพื้นฐานอันเดียวกัน คือ ปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตย หรือปัญหาประชาธิปไตยภายใต้กำกับของระบบอำมาตย์ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะต้องได้รับการแก้ไขไปพร้อมๆ กัน จึงจะปลดล็อกความขัดแย้งทางการเมืองได้จริง

ฉะนั้น หากพรรคเพื่อไทยต้องการเป็น “ทางเลือกที่ดีกว่า” หรือเป็นทางเลือกที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้ง ปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตย ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาความไม่เป็นธรรมของคุณทักษิณและคนเสื้อแดง พรรคเพื่อไทยจะต้องแสดงให้เห็นนโยบายที่ชัดเจนในทุกเรื่องดังกล่าวเพื่อให้สังคมเห็นภาพชัดๆ ว่า เลือกยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยแล้ว ปัญหาต่างๆ เหล่านั้นจะถูกแก้ไขโดยที่ทำให้ประเทศก้าวหน้าไปบนวิถีทางประชาธิปไตยด้วยพร้อมๆ กันไปได้อย่างไร

ส่วนเลือกอภิสิทธิ์และประชาธิปัตย์นั้น ประชาชนย่อมได้ประชาธิปไตยภายใต้การกำกับของระบบอำมาตย์ต่อไปแน่ กองทัพยังคงมีพลังอำนาจต่อรองทางการเมืองสูงต่อไปแน่ (อาจมากขึ้นกว่าเดิม)

และประชาธิปไตยภายใต้การกำกับของระบบอำมาตย์ กองทัพเข้มแข็งกว่ารัฐบาล ขออะไรจากรัฐบาลก็ได้หมด ความมั่นคงของรัฐบาลขึ้นอยู่กับการสนับสนุน-ไม่สนับสนุนของกองทัพ ฯลฯ ระบบการเมืองที่ขัดแย้งกับวัฒนธรรมประชาธิปไตยสมัยใหม่เช่นนี้ไม่มีทางพ้นไปจากวงจรความขัดแย้งได้

ที่สำคัญความไม่เป็นธรรมกรณีประชาชนที่เสียชีวิตจากการเรียกร้องประชาธิปไตย ระบบสองมาตรฐาน ความเหลื่อมล้ำของอำนาจต่อรองทางการเมือง การกดขี่เสรีภาพ และความไม่เสมอภาคในความเป็นคนก็ยังคงดำรงอยู่ต่อไป อาจดำรงอยู่อย่างเข้มแข็งและเกรี้ยวกราดมากขึ้น

ฉะนั้น การเลือกตั้งครั้งนี้ แม้ในทางรูปธรรมจะชัดเจนว่าเป็นการเลือก “นอมินี” แต่ก็มี “นัยยะ” ของการเลือก “อุดมการณ์” ประชาธิปไตย-ไม่ประชาธิปไตยแฝงอยู่อย่างสำคัญ

หากประชาชนเลือกถูก อย่างน้อยที่สุดผลของการเลือกตั้งจะทำให้ได้พรรคการเมืองที่ประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบ และเรียกร้อง/กำกับให้แก้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นต่อไปได้ 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ซีรีย์ 1 ปีพฤษภาเลือด: (2) โศกนาฏกรรมของหญิงสาว เรื่องที่ไม่มีใครเชื่อและไม่ถูกพิสูจน์

Posted: 17 May 2011 09:02 AM PDT

การชุมนุมประท้วงของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดงในห้วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2553 เป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่ต้องบันทึกไว้ ทั้งในแง่จำนวน ความยาวนาน และ ‘การสูญเสีย’ ผ่านมาแล้ว 1 ปี เกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา พวกเขาอยู่ที่ไหน ทำอะไร ยังสู้อยู่หรือไม่ และอย่างไร

ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวของคนเล็กๆ ที่มีสีสันหลากหลาย เป็นบทสัมภาษณ์ที่มีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมเป็นหนังสือขององค์กรแห่งหนึ่ง แต่ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ด้วยเหตุผลบางประการ “ประชาไท” เห็นว่าน่าสนใจ จึงขอทยอยนำเสนอเป็นตอนๆ เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปี ของการชุมนุมเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 53

 

*****หมายเหตุ ต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์ ‘พิศมัย’ (นามสมมติ) ที่ผู้จัดทำสัมภาษณ์ไว้หลังเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อ 19 พ.ค.53 ไม่นานนัก ‘พิศมัย’ เป็นหญิงสาววัยกลางคนที่ร่วมชุมนุมกับ นปช. และระบุว่าตนเองถูกชายที่แต่งชุดคล้ายทหารข่มขืนในวันที่ 15 พ.ค.53 ที่ด่านตรวจค้นของทหาร
 
ภายหลังบรรยากาศอันตึงเครียดของเหตุการณ์ราว 1 เดือน พรรคเพื่อไทยเคยแถลงข่าวเรื่องราวของเธอ และมีการแจ้งความ แต่เรื่องก็เงียบหายไป จนกระทั่งเจ้าทุกข์เข้าร้องเรียนกับ ‘วัชระ เพชรทอง’ ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้งในเดือนมี.ค.ปี 2554 และมีการร่วมกันแถลงข่าวยื่นหนังสือร้องเรียนถึงนายกรัฐมนตรีและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพื่อเรียกร้องให้ตรวจสอบกรณีนี้ (อ่านรายงานข่าวได้ในล้อมกรอบด้านล่างสุด)
 
0000
 
 
การชุมนุมทางการเมืองเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ แต่ใครเลยจะคาดคิดว่าการเข้าร่วมชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยจะลงเอยด้วยเหตุการณ์เช่นนี้ เรื่องราวที่เกิดกับพิสมัย แม่ของลูกๆ 4 คน ไม่ว่าจะมองด้วยสายตาของคนเสื้อสีใด ก็ควรนับได้ว่าเป็น…โศกนาฏกรรม
 
20 ปีก่อน เด็กสาวชื่อพิสมัย(นามสมมติ) เดินทางจากโคราชบ้านเกิด เข้ามาหางานทำในกรุงเทพฯ เป็นแม่บ้านบ้าง รับจ้างทั่วไปบ้าง ชีวิตไม่ได้ราบเรียบดั่งในนิยาย มีสามีและเลิกกันแล้ว 2 คน ทิ้งลูกไว้ให้เธอดูแลเพียงลำพังถึง 4 คน แต่เธอและลูกๆ ก็เอาตัวรอดในเมืองกรุงแบบคนหาเช้ากินค่ำทั่วไปมาได้โดยตลอด เมื่ออายุล่วงเลยเข้าวัยกลางคน พิสมัยก็หันเหมาเป็นแม่ค้าขายข้าวแกง
 
“ช่วงเศรษฐกิจไม่ดีก็เลิกขายของ พอดีพวกพี่เขามาชุมนุม เพื่อนชวนมาเรียกร้องประชาธิปไตยก็มา” พิสมัยเริ่มต้นเล่าความเป็นมาที่เข้าร่วมการชุมนุม ด้วยน้ำเสียงที่แทบไม่มีสำเนียงอีสานเจือปน “แถวบ้านเราก็มากันนะ  มันมีข้าวกินฟรี ไปด้วยใจ ไม่ได้ค่าจ้างก็ไป เริ่มไปตั้งแต่วันที่ 17 มีนา ไปทุกวันเพราะเลิกขายของแล้ว ขายไม่ค่อยดี ค่าที่ก็แพง หาให้ค่าที่เขาอย่างเดียว ไปชุมนุมดีกว่า ช่วงนั้นลูกปิดเทอม ก็ฝากไว้กับข้างๆบ้าน บางครั้งก็พาไปบ้าง บางวันก็พาลูกนอนที่หน้าเวที”
 
“แต่ก่อนก็ไม่ได้ใส่ใจการเมืองอย่างนี้   ครั้งนี้ที่ใส่ใจก็เพราะว่าอะไรก็ไม่ดีขึ้น ของก็แพง ทองก็แพง หากินไปมันก็ไม่มีอะไรดีขึ้น” เป็นเหตุผลตรงไปตรงมาของคนรากหญ้าคนหนึ่ง
 
 “คนที่มาชุมนุมจากต่างจังหวัด เขาไม่ได้มาเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างเดียวนะ เขาเรียกร้องอย่างอื่นด้วย แถวบ้านทำข้าวทำนาปุ๋ยก็แพง ทำไมรัฐบาลเขาไม่แก้ ไม่ฟังเสียงประชาชนว่าเขาต้องการอะไร มีแต่สั่งสลาย สั่งขอพื้นที่คืน”
 
“วันที่ 10 เมษา เห็นทหารมากันเยอะ ก็เลยพากันออกมาจากบ้านเพื่อมาช่วยกัน คือออกมากันให้เยอะๆ น่ะ ออกมาตอนประมาณ 3 โมงเย็น มาถึงเหตุการณ์ยังปกติอยู่ พอ 6 โมงเย็นกำลังเดินอยู่แถวคอกวัว ฮ.ก็มาโปรยแก๊สน้ำตา ตอนนั้นไม่ได้เตรียมอะไรเลย ก็ไม่รู้ ก็เลยแสบตา ก็วิ่งเข้าไปที่ทหารกำลังตั้งด่านอยู่  เห็นเสื้อแดงสู้กับทหาร  มีคนบอกให้ผู้หญิงมาช่วยการ์ดหน่อย ก็เลยตั้งกำแพงอยู่แถวหลังการ์ด ทีนี้การ์ดเอาไม่อยู่ 6 โมงกว่าเริ่มจะรุนแรงขึ้น ต่างคนต่างดัน แต่ป้าคนนั้นล้มไปน่ะ โดนทหารเหยียบเป็นกลุ่มเลย พี่ก็เลยตะโกนให้ไปช่วยกันดึงป้าออกมา ทหารก็บุกเข้ามาจนถึงคอกวัวแล้วไง  พี่ก็โดนกระแทกๆๆ รู้สึกไม่ไหวแล้ว จุก โดนด้ามปืนตี ทั้งกระบอง ทั้งแก๊สน้ำตา มันแสบ ไม่ไหวแล้ว คิดถึงลูกก็เลยวิ่งออกมา แล้วก็วิ่งไปตรงสตรีวิทย์ รถถังจะเข้ามาอีก ก็วิ่งไปช่วยเขาหมอบไม่ให้รถถังเข้ามาอีก คือยอมตายนะ หมอบกันเต็มเลยแล้วรถถังก็ไม่เข้ามาแล้ว ทีนี้พอเริ่มยิงเราก็เลยรีบออก  เจอฝรั่งสองคนก็บอกเป็นภาษาไทยว่า เขายิงจริงๆ น่ะ ฝรั่งเขาเห็นลากคนบาดเจ็บ นปช.ขึ้นรถปอเต๊กตึ๊งไป พี่ก็ไปมุดอยู่ใต้รถวีโก้ ไม่รู้ของใคร มันเริ่มมืดแล้วตอนนั้น ฝรั่งวิ่งตามพี่ไปก็ดึงพี่ออกมา  บอกให้หนีไปพร้อมเขา แต่ฝรั่งก็วิ่งไปไหนไม่รู้ ก็เลยไปหมอบอยู่ตรงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยพักหนึ่ง  แล้วก็ไปที่เวทีนั่งอยู่จนสว่าง”
 
จากปฏิบัติการสลายการชุมนุมของทหารในวันนั้นทำให้เธอต้องไปพบแพทย์ ในใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราชระบุว่า เธอได้รับบาดเจ็บจากการโดนด้ามปืนกระแทกอก ทำให้เกิดบาดแผลฟกช้ำบริเวณอกขวา และอาการระคายเคืองตาจากแก๊สน้ำตาในเหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อ 10 เมษา
 
รอดจากเหตุการณ์ 10 เมษา พิสมัยก็ยังกลับไปชุมนุมอีก
 
“ก็ไปเรียกร้องประชาธิปไตยอีก ไม่รู้จะไปไหน ช่วงนั้นลูกก็ปิดเทอม  เราก็เอาข้าวฟรีเนี๊ยะ 3-4 กล่อง หอบกลับบ้านทางศาลาแดงสวนลุมฯ ปกติออกทางนั้นประจำ ตอนหลังมาออกไม่ได้ วันที่ 15 ก็เตรียมข้าวไว้อยู่ตรงทางที่ออก วันที่ 14 ก็นอนที่นั่น โทรบอกลูกว่า แม่กลับไม่ได้นะลูก ไม่มีที่ออก ลูกก็บอก แม่กลับมาเหอะ พี่ว่าจะกลับยังไงล่ะ เอ้า แม่นอนนี่ละนะ บอกลูกคนโตว่าดูน้องด้วย ลูกก็ว่า ให้แม่ปลอดภัยนะ ตอนนอนก็ได้ยินเสียงตู้ม ตู้ม แถวโรงพยาบาลจุฬาฯ ยิงกันสนั่นหวั่นไหว ไม่รู้ยิงกันตรงไหนมั่ง ก็นอนหลับๆตื่นๆ ก็คุยกันว่าออกเช้าดีกว่าถึงจะปลอดภัย กลางคืนมันถูกยิงน่ะ มีคนถามว่า จะออกเหรอ ตายก็ตายด้วยกันที่นี่แหละจะไปทำไม ก็บอกว่าไม่เอาหรอก ฉันมีลูก เช้าวันที่ 15 ตอนตี 5 ครึ่ง คนที่นอนด้วยกันออกมาอยู่ 4 คน ออกทางประตูน้ำ ทหารยิงก็เลย ล้มเลยนะ เป็นผู้หญิง ไม่รู้ว่าตายหรือไม่ตาย  พี่ก็งง ทำไมไม่มีออกสื่อ แล้วก็มีระเบิดอีกลูกหนึ่ง อุ้ยตายแล้ว!จะกลับยังไงดี  บางกลุ่มก็วิ่งกลับมา บอกว่า อย่าไปๆ เรากำลังโดนยิงอยู่ตรงประตูน้ำ เขาก็วิ่งฮือกลับมาที่เวที”
 
ลูกเป็นเหตุผลใหญ่ในการตัดสินใจออกจากที่ชุมนุม ถึงแม้จะรู้สึกได้ว่าไม่ปลอดภัย
 
“เห็นเพื่อนโดนยิงก็ไม่กล้าออกไป กลับมานั่งรอจน 6 โมงเย็น จะออกทางไหน จะทำยังไงดี ก็คุยกับป้าคนหนึ่ง ป้าก็บอก อุ๊ย จะออกไปได้ยังไงลูก ไม่เห็นเหรอเมื่อเช้ามันยังยิงเลย ออกไม่ได้ก็ไม่ต้องออก อยู่มันอย่างนี้แหละ พี่บอกว่า แต่หนูต้องหาทางออกให้ได้ ป้าแกก็บอกให้ระวังด้วยนะลูก เย็นแล้ว ทหารเริ่มมาตั้งด่านแล้วนะ   วินมอเตอร์ไซค์เห็นพี่อยากออกก็พาออกไปตรงปทุมวันแล้วเลี้ยวซ้าย (ห้างมาบุญครอง) มันจะมีด่าน ผู้ชายคนหนึ่งออกมาก็โดนจับอยู่อีกด่านหนึ่ง  โดนถอดเสื้อแล้วให้ยกมือขึ้นแต่จากนั้นเป็นยังไงอีกก็ไม่รู้นะ พี่ก็เลยเดินวนไปวนมาตรงที่เขากั้นยางไว้ เห็นทหารเยอะจังน่ะ เราก็ไม่เคยออกทางนี้ ออกครั้งแรกในชีวิตเลย แต่ก็เชื่อมอเตอร์ไซค์ เขาบอก พี่ไปเหอะๆ เขาออกไปแล้วล่ะ พี่ก็เลยออกไปคนเดียว คนข้างๆ อีกคนหนึ่งก็เดินกลับ เขาถามว่าพี่ออกจริงเหรอ ออกสิ สงสารลูก”
 
“พอพี่เดินๆไปทหารก็ดึงเสื้อเลย ถามว่าจะไปไหนน่ะ ขอค้นกระเป๋าหน่อย ก็มีรูปของทักษิณ เสธ.แดง แล้วก็มีบัตรนปช. ก็บอกทหารว่า พี่ๆๆ ปล่อยๆหนูออกไปนะ ยกมือไหว้ด้วย ทหารก็บอกว่าไม่ได้ ก็อึ้งไป เขาบอกว่า ไปนั่งตรงโน้นเลย ก็จับดึงไปนั่งยกมือประสานบนหัวไว้  ถามว่ามาทำอะไร ก็บอกว่ามาชุมนุม นปช. ก็เห็นนายกฯ ประกาศว่าให้คนที่ชุมนุมข้างในถอนตัวออกมา พี่ก็ออกมาแล้วๆทำไมไม่ให้พี่กลับล่ะ เขาก็บอกว่านั่งก่อน แล้วก็เดินไป อีกคนเดินมาดู พี่บอกเขาว่าขอบัตรคืนได้หรือเปล่า จะกลับบ้านแล้วนะนี่ก็จะทุ่มแล้ว  เขาก็บอกว่ายังไม่ให้กลับ นั่งก่อน จะให้นั่งรออะไรล่ะ คนที่สามเดินมาก็ขอกลับบ้านอีก เขาก็ไม่ให้ ทีนี้เลยพูดว่า ไอ้เหี้ย! จะจับกูไว้ทำไมวะ กูจะกลับบ้านเนี๊ยะ แค่นั้นแหละหันมานี่เลย ต่อยท้อง ร่วงไปเลย ทหารก็หิ้วขึ้นมาอีก ตอนแรกก็ยังจุกแหละ ถามว่าดึงทำไม ก็โดนต่อยอีก คราวนี้ไม่รูเรื่องเลย ตื่นมาเสื้อผ้าก็ถลกขึ้นมาหมดเลย”
 
น่าจะนานหลายชั่วโมงที่พิสมัยหมดสติไป เมื่อรู้สึกตัวเธอก็คาดเดาได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายที่เป็นของเธอ
 
“ทหารมาปลุกโดยใช้ส้นรองเท้าที่เป็นเหล็กสะกิดแรงๆ บอกกลับได้ เนี่ยยังเป็นรอยอยู่เลย พี่ก็สลึมสลือ ก็งง ตอนนั้น รีบใส่เสื้อผ้า คอก็เคล็ด ลุกไม่ขึ้น รู้สึกว่ามีคราบขุ่นๆ ใสๆ เต็มไปหมดเลย ก็เจ็บ ก็รีบลุกไม่รู้จะไปทางไหนดี วิ่งไปอย่างเดียว ไปนั่งอยู่ป้ายรถเมล์พักนึง ก็ไปต่อ ไม่มีรถวิ่งแล้ว มันดึก ก็มีสามล้อไปส่งให้ไปลงที่สนามหลวง โทรไปหาเพื่อนให้มาช่วยหน่อย เขาก็อยู่ไกล อยู่พระประแดงก็มาไม่ได้ เขาก็บอกว่าให้นั่งรอที่สนามหลวง เดี๋ยวคอยไปพรรคเพื่อไทยตอนเช้า พี่ก็ไปพรรคเพื่อไทยแต่เช้าทั้งยังไม่อาบน้ำ คราบก็ยังอยู่ เขาพาไปแจ้งความ แล้วก็พาไปส่งตรวจที่โรงพยาบาลกลาง พี่ไม่มีแรงเลย มันเจ็บ เหมือนอะไรมันจะหลุดออกมา โดนไปกี่คนก็ไม่รู้ เคยมีสามีแต่ก็ไม่เคยเป็นแบบนี้ คือมันตุ่ยออกมา มันเจ็บ มันทรมาน” เธอพูดเสียงเครือพร้อมกับปาดน้ำตาที่ไหลออกมา อากัปกิริยาในตอนแรกๆ ที่ดูเหมือนไม่ซีเรียสกับชีวิตหายไป เธอเงียบไปสักพักใหญ่ๆ
 
 
ภาพร่องรอยที่ถูกทำร้ายตามร่างกาย เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ปทุมวันถ่ายไว้ตอนรับแจ้งความ
 
 
รูปใบหน้าผู้ต้องหาที่ตำรวจออกหมายจับ
 
 
ใบนัดตรวจร่องรอยการถูกระทำชำเรา, หลังจากตามเรื่องจากโรงพยาบาลนานนับเดือน 
เจ้าทุกข์แจ้งว่าได้รับผลการตรวจแล้วพบคราบอสุจิในช่องคลอด
แต่เอกสารดังกล่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจอ้างกับเจ้าทุกข์ว่าได้ส่งให้อัยการแล้ว ไม่สามารถให้สำเนาได้
 
 
“มันเสียใจ เรามาเรียกร้องประชาธิปไตยแต่ทำไมต้องเกิดอย่างนี้ขึ้นกับพี่ มันเสียความรู้สึก ทำไมรัฐบาลมันทำกับพวกประชาชนอย่างนี้ คือเราไม่มีอาวุธเลย ยกมือไหว้แล้วก็ยังไม่ให้กลับ”
 
“เพื่อนก็สมน้ำหน้านะ บอกว่าไปเสื้อแดงผลสุดท้ายเป็นยังไง ก็อาย อยากจะย้ายห้อง มันบอกไม่ถูก รัฐบาลทำไมถึงทำอย่างนี้ ทหารน่ะเป็นทหารจริงหรือเปล่า  พูดก็ไม่ค่อยชัด ใส่ชุดทหารก็จริงแต่จิตใจเหมือนไม่ใช่ทหาร ก็ยังงงอยู่ว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรา หรือว่าเราไปด่าเขา ก็โมโหอยากกลับบ้านน่ะ เห็นเหตุการณ์ไม่ดีแล้ว เรายังมีลูกอยู่ อยากกลับแต่เช้าก็ไม่กล้ากลับ พอกลับก็เจออย่างนี้”
 
“ออกเหมือนทหารเกณฑ์ มันเห็นคร่าวๆ นะ เขามาก็หลบแล้ว กลัวนะ ไม่เคยเจอกับชีวิตของตัวเองจนป่านนี้ เมื่อก่อนอยู่ที่ผ่านฟ้า ทหารมาตั้งด่าน น้ำท่าไม่เห็นเขาจะได้กินเท่าไหร่  เวลาเรามีข้าวกล่องกินเยอะ ก็เอาไปส่งให้พวกทหารที่ยืนถือโล่อยู่น่ะ น้ำเนิ้มเอาไปให้ เขาก็รับนะ แต่ทำไมเขาถึงทำกับประชาชนอย่างนี้ ผลสุดท้ายทำไมมันเป็นอย่างนี้”
 
เธอไม่เพียงเชิญกับโศกนาฏกรรมข้างต้น หากแต่ยังได้รับผลสะท้อนที่ไม่ดีนักอีกหลายต่อ เช่นการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล
 
“ตอนเข้าไปตรวจที่โรงพยาบาล ก. หมอก็ทำเหมือนเราไม่ใช่คน เอาสำลีใส่ไม้กระแทกเข้าไปแล้วก็กวน(ตรวจภายใน)...เจ็บมาก ทีหลัง พอพี่กลับไปเดินเรื่อง ไปถามว่า พี่คดีหนูถึงไหนแล้วคะ โอ๊ยอยู่โน่นโรงพยาบาล ศ. อีก 2 อาทิตย์ พอครบ 2 อาทิตย์ พี่ไป เขาก็บอกอีก 2 อาทิตย์  พอครบ 2 อาทิตย์ ก็บอกอีก 2 อาทิตย์อีกแล้ว ทีนี้ก็เลยบอกเขาถ้าไม่ช่วยเดินเรื่องก็ไม่เป็นไรค่ะ หนูก็เบื่อแล้ว เขาก็ทำงานของเขาต่อไม่พูดอะไร”
 
ทุกวันนี้เธอยังต้องทุกข์ทรมานกับสิ่งที่เกิดขึ้น
 
“มันแน่นท้องเป็นอะไรไม่รู้ วันนั้นที่ไปหาหมอก็กินยาขับหนองขับอะไร มันก็ออกมา ต้องใส่ผ้าอนามัยเป็นสิบกว่าวัน  เวลามันปวด มันเหมือนมดลูดมันบีบของเสียออกมา มีหนองมีเลือดปนกันออกมา หมอบอกว่ามดลูกอักเสบก็กินยาแผงละ 50 บาท ซื้อที่คลีนิค เงินก็ไม่ค่อยมี เวลากินข้าวก็กินไม่ได้มากนะ เหมือนลมตีขึ้น ยังเจ็บสองข้างมดลูก กดลงนี่เจ็บนะ เวลานอนนี่ออกร้อนออกหนาวเหมือนมีอะไรตีขึ้นดันหน้าอก ก็อยากจะเช็คอยากจะตรวจว่ามันเป็นอะไร แต่ก็ยังไม่ค่อยมีตังค์”
 
แม่ค้าขายข้าวแกงที่ออกมาร่วมเรียกร้องความเป็นธรรมในสังคม แต่เมื่อถึงยามที่เธอต้องเรียกร้องความเป็นธรรมให้ตัวเองเธอกลับยอมแพ้เอาดื้อๆ  
 
“คงไม่มีแรงตามเรื่องหรอก ไม่มีเส้น ไม่มีใครช่วย ทุกวันนี้ท้อแล้ว คงสู้เขาไม่ได้หรอก ถ้าใครสามารถเอาคนผิดมาลงโทษได้ก็คงจะดี ตอนนี้อยากจะหางานทำหาเงินรักษาตัวเอง ข้างในถ้ามันเป็นอะไรไป อย่างเป็นมะเร็ง ก็คงไม่มีปัญญารักษา”
 
พรรคเพื่อไทยให้ความช่วยเหลือด้านการแจ้งความ และดูแลเรื่องต่างๆ อยู่บ้าง แต่มันก็ไม่ได้ครอบคลุมทุกเรื่องที่เธอต้องการ เธอเดินทางไปขอรับเงินชดเชยด้วยตัวเองที่กระทรวงพัฒนาสังคม แต่ไม่ได้รับเงินชดเชยเนื่องจากไม่มีใครเชื่อว่ามันจะเกิดขึ้นจริงๆ แม้จะมีหลักฐานเพียงใดก็ตาม อีกทั้งให้เหตุผลแย่ๆ กับเธออีกว่า เธอเคยได้รับการชดเชยไปแล้วในกรณี 10 เมษา นั่นทำให้เธอรู้ว่าเงินไม่พันบาทครั้งนั้นครอบคลุมการเยียวยาความบอบช้ำทุกอย่างและครอบคลุมระยะเวลายาวนานตลอดชีวิต
 
ท้ายที่สุด พิศมัยยังคงดิ้นรนหาเลี้ยงตัวเอง ด้วยการกู้ยืมเงินจากผู้ใจบุญมาขายข้าวแกงอีกครั้ง พร้อมกับชีวิตที่เต็มไปด้วยความหวาดระแวง เธอบอกว่าการปรากฏตัวบนหน้าหนังสือพิมพ์แม้จะเป็นพื้นที่ข่าวเล็กๆ ตลอดจนการแจ้งความดำเนินคดีกับรัฐดูจะชักนำให้ชายฉกรรจ์มาปรากฏตัวที่หน้าบ้านยามวิกาลหลายครั้ง
 
เธอพยามยามเข้มแข็งและดำเนินชีวิตต่อไป อย่างน้อยก็เพื่อลูกๆ ทั้ง 4 และคงยากที่จะกลับไปเกี่ยวพันกับการเคลื่อนไหวใดๆ อีก นี่คือบทเรียนของสังคมที่ได้ชื่อว่าประชาธิปไตยให้ไว้กับเธอ

 

 

เสื้อแดงร้องปชป.ตามคดีถูกทหารข่มขืนหลังผ่านเกือบปีไม่คืบ

ที่มา: เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  (2 มี.ค.54)

นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวมอบเงินช่วยเหลือหญิงสาวสูงวัยนามสมมตินาง จ. 3,000 บาท เพื่อให้เป็นทุนประกอบอาชีพ พร้อมรับปากต่อหน้าสื่อมวลชนว่าจะเร่งรัดคดีที่นาง จ.ถูกชายสวมชุดทหารข่มขืน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2553 ระหว่างที่เข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่มเสื้อแดงที่บริเวณราชประสงค์ ซึ่งนาง จ.ได้แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วคดีไม่มีความคืบหน้า โดยนายวัชระ ยืนยันว่าจะนำหนังสือขอความเป็นธรรมไปมอบให้กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเพื่อขอให้สั่งการไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เร่งรัดคดีดังกล่าวด้วยนอกจากนั้นจะทำสำเนาหนังสือร้องเรียนไปยังนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งช่วงที่มีเหตุการณ์ชุมนุมกลุ่มเสื้อแดง เป็นผู้ดูแลศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการฉุกเฉิน (ศอฉ.) ให้ตรวจสอบบุคคลที่สวมชุดทหารและเป็นผู้ลงมือข่มขืนนาง จ. อย่างไรก็ตามตนยอมรับว่านาง จ. ได้เข้าร้องเรียนกับตนมาแล้วจำนวน 1 ครั้งซึ่งตนก็ได้ส่งเรื่องให้นายกฯ ช่วยดำเนินการแต่เรื่องไม่คืบหน้าด้วยเหตุผลใดตนไม่ทราบ

นาง “จ.” เปิดเผยกับสื่อว่า ก่อนหน้านั้นตนได้ไปร้องเรียนเรื่องดังกล่าวกับนายพร้อมพงษ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทยให้ช่วยเหลือ แต่ได้รับเพียงเงินค่ารักษาพยาบาลจำนวน 20,000 บาท เรื่องก็เงียบหายไป และการเข้ามาร้องเรียนครั้งนี้ ตนมั่นใจ ว่านายวัชระจะสามารถช่วยเหลือตนได้

 

สาวร้องเพื่อไทย ถูกข่มขืนในด่าน'จนท.'

ที่มา: หนังสือพิมพ์มข่าวสด (23 มิ.ย.53)

สาว'นปช.'โผล่ร้องโดนข่มขืนในด่านจนท.ช่วงสลายการชุมนุมม็อบแดง เผยเป็นนปช.ไปร่วมชุมนุมที่ราชประสงค์ ช่วงค่ำวันที่ 15 พ.ค. ออกจากวัดปทุมฯ จะกลับบ้านที่บางแค แต่เจอด่านทหารที่ราชเทวีเลยถูกกักตัวไว้ เหยื่อโวยวายเลยโดนชายแต่งคล้ายทหารชกเข้าที่ท้องก่อนลงมือขืนใจจนสลบก่อนปล่อยกลับบ้าน วันรุ่งขึ้นจึงไปแจ้งความ ไปตรวจร่างกายที่ร.พ.ยืนยันโดนขืนใจจริง

เวลา 12.00 น. นางเอ (นามสมมติ) สมาชิกกลุ่มนปช. อายุ 40 ปี เดินทางมายังพรรคเพื่อไทย เพื่อขอคำปรึกษาด้านกฎหมายหลังจากที่ได้แจ้งความว่าถูกชายฉกรรจ์แต่งกายคล้ายทหารข่มขืนกระทำชำเรา ไว้ที่สน.ปทุมวัน เมื่อวันที่ 16 พ.ค. โดยนางเอกล่าวว่า มาร่วมชุมนุมเมื่อวันที่ 14 พ.ค. และนอนค้างบริเวณสวนลุมพินี จนกระทั่งวันที่ 15 พ.ค. ตนพยายามจะหาทางออกจากพื้นที่ชุมนุมเพื่อกลับบ้าน แต่มีคนบอกว่าทหารล้อมไว้ทุกด้าน จนกระทั่งเย็นเวลาประมาณ 18.00 น. เจอจยย.รับจ้างมาถามว่าอยากกลับบ้านหรือ จะไปส่งเอาไหม ตนจึงโดยสารจยย.รับจ้างมาลงบริเวณหน้าวัดปทุมวนาราม และเดินออกไปทางแยกปทุมวัน

เหยื่อสาวกล่าวว่า เมื่อเดินไปถึงแยกปทุมวันก็เจอด่านเจ้าหน้าที่กั้นอยู่ ตนพยายามเดินเลี่ยงเลี้ยวซ้ายไปทางแยกสามย่าน แต่ก็เจอคนที่เดินไปก่อนย้อนกลับมาเพราะเจอด่านอีก จึงย้อนกลับมาเช่นกัน เมื่อเดินไปสักระยะ เห็นป้ายเขียนว่าราชเทวีก็เจอด่านเจ้าหน้าที่และขอตรวจค้น กลุ่มเจ้าหน้าที่เห็นตนพกรูปพ.ต.ท.ทักษิณ เสธ.แดง และบัตรนปช.จึงกักตัวไว้อยู่เป็นเวลานาน ทำให้ตนหงุดหงิดเพราะอยากกลับบ้าน จึงตะโกนด่าว่าเมื่อไหร่จะปล่อยให้กลับเสียที จากนั้นมีชายแต่งกายคล้ายทหารคนหนึ่งไม่พอใจ เดินเข้ามาลากตนออกไปแล้วชกเข้าที่ท้อง 2 ครั้ง จากนั้นจึงข่มขืนกระทำชำเราตน ซึ่งช่วงนั้นทำร้ายจนสลบไปจากนั้นชายคนดังกล่าวใช้เท้าเตะปลุกให้ตนลุกขึ้นพร้อมไล่กลับบ้านไป

นางเอ กล่าวว่า หลังจากที่ตนลุกขึ้นมาก็วิ่งหนีไปจากที่เกิดเหตุทันที บนถนนก็โล่งไม่มีรถวิ่งเลย เมื่อไปได้สักประมาณ 5 ป้ายรถเมล์จากจุดเกิดเหตุก็นั่งพัก จนเจอรถสามล้อจึงเล่าเหตุการณ์ให้ฟัง โดยสารรถไปสนามหลวงเพื่อต่อรถเมล์กลับบ้านย่านบางแค ตนมาถึงบ้านประมาณ23.00 น. ทั้งนี้ ช่วงเวลาดังกล่าวทำอะไรไม่ถูกไม่กล้าแจ้งความเพราะไม่รู้ว่าสถานีตำรวจอยู่ตรงไหน และไม่กล้าอาบน้ำเพราะกลัวว่าหลักฐานจะหายไป จนกระทั่งเช้าของวันที่ 16 มิ.ย. จึงเดินทางมาที่พรรคเพื่อไทยเพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งได้รับคำแนะนำให้ไปแจ้งความที่สน.ปทุมวันและเข้าตรวจร่างกายที่ร.พ.กลาง ซึ่งตามร่างกายของตนปรากฏรอยช้ำจากการถูกกัดเต็มไปหมดรวมไปถึงตรวจพบน้ำอสุจิในร่างกายของตนหมอจึงให้ยาฆ่าเชื้อและยาคุมกำเนิดมากิน

นางเอ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตนรู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก ที่ตนต้องมาร่วมชุมนุมกับกลุ่มนปช. เป็นเพราะหลังจากเปลี่ยนรัฐบาลมาทำมาค้าขายไม่ดีเลย จึงมาร่วมชุมนุมตั้งแต่นปช.ยังปักหลักที่บริเวณผ่านฟ้าฯ เมื่อย้ายเวทีมาที่แยกราชประสงค์ตนก็ได้ตามมาร่วมชุมนุมด้วยและชุมนุมจนกระทั่งเกิดเหตุดังกล่าว ทั้งนี้ ตนเป็นคนนครราชสีมา แต่ย้ายมาขายของที่กรุงเทพฯ โดยพักที่บ้านญาติแถวบางแค มีลูกสาม 3 และหย่ากับสามีมา 16 ปีแล้ว หลังจากเกิดเหตุตนก็ทำงานไม่ได้ ปวดมดลูกและพบว่ามีหนองไหลออกมาจากบริเวณช่องคลอด ซึ่งตนได้ไปหาหมอที่ร.พ.ศิริราชแล้ว โดยหมอให้ยาฆ่าเชื้อมาทานแต่ไม่หาย ตนจึงต้องไปซื้อยาครั้งละ 40-50 บาทจากร้านขายยามากินแทน

นางเอ กล่าวว่า เคยไปร้องเรียนที่มูลนิธิปวีณาฯ มาแล้วจากคำแนะนำของศูนย์ช่วยเหลือดูแลความปลอดภัยประชาชน ของพรรคเพื่อไทยแต่มูลนิธิปวีณาฯ ปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือโดยระบุว่าตนแจ้งความเท็จ ทั้งที่ตนมีหลักฐานเอกสารยืนยันว่าตนถูกข่มขืนจริง เอกสารหลักฐานต่างๆ ของตนนั้นได้มอบให้นายจตุพรพรหมพันธุ์ แกนนำนปช.ไปแล้ว 1 ชุด แต่ตนไม่ได้ถูกข่มขืนในวัดปทุมวนารามตามที่ปรากฏเป็นข่าว แต่ถูกข่มขืนบริเวณแถวห้างมาบุญครองหรือราชเทวี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลักฐานเอกสารที่นางเอนำมาแสดงนั้นประกอบด้วยสำเนาบันทึกประจำวัน สน.ปทุมวัน เลขที่ 076 ลงวันที่ 16 พ.ค.2553 โดยมีร.ต.อ.หญิง คนึงนุช ทศไพรินทร์เป็นร้อยเวรผู้รับแจ้งเหตุ ภาพถ่ายรอยช้ำตามร่างกาย ผลตรวจชันสูตรบาดแผล หน่วยนิติเวชวิทยา ร.พ.กลาง ที่ระบุว่าถูกกระทำชำเรา และใบตรวจร่างกายที่ออกโดยร.พ.ศิริราช โดยระบุว่าอาการป่วยติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง และโรคกระเพาะอาหารอักเสบ พร้อมด้วยภาพสเกตช์ใบหน้าคนร้ายที่ออกโดยสน.ปทุมวัน เลขที่0729/53

เย็นวันเดียวกัน ร.ต.อ.หญิง คนึงนุช ทศไพรินทร์ พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน กล่าวว่า กรณีที่นางเอแจ้งความว่า ถูกข่มขืนเมื่อคืนวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา ผู้เสียหายมีการเข้าแจ้งความไว้จริงเมื่อวันที่ 16 พ.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่าวันเกิดเหตุเดินออกมาจากวัดปทุมฯ และมาเจอกลุ่มชายฉกรรจ์แต่งกายคล้ายทหาร มีหมวกมีผ้าปิดปากปิดจมูก กักตัวไว้ และทำร้ายร่างกาย ก่อนลงมือข่มขืน หลังรับแจ้งความแล้วตำรวจก็ทำงานลำบาก เพราะเป็นช่วงที่มีการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน พาผู้เสียหายไปชี้ที่เกิดเหตุลำบากมาก เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ควบคุมของทหาร อีกทั้งผู้เสียหายเองก็จำที่เกิดเหตุไม่ได้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ได้ส่งตัวไปตรวจที่ร.พ.กลาง และถูกส่งไปตรวจอีกครั้งที่ร.พ.ศิริราช ซึ่งผลการตรวจจากแพทย์ออกมาแล้ว ระบุว่าพบว่าในช่องคลอดพบเชื้ออสุจิจริง จากนั้นพนักงานสอบสวนได้ให้ผู้เสียสเกตช์ภาพของคนร้ายที่ข่มขืน ซึ่งได้ออกหมายจับชายตามภาพสเกตช์แล้ว

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

มาเลเซียเตรียมพิมพ์ลายนิ้วมือคนต่างชาติ-ขึ้นภาษีนายจ้าง

Posted: 17 May 2011 05:44 AM PDT

17 พ.ค. 54 - สำนักแรงงานไทยในประเทศมาเลเซียแจ้งว่า นายตัน สรี มุฮ์ยิดดิน (Tan Sri Muhyiddin Yassin) รองนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2554 เป็นต้นไปชาวต่างชาติทุกคนยกเว้นผู้ลี้ภัย ที่จะเดินทางเข้าประเทศมาเลเซียจะต้องพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองก่อนเข้าประเทศ โดยวิธีการพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือเป็นระบบการใช้ข้อมูลทางชีวภาพ ซึ่งถือว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพด้านการรักษาความปลอดภัยของประเทศ รวมทั้งจะสามารถควบคุมและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการตรวจคนเข้าเมืองด้วย

โดยระบบจะทำการบันทึกข้อมูลการพำนักอยู่ในประเทศมาเลเซียของชาวต่างชาติและหากชาวต่างชาติคนใดอยู่เกินระยะเวลาที่กำหนดก็จะได้รับใบเตือนและถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย

นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีของมาเลเซียยังได้เห้นชอบให้มีการเรียกเก็บภาษีแบบใหม่กับนายจ้างที่จ้างแรงงานต่างชาติ โดยจะกำหนดให้นายจ้างต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นหากมีการจ้างแรงงานต่างชาติในจำนวนที่เพิ่มขึ้นและระยะเวลาการจ้างเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะอนุมัติให้มีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้เช่นกัน

อนึ่งประเทศมาเลเซียเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและมีเป้าหมายจะเป็นประเทศอุตสาหกรรมหรือประเทศที่พัฒนาแล้วในปี ค.ศ. 2020 อีกทั้งมีนโยบายในการพัฒนาประเทศเพื่อดึงดูดชาวต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในมาเลเซีย โดยเร่งให้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรในประเทศเพื่อรองรับการลงทุนดังกล่าว ทำให้เกิดความต้องการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นทั้งในระดับล่างจนถึงระดับสูง ตลาดแรงงานของมาเลเซียมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการก่อสร้าง อุตสาหกรรม และการบริการ  อย่างไรก็ตามปัญหาคือ คนมาเลเซียส่วนใหญ่ไม่นิยมทำงานในระดับล่างและในภาคบริการ มาเลเซียจึงยังคงต้องพึ่งพาการใช้แรงงานต่างชาติอยู่เป็นจำนวนมาก ในสาขาอาชีพต่างๆ และจำเป็นต้องผ่อนปรนนโยบายด้านแรงงานโดยอนุญาตให้มีการจ้างแรงงานต่างชาติใน 6 สาขาอาชีพ ได้แก่ แม่บ้าน ก่อสร้าง อุตสาหกรรม ธุรกิจบริการ การเกษตร (ปาล์ม ยางพารา) และการเพาะปลูก (พืชไร่)

ทั้งนี้สำนักแรงงานไทยในประเทศมาเลเซียประเมินว่าจำนวนแรงงานไทยในประเทศมาเลเซียที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องตามกฎหมายมีจำนวนประมาณ 200,000 คน

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

เสวนา: ประชาชนกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งไทย-กัมพูชา

Posted: 16 May 2011 10:12 PM PDT

“ท่านจันทร์” สันติอโศก เสนอแก้ปัญหาความขัดแย้งไทย-กัมพูชา หันหามนุษยชาตินิยม แทนชาตินิยม ยุติยึดติดตัวกูของกู ด้านเยาวชนกัมพูชาเผยประชาชนกัมพูชาเจ็บแค้นจากสงคราม ระบุกว่าจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ต้องใช้เวลานาน

วันที่ 17 พ.ค. 2554 เครือยข่ายคณะกรรมการร่วมไทย-กัมพูชาเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประชาชน จัดการเสวนาในหัวข้อ ประชาชนกับการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ที่วัดใหม่ไทรงาม อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว โดยจอม เพชร ประดับ ดำเนินรายการ

โสเทวี ตัวแทนเยาวชนจากกัมพูชา กล่าวว่ารู้สึกเสียมจที่สิ่งทีเกิดขึ้น คนที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ไม่รู้ว่าใครได้ประโยชน์ แต่ชาวบ้านเสียชรวิต พลัดพรากจากครอบครัว เด็กๆ ไม่ได้ไปโรงเรียน ชาวบ้านรู้สึกโกรธแค้น เพราะการก่อสร้างชาติก็ต้องใช้เวลานาน ชาวกัมพูชาก็ผ่านสงครามมายาวนาน เมื่อต้องเผชิญกับสงครามอีกก็โกรธแค้น เพราะกว่าจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ต้องใช้เวลานาน

พระครูวิสุทธิธรรมกิจ เจ้าอาวสาวัดใหม่ไทรทอง กล่าวว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้น คนที่เดือดร้อนคือคนชายแดน แม้ว่าชาวบ้านระหว่างสองประเทศจะเข้าใจกันดี แต่ผู้นำประเทศไม่เข้าใจ เขาพระวิหารเป็นมรดกตกทอดมาจากปู่ย่าตายาย แต่ลูกหลานได้รับมรดกมาแล้วมาทะเลาะกัน

พระครูวิสุทธิธรรมกิจ เสนอว่าปัญหาเขาพระวิหารนั้นอาจแก้ได้โดย ต่างฝ่ายต่างเก็บภาษี หากเดินทางขึ้นเขาพระวิหารจากฝั่งไทย ก็จ่ายภาษีให้ฝั่งไทย ถ้าขึ้นจากฝั่งกัมพูชาก็จ่ายภาษีให้ฝั่งกัมพูชา เพราะว่าพระวิหารนั้นเป็นทรัพย์สมบัติของโลกนี้เท่านั้น มนุษย์ตายแล้ว ย่อมไม่สามารถพาไปด้วยได้

“ไม่เกินร้อยปี เราก็ต้องจากโลกนี้ไป แล้วมาทะเลาะเบาะแว้ง ลูกเล็กเด็กแดงไม่รู้อิโหน่อิเหน่ สิ่งที่เกิดขึ้นก็เป็นความทุกข์ เราหลงทางที่ต่างคิดจะกอบโกยเอาสมบัติในแผ่นดินนี้ไปให้หมด”

พระครูวิสุทธิธรรมกิจกล่าวด้วยว่า ไทยและกัมพูชาเหมือนคนบ้านติดกัน ถ้าคุยให้เข้าใจก็มีความสุข ประชาชนคงต้องเริ่มคุยกันก่อน แต่ก็ไม่รู้ว่าผู้นำจะได้ยินข้อเสนอนี้หรือไม่เพราะต่างหูหนวกตาบอด

ท่านจันทร์ จากสันติอโศกกล่าวว่า วานนี้มีการจุดเทียนร่วมกันระหว่างไทย-กัมพูชากลางสะพานเชื่อมระหว่างแผ่นดินไทยกัมพูชา มีการพูดว่า นัตถิ สันติ ปร สุขัง คือสุขอื่นยิ่งกว่าความสงบนั้นไม่มีความสงบเป็นสุขอย่างยิ่ง เป็นสิ่งที่ไม่ต้องแปลอีกเพราะเป็นสิ่งที่เป็นภาษาธรรมร่วมกันระหว่างไทยและกัมพูชา

ปัจจุบันนี้วิธีที่จะทำให้รัฐบาลสองประเทศพูดคุยกัน คือต้องเริ่มจากประชาชนกับประชาชน พูดคุยกัน จากเล็กๆ ไปหาใหญ่ เพราะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย ทำได้ทันที ไม่ต้องอาศัยองค์ประกอบมากมายนัก และประชาชนมีความรู้สึกร่วมกันที่เป็นสากลนั่นคือความรัก ภาษาพูดต้องมีล่ามแปล แต่แววตาเป็นสิ่งที่ไม่ต้องแปล ซึ่งสิ่งที่เห็นจากแววตาของประชาชนทั้งสองฝ่ายก็คือความรักซึ่งกันและกัน นั่นก็คือความเป็นมนุษยชาตินิยม

“เราได้ยินคำว่าชาตินิยมบ่อยครั้งคือปลุกสำนึกให้มีความรักชาติ แต่แปลกที่เมื่อเรามีความรู้สึกชาตินิม คือรักชาติใดชาติหนึ่งก็กลับจงเกลียดจงชังชาติอื่นที่ไม่ชาติเรา คือเมื่อมีความรู้สึกตัวเราของเรา ตัวกูของกู ก็จะมีคนอื่น ทำให้เกิดความแปลกแยกเราต้องมานิยมความเป็นมนุษย์ เห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์”

นายโบ ตัวแทนประชาชนจากกัมพูชา อีกรายกล่าวว่า อาจะมีคณะกรรมการแก้ปัญหาซึ่งมีตัวแทนของพุทธศาสนิกชนทั้งสองประเทศเข้าร่วม อาจจะแก้ปัญหาได้ เพราะรัฐบาลต่างจนมุมแก้ปัญหาไม่ได้แล้ว

นายแก้ว ประชาชนจากกัมพูชาอีกรายกล่าวว่า ประเทศกัมพูชาอยู่ภายใต้สงครามมากว่า 3 ทศวรรษ และจบลงด้วยธรรมยาตราเพื่อสันติภาพ ซึ่งเป็นตัวอย่างของความสำเร็จที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ดังนั้นจึงต้องส่งสัยงถึงรัฐบาล ขอให้รัฐบาลทั้งสองหยุดใช้อาวุธ

นายแก้วยังเรียกร้องไปยังทหารไทยด้วยว่า มีกรณีที่คนกัมพูชาข้ามพรมแดนมารับจ้าง แต่ถูกทหารไทยยิงเสียชีวิต โดยผู้เสียชีวิตนั้นมีฐานะไม่ดีนักในกัมพูชา ทำให้ตัดสินใจเข้ามาหางานทำในประเทศไทยเพื่อหาโอกาสที่ดีกว่า เหมือนหนีร้อนมาพึ่งเย็น จึงขอร้องทหารไทยให้มีเมตตาและอย่าทำร้ายประชาชนชาวกัมพูชาถึงแก่ชีวิต

นานสมหมาย ชินนาค นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เสนอว่า คณะกรรมการแก้ปัญหาชายแดน ควรมีประชาชนจากชายแดนทั้งสองประเทศเข้าร่วม เพราะพวกเขาคือผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง

รศ.ดร.ปาริชาติ สุวรรณบุบผา จากศูนย์ศึกษาพัฒนาสันติวิธี ม. มหิดล กล่าวว่าการเดินธรรมยาตราเป็นการ Dialogue (เสวนา) แบบหนึ่งคือ การแบ่งปันความเป็นมนุษย์ร่วมกัน ก้าวข้ามความเป็นชาติและศาสนา ก้าวข้ามอัตลักษณ์ที่แตกต่างกัน

ในขณะเดียกัน หลักของพุทธประการหนึ่งคือสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยง แม้จะมีผู้ร่วมธรรมยาตราเพียงราว 100 คนวานนี้ แต่หากทำบ่อยๆ ก็จะส่งผลสะเทือนแสดงให้เห็นว่านี่คือวิถีทางที่แสดงความเป็นมนุษย์ร่วมกันเพื่อแสวงหาการแกปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องด้วย

ศาสนิกที่ไม่นิ่งดูดาย จะไม่บอกว่าปัญหาสังคมเป็นปัญหาที่ไม่ใช่ธุระของตนเอง หากชาวพุทธชูธงสันติวิธี ก็น่าจะมีทางออก

นายจอม เพชรประดับ ถามตัวแทนประชาชนกัมพูชาว่า รู้สึกว่าตกเป็นเครื่องมือของรัฐบาลหรือเป็นเครื่องมือทางการเมืองบ้างหรือไม่และจะเคลื่อนไหวอย่างเป็นตัวของตัวเองได้อย่าง ตัวแทนประชาชนจากกัมพูชาตอบว่า บางครั้งรู้สึกตกเป็นเครื่องมือของรัฐบาลเหมือนกัน แต่ก็คิดว่ามีทางออกคือประชาชนต้องเคารพและแสดงออกถึงความต้องการของตนเองมากขึ้น ทั้งโดยผ่านกิจกรรมภาคประชาชนและผ่านการเลือกตั้ง โดยเห็นว่าการรณรงค์โหวตโนในประเทศไทยเป็นกิจกรรมทางการเมืองที่น่าสนใจ และชาวกัมพูชาอาจมีการรณรงค์ในลักษณะเดียวกันในการเลือกตั้งครั้งต่อไป

 

สมัครรับข่าวความเคลื่อนไหวจากประชาไท ผ่านทางอีเมล ดูรายละเอียดที่ http://groups.google.com/group/prachatai-newspaper

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น